004 การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านป่

Page 1

1

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านป่าไม้และที่ดินเพื่อความเป็นธรรมในสังคมไทย1 ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์2 การจัดการที่ดินและป่าไม้ที่ไม่เป็นธรรมก่อให้เกิดผลกระทบแก่หลายฝ่าย สาหรับชาวบ้านที่ยากจน การไม่มีที่ดินทากินหมายถึงการขาดปัจจัยพื้นฐานที่สาคัญในการดารงชีวิต สาหรับประชาชนทั่วไปหมายถึง การขาดโอกาสในการใช้สอยทรัพยากรอย่างเป็นธรรม และสาหรับระบบนิเวศหมายถึงการที่ธรรมชาติถูก มนุษย์รุกรานเกินความสมดุล ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดการที่ดินและป่าไม้จึงมีมิติทั้งในส่วนของ เรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Justice) ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice) และความ เป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม (Ecological & Environmental Justice) ควบคู่กันไป บทความนี้จะไม่ได้ กล่าวถึงปัญหาเรื่องความเป็นธรรมในเรื่องที่ดินป่าไม้ทั้งระบบ หากแต่จะขอสารวจปัญหาและค้นหาแนว ทางแก้ไขเฉพาะในเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและสิ่งแวดล้อมเป็นสาคัญ I. สภาพปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ กระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเกี่ยวพันกับตัวบทกฎหมายหลายฉบับ ในส่วนของกฎหมาย ที่ดิน มีทั้งในส่วนของกฎหมายใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปฏิรูปที่ดิน และการจัดสรรที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ ต่างๆ มีทั้งที่ดินในส่วนที่เป็นรกร้างว่างเปล่า ที่หลวงที่สาธารณะต่างๆ ที่ดินเพื่อประโยชน์ของทางราชกา ร ที่ราชพัสดุ ในส่วนของกฎหมายป่าไม้ มีทั้งกฎหมายที่กาหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ในลักษณะต่างๆ และ กฎหมายที่จัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร กฎหมายแต่ละฉบับเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มี หลักการและปรัชญาเบื้องหลังที่แตกต่างกัน บางฉบับก็มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ขณะที่บางฉบับมุ่งเน้นการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากร การที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถทาความรู้จักกฎหมายต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและไม่ เข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นระบบ ทาให้การบังคับใช้กฎหมายจึงเกิดปัญหาอยู่เนืองๆ

1

บทความในโครงการหนังสือเล่ม "คดีความคนจน: การวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม

คนจนในสังคม” ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๔. 2

ผู้ช่วยพิพากษาศาลอุทธรณ์ และเลขานุการแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ศาลอุทธรณ์.


2

ยิ่งไปกว่านั้น การมีหน่วยงานที่หลากหลายเข้ามารับผิดชอบกฎหมายที่แตกต่างกัน แต่ขาดการ ประสานงานกันอย่างจริงจัง ทาให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เป็นเอกภาพและไม่เป็นระบบ ในขณะที่บาง หน่วยงานเคร่งครัด บางหน่วยงานกลับยืดหยุ่นหรือย่อหย่อน และการที่หลายฝ่ายมีอานาจหน้าที่ตาม กฎหมายทับซ้อนกัน ทาให้ขาดเจ้าภาพที่เหมาะสมที่จะพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัญหาการ ทุจริตในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ก็ยังเป็นปัญหาสาคัญที่ทาให้การบังคับ ใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาเกิดขึ้นได้ยาก ปัญหาดังกล่าวยิ่งทาให้เรื่องต่างๆ มีความซับซ้อนและทวีความ รุนแรงมากขึ้น นอกเหนือจากปัญหาความเหลื่อมล้าของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของบุคคลใน สังคมจะแตกต่างกันแล้ว มาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายก็มีความแตกต่างกั นด้วย ในกรณีที่มีการบุกรุก ที่ดินหรือที่ป่า เจ้าหน้าที่ อาจจะไม่กล้าดาเนินคดีกับผู้มีอานาจหรือมีอิทธิพล แต่กลับกล้าที่จะจับและสั่งฟ้อง คนยากคนจนคนด้อยโอกาสอย่างเด็ดขาด การสั่งฟ้องและดาเนินคดีด้านที่ดินและป่าไม้กลายเป็นเรื่องของ การเลือกปฏิบัติ ปัญหาการมีสองมาตรฐาน ( Double Standard) ในกระบวนการยุติธรรมระหว่างคนจนกับ คนรวย คนที่มีตาแหน่งหน้าที่ทางการเมืองหรือทางราชการชั้นสูงกับคนธรรมดา คนที่มีอิทธิพลกับคนด้อย อิทธิพล คนฝ่ายอุตสาหกรรมกับคนฝ่ายอนุรักษ์ กระทั่งชาวต่างประเทศกับคนไทย จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ เสมอ อีกทั้งระบบยุติธรรมในชั้นการพิจารณาและพิพากษาคดีก็ไม่สามารถบรรเทาความไม่เป็นธรรมที่ เกิดขึ้นให้ลดลงได้ ในบางครั้งกลับมีกระบวนการลงโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่งอย่างไม่เหมาะสม ในกรณีที่มีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้มีอิทธิพลในการออกเอกสารสิทธิโดยไม่ถูกต้อง เหนือที่ชายหาด ที่ทาเลเลี้ยงสัตว์ ที่ป่า ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณะประโยชน์ หรือที่ดินของรัฐอื่นๆ หาก ฝ่ายประชาชนตื่นตัวที่จะปกป้องทรัพยากรในพื้นที่ของตน ประชาชนกลับกลายเป็นผู้ที่ต้องมีหน้าที่พิสูจน์ พยานหลักฐานมากมาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งที่กระทาการเพื่อปกป้องประโยชน์ของสาธารณะ ยิ่งไป กว่านั้น หากมีข้อกรณีโต้แย้งกัน ประชาชนผู้พยายามจะปกป้องทรัพยากรส่วนรวมอาจกลับต้องกลายเป็น จาเลยในคดีบุกรุกที่ดินที่ละเมิดกฎหมายได้ไปจากรัฐโดยมิชอบ ประชาชนกลายเป็นจาเลยในความผิดฐาน ทาให้เสียทรัพย์ กระทั่งความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น นอกเหนือจากปัญหาการเลือกปฏิบัติหรือการ ปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ดินและป่าไม้อีกหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการพิสูจน์แนวเขต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทีด่ ินของคนจนหรือของคนรวยก็เกิดเป็นข้อพิพาทกันอย่างทั่วหน้า ทาให้ในวันนี้ประชาชนหลายคนจึงได้ตั้งคาถามกับระบบยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและ ป่าไม้อย่างจริงจัง แต่ก็ยังไม่มีใครช่วยตอบปัญหาให้ได้ II. แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้


3

จากปัญหาข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ด้านที่ดินและป่าไม้ โดยหวังว่าจะเป็นความพยายามอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยตอบปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้คงจะต้องรีบกระทาอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพื่อไม่ให้ เหยื่อในกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ในประเทศไทยเกิดขึ้นซ้าแล้วซ้าเล่า อย่างไม่มีจุดจบ ๑. การจัดทาประมวลกฎหมายทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่ากฎหมายที่ดินและป่าไม้ในประเทศไทยมีเป็นจานวนมาก ประมวล กฎหมายที่ดินที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มิใช่กฎหมายที่วางระบบที่ดินในภาพรวม

