ความเป็นเอกภาพในบทละครเรื่องรามเกียรติ์

Page 1

ความเปนเอกภาพในบทละครเรือ่ งรามเกียรติ์ พระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช มณีปน พรหมสุทธิรักษ ๑ 0

เรื่องพระรามของอินเดียเปนที่รูจักอยางแพรหลายในดินแดนประเทศไทยมากกวาพัน ป ความนิยมเรื่องพระรามปรากฏในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยแขนงตางๆ ตั้งแตสมัยสุโขทัย จนถึงปจจุบัน เชนชื่อตัวละครปรากฏเปนทองที่และพืชพันธุไม อาทิ ถ้ําพระราม หวยองคต สมอพิเภก โรงแรมรามาการเดนท เปนตน มีการวาด การปน เรื่องพระรามประดับตกแตง สถานที่สําคัญ สิ่งของ เครื่องใช มีการแตงเรื่องพระรามหลายรูปแบบและในทุกทองถิ่น ทั้งที่ เปนนิทาน บทละคร บทพากย ทั้งเพื่ออานและเพื่อใชประกอบการแสดงละคร โขน หนัง เรื่อง พระรามเหลานี้ มีความแตกตางจากเรื่องรามายณะภาษาสันสกฤตของวาลมีกิหลายประการ และมีความคลายกับเรื่องพระรามของทองถิ่นตางๆ ของอินเดียมิใชนอย เนื่องดวยการติดตอ กับชาวอินเดียตั้งแตสมัยโบราณ โดยเฉพาะชาวอินเดียใต อยางไรก็ตามในสมัยรัตนโกสินทร เรื่องพระรามฉบับหลวงที่เหลือตกทอดมามีจํานวนไมมาก มีคําพากยรามเกียรติ์ และบทละคร รามเกียรติ์สมัยอยุธยา และบทละครรามเกียรติ์ของสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช เรื่อง พระรามทั้งหมดนี้มีเนื้อความไมสมบูรณ เปนเหตุใหพระบาทสมเด็จพระพุทธยาดฟาจุฬาโลก ผูทรงมีพระราชประสงคที่จะใหกรุงเทพมหานครรุงเรืองเหมือนสมัยอยุธยาโปรดใหพระราชวงศานุวงศและกวีที่สามารถทางกาพยกลอนชวยกันแตงบทมหรสพตางๆ รวมทั้งบทละครในที่ ขาดหายไปใหครบทุกเรื่อง เพื่อไวเปนตนฉบับสําหรับพระนคร มีเรื่องรามเกียรติ์ความยาว ๑๑๖ เลมสมุดไทย เรื่องอุณรุท ๑๘ เลมสมุดไทย เรื่องดาหลัง ๓๒ เลมสมุดไทย และเรื่อง อิเหนา ๓๒ เลมสมุดไทย ดวยความยาวดังนี้บทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชจึงไดชื่อวาเปนเรื่องรามเกียรติ์สํานวนที่ สมบูรณที่สุด

รองศาสตราจารย ดร.มณีปน พรหมสุทธิรักษ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร.


๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธบทละคร รามเกียรติ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔๐ ทรงมีพระราชประสงคที่จะใหกวีผูมีฝมือชวยกันแตงเรื่อง พระรามปราบยักษ ซึ่งเปนเรื่องในไตรดายุคใหมีโวหารเหมือนดังมาลัยรอยกรองอยาง เรียบรอย งดงามไพเราะ เปนดังเครื่องประดับกรรณ เมื่ออานบทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธตลอดทั้งเรื่องจะพบวาสิ่งหนึ่งที่ทําใหบทละครพระราชนิพนฺธเรียบรอย งดงาม คือ ความมีเอกภาพของเรื่องที่มีตลอดสอดคลองตอเนื่องกันตั้งแตตนจนจบเรื่อง เอกภาพของบท ละครพระราชนิพนธเกิดจากการเลือกเรื่องราวจากรามายณะฉบับถิ่นของอินเดียและจาก หนังสือปุราณะตางๆ ที่เลาอยูในดินแดนนี้มาเสริมใหผูอานเห็นเหตุที่มาของเรื่องราวแตละ ตอน เชน กําเนิดตัวละคร ที่มาของอาวุธวิเศษ เปนตน ๑) กําเนิดวงศพระราม : บทละครรามเกียรติ์ เริ่มตนดวยเรื่องหิรันตยักษผูอหังการ เมื่อไดพรจากพระอิศวรก็คิดทําลายโลก ไดมวนแผนดินหนีบใตรักแรพาไปบาดาล บรรดา เทวดาพากันไปขอพรใหพระอิศวรชวย พระอิศวรมีพระบัญชาใหพระนารายรไปชวย พระ นารายณจึงแปลงกายเปนพญาสุกรเผือกมีเขี้ยวเพชรงามไลขวิดทั่วตัวหิรันตยักษจนขาดใจตาย แลวก็ลงไปขวิดเอาโลกมาไวที่เดิม เมื่อปราบยักษแลว พระนารายณทรงครุฑเหาะกลับไป เกษียรสมุทร ไปบรรทมบัลลังกนาควาสุกรี แลวรายมนตรทําใหบังเกิดมีดอกบัวขึ้นในพระอุทร ในดอกบัวนั้นมีพระกุมารงามดังพระพรหมบังเกิดขึ้นดวย พระนารายณอุมพระกุมารนั้นไป ถวายพระอิศวร เลาความเรื่องปราบหิรันตยักษใหทรงทราบ พระอิศวรใหพรวา กุมารนั้นเกิด จากพระนารายณผูทรงฤทธิ์ จะไดเปนตนวงศกษัตริยอันประเสริฐที่จะดับทุกขเข็ญของโลกใน ไตรดายุค แลวใหพระอินทรไปสรางเมืองใหที่ชมพูทวีป ตั้งชื่อพระกุมารวา อโนมาตัน ครอง เมืองอโธยธยา เปนกษัตริยตนวงศพระราม เรื่องพระนารายณปราบหิรันตยักษคือเรื่องพระนารายณอวตารเปนวราหะหรือหมูปา มีเลาในลิงคปุราณะวา หิรัณยากษะมัดโลก ซึ่งมีแสงสวยงามดุจดังนิลุบล นําไปเปนเชลยที่ใต บาดาล พระนารายณอวตารเปนหมูปาใชเขี้ยวโงงฆาหิรัณยากษะ แลวไปชวยนําโลกขึ้นมาจาก บาดาล และวางนางไวบนเพลาขของพระองค ในเรื่องรามายณะไมมีเรื่องพระนารายณอวตาร เปนหมูปา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงเลือกนิทานเรื่องนี้ที่เลาใน


