กราฟฟิคสิ่งพิมพ์

Page 1

จุดประสงค์ รายวิชา 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสิ่งพิมพ์ การใช้โปรแกรมสาเร็จรูป ด้านการออกแบบสิ่งพิมพ์ สร้างภาพกราฟิคสิ่งพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูล และการพิมพ์ผลงานออกทางเครื่องพิมพ์แบบ Laser แบบ Inkjet 2. สามารถปฏิบัติการการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปสร้างภาพกราฟิคสิ่งพิมพ์ 3. มีทักษะในการประเมินคุณค่าผลงาน 4. มีความตั้งใจในการทางาน มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน มีความรอบคอบ ตรงต่อเวลา


มาตรฐานรายวิชา มีความรู้จริง(Solid Knowledge) ปฏิบัติได้จริง (Solid Practical) ในการออกแบบ กราฟิค เพื่อใช้ในงานสิ่งพิมพ์ อย่างมีความคิด สร้างสรรค์ ด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป การพิมพ์ผลงานด้วยเครื่องพิมพ์ ชนิดLaser Inkjet มีความสามารถในการประเมินคุณค่าผลงาน และมีความชานาญ (Performance Standard)สามารถนาไปใช้ ได้จริงในชีวิต โดยมีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา อดทน ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติงาน


คาอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ ประเภทต่าง ๆ การใช้โปรแกรมสาเร็จรูปสร้างภาพ กราฟิค งานสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น นามบัตร โปสการ์ด โชว์การ์ด โลโก้ สัญลักษณ์ ปกวารสาร ฯลฯ การจัดเก็บข้อมูล และการพิมพ์ผลงานออกทาง เครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ


• ในปัจจุบันไม่ว่าเราจะหันมองทางไหน รอบตัวเราเต็มไปด้วยงาน ออกแบบกราฟฟิกไม่ว่าจะเป็นถุงใส่ของ ปกซีดี ปฏิทินตั้งโตะ หน้าจอ คอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ กระทั่งผนังของอาคารร้านค้าบางแห่ง ชีวิตเรา ถูกผสมผสานเข้ากับงานกราฟฟิกจนแทบจะไม่รู้สึกถึงความแปลกแยก ระหว่างเราทุกคนกับมัน เมื่อเราเลือกที่จะเป็นนักออกแบบกราฟฟิก หนทางที่จะเป็นไปได้นั้นเราจะต้องผ่านอะไร มีคุณสมบัติอย่างไรในการ ที่จะก้าวข้ามไปก่อนอื่นเราลองถามตัวเองดูก่อนดีไหมว่า เราอยู่ที่จุด ไหน ????



คนในระดับทัว่ ไป ว่ ากันว่ า คนเราโดยทัว่ ไปมีเซ็นส์ ของความมีศิลปะอยู่ภายในกันทุก คนอยู่แล้ว ไม่ ว่าใครก็สามารถตัดสิ นงาน วิจารณ์ งานได้ ไม่ ใช่ เรื่องแปลก แต่ กม็ ักจะเป็ นเรื่องของความสวยความงามเป็ นหลัก ซื่งจะว่ าไปแล้ว ความสวยงามไม่ มีข้อถูกข้ อผิดในการ-ตัดสิ น (และเป็ นเพียงเรื่อง ๆ หนึ่ง ในการออกแบบเท่ านั้น) คนเราทุกคนมองไม่ เหมือนกันแต่ กม็ ีแนวโน้ มที่ จะมองเห็นไปในทางเดียวกันมากกว่ าเราเอทุกคนก็อยู่ในจุดนี้ เริ่มกันที่ จุดนี้


คนที่มองงานเป็น วิจารณ์งานได้ มองงานเป็น วิจาณ์งานได้นั้นคือ คนที่อยู่ในอีก จุดหนึ่ง เป็นจุดที่คนเหล่านั้นให้ความสนใจในงาน กราฟฟิกมากขึ้นมาอีกระดับ มีความเข้าใจในภาพ ในองค์ ป ระกอบต่ า ง ๆ ที่ อ ยู่ ใ นภาพ สามารถคิ ด วิเคราะห์และวิจารณ์งานได้


