ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่
1. p 1-8-6 Sep.indd 1
9/6/12 6:30:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
คณะอนุกรรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือราชาศัพท์ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ 4 พุทธศักราช 2555 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 จำนวน 10,000 เล่ม
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, ราชาศัพท์. -- พิมพ์ครั้งที่ 4.-- กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2555. 416 หน้า. 1. ภาษาไทย -- ราชาศัพท์. I. ชื่อเรื่อง. 495.913 ISBN 978-616-235-142-6 พิมพ์ที่ :
บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด 307 ซอยลาดพร้าว 87 แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 0-2966-1600-6 โทรสาร 0-2966-1609
หนังสือเผยแพร่ห้ามจำหน่าย
1. p 1-8-19 Sep.indd 2
9/19/12 5:33:39 PM
คำปรารภ เนื่ องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มหิ ต ลาธิ เ บศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ
วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 รัฐบาลและปวงชนชาวไทยมีความปลื้มปีติชื่นชมโสมนัส
เป็ น ล้ น พ้ น จึ ง พร้ อ มใจกั น จั ด งานเฉลิ ม พระเกี ย รติ ด้ ว ยความจงรั ก ภั ก ดี แ ละความสำนึ ก ใน
พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อพุทธศักราช 2489 และได้ทรง ประกาศพระปฐมบรมราชโองการ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพุทธศักราช 2493
ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นับแต่บัดนั้นตราบจน ปัจจุบัน พระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรมและทรงพระวิริยอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อย ใหญ่นานัปการ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงชนชาวไทยตลอดมา ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่
และพระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศ พระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการลดภาวะวิกฤตด้าน
สิ่งแวดล้อม ตลอดจนพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ
เพื่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน รวมทั้งพระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทาง ให้พสกนิกรดำรงชีวิตร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน พระราชกรณียกิจนานัปการอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ ตลอดจนพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ล้วนเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่แก่ประเทศและประชาชน ส่งผลให้ประเทศมีความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ และเจริญรุ่งเรืองพัฒนาก้าวหน้า พระเกียรติคุณของพระองค์จึงเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั้งในประเทศ และนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นพระมิ่งขวัญร่มเกล้าของชาวไทยทั้งปวง ซึ่งล้วน เทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณไว้เหนือเศียรเกล้ามาโดยตลอด รั ฐ บาลและปวงชนชาวไทยพร้ อ มใจกั น จั ด งานเฉลิ ม พระเกี ย รติ ใ นโอกาสมหามงคลสมั ย
เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ พิจารณาเห็นชอบให้ หน่ ว ยราชการ องค์ ก ร และเอกชน จั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ อั น มี คุ ณ ค่ า เพื่ อ เทิ ด พระเกี ย รติ คุ ณ และ
พระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ ให้ปรากฏยั่งยืนสืบไปตราบกาลนาน
1. p 1-8-6 Sep.indd 3
9/6/12 6:31:20 PM
ในนามของรั ฐ บาลและประธานกรรมการอำนวยการจั ด งานเฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ขออนุโมทนาในความวิริยอุตสาหะของหน่วยราชการ องค์กร เอกชน และคณะกรรมการ ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ตลอดจนคณะทำงานทุกคณะที่ได้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ สาขาต่างๆ ที่ทรงคุณค่า อันจะอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้สถิตในดวงใจของปวงประชาราษฎรตลอดกาล
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เทอญ
(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
1. p 1-8-19 Sep.indd 4
9/19/12 5:34:09 PM
คำนำ
มหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 นี้ รัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลปัจจุบัน และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติเพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหา ที่สุดมิได้ รัฐบาลในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จึงได้
มอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาดำเนินงานจัดทำหนังสือ วิชาการสาขาต่างๆ พร้อมทั้งจัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลโอกาส นี้ด้วย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน เลือกสรรและจัดพิมพ์หนังสือหลายสาขาในนามของรัฐบาล เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผย แพร่หนังสืออันทรงคุณค่าเหล่านั้นให้แก่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นผลงานทรัพย์สินทาง ปัญญาของแผ่นดิน โดยเฉพาะพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหนังสืออื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์ในนามของคณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุ หนังสือจดหมายเหตุการพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ 5 ธั น วาคม 2554 และหนั ง สื อ ที่ ห น่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชนแสดงเจตนารมณ์ ขอพิ ม พ์ ร่ ว ม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย คณะกรรมการฯ จะแจกจ่ายหนังสือเหล่านี้ไปยังแหล่งความรู้ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และในต่ า งประเทศทั่ ว โลก เพื่ อ ยั ง ประโยชน์ แ ก่ ก ารศึ ก ษาค้ น คว้ า ของประชาชนทุ ก ระดั บ ทั้ ง นี้
โดยตระหนักว่าการสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานอันทรง คุณค่าอำนวยประโยชน์เกื้อกูลแก่สาธารณชนเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรม แล้ว ยังเป็นการสร้างสิ่งอนุสรณ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติไว้ในแผ่นดินสืบไป ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ปวงชนชาวไทยจักได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวาง
จากหนั ง สื อ ดี มี คุ ณ ค่ า สะท้ อ นวั ฒ นธรรมอั น รุ่ ง เรื อ งมั่ น คงของชาติ และจะได้ ร่ ว มกั น ธำรงรั ก ษา
ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงยั่งยืน เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระวิริยอุตสาหะพัฒนาและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยามโดยทั่วกัน (นางสุกุมล คุณปลื้ม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
1. p 1-8-19 Sep.indd 5
9/19/12 5:34:28 PM
คำชี้แจง ประเทศไทยมี พ ระมหากษั ต ริ ย์ เ ป็ น พระประมุ ข มาแต่ โ บราณจนถึ ง ปั จ จุ บั น ทรงทำนุ บ ำรุ ง
บ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม และขัตติยวัตร ขัตติยธรรม
พระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยตลอดมา บรรพชนไทยเคารพสั ก การะพระมหากษั ต ริ ย์ และต้ อ งการแสดงออกว่ า เทิ ด ทู น พระประมุ ข
ของชาติ ไ ว้ สู ง สุ ด จึ ง คิ ด ถ้ อ ยคำที่ ค วรแก่ พ ระเกี ย รติ ม าใช้ เ ป็ น คำราชาศั พ ท์ ใ นการกราบบั ง คมทู ล
พระกรุ ณ าให้ ต่ า งจากถ้ อ ยคำที่ ส ามั ญ ชนพู ด คำราชาศั พ ท์ นี้ ไ ด้ ใ ช้ เ ป็ น ภาษาแบบแผนสื บ ต่ อ กั น มา
ถือเป็นวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
จึงเห็นสมควรจัดทำหนังสือราชาศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 เผยแพร่แก่นักเรียน เยาวชน และ ประชาชนที่สนใจศึกษาและใช้ราชาศัพท์ให้ถูกแบบแผน การจัดทำหนังสือราชาศัพท์ครั้งนี้ คณะอนุกรรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือราชาศัพท์ ได้ปรับปรุง จากฉบับเดิม ที่จัดทำไว้เมื่อพุทธศักราช 2553 และใช้ข้อมูลจากหนังสือ เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ ราชาศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันตามที่ปรากฏชื่อในบรรณานุกรมท้ายเล่ม เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับ ต้นฉบับให้ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น รวมทั้งได้จัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ แยกคำสุภาพที่ใช้แก่พระสงฆ์และ บุคคลทั่วไปพิมพ์ไว้เป็นภาคผนวกท้ายเล่ม เพิ่มภาพประกอบเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าพร้อม ทั้งดัชนีค้นคำ คณะอนุ ก รรมการฯ ขอขอบคุ ณ หน่ ว ยงาน และบุ ค คลต่ า งๆที่ ก รุ ณ าอนุ เ คราะห์ ใ ห้ ข้ อ มู ล
คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาเรื่อง คำราชาศัพท์และการใช้ภาษาไทย ตลอดจนธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางภาษาอันมีค่าของชาติสืบไป
1. p 1-8-6 Sep.indd 6
คณะอนุกรรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือราชาศัพท์ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
9/6/12 6:32:14 PM
สารบาญ
สารบาญ 7 คำอธิบายวิธีใช้หนังสือราชาศัพท์ 8 1 อธิบายราชาศัพท์และการใช้ราชาศัพท์ 9 2 ราชาศัพท์หมวดต่างๆ 33 1 ขัตติยตระกูล 34 2 ร่างกาย 45 3 อาการ 53 4 นาม 78 5 เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ 101 ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครื่องใช้ทั่วไป 6 ศัพท์ที่ใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล 111 7 เครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภค 215 8 พระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน 235 9 พระราชพาหนะ 245 10 ลักษณนาม 264 บท 3 คำนำพระนามและคำนำนาม 267 บท 4 คำนามและคำกริยาที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ใช้ราชาศัพท์ต่างกัน 274 บท 5 การใช้ราชาศัพท์ในการเขียนหนังสือ การกราบบังคมทูลพระกรุณา 309 กราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา ภาคผนวก 334 ภาคผนวก 1 คำสุภาพ 335 ภาคผนวก 2 คำสุภาพเรียกสัตว์และอื่นๆ 354 ภาคผนวก 3 ลักษณนาม 358 ภาคผนวก 4 คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการเขียนหนังสือ 364 ถึงพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป ภาคผนวก 5 คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการกล่าวรายงาน 367 พระสงฆ์และบุคคลทั่วไป บรรณานุกรม 371 ดัชนี 376 รายนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 รายนามคณะอนุกรรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ รายนามคณะอนุกรรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
1. p 1-8-19 Sep.indd 7
9/19/12 5:34:57 PM
คำอธิบาย
วิธีใช้หนังสือราชาศัพท์
หนั ง สื อ ราชาศั พ ท์ ฉ บั บ นี้ จั ด ทำขึ้ น เพื่ อ ให้ ก ารค้ น หาคำราชาศั พ ท์ ที่ ต้ อ งการสะดวกขึ้ น
ทั้งจากคำราชาศัพท์และคำสามัญ จึงจัดทำคำอธิบายวิธีใช้หนังสือไว้ดังต่อไปนี้ 1. คำราชาศัพท์จัดไว้เป็นหมวด เรียงลำดับตามความสำคัญของคำที่เกี่ยวข้องกับพระมหา กษัตริย์ เริ่มต้นด้วยขัตติยตระกูล ร่างกาย อาการ นาม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครื่องใช้ทั่วไป ศัพท์ที่ใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล เครื่องราชกกุธภัณฑ์และ เครื่องราชูปโภค พระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน พระราชพาหนะ ลักษณนาม คำนำพระนามและ
คำนำนาม คำนามและคำกริยาที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ใช้ราชาศัพท์ต่างกัน การใช้ราชาศัพท์ ในการเขียนหนังสือ การกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล ทูล และรายงานด้วยวาจา 2. การจัดคำในแต่ละหมวด 2.1 จะขึ้นต้นด้วยคำราชาศัพท์ อธิบายความหมายและบอกฐานันดรศักดิ์ของ
ผู้ใช้คำราชาศัพท์นั้นๆ 2.2 จัดคำตามลำดับอันควร เช่น ในหมวดร่างกาย จะเริ่มต้นจากเบื้องบนลงไป ถึงเบื้องล่าง คือ ศีรษะ แขน มือ ลำตัว ขา และเท้า 2.3 จัดคำที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ก่อน แล้วจึงถึงคำที่ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และต่อไปตามลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ ถ้าไม่บอกว่าใช้แก่พระราชวงศ์ชั้นใด หมายความว่า ใช้แก่พระราชวงศ์ทุกชั้น
1. p 1-8-6 Sep.indd 8
9/6/12 6:58:08 PM
บทที่ 1 อธิบายราชาศัพท์และการใช้ราชาศัพท์ ตามที่เข้าใจกันทั่วไป ราชาศัพท์ หมายถึงถ้อยคำจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ เป็น คำที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น คำว่า พระเนตร พระกรรณ พระบาท พระหัตถ์ สรง เสวย เป็นต้น ที่จริง ราชาศัพท์ มีความหมายกว้างกว่านี้ ตำราของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) อธิบายคำนี้ไว้เป็นใจความว่า ราชภาษา อันสมมติเรียกว่า ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำ ภาษาที่ผู้ทำราชการพึงศึกษาจดจำไว้ใช้ให้ถูกในการกราบบังคมทูลพระกรุณา ในการเขียนหนังสือ และแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะกล่าวถึงผู้ใด สิ่งใดก็ใช้ถ้อยคำให้สมความ ไม่ให้พลาดจาก แบบแผนเยี่ยงอย่างที่มีมาแต่ก่อน
ที่มาของราชาศัพท์ ราชาศัพท์เกิดขึ้นในชั้นแรกเพื่อเฉลิ มพระเกี ยรติพ ระมหากษัต ริย์ใ นฐานะที่ ทรงเป็น ประมุขของชาติ ให้สูงกว่าคนในชาติ ดังลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุ ภ าพ ทู ล สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า กรมพระยานริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ์ ใน พระนิพนธ์ สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 23(1) ว่า “ลักษณะที่ไทยใช้ ราชาศัพท์ก็เป็นคำที่ผู้ที่มิใช่เจ้าใช้เรียกกิริยาหรือวัตถุอันเป็นของ เจ้า หรือว่าโดยย่อ ราชาศัพท์ดูเป็นคำที่ผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ หรือถ้าว่า อีกอย่างหนึ่ง ดูเป็นเอาภาษาของคนจำพวกอื่น ที่ใช้สำหรับผู้ที่มาเป็นเจ้านายผู้ปกครองของตน มีเค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่า เห็นได้ว่า ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไปยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ หม่อมฉันอยากสันนิษฐานว่า มูลของราชาศัพท์จะเกิดด้วย เมื่อเขมรปกครองเมืองละโว้ ในอาณาเขตเมืองละโว้ พลเมืองมีหลายชาติ คำพูดเป็นหลายภาษา ปะปนกัน ทั้งเขมร ไทย และละว้า ไทยพวกเมืองอู่ทองคงพูดภาษาไทย มีคำภาษาอื่นปนมากกว่า ภาษาไทยที่พูดทางเมืองเหนือ หรือจะเปรียบให้เห็นใกล้ๆ เช่น ภาษาไทยที่พูดกันทางเมืองอุบลกับที่ พูดกันในกรุงเทพฯ ในเวลานี้ก็ทำนองเดียวกัน ครั้นรวมเมืองเหนือกับเมืองใต้อยู่ในปกครองของ กรุงศรีอยุธยา เจ้านายที่เคยอยู่เมืองเหนือนับแต่สมเด็จพระบรมราชาธิราชสามพระยา เป็นต้น ได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาและตีเมืองเขมรได้ ได้เขมรพวกที่เคยปกครองเมืองเขมรเข้ามาเพิ่มเติม ระเบียบราชาศัพท์จึงเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้น แต่เจ้านาย (1) สาส์นสมเด็จ ฉบับลงวันที่ 29 กันยายน 2484 (ฉบับองค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. 2516) เล่ม 23 หน้า 106-107
9 2. up 9-32-7 Sep.indd 9
9/20/12 10:42:58 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เคยตรัสอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็ตรัสอยู่อย่างนั้น ใช้ราชาศัพท์แต่กับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายที่ทรง ศักดิ์สูงกว่าหรือเสมอกัน นี่ว่าด้วยกำเนิดของราชาศัพท์ ถ้าว่าต่อไปถึงความประสงค์ที่ใช้ราชาศัพท์ ดูก็ชอบกล สังเกตตามคำที่เอาคำภาษามคธและสันสกฤตมาใช้ เช่นว่า พระเศียร พระโอษฐ์ พระหัตถ์ พระบาท เป็นต้น ดูประสงค์จะแสดงว่าเป็นของผู้สูงศักดิ์กว่าที่มิใช่เจ้าเท่านั้น แต่ที่เอา คำสามัญในภาษาเขมรมาใช้ เช่น พระขนง พระเขนย และพระขนอง เป็นต้น ดูเป็นแต่จะเรียกให้ บริวารที่เป็นเขมรเข้าใจ มิใช่เพราะถือว่าภาษาเขมรสูงศักดิ์กว่าภาษาไทย ชวนให้เห็นว่า เมื่อแรก ตั้งราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และราชาศัพท์ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้น” พระวรเวทย์พิสิฐ (เซ็ง ศิวะศริยานนท์) กล่าวไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย ว่า “ต้นเดิม ที่จะเกิดมีราชาศัพท์ขึ้น ก็เพราะเมื่อไทยเราตั้งชาติเข้มแข็งขึ้นในดินแดนที่เข้ามาปกครองใหม่ คือ ดินแดนประเทศสยามนี้ เราก็เลือกผู้ที่มีความสามารถ มีลักษณะเป็นอัจฉริยบุคคลในคณะ แล้ว ยกขึ้นเป็นประมุขของชาติเพื่อคุ้มครองชาติให้มั่นคงและนำชาติให้ประสบชัย ตลอดถึงความเป็น อารยชาติ ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประมุขนี้เรียกกันว่า พระราชาธิบดี” พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ตรัสไว้ในปาฐกถาเรื่อง กถาเรื่อง ภาษา ว่า “นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้ว ยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะ เหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝรั่งไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่อง ชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดีเหมือนกัน แต่วิธีพูดเช่นนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเป็นวิธี พูดอย่างสุภาพเท่านั้นเอง” คำที่ใช้เป็นราชาศัพท์ของไทย ส่วนใหญ่เป็นคำภาษาอื่น มาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เหตุที่ใช้คำภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เป็นคำราชาศัพท์ของไทยนั้น นักปราชญ์ทาง ประวัติศาสตร์และทางภาษากล่าวว่า การนำคำในภาษาเขมรมาใช้นั้นเป็นการเทิดพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน นอกจากนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น นราธิปพงศ์ประพันธ์ ยังได้ตรัสไว้ในปาฐกถาเรื่อง สยามพากย์ ว่า “การใช้ราชาศัพท์ เพื่อจะยกย่องฐานะของพระราชาให้สูงขึ้น” คำเขมรที่ต่อมานำมาใช้เป็นราชาศัพท์นั้น ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักต่างๆ มีใช้อยู่มากและ ใช้แก่คนสามัญทั่วไป มิได้ใช้แก่พระมหากษัตริย์ เช่น
10 2. up 9-32-7 Sep.indd 10
9/7/12 8:04:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง คำว่า ทรง “คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน” (บรรทัดที่ 9 ด้าน 2)
ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 จารึกวัดศรีชุม (พุทธศักราช 1884-1910) คำว่า เสด็จ “พระศรีรัตนมหาธาตุเจ้ากูลูกหนึ่งมีพรรณงามดังทอง... เสด็จมาแต่กลาง หาว” (บรรทัดที่ 66 ด้าน 2) คำว่า บังคม “คนทั้งหลายไหว้กันเต็มแผ่นดิน อุปมาดังเรียงท่อนอ้อยไว้มาก... เขาจึงขึ้น บังคม” (บรรทัดที่ 73 ด้าน 2) ส่วนที่ใช้คำภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีเป็นราชาศัพท์นั้น พระวรเวทย์พิสิฐ กล่าวไว้ใน หนังสือ หลักภาษาไทย ว่า เป็นเพราะคำทั้งสองนี้เป็นคำทางพระศาสนาซึ่งถือว่าเป็นคำสูง จึงนำ มาใช้เป็นราชาศัพท์ด้วย คำราชาศัพท์ มีใช้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังที่ พลตรี หม่อม ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) กล่าวไว้ในเรื่อง กิริยามารยาทและการใช้ ถ้ อ ยคำในราชสำนั ก ว่ า “ราชาศั พ ท์ ที่ ป รากฏเป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรฉบั บ แรก เห็ น จะเป็ น กฎ มณเฑียรบาลในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยา ในกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ มีพระราชกำหนดถ้อยคำที่จะใช้กราบทูล คำที่ใช้เรียกสิ่งของใช้ และวิธีใช้คำรับ อาจถือเอาเป็น ราชาศัพท์ฉบับแรกได้ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงแสดง พระมติทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไว้แล้วว่า ระเบียบ ราชาศัพท์จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้น”
11 2. up 9-32-7 Sep.indd 11
9/7/12 8:04:50 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
การใช้ราชาศัพท์ ราชาศัพท์ส่วนมากเป็นศัพท์ที่ ม าจากภาษาบาลี สั น สกฤต เขมร และคำไทยรุ่ น เก่ า สามารถสังเกตได้ว่ามักเป็นคำประสม ประกอบขึ้นด้วยคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป และกำหนดให้ใช้ในที่ ต่ำสูงต่างกัน ในบทนี้ จะตั้งข้อสังเกตให้ศึกษาถึงราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำชนิดต่างๆ ว่าแต่ละชนิด มีลักษณะอย่างไร และมีวิธีการอันใดที่พึงถือเป็นหลักในการประกอบคำเข้าด้วยกัน ให้สำเร็จเป็น ราชาศัพท์ที่มีความหมายถูกต้องตรงกับที่ประสงค์จะใช้
ข้อหนึ่ง ราชาศัพท์ที่ใช้เป็นชื่อ ที่เรียกว่า คำนาม หรือสามานยนาม
ในไวยากรณ์ มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. คำที่ไม่ต้องใช้คำใดๆ เข้าประกอบ ได้แก่ คำนามที่เป็นชื่อของสิ่งที่รวมกันอยู่เป็น หมู่มาก เช่น สมาคม คณะ รัฐบาล มูลนิธิ บริษัท โรงเรียน สงฆ์ ที่ทางไวยากรณ์เรียก สมุหนาม พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งได้แก่คำนามที่เป็นราชาศัพท์แล้วในตัว เช่น คำว่า วัง ตำหนัก หม่อม หม่อมห้าม เจ้าจอม ชายา เป็นตัวอย่าง พวกหลังนี้ บางทีเมื่อจะใช้ในที่สูงขึ้นไปกว่าศักดิ์ของคำ ต้องประกอบคำอื่นเข้าด้วย ให้ได้ความหมายตรงกับที่ต้องการ อย่างคำว่า ตำหนัก (เรือนของ เจ้านาย) ประกอบคำ พระ เป็น พระตำหนัก กลายเป็นเรือนหลวง (เรือนของพระมหากษัตริย์) หรือคำว่า ชายา ซึ่งหมายถึงหม่อมเจ้าที่เป็นภรรยาของเจ้านาย และคำนี้ยังอาจประกอบคำอื่นๆ เข้าได้อีก เป็น พระวรชายา พระราชชายา พระวรราชชายา พระอัครชายา ซึ่งล้วนมีความหมาย เปลี่ยนไปตามความมุ่งหมายที่จะใช้ให้สูงและสำคัญยิ่งขึ้นเพียงใด หรือคำว่า เจ้าจอม ซึ่งหมายถึง พระสนมของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบวรราชเจ้า ก็อาจเลื่อนเป็น เจ้าจอมมารดา (เมื่อ มีพระเจ้าลูกเธอ) เป็น เจ้าคุณจอมมารดา (เมื่อได้รับสถาปนาให้มีศักดิ์สูงเป็นพิเศษ) หรืออาจ ตัดคำ เจ้า ออกเสีย เหลือแต่ จอมมารดา ก็ได้ เมื่อใช้สำหรับพระสนมในกรมพระราชวังบวร วิไชยชาญ ที่มีพระโอรสธิดา
๒. คำที่ต้องใช้คำอื่นเข้าประกอบให้เป็นราชาศัพท์ ซึ่งมีหลักสังเกตในการประกอบดังนี้
๒.๑ คำที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ๒.๑.๑ คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญอันควรยกย่อง ใช้คำ เช่น พระบรมอรรคราช พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัครราช พระอัคร พระมหา
นำหน้า เช่น พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนก พระบรมราชชนนี พระบรมราชโองการ พระบรมราชบุรพการี พระบรมราชวงศ์ พระบรมราชาภิเษก พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชานุเคราะห์ พระบรมราชานุสรณ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมราโชวาท พระบรมมหัยกา พระบรมราชินี พระบรมโพธิสมภาร พระบรมเดชานุภาพ พระบรม12 2. up 9-32-7 Sep.indd 12
9/7/12 8:04:52 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
นามาภิ ไธย พระปรมาภิ ไธย พระบรมฉายาลั ก ษณ์ พระบรมศพ พระบรมทนต์ พระบรมอั ฐิ พระบรมญาติ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครราชเทวี พระอัครราชชายา พระอัครมเหสี พระอัครเทวี พระอั ค รชายา พระมหามณเฑี ย ร พระมหาปราสาท พระมหาอุ ณาโลม พระมหามงกุ ฎ
พระมหาสังวาล พระมหาสังข์ พระมหาเศวตฉัตร พระมหากรุณา พระมหากรุณาธิคุณ พระมหา มงคล ๒.๑.๒ คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญรองลงมา หรือที่ประสงค์จะมิให้ปนกับเจ้านาย อื่นๆ หรือไม่ประสงค์จะให้รู้สึกว่าสำคัญดังข้อต้น ให้ใช้คำว่า พระราช ประกอบข้างหน้า เช่น พระราชวัง พระราชนิเวศน์ พระราชอำนาจ พระราชวงศ์ พระราชประสงค์ พระราชดำริ พระราชดำรั ส พระราชกุ ศ ล พระราชปรารถนา พระราชปรารภ พระราชทรั พ ย์ พระราชลั ญ จกร พระราชทาน พระราชอุทิศ ๒.๑.๓ คำนามที่เป็นสิ่งสามัญทั่วไป ที่ไม่ถือว่าสำคัญ และไม่ประสงค์จะแยก ให้เห็นว่าเป็นนามใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ ให้ใช้คำว่า พระ นำหน้า เช่น พระเจ้า พระองค์ พระกร พระหัตถ์ พระบาท พระโลหิต พระบังคน พระวาตะ พระเคราะห์ พระโรค พระแสง พระศรี พระยี่ภู่ พระแท่น พระเก้าอี้ พระป้าย พระโธรน พระดิ่ง พระถ้วย พระฉาย พระสาง พระเขนย พระขนอง พระขนน คำที่เติมตามข้อ ๒.๑.๓ นี้ และแม้ตามข้อ ๒.๑.๑ และ ๒.๑.๒ มีข้อน่าสังเกตว่า ก. ส่ ว นใหญ่ เป็ น คำบาลี สั น สกฤต คำเขมร และคำไทยเก่ า แต่ บ างคำก็ เป็ น คำไทยธรรมดาและคำต่างภาษา เช่น คำจีน คำฝรั่ง ซึ่งอนุโลมใช้ พระ นำหน้าด้วย ข. บางทีเป็นคำชนิดอื่น แต่ เมื่ อ เติ ม คำแต่ ง แล้ ว กลายเป็ นคำนาม เช่ น ประชวร (ป่ ว ยเจ็ บ -กริ ย า) พระประชวร (ความป่ ว ยเจ็ บ -นาม) สาง (หวี - กริ ย า) พระสาง (หวี - นาม) อุทิศ (กริยา) พระราชอุทิศ (นาม) ดำริ (กริยา) พระดำริ (นาม) ค. ถ้านามใดเป็นคำประสมซึ่งมีคำ พระ ประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ พระ นำหน้า ซ้อนอีก เช่น ธารพระกร ฉลองพระเนตร รองพระบาท พานพระศรี ทองพระกร เครื่องพระสำอาง ตุ้มพระกรรณ บั้นพระองค์ ขันพระสาคร อนึ่ ง บุ ค คลที่ เป็ น พระญาติ ห รื อ เกี่ ย วข้ อ งกั บ พระมหากษั ต ริ ย์ ย่ อ มมี ค ำบั ญ ญั ติ ให้ ใช้ เป็นการเฉพาะ ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้าในบทนี้ แต่ถ้าใช้เป็นกลางๆ สำหรับพระประมุขอื่นๆก็ใช้ พระราช นำหน้า เช่น พระราชมารดา พระราชบิดา พระราชภคินี ถ้าบุคคลนั้นมิใช่เจ้านาย มักใช้ พระ นำ เช่น พระอัยกา พระมาตุลา พระชนก พระชนนี ส่วนสามัญชนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยทางอื่น ใช้ พระ นำหน้า เช่น พระ อาจารย์ พระสหาย พระพี่เลี้ยง พระนม 13 2. up 9-32-7 Sep.indd 13
9/7/12 8:04:54 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒.๑.๔ คำนามที่ เป็ น สิ่ ง ที่ ไม่ ส ำคั ญ หรื อ มิ ได้ ก ล่ า วให้ เป็ นความสำคั ญ และ คำนั้นเป็นคำไทย บางคำใช้คำ หลวง หรือ ต้น ประกอบเข้าข้างหลังให้เป็นราชาศัพท์ได้ เช่น ลูกหลวง หลานหลวง ของหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง ม้าต้น ช้างต้น ควรสังเกตว่า นามที่ใช้คำประกอบท้ายตามข้อนี้ มีนัยต่างกันอยู่ตามคำประกอบนั้นๆ ทั้ ง ยั ง มี ค วามหมายไม่ ต รงที เ ดี ย วกั บ นามที่ มี ค ำนำหน้ า ตามข้ อ ๒.๑.๑, ๒.๑.๒ และ ๒.๑.๓ (ส่วน หลวง ที่แปลว่า ใหญ่ เช่น คำ ภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง ไม่จัดว่าเป็นคำประกอบ ท้ายเพื่อให้คำหน้าเป็นคำราชาศัพท์) ๒.๑.๕ คำนามที่ มี ค ำประกอบท้ า ยอื่ น ๆ ตามข้ อ ๒.๑.๔ บางที ยั ง ประกอบ คำ พระ เข้าข้างหน้าได้ด้วย เพื่อบ่งบอกว่าเป็นคำใช้แก่พระมหากษัตริย์ เช่น คำว่า พระเครื่องต้น ๒.๑.๖ บางคำประกอบคำอื่นๆ เข้าให้เป็นราชาศัพท์ด้วย มีความหมายต่าง กันไปตามคำที่ประกอบ เช่น รถยนต์พระที่นั่ง เรือยนต์พระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ที่สรง ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม ที่บรรทม ที่ประทับ ที่ประพาส ๒.๒ คำที่ใช้สำหรับเจ้านาย มีการใช้คำประกอบแตกต่างกันหลายอย่าง เพราะ เจ้านายมีหลายชั้น กล่าวโดยย่อ ตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีนาถลงไปจนถึงหม่อมเจ้า หลักการ ประกอบคำตามแบบแผนที่เคยเห็นใช้มีดังต่อไปนี้ ๒.๒.๑ ใช้คำ พระราช นำหน้านามบางคำที่ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช(๑) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนนามที่สำคัญ เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชบัณฑูร พระราชบัญชา พระราชประวัติ พระราชดำริ พระราชดำรัส พระราชกิจ พระราชกุศล พระราชประสงค์ พระราโชบาย พระราโชวาท พระราชูทิศ พระราชานุเคราะห์ ๒.๒.๒ ใช้คำ พระ นำหน้านามสำหรับพระบรมวงศ์ ตามข้อ ๒.๒.๑ ในนาม ที่ไม่สำคัญ และสำหรับพระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า ทั้งในนามสำคัญและไม่ สำคัญ เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระบาท พระหทัย พระศพ เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ พระ นำ คงพูดว่าเศียร องค์ หัตถ์ หทัย ศพ ๒.๒.๓ พระราชพาหนะ เช่ น รถยนต์ พ ระที่ นั่ ง เรื อ ยนต์ พ ระที่ นั่ ง ใช้ แ ก่ เจ้ า นายตามข้ อ ๒.๒.๑ รถยนต์ ที่ นั่ ง เรื อ ยนต์ ที่ นั่ ง ใช้ แ ก่ พ ระราชวงศ์ ชั้ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า และ พระองค์เจ้า รถยนต์พระประเทียบ ใช้แก่สมเด็จพระสังฆราช รถของหม่อมเจ้าที่เสด็จแทนพระองค์ (1) คือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงสิริราชสมบัติสืบต่อไป อาจเป็นลูกชาย น้องชาย หรือหลานชายก็ได้
14 2. up 9-32-7 Sep.indd 14
9/7/12 8:04:56 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหากษัตริย์ และรถเชิญพระพุทธรูปสำคัญ รถยนต์ประเทียบใช้แก่องคมนตรีที่เป็นผู้แทน พระองค์พระมหากษัตริย์ รถทรง เรือทรง ม้าทรง ๒.๒.๔ คำที่เป็นนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหรือ คำต่อแต่อย่างใด เช่น คำว่า เจ้าจอม (ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า) หม่อม (ในกรมพระราชวังบวร และเจ้านาย) วัง ตำหนัก ชายา หม่อมห้าม ตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๑ ๒.๓ นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งอื่นที่เป็นของห่างไกล มิได้เกี่ยว เนื่องกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย รวมทั้งเป็นคำที่มีขึ้นมาในชั้นหลังๆ ซึ่งบางทีก็มีชื่อเป็น คำต่างภาษา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องตกแต่งหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็น ราชาศัพท์แต่อย่างใด ให้ใช้คำเดิมตามปรกติ พระกระยาหารค่ ำ วั น นี้ มี ซุ ป จู เ ลี่ ย น เนื้ อ สั น อบเบี ย ร์ มั น ชาโต มาเซดวนผั ก (สลัดผัก) แกงต้มส้มปลากระบอก ผัดพริกขิงไข่เค็ม ผัดข้าวโพดอ่อนกับไก่ เปียกข้าวเหนียวดำ ส้มตรา แตงหอม ลูกพลับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ชำนาญกว่าใครๆ ๒.๔ นามที่ต้องใช้คำประกอบดังกล่าวแล้ว เป็นพวกชื่อทั่วไป ที่ทางไวยากรณ์ เรียก ว่าสามานยนามอย่างหนึ่ง อาการนามอีกอย่างหนึ่ง น่าสังเกตว่านามสองชนิดนี้ บางทีท่านบัญญัติ คำไว้ให้ใช้ตา่ งกันตามชัน้ ของบุคคล เช่น คำว่า จดหมาย หรือ หนังสือ ท่านบัญญัตคิ ำไว้ ให้ใช้ตา่ งกัน หลายอย่าง ดังนี้ พระราชหัตถเลขา ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชสาส์น ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ (ในการเจริญ สัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ) ลายพระราชหัตถ์ ใช้แก่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 15 2. up 9-32-7 Sep.indd 15
9/7/12 8:04:58 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาสมณสาส์น ใช้แก่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระสมณสาส์น ใช้แก่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ลายพระหัตถ์ หรือ พระอักษร ใช้แก่ เจ้านายและสมเด็จพระสังฆราช
ข้อสอง ราชาศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล ทางไวยากรณ์เรียกว่า วิสามานยนาม มีวิธีประกอบคำให้ใช้เป็นราชาศัพท์ตายตัวอยู่ กล่าวคือ ๑. วิสามานยนามอันเป็นชื่อเฉพาะ (รวมทั้งนามสกุล) ของบุคคล เช่น สำรวย สวยพริ้ง เป็นต้นนั้น จะต้องมีคำนำหน้าเรียกว่าสามานยนามนำหน้าชื่อประกอบด้วยเสมอ จึงจะนับว่า สมบู ร ณ์ ถ้ า จะใช้ ใ ห้ ถู ก ต้ อ ง ต้ อ งเป็ น เด็ ก หญิ ง สำรวย สวยพริ้ ง นางสาวสำรวย สวยพริ้ ง
นางสำรวย สวยพริ้ง คุณหญิงสำรวย สวยพริ้ง ท่านผู้หญิงสำรวย สวยพริ้ง ดังนี้ พระมหากษัตริย์และเจ้านายก็เช่นเดียวกัน จำต้องมีคำสามานยนามนำพระปรมาภิไธย พระบรมนามาภิไธย พระนามาภิไธย และพระนาม ด้วยเสมอ มีสามานยนามที่บัญญัติไว้ให้ใช้นำ ดังนี้ ๑.๑ พระมหากษัตริย์ ใช้คำ พระบาทสมเด็จพระ นำพระปรมาภิไธย และยังมีวิธี เขียนพระปรมาภิไธยได้เป็น ๓ อย่าง คือ ๑.๑.๑ อย่างยิ่ง เขียนพระปรมาภิไธยเต็มตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ เช่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร
รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ๑.๑.๒ อย่างกลาง ละสร้อยพระปรมาภิไธย พระบรมนามาภิไธย เสียบ้าง
เช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ๑.๑.๓ อย่างย่อ ย่อเอาแต่ส่วนสำคัญของพระปรมาภิไธยไว้ เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 16 2. up 9-32-7 Sep.indd 16
9/7/12 8:05:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๑.๒ พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ในอดีต
และพระราชสมัญญา ใช้ สมเด็จพระ นำ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระมหาบุรุษ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีคำขานพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จ พระมหาธีรราชเจ้า พระมหากษัตริย์ในอดีตนั้น บางทีก็ใช้คำนำตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระยาลิไท ขุนหลวงสรศักดิ์ ส่วนพระมหากษัตริย์ต่างประเทศ ใช้คำนำพระนามต่างกัน เป็นต้นว่า พระจักรพรรดิ สมเด็จพระเจ้า สมเด็จพระ พระเจ้า เช่น พระจักรพรรดิไฮเลเซลาสซี ที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าจอร์จ ที่ ๕ สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์ พระเจ้ากรุงนอร์เวย์ พระเจ้ากรุงเดนมาร์ก จำเป็นต้องสังเกต จดจำตามที่ทางราชการใช้(๑) ๑.๓ คำที่ใช้แก่เจ้านาย มีสามานยนามที่ใช้เป็นคำนำพระนามเจ้านายโดยเฉพาะ เพื่อบอกสกุลยศ และอิสริยยศ ซึ่งในตำราไวยากรณ์ (๒) เรียกว่า สามานยนามบอกเครือญาติ กับ สามานยนามบอกชั้นเจ้านาย ที่มักใช้ประกอบกันทั้งสองอย่างเป็นส่วนมาก ดังนี้ ๑.๓.๑ สามานยนามบอกเครื อ ญาติ คื อ คำนำพระนามที่ แ สดงว่ า เป็ น
พระประยูรญาติชั้นใดกับพระมหากษัตริย์ ตามที่จะอธิบายต่อไปข้างหน้า ๑.๓.๒ สามานยนามบอกชั้นเจ้านาย มี ๓ ชั้น คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และ หม่อมเจ้า นอกจากนี้ เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้ายังมีพระอิสริยยศ ต่างกรม อีก ๗ ชั้น คื อ กรมพระราชวั ง บวรสถานมงคล กรมพระราชวั ง บวรสถานพิ มุ ข กรมพระยา กรมพระ
กรมหลวง กรมขุน และกรมหมื่น ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น จึงเข้าใจได้ว่า เมื่อเขียนพระนามเจ้านาย จะต้องลงสามานยนามบอกเครือญาติ กับ สามานยนามบอกชั้น ก่อน แล้วจึงต่อด้วยพระนาม ซึ่งอาจเป็นพระนาม เดิม หรือพระนามกรม หรือทั้งสองอย่าง และถ้าทรงมียศทางทหารหรือพลเรือน จะลงสามานยนามบอกยศ ในเบื้องต้นด้วยก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (๑) ในรัชกาลปัจจุบันคำที่เรียกพระมหากษัตริย์ต่างประเทศใช้ว่า สมเด็จพระราชาธิบดีแห่ง ตามด้วยชื่อประเทศ เช่น สมเด็จ พระราชาธิบดีแห่งมาเลเชีย ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นหญิงใช้ว่า สมเด็จพระราชินีนาถ ตามด้วยพระนามและชื่อประเทศ เช่น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร หรือตามด้วยชื่อประเทศ เช่น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก เป็นต้น (๒) สยามไวยากรณ์ วจีวิภาค ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
17 2. up 9-32-7 Sep.indd 17
9/7/12 8:05:02 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
– พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร(๑) – พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากร
ปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี(๒) – จอมพล สมเด็จพระราชปิตลุ าบรมพงศาภิมขุ เจ้าฟ้าภาณุรงั ษีสว่างวงศ์ กรมพระยา
ภาณุพันธุวงศวรเดช – สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ – จอมพล สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า บริ พั ต รสุ ขุ ม พั นธ์ กรมพระนคร
สวรรค์วรพินิต – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาท
นเรนทร – มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ – พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ – พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา – พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์
ศักดิ์พินิต – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ เจ้านายชั้นหม่อมเจ้านั้น ไม่มีสามานยนามบอกเครือญาติ แต่ต้องลงราชสกุล ต่อท้ายนามด้วย เช่น หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล ๑.๔ คำที่ใช้แก่พระสงฆ์ พระสงฆ์มีหลายชั้นและมีสามานยนามบอกสมณศักดิ์ นำนามต่างกันตามชั้น ๑.๔.๑ เจ้านายที่ทรงผนวชและทรงดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าก็ดี เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าก็ดี ให้ใช้ตามประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา เช่น กรณีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ส่วนกรณีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรตนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า (๑) สยามมกุฎราชกุมาร เป็นสามานยนามบอกตำแหน่ง มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ (๒) สยามบรมราชกุมารี เป็นสามานยนามบอกตำแหน่ง มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน
18 2. up 9-32-7 Sep.indd 18
9/7/12 8:05:03 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระยศทางราชตระกูล เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ และ ทรงสถาปนาให้ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนเป็นกรมหลวง ดังนั้นการออกพระนามทางราชการจึงออกพระนาม ตามทางราชตระกูลก่อน แล้วต่อด้วยพระยศทางสงฆ์ไว้ท้ายพระนาม คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชิ น วรสิ ริ วั ฒ น์ สมเด็ จ พระสั ง ฆราชเจ้ า ดั ง นี้ เป็ นต้ น แต่ สมเด็ จ พระสั ง ฆราชเจ้ า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มิได้ทรงเป็นเจ้านายมาก่อน(๑) จึงไม่มีสามานยนามบอกเครือญาติ คงใช้ นามแสดงสมณศักดิ์นั้นนำแทน ส่วนสมเด็จพระสังฆราชที่มิใช่เจ้านาย ใช้พระนามอย่างสมเด็จ พระราชาคณะแล้วเติมตำแหน่งไว้ท้าย ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑.๔.๒ ราชตระกูล ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าที่ทรงอุปสมบท บรรพชา ลงไปจนถึง หม่อมหลวงที่อุปสมบท บรรพชา เรียกสกุลยศนำหน้าฉายาด้วย เช่น หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ หม่ อ มเจ้ า พระมหาเพลารถ หม่ อ มเจ้ า พระภุ ช งค์ หม่ อ มเจ้ า พระประภากร หม่ อ มเจ้ า
พระอรุณนิภาคุณากร หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าพระมนุษย นาคมานพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระประชาธิปกศักดิเดชน์ อนึ่ง พระมหากษัตริย์
เมี่อทรงพระผนวช ไม่ใช้ว่า พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้ว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระผนวช หม่อม เป็นคำนำนามสตรี (สามัญชน) ที่เป็นหม่อมห้ามของเจ้านาย ใช้นำหน้า ชื่ อ ตั ว และชื่ อ ราชสกุ ล เช่ น หม่ อ มกอบแก้ ว อาภากร ณ อยุ ธ ยา หม่ อ มประพาล จั ก รพั นธุ์
ณ อยุธยา แต่ถา้ เป็น หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ต้องใช้คำ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง นำหน้า เช่น หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล ห้ามใช้คำ หม่อม หรือคำนำอื่นๆนำหน้าเป็นอันขาด เจ้าจอม เป็นคำนำนามพระสนม ใช้นำหน้าชื่อตัว และต่อท้ายด้วยคำที่บ่งบอก ว่าเป็นพระสนมในรัชกาลใด เช่น เจ้าจอมสมบุญ ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดา เป็นคำนำนามพระสนมที่มีพระราชโอรสธิดา เช่น เจ้าจอม มารดาตานี ในรัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดาน่วม ในสมเด็จ
พระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ถ้าเป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ใช้ จอมมารดา นำ เช่น จอมมารดาป้อม ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ(๒) (๑) มีฐานันดรศักดิ์ทางราชสกุลว่า หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงษ์ (๒) และมีบางกรณีที่ทรงสถาปนาหม่อมห้ามของเจ้านายชั้นลูกหลวงขึ้นเป็น “เจ้าจอมมารดา” หากว่าหม่อมนั้นได้เป็นขรัวยายของ เจ้าฟ้าพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ เช่น หม่อมจีนในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ได้รับพระราชทาน สถาปนาเป็นเจ้าจอมมารดาจีน เนื่องจากได้เป็นขรัวยายของสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา และสมเด็จ เจ้าฟ้านิภานภดล ในรัชกาลที่ ๕
19 2. up 9-32-7 Sep.indd 19
9/7/12 8:05:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เจ้าคุณจอมมารดา ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเจ้าจอมมารดา เป็น เจ้าคุณ จอมมารดา ๔ ท่าน คือ เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ใน รัชกาลที่ ๔ เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เจ้าคุณจอม มารดาแพ ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าคุณจอมมารดาทั้ง ๔ ท่านนี้ ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาเจ้าคุณ จอมมารดาเปี่ยม ขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา และทรงสถาปนาเจ้าคุณจอม มารดาแพ ขึน้ เป็น เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ จึงมีคำ เจ้าคุณพระ เป็นคำนำนามอีกคำหนึง่ พระ เป็ นคำนำนามพระสนมเอกในรั ช กาลที่ ๖ คื อ พระสุ จ ริ ต สุ ด า กั บ
พระอินทราณี ซึ่งภายหลังทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ๒. วิ ส ามานยนามอั น เป็ นชื่ อ ของบุ ค คล อาจแบ่ ง ได้ เป็ น ๒ อย่ า ง คื อ ชื่ อ ตั ว กั บ
ราชทินนาม ๒.๑ ชื่อตัว หรือนามเดิม ย่อมหมายรวมถึงนามสกุลที่บุคคลใช้ตามกฎหมายด้วย เช่น สัญญา สุเรนทรานนท์ หรือ พรทิพย์ วัยกิจ ซึ่งเมื่อเติมสามานยนามนำหน้าชื่อเป็น “นาย สัญญา สุเรนทรานนท์” และ “นางสาวพรทิพย์ วัยกิจ” แล้ว ก็เป็นวิสามานยนามที่ถูกต้องสมบูรณ์ ๒.๒ ราชทิ น นาม คื อ นามที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานพร้ อ มกั บ ยศ สมณศั ก ดิ์ และ บรรดาศักดิ์ นามใดที่บุคคลชั้นใดได้รับพระราชทานโดยนัยนี้ถือเป็น ราชทินนาม ทั้งสิ้น เช่น อุบาลี คุณูปมาจารย์ (พระภิกษุ) พหลพลพยุหเสนา (ขุนนาง) ซึ่งเมื่อประกอบสามานยนามเข้าข้างหน้า ตามระเบียบแล้วจะเป็นราชทินนามราชาศัพท์ที่สมบูรณ์ ดังนี้ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่ อ ทราบลั ก ษณะของ สามานยนามนำหน้ า ชื่ อ และ วิ ส ามานยนามอั น เป็ นชื่ อ
ของบุ ค คลชั้ นต่ า งๆ แล้ ว ก็ พึ ง พิ จ ารณาใช้ ป ระกอบกั น ให้ เป็ น วิ ส ามานยนามราชาศั พ ท์ ให้
ถูกต้อง ในที่นี้จะยกตัวอย่างไว้เป็นแบบเพื่อสังเกต ดังนี้ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพตั รสุขมุ พันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินติ มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงศพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ท่านผู้หญิงสุรณรงค์ (จรวย โชติกเสถียร) 20 2. up 9-32-7 Sep.indd 20
9/7/12 8:05:07 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ท้าวศรีสัจจา (สังวาลย์ บุณยรัตพันธุ์) หัวหมื่น พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) พระยาประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) นายจำนงราชกิจ (จรัญ บุณยรัตพันธุ์) พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ พันตำรวจโท ประวิณ เกษมสุข สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) พระครูไพโรจน์โพธิวัฒน์ (เจริญ โตภาโส) พระเจริญ ดอนจันทร์ (ตปญฺโ น.ธ. เอก) สามเณรสุโข สราญใจ
ฯลฯ
๓. ลักษณนาม(๑) ที่ต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามระเบียบราชาศัพท์ มีเฉพาะลักษณนามที่ ใช้แก่พระมหากษัตริย์และเจ้านายเท่านั้น พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ใช้ว่า พระองค์ เช่น สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ พระราชโอรสทั้งสี่พระองค์ สำหรับเจ้านาย ชั้นรองลงมาให้ใช้ องค์ เช่น หม่อมเจ้าห้าองค์ ดังนี้ อนึ่ง ส่วนของร่างกาย เครื่องใช้ เครื่องเสวย ที่เป็นของสำคัญของพระมหากษัตริย์และ ของเจ้ า นาย ก็ ใช้ ลั ก ษณนามว่ า องค์ เช่ น พระทนต์ ส ององค์ (ซี่ ) พระที่ นั่ ง สององค์ (หลั ง ) พระแสงปืนสององค์ (กระบอก) เสวยได้หลายองค์ (คำ) ตรัสได้ไม่กี่องค์ (คำ)
(๑) ดูบทที่ ๒ หมวดที่ ๑๐ ลักษณนาม ประกอบ
21 2. up 9-32-7 Sep.indd 21
9/7/12 8:05:09 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ข้อสาม คำแทนชื่อ หรือที่เรียกว่า คำสรรพนาม ในไวยากรณ์ สรรพนามที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามราชาศัพท์ มีแต่บุรุษสรรพนาม พวกเดียว และมีคำใช้มาก สำหรับบุคคลต่างชั้นกัน ที่ใช้กันเป็นแบบแผนแต่ก่อนมีดังนี(๑) ้ บุรุษที่ ๑
คำสรรพนาม
ผู้พูด
ผู้ฟัง
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้น้อย(๒) พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์(๓) พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า (ที่เป็นพระราชโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์) เกล้ากระหม่อม ผู้น้อย (ชาย) พระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ เกล้ากระหม่อมฉัน ผู้น้อย (หญิง) พระองค์เจ้า และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่ทรงกรม) กระหม่อม ผู้น้อย (ชาย) พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ หม่อมฉัน ผู้น้อย (หญิง) พระองค์เจ้า (ที่มิได้ทรงกรม)(๔) หม่อมเจ้า
(๑) ดูระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ภาคผนวก (ฉบับแก้ไข พ.ศ. ๒๕๓๙) ด้วย เพื่อให้ทราบคำ ที่ราชการบัญญัติให้ใช้ในปัจจุบัน (๒) ผู้น้อย ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ และบุคคลทั่วไป
(๓) ในรัชกาลปัจจุบัน พระบรมวงศ์หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ (๔) ในรัชกาลปัจจุบัน พระอนุวงศ์ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
22 2. up 9-32-7 Sep.indd 22
9/7/12 8:05:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม
ผู้พูด
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้น้อย เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน
ผู้ฟัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ผู้น้อย (ชาย) สมเด็จพระสังฆราช ผู้น้อย (หญิง)
บุรุษที่ ๒
คำสรรพนาม
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ผู้พูด ผู้น้อย
ใต้ฝ่าละอองพระบาท ผู้น้อย
ผู้ฟัง พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ใต้ฝ่าพระบาท ผู้น้อย พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า (พระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์) ฝ่าพระบาท ผู้น้อย พระราชวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่ทรงกรม) หม่อมเจ้า สมเด็จบรมบพิตรพระราช พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ สมภารเจ้า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ บรมบพิตรพระราชสมภาร พระสงฆ์ สมเด็จพระบรมราชินี เจ้า, มหาบพิตร สมเด็จพระบรมราชชนก 23 2. up 9-32-7 Sep.indd 23
9/7/12 8:05:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม
ผู้พูด
ผู้ฟัง
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บพิตร(๑)
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า
พระสงฆ์
บุรุษที่ ๓ พระองค์
คำสรรพนาม
แทนบุคคล พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ข้อสี่ คำแสดงกิริยาอาการและความมี ความเป็น ที่เรียกว่า คำกริยา ในไวยากรณ์ กริยาที่เปลี่ยนแปลงใช้ตามระเบียบราชาศัพท์โดยมากมีอยู่แต่กริยาที่จะ ใช้แก่พระมหากษัตริย์กับเจ้านาย และมักจะใช้อย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน มีลักษณะดังนี้
๑. เป็นคำเฉพาะต่างจากคำกริยาสามัญ เช่น
ผทม, ประทม, บรรทม ทอดพระเนตร เสวย ประทับ สรง ตรัส, ดำรัส กริ้ว โปรด ประชวร
= = = = = = = = =
นอน ดู, มอง, แล กิน อยู่, อยู่กับที่ อาบน้ำ, ล้าง พูด โกรธ รัก, ชอบ, เอ็นดู ป่วย, เจ็บ
(๑) ดูตัวอย่างพระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๖ ที่พระราชทานแก่เสือป่า นักเรียนมหาดเล็กหลวง นักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ฯลฯ
24 2. up 9-32-7 Sep.indd 24
9/7/12 8:05:15 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ทรง =
แปลได้หลายความหมายแล้วแต่ นามข้างท้ายจะบ่งความ เช่น ทรงรถ ทรงม้า ทรงธรรม ทรงศีล ทรงดนตรี ทรงพระโอสถมวน
๒. ใช้ ทรง เป็ นกริ ย านุ เคราะห์ นำหน้ า กริ ย า เช่ น ทรงฟั ง ทรงยิ นดี ทรงถวาย ทรงรับ ทรงชุบเลี้ยง ทรงผนวช เป็นต้น แต่จะใช้ ทรง นำหน้ากริยาที่เป็นราชาศัพท์สำหรับ พระมหากษัตริย์และเจ้านายอยู่แล้ว (ตามข้อ ๑) ให้เป็น ทรงประชวร ทรงเสวย ทรงประทับ ไม่ได้ เป็นอันขาด ๓. ใช้ ทรง นำหน้านามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาวลีราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณา ทรง พระประชวร ทรงพระดำริ ทรงผนวช เจ้ า นายประชวร แต่ พระบาทสมเด็ จ เจ้ า อยู่ หั ว ทรง
พระประชวร เจ้านายทรงผนวช แต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ๔. คำ ทรง จะใช้ น ำกริ ย าที่ มี น ามราชาศั พ ท์ ต่ อ ท้ า ยมิ ไ ด้ เช่ น ห้ า มใช้ ว่ า ทรงมี พระมหากรุณา ทรงมีพระราชดำริ ทรงมีพระบรมราชโองการ ทรงเป็นพระราชโอรส ทรงทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ต้องใช้ว่า ทรงพระมหากรุณา (ตามข้อ ๓) หรือมีพระมหากรุณา ทรง พระราชดำริ หรื อ มี พ ระราชดำริ มี พ ระบรมราชโองการ เป็ น พระราชโอรส ซู บ พระองค์ ทอดพระเนตร สิ้นพระชนม์ เสียพระทัย ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ๕. ใช้คำ เสด็จ นำหน้ากริยาบางคำ ทำนองเดียวกับใช้ ทรง นำก็ได้ และความหมาย สำคัญจะอยู่ที่กริยาที่อยู่ข้างหลัง เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จมา เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จอยู่ เสด็จประพาส เสด็จผ่านพิภพ เสด็จดำรงราชย์ เสด็จสถิต เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เสด็จ สวรรคต ๖. เป็นคำบัญญัติแยกใช้ตามชั้นบุคคล กริยาพวกนี้จำเป็นต้องสังเกตจดจำเป็นคำๆ ไป ตัวอย่างเช่น กริยา
ราชาศัพท์
เกิด ทรงพระราชสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ
ใช้แก่
หมายเหตุ
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี 25
2. up 9-32-7 Sep.indd 25
9/7/12 8:05:17 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
กริยา
ราชาศัพท์
ใช้แก่
หมายเหตุ
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมภพ, ประสูติ พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า คลอดบุตร มีพระประสูติกาล
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
ประสูติ พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า สั่ง มีพระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์ (ดำรัส) เหนือเกล้าฯ สั่งว่า มีพระราชโองการสั่งว่า พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงรับ พระบรมราชาภิเษก มีพระราชเสาวนีย์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
มีพระราชบัณฑูรว่า สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท กรมพระราช- วังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราช- วังบวรสถานมงคล 26 2. up 9-32-7 Sep.indd 26
9/7/12 8:05:19 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
กริยา
ราชาศัพท์
ใช้แก่
หมายเหตุ
สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์ กรมพระ ราชวังบวรสถานมงคล
มีพระบัณฑูรว่า
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
มีพระราชบัญชาว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสสั่ง สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระดำรัสสั่ง พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า มีพระบัญชา
กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
กิน
พระมหากษัตริย์, เจ้านาย
เสวย
รับพระราชทาน (อาหาร) ผู้น้อยใช้กราบบังคมทูลพระกรุณา และกราบบังคมทูล พระบรมวงศ์ ตาย เสด็จสวรรคต, สวรรคต
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ 27
2. up 9-32-7 Sep.indd 27
9/7/12 8:05:20 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
กริยา
ราชาศัพท์
ใช้แก่
หมายเหตุ
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบวรราชเจ้า
ทิวงคต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ – เคยใช้แก่ สมเด็จพระ อนุชาธิราช ในรัชกาลที่ ๖ และสมเด็จพระ ราชปิตุลาบรม พงศาภิมุขใน รัชกาลที่ ๗ ซึ่งทรงได้รับ การเฉลิม พระยศพิเศษ สิ้นพระชนม์ พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
ถึงชีพิตักษัย, สิ้นชีพิตักษัย หม่อมเจ้า – ภาษาปากใช้ ถึงชีพตักษัย, สิ้นชีพตักษัย ว่า สิ้นชีพ
28 2. up 9-32-7 Sep.indd 28
9/7/12 8:05:22 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๗. คำที่มีลักษณะดังคำในข้อ ๖ ข้างต้น แต่เป็นคำสำหรับผู้น้อยที่จะต้องใช้แก่บุคคล
ชั้นต่างๆ เช่น กริยา
ราชาศัพท์
ใช้แก่
ให้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย (ของเล็ก), พระมหากษัตริย์ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย (ของใหญ่) สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถวาย (สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น สมเด็จพระบรมราชินี ถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล) สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถวาย (สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ถวายพระกุศล) และพระองค์เจ้า ถวาย (สิ่งของ) พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ขอให้ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย(๑) พระมหากษัตริย์ (ของเล็ก), สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย(๒) สมเด็จพระบรมราชินี (ของใหญ่), สมเด็จพระบรมราชชนก ขอพระราชทานถวาย(๓) (สิ่งที่เป็นนามธรรม) สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๑)–(๓) ระบุพระปรมาภิไธย หรือพระนามาภิไธยต่อท้าย
29 2. up 9-32-7 Sep.indd 29
9/7/12 8:05:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
กริยา
ราชาศัพท์
ใช้แก่
ขอพระราชทานถวาย ขอประทานถวาย ขอถวาย ขอ ขอพระราชทาน ขอประทาน
สมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า พระมหากษัตริย์ถึงสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
บอก กราบบังคมทูลพระกรุณา พระมหากษัตริย์ กราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กราบทูล พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า
ทูล
หม่อมเจ้า
ข้อห้า คำวิเศษณ์ที่ใช้เป็นราชาศัพท์ คำวิเศษณ์ที่จัดว่าต้องเปลี่ยนแปลงใช้ให้เป็นราชาศัพท์ มีอยู่แต่ประติชญาวิเศษณ์ หรือ
คำวิ เศษณ์ ที่ แ สดง คำรั บ พวกเดี ย ว และเมื่ อ ใช้ เป็ น ราชาศั พ ท์ มี ค ำบั ญ ญั ติ ให้ ใช้ ต่ า งกั นตาม
ชั้นบุคคล จึงจำเป็นต้องศึกษาและจดจำเป็นคำๆ ไป ตัวอย่างเช่น 30 2. up 9-32-7 Sep.indd 30
9/7/12 8:05:26 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้ใช้
พระสงฆ์
ราชาศัพท์ ขอถวายพระพร
ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
บุคคลทั่วไป พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
พระมหากษัตริย์
บุคคลทั่วไป
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ(๑)
พระมหากษัตริย์ถึงสมเด็จเจ้าฟ้า
พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์เจ้าลูกหลวง
บุคคลทั่วไป ขอรับกระหม่อม, กระหม่อม, เพคะ
พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า
ข้อหก การกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล ทูลเจ้านาย ในการกราบบังคมทูลพระกรุณา นอกจากจะต้องใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องแล้ว ยังต้องใช้ ถ้อยคำให้ถูกแบบแผน ดังนี้ ๑. คำที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ เมื่อจะกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยไม่มีพระราชดำรัส ด้วยก่อน ต้องขึ้นคำนำว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม แล้วจึงดำเนินเรื่อง เมื่อจบแล้วลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ถ้ามีพระราชดำรัสสั่ง ให้กราบบังคมทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใส่เกล้าใส่ กระหม่อม แล้วดำเนินเรื่อง และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ถ้าเป็นการด่วน ให้กราบบังคมทูลเนื้อเรื่องขึ้นก่อน แล้วลงท้ายว่า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม หรือ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ๒. เมื่อจำเป็นจะต้องกล่าวถึงของหยาบและสกปรก เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ต้องใช้ คำนำขึ้นก่อน อย่างที่ใช้คำว่า ขอโทษ ดังนี้ ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา ไม่ควรจะกราบบังคมทูล ไม่ควรจะกราบทูล
ใช้้แก่ พระมหากษัตริย์ ใช้แก่ เจ้านายชั้นสูง(๒) ใช้แก่ เจ้านายชั้นรองลงมา(๓)
(๑) ในปัจจุบัน ใช้ในการกราบบังคมทูลรายงานตัวของทหาร (๒) พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๓) พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
31 2. up 9-32-7 Sep.indd 31
9/7/12 8:05:28 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๓. เมื่อจะกล่าวถึงว่าตนเองได้รับความสุขสบายหรือปลอดภัยจากอันตราย ให้ใช้คำว่า เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ก่อนดำเนินเรื่อง ๔. เมื่ อ กล่ า วถึ ง เรื่ อ งที่ ไ ด้ รั บ อนุ เคราะห์ ด้ ว ยประการต่ า งๆ แล้ ว ให้ ใ ช้ พระมหา กรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม ต่อท้ายเรื่อง สำหรับกราบบังคมทูลพระกรุณา และใช้
พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม สำหรับเจ้านาย หรือจะใช้คำนี้กับพระมหากษัตริย์ ก็ได้ ๕. เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่พลาดพลั้งหรือเกรงจะพลาดพลั้งไป ซึ่งจะต้องแสดงความเสียใจ เป็นธรรมดา ในมารยาทการพูด ให้ใช้คำว่า พระราชอาญา (อาชญา) ไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม
ต่อท้ายเรื่อง สำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็ จ พระยุ พ ราช สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และใช้คำว่า พระอาญา (อาชญา) ไม่ พ้ น เกล้ า พ้ นกระหม่ อ ม ต่ อ ท้ า ยเรื่ อ ง สำหรั บ พระราชวงศ์ ชั้ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า และ พระองค์เจ้า
32 2. up 9-32-7 Sep.indd 32
9/7/12 8:05:30 PM
บทที่ ๒ ราชาศัพท์หมวดต่างๆ คำศัพท์เนื่องในพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์แต่ละลำดับชั้น ได้จำแนก หมวดของคำราชาศัพท์ไว้แต่ละประเภท ดังนี้
หมวดที่ ๑ หมวดที่ ๒ หมวดที่ ๓ หมวดที่ ๔ หมวดที่ ๕ หมวดที่ ๖ หมวดที่ ๗ หมวดที่ ๘ หมวดที่ ๙ หมวดที่ ๑๐
ขัตติยตระกูล ร่างกาย อาการ นาม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครื่อง
ใช้ทั่วไป ศัพท์ที่ใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล เครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภค พระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน พระราชพาหนะ ลักษณนาม
33 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 33
9/7/12 8:09:42 PM
หมวดที่ ๑ ขัตติยตระกูล ขัตติยตระกูล แปลว่า ตระกูลของพระมหากษัตริย์ หมายถึงพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ทุกชั้น(๑) หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ตลอดจนผู้ที่ใช้ราชสกุลโดยกำเนิด ขัตติยตระกูลของไทย มีคำใช้เป็นทางการว่า ราชสกุล ราชตระกูล หรือราชนิกูล พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ(๒)
– บรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก – หมายถึ ง สมเด็ จ พระบรมชนกาธิ บ ดี แห่ ง พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมปัยกาธิราช – ปู่ทวด ตาทวด ที่เป็นพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมมหาปัยกาธิบดี, สมเด็จพระมหาปัยกาธิบดี(๓), สมเด็จพระบรมปัยกา, พระบรมไปยกา พระปัยกา พระไปยกา – ปู่ทวด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
ใช้ ค ำนี้ หมายถึ ง สมเด็ จ พระปฐมบรมมหาชนก
(ดูประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ พ.ศ. ๒๔๐๔-
๒๔๐๗) พระเปตามหัยกา, – ปู่ทวดของเจ้านาย พระเปตามไหยกา พระมาตามหัยกา, – ตาทวดของเจ้านาย พระมาตามไหยกา (๑) เจ้านายชั้นสูง ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เจ้านายชั้นรอง ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า (๒) ดูประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๐๗ (๓) ศัพท์บาลีว่า ปยฺยก เขียนตามแบบโบราณเป็น ไปยกา และยังมีคำอื่นๆ เช่น มหัยกา มไหยิกา อัยกา
34 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 34
9/7/12 8:09:42 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบรมราชมาตามหัยกา – ตา ใช้เฉพาะ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ เป็นพระบิดา
ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นพระบรมราช
มาตามหัยกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมปัยยิกาเธอ – ย่ า ทวด ยายทวดของพระมหากษั ต ริ ย์ ใช้ เฉพาะ
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี และสมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมปัยยิกาเธอของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชปัยยิกา – ย่ า ทวด ยายทวดของพระมหากษั ต ริ ย์ ใช้ เฉพาะ
สมเด็ จ พระอมริ น ทราบรมราชิ นี ซึ่ ง เป็ น สมเด็ จ
พระบรมราชปัยยิกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชมหาปัยยิกาเธอ – ย่ า ทวด ยายทวดของพระมหากษั ต ริ ย์ ใช้ เฉพาะ
สมเด็ จ พระศรี สุ ล าลั ย ซึ่ ง เป็ น สมเด็ จ พระราชมหา
ปั ย ยิ ก าเธอของพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า
เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมปัยยิกา – ย่าทวด ยายทวด ที่เป็นสมเด็จพระบรมราชินี หรือ
พระบรมวงศ์ที่ทรงศักดิ์สูงเป็นพิเศษ สมเด็จพระปัยยิกา
– ย่าทวด ยายทวด ที่เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
35 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 35
9/7/12 8:09:44 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระปัยยิกา, พระไปยิกา(๑)
– ย่าทวด ยายทวดของเจ้านาย ที่มิได้เป็นเจ้านาย
พระเปตามหัยยิกา, พระเปตามไหยิกา(๒)
– ย่าทวดของพระมหากษัตริย์
พระมาตามหัยยิกา, – ยายทวดของพระมหากษัตริย์ พระมาตามไหยิกา สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช(๓), สมเด็จพระบรมอัยกาธิบดี, สมเด็จพระบรมอัยกา, พระบรมอัยกา
– ปู่ ตา ที่เป็นพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าอัยกาเธอ – ปู่ ข องพระมหากษั ต ริ ย์ ใช้ เฉพาะกรมสมเด็ จ พระ
ปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าอัยกาเธอ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัยกา, พระไอยกา
– ปู่ ตาของเจ้านาย ที่มิได้เป็นเจ้านาย
สมเด็จพระบรมราชอัยยิกา – ย่าของพระมหากษัตริย์ ใช้เฉพาะกรมสมเด็จพระศรี
สุริเยนทรามาตย์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชอัยยิกา
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยยิกา, – ย่า ยายของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัยยิกา, หมายถึ ง ย่ า ยาย ที่ ท รงศั ก ดิ์ สู ง เที ย บเท่ า สมเด็ จ
พระบรมมหัยยิกาเธอ พระบรมราชชนนีของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระ
บรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร(๔) พระบรมอัยยิกา
– ย่า ยายของพระมหากษัตริย์
(๑) ศัพท์บาลีว่า ปยฺยิกา เขียนตามแบบโบราณเป็น ไปยิกา (๒) ดูประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๐๗ (๓) เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช (๔) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
36 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 36
9/7/12 8:09:46 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระอัยยิกา (หรือ พระไอยิกา และพระไอยกีที่ใช้ตามแบบเก่า)
– ย่า ยายของเจ้านาย ที่มิได้เป็นเจ้านาย
สมเด็จพระบรมชนกนาถ, – พ่อ ที่เป็นพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมชนกาธิราช, สมเด็จพระบรมราชชนก, สมเด็จพระบรมราชบิดา, สมเด็จพระบรมชนกาธิบดี สมเด็จพระราชบิดา, – พ่อของพระมหากษัตริย์ พระราชบิดา พระบิดา, พระบิดร,
– พ่อที่เป็นเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้า
พระชนก(๑)
– พ่อของเจ้านาย ที่มิได้เป็นเจ้านาย
สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
– แม่ของพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระบรมราชชนนี, – แม่ของพระมหากษัตริย์ หมายถึง แม่ที่ได้รับสถาปนา
สมเด็จพระราชชนนี ให้ทรงพระอิสริยยศสูง พระราชชนนี, พระราชมารดา – แม่ ข องพระมหากษั ต ริ ย์ และเจ้ า นายชั้ น สมเด็ จ
เจ้าฟ้า พระชนนี(๒), พระมารดา
– แม่ของเจ้านาย
สมเด็จพระบรมราชปิตุลา, – ลุ ง อา (พี่ ช าย น้ อ งชาย ของพ่ อ ) ที่ เป็ น พระมหา
สมเด็จพระปิตุลาธิราช, กษัตริย์ สมเด็จพระราชปิตุลาธิบดี
(๑) เช่น พระชนกของสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี มีนามว่า ทอง (๒) เช่นสมเด็จพระรูปสิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า สั้น
37 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 37
9/7/12 8:09:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข(๑) – ลุง อา ที่เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ที่ทรงศักดิ์
สูงเป็นพิเศษ สมเด็จพระราชปิตุลา – ลุ ง อาของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น สมเด็ จ พระเจ้ า
บรมวงศ์เธอ พระราชปิตุลา
– ลุง อา ของพระมหากษัตริย์
พระปิตุลา
– ลุง อาของเจ้านาย
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า, – ป้า อา (พีส่ าว น้องสาวของพ่อ) ของพระมหากษัตริย ์ สมเด็จพระราชปิตุจฉา, หมายถึง ป้า อา ที่เป็นพระมเหสี หรือ เป็นสมเด็จ
สมเด็จพระปิตุจฉา พระเจ้าบรมวงศ์เธอที่ทรงศักดิ์สูง พระราชปิตุจฉา
– ป้า อา ของพระมหากษัตริย์
พระปิตุจฉา
– ป้า อา ของเจ้านาย
พระอาว์(๒), พระอา
– น้องของพ่อ ทีเ่ ป็นเจ้านาย
พระมาตุลา
– ลุง น้า (พี่ชาย น้องชายของแม่) ของเจ้านาย
สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า, – ป้า น้า (พีส่ าว น้องสาวของแม่) ของพระมหากษัตริย ์ สมเด็จพระราชมาตุจฉา, หมายถึง ป้า น้า ที่เป็นพระมเหสี หรือ เป็นสมเด็จ
สมเด็จพระมาตุจฉา พระเจ้าบรมวงศ์เธอที่ทรงศักดิ์สูง พระมาตุจฉา
– ป้า น้า (พีส่ าว น้องสาวของแม่) ของเจ้านาย
พระมาตุลานี – ป้าสะใภ้ น้าสะใภ้ (ภรรยาของพี่ชาย น้องชายของ