๓ เรื่องนารายณสิบปางมาเปนตนเหตุของการเกิดนิทานเรื่องปทมโยนิ คือเรื่องกําเนิดพระพรหม จากดอกบัวที่เกิดจากพระนาภีของพระนารายณ เรื่องปทมโยนิมีเลาอยูในทั้งมหาภารตะ รามายณะ รวมทั้งปุราณะของพวกไวษณพ ทั้งหมด ในปุราณะของพวกไศวะก็มีเลาไวเหมือนกัน แตใหทั้งพระพรหมและพระนารายณมี ศักดิ์ต่ํากวาพระอิศวร เรื่องปทโยนิที่เลาไวในมหาภารตะมีวา เมื่อโลกสลายไปรวมกับพรหมัน หรือพระวิญญาณสูงสุดแลว ความมืดไดปกคลุมจักรวาลทั่วไป พระนารายณไดบังเกิดเปน ขึ้นมาจากความคิดครั้งปฐมกาลนั้น ทรงบรรทมอยูในน้ํา แลวก็ทรงคิดถึงการสรางจักรวาล ขณะที่กําลังหมกมุนกับความคิดนั้น ไดมีดอกบัวเกิดขึ้นจากพระนาภีของพระองค ในดอกบัว นั้นมีพระพรหมผูสรางปรากฏอยู มีหลักฐานแสดงวาไทยรูเรื่องพระพรหมเกิดจากดอกบัวที่เกิดจากพระนาภีของพระ นารายณในเรื่องนารายณสิบปางฉบับโรงพิมพวัชรินทร มีเรื่องกําเนิดทาวอโนมาตันตางจาก บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ เรื่องมีวา เมื่อพระนารายณปราบเหรันตยักษแลว ก็กลับไป บรรทมที่เกษียรสมุทร ขณะที่บรรทมอยูนั้นก็เกิดมีดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภี เมื่อดอกบัวนั้น บานออก มีพระพรหมนั่งอุมพระกุมารองคหนึ่งอยู คือทาวอโนมาตันตันวงศพระรามนั่นเอง การที่บทละครเรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ ไมกลาวถึงพระพรหมในตอนนี้ไมนาจะ เปนเพราะความไมรูของกวี กวีไดแสดงวารูเรื่องพระพรหมเกิดจากพระนาภีพรนารายณดวย ดังจะเห็นไดจากการบรรยายตอนกําเนิดทาวอโนมาตันวา “มีพระกุมารโฉมยง อยูในหวงดวง โกเมศ ดังพรหมเรืองเดชครรไลหงส” การตัดพระพรหมในความนี้ออกนาจะเพื่อยกยองวงศ ของพระรามวาสืบเชื้อสายมาจากพระนารายณโดยตรง ไมมีความเกี่ยวของใดๆ กับพระพรหม ซึ่งเปนตนวงศของทศกัณฐ ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ วงศของทศกัณฐมีชื่อวา วงศพรหม/ พงศพรหม เนื่องจากสืบมาจากทาวสหบดีพรหมที่ลงจากวิมานแกวมาสรางกรุงลงกา แลวให พรหมธาดาครอง ประทานนามใหวาทาวจตุรพักตร ทาวจตุรพักตรมีโอรสชื่อลัสเตียนเปนบิดา ของทศกัณฐ


๔ ๒) ที่มาของฉัตรแกวโมลี : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อสหบดีพรหมลงจาก สวรรคมาสรางกรุงลงกาบนเนินเขานิลกาลา กลางทวีปรังกาและมอบใหธาดาพรหมครอง และ ใหนามวาทาวจตุรพักตร แลวมอบอาวุธและฉัตรแกวโมลีพรอมมนตรกํากับไวปองกันเมืองจาก ศัตรู ถายกฉัตรขึ้นกลางเมืองจะบังแสงดวงอาทิตย ศัตรูจะมองไมเห็นเมือง แตฝายในเมืองจะ แลเห็นศัตรูทั้งหมด ตอเมื่อพระรามยกทัพขามสมุทรมาประชิดลงกา และใหองคตเปนทูตมา สื่อสาร องคตกลาหาญและสามารถมาก ฆาเสนาของทศกัณฐไดถึงสี่ตน ทําใหทศกัณฐทั้งแคน ทั้งอายจึงใหยกฉัตรแกวขึ้น เมื่อกองทัพพระรามมองเห็นแตความมืด สุครีพไดขออาสาไป ทําลายฉัตรแกว สุครีพหักฉัตรได และยังเอาเทาขวาคีบมงกุฎทศกัณฐมาถวายพระรามได ๓) พระอิศวรประทานพรมาลีวัคคพรหมใหมีวาจาสิทธิ์ : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ มาลีวัคคพรหมแมรวมวงศพรหมกับจตุรพักตรแตมีใจใฝทางธรรม ไดไปขอใหพระอิศวร ประทานพระขรรคอันมีฤทธิ์ใหทาวอัชบาลพระอัยกาของพระราม เพื่อใหคอยชวยโลกที่ถูก อสุรพักตรรุกราน ตอมาอสุรพักตรที่ไดรับประทานคทาจากพระอิศวรไดรุกรานไปทั่ว เทวดา ไดมาขอใหพระอิศวรชวย พระอิศวรไดใหทาวอัชบาลไปปราบอสุรพักตร และปราบไดสําเร็จ ทาวอัชบาลและมาลีวัคคพรหมไดกลายเปนเพื่อตายกัน พระอิศวรไดประทานพรใหมาลีวัคค พรหมมีวาจาสิทธิ์ตามที่ขอ และประทานนามใหใหมวา มาลีวราช ตอมาเมื่อทศกัณฐทราบวา สหายชื่อสัทธาสูรและนัดดาชื่อวิรุญจําบังถูกหนุมานสังหารในสนามรบก็คิดจะเชิญมาลีวราช ผูม ีวาจาสิทธิ์ใหมาสาปแชงพระราม แตเมื่อมาลีวราชฟงความทั้งสองฝายแลวก็ใหทศกัณฐคืน นางสีดาใหพระราม ทศกัณฐไมยอมและคิดอาฆาตแคน มาลีวราชไดสาปใหทศกัณฐพบแต ความวิบัติและถาออกรบกับพระรามก็ขอใหตายดวยศรของพระราม ๔) ที่มาของบุษบกแกว : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ สหมลิวันยักษซึ่งเคยครองทวีป รังกา ตอมาหนีพระนารายณไปอยูบาดาลทราบวาสหบดีพรหมสรางกรุงลงกาใหทาวจตุรพักตร จึงนําบุษบกแกวที่พระอิศวรประทานไวมามอบให บุษบกนั้นมีฤทธิ์เหมือนมีชีวิต ผูนั่งนึกจะไป ที่ใดก็จะไปตามใจนึก ยกเวนสตรีที่เปนมาย ถาขึ้นนั่งบุษบกจะไมลอย เมื่อทาวจตุรพักตรสิ้นได มอบบุษบกใหทาวลัสเตียนที่ครองลงกาตอมา และทาวลัสเตียนมอบใหโอรสชื่อกุเรปน ตอมา ทศกัณฐไดแยงเอามา เมื่ออินทรชิตแปลงกายปนพระอินทรออกรบกับพระลักษณ ใหนาง


๕ อัปสรฟอนรําในทองฟาทําใหพระลักษณเคลิ้มสติ จึงถูกศรพรหมาสตรของอินทรชิตสลบไป หนุมานออกมาชวยก็ถูกอินทรชิตใชศรฟาดจนสลบ เมื่อพระรามมาพบและพยายามชวยพระ ลักษณ แตไมสามารถชวยไดก็ครวญจนสลบไป ทศกัณฐจึงใหไปนํานางสีดามาดูใหประจักษวา พระรามสิ้นแลว นางสีดาพรอมนางตรีชาดาขึ้นบุษบกลอยมาสนามรบ นางสีดาเศราโศกมาก คร่ําครวญเพียงสิ้นสมประดี นางตรีชาดาปลอบวา ขอใหนางสีดาระงับความเศราไว พระราม ยังมีชีวิตอยูแนนอน เพราะบุษบกที่นางสีดานั่งมายังลอยอยู ๕) ที่มาของธนูมหาโมลี : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ธนูมหาโมลีเปนธนูที่พระอิศวร ใชปราบอสูรตรีบูรัม ตอมาไดประทานใหเมืองมิถิลา เมื่อทาวชนกจัดพิธีสยุมพรนางสีดาได กําหนดไววาผูใดยกธนูมหาโมลีที่หนักมากได จะไดอภิเษกกับนางสีดา เรื่องมีวา ยักษชื่อ ตรีบูรัมครองโสฬสธานี มีอานุภาพมาก ไมกลัวใครนอกจากพระนารายณ จึงทําพิธีทรมานกาย เพื่อขอพรจากพระอิศวร วาไมใหพระนารายณทํารายตนได พระอิศวรใหพรตามที่ขอ แตขอให ตั้งอยูในธรรม แตตรีบูรัมหยาบคายรายกาจรุกรานไปทั่ว บรรดาเทวดาไปขอใหพระอิศวรชวย พระอิศวรจึงตองทําศึกครั้งสําคัญนี้ ในการเตรียมศึกครั้งนี้ทรงเอากําลังของพระพรหมเปน เกราะเพชร กําลังเขาพระสุเมรุเปนคันธนูชื่อมหาโมลีมีอานุภาพมาก เอากําลังอนันตนาคเปน สายธนู กําลังพระนารายณเปนลูกศร แตพระอิศวรไมสามารถสังหารตรีบูรัมได เพราะพระ นารายณที่เปนลูกศรหลับสนิท ไมพุงออกไปจากธนู เนื่องจากพรที่พระอิศวรเคยใหไวกับ ตรีบูรัม พระอิศวรจึงตองใชกลองมณีสองเนตรเผาตรีบูรัม ในรามายณะของวาลมีกิ ธนูที่ทาวชนกกําหนดใหผูมารวมพิธีสยุมนางสีดายกคือธนู รัตนะ ซึ่งเปนธนูของพระอิศวรเชนกัน แตเปนธนูที่พระองคใชบังคับเหลาบรรดาเทวดาใหแบง สวนแบงที่ไดจากการประกอบยัญพิธีของฤษีทักษะมาใหพระองค ไมใชธนูที่ปราบตรีปุระ ศิวปุราณะ เลาเรื่องตรีปุระวา ลูก ๓ ตนของฤษีตารกาที่ถูกพระสกันทกุมารสังหารนั้น บําเพ็ญพรตอยางแรงกลาเพื่อใหมีอํานาจมากกวาเทวดา พวกมันขอพรจากพระพรหมวา ขอใหสิ่งมีชีวิตทั้งมวลไมสามารถปราบพวกมันได พระพรหมไมอาจใหพรเชนนั้นได และ แนะนําใหขอสิ่งที่เหมาะกับกําลังของตน อสูรทั้งสามจึงขอใหมายา สถาปนิกของอสูรสราง เมืองให ๓ เมือง คือเมืองทอง เมืองเงิน และเมืองเหล็ก และขอใหพระอิศวร เทพที่พวกมันนับ


