ละครบุศย์มหินทร์

Page 1


ถ้าดวงวิญญาณของ นายบุศย์มหินทร์ ยังอยู่บนสรวงสวรรค์ ขอให้ดวงวิญญาณท่านได้ รับรู้ไว้ด้วยว่า วันนี.้ ..ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ลูกหลานไทยและชาวต่างชาติกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ที่ศรัทธา ในสิ่งที่ท่านได้กระทาไว้แก่แผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ กาลังร่วมกันนาเรื่องราวอันทรงคุณค่า ดังกล่าว กลับมาเผยแพร่ให้คนไทยและคนทั้งโลกได้ร่วมรับรู้และภาคภูมิใจ ...แม้นว่าสิ่งที่ท่านได้กระทาลงไป ณ.วันนั้น คือความผิดหวัง ความล้มเหลวมากที่สุดใน ชีวิตของท่าน ทว่า...ในห้วงเวลาเดียวกันแต่ต่างมิติ ท่านคือผู้สร้างประวัติศาสตร์การอัดเสียงนอก สยาม เป็น "คนแรก" และเป็น "ครั้งแรก" ของประเทศไทย

ข้าพเจ้าในฐานะผู้อุทิศตนเพื่องานอนุรักษ์สื่อทางด้านเสียงของประเทศไทย ขอร่วมไว้อาลัย "นายบุศย์มหินทร์" ผู้สร้างตานานการอัดเสียงแห่งสยามตลอดไป (พฤฒิพล ประชุมผล)


ภาพ นายบุศย์มหินทร์ จากหนังสือ นาฏกรรมชาวสยาม โดย เอนก นาวิกมูล (The picture of Mr. Boosra Mahin from Siamese Dramatists by Anake Nawigamune.) "กระบอกเสียงนายบุศย์ความบังเอิญที่เกิดเป็นตานาน" เมื่อเราพูดถึงคําว่า "ที่สุดในประเทศไทย" เชื่อได้เลยว่าหลายคนต้องตั้งคําถามและติดตามถึงที่มา ที่ไป…และถ้าเราพูดว่า ความบังเอิญที่เกิดขึ้นเป็นตํานานนี้คือ "เรื่องราวการบันทึกเสียงที่เก่าแก่ที่สุดใน ประเทศไทย ล่ะ!" มันน่าจะตื่นเต้นและชวนติดตามขนาดไหน ? ละครไทยคณะแรกที่เดินทางไปบันทึกเสียงนอกประเทศนั่นคือ คณะของนายบุศย์มหินทร์ แน่นอน หลายท่านคงเคยผ่านหูชื่อนี้มาแล้ว เพราะมีหลักฐานอ้างอิงอย่างพร้อมมูลทั้งในเมืองไทยและที่เยอรมันนี แต่จะมีใครเชื่อหรือไม่ว่า นายบุศย์มหินทร์ไม่เคยมีความคิดที่จะนําละครไทยไปแสดงในยุโรปเลย ถ้าไม่มี ...!!!


