Electricity & Industry Magazine Issue January - February 2021

Page 1



p.3-c4-DigiSignAge Size A4.pdf

1

2/18/2564 BE

11:34





Samwa_21.59x29.21cm.pdf

1

3/28/17

11:02 AM


ChikoFP.pdf

1

2/3/2564 BE

9:44 AM

Anodized Solar Mounting

AEC DISTRIBUTION

(THAILAND) CO., LTD. www.chikosolarthai.com gomen.man 0863764363 chiko.solarmounting1 @gmail.com





CONTENTS JANUARY-FEBRUARY

2021

16 IEEE POWER & ENERGY SOCIETY THAILAND (IEEE PES-THAILAND)

18 20 22 24 26

สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน)

ARTICLE 28 10 เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ-ชีวิตวิถีใหม่

34

38

47

50

ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 3 เทคโนโลยีมาแรงปี 2564 ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน ศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้าน พาไทยสู่ศูนย์กลาง ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน หัวเว่ย คาดการณ์โลกปี พ.ศ. 2564 ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจ�ำประเทศไทย นูทานิคซ์ ความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบเคลือบกระจกส�ำหรับ โครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

INTERVIEW 40 ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตน์

นวัตกรรมหน้ากากผ้า 2 in 1 กองบรรณาธิการ

SPECIAL AREA 56 Push-in Socket for Industrial Relays Part 2

บริษัท แม็กซิไมซ์ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จ�ำกัด

58 การท�ำงานของ AIR CIRCUIT BREAKER

บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด 62 Hitachi ABB Power Grids Energizes NordLink and Accelerates Europe Towards a Carbon-Neutral Energy System Hitachi ABB Power Grids IT ARTICLE 64 บทบาทของเอดจ์ คอมพิวติ้ง ต่อกลยุทธ์ไอทีและ

SPECIAL SCOOP 44 วิศวกรไทยกับการปรับตัวในยุคปกติใหม่

การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค 66 จับตาอนาคตยุคดิจิทัลกับการต่อกรภัยคุกคาม ไซเบอร์ สุภัค ลายเลิศ กรรมการอ�ำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จ�ำกัด

SCOOP 52 ศูนย์พลังงานอาเซียนและสมาคมถ่านหินโลก

68 PRODUCT 70 PR NEWS 72 INDUSTRY NEWS

กรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน และผู้เชี่ยวชาญ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองบรรณาธิการ

54 Reusable and Cleanable Face Mask

กองบรรณาธิการ

ลงนามบันทึกความเข้าใจสร้างพันธสัญญาร่วม ในพลังงานถ่านหินสะอาด กองบรรณาธิการ

January-February 2021



EDITOR TALK

JANUARY-FEBRUARY

2021

สวัสดีปีใหม่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นปีที่หนักหนาสาหัสของคนไทยและคนทั่วโลกเลยทีเดียว ผลกระทบจากโรคระบาดจากไวรัส โควิด-19 ส่งผลรุนแรงอย่างไม่คาดคิด จากที่เริ่มระบาดจนถึงช่วงกลางเดือนมกราคมนี้ มีคนเสียชีวิตไปแล้วมากกว่าล้านคน เศรษฐกิจทั้ง โลกปั่นป่วน ประชาชนจ�ำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ ที่เรียกว่า New Normal แต่หลังจากมีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนแล้ว คาดการณ์สถานการณ์ต่างๆ จะเริ่มคลี่คลายขึ้นตามล�ำดับ... หวังว่าทุกอย่างจะสามารถควบคุมได้ในเร็ววัน Electricity & Industry Magazine ฉบับแรกของปี พ.ศ. 2564 นี้ ยังคงอัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระมากมายเช่นเดิม ในคอลัมน์ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะพบกับบทสัมภาษณ์ของ “บุญญนิตย์ วงศ์รกั มิตร” ผูว้ า่ การ กฟผ. คนที่ 15 และทีมผูบ้ ริหาร กฟผ. ร่วมพูดคุยกับสื่อมวลชนถึงทิศทางการด�ำเนินงานของ กฟผ. และแนวทางการบริหารงานหลังเข้ารับต�ำแหน่ง เป็นประจ�ำทุกๆ ปีที่ในช่วงต้นปี หน่วยงานต่างๆ จะได้คาดการณ์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นและได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป ในปีนท้ี างส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้คาดการณ์ถงึ 10 เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ-ชีวติ วิถใี หม่ ถือเป็น 10 เทคโนโลยีที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตหลังยุคโควิด-19 อีก 3-5 ปีข้างหน้า ส่วนจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างนั้น สามารถหาอ่านได้ ภายในเล่ม นอกจากนัน้ บริษทั อินฟอร์ อาเชียน โดย ฟาบิโอ ทิวติ ิ รองประธานบริษทั ได้เขียนบทความทีก่ ล่าวถึง 3 เทคโนโลยีมาแรงปี 2564 นั่นคือ Multi-Tenant Cloud จะขึ้นแท่นเป็นมาตรฐานสูงสุด ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการจ้างงาน และจะเป็น เทคโนโลยีส�ำคัญด้านการดูแลสุขภาพ และดิจิทัลซัพพลายเชนจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นอีกบทความหนึ่งที่น่าสนใจมาก บทความเรื่อง ศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้าน พาไทยสู่ศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของ วรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ หัวหน้า เจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษทั หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ส่วน ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผูจ้ ดั การประจ�า ประเทศไทย นูทานิคซ์ ได้ คาดการณ์โลกปี พ.ศ. 2564 เป็นการคาดการณ์เทรนด์ส�ำคัญที่จะมีอิทธิพลต่อรูปแบบทางธุรกิจและเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2564 เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกบทความหนึง่ ทีพ่ ลาดไม่ได้คอื บทความเรือ่ ง ความร่วมมือเพือ่ พัฒนาระบบเคลือบกระจกส�ำหรับโครงการหมูก่ ล้องโทรทรรศน์ รังสีเชเรนคอฟ โดยเป็นผลสืบเนือ่ งจากการลงนามความร่วมมือด้านฟิสกิ ส์ดาราศาสตร์อนุภาค ระหว่างสถาบันวิจยั ดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับสถาบันเดซี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ส่วนรายละเอียดของโครงการเป็นอย่างไรนั้น ติดตามอ่านได้ในฉบับนี้ พบกันใหม่ฉบับหน้า กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

ที่ปรึกษา : รศ. ดร.สุธี อักษรกิตติ์ / ไกรสีห์ กรรณสูต / พรเทพ ธัญญพงศ์ชัย / เฉลิมชัย รัตนรักษ์ / ประเจิด สุขแก้ว / ผศ.พิชิต ล�ำยอง / วัลลภ เตียศิริ / พรชัย องค์วงศ์สกุล / ดร.กมล ตรรกบุตร / ศ. ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ / รศ. ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม / รศ. ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : กิตติ วิสุทธิรัตนกุล บรรณาธิการวิชาการ : ดร.สุรพล ด�ำรงกิตติกุล ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นิภา กลิ่นโกสุม กองบรรณาธิการ : ทัศนีย์ เรืองติก / ณัฐชยา แก่นจันทร์ พิสูจน์อักษร : อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ ศิลปกรรมรูปเล่ม / ศิลปกรรมโฆษณา : ชุติภา จริตพันธ์ / ศศิธร มไหสวริยะ ฝ่ายโฆษณา : ศิริภรณ์ กลิ่นขจร / มนัส ไชยเพส / กษิรา เหมบัณฑิตย์ / กัลยา ทรัพย์ภิรมย์ / วีระวรรณ พุทธโอวาท เลขานุการฝ่ายโฆษณา : ชุติมณฑน์ บัวผัน ฝ่ายสมาชิก : ศิรินทิพย์ โยธาพันธ์ January-February 2021

บทความที่ปรากฏใน ELECTRICITY & INDUSTRY Magazine เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ ผู้เขียน ไม่มีส่วนผูกพันกับ บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด แต่อย่างใด หากบทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่า มีการลอกเลียนหรือแอบอ้าง กรุณาแจ้งที่กองบรรณาธิการ ELECTRICITY & INDUSTRY Magazine บทความต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสือได้ผ่านการตรวจทานอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้เกิดความถูกต้องและ สมบูรณ์ที่สุด หากเกิดความผิดพลาดจะมีการชี้แจงและแก้ไขต่อไป เจ้าของ

บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2354-5333 โทรสาร 0-2640-4260 http:// www.technologymedia.co.th เพลท-แยกสี : บริษัท อิมเมจิ้น กราฟิค จ�ำกัด พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด รุ่งเรืองการพิมพ์



ระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และลอยน้ำ

IEEE Thailand Section และ IEEE PES-Thailand ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย นเรศวร จัดสัมมนาเชิงวิชาการเรือ่ ง “ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) และลอยน�ำ้ (Floating): ข้อก�ำหนด การออกแบบ ติดตัง้ ควบคุม และบ�ำรุงรักษา” เมือ่ วันที่ 25-27 มกราคม 2564 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน บรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก พพ. กฟผ. กฟภ. สถาบันอุดมศึกษา และภาคเอกชน

January-February 2021


IEEE Power & Energy Series:

The Digital Energy Transformation

ขอเชิญเขารวมงานสัมมนาเชิงว�ชาการ

การเปลี่ยนรูปแบบการจัดการ ดานดิจิทัลของอุตสาหกรรมพลังงาน The Digital Transformation of the Energy Industry: AI, Machine Learning, IoT, Blockchain, Cloud, Big Data and Cyber Security

วันที่ 8 – 10 มีนาคม 2564

หองกมลทิพย โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

การเปลี่ยนรูปแบบการจัดการดานดิจิทัลของอุตสาหกรรมพลังงาน การประยุกตใช AI ในภาคพลังงานทดแทน, การประยุกตใช Machine Learning กับการวิเคราะหกริดไฟฟา IoT: การประยุกตใชงาน ความทาทายและโอกาส และการจัดการพลังงาน เทคโนโลยี Blockchain ในภาคพลังงาน, ความทาทายของการซื้อขายพลังงานไฟฟาแบบ Peer-to-Peer ดวยระบบ Blockchain Cloud Service in the Energy Industry Intro to Data Science บทนำสูว ทิ ยาการขอมูล, ตัวอยางการทำ Exploratory Data Analysis, Big Data Analytics in Energy Sector Cyber Security for the Energy Industry โดย ผูเ ชีย่ วชาญจาก สถาบันอุดมศึกษา Solution Providers และ Start up ดานไฟฟาและพลังงาน

www.greennetworkseminar.com/ai


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

บุญญนิตย์ วงศ์รก ั มิตร ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 เปิดนโยบายขับเคลื่อน กฟผ. สู่ผู้ให้บริการ ด้านพลังงานอย่างครบวงจร “บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 เผย หลักการบริหารแบบ “ยืดหยุ่น ทันการณ์ ประสานประโยชน์” ขับเคลือ่ น กฟผ. สูผ่ ใู้ ห้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจรในยุค ดิสรัปชัน ทั้งการรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศ และบริการด้านพลังงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ไฟฟ้าทีห่ ลากหลาย พร้อมเดินหน้าสร้างพันธมิตรต่อยอดธุรกิจ ใหม่ ควบคู่การดูแลสังคมชุมชนสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมทีมผู้บริหาร กฟผ. ร่วม พูดคุยกับสื่อมวลชนถึงทิศทางการด�ำเนินงานของ กฟผ. และแนวทางการบริหารงานหลังเข้ารับต�ำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช ส�ำนักงานใหญ่ จ.นนทบุรี บุญญนิตย์ วงศ์รกั มิตร ผูว้ า่ การ กฟผ. กล่าวว่า สถานการณ์ ก ารแพร่ ร ะบาดของโควิ ด -19 และ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีส่งผลกระทบโดยตรง ต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า รวมถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้า ซึง่ ถูกก�ำหนดโดยผูใ้ ช้ไฟฟ้ามากขึน้ กฟผ. จึงต้องปรับตัว ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าในยุค New Normal ปรับวิธีคิดและการด�ำเนินงานภายใต้แนวคิด “EGAT for ALL” หรือ กฟผ. เป็นของทุกคน และท�ำเพือ่ ทุกคน เพราะนอกจากการผลิตและส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความ มัน่ คงในระบบไฟฟ้าของประเทศแล้ว การด�ำเนินงาน ของ กฟผ. ยังต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ไฟฟ้าทีม่ คี วามหลากหลายในยุคดิสรัปชัน โดยตัง้ เป้า เดินหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่าง ครบวงจร (Energy Solutions Provider) ด้วยหลักการ บริหารแบบ “ยืดหยุน่ ทันการณ์ ประสานประโยชน์” เดินหน้าผลักดันงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ การพัฒนาโรงไฟฟ้าตามแผน PDP2018 Rev.1 ให้แล้วเสร็จตามก�ำหนด มุ่งเน้นน�ำนวัตกรรมและ January-February 2021


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในทุกการด�ำเนินงาน ตั้งแต่ การพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโรงไฟฟ้าดิจิทัล (Digital Power Plant) ท�ำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต พัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบผสมผสาน อาทิ โครงการโซลาร์ลอยน�้ำในเขื่อน การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ แบบสูบกลับ ด้านระบบส่งไฟฟ้า กฟผ. มุง่ พัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้า เชือ่ มโยงประเทศเพือ่ นบ้าน (Grid Connectivity) ยกระดับสูก่ ารเป็น ศูนย์กลางซื้อขายพลังงานของภูมิภาค และปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า ในประเทศให้มีความมั่นคงแข็งแรง โดยในปี พ.ศ. 2564 จะเร่ง ด�ำเนินการสร้างสายส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ เชือ่ มโยงบริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา (วัฒนานคร จ.สระแก้ว-พระตะบอง 2 กัมพูชา) เพื่อ รองรับการซื้อขายไฟฟ้าปริมาณ 300 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2566 ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) รองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนโดยไม่ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหลัก ได้แก่ การจัดตั้ง ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของประเทศ (RE Forecast Center) ซึ่งสามารถพยากรณ์ก�ำลังการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนได้ละเอียดในระดับราย 30 นาที จนถึงในอีก 7 วันถัดไปได้อย่างแม่นย�ำ พร้อมทัง้ น�ำร่องศูนย์สงั่ การการด�ำเนินการ ตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center) เชือ่ มต่อ กับระบบของ กฟน. และ กฟภ. เพือ่ เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ ตอบสนองทางด้านโหลดในภาพรวมของประเทศ ปรับปรุงโรงไฟฟ้า ของ กฟผ. ให้มคี วามยืดหยุน่ (Flexible Power Plant) มีความพร้อม จ่ายสูง โดยเริม่ น�ำร่องทีโ่ รงไฟฟ้าวังน้อย ชุดที่ 4 แล้ว ท�ำให้สามารถ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทัง้ พัฒนาแบตเตอรีก่ กั เก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) ทีส่ ถานีไฟฟ้าแรงสูงบ�ำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และ สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี เพือ่ แก้ปญ ั หาคุณภาพไฟฟ้า ในพื้นที่ที่มีพลังงานหมุนเวียนเชื่อมต่อเข้าระบบไฟฟ้าปริมาณมาก ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวด้วยว่า ท่ามกลางความท้าทายของ อุตสาหกรรมไฟฟ้าในปัจจุบนั ต้องเพิม่ ส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจเดิม ด้วย และ กฟผ. จะไม่เดินเพียงล�ำพัง จะแสวงหาพันธมิตรร่วมเป็น คูค่ า้ เพือ่ สร้างความหลากหลายทางธุรกิจ ตลอดจนการสร้างการเติบโต ผ่านบริษทั ในกลุม่ กฟผ. และเดินหน้ารุกธุรกิจเพือ่ เพิม่ ส่วนแบ่งใน ตลาดเดิม อาทิ การขายไฟฟ้าไปต่างประเทศเพิม่ ขึน้ ธุรกิจน�ำเข้า LNG ขยายธุรกิจบ�ำรุงรักษาส�ำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ กฟผ. ยังเตรียมบุกธุรกิจใหม่ อาทิ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้แก่ สถานีอดั ประจุไฟฟ้า เครือ่ งอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (EGAT DC Quick Charger) ขนาด 100 กิโลวัตต์ ธุรกิจสมาร์ทอีวชี าร์จเจอร์ขนาดเล็ก แบบครบวงจร ภายใต้แบรนด์ Wallbox ชุดดัดแปลงสภาพรถยนต์

ให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV Kit) ธุรกิจแบตเตอรีอ่ จั ฉริยะ (Batt 20C) สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจซือ้ ขายเครดิตการผลิต พลังงานหมุนเวียน (REC) ทัง้ นี้ กฟผ. ยังมุง่ เน้นการน�ำนวัตกรรมต่อยอดการดูแลสังคม อย่างยัง่ ยืน ภายใต้แนวคิด “CSR for ALL เติบโตด้วยกันอย่างยัง่ ยืน” ทั้งในมิติเศรษฐกิจ (Prosperity) จากโครงการการจัดการด้านการใช้ ไฟฟ้า (DSM) ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคที่อยู่อาศัย ต่อ ยอดสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มการบริหารจัดการไฟฟ้า แบบ ครบวงจร เช่น การออกแบบมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า การจัดการใช้ ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชัน การให้ค�ำปรึกษาด้านพลังงาน ส่วนใน มิติสังคมและชุมชน (People) จากการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนด้วย โครงการต่างๆ อาทิ โครงการชีววิถี โครงการห้องเรียนสีเขียว ต่อยอดสู่โคก หนอง นา โมเดลวิถีใหม่ตามศาสตร์พระราชา และ พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชนผ่านการสนับสนุนการท่องเที่ยวและสินค้า ชุมชน ส�ำหรับมิติสิ่งแวดล้อม (Planet) จากโครงการปลูกป่าและ การด�ำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ต่อยอดสู่นวัตกรรมดูแล คุณภาพอากาศ EGAT Air TIME ได้แก่ การปลูกป่าเพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียว (Tree) นวัตกรรมสีเขียว (Innovation) การติดตามคุณภาพอากาศ (Monitoring) และการถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างความตะหนักใน การดูแลคุณภาพอากาศ (Education & Engagement) “ผมมุ ่ ง มั่ น จะวางรากฐานให้ กฟผ. พร้ อ มต่ อ การ เปลี่ยนแปลงด้วยหลักการบริหารแบบ “ยืดหยุ่น ทันการณ์ ประสานประโยชน์” โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เสริมความแข็งแกร่งด้วยพันธมิตรทางธุรกิจ พร้อมกับยกระดับ การท�ำงานสู่มืออาชีพด้านพลังงานไฟฟ้าที่โดดเด่น ตลอดจน สร้างการยอมรับจากผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในทุกภาคส่วน” ผูว้ า่ การ กฟผ. กล่าวทิ้งท้าย January-February 2021


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

MEA จับมือเทศบาล นครนนทบุรี เร่งนำ� สายไฟฟ้าลงดินรอบ ศาลากลางเก่าเมืองนนท์

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ร่วมกับ เทศบาลนครนนทบุรี ลงพืน้ ทีร่ อื้ ถอนสายไฟ เสาไฟฟ้า ในโครงการเปลีย่ นระบบสายไฟฟ้าอากาศ เป็นสายไฟฟ้าใต้ดนิ บริเวณโดยรอบศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) ท่าน�้ำนนทบุรี ระยะที่ 1 ซึ่งศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) เป็น อาคารไม้สัก 2 ชั้นขนาดใหญ่ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สร้างขึ้น เมือ่ ปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั หรือ รัชกาลที่ 5 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 เทศบาลนครนนทบุรเี ข้ามาด�ำเนินการ ปรับปรุงอาคารเป็น “พิพธิ ภัณฑ์จงั หวัดนนทบุร”ี เนือ่ งจากอาคารศาลากลาง หลังนี้มีสถาปัตยกรรมลักษณะการสร้างแบบพิเศษ ฝีมืองานไม้ประณีต ทางกรมศิ ล ปากรจึ ง ได้ ขึ้ น บั ญ ชี เ ป็ น โบราณสถานแห่ ง หนึ่ ง ของชาติ ตามประกาศลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2524 และยังได้รบั รางวัลอาคารอนุรกั ษ์ ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ. 2543 ส�ำหรับการด�ำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็น สายไฟฟ้าใต้ดนิ ครัง้ นี้ มีระยะทางทัง้ สิน้ 260 เมตร เริม่ ด�ำเนินการก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2563 และก�ำหนดเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2564 แบ่งเป็น ขัน้ ตอนต่างๆ เช่น ขัน้ ตอนสร้างบ่อพักท่อร้อยสายไฟฟ้าแรงสูงและแรงต�ำ่ ขัน้ ตอนติดตัง้ สายไฟฟ้าในท่อร้อยสายใต้ดนิ ทัง้ แรงสูงและแรงต�ำ่ ขัน้ ตอน ติดตัง้ Unit Substation ขัน้ ตอนบรรจบสายไฟฟ้าใต้ดนิ ส�ำหรับการด�ำเนินการ ในวันนี้เป็นขั้นตอนรื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และสายสื่อสาร อย่างไรก็ตาม MEA ยังได้ด�ำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้า อากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดนิ อย่างต่อเนือ่ ง โดยล่าสุดได้ดำ� เนินการแล้วเสร็จ ระยะทางรวม 48.6 กิโลเมตร ประกอบด้วย พื้นที่บางส่วนของถนนสาย ส�ำคัญต่างๆ เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 ถนนราชด�ำริ ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยา ถนนสวรรคโลก ถนนสาธุประดิษฐ์และสว่างอารมณ์ ถนนพิษณุโลก และถนนนครสวรรค์ เป็นต้น January-February 2021


การไฟฟ้านครหลวง

MEA

คว้ารางวัลระดับสากล Great Practice โครงการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ชุมชนคอยรุ๊ตตั๊กวา จากเวที GCSA ประเทศไต้หวัน กีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผูว้ า่ การการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA ได้รบั รางวัล Great Practice ประเภท Emerging Market ในเวที Global Corporate Sustainability Awards : GCSA 2020 ประเทศไต้หวัน จากโครงการพัฒนาชุมชนสูค่ วามยัง่ ยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (กรณีชมุ ชนคอยรุต๊ ตัก๊ วา) ถือเป็นรางวัลระดับสากล ตอกย�ำ้ ความส�ำเร็จในการมุง่ มัน่ ส่งเสริม พัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่ให้บริการด้านระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ควบคู่กับวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร MEA มีการด�ำเนินงานด้านการส่งเสริมพัฒนาชุมชน สังคม เพือ่ ความยัง่ ยืนตลอดมา การได้รบั รางวัลในครัง้ นีถ้ อื เป็นโครงการด้านสังคมที่ MEA ด�ำเนินการส่งประกวดโดยตรงเองในเวทีตา่ งประเทศ ก่อนหน้านี้ MEA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัล Asia Responsible Entrepreneurship Awards 2018 สาขา Green Leadership จากโครงการน�ำเสาไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานจากโครงการ เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินน�ำไปปักป้องกันคลื่นชายทะเลบางขุนเทียน

ส�ำหรับชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตัก๊ วา (คอยรุตตัก๊ วา แปลว่า คุณงามความดีที่มอบแด่พระเจ้า) ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตําบลโคกแฝด อําเภอหนองจอก กรุงเทพมหานคร อยูใ่ นความรับผิดชอบของการไฟฟ้า นครหลวงเขตมีนบุรี มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ด้านหนึ่งติดคลอง น�้ำในคลองค่อนข้างสะอาด สามารถใช้ในการอุปโภคได้ มีจํานวน ครัวเรือนทั้งหมดประมาณ 189 ครัวเรือน ประกอบอาชีพหลักคือ การรับจ้าง ท�ำเกษตรกรรม คนในชุมชนส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาอิสลาม วิถชี วี ติ ของชุมชนนีย้ ดึ หลักการ “ศาสนานําชีวติ ” อาศัยศาสนา เป็นแม่บทต้นแบบ มีการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถชี วี ติ แบบ พึง่ พาตนเอง ลักษณะการรวมกลุม่ ค่อนข้างเหนียวแน่น มีระบบสังคม เครือญาติ ท�ำให้การประสานงานความช่วยเหลือกันและกันภายใน ชุมชนมีสูง มีพื้นฐานด้านการเกษตร และความเชื่อเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียง ประกอบกับโครงการดังกล่าวสามารถต่อยอดการพัฒนา ในชุมชนของชาวมุสลิมส�ำคัญทั้งในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงจ�ำนวน 157 มัสยิด ในกรุงเทพมหานคร ภายหลังจากการประชุมเสวนาร่วมกับชุมชน พบว่า ชุมชน มีความต้องการในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะ ค่าอาหาร เนือ่ งจากสถานทีต่ งั้ ชุมชนอยูห่ า่ งไกลจากตลาด ค่าใช้จา่ ย ในการซือ้ อาหารและค่าเดินทางจึงเป็นภาระของครัวเรือน ประกอบกับ ชุมชนอยูต่ ดิ กับคลองล�ำไทร จึงมีแนวคิดทีจ่ ะเพาะเลีย้ งปลา โดยเฉพาะ ปลาดุก เนื่องจากเพาะเลี้ยงง่าย โตไว อาหารส�ำหรับปลามีทั่วไป ในพื้นที่ รวมถึงเศษอาหารในครัวเรือนก็สามารถน�ำมาเลี้ยงปลาได้ คนในชุมชนบริโภคปลาดุกได้ ไม่ขัดกับหลักการทางศาสนา MEA

เห็นว่าแนวทางการด�ำเนินการดังกล่าวบางส่วนสอดคล้องกับเรื่อง ของการลงทุนเพื่อสังคม (Social Enterprise Investment) จึงได้ สนับสนุนและให้คำ� แนะน�ำชุมชนในการก่อสร้างบ่อเลีย้ งปลาดุกและ พันธุ์ปลา จ�ำนวน 5 บ่อ โดยให้ชุมชนเป็นผู้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง มีการร่วมกันลงแรงจัดท�ำและขุดบ่อปลา มีการเก็บข้อมูลและศึกษา การเจริญเติบโตของปลาดุกตลอดวงจรชีวติ การเปลีย่ นถ่ายน�ำ้ และ การลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ MEA ได้ปรึกษาร่วมกับผูแ้ ทนชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าในชุมชน รวมถึง การน�ำพลังงานทดแทนมาใช้ในพืน้ ทีม่ สั ยิด วัตถุประสงค์เพือ่ ลดภาระ ค่าใช้จา่ ยและสร้างแหล่งเรียนรูด้ า้ นพลังงานทดแทนทีส่ ามารถขยายผล ไปยังชุมชนอื่นๆ จึงได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจาก แสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ควบคุมและจ่ายไฟฟ้าใช้ในพืน้ ทีม่ สั ยิด ซึง่ เป็นศูนย์กลางของคนในชุมชนและเป็นศูนย์การเรียนรูด้ า้ นเศรษฐกิจ พอเพียง และเพื่อใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าส�ำหรับใช้ในกิจกรรมของ มัสยิด พร้อมจัดท�ำสือ่ ความรูแ้ ละสือ่ ประชาสัมพันธ์ ซึง่ ส่งผลให้ชมุ ชน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้า ที่ส�ำคัญคือ คนในชุมชนมีความรู้ ความ เข้าใจ และความเชื่อมั่นในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น สามารถถ่ายทอดความรู้และผลที่ได้รับให้กับคณะบุคคลที่ขอเข้ามา เยี่ยมชมศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างชุมชนที่เป็นแกนหลักตัวแทนในการต่อยอดพัฒนา สังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนต่อไป

January-February 2021


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

PEA ENCOM จับมือ SPCG

ลงทุนผลิตไฟฟ้า พลังงานสะอาด

ในพื้นที่ EEC ให้เป็นสังคม

Low Carbon Society บริษทั เอสพีซจี ี จ�ำกัด (มหาชน) ได้รว่ มมือกับ PEA ENCOM ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เป็นพืน้ ทีท่ ใี่ ช้พลังงานสะอาด และรักษาคุณภาพ สิง่ แวดล้อม สร้างสุขให้ทงั้ นักลงทุน ผูป้ ระกอบการ ในพืน้ ที่ EEC และประชาชนทีอ่ าศัยโดยรอบ คณะกรรมการนโยบาย ภาคตะวันออก ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับผิดชอบในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับ ความต้ อ งการ และทั น การเจริ ญ เติ บ โตของพื้นที่เขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และให้จัดหาไฟฟ้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึง่ เป็นพลังงานสะอาดเพือ่ ใช้ในพืน้ ที่ EEC โดย PEA ได้มอบหมายให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ด�ำเนินการ

เขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด หรือ PEA ENCOM กล่าวว่า โครงการนี้ จะช่วยให้เกิดการจ้างงานกว่า 50,000 คน ในช่วงของการพัฒนาโครงการ และการใช้ พลังงานใน 3 จังหวัดนี้ ได้กำ� หนดสัดส่วน เขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา ให้การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ต่อพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ร้อยละ 70:30 นั่นคือ การใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานอืน่ ๆ ทีจ่ ะตามมา ในอนาคต จะเพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการในการใช้พลังงานใน พื้นที่ EEC ดั ง นั้ น การพั ฒ นาพื้ น ที่ EEC จะเป็ น การยกระดั บ เศรษฐกิ จ ประเทศไทย และยังเป็นการใช้พลังงานสะอาดเพือ่ เป็นการสร้างพืน้ ทีท่ มี่ ี คาร์บอนต�ำ่ นีจ้ ะเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม การดู แ ลสั ง คมและสภาพความเป็ น อยู ่ ข องประชาชน ชุ ม ชน และ สาธารณูปโภคของสังคม รวมถึงยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ (CO2) ได้ไม่น้อยกว่า 11 ล้านตันคาร์บอน ภายในระยะเวลา 30 ปี หรือประมาณ 400,000 ตันคาร์บอนต่อปี

3125125/

gy-solarsolar-energy-

hotos/ener https://pixabay.com/p

https://pixabay.com/photos/ solar-photovoltaic-renewable-2955323/ January-February 2021


การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดร.วั น ดี กุ ญ ชรยาคง จุลเจริญ กล่าวว่า SPCG มีความ ภาคภูมิใจในการร่วมมือกับ PEA ENCOM ในการทีจ่ ะลงทุนโครงการ พลังงานไฟฟ้า (แสงอาทิตย์) ใน EEC ให้เป็นพื้นที่สะอาดต้นแบบ หรื อ โมเดลใหม่ ข องประเทศไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง เป็นพื้นที่ชั้นน�ำของโลกในการใช้ จุลเจริญ พลั ง งานสะอาดจากพลั ง งาน แสงอาทิตย์ ภายใต้แนวคิด Low Carbon Society และพื้นที่ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ซึ่งตอบโจทย์และ มีความเหมาะสมที่สุดในพื้นที่ EEC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นการช่วยลดการใช้ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละลดการเกิ ด ปั ญ หามลพิ ษ ทางอากาศ เป็นการสอดคล้องตามแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการพัฒนา พืน้ ที่ EEC ทีม่ กี ารก�ำหนดว่าการพัฒนาพืน้ ที่ EEC จะต้องเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการน�ำไปสู่เศรษฐกิจ หมุนเวียน เพือ่ เป็นการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน และขับเคลือ่ นให้พนื้ ที่ EEC เป็นสังคมคาร์บอนต�่า

ความเป็นมา

ตามที่รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก พ.ศ. 2561 เพื่อจะผลักดันให้ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทางเศรษฐกิจสูง ทันสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในระดับโลก โดยจัดให้มีบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจร จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มี ประสิทธิภาพสูง มีการก�ำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสอดคล้อง กับการพัฒนาทีย่ งั่ ยืนและเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ การพัฒนา พื้นที่ EEC ให้เป็นพื้นที่สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทเี่ ป็นพลังงานสะอาด เพือ่ ให้เกิดเป็น สังคมคาร์บอนต�่ำ (Low Carbon Society) คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (PEA) รับผิดชอบในการจัดหา พลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ และทันการเจริญเติบโตของ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และให้จัดหาไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เพื่อใช้ใน พืน้ ที่ EEC โดย PEA ได้มอบหมายให้บริษทั พีอเี อ เอ็นคอม อินเตอร์เนชัน่ แนล จ�ำกัด (PEA ENCOM) ด�ำเนินการในเรื่องดังกล่าว https://pixabay.com/illustrations/ person-pear-light-bulb-sun-3065254/