หากเป็นแต่เพียง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การรังวัดที่ดิน และการจดทะเบียนสิทธิและนิติ กรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นสาคัญ เรื่องของการจัดการที่ดินยังมีอยู่ในกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ ตัวอย่างเช่นเรื่องที่ชายฝั่งหรือที่ชายตลิ่งถูกกาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้าไทย ที่ สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันมีอยู่ในกฎหมายปกครองท้องที่และกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ ที่ ที่ส่วนราชการอยู่ในความดูแลของกฎหมายที่ราชพัสดุ ดังนั้น หากจะได้มีการปฏิรูปกฎหมายต่างๆ โดยทา การรวบรวมนามาประมวลไว้ในที่เดียวกัน ก็จะทาให้ผู้ใช้กฎหมายสามารถจะมองภาพรวมและวางระบบ การจัดการได้ดีขึ้น ในทานองเดียวกัน กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ในปัจจุบัน ก็มีทั้งในส่วนที่เป็นกฎหมายว่าด้วย การจัดการป่าไม้แบบทั่วไป และกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ต่างลักษณะกัน ไม่ว่าจะเป็น ป่าสงวน ป่าอุทยาน ป่าที่เป็นเขตรักษาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ รวมทั้งป่ารกร้างป่าเสื่อมโทรมต่างๆ ซึ่ง กระจายตามกฎหมายป่าไม้แต่ละฉบับเช่นเดียวกัน ดังนั้น การจัดทาประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้ รวมทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงน่าจะเป็นทางออกที่สาคัญในการจัดระบบการจัดการทรัพยากรที่ดิน และป่าไม้ให้มีความเป็นเอกภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น การประมวลกฎหมายดังกล่าวน่าจะมีเป้าหมายเพื่อการวางหลักการของกฎหมายให้ชัดเจน เพราะใน ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าประเทศไทยจะยึดหลักการอะไรในการจัดการทรัพยากร ในต่างประเทศ มี แนวคิดหรือปรัชญาการจัดการสาคัญอยู่สองแนวใหญ่ๆ คือ

การจัดการแบบถือว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลาง

(Anthropocentric หรือ Humancentric) ที่สามารถนาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพื่อสนับสนุนประโยชน์ของ มนุษย์ ซึ่งในการใช้ของมนุษย์นั้น ยังจะต้องมีการจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรมในระหว่างคนในสังคมที่มี โอกาสที่แตกต่างกันด้วย และการจัดการแบบที่มองระบบนิเวศ

และระบบธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง

(Ecocentric) ตัวอย่างเช่นในหลายประเทศได้พัฒนาหลักจริยธรรมเรื่องที่ดิน ( Land Ethics) ที่มิได้มองว่า


4

ที่ดินเป็นแค่วัตถุในการเก็งกาไร หากแต่คือรากฐานของชีวิต ระบบนิเวศ และสรรพสัตว์ หรือตา มแนวคิด Gaia Theory ถือว่าโลกนี้มีชีวิตและมีพื้นปฐพีเป็นหัวใจที่ให้กาเนิดชีวิตและสรรพสิ่ง มนุษย์จะมาล่วงล้าให้ เกิดผลกระทบเกินไปไม่ได้ สาหรับประเทศไทย คงเป็นเรื่องท้าทายที่จะหาความสมดุลของปรัชญาสองเรื่องดังกล่าว เพราะ กระทั่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งในส่วนของมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ก็พูดไม่ชัดเจนว่าจะ ให้เรื่องใดสาคัญกว่ากัน ตามหลักปรัชญาทั้งสองฝ่าย หากจะจัดการให้ถูกต้อง ก็จาเป็นต้องชั่งน้าหนัก ระหว่างประโยชน์ของธรรมชาติที่ต้องอนุรักษ์ไว้ ในขณะเดียวกัน การใช้ประโยชน์ก็ต้องคานึงถึงความเป็น ธรรมในสังคมด้วย ซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้น่าจะอยู่ในจุดที่ละเมิดหลักการทั้งสองเรื่อง กล่าวคือ เรายังใช้ทรัพยากรกันอย่างเต็มที่โดยไม่คานึงถึงข้อจากัดของธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน การใช้ใน ระหว่างมนุษย์ก็ยังขาดความเป็นธรรมในการกระจายทรัพยากร ยังไม่เคยจัดลาดับความสาคัญของคนที่ควร จะเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและป่าไม้อย่างเหมาะสม ที่ผ่านมา รัฐยังใช้อานาจในการจัดการ ทรัพยากรเพื่อกลุ่ม ธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม

การเกษตร และการท่องเที่ยวรายใหญ่ที่มีโอกาสในสังคม มากกว่าการ

กระจายตัวให้ประชาชนรายย่อย โดยเฉพาะประชาชนผู้มีฐานะยากจน ดังนั้น หากมีการจัดทาประมวล กฎหมายที่ดินและป่าไม้ขึ้น จะต้องมีการกาหนดสัดส่วนของทรัพยากรเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ให้ชัดเจน และจัดทาหลักเกณฑ์การกระจายทรัพยากรให้มีความเป็นธรรมและความเหมาะสมมากขึ้นกว่าที่ เป็นอยู่ การอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ รัฐคงต้องชั่งน้าหนักที่สมดุล ระหว่างการดูแลความเป็นธรรม และสวัสดิการในสังคมควบคู่กันไป การให้กลุ่มทุน หรืององค์กรขนาดใหญ่ใช้ที่ดินหรือที่ป่าในราคาถูกเป็น จานวนมากเพื่อประกอบกิจกรรมเกษตรขนาดใหญ่หรือประกอบอุตสาหกรรม จาต้องชั่งน้าหนักความ เหมาะสมกับการให้ประชาชนรายย่อยเป็นผู้ได้รับประโยชน์ การให้ปัจเจก ชนรายบุคคลกับการให้ชุมชนใช้ ประโยชน์ก็ต้องชั่งน้าหนักอย่างสมดุลเช่นเดียวกัน กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและป่าไม้ที่จะมีในประมวล กฎหมายนี้ยังจะต้องกาหนดกระบวนการต่างๆ ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกกฎทางปกครอง เช่น การกาหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ หรือกระบวนการออกคาสั่งทางปกครองและการทาสัญญาทางปกครอง เช่น การออกใบอนุญาต การออกโฉนดเอกชน การออกโฉนดชุมชน การให้เช่า การให้สัมปทาน เป็นต้น ยิ่ง ไปกว่านั้น ยังต้องกาหนดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ องค์กรภาคประชาสังคมในขั้นตอนการวางแผนการใช้และการตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งการร่วมเฝ้าติดตามให้ ชัดเจนควบคู่กันไปด้วย


5

สาหรับการใช้ทรัพยากรโดยไม่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจจะต้องพัฒนาระบบการลงโทษตามกฎหมาย ให้มีมาตรฐานที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย ในกรณีที่มีการละเมิดกฎเกณฑ์

ที่ดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้

ประโยชน์ในทรัพยากร ประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้จักต้องมีเครื่องมือในการลงโทษที่เพียงพอ ไม่ว่าจะ เป็นมาตรการลงโทษในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง ซึ่งรัฐ

ชุมชน และ สังคมจักต้องช่วยกัน

สอดส่องดูแล บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มาตรการในเชิงการลงโทษที่มีอยู่ตามกฎหมายต่างๆ ใน ปัจจุบันยังมีความแตกต่างกันมาก บางกฎหมายมีโทษหนัก บางกฎหมายมีโทษเบา บางกฎหมายมีแต่โทษ ทางอาญา บางกฎหมายมีโทษทางแพ่งและทางปกครองด้วย ประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้ที่จะยกร่างขึ้น ใหม่นี้ จักต้องวางมาตรฐานของโทษให้มีความเหมาะสมและเป็นเอกภาพด้วย สาหรับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ได้กาหนดค่าเสียหาย ทางแพ่งในกรณีที่บุคคลกระทาให้ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐเสียหาย

โดยบังคับให้ต้องชดใช้มูลค่า

ทรัพยากรนั้น ถือเป็นกฎหมายที่มีเจตนาจะเยียวยาฟื้นฟูให้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทาลาย ให้สามารถ กลับคืนสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด ซึ่งนับเป็นกฎหมายที่มีความทันสมัยที่พยายามมองระบบนิเวศเป็น ศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะในอดีต ระบบกฎหมายไทยมอง แต่เพียงว่าต้องมีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์เท่านั้น กฎหมายถึงจะรับรองคุ้มครองสิทธิให้ แต่ในปัจจุบัน กฎหมาย ฉบับนี้ได้ให้ความคุ้มครองไปถึงตัวทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศโดยตรง ดังนั้น ผู้ใดทาให้ป่าเสื่อม โทรม ผู้นั้นต้อง แก้ไขทาให้ป่าดีขึ้นหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูป่าขึ้น แม้ป่านั้นจะไม่มี เจ้าของ ผู้ใดทาให้ดินเสีย ผู้นั้นต้องทาให้ดินฟื้นคืนสภาพกลับมามีคุณภาพดีเหมือนเดิม แม้ดินนั้นจะไม่มี ใครเป็นเจ้าของ ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่มีหลักการก้าวหน้ากว่าอีกหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ตัวบทกฎหมาย นี้ก็ยังขาดความชัดเจน และผู้ใช้กฎหมายส่วนใหญ่ของไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ ทาให้เกิดการ ใช้กฎหมายทีผ่ ิดวัตถุประสงค์และก่อความเสียหาย ตัวอย่างเช่น มีการตีความว่าค่าเสียหายที่เกิดแก่ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายความกว้างไกลรวมไปถึงค่าที่ทาให้โลกร้อนขึ้นเป็นอุณหภูมิหลายองศาซึ่ง ปราศจากการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ การใช้และการตีความกฎหมาย ดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ดังนั้น

ในการจัดทาประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้จึง

จาเป็นจะต้องทาการทบทวนกฎเกณฑ์เรื่องค่าเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติให้มีความชัดเจนและถูกต้อง ตามหลักวิชา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมที่มีมิติทางสังคมควบคู่ไปกับมิติทางสิ่งแวดล้อมที่สมดุลมากยิ่งขึ้น มาตรการบังคับคดีหรือมาตรการกาหนดโทษ ที่หมายความรวมถึงมาตรการในการเยียวยาฟื้นฟู ธรรมชาติไม่อาจได้มาด้วยการขังคนไว้ในเรือนจา การปรับ หรือการเรียกร้องเงินแต่เพียงอย่างเดียว ในความ


6

เป็นจริงอาจเกิดการกระทาการบางอย่างให้เกิดมีการฟื้นฟูเยียวยาขึ้น เช่นคาสั่งให้ผู้ตัดป่าต้องปลูกป่า ผู้สร้าง อาคารในที่สาธารณะต้องรื้อถอนอาคารออกไป ผู้ถมที่ในทะเลต้องขุดดินออกไป หรืออาจหมายความถึงการ สรรหาทรัพยากรที่อื่นมาชดเชย

นอกจากนี้

การจัดการกับเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายที่รัฐได้รับมาจาก

ผู้กระทาความผิดเพื่อให้เกิดกระบวนการบาบัดฟื้นฟูอย่างจริงจังก็เป็นเรื่องที่ต้องจัดระบบใหม่ มาตรการ ทางเลือกแบบใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์

จึงจาเป็นต้องถูกออกแบบมาในการจัดทาประมวลกฎหมายใหม่นี้ด้วย

เช่นเดียวกัน ในอดีต ในประเทศไทยเคยมีแนวคิดในเรื่องการจัดทาประมวลกฎหมายในลักษณะนี้อยู่บ้าง หรือใน ปัจจุบันในบางประเทศก็เริ่มจัดทาประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติขึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่น ประเทศสวีเดนมีการจัดทาประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้นแล้ว หรือประเทศเยอรมันมีความพยายามที่จะ จัดทาประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน แม้ยังไม่ประสบความสาเร็จ ดังนั้น จึงมีความจาเป็นที่ จะต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังต่อไปในอนาคต ๒. การจัดทากฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้ ในขณะทีป่ ระเทศไทยมีความจาเป็นที่จะต้องจัดทาประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้ขึ้นเพื่อทา หน้าที่เป็นกฎหมายสารบัญญัติที่จะกาหนดแนวทางในการใช้และการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ให้มี ความเป็นธรรมมากขึ้น การจัดทากฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้ที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติขึ้นเป็น พิเศษก็มีความจาเป็นไม่แพ้กัน แม้ประเทศไทยมีประมวลกฎหมายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ความ อาญา รวมทั้งความปกครองอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถเป็นกลไกในการสร้างความเป็นธรรมในกระบวนการ ยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้ได้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการขาดการมองดาเนินกระบวนพิจารณาแบบองค์รวม ที่เหมาะสมกับสภาพของคดี ในปัจจุบัน จึงเกิดมีแนวความคิดว่าอาจจะจาเป็นต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดี พิเศษในเรื่องที่เกี่ยวข้องนีข้ ึ้นมา ดัง

เช่นในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมก็ได้จัดตั้ง

คณะทางานเพื่อการยกร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นและขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการ ดาเนินการ สาหรับหลักการในกฎหมายใหม่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้ที่จะขอนาเสนอในที่นี้ จัก ต้องเป็นไปเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีป่าไม้และที่ดินมีมาตรฐาน มีความถูกต้อง

เป็นธรรม ประหยัด

สะดวก และรวดเร็ว การจัดประเภทคดีต้องกระทาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการในเชิง การ ป้องกันและระงับปัญหามากกว่าการตามแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


7

๒.๑ กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้จักต้องมีมาตรฐาน มิใช่เลือกปฏิบัติ ที่ผ่านมา ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้แบบสองมาตรฐานเป็นปัญหาที่มีความสาคัญ ดังนั้น ระบบการดาเนินคดีแบบใหม่จาเป็นจะต้องดาเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันให้ได้ ในปัจจุบัน ปัญหาการละเมิดกฎหมายเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก ความยุ่งยากจึงตกอยู่กับผู้บังคับใช้กฎหมายว่าจะเลือก ดาเนินคดีกับผู้ใดและสมควรจะเลือกใช้มาตรการใดให้เหมาะสม เพราะรัฐเองมีทรัพยากรที่จะบังคับใช้ กฎหมายจากัด ดังจะเห็นว่าบุคลากรที่จะดาเนินการบังคับใช้กฎหมายมีอยู่น้อย ซึ่งยังไม่มีความพร้อมและไม่ มีทักษะในการดาเนินการ นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณในการดาเนินการที่จากัด ดาเนินการ

จึงมีความยากในการ

ยิ่งไปกว่านั้น น่าจะเป็นเรื่อง ปัญหาอานาจและอิทธิพลของผู้ที่เกี่ยวข้องทาให้การบังคับใช้

กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาเกิดขึ้นได้ยาก อานาจและอิทธิพลมักทาให้เกิดความกลัว ความโลภ และความ กล้าในการดาเนินการอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากปัญหาการเลือกปฏิบัติเป็นปัญหาใหญ่ในกระบวนการ ยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ ดังนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้จักต้องมีมาตรการในการแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ ได้แก่

การ

กาหนดให้พนักงานอัยการทาหน้าที่เป็นผู้ประสานและเป็นศูนย์กลางในการ

ประสานงานคดีที่ดินและป่าไม้ ( Focal Point) กับหน่วยงานด้านที่ดินและป่าไม้ที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งการ จัดตั้งคณะทางานด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้ เพื่อให้มีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็น ระบบที่น่าเชื่อถือมากขึ้น รวมทั้งต้องมีระบบติดตามและตรวจสอบที่จริงจังมากยิ่งขึ้ นจากทั้งฝ่ายรัฐและภาค ประชาชน หรือในเรื่องนี้มีข้อเสนอจากทางภาคประชาชน ที่จะขอให้มีกระบวนการตรวจสอบในขั้นต้นใน ระดับชุมชนเป็นการเฉพาะหรือควบคู่กันไป เพื่อจะให้การทางานเป็นไปด้วยความถูกต้อง รอบคอบและเป็น ธรรมมากยิ่งขึ้น ๒.๒ กระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้จักต้องเข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว และประหยัด การเข้าถึงความยุติธรรมได้ง่ายหมายความรวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนฟ้องร้องคดีได้ง่ายด้วย ที่ผ่านมา กฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องอานาจฟ้องคดีที่ดินและป่าไม้ในส่วนของผู้เสียหายและประชาชนยังไม่มี ความชัดเจน การพัฒนากฎหมายเรื่องอานาจฟ้องทั้งในส่วนของผู้เสียหาย การฟ้องโดยชุมชน การฟ้องโดย องค์กรเอกชนด้านที่ดินและป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุ์พืช รวมทั้งการฟ้องโดยประชาชนทั่วไป การพัฒนาระบบการฟ้องคดีโดยองค์กรชุมชนหรือองค์กรประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสาคัญ ใน ต่างประเทศเองก็มีแนวโน้มให้องค์กรในลักษณะกลุ่มฟ้องคดีเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มอานาจต่อรองให้ชาวบ้าน อันเป็นการสนับสนุนการรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สาหรับเรื่องอานาจฟ้อง