คนที่สามารถออกแบบงานกราฟฟิกได้ คนที่ออกแบบได้คือ คนที่ สามารถคิดสังเคราะห์โจทย์ แนวความคิด เข้าใจในองค์ประ-กอบพื้นฐานและองค์ประกอบสี และควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในภาพ หรือ สามารถจัด องค์ประกอบต่าง ๆ ภายในภาพให้ออกมาได้อย่างลงตัวและ สามารถถ่าย-ทอดภาพงานให้เป็นไปดังที่นึกคิด ที่จินตนาการ เอาไว้


คนที่ออกแบบงานกราฟฟิกได้ดี คนที่ออกแบบงานกราฟฟิก ได้ ดี คือ คนในระดับ ที่ 3 ที่ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้และหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่าเสมอ เพราะงานกราฟฟิ ก นั้ น แปรเปลี่ ย นสไตล์ ไ ด้ ทุ ก วั น เทรนด์ (Trend) หรือแนวโน้มแห่งสมัยมีอิทธิพลต่องานเป็นอย่างมาก ดั ง นั้ น คนที่ จ ะเก่ ง ได้ ต้ อ งทั น ต่ อ ยุ ค สมั ย ดู เ ยอะๆ ท าเยอะๆ จนกว่าจะหาสไตล์หรือเอกลักษณ์ของตัวเองได้นั่นเอง


เราจะรู้ได้อย่างไรว่า งานออกแบบกราฟิกแบบไหน!!! เป็นงานออกแบบที่ดี แบบไหนเป็นงานออกแบบที่ไม่ดี ???


1. การตอบสนองประโยชน์ใช้สอย • เป็ น ข้ อ ส าคั ญ มากในการออกแบบทั้ ง หมด ในงานออกแบบกราฟิ ก นั้ น ประโยชน์ ใช้ ส อยมี อิ ท ธิ พ ลกั บ งานที่ เ ราออกแบบ เช่ น งานออกแบบหนั ง สื อ ต้ อ งอ่ า นง่ า ย ตั ว หนั ง สื อ ชั ด เจน ไม่ ว างเกะกะกั น ไปซะหมด หรื อ งานออกแบบเว็ บ ไซต์ ถึ ง จะสวย อย่างไร แต่ถ้าโหลดช้า ทาให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็ไม่นับว่าเป็นงานออกแบบเว็บไซต์ที่ดี หรืองานออกแบบซีดีรอม ถ้าปุ่มที่ มีไว้ ส าหรับกดไปยัง ส่ วนต่าง ๆ ของเนื้ อ หานั้ น วาง เรี ย งอย่ า งกระจั ด กระจาย ทุ ก ครั้ ง ที่ ผู้ ใ ช้ ง านจะใช้ ก็ ต้ อ งกวาดตามองหาอยู่ ต ลอด อย่ า งนี้ ก็ เ รี ย กว่ า เป็ น การออกแบบที่ ไ ม่ ส นองต่อ ประโยชน์ ใ ช้ ส อย เป็น งานออกแบบ ไม่ดี • ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องคานึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นเรื่องสาคัญอันดับแรก ในการออกแบบเสมอ...........


2. ความสวยงามพึงพอใจ Aesthetic • ในงานที่มีประโยชน์ใช้สอยดีพอ ๆ กัน ความงามจะเป็นเกณฑ์ตัดสิน คุณค่าของงานโดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก ซึ่งถือเป็นงานออกแบบ ที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อยกว่างานออกแบบด้านอื่น อย่างงานออกแบบ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ ความสวยงามจึง เ ป็ น เ รื่ อ ง ส า คั ญ แ ล ะ มี อิ ท ธิ พ ล ใ น ง า น อ อ ก แ บ บ ก ร า ฟิ ก อย่ า งมาก ส่ ว นจะท าอย่ า งไรให้ อ อกมาสวยงามเป็ น ที่ น่ า พึ ง พอใจ บทเรียนนี้จะมีคาตอบให้คุณ โปรดติดตามต่อไป


