๘๔พรรณไม้ถวายในหลวง

Page 1






สารบัญ จากใจของเรา

6

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า

8

ก่อนจะมาเป็น ๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง

22

พรรณไม้ภาคเหนือ

30

พรรณไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

80

พรรณไม้ภาคตะวันออก

110

พรรณไม้ภาคตะวันตกและภาคกลาง

126

พรรณไม้ภาคใต้

166

หัวใจที่รับผิดชอบต่อสังคมไทยของเรา

208

บรรณานุกรม

212

ดัชนี

214

คณะผู้จัดทำ

215



จากใจของเรา จากพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นเสมอมาตลอดระยะเวลา

ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงเป็ น องค์ พ ระประมุ ข ของ

ชาวไทย ได้จุดประกายให้ประชาชนทั่วไป องค์กรภาครัฐบาลและ ภาครัฐวิสาหกิจ ได้เล็งเห็นคุณค่าของการปลูกต้นไม้เพื่อชุบชีวิต ผืนป่าและสมดุลของระบบนิเวศน์ในธรรมชาติที่หายไปให้กลับคืน มาใหม่ อี ก ครั้ ง เพราะไม่ ใ ช่ เ พี ย งแต่ จ ะช่ ว ยฟื้ น ฟู จ ำนวนพื้ น ที่

ป่าโดยรวมที่ลดลง และจำนวนที่ร่อยหรอลงไปทุกทีของพรรณไม้ ประจำถิ่ น และไม้ ที่ ห ายาก แต่ ยั ง เป็ น การมุ่ ง ให้ ค วามรู้ เ รื่ อ ง ลั ก ษณะของชนิ ด และภู มิ ป ระเทศที่ ถู ก ต้ อ งและสอดคล้ อ งกั บ พรรณไม้ทคี่ ดิ จะนำมาปลูกแก่ผทู้ สี่ นใจอีกด้วย หนังสือ ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง จาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและสืบสาน แนวทางการดำเนิ น งานตามพระราชดำริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว เรื่องการปลูกป่าในใจคน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ ได้ พระราชทานแก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ป่ าไม้ ที่ รั บ ผิ ด ชอบด้ า นการดู แ ลป่ า ว่ า “...ถ้าจะปลูกป่าควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคน เหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วย ตนเอง” หนังสือเล่มนี้จึงมีเนื้อหาว่าด้วยการให้ความรู้ในเรื่องพรรณไม้ ซึ่งถือเป็น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการฟื้น ฟูป่า โดยเน้นไป

ที่พรรณไม้สำคัญประเภทไม้ถิ่นเดียวและหายาก ซึ่งเกี่ยวพันกับ

วิถีชีวิตและสังคมไทยรวม 84 ชนิด อันเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ อันใกล้นี้ หนังสือเล่มนี้จึงนับเป็นหนังสือที่มีคุณค่า ที่นอกจากจะ รวบรวมพรรณไม้ต้นสำคัญที่หายากได้ถึง 84 ชนิดแล้ว ยังเน้น การปลู ก ฝั ง จิ ต สำนึ ก ความรั ก และหวงแหนธรรมชาติ แ ละ

สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ต้นน้ำลำธารและอนุรักษ์ดิน อันเป็นสมบัติของชาติที่ “ในหลวง” ทรงเน้นย้ำให้คนไทยทุกคนพึงรักษาไว้เสมอมา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)



ก่อน... เย็นลม ร่มรื่น ร่มผืนป่า ผีเสื้อหยอก ดอกหญ้า หยอกฟ้าใส กระแตป่าย กระต่ายเปลี่ยน เวียนต้นไป ทุ่งดอกไม้ โน้มก้าน ต้านลมเย็น แล้ว... มนุษย์ ก็ลอบลัก เข้าหักหั่น ผืนป่าพลัน ลดร้าง เริ่มว่างเว้น เที่ยวแต่ทิ้ง ตอตาย ย้ายต้นเป็น ไม่ปลูกเน้น เพิ่มต้นดี พื้นที่ไพร ดั่งดำรัส พ่อหลวง ทรงห่วงป่า ฟื้นธรรมชาติ ฟื้นผืนหญ้า ฟื้นฟ้าใส เริ่มคืนป่า สู่ป่า สู่ฟ้าไทย ด้วยการปลูก ป่าใหญ่ ในใจคน ทรงแผ้วทาง ถางพง ให้ตรงที่ ทรงช่วยชี้ วิถีทำ สัมฤทธิผล ทุกก้าวพ่อ ก่อป่าใหม่ ให้ปวงชน เอกถกล องค์ราชา เลิศราชัน


“...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้ว คนเหล่านั้นก็จะพากัน ปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษา ต้นไม้ด้วยตนเอง...” พ.ศ. ๒๕๑๙ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

ปัญหาเรือ่ งการเสือ่ มโทรมของทรัพยากรป่าไม้

คือสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยตลอดมา

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่มีสายพระเนตรอันยาวไกล นับแต่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 6 ทศวรรษ พระองค์ทรงทุ่มเท

พระวรกายอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่อาณาประชาราษฎร์ โดยการเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในทุกภูมิภาคเป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ทั้งนี้เพื่อทอดพระเนตร สภาพชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข องพสกนิ ก รในพื้ น ที่ ถิ่ น ทุ ร กั น ดารเพื่ อ ที่ จ ะได้ ท รงทราบถึ ง ปั ญ หา

ความเดือดร้อนทุกข์ยากที่แท้จริงของราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการเสื่อมโทรม

ของทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบ

ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดินและน้ำเท่านั้น หากแต่ยังโยงใยถึงปัญหา ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรม และระบบนิเวศน์ ด้ ว ยเหตุ นี้ พระองค์ จึ ง ทรงมี พ ระราชดำริ ใ ห้ มี ก ารอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ป่ า เพื่ อ รั ก ษา

สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทั้งน้ำ ดิน และป่าไม้ เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

ในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ จากพระราชดำริดังกล่าวจวบจนถึงวันนี้ นำมาซึ่งโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์ป่าไม้มากมาย ได้แก่ โครงการป่าไม้สาธิต โครงการป่าไม้สาธิตอาจถือได้ว่าเป็น พระราชดำริ เ ริ่ ม แรกเกี่ ย วกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ าไม้

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2503-2504 เมื่อครั้งที่พระองค์

11


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ

กับการสำรวจและทดลองปลูกพันธุ์พืชต่างๆ เพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชน

เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัด

ประจวบคี รี ขั น ธ์ ขณะที่เสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวั ด เพชรบุ รี พระองค์ ท อดพระเนตรเห็ น

ต้นยางขนาดใหญ่จำนวนมากปลูกเรียงรายสองข้างทาง จึงมีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนี้ ไว้

เป็ น สวนสาธารณะ แต่ ก็ ไ ม่ อ าจดำเนิ น การได้ เนื่ อ งจากมี ร าษฎรมาทำไร่ ท ำนาในบริ เ วณนั้ น

เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง ในบริเวณพระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนาในแปลงทดลองพระราชวังสวนจิตรลดา ซึ่งต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตนั้นเพื่อทรงศึกษาธรรมชาติวิทยา

ป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิดเมื่อปี 2508 โครงการป่าพระราชทานมูลนิธิชัยพัฒนา-มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จังหวัดสงขลาและปัตตานี โครงการดังกล่าวดำเนินการประสานงานโดยองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ มูลนิธิ โททาล (Total) และสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วยโครงการ ย่อย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า โครงการหลวง โครงการนี้เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน ราษฎรในภาคเหนือ พระองค์ทรงพบเห็นการตัดไม้ทำลายป่าและความลำบากยากแค้นของชาวเขา บนดอยต่างๆ จึงทรงมีพระราชดำริและทรงจัดตั้งโครงการเกษตรในที่สูงขึ้น เริ่มจาก โครงการ พระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินบนดอยปุยเพื่อเป็นสถานีทดลองปลูกพืชเมืองหนาว พร้อมกับพระราชทานชื่อว่า สวนสองแสน ปีต่อมาได้ขยายโครงการไปสู่ดอยอ่างขาง ซึ่งประสบความสำเร็จ นำความกินดีอยู่ดี มาสู่ราษฎร จากนั้นโครงการจึงขยายต่อไปสู่ดอยต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่อีก 4 ดอย ได้แก่

ดอยอินทนนท์ สถานีฯ ขุนวาง ปางดะ และแม่หลอด และในปี 2523 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อโครงการ ให้เป็นการถาวรว่า โครงการหลวง มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในนาม ดอยคำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนในชนบทมีชีวิต

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพึ่งตนเองได้ในที่สุด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงทำหน้าที่เสมือนศูนย์กลาง การเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไร จะพัฒนาอย่างไรจึงจะได้ผล ศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่ เสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่ถ่ายทอดวิทยาการแผนใหม่ และยังทำหน้าที่เป็นศูนย์การวิจัยค้นคว้า

ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริโดยตรง อันได้แก่ ป่าประเพณี ป่ากึ่งชุมชน ป่าชุมชน และป่าในบ้าน การศึกษาค้นคว้า การทดลองและการ สาธิต ปัจจุบันศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา

เขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในการงานด้านการอนุรักษ์ป่า เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เพื่อพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้กลับคืนมาอีกครั้ง เพื่อความ กินดีอยู่ดีของพสกนิกรของพระองค์ในทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเพียงปลูกป่า ลงบนผื น แผ่ น ดิ น เท่ า นั้ น หากยั ง ทรงมุ่ ง หวั ง ที่ จ ะปลู ก ป่ า ลงในจิ ต ใจของประชาชนด้ ว ย

ดังพระราชดำริที่พระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ เมื่อปีพุทธศักราช 2519 ความว่า “...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูก ต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...”

13


การฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ทรงให้เริ่มต้นจากการปลูกป่าในใจคนก่อน โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจให้แก่ราษฎรเพื่อให้ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของป่าและการอยู่ร่วมกับ ป่าอย่างพึ่งพาอาศัยกัน และส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าจนกระทั่งสามารถ

จัดตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่า ช่วยกันดูแลรักษาป่า สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ป้องกันการตัดไม้ทำลาย ป่าและการเกิดไฟป่า ตลอดจนรู้จักนำพืชป่ามาบริโภคใช้สอยอย่างเหมาะสม ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในศาสตร์ต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม จึงก่อเกิดเป็นแนวพระราชดำริเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากมาย อาทิ การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มวิธีการอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนสูงสุด โดยทรงแนะนำวิธีการปลูกป่าเชิงผสมผสาน ทั้งด้านเกษตร วนศาสตร์ และเศรษฐกิจสังคม ไว้เป็น มรรควิธีปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จ อันได้แก่ การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ดังพระราชดำรัสที่ ได้พระราชทานในพิธีปิดการสัมมนาการเกษตร

ภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2524

ความตอนหนึ่งว่า


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

ทรงริเริ่มการกระจายความรู้แผนใหม่ เพื่อเผยแพร่การพัฒนาป่า ให้กว้างไกลออกไป

“...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่าง นั้น คืออะไร. แต่ ให้เข้าใจว่า ป่า ๓ อย่าง นี้มีประโยชน์ ๔ อย่าง ไม่ใช่ ๓ อย่าง. ป่า ๓ อย่าง ที่บอกว่าเป็นไม้ฟืน เป็นไม้ผล และไม้สร้างบ้านนั้น ความจริงไม้ฟืนกับไม้ใช้สอยก็อันเดียวกัน ไม้สร้างบ้านกับไม้ใช้สอย ก็อันเดียวกัน. แต่เราแบ่งออกไปเป็นไม้ทำฟืน ไม้สร้างบ้านเรือน รวมทั้งไม้ทำศิลปหัตถกรรมแล้วก็ ไม้ผล...” พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ดังกล่าวได้ดำเนินการในหลายส่วนราชการ ทั้งกรม ป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่ง โดยมีการปลูกไม้ใช้สอย ไม้กิน ได้ และไม้เศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะให้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างที่ 4 คือ อนุรักษ์ ดินและอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร สามารถช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนได้อย่างมหาศาล การปลูกป่าทดแทน จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบัน ได้ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ของธรรมชาติเกิดความ เสียหายอย่างรุนแรง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ ให้มากขึ้น ซึ่งวิธีการหนึ่ง

ก็คือ การปลูกป่าทดแทนป่าที่สูญเสียไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการปลูกป่าทดแทน จึงได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสในคราวเสด็จพระราชดำเนิน โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ ที่ปางหินฝน ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2520 ความตอนหนึ่งว่า

15


พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ได้รับความร่วมใจจากศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และหน่วยราชการทุกแห่ง

“...การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผน โดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนา ชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมกันสำรวจต้นน้ำใน บริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้น น้ำและพัฒนาอาชีพราษฎรได้อย่างถูกต้อง สำหรับต้นไม้ที่ปลูกทดแทนป่าไม้ทถี่ กู ทำลายนัน้ ควรใช้ตน้ ไม้โตเร็วทีม่ ปี ระโยชน์หลายๆ ทาง คละกันไป และควรปลูกพืชคลุมแนวร่องน้ำต่างๆ เพื่อยึดผิวดินและให้เก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ นอกจากนั้น จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุน น้ำ ส่งไปตามเหมือง ไปใช้ ในพื้นที่เพาะปลูก ๒ ด้าน ซึ่งจะทำให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นให้บริเวณนั้นด้วย ในการนี้จะต้อง อธิบายให้ราษฎรรู้ว่า การที่ปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงนั้น ก็เพราะมีการทำลายป่า ต้นน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์...” การปลูกป่าต้นน้ำ เนื่องจากบริเวณต้นน้ำของไทยในภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศ มักประสบกับการถูก บุกรุกเพื่อทำไร่ ทำให้เกิดการพังทลายของดินอยู่บ่อยครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ตระหนั กถึงปัญหาดังกล่าว ดังจะเห็นจากเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินยังวัดคีรีบรรพต ตำบล

ลำนารายณ์ อำเภอชั ย บาดาล จั ง หวั ด ลพบุ รี เมื่ อ วั น ที่ 14 เมษายน 2520 ได้ ท รงกำชั บ กั บ

ผู้ใหญ่บ้านของตำบลลำนารายณ์ ว่า “...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณ ต้นน้ำ ซึ่งบนยอดเขาและเนินสูงนั้น ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้น และปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้นจะ ช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วย


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิทรงเคยละเว้นโอกาสในการใช้พระราชวินิจฉัยเพื่อพิจารณา แก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เกิดความผาสุกแก่เหล่าพสกนิกร

ยึดดินบนเขาไม่ ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ ไว้ ให้ดีแล้ว ท้องถิ่น ก็จะมีน้ำไว้ ใช้ชั่วกาลนาน...” ป่าเปียก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่อย่างอเนกอนันต์ของน้ำ ทรง เล็งเห็นว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์สามารถที่จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำ ไปประยุกต์ ใช้ ให้เป็นประโยชน์ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ ป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่า นับ เป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่ง่ายแสนง่ายแต่ได้ผลดียิ่ง แนวพระราชดำริป่าเปียก เป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลัก สำคัญในการช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากและเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาป่าไม้ โดยใช้ทรัพยากรน้ำเข้ามาช่วยสร้างแนวป้องกันไฟเพื่อป้องกันไฟไหม้ป่าในระยะยาว ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า “...ใช้ระบบท่อส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงบริเวณป่าไม้เสื่อมโทรมในช่วงที่มีสภาพแห้งแล้งให้เกิด ความชุ่มชื้นตลอดเวลา จะทำหน้าที่อนุรักษ์ป่าไม้ทางอ้อม กล่าวคือ ใช้เป็นแนวป้องกันสกัด ไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีลักษณะเป็น ป่าเปียก...” พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงแนะนำให้ ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอั น เนื่ อ งมาจาก

พระราชดำริ ต่ า งๆ ทำการศึ ก ษาทดลองจนประสบผลสำเร็ จ เป็ น ที่ น่ า พอใจ ดั ง ตั ว อย่ า งที่ มี

การดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

17


“...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่าง นั้น คื อ อะไร. แต่ ใ ห้ เ ข้ า ใจว่ า ป่ า ๓ อย่ า ง นี้ มี ประโยชน์ ๔ อย่าง ไม่ ใช่ ๓ อย่าง. “ป่า ๓ อย่าง“ ที่บอกว่าเป็นไม้ฟืน เป็นไม้ผล และไม้สร้างบ้าน นั้น ความจริงไม้ฟืนกับไม้ ใช้สอยก็อันเดียวกัน ไม้สร้าง บ้านกับไม้ใช้สอยก็อันเดียวกัน. แต่เราแบ่งออกไปเป็นไม้ทำ ฟืน ไม้สร้างบ้านเรือน รวมทั้งไม้ทำศิลปหัตถกรรมแล้วก็ ไม้ผล...” วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ พิธีปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

19

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามคิดค้น วิธีที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยการใช้วิธีการ ที่เรียบง่ายและประหยัด

การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

จึงทรงพยายามคิดค้นวิธีที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ ในประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร

โดยการใช้วิธีการที่เรียบง่ายและประหยัด ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ ในลักษณะ

อันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นการอนุรักษ์ป่าโดยอาศัยระบบวงจรป่าไม้และการทดแทน

ตามธรรมชาติด้วยการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ และควบคุมไม่ ให้

มีคนเข้าไปตัดไม้ หรือเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ เพื่อที่ว่าเมื่อทิ้งช่วงระยะหนึ่ง พืช ลูกไม้ พรรณไม้ต่างๆ

จะค่อยๆ เจริญเติบโต และขยายพันธุ์ฟื้นตัวขึ้นได้ กลยุทธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้

นับเป็นวิธีที่แยบยล ง่าย และประหยัดที่สุด แต่กลับให้ผลที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล ดังพระราชดำรัส

ความตอนหนึ่งว่า “...ถ้าเลือกได้ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะ เจริญเติบโตขึ้นมา เป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว...” จากปั ญ หาการบุ ก รุ ก ทำลายพื้ น ที่ ป่ า ชายเลนอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและรุ น แรง ประกอบกั บ

การที่มนุษ ย์พยายามเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และแหล่งอุตสาหกรรม ทำให้

ป่าชายเลนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม และลดลงอย่างที่มิอาจประมาณการได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ แก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษ ฏ์) ในพระราชพิธี


ทรงส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วม ในการปลูกป่า จนกระทั่งสามารถจัดตั้ง เป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าช่วยกันดูแลรักษาป่า

แรกนาขวัญหว่านข้าว บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สรุปแนวพระราชดำริว่า “...ป่ า ชายเลนมี ป ระโยชน์ ต่ อ ระบบนิ เ วศน์ ข องพื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ทะเลและอ่ า วไทย แต่ ปั จ จุ บั น ป่ า ชายเลนของประเทศไทยเรากำลั ง ถู ก บุ ก รุ ก และถู ก ทำลายลงไปโดยผู้ แ สวงหา ผลประโยชน์ ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ต้ นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้น น้ ำ ลงในการเติ บ โตด้ ว ย จึ ง ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์ โกงกางและปลู กสร้างป่าชายเลนกันต่อไป...” การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทยที่ถูกบุกรุกทำลาย ด้วย การปลูก ป่าชายเลน ในลักษณะอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโต จะสามารถเป็นแนวป้องกัน ลมและป้ องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สำคัญ อีกทั้งได้ใช้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยสร้างความ สมดุลให้ ธรรมชาติกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม การอนุรัก ษ์และพัฒนาป่าพรุ ป่าพรุ ถือเป็นป่าไม้ทึบ ไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงผืนเดียวในภาคใต้ของ ประเทศไทย เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วบริเวณ ครั้ ง หนึ่ ง ประมาณปี 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น แปร

พระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทรงรับทราบความเดือดร้อนของ


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

21

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ทุกสรรพสิ่งสามารถที่จะเกื้อกูลกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์

ราษฎรที่นั่นว่ามีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพรุ เข้าไร่นาเสียหาย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ร่วมมือ กันระบายน้ำออกจากพรุธรรมชาติทั้งหลาย เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด และในการ ระบายน้ำออกจากพรุครั้งนั้นเอง ทำให้ทรงพบว่ามีสภาพดินเปรี้ยวเกิดขึ้น จึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์วิจัย และศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและ สภาพแวดล้อมของป่าพรุอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในคราวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำบางนรา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2535 พระองค์ ได้พระราชทานพระราชดำริ

เกี่ยวกับการพัฒนาป่าพรุ ความตอนหนึ่งว่า “...ควรก่อสร้างและปรับปรุงระบบรับน้ำเปรี้ยวที่ ไหลออกจากพรุให้ ไปลงระบบระบายน้ำ ของโครงการมูโนะ เพื่อระบายน้ำเปรี้ยวทั้งหมดไปลงคลองปูยูทางด้านท้ายประตูระบายน้ำปูยู รวมทั้งวางโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเปรี้ยวจากพรุกาบแดงไปลงทะเล และส่งเสริมการ ปลูกป่าในบริเวณพรุเพื่อรักษาพื้นที่ขอบไม่ให้ถูกทำลาย...” จากแนวพระราชดำริต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สะท้อนถึงความห่วงใย

ในเหล่าพสกนิกรและผืนป่าของเมืองไทย ได้ก่อกำเนิดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ขึ้นมากมาย เสมือนกระจกเงาที่ส่องให้เห็นถึงความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่สนองตอบพระเมตตา

อย่างไม่เสื่อมคลาย แต่ผืนป่าย่อมไม่อาจอยู่รอดได้ด้วยดี หากไร้ซึ่งความผูกพันและการทำนุบำรุง อย่างต่อเนื่องของผู้ที่ ให้กำเนิดทรัพย์ ในดินนั้น ต่อเมื่อความรู้สึกนี้เข้าถึงใจของผู้ปลูกป่าเมื่อใด แม้นปลูกต้นไม้เพียงหนึ่งต้น ก็ย่อมนับว่าได้ดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริอย่างสมบูรณ์ยิ่งแล้ว


22

ก่อนจะมาเป็น

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง


23

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าคือหนึ่งในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อแผ่นดินไทยนับตั้งแต่

ต้นรัชกาล สืบเนื่องจากการที่ ได้เสด็จพระราชดำเนินออก เยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทุกภูมิภาคภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ ไ ม่ น าน และได้ ท อดพระเนตรเห็ น ถึ ง สภาพป่ า ไม้ ท ี่ ทรุดโทรมและถูกทำลายในที่ต่างๆ มากมาย จากการใช้ ทรัพยากรป่าไม้โดยไม่มีแผนการจัดการที่ดี ซึ่งไม่เพียงส่ง ผลกระทบต่อการสูญเสียเฉพาะป่าไม้ แต่ยังกระทบถึงระบบ นิเวศน์ทั้งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและจำนวน

สัตว์ป่าที่ลดลง ไปจนถึงประชาชนที่อาศัยป่าเป็น ที่ทำกิน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความแปรปรวนทางด้านภูมิอากาศ ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดภัยแล้งและอุทกภัยสร้าง ความเสียหายให้แก่พสกนิกรและเศรษฐกิจของประเทศได้ อย่างมหาศาล ซึ่งหากจะวัดจำนวนความสูญเสียของพื้นที่ป่าที่เกิด ขึ้ น ในรอบ 100 ปี ที่ ผ่ า นมาเป็ น ตั ว เลขแบบง่ า ยๆ แล้ ว เท่ากับว่าจากเดิมที่ประเทศไทยเคยมีพื้นที่ป่าถึง 230 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 72 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ ได้ถูกนำมา ใช้ ไ ปเป็ น จำนวนมาก อั น เป็ น ผลพวงจากแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจแห่งชาติและจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่ถึงร้อยละ 20 ซึ่งความสำคัญ ของการสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ ได้เป็นที่ตระหนักดี ในพระราชหฤทั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว จึ งได้ ท รงริ เ ริ่ ม หลากหลายโครงการในพระราชดำริเพื่อฟื้น ฟูและอนุรักษ์

ผืนป่าเพื่อรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทั้งน้ำ ดิ น และป่ า ไม้ เพื่ อให้ พ สกนิ ก รของพระองค์ ไ ด้ มี ชี วิ ต

ความเป็ น อยู่ ที่ ดี ใ นสภาพแวดล้ อ มที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ และ สามารถพึ่งพาตนเองได้สืบไป


24

พรรณไม้ถิ่นเดียวและพรรณไม้หายาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อลูกหลานไทย

พรรณไม้ที่รวบรวมมาไว้ ในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่ เป็นพืชหายาก (rare) และพืชถิ่นเดียว (endemic plant) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าพืชเฉพาะถิ่นอัน มีความหมายถึง พืช

ชนิดที่พบขึ้นแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณภูมิศาสตร์ เขตใดเขตหนึ่ ง ของโลกที่ มี แ นวเขตค่ อ นข้ า งจำกั ด และ

เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ลั ก ษณะจำกั ด ทางระบบนิ เ วศน์ เช่ น เป็ น

เกาะโดดเดี่ ย วกลางทะเลหรื อ มหาสมุ ท ร ยอดเขาและ หน้าผาภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพ จำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะแหล่ง (microclimate) ซึ่งพืชถิ่นเดียวของไทยหลายชนิดพบขึ้น เฉพาะบนภู เ ขาหิ น ปู น หรื อ ดิ น ที่ ส ลายมาจากหิ น ปู น และ

จากการประเมิ น จำนวนพื ช ถิ่ น เดี ย วของไทยในเบื้ อ งต้ น

พบว่ า มี น้ อ ยมากเมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั น กั บ พื ช ถิ่ น เดี ย วของ ประเทศใกล้เคียง ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีความหลากหลาย ของชนิ ด พั น ธุ์ พื ช อยู่ ใ นลำดั บ สู ง ก็ ต าม เพราะที่ ตั้ ง ของ ประเทศไทยอยู่ตรงบริเวณรอยต่อของเขตพฤกษภูมิศาสตร์ ถึง 3 ภูมิภาคด้วยกัน ได้แก่ภูมิภาคอินเดีย-พม่า (IndoBurmese) ภูมิภาคอินโดจีน (Indo-Chinese) และภูมิภาค มาเลเซีย (Malaysian) แต่จำนวนชนิดพืชถิ่นเดียวของเรา กลับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากพันธุ์พืชส่วนใหญ่กระจายพันธุ์

มาจากประเทศใกล้เคียงของทั้งสามภูมิภาคนั่นเอง ส่วนพืชหายาก (rare) นั้น ได้แก่พืชที่มีจำนวนน้อย แต่ส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ แต่มีความ เสี่ยงต่อการเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ ได้ ในอนาคต หากว่าปัจจัย ต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนประชากรพืชลดลงยังคง ดำเนิ น อยู่ พื ช ถิ่ น เดี ย วส่ ว นใหญ่ ข องไทยจั ด ว่ า เป็ น พื ช

หายาก ยกเว้ น เพี ย งไม่ กี่ ช นิ ด ที่ มี ขึ้ น กระจายพั น ธุ์ ต าม ธรรมชาติอยู่มากมาย ดังนั้นจึงยิ่งทวีค่าควรแก่การรักษา และฟื้นฟูขยายจำนวนออกไปให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นสมบัติ แก่แผ่นดินและลูกหลานไทยสืบต่อไป

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง


ก่ อ นจะมาเป็ น ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

25


26

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ลักษณะป่าไม้ในเมืองไทย ในแต่ละภาคของประเทศไทย ล้วนแล้วแต่มีสภาพภูมิอากาศ แหล่งพันธุกรรมของสัตว์ป่าใหญ่หลายชนิด และระบบนิเวศน์แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะของธรณี พรรณไม้ที่เจริญเติบโตในแหล่งนั้นๆ พรรณไม้

หายากและไม้ถิ่นเดียวที่ทั้ง 84 ชนิดได้รับการคัดสรรมานำเสนอในหนังสือเล่มนี้ มีเขตการกระจายพันธุ์ตามลักษณะป่า จำแนกได้ตามภาคดังต่อไปนี้ ภาคเหนือ ความพิเศษของป่าในภาคเหนืออยู่ตรงที่มีความ สำคั ญ ในฐานะเป็ น ต้ น น้ ำ ลำธารซึ่ ง อยู่ บ นภู เ ขาสู ง

มี อ ากาศหนาวเย็ น หากเป็ น ภู เ ขาที่ มี ค วามสู ง ต่ ำ กว่ า ระดับ 1,000 ม. จะถูกจัดว่าเป็นป่าดิบชื้น ซึ่งพรรณไม้

ที่ขึ้นในป่าประเภทนี้ได้แก่ กระเจาะ คำมอกหลวง จำปีรัชนี เป็นต้น และหากอยู่บนภูเขาที่มีความสูงมากกว่า นั้นจะเรียกว่าเป็นป่าดิบเขา ซึ่งพรรณไม้ที่จะพบได้ตาม ป่าลักษณะนี้รวมถึง จำปีช้าง ชมพูภูคา กุหลาบขาวเชียงดาว เป็นต้น ภาคใต้ สิ่ ง ที่ ท ำให้ ป่ าไม้ ท างภาคใต้ มี ค วามโดดเด่ นไม่ เหมือนที่ ไหน คือเป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกไปในทะเล และมี ป่ า บนภู เ ขาและพื้ น ที่ ร าบลุ่ ม สลั บ กั นไป ดั ง นั้ น

พื ช ที่ ส ามารถพบได้ ใ นป่ า ลั ก ษณะนี้ จ ะเป็ น พื ช ที่ ช อบ ความชื้นสูงและหากขึ้นอยู่บนภูเขาเตี้ยๆ ใกล้ทะเลก็จะ เพิ่มคุณลักษณะทนลมทะเลได้ดีขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง เช่น ต้นพุดภูเก็ต รักนา โมกเขา เป็นต้น ซึ่งหลายๆ พรรณไม้ เช่น จำลา พรหมขาว เล็ ง เก็ ง ก็ จั ด ว่ า เป็ น พรรณไม้

ภาคใต้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อีกด้วย


ก่ อ นจะมาเป็ น ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

27 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะผืนป่าของภาคอีสานนี้บางแห่งเป็นภูเขา หินทรายที่สูงมากกว่า 1,000 ม. เช่น ภูกระดึง ภูหลวง บนยอดเขามีอากาศหนาวเย็นและมีความชื้นสูง จึงมี สภาพเป็ น ป่ า ดิ บ เขา ซึ่ ง พบพรรณไม้ ห ายาก อาทิ

ก่วมแดง จำปีศรีเมืองไทย จำปีหนู ส่วนภูเขาหินทราย

ที่มีความสูงต่ำลงมา จะมีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นต่ำ จึ ง มี ส ภาพเป็ น ป่ า เต็ ง รั ง จะพบพรรณไม้ จ ำพวก กระมอบ หมักม่อ หากมีความชื้น มากขึ้นก็จะมีสภาพ เป็นป่าดิบแล้ง ซึ่งมีพรรณไม้จำพวก พะยูง ฝาง มะป่วน

ภาคตะวันออก ป่ าในภาคนี้ มี คุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะตั ว ตรงที่ เ ป็ น ป่าดิบชื้นบนเขาที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 ม. และมีป่า ชายเลนตามแนวชายฝั่งเป็น หย่อมๆ ซึ่งพรรณไม้ที่จะ พบได้ในแถบนี้คือ กะหนาย พุงทะลาย พันจำ เป็นต้น

ภาคตะวันตกและภาคกลาง ภาคกลางนั้ น มี ผื น ป่ า บนที่ ร าบลุ่ ม และหากมี พรรณไม้ ใ ดที่ ขึ้ น บนภู เ ขาก็ จ ะมี ค วามสู ง ไม่ เ กิ น

100-200 ม. ป่าบางแห่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง ซึ่งพรรณไม้ ที่ชอบสภาพป่าเช่นนี้ ได้แก่ จำปีสิรินธร ส่วนชายแดน ด้านตะวันตกที่ติดฝั่งประเทศพม่าจะเป็น ภูเขาหิน ปูน

ที่ ส ามารถพบพรรณไม้ จ ำพวก จั่ น น้ ำ โกงกางน้ ำ จื ด กลาย และมหาพรหม เป็นไม้ประจำถิ่น


28

สถานการณ์การอนุรักษ์ป่าไม้ไทยโดยรวม ณ ปัจจุบัน

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ความจริงที่เราต้องยอมรับคือ ป่าไม้ ในเมืองไทยของเราคือหนึ่ง ในป่าเขตร้อนบนโลกใบนี้ที่ระบบนิเวศน์ถูกคุกคามมากที่สุด พื้นที่ป่าของ เราลดลงอย่างรวดเร็วจาก 53.3% เหลือเพียง 24% ในช่วงเวลา 44 ปี และถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้ยกเลิกการให้สัมปทานการทำไม้ทั้งหมด

ตั้งแต่ปี 2532 หลังเกิดเหตุการณ์อุทกภัยและภูเขาถล่มอันน่าสลดใจที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการช่วยชะลอการลดลงของ ป่าไม้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น วิธีกอบกู้ผืนป่าของเราซึ่งเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบันคือ นอกจากจะต้องพยายามปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่ม พื้นที่ป่าให้มากขึ้นแล้ว ยังต้องเร่งจัดหาข้อมูลเบื้องต้นของพรรณพืชพื้นเมืองให้เสร็จสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย เพราะจะ ทำให้เราได้รับรู้ถึงลักษณะของพืชและเขตการกระจายพันธุ์ในสภาพป่าต่างๆ รวมไปถึงจำนวนประชากรและสถานะ ของพืช ไม่ว่าจะเป็น พืชหายากหรือพืชถิ่นเดียว อันจะแปรมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรพืชของ ประเทศไทยด้วยความเข้าใจและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลดีจากความเข้าใจที่ ได้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ เราไม่เน้น

ไปที่การปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวซึ่งไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้พื้นเมือง เช่น ไม้สัก ไม้สน หรือพรรณไม้ต่างประเทศ เช่น ยูคาลิปตัส ที่แม้จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้จริง แต่หาได้มอบประโยชน์ ในเชิงการอนุรักษ์ความหลากหลาย

ทางชีวภาพได้มากเท่าที่จำเป็นไม่ เนื่องจากป่าไม้ลักษณะนี้มีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ต่ำ ทำให้สัตว์ที่จะ เข้ามาใช้ประโยชน์ ในพื้น ที่มี ได้เพียงไม่กี่ชนิด หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งให้ข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการเพิ่มพื้น ที่ป่า

อย่างมีคุณภาพ ที่ ไม่ ได้มุ่งหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุม แต่จะต้องฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน และที่ ส ำคั ญ คื อ ให้ ข้ อ สั ง เกตในการคั ด เลื อ กพรรณไม้ ที่ ป ลู ก ให้ มี ค วามหลากหลายและสอดคล้ อ งกั น กั บ

ดินฟ้าอากาศในท้องถิ่นนั้นด้วย


29 แนวความคิ ด ของการปลู ก ป่ า ด้ ว ยความเข้ าใจใน ลักษณะของพรรณไม้ท้องถิ่นนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้

ผลดีจากตัวอย่างในโครงการฟื้น ฟูพื้น ที่ป่าบ้านแม่สาใหม่

ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ ได้

ร่วมมือกับหน่วยวิจัยการฟื้น ฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการพลิกฟื้นป่าต้นน้ำเหนือป่าในหมู่บ้านจากพื้นที่ไร่เก่าที่เคย ทำการเกษตรให้กลับมาเป็นป่าสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียง 5-6 ปี ด้ ว ยการปลู ก “พรรณไม้ โ ครงสร้ า ง” ซึ่ ง ก็ คื อ พรรณไม้

ท้องถิ่นของภาคเหนือ เพียง 20-30 ชนิด ที่ได้รับการคัดเลือก แล้ ว ว่ า เป็ น พรรณไม้ ป ระจำท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง จะก่ อ ให้ เ กิ ด คุณลักษณะพิเศษที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวของป่าได้เร็วขึ้น เพราะจะสามารถเพาะและขยายพันธุ์ได้ง่าย เติบโตได้ดีและ เร็ว จากวันที่เริ่มปลูกจนถึงปัจจุบัน แปลงฟื้นฟูป่าดังกล่าวมี พรรณไม้ ข ยายขึ้ น มากกว่ า 90 ชนิ ด พร้ อ มๆ กั บ การ

กลั บ มาของความหลากหลายทางชี ว ภาพต่ า งๆ เช่ น นก

ที่พบในพื้นที่มีมากถึง 87 ชนิด และมีสัตว์ป่าจำพวกอีเห็น หมูป่า ชะมดเข้ามาในพื้นที่อีกด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรพืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ของแต่ละท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของป่าใน

พื้นที่นั้นๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเก็บรักษาพรรณไม้ และพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ แต่อาจมีศักยภาพใน เชิ ง เศรษฐกิ จในอนาคต และเก็ บ รั ก ษาประชากรพื ช ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะพิ เ ศษสำหรั บ การปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาต่ อไปใน อนาคต แต่ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลใดก็ตาม คุณอนันต์ของผืนป่า ย่อมไม่เคยเสื่อมสลาย มีแต่จะทวีประโยชน์และการปกป้อง ผู้ ค นให้ อ ยู่ อ ย่ า งร่ ม เย็ น เป็ น สุ ข ตามวั น และเวลาที่ เ พิ่ ม ขึ้ น

ดุจเดียวกับน้ำพระทัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ ไ ด้ ริ น รดให้ ค วามผาสุ ก แก่ ทั้ ง ผื น ป่ า และราษฎรของ พระองค์ ม าอย่ า งยาวนาน นั บ เป็ น พระมหากรุ ณาธิ คุ ณ ที่

คนไทยผู้รับสนองพระราชดำริในการผดุงรักษาป่าไม้ทุกคน ต้องจดจำและดำเนินรอยตามพระปณิธานอันดีงามนี้สืบต่อไป ชั่วกาลนาน



อากาศหนาวเย็นและไม้ดอกสีสันงดงามแปลกตาในป่า บนภูสูงที่ชุ่มชื้น คือเอกลักษณ์ของป่าภาคเหนือ ของประเทศไทย และเป็นถิ่นกำเนิดของพรรณไม้หายาก หลากชนิดที่ผลิบานเมื่อใดก็ละลานตาเมื่อนั้น


32

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กระเจาะ Millettia kangensis Craib

ชื่ออื่น ขะเจาะ ขะเจาะน้ำ

ท่ามกลางความหลากหลายของป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนื อ ตอนบนของประเทศ ยั ง มี พ รรณไม้

ชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นอยู่บริเวณริมลำธาร ออกดอกสีชมพู อมม่วงสดใสในช่วงปลายฤดูหนาว และสะพรั่งบานอวดช่อ ดอกอันงดงามละลานตาไปจนถึงเดือนเมษายน นามว่า กระเจาะ ไม้ ป่ า หายากติ ด อั น ดั บ ต้ น ๆ ชนิ ด หนึ่ ง ของ เมืองไทย ซึ่งในปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เปลี่ยนฐานะ เป็ น ไม้ ป ระดั บ ปลู ก ตามรี ส อร์ ต และสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นและทรงพุ่มที่สวยงาม ไม่แพ้ไม้ประดับชนิดอื่น

กระเจาะเป็นพรรณไม้ที่อยู่ในวงศ์ถั่ว มีการสำรวจ พบครั้งแรกโดยหมอคาร์ นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช

ซึ่ ง เข้ า มาทำงานสำรวจพรรณไม้ ใ นเมื อ งไทยสมั ย

รัชกาลที่ 6 ที่ลำน้ำแม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัด เชียงใหม่ ที่ ร ะดั บ ความสู ง 300 ม. คำระบุ ช นิ ด ของ พรรณไม้ ช นิ ด นี้ จึ ง ตั้ ง ขึ้ น ตามสถานที่ ที่ ค้ น พบว่ า kangensis อันหมายถึง “พบที่กาง” ซึ่งออกเสียงเพี้ยน มาจากคำว่า “กลาง” หรือลำน้ำแม่กลางนั่นเอง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

33

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 15-18 ม. แต่อาจ ออกดอกเป็นช่อ สีชมพูอมม่วง สู ง ได้ ถึ ง 20 ม. เรื อ นยอดค่ อ นข้ า งกลมหรื อ ทรง กระบอก เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ กระพี้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลดำ ใบ ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่มคล้ายไหม ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 7-9 ใบ ใบแก่มีขนทั้งสองด้าน ช่อดอกแยกแขนง ดอก ออกดอกเป็นช่อ สีชมพูอมม่วง ยาว 2-2.5 ซม. กลีบดอกด้านนอกมีขนยาวเป็นมัน ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. เมล็ด แบน กลมมน สีน้ำตาลเข้ม กว้างและยาว

1-1.2 ซม. ด้วยวิสัยที่กำเนิดอยู่ริมแม่น้ำลำธาร ชาวบ้านจึง การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ควรส่งเสริมให้มี เรี ย กพรรณไม้ ช นิ ด นี้ อี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า “ขะเจาะน้ ำ ”

กระเจาะเป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ค่อนข้างรวดเร็ว การนำไปปลูกริมลำธารแต่ละพื้น ที่ ในภาคเหนือ เพื่อ เพราะอาศั ย อยู่ ใ นบริ เ วณที่ ชื้ น แฉะ และความชื้ น สู ง เป็นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ เวลาที่กระเจาะผลิดอกและติดฝัก ฝักแก่จะแตกออก แล้ ว ทิ้ ง เมล็ ด ร่ ว งลงสู่ ล ำธาร ปล่ อ ยให้ ส ายน้ ำ พั ด พา เมล็ดไปขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่อยู่ต่ำลงมา กลายเป็นพืช ที่สร้างสีสันอันสวยงามได้ตลอดลำน้ำ ด้านประโยชน์ของกระเจาะ ชาวบ้านที่อิงอาศัยอยู่

กับป่า รู้จักนำเปลือกของกระเจาะมาใช้ย้อมผ้ากันเป็น

เวลานานแล้ว เปลือกของกระเจาะยังมีสรรพคุณเป็น

สมุ น ไพร นำมาเข้ า ยาแก้ ซ างตามตำรั บ ยาพื้ น บ้ า น

อีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูกกระเจาะเป็น ไม้ประดับในหลายพื้นที่ และเชื่อกันว่า ในอีกไม่ช้า ไม้ป่า เมืองเหนือที่เคยซ่อนตัวอยู่ตามขุนเขาอย่างกระเจาะนี้ จะอวดโฉมให้คนไทยได้เห็นกันอย่างแพร่หลาย


34

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กาสะลองคำ Radermachera ignea (Kurz) Steenis

ชื่ออื่น กากี สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ปีบทอง

กาสะลองคำ หรือปีบทอง เป็นพรรณไม้พระราชทาน เพื่ อ ปลู ก เป็ นไม้ ม งคลของจั ง หวั ด เชี ย งราย และเป็ น พรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ เชี ย งราย เรี ย กว่ า กาสะลองคำ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ ปีบทอง กาสะลองคำ เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Bignoniaceae ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทาง ภาคเหนือ ส่วนในต่างประเทศ พบตั้งแต่พม่าตอนใต้ เรื่อยไปถึงเกาะไหหลำในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ลั ก ษณะเด่ น อย่ า งหนึ่ ง ของกาสะลองคำ คื อ เป็ น

พรรณไม้ เ บิ ก นำเพื่ อ เพิ่ ม ความชุ่ ม ชื้ น ให้ แ ก่ พื้ น ที่ จึ ง สามารถปลู กได้ ใ นพื้ น ที่ ที่ ค่ อ นข้ า งแห้ ง แล้ ง หรื อ พื้ น ที่

ซึ่ ง ปลู ก พรรณไม้ อื่ น ๆ ไม่ ค่ อ ยเจริ ญ เติ บ โต เมื่ อ ต้ น

กาสะลองคำเจริญเติบโตได้ประมาณ 1-2 ปี ก็ไม่มีความ จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งรดน้ ำ เพิ่ ม เติ ม อาศั ย เพี ย งน้ ำ ตาม ธรรมชาติก็เพียงพอในการเจริญเติบโต ปัจจุบันจึงมีคน ให้ความสนใจนำมาปลูกขยายพันธุ์มากขึ้น โดยสามารถ ปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ ตามอาคารบ้ า นเรื อ น สถานที่ ราชการ ริมถนน ริมสระน้ำ และเป็นไม้สมุนไพรไว้ ใช้ ในชีวิตประจำวันของผู้คนในชนบท


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

35

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6-20 ม. เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง ตามลำต้ น และกิ่ ง ก้ า นจะมี ช่ อ งหายใจกระจายอยู่ เปลือกต้นเรียบสีเทา เรือนยอดทึบแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย 2-5 คู่ แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่แกม การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากต้นกาสะลองคำ รูป ใบหอก หรือขอบขนานแกมรูป ใบหอก กว้าง 2-5 สามารถนำไปเป็ น สมุ นไพรได้ ตั้ ง แต่ ส่ ว นลำต้ น โดย ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบ นำไปผสมกับสมุนไพรอื่นๆ ฝนน้ำกินแก้ซาง เปลือกต้น แหลม ขอบใบเรียบ ยั ง สามารถต้ ม น้ ำ ดื่ ม แก้ ท้ อ งเสี ย ใบตำคั้ น น้ ำ ทาหรื อ ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกดอกเป็นช่อ พอกใช้รักษาแผลสด แผลถลอก และห้ามเลือดได้ดี ตามกิ่งและลำต้น ช่อละ 5-10 ดอก ทยอยบาน โคน ใครที่อยากชื่นชมความงามของดอกกาสะลองคำ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4-7 ซม. ปลายเป็น สามารถหาชมได้ตามป่าเขาหินปูนในภาคเหนือช่วงเดือน แฉกสั้นๆ 5 แฉก มกราคมถึงเมษายน จะทยอยเห็นความงามในแต่ละ ผล เป็ น ฝั ก ยาว 26-40 ซม. ไม่ มี ข นปกคลุ ม ช่วงตั้งแต่ผลัดใบ แล้วผลิดอกตามมา ส่วนผู้ต้องการ เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก และบิดงอ ภายในฝักมีเมล็ด เห็ น กาสะลองคำปลู ก เป็ น แถวเป็ น แนว เป็ น ระเบี ย บ ขนาด 2-13 มม. สวยงาม ออกดอกสีเหลืองส้มพรูเต็มต้น กระจายเต็ม เมล็ด แบน มีปีกเป็นเยื่อบางๆ สีขาว ทั่ ว พื้ น ที่ ก็ จ ะต้ อ งเข้ า ไปเยื อ นมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งราย ในจั ง หวั ด เชี ย งราย หรื อ มหาวิ ท ยาลั ย การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เทคโนโลยี สุ ร นารี ในจั ง หวั ด นครราชสี ม าในช่ ว งที่

กาสะลองคำบาน ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกไว้ชื่นชมเป็นการ ดอกสีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ส่วนตัว ก็สามารถปลูกให้เจริญเติบโตสวยงามได้ ไ ม่ ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งและลำต้น ยากนัก ซึ่งมีเทคนิคพิเศษเป็นเคล็ดลับก็คือ จะต้องปลูก กลางแจ้งให้มีระยะห่างจากต้นไม้อื่นอย่างน้อย 5 ม.