...งานแสดงสินค้านานาชาติ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะนั้นพระยาสุริยา นุวัตร อุปทูตไทยประจําประเทศฝรั่งเศส เสนอความคิดให้ส่งมโหรีไปงานแสดงสินค้านานาชาติดังกล่าว ก็ เพียงเพื่อชักชวนฝรั่งที่มาเที่ยวงานเข้ามาซื้อตั๋วเพื่อดื่มกาแฟภายในพลับพลาชั่วคราว ให้ได้อย่างน้อยวันละ ๒๕๐ คนเท่านั้นเอง! (ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อนําศิลปะวัฒนธรรมการแสดงละครของสยามไปเผยแพร่ ยังทวีปยุโรปแต่อย่างใด) ซึ่งตรงนี้ท่านสามารถอ่านได้จาก จดหมายเหตุรายงานการประชุมกรรมการ เรื่อง จัดของส่งการพิพิธภัณฑ์กรุงปารีส คฤสตศักราช ๑๙๐๐ ครั้งที่ ๑๔ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) โดยได้กล่าวถึงเรื่องมโหรีไว้ดังนี้... "มโหรี" เรื่องมโหรีนั้นเห็นว่า น่ากลัวคนที่ไปจะเสียคน จึ่งหาตัวยากใม่มีใครรับจัด บางคน ว่าเลือกจ้างคนที่เป็นมาเลี้ยงไว้แลส่งไปคงจะหาได้แต่ก็ใม่มีใครขันอาษาเพราะเป็นการยากฤาใม่ อยากหนักอกแม่ใม่มีใครบังคับ ที่ว่าใม่ควรส่งเลยก็มี บ้างก็ว่าเกรงฝรั่งจะหนวกหูเลยใม่มากิน เลี้ยง บ้างว่าส่งลครยายปลื้มไปดีกว่า บ้างก็ว่าถ้าใม่มีการเล่นเกรงจะขายอาหารแลกาแฟได้ใม่ดี บ้างคิดให้ส่งแคนวง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศราใม่ทรงเห็นด้วยโดยเสียราชการทางนี้เป็นคนแตรวง สาคัญทั้งนั้น แลเกรงจะขาดทุนใม่เชื่อว่าจะมีผลอย่างพระยาสุริยากล่าว พูดกันวกวนอยู่ช้านาน ในที่สุดตกลงให้บอกพระยาสุริยาว่า เราใม่สามารถจะจัดมโหรีหญิงไปได้ แลแม้จะส่งแคนวง ผู้ชายก็เกรงจะขาดทุน ให้จัดเป็นที่เลี้ยงอาหารตามความคิด ทั้งที่มุขก็จัดเลี้ยงกาแฟด้วย ถ้าเห็น คนจะใม่ติด ก็ให้คิดหาฝรั่งดนตรีมาเล่น ถ้าสมควรจะส่งโน๊ตเพลงไทยออกไป และเกณฑ์ให้ แต่งตัวเป็นไทยก็จะดีกว่าส่งคนออกไป ถ้าจัดใม่ได้ แลถ้าใม่มีมโหรีแล้วการเลี้ยงจะใม่คุ้มทุนจะ กลับจัดเป็นป่าไม้และการเภาะปลูก ก็ขอให้บอกมาจะได้คิดต่อไป (กรมหมื่นนราธิปฯ เลขานุการ เป็นผู้จดหมายเหตุ)





...ถ้าผู้เขียนสามารถย้อนกลับไปมีชีวิตอยู่เมื่อ ๑๐๕ ปีที่แล้ว คงมีคําถามในใจว่า...สงสัยครานี้ มโหรีแห่งสยามประเทศคงหมดหวังที่จะไปอวดศิลปะยังประเทศยุโรปแล้วฤา... ถัดมาอีก ๓ วัน คือวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ได้มีการระบุเกี่ยวกับเรื่องมโหรีในจดหมายเหตุข้อ ๔ ว่า ข้อที่ให้ส่งหญิงมโหรีออกไปนั้น ใม่ ควรส่งถึงแม้แต่ชายเป่าแคนวง จะส่งแต่โน๊ดเพลงไทยออกไป ให้จัดฝรั่งแต่งเป็นไทยเล่นดนตรี ภอเป็นเครื่องชักแขกให้ไปสู่ที่เลี้ยงมากๆ ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธ์วงษา ตาแหน่งนายก



...ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าผลการประชุมของกรรมการมีความคิดจะให้ "ฝรั่งแต่งเป็นไทยเล่นดนตรี" เพียง เพื่อ "เป็นเครื่องชักแขกให้ไปสู่ที่เลี้ยงมากๆ" เท่านั้น... เท่านั้นจริงๆ !... เมื่อคณะกรรมการเลิกล้มความตั้งใจที่จะจัดส่งมโหรีไปงานแสดงสินค้านานาชาติ ณ กรุงปารีส ใน ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เพียงเพราะกลัวขาดทุน ประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงลงกระบอกเสียงที่เก่าแก่ที่สุดของ ไทยก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น... แต่เหมือนกับฟ้าลิขิต... หลังจากข่าวการล้มเลิกส่งมโหรีไปต่างแดนเผยแพร่ออกไป ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองอีกฝากหนึ่งของสยามที่มิใช่ตึกราชสํานัก นายบุศย์ บุตรชายคนหนึ่งของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธํารง (เพ็ง เพ็ญกุล) ก็ได้ตัดสินใจครั้งสําคัญนั่นคือการเปิดตัวโรงละครใหม่อย่าง ใหญ่โตมโหฬาร ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บางกอกสมัย วันที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) โดยได้ประกาศข่าวอย่างครึกโครมดังนี้