แม่) ของพระมหากษัตริย์ (๑) รัชกาลที่ ๗ ใช้คำนี้เป็นคำนำพระนามเฉพาะสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุ พันธุวงศวรเดช พระองค์เดียว (๒) “อาว์” เป็นคำราชาศัพท์เก่า หมายถึง อาผู้ชาย รวมถึง อาเขย “อา” หมายถึง อาผู้หญิง รวมถึง อาสะใภ้
38 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 38
9/7/12 8:09:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช, – พี่ชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดี(๑) สมเด็จพระโสทรเชษฐภาดา, สมเด็จพระโสทรเชษฐา
– พี่ชายร่วมอุทรของพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ, – พี่ชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จพระเชษฐา พระเจ้าพี่ยาเธอ
– พีช่ ายของพระมหากษัตริย์ ทีเ่ ป็นพระองค์เจ้า
– พี่ชายของเจ้านาย พระเชษฐา(๒), พระเชษฐภาดา, พระเชษฐภาตา สมเด็จพระอนุชาธิราช – น้ อ งชายของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า
ซึ่งได้รับเฉลิมพระยศพิเศษ(๓) สมเด็จพระราชโสทรานุชา
– น้องชายร่วมอุทรของพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ, สมเด็จพระราชอนุชา, สมเด็จพระอนุชา
– น้องชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า
พระเจ้าน้องยาเธอ, พระราชอนุชา
– น้องชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพระองค์เจ้า
พระกนิษฐภาดา, พระอนุชา
– น้องชายของเจ้านาย
พระราชภาดา – พี่ ช าย น้ อ งชาย ที่ เป็ น ลู ก พี่ ลู ก น้ อ งของพระมหา
กษัตริย์ พระภาดา
– พี่ชาย น้องชาย ที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้านาย
(๑) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช (๒) เชษฐา เป็นคำที่ไทยใช้ แต่ในภาษาบาลีและสันสกฤต มิได้หมายความว่า พี่ชาย แต่หมายถึงผู้เป็นใหญ่ (๓) ได้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์ เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
39 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 39
9/7/12 8:09:51 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี – พี่ ส าวร่ ว มอุ ท รของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น สมเด็ จ
เจ้าฟ้า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
– พี่สาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า
พระเจ้าพี่นางเธอ
– พี่สาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพระองค์เจ้า
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
– น้องสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า
พระเจ้าน้องนางเธอ
– น้องสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพระองค์เจ้า
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ – พี่ ส าว น้ อ งสาว ที่ เป็ น ลู ก พี่ ลู ก น้ อ งของพระมหา
กษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า พระภคิน(๑) ี – พีส่ าว น้องสาว ทีเ่ ป็นลูกพีล่ กู น้องของพระมหากษัตริย ์ และเจ้านาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช – ลูกชายของพระมหากษัตริย์ ที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็น
สยามมกุฎราชกุมาร พระรัชทายาทสืบสนองพระองค์ ทรงพระเศวตฉัตร
๗ ชั้ น เป็ นตำแหน่ ง มี ค รั้ ง แรกในรั ช กาลพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระยุพราช
– ผู้สืบราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป
สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า(๒) – ลู ก ชายของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ ป ระสู ติ แ ต่ ส มเด็ จ
พระอั ค รมเหสี และเป็ น ผู้ สื บ ราชสมบั ติ ส นอง
พระองค์ต่อไป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
– ลูกชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า
พระราชโอรส, พระราชบุตร – ลู ก ชายของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า
หรือพระองค์เจ้า พระเจ้าลูกยาเธอ
– ลูกชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพระองค์เจ้า
พระโอรส, พระบุตร
– ลูกชายของสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
(๑) ถ้าต้องการเขียนให้ชัดเจน พี่สาว ใช้ เชษฐภคินี น้องสาว ใช้ กนิษฐภคินี ถ้าเป็นพี่น้องร่วมอุทร เติมคำว่า โสทร ข้างหน้า (๒) เป็นคำดั้งเดิมในกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา
40 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 40
9/7/12 8:09:53 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
โอรส, บุตร
– ลูกชายของหม่อมเจ้า (คือ หม่อมราชวงศ์)
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ(๑)
– ลูกสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า
พระราชธิดา, พระราชบุตรี – ลูกสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าและ
พระองค์เจ้า พระเจ้าลูกเธอ(๒)
– ลูกสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพระองค์เจ้า
พระธิดา, พระบุตรี
– ลูกสาวของสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
ธิดา, บุตรี
– ลูกสาวของหม่อมเจ้า (คือ หม่อมราชวงศ์)
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น
สมเด็จเจ้าฟ้า พระเจ้าหลานเธอ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น
พระองค์เจ้า (เทียบพระเจ้าวรวงศ์เธอ) พระหลานเธอ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ที่ยกเป็น
พระองค์เจ้า (เทียบพระวรวงศ์เธอ) – หลานชาย หลานสาว (ลู ก ของลู ก ) ของพระมหา
พระราชนัดดา(๓) กษัตริย์ พระนัดดา – หลานชาย หลานสาว ที่ ปู่ ห รื อ ตาเป็ น ลู ก ของ
พระมหากษัตริย์ นัดดา – หลานชาย หลานสาว ที่ ปู่ ห รื อ ตาเป็ น หลานของ
พระมหากษัตริย์ พระภาคิไนย – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น
ลูกของพี่สาวหรือน้องสาว พระภาติยะ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ เป็ น
ลูกของพี่ชายหรือน้องชาย (๑)- (๒) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธอนี้ หมายถึง พระราชโอรส พระราชธิดาโดยรวมด้วย ภาษาปากใช้ว่า ลูกหลวง (๓) ภาษาปากใช้ว่า หลานหลวง
41 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 41
9/7/12 8:09:55 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระภาติกะ(๑) – หลานชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นลูกของพี่ชาย
หรือน้องชาย พระภาติกา(๒) – หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นลูกของพี่ชาย
หรือน้องชาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้ า อยู่ หั ว โปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ใ ช้ ค ำนำ
พระนาม สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา
พัณณวดี ว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ พระราชปนัดดา
– เหลนชาย เหลนหญิงของพระมหากษัตริย์
พระปนัดดา
– เหลนชาย เหลนหญิงของสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
ปนัดดา
– เหลนชาย เหลนหญิงของหม่อมเจ้า
พระบรมราชสวามี
– สามี ที่เป็นพระมหากษัตริย์
พระสวามี
– สามีของเจ้านาย ที่เป็นเจ้านาย
พระสามี, พระภัสดา(๓)
– สามีของเจ้านาย ที่มิได้เป็นเจ้านาย
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ – ภรรยาเอกหรือพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย ์ ซึง่ ได้รบั สถาปนาเป็นผูส้ ำเร็จราชการแทนพระองค์(๔) สมเด็จพระบรมราชินี
– ภรรยาเอกหรือพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระบรมราชเทวี – ภรรยาเอกหรือพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย ์ ที่เป็นเจ้านาย พระอัครราชเทวี, พระอัครชายาเธอ, – ภรรยาเอกหรือพระมเหสีของพระมหากษัตริย์ ที่เป็น
สมเด็จพระราชิน(๕) ี เจ้านาย (๑)–(๒) ดูหนังสือเรื่องราชาศัพท์ ฉบับของกรรมารบุตร พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงสรรสารกิจ (เคล้า คชนันทน์)
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๓ (๓) พบในพระราชพงศาวดาร เช่น หม่อมเสม พระภัสดาของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาเทพสุดาวดี เป็นที่พระอินทรรักษา เจ้ากรม
พระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวรฯ (๔) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้คำว่า ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ หรือ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ (๕) ภรรยาเอกหรือพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระบรมราชาภิเษก มีเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน
42
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 42
9/7/12 8:09:57 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระอัครมเหสี
– ภรรยาเอกของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นเจ้านาย
พระราชชายา
– ภรรยาหรือพระมเหสีของพระมหากษัตริย์
พระมเหสี
– ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นเจ้านาย
พระวรราชชายา(๑)
– ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นเจ้านาย
เจ้าคุณจอมมารดา – ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่มิได้เป็นเจ้านาย ซึ่งมี
ลูกชายหรือลูกสาว มี ๔ ท่าน คือ เจ้าคุณจอมมารดา
สำลี เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เจ้าคุณจอมมารดาเอม
และเจ้าคุณจอมมารดาแพ เจ้าคุณพระ – ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่มิได้เป็นเจ้านาย ซึ่งมี
ลูกชายหรือลูกสาว มี ๑ ท่าน คือ เจ้าคุณพระประ
ยุรวงศ์ เจ้าจอมมารดา – ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่มิได้เป็นเจ้านาย ซึ่งมี
ลูกชาย หรือลูกสาว เจ้าจอม, เจ้าจอมอยู่งาน – ภรรยาของพระมหากษั ต ริ ย์ แ ละกรมพระราชวั ง
บวรสถานมงคล ที่มิได้เป็นเจ้านายและไม่มีลูกชาย
หรือลูกสาว จอมมารดา – พระสนมของกรมพระราชวั ง บวรวิ ไ ชยชาญที่ มี
ลูกชายหรือลูกสาว พระวรชายา – ภรรยาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ
ราชกุมาร(๒) ที่เป็นเจ้านาย พระชายา – สมเด็จเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้า ที่เป็นภรรยาเอกของ
สมเด็จเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้า ชายา – หม่ อ มเจ้ า ที่ เป็ น ภรรยาเอกของพระองค์ เจ้ า หรื อ
หม่อมเจ้า (๑) มีในรัชกาลที่ ๖ (๒) มีในรัชกาลปัจจุบัน
43 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 43
9/7/12 8:09:59 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
หม่อม, หม่อมห้าม – ภรรยาของสมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ถึ ง หม่ อ มเจ้ า ที่ มิ ไ ด้ เป็ น
เจ้านาย สะใภ้หลวง, – ภรรยาของลู ก พระมหากษั ต ริ ย์ บางแห่ ง เรี ย กว่ า
สะใภ้หลวงพระราชทาน พระชายาพระราชทาน พระสุณิสา
– ลูกสะใภ้ของพระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
พระชามาดา
– ลูกเขยของพระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
พระสสุระ, พระสัสสุระ
– พ่อสามี พ่อตา
พระสัสสุ
– แม่สามี แม่ยาย
พระบรมวงศานุวงศ์(๑) – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถึงหม่อมเจ้า ราชตระกูล, ราชสกุล, ราชนิกุล, – บุคคลผู้อยู่ในราชสกุลทุกมหาสาขาซึ่งสืบสายมาแต่
ราชนิกูล พระปฐมวงศ์ พระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร
สถานมงคล และกรมพระราชวั ง บวรสถานภิ มุ ข
ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ราชินิกุล, ราชินิกูล – บุคคลผู้อยู่ในราชสกุลทุกมหาสาขา ที่เป็นพระญาติ
ข้างสมเด็จพระบรมราชินี เจ้าครอก – คำโบราณ เรี ย กผู้ มี เ ชื้ อ สายเจ้ า นายโดยกำเนิ ด
ทั้งฝ่ายพ่อและแม่ ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า เจ้าขรัว, ขรัวตา, ขรัวยาย – สามัญชน ที่เป็นตา ยายของสมเด็จเจ้าฟ้าและพระ
องค์เจ้า ที่เป็นลูกชายลูกสาวของพระมหากษัตริย์ ลูกหลวง
– ลูกชาย ลูกสาวของพระมหากษัตริย์
หลานหลวง
– หลานชาย หลานสาว ที่ปู่หรือตาเป็นพระมหากษัตริย์
(๑) ประกอบด้วย พระบรมวงศ์ กับ พระอนุวงศ์ (ดูบทที่ ๕ ประกอบ)
44 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 44
9/7/12 8:10:00 PM
หมวดที่ ๒ ร่างกาย ราชาศัพท์
ความหมาย
พระเจ้า
หัว, ศีรษะ ของพระมหากษัตริย์
พระเศียร
หัว, ศีรษะ
พระสิรัฐิ,(๑) พระสีสกฏาหะ
กะโหลกศีรษะ, กะโหลกพระเศียร
เส้นพระเจ้า
เส้นผมของพระมหากษัตริย์
พระเกศา, พระเกศ, พระศก
เส้นผม
ไรพระเกศา, ไรพระเกศ, ไรพระศก
ไรผม
ขมวดพระเกศา, ขมวดพระศก
ขมวดผมที่เป็นก้นหอย
พระโมฬี, พระเมาฬี
จุก หรือมวยผม
พระจุไร
ไรจุก, ไรผม
พระจุฑามาศ
มวยผม, ท้ายทอย
พระเวณิ
เปียผม, ช้องผม
พระนลาฏ
หน้าผาก
พระขนง, พระภมู
คิ้ว
พระอุณาโลม
ขนหว่างคิ้ว
พระเนตร, พระนัยนะ, พระจักษุ
ดวงตา
พระเนตรดำ, ดวงพระเนตรดำ
ตาดำ
พระเนตรขาว
ตาขาว
พระกนีนิกา, พระเนตรดารา
แก้วตา
หนังพระเนตร, หลังพระเนตร
หนังตา, เปลือกตา, หรือหลังตา
(๑) อ่านว่า พระ-สิ-รัด-ถิ มาจากพระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร คำที่ลงท้าย ฐิ ต้องอ่านออกเสียงว่า ถิ ทุกคำ
45 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 45
9/7/12 8:10:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระโลมจักษุ, ขนพระเนตร
ขนตา
ขอบพระเนตร
ขอบตา
ม่านพระเนตร
ม่านตา
ต่อมพระเนตร
ต่อมน้ำตา, ท่อน้ำตา
พระอัสสุธารา, พระอัสสุชล, น้ำพระเนตร
น้ำตา
พระนาสิก, พระนาสา
จมูก
สันพระนาสิก, สันพระนาสา
สันจมูก
ช่องพระนาสิก
ช่องจมูก
พระโลมนาสิก, ขนพระนาสิก
ขนจมูก
พระปราง
แก้ม
พระกำโบล, กระพุ้งพระปราง
กระพุ้งแก้ม
พระมัสสุ
หนวด
พระทาฐิกะ, พระทาฒิกะ
เครา, หนวดที่คาง
พระโอษฐ์
ปาก
พระตาลุ, เพดานพระโอษฐ์
เพดานปาก
พระทนต์
ฟัน
พระทันตมังสะ, พระทันตมังสา
เหงือก
ไรพระทนต์
ไรฟัน
พระทาฐะ, พระทาฒะ
เขี้ยว
พระกราม(๑)
ฟันกราม
(๑) พบคำว่า พระทังษฎรา หมายถึง ฟันกราม ในหนังสืออภิธานศัพท์สันสกฤต-ไทย-อังกฤษ ของนายร้อยเอกหลวงบวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย)
46 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 46
9/7/12 8:10:02 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระชิวหา
ลิ้น
ต้นพระชิวหา, มูลพระชิวหา
ต้นลิ้น, ลิ้นไก่, โคนลิ้น
พระหนุ(๑)
คาง
ต้นพระหนุ
ขากรรไกร, ขากรรไตร, หรือขาตะไกร
พระกรรณ
หู, ใบหู
ช่องพระโสต, ช่องพระกรรณ
ช่องหู
พระพักตร์
ดวงหน้า
ผิวพระพักตร์, พระราศี
ผิวหน้า
พระศอ
คอ
ลำพระศอ
ลำคอ
พระกัณฐมณี
ลูกกระเดือก
พระชัตตุ(๒)
คอต่อ
พระรากขวัญ
ไหปลาร้า
พระอังสา
บ่า, ไหล่
พระอังสกุฏ
จะงอยบ่า
พระพาหา, พระพาหุ
แขน (ตั้งแต่ไหล่ถึงข้อศอก)
พระกร
ปลายแขน (ตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ)
พระกัประ, พระกโประ
ศอก, ข้อศอก
พระกัจฉะ
รักแร้
พระกัจฉโลม, พระโลมกัจฉะ
ขนรักแร้
(๑) อ่านว่า หะ-นุ (๒) จาก อภิธานัปปทีปิกาฯ หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก
47 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 47
9/7/12 8:10:04 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระหัตถ์
มือ
ข้อพระกร, ข้อพระหัตถ์
ข้อมือ
ฝ่าพระหัตถ์
ฝ่ามือ
หลังพระหัตถ์
หลังมือ
พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์
นิ้วมือ
พระอังคุฐ
นิ้วหัวแม่มือ
พระดัชนี
นิ้วชี้
พระมัชฌิมา
นิ้วกลาง
พระอนามิกา
นิ้วนาง
พระกนิษฐา
นิ้วก้อย
ข้อนิ้วพระหัตถ์, พระองคุลีบัพ
ข้อนิ้วมือ
พระมุฐิ,(๑) กำพระหัตถ์
กำมือ, กำหมัด, กำปั้น
พระนขา, พระกรชะ
เล็บ
พระอุระ, พระทรวง
อก
พระหทัย, พระหฤทัย, พระกมล
หัวใจ
พระถัน, พระเต้า, พระปโยธร(๒)
เต้านม
ยอดพระถัน
หัวนมของผู้หญิง
พระจูจุกะ(๓)
หัวนมของผู้ชาย
พระกษิรธารา
น้ำนม
(๑), (๓) จาก สยามบาลีอภิธาน ของนาคะประทีป มหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามแบบฉบับเดิม (๒) จาก อภิธานัปปทีปิกาฯ หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก
48 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 48
9/7/12 8:10:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระครรโภทร, พระคัพโภทร
ครรภ์
พระอุทร
ท้อง
พระนาภี(๑)
สะดือ, ท้อง
พระสกุน, พระครรภมล
รก สิ่งที่ติดมากับสายสะดือเด็กในครรภ์
สายพระสกุน(๒)
สายรก
กล่องพระสกุน
มดลูก
พระกฤษฎี, บั้นพระองค์, พระกฏิ
สะเอว, เอว
พระปรัศว์
สีข้าง
พระผาสุกะ(๓)
ซี่โครง
พระปฤษฎางค์, พระขนอง
หลัง
พระโสณี
ตะโพก
พระที่นั่ง
ก้น, ที่นั่งทับ
พระวัตถิ(๔)
กระเพาะปัสสาวะ
พระคุยหฐาน, พระคุยหประเทศ
นิมิตชาย(๕), อวัยวะเพศชาย
พระโยนี
นิมิตหญิง(๖), อวัยวะเพศหญิง
พระอัณฑะ
อัณฑะ
พระอูรุ
ต้นขา, โคนขา, ขาอ่อน
พระเพลา
ขา, ตัก
พระชานุ
เข่า
(๑) ใช้เมื่อมีอาการประชวรเกี่ยวกับท้อง เช่น ลงพระนาภี ปวดพระนาภี (๒) พบอีกคำหนึ่งใช้ว่า
สายพระนาภี จาก สยามบาลีอภิธาน ของนาคะประทีป มหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามแบบฉบับเดิม (๕)–(๖) นิยมใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (๓)–(๔)
49
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 49
9/7/12 8:10:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระชงฆ์
แข้ง
หลังพระชงฆ์
น่อง
พระโคปผกะ
ตาตุ่ม
นิ้วพระบาท(๑)
นิ้วเท้า
พระบาท
เท้า
ข้อพระบาท
ข้อเท้า
หลังพระบาท
หลังเท้า
ฝ่าพระบาท
ฝ่าเท้า
พระปัณหิ, พระปราษณี, ส้นพระบาท
ส้นเท้า
พระฉวี
ผิวหนัง, ผิวกาย
พระฉายา
เงา
พระโลมา
ขน
พระมังสา
เนื้อ หรือกล้ามเนื้อ
พระอสา
สิว
พระปีฬกะ
ไฝ, ขี้แมลงวัน
พระปัปผาสะ
ปอด
พระยกนะ(๒)
ตับ
พระวักกะ
ไต
พระปิหกะ
ม้าม
พระอันตะ
ลำไส้ใหญ่
(๑) นิ้วพระบาท แต่ละนิ้วมีชื่อเรียกเหมือนคำสามัญ เช่น นิ้วพระบาทใหญ่ นิ้วพระบาทชี้ นิ้วพระบาทกลาง นิ้วพระบาทนาง นิ้วพระบาทก้อย จากราชาศัพท์ฉบับเขียน ของหม่อมอนุวัฒน์วรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์สิงหนัท ปราโมช) (๒) อ่านว่า ยะ-กะ-นะ
50 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 50
9/7/12 8:10:10 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระอันตคุณ
ลำไส้เล็ก, ลำไส้ทบ
พระกุญชะ
ไส้พุง
พระนหารู
เส้น, เอ็น
เส้นพระโลหิต, หลอดพระโลหิต
เส้นเลือด, หลอดเลือด
หลอดพระวาโย
หลอดลม
พระกิโลมกะ
พังผืด
พระองคาพยพ
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
พระมัตถลุงค์
มันสมอง
พระธมนี(๑)
เส้นประสาท
พระลสิกา
น้ำในไขข้อ
พระปิตตะ
ดี, น้ำดี
พระเขฬะ
น้ำลาย
พระเสมหะ
เสลด
มูลพระนาสิก
น้ำมูก
มูลพระนขา
ขี้เล็บ
พระเสโท
เหงื่อ
พระเมโท, มูลพระเสโท
ไคล
พระบุพโพ
น้ำหนอง, น้ำเหลือง
พระอุหลบ, พระบุษปะ
เลือดประจำเดือน
พระอัฐิ
กระดูก
พระอังคาร, พระสรีรางคาร
เถ้ากระดูก
(๑)
จาก สยามบาลีอภิธาน ของนาคะประทีป มหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามแบบฉบับเดิม
51 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 51
9/7/12 8:10:12 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระอังสัฐ(๑) ิ
กระดูกไหล่
พระหนุฐ(๒) ิ
กระดูกคาง
พระคีวัฐิ(๓)
กระดูกคอ
พระพาหัฐ(๔) ิ
กระดูกแขน
พระอุรัฐ(๕) ิ
กระดูกหน้าอก
พระผาสุกัฐ(๖) ิ
กระดูกซี่โครง
พระปิฐิกัณฐกัฐ(๗) ิ
กระดูกสันหลัง
พระกฏิฐ(๘) ิ
กระดูกสะเอว
พระอูรัฐ(๙) ิ
กระดูกขา
พระชังฆัฐิ(๑๐)
กระดูกแข้ง
พระปาทัฐ(๑๑) ิ
กระดูกเท้า
พระหัตถัฐ(๑๒) ิ
กระดูกมือ
พระยอด
ฝี, หัวฝี
พระบังคนหนัก
อุจจาระ
พระบังคนเบา
ปัสสาวะ
พระปัสสาสะ
ลมหายใจเข้า
พระอัสสาสะ
ลมหายใจออก
พระชีพจร
ชีพจร
อุณหภูมิพระวรกาย
อุณหภูมิของร่างกาย
พระวาโย
ลม
(๑)–(๑๒) จาก พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร
52 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 52
9/7/12 8:10:13 PM
หมวดที่ ๓ อาการ
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
รับสั่ง
สั่ง
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
รับสั่ง, ตรัส
พูด
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงทักทาย, ตรัสทักทาย
ทักทาย
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงพระราชปฏิสันถาร, ทักทาย – พระมหากษัตริย์ มีพระราชปฏิสันถาร สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปฏิสันถาร, ทักทาย – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า มีพระปฏิสันถาร และพระองค์เจ้า ทรงปราศรัย ปราศรัย, พูดด้วยไมตรีจิต
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงถาม, ตรัสถาม
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ถาม
ทรงพระราชดำริ, คิด – พระมหากษัตริย์ มีพระราชดำริ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก 53 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 53
9/7/12 8:10:14 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระดำริ, มีพระดำริ คิด – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า มีพระราชประสงค์, ต้องการ – พระมหากษัตริย์ ต้องพระราชประสงค์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์, ต้องการ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ต้องพระประสงค์ และพระองค์เจ้า ทรงพระราชปรารถนา, ต้องการ, ปรารถนา – พระมหากษัตริย์ มีพระราชปรารถนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 54 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 54
9/7/12 8:10:15 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปรารถนา ปรารถนา – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ทรงพระราชนิพนธ์ แต่งหนังสือ, แต่งเพลง – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระนิพนธ์ แต่งหนังสือ, แต่งเพลง – พระราชวงศ์ชนั้ สมเด็จเจ้าฟ้าและ พระองค์เจ้า ทรงนิพนธ์, ทรงแต่ง
แต่งหนังสือ, แต่งเพลง
– หม่อมเจ้า
ทรงพระอักษร อ่านหนังสือ, เขียนหนังสือ, เรียนหนังสือ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ทรงลงพระปรมาภิไธย
– พระมหากษัตริย์
ลงชื่อ
ทรงลงพระนามาภิไธย ลงชื่อ –
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
55 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 55
9/7/12 8:10:17 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงพระนาม ลงชื่อ – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึง, หวนคิดถึง, รำพึงถึง, – พระมหากษัตริย์ ทรงพระราชอนุสรณ์ ระลึกถึง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ รำพึงถึง, มีพระราชหฤทัย สมเด็จพระบรมราชินี ระลึกถึง สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระลึกถึง ระลึกถึง – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึ งหม่อมเจ้า พระราชทาน
ให้
– พระมหากษัตริยถ์ งึ สมเด็จเจ้าฟ้า
ประทาน ให้ – พระราชวงศ์ชนั้ พระองค์เจ้าและ หม่อมเจ้า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สั่งให้เข้าพบ, ให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี อนุญาตให้เข้าพบ พระบาท
– พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สั่งให้เข้าพบ, – สมเด็จพระบรมราชินี ให้เข้าเฝ้าทูลละออง อนุญาตให้เข้าพบ สมเด็จพระบรมราชชนก พระบาท สมเด็จพระบรมราชชนนี 56 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 56
9/7/12 8:10:19 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดให้เข้าเฝ้า สั่งให้เข้าพบ, – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า
อนุญาตให้เข้าพบ ถึงหม่อมเจ้า เฝ้า เข้าพบ – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า รับสั่งให้หา, รับสั่งให้เข้าเฝ้า สั่งให้เข้าพบ – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า เสด็จพระราชดำเนิน(๑) เดินทางไปหรือมา – พระมหากษัตริย์ โดยยานพาหนะ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ(๒) เดินทางโดย ยานพาหนะ
– พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า
เสด็จพระราชดำเนิน เดินทางเพื่อย้ายที่อยู่ แปรพระราชฐาน ชั่วคราว
– พระมหากษัตริย์
(๑) ต้องมีคำประกอบท้าย เช่น เสด็จพระราชดำเนินไป เสด็จพระราชดำเนินมา เสด็จพระราชดำเนินกลับ เป็นต้น ดูคำอธิบายท้าย บทที่ ๔ ข้อ ๑๔ (๒) ต้องมีคำประกอบท้าย เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จมา เป็นต้น ดูคำอธิบายท้ายบทที่ ๔ ข้อ ๑๔
57 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 57
9/7/12 8:10:21 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
เสด็จแปรพระราชฐาน
อยู่ระหว่างการย้าย
– พระมหากษัตริย์
ที่อยู่ชั่วคราว เสด็จพระราชดำเนินไป ย้ายที่อยู่ชั่วคราว – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ประทับแรม สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปประทับแรม ย้ายที่อยู่ชั่วคราว – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า เสด็จประพาส เดินทางไปค้างแรม, เปลี่ยนที่ไปอยู่ที่อื่น, ไปเที่ยว
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
เสด็จนิวัต เดินทางกลับจาก ต่างประเทศ
– พระมหากษัตริย์
รับเสด็จ
คอยรับเมื่อมาถึง
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
ส่งเสด็จ
คอยส่งเมื่อกลับ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ตามเสด็จ, โดยเสด็จ
ไปด้วย
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
โดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมทำบุญด้วย – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช 58
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 58
9/7/12 8:10:23 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระกุศล ร่วมทำบุญด้วย – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ถวายพระราชกุศล อุทิศส่วนกุศล – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถวายพระกุศล อุทิศส่วนกุศล – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ทรงพระดำเนิน
เดิน
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
ทรงดำเนิน
เดิน
– หม่อมเจ้า
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท รู้ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทราบฝ่าละอองพระบาท รู้ –
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
59 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 59
9/7/12 8:10:25 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทราบฝ่าพระบาท, รู้ – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ทรงทราบ ถึงหม่อมเจ้า ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทำบุญ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำเพ็ญพระกุศล ทำบุญ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ทรงบำเพ็ญกุศล
ทำบุญ
– หม่อมเจ้า
ทรงบาตร
ตักบาตร, ใส่บาตร
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงศีล
รับศีล, ถือศีล
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงธรรม
ฟังธรรม
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงสดับพระธรรมเทศนา
ฟังเทศน์
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทอดพระเนตร
ดู, มอง
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า 60
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 60
9/7/12 8:10:26 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ให้ – พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรด(๑) สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรด
ชอบ,รัก,เอ็นดู
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
โปรดให้
มอบหมายให้
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ออกพระโอษฐ์
ออกปาก
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
ออกโอษฐ์
ออกปาก
– หม่อมเจ้า
เอื้อนพระโอษฐ์
พูดอย่างแช่มช้า
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
เอื้อนโอษฐ์
พูดอย่างแช่มช้า
– หม่อมเจ้า
แย้มพระโอษฐ์
ยิ้มเห็นไรฟัน
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
แย้มพระสรวล
ยิ้ม
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
แย้มสรวล
ยิ้ม
– หม่อมเจ้า
ทรงพระสรวล
หัวเราะ
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
ทรงสรวล
หัวเราะ
– หม่อมเจ้า
ทรงพระกันแสง ร้องไห้ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี (๑) ใช้เฉพาะแก่พระสงฆ์
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 61
61 9/7/12 8:10:28 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกันแสง ร้องไห้ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า กันแสง
ร้องไห้
– หม่อมเจ้า
ทรงพระพิโรธ
โกรธ
– พระมหากษัตริย์
ทรงพระโกรธ, ทรงกริ้ว โกรธ, เคือง
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
กริ้ว
โกรธ, เคือง
– หม่อมเจ้า
ทรงพระสุบินนิมิต
ฝัน
– พระมหากษัตริย์
ทรงพระสุบิน ฝัน – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสุบิน ฝัน – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า สุบิน
ฝัน
– หม่อมเจ้า 62
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 62
9/7/12 8:10:30 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ทรงสำราญพระราชหฤทัย สบายใจ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำราญพระทัย สบายใจ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ทรงสำราญพระราชอิริยาบถ พักผ่อน – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำราญพระอิริยาบถ พักผ่อน – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ทรงพระสำราญ
สบาย, ไม่เจ็บป่วย
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
ทรงสำราญ, ทรงสบาย
สบาย, ไม่เจ็บป่วย
– หม่อมเจ้า
63 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 63
9/7/12 8:10:32 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ทรงพักพระราชอิริยาบถ, พัก – พระมหากษัตริย์ ประทับพักพระราชอิริยาบถ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพักพระอิริยาบถ, พัก – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า
ประทับพักพระอิริยาบถ ถึงหม่อมเจ้า ทรงเจริญพระชนมพรรษา มีอายุ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ทรงเจริญพระชนมายุ มีอายุ (เมื่อระบุอายุ – พระมหากษัตริย์ ปี เดือน วัน) สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
ทรงเจริญพระชนมายุ มีอายุ – สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชันษา มีอายุ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและ
พระองค์เจ้า 64
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 64
9/7/12 8:10:34 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
เจริญชันษา
มีอายุ
– หม่อมเจ้า
ทรงพระเจริญ
สบาย, มีอายุยืน
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ทรงพี
อ้วน
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ซูบพระองค์
ผอม
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงพระครรภ์ มีครรภ์ – สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึง พระองค์เจ้า ทรงครรภ์
มีครรภ์
– หม่อมเจ้า
มีพระประสูติกาล
คลอดลูก (เวลาเกิด)
– สมเด็จพระบรมราชินนี าถถึงพระองค์เจ้า
มีพระประสูติการ(๑)
คลอดลูก (การเกิด)
– สมเด็จพระบรมราชินนี าถถึงพระองค์เจ้า
ประสูติ
คลอดลูก
– หม่อมเจ้า
ทรงพระประชวร ป่วย, เจ็บไข้ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประชวร ป่วย – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า (๑)
ปรากฏมีใช้ครั้งแรกในเอกสารรัชกาลที่ ๖ เรื่องการประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมายถึงการเกิด
65 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 65
9/7/12 8:10:36 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ประชวรพระยอด
เป็นฝี
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ประชวรพระวาโย
ป่วยเป็นลม
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ประชวรพระโศผะ
มีอาการบวม
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ทรงพระอาเจียน อาเจียน – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงอาเจียน อาเจียน – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า
ทรงพระกรรสะ, ไอ – พระมหากษัตริย์ ทรงพระกาสะ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกรรสะ, ทรงกาสะ, ไอ – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ทรงไอ ถึงหม่อมเจ้า 66 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 66
9/7/12 8:10:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
กระแอม – พระมหากษัตริย์ ทรงพระขิปสัทโท(๑) สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงกระแอม กระแอม – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ทรงพระปินาสะ จาม –
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ทรงจาม จาม – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า
ถึงหม่อมเจ้า ทรงเรอ
เรอ
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงพระวาตะ
ผายลม
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
(๑)
จาก อนันตวิภาค ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
67 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 67
9/7/12 8:10:39 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
หายพระทัย
หายใจ
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
พระทัยหาย
ใจหาย
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ตกพระทัย
ตกใจ
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงพระสุคนธ์, พรงพระสำอาง ทาเครื่องหอม, ทาแป้ง, – พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า ทรงเครื่องพระสำอาง ทากระแจะ, แต่งหน้า ปลงเส้นพระเจ้า
โกนผม
– พระมหากษัตริย์
ปลงพระเกศา โกนผม, ตัดผม – สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึง พระองค์เจ้า ปลงเกศา
โกนผม, ตัดผม
– หม่อมเจ้า
เจริญพระเกศา โกนผม, ตัดผม – สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึง พระองค์เจ้า เจริญเกศา
โกนผม, ตัดผม
– หม่อมเจ้า
ขริบเส้นพระเจ้า
ขริบผม
– พระมหากษัตริย์
ขริบเส้นพระเกศา ขริบผม – สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึง พระองค์เจ้า ขริบเส้นเกศา
ขริบผม
– หม่อมเจ้า
ทรงพระเครื่องใหญ่
ตัดผม
– พระมหากษัตริย์
ทรงเครื่อง ตัดผม – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า จรดพระกรรบิดกรรไตร
ตัด และโกนผม
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
สระพระเจ้า
สระผม
– พระมหากษัตริย์ 68
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 68
9/7/12 8:10:41 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สระพระเกศา สระผม – สมเด็จพระบรมราชินนี าถถึง
พระองค์เจ้า แต่งพระองค์, ทรงเครื่อง
แต่งตัว
– พระมหากษัตริยถ์ งึ พระองค์เจ้า
แต่งองค์
แต่งตัว
– หม่อมเจ้า
ทรงช้าง
ขี่ช้าง
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงม้า
ขี่ม้า
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ประทับ
นั่ง, อยู่
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ทรงยืน
ยืน
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เสด็จเข้าที่พระบรรทม เข้านอน – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงพระบรรทม นอน – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 69 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 69
9/7/12 8:10:43 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บรรทม นอน – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ตื่นพระบรรทม ตื่นนอน – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตื่นบรรทม ตื่นนอน – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า
ถึงหม่อมเจ้า ลาดพระที่, ลาดพระแท่น
ปูที่นอน
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เสด็จพระราชสมภพ, เกิด – พระมหากษัตริย์ ทรงพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 70 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 70
9/7/12 8:10:45 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ประสูติ, สมภพ เกิด – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า
ถึงหม่อมเจ้า สรงน้ำ
อาบน้ำ
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
สรงพระกระยาสนาน อาบน้ำในพระราชพิธี ตามคติพราหมณ์
– พระมหากษัตริย์
สรงมูรธาภิเษก, อาบน้ำในพระราชพิธี สรงมุรธาภิเษก สำคัญ
– พระมหากษัตริย์
สรงพระพักตร์
ล้างหน้า
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ชำระพระทนต์, แปรงพระทนต์ แปรงฟัน
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ชำระทนต์, แปรงทนต์
แปรงฟัน
– หม่อมเจ้า
ชำระพระหัตถ์
ล้างมือ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ชำระหัตถ์
ล้างมือ
– หม่อมเจ้า
ชำระพระบาท
ล้างเท้า
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เสวย
กิน
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เทียบเครื่อง ชิมอาหาร (ก่อนนำถวาย เป็นเครื่องเสวย)
– พระมหากษัตริย์
ทอดเครื่องเสวย, ตั้งของกิน – ทอดเครื่อง
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
71 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 71
9/7/12 8:10:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งเครื่อง
ตั้งของกิน
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เชิญเครื่อง
ยกของกิน
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เสด็จสวรรคต, สวรรคต ตาย – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช ทิวงคต, เสด็จทิวงคต ตาย – พระราชวงศ์ทดี่ ำรงพระอิสริยศักดิ ์ สูง ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น,
พระราชวงศ์ที่ทรงได้รับเฉลิม
พระยศพิ เ ศษ เช่ น สมเด็ จ
พระบรมราชปิตุลาบรมพงศา
ภิมขุ ,สมเด็จพระอนุชาธิราช(๑) สิ้นพระชนม์ ตาย – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและ
พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
(๑) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระเกียรติยศแก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์ เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เมื่อสิ้นพระชนม์ใช้คำว่า “ทิวงคต” แทน “สิ้นพระชนม์” เป็นกรณี พิเศษ
72 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 72
9/7/12 8:10:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สิ้นชีพตักษัย, สิ้นชีพิตักษัย, ตาย ถึงชีพตักษัย, ถึงชีพิตักษัย
– หม่อมเจ้า
ถึงแก่พิราลัย ตาย – เจ้าประเทศราช, เจ้าผู้ครองนคร,
สมเด็จเจ้าพระยา สดับปกรณ์
บังสุกุล
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
กราบบังคมทูลพระกรุณา
บอก, รายงาน
– พระมหากษัตริย์
กราบบังคมทูล บอก, รายงาน – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี กราบทูล บอก, รายงาน – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ทูล
บอก, รายงาน
– หม่อมเจ้า
– ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย(๑) ให้ (ของที่ยกได้)
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี
(๑) คำว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อม” “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม” “ปกเกล้าปกกระหม่อม” “เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม” “ใส่เกล้า ใส่กระหม่อม” “โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม” “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” “พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม” เหล่านี้ จะเขียนย่อว่า “ทูลเกล้าฯ” “น้อมเกล้าฯ” “ปกเกล้าฯ” ฯลฯ ก็ได้
73 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 73
9/7/12 8:10:50 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ให้ (ของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้) – พระมหากษัตริย์ ถวาย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถวาย ให้ (สิ่งที่เป็นนามธรรม)(๑) – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถวาย ให้ (สิ่งที่เป็นนามธรรม)(๒) – พระราชวงค์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า (๑)เช่น ถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล (๒) เช่น ถวายพระกุศล
74 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 74
9/7/12 8:10:52 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ถวาย ให้ (สิ่งของ) – พระราชวงค์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า กราบถวายบังคมลา ลา – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลา – พระมหากษัตริย์ กราบบังคมทูลลา(๑) สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กราบทูลลา ลา – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ทูลลา
ลา
– หม่อมเจ้า
(๑) ใช้เฉพาะชาวต่างประเทศลา
75 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 75
9/7/12 8:10:54 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เข้าพบ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เฝ้าทูลละอองพระบาท เข้าพบ – สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฝ้า เข้าพบ – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า ทรงคม
ไหว้
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ถวายบังคม ทำความเคารพ – พระมหากษัตริย์ โดยคุกเข่า พนมมือ ยกมือขึ้น ให้หัวแม่ มือทั้งสองจรดหว่าง คิ้ว พร้อมกับเงยหน้า ขึ้นไปข้างหลังช้าๆ พองาม แล้วลดมือ ลง พนมไว้ที่อก ทำ ซ้ำเช่นนี้ ๓ ครั้ง กราบถวายบังคม กราบ – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี 76 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 76
9/7/12 8:10:56 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถวายอยู่งาน
ปรนนิบัติ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ถวายอยู่งานนวด
นวด
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ถวายอยู่งานพัด
พัด
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ถวายอยู่งานแส้, ปัดแส้ – พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า อยู่งานพระแส้ ถวายพระกลด, กั้นร่มให้ อยู่งานพระกลด
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ขึ้นพระกลด
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
กางร่ม
เชิญเสด็จ เชิญไป หรือ อุ้มเจ้านายไป
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
เชิญ ถือ, ยก, นำไป – พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า เช่น เชิญเครื่อง ราชูปโภค คุกพระชงฆ์, คุกพระชานุ
คุกเข่า
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ต้องพระราชอาญา
ถูกลงโทษ
– พระราชวงศ์และบุคคลทั่วไป
77 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 77
9/7/12 8:10:58 PM
ราชาศัพท์
หมวดที่ ๔ นาม
ความหมาย
ใช้แก่
พระบรมราชโองการ คำสั่ง – พระมหากษั ต ริ ย์ ที่ รั บ พระบรม
ราชาภิเษกแล้ว พระบวรราชโองการ คำสั่ง – พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า
อยู่หัว พระราชโองการ คำสั่ง – พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระ
บรมราชาภิเษก พระราชเสาวนีย์ คำสั่ง – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี พระราชบัณฑูร คำสั่ง – สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
– กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระบัณฑูร
– กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
คำสั่ง
พระราชบัญชา คำสั่ง – กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระบัญชา คำสั่ง – สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช พระราชดำรัสสั่ง คำสั่ง – สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 78 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 78
9/7/12 8:10:58 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระดำรัสสั่ง คำสั่ง – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า รับสั่ง คำสั่ง – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า พระราชดำรัส, คำพูด – พระมหากษัตริย์ พระราชกระแส สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระแสพระราชดำรัส
คำพูดต่อเนื่อง
– พระมหากษัตริย์
พระดำรัส คำพูด – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า
และพระองค์เจ้า ดำรัส
คำพูด
– หม่อมเจ้า
พระบรมราโชวาท คำสอน – พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรม ราชาภิเษกแล้ว พระราโชวาท คำสอน – พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับ พระบรมราชาภิเษก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี 79 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 79
9/7/12 8:11:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระโอวาท คำสอน – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า โอวาท
คำสอน
– หม่อมเจ้า
พระราชปฏิสันถาร คำทักทาย, – พระมหากษัตริย์ การทักทาย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระปฏิสันถาร คำทักทาย, – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า การทักทาย และพระองค์เจ้า
80 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 80
9/7/12 8:11:01 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
พระราชปุจฉา(๑) คำถาม – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คำถาม – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า
พระปุจฉา(๑) และพระองค์เจ้า พระบรมราชวินิจฉัย คำวินิจฉัย, – พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับ
การวินิจฉัย พระบรมราชาภิเษกแล้ว พระราชวินิจฉัย คำวินิจฉัย, – พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับ การวินิจฉัย พระบรมราชาภิเษก
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี (๑) เมื่อถามพระสงฆ์
81 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 81
9/7/12 8:11:03 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
พระวินิจฉัย คำวินิจฉัย, – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า การวินิจฉัย และพระองค์เจ้า พระราชดำริ ความคิด – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระดำริ ความคิด – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า การเกื้อกูล, – พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรม- พระบรมราชูปถัมภ์,(๑) พระบรมราโชปถัมถ์ การอุปถัมภ์ ราชาภิเษกแล้ว พระบรมราชินูปถัมถ์ การเกื้อกูล, การอุปถัมภ์
– สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
พระราชูปถัมภ์ การเกื้อกูล, – สมเด็จพระบรมราชชนก การอุปถัมภ์ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี (๑)ดูคำอธิบายท้ายบทที่ ๔ ข้อ ๘
82 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 82
9/7/12 8:11:05 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
พระอุปถัมถ์ การเกื้อกูล, – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า การอุปถัมภ์ และพระองค์เจ้า พระบรมราชานุเคราะห์(๑) ความช่วยเหลือ, – พระมหากษัตริย์ ความอนุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ ความช่วยเหลือ, – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ความอนุเคราะห์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชินยานุเคราะห์ ความช่วยเหลือ – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี พระอนุเคราะห์ ความอนุเคราะห์ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า พระราชประสงค์ ความต้องการ, – พระมหากษัตริย์ ความประสงค์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๑)ดูคำอธิบายท้ายบทที่ ๔ ข้อ ๘
83 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 83
9/7/12 8:11:07 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
พระประสงค์ ความต้องการ, – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ความประสงค์ และพระองค์เจ้า พระราชปรารถนา ความต้องการ, – พระมหากษัตริย์ ความปรารถนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชนิพนธ์ หนังสือ – พระมหากษัตริย์ หรือเพลงที่แต่ง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระนิพนธ์ หนังสือ หรือเพลงที่แต่ง
นิพนธ์ หนังสือ หรือเพลงที่แต่ง
– พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า – หม่อมเจ้า
84 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 84
9/7/12 8:11:09 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
พระปรมาภิไธย, พระบรมนามาภิไธย
ชื่อที่จารึกใน – พระมหากษัตริย์ พระสุพรรณบัฏ
พระนามาภิไธย ชื่อที่จารึกใน – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระนาม
ชื่อ
– พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
อักษรพระปรมาภิไธย
อักษรย่อชื่อ
– พระมหากษัตริย์
อักษรพระนามาภิไธย อักษรย่อชื่อ – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อักษรพระนาม อักษรย่อชื่อ – พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า
ถึงหม่อมเจ้า พระราชโทรเลข โทรเลข – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี 85 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 85
9/7/12 8:11:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระโทรเลข โทรเลข – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า พระราชสาส์น(๑)
จดหมาย
– พระมหากษัตริย์
พระราชหัตถเลขา
จดหมาย, ลายมือ
– พระมหากษัตริย์
ลายพระราชหัตถ์ จดหมาย, ลายมือ – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลายพระหัตถ์ จดหมาย, ลายมือ – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันทำบุญวัน – พระมหากษัตริย์ คล้ายวันเกิด สมเด็จพระบรมราชินีนาถ วันพระบรมราชสมภพ
วันเกิด
(๑) พระมหากษัตริย์ทรงมีถึงประมุขประเทศต่าง
– พระมหากษัตริย์
ๆ
86 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 86
9/7/12 8:11:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
วันพระราชสมภพ วันเกิด – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันประสูติ วันเกิด – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า พระชนมพรรษา.....พรรษา อายุ.....ปี – พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี พระชนมายุ.....พรรษา อายุ.....ปี – สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชันษา.....ปี อายุ.....ปี – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช ชันษา.....ปี
อายุ.....ปี
– หม่อมเจ้า 87
3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 87
9/7/12 8:11:15 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ดวงพระบรมราชสมภพ
ดวงชาตา
– พระมหากษัตริย์
ดวงพระราชสมภพ ดวงชาตา – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดวงพระชาตา ดวงชาตา – พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า พระบรมศพ ศพ –
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี
พระศพ ศพ – พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า
และพระองค์เจ้า ศพ
ศพ
– หม่อมเจ้า
88 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 88
9/7/12 8:11:16 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงฉลองพระองค์เครื่องต้นบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ พุทธศักราช 2400 89 4. p 89-100 -4 Sep.indd 89
9/4/12 5:20:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระราชธิดาในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์หลังพระราชพิธีโสกันต์แล้ว สวมมงคลย่นประดับอัญมณี ประจำยาม ทัดใบมะตูม ห่มสะพักปักดิ้นทับด้วยนวมพระศอตาด กรึงติดด้วยดอกไม้เพชรและอัญมณี ต่างๆ ปลายนวมห้อยตุ้งติ้งเป็นระยะ ประดับด้วยนพพระอังสารูปหงส์คาบหยาดเพชร สวมพาหุรัดที่ต้น พระพาหา สวมทองพระกร แหวนตะแคงและลูกไม้ปลายมือ สวมพระธำรงค์ 8 นิว้ พระหัตถ์ ทรงพระภูษา จีบหน้านาง สวมทองพระบาทและเครื่องผูกข้อพระบาท สวมถุงพระบาทและฉลองพระบาทกำมะหยี่ปัก
90 4. p 89-100 -4 Sep.indd 90
9/4/12 5:20:04 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระราชธิดาในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องต้นอย่างขัตติยราชกุมารี ในการสมโภชในพระราชพิธีโสกันต์ ทรงพระชฎา ฉลองพระองค์ พ ระกรน้ อ ยทั บ ฉลองพระองค์ แ ขนยาว ทรงกรองพระศอ ประดั บ นพ
พระอังสาดอกไม้ไหว สวมพาหุรัดดอกไม้ไหว ทรงทับทรวงและสังวาลไขว้ ทรงสนับเพลาเชิงงอน ทับด้วย พระภูษาโจงเยียรบับหางหงส์ ประดับสุวรรณกถอบ ข้อพระบาทประดับทองพระบาทและเครื่องผูกข้อ พระบาทอื่นๆ ประทับบนพระที่นั่งกง ทรงฉายพร้อมเครื่องประกอบพระอิสริยยศ
91 4. p 89-100 -4 Sep.indd 91
9/4/12 5:20:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พาหุรัดหรือกำไลรัดต้นแขน
92 4. p 89-100 -4 Sep.indd 92
9/4/12 5:20:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระธำมรงค์องค์ต่างๆ
กำไลข้อพระหัตถ์ เป็นรูปพญานาคขดประดับเพชรและทับทิม 93 4. p 89-100 -4 Sep.indd 93
9/4/12 5:20:20 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระสุพรรณภาชน์คาว
พระสุพรรณภาชน์หวาน 94 4. p 89-100 -7 Sep.indd 94
9/7/12 5:48:44 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
โถพระกระยา
เครื่องพระสุคนธ์ 95 4. p 89-100 -7 Sep.indd 95
9/7/12 4:32:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พานพระศรีทองคำพร้อมเครื่อง
หีบพระศรี หีบหมากเสวย
พระเต้าทักษิโณทก 96 4. p 89-100 -7 Sep.indd 96
9/7/12 7:21:29 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมังสี
97 4. p 89-100 -7 Sep.indd 97
9/7/12 7:24:02 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผอบทองคำทรงมณฑปจำหลักลาย
98 4. p 89-100 -7 Sep.indd 98
9/7/12 4:23:46 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระโธรน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 จำหลักลายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
พระโธรน สร้างในรัชกาลปัจจุบัน จำหลักลายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ 99 4. p 89-100 -4 Sep.indd 99
9/4/12 5:21:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชอาสน์ที่รัฐบาลสร้างขึ้นน้อมเกล้าฯถวายในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 9 มิถุนายน 2539 100 4. p 89-100 -4 Sep.indd 100
9/4/12 5:21:26 PM
หมวดที่ ๕ เครือ่ งแต่งกาย เครือ่ งประดับ ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครือ่ งใช้ทวั่ ไป
เครื่องแต่งกาย ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
ฉลองพระองค์(๑)
เครื่องแต่งกาย
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ฉลองพระองค์ครุย
ครุยสำหรับทรงในงาน พระราชพิธี
– พระมหากษัตริย์
ฉลององค์
เครื่องแต่งกาย
– หม่อมเจ้า
ฉลองพระองค์เครื่องต้น
เครื่องทรงในพระราชพิธี – พระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรม- ราชาภิเษก
เสื้อทรง
เสื้อ
– หม่อมเจ้า
พระสนับเพลา(๒)
กางเกง
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
สนับเพลา
กางเกง
– หม่อมเจ้า
พระภูษา,(๓) ภูษาทรง
ผ้านุ่ง
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ผ้าทรง
ผ้านุ่ง
– หม่อมเจ้า
ผ้าวงพระศอ, ผ้าพันพระศอ
ผ้าพันคอ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ผ้าวงศอ, ผ้าพันศอ
ผ้าพันคอ
– หม่อมเจ้า
พระภูษาสนับเพลา
ผ้านุ่งทับกางเกง
– พระมหากษัตริย์
พระโกไสยพัสตร์(๔)
ผ้าไหม
– พระมหากษัตริย์
พระกัปปาสิกพัสตร์(๕)
ผ้าฝ้าย
– พระมหากษัตริย์
พระอุทุมพรพัสตร์(๖)
ผ้าใยมะเดื่อ
– พระมหากษัตริย์
(๑) เมื่ อ จะกล่ า วถึ ง ฉลองพระองค์ ชุ ด ใด ให้ เติ ม คำนั้ นข้ า งท้ า ย เช่ น ฉลองพระองค์ เครื่ อ งแบบทหารบก ฉลองพระองค์ ส ากล ฉลองพระองค์จอมพล ฉลองพระองค์เต็มยศทหารบก (๒) พระสนับเพลาที่ใช้กับเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ เรียกว่า พระสนับเพลาเชิงงอน (๓) เมื่อจะกล่าวถึงพระภูษาประเภทใดก็ให้เติมคำนั้นข้างท้าย เช่น พระภูษาไหม พระภูษาโสร่ง พระภูษาฝ้าย พระภูษาโจง (๔)–(๖) พระโกไสยพัสตร์ พระกัปปาสิกพัสตร์ พระอุทุมพรพัสตร์ ๓ ชนิดนี้ เป็นคำในวรรณคดี หมายถึงผ้าเครื่องราชบรรณาการ
101 5. up 101-110-7 Sep.indd 101
9/7/12 8:29:35 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
พระรัตกัมพล(๑)
ผ้าส่านแดง (ผ้าขนสัตว์สีแดง)
– พระมหากษัตริย์
พระกัมพล(๒)
ผ้าส่าน (ผ้าขนสัตว์)
– พระมหากษัตริย์
ผ้าทรงสะพัก, ทรงสะพัก
ผ้าห่ม, ผ้าสไบ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
พระภูษาชุบสรง
ผ้านุ่งอาบน้ำ (ชาย)
–
ผ้าชุบสรง, ผ้าสรง
ผ้านุ่งอาบน้ำ (ชาย)
– พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า
พระเวฐนะ
ผ้าโพกหัว, ผ้าพันหัว
– พระมหากษัตริย์
ผ้าโพกพระเศียร
ผ้าโพกหัว, ผ้าพันหัว
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ผ้าคลุมพระองค์
ผ้าห่ม
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ถุงพระหัตถ์, ฉลองพระหัตถ์
ถุงมือ
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ถุงพระบาท
ถุงเท้า
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ฉลองพระบาท
รองเท้า
–
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
(๑)–(๒) พระรัตกัมพล และพระกัมพล ๒ ชนิดนี้ เป็นคำในวรรณคดี หมายถึงผ้าเครื่องราชบรรณาการ
102 5. up 101-110-7 Sep.indd 102
9/7/12 8:29:36 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รองพระบาท
รองเท้า
– พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า
รองบาท
รองเท้า
– หม่อมเจ้า
สนับพระชงฆ์
สนับเข่า, สนับแข้ง
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
พระดุม
กระดุม, ลูกดุม
– พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
103 5. up 101-110-7 Sep.indd 103
9/7/12 8:29:38 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องประดับ ราชาศัพท์
ความหมาย
พระจุฑามณี
ปิ่นปักผม
พระอุณหิส
กรอบหน้า
พระมหามงกุฎ
เครื่องสวมหัว
กรองพระศอ
เครื่องสวมคอ ลักษณะเป็นผ้านวมปักด้วย อัญมณี เช่น แหวน ต่างหู จี้ ใช้เวลาโสกันต์
เจ้านาย หมดงานแล้วแกะออก
ตุ้มพระกรรณ, พระกุณฑล
ต่างหู
พระกรรเจียก
เครื่องประดับจอนหู
เกยูร
สร้อยอ่อน, ทองต้นแขน
สร้อยพระศอ
สร้อยคอ
พระมหาสังวาล(๑)
สร้อยตัว
พระสังวาล
สร้อยตัว, สร้อยยาวสวมเฉวียงบ่า
ทองพระกร, พระกำไล, พระวลัย
กำไลข้อมือ
พาหุรัด
กำไลต้นแขน
สร้อยข้อพระหัตถ์, พระวลัย
สร้อยข้อมือ
กำไลข้อพระบาท, ทองพระบาท
กำไลข้อเท้า
พระธำมรงค์
แหวน
รัดพระองค์
เข็มขัด
พระปั้นเหน่ง
หัวเข็มขัด
(๑) ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์
104 5. up 101-110-7 Sep.indd 104
9/7/12 8:29:40 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ภาชนะใช้สอย ราชาศัพท์
ความหมาย
พระสุพรรณภาชน์
โต๊ะทองคำสำหรับตั้งสำรับคาวหวาน
พระสุพรรณราช
กระโถนใหญ่
พระสุพรรณศรี
กระโถนเล็ก
พระทวย เครื่องรองรับขันหรือกระโถน มี ลกั ษณะเป็นคันยาว ใช้ในขบวนพยุหยาตรา ทางสถลมารค บ้วนพระโอษฐ์
กระโถน
โต๊ะเสวย
โต๊ะอาหาร
ฉลองพระหัตถ์ช้อน
ช้อน
ฉลองพระหัตถ์ส้อม
ส้อม
ฉลองพระหัตถ์มีด
มีดใช้บนโต๊ะอาหาร
ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ
ตะเกียบ
ชามชำระพระหัตถ์
ชามล้างมือ
พระมังสี
พานรองสังข์, จอกหมาก
พระตะพาบ, พระเต้า
คนโทน้ำ
พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ พระเต้าทักษิโณทก พระสุวรรณภิงคาร ถ้วยชามเครื่องต้น จานเครื่องต้น ที่พระสุธารส ถาดพระสุธารส
ขันน้ำทรงมณฑปมีพานรองและมีจอกลอย เต้ากรวดน้ำ หม้อน้ำทองคำรูปคนโท ถ้วยชาม จานอาหาร ชุดเครื่องน้ำร้อนน้ำเย็น ถาดเครื่องน้ำร้อนน้ำเย็น
ถ้วยพระสุธารส
ถ้วยน้ำ 105
5. up 101-110-7 Sep.indd 105
9/7/12 8:29:42 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
อาหาร ราชาศัพท์
ความหมาย
เครื่องคาว, เครื่องต้นคาว
ของคาว, อาหารคาว
เครื่องหวาน, เครื่องต้นหวาน
ของหวาน, อาหารหวาน
เครื่องว่าง
ของว่าง, อาหารว่าง
เครื่องเสวย, เครื่องต้น, พระกระยาหาร(๑)
ของกิน, อาหาร
พระกระยาเสวย, พระกระยา
ข้าวสวย
พระกระยาต้ม
ข้าวต้ม
พระกระยาตัง
ข้าวตัง
พระสุธารส(๒)
น้ำดื่ม, เครื่องดื่ม
น้ำจัณฑ์
เหล้า
(๑) บางทีใช้คำให้สั้นลงว่า “เครื่อง” ก็มี (๒) ถ้าต้องการบอกชนิดของเครื่องดื่ม เติมคำลงข้างท้าย เช่น พระสุธารสชา พระสุธารสเย็น
106 5. up 101-110-7 Sep.indd 106
9/7/12 8:29:44 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องใช้ทั่วไป ราชาศัพท์
ความหมาย
โต๊ะทรงพระอักษร
โต๊ะเขียนหนังสือ
โต๊ะข้างพระที่
โต๊ะเล็กข้างเตียงนอน
พระแท่น
เตียง
พระแท่นบรรทม
เตียงนอน
พระราชบรรจถรณ์(๑)
ที่นอน
พระสุจหนี่
ผ้ า ไหมทอสลั บ ลายเส้ น เงิ น เส้ นทองที่ ปู ล าดไว้
สำหรับนั่ง, ยืน, ตั้งเก้าอี้
พระยี่ภู่
ฟูก, นวมที่ปูลาดไว้
ผ้าลาดพระที่, ผ้าลาดพระแท่น
ผ้าปูที่นอน
ผ้าคลุมบรรทม
ผ้าห่มนอน
ผ้าคลุมพระแท่นบรรทม
ผ้าคลุมเตียง
พระราชอาสน์,(๒) พระเก้าอี้
เก้าอี้
พระโธรน(๓)
เก้าอี้พนักสูง
พระที่นั่ง
ที่อยู่อาศัย, ที่นั่ง
เงินท้ายพระที่นั่ง, เงินท้ายที่นั่ง(๔)
พระราชทรัพย์สำหรับทรงใช้สอยส่วนพระองค์
พระเขนย
หมอนหนุน
พระเขนยข้าง(๕)
หมอนข้าง
พระเขนยอิง, พระขนน(๖)
หมอนอิง
(๑)–(๔) ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ (๕) บางแห่งเรียกว่า เขนยเคียง เช่น ในบทร้องเพลงเทพบรรทมที่ว่า “พระกรเกยเขนยเคียง” เป็นต้น (๖) พระขนน เป็นคำในวรรณคดี
5. up 101-110-7 Sep.indd 107
107 9/7/12 8:29:45 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
พระวิสูตร, พระสูตร
ม่าน, มุ้ง
สายสูตร
เชือกหุ้มผ้าขาวสำหรับทรงถือในการ หล่อพระพุทธรูปหรือทรงชักในการยกช่อฟ้า เป็นต้น
พระอู่, พระอังรึง
เปล
พระแว่นสูรยกานต์
แว่นรวมแสงอาทิตย์สำหรับจุดไฟ
พระฉาย
กระจกเงา
พระคันฉ่อง
กระจกเงามีคันถือ, แว่นโลหะขัดเงา มีด้ามใช้เป็นกระจกเงา
พระสาง
หวี
พระสางเสนียด
หวีเสนียด
พระสางวงเดือน
หวีวงเดือน
เครื่องพระสุคนธ์
เครื่องหอม เช่น น้ำอบ, น้ำหอม, น้ำปรุง, แป้งผัดหน้า, แป้งกระแจะ
เครื่องพระสำอาง
เครื่องประทินผิว, เครื่องสำอาง
อ่างสรง
อ่างอาบน้ำ
อ่างชำระพระหัตถ์
อ่างล้างมือ
อ่างสรงพระพักตร์, ที่สรงพระพักตร์
อ่างล้างหน้า
ถาดสรงพระพักตร์
ภาชนะใส่เครื่องล้างหน้า
ราวผ้าซับพระพักตร์
ราวพาดผ้าเช็ดหน้า
ผ้าซับพระองค์
ผ้าเช็ดตัว
ผ้าซับพระพักตร์
ผ้าเช็ดหน้า
5. up 101-110-7 Sep.indd 108
108 9/7/12 8:29:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ผ้าซับพระโอษฐ์
ผ้าเช็ดปาก
ผ้าเช็ดพระหัตถ์
ผ้าเช็ดมือ
ผ้าเช็ดพระบาท
ผ้าเช็ดเท้า
ลาดพระบาท
พรมทางเดิน
พานพระขันหมาก
พานหมากของพระมหากษัตริย์
พานพระศรี,พานหมากเสวย(๑)
พานหมาก
หีบพระศรี, หีบหมากเสวย
หีบหมาก
กระเป๋าทรง
กระเป๋าถือ
พระล่วม
กระเป๋าใส่หมากพลูและบุหรี่
พระศรี
หมาก
พระโอสถสูบ, พระโอสถมวน
บุหรี่, ซิก้าร์
พระโอสถ
ยารักษาโรค
พระโอสถประจุ, พระโอสถปัด
ยาถ่าย, ยาระบาย
พระโอสถเส้น
ยาเส้นสำหรับสูบด้วยกล้อง
พระรัตนกรัณฑ์(๒)
ตลับประดับเพชร
ตลับพระมณฑปเล็ก
ตลับยอดมณฑป
ฉลองพระเนตร
แว่นตา
พระพัชนี
พัด
แคะพระกรรณ
ไม้แคะหู
แคะพระทนต์
ไม้จิ้มฟัน
พระเต้า
หม้อน้ำ
(๑) ใช้แก่พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า ประกอบด้วยพาน พร้อมเครื่องใน เช่น ซองพลู ตลับใส่พิมเสน ตลับใส่กานพลู ตลับ ใส่หมาก ตลับใส่สีผึ้ง ตลับใส่ยาเส้น (๒) ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์
109 5. up 101-110-7 Sep.indd 109
9/7/12 8:29:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
ความหมาย
ฉลองพระหัตถ์, ฉลองได, นารายณ์หัตถ์
ไม้เกาหลัง
พระแสง
อาวุธต่างๆ
พระแสงปืน
ปืน
พระแสงดาบ
ดาบ
พระแสงกระบี่
กระบี่
พระแสงหอก
หอก
พระแสงง้าว
ง้าว
พระแสงของ้าว
อาวุธที่มีทั้งขอและง้าวใช้บนหลังช้าง
พระแสงทวน
ทวน
พระแสงเขน
เขน
พระแสงกั้นหยั่น
กั้นหยั่น
พระแสงกริช
กริช
พระแสงเกาทัณฑ์
เกาทัณฑ์
พระแสงธนู
ธนู
พระแสงศร
ศร
พระกล้องสลัด
กล้องที่ใส่อาวุธซัด
พระแสงกระสุน
ลูกกระสุน
พระแสงกรรบิด
มีดโกน
พระแสงปนาค, พระแสงกรรไกร
กรรไกร
พระแสงกัสสะ
แหนบถอนหนวด
ธารพระกร
ไม้เท้า
พระตรา ดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์, ตราส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ 110 5. up 101-110-7 Sep.indd 110
9/7/12 8:29:51 PM
หมวดที่ ๖ ศัพท์ที่ใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล การพระราชกุศล
– การทำบุญ
โสกันต์
– พระราชพิธีตัดจุกโกนจุกสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
เกศากันต์
– พระราชพิธีตัดจุกโกนจุกหม่อมเจ้า
ขับไม้
– การขับลำนำประเภทหนึ่งในพระราชพิธีสมโภชเดือนและ ขึ้นพระอู่พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า พระราชพิธีสมโภช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระราชพิธีรับและ สมโภชขึ้ น ระวางช้ า งสำคั ญ มี ค นขั บ ไม้ ๑ คน คนสี ซ อ สามสาย ๑ คน คนไกวบัณเฑาะว์ ๑ คน บทที่ขับเรียกว่า กาพย์ขับไม้
คิลานภัตร
– ภัตตาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ
เครื่องขมา
– เครื่องขมาศพที่พระมหากษัตริย์พระราชทานพร้อมกับไฟ ในการพระราชทานเพลิงเผาศพ ประกอบด้วยช่อดอกไม้ จันทน์ ธูปไม้ระกำ เทียน กระทงข้าวตอก กระทงดอกไม้ อย่างละ ๑ กระทง
เครื่องนมัสการ
– เครื่องสักการบูชาที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ มีอยู่ ๑๒ อย่ า งคื อ เครื่ อ งนมั ส การทองใหญ่ เครื่ อ งนมั ส การพาน ทองสองชั้ น เครื่ อ งนมั ส การทองลงยาราชาวดี เครื่ อ ง นมั ส การทองลงยารอง เครื่ อ งนมั ส การทองทิ ศ เครื่ อ ง นมั ส การทองน้ อ ย เครื่ อ งนมั ส การกระบะถม เครื่ อ ง นมั ส การกระบะมุ ก เครื่ อ งนมั ส การท้ า ยที่ นั่ ง เครื่ อ ง นมัสการเครื่องแก้ว เครื่องนมัสการบูชายิ่ง และเครื่อง ทรงธรรมสำรับใหญ่
๑. เครื่องนมัสการทองใหญ่ ตั้งประจำในพระอุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม ใช้ในงานที่เป็นพระราชพิธี สำหรับ พระมหากษัตริย์ทรงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ประกอบด้วยแท่นไม้สลักลายปิดทองขนาดใหญ่รองพาน 111 6.p 111-186-6 Sep.indd 111