๖ ถือเปนผูสังหารพวกมันดวยธนูเพียงลูกเดียวเมื่อเมืองทั้งสามมารวมกัน ตอมาอสูรทั้งสามทําให เทวดาเดือดรอนมาก จึงขอใหพระพรหมชวย พระพรหมไมชวยขอใหพระอิศวรชวยแทน พระอิศวรมอบใหพระนารายณไปปราบอสูรตรีปุระ แตไมสําเร็จเพราะพรของพระอิศวร ใน ทีส่ ุดพระอิศวรตองไปปราบเอง ดวยธนูที่สรางจากพลังของปวงเทวดา พระวิษณุเปนลุกธนูที่มี พระอัคนิอยูตรงหัวและพระพายอยูตรงปลาย แตไมสามารถสังหารตรีปุระได จนพระนารายณ ไปหลอกใหตรีปุระเลิกนับถือศิวลึงค พระอิศวรจึงสามารถสังหารตรีปุระไดดวยธนูเพียงลูก เดียว มีขอสังเกตวา ในศิวปุราณะไมมีเรื่องพระนารายณที่เปนธนูหลับ เรื่องพระนารายณหลับ บนหัวธนูมีอยูในปุราณะทมิฬ ชื่อติรุวารรูร การที่บทละครเรื่องรามเกียรติ์เลือกเรื่องตรีปุระมาแสดงที่มาของธนูมหาโมลีก็เพื่อเนน ใหเห็นความวิเศษของธนูมหาโมลีนั่นเอง เรื่องติรุวารรูรไมใชเรื่องพระอิศวรปราบตรีปุระ แตเปนเรื่องพระนารายณบําเพ็ญตบะ ที่ทุงกุรุเกษตรจนตบะแกกลา ก็เกิดอหังการ เมื่อพระอิศวรมีบัญชาใหเกิดธนูวิเศษขึ้น พระ นารายณก็ฉวยมาเปนของพระองค และเที่ยวไลยิงบรรดาเทวดาที่หนีไปจนถึงจัตติปุรัม เมื่อ พระนารายณตามไปถึง ดวยความศักดิ์สิทธิ์ของจัตติปุรัม พระนารายณก็ออนแรง วางเศียรบน หัวธนูหลับไป โอรสของพระพฤหัสบดีกลาวกับบรรดาเทวดาวา คนที่เยอหยิ่งอหังการไมควร เขามาที่จัตติปุรัม และบอกใหบรรดาเทวดาแปลงกายเปนปลวกกัดสายธนูจนขาด สายธนูก็ตัด ศีรษะของพระนารายณ นิทานเรื่องนี้เปนของพวกไศวะที่ขมพวกไวษณพใหต่ําตอยกวา ๖) เรื่องนนทก : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ นนทกเปนขาของพระอิศวร มีหนาที่ตัก น้ําลางเทาใหเทวดาที่มาเฝาพระอิศวรเปนเวลาถึงโกฏิป นนทกถูกพวกเทวดาแกลวถอนผมจน ศีรษะลาน แคนใจมากจึงไปขอพรจากพระอิศวร ขอใหมีนิ้วเพชรที่ชี้ใครคนนั้นก็จะตาย เมื่อได พรแลวนนทกมีใจกําเริบอหังการ เที่ยวเอานิ้วไปไลชี้เทวดา พระอินทรจึงไปทูลใหพระอิศวร ทราบ พระอิศวรตองใหพระนารายณไปปราบ พระนารายณแปลงกายเปนนางเทพอัปสร ไป ชวนนนทกที่หลงเสนหนางใหรําตามทาตางๆ นนทกรําตามจนถึงทาที่ชี้ลงขาตนเอง นนทกก็ขา หักเพราะเดชนิ้วเพชร นางเทพอัปสรจึงกลับรางเปนพระนารายณเพื่อจะสังหารนนทก นนทก จึงตอวาพระนารายณวาเอาเปรียบ มีถึงสี่มือยังไมกลาสูกันซึ่งๆ หนา พระนารายณจึงทาวา


๗ ขอใหนนทกไปเกิดใหมมีสิบหนา ยี่สิบมือ และมีอาวุธพรอมสรรพ สวนพระองคจะไปเกิดเปน มนุษยสองมือ จะไดสูกันในโลกมนุษยอีกครั้งหนึ่ง นนทกเกิดมาเปนทศกัณฐ พระนารายณ อวตารลงมาเปนพระราม รบชนะทศกัณฐในที่สุด ในเรื่องรามายณะไมมีเรื่องนนทก เรื่องนนทกมีที่มาจากเรื่องอสูรขี้เถาในปุราณะทมิฬ ชื่อ เกรลเตจวรลารุ เรื่องมีวาถัสมาสุระเกิดจากขี้เถาบนกายของพระอิศวร จงรักภักดีตอพระ อิศวรมาก พระองคจึงประทานพใหมีมือวิเศษที่ถาวางบนศีรษะใครคนนั้นก็จะกลายเปนขี้เถา ภัสมาสุระไดพรแลวก็อหังการอยางยิ่ง เที่ยวรุกรานไปทั่วโลก พระนารายณตองแปลงกายเปน นางโมหิณีไปยั่วยวนใหภัสมาสุระฟอนรําตามพระองค จนถึงทาวางมือบนศีรษะ เมื่อภัสมาสุระ รําตามก็กลายเปนขี้เถา การที่บทละครเรื่องรามเกียรติ์เติมเรื่องนนทกก็เพื่อใหมีคําอธิบายวาเหตุใดทศกัณฐจึง มียี่สิบกร และยังตองพายแพแกพระรามที่มีเพียงสองกร ๗) กําเนิดพิเภก : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระอิศวรสองเนตรลงไปในโลก ทําให ทรงทราบวา นนทกมาเกิดเปนทศกัณฐผูหยาบคายรายกาจ จะรุกรานโลกไปทั่ว พระนารายณ ตองอวตารลงไปปราบ ตองไปทําสงครามกับพวกกุมภัณฑที่มีฤทธิ์เดชมาก พระองคจึงตองชวย พระรามดวยการใหพระเวสสุวรรณ (ทาวกุเวร) ไปเกิดรวมวงศกับทศกัณฐ ใหไปเปนไสศึก คอยบอกกลใหทําลายลางพวกอสูรจนสิ้นวงศ และประทานแวนแกวอันวิเศษใหเปนตาทิพย ดวย ในการทําศึกกับทศกัณฐ พระรามตองขอคําแนะนําจากพิเภกตลอดจนเสร็จศึก ๘) กําเนิดหนุมาน : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ นางอัจนามารดานางสวาหะโกรธที่ นางสวาหะบอกฤๅษีโคดมวาพาลีและสุครีพไมใชลูกของฤๅษี ทําใหฤๅษีสาปลูกทั้งสองให กลายเปนวานร และสาปนางอัจนาใหกลายเปนหิน นางจึงสาปนางสวาหะใหไปยืนตีนเดียว เหนี่ยวกินลมอยูในปาจนมีลูกเปนวานรมีฤทธิ์เลิศจึงจะพนคําสาป ตอมาพระอิศวรแบงกําลัง ของพระองคใหพระพายนํามาพรอมอาวุธของพระองค ไปซัดเขาปากนางสวาหะเพื่อใหเกิด เปนวานรผูมีฤทธิ์ หนุมานกําเนิดมามีกุณฑลขนเพชร เขี้ยวแกว หาวเปนดาวเปนเดือน กอน จากกันมารดาสั่งวา ผูใดมาเห็นวาหนุมานมีกุณฑลขนเพชรและเขี้ยวแกวผูนั้นคือพระนารายณ อวตาร ใหหนุมานถวายตัวเปนขาบาท เหตุการณตอมาก็เปนไปตามนั้น เมื่อจากมารดาแลว