ความร่วมมือ

บริษทั เอสพีซจี ี จ�ำกัด (มหาชน) (SPCG) ได้รว่ มมือกับ PEA ENCOM ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพืน้ ที่ EEC ให้เป็นพื้นที่ที่ใช้พลังงานสะอาด และรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สร้างสุขให้ทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ EEC และประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ ด้วยการใช้ไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์และยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศ เพือ่ เป็นการสอดคล้อง ตามแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่ก�ำหนดไว้ว่า ...การพัฒนาพื้นที่ EEC ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระดับนานาชาติ เพื่อการน�ำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน และขับเคลือ่ นให้พนื้ ที่ EEC เป็นสังคมคาร์บอนต�ำ่ (Low Carbon Society)... จนน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จของโครงการจัดหาพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) และพลังงานส�ำรอง (ระบบกักเก็บพลังงาน) เพื่อใช้ในเขต EEC โดยมีเป้าหมาย ระยะแรกไม่นอ้ ยกว่า 500 เมกะวัตต์ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2564-พ.ศ. 2569 มูลค่าการลงทุนกว่า 23,000 ล้านบาท โดย SPCG มีแผนจะขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพือ่ รับสิทธิยกเว้น และลดหย่อนภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จ รวมอย่างน้อย 300 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2564 และ อีกไม่น้อยกว่า 200 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2569 โดยจะ ทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ในการใช้พลังงานในเขต 3 จังหวัดนี้ ได้กำ� หนดสัดส่วน ให้การใช้พลังงานจากเชือ้ เพลิงฟอสซิลต่อพลังงาน แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ร้อยละ 70:30 นั่นคือ การใช้พลังงานสะอาดจาก พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานอื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคต จะเพิ่มขึ้นและ เพียงพอต่อความต้องการ January-February 2021


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

เอ็กโก กรุ๊ป คว้า “DJSI” สำ�เร็จ ขึ้นแท่นบริษท ั พลังงานชั้นนำ�ระดับโลก บริษทั ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ขึ้นแท่นสู่การเป็นบริษัทพลังงานชั้นน�ำระดับโลก โดยเป็นบริษัทไฟฟ้าไทยรายแรกที่ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices - DJSI) ในกลุม่ ดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets Index) ประเภทอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคไฟฟ้า (Electric Utilities) ประจ�ำปี 2563 เป็นปีแรก ตอกย�ำ้ การด�ำเนินธุรกิจอย่างยัง่ ยืนมาอย่าง ต่อเนื่องในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่รายแรก ของประเทศไทย เทพรัตน์ เทพพิทกั ษ์ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ เอ็กโก กรุป๊ กล่าวว่า “เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดีและเป็นความ ภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่เอ็กโก กรุ๊ป เป็นบริษัทไฟฟ้าของ ประเทศไทยรายแรกที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI Emerging Markets ซึง่ เป็นสิง่ ยืนยันในฐานะผูน้ า� ธุรกิจไฟฟ้าว่ามาตรฐานการพัฒนาด้านความยัง่ ยืนของ บริษัทเทียบเท่ามาตรฐานระดับโลกและเป็นที่ยอมรับ

January-February 2021

ในระดับสากล ตลอดจนสะท้อนถึงความมุง่ มัน่ ของบริษทั ในการด�ำเนิน ธุรกิจพลังงานอย่างยัง่ ยืน ด้วยความใส่ใจทีจ่ ะธ�ำรงไว้ซงึ่ สิง่ แวดล้อมและ การพัฒนาสังคม ตามวิสัยทัศน์ “Energy for Life” มาโดยตลอด” แนวคิดการด�ำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอ็กโก กรุ๊ป มุ่งเน้นการ สร้างความเติบโตทางธุรกิจ ภายใต้หลักการก�ำกับกิจการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้ ควบคูก่ บั พันธกิจในการเป็นพลเมืองทีด่ ดี ว้ ยการอยูร่ ว่ มกับ สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมอย่างเกื้อกูล เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับ ผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกภาคส่วน ครอบคลุมทัง้ สังคมภายในและสังคมภายนอก เริม่ จากสังคมภายใน โดยก�ำหนดเรือ่ งการให้ความส�ำคัญต่อผูม้ สี ว่ นได้เสีย เป็นส่วนหนึง่ ในค่านิยมองค์กร สร้างความตระหนัก และการปฏิบตั อิ ย่าง เป็นรูปธรรมในการมุ่งลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบเชิงบวก ต่อสิง่ แวดล้อม ชุมชน และสังคม ตลอดกระบวนการด�ำเนินธุรกิจ และ ขยายสู่สังคมภายนอกด้วยการส่งเสริมให้พนักงานใช้ศักยภาพและ มีจิตอาสา โดยมีส่วนร่วมด�ำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และ สังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ควบคู่ไปกับการยึดมั่นใน หลักธรรมาภิบาลมาอย่างต่อเนื่อง “การได้รบั คัดเลือกให้เป็นสมาชิก DJSI ระดับสากลครัง้ นี้ นับเป็น ความส�ำเร็จที่เกิดจากการผลักดันและการสนับสนุนในเชิงนโยบายของ คณะกรรมการบริษัท การขับเคลื่อนของผู้บริหาร ความร่วมมือของ พนักงานทุกคนในองค์กร และผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกภาคส่วน ซึง่ มีเป้าหมาย ชัดเจนร่วมกันในการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง จะน�ำไปสูก่ ารเติบโตอย่างต่อเนือ่ งในทุกมิติ ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ภายใต้การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี ในระยะยาวให้แก่ผถู้ อื หุน้ และสร้างสมดุลทุกด้านท่ามกลางสถานการณ์ ที่ท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต” เทพรัตน์ กล่าว DJSI จัดท�ำขึ้นด้วยความร่วมมือของ S&P Global และ SAM ถือเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการด�ำเนินธุรกิจตามแนวทางการ พัฒนาอย่างยัง่ ยืนของบริษทั ชัน้ น�ำระดับโลก เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าบริษทั มีการ บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมทั้งเป็นดัชนีที่กองทุนต่างๆ จากทั่วโลก ใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการพิจารณาการลงทุน โดยบริษัทที่ได้รับการ รับรอง DJSI จะสามารถสร้างผลตอบแทนทีด่ แี ละยัง่ ยืนให้แก่นกั ลงทุน รวมถึงการสร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย


บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) เอ็กโก กรุ๊ป โชว์ผลการดำ�เนินงาน ไตรมาส 3/2563 กำ�ไรกว่า 2,800 ล้านบาท

ขยายพอร์ตเสริมทัพ ด้วยธุรกิจพลังงาน ที่เกี่ยวเนื่อง บริษทั ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุป๊ เผยผลการด�ำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2563 ยังเติบโตตาม เป้าหมาย และปรับตัวดีกว่าไตรมาส ก่อนหน้า ซึง่ เป็นผลมาจากผลประกอบการ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ของโรงไฟฟ้ า ขนาดใหญ่ ในต่างประเทศ ประกาศความก้าวหน้า การลงทุนในธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ทัง้ ธุรกิจเชือ้ เพลิงและระบบสาธารณูปโภค และธุ ร กิ จ Smart Energy Solution ต่อยอดการเติบโตอย่างยั่งยืน เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า ผลการด�ำเนินงานไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2563 สิน้ สุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 บริษทั มีกาํ ไรจากการด�ำเนินงาน (ไม่รวม ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี การด้อยค่าของ สินทรัพย์ การวัดมูลค่าเครื่องมือทาง การเงิน และการรับรู้รายได้แบบสัญญา เช่า) จ�ำนวน 2,839 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 275 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11% เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2562 โดยสาเหตุหลักมาจากผลประกอบการ ที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงไฟฟ้ า ไซยะบุ รี โรงไฟฟ้ า พาจู โรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา และโรงไฟฟ้า เคซอน เป็นต้น ทั้งนี้ หากพิจารณาผล การด�ำเนินงาน 9 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2563 บริษัทมีกําไรจากการด�ำเนินงาน จ�ำนวน 7,641 ล้านบาท ลดลง 432 ล้าน บาท เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 เป็นผลให้หลายประเทศ มีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงก็ตาม

ในช่วงไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบนั เอ็กโก กรุป๊ มีความก้าวหน้า ในการด�ำเนินธุรกิจอย่างต่อเนือ่ ง โดยโรงไฟฟ้าเซลล์เชือ้ เพลิง “กังดง” ก�ำลังการผลิตติดตัง้ 19.8 เมกะวัตต์ ในเกาหลีใต้ ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป นอกจากนี้ เอ็กโก กรุป๊ ยังได้รว่ มกับบริษทั ในกลุม่ กฟผ. ได้แก่ บริษทั กฟผ. อินเตอร์เนชัน่ แนล จ�ำกัด และบริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) ลงนามสัญญา Joint Development Agreement (JDA) เพือ่ ร่วมกันพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน “กวางจิ 1” ก�ำลังการผลิตติดตัง้ 1,320 เมกะวัตต์ ในเวียดนาม เมือ่ วันที่ 16 กันยายน 2563 รวมทัง้ ยังได้ลงนามในสัญญา เงินกูจ้ ำ� นวน 7,800 ล้านบาท เพือ่ ใช้พฒ ั นาและก่อสร้างโครงการขยายระบบขนส่งน�ำ้ มัน ทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ด้านโครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างก่อสร้าง ปัจจุบนั บริษทั มีโครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างก่อสร้าง 3 โครงการ ซึง่ มีความก้าวหน้าตามแผนงาน ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเล “หยุนหลิน” ในไต้หวัน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 61% ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 โรงไฟฟ้า พลังงานน�ำ้ “น�ำ้ เทิน 1” ใน สปป.ลาว ก่อสร้างแล้วเสร็จ 78% ซึง่ คาดว่าจะเริม่ เดินเครือ่ ง เชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 นอกจากนีย้ งั มีโครงการธุรกิจพลังงานทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง 1 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งน�ำ้ มันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 50% ซึ่งคาดว่าจะเริ่มด�ำเนินการในไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 ส�ำหรับโครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างการพัฒนา เทพรัตน์ กล่าวว่า เอ็กโก กรุป๊ มุง่ มัน่ ขยายขอบเขตการด�ำเนินธุรกิจทั้งด้านการผลิตและให้บริการด้านพลังงาน ครอบคลุม ธุรกิจไฟฟ้า ซึง่ ยังคงเป็นธุรกิจหลักทัง้ โรงไฟฟ้าทีใ่ ช้เชือ้ เพลิงฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียน ทัง้ ในและต่างประเทศ รวมทัง้ แสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ในธุรกิจพลังงานทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง ได้แก่ ธุรกิจเชือ้ เพลิงและระบบสาธารณูปโภค ปัจจุบนั บริษทั เตรียมยืน่ ขอใบอนุญาต ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ต่อคณะกรรมการก�ำกับกิจการ พลังงาน (กกพ.) โดยจะน�ำเข้า LNG เพือ่ มาใช้ในโรงไฟฟ้าของกลุม่ บริษทั ในปริมาณราว 200,000 ตัน/ปี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิง ท�ำให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้นด้วย ในขณะที่ความคืบหน้าในการลงทุนในธุรกิจ Smart Energy Solution ในฐานะ ผูใ้ ห้บริการด้านนวัตกรรมพลังงานอย่างครบวงจร ได้แก่ โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เอ็กโกระยอง ปัจจุบนั โครงการผ่านการประเมินการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว และได้รบั การอนุมตั จิ ากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้สามารถจัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง ลักษณะ Smart Industrial Estate อ.เมือง จ.ระยอง พืน้ ทีป่ ระมาณ 600 ไร่ แล้ว โดยจะเข้าสูก่ ระบวนการลงนามสัญญาอย่างเป็น ทางการกับ กนอ. ต่อไป โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาพืน้ ทีแ่ ละระบบสาธารณูปโภค ภายใน 2 ปี และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ บริษทั ยังอยู่ ระหว่างการพัฒนาโครงการ Solar Solution Provider เพือ่ ให้บริการ ด้ า นผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละระบบโซลาร์ เซลล์ ร ะดั บ พรี เ มี่ ย ม อย่างครบวงจร โดยจะเน้นกลุ่มเป้าหมายลูกค้า อุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์

January-February 2021


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

ราช กรุ๊ป เดินหน้าลงทุนต่างประเทศ ดันกำ�ลังผลิต 8,700 เมกะวัตต์ปีนี้

ประกาศกำ�ไร 4,157 ล้านบาท 9 เดือนแรก กิจจา ศรีพัฑฒางกุระ

บริษทั ราช กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) ประกาศเดินหน้า ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้า ดันก�ำลังการผลิตให้สำ� เร็จตามเป้าหมาย 8,700 เมกะวัตต์ในปีนี้ หลังจากประสบความส�ำเร็จลงทุน 5 โครงการใหม่ ก�ำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 243 เมกะวัตต์ ส่งผลให้กำ� ลังการผลิตรวมอยูท่ ี่ 8,173 เมกะวัตต์ ในช่วง 9 เดือนทีผ่ า่ นมา ส�ำหรับผลประกอบการในช่วงรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ (1 มกราคม-30 กันยายน 2563) บริษทั ฯ มีก�ำไรเป็นจ�ำนวน 4,157.21 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.8 เมือ่ เทียบกับงวดเดียวกันของปี พ.ศ. 2562 เป็นผลจากรายได้ ของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ราชบุรี และโรงไฟฟ้าหงสา ลดลง อย่างไรก็ดี ภาพรวมของ รายได้ของบริษัทฯ ยังคงแข็งแกร่ง เพราะมีการรับรู้รายได้ จากโรงไฟฟ้าใหม่อีก 3 แห่ง รวมทั้งส่วนแบ่งก�ำไรของกลุ่ม โรงไฟฟ้าขนาดเล็กประเภทโคเจนเนอเรชัน กลุ่มโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ กิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคง มุ่งหน้าขยายการลงทุนธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ให้บรรลุเป้าหมาย 780 เมกะวัตต์ทวี่ างไว้ในปีนี้ โดยมุง่ หวัง เพิ่มก�ำลังการผลิตให้ถึง 8,700 เมกะวัตต์ ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างเจรจาร่วมทุนอีก 5 โครงการในต่างประเทศ รวมก�ำลังการผลิตประมาณ 500-600 เมกะวัตต์ คาดว่าจะ ด�ำเนินการได้ส�ำเร็จในปีนี้ ซึ่งจะท�ำให้ก�ำลังผลิตปีนี้เพิ่มขึ้น ได้ราว 740-840 เมกะวัตต์ บรรลุเป้าหมาย 8,700 เมกะวัตต์ ส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ ระบบสาธารณู ป โภคพื้ น ฐานและธุ ร กิ จ ที่ เกีย่ วเนือ่ งด้านพลังงาน บริษทั ฯ ได้รว่ มลงทุนร้อยละ 10 ใน โครงการ Operation and Maintenance โครงการทางหลวง พิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ซึง่ คาดว่าจะลงนามสัญญา

January-February 2021

สัมปทานได้ในเดือนธันวาคมศกนี้ อีกทั้งยังได้ร่วมทุนจัดตั้งโรงงาน ผลิตและจ�ำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งก�ำลังผลิต 60,000 ตัน ต่อปี ใน สปป.ลาว เพือ่ ส่งออกจ�ำหน่ายให้ลกู ค้าอุตสาหกรรมญีป่ นุ่ และเกาหลีใต้เป็นหลัก “ในปีนี้บริษัทฯ จัดสรรงบลงทุนจ�ำนวน 15,000 ล้านบาท ส�ำหรับโครงการเดิมและโครงการใหม่ จนถึงปัจจุบันเงินลงทุนที่ใช้ ไปแล้วจ�ำนวน 10,150 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนใน 6 โครงการ เดิม เป็นเงิน 4,005 ล้านบาท และ 4 โครงการใหม่ เป็นเงิน 6,145 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษทั ฯ ยังประสบความส�ำเร็จในการออกหุน้ กู้ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วงเงิน 8,000 ล้านบาท อายุเฉลี่ย 11 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.45% โดยน�ำมาใช้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสาย สีเหลืองและสายสีชมพู 1,300 ล้านบาท และโครงการพลังงานลม Collector และ Yandin ในออสเตรเลีย จ�ำนวน 6,700 ล้านบาท ซึง่ ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนทางการเงินได้เท่านัน้ แต่ยงั เป็นแหล่งเงินทุน ทางเลือกที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการลงทุนโครงการพลังงาน ทดแทนของบริษัทฯ อีกทั้งยังขยายไปยังโครงการขนส่งที่สะอาด โครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการของเสีย ด้วย” กิจจา กล่าว โครงการที่ได้ตกลงร่วมทุนสำ�เร็จแล้วในช่วง 9 เดือน ที่ผ่านมา ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อน Thang Long เวียดนาม ก�ำลังผลิต 620 เมกะวัตต์ (ถือหุ้น 22.05%) เป็นการซื้อกิจการ ซึ่ง เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โรงไฟฟ้าพลังงานลม Thanh Phong เวียดนาม ก�ำลังผลิต 29.70 เมกะวัตต์ (ถือหุน้ 51%) ก�ำหนดเดินเครือ่ งเชิงพาณิชย์ ไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2564 โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ เอ็นเนอร์จี จ.ระยอง ก�ำลังผลิต 92 เมกะวัตต์ (ถือหุ้น 49%) ก�ำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี พ.ศ. 2565 โรงไฟฟ้าราชโคเจนเนอเรชัน ส่วนขยาย จ.ปทุมธานี ก�ำลัง ผลิต 30 เมกะวัตต์ ก�ำหนดเดินเครือ่ งเชิงพาณิชย์ ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2565

1. 2. 3. 4.


บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน)

ราช กรุ๊ป จับมือ เน็กส์ซิฟ เอนเนอร์จี

5. 6.

โครงการโรงไฟฟ้า REN จ.นครราชสีมา ก�ำลังผลิต 40 เมกะวัตต์ (ถือหุ้น 40%) ก�ำหนดเดินเครือ่ งเชิงพาณิชย์ปี พ.ศ. 2566 จัดตัง้ บริษทั SIPHANDONE-RATCH-LAO จ�ำกัด ใน สปป.ลาว เพื่อด�ำเนินงานผลิต และจ� ำ หน่ า ยเชื้ อ เพลิ ง ชี ว มวลอั ด แท่ ง (Wood Pellet) ก�ำลังผลิต 60,000 ตันต่อปี ในแขวงจ�ำปาสัก พืน้ ที่ 20,000 ไร่ คาดว่า จะเริม่ ก่อสร้างโรงงานผลิตในปี พ.ศ. 2564 และผลิตส่งออกจ�ำหน่ายในปี พ.ศ. 2565 โครงการด� ำ เนิ น งานและบ� ำ รุ ง รั ก ษา ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน นครราชสีมา (M6) และสายบางใหญ่ กาญจนบุรี (M81) ถือหุ้น 10% ส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้า เป้าหมายที่อยู่ ระหว่างการเจรจาเป็นโครงการในต่างประเทศ มีกำ� ลังการผลิตรวมประมาณ 500-600 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกวางจิ 1 ในเวียดนาม โครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำ 2 แห่ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังลม 1 แห่ง และโครงการ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 1 แห่ง ผลการด�ำเนินงาน 9 เดือนของปี พ.ศ. 2563 บริษัทฯ มีรายได้รวมจ�ำนวน 30,403.12 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายและ บริการ และรายได้ตามสัญญาเช่าทางการเงินของ โรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ ควบคุม จ�ำนวน 26,636.39 ล้านบาท รายได้จากส่วนแบ่งก�ำไรของกิจการ ร่วมทุนและเงินปันผล จ�ำนวน 3,333.80 ล้านบาท และรายได้จากดอกเบีย้ และอืน่ ๆ จ�ำนวน 432.93 ล้านบาท ทัง้ นี้ บริษทั ฯ มีกำ� ไรส�ำหรับงวดจ�ำนวน 4,157.21 ล้านบาท คิดเป็นก�ำไรต่อหุน้ 2.87 บาท ฐานะการเงิ น ของบริ ษั ท ฯ ณ วั น ที่ 30 กั น ยายน 2563 มี สิ น ทรั พ ย์ ร วมจ� ำ นวน 110,910.11 ล้านบาท หนีส้ นิ จ�ำนวน 50,925.97 ล้านบาท และส่วนของผูถ้ อื หุน้ จ�ำนวน 59,984.14 ล้านบาท ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ยังมีศกั ยภาพทางการเงิน ที่แข็งแกร่ง ซึ่งสะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิ ต่อทุน 0.59 เท่า อัตราส่วนความสามารถในการ ช�ำระหนี้ (DSCR) 6.09 เท่า และอัตราผลตอบแทน ผู้ถือหุ้น 8.08%

7.

พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ในเวียดนาม กำ�ลังผลิต 80 เมกะวัตต์ พร้อมเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ ปี 2565

บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) รุกลงทุนโครงการด้านพลังงาน ทดแทนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประกาศความส�ำเร็จภายหลังลงนาม สัญญาความร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานเน็กส์ซิฟ เบนเตร ขนาดก�ำลังการผลิต 80 เมกะวัตต์ โดยบริษัท อาร์เอช อินเตอร์เนชั่นแนล (สิงคโปร์) จ�ำกัด บริษัทย่อย ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นทั้งจ�ำนวน จับมือร่วมกับกลุ่ม เน็กส์ซฟิ เอ็นเนอร์จี เพือ่ เข้าลงทุนพัฒนาในโครงการพลังงานลมใกล้ชายฝัง่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองโฮจิมินห์ไปทางตอนใต้ โดยจะเข้าลงทุนซื้อหุ้นใน บริษทั Nexif Energy Ben Tre จ�ำกัด ซึง่ เป็นผูพ้ ฒ ั นาโครงการดังกล่าวในสัดส่วน ร้อยละ 50 กิจจา ศรีพฑ ั ฒางกุระ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ราช กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าร่วมพัฒนาโครงการพลังงานลมแห่งนี้ ถือเป็นการ ต่อยอดความร่วมมือกับบริษทั เน็กส์ซฟิ เอ็นเนอร์จี จ�ำกัด ทีเ่ ป็นพันธมิตรเดิม ของบริษัทฯ ซึ่งได้เข้าร่วมลงทุนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เน็กส์ซิฟ เอ็นเนอร์จี จ.ระยอง เมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และถือเป็นหนึ่งใน โครงการลงทุนเป้าหมายที่อยู่ในแผนการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทใน ปีนี้ นับได้วา่ บริษทั ฯ ประสบความส�ำเร็จในการเจรจาและได้เข้าลงนามสัญญา ความร่วมมือพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม เมือ่ วันที่ 4 ธันวาคมทีผ่ า่ นมา ปัจจุบันโครงการก�ำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและก�ำลังเจรจาสัญญาหลัก คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 18 เดือน โดยมีกำ� หนดเดินเครื่อง เชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เพื่อจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้าเวียดนาม ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว นับเป็นโครงการ ลงทุนใหม่ล�ำดับที่ 6 ของบริษัทฯ ในปีนี้ ส่งผลให้กำ� ลังผลิตตามสัดส่วนการ ลงทุนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นรวม 283 เมกะวัตต์ และเป็นก�ำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 8,755 เมกะวัตต์ “ตามแผนยุทธศาสตร์ลงทุนของบริษทั ฯ ในปีนที้ มี่ งุ่ เน้นขยายก�ำลังผลิต โดยการเข้าซือ้ กิจการประเภท Brownfield เพือ่ รับรูร้ ายได้ในทันที แต่ยงั คงลงทุน ในโครงการโรงไฟฟ้า Greenfield จากการต่อยอดความร่วมมือกับพันธมิตรเดิม และพันธมิตรใหม่เพือ่ แสวงหาโอกาสในการลงทุนเพิม่ ด้วย ส�ำหรับปีนี้ บริษทั ฯ มีความก้าวหน้าการลงทุนและเจรจาปิดดีลส�ำเร็จ โดยเป็นโรงไฟฟ้าในประเทศ 3 โครงการ และสามารถเข้าปักธงลงทุนในตลาดใหม่อย่างเวียดนามอีก 3 โครงการ ซึ่ง 2 ใน 3 โครงการนี้ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลม 2 แห่ง อันสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของบริษัทฯ ที่มุ่ง จะขยายก�ำลังผลิตเพิ่มให้ถึง 2,500 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2568” กิจจา กล่าว ส�ำหรับโครงการเน็กส์ซิฟ เบนเตร เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลม มีขนาด ก�ำลังการผลิต 80 เมกะวัตต์ ติดตั้งใกล้ชายฝั่ง ตั้งอยู่ในอ�ำเภอ Thanh Phu จังหวัด Ben Tre อยู่ทางทิศใต้ของเมืองโฮจิมินห์ ระยะทาง 160 กิโลเมตร โดยโครงการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับการไฟฟ้าเวียดนาม January-February 2021


Article

> ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เทคโนโลยี พลิกโฉมธุรกิจ-ชีวิตวิถีใหม่

ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สรุปเรื่อง “10 เทคโนโลยี ที่ น ่ า จั บ ตามอง (10 Technologies to Watch)” โดย ดร.ณรงค์ ศิรเิ ลิศวรกุล ผูอ้ ำ� นวยการ สวทช. เป็น 10 เทคโนโลยีที่นา่ จับมอง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจ และชีวิตหลังยุคโควิด-19 อีก 3-5 ปีขา้ งหน้ำ ส�ำหรับ 10 เทคโนโลยีทคี่ วรจับตามองนี้ เป็นการ คาดการณ์เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบได้อย่างชัดเจนใน 3-5 ปีขา้ งหน้า แต่มคี วามเป็นไปได้สงู ทีจ่ ะส่งผลกระทบกับ ชีวติ และธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเริม่ จากเทคโนโลยี ใกล้ตัวและเข้ากับสถานการณ์ที่สุด

1.

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

วัคซีนโควิด-19 (COVID-19 Vaccine) ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 หลายประเทศ

มีการจัดการกับการระบาดของโรคเพื่อให้อยู่กับสถานการณ์โควิดแบบในปัจจุบันได้ โดยหลักๆ จะใช้ 3 วิธี คือ การสร้างภูมคิ มุ้ กันหมู่ (Herd Immunity) การพัฒนายารักษาโรคโควิด-19 และการพัฒนาวัคซีน ซึง่ ปัจจุบนั ประเทศไทยก็ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ทีถ่ อื เป็นงานเร่งด่วน โดยใช้เทคโนโลยีวคั ซีน 4 รูปแบบ

January-February 2021


แบบที่ 1 คือ Virus Vaccine เป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ใช้ในการพัฒนาวัคซีนทั่วไป ที่ใช้ตัวไวรัสทั้งตัวมาเป็นตัว กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีทั้งวัคซีนเชื้อเป็นที่ท�ำให้อ่อนฤทธิ์ และวัคซีนเชื้อตาย แบบที่ 2 คือ Protein-Based Vaccine หรือ Subunit Vaccine โดยเอายีนของเชื้อ SARS-CoV-2 ไปใส่ใน แบคทีเรียหรือยีสต์ แล้วให้แบคทีเรียหรือยีสต์สร้างโปรตีนขึน้ มา โดยก่อนจะน�ำไปฉีดเข้าร่างกาย จะต้องเติม Adjuvant ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ท�ำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเข้าไปด้วย แบบที่ 3 คือ Nucleic Acid Vaccine เป็นการต่อยอดใช้สารพันธุกรรมของแบคทีเรียหรือยีสต์ที่มีการเติมยีน ของเชื้อ SARS-CoV-2 มาใช้ประโยชน์ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ DNA Vaccine และ mRNA Vaccine ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบนี้ จ�ำเป็นที่จะต้องพัฒนาตัวน�ำส่ง เพื่อใช้กลไกของร่างกายเปลี่ยน DNA หรือ mRNA ให้เป็นโปรตีนที่ท�ำให้ร่างกายสร้าง ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรค แบบที่ 4 คือ Viral Vector Vaccine เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ไวรัสวัคซีนที่มีอยู่แล้วมาเป็นตัวน�ำส่ง โดยออกแบบ ให้วคั ซีนเหล่านีส้ ามารถน�ำยีนของเชือ้ SARS-CoV-2 เข้าสูร่ า่ งกาย ตัวอย่างเช่น การสร้างวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทมี่ ยี นี ของ SARS-CoV-2 ท�ำให้รา่ งกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ทั้งโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ หรือใช้ Adenovirus Vaccine ส�ำหรับ สวทช. ได้มีการพัฒนาต้นแบบวัคซีน 3 รูปแบบ ยกเว้นรูปแบบ Virus Vaccine ที่ต้องใช้เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เนือ่ งจากยังไม่มหี อ้ งปฏิบตั กิ ารทีม่ คี วามปลอดภัยระดับ 3 อย่างไรก็ตาม หากดูความก้าวหน้าในระดับโลก ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ผ่านการรับรองที่พร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ แต่ก็มีหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าในขั้นทดลองเฟส 3 เช่น บริษทั Pfizer และ BioNTech ของสหรัฐอเมริกา เป็น mRNA Vaccine ซึง่ ประกาศความส�ำเร็จในการวิจยั เชิงคลินกิ ระยะที่ 3 (ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563) และได้ยื่นขอ Emergency Use Authorization (EUA) จาก U.S. Food and Drug Administration (FDA) แล้ว มีคู่แข่งในแพลตฟอร์มเดียวกันคือ Moderna ของสหรัฐอเมริกำ

2.

ยาแก้ ไขความชรา (Rejuvenating Drug) ยาแก้ไขความชราถือเป็นหนึง่ ในเทคโนโลยีแห่งความหวัง

ของโลกทีก่ า้ วเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ นอกจากจะช่วยให้เรามีชวี ติ ยืนยาวแล้ว ทีส่ ำ� คัญคือ จะช่วยให้เราสามารถ ใช้ชีวิตในช่วงวัยชราได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ขณะนี้ประเทศไทยก็มียาอายุวัฒนะ REDGEMs หรือ มณีแดง เพื่อแก้ไขความชรา ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ศ. ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยแกนน�ำ สวทช. ที่พบว่า ความชราของดีเอ็นเอเป็นสภาวะเหนือพันธุกรรม เกิดจากการลดลงของข้อต่อดีเอ็นเอซึ่งท�ำให้รอยโรคของดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น จึงพัฒนา “ยามณีแดง” ที่จะช่วยเพิ่ม ข้อต่อดีเอ็นเอในเซลล์ ท�ำให้รอยโรคของดีเอ็นเอลดลง เซลล์กลับมามีรูปร่างและท�ำงานได้เหมือนเซลล์ปกติ และได้มี การทดสอบใช้มณีแดงในเซลล์และในหนูทดลองแล้ว พบว่าสามารถสร้างข้อต่อดีเอ็นเอได้ เซลล์ทชี่ ราแล้วกลับมามีรปู ร่าง และการท�ำงานเหมือนเซลล์ปกติ แผลไฟไหม้ในหนูทดลองหายเร็วขึ้น ไขมันลงพุงลดลง หนูชรามีความจ�ำดีขึ้น และ คล่องแคล่วว่องไวพอๆ กับหนูหนุม่ สาว ถ้ามณีแดงผลิตได้จริงในเชิงพาณิชย์ ก็จะน�ำไปใช้เพือ่ การรักษาโรคทางผิวหนัง เช่น แผลเบาหวาน แผลไฟไหม้น�้ำร้อนลวก แผลคนชรา และโรคอื่นๆ เช่น กระดูกผุ ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับ รวมถึงร่างกายเสื่อมโทรมจากเบาหวานหรือความชรา สมองเสื่อม

January-February 2021


3.

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิง่ สุขภาพ (Internet of Health Things : IoHT) ปัจจุบนั เริม่ มีการน�ำ

Internet of Things หรือ IoT มาใช้งานในด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเทคโนโลยี 5G ที่จะเกิดขึ้นนั้น สามารถรองรับการท�ำงานของอุปกรณ์ IoT จ�ำนวนมากๆ ได้พร้อมๆ กัน (Massive IoT) ท�ำให้การติดตาม สุขภาพผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์สวมใส่ (Mobile Medical Devices) ต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย การท�ำงานของระบบ IoT ทางด้านสุขภาพ หรือ Internet of Health Things : IoHT ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือ เซนเซอร์ ทีอ่ ยูใ่ นอุปกรณ์สวมใส่หรือเครือ่ งมือแพทย์ตา่ งๆ เพือ่ ใช้วดั สัญญาณชีพของผูป้ ว่ ย เช่น ความดัน โลหิต อุณหภูมิ อัตราการเต้นหัวใจ สัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไปเก็บยังส่วนที่ 2 คือ ฐานข้อมูลสุขภาพ ที่เก็บข้อมูลสุขภาพของแต่ละบุคคล และส่วนสุดท้ายคือ ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล ที่ท�ำหน้าที่ ประมวลผลข้อมูลส�ำหรับแพทย์ตรวจติดตามและวินิจฉัย รวมทั้งแสดงผลกลับไปยังตัวผู้ป่วย ปัจจุบันบริษัท Startup ในต่างประเทศหลายแห่งออกผลิตภัณฑ์ IoHT ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ บ้างแล้ว เช่น ตรวจติดตามโรคหัวใจ ตรวจติดตามโรคเบาหวาน ที่ใช้ตรวจติดตามในช่วงการกักตัวในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส�ำหรับประเทศไทยก็มีหลายหน่วยงานวิจัยพัฒนาในเรื่องนี้ เช่น ศูนย์วิจัยเทคโนโลยี สิ่งอ�ำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ A-MED สวทช. ที่น�ำ IoHT มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการหกล้มของ ผูส้ งู อายุ โดยพัฒนาเป็นอุปกรณ์เซนเซอร์สำ� หรับสวมใส่หรือติดไว้บนร่างกาย เซนเซอร์จะส่งสัญญาณไปแจ้งเตือนผูด้ แู ล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เซนเซอร์มีขนาดเล็กลง ทนทานต่อการใช้งาน และมี Data Analytics ที่แม่นย�ำมาก ยิ่งขึ้น

4.