9/7/12 8:37:01 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ทองคำสลักลาย วางพุ่มดอกไม้ ๕ พุ่ม พุ่มข้าวตอก ๕ พุ่ม และเชิงโลหะกะไหล่ทองปักเทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๕ เชิง ๒. เครื่ อ งนมั ส การพานทองสองชั้ น สำหรั บ พระมหา กษัตริย์ทรงบูชาพระพุทธรูปสำคัญในงานพระราชพิธีและ การทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เช่น พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลทักษิณานุปทานเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ตั้งเครื่องนมัสการพานทอง สองชั้ นที่ ห น้ า พระที่ นั่ ง บุ ษ บกมาลา และในพระราชพิ ธี ฉั ต รมงคล ณ พระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาท ตั้ ง เครื่ อ ง นมัสการพานทองสองชั้นที่หน้าพระแท่นมุกสำหรับทรงจุด บู ช าพระพุ ท ธปฏิ ม าชั ย วั ฒ น์ ประกอบด้ ว ยแท่ นถมทอง สลักลาย สำหรับตั้งพานปากกระจับซ้อนสองชั้นรองพุ่ม ดอกไม้ ๕ พุ่ม พุ่มข้าวตอก ๕ พุ่ม เชิงทองสลักลายปัก เทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๕ เชิง ๓. เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดี สำหรับพระมหา กษั ต ริ ย์ ท รงบู ช าพระพุ ท ธรู ป สำคั ญ และทรงสั ก การะ พระบรมศพ พระบรมอัฐิในงานพระราชพิธีและการทรง บำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง เช่ น พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก พระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษา พระราชพิธีสงกรานต์ และพระราชพิธี ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลวั นคล้ า ยวั น สวรรคตพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยแท่นลงยา ราชาวดี สำหรั บ ตั้ ง พานทองคำลงยาราชาวดี ร องพุ่ ม ดอกไม้ ๕ พุ่ ม พุ่ ม ข้ า วตอก ๕ พุ่ ม เชิ ง หุ้ ม ทองคำลงยา ราชาวดี ปักเทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๕ เชิง ๔. เครื่องนมัสการทองลงยารอง สำหรับสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงบูชาพระพุทธรูปสำคัญ ทรงสักการะพระ บรมศพ พระบรมอัฐิ ในงานพระราชพิธีซึ่งเป็นงานของ ฝ่ายในที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถหรือสมเด็จพระบรมราชินีทรงเป็นประธานของงาน 112 6.p 111-186-6 Sep.indd 112
9/7/12 8:37:03 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องนมัสการทองใหญ่
เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดี 113 6.p 111-186-6 Sep.indd 113
9/6/12 7:13:34 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพานทองสองชั้น บูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น 114 6.p 111-186-6 Sep.indd 114
9/6/12 7:13:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศ บูชาพระพุทธปฎิมา ปางประจำรัชกาลสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า
เครื่องนมัสการทองทิศ 115 6.p 111-186-6 Sep.indd 115
9/7/12 6:00:42 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องนมัสการทองน้อย (เครื่องห้า)
เครื่องนมัสการทองน้อย (ปากกระจับเล็ก)
เครื่องนมัสการทองน้อย (ปากกระจับใหญ่)
เครื่องนมัสการทองน้อย (ลงยาราชาวดี) 116
6.p 111-186-6 Sep.indd 116
9/6/12 7:13:51 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องนมัสการทองน้อย
เครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง
เครื่องนมัสการกระบะถม
เครื่องนมัสการเครื่องแก้ว 117
6.p 111-186-6 Sep.indd 117
9/7/12 5:47:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการกระบะมุก
เครื่องนมัสการกระบะมุก 118 6.p 111-186-6 Sep.indd 118
9/7/12 6:02:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องนมัสการบูชายิ่งในงานเทศน์มหาชาติ
เครื่องนมัสการบูชายิ่ง 119 6.p 111-186-6 Sep.indd 119
9/6/12 7:14:15 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่ที่หน้าพระราชอาสน์
เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่ (ขาดเชิงเทียนที่ฐานมีอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. 1 คู่) 120 6.p 111-186-6 Sep.indd 120
9/6/12 7:14:21 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สังข์คว่ำ
สังข์หงาย
แตรงอน
แตรฝรั่ง 121 6.p 111-186-6 Sep.indd 121
9/6/12 7:14:32 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ปี่ไฉน (ทำด้วยงาช้าง)
กลองชนะเงิน
กลองชนะทอง 122
6.p 111-186-6 Sep.indd 122
9/6/12 7:14:44 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
กลองชนะแดงลายทอง
กลองชนะเขียวลายเงิน
กลองชนะแดง 123 6.p 111-186-6 Sep.indd 123
9/6/12 7:14:56 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
มโหระทึก
ชาวพนักงานประโคม 124 6.p 111-186-6 Sep.indd 124
9/6/12 7:15:01 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ
พระมหาสังข์เดิม 125 6.p 111-186-6 Sep.indd 125
9/6/12 7:15:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาสังข์เดิม โถเจิม ใบมะตูม และผ้าเช็ดพระหัตถ์
สังข์พิธีของหลวง โถเจิม และใบมะตูม 126 6.p 111-186-6 Sep.indd 126
9/6/12 7:15:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สังข์นคร
โถเจิม
พระเต้า 127
6.p 111-186-6 Sep.indd 127
9/6/12 7:15:16 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระสุหร่าย โถเจิม ผ้าเช็ดพระหัตถ์
พระสุหร่าย
พระสุหร่าย 128
6.p 111-186-6 Sep.indd 128
9/6/12 7:15:22 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
จงกลธรรมาสน์
พระเต้าเบญจครรภโมราแดงยอดเกี้ยว
พระเต้าเทวบิฐ
พระครอบพร้อมพานรองสำหรับบรรจุ น้ำพระพุทธมนต์
พระเต้าเบญจครรภ
129 6.p 111-186-6 Sep.indd 129
9/6/12 7:15:39 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระธำมรงค์รัตนวราวุธสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระธำมรงค์องค์ต่างๆ สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 130 6.p 111-186-6 Sep.indd 130
9/6/12 7:15:42 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เทียนเท่าพระองค์
แท่นเบญพาด 131 6.p 111-186-6 Sep.indd 131
9/6/12 7:15:58 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมูรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 132 6.p 111-186-6 Sep.indd 132
9/6/12 7:16:04 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุ ล ยเดชจั ด เป็ น เครื่ อ งนมั ส การสำหรั บ สมเด็ จ พระบรมราชินีนาถทรงสักการะในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระ ราชกุศลเฉพาะ ณ พระบรมมหาราชวัง เช่น งานพระบรมศพ พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุปทานเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล ประกอบด้วย แท่ นถมทองสลั ก ลาย สำหรั บ ตั้ ง พานทองสลั ก ลายลงยา
สีแดงรองพุ่มดอกไม้ ๕ พุ่ม พุ่มข้าวตอก ๕ พุ่ม เชิงทองสลัก ลายลงยา ปักเทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๕ เชิง ๕. เครื่องนมัสการทองทิศ เป็นเครื่องนมัสการอย่างเดียว กับเครื่องนมัสการทองใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อสะดวก แก่การขนย้ายไปตั้งแต่ง ณ สถานที่ต่างๆ สำหรับพระมหา กษัตริย์ถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ทรงใช้ บู ช าพระพุ ท ธรู ป หรื อ ปู ช นี ย สถานสำคั ญ ประกอบด้ ว ยแท่ น ไม้ ส ลั ก ลายมั ง กรปิ ด ทอง สำหรั บ ตั้ ง พานทองคำสลั ก ลายรองพุ่ ม ดอกไม้ ๕ พุ่ ม พุ่ ม ข้ า วตอก
๕ พุ่ม เชิงโลหะกะไหล่ทองปักเทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ
๕ เชิง ๖. เครื่ อ งนมั ส การทองน้ อ ย เป็ น เครื่ อ งบู ช าขนาดเล็ ก สำหรับพระมหากษัตริย์ถึงพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าใช้ ทรงธรรม ทรงสักการะพระบรมศพ พระศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ และทรงบูชาปูชนียสถานต่างๆ ในงานพระราชพิธี และการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เครื่องนมัสการทองน้อย
มีหลายประเภท ดังนี้ ๖.๑ เครื่ อ งนมั ส การทองน้ อ ย (เครื่ อ งห้ า ) ทำด้ ว ย ทองคำลงยาทั้งสำรับ สำหรับพระมหากษัตริย์ใช้เป็นเครื่อง ราชสักการะ และทรงธรรมในงานพระราชพิธีซึ่งเป็นงาน ปรกติ (๑)ประกอบด้ ว ยพานทองคำสลั ก ลายกลี บ บั ว ลงยา
(๑) ในงานพระราชพิธีซึ่งกำหนดให้แต่งกายเต็มยศและครึ่งยศ
พระมหากษัตริย์ทรงใช้เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่ที่สร้างขึ้นใน
รัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงใช้เครื่องนมัสการทองน้อย (เครื่องห้า)
133 6.up 111-186-7 Sep.indd 133
9/7/12 8:39:55 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ตั้งกรวยเชิงทองคำลงยาใส่พุ่มดอกไม้ ๕ พุ่ม เชิงทองคำ ลงยาปักเทียน ๒ เชิง กระถางธูปทำด้วยแก้วหุ้มทองที่ปาก และฐานปักธูปหาง ๖.๒ เครื่ อ งนมั ส การทองน้ อ ย (เครื่ อ งหงส์ ) ทำด้ ว ย ทองคำลงยาทั้งสำรับ สำหรับพระมหากษัตริย์ถึงพระบรมวงศ์ ชั้ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งราชสั ก การะและ ทรงธรรมในงานพระราชพิธีซึ่งเป็นงานปรกติ เช่น สักการะ พระบรมศพ พระบรมอัฐิ และปูชนียสถานต่างๆ ประกอบ ด้วยพานทองคำสลักลายลงยา บนพานตั้งกรวยเชิงทองคำ ลงยาใส่ พุ่ ม ดอกไม้ ๓ พุ่ ม เชิ ง เป็ น รู ป หงส์ ท ำด้ ว ยทองคำ ลงยา ๒ เชิง ปักเทียน ๑ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๑ เชิง ๖.๓ เครื่ อ งนมั ส การทองน้ อ ย (ปากกระจั บ ) สำหรั บ พระมหากษัตริย์ถึงพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ใช้เป็น เครื่องราชสักการะและทรงธรรมในงานพระราชพิธีซึ่งเป็น งานปรกติ เช่ น สั ก การะพระบรมศพ พระบรมอั ฐิ และ ปูชนียสถานต่าง ๆ ประกอบด้วยพานทองคำสลักลาย ขอบ ปากพานเป็นรูปกระจังกลีบบัว (ปากกระจับ) ตั้งกรวยเชิง ทองคำลงยาใส่พุ่มดอกไม้ ๓ พุ่ม เชิงทองคำลงยาปักเทียน ๑ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๑ เชิง ๖.๔ เครื่ อ งนมั ส การทองน้ อ ยแก้ ว สำหรั บ พระมหา กษัตริย์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทรงใช้บูชาพระรัตนตรัยและ ทรงธรรมเป็นประจำขณะทรงพระผนวชหรือทรงผนวช และ พระสงฆ์ ชั้ น สมเด็ จ พระราชาคณะใช้ บู ช าพระรั ต นตรั ย ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ เครื่ อ งนมั ส การทองน้ อ ยทองคำลงยา (เครื่องห้า) แต่ทำด้วยแก้วเจียระไนทั้งชุด ประกอบด้วยพาน กรวยเชิง ๓ กรวยใส่พุ่มดอกไม้ ๓ พุ่ม เชิงแก้วปักเทียน ๑ เชิง และปักธูปไม้ระกำ ๑ เชิง ๗. เครื่องนมัสการกระบะถม สำหรับพระมหากษัตริย์ถึง พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยใน 134 6.up 111-186-7 Sep.indd 134
9/7/12 8:39:57 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
การบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลภายในเป็ น ส่ ว นพระองค์ และ สำหรับใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินไปต่างจังหวัดประกอบ ด้วยกระบะถมทองย่อมุมไม้สิบสอง สำหรับตั้งพานทองคำ สลักลายรองพุ่มดอกไม้ ๔ พุ่ม พุ่มข้าวตอก ๔ พุ่ม เชิงโลหะ หุ้มทองคำปักเทียน ๔ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๔ เชิง ๘. เครื่องนมัสการกระบะมุก ใช้ในงานหลวงทั่วไป และ พระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าทรงบูชาพระรัตนตรัยในการทรง บำเพ็ญพระกุศล เช่น เสด็จถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และจั ด เป็ น เครื่ อ งพระราชทานพระเกี ย รติ ย ศแก่ พ ระศพ พระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและศพหม่อมเจ้า ศพพระสงฆ์ ชั้ น พระราชาคณะ ศพข้ า ราชการทั่ ว ไปที่ อ ยู่ ในพระบรม- ราชานุ เคราะห์ ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ ให้ มี พ ระพิ ธี ธรรมสวดพระอภิ ธ รรม ประกอบด้ ว ยกระบะย่ อ มุ ม ไม้ สิ บ สองลงรั ก ประดั บ มุ ก สำหรั บ ตั้ ง กรวยเชิ ง ทำด้ ว ยแก้ ว ใส่ พุ่ ม ดอกไม้ ๔ พุ่ ม เชิ ง แก้ ว ปั ก เที ย น ๔ เชิ ง ปั ก ธู ป
ไม้ระกำ ๑ เชิง ๙. เครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง ประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียน ที่เจ้าหน้าที่ตามเสด็จเชิญไปสำหรับทูลเกล้าฯ ถวายพระมหา กษั ต ริ ย์ ถึ ง พระบรมวงศ์ ชั้ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า เมื่ อ มี พ ระราชประสงค์จะทรงสักการะพระพุทธรูปหรือปูชนียสถานสำคัญ ประกอบด้วยโต๊ะสี่เหลี่ยมขนาดย่อมสำหรับตั้งพานโลหะ กะไหล่ทอง วางดอกไม้กระทงเจิม ๑ พาน เชิงโลหะกะไหล่ ทอง ๑ คู่ ปักเทียน กระถางโลหะกะไหล่ทองปักธูปหาง ๓ ดอก ๑๐. เครื่องนมัสการเครื่องแก้ว มี ๒ ชุด ชุดที่ ๑ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ สำหรับทรงธรรม ในวั น พระ ต่ อ มาใช้ เป็ น เครื่ อ งบู ช าพระรั ต นตรั ย สำหรั บ พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า เครื่องนมัสการชุดนี้ประกอบ ด้ ว ยแท่ น ไม้ ป ระดั บ กระจก ตั้ ง พานแก้ ว เจี ย ระไน ใส่ พุ่ ม ดอกไม้ ๕ พุ่ม พุ่มข้าวตอก ๕ พุ่ม เชิงแก้วเจียระไนปักเทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๕ เชิง 135 6.up 111-186-7 Sep.indd 135
9/7/12 8:39:59 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ชุดที่ ๒ สำหรับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าทรง จุ ด บู ช าพระรั ต นตรั ย ในงานฉลองพระชนมายุ ห รื อ ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลอื่น ๆ ประกอบด้วยแท่นไม้สลักลาย มังกรปิดทองเท้าสิงห์ เช่นเดียวกับเครื่องนมัสการทองทิศ ตั้งพานแก้วเจียระไนใส่พุ่มดอกไม้ ๕ พุ่ม พุ่มข้าวตอก ๕ พุ่ม เชิงแก้วเจียระไนปักเทียน ๕ เชิง ปักธูปไม้ระกำ ๕ เชิง ๑๑. เครื่ อ งนมั ส การบู ช ายิ่ ง สำหรั บ พระมหากษั ต ริ ย์ ถึ ง พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงใช้สักการบูชาในการทรง บำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติ ประกอบด้วยกระบะมุก ย่ อ มุ ม ไม้ สิ บ สอง มี พ านแก้ ว วางพุ่ ม ข้ า วตอก พุ่ ม ดอกไม้ พุ่มถั่ว พุ่มงา และพุ่มหญ้าแพรกอย่างละพุ่ม หน้ากระบะมุก ตั้งเครื่องนมัสการทองน้อย ๑ เครื่อง ถัดออกมาตั้งเครื่อง นมัสการทองน้อยแก้ว ๕ เครื่อง ๑๒. เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่ สำหรับพระมหากษัตริย์ ทรงใช้บูชาเมื่อทรงสดับพระธรรมเทศนา ในพระราชพิธีการ พระราชกุศลที่เป็นงานเต็มยศหรือครึ่งยศ ประกอบด้วยแท่น โลหะกะไหล่ทองเท้าคู้ ขอบแท่นยกเป็นกระจังรั้วสลักโปร่ง มีพานแบบจานเชิงทำด้วยโลหะทอง ตั้งกรวยเชิงทองคำใส่ พุ่มดอกไม้สด ๔ พุ่ม พานทำด้วยโลหะทองใส่ดอกไม้สด ๓ พาน เชิงโลหะกะไหล่ทอง ปักเทียน ๒ เชิง ที่มุมในแท่น โลหะกะไหล่ทอง สองข้างตั้งแจกันโลหะทองปักดอกไม้สด ข้างแจกันตั้งพานใส่ดอกไม้สด ๒ พาน ข้างหลังพานแบบ จานเชิงตั้งกระถางธูปหยกปักธูป สองข้างแท่นโลหะกะไหล่ ทองตั้งเชิงโลหะกะไหล่ทอง ยอดฉัตรปักเทียน ลำต้นของเชิง เทียนคล้ายต้นปาล์ม มีช้างหล่อกะไหล่ทองยืนที่โคนต้น ที่ ฐานเชิ ง เที ย นมี อั ก ษรพระปรมาภิ ไธย จ.ป.ร. ติ ด เป็ นตรา วงกลม เครื่องประโคม
– เครื่ อ งดนตรี ที่ ใช้ ป ระโคมประกอบพระราชอิ ส ริ ย ยศของ พระมหากษัตริย์ มีอยู่ ๒ ประเภท คือเครื่องประโคมแตร กับมโหระทึก และเครื่องประโคมสังข์ แตร กลองชนะ 136
6.up 111-186-7 Sep.indd 136
9/7/12 8:40:01 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องประโคมแตรกับมโหระทึก เครื่องประโคมใช้ ในการเสด็จออกขุนนาง หรือทรงเปิดประชุมรัฐสภา หรือนำ เสด็ จ ในขบวนราบน้ อ ย ในพระราชพิ ธี พื ช มงคลจรดพระ นังคัลแรกนาขวัญ และพระราชพิธีโล้ชิงช้า มีเจ้าพนักงาน เป่าแตรงอน ๔ คน และกระทั่งมโหระทึก ๒ คน
เครือ่ งประโคมสังข์ แตร กลองชนะ เครื่องประโคม
ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราหรือเสด็จ
ออกในงานพระราชพิธีใหญ่ เครื่องประโคมมีสังข์ แตรงอน
แตรฝรั่ ง ปี่ กลองสองหน้ า ชนิ ด เปิ ง มาง กลองชนะเงิ น
กลองชนะทอง กลองชนะเขียวลายเงิน กลองชนะแดงลาย
ทอง
จงกลธรรมาสน์ – ที่ปักเทียน มีลักษณะเป็นกรวย ปากเป็นรูปกลีบบัว อยู่สอง
ข้างธรรมาสน์ ปักเทียนข้างละเล่ม หนักเล่มละ ๑๒๐ กรัม
สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงจุดถวายพระสงฆ์เพื่ออ่านคัมภีร์
เทศน์ เวียนเทียนสมโภช – การเวียนเทียนในพระราชพิธี ใช้เทียนที่ติดกับแว่นเทียน
เวี ย นรอบบุ ค คลหรื อ ปู ช นี ย วั ต ถุ ๓ รอบ (เวี ย นตามเข็ ม
นาฬิกา) เพื่อให้เป็นสิริมงคล เดินเทียน – เดินประทักษิณปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ เช่น พระอุโบสถ
อุโบสถ หรือพระพุทธรูป ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ในมือถือดอกไม้ ธูป เทียน ประนมอยู่ โดยให้ปูชนียสถาน
ปูชนียวัตถุอยู่ทางขวามือของผู้เดิน สรงน้ำพระบรมศพ – อาบน้ำศพพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ที่ได้รับสถาปนา
พระอิสริยยศเป็นพิเศษ สรงน้ำพระศพ
– อาบน้ำศพพระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
ถวายศีล
– ประธานสงฆ์ให้ศีลแด่พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
ถวายพรพระ – พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาสรรเสริญพระพุทธเจ้า ก่อนที่
จะรับประเคนและฉันภัตตาหารในพิธีต่าง ๆ 137 6.up 111-186-7 Sep.indd 137
9/7/12 8:40:03 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม – จุดธูปเทียนเครื่องบูชาก่อนพระเทศน์ ทรงสดับพระธรรมเทศนา
– ฟังเทศน์ ใช้แก่พระมหากษัตริยถ์ งึ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงธรรม
– ฟังเทศน์ ใช้แก่พระราชวงศ์ตงั้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า
ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม
– ถวายใบปวารณาและเครื่องสมณบริโภคแก่พระสงฆ์ โดย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนเฉพาะสมเด็จพระราชา คณะซึ่งนั่งอยู่ที่อาสน์สงฆ์ พระสงฆ์นอกจากนั้นเดินเข้าไป รับประเคนตามลำดับ
ทรงหลั่งทักษิโณทก
– กรวดน้ำ(๑) ใช้แก่พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า
ทรงกรวดน้ำ
– แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ ใช้แก่หม่อมเจ้า
ถวายอนุโมทนา – พระสงฆ์ให้พรในพระราชพิธีและพิธ(๒) ี หรือ เรียกเป็นสามัญว่า “ยถา สพฺพี” ถวายอดิเรก(๓)
– ประธานสงฆ์ ให้ พ รเป็ น พิ เศษเฉพาะแด่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมราชินี
ถวายพระพรลา
– รองประธานสงฆ์กล่าวลาพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี เมื่อเสร็จพระราชพิธีหรือ พิธี ก่อนที่พระสงฆ์จะลุกจากอาสน์สงฆ์
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
– ทำบุญ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงบำเพ็ญพระกุศล
– ทำบุญ ใช้แก่พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
(๑) เมื่ อ ประธานสงฆ์ เริ่ ม สวด “ยถา...ฯลฯ” จนถึ ง “มณิ โชติ รโส ยถา” ระหว่ า งนั้ นทุ ก คนในมณฑลพิ ธี ไม่ ต้ อ งพนมมื อ เมื่ อ พระสงฆ์สวดสัพพีจึงพนมมือรับพรได้ (๒) ระหว่างประธานสงฆ์สวด “ยถา...ฯลฯ” จนถึง “มณิโชติ รโส ยถา” ประธานในพิธีหลั่งน้ำแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล (๓) ขั้นตอนในการถวายอดิเรก คือ หลังจากที่พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา (ที่เรียกว่า ยถา สพฺพี) แล้ว สมเด็จพระราชาคณะหรือ พระราชาคณะผู้เป็นประธานในพิธีถวายพระพรเป็นภาษาบาลี ด้วยบทว่า “อติเรก วสฺสสตํ ชีวตุ ฯลฯ” ในขณะที่พระสงฆ์ ถวายอดิเรกและถวายพระพรลานั้น ผู้ร่วมในพระราชพิธีหรือพิธีไม่ต้องพนมมือรับ จบแล้วรองประธานสงฆ์ถวายพระพรลา พระสงฆ์ลุกจากอาสนะออกจากมณฑลพิธีไป
138 6.up 111-186-7 Sep.indd 138
9/7/12 8:40:04 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ทรงบำเพ็ญกุศล
– ทำบุญ ใช้แก่หม่อมเจ้า
ทรงพระสุหร่าย
– ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระสุหร่าย
ทรงเจิม
– เจิมแป้งหอมที่หน้าผากหรือวัตถุเพื่อสิริมงคล
ทักษิณานุปทาน
– พระมหากษัตริย์ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
เทียนที่ฝาครอบพระกริ่ง
– เทียนขี้ผึ้งแท้หนัก ๑ บาท (หนัก ๑๕ กรัม) ติดที่ฝาครอบ พระกริ่ง เป็นเทียนมงคลสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงจุด และทรงประเคนประธานสงฆ์ที่เจริญพระปริตร
เทียนบูชาเทวดานพเคราะห์
– เทียนและธูป จำนวนอย่างละ ๑๑๗ สำหรับจุดบูชาเทวดา นพเคราะห์ ๙ องค์ ตามกำลังวัน ได้แก่ พระอาทิตย์ ๖ พระจันทร์ ๑๕ พระอังคาร ๘ พระพุธ ๑๗ พระพฤหัสบดี ๑๙ พระศุกร์ ๒๑ พระเสาร์ ๑๐ พระราหู ๑๒ พระเกตุ ๙ ใช้ในการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ เนื่องใน งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา บุคคลทั่วไปที่ทำบุญ อายุและมีพิธีสวดนพเคราะห์ก็ใช้ได้
เทียนปาฏิโมกข์
– เทียนที่พระราชทานในพิธีกฐินกรรม จำนวน ๒๖ เล่ม หนัก เล่มละ๕๐ กรัม สำหรับพระสงฆ์จุดบูชาพระประธานใน พระอุโบสถหรืออุโบสถ ในวันทำปาฏิโมกข์ครั้งละ ๑ เล่ม ตลอดทั้งปี
เทียนพระมหามงคล
– เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทียนมงคล ขนาดยาวเท่ากับรอบ พระเจ้ า ตั้ ง เป็ น คู่ ปั ก บนธรรมมาสน์ ศิ ล าในวั ด พระ ศรี รั ต นศาสดาราม และที่ พ ระแท่ น ราชบั ล ลั ง ก์ ภ ายใต้ นพปฎลมหาเศวตฉัตรในพระทีน่ งั่ อมรินทรวินจิ ฉัย จุดในงาน พระราชพิธมี งคล เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานหล่อ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นต้น จุดคู่กับเทียนเท่า พระองค์
เทียนเท่าพระองค์
– เที ย นมงคล ขนาดสู ง เท่ า พระองค์ วั ด ตั้ ง แต่ พ ระเจ้ า ถึ ง พระบาท ตั้งเป็นคู่ อยู่ในตู้ข้างธรรมาสน์ศิลา ๒ ด้าน ใน พระอุ โบสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม และอยู่ ในตู้ ข้ า ง 139
6.up 111-186-7 Sep.indd 139
9/7/12 8:40:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแท่นราชบัลลังก์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย จุดคู่กับ เทียนพระมหามงคล การจุดต้องจุดเทียนพระมหามงคล ก่อน แล้วจึงจุดเทียนเท่าพระองค์ นิตยภัตร
– เงินค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นรายเดือน
บันไดแก้ว
– ที่สำหรับวางเครื่องราชศัตราวุธ
พระเต้าเบญจครรภ
– พระเต้าเบญจครรภ เป็นพระเต้าสำหรับบรรจุน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนตร์ ถวายพระมหากษัตริย์ในพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เษก พระราชพิ ธี เฉลิ ม พระชนมพรรษา เป็นต้น พระเต้าเบญจครรภมีหลายองค์ทำด้วยศิลาสีต่างๆ บางองค์ ภ ายในแบ่ ง เป็ น ๕ ห้ อ ง ตรงกลางพระเต้ า
มีดอกอย่างดาว ๕ กลีบ ทำด้วยทองคำ แต่ละกลีบประดับ ด้วยรัตนชาติ สีแดง สีเหลือง สีขาว สีดำ และสีเขียว ตาม ลำดั บ อย่ า งที่ เรี ย กว่ า เบญจรงค์ ใต้ ด อกมี ก้ า นทองคำ ๕ ก้าน จารึกพระนามพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ แต่ละก้าน เสียบลงแต่ละห้อง เช่น พระเต้าเบญจครรภรัชกาลที่ ๔ บางองค์ไม่แบ่งเป็นห้อง แต่มีแผ่นทองคำรูปกลม ๕ แผ่น จารึกพระนามพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เช่น พระเต้า เบญจครรภรัชกาลที่ ๑ และพระเต้าเบญจครรภ โมราแดง บางองค์ภายในไม่แบ่งเป็นห้อง และไม่มีแผ่นทองจารึก พระนามพระพุทธเจ้า เช่น พระเต้าเบญจครรภโมราดำ และพระเต้าเบญจครรภกลีบบัว แท่นเบญพาด – แท่นซึ่งมีเสาตะลุง เบญพาด คือ เสาตะลุงที่มีไม้พาดกัน เพื่อยันให้มั่นคง สำหรับผูกช้าง ประกาศเทวดา(๑)
– คำประกาศอัญเชิญเทวดามาชุมนุมรับพระราชกุศล และ เป็นสักขีพยานถวายพระพรและอวยพรในการประกอบ พระราชพิธีต่างๆ ที่เป็นพระราชพิธีประจำและพระราช-
พิธีจร เทวดาที่เชิญมาชุมนุมเป็นสักขีพยานถวายพระพร
(๑) ดูตัวอย่างท้ายบทประกอบ
140 6.up 111-186-7 Sep.indd 140
9/7/12 8:40:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
และอวยพรนั้นมีจำนวนมาก เช่น ท้าวจาตุมหาราช เทวดา
ผู้รักษาพระราชอาณาเขต พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง พระกาฬไชยศรี ยักษ์กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาคา เป็นต้น ประกาศพระราชพิธี(๑)
– คำประกาศเรื่ อ งราวความเป็ น มาของงานพระราชพิ ธี
ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พราหมณ์อ่าน ปัจจุบันอ่าน เฉพาะในพระราชพิธีฉัตรมงคล และพระราชพิธีพืชมงคล
ประกาศสังเวยเทวดา(๒)
– คำประกาศอัญเชิญเทวดามาชุมนุมรับเครื่องสังเวยและ ส่วนพระราชกุศลในการพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธี บรมราชาภิ เ ษก พระราชพิ ธี ส มโภชกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์
ครบ ๒๐๐ ปี พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น
สังเวยเทวดา
– บวงสรวงเทวดาด้วยเครื่องกระยาสังเวย และอ่านประกาศ เทวดา
ประเพณีวัง
– ระเบี ย บแบบแผน ขนบธรรมเนี ย มประเพณี ที่ ใ ช้ ใ น
พระราชสำนัก
สดับปกรณ์ผ้าคู่
– ผ้าขาวคู่หนึ่ง ผืนหนึ่งสมมติเป็นผ้านุ่ง อีกผืนหนึ่งสมมติ เป็นผ้าห่ม ผูกรวมกันใช้ถวายพระสงฆ์ในการสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ในพระราชพิธีสงกรานต์
พระเต้าทักษิโณทก
– เต้าหรือคนโทเล็กๆ มีพานรองเป็นที่รองรับน้ำ ใช้สำหรับ กรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศล
พระแท่นมณฑล
– พระแท่นมีเสา ๔ เสา เพดานดาดและระบายด้วยผ้าขาว ประดิษฐานพระพุทธรูปและเครื่องประกอบในพระราชพิธี
พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา – พระพุ ท ธรู ป ที่ ท รงสร้ า งเนื่ อ งในงานพระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษา พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร – พระพุ ท ธรู ป ประจำวั น เกิ ด (คื อ วั น อาทิ ต ย์ วั น จั น ทร์
วันอังคาร ฯลฯ) (๑)-(๒) ดูตัวอย่างท้ายบทประกอบ
141 6.up 111-186-7 Sep.indd 141
9/7/12 8:40:10 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เลียบพระนคร
– การเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค หรือทางชลมารค ให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท เนื่องในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิ ธี เฉลิ ม พระชนมพรรษา พระราชพิ ธี ส มโภช
กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี ฯลฯ
สดับปกรณ์
– บังสุกุล(๑) ใช้สำหรับพระบรมศพและพระบรมอัฐิ พระศพ และพระอัฐิของพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ศพและ อัฐิของหม่อมเจ้า
ยืนโรง
– ช้างสำคัญที่ขึ้นระวางแล้วอยู่ประจำที่โรงช้างต้น
ยืนแท่น
– ช้างสำคัญผูกเครื่องคชาภรณ์ที่โปรดให้นำไปยืนบนแท่น เบญพาดในพระราชพิธี
สรงพระกระยาสนาน
– การอาบน้ำในพระราชพิธีตามลัทธิพราหมณ์
มณฑปพระกระยาสนาน
– พระแท่ น มี เ สา ๔ เสา หุ้ ม ด้ ว ยผ้ า ขาว เพดานดาดและ ระบายด้วยผ้าขาว ใช้สำหรับอาบน้ำในพระราชพิธีตาม ลัทธิพราหมณ์
พระราชพิธีและการพระราชกุศล – พระราชพิ ธี ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า โปรดกระหม่อมให้ประกอบขึ้นเป็นพระราชพิธีปรกติประจำ แผ่นดิน บ้างก็เป็นพระราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมา แต่ โบราณ บ้ า งก็ ย กเลิ ก ไป หรื อ เปลี่ ย นชื่ อ และรู ป แบบ พระราชพิธีไป เช่น พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (ถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธี พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี) บ้างก็เพิ่งจะมาเริ่มกำหนดเป็นพระราชพิธีเมื่อสมัยต้นกรุง รัตนโกสินทร์ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีและ การพระราชกุศลประจำปี เช่น พระราชพิธีสงกรานต์ พระ ราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล (๑) กิริยาที่พระสงฆ์ชักผ้าจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพ ด้วยการปลง กรรมฐาน
142 6.up 111-186-7 Sep.indd 142
9/7/12 8:40:12 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เนื่ อ งในวั น สำคั ญ ทางศาสนา มี พ ระราชพิ ธี ท รงบำเพ็ ญ
พระราชกุศลมาฆบูชา พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่อง ในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา พระราชกุศล ฉลองเทียนพรรษา พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิ ธี เ ปลี่ ย นเครื่ อ งทรงพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร เป็นต้น
พระราชพิธีประจำ
– พระราชพิ ธี ที่ ท รงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ ม
ให้จัดเป็นประจำทุกปี ส่วนใหญ่เป็นพระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลทางพระพุทธศาสนา
พระราชพิธีทรงเปลี่ยนเครื่องทรง – พระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร หรื อ ที่ เรี ย กกั นทั่ ว ไปว่ า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้ ว มรกต เป็ น พระพุ ท ธรู ป สำคั ญ ของชาติ ไ ทย
พระราชพิธีทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิ ม ากร เริ่ ม เป็ น ครั้ ง แรกในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงพระกรุณาโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหา มณีรัตนปฏิมากร แล้วมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรง
ฤดูร้อนและฤดูฝนถวายเป็นพุทธบูชา แล้วเสด็จพระราชดำเนิ น ไปทรงเปลี่ ย นเครื่ อ งทรงถวายเป็ น ราชประเพณี
ตั้งแต่นั้นมา ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงสร้างเครื่องทรงฤดูหนาวถวายเป็นพุทธบูชาอีกชุดหนึ่ง จึงมีเครื่องทรงเปลี่ยนตามฤดูกาลมาจนปัจจุบัน(๑) คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็น
เครื่องทรงฤดูร้อน วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อนเป็น
เครื่องทรงฤดูฝน (๑) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้สร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกตสำรับใหม่ถวายทั้ง ๓ ฤดู เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙
143 6.up 111-186-7 Sep.indd 143
9/7/12 8:40:14 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนเป็น
เครือ่ งทรงฤดูหนาว พระราชพิธที รงเปลีย่ นเครือ่ งทรงพระพุทธมหามณีรตั นปฏิมากร เป็นพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงด้วย พระองค์เอง หากไม่สามารถเสด็จพระราชดำเนินไปได้ จะ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชวงศ์ ฝ่ายหน้าเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติแทนพระองค์ พระราชพิ ธี ท รงเปลี่ ย นเครื่ อ งทรงพระพุ ท ธมหามณี
รัตนปฏิมากรนั้น ก่อนเวลาเสด็จพระราชดำเนินเจ้าหน้าที่
วั ด พระศรี รั ต นศาสดารามจะเปลื้ อ งเครื่ อ งทรงฤดู ก่ อ น
ออก เหลือไว้แต่ศิราภรณ์ ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่ หั ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปยั ง พระอุ โ บสถวั ด พระ ศรีรัตนศาสดาราม ณ ประตูทางเข้าวัด เจ้าหน้าที่พระแสง ต้ น ทู ล เกล้ า ทู ล กระหม่ อ มถวายพระแสงดาบคาบค่ า ย
ซึ่ ง เป็ น พระแสงดาบที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า
จุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับแล้วพระราชทาน ให้มหาดเล็กเชิญตามเสด็จ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเข้าพระอุโบสถแล้ว เสด็จขึ้น บั น ไดเกยด้ า นหลั ง บุ ษ บกประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธมหามณี
รั ต นปฏิ ม ากร เมื่ อ ถึ ง บุ ษ บกทรงกราบ แล้ ว ทรงเปลื้ อ ง ศิราภรณ์ออกจากพระเศียร ทรงหลั่งน้ำพระสุคนธ์ด้วยพระ มหาสังข์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สร้างถวายไว้ประจำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้ว ทรงหลั่งน้ำพระสุคนธ์ด้วยพระมหาสังข์เพชรน้อย เสร็จ แล้วทรงซับองค์พระด้วยผ้าขาว ๔ ผืน จากนั้นทรงสวม ศิ ร าภรณ์ ถ วายตามฤดู ก าล แล้ ว เสด็ จ ลงไปประทั บ พระ เก้าอี้ข้างฐานชุกชี ทรงจุ่มผ้าที่ซับองค์พระพุทธมหามณี 144 6.up 111-186-7 Sep.indd 144
9/7/12 8:40:16 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
รัตนปฏิมากรลงในหม้อพระสุคนธ์แล้วทรงบิดลงในโถแก้ว เพื่อเป็นน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ครั้นแล้วเสด็จออกหน้าฐานชุกชี ทรงเปลี่ยนยอดพระ รัศมีพระสัมพุทธพรรณี(๑) ตามฤดูกาล ทรงจุดธูปเทียนท้าย ที่ นั่ ง บู ช าพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร พระสั ม พุ ท ธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภา ไลย แล้ ว ทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งนมั ส การทองใหญ่ บู ช า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากนั้นประทับพระราชอาสน์ เจ้ า หน้ า ที่ เชิ ญ พระมหาสั ง ข์ เพชรน้ อ ยบรรจุ น้ ำ พระพุทธมนต์ที่สรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับ ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์จากพระมหาสังข์ที่พระเศียรของ พระองค์ แล้ ว ทรงหลั่ ง น้ ำ พระพุ ท ธมนต์ พ ระราชทาน
พระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรง พระสุหร่ายน้ำพระพุทธมนต์พระราชทานแก่ข้าทูลละออง ธุ ลี พ ระบาทที่ ยื น เฝ้ า ฯ ภายในพระอุ โบสถ แล้ ว ประทั บ
พระราชอาสน์ พราหมณ์ เบิ ก แว่ น เวี ย นเที ย นสมโภช
ขณะนั้ น เจ้ า หน้ า ที่ วั ด พระศรี รั ต นศาสดารามขึ้ น ไปแต่ ง เครื่ อ งทรงถวายพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร เมื่ อ
เวี ย นเที ย นครบ ๓ รอบ หั ว หน้ า พราหมณ์ ขึ้ น ไปเจิ ม ที่
ฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงกราบที่ ห น้ า เครื่ อ งนมั ส การ เสด็ จ
ออกจากพระอุ โ บสถทรงพระสุ ห ร่ า ยน้ ำ พระพุ ท ธมนต์ พระราชทานแก่ ป ระชาชนที่ เ ฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท
ตามทางเสด็ จ พระราชดำเนิ นกลั บ ก่ อ นเสด็ จ ออกจาก ประตูวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชทานพระแสง ดาบคาบค่ายคืนเจ้าหน้าที่นำไปเก็บรักษา (๑) พระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น ยอดพระรัศมีเป็นเกลียวหมุนถอดเปลี่ยนตามฤดูกาล ฤดูร้อน ทำด้วยโลหะกะไหล่ทอง ฤดูฝน ทำด้วยแก้วสีน้ำเงิน ฤดูหนาว
ทำด้วยแก้วสีขาว
145
6.up 111-186-7 Sep.indd 145
9/7/12 8:40:17 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราช – การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ในปีอธิกมาส (ปีที่ กุศลมาฆบูชา มี เดื อ น ๘ สองครั้ ง ) เพื่ อ ระลึ ก ถึ ง เหตุ ก ารณ์ ส ำคั ญ ใน พระพุทธศาสนา หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๑. วันนั้นเป็นวันเพ็ญ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ๒. พ ระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รู ป มาประชุ ม พร้ อ มกั น โดยมิ ไ ด้
นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา
(พระสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้) ๔. พระสงฆ์ที่มาล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น พระราชพิ ธี นี้ มี ขึ้ น เป็ น ครั้ ง แรกในรั ช กาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบัน กำหนด บำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา ราม เวลา ๑๘ นาฬิ ก า เสด็ จ พระราชดำเนิ น เข้ า สู่ พ ระ อุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิ ม ากร พระสงฆ์ ๓๐ รู ป เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ จ บแล้ ว
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม พระราชาคณะถวายศีล และถวายพระธรรมเทศนา ๑ กั ณ ฑ์ พระสงฆ์ ถ วาย อนุโมทนา ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระราชาคณะ ถวายอดิเรก เป็นเสร็จพิธี พระราชพิธีสงกรานต์
– ก่อนวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ พุทธศักราช ๒๔๓๒ ขึ้นไป ประเทศไทยยังมีประเพณีนับวันเดือนปีทาง จั นทรคติ อ ยู่ แม้ ท างราชการก็ ใช้ วั นขึ้ น แรม เดื อ นอ้ า ย เดือนยี่ ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ ซึ่งสิ้นปีนักษัตรเมื่อวันแรม ๑๕ เดื อ น ๔ และขึ้ น ปี นั ก ษั ต รใหม่ เมื่ อ วั นขึ้ น ๑
เดือน ๕ ต่อมาเปลี่ยนใช้ปฏิทินทางสุริยคติหรือปฏิทินแบบ เกรโกเรียนตามประกาศพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒ เป็นต้นมา แต่ตามธรรมเนียมเดิม นัน้ ก็ใช่วา่ จะไม่นบั วันเดือนปีทางสุรยิ คติเสียทีเดียว เพราะ 146
6.up 111-186-7 Sep.indd 146
9/7/12 8:40:19 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เมื่อจะเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ จะต้องรอให้พระอาทิตย์ยกขึ้น สู่ราศีเมษเสียก่อน เรียกวันนั้นว่า วันมหาสงกรานต์ ภาย หลังวันมหาสงกรานต์แล้ววันหนึ่งหรือสองวันจึงจะถึง วัน เถลิงศก เปลี่ยนจุลศักราชด้วย เหตุที่วันเปลี่ยนปีมีสอง อย่าง คือเปลี่ยนปีนักษัตรหรือปีทางจันทรคติอย่างหนึ่ง กับ ปีจุลศักราชหรือปีทางสุริยคติอีกอย่างหนึ่งด้วย ดังนี้ วันขึ้น ปีใหม่ของไทยจึงมีเป็นสองขยักเรียกว่า “ตรุษ” คราวหนึ่ง “สงกรานต์ ” อี ก คราวหนึ่ ง ตรุ ษ นั้ น นั บ แต่ วั น แรม ๑๓-๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และเกาะเกี่ยวมาถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ อันเป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรด้วย รวมเป็น ๔ วัน ด้วยกัน สงกรานต์ นับเอาวันมหาสงกรานต์ที่พระอาทิตย์ ยกขึ้นราศีเมษวันหนึ่ง วันเนาหรือวันระหว่างกลาง วัน ๑ หรือ ๒ วัน กับ วันเถลิงศก อีกวันหนึ่งรวมเข้าด้วยกัน เป็น ๓ หรือ ๔ วัน ในปัจจุบัน มีพระราชพิธีในวันเถลิงศก คือ วันที่ ๑๕ เมษายน เพียงวันเดียว เวลาเช้า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงาน นิมนต์พระสงฆ์ ๑๕๐ รูป เข้าไปรับพระราชทานอาหาร บิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที เสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระมหามณเฑียร ทรงสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญที่หอพระ สุลาลัยพิมาน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุ ด ธู ป เที ย นบู ช าพระสยามเทวาธิ ร าชที่ พ ระที่ นั่ ง ไพศาลทักษิณ แล้วเสด็จฯ ไปยังหอพระธาตุมณเฑียร ทรง จุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งราชสั ก การะ และสรงน้ ำ พระบรมอั ฐิ พระอัฐิ แล้วเสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรง จุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์ทรง สมณศักดิ์ ๗๕ รูป(๑) เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธี (๑) เท่าจำนวนพระโกศพระบรมอัฐิ พระอัฐิที่เชิญมาบำเพ็ญพระราชกุศลในปัจจุบัน
147 6.up 111-186-7 Sep.indd 147
9/7/12 8:40:21 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สงกรานต์ จบแล้วทรงประเคนภัตตาหาร เมื่อพระสงฆ์รับ พระราชทานฉันเสร็จ เจ้าพนักงานเชิญพระบรมอัฐิและ พระอัฐิออกประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎล มหาเศวตฉั ต ร และบนพระที่ นั่ ง กงภายใต้ ฉั ต รขาวลาย ทอง ๕ ชั้น ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคม พระบรมอัฐิ พระอัฐิแล้ว ทรงทอดผ้าคู่ คือผ้าขาว ๒ ผืน สมมุติแทนผ้านุ่งผืนหนึ่ง ผ้าห่มผืนหนึ่ง อนุโลมตามผ้าที่ พระราชทานในการรดน้ำสงกรานต์ พระสงฆ์ที่สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ มิได้นั่งตามลำดับสมณศักดิ์ หาก นั่งตามลำดับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เช่น อธิบดีสงฆ์วัด ประจำรัชกาลที่ ๑ สดับปกรณ์พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อธิบดีสงฆ์วัดประจำ รั ช กาลที่ ๒ สดั บ ปกรณ์ พ ระบรมอั ฐิ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นต้น พระสงฆ์สดับปกรณ์แล้ว ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา จึงเสด็จ พระราชดำเนินกลับ เวลาบ่าย โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชวงศ์ เสด็ จ ไปปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ แทนพระองค์ ที่ วั ด พระ ศรีรัตนศาสดาราม คือทรงพระสุหร่ายสรงน้ำพระพุทธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร พระสั ม พุ ท ธพรรณี พระพุ ท ธ- ยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย และสรงน้ำ ปูชนียวัตถุตามเจดียสถานในพระอาราม แล้วเสด็จไปถวาย สักการะพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้า พระบรมอัฐิพระ บาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวภายในหอพระนากแล้ว ทรงทอดผ้า พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ที่ประดิษฐานในหอพระนาก แล้วถวายอนุโมทนา ถวาย อดิ เรก เป็ น เสร็ จ การ ภายหลั ง พระราชพิ ธี แ ล้ ว ยั ง ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญน้ำสงกรานต์ ไปพระราชทานพระราชวงศ์กับทั้งข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ ใหญ่ และถวายสมเด็ จ พระสั ง ฆราชตามโบราณราชประเพณีด้วย 148 6.up 111-186-7 Sep.indd 148
9/7/12 8:40:23 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชพิธีฉัตรมงคล
– การบำเพ็ญพระราชกุศลหรือทำบุญในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก ซึง่ จะเปลีย่ นวันไปตามรัชกาล ในรัชกาลปัจจุบนั พระราชพิธีนี้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลรวม ๓ วัน วันแรก เริ่มงาน เป็นการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เชิญพระ โกศพระบรมอัฐิ และพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี ออกประดิษฐานเหนือพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหา เศวตฉัตร พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีพระธรรมเทศนา กั ณ ฑ์ ห นึ่ ง แล้ ว สดั บ ปกรณ์ วั น ที่ ๒ เป็ น วั น ฉั ต รมงคล พราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์ เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ วั นที่ ๓ เวลาเช้ า ถวายภั ต ตาหาร พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์แต่วันก่อน แล้วพราหมณ์ เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เครื่องราชกกุธภัณฑ์ และพระแสงสำคัญ เวลาบ่ายพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราช- – การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ กุศลวิสาขบูชา เดือน ๖ หรือเดือน ๗ ในปีอธิกมาส เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสั ม พุ ท ธเจ้ า
เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชกาลปัจจุบัน กำหนดบำเพ็ญพระราชกุ ศ ล ณ พระ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วั น ขึ้ น ๑๔ เวลา ๑๖ นาฬิ ก า ๓๐ นาที เสด็ จ พระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิ ม ากร ทรงประเคนผ้ า ไตร ประกาศนี ย บั ต รพั ด ยศ
ตั้งพระภิกษุและสามเณรเปรียญ พระสงฆ์ออกไปครองผ้า แล้วกลับมานั่งยังอาสนะ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ วันขึ้น ๑๕ เวลา ๑๘ นาฬิกา เสด็จพระราชดำเนิน ไปยั ง พระอุ โบสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ทรงจุ ด ธู ป เทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 149 6.up 111-186-7 Sep.indd 149
9/7/12 8:40:25 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
แล้ ว เสด็ จ ออกหน้ า พระอุ โ บสถ ทรงจุ ด ธู ป เที ย นบู ช า สรรเสริ ญ คุ ณ พระรั ต นตรั ย แล้ ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น ประทักษิณพระอุโบสถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และ ข้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาทฝ่ า ยหน้ า ฝ่ า ยในถ้ ว นสามรอบ เสด็ จ ขึ้ น พระอุ โ บสถ ทรงสดั บ พระธรรมเทศนาซึ่ ง
พระราชาคณะถวายกัณฑ์ ๑ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระราชพิธีพืชมงคล – พระราชพิ ธี แ รกนาในเดื อ น ๖ พระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ (๑) จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชดำเนิ น ไปทรงเป็ น ประธานในพระราชพิ ธี ทรง แต่ ง ตั้ ง พระยาแรกนาเป็ น ผู้ แ ทนพระองค์ ไปจรดคั น ไถ
ณ บริเวณนาจำลองที่ท้องสนามหลวง และมีนางเทพีคู่ หาบทอง ๑ คู่ คู่หาบเงิน ๑ คู่ หาบพันธุ์ข้าวที่ทำขวัญแล้ว ตามหลังไปให้พระยาแรกนาหว่าน เสมือนเป็นการประกาศ แก่เกษตรกรว่าเริม่ ฤดูกาลทำนาแล้ว โดยสมมุตวิ า่ พระมหา กษัตริย์ทรงเริ่มการหว่านไถเป็นแบบอย่างและเป็นมงคล เมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านแล้วนั้น เกษตรกรและราษฎรเก็บนำ ไปเจือผสมในพันธุ์ข้าวหว่านของตน พระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา
– การบำเพ็ญพระราชกุศลเข้าพรรษาในเดือนแปด พระสงฆ์ สวดมนต์วันขึ้น ๑๓ ค่ำและรับพระราชทานฉัน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทรงพระสุหร่ายประพรม แ ละเจิ ม เที ย นพรรษา พระ ราชทานให้นำไปตั้งในพระอุโบสถวัดต่างๆ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเช้ า เสด็ จ ฯไปยั ง วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ถวาย ภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และทรงจุดเทียนพรรษาวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ส่วนทีว่ ดั อืน่ ๆ โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ไปทรงจุ ด ปั จ จุ บั นงานนี้ เปลี่ ย นแปลง มี เฉพาะแต่ เ สด็ จ
พระราชดำเนินมาถวายพุ่มแด่พระสงฆ์ชั้นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ เจ้าอาวาสพระ อารามหลวง พระภิกษุนาคหลวง พร้อมกับพระราชทาน
(๑) เดิมมีเฉพาะพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เพิ่มพระราชพิธี พืชมงคลซึง่ เป็นพระราชพิธที างพระพุทธศาสนาอีก ๑ วัน โดยประกอบพระราชพิธใี นพระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม ก่อน พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๑ วัน
150
6.up 111-186-7 Sep.indd 150
9/7/12 8:40:26 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
โคมไฟที่ทรงจุดให้วัดต่างๆ รับไปจุดเทียนพรรษาที่ทรงพระ ราชอุทิศถวาย พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราช- – วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ เป็นวันที่ กุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เป็น และวันเข้าพรรษา พระราชพิธีที่จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน ก่อน วันเข้าพรรษา ๑ วัน กำหนดการพระราชพิธีในเวลาเย็น ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดเทียนพรรษาบูชาพระรัตนตรัย ถวายพุ่มธูปเทียน บู ช าพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร พระสั ม พุ ท ธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย แล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงประเคนพุ่มธูปเทียน ถวายสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชา คณะ พระภิกษุนาคหลวง เป็นเสร็จพิธี เทศกาลเข้ า พรรษา เริ่ ม ตั้ ง แต่ วั น แรม ๑ ค่ ำ เดื อ น ๘
จนถึงวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศล ทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องกับการบำเพ็ญพระราชกุศล วั น อาสาฬหบู ช า มี ม าแต่ ค รั้ ง สุ โ ขทั ย ในสมั ย กรุ ง รั ต น โกสินทร์ ถือเป็นพระราชพิธีที่กำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า น่าจะเป็นเพียงพระราชกุศล ในรัชกาลปัจจุบัน กำหนดการพระราชกุศล วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เวลาเช้า โปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานนิมนต์ พระสงฆ์ ๑๕๐ รูป เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาต ของหลวงในพระบรมมหาราชวังตามราชประเพณี เวลา บ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระ อุโบสถ ทรงจุดเทียนพรรษาบูชาพระรัตนตรัย ถวายพุ่มธูป เทียนบูชาพระพุทธชินสีห์ พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระรูปสมเด็จพระมหา 151 6.up 111-186-7 Sep.indd 151
9/7/12 8:40:28 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระรูปสมเด็จพระ สังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการและเครื่องราชสั ก การะ ถวายพุ่ ม ธู ป เที ย นแด่ ส มเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริ ณ ายก เสด็ จ พระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถไปทรงจุดเทียนพรรษา บูชาพระรัตนตรัย ถวายพุ่มธูปเทียนบูชา ณ ปูชนียสถาน ในพระอารามนี้ เวลา ๑๗ นาฬิ ก า โปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ พระราชวงศ์ เ สด็ จ ไปยั ง พระอุ โบสถวั ด พระเชตุ พ นวิ ม ล มังคลาราม ทรงจุดเทียนพรรษาบูชาพระรัตนตรัย ถวาย พุ่ ม บู ช าพระพุ ท ธเทวปฏิ ม ากร ทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ ง นมัสการและเครื่องราชสักการะ แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุด เทียนบูชาพระพุทธรูป ณ ปูชนียสถานต่างๆ ถวายพุ่มบูชา พระอั ฐิ ส มเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระปรมานุ ชิ ต ชิโนรสที่ตำหนักวาสุกรี และถวายพุ่มดอกไม้ธูปเทียนแด่ พระราชาคณะเจ้ า อาวาส กั บ ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า โปรดกระหม่อมให้พระราชวงศ์เสด็จไปยังพระอุโบสถวัด เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ถวายพุ่มบูชาพระพุทธชินราช จำลอง และถวายเครื่องราชสักการะพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นเดียว กับที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา – การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระบรมราชินี เมื่อบรรจบรอบทางสุริยคติกาล เกิดขึ้นโดย พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบำเพ็ญพระราชกุศลสวดมนต์เลี้ยงพระ เป็นต้นเค้า ให้เจ้านายขุนนางทำบุญวันเกิดกันแพร่หลายในเวลาต่อมา ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา จึ ง จั ด พระราชพิ ธี เฉลิ ม พระชนมพรรษาเป็นการใหญ่ มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๖๐ รูป 152 6.up 111-186-7 Sep.indd 152
9/7/12 8:40:30 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
และเจ้ า นายข้ า ราชการทำบุ ญ สวดมนต์ เ ลี้ ย งพระทุ ก วั ง ทุ ก บ้ า น มี ก ารจุ ด ประที ป ตามวั ง เจ้ า นายและบ้ า นเรื อ น ขุ นนางราษฎรทั่ ว ไป พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่หัว เสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม (ในพระบรม มหาราชวัง ซึ่งรื้อลงแล้วในรัชกาลที่ ๕) ผู้แทนเจ้านาย ขุนนางกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล พระราชทาน เหรียญทองคำตรามงกุฎหนักตำลึงทอง มีห่วงบนสำหรับ ร้อยสาย ห่วงล่างสำหรับห้อยพู่ ซึ่งผู้ได้รับโดยเฉพาะพวก จีนนำไปร้อยไหมห้อยคอในเวลาแต่งตัวเต็มยศเข้าเฝ้าฯ ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่ม ประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันคล้ายวันพระ บรมราชสมภพตั้งแต่ยังทรงพระผนวชอยู่ เป็นการบำเพ็ญ พระราชกุศลส่วนพระองค์ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๑๓ ทรงหล่อ พระพุ ท ธรู ป ประจำพระชนมพรรษา จึ ง โปรดให้ จั ด งาน ฉลองพระพุทธรูป มีการบำเพ็ญกุศล จุดประทีปตามไฟ ในพระบรมมหาราชวั ง ในวั ง เจ้ า นาย บ้ า นขุ นนางและ บ้ า นราษฎร ผู้ แทนพระบรมวงศานุ ว งศ์ ก ราบบั ง คมทู ล ถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งได้โปรดให้จัดต่อมาเป็นงาน ๔ วันบ้าง ๕ วันบ้าง มีการสรงพระมูรธาภิเษกและพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ ในรัชกาลปัจจุบัน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาจัด ๒ วัน วันที่ ๕ ธันวาคม เวลาเช้า เสด็จออก ณ พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ทหารบก ทหารเรื อ ทหารอากาศ ยิ ง ปื น ใหญ่ เ ฉลิ ม พระเกียรติ ฝ่ายละ ๒๑ นัด พระบรมวงศานุวงศ์ นายก รั ฐ มนตรี ประธานรั ฐ สภา กราบบั ง คมทู ล ถวายพระพร ชัยมงคลตามลำดับ เวลาบ่ า ย เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปยั ง พระอุ โบสถวั ด พระศรีรัตนศาสดาราม บรรพชิตจีนและญวนถวายพระพร 153 6.up 111-186-7 Sep.indd 153
9/7/12 8:40:32 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ชัยมงคลหน้าพระอุโบสถ แล้วเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทรง จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปฉลองพระองค์ แล้วทรงจุดธูป เทียนเครื่องนมัสการ เทียนบูชาเทพดานพเคราะห์ พระ สงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ โหรบูชาเทพดา นพเคราะห์ แล้วเสด็จออก ณ หน้ามุขพระอุโบสถ พระ ราชทานราชสั ง คหวั ต ถุ แ ก่ ข้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท
ผู้สูงอายุ แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไป ยั ง พระที่ นั่ ง อมริ น ทรวิ นิ จ ฉั ย ทรงสถาปนาสมณศั ก ดิ์ พระสงฆ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ รองสมเด็จพระราชา คณะ และพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ใหม่ ทรงจุ ด เที ย นพระมหามงคล เที ย นเท่ า พระองค์ ธู ป เทียนบูชาพระพุทธรูป เทวดาพระเคราะห์ ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล แล้วเสด็จขึ้นบน พระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ ทรงจุ ด ธู ป เที ย นบู ช าพระสยาม เทวาธิราช แล้วเสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธเี ฉลิมพระชนมพรรษา แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ในวันนี้ ตั้งแต่เวลา ๙ นาฬิกาถึง ๑๗ นาฬิกา สำนัก พระราชวังจัดที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนลงพระนามและลงนามถวายพระพรใน พระบรมมหาราชวัง วันที่ ๖ ธันวาคม เวลาเช้า เสด็จพระราชดำเนินไป ยั ง พระบรมมหาราชวั ง ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลถวาย ภั ต ตาหารแด่ พ ระสงฆ์ ทรงสดั บ พระธรรมเทศนามงคล วิ เ ศษกถา (๑) กั ณ ฑ์ ๑ แล้ ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น กลั บ เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน เวียนเทียนสมโภช ดวงพระบรมราชสมภพ (๑) ในการเทศนามงคลวิเศษกถา พระธรรมกถึกจะหยิบยกหัวข้อธรรมะในทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตรขึ้นแสดงถวายปีละ ๑ ครั้ง เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
154 6.up 111-186-7 Sep.indd 154
9/7/12 8:40:34 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เวลาบ่าย เสด็จออก ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต คณะทูตต่างประเทศและผู้แทนฝ่ายกงสุล เฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทถวายพระพรชัยมงคล มีพระราชดำรัสตอบ และพระราชทานเลี้ยงรับรอง(๑) เนื่องในโอกาส พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ และผู้บำเพ็ญประโยชน์ด้วย หน่วยราชการและประชาชน ต่างพร้อมใจจุดประทีปโคมไฟเฉลิมฉลอง พระราชพิธีตรียัมปวายและ ตรีปวาย
– เป็นพิธีพราหมณ์ คือพระราชพิธีรับเสด็จและส่งเสด็จพระ อิศวรและพระนารายณ์ที่เสด็จลงมาเยี่ยมโลกปีละครั้งใน เดื อ นยี่ พระอิ ศ วรเสด็ จ ลงวั น ขึ้ น ๗ ค่ ำ เดื อ นยี่ แรม ค่ำหนึ่งเสด็จกลับ และวันแรมค่ำหนึ่งวันเดียวกันนั้น พระ นารายณ์เสด็จลง มีขบวนแห่รับเสด็จและส่งเสด็จเป็นที่ สนุกครึกครื้น
พระราชพิ ธี นี้ มี ม าแต่ ส มั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ทำพิ ธี ที่ เทวสถาน เพราะถือเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมาในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระราชดำริว่าพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวายเป็น พิธีใหญ่สำหรับพระนคร จึงโปรดให้มีพิธีสงฆ์ขึ้นในวันขึ้น ๗ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๙ ค่ำ พระสงฆ์สวดมนต์และรับพระ ราชทานฉัน ครั้นถึงวันแรม ๕ ค่ำเริ่มพระราชพิธีตรีปวาย พระสงฆ์สวดมนตร์และรับพระราชทานฉัน ในพระราชพิธี นี้ มีข้าราชการคนหนึ่งรับหน้าที่สมมติว่าเป็นพระอิศวร
เป็ น เจ้ า เสด็ จ ลงมาเยี่ ย มโลกตามที่ พ ราหมณ์ ค อยรั บ อยู่
จึงมี พิธีโล้ชิงช้า เดิมเจ้าพระยาพลเทพ ซึ่งเป็นตำแหน่ง เกษตราธิบดี เป็นผู้รับหน้าที่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นข้าราชการ
ที่ได้รับพระราชทานพานทองเปลี่ยนกันยืนชิงช้าปีละคน
มี ข บวนแห่ ป ระกอบด้ ว ยข้ า ราชการตำแหน่ ง ต่ า ง ๆ
๘๐๐ คน (๑) ปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดในวันที่ ๘ ธันวาคม
6.up 111-186-7 Sep.indd 155
155 9/7/12 8:40:36 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
การโล้ชิงช้ามีในวันขึ้น ๗ ค่ำ ตอนเช้า และวันขึ้น ๙
คา ตอนเย็ น มี ข บวนแห่ ทั้ ง ๒ วั น พระยายื นชิ ง ช้ า เข้ า ขบวนแห่ไปนั่งในปะรำไม้ไผ่ดาดผ้าขาว เรียกว่า ชมรม มี พ ราหมณ์ ยื นข้ า งขวา ๔ คน ข้ า งซ้ า ยข้ า ราชการกรม มหาดไทย และกรมพระกลาโหม กรมละ ๒ คน มีพราหมณ์ เป่ า สั ง ข์ อ ยู่ ข้ า งหน้ า ๒ คน นาลิ วั น หรื อ ผู้ โ ล้ ชิ ง ช้ า ขึ้ น กระดานชิงช้ากระดานละ ๔ คน ๓ ครั้ง ๓ กระดาน มีเสา ไม้ไผ่ปลายผูกถุงใส่เงินปักไว้กระดานแรก ๓ ตำลึง (๑๒ บาท) กระดานที่สอง ๒ ตำลึงกึ่ง (๑๐ บาท) กระดานที่สาม ๒ ตำลึง (๘ บาท) นาลิวันจะคอยคาบถุงเงินที่ห้อยไว้ตรง ปลายไม้ พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว และ เจ้านายทั้งพระเจ้าลูกเธอและเจ้านายฝ่ายในเสด็จไปทอด พระเนตรกั น มาก แต่ ง พระองค์ เต็ ม ยศถึ ง ทรงเกี้ ย วทรง นวมเสด็จไปเป็นกระบวนช้างก็มี พิ ธี โ ล้ ชิ ง ช้ า นี้ ได้ เ ลิ ก ไปเมื่ อ รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระราชพิธีจร
– พระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบขึ้นในมงคลสมัยพิเศษต่าง ๆ นอกเหนือพระ ราชพิธีปรกติเป็นประจำแผ่นดิน เป็นต้นว่า พระราชพิธี รัชฎาภิเษก สมภาคาภิเษก ทวีธาภิเษก รัชมงคล รัชมังคลาภิเษก พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีฉลอง สิ ริ ร าชสมบั ติ ค รบ ๖๐ ปี และพระราชพิ ธี ส มโภชกรุ ง รัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี โดยหลักการจะโปรดให้จัดเป็น สองภาค ภาคหนึ่งเป็นการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย สนองพระเดชพระคุ ณ ในสมเด็ จ พระบรมราชบุ ร พการี บางทีก็หมายถึงสมเด็จพระมหากษัตริย์ในโบราณสมัยด้วย อีกภาคหนึ่งเป็นการเฉลิมฉลองสมโภช และแผ่ส่วนพระ ราชกุศลบุญราศีเป็นเทวพลีเพื่อสวัสดิมงคล ความรุ่งเรือง ไพบู ล ย์ ความผาสุ ก ถาวรในพระองค์ ในสิ ริ ร าชสมบั ติ รั ช พรรษา (๑) ในประเทศชาติ ราษฎร พระราชพิ ธี ทั้ ง นี้
(๑) จำนวนปีที่ครองราชย์
156 6.up 111-186-7 Sep.indd 156
9/7/12 8:40:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ในชั้นเดิมเป็นการที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำเป็นของ หลวง ต่อมาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และพสกนิกร ได้มีส่วนเข้าจัดกิจกรรมต่าง ๆ เสริมพระ ราชพิธีให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณ เฉลิมพระเกียรติ เช่นที่ปรากฏชัดในคราวมีการพระราชพิธี รัชมังคลาภิเษกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๑ ในปัจจุบัน เมื่อถึงวาระ พิเศษทีจ่ ะมีการประกอบพระราชพิธสี ำคัญๆ เช่น พระราชพิธีรัชดาภิเษก พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก รัฐบาลและประชาชน พร้อมใจกันจัดทำโครงการสร้างสรรค์งานที่มีคุณประโยชน์ ถวายเฉลิมพระเกียรติสนองพระเดชพระคุณเพิ่มขึ้น พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
– พิ ธี แ ต่ ง งานของพระมหากษั ต ริ ย์ มี ขึ้ น เป็ น ครั้ ง แรกใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งนั้น เป็นพระราชนิยมแบบตะวันตก พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชทรงประกอบพระราชพิ ธี ต ามแบบ ประเพณีไทย ทรงจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
– พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีที่สำคัญที่สุด ต่อการดำรงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ที่มีสืบ ต่อมาทุกยุคทุกสมัย ด้วยมีคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ ทรงเป็ น สมมุ ติ เทพ อุ บั ติ ม าเพื่ อ ขจั ด ทุ ก ข์ เข็ ญ ของอาณา ประชาราษฎร์ให้มีความสุขและบำรุงอาณาจักรให้พร้อมไป ด้วยความอุดมสมบูรณ์และมีความเจริญรุ่งเรือง พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เษกในสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ นทร์
มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ แต่ครั้งนั้น การพระราชพิธียังไม่สมบูรณ์ ต่อมาโปรดให้สืบค้นแบบ แผนการพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี แล้วโปรดให้ สร้ า งเครื่ อ งราชกกุ ธ ภั ณฑ์ เครื่ อ งราชู ป โภค และเครื่ อ ง ประกอบพระบรมราชอิสริยยศขึ้น จึงประกอบพระราชพิธี 157
6.up 111-186-7 Sep.indd 157
9/7/12 8:40:39 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๘ ซึ่งได้ ยึดถืออนุโลมพระราชประเพณีครั้งนั้นเป็นแบบแผนที่ถูก ต้องที่สุดปฏิบัติสืบมา แต่ได้ดัดแปลงเพื่อความเหมาะสมใน แต่ละรัชกาล พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ๒ วัน คือ วันที่ ๔ และ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ก่อนและหลัง พระราชพิธี มีพระราชพิธีอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธี ดังกล่าว คือ พระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล จัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๒๐–๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระราชพิธีทำน้ำอภิเษก การทำน้ำอภิเษกเป็นพระ ราชพิ ธี ที่ จั ด ต่ อ เนื่ อ งกั น ๒ วั น ณ สถานที่ ๒ แห่ ง คื อ สถานที่ พ ลี ก รรมตั ก น้ ำ จากแหล่ ง น้ ำ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซึ่ ง อยู่ ใน จั ง หวั ด ที่ พุ ท ธเจดี ย สถานสำคั ญ แห่ ง พระราชอาณาจั ก ร ตั้งอยู่ทั้ง ๘ ทิศ รวม ๑๘ แห่ง และสถานที่สำหรับเสกทำ เป็นน้ำอภิเษก ณ พุทธเจดียสถานนั้น กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ ๑๘ -๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ วันแรกเป็นการ พลี ก รรมตั ก น้ ำ แล้ ว แห่ ม าเข้ า พิ ธี เ สกในพุ ท ธเจดี ย สถาน ตลอดทั้งคืนจนถึงวันรุ่งขึ้น ตอนสายดับเทียนชัย เจือด้วย น้ ำ พระพุ ท ธมนต์ ตั้ ง บายศรี เวี ย นเที ย นสมโภชแล้ ว เชิ ญ มายั ง กระทรวงมหาดไทยเพื่ อ นำส่ ง ยั ง สำนั ก พระราชวั ง ก่อนวันที่ ๒๐ เมษายน วันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ การถวายบังคม พระบรมอัฐิ และพระอัฐขิ องสมเด็จพระบรมราชบุรพการี ในหอพระธาตุมณเฑียร ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ วั น ที่ ๔ พฤษภาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๓ แห่ พ ระ สุ พ รรณบั ฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราช- ลั ญ จกรประจำรั ช กาล จากพระอุ โบสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดารามมาประดิษฐานที่พระแท่นมณฑล ณ พระที่นั่ง 158 6.up 111-186-7 Sep.indd 158
9/7/12 8:40:41 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ไพศาลทั ก ษิ ณ เวลาเย็ น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุด เทียนทองด้วยชนวนไฟฟ้าแล้วทรงถวายเทียนทองชนวน นั้นแด่สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงษ์) สมเด็ จ พระสั ง ฆราชเสด็ จ ไปทรงจุ ด เที ย นชั ย ที่ พ ระที่ นั่ ง อมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์พระราชพิธี บรมราชาภิ เษกและพระราชพิ ธี เฉลิ ม พระราชมณเฑี ย ร พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงจุ ด เที ย นชนวนแล้ ว พระราชทานเจ้ า พนั ก งานพร้ อ มด้ ว ยธู ป เงิ น เที ย นทอง ดอกไม้ ไปบู ช าพระมหาเศวตฉั ต ร ๕ แห่ ง (๑) และบู ช า ปูชนียวัตถุสถานสำคัญ ๑๓ แห่ง(๒) วั น ที่ ๕ พฤษภาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๓ เป็ น วั น ประกอบพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เษก พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว สรงมู ร ธาภิ เ ษก ณ มณฑปพระกระยา
สนาน แล้วทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับเหนือพระที่นั่ง อัฐทิศภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำ อภิเษกและพราหมณ์พิธีถวายน้ำเทพมนตร์ เวียนไปครบ แปดทิ ศ เจ้ า พระยาศรี ธ รรมาธิ เบศ (จิ ต ร ณ สงขลา) ประธานวุ ฒิ ส ภาถวายพระพรชั ย มงคลเป็ น ภาษามคธ และประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร (นายเพี ย ร ราชธรรม นิเทศ) ถวายพระพรเป็นภาษาไทย พระราชครูวามเทพมุนี (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล) ถวายพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์ ร่ า ยเวทย์ เปิ ด ศิ ว าลั ย ไกรลาส ทู ล เกล้ า ทู ล กระ หม่อมถวายพระสุพรรณบัฏ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่อง ราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ จากนั้นพระราชครูวามเทพมุ นี ถ วายพระพรชั ย มงคลด้ ว ยภาษามคธ พระบาท (๑) พระมหาเศวตฉั ต ร ๕ แห่ ง คื อ พระมหาเศวตฉั ต รในพระที่ นั่ ง อมริ นทรวิ นิ จ ฉั ย พระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ พระที่ นั่ ง จั ก รี มหาปราสาท พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต (๒) ปูชนียวัตถุสถาน ๑๓ แห่ง คือ พระสยามเทวาธิราชในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ หุ่นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ทรงเครื่องต้นที่ห้อง ภูษามาลา เทวรูป ณ หอแก้วพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระกาฬไชยศรี พระเพลิง พระ เจตคุปต์ที่ศาลหลักเมือง เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระนารายณ์ เทวสถานพระคเณศ ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เทวรูป ณ หอเชือกในบริเวณกรมศิลปากร และเทวรูป ณ ตึกดิน
159 6.up 111-186-7 Sep.indd 159
9/7/12 8:40:43 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงตั้ ง พระราชสั ต ยาธิ ษ ฐาน พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชนชาวสยาม พระราชครู ว ามเทพมุ นี รั บ พระบรมราชโองการด้ ว ย ภาษามคธและภาษาไทยแล้ ว พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรง ปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ ครองราชอาณาจั ก รไทยโดย ทศพิ ธ ราชธรรมจริ ย า จากนั้ นทรงเปลื้ อ งพระมหาพิ ชั ย มงกุ ฎ พระธำมรงค์ รั ต นวราวุ ธ และพระธำมรงค์ วิ เชี ย ร จินดา จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ) เลขานุการสำนัก พระราชวัง ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายดอกพิกุลทอง ดอก พิกุลเงิน ทรงโปรยพระราชทานแก่พราหมณ์ แล้วเสด็จ พระราชดำเนินออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ สู่พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระ สงฆ์ ๘๐ รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราช ถวายอดิเรก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพรลา แล้วเสด็จขึ้น สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนชัย เวลาบ่าย เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย ให้คณะรัฐมนตรี คณะทูต สมาชิกวุฒิสภา สมาชิก สภาผูแ้ ทนราษฎร และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท ถวายพระพรชัยมงคล จากนั้น เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาล ทั ก ษิ ณ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ อาลั ก ษณ์ อ่ า นประกาศสถาปนาสมเด็ จ พระราชิ นี สิ ริ กิ ติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี แล้วทั้ง สองพระองค์ทรงรับการถวายพระพรชัยมงคลจากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท เวลาเย็ น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ประทั บ พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง เสด็จพระราชดำเนินโดย ขบวนราบใหญ่ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่ อ ทรงประกาศพระองค์ เป็ น พุ ท ธศาสนู ป ถั ม ภก แล้ ว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นหอพระธาตุมณเฑียร พร้อมด้วย 160 6.up 111-186-7 Sep.indd 160