8

โดยชุมชนนั้น จาเป็นต้องมีการกาหนดรายละเอียดให้ชัดเจน เพราะแม้กฎหมายรัฐธรรมนูญให้การรับรอง สิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมและการฟ้องร้อง แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายที่มากาหนดรายละเอียดที่ชัดเจนไว้ ทาให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีความเข้าใจไม่ตรงกัน บางส่วนที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน ก็พยายามตีความแบบขยายความ ในขณะที่ฝ่ายที่ไม่สนับสนุนเรื่องสิทธิชุมชนก็จะตีความแบบจากัดสิทธิ ของประชาชน กระบวนการคัดเลือกตัวแทนของชุมชนควรเป็นอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสมเป็นเรื่องที่ ต้องพิจารณา กรณีตัวแทนชุมชนมีหลายฝ่ายจะทาอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องออกแบบให้ดกี ่อนทีป่ ัญหาจะเกิด ในส่วนของการฟ้องคดีโดยองค์กรเอกชนด้านที่ดินและป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุ์พืช นั้น ในปัจจุบันยังไม่ ความชัดเจนว่าจะกระทาได้เพียงใด ซึ่งจาเป็นจะต้องมีการบัญญัติกฎหมายรับรองสิทธิให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้ง ระบบการฟ้องคดีแบบเปิด ( Open Standing) โดยประชาชนทั่วไปเพื่อให้สามารถนาคดีสาธารณะเข้ามาสู่ กระบวนการ ก็เป็นเรื่องที่ควรต้องพัฒนากันอย่างจริงจังต่อไป สาหรับการพัฒนาวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้เพื่อให้เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว และประหยัด นั้น ยังมีวิธีการอื่นๆ อย่างมากมาย ซึ่งผู้ยกร่างกฎหมายจักต้องสรรหามาตรการใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสมเข้ามา ใช้ต่อไป ๒.๓ การยกระดับการจัดการพิเศษสาหรับคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ จากการสารวจข้อพิพาททางที่ดินและป่าไม้ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมอย่างรุนแรง มักจะ เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะเป็นสาคัญ คดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ คดีที่ ประชาชนหรือ ชุมชนพยายามรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินของส่วนรวมต่างๆ ไว้เพื่อประโยชน์ของ ชุมชนหรือสังคม แต่ไม่มีอานาจต่อรองหรือต่อสู้คดีให้สามารถรักษาไว้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยโอกาสที่จะ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่แตกต่างกัน ฝ่ายที่มีโอกาส ดีกว่าก็อาจใช้เครื่องมือทางกฎหมายทาให้ฝ่ายด้อย โอกาสต้องเผชิญกับความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่นคดีที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ นักลงทุนได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ออกเอกสารสิทธิในเขตป่า เขตที่ดินสาธารณะ เขตชายหาด เขตที่ทหาร หรือที่ราชพัสดุต่างๆ โดยมิชอบ โดยมีกระบวนการในการออก เอกสารสิทธิปลอม หรือมีกระบวนการรังวัดชี้แนวเขตโดยมิชอบ เพื่อเข้าไปสร้างโรงงาน สร้างโรงแรมรี สอร์ท ทาเหมืองแร่ หรือทากิจการเกษตรกรรมต่างๆ ประชาชนที่เห็นปัญหาดังกล่าวพยายามจะหยุดยั้งการ กระทาที่ไม่ถูกต้องแต่ไม่สามารถกระทาได้ ในกรณีเช่นนี้ หากประชาชนจะไปฟ้องร้องต่อศาลก็อาจจะไม่ สามารถฟ้องร้องได้เพราะไม่มีอานาจฟ้อง หรือหากฟ้องร้องกันก็จะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนต่อเอกชน


9

ตามปกติ ซึ่งความสามารถในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีของฝ่ายประชาชนมีจากัด โอกาสในการแพ้คดีย่อมมี สูง ในกรณีเช่นนี้ จึง สมควรที่จะมีระบบการจัดการในลักษณะพิเศษสาหรับคดีประเภทนี้เพราะถือเป็นการ ฟ้องคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest Litigation) ยิ่งไปกว่านั้น ที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ฝ่ายประชาชนจะไปที่ศาลเพื่อฟ้องร้องคดีดังกล่าว แต่ฝ่าย ประชาชนกลับกลายเป็นผู้ถูกฟ้องจากผู้บุกรุก โดยเฉพาะ ฝ่ายนักลงทุนหรือผู้มีอิทธิพลเสียเอง ทั้งนี้เพราะ หากมีการต่อสู้โต้แย้งกัน มีการชุมนุมประท้วงโดยฝ่ายประชาชน หรือการใช้กาลังต่อสู้กัน ฝ่ายประชาชนจะ กลายเป็นจาเลยในคดีเสียมากกว่า ดังจะเห็นได้ว่าฝ่ายประชาชนจะถูกฟ้องคดีชุมนุมโดยมิชอบ หากมีการ รวมตัวประท้วงกัน ประชาชนถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทที่ไปกล่าวหาการออกเอกสารสิทธิมิชอบ ประชาชน ถูกฟ้องฐานทาให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพ หากไปกั้นรั้วเพื่อปกป้องที่สาธารณะ ประชาชนถูกฟ้องข้อบุกรุก หากเข้าไปในพื้นที่ส่วนรวมที่เคยเป็นของชุมชน ประชาชนถูกฟ้องข้อหาทาให้เสียทรัพย์ หากไปรื้อถอนการ ปักปันเขตรั้วต่างๆ ของฝ่ายเอกชน หรือประชาชนถูกฟ้องฐานทะเลาะวิวาท หากมีการวิวาทกับฝ่ายละเมิด กฎหมาย รวมถึง การถูกฟ้องคดีละเมิดอานาจศาล เป็นต้น ซึ่งคดีเหล่านี้พลิกกลับไปให้ฝ่ายประชาชนต้อง หาทางต่อสู้คดีเพื่อเอาตัวให้รอด

ซึ่งจะยิ่งทาให้การต่อสู้เพื่อรักษาทรัพย์สินของส่วนรวมเป็นไปอย่าง

ยากลาบากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมองเรื่องราวต่างๆ อย่างแยกส่วน ทาให้ ความผิดของฝ่ายประชาชนกลายเป็นความผิดฉกรรจ์ ในขณะที่ความผิดของผู้ละเมิดกฎหมายตัวจริงกลับถูก ละเลยหรือถูกมองข้าม ภาพความอยุติธรรมเช่นนี้ยังเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันในทุกพื้นที่ ทาให้ประชาชนที่มีจิตสาธารณะ ที่ หลายคนถูกเรียกว่า “นักต่อสู้สามัญชน” ต้องเข้าไปอยู่ในคุกตารางในทางอาญาจานวนหนึ่ง ถูกพิพากษาให้ ชาระค่าเสียหายทางแพ่งอีกจานวนหนึ่ง ทาให้ประชาชนผู้กล้า ที่ประสงค์จะปกป้องทรัพยากรของส่วนรวม ต้องล่าถอย และทาให้ผู้นาชุมชนหลายแห่งถูกทาร้ายและถูกสังหาร แม้ในปัจจุบันประชาชนเหล่านี้ได้ตื่นตัว พยายามต่อสู้ดิ้นรนด้วยตนเอง พยายามรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ แต่ก็ยัง ไม่สามารถต่อสู้ให้เกิดความเป็นธรรมได้ การจัดระบบคดีแบบใหม่จักต้องปรับเปลี่ยนสถานะคดีเหล่านี้จากการเป็นคดีเอกชนต่อเอกชน ที่ ศาลมักจะมีคาวินิจฉัยว่าเห็นว่าเป็นคดีแพ่งระหว่างเอกชนด้วยกัน ผู้ใดมาก่อนมีย่อมมีสิทธิดีกว่า และวินิจฉัย ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ไป โดยศาลถือว่าทั้งสองฝ่ายมีอาวุธทางแพ่งที่จะต่อสู้กันอย่างเท่าเทียม โดย ยึดระบบกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแบบเอกชนเป็นหลัก ให้กลายเป็นคดีแบบพิเศษ ในอนาคต หากคดี