ชิปสายพันธุ์ใหม่ นิวโรมอร์ฟกิ ชิป (Neuromorphic Chip) หรือชิปสายพันธุใ์ หม่ เป็นความ

พยายามในการพัฒนาชิปคอมพิวเตอร์ทปี่ ระมวลผลได้รวดเร็วเหมือนกับสมองของมนุษย์ ทีส่ ามารถเชือ่ มต่อ ข้อมูลต่างๆ ซึง่ มีความซับซ้อนหลายมิตไิ ด้พร้อมกัน โดยนิวโรมอร์ฟกิ ชิปนี้ เลียนแบบการท�ำงานของสมอง และเส้นประสาทของมนุษย์ โดยใช้อุปกรณ์ที่ท�ำงานคล้ายกับเซลล์ประสาทในสมอง และพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) หรือจุดประสานประสาท ซึง่ เป็นโครงสร้างพิเศษทีท่ ำ� หน้าทีเ่ สมือนล�ำเลียงข้อมูลจากเซลล์ประสาทหนึง่ ไปยัง อีกเซลล์หนึ่งได้ หรือจากหน่วยประมวลผลหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งได้ เพื่อประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลหลายอย่างได้ พร้อมกันเหมือนกับที่สมองของมนุษย์ท�ำได้ รองรับการท�ำงานขั้นสูงที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ด้วยความรวดเร็วกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คาดว่าในอีก 10 ปีขา้ งหน้า นิวโรมอร์ฟกิ ชิปจะเป็นหัวใจส�ำคัญทีช่ ว่ ยเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงานของปัญญาประดิษฐ์ ให้เก่งและสามารถท�ำงานแทนมนุษย์ได้หลายด้านมากขึน้ เช่น ด้านการแพทย์ ทีน่ ำ� มาใช้ในการวินจิ ฉัยโรคจากรูปภาพ ทางการแพทย์ได้รวดเร็วมากกว่าและแม่นย�ำยิ่งขึ้น

January-February 2021


5.

การสือ่ สารด้วยภาพ (Vision Communication) เมือ่ คอมพิวเตอร์มสี มองหรือชิปทีม่ าจากการเลียนแบบการท�ำงาน

ของสมองมนุษย์ ก็ยงิ่ ท�ำให้คอมพิวเตอร์มคี วามสามารถคล้ายมนุษย์มากขึน้ Vision Communication หรือ “การสือ่ สารด้วยภาพ” เป็นรูปแบบการสือ่ สารยุคใหม่ทเี่ กิดขึน้ จากวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ในการท�ำให้คอมพิวเตอร์มคี วามสามารถ คล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือทีเ่ รียกว่ามีปญ ั ญานัน่ เอง ซึง่ ประกอบด้วย 2 กลุม่ คือ กลุ่มที่มีการกระท�ำคล้ายมนุษย์ (Acting Humanly) คือ สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ มีจังหวะการพูด กะพริบตา ส่ายหน้า หรือแสดงอารมณ์และความรูส้ กึ ออกมาทางใบหน้า เช่น คิว้ ตา สายตา และมุมปาก ส่วนอีกกลุม่ คือ กลุม่ ทีม่ กี ารคิดแบบมีเหตุผล (Thinking Rationally) สามารถวิเคราะห์อารมณ์ได้จากใบหน้า แยกแยะ และจดจ�ำใบหน้าได้ สามารถแยกเสียงพูด วิเคราะห์ความหมาย อารมณ์ ความ ต้องการของเสียง เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบค้นหาข้อมูล ปัจจุบันเริ่มมีการน�ำเทคโนโลยี Vision Communication ไปใช้งานด้านการสร้างภาพยนตร์ และอีกตัวอย่างที่เริ่มมีให้เห็นบ่อยและ ใกล้ตวั เรามากขึน้ คือ การน�ำไปใช้งานด้านการสือ่ สาร เช่น ในจีนมีการสร้างตัว Avatar ของผูป้ ระกาศข่าวหรือผูป้ ระกาศข่าวเสมือนอ่านข่าว แทนผู้ประกาศข่าวตัวจริง และล่าสุดเกาหลีใต้เพิ่งเปิดตัวผู้ประกาศข่าวเสมือนที่พูดโต้ตอบกับผู้ประกาศข่าวตัวจริงได้แบบเรียลไทม์ เพิม่ ความรวดเร็วในการรายงานข่าว หรือแม้กระทัง่ ในโรงพยาบาลทีม่ แี นวโน้มว่าจะน�ำเทคโนโลยีนไี้ ปใช้ในการคัดกรองคนไข้และวินจิ ฉัยโรค ในเบื้องต้นก่อนพบแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดต่อสื่อสารกันโดยตรงระหว่างคนไข้กับบุคลากรทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 หรือ ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดอื่นๆ

6.

ขวดพลาสติกจากพืช (PEF) ประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึน้ ปีละประมาณ 2 ล้านตัน ในจ�ำนวนนีส้ ามารถน�ำไปรีไซเคิล

ได้เพียง 0.5 ล้านตัน อีก 1.5 ล้านตัน ต้องก�ำจัดด้วยการเผาหรือฝังกลบ โดย 0.3 ล้านตัน ในจ�ำนวนนี้เป็นขยะประเภทขวด พลาสติก และอีก 1.2 ล้านตัน เป็นประเภทถุงพลาสติกและซองบรรจุภณ ั ฑ์ตา่ งๆ แบบใช้ครัง้ เดียวทิง้ แต่ตอ่ ไปจะมีวสั ดุทเี่ รียกว่า PEF (Polyethylene Furanoate) ผลิตจากวัสดุชีวภาพ หรือ Bio-Based 100% ซึ่งสามารถลด Carbon Footprint ได้กว่า 50% เมื่อเทียบกับ การผลิตขวด PET จากปิโตรเคมี ท�ำให้คาดว่า PEF จะมาแทนที่พลาสติก PET ในอนาคต คุณสมบัติเด่นของ PEF ที่เหนือกว่า PET คือ ผลิตจากวัตถุดิบชีวภาพ 100% มีน�้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรง มีความเสถียรทาง ความร้อนสูง สามารถน�ำมารีไซเคิลได้ 100% ในระบบเดียวกับ PET อีกด้วย และยังมีสมบัติกันน�้ำและก๊าซผ่านเข้าออกได้ดีกว่า PET ด้วย คุณสมบัติเหล่านี้จึงคาดว่า PEF จะเป็นพอลิเมอร์รุ่นต่อไปที่มีศักยภาพในการแทนที่ PET นอกจากนี้ สวทช. โดยนาโนเทค ก�ำลังเริม่ ศึกษาเกีย่ วกับ PEF โดยมีความร่วมมือกับ Prof. Xiaoqing Liu นักวิจยั จาก Ningbo Institute of Materials Technology and Engineering ประเทศจีน ในการน�ำ PEF มาพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะ น�ำมาสู่ต้นแบบกระบวนการผลิต PEF และผลิตภัณฑ์จาก PEF ส�ำหรับถ่ายทอดสู่อุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน�้ำถึงปลายน�้ำ เพื่อผลักดันให้เกิด การใช้พลาสติกจากพอลิเมอร์ชวี ภาพแทนพลาสติกจากปิโตรเลียม ซึง่ จะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและลดภาวะโลกร้อน และยังใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

January-February 2021


7.

การออกแบบโครงสร้างวัสดุชนิดเดียว (Monomaterial Structure Design) ผลิตภัณฑ์

พลาสติกที่พร้อมน�ำกลับไปใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิล ต้องมีการออกแบบให้คัดแยกง่าย แต่ปัญหาคือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นพลาสติกแบบ Multilayer Materials เป็นวัสดุ หลายชนิดเรียงซ้อนกันเพือ่ ให้มสี มบัตกิ ารใช้งานทีด่ ี แต่ขอ้ เสียคือ คัดแยกยาก (Sorting) และยังแยกชัน้ ฟิลม์ ออกจากกัน ยาก (Delamination) ท�ำให้น�ำไปรีไซเคิลได้น้อยมาก ตัวอย่างพลาสติกประเภทนี้คือ ซองขนมขบเคี้ยว ซองบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยี Monomaterial Structure Design ได้รบั การพัฒนาขึน้ มาเพือ่ แก้ปญ ั หาดังกล่าว คือท�ำให้ได้บรรจุภณ ั ฑ์ พลาสติกที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ากับ Multilayer Materials แต่ที่เหนือกว่าคือ การเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน ท�ำให้สามารถ คัดแยกง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนการแยกชั้นฟิล์มออกจากกัน น�ำมารีไซเคิลได้ทั้งหมดโดยไม่มีของเสียเหลืออยู่ จึงไม่ไป เพิ่มขยะสู่สิ่งแวดล้อม สวทช. มีทีมนักวิจัยจากเอ็มเทค ที่เตรียมความพร้อมเชิงเทคโนโลยีทั้งเรื่องของ Monomaterials และ Monomaterial Structure Design เพื่อท�ำงานร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก

8.

วัสดุนาโนคาร์บอนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 to Nanocarbon) ในปี พ.ศ. 2562

ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศได้เพิ่มสูงกว่า 400 ppm ส่งผลให้เกิดภาวะ โลกร้อน (Global Warming) ซึง่ เป็นปัญหาส�ำคัญของประเทศต่างๆ ทัว่ โลก จึงเกิดแนวคิดทีจ่ ะน�ำ CO2 ทีอ่ ยู่ ในบรรยากาศมาเปลี่ยนรูปให้เป็นวัสดุอื่นที่มีประโยชน์ เพื่อลดปริมาณ CO2 และลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ปัจจุบันสามารถเปลี่ยน CO2 ให้เป็นวัสดุได้หลายชนิด โดยเปลี่ยนวิธีใหม่ เอา O2 ออก ให้เหลือคาร์บอน (C) เพียงอย่างเดียว แล้วท�ำให้เป็นคาร์บอนทีม่ มี ลู ค่าสูง เช่น วัสดุนาโนคาร์บอน ทีส่ ำ� คัญได้แก่ ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon Nanotubes) และกราฟีน (Graphene) ที่มีโครงสร้างระดับนาโนแบบ 1 และ 2 มิติ ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในแง่ วัสดุคาร์บอนที่มีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นพิเศษทั้งทางกายภาพ ไฟฟ้า และ เคมี ท�ำให้เหมาะทีจ่ ะน�ำไปประยุกต์ใช้เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการใช้งานในหลายๆ ด้าน เช่น อิเล็กทรอนิกส์ระดับนาโน เซนเซอร์ วัสดุส�ำหรับยานยนต์และอากาศยาน แบตเตอรี่ขนาดเล็ก ในประเทศไทยโดย สวทช. มีศนู ย์วจิ ยั ด้านการสังเคราะห์กราฟีนและการผลิตกราฟีนและวัสดุนาโนคาร์บอนจาก CO2 เทคโนโลยีการแปลงก๊าซ CO2 ไปเป็นกราฟีนและท่อนาโนคาร์บอนนี้ สามารถน�ำไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพือ่ ช่วยลดปริมาณก๊าซ CO2 ทีป่ ลดปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต สามารถตอบสนองต่อแนวทางการใช้วสั ดุซำ�้ หรือ เหลือทิ้งให้เป็นประโยชน์ เกิดเป็นธุรกิจใหม่ที่จะสร้างวัสดุที่มีมูลค่าสูง และขณะเดียวกันก็ช่วยลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

January-February 2021


9.

แบตเตอรีป่ ลอดภัยไร้ลเิ ทียม (Non-Lithium Ion Batteries) เมือ่ ไม่นานมานีก้ องทัพบกสหรัฐอเมริกาและหน่วยงาน

ในสหรัฐฯ ประสบความส�ำเร็จในการวิจยั แบตเตอรีซ่ งิ ก์ไอออนชนิดใช้นำ�้ เกลือเป็นอิเล็กโทรไลต์ มีจดุ เด่นคือสามารถเก็บพลังงาน ได้สงู โดยมีความหนาแน่นพลังงานสูงเทียบเท่ากับแบตเตอรีแ่ บบลิเทียมไอออนทีใ่ ช้อยูใ่ นปัจจุบนั แต่มตี น้ ทุนถูกกว่าเกือบ 3 เท่ำ แบตเตอรี่ซิงก์ไอออนมีข้อดีหลายด้าน ทั้งด้านราคาที่ถูกกว่า เนื่องจากแหล่งแร่สังกะสีที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีมากกว่า ซึ่งในประเทศไทย ก็มีแหล่งแร่สังกะสีอยู่ในหลายพื้นที่ ขณะที่ลิเทียมมีจ�ำกัดแค่ในบางประเทศ และไทยต้องน�ำเข้ามาเท่านั้น เนื่องจากลิเทียมมีความไวต่อ สภาพแวดล้อม จึงต้องประกอบในห้องคลีนรูม ท�ำให้มตี น้ ทุนในการจัดการโรงงานผลิตแบตเตอรีล่ เิ ทียมสูงกว่า นอกจากนัน้ แล้วข้อส�ำคัญใน ด้านความปลอดภัยนัน้ สังกะสีเป็นธาตุทไี่ ม่ทำ� ปฏิกริ ยิ ากับอากาศและติดไฟเหมือนลิเทียม จึงไม่ระเบิด สามารถขนส่งทางอากาศได้ เหมาะ ส�ำหรับประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง ตอบโจทย์ด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถรีไซเคิลได้ สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีเพือ่ ความมัน่ คงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) มีงานวิจยั พัฒนาแบตเตอรีซ่ งิ ก์ไอออน ด้วยวัสดุกราฟีน จนมีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับแบตเตอรี่ลิเทียมบางชนิด (Lithium Iron Phosphate : LFP) แต่มีความปลอดภัยสูง ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม จัดตั้งและด�ำเนินการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรีล่ ำ�้ สมัยทีผ่ ลิตจากวัตถุดบิ ภายในประเทศเพือ่ ความมัน่ คง เพือ่ เป็นหน่วยงานหลักในการวิจยั และ เป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ

10.

กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) หลายประเทศก�ำลังมุ่งพัฒนา Green Hydrogen ซึ่งสะอาดมาตั้งแต่ต้นทาง

ไปจนถึงปลายทาง ด้วยการเลือกใช้วตั ถุดบิ จากแหล่งพลังงานสะอาดอย่างแสงอาทิตย์ ลม และใช้กระบวนการอิเล็กโทรไลซิส ซึ่งไม่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการอิเล็กโทรไลซิส คือ การแยกน�ำ้ ด้วยไฟฟ้าโดยใช้เครือ่ งมือทีช่ อื่ ว่า Electrolyser ซึง่ จะได้กา๊ ซไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกมา เราสามารถเก็บไฮโดรเจนไว้ได้เหมือนกับการกักเก็บอิเล็กตรอนในแบตเตอรี่ แต่มขี อ้ ดีกว่าคือ มีตน้ ทุนต�ำ่ กว่า เก็บพลังงานได้มาก และนานกว่า เมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าก็สามารถน�ำไฮโดรเจนป้อนเข้าไปในเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์กรีนไฮโดรเจน เช่น การน�ำไปใช้ผลิตไฟฟ้าผ่านเซลล์เชือ้ เพลิงเพือ่ ใช้กบั รถยนต์ไฟฟ้า (เช่น Toyota Mirai) หรือเป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่ติดไว้กับบ้านเรือน หรือป้อนเข้าโรงไฟฟ้าโดยการน�ำไปใช้ผลิตไฟฟ้าผ่านกังหันก๊าซร่วมกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชือ้ เพลิงในการเผาไหม้ ซึง่ ตอนนีก้ ม็ โี ครงการน�ำร่องผ่านความร่วมมือระหว่างญีป่ นุ่ กับบรูไนฯ โดยผลิตไฮโดรเจนทีบ่ รูไนฯ แล้วขนส่งทางเรือ ไปญี่ปุ่นเพื่อผลิตไฟฟ้ำ ทัง้ หมดนีค้ อื 10 เทคโนโลยีทนี่ า่ จับตามองในช่วงวิกฤตการณ์ครัง้ ส�ำคัญของโลก ซึง่ ต้องติดตามว่าเทคโนโลยีใดจะสามารถกอบกู้ ประเทศของเราให้รอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ พร้อมทัง้ สร้างโอกาสแก่ธรุ กิจและชีวติ วิถใี หม่ในอนาคตอันใกล้นไี้ ด้ขนาดไหน สวทช. ในฐานะ หน่วยงานวิจยั และพัฒนาระดับประเทศ พร้อมเป็นภาคส่วนส�ำคัญทีจ่ ะทุม่ เททรัพยากรอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ เพือ่ สร้างความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ส�ำหรับตอบโจทย์ปญ ั หาส�ำคัญ และน�ำพาประเทศให้กา้ วพ้นทุกวิกฤตการณ์ไปได้

January-February 2021


Article

> ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

เทคโนโลยีมาแรง ปี 2564

Multi-Tenant Cloud จะขึ้นแท่นเป็นมาตรฐานสูงสุด | ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามาเปลีย่ นแปลงกระบวนการจ้างงาน และจะเป็นเทคโนโลยีสำ� คัญด้านการ ดูแลสุขภาพ | ดิจิทัลซัพพลายเชนจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว Designed by Freepik

เทคโนโลยีคลาวด์จะสร้างประสบการณ์ ใหม่ ให้กับการจัดการแข่งขันต่างๆ

การจัดแข่งขันเทนนิสยูเอสโอเพ่นปีน้ีประสบความส�ำเร็จในการน�ำระบบ คลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ยกระดับประสบการณ์เสมือนจริงให้กับ เหล่าแฟนคลับที่ไม่สามารถอยู่ในสนามแข่งขันจริงได้ และต่อจากนี้เราจะได้เห็น การจัดงานต่างๆ ที่ต้องจัดในสถานที่หันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์ เพือ่ มอบประสบการณ์ทเี่ หมาะสมกับผูร้ บั ชมแต่ละรายมากขึน้ การแข่งขันส�ำคัญ หลายรายการที่วางแผนไว้ในปี พ.ศ. 2564 จะดึงดูดความสนใจผู้คนจากทั่วโลก เช่น การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโตเกียว และการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน และแน่นอนว่าเทคโนโลยีคลาวด์กย็ นื หยัดพร้อมพลิกโฉมประสบการณ์ในการชม การแข่งขันที่แฟนๆ ทั่วโลกเคยได้รับอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการสร้างประสบการณ์ การรับชมรูปแบบใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ มาทรานส์ฟอร์มการจัดงานต่างๆ นั้นมีมากมายมหาศาล เช่น การวิเคราะห์ ความตืน่ เต้นของกลุม่ ผูช้ มแบบเรียลไทม์ เพือ่ น�ำเสนอเป็นไฮไลต์และจัดการเรือ่ ง การโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฟีดรายการสดได้ดว้ ยความหน่วง (Latency) ทีต่ ำ�่ มากจริงๆ และการโต้ตอบกับกลุม่ ผูช้ มทีเ่ ลือกไว้ และแน่นอนว่าการท�ำกิจกรรม ทั้งหมดนี้ โฮสต์อยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ทรงพลัง January-February 2021

Multi-Tenant Cloud จะเป็นระบบใหม่ที่เหมาะสมที่สุด

การใช้โซลูชนั Multi-Tenant คลาวด์ จะช่วยให้ บริ ษั ท ต่ า งๆ อั ป เดตโซลู ชั น ต่ า งๆ ให้ ทั น สมั ย อยู ่ ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีทที่ นั สมัยทีส่ ดุ โดยไม่ตอ้ งกังวลว่าจะต้องท�ำการอัปเดตแบบแมนนวล ด้วยตนเอง หรือต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ เพื่อให้รองรับ แอปพลิเคชันหรือเวิร์กโหลดใหม่ๆ การที่เราก�ำลังจะ ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ที่ดูเหมือนจะมีความไม่แน่นอนมาก ขึ้น โซลูชัน Multi-Tenant Cloud จะ เป็นเทคโนโลยีสำ� คัญทีช่ ว่ ยสร้างความ แตกต่างให้กับธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจมี ความคล่องตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในขณะเดี ย วกั น ก็ ช ่ ว ยลดปริ ม าณ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยให้ธรุ กิจ เข้าใกล้เป้าหมายด้านความยั่งยืน มากขึ้น


AI จะท�ำให้กระบวนการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป

ตลาดแรงงานปี พ.ศ. 2564 ที่ไม่สามารถคาดการณ์ใดๆ ได้ ท�ำให้ องค์กรต่างๆ จ�ำเป็นต้องน�ำปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปช่วยในการเฟ้นหาผูส้ มัคร ทีเ่ หมาะสมกับต�ำแหน่งงาน AI จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลท�ำงานเชิงรุก ในการจ้างงานได้มากขึน้ และช่วยให้สามารถตัดสินใจได้วา่ ผูส้ มัครใดเข้ากันได้ กับวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท ด้วยการใช้ข้อมูลเพื่อวัดคุณภาพของการ จ้างงานแต่ละครัง้ นวัตกรรมต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์ในการคัดกรองอัจฉริยะที่ สามารถคัดกรองใบสมัครได้แบบอัตโนมัติ แชทบอทที่ท�ำหน้าที่เป็นผู้สรรหา พนักงาน ที่สามารถนัดหมายกับผู้สมัครได้แบบเรียลไทม์ และการสัมภาษณ์ แบบดิจทิ ลั ทีท่ ำ� ผ่านออนไลน์ ซึง่ ช่วยให้สามารถประเมินความเหมาะสมของ ผูส้ มัครแต่ละรายได้ จะเริม่ กลายเป็นวิธกี ารท�ำงานปกติของแผนกทรัพยากร บุคคล AI ยังมีศกั ยภาพสูงมากในการสร้างเวิรก์ สเปซทีห่ ลากหลายและครบวงจร สามารถลดอคติและเพิ่มความเป็นกลางในการตัดสินใจเรื่องการจ้างงาน ผ่านอัลกอริทมึ่ ต่างๆ ทีข่ บั เคลือ่ นด้วย AI ซึง่ จะแยกแยะคุณสมบัตเิ ฉพาะตัว ที่แตกต่างกันของผู้สมัครแต่ละคนออกมาให้เห็น

ซัพพลายเชนจะกลายเป็นระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรง ท�ำให้ดจิ ทิ ลั ซัพพลายเชนพัฒนาอย่าง รวดเร็วในปี พ.ศ. 2564 มุมมองเดิมๆ ของผูร้ บั ผิดชอบด้านซัพพลายเชน ทีเ่ กีย่ วกับดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชันคือ เน้นไปทีเ่ รือ่ งของประสิทธิภาพและ ค่าใช้จา่ ย แต่ปจั จุบนั จะเปลีย่ นไปเน้นในเรือ่ งของความคล่องตัวและความ ยืดหยุน่ และนัน่ คือจุดทีเ่ ทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เข้ามาเกีย่ วข้อง ดิจทิ ลั ซัพพลายเชน จะช่วยให้ธุรกิจหนึ่งๆ ที่ประกอบด้วยองค์กรหลายแห่งท�ำงานร่วมกัน (Multi-Enterprise) สามารถเห็นและรับรูค้ วามเป็นไปในการท�ำงานตัง้ แต่ตน้ จนจบกระบวนการ สามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ดีขึ้น และใช้ระบบ อัตโนมัตทิ ชี่ าญฉลาดได้มากขึน้ ผูร้ บั ผิดชอบด้านซัพพลายเชนจะสามารถ ปรับและใส่ความยืดหยุ่นให้กับระบบซัพพลายเชนของตนได้ตามความ ต้องการของตลาด และใช้ระบบนิเวศด้านพันธมิตรให้เป็นประโยชน์ได้ มากขึน้ เครือ่ งมือดิจทิ ลั ต่างๆ เหล่านีค้ รอบคลุมตัง้ แต่ปญ ั ญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีที่ผสานระหว่างโลกความจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน (AR) และการท� ำ งานอั ต โนมั ติ ด ้ ว ยหุ ่ น ยนต์ ที่ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น ผู ้ อ อกแบบ กระบวนการและขั้นตอน รวมถึงการตัดสินใจต่างๆ (Robotic Process Automation : RPA) และคาดว่าจะยกระดับศักยภาพทีม่ อี ยูใ่ นช่วงต้นให้เป็น การน�ำเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และมีอิทธิพลต่อลูกค้า เป็นอย่างมาก

Photo by Tom Fisk from Pexels

Photo by Fauxels from Pexels

การใช้ AI ในการดูแลสุขภาพ จะกลายเป็นภารกิจส�ำคัญ

ตลอดปี พ.ศ. 2564 จะมีการน�ำ AI ไปใช้กบั การดูแล สุขภาพในหลายด้านอย่างรวดเร็ว การใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง กับชุดข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้แบบเรียลไทม์ จะช่วยให้ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการดูแลสุขภาพสามารถติดตามการสัมผัส ระหว่างเจ้าหน้าทีก่ บั ผูป้ ว่ ยทีต่ ดิ เชือ้ ได้อย่างละเอียด ช่วย ให้การวินจิ ฉัยแม่นย�ำ ใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ตา่ งๆ ให้เป็นประโยชน์ในการติดตามอุปกรณ์ปอ้ งกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) จัดสรรบุคลากร ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และพั ฒ นาการให้ วั ค ซี น มี ประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น

AI มีความส�ำคัญมากต่อการจับคู่ อุปสงค์และอุปทานแบบเรียลไทม์

การถูกดิสรัป (Disruptions) ของระบบซัพพลายเชน อย่างไม่น่าเชื่อที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 แสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจนว่า การจับคูค่ วามต้องการผลิตภัณฑ์และบริการทีม่ ใี น ตลาด ณ ขณะใดขณะหนึ่งเข้าด้วยกันได้แบบเรียลไทม์ และ การคาดการณ์ตา่ งๆ ไม่ใช่งานทีม่ นุษย์จะท�ำได้สำ� เร็จเพียงล�ำพัง อีกต่อไป มันไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปที่จะมาคาดหวังให้ ผูร้ บั ผิดชอบด้านซัพพลายเชนท�ำการคาดการณ์ถงึ การปิด-เปิด ของตลาดในประเทศใดประเทศหนึง่ อย่างฉับพลัน หรือให้มา อธิบายถึงวัสดุและค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดย คาดเดาไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ขอบเขต และข้อจ�ำกัดด้านการขนส่งและการเดินทางของภาครัฐมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2564 เราจะได้เห็น ผูบ้ ริหารด้านซัพพลายเชนเร่งน�ำ AI มาใช้เพิม่ พูนประสบการณ์ และเสริมความมั่นใจในการท�ำงานให้กับพนักงาน ให้ข้อมูล เชิ ง ลึ ก ที่ มี ป ระโยชน์ เ กี่ ย วกั บ สภาวะตลาดที่ เ ปลี่ ย นแปลง ให้กบั พนักงานของตน เพือ่ ให้สามารถคาดการณ์อปุ สงค์และ อุปทานแบบเรียลไทม์ได้อย่างแม่นย�า

January-February 2021


> By Fabio Tiviti, Vice President, ASEAN, Infor

Infor’s Top Three Technology Predictions for 2021 Multi-tenant cloud architecture will be the new gold standard | Artificial Intelligence (AI) will transform the hiring process and become mission critical in healthcare | Digital supply chain will be rapidly developed

Cloud technology will reinvent event experiences.

After the US Open tennis tournament successfully pivoted to cloud and AI this year to enhance the virtual experience for fans who could not attend the physical event, we will see an uptick in physical events leveraging cloud technology to give viewers tailored experiences. With 2021 primed to grip the world’s attention with several major events, such as the Summer Olympics in Tokyo and the Wimbledon Championship, cloud technology is poised to completely reinvent what we know about fan experiences today. The potential for using cloud technology to transform events is enormous – think real-time crowd excitement analysis to optimize highlights and advertisements, extremely low-latency live feeds, and moderated crowd interaction – all hosted on robust cloud platforms. January-February 2021

https://apixabay.com/illustrations/cloud-memory-storage-medium-3843352/

Multi-tenant cloud architectures will be the new gold standard.

Using multi-tenant cloud solutions means companies are automatically kept up-to-date with the most cutting-edge technology, without having to worry about manual updates or replacing hardware. As we move into a new year that likely will bring more uncertainty, multi-tenant cloud solutions will become critical technology differentiators, helping businesses remain agile and innovative, while also reducing their e-waste footprints and helping them move closer to their sustainability targets.


https://pixabay.com/photos/digitization-handshakeshaking-hands-4136387/

AI will transform the hiring process.

In the unpredictable job market of 2021, it will be critical for organizations to leverage AI to ensure they find the right candidate for the job. AI will enable HR departments to become more proactive in their hiring and help them determine a candidate’s cultural fit by using data to measure the quality of a hire. Innovations such as intelligent screening software that automates resume screening, recruiter chatbots that engage candidates in real-time, and digitized interviews that help assess a candidate’s fit, will start becoming commonplace in HR departments. AI also holds great promise for creating more diverse and inclusive workplaces, given its ability to reduce biases and add objectivity into employment decision-making through AI-powered algorithms that will identify the unique qualities of candidates.

Supply Chains will rapidly become digital.

As a direct result of COVID-19, we are going to see the acceleration of digital supply chains in 2021. While supply chain leaders have traditionally viewed digital transformation in the context of efficiency and cost, the focus will now be on agility and resiliency. That’s where digital technology comes in. A multi-enterprise, digital supply chain enables better end-to-end visibility, better predictive analytics, and better and smarter automation. Leaders will be able to customize and flex their supply chains based on market demand and make better use of ecosystem partners. These digital tools are as far ranging as artificial intelligence, augmented reality, and robotic process automation and are expected to shift early promises to impactful value propositions.

AI in healthcare will become mission critical.

Over the next year, we will see the accelerated adoption of AI across many areas of healthcare. By applying machine learning to real-time global data sets, healthcare professionals can more accurately track contact between staff and infected patients, enable accurate diagnoses, utilize predictive analytics to track personal protective equipment (PPE), optimize workforce allocations, and develop more effective and lasting vaccinations.

Artificial intelligence will be critical for real-time supply and demand matching.