9/7/12 8:40:45 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี เพื่ อ ถวายบั ง คม พระบรมอัฐิและพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชบุรพการี วันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ เวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินจากพระที่นั่ง ไพศาลทั ก ษิ ณ ไปยั ง พระที่ นั่ ง จั ก รพรรดิ พิ ม าน เพื่ อ ทรง ประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในจัดถวาย โดยประทับแรมเป็นครั้งแรกใน พระบรมมหาราชวัง รุ่งขึ้นเช้าจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ วั นที่ ๗ พฤษภาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๓ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินี เสด็จออกท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหา ปราสาท เพื่ อ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้
คณะทูตานุทูตเฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาทถวายพระพร ชัยมงคล และตอนเย็นพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรีและคณะบุคคล ต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล จากนั้น ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระ
ที่ นั่ ง สุ ท ไธสวรรย์ ป ราสาท พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ป ระชาชนเฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท ถวาย พระพรชั ย มงคล แล้ ว เสด็ จ ออก ณ พระที่ นั่ ง อมริ นทร
วินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนา เฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชและตั้งพระราชาคณะ วั น ที่ ๘ พฤษภาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๓ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จ ออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาฐานันดรศักดิ์พระราชวงศ์ ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิต ประยู ร ศั ก ดิ์ กรมพระชั ย นาทนเรนทร พระวรวงศ์ เ ธอ พระองค์ เ จ้ า ธานี นิ วั ติ กรมหมื่ น พิ ท ยลาภพฤฒิ ย ากร พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย และพระวรวงค์ 161 6.up 111-186-7 Sep.indd 161
9/7/12 8:40:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล ซึ่งเป็นพิธีสุดท้ายในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล – พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในมหามงคลสมัยที่เสด็จ เสมอด้วยรัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง ดำรงสิริราชสมบัติเสมอด้วยรัชกาลที่ล่วงมา เช่น รัชกาล ปัจจุบันโปรดให้ประกอบการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระ ราชกุศลเสมอด้วยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระราชพิธีรัชดาภิเษก
– พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงดำรงสิริราชสมบัติยั่งยืนมา ๒๕ ปี บริบูรณ์
พระราชพิธีสมภาคาภิเษก
– พระราชพิ ธี ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า โปรดกระหม่อมให้ประกอบขึ้นในวาระที่ทรงครองราชย์ ยาวนานเท่าสมเด็จพระบรมราชบุรพการี เช่น พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ยาวนาน เท่ า พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รวม ๔ ครั้งด้วยกัน
พระราชพิธีทวีธาภิเษก
– พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงครอง ราชย์เป็นสองเท่าของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖
พระราชพิธีรัชมงคล
– พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในรัชกาลพระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ระหว่ า งวั น ที่ ๒๙ พฤศจิกายน - ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๐ ในโอกาส
ที่ ท รงดำรงสิ ริ ร าชสมบั ติ ย าวนานเท่ า รั ช พรรษาสมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ ๔๒ ปี ซึ่ ง ยาวนานกว่ า พระมหากษั ต ริ ย์ พ ระองค์ อื่ น ๆ
ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร
162 6.up 111-186-7 Sep.indd 162
9/7/12 8:40:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
– พระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงครอง ราชย์ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในพระราชพงศาวดาร พระราชพิธีนี้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ ๑๑ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๑ และครั้งที่ ๒ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ ดำรงสิริราชสมบัติ ๔๒ ปี ๒๓ วัน เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ยาวนานกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชพิธีกาญจนาภิเษก
– พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงดำรงสิริราชสมบัติยั่งยืนมาครบ ๕๐ ปี มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙
พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี
– พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงดำรงสิริราชสมบัติยั่งยืนมาครบ ๖๐ ปี มี ขึ้ น เป็ นครั้ ง แรกในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ ปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เมือ่ วันที่ ๙ มิถนุ ายน ๒๕๔๙
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา – พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ตามขัตติยประเพณี (ศรีสัจจปานกาล) ในประเทศไทยมี ม าแต่ โ บราณกาล ตั้ ง แต่ ค รั้ ง ต้ น สมั ย อยุ ธ ยา พระมหากษั ต ริ ย์ ข องไทยทรงถื อ ปฏิ บั ติ ต ลอดมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธีที่มีประโยชน์ ในด้านการปกครอง เพื่อให้พระบรมวงศ์ ข้าราชการทั้ง ทหาร พลเรือนที่ได้รับพระราชทานยศศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่ ปกครองดู แ ลราษฎรต่ า งพระเนตรพระกรรณ ตลอดจน ประเทศราชที่เป็นเมืองออก พร้อมด้วยภริยามีจิตใจจงรัก ภักดีต่อพระประมุขของชาติ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตพร้อมไตรทวาร(๑) พระราชพิธีนี้มีอิทธิพลต่อชนใน ปกครองแต่เก่าก่อนทัง้ ทางจิตใจและทางวินยั เป็นพระราช(๑) ทวารทั้ง ๓ คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร
163 6.up 111-186-7 Sep.indd 163
9/7/12 8:40:50 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พิธซี งึ่ บรรดาชนในปกครองทีก่ ล่าวมาแล้วได้รบั พระราชทาน น้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งพระราชครูพราหมณ์อ่านโองการ แช่งน้ำ เสกน้ำ แทงน้ำด้วยพระแสงราชศัสตราวุธให้ทุก คนที่มีหน้าที่เฝ้าฯ ดื่มในสถานที่ซึ่งเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็น ที่ เคารพ เช่ น ในพระอุ โบสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม พระอารามสำคัญ ในพระที่นั่ง ต่อหน้าพระพุทธรูป และ เฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ แล้วต้องกล่าวคำสัตย์ ปฏิญาณ สาบานตนว่าจะไม่ทรยศกบฏต่อพระมหากษัตริย์ ต่อบ้านเมือง และราษฎร ถ้าผิดคำสาบานก็จะถึงความ พินาศ แต่ถ้าซื่อตรงสุจริตก็จะมีความเจริญสุข ในการพระ ราชพิ ธี ศ รี สั จ จปานกาลนี้ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ก็ ท รงดื่ ม น้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยาปฏิ ญ าณพระองค์ ว่ า จะทรงปกครอง บ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์ต่อประชาชนด้วย พระราช- พิธีศรีสัจจปานกาลได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปรรูปพิธีและถ้อยคำ ในโองการแช่งน้ำ ส่วนคำสาบานฝ่ายหน้าฝ่ายในเห็นได้ ในสมัยรัตนโกสินทร์แต่ละรัชกาล มาถึงสมัยที่ประเทศไทย เปลีย่ นแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็ น ระบอบประชาธิ ป ไตยมี พ ระมหากษั ต ริ ย์ เป็ น พระ ประมุข พระราชพิธีนี้จึงเลิกราไป ครั้นพุทธศักราช ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระ ราชดำริ ให้ ฟื้ น พระราชพิ ธี นี้ เป็ น พระราชพิ ธี ถ วายสั ต ย์ สาบานของทหารตำรวจผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิ ส ริ ย าภรณ์ อั น มี ศั ก ดิ์ ร ามาธิ บ ดี มี ค ำถวายสั ต ย์ ส าบาน อย่ า งย่ อ ๆ ประกอบพิ ธี ณ พระอุ โบสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม(๑) พระราชพิธีรับและสมโภช ขึ้นระวาง ช้างสำคัญ
– พระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดขึ้นเพื่อสมโภชการรับช้าง สำคัญขึ้นระวางเป็นช้างต้น หรือช้างหลวงของพระมหา กษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี
(๑) ดูคำถวายสัตย์สาบาน และคำสาบานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาท้ายบท
164 6.up 111-186-7 Sep.indd 164
9/7/12 8:40:52 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ช้างเผือกเป็นรัตนะคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ สิ่งหนึ่งในเจ็ดสิ่งที่เรียกว่า สัปตรัตนะ อันได้แก่ จักรแก้ว ช้ า งแก้ ว ม้ า แก้ ว ขุ น คลั ง แก้ ว ดวงแก้ ว (มณี ) และ
นางแก้ ว ดั ง นั้ น เมื่ อ ได้ ช้ า งเผื อ กมาสู่ พ ระราชอาณาจั ก ร
จึงเป็นนิมิตที่ดีของแผ่นดินและเป็นประเพณีที่จะสมโภชรับ และขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น ซึ่งถือเป็นช้างหลวงของพระมหากษัตริย์สืบไป พระราชพิธี ในรัชกาลปัจจุบันประกอบด้วย วั น แรก พิ ธี จ ารึ ก นามช้ า งสำคั ญ ลงบนอ้ อ ยแดง ประกอบพิธีในพระอุโบสถ ก่อนหน้าวันพระราชพิธีฯ หรือ ในช่วงเช้าของวันพระราชพิธีฯ วันที่สอง เป็นวันประกอบพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายช้ า งสำคั ญ และขึ้ น ระวางสมโภช พระราชพิ ธี
เริ่มในตอนบ่าย มีพิธีแห่ช้างสำคัญเข้าสู่โรงพระราชพิธี
เมื่อช้างสำคัญลอดโขลนทวาร พราหมณ์และราชบัณฑิต ประพรมน้ ำ เทพมนตร์ นำช้ า งสำคั ญ เข้ า ยื น แท่ น ในโรง
พระราชพิ ธี พระสงฆ์ เ จริ ญ ชั ย มงคลคาถา พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระพุทธปฏิมาพระชัยหลังช้าง แล้วทรงจุดธูปเทียนบูชา พระเทวกรรม ทรงศี ล ราชบั ณฑิ ต บู ช าจุ ฬ าฐทิ ศ ผู้ ว่ า ราชการจังหวัดน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายช้างสำคัญ เมือ่ ได้เวลาพระฤกษ์ ทรงหลัง่ น้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระเต้า เทวบิ ฐ และพระมหาสั ง ข์ ทั ก ษิ ณาวั ฏ พระราชทานช้ า ง สำคัญ ทรงเจิมที่กระพองช้างสำคัญ แล้วพระราชทานอ้อย แดงจารึกนามช้างสำคัญ พระราชทานคชาภรณ์เครื่องยศ พร้อมด้วยเสมาทองมีสายไปคล้องคอ ทรงพระสุหร่าย ทรง เจิมแผ่นป้ายนามช้างต้น สำหรับไปติดที่เสาหน้าโรงช้างต้น พราหมณ์อ่านฉันท์ดุษฎีสังเวย ศิลปินกรมศิลปากรขับไม้ ประกอบซอสามสายกล่อมช้างต้น 165 6.up 111-186-7 Sep.indd 165
9/7/12 8:40:54 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
วั น ที่ ส าม เวลาเช้ า พิ ธี น ำช้ า งต้ น อาบน้ ำ แล้ ว นำ ช้ า งต้ น ไปตั ก บาตรเพื่ อ ความเป็ น สิ ริ ม งคล จากนั้ น นำ ช้างต้นเข้ายืน ณ แท่นเบญพาดในโรงพระราชพิธี เวลา ๑๐ นาฬิ ก า ๓๐ นาที พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชทานเลี้ยงภัตตาหารพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ แต่วันก่อน เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว ทรง ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวาย อดิเรก แล้วออกจากโรงพระราชพิธีช้างต้น พราหมณ์เบิก แว่นเวียนเทียนสมโภช พระราชครูวามเทพมุนีเจิมและ ป้อนน้ำมะพร้าวอ่อนแก่ช้างต้น เป็นเสร็จพิธี ช้างสำคัญในรัชกาลปัจจุบันที่ขึ้นระวางสมโภชแล้วมี ๑๐ ช้าง คือ
– พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ – พระเศวตวรรัตนกรีฯ – พระเศวตสุรคชาธารฯ – พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ – พระเศวตศุทธวิลาสฯ – พระวิมลรัตนกิริณีฯ – พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ – พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ – พระเทพวัชรกิริณีฯ – พระบรมนขทัศฯ
166 6.up 111-186-7 Sep.indd 166
9/7/12 8:40:56 PM
ตัวอย่างคำประกาศเทวดา คำบวงสรวง คำสาบาน คำถวายอดิเรก (๑)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๕๑
(๑) พิมพ์ตามอักขรวิธี ในต้นฉบับเดิมที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเรียบเรียง
167 6.up 111-186-7 Sep.indd 167
9/7/12 8:40:56 PM
168 6.up 111-186-7 Sep.indd 168
9/7/12 8:40:57 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
169 6.up 111-186-7 Sep.indd 169
9/7/12 8:41:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
170 6.up 111-186-7 Sep.indd 170
9/7/12 8:41:02 PM
171 6.up 111-186-7 Sep.indd 171
9/7/12 8:41:03 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
172 6.up 111-186-7 Sep.indd 172
9/7/12 8:41:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
173 6.up 111-186-7 Sep.indd 173
9/7/12 8:41:08 PM
คำถวายสัตย์สาบาน ในพระราชพิธีพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
174 6.up 111-186-7 Sep.indd 174
9/7/12 8:41:09 PM
175 6.up 111-186-7 Sep.indd 175
9/7/12 8:41:09 PM
(๑)
(๑) พิมพ์ตามอักขรวิธี ในต้นฉบับเดิม
176 6.up 111-186-7 Sep.indd 176
9/7/12 8:41:10 PM
ประกาศพระราชาภิสดุดี (๑) ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ประกาศว่า ปีพุทธศักราชสองพันห้าร้อยยี่สิบห้านี้ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์มีอายุจำเริญยืนยาว มาครบสองร้อยปี ประชาชนทั้งหลายต่างมีความปราโมทย์บันเทิงใจ ที่สามารถตั้งบ้านเมืองเป็น อิสระสถาวรสืบมาได้อีกถึงสองศตพรรษ และสมัครสามัคคีกันจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น ทั่วราชอาณาจักร เพื่อปลูกฝังความจงรักและภาคภูมิในประเทศชาติให้เพิ่มพูนแน่นแฟ้นขึ้นในวาระ จิตของคนไทย เป็นเหตุให้ทรงพระราชอนุสรณ์ถึงกาลก่อนที่ล่วงมา ว่าการที่สยามประเทศสถิต เสถียรรุ่งเรืองมาจนบัดนี้ได้ ก็ด้วยอาศัยพระบรมโพธิสมภารบารมี แห่งสมเด็จพระบรมราชบุรพ
การีแต่ละพระองค์ทรงปกครองนำพา ให้ผ่านพ้นอุปสรรคและภยันตรายนานามาโดยสวัสดีทุกยุค สมัย ทั้งทรงทำนุบำรุงให้เจริญมั่นคงพร้อมด้วยอิสรภาพอันไพบูลย์เสมอด้วยอารยประเทศทั้งมวล บรรดาการที่ทรงกระทำให้แก่ชาตินั้นล้วนลำบากยากยิ่ง แต่ละเรื่องแต่ละสิ่งต้องปฏิบัติบำเพ็ญ อย่างอุกฤฎ์ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งกว้างไกล ซึ่งจะพิจารณาให้เห็นถ่องแท้ได้จากพระราช กรณียกิจในแต่ละแผ่นดินมีพระบาสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชาธิราชเป็นอาทิ เมื่อแรกที่ทรงพระราชดำริรับอัญเชิญขึ้นผ่านพิภพ ประเทศชาติ กำลังประสบความบอบช้ำ ระส่ำระสาย ประการหนึ่งเพราะถูกข้าศึกย่ำยีทำลายเมื่อคราวเสีย พระนครศรีอยุธยา อีกประการหนึ่ง เพราะประจวบกับเวลาที่บ้านมืองเกิดวิกฤตจลาจลพึ่งสงบลง สมเด็จพระปฐมบรมนาถจึงต้องทรงเร่งฟื้นฟูบำรุถงประเทศเป็นการใหญ่ทั่วทุกด้าน ด้วยได้ทรงตั้ง พระราชปณิธานปรารถนาไว้แน่วแน่ที่จะให้เกิดความเจริญมั่นคงทั้งในพุทธจักรอาณาจักร ข้างฝ่าย พุทธจักรนั้น พระพุทธศาสนาและสังฆมณฑลเสื่อมทรุดเศร้าหมองมาช้านาน จึงโปรดให้ทำการ สังคายนาพระธรรมวินัย ทั้งพระบาลีอรรถกถาฎีกาอนุฎีกาลัทธาวิเสสให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ สำหรับ เป็นพื้นฐานเกื้อกูลพระปริยัติศาสนา ทั้งยังตรากฎหมายขึ้นจัดระเบียบสงฆ์และสมณปฏิบัติให้ เรียบร้อยงดงาม ข้างฝ่ายอาณาจักรก็ทรงพระราชอุตสาหะพยายามดำเนินพระบรมราโชบาย ให้ บรรลุ ผ ลสมบู ร ณ์ ต ามที่ ท รงมุ่ ง หมายถ้ ว นทุ ก อย่ า ง เริ่ ม ด้ ว ยการสร้ า งพระนครราชธานี มี ป้ อ ม ปราการคูเมืองชั้นนอกชั้นใน เร่งบำรุงกำลังพลและอาวุธยุทธปัจจัยให้เข้มแข็งพร้อมสรรพทุกขณะ โปรดให้ประมวลและชำระพระราชกำหนดกฎหมาย อันพลัดพรายสูญหายให้ถ่องเที่ยงทุกกระบวน (๑) นายภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการ ประพันธ์
177 6.p 111-186-6 Sep.indd 177
9/6/12 7:20:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สำหรับใช้เป็นหลักราชการ นอกจากนี้ยังได้ทส่งเสริมฟื้นฟูทางด้านศิลปะวรรณคดี ขนบธรรมเนียม ราชประเพณีอีกเป็นอเนกปริยาย พระราชกรณียกิจมากหลายที่สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าจะ ต้องทรงกระทำนี้ พ้นวิสัยธรรมดาที่สามัญมนุษย์จะปฏิบัติได้ แต่เหตุเพราะทุกพระองค์มีพระราช หฤทัยตั้งมั่นเป็นสัจจาธิษฐาน ที่จะทรงกระทำการเพื่อชาติ ศาสนา มหาชนอย่างแท้จริงไม่ท้อถอย หลัง จึงบันดาลพลังอันอุดมเลิศบังเกิดส่งสนองให้ทรงสัมฤทธิ์ ในพระราชกิจจานุกิจเป็นมหัศจรรย์ อันทวยราษฎร์ทราบตระหนักอยู่ทั่วกันว่าคือพระบุญญาธิการบารมี ซึ่งปกปักรักษาสยามรัฐให้มั่นคง สวัสดีมาตราบกาลปัจจุบัน พระเดชพระคุณแห่งพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า จึงมีอยู่อเนกอนันต์พ้น พรรณา ในวาระอันเป็นมหาสมัยมงคลที่ระลึกแห่งการประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์นี้ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการสั่ง ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายราชสักการะสมเด็จ พระบู ร พมหากษั ต ริ ย าธิ ร าชเจ้ า ขึ้ น ณ ท้ อ งสนามหลวง เสด็ จ พระราชดำเนิ น มาทรงบู ช า
พระรัตนตรัยและทรงถวายเครื่องราชสักการะบวงสรวงตามโบราณราชประเพณี โปรดเกล้าฯ อ่าน ประกาศราชาภิสดุดีท่ามกลางมหาสันนิบาตแห่งพระราชวงศ์ข้าราชการและประชาชน ด้วยอานุภาพพระราชศรัทธาคารวะอันมั่นคงในพระรัตนตรัย และในสมเด็จพระบรมราช บุรพการี ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระราชสิริสวัสดิ์ ปราศจากพระโรคพิบัติ อุปัทวันตราย ทรงพระเกษมสมบูรณ์สบายพระราชหฤทัย ดำรงในสิริราชสมบัติพิพัฒไพบูลย์ เพิ่มพูนพระเกียรติคุณอดุลยภาพลบสมัย ผ่องพ้นจากพิพิธภัยปีฬิตาทิทุกข์ทุกเวลา ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จงคุ้มครองประเทศ ชาติและประชาชนชาวไทย ให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติภัยทั้งปวง อริราชศัตรูภายนอกอย่าล่วงเข้า ทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุขความมั่นคงให้บังเกิด ทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็นแก่อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา ขอพระมหากรุณาบุญญาธิการจงชักนำ ให้เกิดสามัคคีธรรมในหมู่ไทยอย่าได้รู้ร้าวราน ให้ทุก ฝ่ายมีใจสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวเกลียวกลม เป็นพลังอันอุดมยิ่งใหญ่ ที่จะประกอบกิจ กรณีย์นำไทยให้วัฒนายืนยิ่ง ประสบแต่สิ่งศุภสวัสดิ์ตลอดจิรัฏฐิติกาล
178 6.p 111-186-6 Sep.indd 178
9/6/12 7:20:39 PM
179 6.p 111-186-6 Sep.indd 179
9/6/12 7:20:39 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
180 6.p 111-186-6 Sep.indd 180
9/6/12 7:20:41 PM
(๑)
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๑)นายภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการ ประพันธ์
181 6.p 111-186-6 Sep.indd 181
9/6/12 7:20:42 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
182 6.p 111-186-6 Sep.indd 182
9/6/12 7:20:45 PM
เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
183 6.p 111-186-6 Sep.indd 183
9/6/12 7:20:46 PM
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
184 6.p 111-186-6 Sep.indd 184
9/6/12 7:20:46 PM
เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
185 6.p 111-186-6 Sep.indd 185
9/6/12 7:20:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
“..... ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้อง รักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้อง รักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็น ปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่า ไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ..... ..... การบัญญัติศัพท์ใหม่ก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน จำเป็น แต่อันตราย .....”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕
186 6.p 111-186-6 Sep.indd 186
9/6/12 7:20:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ 187 7. p 187-191-6 Sep.indd 187
9/6/12 7:32:17 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว 9 ชั้น) ในท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 188 7. p 187-191-6 Sep.indd 188
9/6/12 7:32:20 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาพิชัยมงกุฎ 189 7. p 187-191-7 Sep.indd 189
9/7/12 7:25:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแสงขรรค์ชัยศรี
ธารพระกรชัยพฤกษ์ 190 7. p 187-191-6 Sep.indd 190
9/6/12 7:32:29 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พัดวาลวิชนี และพระแส้หางช้างเผือก
ฉลองพระบาทเชิงงอน 191 7. p 187-191-6 Sep.indd 191
9/7/12 4:48:28 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระชฎา 5 ยอด
พระชฎาเดินหน 192 8. p 192-195-6 Sep.indd 192
9/7/12 7:42:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระเกี้ยว
พระมาลาเส้าสะเทิน
พระมาลาเส้าสูง
พระมาลาเบี่ยง 193
8. p 192-195-6 Sep.indd 193
9/7/12 5:58:36 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระชฎา 5 ยอด เมื่อเสด็จไปสมโภชเวียนเทียน หลังตัดพระเมาฬี ในพระราชพิธีโสกันต์
194 8. p 192-195-6 Sep.indd 194
9/6/12 7:51:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมาลาเส้าสะเทินประดับขนนกการเวกในพิธีส่งพระกรและเข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธีโสกันต์ 195 8. p 192-195-6 Sep.indd 195
9/6/12 7:51:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระสัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว 7 ชั้น)
196 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 196
9/6/12 8:03:07 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระสัปตปฎลเศวตฉัตร ปักเหนือพระคชาธารพระที่นั่ง 197 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 197
9/6/12 8:03:10 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระเบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว 5 ชั้น)
198 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 198
9/6/12 8:03:14 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เศวตฉัตร 3 ชั้น ปักเหนือพระแท่นประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
ฉัตรขาวลายทอง 5 ชั้น หรือฉัตรกำมะลอ 199 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 199
9/6/12 8:03:19 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ฉัตรโหมดทอง 5 ชั้น
200 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 200
9/6/12 8:03:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระกรรภิรมย์ (พระเสมาธิปัตย์หรือพระเสนาธิปัตย์) 201 9. p196-214 colour 7 Sep.indd 201
9/7/12 3:09:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระกรรภิรมย์ (พระฉัตรชัย) 202 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 202
9/6/12 8:03:35 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระกรรภิรมย์ (พระเกาวพ่าห์ หรือ พระเกาวพ่าย) 203 9. p196-214 colour 7 Sep.indd 203
9/7/12 8:16:57 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระอภิรุม ฉัตร 7 ชั้น ทองแผ่ลวด
พระอภิรุม ฉัตร 7 ชั้น ปักหักทองขวาง 204 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 204
9/6/12 8:03:43 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระอภิรุม ฉัตร 5 ชั้น ทองแผ่ลวด
พระอภิรุม ฉัตร 5 ชั้น ปักหักทองขวาง 205 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 205
9/6/12 8:03:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ชุมสาย ฉัตร 3 ชั้น ปักหักทองขวาง 206 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 206
9/6/12 8:03:50 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ฉัตรเบญจา 5 ชั้น 207 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 207
9/6/12 8:03:52 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระกลด 208 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 208
9/6/12 8:03:55 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ริ้วขบวนพระราชอิสริยยศในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนราบใหญ่ ไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทรงปฏิญาณพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในวันบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
209 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 209
9/6/12 8:03:59 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พัดโบก (รูปมน)
พัดโบก (รูปช้อย) 210 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 210
9/6/12 8:04:05 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บังแทรก ปักหักทองขวาง
บังแทรก ทองแผ่ลวด 211
9. p196-214 colour 6 Sep.indd 211
9/6/12 8:04:09 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
จามร ปักหักทองขวาง
ลวดลายจามร ปักหักทองขวาง
จามร ทองแผ่ลวด
ลวดลายจามร ทองแผ่ลวด 212
9. p196-214 colour 6 Sep.indd 212
9/6/12 8:04:16 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บังสูรย์ ปักหักทองขวาง (ใหญ่)
ลวดลายบังสูรย์ ปักหักทองขวาง (ใหญ่)
บังสูรย์ ทองแผ่ลวด (ใหญ่)
ลวดลายบังสูรย์ ทองแผ่ลวด (ใหญ่) 213
9. p196-214 colour 6 Sep.indd 213
9/6/12 8:04:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ฉัตรราชวัติ ในบริเวณพระที่นั่งกาญจนาภิเษก ท้องสนามหลวง
214 9. p196-214 colour 6 Sep.indd 214
9/6/12 8:04:27 PM
หมวดที่ ๗ เครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภค เครื่องราชกกุธภัณฑ์
– เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์
เบญจราชกกุธภัณฑ์
– เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ มี ๒ แบบ แต่ละแบบมี ๕ อย่าง
แบบ ก ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑. พระมหาเศวตฉัตร ๒. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๓. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๔. พัดวาลวิชนี และพระแส้จามรี ๕. ฉลองพระบาทเชิงงอน
แบบ ข ใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. พัดวาลวิชนี และพระแส้จามรี ๕. ฉลองพระบาทเชิงงอน
พระมหาเศวตฉั ต ร เป็ น ราชกกุ ธ ภั ณฑ์ ข องพระ มหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นฉัตรผ้าขาว ๙ ชั้น แต่ละชั้นมี ระบายขลิ บ ทองแผ่ ล วด ๓ ชั้ น และมี ย อด ใช้ ปั ก ที่ พ ระ แท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตรเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง กว่าสิ่งอื่นใด เศวตฉัตรหมายถึงความเป็นราชามหากษัตริย์ เช่นเดียวกับมงกุฎของชาวยุโรป พระมหาพิ ชั ย มงกุ ฎ เป็ น ราชกกุ ธ ภั ณฑ์ ป ระเภท ราชศิ ร าภรณ์ ทำด้ ว ยทองคำลงยา ยอดประดั บ นวรั ต น์ สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในงานพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น 215 10. up215-234-7 Sep.indd 215
9/7/12 8:49:25 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแสงองค์นี้กล่าวกันมาว่า พระขรรค์ เป็ นของเก่ า เดิ ม ตกจมอยู่ ใ นทะเลสาบเมื อ ง เสียมราฐ ชาวประมงทอดแหได้ ผู้ว่าราชการเมืองเสียมราฐนำมาทู ล เกล้ า ทู ล กระหม่ อ มถวายพระบาทสมเด็ จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพระแสงองค์นี้ มาถึง อสุนีบาตตกในพระนครถึง ๗ แห่ง เช่น ที่ประตู วิเศษไชยศรี และประตูพิมานไชยศรี ซึ่งเป็นทางที่อัญเชิญ พระแสงองค์นี้ผ่าน ธารพระกรชัยพฤกษ์ ไม้เท้าทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทองคำ พั ด วาลวิ ช นี พั ด ทำด้ ว ยใบตาล ด้ า มมี เครื่ อ ง ประกอบเป็นทองคำลงยา พระแส้ จ ามรี แส้ ท ำด้ ว ยขนจามรี ด้ า มเป็ น แก้ ว ปัจจุบันใช้พระแส้หางช้างเผือกแทน ฉลองพระบาทเชิ ง งอน รองเท้ า ทำด้ ว ยทองคำ ลงยา
ราชศิราภรณ์
เครื่ อ งราชกกุ ธ ภั ณ ฑ์ ทั้ ง หมดนี้ ส ร้ า งในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช – เครื่องสวมศีรษะสำหรับพระมหากษัตริย์ใช้ทรงในโอกาส ต่างๆ ประกอบด้วย
๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชโปรดให้ ส ร้ า งขึ้ น เป็ น เครื่ อ งราชกกุ ธ ภั ณ ฑ์ ลั ก ษณะยอดเป็ น พุ่ ม ทรงข้ า วบิ ณ ฑ์ ทำด้ ว ย ทองคำจำหลักลวดลายลงยาราชาวดีประดับเพชร สูง ๖๖ เซนติเมตร น้ำหนัก ๗,๓๐๐ กรัม ต่อมา พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นำเพชรเม็ดใหญ่ขนาดเส้น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง ๑.๖ เซนติ เมตร สู ง ๑.๔ เซนติ เมตร มา ประดับยอดแทนพุ่มข้าวบิณฑ์ พระราชทานนามเพชรเม็ด นี้ว่า พระมหาวิเชียรมณี 216 10. up215-234-7 Sep.indd 216
9/7/12 8:49:27 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒. พระชฎา ๕ ยอด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับทรงในพระราชพิธี สำคัญ ลักษณะคล้ายลอมพอก ยอดชฎารูปทรงกระบอก เรียวยาว ปลายยอดทำเป็นช่อหางไหล ๕ เส้นบัดปลาย ด้ า นซ้ า ยปั ก ช่ อ ใบสน กั บ มี พ ระกรรเจี ย กคู่ ห นึ่ ง ทำด้ ว ย ทองคำลงยาราชาวดี ประดับอัญมณีต่างสี ๓. พระชฎา ๕ ยอดรัชกาลที่ ๕ หรือ พระชฎามหา ชมพู พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ สร้ า งขึ้ น ลั ก ษณะคล้ า ยกั บ พระชฎา ๕ ยอดรั ช กาลที่ ๑ ต่างกันแต่การลงยาตกแต่งเป็นสีชมพูทั้งองค์ ปักใบสนหรือ บางโอกาสปักขนนกการเวกแทนช่อใบสน ๔. พระชฎา ๕ ยอดรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้ าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้ น ลักษณะคล้ ายกับ พระชฎา ๕ ยอดรัชกาลที่ ๕ ต่างกันตรงส่วนจอมมีรูปทรง ค่อนข้างราบ กับส่วนปลายจำหลักเป็นลายกาบไผ่ ยอด หางไหลทั้ง ๕ เส้นเรียงชิดติดกันสะบัดปลายตั้งขึ้น ด้าน ซ้ายปักขนนกการเวก ๕. พระชฎา ๕ ยอดรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น ลักษณะคล้ายกับพระ ชฎา ๕ ยอดรัชกาลที่ ๖
๖. พระชฎากลีบ หรือ พระชฎาพระกลีบ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้น ลักษณะคล้ายลอมพอก ยอดพระชฎารูปทรงกระบอกยาว เรียว ปลายบัด ปักช่อใบสน กับมีพระกรรเจียกประกอบ คู่หนึ่ง
๗. พระชฎาเดินหน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้น ลักษณะคล้ายลอมพอก ยอดพระชฎาทำเป็นอย่างหางไหลยาวเรียว ปลายบัด ด้าน ซ้ายปักพระยี่ก่า 217
10. up215-234-7 Sep.indd 217
9/7/12 8:49:29 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๘. พระอนุราชมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ ส ร้ า งขึ้ น สำหรั บ พระบาทสมเด็ จ พระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชพิธีบวรราชาภิเษก และ ถื อ เป็ น ราชประเพณี ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว จะ พระราชทานแก่สมเด็จพระยุพราชในแผ่นดินนั้น ลักษณะ คล้ายพระมหาพิชัยมงกุฎ ต่างกันแต่ส่วนปลายยอดทรง กรวยเรียวแหลม จำหลักลายลงยาเป็นลายกาบไผ่ และ ปลายที่ สุ ด ไม่ ป ระดั บ เพชรลู ก มี พ ระกรรเจี ย กประกอบ คู่หนึ่ง
๙. พระมาลาเส้าสะเทิน ลักษณะเป็นอย่างหมวกทรง กระบอก ปีกกว้างโดยรอบ ทำด้วยผ้าตาด หลังพระมาลา ประดับด้วยยอดทองคำรูปพระเกี้ยวยอด หรือ จุลมงกุฎ ด้านซ้ายปักพระยี่ก่าทองคำเสียบขนนกการเวก มี ๗ องค์ สีตา่ งๆ กัน ๑๐. พระมาลาเส้ า สู ง หรื อ พระมาลาทรงประพาส ลักษณะเป็ น อย่ า งหมวกทรงกระบอก ปี ก กว้ า งโดยรอบ เฉพาะปีกข้างซ้ายพับตลบขึ้น ทำด้วยสักหลาดสีกรมท่า หลั ง พระมาลาประดั บ ด้ ว ยยอดทองคำรู ป พระเกี้ ย วยอด หรือจุลมงกุฎ ด้านซ้ายพระมาลาปักพระยี่ก่าทองคำเสียบ ขนนกการเวก ๑๑. พระมาลาเบี่ยง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างเลียนอย่างพระมาลาเบี่ยง องค์เดิมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำด้วยไม้ไผ่สาน ทรงลูกฟักตัด มีปีกคลุ่มโดยรอบ ลงรักทั้งด้านในและด้าน นอกสีดำเป็นมัน ด้านในองค์พระมาลามีรังสานด้วยไม้ไผ่ อย่ า งรั ง งอบ ทรงลู ก ฟั ก ตั ด ขอบพระมาลาประดั บ ด้ ว ย พระพุทธรูป ๒๑ องค์ ๑๒. พระมาลาเพชรใหญ่รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ ส ร้ า งขึ้ น ลั ก ษณะอย่ า ง 218 10. up215-234-7 Sep.indd 218
9/7/12 8:49:31 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
หมวกทรงมะนาวตัด ขอบพระมาลาม้วนกลับเป็นลอนกลม โดยรอบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ ประดับเพชร ๑๓. พระมาลาเพชรน้อยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น ลักษณะคล้ายกับ พระมาลาเพชรใหญ่ รั ช กาลที่ ๔ ทำด้ ว ยสั ก หลาดสี ด ำ ประดับเพชร ตอนบนทำเป็นยอดทรงพระเกี้ยวน้อย ๑๔. พระจุลมงกุฎ หรือ พระเกี้ยวยอด ลักษณะเป็น วงสำหรับเกี้ยวหรือรัดล้อมพระเมาฬี พระจุลมงกุฎทำด้วย ทองคำ ยอดเป็นทรงมงกุฎอย่างน้อย ฉัตร
– เครื่องสูงสำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่ เป็นเกียรติยศ ฉัตรปักนั้น คันฉัตรอาจตั้งตรง หรือหักเป็น มุมฉาก ๒ ทบ ที่เรียกว่าฉัตรคันดาร ฉัตรมี ๒ ประเภท ดังนี้
๑. ฉัตรแขวนหรือปักแสดงพระอิสริยยศ เป็นฉัตรเดี่ยว มี ๔ ชนิด คือ ๑.๑ เศวตฉัตร มี ๔ แบบดังนี้ ๑.๑.๑ พระนพปฎลมหาเศวตฉัต ร(๑) มี ๙ ชั้ น แต่ละชั้นมีระบายขลิบทองแผ่ลวด ๓ ชั้น ชั้นล่างสุดห้อย อุบะจำปาทอง สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว ใช้แขวนหรือปักเหนือพระราชอาสน์ราชบัลลังก์ในท้องพระโรงพระมหาปราสาทราชมณเฑียรสถาน แขวนเหนือพระแท่นราชปัญจถรณ์ภายในพระมหามณเฑียร แขวนเหนื อ พระโกศทรงพระบรมศพ ณ ที่ ป ระดิ ษ ฐาน พระบรมศพ ปักยอดพระเมรุมาศ (ซึง่ จะปรับรูปทรงไปตาม สัดส่วนของสถาปัตยกรรม) ปักบนพระยานมาศสามลำคาน ในการเชิญพระบรมศพโดยกระบวนพระราชอิสริยยศ ปัก เหนื อ เกริ นขณะเชิ ญ พระโกศพระบรมศพขึ้ น สู่ พ ระมหา (๑) เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์ ต้องประดิษฐานไว้ตลอดรัชกาล หากชำรุดต้องตั้งนั่งร้านขึ้นซ่อม
219
10. up215-234-7 Sep.indd 219
9/7/12 8:49:33 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พิ ชั ย ราชรถ และเชิ ญ ขึ้ น ประดิ ษ ฐานเหนื อ พระเมรุ ม าศ แขวนเหนือพระจิตกาธานเมื่อสุมและเก็บพระบรมอัฐิ ๑.๑.๒ พระสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า พระสัตปฎล เศวตฉัตร หรือ พระบวรเศวตฉัตร (ใช้สำหรับกรมพระ ราชวังบวรสถานมงคล) มี ๗ ชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ ลวด ๓ ชั้น ชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง ใช้สำหรับพระ มหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระบรมราชาภิเษก สมเด็จพระ บรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ใช้แขวน หรือปักเหนือพระที่นั่งพุดตาน ปักเหนือพระคชาธารพระ ที่ นั่ ง ปั ก เหนื อ พระที่ นั่ ง อั ฐ ทิ ศ อุ ทุ ม พรราชอาสน์ ส ำหรั บ รับน้ำอภิเษก และปักเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐที่ประทับรับ เครื่ อ งราชกกุ ธ ภั ณฑ์ ในการพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เษก ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช ปักพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรเหนือพระที่นั่ง ภั ท รบิ ฐ แทนพระสั ป ตปฎลเศวตฉั ต ร นอกนั้ น ใช้ ปั ก หรื อ แขวนเช่นเดียวกับพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ๑.๑.๓ พระเบญจปฎลเศวตฉัตร มี ๕ ชั้น แต่ละ ชั้นมีระบายขลิบทองแผ่ลวด ๒ ชั้น ชั้นล่างสุดห้อยอุบะ จำปาทองสำหรับพระราชวงศ์ชนั้ สมเด็จเจ้าฟ้า พระราชเทวี พระอัครชายาเธอ และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ใช้ปักหรือ แขวนเช่นเดียวกับพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ๑.๑.๔ เศวตฉัตร ๓ ชั้น แต่ละชั้นมีระบายขลิบ ทองแผ่ ล วด ๒ ชั้ น ชั้ น ล่ า งห้ อ ยอุ บ ะจำปาทอง สำหรั บ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ใช้ปักเหนือ พระแท่ น ประจำตำแหน่ ง แขวนเหนื อ พระโกศ ณ ที่ 220 10. up215-234-7 Sep.indd 220
9/7/12 8:49:35 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ประดิษฐานพระศพ และแขวนเหนือพระจิตกาธานเมื่อสุม และเก็บพระอัฐิ ๑.๒ ฉัตรขาวลายทอง หรือ ฉัตรกำมะลอ มี ๕ ชั้น พื้ น ขาวเขี ย นลายทอง ชั้ น ล่ า งสุ ด ห้ อ ยอุ บ ะจำปาทอง สำหรับพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่ดำรงพระอิสริยยศ เป็นเจ้าต่างกรมชั้นกรมพระยา ใช้แขวนเหนือพระโกศ ณ ทีต่ งั้ พระศพ และแขวนเหนือพระจิตกาธานเมือ่ สุมและเก็บ พระอัฐิ ๑.๓ ฉัตรตาด มี ๒ แบบ คือ ๑.๓.๑ ฉั ต รตาดขาว ๕ ชั้ น แต่ ล ะชั้ น มี ร ะบาย ๒ ชั้น ขอบระบายติดแถบกระจังเงิน ชั้นล่างสุดห้อยอุบะ จำปาทอง สำหรับพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ ดำรงพระอิสริยยศพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมพระ ใช้เช่น เดียวกับข้อ ๑.๒ ๑.๓.๒ ฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีระบาย ติดแถบกระจังเงิน ชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง สำหรับ พระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศ พระองค์เจ้าต่างกรมชัน้ กรมหลวง และสมเด็จพระสังฆราช เจ้า ใช้ปักเหนือพระแท่นตำแหน่ง นอกนั้นใช้เช่นเดียวกับ ข้อ ๑.๒ ๑.๔ ฉัตรโหมด มี ๕ แบบ ดังนี้ ๑.๔.๑ ฉัตรโหมดขาว ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีระบาย ขอบติ ด แถบกระจั ง เงิ น ชั้ น ล่ า งสุ ด ห้ อ ยอุ บ ะจำปาทอง สำหรับพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระ อิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมขุน ๑.๔.๒ ฉัตรโหมดเหลือง ๕ ชั้น ลักษณะเดียวกับ ฉัตรตาด สำหรับพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ ที่ดำรงพระอิสริยยศพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมหมื่น 221 10. up215-234-7 Sep.indd 221
9/7/12 8:49:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๑.๔.๓ ฉั ต รโหมดทอง ๕ ชั้ น ลั ก ษณะเดี ย วกั บ ฉัตรตาด สำหรับพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ ดำรงพระอิสริยยศพระองค์เจ้าแต่มิได้ทรงกรม ๑.๔.๔ ฉั ต รโหมดเงิ น ๓ ชั้ น ลั ก ษณะเดี ย วกั บ ฉัตรตาด สำหรับพระราชโอรสธิดาในสมเด็จพระบวรราช เจ้าที่ดำรงพระอิสริยยศพระองค์เจ้าต่างกรม ๑.๔.๕ ฉั ต รโหมดทอง ๓ ชั้ น ลั ก ษณะเดี ย วกั บ ฉัตรตาด สำหรับพระราชโอรสธิดาในสมเด็จพระบวรราช เจ้าที่ดำรงพระอิสริยยศพระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม ๒. ฉัตรตั้งในพิธีหรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ มี ๖ ชนิด คือ ๒.๑ พระกรรภิรมย์ ฉัตรสีขาว ๕ ชั้น ลงยันต์ด้วยเส้น ทอง สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัตย์หรือพระ เสนาธิปัตย์ พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ใช้ ก างเชิ ญ นำพระราชยานเวลาพระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ พระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตรา หรือขบวนแห่พระ บรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และขบวนแห่ช้างสำคัญในพระ ราชพิธี ๒.๒ พระอภิรุมชุมสาย เป็นฉัตรเครื่องสูง ใช้ในขบวน แห่หรือสวมฐานตั้งเป็นเกียรติยศประจำสถานที่หรือเฉพาะ งาน สำรับหนึ่งประกอบด้วยพระอภิรุม ฉัตร ๗ ชั้น ๔, พระอภิรุม ฉัตร ๕ ชั้น ๑๐, ชุมสาย ฉัตร ๓ ชั้น ๔ พระ อภิรุมชุมสาย มี ๒ แบบ ดังนี้ ๒.๒.๑ พระอภิ รุ ม ชุ ม สายปั ก หั ก ทองขวาง ทำ ด้วยผ้ากำมะหยี่ แต่ละชั้นมีระบายซ้อน ๒ ชั้น ปักดิ้นทอง ตามขวางของลายตั้งแต่เพดานถึงระบาย ใช้สำหรับพระ มหากษัตริย์ ต่อมาโปรดให้ใช้สำหรับสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช ใน สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ใ ช้ ๔ สี คื อ ฉั ต ร ๗ ชั้ น พื้ น สี ส้ ม 222 10. up215-234-7 Sep.indd 222
9/7/12 8:49:38 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ลู ก ขนาบที่ ร ะบายสี แดงเข้ ม ฉั ต ร ๕ ชั้ น พื้ น สี แดง ลู ก ขนาบที่ระบายสีน้ำเงิน พื้นสีน้ำเงิน ลูกขนาบที่ระบายเป็น สีแดง ส่วนฉัตรชุมสายพื้นสีเขียว ลูกขนาบที่ระบายเป็นสี แดงเข้ม ๒.๒.๒ พระอภิรุมชุมสายทองแผ่ลวด เป็นฉัตร ผ้าสีต่างๆ แต่ละชั้นมีระบายซ้อน ๒ ชั้น เดินทองแผ่ลวด เป็ น ลวดลายทั้ ง บนเพดานและที่ ร ะบาย ใช้ เ ต็ ม สำรั บ สำหรั บ พระราชวงศ์ ชั้ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ส่ ว นพระองค์ เจ้ า พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และ สมเด็จพระสังฆราช ไม่ใช้ฉัตรชุมสาย ๒.๓ ฉัตรเครื่องสูงวังหน้า มีระบาย ๒ ชั้นสีเดียวกัน เหมือนฉัตรทองแผ่ลวด สำหรับสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคลและพระราชโอรสธิดา เป็น เครื่องสูงทองแผ่ลวดสีต่างๆ สำรับหนึ่งมีฉัตร ๕ ชั้น ๔ (ใช้ แทนฉัตร ๗ ชั้น) ฉัตร ๓ ชั้น ๑๐ (ใช้แทนฉัตร ๕ ชั้น) ๒.๔ ฉัตรเครื่อง เป็นฉัตร ๕ ชั้น เหมือนฉัตรทองแผ่ ลวด ใช้สำหรับศพพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระ ราชาคณะ ศพผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ศพผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้น เจ้ า พระยาสุ พ รรณบั ฏ หรื อ หิ รั ญ บั ฏ นอกจากนี้ ยั ง ใช้ สำหรับศพผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธาน สภาผู้ แทนราษฎร ประธานวุ ฒิ ส ภา ประธานศาลฎี ก า และประธานองค์กรอิสระทีก่ ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทีถ่ งึ แก่ อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ๒.๕ ฉัตรเบญจา เป็นฉัตร ๕ ชั้น ทรงชะลูดเช่นเดียว กับฉัตร ๕ ชั้นทองแผ่ลวด แต่ไม่เดินทองแผ่ลวดบนเพดาน ฉัตร และระบายที่ซ้อนกันเป็นผ้าต่างสี ใช้สำหรับการศพ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นธรรมถึง 223 10. up215-234-7 Sep.indd 223
9/7/12 8:49:40 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง พระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ต่ำกว่าทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ หรือไม่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และศพผู้ได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิ ส ริ ย าภรณ์ จุ ล จอมเกล้ า ตั้ ง แต่ ชั้ นทุ ติ ย จุ ล จอมเกล้ า ขึ้นไป แต่ไม่ถึงปฐมจุลจอมเกล้า ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประถมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฎ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก รวมถึงบิดามารดาของผู้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายก รั ฐ มนตรี ประธานรั ฐ สภา ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา และประธานองค์กร อิสระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ถึงแก่กรรมขณะที่บุตร ดำรงตำแหน่ง ๒.๖ ฉัตรราชวัติ ฉัตรที่ปักไว้ที่รั้วบอกเขตมณฑลพิธี เป็นฉัตรสีต่างๆ อันเป็นแม่สีเรียกว่าเบญจรงค์ และฉัตร เงิน ทอง นาก มีระบายชั้นเดียว รูปทรงเหมือนฉัตรเครื่อง สูงบ้าง รูปทรงกระบอกบ้าง เป็นฉัตรระบายกลีบบัวบ้าง ทำด้วยโลหะสลักโปร่งบ้าง จำนวนชั้นของฉัตรสุดแต่งาน ถ้าเป็นงานสำคัญของพระมหากษัตริย์ เช่น ราชวัติมุมพระ มณฑปพระกระยาสนาน ราชวัติพระเมรุมาศใช้ฉัตร ๗ ชั้น พระราชวงศ์ชั้นสูงใช้ ๕ ชั้น หรือใช้ทั้ง ๗ ชั้น และ ๕ ชั้น หรือบางงานใช้ฉัตรทอง เงิน นาก เท่านั้น พระกลด
– ร่มด้ามยาวสำหรับประกอบพระเกียรติยศ
พระกลดคันสั้น, พระกลดน้อย
– ร่ม
พระราชลัญจกร
– ตราสำหรับแผ่นดินสำหรับใช้ประทับเอกสารสำคัญ
พระสังวาล
– พระสังวาล หรือสร้อยตัวใช้สวมเฉวียงบ่า สำหรับพระมหา กษัตริย์ทรงในงานพระราชพิธีสำคัญ มี ๒ องค์ คือ 224
10. up215-234-7 Sep.indd 224
9/7/12 8:49:42 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๑. พระสังวาลพระนพ เป็นสร้อยอ่อนรวม ๓ เส้นเรียง กัน ทำด้วยทองคำ มีดอกประจำยามดอกหนึ่ง ประดับด้วย นพรัตนมณี ๙ ชนิดคือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม นิล โกเมน มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ ๒. พระมหาสังวาลนพรัตน์ เป็นสังวาลแฝดทำด้วย ทองคำ มี ด อกประจำยามทำด้ ว ยทองฝั ง นพรั ต นมณี ๙ ชนิดคือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ รวม ๓ ชุดเรียงต่อกัน ทั้งสายมี ๒๗ ดอก เครื่องราชูปโภค
– เครื่องใช้ตามปรกติของพระมหากษัตริย์ มีหลายสิ่งด้วยกัน กล่าวเฉพาะองค์ที่สำคัญซึ่งเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศที่ใช้ตั้งแต่งในงานพระราชพิธี ได้แก่
๑. พานพระขันหมาก เป็นพานสี่เหลี่ยมสองชั้น ย่อมุม ไม้ สิ บ สอง มี ซ องพลู และตลั บ พร้ อ มเครื่ อ งใน ทำด้ ว ย ทองคำลงยาประดับอัญมณีทั้งชุด สำหรับวางพระศรี คือ หมาก พลู และยาเส้น เป็นต้น ๒. พระมณฑปรั ต นกรั ณฑ์ เป็ น ภาชนะทรงมณฑป บรรจุน้ำเย็น ทำด้วยทองคำลงยาประดับอัญมณี มีพาน รองและจอกลอย ๓. พระสุพรรณราช คือ กระโถนใหญ่ ทำด้วยทองคำ ลงยาจำหลักลาย ๔. พระสุพรรณศรีบัวแฉก คือ กระโถนเล็ก ทำด้วย ทองคำลงยาประดับอัญมณี พระแสงราชศัสตราวุธ
– อาวุธของพระมหากษัตริย์ ที่สำคัญเช่น
๑. พระแสงราชศั ส ตรา ดาบที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระ
จุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ ส ร้ า งขึ้ น พระราชทานแก่ 225 10. up215-234-7 Sep.indd 225
9/7/12 8:49:44 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เมืองสำคัญต่างๆ เป็นพระแสงอาญาสิทธิ์แทนพระองค์ ในการปกครอง(๑) ๒. พระแสงอัษฎาวุธ อาวุธที่ใช้ตั้งแต่งในการพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เษกและพระราชพิ ธี ที่ ส ำคั ญ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้น มี ๘ องค์ ได้แก่ ๑. พระแสงตรี ๒. พระแสงจักร ๓. พระแสงธนู ๔. พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๕. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง ๖. พระแสงหอกเพชรรัตน หรือพระแสงหอกชัย ๗. พระแสงดาบเชลย ๘. พระแสงดาบมีเขน ๓. พระแสงดาบคาบค่าย ดาบ ฝักและด้ามทำด้วย ทองคำ ๔. พ ระแสงดาบใจเพชร ดาบ ฝั ก และด้ า มทำด้ ว ย ทองคำฝังเพชร ๕. พระแสงเวี ย ด ดาบ ฝั ก และด้ า มทำด้ ว ยทองคำ พระเจ้าเวียดนามญาลองถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๖. พระแสงฟันปลา ดาบ มีลายที่ใบดาบลักษณะคล้าย ฟันของปลา ฝักและด้ามทำด้วยทองคำ ๗. พระแสงแฝด ดาบ มี ๒ เล่มซ้อนอยู่ในฝักเดียวกัน ฝักและด้ามทำด้วยทองคำ ๘. พระแสงฝักทองเกลี้ยง ดาบ ฝักและด้ามทำด้วย ทองคำ (๑) เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดที่ได้รับพระราชทานพระแสงราชศัสตรา ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเชิญ พระแสงราชศัสตราดังกล่าวมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แสดงว่าถวายพระราชอำนาจคืน และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับ จะพระราชทานคืน
226 10. up215-234-7 Sep.indd 226
9/7/12 8:49:46 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงฉลองพระองค์เครื่องต้น บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระมหาสังวาลนพรัตน์ 227 10. p215-234-6 Sep.indd 227
9/6/12 8:18:23 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระสังวาลพระนพ
พระมหาสังวาลนพรัตน์ 228 10. p215-234-6 Sep.indd 228
9/6/12 8:18:29 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พานพระขันหมาก
พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ 229 10. p215-234-6 Sep.indd 229
9/6/12 8:18:34 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแสงจักร และพระแสงตรีศูล
พระแสงศรกำลังราม 230 10. p215-234-6 Sep.indd 230
9/6/12 8:18:40 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแสงดาบคาบค่าย
พระแสงดาบใจเพชร 231 10. p215-234-6 Sep.indd 231
9/6/12 8:18:47 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแสงเวียด
พระแสงฟันปลา 232 10. p215-234-6 Sep.indd 232
9/6/12 8:18:55 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแสงดาบฝักทองเกลี้ยง
พระแสงกระบี่นาคสามเศียร 233 10. p215-234-6 Sep.indd 233
9/6/12 8:19:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระสุพรรณราช
พระสุพรรณศรีบัวแฉก 234 10. p215-234-6 Sep.indd 234
9/6/12 8:19:04 PM
หมวดที่ ๘ พระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน พระบรมมหาราชวัง
– วั ง ใหญ่ ข องพระมหากษั ต ริ ย์ ราษฎรเรี ย กว่ า วั ง หลวง พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชโปรด ให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับ และเป็นศูนย์การบริหารราชการ แผ่ น ดิ น เรี ย กว่ า พระราชวั ง หลวง ครั้ น ถึ ง รั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประกาศ เป็น พระบรมมหาราชวัง ในกาลต่อมาแม้พระมหากษัตริย์ จะมิได้เสด็จประทับ พระบรมมหาราชวังก็ยังเป็นสถานที่ ประกอบการพระราชพิธีและรับรองพระราชอาคันตุกะ
พระราชวัง
– วังของพระมหากษัตริย์ มีระดับความสำคัญรองจากพระ บรมมหาราชวั ง เป็ นที่ ป ระทั บ ของพระมหากษั ต ริ ย์ เช่ น เดียวกัน วังใดที่จะเรียกว่า พระราชวัง ได้นั้น พระมหา กษัตริย์จะทรงประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาขึ้น เป็น พระราชวัง มิใช่ว่าวังใดที่จัดเป็นที่ประทับของพระ มหากษัตริย์แล้วจะเรียกว่า พระราชวัง ทั้งหมด บรรดาวัง ที่มีประกาศพระบรมราชโองการยกขึ้นเป็น พระราชวัง แล้วนั้นตามหลักฐานที่ปรากฏในประชุมพงศาวดารภาค ๒๖ เรื่องตำนานวังเก่า มี ๑๙ พระราชวังคือ
สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช
๑. พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) สร้างเป็นที่ ประทั บ ของพระมหาอุ ป ราช กรมพระราชวั ง บวรสถาน มงคล ปั จ จุ บั น คื อ บริ เ วณพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ
พระนคร โรงละครแห่งชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 235 11. up 235-244-7 Sep.indd 235
9/7/12 8:54:35 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒. พระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) สร้างเป็นที่ ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข อยู่ ณ ตำบล สวนลิ้ น จี่ ธนบุ รี ปั จ จุ บั น คื อ บริ เวณที่ ตั้ ง โรงพยาบาล ศิริราช สร้ า งในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า
เจ้าอยู่หัว
๑. พระราชวังนันทอุทยาน สร้างขึ้นในสวนริมคลอง มอญฝั่งเหนือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหน่วยงานของกองทัพเรือ ๒. พระราชวังปทุมวัน สร้างเป็นที่เสด็จประพาสในที่ ทุ่งนาบางกะปิ ริมคลองแสนแสบฝั่งใต้ ต่อมา พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแบ่งที่ดินพระราชทาน ให้ ส มเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า จุ ฑ าธุ ช ธราดิ ล ก
กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ซึ่งทรงสร้าง วังเพชรบูรณ์ และให้ ส มเด็ จ พระมหิ ต ลาธิ เบศร อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระ บรมราชชนก ซึ่งทรงสร้าง วังสระปทุม มีวัดปทุมวนาราม
คั่นกลาง ๓. พระราชวังสราญรมย์ สร้างขึ้นทางฝั่งตะวันออก ถนนสนามไชย ปัจจุบันส่วนที่เป็นพระตำหนักอยู่ในความ ดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนที่เป็นพระราชอุทยานสราญรมย์เป็นสวนสาธารณะอยู่ในความดูแลของ กรุงเทพมหานคร
๔. พระราชวังเมืองสมุทรปราการ สร้างขึ้นตรงข้าม กับสถานีรถไฟสมุทรปราการ ปัจจุบันรื้อแล้ว
๕. พระราชวังบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา สร้ า งขึ้ น ในที่ เดิ ม ที่ ส มเด็ จ พระเจ้ า ปราสาททองทรงสร้างไว้ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระราชวั ง ถู ก ทิ้ ง ร้ า งจนถึ ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ ส ร้ า งพระที่ นั่ ง ขึ้ น องค์ ห นึ่ ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระ ที่นั่งวโรภาษพิมาน พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร พระที่นั่ง 236 11. up 235-244-7 Sep.indd 236
9/7/12 8:54:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เวหาศน์ จ ำรู ญ ต่ อ มาเมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๘๔ พระที่ นั่ ง อุทยานภูมิเสถียรถูกไฟไหม้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชโปรดให้ ส ร้ า งพระที่ นั่ ง อุ ท ยาน ภู มิ เ สถี ย รขึ้ น ใหม่ และบู ร ณะพระตำหนั ก และตำหนั ก ต่างๆ ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ๖. พระราชวังจันทร์เกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วังจันทร์” สมเด็จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาดำรงราชานุ ภ าพทรง สันนิษฐานว่า สร้างขึน้ เป็นทีป่ ระทับของสมเด็จพระนเรศวร มหาราชขณะยังดำรงพระยศเป็นพระยุพราช ต่อมาได้เป็น ที่ประทับของพระมหาอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยาอีกหลาย พระองค์ ครั้ นถึ ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นใหม่สำหรับเป็นที่ประทับเวลา เสด็จประพาสกรุงเก่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเคยเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ครั้นสร้าง พระราชวั ง บางปะอิ น แล้ ว จึ ง พระราชทานพระราชวั ง จันทร์เกษมให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทร์เกษม ๗. พระราชวั ง ท้ า ยพิ กุ ล เขาพระพุ ท ธบาท อำเภอ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี พระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุง ศรีอยุธยาโปรดให้สร้างเป็นที่ประทับเมื่อเวลาเสด็จขึ้นไป ทรงนมัสการรอยพระพุทธบาท พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างตำหนักและเรือนข้าราชบริพาร ขึ้นในกำแพงพระราชวัง ตัวอาคารเป็นเครื่องขัดแตะถือปูน ปัจจุบันผุพังไปหมดแล้ว ๘. พระราชวังพระนครคีรี พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ ส ร้ า งขึ้ น บนยอดเขามไหสวรรย์ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการบูรณะเป็น ระยะมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่ หั ว จนถึ ง รั ช กาลปั จ จุ บั น ได้ ป ระกาศเป็ น อุ ท ยาน ประวัติศาสตร์ พระนครคีรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๒ 237 11. up 235-244-7 Sep.indd 237
9/7/12 8:54:39 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๙. พระราชวังสีทา จังหวัดสระบุรี พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ฝั่งตะวันตก ณ ตำบลบ้านสีทา ปัจจุบันไม่มีแล้ว เป็นพื้นที่ ที่ราษฎรอยู่อาศัย สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว
๑. พระราชวังดุสิต เมื่อแรกสร้างพระราชทานชื่อว่า สวนดุ สิ ต ต่ อ มาจึ ง ประกาศยกขึ้ น เป็ น พระราชวั ง ส่ ว น พระตำหนั ก จิ ต รลดารโหฐาน ที่ ป ระทั บ ของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้น สร้างขึ้นใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นส่วน หนึ่งของพระราชวังดุสิต เรียกว่า พระตำหนักจิตรลดา รโหฐาน สวนจิตรลดา ๒. พระราชวังพญาไท เมื่อแรกสร้างพระราชทานชื่อ ว่า พระตำหนักพญาไท ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับ และ ประกาศยกขึน้ เป็น พระราชวังพญาไท ในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น โฮเต็ลพญาไท สำหรับ ต้อนรับแขกเมือง เป็นสโมสรโรตารี่ และเป็นที่ทำการกรม ไปรษณีย์โทรเลขตามลำดับ โดยเฉพาะได้เป็นที่ตั้งสถานี วิทยุกระจายเสียง ชื่อว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท (Radio Bangkok at Phya Thai) ในสังกัดกรมไปรษณีย์ โทรเลข ปัจจุบัน คือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ๓. พระราชวังเมืองราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัด ราชบุรี สร้างขึ้นทางฝั่งทางตะวันตก ตรงข้ามเมืองราชบุรี ปัจจุบันเป็นที่ทำการสถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี ๔. พระราชวังเขาสัตนาถ(๑) สร้างขึ้นบนเขาสัตนาถ อำเภอเมื อ งราชบุ รี จั ง หวั ด ราชบุ รี และสร้ า งตำหนั ก (๑) อ่านว่า สัด-ตะ-หนาด
238 11. up 235-244-7 Sep.indd 238
9/7/12 8:54:41 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ที่ประทับของเจ้านายที่ตามเสด็จบนยอดเขามอ ปัจจุบัน เรียกว่า เขาวัง ๕. พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน อยู่ที่เกาะสีชัง จังหวัด ชลบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งด้วยไม้สักทอง ต่อมา โปรดให้รื้อ พระที่ นั่ ง ไม้ สั ก ทั้ ง องค์ นั้ น มาสร้ า งในพระราชวั ง ดุ สิ ต พระราชทานนามว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ พระบาทสมเด็จ พระปรมิ นทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช โปรดให้ บู ร ณะและ
จั ด เป็ นพิ พิ ธภั ณฑ์ วิม านเมฆ เปิด ให้ ป ระชาชนเข้า ชมได้ ส่วนพระราชวังจุฑาธุชราชฐาน ปัจจุบันอยู่ในความดูแล ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการบูรณะเป็นสถาน ที่ท่องเที่ยว ๖. พระราชวั ง รั ต นรั ง สรรค์ อำเภอเมื อ งระนอง จังหวัดระนอง พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) สร้างเป็นพลับพลาไม้อย่างมั่นคงบนเนินควนอัน เพื่อรับ เสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราว เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตก พุทธศักราช ๒๔๑๓ ซึ่ง โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นพระราชวัง ต่อมาองค์พระที่นั่ง ชำรุดทรุดโทรม จึงรื้อลงแล้วสร้างขึ้นเป็นตึก ปัจจุบันเป็น ที่ทำการศาลากลางจังหวัดระนอง ๗. พระราชวังบ้านปืน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฤดูฝน พระราชวังนั้นยังสร้าง ค้างอยู่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรด ให้สร้างต่อจนเสร็จ แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า พระราม ราชนิเวศน์ ปัจจุบันพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานทหารบก
239 11. up 235-244-7 Sep.indd 239
9/7/12 8:54:43 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว
พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นตั้งแต่ทรง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ ราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับเพื่อทรงตรวจ ตราและบั ญ ชาการซ้ อ มรบเสื อ ป่ า ในรั ช กาลพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชวัง สนามจันทร์บางส่วนให้กระทรวงมหาดไทยจัดเป็นศาลา กลางจังหวัด ในรัชกาลปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้ส่งคืน แก่ ส ำนั ก พระราชวั ง บางส่ ว นใช้ เป็ นที่ ตั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว พระราชนิเวศน์
– ที่ ป ระทั บ ของพระมหากษั ต ริ ย์ มี ค วามสำคั ญ รองลงมา จากพระราชวั ง มั ก สร้ า งขึ้ น ไว้ ส ำหรั บ พระมหากษั ต ริ ย์ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระราชนิเวศน์ขึ้น ในพื้นที่ชายทะเลตำบลบางกรา ระหว่างหัวหินและหาด เจ้าสำราญ พระราชทานนามว่า พระราชนิเวศน์มฤคทาย วัน ปัจจุบัน พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตำรวจ ตระเวนชายแดนใช้ บ ริ เ วณโดยรอบเป็ น ที่ ท ำการค่ า ย พระรามหก
พระราชนิเวศน์ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบันมีอยู่ ๓ แห่ง คือ ๑. ภาคเหนือ ภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ๒. ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ภู พ านราชนิ เวศน์ จังหวัดสกลนคร ๓. ภาคใต้ ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส 240 11. up 235-244-7 Sep.indd 240
9/7/12 8:54:45 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชนิ เวศน์ ทั้ ง ๓ แห่ ง นี้ โปรดให้ ส ร้ า งไว้ เป็ นที่ ประทับแรมเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน ท้องถิ่นต่างๆ วัง
– ที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ของ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า เรียกว่า วัง ทั้งสิ้น เช่น วังวรดิศ ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ วังบางขุนพรหม ที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต ปัจจุบันเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย
ปราสาท
– เรื อ นหลวง เป็ น อาคารมี ห ลั ง คายอด ปลู ก สร้ า งอยู่ ใ น พระบรมมหาราชวังหรือพระราชวัง เช่น
๑. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมเป็นที่ตั้งพระที่นั่ง อมริ นทราภิ เษกมหาปราสาท ซึ่ ง สร้ า งด้ ว ยไม้ ต่ อ มาถู ก ฟ้าผ่าไฟไหม้เสียหายทั้งองค์ จึงรื้อลงแล้วสร้างพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท ๒. พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เป็นพลับพลาโถง อยู่บนกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งดุสิตมหา ปราสาท เป็นที่เสด็จขึ้นเสด็จลงพระราชยานในพระราชพิธี ๓. พระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาท เป็นอาคารสถาปัตยกรรม แบบยุโรป หลังคาเป็นสถาปัตยกรรมไทย ทรงปราสาท มี ๓ ยอด ๔. พระที่นั่งมหิศรปราสาท สร้างในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปราสาท ๕ ยอด ๕. พระที่ นั่ ง สุ ท ไธสวรรย์ ป ราสาท สร้ า งในรั ช กาล พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว เป็ น พระที่ นั่ ง ไม้ สร้างบนกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก พระมหามณเฑียร, พระราชมณเฑียร
– เรือนหลวงประเภทที่มีหลังคาคฤห (หลังคาจั่ว) มีช่อฟ้า หน้าบัน พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวังที่ปลูก 241
11. up 235-244-7 Sep.indd 241
9/7/12 8:54:46 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สร้างติดต่อเชื่อมกันเรียกว่า หมู่พระมหามณเฑียร ได้แก่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งเทพสถานพิลาส และพระที่นั่ง เทพอาสน์พิไล พระมหามณเฑียร โบราณสร้างในรูปแบบหลังคา คฤห ในสมัยต่อมา เช่น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รูปแบบหลังคาเปลี่ยนไปตามพระราชนิยม พระที่นั่ง
– เรือนหลวงในพระบรมมหาราชวัง และในพระราชวัง ไม่ว่า จะเป็นประเภทเรือนที่เรียกว่าปราสาท หรือเรือนหลังคาจั่ว คือเรือนหลังคาไม่มียอด ปลูกสร้างไว้เป็นที่ประทับของพระ มหากษัตริย์ หรือสถานที่ภายในองค์ปราสาทที่ใช้สำหรับ กิจการต่างๆ ก็เรียกว่า พระที่นั่ง ทั้งนั้น เช่น ในหมู่พระ ที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันตกชั้นกลาง มีพระที่นั่ง สำคัญ ๆ คือ
๑. พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์
๒. พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
๓. พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์
๔. พระที่นั่งพิพัฒพงศ์ถาวรวิจิตร
๕. พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร (เป็นที่ประทับ ส่ ว นพระองค์ ข องพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอม เกล้าเจ้าอยู่หัว)
๖. พระที่นั่งอมรพิมานมณี
๗. พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์
๘. พระที่นั่งบรรณาคมสรณีย์
๙. พระที่นั่งราชปรีดีวโรทัย
๑๐. พระที่นั่งเทพดนัยนันทิยากร 242
11. up 235-244-7 Sep.indd 242
9/7/12 8:54:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่ นั่ ง เหล่ า นี้ ปั จ จุ บั น เหลื อ เพี ย งพระที่ นั่ ง มู ล สถานบรมอาสน์ และพระที่ นั่ ง สมมติ เทวราชอุ ป บั ติ ส่วนพระที่นั่งองค์อื่นๆ รื้อลงหมดแล้ว ในรัชกาลพระบาท สมเด็ จ พระปรมิ นทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชโปรดให้ ส ร้ า ง พระทีน่ งั่ ขึน้ ใหม่เชือ่ มต่อด้านหลังพระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาท มีขนาดใกล้เคียงกัน พระราชทานชื่อตามพระที่นั่งองค์เดิม ว่า พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ด้านหลังพระที่นั่งองค์ นี้โปรดให้สร้างพระที่นั่งโถงอีกองค์หนึ่งพระราชทานชื่อว่า พระที่นั่งเทวารัณยสถาน พระที่นั่งโถง
– พระที่นั่งโล่งไม่มีฝา เช่น พระที่นั่งสนามจันทน์ พระที่นั่ง สีตลาภิรมย์
พระตำหนัก(๑)
– หมายถึงอาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เช่น พระ ตำหนั ก จิ ต รลดารโหฐาน พระราชวั ง ดุ สิ ต พระตำหนั ก เปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตำหนัก
– อาคารที่ประทับของพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ถึงหม่อมเจ้า
พลับพลา
– ที่ประทับชั่วคราวของพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นสำหรับงาน พิธีกลางแจ้งหรือเป็นที่ประทับชั่วคราว
พลับพลาโถง
– พลั บ พลาที่ ไม่ มี ฝ า โดยปกติ เป็ นที่ ป ระทั บ ทอดพระเนตร ขบวนแห่หรือทอดพระเนตรการแสดงต่างๆ
พลับพลาเปลี้องเครื่อง
– พลับพลาสำหรับพระมหากษัตริย์เปลี่ยนเครื่องทรง เช่น ที่ วั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม วั ด ราชบพิ ธ สถิ ต มหา
สีมาราม
พระที่นั่งชุมสาย
– พระที่นั่งที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ชั่วคราวในการประกอบพระ ราชพิ ธี ก ลางแจ้ ง เช่ น พระราชพิ ธี พ ระราชทานธงไชย เฉลิมพล
(๑) ปัจจุบันคำนี้ใช้แก่อาคารที่ประทับของพระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึงสมเด็จเจ้าฟ้า
243 11. up 235-244-7 Sep.indd 243
9/7/12 8:54:50 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
อัฒจันทร์
– บั น ไดที่ ก้ า วขึ้ น ลงของพระที่ นั่ ง และพระตำหนั ก ถ้ า เป็ น บันไดของตำหนักเรียกว่า บันได อย่างคำสามัญ
พระทวาร
– ประตูของพระที่นั่งและพระตำหนัก ประตูกำแพงแก้วของ พระที่นั่งสำคัญบางองค์ เช่น ประตูกำแพงแก้วด้านตะวัน ตกและด้านเหนือของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีนามว่า พระทวารเทเวศรรั ก ษา พระทวารเทวาภิ บ าล ถ้ า เป็ น ประตูของตำหนัก เรียกว่าประตูอย่างคำสามัญ
พระบัญชร
– หน้าต่างของพระที่นั่ง
พระแกล
– หน้าต่างของพระตำหนักและตำหนัก
สีหบัญชร
– หน้ า ต่ า งของพระที่ นั่ ง ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ ออกให้ ข้ า ราชการและประชาชนเฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท มี ลักษณะยาวถึงพื้น มีระเบียงยื่นออกไป เช่น สีหบัญชรที่ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท สีหบัญชรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
มุขเด็จ
– ประตูของพระที่นั่งที่พระมหากษัตริย์ประทับว่าราชการ หรือเสด็จออกให้ข้าราชการและประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาท เช่น มุขเด็จที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ห้องเครื่อง(๑)
– ห้องประกอบอาหาร
ห้องพระบรรทม
– ห้องนอน
ห้องแต่งพระองค์
– ห้องแต่งตัว
ห้องทรงพระอักษร
– ห้องเขียนหนังสือ
ห้องทรงพระสำราญ
– ห้องพักผ่อน
ห้องสรง
– ห้องน้ำ
(๑) คำว่า เครื่อง ที่ประกอบขึ้นเป็นราชาศัพท์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ – เครื่องอุปโภค ได้แก่ ของใช้สอย เช่น เครื่องราชูปโภค เครื่องสูง เครื่องทรง เป็นต้น – เครื่องบริโภค ได้แก่ ของกิน เช่น เครื่องเสวย
244 11. up 235-244-7 Sep.indd 244
9/7/12 8:54:52 PM
หมวดที่ ๙ พระราชพาหนะ
พระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงหรือประทับ เพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปใน การพระราชพิธี พิธี หรือทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ มีหลายประเภทดังนี้ ๑. พระราชยาน คือพาหนะประเภทมีคานหาม เคลื่อนที่โดยมีเจ้าพนักงานแบกหาม ใช้ในการ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธี พิธีหรือทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และใช้ในการเชิญ พระโกศพระบรมศพ พระบรมอัฐิ พระศพ พระอัฐิ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระราชวงศ์ชั้นสูง
พระราชยานที่สำคัญมีชื่อและลักษณะต่างกันดังนี้
๑.๑ พระยานมาศ ทำด้วยไม้สลักลายปิดทอง มีคานหามคู่และมีแอกทั้งหน้าหลัง มี เชือกหุ้มผ้าผูกแอกนั้นแล้วไปคล้องกับลูกไม้ สำหรับประทับราบและมีพนักพิง ใช้คนหาม ๘ คน ๑.๒ พระยานมาศสามลำคาน คานหามขนาดใหญ่ทำด้วยไม้ปิดทอง ฐานประดับรูป เทพนมและครุฑเป็น ๒ ชั้น มีพนัก มีคานหามสามคาน ใช้คนหาม ๖๐ คน ๑.๓ พระราชยานกง พระราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาท ทำด้วยไม้สลักลายปิด ทอง ฐานประดับด้วยครุฑแบก มีกงกับพนักพิง มีคาน ๒ คาน กับแอกและลูกไม้ ใช้คนหาม ๘ คน สำหรับทรงเวลาปรกติ ๑.๔ พระราชยานถม พระราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาท ทำด้วยไม้หุ้มด้วยเงิน ถมลงยาทาทอง มีกระจังปฏิญาณทองคำลงยาราชาวดีประดับ พระราชยานองค์นี้เจ้าพระยา นครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) สร้างถวายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑.๕ พระราชยานงา พระราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาท ทำด้วยงาช้างสลักลาย พระราชยานองค์นี้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ รองเสนาบดีกระทรวงวัง ผู้บัญชาการ กรมพระคชบาลและผู้บัญชาการกรมช่างสิบหมู่ ทรงสร้างร่วมกับพระยาจินดารังสรรค์ (รอด รัตนศิลปิน) ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒ ๑.๖ พระที่นั่งราชยานพุดตานถม พระราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาท ทำด้วยไม้ หุ้มเงินสลักลายพุดตาน ถมลงยาทาทอง เดิมสร้างขึ้นสำหรับเป็นพระราชอาสน์ประจำพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท ใช้เป็นพระราชยานได้ จึงมีห่วงและคานสำหรับหาม พระที่นั่งราชยานองค์นี้ สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาเพชรพิชัย (จีน) เป็นผู้สร้างถวาย 245 12. up245-263-7 Sep.indd 245
9/7/12 9:01:46 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๑.๗ พระราชยานทองลงยา พระราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาท พระรัตนโกษา บุตรพระยาเพชรพิชัย (จีน) ผู้สร้างพระราชยานพุดตานถม เป็นผู้สร้างถวายพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑.๘ พระที่ นั่ ง พุ ด ตานกาญจนสิ ง หาสน์ หรื อ พระที่ นั่ ง ราชยานพุ ด ตานทอง พระ ราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาท ทำด้วยไม้สลักลายหุ้มทอง ฐานประดับด้วยเทพนมและครุฑ แบก ๒ ชั้น เมื่อทอดเหนือพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร เรียกว่า พระที่นั่งพุดตาน กาญจนสิงหาสน์ ใช้เป็นที่ประทับเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จออกในงานพระราชพิธีใหญ่ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็น พระราชยานได้ จึงมีห่วงและคานสำหรับหาม เรียกว่า พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ใช้ในงาน เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ๑.๙ พระที่นั่งราเชนทรยาน พระราชยานที่มีบุษบก ใช้คนหาม ๕๖ คน เป็นที่ประทับ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพระราชอิสริยยศในพระราชพิธีสำคัญ เช่น เสด็จเลียบพระนคร เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระอัฐิ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ๒. ราชรถ ๒.๑ พระมหาพิ ชั ย ราชรถ เป็ น ราชรถที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๓๓๘ เพื่อใช้เชิญ พระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนาม หลวง ในพุทธศักราช ๒๓๓๙ เป็นครั้งแรก จากนั้นจึงถือเป็นราชประเพณีที่จะนำราชรถองค์นี้เป็น ราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระศพสมเด็จพระอัครมเหสี หรือโปรดให้เชิญ พระโกศพระศพพระบรมวงศ์ผู้ทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าบางพระองค์ในสมัยต่อๆ มา ภายหลังการเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พุทธศักราช ๒๔๕๓ พระมหาพิชัยราชรถชำรุด มิได้เชิญออกอีกเลย ต้องใช้พระเวชยันตราชรถเชิญ พระโกศพระบรมศพแทน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณปฏิสังขรณ์ ด้วยการเพิ่มล้ออีก ๑ ล้อ เพื่อให้รับน้ำหนักได้ดีขึ้นและสะดวกในการเคลื่อนย้าย รวมทั้งซ่อมส่วนที่ ชำรุดทั่วไปให้สมบูรณ์สวยงาม ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พุทธศักราช ๒๕๓๙ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช ๒๕๕๑ และพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พุทธศักราช ๒๕๕๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้ พระมหาพิชัยราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพ และพระศพ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุด 246 12. up245-263-7 Sep.indd 246
9/7/12 9:01:48 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ กางกั้นด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ 247 12. p245-263-6 Sep.indd 247
9/6/12 8:29:29 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่นั่งภัทรบิฐ เป็นที่ประทับรับเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค พระแสงราชศัสตราวุธ และพระแสงอัษฎาวุธ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ 248 12. p245-263-6 Sep.indd 248
9/6/12 8:29:34 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน ภายในท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้านหน้าประดิษฐานพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร 249 12. p245-263-6 Sep.indd 249
9/6/12 8:29:37 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุกกางกั้นด้วยนพปฎลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 250 12. p245-263-6 Sep.indd 250
9/6/12 8:29:38 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง
251 12. p245-263-6 Sep.indd 251
9/6/12 8:29:41 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่นั่งราชยานพุดตานถมในพระที่นั่งจักรี 252 12. p245-263-6 Sep.indd 252
9/6/12 8:29:43 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชยานถม หรือพระเสลี่ยงถม
พระราชยานงา หรือพระเสลี่ยงงา 253 12. p245-263-6 Sep.indd 253
9/6/12 8:29:46 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระที่นั่งราเชนทรยาน
พระยานมาศสามลำคาน 254 12. p245-263-6 Sep.indd 254
9/6/12 8:29:51 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาพิชัยราชรถ
พระเวชยันตราชรถ 255 12. p245-263-6 Sep.indd 255
9/6/12 8:29:56 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชรถน้อย
256 12. p245-263-6 Sep.indd 256
9/6/12 8:29:58 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 257 12. p245-263-6 Sep.indd 257
9/6/12 8:30:03 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
โขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ โขนเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช รัชกาลที่ 9
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
258 12. p245-263-6 Sep.indd 258
9/6/12 8:30:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระมหาพิชัยราชรถ ทำด้วยไม้สักแกะสลักลาย ทาชาด ปิดทอง ประดับกระจก มีขนาด กว้าง ๕.๐๐ เมตร ยาว ๑๕.๓๐ เมตร สูง ๑๑.๒๐ เมตร น้ำหนัก ๑๓.๗ ตัน โครงเครื่องล่างซึ่งเป็น ส่วนรับน้ำหนักประกอบด้วยล้อเหล็กด้านหน้า (ล้อเลี้ยว) ๒ ล้อ ล้อเหล็กด้านหลัง (ล้อหลัก) ๔ ล้อ ล้อนำบังคับเลี้ยว ๑ ล้อ มีล้อประดับซ้ายขวา ๔ ล้อ เฉพาะล้อประดับทำด้วยไม้สักแกะสลักลายปิด ทองประดับกระจก ระหว่างล้อหน้ากับล้อหลังทั้งสองด้านมีแปรกประกับ ส่วนหน้าสุดของราชรถ ประกอบด้วยงอนรถ ๓ งอน ทำด้วยไม้กลึงรูปรีทาสีแดงเรียบ งอนรถด้านซ้ายและขวาปลาย แกะสลักเป็นรูปเศียรนาค ส่วนงอนรถงอนกลางแกะสลักเป็นรูปนาคสามเศียร ประดับธงสามชาย พื้นแดงลายทองแผ่ลวดประดับพู่สีขาวทั้ง ๓ งอน ตัวราชรถ พื้นทาสีแดง ประกอบด้วยชั้นเกรินลดหลั่นกัน ๕ ชั้น พนมของเกรินแต่ละชั้น ด้านหน้าประดับไม้แกะสลักเป็นรูปหัวนาคประกอบลายกระหนกปิดทองประดับกระจก ด้านหลัง ประดับไม้แกะสลักลายกระหนก ท้ายเกรินปิดทองประดับกระจก เกรินชั้นที่ ๑ หน้าเกรินติดตั้ง แท่นที่นั่งประดับลายกระหนกหัวนาคสำหรับเป็นที่นั่งของสารถี ถือแพนหางนกยูง ท้ายเกรินติดตั้ง แท่นที่นั่งประดับลายกระหนกสำหรับเป็นที่นั่งของผู้เชิญพัดโบก ใต้ฐานเกรินชั้นที่ ๑ มีห่วงสำหรับ คล้องเชือกที่ใช้ฉุดชักราชรถทำด้วยเชือกมนิลาหุ้มผ้าแดง ด้านหน้า ๔ สาย ด้านหลัง ๒ สาย เหนือท้องไม้ข้างเกรินชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ และชั้นที่ ๔ ประดับไม้แกะสลักรูปเทพนมปิดทองประดับ กระจก ชั้นละ ๕๘ องค์ ชั้นที่ ๕ มี ๒๒ องค์ เหนือฐานเกริน ชั้นที่ ๕ ประดิษฐานบุษบก บุ ษ บกสำหรั บ ประดิ ษ ฐานพระโกศพระบรมศพหรื อ พระศพ ฐานพนั ก ด้ า นซ้ า ยถอด ประกอบได้ เพื่อให้พระโกศเคลื่อนเข้าประดิษฐานในบุษบกได้ ใต้องค์บุษบกมีกว้านไขพื้นบุษบกส่ง พระโกศขณะเข้าประดิษฐานอยู่ในบุษบกให้สูงขึ้นพ้นพนักเห็นเด่นชัดสง่างามตลอดทั้งองค์ เมื่อจะ เลื่อนพระโกศลง เกรินจะหมุนกว้านลงเพื่อให้ฐานพระโกศเสมอพื้นบุษบกเช่นเดิม เครื่องกว้านส่ง นี้เป็นเทคนิคของช่างฝีมือเอกในรัชกาลที่ ๒ คือ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (ต้นราชสกุล มนตรีกุล) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอในรัชกาลที่ ๑ เสาบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง โคนเสาบุษบกประดับกาบ พรหมศร หัวเสามีคันทวยสลักลาย เสาบุษบกแต่ละต้นผูกม่านตาดทองซับในสีแดง รวบกลางม่าน ที่ประจำยามรัดอกของเสา หลังคาบุษบกประกอบชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น ประดับบันแถลง ช่อฟ้า บราลี นาคปัก องค์ระฆัง เหม ๓ ชั้น แกะสลักย่อมุมไม้สิบสอง บัวกลุ่ม ๕ ชั้น ปลียอดปิดทองทึบ ลูกแก้วแกะสลักลาย ยอดประกอบด้วยเม็ดน้ำค้างและพุ่มข้าวบิณฑ์ เพดานหลังคาบุษบกประดับ ลายดาวจงกลและดอกจอก 259 12. up245-263-7 Sep.indd 259
9/7/12 9:01:07 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒.๒ พระเวชยันตราชรถ เป็นราชรถที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ-
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ราวพุทธศักราช ๒๓๔๒ สำหรับใช้เชิญพระศพพระบรมวงศ์ซึ่งทรงศักดิ์ สูงชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า เป็นราชรถซึ่งมีรูปทรงและขนาดใกล้เคียงกับพระมหาพิชัยราชรถ ต่างกันแต่ ลักษณะลวดลายที่จำหลักและตกแต่งที่องค์ราชรถเท่านั้น ต่อมาพระเวชยันตราชรถได้ใช้เป็นราชรถ เชิญพระบรมศพพระมหากษัตริย์ และพระศพสมเด็จพระอัครมเหสีแทนพระมหาพิชัยราชรถ เริ่ม แต่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระมหาพิชัยราชรถนั้นชำรุด ทรุดโทรมมากจนเคลื่อนออกจากที่ไม่ได้แล้ว ส่วนพระเวชยันตราชรถอยู่ในสภาพดีกว่าเนื่องจาก ได้รับการซ่อมบูรณะเพื่อใช้งานบ่อยครั้งกว่า พระเวชยันตราชรถ เมื่อแรกสร้างเสร็จได้พระราชทานชื่อว่า “เวไชยยันตราชรถ” แต่มา ภายหลังได้เปลี่ยนไปเป็น “เวชยันตราชรถ” มีลักษณะเป็นราชรถไม้ ทำด้วยไม้สักแกะสลักลาย ทาชาด ปิดทอง ประดับกระจก มีขนาดกว้าง ๕.๐๐ เมตร ยาว ๑๔.๑๐ เมตร สูง ๑๑.๙๐ เมตร น้ำหนัก ๑๒.๒๕ ตัน โครงเครื่องล่างซึ่งเป็นส่วนรับน้ำหนักประกอบด้วยล้อเหล็กด้านหน้า (ล้อ เลี้ยว) ๒ ล้อ ล้อเหล็กด้านหลัง (ล้อหลัก) ๔ ล้อ ล้อนำบังคับเลี้ยว ๑ ล้อ และล้อประดับซ้ายขวา ๔ ล้อ เฉพาะล้อประดับทำด้วยไม้แกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ระหว่างล้อหน้ากับล้อหลัง ทั้งสองด้านมีแปรกประกับ ส่วนหน้าสุดของราชรถประกอบด้วยงอนรถ ๓ งอน ทำด้วยไม้กลึง รูปรี ทาสีแดงเรียบ ปลายแกะสลักเป็นรูปเศียรนาค ประดับธงสามชายพื้นแดงลายทองแผ่ลวด ประดับ พู่สีขาว ตัวราชรถ พื้นทาสีแดง ประกอบด้วยชั้นเกรินลดหลั่นกัน ๕ ชั้น พนมของเกรินแต่ละชั้น ด้านหน้าประดับไม้แกะสลักเป็นรูปหัวนาคประกอบลายกระหนก ด้านหลังประดับไม้แกะสลักเป็น รูปหางนาคประกอบลายกระหนกกระทบครึ่งซีก รายละเอียดนอกนั้นเหมือนพระมหาพิชัยราชรถ ยกเว้นรูปเทพนมที่ฐานเกรินชั้นที่ ๕ มี ๒๐ องค์ ๒.๓ ราชรถน้อย เป็นราชรถที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ประมาณพุทธศักราช ๒๓๓๘ เพื่อใช้เป็นราชรถพระนำ สำหรับสมเด็จพระสังฆราช ประทับอ่านพระอภิธรรมนำพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๙ ในรัชกาลต่อๆ มาทรงพระกรุณาโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้ในการอื่นด้วย เช่น เชิญพระชัย (หลังช้าง) โดยขบวนพระอิสริยยศใน พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี ราชรถน้อยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นมี ๓ องค์ ทั้ง ๓ องค์มีลักษณะเป็นราชรถไม้ ทำด้วยไม้สักแกะสลักลายทาชาดปิดทอง ประดับกระจก ขนาด กว้าง ๓.๘๐ เมตร ยาว ๘.๐๐ เมตร สูง ๗.๕๐ เมตร น้ำหนัก ๓.๘๕ ตัน ๓.๖๕ ตัน และ ๓.๖๕ ตัน 260 12. up245-263-7 Sep.indd 260
9/7/12 9:01:09 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ตามลำดับ โครงเครื่องล่างซึ่งเป็นส่วนรับน้ำหนักประกอบด้วย ล้อไม้ด้านหน้า (ล้อเลี้ยว) ๒ ล้อ ล้อเหล็กด้านหลัง (ล้อหลัก) ๒ ล้อ ล้อประดับซ้ายขวา มี ๔ ล้อ เฉพาะล้อด้านหน้าและล้อประดับ ประกอบไม้สักแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก มีเหล็กรัดวงล้อ ระหว่างล้อหน้ากับล้อหลังทั้ง สองด้านมีแปรกประกับ ส่วนหน้าสุดของราชรถมีงอนรถ ๓ งอน ทำด้วยไม้กลึงรูปรี ทาสีแดงเรียบ ปลายงอนรถเป็นไม้แกะสลักลายรูปเศียรนาค ประดับธงสามชายพื้นแดงลายทองแผ่ลวด ประดับ พู่สีขาวทั้ง ๓ งอน ตัวราชรถ พื้นทาสีแดง ประกอบด้วยชั้นเกรินลดหลั่นกัน ๔ ชั้น พนมของเกรินแต่ละชั้น ด้ า นหน้ า ประดั บ ไม้ แ กะสลั ก รู ป หั ว นาคประกอบลายกระหนกปิ ด ทองประดั บ กระจก ด้ า นหลั ง ประดับไม้แกะสลักรูปหางนาคประกอบกระหนกกระทบครึ่งซีก เกรินชั้นที่ ๑ หน้าเกรินติดตั้งแท่น ที่นั่งประดับลายกระหนกสำหรับเป็นที่นั่งของสารถีถือแพนหางนกยูง ท้ายเกรินติดตั้งแท่นที่นั่ง ประดับลายกระหนกสำหรับเป็นที่นั่งของผู้เชิญพัดโบก ใต้ฐานเกรินชั้นที่ ๑ มีห่วงสำหรับคล้องเชือก ที่ใช้ฉุดชักราชรถทำด้วยเชือกมนิลาหุ้มผ้าแดง ด้านหน้า ๔ สาย ด้านหลัง ๒ สาย เหนือท้องไม้ ฐานเกรินชั้นที่ ๒ ประดับเทพนม ๓๔ องค์ เหนือท้องไม้ฐานเกรินชั้นที่ ๓ ประดับเทพนม ๓๐ องค์ เหนือเกรินชั้นที่ ๔ ประดิษฐานบุษบกหลังคาเครื่องยอด ด้านข้างทั้งสองด้านของชั้นฐานเกรินทุกชั้น เว้นช่องสำหรับขึ้นลงบุษบก บุษบกสำหรับสมเด็จพระสังฆราชประทับหรือสมเด็จพระราชาคณะนั่งอ่านพระอภิธรรม ชั้นฐานบุษบกชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นเกรินชั้นที่ ๔ ด้วย และฐานบุษบกชั้นที่ ๒ ประดับเทพนมชั้นละ ๒๐ องค์ เสาบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หัวเสามีคันทวยสลักลาย เสาบุษบกแต่ละต้นผูกผ้าม่านตาดทอง รวบกลางม่านที่ประจำยามรัดอกของเสา ด้านหลังบุษบกมีพนักพิง ส่วนหลังคาบุษบกประกอบชั้น เชิงกลอน ๕ ชั้น แต่ละชั้นประดับบันแถลง ช่อฟ้า บราลี นาคปัก เหม ๓ ชั้น แกะสลักย่อมุมไม้ สิบสอง บัวกลุ่ม ๕ ชั้น ปลียอดปิดทองทึบ ลูกแก้วแกะสลักลาย ยอดประกอบด้วยเม็ดน้ำค้าง พุ่ม ข้าวบิณฑ์ เพดานหลังคาบุษบกประดับลายดาวจงกลและดอกจอก มีชะเนาะหวาย(๑) จำนวน ๖ เส้น ทำหน้าที่ยึดโยงบุษบกและแคร่รองบุษบกกับแคร่ราชรถส่วนล่างทั้ง ๔ ด้าน ๓. เรือพระที่นั่ง ยานพาหนะทางน้ำ ใช้ในการเสด็จโดยขบวนเรือ ไม่ว่าจะโดยขบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค หรือขบวนปรกติ เรือลำที่ทรงแต่โบราณเรียกว่า เรือต้น ต่อมาเรียกเรือลำที่ทรงว่า เรือพระที่นั่ง (๑) การซ่อมบูรณะราชรถน้อยทั้ง ๓ องค์ ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา
ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนชะเนาะหวายเป็นลวดสลิง และใส่ลวดสลิงยึดฉัตรยอด บุษบก ๔ เส้น
261 12. up245-263-7 Sep.indd 261
9/7/12 9:01:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เรือพระที่นั่ง(๑) มี ๔ ประเภท คือ
๓.๑ เรือพระที่นั่งกราบ สร้างด้วยไม้ ตัวเรือทาน้ำมัน ทอดบัลลังก์กัญญา เช่น เรือรุ้ง ประสานสาย เรือประจำทวีป กัญญาเรือ คือ ส่วนที่ตั้งอยู่กลางลำเรือสำหรับนั่ง มีพื้น พนัก เสา ม่าน และหลังคา ของเหล่านี้รวมเรียกว่า กัญญา ส่วนเรือกัญญา เป็นเรือประทุนสำหรับฝ่ายในโดยสาร หลังคา กัญญา ส่วนกลางโค้งขึ้นไป ด้านหน้าคุ่มต่ำลง เป็นลักษณะเพรียวลม ทำให้เรือไม่ต้องถูกลมปะทะ มากนัก
๓.๒ เรือพระที่นั่งศรี สร้างด้วยไม้สลักลาย พื้นสี ปิดทอง ทอดบัลลังก์กัญญา เช่น
๓.๒.๑ เรือพระที่นั่งทวยเทพถวายกร สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นสีแสด กว้าง ๒.๒๔ เมตร ยาว ๓๔.๖๕ เมตร กินน้ำลึก ๐.๓๐ เมตร ฝีพาย ๔๘ นาย พันท้าย ๒ นาย ๓.๒.๒ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นสีชมพู ตัวเรือสลักเป็นลายนาค ลำเรือกว้าง ๒.๙๑ เมตร ยาว ๔๕.๖๗ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๑ เมตร ฝีพาย ๖๑ นาย พันท้าย ๒ นาย ๓.๓ เรือพระที่นั่งชัย สร้างด้วยไม้สลักลาย พื้นสี ปิดทอง ทอดบัลลังก์บุษบกหรือบัลลังก์ กัญญา เช่น เรือพระที่นั่งประภัสสรชัย สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พื้นสีดำ ตัวเรือกว้าง ๒.๕๓ เมตร ยาว ๓๖.๙๕ เมตร กินน้ำลึก ๐.๓๗ เมตร ฝีพาย ๔๓ นาย พันท้าย ๒ นาย ๓.๔ เรือพระที่นั่งกิ่ง มีโขนเรือสูงขึ้นไปสร้างด้วยไม้สลักลาย พื้นสี ปิดทอง ทอดบัลลังก์ บุษบกหรือบัลลังก์กัญญา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มี ๓ ลำ คือ ๓.๔.๑ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า ศรีสุพรรณหงส์ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิมที่ชำรุด พระราชทานนามว่า สุพรรณหงส์ โขน เรือสลักเป็นรูปหงส์ พื้นสีดำ ตัวเรือกว้าง ๓.๑๗ เมตร ยาว ๔๖.๑๕ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๔ เมตร ฝีพาย ๕๐ นาย พันท้าย ๒ นาย (๑) ขนาดเรือ และจำนวนคนประจำเรือ ใช้ตามหนังสือกระบวนพยุหยาตรา ของกองทัพเรือ พิมพ์เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙
262 12. up245-263-7 Sep.indd 262
9/7/12 9:01:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๓.๔.๒ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โขนเรือเป็นรูปนาค ๗ เศียร พื้นสีเขียว ตัวเรือกว้าง ๒.๕๘ เมตร ยาว ๔๔.๘๕ เมตร กินน้ำลึก ๐.๘๗ เมตร ฝีพาย ๕๔ นาย พันท้าย ๒ นาย ๓.๔.๓ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ สร้างในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โขนเรือจำหลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงยืนบนหลัง พญาครุฑตามแบบเรือนารายณ์ทรงสุบรรณในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวเรือ กว้าง ๓.๒๐ เมตร ยาว ๔๔.๓๐ เมตร กินน้ำลึก ๑.๑๐ เมตร ฝีพาย ๕๐ นาย พันท้าย ๒ นาย ๔. รถไฟพระที่นั่ง รถยนต์พระที่นั่ง เรือยนต์พระที่นั่ง เครื่องบินพระที่นั่ง เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เป็นยานพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็ จ พระยุ พ ราช สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รถยนต์ที่นั่ง เรือยนต์ที่นั่ง เครื่องบินที่นั่ง เฮลิคอปเตอร์ที่นั่ง ยานพาหนะสำหรับสมเด็จ พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า รถยนต์พระประเทียบ เรือยนต์พระประเทียบ ยานพาหนะสำหรับสมเด็จพระสังฆราช และหม่อมเจ้าที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นผู้แทนพระองค์ หรือใช้เชิญพระพุทธรูปสำคัญ รถยนต์ประเทียบ เรือยนต์ประเทียบ ยานพาหนะสำหรับองคมนตรีที่พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นผู้แทนพระองค์ รถยนต์หลวง ยานพาหนะสำหรับหม่อมเจ้า และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
263 12. up245-263-7 Sep.indd 263
9/7/12 9:01:15 PM
หมวดที่ ๑๐ ลักษณนาม (๑) ในหนังสือราชาศัพท์แบ่งคำราชาศัพท์เป็น ๑๐ หมวด ได้แก่ หมวดขัตติยตระกูล หมวด ร่างกาย หมวดอาการ หมวดนาม หมวดเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครื่องใช้ทั่วไป หมวดศัพท์ที่ใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล หมวดเครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภค หมวดพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน หมวดพระราชพาหนะ และ หมวดลักษณนาม การใช้คำลักษณนามสำหรับพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า “พระองค์” และ “องค์” จะมีบางคำเท่านั้นที่ใช้ลักษณนามต่างออกไป ๑. หมวดขัตติยตระกูล ใช้ลักษณนามแตกต่างกันไปตามฐานันดรศักดิ์ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระบรมวงศ์ที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ใช้ลักษณนาม พระองค์ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้ลักษณนาม องค์ ๒. หมวดร่างกาย ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น พระทนต์ ๑ องค์ พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์ ๑๐ องค์ ๓. หมวดนาม ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์, พระบรมรูปปั้น, ๑ องค์ พระบรมราชโองการ ๑ องค์ พระบรมราโชวาท, พระราโชวาท ๑ องค์ ยกเว้นบางคำ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ ๑ พระรูป(๒) พระฉายาลักษณ์ ๑ พระรูป(๓) พระรูป ๑ พระรูป(๔) พระบรมสาทิสลักษณ์ ๑ พระรูป(๕) พระสาทิสลักษณ์ ๑ พระรูป(๖) (๑) คำโบราณเรียกว่าอักขรานุกรมปลายบาทสังขยา (๒) –(ฺ๖) โบราณใช้องค์
264 13. up 264-273-7 Sep.indd 264
9/7/12 9:05:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชสาส์น ๑ ฉบับ พระราชหัตถเลขา ๑ ฉบับ ลายพระหัตถ์ ๑ ฉบับ ๔. หมวดเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครื่องใช้ทั่วไปใช้ลักษณนาม ต่างกันดังนี้ เครื่องแต่งกาย ใช้ องค์ เช่น ฉลองพระองค์ ๑ องค์ สร้อยพระศอ ๑ องค์ ยกเว้นบางคำ เช่น ผ้าวงพระศอ, ผ้าพันพระศอ ๑ ผืน ถุงพระหัตถ์ ๑ องค์, คู่ ถุงพระบาท ๑ องค์, คู่ ภาชนะใช้สอย ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น ฉลองพระหัตถ์ช้อน ๑ องค์ พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ ๑ องค์ พระเต้าทักษิโณทก ๑ องค์ ยกเว้นบางคำ เช่น ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ๑ คู่ เครื่องใช้ทั่วไป ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น กระเป๋าทรง ๑ องค์ พระราชลัญจกร ๑ องค์ ยกเว้นบางคำ เช่น พระสุจหนี่ ๑ ผืน ๕. หมวดศัพท์ที่ใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล ใช้ลักษณนาม เครื่อง เช่น เครื่องนมัสการทองใหญ่ ๑ เครื่อง เครื่องนมัสการทองทิศ ๒ เครื่อง เครื่องนมัสการทองน้อย ๓ เครื่อง ๖. หมวดเครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภค ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ๑ องค์ พระมหามงกุฎ ๑ องค์ พระราชยาน ๑ องค์ 265 13. up 264-273-7 Sep.indd 265
9/7/12 9:05:15 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ยกเว้นบางคำ เช่น ฉัตรโหมด ๑ คัน ฉัตรตาด ๑ คัน ฉัตรเบญจา ๑ คัน ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด ๑ สำรับ ๗. หมวดพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น พระที่นั่ง ๑ องค์ พระตำหนัก ๑ องค์ ยกเว้นบางคำ เช่น ตำหนัก ๑ หลัง พลับพลา ๑ หลัง ๘. หมวดพระราชพาหนะ ใช้ลักษณนาม องค์ เช่น ราชยาน – พระที่นั่งราชยานพุดตานถม ๑ องค์ – พระราชยานทองลงยา ๑ องค์ – พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ๑ องค์ – พระที่นั่งราเชนทรยาน ๑ องค์ ราชรถ – พระมหาพิชัยราชรถ ๑ องค์ – พระเวชยันตราชรถ ๑ องค์ – ราชรถน้อย ๑ องค์ ยกเว้นบางคำ เช่น เรือพระที่นั่ง ใช้ลักษณนาม ลำ เช่น – เรือพระที่นั่งกราบ ๑ ลำ รถยนต์พระที่นั่ง ใช้ลักษณนาม คัน เช่น – รถยนต์พระที่นั่งเปิดประทุน ๑ คัน เรือยนต์พระที่นั่ง เครื่องบินพระที่นั่ง เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ใช้ลักษณนาม ลำ พระราชพาหนะ ที่เป็น ช้าง ม้า ใช้ลักษณนามซ้ำคำ เช่น – ช้างต้น ๑ ช้าง – ม้าต้น ๑ ม้า 266 13. up 264-273-7 Sep.indd 266
9/7/12 9:05:16 PM
บทที่ ๓ คำนำพระนามและคำนำนาม พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์และพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ ใช้ราชาศัพท์ ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ ดังนี้ ๑. พระราชวงศ์พระองค์ใดทรงรับราชการแผ่นดิน มีพระยศทางทหารก็นำ พระยศทาง ทหาร มากล่าวไว้ก่อนเป็นลำดับแรก เช่น จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศวรเดช พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ๒. ต่อจากยศทางทหารจึงเป็น คำนำพระนาม เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระราชวงศ์พระองค์ นั้นเป็นพระประยูรญาติในลำดับใดของพระมหากษัตริย์ เช่น จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข(๑) เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศวรเดช พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ๓. ต่ อ จากคำนำพระนามจึ ง เป็ น สกุ ล ยศ หมายความว่ า พระราชวงศ์ พ ระองค์ นั้ น ถือกำเนิดมามีพระยศทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า เป็นต้น เช่น จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศวรเดช พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ๔. ต่อจากคำนำพระนามและสกุลยศ จึงเป็น พระนาม เช่น จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศวรเดช พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (๑) ทรงเป็นอาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
267 13. up 264-273-7 Sep.indd 267
9/7/12 9:05:16 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๕. หลังจากพระนาม ถ้าพระราชวงศ์พระองค์นั้นได้ปฏิบัติราชการแผ่นดินมีความดี ความชอบ ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น เจ้าต่างกรม จึงต่อ พระนามกรม ไว้ท้าย พระนามเดิม เช่น จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศวรเดช พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ คำนำพระนามนั้น เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายเพื่อจะให้ทราบว่าเป็นพระประยูรญาติ ชั้นใดของพระมหากษัตริย์ จึงมักจะมีการเปลี่ยนแปลงตามรัชกาลแห่งพระมหากษัตริย์ เช่น ถ้าเป็น พระราชโอรส พระราชธิดา ก็เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้า ลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ ถ้าเป็น พี่ น้อง ก็ใช้คำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ สมเด็จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ พระเจ้ า น้ อ งนางเธอ เป็ นต้ น ถ้ า เป็ น พระประยู ร ญาติ ผู้ ใหญ่ ที่ เป็ น ลู ก ชาย ลูกสาวของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ซึ่งนับลำดับพระประยูรญาติทรงเป็น น้า ป้า ลุง ของ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ทรงครองราชย์อยู่ ก็ใช้คำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ถ้าทรงเป็นพระประยูรญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ใช้คำนำ พระนามว่า สมเด็จพระบรมอัยกา สมเด็จพระบรมอัยยิกา เป็นต้น ส่วนพระประยูรญาติชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์เรียกว่า พระอนุวงศ์ ได้แก่ ชั้นหลาน ก็ใช้คำนำหน้าพระนามว่า พระเจ้า หลานเธอ พระหลานเธอ ถ้าสิ้นรัชกาลของพระมหากษัตริย์พระองค์ที่เป็น ปู่ แล้ว ก็มักจะใช้คำนำ พระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ ตัวอย่างคำนำพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ มีดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร, – คำนำพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงรับพระ บรมราชาภิเษกแล้ว เริ่มใช้ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว เป็ น ครั้ ง แรก โดยใช้ พ ระบาท สมเด็จพระปรเมนทร สำหรับพระองค์เอง และโปรดให้ใช้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร สำหรับรัชกาลต่อไป และ สลับกันในรัชกาลต่อๆไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
– คำเรี ย กพระมหากษั ต ริ ย์ อ ย่ า งไม่ อ อกพระนามเฉพาะ พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว 268
13. up 264-273-7 Sep.indd 268
9/7/12 9:05:18 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ที่เป็นลูกชายพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ที่เป็นลูกสาวพระมหากษัตริย์
พระเจ้าลูกยาเธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นลูกชายพระมหากษัตริย์
พระเจ้าลูกเธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นลูกสาวพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ที่เป็นพี่ชายพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ที่เป็นพี่สาวพระมหากษัตริย์
พระเจ้าพี่ยาเธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นพี่ชายพระมหากษัตริย์
พระเจ้าพี่นางเธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นพี่สาวพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ทีเ่ ป็นน้องชายพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ทีเ่ ป็นน้องสาวพระมหากษัตริย์
พระเจ้าน้องยาเธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นน้องชายพระมหากษัตริย์
พระเจ้าน้องนางเธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นน้องสาวพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
– คำนำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ที่เป็นลูกชายลูกสาวพระมหา กษัตริย์รัชกาลก่อน
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ และทรงกรมเป็ นกรมพระยาหรื อ กรมพระ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
– คำนำพระนามพระองค์เจ้า ที่เป็นลูกชายลูกสาวพระมหา กษัตริย์รัชกาลก่อน
พระประพันธวงศ์เธอ(๑)
– คำนำพระนามลู ก ชายลู ก สาว ของพระบาทสมเด็ จ พระ ปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีอ่ ายุสงู กว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่ หั ว โปรดให้ ใ ช้ เป็ นคำนำพระนามพระราชวงศ์ ที่ เป็ น
(๑) ปัจจุบันเลิกใช้
269 13. up 264-273-7 Sep.indd 269
9/7/12 9:05:20 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระประยู ร ญาติ ข้ า งฝ่ า ยสมเด็ จ พระบรมราชชนนี คื อ ลูกชายลูกสาวของสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่ น มาตยาพิ ทั ก ษ์ ที่ ได้ รั บ สถาปนาพระยศขึ้ น เป็ น พระองค์เจ้าและต่อมาโปรดให้ใช้ว่า พระสัมพันธวงศ์เธอ
พระเจ้าบวรราชวงศ์เธอ(๑)
– คำนำพระนามลู ก ชายลู ก สาว สมเด็ จ พระบวรราชเจ้ า
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ยกเว้นกรมพระราชวังบวร วิไชยชาญ ต่อมาใช้ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ และ พระบวรวงศ์เธอ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ เปลี่ยนเป็นพระราชวรวงศ์เธอ
พระสัมพันธวงศ์เธอ(๒)
– คำนำพระนามลูกชายลูกสาว ของกรมพระราชวังบวรสถาน ภิมุข ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชโปรดให้ใช้คำนำพระนามว่า พระเจ้าหลานเธอ
สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ(๓)
– คำนำพระนามเจ้าฟ้าที่เป็นลูกของพี่ชายหรือน้องชายของ พระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
– คำนำพระนามเจ้าฟ้าที่เป็นลูกพี่ลูกน้องหญิงของพระมหา กษัตริย์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
– คำนำพระนามหลานของพระมหากษั ต ริ ย์ รั ช กาลก่ อ นที่ มารดาเป็นเจ้านาย
พระวรวงศ์เธอ
– คำนำพระนามหลานของพระมหากษั ต ริ ย์ รั ช กาลก่ อ นที่ มารดาเป็นสามัญชน
กรมสมเด็จพระ
– พระยศเจ้าต่างกรมชั้นสูง ปรากฏในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ เปลี่ ย นพระยศเจ้ า ต่ า งกรม ชั้ น กรม สมเด็จพระ เป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
(๑)–(๒) ปัจจุบันเลิกใช้ (๓) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ใช้คำนำ พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ
270 13. up 264-273-7 Sep.indd 270
9/7/12 9:05:22 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ตัวอย่างคำนำพระนามและตำแหน่งภรรยาพระมหากษัตริย์ มีดังนี้ สมเด็จพระนางเจ้า
– คำนำพระนามพระมเหสี เ อก ชั้ น พระบรมราชเทวี
พระอัครราชเทวี พระวรราชเทวี
พระนางเจ้า
– คำนำพระนามพระมเหสีชั้น พระราชเทวี
พระนางเธอ
– คำนำพระนามพระมเหสีรอง
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
– คำเรียกพระมเหสีเอกที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ แผ่ นดิ น แทนพระองค์ การสถาปนาพระยศนี้ มี ค รั้ ง แรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สถาปนาสมเด็ จ พระนางเจ้ า เสาวภาผ่ อ งศรี พระอั ค รราชเทวี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินนี าถ และมีขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเสด็จออกทรงพระ ผนวช ได้ ท รงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีทรงเป็นผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงสถาปนาเฉลิมพระ เกียรติยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙
สมเด็จพระบรมราชินี
– คำเรียกพระมเหสีเอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงสถาปนาพระวรราชชายาเธอ พระ อินทรศักดิศจีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระ บรมราชิ นี เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๕ ในรั ช สมั ย พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาหม่อมเจ้ารำไพ พรรณี พระวรราชชายา เป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพ พรรณี พระบรมราชิ นี เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๘ และใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ทรง สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ 271
13. up 264-273-7 Sep.indd 271
9/7/12 9:05:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สมเด็จพระราชินี
– คำเรี ย กพระมเหสี เ อกของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ ยั ง มิ ไ ด้ รั บ พระบรมราชาภิเษก เช่น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อมีพระราชพิธีราชาภิเษก สมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรแล้ว ทรงสถาปนา หม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ กิ ติ ย ากร เป็ น สมเด็ จ พระราชิ นี สิริกิติ์
พระอัครมเหสี
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีเอก
พระอัครราชเทวี
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีเอกของพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ เทียบได้กบั ตำแหน่งสมเด็จพระบรม ราชินี คือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ซึง่ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้า โสมนั ส วั ฒ นาวดี ในที่ ส มเด็ จ พระนางนาฏบรมอั ค รราชเทวี(๑)
พระบรมราชเทวี
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีเอกของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ซึ่งต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานั น ทมหิ ด ล พระอั ฐ มรามาธิ บ ดิ น ทร
ทรงสถาปนาขึน้ เป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระอัครเทวี
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีรองลงมาจากพระอัครมเหสี
พระวรราชเทวี
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว คื อ พระนางเธอ พระองค์ เจ้ า เสาวภา ผ่องศรี ทรงได้รับสถาปนาเป็น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี และของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว คือ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
พระราชเทวี
– คำเรี ย กตำแหน่ ง พระมเหสี ร องลงมาจากพระอั ค รมเหสี และพระอัครเทวี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
(๑) อ้างถึงในประกาศสถาปนาหม่อมเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เป็นพระองค์เจ้า สะกดว่า สมเด็จพระนางนาฎบรมอรรคราชเทวี
13. up 264-273-7 Sep.indd 272
272 9/7/12 9:05:26 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงสถาปนาพระนางเธอ พระองค์ เจ้ า สุขมุ าลย์มารศรี เป็น พระนางเจ้าสุขมุ าลย์มารศรี พระราชเทวี
พระอัครชายาเธอ
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระอัครชายาเธอ พระองค์ เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน และพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
พระอัครชายา
– คำเรี ย กตำแหน่ ง พระมเหสี ร องลงมาจากพระอั ค รมเหสี พระอัครเทวี และพระราชเทวี
พระวรราชชายาเธอ
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๕
พระวรราชชายา
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระ วรราชชายา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๘
พระราชชายา
– คำเรียกตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
เจ้าจอม
– คำเรียกตำแหน่งภรรยาของพระมหากษัตริย์ที่มิได้เป็นเจ้า และไม่มีลูก
เจ้าจอมมารดา
– คำเรียกตำแหน่งภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่มิได้เป็นเจ้า ซึ่งมีลูก
เจ้าคุณจอมมารดา
– คำเรียกตำแหน่งภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่มิได้เป็นเจ้า ซึ่ ง เป็ น เจ้ า ขรั ว ยายของสมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ เจ้ า ฟ้ า
เช่น เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าขรัวยาย ของสมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ เจ้ า ฟ้ า ในพระบาทสมเด็ จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 273
13. up 264-273-7 Sep.indd 273
9/7/12 9:05:27 PM
บทที่ ๔ คำนามและคำกริยาที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ใช้ราชาศัพท์ต่างกัน
คำสามัญที่เป็นคำนามและคำกริยา ใช้ราชาศัพท์ต่างกันตามพระอิสริยยศ ดังนี้
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
คำสั่ง(๑)
พระบรมราชโองการ
พระมหากษัตริย์
พระบวรราชโองการ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชโองการ พระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก กษัตริย์ต่างประเทศ(๒) พระราชเสาวนีย์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระราชินีต่างประเทศ สมเด็จพระบรมราชชนนี
พระเสาวนีย์
สมเด็จพระราชินี
พระราชบัณฑูร, สมเด็จพระยุพราช พระราชดำรัสสั่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระบัณฑูร
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
(๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๑ (๒) หมายถึง พระประมุขทั้งบุรุษและสตรี
274 14. up 274-308-7 Sep.indd 274
9/7/12 9:12:49 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์ พระราชบัญชา
ใช้แก่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระดำรัสสั่ง, พระบัญชา
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
คำพูด พระราชดำรัส, พระราชกระแส(๑)
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระดำรัส
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
ตรัส, รับสั่ง
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
คำสอน
พระมหากษัตริย์
พระบรมราโชวาท
พระราโชวาท สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก (๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๒
275 14. up 274-308-7 Sep.indd 275
9/7/12 9:12:51 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระโอวาท
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
คำปรารภ พระราชปรารภ, กระแสพระราช ปรารภ, พระราชดำรัส ปรารภ
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระดำรัสปรารภ
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
ปรารภ ทรงพระราชปรารภ
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 276
14. up 274-308-7 Sep.indd 276
9/7/12 9:12:53 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
รับสัง่ ปรารภ, ตรัสปรารภ, ทรงปรารภ
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
หารือข้อปฏิบัติ เรียนพระราชปฏิบัติ
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เรียนพระปฏิบัติ
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
จดหมาย
พระมหากษัตริย์
พระราชหัตถเลขา
ลายพระราชหัตถ์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
พระมหาสมณสาส์น
พระสมณสาส์น
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช 277
14. up 274-308-7 Sep.indd 277
9/7/12 9:12:55 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์ ลายพระหัตถ์
ใช้แก่ พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า
ลายมือ(ที่เขียน ลายพระหัตถ์ เป็นตัวอักษร)
พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
จดหมายที่ใช้ พระราชสาส์น ในการเจริญ สัมพันธไมตรี ระหว่าง ประเทศ
พระมหากษัตริย์
โทรเลข พระราชโทรเลข
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
พระโทรเลข
เกิด ทรงพระราชสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ
14. up 274-308-7 Sep.indd 278
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 278 9/7/12 9:12:57 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
สมภพ, ประสูติ วันเกิด
ใช้แก่ พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
วันพระบรมราชสมภพ(๑) พระมหากษัตริย์
วันพระราชสมภพ
สมเด็จพระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันประสูติ
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
วันคล้ายวันเกิด วันเฉลิมพระชนม- พรรษา
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมราชินี
วันคล้ายวันพระราช- สมภพ
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๔, ๕
279 14. up 274-308-7 Sep.indd 279
9/7/12 9:12:59 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
วันคล้ายวันประสูติ
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
งานบำเพ็ญ พระราชพิธีเฉลิม กุศลเนื่องใน พระชนมพรรษา โอกาสวัน คล้ายวันเกิด พระราชพิธีบำเพ็ญ พระราชกุศลเฉลิม พระชนมพรรษา
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชพิธีบำเพ็ญ พระราชกุศล ฉลองพระชนมายุ
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บำเพ็ญพระกุศลวัน คล้ายวันประสูติ
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
อายุ.....ปี พระชนมพรรษา(๑) .....พรรษา
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
พระชนมายุ.....พรรษา
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๔, ๕
280 14. up 274-308-7 Sep.indd 280
9/7/12 9:13:00 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
พระชันษา.....ปี
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
หม่อมเจ้า
ชันษา.....ปี
ขอโอกาส ขอพระราชทาน พระมหากษัตริย์ เข้าพบ พระบรมราชวโรกาส เข้าเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาท(๑)
ขอพระราชทาน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชวโรกาส สมเด็จพระบรมราชินี เข้าเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาท ขอพระราชทาน พระราชวโรกาส เข้าเฝ้าทูลละออง พระบาท
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขอพระราชทาน สมเด็จเจ้าฟ้า พระวโรกาสเข้าเฝ้า ขอประทาน พระวโรกาสเข้าเฝ้า
พระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
(๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๖
14. up 274-308-7 Sep.indd 281
281 9/7/12 9:13:02 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ขอประทาน โอกาสเข้าเฝ้า ขออนุญาต ขอพระราชทานพระ บรมราชานุญาต
ใช้แก่ หม่อมเจ้า พระมหากษัตริย์
ขอพระราชทานพระ ราชานุญาต
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขอพระราชทานพระ อนุญาต
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า
ขอประทานพระ อนุญาต
พระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า
พระคุณ พระมหากรุณาธิคุณ(๑) พระมหากษัตริย์ อันเกิดจาก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ความกรุณา สมเด็จพระบรมราชินี พระกรุณาธิคุณ
สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๗
282 14. up 274-308-7 Sep.indd 282
9/7/12 9:13:04 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
พระกรุณาคุณ
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
หม่อมเจ้า
กรุณาคุณ
ความกรุณา พระมหากรุณา
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระกรุณา
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
กราบบังคมทูล พระมหากษัตริย์ บอก พระกรุณา(๑)
กราบบังคมทูล(๒)
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
(๑) เมื่อจะกราบบังคมทูลโดยตรง ให้ใช้ว่า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณา (ดูบทที่ ๕ ประกอบ) (๒) เมื่อจะกราบบังคมทูลโดยตรง ให้ใช้ว่า ขอพระราชทานกราบบังคมทูล (ดูบทที่ ๕ ประกอบ) 283
14. up 274-308-7 Sep.indd 283
9/7/12 9:13:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กราบทูล(๑) ทูล
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช หม่อมเจ้า
สำนึกใน รู้สึกสำนึกในพระมหา พระคุณ กรุณาธิคุณ รูส้ กึ สำนึกใน พระกรุณาธิคณ ุ
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รู้สึกเป็นพระกรุณาคุณ
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
หม่อมเจ้า
สำนึกในกรุณาคุณ
อุปถัมภ์ พระบรมราชูปถัมภ์ (๒) พระบรมราชินูปถัมภ์ พระราชูปถัมภ์
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี
(๑) เมื่อจะกราบทูลโดยตรง ถ้าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าให้ใช้ว่า ขอพระราชทานกราบทูล ถ้าเป็นพระองค์เจ้าลูกหลวงให้ใช้ว่า ขอประทาน
กราบทูล (ดูบทที่ ๕ ประกอบ) (๒) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๘
14. up 274-308-7 Sep.indd 284
284 9/7/12 9:13:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระอุปถัมภ์
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
อนุเคราะห์
พระบรมราชานุเคราะห์ พระมหากษัตริย์
พระราชานุเคราะห์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระอนุเคราะห์
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
ตาย สวรรคต, พระมหากษัตริย์ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
285 14. up 274-308-7 Sep.indd 285
9/7/12 9:13:10 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช ทิวงคต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ(๑)แต่ยังคง ทรงฉัตร ๕ ชั้น สิ้นพระชนม์
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช
ถึงชีพตักษัย, หม่อมเจ้า สิ้นชีพตักษัย ถึงชีพติ กั ษัย, สิน้ ชีพติ กั ษัย
ท้อง พระนาภี
ใช้สำหรับเจ้านายที่มีพระอาการประชวรเกี่ยวกับ ท้อง เช่น ปวดพระนาภี หมายถึงปวดท้อง ลงพระ นาภี หมายถึงท้องร่วง
พระครรภ์
ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถถึงพระองค์เจ้า เช่น ทรงพระครรภ์ หมายถึง มีท้อง ประชวรพระครรภ์ หมายถึงเจ็บท้องจะคลอดบุตร
พระอุทร
ใช้แสดงถึงสายสัมพันธ์ เช่น เป็นพระขนิษฐาร่วม พระอุทร หมายถึง น้องที่เกิดจากแม่เดียวกันใช้ เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย เช่น พระบุพโพคั่งในพระ อุทร หมายถึง หนองคั่งในช่องท้อง
(๑) ดูคำอธิบายท้ายบท ข้อ ๙
286 14. up 274-308-7 Sep.indd 286
9/7/12 9:13:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
หน้าต่าง สีหบัญชร สำหรับเสด็จ ออกให้เฝ้าทูล ละอองธุลี พระบาทใน โอกาสสำคัญ เช่น ทีพ่ ระทีน่ งั่ สุทไธสวรรย์ ปราสาท และ ที่พระที่นั่ง อนันตสมาคม เป็นหน้าต่าง ยาวถึงพื้น มีระเบียงยื่น ออกไป
พระมหากษัตริย์
หน้าต่างของ พระบัญชร พระที่นั่ง
พระมหากษัตริย์
หน้าต่างของ พระแกล พระตำหนัก
พระมหากษัตริย์
มุข ส่วนของ มุขเด็จ พระที่นั่งซึ่งยื่น ออกไปสำหรับ ประทับว่า ราชการหรือ เสด็จออกให้ เฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาทใน
พระมหากษัตริย์
287 14. up 274-308-7 Sep.indd 287
9/7/12 9:13:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
โอกาสสำคัญ เช่นที่พระที่นั่ง ดุสติ มหาปรา สาทและพระ ที่นั่งจักรีมหา ปราสาท ประตูของ พระทวาร พระที่นั่งและ พระตำหนัก
พระมหากษัตริย์
รูปถ่าย พระบรมฉายาลักษณ์, พระมหากษัตริย์ พระบรมรูปถ่าย
พระบวรฉายาลักษณ์
สมเด็จพระบวรราชเจ้า
พระฉายาลักษณ์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า
พระรูป
รูปเขียน พระบรมสาทิสลักษณ์, พระมหากษัตริย์ พระบรมรูปเขียน
พระบวรสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า
พระสาทิสลักษณ์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก 288
14. up 274-308-7 Sep.indd 288
9/7/12 9:13:15 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า
พระรูปเขียน
รูปหล่อ, รูปปัน้ พระบรมรูปหล่อ, พระบรมรูปปั้น
พระมหากษัตริย์
พระบวรรูปหล่อ, พระบวรรูปปั้น
สมเด็จพระบวรราชเจ้า
พระรูปหล่อ, พระรูปปั้น
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อนุสาวรีย์
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระมหากษัตริย์
พระบวรราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า
พระราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
289 14. up 274-308-7 Sep.indd 289
9/7/12 9:13:17 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสามัญ
ราชาศัพท์
ใช้แก่
พระอนุสาวรีย์
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
แต่งงาน
ราชาภิเษกสมรส
พระมหากษัตริย์
อภิเษกสมรส
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า
เสกสมรส
พระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า
ชื่อ พระปรมาภิไธย, พระมหากษัตริย์ พระบรมนามาภิไธย
พระบวรนามาภิไธย
สมเด็จพระบวรราชเจ้า
พระนามาภิไธย
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า
พระนาม
รายงาน กราบบังคมทูลรายงาน
พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กราบทูลรายงาน
พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
ทูล
หม่อมเจ้า
290 14. up 274-308-7 Sep.indd 290
9/7/12 9:13:19 PM
คำอธิบายท้ายบท การใช้ราชาศัพท์ต้องเข้าใจความหมายให้ลึกซึ้ง ใช้ให้ถูกต้องตามแบบแผน บางคำมี ข้อกำหนดไว้เฉพาะ ดังนี้
๑. คำสั่ง การผูกประโยคเกี่ยวกับ คำสั่ง ในราชาศัพท์ที่จะให้เป็นพระเกียรติยศ ใช้ดังนี้
ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศว่า – มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทสั่งว่า – มีพระบรมราชโองการ(๑) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ข. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และสมเด็จ พระบรมราชชนนี – มีพระราชเสาวนีย์ว่า ค. สมเด็จพระราชินี – มีพระเสาวนีย์ว่า ง. สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร – มีพระราชบัณฑูร(๒) ว่า จ. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี – มีพระราชบัญชาว่า
๒. พระราชดำรัส พระราชกระแส พระดำรัส รับสั่ง ตรัส ดำรัส
ราชาศัพท์ทั้ง ๖ คำนี้ แปลว่า คำพูด หรือ พูด แต่ในคำราชาศัพท์แยกไว้ว่า พระราชดำรั ส พระราชกระแส ใช้ แ ก่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ สมเด็ จ พระบรมราชิ นี น าถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-
กุมารี (๑) พระราชโองการ เดิมหมายถึง พระมหากษัตริย์ ต่อมาความหมายย้ายที่เป็น คำสั่งของพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เพิ่มคำว่า บรม เป็น พระบรมราชโองการ เนื่องจากโปรดให้ใช้คำว่า บวร แก่พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น พระบวรราชโองการ (๒) เดิมเป็น คำสั่งของพระมหากษัตริย์ ต่อมาความหมายย้ายที่เป็น คำสั่งของสมเด็จพระยุพราช
291 14. up 274-308-7 Sep.indd 291
9/7/12 9:13:19 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระดำรัส รับสั่ง ตรัส ใช้แก่พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
รับสั่ง ตรัส ดำรัส ใช้แก่หม่อมเจ้า ในหนังสือเก่า เช่น “จดหมายหลวงอุดมสมบัติ” และฉบับอื่นๆ หลายเล่ม มีคำว่ารับสั่ง ตรัส ดำรัส ใช้แก่พระมหากษัตริย์เหมือนกัน แล้วแต่น้ำหนักของเรื่องที่ทรงพูด เช่น ถ้าเป็นเรื่อง ธรรมดาสามัญไม่ใช่ราชการ ใช้ รับสั่ง หรือ ตรัส ถ้าเป็นราชการเรื่องสำคัญ ใช้เป็นทางการว่า พระราชดำรัส พระราชกระแส ถ้าเป็นคำสั่งที่ตราเป็นตัวบทกฎหมายก็ใช้ว่า พระบรมราชโองการ
๓. หมายรับสั่ง หมายกำหนดการ กำหนดการ
ในบัตรหมายที่สั่งราชการในพระราชสำนักแบ่งเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า หมายรับสั่ง อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า หมายกำหนดการ หมายรั บ สั่ ง (๑) เป็ น หมายสั่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารเป็ นการภายใน และถึ ง บุ ค คล ผู้มีตำแหน่งเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ตอนล่างสุดของหมายรับสั่งเขียนไว้ว่า “ทั้งนี้ให้จัดการ ตามหน้ า ที่ แ ละกำหนดวั นตามรั บ สั่ ง อย่ า ให้ ข าดเหลื อ ถ้ า สงสั ย ก็ ให้ ถ ามผู้ รั บ รั บ สั่ ง โดยหน้ า ที่ ราชการ” หมายกำหนดการ(๒) เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีโดยเฉพาะ ลักษณะของเอกสารจะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า” เสมอไป และ ในทางปฏิบัติ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะต้องส่งต้นหมายกำหนดการดังกล่าวนี้ เสนอนายก รัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญ ส่วน กำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานโดยทั่วไปที่ทางราชการ หรือเอกชนจัดทำขึ้นเอง แม้ว่างานนั้นๆ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เป็นงานที่เสด็จพระราชดำเนิน แต่ถ้างานนั้นมิได้เป็นงานพระราชพิธี ซึ่งกำหนด ขึ้นโดยพระบรมราชโองการแล้ว เรียกว่า กำหนดการ ทั้งสิ้น เช่น ขั้นตอนของงานสวนสนาม สำแดงความสวามิภักดิ์ของทหารรักษาพระองค์ ก็ใช้ว่า กำหนดการ เพราะงานนี้มิใช่พระราชพิธี ที่มีพระบรมราชโองการให้จัดขึ้น รายการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในการทำงาน หรือพิธีที่เจ้าของงานหรือ เจ้าภาพกำหนดขึ้นโดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา ให้ผู้ที่ไปร่วมงานหรือร่วมพิธีได้ทราบว่า มีรายการใด วันเวลาใด สถานที่ใด เช่น กำหนดการพิธีประชุมเพลิงศพ เขียนลงในบัตร แจ้งชื่อ ผู้ตาย สถานที่ วัน เดือน ปี เวลา ไว้หน้าบัตร ส่วนหลังบัตรบอกรายการก่อนเวลาประชุมเพลิง (๑)–(๒) ดูตัวอย่างประกอบ
292 14. up 274-308-7 Sep.indd 292
9/7/12 9:13:21 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เช่น ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ มาติกาบังสุกุล แสดงพระธรรมเทศนา เคลื่อนศพ เวลาประชุมเพลิง แม้งานพิธีที่บุคคลสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีจัดขึ้น ก็เรียกว่า กำหนดการ
๔. วันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันเฉลิมพระชนมพรรษา มิได้หมายความว่าเป็น วันพระบรมราชสมภพ หรือวัน พระราชสมภพ แต่เป็นวันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมฉลองในมงคลสมัยคล้ายวันพระบรม-
ราชสมภพของพระมหากษัตริย์ และวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ที่เวียนมาบรรจบอีกปีหนึ่ง วันพระบรมราชสมภพ ในรัชกาลปัจจุบัน คือ วันจันทร์ ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ส่วนวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี คือ วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันพระราชสมภพ และ วันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบรมวงศานุวงศ์ก็ใช้ใน ลักษณะเดียวกัน
๕. พระชนมพรรษา พระชนมายุ พระชันษา ชันษา
ทั้ง ๔ คำนี้ แปลว่า อายุ ใช้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ต่างกันตามลำดับพระอิสริยยศ พระชนมพรรษา ใช้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี เมื่อต้องการใช้ว่าอายุกี่ปี กี่เดือน กี่วัน ให้ใช้คำว่า พระชนมายุ และจำนวน ปีอายุใช้คำว่า พรรษา พระชนมายุ ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระ ยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผู้ได้รับมหาสมณุตมาภิเษก เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า แทน อายุ และจำนวนปีอายุใช้คำว่า พรรษา พระชันษา ใช้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากที่กล่าวแล้ว จำนวนปีอายุ ใช้ ปี หม่อมเจ้าใช้ว่า ชันษา และจำนวนปีอายุใช้ ปี ชันษา ไม่ใช้เป็นลักษณนามแทน ปี ให้ใช้ว่า หม่อมเจ้า........... (ชื่อ).......... ชันษา ๕๐ ปี
๖. พระบรมราชวโรกาส พระราชวโรกาส
พระบรมราชวโรกาส ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ 293 14. up 274-308-7 Sep.indd 293
9/7/12 9:13:22 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระราชวโรกาส ใช้แก่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีข้อจำกัดใช้ได้เพียง ๒ กรณี คือ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท หรือขอพระราชทานพระ ราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท กับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาท หรือ พระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ในกรณี อื่ น ๆ หรื อ เนื้ อ ความอื่ น ๆ ให้ ใช้ โอกาส ไม่ ใช้ ว่ า ในพระราชวโรกาสที่ เ สด็ จ พระราชดำเนินมาถึงที่นี้..... แต่ต้องใช้ว่า “ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาถึงที่นี้” หรือไม่ใช้ว่า ในพระบรมราชวโรกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้เข้าเฝ้า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท แต่ ต้ อ งใช้ ว่ า “ในโอกาสนี้ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชทาน พระบรมราโชวาทแก่ผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท”
๗. พระมหากรุณาธิคุณ พระมหากรุณา
พระมหากรุณาธิคุณ แปลว่า พระคุณอันยิ่งที่มีความกรุณาใหญ่หลวง ความหมาย สำคัญอยู่ที่คำ พระคุณ พระมหากรุณา แปลว่า พระกรุณาใหญ่หลวง ความหมายสำคัญอยู่ที่คำ พระกรุณา ดังนั้น เมื่อใดต้องการจะพูดถึง พระคุณ ก็ใช้ พระมหากรุณาธิคุณ เมื่อใดต้องการ จะพูดถึงพระกรุณา ก็ใช้ พระมหากรุณา ข้อสังเกตนี้ ขอให้นึกเทียบคำอื่นด้วย เช่น พระเกียรติ กั บ พระเกี ย รติ คุ ณ เป็ นต้ น ถ้ า นึ ก ถึ ง ความหมายของคำให้ ได้ ก่ อ นก็ จ ะไม่ ใช้ ผิ ด อี ก อย่ า งหนึ่ ง พระคุณ เป็น คุณสมบัติในตัวบุคคล เราจะเอาไปให้หรือไปขอจากท่านไม่ได้ ส่วน พระกรุณา หรือ ความกรุณาจึงควรขอท่านได้
๘. พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชานุเคราะห์
คำว่า พระบรมราชูปถัมภ์ มีความหมายว่า พระราชทานช่วยเหลือเกื้อกูล ดังนั้น ถ้าใช้กับสมาคม สโมสร หรือกิจกรรมบางอย่างที่ทรงช่วยเหลือเกื้อกูล หรือช่วยค้ำจุน เช่น “ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์” อย่างนี้ถูกต้อง คำว่า พระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง พระราชทานเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ จึงทรง พระเมตตา ทรงพระกรุณา เช่น ทรงช่วยในการรักษาพยาบาลราษฎรในชนบทคนหนึ่ง ก็ใช้ว่า “พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการรักษาพยาบาลแก่นาย.....” 294 14. up 274-308-7 Sep.indd 294
9/7/12 9:13:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ส่วนสมเด็จพระบรมราชินีนาถ มิได้ใช้คำว่า พระบรมราชูปถัมภ์ และ พระบรม ราชานุเคราะห์ เพราะ บรมราช ในศัพท์นี้หมายถึง บรมราชาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวโดยเฉพาะ จึงเปลี่ยนไปใช้คำอื่น เช่น “พระราชูปถัมภ์ พระราชานุเคราะห์” แต่ในรัชกาล ปั จ จุ บั น ได้ มี ผู้ บั ญ ญั ติ ศั พ ท์ พระบรมราชิ นู ป ถั ม ภ์ ก็ ไพเราะสมพระเกี ย รติ ย ศมาก ในรั ช กาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเจ้านายบางพระองค์ทรงใช้ราชาศัพท์สำหรับสมเด็จ พระบรมราชินีนาถว่า “พระบรมราชินยานุเคราะห์” แต่สมัยนี้ไม่ใช้แล้ว ๙. สมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งได้รับการเฉลิมพระเกียรติยศเป็นพิเศษ ที่เคยมีมาในกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น (๑) สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุ พันธุวงศวรเดช (๒) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภวู นาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (๓) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ๑๐. คำกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ ที่ยังมิได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก ให้ใช้ตาม ตัวอย่างของกระทรวงวัง ต่อไปนี้
กระทรวงวัง
วันที่ ๑๒ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘
ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ..................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................................ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี หนังสือของแผนกพระราชพิธี กระทรวงวัง เสนาบดีกระทรวงวัง กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนที่จะทรงรับพระบรมราชาภิเษก ไม่ใช้ว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม และไม่ลงท้ายว่า ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ 295 14. up 274-308-7 Sep.indd 295
9/7/12 9:13:26 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๑๑. เป็น มี
คำว่า เป็น กับ มี ถ้าใช้นำหน้าคำที่เป็นราชาศัพท์ ไม่ใช้ว่า ทรงเป็น ทรงมี ใช้ว่า เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชนัดดา มีพระบรมราชโองการ มีพระราชเสาวนีย์ ต่อเมื่อใช้นำหน้า คำธรรมดา จึงจะใช้ ทรงเป็น ทรงมี เช่น ทรงเป็นทหาร ทรงเป็นครู ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงมี ทุกข์ ทรงมีเครื่องมือสื่อสาร ทรงมีแผนที่คู่พระหัตถ์
๑๒. ขอบใจ ขอบพระทัย
ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงขอบใจ ใช้ว่า ทรงขอบใจ มีพระราชกระแสขอบใจ หรือ พระราชทานพระราชกระแสขอบใจ ถ้าผู้ที่ทรงขอบใจนั้นเป็นพระราชวงศ์ ใช้ว่า ขอบพระทัย
๑๓. พระราชอาคันตุกะ อาคันตุกะ
ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ ก็ใช้ว่า เป็นพระ ราชอาคันตุกะของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ถ้าทรงเป็นแขกของประธานาธิบดี ต้องใช้ว่า ทรง เป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดี ถ้าพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นแขกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้ ว่า เป็นพระราชอาคันตุกะ
๑๔. เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ
คำว่า เสด็จ นั้น กริยาแท้อยู่ที่คำที่ตามหลังมา เช่น เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จออก เสด็จเข้า เสด็จผ่านพิภพ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เสด็จประพาส เสด็จตรวจพล เสด็จแปร พระราชฐาน ฯลฯ กริยาหลักที่เป็นเนื้อความอยู่ที่คำหลังทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่า การใช้ เสด็จ ในรูป แบบนี้ พอเทียบได้กับใช้คำว่า ทรง เติมลงหน้ากริยาต่างๆ นั่นเอง เขมรก็ใช้เช่นนี้เหมือนกัน เช่น เสฎจ่เทา (เสด็จไป) เสฎจ่ยาง (เสด็จย่าง) เสฎจ่ยางมก่ (เสด็จย่างมา) อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เสด็จ ของเขมรหมายถึงกษัตริย์หรือผู้มิใช่ราษฎรสามัญได้ด้วย เช่น ชาติเสฎจ่ (ชาติกษัตริย์) ไทยใช้ หมายถึงกษัตริย์ และเจ้านายได้เหมือนกัน ดังคำที่พูดว่า รับเสด็จ ส่งเสด็จ คำว่ า เสด็ จ พระราชดำเนิ น ใช้ แ ก่พ ระมหากษั ต ริ ย์ สมเด็ จ พระบรมราชิ นี น าถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 296 14. up 274-308-7 Sep.indd 296
9/7/12 9:13:28 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
เนื่องจากคำว่าเสด็จพระราชดำเนิน หมายถึง เดินทางที่ใช้พาหนะด้วย ดังนั้นจึงต้อง เติ ม คำอั น เป็ น ใจความสำคั ญ ไป มา กลั บ แปรพระราชฐานไป ไว้ ข้ า งหลั ง ด้ ว ย เช่ น เสด็ จ พระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจ พลสวนสนาม เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกช่อฟ้า เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ ส่วนคำว่า เดิน ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระดำเนิน ไม่ใช้ว่า เสด็จพระดำเนิน ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ถึงพระองค์เจ้า หม่อมเจ้าใช้คำว่า ดำเนิน
297 14. up 274-308-7 Sep.indd 297
9/7/12 9:13:30 PM
ตัวอย่างหมายรับสั่ง
298 14. up 274-308-7 Sep.indd 298
9/7/12 9:13:31 PM
299 14. up 274-308-7 Sep.indd 299
9/7/12 9:13:33 PM
300 14. up 274-308-7 Sep.indd 300
9/7/12 9:13:34 PM
301 14. up 274-308-7 Sep.indd 301
9/7/12 9:13:36 PM
302 14. up 274-308-7 Sep.indd 302
9/7/12 9:13:37 PM
303 14. up 274-308-7 Sep.indd 303
9/7/12 9:13:39 PM
304 14. up 274-308-7 Sep.indd 304
9/7/12 9:13:40 PM
ตัวอย่างหมายกำหนดการ
305 14. up 274-308-7 Sep.indd 305
9/7/12 9:13:42 PM
306 14. up 274-308-7 Sep.indd 306
9/7/12 9:13:42 PM
ตัวอย่างกำหนดการ
307 14. up 274-308-7 Sep.indd 307
9/7/12 9:13:44 PM
- ๒ -
308 14. up 274-308-7 Sep.indd 308
9/7/12 9:13:45 PM
บทที่ ๕ การใช้ราชาศัพท์ในการเขียนหนังสือ การกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา
การใช้ราชาศัพท์ในการเขียนหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล และทูล คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ๑. พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อเจ้าของหนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท...(๑)
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพระพุทธเจ้า แทน ผู้กราบบังคมทูลพระกรุณา
คำลงท้าย (๑) ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ(๒) ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
(๑) เป็นตัวอย่างการขึ้นต้นเนื้อความ (๒) หรือ ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
309 15. up 309-325-7 Sep.indd 309
9/7/12 9:19:04 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
หรือ (๒) ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) ขอเดชะ (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง คำจ่าหน้าซอง ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ
๒. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อเจ้าของหนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท...