จะต้องปักหลักผูกยึดให้ลำต้นตั้งตรง และคอยตัดแต่ง กิ่งให้แตกออกรอบลำต้นในลักษณะมีสมดุล มิฉะนั้นต้น กาสะลองคำจะมี กิ่ ง ยาวมากแล้วฉีกหัก หรือมีลำต้น เอียงแล้วล้มไม่สวยงาม


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

36

กุ หลาบขาวเชียงดาว

เกสรสีเหลือง

Rhododendron ludwigianum Hoss.

ชื่ออื่น คำขาว

ธรรมชาตินั้นช่างเสกสรรปั้นแต่ง และก่อกำเนิด

ความงามอันน่าอัศจรรย์อยู่เสมอ ใครเลยจะคิดว่าบน ยอดเขาหินปูนที่แห้งแล้งและแทบจะหาชั้นดินไม่ ได้เลย อย่างยอดดอยเชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ กลับเป็น แหล่งกำเนิดของกุหลาบป่าที่งดงามที่สุดชนิดหนึ่ง ที่

ชาวดอยเรี ย กขานกั น ว่ า คำขาว หรื อ กุ ห ลาบขาว เชียงดาว ซึ่งเป็นกุหลาบป่าชนิดที่หายากที่สุดและมีดอก ขนาดใหญ่ที่สุดของไทย

กลีบดอก 5 กลีบ ค่อนข้างกลม

กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวนั บ เป็ น กุ ห ลาบป่ า ที่ มี คุณสมบัติทรหดอดทน ด้วยถือกำเนิดบนยอดเขาหินปูน ที่แห้งแล้งบนที่โล่งตามหน้าผาหรือตามซอกหินที่มีชั้น อิน ทรียวัตถุทับถม อีกทั้งยังต้องทนต่อความร้อนแรง ของแสงอาทิ ต ย์ แ ละกระแสลมที่ ผั น ผวนอยู่ ทุ ก เมื่ อ

เชื่ อ วั น กระนั้ น ก็ ต าม ธรรมชาติ ก็ ไ ด้ ส รรค์ ส ร้ า งให้ กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวเป็ น ดอกไม้ ที่ ส วยงามราวกั บ ดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งถือกำเนิดอยู่บนยอดเขา

ที่ สู ง “เพี ย งดาว” แต่ ง แต้ ม ความสดชื่ น มี ชี วิ ต ชี ว า

ให้แก่ขุนเขา รอการมาเยือนของผู้เดินทาง กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวเป็ น พรรณไม้ ในวงศ์ Ericaceae ในสกุลกุหลาบป่า (Rhododendron) เช่น เดี ย วกั บ กุ ห ลาบพั น ปี มี ลั ก ษณะเป็ นไม้ พุ่ ม ไม่ ผ ลั ดใบ ลำต้ น แตกกิ่ ง มาก กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวจั ด เป็ น พื ช

ถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขาหิน ปูนดอยเชียงดาว

ที่ระดับความสูง 1,800-2,190 ม. ปัจจุบันอยู่ ในสภาพ ใกล้ สู ญ พั น ธุ์ จึ ง ควรช่ ว ยกั น อนุ รั ก ษ์ ไ ว้ ใ นถิ่ น กำเนิ ด เดิ ม


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

37

ด้ ว ยการประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ เ ป็ น พรรณไม้ ส่ ง เสริ ม การ

ท่องเที่ยวรวมทั้งต้องช่วยกันปกปักรักษา ด้วยการป้องกัน

ไฟไหม้ ป้ อ งกั น การบุ ก รุ ก ทำลาย และป้ อ งกั น การ ชะล้างจากน้ำฝน รวมทั้งช่วยกันขยายพันธุ์ ให้มีจำนวน ต้นเพิ่มมากขึ้นบนพื้นที่ระดับสูงอื่นๆ ของดอยเชียงดาว ด้วยการเก็บผลแก่ แล้วนำเมล็ดไปโรยในพื้นที่เหมาะสม เพื่อให้เมล็ดงอกตามธรรมชาติ กลายเป็นกุหลาบแสนสวย แห่งดอยเชียงดาว ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มอิงอาศัย สูง 1.5-3 ม. ตามลำต้นและกิ่งคดงอ แตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มกลมแน่นและเตี้ย ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง

รูปรีแกมรูปไข่กลับ ยาว 3-8 ซม. ปลายใบแหลมหรือ มนเป็นติ่งสั้น ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็น มัน ด้านล่าง

มีเกล็ดสีน้ำตาล ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งช่อละ 2-3 ดอก ดอกตูมสีขาวอมชมพู เมื่อบานมีกลีบดอก 5 กลีบ ค่อน ข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. ออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกยาว 2-3 ซม. ผิวแห้งแข็ง เป็นตุ่มขรุขระ มีเกล็ดปกคลุม แก่จัด แตกเป็น 5-6 เสี่ยง เมล็ด ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปร่างแบน มีปีก

บางใสล้อมรอบ การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการงอกจากเมล็ด


38

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กุหลาบพันปี

Rhododendron arboreum Sm. subsp. delavayi (Franch.) Chamb.

ชื่ออื่น คำแดง

ในช่วงฤดูหนาว บรรดากุหลาบป่าที่แฝงพุ่มอยู่ตาม ยอดดอยสูงทางภาคเหนือ จะพากันแย้มกลีบบานเพื่อ เผยให้เห็นความงดงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ไว้อย่าง น่ า อั ศ จรรย์ โดยเฉพาะกุหลาบป่าสีแดงสดที่ชาวดอย

เรียกขานว่า “กุหลาบพันปี” จะพร้อมใจกันออกดอกสีแดง เจิดจ้าสวยงามเพิ่มสีสันให้แก่พงไพร ดึงดูดนักท่องเที่ยว

ผู้ ห ลงใหลธรรมชาติ ใ ห้ ดั้ น ด้ น เดิ น ทางมาเยี่ ย มชม

แม้จะต้องบุกป่าฝ่าดงขึ้นมาจนถึงยอดดอย

กุหลาบพัน ปี เป็น พรรณไม้ ในวงศ์ Ericaceae ซึ่ งไม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กุ ห ลาบที่ เ รารู้ จั ก กั น ซึ่ ง อยู่ ใ นวงศ์ Rosaceae กุหลาบพันปีเป็นพรรณไม้ในสกุลกุหลาบป่า Rhododendron ซึ่งหากมองดูเผินๆ คล้ายพุ่มกุหลาบ คนจึงนิยมเรียกกันว่ากุหลาบป่า คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีก คือ rhodo ซึ่ ง แปลว่ า กุ ห ลาบ และ dendron ซึ่งแปลว่า ต้นไม้ ส่วนที่เรียกกุหลาบป่าชนิดนี้ ว่ากุหลาบพันปีนั้นเป็นเพราะลำต้นมีมอสปกคลุมจนดู คล้ายมีอายุเป็นพันปี


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

39

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. เปลื อ กต้ น

สีน้ำตาลอมแดงเข้ม หลุดออกเป็นแผ่นได้ ใบ เป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย งสลั บ รู ป ขอบขนานหรื อ

รูปใบหอก ยาว 7-15.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเรียว สอบหรือมน แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดขุยและขนสีขาวเทา

ดอกออกเป็นช่อแน่น อมสีนำ้ ตาลเหลือง หนาแน่น เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ดอก สี แ ดงออกเป็ น ช่ อ แน่ น เป็ น กระจุ ก ตาม มี 10-20 ดอก ปลายกิ่ ง มี 10-20 ดอก กลี บ เลี้ ย งและกลี บ ดอก

มีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกติดเป็นหลอดคล้าย รูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกเกือบกลม ผล แบบแคปซูล รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-3 ซม. เมล็ด ขนาดเล็กจำนวนมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ กุหลาบพันปีเป็นไม้ตน้ ขนาดเล็กทีม่ ลี ำต้นและกิ่งก้าน การขยายพันธุ์ คดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้ ขยายพั นธุ์โดยการเพาะเมล็ด ควรส่ งเสริม ให้ ขึ้นอยู่บนพื้นที่ชุ่มชื้น สันเขา หรือหน้าผา ที่ระดับความ ปลูกในพื้น ที่อนุรักษ์ ในระดับสูง ตามอุทยานแห่งชาติ สูง 1,600-2,500 ม. ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หน่วยพัฒนาต้นน้ำ เนื่องจากเป็น

อุ ท ยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และ พรรณไม้ที่ต้องการอากาศหนาวเย็น อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย ในต่างประเทศ พบได้ที่เนปาล ภูฏาน พม่า และจีนในมณฑลยูน นาน และกุ้ยโจ้ว กุหลาบพัน ปีถือเป็นราชินีแห่งเทือกเขาหิมาลัย

ชาวเนปาลยกย่องให้ดอกไม้ชนิดนี้เป็นดอกไม้ประจำ ชาติ ซึง่ ผูกพันอยูก่ บั วิถชี วี ติ ของชาวหิมาลัยมาอย่างช้านาน ชาวเนปาลนิยมนำไม้ชนิดนี้มาทำเชื้อฟืนสำหรับหุงต้ม อาหารและสร้างความอบอุน่ ภายในทีพ่ กั อาศัย สำหรับบ้านเรา กุหลาบพันปีถอื เป็นพรรณไม้หายาก

ที่มีการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย จึงควรส่งเสริมให้มี การปลูกอย่างกว้างขวางในพื้นที่อนุรักษ์ระดับสูงตาม อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ต่ า งๆ เพื่ อให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ สำคัญประจำภูมิภาค


40

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ขมิ ้ น ต้ น Mahonia duclouxiana Gagnep.

ชื่อพ้อง Mahonia siamensis Takeda ex Craib ชื่ออื่น –

ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่

หรือรูปใบหอก

ก่ อ นหน้ า นี้ ขมิ้ น ต้ น เป็ น พรรณไม้ ที่ ไ ด้ รั บ การ กล่าวขวัญในฐานะที่เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ดังที่ ได้เคยมีการตั้งชื่อระบุชนิดของพรรณไม้นี้ว่า siamensis อั น เป็ น การบ่ ง บอกถึ ง แหล่ ง ที่ ม าของขมิ้ น ต้ น ว่ า เป็ น พรรณไม้ ที่ มี ก ารค้ น พบเป็ น ครั้ ง แรกในประเทศไทย กระนั้นก็ดี ขมิ้นต้นก็ยังนับเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าของ ในแง่ พ รรณไม้ ส มุ นไพรที่ มี ก ารใช้ กั น อย่ า งกว้ า งขวางมา

ไทย ไม่ ว่ าในแง่ ข องการเป็ น พรรณไม้ ด อกหอมที่ ไ ด้ ตั้งแต่ครั้งอดีต อีกทั้งยังปรากฏอยู่ในภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่ระดับสูง หรือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ชื่อ “เทพธิดาขมิ้นต้น” ซึ่ ง เป็ น ภาพที่ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยาม-

บรมราชกุมารี ทรงแย้มพระสรวลอยู่ท่ามกลางดอก ขมิ้นต้นที่ชูช่อเหลืองอร่ามอย่างพระเกษมสำราญ ขมิ้ น ต้ น เป็ น พรรณไม้ ที่ แ ตกแต่ กิ่ ง ยาวหรื อ ที่

เรียกว่ากิ่งกระโดง จึงมองเห็นเป็นพุ่มโปร่ง ตามลำต้น มี เ ปลื อ กแตกเป็ น ร่ อ งลึ ก อั น บ่ ง บอกได้ ว่ า เป็ น พื ช

พื้นเมืองที่ทนแล้งทนลมหนาวได้อย่างทรหด ส่วนใบ

มีลักษณะหนาและแข็ง ปลายใบมีหนามแหลม ซึ่งแสดง ถึงการปรั บ ตั วให้ อ ยู่ ร อดได้ ใ นภู มิ ป ระเทศและสภาพ อากาศที่ทารุณ และเพื่อปกป้องตนเองจากสัตว์ป่าพวก กระต่าย รวมทั้งสัตว์เลี้ยงจำพวกแพะและวัวของชาวไทย ภูเขาไม่ให้มากัดกินหรือทำลายต้นให้เสียหาย ขมิ้ น ต้ น เป็ น พรรณไม้ ที่ อ อกดอกสี เ หลื อ งสดใส ดอกอันบอบบางทยอยบานทั้งช่อ แต่เพียงแค่วันเดียวก็ ร่วงโรย ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ในเวลากลางวัน และหอมแรง ในช่วงพลบค่ำ ในฤดูหนาวที่อากาศเย็นสดชื่น ขมิ้นต้น จะชูช่อไสวหยอกล้อลมหนาวที่พัดผ่านมาในช่วงเดือน มกราคมไปจนถึงเดือนมีนาคม


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

41

ขมิ้นต้นเป็นพรรณไม้อยู่ ในวงศ์ Berberidaceae มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย จีนตอนใต้ และ พม่า ในไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยสุเทพ และดอย เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นในป่าดิบเขา หรือตามที่ โล่ ง บนเขาหิ น ปู น ระดั บ ความสู ง 1,000-2,200 ม.

ในต่างประเทศพบในระดับความสูงจนถึง 2,800 ม. พรรณไม้ชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร เปลือกรากใช้ แก้ ไข้อีดำอีแดง แก้ท้องเสีย ตาเจ็บ และช่วยให้เจริญ อาหาร ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งเป็นลำยาว เปลือกแตกเป็นร่องลึก ดอก สีเหลือง กลีบเลี้ยงยาว 3-8 มม. กลีบดอก ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 20-70 ซม. ใบย่ อ ยมี 4-9 คู่ เป็ น รู ป ขอบขนานแกมรู ป ไข่ ห รื อ บางสีเหลืองรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 6-7 มม. ที่โคน รูปใบหอก ยาว 4-15 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวยาว กลีบมีต่อมชัดเจน ปลายมนหยักเว้า โคนใบกลม เบี้ยว ขอบใบจักซี่ฟันห่างๆ ไม่มีก้านใบย่อย ผล เป็นผลกลม มีเนื้อหลายเมล็ด สุกสีม่วงเข้ม ช่อดอกมี 4-15 ช่อ ยาว 8-30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มม. มีนวลฉาบอยู่ เมล็ด สีขาวหม่น กลมขนาด 3 มม. มี 1 เมล็ด การขยายพันธุ์ ควรทำการอนุรักษ์ขมิ้นต้นด้วยการร่วมมือกันปกปัก รักษาต้นที่มีอยู่ ในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติให้เจริญเติบโต เป็นต้นแม่พันธุ์ ออกดอกและติดผล สามารถขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และควรทำการขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ ด เก็ บ ผลแก่ น ำเมล็ ด มาเพาะแล้ ว

ส่ ง เสริ ม ให้ ป ลู ก ในแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว แหล่ ง พั ก ผ่ อ น สำนักงานและเขตอนุรักษ์ ในพื้น ที่ระดับสูงที่มีอากาศ หนาวเย็ น นอกพื้ น ที่ ถิ่ น กำเนิ ด เดิ ม จึ ง นั บ เป็ น การ อนุรักษ์ขมิ้นต้นได้โดยสมบูรณ์ ทั้งในพื้นที่ถิ่นกำเนิดเดิม และในแหล่งใหม่ที่มีสภาพอากาศคล้ายคลึงกัน


42

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

คำมอกหลวง Gardenia sootepensis Hutch.

ชื่ออื่น ไข่เน่า คำมอกช้าง ยางมอกใหญ่

พรรณไม้ ใ นสกุ ล พุ ด หรื อ Gardenia เป็ น พื ช

สมุนไพรที่มีความสำคัญในแพทย์แผนจีน มานานกว่า พัน ปีแล้ว สำหรับประเทศไทยมีพรรณไม้ ในสกุลนี้อยู่

ไม่ถึง 10 ชนิด แต่ละชนิดล้วนมีสรรพคุณในทางยาและ ใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาช้านานเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ คำมอกหลวง ไม้ต้นขนาดเล็กที่พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ตามป่า เต็งรัง หรือป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 200-800 ม. ตำรั บ ยาพื้ น บ้ า นล้ า นนานำเมล็ ด เคี่ ย วกั บ น้ ำ ผสมเป็ น

ยาสระผมฆ่าเหา ปัจจุบันนักวิจัยกำลังศึกษาเรื่องความ เป็ น พิ ษ ต่ อ เซลล์ ม ะเร็ ง ปากมดลู ก ซึ่ ง คาดว่ า จะมี ประโยชน์ต่อการบำบัดมะเร็งชนิดนี้ในอนาคต

คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของคำมอกหลวงคือ มีการนำมาใช้เป็นไม้ประดับได้อย่างสวยงาม ต้นที่ปลูกอยู่กลางแจ้ง ห่างจากต้นไม้อื่นๆ จะมีทรงพุ่มที่ กลมแน่น และออกดอกเหลืองอร่ามได้เต็มทรงพุ่ม จึง ได้รับความนิยมนำมาปลูกตามสนามกอล์ฟ หรือตาม สวนที่มีพื้นที่กว้างขวาง ในปัจจุบัน มีการคัดเลือกพันธุ์

ที่มีต้นเตี้ย ดอกใหญ่ สีเข้มสดใส ออกดอกตลอดปีและ มีกลิ่นหอมแรง แล้วขยายพันธุ์โดยการตอน ทาบกิ่งหรือ


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

เสียบกิ่ง ทำให้ต้นขนาดเล็กออกดอกได้ จึงได้รับความ นิยมปลูกเป็นไม้ดอกกระถางและไม้ประดับตามบ้าน

กันมากขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้นำดอกคำมอกหลวง มาสกัดเป็น น้ำมัน หอมระเหยเพื่อใช้ประโยชน์ ในทาง สุคนธบำบัดอีกด้วย คำมอกหลวงเป็นพรรณไม้ที่ ได้รับการสำรวจพบ ครั้ ง แรกโดยหมอคาร์ นั ก พฤกษศาสตร์ ช าวไอริ ช

บนดอยสุ เ ทพที่ ร ะดั บ ความสู ง 750 ม. คำระบุ ช นิ ด sootepensis ของพรรณไม้ ช นิ ด นี้ จึ ง ตั้ ง ตามสถานที่

ที่ค้น พบครั้งแรก และมีรายงานการตั้งชื่อในปี 2454

คำมอกหลวงเป็นภาษาคำเมือง แปลว่าดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่ (คำ แปลว่า สีเหลือง มอก แปลว่า ดอกไม้ หลวง แปลว่า ใหญ่) แต่มีคำเรียกขานตามภาษาพื้นเมือง ในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป เช่น นครพนมเรียกว่า ไข่เน่า นครราชสีมาเรียกว่ายางมอกใหญ่ เป็นต้น

43 ผลสีเขียวสด รูปไข่มีติ่งที่ปลาย

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ผลัดใบ สูง 7-15 ม. เรือนยอดกลม โปร่ง หรือแผ่กว้าง ลำต้นบิดงอ เปลือกต้นสีครีมอ่อน หรือเทา ค่อนข้างเรียบหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบ ขนาน กว้าง 4-15 ซม. ยาว 9-28 ซม. ใบอ่อนสีชมพู อ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านข้าง มีขนละเอียด ผิวใบสากคาย ดอก เป็นดอกขนาดใหญ่สีขาว แล้วเปลี่ยนเป็น

สี เ หลื อ งทอง ออกที่ ซ อกใบ โคนกลี บ ดอกเชื่ อ มเป็ น หลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลิ่นหอม เส้นผ่าศู น ย์ ก ลางของดอก 5.5-7 ซม. ออกดอกราวเดื อ น กุมภาพันธ์ถึงเมษายน ผล สีเขียวสด รูป ไข่มีติ่งที่ปลาย มีขนาดกว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.2-4 ซม. เมล็ด มีขนาดเล็กจำนวนมาก การขยายพันธุ์ มีการนำผลแก่มาเพาะเมล็ดให้งอกเป็นต้นกล้า สามารถนำไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วประเทศ ต้นกล้า แข็งแรง มีระบบรากแก้วจึงทนทานต่อความแห้งแล้ง

ได้ดี ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมี

ดอกสวยงามและมีกลิ่น หอม เท่ากับเป็นการช่วยกัน อนุรักษ์คำมอกหลวงได้เป็นอย่างดี


44

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

งิ ้วป่า Bombax ceiba L.

ชื่ออื่น งิ้วบ้าน งิ้วแดง งิ้วปงแดง

ช่ ว งเดื อ นธั น วาคมถึ ง มกราคม เป็ น ช่ ว งเวลา

ที่ดอกงิ้วเริ่มผลิกลีบสีส้มแดงค่อยๆ บานออกมาเต็มช่อ กระจุกอยู่ตามปลายกิ่ง เมื่อตัดกับสีฟ้าใสของท้องฟ้า

ในหน้าหนาว จึงกลายเป็นภาพความประทับใจที่บรรดา นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ ไปชื่นชมพรรณไม้อดที่จะถ่ายภาพ เก็บไว้เป็น ที่ระลึกไม่ ได้ หรือแม้กระทั่งช่วงที่ดอกงิ้ว

ร่วงหล่นเรียงรายบนพื้นดิน ก็เป็น ภาพความสวยงาม

ที่ น่ า จดจำ หลั ง จากนั้ น งิ้ ว ป่ า จะติ ด ผล เป็ น ผลกลมรี คล้ายฝักนุ่น ภายในมีเมล็ดสีดำหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว พอผลแก่แล้วฝักจะแตก ปลดปล่อยให้เมล็ดปลิวลอยไป ตามลม ไปงอกในที่ห่างจากต้นแม่

งิ้ ว ป่ า เ ป็ นไ ม้ ต้ น ข นา ดใ ห ญ่ อ ยู่ ใ น ว ง ศ์ Bombacaceae มักพบในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณแล้ง เป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดดจัด และขึ้นได้ดีในดิน ร่วนปนทราย เนื้อไม้อ่อนจึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ลำต้นตรง โคนลำต้นใหญ่ และมีพูพอน มักแตกกิ่งรอบ ลำต้นเป็นช่วงๆ คล้ายฉัตร เป็นลักษณะเด่น ที่เห็นได้ ชัดเจนเมื่อขึ้นอยู่รวมกับพรรณไม้อื่นในป่าเบญจพรรณ แล้ง ถึงแม้ว่าจะอยู่ ในช่วงผลัดใบที่มีแต่กิ่งก้านก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ออกดอกแล้ว จะสะดุดตา โดดเด่ น กว่ า พรรณไม้ อื่ น จึ ง เริ่ ม มี ก ารปลู ก เป็ น ไม้ ประดับริมทางหลวงบางสาย เช่น ในภาคเหนือตอนล่าง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

ดอกออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกระจุก ตามปลายกิ่ง 3-5 ดอก ไม่มีก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วย สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ

งิ้ ว ป่ า เป็ น อี ก หนึ่ ง พรรณไม้ ที่ มี คุ ณ ประโยชน์ มหาศาล ชาวบ้านมักเก็บดอกงิ้วแล้วเอาเกสรตัวผู้ที่มี ลักษณะเป็นเส้นใสเหนียวๆ นำมาร้อยเป็นพวงหรือวาง ใส่กระด้งไม้ ไผ่เพื่อความสะดวกในการตากเก็บไว้กิน ตลอดปี โดยลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ มีทั้งนำไปทำ อาหาร ด้วยการนำดอกงิ้วไปใส่ ในแกงแคและน้ำเงี้ยว รั บ ประทานร่ ว มกั บ ขนมจี น หรื อ ถ้ า เป็ น ดอกสด ก็ สามารถนำมาต้มจิ้มน้ำพริกกินได้ ในตำรับยาจีน มีการใช้ดอกในสภาพดอกแห้ง โดยตากแดดหรืออบ จะมีรสหวาน จืด เย็น สามารถนำ ไปใช้ ใ นทางยามี ส รรพคุ ณ ลดไข้ ขั บ ไล่ ค วามชื้ น ถอนพิษ และใช้ ในกรณีเป็น บิด โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้ อั ก เสบ ปอดร้ อ น และไอ เกสรดอกงิ้ ว ยั ง มี สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย ดังนั้นหากนำมาปรุง เป็นอาหารตามฤดูกาลในช่วงที่เริ่มออกดอกหรือช่วงที่ เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ย่อมเป็นสมุนไพรชั้นดีที่เหมาะสำหรับ ปรับธาตุในร่างกาย ปัจจุบันจึงควรเร่งทำการขยายพันธุ์ งิ้วป่าให้มีการปลูกแพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้สามารถ

นำมาวิเคราะห์ถึงคุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ ใน ทางสมุนไพรต่อไป

45

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดใหญ่ ผลั ดใบ สู ง 20-30 ม. ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม ลำต้นตรง และแตกกิ่งก้าน ในแนวตั้งฉากกับลำต้น เรือนยอดแผ่กว้าง ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายใบแหลม ขอบ ใบเรียบ โคนใบสอบ ก้านใบยาว ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่

สีเขียวเข้มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนหลุดร่วง ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกระจุกตามปลาย กิ่ง 3-5 ดอก ไม่มีก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วย สี เ ขี ย ว กลี บ ดอก 5 กลี บ ส่ ว นใหญ่ สี แ ดง สี ส้ ม แต่

สีเหลืองจะมีน้อยมาก กลีบรูปขอบขนาน แต่ละกลีบยาว 5-8 ซม. เมื่อบานเต็มที่ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วน กลับ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลเทา เมื่อ แก่จัดแตกออกเป็นแฉก เมล็ด สีดำ หุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาวจำนวนมาก การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง


46

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปาขาว Magnolia champaca X baillonii

ชื่ออื่น -

ดอกจำปาที่คนส่วนใหญ่รู้จักมักมีสีเหลืองส้ม อย่าง

ที่เราเรียกกันว่าสีจำปา หากแต่ก็มีจำปาชนิดหนึ่งที่ดอกมี

สีขาวนวลแตกต่างจากจำปาทั่วไป เรียกว่า จำปาขาว ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ มีลักษณะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจำปาและจำปีป่า ไม่ว่าจะ

เป็นสีของดอกที่มีสีขาวนวล หรือลักษณะของผลที่เป็น

รูปทรงกระบอกเรียวยาว มีเปลือกผลเชื่อมติดกันเป็นตุ่มๆ จำปาขาวเป็นต้นไม้ที่มีประวัติยาวนานสืบย้อนกลับ

ซึ่ ง เกิ ด จากการผสมกั น ระหว่ า งผลย่ อ ยรู ป ทรงกลม ไปได้ถึงอาณาจักรสุโขทัย กล่าวกันว่า จำปาขาวต้น

ขนาดเล็กของจำปา และผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว ดั้งเดิมซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึงกว่า 700 ปี ปัจจุบันยังคงยืนต้น ตระหง่านอยู่ที่วัดกลางศรีพุทธาราม อำเภอนครไทย

ของจำปีป่า จังหวัดพิษณุโลก ชาวนครไทยเชื่อกันว่า จำปาขาวต้นนี้ เป็นต้นที่ปลูกโดยพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง

ซึ่งปลูกไว้เมื่อครั้งก่อนยกไพร่พลไปตีเมืองสุโขทัยซึ่งอยู่ ภายใต้การปกครองของขอมได้สำเร็จ แล้วสถาปนา ตนเองเป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยตั้งสัตยาธิษ ฐานว่า

ถ้าตีเมืองสุโขทัยได้สำเร็จ ก็ขอให้ต้นจำปาขาวไม่ตาย และออกดอกเป็นสีขาว จากคำอธิษฐานนั้น จำปาขาว

ต้นนี้จึงถือเป็นไม้คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอนครไทย (เมือง บางยางในอดีต) ทุกวันนี้หากใครมีโอกาสได้ ไปเที่ยวชมวัดกลาง-

ศรีพุทธาราม จะพบจำปาขาวต้นนี้ที่ด้านหลังอนุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอิน ทราทิตย์ แม้จะผ่านกาลเวลามาเนิ่น นาน

หลายศตวรรษ หากจำปาขาวต้นนี้ก็ยังคงยืนหยัดอยู่อย่าง มั่ น คง สง่ า งาม ลำต้ น ขนาดใหญ่ วั ด เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง

ที่โคนต้นได้ถึง 1.5 ม. สูงประมาณ 10 ม. เมื่อถึงเวลา ออกดอก จำปาขาวจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว สร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

47

จำปาขาวเป็นพรรณไม้ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) สกุ ล Magnolia สำหรั บ ประเทศไทยพบที่ อ ำเภอ นครไทย จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก และจากการสำรวจพบ

เพิ่มเติมที่จังหวัดเชียงราย ปราจีนบุรี และกาญจนบุรี สำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับ ในปัจจุบันนิยมคัดเลือก พันธุ์ที่ต้นค่อนข้างเล็ก มีดอกดก และออกดอกตลอดปี เปลือกผลเชื่อมติดกัน ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8-10 ม. แต่มีโคน ลำต้นใหญ่ ได้ถึง 1.5 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งจำนวน มากที่ยอด ยอดทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบ ยอดอ่อน และใบอ่อนมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบใบเป็ น คลื่ น เล็ ก น้ อ ย เนื้ อใบบาง แผ่ น ใบด้ า นบน

สีเขียวอ่อนเป็นมันวาว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ดอก เป็ น ดอกเดี่ ย ว ออกตามซอกใบ ดอกบาน

ตั้งขึ้น สีขาวนวลคือมีสีเหลืองอ่อนเกือบขาว แต่บางต้นก็มี

สีขาวล้วนโดยไม่มีสีเหลืองปนเลย เมื่อใกล้โรยกลีบดอกจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากขึ้นใกล้เคียงกับสีของจำปาทั่วไป

มีกลิ่นหอมแรง ดอกอ่อนรูปกระสวย กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 3-4 ซม. กลีบดอกมีจำนวน 12-15 กลีบ กลีบชั้นนอก รูปใบหอกค่อนข้างยาว กลีบชั้นในแคบและสั้นกว่า

ผล เป็ น ผลกลุ่ ม รู ป ทรงกระบอกยาว 6-9 ซม.

ผลย่อย 15-40 ผล ไม่มีก้านผล แต่ละผลค่อนข้างกลม หรือรี ขนาด 1-2 ซม. เปลือกผลหนาและแข็ง ผลอ่อน

สีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน ผลแก่เปลือกผลเชื่อมติดกัน เปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ละผลมีเมล็ดแก่สีแดง 1-4 เมล็ด เมล็ด รูปทรงกลมหรือกลมรี ยาว 8-10 มม. จำปาขาวออกดอกเดือนเมษายนถึงตุลาคม แต่ บางครั้ ง ทยอยออกตลอดปี ผลแก่ เ ดื อ นธั น วาคมถึ ง กุมภาพันธ์ ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกบานตั้งขึ้น สีขาวนวล

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

มีเกษตรกรทำการขยายพันธุ์จำหน่ายและได้รับความนิยม ปลู ก กั น ทั่ วไป นั บ เป็ น วิ ธี ก ารอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมของ

ต้นจำปาขาวได้ดีอีกวิธีหนึ่ง ช่วยให้มีต้นจำปาขาวจำนวน มากสามารถเจริญเติบโตมีชีวิตได้ยืนยาวต่อไป


48

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปี ช้าง Magnolia citrata Noot. & Chalermglin

ชื่ออื่น -

เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ที่คนไทยได้รู้จักกับจำปี

ชนิดใหม่ของโลกที่ชื่อ จำปีช้าง จำปีแสนสวยชนิดหนึ่ง

ซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย และในธรรมชาติมีสภาพเป็น พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของ

คณะวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่ ง ประเทศไทย ซึ่ ง นำที ม โดย ดร.ปิ ย ะ เฉลิ ม กลิ่ น

ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ได้แกะรอยการสำรวจเข้าไปจนพบ

ถิ่นกำเนิดของจำปีชนิดนี้ ช่วยให้จำปีช้างซึ่งไม่มีการ ขยายพั น ธุ์ ต ามธรรมชาติ ม านานกว่ า 50 ปี แ ล้ ว

สามารถขยายพันธุ์ ได้จนมีจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้น และ ปลูกเป็นไม้ประดับที่ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

ไปทั่วประเทศ

จำปีช้างเป็นพรรณไม้ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) สกุล Magnolia พบได้ในบริเวณป่าดิบเขาที่ระดับความสูง

ไม่ต่ำกว่า 1,200 ม. ในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน และเลย สาเหตุที่ ได้ชื่อว่าจำปีช้างนั้นก็เป็นเพราะว่า จำปีชนิดนี้

มีผลขนาดใหญ่ที่ สุดเมื่อเที ยบกั บจำปีช นิดอื่น ในสกุ ล เดี ย วกั น โดยมี ข นาดผลยาว 7-8 ซม. นอกจากนี ้ จำปีช้างยังมีลักษณะเด่นอื่นๆ ต่างจากจำปีทั่วไป เช่น ใบมี รู ป ร่ า งค่ อ นข้ า งกลม ใบใหญ่ แ ละหนาคล้ า ยใบ กระท้อน เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีแดง กลิ่นคล้ายตะไคร้แต่ฉุน กว่า จึงเป็นที่มาของชื่อระบุชนิด citrata ซึ่งหมายถึง ”ตะไคร้” นั่นเอง จำปี ช้ า งต้ น แรกถู ก สำรวจพบบนยอดเขาใน

เขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2533 โดย ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันท์ ซึ่งในสมัยนั้นเข้าใจว่า เป็นจำปีชนิดเดียวกับจำปี ในประเทศจีนที่ชื่อ Michelia tignifera และเรียกชื่อไทยว่าจำปีดง ต่อมาในปี 2541 ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ได้นำพรรณไม้นี้มาตรวจสอบอีกครั้ง ก็พบว่าจำปีช้างเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกซึ่งไม่เคยค้นพบ ที่ ใ ดมาก่ อ น และตั้ ง ชื่ อใหม่ ว่ า Magnolia citrata Noot. & Chalermglin มีการรายงานการตั้งชื่อในปี 2551 นี้เอง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

49

จากพรรณไม้ที่ ไม่สามารถให้กำเนิดลูกหลานมา นานกว่าครึ่งศตวรรษ ปัจจุบัน จำปีช้างสามารถขยาย พันธุ์ได้ด้วยวิธีการทาบกิ่งโดยใช้จำปาเป็นต้นตอ ปลูก เป็นไม้ประดับได้ดี ในพื้น ที่อุทยานแห่งชาติและแหล่ง

พักผ่อน เช่น รีสอร์ตที่อยู่บนพื้นที่ระดับสูง รวมทั้งใน

พื้นที่ราบทั่วไป จำปีช้างส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงใกล้พลบค่ำ มีกลิ่นหอมแรง แต่น่าเสียดายที่ดอกอันบอบบางบานอยู่ เพียงแค่วันเดียวแล้วก็ร่วงโรยในวันถัดไป และออกดอก ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-30 ม. ลำต้น ให้ ผู้ ป ลู ก เลี้ ย งได้ ชื่ น ใจเพี ย งแค่ ช่ ว งเดื อ นเมษายนไป เปลาตรง แตกกิ่งเป็นพุ่มอยู่ที่ยอด เปลือกลำต้นสีเทา จนถึงเดือนพฤษภาคมเท่านั้น อมขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว เนื้อไม้และกิ่งเหนียว เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี ใบ เป็นใบเดี่ยว รูป ไข่ กว้าง 12-18 ซม. ยาว 20-25 ซม. เรี ย งเวี ย นรอบกิ่ ง รู ป รี จ นถึ ง เกื อ บกลม เนื้อใบหนา เหนียว สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีอ่อน กว่า มีเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบนูนเด่น กลีบดอกสีขาวนวล ดอก เป็ น ดอกเดี่ ย วออกที่ ซ อกใบ ดอกตู ม รู ป กระสวย เมื่อแรกแย้มกลีบนอกสุด 3 กลีบจะบานลู่ลง เริ่มส่งกลิ่นหอมแรงตั้งแต่ช่วงเย็น กลีบดอกสีขาวนวล ผลมีขนาดใหญ่ที่สุด 9-12 กลีบ เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 4-5 ซม. ในสกุลจำปี จำปา ใกล้โรยกลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผล เป็นผลกลุ่ม ติดอยู่บนแกนช่อผล มีผลย่อย 5-8 ผล แต่ละผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-7 ซม. ยาว 7-8 ซม. แตกออกเป็น 2 ซีก ดอกตูมรูปกระสวย เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี กว้าง 1.6 ซม. ยาว 1.8 ซม. หนา 4 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยการเสี ย บยอดและทาบกิ่ ง ควร ขยายพั น ธุ์ แ ละปลู ก เพิ่ ม จำนวนต้ น ให้ ม ากขึ้ น ในพื้ น ที่ อนุ รั ก ษ์ ในพื้ น ที่ ร ะดั บ สู ง มี อ ากาศหนาวเย็ น จะเจริ ญ เติบโตและออกดอกได้ดี


50

จำปี รัชนี

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

สำหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วหรื อ ผู้ ส นใจที่ อ ยากชื่ น ชม

ดอกจำปี รัชนี อาจต้องหาโอกาสไปเยือนภาคเหนือ เนื่องจาก Magnolia rajaniana (Craib) Figlar จำปีรัชนีเป็นพรรณไม้หายากที่พบเฉพาะภาคเหนือของ ชื่ออื่น จำปีหลวง ชะแก ไทย ชอบขึ้นตามไหล่เขาบริเวณป่าดิบเขาค่อนข้างโปร่ง จำปีรัชนี หรือจำปีหลวง สำรวจพบครั้งแรกโดย ในระดั บ ความสู ง 900-1,300 ม. ชอบอากาศหนาว

หมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อเดือนพฤษภาคม 2464 จาก เย็นและมีความชื้นสูง ทนทานต่อลมพัดรุนแรงได้ดี จำปี ดอยอิน ทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในป่าดิบเขา ระดับ รั ช นี จ ะออกดอกในช่ ว งเดื อ นเมษายนถึ ง พฤษภาคม ความสูง 1,300 ม. คำระบุชนิด rajaniana ตั้งขึ้นให้ ออกดอกดกพร้อมกันเต็มต้น แล้วกลีบดอกจะร่วงพรู เป็นเกียรติแก่ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เต็มใต้ต้น ส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายไปทั่วแนวป่า พบเห็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ต้นสกุลรัชนี ผู้ทรงกำกับดูแล ได้ง่ายบริเวณใกล้วัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือบริเวณ

กิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ ในยุคบุกเบิกงาน ถ้ำฤาษีที่อยู่ริมถนนบนดอยสุเทพของจังหวัดเชียงใหม่

สำรวจพรรณไม้ ในประเทศไทย มีรายงานการตีพิมพ์ ส่วนผลจะแก่เต็มที่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ดังนั้น ใครที่ ตั้ ง ใจไปชื่ น ชมและหวั ง จะถ่ า ยรู ป เป็ น ที่ ร ะลึ ก

เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อนี้ในปี 2543 จึงต้องไปให้ตรงช่วงเวลาดังกล่าว


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ ดอกขนาดใหญ่กว่าดอกจำปีหรือ จำปา ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ

51 ดอกตูมรูปกระสวย กลีบรวมสีขาวอมเหลือง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 10-13 ซม. ยาว 17-30 ซม. ปลายใบมนหรือตัด โคน ใบหยักเว้า มน หรือกลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้าน ล่ า งมี ข นนุ่ ม ยาวปกคลุ ม หนาแน่ น ใบอ่ อ นนุ่ ม สากมื อ

ใบแก่แข็งกรอบ เส้นแขนงใบและเส้นกลางใบเป็นร่อง ตื้น ที่ด้านบนของใบและเป็นสัน นูน ที่ด้านล่างของใบ

มีรอยหูใบเด่นชัดยาวสามในสี่ของความยาวก้านใบ ดอก ขนาดใหญ่ ก ว่ า ดอกจำปี ห รื อ จำปา ออก เดี่ยวๆ ตามซอกใบ บนกิ่งด้านข้าง มีกลิ่นหอม ดอกตูม รูปกระสวย กลีบรวมสีขาวอมเหลือง ยาว 2.5-3.5 ซม. มี 12-15 กลี บ เรี ย งเป็ น รู ป วง วงละ 3 กลี บ กลี บ ปัจจุบันจำปีรัชนีได้รับการจัดเป็นพืชถิ่นเดียว และ วงนอกกว้างกว่ากลีบวงใน เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่ พืชหายากของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ ในภาค จำนวนมาก แต่ละอันเรียงเวียนสลับบนแกนยาว เหนื อ ตอนบนที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เชี ย งราย ลำพู น ผล ออกเป็นผลกลุ่ม ช่อผลยาว 15-20 ซม. มีผล พะเยา ลำปาง แพร่ น่านและแม่ฮ่องสอน ควรเร่งขยาย ย่อย 12-30 ผล แต่ละผลรูปไข่ค่อนข้างยาว กว้าง 1.5 พันธุ์และอนุรักษ์ด้วยการนำมาปลูกเพื่อให้ร่มเงาและ ซม. ยาว 2-3 ซม. ผิวของผลมีช่องอากาศเป็นจุดนูน

ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน เพื่อให้พ้นจาก สีขาว ผลย่อยแตกตามแนวยาว แต่ละผลมี 1-6 เมล็ด สภาพพืชหายาก มีการเพาะเมล็ดแล้วนำต้นกล้ามาปลูก เมล็ด สีแดงเข้ม รูปรี ยาว 1-1.4 ซม. เป็นไม้ปลูกป่าบนพื้นที่ระดับสูงตามหน่วยพัฒนาต้นน้ำ ของภาคเหนือตอนบน เป็นจำปีที่เจริญเติบโตได้อย่าง การขยายพันธุ์ รวดเร็ว ออกดอกดกและติดผลได้เป็นจำนวนมาก ได้มี โดยการเพาะเมล็ดและทาบกิ่ง สามารถใช้จำปา งานทดลองวิจัยปลูกและบำรุงรักษาจำปีรัชนี ในพื้นราบ เป็นต้นตอทาบกิ่งได้ ติดภายใน 6 สัปดาห์ ที่มีอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดโดยรอบ พบว่าจำปีรัชนีเจริญเติบโตช้า มีกิ่ง แห้งตายมาก และไม่ชอบดินเปรี้ยวจัด ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็น พุ่มกลมทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน หนา มี ก ลิ่ น ฉุ น เฉพาะตั ว เปลื อ กแตกเป็ น ร่ อ งตื้ น ๆ

ตามยาว


52

ชมพู พิมพ์ใจ

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ดอกสีชมพูมีกลิ่นหอม

Luculia gratissima (Wall.) Sweet var. glabra Fukuoka

ชื่ออื่น ชมพูเชียงดาว พิมพ์ใจ

ความมหัศจรรย์ของดอยเชียงดาวคือ เป็นแหล่ง

กำเนิดพืชพรรณกึ่งอัลไพน์ (subalpine) ที่มีความสวยงาม และเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย นอกเหนือจากกุหลาบขาวเชียงดาวที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของดอยสูงแห่งนี้ ชมพูพิมพ์ใจ ก็นับเป็นอีกหนึ่งดาวเด่นของดอยเชียงดาวที่ดึงดูดบรรดา

นักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลมาชื่นชมความมหัศจรรย์ของ

ผื น ป่ า ที่ ถึ ง แม้ จ ะแห้ ง แล้ ง และหยั ด ยื น อยู่ ท่ า มกลาง สายลมกระโชกแรง หากทว่ากลับซุกซ่อนความงดงาม อันบอบบางของดอกไม้ป่าไว้ได้อย่างน่าพิศวง ชมพูพิมพ์ ใจเป็น พรรณไม้ที่สวยทรงเสน่ห์ ดอก สีชมพูกระจิริดออกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มส่งกลิ่น หอม

ชื่นใจ สมดังชื่อระบุชนิด gratissima ซึ่งแปลว่า “น่ารัก

น่าชื่นชม” ชมพูพิมพ์ใจจึงเป็นดอกไม้ที่สร้างความประทับใจ ให้แก่ผู้พบเห็นได้ไม่รู้ลืม ก่อนหน้านี้ ชมพูพิมพ์ ใจมีชื่อ เรียกเพียงสั้นๆ ว่า “พิมพ์ใจ” ซึ่งได้มาจากชื่อของหญิงสาว ในคณะสำรวจ ที่มีรอยยิ้มสดใสน่ารักเหมือนดอกไม้นี้

แต่ต่อมาภายหลังเปลี่ยนมาเรียกว่า ชมพูพิมพ์ ใจ เพื่อ

บ่งบอกถึงลักษณะของสีดอกที่มีสีชมพูเข้มสวยงาม พรรณไม้งามแห่งยอดดอยเชียงดาวชนิดนี้ เป็น

พรรณไม้ในวงศ์ Rubiaceae ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในเขต เทือกเขาหิมาลัย จากเนปาลถึงภูฏานไปจนถึงจีนตอนใต้

ที่ระดับความสูง 1,500-2,000 ม. สำหรับประเทศไทย พบที่ดอยเชียงดาวเพียงแห่งเดียว จึงจัดเป็นพรรณไม้

หายากชนิดหนึ่งของไทย ที่ควรส่งเสริมให้มีการปลูก อนุรักษ์พันธุ์บนพื้นที่ระดับสูง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ พื้นที่และใช้เป็นพรรณไม้ส่งเสริมการท่องเที่ยว


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

53

สำหรับผู้ที่ต้องการชื่นชมความงามและถ่ายภาพ

ชมพูพิมพ์ ใจไว้เป็นที่ระลึกควรเดินทางไปในช่วงเดือน ธั น วาคมถึ ง กุ ม ภาพั น ธ์ ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ ช มพู พิ ม พ์ ใ จ ออกดอกบานสะพรั่ง แต่งแต้มสีสันให้แก่ดอยเชียงดาว นช่อ จนกลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงความงามอย่างยากที่จะหา ออกดอกเป็ ลักษณะเป็นชั้น ลดหลั่นกันเป็นระนาบ พรรณไม้ชนิดใดทัดเทียมได้

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่มสูง 1.5-2 ม. แตกลำต้นในระดับ เหนือผิวดิน แตกกิ่งค่อนข้างมากเป็นพุ่มกลม เปลือก ลำต้นสีม่วงอ่อน ยอดอ่อนสีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่สลับตั้งฉาก รูป ใบหอก โคนและปลายใบแหลม เนื้อใบคล้ายแผ่น หนัง เกลี้ยง หูใบเป็นแผ่นรูปสามเหลี่ยมหลุดร่วงง่าย ดอก มี ด อกสี ช มพู มี ก ลิ่ น หอม ออกเป็ น ช่ อ ลั ก ษณะเป็ น ชั้ น ลดหลั่ น กั น เป็ น ระนาบ มี ด อกย่ อ ย

20-30 ดอก แต่ละดอกมี 5 กลีบ บานวันเดียวแล้วโรย ผล เป็นผลกลม เมื่อแก่แล้วแตกตามยาวเป็นสองซีก เมล็ด มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกเล็กๆ

การขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติมีการขยายพันธุ์โดยงอกจากเมล็ด จึงควรเก็บผลแก่นำเมล็ดไปเพาะในพื้นที่เหมาะสมอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน เพื่อให้มีจำนวนต้นมากขึ้น เพิ่มแหล่งสวยงามให้มีมากขึ้น หรืออาจจะขยายพันธุ์ โดยการปักชำ ปลูกลงแปลงกลางแจ้งในพื้นที่ระดับสูง มีอากาศหนาวเย็น สำหรับเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ เป็น แหล่งธรรมชาติที่มีทัศนียภาพสวยงาม สำหรับส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวขึ้นมาท่องเที่ยวถ่ายรูปที่ระลึก


54

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพู ภูคา Bretschneidera sinensis Hemsl.