3. การสื่อความหมาย Meaning • อย่างที่ได้เกริ่นมาบ้างแล้วในบทนาว่า งานศิลปะนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ มันสื่อความหมายออกมาได้ งานกราฟิกก็คืองานศิลปะเช่นกัน การสื่อ ความหมายจึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบขาดเสียไม่ได้ในการออกแบบ ต่อให้ งานที่ได้สวยงามอย่างไร แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบ หรื อ สื่ อ สิ่ ง ที่ ผู้ อ อกแบบคิ ด เอาไว้ ไ ด้ งานกราฟิ ก นั้ น ก็ จ ะมี คุ ณ ค่ า ลด น้อยลงไป


ดังนั้นเมื่อเราต้องการออกแบบงานกราฟิก จะต้องคานึงถึงเกณฑ์ 3 ข้อนี้ไว้ให้มั่น หรือท่องอยู่ในใจก็ได้ หนึ่ง ต้อง เวิร์ก สอง ต้อง สวย สาม ต้อง สื่อ


ขบวนการทางานออกแบบกราฟิก Graphic Design Workflow


1. วิเคราะห์โจทย์ ที่มีมาให้แก้ไข (Program Analysis) จุดเริ่มต้นของงานออกแบบคือ ปัญหา ... มีปัญหา มีโจทย์ จึงมี การออกแบบ แก้ไข โจทย์ ที่ว่านั้นมีความยากง่าย ต่างกันแล้วแต่ชนิด ของงาน แต่โจทย์ ไม่มีทางออก-แบบได้ ถ้า ปราศจากการวิเ คราะห์ ทีถ่ ูกต้อง การวิเคราะห์หลัก ๆ สาหรับโจทย์งานกราฟิกมักจะเป็นดังนี้


What เราจะทางานอะไร ? กาหนดเป้าหมายของงานที่จะทา ซึ่งเป็นเรื่อง เบื้องต้นในการออกแบบที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า จะกาหนดให้งานของเรา บอกอะไร(Inform) เช่ น เผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ บอกทฤษฎี หรื อ หลักการ เพื่อความบันเทิง เป็นต้น


Where งานของเราจะนาไปใช้ที่ไหน ? เช่น งานออกแบบ ผนั ง ร้ า นหนั ง สื อ ที่ ส ยามสแควร์ ที่ เ ต็ ม ไป ด้ ว ยร้ า นค้ า แหล่งวัยรุ่น คงต้องมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตามากกว่าร้าน แถวสีลม ซึ่งสถานที่ในเขตคนทางาน ซึ่งมีอายุมากขึ้น


Who ใครคือคนที่มาใช้งาน ? หรือกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย (User TargetGroup) เป็นเรื่องสาคัญที่สุดในการวิเคราะ์ห์โจทย์เพื่อ การออกแบบ เพราะผู้ ใ ช้ ง านเป้ า หมายอาจเป็ น ตั ว ก าหนด แนวความคิ ด และรู ป ลั ก ษณ์ ข องงานออกแบบได้ เ ช่ น งาน ออกแบบโปสเตอร์ ส าหรั บ ผู้ ใ หญ่ เราต้ อ งออกแบบโดยใช้ สี จานวนไม่มากไม่ฉูดฉาด และต้องใช้ตัวอักษรที่มีข นาดใหญ่ รวมถึงจัดวางอย่างเรียบง่ายมากกว่าผู้ใช้ในวัยอื่น ๆ


How แล้วจะทางานชิ้นนี้อย่างไร ? การคิดวิเคราะห์ในขั้น สุดท้ายนี้อาจจะยากสักหน่อย แต่เป็นการคิดที่รวบรวม การวิเคราะห์ที่มีมาทั้งหมดกลั่นออกมาเป็นแนวทาง


3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว (Case Study) การศึกษากรณีตัวอย่างเป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของงานที่มีอยู่แล้ว เพื่อนามาประยุกต์ใช้ออกแบบในงานของเรา สาหรับผมการทากรณีศึกษานับเป็น เรื่องสาคัญมากทีเดียวในงานออกแบบ เพราะเปรียบเสมือนตัวชี้แนะหนทางใน การออกแบบหรือแก้ไขปัญหาของเราได้ แต่จงระวังว่าอย่าไปติดกับรูปแบบที่ชื่น ชอบมากเพราะ อาจจะท าให้ เ ราติ ด กั บ กรอบความคิ ด ติ ด กั บ ภาพที่ เ ห็ น จน บางครั้งไม่สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้ ซึ่งการติดรูปแบบหรือภาพ มากเกินไปนี้เอง มันจะซึบซับมาสู่งานของเรา จนกลายเป็นการตบแบบหรือลอก แบบชาวบ้านมานั่นเอง