๘ หนุมานเหาะไปเที่ยวเลน ดวยความคะนองไดเขาไปหักโคนตนไมในสวนพระอุมาเพื่อเก็บผลไม กิน ถูกพระอุมาสาปใหกําลังลดลงกึ่งหนึ่ง หนุมานรูตัววาผิดขอโทษพระอุมาและขอใหปรานี พระอุมาจึงผอนผันใหวา หนุมานจะไดกําลังคืนมาเมื่อพระรามไดลูบหลังจนหางหนุมาน เมื่อ หนุมานพาทาวมหาชมพูมาเฝาพระรามทั้งแทนบรรทม พระรามชมวาหนุมานมีฤทธิ์และลูบ เศียรตลอดหาง ทําใหหนุมานพนคําสาปของพระอุมา และตอมําหนุมานตองแสดงลักษณะ พิเศษคือ หาวเปนดาวเปนเดือนใหนางบุษมาลีเชื่อวาเปนหนุมาน และใหมัจฉานุเชื่อวาเปน บิดา ในรามายณะไมมีเรื่องหนุมานเกิดจากกําลังของพระอิศวร ในศิวปุราณะมีเรื่องวาพระศิวะ หลงรักพระวิษณุขณะแปลงเปนนางโมหินี จึงหลั่งน้ําเชื้อออกมา ฤๅษีทั้งเจ็ดไดเก็บไว และ นํามาหยอดใสหูนางอัญชนา ธิดาของฤๅษีเคาตมะ ตอมานางก็ใหกําเนิดหนุมาน ๙) กําเนิดชมพูพาน : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระอิศวรทรงสรางชมพูพานจาก เหื่อไคลของพระองค ใหมีความรอบรูเรื่องสรรพวิเศษ เพื่อคอยชวยพระนารายณที่จะอวตาร มาเปนพระรามไปปราบทศกัณฐ พระอิศวรยกชมพูพานใหเปนโอรสของพาลี ตอมาเมื่อพระ ลักษณตองศรพรหมาสตรของอินทรชิต พิเภกไมสามารถแนะนํายาใหได ไดทูลพระรามวาไม รอบรูเหมือนชมพูพานที่พระอิศวรไดใชใหตรวจสรรพยาในทวีปทั้งสี่ ชมพูพานจึงทูลพระราม วา ยาแกศรพรหมาสตรมีอยูทาเขาอาวุธ ในบุพพวิเทหทวีปซึ่งอยูไกลมาก และพระอิศวรไดสั่ง ไววา ถาพระอนุชาของพระรามซึ่งเปนพระนารายณตองศรอินทรชิต ก็ใหหนุมานไปนํายานั้น มา จะแกไดสําเร็จ ในเรื่องรามายณะไมมีเรื่องพระอิศวรสรางชมพูพานจากเหื่อไคลของ พระองค ๑๐) เรื่องพาลีผิดคําสาบาน : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ขณะที่รามสูรกําลังไลแยง แกวมาจากนางเมขลาอยูก็มาพบเทพอรชุนผูมีฤทธิ์ ศรศิลปไมกินกันจึงเกิดตอสูกัน เทพอรชุน เสียทีถูกรามสูรจับบาททั้งสองฟาดกับเขาพระสุเมรุ ทําใหเอนทรุดลง เทพอรชุนก็สิ้นชีวิต พระ อิศวรตกใจใหประกาศไปทั่วทั้งบนสวรรคและบนโลก ใหมาชวยยกเขาพระสุเมรุใหตรงดังเดิม เทวดาทุกชั้นฟา นักสิทธิ์ ครุฑ นาค พาลีและสุครีพก็พากันมาชวย ดวยการเอาพญานาคมาพัน รอบเขาพระสุเมรุแลวชวยกันฉุด แตกไ็ มสําเร็จ สุครีพจึงอาสา ขณะที่พวกเทวดาและครุฑ ชวยกันฉุดพญานาค สุครีพก็เอานิ้วจี้ที่สะดือพญานาค พญานาคก็สะดุงก็ขดตัวเขา เขาพระ


๙ สุเมรุก็เขยื้อน พาลีเห็นดังนั้นก็ใชบาชวยดัน เขาพระสุเมรุก็ตรงดังเดิม ตอมาพระอิศวรได ประทานรางวัลใหพาลีกับสุครีพ ประทานตรีเพชรใหสุครีพ และใหพรวาใครก็ตามที่มาสูกับ พาลีใหกําลังกายลดไปกึ่งหนึ่ง และประทานนางดาราใสผอบแกวฝากพาลีไปใหสุครีพ แตพระ นารายณทวงวาไมควรฝากนางดาราไปกับพาลีเพราะอาจไมถือมือสุครีพ พาลีจึงใหสัตยสาบาน วาถาไมนํานางดาราไปใหสุครีพขอใหศรพระรามผลาญชีวิต ตอมาเมื่อพาลีเขาใจผิดสุครีพคิด วาสุครีพจะชิงราชสมบัติจึงเนรเทศสุครีพออกจากเมืองไป เมื่อพระรามมาขอใหสุครีพชวยตาม นางสีดา สุครีพก็ขอใหพระรามปราบพาลีให พระรามจึงแผลงศรใสพาลี ตอนแรกพาลีตําหนิ พระรามที่มายุงเรื่องพี่นองทะเลาะกัน “เราสองพี่นองรวมครรภ จะพิโรธโกรธกันไปถึงไหน อหังการมาผลาญชีวาลัย กูผิดสิ่งใดใหวามา” พระรามจึงอธิบายวา “ตัวทานจงคิดถึงความหลัง เมื่อครั้งพระอิศวรรังสรรค ประทานนางดาราวิลาวัณย ใหนองรวมครรภของวานร ทานรับ มาแลวสาบานถวาย ถามิใหใหตายดวยแสงศร เราจึ่งสังหารราญรอน ตามที่โทษกรณทานมี ไว” พาลีจึงยอมรับโทษ ในเรื่องรามายณะไมมีเรื่องพาลีใหสัตยสาบาน และพระรามใหเหตุผล ที่สังหารวาลินวา เพราะวาลินไมตั้งอยูในธรรม แยงชายาของสุครีวะไป เรื่องพาลีและสุครีพชวยพระอิศวรดึงเขาพระสุเมรุใหตรงไดอิทธิพลจากเรื่องการกวน เกษียรสมุทรซึ่งเปนเรื่องพระนารายณอวตารเปนเตาชวยเทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทร เรื่องนี้มีเลาอยูในปุราณะทุกเรื่อง เรื่องกวนเกษียรสมุทรไทยเรียกวาชักนาคดึกดําบรรพ เปน สวนหนึ่งของพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งเปนพระราชพิธีโบราณของไทย กฎมณเฑียรบาลเลา วา “สนองพระโอษฐ ตํารวจเลกเปนอสูร ๑๐๐ มหาดเล็กเปนเทพดา ๑๐๐ เปนพาลีสุครีพ มหาชมพูและบริวาราพนร ๑๐๓ ชักนาคดึกดําบรรพ อสูรชักหัว เทพดาชักหาง พานรอยู ปลายหาง” เรื่องกวนเกษียรสมุทรของไทยตางจากของปุราณะตรงที่มีการเพิ่มตัวละครจาก เรื่องรามเกียรติ์ใหมาชวยชักนาคดวย เรื่องนี้ไมมีในรามายณะของวาลมีกิ ไทยนาจะไดอิทธิพล จากเขมร (ดังปรากฏภาพสลักที่นครวัด) ซึ่งไดรับจากรามายณะทมิฬที่กลาวชมวาลินวามีพลัง อํานาจมากไดมาชวยกวนเกษียรสมุทรดวย