ชื่ออื่น -

ดอยภูคาในจังหวัดน่าน เป็นยอดดอยที่สูงที่สุด แห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบาง และเป็นยอดดอยที่สูง เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ยอดดอยแห่งนี้อยู่สูงจาก ระดั บ น้ ำ ทะเลถึ ง 1,980 ม. จึ ง ทำให้ มี ร ะบบนิ เ วศน์

ของพืชพรรณที่หลากหลาย ทั้งป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น รวม ทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำ ของแม่น้ำน่านอีกด้วย และบนยอดดอยภูคาแห่งนี้ก็เป็น แหล่ ง กระจายพั น ธุ์ ข องพรรณไม้ ช นิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น พื ช

หายากและใกล้สูญพันธุ์ที่ชื่อว่า ชมพูภูคา

ชมพูภูคาเป็นไม้ต้นขนาดกลางที่เจริญเติบโตได้ดี ในป่ า ดงดิ บ ตามไหล่ เ ขาสู ง ชั น ที่ ร ะดั บ ความสู ง ตั้ ง แต่ 1,200 ม. ขึ้ น ไป กระจายพั น ธุ์ อ ย่ า งกว้ า งขวางใน

มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน เรื่อยลงมายังตอนเหนือ ของพม่ า และลาว ในปี 2532 ดร.ธวั ช ชั ย สั น ติ สุ ข

ได้ค้น พบชมพูภูคาต้น หนึ่งที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

ซึ่ ง ถื อ เป็ น ถิ่ น ที่ อ ยู่ เ พี ย งแห่ ง เดี ย วของชมพู ภู ค าใน ประเทศไทย ต่ อ มามี ก ารสำรวจพบต้ น ชมพู ภู ค าอี ก หลายต้นที่อีกด้านหนึ่งของดอยภูคา ซึ่งใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ ในการเก็บเมล็ดสำหรับขยายพันธุ์ในปัจจุบัน ชมพูภูคาเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Bretschneideraceae ดอกมีสีชมพูสดใสออกเป็นช่อสวยงามบริเวณปลายกิ่ง เมื่อชมพูภูคาเริ่มบาน ดอกจะชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลมสวย ตามปกติ จ ะออกดอกราวเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง มี นาคม

ซึ่งทางจังหวัดน่านได้จัดให้เป็นเทศกาล “ผ่อดอกชมพูภูคา” หรือเทศกาลชมดอกชมพูภูคา เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว เดินทางไปชมความงดงามและถ่ายภาพพรรณไม้หายาก แห่งยอดดอยภูคาได้อย่างใกล้ชิด


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

55

ด้วยความที่เป็นพรรณไม้ซึ่งมีความสำคัญชนิดหนึ่ง ผล รูปกลมรี ยาว 3-4 ซม. ผนังหนา ก้านผล ของไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช ยาว 2.5-3.5 ซม. กุมารี จึงพระราชทานให้ชมพูภูคาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ เมล็ด กลมรีหรือเกือบกลม ยาว 1.5-2.5 ซม. ในโครงการอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมพื ช อั น เนื่ อ งมาจาก

พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช การขยายพันธุ์ กุมารี และจังหวัดน่านประชาสัมพันธ์ ให้เป็นเอกลักษณ์ จากความพยายามเก็บผลแก่มาเพาะเมล็ด ช่วยให้

มีต้นกล้าจำนวนมากขึ้นแล้วนำไปปลูกในบริเวณอื่นๆ ของ ของจังหวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ดอยภูคาที่มีสภาพภูมิอากาศและความชื้นใกล้เคียงกัน

พบว่ า ต้ น ชมพู ภู ค าเจริ ญ เติ บ โตได้ ดี จึ ง หวั งได้ ว่ าใน อนาคตอั น ใกล้ นี้ จ ะมี ต้ น ชมพู ภู ค าออกดอกสดใสเป็ น แปลงใหญ่หลายแปลงบนดอยภูคา นับเป็น พรรณไม้ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยือน จากการนำต้ น กล้ า ชมพู ภู ค าไปปลู ก บนภู เ ขาใน

เหมืองอีต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี นับว่าเจริญเติบโตได้ดี คาดว่าน่าจะเป็นต้น ที่ออกดอกนอกถิ่นกำเนิดได้อย่างสวยงาม ดอกเป็นช่อยาว สีชมพูเข้ม มีริ้วสีแดง

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-25 ม. เปลือกเรียบสีเทาน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบยาว 30-70 ซม. ใบย่อย 3-9 คู่ ใบรูปรี รูป ใบหอก หรือรูป ไข่แกมรูป ใบหอก ยาว

6-25 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม หรือกลม ดอก ออกเป็นช่อยาว 20-45 ซม. ดอกยาว 3.5-4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. ปลายเป็นแฉกตื้นๆ กลีบดอกสีขาว สีชมพู เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม มีริ้วสีแดง


56

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพูภูพิงค์ Carasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S. Y. Sokolov

ชื่อพ้อง Prunus cerasoides D.Don ชื่ออื่น ฉวีวรรณ นางพญาเสือโคร่ง (ภาคเหนือ) เส่คาแว่ เส่แผ่ เส่สาแหล่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ซากุระดอย ซากุระเมืองไทย (กทม.)

ยามเมื่อสายลมเหนือพัดพาความหนาวเย็นห่มคลุม

ไปทั่วผืนป่า บนดอยสูงภาคเหนือ ผืนป่าจะถูกแต่งแต้มไป ด้วยสีชมพูสดใสของดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือที่เรียก

เป็นทางการว่า ชมพูภูพิงค์ ซึ่งจะผลิบานให้เห็นเพียงปีละ ครั้งในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ชมพูภูพิงค์ หรือ Himalayan wild cherry เป็น พรรณไม้ ใ นวงศ์ กุ ห ลาบ (Rosaceae) ที่ มี เ ขตการ กระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศในแถบหิมาลัย จีนตอนใต้ พม่า และทางตอนเหนือของเวียดนาม สำหรับประเทศ ไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และบนภูเขา สูงที่ระดับตั้งแต่ 800 ม. ขึ้นไปจนถึง 1,500 ม.

ปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งทางภาคเหนือ อย่ า งบ้ า นม้ ง ขุ น ช่ า งเคี่ ย น ขุ น แม่ ย ะ ขุ น วาง และดอย

แม่ ส ลอง มี นางพญาเสื อโคร่ ง เป็ น นางเอกที่ ค อยดึ ง ดู ด

นักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อชื่นชม ความงดงามและบัน ทึกภาพสีสันอัน น่าประทับใจของ ชมพูภูพิงค์ ที่พร้อมใจกัน ทิ้งใบเพื่อให้ดอกสีขาวและ ชมพูได้สะพรั่งบานงดงามไม่แพ้ดอกซากุระญี่ปุ่นจนได้รับ สมญาว่า “ซากุระเมืองไทย”


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

57

ก้านดอกยาว 1-2 ซม. ดอกบานมี 5 กลีบ สีชมพูอมขาว

ชมพูภูพิงค์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีดอกสวยสด งดงามราวกับเจ้าหญิงแห่งพงไพร ลักษณะของเปลือก

ลำต้นและกิ่งแตกลายคล้ายลายเสือโคร่ง คนทั่วไปจึง เรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า ”นางพญาเสือโคร่ง” ไม้ต้นชนิดนี้

ไม่เพียงแต่มีดอกที่งดงามโดดเด่นเป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น บรรดาสัตว์ต่างๆ ก็ชื่นชอบด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแมลง และนกเล็กๆ หลายชนิดที่ชอบมาดูดกินน้ำหวานจากดอก และผลสีแดงสดคล้ายผลเชอร์รี่ ซึ่งมีรสชาติถูกใจบรรดา

นกและสัตว์ต่างๆ อีกด้วย คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งคือ เป็นไม้โตเร็ว จึงเหมาะแก่การนำมาเป็นพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูป่า

ที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้แก่ เปลือกต้น ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอ เลือดกำเดาไหล ลดน้ำมูก และแก้คัดจมูก หรือตำแล้วคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้

ข้อเท้าแพลงและฟกช้ำ ปวดตามข้อ ส่วนเนื้อไม้ ชาวบ้าน นิยมนำมาทำด้ามมีด เครื่องมือการเกษตร หรือปรุงเป็น ยารั ก ษาแผลไฟไหม้ บาดแผล ท้ อ งร่ ว ง แก้ ไ อ และ กามโรค ผลสุกรับประทานได้ รสเปรีย้ วชุม่ คอ แก้กระหายน้ำ

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ นไม้ ต้ น ผลั ดใบขนาดเล็ ก ถึ ง ขนาดกลาง

บางครั้งสูงได้ถึง 30 ม. เปลือกต้นเป็นมัน สีน้ำตาลอม แดง แตกลายตามขวาง และลอกหลุดเป็นแถบตามขวาง

หูใบรูปลิ่ม จักเป็นครุย มีต่อมสีส้ม 2-4 ต่อม ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน หรื อ แกมรู ป ใบหอก ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลมยาว

โคนใบแหลมหรือกลม ขอบใบจักฟันเลื่อยชั้นเดียวหรือ

สองชั้น ปลายเป็นตุ่ม แผ่นใบเกลี้ยง หรือมีขนตามเส้นใบ ด้านล่าง เส้นใบมี 9-15 เส้น ก้านใบยาว 0.8-2 ซม. ดอก ออกเป็นกระจุกหรือเป็นช่อแบบซี่ร่ม มี 1-4 ดอกในแต่ละช่อย่อย ดอกสีชมพูหรือขาว ฐานรองดอก

รูประฆัง สีแดงอมชมพู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมหรือมน ยาว 0.4-0.5 ซม. หลุดร่วงง่าย กลีบดอก

5 กลีบ แยกอิสระต่อกัน ติดบนหลอดกลีบดอก รูปไข่กลับ หรือรูปไข่ ปลายเว้าตื้นๆ ยาว 1.5-2 ซม. รวมก้านสั้นๆ ผล เมล็ ด เดี ย ว แข็ ง ผิ ว ย่ น รู ป รี ห รื อ รู ป ไข่

ยาวประมาณ 1.5 ซม. สีแดง สุกสีม่วงดำ การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ได้มีการทดลองปลูกนางพญาเสื อโคร่ ง บนพื้ น ที่ ต้ น น้ ำ ลำธารมาเป็ น เวลา 10 ปี แ ล้ ว ปรากฏว่าได้ผลดี นกกินปลีหางเขียวชอบมาดูดน้ำหวาน จากดอกนางพญาเสือโคร่ง


58

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

บุหรงสุเทพ Dasymaschalon sootepensis Craib

ชื่ออื่น -

แม้จะไม่ ใช่พรรณไม้ที่มีดอกสวยงามหรือมีดอก หอม เมื่อเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่นๆ ที่สวยทั้งรูปแถมจูบ ยั ง หอม แต่ พ รรณไม้ ใ นสกุ ล บุ ห รงก็ เ ป็ น พรรณไม้ ที่

ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากสกุลหนึ่ง เนื่องจากมี สรรพคุณเป็นสมุนไพร ทางภาคเหนือและภาคตะวันออก-

เฉียงเหนือ ใช้เข้ายาทำสมุนไพรพื้นบ้าน ส่วนคณะนักวิจัย ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ก็กำลังเร่งทำการศึกษาวิจัยหา

สารสำคัญที่มีประโยชน์ทางเภสัชวิทยาซึ่งมีอยู่มากมาย

ในพรรณไม้สกุลนี้

บุหรงสุเทพ เป็น หนึ่งในพรรณไม้ ในสกุลบุหรง (Dasymaschalon) ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 12 ชนิด นับเป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่งของไทย พบใน ภาคเหนือตอนบนที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำตก ขุ น กรณ์ จั ง หวั ด เชี ย งราย และที่ ภู เ มี่ ย ง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เมื่ อ ก่ อ นเคยมี ข้ อ มู ล ว่ า บุ ห รงสุ เ ทพเป็ น

พรรณไม้ ถิ่ น เดี ย วของไทย แต่ ภ ายหลั ง มี ก ารค้ น พบ

เพิ่มเติมที่ประเทศจีนในมณฑลยูนนาน


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

59

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 ม. โคนลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซม. แตกกิ่งยาวอ่อนลู่ ทรงพุ่ม โปร่งแผ่กว้าง ใบ รูปรีกว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-18 ซม. แผ่นใบ บางและเหนียว ด้านล่างของใบมีนวลสีขาวเคลือบอยู่ ดอก เป็นดอกเดียวออกที่ปลายยอด กลีบดอก

มีสามกลีบ ประกบกันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ยาว 2.5-4.5 ซม. ปลายแหลมเรียวบิดเป็นเกลียวคล้ายเหล็กขูดชาร์ฟ ผล เป็ น ผลกลุ่ ม มี ผ ลย่ อ ย 7-8 ผล รู ป ทรง กระบอกยาว 3-5 ซม. มีเมล็ด 1-4 เมล็ด ผลเรียวคอด ตามรอยเมล็ด เมล็ด รูปรี ยาว 1 ซม. (ยาวที่สุดในสกุลเดียวกัน) การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

บุ ห รงสุ เ ทพค้ น พบครั้ ง แรกในเมื อ งไทยโดย

หมอคาร์ นั ก พฤกษศาสตร์ชาวไอริช ที่ดอยสุเทพใน ระดับความสูง 1,050-1,260 ม. เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2454 พรรณไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อระบุชนิดว่า sootepensis ตามสถานที่ที่ค้นพบเป็นครั้งแรก ในปัจจุบัน บุหรงสุเทพยังคงสภาพของความเป็น ไม้ป่าไว้ ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีการค้นพบพรรณไม้ ชนิ ด นี้ ม านานเกื อ บร้ อ ยปี แ ล้ ว ก็ ต าม แต่ ก็ ยั ง ไม่ มี

การนำมาขยายพันธุ์ ไปปลูกในพื้น ที่อื่น เนื่องจากเป็น บุหรงที่หายาก มีเมล็ดน้อย และมีข้อจำกัดที่ชอบขึ้น กลีบดอกประกบกัน บนที่ สู ง อากาศหนาวเย็ น และจะต้ อ งขึ้ น อยู่ ริ ม น้ ำ เป็นแท่งสามเหลี่ยม ริมลำธาร เพราะต้องการความชื้นสูง ลักษณะเด่นของ บุหรงชนิดนี้คือ กลีบดอกบางสีขาวอมเขียว ปลายบิด เป็นเกลียว ต่างจากบุหรงชนิดอื่น ที่กลีบดอกหนากว่า และปลายดอกตรง

เมล็ด ยาวที่สุดในสกุลเดียวกัน


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

60

พะยอม Shorea roxburghii G.Don

ชื่ออื่น กะยอม ขะยอม ขะยอมดง พะยอมดง แดน เชียง เซี่ยว สุกรม พะยอมทอง ยางหยวก

เมื่อครั้งที่สุน ทรภู่เดินทางไปนมัสการพระแท่น-

ดงรัง ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างทาง ท่ า นได้ พ รรณนาถึ ง ความงามของดอก พะยอม ที่ ออกดอกเป็น พวงระย้า ส่งกลิ่น หอมระรื่นไว้อย่างน่า ประทับใจ “ระรวยรื่นชื่นหอมพะยอมสด คันธรสโรยร่วงพวงเกสร ต้องพระพายชายช่ออรชร แมลงภู่ฟอนเฝ้าเคล้าประคองชม แมลงภู่เป็นคู่ของบุปผา บุราณว่าเห็นจริงทุกสิ่งสม หญิงกับชายก็เป็นคู่ชู้อารมณ์ ชั่วปฐมกัปกัลป์พุทธันดรฯ”

พะยอมเป็นไม้ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทย

มาช้านาน เนื่องจากเป็น พรรณไม้ที่มีประโยชน์หลาก หลาย ในด้านสมุนไพร เปลือกนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยา สมาน แก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ ดอกเข้ายาหอม บำรุ ง หั วใจ ลดไข้ ส่ ว นชาวสวนที่ ท ำน้ ำ ตาลมะพร้ า ว

จะนำเปลือกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ที่รอง น้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวเป็นสารกันบูด เนื้อไม้นำมา ใช้ ใ นงานก่ อ สร้ า ง เช่ น เสา รอด ตง พื้ น ฝา และ

ไม้หมอนรถไฟ


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

61

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 15-25 ม. ลำต้ น ตรง กิ่ ง อ่ อ นเกลี้ ย ง เรื อ นยอดเป็ น พุ่ ม แคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทา เป็นสะเก็ดหนาและแตก เป็นร่องตามยาว ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบมนหรือหยัก ขอบใบมักเป็นคลื่น เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบ 15-20 คู่ ก้านใบยาว 2-2.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว เหนือรอยแผลใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก สีขาว กลิ่นหอมจัด กลิ่นหอมจัด กลีบเลี้ยงเกลี้ยง สีขุ่น มี 5 กลีบ เรียงบิด ผล เป็ น ผลแห้ ง รู ป กระสวย กว้ า ง 1 ซม. ยาว

เป็นที่รู้กันดีว่า พะยอมถือเป็นไม้มงคลที่คนนิยม 2 ซม. ปีกสั้น 2 ปีก ยาว 2 ซม. ปีกยาว ยาวประมาณ ปลูกกันตามบ้าน ด้วยมีความเชื่อว่าหากบ้านใดปลูก 8 ซม. มีเส้นปีก ปีกละ 10 เส้น พะยอมไว้ประจำบ้านจะทำให้คนบ้านนั้นมีอุปนิสัยอ่อนน้อม เมล็ด กลมรียาว 1 ซม. ถ่อมตน เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นอกเห็นใจและได้รับการ อุปถัมภ์ค้ำชูจากผู้อื่น ด้วยความที่เป็นพรรณไม้ที่มีทั้ง การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ใช้ใน ความสวยงามและมากด้วยประโยชน์ กวี ในสมัยต่างๆ จึงมักพรรณนาถึงพะยอมไว้ ในวรรณคดีหลายต่อหลาย การปลูกป่าชนิดหนึ่ง เนื่องจากทนแล้งได้ดี ถึงแม้ว่า

เรื่ อ ง อาทิ บทละครเรื่ อ งอิ เ หนา ลิ ลิ ต พระลอ เสภา จะเจริญเติบโตค่อนข้างช้า เรื่ อ งขุ น ช้ า งขุ น แผน โคลงโลกนิ ติ และพระอภั ย มณี เป็นต้น พะยอมเป็นไม้ต้นขนาดกลาง พบกระจายในป่า เบญจพรรณแล้ง ป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังทั่วประเทศ

แต่มีมากในภาคเหนือที่ระดับความสูง 100-1,000 ม. เติ บ โตได้ ดี ใ นพื้ น ที่ แ ห้ ง แล้ ง แต่ เ ป็ น ไม้ ที่ โ ตช้ า และ ออกดอกเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ การปลูกพะยอมจึงต้องอาศัยความอดทนและมี

ใจรั ก อย่ า งแท้ จ ริ ง จึ ง จะได้ เ ชยชมดอกที่ ส ะพรั่ ง บาน

พร้อมกันทั่วทั้งต้น และส่งกลิ่นหอมอันแสนจรุงใจ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ตามปลายกิ่ง หรือตามกิ่ง


62

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โพสามหาง Symingtonia populnea (R. Br. ex Griff.) Steenis

นอกจากจะเป็นแหล่งก่อกำเนิดต้นน้ำลำธารเพื่อ หล่อเลี้ยงชีวิตแล้ว ยอดดอยอิน ทนนท์ยังเป็นเสมือน อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ด อยอิ น ทนนท์ เ ป็ น พื้ น ที่ ต้ น น้ ำ แผ่นดินแม่ผู้ ให้กำเนิดระบบนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ ไม่ ลำธารที่ ส ำคั ญ ของแม่ น้ ำ ปิ ง ให้ ก ำเนิ ด แม่ น้ ำ ลำธาร เพียงแต่จะอุดมพร้อมทั้งไม้ ใหญ่ดึกดำบรรพ์ หรือไม้หา หลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่กลาง ยากเท่านั้น บนจุดสูงสุดแห่งสยามประเทศยังเป็นแหล่ง ลำน้ ำ แม่ ย ะ ลำน้ ำ แม่ ห อย ลำน้ ำ แม่ แ จ่ ม และลำน้ ำ ให้กำเนิดไม้พุ่มหรือไม้ขนาดกลาง ทรงสวยงามอย่าง แม่เตี๊ยะ ซึ่งลำน้ำเหล่านี้จะไหลผ่านและหล่อเลี้ยงชุมชน โพสามหาง อีกด้วย ชื่อของโพสามหางถูกเรียกตาม ต่างๆ ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอ ลั ก ษณะของใบที่ อ วบอ้ ว นคล้ า ยใบโพธิ์ ทว่ า มี แ ฉก

ฮอด อำเภอแม่ ว าง และอำเภอสั น ป่ า ตอง จั ง หวั ด 3 แฉกงอกเงยคล้ายหางขึ้นมาอีกเล็กน้อย ผู้ที่พบเห็น เชียงใหม่ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง จึงเรียกพืชชนิดนี้ว่า โพสามหาง

ชื่ออื่น -


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

63

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งน้อย มี ใบเฉพาะตอนปลายกิ่ง หูใบรูป ไข่กลับ ยาว 1.5-2.5 ซม. เกลี้ยง หนา หลุดร่วงง่าย ใบ เป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย งสลั บ รู ป ไข่ ห รื อ รู ป ฝ่ า มื อ

มี 3-5 แฉก ยาว 5-16 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน กลมหรือกึ่งรูปหัวใจ แผ่นใบหนา เส้นโคนใบ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 2-6 ซม. ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแน่น เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 ซม. ไม่มีกลีบเลี้ยง กลีบดอก 2-7 กลีบ ดอกออกเป็นกระจุกแน่น ผล แบบแคปซูล ติดกันเป็นช่อกระจุกแน่น แข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มี 7-11 ผล ในแต่ละช่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ก้านช่อยาว 1.5-2.5 ซม. โพสามหาง เป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ Hamame-

เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม รูปรี มีปีก lidaceae มีเขตการกระจายพันธุ์ตามป่าดิบเขา พบตั้งแต่ อิ น เดี ย เนปาล ภู ฏ าน จี น ตอนใต้ พม่ า เวี ย ดนาม การขยายพันธุ์ คาบสมุทรมลายู และบอร์เนียว ในประเทศไทยพบทาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ภาคเหนื อ ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ บ นดอยอิ น ทนนท์ และ

ทางภาคใต้ที่จังหวัดยะลา ขึ้นตามสันเขาในป่าดิบเขา ยกตามลักษณะของใบ ระดับความสูง 1,400-2,200 ม. เท่านั้น ด้วยข้อจำกัด ชื่อถูทีก่อเรีวบอ้ วนคล้ายใบโพธิ์ มี 3 แฉกคล้ายหาง ทางธรรมชาติ จึงทำให้พบโพสามหางได้ยากตามพื้นที่ ป่าทั่วๆ ไป ประกอบกับสถานการณ์ป่าไม้ ในปัจจุบันที่ ถูกรุกรานและทำลายไปมากด้วยน้ำมือมนุษย์ จึงเป็นการ เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ให้แก่บรรดาไม้ที่หายาก อยู่แล้ว ซึ่งมีโพสามหางเป็นหนึ่งในนั้น ด้วยคุณสมบัติของโพสามหางที่ขึ้นอยู่ตามพื้น ที่

บนเขาสูงที่ระดับ 1,400-2,200 ม. โพสามหางจึงเป็น พรรณไม้ที่ ใช้วัดดัชนีบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของผืน ป่าบนพื้นที่ระดับสูงได้ หากผืนป่าดิบเขาบนยอดเขาสูง ยังมีโพสามหางเจริญงอกงามดีอยู่ ก็หมายถึงว่า ระบบ นิเวศวิทยาของไทยยังคงสมบูรณ์ดีนั่นเอง


64

มณฑาป่า Magnolia garrettii (Craib) V.S. Kumar

ชื่ออื่น มณฑาดอย มะองนก ปอนาเตอ

คนไทยส่ ว นใหญ่ มั ก คุ้ น เคยกั บ มณฑา ซึ่ ง เป็ น พรรณไม้ชนิดหนึ่งในสกุล Magnolia ที่มีดอกสวยงาม น่ารัก อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมหวานรวยรื่น เป็นที่ชื่นชอบ ของบรรดาผู้รักไม้ดอกหอมทุกท่าน หากทว่าในราวป่า บนเขาสู ง ทางภาคเหนื อ ยั ง มี ม ณฑาอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ มี

ดอกสี ม่ ว งแดง ส่ ง กลิ่ น หอมอ่ อ นๆ ในเวลากลางคื น

ที่เรียกว่า มณฑาป่า พรรณไม้หายากอีกชนิดหนึ่งของ ไทยที่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาให้ ก ลายเป็ นไม้ ป ระดั บ จนพ้ น สภาพของความเป็นไม้หายากแล้ว มณฑาป่าถูกค้น พบครั้งแรกของโลกในประเทศ ไทย โดย H.B.G. Garrett นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ดอยผ้าขาว จังหวัดเชียงใหม่ มีรายงานเมื่อปี 2465 ว่า

มณฑาป่ า นี้ มี เ ขตการกระจายพั น ธุ์ เ ฉพาะภาคเหนื อ

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ของไทยในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,000-1,900 ม. ในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เชี ย งราย แม่ ฮ่ อ งสอน ตาก พิษ ณุโลก ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่มณฑลยูน นาน ประเทศจีน และในเวียดนาม ดอกสี ม่ ว งแดงของมณฑาป่ าในบางครั้ ง ก็ ส ร้ า ง ความสั บ สนให้ แ ก่ นั ก สำรวจและจำแนกพรรณไม้ เนื่ อ งจากยั ง มี ม ณฑาอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ มี ด อกสี ม่ ว งแดง

และมีลักษณะดอกคล้ายคลึงกันมาก เรียกว่า มณฑา ดอย พรรณไม้ ส องชนิ ด นี้ มี ก ลี บ ชั้ น นอกสี ม่ ว งแดง เหมือนกัน เมื่อมองดูเผินๆ จึงคิดว่าเป็นพรรณไม้ชนิด เดียวกัน หากแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า มณฑาป่าจะ

มีกลี บ ดอกชั้ น ในเป็ น สี ม่ ว งเข้ ม เช่ น เดี ย วกั บ กลี บ ดอก

ชั้ น นอก ขณะที่ ม ณฑาดอย กลี บ ดอกชั้ น ในจะเป็ น

สีขาวนวล และกลิ่นหอมแรงกว่ามณฑาป่า ส่วนใบของ มณฑาดอยก็ มี ข นาดใหญ่ แ ละยาวกว่ า ยาวประมาณ

1 ศอก วิธีสังเกตความแตกต่างอย่างง่ายๆ จึงให้ดูที่ขนาด

ของใบและกลีบดอกชั้นในซึ่งมีสีที่แตกต่างกัน


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

65

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 18-30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม หรือแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนา เหนียว คล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมันวาว ด้านล่างเคลือบขาว ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตามปลายกิ่ง สีม่วงอมแดง ดอกมี 9 กลีบ กลีบหนา แข็ง อวบน้ำ เมื่อบานมีเส้นผ่าผลอ่อน ศูนย์กลาง 8-10 ซม. ดอกบาน 2-3 วัน ผล เป็นผลกลุ่มรูปไข่หรือทรงกระบอก สีน้ำตาล มณฑาป่าเป็น พรรณไม้ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ถึง กว้าง 6-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ผลแก่ห้อยลง มีผลย่อย แม้ว่าจะมีเนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน แต่ชาวบ้านก็ยังตัดโค่น จำนวนมากเรียงกันอยู่บนแกนยาวอันเดียวกัน ผลย่อย มาใช้ ในงานก่อสร้าง และใช้ทำเครื่องเรือนบางชนิด แข็ง ยาว 1-1.5 ซม. เมล็ด สีแดง ยาวรีและค่อนข้างแบน ขนาด 0.7-1 ทำให้ ใ นธรรมชาติ มี จ ำนวนต้ น เหลื อ อยู่ ไ ม่ ม ากนั ก

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายๆ หน่วยงานจึงได้เร่งขยาย ซม. ผลย่อยแต่ละผลมี 1-4 เมล็ด ออกดอกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผลแก่เดือน พันธุ์และส่งเสริมให้ปลูกเป็นไม้ประดับบนพื้น ที่ระดับ

สูง เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตุลาคมถึงพฤศจิกายน นอกจากนี้ มณฑาป่ายังมีชื่ออยู่ ในโครงการปลูกทดแทน ป่ า ที่ เ สื่ อ มโทรมในพื้ น ที่ สู ง อย่ า งได้ ผ ลดี เนื่ อ งจาก

มณฑาป่ า เป็ น พรรณไม้ ที่ เ จริ ญ เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว

ช่วยให้ป่ากลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งได้ ใน เวลาไม่นานนัก ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูง 20-25 ม. เปลือกหนา สีเทา มีกลิ่นฉุน เกสร การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปลูกลงในแปลงที่ ร่มรำไร หรือกลางแจ้งบนพื้นที่ระดับสูงที่มีอากาศหนาว เย็ น ผู้ ที่ ชื่ น ชอบความสวยงามของดอกมณฑาป่ า พยายามนำต้น มณฑาป่ามาปลูกในกรุงเทพฯ และใน พื้ น ที่ ร าบภาคกลาง ซึ่ ง มี อ ากาศร้ อ นจั ด พบว่ า ยั งไม่ ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากต้นมณฑาป่าชะงักการเจริญ เติบโตในช่วงฤดูร้อน และค่อยๆ ตายไป


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

66

มหาพรหมราชินี Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R. M. K.Saunders

ชื่ออื่น -

เมื่อปี 2547 ประเทศไทยได้ประกาศการค้นพบ พรรณไม้ ช นิ ด ใหม่ ข องโลก ซึ่ ง ได้ รั บ พระราชทาน

พระบรมราชานุญาตให้ ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อระบุ

ชนิดพืชชนิดใหม่นี้ว่า sirikitiae และใช้ชื่อภาษาไทยว่า มหาพรหมราชินี เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณแด่สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส

ที่ทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา อันถือเป็นปีมหามงคลยิ่ง ของปวงชนชาวไทย มหาพรหมราชิ นี เ ป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ ก ระดั ง งา (Annonaceae) สกุลมหาพรหม (Mitrephora) ดอกมี ขนาดใหญ่สีขาวและม่วงสวยงามมาก และมีขนาดใหญ่ที่สุด ในสกุลมหาพรหมซึ่งมีอยู่ทั่วโลก 48 ชนิด ในประเทศ ไทยที่สำรวจพบแล้วมี 7 ชนิด โดยมีมหาพรหมราชินี เป็นชนิดที่ 8 มหาพรหมราชินีจึงเป็นดอกไม้ที่ประกาศ

ให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของไม้ดอกที่งดงาม และมี ชื่ อ ตามพระนามของสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย ถิ่นกำเนิดของมหาพรหมราชินีอยู่บนสันเขาแคบๆ บริ เ วณยอดเขาสู ง ชั น เหนื อ ระดั บ น้ ำ ทะเล 1,100 ม.

ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเป็นพรรณไม้ ถิ่นเดียวที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และยังจัด เป็น พรรณไม้หายากเนื่องจากจำนวนต้นในถิ่นกำเนิด น้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ ผู้ที่ค้นพบพรรณไม้ชนิดนี้คือ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น

ผู้ เ ชี่ ย วชาญพิ เ ศษ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการวิจัยและพัฒนา แล้วพบว่า มหาพรหมราชินี เป็นพรรณไม้ที่มหัศจรรย์ มากชนิ ด หนึ่ ง ที่ แ ม้ จ ะมี ถิ่ น กำเนิ ด อยู่ บ นเขาหิ น ปู น


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

67

ผลเป็นผลกลุ่ม

รูปทรงกระบอก

ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก 1-3 ดอกใกล้ ปลายยอด กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงกลีบสองชั้น เมื่อ ดอกบานเต็ ม ที่ มี เ ส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 10 ซม. ดอกดก ในระดับความสูง 1,100 ม. ที่มีอากาศหนาวเย็น มีต้นสูง ทยอยบาน แต่ละดอกบานอยู่ได้ 1-2 วัน ผล เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 5-8 ผล รูปทรงกระบอก 3-5 ม. แต่เมื่อนำเมล็ดมาเพาะในกรุงเทพฯ ที่มีอากาศ ร้อนจัด ก็สามารถปรับตัวได้โดยใช้เวลาปลูกเลี้ยง 3 ปี ยาว 5-8 ซม. มีเมล็ด 13-21 เมล็ด เมล็ด รูปคล้ายไข่หรือทรงกลม สีน้ำตาล ขนาด

มีความสูง 1.5 ม. ก็ออกดอกได้เกือบตลอดปี ปัจจุบัน ได้ พั ฒ นาให้ เ ป็ นไม้ ประดับกระถาง ซึ่งมีการปลูกกัน 5-8 มม. ทั่ ว ประเทศ ช่ ว ยให้ พ้ น สภาพจากการเป็ น พรรณไม้

กลีบดอกชั้นนอก หายากได้แล้ว สีขาว มหาพรหมราชิ นี เ มื่ อ ออกดอกจะบานพร้ อ มกั น

ทั้งต้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และแต่ละดอกบานอยู่ ได้ 1-2 วัน ช่วงเวลาดอกบานราวเดือนพฤษภาคม ต้นที่ ปลู ก จากต้ น กล้ า เพาะเมล็ ด จะมี ท รงพุ่ ม สวยงาม ออกดอกได้เต็มทรงพุ่ม ขณะที่ต้นที่ปลูกจากต้นทาบกิ่ง กลีบดอกชั้นในสีม่วง จะมี ท รงพุ่ ม แผ่ ก ระจายและออกดอกเฉพาะกิ่ ง ที่ อ ยู่

ด้านบนทรงพุ่ม การขยายพันธุ์ ลักษณะพรรณไม้ มีการนำผลแก่มาเพาะเมล็ดซึ่งงอกได้ดี ส่วนวิธีการ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 ม. เปลือกลำต้น สีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเทาอมขาวมีขนอ่อนปกคลุม แตกกิ่ง ขยายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ การทาบกิ่ง เนื่องจากเป็น วิธีการที่รวดเร็ว สะดวก ประหยัด และสามารถกำหนดให้ น้อย ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูป ใบหอก กว้าง 4-9 กิ่งทาบมีความยาวได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ความสูง ซม. ยาว 11-19 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ 30 ซม. จนถึง 150 ซม. โดยใช้ระยะเวลาทาบเพียง

เป็นมันทั้งสองด้าน ด้านล่างมีขน เส้นแขนงใบ 8-11 คู่ 1 เดือนครึ่งเท่านั้น มีอัตราการทาบติดได้สูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกบานสวยงาม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ซม.


68

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

รักใหญ่

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

ชื่ออื่น รัก ฮัก ฮักหลวง ซู้ มะเรียะ ฮักขี้หมู ฮักหมู

“งานรัก” เป็นงานช่างฝีมือขั้นสูงของไทยที่เป็น

มรดกสืบทอดทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องรัก ถือเป็นศิลปวัตถุอนั ทรงคุณค่า ซึง่ ในสมัยโบราณจะนำมาใช้ เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ เท่านั้น เช่น การลงรักปิดทองพระพุทธรูป ตู้พระธรรม หรือเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์และเครื่องใช้

ในราชสำนัก และส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในงานรักก็คือ “ยางรัก” ที่ได้จากต้น “รักใหญ่” ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวน

ลดน้อยลงอย่างมากจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ด้วยคุณสมบัติพิเศษของน้ำยางรัก ซึ่งมีสีดำเป็น

มันเลื่อม เมื่อแห้งสนิทแล้วสามารถยึดติดได้ดี และกัน

การรั่วซึมของน้ำได้ ทำให้ช่างฝีมือของไทยนำน้ำยางรักมา

ใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งในงานลงรักปิดทอง การเขียน

ลายรดน้ำ งานประกอบเครื่องมุก และเครื่องเขิน โดย เฉพาะเครื่องเขินของชาวเชียงใหม่ที่มีความโดดเด่น สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การที่เครื่องเขินแต่ละ

ชิ้นมีความคงทนสวยงาม ก็ด้วยอาศัยข้อดีของน้ำยางรัก ที่ติดแน่นทนทานนี่เอง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

69 กลีบเลี้ยงและ กลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ

ส่วนงานประกอบเครื่องมุกอย่างทัพพีมุก ธรรมาสน์

ลงมุก หน้าต่างพระอุโบสถ วิหาร พระแท่นที่ประทับแห่ง องค์พระมหากษัตริย์ก็อาศัยคุณสมบัติพิเศษที่เหนียวแน่น ของยางรักในการประกอบมุก จนกลายเป็นงานประณีตศิลป์ อันทรงคุณค่าของไทยที่ทั่วโลกต่างให้การยกย่อง คุ ณ สมบั ติ ท างด้ า นสมุ นไพรพื้ น บ้ า น เปลื อ กใช้ เข้ายาบำรุงกำลัง ต้มเป็นยารักษาโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร รักษาโรคเกลื้อน และโรคปวดข้อเรื้อรัง เปลือก ราก ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ยาง เป็นยาถ่ายอย่างแรง และกัดเนื้อสด นอกจากนี้ เนื้อไม้ยังใช้ทำส่วนประกอบ

ของบ้ า นเรื อ น เสา เครื่ อ งเรื อ น และด้ า มเครื่ อ งมื อ ทางการเกษตร รักใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดกลาง พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ปัจจุบัน

มีจำนวนลดลงอย่างมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการ ศึกษายางรักใหญ่เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้เพื่อ สืบสานงานช่างฝีมือแขนงนี้ ให้ดำรงอยู่สืบไป อันจะเป็น

การช่วยให้รักใหญ่ไม่สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินไทยของเรา ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลาง สูง 12-25 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลหรือดำปนเทา แตกเป็น ร่อง หลุดลอกเป็นแผ่นบางๆ มียางสีดำซึมตามรอยแตก

ผลกลม เปลือกแข็ง

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มอยู่ตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ มน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 16-36 ซม. ด้ า นบนใบมี ข นสี น้ ำ ตาลปนประปราย

ด้านล่างมีขนหนาแน่น แต่จะหลุดร่วงไปเกือบหมดเมื่อ ใบแก่เต็มที่ เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ ปลายกิ่ง มีขนหนาแน่น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ด้านนอกของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนสีน้ำตาล ปนเทา ผล เป็นผลกลม แข็ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.5 ซม. มีปีกสีแดง หรือม่วงแดงรูปขอบขนาน 5 ปีก ยาว 5-10 ซม. เมล็ด เป็นเมล็ดกลม เสื่อมความงอกเร็ว รั กใหญ่ อ อกดอกเดื อ นพฤศจิ ก ายนถึ ง ธั น วาคม และมีผลแก่ในเดือนมีนาคม การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยเมล็ ด ต้ น รั ก ใหญ่ ใ นธรรมชาติ

ถูกทำลายและมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ จึงควรเร่ง การเพาะขยายพั น ธุ์ เพื่ อ ปลู กในพื้ น ที่ เ หมาะสมให้ มี จำนวนต้นมากขึ้นสำหรับการอนุรักษ์ ไว้ ใช้ประโยชน์ ใน อนาคต


70

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

รัง Shorea siamensis Miq.

ชื่ออื่น เปา เปาดอกแดง เรียง เรียงพนม ลักป้าว แลบอง เหล้ท้อ

เหล่บอง ฮัง

แต่ เ ดิ ม นั้ น พุ ท ธศาสนิ ก ชนส่ ว นใหญ่ มั ก มี ค วาม เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับต้นรังว่าเป็นพรรณไม้ชนิด เดียวกับต้นสาละอินเดีย (Shorea robusta C.F.Gaertn) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่เกี่ยวเนื่องกับการประสูติของ พระพุ ท ธเจ้ า หากแต่ ใ นความเป็ น จริ ง รั ง และสาละ อินเดียนั้นเป็น พรรณไม้ต่างชนิดกัน แม้จะมีรูปพรรณ สัณฐานที่คล้ายคลึงกันมาก เนื่องจากเป็นพรรณไม้ ใน วงศ์และสกุลเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าพรรณไม้สองชนิดนี้ มีลักษณะที่แตกต่าง กันอย่างเห็นได้ชัด

รังเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Dipterocarpaceae ที่มีการ กระจายพันธุ์เป็นไม้เด่นในป่าเต็งรัง และยังพบในป่า เบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไป พบมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูผลัดใบ ใบของ ต้นรังจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม สวยงามไปทั้งราวป่า ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึง มีนาคม ส่วนเวลาติดผล เมื่อผลแก่ถูกแรงลมจะปลิว ว่อนหมุนคว้างก่อนร่อนลงบนผืนดินคล้ายเป็นพรมลูกรัง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

71

ผล เป็นผลแห้ง เปลือกแข็ง เมล็ดเดียว ทรงไข่ กว้าง 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. ปลายแหลม ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก เมล็ด รูปรียาว 1 ซม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเก็บผลแก่ ของต้นรังได้ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน แล้วนำมาเพาะ รังเป็นไม้เนื้อแข็ง ทนทานต่อความแห้งแล้งและ เมล็ด ต้นกล้างอกได้ดีแต่เจริญเติบโตช้า ต้องบำรุงรักษา ไฟป่าได้ดี เนื้อไม้นำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างกว้างขวาง ต้นกล้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี จึงจะนำต้นกล้าไป ทั้งในงานก่อสร้าง ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนชันใช้ผสม ปลูกในแปลงได้ น้ำมัน ทาไม้และเรือ นอกจากนี้ รังยังถือเป็นไม้มงคล ชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกเป็นไม้ประจำบ้าน

จะมีแต่ความสงบร่มเย็น รังเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทที่ระบายน้ำดี ผลแข็ง มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก ชอบแดดจัด และต้องการน้ำน้อย เหมาะที่จะปลูกใน พื้นที่กว้างขวางหรือตามรีสอร์ต เนื่องจากทรงพุ่มสวยงาม นอกจากจะทนแล้งได้ดีแล้ว ยังทนลมแรงได้ดีเป็นพิเศษ ลำต้น มีเปลือกหนา สีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก อีกด้วย เป็นสะเก็ดโตๆ ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นต้นผลัดใบขนาดกลางสูง 10-25 ม. เรือน ยอดกลมหรือรูปกรวยคว่ำ ลำต้นเปลาตรงหรือคดงอ เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ดโตๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 7-12 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบมน โคนใบหยัก เว้าเป็นรูปหัวใจ ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลิ่น หอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบดอกติดกันเป็น

รูปถ้วย กลีบดอกมี 5 กลีบ ยาวเป็น 6 เท่าของกลีบเลี้ยง เรียงจีบเวียนกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 ซม.


72

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ลำดวนดอย Mitrephora wangii Hu

ชื่ออื่น -

ลำดวนดอย เป็น พรรณไม้ที่เพิ่งมีการค้น พบใน ประเทศไทยเมื่อปี 2542 ที่วัดพระธาตุดอยตุง จังหวัด เชี ย งราย พรรณไม้ ช นิ ด นี้ จั ด อยู่ ใ นวงศ์ ก ระดั ง งา (Annonaceae) สกุลมหาพรหม (Mitrephora) เป็นไม้ต้น ขนาดกลางที่ มี ด อกสวยงาม กลี บ ดอกชั้ น นอกสี ข าว บานแยกจากกันเป็น 3 แฉก กลีบดอกชั้นในสีเขียวอ่อน ปลายกลีบชมพูระเรื่อ ประกบกันเป็นกระเช้า เมื่อดอก แก่ ใ กล้ โ รย กลี บ ชั้ น นอกเปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ งเข้ ม ขึ้ น ส่วนกลีบดอกชั้นในเปลี่ยนเป็นชมพูอมม่วง ส่งกลิ่นหอม หวานคล้ายดอกลำดวน แต่ขึ้นอยู่บนดอยจึงเรียกกันว่า ลำดวนดอย

ลำดวนดอยมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่บนเขาสูง

ในจังหวัดเชียงรายที่ระดับความสูง 1,690 ม. ในต่าง ประเทศพบที่ประเทศจีนและลาว พรรณไม้ชนิดนี้นับ เป็นพรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของไทย ในสภาพธรรมชาติมีอยู่เพียง 2 ต้น ขึ้นอยู่บนยอดดอย สูง 1,690 ม. ของจังหวัดเชียงราย ที่มีอากาศหนาว

เย็ น และมี ห มอกปกคลุ ม เกื อ บตลอดปี และไม่ มี ก าร ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ เนื่องจากใต้ต้นเป็นลานหิน ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้ ในอนาคต แต่ ในปัจจุบัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการวิจัยเพื่อขยายพันธุ์ลำดวนดอย พบว่าวิธีการ ทาบกิ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดี จนสามารถปลูกลำดวนดอยเป็น ไม้ ก ระถางได้ ส ำเร็ จ ทำให้ มี ก ารปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ

กันอย่างกว้างขวาง จนทำให้พ้นสภาพจากความเป็นไม้

หายากแล้ว


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

73

ผล เปลือกเรียบ สีเขียวเข้ม

ลำดวนดอยนับว่าเป็นพรรณไม้มหัศจรรย์ต้นหนึ่ง ในเมืองไทย กล่าวคือ แม้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่บนเทือกเขา สูงที่มีอากาศหนาวเย็น แต่เมื่อเก็บผลแก่มาเพาะเมล็ด ในกรุงเทพฯ ที่มีระดับความสูงเกือบเท่าระดับน้ำทะเล และมีอากาศร้อนจัด ปรากฏว่าเมล็ดลำดวนดอยงอก

ได้ดี เมื่อปลูกเลี้ยงต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดได้ 3 ปี ต้ น มี ค วามสู ง 1.5 ม. ออกดอกได้ ดี แ ละเมื่ อ ทาบกิ่ ง

โดยใช้มะป่วนเป็นต้นตอ สามารถทาบติดได้ถึง 100 เปอร์ เ ซ็ น ต์ เมื่ อ นำต้น ทาบกิ่งไปปลูกต่อในพื้น ที่อื่นๆ

ทั่วประเทศ พบว่าสามารถปรับตัวได้ดีและทยอยออกดอก

เกือบตลอดปี ลำดวนดอยที่ ป ลู ก จากต้ น กล้ า เพาะเมล็ ด จะมี

ทรงพุ่มสวยงาม มี ใบดกสีเขียวเข้มเป็นมันวาวออกดอก เต็มต้น จึงได้รับความนิยมนำมาใช้ในงานจัดภูมิทัศน์กัน อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ลำต้น เปลาตรง แตกกิ่งน้อย โคนลำต้นมีพูพอนในระดับต่ำ เปลือกลำต้นเรียบ สีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียว มีกลิ่นฉุน

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรี ย วยาว

และมีติ่ง ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง เป็นมันทั้ง 2 ด้าน

ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออก 1-2 ดอก ออกตามกิ่ง ตรงข้ า มใบ เมื่ อ บานมี สี ข าวแล้ ว เปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ ง และมีกลิ่น หอมแรงมากขึ้น กลีบดอกชั้น นอก 3 กลีบ บานกางออกจากกัน กลีบนอกชั้นในขอบกลีบประกบกัน เป็นรูปกระเช้า มีลายประสีแดงอ่อนอยู่ตรงกลางดอก ดอกทยอยบานตลอดทั้ ง ปี และบานเต็ ม ต้ น ในเดื อ น กุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ผล เป็นผลกลุ่ม ผลอ่อนเปลือกเรียบ สีเขียวเข้ม

เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว มี 9-12 เมล็ด เมล็ด กลมแบน สีน้ำตาลขนาด 4-7 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่งอ่อน หลังจากปลูกต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง จนตั้งตัวและเจริญเติบโตดีแล้ว สามารถทาบกิ่งจากต้น ดังกล่าวได้ การทาบกิ่งเป็นวิธีที่ ได้ผลดี เมื่อนำมาปลูก แล้วออกดอกได้เร็ว สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้


74

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

สะแล่งหอมไก๋ Rothmannia sootepensis (Craib) Bremek.