10

ใดมีการกล่าวอ้างว่าที่ดินที่ป่าพิพาทเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม โดยมีหลักฐานที่น่ารับฟังในระดับหนึ่ง คดี เหล่านี้จักต้องถูกปรับสถานะจากคดีของปัจเจกชนเฉพาะรายให้กลายเป็นคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะไป ในทันที ซึ่งหมายความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะพนักงานอัยการหรือหน่วยงานฝ่ายอื่นๆ รวมทั้งอาจจะ ต้องมีฝ่ายวิชาการหรือภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งอื่นๆ จะ ต้องเข้ามาช่วยกันจัดเตรียมพยานหลักฐานร่วมไป กับภาคประชาชนเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการคานอานาจในการสู้คดีกันอย่างเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่า นั้น ศาลก็อาจจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นกรรมการตัดสินในระบบการกล่าวหา ให้ต้องมาช่วยค้นหา ความจริงแบบระบบไต่สวนมากขึ้น ดังนั้น ในอนาคต คดีเอกชนจานวนมากจะต้องถูกปรับให้เป็นประเภท คดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ทุกฝ่ายจะต้องเข้ามาช่วยค้นหาความจริงมากยิ่งขึ้น มิฉะนั้น ประชาชนผู้มี เจตนาดีจะต้องตกเป็นเหยื่อในกระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้อย่างซ้าแล้วซ้าเล่า

โดยไม่มีจุดจบ

นอกจากนี้ คดีป่าไม้และที่ดินหลายเรื่องเกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง ดังนั้น การมีมาตรการ พิเศษเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนก็เป็นเรื่องที่จะต้องจัดให้มีขึ้นควบคู่ไปด้วย ๒.๔ การพัฒนาระบบการฟ้องคดีสาธารณะของรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีสาธารณะโดยประชาชนข้างต้นจะแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากมีการพัฒนาระบบ การฟ้องคดีสาธารณะโดยฝ่ายรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ผ่านมา ปัญหาทั้งหมดเป็นเพราะฝ่ายรัฐละเลย ไม่ดาเนินการกับผู้ละเมิดกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น ในบาง พื้นที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นฝ่ายยุยงให้ชาวบ้านออก หน้าไปต่อสู้กับฝ่ายทุนหรือฝ่ายนักการเมืองหรือฝ่ายอิทธิพลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าดาเนินการเอง ทาให้ ปัญหาต่างๆ ยากที่จะแก้ไข ในอนาคต จาเป็นต้องมีการออกแบบระบบการทางานแบบใหม่ให้การฟ้องคดีสาธารณะของรัฐ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เจ้าพนักงานอัยการน่าจะต้องเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อข้อมูล และ จัดการเรื่องคดีอย่างเป็นองค์รวม การละเมิดกฎหมายหลายครั้งเกี่ยวพันกับกฎหมายหลายฉบับและเกี่ยวพัน กับองค์กรที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย รัฐจักต้องมีกลไกที่จะใช้กฎหมายทุกฉบับได้อย่างเชื่อมโยงและเป็นเอกภาพ เพื่อให้ผู้กระทาความผิดได้รับโทษจากทุกกระทงความผิด และทาให้เกิดกระบวนการเยียวยาแก้ไข ในทุก แง่มุม ในคดีที่มีความสาคัญและเป็นที่สนใจของสาธารณชนอย่างมาก การตั้งตัวแทนจากภาควิชาการหรือ ภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสวงหาความจริงในคดี ย่อมจะทาให้เกิดการยอมรับมากยิ่งขึ้น การฝึกอบรมให้เกิดการทางานอย่างเชื่อมโยงและเป็นทีมงานกันเป็นเรื่องที่มีความจาเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมายังไม่มีภาพของการทางานเช่นนี้ การฟ้องคดีโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ


11

ส่วนท้องถิ่นจาเป็นต้องทาอย่างเป็นระบบ และในอนาคต การฟ้องคดีโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นถือ เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทาหน้าที่เป็น ตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างรัฐส่วนกลางและทุนจากส่วนกลาง ซึ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะ เล่นบทบาทเป็นตัวกันและคุ้มครองชีวิตและผลประโยชน์ของชาวบ้านก็ได้ หรืออาจจะเล่นบทบาทที่เข้าข้าง การรุกรานจากภายนอกก็ได้ ตามแต่จิตสานึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง ๒.๕ การพัฒนาระบบการค้นหาความจริงที่เกี่ยวข้องกับคดี การพัฒนาระบบการค้นหาความจริง ( Fact-Finding Process) ในคดีที่ดินและป่าไม้ เป็นเรื่องที่มี ความสาคัญเพื่อให้ได้ความถูกต้องของคดี การรับฟังพยานเอกสารแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ การเชื่อ ในพยานเอกสารของทางราชการแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อเป็นที่ทราบกันดี ว่ากระบวนการออกเอกสารสิทธิในประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก ดังนั้น การรับฟังพยานบุคคล รวมถึงการออกไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงในพื้นที่ ไม่ว่าจะโดยผู้พิพากษาหรือเจ้าพนักงานคดีของศาลก็น่าจะเป็น วิธีการที่ช่วยทาให้ข้อเท็จจริงปรากฏได้ง่ายขึ้น การพิสูจน์พื้นที่ป่า ที่เขา ที่ลาดชัน หรือที่ชายหาด ไม่ใช่เรื่อง ยากเกินไป หากมีความพยายามที่จะค้นหาความจริงกันอย่างจริงจัง ดังนั้น กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐานใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาความจริงนี้จึงอาจต้องปรับปรุงในเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเรื่องการ ปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้พิพากษาในการค้นหาความจริงในคดี หรือการปรับเปลี่ยนภาระในการพิสูจน์คดี บางประการด้วย นอกจากนี้ การนาระบบนิติวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ทางวิชาการทางศาสตร์อื่นๆ เข้ามาช่วยค้นหา ความจริงในคดีกเ็ ป็นสิ่งที่จะต้องกระทาให้เป็นระบบขึ้น การจัดระบบข้อมูลและองค์ความรู้ในเรื่องที่ เกี่ยวข้องก็เป็นสิ่งสาคัญ นอกจากนี้ จักต้องมีการจัดทาระบบทะเบียนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ เกี่ยวข้องและจัดหาให้แก่ศาลที่ต้องการอย่างสะดวก ที่ผ่านมายังไม่มีฝ่ายใดเป็นเจ้าภาพในเรื่องนีอ้ ย่างจริงจัง นอกเหนือจากเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ในหลายกรณี การพิสูจน์ข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับข้อมูลทาง สังคมศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา และชาติพันธุ์วิทยาต่างๆ การพิสูจน์เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณีที่เชื่อมโยงกับเรื่องการใช้ที่ดินที่ป่า โดยเฉพาะของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่กระบวนการ ยุติธรรมจักต้องเข้าไปเรียนรู้และรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาความจริงในคดีด้วยเช่นเดียวกัน ที่ผ่าน มาเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลจะไม่ยอมรับรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ โดยอ้างว่าไม่ใช่ประเด็นหรือนอก