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
คำลงท้าย (๑) ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ(๑) ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
หรือ (๒) ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) ขอเดชะ (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
แทน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ แทน ผู้กราบบังคมทูล
คำจ่าหน้าซอง ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ
(1) หรือ ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
310 15. up 309-325-7 Sep.indd 310
9/7/12 9:19:06 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๓. พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์ ๓.๑ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ ราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบบังคมทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าละอองพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าละอองพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม(๑) ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
คำจ่าหน้าซอง ขอพระราชทานกราบบังคมทูล (ระบุพระนาม)
๓.๒ พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลปัจจุบัน ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
แทน พระบรมวงศ์ แทน ผู้กราบบังคมทูล
แทน สมเด็จเจ้าฟ้า แทน ผู้กราบทูล
(1) หรือ ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
311 15. up 309-325-7 Sep.indd 311
9/7/12 9:19:08 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำจ่าหน้าซอง ขอพระราชทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
๓.๓ พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า หมายถึง พระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสธิดาของ พระมหากษัตริย์ (ซึ่งในรัชกาลปัจจุบันไม่มี)
คำขึ้นต้น ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
คำจ่าหน้าซอง ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
แทน พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า แทน ผู้กราบทูล
๓.๔ พระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่มิได้ทรงกรม) และพระวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้า (ที่ทรงกรม) ในรัชกาลปัจจุบันได้แก่ ๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๒. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ๓. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ๔. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ๕. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ๖. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ๗. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
คำขึ้นต้น กราบทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท 312
15. up 309-325-7 Sep.indd 312
9/7/12 9:19:09 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน
แทน แทน แทน
พระองค์เจ้า ผู้กราบทูล (ชาย) ผู้กราบทูล (หญิง)
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้ากระหม่อม หรือ เกล้ากระหม่อมฉัน (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
คำจ่าหน้าซอง กราบทูล (ระบุพระนาม)
๓.๕ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่มิได้ทรงกรม)
คำขึ้นต้น ทูล (ระบุพระนาม)
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท กระหม่อม หม่อมฉัน
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด กระหม่อม หรือ หม่อมฉัน (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
คำจ่าหน้าซอง ทูล (ระบุพระนาม)
แทน แทน แทน
พระองค์เจ้า ผู้ทูล (ชาย) ผู้ทูล (หญิง)
313 15. up 309-325-7 Sep.indd 313
9/7/12 9:19:11 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๓.๖ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า เช่น ๑. หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ๒. หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ๓. หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ๔. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
คำขึ้นต้น ทูล (ระบุพระนาม)
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท กระหม่อม หม่อมฉัน
คำลงท้าย แล้วแต่จะโปรด กระหม่อม หรือ หม่อมฉัน (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
คำจ่าหน้าซอง ทูล (ระบุพระนาม)
แทน แทน แทน
หม่อมเจ้า ผู้ทูล (ชาย) ผู้ทูล (หญิง)
๔. พระภิกษุ ๔.๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า คำขึ้นต้น ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
แทน แทน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ผู้กราบทูล
314 15. up 309-325-7 Sep.indd 314
9/7/12 9:19:13 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
คำจ่าหน้าซอง ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
๔.๒ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันได้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
คำขึ้นต้น กราบทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้ากระหม่อม หรือ เกล้ากระหม่อมฉัน (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง คำจ่าหน้าซอง กราบทูล (ระบุพระนาม)
แทน แทน แทน
สมเด็จพระสังฆราช ผู้กราบทูล (ชาย) ผู้กราบทูล (หญิง)
หมายเหตุ (๑) การเขียนหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูลพระมหา กษั ต ริ ย์ จ นถึ ง พระอนุ ว งศ์ ชั้ น พระองค์ เจ้ า นั้ น ไม่ ส มควรเขี ย นไปกราบบั ง คมทู ล
พระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล โดยตรง ให้เขียนถึงราชเลขาธิการ หรือ
ราชเลขานุ ก ารในพระองค์ หรื อ เลขานุ ก ารของพระบรมวงศ์ ห รื อ พระอนุ ว งศ์ พระองค์นั้น เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล 15. up 309-325-7 Sep.indd 315
(๒) ในพระราชพิ ธี บ วงสรวงต่ า งๆ ผู้ ไ ด้ รั บ พระบรมราชโองการให้ อ่ า นประกาศ
บวงสรวง จะขึ้นต้นคำประกาศบวงสรวงว่า “สรวมชีพ” 315 9/7/12 9:19:15 PM
ตัวอย่าง
316 15. up 309-325-7 Sep.indd 316
9/7/12 9:19:16 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
317 15. up 309-325-7 Sep.indd 317
9/7/12 9:19:18 PM
คำอธิบาย ๑. คำกราบบังคมทูลที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายว่า ขอเดชะ แต่ก่อนใช้แก่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๙ ได้มีประกาศพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ใช้คำกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรม-
ราชินีนาถเสมอด้วยคำกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ เว้นแต่คำว่า บรม และ พระกรุณา ไม่
ต้องใช้ ดังนั้น คำกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จึงเปลี่ยนไปตามพระบรมราชโองการ ดั ง กล่ า ว ส่ ว นคำกราบบั ง คมทู ล สมเด็ จ พระบรมราชิ นี ยั ง คงถื อ ตามคำกราบบั ง คมทู ล สมเด็ จ
พระอัครมเหสีที่มีมาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์เมื่อทรงรับราชสมบัติแล้ว แต่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษก ออกพระนามแต่ เพียง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คำกราบบังคมทูลทั้งที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายยังไม่ต้อง ขอเดชะ และ
คำสั่งยังไม่ใช้ พระบรมราชโองการ คงใช้ พระราชโองการ ดังตัวอย่างหนังสือเจ้าพระยาธรรมา
ธิกรณาธิบดี กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก เมื่อก่อนบรมราชาภิเษก ๒. คำว่า กราบบังคมทูลพระกรุณา แปลว่า กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นจะนำไป ใช้กับเจ้านายพระองค์อื่นไม่ได้ ๓. คำว่า ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท และทราบฝ่าละอองพระบาท แปลว่า รู้ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๑ ว่า ไม่มี ทรง นำหน้า มี ทรง นำหน้าเฉพาะคำว่า ทรงทราบ เท่านั้น เพราะ ทราบ เป็นคำสามัญ มิใช่ราชาศัพท์ เมื่อจะใช้ เป็นกริยาในราชาศัพท์ จึงต้องมีคำว่า ทรง นำหน้า ๔. ตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีและพระมเหสีรองนั้น ตามหลักในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย การสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ ให้คำนิยามศัพท์ไว้ว่า “สมเด็จพระอัครมเหสี” คือ พระชายา หลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีพระบรมราชโองการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ส่วน “พระมเหสีรอง” คือ พระชายาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระเกียรติรองจาก สมเด็จ พระบรมราชินี ๕. พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า หมายความว่า พระองค์เจ้าพระองค์นั้นเป็นพระราชโอรส ธิดาในพระมหากษัตริย์ไม่ว่ารัชกาลใด ๖. พระอนุวงศ์ หมายถึงพระราชวงศ์ที่เป็นพระราชนัดดา พระราชปนัดดาในพระมหา กษัตริย์ไม่ว่ารัชกาลใด 318 15. up 309-325-7 Sep.indd 318
9/7/12 9:19:18 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๗. คำว่า ทรงกรม หมายความว่า พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปทรงได้รับการ สถาปนาเป็น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ และกรมพระยา ๘. การใช้ราชาศัพท์กับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า นั้น ใช้เสมอ การใช้ราชาศัพท์กับพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์ ส่วนสมเด็จ พระสังฆราชนั้น ใช้ราชาศัพท์เสมอพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชนัดดาในพระมหา กษัตริย์
319 15. up 309-325-7 Sep.indd 319
9/7/12 9:19:20 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
การใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา
คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ๑. พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม คำสรรพนาม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แทน พระมหากษัตริย์ ข้าพระพุทธเจ้า แทน ผู้กราบบังคมทูลพระกรุณา คำลงท้าย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ๒. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม คำสรรพนาม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แทน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ข้าพระพุทธเจ้า แทน ผู้กราบบังคมทูล คำลงท้าย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ๓. พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์ ๓.๑ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ ราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองพระบาท 320 15. up 309-325-7 Sep.indd 320
9/7/12 9:19:22 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าละอองพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
แทน พระบรมวงศ์ แทน ผู้กราบบังคมทูล
คำลงท้าย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม หรือ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
๓.๒ พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลปัจจุบัน ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบทูล ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
แทน สมเด็จเจ้าฟ้า แทน ผู้กราบทูล
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ๓.๓ พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า หมายถึง พระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสธิดาของ พระมหากษัตริย์ (ซึ่งในรัชกาลปัจจุบันไม่มี) คำขึ้นต้น ขอประทานกราบทูล ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าพระบาท แทน พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ข้าพระพุทธเจ้า แทน ผู้กราบทูล คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
๓.๔ พระอนุวงศ์ชนั้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ทีม่ ไิ ด้ทรงกรม) และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่ทรงกรม) ในรัชกาลปัจจุบัน ได้แก่ 321 15. up 309-325-7 Sep.indd 321
9/7/12 9:19:24 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรม- โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๒. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ๓. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ๔. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ๕. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ๖. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ๗. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
คำขึ้นต้น กราบทูล ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน
แทน พระองค์เจ้า แทน ผู้กราบทูล (ชาย) แทน ผู้กราบทูล (หญิง)
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ๓.๕ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่มิได้ทรงกรม) คำขึ้นต้น ทูล ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท กระหม่อม หม่อมฉัน
แทน พระองค์เจ้า แทน ผู้ทูล (ชาย) แทน ผู้ทูล (หญิง)
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ๓.๖ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า เช่น ๑. หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ๒. หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ 322 15. up 309-325-7 Sep.indd 322
9/7/12 9:19:26 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๓. หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ๔. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
คำขึ้นต้น ทูล ฝ่าพระบาท คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท กระหม่อม หม่อมฉัน
แทน หม่อมเจ้า แทน ผู้ทูล (ชาย) แทน ผู้ทูล (หญิง)
คำลงท้าย แล้วแต่จะโปรด หมายเหตุ ข้อ ๑-๓ ในการเริ่มกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล ทูล ต่อจาก คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน กระหม่อม หม่อมฉัน ให้ออกนามและ ตำแหน่งของผู้พูดด้วย เช่น ข้าพระพุทธเจ้า นาย........นายกรัฐมนตรี ๔. พระภิกษุ ๔.๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า คำขึ้นต้น ขอประทานกราบทูล ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ใต้ฝ่าพระบาท แทน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า แทน ผู้กราบทูล
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
323 15. up 309-325-7 Sep.indd 323
9/7/12 9:19:28 PM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
๔.๒ สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ปัจจุบันได้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก คำขึ้นต้น กราบทูล ทราบฝ่าพระบาท
คำสรรพนาม ฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน
แทน สมเด็จพระสังฆราช แทน ผู้กราบทูล (ชาย) แทน ผู้กราบทูล (หญิง)
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
324 15. up 309-325-7 Sep.indd 324
9/7/12 9:19:29 PM
คำอธิบาย
การกราบบังคมทูลตามธรรมดา เช่น มีกระแสพระราชดำรัสถามว่า ชื่ออะไร ให้กราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ......พระพุทธเจ้าข้า คำกราบบังคมทูลถึงความสะดวกสบายหรือรอดพ้นอันตรายของตน ใช้คำขึ้นต้นว่า เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม... แล้วจึงกราบบังคมทูลต่อไป คำกราบบังคมทูลถึงการที่ได้ทำผิดพลาด หรือไม่สมควร ใช้คำขึ้นต้นว่า พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม คำกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณา ใช้คำนำว่า ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม คำกราบบังคมทูลเป็นกลาง ๆ เพื่อจะได้ทรงเลือก ให้ลงท้ายว่า การจะควรมิควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม หรือ การจะควรมิควรประการใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม คำกราบบังคมทูลความเห็นของตน ใช้ว่า เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่า คำกราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ทราบมา ใช้ว่า ทราบเกล้าทราบกระหม่อมว่า คำกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวาย ใช้ว่า สนองพระมหากรุณาธิคุณ หรือ สนองพระเดชพระคุณ การแสดงถวายทอดพระเนตร ใช้ว่า แสดงเฉพาะพระพักตร์ หรือ แสดงหน้าที่นั่ง
325 15. up 309-325-7 Sep.indd 325
9/7/12 9:19:29 PM
ราชาศัพท์
ผู้รับหนังสือ
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม
คำลงท้าย
16- up 326-333-7 Sep.indd 326
326
2. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลี ควรมิควรแล้วแต่จะทรง ขอพระราชทานทูลเกล้า ปกเกล้าปกกระหม่อม พระบาท พระกรุณาโปรดเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อ ข้าพระพุทธเจ้า โปรดกระหม่อม ขอเดชะ ขอเดชะ เจ้าของหนังสือและตำแหน่ง [ข้าพระพุทธเจ้า (ถ้ามี)] ขอพระราชทานกราบ (ลงลายมือชื่อ) หรือ บังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลี จะนำคำว่า ขอเดชะมา พระบาท ไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือ ก็ได้]
9/7/12 9:28:24 PM
คำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง
1. พระมหากษัตริย์ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลี ควรมิควรแล้วแต่จะทรง ขอพระราชทานทูลเกล้า ปกเกล้าปกกระหม่อม พระบาท พระกรุณาโปรดเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อ ข้าพระพุทธเจ้า โปรดกระหม่อม ขอเดชะ ขอเดชะ เจ้าของหนังสือและตำแหน่ง [ข้าพระพุทธเจ้า (ลงลายมือ (ถ้ามี)] ขอพระราชทานกราบ ชื่อ) หรือ จะนำคำว่า บังคมทูลพระกรุณาทราบ ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้า ฝ่าละอองธุลีพระบาท ของหนังสือก็ได้]
1. การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล ทูล และการจ่าหน้าซอง
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้รับหนังสือ
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม
คำลงท้าย
16- up 326-333-7 Sep.indd 327
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ)
3.3 พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์ ขอประทานกราบทูล ใต้ฝ่าพระบาท เจ้า (พระราชโอรสธิดา (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ของพระมหากษัตริย์) ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชือ่ เจ้าของ หนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี]) ขอประทานกราบทูล 327
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ)
3.2 พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จ ขอพระราชทานกราบทูล ใต้ฝ่าพระบาท เจ้าฟ้า (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชือ่ เจ้าของ หนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทานกราบทูล
3. พระบรมวงศ์ และพระอนุวงศ์ 3.1 สมเด็จพระบรมราชินี ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ใต้ฝ่าละอองพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะทรง สมเด็จพระยุพราช (ระบุพระนาม) ทราบฝ่า ข้าพระพุทธเจ้า พระกรุณาโปรดเกล้า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ละอองพระบาท โปรดกระหม่อม สยามมกุฎราชกุมาร ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อเจ้าของ ข้าพระพุทธเจ้า (ลงลายมือชื่อ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี)] สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
ราชาศัพท์
ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
ขอพระราชทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
9/7/12 9:28:26 PM
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล (ระบุพระนาม)
คำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้รับหนังสือ
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม
16- up 326-333-7 Sep.indd 328
328
ทูล (ระบุพระนาม)
3.6 พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ทูล (ระบุพระนาม) ฝ่าพระบาท กระหม่อม (ชาย) หรือ กระหม่อม (ชาย) หม่อมฉัน (หญิง) [ออกชื่อ หม่อมฉัน (หญิง) เจ้าของหนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอทูล
แล้วแต่จะโปรด กระหม่อม (ชาย) (ลงชื่อ) หรือ หม่อมฉัน (หญิง) (ลงชื่อ)
ทูล (ระบุพระนาม)
9/7/12 9:28:28 PM
คำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด กราบทูล (ระบุพระนาม) เกล้ากระหม่อม (ชาย) (ลงชื่อ) หรือ เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) (ลงชื่อ)
คำลงท้าย
3.5 พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์ ทูล(ระบุพระนาม) ทราบฝ่า ฝ่าพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เธอ พระองค์เจ้า (ที่มิได้ พระบาท กระหม่อม (ชาย) กระหม่อม (ชาย) ทรงกรม) กระหม่อม (ชาย) หรือ หม่อมฉัน (หญิง) (ลงชื่อ) หม่อมฉัน (หญิง) หรือ [ออกชื่อ เจ้าของหนังสือ หม่อมฉัน (หญิง) และตำแหน่ง ( ถ้ามี)] ขอทูล (ลงชื่อ)
3.4 พระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้า กราบทูล (ระบุพระนาม) ฝ่าพระบาท วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทราบฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม (ที่มิได้ทรงกรม) และ เกล้ากระหม่อม (ชาย) หรือ (ชาย) เกล้ากระหม่อมฉัน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) (ที่ทรงกรม) [ออกชื่อ เจ้าของหนังสือ และ (หญิง) ตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอกราบทูล
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้รับหนังสือ
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ลงชื่อ)
คำลงท้าย
16- up 326-333-7 Sep.indd 329
329
4.2 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า, กราบทูล (ออกพระนาม) ฝ่าพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด สมเด็จพระสังฆราช ทราบฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อม (ชาย) เกล้ากระหม่อม (ชาย) หรือ (ชาย) (ลงชื่อ) หรือ เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) [ออกชื่อ เจ้าของหนังสือและ (หญิง) (ลงชื่อ) ตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอกราบทูล
4. พระภิกษุ 4.1 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ขอประทานกราบทูล ใต้ฝ่าพระบาท (ระบุพระนาม) ข้าพระพุทธเจ้า ทราบฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อ เจ้าของหนังสือและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอประทานกราบทูล
ราชาศัพท์
กราบทูล (ระบุพระนาม)
ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
9/7/12 9:28:29 PM
คำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ราชาศัพท์
คำลงท้าย
16- up 326-333-7 Sep.indd 330
330
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
คำสรรพนาม
2. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อผู้กราบ บังคมทูลและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำขึ้นต้น
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ผู้ฟัง
1. พระมหากษัตริย์ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อ ผู้กราบบังคมทูลพระกรุณาและ ตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
2. การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้าย ในการกราบบังคมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
9/7/12 9:28:31 PM
ผู้ฟัง
คำสรรพนาม
หรือใช้ “ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม หรือใช้ “ควรมิควรสุดแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
16- up 326-333-7 Sep.indd 331
(2)
(1)
คำลงท้าย
331
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม(2)
9/7/12 9:28:33 PM
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ใต้ฝ่าละอองพระบาท ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม หรือ ควรมิควร ทราบฝ่าละอองพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อผู้กราบ โปรดกระหม่อม(1) บังคมทูลและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
คำขึ้นต้น
3.2 พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ขอพระราชทานกราบทูล ใต้ฝ่าพระบาท ทราบฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชือ่ ผูก้ ราบทูล และตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอพระราชทานกราบทูล
3. พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์ 3.1 สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้ฟัง
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม(1)
คำลงท้าย
หรือใช้ “ควรมิควรสุดแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
16- up 326-333-7 Sep.indd 332
(3)
332
3.5 พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ ทูลฝ่าพระบาท พระองค์เจ้า (ที่มิได้ทรงกรม) กระหม่อม (ชาย) หรือ หม่อมฉัน (หญิง) [ออกชื่อผู้ทูล และตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอทูล
ฝ่าพระบาท กระหม่อม (ชาย) หรือ หม่อมฉัน (หญิง)
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
3.4 พระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กราบทูล ทราบฝ่าพระบาท ฝ่าพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด พระองค์เจ้า (ที่มิได้ทรงกรม) และ เกล้ากระหม่อม (ชาย) หรือ เกล้ากระหม่อม (ชาย) หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ที่ทรงกรม) เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) [ออกชือ่ ผูก้ ราบทูล และตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอกราบทูล
3.3 พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ขอประทานกราบทูล ใต้ฝ่าพระบาท (พระราชโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์) ทราบฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อผู้ขอ ประทานกราบทูลและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอประทานกราบทูล
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
9/7/12 9:28:35 PM
ผู้ฟัง
คำขึ้นต้น ฝ่าพระบาท กระหม่อม (ชาย) หรือ หม่อมฉัน (หญิง)
คำสรรพนาม
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม
แล้วแต่จะโปรด
คำลงท้าย
16- up 326-333-7 Sep.indd 333
333
4.2 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า, กราบทูล ทราบฝ่าพระบาท ฝ่าพระบาท ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด สมเด็จพระสังฆราช เกล้ากระหม่อม (ชาย) หรือ เกล้ากระหม่อม (ชาย) หรือ เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน (หญิง) [ออกชือ่ ผูก้ ราบทูลและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอกราบทูล
4. พระภิกษุ 4.1 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ขอประทานกราบทูล ใต้ฝ่าพระบาท ทราบฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า [ออกชื่อผู้ขอ ประทานกราบทูลและตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอประทานกราบทูล
3.6 พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ทูลฝ่าพระบาท กระหม่อม (ชาย) หรือ หม่อมฉัน (หญิง) [ออกชื่อผู้ทูล และตำแหน่ง (ถ้ามี)] ขอทูล
ราชาศัพท์
9/7/12 9:28:37 PM
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ภาคผนวก
17. up 334-368-7 Sep.indd 334
9/8/12 9:09:22 AM
ภาคผนวกที่ 1 คำสุภาพ คำสุภาพ หมายถึงคำทีไ่ ม่หยาบกระด้างน่ารังเกียจ สมควรจะใช้กราบบังคมทูลพระกรุณา หรือใช้เป็นภาษาราชการ เป็นภาษาแบบแผน ใช้แก่พระสงฆ์ ขุนนาง และบุคคลทั่วไป
1. คำที่ใช้แก่พระสงฆ์
พระสงฆ์มีหลายชั้น และมีสามานยนามบอกสมณศักดิ์นำนามต่างกันตามชั้น ดังนี้
1.1 คำสามานยนามบอกสมณศักดิ์ ใช้นำหน้าราชทินนาม มีดังนี้ 1.1.1 สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชที่มิใช่เจ้านาย ใช้ว่า “สมเด็จพระ อริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”(1) และลงนามเดิม และนาม ฉายา เช่น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฺ ายี) 1.1.2 สมเด็จพระราชาคณะ ใช้คำ สมเด็จพระ นำหน้าราชทินนาม และจะลงนาม เดิม นามฉายา เพื่อให้แน่ชัดด้วยก็ควร เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์(2) (นวม(3) พุทฺธสโร(4)) 1.1.3 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เช่น พระวิสุทธาธิบดี พระพรหมเมธี 1.1.4 พระราชาคณะชั้นธรรม ใช้คำ พระธรรม นำหน้าราชทินนาม เช่น พระธรรม- กิตติวงศ์ พระธรรมวราจารย์ (เขียนปรกติจะไม่ใช้นามเดิม ใช้แต่ราชทินนาม จะใช้นามเดิมเมื่อ ทำทำเนียบหรือทำประวัติ) 1.1.5 พระราชาคณะชัน้ เทพ ใช้คำ พระเทพ นำหน้าราชทินนาม เช่น พระเทพปัญญา สุธี พระเทพประสิทธิคุณ 1.1.6 พระราชาคณะชัน้ ราช ใช้คำ พระราช นำหน้าราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา วิสารัท พระราชสารโกศล 1.1.7 พระราชาคณะชั้นสามัญ ใช้คำ พระ นำหน้าราชทินนาม เช่น พระประศาธน์ โสภณ พระปริยัติโสภณ (1) เมื่อ
พ.ศ. 2532 ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาสมณศักดิ์ สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฒฺโน) เป็นกรณีเฉพาะพระองค์ (2) ราชทินนาม (3) นามเดิม (4) นามฉายา
335 17. up 334-368-7 Sep.indd 335
9/8/12 9:09:22 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
1.1.8 พระครู ใช้คำ พระครู นำหน้า เช่น พระครูวิบูลโชติวัฒน์(1) พระครูไพโรจน์ โพธิวัฒน์(2) 1.1.9 พระสงฆ์ที่เป็นเปรียญ ใช้คำ พระมหา นำหน้าชื่อและนามสกุลพร้อมทั้งนาม ฉายา และจะบอกเปรียญธรรมเท่าประโยคที่สอบไล่ได้ด้วยก็ได้ เช่น พระมหาทิม ชื่นช้อย (เขมิโก ป.ธ. 3) 1.1.10 พระสงฆ์ที่มีตำแหน่งต่างๆ ก็มีคำสามานยนามนำชื่อต่างกันไปตามตำแหน่ง เช่น เจ้าอธิการ(3) สิริ โอบอ้อม (สิริคุตฺโต) พระอธิการ(4) ทิม ชื่นช้อย (เขมิโก) พระปลัด(5) ชอบ ชื่นแช่ม (ปิยวณฺโณ) พระสมุห์อิ่ม อาบเอม (เปมงฺกโร) พระใบฎีกาเนียม ชื่นชอบ (ปภากโร) 1.1.11 พระอนุจร ใช้คำ พระ นำหน้าชื่อ นามสกุล และนามฉายา เช่น พระผิน เกิดชอบ ( าณทีโป) หากเป็นนักธรรมจะลงวุฒิต่อท้ายก็ได้ เช่น พระผิน เกิดชอบ ( าณทีโป น.ธ. เอก) 1.1.12 สามเณร ใช้คำ สามเณร นำหน้าชื่อ นามสกุล และจะลงวุฒิเปรียญ หรือ นักธรรม หรือลงทั้งสองประการด้วยกันก็ได้ เช่น สามเณรสุโข สราญใจ สามเณรสุโข สราญใจ (น.ธ.โท) สามเณรสุโข สราญใจ (ป.ธ. 4, น.ธ. โท) 1.2 คำสรรพนามหรือคำแทนชื่อ ในไวยากรณ์ คำสรรพนามที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามบุคคล คือ บุรุษสรรพนาม และ มีคำใช้แก่พระสงฆ์ต่างชั้นกัน ที่ใช้กันเป็นแบบแผนแต่ก่อนมีดังนี้
(1)–(2) พระครูสัญญาบัตร (3) เจ้าอธิการ คือ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ที่เป็นเจ้าคณะตำบล แต่ยังไม่มีสมณศักดิ์ (4) พระอธิการ คือ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ที่ยังไม่มีสมณศักดิ์ (5) พระปลัดก็ดี พระสมุห์ก็ดี พระใบฎีกาก็ดี เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นสามัญ
พระราชาคณะชั้นสูงต้องเปลี่ยนเป็น พระครูปลัด พระครูสมุห์ พระครูใบฎีกา ฯลฯ
ถ้าเป็นพระฐานานุกรมของ
336 17. up 334-368-7 Sep.indd 336
9/8/12 9:09:24 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บุรุษที่ 1 คำสรรพนาม เกล้ากระผม กระผม ผม อาตมภาพ เกล้ากระผม กระผม (ภาษาปาก) ผม (ภาษาปาก) (ชาย) ดิฉัน (หญิง) ผม (ชาย) ดิฉัน (หญิง) ผม (ชาย) ดีฉัน, ดิฉัน (หญิง)
ผู้พูด พระสงฆ์ พระสงฆ์ พระสงฆ์ พระสงฆ์ บุคคลทั่วไป
ใช้แก่ สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร พระครูฐานานุกรม พระครูประทวน พระเปรียญ พระสงฆ์ด้วยกัน บุคคลทั่วไป สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ
บุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไป
พระครูสัญญาบัตร พระครูฐานานุกรม พระครูประทวน พระเปรียญ พระสงฆ์ทั่วไป
บุรุษที่ 2 คำสรรพนาม ผู้พูด พระเดชพระคุณท่าน พระสงฆ์ เจ้าพระคุณ, บุคคลทั่วไป พระเดชพระคุณท่าน เจ้าประคุณ, ท่านเจ้าพระคุณ (ภาษาปาก), ท่านเจ้าประคุณ (ภาษาปาก)
ใช้แก่ สมเด็จพระราชาคณะ
337 17. up 334-368-7 Sep.indd 337
9/8/12 9:09:25 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม ผู้พูด พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระสงฆ์ บุคคลทั่วไป พระคุณเจ้า ท่านเจ้าคุณ (ภาษาปาก)
ใช้แก่ พระราชาคณะ
ท่านพระครู
พระสงฆ์
พระครูสัญญาบัตร
พระคุณเจ้า
บุคคลทั่วไป
พระครูฐานานุกรม พระครูประทวน พระเปรียญ
ท่าน พระคุณท่าน
พระสงฆ์ บุคคลทั่วไป
พระสงฆ์
สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า
พระสงฆ์
พระมหากษัตริย์
บรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า, มหาบพิตร
พระสงฆ์
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บพิตร(1)
พระสงฆ์
พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึง หม่อมเจ้า
(1) ถ้าเป็นการเขียนหนังสือ
พระสงฆ์มแี บบใช้สรรพนามบุรษุ ที่ 2 เปลีย่ นไปตามพระอิสริยยศของเจ้านาย เช่น สมเด็จพระราชภคินี บพิตร สมเด็จพระบรมวงศ์บพิตร พระบรมวงศ์บพิตร พระเจ้าวรวงศ์บพิตร พระวรวงศ์บพิตร
338 17. up 334-368-7 Sep.indd 338
9/8/12 9:09:27 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บุรุษที่ 3 คำสรรพนาม ท่าน
ผู้พูด ผู้น้อย
ใช้แก่ พระสงฆ์
1.3 คำกริยา คำกริยา ฉัน (กิน, ดื่ม)
ผู้พูด พระสงฆ์
พระสงฆ์
มรณภาพ (ตาย)
บุคคลทั่วไป
พระสงฆ์
ถวาย (ให้)
บุคคลทั่วไป
พระสงฆ์
ใช้แก่
ขอพระทาน, บุคคลทั่วไป ขอประทาน 1.4 คำวิเศษณ์ที่เป็นคำขึ้นต้นและคำรับ
สมเด็จพระสังฆราช
คำสรรพนาม ขอถวายพระพร
ผู้พูด พระสงฆ์
ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เจริญพร
พระสงฆ์
บุคคลทั่วไป
339 17. up 334-368-7 Sep.indd 339
9/8/12 9:09:29 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
1.5 ศัพท์เฉพาะสำหรับพระสงฆ์(1) 1.5.1 คำนาม คำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ความหมาย
ไทยธรรม(2), ไทยทาน(3)
ของถวายพระ, ของทำบุญต่างๆ
ญัตติ
คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน
ถวายพระพร
คำเริ่มและคำรับที่พระสงฆ์ใช้แก่พระมหา
กษัตริย์ถึงหม่อมเจ้า
เจริญพร
คำเริ่มและคำรับที่พระสงฆ์ใช้แก่คนทั่วไป
โยม(4)
คำที่พระสงฆ์เรียกฆราวาส และคำที่ฆราวาส ใช้แทนตัวเองเมื่อพูดกับพระสงฆ์
อัฐบริขาร
เครื่องใช้จำเป็นของพระสงฆ์ มี 8 อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคด และกระบอกกรองน้ำ
ไตรจีวร
เครื่องนุ่งห่ม ประกอบด้วย สบง จีวร สังฆาฏิ
เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธ- ศาสนามี 4 อย่ า ง คื อ จี ว ร (ผ้ า นุ่ ง ห่ ม ) บิ ณ ฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่ อ ยู่ ) คิลานเภสัช (ยา)
จตุปัจจัย
ปัจจัย
เงินตรา
ลิขิต
จดหมาย ใช้แก่พระสงฆ์ทั่วไป
ฉายา
ชื่ อ ที่ พ ระอุ ปั ช ฌาย์ ตั้ ง ให้ เ ป็ น ภาษาบาลี เ มื่ อ
อุปสมบท
(1) ข้อมูลจากหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์พุทธศักราช 2550 หน้า 245-249 (2)–(3) คำว่า “ไทยธรรม” และ “ไทยทาน” มีความหมายเหมือนกัน คือหมายถึง ของถวายพระ ของทำบุญต่างๆ (4) เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมป้า โยมอา
340 17. up 334-368-7 Sep.indd 340
9/8/12 9:09:31 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ความหมาย
อาสนะ
ที่นั่ง, เครื่องปูรองนั่ง
เสนาสนะ
ที่นั่ง, ที่นอน, ที่อยู่
อาสน์สงฆ์
ที่ยกพื้นสำหรับนั่ง
ธรรมาสน์
ที่สำหรับนั่งแสดงธรรม
กุฏิ
ที่อยู่อาศัย
อาบัติ
โทษที่เกิดจากการละเมิดสิกขาบท
น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี 8 อย่าง คือ น้ำผลมะม่วง น้ ำ ผลชมพู่ ห รื อ น้ ำ ผลหว้ า น้ ำ ผลกล้ ว ยมี
เมล็ ด หรื อ น้ ำ ผลกล้ ว ยไม่ มี เ มล็ ด น้ ำ ผล มะซาง น้ ำ ผลจั น ทน์ ห รื อ น้ ำ ผลองุ่ น น้ ำ เหง้าบัว และน้ำผลมะปรางหรือน้ำผลลิ้นจี่
อัฐบาน
เจ้าอาวาส
พระภิกษุผู้ปกครองวัด
คิลานเภสัช
ยารักษาโรค
อันเตวาสิก
ศิษย์ที่อยู่ในปกครองหรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาสก็ได้
สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก
คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว ถ้าอุปสมบท กับพระอุปัชฌาย์องค์ใด ก็เป็นสัทธิวิหาริก พระอุปัชฌาย์องค์นั้น
ฎีกา
หนังสือที่เขียนนิมนต์
ภัตตาหาร, จังหัน
อาหาร
ภัตตาหารเช้า, จังหันเช้า
อาหารเช้า
ภัตตาหารเพล, จังหันเพล
อาหารเพล
341 17. up 334-368-7 Sep.indd 341
9/8/12 9:09:33 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
1.5.2 คำกริยา คำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ความหมาย
นมัสการ
กราบ, ไหว้
ฉัน
กิน, ดื่ม
ฉันจังหัน,(1) ฉันภัตตาหาร
กินอาหาร
ฉันจังหันเช้า, ฉันภัตตาหารเช้า, ฉันเช้า (ภาษาปาก)
กินอาหารเช้า
ฉันจังหันเพล, ฉันภัตตาหารเพล, ฉันเพล (ภาษาปาก)
กินอาหารกลางวัน
ปลงคิ้ว
โกนคิ้ว
ปลงผม
โกนผม
ปลงหนวด
โกนหนวด
ขอนิสัย
ขอฝากตัวเป็นศิษย์พระอุปัชฌาย์
อาราธนา
ขอให้พระสงฆ์ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
นิมนต์
เชิญ
เผดียงสงฆ์
แจ้งให้สงฆ์ทราบ
อาพาธ
เจ็บป่วย
ถึงแก่มรณภาพ, ถึงมรณภาพ, มรณภาพ
ตาย
จำวัด
นอน, นอนหลับ
ครองผ้า
นุ่งห่ม
อุปสมบท
บวชเป็นพระภิกษุ
บรรพชา
บวชเป็นสามเณร
(1) คำว่า
ฉันจังหัน เป็นคำที่มีใช้มาก่อน ต่อมาจึงมีคำว่า ฉันภัตตาหาร
342 17. up 334-368-7 Sep.indd 342
9/8/12 9:09:35 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ความหมาย
ถวายพระพรลา
บอกลาเฉพาะพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชิน(1) ี
ปวารณา
เปิดโอกาสให้ขอหรือเรียกร้องเอาได้
ไปห้องน้ำ, ไปถาน
ไปส้วม
ร่วมสังฆกรรม(2)
ร่วมทำกิจของสงฆ์ภายในพัทธสีมา เช่น การร่วมฟังสวดพระปาติโมกข์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 15 ค่ำ หรือวันแรม 14 ค่ำในเดือนขาด
รับบิณฑบาต
รับของใส่บาตร
รับนิมนต์
รับเชิญ
ลงอุโบสถ, ลงอุโบสถกรรม
ลงสวดและฟังพระปาติโมกข์ในพระอุโบสถ และอุโบสถในวันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 15 ค่ำ หรือวันแรม 14 ค่ำในเดือนขาด
กราบลา
ลา (ใช้แก่พระสงฆ์ที่นับถือ)
ลาสิกขา
ลาสึกจากพระ
อังคาส
เลี้ยงพระ, ถวายอาหารพระ
ทำวัตรเช้า
สวดมนต์ไหว้พระตอนเช้า
ทำวัตรเย็น
สวดมนต์ไหว้พระตอนเย็น
ทำวัตรค่ำ
สวดมนต์ไหว้พระตอนค่ำ
เทศน์, เทศนา
แสดงธรรม
ครองจีวร
ห่มจีวร
(1) พระบรมวงศ์และพระอนุวงศ์นอกนั้นไม่มีถวายพระพรลา (2) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามคำว่า
สังฆกรรม ว่า “[สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป รวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).”
343 17. up 334-368-7 Sep.indd 343
9/8/12 9:09:36 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ความหมาย
ถวาย
ให้
ประเคน
ให้ในระยะไม่เกินหัตถบาส(1)
ถวายอดิเรก(2)
ให้พรพิเศษแด่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สรงน้ำ
อาบน้ำ
ปลงอาบัติ
แสดงความผิดเพื่อเปลื้องโทษ ที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบท ขนาดเบา ที่เรียกว่า “ลหุกาบัติ”
ปรับอาบัติ
เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย
2. คำที่ใช้แก่ขุนนางและบุคคลทั่วไป 2.1 คำสามานยนามนำหน้าชื่อ ใช้แก่ขุนนางและบุคคลทั่วไปมี 2 อย่าง คือ 2.1.1 คำสามานยนามบอกยศ ใช้ทั่วไปกับขุนนาง ปัจจุบันนี้มีแต่ยศทหารกับตำรวจ(3) ซึ่งทราบกันแพร่หลายอยู่แล้ว แต่ยศทางพลเรือนซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้วนั้น แต่ก่อนเคยมีทั่วกันทุก ฝ่ายทุกกระทรวง ทั้งชั้นสัญญาบัตรและประทวน จะขอกล่าวเฉพาะชั้นสัญญาบัตรพอให้เป็น ความรู้ ดังนี้ ยศฝ่ายพลเรือน มี มหาอำมาตย์นายก มหาอำมาตย์ (เอก โท ตรี) อำมาตย์ (เอก โท ตรี) รองอำมาตย์ (เอก โท ตรี) แต่ฝ่ายราชสำนักมียศต่างออกไป ทั้งแยกออกตามหน้าที่ กรมกองอีก (1) พจนานุ ก รม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามคำ หัตถบาส ว่า “น. ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทำ สังฆกรรมระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง. (ป.หตฺถปาส).” (2) พระสงฆ์ที่ถวายอดิเรกต้องเป็นพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะ (3) ยศทหารและตำรวจแต่ เ ดิ ม ถ้ า เป็ น นาย (ไม่ ใ ช่ พ ล) มี ค ำ นาย นำหน้ า เสมอ เช่ น นายพล นายพั น นายร้ อ ย จ่านายสิบ นายสิบ ต่อมามีสตรีเป็นทหารและตำรวจ คำว่า นาย จึงถูกลบทิ้งไป เพราะพระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485 มีข้อสำคัญว่า ในกฎหมายว่าด้วยยศทหารและบรรดากฎหมายอื่นใดซึ่งมีคำว่า นาย ประกอบยศทหารอยู่ด้วยนั้น ให้ตัดคำว่า นาย ออกทั้งสิ้น และ ถ้าผู้ที่ได้รับยศทหารเป็นหญิง ให้เติมคำว่า หญิง ท้ายยศนั้นๆ ด้วย
344 17. up 334-368-7 Sep.indd 344
9/8/12 9:09:38 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
2.1.2 คำสามานยนามที่เป็นคำนำชื่อ ได้แก่ บรรดาศักดิ์ กับคำที่กฎหมายเรียกว่า คำนำนาม จะกล่าวถึงพวกหลังก่อน ชายที่มีอายุ 15 ปีลงมา มิใช่ผู้ที่เนื่องในพระราชวงศ์ ใช้คำนำหน้าชื่อพร้อมกับ นามสกุลว่า เด็กชาย เช่น เด็กชายชอบ เกิดงาม ที่มีอายุเกิน 15 ปีขึ้นไป และมิใช่ผู้ที่เนื่องในพระ ราชวงศ์ ใช้คำนำหน้าชื่อพร้อมกับนามสกุลว่า นาย เช่น นายชอบ เกิดงาม หญิงโสดที่มีอายุ 15 ปีลงมา ซึ่งมิใช่ผู้ที่เนื่องในพระราชวงศ์ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า เด็กหญิง เช่น เด็กหญิงชดช้อย ใจเย็น หญิงโสดที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งมิใช่เป็นผู้ที่เนื่องในพระ ราชวงศ์ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว เช่น นางสาวชดช้อย ใจเย็น หญิงสมรสแล้ว ซึ่งมิใช่ผู้ที่ เนื่องในพระราชวงศ์ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า นาง เช่น นางชดช้อย อุ่นใจ(1) นอกจากคำนำหน้าชื่อสำหรับสามัญชนดังกล่าว ก็มีคำ “หม่อมราชวงศ์” กับ “หม่อมหลวง” สำหรับนำหน้าชื่อผู้ที่เนื่องในพระราชวงศ์อีกสองชั้น อนึ่ ง เด็ ก ชาย เด็ ก หญิ ง นาย นางสาว และ นาง ผู้ ที่ ใ ช้ น ามสกุ ล ที่ เ ป็ น ราชสกุล ให้ลงคำว่า ณ อยุธยา(2) ต่อท้ายนามสกุลด้วยทุกกรณี ผู้มีบรรดาศักดิ์อีกพวกหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่มีการแต่งตั้งแล้วโดยปรกติ แต่ก็ยังต้อง กล่าวอ้างถึงอยู่ จึงควรทราบไว้ด้วย ดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาภูธราภัย พระยา เช่น พระยาสีหราชเดโชชัย เจ้าหมื่น เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ หม่อม เช่น หม่อมราโชทัย พระ เช่น พระพรหมพิจิตร จมื่น เช่น จมื่นทิพเสนา หลวง เช่น หลวงคเชนทรามาตย์ นาย เช่น นายวรกิจบรรหาร ขุน เช่น ขุนสุนทรภาษิต จ่า เช่น จ่าผลาญอริพิษ หมื่น เช่น หมื่นพากย์ฉันทวัจน์ พัน เช่น พันพุฒอนุราช (1) ในปัจจุบันใช้ นาง หรือ (2) เดิมใช้ “ณ กรุงเทพ”
นางสาว หรือใช้นามสกุลเดิมก็ได้ ตามพระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551
345 17. up 334-368-7 Sep.indd 345
9/8/12 9:09:40 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ทางฝ่ายสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ ก็มีสามานยนามเป็นคำนำหน้าชื่อเป็นพิเศษต่างจาก สามัญชนอีกมาก ควรทราบไว้ด้วย เช่น ท่านผู้หญิง(1) แต่ก่อนมาใช้นำหน้าชื่อภรรยาเอกของ เจ้าพระยา และเป็นผู้ ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง ปัจจุบันนี้ใช้แก่สตรีที่มิใช่เจ้านายหรือมิใช่หม่อมห้ามของ เจ้านาย และเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอม เกล้าวิเศษขึ้นไป และคำ ท่านผู้หญิง นี้ ในกรณีแรก (ที่ใช้กับเอกภรรยาของเจ้าพระยา) และสามี ยังมีชีวิตอยู่ ให้ใช้คำนี้นำหน้าราชทินนามของสามีทีเดียว เช่น “ท่านผู้หญิงยมราช” แต่หากสามี ถึงอสัญกรรมแล้ว จะต้องลงชื่อตัวเพิ่มลงหน้าราชทินนามด้วย เป็น “ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช” ใน กรณีหลัง ที่เป็นท่านผู้หญิงเพราะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษฝ่ายในขึ้นไปนั้น ให้อนุโลมตามกรณีแรก คือ ใช้คำ ท่านผู้หญิง นำราชทินนามของสามี เช่น “ท่านผู้หญิงดิฐการภักดี” “ท่านผู้หญิงละมูลบริรักษ์เวชชการ” แต่ถ้าสามีไม่มีบรรดาศักดิ์ ให้ใช้คำ “ท่านผู้หญิง” นำหน้าชื่อตัวและนามสกุล เช่น “ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์” ส่วนผู้เป็น “หม่อมราชวงศ์” และ “หม่อมหลวง”(2) เมื่อได้เป็นท่านผู้หญิง ให้ใช้คำ ท่านผู้หญิง นำหน้าชื่อ แทนคำ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ได้ทีเดียว เช่น “หม่อมราชวงศ์พรพรรณ ทวีวงศ์ ถวัลยศักดิ์” เป็น “ท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์” “หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค” เป็น “ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค” คุณหญิง ใช้นำหน้าชื่อภรรยาเอกของ พระยา และใช้นำหน้าชื่อสตรีที่ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไปจนถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า คำ คุณหญิง มีวิธีใช้นำหน้าชื่อทำนองเดียวกับคำ ท่านผู้หญิง ที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่ผู้ที่เป็น หม่อมราชวงศ์ กับ หม่อมหลวง ให้ใช้ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง นำหน้า ชื่ออย่างเดิม ห้ามมิให้ใช้คำ คุณหญิง แทนหรือเติมเข้าอีกคำหนึ่ง ภรรยาของผู้มีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่า พระยา และมิได้เป็น หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ให้ใช้คำว่า นาง นำหน้าราชทินนามของสามีเมื่อสามียังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหากสามี ถึงแก่กรรมแล้ว ให้ลงชื่อตัวลงหน้าราชทินนามของสามีด้วย ส่วนผู้ที่เป็น หม่อมราชวงศ์ และ หม่อมหลวง ใช้คำว่า หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง นำหน้าชื่อตัวและราชทินนามของสามี โดยตลอด (1) ดูพระราชกฤษฎีกาคำนำนามสตรี
พ.ศ. 2460 พระราชกฤษฎีกาคำนำนามสตรี เพิ่มเติม พ.ศ. 2464 คำสั่งนายก รัฐมนตรี เรื่องคำนำนามสตรี ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2498 หนังสือกรมสารบัญคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ น.ว. 267/2498 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2498 เรื่องการใช้คำนำนามสตรี และหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ ส.ร. 0204/ว. 75 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2525 เรื่องการใช้คำนำนามสตรี (2) คำ “หม่อมราชวงศ์” และ “หม่อมหลวง” ไม่พึงเขียนย่อด้วยวิธีใดๆ เลย เพราะไม่ถูกต้องตามทางราชการ และ ราชภาษาราชาศัพท์
346 17. up 334-368-7 Sep.indd 346
9/8/12 9:09:42 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
สตรีโสด ที่มิใช่ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ถ้าได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ไม่ว่าชั้นหนึ่งชั้นใด ให้ใช้คำนำหน้าชื่อว่า คุณ ตลอดเวลา ที่เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าอยู่(1) เช่น คุณนงลักษณ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา คุณมานา บุญคั้นผล เป็นต้น ท้าว เป็นคำนำนามข้าราชการฝ่ายในตำแหน่งท้าวนาง ใช้นำหน้าราชทินนาม เช่ น “ท้ า วอินทรสุริยา” “ท้ า วศรีสัจจา” “ท้ า วโสภานิ เ วศน์ ” “ท้ า วพิ ทั ก ษ์ อ นงคนิ ก ร” “ท้ า ว อนงครักษา” 2.2 คำวิ ส ามานยนามอั น เป็ น ชื่ อ ของบุ ค คล อาจแบ่ ง ได้ เ ป็ น 2 อย่ า ง คื อ ชื่ อ ตั ว กั บ ราชทินนาม 2.2.1 ชื่อตัว หรือนามเดิม ย่อมหมายรวมถึงนามสกุลที่บุคคลใช้ตามกฎหมายด้วย เช่น “สัญญา สุเรนทรานนท์” หรือ “พรทิพย์ วัยกิจ” ซึ่งเมื่อเติมคำสามานยนามนำหน้าชื่อเป็น “นาย สัญญา สุเรนทรานนท์” และ “นางสาวพรทิพย์ วัยกิจ” แล้ว ก็เป็นคำวิสามานยนามที่ถูกต้อง สมบูรณ์ 2.2.2 ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทานพร้อมกับอิสริยยศ สมณศักดิ์ และ บรรดาศักดิ์ นามใดที่บุคคลชั้นใดได้รับพระราชทานโดยนัยนี้ถือเป็น “ราชทินนาม” ทั้งสิ้น เช่น หม่อมราโชทัย (เจ้านาย) “อุบาลีคุณูปมาจารย์” (พระภิกษุ) “พหลพลพยุหเสนา” (ขุนนาง) ซึ่งเมื่อ ประกอบสามานยนามเข้าข้างหน้าตามระเบียบแล้ว จะเป็นราชทินนามราชาศัพท์ที่สมบูรณ์ เช่น “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์” “พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา” เมื่อทราบลักษณะของ “สามานยนามนำหน้าชื่อ” และ “วิสามานยนามอันเป็นชื่อ” ของ บุคคลชั้นต่างๆ แล้ว ก็พึงพิจารณาใช้ประกอบกันให้เป็น “วิสามานยนามราชาศัพท์” ให้ถูกต้อง ในที่นี้จะยกตัวอย่างไว้เป็นแบบเพื่อสังเกต ดังนี้ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต (1) พระราชกฤษฎีกาคำนำนามสตรี
พ.ศ.2460 มีข้อความสำคัญเกี่ยวด้วยการใช้คำนำนามสตรี ข้อ 7. สตรีที่มีคำนำ นามว่า “ท่านผู้หญิง” “คุณหญิง” และ “นาง” ตามที่กล่าวมาแล้วใน ข้อ 1. ข้อ 2. ข้อ 3. และข้อ 4. นั้น ให้พึง เข้าใจว่า เฉพาะสำหรับผู้อื่นกล่าวถึง ถ้าจะเขียนนามของตนเองไซร้ไม่ต้องมีคำนำนามด้วย ตัวอย่างเช่น “แย้ม มุขมนตรี” “นวล เอกะวัตวิสิฐ” เป็นต้น ผู้ที่มีคำนำนามว่า “คุณ” ตามพระราชกฤษฎีกาคำนำนามสตรี เพิ่มเติม พ.ศ. 2464 ก็คงต้องถือตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2460 ด้วย
347
17. up 334-368-7 Sep.indd 347
9/8/12 9:09:44 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทวงศ์ กรม
พระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงศพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ท่านผู้หญิงสุรณรงค์ (จรวย โชติกเสถียร) นายจำนงราชกิจ (จรัญ บุณยรัตพันธุ์) พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ พันตำรวจโท ประวิณ เกษมสุข หัวหมื่น พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) พระครูไพโรจน์โพธิวัฒน์ (เจริญ ิโตภาโส) พระเจริญ ดอนจันทร์ ( ิตปญฺโ น.ธ. เอก) สามเณรสุโข สราญใจ 2.3 คำสรรพนามหรือคำแทนชื่อ ในไวยากรณ์ คำสรรพนามที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามบุคคล คือบุรุษสรรพนาม และ มีคำใช้มากสำหรับบุคคลต่างชั้นกัน ที่ใช้กันเป็นแบบแผนแต่ก่อนมีดังนี้
บุรุษที่ 1 คำสรรพนาม เกล้ากระผม กระผม ผม ดีฉัน, ดิฉัน อีฉัน, อิฉัน
ผู้พูด ผู้น้อย (ชาย) ผู้น้อย (ชาย) ขุนนางผู้ใหญ่ ขุนนาง บุคคลทั่วไป เจ้านาย ขุนนาง ผู้น้อย (หญิง) ผู้เสมอกัน (หญิง)
ใช้แก่ ขุนนางผู้ใหญ่ ขุนนางชั้นรอง ขุนนางเสมอกัน ขุนนางผูน้ อ้ ยกว่า บุคคลทั่วไป พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน
หมายเหตุ
ปัจจุบันสตรี นำไปใช้ คำนี้ปัจจุบันสตรี ไม่นิยมใช้
348 17. up 334-368-7 Sep.indd 348
9/8/12 9:09:46 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม
ผู้พูด
ฉัน ผู้ใหญ่ บุคคลทั่วไป ข้าพเจ้า บุคคลทั่วไป ข้าพเจ้า, กระผม, ผม บุคคลทั่วไป (ชาย) ข้าพเจ้า, ดิฉัน บุคคลทั่วไป (หญิง) ผม บุคคลทั่วไป (ชาย) ดิฉัน บุคคลทั่วไป (หญิง)
ใช้แก่
หมายเหตุ
ใช้แก่
หมายเหตุ
ผู้น้อย บุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไป ผู้ใหญ่ บุคคลทั่วไป ผู้ใหญ่ บุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไป
บุรุษที่ 2 คำสรรพนาม
ผู้พูด
ใต้เท้ากรุณาเจ้า, ใต้เท้ากรุณา ใต้เท้า เธอ เจ้า(1)
ผู้น้อย ผู้น้อย ผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่
สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ ขุนนางชั้นสูง สตรีผู้มีบรรดาศักดิ์สูง พระราชาคณะ ขุนนางผู้ใหญ่กว่า สตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ ผู้น้อยที่ยกย่อง ผู้น้อย
ท่าน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
(1) ดูตัวอย่างในพระบรมราโชวาทในรัชกาลที่
ราชูปถัมภ์ ฯลฯ
6 ที่พระราชทานแก่เสือป่า นักเรียนมหาดเล็กหลวง นักเรียนในพระบรม-
349 17. up 334-368-7 Sep.indd 349
9/8/12 9:09:47 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม หล่อน
ผู้พูด ชาย หญิง
หญิง
ท่าน
บุคคลทั่วไป
ผู้ใหญ่
คุณ
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
ใช้แก่
หมายเหตุ
ใช้แก่
หมายเหตุ
บุรุษที่ 3 คำสรรพนาม
ผู้พูด
ท่าน
บุคคลทั่วไป ขุนนาง
พระสงฆ์ เจ้านาย ขุนนาง ผู้ใหญ่กว่า ผู้นับถือ บุคคลทั่วไป
เธอ
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
หล่อน
บุคคลทั่วไป
ผู้หญิง
เขา
บุคคลทั่วไป
ผู้เสมอกัน ผู้ไม่สนิทสนมกัน
มัน
บุคคลทั่วไป
สัตว์ สิ่งของ
2.4 คำกริยา คำกริยา คำสุภาพ กิน ตาย
รับประทาน ถึงแก่พิราลัย
ใช้แก่ บุคคลทั่วไป เจ้าประเทศราช สมเด็จเจ้าพระยา
หมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงใช้คำนี้สำหรับ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
350 17. up 334-368-7 Sep.indd 350
9/8/12 9:09:49 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำกริยา
คำสุภาพ ถึงแก่อสัญกรรม
ใช้แก่ หมายเหตุ เจ้าพระยา หรือเทียบเท่า ปัจจุบัน ใช้แก่ผู้เทียบเท่าด้วย ใช้แก่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้น ปฐมจุลจอมเกล้า ทั้งฝ่ายหน้าและ ฝ่ายใน และผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี องคมนตรี รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผูแ้ ทนราษฎร ประธานศาลฎีกา และประธาน องค์กรอิสระที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญ
ถึงแก่อนิจกรรม
พระยา หรือเทียบเท่า ปัจจุบัน ใช้แก่ผู้เทียบเท่าด้วย ใช้แก่ผู้ได้รับพระราชทานครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ มงกุฎไทยขึน้ ไป ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป
ถึงแก่กรรม
ขุนนางต่ำกว่าพระยา บุคคลทั่วไป
ล้ม
สัตว์ใหญ่ อสูร (เช่น ช้างล้ม ทศกัณฐ์ล้ม)
ตาย
สัตว์
สั่ง
มีพระประศาสน์สั่ง สมเด็จเจ้าพระยา
มีบัญชาสั่ง
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี 351
17. up 334-368-7 Sep.indd 351
9/8/12 9:09:51 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำกริยา
คำสุภาพ
ใช้แก่
หมายเหตุ
มีคำสั่ง
ขุนนางชั้นรองลงมา ข้าราชการระดับปลัดกระทรวงถึง อธิบดี
บอก
กราบเรียน
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ปัจจุบันใช้แก่ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้ แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา และประธานองค์กรอิสระที่กำหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญ
เรียน
ข้าราชการ บุคคลทั่วไป
2.5 คำวิเศษณ์ที่แสดงคำรับ
ผู้พูด
คำวิเศษณ์
ใช้แก่
บุคคลทั่วไป
ขอรับใส่เกล้าใส่กระผม, ขอรับกระผม
สมเด็จเจ้าพระยา ขุนนางชั้นสูง ขุนนางชั้นรองลงมา
ขุนนางเสมอกัน
ขอรับ
ขุนนางเสมอกัน
บุคคลทั่วไป (ชาย)
ครับผม, ขอรับ, ครับ
ข้าราชการ บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป (หญิง)
ค่ะ
ข้าราชการ บุคคลทั่วไป
ผู้น้อย (หญิง)
เจ้าค่ะ, ค่ะ
ข้าราชการ บุคคลทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ 352
17. up 334-368-7 Sep.indd 352
9/8/12 9:09:53 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้พูด
คำวิเศษณ์
ใช้แก่
ผู้ใหญ่
จ้ะ
ผู้น้อย
คนสามัญ
จ้ะ
คนสามัญ
2.6 ลักษณะคำสุภาพ
คำธรรมดาที่ต้องเปลี่ยนใช้ให้สุภาพ มีลักษณะตามที่กล่าวในตำราเป็น 5 ลักษณะ ดังนี้
2.6.1. ไม่ใช่คำกระด้าง ที่กล่าวอย่างขาดความเคารพ เช่น หือ หา เออ โว้ย หรือคำพูด ห้วนๆ เช่น ไม่มี ไม่ใช่ ไม่อยู่ เปล่า หรือใช้อาการพยักหน้า สั่นศีรษะแทนคำ รับและคำปฏิเสธ ควรมีคำลงท้ายตามข้อ 2.5 แล้วแต่ความเหมาะสม 2.6.2 ไม่ใช่คำด่า คำหยาบ คำโลน คำที่ถือว่าสกปรก เช่น อ้าย อี(1) ขี้ เยี่ยว โกหก ห่า เหี้ย ตูด คำเหล่านี้มีอยู่ในที่แห่งใดต้องหาทางเปลี่ยนแปลงหรือตัดออกเสีย เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่ เปลี่ยนเป็น คนนั้น คนนี้ หรือ สิ่งนั้น สิ่งนี้ ปลาอ้ายบ้า ตัดเป็น ปลาบ้า อีเลิ้ง อีแอ่น เปลี่ยนเป็น นางเลิ้ง นางแอ่น อีสุกอีใส อีแร้งอีกา ตัดเป็น สุกใส แร้งกา ขี้ เยี่ยว ต้องใช้ อุจจาระ ปัสสาวะ หรือ คูถ มูตร ขี้นก ขี้ดิน ต้องเปลี่ยนเป็น มูลนก มูลดิน ขี้มูก ว่า น้ำมูก ดอก ขี้เหล็ก ว่า ดอกเหล็ก ขนมขี้หนู ว่า ขนมทราย โกหก ว่า พูดปด หรือ พูดเท็จ
2.6.3. ไม่ใช่คำที่มักนำมาพูดเปรียบกับของหยาบ มีเปรียบกับอวัยวะเพศ เป็นต้น
2.6.4. ไม่ใช่คำผวนที่ผวนกลับมาแล้วกลายเป็นคำหยาบ
2.6.5. เมื่อจำเป็นต้องกล่าวถึงคำหยาบหรือสกปรก เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ต้องใช้ คำนำขึ้นก่อน เช่น ใช้คำว่า ขอโทษ กับบุคคลทั่วไป ใช้ ไม่ควรจะกราบเรียน กับ ขุนนาง
(1) คำว่า
“อ้าย” กับ “อี” ถ้ามิได้ใช้ในความหมายที่หยาบ ก็ไม่เข้ากรณีนี้ เช่น เดือนอ้าย พี่อ้าย เจ้าอ้ายพระยา ว่าวอีลุ้ม เรืออีโปง อีโหน่อีเหน่
353 17. up 334-368-7 Sep.indd 353
9/8/12 9:09:55 AM
ภาคผนวกที่ 2 คำสุภาพเรียกสัตว์และอื่นๆ คำสุภาพ
คำสามัญ
กระบือ
ควาย
กล้วยสั้น
กล้วยกุ
กล้วยเปลือกบาง, กล้วยกระ
กล้วยไข่
ขนมทราย
ขนมขี้หนู
ขนมสอดไส้
ขนมใส่ไส้
โค
วัว
เครื่องเคียง
เครื่องจิ้ม, เครื่องแนม
จิตรจูล, จิตรจุล
เต่า
เจ็ดประการ
เจ็ดอย่าง
ช้างนรการ
ช้างสีดอ (ช้างพลายมีงาสั้น)
ชัลลุกะ, ชัลลุกา
ปลิง
ช้าง 2 ช้าง, ช้าง 2 เชือก
ช้าง 2 ตัว
ดอกขจร
ดอกสลิด
ดอกซ่อนกลิ่น
ดอกซ่อนชู้
ดอกถันวิฬาร์
ดอกนมแมว
ดอกทอดยอด
ดอกผักบุ้ง
ดอกมณฑาขาว
ดอกยี่หุบ
ดอกสามหาว
ดอกผักตบ
ดอกเหล็ก
ดอกขี้เหล็ก 354
17. up 334-368-7 Sep.indd 354
9/8/12 9:09:55 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสุภาพ
คำสามัญ
ตกลูก
ออกลูก (สำหรับสัตว์ทั้งปวง)
ต้นจะเกรง
ต้นเหงือกปลาหมอ
ต้นปาริฉัตร, ต้นปาริชาติ
ต้นทองกวาว, ต้นทองหลาง
ต้นหนามรอบข้อ
ต้นพุงดอ
ต้นอเนกคุณ
ต้นตำแย
เถาศีรษะวานร
เถาหัวลิง
เถากระพังโหม
เถาตูดหมูตูดหมา
ถ่ายมูล
สัตว์ขี้ เช่น นกถ่ายมูล
ถั่วเพาะ
ถั่วงอก
เถามุ้ย
เถาหมามุ้ย
นางเก้ง
อีเก้ง
นางเลิ้ง
อีเลิ้ง
นางเห็น
อีเห็น
บางชีโพ้น
บางชีหน
บางนางร้า
บางอีร้า
ปลาหาง
ปลาช่อน (เมื่อสดเรียกปลาหางสด เมื่อแห้ง
เรียก ปลาหางแห้ง)
ปลาใบไม้
ปลาสลิด
ปลายาว
ปลาไหล
ปลามัจฉะ
ปลาร้า
ปลาลิ้นสุนัข
ปลาลิ้นหมา
355 17. up 334-368-7 Sep.indd 355
9/8/12 9:09:57 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสุภาพ
คำสามัญ
ปลีกล้วย
หัวปลี
ผล
ลูก (ใช้เรียกลูกไม้ทั้งปวง)
ผลมูลกา
ลูกขี้กา
ผลมูลละมั่ง
ลูกตะลิงปลิง
ผลนางนูน
ลูกอีนูน
ผลอุลิด
ลูกแตงโม
ผักสามหาว
ผักตบ
ผักทอดยอด
ผักบุ้ง
ผักรู้นอน
ผักกระเฉด
ผักไผ่, ผักไห่
ผักปลาบ
ผักนางริ้น
ผักอีริ้น
ฟอง
ไข่ เช่น ฟองไก่, ฟองจิ้งจก
ฟักเหลือง
ฟักทอง
มุสิกะ
หนู
มูล
ขี้ของสัตว์
มูลดิน
ขี้ดิน
เยื่อเคย
กะปิ
รากดิน
ไส้เดือน
โรคกลาก
ขี้กลาก
โรคเกลื้อน
ขี้เกลื้อน
โรคเรื้อน
ขี้เรื้อน 356
17. up 334-368-7 Sep.indd 356
9/8/12 9:09:58 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสุภาพ
คำสามัญ
ลั่นทม
ดอกลั่นทม
ศิลา
หิน
สุกร
หมู
สุนัข
หมา
เห็ดปลวก
เห็ดโคน
หอยนางรม
หอยอีรม
357 17. up 334-368-7 Sep.indd 357
9/8/12 9:10:00 AM
ภาคผนวกที่ 3 (๑)
ลักษณนาม
ลักษณนาม
ตัวอย่างสิ่งที่ใช้กับคำนั้น
กระบอก กลัก กลุ่ม กอ กอง ก้อน กัณฑ์ กำ กิ่ง กุลี เกล็ด
กระบอกน้ำ, ปืน, ข้าวหลาม ของที่ทำเป็นกลัก เช่น ไม้ขีดไฟ ด้ายกลุ่ม, ป่านกลุ่ม ไผ่, หญ้า กองทหาร, กองอิฐ, กองทราย ก้อนดิน, ก้อนศิลา, ก้อนอิฐ, ก้อนข้าวตู เทศน์ ผักกำ, พลูกำ กิ่งไม้, งาช้าง ผ้านุ่ง, โสร่ง, ผ้าขาวม้า (หนึ่งกุลีมียี่สิบผืน) เกล็ดปลา, เกล็ดกระ, พิมเสน
ขด ขนัด ขนาน ขวด ขอน เข็ด โขลง
เชือกขด, ลวดขด, หวายขด สวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอนๆ ยาแก้โรคต่าง ๆ ขวดต่าง ๆ เช่น ขวดหมึก 1 ขวด สังข์ เช่น สังข์ 1 ขอน, เรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ ว่า กำไล 1 ขอน ด้ายเข็ด, เชือกเข็ด ช้างป่าหลายตัวรวมกันเรียกว่าโขลง
อักษร ก
อักษร ข
(1)
คำโบราณเรียกว่า อักขรานุกรมปลายบาทสังขยา หมายถึง คำแจงนับจำนวน
358 17. up 334-368-7 Sep.indd 358
9/8/12 9:10:00 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ลักษณนาม
ตัวอย่างสิ่งที่ใช้กับคำนั้น
คัน คัมภีร์ คำ คำกลอน คู่ เครือ
อักษร ค คันชั่ง, คันกระสุน, คันเบ็ด, รถ, ร่ม, ฉัตร, หน้าไม้, แร้ว หนังสือคัมภีร์ คำพูด, คำข้าว, คำหมาก, คำกลอน คำประพันธ์ประเภทกลอน 2 วรรค เท่ากับ 1 คำกลอน ของ 2 สิ่งใช้คู่กัน เช่น ช้อนส้อม หรือจำพวกเดียวกัน เช่น กำไล, ตะเกียบ กล้วย
งาน
อักษร ง ที่ดิน (พื้นที่งานหนึ่ง เท่ากับหนึ่งร้อยตารางวา)
จั่น จับ จีบ จุก
อักษร จ จั่นหมาก, จั่นมะพร้าว ขนมจีน พลูจีบ ผม, หอม, กระเทียม (ที่มัดรวมกันเป็นจุก)
ฉบับ ฉาก
อักษร ฉ หนังสือเล่ม หรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่งๆ เช่น ธนบัตร, สัญญา, โฉนด, หนังสือพิมพ์รายวัน เครื่องบังหรือเครื่องกั้น, เรียกตอนย่อยของละครองก์หนึ่ง เมื่อเปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง เรียกว่า 1 ฉาก
ช่อ ชิ้น ชุด เชือก
อักษร ช ดอกไม้, ดอกมะม่วง ชิ้นเนื้อ, ชิ้นผ้า ของที่รวมกันเป็นชุด เช่น ถ้วยชา 1 ชุด, การเล่นต่างๆ ที่เปลี่ยนการแสดงเป็นชุดๆ ช้างบ้าน (ช้างบ้าน ใช้ว่า เชือก, ช้างป่า ใช้ว่า ตัว, ช้างที่ขึ้น ระวาง ใช้ว่า ช้าง) 359
17. up 334-368-7 Sep.indd 359
9/8/12 9:10:02 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ลักษณนาม
ตัวอย่างสิ่งที่ใช้กับคำนั้น
ซอ ซอง ซี่
อักษร ซ ตอไม้ไผ่ค่อนข้างยาวที่เหลืออยู่ที่กอ บุหรี่, พลู, จดหมาย ซี่โครง, ซี่กรง, ฟัน
ดวง ดอก ด้าม ดุ้น
อักษร ด ดวงตรา, ดวงไฟ, ดาว, โคม, ตะเกียง ดอกไม้, ดอกไม้ไฟ, ธูป ปากกา ฟืน
ตน ต้น ตลับ ตับ ไตร
อักษร ต ฤาษี, อมนุษย์ เช่น อสูร, ยักษ์ ต้นไม้, ซุง, เสา ภาชนะบรรจุสีผึ้ง, ยาเส้น มีฝาปิดที่เรียกว่า ตลับสีผึ้ง, ตลับยาเส้น เป็นต้น ใบไม้ที่เย็บเป็นตับ ใช้มุงหลังคา เช่น จาก, แฝก, คา ของที่เรียงเป็นตับ เช่น พลูตับ ผ้าไตร
เถา แถบ แถว
อักษร ถ ลำต้นของไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ ของที่เรียงเป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโต, ตลับ, เพลงไทย แพรแถบ, ผ้าแถบ คน หรือสัตว์ หรือสิ่งของ ที่เรียงเป็นแถว เช่น แถวทหาร, มดที่เดินเป็นแถว, สินค้าที่จัดไว้เป็นแถว
ท่อน ทะลาย เท แท่ง
อักษร ท ฟืน, ซุง ทะลายหมาก, ทะลายมะพร้าว เหล้า (เหล้า 1 เท เท่ากับ 20 ทะนาน 1 ทะนานเท่ากับ 1 ลิตร ดินสอ, ทองคำ, เงิน, ตะกั่ว 360
17. up 334-368-7 Sep.indd 360
9/8/12 9:10:04 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ลักษณนาม ตัวอย่างสิ่งที่ใช้กับคำนั้น นัด นาย
อักษร น กระสุนปืน, ยิงปืน, จุดพลุ ข้าราชการ, ทหาร, ตำรวจ เช่น ข้าราชการ 3 นาย
บท บาท บาน ใบ
อักษร บ คาถา, โคลง, กลอน, เพลง เป็นส่วนหนึ่งของบทคาถา หรือโคลง, แสดงหน่วยหนึ่งของ มาตราชั่งแบบโบราณของไทย เช่น ทองคำ หนัก 1 บาท, แสดงช่วงเวลา เช่น บาทหนึ่งเท่ากับหนึ่งในสิบของนาฬิกา หรือ 6 นาที กระจกส่อง, ประตู, หน้าต่าง, ฉาก เช่น ฉากนี้มี 3 บาน ภาชนะ เช่น จาน, ชาม, แก้ว, ใบไม้
ปั้น ปาก ปึก ปื้น
อักษร ป ภาชนะดินสำหรับชงน้ำชา (ใช้ว่า ป้าน ก็มี), ส้มมะขามเปียกที่ ปั้นไว้เป็นก้อนๆ แห, อวน, เปล, สวิง, โพงพาง ขี้ผึ้ง, น้ำตาล, กระดาษ เลื่อย
ผล ผืน ผูก แผง แผ่น
อักษร ผ ผลไม้ทุกชนิด ผ้า, พรม, เสื่อ, หนังสัตว์ หนังสือใบลาน ยาที่บรรจุเป็นแผง, เครื่องกำบังที่ทำเป็นแผง กระดาษ, กระดาน, อิฐ, ข้าวเกรียบ, กระเบื้อง, กระจกตัด
ฝัก ฝา ฝูง
อักษร ฝ ฝักถั่ว, ฝักมะขาม, ไข่ปลา, ฝักดาบ ฝาโถ, ขนมครก, เปลือกหอย ฝูงนก, ฝูงลิง, ฝูงโค 361
17. up 334-368-7 Sep.indd 361
9/8/12 9:10:06 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ลักษณนาม
ตัวอย่างสิ่งที่ใช้กับคำนั้น
พวง พับ พู แพ
อักษร พ มาลัย, ผลไม้หรือของที่เชื่อมโยงกันอยู่เป็นพวง เช่น พวงลำใย ผ้าหรือกระดาษที่พับไว้ พูทุเรียน สิ่งที่ติดกันเป็นแพ เช่น แพซุง, ธูปแพ, เทียนแพ, ข้าวเม่าทอดที่ติดกันเป็นแพ
ฟอง ฟ่อน
อักษร ฟ ไข่เป็ด, ไข่ไก่ หญ้าหรือต้นข้าวที่เอามารวมกันเป็นมัด
มวน ม้วน มัด เม็ด เมล็ด
อักษร ม บุหรี่ แพร, พรม ของที่มัดไว้ เช่น ฟืน เพชร, พลอย พันธุ์ไม้ต่างๆ
ยก ยวง
อักษร ย ไม้, จำนวนหน้าหนังสือ, การชกมวย, การเฆี่ยน ยวงขนุน
รวง ราง รูป เรียง เรือน ไร่ โรง
อักษร ร ข้าวรวง, ข้าวฟ่างรวง ลูกคิด, ระนาด, รางรถไฟ ภาพถ่าย, ภาพวาด, ภิกษุ, สามเณร, บาทหลวง ใบพลูที่ซ้อนกัน นาฬิกา ที่ดิน (พื้นที่ไร่หนึ่งเท่ากับสี่ร้อยตารางวา) โขน, ละคร, หนัง, หุ่น, โรงเรียน 362
17. up 334-368-7 Sep.indd 362
9/8/12 9:10:07 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ลักษณนาม ตัวอย่างสิ่งที่ใช้กับคำนั้น ลา ลำ เล่ม เลา
อักษร ล รัว, โห่ เรือ, ไม้ไผ่, อ้อย เกวียน, ไม้กลัด, เข็ม, หนังสือที่เย็บเป็นเล่ม, พัด, พาย, แจว, กระบี่, ดาบ, เสียม, มีด, กรรไกร ปี่, ขลุ่ย
วง
อักษร ว แหวน, ฆ้อง, ดนตรี, วงตระกร้อ, วงการพนัน
สาย สำรับ
อักษร ส สายสร้อย, เข็มขัด, รัดประคต, ถนน, สายสะพาย เสื้อผ้าที่จัดไว้เป็นสำรับ, อาหารที่จัดไว้เป็นสำรับ, เครื่องราชอิสริยาภรณ์
หมู่ หลัง หวี หัว ห่า แหนบ
อักษร ห คนหรือสิ่งของที่รวมกันเป็นหมู่ เช่น หมู่ทหาร, หมู่ตำรวจ, โต๊ะหมู่ ตึก, บ้าน, เรือน, เรือนแพ, มุ้ง กล้วย เผือก, มัน, กลอย ฝนตก แหนบถอนหนวด, แหนบรถ, ใบตองที่ม้วนพับไว้เป็นแหนบ
องก์ องค์ (สิ่งของ) องค์ (คน,เทพ)
อักษร อ ตอนหนึ่ง ของละคร พระเครือ่ ง, พระพุทธรูป, พระเจดีย,์ เทวรูป พระบรมรูป,พระรูป(1) พระบรมฉายาลักษณ์(3), พระบรมสาทิสลักษณ์(4) หม่อมเจ้า, เทวดา
(1) ใช้เป็นลักษณนามของภาพเขียน
ภาพถ่าย เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ 1 พระรูป พระรูป 1 พระรูป
363 17. up 334-368-7 Sep.indd 363
9/8/12 9:10:09 AM
ภาคผนวกที่ 4 คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการเขียนหนังสือถึงพระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป
1. สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง(1)
คำขึ้นต้น นมัสการ (ระบุนาม)
คำสรรพนาม พระคุณเจ้า กระผม ดิฉัน
แทน สมเด็จพระราชาคณะ, พระราชาคณะเจ้าคณะรอง แทน ผู้เขียน (ชาย) แทน ผู้เขียน (หญิง)
คำลงท้าย
ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง (ถ้ามี)
คำจ่าหน้าซอง นมัสการ (ระบุนาม)
2. พระราชาคณะ
คำขึ้นต้น นมัสการ (ระบุนาม)
คำสรรพนาม พระคุณเจ้า กระผม ดิฉัน
แทน พระราชาคณะ แทน ผู้เขียน (ชาย) แทน ผู้เขียน (หญิง)
(1) ตามทำเนียบสมณศักดิ์
พุทธศักราช 2552 มีสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นสามัญ
364 17. up 334-368-7 Sep.indd 364
9/8/12 9:10:09 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำลงท้าย
ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
(ลงชื่อ)
คำจ่าหน้าซอง นมัสการ (ระบุนาม)
(พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง (ถ้ามี)
3. พระสงฆ์ทั่วไป
คำขึ้นต้น นมัสการ (ระบุนาม)
คำสรรพนาม ท่าน, พระคุณท่าน ผม ดิฉัน
คำลงท้าย
แทน พระภิกษุ แทน ผู้เขียน (ชาย) แทน ผู้เขียน (หญิง)
ขอนมัสการด้วยความเคารพ
(ลงชื่อ)
คำจ่าหน้าซอง นมัสการ (ระบุนาม)
(พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง (ถ้ามี)
4. บุคคลธรรมดา
4.1 ประธานองคมนตรี องคมนตรี รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธาน สภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาล ปกครองสู ง สุ ด ประธานกรรมการการเลื อ กตั้ ง ประธานกรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนแห่ ง ชาติ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา(1) (1) แก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก
2541
2 ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 วันที่ 7 กรกฎาคม
365 17. up 334-368-7 Sep.indd 365
9/8/12 9:10:11 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำขึ้นต้น กราบเรียน (ระบุตำแหน่ง เช่น กราบเรียน ประธานองคมนตรี)
คำสรรพนาม ท่าน ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
คำลงท้าย
แทน บุคคลในข้อ 4.1 แทน ผู้เขียน
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง (ถ้ามี)
คำจ่าหน้าซอง กราบเรียน (ระบุนาม และตำแหน่ง)
4.2 บุคคลทั่วไป (นอกจากข้อ 4.1)
คำขึ้นต้น เรียน [ระบุนามหรือตำแหน่ง (ถ้ามี) เช่น เรียน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]
คำสรรพนาม ท่าน ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
คำลงท้าย
แทน ผู้ที่เขียนถึง แทน ผู้เขียน
ขอแสดงความนับถือ
(ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง (ถ้ามี)
คำจ่าหน้าซอง เรียน (ระบุนามหรือตำแหน่ง ถ้ามี) 366
17. up 334-368-7 Sep.indd 366
9/8/12 9:10:13 AM
ภาคผนวกที่ 5 คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการรายงานพระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป 1. สมเด็จพระราชาคณะ, พระราชาคณะเจ้าคณะรอง คำขึ้นต้น นมัสการ (ระบุนาม)
คำสรรพนาม พระคุณเจ้า กระผม ดิฉัน
แทน แทน แทน
สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ผู้เขียน (ชาย) ผู้เขียน (หญิง)
คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
2. พระราชาคณะ คำขึ้นต้น นมัสการ (ระบุนาม)
คำสรรพนาม พระคุณท่าน กระผม ดิฉัน
แทน พระราชาคณะ แทน ผู้พูด (ชาย) แทน ผู้พูด (หญิง)
คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
3. พระสงฆ์ทั่วไป คำขึ้นต้น นมัสการ พระคุณท่าน (ระบุนาม) 367 17. up 334-368-7 Sep.indd 367
9/8/12 9:10:13 AM
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
คำสรรพนาม ท่าน, พระคุณท่าน ผม ดิฉัน
แทน พระสงฆ์ แทน ผู้พูด (ชาย) แทน ผู้พูด (หญิง)
คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพ
4. บุคคลธรรมดา 4.1 ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผูแ้ ทนราษฎร ประธานศาลฎีกา และประธานองค์กรอิสระทีก่ ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
คำขึ้นต้น กราบเรียน (ระบุตำแหน่ง เช่น กราบเรียน ประธานองคมนตรี)
คำสรรพนาม ท่าน ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
คำลงท้าย (ไม่มี)
4.2 บุคคลทั่วไป (นอกจากข้อ 4.1)
แทน บุคคลในข้อ 4.1 แทน ผู้พดู
คำขึ้นต้น เรียน [ระบุตำแหน่ง (ถ้ามี) เช่น เรียน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]
คำสรรพนาม ท่าน ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
คำลงท้าย (ไม่มี)
17. up 334-368-7 Sep.indd 368
แทน บุคคลทั่วไป (นอกจากข้อ 4.1) แทน ผู้พดู
368 9/8/12 9:10:15 AM
18-up 369-370-7 Sep.indd 369
ท่าน ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
กราบเรียน (ตำแหน่ง)
369
เรียน (นามหรือตำแหน่ง ท่าน ถ้ามี) ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
พระคุณเจ้า กระผม, ดิฉัน พระคุณท่าน กระผม, ดิฉัน ท่าน, พระคุณท่าน ผม, ดิฉัน
คำสรรพนาม
นมัสการ (นาม) นมัสการ (นาม) นมัสการ (นาม)
คำขึ้นต้น
คำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง
ขอแสดงความนับถือ
9/7/12 9:40:56 PM
เรียน (นามหรือตำแหน่งถ้ามี)
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง กราบเรียน (นามและตำแหน่ง)
ขอนมัสการด้วยความเคารพ นมัสการ (นาม) อย่างยิ่ง ขอนมัสการด้วยความเคารพ นมัสการ (นาม) อย่างสูง ขอนมัสการด้วยความเคารพ นมัสการ (นาม)
คำลงท้าย
ตารางที่ 1 การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการเขียนหนังสือถึงพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป และการจ่าหน้าซอง
ผู้รับหนังสือ 1. พระสงฆ์ 1.1 สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 1.2 พระราชาคณะ 1.3 พระสงฆ์ทั่วไป 2. บุคคลธรรมดา 2.1 ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา และ ประธานองค์กรอิสระ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2.2 บุคคลทั่วไป (นอกจาก 2.1)
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
18-up 369-370-7 Sep.indd 370
370
คำลงท้าย
ท่าน, ไม่มี ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน
9/7/12 9:40:58 PM
พระคุณเจ้า ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง กระผม (ชาย), ดิฉัน (หญิง) พระคุณท่าน ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง กระผม (ชาย), ดิฉัน (หญิง) พระคุณท่าน, ท่าน ขอนมัสการด้วยความเคารพ กระผม (ชาย), ดิฉัน (หญิง)
คำสรรพนาม
เรียน (ระบุตำแหน่ง เช่น ท่าน, ไม่มี เรียน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข้าพเจ้า, กระผม, ผม, ดิฉัน เรียน ประธานคณะกรรมการจัดงาน.. เรียน ประธานในพิธี.....)