๑๐ ๑๑) เรื่องทศกัณฐยกเขาไกรลาส : ในบทละครรามเกียรติ์ เลาวาวิรูฬหกยักษ ขึ้นมา เฝาพระอิศวร ถูกสารภูหลอกใหกราบไหวดวยความเขาใจผิด คิดวาเปนพระอิศวร วิรูฬหก โกรธมากจึงเอาสังวาลขวางสารภู และถูกเขาไกรลาสทําใหทรุดลงแลวกลับไปบาดาล พระ อิศวรทราบความทั้งหมดก็หาผูมาชวยยกเขาไกรลาสใหตรง บรรดาเทพและอสูรมาอาสาก็ไม สามารถทําได พระอิศวรจึงใหไปหาทศกัณฐมาชวย ทศกัณฐเนรมิตกายใหญเทาพระพรหม ชวยยกเขาไกรลาสใหตรงได ทศกัณฐเกิดอหังหารทูลขอพระอุมาจากพระอิศวรเปนรางวัลที่ ชวยยกเขาไกรลาสได พระอิศวรไมเต็มใจจะยกใหแตจํายอม และเชื่อวาถึงไดพระอุมาไป ทศกัณฐก็ตองพามาคืน บรรดาเทวดาตกใจมากไปขอใหพระนารายณชวย พระนารายณก็ลงไป ยังชายปาตรงตนทางไปลงกา แปลงกายเปนยักษชรา ทําเปนคนโงเงา ยืนปลูกตนไมเอายอดลง พื้น ทศกัณฐเอาพระอุมาทูนเศียรเหาะผานมาจึงเขามาใกล และตําหนิพระนารายณแปลงวา โฉดเขลา ปลูกตนไมเอายอดลงดิน พระนารายณแปลงยิ้มเยย ตําหนิทศกัณฐวาเขลากวาที่ไป พานางจัญไรมาจะทําใหกรุงลงกาสิ้นสูญ ทศกัณฐเชื่อเพราะองคพระอุมารอนดั่งไฟ และขอให พระนารายณแปลงแนะนํานางที่วาดีให พระนารายณแนะนําใหไปขอนางมณโฑแทน ทศกัณฐ ก็ทําตาม ในเรื่องรามายณะไมมีเรื่องทศกัณฐชวยยกเขาไกรลาสใหตรง มีแตทศกัณฐถูกพระ อิศวรใชนิ้วพระบาทกดทศกัณฐจนจมอยูใตเขา เพื่อลงโทษที่ทศกัณฐกลาลวงล้ําเขาไปในเขต เขาไกรลาสขณะพระอิศวรกําลังมีความสุขกับพระอุมา นอกจากนั้นเรื่องพระนารายณแปลง เปนยักษชราปลูกตนไมเอายอดลงดินก็ไมมีในรามายณะ แตมีในปุราณะทมิฬเรื่องติรุวรัญจรัม แตในปุราณะเรื่องนี้ทศกัณฐไมไดนางมณโฑแทนพระอุมา พระอิศวรประทานดาบ หอกและ มายาศักติใหแทน ๑๒) ทศกัณฐถอดจิต : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อองคตอายุไดสิบปพาลีจัดพิธี ลงสรงให ทศกัณฐรูขาวก็คิดจะไปฆาองคตที่เปนลูกศัตรูผูเกิดมาทําใหทศกัณฐตองอับอาย เมื่อ ไปถึงบริเวณพิธีก็แปลงกายเปนปูแอบอยูที่คันฉัตร เมื่อพวกวานรก็ไลจับก็ไลฆาวานร พาลีมา ชวยวานร สูกับปู ทศกัณฐตกใจก็กลายกลับเปนยักษ สูพาลีไมไดถูกจับมัดไวกับพวนเหล็กใหญ เอาไปตระเวนที่ริมน้ํา เมื่อประกอบพิธีลงสรงเรียบรอยแลว พาลีใหเอาทศกัณฐมาใหองคตลาก


๑๑ เลนเหมือนลากปูเปนเวลาเจ็ดวัน แลวปลอยตัวไป เมื่อกลับถึงลงกา ทศกัณฐเสียใจมากที่แพ พาลีถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อถูกพาลีแยงนางมณโฑขณะทศกัณฐพานางจากเขาไกรลาสกลับ กรุงลงกา และในครั้งนี้ ทศกัณฐจึงขอใหพระดาบสโคบุตรผูเปนอาจารยของตนชวยคิดวิธีที่ทํา ใหใครฆาก็ไมตาย พระดาบสพาทศกัณฐขึ้นไปทําพิธีที่ยอดเขานิลกาลา ทําพิธีอานพระเวท บําเพ็ญตบะจนดวงจิตออกจากราง พระโคบุตรนําดวงจิตของทศกัณฐใสกลองแกวประดับดวย ศิลาแลวนําไปเก็บไวที่กุฏิกลางปา ใหไกลจากทศกัณฐ เพื่อไมใหดวงจิตคืนเขาสูรางทศกัณฐได งาย ตอมาเมื่อหนุมานจะชวยพระรามใหปราบทศกัณฐใหได เมื่อพิเภกบอกเรื่องทศกัณฐถอด ดวงจิต หนุมานจึงชวนองคตไปลวงเอากลองดวงจิตของทศกัณฐจากพระโคบุตร พระโคบุตร หลงเชื่อฝากกลองดวงจิตทศกัณฐไวกับองคต แลวพาหนุมานไปสวามิภักดิ์กับทศกัณฐ ทศกัณฐ วางใจรับหนุมานเปนโอรสบุญธรรม หนุมานออกรบอยางกลาหาญจนทศกัณฐเชื่อใจ ในที่สุด หนุมานก็ลวงทศกัณฐออกรบกับพระราม ทําลายดวงจิตทศกัณฐ พระรามก็สังหารทศกัณฐได ในรามายณะไมมีเรื่องทศกัณฐถอดดวงจิต ๑๓) กําเนิดนางสุพรรณมัจฉา : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ทศกัณฐประพฤติชั่ว แปลงกายไปรวมรักกับนางปลา เกิดธิดาชื่อนางสุพรรณมัจฉา เมื่อหนุมานจองถนนไปกรุงลงกา ทศกัณฐสั่งใหนางสุพรรณมัจฉา มาขัดขวาง นางสั่งใหบริวารปลามาคอยคาบกอนหินที่หนุมาน ถมทะเลลงมาไปทิ้ง หนุมานพบนางสุพรรณมัจฉาขัดขวางดังนั้นก็จับตัวไว และไดสมกับนาง ตอมานางสุพรรณมัจฉาใหกําเนิดบุตร ชื่อมัจฉานุ ไมยราพเอาไปเลี้ยงไวเปนบุตรบุญธรรม เมื่อ หนุมานตามไปชวยพระรามพระลักษณที่ไมยราพลักไปไวที่บาดาล หนุมานไดพบมัจฉานุที่เมื่อ ทราบวาหนุมานเปนบิดาก็ยอมบอกใบทางไปหาพระรามให ทําใหหนุมานชวยพระรามพระ ลักษณไดสําเร็จ ในรามายณะไมมีเรื่องนางสุพรรณมัจฉา ๑๔) สหมลิวันยักษสรางดานปองกันเมือง : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ สหมลิวัน ยักษเกรงวาทศกัณฐจะมาเบียดเบียนบีฑาถึงบาดาล จึงสรางดานตางๆ ปองกันไว ดานแรก เปนดอกบัวใหญ มีกานเปนทางลงไปประตูศิลา มีกําแพงพรอมปอมคายลอมสามชั้น มี กุมภัณฑจํานวนโกฏิเฝาอยู ตอมาเปนพญาชางสูงใหญตกมันคอยตระเวนอยูตามทาง ตอมา เปนภูเขากระทบกันเกิดเปนเพลิงกาฬรุงโรจน ตอมาเปนยุงฝูงใหญตัวเทาแมไก และที่ประตู