4. ออกแบบร่าง (Preliminary Design) การออกแบบร่างเป็นเรื่องสาคัญที่หลายคนมักมองข้าม การออกแบบร่าง คือ การออกแบบร่างเอาแนวความคิดที่เรามีออกมาตีความเป็นแบบ ซึ่งส่วนใหญ่ เวลาทางานเรามักจะสเก็ต งานด้วยมือออกมาเป็นแบบร่างก่อน (สเก็ตด้วยมือ ไม่ได้สวยอะไรมาก ให้เราเข้าใจคนเดียว หรือเพื่อนที่ร่วมงานกับเราเข้าใจก็พอ) เพราะการสเก็ตจากมือคือการถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในสมองของเรา สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรม ความคิดออกมาจากสมองกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ บนกระดาษ แล้วจับไอ้นี่ที่ เราสเก็ต หรือแบบร่างนั่นแหละ ไปทาต่อ โดยนาไป ออกแบบในโปรแกรมที่ตนถนัด ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Illustrator หรือ Freehand ฯลฯ ซึ่งก็แล้วแต่คนออกแบบแต่ละคน


5. ออกแบบจริง (Design) ออกแบบจริงจากแบบร่างที่มีอยู่ จากแบบร่างทั้งหมดที่เราคัดเลือก แล้ว คราวนี้แหละที่เราต้องเลือกเอามาออกแบบในโปรแกรมที่เราถนัด ซึ่งขั้ น ตอนนี้ค งจะไม่ บ อกว่า ท าอย่ า งไรเพราะเป็ น เรื่องต่อไปที่ใ ห้ ไ ด้ ศึกษากัน


เรื่ อ งของการมองภาพนั้ น เป็ น เรื่ อ งที่ ฝั ง อยู่ ใ นสามั ญ ส านึ ก อยูใ่ นความรู้สึกหรือที่หลายคนมักเรียกกันว่าเซ็นส์ (Sense) ของเราอยู่ แล้ว มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการรับรู้เรื่องความสวยวาม ถึงแม้ จะไม่เหมือนกันทุกคน แต่ส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่เหมือนกัน คล้ายกัน กับพื้นฐานในศิลปะที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิดเพียงแต่ว่าใครจะมีมาก หรื อ น้ อ ย ใครจะได้ รั บ การฝึ ก ฝนมากกว่ า กั น หรื อ ใครจะดึ ง ออกมา ใช้งานได้มากกว่ากัน


เราในฐานะผู้ออกแบบต้องก้าวข้ามพื้นฐานสามัญของ มนุษย์นี้ออกมาเพราะการมองภาพสวยไม่สวยเพียงอย่างเดียว คงไม่พอ และไม่สามารถทาให้เราออกแบบงานกราฟิกที่ดีได้ การมองภาพที่สามารถสร้างให้เราเป็นนักออกแบบกราฟิกได้ นั้น จะต้องเป็นการมองเข้าไปในแก่นของภาพ ซึ่งมีเรื่องหลักอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน คือ


• 1. มองเข้าไปในความหมายของภาพ (Meaning) ที่นัก ออกแบบต้องการสื่อ • 2. มองลึกเข้าไปในรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ (Element) ที่อยู่ภายในภาพ • รวมทั้งมีความเข้าใจและคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ข้างต้น ให้เป็น แบบอย่างที่เก็บอยู่ในคลังสมองของเรา เพื่อนากลับมาใช้ในการ ออกแบบในภายหลัง