ชื่ออื่น -

กลีบดอกสีขาว

โคนกลีบดอก มีจุดสีม่วงแดง

สะแล่งหอมไก๋ เป็น พรรณไม้ ในตำนานของชาว ลำพูน กล่าวกันว่าในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็ จ มาที่ ด อนสะแล่ ง มเหสี ข องเจ้ า เมื อ งได้ น ำดอก

สะแล่งมาถวายเป็น พุทธบูชา พระบรมศาสดาทรงรับ ดอกไม้ นั้ น ไว้ พ ร้ อ มอนุ โ มทนา แล้ วได้ ต รั ส เป็ น พุ ท ธ ทำนายไว้ ว่ า “ต่ อไปในอนาคตกาล สถานที่ แ ห่ ง นี้

จักเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุของเรา และจะเจริญรุ่งเรือง สืบไปในกาลข้างหน้า”

เวลาผ่ า นมาถึ ง สมั ย พระนางจามเทวี แ ห่ ง แคว้ น

หริภุญไชย พระนางทรงมีศรัทธาประสาทะในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง สถานที่สำคัญต่างๆ ในเมืองล้านนาเพื่อเสาะหาสถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ส ำหรั บ ประดิ ษ ฐานพระบรมสารี ริ ก ธาตุ

ที่ทรงได้รับพระราชทานมาจากพระราชบิดาเจ้าเมือง ละโว้ กระทั่งได้เสด็จฯ ผ่านเมืองกุกกุฎไก่เอิก ในเขตของ จังหวัดลำพูน จึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ขบวนเสด็จพักแรม ที่ดอนสะแล่ง และตั้งผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ใกล้ๆ กับปากถ้ำ เพื่อให้ราษฎรได้สักการบูชา และต่อมา ได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ปากถ้ำ กลางดอนสะแล่งแห่งนั้น และทรงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ ครอบพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้ พระเจดีย์ดังกล่าวนี้คือ พระธาตุ ข ะอู บ คำ ที่ ป ระดิ ษ ฐานอยู่ ณ วั ด สะแล่ ง

ในปัจจุบัน


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

75

สะแล่ ง หอมไก๋ เ ป็ น พรรณไม้ ป่ า ที่ พ บได้ ต าม

ป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 300-900 ม. ทางภาคเหนือ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และภาคกลาง ดอกมี

สีขาวนวล กลีบดอกมีลักษณะปลายแหลมเหมือนหอก โบราณ แต่เดิมเรียกว่า ดอกสะแล่ง แต่ด้วยความที่ พรรณไม้ชนิดนี้มีกลิ่น หอมแรง กำจายไปได้ ไกลมาก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า สะแล่งหอมไก๋ ซึ่งหมายความว่า ดอกสะแล่งที่ส่งกลิ่นหอมไกล ปัจจุบันมีผู้พยายามนำไป ปลูกเป็นไม้ดอกหอม ไม้ประดับตามอาคารสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง สะแล่งหอมไก๋เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตช้ามาก ในช่วงที่ฤดูแล้งยาวนานจะออกดอกได้ดกเต็มต้น ส่ง กลิ่น หอมรวยรื่นแสนชื่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง พลบค่ำหรือช่วงเช้ามืด แต่น่าเสียดายที่พรรณไม้ชนิดนี้ ปลูกเลี้ยงยากมาก ต้นที่ปลูกเลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้น ที่ขุดล้อมมาปลูก จะค่อยๆ ตายไปในที่สุด ดังนั้น

ผู้ปลูกเลี้ยงควรปลูกต้นขนาดเล็กจากการเพาะเมล็ด และต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะอดทนรอเป็นเวลา หลายปี จึงจะได้ต้นใหญ่ที่ออกดอกได้อย่างสวยงาม

ผลกลมรี ยาว 3.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ปลายผล

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 ม. เปลือกลำต้น สีน้ำตาล แตกกิ่งจำนวนมาก ออกรอบต้นเป็นชั้นๆ กิ่ง ขนานกับพื้นดิน ทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีปลายแหลม ยาว 10-12 ซม. ผิวใบเป็นมันเรียบ สีเขียวเข้มทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อดอกสีขาวที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง 1-3 ดอก โคนกลี บ ดอกเป็ น หลอด ปลายแยกเป็ น

5 กลีบ ขอบกลีบเป็นคลื่น โคนกลีบดอกด้านในมีจุด

สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม. ผล รู ป กลมรี ยาว 3-5 ซม. มี ก ลี บ เลี้ ย งติ ด อยู่ ปลายผล เมล็ด รูปกลมรี สีดำยาว 3-4 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด โดยเก็บผลแก่ที่อยู่ บนต้นมาเพาะเมล็ด ซึ่งจะให้เปอร์เซ็นต์การงอกดีกว่า ผลแก่ที่ร่วงอยู่ที่โคนต้น ส่วนการทาบกิ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ได้ผล โดยใช้หมักม่อซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในสกุลเดียวกันมา เป็นต้นตอ


76

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

สารภีดอย Anneslea fragrans Wall.

ชื่ออื่น แก้มอ้น คำโซ่ ตองหนัง ตีนจำ ทำซุง บานมา พระราม โมงนั่ง ต้ำจึง ฮาฮอย ทึกลอ ทึลา ปันม้า ส้านแดง ส้านแดงใหญ่ สารภี

สารภีควาย สารภีหนู สุน ฮัก

สารภีดอย เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Theaceae มีเขต การกระจายพั น ธุ์ ตั้ ง แต่ อิ น เดี ย ถึ ง เอเชี ย ตะวั น ออก-

เฉี ย งใต้ ส่ ว นในประเทศไทย จะพบตามป่ า ดิ บ แล้ ง

ป่ า เบญจพรรณ และป่ า ดิ บ เขาที่ ร ะดั บ ความสู ง

850-1,700 ม. โดยเฉพาะทางภาคเหนื อ บนดอยสู ง

เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะ พบตามภู สู ง ที่ มี อ ากาศหนาวเย็ น เช่ น ภู ห ลวง ภู เ รื อ ภูกระดึง ในจังหวัดเลย

ดอกของสารภีดอยมีลักษณะเด่นคือ จะส่งกลิ่น หอมอ่อนๆ ในเวลากลางวัน แต่กลิ่น หอมดังกล่าวจะ แรงขึ้ น ในช่ ว งเวลากลางคื น ดั ง นั้ น ใครที่ จ ะไปชื่ น ชม ดมดอมพรรณไม้ชนิดนี้ก็ต้องเลือกไปให้ถูกช่วงเวลา และที่ ส ำคั ญ คื อไปให้ ต รงกั บ ช่ ว งฤดู อ อกดอกด้ ว ย เนื่ อ งจากพรรณไม้ ช นิ ด นี้ จ ะมี ฤ ดู อ อกดอกอยู่ ใ นช่ ว ง ปลายฤดูหนาว คือระหว่างเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

77

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-20 ม. เปลือกลำต้น ตะปุ่มตะป่ำ เปลือกแตกเป็นร่องเล็กๆ หรือแตกล่อน เป็นสะเก็ดแข็ง มีกลิ่นฉุน ทรงพุ่มโปร่งกลม ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงดอกหนา มี 5 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู ใบ ใบเดี่ ย ว เรี ย งเวี ย นสลั บ แผ่ น ใบหนาคล้ า ย แผ่นหนัง เขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบเด่นชัดทั้งด้าน บนและด้านล่าง ผิวเกลี้ยงรูปหอก แกมขอบขนานกว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอก ดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 3-5 ซม. กลีบเลี้ยง เนื้อไม้ของต้นสารภีดอยเหมาะสำหรับนำมาใช้ ดอกหนา มี 5 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู โคนเชื่อมติดกัน ทำเครื่องเรือนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีเนื้อไม้ละเอียด ปลายโค้งงุ้มเข้าหากัน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวครีม แน่นเหนียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นที่ขึ้นอยู่บนดอยสูงที่มี อยู่รวมกันเป็นก้อนกลม ปลายแหลมขนาด 1.5-2 ซม. อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว และมีความแห้งแล้งในช่วง กลางวันดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และจะหอมแรงขึ้นในช่วง ฤดูร้อนเป็นระยะเวลายาวนาน จะเจริญเติบโตช้ามาก เวลากลางคืน ฤดูออกดอกอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผล รู ป กลมรี ผิ ว เรี ย บ ขนาดเส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง

เนื้อไม้มีวงปีที่เด่นชัด สวยงาม เคยมีผู้นำไปแกะสลัก หรือกลึงเป็นเครื่องเรือนเครื่องประดับบ้านที่เห็นแล้ว 2 ซม. ผลอ่ อ นสี เ ขี ย ว มี ก ลี บ เลี้ ย งติ ด อยู่ ที่ ป ลายผล

ต้องยอมรับว่ามีคุณค่าสูงมาก แต่ ในขณะเดียวกันก็อด จนกระทั่งถึงระยะผลแก่ เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน กลมรี ขนาด 1 ซม. จะเสียดายและหดหู่ ใจเป็นอย่างมากเมื่อเห็นผู้คนที่มา อยู่บนดอยสูงตัดต้นสารภีดอยแล้วเผาทิ้งเพื่อเอาผืนดิน มาปลูกข้าวไร่หรือปลูกผักแบบไร่เลื่อนลอย ในช่วงเวลา การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ใช้เวลาในการเพาะมากกว่า

สั้นๆ พิจารณาแล้วช่างเป็นความสูญเสียของสิ่งหนึ่งแล้ว ทดแทนด้ ว ยอี ก สิ่ ง หนึ่ ง แบบไม่ คุ้ ม ค่ า เลยที เ ดี ย ว 2 เดือนจึงเริ่มงอก ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ค่อนข้างช้ามาก นอกจากนี้ ส่ ว นต้ น ยั ง สามารถนำมาผสมสมุ น ไพร จำพวกประดง รวม 9 ชนิด ต้มน้ำดื่มรักษาโรคประดง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งได้อีกด้วย ใครที่ มี โ อกาสชื่ น ชมและดมกลิ่ น หอมอ่ อ นๆ

ของสารภีดอย อาจมีความคิดที่จะนำพรรณไม้ชนิดนี้ ไป เพาะเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งการปลูกเลี้ยงพรรณไม้ชนิดนี้

ก็ต้องอาศัยดินที่แห้ง และอากาศที่เย็น สารภีดอยจึงจะ สามารถออกดอกได้ ดี และมี ก ลี บ ดอกที่ ห นา ปั จ จุ บั น สารภีดอยเริ่มเป็นพรรณไม้ที่หายาก จึงควรมีการอนุรักษ์ ด้วยการขยายพันธุ์และนำไปปลูกให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น


78

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

เสี้ยวดอกขาว Bauhinia variegata L.

ชื่ออื่น นางอั้ว เปียงพะโก โพะเพ่

“ร้อยพันคำ แฝงฝัน อยู่ในความเงียบ บนหน้าผา ผาสูงชัน ใต้แสงตะวัน มีเงาตะวัน ความฝันของเธอ เหมือนใจของเธอ อยากเห็นดอกเสี้ยวขาว ขาว ขาว ขาว บนไหล่ดอย ไหล่ดอย ดอย ดอยเชียงดาว” สุ วิ ช านนท์ รั ต นภิ ม ล แต่ ง เพลงนี้ ไ ว้ ใ นอั ล บั้ ม “เพลงรั ก เชี ย งดาว” เพื่ อ ชื่ น ชมความงดงามของ

เสี้ ย วดอกขาว ที่ อ อกดอกพราวไปทั่ ว ทั้ ง ราวป่ า

โดยเฉพาะบนไหล่ ท างของดอยหลวงเชี ย งดาวที่

เสี้ ย วดอกขาวพากั น สะพรั่ ง บานรั บ ลมหนาว ทั ก ทาย

ผู้ ม าเยื อ นให้ เ คลิ บ เคลิ้ ม ไปกั บ ความมหั ศ จรรย์ ข อง ธรรมชาติ

เสี้ยวดอกขาวเป็น พรรณไม้ที่ชาวเหนือรู้จักกันดี โดยเฉพาะชาวจั ง หวั ด ตาก ซึ่ ง มี เ สี้ ย วดอกขาวเป็ น

พรรณไม้ประจำจังหวัด ใบอ่อนของเสี้ยวดอกขาวกิน เป็ น ผั ก สดหรื อ ลวก หรื อใส่ ต้ ม ปลาเนื้ อ อ่ อ นทำเป็ น ต้มส้มได้ ส่วนใบนำมาขยี้รักษาแผลที่เรื้อรังจนเน่าเปื่อย ให้ ห ายได้ ใบแก่ ต้ ม น้ ำ อาบแก้ ผื่ น คั น ตามตั วได้ ผ ลดี เปลือกมีรสฝาด ใช้แก้ ไอ แก้บิด และห้ามเลือด และ

ยังนำมาย้อมแหอวนให้คงทนแข็งแรง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

79

เสี้ยวดอกขาวเป็นพรรณไม้ในวงศ์ถั่ว (Leguminosea) สกุ ล อรพิ ม (Bauhinia) มี ก ารกระจายพั น ธุ์ อ ยู่ ใ น ประเทศอินเดีย พม่า ลาว และเวียดนาม ในประเทศไทย พบตามป่าเบญจพรรณ และป่าหิน ปูน ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 500800 ม. ตามปกติ จ ะทยอยออกดอกตลอดปี แต่ จ ะ ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ดอกเสี้ยวเมื่อบานใหม่ๆ จะมีสีชมพูอ่อน แต่พอดอกแก่ ใกล้โรยจะกลายเป็นสีขาว ในช่วงที่ดอกเสี้ยวบานเต็มต้น จะเป็นช่วงฤดูหนาว ที่มีอากาศแห้ง ท้องฟ้าสีครามสดใสไร้เมฆหมอกตัดกับ ดอกเสี้ยวที่มีสีขาวบริสุทธิ์งามเด่นสะดุดตา ยิ่งในยามที่ ลมหนาวพัดมา ดอกเสี้ยวจะปลิดปลิวลอยคว้างไปตาม ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบสูงได้ถึง 15 ม. เรือนยอด กระแสลม เป็ น ภาพที่ น่ า ประทั บ ใจอย่ า งยิ่ ง จั ง หวั ด เชียงรายจึงได้จัดให้มีงานวันเสี้ยวบานขึ้นบนยอดดอย กลม กิ่งก้านไม่สม่ำเสมอ กิ่งและยอดอ่อนมีขนปกคลุม หลายๆ แห่ง ซึ่งในแต่ละแห่งมีต้นเสี้ยวออกดอกบาน เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาอ่อนถึงดำ มีรอยแตกหยาบๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบ สะพรั่งและส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วขุนเขา แฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ดอก ออกเป็ น ช่ อ ที่ ซ อกใบและปลายกิ่ ง 6-10 ดอก ดอกมีสีขาวหรือสีม่วงอ่อน กลีบดอกบอบบางมี

5 กลีบ รูปไข่กลับแยกจากกันชัดเจน เมื่อดอกบานเต็มที่ ดอกสีขาว กลีบดอก บอบบางมี 5 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-12 ซม. ผล เป็นฝักแบนยาว 15-20 ซม. เมื่อแก่จะแตก เป็นสองซีกดีดเมล็ดไปได้ไกล เมล็ ด เป็ น เมล็ ด กลมแบน มี 10-25 เมล็ ด

ขนาด 6-8 ซม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดที่เก็บจากต้น ขณะที่ ฝักเริ่มแก่ก่อนที่ฝักจะแตก


ความแห้งแล้งที่อยู่คู่ภาคอีสานมาเป็นนิจกลับไม่ได้ทำให้ป่า ในพื้นที่นี้ไร้ค่า แต่ดินแดนที่ราบสูงของเมืองไทย ทำหน้าที่เป็นที่พักพิงให้กับพรรณไม้ยืนต้นทรงคุณค่า นานับชนิดที่คนไทยควรหวงแหนไว้ให้อยู่คู่ท้องถิ่นสืบไป



82

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กระมอบ Gardenia obtusifolia Roxb. ex Kurz

ชื่ออื่น กระบอก ไข่เน่า คมขวาน พญาผ่าด้าม พุดนา คำมอกน้อย ฝรั่งโคก

หากท่ า นมี โ อกาสเข้ าไปเดิ น ชมธรรมชาติ ใ นป่ า

เต็ ง รั ง ช่ ว งเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง มี นาคม ทั่ ว ทั้ ง แนวป่ า จะ ครอบคลุมไปด้วยต้นไม้ที่มีกิ่งระเกะระกะปราศจากใบ มองดูคล้ายกับแนวป่าที่ขาดความชุ่มชื้น ไร้ซึ่งความมี ชีวิตชีวา เช่นเดียวกับ กระมอบ ที่พร้อมใจกันทิ้งใบหมด

แทบทั้งต้น หากแต่ ได้เบ่งบานดอกสีขาวโพลนเต็มทั่ว ทรงพุ่ม ส่งกลิ่น หอมหวาน ยังความสดชื่น มาสู่ผืน ป่า และถ้าได้มีโอกาสย้อนกลับไปหลังจากดอกบาน 2-3 วัน ก็จะพบว่ากลีบดอกที่เคยเบ่งบานได้หลุดร่วงพรูลงมา เต็มพื้น ขณะที่บนต้นก็จะผลิดอกใหม่ออกมาทดแทน คราใดที่ ท่ า นได้ มี โ อกาสเห็ น ภาพประทั บ ใจดั ง กล่ า ว

ครานั้นท่านคงไม่อยากที่จะย่างก้าวไปไหนอีกเลย เพราะ ท่านได้ยืนอยู่ ณ จุดที่สวยงามที่สุดของป่าเต็งรังแล้ว กระมอบเป็ น พรรณไม้ ใ นสกุ ล พุ ด มี เ ขตการ กระจายพันธุ์ ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก โดยจะพบทั่วไปตามป่า เต็ ง รั ง และป่ า เบญจพรรณที่ แ ห้ ง แล้ ง ส่ ว นในต่ า งประเทศพบที่พม่าและภูมิภาคอินโดจีน กระมอบเป็น พรรณไม้ ที่ ท นทานต่ อ ความแห้ ง แล้ ง มากที่ สุ ด ขณะ เดียวกันก็เป็น พรรณไม้ที่เจริญเติบโตช้าที่สุด ผู้ที่เคย ปลูกกระมอบโดยการเพาะเมล็ด คงจะทราบเป็นอย่างดี ว่ า กว่ า ต้ น กระมอบจะมี ค วามสู ง ถึ ง 3 ม. ต้ อ งใช้

เวลาในการดูแลเอาใจใส่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ด้ ว ยความที่ ก ระมอบเป็ น พรรณไม้ ที่ ใ ช้ ร ะยะ

เวลาในการเจริญเติบโตค่อนข้างนาน จึงมักมีผู้ลักลอบ เข้ าไปขุ ด ล้ อ มต้ น จากพื้ น ที่ อ นุ รั ก ษ์ ทำให้ จ ำนวนต้ น กระมอบในถิ่นธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว วิธี การอนุรักษ์ที่ถูกต้องจึงควรสนับสนุนให้เกษตรกรปลูก ต้ น กระมอบมากขึ้ น ด้ ว ยระยะปลู ก 3x4 ม. แล้ ว

หมั่นบำรุงรักษาจนกระทั่งต้นกระมอบมีทรงพุ่มสวยงาม และออกดอกได้ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่บรรดานักจัด สวนที่มาซื้อต้นกระมอบจากเกษตรกรไปจัดสวนให้แก่ บรรดาเจ้าของบ้านที่นิยมปลูกสวนไม้ ไทยหายาก ถือ เป็นการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันก็ เป็นการอนุรักษ์ต้นแม่พันธุ์ที่อยู่ในป่า ช่วยให้ต้นแม่พันธุ์ เหล่านั้นได้ออกดอกติดผลและกระจายพันธุ์ต่อไป ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมหวาน

83 ผลสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนบนของผลมีหลอด กลีบเลี้ยงสั้นๆ ติดอยู่

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น ผลัดใบขณะออกดอก สูง

2-8 ม. ลำต้นแคระแกร็น กิ่งก้านคดงอ เรือนยอดเป็น พุ่มกลม เปลือกสีเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาว เนื้อไม้สีขาว ยอดอ่อนผิวมัน มีชันสีเขียวอมเหลือง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากเป็นกลุ่ม

ตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ มี 2-4 คู่ กว้าง 3-7 ซม. ยาว

6-13 ซม. ปลายมนกว้าง โคนสอบมน เว้าเล็กน้อยตรง รอยต่อก้านใบ ขอบเรียบ ก้านใบสั้นมาก หูใบระหว่าง ก้ า นใบติ ด กั น เป็ น หลอดสั้ น ๆ ใบอ่ อ นมี ค ราบของชั น เหนียวติดกันตามผิวใบจนเป็นมัน ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง สีขาวแล้วเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่น หอมหวาน เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. กลีบดอกตูมบิดเวียน โคนกลีบ ดอกติดกันเป็นหลอดคล้ายรูปแจกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนานปลายมน ยาว 2-3 ซม. ผล ผลมีเนื้อ รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. ผนั ง หนา สี น้ ำ ตาลอมเขี ย ว ส่ ว นบนของผลมี ห ลอด

กลีบเลี้ยงสั้นๆ ติดอยู่ เมล็ด กลมรี ค่อนข้างแบน ยาว 3-5 มม. การขยายพันธุ์ ใช้วิธีการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง


84

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ก่ วมแดง Acer calcaratum Gagnep.

ชื่ออื่น ไฟเดือนห้า

ด้วยใบรูปพัดสีแดงเจิดจ้าเต็มต้นในช่วงฤดูหนาว ของบ้ า นเรา หลายคนจึ ง ขนานนามให้ ก่ ว มแดง ว่ า เป็นต้น “เมเปิลเมืองไทย” และ “เมเปิลแดง” ไปอย่าง ไม่มีผู้ ใดคัดค้าน แต่ต่างกับใบเมเปิลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของประเทศแคนาดาตรงที่ ข องแคนาดามี ใ บห้ า แฉก ส่ ว นก่ ว มแดงนั้ น ใบเป็ น สามแฉก ซึ่ ง ใบสี แ ดงเพลิ ง ที่ เปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีเหลืองและท้ายสุดจะเปลี่ยน เป็นสีแดง ก่อนร่วงหล่นผลัดใบเกลื่อนกล่นทั่วบริเวณป่า ทำให้ก่วมแดงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “ไฟเดือนห้า” และ “มะเยาดง” อีกด้วย

ก่วมแดงจัดเป็นไม้ต้นอยู่ ในสกุลเดียวกับเมเปิล

ในวงศ์ Aceraceae ซึ่ ง ชื่ อ สกุ ล Acer มาจากภาษา ละติน หมายถึงแหลมหรือแข็ง ซึ่งในสมัยก่อนไม้ ใน สกุ ล นี้ ใ ช้ ท ำแผ่ น กระดานสำหรั บ เขี ย นหนั ง สื อ และ เพราะคุณสมบัติความแข็งแรงทนทานนี่เอง จึงยังเป็นที่ นิ ย มในการนำมาทำอุ ป กรณ์ ส ำหรั บ เล่ น กี ฬ าที่ ต้ อ ง ทนทานต่อแรงกระแทกอยู่เสมออย่างโบว์ลิ่ง โดยมักจะ นำไม้มากลึงเป็นพินโบว์ลิ่งและไม้ปูพื้นเลนโบว์ลิ่ง และ ยั ง มี ผู้ น ำไม้ ส กุ ล นี้ ม าทำเป็ น ไม้ คิ ว สนุ ก เกอร์ ไม้ ตี เบสบอลและเขียงหั่นเนื้ออีกจำนวนไม่น้อยด้วย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

85

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15-25 ม. เปลือกสีเทา ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว และมีน้ำเลี้ยงใสรสหวานกระจายอยู่ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปพัด กว้าง 6-21 ซม. ยาว 6-15 ซม. โคนมนกว้ า งหรื อ เว้ า เล็ ก น้ อ ย

แผ่ น ใบครึ่ ง บนแยกเป็ น 3 แฉกลึ ก ลงมาประมาณ กึ่งกลางใบ แฉกของใบเป็นรูป ใบหอกแกมรูป ไข่หรือ

รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ใบแก่สีเขียว ดอก เป็ น ช่ อ ออกที่ ป ลายกิ่ ง ยาว 2-3.5 ซม. แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวอมชมพู เมื่อบาน เต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูป ไข่กลับหรือรูปพัด กว้างและยาว นอกจากความแข็งที่ขึ้นชื่อลือชาแล้ว ไม้สกุลนี้ยัง 3-4 มม. มีอีกคุณสมบัติที่รู้จักกันดีว่าให้เสียงกังวานไพเราะ จึง ผล รูป ไข่ ยาว 0.8-1.3 ซม. มีปีกแบน ช่อละ

นิ ย มนำมาทำเป็น เครื่องดนตรี ไ ม่แพ้ ไ ม้ที่มีคลื่นเสียง 1-3 ผล เสนาะหูประเภทอื่นๆ เลย หากอยากที่จะสัมผัสความ เมล็ด กลมรี ยาว 4-6 มม. งามของก่ ว มแดงแบบเต็ ม ตา ควรมุ่ ง หน้ า ขึ้ นไปทาง

ภาคเหนือในฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โดยเฉพาะที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ น่ า น (ดอยภู ค า) และ

ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ที่ จั ง หวั ด เลย (ภู ก ระดึ ง

ภู ห ลวง) โดยเฉพาะในบริ เ วณป่ า ดิ บ หรื อ ป่ า ปิ ด ซึ่ ง มี น้ ำ ตกหรื อ ริ ม ลำธารที่มีความชื้นสูงบนภูเขา ที่ระดับ ความสู ง 1,300-1,600 ม. ความร้อนแรงจากสีแดง

ของใบก่ ว มแดงที่ ก ระจายคลุ ม น้ ำ ตกขุ น พอง บน

อุทยานแห่งชาติภูกระดึงในช่วงต้นฤดูหนาว กระชาก อารมณ์ ข องนั ก ทั ศ นาจรให้ พุ่ ง สู ง ขึ้ น สุ ด ขั้ ว แต่ แ ล้ ว อารมณ์ก็ค่อยๆ ลดวูบต่ำลงตามความเย็นของกระแส น้ ำ ตกที่ ไ หลริ น ลงสู่ แ อ่ ง น้ ำ ใสปานกระจก รองรั บ อยู่ เบื้องล่าง ก่วมแดงยังสามารถพบได้อีกในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่าและเวียดนามเช่นกัน


86

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กั นเกรา Frgraea fragrans Roxb.

ชื่ออื่น ตำเสา ทำเสา มันปลา ปันปลา กันเตรา ตาเตรา ทำมะซู่ ตำมูซู

กันเกรา เป็นพรรณไม้ที่นอกจากจะมี “รูป” งาม อันหมายถึงลักษณะลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกลม แหลมคล้ายเจดีย์ และดอกมีกลิ่นหอมรวยรื่นตลอดทั้ง วัน หากยังเป็น พรรณไม้ที่ “นาม” มีความหมายเป็น มงคล ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 9 ไม้มงคลที่ ใช้ ในพิธีวางศิลา ฤกษ์ มีความหมายว่า จะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ชาวอีสานเรียกกันเกราว่า มัน ปลา เหตุที่เรียก

เช่ น นี้ เ พราะมั น ปลาเป็ น ไม้ เ นื้ อ แข็ ง และเหนี ย ว มี สี เหลื อ งปนมั น คล้ า ยไม้ สั ก มี น้ ำ มั น หล่ อ เลี้ ย ง เนื้ อไม้ คล้ายทาด้วยน้ำมันจากปลา ชาวบ้านนิยมนำไม้มันปลา มาทำเสารั้ว เสาเรือน เสาโรงนา หรือการก่อสร้างที่ ต้องตากแดด ตากฝน หรือฝังลงดิน เพราะไม้มันปลามี น้ำมันหล่อเลี้ยง ปลวกจึงเจาะไม่เข้าและไม่ผุ นอกจาก นี้ชาวอีสานยังถือว่ามันปลาเป็นไม้มงคล จึงนิยมนำมา แกะพระพุทธรูปไม้และทำเครื่องรางของขลังอื่นๆ รวม ทั้งก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันยังมีผู้นิยมนำไม้ มันปลาไปแกะสลักพระเครื่องไม้อีกด้วย ส่วนในภาคใต้ จะเรียกกันเกราว่าตำเสาหรือทำเสา เนื่องจากนิยมนำ ลำต้นมาใช้ทำเสาบ้าน กันเกราหรือมัน ปลายังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร โดยแก่นกันเกราจะมีรสเฝื่อน ฝาด ขม ใช้เข้ายาบำรุง ธาตุ แก้ ไข้จับสั่น แก้หืด ไอ ริดสีดวง ท้องมาน แน่น หน้าอก แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดแก้ลมต่างๆ และเป็นยาอายุวัฒนะ เปลือกใช้เข้ายาบำรุงโลหิต แก้ ผิวหนังพุพองปวดแสบปวดร้อน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

87

กันเกราเป็นพรรณไม้ ในวงศ์ Gentianaceae มี เขตการกระจายพันธุ์ ในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ ต่ำที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ พบทั่วทุกภาคของประเทศ พรรณไม้ ชนิ ด นี้ อ อกดอกในช่ ว งปลายฤดู ร้ อ นต้ น ฤดู ฝ น ราว

เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ในช่วงเวลานี้พื้นที่ที่มีกันเกรา ขึ้นอยู่มากจะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่ว ดึงดูดให้หมู่ แมลงและผึ้งพากันมาดูดกินน้ำหวานและผสมเกสรให้ กันเกราได้ขยายพันธุ์ต่อไป ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 15-25 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกหยาบ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองอ่อน เรือนยอดรูปกลมแหลมหรือรูปเจดีย์ ใบ ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปรีแกมรูปหอก กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 8-11 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เป็นแผ่นหนัง ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็ น ช่ อ ตามง่ า มใบและปลายกิ่ ง รู ป แจกันทรงสูง เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 ซม. โคน กลีบเชื่อมติดกันเป็นกลีบ ดอกเมื่อแรกบานมีสีขาวแล้ว ผล กลม มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองแก่เมื่อดอก 6 มม. มีติ่งแหลมสั้นๆ ติดอยู่ตรงส่วนบนสุดของผล ใกล้โรย ผลแก่จัดมีสีเหลืองจนถึงสีแดงเลือดนก เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน มีหลายเมล็ด ขนาด 2-3 มม. ดอกออกเป็นช่อ รูปแจกันทรงสูง

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


88

กั ลปพฤกษ์ Cassia bakeriana Craib

ชื่ออื่น ชัยพฤกษ์

กั ล ปพฤกษ์ ไม้ ด อกสี ข าวแกมชมพู แ สนงดงาม นามมงคลเสนาะหูนี้ ในแต่ละถิ่นก็มีชื่อเรียกต่างกันไป เช่ น กานล์ ในภาษาเขมรและแถบจั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ ชัยพฤกษ์ในแถบภาคเหนือ และเปลือกขมในแถบจังหวัด ปราจีนบุรี ด้วยความที่ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ดอกดก สี สั น สวยงาม เพาะเมล็ ด เป็ น ต้ น กล้ า ได้ ง่ า ย ทำให้

กัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นพรรณไม้ป่าของไทย ที่เปลี่ยนสภาพ

มาเป็นไม้ปลูกประดับข้างทางหลวง ยืนต้นเด่นสวยงาม

อยู่เป็นระยะๆ และหากเดินทางผ่านป่าเบญจพรรณใน

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ช่ ว งเดื อ นมกราคมถึ ง มี นาคม จะเห็ น ต้ น กั ล ปพฤกษ์ ออกดอกสล้างไปทั้งต้น แซมกับพรรณไม้หลากชนิด

ดูสวยงามแปลกตา ตามคติ โ บราณต้ น กั ล ปพฤกษ์ ถื อ ว่ า เป็ น ต้ น ไม้ สารพัดนึก เช่นเดียวกับต้นปาริชาติ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ ในแดนสวรรค์ ไม่ ว่ า ชาวสวรรค์ จ ะปรารถนาสิ่ ง ใดก็ สามารถนึ ก ขอเอาได้ ทุ ก สิ่ ง ในงานพิ ธี ห ลวงในสมั ย โบราณ เช่น ในงานพระราชทานเพลิงศพ ได้มีความ นิ ย มจำลองต้ น กั ล ปพฤกษ์ ขึ้ น โดยผู ก โครงไม้ เ ป็ น

ทรงพุ่ ม ข้ า วบิ ณ ฑ์ เ ป็ น ชั้ น ๆ แต่ ล ะชั้ น เสี ย บผลมะนาว

ผลส้มและมะกรูดที่เจาะรูไว้สำหรับใส่เงิน ปลีก สำหรับ

การทิ้งทานให้คนยากจน โดยเมื่อถึงเวลาเจ้าพนักงานจะ


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ดอกสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว

เหวี่ยงไม้ที่เสียบผลไม้เหล่านั้นให้ปลิวไปตกห่างๆ และ ผู้คนก็เข้ามากลุ้มรุมชิงลูกส้มกัน ต่อมาประเพณีตั้งต้น กัลปพฤกษ์จำลองตามงานศพได้เสื่อมความนิยมลงใน ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เริ่มกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขในงาน รื่นเริงต่างๆ เช่นในเทศกาลปี ใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นนำ สลากของขวัญไปติดไว้บนต้นกัลปพฤกษ์จำลอง แล้วให้ ผู้ที่มาร่วมงานไปสอยมาจับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน กั ล ปพฤกษ์ จั ด เป็ น ไม้ ใ นวงศ์ Leguminosae

มีเขตการกระจายพันธุ์ ในป่าเบญจพรรณแล้งทางภาค เหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก บางครั้งพบขึ้นอยู่บนภูเขาหินปูนบนพื้นที่สูงจากระดับ

น้ำทะเล 300-1,000 ม. นิยมปลูกในที่โล่ง จะทิ้งใบแล้ว ผลิดอกเต็มต้น และทยอยบานใน 3-4 สัปดาห์ รูปทรง สวยและให้ดอกสวยงามแต่ใช้เวลาในการปลูกนานจึงจะ มีดอก ทนแล้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นเนื้อในฝักยังมี สรรพคุ ณ เป็ น ยาระบาย เปลื อ กฝั ก และเมล็ ด ทำให้ อาเจียนและช่วยลดไข้ได้อีกด้วย

89

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5-15 ม. เปลือกเรียบสีเทา เรือนยอดทรงกลม หรือรูปร่ม แผ่กว้าง แตกกิ่งในระดับต่ำ มีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมาก ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 15-40 ซม. ใบย่ อ ย 5-8 คู่ กว้ า ง 1.5-3.5 ซม. ยาว 6-9 ซม. ปลายใบมน หรือมีติ่งสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบ ด้านบนและด้านล่างมีขน ดอก สี ช มพู แ ล้ ว เปลี่ ย นเป็ น สี ข าว ออกเป็ น ช่ อ

ตามกิ่ ง ช่ อ ดอกยาว 4-8 ซม. กลี บ เลี้ ย ง 5 กลี บ

กลีบดอก 5 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกบานเต็มที่ กว้าง 3-5 ซม. ผล เป็ น ฝั ก แห้ ง ทรงกระบอกแคบ สี น้ ำ ตาล กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 30-40 ซม. มีขนนุ่มสีเทาหนาแน่น ภายใน มีเมล็ด 30-40 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลแดง กลมแบน ขนาด 5-8 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

90

จำปี ศรีเมืองไทย

ผลอ่อน

Magnolia thailandica Noot. & Chalermglin

ชื่ออื่น -

อาจเรียกได้ว่า จำปีศรีเมืองไทย คือดอกไม้แห่ง ความภาคภูมิใจของคนไทยก็ว่าได้ เพราะดอกไม้หอมที่ มีขนาดเล็กเพียง 2-2.5 ซม. และขึ้นเป็นต้น มีทรงพุ่ม สวยงามนี้ คื อ พรรณไม้ ว งศ์ จ ำปาชนิ ด ใหม่ ข องโลก

ที่ เ พิ่ ง มี ร ายงานการตั้ ง ชื่ อโดยผู้ เ ชี่ ย วชาญพิ เ ศษของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เมื่ อ ไม่ น านนี้ โดยได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย จาก

ความโชคดี ใ นการค้ น พบจำปี ศ รี เ มื อ งไทย

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไม่ ได้มีอยู่เพียงที่เป็นไม้ดอกหอมชนิดใหม่ แต่ยังอยู่ที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความเป็นพรรณไม้หายากที่มีเขตการกระจายพันธุ์ตาม แหล่งใกล้น้ำและริมลำธารในป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น

ที่ระดับความสูง 900-1,300 ม. ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ และยังไม่มีรายงานว่าพบในประเทศอื่นแต่อย่างใด จึง คาดว่าน่าจะเป็นไม้เฉพาะถิ่น ที่สามารถพบได้เพียงใน พื้นที่ 4 จังหวัดของประเทศไทยเท่านั้น คือ เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ และกาญจนบุรี และด้วยความที่มีต้นแม่พันธุ์ ขนาดใหญ่ อ ยู่ เ พี ย งไม่ กี่ ต้ น จำปี ศ รี เ มื อ งไทยจึ ง เป็ น

พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในสภาพธรรมชาติมากที่สุด เพราะมีวิวัฒนาการต่ำที่สุด ในไม้วงศ์จำปา เนื่องจากยังมีการแยกเพศเป็นต้นเพศผู้ และเพศเมีย ถึ ง แม้ ว่ า ต้ น จำปี ศ รี เ มื อ งไทยจะขึ้ น อยู่ ใ นพื้ น ที่

ของอุทยานแห่งชาติหรือเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่ ไม่มี โอกาสถูกตัดฟัน หรือถูกไฟไหม้เพราะอยู่ติดลำธารใน เขตที่ ชื้ น มาก แต่ เ นื่ อ งจากมี ก ารขยายพั น ธุ์ ใ นสภาพ ธรรมชาติน้อยมาก มีดอกเพศเมียอยู่บนต้นเพศเมีย และมีดอกเพศผู้อยู่บนต้นเพศผู้ ผสมเกสรได้ยาก จึงมี โอกาสที่จะสูญพันธุ์ได้ในอนาคต


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งสูง

มีกิ่งเล็กจำนวนมาก ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดประ

สีขาว เนื้อไม้เหนียว เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว ใบ รู ป รี กว้ า ง 3.5-5 ซม. ยาว 10-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรู ป ลิ่ ม แผ่ น ใบเรี ย บ ด้ า นบน

สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีนวลสีขาวฉาบอยู่ เนื้อใบ ค่อนข้างบาง ใบรูปรียาว 10-13 ซม.

ดอกมีกลิ่นหอมแรง

91

ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ปลายยอด ดอกบานตั้งขึ้น สีขาว กลิ่นหอมแรง ดอกบานอยู่ ได้ 1-2 วัน ดอกตูม รูปไข่ปลายแหลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.6 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. มีกาบหุ้มดอกสีเขียวเคลือบขาว 1 แผ่น และ จะหลุดไปเมื่อดอกแรกแย้ม ดอกแยกเพศเป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย ออกดอกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผล รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. มีผลย่อย 7-10 ผล เปลือกผลแข็งเชื่อมติดกัน ผลอ่อน มีสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล แตกออกเป็น พูตามแนวตั้ง คล้ายผลทุเรียน ผลย่อยแต่ละผลมีเมล็ดสีแดงเข้ม 1-2 เมล็ด เมล็ ด สี แ ดง รู ป กลมรี และค่ อ นข้ า งแบนยาว

10-12 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ดอกตูม


92

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปี หนู Magnolia philippenensis P.Parm.

ชื่ออื่น -

จำปีหนู พรรณไม้วงศ์จำปาที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอด ของพรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทย เพราะถึ ง ขณะนี้ ยั ง ไม่ ส ามารถขยายพั น ธุ์ จ ากต้ น ใน ธรรมชาติได้เลย เนื่องจากมีจำนวนต้นน้อยมาก อีกทั้ง ยังขึ้นอยู่ตามอุทยานแห่งชาติ จึงมีการอนุรักษ์ หวงห้าม มิให้นำพรรณไม้ออกไปนอกอุทยาน ทำให้ ไม่สามารถ นำมาขยายพันธุ์ ได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะปลูก จำปีหนู หนทางที่ง่ายที่สุดคือต้องไปซื้อต้น ที่ปลูกขาย ตามเนอสเซอรี่หรือเรือนเพาะชำบางแห่งในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์

แ ม้ จ ำปี ห นู จ ะเป็ น พรรณไม้ ที่ ห าเก็ บ เมล็ ด หรื อ

ต้นกล้าได้ยากมาก แต่เนื่องจากมีทรงพุ่มที่กลมกะทัดรัด ดอกดก หอม และสวยงาม จึงมีความเหมาะสมที่จะนำ มาใช้เป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี โดยปกติ จ ำปี ห นู เ ป็ น พรรณไม้ ที่ จ ะออกดอก

บานเต็มต้นในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ส่วนใน เดือนอื่นๆ ก็จะทยอยออกดอกเรื่อยๆ แต่อาจจะไม่มาก นัก และมีเขตการกระจายพันธุ์ ในป่าดิบเขาทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 1,000-1,300 ม. ส่วนในต่างประเทศจะพบมากที่ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักเพาะพันธุ์จำปีหนูในต่างประเทศ เกี่ยวกับวิธีการปลูกจำปีหนูให้ ได้ผลดี ผู้ปลูก ควรขุ ด หลุ ม กว้ า งและลึ ก 50 ซม. ใส่ ปุ๋ ย คอกรอง

ก้น หลุมเพื่อช่วยให้ดิน มีความอุดมสมบูรณ์และอุ้มน้ำ

ได้ดี พร้อมทั้งใส่ยาป้องกันและกำจัดแมลงปีกแข็งและ ปลวก ซึ่งเป็นศัตรูร้ายกาจที่อยู่ในดิน หลังจากปลูกแล้ว ก็ควรปักหลักผูกมัดต้นให้ตั้งตรงเพื่อป้องกันลมพัดโยก และควรใช้ ฟ างหรื อ หญ้ า แห้ ง คลุ ม โคนต้ น เพื่ อ รั ก ษา ความชื้นในดิน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันวัชพืชไปในตัว ด้วย เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ต้นจำปีหนูที่สวยงาม เป็นที่ ถูกอกถูกใจของบรรดาผู้นิยมปลูกพรรณไม้หายาก แต่ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะปลูกบนพื้นที่สูง และมีอากาศหนาว เย็น เนื่องจากจำปีหนูจะเจริญเติบโตได้ดี ในสถานที่ที่ เหมาะสมเท่านั้น


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ผลอ่อน

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8-12 ม. แตกกิ่งอยู่ ใน ระดับสูงจำนวนมาก เปลือกโคนต้นสีน้ำตาลปนดำ มี กลิ่นฉุนเฉพาะตัว เปลือกแตกเป็นสะเก็ด ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง รูป ใบหอก แกมรู ป ขอบขนาน กว้ า ง 2-3 ซม. ยาว 7-11 ซม. ปลายใบเรียว มีติ่งปลายใบยาว 1-5 มม. โคนใบรูปลิ่ม แหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา เหนียวเป็นมันทั้งสอง ด้าน ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอก บานตั้งขึ้น สีขาว ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเล็กน้อย เริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมตั้งแต่พลบค่ำ ดอกบานอยู่ ได้ 2 วัน ดอกตูมรูปกระสวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-1 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. กลีบดอกบางมี 9 กลีบ เรียงเป็น

3 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปไข่กลับแกมรูปขอบ ขนาน กลีบชั้นในแคบและสั้นกว่าเล็กน้อย

93

ผล ผลกลุ่ม ช่อยาว 2-3 ซม. มีผลย่อย 2-4 ผล แต่ละผลเรียงติดอยู่บนแกนกลางผล ผลรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ผิวของผลมีช่องอากาศเป็นจุดสีขาว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน แต่ละ ผลมี 1-2 เมล็ด เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี ยาว 5 มม. การขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติมีการขยายพันธุ์จากเมล็ด แม้จะ ออกดอกดก แต่ ก็ ติ ด ผลน้ อ ยมาก และเมล็ ด สู ญ เสี ย ความงอกเร็วมาก จึงไม่สามารถเพาะเป็นต้นกล้าขึ้นมา ได้ ส่ ว นการขยายพั น ธุ์ ด้ ว ยวิ ธี ก ารตอนและทาบกิ่ ง

ยังไม่ ได้มีการทดลอง สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

จากยอดอ่อนและเมล็ดอ่อนยังไม่ประสบความสำเร็จ จากการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ ดอกเดี่ยว สีขาว ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็น สีเหลืองเล็กน้อย


94

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพู พาน Wightia speciosissima (D.Don) Merr.