๑๒ เขาออกเมืองใหทําตาชั่งยักษไวชั่งทุกคนที่เขาออกไปมา เพื่อปองกันศัตรูที่ปลอมมาทําราย ตอมาสหมลิวันยักษมีโอรสชื่อมหายมยักษ มีโอรสชื่อไมยราพ และบุตรชื่อนางพิรากวน ตอมา ไมยราพไปเขากับทศกัณฐชวยทศกัณฐจับพระรามพระลักษณลงไปขังไวที่บาดาลได พิเภกบอก ใหหนุมานตามไป หนุมานสามารถทําลายดานตางๆ ได จนไปพบบุตรคือมัจฉานุที่ชวยบอกใบ ใหหนุมานไปชวยพระรามกับพระลักษณได ในรามายณะไมมีเรื่องไมยราพ ไทยไดจากฉบับ อินเดียใต ๑๕) อินทรชิตไดพรจากพระพรหม : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ อินทรชิตบําเพ็ญ ตบะแกกลาเปนเวลาเจ็ดปจนเทวดาผูเปนใหญทั้งสามองคตองลงมาใหศรวิเศษตามที่อินทรชิต ตองการ นอกจากประทานศรแลวพระพรหมยังประทานพรวา เมื่ออินทรชิตจะตายใหตายบน อากาศ ใหแปลกจากคนทั้งหลายในโลก ถาเศียรขาดตกดิน จะเกิดไฟบรรลัยกัลป ตองหาพาน แกวพระพรหมมารองรับ ไฟจึงจะไมไหมโลก ตอมาเมื่อพระลักษณจะแผลงศรสังหารอินทรชิต พิเภกไดขอใหรอกอน เพราะเกรงเศียรอินทรชิตจะตกลงบนพื้น จะทําใหไปไหมโลก พิเภก แนะนําใหสงองคตไปขอพานจากพระพรหมมารองเศียรอินทรชิต พระลักษณไดทําตาม คําแนะนํานั้น เมื่อพระลักษณแผลงศรไปตัดเศียรอินทรชิต องคตก็เอาพานไปรองรับ แลว นํามาถวายพระลักษณ พระลักษณนําไปถวายพระราม และพระรามไดแผลงศรทําลายเศียร อินทรชิตตามคําแนะนําของพิเภก ๑๖) กําเนิดทรพี : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ นนทกาลยักษเปนขาของพระอิศวร มี หนาที่เฝากําแพงชั้นใน วันหนึ่งไปทิ้งดอกไมใสนางอัปสรเทพมาลี พระอิศวรโกรธมากที่นนทกาลมาหยอกลอนางอัปสรจึงสาปใหลงไปเกิดเปนกาสรชื่อทรพา และใหพนสาปเมื่อลูกชื่อทรพี ที่แข็งแรงฆาตาย ตอมาทรพีลูกที่เกิดกับนางนิลกาสรที่ไมยอมใหทรพีฆาลูกเหมือนนางกาสร อื่นๆ แอบไปใหเทวดาเลี้ยงไวในถ้ําจนโต ทรพีอหังการมาก เมื่อรูเรื่องทรพาฆาลูกก็สังหาร ทรพาแลวเที่ยวทาใครๆ รบดวย ในที่สุดพาลีก็ถูกฆาตายในถ้ํา ในรามายณะไมมีเรื่องนนทกาล ยักษถูกสาปเปนทรพา มีแตเรื่องของอสูรชื่อทุนทุภิมีลูกคนโตชื่อมายาวินที่มาทาวาลินรบและ ถูกวาลินฆาตายในถ้ํา เรื่องทรพานี้คิดวาไดมีการเติมขึ้น เพื่อใหสอดคลองกับลักษณะชั่วที่ลูก ฆาพอแม ที่วาเปนลูกทรพี


๑๓ ๑๗) กําเนิดนางสีดา : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ นางมณโฑไดเสวยขาวทิพยที่ กากนาสูรไปโฉบมาจากพิธีของทาวทศรถก็ทรงครรภนางสีดา เมื่อนางสีดาประสูติไดรองวา “ผลาญราพณ” สามครั้ง ทศกัณฐใหพิเภกมาทํานายโชคชะตานาง พิเภกทํานายวานางเปน กาลกิณีจะทําลายลงกาจนสูญสิ้น ใหเอาใสผอบลอยน้ําไป ตอมานางสีดาเปนเหตุใหลงกาถูก ทําลายจนหมดสิ้นตามคําทํานายของพิเภก ในเรื่องรามายณะนางสีดาไมไดเปนธิดาของ ทศกัณฐและนางมณโฑ ในเรื่องเทวีภาควตปุราณะ และเรื่องอัทภุตรามายณะ มีเรื่องนางสีดา เปนธิดาของราวณะและนางมันโททรี แตไมมีเรื่องสีดาเกิดจากขาวทิพย ในรามายณะของ มาเลยมีเรื่องญาติของราวณะชื่อคาคักสวาระปลอมเปนกาไปรวมพิธีขอบุตรของทาวทศรถ และไดขโมยขาวทิพยไปกอนหนึ่ง ไปใหราวณะเสวย ไมมีเรื่องนางสีดาเกิดจากขาวทิพยนั้น ๑๘) ความแคนของนางคอมกุจจี : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ นางคอมกุจจี นาง กํานัลของนางไกยเกษีมีความแคนพระรามมาก เพราะเมื่อพระรามยังเปนพระกุมารอยู ขณะ กําลังทดลองฝมือในการยิงธนูกันอยูนั้นพระรามไดแกลงยิงหลังคอมของนางกุจจี ทําใหนาง แคนใจมาก “ถึงมาตรกูเปนคอมเคา ก็ขาเกานางไกยเกษี พระรามมาทําดั่งนี้ ชีวีมิตายจะเห็น กัน” ตอมาเมื่อไดขาววาทาวทศรถจะอภิเษกพระรามใหครองเมือง นางกุจจีไดยุยงนางไกยเกษี ใหทูลขอทาวทศรถใหเนรเทศพระรามและใหพระพรตครองเมืองแทน ทาวทศรถตองยอมให ตามที่ขอเพื่อรักษาสัตยที่นางใหไว พระรามจึงตองออกจากเมืองไป บําเพ็ญพรตอยูในปาเปน เวลา ๑๔ ป นางกุจจีก็แกแคนไดสําเร็จ ในเรื่องรามายณะไมมีเรื่องพระรามแกลงนางคอม มันถรา ขาของนางไกยเกยี ที่นางคอมยุใหนางไกยเกยีขอใหทาวทศรถเนรเทศพระรามและ พระภรตครองเมืองนั้นก็เปนเพราะความจงรักภักดีที่มีตอนางไกยเกยี แตในรามายณะฉบับ ทมิฬของกัมพันมีเรื่องตรงกับของไทย ๑๙) ศรของรามสูร : ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รามสูรเปนยักษอยูในวิมานชั้น จตุมหาราช มีใจหยาบชา เที่ยวรุกรานไปทั่ว วันหนึ่งขณะลงมาเที่ยวเลนที่ชายปาไดพบกองทัพ พระรามที่กําลังเดินทางจากเมืองทาวชนกกลับไปอโยธยาก็เขาขวางและขมขูพระรามวาจะชิง นางสีดาไป จึงรบกันกับพระรามและแพพระรามถูกพระรามจับตัวได รามสูรจึงรูวาพระราม เปนพระนารายณอวตารก็ยอมสวามิภักดิ์ พระรามก็ไวชีวิต รามสูรขอตอบแทนดวยการถวาย