ภาษาภาพและการรับรู้ภาพ

• ภาษาภาพ (Visual Language) • มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็น กลุ่มสังคม ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่มนุษยจะหลีกหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มนุษย์จึงมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน • ตัวภาษามีจุดสาคัญอยู่ที่การสื่อความหมายให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น เรา มีภาษาพูดที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน และเป็นภาษาที่เราเลือกใช้ได้ง่ายที่สุดแค่เปล่งเสียง ออกมาเท่านั้น แต่ลองนึกภาพ ถ้าสมมติว่าเช้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมากลางกรุงเม็กซิโก เราจะพูดกับใคร พูดกันอย่างไร ........... • ภาษาพูดจึงมีข้อจากัด โดยเฉพาะข้อจากัดในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาพูดคนละภาษา (หลายคนอาจจะพูดว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นสื่อกลางได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ส่าย หน้าปฎิเสธ) ภาษาพูดไม่สามารถทาให้คนสามารถเข้าใจได้ตรงกันทั่วโลก มนุษย์จึง ใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันทางอื่นนั่นก็คือภาษาภาพ ซื่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า


1. การรับรู้ภาพ (Perception Image) • การรับรู้ภาพเกิจากการมองเห็นด้วยตาเป็นด่านแรก ผ่านการ ประมวลผลจากสมองและจิตใจ เป็นการรับรู้และทาความเข้าใจ มีความหมายของใครของมัน และการรับรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการ ฝึกฝน การมองงานมาก ๆ กาพยยามสร้างความเข้าใจภาพเปรียบ เหมือนเรายิ่งฝึกพูด ฝึกฟัง ภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ก็จะทาให้เก่ง ภาษาอังกฤษได้นั่นเอง • เราแบ่งภาพที่รบั รู้ได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน


1. ภาพที่เราเห็น (Visual Image) ภาพที่ เ ราเห็ น คื อ ภาพที่ ผ่ า นสายตากระทบโสตประสาทของเรา จากแบบภาพตัวอย่างข้างต้น เราเห็นดาวเคราะห์น้อยกลม ๆ เห็นพื้นสี ทา และ มีดาวเคราะห์สีฟ้าครึ่งดวง


2. ภาพที่เรานึกคิด (Conceptual Image) • ภาพที่เรานึกคิดคือ ภาพที่ผ่านการมองเห็น ผ่านขบวนการประมวลผล จากสมองแล้วเลยนึกสร้างเป็นภาพอื่นตามขึ้นมาจาก ดูจากรูปตัวอย่าง ข้างบน เราจะมองเห็นว่าดาวเคราะห์สีนาเงิ ้ น ถูกปิดบังด้วยพื้นสีดา และมีเส้นโค้งที่ดาทับบนดาวเคราะห์ที่อยู่ข้างหลัง ทาให้เรานึกจิตนา การเอาเองว่า ส่วนที่อยู่ในความมืดคือดาวเคราะห์สนี ้าเงินทัง้ ดวง


สิ่งสาคัญที่สุดของงานศิลปะ โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก คือ การสื่อความหมายสื่อสิ่งที่นักออกแบบคิดหรือพยายามถ่ายทอด ออกมาได้ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์หรือโจทย์ ที่ตั้งขึ้นมา ใครก็ตามที่ ตัดสินคุณค่าของงานออกแบบเพียงแค่ค าว่า "สวย" และ "ไม่สวย" เป็นตัวกาหนดงานว่า "ดี" และ "ไม่ดี" ใครคนนั้นกาลังคิดผิด เพราะ คุณค่าของงานออกแบบที่ดี ไม่ได้มองกันที่ความสวยงาน (Aesthetic) เพี ย งอย่ า งเดี ย ว ความสวยงามเป็ น เพี ย งส่ ว นหนึ่ ง ของงานเท่ า นั้ น (ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีเกณฑ์การตัดสินที่แน่นอนด้วยซ้า เพราะเกณฑ์การ ตัดสินเรื่องความสวยงามขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน)