กราบเรียน (ระบุตำแหน่ง เช่น กราบเรียน ประธานองคมนตรี)
บุคคลธรรมดา 1. ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทน ราษฎร ประธานศาลฎีกา และผู้ที่ดำรง ตำแหน่งประธานองค์กรอิสระที่กำหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2. บุคคลทั่วไป (นอกจากข้อ 1)
คำขึ้นต้น นมัสการ พระคุณเจ้า นมัสการ พระคุณท่าน นมัสการ พระคุณท่าน
ผู้ฟัง
ตารางที่ 2 การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้าย ในการกล่าวรายงานพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป
พระสงฆ์ 1. สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 2. พระราชาคณะ 3. พระสงฆ์ทั่วไป
ราชาศัพท์
เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บรรณานุกรม กรรมารบุตร. แบบค้นราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 4. พระนคร : บริษัท สหอุปกรณ์การพิมพ์, 2502. ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก. พระนคร : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2500. (พิมพ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระยาเทเวศรวงศวิวัฒน (หม่อมหลวงวราห์ กุญชร) ณ วัดเทพ ศิรินทราวาส 22 ธันวาคม 2500) เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2551. (รัฐบาลจัดพิมพ์เผยแพร่ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) โครงการศิ ล ปาชี พ พิ เ ศษในสมเด็ จ พระบรมราชิ นี น าถ. กรุ ง เทพฯ : ธี ร ะการพิ ม พ์ , 2527. (นางประพักตร์ สกุลรัตนะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พิมพ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานฤดูหนาวศิลปาชีพ พิเศษบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 7 - 11 ธันวาคม 2537) จดหมายเหตุงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด, 2541. (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดพิมพ์เผยแพร่) จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2542. . พระราชพิธีสิบสองเดือน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2513. เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 และ พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรม ราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด, 2526. (คุณหญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พิมพ์ถวายเนื่องในงานฉลองพระชันษาครบ 60 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พุทธศักราช 2526) ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2512. (พิมพ์ในงานศพ นายสนั่น บุณยรัตพันธุ์) 371 19-up371-416-7 Sep.indd 371
9/7/12 9:43:39 PM
ตาบทิพย์ จามรมาน, หม่อมราชวงศ์, ผู้รวบรวม. พระบรมราชจักรีวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สยามรัฐ, 2530. ตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์ ระเบี ย บการศพ และคำเตื อ นการปฏิ บั ติ ร าชการใน ราชสำนั ก . พระนคร : โรงพิ ม พ์ พ ระจั น ทร์ , 2514. (พิ ม พ์ เ ป็ น อนุ ส รณ์ ใ นงาน พระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 23 กุมภาพันธ์ 2514) ทิ พ ากรวงศ์ (ขำ บุ น นาค), เจ้ า พระยา. พระราชพงศาวดารกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ รั ช กาลที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2531. เทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล), หม่อม. ปกิณกะของ ม.ร.ว. เทวาธิราช ป.มาลากุล. (เจ้าครอก). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ, 2510. เทวาธิราช. (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล), หม่อม. เรื่องราชูปโภคและพระราชฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2518. ทำเนียบข้าราชการในกรมมหาดเล็กและกรมขึ้น ทำเนียบนามภาคที่ 2 ตำราตำแหน่งข้าราชการ ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2462. (มหาเสวกตรี พระยาเพ็ชรรัตนสงคราม สมุหเทศาภิบาลมณฑลมหาราษฎร์ พิมพ์ใน งานศพคุณหญิงพวง นรานุกิจมนตรี ผู้มารดา ปีมะแม พ.ศ. 2462) นริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. สาส์น สมเด็จ. เล่ม 23. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2505. นายกรัฐมนตรี, สำนัก. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 พร้อม ภาคผนวกฉบับแก้ไข พ.ศ. 2539 และคำอธิบาย. กรุงเทพฯ : ศิลปสนองการพิมพ์, 2539. ประกาศ คำสั่ ง และแจ้ ง ความกรมบั ญ ชาการกลางมหาดเล็ ก พระพุ ท ธศั ก ราช 2463. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรนิติ, 2463. ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ระเบียบการบรรเลงดุริยางค์ในการพระราชพิธีต่างๆ และ คำชี้แจงของกรมศิลปากร เรื่องการใช้เพลงเกียรติยศ พร้อมด้วยประวัติเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี. นครหลวงฯ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515. (พิ ม พ์ เ ป็ น อนุ ส รณ์ ใ นงานฌาปนกิ จ ศพ นายสะอาด สิ ง หพรรค ณ เมรุ วั ด สระเกศวรวิหาร มิถุนายน 2515) 372 19-up371-416-7 Sep.indd 372
9/7/12 9:43:40 PM
ประชาสัมพันธ์, กรม. Royal Barges. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เซเว่นพริ้นติ้ง จำกัด, 2538. ปีย์ มาลากุล, หม่อมหลวง. กิริยามารยาทและการใช้ถ้อยคำในราชสำนัก. พระนคร : โรงพิมพ์ พระจันทร์, 2507. พระราชวัง, สำนัก. รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ย วกับราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2552. พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ. พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑี ย ร พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุ ล ยเดช สยามิ น ทราธิ ร าช พ.ศ. 2493 และเรื่ อ ง บรมราชาภิ เ ษก. กรุ ง เทพฯ (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ณ เมรุหน้าพลับพลา อิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 2 กุมภาพันธ์ 2514) ราชพินิจจัย (อุไทยวรรณ์ อมาตยกุล), พระยา. ประกาศ ตั้ง ย้าย เปลี่ยนเสนาบดี ผู้รั้ง ผู้แทน และรองเสนาบดี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2469). พระนคร : โรงพิมพ์โสภณ พิพรรฒธนากร, 2470. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค, 2545. . ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2550. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนัก. ข้อพึงปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542. วิชาการ, กรม. คู่มือการใช้ราชาศัพท์. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2522. ศิลปากร, กรม. อธิบายราชินิกุลบางช้าง (ฉบับชำระใหม่และพิมพ์ครั้งที่ 3). พระนคร : โรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร, 2471. . เรื่องมหาดเล็ก. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2493. . เครื่องนมัสการและโต๊ะหมู่บูชา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2523. 373 19-up371-416-7 Sep.indd 373
9/7/12 9:43:40 PM
. เรื่องกฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ : อุดมศึกษา (แผนกการพิมพ์), 2521. . พระราชพิ ธี ใ นรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพฯ : บริษัท กราฟฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จำกัด, 2543. . ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 1–6 และภาคปกิณกะ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์ต่างคราวกัน. ศรี, เจ้าหมื่น. ราชาศัพท์ สำหรับโรงเรียนมหาดเล็ก. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : โรงพิมพ์ อักษรนิติ, ร.ศ. 124. ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), พระยา. ภาษาไทย–อนันตวิภาค. พระนคร : คลังวิทยา, 2504. สงวน อั้นคง. ราชาศัพท์ ฉบับสมบูรณ์. พระนคร : ก้าวหน้า, 2507. สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 9 (จีน–ฉัททันต์). เรื่องฉัตร. พระนคร พ.ศ. 25122513 : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. แสงสูรย์ ลดาวัลย์, หม่อมราชวงศ์. ราชาศัพท์ วัฒนธรรมทางภาษาแขนงหนึ่งของชาติ ฉบับ ต้นร่าง. 2533. เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักงาน. พจนานุกรมราชาศัพท์. กรุงเทพฯ : วิกตอรี่พาวเวอร์พอยท์ จำกัด, 2528. . ราชพั ส ตราภรณ์ . กรุงเทพฯ : บริ ษั ท อมริ น ทร์ พ ริ้ น ติ้ ง แอนด์ พั บ ลิ ช ชิ่ ง จำกั ด (มหาชน), 2547. . การแต่งกายไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2543. (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 5 ธันวาคม 2542) . สถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2539. (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดพิมพ์เผย แพร่ เนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) 374 19-up371-416-7 Sep.indd 374
9/7/12 9:43:40 PM
. เครือ่ งราชอิสริยาภรณ์จลุ จอมเกล้า. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธา การพิมพ์ จำกัด, 2547. . พระราชพิธีและรัฐพิธีในรัชกาลปัจจุบัน. กรุงเทพฯ. อนุวัฒน์วรพงศ์, (หม่อมราชวงศ์สิงหนัท ปราโมช), หม่อม. ราชาศัพท์ฉบับเขียน. อุปกิตศิลปสาร. (นิ่ม กาญจนาชีวะ), พระยา. วจีวิภาค. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2493.
375 19-up371-416-7 Sep.indd 375
9/7/12 9:43:40 PM
ดัชนี หมวด ก
กฎมณเฑียรบาล กฏิฐิ – พระ ก้น กนิษฐา – พระ กนีนิกา – พระ กบฏ กโประ – พระ กมล – พระ กร – พระ กรชะ – พระ กรณียกิจ – พระ, พระราช กรมขุน กรมพระ กรมพระยา กรมสมเด็จพระ กรมหมื่น กรมหลวง กรรไกร กรรเจียก – พระ กรรณ – พระ กรรบิด – พระแสง กรรภิรมย์ – พระ กรรสะ – ทรง, ทรงพระ กรวดน้ำ กรวดน้ำ – ทรง กรองพระศอ กรอบหน้า กระจกเงา กระจกเงามีคันถือ กระจกตัด กระจกส่อง กระดาน กระดาษ กระดุม กระดูก กระดูกขา กระดูกแข้ง กระดูกแขน
๑๕๑ ๕๒ ๔๙ ๔๘ ๔๕ ๑๖๔ ๔๗ ๔๘ ๔๗ ๔๘ ๑๖๐ ๑๘ ๑๘ ๑๘ ๒๗๐ ๑๘ ๑๘ ๑๑๐ ๑๐๔ ๔๗ ๑๑๐ ๒๐๑, ๒๐๒, ๒๐๓ ๖๖ ๑๓๘ ๑๓๘ ๑๐๔ ๑๐๔ ๑๐๘ ๑๐๘ ๓๖๑ ๓๖๑ ๓๖๑ ๓๖๑ ๑๐๓ ๕๑ ๕๒ ๕๒ ๕๒
กระดูกคอ ๕๒ กระดูกคาง ๕๒ กระดูกซี่โครง ๕๒ กระดูกเท้า ๕๒ กระดูกมือ ๕๒ กระดูกสะเอว ๕๒ กระดูกสันหลัง ๕๒ กระดูกหน้าอก ๕๒ กระดูกไหล่ ๕๒ กระโถน ๑๐๕ กระโถนเล็ก ๑๐๕ กระโถนใหญ่ ๑๐๕ กระทงดอกไม้ ๑๑๑ กระเทียม ๓๕๙ กระบอก ๓๕๘ กระบอกน้ำ ๓๕๘ กระบะถม – เครื่องนมัสการ ๑๑๑, ๑๓๔ กระบะมุก – เครื่องนมัสการ ๑๑๑, ๑๑๘, ๑๓๕ กระบี่ ๑๑๐ กระบี่ – พระแสง ๑๑๐ กระบือ ๓๕๔ กระเบื้อง ๓๖๑ กระเป๋าถือ ๑๐๙ กระเป๋าทรง ๑๐๙ กระเป๋าใส่หมากพลูและบุหรี่ ๑๐๙ กระผม ๓๔๘, ๓๔๙, ๓๖๔, ๓๖๕, ๓๗๐ กระพองช้าง ๑๖๕ กระพังโหม ๓๕๕ กระพุ้งแก้ม ๔๖ กระพุ้งพระปราง ๔๖ กระเพาะปัสสาวะ ๔๙ กระยา – พระ ๑๐๖ กระยาต้ม – พระ ๑๐๖ กระยาตัง – พระ ๑๐๖ กระยาสนาน – พระ ๑๔๒ กระยาเสวย – พระ ๑๐๖ กระสุนปืน ๓๖๑ กระแสพระราชดำรัส ๗๙ กระแสพระราชปรารภ ๒๗๖
376 19-up371-416-19 Sep.indd 376
9/19/12 5:27:47 PM
กระหม่อม ๒๒, ๓๐๗ กระแอม ๖๗ กราบ ๗๖ กราบ – เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ กราบถวายบังคม ๗๖ กราบถวายบังคมลา ๗๕ กราบทูล ๓๐, ๗๓, ๒๘๔ กราบทูลรายงาน ๒๙๐ กราบทูลลา ๗๕ กราบบังคมทูล ๓๐, ๗๓, ๒๘๓ กราบบังคมทูลพระกรุณา ๓๐, ๗๓, ๒๘๓ กราบบังคมทูลรายงาน ๒๙๐ กราบบังคมทูลลา ๗๕ กราบลา ๓๔๓ กราม – พระ ๔๖ กราม ๔๖ กริช – พระแสง ๑๑๐ กริช ๑๑๐ กริ้ว ๒๔, ๖๒ กริ้ว – ทรง ๖๒ กรุณา – พระ, พระมหา, ทรงพระ ๒๘๓ กรุณาคุณ – พระ ๒๘๘ กรุณาคุณ ๒๘๓ กรุณาธิคุณ – พระ, พระมหา ๒๘๒ กฤษฎี – พระ ๔๙ กลด – พระ ๒๐๘, ๒๒๔ กล้วย ๓๖๓ กล้วยกระ ๓๕๔ กล้วยกุ ๓๕๔ กล้วยไข่ ๓๕๔ กล้วยเปลือกบาง ๓๕๔ กล้วยสั้น ๓๕๔ กลอง ๑๓๗ กลองชนะ ๑๓๖ กลองชนะเขียวลายเงิน ๑๒๓ กลองชนะเงิน ๑๒๒ กลองชนะแดง ๑๒๓ กลองชนะแดงลายทอง ๑๒๓ กลองชนะทอง ๑๒๒ กล้องที่ใส่อาวุธซัด ๑๑๐ กล่องพระสกุน ๔๙
กล้องสลัด – พระ ๑๑๐ กลอน ๓๖๑ กลอย ๓๖๓ กลัก ๓๕๘ กล้ามเนื้อ ๕๐ กลุ่ม ๓๕๘ กษัตริย์ – พระ, พระมหา ๑๒ กษิรธารา – พระ ๔๘ กอ ๓๕๘ กอง ๓๕๘ กองทราย ๓๕๘ กองทหาร ๓๕๘ กองอิฐ ๓๕๘ ก้อน ๓๕๘ ก้อนข้าวตู ๓๕๘ ก้อนดิน ๓๕๘ ก้อนศิลา ๓๕๘ ก้อนอิฐ ๓๕๘ กะปิ ๓๕๖ กะโหลกพระเศียร ๔๕ กะโหลกศีรษะ ๔๕ กัจฉโลม – พระ ๔๗ กัจฉะ – พระ ๔๗ กัญญา – เรือ ๒๖๒ กัณฐมณี – พระ ๔๗ กัณฑ์ ๓๕๘ กั้นร่ม ๗๗ กันแสง – ทรง, ทรงพระ ๖๑, ๖๒ กั้นหยั่น – พระแสง ๑๑๐ กั้นหยั่น ๑๑๐ กัปปาสิกพัสตร์ – พระ ๑๐๑ กัประ – พระ ๔๗ กัมพล – พระ ๑๐๒ กางเกง ๑๐๑ กางร่ม ๗๗ กาญจนาภิเษก – พระราชพิธี ๑๖๓ กาพย์ขับไม้ ๑๑๑ การเกื้อกูล ๘๒, ๘๓ การเฆี่ยน ๓๖๒ การจะควรมิควรประการใดแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
377 19-up371-416-19 Sep.indd 377
9/19/12 5:27:47 PM
โปรดกระหม่อม ๓๒๕ การจะควรมิควรประการใดสุดแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ๓๒๕ การชกมวย ๓๖๒ การทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๑๑๒, ๑๓๘, ๑๔๖, ๑๔๙ การทักทาย ๘๐ การทำบุญ ๑๑๑ การพระราชกุศล ๑๑๑ การพระราชกุศลทักษิณาณุปทาน ๑๔๙ การพระราชพิธี ๑๔๑ การวินิจฉัย ๘๑, ๘๒ การแสดงถวายทอดพระเนตร ๓๒๕ การอาบน้ำในพระราชพิธีตามลัทธิพราหมณ์ ๑๔๒ การอุปถัมภ์ ๘๒, ๘๓ กาสะ – ทรง, ทรงพระ ๖๖ กำ ๓๕๘ กำโบล – พระ ๔๖ กำปั้น ๔๘ กำพระหัตถ์ ๔๘ กำมือ ๔๘ กำหมัด ๔๘ กำไล – พระ ๑๐๔ กำไลข้อเท้า ๑๐๔ กำไลข้อพระบาท ๑๐๔ กำไลข้อมือ ๑๐๔ กำไลต้นแขน ๑๐๔ กิ่ง ๓๕๘ กิ่ง – เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ กิ่งไม้ ๓๕๘ กิน ๒๔, ๒๗, ๗๑, ๓๔๒ กินอาหาร ๓๔๒ กินอาหารกลางวัน ๓๔๒ กินอาหารเช้า ๓๔๒ กิโลมกะ – พระ ๕๑ กุญชะ – พระ ๕๑ กุฏิ ๓๔๑ กุณฑล – พระ ๑๐๔ กุลี ๓๕๘ กุศล – พระ, พระราช ๑๓ เกยูร ๑๐๔
เกล็ด ๓๕๘ เกล็ดกระ ๓๕๘ เกล็ดปลา ๓๕๘ เกล้ากระผม ๓๓๗ เกล้ากระหม่อม ๒๒, ๒๓ เกล้ากระหม่อมฉัน ๒๒, ๒๓ เกวียน ๓๖๓ เกศ – พระ ๔๕ เกศา – พระ ๔๕ เกศากัณฑ์ ๑๑๑ เกษตราธิบดี ๑๕๕ เกาทัณฑ์ – พระแสง ๑๑๐ เกาวพ่าย – พระ ๒๐๓ เกาวพ่าห์ – พระ ๒๐๓ เก้าอี้ – พระ ๑๐๗ เก้าอี้พนักสูง ๑๐๗ เกิด ๒๕, ๗๐, ๒๗๘ เกี้ยว – ทรง ๑๕๖ เกี้ยว – พระ ๑๙๓, ๒๑๙ แก้ม ๔๖ แกล – พระ ๒๔๔ แก้วตา ๔๕ โกนคิ้ว ๓๔๒ โกนจุก – พระราชพิธี ๑๑๑ โกนผม ๖๘, ๓๔๒ โกนหนวด ๓๔๒ โกรธ ๒๔, ๖๒ โกรธ – ทรง, ทรงพระ ๖๒ โกไสยพัสตร์ – พระ ๑๐๑
หมวด ข
ขด ขน ขนง – พระ ขนจมูก ขนตา ขนน – พระ ขนพระนาสิก ขนพระเนตร ขนมขี้หนู ขนมครก
๓๕๘ ๕๐ ๔๕ ๔๖ ๔๖ ๑๐๗ ๔๖ ๔๖ ๓๕๔ ๓๖๑
378 19-up371-416-19 Sep.indd 378
9/19/12 5:27:47 PM
ขนมจีน ๓๕๙ ขนมทราย ๓๕๔ ขนมสอดไส้ ๓๕๔ ขนมใส่ไส้ ๓๕๔ ขนรักแร้ ๔๗ ขนหว่างคิ้ว ๔๕ ขนอง – พระ ๔๙ ขนัด ๓๕๘ ขนาน ๓๕๘ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ๑๔๒ ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ๑๔๒ ขบวนราบน้อย ๑๓๗ ขบวนราบใหญ่ ๑๖๐, ๑๙๙ ขมวดผมที่เป็นก้นห้อย ๔๕ ขมวดพระเกศา ๔๕ ขมวดพระศก ๔๕ ขรัวตา ๔๔ ขรัวยาย ๔๔ ขริบผม ๖๘ ขลุ่ย ๓๖๓ ขวด ๓๕๘ ขอ ๓๐ ขอนิสัย ๓๔๒ ของกิน ๑๐๖ ของคาว ๑๐๖ ของถวายพระ ๓๔๐ ของทำบุญ ๓๔๐ ของที่ทำเป็นกลัก ๓๕๘ ของที่มัดไว้ ๓๖๒ ของที่เรียงเป็นชุดเดียวกัน ๓๕๙ ของว่าง ๑๐๖ ของหลวง ๑๔ ของหวาน ๑๐๖ ของ้าว – พระแสง ๑๑๐ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ๓๑, ๓๐๙, ๓๑๐ ขอถวายพระพร ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๓๓๙ ข้อเท้า ๕๐ ขอน ๓๕๘ ข้อนิ้วพระหัตถ์ ๔๘ ข้อนิ้วมือ ๔๘
ขอนิสัย ๓๔๒ ขอบตา ๔๖ ขอบพระเนตร ๔๖ ขอประทาน ๒๘, ๓๐, ๓๓๙ ขอประทานกราบทูล (ระบุพระนาม)
๓๑๒, ๓๑๔, ๓๒๗, ๓๒๙ ขอประทานพระวโรกาสเข้าเฝ้า ๒๘๑ ขอประทานโอกาสเข้าเฝ้า ๒๘๑ ขอฝากตัวเป็นศิษย์พระอุปัชฌาย์ ๓๔๒ ขอพระทาน ๓๓๙ ข้อพระกร ๔๘ ข้อพระบาท ๕๐ ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ๓๒๕ ขอพระราชทาน ๓๐ ขอพระราชทานกราบทูล (ระบุพระนาม) ทราบฝ่าพระบาท ๓๑๑, ๓๒๗ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ๓๑๐, ๓๒๐, ๓๒๗ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ๒๘๑ ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ๒๘๑ ขอพระราชทานพระวโรกาสเข้าเฝ้า ๒๘๑ ข้อพระหัตถ์ ๔๘ ข้อมือ ๔๘ ข้อศอก ๔๗ ขอหรือเรียกร้องเอาได้ ๓๔๓ ขอให้ ๒๙ ขอให้ภิกษุทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ๓๔๒ ขอโอกาสเข้าพบ ๒๘๑ ขัตติยประเพณี ๑๖๓ ขันน้ำ ๑๐๕ ขันน้ำทรงมณฑปมีพานรองและมีจอกลอย ๑๐๕ ขันพระสาคร ๑๓ ขันสาคร ๑๓ ขับไม้ ๑๑๑ ขับลำนำในพระราชพิธสี มโภชเดือนและขึน้ พระอู ่ ๑๑๑ ขา ๔๙ ขากรรไกร ๔๗ ขากรรไตร ๔๗ ขาตะไกร ๔๗ ขออ่อน ๔๙ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ๑๖๐
379 19-up371-416-19 Sep.indd 379
9/19/12 5:27:47 PM
ข้าราชการฝ่ายหน้า ข้าว ข้าวเกรียบ ข้าวต้ม ข้าวตอก – กระทง ข้าวตัง ข้าวฟ่างรวง ข้าวเม่าทอด ข้าวรวง ข้าวสวย ข้าวหลาม ขิปสัทโท – พระ, ทรงพระ ขี้กลาก ขี้เกลื้อน ขี้ของสัตว์ ขี้ช้าง ขี้ดิน ขี้ผึ้ง ขี้ม้า ขี้แมลงวัน ขี้เรื้อน ขี้เล็บ ขึ้นพระกลด ขึ้นพระอู่ ขึ้นระวาง ขุน ขุนคลังแก้ว เข็ด เขน – พระแสง เขนย – พระ เขนยข้าง – พระ เขนยอิง – พระ เข็ม เข็มขัด เขฬะ – พระ เข่า เข้าที่พระบรรทม – เสด็จ เข้านอน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เข้าพบ
๑๖๘ ๑๐๖ ๓๖๑ ๑๐๖ ๑๑๑ ๑๐๖ ๓๖๒ ๓๖๒ ๓๖๒ ๑๐๖ ๓๕๘ ๖๓ ๓๕๖ ๓๕๖ ๓๕๖ ๖๙ ๓๕๖ ๑๓๙ ๖๙ ๕๐ ๓๕๖ ๕๑ ๗๗ ๑๑๑ ๑๔๒, ๑๖๔ ๓๔๕ ๑๖๕ ๓๕๘ ๑๑๐ ๑๐๗ ๑๐๗ ๑๐๗ ๓๖๓ ๑๐๔, ๓๕๗ ๕๑ ๔๙, ๗๗ ๖๙ ๖๙ ๒๘๑ ๒๘๑ ๕๗, ๗๖
เข้าพรรษา เขียนหนังสือ เขี้ยว แข้ง แขน โขน โขลง โขลงช้าง โขลนทวาร ไข่ ไข่ไก่ ไข่ปลา ไข่เป็ด
๑๕๑ ๕๕ ๔๖ ๕๐ ๔๗ ๓๖๒ ๓๕๘ ๓๕๘ ๑๖๕ ๓๕๖ ๓๖๒ ๓๖๑ ๓๖๒
หมวด ค
คชาธาร ๑๘๗ คชาภรณ์ ๑๔๒, ๑๖๕ คนโทน้ำ ๑๐๕ คนธรรพ์ ๑๔๑ คนหรือสิ่งของที่รวมกันเป็นหมู่ ๓๖๓ ครรภ์ – พระ, ทรง, ทรงพระ ๔๙, ๖๕, ๒๘๖ ครรภมล – พระ ๔๙ ครรโภทร – พระ ๔๙ ครองจีวร ๓๔๓ ครองผ้า ๓๔๒ คลอดบุตร ๒๖ คลอดลูก ๖๕ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ๓๐๙, ๓๑๐, ๓๑๑ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ๓๑๑, ๓๑๒,๓๑๓, ๓๑๕ ความคิด ๘๒ ความช่วยเหลือ ๘๓ ความต้องการ ๘๔ ความประสงค์ ๘๓, ๘๔ ความปรารถนา ๘๔ ความอนุเคราะห์ ๘๓ ควาย ๓๕๔ คอ ๔๗ คอต่อ ๔๗ คัน ๓๕๙ คันกระสุน ๓๕๙
380 19-up371-416-19 Sep.indd 380
9/19/12 5:27:47 PM
คันฉ่อง – พระ ๑๐๘ คันชั่ง ๓๕๙ คันเบ็ด ๓๕๙ คัพโภทร – พระ ๔๙ คัมภีร์ ๓๕๙ คัมภีร์ – พระ ๑๓๖ คาง ๔๗ คาถา ๓๖๑ คำ ๓๕๙ คำกราบบังคมทูล ๓๑๘, ๓๒๐ คำกลอน ๓๕๙ คำข้าว ๓๕๙ คำขึ้นต้น ๓๐๙, ๓๖๔, ๓๖๕, ๓๖๖, ๓๖๗, ๓๖๘ คำถาม ๘๑ คำทักทาย ๘๐ คำที่ใช้แก่ขุนนาง และบุคคลทั่วไป ๓๔๔ คำที่ใช้แก่พระสงฆ์ ๓๓๕ คำนำพระนาม ๒๖๙, ๒๗๐ คำนำพระนามเจ้าฟ้า ๒๖๙ คำนำพระนามพระมเหสี ๒๗๑ คำนำพระนามพระองค์เจ้า ๒๖๙ คำประกาศ ๑๔๐ คำปรารภ ๒๗๖ คำพูด ๗๙, ๒๗๕ คำพูดต่อเนื่อง ๗๙ คำเริ่มและคำรับ ๓๔๐ คำลงท้าย ๓๐๙, ๓๖๔, ๓๖๕, ๓๖๖, ๓๖๗, ๓๖๘ คำวินิจฉัย ๘๑, ๘๒ คำสอน ๗๙, ๘๐, ๒๗๕ คำสั่ง ๗๘, ๗๙, ๒๗๔ คำสัตย์ปฏิญาณ ๑๖๔ คำสุภาพ ๓๓๕ คำหมาก ๓๕๙ คิด ๕๓ คิลานภัตร ๑๑๑ คิลานเภสัช ๓๔๑ คิ้ว ๔๕ คีวัฐิ – พระ ๕๒ คุกเข่า ๗๗ คุกพระชงฆ์ ๗๗ คุกพระชานุ ๗๗
คุณ ๓๔๗ คุณหญิง ๓๔๖, ๓๔๗ คุยหฐาน – พระ ๔๙ คุยหประเทศ – พระ ๔๙ คู่ ๓๕๙ เครา ๔๖ เครื่อง ๑๐๑, ๒๖๕ เครื่องกระยาสังเวย ๑๔๑ เครื่องขมา ๑๑๑ เครื่องคชาภรณ์ ๑๔๒ เครื่องคาว ๑๐๖ เครื่องเคียง ๓๕๔ เครื่องจิ้ม, เครื่องแนม ๓๕๔ เครื่องต้น ๑๐๖, ๑๕๙ เครื่องต้นคาว ๑๐๖ เครื่องต้นหวาน ๑๐๖ เครื่องแต่งกาย ๑๐๑, ๒๖๕ เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่ ๑๑๑, ๑๒๐, ๑๓๖ เครื่องทรงในพระราชพิธี ๑๐๑ เครื่องนมัสการ ๑๑๑, ๑๑๒, ๑๓๓, ๑๓๔, ๑๓๕ เครื่องนมัสการกระบะถม ๑๑๑, ๑๓๔ เครื่องนมัสการกระบะมุก ๑๑๑, ๑๑๘, ๑๓๕ เครื่องนมัสการเครื่องแก้ว ๑๑๑, ๑๑๗, ๑๓๕ เครื่องนมัสการทองทิศ ๑๑๑, ๑๑๕, ๑๓๓, ๒๖๕ เครื่องนมัสการทองน้อย ๑๑๑, ๑๑๖, ๑๑๗, ๑๓๓, ๒๖๕ เครื่องนมัสการทองน้อย (เครื่องหงส์) ๑๓๔ เครื่องนมัสการทองน้อย (เครื่องห้า) ๑๑๖, ๑๓๓ เครื่องนมัสการทองน้อย (ปากกระจับ) ๑๑๖, ๑๓๔ เครื่องนมัสการทองน้อยแก้ว ๑๓๔ เครื่องนมัสการทองลงยารอง ๑๑๑, ๑๑๒ เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดี ๑๑๑, ๑๑๒, ๑๑๓ เครื่องนมัสการทองใหญ่ ๑๑๑, ๑๑๓, ๒๖๕ เครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง ๑๑๑, ๑๑๗, ๑๓๕ เครื่องนมัสการบูชายิ่ง ๑๑๑, ๑๑๙, ๑๓๖ เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น ๑๑๑, ๑๑๒, ๑๑๔ เครื่องนุ่งห่ม (สบง จีวร สังฆาฏิ) ๓๓๔ เครื่องบังหรือเครื่องกั้น ๓๕๙ เครื่องบิน – ที่นั่ง, พระที่นั่ง ๒๖๓ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ๒๑๕
381 19-up371-416-19 Sep.indd 381
9/19/12 5:27:47 PM
เครื่องประโคม ๑๓๖ เครื่องประโคมแตรกับมโหระทึก ๑๓๗ เครื่องประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ๑๓๗ เครื่องประดับจอนหู ๑๐๔ เครื่องประทิ่นผิว ๑๐๘ เครื่องปูรองนั่ง ๓๔๑ เครื่องพระสำอาง ๑๓, ๑๐๘ เครื่องพระสำอาง – ทรง ๖๘ เครื่องพระสุคนธ์ ๑๐๘ เครื่องยศ ๑๖๙ เครื่องรองรับขันหรือกระโถน ๑๐๕ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๑๕๗, ๑๕๙, ๒๑๕, ๒๑๖, ๒๖๕ เครื่องราชสักการะ ๑๔๘, ๑๕๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๑๐๖, ๑๔๙, ๒๒๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์ รามาธิบดี ๑๖๘, ๑๗๔ เครื่องราชูปโภค ๑๕๙, ๒๒๕, ๒๖๕ เครื่องว่าง ๑๐๖ เครื่องสวมคอ ๑๐๔ เครื่องสวมหัว ๑๐๔ เครื่องสำอาง ๑๐๘ เครื่องเสวย ๑๐๖ เครื่องหวาน ๑๐๖ เครื่องหอม ๑๐๘ เครื่องห้า ๑๓๓ เคือง ๖๒ แคะพระกรรณ ๑๐๙ แคะพระทนต์ ๑๐๙ โค ๓๕๔ โคนขา ๔๙ โคนลิ้น ๔๗ โคปผกะ – พระ ๕๐ โคม ๓๖๐ โคลง ๓๖๑ ไคล ๕๑
หมวด ง
งาช้าง งาน งานบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสวัน
คล้ายวันเกิด งานพระราชพิธี ง้าว ง้าว – พระแสง เงา เงิน เงินตรา เงินท้ายที่นั่ง,เงินท้ายพระที่นั่ง
หมวด จ
จงกลธรรมาสน์ จดหมาย จตุปัจจัย จตุปัจจัยไทยธรรม จมื่น จมูก จร – พระราชพิธี จรดพระกรรบิดกรรไตร จอกหมาก จอมพล จอมมารดา จะงอยบ่า จักรแก้ว จักรวรรดิวัตร จักษุ – พระ จังหัน จั่น จั่นมะพร้าว จั่นหมาก จับ จ่า จาก จาตุมหาราช – ท้าว จานเครื่องต้น จานอาหาร จาม – ทรง จามร จารึกนามช้างสำคัญ – พิธี ๓๕๘ จารึกพระสุพรรณบัฏ – พระราชพิธี ๓๕๙ จำวัด จิตรจุล, จิตรจูล
๒๘๐ ๑๑๑ ๑๑๐ ๑๑๐ ๕๐ ๓๖๐ ๓๔๐ ๑๐๗ ๑๒๙, ๑๓๗ ๑๕,๘๖, ๒๗๗, ๓๔๐ ๑๓๘ ๓๔๕ ๔๖ ๑๕๖ ๖๘ ๑๐๕ ๓๔๗ ๔๓ ๔๗ ๑๖๕ ๑๕๔ ๔๕ ๓๔๑ ๓๕๙ ๓๕๙ ๓๕๙ ๓๕๙ ๓๔๕ ๓๖๐ ๑๔๑ ๑๐๕ ๑๐๕ ๖๗ ๒๑๒ ๑๖๕ ๑๕๘ ๓๔๒ ๓๕๔
382 19-up371-416-19 Sep.indd 382
9/19/12 5:27:47 PM
จีบ ๓๕๙ จุก ๓๕๙ จุกหรือมวยผม ๔๕ จุฑามณี – พระ ๑๐๔ จุฑามาศ – พระ ๔๕ จุด – ทรง ๑๕๙ จุดพลุ ๓๖๑ จุไร – พระ ๔๕ จุลจอมเกล้า – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๑๔๙ จุฬาฐทิศ ๑๖๕ จูจุกะ – พระ ๔๘ เจ็ดประการ,เจ็ดอย่าง ๓๕๔ เจดีย์ – พระ ๓๖๓ เจ็บ ๒๔ เจ็บป่วย ๓๔๒ เจริญเกศา ๖๘ เจริญชันษา ๖๕ เจริญพร ๓๔๐ เจริญพระเกศา ๖๘ เจริญพระชนมพรรษา - ทรง ๖๔ เจริญพระชนมายุ – ทรง ๖๔ เจริญพระชันษา – ทรง ๖๔ เจริญพระพุทธมนต์ ๑๔๗, ๑๕๔, ๑๕๙ เจ้าขรัว ๔๔ เจ้าครอก ๔๔ เจ้าคุณจอมมารดา ๔๓,๒๗๓ เจ้าจอม ๔๓,๒๗๓ เจ้าจอมมารดา ๔๓,๒๗๓ เจ้าจอมอยู่งาน ๔๓ เจ้าดารารัศมี – พระราชชายา ๒๗๓ เจ้าประคุณ, เจ้าพระคุณ ๓๓๗ เจ้าพระยา ๓๔๕ เจ้าหมื่น ๓๔๕ เจ้าอาวาส ๓๔๑ เจิม – ทรง ๑๓๙ แจว ๓๖๓ ใจหาย ๖๘
หมวด ฉ ฉบับ ฉลองได
ฉลองพระเนตร ๑๓, ๑๐๙ ฉลองพระบาท ๑๐๒ ฉลองพระหัตถ์ ๑๐๒, ๑๑๐ ฉลองพระหัตถ์ช้อน ๑๐๕ ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ๑๐๕ ฉลองพระหัตถ์มีด ๑๐๕ ฉลองพระหัตถ์ส้อม ๑๐๕ ฉลององค์, ฉลองพระองค์ ๑๐๑ ฉลองพระองค์ครุย ๑๐๑ ฉลองพระองค์เครื่องต้น ๑๐๑ ฉลองสิริราชสมบัติ – พระราชพิธี ๑๖๓ ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี – พระราชพิธี ๑๕๖, ๑๖๓ ฉวี – พระ ๕๐ ฉัตร ๒๑๙ ฉัตรกำมะลอ ๑๙๙,๒๒๑ ฉัตรขาว ๒๒๑ ฉัตรขาวลายทอง ๑๙๙,๒๒๑ ฉัตรคันดาร ๑๙๙ ฉัตรเครื่อง ๒๒๓ ฉัตรเครื่องสูงวังหน้า ๒๒๓ ฉัตรชัย – พระ ๒๐๒ ฉัตรตาด ๒๒๑ ฉัตรตาดขาว ๒๒๑ ฉัตรตาดเหลือง ๒๒๑ ฉัตรเบญจา ๒๐๗, ๒๒๓, ๒๖๖ ฉัตรมงคล – พระราชพิธี ๑๔๑, ๑๔๙ ฉัตรราชวัติ ๒๑๔, ๒๒๔ ฉัตรโหมดขาว ๒๐๐, ๒๒๑ ฉัตรโหมดเงิน ๒๒๒ ฉัตรโหมดทอง ๒๒๒ ฉัตรโหมดเหลือง ๒๒๑ ฉัน ๓๔๒ ฉันเช้า ๓๔๒ ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ๑๖๕ ฉันเพล (ภาษาปาก) ๓๔๒ ฉันจังหัน, ฉันภัตตาหาร ๓๔๒ ฉันจังหันเพล, ฉันภัตตาหารเพล ๓๔๒ ฉาก ๓๕๙ ๓๕๙ ฉาย – พระ ๑๐๘ ๑๑๐ ฉายา – พระ ๕๐
383 19-up371-416-19 Sep.indd 383
9/19/12 5:27:47 PM
ฉายา ๓๔๐ ฉายาลักษณ์ – พระ, พระบรม, พระบวร ๑๓, ๒๘๒ เฉพาะพระพักตร์ ๑๖๔ เฉลิมฉลองสมโภช ๑๕๖ เฉลิมพระชนมพรรษา – พระราชพิธี ๑๕๒ เฉลิมพระราชมณเฑียร – พระราชพิธี ๑๕๓ โฉนด ๓๕๙
หมวด ช
ชนก – พระ,พระบรมมหา ๓๗ ชนก – สมเด็จพระบรมราช ๓๗ ชนก – สมเด็จพระปฐมบรมมหา ๓๔ ชนกนาถ – สมเด็จพระบรม ๓๗ ชนกาธิบดี – สมเด็จพระบรม ๓๗ ชนกาธิราช – สมเด็จพระบรม ๓๗ ชนนี – พระ, พระราช, พระบรมราช ๑๒, ๓๗ ชนนี – สมเด็จพระบรมราช ๓๗ ชนนีพันปีหลวง – สมเด็จพระบรมราช ๓๗ ชมรม ๑๕๖ ช่อ ๓๕๙ ช่อดอกไม้จันทน์ ๑๑๑ ช่องจมูก ๔๖ ช่องพระกรรณ ๔๗ ช่องพระนาสา, ช่องพระนาสิก ๔๖ ช่องพระโสต ๔๗ ช่องหู ๔๗ ช้องผม ๔๕ ช้อน ๑๐๕ ชอบ ๒๔, ๕๘ ชันษา ๘๗ ชัย – เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ ชัยมงคลคาถา ๑๖๕ ชัลลุกะ, ชัลลุกา ๓๕๔ ช้าง ๓๕๙ ช้างแก้ว ๑๖๕ ช้างต้น – พระยา, นางพระยา ๑๖๕ ช้าง – ทรง ๖๙ ช้างที่ขึ้นระวาง ๓๕๙ ช้างนรการ ๓๕๔ ช้างบ้าน ๓๕๙ ช้างป่า ๓๕๙
ช้างเผือก ๑๖๕ ช้างพลายมีงาสั้น ๓๕๔ ช้างสำคัญ ๑๔๒, ๑๖๔ ช้างสีดอ ๓๕๔ ช้างหลวง ๑๖๘ ชามชำระพระหัตถ์ ๑๐๕ ชามล้างมือ ๑๐๕ ชิ้น ๓๕๙ ชิ้นเนื้อ ๓๕๙ ชิ้นผ้า ๓๕๙ ชิมอาหาร ๗๑ ชิวหา – พระ ๔๗ ชีพจร ๕๒ ชื่อ ๘๕ ชื่อตัว ๒๐, ๓๔๗ ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลี เมื่ออุปสมบท ๓๔๐ ชุด ๓๕๙ ชุดเครื่องน้ำร้อนน้ำเย็น ๑๐๕ ชุมสาย – พระที่นั่ง ๒๔๓ เช็ดพระหัตถ์ ๑๐๙ เชษฐาธิบดี – สมเด็จพระบรม ๓๙ เชษฐาธิราช – สมเด็จพระบรม ๓๙ เชิญ ๗๗, ๓๔๒ เชิญเครื่อง ๗๒, ๗๗ เชิญไป ๗๗ เชิญเสด็จ ๗๗ เชือก ๓๕๙ เชือกขด ๓๕๘ เชือกเข็ด ๓๕๘
หมวด ซ
ซอ ซอง ซอสามสาย ซิก้าร์ ซี่ ซี่กรง ซี่โครง ซุง ซูบพระองค์
๓๖๐ ๓๖๐ ๑๖๕ ๑๐๙ ๓๖๐ ๓๖๐ ๔๙, ๓๖๐ ๓๖๒ ๖๕
384 19-up371-416-19 Sep.indd 384
9/19/12 5:27:47 PM
หมวด ญ ญัตติ
หมวด ฎ ฎีกา
หมวด ด
๓๔๐ ๓๔๑
ด้ายเข็ด ๓๕๘ ดาว ๓๖๐ ดำเนิน – ทรง, ทรงพระ ๕๙ ดำรัส – พระ, พระราช ๒๔, ๗๔, ๗๕, ๒๗๕ ดำรัสสั่ง – มีพระ, มีพระราช ๒๗, ๒๗๔ ดำรัสสั่ง – พระ, พระราช ๒๗๔, ๒๗๕ ดำริ – ทรงพระ, มีพระ, ทรงพระราช, มีพระราช ๕๓, ๕๔ ดำริ – พระ, พระราช ๘๒ ดิฉัน, ดีฉัน (หญิง) ๓๓๗ ดินสอ ๓๖๐ ดี ๕๑ ดื่ม ๓๔๒ ดุ้น ๓๖๐ ดุสิตมหาปราสาท – พระที่นั่ง ๒๔๑ ดู ๒๔, ๖๐ เด็กชาย ๓๔๕ เด็กหญิง ๓๔๕ เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ๓๒๕ เดชานุภาพ – พระ, พระบรม ๑๒ เดิน ๕๙ เดินทาง ๕๗, ๕๘ เดินเทียน ๑๓๗
ดนตรี ๓๖๓ ดวง ๓๖๐ ดวงแก้ว (มณี) ๑๖๕ ดวงชาตา ๘๘ ดวงตรา ๓๖๐ ดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๑๑๐ ดวงตา ๔๕ ดวงพระชาตา ๘๘ ดวงพระเนตรดำ ๔๕ ดวงพระบรมราชสมภพ ๘๘ ดวงพระราชสมภพ ๘๘ ดวงไฟ ๓๖๐ ดวงหน้า ๔๗ ดอก ๓๖๐ ดอกขจร ๓๕๔ ดอกขี้เหล็ก ๓๕๔ ดอกซ่อนกลิ่น ๓๕๔ ดอกซ่อนชู้ ๓๕๔ หมวด ต ดอกถันวิฬาร์ ๓๕๔ ตกใจ ๖๘ ดอกทอดยอด ๓๕๔ ตกพระทัย ๖๘ ดอกนมแมว ๓๕๔ ตกลูก ๓๕๕ ดอกผักตบ ๓๕๔ ตน ๓๖๐ ดอกผักบุ้ง ๓๕๔ ต้น ๓๖๐ ดอกมณฑาขาว ๓๕๔ ต้นขา ๔๙ ดอกมะม่วง ๓๕๙ ต้นจะเกรง ๓๕๕ ดอกไม้ ๓๖๐ ต้นตำแย ๓๕๕ ดอกไม้จันทน์ ๑๐๗ ต้นพระชิวหา ๔๗ ดอกไม้ไฟ ๓๖๐ ต้นพระหนุ ๔๗ ดอกยี่หุบ ๓๕๔ ต้นพุงดอ ๓๕๕ ดอกลั่นทม ๓๕๗ ต้นไม้ ๓๖๐ ดอกสลิด ๓๕๔ ต้นลิ้น ๔๗ ดอกสามหาว ๓๕๔ ต้นหนามรอบข้อ ๓๕๕ ดอกเหล็ก ๓๕๔ ต้นเหงือกปลาหมอ ๓๕๕ ด้าม ๓๖๐ ต้นอเนกคุณ ๓๕๕ ด้ายกลุ่ม ๓๕๘ ตรัส ๒๔, ๕๓, ๒๗๕
385 19-up371-416-19 Sep.indd 385
9/19/12 5:27:47 PM
ตรัสถาม ๕๓ ตรัสทักทาย ๕๓ ตรัสปรารภ ๒๗๖ ตราส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ ๑๑๐ ตรียัมปวายและตรีปวาย – พระราชพิธี ๑๕๕ ตรุษ ๑๔๗ ตลับ ๓๖๐ ตลับประดับเพชร ๑๐๙ ตลับยอดมณฑป ๑๐๙ ตลับยาเส้น ๓๖๐ ตลับสีผึ้ง ๓๖๐ ต้องการ ๕๔ ต้องพระประสงค์, ต้องพระราชประสงค์ ๕๔ ต้องพระราชอาญา ๗๗ ต่อมน้ำตา ๔๖ ต่อมพระเนตร ๔๖ ตะกั่ว ๓๖๐ ตะเกียง ๓๖๐ ตะเกียบ ๑๐๕ ตะโพก ๔๙ ตัก ๔๙ ตักบาตร ๖๐ ตั้งเครื่อง ๗๒ ตัดจุก – พระราชพิธี ๑๑๑ ตัดผม ๖๘ ตับ ๕๐ ตับ ๓๖๐ ตา ๓๕, ๓๖ ตาขาว ๔๕ ต่างหู ๑๐๔ ตาดำ ๔๕ ตาตุ่ม ๕๐ ตาทวด ๓๔ ตาย ๒๗, ๒๘, ๗๒, ๗๓, ๒๘๕, ๒๘๖, ๓๔๒, ๓๕๐, ๓๕๑ ตำหนัก ๒๓๗, ๒๔๓ ตำหนัก – พระ ๒๓๘ ตึก ๓๖๓ ตื่นนอน ๗๐ ตื่นบรรทม, ตื่นพระบรรทม ๗๐ ตุ้มพระกรรณ ๑๓, ๑๐๔ เต่า ๓๕๔
เต้ากรวดน้ำ ๑๐๕ เต้านม ๔๘ เตียง ๑๐๗ เตียงนอน ๑๐๗ แต่งงาน ๑๔๙, ๒๙๐ แต่งตัว ๖๙ แต่งเพลง ๕๕ แต่งหนังสือ ๕๕ แต่งองค์,แต่งพระองค์ ๖๙ แตร ๑๒๑ แตรงอน ๑๒๑ แตรฝรั่ง ๑๒๑ โต๊ะข้างพระที่ ๑๐๗ โต๊ะเขียนหนังสือ ๑๐๗ โต๊ะทรงพระอักษร ๑๐๗ โต๊ะทองคำสำหรับตั้งสำรับคาวหวาน ๑๐๕ โต๊ะเล็กข้างเตียงนอน ๑๐๗ โต๊ะเสวย ๑๐๕ โต๊ะหมู่ ๓๖๓ โต๊ะอาหาร ๑๐๕ ใต้ฝ่าพระบาท ๓๑๑ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ๓๐๙, ๓๑๐ ใต้ฝ่าละอองพระบาท ๓๑๑ ไต ๕๐ ไตร ๓๖๐ ไตรจีวร ๓๔๐ ไตรทวาร ๑๖๓
หมวด ถ
ถนน ๓๖๓ ถ้วยชามเครื่องต้น ๑๐๕ ถ้วยน้ำ ๑๐๕ ถ้วยพระสุธารส ๑๐๕ ถวาย ๒๙, ๗๔ ถวายบังคม ๗๖ ถวายพรพระ ๑๓๗ ถวายพระกลด ๗๗ ถวายพระพร, ถวายพระพรชัยมงคล ๒๙, ๗๔, ๑๕๓, ๓๔๐ ถวายพระพรลา ๑๓๘, ๓๔๓ ถวายพระกุศล ๒๙, ๗๔
386 19-up371-416-19 Sep.indd 386
9/19/12 5:27:48 PM
ถวายพระราชกุศล ๒๙, ๗๔ ถวายศีล ๑๓๗ ถวายอดิเรก ๑๓๘, ๓๔๔ ถวายอนุโมทนา ๑๓๘ ถวายอยู่งานพัด ๗๗ ถวายอยู่งานนวด ๗๗ ถวายอยู่งานพระแส้ ๗๗ ถั่วงอก ๓๕๕ ถั่วเพาะ ๓๕๕ ถาดเครื่องน้ำร้อนน้ำเย็น ๑๐๕ ถาดพระสุธารส ๑๐๕ ถาดสรงพระพักตร์ ๑๐๘ ถาน ๓๔๓ ถาม ๕๓ ถ่ายมูล ๓๕๕ ถึงแก่พิราลัย ๓๕๐ ถึงแก่มรณภาพ,ถึงมรณภาพ ๓๔๒ ถึงชีพตักษัย ๗๓, ๒๘๖ ถึงชีพิตักษัย ๗๓, ๒๘๖ ถือ ๗๗ ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (ศรีสัจจ-ปานกาล) – พระราชพิธี ๑๖๓ ถือศีล ๖๐ ถุงเท้า, ถุงพระบาท ๑๐๒ ถุงมือ, ถุงพระหัตถ์ ๑๐๒ ถูกลงโทษ ๗๗ เถลิงศก ๑๔๗ เถ้ากระดูก ๕๑ เถาตูดหมูตูดหมา ๓๕๕ เถาวัลย์ ๓๖๐ เถาหมามุ้ย ๓๕๕ เถาหัวลิง ๓๕๕ แถบ ๓๖๐ แถว ๓๖๐ โถเจิม ๑๒๘
หมวด ท
ทนต์ – พระ, พระบรม ทรงเกี้ยว ทรงกรวดน้ำ ทรงคม
๔๖ ๑๕๖ ๑๓๘ ๗๖
ทรงครรภ์,ทรงพระภรรค์ ๖๕ ทรงเครื่อง ๖๘ ทรงเครื่องพระสำอาง ๖๘ ทรงจาม ๖๗ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๔ ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๔ ทรงเจริญพระชันษา ๖๔ ทรงช้าง ๖๙ ทรงแต่ง ๕๕ ทรงธรรม ๖๐, ๑๓๘ ทรงธรรมสำรับใหญ่ – เครื่อง ๑๑๑, ๑๓๖ ทรงนวม ๑๕๖ ทรงบาตร ๖๐ ทรงบำเพ็ญกุศล,ทรงบำเพ็ญพระกุศล, ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๑๓๘, ๑๓๙ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล – พระราชพิธี ๑๔๒ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเสมอด้วยรัชกาลใด รัชกาลหนึ่ง – พระราชพิธี ๑๖๒ ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ๑๓๘ ทรงพระเครื่องใหญ่ ๖๘ ทรงพระเจริญ ๖๕ ทรงพระดำเนิน ๕๙ ทรงพระบรรทม ๖๙ ทรงพระประชวร ๖๕ ทรงพระปินาสะ ๖๗ ทรงพระพิโรธ ๖๒ ทรงพระราชสมภพ ๗๐ ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึง, รำพึงถึง ๕๖ ทรงพระวาตะ ๖๗ ทรงพระสรวล, ทรงสรวล ๖๑ ทรงสำราญ, ทรงพระสำราญ ๖๓ ทรงพระสุคนธ์ ๖๘ ทรงพระสุบิน, ทรงพระสุบินนิมิต ๖๒ ทรงพระสุหร่าย ๑๓๙ ทรงพระสำอาง ๖๘ ทรงพระอักษร ๕๕ ทรงพระอาเจียน ๖๖ ทรงพักพระอิริยาบถ, ทรงพักพระ ราชอิริยาบถ ๖๔ ทรงพี ๖๕ ทรงม้า ๖๙
387 19-up371-416-19 Sep.indd 387
9/19/12 5:27:48 PM
ทรงยืน ๖๙ ทรงศีล ๖๐ ทรงสดับพระธรรมเทศนา ๖๐ ทรงสบาย ๖๓ ทรงสะพัก ๑๐๒ ทรงสักการะ ๑๑๒, ๑๓๓ ทรงสำราญ ๖๓ ทรงสำราญพระทัย, ทรง สำราญพระราชหฤทัย ๖๓ ทรงสำราญพระอิริยาบถ, ทรงสำราญ พระราชอิริยาบถ ๖๓ ทรงหลั่งทักษิโณทก ๑๓๘ ทรงไอ ๖๖ ทรยศ ๑๖๔ ทรัพย์ – พระราช ๑๓ ทราบเกล้าทราบกระหม่อมว่า ๓๒๕ ทราบฝ่าพระบาท ๖๐ ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ๕๙ ทราบฝ่าละอองพระบาท ๕๙ ทวน ๑๑๐ ทวน – พระแสง ๑๑๐ ทวยเทพถวายกร – เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ ทวีธาภิเษก – พระราชพิธี ๑๕๖, ๑๖๒ ทศพิธราชธรรม ๑๕๔ ท้อง ๔๙, ๒๘๖ ทอง, ทองคำ ๓๖๐ ทองกวาว ๓๕๕ ทองต้นแขน ๑๐๔ ทองทิศ – เครื่องนมัสการ ๑๑๑, ๒๖๕ ทองน้อย – เครื่องนมัสการ ๑๑๑, ๑๓๓, ๒๖๕ ทองน้อยแก้ว – เครื่องนมัสการ ๑๑๑ ทองแผ่ลวด ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๑๑, ๒๒๐, ๒๒๓ ทองพระกร ๑๓, ๑๐๔ ทองพระบาท ๑๐๔ ทองลงยารอง – เครื่องนมัสการ ๑๑๒ ทองลงยาราชาวดี – เครื่องนมัสการ ๑๑๒, ๑๑๓ ทองหลาง ๓๕๕ ทองใหญ่ – เครื่องนมัสการ ๑๑๓ ทอดเครื่อง ๗๑ ทอดเครื่องเสวย ๗๑ ทอดพระเนตร ๒๔, ๖๐
ท่อน ๓๖๐ ท่อน้ำตา ๔๖ ทะลาย ๓๖๐ ทักทาย ๕๓ ทักษิณราชนิเวศน์ ๒๔๐ ทักษิณานุปทาน – การพระราชกุศล ๑๓๙, ๑๔๙ ทักษิณาวัฏ – พระมหาสังข์ ๑๒๕ ทันตมังสะ, ทันตมังสา – พระ ๔๖ ทาเครื่องหอม, ทาแป้ง, ทากระแจะ, แต่งหน้า ๖๘ ทาฐะ – พระ ๔๖ ทาฐิกะ – พระ ๔๖ ทาฒะ – พระ ๔๖ ทาฒิกะ – พระ ๔๖ ท่าน ๓๓๙ ท่านเจ้าคุณ (ภาษาปาก) ๓๓๘ ท่านเจ้าประคุณ (ภาษาปาก) ๓๓๘ ท่านผู้หญิง ๓๔๖ ท่านพระครู ๓๓๘ ท้ายที่นั่ง – เครื่องนมัสการ ๑๑๗, ๑๓๕ ท้ายทอย ๔๕ ท้าว ๓๔๗ ท้าวจาตุมหาราช ๑๔๑ ทำความเคารพ ๗๖ ทำน้ำอภิเษก – พระราชพิธี ๑๕๘ ทำบุญ ๖๐ ทำวัตรค่ำ ๓๔๓ ทำวัตรเช้า ๓๔๓ ทำวัตรเย็น ๓๔๓ ทิวงคต ๒๘, ๗๒, ๒๘๖ ที่ดิน ๓๖๒ ที่นอน ๑๐๗ ที่นั่ง ๓๔๑ ที่นั่งทับ ๔๙ ที่นั่ง,ที่นอน,ที่อยู่ ๓๔๑ ที่พระสุธารส ๑๐๕ ที่สรงพระพักตร์ ๑๐๘ ที่สำหรับนั่งแสดงธรรม ๓๔๑ ที่อยู่อาศัย ๑๔๑, ๓๔๑ ทูล ๗๓ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ๗๓ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย(ของเล็ก)
388 19-up371-416-19 Sep.indd 388
9/19/12 5:27:48 PM
– ขอพระราชทาน ๒๙ ทูลลา ๗๕ เท ๓๕๔ เทพดานพเคราะห์ ๑๕๔ เทวพลี ๑๕๖ เทวรูป ๓๖๓ เทวี – พระอัครราช ๑๓ เทศกาลเข้าพรรษา ๑๕๑ เทศน์, เทศนา ๓๔๓ เท้า ๕๐ เทียน ๑๑๑, ๑๑๒, ๑๔๗ เทียนเข้าพรรษา ๑๕๐ เทียนที่ครอบฝาพระกริ่ง ๑๓๙ เทียนเท่าพระองค์ ๑๓๙ เทียนบูชาเทวดานพเคราะห์ ๑๓๙ เทียนปาฏิโมกข์ ๑๓๙ เทียนพระมหามงคล ๑๓๙ เทียนแพ ๓๖๒ เทียนมงคล ๑๓๙ เทียบเครื่อง ๗๑ แท่ง ๓๖๐ แทงน้ำ ๑๖๘ แท่นเบญพาด ๑๔๐ โทรเลข ๒๗๘ โทษที่เกิดจากการละเมิดสิกขาบท ๓๔๑ ไทยทาน ๓๔๐ ไทยธรรม ๓๔๐
หมวด ธ
ธรรมาสน์ศิลา ๑๓๙ ธารพระกร ๑๑๐ ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๑๙๐, ๒๑๖ ธำมรงค์ ๑๐๔ ธิดา ๔๑ ธูปไม้ระกำ ๑๑๒, ๑๓๓, ๑๓๔, ๑๓๕, ๑๓๖ ธูปหาง ๑๓๔
หมวด น
นขา นพปฎลมหาเศวตฉัตร นมัสการ นวด
๔๘ ๒๑๙ ๓๔๒ ๗๗
นวมที่ปูลาดไว้ ๑๐๗ นวัคคหายุสมธัมม์ ๑๕๔ น่อง ๕๐ น้องของพ่อ ๓๗, ๓๘ น้องชาย ๓๙ น้องนางเธอ – พระเจ้า ๔๐ น้องยาเธอ – พระเจ้า ๓๙, ๒๖๙ น้องสาว ๔๐ นอน, นอนหลับ ๒๔, ๖๖, ๓๔๒ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย (ของใหญ่) ๒๙, ๗๔ น้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ – พิธี ๑๖๕ นั่ง ๖๙ นัด ๓๖๑ ๓๘ น้า นาคา ๑๔๑ นาง ๓๔๕ นางเก้ง ๓๕๕ นางแก้ว ๑๖๕ นางเลิ้ง ๓๕๕ นางสาว ๓๔๕ นางเห็น ๓๕๕ นามาภิไธย – พระ, พระบรม, พระบวร ๘๕, ๒๙๐ นาย ๓๔๕ นารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙ – เรือพระที่นั่ง ๒๖๓ นารายณ์หัตถ์ ๑๑๐ นาลิวัน ๑๕๖ น้าสะใภ้ ๓๘ นาฬิกา ๓๖๒ น้ำจัณฑ์ ๑๐๖ นำช้างต้นอาบน้ำ – พิธี ๑๖๖ น้ำดี ๕๑ น้ำตา ๔๖ น้ำตาลปึก ๓๖๑ น้ำที่คั้นจากผลไม้ ๓๔๑ น้ำเทพมนตร์ ๑๕๙ น้ำนม ๔๘ น้ำในไขข้อ ๕๑ น้ำปรุง ๑๐๘ นำไป ๗๗ น้ำพระเนตร ๔๖ น้ำพระพุทธมนต์ ๑๔๕
389 19-up371-416-19 Sep.indd 389
9/19/12 5:27:48 PM
น้ำมูก น้ำลาย น้ำหนอง น้ำหอม น้ำเหลือง น้ำอบ น้ำอภิเษก นิตยภัตร นิพนธ์ – ทรง, ทรงพระ, ทรงพระราช นิพนธ์ – พระ, พระราช นิมนต์ นิมิตชาย นิมิตหญิง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้ นิ้วเท้า นิ้วนาง นิ้วพระบาท นิ้วพระหัตถ์ นิ้วมือ นิ้วหัวแม่มือ นิเวศน์ – พระ, พระราช นุ่งห่ม
หมวด บ
๕๑ ๕๑ ๕๑ ๑๐๘ ๕๑ ๑๐๘ ๑๕๘ ๑๔๐ ๕๕ ๘๔ ๓๔๒ ๔๙ ๔๙ ๔๘ ๔๘ ๔๘ ๕๐ ๔๘ ๕๐ ๔๘ ๔๘ ๔๘ ๒๔๐ ๓๔๒
บท ๓๖๑ บพิตร ๓๓๘ บพิตรพระราชสมภารเจ้า – สมเด็จบรม ๒๓, ๑๘๔ บพิตรพระราชสมภาร – สมเด็จบรม ๑๘๕ บรมบพิตร ๓๒๘ บรมราชาภิเษก – พระราชพิธี ๑๕๗ บรมวงศานุวงศ์ – พระ ๔๔ บรรจถรณ์ – พระราช ๑๐๗ บรรทม – ทรงพระ ๗๐ บรรพชา ๓๔๒ บรรพบุรุษ ๓๔ บรรพบุรุษ – พระบรมอรรคราช ๓๔ บวชเป็นภิกษุ ๓๔๒ บวชเป็นสามเณร ๓๔๒ บ้วนพระโอษฐ์ ๑๐๕
บอก ๓๐, ๗๓, ๒๘๓ บังคนเบา ๕๒ บังคนหนัก ๕๒ บังคม ๑๑ บังแทรก ๒๑๑ บังสุกุล ๗๓ บังสูรย์ ๒๑๓ บัญชร – พระ ๒๔๔ บัญชา – พระ, พระราช ๗๘, ๒๗๕ บัญชา – มีพระ, มีพระราช ๒๗ บัณฑูร – พระ, พระราช ๗๘, ๒๗๔ บัณฑูร – มีพระ, มีพระราช ๒๖, ๒๗ บันไดแก้ว ๑๔๐ บั้นพระองค์ ๔๙ บ่า ๔๗ บางชีโพ้น ๓๕๕ บางชีหน ๓๕๕ บางนางร้า ๓๕๕ บางอีร้า ๓๕๕ บาท ๓๖๑ บาน ๓๖๑ บ้าน ๓๖๓ บายศรี ๑๕๔ บำเพ็ญกุศล – ทรง ๖๐ บำเพ็ญพระกุศล – ทรง ๖๐ บำเพ็ญพระราชกุศล – ทรง ๖๐ บำเพ็ญพระราชกุศลเสมอด้วย รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง – พระราชพิธี ๑๖๒ บำเพ็ญพระราชกุศล – พระราชพิธี ๑๖๒ บิดา – สมเด็จพระบรมราช ๓๗ บุหรี่ ๓๖๐, ๓๖๒ บุรพการี,บูรพการี – พระบรมราช, สมเด็จพระบรมราช ๑๔๙ เบญจครรภ – พระเต้า ๑๒๙, ๑๔๐ เบญจราชกกุธภัณฑ์ ๑๘๗, ๒๑๕ เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช ๑๖๖ ใบตองที่ม้วนพับไว้เป็นแหนบ ๓๖๓ ใบพลูที่ซ้อนกัน ๓๖๒ ใบมะตูม ๑๒๖ ใบหู ๔๗