๑๔ ศรที่ไดรับจากตรีเมฆผูเปนอัยกาของตน ศรนี้ตรีเมฆไดรับประทานจากพระอิศวร พระรามรับ ศรแลวฝากไวกับพระพิรุณ และขอวาเมื่อพระองคคิดจะไดศรมาใชเมื่อใดขอใหไดดังใจ ตอมา เมื่อพระรามรบกับพญาขร ศรทรงถูกศรของพญาขรหักสะบั้น พระรามจึงขอศรจากพระพิรุณ “พระพิรุณจงเอาธนูทรง ขององครามสูรยักษี มาใหจะลางอสุรี แตในบัดนี้อยาไดชา” พระ พิรุณก็เหาะเอาธนูของรามสูรมาถวายพระรามทันที บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชไดรับ การยกยองวาเปนฉบับที่สมบูรณที่สุดมิใชดวยการที่มีเรื่องราวตั้งแตกําเนิดตัวละครและอาวุธ ชนิดตางๆ ไปจนจบที่พระอนุชาของพระรามชนะศึกเทานั้น แตเพราะความสมบูรณของเรื่องที่ มีเหตุ/ที่มาของเรื่องราวตางๆ ซึ่งสอดคลองกัน นาสังเกตวาเรื่องราวเหลานี้สวนใหญไมมีใน รามายณะของวาลมีกิ และหลายเรื่องไมมีในรามายณะฉบับทองถิ่นอินเดียอีกดวย ดังเชนเรื่อง พระอิศวรปราบตรีปุระ เรื่องพระนารายรที่เปนศรของธนูวิเศษของพระอิศวรหลับขณะพระ อิศวรยิงตรีปุระ หรือตอนพระนารายณแปลงกายเปนยักษชราหลอกใหทศกัณฐไปคืนพระอุมา ใหพระอิศวรและใหขอนางมณโฑมาแทน นิทานเหลานี้สวนใหญอยูในปุราณะตางๆ ทั้งปุราณะ ภาษาสันสกฤตและภาษาถิน่ โดยเฉพาะภาษาถิ่นอินเดียใต ปุราณะเหลานี้ปรากฏอยูในวรรณคดีไทยอยางไร ไมนาจะปรากฏอยูตามลําพัง เพราะ คนไทยคงไมนิยมฟงเรื่องปุราณะที่เหมือนคัมภีรศาสนาของฮินดูทั้งเรื่อง เรื่องเหลานี้นาจะ แทรกอยูในเรื่องนารายณอวตารปางตางๆ ที่เลาสืบกันมา ดังมีหลักฐานปรากฏในเรื่อง นารายณสิบปาง (ฉบับไทย) ที่มีอยูหลายฉบับมีทั้งที่เรียบเรียงขึ้นตามคําบอกเลาของพราหมณ หรือเก็บความจากเรื่องรามายณะ หรือแปลจากอักษรคฤนถ เรื่องนารายณสิบปางมีลักษณะ คลายปุราณะอยู ๒ เรื่อง คือมีเรื่องกําเนิดโลก การสรางโลก และมีเรื่องวงศเทวดา กษัตริย ตางๆ แตมีลําดับอวตารมากหลายสิบปาง เรื่องนารายณสิบปางฉบับไทยที่ปรากฏเปนลายลักษณในปจจุบันมี ๓ ฉบับไดแก ฉบับโรงพิมพหลวง ที่เริ่มตนดวยปางที่ ๑ ปางวราหาวตาร ตรงกับบทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธรัชกาลที่ ๑ มีผูสันนิษฐานวานารายณสิบปางฉบับนี้ อาจเขียนหรือจารึกเปนลายลักษณอักษรในรัชกาลที่ ๑ เพื่อเปนเคาโครงเรื่องที่จะทรง พระราชนิพนธบทละครก็เปนได เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯ ใหบูรณปฏิสังขรณวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อเตรียมสมโภชพระนครครบ


๑๕ รอยป (พุทธศักราช ๒๔๒๕) ไดโปรดเกลาฯ ใหนักปราชญราชกวีแตงโคลงนารายณสิบปาง ตามลําดับปางในฉบับโรงพิมพหลวง ซึ่งมีตนฉบับเดิมจารึกในสมุดขอย อยูในหอสมุดแหงชาติ ชื่อ “ตําราไสยสาตร” พิมพครั้งแรก พุทธศักราช ๒๔๑๗ แตเปลี่ยนชื่อเปน “เทวปาง” พิมพ ครั้งสุดทายเปลี่ยนชื่อเปน “นารายณสิบปาง” ตอนจบของเรื่องบอกไววา “แปลจากอักษร คฤนถตามคัมภีรไสยสาตร” ซึ่งแสดงวาเปนของพราหมณอินเดียใตที่นิยมใชอักษรคฤนถ นอกจากนั้นบยังมีฉบับโรงพิมพวัชรินทร พิมพครั้งแรก พุทธศักราช ๒๔๑๒ และฉบับคุณหญิง เลื่อนฤทธิ์ พิมพครั้งแรก พุทธศักราช ๒๔๖๖ เรื่องนารายณสิบปางฉบับไทยคงมีอีกมากมาย หลายสํานวน แตไมปรากฏอยูในปจจุบัน เพราะยังมีนิทานอีกหลายเรื่องของบทละคร รามเกียรติ์พระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชที่ไมปรากฏอยู ในเรื่องนารายณสิบปางทั้ง ๓ ฉบับนี้ ในเรื่องนารายณสิบปางทั้ง ๓ ฉบับมีเรื่องอวตารของพระนารายณไมตรงกับปุราณะ อวตารของพระนารายณในเรื่องนารายณสิบปางมีดังนี้

๑) ๒) ๓) ๔) ๕) ๖) ๗) ๘) ๙) ๑๐)

โรงพิมพหลวง วราหวตาร กัจฉะปาวตาร มัจฉาวตาร มหิงสาวตาร สมณวตาร สิงหวตาร ชุชชาวตาร กฤษณาวตาร อัปสรวตาร รามาวตาร

โรงพิมพวัชรินทร มัจฉาวตาร สุวรรณกัจฉะปะอวตาร เศวตวราหะอวตาร ทวิชอวตาร มหิงษอวตาร กฤษณะอวตาร นรสีหอวตาร สมณอวตาร เทพอัปสรอวตาร รามาวตาร

คุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ มัจฉาวตาร กัจฉปาวตาร วราหาวตาร ทวิชาวตาร มหิงษาวตาร สิงหาวตาร สมณอวตาร อัปสรวตาร มหัลลกอสุรวตาร รามาวตาร