• ในการสื่อความหมายนี้เองที่ผู้สร้างงานถือว่าจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ โจทย์ว่าคืออะไร อาจจะไม่ต้องรู้สึก (แต่การรู้ยิ่งลึกจะทาให้ออกแบบได้ ตรงตามโจทย์มากขึ้น) แต่แค่รู้จักก็พอ เพราะการรู้จักโจทย์ของตัวงาน ทาให้เรามีเกณฑ์ในการตัดสินงานออกแบบในด้านการสื่อความหมาย ขึ้นในใจ ยกตัวอย่างเช่น รู้ว่าร้านซักผ้าที่ดีควรจะมีภาพลักษณ์ของ ความสะอาด คราวนี้เราลองมาอยู่ในฐานะผู้ออกแบบกันดูบ้าง เพื่อ เรียนรู้ หลักในการออกแบบงานกราฟฟิก เพื่อให้งานสื่อความหมาย ตามที่โจทย์ต้องการ


• หลักสาคัญในการออกแบบภาพให้สื่อความหมายนั้นเราจะต้อง จับประเด็นสาคัญของโจทย์ หรือตีโจทย์ที่เรามีออกมาให้ได้ก่อน อาจจะใช้คาสาคัญ (Keyword) เป็นจุดกาเนิดในการคิดก่อน ลองพูดออกมาเรื่อยๆ และเขียนเก็บไว้จากนั้นค่อยเอาที่เขียน เก็ บ ไว้ ม าลองพิ จ ารณาสร้ า งความคิ ด เชื่ อ มโยง แบบ อุปมาอุปไมย (Metaphor) ซึ่งอาจทาให้เราเห็นภาพคร่าว ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบต่อไปได้


เหมือนเราต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่า "เมื่อเราพูดถึงสิ่งนี้แล้ว เราจะคิดถึงอะไร ? "



เราลองมาดูงานตัวอย่างกันดีกว่า เผื่อจะมองเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจมากขึ้น


• • • • •

โจทย์ : "งานออกแบบเครื่องหมายการค้า ร้านซักผ้า Point Wash"Keyword : (คิดดูว่า ถ้าเราพูดถึงร้านซักผ้า เราจะนึกถึงอะไร ?) ซัก น้า ความสะอาด ฟอง ผงซักฟอก ภาพ : ความสะอาด การซักผ้าแสดงฟองแห่งความสะอาด ที่ล่องลอย ตีความหมายภาพ : ความสะอาด = สีขาว ,น้า = สีฟ้า ฟองผงซักฟอก = วงกลมเล็ก ๆ ที่ล่องลอย สรุป : การออกแบบภาพน่าจะใช้สีโทนเย็นเป็นหลัก ส่วนองค์ประกอบ ในภาพอาจจะใช้หยดน้าที่สื่อถึงความสดชื่นของผลิตภัณฑ์


• ผลงานที่ได้ เป็นภาพลักษณ์ที่มีการเล่นตัวอักษร เสมือนกาลัง อยู่ในน้ากาลังถูกเครื่องซักอยู่ ผนวกกับวงกลมเม็ดเล็ก ๆ ที่ เปรียบได้กับฟองผงซักฟอกภาพลักษณ์โดยรวมของโลโก้เป็น สีขาวและสีฟ้าอ่อน ซึ่งสื่อความหมายถึงการชะล้างและความ สะอาด


• ในการออกแบบกราฟิก การสื่อความหมายเป็นเรื่องสาคัญที่ไม่ควร ข้ามไป การสื่อความหมายที่ดีต้องตอบสนองแนวความคิดที่เราวางกัน ไว้แต่ต้นในการออกแบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Art) การสื่อ ความหมายเป็ น เรื่ อ งส าคั ญ ที่ สุ ด เช่ น โปสเตอร์ ร้ า นอาหารญี่ ปุ่ น ถ้าออกแบบให้คนเห็นแล้วนึกถึงและอยากทานอาหารญี่ปุ่นในร้านได้ รั บ รองว่ า งานออกแบบชิ้ น นั้ น ประสบความส าเร็ จ ไปกว่ า ค่ อ นแล้ ว ถึงอาจจะไม่สวยเท่าไหร่นักก็ตาม งานออกแบบจึงเป็นศิลปะที่สื่อสาร กันระหว่างมนุษย์ (Commercial Art)เช่น สื่อสารระหว่างเจ้าของร้าน ที่ต้องการให้คนเข้ามาทานอาหารกันคนทัว่ ไปที่อยากทานอาหารหรือจะ เป็นระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับลูกค้า เป็นต้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.