(บน ซ้าย) ภาพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธํารง (บน ขวา) ภาพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธํารงพร้อมบุตรชาย หนึ่งในนั้นคือ นายบุศย์ "ละคร บุตร มหินทร" แจ้งความมายังท่านทั้งหลายทราบทั่วกันว่า โรงลครบุตรมหินทรที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ในที่ของ ท่านเลื่อน "ฤทธิ" ซึ่งมีตลาดใหม่อยู่ใกล้เคียง แลหนทางรถม้าไปมาได้โดยสดวก คือด้านใต้เปนทางน่าโรง ลครออกถนนสามเพงตรงกันข้ามกับวัดจักรวัติราชาวาศ ด้านเหนือเปนทางหลังออกถนนเยาวราช ด้าน ตวันตกได้ถนนจักรวัติ ด้านตวันออกได้ถนนราชวาษ ทั้งนี้เปนที่ประชุมชนมาก จึงขอเชื้อเชิญท่านทั้งหลาย ให้ทราบกาหนดวันที่ลครบุตรมหินทร จะเล่นลครวิกตามที่เคยเปนมานั้น คือวันพุฒที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ. ๑๑๗ ตรงกับวันพุฒขึ้น ๑๐ ค่าเดือน ๖ ปี ๑๒๖๑ เปนวันต้นแรกเริ่มเล่นและต่อไปตามสมควร



(บน ซ้าย) โรงละคร"ไซอะมีศเทียเตอ" (บน ขวา)โรงละคร "ปรินซ์เทียเตอ"

(บน)ข่าวเปลี่ยนชื่อโรงละคร"ไซอะมีศเทียเตอ" เป็น "ปรินซ์เทียเตอ" สําเนาจาก สยามไสมย


...แสดงว่านายบุศย์ ทุ่มทุนสุดตัวและอาจแถมพกด้วยการกู้หนี้ยืมสินมาสร้างโรงละครแห่งใหม่... และจุดนี้เองคือจุดพลิกผันของละครฉากหนึ่งในชีวิตจริงของคนที่ชื่อว่า นายบุศย์ แล้วโฆษณาสร้างโรง ละครใหม่ของนายบุศย์ข้างต้นนั้นเกี่ยวข้องอะไรกันกับการเดินทางของคณะละครนายบุศย์มหินทร ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ บังเอิญเหลือเกิน! ถ้าผู้เขียนคาดการณ์ไม่ผิด โรงละครใหม่ที่นายบุศย์สร้างขึ้นนี้ส่งผลให้นาย บุศย์มีปัญหาทางด้านการเงิน กลายเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว หมดปัญญาหาเงินมาไถ่ถอนและปลดหนี้ ขณะเดียวกันนายบุศย์ได้ทราบข่าวว่าทางการสยามเคยมีความตั้งใจนํามโหรีไปแสดงยังกรุงปารีส แต่ถูก ล้มเลิกเพราะกลัวขาดทุน... ตรงนี้เองนายบุศย์กลับมองว่าน่าจะเป็นโอกาสและหนทางในการหาเงินก้อนโต เพื่อนํามาปลดหนี้ที่ตนเองก่อไว้ เพราะนายบุศย์เองก็เป็นถึงเจ้าของคณะละครใหญ่มีหญิงละครและนัก ดนตรีในบริษัทมากมาย ทั้งยังดํารงตําแหน่งเป็นถึงเจ้าหมื่นในนามเจ้าหมื่นไวยวรนารถ การจะขอ พระราชทานอนุญาตล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ จึงไม่น่าเป็นเรื่องยุ่งยากมากนัก แม้ว่าจะมีบริษัทคู่แข่งของพระยา เพชรชฎา ในนามมงคลบริษัท ต้องการที่จะไปแสดงยังยุโรปเช่นกันก็ตาม... ผู้เขียนอยากขอนําสําเนาจดหมายซึ่งเป็นลายมือจริงๆ ของเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (นายบุศย์มหินทร) เขียน ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) กราบบังคมทูลล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โดยขอให้อ่าน ย่อหน้าเกือบสุดท้ายที่ว่า "ข้าพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาพาลครออกไปให้ทันกาหนดเล่นที่กรุงรัสเซีย ปา รีศ แลประเทศอื่นที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ เพื่อจะได้เปลื้องทุกขร้อนหมดหนี้สินตามโอกาศอันดีนี้สักคราว หนึง่ ดังความพิศดารที่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณามาแต่ก่อนนั้นแล้ว การที่กราบถวายบังคมลาต้อง ห่างไกลใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทมิได้อยู่สนองพระเดชพระคุณไปนาน ประมาณสักปีหนึ่งนั้น เปนที่สลดใจ แห่งข้าพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง แต่เปนการจนด้วยเกล้าฯ เข้าตาจนจริงๆ จาต้องทนทุกข์ทรมานรับการลาบาก ถึงเพียงนี้ ก็เพราะความจนเท่านั้น ขอพระบารมีปกเกล้าฯ เปนที่พึ่ง ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ (ลงชื่อ ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าหมื่นไวยวรนารถ)