ชื่ออื่น ตุมกาแดง

ชมพูพาน เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี มีเขตการกระจาย พันธุ์ตั้งแต่เนปาล สิกขิม อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า และ ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายห่างๆ อยู่ตามภูเขา สูงทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักขึ้นตามคบไม้หรือบนก้อนหิน ในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,300-2,000 ม.

ชมพู พ านจั ด เป็ น ไม้ ต้ น กึ่ ง อิ ง อาศั ย ที่ ขึ้ น เอง

ตามซอกหินที่มีดินสะสม ลำต้นของชมพูพานมีลักษณะ แคระแกร็น แตกกิ่งระเกะระกะ หรือขึ้นตามคาคบของ ต้นไม้ ใหญ่ ต่อมาเมื่อมีรากเจริญลงดิน ลำต้นจึงเจริญ เติบโตใหญ่ขึ้นโอบต้นเดิม ใครที่ ได้มีโอกาสไปชมต้น

ชมพู พ าน จะได้ เ ห็ น ลั ก ษณะเด่ น ของพรรณไม้ ช นิ ด นี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ออกดอก ชมพูพานจะทิ้งใบจนหมดต้น เผยให้เห็นกลีบดอกสีชมพูม่วงติดกันเป็นรูปหลอดแตร โค้งตอนปลาย แลดูสวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ ที่ ขั บ รถขึ้ นไปบนดอยอิ น ทนนท์ ห รื อ ขึ้ นไปบน

ภูหลวงในช่วงปีใหม่ จะรู้สึกตื่นเต้นไปกับความหนาวเย็น ของฤดูกาล สายลมหนาวปะทะใบหน้าจนรู้สึกวูบวาบใน ช่วงแรกๆ แล้วต่อมาความเย็นก็จะทำให้ ใบหน้ารู้สึกชา เมื่อขับรถไต่ระดับความสูงขึ้นไป ความหนาวเย็นก็จะ เพิ่ ม มากขึ้ น จนผ่ า นระดั บ ความสู ง 1,300 ม. ขึ้ นไป

ป่าสองข้างทางจะเริ่มเปลี่ยน จากมุมสูงที่มองป่าดิบเขา ที่อยู่เบื้องล่างจะเห็นเฉพาะเรือนยอดของต้นไม้เป็นพุ่มๆ สีเขียวเข้มบ้าง สีเขียวอ่อนบ้าง บางต้น ทิ้งใบหมดจน เห็นแต่กิ่ง หรือบางต้นก็เริ่มจะผลิใบอ่อนออกมา บาง พุ่มจะมีสีพุ่มสีชมพูสอดแทรกอยู่กับพุ่มสีเขียวทั่วๆ ไป มองดูสะดุดตา เมื่อเข้าไปใกล้ทรงพุ่มสีชมพูจึงเห็นว่า เป็นดอกของต้นชมพูพานที่เป็นไม้อิงอาศัยอยู่บนคาคบ ของต้นไม้ ใหญ่ ซึ่งบางพุ่มจะมีขนาดใหญ่เท่ากับเป็น

ต้นไม้ต้นหนึ่งทีเดียว


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

95

ใบ รู ป ขอบขนานแกมรู ป รี ยาว 10-30 ซม. ปลายใบแหลมเกลี้ ย ง ด้ า นบนใบมี เ ส้ น แขนงใบเป็ น

ร่องตื้นๆ ด้านล่างใบมีเส้นแขนงใบเป็นสันนูนเล็กน้อย แต่มีเส้นกลางใบเป็นสัน นูนเด่น โคนใบรูปลิ่มหรือมน แผ่นใบหนา ถึงแม้จะมีดอกสีชมพูหวาน เพิ่มความสดใสให้แก่ ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ยาว 10-20 ผื น ป่ า แต่ ต้ น ชมพู พ านก็ ยั ง เป็ น เพี ย งพื ช ป่ า ที่ ยั งไม่ มี ซม. มี ด อกย่ อ ยจำนวนมาก ก้ า นช่ อ ดอกยาว 1 ซม. ผู้ศึกษากันอย่างจริงจัง และยังไม่มีผู้ใดนำมาขยายพันธุ์ ก้านดอกย่อยสั้น มาก มีขนหนาแน่น กลีบดอกสีชมพู หรือปลูกเป็นไม้ประดับแต่อย่างใด ยาว 2.5-3.5 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น กลีบปากบน 2 แฉก กลีบปากล่าง 3 แฉก ชมพูพาน

ลักษณะพรรณไม้ มีฤดูออกดอกในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ต้ น เป็ น ไม้ พุ่ ม หรื อ ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก อิ ง อาศั ย

ผล เป็นฝักสีน้ำตาล ผิวเรียบ รูปขอบขนาน ยาว บนต้นไม้หรือบนก้อนหิน สูง 1-3 ม. แต่อาจสูงได้ถึง 2.5-4 ซม. แตกกลางเป็น 2 ส่วน มีเมล็ดจำนวนมาก

10 ม. แตกกิ่งสั้นๆ เป็นพุ่มเตี้ยแน่นทึบ กิ่งอ่อนมีช่อง มีผลแก่ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ระบายอากาศเห็นได้ชัดเจน เมล็ด เป็นรูปแถบยาว 7 มม. มีปีกบางและแคบ

ช่อดอก

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการงอกเมล็ด เป็น พรรณไม้ป่าที่ยังไม่มีการศึกษา


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

96

ธนนไชย Buchanania siamensis Miq.

ชื่ออื่น ศรีธนนไชย พังพวยนก พังพวยป่า ลันไชย รวงไซ รางไซ รางไทย ลังไซ

ธนนไชย เป็น พรรณไม้พื้นเมืองของไทย มีการ สำรวจพบครั้ ง แรกในประเทศไทยโดยนักสำรวจชาว เนเธอร์ แ ลนด์ นามว่ า J.E.Teijsmann สำรวจพบที่ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ในป่ า ผลั ดใบ ระดั บ 50-100 ม.

ออกดอกเดื อ นมกราคมถึ ง มี นาคม ส่ ว นผลจะแก่ ใ น เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีรายงานการตั้งชื่อเมื่อปี 2411 โดยมีคำระบุชนิดว่า siamensis เป็นการตั้งขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย แม้ว่าธนนไชยจะเป็นพืชพื้นเมืองของไทยแต่กลับ มีการบั น ทึ ก การค้ น พบครั้ ง แรกโดยชาวต่ า งชาติ จ าก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจมี คนไทยหลายคนค้นพบธนนไชยมาก่อนหน้านี้ แต่ ไม่ ได้ มีการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ทำให้เราต้องสูญเสีย

หลักฐานการค้นพบที่ควรจะเป็นของคนไทยไปอย่างน่า เสียดาย ธนนไชยเป็น พรรณไม้ ในสกุลมะม่วงหัวแมงวัน

มี ท รงพุ่ ม โปร่ ง รู ป กรวยคว่ ำ หรื อ รู ป ทรงกลม ซึ่ ง เป็ น ลักษณะที่สวยงาม ประกอบกับมี ใบหนา ติดทนไม่ร่วง ง่าย ลำต้นและกิ่งเหนียว อีกทั้งยังทนแล้งได้ดี ทำให้ ง่ายต่อการดูแล ไม่ต้องเสียเวลาดูแลมาก จึงเหมาะที่ จะนำมาใช้ ในงานภูมิสถาปัตย์ สำหรับจัดสวนตามบ้าน หรือตามสำนักงานได้เป็นอย่างดี แต่ขณะนี้ธนนไชยยัง จัดเป็นพรรณไม้หายาก ผลสุกของธนนไชยมีสีแดงเข้ม เด่นสะดุดตา จึง ช่วยล่อให้นก ค้างคาว และพวกกระรอกมากัดกิน หาก เทียบกับผลไม้ป่าที่มีขนาดเท่ากัน หลายชนิด ไม่ว่าจะ เป็นนมแมว ติ่งตั่ง พีพวน ซึ่งมีรสหวาน ธนนไชยถือว่า เป็นพรรณไม้ที่คนไม่นิยมกิน มากที่สุด เนื่องจากผลมี ขนาดเล็ก มียางค่อนข้างมาก กัดคอ กัดลิ้น ผลของ ธนนไชยจึงเป็นแค่อาหารของพวกนกและแมลงเท่านั้น


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

97

ผลแก่สีแดง

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรืออนุรักษ์ด้วย การปลูกเป็นไม้ประดับตามสองข้างทาง เช่น ในจังหวัด นครราชสีมา ใบอ่อนเรียงชิดกัน

ผลอ่อนสีเขียว

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอก มีขนนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ทรงพุ่มกลมหรือ สูงชะลูด ใบ เดี่ ย ว เรี ย งสลั บ แผ่ น ใบรู ป ไข่ ก ลั บ หรื อ

รูปช้อน กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบมน หรือกลมเว้าเป็นแอ่ง โคนใบมน หรือสอบแคบ มีขนนุ่ม ด้านล่างโดยเฉพาะตามเส้นใบ ดอก เล็ก สีขาวหรือขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบ ผล ค่อนข้างกลม หรือรูปหัวใจเบี้ยว แบนด้าน ข้าง กว้าง 1.5 ซม. ยาว 1 ซม. ปลายตัด มีขนเล็กน้อย

หรือเกลี้ยง เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน กลม ขนาด 6-8 มม.


98

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โปร่ งกิ่ว Dasymaschalon lomentaceum Finet & Gagnep.

ชื่ออื่น ติดต่อ

โปร่งกิ่ว หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ติดต่อ มีที่มาของชื่อ จากลักษณะของผล เนื่องจากผลของโปร่งกิ่วจะมีรูป ทรงกระบอก มีเมล็ดเรียงต่อกันและมีเปลือกหุ้มเป็น รอยหยักถี่ติดต่อกัน คนจึงนิยมเรียกกันว่า ติดต่อ ในจำนวนพรรณไม้สกุลบุหรงที่มีอยู่ทั่วประเทศ 12 ชนิด โปร่งกิ่วถือเป็นพรรณไม้ที่มีขนาดของลำต้น เล็กที่สุด ขณะเดียวกันก็มีดอกและผลขนาดเล็กที่สุด ด้วย แต่ทั้งนี้โปร่งกิ่วไม่ ได้เป็น พรรณไม้ที่มีอยู่เฉพาะ

ในประเทศไทยหรื อ ค้ น พบที่ ป ระเทศไทยเป็ น ที่ แ รก ตัวอย่างแห้งต้นแบบโปร่งกิ่วครั้งแรกเก็บมาได้จากเขมร

ผลอ่อน

ในปี 2413 โดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Pierre ขึ้น อยู่ในป่าดิบแล้ง ส่วนในประเทศไทย เนื่องจากโปร่งกิ่ว ชอบสภาพของดิน ทราย จึงพบขึ้นอยู่ ในดิน ทรายของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในภาคตะวันตกเฉียงใต้ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ที่ อ ำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์

ซึ่งเป็นพื้นที่ดินทรายเช่นกัน โปร่งกิ่วเป็น พรรณไม้ที่มีทรงพุ่มแน่น มี ใบเล็ก หนา ไม่ร่วงง่าย อีกทั้งออกดอกและติดผลตลอดปี จึง ได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ทรงพุ่ม ซึ่งมีวิธี การปลูกง่ายๆ เหมือนกับพืชทั่วไป คือต้องขุดหลุมให้ กว้างและลึก 30 ซม. หากใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอิน ทรีย ์ รองก้นหลุม ก็จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น และเนื่องจากโปร่งกิ่วมีทรงพุ่มแน่น เมื่อเวลาลมแรง

จึงมีโอกาสทำให้ทรงพุ่มเอียงล้มได้ง่าย การปักหลัก และปลูกยึดลำต้นให้ตั้งตรงจึงมีส่วนสำคัญต่อการปลูก และบำรุงรักษา


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

99

ข้อดีอีกอย่างของโปร่งกิ่วคือเป็น พรรณไม้เรียก นก เนื่ อ งจากมี ผ ลดก เมื่ อ เวลาผลสุ ก มี สี แ ดงเข้ ม

รสหวาน จึ ง สามารถเรี ย กนกมากิ น ได้ เ ป็ น อย่ า งดี

ผู้ที่ปลูกโปร่งกิ่วในบริเวณบ้าน จึงมักได้ยินเสียงขับขาน ของนกขณะมากินผลแก่ ส่วนคนก็สามารถรับประทาน ผลสุกของโปร่งกิ่วเป็นผลไม้ ได้ด้วย นอกจากนี้ ในตำรา สมุ นไพรพื้ น บ้ า นอี ส าน ยั ง มี ก ารใช้ ส่ ว นของรากเข้ า ตำรั บ ยา โดยมี ส รรพคุ ณ บรรเทาอาการปวดเมื่ อ ย

กล้ามเนื้อ หรือเคล็ดขัดยอก ดอกอ่อนสีขาวอมเขียว ดอกบานสีเหลือง ลักษณะพรรณไม้ กลีบดอกติดกันเป็นกรวย ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 ม. แตกกิ่งจำนวน มาก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนสีเขียว มีช่อง ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ อากาศสีขาวเป็นจุดๆ เนื้อไม้เหนียว ใบ รูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ใกล้ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีขาวอมเขียว ดอกบานสีเหลือง โคนใบมนหรื อ เว้ า เล็ ก น้ อ ย ปลายใบเรี ย วทู่ ผิ ว ใบ

กลี บ ดอกติ ด กั น เป็ น กรวย ยาว 2-3 ซม. โคนดอก

ด้านบนเป็นมันเรียบ สีเขียวเข้ม ด้านล่างสีฟ้าอมขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7-1 ซม. ปลายกรวยมน ผล เป็นกลุ่ม มีผลย่อยจำนวน 7-12 ผล แต่ละ ผลรูปทรงกระบอก ยาว 2-2.5 ซม. มีเมล็ด 2-5 เมล็ด เรียงชิดติดกัน เปลือกผลคอดถี่ตามรูปเมล็ด ผลอ่อน

สีเขียวอมขาว ผลแก่สีแดง เมล็ด กลม สีขาว ขนาด 5-7 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ผลเป็นกลุ่ม เมื่อแก่มีสีแดง


100

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ฝาง Caesalpinia sappan L.

ใหม่ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็น บลัชที่ ให้สีระเรื่อบน โหนกแก้มได้อย่างไม่ขัดเขิน ก่อนยุคแห่งความทันสมัย ที่มนุษ ย์เรารู้จักใช้สี นอกจากนี้ ฝ างยั ง มี ส รรพคุ ณ แก้ ธ าตุ พิ ก าร

วิ ท ยาศาสตร์ ที่ ส ดใสย้ อ มอาภรณ์ ใ ห้ ง ดงามสะดุ ด ตา ท้องร่วง นำมาต้มกับน้ำพร้อมผสมมะขามเปียกช่วย คนไทยโบราณนิยมใช้สีจากเปลือกไม้ที่อาจไม่จัดจ้านนัก บำรุงโลหิตสตรีและขับประจำเดือน หรือแก้ปอดพิการ แต่ ให้ความเย็นตาเย็นใจ เช่น สีชมพูและสีแดงได้จาก ขับหนอง แก้เสมหะ แก้คุดทะราด แก้โลหิตออกทาง เปลือกและแก่นของต้น ฝาง คนรุ่นก่อนมักจะมีน้ำผสม ทวารหนักและเบา แก้เลือดกำเดา หรือเอาแก่นฝางมา น้ำยาอุทัยกลิ่นหอมชื่นใจของน้ำสีชมพูอ่อนเจือรสฝาด ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นเหนียวทาบริเวณน้ำกัดเท้า ตัวยา หวานปนขมแปลกลิ้น นิดๆ เป็นเครื่องดื่มรับรองแขก

“ฝาดสมาน” ในแก่ น ฝางช่ ว ยสมานผิ วได้ เ ป็ น อย่ า งดี

ผู้มาเยือน เพราะช่วยดับร้อนจากไอแดดได้เป็นอย่างดี สีน้ำตาลออกแดงสวยของเนื้อไม้ของฝางยังเป็นที่นิยม ซึ่งน้ำยาอุทัยนี้ก็มีส่วนผสมของฝางเช่นกัน เด็กสาวสมัย ในการนำมาทำเครื่องเรือนอีกด้วย ชื่ออื่น ง้าย ฝางส้ม


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

101

ฝักจะมีจะงอยแหลม

ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับกัน ช่อ ใบยาว 15-45 ซม. มีช่อใบย่อย 8-16 คู่ แต่ละช่อย่อย มี ใบย่อย 7-18 คู่ ใบย่อยขนาดเล็ก กว้าง 6-10 มม. ยาว 10-20 มม. ปลายมน โคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน ดอก ออกเป็นช่อ ออกใกล้กัน บริเวณปลายกิ่ง ก้ า นดอกยาว 15-20 มม. แต่ ล ะช่ อ มี ห ลายสิ บ ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ดอกสีเหลือง ผลิดอกในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ผล เป็ น ฝั ก เมื่ อ แห้ ง จะแข็ ง และแตกอ้ า ออก

ฝักแก่สีน้ำตาลแก่เป็นจุดๆ รูปรี ปลายฝักมีจะงอยแหลม มี 2-4 เมล็ด ผลแก่ในเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปกลมแบน ขนาด 3-5 มม.

ฝางจัดเป็นไม้ในวงศ์ถั่ว ที่มีชื่อเรียกต่างกันออกไป ในหลายจั ง หวั ด เช่ น กะเหรี่ ย งในแถบกาญจนบุ รี

เรียกว่า “ง้าย” “หนามโค้ง” ในภาษาของชาวจังหวัดแพร่ การขยายพันธุ์ และ “ฝางเสน” สำหรับชาวกรุงเทพฯ มีเขตการกระจาย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการปักชำ พันธุ์ในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศ พบที่อเมริกาใต้ ปลูกกันอย่างกว้างขวางตลอดเขตร้อน อินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ ไม้ ที่ อ ยู่ ใ นสกุ ล ฝาง (Caesalpinia) ทุ ก ชนิ ด จะเป็ น

ไม้เลื้อย มีเฉพาะต้นฝางนี้เท่านั้นที่เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก หรื อ ไม้ พุ่ ม สู ง 3-6 ม.

มีหนามแข็งทั่วทั้งลำต้น ผลัดใบแต่ผลิใบเร็ว จะแตกกิ่ง แขนงชิดพื้นดิน เปลือกนอกสีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วทั้งเถา ส่วนปลายกิ่งจะมีหนามแหลม สีดำ ถ้าปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น


102

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พะยู ง Dalbergia cochinchinensis Pierre

ชื่ออื่น กระยูง ขะยูง พยุง

ในช่วงฤดูร้อนที่อากาศอบอ้าวและมีความชื้นต่ำ อย่างเดือนมีนาคมและเมษายน จะพบว่าพรรณไม้ในป่า เต็งรังและป่าดิบแล้งแทบทุกชนิดล้วนพากันผลัดใบ ทิ้ง ลำต้นให้เดียวดาย เช่นเดียวกับต้น พะยูง ที่ยังคงมีแต่ กิ่งก้านระเกะระกะ ราวกับว่าเป็นต้นไม้ที่ยืนต้นตาย

ดู ไ ร้ ชี วิ ต ชี ว า แต่ พ อถึ ง เดื อ นพฤษภาคม พะยู ง กลั บ

แตกช่อออกดอกเต็มต้น ผลิดอกขนาดเล็กสีขาวจำนวนมาก ช่วยให้ป่าเต็งรังเปลี่ยนสภาพ คืนความสดชื่น และมี สีสันขึ้นมาทันที จะเห็นได้จากแมลงจำนวนมากที่บินมา ตอมน้ ำ หวานเสี ย งดั ง อื้ อ อึ ง สลั บ กั บ เสี ย งของนกตั ว เล็กๆ ในบางช่วงที่เข้ามาแย่งดูดกินน้ำหวาน

พะยูงกระจายพันธุ์อยู่ ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ แล้ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่ ร ะดั บ ความสู ง 100-300 ม. มี ม ากที่ จั ง หวั ด ชั ย ภู มิ สกลนคร นครราชสี ม า ขอนแก่ น ร้ อ ยเอ็ ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ส่วนในต่างประเทศ

พบในภู มิ ภ าคอิ น โดจี น พะยู ง จะออกดอกช่ ว งเดื อ น พฤษภาคมถึงกรกฎาคม และมีฝักแก่ในเดือนกรกฎาคม

ถึงกันยายน พะยู ง เป็ น พรรณไม้ ที่ ท นทานต่ อ ความแห้ ง แล้ ง สามารถขึ้นได้แม้ดิน ที่ขึ้นจะเป็นดิน ทรายหรือดินร่วน

ที่ ร ะบายน้ ำ ดี มี ชั้ น หน้ า ดิ น ตื้ น หรื อ ดิ น มี ค วามอุ ด ม สมบูรณ์ต่ำ ด้วยเหตุนี้พะยูงจึงเป็นพรรณไม้ที่ได้รับการ คัดเลือกให้มีการเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า แล้วนำต้นกล้า ไปปลู ก เป็ น พรรณไม้ ป ลู ก ป่ าในพื้ น ที่ ต่ า งๆ เกื อ บทั่ ว ประเทศ แต่ทั้งนี้พะยูงกลับเป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโต ได้ช้ามาก จึงต้องอาศัยระยะเวลาในการดูแลค่อนข้าง นาน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากต้นพะยูงหลายทาง เนื้อไม้สีแดงอมม่วงเป็น มันเลื่อม เนื้อละเอียดเหนียว ทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือน บุผนัง และใช้ในงานก่อสร้าง ทำส่วนต่างๆ ของเกวียน กระบะรถยนต์ ด้ามเครื่องมือ การเกษตร ใช้ ในงานแกะสลัก ใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น ลูกระนาด ซออู้ ซอด้วง ในตำรายาสมุนไพรพื้น บ้าน รากของพะยูงยังสามารถแก้ไข้พิษ เปลือกต้มเอาน้ำอม แก้ปากเปื่อย และด้วยความที่เป็นไม้ที่มีเนื้อคุณภาพดี จึงเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์กัน มาก จนมี การสั่งซื้อไม้พะยูงจากไทย ลาว และกัมพูชา เป็นเหตุ ให้จำนวนต้นที่มีอยู่ตามธรรมชาติลดน้อยลง กลายเป็น พรรณไม้หายาก และมีมูลค่าสูงในปัจจุบัน ใบสีเขียวเข้ม เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15-25 ม. ลำต้ น เปลาตรง เปลื อ กสี เ ทาเรี ย บ และล่ อ นเป็ น

แผ่นบางๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง ปลาย กิ่งห้อยย้อยลง

103

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ช่อใบยาว 10-15 ซม. มี ใบย่อย 7-9 ใบ เรียงสลับใบรูป ไข่แกม รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายสุด ของช่อเป็นใบเดี่ยวๆ โคนใบมน ปลายใบแหลม ผิวใบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล ดอก เป็นช่อสีขาวแยกแขนง ออกตามซอกใบเหนือ ปลายกิ่ ง กลี บ เลี้ ย งรู ป ถ้ ว ยสี เ ขี ย ว ปลายแยกเป็ น

5 แฉก กลี บ ดอกแบบดอกถั่ ว มี 5 กลี บ เมื่ อ บาน

มีขนาด 5-8 มม. ผล เป็นฝักแห้งไม่แตก แบนและบาง ผิวเกลี้ยง กว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เมล็ดเรียงตามความยาว ของฝัก จำนวน 1-4 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปไต ยาว 8-10 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ลำต้น มีเปลือกสีเทา


104

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

มะป่ วน Mitrephora tomentosa Hook. f. & Thomson

ชื่ออื่น นมหนู ปอแฮด แฮด ลำดวนดง

มะป่ ว น เป็ น 1 ใน 8 ชนิ ด ของพรรณไม้ ส กุ ล

มหาพรหมที่มีอยู่ ในประเทศไทย โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นพรรณไม้ที่มีเมล็ดจำนวนมาก มีระบบรากแข็งแรง ทนแล้งได้ดี จึงนิยมนำมาเป็นต้นตอทาบกับพรรณไม้ ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสกุลมหาพรหมด้วยกัน ดอกมะป่วนจะออกในเดือนเมษายน ส่วนผลจะแก่ เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม มะป่วนมีการกระจายพันธุ์ ในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-300 ม. ปัจจุบัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็น พืชสมุนไพร แก่นมะป่วนใช้ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 กำมือ วันละ 3 ครั้ง

โดยปกติมะป่วนจะกระจายพันธุ์ ได้ดี เนื่องจาก ผลสุกมีรสหวานและเป็นอาหารของสัตว์ป่าหลายชนิด นับตั้งแต่ กระรอก นก ค้างคาว และเมื่อร่วงหล่นลงมา แล้วยังเป็นอาหารของพวกเก้งและไก่ป่า เมื่อสัตว์เหล่านี้ กินผลมะป่วนเข้าไปพอถ่ายมูลออกมาก็จะมีเมล็ดมะป่วน งอกขึ้นในบริเวณดังกล่าวด้วย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

105

ดอก ออกเป็นกระจุก 2-3 ดอก ตรงข้ามใบ ก้าน ดอกยาว 1-1.5 ซม. กลีบดอกสีเหลือง 6 กลีบ เรียง ใบเดี่ยว เป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม เป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนานปลายแหลมและ โค้ง ขอบกลีบหยักเว้า กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบดอกชั้นในรูปช้อน กว้างและยาวประมาณ 1.5 ซม. เรียงตัวชิดกันเป็นรูปโดม ผล ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 16-24 ผล แต่ละผล รูปกลมรี ยาวประมาณ 3 ซม. ก้านยาวประมาณ 1.5 ซม. ผลสุกสีเหลือง มีขนสีน้ำตาลคลุม มี 3-7 เมล็ด มะป่ ว นมี ท รงพุ่ ม ที่ ก ลมสวยงาม จึ ง เหมาะที่ จ ะ เมล็ด สีน้ำตาล กลมแบน ขนาด 6-8 มม. ปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ โชว์ ท รงพุ่ ม โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง

ในงานจัดภูมิทัศน์และในสนามกอล์ฟ แต่การที่มะป่วน จะออกดอกได้พร้อมกันทั้งต้นเป็นทรงพุ่มหรือไม่ จะขึ้น อยู่กับสภาพความแล้ง หากพื้นที่ปลูกเป็นเนินและเป็น โคกที่ แ ห้ ง แล้ ง หรื อ เนิ น ที่ ร ะบายน้ ำ ได้ ดี มะป่ ว นจะ ออกดอกได้ พ ร้ อ มกั น ทั้ ง ต้ น มี ค วามสวยงามมาก

แตกต่างจากต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ลุ่มหรือมีน้ำแฉะตลอดเวลา รวมทั้งต้นที่ปลูกตามบ้านพัก ซึ่งมีการให้น้ำกันอยู่แทบ ทุกวัน จนดินปลูกมีสภาพความชื้นสูง จะทำให้ต้นมะป่วน แตกใบอ่ อ นอยู่ ต ลอดเวลาและไม่ อ อกดอก หรื อ มีด อก

ออกน้อยมาก ผลออกเป็นกลุ่ม

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นสูง 10-15 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้าง การขยายพันธุ์ กลม เปลื อ กต้ น เรี ย บสีน้ำตาล กิ่งอ่อนและใบอ่อนมี

โดยการเพาะเมล็ด แต่หากต้องการให้ออกดอก ขนสีน้ำตาลหนาแน่น ได้รวดเร็วขึ้นจะใช้วิธีทาบกิ่ง โดยใช้ต้นมะป่วนทาบกับ ใบ เป็ น ใบเดี่ ย ว เรี ย งสลั บ สองข้ า งของกิ่ ง ใน กิ่งยอดของมะป่วนที่ออกดอกแล้ว ระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบมีขนสีน้ำตาล


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

106

ลำดวนแดง Melodorum fruticosum Lour. cv. ‘Lamduan Daeng’

ชื่ออื่น -

ในอดีต ลำดวนแดง เป็นพรรณไม้ที่มีต้นแม่พันธุ์ อยู่เพียงต้นเดียวในโรงเรียนประชาพัฒนศึกษา อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเกิดมาจากการกลาย พันธุ์ของต้นลำดวนที่มีดอกสีเหลือง จึงนับเป็นพรรณไม้ แปลกประหลาด ทำให้ มี ค วามพยายามขยายพั น ธุ ์

เมื่อเริ่มบานกลีบดอกมี

สีพื้นเป็นสีเหลืองนวล ปลายกลีบด้านในมี

สีม่วงแดงเข้ม

ทั้งโดยวิธีการเพาะเมล็ด และการทาบกิ่ง โดยใช้ลำดวน ดอกเหลืองเป็นต้นตอ ปรากฏว่าการขยายพันธุ์ทั้งสอง วิธีได้ผลดี มีจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้น และได้รับความนิยม ในการนำไปปลูกทั่วประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันสามารถ พบเห็นต้นลำดวนแดงได้ทั่วไป ลำดวนแดงเป็นพรรณไม้วงศ์กระดังงา มีช่วงฤดู ดอกบานอยู่ ใ นเดื อ นมกราคมถึ ง เมษายน ปั จ จุ บั น

จากการที่มีการปลูกลำดวนแดงเป็นไม้ประดับตามบ้าน มากขึ้นก็พบว่าลำดวนแดงมีช่วงฤดูออกดอกนานมาก

ขึ้น บางครั้งจะมีดอกหลังเดือนเมษายน และมีโอกาส ทยอยออกดอกในเดื อ นอื่ น ๆ ได้ อี ก ขณะที่ ล ำดวน

ดอกเหลื อ งจะออกดอกเฉพาะในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง มีนาคมเท่านั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่ผู้ปลูกมีการ รดน้ ำ และใส่ ปุ๋ ย ลำดวนแดงอยู่ ต ลอดเวลา ทำให้ พฤติกรรมการออกดอกของต้นลำดวนแดงที่ปลูกอยู่ เปลี่ยนแปลงไป


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

107

หากใครที่คิดจะปลูกลำดวนแดงแต่ยังไม่ทราบวิธี สังเกตความแตกต่างระหว่างลำดวนแดงกับลำดวนที่ม ี ดอกเหลืองตามปกติ ก็สามารถดูได้จากดอก เนื่องจาก สีดอกของลำดวนทั้งสองจะแตกต่างกัน แต่หากไม่ ได้ อยู่ ในช่วงฤดูออกดอก ก็สามารถสังเกตได้จากลักษณะ

รูปร่างของใบ โดยลำดวนธรรมดามี ใบรูปขอบขนาน เรียวยาว เนื้อใบหนา และด้านล่างของใบมีนวลสีขาว ฉาบอยู่ ขณะที่ลำดวนแดงมี ใบรูปรี ขนาดใบใหญ่กว่า ออกดอกเดี่ยว ลำดวนธรรมดา และด้านล่างของใบมีนวลขาวฉาบอยู่ มีกลิ่นหอม เพียงเล็กน้อย แม้ลำดวนแดงกับลำดวนธรรมดาจะมีสีดอกและ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ลั ก ษณะใบแตกต่ า งกั น แต่ ใ นการจำแนกชื่ อ ทาง พฤกษศาสตร์ ยังคงจัดให้ลำดวนทั้งสองมีชื่อวิทยาศาสตร์ กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบมน ปลายเรียว เป็นต้นเดียวกันอยู่ แหลมมีติ่ง ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาเป็นมันทั้งสองด้าน ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ลักษณะพรรณไม้ ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม สูง 5 ม. เปลือก ใกล้ปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบานกลีบดอกมีสีพื้นเป็นสีเหลือง ลำต้นเรียบ สีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียว และมีกลิ่นฉุน นวล ปลายกลี บ ด้ า นในมี สี ม่ ว งแดงเข้ ม มี ก ลิ่ น หอม แตกกิ่งที่ปลายยอดจำนวนมาก กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ รูปไข่ บานกางออก กลีบนอก ชั้นในประกบกันเป็นรูปกลม ผล กลุ่ม มีผลย่อย 20-35 ผล ผลรูปรี ผลอ่อน เปลือกเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วง อมดำ มี 1 เมล็ด ใบเดี่ยวรูปรี เมล็ด กลมรี สีขาว ยาว 5-8 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และทาบกิ่ง


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

108

หมั กม่อ Rothmannia wittii (Craib) Bremek.

ชื่ออื่น ต้นขี้หมู หม่อ

หมักม่อ เป็นพรรณไม้ ในสกุลสะแล่งหอมไก๋ของ วงศ์ เ ข็ ม ที่ มี ค ำระบุ ช นิ ด wittii ตั้ ง เป็ น เกี ย รติ แ ก่ อำมาตย์เอกพระยาวินิจวนันดร นักพฤกษศาสตร์นาม กระเดื่องของไทย มีการสำรวจพบครั้งแรกของโลกใน ประเทศไทย ที่จังหวัดนครราชสีมา บริเวณป่าเต็งรัง ระดับ 60 ม. มีรายงานตีพิมพ์เปลี่ยนมาใช้เป็นชื่อนี้ในปี 2454 หมักม่อมีลักษณะใกล้เคียงกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสกุลเดียวกันซึ่งมีทั้งหมด 8 ชนิด ส่วนใหญ่มีทรง พุ่มขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มีเนื้อไม้แข็งและเหนียว เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำและมีดอกหอม ซึ่ง เป็นลักษณะเด่นของพรรณไม้ ในสกุลนี้ นอกจากนี้ยังมี

ดอกออกเป็นกระจุก

ใกล้ปลายยอด มีสีขาวนวล

ดอกรู ป ระฆั ง คว่ ำ สี ข าวนวล ปลายแยกเป็ น 5 กลี บ

มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 ซม. กลีบดอกด้านใน

มีจุดประสีม่วงแดง หากจะเปรียบเทียบกับสะแล่งหอมไก๋ ซึ่ ง มี ลั ก ษณะต่ า งๆ และขนาดของต้ น ใกล้ เ คี ย งกั น

ก็จะพบส่วนที่แตกต่างกันได้ โดยที่หมักม่อมีจำนวนดอก ต่อกระจุก 5-12 ดอก มีใบนิ่มค่อนข้างใหญ่ บางและมี ขนมาก ขณะที่สะแล่งหอมไก๋มีดอกกระจุกละ 1-3 ดอก มี ใบรูปรี ปลายใบเรียวแหลม ค่อนข้างเล็ก หนาและ เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ถิ่ น กำเนิ ด และการกระจายพันธุ์ของหมักม่อจะ

ขึ้นอยู่ ในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ และป่า ละเมาะที่เป็นดิน ทรายหรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี

มีค วามทนทานต่ อความแห้งแล้ง อยู่ตามเนินเขาที่มี

หน้าดินตื้น ชั้นล่างเป็นหินทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ต้น หมักม่อจึงเจริญเติบโตช้ามาก และมีขนาดลำต้น

ไม่ สู ง ใหญ่ ขึ้ น อยู่ ใ นพื้ น ที่ ร ะดั บ ความสู ง 200-500 ม.

ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของ ภาคกลาง จังหวัดที่พบมากได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ สกลนคร หมักม่อเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการใช้ส่วนแก่นหรือรากของหมักม่อต้มน้ำ เดือดช่วยแก้ ไข้ และใช้ลำต้นเข้าตำรับยาสมุนไพรอื่นๆ เนื้อในของผลมีสีดำแฉะเล็กน้อย มีลักษณะเป็นลอน คล้ายขี้หมู กินได้มีรสหวาน มีสรรพคุณเป็นยาแก้เจ็บ คอ ส่ ว นการปลู ก ต้ น หมั ก ม่ อ เพื่ อใช้ ป ระโยชน์ เ ป็ น

ไม้ดอกไม้ประดับ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากที่มี ข้อมูลและภาพเผยแพร่ออกมาจากหนังสือไม้ดอกหอม ทำให้หลายคนได้รับรู้และชื่นชมว่าหมักม่อเป็นพรรณไม้ ที่มีทรงพุ่มสวยงาม มีดอกดกเต็มต้น และมีกลิ่นหอม ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 6-8 ม. เปลื อ ก

สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่ง 3-4 กิ่งออกจากจุดเดียวกันคล้าย ฉั ต ร กิ่ ง อ่ อ นมี ข นปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ มี ใบ เฉพาะตอนปลายกิ่ง ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ เป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย งตรงข้ า มเป็ น คู่ รู ป รี ยาว

6-10 ซม. ใบอ่ อ นมี ข นปกคลุ ม และเห็ น เส้ น แขนง

ใบชัดเจน ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบ บาง

109

ดอก ออกเป็ น กระจุ กใกล้ ป ลายยอดสี ข าวนวล แต่ ล ะกระจุ ก มี 5-12 ดอก รู ป ระฆั ง ปลายแยกเป็ น

5 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 ซม. กลีบดอก ด้ า นในมี จุ ด ประสี ม่ ว งแดง ออกดอกพร้ อ มกั น ทั้ ง ต้ น

มีฤดูดอกบานนาน 1 สัปดาห์ มีกลิ่น หอมอ่อนในช่วง กลางวันและกลางคืน ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน ผล กลม ขนาด 3-4 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่

สีดำ มีรสหวาน รับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปกลมรี ยาว 4-6 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด



ภาคตะวันออกของประเทศไทยเต็มไปด้วยป่าดิบชื้น บนเขาเตี้ยๆ สลับกับป่าชายเลนตามแนวชายฝั่ง คือบ้านของพรรณพืชที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย


112

กะหนาย

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ก ะ ห น า ย เ ป็ น พ ร ร ณ ไ ม้ ที่ อ ยู่ ใ น ว ง ศ์ ป อ (Steraculiaceae) ในสกุลกะหนาย (Pterospermum) ชื่ออื่น ขนาน จำปาเทศ สนาน ยวนปลา หำอาว สำรวจพบครั้ ง แรกโดยหมอคาร์ ที่ อ ำเภอศรี ร าชา ผู้ที่ชื่นชอบการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นอย่างที่เรียก จังหวัดชลบุรี บริเวณใกล้ชายหาด พรรณไม้ชนิดนี้มี ใบ กันว่าอิเคบานะ อาจคุ้นเคยกันดีกับพรรณไม้ชนิดหนึ่งที่ ลักษณะพิเศษกว่าพรรณไม้ชนิดอื่นตรงที่ ใบของต้นอ่อน นิยมนำมาจัดดอกไม้ ซึ่งใบมีรูปร่างจักเว้าลึกสวยงาม หรือใบของกิ่งที่แตกมาจากต้นที่ถูกตัดยอดจะมีลักษณะ คล้ายฝ่ามือ ที่ชื่อ กะหนาย หรือจำปาเทศ พรรณไม้ คล้ายฝ่ามือ แต่เมื่อกะหนายเจริญเติบโตมากขึ้นจนถึง ถิ่นเดียวของไทยที่พบกระจายอยู่ตามป่าชายหาด และ ช่วงที่เริ่มออกดอกได้ ใบจะเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ มี ป่าละเมาะใกล้ชายหาดทางภาคตะวันออกของประเทศ ลักษณะจักเว้าน้อยลงจนมีลักษณะเหมือนกับใบไม้ทั่วๆ ไทย ไป และใบของกะหนายนี่เองที่นิยมนำมาจัดดอกไม้แบบ ญี่ปุ่น ส่วนชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมนำใบมาทับให้เรียบแล้ว ตากแดดให้แห้ง นำไปจัดเป็นดอกไม้แห้ง หรือจัดใส่ ใน กรอบรูป นำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและ ชุมชนได้เป็นอย่างดี Pterospermum littorale Craib var. littorale


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

113

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-16 ม. แตกกิ่งยาว เกสร โค้ ง อ่ อ นช้ อ ย กิ่ ง อ่ อ นมี ข นสี ข าวหรื อ เหลื อ งอ่ อ น ประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ทรงพุ่มค่อนข้างโปร่งสูงเรียว ใบ เดี่ยวเรียงสลับ มี 2 แบบ คือใบของต้นอ่อน รูป ไข่กว้างหรือเกือบเป็นแผ่นกลม กว้าง 14-18 ซม. ยาว 14-16 ซม. แผ่ น ใบเว้ า เป็ น แฉกลึ ก 5-7 แฉก

ใบของต้นแก่มีรูปขอบขนานและมีขนาดเล็กลง ดอก เดี่ยวออกตามง่ามใบ ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม อ่อนๆ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมน้ำตาล รูปขอบ ขนาน กว้าง 7-8 มม. ยาว 7-8 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-6 ซม. โคนกลีบเรียว กลีบด้านนอก มีขนเป็นแฉกรูปดาวประปราย ด้านในเกลี้ยง ผล แบบผลแห้ ง แตก คล้ า ยผลทุ เ รี ย น รู ป ในช่ ว งเดื อ นกั น ยายนถึ ง ธั น วาคม กะหนาย กระบอกสั้น กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีสันคม

จะทยอยออกดอกสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ 5 สัน ผนังผลมีขนสีเหลืองอมน้ำตาล ผลแก่แตกตาม กลีบดอกบางบิดเวียน และมีกลีบเลี้ยงหนายาวโค้งเรียว รอยสันออกเป็น 5 เสี่ยง มีเมล็ดจำนวนมาก ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ไปทั่วบริเวณ แต่ก็น่าเสียดายที่กลีบ เมล็ด ด้านบนมีปีกบางใสสีน้ำตาล ดอกของกะหนายนั้นช่างแสนบอบบางและบอบช้ำง่าย ดอกสีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานให้ ได้เชยชมเพียงแค่วันเดียวแล้วร่วงโรยใน

วันรุ่งขึ้น ดอกที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินเมื่อแห้งจะมีกลิ่นคล้าย จำปา ปัจจุบัน พรรณไม้ชนิดนี้จึงได้รับการพัฒนาให้ ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็น อย่างดีจากผู้ที่ชื่นชอบไม้ดอกหอม เพราะนอกจากจะมี ช่อดอกที่สวยงามและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แล้ว กะหนายยัง เป็นพรรณไม้ที่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ทนแล้ง และมีทรงพุ่ม

ที่สวยงาม กิ่งยาวอ่อนช้อย ยิ่งถ้าผู้ปลูกเลี้ยงตัดแต่ง

กิ่งกระโดงที่แตกใหม่อย่างสม่ำเสมอ กะหนายก็จะมีทรง พุ่มที่โปร่งสวยงาม ออกดอกได้ทั่วทุกกิ่งพร้อมกลิ่นหอม รวยริน จึงเหมาะที่จะปลูกประดับตามอาคารสำนักงาน การขยายพันธุ์ สวนสาธารณะ แหล่งพักผ่อน โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

114

ตำหยาวผลตุ ่ม Alphonsea boniana Finet & Gagnep

ชื่ออื่น กล้วยค่าง

ดอก ออกเดี่ยว หรือเป็น กระจุก 1-3 ดอก ดอกสีเหลืองอ่อนอมเขียว กลีบดอกวงในประกบกัน คล้ายรูปคนโท

ต ำ ห ย า ว ผ ล ตุ่ ม เ ป็ น พ ร ร ณ ไ ม้ ใ น ว ง ศ์ Annonaceae หรือวงศ์กระดังงา มีเขตกระจายพันธุ์ และถิ่ น กำเนิ ด อยู่ ใ นภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ภาค ตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ส่วน

ต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน ขึ้นในป่าดิบชื้นและ ตำหยาวผลตุ่ม เป็นพรรณไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม ป่ า ดิ บ แล้ ง ที่ มี เ รื อ นยอดแน่ น ทึ บ ระดั บ ความสู ง รูปทรงสามเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า รูปกรวยคว่ำ แตกกิ่ง 200-600 ม. ออกดอกและผลเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม จำนวนมากขนานกับพื้นดิน มี ใบหนาเป็นมันสีเขียวเข้ม เหมาะที่จะปลูกเป็นพรรณไม้ประดับในงานจัดภูมิทัศน์ ปัจจุบันถูกจัดอยู่ในสถานภาพพืชหายาก ตามสวนสาธารณะ ปลู กในสนามกอล์ ฟ สนามของ

ส่วนราชการ โรงเรียนหรือสำนักงานของภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนแผ่กระจายเกือบ ตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นสูง จึงจะเจริญเติบโตได้ดี ตำหยาวผลตุ่มชอบดินร่วนระบายน้ำดี หากนำไป ปลูกในดินเหนียวที่มีการระบายน้ำต่ำจะแสดงอาการ ชะงั ก การเจริ ญ เติ บ โต และมี อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โต

ช้ามาก แตกกิ่งน้อย แตกใบอ่อนช้า ใบแก่มีสีค่อนข้าง เหลือง อาการดังกล่าวแก้ ได้โดยช่วยทำทางระบายน้ำ ช่วยทำให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น ไม่ขังแฉะ และหากนำไป ปลูกในดิน ทราย ก็จะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ามาก เช่นกัน จึงต้องปรับปรุงดินปลูกให้มีความอุดมสมบูรณ์ มากขึ้น ด้วยการใส่ปุ๋ยคอกรอบโคนต้นเป็นช่วงๆ แล้ว พรวนกลบ สำหรับต้น ที่ปลูกแล้วมีอาการขอบใบแห้ง หรื อ ปลายใบแห้ ง ม้ ว นงอ เนื่ อ งจากได้ รั บ แสงแดด รุนแรงจัด อากาศร้อนหรือแห้งแล้งมากเกินไป จึงต้อง ช่วยพรางร่มให้ ลดความร้อนลงและรดน้ำเพิ่มความชื้น ให้มากขึ้น การพรวนโคนต้นและคลุมโคนต้นด้วยฟาง หรือหญ้าแห้งจะช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดี


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

ข้อสำคัญในการปลูกตำหยาวผลตุ่มคือ ต้องปัก หลักและผูกยึดลำต้นให้ตั้งตรง เนื่องจากมักทอดเอน แล้วแตกกิ่งกระโดงขึ้นมาใหม่ จะเบียดทรงพุ่มเดิมให้ ทอดเอนจนขาดความสวยงาม การบำรุงรักษาให้มีทรงพุ่ม สง่ า งาม โดยการตั ด แต่ ง กิ่ ง เป็ น ช่ ว งๆ ตั ด กิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ น

ทรงพุ่ม เพื่อให้มองเห็นทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ลมพัดผ่าน ได้ง่าย เป็นการลดแรงปะทะจากลม เพื่อป้องกันมิให้ ต้นโค่นล้มหรือทอดเอน ถึงแม้ว่าตำหยาวผลตุ่มจะมี

ดอกขนาดเล็ก และไม่มีกลิ่น หอม แต่ก็สามารถปลูก เพื่อใช้โชว์ทรงพุ่มได้ดี

115

ดอก ออกเดี่ ย ว หรื อ เป็ น กระจุ ก 1-3 ดอก ออกดอกตรงข้ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อนอมเขียว กลีบ ดอกเรียง 2 วง วงละ 3 กลีบ หนา กว้าง 5-7 มม. ยาว 12-158 มม. ปลายกลีบดอกวงนอกบานตลบไปด้าน หลัง กลีบดอกวงในประกบกันคล้ายรูปคนโท และสั้น กว่ากลีบดอกวงนอก ดอกบาน 1-2 วันแล้วร่วง ผล ผลสด ออกเดี่ยว หรือเป็นคู่ รูปทรงกระบอก ปลายเป็ น ติ่ ง สั้ น ผิ ว มี ตุ่ ม นู น ขรุ ข ระทั่ ว ผล สี เ ขี ย ว

เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เมล็ด มีจำนวน 12-16 เมล็ดต่อผล เรียง 2 แถว แต่ละเมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ใช้เวลาเดือนครึ่งจึงเริ่มงอก ต้นกล้าระยะแรกมีขนาดเล็กและเจริญเติบโตช้ามาก ชอบอยู่ในที่ร่มเงา และมีความชื้นสูง

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก ไม่ ผ ลั ด ใบ สู ง 5-8 ม.