๑๖ นารายณสิบปางตามปุราณะมีตามลําดับ ดังนี้ ๑) มัตสยาวตาร ๒) กูรมาวตาร ๓) วราหาวตาร ๔) นรสีหาวตาร ๕) วามานวตาร ๖) ปรศุรามาวตาร ๗) รามาจันทราวตาร ๘) กฤาษณาวตาร ๙) พุทธาวตาร ๑๐) กัลกยวตาร ดังที่ไดกลวมาแลววาเรื่องราวในบทละครรามเกียรติ์ที่ไมปรากฏในรามายณะจะพบใน เรื่องนารายณสิบปางฉบับไทย ดังเชน เรื่องพระอิศวรปราบตรีบูรัมจะมีอยูในเรื่องสมณาวตาร เรื่องพระนารายณปราบหิรันตยักษมรอยูในวราหาวตาร เรื่องพระนารายณแปลงเปนนาง อัปสรปราบนนทุกมีอยูในอัปสราวตาร และเรื่องพระนารายรแปลงเปนยักษชราหลอกทศกัณฐ ใหนําพระอุมาไปคืนพระอิศวรนั้นมีอยูในมหัลลกอสุรวตารในเรื่องนารายรสิบปางฉบับคุณหญิง เลื่อนฤทธิ์ มีขอนาสังเกตวาแมจะมีนิทานตรงกันหลายเรื่องในบทละครรามเกียรติ์ และในเรื่อง นารายณสิบปาง แตพบวามีรายละเอียดไมตรงกันทีเดียว ดังเชนในเรื่องพระอิศวรปราบ ตรีบูรัม ในเรื่องนารายณสิบปางมีเรื่องพระนารายณตองอวตารเปนสมณะไปหลอกขอศิวลึงคที่ ตรีปุระนับถือ เพื่อใหตรีปุระสูญพลังที่จะตอสูทําใหพระอิศวรปราบได ในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ไมมีเรื่องตรีปุระนับถือศิวลึงคทําใหพระนารายณปราบไมได แตมีเรื่องพรของพระ อิศวรที่ประทานใหตรีปุระวาไมใหพระนารายณสังหารไดที่ทําใหพระนารายณที่เปนกําลังของ ธนูที่ใชยิงตรีปุระหลับขณะพระอิศวรแผลงศรไป ศรจึงสังหารตรีปุระไมได กลาวไดวา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงเลือกเหตุการณแตละตอนอยาง ระมัดระวังเพื่อใหบทละครรามเกียรติ์มีเอกภาพทางความเชื่อดวย ในเรื่องนารายณสิบปางฉบับโรงพิมพวัชรินทรมีเรื่องพระพรหมที่เกิดในดอกบัวที่ผุด จากพระนาภีของพระอิศวรวา ไดอุมทาวอโนมาตันที่เกิดจากดอกบัวที่ผุดจากพระนาภีของ พระนารายณ และในบทละครรามเกียรติ์มีแตทาวอโนมาตันเทานั้นที่เกิดจากดอกบัวที่ผุดจาก พระนาภีของพระนารายณ กลาวไดวาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชมี


๑๗ พระราชประสงคจะทําใหเรื่องมีเอกภาพมากที่สุด จึงเลือกใหพระรามสืบวงศมาจากพระ นารายณโดยตรง ไมตองผานพระพรหมซึ่งอยูในวงศพรหมของทศกัณฐ ในเรื่องนารายณสิบปางมีเรื่องนนทุกที่ถูกพระนารายณแปลงเปนนางอัปสรสังหารไป เกิดเปนอุปปาติกที่เชิงเขาไกรลาส ไดกระทําความเพียรบูชาอิศวรดวยกายดุริยางค คือเอา กระบอกศรีษะทํากะลาซอ เอากระดูกสันหลังทําทอนซอ เอาหนังศีรษะเปนหนังขึงซอ เอาเอ็น ในกายเปนสายซอ สีถวายพระอิศวร ที่ไดฟงแลวพอพระทัยมากจึงใหพรนนทุกใหไปเกิดในวงศ พรหม ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ไมมีเรื่องนนทุกบูชาพระอิศวรเพื่อขอใหไปเกิดเปนทศกัณฐ มีแตเรื่องนนทุกตอวาพระนารายณวาตองแปลงกายเปนนางฟามาหลอกเพื่อปราบตน พระ นารายณจึงทาใหนนทุกไปเกิดเปนทศกัณฐ นอกจากเรื่องนารายณสิบปางแลวยังมีคําพากยรามเกียรติ์สมัยอยุธยาที่มีเรื่องราวตาง จากเรื่องรามายณะ เชน ตอนนางสํามนักขามาทูลทศกัณฐวานางสีดางามมาก สมควรที่ ทศกัณฐจะไดนางมาเปนศรีแหงลงกา ทําใหทศกัณฐรุมรอนเพราะความรักความใครนางสีดา มากจนไมอาจบรรทมบนบรรจถรณได ตองเอาดอกไมทิพยที่มีกลิ่นหอมมาลาดบรรจถรณ แต ก็ยังไมเย็น จึงใหเสนาไปบอกพระพายใหมาเรงพัด ใหพระสุริยะทอนแสงลง และใหพระจันทร เปลงแสงใหมากขึ้น เทพทั้งสามก็ทําตาม ทําใหเย็นฉ่ําสําราญทั้งลงกา แต “สวนราพนาสูร บหาย รอนรนสกนธกาย พิกลคับเคืองใจ” การนอนบนที่นอนที่ลาดปูดวยดอกไมเพื่อคลาย ความรุมรอนเมื่อตกอยูในเพลิงแหงความรัก เปนขนบของวรรณคดีสันสกฤต เรื่องนี้มีอยูใน เรื่องศกุนตลาของกาลิทาสดวย เมื่อไดพบทาวทุษยันต นางศกุนตลาก็เกิดความรุมรอนเพราะ ความรักจึงตองขอนอนบนที่นอนดอกไม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกไมทรงเลือก เหตุการณตอนนี้ อาจทรงเห็นวาไมเหมาะกับพญายักษดังเชนทศกัณฐ ในจณะที่ตอนพระราม สบเนตรนางสีดาขณะเขามาในเมืองมิถิลาในคําพากยรามเกียรติ์มีปรากฏในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชคงทรงเลือกเหตุการณตอนนี้ เพื่อใหมีบทบาทสําคัญ คือเปนรหัสลับที่แสดงวาหนุมานเปนทหารที่พระรามสงมาตามหานาง สีดาจริง


๑๘ ในตอนทายบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา จุฬาโลกมหาราชมีความที่แสดงที่มาของเรื่องวาทรงพยายามทรงพระราชนิพนธตามนิยายของ ฝายพราหมณ วัตถุประสงคในการพระราชนิพนธคือเพื่อบูชาพระราม คําเตือนวาอยายึดติด เปนเรื่องสําคัญกวาหลักพุทธธรรมโดยเฉพาะเรื่องความเปนอนิจจัง และการใชปรีชาญาณทรง พระราชนิพนธตามลําดับจนจบบริบูรณ “อันพระราชนิพนธรามเกียรติ์ ทรงเพียรตามเรื่องนิยายไสย ใชจะเปนแกนสารสิ่งใด ดั่งพระทัยสมโภชบูชา ใครฟงอยาไดใหลหลง จงปลงอนิจจังสังขาร ซึ่งอักษรกลอนกลาวลําดับมา โดยราชปรีชาก็บริบรู ณ” กลาวไดวาความสําคัญและความโดดเดนประการหนึ่งของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช คือความสมบูรณของ เนื้อเรื่องที่ทรงเลือกสรรดวยพระปรีชาญาณจากแหลงตางๆ ที่มีอยูมากมายและนํามา รอยกรองใหมีความเปนเอกภาพสอดคลองกันตลอดทั้งเรื่อง สมควรที่จะไดรับการยกยองให เปนมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ควรมีการทํานุบํารุงรักษาดวยการสนับสนุนใหมีผูอาน ผูชื่นชมอยางกวางขวางและใหมีการสืบทอดกันตอๆ ไป เอกสารอางอิง กรมศิลปากร, บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช. เลม ๑-เลม ๔. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๐. กรมศิลปากร, ประชุมคําพากยรามเกียรติ์. เลม ๒. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๖. นารายณสิบปางและพงสในเรื่องรามเกียรติ์. ประพันธ สุคนธะชาติ รวบรวม เรียบเรียง. กรุงเทพฯ : ๒๕๑๑. MANEEPIN PHROMSUTHIRAK. “HINDI MYTH IN THAILITERATURE WITH SPECIAL REFERENCE TO THE NARAI SIP PANG”. Thesis submitted for the PH.D degree of the University of London. 1980.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.