...ถ้าบังเอิญนายบุศย์ไม่สร้างโรงละครใหม่และไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนั้นแล้ว ท่านคิดว่านาย บุศย์จะพาคณะละครของตนเองไปแสดงยังยุโรปหรือไม่?... หลังจากจดหมายนายบุศย์ขึ้นไปถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ แล้ว ก็ได้มีพระราชโองการที่สําคัญมาก ที่สุดและถือเป็นจุดเปลี่นแปลงชีวิตของเจ้าหมื่นไวยวรนารถอย่างสิ้นเชิงนั่นคือ พระราชโองการโปรดเกล้า โดยมีใจความสรุปดังนี้ ถ้าจะนําคณะละครไปแสดงก็ต้องถอดยศ หรือ ลาออกจากการเป็นเจ้าหมื่น เสียก่อนจะไปทั้งตําแหน่งไม่ได้ต้องไปในฐานะนายบุศย์ ประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นเอง ดังจะได้ เห็นจากลายมือผู้รับสนองพระบรมราชโองการซึ่งเป็นสําเนาจริงเขียนไว้วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)





นอกจากนี้หนังสือพิมพ์บางกอกสมัยฉบับวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ก็ได้ตีพิมพ์ข่าว เกี่ยวกับคณะละครของนายบุศย์มหินทรว่าน่าจะมีโอกาสได้ไปแสดงละครยังกรุงปารีสไว้ดังนี้ บริษัทลคร มงคลบริษัท บุศมหินทรบริษัท ซึ่งกล่าวกันว่าจะไปเมืองปารีซตามความมุ่งหมายจนมีข่าวปรากฏ ในจดหมายเหตุและยังไม่ตกลงแน่ว่า บริษัทใหนจะได้อนุญาตนั้น ได้ทราบข่าวลือกันว่า คราวนี้และลคร บริษัท บุศมหินทร์จะได้ไป เจ้ามื่นไวยวรนารถจะเปนผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโดยเปนการพิเศษในการ เอกซบิเช่นกรุงปารีซ


นอกจากนี้หนังสือพิมพ์บางกอกสมัย วันที่ ๒๕ เดือนกันยายน ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ยังได้ตอกย้ําข่าว ให้คนสยามได้รู้ว่านายบุศย์มหินทรและคณะได้ไปแสดงยังยุโรปอย่างแน่นอน โดยมีข้อความซึ่งอยู่ในหมวด ข่าวเบ็ดเตล็ดดังนี้