As the incredible supply chain disruptions of 2020 unfolded, it became clear that managing real-time supply and demand matching and forecasting were no longer tasks humans can take on alone. It’s no longer reasonable to expect a supply chain leader to predict when one country’s market will suddenly close and another’s will open, or account for ever-shifting materials and costs – especially as government restrictions on transportation and travel change rapidly. In 2021, we will see supply chain managers accelerating their adoption of AI to augment workers’ instincts and experiences and provide them with intelligent insights into changing market conditions, letting them accurately forecast supply and demand in real-time.

https://pixabay.com/photos/shipping-container-terminal-4319421/

January-February 2021


Article > หัวเว่ย

ศูนย์กลาง

ความเป็นเลิศ

ด้าน

พาไทยสู่ศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน

การเปลีย่ นผ่านสูย่ คุ ดิจทิ ลั หรือ “Digital Transformation” ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ ในฐานะเทรนด์ด้าน เทคโนโลยีทจี่ ะน�ำพาอุตสาหกรรมต่างๆ ไปสูอ่ นาคตของการเป็น เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดใน กระบวนการผลิตสินค้าและบริการของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว จะต้องมีการพัฒนาใน หลายๆ ส่วนส�ำคัญเพื่อที่จะเข้าถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ ภายใน งาน Powering Digital Thailand 2021: Huawei Cloud & Connect วรกาน ลิขติ เดชาศักดิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยเทคโนโลยีเครือข่าย โทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ที่จะท�ำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลาง ด้านดิจิทัลของภูมิภาคพร้อมมุ่งสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการน�ำโซลูชัน และเทคโนโลยีเข้าไปยกระดับอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจดัง้ เดิม ทั้งนี้ กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่จะช่วยให้การพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึน้ ประกอบด้วย การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้าน ในการน�ำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดิจิทัล ดังนี้

January-February 2021

ศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้านส�ำคัญที่จะพาไทย ไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัล

วรกาน กล่าวถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความ เป็นเลิศของการเป็นศูนย์กลางทางศักยภาพ 4 ด้าน ทีจ่ ะน�ำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนไว้ว่า ด้านที่ 1 คือ ความเป็นเลิศด้านการเป็นศูนย์กลางของ การเชือ่ มต่อทีม่ คี วามรวดเร็วสูงและมีเสถียรภาพ ซึง่ ประเทศไทย มีความพร้อมในด้านการเป็นผู้น�ำของโครงข่าย 5G ในภูมิภาค รวมถึงโครงข่ายไฟเบอร์บรอดแบนด์ความเร็วสูงทั่วประเทศ จะเป็นโครงข่ายส�ำคัญในการเชือ่ มต่อการสือ่ สารและข้อมูลต่างๆ ด้านที่ 2 คือ การเป็ น ศู น ย์ ก ลางของศู น ย์ ข ้ อ มู ล ของ ภูมภิ าค (Data Center Hub) ซึง่ หัวเว่ยได้มกี ารสร้าง Data Center ในประเทศไทย เพื่อให้องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีโอกาส เข้าถึงการใช้งานของระบบคลาวด์ได้มากขึ้น ผลักดันองค์กร เพือ่ เข้าสูก่ ารเปลีย่ นผ่านทางดิจทิ ลั รวมถึงการดึงดูดให้นกั ลงทุน ต่างชาติเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและใช้ Data Center ในประเทศไทยมากขึ้น


ด้านที่ 3 คือ การเป็นศูนย์กลางของดิจิทัลอีโคซิสเต็ม ประเทศไทยมีพื้นที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม เช่น EEC รวมถึ ง การมี ศู น ย์ พั ฒ นาเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมด้ า น 5G โดยเฉพาะ เช่น 5G EIC (Ecosystem Innovation Center) ซึ่ง ท�ำให้ประเทศไทยมีความพร้อมและศักยภาพในการพัฒนา โซลูชันของพาร์ทเนอร์และ System Integrator ในประเทศไทย และน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น ดังเช่น ที่ได้เริ่มท�ำในด้านสาธารณสุขและเกษตรกรรมในปีที่ผ่านมา ด้านที่ 4 คือ ศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางของบุคลากร ด้านดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีจ�ำนวนของบุคลากรด้านดิจิทัล และอุตสาหกรรมใกล้เคียงเป็นจ�ำนวนมากเมือ่ เทียบกับประเทศ อืน่ ๆ ในภูมภิ าค ซึง่ จะเป็นสิง่ ทีส่ ามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้มากขึน้ เมือ่ ประเทศไทยมีจำ� นวน บุคลากรด้านดิจิทัลเป็นจ�ำนวนมากในการรองรับความต้องการ ในอนาคต

ผสานพลัง 3 เทคโนโลยี 5G+Cloud+AI

องค์ ป ระกอบหลั ก ของเทคโนโลยี แ ละโซลู ชั น เพื่ อ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลคือ การเชื่อมต่อ การเก็บข้อมูล และ การประมวลผล ซึง่ การพัฒนาโซลูชนั ต่างๆ ในอนาคตจะพัฒนา ภายใต้เทคโนโลยีหลัก 3 ส่วน คือ 5G, Cloud และ AI ทั้งนี้ 5G จะเป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการยกระดับการ เชือ่ มต่อทีด่ ที สี่ ดุ เท่าทีเ่ คยมีมา ทัง้ ในด้านความเร็ว ความเสถียร และความหน่วงต�่ำ ท�ำให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างครบวงจร ไม่ใช่ แค่การเชือ่ มต่อของสมาร์ทโฟน แต่ยงั รวมถึงอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ อื่นๆ เช่น อุปกรณ์ IoT นาฬิกา รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย และ 5G จะมีแบนด์วธิ และความเร็วทีม่ ากขึน้ และช่วยส่งข้อมูล ทีม่ ปี ริมาณมากขึน้ ได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีคลาวด์จะท�ำให้เกิด การจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ในอนาคตอันใกล้มีการคาดหมายว่าองค์กรต่างๆ จะมี การใช้คลาวด์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และปริมาณการใช้คลาวด์จะ เป็นตัวชีว้ ดั ระดับการเป็นดิจทิ ลั ขององค์กรต่างๆ หลังจากมีการ เชื่อมต่อที่สมบูรณ์และประมาณการเก็บข้อมูลที่เพียงพอแล้ว

เทคโนโลยี AI จะมีส่วนเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลต่างๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ ท�ำให้องค์กรต่างๆ สามารถยกระดับ การให้บริการได้อย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย

5G เพื่อปลดล็อกการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบ

การเชื่อมต่ออย่างมีศักยภาพเป็นรากฐานส�ำคัญในการ พัฒนาไปสูย่ คุ ดิจทิ ลั อย่างยัง่ ยืน และ 5G เป็นโซลูชนั ทีต่ อบโจทย์ ในเรื่องของการเชื่อมต่ออย่างแท้จริง ประการแรกคือ เกิดการ เชื่อมต่อแบบกิกะบิตที่ต้องการความเร็วสูงที่ 5G สามารถท�ำได้ น�ำไปสู่การเกิดการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอุตสาหกรรม ความบันเทิงอย่างแพร่หลาย ต่อมาคือ การเชือ่ มต่อกับอุปกรณ์ อัตโนมัติต่างๆ เช่น รถไร้คนขับ ซึ่งการเชื่อมต่อลักษณะนี้ไม่ได้ เป็นการเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมเพียงอย่างเดียว รถอัตโนมัติ แต่ละคันยังจะต้องเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันเอง ก่อให้เกิดการ ท�ำงานประสานกันได้อย่างลื่นไหล ประการสุดท้ายคือ การเชือ่ มต่อทีต่ อ้ งการความหน่วงต�า่ พิเศษเพือ่ ความแม่นย�ำในการสัง่ งาน เช่น การใช้งานในหุน่ โดรน หรือควบคุมเครื่องจักรต่างๆ ที่ต้องการตอบสนองอย่างทันที 5G รวมถึงเทคโนโลยีดา้ นการเชือ่ มต่อและการประมวลผล อืน่ ๆ จะกลายเป็นส่วนส�ำคัญในการเปลีย่ นผ่านภาคอุตสาหกรรม ให้ไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง การเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพจะ ท�ำให้เกิดการน�ำเทคโนโลยีเข้าไปยกระดับอุตสาหกรรม ส่งผลต่อ การฟืน้ ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และเมือ่ ผสานรวมกับ เทคโนโลยี Cloud และ AI จะเสริมประสิทธิภาพการด�ำเนินงาน ของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย รองรับการเป็นดิจทิ ลั ฮับ แห่งอาเซียนได้อย่างแท้จริง

https://pixabay.com/illustrations/ industry-web-network-artificial-4330188/

January-February 2021


Interview > กองบรรณาธิการ

พลังงานสะอาดก�ำลังอยู่ในกระแสความสนใจ ของคนทั่วโลก ในประเทศไทยมีโครงการหนึ่งที่มี เป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักถึงการใช้พลังงาน สะอาดในทุกๆ อุตสาหกรรม นัน่ คือ โครงการ Clean Energy for Life Interview ฉบับนีจ้ ะได้นำ� เสนอถึงความเป็นมา และเป้าหมายของโครงการ รวมทั้งโครงการ Clean Energy for Life มีความส�ำคัญอย่างไรต่อการพัฒนา ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสะอาดในประเทศ โดย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตน์ กรรมการก�ำกับกิจการ พลังงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและ สิง่ แวดล้อม จะเป็นผูใ้ ห้ความกระจ่างในเรือ่ งดังกล่าว

สร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับพลังงาน สะอาดอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตน์

กรรมการกำ�กับกิจการพลังงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม January-February 2021

แนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงาน สะอาดเพือ่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของทุกคน เกิดขึน้ จาก ความประสงค์ที่อยากสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับ พลังงานสะอาด ตามพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มาตรา 97(5) ที่ได้ ก�ำหนดการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าให้ใช้จ่าย “เพื่อการส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า” กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ส�ำนักงานคณะกรรมการ ก�ำกับกิจการพลังงาน (ส�ำนักงาน กกพ.) ค�ำนึงถึง การสร้างการศึกษาเรียนรู้ในประเด็นด้านพลังงาน ที่ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ ปัจจุบันทุกคนก�ำลัง เดินทางไปสูก่ ารพัฒนาทีย่ งั่ ยืน เป็นหัวข้อหลักทีก่ ำ� หนด โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และหนึง่ ในเป้าหมายการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน (Sustainable Development Goals) มีหวั ข้อ พลังงานสะอาดทีท่ กุ คน เข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) ซึ่ง กกพ. มองว่าเป็นเรื่องสากลที่จะท�ำให้เกิดพลังการสื่อสาร และการเปลีย่ นแปลงในเชิงบวกต่อสังคมไทย ปีทแี่ ล้ว ได้ ส ร้ า งการตระหนั ก รู ้ แ ละความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ผา่ นกลยุทธ์การสือ่ สาร หลากหลายแบบ ประสบความส�ำเร็จอย่างดีเยี่ยม จึงมองเห็นโอกาสและพร้อมทีจ่ ะต่อยอดไปสูก่ ลยุทธ์ การสือ่ สารอย่างเต็มรูปแบบเกีย่ วกับพลังงานสะอาด ในปี พ.ศ. 2563-พ.ศ. 2564 ต่อไป โดยมุง่ เน้นการสร้าง แรงบันดาลใจจนก่อเกิดเป็นรูปธรรม รวมถึงการให้ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่บุคคลทั่วไปด้วย


โครงการ “Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพือ่ ชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของทุกคน” มีวตั ถุประสงค์หลักๆ 3 ประการ ดังนี้ สร้างการรับรูแ้ ละความเข้าใจเกีย่ วกับคณะกรรมการก�ำกับ กิจการพลังงาน (กกพ.) ตลอดจนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ในแง่บทบาทหน้าที่ นโยบาย ประโยชน์สำ� หรับประชาชน ฯลฯ สร้างการตระหนักรับรู้และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าทีผ่ ลิตจากแหล่งพลังงานทดแทน หรือแหล่งพลังงานสะอาด เช่น จากโซลาร์เซลล์ จากขยะ จากชีวมวล และจากแก๊สชีวภาพ ไปยังกลุ่มประชาชน ขยายผลกิจกรรมของคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในเรื่องพลังงาน สะอาด เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar Power) พลังงานจาก ชีวมวลและชีวภาพ (Bio Energy) และพลังงานจากขยะ (Waste to Energy) โดยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เกิดความสมดุลในทุกมิติ เชือ่ มโยงทุกระดับจากครัวเรือนสูช่ มุ ชน สูส่ งั คมโดยรวม และสูร่ ะดับโลกบนเส้นทางสูเ่ ป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนร่วมกัน

1. 2. 3.

https://pixabay.com/photos/environmental-protection-nature-3341942/

ผนึกกำ�ลังทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อไปสู่ความสำ�เร็จ และบรรลุเป้าหมาย

เนื่องจากจุดประสงค์ 3 ประการดังกล่าว ส�ำนักงาน กกพ. จึงให้การสนับสนุนภาคีจากภาครัฐและเอกชนรวม 25 องค์กร อาทิ ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์, ส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, อสมท, 2Fellows และ Tellscore เพือ่ จัดท�ำโครงการด้านการส่งเสริม พลังงานสะอาด 26 โครงการ โดยความส�ำเร็จของแคมเปญในช่วง ระยะเวลาการด�ำเนินการต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2562 เกิดขึน้ จากการ ผนึกก�ำลังโดยการใช้จดุ แข็งและจุดเด่นของแต่ละองค์กรทีร่ ว่ มมือกัน พา Clean Energy for Life ไปสู่ความส�ำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ ท�ำให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาด และน�ำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างหนึง่ ในภาคีสำ� คัญจากภาคเอกชนคือ บริษทั เทลสกอร์ (Tellscore) ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ส�ำนักงาน กกพ. ซึง่ เทลสกอร์ เป็นหนึง่ ในผูน้ ำ� ด้านอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติง้ แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการคัดสรร อินฟลูเอนเซอร์ให้ตอบโจทย์และส่งเสริมการสือ่ สารอย่างสร้างสรรค์ และรั บ ผิ ด ชอบ เทลสกอร์ มี ห น้ า ที่ ดึ ง พลั ง การสร้ า งสรรค์ ข อง อินฟลูเอนเซอร์มาใช้ในการเชื่อมต่อและถ่ายทอดข้อมูลที่ถูกต้อง และเข้าใจง่ายให้กับประชาชนในวงกว้างผ่านโครงการมากมาย อาทิ โครงการ “สร้างการตระหนักรูแ้ ละมีสว่ นร่วมในเรือ่ งของการใช้ พลังงานสะอาด” เพื่อช่วยติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล น�ำร่องทั้ง 77 แห่งทั่วประเทศ และโครงการ “Waste Journey การเดินทางของขยะทีท่ กุ คนต้องรู”้ เพือ่ สร้างการตระหนักรูเ้ กีย่ วกับ

การลดการสร้างขยะด้วยแนวคิด 3R และการแยกขยะอย่างถูกวิธี ช่วยเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าได้

สร้างประโยชน์ในระดับโลกเรื่องการพัฒนาที่ย่งั ยืน

โครงการ Clean Energy for Life เป็นโครงการรณรงค์สอื่ สาร ภายใต้กองทุนพัฒนาไฟฟ้ามาตรา 97(5) ปี พ.ศ. 2563 ที่มุ่งหวัง สร้างการตระหนักรับรู้ (Inspiration and Awareness) ความเข้าใจ ที่ถูกต้องร่วมกัน (Education and Understanding) มีทัศนคติที่ดี และถูกต้อง (Attitude) จนเข้ามามีสว่ นร่วมด้านพลังงาน (Action) ของ ประชาชนผู้ใช้และผู้ผลิตไฟฟ้า นอกเหนือจากความประสงค์ทอี่ ยากให้เกิดความรูค้ วามเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานสะอาดแล้ว ยังต้องการสร้างการรับรู้ ถึงข้อดีของพลังงานสะอาด สิ่งที่ส�ำคัญยิ่งกว่าคือ การสร้างการมี ส่วนร่วมจากประชาชนในการช่วยสนับสนุนการติดตั้งระบบ Solar Rooftop ให้กบั โรงพยาบาลกว่า 77 แห่งทัว่ ประเทศไทย โดยผลส�ำเร็จ ของโครงการนี้จะสร้างประโยชน์ในหลายระดับ นอกจากจะสร้าง ประโยชน์ในระดับประเทศแล้ว โครงการนี้ยังน�ำไปสู่การสร้าง ประโยชน์ในระดับโลกเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งพลังงานสะอาด ได้ตอบโจทย์เป้าหมายการลดปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างผลกระทบ อย่างชัดเจนทั่วโลกในขณะนี้ เพราะฉะนั้นผลโดยรวมจะเป็นผลดี ต่อประเทศ ต่อสังคม และทุกคน January-February 2021


พลังงานจากทุกแหล่ง สามารถทำ�ให้เป็นพลังงาน ที่สะอาดได้

พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy ในที่นี้ หมายถึง พลังงาน ไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน จากแหล่งเชื้อเพลิงชนิดใดก็ตามที่ ผลิตและใช้อยู่ในปัจุบันและอนาคต และไม่ ใช่ แ ค่ พ ลั ง งานหมุ น เวี ย น เพียงอย่างเดียว แม้จะเป็นพลังงานที่ มาจากแหล่งฟอสซิลก็สามารถท�ำให้ เป็นพลังงานทีส่ ะอาดได้มากขึน้ โดย อาศัยการก�ำกับดูแลที่ได้มาตรฐาน และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน แนวคิ ด ได้ ห ยิ บ ยกประเภท พลังงานทดแทนและหัวข้อสื่อสาร ที่ส�ำคัญ ที่จะแสดงถึงตัวอย่างของ พลังงานสะอาดและสร้างคุณภาพ ชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น ของสั ง คมได้ อ ย่ า งเป็ น รูปธรรม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) พลังงานชีวมวลและ ชีวภาพ (Bio Energy) และพลังงาน ขยะ (Waste to Energy) พร้อมไปกับ การใช้พลังงานอย่างประหยัดและ มีประสิทธิภาพ โดยมี กกพ. เป็น ผู ้ ก� ำ กั บ ดู แ ลการด� ำ เนิ น งานของ โรงไฟฟ้ า ให้ เป็ น ไปตามมาตรฐาน ในทุกด้าน https://pixabay.com/photos/energyclean-renewable-sustainable-4828337/

เป้าหมายต้องให้เห็นชัดทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม

เป้าหมายของแนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของทุกคน มี 2 แบบ แบบนามธรรมและรูปธรรม เป้าหมายแบบนามธรรม คือ การส่งเสริมให้สังคมและประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับพลังงานสะอาด โดยเน้นการสื่อสารว่าพลังงานสะอาดนั้นเชื่อมโยงกับคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคนอย่างไร (Awareness, Understanding, Attitude) ส่วนเป้าหมาย แบบรูปธรรม คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านพลังงาน (Action) ในการ ช่วยสนับสนุนการติดตัง้ ระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล 77 แห่งทัว่ ประเทศ ผ่าน “มูลนิธิ แพทย์ชนบทเพื่อไฟจากฟ้า” ต้นทุนส�ำหรับการติดตัง้ ระบบโซลาร์เซลล์กำ� ลังผลิต 100 กิโลวัตต์นนั้ สามารถช่วย ลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลได้เดือนละประมาณ 60,000 บาท ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปี โรงพยาบาลจะสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าได้ราว 720,000 บาท โดยต่อ 1 โรงพยาบาล ใช้งบประมาณไม่เกิน 4 ล้านบาทในการติดตัง้ และเนือ่ งจากแผงโซลาร์เซลล์มอี ายุการใช้งาน 25 ปี จึงสามารถช่วยโรงพยาบาลลดภาระค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 18 ล้านบาทตลอดระยะเวลา การใช้งาน โดยส่วนต่างจากการจ่ายค่าไฟที่น้อยลง สามารถน�ำไปจัดหาอุปกรณ์และ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนา และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคนอย่างยั่งยืน

ติดตามผลการดำ�เนินงานอย่างใกล้ชิด

การติดตามผลนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life ซึง่ แต่ละภาคีพนั ธมิตรจะมีสว่ นร่วมและการด�ำเนินการทีแ่ ตกต่างกันออกไป แต่วา่ เป้าหมาย ของทุกโครงการจะตอบโจทย์แนวคิด “Clean Energy for Life การใช้พลังงานสะอาด เพื่อ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของทุกคน” และช่วยสนับสนุนการติดตัง้ ระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล น�ำร่องทั้ง 77 แห่งทั่วประเทศ ตัวอย่างการติดตามผลของโครงการทีจ่ ดั ท�ำโดยบริษทั เทลสกอร์ สามารถวัดได้จาก กระแสตอบรับจากยอดการเข้าถึง (Reach) ยอดผูช้ ม และยอดการมีสว่ นร่วม (Engagement) ของประชาชนต่อโครงการ เนือ่ งจากเทลสกอร์มหี น้าทีใ่ นการเชือ่ มต่อและถ่ายทอดข้อมูล เกีย่ วกับพลังงานสะอาดทีถ่ กู ต้องและเข้าใจง่าย รวมไปถึงการสือ่ สารว่าพลังงานสะอาดนัน้ เชือ่ มโยงกับคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของทุกคนอย่างไร ผ่านพลังการสร้างสรรค์ของอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิผลด้านการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงประชาชนในวงกว้างได้ในสื่อออนไลน์

ปัญหาและอุปสรรคสำ�คัญคือการปรับเปลีย ่ นวิสย ั ทัศน์ของประชาชน

ความท้าทายที่เจอช่วงริเริ่มโครงการคือ การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ วิถีชีวิต และ ความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับแนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน และการสร้างความเข้าใจในสาเหตุ และผลของการสร้างประโยชน์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานสะอาด รวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตทุกคนดีขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ประชาชนยัง ไม่เข้าใจถึงบทบาทหน้าทีก่ ารมีสว่ นร่วมในการพัฒนาประเทศด้านพลังงาน ประโยชน์ทจี่ ะ ได้รบั และแนวทางการด�ำเนินงานของโครงการ จึงท�ำให้สำ� นักงาน กกพ. ตระหนักถึงการ ชี้แจ้งจุดประสงค์ของโครงการอย่างชัดเจนต่อประชาชน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป จุดประสงค์ที่กล่าวมานี้ คือการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานในแง่บทบาทหน้าที่ นโยบาย และประโยชน์ส�ำหรับ ประชาชน และการสร้างการตระหนักรับรู้และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้านการใช้ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานทดแทนหรือแหล่งพลังงานสะอาด January-February 2021


การส่งเสริมให้สงั คม และประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับพลังงานสะอาด สร้างประโยชน์ด้านการพัฒนาที่ย่งั ยืนและส่งผลให้ คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยดีขึ้น

เนื่องจากโครงการนี้ได้ด�ำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา เกือบ 2 ปีแล้ว ผลส�ำเร็จที่เห็นได้ชัดจากการด�ำเนินงานอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 คือการเริ่มมีความตระหนักรับรู้และ ความเข้าใจของประชาชนต่อพลังงานสะอาด จนก่อให้เกิดการมี ส่วนร่วมทางสังคม สูก่ ารปรับใช้จริงในชีวติ ประจ�ำวัน ส�ำหรับโครงการ ในปี พ.ศ. 2563-พ.ศ. 2564 นี้ เราเริ่มเห็นผลส�ำเร็จจากการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการติดตัง้ ระบบโซลาร์เซลล์ บนหลังคาโรงพยาบาลกว่า 77 แห่งทัว่ ประเทศไทย โดยยอดบริจาค ขณะนีอ้ ยูท่ ี่ 1,522,000 บาท หลังจากเริม่ รับการสนับสนุนมาเพียง 2 เดือนเท่านั้น ผลส�ำเร็จของโครงการภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพือ่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของทุกคน จะสร้าง

เกี่ยวกับมาตรา 97

ตามพระราชบัญญัตกิ ารประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มาตรา 97 ได้ก�ำหนดการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนา ไฟฟ้า ให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ เพื่อการชดเชยและอุดหนุนผู้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ซึง่ ได้ให้บริการแก่ผใู้ ช้ไฟฟ้าทีด่ อ้ ยโอกาส หรือเพื่อให้มีการให้บริการไฟฟ้าอย่าง ทั่วถึง หรือเพื่อส่งเสริมนโยบายในการ กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (มาตรา 97(1))

1.

ประโยชน์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งผลให้คุณภาพชีวิตของ ประชาชนชาวไทยดีขึ้นจากการใช้และผลิตพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิดนี้ยังน�ำไปสู่การเข้าถึงพลังงาน สะอาดในราคาทีเ่ ข้าถึงได้ สร้างผลประโยชน์ตอ่ เศรษฐกิจ ซึง่ ทุกคน ในสังคมไทยจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการน�ำไปประยุกต์ใช้ สร้างประโยชน์ในหลายระดับ นอกจากจะสร้างประโยชน์ในระดับ ประเทศแล้ว โครงการนี้ยังน�ำไปสู่การสร้างประโยชน์ในระดับโลก เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งพลังงานสะอาดได้ตอบโจทย์เป้าหมาย การลดปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทีก่ อ่ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างผลกระทบ อย่างชัดเจนทัว่ โลกในขณะนี้ เพราะฉะนัน้ ผลโดยรวมของโครงการ Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของทุกคน จะป็นผลดีต่อประเทศ ต่อสังคม และต่อตัวเราเอง

2.

5.

3. 4.

6.

เพื่อการชดเชยผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งต้อง จ่ า ยอั ต ราค่ า ไฟฟ้ า แพงขึ้ น จาก การที่ ผู ้ รั บ ใบอนุ ญ าตที่ มี ศู น ย์ ค วบคุ ม ระบบไฟฟ้ากระท�ำการฝ่าฝืนมาตรา 87 วรรคสอง (มาตรา 97(2)) เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการด�ำเนินงาน ของโรงไฟฟ้า (มาตรา 97(3)) เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงาน หมุนเวียน และเทคโนโลยีที่ใช้ใน การประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อย (มาตรา 97(4))

เ พื่ อ การ ส ่ ง เ ส ริ ม สั งค ม แ ล ะ ป ร ะ ช า ช น ใ ห ้ มี ค ว า ม รู ้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้าน ไฟฟ้า (มาตรา 97(5)) เป็นค่าใช้จา่ ยในการบริหารกองทุน พัฒนาไฟฟ้า (มาตรา 97(6)) ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงินกองทุนตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) ให้เป็นไปตาม ระเบียบที่คณะกรรมการก�ำหนดภายใต้ กรอบนโยบายของคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ ตามมาตรา 11(10) และต้องจัดมีการแยกบัญชีตามกิจการ ที่ใช้จ่ายอย่างชัดเจน January-February 2021


Special Scoop > กองบรรณาธิการ

https://pixabay.com/photos/hand-robot-human-keyboard-networks-3685829/

วิศวกรไทย กับการปรับตัว ในยุคปกติใหม่

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านวิศวกรรม ด�ำเนินงานภายใต้ การบริหารงานของคณะกรรมการอ�ำนวยการ มีภารกิจในการบริการ สมาชิกด้านการจัดฝึกอบรม การจัดท�ำมาตรฐานวิชาชีพทางด้าน วิศวกรรม และให้บริการหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในเรือ่ งการให้คำ� ปรึกษาทางด้านวิศวกรรม เป็นองค์กรกลางทางด้าน วิศวกรรมจนเป็นทีย่ อมรับของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน กว่า 77 ปี เมือ่ ปลายปี พ.ศ. 2563 วสท. ได้จดั งาน “วิศวกรรมแห่งชาติ 2563 (National Engineering 2020: Engineering for Society)” ภายใต้หวั ข้อ Engineering Disruption โดยมีหวั ข้อสัมมนาทางด้าน วิชาการครอบคลุมทุกด้าน ทุกสาขาวิศวกรรม รวมถึงการแสดงสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมทีท่ นั สมัย เพือ่ น�ำองค์ความรูด้ า้ นวิศวกรรม ไปพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ 5G Technology, Smart City and Smart Life, Renewable Energy, Digital Transformation, Leverage Thailand Engineering, Safety and Security, BIM Development, AI (Artificial Intelligence) and Standard of New Technology January-February 2021

ภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “วิศวกรไทยกับการปรับตัว ในยุคปกติใหม่” เป้าหมายเพือ่ แนะน�ำการปรับตัวของวิศวกรในยุค New Normal รวมทั้งเปิดมุมมองและเทคนิควิธีการปรับตัวจาก ผูเ้ ชีย่ วชาญและมีประสบการณ์ทางวิชาชีพวิศวกรรม โดยได้รบั เกียรติ บรรยายโดย ศ. ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ผู้อ�ำนวยการ สถาบัน นวัตกรรมบูรณาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ รองผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และอาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศ. ดร.วรศักดิ์ กนกนุกลุ ชัย ผูอ้ ำ� นวยการ สถาบันนวัตกรรม บูรณาการ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นปัญหาด้านสุขภาพครั้งใหญ่ ของมนุ ษ ยชาติ ที่ ต ามมาคื อ ผลกระทบอย่ า งกว้ า งขวางต่ อ วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร ท� ำ ง า น ข อ ง ศ. ดร.วรศักดิ์ กนกนุกลุ ชัย มนุษย์ เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมต่างพยายามคาดเดาว่าผลกระทบต่อ วิชาชีพจะเป็นเช่นใด ส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรม วิศวกรรมและการก่อสร้างจะมีทั้งในระยะสั้นและยาว จนถึงขั้น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปฏิบัติงานอย่างครบวงจร ส�ำหรับประเทศไทย บริษัทวิศวกรรมน่าจะผลักดันโครงการ ที่ก�ำลังด�ำเนินให้ส�ำเร็จ แต่ก็คงท�ำด้วยความล�ำบาก เพราะความ ต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานอาจเปลี่ยนไปจากการหดตัวของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมวิศวกรรมและการก่อสร้าง ต่างจับตามองสถานการณ์ของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ เช่น หลาย โครงการใน EEC ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากปัญหาทาง


การเงินหรือไม่ และคงต้องตั้งความหวังว่า นักลงทุนต่างชาติยังคง ให้ความส�ำคัญต่อการลงทุนในประเทศไทยต่อไป แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยศักยภาพของอุตสาหกรรม วิศวกรรมและการก่อสร้างในการสร้างงาน น่าจะเป็นเหตุผลที่ดี ที่รัฐบาลไทยใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการผลักดันการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐานต่อไป โดยเน้นใน 3 ประเภทนี้ 1. โครงการ ที่ช่วยสร้างงาน 2. โครงการที่ให้ผลตอบแทนทันที เพื่อรัฐสามารถ น�ำเงินไปฟื้นฟูสังคม และ 3. โครงการที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมและ สิ่งแวดล้อม เป็นที่ชัดเจนว่า สิ่งที่โลกก�ำลังประสบไม่ใช่เป็นวงจรปกติ แต่เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน สุดท้ายมันคือ ความปกติใหม่ (New Normal) ของโลก ในท่ามกลางหมอกควันแห่งความไม่แน่นอน ผูบ้ ริหารระดับสูงขององค์กรต้องเริม่ วางแผนว่า หลังวิกฤตโควิด-19 เมื่อทุกอย่างกลับเข้าภาวะปกติ สถานะองค์กรจะเป็นอย่างไร ความปกติใหม่ที่พูดถึงนั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ อย่างไร ผู้บริหาร เหล่านี้ต้องเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ จะไม่ได้เป็นไปตามครรลองแบบเดิม ในอดีตอีกแล้ว ดังนั้นต้องคิดนอกกรอบเพื่อค้นหาวิธีเปลี่ยนวิกฤต ให้เป็นโอกาสให้ได้ ช่วงนีค้ อื ช่วงส�ำคัญทีจ่ ะนิยามผลิตภัณฑ์วศิ วกรรม ใหม่ เพื่อจะได้มีจุดยืนในภูมิทัศน์ใหม่ ภายใต้ความปกติใหม่นี้ สิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่คาดว่าจะกลายเป็นความปกติใหม่ ได้แก่ ในช่วงวิกฤต ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการปฏิบัติงานที่บ้านและ การประชุมออนไลน์ หลายบริษัทเริ่มคิดนอกกรอบได้ว่า การที่พนักงานสามารถท�ำงานที่ไหนก็ได้จะเป็นความปกติใหม่ อย่างหนึง่ เป็นการลดค่าใช้จา่ ยภายในส�ำนักงาน และลดการเสียเวลา ในการเดินทางของพนักงานด้วย จึงอาจต้องก�ำหนด KPI ชุดใหม่ ทีไ่ ม่เน้นการวัดผลงานด้วยเวลาทีใ่ ช้ในการท�ำงาน แต่วดั ด้วยปริมาณ ผลงาน หรือความก้าวหน้าของโครงการ สิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐกิจกิ๊ก” ก�ำลังเปลี่ยนวิธีการท�ำงานของ นักวิชาชีพ ความจริงบริษทั ทีป่ รึกษาวิศวกรรมมีความคุน้ เคย กับ “เศรษฐกิจกิก๊ ” อยู่ เพราะมีการจัดจ้างทีป่ รึกษาเฉพาะกิจภายนอก สิง่ นีจ้ ะกลายเป็นความปกติใหม่ ดังนัน้ บริษทั ต้องพร้อมทีจ่ ะตอบสนอง ด้วยการสร้างรูปแบบการจ้างทีห่ ลากหลาย ส�ำหรับผูป้ ระกอบอาชีพ อิสระ ผู้รับเหมา พนักงานทดลองงาน และพนักงานเฉพาะกิจ ทีผ่ า่ นมาบริษทั ด้านวิศวกรรมมักให้ความส�ำคัญแก่ประสิทธิผล การผลิตเป็นพิเศษ แต่ในอนาคตประสิทธิภาพของเงินทุนจะ เข้ามามีความส�ำคัญแทน บริษทั ทีใ่ ช้เงินสดหมุนเวียนอย่างชาญฉลาด มีต้นทุนคงที่น้อยกว่า และมีวงจรการแปลงเงินสดได้ในระยะเวลา สั้นๆ จึงจะสามารถอยู่ยั่งยืน ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมทุกอย่างจะต้องสามารถแปลงให้เป็น ดิจทิ ลั ได้ ท�ำเป็นส�ำเนาและส่งให้ลกู ค้าและผูเ้ กีย่ วข้องได้ทาง ออนไลน์ สิง่ นีจ้ ะสอดคล้องกับแนวคิดว่า รับงานทีไ่ หนก็ได้ ผลิตงาน ที่ไหนก็ได้ และส่งงานที่ไหนก็ได้ นวัตกรรมทางเทคโนโลยียังมีความส�ำคัญในโลกแห่งความ ปกติใหม่ โดยเฉพาะงานด้านวิศวกรรม พันธุกรรม ซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และพลังงานสะอาด และความต้องการใหม่ทเี่ กิด ขึ้นหลังวิกฤต คือ เทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ ท�ำงานกับมนุษย์

1.

2.

3.

4. 5.