12

ประเด็นแห่งคดี ทั้งๆ ที่บางครั้ง การพิสูจน์วัฒนธรรมประเพณีบางประการอาจนาไปสู่การได้สิทธิ การมี ความผิด หรือการพ้นผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เกี่ยวกับเรื่องประเด็นในคดีนี้ ที่ผ่านมา ศาลยังมักห้ามห้ามนาสืบบริบทของคดี แต่มุ่งพิจารณาเพียง หลักฐานเชิงประจักษ์โดยไม่นาพาต่อเบื้องหลังของเหตุการณ์ความขัดแย้ง ทาให้ขาดการมองภาพความ ขัดแย้งอย่างเป็นองค์รวม ทาให้หลายเรื่องถือการเป็นเรื่องคดีพิพาทของปัจเจกบุคคลเท่านั้น ทาให้ปิดโอกาส ของฝ่ายประชาชนหรือชุมชนในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน อันจะนาไปสู่ความขัดแย้งที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การค้นหาความจริงที่มีประสิทธิภาพจึงต้องทาให้กระบวนการยุติธรรมสามารถเห็นภาพความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นองค์รวม มองเห็นสาเหตุของปัญห าที่แท้จริงเพื่อจะได้สามารถค้นหาแนวทางในการ แก้ไขได้อย่างถูกต้องต่อไป ซึ่งหากจะมีการลงโทษก็จะหามาตรการลงโทษได้อย่างเหมาะสม และหากจะมี มาตรการเยียวยาแก้ไขฟื้นฟู ก็จะได้กระทาอย่างถูกต้องเหมาะสมเช่นเดียวกัน ในที่สุดแล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้จะต้องเป็นกลไกที่จะต้องทาให้ทุกฝ่ายทางาน เชิงรุก (Proactive) ในการเข้ามาทาหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้เกิดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ๒.๖ การพัฒนาการใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษา การใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษาจักต้องเป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา ของกฎหมายที่ดินและป่าไม้ นั่นคือการดูแลความเป็นธรรมทางนิเวศ และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและ สังคมควบคู่กันไป ที่ผ่านมาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อมนั้น ศาลยังออก มาตรการต่างๆ ในเชิงการแก้ไขปัญหามากกว่าการป้องกันปัญหา ดังนั้น ในอนาคต การพยายามระงับหรือ ป้องกันปัญหาความเสียหายที่จะเกิดแก่ที่ดินและป่าไม้ ที่โยงกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (

Sustainable

Development) หรือหลักการจัดการแบบยั่งยืน (Sustainable Management) หลักความคุ้มครองอนุชนรุ่นหลัง (Inter-Generational Justice) และหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Principle) จึงเป็นเรื่องที่ศาล สมควรนามาพิจารณาในการออกคาสั่งและทาคาวินิจฉัยต่างๆ มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เกี่ยวกับกระบวนการใน การบาบัดฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศาลอาจจะต้องทางานร่วมกับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อหามาตรการที่เหมาะสม และหาองค์กรเครือข่ายเพื่อส่งต่องานอย่าง เป็นระบบมากยิ่งขึ้น


13

สาหรับประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงกับความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจนั้น การ ใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษาของศาลในคดีที่ดินและป่าไม้ในช่วงที่ผ่านมา ยังถูกตั้ง คาถามว่าถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ โดยยังมีคาวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนืองๆ จากสังคมว่า ชาวบ้านที่มีฐานะ ยากจนถูกศาลตัดสินจาคุกในคดีที่ดินและป่าไม้โดยไม่รอการลงโทษเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่ผู้มีอิทธิพล หรือนักลงทุนต่างๆ ไม่ได้รับโทษ รับโทษน้อย หรือมีตัวแทนมารับโทษแทน เพราะสาวไปไม่ถึงตัวการ คาวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ศาลจักต้องรับฟังอย่างตั้งใจ และต้องมีการรวบรวมข้อมูล จัดทา สถิติคดี และทาการศึกษาวิจัยว่ามีปัญหาที่เกี่ยวข้องอยู่จริงหรือไม่ อย่างไร และหากมีแนวโน้มว่าศาลยังไม่ สามารถให้ความเป็นธรรมในคดีที่ดินและป่าไม้ได้อย่างเพียงพอ ศาล อาจจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทในการ ดาเนินงาน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนการใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษาให้มีความ เหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะคาสั่งและคาพิพากษาในคดีอาญา ที่เริ่มต้นตั้งแต่การพิจารณา หมายจับ การปล่อยชั่วคราว การออกมาตรการเพื่อความปลอดภัย และการกาหนดโทษ หรือมาตรการคุม ประพฤติในลักษณะต่างๆ นั้น ในทุกขั้นตอนเกี่ยวพันกับสิทธิและเสรีภาพในร่างกายและชีวิตของประชาชน ทั้งสิ้น ซึ่งในคดีที่คู่ความมีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาสด้วยประการต่างๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสมาชิกใน ครอบครัวของบุคคลคนหนึ่งอาจจะกระทบกับชีวิตของบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวมากกว่าคนทั่วไป สาหรับ ในคดีแพ่ง การกาหนดมาตรการบังคับให้กระทาหรือละเว้นการกระทา หรือการกาหนดให้มีการชดใช้ ค่าเสียหายในคดี ย่อมหมายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของครอบครัวโดยรวมของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งศาลจัก

ต้องพึงระมัดระวังถึงผลกระทบต่างๆ เหล่านี้อย่างรอบด้านด้วย ๒.๗ การพัฒนามาตรการหรือกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแทนกระบวนการปกติ ในปัจจุบัน กฎหมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายทางด้านเอกชน กฎหมายเด็กและเยาวชน หรือ กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว และกฎหมายด้านสังคม ได้กาหนดมาตรการหรือกระบวนการยุติธรรม ทางเลือกแทนกระบวนการปกติ เพื่อให้การจัดการข้อพิพาทและการแก้ปัญหาการละเมิดกฎหมายมีความ คล่องตัว ยืดหยุ่น และแก้ปัญหาให้เกิดผลสาเร็จมาขึ้น ทั้งในส่วนของคดีแพ่งและคดีอาญา กล่าวคือทั้งใน ส่วนที่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกทางแพ่ง ( Alternative Dispute Resolution) หรือกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์หรือเชิงแก้ไขเยียวยาในทางอาญา ( Restorative Justice) หรือกระบวนการยุติธรรม ชุมชน ( Community Justice) แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีมาตรการหรือกระบวนการทางเลือกที่ชัดเจนเกี่ยวกับ เรื่องกฎหมายที่ดินและป่าไม้ ทาให้การใช้กฎหมายอาจมีความแข็งตัวไม่ยืดหยุ่น


14

เหตุผลสาคัญที่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยังพัฒนาไม่มาก เป็นเพราะหลายฝ่ายมีความเชื่อว่า กฎหมายที่ดินและป่าไม้เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของส่วนรวม การเปิดช่องให้คู่ความฝ่ายรัฐไปทาข้อตกลง เจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ละเมิดกฎหมาย อาจไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ทาให้เรื่องนี้ได้รับการพัฒนาน้อยมาก ใน ต่างประเทศก็มีความเชื่อที่ไม่ต่างจากกัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน

หลายประเทศได้ยินยอมให้มี

กระบวนการทางเลือกเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในคดีที่ดินและป่าไม้ ทั้งในส่วนของคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง เพื่อให้คู่ความสามารถระงับข้อพิพาทกันได้ง่ายขึ้น และให้มีการดาเนินการแก้ไข เยียวยาไปในทิศทางที่เหมาะสม โดยไม่จาต้องฟ้อง ตัดสินหรือบังคับคดี การพัฒนามาตรการหรือกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแทนกระบวนการปกติจึงเป็นเรื่องที่สมควร จัดทาอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องถูกครอบงาอย่างไม่ เหมาะสม จนทาให้การจัดทากระบวนการทางเลือกเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ๓. การพัฒนาหน่วยงานพิเศษในกระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้ นอกเหนือจากการพัฒนากฎหมายพิเศษรูปแบบใหม่ๆ แล้ว การพัฒนาหน่วยงานพิเศษใน กระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้แบบใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องที่จาต้องนามาพิจารณาอย่างจริงจัง เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเจ้าหน้าที่ซึ่งบังคับใช้กฎหมาย และศาล รวมทั้งหน่วยงานช่วยเหลือ ประชาชน และหน่วยงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง ๓.๑ การจัดตั้งคณะทางานพิเศษด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้ การจัดตั้งคณะทางานพิเศษด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้น่าจะช่วยทาให้เกิดการวาง ระบบในการดาเนินการตามกฎหมายได้อย่างเหมาะสมและเกิดความเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น กระบวนการใช้ ดุลพินิจในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องทางแพ่ง หรือการสั่งฟ้องและดาเนินคดีอาญา จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม มิใช่ทาตามอาเภอใจ เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและป่าไม้มีหลายฉบับและมีหน่วยงานหลายฝ่าย จึงจาเป็นต้อง มีหน่วยงานกลางขึ้นมาประสานงาน ที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดตั้งคณะกรรมการในลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการออกระเบียบสานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทีม่ ีอัยการสูงสุดเป็นประธาน และมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเข้าร่วม โดยมีหลักการให้ตั้งคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม


15

แห่งชาติ ซึ่งเป็นคณะใหญ่ที่มีขอบเขตอานาจหน้าที่โยงกับการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้อยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ ระเบียบดังกล่าวก็ยังไม่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม แม้กระทั่งการนัดประชุมสักหนึ่ง ครั้ง ดังนั้น จึงอาจจะต้องมีการผลักดันกันอย่างจริงจังให้เกิดการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ หรือมิฉะนั้นก็อาจจะ ต้องตั้งคณะทางานพิเศษด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งน่าจะต้องมีฝ่าย ประชาสังคม และภาควิชาการเข้าร่วมด้วย เพื่อให้มีข้อมูลแลกเปลี่ยนและมีการเสนอแนะแนวทางในการ ดาเนินการที่หลากหลายขึ้น คณะทางานชุดนี้จะต้องเป็นคณะที่วางมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติ หรือไม่ดาเนินการอย่างไร้ประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการวางแนวนโยบายใน การบังคับใช้กฎหมายแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ดาเนินการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดมรรคผลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการเฝ้าติดตามและการประเมินผลอย่างจริงจังด้วย งานของคณะทางานชุดนี้ยังน่าจะหมายถึงการสร้างบุคลากรให้มีทักษะในการทาหน้าที่อย่างถูกต้อง ด้วย ดังนั้น อาจจะต้องออกแบบและจัดทาการฝึกอบรมที่มีมาตรฐานที่ดีให้เกิดขึ้นด้วย เพื่อให้วันหนึ่ง หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะในระดับเจ้าหน้าที่ ระดับเจ้าพนักงานตารวจ และเจ้าพนักงาน อัยการที่มีความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปกับความเป็นธรรมทาง เศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น ภาระหน้าที่ของคุณทางานชุดนี้ยังต้องรวมถึงการทาเครือข่าย ของหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน ชุมชน และวิชาการที่จะมารองรับงานในกระบวนการยุติธรรมด้าน ที่ดินและป่าไม้ทั้งระบบด้วย ๓.๒ การจัดตั้งศาลพิเศษด้านที่ดินและป่าไม้ การจัดตั้งศาลพิเศษเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาพิเศษที่แต่ละสังคมมี ในบางประเทศ เช่น ประเทศสวีเดนเมื่อมีปัญหาสิ่งแวดล้อมมาก ก็ได้มีการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมขึ้น ในประเทศออสเตรเลียมีการ จัดตั้งศาลที่ดินควบคู่ไปกับศาลสิ่งแวดล้อมในบางมลรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและ สิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากประเทศไทยเห็นว่าปัญหาที่ดินเกี่ยวข้องกับเรื่องความไม่เป็นธรรมที่มีผลกระทบกับ ชีวิตของผู้คนเป็นจานวนมาก การจัดตั้งศาลที่ดินและป่าไม้ขึ้นมาเป็นพิเศษก็เป็นเรื่องที่สามารถจะทาได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน สถิติคดีด้านที่ดินและป่าไม้ ทั้งในส่วนของศาลยุติธรรมและศาลปกครองก็น่าจะมีมากเพียง พอที่จะแยกศาลที่ดินและป่าไม้ออกมาเป็นพิเศษได้


16

ศาลพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้นนี้จะไม่มีประโยชน์เลยหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือที่ต่างประเทศหลายแห่งกาลังพัฒนาระบบศาลที่แก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ ( Problem- Solving Court) ขึ้นมา ศาลที่ดินและป่าไม้หากจะมีขึ้น จักต้องมีขอบเขตอานาจเกี่ยวกับการจัดการคดีที่ดินและป่าไม้ รวมทั้ง คดีที่เกี่ยวข้องแบบเบ็ดเสร็จ ปัญหาในคดีที่ดิน

และป่าไม้จักไม่ต้องส่งไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด

อานาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อชี้ขาดให้ต้องเสียเวลาของคู่ความอีกต่อไป เพราะ คดีจะขึ้นมาที่ศาลนี้เป็นหลัก ไม่ว่าคดีจะพัวพันกันระหว่างกรรมสิทธิ์ของเอกชน และเกี่ยว

พันกับการดาเนินการของเจ้าหน้าที่ทาง

ปกครองในขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ การระวางชี้แนวเขต หรือการออกเอกสิทธิต่างๆ หรือไม่ ซึ่งคดีที่ดิน และป่าไม้ยังหมายความรวมถึงการออกกฎหรือการออกใบอนุญาตที่เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง รวมถึงการละเมิด กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

เพื่อให้ศาลนี้มีลักษณะเป็นศาลที่มีศูนย์

ปฏิบัติการแบบ One-Stop Service อย่างแท้จริง การสร้างสถาบัน

ศาลแบบใหม่ (Institutionalize) ให้เกิดขึ้น น่าจะมีเป้าหมายที่จะ พัฒนาสถาบันให้

เป็นศูนย์กลางในการสร้างระบบการจัดการคดีที่ดินและป่าไม้ทมี่ ีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ การสร้างสถาบันยังหมายความรวมถึงการสร้างบุคลากรที่ความชานาญเป็นพิเศษด้วย ซึ่งมิใช่แค่ผู้พิพากษาที่ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี หากแต่ต้องมีพนักงานคดีด้านที่ดินและป่าไม้ รวมถึง การสร้างกลไกให้เกิดการพัฒนาเจ้าพนักงานบังคับคดีด้านที่ดินและป่าไม้ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หากมี ความจาเป็นยังอาจจะต้องมีการจัดทาระบบผู้พิพากษาสมทบด้านที่ดินและป่าไม้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ใน ประเทศออสเตรเลีย มีการจัดตั้งศาลชนพื้นเมือง ( Native Court) ที่ให้ชนพื้นเมืองมีส่วนร่วมตัดสินคดีด้าน ที่ดินศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Land) และป่าไม้ของชุมชน (Native Forest) ขึ้นเป็นพิเศษเลย ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะ นาเรื่องนี้มาพิจารณาปรับใช้ให้เหมาะสมด้วย นอกเหนือจากนี้ ศาลที่ดินและป่าไม้ยังต้องพัฒนาระบบการ ขึ้นทะเบียนพยานผู้เชี่ยวชาญให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเรื่องการอ่าน แผนที่ทางอากาศ เรื่องการระวางชี้แนวเขต เรื่องระบบป่าชุมชน และเรื่องระบบนิเวศต่างๆ เป็นต้น ศาลที่ดินและป่าไม้จาเป็นต้องทาหน้าที่เป็นผู้สร้างระบบการจัดการความรู้ให้มีความต่อเนื่องด้วย ซึ่งหมายถึงการรวบรวมสถิติคดีความ รวมทั้งข้อขัดแย้งด้านที่ดินและป่าไม้ไว้อย่างเป็นระบบ การจัดตั้งศูนย์ ข้อมูลด้านคดีที่ดินและป่าไม้ เพื่อที่จะทาให้ภาพของปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนขึ้น รวมทั้งมี หน่วยศึกษาวิจัยเพื่อให้ข้อขัดแย้งทั้งหลายได้รับการแก้ไขไปในทิศทางที่ถูกต้องต่อไป อันเป็นการสร้างองค์ ความรู้ของสถาบันให้มีความสืบเนื่องไป