“ บริษัทลครบุศมหินทร์ ซึ่งมีผู้เหมาเพื่อจะได้ออกไปเล่นในการเอกซบิเช่น ณ กรุงปารีศ ในคฤตศักราช ๑๙๐๐ นั้น เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนนี้รัฐบาลสยามได้รับเงินแสนบาดเพื่อจะได้จัดการออกไปนั้น “

...ที่สุดแล้ว! ระหว่างการนําคณะละครไปยังกรุงปารีสเพื่อปลดหนี้กับการถูกปลดออกจากตําแหน่งเจ้าหมื่น ... นายบุศย์เลือกทางเดินให้กับชีวิตตนเองอย่างไร?... ผู้เขียนขอให้อ่านจากแจ้งความกรมราชเลขานุการ


จากราชกิจจานุเลกษา เล่มที่ ๑๗ หน้า ๑๕๖ วันที่ ๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ซึ่งมีใจความ ดังต่อไปนี้ แจ้งความกรมราชเลขานุการ ด้วยเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (บุศ) ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตาแหน่งราชการ ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถออกจากตาแหน่งหัวหมื่นมหาดเล็ก แต่วันที่ ๑ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ (ลงพระนาม) สมมตอมรพันธุ ราชเลขานุการ

...นายบุศย์ ตัดสินใจแล้ว นับจากวันที่ ๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เขาคือนายบุศย์ เจ้าของคณะละครคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่พ่วงท้ายด้วยหนี้สินท่วมท้นพ้นตัว ไม่มียศเจ้าหมื่นอย่างที่เคยอีก ต่อไป...


แต่ในประวัติศาสตร์ไร้ค่าของนายบุศย์หน้านั้นกลับสร้างความบังเอิญอันยิ่งใหญ่ให้กลายเป็น ประวัติศาสตร์ทมี่ ีคุณค่าอย่างยิ่งให้กับวงการดนตรีไทย ผู้ที่อนุรักษ์สื่อทางด้านเสียงของไทย และคนไทยทุก คน เพราะแม้นว่านายบุศย์ ตั้งใจเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อไปแสดงมโหรี และดนตรีไทยในงานแสดงสินค้า นานาชาติ ณ กรุงปารีส พ.ศ.๒๔๔๓ เพื่อเก็บเงินใช้หนี้ แต่ก็ไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดเลยให้ความสนใจดนตรี ไทยถึงขั้นบันทึกเสียงลงกระบอกเสียงเก็บไว้ กระทั่งคณะละครของนายบุศย์มีโอกาสไปเล่นดนตรีไทย ณ สวนสัตว์แห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน และก็เป็นความบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ ที่มีอาจารย์เอกทางดนตรีชาว เยอรมันชื่อ Carl Stumpf ลงมืออัดเสียงการบรรเลงเพลงสยามของคณะนายบุศย์ลงกระบอกเสียงชนิดไข ผึ้งของเอดิสัน เพื่อศึกษาในเรื่อง "Sonic System and Music of the Siamese" และนี่คือต้นกําเนิด ประวัติศาสตร์ชิ้นสําคัญที่สุดของประเทศไทยว่าด้วยเรื่องการบันทึกเสียงที่เก่าแก่ทองสยาม ซึ่งยังมี หลักฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยกระบอกเสียงดังกล่าวถูกเก็บรักษาอย่างดียิ่งภายใน "PHONOGRAMMARCHIV DES PSYCHOLOG. INSTITUTS DER UNIVERSITAT BERLIN" ซึ่งพวกเราชาวไทยทุกคน ควร ภาคภูมิใจว่ากระบอกเสียงทั้งหมดที่บันทึกเพลงไทยเดิม อาทิ เพลงคําหอม ทยอยเขมร และสรรเสริญพระ บารมี บรรเลงโดยคณะนายบุศย์มหินทร์นั้น ถูกกําหนดให้เป็นรหัสกระบอกหมายเลข 1 ในระบบการจัดเก็บ และอนุรักษ์สื่อทางด้านเสียงของประเทศเยอรมันนี... ...แล้วนายบุศย์และคณะมีความเป็นอยู่อย่างไร สุขสบายหรือตกระกําลําบากขณะแสดงอยู่ในยุโรป... คณะลครนายบุศย์มหินทร ที่เดินทางไปแสดงยังยุโรปประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น ๓๕ คน เป็น ผู้หญิงถึง ๒๓ คน ที่มีผู้หญิงมากเป็นเพราะต้องแสดงเป็นตัวนาง ตัวละคร และนางรํา ส่วนผู้ชายมีเพียง ๑๒ คนมีหน้าที่คือเล่นดนตรีไทย เครื่องดนตรีประกอบด้วย ระนาด ปี่ ขลุ่ย แคน กลอง ฉิ่ง ฉาบ และอื่นๆ และนี่คือข่าวจาก หนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ฉบับวันพฤหัสที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๔๓ ได้ลงข่าวเกี่ยวกับการ แสดงของ คณะลครนายบุศย์มหินทร ที่เวียนนา และกรุงเบอร์ลิน เยอรมันนี ไว้ดังนี้ "ลครบุศมหินทร์" ลครบุศมหินทร์ซึ่งได้ไป ณ ประเทศยูโหรป หาได้ไป ณ กรุงเซนปีเตอรเบิกอย่างที่กาหนดเมื่อเวลาได้ออก จากกรุงเทพฯ ไม่ ต่อเดือนพฤศจิกายนจึงจะได้ไป ณ กรุงรัศเซีย เมื่อเวลาเรือเมลออกจากประเทศยูโหรป นัน้ ลครบุศมหินทร์กาลังเล่นอยู่ในกรุงเบอร์ลีน และจะเล่นถึงห้าอาทิตย์หนึ่ง ก่อนที่จะได้ไป ณะ กรุงเบอร์ ลีน ได้เล่นที่กรุงวีเอนนา ชาวยูโหรปได้ภากันมาดูแลชมเปนอันมาก ข่างว่าจะมีกาไร..." อีกฉบับเป็นของวันจันทร์ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓


"ลครบุศมหินทร์" เราได้ทราบจากท่านผู้หนึ่งที่ให้ภรรยาออกไปเล่นลครกับเจ้าหมื่นไววรนารถที่ประเทศยูโหรปนั้น เขาได้รับ หนังสือจากภรรยาเขา มีมาทางไปรสนีจากเมืองเบอร์ลีนแสดงความกันดานอย่างเหลือทน ที่เขาได้มีความ ลาบากอยู่ในบริษัทลครครั้งนี้ที่สุด แลแสดงว่า ทุกๆ คนในหมู่ลครนั้นไม่มีความสบายเลยสักคนเดียวเพราะ ความคับแคบต่างๆ ในระหว่างที่เที่ยวเล่นลครนั้น..."


...เมื่อเดินทางกลับถึงสยาม นายบุศย์ มีกําไรติดไม้ติดมือพอจะไถ่หนี้สินตามที่ปรารถนาไว้หรือไม่?… เชื่อหรือไม่ว่า... คณะละครนายบุศย์มหินทร ถูกส่งกลับเนื่องจากการแสดงขาดทุนอย่างยับเยิน ไม่ มีแม้ค่าเดินทางกลับบ้างก็ว่าหญิงละครบางคนต้องนําชุดละครออกขายฝรั่งเพื่อเป็นค่าเดินทางกลับสยาม บ้างก็ว่าได้รับความช่วยเหลือจากราชฑูตในยุโรป ทั้งนายบุศย์เองเมื่อกลับมาถึงยังโดนหญิงละครภายใน คณะฟ้องร้องเรื่องค่าแรงตามสัญญาอีกด้วย คณะละครนายบุศย์มหินทรกลับถึงสยามราวๆ กลางปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยอ้างถึงหลักฐานจากหนังสือพิมพ์ บางกอกไตมส์ฉบับวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๔ ว่า "ตั้งแต่กลับมาจากประเทศยูโหรบแล้ว บัดนี้เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้ป่วยไป เข้าใจว่าเป็นเพราะ เปลี่ยนอากาศ ร่างกายกระทบความร้อนในกรุงเทพฯ เข้า แต่ก็หวังว่าโรคที่ป่วยนั้น ไม่ช้าคงจะหายดีอย่าง เดิม"