390 19-up371-416-19 Sep.indd 390
9/19/12 5:27:48 PM
หมวด ป
ปฏิสันถาร ๕๓ ปฐมเทศนา ๑๕๑ ปนัดดา – พระ ๔๒ ปโยธร – พระ ๔๘ ปรนนิบัติ ๗๗ ปรมาภิไธย – พระ ๘๕ ประกาศเทวดา ๑๔๐ ประกาศพระราชพิธี ๑๔๑ ประกาศสังเวยเทวดา ๑๔๑ ประเคน ๓๔๔ ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม – ทรง ๑๓๘ ประชวร ทรงพระ ๑๓, ๒๔, ๖๕ ประชวรพระยอด ๖๖ ประชวรพระวาโย ๖๖ ประชวรพระโศผะ ๖๖ ประตู ๓๖๑ ประตู (ของพระที่นั่ง และพระตำหนัก) ๒๘๘ ประทม ๒๔ ประทักษิณ ๑๓๗ ประทับ ๒๔ ประทับพักพระอิริยาบถ, ประทับพัก พระราชอิริยาบถ ๖๔ ประทับแรม – เสด็จไป, เสด็จฯไป ๕๘ ประทาน ๕๖ ประเทศราช ๑๖๓ ประเพณีวัง ๑๔๑ ประสงค์ – พระ, พระราช, มีพระ, มีพระราช, ต้องพระ, ต้องพระราช ๕๔, ๘๓ ประสูติ ๒๖, ๗๑, ๒๗๙ ประสูติกาล, ประสูติการ – มีพระ ๖๕ ปรับอาบัติ ๓๔๔ ปรารถนา ๕๔ ปรารถนา – ทรง, ทรงพระราช, พระ, พระราช, มีพระราช ๕๔ ปรารภ ๒๗๖ ปรารภ – ทรง, พระราช, ทรงพระราช กระแสพระราช ๑๓, ๒๗๖ ปรารภ – พระ, พระราช ๑๓ ปราศรัย ๕๓ ปราศรัย – ทรง ๕๓
ปราสาท ๒๔๑ ปราสาท – พระมหา ๑๓ ปลงคิ้ว ๓๔๒ ปลงผม ๓๔๒ ปลงเกศา, ปลงพระเกศา, ปลงเส้นพระเจ้า ๖๘ ปลงหนวด ๓๔๒ ปลงอาบัติ ๓๔๔ ปลาช่อน ๓๕๕ ปลาใบไม้ ๓๕๕ ปลามัจฉะ ๓๕๕ ปลายแขน ๔๘ ปลายาว ๓๕๕ ปลาร้า ๓๕๕ ปลาลิ้นสุนัข ๓๕๕ ปลาลิ้นหมา ๓๕๕ ปลาสลิด ๓๕๕ ปลาหาง ๓๕๕ ปลาหางสด ๓๕๕ ปลาหางแห้ง ๓๕๕ ปลาไหล ๓๕๕ ปลิง ๓๕๔ ปลีกล้วย ๓๕๖ ป่วย ๑๓, ๒๔, ๖๕ ป่วยเป็นลม ๖๖ ปวารณา ๓๔๓ ปอด ๕๐ ปักหักทองขวาง ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๖ ปัจจัย ๓๔๐ ปัดแส้ ๗๗ ปั้น, ปั้นชงน้ำชา ๓๖๑ ปัยกา – สมเด็จพระบรม ๓๔ ปัยกาธิบดี – สมเด็จพระบรม ๓๔ ปัยกาธิราช – สมเด็จพระบรม ๓๔ ปัยยิกา – พระ, สมเด็จพระ, สมเด็จพระบรม, สมเด็จพระบรมราช ๓๕, ๓๖ ปัยยิกาเธอ – สมเด็จพระเจ้าบรม ๓๕ ปัสสาวะ ๕๒ ป้า ๓๘ ปาก ๔๖ ปากกา ๓๖๐ ป้าน ๓๖๑
391 19-up371-416-19 Sep.indd 391
9/19/12 5:27:48 PM
ป่านกลุ่ม ๓๕๘ หมวด ผ ปาริฉัตร,ปาริชาติ ๓๕๕ ผทม ๒๔ ป้าสะใภ้ ๓๘ ผม ๓๕๙ ปิตุจฉา ๓๘ ผม, กระผม (ชาย) ๓๔๘, ๓๔๙, ๓๖๔, ๓๖๕, ๓๖๖, ปิตุลา ๓๘ ๓๖๗, ๓๖๘, ๓๖๙, ๓๗๐ ปิตุลา – สมเด็จพระบรมราช ๓๗ ผล ๓๖๑ ปิตุลาธิราช – สมเด็จพระ ๓๗ ผลนางนูน ๓๕๖ ปิ่นโต ๓๖๐ ผลมูลกา ๓๕๖ ปิ่นปักผม ๑๐๔ ผลมูลละมั่ง ๓๕๖ ปินาสะ – ทรง, พระ ๖๗ ผลอุลิด ๓๕๖ ปี่ ๓๖๓ ผอม ๖๕ ปี่ไฉน ๑๑๘ ผักกระเฉด ๓๕๖ ปึก ๓๖๑ ผักกำ ๓๕๘ ปื้น ๓๖๑ ผักตบ ๓๕๖ ปืน ๑๑๐, ๓๕๘ ผักทอดยอด ๓๕๔ ปุจฉา – พระ, พระราช ๘๑ ผักนางริ้น ๓๕๖ ปู่ ๓๖ ผักบุ้ง ๓๕๖ ปู่ทวด ๓๔ ผักปลาบ ๓๕๖ ปูที่นอน ๗๐ ผักไผ่ ๓๕๖ เปตามหัยกา,เปตามไหยกา – พระ ๓๔ ผักรู้นอน ๓๕๖ เปตามหัยยิกา,เปตามไหยิกา – พระ ๓๖ ผักสามหาว ๓๕๖ เป็นฝี ๖๖ ผักไห่ ๓๕๐ เปล ๑๐๘ ผักอี้ริ้น ๓๕๖ เปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ผ้า ๓๖๒ – พระราชพิธี ๑๔๓ ผ้าขาวม้า ๓๕๘ เปลี่ยนที่ไปอยู่ที่อื่น ๕๘ ผ้าคลุมเตียง ๑๐๗ เปลือกตา ๔๕ ผ้าคลุมบรรทม ๑๐๗ เปลือกหอย ๓๖๑ ผ้าคลุมพระแท่นบรรทม ๑๐๗ เปียผม ๔๕ ผ้าคลุมพระองค์ ๑๐๒ ๑๐๒ แป้งกระแจะ ๑๐๘ ผ้าชุบสรง, ผ้าสรง, ผ้าพระภูษาชุมสรง ๑๐๘ แป้งผัดหน้า ๑๐๘ ผ้าเช็ดตัว ๑๐๙ แปรงทนต์,แปรงพระทนต์ ๗๑ ผ้าเช็ดเท้า ๑๐๙ แปรงฟัน ๗๑ ผ้าเช็ดปาก ๑๐๙ แปรพระราชฐาน – เสด็จ, เสด็จฯ ๕๗ ผ้าเช็ดพระบาท ๑๐๙ โปรด ๒๔, ๖๑ ผ้าเช็ดพระหัตถ์ ผ้ า เช็ ด มื อ ๑๐๙ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้าเฝ้า ๕๖ ๑๐๘ โปรดให้ ๖๑ ผ้าเช็ดหน้า ๑๐๘ โปรดให้เข้าเฝ้า ๕๗ ผ้าซับพระพักตร์ ๑๐๘ ไปเที่ยว ๕๘ ผ้าซับพระองค์ ๑๐๙ ไปยกา – พระ, พระบรม ๓๔ ผ้าซับพระโอษฐ์ ๓๖๐ ไปยิกา – พระ ๓๖ ผ้าไตร
392 19-up371-416-19 Sep.indd 392
9/19/12 5:27:48 PM
ผ้าแถบ ผ้าทรง ผ้าทรงสะพัก ผ้านุ่ง ผ้านุ่งทับกางเกง ผ้านุ่งอาบน้ำ (ชาย) ผ้าปูที่นอน ผ้าฝ้าย ผ้าพันคอ ผ้าพันศอ, ผ้าพันพระศอ ผ้าพันหัว, ผ้าโพกหัว ผ้าโพกพระเศียร ผายลม ผ้าใยมะเดื่อ ผ้าลาดพระที่ ผ้าลาดพระแท่น ผ้าวงศอ, ผ้าวงพระศอ ผ้าสไบ ผ้าสรง ผ้าส่าน (ผ้าขนสัตว์) ผาสุกะ – พระ ผาสุกัฐิ – พระ ผ้าห่ม ผ้าห่มนอน ผ้าหรือกระดาษที่พับไว้ ผ้าไหม ผิวกาย ผิวพระพักตร์ ผิวหนัง ผิวหน้า ผืน ผูก ผู้โล้ชิงช้า เผดียงสงฆ์ เผือก แผง แผ่น ไผ่
หมวด ฝ ฝัก
๓๖๐ ๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๑ ๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๗ ๑๐๑ ๑๐๑ ๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๒ ๖๗ ๑๐๑ ๑๐๗ ๑๐๗ ๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๒ ๔๙ ๕๒ ๑๐๒ ๑๐๗ ๓๖๒ ๑๐๑ ๕๐ ๔๗ ๕๐ ๔๗ ๓๖๑ ๓๖๑ ๑๕๖ ๓๔๒ ๓๖๓ ๓๖๑ ๓๖๑ ๓๕๘
ฝักถั่ว ฝักมะขาม ฝัน ฝา ฝาโถ ฝ่าเท้า ฝ่าพระบาท (น) ฝ่าพระบาท (ส) ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่ามือ ฝี ฝูง เฝ้า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เฝ้าทูลละอองพระบาท แฝก ไฝ
หมวด พ
พงศาวดาร – พระราช พรม พรมทางเดิน พระ พระกร พระกาฬไชยศรี พระเกี้ยว พระเกี้ยวยอด พระแก้วมรกต พระขนน พระขนอง พระขิปสัทโท พระเขนย พระคันฉ่อง พระคชาธาร พระครอบ พระครู พระครูฐานานุกรม พระครูประทวน พระครูสัญญาบัตร พระคุณเจ้า ๓๖๑ พระคุณท่าน
๓๖๑ ๓๖๑ ๖๒ ๓๖๑ ๓๖๑ ๕๐ ๕๐ ๒๓ ๔๘ ๔๘ ๕๒ ๓๖๑ ๕๗, ๗๖ ๗๖ ๗๖ ๓๖๐ ๕๐ ๑๖๒ ๓๖๑ ๑๐๙ ๓๔๕ ๑๓, ๔๗ ๑๕๙ ๑๙๓, ๒๑๙ ๒๑๙ ๑๔๓ ๑๐๗ ๔๙ ๖๗ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๙๗ ๑๒๙ ๓๓๖ ๓๓๘ ๓๓๘ ๓๓๘ ๓๓๘ ๓๓๘
393 19-up371-416-19 Sep.indd 393
9/19/12 5:27:48 PM
พระเครื่องต้น ๑๔ พระจุลมงกุฎ ๒๑๙ พระเจ้า ๔๕, ๖๘ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ – สมเด็จ ๒๖๙ พระเจ้าลูกเธอ ๒๖๙ พระเจ้าลูกยาเธอ ๒๖๙ พระเจ้าวรวงศ์เธอ ๑๐ พระฉาย ๑๐๘ พระชงฆ์ ๕๐ พระชฎา ๕ ยอด ๑๙๒, ๒๑๗ พระชฎากลีบ ๒๑๗ พระชฎาเดินหน ๑๙๒, ๒๑๗ พระชฎาพระกลีบ ๒๑๗ พระชฎามหาชมพู ๒๑๗ พระชนก ๑๓, ๓๗ พระชนนี ๑๓, ๓๗ พระชนมพรรษา ๘๗ พระชนมวาร ๑๓๙ พระชันษา ๘๗ พระชนมายุ ๘๗ พระชังฆัฐิ ๕๒ พระชัตตุ ๔๗ พระชามาดา ๔๔ พระชายา ๑๒, ๔๓ พระชานุ ๔๙ พระเชษฐภาดา, พระเชษฐภาตา ๓๙ พระเชษฐา ๓๙ พระดัชนี ๔๘ พระดำเนิน – ทรง ๕๖ พระดำริ ๘๒ พระดิ่ง ๑๓ พระดุม ๑๐๓ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ ๓๓๘ พระตรา ๑๑๐ พระตำหนัก ๒๓๘, ๒๔๓ พระตะพาบ ๑๐๕ พระตาลุ ๔๖ พระเต้า ๔๘ พระเต้า ๑๐๕ พระเต้าทักษิโณทก ๑๐๕, ๑๔๑ พระเต้าเทวบิฐ ๑๒๙
พระเต้าเบญจครรภ ๑๒๙, ๑๔๐ พระเต้าโมราแดงยอดเกี้ยว ๑๒๙ พระถ้วย ๑๐๕ พระถัน ๔๘ พระทรงเมือง ๑๔๑ พระทรวง ๔๘ พระทวย ๑๐๕ พระทวาร ๒๘๘ พระทัยหาย ๖๘ พระที่นั่งโถง ๒๓๙, ๒๔๒ พระที่นั่งกง ๑๔๘ พระที่นั่งโกง ๒๔๒ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน ๒๔๙ พระที่นั่งภัทรบิฐ ๒๔๘ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ๒๔๙ พระที่นั่งอัฐทิศ ๒๔๗ พระเทวกรรม ๑๖๕ พระแท่น ๑๐๗ พระแท่นบรรทม ๑๐๗ พระแท่นมณฑล ๑๕๘ พระแท่นราชบัลลังก์ ๑๔๐ พระแท่นลงยาราชาวดี ๑๑๒ พระแท่นอาบน้ำในพระราชพิธี ตามลัทธิพราหมณ์ ๑๔๒ พระธมนี ๕๑ พระธรรมกถึก ๑๕๔ พระธรรมเทศนา ๑๓๘ พระธรรมเทศนามงคลวิเศษกถา ๑๕๔ พระโธรน ๑๐๗ พระนขา ๔๘ พระนม ๑๓ พระนลาฏ ๔๕ พระนหารู ๕๑ พระนัดดา ๔๑ พระนัยนะ ๔๕ พระนางเจ้า ๒๗๑ พระนางเธอ ๒๗๑ พระนาภี ๔๙, ๒๘๖ พระนาม ๒๙๐ พระนามาภิไธย ๕๕, ๘๕ พระนาสา ๔๖
394 19-up371-416-19 Sep.indd 394
9/19/12 5:27:48 PM
๕๕, ๘๕ พระนาสิก ๔๖ พระปรมาภิไธย ๖๕ พระเนตร ๔๕ พระประชวร – ทรง ๒๖๙ พระเนตรขาว ๔๕ พระประพันธวงศ์เธอ ๘๔ พระเนตรดารา ๔๕ พระประสงค์ ๔๙ พระเนตรดำ ๔๕ พระปรัศว์ พระบรมฉายาลักษณ์ ๒๘๘ พระปราง ๔๖ พระบรมญาติ ๑๓ พระปราษณี ๕๐ ๔๙ พระบรมเดชานุภาพ ๑๒ พระปฤษฎางค์ พระบรมทนต์ ๑๓ พระปัณหิ ๕๐ พระบรมนามาภิไธย ๑๒, ๑๓, ๘๕, ๒๙๐ พระปัปผาสะ ๕๐ พระบรมโพธิสมภาร ๑๒ พระปัยกา ๓๔ ๕๒ พระบรมมหัยกา ๑๒ พระปัสสาสะ พระบรมมหาชนก ๑๒ พระปาติโมกข์ ๓๔๓ พระบรมมหาราชวัง ๒๓๕ พระปาทัฐิ ๕๒ พระบรมราชชนนี ๑๒ พระปิฐิกัณฐกัฐิ ๕๒ พระบรมราชบูรพการี – สมเด็จ ๑๕๖, ๑๕๘, ๑๖๑ พระปิตตะ ๕๑ พระบรมวงศ์ ๒๒ พระปินาสะ – ทรง ๖๗ พระบรมราชโองการ ๑๒, ๗๘ พระปิหกะ ๕๐ พระบรมราชานุเคราะห์ ๑๒, ๘๓ พระปีฬกะ ๕๐ พระบรมราชานุสรณ์ ๑๒ พระเปรียญ ๓๓๖ พระบรมราชานุสาวรีย์ ๑๒, ๒๘๙ พระพรชัยมงคล ๑๕๓ พระบรมราชาภิเษก ๑๒ พระพักตร์ ๔๗ พระบรมราชินี ๑๒ พระพาหัฐิ ๕๒ พระบรมราชูปถัมภ์ ๑๒, ๘๒ พระพาหา, พระพาหุ ๔๗ พระบรมราโชวาท ๑๒, ๗๙ พระพิธีธรรม ๑๓๑ พระบรมวงศ์ ๒๒, ๔๔, ๑๓๑ พระพี่เลี้ยง ๑๓ พระบรมวงศานุวงศ์ ๒๒, ๔๔, ๑๕๔ พระพุทธชินสีห์ ๑๕๑ พระบรมศพ ๑๓ พระพุทธเทวปฏิมากร ๑๕๒ พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ ๓๔ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ๑๑๒ พระบรมอัฐิ ๑๓ พระพุทธปฏิมาชัยหลังช้าง ๒๖๐ พระบรมโอรสาธิราช ๑๓ พระพุทธมนต์ – น้ำ ๑๒๙, ๑๔๕ พระบังคน ๑๓ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ๑๔๓, ๑๕๑, ๑๕๔ พระบาท ๕๐ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ๑๔๕, ๑๔๘ พระบารมี ๑๕๗ พระพุทธรูป ๓๖๓ พระบิดร, พระบิดา ๓๗ พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ๑๕๔ พระบุตร ๔๐ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา ๑๔๑, ๑๕๓ พระบุตรี ๔๑ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ๑๔๑, ๑๕๓ พระบุพโพ ๕๑ พระพุทธรูปประจำวันเกิด ๑๔๑ พระบุษปะ ๕๑ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ๑๔๕, ๑๔๘ พระเบญจปฎลเศวตฉัตร ๑๙๘, ๒๒๐ พระเพลา ๔๙ พระปฏิสันถาร – ทรง, มี ๕๓ พระภมู ๔๕
395 19-up371-416-19 Sep.indd 395
9/19/12 5:27:48 PM
พระภิกษุ ๓๒๙, ๓๓๓, ๓๔๑ พระภิกษุนาคหลวง ๑๕๐ พระมหากรุณา ๑๓ พระมหากรุณาธิคุณ ๑๓ พระมหากษัตริย์ ๑๕๐, ๑๕๒ พระมหาปราสาท ๑๓ พระมหามงกุฎ ๑๓ พระมหามงคล ๑๓ พระมหามณเฑียร ๑๓ พระมหาสังข์ ๑๒๕ พระมหาสังข์เดิม ๑๒๕ พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ ๑๒๕ พระมหาสังวาล ๑๓ พระมหาเศวตฉัตร ๒๑๕ พระมหาอุณาโลม ๑๓ พระมเหสี ๔๓, ๒๗๑, ๒๗๒, ๒๗๓ พระมเหสีรอง ๒๗๑, ๒๗๒ พระมเหสีเอก ๒๗๑, ๒๗๒ พระมังสา ๕๐ พระมังสี ๑๐๕ พระมัชฌิมา ๔๘ พระมัตถลุงค์ ๕๑ พระมัสสุ ๔๖ พระมาตุลา ๑๓, ๓๘ พระมาลาเบี่ยง ๑๙๓, ๒๑๘ พระมาลาเส้าสะเทิน ๑๓๙, ๒๑๘ พระมาลาเส้าสูง ๑๙๓, ๒๑๘ พระมุฐิ ๔๘ พระยา ๓๔๕ พระยาแรกนา ๑๕๐ พระยี่ภู่ ๑๓,๑๐๗ พระรัตนตรัย ๑๔๐, ๑๔๒, ๑๔๓, ๑๔๔ พระรากขวัญ ๔๗ พระราชกระแส ๗๙, ๒๗๑ พระราชกุศล ๑๐๗ พระราชชายา ๑๒, ๔๓, ๒๗๓ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ๒๗๓ พระราชดำรัส ๗๙, ๒๗๕ พระราชดำรัสตอบ ๑๔๗ พระราชดำริ ๕๑ พระราชทรัพย์สำหรับใช้สอยส่วนพระองค์ ๑๐๗
พระราชทาน ๒๗, ๒๘ พระราชนิพนธ์ ๕๓ พระราชนิยม ๑๔๙ พระราชนิเวศน์ ๒๔๐ พระราชบิดา ๓๗ พระราชปฏิสันถาร ๕๑ พระราชประสงค์ ๘๔ พระราชปรารถนา ๕๒ พระราชปรารภ ๒๗๖ พระราชพิธีจร ๑๓๖, ๑๔๙ พระราชพิธีประจำ ๑๓๖, ๑๓๘ พระราชพิธีและการพระราชกุศล ๑๑๒, ๑๔๒ พระราชภคินี ๑๓ พระราชมารดา ๓๗ พระราชลัญจกร ๑๕๐ พระราชวงศ์ ๑๔๑, ๑๔๘,๑๕๔, ๑๕๙ พระราชวัง ๑๔๘, ๑๕๙ พระราชวังสนามจันทร์ ๒๔๐ พระราชสมภพ – เสด็จ, ทรง ๗๐, ๒๗๘ พระราชสมภารเจ้า ๓๓๒ พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม ๓๒๕ พระราชอำนาจ ๑๓ พระราชอุทิศ ๑๓ พระราชาคณะ ๓๓๑ พระราชาคณะ – สมเด็จ ๑๓๐, ๑๓๔, ๑๔๓, ๑๔๖ พระราชานุเคราะห์ ๑๔ พระราชูทิศ ๑๔ พระราโชวาท ๑๒, ๗๕, ๒๗๕ พระราศี ๔๗ พระรูป ๒๘๘ พระโรค ๑๓ พระล่วม ๑๐๙ พระลสิกา ๕๑ พระโลมกัจฉะ ๔๗ พระโลมจักษุ ๔๖ พระโลมนาสิก ๔๖ พระโลมา ๕๐ พระโลหิต ๑๓ พระวรชายา ๑๒, ๔๓ พระวรราชชายา ๑๒, ๔๓, ๒๗๓ พระวรวงศ์เธอ ๒๖๘
396 19-up371-416-19 Sep.indd 396
9/19/12 5:27:48 PM
พระวลัย ๑๐๔ พระวักกะ ๕๐ พระวัตถิ ๔๙ พระเวชยันตราชรถ ๒๖๐ พระเวฐนะ ๑๐๒ พระเวณิ ๔๕ พระแว่นสูรยกานต์ ๑๐๔ พระศก ๔๕ พระศรี ๑๐๕ พระศอ ๔๗ พระเศียร ๔๕ พระสกุน ๔๙ พระสงฆ์ ๓๓๕, ๓๓๖, ๓๓๗, ๓๓๘, ๓๓๙ พระสหาย ๑๓ พระสังฆราช – สมเด็จ ๑๓๕ พระสัมพันธวงศ์เธอ ๒๗๐ พระสัมพุทธพรรณี ๑๔๘ พระสัสสุ ๔๔ พระสัสสุระ, สสุระ ๔๔ พระสาง ๑๐๘ พระสางวงเดือน ๑๐๘ พระสางเสนียด ๑๐๘ พระสิรัฐิ ๔๕ พระสีสกฏาหะ ๔๕ พระสุพรรณบัฏ – พระราชพิธีจารึก ๑๕๘ พระสุหร่าย – ทรง ๑๓๙ พระเสโท ๕๑ พระเสื้อเมือง ๑๔๑, ๑๕๙ พระแสง ๑๑๐ พระแสงกรรไกร ๑๑๐ พระแสงกระสุน ๑๑๐ พระแสงกัสสะ ๑๑๐ พระแสงขรรค์ชัยศรี ๑๘๐ พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๒๒๖ พระแสงดาบ ๑๑๐ พระแสงดาบเชลย ๒๒๖ พระแสงดาบมีเขน ๒๒๖ พระแสงธนู ๒๒๖ พระแสงปนาค ๑๑๐ พระแสงปืน ๑๑๐ พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง ๒๒๖
พระแสงราชศัสตราวุธ ๑๕๖ พระแสงหอก ๑๑๐ พระแสงหอกชัย ๒๒๖ พระแสงหอกเพชรรัตน ๒๒๖ พระแสงอัษฎาวุธ ๑๕๙ พระแส้จามรี ๒๑๕ พระแส้หางช้างเผือก ๒๑๖ พระโสณี ๔๙ พระหทัย ๔๘ พระหนุ ๔๗ พระหนุฐิ ๕๒ พระหลักเมือง ๑๔๑, ๑๕๙ พระหัตถ์ ๔๘ พระหัตถัฐิ ๕๒ พระองค์ ๑๓ พระองคุลี ๔๘ พระองคุลีบัพ ๔๘ พระอนามิกา ๔๘ พระอนุจร ๓๓๖ พระอภิรุม ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๒๒, ๒๒๓ พระอนุวงศ์ ๔๔ พระอสา ๕๐ พระอัครชายา ๑๒, ๒๗๓ พระอัครชายาเธอ ๔๒, ๒๗๓ พระอัครเทวี ๑๓, ๒๗๒ พระอัครมเหสี ๑๓, ๒๗๒ พระอัครราชชายา ๑๓ พระอัครราชเทวี ๑๓, ๒๗๒ พระอังคุฐ ๔๘ พระอังรึง ๑๐๘ พระอังสกุฏ ๔๗ พระอังสัฐิ ๕๒ พระอังสา ๔๗ พระอัฐิ, พระบรมอัฐิ ๕๑ พระอันตคุณ ๕๑ พระอันตะ ๕๐ พระอัยกา ๓๖ พระอัสสาสะ ๕๒ พระอัสสุชล ๔๖ พระอัสสุธารา ๔๖ พระอาจารย์ ๑๓
397 19-up371-416-19 Sep.indd 397
9/19/12 5:27:48 PM
พระราชอิสริยยศ ๑๓๖ พระอุณหิส ๑๐๔ พระอุทร ๔๙, ๒๘๐ พระอุโบสถ ๑๕๐, ๑๕๑ พระอุระ ๔๘ พระอุรัฐิ ๕๒ พระอุหลบ ๕๑ พระอู่ ๑๐๘ พระอูรัฐิ ๕๒ พระอูรุ ๔๙ พระโอษฐ์ ๔๖ พราหมณ์ ๑๕๕ พลอย ๓๖๒ พลเอก ๒๖๗ พลเอกหญิง ๒๖๗ พลีกรรม ๑๕๘ พลู ๓๕๘ พลูกำ ๓๕๘ พลูจีบ ๓๕๙ พลูตับ ๓๖๐ พวง ๓๖๒ พ่อ ๓๗ พ่อตา ๔๔ พ่อสามี ๔๔ พัก ๖๔ พระพักตร์ ๔๗ พักพระอิริยาบถ, พักพระราชอิริยาบถ ๖๔ พังผืด ๕๑ พัชนี – พระ ๑๐๙ พัด ๑๐๙ พัดโบก ๒๑๐ พัดวาลวิชนี ๒๑๕, ๒๑๖ พัน ๓๔๕ พันธุ์ไม้ต่างๆ ๓๖๒ พับ ๓๖๒ พับไว้เป็นแหนบ ๓๖๓ พิธีแต่งงาน ๑๕๗ พานทองสองชั้น – เครื่องนมัสการ ๑๑๒, ๑๑๔ พานปากกระจับ ๑๑๒ พานพระขันหมาก ๑๐๙ พานพระศรี ๑๐๙
พานรองสังข์ ๑๐๕ พานหมาก ๑๐๙ พานหมากของพระมหากษัตริย์ ๑๐๙ พานหมากเสวย ๑๐๙ พาย ๓๖๓ พาหุรัด ๑๐๔ พิธีกฐินกรรม ๑๓๙ พิมเสน ๓๕๘ พิโรธ – ทรง, ทรงพระ ๖๒ พี่ชาย ๓๙ พี่นางเธอ – พระเจ้า, สมเด็จพระเจ้า ๔๐, ๒๖๙ พี่ยาเธอ – พระเจ้า, สมเด็จพระเจ้า ๓๙, ๒๖๙ พี่สาว ๔๐ พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ – พระราชพิธี ๑๔๒, ๑๕๐ พุดตานกาญจนสิงหาสน์ – พระที่นั่ง ๒๓๖ พุทธเจดียสถาน ๑๕๘ พุทธศาสนูปถัมภก ๑๕๓, ๑๙๙ พุ่มข้าวตอก ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๒๙,๑๓๐, ๑๓๑, ๑๓๖ พุ่มงา ๑๓๖ พุ่มดอกไม้ ๑๑๒, ๑๓๓, ๑๓๔ พุ่มดอกไม้สด ๑๓๖ พุ่มถั่ว ๑๓๖ พุ่มหญ้าแพรก ๑๓๖ พู ๓๖๒ พูด ๕๓ พูทุเรียน ๓๖๒ เพชร ๓๖๒ เพชรน้อย – พระมาลา ๒๑๙ เพชรใหญ่ – พระมาลา ๒๑๘, ๒๑๙ เพดานปาก ๔๖ เพดานพระโอษฐ์ ๔๖ เพลง ๓๖๑ เพลงที่แต่ง ๘๔ แพ, แพซุง ๓๖๒ แพรแถบ ๓๖๐ โพงพาง ๓๖๑ โพธิสมภาร – พระบรม ๑๒
หมวด ฟ ฟอง
๓๖๒
398 19-up371-416-19 Sep.indd 398
9/19/12 5:27:48 PM
ฟ่อน ฟักทอง, ฟักเหลือง ฟังเทศน์, ฟังธรรม ฟัน ฟืน ฟูก
หมวด ภ
ภคินี – พระ ภัตตาหาร ภัสดา – พระ ภาคิไนย – พระ ภาชนะบรรจุสีผึ้ง ภาชนะใส่เครื่องล้างหน้า ภาติกา – พระ ภาติยะ – พระ ภาพถ่าย, ภาพวาด ภิกษุผู้ปกครองวัด ภูพานราชนิเวศน์ – พระตำหนัก ภูพิงราชนิเวศน์ – พระตำหนัก ภูษา – พระ ภูษาชุบสรง – พระ ภูษาทรง ภูษาสนับเพลา – พระ
หมวด ม
๓๖๒ ๓๕๖ ๖๐, ๑๓๔ ๔๖, ๓๖๖ ๓๖๐ ๑๐๗ ๔๐ ๓๔๑ ๔๒ ๔๑ ๓๖๐ ๑๐๘ ๔๒ ๔๒ ๓๖๒ ๓๔๑ ๒๔๐ ๒๔๐ ๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๑ ๑๐๑
มงกุฎ – พระมหา ๑๓, ๑๐๔ มงคล – พระมหา ๑๓ มณฑปพระกระยาสนาน ๒๘, ๑๓๗, ๑๕๒ มณฑปรัตนกรัณฑ์ – พระ ๑๐๕ มณฑปเล็ก – ตลับพระ ๑๐๙ มณเฑียร – พระมหา, พระราช ๑๓, ๒๔๑ มดลูก ๔๙ มรณภาพ ๓๔๒ มวน ๓๖๒ ม้วน ๓๖๒ มวยผม ๔๕ มหัยกา – พระบรม ๑๒ มหากรุณา – พระ ๒๘๓ มหากรุณาธิคุณ – พระ ๒๘๒ มหากษัตริย์ – พระ, สมเด็จพระ ๑๒, ๑๓๗, ๑๓๘,
๑๓๙, ๑๔๒, ๑๕๐, ๑๕๒
มหาบพิตร ๓๓๘ มหาปัยกาธิบดี – สมเด็จพระ ๓๔ มหาปัยยิกาเธอ – สมเด็จพระราช ๓๕ มหาพิชัยราชรถ – พระ ๒๔๖, ๒๕๕, ๒๕๙ มหาพิชัยมงกุฎ – พระ ๒๑๕ มหาเศวตฉัตร – พระ ๒๑๕ มหาสมณสาส์น – พระ ๒๗๗ มหาสังข์เดิม – พระ ๑๒๕ มหาสังข์ทักษิณาวัฏ – พระ ๑๒๕ มหาสังวาล – พระ ๑๐๔ มหาเสวกเอก ๓๔๘ มหาอำมาตย์ ๓๔๔ มเหสี – พระ ๔๓, ๒๗๑, ๒๗๒, ๒๗๓ มโหระทึก ๑๒๔, ๑๓๖, ๑๓๗ มอง ๒๔, ๖๐ มอบหมายให้ ๕๘ มัด ๓๖๒ มัน ๓๖๓ มันสมอง ๕๑ ม้าแก้ว ๑๖๕ มาฆบูชา – พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศล ๑๔๖ ม้าต้น ๒๖๖ มาตามหัยกา – พระ, พระบรมราช ๓๕ มาตามหัยยิกา – พระ ๓๖ มาตามไหยกา – พระ ๓๔ มาตามไหยิกา – พระ ๓๖ มาตุจฉา – พระ ๓๘ มาตุลา – พระ ๓๘ มาตุลานี – พระ ๓๘ ม่าน ๒๖๒ ม่านตา ๔๖ ม่านพระเนตร ๔๖ ม้าม ๕๐ ๓๗ มารดา – พระ, มารดร – พระ มารดา – จอม, เจ้าจอม, เจ้าคุณจอม ๑๒, ๔๓, ๒๗๓ มีพระประสูติการ ๖๕ มีพระประสูติกาล ๖๕ มีพระราชหฤทัยระลึกถึง ๕๖ มีด ๓๖๓
399 19-up371-416-19 Sep.indd 399
9/19/12 5:27:48 PM
มีดโกน มีดใช้บนโต๊ะอาหาร มือ มุข (ส่วนของพระที่นั่งซึ่งยื่นออกไป สำหรับประทับว่าราชการ), มุขเด็จ มุ้ง มุ้ย – เถา มุสิกะ มูล มูลดิน มูลพระชิวหา มูลพระนขา มูลพระนาสิก มูลพระเสโท มูลสถานบรมอาสน์ – พระที่นั่ง เม็ด เมล็ด เมาฬี – พระ เมืองออก แม่ แม่ยาย แม่สามี โมฬี – พระ ไม่เจ็บป่วย ไม้ ไม้กลัด ไม้เกาหลัง ไม้ขีดไฟ ไม้แคะหู ไม้จิ้มฟัน ไม้เท้า ไม้ไผ่
หมวด ย
ยก ยกของกิน ยกนะ – พระ ยวง ยวงขนุน ยศเจ้าต่างกรมชั้นสูง – พระ ยศทางทหาร – พระ ยศฝ่ายพลเรือน
๑๑๐ ยอด – พระ ๑๐๕ ยอดพระถัน ๔๘ ยักษ์ ยักษ์กุมภรรณ ๒๘๗ ย่า ๓๖๓ ยาแก้โรคต่างๆ ๓๕๕ ยาถ่าย ๓๕๖ ย่าทวด ๓๕๖ ยานพาหนะสำหรับสมเด็จพระสังฆราช ๓๕๖ และหม่อมเจ้า ๔๗ ยานพาหนะสำหรับหม่อมเจ้าและ ๕๑ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไป ๕๑ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพระองค์ ๕๑ ยานพาหนะสำหรับองคมนตรี ๒๔๒ ยานมาศ – พระ ๓๖๒ ยานมาศสามลำคาน – พระ ๓๖๒ ยาย ๔๕ ยายทวด ๑๖๓ ย้ายที่อยู่ชั่วคราว ๓๗ ยาระบาย ๔๔ ยารักษาโรค ๔๔ ยาเส้น ๔๕ ยาเส้นสำหรับสูบด้วยกล้อง ๖๓ ยิ้ม ๓๖๒ ยิ้มเห็นไรฟัน ๓๖๓ ยี่ภู่ – พระ ๑๑๐ ยืนชิงช้า ๓๕๘ ยืน – ทรง ๑๐๙ ยืนแท่น ๑๐๙ ยืนโรง ๑๑๐ ยุพราช – สมเด็จพระ ๓๖๓ เยื่อเคย แย้มพระสรวล ๓๖๒ แย้มพระโอษฐ์ ๗๒ แย้มสรวล ๕๐ โยนี – พระ ๓๖๒ โยม ๓๖๒ ๒๗๐ หมวด ร ๒๖๗ รก ๓๔๔ รถ
๕๒ ๔๘ ๓๖๐ ๑๔๑ ๓๖ ๓๕๘ ๑๐๙ ๓๕, ๓๖ ๒๖๓ ๒๖๓ ๒๖๓ ๒๔๕ ๒๔๕ ๓๖, ๓๗ ๓๕, ๓๖ ๕๘ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๐๙ ๖๑ ๖๑ ๑๐๗ ๑๕๕ ๖๙ ๑๔๒ ๑๔๒ ๔๐ ๓๕๖ ๖๑ ๖๑ ๖๑ ๔๙ ๓๔๐ ๔๙ ๓๕๙
400 19-up371-416-19 Sep.indd 400
9/19/12 5:27:48 PM
รถไฟ – ที่นั่ง, พระที่นั่ง ๒๖๓ รถยนต์ – ที่นั่ง, พระที่นั่ง ๑๔, ๒๖๓ รถยนต์ – ประเทียบ, พระประเทียบ ๑๔, ๒๖๓ รถยนต์หลวง ๒๖๓ รถหลวง ๑๔ ร่ม ๓๕๙ รวง ๓๖๒ ร่วมทำกิจของสงฆ์ภายในพัทธสีมา ๓๔๓ ร่วมสังฆกรรม ๓๔๓ รองเท้า ๑๐๒ รองบาท ๑๐๒ รองพระบาท ๑๐๒ ร้องไห้ ๖๒ รองอำมาตย์ (เอก โท ตรี) ๓๔๔ ระนาด ๓๖๒ ระลึกถึง ๕๖ ระลึกถึง – ทรง ๕๖ รัก ๖๑ รักแร้ ๔๗ รัชดาภิเษก (รัชฎาภิเษก) – พระราชพิธี ๑๖๒ รัชพรรษา ๑๖๒ รัชมงคล – พระราชพิธี ๑๖๒ รัชมังคลาภิเษก – พระราชพิธี ๑๖๓ รัดประคต ๓๖๓ รัดพระองค์ ๑๐๔ รัตกัมพล – พระ ๑๐๒ รัตนกรัณฑ์ – พระ ๑๐๙ รัตนวราวุธ – พระธำมรงค์ ๑๓๐, ๑๖๐ รัตนะ ๑๖๕ รับเชิญ ๓๔๓ รับนิมนต์ ๓๔๓ รับบิณฑบาต ๓๔๓ รับพระราชทานฉัน ๑๕๕ รับและสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ – พระราชพิธี ๑๕๗, ๑๖๔ รับศีล ๖๐ รับสั่ง ๕๓, ๗๕, ๒๗๕ รับสั่งปรารภ ๒๗๗ รับสั่งให้เข้าเฝ้า, รับสั่งให้หา ๕๗ รับเสด็จ ๕๘, ๑๔๗, ๑๔๘ รัว ๓๖๓
รากดิน ๓๕๖ ราชชนนี – พระ, สมเด็จพระ ๓๗ ราชชายา – พระ ๔๓, ๒๗๓ ราชทินนาม ๓๔๗ ราชเทวี – พระ ๒๗๒ ราชเทวี – พระ, สมเด็จพระบรม ๔๒ ราชธิดา – พระ ๔๑ ราชนัดดา – พระ ๔๑ ราชบัญชา – พระ ๒๗๕ ราชบัณฑิต ๑๖๕ ราชบัณฑูร – พระ ๒๗๔ ราชบิดา – สมเด็จพระ, พระ ๓๗ ราชบุตร – พระ ๔๐ ราชบุตรี – พระ ๔๑ ราชปนัดดา – พระ ๔๒ ราชปรารภ – พระ ๒๗๖ ราชปิตุลา – สมเด็จพระ, พระ ๓๘ ราชปิตุลาธิบดี – สมเด็จพระ ๓๗ ราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข – สมเด็จพระ ๓๘ ราชพาหนะ – พระ ๒๔๕, ๒๖๖ ราชมารดา – พระ ๓๗ ราชยาน ๒๔๕ ราชรถ ๒๔๖ ราชรถน้อย ๒๖๐ ราชศิราภรณ์ ๒๑๖ ราชสาส์น – พระ ๘๖, ๒๗๘ ราชเสาวนีย์ – พระ ๗๘, ๒๗๔ ราชหัตถเลขา – พระ ๘๖, ๒๗๗ ราชอนุชา – พระ, สมเด็จพระ ๓๙ ราชอาสน์ – พระ ๑๐๗ ราชโองการ – พระ ๒๗๔ ราชโอรส – พระ ๔๐ ราชานุเคราะห์ – พระ, พระบรม ๑๒, ๗๘, ๒๘๕ ราชานุสาวรีย์ – พระ, พระบรม, พระบวร ๒๘๙ ราชาภิเษก – พระบรม ๑๗ ราชาภิเษกสมรส ๒๙๐ ราชาภิเษกสมรส – พระราชพิธี ๑๕๗ ราชินยานุเคราะห์ – พระ ๘๓ ราชินี – พระ, สมเด็จพระ ๑๒, ๔๒ ราชินี – สมเด็จพระบรม ๔๒, ๑๓๔ ราชินีนาถ – สมเด็จพระบรม ๔๒, ๑๒๙, ๑๔๕, ๑๕๙
401 19-up371-416-19 Sep.indd 401
9/19/12 5:27:49 PM
ราชินูปถัมถ์ – พระบรม ๘๒ ราชูปถัมภ์ – พระบรม ๘๒,๒๘๔ ราชูปโภค – เชิญเครื่อง ๗๗ ราเชนทรยาน – พระที่นั่ง ๒๔๖ ราโชปถัมถ์ – พระบรม ๘๒ ราโชวาท – พระ, พระบรม ๑๒, ๗๕, ๒๗๕ รายงาน ๗๐, ๗๓, ๒๘๔ ราวผ้าซับพระพักตร์ ๑๐๘ ราวพาดผ้าเช็ดหน้า ๑๐๘ รำพึงถึง ๕๖ รู้ ๕๙, ๖๐ รูป ๓๖๒ รูปเขียน – พระบรม, พระบวร ๒๘๘, ๒๘๙ รูปเขียน, รูปถ่าย, รูปปั้น, รูปหล่อ ๒๘๘, ๒๘๙ รูปถ่าย – พระบรม, พระบวร ๒๘๘ รูปปั้น – พระบรม, พระบวร ๒๘๙ รูปหล่อ – พระบรม, พระบวร ๒๘๙ รู้สึกเป็นพระกรุณาคุณ, พระกรุณาธิคุณ, พระมหากรุณาธิคุณ ๒๘๒, ๒๘๔ เรอ ๖๗ เรียง ๓๖๒ เรียนพระปฏิบัติ, พระราชปฏิบัติ ๒๗๒ เรียนหนังสือ ๕๕ เรือหลวง, เรือ ๓๖๓ เรือกัญญา ๒๖๒ เรือน, เรือนแพ ๓๖๓ เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ๒๖๓ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ๒๖๒ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ๒๖๓ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ๒๖๒ เรือยนต์ – ที่นั่ง, พระที่นั่ง ๒๖๓ เรือยนต์ประเทียบ, พระประเทียบ ๒๖๓ แร้ง ๓๕๓ โรคกลาก ๓๕๖ โรคเกลื้อน ๓๕๖ โรคเรื้อน ๓๕๖ โรง ๓๖๒ โรงช้างต้น ๑๔๒, ๑๖๕ โรงพระราชพิธี ๑๖๖, ๑๖๕ โรงเรียน ๓๖๒ ไร่ ๓๖๒
ไรจุก, ไรผม, ไรพระเกศ, ไรพระเกศา, ไรพระศก ๔๕ ไรพระทนต์, ไรฟัน ๔๖
หมวด ล
ลงชื่อ ๕๕, ๕๖ ลงพระนาม ๕๖ ลงอุโบสถ ๓๔๓ ลม ๕๒ ล้ม ๓๕๑ ลวดขด ๓๕๘ ลหุกาบัติ ๓๔๔ ละคร ๓๖๒ ละเมิดสิกขาบท ๓๔๑ ลักษณนาม ๓๕๘ ลัญจกร – พระราช ๑๓, ๑๕๘ ลา ๗๕, ๓๖๓ ลา (ใช้แก่ภิกษุที่นับถือ) ๓๔๓ ล้าง ๒๔ ล้างเท้า ๗๑ ล้างมือ ๗๑ ล้างหน้า ๗๑ ลาดพระที่ ๗๐ ลาดพระแท่น ๗๐ ลาดพระบาท ๑๐๙ ลายพระหัตถ์, ลายพระราชหัตถ์ ๘๒, ๒๗๒ ลายมือ ๘๖ ลายมือ (ที่เขียนเป็นตัวอักษร) ๒๗๘ ลาสิกขา ๓๔๓ ลำ ๓๖๓ ลำคอ ๔๗ ลำต้นของไม้เลื้อย ๓๖๐ ลำพระศอ ๔๗ ลำไส้ทบ, เล็ก, ใหญ่ ๕๑ ลิขิต ๓๔๐ ลิ้น ๔๗ ลิ้นไก่ ๔๗ ลุง ๓๘ ลูก (ใช้เรียกลูกไม้ทั้งปวง) ๓๕๖ ลูกกระเดือก ๔๗ ลูกกระสุน ๑๑๐ ลูกขี้กา ๓๕๖ ลูกเขย ๔๔
402 19-up371-416-19 Sep.indd 402
9/19/12 5:27:49 PM
ลูกคิด ลูกชาย ลูกดุม ลูกตะลิงปลิง ลูกแตงโม ลูกสะใภ้ ลูกสาว ลูกสาวพระมหากษัตริย์ ลูกหลวง ลูกอีนูน เล็บ เล่ม เลา เลี้ยงพระ เลือดประจำเดือน เลื่อย แล โล้ชิงช้า – พิธี
หมวด ว
๓๖๒ ๔๐,๔๑ ๑๐๓ ๓๕๖ ๓๕๖ ๔๔ ๔๑, ๔๔ ๔๑, ๔๔, ๒๖๙ ๑๔, ๔๑ ๓๕๖ ๔๘ ๓๖๓ ๓๖๓ ๓๔๓ ๕๑ ๓๖๑ ๒๔ ๑๕๕
วง ๓๖๓ วงการพนัน ๓๖๓ วงเล่นตระกร้อ ๓๖๓ วัง ๒๔๑ วรชายา – พระ ๔๓ วรราชชายา – พระ ๔๓, ๒๗๓ วรราชชายาเธอ – พระ ๒๗๓ วรราชเทวี – พระ ๒๗๒ วรวงศ์เธอ – พระเจ้า ๒๗๐ วโรกาส – พระ, พระราช, พระบรมราช ๒๘๑ วันเกิด ๘๖, ๘๗, ๒๗๙ วันเข้าพรรษา – พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศล ๑๕๑ วันคล้ายวันเกิด, วันคล้ายวัน ประสูติ, วันคล้ายวันพระราชสมภพ ๒๗๙ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๖, ๒๗๙, ๒๙๓ วันเถลิงศก ๑๔๗ วันทำบุญวันคล้ายวันเกิด ๘๖ วันเนา ๑๔๗ วันประสูติ ๘๗, ๒๗๙ วันพระบรมราชสมภพ ๘๖, ๑๔๕, ๒๗๙ วันพระราชสมภพ ๘๗, ๒๗๙
วันมหาสงกรานต์ ๑๔๗ วันอาสาฬหบูชา - พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศล ๑๕๙ วัว ๓๕๔ วาตะ – ทรงพระ ๖๗ วาโย – พระ ๕๒ วินิจฉัย – พระ, พระราช, พระบรมราช ๘๑, ๘๒ วิสาขบูชา – พระราชพิธีทรง บำเพ็ญพระราชกุศล ๑๔๙ วิสูตร – พระ ๑๐๘ เวียนเทียนสมโภช ๑๓๗ แว่นตา ๑๐๙ แว่นรวมแสงอาทิตย์สำหรับจุดไฟ ๑๐๘ แว่นโลหะขัดเงามีด้ามใช้เป็น กระจกเงา ๑๐๘
หมวด ศ
ศพ – พระ, พระบรม ศร ศร – พระแสง ศรีสัจจปานกาล – พระราชพิธี ศอก ศิลปิน ศิลา ศิราภรณ์ ศิวาลัยไกรลาศ ศิษย์, ศิษย์อุปัชฌาย์ ศีรษะ ศีรษะวานร – เถา
๘๘ ๑๑๐ ๑๑๐ ๑๖๓ ๔๗ ๑๖๕ ๓๕๗ ๑๔๔ ๑๕๙ ๓๔๑ ๔๕ ๓๔๙
หมวด ส
สงกรานต์ – พระราชพิธี ๑๔๖ ส่งเสด็จ ๕๘ สดับปกรณ์ ๑๔๑, ๑๔๒ สดับปกรณ์ผ้าคู่ ๑๔๑ สดับพระธรรมเทศนา ๑๓๘ สตรีโสด ๓๔๗ ส้นเท้า, ส้นพระบาท ๕๐ สนองพระเดชพระคุณ, สนองพระ มหากรุณาธิคุณ ๓๒๕ สนับเข่า, สนับแข้ง, สนับพระชงฆ์ ๑๐๓
403 19-up371-416-19 Sep.indd 403
9/19/12 5:27:49 PM
สนับเข่า, สนับแข้ง, สนับพระชงฆ์ สนับเพลา สบาย สบายใจ สมณศักดิ์ สมณสาส์น – พระ, พระมหา สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จบรมบพิตร – พระราช สมภารภารเจ้า สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าบรมปัยยิกาเธอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – พระบาท สมเด็จพระเจ้าอัยกาเธอ สมเด็จพระเชษฐา สมเด็จพระนางเจ้า สมเด็จพระบรมชนกนาถ สมเด็จพระบรมชนกาธิบดี สมเด็จพระบรมชนกาธิราช สมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระบรมปัยกา สมเด็จพระบรมปัยกาธิราช สมเด็จพระบรมปัยยิกา สมเด็จพระบรมมหาปัยกาธิบดี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระบรมราชเทวี สมเด็จพระบรมราชบิดา สมเด็จพระบรมราชปัยยิกา สมเด็จพระบรมราชปิตุลา สมเด็จพระบรมราชอัยยิกา
19-up371-416-19 Sep.indd 404
๑๐๓ ๑๐๑ ๖๓ ๖๓ ๓๓๕ ๑๖, ๒๗๗ ๓๔๕ ๒๗๖ ๓๓๘ ๔๐ ๓๙ ๓๕ ๙, ๒๖๙ ๔๐, ๒๖๙ ๓๙, ๒๖๙ ๔๐, ๒๗๐ ๔๒, ๒๗๐ ๔๑, ๒๖๙ ๔๐, ๒๖๙ ๔๑ ๒๖๘ ๓๖ ๓๙ ๒๗๑ ๓๗ ๓๗ ๓๗ ๓๙ ๓๙ ๓๔ ๓๔ ๓๕ ๓๔ ๓๗ ๓๗ ๓๗ ๔๒ ๓๗ ๓๕ ๓๗ ๓๖
สมเด็จพระบรมราชินี ๒๗๒ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ๒๗๑ สมเด็จพระบรมอัยกา ๓๖ สมเด็จพระบรมอัยกาธิบดี ๓๖ สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ๓๖ สมเด็จพระบรมอัยยิกา ๓๖ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ๑๘, ๒๒, ๒๖, ๒๖๗ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ๓๔ สมเด็จพระปัยยิกา ๓๕ สมเด็จพระปิตุจฉา ๓๘ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ๓๘ สมเด็จพระปิตุลาธิราช ๓๗ สมเด็จพระมหาปัยกาธิบดี ๓๔ สมเด็จพระมาตุจฉา ๓๘ สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า ๓๘ สมเด็จพระยุพราช ๔๐ สมเด็จพระราชชนนี ๓๗ สมเด็จพระราชบิดา ๓๗ สมเด็จพระราชปิตุจฉา ๓๘ สมเด็จพระราชปิตุลา ๓๘ สมเด็จพระราชปิตุลาธิบดี ๓๗ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข ๓๘ สมเด็จพระราชมหาปัยยิกาเธอ ๓๕ สมเด็จพระราชมาตุจฉา ๓๘ สมเด็จพระราชอนุชา ๓๙ สมเด็จพระราชินี ๒๗๒ สมเด็จพระราชาคณะ ๓๓๕, ๓๓๗ สมเด็จพระสังฆราช ๓๓๕ สมเด็จพระโสธรเชษฐา ๓๙ สมเด็จพระโสธรเชษฐาภาดา ๓๙ สมเด็จพระโสธราเชษฐภคินี ๔๐ สมเด็จพระอนุชา ๓๙ สมเด็จพระอนุชาธิราช ๓๙ สมเด็จพระอัยกา ๓๖ สมเด็จพระอัยยิกา ๓๖ สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ๔๐ สมภาคาภิเษก – พระราชพิธี ๑๕๖, ๑๖๒ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ – พระราชพิธี ๑๔๒ สมโภชเดือน – พระราชพิธี ๑๑๑ สมโภชพระมหาเศวตฉัตร ๑๔๙ สมโภชสิริราชสมบัติฉัตรมงคล ๑๗๙
404 9/19/12 5:27:49 PM
สมโภชสิริราชสมบัติฉัตรมงคล ๑๗๙ สมมุติเทพ ๑๕๗ สรง ๒๔ สรงน้ำ ๗๑, ๓๔๔ สรงน้ำพระศพ, สรงน้ำพระบรมศพ ๑๓๗ สรงพระกระยาสนาน ๗๑ สรงพระพักตร์ ๗๑ สรงพระมูรธาภิเษก, สรงมุรธาภิเษก, สรงมูรธาภิเษก ๗๑, ๑๕๓, ๑๕๙ สร้อยข้อพระหัตถ์, สร้อยข้อมือ ๑๐๔ สร้อยพระศอ, สร้อยคอ ๑๐๔ สร้อยยาวสวมเฉวียงบ่า, สร้อยตัว ๑๐๔ สร้อยอ่อน ๑๐๔ สระผม, สระพระเกศา, สระพระเจ้า ๖๔ สรีรางคาร – พระ ๕๑ สวดมนต์ไหว้พระ ๓๔๓ สวน ที่มีคันดินกั้นเป็นตอนๆ ๓๕๘ สวนหลวง ๑๔ สรวล – ทรง, ทรงพระ ๖๑ ส้วม ๓๔๓ สวรรคต ๗๒, ๒๘๕ สวามี – พระ, พระบรมราช ๔๒ สวิง ๓๖๑ ส้อม ๑๐๕ สะดือ ๔๙ สะใภ้หลวง, สะใภ้หลวงพระราชทาน ๔๔ สะเอว ๔๙ สักการะ ๑๑๒ สั่ง ๕๓ สังข์นคร ๑๒๗ สังข์ – พระมหา ๑๒๕ สังฆราช – พระ, สมเด็จพระ ๓๓๕ สังวาล – พระ, พระมหา ๑๐๔, ๒๒๔, ๒๒๕ สังเวยเทวดา ๑๔๑ สั่งให้เข้าพบ ๕๗ สัญญา ๓๕๙ สัตยาธิษฐาน – พระราช ๑๖๐ สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก ๓๔๑ สันจมูก, สันพระนาสา, สันพระนาสิก ๔๖ สัปตปฎลเศวตฉัตร ๑๙๖, ๑๙๗, ๒๒๐ สัปตรัตนะ ๑๖๙ สาง, สางวงเดือน, สางเสนียด – พระ ๑๐๘
สาทิสลักษณ์ – พระ, พระบรม, พระบวร ๒๘๘, ๒๘๙ สามเณร ๓๓๖ สามี ๔๒ สาย ๓๖๓ สายพระสกุน ๔๙ สายรก ๔๙ สายสร้อย ๓๖๓ สายสูตร ๑๐๘ สาส์น – พระ,พระราช ๑๕, ๘๖, ๒๗๘ สำรับ ๓๖๓ สำรับคาวหวาน ๑๐๕ สำราญพระทัย, สำราญพระราชหฤทัย ๖๓ สำราญพระอิริยาบถ, สำราญพระราชอิริยาบถ ๖๓ สิ้นชีพตักษัย, สิ้นชีพิตักษัย ๗๓, ๒๘๖ สิ้นพระชนม์ ๗๒, ๘๖ สิว ๕๐ สีข้าง ๔๙ สีหบัญชร ๒๘๗ สุกร ๓๕๗ สุจหนี่ – พระ ๑๐๗ สุณิสา – พระ ๔๔ สุธารส – พระ ๑๐๖ สุทไธสวรรย์ปราสาท – พระที่นั่ง ๒๔๑ สุนัข ๓๕๗ สุบินนิมิต – ทรง, ทรงพระ ๖๒ สุบิน – ทรง, พระ ๖๒ สุพรรณบัฏ – พระ ๑๕๘ สุพรรณภาชน์ – พระ ๑๐๕ สุพรรณราช – พระ ๑๐๕ สุพรรณศรี – พระ ๑๐๕ สุพรรณหงส์ – เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ สุวรรณภิงคาร – พระ ๑๐๕ สูตร – พระ ๑๐๘ เสโท – พระ ๕๑ เสกน้ำ ๑๖๔ เสกสมรส ๒๙๐ เสด็จ ๕๗ เสด็จขึ้น ๒๙๖ เสด็จเข้าที่บรรทม ๖๙ เสด็จทิวงคต ๗๒ เสด็จนิวัต ๕๘ เสด็จประพาส ๕๘
405 19-up371-416-19 Sep.indd 405
9/19/12 5:27:49 PM
เสด็จแปรพระราชฐาน ๕๘ เสด็จไปประทับแรม ๕๘ เสด็จพระราชดำเนิน ๕๗, ๒๙๗ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน ๕๗ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ๕๘ เสด็จสวรรคต ๗๒, ๒๘๕ เสด็จออก ๑๔๗ เสด็จออกมหาสมาคม ๑๕๓ เส้น, เส้นประสาท ๕๑ เส้นผม, เส้นพระเกศา, เส้นพระเจ้า ๔๕, ๖๘ เส้นเลือด, เส้นพระโลหิต ๕๑ เสนาธิปัตย์, เสมาธิปัตย์ – พระ ๒๐๑ เสนาสนะ ๓๔๑ เสมหะ ๕๑ เสมาทอง ๑๖๕ เสลด ๕๑ เสวย ๒๔ เสา ๓๖๐ เสาวนีย์ – พระ, พระราช ๗๘, ๒๗๔ เสียม ๓๖๓ เสื่อ ๓๖๑ เสื้อ ๑๐๑ เสื้อทรง ๑๐๑ เสื้อผ้าที่จัดไว้เป็นสำรับ ๓๖๓ แสดงเฉพาะพระพักตร์ หรือแสดงหน้าที่นั่ง ๓๒๕ แสดงธรรม ๓๔๓ โสกันต์ ๑๑๑ โสทรเชษฐภคินี – สมเด็จพระ ๔๐ โสทรเชษฐภาดา – สมเด็จพระ ๓๙ โสทรเชษฐา – สมเด็จพระ ๓๙ ไส้เดือน ๓๕๖ ไส้พุง ๕๑
หมวด ห
หฤทัย, หทัย – พระ หญ้า หนวด หนวดที่คาง หน่อพระพุทธเจ้า – สมเด็จ หนัง หนังตา, หนังพระเนตร
๔๘ ๓๕๘, ๓๖๒ ๔๖ ๔๖ ๔๐ ๓๖๒ ๔๕
หนังสัตว์ ๓๖๑ หนังสือ ๑๕, ๘๔, ๓๕๖ หนังสือคัมภีร์ ๓๕๙ หนังสือที่เย็บเป็นเล่ม ๓๖๓ หนังสือใบลาน ๓๖๑ หนังสือพิมพ์รายวัน ๓๕๙ หน้าต่าง ๒๘๗, ๓๖๑ หน้าต่างของพระตำหนัก, พระที่นั่ง ๒๔๔ หน้าต่าง สำหรับเสด็จออกให้ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสสำคัญ ๒๘๗ หน้าผาก ๔๕ หน้าไม้ ๓๕๙ หนู ๓๕๖ ห่มจีวร ๓๔๓ หมอนหนุน, หมอนข้าง, หมอนอิง ๑๐๗ ๑๐๕ หม้อน้ำทองคำรูปคนโท หม่อม ๔๔ หม่อมฉัน ๒๒ หม่อมราชวงศ์ ๓๔๖, ๓๔๗ หม่อมหลวง ๓๔๖, ๓๔๗ หม่อมห้าม ๔๔ หมา ๓๕๗ หมื่น ๓๔๕ หมู ๓๕๗ หมู่ ๓๖๓ หมู่ตำรวจ ๓๖๓ หลวง ๓๔๕ หลอดเลือด, หลอดพระโลหิต ๕๑ หลอดพระวาโย ๕๑ หลอดลม ๕๑ หลัง ๔๙ หลั่งทักษิโณทก ๑๓๘ หลังเท้า ๕๐ หลังพระชงฆ์ ๕๐ หลังพระเนตร ๔๕ หลังพระบาท ๕๐ หลังมือ, หลังพระหัตถ์ ๔๘ หลานชาย ๔๑, ๔๒ หลานเธอ – พระ, พระเจ้า ๔๑ หลานสาว ๔๑, ๔๒ หลานหลวง ๑๔, ๔๑ หวนคิดถึง ๕๑
406 19-up371-416-19 Sep.indd 406
9/19/12 5:27:49 PM
หวายขด ๓๕๘ หวี, หวีวงเดือน, หวีเสนียด ๑๐๘, ๓๕๗ หอก ๑๑๐ ห้องน้ำ ๓๔๓ หอม ๓๕๙ หอยนางรม, หอยอีรม ๓๕๗ หัตถ์ – พระ ๔๘ หัตถบาส ๓๔๔ หัตถเลขา – พระ, พระราช ๑๓, ๘๒, ๒๘๒ หัว ๔๕, ๓๖๓ หัวเข็มขัด ๑๐๔ หัวใจ ๔๘ หัวนมของผู้ชาย ๔๘ หัวนมของผู้หญิง ๔๘ หัวปลี ๓๕๖ หัวฝี ๕๒ หัวเราะ ๖๑ ห่า ๓๖๓ หายใจ, หายพระทัย ๖๘ หารือข้อปฏิบัติ ๒๗๗ หิน ๓๕๗ หีบหมาก, หีบพระศรี, หีบหมากเสวย ๑๐๙ หุ่น ๓๖๒ หู ๔๗ เหงื่อ ๕๑ เหงือก ๔๖ เห็ดโคน ๓๕๗ เห็ดปลวก ๓๕๗ เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่า ๓๒๕ เหลนชาย, เหลนหญิง ๔๒ เหล้า ๑๐๖, ๓๕๔ แหนบ ๓๖๓ แหนบถอนหนวด ๑๑๐ แหวน ๑๐๔, ๓๕๗ โห่ ๓๖๓ ให้ (ของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้) ๒๙, ๗๔ ให้ (ของที่ยกได้) ๒๙, ๗๔ ให้ ๒๙, ๗๔, ๗๕ ให้พรพิเศษ ๓๔๔ ไหปลาร้า ๔๗ ไหล่ ๔๗ ไหว้ ๗๖, ๓๔๒
หมวด อ
อก ๔๘ องก์ ๓๖๓ องค์ (คน) ๓๖๓ องค์ (สิ่งของ) ๓๖๓ องคาพยพ ๕๑ อนันตนาคราช – เรือพระที่นั่ง ๒๕๘, ๒๖๓ อนิจกรรม ๓๕๑ อนุเคราะห์ – พระ ๘๓ อนุชา – พระ, พระราช, สมเด็จพระ ๓๙ อนุชาธิราช – สมเด็จพระ ๓๙ อนุญาตให้เข้าพบ ๕๖, ๕๗ อนุราชมงกุฎ – พระ ๒๑๘ อนุสาวรีย์ – พระ, พระบรม, พระบวร ๒๘๙, ๒๙๐ อเนกชาติภุชงค์ – เรือพระที่นั่ง ๒๖๒ อภิเษกสมรส ๒๙๐ อมนุษย์ ๓๖๐ อยู่ ๒๔, ๖๙ อยู่กับที่ ๒๔ อยู่งานพระกลด, ถวายพระกลด ๗๗ อยู่งานพระแส้, อยู่งานแส้ ๗๗ อยู่ระหว่างการย้ายที่อยู่ชั่วคราว ๕๘ อ้วน ๖๕ อวัยวะเพศชาย ๔๙ อวัยวะเพศหญิง ๔๙ อสูร ๓๖๐ ออกปาก ๖๑ ออกลูก (สำหรับสัตว์ทั้งปวง) ๓๕๕ ออกโอษฐ์, ออกพระโอษฐ์ ๖๑ อ้อย ๓๖๓ อ้อยแดง ๑๖๕ อักษร – พระ ๑๖ อักษรพระนาม ๘๕ อักษรพระนามาภิไธย ๘๕ อักษรพระปรมาภิไธย ๘๕ อักษรย่อชื่อ ๘๕ อัครชายา – พระ ๒๗๓ อัครชายาเธอ – พระ ๔๒, ๒๗๓ อัครเทวี – พระ ๒๗๒ อัครมเหสี – พระ ๒๗๒ อัครราชเทวี – พระ ๒๗๒ ๕๑ อังคาร – พระ
407
19-up371-416-19 Sep.indd 407
9/19/12 5:27:49 PM
อังคาส ๓๔๓ อัฐบริขาร ๓๔๐ อัฐบาน ๓๔๑ อัณฑะ ๔๙ อันเตวาสิก ๓๔๑ อัยกา – พระ ๓๖ อัยกา – สมเด็จพระบรม ๓๖, ๑๖๒ อัยกาธิราช – สมเด็จพระบรม ๓๖, ๑๖๒ อัยกาเธอ – สมเด็จพระเจ้า ๓๖ อัยกาธิบดี – สมเด็จพระ, สมเด็จพระบรม ๓๖ อัยยิกา – พระ, สมเด็จพระ, สมเด็จพระบรม, สมเด็จพระบรมราช ๓๖, ๓๗ อา,อาว์ – พระ ๓๘ อาการบวม ๖๖ อ่างชำระพระหัตถ์ ๑๐๘ อ่างล้างมือ, อ่างล้างหน้า, อ่างสรง ๑๐๘ อาเจียน ๖๖ อาณาจักร – พระราช ๑๕๗ อาตมภาพ ๓๓๑ อ่านหนังสือ ๕๕ อาบน้ำ ๓๔๔ อาบน้ำช้างต้น ๑๖๖ อาบน้ำในพระราชพิธีตามคติพราหมณ์ ๗๑ อาบน้ำในพระราชพิธีสำคัญ ๗๑ อาบัติ ๓๔๑ อาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท – พระที่นั่ง ๒๔๑ อาพาธ ๓๔๒ อายุ.....ปี ๘๗, ๒๘๐ อายุ ๘๗ อาราธนา ๓๔๒ อาลักษณ์ ๑๖๐ อาวุธต่างๆ ๑๑๐ อาสน์ – พระราช ๑๐๓ อาสน์สงฆ์ ๓๔๑ อาสนะ ๓๔๑ อาสาฬหบูชา – พระราชพิธี ๑๕๑ อาหาร – รับพระราชทาน ๒๕ อาหาร ๑๐๖, ๓๔๑ อาหารคาว ๑๐๖ อาหารเช้า ๓๔๑ อาหารที่จัดไว้เป็นสำรับ ๓๖๓
อาหารเพล ๓๔๑ อาหารว่าง ๑๐๖ อาหารหวาน ๑๐๖ อำนาจ – พระ, พระราช ๑๓ อำมาตย์ (เอก โท ตรี) ๓๔๔ อิฐ ๓๖๑ อิสริยยศ, พระบรมราช ๑๕๗ อีเก้ง ๓๕๕ อีเลิ้ง ๓๕๕ อีเห็น ๓๕๕ อุจจาระ ๕๒ อุณหภูมิของร่างกาย ๕๒ อุณหภูมิพระวรกาย ๕๒ อุณาโลม – พระ, พระมหา ๑๓, ๔๕ อุทิศ – พระราช ๑๓ อุทุมพรพัสตร์ – พระ ๑๐๑ อุโบสถ – พระ ๑๕๘ อุปถัมถ์ – พระ ๘๓ อุปสมบท ๓๔๒ อุปัชฌาย์ ๓๔๐, ๓๔๑ อุปัธยาจารย์ – พระราช ๑๔๔ เอ็นดู ๒๔ เอื้อนโอษฐ์, เอื้อนพระโอษฐ์ ๖๑ โองการแช่งน้ำ ๑๖๘ โองการ – พระราช, พระบรมราช, พระบวรราช ๒๖, ๒๖๙ โองการ – มีพระราช, มีพระบรมราช, มีพระบวรราช ๒๖, ๒๙๑ โอรส – พระ, พระราช ๔๐ โอวาท – พระ ๘๐ โอสถ – พระ ๑๐๙ โอสถประจุ – พระ ๑๐๙ โอสถมวน – พระ ๑๐๙ โอสถปัด – พระ ๑๐๙ โอสถสูบ – พระ ๑๐๙ โอสถเส้น – พระ ๑๐๙ ไอ ๖๖ ไอยกา – พระ ๓๖
หมวด ฮ
เฮลิคอปเตอร์ – ที่นั่ง, พระที่นั่ง 408
19-up371-416-19 Sep.indd 408
๒๖๓
9/19/12 5:27:49 PM
409 19-up371-416-7 Sep.indd 409
9/7/12 9:44:38 PM
410 19-up371-416-7 Sep.indd 410
9/7/12 9:44:40 PM
411 19-up371-416-7 Sep.indd 411
9/7/12 9:44:41 PM
412 19-up371-416-7 Sep.indd 412
9/7/12 9:44:42 PM
413 19-up371-416-7 Sep.indd 413
9/7/12 9:44:44 PM
414 19-up371-416-19 Sep.indd 414
9/19/12 5:36:28 PM
คณะอนุกรรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
อนุกรรมการที่ปรึกษา นายขวัญแก้ว วัชโรทัย
ประธานอนุกรรมการ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ
อนุกรรมการ นายชัชพล ไชยพร นางสาวทรงสรรค์ นิลกำแหง นายประสพโชค อ่อนกอ นางสาวเพลินพิศ กำราญ คุณหญิงรัตนาภรณ์ ฉัตรพงษ์ นางสาวสมลักษณ์ วงศ์งามขำ นางสายไหม จบกลศึก นายสุรินทร์ เงินรูปงาม
อนุกรรมและเลขานุการ นางลินดา อิศรางกูร ณ อยุธยา
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นางสุณี กระจ่างวุฒิชัย นายวรวุฒิ อังประทีป นางสาวนันทนัท นันทกิจ
คณะบรรณาธิการ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ นางสาวทรงสรรค์ นิลกำแพง นายประสพโชค อ่อนกอ นางสาวเพลินพิศ กำราญ คุณหญิงรัตนาภรณ์ ฉัตรพงษ์ นางสาวสมลักษณ์ วงศ์งามขำ นางสายไหม จบกลศึก นายสุรินทร์ เงินรูปงาม นางลินดา อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสุณี กระจ่างวุฒิชัย นายวรวุฒิ อังประทีป นางสาวนันทนัท นันทกิจ
415 19-up371-416-7 Sep.indd 415
9/7/12 9:44:45 PM
ถ่ายภาพ นายพิทยา เกิดทับทิม นายอนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง นายกฤช อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา นายเสวก หลอมทอง นายจักรกฤษณ์ มณีปิตะสุต นายเกียรติกมล จังโส
ขอบคุณ
คณะอนุกรรมการฯ ขอขอบคุณ สำนักพระราชวัง ราชบัณฑิตยสถาน สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำนักวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายรัตนาวุธ วัชโรทัย นายสำรวย สารัตถ์
416 19-up371-416-7 Sep.indd 416
9/7/12 9:44:45 PM