ศ. ดร.วรศักดิ์ กล่าวสรุปว่า “ผลลัพธ์แห่งความท้าทายใน ระดับโลกนี้ จะเปลีย่ นมุมมองของมนุษย์ในการล้างผลาญทรัพยากร ธรรมชาติและในการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อโลก จากนีไ้ ปนักลงทุน ภาครัฐและภาคเอกชนคงจะต้องค�ำนึงถึงความเป็นมิตรต่อโลก เป็นใหญ่ เพราะทุกคนดูเหมือนจะตาสว่าง ทีไ่ ด้ประจักษ์เป็นครัง้ หนึง่ ในชีวติ ว่า โลกสวยงามน่าอยูเ่ พียงใดในช่วงทีม่ นุษย์สว่ นใหญ่อยูบ่ า้ น ใน 1-2 เดือนทีผ่ า่ นมา ทุกวิกฤตจะสร้างคลืน่ ลูกใหม่และเป็นบทเรียน ส�ำคัญในการท�ำงาน ท�ำให้มีการเตรียมพร้อมในการท�ำงานหรือ พร้อมรับมือกับวิกฤตครั้งใหม่เสมอ” ด้ า น รศ. ดร.สมยศ เ กี ย ร ติ ว นิ ช วิ ไ ล ค ณ บ ดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบัน เ ท ค โ น โ ล ยี พ ร ะ จ อ ม เ ก ล ้ า เ จ ้ า คุ ณ ท ห า ร ล า ด ก ร ะ บั ง คอลัมน์ AI กับนายช่าง กล่าวว่า อุตสาหกรรมทีเ่ อาปัญญาประดิษฐ์ และการเรี ย นรู ้ ด ้ ว ยเครื่ อ งจั ก ร รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล มาแทนคนจ�ำนวนมากมาย และ เริ่มเลย์ออฟพนักงานคือ ธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารแห่งหนึ่ง ในประเทศไทยทีม่ กี ารเลย์ออฟพนักงานเป็นจ�ำนวนมาก เนือ่ งจาก มีนวัตกรรมเข้ามาแทนที่ การที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน ลดต้นทุน ท�ำให้เกิดความต้องการผูท้ มี่ ี ความเชีย่ วชาญด้าน AI มากขึน้ เรือ่ ยๆ และเกิดอาชีพใหม่ทเี่ รียกว่า วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Engineer) ในอนาคต ประเทศไทยน่าจะต้อ งการวิศวกรปัญ ญาประดิษ ฐ์เพิ่ม มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคที่มีการน�ำ AI มาใช้จริงในธุรกิจเพิ่มขึ้น ทุกๆ วัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนทาง ธุรกิจ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ มีความฉลาดเทียมทีส่ ร้างขึน้ ให้กบั สิง่ ทีไ่ ม่มชี วี ติ หรือหุน่ ยนต์ทมี่ รี ปู ร่างหน้าตา เคลือ่ นไหวคล้ายมนุษย์ ใช้แนวคิดการท�ำงานของสมองมนุษย์มาประยุกต์เป็นเครือข่าย ประสาทเทียม เพื่อการประมวลผลโดยการแบ่งประเภทข้อมูล สามารถคิดได้ตามหลักเหตุและผล วิเคราะห์งานที่เกิดขึ้นจากการ ป้อนสูตรเข้าไป เช่น การแก้ไขปัญหาทางสถิติ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นตัวแทน ในระบบอัตโนมัตติ า่ งๆ ได้ ในปัจจุบนั สามารถสือ่ สารได้ดว้ ยภาษา ที่มนุษย์ใช้ได้แล้ว “หากถามว่าใครจะอยูใ่ ครจะไปนัน้ ต้องบอกว่า งานจิตอาสา งานเพื่อสังคม นางพยาบาล นักบ�ำบัด นักจิตวิทยา งานที่ต้องใช้ ทักษะด้านเจรจา และโดยเฉพาะสายอาชีพศิลปะแขนงต่างๆ ทีจ่ ะใช้ สมองซีกซ้ายในการคิดเป็นส่วนใหญ่ อาชีพที่มักใช้อารมณ์ความ รู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องกับงาน เช่น Artists, Designers, Engineers ยังอยู่รอดปลอดภัย เพราะอาชีพเหล่านี้อาศัยทักษะพิเศษ การคิด แบบ Original Ideas ยากทีจ่ ะลอกเลียนแบบ ไม่มแี พทเทิรน์ ทีต่ ายตัว งาน Routine อาชีพที่ทำ� งานซ�้ำๆ เดิมๆ งานที่ใช้แรงงาน (Blue– Collar) ไม่ได้ใช้ความรู้ในระดับเชี่ยวชาญและเฉพาะทางจริงๆ คุณ ก�ำลังเข้าข่ายเส้นยาแดง และคุณจะโดนกลืนกินแทนด้วยเทคโนโลยี ในที่สุด เช่น Cashier, Telephone Salesperson คนงานในโรงงาน January-February 2021


คนขับรถแท็กซี่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึน้ ไปอีก Financial Industry (อุตสาหกรรมการเงิน) ก็ถือว่ามีแนวโน้มสูงมากทีเดียว เนื่องจาก Machine Learning สามารถวิเคราะห์ขอ้ มูลด้านการเงินและเตรียม ข้อมูลบัญชีได้อย่างแม่นย�ำโดยไม่ต้องอาศัยนักบัญชี (ที่มีโอกาส ค�ำนวณพลาด) อีกต่อไป ตัวอย่างทีม่ เี ห็นอย่างเด่นชัดคือ ATM และ Mobile Banking ได้เข้ามาแทนที่งานหลายส่วนของมนุษย์ไปแล้ว เรียบร้อย” ดังนั้น AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่อาชีพมนุษย์ไปเสียหมด เพราะ ก็ยงั มีอยูบ่ างอาชีพทีม่ นุษย์มคี วามจ�ำเป็นต้องท�ำอยู่ หุน่ ยนต์ทำ� แทน ไม่ได้ ประกอบด้วย นักจิตวิทยาและนักบ�ำบัด เป็นอาชีพที่จ�ำเป็น มาก เนือ่ งจากโลกและภาคธุรกิจมีการแข่งขันสูง ท�ำให้คนเกิดความ เครียดได้ง่าย การเข้ารับการบ�ำบัดจากนักจิตวิทยาที่เป็นมนุษย์ ซึ่งมีทั้งน�้ำเสียง พลัง และกริยาท่าทางการแสดงออก จะสามารถ กระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นได้ ซึ่งหุ่นยนต์ไม่สามารถท�ำได้ สุดท้าย เมือ่ นวัตกรรมและเทคโนโลยีตา่ งๆ มีบทบาทต่อการ ด�ำเนินชีวติ ของมนุษย์ และเป็นตัวแปรส�ำคัญในการขับเคลือ่ นธุรกิจ มากขึ้น ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงควรปรับตัว เรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ ของตนเอง และท�ำความเข้าใจนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อก้าวให้ทันกับ เทคโนโลยีที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันได้ หากมนุษย์สามารถปรับตัวได้ ก็จะสามารถใช้ชวี ติ อยู่ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างแน่นอน ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ รองผู ้ อ� ำ นวยการ ส� ำ นั ก งาน ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส ่ ง เ ส ริ ม วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม (สกสว.) และอาจารย์ ป ระจ� า ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ค ณ ะ วิ ศ ว ก ร ร ม ศ า ส ต ร ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ปัจจุบนั การระบาดของ Covid-19 ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจ มีรายงานผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง เราประมาทไม่ได้ และในขณะที่เราก�ำลังวุ่นวายและวิตกกับวิกฤต โรคระบาดอยูน่ นั้ เรามองข้ามสิง่ ส�ำคัญหลายๆ อย่างไปหรือไม่ และ หนึง่ ในเรือ่ งส�ำคัญทีเ่ ราไม่อาจมองข้ามได้นนั้ ก็คอื เรือ่ งของคุณภาพ สิ่งแวดล้อม “ในขณะที่เราก�ำลังเข้มข้นต่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ให้พน้ ภัยจากการระบาดของ Covid-19 เราอาจลืมเรือ่ งทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต ซึ่งอาจจะย้อนกลับมาท�ำร้ายเรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหา การจัดการกับปัญหาขยะหน้ากากอนามัยที่ทิ้งและจัดการอย่าง ไม่ถกู วิธี ในเฉพาะกรุงเทพฯ ขยะหน้ากากอนามัยทีใ่ ช้แล้วทิง้ มีมาก ถึง 40 ตันต่อวัน และขยะเหล่านี้ถือเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งจะต้องใช้ วิธีการจัดการเฉพาะอย่างระมัดระวัง และหากมีการทิ้งไม่ถูกวิธี เราอาจจะเห็นภาพของหน้ากากอนามัยใช้แล้วกลาดเกลื่อนตาม ชายหาดหรือที่ที่ไม่ควรจะพบ เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แล้วหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งยังมีองค์ประกอบที่ ผลิตจากวัสดุทยี่ อ่ ยสลายยาก อย่างพอลิโพรไพลีน (Polypropylene : PP) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง เมื่อทิ้งไปก็จะกลายเป็นภาระของ สิ่งแวดล้อม” January-February 2021

https://pixabay.com/photos/corona-world-mask-virusdisease-4912807/

ส่วนปัญหาการชะลอตัวของโครงการต่างๆ ที่ช่วย แก้ปัญหาโลกร้อน เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ เป็นต้น เพราะแต่ละประเทศต้องหันมาใส่ใจเรื่องเร่งด่วน เฉพาะหน้าอย่างวิกฤต Covid-19 ก่อน ท�ำให้โครงการดังกล่าว ต้องยืดเวลาออกไปอีกแม้ว่าจะมีข่าวดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ให้ได้ยนิ มาบ้าง เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง คุณภาพ อากาศดีขึ้น หรือระบบนิเวศได้ฟื้นฟูตัวเองจนสัตว์น้อยใหญ่ ออกมาร่าเริงให้เห็น แต่ อิงเกอร์ แอนเดอร์สัน (Inger Andersen) ผู ้ อ� ำ นวยการโครงการสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง สหประชาชาติ (UNEP) กลับมองว่า นั้นเป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ซึ่งจริงๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงใน ระยะยาวเท่านัน้ จึงจะเปลีย่ นแนวโน้มของการลดลงของก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ในชัน้ บรรยากาศได้อย่างแท้จริง ถึงแม้วา่ สิง่ แวดล้อมจะดีขนึ้ ในทางกลับกัน ภาวะเศรษฐกิจโลกกลับดู ซบเซาสวนทางกัน ซึ่งนั้นหมายความว่า ไม่ใช่เรื่องดีต่อ สิ่งแวดล้อมในระยะยาวเลย ผศ. ดร.ธนพล กล่าวเพิม่ เติมว่า “ทัง้ นี้ เราเองก็คงต้อง มองย้อนกลับมาแล้วมองกันยาวๆ ต่อไปถึงเรื่องของการ รักษาสิ่งแวดล้อม ที่ต่อจากนี้ยิ่งต้องเข้มข้นและใส่ใจกับ ทุกพฤติกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น หากมองในแง่ดีอีกมุมหนึ่งจากวิกฤตในครั้งนี้คือ เหมือนการ เริม่ ต้นใหม่อกี ครัง้ และเราได้มโี อกาสปรับตัวอย่างจริงจังเพือ่ รักษาสิง่ แวดล้อม ถือโอกาสปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการบริโภค ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเมื่อสิ่งแวดล้อมดีขึ้นก็ย่อม จะดีต่อตัวเราเองด้วย” ดังนั้นการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งส�ำคัญของวิศวกร เช่นกัน เนือ่ งจากวิศวกรรมจะต้องค�ำนวณการรักษาสิง่ แวดล้อม ด้วยว่า นวัตกรรมต่างๆ ทีส่ ร้างขึน้ มีผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม มากน้อยแค่ไหน คงไม่ดีแน่หากมีการสร้างตึก อาคาร หรือ นวัตกรรมใหม่ๆ แล้วท�ำลายสิง่ แวดล้อมให้ลกู หลานต้องล�ำบาก เพือ่ ให้โลกพัฒนาไปพร้อมกับรักษาสิง่ แวดล้อมไปด้วย เพราะ ฉะนั้นวิศวกรรมเป็นศาสตร์ที่มีการแตกแขนงออกไปได้อีก หลายแบบ ท�ำให้วิชาชีพนี้มีความส�ำคัญต่อสังคมโลกอย่าง มากในอนาคต


Article

> ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจ�ำประเทศไทย นูทานิคซ์

คาดการณ์โลก ปี พ.ศ. 2564

ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีแห่งความตื่นตระหนกและเกิดการ เปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็ว เป็นปีทพี่ ลิกโฉมวิธกี ารท�ำงานและวิธกี ารน�า เทคโนโลยีมาใช้เพื่อรองรับความปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้น องค์กรที่ปรับตัวได้เร็วก็สามารถฝ่าวิกฤตและพาตัวเองขึ้นมาอยู่ แถวหน้าได้ องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน และสูญเสียความ สามารถทางการแข่งขัน ก็ตอ้ งพยายามเร่งกระบวนการปรับตัวและ น�ำระบบดิจิทัลมาใช้เพื่อความอยู่รอดของตน การเร่ ง ความพร้ อ มทางดิ จิ ทั ล จะยั ง คงด� ำ เนิ น ต่ อ ไปเพื่ อ ก�ำหนดรูปแบบทางเทคโนโลยีและธุรกิจในปี พ.ศ. 2564 นูทานิคซ์ ได้คาดการณ์เทรนด์ส�ำคัญที่จะมีอิทธิพลต่อรูปแบบทางธุรกิจและ เทคโนโลยีในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพือ่ ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถ เตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

กลยุทธ์ที่จะใช้ต้องมีความยืดหยุ่นและสร้างความ คล่องตัว เนื่องจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างต้องมีการทบทวนปรับปรุงกลยุทธ์บ่อยขึ้น ตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เสมอ อีกทั้งยังต้องรับมือ กับการกลับมาเติบโตที่ถูกคาดการณ์ ไว้

การที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลกเริ่มมองสิ่งต่างๆ ไปไกลกว่าเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราเริ่มเห็นสัญญาณ การฟื้นตัว การกลับเข้าท�ำงานในสถานที่ท�ำงานอย่างช้าๆ แต่จะ เป็นการฟืน้ ตัวแบบไม่คงเส้นคงวา ประเทศและเศรษฐกิจในภูมภิ าค เอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น และที่ห่างไกลออกไปมีความเชื่อมโยง ถึงกันอย่างเหนียวแน่น แม้วา่ การฟืน้ ตัวของประเทศหนึง่ อาจเป็นไป ด้วยดี แต่ทั่วโลกจะยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่จนกว่าผู้ที่มีบทบาท ส�ำคัญในระดับนานาชาติจะกลับมายืนได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง January-February 2021


ความท้ า ทายที่ ก ล่ า วข้ า งต้ น จะ ท� ำ ให้ ก ารเติ บ โตที่ จ ะกลั บ มาเป็ น แบบ กระจัดกระจาย และเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ องค์กรจะต้องมีความคล่องตัวที่ช่วยให้ สามารถปรับกลยุทธ์และการใช้จ่ายต่างๆ ขององค์กรได้ถี่ขึ้น (เช่น เป็นรายไตรมาส) เพื่ อ ให้ แ น่ ใจว่ า สามารถตอบสนองต่ อ สถานการณ์ ใ นระดั บ มหภาคได้ ความ ต้ อ งการในการใช้ ไ อที แ บบเดิ ม ที่ ใช้ เ งิ น ลงทุนมาก จะแทนที่ด้วยความคล่องตัว ของระบบการผลิตและส่งสินค้าหรือบริการ สู ่ ท ้ อ งตลาดได้ ทั น เวลาและในจ� ำ นวนที่ ต้องการพอดี (Just-In-Time : JIT) วิธีการของเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ไม่ ส ามารถท� ำ ให้ เ กิ ด ความคล่ อ งตั ว ใน ลักษณะนีไ้ ด้ องค์กรขนาดใหญ่และภาครัฐ จึงใช้รูปแบบซับสคริปชัน (Subscription Models) มากกว่าที่จะท�ำสัญญาระยะยาว ผู ก มั ด กั บ ผู ้ ข ายเทคโนโลยี ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ มั่นใจว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนและสร้าง สิ่งใหม่ๆ ได้แม้เมื่อต้องเผชิญกับความ ไม่แน่นอน รูปแบบการซื้อตามการใช้งาน (Pay-As-You-Grow) ซึ่งส่งเสริมกลยุทธ์ “Fail Fast” (ล้มเร็ว ลุกไว) จะสร้างความ สมดุลให้กับการสร้างนวัตกรรมที่จ�ำเป็น กับความจ�ำเป็นในการลดปัจจัยเสี่ยง

https://pixabay.com/photos/technologydeveloper-continents-3435575/ January-February 2021

https://pixabay.com/photos/internet-cyber-network-finger-3563638/

การน�ำพาองค์กรสู่ดิจิทัลไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของกรรมการ ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ (CIO) เพียงผู้เดียว แต่เป็นสิ่งส�ำคัญ สูงสุดของผู้บริหารทุกฝ่าย

ไม่ว่าประเทศหรือองค์กรใดจะเคยล้าหลังแค่ไหนก่อนเกิดโควิด-19 ก็ตาม ประเทศและองค์กรเหล่านัน้ จ�ำเป็นต้องผลักดันการน�ำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพือ่ สนับสนุน การด�ำเนินธุรกิจของตนเองในอีก 12 เดือนข้างหน้าเหมือนกัน องค์กรทุกแห่งจะทบทวนรูปแบบการท�ำงานใหม่ ไม่วา่ เมือ่ ก่อนเราเคยท�ำสิง่ ต่างๆ มาอย่างไร แต่สภาพแวดล้อมของเราและความคาดหวังของผูค้ นได้เปลีย่ นไปแล้ว และ เพือ่ ให้รบั มือกับความเปลีย่ นแปลงนี้ แม้แต่องค์กรทีม่ คี วามอ่อนไหวง่ายทีส่ ดุ ก็จำ� เป็น ต้องมีความคล่องตัว ซึง่ มีตวั อย่างให้เห็นแล้วในประเทศญีป่ นุ่ ทีไ่ ด้กา้ วไกลไปถึงระดับ ทีม่ คี ำ� สัง่ ให้เพิม่ การท�ำ Digitization ในหน่วยงานส�ำคัญของภาครัฐทุกแห่ง เพือ่ ให้ขอ้ มูล ทุกอย่างอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่าน ระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้กำ� หนดให้หน่วยงานของรัฐต้องเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกัน โดยมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ หรือ Government Data Exchange (GDX) ท�ำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ซึง่ นับเป็นจุดเริม่ ต้นของการท�ำ Digitization เช่น เมือ่ เดือนกันยายน ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ประกาศยกเลิกการใช้ส�ำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลใน รูปแบบกระดาษ เปลีย่ นมาใช้ขอ้ มูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเมือ่ เร็วๆ นี้ ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แถลงความร่วมมือกับส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และส�ำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกันผลักดันการพัฒนาระบบ การตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดิน รวมถึงการน�ำส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจสอบจากกระดาษสู่ดิจิทัล ภายใต้ธีม ปี’64 ถึงทีบอกลา “กระดาษ” เป็นต้น ก่อนหน้านี้การท�ำ Digitization เป็นงานส�ำคัญอันดับต้นของ CIO แต่ไม่ได้รับ ความสนใจในระดับเดียวกันจาก CEO หรือผู้บริหารฝ่ายอื่นๆ การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดแล้ว พลังของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันก็ได้รบั การยอมรับจากทุกภาคส่วนของธุรกิจ และจะยังคงเป็นหนึง่ ใน ความส�ำคัญสูงสุดตลอดปี พ.ศ. 2564 ซึง่ ความสามารถทางดิจทิ ลั ในระดับทีเ่ หมาะสม จะยังคงความส�ำคัญต่อความคล่องตัวและความอยู่รอดของธุรกิจ ดังนัน้ CIO จะมีบทบาทโดดเด่นมากขึน้ ในการตัดสินใจและความเป็นผูน้ ำ� ทาง ธุรกิจ เนือ่ งจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีของ CIO ได้รบั การพิสจู น์อย่างชัดแจ้งแล้วว่า มีคณ ุ ค่ามาก การปรับเปลีย่ นระบบไอทีจากการเป็นจุดรวมของค่าใช้จา่ ยให้กลายเป็น ปัจจัยหลักในการขับเคลือ่ นธุรกิจจะเกิดเร็วขึน้ องค์กรธุรกิจทุกแห่งในปัจจุบนั เป็นธุรกิจ ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องปกติไปแล้ว โดยที่องค์กรอาจจะยังไม่รู้ตัว


ประเด็นการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศจะถูก หยิบยกมาถกกันอีกครั้ง และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจะมีบทบาท ส�ำคัญในการหาแนวทางแก้ ไขเรื่องนี้

ห า ก ไ ม ่ มี โ ค วิ ด - 1 9 เ กิ ด ขึ้ น การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศจะเป็ น ประเด็นร้อนของโลกในปี พ.ศ. 2563 ทีผ่ า่ นมา และหลังจากที่ได้รับการผลักดันให้เป็นวาระ ระดับโลกในปี พ.ศ. 2563 แล้ว การเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศจะกลับมาเป็นประเด็นส�ำคัญ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2564 นอกจากเรือ่ งการเมือง เป็นทีช่ ดั เจนว่า ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศเป็นประเด็นส�ำคัญอย่างแท้จริง และเราจ�ำเป็นต้องหาทางออก โดยเฉพาะ ผลกระทบที่ มี ต ่ อ อุ ต สาหกรรมต่ างๆ เช่ น แหล่งทรัพยากร การขนส่ง และการเกษตร ในขณะที่บริษัทต่างๆ ยังคงจัดท�ำและเร่ง เปลีย่ นผ่านสูร่ ะบบดิจทิ ลั บริษทั เหล่านีจ้ ำ� เป็น ต้องท�ำดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชันทีต่ อ้ งค�ำนึงถึง มุมมองด้านการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ธุ ร กิ จ ที่ มี ก ารกระจายตั ว ไปในพื้ น ที่ ต่างๆ จะต้องการความยืดหยุน่ ในการท�ำงาน เพิ่มขึ้น เหตุการณ์สำ� คัญๆ ที่เกี่ยวกับสภาพ ภู มิ อ ากาศที่ เ กิ ด ขึ้ น จะกระทบต่ อ ระบบ ซัพพลายเชน และโรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ เสี่ยง เทคโนโลยีสามารถช่วยให้เกิดแนวทาง ปฏิ บั ติ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความกั ง วลที่ ก ล่ าวมา โซลู ชั น ใหม่ ๆ เช่ น เอดจ์ คอมพิวติง้ และ IoT จะมีบทบาทส�ำคัญ ในส่วนนี้ เช่น การน�ำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ ในภาคอุ ต สาหกรรมการผลิ ต การเกษตร การติดตามการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนในสถานการณ์จริง การปรับแต่ง ให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดการปล่อย มลพิษ การบริหารจัดการสายการผลิตได้ดขี นึ้ เป็นต้น การเปลี่ ย นแปลงทางการเมื อ งใน ประเทศสหรัฐอเมริกาเมือ่ เร็วๆ นี้ จะเป็นการน�า อเมริกากลับเข้ามาเป็นพันธมิตร และเป็น แรงผลั ก ดั น ส� ำ คั ญ ในการจั ด การกั บ สภาพ ภูมอิ ากาศทีม่ าพร้อมเสียงตอบรับจากทัว่ โลก

https://pixabay.com/photos/web-network-technology-developer-3963945/

เมื่อความตระหนักในประโยชน์ของคลาวด์ และการน�ำไปใช้ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง CIO จะยืนหยัดใช้กลยุทธ์ ไฮบริดและมัลติ-คลาวด์

บริษัทหลายแห่งในเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นที่ต้องการมุ่งสู่คลาวด์เป็นราย แรกๆ ก�ำลังจับคูท่ ำ� งานร่วมกับบริษทั ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ ตระหนักมาหลายปี แล้วว่า แอปพลิเคชันหลายๆ ตัวทีม่ คี วามส�ำคัญมากต่อการด�ำเนินธุรกิจไม่เหมาะ ที่จะท�ำงานอยู่บนพับลิคคลาวด์ บริษทั ต่างๆ ต้องการความสามารถเสมือนคลาวด์ (Cloud-Like) แต่จำ� เป็นต้อง มีทางเลือกและความยืดหยุน่ ไม่มบี ริษทั ใดต้องการจะล็อกตัวเองไว้กบั สิง่ ใดสิง่ หนึง่ ดังนัน้ CIO ทัง้ หลายจะเริม่ ยืนยันให้ใช้กลยุทธ์ไฮบริดและมัลติ-คลาวด์ หรืออย่างน้อย ที่สุดก็ยืนกรานให้มีการรับประกันว่าจะสามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันได้ เราได้เห็นองค์กรจ�ำนวนมากทัว่ โลกเริม่ ปรับแอปพลิเคชันของตนให้ทนั สมัย และเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ “Cloud First” และมักจะเจอทางตันเมื่อพวกเขาพบว่า แอปพลิเคชันหลักไม่สามารถโยกย้ายหรือปรับเปลี่ยนเป็นโมเดลที่ใช้กับคลาวด์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรในภายหลัง กลยุทธ์ ไฮบริดและมัลติ-คลาวด์เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะใช้เพื่อสร้างสมดุลให้กับความคล่องตัว ของคลาวด์ และการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับสภาพที่เป็นจริงของการ ด�ำเนินงานอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับผลส�ำรวจ Nutanix Enterprise Cloud Index 2020 ผลส�ำรวจใน ส่วนของประเทศไทยทีร่ ะบุวา่ 76% ของผูต้ อบแบบส�ำรวจไทยเห็นด้วยเป็นอย่างยิง่ ว่า การใช้ไฮบริดคลาวด์ ซึ่งคือการผสมผสานกันของการใช้พับลิคและไพรเวทคลาวด์/ ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบการใช้งานทีเ่ หมาะสม และ 67% ของผูต้ อบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีนับจากนี้ จะใช้ไฮบริดคลาวด์เท่านั้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 82% ระบุวา่ โควิด-19 ท�ำให้มกี ารใช้ไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึน้ โดย 68% เพิม่ การ ลงทุนในพับลิคคลาวด์ (เทียบกับผลส�ำรวจทัว่ โลกที่ 47%) และ 56% เพิม่ การลงทุน ในไพรเวทคลาวด์ (เทียบกับผลส�ำรวจทั่วโลกที่ 37%) ทั้งนี้ ข้อมูลจาก The Cloud Readiness Index (CRI) 2020 โดย Asia Cloud Computing Association (ACCA) ระบุความพร้อมการใช้คลาวด์ของประเทศไทยอยู่ในล�ำดับที่ 9 นอกจากนี้ กลยุทธ์ไฮบริดและมัลติ-คลาวด์ยังช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัว สามารถปรับแนวทางการท�ำงานได้แบบฉับไว ซึง่ เป็นสิง่ จ�ำเป็นในการมองล่วงหน้า ไปในอนาคต องค์กรต่างๆ จะเรียนรู้ในการใช้มุมมองระยะยาวและหลีกเลี่ยงที่จะ ถูกล็อกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อาจใช้ไม่ได้ผลในอีก 3-6 เดือนต่อไป หากอยู่ๆ โลก ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหันจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน หากมีสงิ่ หนึง่ สิง่ ใดทีเ่ กิดขึน้ ในปี พ.ศ. 2563 ทีอ่ งค์กรควรจะน�ำไปปรับใช้กบั กลยุทธ์ปี พ.ศ. 2564 สิง่ นัน้ คือ การเปลีย่ นแปลงทัง้ มหภาคและจุลภาคเป็นสิง่ ที่ หลีกเลีย่ งไม่ได้ และทวีความซับซ้อน ยุง่ เหยิงมากขึน้ ความยืดหยุน่ และความ สามารถในการปรับตัวต้องเป็นแกนหลักของแนวคิดทางธุรกิจ January-February 2021


Article

> สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โครงการความร่ ว มมื อ เพื่ อ พั ฒ นา ร ะ บ บ เ ค ลื อ บ ก ร ะ จ ก ส� ำ ห รั บ โ ค ร ง ก า ร หมู ่ ก ล้ อ งโทรทรรศน์ รั ง สี เชเรนคอฟ เป็ น ผล สื บ เนื่ อ งจากการลงนามความร่ ว มมื อ ด้ า น ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคระหว่างสถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับ สถาบั น เดซี สหพั น ธ์ ส าธารณรั ฐ เยอรมนี โดยได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จากสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ทรงเป็ น สั ก ขี พ ยานการ ลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ณ เมืองฮัมบูรก์ สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี ภายหลังจากนัน้ สถาบันเดซี ได้เสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นหนึง่ ในสมาชิก โครงการหมู ่ ก ล้ อ งโทรทรรศน์ รั ง สี เชเรนคอฟ (Cherenkov Telescope Array หรือ CTA)

ความร่วมมือเพื่อพัฒนา

ระบบเคลือบกระจก

สำ�หรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รงั สีเชเรนคอฟ Cherenkov Telescope Array (CTA) Mirror Coating System

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ภายใต้ความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ภายใต้ความร่วมมือนีส้ ถาบันวิจยั แสงซินโครตรอนฯ ได้รบั หน้าทีใ่ นการออกแบบระบบ และผลิตเครือ่ งเคลือบกระจกส�ำหรับโครงการฯ เนือ่ งด้วยสถาบันวิจยั แสงซินโครตรอนฯ มีทกั ษะ ประสบการณ์ และองค์ความรูจ้ ากการสร้างเครือ่ งเคลือบกระจกขนาด 2.4 เมตร ให้แก่สถาบันวิจยั ดาราศาสตร์แห่งชาติฯ ภายในความร่วมมือทีผ่ า่ นมา จึงได้รบั มอบหมาย ภาระหน้าที่ดังกล่าว January-February 2021

ศักยภาพของ สซ. ในการจัดสร้าง และพัฒนาระบบเคลือบกระจกฯ

สถาบันฯ ได้มอบหมายให้คณะท�ำงาน ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยที ม วิ ศ วกรที่ มี ค วามรู ้ ค วาม เชีย่ วชาญในแต่ละสาขา ประกอบด้วย วิศวกรรม เครือ่ งกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมระบบควบคุม และวิศวกรที่มีความรู้ ในด้านระบบสุญญากาศระดับสูง (UHV) ที่มี ประสบการณ์ จ ากโครงการสร้ า งผลิ ต เครื่ อ ง เคลือบกระจกขนาด 2.4 เมตร ที่ผ่านมา เข้ามา รั บ ผิ ด ชอบโครงการดั ง กล่ า ว โดยร่ ว มกั บ ผูเ้ ชีย่ วชาญทีป่ รึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี ภายใต้กรอบความร่วมมือของโครงการ ในการด�ำเนินงาน

ผลงานในการออกแบบและผลิตเครื่อง เครื่องเคลือบกระจกขนาด 2.4 เมตร


ขอบเขตความต้องการในการพัฒนาระบบ เคลือบกระจกฯ

ออกแบบและผลิตสร้างระบบเคลือบกระจกด้วยฟิลม์ บาง อะลูมิเนียม (AL) และเคลือบฟิล์มซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) กับกระจกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตสุด 1.5 เมตร เพื่อ ใช้ในการเคลือบผิวกระจกที่ใช้ในโครงการจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 6,000 ชิ้น ระบบที่ออกแบบและผลิตสร้างขึ้นนี้มีขีดความ สามารถในการเคลือบกระจกเป็นแบบอัตโนมัติได้จ�ำนวน 8 ชิ้นต่อวัน

กระบวนการทำ�งานของเครื่องเคลือบกระจกฯ ขั้นตอนที่ 1 น�ำกระจกเข้าสู่กระบวนการเคลือบที่ต�ำแหน่งเริ่มต้น

(Loading Mechanism)

ขั้นตอนที่ 2 กระจกถูกเคลือ ่ นทีด่ ว้ ยชุด

Motor เข้าสูห่ อ้ งสุญญากาศ (Loading Chamber) โดยการเคลื่อนที่เป็นแบบอัตโนมัติ ควบคุม ด้วยคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนที่ 3 กระจกถูกเคลือ ่ นทีด่ ว้ ยชุด

1 กระจกฯ ที่ผ่านการ เคลือบผิว 2 ลักษณะการติดตั้งกระจก 3 แสดงจุดติดตั้งระบบ เคลือบกระจก

Motor เข้าสูห่ อ้ งสุญญากาศ (Sputtering Chamber) เพื่อท�ำการเคลือบผิวกระจก

ขั้นตอนที่ 4 เป็นขัน ้ ตอนของการเคลือบกระจกด้วยวิธกี ารใช้ไอของ

อะลูมเิ นียม หรือทีเ่ รียกว่า Aluminum Sputtering ซึง่ สามารถเคลือบ ฟิล์มอะลูมิเนียมบนกระจก