เรื่องการฟ้องร้อง ปรากฏอยู่อย่างมากมาย ในข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ เช่น ข่าวในบางกอก ไตมส์วันที่ ๓ กันยายน พิมพ์ไว้ว่า "พวกลครฟ้องบริษัทหลายท่าน"...นักแสดงหลายคนที่ไปแสดงยังยุโรปแต่ไม่ได้รับค่าจ้างเริ่มไม่ พอใจและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อนายบุศย์ ข่าวในบางกอกไตมส์วันที่ ๑๓ กันยายน จั่วหัวข่าว "คดีน่าสงสาร" เนื้อในพิมพ์ไว้ว่า "น่าสงสารแม่ ลครแท้ๆ ที่ลาบากยากเหนื่อยไปประเทศยูโหรป ก็ยังต้องเปนความอีกด้วย กว่าจะได้เงินค่าจ้างก็แสน ลาบาก.....น่าเวทนาจริงหนอ" ข่าวในบางกอกไตมส์วันที่ ๑๐ ตุลาคม กล่าวสั่นๆ ไว้ว่า "เรื่องลครฟ้องร้องบริษัทหุ้นส่วนลครที่ไป แสดงในงานพิพิธภัณฑ์กรุงปารีสปีที่แล้ว จะมีการพิจารณาคดีกันที่ศาลแพ่งในวันที่ ๑๔ เดือนนี้ มีมหาชน ตั้งใจจะไปฟังคดีกันเป็นอันมาก" ข่าวในบางกอกไตมส์วันที่ ๑๕ ตุลาคม รายงานว่า "ถึงเวลาไต่สวน โจทก์และจาเลยซึ่งมีฝ่ายละ หลายๆ คนก็ได้มาพร้อมกัน ฝ่ายจาเลยนั้นล้วนแต่เป็นพระยา ทนายจาเลยชื่อมิสเตอร์เตเลกี ทนายโจทก์ ชื่อขุนรักษา เมื่อสืบพยานกันไปแล้วทนายก็ได้ชี้แจงศาลต่อไปอย่างพิสดารน่าฟัง...เกือบเปนเทศมหาชาติ กันชูชกติดตะลก" ข่าวในบางกอกไตมส์วันที่ ๒๒ ตุลาคม ลงว่า "เด็ก ๘ ขวบ ชื่อหนอม เป็นนักแสดงที่อายุน้อยสุดที่ ไปกับคณะลครนายบุศย์มหินทร ฟ้องเรียกค่าจ้างตามสัญญาที่เคยบอกไว้ว่าจะให้วันละ ๘ บาท ขณะนี้ยัง ไม่ได้ ศาลตัดสินให้บริษัทนายบุศย์จ่ายค่าแรงดังกล่าววันละ ๓ บาท แต่ฝ่ายจาเลยก็ยังขออุทธรณ์อยู่" ...๑๖ ธ.ค. ๒๔๔๔ นายบุศย์ หมดทุกข์ หมดเคราะห์...ผู้สร้างประวัติศาสตร์ จากไปแล้ว!... ห่างจากข่าวการฟ้องเพียง ๒ เดือน...นายบุศย์ ผู้สร้างประวัติศาสตร์ ก็ไม่จําเป็นต้องแบกรับ เคราะห์กรรมอีกต่อไปแล้ว นายบุศย์ไปสบายแล้ว... เหลือไว้เพียงชื่อที่อยู่ในใจชาวละคร นักดนตรีไทย และ นักอนุรักษ์งานด้านเสียงตลอดไป หนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ ฉบับวันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ลง ข่าว (ครั้งสุดท้าย) เกี่ยวกับ นายบุศย์มหินทร์ไว้ดังนี้ ข่าวถึงแก่กรรม ทุกๆ ท่านบรรดาที่เปนญาติแลมิตรแก่เจ้าหมื่นไววรนารถ (บุศร) แล้วเปนที่เสียใจเศร้าโศรกน่าสังเวดที่ ทราบว่าเมื่อวันจันทรที่ ๑๖ ธันวาคมเวลาบ่าย เจ้าหมื่นไววรนารถอาบน้าเพื่อจะไปธุระ ในทันใดนั้น เปนลมล้มลงในห้องน้าขาดใจตายในทันที พวกพ้องและภรรยาได้แก้ไขก็หาฟื้นไม่ เมือ่ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ได้มีการรดน้าอาบศพเข้าหีบตามราชการ เมื่อมีเหตุอันร้ายแรง เกิดขึ้นสาคัญแก่เจ้าหมื่นไวยวรนารถถึงแก่