17

ยิ่งไปกว่านั้น ศาลที่ดินและป่าไม้น่า ยังจะต้องเป็นตัวอย่างและเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร ในกระบวนการยุติธรรมด้านป่าไม้และที่ดินทั้งหมด ซึ่งการพัฒนาบุคลากรคงไม่เพียงแต่การสร้างความรู้ที่ เพียงพอ แต่ต้องหมายถึงการมีทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจาเป็นต้องมีความรู้เรื่องปรัชญาของการจัดการ ที่ดินและป่าไม้ทั้งในมุมมองแบบ Anthropocentic และ Ecocentric ที่สมดุล ทั้งยังต้องฝึกชั่งน้าหนักความ เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม กับความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและนิเวศให้เกิดความสมดุล และ นอกเหนือจากความรู้ในทางวิชาการแล้ว หลายฝ่ายคงจะเรียกร้องให้ผู้พิพากษาต้องมีผัสสะ เข้าใจเรื่องความ เป็นธรรม ( Sense of Justice) สามารถมองเห็นความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เห็นความทุกข์ของคนยากคนจน และเห็นความเชื่อมโยงของเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่าง เบ็ดเสร็จไปถึงรากที่แท้จริงของปัญหาอย่างเป็นธรรมด้วย นอกเหนือจากเรื่องการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้แล้ว ศาลพิเศษทางด้านที่ดินและป่าไม้จักต้อง สร้างระบบงานที่เอื้อต่อความสะดวกของประชาชนอย่างแท้จริง ชาวบ้านที่อยู่ในชนบทต้องไม่ลาบากใน การเดินทางไปศาล ศาลที่ดินและป่าไม้แบบเคลื่อนที่จึงอาจจะต้องถูกออกแบบขึ้นมาด้วย ดังตัวอย่างใน ประเทศออสเตรเลียที่ผู้พิพากษาศาลที่ดินและสิ่งแวดล้อมแห่งมลรัฐนิวเซาท์เวลส์ก็ต้องเดินทางไปเปิดการ พิจารณาคดีตามศาลาว่าการเมืองต่างๆ แทนการเรียกร้องให้ประชาชนต้องเข้าไปในเมืองหลวงอยู่เสมอ

๓.๓ การจัดตั้งศูนย์พิเศษเพื่อช่วยเหลือประชาชนด้านคดีที่ดินและป่าไม้ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนในสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สานักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ สภาทนายความ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่างๆ ปรากฏว่าปัญหาที่ดินเป็นปัญหาสาคัญอันดับต้น ดังนั้น ควรจะมีการจัดตั้งศูนย์ ด้านคดีที่ดินและป่าไม้ขึ้น เป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีความพร้อม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่ได้รับความเดือดร้อน ที่จะได้รับ ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ทั้งในเชิงการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ความช่วยเหลือเกี่ยวกับคดีความ คงมิใช่แค่เพียงการจัดหาทนายความ

ให้ หากแต่ต้อง

สนับสนุนในเรื่องการจัดหาพยานหลักฐาน การให้ที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคที่อาจต้องเข้าเป็นพยานหรือ พยานผู้เชี่ยวชาญในศาล เพื่อให้ประชาชนมีเครื่องมือที่เท่าเทียมกับฝ่ายอื่นด้วย และการพัฒนาระบบความ ช่วยเหลือ จึงอาจรวมถึงอาจมีการตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนเรื่องการเงินในการดาเนินคดีหรือสู้คดี หรือเงิน เพื่อการประกันตัว เป็นต้น


18

ในต่างประเทศที่มีชนพื้นเมืองเช่นประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ การให้ความ ช่วยเหลือทางกฎหมายยังหมายถึงการจัดทาเอกสารความรู้ทางกฎหมาย ในกรณีที่การพิจารณาคดีเป็น ภาษาอังกฤษ ก็อาจมีการขออนุญาตให้ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือการจัดให้มีล่ามภาษาพื้นเมืองด้วย ๓.๔ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ น่าจะ ช่วยทาให้มีการแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างเป็นระบบอย่างรวดเร็ว โดยมีฐานข้อมูลทาง วิชาการที่อ้างอิงอย่างถูกต้องเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดเป็นจริงเป็นจังขึ้น ที่ผ่านมา แม้จะมีการพยายาม รวบรวมข้อมูลและการทาวิจัยกันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และยังขาดการศึกษาอย่างจริงจังในเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้โดยตรง ศูนย์ข้อมูลที่จะจัดตั้งขึ้นจักต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลคดีทั้งในข้อมูลเบื้องต้นและข้อมูลที่ผ่าน การวิเคราะห์ รวมถึงมีการพัฒนาระบบการจัดการความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ ในภาพรวมด้วย ในส่วนของสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ จักต้องจัด ทาการศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาทางออกในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อ ประเมินผลการดาเนินการของกระบวนการยุติธรรมทางป่าไม้และที่ดินว่าสามารถสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ประชาชน โดยมีมิติด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างได้อย่างแท้จริงหรือไม่ และต้องมีความพร้อมที่ จะปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง งานของศูนย์ข้อมูลและสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้นี้จักต้อง เป็นการทางานอย่างองค์รวมที่มองภาพกระบวนการยุติธรรมทางป่าไม้และที่ดินทั้งระบบ ทั้งในส่วนของ องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน โดยคานึงถึงปรัชญากฎหมายที่ดินและป่าไม้ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปกับเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม III. แนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามที่ผู้เขียนได้สรุปปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ไขไว้ข้างต้นนั้น หากจะเป็นข้อเสนอที่เป็น ประโยชน์อยู่บ้าง ท่านที่เห็นประโยชน์ก็คงจะต้องมาช่วยกันวางแนวทางในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนเพื่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบต่อไป ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกี่ยวโยงกับการรับรู้และทาความเข้าใจ การแก้ไขกฎหมายและบทบัญญัติต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง


19

ในปัจจุบัน ในขณะที่บางฝ่ายได้รับทราบปัญหาและรับรู้ความ

ไม่เป็นธรรมในเรื่องกระบวนการ

ยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ หลายฝ่ายก็ยังไม่ทราบว่ามีปัญหาความไม่เป็นธรรมอยู่ ดังนั้น การขับเคลื่อนใน เบื้องต้น จึงน่าจะเริ่มจากการทาให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และให้เกิดการตระหนักถึง ปัญหาร่วมกัน การเปิดเวทีประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น การศึกษาดูงานลงพื้นที่เพื่อศึกษา สภาพความเสียหาย และการพูดคุยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบและผู้ที่ก่อให้เกิดผลกระทบ นับเป็นเรื่องสาคัญที่ จะสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันได้อย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อทุกฝ่ายเห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาสาคัญที่จะต้องแก้ไข ก็ คงจะได้มีการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการแก้ปัญหาคงมีทั้งการใช้มาตรการเฉพาะ หน้าสาหรับเรื่องที่เร่งด่วนจาเป็นในปัจจุบัน รวมถึงการใช้มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ที่จะ ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับเรื่องที่ดินและป่าไม้ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยของเราในวัน หนึ่งข้างหน้าต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.