เปลื อ กลำต้ น เรี ย บ สี ด ำ มี ช่ อ งอากาศเป็ น แนวสี ข าว

บิดเวียนตามยาว แตกกิ่งขนานกับพื้นดิน ทรงพุ่มกลมโปร่ง ลำต้นมักทอดเอน เนื้อไม้เหนียวมาก กิ่งอ่อนมีขนมาก กิ่งแก่เรียบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบรูปขอบ ขนาน กว้าง 2-4 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบมนจนถึง รู ป ลิ่ ม ปลายใบแหลม เส้ น แขนงใบและเส้ น ร่ า งแห

เห็ น ไม่ ชั ด เจน ผิ ว ใบเรี ย บเป็ น มั น ทั้ ง สองด้ า น ด้ า นบน

สีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่าและเห็นเส้นกลางใบเป็น สันนูนเด่นสีเหลืองอมเขียว


116

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

นมสวรรค์ ต้น Clerodendrum smitinandii Moldenke

ชื่ออื่น ไฟเดือนห้า

นมสวรรค์ต้น เป็นพรรณไม้หายากถิ่นเดียวของ ไทยในสกุลนมสวรรค์หรือพนมสวรรค์ มีชื่อระบุชนิด smitinandii ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ เป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ บรมครูทางด้านการสำรวจพรรณไม้ ของไทย พรรณไม้ ส กุ ล นี้ ในเมืองไทยมีมากกว่า 20 ชนิด ที่รู้จักกันดี ได้แก่ นางแย้ม นมสวรรค์ เท้ายายม่อม ระย้าแก้ว เป็นพรรณไม้ ในสกุลที่มีดอกสวยงาม มี ทั้ ง ที่ ด อกหอมและไม่ หอม ทั้งนี้นักพัฒนาพรรณไม้ ควรมีการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนร้อน และทนแล้งได้มากขึ้น เพื่ อ ที่ จ ะสามารถปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ และไม้ ด อก

ในกระถางได้

นมสวรรค์ต้นเป็น พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ ในป่าดิบชื้น

ที่ระดับความสูง 800-1,000 ม. เฉพาะในเขตรักษา พั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า เขาสอยดาว และอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขา

คิชฌกูฏ จังหวัดจัน ทบุรี เป็น พรรณไม้อีกชนิดหนึ่งที่

คนไทยควรเร่งขยายพันธุ์ให้มีต้นกล้าจำนวนมากขึ้น แล้ว นำไปปลูกอนุรักษ์เป็นกลุ่มหรือเป็นแปลงใหญ่ ในพื้นที่ ระดับสูงที่มีอากาศหนาวเย็น มีความชื้นสูง และได้รับ แสงแดดมากเต็มที่ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ ช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย เนื่องจากยังไม่มีในพื้นที่ อื่นๆ ของประเทศ และทนทานต่อลมแรงได้ดี


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

117

ดอก เป็นช่อแบบช่อแยกแขนงแกมช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงสีแดงรูประฆัง ปลายแยก เป็นกลีบแหลม 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด กลีบเลี้ยงสีแดง ยาว 3.5-5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีขาว มีก้าน เกสรเพศผู้และเพศเมียสีขาวยื่นยาวพ้นตัวดอก ผล สุกสีดำ กลีบเลี้ยงติดทน สีแดง เมล็ด ขนาดเล็ก สีดำ ดอกตูม ในส่ ว นของนั ก วิ ช าการหรื อ นั ก วิ จั ย ก็ ค วรเร่ ง ศึ ก ษาการใช้ ป ระโยชน์ ใ นแต่ ล ะด้ า น เนื่ อ งจากนมสวรรค์ต้ น เป็น พรรณไม้ที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย

จึ ง ควรมี ก ารศึ ก ษาเพื่ อให้ ค นไทยสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ ได้มากที่สุด และควรร่วมมือกันพัฒนาให้เป็น พรรณไม้เศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่คนไทย ต่อไปในอนาคต นมสวรรค์ ต้ น เป็ น พรรณไม้ เ พี ย งชนิ ด เดี ย วใน สกุลนมสวรรค์ที่มีลักษณะเป็นไม้ต้น มีกิ่งก้านเหนียว ดอกบาน ส่ ว นพรรณไม้ อื่ น ๆ ที่ เ หลื อ จะเป็ นไม้ พุ่ ม ทั้ ง พุ่ ม เล็ ก

พุ่มใหญ่ และมีกิ่งก้านเปราะฉีกหักง่าย ลักษณะใบของ การขยายพันธุ์ นมสวรรค์ต้นจะมีความหนา เหนียว สีเข้มมากขึ้นเมื่ออยู่ใน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง ที่ร่มและมีลมพัดรุนแรง รวมทั้งแตกใบจำนวนมากขึ้น เพื่อปรับตัวสู้กับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-7 ม. เปลือกสี น้ำตาลแกมดำ กิ่งแก่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กน้อย ทรงพุ่ม กลมโปร่ง ใบ เรี ย งตรงข้ า ม สลั บ ตั้ ง ฉาก รู ป รี แ กมรู ป

ขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-15 ซม. เส้นแขนงใบ 4-8 คู่ เนื้ อใบคล้ า ยแผ่ น หนั ง เล็ ก น้ อ ย ขอบใบเรี ย บ ไม่มีขน


118

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พุ งทะลาย Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib.& Planch.

ชื่ออื่น สำรอง

ในช่ ว งฤดู ร้ อ นที่ อ ากาศแสนร้ อ นอบอ้ า ว ชาว จันทบุรีจะนำผลแห้งของพรรณไม้ชนิดหนึ่งที่ชื่อ สำรอง หรือ พุงทะลาย มาแช่น้ำแล้วนำเนื้อที่มีลักษณะคล้าย วุ้นมาต้มกับน้ำตาลกรวดรับประทานเป็นของหวานเพื่อ ดับกระหาย คลายร้อน แก้ร้อนใน อันเป็น ภูมิปัญญา

พื้นบ้านที่ได้รับการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ พุงทะลายยังเป็นสมุนไพรที่ชาวจีนนำมาใช้ ในการ รักษาโรคมาช้านาน โดยใช้พุงทะลายและชะเอมต้มกับ น้ำ แล้วจิบบ่อยๆ แก้เจ็บคอ ส่วนในอินเดีย ชาวภารตะ ก็ใช้พุงทะลายในการรักษาอาการอักเสบ แก้ ไอและขับ เสมหะ สำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ก็ประสบความ สำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปรับภูมิคุ้มกันจากพุงทะลาย” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยกระตุ้น การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ป้องกันและทำลาย เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย และมีฤทธิ์ ต้านอักเสบ ในยุคหนึ่งคนนิยมกินเนื้อผลพุงทะลายเป็น อาหารลดความอ้วน เนื่องจากพุงทะลายมีกากใยมาก ช่ ว ยในการขั บ ถ่ า ย เนื้ อ พองน้ ำ จึ ง ทำให้ อิ่ ม ท้ อ งได้ ดี นอกจากนี้ยังมีผู้นำวุ้นของเนื้อพุงทะลายไปฟอกสีทำเป็น น้ำรังนกเทียมอีกด้วย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

119

ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนสีแดง ผล รูปกระสวยมีปีกบางๆ เป็นรูปเรือโค้ง มีลาย เส้ น ชั ด เจน ออกผลไม่ แ น่ น อน อาจจะออกทุ ก ปี ห รื อ

ผลมีปีกบางๆ ปีเว้นปี เมล็ด กลมรีสีน้ำตาล ยาว 1-1.5 ซม. เมื่อแช่น้ำ เนื้อหุ้มเมล็ดจะพองตัวคล้ายวุ้น

ผล

พุงทะลายเป็น พรรณไม้ ในวงศ์ Sterculiaceae กระจายพั น ธุ์ อ ยู่ ใ นป่ า ดิ บ ชื้ น ป่ า ดิ บ เขา พบมากใน จังหวัดจันทบุรีและอุบลราชธานี ต่างประเทศพบในพม่า กัมพูชา และมาเลเซีย สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกเลี้ยง

พุงทะลายเพื่อเก็บผลแก่ จำเป็นต้องอาศัยความอดทน เพราะพรรณไม้ชนิดนี้เจริญเติบโตช้า กว่าจะมีความสูง 20 ม. และออกดอกติดผลได้ ต้องใช้เวลาประมาณ

20 ปี ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดใหญ่ สู งได้ ถึ ง 45 ม. ผลั ดใบ โคนต้ น มี พู พ อน เปลื อ กสี เ ทา มี ร อยแผลเป็ น ทั่ วไป เปลือกในสีชมพู มีเส้นตามยาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รู ป กรวยคว่ ำ กิ่ ง ก้ า นมั ก แตกออกรอบลำต้ น ณ จุ ด เดียวกันเป็นชั้นๆ แบบฉัตร ใบ เดี่ ย ว เรี ย งเวี ย นสลั บ ใบอ่ อ นสี แ ดงเรื่ อ ๆ

ใบเป็ น รู ป ฝ่ า มื อ มี 3-5 แฉก ขนาดใบ 15-25 ซม.

เนื้อใบบาง เกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน

เปลือกหุ้มเมล็ด

เมล็ด

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ


120

พุ ดสี Gardenia tubifera Wall.

ชื่ออื่น พุดป่า

ก่อนหน้านี้ พุดสี มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า พุดป่า กระทั่งในปี 2544 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นพุดสีตามที่ ระบุอยู่ในหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย พุดชนิดนี้ จำแนกออกจากพุดชนิดอื่นที่อยู่ ในสกุลเดียวกันได้ง่าย เนื่องจากเมื่อผลแก่จะแตกแบะออก เปลือกผลด้านในมี สีแดงเข้ม ต่างจากพุดที่อยู่ ในสกุลนี้ทั้งหมดซึ่งจะมีผล รูปรีคล้ายคลึงกัน และมีขนาดยาวประมาณ 3-4 ซม. เหมือนๆ กัน แต่เมื่อแก่แล้วจะไม่แตกออกเหมือนกับ พุดสี

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ดอกของพุดสีมีลักษณะคล้ายคลึงกับพุดชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน และมีสีเหลืองคล้ายคลึงกัน แต่พุดสี มีขนาดของดอกเล็กกว่าและมีขอบกลีบเวียนซ้อนเกย

กัน มากกว่า พุดสีชอบขึ้นกระจายอยู่บริเวณน้ำกร่อย ชายทะเล ซึ่งเป็น พื้น ที่ระดับต่ำในภาคใต้ ทั้งชายฝั่ง ตะวันตกและชายฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในบริเวณที่ เป็น ป่าชายเลน จังหวัดที่พบมากได้แก่ กระบี่ พังงา นอกจากนั้นยังพบบริเวณชายทะเลในภาคตะวันออก

ที่จังหวัดชลบุรี และจัน ทบุรี นอกจากนี้ยังพบบริเวณ

ริมน้ำตก ในอุทยานแห่งชาติปางสีดา ซึ่งเป็นพื้นที่ระดับ สูงถึง 600 ม. อันผิดไปจากวิสัยของพรรณไม้ชนิดนี้

ที่ชอบขึ้นในบริเวณน้ำกร่อย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

พุ ด สี เ ป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ Rubiaceae สกุ ล Gardinia เช่ น เดี ย วกั บ พุ ด ชนิ ด อื่ น ๆ แต่ พุ ด สี จ ะเป็ น พรรณไม้ที่เจริญเติบโตช้าที่สุด และทรงพุ่มก็มีขนาด เล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน เช่น คำมอกหลวง รักนา ผ่าด้าม พุด และพุดภูเก็ต แต่พุดสี ก็มีลักษณะเด่นคือออกดอกตลอดปี จึงเหมาะที่จะปลูก เป็ นไม้ ป ระดั บ โชว์ ท รงพุ่ ม ไม้ ก ระถาง และไม้ ด อก

ลงแปลงประดับสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ในอดีต คนนิยมนำไม้ ในสกุลพุดมาทำหวี ด้วยมี ความเชื่อที่ว่า หวีที่ทำจากไม้พุดเมื่อนำมาหวีผมแล้วผม จะดกดำ โดยอ้างว่าไม้พุดนี้จะไม่สร้างประจุไฟฟ้าซึ่งจะ ช่วยให้เส้นผมมีสีดำขึ้น อยู่ ได้นานมากขึ้น หรือเท่ากับ ช่วยป้องกันผมหงอกได้ช้าลง แต่จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มี การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ การตัดไม้พุดเพื่อนำมา ทำหวีจึงเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับ การปลูกเป็นไม้ประดับและจำหน่ายซึ่งมีมูลค่ามากกว่า เปลือกผลแตกออก เป็นสีแดง

121

ผลอ่อนสีเขียว

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 ม. แตกกิ่งมาก ทรง พุ่มแผ่กว้าง กิ่งโน้มลงต่ำ เปลือกสีเทาอมขาว มีช่อง อากาศเป็นตุ่มขนาดเล็กทั่วไป เนื้อไม้เหนียว ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่กลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่ง เรี ย วแหลม ผิ ว ใบด้ า นบนเกลี้ ย ง ด้ า นล่ า งมี ข นนุ่ ม

สาก และมีเส้นกลางใบนูน ดอก เดี่ยว โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด มีสี เหลืองนวลยาว 6-7 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบ 6-8 กลีบ ส่วนใหญ่มี 7 กลีบ แต่ละกลีบรูป ไข่กว้าง 2 ซม. ยาว 2.5 ซม. เรียงวนซ้าย เมื่อบานใหม่ๆ มีสีเหลืองนวล

ต่ อ มาเปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ งเข้ ม ดอกบานมี เ ส้ น ผ่ า ศูนย์กลาง 4-6 ซม. ออกดอกตลอดปีและมีดอกดกช่วง เดือนมีนาคมถึงเมษายน ผล รูปกลมแป้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซม. ยาว 3.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ แตกเป็นแผ่น แบน เปลือกผลด้านในสีแดงเข้ม มีเมล็ดมาก การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง ปลูกลงแปลงกลางแจ้ง


122

ยี ่หุบปลี

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีรายงานการค้นพบ พรรณไม้ ช นิ ด หนึ่ ง ที่ บ้ า นเสี ย บญวน ซึ่ ง อยู่ ใ กล้ กั บ

ชื่ออื่น - ตั ว เมื อ งจั ง หวั ด ชุ ม พร ดอกมี ลั ก ษณะเป็ น กลี บ หนา

ยี่ หุ บ เป็ น พรรณไม้ ที่ ค นไทยรู้ จั ก มาตั้ ง แต่ ส มั ย มีสีขาว มีกลิ่นหอมเหมือนยี่หุบ และมีลักษณะการบาน รัชกาลที่ 2 นำเข้ามาจากประเทศจีนโดยพ่อค้าวานิช เหมือนปลีกล้วย จึงเรียกพรรณไม้ชนิดนั้นว่า ยี่หุบปลี ชาวจีนที่เข้ามาค้าขายในกรุงสยามสมัยนั้น มีข้อสังเกต ปั จ จุ บั น นั ก สำรวจพรรณไม้ ที่ ติ ด ตามเรื่ อ งการ ที่น่าสนใจประการหนึ่งว่า พรรณไม้จากต่างประเทศ กระจายพันธุ์ของยี่หุบปลี ได้กลับไปสำรวจยังหมู่บ้าน ที่นิยมนำมาปลูกกันในสมัยรัชกาลที่ 2 มักจะมีคำว่า เสียบญวนอีกครั้ง ปรากฏว่าไม่มียี่หุบปลีหลงเหลืออยู่ “ยี่” นำหน้า เช่น ยี่สุ่น ยี่โถ รวมทั้งยี่หุบนี้ด้วย เลยแม้ สั ก ต้ น เดี ย ว และหมู่ บ้ า นดั ง กล่ า วก็ ไ ด้ เ ปลี่ ย น สภาพเป็นค่ายทหารไปแล้ว กระนั้นก็ดี นักสำรวจพรรณไม้ Magnolia siamensis (Dandy) H.Keng


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

123

ก็ยังไม่เลิกล้มความพยายาม และได้เดิน ทางไปสำรวจ

หายี่ หุ บ ปลี ใ นแหล่ ง อื่ น ๆ ก็ พ บว่ า มี ยี่ หุ บ ปลี ขึ้ น อยู่

ในป่าดิบชื้นในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับ 50-500 ม. ในจังหวัดจันทบุรี และตราด ส่วนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีบนภูเขาหินปูน ตามบริเวณ ริมน้ำตกและริมลำธารที่มีน้ำแช่ขัง ยี่หุบปลีเป็นพรรณไม้พื้นเมืองในวงศ์จำปาที่มีทรง ต้ น ค่ อ นข้ า งเล็ ก ปลู ก ให้ อ อกดอกในพื้ น ที่ ร าบลุ่ ม

ภาคกลาง หลังจากใช้เวลาปลูกเพียงแค่ 5 ปี ยี่หุบปลี ออกดอกให้เชยชมเกือบตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่จะออก ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม

กลีบดอกมี 6 กลีบ

ผล

ดอก เดี่ยว ออกที่ปลายยอด มีกลีบดอกทั้งหมด 9 กลีบ เรียงเป็น 3 ชั้น กลีบดอกชั้นนอกสีเขียวอ่อน บาง กลีบดอกชั้นกลางและชั้นในมี 6 กลีบ สีขาว หนา แข็ง อวบน้ำ รูปช้อน เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม. ดอกบานอยู่ได้ 1-2 วัน ผล รูปรี มีผลย่อย 7-15 ผล เปลือกผลหนาแข็ง และเชื่อมติดกัน เมื่อแก่แล้วเปลือกผลย่อยหลุดออก จากกันตามรอยเชื่อม เมล็ด สีแดงเข้มติดอยู่ที่แกนกลางผลช่องละ 2 เมล็ด ลักษณะพรรณไม้ การขยายพันธุ์ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 10-15 ม. เปลือกสีเทา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งใช้ระยะเวลาใน อมขาว หนาและแข็ง มีกลิ่นฉุน มีจุดนูนเล็กๆ ทั่วลำต้น การปลูกเลี้ยงเพียงแค่ 5 ปีจึงเริ่มออกดอก ส่วนการ ทรงพุ่มกลมโปร่ง ตอนกิ่งและการปักชำพบว่าเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ไม่ได้ ใบ เดี่ ย ว รู ป ขอบขนานแกมรู ป ไข่ ก ลั บ กว้ า ง ผล เนื่องจากยี่หุบปลี ไ ม่ยอมออกราก ในปัจจุบัน มีวิธี 8-12 ซม. ยาว 18-30 ซม. เนื้อใบหนา แข็ง กรอบ การขยายพันธุ์ที่จะให้ออกดอกได้อย่างรวดเร็ว คือการ เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ทาบกิ่งกับต้นที่ออกดอกแล้ว โดยใช้ยี่หุบปลีเป็นต้นตอ เมล็ด


124

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

แสดสยาม Goniothalamus repevensis Pierre ex Finet & Gagnep.

ชื่ออื่น -

พรรณไม้ ที่ มี ด อกสี ส้ ม อมชมพู แ สนน่ า รั ก สมชื่ อ แสดสยาม นี้ เป็นพรรณไม้งามขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่งในวงศ์ กระดังงาที่ ได้รับความนิยมไม่แพ้พรรณไม้ชนิดอื่นใน เรื่องของดอกสวยงาม แม้ในธรรมชาติแสดสยามจะหาได้ ค่อนข้างยาก เพราะขึ้นอยู่เฉพาะบนภูเขาสูงในจังหวัด จั น ทบุ รี แ ละตราด หากแต่ ปั จ จุ บั น แสดสยามได้ รั บ

การขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอดจนมีจำนวนต้นเพิ่ม มากขึ้น อันเป็นการช่วยอนุรักษ์ให้แสดสยามคงอยู่คู่กับ สยามประเทศสืบต่อไปได้ในอนาคต

ชื่อของแสดสยามเริ่มเป็น ที่รู้จักในหมู่นักเล่นไม้ ประดับและไม้ดอกหอมเมื่อปี 2544 เนื่องจากเพิ่งมีการ ค้น พบพรรณไม้ชนิดนี้บนเขาสอยดาว จังหวัดจัน ทบุรี และตี พิ ม พ์ ล งในหนั ง สื อ พรรณไม้ ว งศ์ ก ระดั ง งาในปี

ดังกล่าว ด้วยความที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็น มัน

สีเขียวเข้ม และออกดอกตลอดปี จึงทำให้มีผู้ต้องการ ปลูกแสดสยามเป็นไม้ประดับค่อนข้างมาก ซึ่งก็ต้องพบ กับความผิดหวัง เพราะแสดสยามบางต้นเมื่อออกดอก แล้ ว กลั บ มี สี ข าว บางคนจึ ง แอบเรี ย กว่ า ขาวสยาม


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออก

125

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 ม. แตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนเรียบ สีเขียวปนน้ำตาล เปลือกลำต้นสีดำ มีช่อง อากาศเป็นแนวสีขาวบิดเวียนตามยาว เนื้อไม้เหนียว ดอกบานสีแสด มาก ทรงพุ่มโปร่งรูปสามเหลี่ยม ใบ รู ป ขอบขนานแกมรู ป ใบหอก กว้ า ง 3-3.5 ซม. ยาว 12-16 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ใบค่อนข้างหนาและเหนียว เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ เมื่อบาน เปลี่ ย นเป็ น สี แ สดและมี ก ลิ่ น หอม กลี บ เลี้ ย งรู ป สามเหลี่ยม กลีบดอกชั้นนอกรูปไข่ กว้าง 1.5-1.7 ซม. ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากแสดสยามชอบขึ้นอยู่บนพื้นที่ระดับสูง ยาว 2.3-2.6 ซม. กลีบดอกชั้นในประกบกันเป็นแท่ง ที่มีอากาศหนาวเย็น และมีความชื้นสูง การนำมาปลูก สามเหลี่ยม ยาว 5-8 มม. ผล เป็นกลุ่ม มีผลย่อย 5-10 ผล แต่ละผลรูปรี ในพื้ น ราบที่ มี อ ากาศร้ อ นและมี ค วามชื้ น ต่ ำ อย่ า งใน กรุ ง เทพฯ จึ ง ทำให้ แ สดสยามออกดอกมาเป็ น ดอก กว้าง 8 มม. ยาว 2.2-2.6 ซม. ผิวผลเรียบเป็น มัน

สีขาว แต่ทั้งนี้ผู้ปลูกเลี้ยงก็สามารถแก้ ไขได้ด้วยการ มี 1 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปรี ยาว 1-1.2 ซม. ใส่ ปุ๋ ย ที่ มี ธ าตุ โ พแทสเซี ย มเป็ น ช่ ว งๆ และปลู ก อยู่ ใ น

ร่ ม เงาที่ มี ค วามชื้ น สู ง แสดสยามก็ จ ะออกดอกสี ส้ ม

อมชมพูสมใจ โดยช่วงเวลาที่จะได้ชื่นชมดอกแสดสยาม การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปลูกในที่ร่มรำไร จะอยู่ ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ส่วนผลของ แสดสยามจะแก่หลังจากออกดอกบาน 4-5 เดือน เมื่อเสียบยอดต้นตอขนาดเล็ก สามารถปลูกเป็น ออกดอกเดี่ยว ไม้ประดับในกระถางได้ ซึ่งจะใช้ประดับได้เป็นเวลานาน เนื่องจากแสดสยามเจริญเติบโตช้ามาก แต่หากเจริญ เติบโตขึ้นมาแล้ว หรือมีการเสียบยอดต้นตอขนาดใหญ่ ผล สามารถนำลงปลูกในแปลงที่มีร่มเงาและความชื้นสูง การขุดหลุมให้กว้างและใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ปักหลัก ผูกมัดให้ต้นตั้งตรง รดน้ำให้เพียงพอและคลุมโคนต้น ด้วยหญ้าหรือฟางแห้ง จะช่วยให้เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ขึ้น มีทรงพุ่มสวยงามและออกดอกได้ดี


พรรณไม้ที่งอกงามบนป่าแห่งพื้นที่ราบลุ่มและภูเตี้ยๆ ในภาคกลางและภาคตะวันตกนั้น คือพฤกษ์ไพรที่แสดงถึง ความเชื่อมโยงของผืนป่าถึงสองภาคและเชื่อมต่อไปยัง ประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าอีกด้วย



128

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กลาย Mitrephora keithii Ridl.

ชื่ออื่น กล้วยค่าง ลำดวน

“ ก ลา ย ” เ ป็ น พ ร ร ณ ไ ม้ ใ น ว ง ศ์ ก ร ะ ดั ง ง า (Annonaceae) ที่มีช่วงฤดูดอกบานยาวนานที่สุดชนิด หนึ่ง รองจากกระดังงาสงขลา และกระดังงาจีน สำรวจ พบโดย A.Keith นักสำรวจพรรณไม้ชาวนิวซีแลนด์ ที่ อำเภอบางสะพาน จั ง หวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระดับ ความสูง 100 ม. พรรณไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อระบุชนิดว่า keithii ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ผู้ที่สำรวจค้นพบ ครั้งแรก

กลายเป็นพรรณไม้ที่ออกดอกและติดผลตลอดปี ดอกที่เริ่มบานจะมีสีเหลืองนวล พอใกล้โรยจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองเข้ม ส่วนผลกลายที่แก่จะมีสีแดงเข้มและ

มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวานจึงเป็นอาหาร อันโอชะของสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นกและค้างคาว ตัวเล็กๆ และเมื่อกินผลแก่แล้วไปถ่ายมูลที่อื่นก็เท่ากับ เป็นการกระจายเมล็ดได้ดีอีกทางหนึ่ง และจากความ

มีเสน่ห์ที่มีดอกสวยงาม กลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี

จึงได้รับความนิยมนำมาปลูกกันมากขึ้น กลายเป็ น พรรณไม้ ย อดนิ ย มของบรรดานั ก ชม ธรรมชาติและนักท่องเที่ยวที่ ไปเยือนอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้มีกลิ่นหอม จรุ ง ใจ จนหลายคนคิ ด จะเก็ บ เมล็ ดไปเพาะเพื่ อ ปลู ก เลี้ยงบ้าง แต่ก็ ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกลายเป็น พรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยเมล็ดซึ่งมีโอกาสกลายพันธุ์ได้ ตามธรรมชาติ ดังนั้นหลายคนจึงพบว่ากลายบางต้นอาจ มีเพียงกลิ่น หอมอ่อนๆ หรือบางต้นอาจไม่มีกลิ่น หอม เลย จึงเป็นที่มาของชื่อ “กลาย” ซึ่งหมายถึงการกลาย พันธุ์นั่นเอง


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง กลายเป็นพรรณไม้ที่กระจายพันธุ์อยู่ ในป่าดิบชื้น และป่ า ดิ บ แล้ ง ทางภาคตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ใ นจั ง หวั ด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุ รี ราชบุ รี และกาญจนบุ รี ที่ ระดั บ ความสู ง 50-700 ม.เหนื อ ระดั บ น้ ำ ทะเล

ในปั จ จุ บั น คนส่ ว นใหญ่ นิ ย มปลู ก เป็ นไม้ ป ระดั บ ลงใน แปลงที่ ร่ ม รำไร หรื อไม้ ก ระถาง เนื่ อ งจากมี ด อกดก

สีสวย ที่สำคัญคือออกดอกตลอดปี ส่วนวิธีการเลือก

ต้นกล้าของกลายเพื่อนำไปปลูก ควรเลือกจากต้นที่ดอก มี ก ลิ่ น หอมแรง และเป็ น ต้ น ที่ ไ ด้ จ ากการเพาะเมล็ ด เนื่ อ งจากจะมี ท รงพุ่ ม กลมแน่ น สวยงาม แต่ อ าจจะ ออกดอกได้ช้าสักหน่อย สำหรับผู้ที่เลือกต้นกล้าจาก การทาบกิ่ง หรือเสียบกิ่ง ถึงแม้ว่าจะออกดอกในเวลา รวดเร็ว แต่ก็จะมีทรงพุ่มที่สูงชะลูด ไม่สง่างามเท่ากับ ต้นที่ ได้จากการเพาะเมล็ด ปัจจุบันกลายเป็นพรรณไม้

ที่ ได้รับการอนุรักษ์ ไว้ ได้เป็นอย่างดี และไม่มีโอกาส

สูญพันธุ์แล้ว

129 ดอกออกเดี่ยวๆ ตรงข้ามใบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียง 2 วง

ผลรูปทรงกระบอก เมื่อสุกมีสีแดง เปลือกนิ่ม รสหวาน

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 ม. เปลือกลำต้น สีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว แตกกิ่ง น้อยขนานกับพื้นดิน ทรงพุ่มโปร่ง เนื้อไม้เหนียว ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 8-12 ซม. แผ่นใบเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ออกเดี่ ย วๆ ตรงข้ า มใบ กลี บ เลี้ ย งเล็ ก ๆ

3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียง 2 วง โคนกลีบแต่ละวง เรี ย งจรดกั น กลี บ วงนอกหนา และยาว 2-2.5 ซม. กลีบวงในขอบกลีบประกบกันคล้ายกระเช้า สั้นกว่ากลีบ ด้านนอกเล็กน้อย ดอกเริ่มบานสีเหลืองนวล ดอกบาน อยู่ ได้ 2-3 วัน เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ส่งกลิ่นหอมแรง ผล เป็ น ผลกลุ่ ม มี ผ ลย่ อ ย 7-14 ผล รู ป ทรง กระบอก ยาว 1.5-2 ซม. เมื่อสุกมีสีแดง เปลือกนิ่ม รสหวาน เมล็ด กลมแบน ขนาด 4-5 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และเสียบกิ่ง การคัดเลือกแม่พันธุ์ควรเลือกจากต้นที่มีกลิ่นหอมแรง ดอกดกและออกดอกตลอดปี การปลูกต้นกล้าจากการ เพาะเมล็ดจะได้ทรงพุ่มที่กลมแน่น สวยงาม แต่การ ปลูกจากการทาบกิ่งหรือเสียบกิ่ง จะมีทรงพุ่มที่สูงชะลูด


130

โกงกางน้ ำจืด Marcania grandiflora Imlay

ชื่ออื่น -

คนที่เคยมีโอกาสนั่งรถจากตัวเมืองกาญจนบุรี ไป ยังอำเภอไทรโยคในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม อาจ จะได้ พ บเห็ น พรรณไม้ พุ่ ม ชนิ ด หนึ่ ง ชู ช่ อ ดอกสี ข าว

เบ่ ง บานงามสะพรั่ ง ตามสองข้ า งทางบนเขาหิ น ปู น

ซึ่ ง เป็ น พรรณไม้ ห ายากชนิ ด หนึ่ ง ของไทยที่ รู้ จั ก กั น

ในนามของ โกงกางน้ำจืด

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โกงกางน้ำจืดเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย อยู่ ในวงศ์ Acanthaceae พบตามภูเขาหิน ปูนในบริเวณ จังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี และเพชรบุรี ที่ระดับความสูง ไม่ เ กิ น 100 ม. ชื่ อ สกุ ล Marcania นี้ ตั้ ง ให้ เ ป็ น

เกียรติแก่ Mr.Alexander Marcan ชาวอังกฤษที่เข้ามา ทำงานในประเทศไทยในปี 2442 โดยรับราชการใน ตำแหน่ ง นั ก เคมี แ ละหั ว หน้ า ผู้ ต รวจการถลุ ง แร่ กระทรวงพาณิช ย์และคมนาคม เคยทำงานวิ จัยสกัด น้ำมันจากต้นกะเบา สำหรับบำบัดโรคเรื้อนในสมัยนั้น ได้เป็นผลสำเร็จ


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

131

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ น ไม้ พุ่ ม ผลั ด ใบ สู ง 1-2 ม. แตกกิ่ ง

ค่อนข้างมาก ทรงพุ่มกลมโปร่ง ตามกิ่งไม่มีขนอ่อน ตามข้อโป่งพองเล็กน้อย กิ่งเปราะฉีกหักง่าย ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีถึงรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขนสีขาวประปรายทั้งสองด้าน ใบแก่เกลี้ยง ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง มี 1-2 ดอก ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. กลีบดอกบาง มีสีขาว ยาว 4-5 ซม. โคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ โกงกางน้ำจืดเป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่โดดเด่น ดอกบานวันเดียวแล้วโรย ฤดูดอกบานในเดือนมีนาคมถึง สีขาว สามารถนำมาขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยงได้ง่าย จึง พฤษภาคม ผล แบบแห้งแล้วแตก รูปทรงกระบอก ยาว 3 ซม. ค่อนข้างเหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคาร บ้ า นเรื อ นหรื อ สถานที่ ร าชการ โดยขณะนี้ มี ค วาม แต่ละผลมี 4 เมล็ด เมล็ด แบน รูปกลมเบี้ยว หรือรูปไข่ ยาว 6-7 มม. พยายามที่จะพัฒนาสายพันธุ์เพื่อปรับปรุงให้ดอกของ โกงกางน้ ำ จื ด บานทนนานขึ้ น และให้ มี ก ลิ่ น หอม มีสันตรงกลางเมล็ด เนื่องจากปัจจุบันดอกของต้นโกงกางน้ำจืดจะบานอยู่ได้ การขยายพันธุ์ เพียงแค่วันเดียว และยังไม่มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง โกงกางน้ำจืดถือเป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่งใน ประเทศไทย เนื่องจากขึ้นอยู่บนเขาหินปูน เมื่อผลแก่ แล้วเมล็ดจะร่วงหล่นอยู่บนพื้นหินปูนที่แห้งแล้ง เมล็ด จึงไม่มีโอกาสได้งอก ประกอบกับเมล็ดกินไม่ ได้ ไม่มี สัตว์ป่ามาช่วยนำพาเมล็ดกระจายไปที่อื่น จะมีเพียงบาง เมล็ดที่น้ำฝนชะไหลไปตกอยู่ตามซอกหิน ที่มีความชื้น จึงจะมีโอกาสงอกเป็นต้นขึ้นมา ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ น้อยมาก แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่โกงกางน้ำจืดสามารถ ขยายพันธุ์ ได้โดยการปักชำ ดังนั้นหากมีการนำไปปลูก เป็ น แปลงใหญ่ เมื่ อ ออกดอกพร้ อ มกั น ก็ จ ะมี ค วาม สวยงาม สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ ในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยว นับเป็นการอนุรักษ์พรรณไม้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง


132

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จั นทน์หอม Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain

ไม้จัน ทน์ ห อมมาแกะสลั ก ฉลุ ท ำพระเมรุ เ ช่ น เดี ย วกั น นอกจากนี้ ใ นสมั ย ก่ อ นก็ ยั ง ใช้ เ นื้ อไม้ จั น ทน์ ห อมฝาน

คนไทยมีความเชื่อมาตั้งแต่อดีตว่า จัน ทน์หอม เป็ น แผ่ น บางๆ ทำเป็ น ดอกไม้ แ ห้ ง ในพระราชพิ ธี

เป็ น พรรณไม้ ส กุ ล สู ง ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง นิ ย มนำมาใช้ ใ น ถวายพระเพลิ ง พระบรมศพของกษั ต ริ ย์ และพิ ธี

พระราชพิ ธี ส ำคั ญ ต่ า งๆ ในพระราชสำนั ก ไม่ ว่ า จะ ถวายพระเพลิงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เป็นการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์และพระ อันเป็น ที่มาของดอกไม้จัน ทน์ที่ ใช้ ในงานศพทั่วไปใน บรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง แม้แต่พระเมรุที่ใช้ในพระราชพิธี ปั จ จุ บั น เพี ย งแต่ ด อกไม้ จั น ทน์ ที่ ใ ช้ กั น ทุ ก วั น นี้ เ หลื อ พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า เพียงแค่ชื่อ มิได้ทำมาจากต้นจันทน์หอมเหมือนอย่าง กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก็ ใช้ แต่ก่อน ชื่ออื่น จันทน์ชะมด จันทน์พม่า


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของจันทน์หอมก็มีมากมาย ทั้งใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก ทำหวี ธูป พัด น้ำมันหอมที่ ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ยังสามารถ นำมาใช้ ป รุ ง เครื่ อ งหอมและเครื่ อ งสำอาง สำหรั บ ประโยชน์ ใ นด้ า นสมุ น ไพร น้ ำ มั น ที่ ก ลั่ น จากเนื้ อไม้

ใช้เข้ายาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้กระหายน้ำ และอ่อนเพลีย สมัยรัชกาลที่ 2 มีรายงานว่ามีต้นจัน ทน์หอมใน ไทยและพม่าเป็นจำนวนมาก แต่ ในขณะนั้นเริ่มมีการ ติดต่อค้าขายกับประเทศจีน ซึ่งคนจีนสมัยก่อนก็นิยมนำ จันทน์หอมมาทำธูป แกะสลักพระพุทธรูปและลูกประคำ ทำให้จันทน์หอมมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้เริ่มสั่งซื้อต้นจันทน์หอมจากพม่าและไทย เป็นเหตุให้ ต้นจันทน์หอมในไทยลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนกลายเป็น พรรณไม้หายาก จันทน์หอมเป็นพรรณไม้ในวงศ์ปอ (Sterculiaceae) มีแหล่งกระจายพันธุ์ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงใต้และ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ แต่ไม่มากนัก โดยแหล่งที่พบมาก จะอยู่ที่อุทยานแห่งชาติป่ากุยบุรี และอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

133 ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ผลั ด ใบมี ข นาดเล็ ก ถึ ง ขนาดกลาง

สู ง 10-20 ม. ลำต้ น เปลาตรง เปลื อ กสี เ ทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบรูปรี โคนใบตัดหรือหยักเว้า และจะเบี้ ย วเล็ ก น้ อ ย เนื้ อใบค่ อ นข้ า งหนา ช่ ว งแรก

มีขนประปราย เมื่อใบแก่จะเกลี้ยง ใบแห้ง ออกสีเขียว อ่อนๆ เส้นใบออกจากจุดโคนใบ 3 เส้น ขอบใบเป็น คลื่นห่างๆ ทางส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ดอก เล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อยาว 15 ซม. ผล เป็ น ผลแห้ ง แต่ ล ะผลมี ปี ก รู ป สามเหลี่ ย ม

ติดที่ปลายผลหนึ่งปีก ปีกกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. เมล็ด กลมรี ขนาด 4-5 มม. ผลเป็นผลแห้ง แต่ละผลมีปีก ติดที่ปลายผลหนึ่งปีก

การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยการเพาะเมล็ ด เป็ น ไม้ ที่ เ จริ ญ เติบโตได้ ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างช้าแม้ว่าจะได้ รับการดูแลเป็นอย่างดี หรือปลูกในสภาพสิ่งแวดล้อม

ที่เหมาะสมก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นไม้เศรษฐกิจที่ ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านไม้หอมและน้ำมันหอม


134

จั ่นน้ำ

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จั่นน้ำเป็นอีกหนึ่งไม้ดอกที่มีสีสันเด่นสะดุดตาแก่

ผู้พบเห็น ใครที่ได้มีโอกาสเข้าไปชื่นชมความงดงามของ ชื่ออื่น - จั่นน้ำจะแลเห็นความสดใสของช่อดอกสีม่วงที่ออกอยู่ จั่นน้ำ เป็นพรรณไม้ที่มีชื่อระบุชนิด winitii ตั้งขึ้น ตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยสีม่วงอ่อนจนเกือบเป็นสีชมพู ให้ เ ป็ น เกี ย รติ แ ก่ อ ำมาตย์ เ อกพระยาวิ นิ จ วนั น ดร ขนาดเล็กกระจิริดจำนวนมาก ลักษณะช่อดอกเป็นแบบ (โต โกเมศ) บิดาแห่งวงการพฤกษศาสตร์ของประเทศ ช่อแยกแขนงเห็นความงดงามเด่นชัด ยิ่งถ้าได้มีโอกาส ไทย ผู้สำรวจพบครั้งแรกจากพื้น ที่ชายป่าพุในจังหวัด ไปชื่นชมช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็น กาญจนบุ รี ที่ ร ะดั บ ความสู ง 18 ม. โดยมี ร ายงาน ช่วงฤดูดอกบาน ก็จะได้เห็นภาพความงามของช่อดอก

สีม่วงหวานบานเต็มต้น เป็นภาพความประทับใจที่ยากจะ การตั้งชื่อในปี 2465 ลืมเลือน นอกจากนี้ จั่นน้ำยังมีลักษณะพิเศษคือ ชอบขึ้น เกาะหิ น และสามารถดั ด แต่ ง กิ่ งไม้ ใ ห้ มี รู ป ทรงแบบ ต่างๆ ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบการปลูกบอนไซหรือไม้แคระ

ก็สามารถเลือกหาจั่นน้ำมาปลูกเป็นไม้เกาะหินได้ Ehretia winitii Craib


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

135

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. แตกกิ่งยาว ปลาย กิ่งลู่ลง ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2.5-5.5 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน หรือเว้าบุ๋ม โคนสอบแคบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ 3-5 คู่ ก้านใบยาว 0.2-0.4 ซม. ดอก สี ม่ ว ง ช่ อ ดอกแบบช่ อ แยกแขนง ออกที่ ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติด กันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียว โคนกลีบ ดอกเชื่ อ มติ ด กั น เป็ น หลอด ปลายแยกเป็ น 5 แฉก

สี ม่ ว งอ่ อ น ดอกบานมี เ ส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 8-10 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย

1 อัน ผล เป็นช่อ รูปทรงกลม ขนาด 4-5 มม. เมื่อแก่ สีแดง เมล็ดมี 4 เมล็ด เมล็ด ขนาดเล็กมาก เป็นสัน รูปทรงสามเหลี่ยม

จั่นน้ำเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Boraginaceae มีการ กระจายพันธุ์ตามเขาหิน ปูนในระดับต่ำ ที่มีความชื้น บริเวณภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ในระดับ การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ ต ามธรรมชาติ ใช้ วิ ธี เ พาะจากเมล็ ด

ความสูง 20-50 ม. เช่น จังหวัดสระบุรี ลพบุรี และ กาญจนบุรี เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่ออกดอกและติดผล แต่ปัจจุบันมีการตัดกิ่งมาปักชำและปลูกเป็นไม้กระถาง เกื อ บตลอดปี อี ก ทั้ ง มี ท รงพุ่ ม และดอกสวยงาม จึ ง เนื่องจากมีช่อดอกสวยงาม สีสันสดใส มีความพยายามจะขยายพันธุ์และปลูกเป็นไม้ประดับ ผลออกเป็นช่อ รูปทรงกลม กระถางหรื อไม้ บ อนไซ ถึ ง แม้ ว่ าในปั จ จุ บั น พรรณไม้

เมื่อแก่สีแดง ชนิดนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และนำไปใช้ประโยชน์มากนัก จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ในอนาคตข้างหน้าอาจมีการศึกษา หาประโยชน์จากจั่นน้ำในด้านอื่นๆ และพยายามขยาย พันธุ์ไม้ชนิดนี้ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น


136

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปาหลวง Magnolia utilis (Dandy) V.S.Kumar

ชื่ออื่น ตองสะกา ตองสะกาใบใหญ่

จำปาหลวง เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Magnoliaceae มีการค้นพบครั้งแรกของโลกในประเทศพม่า ฝั่งที่ติด กับอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ สำหรับประเทศไทย พบ กระจายอยู่บนภูเขาสูงตามแนวแบ่งเขตแดนไทยกับพม่า ตั้งแต่จังหวัดตากเรื่อยลงมาถึงพังงา และมีการกระจาย พันธุ์ในป่าดิบเขา ตามแนวสันเขา ริมธาร และในหุบเขา ที่ ร ะดั บ ความสู ง 600-1,000 ม. ทางภาคเหนื อ

ภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้

จุ ด เด่ น ของจำปาหลวงคื อ เป็ น พรรณไม้ ที่ ออกดอกขนาดใหญ่ เ มื่ อ เที ย บกั บ จำปาชนิ ด อื่ น

มีสีเหลืองเข้ม และส่งกลิ่นหอมหวาน จึงได้รับการตั้งชื่อ

ว่าจำปาหลวง จำปาหลวงมีช่วงฤดูดอกบานอยู่ ในเดือน พฤศจิ ก ายน ดั ง นั้ น ใครที่ ต้ อ งการชื่ น ชมดอกใหญ่

อวบอิ่มของพรรณไม้ชนิดนี้ จึงต้องเลือกไปให้ถูกช่วงเวลา

มิเช่น นั้นก็จะได้เห็นแค่ลำต้นขนาดใหญ่ ซึ่งบางต้น มี

เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 ม. จำปาหลวงเป็น พรรณไม้ที่มีลักษณะหลายอย่าง คล้ า ยกั บ มณฑาดอย พรรณไม้ ใ นวงศ์ เ ดี ย วกั น แต่ พรรณไม้ ทั้ ง 2 ชนิ ด นี้ ก็ ยั ง มี ลั ก ษณะบางประการที่

แตกต่างกัน นั่นก็คือ ผล หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ขนาดผล ของจำปาหลวงจะเล็กกว่ามณฑาดอย ถึงแม้ว่าความ ยาวของผลเท่ากัน นอกจากนี้ กิ่งของจำปาหลวงยังมี ลักษณะเปราะและฉีกหักง่ายกว่า จึงใช้เนื้อไม้เป็นวัสดุ ก่อสร้างได้ไม่ดีนัก ปั จ จุ บั น อุ ท ยานแห่ ง ชาติ แ ก่ ง กระจานได้ มี ก าร