ชีวิตโดยเร็วเช่นนั้นก็เปนที่เศร้าโศกแห่งญาติ แลมิศหายบุตรภรรยาเหลือเกิน ด้วยท่านผู้ตายหรือก็มีความ ผาศุขอ้วนพี มิได้เปนโรคอย่างใดอย่างหนึ่งเลย เมื่อเปนเช่นนั้นแล้ว ก็กระทาให้เสียใจแก่ทุกๆ ท่านๆ ผู้นี้ได้ ราชการมาในกรมมหาดเล็กก็ช้านาน ทั้งเปนผู้ขับรถพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระจ้าวอยู่หัวด้วย เมื่อ กาลังทาราชการอยู่นั้นก็มิได้มีความผิดอันใดในน่าที่ราชการเลย" ...เมื่อเรามาอยู่ตรงนี้วันนี้... ถ้าวันนั้น...บังเอิญไม่มีงานแสดงสินค้านานาชาติ ณ กรุงปารีส สยาม จะมีความคิดส่งมโหรีไปยุโรปหรือไม่? ถ้าบังเอิญเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเนื่องจากสร้าง โรงละครแห่งใหม่เขาจะพาตนเองและคณะไปแสดงยังยุโรปหรือไม่? ถ้าบังเอิญคณะละครนายบุศย์มหินทร์ ไม่ได้เดินทางไปเยอรมันนี เขาจะมีโอกาสพบกับ Dr. Carl Stumpf เพื่ออัดเสียงลงกระบอกไขผึ้งหรือไม่? ถ้า บังเอิญเยอรมันนีไม่เห็นความสําคัญของดนตรีไทย กระบอกเสียงที่บันทึกการบรรเลงของนายบุศย์มหินทร์ จะยังคงเก็บอยู่ถึงทุกวันนี้หรือไม่? ... แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนไม่อยากให้เกิดเป็นความบังเอิญขึ้นอีกนับจากวันนี้ ก็คือ เราควรจะร่วมกันจัดงานเชิดชูเกียรติประวัติและระลึกถึง "นายบุศย์ ผู้สร้างตํานานกระบอกเสียงแห่ง สยาม" ทุกวันที่ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี... เห็นด้วยกับผมหรือไม่ครับ? สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบคุณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ห้องไมโครฟิล์มหอสมุดแห่งชาติ, อาจารย์ เอนก นาวิกมูล ผู้ที่ทําให้นายบุศย์ไม่เคยถูกลืมไปจากโลก, อาจารย์ อานันท์ นาคคง ผู้ที่ใฝ่ฝันอยากแบก ระนาดล่องเรือตามรอยนายบุศย์, คุณจันทกาญจน์ คล้อยสาย ผู้ค้นคว้าข้อมูลจากไมโครฟิล์มและอินเตอร เน็ต และ Many many Thanks to: Dr. Rainer E. Lotz from Bonn, Germany and Maria Jenner fromVienna, Austria and Jean-Paul Agnard from Quebec, Canada รวมถึงอีกหลายท่านในอนาคตที่ กําลังทําให้เรื่องราวของนายบุศย์กลับมามีชีวิตอีกครั้ง (หมายเหตุ : ตัวสะกดต่างๆ ที่อยู่ในจดหมายเหตุและเนื้อข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกสมัย ผู้เขียนคัดลอก ตามต้นฉบับจริง ดังนั้นการสะกดคําบางคําอาจแตกต่างจากปัจจุบัน มิได้เกิดจากการพิมพ์หรือเรียงพิมพ์ ผิดแต่อย่างใด)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.