ขั้นตอนที่ 5 เมื่ อ กระจกถู ก เคลื อ บด้ ว ยอะลู มิ เ นี ย มเสร็ จ สิ้ น แล้ ว

กระจกจะถูกเคลื่อนที่ไปยังส่วนท้ายสุดของ Chamber แบบร่าง แสดงรูปร่าง ของระบบเคลือบกระจก ที่จะสร้างและพัฒนาขึ้น ส�ำหรับโครงการฯ (ออกแบบ ระบบโดยสถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน (องค์การ มหาชน))

ขั้นตอนที่ 6 กระจกจะถูกเคลื่อนที่ย้อนกลับเพื่อท�ำการเคลือบผิว

กระจกด้วยซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2)

วัสดุและอุปกรณ์ของเครื่องเคลือบกระจกฯ ขั้นตอนที่ 7 หลังจากการเคลือบผิวด้วยซิลิกอนไดออกไซด์

(SiO2) เสร็จสิน้ กระจกจะถูกเคลือ่ นทีย่ อ้ นกลับออกมายังต�ำแหน่งเริม่ ต้นที่ (Loading Mechanism) เสร็จสิ้นกระบวนการเคลือบผิวกระจก

January-February 2021


Scoop

> กองบรรณาธิการ

ศูนย์พลังงานอาเซียน และสมาคมถ่านหินโลก

ลงนามบันทึกความเข้าใจสร้างพันธสัญญาร่วม ในพลังงานถ่านหินสะอาด ศูนย์พลังงานอาเซียน (เอซีอ)ี และสมาคมพลังงานถ่านหินโลก (ดับบลิวซีเอ) เซ็นสัญญาลงนามบันทึกความเข้าใจระยะเวลา 3 ปี ภายใต้ผู้น�ำคนใหม่ของทั้ง 2 องค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง การรับรู้ถึงความส�ำคัญเชิงกลยุทธ์ในภูมิภาคอาเซียน การลงนามดังกล่าวเกิดขึน้ จากความร่วมมือครัง้ ก่อนระหว่าง เอซีอแี ละดับบลิวซีเอ ซึง่ แสดงให้เห็นถึงความมุง่ มัน่ ของทัง้ สองฝ่าย อย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความ ส�ำคัญของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อเข้าถึงพลังงานสะอาด ได้อย่างมีเสถียรภาพและราคาไม่แพงส�ำหรับประเทศก�ำลังพัฒนา ในภูมิภาคอาเซียน เอซีอี เป็นองค์กรระหว่างภาครัฐบาล มีตวั แทนจากประเทศ สมาชิกในอาเซียน 10 ประเทศ ซึง่ แสดงความสนใจร่วมกันเกีย่ วกับ ภาคพลังงานที่ยั่งยืน ในขณะที่ ดับบลิวซีเอ เป็นตัวแทนจากภาค อุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก ซึ่งมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงการใช้ พลังงานจากถ่านหินอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตข้างหน้า เอซีอี มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในภาคพลังงานของอาเซียน ท�ำหน้าที่เป็นตัวเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรวมตัวของ ภูมภิ าคอาเซียน โดยการริเริม่ และอ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงาน ร่วมกันแบบพหุภาคี ตลอดจนกิจกรรมร่วมและส่วนรวมด้านพลังงาน รวมทั้งพยายามเร่งการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้านพลังงานภายใน อาเซียน โดยการให้ข้อมูลและความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ https://pixabay.com/photos/machine-excavator-coal-mining-3037672/

January-February 2021

แน่ใจว่านโยบายและแผนงานด้านพลังงานที่จ�ำเป็นสอดคล้องกับ การเติบโตทางเศรษฐกิจและความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อมของภูมภิ าค ดร.นุ กิ อั ก ยา อุ ท มา ผู ้ อ� ำ นวยการบริ ห าร เอซี อี กล่าวว่า “ในนามของเอซีอี ผม ขอแสดงความชืน่ ชมและขอบคุณ ดับบลิวซีเอ ทีใ่ ห้เราได้รบั สิทธิพเิ ศษ ในการลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลง ระยะเวลา 3 ปีกับดับบลิวซีเอ “เมื่อปีที่แล้วระหว่างการประชุม ดร.นุกิ อักยา อุทมา รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (AMEM) ครั้งที่ 37 รัฐมนตรีได้รับทราบแนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจาก ถ่านหินทีเ่ พิม่ ขึน้ ในภูมภิ าค และเน้นย�ำ้ ถึงความพยายามของอาเซียน ในการส่งเสริมเทคโนโลยีถา่ นหินสะอาด รัฐมนตรียงั สนับสนุนให้เร่ง การปรับใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในภูมิภาคอาเซียน” ถ่ า นหิ น เป็ น ทรั พ ยากรที่ ส� ำ คั ญ อย่ า งหนึ่ ง ในอาเซี ย น โดยเฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าฐาน และประเทศ ในอาเซียนจ�ำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และส่งเสริม นโยบายเพื่อเร่งการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ในภูมิภาค


ด้ า น มิ เ ชลล์ มานู ก ประธานดับบลิวซีเอ กล่าวว่า “ในนามตัวแทนของดับบลิวซีเอ และสมาชิก พวกเรารูส้ กึ ยินดีเป็น อย่างยิ่งที่ได้เซ็นสัญญาบันทึก ข้อตกลง 3 ปีร่วมกับเอซีอี เป็น เรือ่ งส�ำคัญอย่างยิง่ ทีป่ ระชาคมโลก จะได้ รั บ การศึ ก ษาจากองค์ ก ร มิเชลล์ มานูก ชัน้ น�ำอย่างเอซีอี ซึง่ อยูใ่ นภูมภิ าค ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบมากทีส่ ดุ จากการขาดแคลนการเข้าถึงพลังงาน และ ข้อดีของพลังงานที่มีราคาไม่แพง มีปริมาณมาก และเป็นพลังงาน ที่มีเสถียรภาพ ถ่านหินเป็นตัวกระตุ้นที่สำ� คัญในประเทศเศรษฐกิจ เกิดใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภูมภิ าคอาเซียน และประชาคมโลกในหลายภาคส่วนยังไม่เข้าใจ ถึงความจ�ำเป็นในเรื่องนี้ ความร่วมมือกับ ดร.นุกิ และทีมของเขา จะช่วยเราในการส่งเสริมโอกาสและความท้าทายส�ำหรับประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่ในการสร้างอนาคตทีย่ งั่ ยืนด้วยเทคโนโลยีถา่ นหิน สะอาด” ดร.นุกิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขณะนี้อาเซียนก�ำลังพัฒนาแผน ปฏิบตั กิ ารอาเซียนเพือ่ ความร่วมมือด้านพลังงาน (APAEC) ระยะที่ 2 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ อาเซียนจะยังคงรูปแบบเดิมของ APAEC 2016-2025 ซึง่ ก็คอื การเสริมสร้างการเชือ่ มต่อพลังงานและการรวม ตลาดในอาเซียนเพือ่ บรรลุความมัน่ คงด้านพลังงาน ความสามารถ ในการเข้าถึงความคุ้มค่าและความยั่งยืนส�ำหรับทุกคน”

https://pixabay.com/photos/coal-miners-minerals-extraction-1521718/

นอกจากนัน้ ดร.นุกิ ได้กล่าวถึง “การเร่งการเปลีย่ นแปลง ด้านพลังงานและการสร้างเสถียรภาพด้วยนวัตกรรมและความ ร่วมมือ” ว่า ถ่านหินมีบทบาทส�ำคัญไม่เพียงแต่ในด้านความมัน่ คง ด้านพลังงาน แต่ยงั รวมถึงการเปลีย่ นพลังงานไปสูก่ ารจัดหาพลังงาน ทีย่ งั่ ยืน ในขณะเดียวกันก็สร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน ในปี พ.ศ. 2558 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในอาเซียนมีประมาณ 63 กิกะวัตต์ และคาดว่าจะเพิ่มก�ำลังการผลิตเป็น 2 เท่าภายในปี พ.ศ. 2583 ดังนั้นการร่วมมือกับดับบลิวซีเอถือเป็นก้าวต่อไปของ อาเซียนในการเพิ่มประสิทธิภาพบทบาทของเทคโนโลยีถ่านหิน สะอาด เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืนและลดการปล่อยมลพิษ “เราหวังว่าจะได้ทำ� งานร่วมกับดับบลิวซีเอ เพือ่ ส่งเสริมบทบาท ของเทคโนโลยีถา่ นหินสะอาดต่อการเปลีย่ นแปลงด้านพลังงาน และ เศรษฐกิจคาร์บอนต�ำ่ เพิม่ ความตระหนักรูข้ องสาธารณชนเกีย่ วกับ เทคโนโลยีถา่ นหินสะอาด และเพือ่ วิจยั พัฒนา และสร้างนวัตกรรม ของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในอาเซียน” ดร.นุกิ กล่าว ประเทศในอาเซียนมีสิทธิในแหล่งพลังงานราคาประหยัด และสร้างสังคมผ่านบทบาทส�ำคัญของถ่านหินในการผลิตเหล็กและ ปูนซีเมนต์ ไม่ใช่แค่เพียงถ่านหิน แต่เป็นเรื่องที่ประเทศเศรษฐกิจ เกิดใหม่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ลม โซลาร์ และก๊าซ ซึง่ พวกเขาเชือ่ ว่าจะสร้างพลังงานทีร่ าคาไม่แพงและ สร้างเสถียรภาพในภารผลิตพลังงานได้อย่างปลอดภัย “ถึงเวลาแล้วทีภ่ าคอุตสาหกรรม รัฐบาล และนักลงทุน ต้อง ร่วมมือกันเพื่อสร้างความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้ พลังงานสะอาด เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ท�ำงานร่วมกับเอซีอี และรัฐบาลอาเซียน เพือ่ สนับสนุนนโยบายทีค่ รอบคลุมด้านเชือ้ เพลิง และเทคโนโลยีทั้งหมด” มิเชลล์ กล่าวเสริม สมาคมถ่านหินโลก (World Coal Association - ดับบลิวซีเอ) เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้น�ำในอุตสาหกรรม มีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง อนาคตที่ยั่งยืนส�ำหรับถ่านหิน และมีบทบาทอย่างแข็งขันในการ บรรลุความมุง่ หวังทางเศรษฐกิจและสิง่ แวดล้อมทัว่ โลก สมาชิกสมาคม ถ่านหินโลก ประกอบด้วย Adani Global, Anglo American, Aurizon, Caterpillar Global Mining, Cerrejón, China Energy Investment Corporation, Dyno Nobel, GE Steam Power, Glencore, Komatsu, Orica, Peabody, PT Berau Coal Energy, SUEK, Whitehaven Coal Limited, XCoal Energy & Resources, Yancoal January-February 2021


Scoop

> กองบรรณาธิการ

Reusable and Cleanable Face Mask

นวัตกรรม หน้ากากผ้า 2 in 1

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อ COVID-19 ท�ำให้เกิดการใช้ และการกักตุนหน้ากากอนามัยจนไม่เพียงพอต่อบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเป็นอย่างมาก อีกทั้งวัตถุดิบหลักที่นิยม ใช้ท�ำส่วนของฟิลเตอร์ของหน้ากากอนามัย คือ Melt Brown ผลิตไม่ทัน ต่อความต้องการ และปริมาณการใช้หน้ากากยังเป็นการสร้างขยะอันมหาศาล ในอนาคตอันใกล้ เนือ่ งจากส่วนประกอบท�ำมาจากโพลีเมอร์และวัตถุดบิ อื่นที่ยากต่อการก�ำจัด ด้วยปัญหาดังกล่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม โดยส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ร่วมมือกับบริษัท พรีมา เลเซอร์ เทอร์ราพี จ�ำกัด ส่งมอบ หน้ากาก P-Mask หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซำ�้ ได้ และชุดหน้ากาก PAPR ให้แก่สถานพยาบาลและประชาชนทีม่ าใช้บริการในสถานพยาบาลในเครือ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมการแพทย์และกรมการแพทย์ทหารบก ทดแทน การใช้หน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียว นอกจากคุณสมบัติพิเศษที่ช่วย ในการกรองเชือ้ ไวรัส COVID-19 แล้ว ยังสามารถป้องกันฝุน่ ละออง PM2.5 ได้ดี และถูกออกแบบให้สวมใส่สบาย สะดวกต่อการหายใจอีกด้วย

ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ ญ จาธิ กุ ล ชั ย รุ ่ ง เรื อ ง กล่าวว่า สถานการณ์ ในปัจจุบันที่ก�ำลังเผชิญอยู่นี้ เป็นสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยง ไม่ ไ ด้ ดั ง นั้ น การร่ ว มมื อ ในครั้ง นี้จึงเป็นการร่ว มมือ ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เป็นอย่างมาก “อว. ให้ความส�ำคัญกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และปัญหาฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนือ่ ง การแก้ไขปัญหานัน้ เป็นการอาศัยองค์ความรู้ เครือข่าย และความร่วมมือจากพันธมิตรทัง้ หน่วยงานภายใน การก�ำกับของกระทรวงฯ ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อหา แนวทางการแก้ไข ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น” ดั ง นั้ น จะเห็ น ได้ ว ่ า วิ ก ฤตที่ เ กิ ด ขึ้ น จากสถานการณ์ ต่างๆ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโอกาสการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทีต่ อบโจทย์กระแสสังคมในช่วงนัน้ ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ การปรับตัวของภาคเอกชน ซึ่งผลงานนวัตกรรมหน้ากาก อนามัยชนิดใช้ซำ�้ ได้ ถือเป็นอีกหนึง่ ตัวอย่างของการสร้างสรรค์ นวัตกรรมจากวิกฤตที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลน หน้ากากอนามัย และเรื่องส�ำคัญคือ การลดปริมาณขยะ มหาศาลจากการทิ้งหน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง อีกทัง้ ยังสามารถน�ำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมหน้ากากป้องกัน เชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ หรื อ ชุ ด หน้ า กาก PAPR ส� ำ หรั บ บุ ค ลากรทางการแพทย์ ได้อีกด้วย ดร.พันธุอ์ าจ ชัยรัตน์ ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก งาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) กล่าวว่า การพัฒนา นวั ต กรรมทางการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งประเด็นส�ำคัญที่ NIA มีการผลักดันให้เกิดขึ้น ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยอาศั ย เครื อ ข่ า ยย่ า นนวั ต กรรม การแพทย์โยธี ซึง่ ประกอบด้วยโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถาบันวิจยั ทัง้ ภาครัฐและเอกชนเกือบ 20 แห่ง ทีม่ ขี ดี ความ สามารถในการให้บริการสุขภาพและการวิจยั พัฒนานวัตกรรม ทางการแพทย์ ร ะดั บ สู ง เพื่ อ สร้ า งคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ใ ห้ กั บ ประชาชนและสังคม เสมือนของขวัญทีจ่ ะส่งมอบให้กบั คนไทย ในช่วงปีใหม่ พ.ศ. 2564 นี้ โดยเฉพาะนวัตกรรมการแพทย์ วิถใี หม่ นวัตกรรมการแพทย์ทางไกล กลไกการส่งเสริมสุขภาพ


เพื่อรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงนวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบในด้าน สิ่งแวดล้อม และรองรับความเป็นสังคมเมือง “ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมานั้น NIA ได้สนับสนุนเงินทุนให้กบั บริษทั พรีมา เลเซอร์ เทอร์ราพี จ�ำกัด ในวงเงิน 2.859 ล้านบาท เพื่อพัฒนานวัตกรรมหน้ากากอนามัย ใช้ซ�้ำได้ ซึ่งสามารถน�ำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมหน้ากากป้องกัน เชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ หรือ ชุดหน้ากาก PAPR ส�ำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย โดย ปัจจุบันด�ำเนินโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อย พร้อมส่งต่อสู่การใช้จริง ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน จึงส่งมอบหน้ากาก

อนามัยชนิดใช้ซำ�้ ได้จำ� นวน 6,000 ชิน้ และชุด PAPR จ�ำนวน 250 ชุด ให้กับสถานพยาบาลในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” เพราะฉะนั้นการส่งมอบในครั้งนี้เป็นการส่งมอบในพื้นที่ ให้บริการทางการแพทย์ทมี่ ผี เู้ ข้ารับการรักษามากทีส่ ดุ ในประเทศไทย โดยจัดสรรให้กบั กรมการแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก และมหาวิทยาลัย มหิดล เพือ่ กระจายให้กบั บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทัว่ ไป หรือผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการในสถานพยาบาลต่างๆ ดร.เจริญ ตั้งตรงเบญจศีล กรรมการ บริษัท พรีมา เลเซอร์ เทอร์ราพี จ�ำกัด กล่าวว่า จุดเริม่ ต้น ของการท�ำหน้ากากอนามัยชนิด ใช้ซำ�้ ได้ คือ ต้องการลดขยะพลาสติก ที่ ม าจากการใช้ ห น้ า กากอนามั ย เพราะที่ ผ ่ า นมามี ข ยะพลาสติ ก ดร.เจริญ ตั้งตรงเบญจศีล ที่ เ กิ ด จากการใช้ แ ล้ ว ทิ้ ง เป็ น จ�ำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่ ประเทศไทยก�ำลังเผชิญกับปัญหา COVID-19 และการเข้าถึงหน้ากาก อนามัยทีเ่ ป็นไปอย่างยาก เนือ่ งจากเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย ค่อนข้างเยอะ แต่การท�ำงานในครัง้ นีท้ ปี่ ระสบความส�ำเร็จเนือ่ งจาก บริษัทได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก NIA เพื่อด�ำเนินการผลิต หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซำ�้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย

• P-Mask นวัตกรรมหน้ากากอนามัยชนิดใช้ซ�้ำได้ ประกอบด้วยตัวฟิลเตอร์ที่ ผลิตจากเทฟอน (PTFE) ซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก สามารถกรองไวรัสและฝุ่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทัง้ ยังมีอายุการใช้งานทีค่ อ่ นข้างยาวนาน สามารถท�ำความสะอาดได้ นอกจากนี้ ผ้าด้านในยังใช้เส้นใยทีเ่ คลือบซิลเวอร์นาโน ซึง่ จะช่วยฆ่าเชือ้ แบคทีเรียบน ผิวหนังและละอองน�ำ้ ลาย จึงไม่เกิดกลิน่ เหม็นจากการใช้งาน ส�ำหรับการทดลองทีผ่ า่ นมา พบว่า หน้ากากผ้าสามารถป้องกันฝุน่ ละอองขนาดเล็กตัง้ แต่ 0.1-0.3 ไมครอนได้มาก ถึง 95% และสามารถป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.5 ไมครอนได้ถึง 99% โดยเฉพาะฝุน่ PM2.5 ทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ขณะนี้ นอกจากนี้ เมือ่ สวมใส่แล้วช่วยให้หายใจ สะดวก ไม่ท�ำให้ใบหน้าระคายเคือง สามารถถอดแยกเพื่อท�ำการซักล้างได้ มีอายุ การใช้งานทีน่ านกว่าหน้ากากผ้าทัว่ ไป ทีม่ กี ารทดลองใช้สามารถใช้ได้นานถึง 9 เดือน • นวัตกรรมหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรอง อากาศ (Powered Air Purifying Respirator : PAPR) มีลกั ษะเป็นหมวกคลุม ศีรษะและปั๊มลมช่วยดันลม ใช้ฟิลเตอร์เป็นเทฟลอนเช่นเดียวกัน โดยอุปกรณ์ ดังกล่าวป้องกันเฉพาะส่วนคอถึงศีรษะ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ร่วมกับชุด PPE-Personal Protective Equipment โดยปั๊มลมด้านหลังนอกจากจะช่วยในเรื่อง การหายใจแล้ว ยังสามารถกรองเชื้อไวรัสได้อีกด้วย การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตวัสดุและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ทไี่ ด้มาตรฐานสากล แสดงถึงศักยภาพความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของคนไทยนัน้ มีประสิทธิภาพ ซึง่ จะเป็นการส่งผล ต่อการผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมต่อไปในอนาคต


Special Area

> บริษัท แม็กซิไมซ์ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จ�ำกัด

Push-in Socket

for Industrial Relays Part 2

Relpol ผู้ผลิต รีเลย์ ชั้นน�ำจากประเทศโปแลนด์ ได้พัฒนำ ซ็อกเก็ตส�ำหรับรีเลย์ชนิด Push-in เพือ่ ให้ทำ� งานได้สะดวก ประหยัด เวลาในการต่อสาย และรองรับพื้นที่ติดตั้งที่มีการสั่นสะเทือนสูง เช่น เครื่องร่อน ระบบราง ระบบสายพานล�ำเลียง เป็นต้น ซ็อกเก็ตชนิด Push-in มีหลายชนิดครอบคลุมรีเลย์ทกุ ประเภท • Miniature Relays (GZP80) ใช้กับรีเลย์ RM84, RM85, RMP84, RMP85 • Industrial Relays (GZP4) ใช้กับรีเลย์ R2N, R4N

ซ็อกเก็ตทั้ง 2 ชนิดติดตั้งบนราง DIN ขนาด 35 มิลลิเมตร โดยที่นิยมใช้กันมากคือ GZP4 เนื่องจากใช้กับรีเลย์ชนิด R2N (รีเลย์ 2 Contact @12A, 300VAC) และ R4N (รีเลย์ 4 Contact @8A, 300VAC)

Features

ใส่ ส ายไฟง่ า ยและสามารถมองเห็ น มาร์คสายไฟอย่างชัดเจน

ถอดสายไฟได้ง่าย เพียงกดปุ่มค้างไว้ แล้วดึงสายไฟออก

มีชอ่ งพิเศษส�ำหรับใส่สายมิเตอร์ เพือ่ ให้ ง่าย สะดวกต่อการตรวจเช็ควงจร

มีพื้นที่ส�ำหรับติด Label ขนาดใหญ่ 15x9 มม. (GZP80) 30x9 มม. (GZP4)

สามารถใส่แผ่นมาร์คเกอร์ทคี่ ลิปล็อกได้

สามารถใช้กับรีเลย์รุ่นฝาใสได้ ท�ำให้ สามารถดูการท�ำงานของรีเลย์ได้งา่ ยขึน้


นอกจากนี้ยังมี Feature อื่นที่ช่วยให้สามารถท�ำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นอีกดังนี้ • มี Jumper ส�ำหรับต่อพ่วงกัน ข้ามรีเลย์ในแต่ละรุ่น

• มี Jumper ส�ำหรับต่อพ่วงกันระหว่างหน้าคอนแทค เพื่อสะดวกต่อการเดินสายไฟ

บริษท ั แม็กซิไมซ์ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จำ�กัด

โทร. 0-2194-8738-9 แฟกซ์ 0-2003-2215 E-mail : info@mit-thailand.com เว็บไซต์ : www.mit-thailand.com


Special Area

> บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

การท�ำงานของ

AIR CIRCUIT BREAKER

เบรกเกอร์ แ บบนี้ มี ส ่ ว นประกอบส� ำ คั ญ 2 ส่ ว น Thermal Unit ใช้ส�ำหรับปลดวงจรเมื่อมีกระแสไหลเกิน อันเนื่องมาจากการใช้โหลดมากเกินไป ลักษณะการท�ำงาน เมื่อมีกระแสเกินไหลผ่านโลหะ Bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิดที่มีสัมประสิทธิ์ทางความร้อน ไม่เท่ากัน) จะท�ำให้ Bimetal โก่งตัว ไปปลดอุปกรณ์ทางกล และท�ำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ Trip การปลดวงจร แบบนี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับกระแสขณะนั้น และความร้อนที่เกิดขึ้นจนท�ำให้ Bimetal โก่งตัว Magnetic Unit ใช้สำ� หรับปลดวงจรเมือ่ เกิดกระแสลัดวงจรหรือมีกระแส ค่าสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึน้ ไปไหลผ่าน กระแสจ�ำนวนมาก จะท�ำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การ ปลดวงจรท�ำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมาก โอกาสที่เบรกเกอร์จะช�ำรุดจากการตัดวงจรจึงมีน้อยกว่า Solid State Trip or Electronic Trip Molded Case Circuit Breaker เป็นเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ท�ำหน้าที่วิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจรจาก Diagram จะ เห็นว่าอยูภ่ ายในตัวเบรกเกอร์ทำ� หน้าทีแ่ ปลงกระแสให้ตำ�่ ลง ตามอัตราส่วนของ CT และมี Microprocessor คอยวิเคราะห์ กระแส หากมีคา่ เกินกว่าทีก่ ำ� หนด จะสัง่ ให้ Tripping Coil ซึง่ หมายถึง Solenoid Coil ดึงอุปกรณ์ทางกลให้ CB. ปลดวงจร ที่ ด ้ า นหน้ า ของเบรกเกอร์ ช นิ ด นี้ จ ะมี ปุ ่ ม ปรั บ ค่ า กระแส ปลดวงจร เวลาปลดวงจรและอืน่ ๆ นอกจากนีย้ งั สามารถติดตัง้ อุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Amp Meter & Fault Indicator ซึ่ง สามารถแสดงสาเหตุการ Fault ของวงจรและค่ากระแสได้ ท�ำให้ทราบสาเหตุของการปลดวงจรได้

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำ� งาน เปิดและปิดวงจรไฟฟ้าแบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแสไหลผ่านเกินกว่าค่าที่ก�ำหนด โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น ใช้กบั แรงดันน้อยกว่า 1,000 Volt. โดยทัว่ ไปมีพกิ ดั กระแสตัง้ แต่ 225-6,300 A และมี Interrupting Capacity สูงตั้งแต่ 35-150 kA โครงสร้างทั่วไป ท�ำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก (Arcing Chamber) ที่ใหญ่และแข็งแรงเพื่อ ให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจ�ำนวนมากได้ Air CB. ทีม่ ขี ายในท้องตลาด มักใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับและวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลด


Fixed Type

Draw Out Type (Include Cradle)

โครงสร้างและส่วนประกอบของเบรกเกอร์

Name Plate ปรากฏทีด่ า้ นหน้าหรือด้านข้างของเบรกเกอร์ โดยมัก ก�ำหนดรายละเอียดเกีย่ วกับเบรกเกอร์นนั้ ๆ เช่น จ�ำนวนขัว้ แรงดัน กระแส ในส่วนของกระแสจะระบุ 3 จ�ำนวน ประกอบด้วย Ampere Trip, Ampere Frame และ Interrupting Capacity Arcing Chamber บางครั้งเรียกว่า Arc Chute มีลกั ษณะเป็นแผ่นโลหะวางซ้อนกันเป็นชัน้ ๆ อยูเ่ หนือหน้าสัมผัส (Contact) ของเบรกเกอร์ ท�ำหน้าที่ช่วยดับอาร์ก หน้าสัมผัส (Contact) นิยมท�ำด้วยทองแดงเคลือบผิวหน้าด้วยเงินเพื่อให้ทนต่อเปลวอาร์กได้ดี ประกอบด้วย Fixed Contact และ Movable Contact กลไกตัดวงจรส�ำหรับเบรกเกอร์ขนาดเล็กทั่วไป แบ่งเป็นอาศัย ความร้อนและอาศัยอ�ำนาจแม่เหล็กแบบอาศัยความร้อน ใช้หลักการ โก่งตัวของโลหะ Bimetal เพื่อปลดกลไก ส่วนแบบอาศัยอ�ำนาจแม่เหล็ก ใช้แรงดึงดูดของแม่เหล็กไฟฟ้าของขดลวดที่กระท�ำต่อแผ่นโลหะเพื่อ ปลดกลไก

ACB สามารถแบ่งชนิดตามการติดตัง้ ได้ 2 แบบ คือ

1) แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Type) ติดตัง้ ให้ตดิ กับ Main Circuit โดยยึดติดด้วยสกรู อย่างแข็งแรง เวลาถอดออกเพือ่ ซ่อมบ�ำรุงจะต้องดับไฟ และใช้เวลามาก 2) แบบดึงออกได้ (Draw Out Type) ติดตั้งบนโครงล้อเลื่อนที่สามารถเลื่อนไปตาม รางที่เตรียมไว้ ส่วนสัมผัสของ ACB กับ Main Circuit จะต้องเป็นแบบพิเศษเพื่อให้การสัมผัสที่แนบแน่น ซึง่ จะท�ำให้กระแสสามารถไหลผ่านได้สะดวก การซ่อม บ�ำรุง ACB แบบนี้ท�ำได้สะดวกรวดเร็ว และสามารถ ลดเวลาการดับไฟฟ้าได้


A Frame [85 kA] 630-1,600 A (HGS)/630-2,000 A (HGN)

B Frame [100 kA] 2,000-3,200 A (HGS)/630-4,000 A (HGN)

C Frame [100 kA] 3,200-5,000 A (HGN)

D Frame [150 kA] 4,000-6,300 A (HGN)


Features

Diversified Ratings 3 Pole & 4 Poles for 630A - 6,300A, High Capacity Up 150kA Ac500V in Compact Size Fixed Type & Draw-Out Type Abundant Experience for Nuclear Power & Marine Marine Various Protective Instruments for Protective Auxiliary Maximum Fault Interruption Performance and Short Time Withstand Capacity Compact and Light Weight Convenience in Switchboard Assembling Process  

   

 

Applied Standards and Certifications

HG Series air circuit breaker has acquired testing/certifications from IEC 60947-1, 2 certified testing institute and can be installed and applied according to the usage environment and conditions permitted by the standards.

Acquired Standards and Certifications

KS Certification : KS C 4620 CB Certification (DEKRA, KERI) : IEC 60947-1, 2 CE Mark CCC Certification Vessel Certification : LR, ABS, KR, BV, GL, NK, RINA, DNV, RS 9 Major Vessel Certifications : KR, GL, LR, ABS, BV, NK, RINA, DNV, RS     

บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

22/28-29 ถนนสุขาภิบาล 2 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร. 0-2002-4395-97 แฟกซ์ 0-2002-4398 E-mail : ejlee@tdpowertech.com, lalida@tdpowertech.com


Special Area > Hitachi ABB Power Grids

Hitachi ABB Power Grids

Energizes NordLink and Accelerates Europe Towards a Carbon-Neutral Energy System The interconnection linking Germany and Norway’s power markets supports Europe’s energy system and society, enabling access to renewable energy – enough to power up to 3.6 million German homes Hitachi ABB Power Grids announced the energization of the NordLink project, a 623-km long high-voltage direct current (HVDC) electricity interconnection that for the first time links German and Norwegian power markets. NordLink is the world’s first HVDC Light® bi-pole installation to perform at a record level of 525-kilovolt (kV) and 1,400 megawatt (MW), nearly doubling the power transmission capacity compared with earlier systems and improving overall reliability and availability in the grid. The increased integration of renewables from both countries, in combination with the usage of pioneering technology, supports the green energy transition. “We are delighted to be contributing to this milestone project, which brings Europe another step closer towards its vision of an interconnected and carbon-neutral energy system.” said Niklas Persson, Managing Director of Hitachi ABB Power Grids’ Grid Integration business unit. “Together, with the NordLink owners, Statnett and TenneT, Hitachi ABB Power Grids is contributing to the development of an integrated European energy market, which is powered by renewable energy and underpinned by an electricity backbone that supports sustainable society.”

“Our new interconnector, NordLink, is now entering trial operations and is ready to exchange renewable power between our two countries. NordLink will help us to achieve our climate goals and create value on both the Norwegian and the German side of the link.” said Executive Vice President, Gunnar G. Løvås at Statnett. “The connection provides the German power grid reliable access to hydropower resources in Norway, and Norway access to Germany’s substantial base of renewable energy, particularly wind and solar energy resources. The link will help to strengthen the security of supply in a European power grid in which electricity is increasingly generated from sustainable energy.” said Chief Operations Officer, Tim Meyerjürgens at TenneT. By energizing the NordLink project and through its HVDC technology, Hitachi ABB Power Grids is contributing to the UN’s Sustainable Development Goal 7: increasing access to affordable, reliable, sustainable and modern energy for all. In the future, the link will be capable of delivering enough power to supply approximately 3.6 million homes in Germany.


Hitachi ABB Power Grids designed, engineered and supplied the two converter stations – located in Southern Norway and Northern Germany – at the heart of the NordLink project. The converter stations have been delivered to a consortium of transmission system operators, Statnett and TenneT, and the state-owned German development bank, KfW. This complex project involving multiple locations, countries and customers, was executed safely and on time. Trial operations start this month and completion is planned for early 2021. Currently the longest and most powerful such interconnection in Europe, NordLink makes use of HVDC Light technology to expand the stable, large-scale integration and exchange of renewable power in Europe. The NordLink project marks a major milestone in Europe’s goal of linking national transmission grids to create an efficient and integrated energy market, and will improve the capacity for cross-border electricity trading. NordLink also helps to accelerate the shift towards the integration of grid-connected electricity that is generated from bulk and distributed renewable energy sources, enabling consumers across the region to benefit from sustainable energy. Hitachi ABB Power Grids is a global technology leader with a combined heritage of almost 250 years, employing around 36,000 people in 90 countries. Headquartered in Switzerland, the business serves utility, industry and infrastructure customers across the value chain, and emerging areas like sustainable mobility, smart cities, energy storage and data centers. With a proven track record, global footprint and unparalleled installed base, Hitachi ABB Power Grids balances social, environmental and economic values.