ปลูกจำปาหลวงที่เขาพะเนินทุ่ง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ พื้นที่ ให้นักท่องเที่ยวได้มาชื่นชมความงามและเก็บภาพ ความประทับใจ แต่ถ้าหากใครได้มีโอกาสขึ้นไปชื่นชม ต้นจำปาหลวงแล้วอยากได้เมล็ดพันธุ์กลับมาขยายพันธุ์ ขอแนะนำว่า จำปาหลวงเป็นพรรณไม้ที่ไม่สามารถปลูก ให้ อ อกดอกได้ ใ นพื้ น ที่ ร าบ แม้ จ ะปลู ก เป็ น เวลานาน

นับ 10 ปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม ดังนั้น ใครที่อยู่ ในพื้นที่ราบอย่างในกรุงเทพฯ ก็คงต้องอดใจไป อีกสักพักหนึ่ง เพื่อให้พรรณไม้มีการปรับพฤติกรรม ให้ ออกดอกได้ในพื้นราบที่มีอากาศร้อน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

137

ผลรูปทรงกระบอกเล็กๆ มีผลย่อย 42-80 ผล เรียงอัดแน่นอยู่บน แกนกลางผลร่วมกัน

ดอกตูม

ดอก ตูมรูปกระสวย กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 5-6 ซม. มีแผ่นเกล็ดสีเขียวคลุมดอกตูม 1 แผ่น จะฉีกและ ลักษณะพรรณไม้ หลุดไปเมื่อดอกเริ่มแย้ม กลีบดอกมี 9 กลีบ เรียงเป็น ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดกลาง สู ง 10-25 ม. ลำต้ น 3 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกสุดรูปรี ขอบกลีบโค้ง เปลาตรง เปลื อ กสี เ ทาจนถึ ง สี ม่ ว งปนน้ ำ ตาล หรื อ งอเข้า ด้านนอกสีเขียวอ่อนปนน้ำตาล กลีบชั้นกลาง น้ำตาลเข้ม เปลือกค่อนข้างฉ่ำน้ำและมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว และชั้นในสุดสีเหลืองนวล เป็นแผ่นหนา อวบน้ำ กิ่งเปราะ ฉีกหักง่าย ผล รูปทรงกระบอกเล็กๆ เรียวยาว กว้าง 2.2ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 8-12 ซม. ยาว 3.5 ซม. ยาว 7-10 ซม. มีผลย่อย 42-80 ผล เรียงอัด 20-30 ซม. ปลายเรี ย วและมี ติ่ ง แหลม โคนใบสอบ แน่นอยู่บนแกนกลางผลร่วมกัน ผลย่อยแข็ง ยาว 1-1.5 แหลมเป็ น รู ป ลิ่ ม ขอบใบเรี ย บและเป็ น คลื่ น เล็ ก น้ อ ย ซม. ผลอ่อนสีเขียวเข้ม ผลแก่สีน้ำตาล แตกตามรอยต่อ เนื้อใบอ่อนนิ่มและบาง แผ่นใบด้านบนสีเขียวอมเหลือง ในแนวตั้ง เมล็ด ค่อนข้างหายาก มีสีแดงจำนวน 4-12 เมล็ด เรียบเกลี้ยง ด้านล่างมีคราบสีขาวเคลือบอยู่ ดอกออก

ที่ปลายยอด ดอกบานตั้งขึ้น สีเหลืองนวล กลิ่นหอมเย็น ต่อหนึ่งผลย่อย ดอกบานอยู่ได้ 2-3 วัน การขยายพันธุ์ จำปาหลวงเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ ได้โดยการ เพาะเมล็ ด ยั ง ไม่ ส ามารถขยายพั น ธุ์ ด้ ว ยวิ ธี อื่ น ได้

โดยควรเก็บผลแก่ที่มีผลย่อยเริ่มแตกเพียงเล็กน้อยมา ผึ่งไว้ ในร่ม 2-3 วัน ผลจะแตกมากขึ้น แล้วแกะเมล็ด นำไปเพาะ จะงอกเป็นต้นกล้าได้ดี สำหรับผู้ที่หวังว่าจะ ขยายพันธุ์จำปาหลวงโดยวิธีการทาบกิ่ง หรือเสียบยอด โดยใช้ จ ำปาเป็ น ต้ น ตอนั้ น ไม่ ส ามารถกระทำได้ เนื่องจากพันธุกรรมค่อนข้างห่างกัน มีอยู่ทางเดียวที่ กระทำได้คือ ใช้ต้นตอจำปาหลวงมาทาบกับยอดของ จำปาหลวงเท่านั้น


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

138

จำปี ดอย Magnolia gustavii King

ชื่ออื่น -

ดอก รักเพาะบ่มไว้ จำ จากใจร้าวราน ปี ผ่านหาเลือนลาง ดอย จักสูงเท่าใด

เนิ่นนาน หม่นไหม้ ลืมหมด รักแท้เทียบเคียง

(สายสวาท จันทร์เผือก : ประพันธ์)

จ ำปี ด อย ถื อ เป็ น พรรณไม้ ห ายากชนิ ด หนึ่ ง ใน บรรดาพรรณไม้ ว งศ์ จ ำปา (Magnoliaceae) ตาม ประวัติพบว่า จำปีดอยถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2434 ที่ แคว้ น อั ส สั ม ของอิ น เดี ย และทางตอนเหนือของพม่า หลังจากนั้นก็ ไม่มีรายงานการค้นพบอีกเลย แม้แต่ ใน ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของพรรณไม้ชนิดนี้

จนกระทั่ ง เมื่ อ ปี 2541 มี ก ารค้ น พบจำปี ด อยที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี บนภูเขาสูง ใกล้ชายแดนไทย-พม่า ซึ่งได้สร้างความประหลาดใจ

ให้ แ ก่ บ รรดานั ก สำรวจพรรณไม้ เ ป็ น อย่ า งมาก ที่ ไ ด้

พบพรรณไม้ชนิดนี้อยู่ห่างไกลจากถิ่นกำเนิดเดิมเป็น ระยะทางเกือบพันกิโลเมตร และความสงสัยนี้ก็กระจ่างชัด เมื่อบรรดานักสำรวจพรรณไม้และนักจำแนกพรรณไม้ นำตัวอย่างแห้งที่เก็บมาใหม่ ไปตรวจเทียบกับตัวอย่าง แห้ งต้ น แบบ (Type specimen) แล้ ว สรุ ป ว่ า เป็ น ต้ น

จำปีดอย พรรณไม้ที่แสนจะหายาก จึงเกิดเป็นความ พยายามที่ จ ะขยายพั น ธุ์ แ ละนำไปปลู ก ในอุ ท ยาน

แห่ ง ชาติ ห รื อ เขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า ที่ อ ยู่ ใ นระดั บ สู ง เนื่องจากต้นจำปีดอยเป็น พรรณไม้ที่ต้องการอากาศ หนาวเย็นในการเจริญเติบโต ปัจจุบัน มีการเก็บเมล็ดจากต้นจำปีดอยมาเพาะ ขยายพันธุ์ ทำให้ได้ต้นกล้าจำนวนหนึ่ง และมีการนำไป ปลูกในอุทยานแห่งชาติที่มีสภาพนิเวศวิทยาใกล้เคียงกับ แหล่งที่ค้นพบ คืออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ปรากฏว่า สามารถเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นความหวังได้ว่า อีก

5-10 ปีข้างหน้า จะพบต้นจำปีดอยจำนวนมากออกดอก งามละลานตาที่ ต ำบลปิ ล็ อ ก ในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ทองผาภูมิ และจะมีสถานะเป็นพันธุ์ ไม้สัญลักษณ์ของ พื้นที่ ให้นักท่องเที่ยวได้ ไปชื่นชมความงามและถ่ายรูป เป็นที่ระลึก


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

สำหรับลักษณะเด่นของจำปีดอยที่แตกต่างจาก บรรดาพรรณไม้ ในวงศ์จำปาก็คือ ใบเล็ก ด้านล่างของ ใบมี สี ข าวเคลื อ บอยู่ ก้ า นดอกยาว ดอกบานคว่ ำ ลง กลีบดอกชั้น นอกกางกระดกขึ้น ผลย่อยมีจำนวนน้อย แต่มีขนาดใหญ่อยู่ชิดแน่นบนแกนกลางผล เมื่อแก่จะ แตกกางออกเผยให้เห็นเมล็ดสีแดงเข้มที่อยู่ภายในผล ได้อย่างเด่นชัด ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว ผลอ่อนสีเขียว มีช่องอากาศ สีขาวเป็นจุดเด่นชัดรอบผล

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8-12 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งในระดับสูง เรือนยอดกลมโปร่ง เปลือกลำต้น

สีเทาปนน้ำตาล ที่โคนต้นแตกเป็นร่องตื้นๆ มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว เนื้อไม้เหนียว ใบ รู ป ขอบขนานแกมรู ป ใบหอก กว้ า ง 3-4.5 ซม. ยาว 12-16.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลมและงุ้มลง โคนใบรูปลิ่มและเบี้ยวไม่เสมอกัน ขอบใบเรียบหนาและ บิดเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาแข็ง ใบด้านบนเรียบ เป็นมัน สีเขียวเข้ม ด้านล่างเคลือบสีขาว

139

ดอก ออกที่ ป ลายยอด ดอกบาน 1-2 วั น เมื่ อ บานแล้วกลีบดอกจะกางลู่และดอกห้อยลง เมื่อดอกโรย แล้ ว กลี บ ดอกกางออกและเปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ งอมน้ำตาล มีกลิ่น หอม ดอกตูมรูปกระสวย กลีบดอก 9 กลีบ เรียงเป็น 3 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้น นอกสุด ค่อนข้างบางสีขาวนวล ด้านนอกมีแถบสีเขียวอ่อน กลีบ รูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 3-3.5 ซม. กลีบ ชั้นกลางและชั้นในรวม 6 กลีบ หนา อวบน้ำ ผล รู ป ทรงกระบอกเรี ย วยาว ผลอ่ อ นสี เ ขี ย ว

มี ช่ อ งอากาศสี ข าวเป็ น จุ ด เด่ น ชั ด รอบผล มี ผ ลย่ อ ย

3-8 ผล เรียงอัดแน่นอยู่บนแกนกลางผลอันเดียวกัน แต่ละผลมีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. เมื่อผลแก่ แต่ละผลแตกตามแนวยาว มี 2 เมล็ด สีแดง เมล็ด เป็นสีแดง รูปร่างกลมแต่มีสัน นูน ขนาด 6-9 มม.

ดอกออกที่ปลายยอด ดอกบาน 1-2 วัน

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการเพาะเมล็ด แล้ว นำไปปลูกเพิ่มเติมในแหล่งธรรมชาติ แต่ยังไม่มีการ ขยายพันธุ์ที่ได้ผลดีโดยวิธีอื่น คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง


140

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปี ป่า Magnolia baillonii Pierre

ชื่ออื่น จำปีป่า จุมปี

จำปีป่า เป็น พรรณไม้วงศ์จำปาที่สามารถพบได้ ในป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยจะ ขึ้นตามริมลำธารหรือบางครั้งจะพบได้ ในป่าดิบเขาที่ ระดั บ ความสู ง 600-1,200 ม. ส่ ว นในต่ า งประเทศ

จะพบกระจายอยู่ ในประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม และทางตอนใต้ของประเทศจีน เดิมทีจำปีป่าเป็นพรรณไม้ที่สามารถพบได้ทั่วไป ในป่ า ดิ บ แล้ ง แต่ เ พราะลั ก ษณะของจำปี ป่ า ที่ มี ก ลิ่ น

หอมจรุงใจ เนื้อไม้มีความละเอียดคงทน ทำให้มีการนำ ลำต้นจำปีป่ามาทำโลงศพ ที่เรียกว่า โลงจำปา จากการ ใช้ประโยชน์ ในด้านนี้เองที่ทำให้จำนวนต้นของจำปีป่า ลดลงเรื่ อ ยๆ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในประเทศจี น เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อว่า หากนำต้นจำปีป่ามาทำ เป็นโลงจำปา ผู้ตายจะนอนอยู่ท่ามกลางกลิ่นหอมอ่อนๆ ของเนื้อไม้อย่างมีความสุขไปชั่วกัลปาวสาน ด้วยเหตุนี้ จำปีป่าจึงกลายเป็น พรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ อย่างยิ่งชนิดหนึ่งของจีน ส่ ว นในประเทศไทย คนบางกลุ่ ม ก็ มี ค วามเชื่ อ

เช่นเดียวกับชาวจีนในประเทศจีน ยังมีการนำจำปีป่ามา

ทำโลงจำปา ทำให้จำนวนต้นจำปีป่าในประเทศไทยมี จำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องและมีโอกาสที่จะสูญพันธุ์ ใน ถิ่นกำเนิดได้ง่าย ดังนั้นจึงควรมีการอนุรักษ์ต้นจำปีป่า ขนาดใหญ่เหล่านี้เอาไว้ เพื่อใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ ในการ ผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับการขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคต


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

141

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่ ง มาก เป็ น พุ่ ม ที่ ย อด ทรงพุ่ ม กลมโปร่ ง เปลื อ กแตกสะเก็ ด เป็ น แผ่ น เล็ ก ๆ มี ก ลิ่ น เฉพาะตั ว

เนื้อไม้และกิ่งเหนียว ใบ เดี่ยวรูปรีหรือรูปขอบขนาน เนื้อใบบาง แผ่นใบ ทั้งสองด้านเรียบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่าง มีคราบสีขาวฉาบอยู่ ใบอ่อนมีขนปกคลุม เมื่อแก่แล้ว

ใบค่อนข้างเกลี้ยง ดอก เดี่ ย ว ออกที่ ซ อกใบใกล้ ป ลายกิ่ ง สี ข าว สำหรับประโยชน์ด้านอื่นๆ ของพรรณไม้ชนิดนี้ เหมื อ นดอกจำปี แ ต่ มี ก ลี บ มากกว่ า ดอกบานตั้ ง ขึ้ น

คือ สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ หรือไม้ที่ให้ร่มเงา มี 15-18 กลีบ เริ่มแย้มจะหอมตั้งแต่พลบค่ำ ดอกบาน ตามอาคารบ้ า นเรื อ นหรื อ สำนั ก งานต่ า งๆ ได้ ดี โดย กางเต็มที่ตั้งแต่เช้า บานวันเดียวแล้วโรย กลีบดอกจะ เฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในสถานศึ ก ษา นั บ ตั้ ง แต่ โ รงเรี ย น หลุดร่วงในวันถัดมา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ควรจะปลูกเอาไว้เป็นไม้ให้ร่มเงา ผล เป็ น ผลกลุ่ ม มี เ ปลื อ ก ผลย่ อ ยเชื่ อ มติ ด กั น บดบั ง แสงอาทิ ต ย์ ลดความร้ อ น นอกจากจะให้ เมื่อแก่เปลือกหลุดออกเหลือแต่แกนผลคล้ายก้างปลา ความร่มรื่น สดชื่นกับนักเรียน นิสิตนักศึกษา และครู เมล็ ด สี แ ดงเข้ ม ติ ด อยู่ กั บ แกนกลางผล ช่ อ งละ 3-6 อาจารย์ ในสถานศึกษาแล้ว ยังให้กลิ่นหอมโชยมา ช่วย เมล็ด เสริมให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาด 4-5 มม. เมื่อแก่มี

เป็ น ผลสำเร็ จได้ อ ย่ า งดี เ ยี่ ย ม รากของต้ น จำปี ป่ า ยั ง สีแดงสด แต่ละผลมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาต้มเป็นยาระบายหรือยาขับพยาธิได้เป็น อย่างดี ส่วนเมล็ดจากต้นจำปีป่าก็เป็นอาหารอย่างวิเศษ การขยายพันธุ์ ของบรรดานกและกระรอกในป่าอีกด้วย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและทาบกิ่ง เมล็ดค่อนข้างกลม ขนาด 4-5 มม. เมื่อแก่มีสีแดงสด ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีขาวเหมือนดอกจำปี แต่มีกลีบมากกว่า

ผลเป็นผลกลุ่ม มีเปลือกผลย่อยเชื่อมติดกัน


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

142

จำปี เพชร Magnolia mediocris (Dandy) Figlar

ชื่ออื่น -

จำปีเพชรเดียวเรียวสูงโปร่ง ยืนยืดโยงดำรงอยู่มิรู้ไหว หอมละมุนกรุ่นกลิ่นทั่วถิ่นไพร จะจากไกลใจยังอยู่คู่ดงดอย

ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนกลมหรือเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบหนา

บทประพันธ์ข้างต้นได้กล่าวถึงลักษณะเด่นของ (ประสิทธิ์ วงษ์พรม : ประพันธ์) จำปีเพชร หนึ่งในพรรณไม้วงศ์จำปาที่หายากที่สุดอีก ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะลักษณะเด่นในด้านของการเป็น พรรณไม้ต้นขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอมแรง จึงมีโอกาส ที่จะนำไปปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี จำปี เ พชรมี ก ารกระจายพั น ธุ์ ใ นป่ า ดิ บ เขาทาง

ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ในระดับความสูง 1,000 ม. ส่วนใน

ต่างประเทศพบที่ประเทศจีน เวียดนาม และกัมพูชา พรรณไม้ชนิดนี้มีการสำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย

ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จึงได้รับ การตั้ ง ชื่ อ ว่ า จำปี เ พชร แต่ ใ นปั จ จุ บั น ยั ง ไม่ พ บต้ น

จำปีเพชรที่จังหวัดอื่นอีกเลย และก็ยังไม่สามารถขยายพันธุ์ ด้ ว ยวิ ธี อื่ นได้ นอกจากการขยายพั น ธุ์ ต ามธรรมชาติ

โดยการเพาะเมล็ด เพราะจำปีเพชรเป็น พรรณไม้ที่มี

ข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ในการปลูก ที่จะต้องเป็นพื้นที่สูง และมีอากาศหนาวเย็นเท่านั้น ไม่สามารถปลูกได้ ใน พื้นที่ราบ จากการที่เป็น พรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทย พบเฉพาะบนยอดเขาพะเนิ น ทุ่ ง มี

ต้นแม่พันธุ์ขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ต้น มีอัตราการขยาย พั น ธุ์ ต่ ำ มาก และไม่ พ บต้ น ขนาดเล็ ก อยู่ ใ ต้ ต้ น หรื อ

ใกล้เคียงกับต้นแม่พันธุ์เลย จึงนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่า หากต้นขนาดใหญ่ที่มีอยู่ถูกทำลายหรือตายไป จำปีเพชรก็จะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

ปั จ จุ บั น จึ ง มี ค วามพยายามจะนำเมล็ ด ของต้ น

จำปีเพชรไปปลูกในพื้น ที่อุทยานแห่งใดแห่งหนึ่ง ที่มี สภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับบริเวณที่ค้นพบ เพื่อให้เป็น สัญลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ สำหรับให้นักท่องเที่ยวมาชม และเก็บภาพความประทับใจกลับไป แต่ถ้าตอนนี้ ใคร อยากชื่นชมความงดงามของพรรณไม้ชนิดนี้ คงต้อง เดิน ทางไปยังเขาพะเนินทุ่ง ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน ถึงตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูดอกบาน รับรองว่าจะได้ชื่นชม พรรณไม้ทรงพุ่มสวยงามนามว่าจำปีเพชรนี้อย่างแน่นอน

ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ดอกบานตั้งขึ้นสีขาวนวล กลิ่นหอมแรง ดอกตูมรูปกระสวย

143

ดอก เดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกบาน ตั้งขึ้นสีขาวนวล กลิ่น หอมแรง ดอกบานอยู่ ได้ 2 วัน เมื่ อใกล้ โ รยเปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ งเล็ ก น้ อ ย ดอกตู ม รู ป กระสวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1 ซม. ยาว 2.5-2.8 ซม. กลีบดอกมี 9 กลีบ เรียงเป็นชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบ

ชั้นนอกรูปหอกแกมรูปขนาน กลีบชั้นในมีขนาดเล็กและ สั้นกว่าเล็กน้อย ผล เป็ น ผลกลุ่ ม ช่ อ ยาว 2-3.5 ซม. มี ผ ลย่ อ ย

3-6 ผล แต่ละผลเรียงติดอยู่บนแกนกลางผล ผลรูป กลม เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 1-1.5 ซม. ผิ ว ของผลมี ช่ อ ง อากาศสี ข าว ผลอ่ อ นสี เ ขี ย ว เมื่ อ แก่ แ ล้ ว เปลี่ ย นเป็ น

สี น้ ำ ตาลอ่ อ น ผลย่ อ ยแตกตามแนวยาว แต่ ล ะผลมี

1-4 เมล็ด เมล็ด สีแดงเข้มรูปกลมรี ขนาด 5-7 มม. ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 3-6 ผล

แต่ละผลเรียงติดอยู่บนแกนกลางผล

ผลรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. เมล็ดสีแดงเข้มรูปกลมรี ขนาด 5-7 มม.

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาแข็ง มีกลิ่นฉุน แตกกิ่งยาวเป็นพุ่มใหญ่ ที่ยอดทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ เดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 8-14 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนกลมหรือเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบ หนา แข็งกรอบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันเรียบ ด้านล่างมีสีขาวเคลือบอยู่ มีเส้นกลางใบนูนเด่น ก้านใบ ไม่มีแผลของหูใบ

การขยายพันธุ์ ปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจาก มีผู้พยายามจะนำเมล็ดมาเพาะเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดที่ต้องปลูกในพื้นที่สูงและมีอากาศหนาว เย็นเท่านั้น จึงอาจยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลาย ความหวัง ที่ มี อ ยู่ คื อ ต้ อ งเร่ ง รี บ ขยายพั น ธุ์ แ ละนำไปปลู ก ไว้ ใ น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หน่วยพัฒนา ต้นน้ำ ตามหน่วยราชการหรือตามแหล่งพักผ่อนที่อยู่ใน พื้นที่ระดับสูงที่มีอากาศหนาวเย็นและมีความชื้นสูง


144

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปี สิรินธร Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin

ชื่ออื่น จำปา

จำปี สิ ริ น ธร หรื อ จำปา เป็ น พื ช ถิ่ น เดี ย วของ ประเทศไทย และเป็นพรรณไม้หายากที่ทางคณะวิจัย และสำรวจพรรณไม้ ได้รับงบประมาณอุดหนุนการวิจัย มาจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เมื่ อ มี ก ารค้ น พบว่ า พรรณไม้ ช นิ ด นี้ เ ป็ น

พรรณไม้ ช นิ ด ใหม่ ข องโลก ก็ ไ ด้ รั บ พระราชทาน

พระราชานุ ญ าตให้ อั ญ เชิ ญ พระนามาภิ ไ ธยเป็ น ชื่ อ เป็ น ที่ น่ า ภาคภู มิ ใจว่ า เมื่ อ มี ก ารค้ น พบต้ น จำปี

พรรณไม้ชนิดใหม่นี้ว่า จำปีสิรินธร สิรินธรในประเทศไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้การสนับสนุนในด้านของ การเผยแพร่พรรณไม้ชนิดนี้ ให้เป็น ที่รู้จักมากขึ้นใน นานาประเทศ ดังจะเห็นได้จากเมื่อปี 2548 พระองค์ได้ เสด็ จไปทรงปลู ก ต้ น จำปี สิ ริ น ธรที่ ส วนพฤกษศาสตร์ เมืองกวางโจว ประเทศจีน และในปี 2550 ทรงปลูกต้น จำปีสิรินธรที่เมืองคาราคัส ประเทศเวเนซูเอลา จนทำให้ จำปีสิรินธรเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จำปีสิรินธรเป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ ในวงศ์จำปา ที่มี การสำรวจพบครั้งแรกในปี 2541 ที่บริเวณป่าพุ บ้าน ซั บ จำปา อำเภอท่ า หลวง จั ง หวั ด ลพบุ รี แล้ ว มี ก าร

ตี พิ ม พ์ ร ายงานการตั้ ง ชื่ อในปี 2543 หลั ง จากนั้ น ก็ มี รายงานการค้นพบพรรณไม้ชนิดนี้ที่อำเภอเมือง จังหวัด เลย และในปี 2551 ก็ มี ก ารค้ น พบอี ก ครั้ ง ที่ อ ำเภอ

คอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งทุกแหล่งที่พบต้นจำปีสิรินธร ล้วนมีลักษณะทางนิเวศวิทยาเป็นป่าพุ มีน้ำแช่ขัง อีกทั้ง น้ ำ และดิ น ที่ พ บในป่ า พุ ยั ง มี คุ ณ สมบั ติ เ ป็ น ด่ า งอ่ อ นๆ

จึ ง เป็ น ข้ อ มู ล ที่ ยื น ยั นได้ ว่ า จำปี สิ ริ น ธรเป็ น พรรณไม้

ที่ชอบขึ้นอยู่ ในสภาพนิเวศวิทยาที่เป็นป่าพุน้ำจืด และ เจริญเติบโตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำไหลผ่าน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

145

ผลเป็นผลกลุ่ม ช่อยาว 2-3.5 ซม. มีผลย่อย 3-6 ผล แต่ละผลเรียงติดอยู่บน ลักษณะพรรณไม้ แกนกลางผล

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. เปลื อ กลำต้ น แตกเป็ น ร่ อ งตามยาว ลำต้ น เปลาตรง แตกกิ่งเป็นพุ่มเฉพาะที่ยอด ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ เดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5.5-8.5 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบมนทู่ถึง แหลม ใบอ่อนมีขนนุ่มใต้ ใบ เมื่อใบแก่เนื้อใบจะหนา ปัจจุบันมีความพยายามจะปลูกต้นจำปีสิรินธรใน แข็ง กรอบ ขอบใบเรียบ แหล่ ง ที่ ค้ น พบเพิ่ ม ขึ้ น อี ก เป็ น จำนวนมาก เพื่ อใช้ เ ป็ น ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีขาว สัญลักษณ์ของพื้น ที่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวและส่งเสริม กลิ่นหอม มีกลีบดอก 12-15 กลีบ รูป ไข่กลับแกมรูป การท่องเที่ยวของไทย เช่นเดียวกับป่าพุ จังหวัดลพบุรี ขอบขนาน ปลายกลีบมนแผ่กว้าง บาน 2 วันแล้วโรย ที่ ไ ด้ มี ก ารจั ด ทำเส้ น ทางศึ ก ษาธรรมชาติ เ ป็ น สะพาน เมื่อใกล้โรยดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน คอนกรีตยาว 1,000 ม. ให้คนได้มีโอกาสเข้าไปเดิน ผล เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 15-25 ผล ผลอ่อน

ศึ ก ษาธรรมชาติ ข องป่ า พุ จ ริ ง ๆ ขณะนี้ ยั ง มี ก ารปลู ก สีเขียว เมื่อแก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผลย่อยแตก ต้นกล้าจำปีสิรินธรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีการ ตามแนวยาว แต่ละผลมี 1-4 เมล็ด บำรุงรักษาอย่างดีจนต้นจำปีสิรินธรเจริญเติบโต แข็งแรง เมล็ด สีแดงเข้มรูปกลมรี ขนาด 4-6 มม. และออกดอกติดผล สมกับเป็น พรรณไม้ที่มีนามเป็น การขยายพันธุ์ มงคล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือทาบกิ่ง ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ดอกบานตั้งขึ้น สีขาวนวล กลิ่นหอมแรง

บานในช่วงเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม


146

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพู ่น้ำ Syzygium siamense (Craib) Chantar. & J. Parn.

ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ชมพู่น้ำเป็นพรรณไม้ที่ ออกดอกและติ ด ผลเกื อ บตลอดปี มี ช่ ว งฤดู ด อกบาน

ชมพู่น้ำ เป็นพรรณไม้ที่มีการค้นพบครั้งแรกของ ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม ส่วนผลจะแก่ ในเดือน โลกในประเทศไทยโดยหมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อเดือน พฤษภาคมถึ ง มิ ถุ น ายน ผลของชมพู่ น้ ำ มี ลั ก ษณะ

กั น ยายน ปี 2454 ที่ อ ำเภอศรี ร าชา จั ง หวั ด ชลบุ ร ี ค่อนข้างใหญ่ เมื่อสุกจึงกลายเป็นอาหารอันโอชะของ ในระดั บ ความสู ง 90 ม. สั ง เกตได้ จ ากคำระบุ ช นิ ด บรรดาสัตว์ป่าทั้งหลาย นับตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม siamense ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยใน ขนาดเล็ ก จำพวกกระรอก กระแต ไปจนถึ ง สั ต ว์ ปี ก การสำรวจพบครั้งแรก อย่ า งนกและค้ า งคาว แต่ ห ากร่ ว งหล่ น ลงพื้ น ดิ น ก็ จ ะ ชมพู่ น้ ำ เป็ น พรรณไม้ ว งศ์ Myrtaceae มี เ ขต กลายเป็นอาหารของเก้งและชะมด และเนื่องจากเป็น กระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ พบตามน้ำตก พรรณไม้ ย อดนิ ย มของบรรดาสั ต ว์ ตั ว น้ อ ยๆ เหล่ า นี้

และบริเวณหินตามริมลำธารในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง นักส่องสัตว์จึงนิยมใช้ต้นชมพู่น้ำเป็นเป้าหมายในการ จึงเป็นที่มาของชื่อ ชมพู่น้ำ ส่วนต่างประเทศพบที่พม่า ส่องดูสัตว์ต่างๆ

ชื่ออื่น ชมพู่ค่าง หว้าปลอก


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

147

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-15 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรียบหรือแตกเป็น สะเก็ดละเอียด แตกอ้าเล็กน้อยทั่วไปตามลำต้นและกิ่ง ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปหอกกลับ รูปรี หรือรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง 4-7.3 ซม. ยาว 11-19 ซม. ปลายใบแหลม โคนสอบหรื อ มน ขอบใบเรี ย บ

สี เ ขี ย วเข้ ม เป็ น มั น เส้ น แขนงใบข้ า งละ 9-10 เส้ น

ด้านล่างเป็นสันนูนชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอก สี ข าว มี ก ลิ่ น หอมอ่ อ นๆ เป็ น ช่ อ แบบ

ช่อกระจุกสั้นๆ ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 4 กลีบสีเขียว แม้ ว่ า ชมพู่ น้ ำ จะเป็ น อาหารอั น โอชะของสั ต ว์ ฐานรองดอกรูปกรวยสีชมพูม่วง กลีบดอกสีเขียวรูป

ทั้ ง หลายในป่ า แต่ ก็ ไ ม่ ใ ช่ อ าหารอร่ อ ยปากของคน ครึ่งวงกลม 4 กลีบ ไม่ติดกัน ร่วงง่าย เกสรเพศผู้สีขาว เท่ าใดนั ก เนื่ อ งจากมี ร สชาติ ค่ อ นข้ า งฝาด ไม่ ห วาน จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-6 ซม. ผล ผลสดทรงกลมสีเขียวเข้ม ขนาด 4-5 ซม. กรอบหรือคุ้นลิ้นเหมือนชมพู่ที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด จึ ง เป็ น พรรณไม้ ที่ เ หมาะเป็ น อาหารสำหรั บ สั ต ว์ ป่ า เมื่อผลแก่จะโค้งเป็นพู 2-3 พู ปลายผลมีกลีบเลี้ยงและ เท่านั้น นอกจากนี้ชมพู่น้ำยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก ปลายเกสรเพศเมียติดอยู่จนถึงระยะผลแก่ เมล็ด ค่อนข้างกลมรี และมีสันนูน 1 ด้าน มากมาย โดยชาวบ้านนิยมนำใบมาต้มล้างแผลหรือตำ ทารักษาโรคผิวหนัง เมล็ดสามารถแก้โรคบิดได้ ส่วน เปลือกใช้แก้ท้องร่วงและล้างแผล เนื้อไม้ของชมพู่น้ำ

ยังมีลักษณะเหนียวและเนื้อละเอียด แต่ทั้งนี้ควรจะร่วมมือ กั น อนุ รั ก ษ์ ไม่ ตั ด ฟั น เนื่ อ งจากปั จ จุ บั น ชมพู่ น้ ำ เป็ น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก พรรณไม้ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพพืชหายาก ตามปลายกิ่ง

ผลสดทรงกลมสีเขียวเข้ม ขนาด 4-5 ซม. เมื่อผลแก่ จะโค้งเป็นพู 2-3 พู

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง


148

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ด้ ามมีด Cyathocalyx martabanicus Hook.f. & Thomson

ชื่ออื่น -

ด้ามมีด พรรณไม้ชื่อแปลกชนิดนี้มีที่มาของชื่อ จากลั ก ษณะผล ผลของด้ า มมี ด มี รู ป ร่ า งเป็ น ทรง กระบอก เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 3-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. และมี ร อยคอดตามขวางจั บ ได้ ก ระชั บ มื อ เหมื อ นกั บ

ด้ามมีดหรือด้ามปืน จึงได้รับการตั้งชื่อเรียกขานดังกล่าว

ด้ า มมี ด เป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ ก ระดั ง งา มี ก าร กระจายพันธุ์อยู่ ในป่าดิบชื้นตามแนวชายแดนไทย-พม่า ที่ ร ะดั บ ความสู ง 200-750 ม. ในเขตอุ ท ยาน

แห่ ง ชาติ ท องผาภู มิ และอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นถ้านักท่องเที่ยวหรือนักสำรวจ พรรณไม้ ต้ อ งการชื่ น ชมความงามของด้ า มมี ด หรื อ ต้องการเห็นลักษณะผลของพรรณไม้ชนิดนี้ ก็จะต้อง เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ดังกล่าว ประโยชน์ของด้ามมีดนั้น มีหลายอย่าง ชาวบ้าน นิยมนำไปทำสมุนไพรพื้นบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงา เพราะด้ามมีดเป็นพรรณไม้ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบและมี ใบ หนาจำนวนมาก นอกจากนี้ด้ามมีดยังเหมาะแก่การนำ ไปปลูกเพื่อยึดหน้าดิน เพราะเป็น พรรณไม้ที่มีระบบ รากดี จึ ง ช่ ว ยยึ ด หน้ า ดิ น ริ ม ลำธารบนภู เ ขาและพื้ น ที่

ลาดชันได้ดี


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

149

ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีใครรู้จักพรรณไม้ชนิดนี้มากนัก จึงควรมีการส่งเสริมให้ปลูกมากยิ่งขึ้น โดยเก็บเมล็ด จากผลแก่ที่ร่วงหล่นอยู่ เพาะเป็นต้นกล้าแล้วปลูกรวมกัน ให้เป็นแปลงใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของพื้น ที่ท่องเที่ยว

ให้มีคนมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ได้ชื่นชมกับดอกหอมและ รูปร่างแปลกตา

ดอกสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 3-4.5 ซม. ดอกส่งกลิ่นหอมอ่อน

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. เปลือก หนา สีน้ำตาลเข้ม โคนลำต้นเป็น พูพอน แตกกิ่งน้อย

มีใบเฉพาะที่ปลายกิ่ง ทรงพุ่มแน่นทึบ เนื้อไม้เหนียวมาก ใบ รูปรี กว้าง 6-9 ซม. ยาว 12-17 ซม. โคนใบ รู ป ลิ่ ม ปลายใบแหลม เนื้ อใบหนา แข็ ง กรอบ เส้ น แขนงและเส้นกลางใบด้านล่างนูนเด่นชัด ขอบใบเป็น คลื่น

ผลรูปทรงกระบอก เปลือกหนาแข็ง มีรอยคอดตามขวาง จับได้กระชับมือเหมือน ด้ามมีดหรือด้ามปืน

ดอก ออกเป็ น กระจุ ก 2-3 ดอก ออกตามกิ่ ง บริเวณตรงข้ามใบ ดอกสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกรูป ขอบขนาน ยาว 3-4.5 ซม. ดอกส่ ง กลิ่ น หอมอ่ อ น ออกดอกบานเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ผล รูปทรงกระบอก เปลือกหนาแข็ง กว้าง 3 ซม. ยาว 4-6 ซม. มี ร อยคอดตามขวางจั บ ได้ ก ระชั บ มื อ เหมือนด้ามมีดหรือด้ามปืน เมล็ด เรียง 2 แถว มี 10 เมล็ด เมล็ดรูปกลม แบน ตรงขอบเป็นรอยเว้า เปลือกเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ขนาด 4-7 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


150

บุ หรงใบนวล Dasymaschalon glaucum Merr. & Chun

ชื่ออื่น -

ในทางนิเวศวิทยา บุหรงใบนวล ถือเป็นพรรณไม้ ดัชนีชี้บ่งความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่ร่มและชื้น โดยวิธี การสังเกตง่ายๆ คือ ถ้าบุหรงใบนวลเหี่ยวตาย แสดงว่า ป่าบริเวณนั้นถูกทำลายมาก แล้วมีความชื้นไม่เพียงพอ ประกอบกับผืนป่าโล่งแจ้งมีปริมาณแสงแดดส่องถึงพื้น มากเกินไป

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

บุ ห รงใบนวลเป็ น พรรณไม้ ที่ ห ายากในสภาพ ธรรมชาติ ถึ ง แม้ จ ะมี ถิ่ น กำเนิ ด กระจายกว้ า งตั้ ง แต่ ประเทศจี น (ตอนใต้ ) ลงมาเวี ย ดนาม ลาว จนถึ ง ประเทศไทย แต่พบจำนวนต้น น้อยมากในแต่ละพื้น ที่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากอัตราการงอกของเมล็ดต่ำ และเจริญ เติบโตได้ค่อนข้างยาก สำหรับในประเทศไทย บุหรง-

ใบนวลมีการกระจายพันธุ์อยู่ ในป่าดิบชื้นตามริมลำธาร หรื อ ข้ า งน้ ำ ตก ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เลย กาญจนบุ รี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในระดับความสูง 2001,500 ม. เหนือระดับน้ำทะเล


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

151

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 ม. โคนลำต้น มีขนาดใหญ่ ได้ถึง 13 ซม. แตกกิ่งจำนวนมากเป็นพุ่ม กลม ใบ ใบรูปรี หรือรูป ไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 10-20 ซม. ด้านล่างของใบมีนวลเคลือบสีขาวเด่นชัด มาก ผิวใบมีขนประปราย ดอก ออกที่ ใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 2 ซม. มี ก ลี บ ดอก 3 กลีบประกบกัน เป็นแท่งสามเหลี่ยมเรียว ดอกออกที่ใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก 3 กลีบประกบกัน ยาว 2.5-4 ซม. ปลายดอกเรียวแหลมและบิดเวียน เป็นแท่งสามเหลี่ยมปลายแหลม ผล เป็ น ผลกลุ่ ม มี ผ ลย่ อ ย 6-28 ผล ผลย่ อ ย

บุหรงใบนวลเป็นพรรณไม้ ในวงศ์กระดังงา มีช่วง รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-5 ซม. มีเมล็ด 1-6 เมล็ด

ฤดู ด อกบานตั้ ง แต่ เ ดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง พฤษภาคม มีรอยคอดตามเมล็ด ส่วนผลจะแก่ ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ปัจจุบัน เมล็ด สีขาวกลมรี ยาว 6-13 มม. นอกจากการใช้ประโยชน์ทางนิเวศวิทยาที่เป็นดัชนีชี้

บ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของป่าแล้ว ยังมีการศึกษา ประโยชน์ ท างด้ า นสมุ นไพรของพรรณไม้ ช นิ ด นี้ ด้ ว ย

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการนำต้นและรากของ บุหรงใบนวลไปใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน แต่ไม่ สามารถระบุสรรพคุณ ทางยาอย่างแน่ชัด เนื่องจากมี การใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น และในปัจจุบันกำลังมี การเร่งศึกษาสารสำคัญที่มีอยู่ ในต้น กิ่ง และใบของ บุหรงใบนวล ดอกของบุ ห รงใบนวล มี รู ป ร่ า งเป็ น แท่ ง สามเหลี่ยม ยาว 2.5-4 ซม. ปลายบิดเป็นเกลียว และมี สี สั น สวยงาม บางดอกมี สี ข าวหรื อ ขาวนวล หรื อ ส้ ม ผลย่อยรูปทรงกระบอก ชมพู ม่ ว งแดง แต่ บ างดอกมี ห ลายสี ซึ่ ง น่ า จะนำมา ยาว 1.5-5 ซม. ปรับปรุงพันธุ์โดยผสมกับบุหรงชนิดอื่นๆ ที่มีดอกขนาด มีเมล็ด 1-6 เมล็ด ใหญ่และมีความยาวมากกว่าหรือชนิดที่ออกดอกได้ดก และเกือบตลอดปี จะมีโอกาสได้ชนิดที่สวยงามขนาด การขยายพันธุ์ ใหญ่ และดอกดก เป็นไม้ประดับได้ดีในอนาคต ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


152

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พุ ด Gardenia collinsae Craib

ชื่ออื่น ข่อยด่าน ข่อยหิน พุดผา สีดาดง

ดอกเอ๋ย ดอกพุด หกกลีบเด่นในพนาป่าดงแดน ขนานนาม “พุดดง” บ่ง “พุดป่า” ขาวระเมียรเปลี่ยนเหลืองประเทืองทวี

ขาวลออบริสุทธิ์สะอาดแสน ละม่อมแม้น “ดอกไม้โคก” โฉลกดี กลิ่นหอมกล้ากำจายอาบซาบทรวงศรี ดอกพุดนี้มีอยู่คู่ไทยเอยฯ (เรืองอุไร กุศลาสัย : ประพันธ์)

จากบทประพั น ธ์ ข้ า งต้ น แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความ งดงามของ “พุ ด ” พรรณไม้ ที่ มี เ สน่ ห์ อ ย่ า งมากชนิ ด

หนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่ออกดอกสีขาวพรูเต็มต้นและ

ส่งกลิ่นหอมกระจายไปตลอดวัน ได้สร้างความประทับใจ ให้แก่ผู้ที่ไปชื่นชมจนยากจะลืมเลือน

พุ ด เป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ เ ข็ ม หรื อ Rubiaceae พบครั้ ง แรกในประเทศไทย ที่ บ ริ เ วณใกล้ ช ายหาด อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีชื่อระบุชนิด collinsae ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ มาดามคอลลิน นักพฤกษศาสตร์ ชาวอเมริกัน โดยนอกจากจะมีชื่อเรียกว่าพุดแล้ว ยังมี ชื่ออื่นๆ อีก เช่น ข่อยด่าน ข่อยหิน พุดผา และสีดาดง


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

ปลายผลมีครีบแหลมของ กลีบเลี้ยงติดอยู่ 6 แฉก

153

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ผลัดใบ สูง 3-6 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางของโคนต้น 5-10 ซม. ลำต้นค่อนข้าง เปลาหรื อ แตกเป็ น หลายลำต้ น เปลื อ กบาง เรี ย บ

สี เ ทาอมขาว เปลื อ กแก่ มั ก ล่ อ นออกเป็ น แผ่ น โตๆ

เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ กิ่งอ่อนมักแข็งคล้ายหนาม ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดตรงข้ามเป็นคู่ และแต่ละคู่

มั ก อยู่ ชิ ด ติ ด กั น ทำให้ ดู เ ป็ น กระจุ ก หรื อ เป็ น กลุ่ ม

บริ เ วณใกล้ ๆ ปลายกิ่ ง ใบรู ป รี แกมรู ป สี่ เ หลี่ ย ม

ขนมเปียกปูน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 3-7 ซม. ทั้งโคน และปลายใบเรียวสอบแคบและเบี้ยวเล็กน้อย เนื้อใบ ค่อนข้างหนา มีขนสากๆ แข็งๆ ประปรายทั้งสองด้าน ดอก ดอกเดี่ ย ว ออกตามปลายกิ่ ง และซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 6 แฉก จะติดอยู่จนเป็นปลายจุกผล โคนกลี บ ดอกสี ข าวเชื่ อ มติ ด กั น เป็ น หลอดรู ป แจกั น ปลายหลอดแยกเป็นกลีบดอก 5-6 กลีบสีขาว กลีบบาง ปลายกลีบบิดเวียน บานวันเดียวและโรยวันรุ่งขึ้น ผล กลมรี ยาว 2.5 ซม. ปลายผลมีครีบแหลม ของกลีบเลี้ยงติดอยู่ 6 แฉก เมล็ด มีขนาดเล็ก ยาว 3-4 มม. มีจำนวนมาก

ส่วนใครที่อยากชื่นชมพรรณไม้ชนิดนี้ต้องไปหา ชมช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดู ดอกบาน มีสีขาวพรูเบ่งบานพร้อมกันเกือบทั้งต้น มีช่วง ดอกบานอยู่เพียง 1 สัปดาห์ แต่ละดอกบานอยู่ ได้วัน เดี ย วแล้ วโรย แต่ จ ะส่ ง กลิ่ น หอมอ่ อ นๆ ไปตลอดวั น กระจายพันธุ์อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ปั จ จุ บั น มี ค วามนิ ย มปลู ก พุ ด เป็ นไม้ ป ระดั บ เพิ่ ม มากขึ้น ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพร นิยมใช้ผิวเปลือก ของพุดอุดฟันแก้ปวดฟัน นอกจากนี้ยังมีการนำไม้พุด มาทำหวี โดยบรรยายสรรพคุณว่า ช่วยทำให้ผมดกดำ ลดอาการผมแตกปลาย และช่วยให้ผมหงอกได้ช้าลง เนื่องจากพุดเป็นพืชทนแล้ง ถึงแม้จะโตช้าก็ตาม ดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ ่งและซอกใบ แต่ ก็ ยั ง มี ค วามนิ ย มปลู ก ตามสวนสาธารณะ สวน กลีบดอกสีขาวมี 6 แฉก พฤกษศาสตร์ หรือตามแหล่งพักผ่อนที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง ดิ น ขาดความอุ ด มสมบู ร ณ์ แต่ ทั้ ง นี้ ข อแนะนำว่ า

การปลูกในที่ร่มหรือดินปลูกชื้นตลอดปี พุดจะออกดอก การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ได้น้อย


154

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

มณฑาดอย Magnolia hodgsonii (Hook.f. & Thomson) H. Keng

ชื่ออื่น ตองแข็ง

มณเอ๋ยมณฑา สีสันงามหยดย้อย บ้างเรียกว่าตองแข็ง กลิ่นหอมรื่นชื่นฤดี

งามหนักหนามณฑาดอย มีไม่น้อยในปฐพี ปลูกลงแปลงเขียวขจี ในแดนนี้มิงามเท่ามณฑาเอย (ศิรินภา สาลีเกิด : ประพันธ์)

บทประพันธ์ข้างต้นได้กล่าวถึงลักษณะเด่นของ มณฑาดอย ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ทั้ ง ในด้ า นของการเป็ น พรรณไม้ดอกที่มีกลิ่น หอมแรง สีสันสวยงาม มีดอก ขนาดใหญ่กว่ามณฑาและขึ้นอยู่บนภูเขาตามดอยต่างๆ

เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่พบเห็น จึงเป็นที่มาของชื่อ มณฑาดอย ส่วนชื่ออื่นที่คนเรียกกันบ้างก็คือ ตองแข็ง มณฑาดอย เป็ น พรรณไม้ ว งศ์ จ ำปาที่ มี ก าร กระจายพันธุ์ ในป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น ตามริมลำธาร และในหุบเขา ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 6601,300 ม. ในต่ า งประเทศพบที่ อิ น เดี ย พม่ า ลาว

และเวี ย ดนาม มี ก ารค้ น พบมณฑาดอยครั้ ง แรกใน ประเทศไทยบนดอยสูงทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่

แต่ ต่ อ มาก็ พ บบนดอยที่ ต่ ำ ลงมาในจั ง หวั ด อื่ น ๆ เช่ น แม่ฮ่องสอน ตาก จนกระทั่งพบบนเนินเขาที่ไม่สูงนักใน อุทยานแห่งชาติเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ ใน ภาคตะวันตกของประเทศ แต่ก็ยังคงสภาพความงาม ของดอกที่ทั้งใหญ่ สวยงามและมีกลิ่นหอม มณฑาดอยเป็นพรรณไม้ที่มีทรงพุ่มกลม ค่อนข้าง แน่นทึบ เนื่องจากมี ใบขนาดใหญ่จำนวนมาก จึงเหมาะ ที่จะปลูกเป็นไม้ ให้ร่มเงา บังลม หรือโชว์ทรงพุ่มได้ดี แต่ ในขณะนี้ ได้รับความนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับที่ มีดอกหอม และสวยงาม เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ระดับ สูง ในเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า หาก ปลูกจำนวนมากให้เป็นลานกว้าง สามารถใช้เป็นสถานที่ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้เป็นสัญลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ได้อย่างโดดเด่น เนื่องจากมีดอกใหญ่และกลิ่นหอมแรง


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

155

ดอก ออกเดี่ ย วที่ ป ลายยอด ดอกบานตั้ ง ขึ้ น มี กลิ่ น หอมแรง ดอกบาน 2-5 วั น ดอกตู ม รู ป กลมรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-7 ซม. กลีบดอก 9 กลีบ เรียง เป็น 3 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกสุดรูปช้อน กว้ า ง 4-5 ซม. ยาว 8-10 ซม. ด้ า นนอกกลี บ สี ม่ ว ง

อมเขี ย ว ขอบกลี บ ห่ อ เป็ น กระพุ้ ง ปลายกลี บ ห้ อ ยลง กลี บ ดอกชั้ น กลางและชั้ น ในสุ ด มี ข นาดใกล้ เ คี ย งกั น

โคนกลีบเรียวแคบ ปลายกลีบห่อซ้อนกันเข้าหากลางดอก ดอกออกเดี่ยวที่ปลายยอด กลีบสีขาวนวล หนาและฉ่ำน้ำ ดอกบานตั้งขึ้น ผล รู ป รี กว้ า ง 5.5-7.5 ซม. ยาว 8-10 ซม.