IT Article

> ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

บทบาทของเอดจ์ คอมพิวติ้ง ต่อกลยุทธ์ ไอที

และการเติบโตของ เศรษฐกิจดิจิทัล ในเอเชีย-แปซิฟิก

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผูน้ ำ� ด้านดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชันในการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน เผยผล ส�ำรวจจาก Tech Research Asia (TRA) เกีย่ วกับเอดจ์ คอมพิวติง้ ในเอเชีย-แปซิฟิก รายงานที่เพิ่งปล่อยออกมาชิ้นนี้ จัดท�ำขึ้นโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ครอบคลุมถึงมุมมองเชิงลึกจากซีไอโอ 15 ราย และผู้น�ำด้านเทคโนโลยีจ�ำนวน 1,100 ราย จากอุตสาหกรรม หลากหลายในเอเชี ย -แปซิ ฟ ิ ก ในปั จ จุ บั น เกี่ ย วกั บ สภาพไอที การใช้งานเอดจ์ คอมพิวติง้ และความมุง่ หมาย รวมถึงค�ำชีแ้ นะส�ำหรับ อนาคต รายงานดังกล่าวยังได้ชถี้ งึ มุมมองเชิงลึกด้านเอดจ์ คอมพิวติง้ ในภาคอุตสาหกรรม 5 ประเภทในมิติที่ลึกลงไปอีก “องค์กรจ�ำนวนมากทั่วเอเชีย-แปซิฟิกจะได้รับประสบการณ์ จากประโยชน์ของเอดจ์ คอมพิวติง้ ภายใน 5 ปีขา้ งหน้า” เทรเวอร์ คลาร์ก ผู้อ�ำนวยการ TRA กล่าว “ในขณะที่ทุกคนก�ำลังใช้ค�ำว่า “เอดจ์ (Edge)” แน่นอนว่าองค์กรเหล่านีย้ งั จ�ำเป็นต้องมีไซต์เอดจ์และ ศักยภาพต่างๆ เพื่อช่วยให้ประสบความส�ำเร็จ” เทรเวอร์ กล่าว การส�ำรวจประกอบด้วยการวิจยั ในแนวกว้างอย่างครอบคลุม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผูต้ อบแบบส�ำรวจครอบคลุมอุตสาหกรรม ทีห่ ลากหลาย โดยผูต้ อบส�ำรวจมาจากประเทศต่างๆ ทัว่ เอเชีย-แปซิฟกิ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และประเทศไทย

“รายงานจาก TRA แสดงให้เห็นถึง เหตุผลหลักที่ผู้น�ำไอทีน�ำเอดจ์ คอมพิวติ้ง มาใช้เพื่อช่วย แก้ ป ั ญ หาเรื่ อ งของแบนด์ วิ ด ธ์ (Bandwidth) และความล่ า ช้ า การน�ำเสนอครัง้ นีย้ งั เป็นหลักฐานทีแ่ สดงให้เห็นต่อไปว่า ประโยชน์ ส�ำคัญของเอดจ์คือการน�ำมาใช้ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่ต้องการ ความเร็วและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นข้อได้เปรียบทางการ แข่งขัน” เบนนัวต์ ดูบาร์เล รองประธานอาวุโส เอเชียตะวันออก และญี่ปุ่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว

เอดจ์ คอมพิวติง้ ให้ประโยชน์มากมาย รวมถึงช่วยลด ค่าใช้จ่ายด้านไอทีและการด�ำเนินการ

รายงานเผยว่า 72% ของผูต้ อบแบบส�ำรวจทีใ่ ช้เอดจ์ คอมพิวติง้ เห็นถึงประโยชน์ในแง่ของการลดค่าใช้จา่ ยด้านไอที ตามด้วยค่าใช้จา่ ย ด้านการด�ำเนินการ (46%) และเพิม่ ความพึงพอใจของลูกค้า (34%) ในแง่ ข องอุ ต สาหกรรมที่ มี อั ต ราการน� ำ มาใช้ ง านสู ง สุ ด คื อ ภาค การศึกษา ทีม่ าเป็นอันดับต้น โดย 68% ขององค์กรทีร่ ว่ มการส�ำรวจ มีการน�ำเอดจ์มาใช้ ทั้งนี้ องค์ประกอบอย่างการระบาดที่เกิดขึ้น ทัว่ โลกและโมเดลการเรียนรูแ้ บบใหม่ ท�ำให้การประสานความร่วมมือ และการแบ่ง ปันทรัพ ยากรระหว่า งสถาบันกลายเป็นเรื่องปกติ มากขึ้น


เช่นเดียวกันกับจ�ำนวนครึ่งหนึ่งของ ผู้รับการส�ำรวจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ ได้มีการน�ำเอดจ์ คอมพิวติ้ง มาใช้ โดย 80% เป็นผู้ใช้ปัจจุบันที่ใช้บริการคลาวด์บางประเภท การวิจยั ได้ชแี้ นะถึงเหตุผลหลักของการเปลีย่ นแปลง ดังกล่าว คือการแก้ปญ ั หาในเรือ่ งของแบนด์วดิ ธ์และ ความล่าช้า การตอบโจทย์เรือ่ งสัญญาผูกมัดด้านความ ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องค่าใช้จ่าย โดย 63% ขององค์กรในภาคบริการด้านการเงินในเอเชีย-แปซิฟกิ น�ำเอดจ์ คอมพิวติง้ มาใช้ เทียบกับ 22% ของผูต้ อบแบบส�ำรวจ ทีก่ ล่าวว่าจะย้ายเวิรก์ โหลดทุกอย่างไปไว้บนคลาวด์ แสดงให้เห็นถึง ความพอใจในการใช้เอดจ์

สถานภาพปัจจุบันของไอทีในเอเชีย-แปซิฟิก

การวิจยั ได้เน้นทีป่ ระเด็นหลัก 2-3 ประการ เกีย่ วกับสถานภาพ ปัจจุบนั ของกลยุทธ์ดา้ นระบบโครงสร้างพืน้ ฐานในทัว่ ทัง้ 10 ประเทศ โดยผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ • ระบบไอทีแบบไฮบริด กลายเป็นสิง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั เจน โดย 51% ของผูต้ อบแบบส�ำรวจชีว้ า่ องค์กรตนจะมีระบบโครงสร้างผสมผสาน ระหว่างคลาวด์กับ On-Premises ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าการจัดท�ำ แผนงานด้านเวิร์กโหลดนับเป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการ ระบบโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย-แปซิฟิกในปัจจุบัน บรรดาธุรกิจ จึงไม่ต้องปฏิบัติตามแนวคิด “Cloud First” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจอีกต่อไป • มีการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ในองค์กรและโคโลเคชันเพิ่มขึ้น เล็กน้อย โดยผู้ตอบแบบส�ำรวจจ�ำนวน 21% วางแผนว่าจะมี การน�ำระบบโครงสร้างใหม่มาใช้ • 95% ของผูต้ อบแบบส�ำรวจกล่าวว่ำ มี ก ารใช้ ซ อฟต์ แวร์ เชิ ง การบริ ก าร

หรือ (SaaS) อยู่แล้วในปัจจุบัน จ�ำนวนเปอร์เซ็นต์ในระดับนี้จะยัง คงที่ แม้วา่ TRA คาดว่าการเติบโตของ SaaS จะด�ำเนินไปอย่าง สอดคล้องตามองค์กรที่ใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ

สรุปประเด็นหลักจากรายงานเกี่ยวกับ การใช้เอดจ์ คอมพิวติ้ง

ในแง่ของการใช้งานในตลาด 28% ของผูน้ ำ� ทัว่ เอเชีย-แปซิฟกิ ก�ำลังน�ำเอดจ์ คอมพิวติง้ มาใช้ในหลายไซต์ โดยมีผใู้ ช้เพิม่ ขึน้ 38% ภายใน 24 เดือนข้างหน้า ประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะเป็นปัจจัย ผลักดันให้คา่ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 7 ไซต์ เป็น 11 ไซต์ กรณีการใช้งานเอดจ์ คอมพิวติ้ง หลักๆ ได้แก่ • สร้างประสบการณ์ของลูกค้า ในการใช้ไซต์เอดจ์เพือ่ มอบ ประสบการณ์ทดี่ ยี งิ่ ขึน้ และช่วยให้ลกู ค้าเข้าถึงข้อมูลและแอปฯ ได้ รวดเร็วขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น • สร้างประสบการณ์ของพนักงาน ช่วยลดความล่าช้าและ ช่วยให้พนักงานท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึน้ โดยเป็นไปได้วำ่ จะมาจากประสบการณ์และฟังก์ชนั การท�ำงานใหม่ทขี่ บั เคลือ่ นด้วย IoT • การดูแลสอดส่อง ช่วยให้การซ่อมบ�ำรุงเครื่องจักรและ อุปกรณ์ท�ำได้ในเชิงรุก พร้อมตรวจสอบสมรรถนะของอาคารและ สินทรัพย์ตา่ งๆ อีกทัง้ ช่วยให้มนั่ ใจเรือ่ งการตรวจสอบความปลอดภัย ของกล้อง CCTV โดยในภาพรวม ผูท้ นี่ ำ� เอดจ์ คอมพิวติง้ มาใช้เป็นรายแรกๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก ปกติจะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายลดลงทั้งด้านไอทีและ การด�ำเนินงาน โดยเป็นผลมาจากการปรับปรุงการด�ำเนินงาน ทั่วธุรกิจได้ดีขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มทีจ่ ดั ท�ำโดย TRA ได้ที่ The Edge in Asia Pacific : Research Findings

• 28% ขององค์กรมีการใช้เอดจ์ คอมพิวติง้ และอีก 38% จะใช้ในอีก 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งเราก�ำลังเข้าสู่เส้นแบ่งเขตแดนถัดไปของ การใช้เทคโนโลยีในเอเชีย-แปซิฟิก • จากผูท้ ใี่ ช้เอดจ์ คอมพิวติง้ 72% กล่าวว่า ประโยชน์หลัก ที่ได้คอื การลดค่าใช้จา่ ยด้านไอทีและการด�ำเนินการ • รายงานชิ้นนี้ยังเจาะลึกที่ผลการวิจัยที่ ได้จาก อุตสาหกรรมบริการด้านการเงิน ภาคการศึกษา ในระดับสูงและภาคเฮลธ์แคร์

p s : // ttp

h

• ผลการส�ำรวจจากผูน้ ำ� เทคโนโลยี 1,100 ราย ครอบคลุม 10 ประเทศในเอเชีย แปซิฟิก ที่รับรู้และมีการใช้งานเอดจ์ คอมพิวติ้ง (Edge Computing)

ixab

us m/ill o c . ay

ation-network-3866609/ th-globalis r a e / s n tratio


IT Article

> สุภัค ลายเลิศ กรรมการอ�ำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จ�ำกัด

เผลอแป๊ บ เดี ย วเราก็ อ ยู ่ กั บ ความ ไม่แน่นอนของวิกฤตโควิด-19 มาเกือบครบปี แล้ว ซึง่ ทัง้ ปีทผี่ า่ นมา เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั นับว่ามี บทบาทส�ำคัญในการเสริมประสิทธิภาพการ ท�ำงาน และสร้างโอกาสทางการตลาดบนฐาน วิ ถี ธุ ร กิ จ ใหม่ ผ ่ า นการเชื่ อ มต่ อ ออนไลน์ แต่ ใ นทางกลั บ กั น เราก็ ไ ม่ อ าจหลี ก เลี่ ย ง ภั ย คุ ก คามไซเบอร์ ที่ มุ ่ ง ท� ำ ลายระบบไอที ข้อมูลขององค์กรและลูกค้าจนส่งผลเสียหาย ต่ อ ธุ ร กิ จ ดั ง นั้ น การมองหาเทคโนโลยี ที่ปรับเปลี่ยนได้คล่องตัวแบบอไจล์ (Agile) จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือรูปแบบการ ท�ำงานใหม่ ภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ รวมถึง ความต้ อ งการของลู ก ค้ า ที่ ม าพร้ อ มความ คาดหวังในการคุม้ ครองข้อมูลส่วนตัวมากขึน้

เมื่อแรนซัมแวร์ล็อกเป้าองค์กร ธุรกิจ

การเปิ ด เผยภั ย คุ ก คามครึ่ ง ปี แ รก ของปี พ.ศ. 2563 โดยเทรนด์ไมโครพบว่า การคุ ก คามหนั ก สุ ด เกิ ด จากแรนซั ม แวร์ (Ransomware) หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่ง เพิ่มขึ้นถึง 68 สายพันธุ์ และพบช่องโหว่ถึง 786 ช่องโหว่ โดยพฤติกรรมของแรมซัมแวร์ คือ เจาะช่องโหว่เพื่อป่วนระบบจัดการไอพี แอดเดรสและรหัสผ่าน หรือสร้างพฤติกรรม เคลื่อนไหวแปลกๆ (Lateral Movement) ขณะทีภ่ ยั คุกคามบนคลาวด์มถี งึ 8.8 ล้านครัง้ ส่วนใหญ่แฝงมากับอีเมลปลอม (Phishing E-mail) อีเมลลวงทางธุรกิจ (Business E-mail Compromise : BEC) เพื่อหวังผลบางอย่าง เช่น ปลอมอีเมลเพื่อสมัครงาน ล่อลวงให้ โอนเงินไปบัญชีปลอม การหลอกด้วยเว็บไซต์ ปลอม (Phishing Web) ซึ่งมีชื่อยูอาร์แอล ใกล้เคียงเว็บไซต์จริงจนผูใ้ ช้ไม่ทนั สังเกต หรือ การดาวน์โหลดเครื่องมือต่างๆ บนออนไลน์ ที่มีทั้งจริงและปลอมส�ำหรับท�ำงานจากบ้าน เช่น วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ซึ่งถ้าโชคร้ายเป็น ของปลอมอาจเกิดการดักฟัง หรือเจาะข้อมูล ขณะประชุมออนไลน์ได้

ถึงแม้ผู้ใช้เริ่มรู้ทันกับแรนซัมแวร์ที่มากับอีเมลลวงจนการก่อกวนลดลง แต่ยังพบ แรนซัมแวร์ตัวใหม่เพิ่มขึ้น อาทิ ColdLock ซึ่งโจมตีฐานข้อมูลและอีเมลเซิร์ฟเวอร์ของ องค์กร Nefilim เน้นเจาะไฟล์ข้อมูลของเหยื่อไปขายต่อ Maze ที่คอยเจาะช่องโหว่บน วีพีเอ็น ไฟร์วอลล์ หรือแฝงการเข้ารหัสข้อมูลผ่านเครื่องเดสก์ท็อประยะไกล (Remote Desktop) หรือจากการใช้งานบลูทูธ ไอโอเอส หรือแอนดรอยด์ผ่านอุปกรณ์โมไบล์เพื่อ ขโมยชือ่ บัญชีและรหัสผ่านไปขายในเว็บมืด หรือแก้ชอื่ บัญชีและรหัสผ่านจนเจ้าของตัวจริง ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง ท�ำให้เรียกเงินค่าไถ่ได้ถึงสองต่อ VoidCrypt ที่เน้น เจาะระบบโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ซึง่ จะเห็นว่าแรนซัมแวร์ตวั ใหม่ๆ มุง่ ท�ำลายเป้าหมาย ที่เจาะจงมากขึ้น (Target Breach) ซึ่งคือองค์กรธุรกิจ เพราะได้ราคาค่าไถ่ที่งามกว่า การหว่านแรนซัมแวร์ไปทั่ว บางกรณีสามารถเพิ่มจ�ำนวนค่าไถ่ได้มากถึง 62.5%


วิธแี ก้เกมคือ หลีกเลีย่ งอีเมลทีน่ า่ สงสัย หมัน่ อัปเดตซอฟต์แวร์ ความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์หลัก เครื่องลูกข่าย เมลเซิร์ฟเวอร์ และเมลเกตเวย์ ก�ำหนดพืน้ ทีแ่ ซนด์บอ็ กซ์ (Sandbox) ไว้ลอ้ มกรอบเว็บ หรืออีเมลลักษณะแปลกๆ เพื่อลดผลกระทบให้อยู่ในวงจ�ำกัด หรือ ใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งมาช่วยตรวจจับก็จะช่วยสร้างแนวป้องกันด่านหน้า ให้กับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม การบริหารจัดการข้อมูล เช่น HPE Cohesity ทีอ่ อกแบบมาให้รบั มือกับ แรนซัมแวร์ ทั้งการป้องกัน ตอบโต้ และกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มเติมด้วยขีดความสามารถในการขยายระบบออกไปได้ไม่จ�ำกัด ตลอดจนแก้ปญ ั หาการเก็บข้อมูลกระจัดกระจายให้มาอยูบนแพลตฟอร์ม เดียวกัน เพื่อการก�ำกับดูแลความปลอดภัยที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ มากขึ้นจากจุดเดียว

รวมศูนย์ข้อมูล-แบ็กอัปด้วยสูตร 3-2-1

คอนเทนเนอร์ คลื่นลูกใหม่ในวงพัฒนาแอปพลิเคชัน

ทุกวันนี้ แอปพลิเคชัน งานบริการ และข้อมูล ไม่จำ� เป็นต้องอยูใ่ น Data Center เสมอไป เห็นได้จากการเติบโตของแพลตฟอร์มบนคลาวด์ หรือ Edge Computing ทีม่ งุ่ น�ำการบริการและประมวลผลไปใกล้ผใู้ ช้งาน ให้มากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว แอปพลิเคชัน หรื อ แพลตฟอร์ ม บริ ก ารท� ำ นองนี้ มั ก จะพั ฒ นาขึ้ น โดยเทคโนโลยี คอนเทนเนอร์ (Container) เพือ่ ให้มขี นาดเล็ก กินทรัพยากรไอทีนอ้ ย และปรับเปลี่ยนโยกย้ายเร็ว ท�ำให้องค์กรสามารถตัดตอนการพัฒนา แอปพลิเคชันใหม่ๆ หรือปรับปรุงระบบงานเดิมให้กะทัดรัดและส่งต่อ ขึน้ สูค่ ลาวด์หรือ Edge โดยใช้เวลาไม่นาน และรวมถึงเทคโนโลยี Data Fabric ซึ่งช่วยให้องค์กรมองเห็นข้อมูลที่กระจัดกระจายให้เสมือน เป็นข้อมูลผืนเดียวกันในลักษณะ Data Virtualization สามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันทีส่ ง่ ขึน้ ไปใช้งานบนคลาวด์ หรือ Virtual Machine ได้โดยไม่เสียเวลาท�ำซ�้ำข้อมูลก่อนน�ำไปใช้ และยังสามารถ เข้าถึงข้อมูลชุดเดิมได้อย่างปลอดภัย

3 63 2

/

ab

https ://p ix

8 -28 ne t

สิ่งหนึ่งที่องค์กรต้องเผชิญจากการใช้แอปพลิเคชันหรืองาน บริการผ่านเครือข่ายในองค์กรหรือออนไลน์ คือ ข้อมูลทีก่ ระจายไปทัว่ การวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้หลักการ PDPA (Data Fragmentation) ทั้งใน Data Center ตามสาขาห่างไกล เดิมการจัดการข้อมูลจะเน้นไปที่การท�ำความ หรือบนคลาวด์สาธารณะ ซึ่งยากต่อการควบคุมและ e k r c a a t t h ack-m เสีย่ งเพิม่ ช่องโหว่การโจมตี แนวทางแก้ไขทีท่ ำ� ได้ สะอาดข้อมูล การออกรายงานเพือ่ ให้เห็นมุมมอง tos/ a s k/pho m i n o เช่น การรวบรวมข้อมูลเข้าสูศ่ นู ย์กลาง โดยมี ธุรกิจ แต่ไม่ได้ลงลึกถึงระดับการวิเคราะห์ที่ ter y.c a Web Scale File System เป็นตัวช่วยเก็บ ไปสู่การคาดการณ์อนาคต แต่ในยุคดิจิทัล รวบรวมไฟล์ขอ้ มูลต่างๆ ขึน้ สูท่ เี่ ก็บข้อมูล ซึ่ ง มี แ อปพลิ เ คชั น และแพลตฟอร์ ม กลาง หรือ Data Lake บนคลาวด์ เกิดใหม่บนคลาวด์เพือ่ รองรับการใช้งาน สาธารณะ ซึ่งเพิ่มขนาดได้ไม่จ�ำกัด ส่วนบุคคลมากขึ้น จนเกิดข้อมูล Big และก�ำกับดูแลจากจุดเดียว สามารถ Data ทีเ่ ป็นประโยชน์เชิงธุรกิจ การน�า ทดสอบปรั บ ปรุ ง ข้ อ มู ล (Test/Dev) เทคโนโลยี AI มาใช้สร้างรูปแบบการ โดยมี ก ระบวนการ Data Masking วิเคราะห์ขอ้ มูลจึงเป็นประโยชน์ตอ่ การ มาปรับเปลีย่ นหน้าตาข้อมูล เพือ่ จ�ำกัด พัฒนาผลิตภัณฑ์บริการทีส่ อดคล้องกับ การมองเห็นเท่าทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ เพิม่ ความ พฤติกรรมผูบ้ ริโภค รวมทัง้ มี AR และ VR ปลอดภัยก่อนใช้งาน และที่ขาดไม่ได้คือ มาช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์ทนี่ า่ จดจ�า ระบบแบ็กอัปข้อมูลตามหลัก 3-2-1 ซึ่ง และเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเป้าหมายได้ มากขึน้ เสียจนบางทีเจ้าของข้อมูลเริม่ ตัง้ ค�ำถาม หมายถึงการแบ็กอัปข้อมูลเป็น 3 ชุด ชุดต้นฉบับ 1 ชุด และส�ำเนา 2 ชุด ทีค่ วรแบ็กอัปไว้บนอุปกรณ์ ถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย จัดเก็บต่างชนิดกัน และแยกเก็บส�ำเนา 1 ชุดไปไว้ในอีก ของข้อมูลส่วนบุคคล ซึง่ องค์กรก็ตอ้ งเร่งพัฒนาระบบก�ำกับ สถานที่หนึ่งนั่นเอง การใช้งานข้อมูลเหล่านัน้ ด้วยความโปร่งใส และสอดคล้องกับกฎหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทาง ลดเสี่ยงเรื่องเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายคลาวด์ ดิจทิ ลั (Digital Trust) ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลทีจ่ ดั เก็บและใช้งานในศูนย์ขอ้ มูล เพราะระบบเครือข่ายและความปลอดภัยส่วนใหญ่ยังติดตั้ง ขององค์กรบนคลาวด์ หรือโซเชียลมีเดียก็ตาม อุปกรณ์แบบกล่อง (Box) และแยกกันท�ำงานเป็นส่วนๆ แบบไซโล (Silo) แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลลูกค้าบนคลาวด์ (Customer แต่แนวคิดนีก้ ำ� ลังถูกแทนทีด่ ว้ ยเครือข่ายคลาวด์ (Cloud Networking) Data Cloud) นับเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยจัดการข้อมูลเกี่ยวกับ เพือ่ ให้เกิดการจัดการเครือข่ายและการเชือ่ มต่อแบบรวมศูนย์ (Unified ลูกค้าซึ่งกระจายใช้งานตามจุดต่างๆ ให้ได้รับการคุ้มครองตาม PDPA ซึ่งครอบคลุมทั้งการจัดเก็บ แก้ไข น�ำไปใช้ ส่งต่อให้บุคคลที่สาม และ Communication) ผ่านบริการคลาวด์ ลดความเสี่ยงจากการจัดการ อุปกรณ์เครือข่ายหลายตัว และมีซอฟต์แวร์กำ� กับการใช้งาน (Software ลบข้อมูลได้โดยเจ้าของข้อมูลหรือผู้ได้รับอนุญาต การจัดระเบียบ Defined Network) ซึ่งสามารถเพิ่ม ลด ก�ำหนดความเร็ว-ช้าในการ ข้อมูลประวัตลิ กู ค้าแต่ละราย (Single Customer Profile) ควบคูก่ บั กระบวนการจัดท�ำค�ำยินยอมให้ใช้ขอ้ มูล (Consent Management) เชื่อมต่อให้เหมาะกับอุปกรณ์และลักษณะงาน โดยเฉพาะเมื่อมีการ ที่มีประสิทธิภาพและได้รับความเชื่อถือ เพื่อที่องค์กรจะสามารถน�า เชื่อมต่อไอโอทีเพิ่มขึ้น สามารถติดตามแก้ไขปัญหาให้กลับมาใช้งาน ข้อมูลส่วนบุคคลซึง่ ได้รบั อนุญาตอย่างถูกต้องไปใช้ประกอบธุรกิจ หรือ เหมือนเดิมได้รวดเร็ว นอกจากนี้ ต้องตอบโจทย์เรือ่ ง Zero Trust บน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า หลักการไม่ให้ความเชือ่ ถือกับทุกการเชือ่ มต่อ ทีเ่ ริม่ ถูกพูดถึงมากขึน้ โดยไม่ละเมิดกฎหมายในท้ายที่สุด อันเป็นผลจากแรนซัมแวร์ที่เล่นงานไปทุกภาคอุตสาหกรรม โดยการ ใช้งานระบบเครือข่ายต้องก�ำหนดนโยบายความปลอดภัย มีการระบุ ตัวตน (Authentication) และตัวอุปกรณ์ที่น�ำมาเชื่อมต่ออย่างชัดเจน


ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เปิดตัว APC EDGE MicroDC 42U ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ขนาด 42U รับตลาดการใช้งานแบบเอดจ์ (EDGE) ทีโ่ ตขึน้ พร้อมไฮไลต์ “ความพร้อมใช้งาน ได้ทันที” ส�ำหรับธุรกิจโรงงาน สถาบัน การศึกษา ไซต์งานอุตสาหกรรม อาคาร โรงพยาบาล ฯลฯ มาครบ 3 โซลู ชั น Standard Solution ส�ำหรับการใช้งาน แบบทั่วไป Self-Contained Solution ส�ำหรับอาคารที่ไม่สามารถเดินท่อ หรือ ติดตั้ง Outdoor Unit ได้ High Density Solution ส�ำหรับใช้งานในพืน้ ทีห่ รือไซต์งาน ที่ต้องการรองรับโหลดจ�ำนวนมาก

ในโซลูชนั ประกอบไปด้วย ตูแ้ ร็ค ทีใ่ ห้ความแข็งแกร่ง คงทน ภายในมีระบบส�ำรองไฟ (UPS) ระบบออนไลน์ แบบเข้าตูแ้ ร็คกว้าง 19 นิว้ ระบบท�ำความเย็นอัจฉริยะของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถมอนิเตอร์และแจ้งเตือนสถานะได้ สามารถท�ำงานคู่กับพัดลมระบบ อากาศอัจฉริยะแบบ 4 ใบพัด เมือ่ แอร์หยุดท�ำงาน หรือไฟตก ไฟดับ หรือขณะซ่อมบ�ำรุง นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังจัดเซตภายตู้แร็คทุกโซลูชันด้วย NetBotz โซลูชัน เพิ่ม ความปลอดภัยและความมั่นใจในการใช้งาน Intelligent Rack PDU แบบมิเตอร์ ให้ความ สามารถการมอนิเตอร์ และวัดค่าพลังงานผ่านทางเว็บเบสท์ โดยไม่เปลืองพืน้ ทีใ่ นแร็ค เพราะ เป็นแบบ Zero U นอกจากนีย้ งั มี แบลงกิง้ พาแนล (Blanking Panel) ช่วยให้บริหารจัดการ การไหลเวียนของอากาศภายในตูแ้ ร็ค เพือ่ ได้รบั อากาศเย็นได้ทวั่ ถึงอุปกรณ์ภายในตู้ ทีส่ ำ� คัญ โซลูชันนี้มาพร้อม EcoStruxure IT เทคโนโลยียอดนิยมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถ มอนิเตอร์อุปกรณ์อัจฉริยะภายในได้ในแอปพลิเคชันเดียวบนสมาร์ทโฟน นับเป็นโซลูชัน ที่ตอบโจทย์ยุค Next Normal ได้อย่างแท้จริง EDGE MicroDC 42U มีให้เลือก 3 โซลูชัน แต่ละโซลูชันให้ความแตกต่างตาม การใช้งาน และสามารถท�ำงานร่วมกับ EcoStruxure IT ได้ สะดวกในการรีโมตมอนิเตอร์ ระยะไกล และการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาในอุปกรณ์ต่างๆ

แสงชัยกรุ๊ป แท็กทีม มิลวอกี้ ร่วมเปิดนิยามใหม่แห่งเครื่องมือ ช่างไฟฟ้าไร้สาย “MX FUELTM Series” ด้วยระบบแบตเตอรีแ่ ห่งอนาคต MX FUELTM 2 รุ่นที่สามารถท�ำงานร่วมกับเครื่องมือไร้สายระบบ MX ได้ทุกรุ่น ก้าวข้ามขีดจ�ำกัดงานอุตสาหกรรมหนักสู่งานที่ง่ายกว่า เร็วกว่า ยกระดับความปลอดภัยเพื่อผู้ใช้งานให้ไม่ต้องพึ่งพาน�ำ้ มัน ลดการปล่อย มลพิษให้เป็นศูนย์ เพื่อที่สุดแห่งผลลัพธ์ในทุกไซต์งาน

MX FUELTM Cut-Off Saw เครื่องตัดไร้สาย 14 นิ้ว ท�ำงานเต็มประสิทธิภาพ ตัดได้เร็วที่สุดตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วย ขนาดใบตัดกว้าง 350 มิลลิเมตร และความสามารถในการตัด ความลึกสูงสุด 125 มิลลิเมตร ส่งผลให้ใช้เวลาตัดที่น้อยกว่า ทัง้ เปิดใช้งานง่ายด้วยการกดปุม่ เปิดค้าง 3 วินาที ใช้แรงน้อยกว่า การสตาร์ตเครื่องรีคอยล์ถึง 97% เสริมด้วยฟังก์ชันที่ก้าวล�้า มากมายให้การท�ำงานที่ง่ายขึ้น MX FUELTM Hex Breaker เครื่องสกัดท�ำลายก้าน หกเหลี่ยม 28 มิลลิเมตร ตัวโครงสร้างถูกออกแบบเพื่อลด การสัน่ สะเทือนจากการสกัดโดยเฉพาะ มีการออกแบบเสริม ทีจ่ บั ด้านหน้าเพือ่ การบังคับเครือ่ งและการเคลือ่ นย้ายทีส่ ะดวก สบายตลอดการใช้งาน ตัวหัวจับดอกสกัดก้านหกเหลี่ยม ขนาด 28 มิลลิเมตร ทั้งยังท�ำงานได้ดีในที่มืดจากไฟ LED ติดตัง้ ในตัว สามารถสกัดท�ำลายคอนกรีตได้ 2 ตัน หรือสกัด ร่องขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร ได้ยาวกว่า 12 เมตร ด้วยแบตเตอรี่เพียงก้อนเดียว MX FUELTM Handheld Core Drill เครื่องคอริ่ง ไร้สาย สว่านเจาะแกนแบบมือจับ ทีม่ าพร้อมความสามารถใน การเจาะรูขนาด 6 นิ้ว ผ่านคอนกรีตเสริมเหล็กได้ทั้งแนวตั้ง หรือแนวนอน พร้อมให้ความปลอดภัยที่มากกว่าเดิมด้วย เทคโนโลยีคลัตช์และระบบ Autostop ป้องกันการสะบัดของ เครื่องหากเกิดสถานการณ์เจาะติดเหล็กเส้น สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ : โทร. 099-191-0008 หรือ www.sangchaigroup.com


เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศเปิดตัว Dell EMC PowerProtect DP Series Appliance รุน่ ใหม่ และ PowerProtect Data Manager ซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุด เพื่อช่วยลูกค้าในการปกป้อง จัดการ และกูค้ นื ข้อมูลจากแอปพลิเคชันทัง้ แบบดัง้ เดิมและสมัยใหม่ ทั้งภายในดาต้าเซ็นเตอร์ ในพื้นที่ของอุปกรณ์ปลายทาง (Edge Locations) และพับบลิคคลาวด์ เดลล์ ซึ่งเป็นผู้นำ� ในด้านอุปกรณ์ (Appliance) และซอฟต์แวร์ Solution ทีช่ ว่ ยให้องค์กรธุรกิจสามารถ รับมือกับการถูกคุกคามจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ได้รับการ รับรองจาก Sheltered Harbor ที่มุ่งเน้นที่การสร้างความปลอดภัย และกูค้ นื ข้อมูลจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ให้กบั ภาคอุตสาหกรรม ทางการเงิน PowerProtect DP Series Appliances ช่วยให้ลูกค้า สามารถรับมือกับการเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูล ในขณะทีช่ ว่ ย ลดต้นทุน ลดความซับซ้อนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยโซลูชันแบบ all-in-one ด้วยขีดความสามารถดังนี้ • ประสิทธิภาพสูงสุด การส�ำรองข้อมูลเร็วขึ้น 38% และ สามารถกู้คืนข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น 45% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่น ก่อนหน้านี้ ช่วยให้ลูกค้าสามารถกู้คืนข้อมูลส�ำคัญได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย

• ประสิทธิภาพทีเ่ พิม่ มากขึน้ เพิม่ ความจุของพืน้ ทีใ่ ช้งาน ได้สูงสุดถึง 1 เพตะไบต์ อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการปกป้อง ข้อมูล (Backup) เพิม่ ขึน้ 30% ด้วยการลดปริมาณข้อมูลได้สงู สุดถึง 65 : 1 ช่วยให้ลกู ค้าสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึน้ ในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน ด้วยระบบที่คุ้มค่ากว่า • ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานน้อยลงถึง 23% เมือ่ เทียบ กับรุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดพลังงานและ ค่าใช้จ่ายให้อย่างมีนัยส�ำคัญ ข้อมูลเพิม่ เติมติดตามอ่านได้ทบี่ ล็อก : Powering Up Data Protection for the Future หรือ PowerProtect Cyber Recovery Endorsed by Sheltered Harbor

เพล็กซ์เตอร์ (PLEXTOR) ผูน้ ำ� ด้านโซลูชนั การจัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพสูง ประกาศเปิดตัว โซลิดสเตตไดรฟ์ (SSD) M8V Plus Series ประกอบด้วย M8VC Plus 2.5” และ M8VG Plus M.2 2280 ด้วยความเร็วในการอ่าน/เขียนตามล�ำดับที่ยอดเยี่ยม และความเร็วในการอ่าน/เขียนแบบสุ่ม รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ อีก มากมาย SSD ทัง้ 2 รุน่ นีเ้ ป็นตัวเลือกการอัปเกรดทีส่ ามารถเข้าถึงได้ ส�ำหรับการเพิ่มความสามารถของพีซี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ท�ำงานทีบ่ า้ นหรือทีท่ ำ� งาน M8V Plus Series เป็น SSD ทีส่ านต่อ ความส�ำเร็จจาก M8V Series ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจาก ผูใ้ ช้และนักรีววิ ด้วยตัวเลือกความจุทสี่ งู ขึน้ (สูงสุด 1TB) และการใช้ หน่วยความจ�ำ 3D NAND ใหม่ แบบ 96 เลเยอร์ ที่มาแทน 3D NAND รุ่นเดิมที่เป็นแบบ 64 เลเยอร์ M8V Plus มาพร้อมกับคอนโทรลเลอร์ SMI SM2258 และ ชิปหน่วยความจ�ำ BiCS FLASHTM 3D แบบ 96 เลเยอร์ SSD

ในรุน่ M8VC Plus และ M8VG Plus ให้ความเร็วในการอ่าน/เขียน ตามล�ำดับสูงถึง 560/520 MB/s และความเร็วในการอ่าน/เขียน แบบสุ่มสูงถึง 90,000/88,000 IOPS นอกจากนี้แล้ว M8V Plus Series ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยี Raid Engine และ Data Shaping ที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ความเสถียรที่ยาวนานขึ้น และคุ้มค่าต่อการใช้งาน SSD มีความจุตั้งแต่ 128GB ถึง 1TB เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ ส�ำหรับ M8VC Plus และ M8VG Plus พัฒนาขึ้นด้วย เทคโนโลยีการแก้ไขข้อผิดพลาด Low-Density Parity-Check (LDPC) ช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล และเพิม่ ความน่าเชือ่ ถือในการใช้งาน พร้อมปกป้องข้อมูลจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ M8VC Plus และ M8VG Plus ยังมาพร้อมกับชุดซอฟต์แวร์ที่เป็น เอกสิทธิส์ ำ� หรับผูใ้ ช้งาน Plextor อีกด้วย ซึง่ ได้แก่ PlexCompressor, PlexVault, Plexturbo Sports และ Plextool โปรดติดต่อตัวแทน PLEXTOR ผ่าน www.goplextor.com


ถิรไทย รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจ�ำปี 2563 ประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ

เชลล์ คว้า 2 รางวัลน�ำ้ มันคุณภาพ TAQA Award 2020 ชูนวัตกรรม ตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัล

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบรางวัลอุตสาหกรรม ดีเด่น ประจ�ำปี 2563 ประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ The Prime Minister’s Industry Award 2020 จากกระทรวงอุตสาหกรรม ให้แก่ สัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จ�ำกัด (มหาชน) หรือ TRT ในฐานะที่บริษัทฯ มีศักยภาพ ในการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะสามารถผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า 333 MVA แรงดัน 525 kV ซึง่ เป็นหม้อแปลงทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในเซาท์อสี เอเชีย โดยฝีมอื คนไทย เพื่อคนไทย และเพื่อโลก ณ สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี-รังสิต

เรืองศักดิ์ ศรีธนวิบญ ุ ชัย รักษาการกรรมการบริหารธุรกิจค้าปลีก ณัฐชยา จันทร์พัฒนะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์น�้ำมันหล่อลื่น บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จ�ำกัด รับ 2 รางวัลจากพิธีประกาศผลและมอบรางวัลธุรกิจ ยานยนต์ยอดนิยมแห่งปี 2563 หรือ Thailand Automotive Quality Award (TAQA) 2020 ด้านผลิตภัณฑ์เกีย่ วเนือ่ งกับรถยนต์ ประเภทน�ำ้ มันหล่อลืน่ ติดต่อกัน เป็นปีที่ 7 และประเภทน�ำ้ มันเชือ้ เพลิง ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จากการลงคะแนนของ ผู้ขับขี่ชาวไทยทั่วประเทศ ตอกย�้ำความเป็นผู้น�ำน�้ำมันคุณภาพสูงอย่างแท้จริง ที่ครองใจผู้ขับขี่ชาวไทยอย่างต่อเนื่อง

Dow จับมือ Solvay เดินหน้ามอบน�้ำยาฆ่าเชื้อ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

องค์กร (วว. สวทช. สมอ. และ CNCH) ร่วมผลักดัน อุตฯ ขนส่งและโลจิสติกส์

กลุม่ บริษทั ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับกลุม่ บริษทั โซลเวย์ (Solvay) บริจาคน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึง่ เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษทั ร่วมทุน ของ Dow และ Solvay จ�ำนวน 300 ถัง รวมปริมาณ 9,000 ลิตร ให้แก่สำ� นักงาน สาธารณสุขจังหวัดระยอง โดยมี นพ.สุนทร เหรียญภูมิการกิจ นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดระยอง เป็นผูร้ บั มอบ เพือ่ น�ำไปใช้สำ� หรับส่งเสริมสุขอนามัยและ ความปลอดภัยของชุมชน ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาในระลอก ที่ 2 ที่ก�ำลังระบาดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ โดยก่อนหน้านี้ Dow และ Solvay ได้รว่ มกันบริจาคไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึง่ ใช้ผสมเป็นน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ทีส่ ามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่มผี ลกระทบ ตกค้างในสิ่งแวดล้อมให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เทศบาล และสถานศึกษาต่างๆ ใน จังหวัดระยอง รวมแล้วกว่า 200,000 ลิตร

น�ำชัย สกุลฎ์โชคน�ำชัย ประธานกรรมการ บริษทั สกุลฎ์ซี อินโนเวชัน่ จ�ำกัด และบริษทั โชคน�ำชัย ไฮ-เทค เพรสซิง่ จ�ำกัด พร้อมด้วย ดร.ชุตมิ า เอีย่ มโชติชวลิต ผูว้ า่ การสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.จุลเทพ ขจรไชยกุล ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์ ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ เอกนิติ รมยานนท์ ผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการมาตรฐาน แห่งชาติ ร่วมลงนามความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ของไทย ทั้งรถ ราง เรือ ให้มีกระบวนการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ทสี่ ามารถใช้ในการออกแบบ พัฒนา ผลิต ทดสอบ และรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล จนถึงสามารถออกเป็นผลิตภัณฑ์ยานพาหนะสมัยใหม่ทางด้าน ขนส่งลงสู่ตลาดไทย รวมถึงการส่งออกต่างประเทศได้


เปิดตัวโรงงานผลิตถุงมือยาง The Arrival of Aurora Wisdom

ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ประพนธ์ ตัง้ ศรีเกียรติกลุ ผูช้ ว่ ยรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี คณะทีป่ รึกษา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเปิดโรงงานผลิตถุงมือยาง บริษทั ออโรร่า วิสดอม จ�ำกัด พร้อมกับแสดงความยินดีกบั ศ. ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ประธาน คณะกรรมการบริหาร บริษทั ออโรร่า วิสดอม จ�ำกัด ในการเปิดโรงงานถุงมือยาง แบรนด์ออโรร่า ถุงมือยางทีใ่ ช้ทวั่ ไป และแบรนด์ดอ็ กเตอร์วไี อพี ถุงมือทางการแพทย์ ในครั้งนี้

สุเอซ ประกาศเปิดโรงงานพอลิเมอร์หมุนเวียนในประเทศไทย

สุเอซ ประกาศเปิดโรงงานพอลิเมอร์หมุนเวียนในประเทศไทยอย่างเป็น ทางการ น�ำโดย เฌอโรม เลอ บอร์กเนีย ผูอ้ ำ� นวยการประจ�ำภูมภิ าค บริษทั สุเอซ เซอร์คลู า่ พอลิเมอร์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด โอลิเวียร์ กาเบรียล ริชาร์ต อุปทูตประจ�า สถานทูตฝรัง่ เศสประจ�ำประเทศไทย สุเมธ ธีรนิติ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดสมุทรปราการ ศักดิช์ ยั ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดาวิด บูรช์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สุเอซ เซอร์คูล่า พอลิเมอร์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ที่อ�ำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โรงงานรีไซเคิลพลาสติกนี้ สามารถแปรรูปขยะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก 30,000 ตัน เป็นเม็ดพลาสติกใช้ใหม่ (Post-Consumer Recycled : PCR) ทีจ่ ะช่วย ลดผลกระทบจากวิกฤติมลภาวะพลาสติกในระยะยาว โดยมีอตั ราการบ�ำบัดน�ำ้ เสีย เพือ่ น�ำกลับมาใช้ใหม่ทสี่ งู ทีส่ ดุ ถึง 94% สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในประเทศไทยสู่ชั้นบรรยากาศได้ราว 35,000 ตันต่อปี เทียบได้กับการปลูกต้นไม้ กว่า 1.5 ล้านต้น

บริษัท กรุงเทพสกรีน จ�ำกัด รับมอบรางวัล ในงาน Thailand Top SME Awards 2020

ประเสริฐ วงศ์พนากิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพสกรีน จ�ำกัด พร้อมทีมงาน ประกอบด้วย ภาคภูมิ น้อยเจริญ, เทพนิมิตร ไข่เกตุ, ดากร ว่องบรรเจิด, กุลชาติ สังข์ชยั ขึน้ รับมอบรางวัลประเภทนวัตกรรมการผลิตเพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อมยอดเยีย่ มแห่งปี 2020 โดยมี แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ ประธาน กรรมการบริหาร บริษทั เออาร์ไอพี จ�ำกัด (มหาชน) และ ประภาพร มโนมัยวิบลู ย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปภาวิน จ�ำกัด ร่วมแสดงความยินดี งาน Thailand Top SME Awards 2020 จัดโดยนิตยสาร BUSINESS+ ในเครือ บริษทั เออาร์ไอพี จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยความร่วมมือของธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา

เอ็มพลัส มอบเครื่องฟอกและฆ่าเชื้อในอากาศ เอ็ม-วัน (M-One) ส่งต่อโรงพยาบาลสู้โควิด-19 ระลอกใหม่

ประสิทธิ์ องสุพันธุ์กุล ประธานกรรมการ พร้อมพนักงาน เดินหน้า ตอบแทนสังคมและให้ก�ำลังใจบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดน�า เครือ่ งฟอกและฆ่าเชือ้ โรคในอากาศ “M-One” (เอ็ม-วัน) จ�ำนวน 12 เครือ่ ง มูลค่า กว่า 1.4 ล้านบาท มอบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพือ่ น�ำไปติดตัง้ ในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม หวังตอบแทนความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ทีต่ อ้ งรับความเสีย่ งในการดูแลผูป้ ว่ ยให้สามารถท�ำงานต่อสูก้ บั โรคโควิด-19 ได้อย่าง ปลอดภัย โดยมี นพ.เกียรติภมู ิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผูร้ บั มอบ ณ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ยังได้ทำ� การมอบเครือ่ งฟอก และฆ่าเชื้อโรคในอากาศ M-One ให้แก่โรงพยาบาลศิริราช จ�ำนวน 2 เครื่อง ก่อนหน้าอีกด้วย


Industry News

เดลต้าน�ำเสนอโซลูชันที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า AC ในงาน Thailand International Motor Expo 2020

บริษทั เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด จัดแสดง เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าประเภท AC และ DC เพื่อรองรับการ เปิดตัว Mitsubishi Outlander PHEV รุน่ ใหม่ของมิตซูบชิ ิ มอเตอร์ส ประเทศไทย และยังเปิดตัวแบตเตอรีส่ ำ� หรับระบบเดนโด ไดรฟ์ เฮ้าส์ ส�ำหรับทีพ่ กั อาศัย ผลิตโดย มิตซูบชิ ิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ในงาน Thailand International Motor Expo 2020 ณ ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ Mitsubishi Outlander PHEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภท ปลัก๊ อินไฮบริด (PHEV) รุน่ แรกของมิตซูบชิ ิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ส�ำหรับตลาดในประเทศไทย โดยเดลต้าได้จัดแสดงทั้งเครื่องชาร์จ รถยนต์ไฟฟ้ารุน่ AC Mini Plus 7.4kW พร้อมปลัก๊ Type 1 รวมถึง เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น DC Wallbox 25kW พร้อมปลั๊ก CHAdeMO ในบริเวณทดลองขับรถภายในงานครัง้ นี้ ส่วนแบตเตอรี่ 6kWh ส�ำหรับการใช้งานในที่พักอาศัย คือส่วนประกอบส�ำคัญ ของระบบเดนโด ไดรฟ์ เฮ้าส์ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย Mitsubishi Outlander PHEV เครื่องชาร์จแบบ

2 ทิศทาง แผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ส�ำหรับการใช้งานในที่พัก อาศัย เคอร์ตสิ คู ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจ�ำภูมภิ าค ของเดลต้า กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เพือ่ สนับสนุน Mitsubishi Outlander PHEV ทีเ่ พิง่ เปิดตัวใหม่ ด้วยเครือ่ งชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า AC และ DC และ แบตเตอรีส่ ำ� หรับการใช้งานในทีพ่ กั อาศัย ทีม่ าพร้อมกับระบบเดรนโด ไดรฟ์ เฮ้าส์ ความร่วมมือของเรากับมิตซูบชิ ิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จะเป็นประโยชน์ตอ่ ลูกค้าชาวไทย โดยการน�ำเสนอโซลูชนั การชาร์จ ของเดลต้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับโลกสู่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ของไทย” นอกจากนี้ เดลต้ายังสนับสนุนระบบชาร์จแบบเร็วส�ำหรับ การทดลองขับรถ Mitsubishi Outlander PHEV ด้วยเครื่องชาร์จ รถยนต์ไฟฟ้า รุน่ DC Wallbox 25kW พร้อมปลัก๊ CHAdeMO โดย ที ม วิ ศ วกรของเดลต้ า ได้ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ า นเทคนิ ค ส� ำ หรั บ การติดตั้งการใช้งาน การจัดการเครื่องชาร์จ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การชาร์จให้กับผู้มาเยี่ยมชมงานอีกด้วย

บ้านปู เน็กซ์ โชว์ผลงานปี’63 ขยายฐานลูกค้าโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์ลอยน�้า บ้านปู เน็กซ์ บริษทั ลูกของบ้านปูฯ ในฐานะผูใ้ ห้บริการด้าน พลังงานสะอาดชั้นน�ำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โชว์ผลงานปี’63 คว้าโปรเจ็กต์ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์ลอยน�้ำในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟกิ รวมก�ำลังผลิตกว่า 225 เมกะวัตต์ โดยในประเทศไทย ปิดดีลแบรนด์ยกั ษ์ใหญ่หลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ ‘ไทร เบคก้า เอ็นเตอร์ไพร์ส’ ‘บีทาเก้น’ ‘ธนาคาร ยูโอบี ประเทศไทย สาขา ถนนไฮเวย์-เชียงใหม่’ ‘โชว์รูมโตโยต้า จ.สุโขทัย’ และอีกมากมาย

รวมก�ำลังผลิตกว่า 38 เมกะวัตต์ ดันพอร์ตลูกค้าโซลาร์เติบโต ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ประกาศลุยยกระดับบริการหลังการขาย น�ำเทคโนโลยี IoT มาเพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟได้แบบเรียลไทม์ ทั้งจากระบบโซลาร์ โครงข่ายการไฟฟ้าและแบตเตอรี่ พร้อมเผยแนวโน้มการติดตั้ง โครงการโซลาร์ยังคงเติบโต ตั้งเป้าปี’64 เดินหน้าคว้าลูกค้าใหม่ ควบคู่กับขยายโปรเจ็กต์ลูกค้าเดิมอย่างต่อเนื่อง


สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) และบริษทั บ้านปู เน็กซ์ จ�ำกัด กล่าวว่า “ในปีนบี้ า้ นปู เน็กซ์ ยังคงได้รบั ความไว้วางใจจากกลุม่ ลูกค้าทีเ่ ป็นบริษทั ชัน้ น�ำจากหลากหลาย อุตสาหกรรม ให้เป็นผู้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้เรามีฐานลูกค้าโซลาร์ทวั่ ประเทศไทย ครอบคลุมทุกภาคอุตสาหกรรม ไม่วา่ จะเป็นนิคมอุตสาหกรรม โรงแรม โรงงาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจอาหารและเครือ่ งดืม่ สถานี น�้ำมัน สถาบันการศึกษา ตลาด โชว์รูมรถยนต์ และธนาคาร รวมถึง ในปีนี้เรายังประเดิมติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บนทุ่นลอยน�้ำในไทยอีกด้วย”

สมฤดี ชัยมงคล

บ้านปู เน็กซ์ ไม่เพียงเป็นผู้ให้ บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ แต่เป็นเสมือนที่ปรึกษา ด้านพลังงานสะอาดที่มีบริการโซลูชัน ที่หลากลายและครบวงจร ตอบโจทย์ ลูกค้าในทุกกลุม่ โดยน�ำความเชีย่ วชาญ และประสบการณ์ในการติดตั้งระบบฯ ทั้ ง ในประเทศไทยและต่ า งประเทศ มาออกแบบการติ ด ตั้ ง ระบบฯ ให้ เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้พลังงาน ของแต่ละองค์กร ซึง่ มีทงั้ โซลาร์รฟู ท็อป โซลาร์คาร์พอร์ต โซลาร์ฟาร์ม และ โซลาร์ลอยน�้ำ รวมถึงสามารถมอบ บริการด้านเทคโนโลยีพลังงานอื่นๆ ได้อย่างครบวงจร ที่ส�ำคัญ มีการน�า เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) มาใช้ควบคุมการท�ำงานของระบบฯ เพือ่ มอบบริการหลังการขายทีด่ ที สี่ ดุ

อีริคสัน จับมือเอบีบี ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 บริษทั อีรคิ สัน (ประเทศไทย) จ�ำกัด และบริษทั เอบีบี (ประเทศไทย) จ�ำกัด ประกาศความร่วมมือกันเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อสนับสนุนลูกค้า องค์กรของเอบีบีในประเทศไทย ด้วยโซลูชัน 5G ของอีริคสัน ส�ำหรับการประกาศ ความร่วมมือครั้งนี้นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระดับโลกของทั้ง 2 บริษทั ตามทีล่ งนามไว้รว่ มกันในปี พ.ศ. 2562 เพือ่ สร้างอนาคตภาคการผลิตทีม่ คี วาม ยืดหยุน่ สูงผ่านระบบอัตโนมัตแิ ละการสือ่ สารไร้สาย อันเป็นส่วนหนึง่ ของการผลักดัน ภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุค 4.0 ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในวันนี้ จะส่งผลให้อีริคสันกลายเป็น ‘Preferred Connectivity Partner’ ของเอบีบีในประเทศ ซึ่งบันทึกข้อตกลงนี้จะสร้าง กรอบการท�ำงานและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับทั้ง 2 บริษัท โดยมีเป้าหมายเพื่อ กระตุน้ การเปลีย่ นผ่านภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยไปสูด่ จิ ทิ ลั พร้อมกับ พัฒนาศักยภาพให้แก่ลูกค้าของเอบีบีผ่านการเชื่อมต่อ 5G จากผู้เชี่ยวชาญ นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวว่า “การจับมือเป็นพันธมิตรกับเอบีบีจะช่วยให้เราดึงเอาศักยภาพการเชื่อมต่อ 5G ออกมาใช้ได้อย่างเต็มทีก่ บั องค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต สนามบิน ท่าเรือ น�ำ้ มัน และก๊าซ รวมถึงเหมืองแร่ โดยเครือข่าย 5G จะกลายเป็น ปัจจัยส�ำคัญต่อการขับเคลือ่ นองค์กรภาคการผลิต ในขณะที่ 4G เป็นเทคโนโลยีพนื้ ฐาน ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน คุณค่าที่แท้จริงของ 5G ไม่ได้อยู่ที่การมีสปีดหรือความเร็วสูงๆ และมีค่าความหน่วงต�่ำเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน มันคือการตอบโจทย์ในเรื่องของ ความน่าเชื่อถือ การติดตามต�ำแหน่งแบบเรียลไทม์ ความปลอดภัย และความเป็น ส่วนตัวต่างหากที่มีความส�ำคัญมากที่สุด”

ความร่วมมือนีจ้ ะมุง่ เน้นไปทีบ่ ริการ Robotics & Discrete Automation, Industrial Automation และ Motion ของ ABB รวมถึง ABB AbilityTM Platform Services การท� ำ งานร่ ว มกั น นี้ จ ะ ครอบคลุมไปถึงการน�ำ 5G ไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น ใน Augmented Reality Lenses เพื่อควบคุม การท�ำงานระยะไกลในสภาพแวดล้อมการผลิต ต่างๆ ไปจนถึงการควบคุมมอเตอร์ที่เชื่อมต่อ กับเทคโนโลยีเครือข่ายพลังงานต�่ำ NB-IoT และ อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ผา่ นพันธมิตร ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของ Ericsson และ แพลตฟอร์ม IoT-Accelerator


ดัชนีสินค้าประจ�ำเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 บริษัท

โทรศัพท์

ABB POWER GRIDS (THAILAND) LTD.

0-2665-1000

AEC DISTRIBUTION (THAILAND) CO., LTD.

08-6376-4363

-

Solar Mounting Solutions

8

-

-

-

10

0-2036-0564

-

Exhibition

4

FIMER INTERMACH MAXIMIZE INTEGRATED TECHNOLOGY CO., LTD.

0-2194-8738-9

โทรสาร

ประเภทสินค้า

0-2324-0502 อุปกรณ์ไฟฟ้า

0-2003-2215 อุปกรณ์ไฟฟ้า

6

0-2136-7104

SAMWHA (THAILAND) CO., LTD.

038-559-002 086-359-2041

038-559-003 จ�ำหน่าย ติดตั้งคาปาซิเตอร์

7

ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) บจก.

0-2002-4395-7

0-2002-4398 อุปกรณ์ไฟฟ้า

5

0-2239-7898 น�ำ้ มันหล่อลื่นอุตสาหกรรม

3

0-2239-7847

เครื่องมือซ่อมในการดึงสายไฟ

ปกหลังนอก

RENT (THAILAND) CO., LTD.

ปตท. น�้ำมันและการค้าปลีก บมจ.

-

หน้า

9

เพาเวอร์ เรด บจก.

0-2322-0810-6

0-2322-0430 อุปกรณ์ไฟฟ้า

11

ลีฟเพาเวอร์ บจก.

0-2130-6371

0-2130-6372 อุปกรณ์ไฟฟ้า

13

0-2476-1711 Couplings

4

เวอร์ทัส บจก. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เอส เอ วี เมคคานิคคอล เซอร์วิสส์ แอนด์ ซัพพลายส์ หจก.

0-2876-2727-8 0-4421-7040 ต่อ 1607-9 0-2702-0581-8

0-4421-7047 แสงซินโครตรอนเพื่ออุตสาหกรรม 0-2377-5937 ติดตั้ง EOCR อิเล็กทรอนิกส์ โอเวอร์โหลดรีเลย์ ป้องกันมอเตอร์ไหม้

ปกหลังใน 15


Õ¦¨Ì²Ö£¼ij¼Å²Ô·ÏÜÅÅÐijÂÊà ¼¼º 2XMBGQNSQNM +HFGS ENQ (MCTRSQX ǰ ÿëćïĆîüĉÝ÷Ć ĒÿÜàĉîēÙøêøĂîǰ ĂÜÙŤÖćøöĀćßî ǰ ÿà ǰđðŨîĀîŠü÷Üćîõć÷ĔêšÖĞćÖĆï×ĂÜÖøąìøüÜÖćøǰĂčéöýċÖþćǰüĉì÷ćýćÿêøŤǰüĉÝ÷Ć ǰĒúą îüĆêÖøøöǰēé÷öĊóîĆ íÖĉÝđóČĂę ÖćøüĉÝ÷Ć đÖĊ ę ÷ üÖĆ ï ĒÿÜàĉ î ēÙøêøĂîĒúąǰÖćøĔßš ð øąē÷ßîŤ Ý ćÖĒÿÜàĉîēÙøêøĂîǰÖćøĔĀšïøĉÖćøĒÿÜàĉîēÙøêøĂî ĒúąđìÙēîēú÷ĊìĊęđÖĊę÷üךĂÜǰ ĂĊÖìĆĚÜǰ éĞćđîĉîÖćøÿŠÜđÿøĉöÖćøëŠć÷ìĂéĒúąÖćøđøĊ÷îøĎšđìÙēîēú÷ĊĒÿÜàĉîēÙøêøĂîǰ ìĆĚÜîĊĚǰ ÿëćïĆîöčŠÜöĆęîĔîÖćø éĞćđîĉîÜćîüĉÝĆ÷đóČęĂĔĀšÿĂéÙúšĂÜÖĆïîē÷ïć÷ÖćøóĆçîć×ĂÜðøąđìýǰ öĊđðŜćĀöć÷ĔîÖćøóĆçîćýĆÖ÷õćóđÙøČęĂÜÖĞćđîĉéĒÿÜàĉîēÙøêøĂî ĀøČĂǰ ĶđÙøČęĂÜÖĞćđîĉéĒÿÜÿ÷ćöķǰ đóČęĂÿćöćøëéĞćđîĉîÖćøĕéšĂ÷ŠćÜđêĘöðøąÿĉìíĉõćóǰ ēé÷öĊÙüćöóøšĂöĔîÖćøĔĀšïøĉÖćøĒÿÜàĉîēÙøêøĂî ǰ øąïïúĞćđúĊ÷ÜĒÿÜǰ Ēúąǰ ǰ ÿëćîĊìéúĂÜǰ àċęÜÙøĂïÙúčöđìÙîĉÙêŠćÜǰ ėǰ ĕéšĒÖŠǰ đìÙîĉÙÖćøÖøąđÝĉÜøĆÜÿĊđĂÖàŤǰ đìÙîĉÙÖćøéĎéÖúČîøĆÜÿĊ đĂÖàŤǰ đìÙîĉÙÖćøðúéðúŠĂ÷ĂĉđúĘÖêøĂîǰ đìÙîĉÙÖćøđøČĂÜøĆÜÿĊđĂÖàŤǰ đìÙîĉÙÖćøĂćïøĆÜÿĊđĂÖàŤǰ ĒúąđìÙîĉÙÖćøđúĊ÷Ě üđïîøĆÜÿĊđĂÖàŤǰ îĂÖÝćÖîĊǰĚ ÿëćïĆî÷ĆÜĔĀšïøĉÖćøéšćîĂČęîǰ ėǰ ĕéšĒÖŠǰ ïøĉÖćøüĉÝĆ÷ǰ ïøĉÖćøìĊęðøċÖþćǰ ïøĉÖćøđìÙîĉÙĒúąüĉýüÖøøöǰ ïøĉÖćøđÙøČęĂÜöČĂüĉì÷ćýćÿêøŤóČĚîåćî ĒúąïøĉÖćøëŠć÷đìÙēîēú÷Ċǰ ēé÷đîšîÖćøĔĀšïøĉÖćøĒïïđïĘéđÿøĘÝǰ 5PUBMǰ4PMVUJPO ǰđóČĂę ߊü÷ĒÖšðŦâĀćĔîÖøąïüîÖćøñúĉêǰÖćøÙĉéÙšîǰĒúą óĆçîćñúĉêõĆèæŤĒÖŠÖúčŠöÜćîüĉÝĆ÷êŠćÜǰėǰđߊîǰÖćøđÖþêøǰĂćĀćøǰ÷ćǰĒúąđÙøČęĂÜÿĞćĂćÜǰ÷ćÜĒúąóĂúĉđöĂøŤǰ ēúĀąǰĂĉđúĘÖìøĂîĉÖÿŤǰ Öćøñúĉê ßĉĚîÿŠüîÝčúõćÙǰ ßĉĚîÿŠüî×îćéÝĉĜü ǰĂĆâöèĊǰĒúąéšćîÖćøĒóì÷ŤǰđóČęĂÿîĆïÿîčîǰÜćîüĉÝĆ÷ĒúąóĆçîćĔĀšĒÖŠĀîŠü÷ÜćîõćÙøĆåĒúąđĂÖßîǰîĞćĕðÿĎŠ ÖćøÿøšćÜÿøøÙŤîüĆêÖøøöǰĒúąÿøšćÜöĎúÙŠćđóĉęöǰìćÜđýøþåÖĉÝĔĀšÖĆïðøąđìý ¾Ðĉº¦Ê²ÀÌĶɻԷÏÜÅÅÐijÂÊà ¼¼º ¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼º»Ê Õ¾ÈÔ£¼ÏÜŦÂĻÊÅʦ

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÅÌÔ¾Û °¼Å²Ì Âčč

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÅÊÃʼ Õ¾È Ê¼Ô Áij¼

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÕºĉ·Ìº·č ¡²ÊIJĶо¹Ê£ ¡²ÊIJĶÌßÀ

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÖ¾ÃÈ Õ¾ÈÔ¨¼ÊºÌ

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÂÌܦ°Å Õ¾ÈÔ£ºÍ¹É®­č

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼º»Ê¦ վȷžÌԺżč

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÅÉ©º®Í

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼º»Ê²»²ijč

¾ÐĉºÅÐijÂÊà ¼¼ºÅÏܲ Ú

¡ÉݲijŲ ʼ¡Å¼É³³¼Ì ʼÀÌĶÉ» 2

1

»Ïܲճ³¸Å¼čº¡Å¼É³ ³¼Ì ʼ

ijÌIJijĉÅ

3

´¼ÈԺ̲վÈÔ²Š¼Ê£Ê

4

ij¼ÀĶÂų׳ÔÂ²Å¼Ê£Ê Ã¼ÏÅ ÅŠ׳ÂÉܦ¨ÏÝÅ ÂÉܦĶĊʦ Âĉ¦ºÊ°ÍÜ !##

ÿŠüîóĆçîćíčøÖĉÝǰòść÷Öú÷čìíŤĒúąóĆçîćíčøÖĉÝĂÜÙŤÖø ÿëćïĆîüĉÝĆ÷ĒÿÜàĉîēÙøêøĂîǰ ĂÜÙŤÖćøöĀćßî

đú×ìĊęǰ ǰĀöĎŠìĊęǰ ǰĂćÙćøÿĉøĉîíøüĉßēßìĆ÷ǰë öĀćüĉì÷ćúĆ÷ ê ÿčøîćøĊǰĂ đöČĂÜǰÝ îÙøøćßÿĊöćǰ

5

Ô¼Ìܺ×ÃĊ³¼Ì ʼÀÌĶÉ» ÀÌÔ£¼ÊÈÃ č µ¾Ìij§Ìݲ¦Ê²

6

¼Ê»¦Ê²µ¾ÀÌÔ£¼ÊÈÃč ÀÌĶÉ» Âĉ¦ºÅ³¦Ê²

ēìøýĆóìŤ ǰ ǰ ǰ ǰêŠĂ ǰ ǰ ēìøýĆóìŤđÙúČęĂîìĊę ǰ ǰ ǰ ēìøÿćø ǰ ǰ ǰ ǰ ĂĊđöú ǰCET!TMSJ PS UI

XXX TMSJ PS UI CEE

Ô Û³£ĉʳ¼Ì ʼÀÌĶÉ» ÅŠ׳ÕĶĊ¦Ã²ÍÝ ×³Ô¼ÛĶ

4-3*ǰJOEVTUSJBMǰVTFS


p.76-c4_ABB_ad_A4_V-2_20210215_PRINT.pdf

1

2/16/2564 BE

15:44


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.