มีกลิ่นหอมแรง มีผลย่อย 80-100 ผล เปลือกผลย่อยหนาและเชื่อมติด กัน แต่ละผลรูปรี กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายผลเป็นจะงอย เปลือกผลสีเขียวอ่อน เมื่อผลแก่ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผลย่อยแตกตามรอยเชื่อม

และหลุดออก เหลือเมล็ดสีแดงเข้มติดอยู่กับช่องแกนผล ช่องละ 2 เมล็ด เมล็ด กลมรี สีแดงเข้ม ยาว 1 ซม.

เมื่ อ ผู้ ค นจากภาคกลางได้ ไ ปท่ อ งเที่ ย วตาม

ดอยต่ า งๆ ในภาคเหนื อ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในช่ ว ง

เดื อ นเมษายน ได้ พ บเห็ น ดอกมณฑาดอยขนาดใหญ่ สวยงาม และส่งกลิ่นหอม ได้ชื่นชมแล้วรู้สึกประทับใจ มีการนำเมล็ดหรือต้นกล้าลงมาปลูกในพื้นราบภาคกลาง รวมทั้ ง ในกรุ ง เทพฯ ปลู ก กั น มานานกว่ า 10 ปี จน

ต้นเป็น พุ่มใหญ่ แต่ก็ต้องคอยเก้อเนื่องจากมณฑาดอย

ไม่ออกดอกในพื้นราบ

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แล้วปลูกในพื้น ที่ ระดับสูง ในที่ร่มรำไรที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-15 ม. เรือนยอดเป็น พุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทาปน น้ำตาล มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว เนื้อไม้และกิ่งเหนียว ใบ มี ข นาดใหญ่ ม าก รู ป ไข่ ก ลั บ หรื อ รู ป ขอบ ขนานแกมรูป ไข่กลับ กว้าง 6.5-12 ซม. ยาว 19-45 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรี ย บและ

เป็นคลื่น แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน ใบด้านบนสีเขียวเข้ม

เป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า เนื้อใบหนา แข็ง กรอบ

เปลือกผลย่อยหนาและ เชื่อมติดกัน แต่ละผลรูปรี

เมล็ด กลมรี สีแดงเข้ม ยาว 1 ซม.


156

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

มหาพรหม Mitrephora winitii Craib

ชื่ออื่น -

มหาพรหม เป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ ในวงศ์กระดังงา ที่มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบแล้ง ติดต่อกับป่าดิบชื้น ที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี ในระดั บ ความสู ง ตั้ ง แต่ ร ะดั บ น้ ำ ทะเลจนถึ ง 100 ม.

เป็ น พรรณไม้ ถิ่ น เดี ย วของไทยที่ จั ด เป็ นไม้ ห ายากใน สภาพถิ่นกำเนิด มหาพรหมมีการสำรวจพบครั้งแรกโดย อำมาตย์เอกพระยาวินิจวนันดร เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2464 ในป่ า ดิ บ ชื้ น จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ ที่ ร ะดั บ ความสูง 80 ม. จึงได้มีการตั้งชื่อระบุชนิดให้เป็นเกียรติ แก่ท่านในปี 2465

เนื่ อ งด้ ว ยมหาพรหมเป็ น พรรณไม้ ที่ นั ก สำรวจ

ต่างชาติเคยระบุว่า เป็นพรรณไม้ดอกใหญ่ที่หายากและ ใกล้สูญพันธุ์ ในถิ่นกำเนิด เป็นเหตุให้นักสะสมพรรณไม้

และผู้ ป ลู ก เลี้ ย งมี ค วามต้ อ งการจะนำมาปลู ก จึ ง มี การนำเมล็ ด ของมหาพรหมไปเพาะปลู ก เพิ่ ม มากขึ้ น โดยนิยมปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ทรงพุ่มและไม้ดอกหอม เนื่องจากมีดอกขนาดใหญ่ สวยงาม และมีกลิ่น หอม ทำให้ปัจจุบัน มหาพรหมเป็นที่แพร่หลายไปทั่วประเทศ และพ้นจากสภาพพรรณไม้หายากแล้ว


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

157

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 5-12 ม. แตกกิ่ ง ต่ ำ เปลือกเรียบ สีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นฉุน มีรอยด่างสีเขียว เทา มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงหนาแน่นตามปลาย ใบ รูปขอบขนาน รูปหอก หรือรูปใบหอกแกมรูป ไข่ ยาว 6-20 ซม. ปลายใบแหลมหรื อ เรี ย วแหลม

โคนใบรูปหัวใจหรือเบี้ยวเล็กน้อย หลังใบสีเขียวเข้ม ส่วนข้อแตกต่างระหว่างมหาพรหมกับมหาพรหม- ท้องใบสีเขียวซีด เนื้อใบหนาและมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ราชินีซึ่งเป็นพรรณไม้ ในสกุลเดียวกันก็คือ มหาพรหม ดอก เดี่ ย วออกตรงข้ า มใบ กลี บ ดอก 6 กลี บ จะมีใบค่อนข้างกลม เนื้อใบหนา มีขนมาก และมีเส้นใบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นนอกรูปรีเกือบกลม

นูนเด่นชัด เมื่อจับดูใบจะรู้สึกมีความหนานุ่ม แตกต่าง สีขาว ยาวได้ประมาณ 4 ซม. กลีบชั้นในรูป ไข่กว้าง จากมหาพรหมราชินีที่มี ใบรูปร่างเรียวยาว เนื้อใบบาง ประกบกั น เป็ น รู ป กระเช้ า สี ม่ ว งแดง ดอกบานอยู่ ไ ด้

แผ่นใบบางเรียบ เป็น มัน ไม่มีขน นอกจากนี้ยังมีข้อ 1-2 วัน แตกต่างอย่างชัดเจนในเรื่องของแหล่งกำเนิด เนื่องจาก ผล เป็ น ผลกลุ่ ม มี 10-16 ผล ผลรี เ กื อ บกลม มหาพรหมจะขึ้นอยู่ ในพื้นที่ระดับต่ำบนเขาหินปูนใกล้ เปลือกผลมีขนนุ่มสีเหลือง มีเมล็ด 8-12 เมล็ด เมล็ด รูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-9 มม. ชายทะเล ขณะที่มหาพรหมราชินีขึ้นอยู่บนภูเขาสูงมาก กว่า 1,000 ม. และมีอยู่เฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ พรรณไม้ทั้งสองชนิดจะมีลักษณะเหมือนกันใน เรื่องของการเพาะเมล็ด คือเมื่อนำเมล็ดของมหาพรหม และมหาพรหมราชินีมาเพาะและปลูกในที่ราบภาคกลาง ดอกตูม โดยเฉพาะในกรุ ง เทพฯ เมล็ ด ของพรรณไม้ ทั้ ง สอง

จะงอกและเจริญเติบโตได้ดี สามารถออกดอกได้ทั้ง สองชนิด สำหรั บ ผู้ ที่ ป ลู ก ต้ น มหาพรหมแล้ ว อยากให้

มหาพรหมออกดอกจำนวนมากพร้อมกันทั้งต้น ต้องอาศัย เคล็ดลับเล็กน้อยในการปลูก โดยจะต้องงดการให้น้ำ

ผลเป็นผลกลุ่ม มี 10-16 ผล ผลรีเกือบกลม ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เมื่ อ ต้ น มหาพรหมมี ใ บเหี่ ย วและทิ้ ง ใบหมดแล้ ว

จะออกดอกพร้อมกัน ทั้งต้นในเดือนเมษายน แต่หาก การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยการเพาะเมล็ ด ส่ ว นการทาบกิ่ ง มี ก ารรดน้ ำ เป็ น ประจำ มหาพรหมจะเจริ ญ เติ บ โต

นิยมใช้ต้นมะป่วนเป็นต้นตอ ออกใบอ่อนอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ออกดอก


158

มั งตาน

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ฉะนั้นไม่ว่าจะไปที่ ใดจึงมักพบต้นมังตานออกดอกสีขาว บานสะพรั่งในระหว่างฤดูร้อน ส่วนในต่างประเทศก็ Schima wallichii (DC.) Korth. สามารถพบได้ตั้งแต่ประเทศเขตอบอุ่นบริเวณตอนใต้ ชื่ออื่น ทะโล้ ของญี่ ปุ่ น เรื่ อ ยมาจนถึ ง ประเทศเขตร้ อ นอย่ า ง คนส่ ว นใหญ่ มี ค วามเข้ า ใจและความเชื่ อ ว่ า อินโดนีเซีย แต่ทั้งนี้ มังตานจะมีมากในแถบภูเขา ด้วย มังตาน หรือทะโล้ เป็นพรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทย เหตุ นี้ ค นส่ ว นใหญ่ จึ ง เข้ า ใจว่ า ชาวไทยภู เ ขานั บ ถื อ

ภูเขา เนื่องจากเห็นว่าเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวที่ ไม่ถูกตัด ต้นมังตาน ไม่นำไปใช้ประโยชน์ และไม่ทำลายทิ้ง แต่แท้ที่จริงแล้ว ประโยชน์ของมังตานนั้น มีมากมายหลายอย่าง

มั ง ตานมี เ นื้ อไม้ ที่ มี เ สี้ ย นคั น มาก มี น้ ำ ยางที่ เ ป็ น พิ ษ ดังที่เคยมีบทกลอนกล่าวไว้ว่า ชาวไทยภู เ ขาจึ ง ไม่ ก ล้ า ที่ จ ะตั ด ไปใช้ ง านหรื อ ใช้

ประโยชน์ใดๆ ต้นมังตานแก้ขัดเบาและคลื่นไส้ มังตานถือเป็นพรรณไม้พิเศษในวงศ์ Theaceae ลมบ้าหมูชักใหญ่แก้สุขขี ที่เรียกกันว่า ไม้ ไร้ถิ่น เนื่องจากสามารถขึ้นได้ ในทุก ต้นกิ่งอ่อนปวดหูหยอดทันที สภาพภูมิประเทศ จึงสามารถเจริญเติบโตได้ทั่วประเทศ ธูปหอมดี เปลือกทำเหยื่อเพื่อเบื่อปลา (อุทัยวรรณ หงษ์โต : ประพันธ์) ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลขึ้นไปจนถึงยอดเขาสูงในภาคเหนือ


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

159

ดอก ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบสีขาว ชมพูหรือม่วงแดง มีเกสรเพศผู้สีเหลือง จำนวนมาก ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ซม. แต่ละ ดอกบานอยู่ได้ 2-3 วัน ผล แห้งและแตกเป็นพูตามยาวเหมือนผลทุเรียน 4-5 ซีก แต่ละซีกมี 1-2 เมล็ด เมล็ ด มี ลั ก ษณะกลม และแบนเรี ย บ เส้ น ผ่ า ศูนย์กลาง 3-4 มม. กลีบดอก 5 กลีบสีขาว ชมพู หรือม่วงแดง มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก

จากบทกลอนข้ า งต้ น จะเห็ นได้ ว่ า มั ง ตานเป็ น พรรณไม้ที่มากด้วยคุณค่า โดยในตำราไทยมีการใช้ ดอกแห้งของมังตานแช่หรือชงน้ำให้สตรีที่คลอดบุตร ใหม่ๆ ดื่มต่างน้ำแก้โรคขัดเบา และรักษาโรคชักลมบ้ า หมู ส่ ว นต้ น และกิ่งอ่อนใช้แก้คลื่นไส้อาเจียนหรือ หยอดหูแก้ปวด นอกจากนี้พวกชาวบ้านยังมักใช้เปลือก ต้น มังตานมาเบื่อปลาหรือบดเป็นผงแต่งกลิ่นธูปหอม และเนื่องจากมังตานเป็นพรรณไม้ที่มีทรงพุ่มกลมแน่น การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ทึบ ดอกดก สวยงามและมีกลิ่นหอม จึงเหมาะสมที่จะ ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรืออาคารสำนักงาน โดยในปัจจุบันมีความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามข้าง ทางหลวงแล้วหลายสาย ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 15-25 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนดำ ขรุขระแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุก รูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-15 ซม. ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างเคลือบขาว ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เล็กน้อย ส่วนใบอ่อนจะมีสีแดง


160

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โมกราชิ นี Wrightia sirikitiae D.J. Middleton & Santisuk

โมกราชิ นี เป็ นไม้ ถิ่ น เดี ย วของไทย อยู่ ใ นวงศ์ Apocynaceae พบกระจายอยู่ ห ลายพื้ น ที่ ใ นจั ง หวั ด โมกราชินี เป็น พรรณไม้ ในสกุลโมกบ้านที่มีคำ นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี และสระแก้ว ระบุชนิด sirikitiae ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จ- โดยจะขึ้นตามเขาหิน ปูนเตี้ยๆ ที่แล้ง ระดับความสูง พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำรวจพบครั้งแรก ประมาณ 100 ม. มี ฤ ดู ด อกบานอยู่ ใ นช่ ว งเดื อ น โดย Dr.David Middleton ชาวอเมริ กั น ร่ ว มกั บ มกราคมถึ ง กุ ม ภาพั น ธ์ ส่ ว นต้ น ที่ น ำมาปลู ก เลี้ ย ง

นายธวั ช ชั ย วงศ์ ป ระเสริ ฐ เมื่ อ วั น ที่ 27 กุ ม ภาพั น ธ์ หากได้รับความชื้นอยู่ตลอดเวลาจะทยอยให้ดอกจนถึง 2544 จากบนเขาหินปูนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัด เดือนเมษายน ดอกโมกราชินีจะบานเพียงวันเดียวแล้ว สระบุรี โรย แต่จะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน ชื่ออื่น -


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

161

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูป ไข่ แกมรูปรี ยาว 2.5-8.2 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม ใบบาง มีขนละเอียด สากมือ ดอก ออกเป็นช่อดอกยาว 3-5 ซม. กลีบเลี้ยงและ กลีบดอกจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวนวล โคนกลี บ ดอกเป็ น หลอดยาว 1.4-2 ซม. ปลายแยก เป็นกลีบยาว 1.5-2.5 ซม. ผล ผลแห้งแตก ออกเป็นฝักคู่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 8.5-14 ซม. สี น้ ำ ตาลอมเขี ย ว มี ช่ อ งอากาศ กระจายหนาแน่น มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด สีดำรูปรียาว 5-6 มม. มีปุยปลายเมล็ด ปลิวลอยตามลมได้

สำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกโมกราชินี ต้องมีความ วิริยะอุตสาหะมากสักหน่อย เนื่องจากโมกราชินีเป็น พรรณไม้ที่โตช้า หากปลูกจากต้นเพาะเมล็ด กิ่งตอน หรือกิ่งปักชำลงกระถางหรือลงแปลงให้สัมผัสกับดิน โดยตรงจะเจริญเติบโตได้ ไม่ดีนัก รากเน่าและตายได้ การขยายพันธุ์ ง่าย ควรปลูกจากต้นเสียบยอดที่ ใช้โมกมันเป็นต้นตอ เพาะเมล็ ด หรื อ เสี ย บยอด โดยใช้ โ มกมั น เป็ น

โดยปลูกลงกระถางขนาดใหญ่หรือลงแปลงกลางแจ้ง ต้นตอ ปลูกในดินร่วน และระบายน้ำดี การดูแลต้นโมกราชินี ควรมีการตัดแต่งพุ่มเป็นช่วงๆ เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่ แตกกิ่ ง กระโดงสู ง เร็ ว ทำให้ มี ท รงพุ่ ม สู ง ชะลู ด และ

มีดอกน้อย ความนิยมปลูกโมกราชินีอีกแนวทางหนึ่ง คือปลูกโชว์ทรวดทรง โชว์ลีลา มีการตัดแต่งเป็นรูปทรง ต่างๆ มีการปลูกให้ยึดเกาะหินและปลูกเป็นไม้แคระ หรือบอนไซ ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 6 ม. ผลัดใบ ลำต้น แตกกิ่ ง มาก เปลื อ กสี ข าวปนเทา มี ช่ อ งอากาศเป็ น

ปุ่มกลมหรือรีกระจายทั่วลำต้น


162

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โมกเหลื อง Wrightia viridiflora Kerr

ชื่ออื่น -

โมกเหลือง จัดเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย อยู่ในวงศ์ Apocynaceae หมอคาร์ ชาวไอริช สำรวจพบครั้งแรก เมื่ อ วั น ที่ 25 มิ ถุ นายน 2473 จากอำเภอมวกเหล็ ก จังหวัดสระบุรี ปัจจุบัน พบกระจายอยู่ห่างๆ ที่จังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และสระบุรี โดยจะขึ้นตาม เนินเขาหิน ปูนเตี้ยๆ ที่ชุ่มชื้น ในระดับความสูง 100800 ม.

โมกเหลือง จัดเป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เพราะขึ้น อยู่บนเขาหินปูน คนจึงนิยมนำมาปลูกเลี้ยงและตกแต่ง เป็น บอนไซหรือไม้แคระ และเนื่องจากปัจจุบันความ ต้องการไม้ประดับประเภทบอนไซมีมากขึ้น การไปขุด หาโมกเหลืองจากป่าจึงกระทำได้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้เลียนแบบธรรมชาติโดยการตอนกิ่งหรือปักชำกิ่ง โมกเหลืองให้ออกราก แล้วนำมาปลูกเกาะกับก้อนหิน เมื่อโมกเหลืองเจริญเติบโตมากขึ้นก็ดัดแต่งให้มีสภาพ ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่เป็นไม้เกาะหิน ถือเป็นวิธีการ เลียนแบบธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โดย ไม่ เ ข้ าไปรบกวนต้ น ที่ มี อ ยู่ ต ามธรรมชาติ ช่ ว ยให้ ต้ น

โมกเหลืองในป่าสามารถเจริญเติบโตต่อไปในสิ่งแวดล้อม เดิมได้ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ตกแต่งสวน ประดับและทำน้ำตกในบ้าน เหมาะที่จะนำต้นโมกเหลือง มาปลู ก เนื่ อ งจากโมกเหลื อ งชอบขึ้ น เกาะหิ น ริ ม น้ ำ

หรื อ อยู่ ต ามซอกหิ น ที่ มี ไ อหมอก อี ก ทั้ ง ดอกยั ง มี

กลิ่นหอมอ่อนๆ จึงสามารถปลูกข้างน้ำตกประดับสวน ในบ้ า นได้ โดยไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งไปขุ ด เซาะหิ น ในป่ า

ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำลายธรรมชาติแล้วยังเป็นการ กระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

163

ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกโมกเหลืองลงแปลงประดับ สวน จะพบปัญหาที่ว่าโมกเหลืองไม่เจริญเติบโตเมื่อ ปลูกลงดิน แล้วกำลังหาวิธีบำรุงรักษาโมกเหลืองให้ เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ต้องใช้วิธีการเสียบกิ่ง เพื่ออาศัย รากของไม้ชนิดอื่น เช่น โมกมัน เป็นต้นตอ ต้นโมกเหลืองก็จะเจริญเติบโตได้เร็วขึ้นกว่าการปลูกจากการ เพาะเมล็ด และให้รากสัมผัสกับต้นโดยตรง

ดอกเป็นช่อยาว 1-4 ซม. มีดอกย่อย 5-20 ดอก

ผลเป็นฝักคู่ รูปกระสวย ยาว 16-20 ซม. เมื่อแก่แล้ว แตกด้านเดียว มีเมล็ดจำนวนมาก

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 ม. กิ่ง แก่เกลี้ยงมีช่องหายใจเป็นขีดนูนสีขาว ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปรี ยาว 8-15 ซม. เนื้อใบบาง ปลายใบเป็นติ่งแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มหรือ มน แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อย

ดอก เป็นช่อยาว 1-4 ซม. มีดอกย่อย 5-20 ดอก กลี บ เลี้ ย งสี เ ขี ย วรู ป ถ้ ว ย กลี บ ดอก 5 กลี บ สี เ หลื อ ง

อมเขียว เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 1.5 ซม. โคนกลี บ ดอกมี ก ระบั ง เป็ น ฝอยเล็ ก ๆ ล้ อ มรอบเกสร

เพศผู้และเพศเมียที่อยู่กลางดอก ผล เป็นฝักคู่ รูปกระสวย ยาว 16-20 ซม. เมื่อ แก่แล้วแตกด้านเดียว มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด รูปแถบ ยาวประมาณ 2.5 มม. ที่โคนมีขน กระจุก ยาวประมาณ 2 ซม. การขยายพันธุ์ ใช้ วิ ธี เ พาะเมล็ ด ปั ก ชำและตอนกิ่ ง แล้ ว นำลง ปลูกเป็นไม้กระถาง แต่จะเจริญเติบโตได้ช้าเมื่อเทียบ กับการนำมาเสียบกิ่งโดยใช้ต้นโมกมันเป็นต้นตอ ซึ่งจะ เจริญเติบโตได้เร็วและมีทรงพุ่มที่แข็งแรง


164

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โมลี สยาม Reevesia pubescens Mast. var. siamensis (Craib) Anthony

ชื่ออื่น -

พรรณไม้ดอกหอมที่มีชื่อโดดเด่นเป็นสง่าว่า โมลีสยาม และมีชื่อวิทยาศาสตร์ที่มีคำระบุชื่อพันธุ์ (var.) ว่า siamensis นี้ ได้ถูกตั้งขึ้นให้เป็นเกียรติแก่ประเทศ ไทยในการสำรวจพบครั้งแรกโดยหมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2465 ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัด เลย ในระดับความสูง 1,300 ม. โมลีสยามเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย ขึ้นอยู่เฉพาะ แห่งในป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,0001,500 ม. มีกระจายพันธุ์อยู่ ในจังหวัดเลย นครนายก กาญจนบุรี และเพชรบุรี โดยจะออกดอกระหว่างเดือน สิงหาคมถึงธันวาคม ถือเป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ที่หายาก และขยายพั น ธุ์ ไ ด้ ย าก เนื่ อ งจากการขยายพั น ธุ์

โมลี ส ยามยั ง สามารถกระทำได้ เ พี ย งการเพาะกล้ า

วิธีเดียว ส่วนการขยายพันธุ์วิธีอื่นยังกระทำไม่ ได้ผล

อี ก ทั้ ง ต้ น กล้ า ของโมลี ส ยามยั ง เจริ ญ เติ บ โตได้ ไ ม่ ดี

ในสภาพพื้นราบ เป็น พรรณไม้ที่ ไ ม่ค่อยปรับตัว และ เจริ ญ เติ บ โตช้ า ดั ง นั้ น ใครที่ ส นใจอยากขยายพั น ธุ์

โมลี ส ยาม จึ ง ควรแยกปลู ก ต้ น กล้ า และบำรุ ง รั ก ษา เป็นการเฉพาะบนพื้นที่ระดับสูงและมีอุณหภูมิต่ำ โมลีสยามถือเป็นพรรณไม้ที่มีศักยภาพที่จะปลูก เป็นไม้ประดับ หรือไม้โชว์ทรงพุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ระดับสูงที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์พันธุ์ สัตว์ป่า หรือพื้น ที่อนุรักษ์ต้น น้ำ นอกจากนั้น การนำ โมลีสยามไปปลูกในลานกว้างเป็นกลุ่มหรือเป็นแปลงจะ ทำให้ โ มลี ส ยามมี ค วามโดดเด่ น ในช่ ว งที่ อ อกดอก สามารถนำไปใช้ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องพื้ น ที่ และใช้ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ดี


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ตกและภาคกลาง

165

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 8-15 ม. มี เ ส้ น ผ่ า ศูนย์กลางของลำต้นในระดับอก 20-50 ซม. เปลือก ลำต้น หนา สีน้ำตาลอมขาว ลำต้นแตกกิ่งต่ำ กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกปกคลุมด้วยขนนุ่ม มีใบเฉพาะส่วน ปลายยอดเป็นพุ่มกลม ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีจนถึงรูปขอบ ขนาน กว้ า ง 4-7 ซม. ยาว 9-15 ซม. โคนใบมน

ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบไม่เด่นชัด ปลายเส้นเชื่อมประสานกันก่อน ถึงขอบใบ ก้านใบยาวเรียวโคนก้านบวมพองเล็กน้อย ดอก ดอกออกที่ ป ลายยอด เป็ น ช่ อใหญ่ ค ล้ า ย ผล รู ป กลมรี เป็ น พู ต ามยาว สี เ ขี ย วอ่ อ นมี ข น ดอกเข็ ม ดอกตั้ ง ขึ้ น มี เ ส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางของช่ อ ดอก

10-15 ซม. หอมอ่ อ นๆ มี ด อกย่ อ ยหลายสิ บ ดอก ปกคลุม เมื่อแก่แตกระหว่างพูคล้ายผลทุเรียน เมล็ด เล็ก มีปีกสั้นๆ ยาว 3-4 มม. ดอกย่อยบานพร้อมกัน ทั้งช่อดอก โคนกลีบดอกเป็น หลอดยาว 1-1.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาวนวล เป็นแผ่น บางตรงกลางสีเหลืองส้ม เมื่อบานมีเส้นผ่า- การขยายพันธุ์ ศูนย์กลาง 0.8-1.2 ซม. มีเกสรเพศเมียยื่นยาว 2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะกล้า แล้วปลูกลงแปลง ตรงปลายเป็นกระเปาะกลมสีเหลืองเข้ม ดอกบานและ กลางแจ้งในที่มอี ากาศค่อนข้างหนาวเย็น ส่งกลิ่นหอมอยู่ได้หลายวัน



ลมทะเลที่เริงแรงและความชื้นของป่าดิบแห่งเมืองใต้ ได้ก่อให้เกิดพรรณไม้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์มากมาย หลายพันธุ์ ทั้งไม้หอมและไม้ต้นซึ่งเสี่ยงต่อการ สูญหายไปจากผืนป่าเมืองไทยในเวลาอันสั้นนี้


168

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กระดั งงาเขา Polyalthia jenkensii Hook.f. & Thomson

ชื่ออื่น -

กระดั ง งาเขา เป็ นไม้ ป่ า ดอกหอมอี ก ชนิ ด หนึ่ ง

ที่ ได้รับความสนใจมากเป็น พิเศษ จากบรรดานักเลง ต้ น ไม้ เพราะด้ ว ยคุ ณ สมบั ติ ที่ ด อกมี สี เ หลื อ งเข้ ม สวยงาม มีกลิ่นหอมแรงคล้ายดอกกระดังงา และกลีบ ดอกใหญ่ มีต้นขนาดไม่ ใหญ่โตมากนักและมีทรงพุ่ม กะทั ด รั ด จึ ง ทำให้ พ รรณไม้ ช นิ ด นี้ เ ป็ น ที่ ต้ อ งการ

อย่างมากในตลาดต้นไม้ “กระดั ง งาเขา” เป็ น พรรณไม้ ส กุ ล ยางโอน

ในวงศ์กระดังงา กระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ตอนล่าง

ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ตรัง และสงขลา

ที่ระดับความสูงไม่เกิน 500 ม. เรื่อยไปจนถึงตอนเหนือ ของประเทศมาเลเซีย กระดังงาเขาเป็น พรรณไม้ที่มี การกระจายพันธุ์ต่ำ แม้ว่าเมื่อติดผลแล้วจะมีผลย่อย จำนวนมากถึ ง 40 ผล แต่ โ อกาสที่ จ ะร่ ว งสั ม ผั ส กั บ

พื้นดินที่ว่างเปล่าและงอกเป็นต้นกล้าได้น้อยมาก หรือ ถ้ า งอกขึ้ น มาแล้ ว หากสภาพความชื้ น และแสงแดด

ไม่เพียงพอต้นอ่อนก็จะค่อยๆ ตายไป ส่งผลให้มีจำนวน ต้นที่เจริญเติบโตและออกดอกออกผลได้เพียงไม่กี่ต้น


พรรณไม้ ภ าคใต้

169

ผลเป็นผลกลุ่ม สีเขียวอ่อน มีผลย่อย 15-40 ผล

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 6-10 ม. ลำต้ น

เปลาตรง แตกกิ่งเป็นพุ่มสูง ทรงพุ่มชะลูด ใบ รูปหอกแกมรูปขอบขนาน ยาว 10-15 ซม.

มี ใ บเฉพาะที่ ป ลายกิ่ ง เนื้ อใบค่ อ นข้ า งบาง เหนี ย ว

สีเขียวเข้มเป็นมันวาว ดอก เป็นดอกเดี่ยวที่ซอกใบ กลีบดอกมี 6 กลีบ สีเหลืองเข้ม แต่ละกลีบมีลักษณะและขนาดใกล้เคียง กัน เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. ผล เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 15-40 ผล แต่ละผล รู ป รี ย าว 1-1.5 ซม. เมื่ อ แก่ แ ล้ ว เปลื อ กผลนิ่ ม และ เปลีย่ นเป็นสีแดง เมล็ด สีขาว รูปกลมรี ยาว 8-10 มม.

แม้จะได้ชื่อว่ากระดังงาเขา แต่ก็มีความแตกต่าง การขยายพันธุ์ จากกระดังงาทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด สังเกตได้จากดอกที่ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง มีกลีบรูปรี ต่างจากกระดังงาที่มีกลีบเรียวยาว แต่ที่ ได้ ชื่ อ ว่ า กระดั ง งาก็ เ นื่ อ งมาจากกลิ่ น หอมที่ ค ล้ า ยดอก กระดังงา และขึ้นอยู่บนภูเขาจึงได้ชื่อว่า กระดังงาเขา ด้วยความที่เป็น พรรณไม้หายาก กระดังงาเขา

จึ ง เป็ น พรรณไม้ ที่ มี คุ ณ ค่ า ชนิ ด หนึ่ ง ของไทย ทำให้ มี ความพยายามที่จะขยายพันธุ์กระดังงาเขาด้วยวิธีการ ต่างๆ เช่น การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ทั้งนี้เพื่อ เป็นการอนุรักษ์ ไ ม้ดอกหอมที่มีคุณค่านี้ ให้เป็น ที่รู้จัก อย่างกว้างขวางมากขึ้น ควรให้มีการปลูกแพร่หลายขึ้น เพื่อจะได้ ไม่สูญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม กระดังงาเขาชอบ สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น มีร่มเงา และมีความชื้นสูง จึง ต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม ตรงตามความต้องการของ กระดั ง งาเขา จึ ง จะปลูกเลี้ยงได้เจริญ เติบโตดี และ ออกดอกเดี่ยวทีซ่ อกใบ กลีบดอกมี 6 กลีบ สีเหลืองเข้ม ออกดอกได้สวยงาม


170

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กะพ้ อสี่สิบ Licuala distans Ridl.

ชื่ออื่น -

คนไทยแต่ โ บราณมี ค วามฉลาดหลั ก แหลมที่ จ ะ ดำเนินชีวิตให้ประสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติ แม้จะ ไร้ซึ่งเทคโนโลยีหรือวิทยาการมาอำนวยความสะดวกให้ แก่ชีวิต ทว่าคนไทยเราก็ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาได้ถึงทุกวัน นี้ โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดต่อกันจากรุ่น

สู่รุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาในการนำวัสดุพื้นเมือง ที่ มี อ ยู่ ใ นธรรมชาติ ม าปรั บ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น แบบ

พอเพียงได้อย่างปกติสุขตามอัตภาพ

ในภาคใต้ มีพรรณไม้ชนิดหนึง่ ทีอ่ ยูค่ กู่ บั ภูมปิ ญ ั ญา ชาวบ้านมานานนับร้อยๆ ปี นั่นคือ กะพ้อสี่สิบ ด้วย คุณลักษณะที่มีลำต้นสูงประมาณ 2-4 ม. มีความเหนียว และยื ด หยุ่ น มี ล ำต้ น ผอมเหมาะที่ จ ะนำมาทำเป็ น

ด้ามมีด จอบ เสียม พลั่ว คราด ส่วนลำต้นที่อวบอ้วน ใหญ่ สั ก หน่ อ ย ก็ จ ะนำมาทำเสากระท่ อ มหรื อโรงนา

ที่ ป ลู ก ขึ้ น มาเพื่ อใช้ พั ก พิ ง หลบแดดหลบฝนในไร่ น า

ช่วงที่จะต้องมาปักดำหรือเกี่ยวข้าว


พรรณไม้ ภ าคใต้

ช่อดอก ยาว 2-3 ม. มีดอกย่อยจำนวนมาก

กะพ้อสี่สิบเป็นพรรณไม้ที่มีการสำรวจพบครั้งแรก ในจั ง หวั ด พั ง งา และมี ร ายงานการตั้ ง ชื่ อในปี 2463 พรรณไม้ชนิดนี้นับเป็นพรรณไม้พิเศษอีกชนิดหนึ่งของ ไทย เนื่องจากเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวที่มีจำนวนลดน้อย ลงในธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการนำมาใช้ประโยชน์ ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ การช่วยกันอนุรักษ์และขยายพันธุ์ กะพ้ อ สี่ สิ บ ให้ มี จ ำนวนต้ น มากขึ้ น จึ ง เท่ า กั บ เป็ น การ อนุรักษ์พรรณไม้ชนิดนี้ ให้อยู่คู่กับโลกของเราสืบไปใน อนาคต กะพ้อสี่สิบเป็นพรรณไม้ ในวงศ์ Arecaceae พบ ได้ เ ฉพาะในป่ า ดิ บ ชื้ น ที่ ร ะดั บ ความสู ง 300-900 ม.

ในเขตจังหวัดระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี และประจวบ-

คี รี ขั น ธ์ และด้ ว ยคุ ณ สมบั ติ เ ป็ นไม้ พื้ น ล่ า งที่ ต้ อ งการ

ร่มเงาและความชืน้ สูง กะพ้อสีส่ บิ จึงเป็นพรรณไม้ที่ใช้เป็น ดั ชนี บ่ ง บอกความอุดมสมบูรณ์ของผืน ป่าได้ หากป่า

ยั ง คงเปี่ ย มด้ ว ยต้ น ไม้ ใ หญ่ ที่ ใ ห้ ร่ ม เงา และเอื้ อ เฟื้ อ ความชื้นให้แก่กะพ้อสี่สิบได้ นั่นก็หมายความว่า ผืนป่านี้ ยังคงอุดมไปด้วยพงไพร และระบบนิเวศน์อันสมบูรณ์

171

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ น ปาล์ ม ต้ น เดี่ ย ว สู ง ได้ ถึ ง 6 ม. ลำต้ น ขนาด 6-10 ซม. มีทางใบอยู่บนต้นจำนวน 12-15 ก้าน ใบ รูปฝ่ามือ แผ่นใบกว้าง 100-120 ซม. ขอบใบ จักเว้าถึงสะดือ 25-35 แฉก ก้านใบยาว 2.5 ม. ขอบ ก้านใบมีหนามแหลมคม ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 2-3 ม. ปีละ 4-5 ช่อ มีดอก ย่อยจำนวนมาก แยกเป็นดอกเพศผู้เพศเมียแต่อยู่ในช่อ ดอกเดียวกัน ผล กลมรี ขนาด 1.2-1.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เข้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง เมล็ด มี 1 เมล็ดต่อผล รูปรี ขนาด 1-1.2 ซม.

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ ด หลั ง จากผลแก่ เ ปลี่ ย นเป็ น

สีแดงแล้วให้รีบนำมาเพาะ หากปล่อยให้ร่วงแล้วเก็บมา เพาะจะมีโอกาสงอกได้น้อย แต่โดยปกติใช้ระยะเวลา 1-2 เดือนจึงจะงอก


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

172

จำปาขอม Polyalthia cauliflora Hook.f. & Thomson var. wrayi (Hemsl.) J. Sinclair

ชื่ออื่น -

พรรณไม้นามว่า จำปาขอม โด่งดังขึ้นมาก็ด้วย ลักษณะของดอกที่เป็นแถบเรียวยาว มองดูคล้ายกับ ดอกจำปาทีเ่ รารูจ้ กั กันโดยทัว่ ไป หากแต่ดอกของจำปาขอม มีสีม่วงแดง และออกดอกดกตามลำต้น พรูแน่นจนแทบ มองไม่เห็นลำต้นเลย และชื่อของจำปาขอมนี้ยังสร้างความสับสนให้แก่ วงการพรรณไม้อยู่ ไ ม่น้อย เพราะเมื่อฟังจากชื่อแล้ว คนส่ ว นใหญ่ มั ก จะคิ ด ว่ า เป็ น จำปาที่ อ ยู่ ใ นประเทศ กัมพูชา แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับไม่เกี่ยวข้องกันเลย แม้ แ ต่ น้ อ ย เพราะถึ ง แม้ ว่ า จำปาขอมจะมี ด อกคล้ า ย จำปา แต่เป็น พรรณไม้ ในสกุลยางโอน ซึ่งอยู่ ในวงศ์

กระดังงา และกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ตอนล่างของ ประเทศไทยเรื่ อ ยไปจนถึ ง ตอนเหนื อ ของประเทศ มาเลเซีย ถิ่นกำเนิดของจำปาขอมอยู่ ในป่าดิบชื้น ที่ระดับ ความสูง 100-500 ม. ชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธาร ริม น้ำตกที่มีความชื้นสูงในจังหวัดนครศรีธรรมราช พั ทลุง และพบมากที่จังหวัดตรังและสงขลา พรรณไม้ชนิดนี้นับ เป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่งของไทยที่มีผู้พยายามนำ เมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์นอกถิ่นกำเนิด แต่ก็ต้องพบกับ ความผิดหวัง เพราะถึงแม้จำปาขอมจะเพาะเป็นต้นกล้า และเจริญเติบโตได้ดี หากทว่าไม่สามารถออกดอกได้


พรรณไม้ ภ าคใต้

173

เนื่ อ งจากข้ อ จำกั ด ในเรื่ อ งสภาพแวดล้ อ มที่ จ ำเพาะ เจาะจง เนื่ อ งจากจำปาขอมเป็ น พรรณไม้ ที่ ต้ อ งการ

ร่ ม เงาและความชื้ น สู ง ด้ ว ยเหตุ นี้ ผู้ ป ลู ก เลี้ ย งที่ เ ฝ้ า ทะนุถนอมจำปาขอมมาเป็นเวลาแรมปี จึงไม่มีโอกาส ได้ ชื่ น ชมดอกที่ อ อกดกพรู แ น่ น มิ ด ลำต้ น เช่ น เดี ย วกั บ

ผลกลมรี มี 12-18 ผล ต้นที่เจริญเติบโตในธรรมชาติ จำปาขอมเป็นพรรณไม้ที่ช่วงฤดูออกดอกยาวนาน คือตั้งแต่ปลายฤดูหนาวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึง ผล เป็นผลกลุ่ม มี 12-18 ผล แต่ละผลกลมรี ปลายฤดูฝนช่วงเดือนกันยายน แต่จะมีช่วงออกดอกพรู เต็มต้นอยู่เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น หากนอกช่วงดังกล่าว กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. ผลแก่สีแดงถึงม่วงเข้ม

ก็จะออกดอกเพียงไม่กี่ดอก ทยอยออกกันไปเรื่อยๆ ใน 1 ผลมี 1 เมล็ด เมล็ด ลักษณะกลมรี มีรอยคอดรอบผลตามแนว ใครก็ตามที่อยากเห็นความงดงามอันแสนมหัศจรรย์ ของจำปาขอม ก็ต้องเดินทางเข้าไปในช่วงเวลาดังกล่าว ยาวของเมล็ด ให้พอดีกับช่วงดอกบานเต็มต้น การขยายพันธุ์ ลักษณะพรรณไม้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 5-8 ม. เปลื อ กลำต้ น เป็นไม้ป่าที่ยังไม่มีการปลูกเลี้ยง สีน้ำตาล เต็มไปด้วยปุ่มปมของดอก กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม

สีทอง กิ่งก้านเหนียว ใบ รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว กลีบดอกรูปแถบ 9-20 ซม. โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ผิวใบ ค่อนข้างเรียบเป็นมัน ดอก ออกตามลำต้นเป็นกระจุก 3-6 ดอก ดอก

สีเหลืองนวลหรือม่วงแดง เมื่อบานแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้ม กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 7 มม. แผ่กางออก กลีบดอกเรียงเป็น 2 ชั้น แต่ละกลีบขนาดใกล้เคียงกัน รูปแถบ กว้าง 4-6 มม. ยาว 3.5-5.5 ซม. ดอกบานมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 ซม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกันยายน ผลแก่หลังจากดอกบาน 4-5 เดือน ดอกออกเป็นกระจุก 3-6 ดอก


174

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำลา Magnolia praecalva (Dandy) Figlar & Noot.

ชื่ออื่น -

พรรณไม้ที่มีชื่อแสนเศร้าว่า จำลา นี้ เป็นพรรณไม้ หายากที่ พ บเฉพาะตามริ ม ลำธารในป่ า ดิ บ ชื้ น และ

ในหุ บ เขาที่ ร ะดั บ ความสูง 400-600 ม. ทางภาคใต้

ตอนล่างในจังหวัดสงขลาและพังงาเท่านั้น จำลาเป็น พรรณไม้อีกชนิดหนึ่งในวงศ์จำปาที่มีดอกสวยงามและ กลิ่นหอมหวาน จนทำให้หลายคนยากจะห้ามใจนำเมล็ด ของจำลาไปเพาะเพื่อปลูกไว้เชยชมอย่างใกล้ชิด

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่จำลาไม่อาจขยายพันธุ์ ได้ นอกถิ่นกำเนิด เพราะแม้แต่ ในถิ่นกำเนิดเองเมล็ดของ จำลาก็ถูกเชื้อราในดินทำลายจนไม่อาจงอกเป็นต้นใหม่ ได้ การขยายพั น ธุ์ จ ำลาจึ งไม่ อ าจกระทำได้ แม้ จ ะมี ความพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการอื่นๆ เช่นการ ทาบกิ่ ง เสี ย บยอด ตอนกิ่ ง หรื อ ปั ก ชำ ก็ ล้ ว นแต่ ไ ม่ ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากจำลาเป็นพรรณไม้ที่ มีพันธุกรรมห่างจากพรรณไม้อื่นชนิดที่อยู่ ในสกุลจำปา ดังนั้นเมื่อนำต้นตอจำปามาทาบ เนื้อไม้ของจำปากับ

จำลาจึงเข้ากันไม่ได้ ทำให้ทาบไม่ติด ด้วยชะตากรรมอันแสนเศร้าเช่นนี้เอง พรรณไม้ ชนิดนี้จึงถูกเรียกขานว่า “จำลา” โดยผู้ที่ตั้งชื่อนี้ให้ก็คือ ศาสตราจารย์ พ วงเพ็ ญ ศิ ริ รั ก ษ์ ซึ่ ง เล็ ง เห็ น ว่ า การ กระจายพันธุ์ที่ต่ำมากของพรรณไม้ชนิดนี้มีต้นเหลืออยู่ ในธรรมชาติเพียงไม่กี่ต้น อาจทำให้มันจำต้องลาจาก โลกนี้ ไปในไม่ช้า จึงเป็นที่มาของชื่อ จำลา ที่เราเรียก ขานอยู่ในปัจจุบัน จำลาออกดอกในช่ ว งเดื อ นมกราคมถึ ง มี นาคม เมื่อเริ่มแย้มมีสีขาวนวลและสีเข้มขึ้นเล็กน้อยเมื่อใกล้ โรย ส่งกลิ่นหอมหวาน และบานอยู่ได้ 2-3 วัน


พรรณไม้ ภ าคใต้

175

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. โคนลำต้น เป็นพูพอนสูง 1-2 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ และมีกลิ่นฉุน ใบ เดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 10-13 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบมน ทู่ ผิวเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ออกเดี่ยวที่ปลายยอด กาบหุ้มดอกสีเขียว อ่อน บางและเรียบ ดอกบานตั้งขึ้น มีกลีบดอก 9 กลีบ เรียงเป็น 3 ชั้น กลีบดอกชั้นนอกค่อนข้างบาง รูปหอก แกมรูปขอบขนาน กลีบชั้นกลางและชั้นในหนา อวบน้ำ ผล รูปทรงกลมชูตั้งขึ้น ขนาด 3-4 ซม. เปลือก ผลหนาแข็ง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แตกตามรอยพู ในแนวตั้งคล้ายผลทุเรียน มีผลย่อย 4-5 ผล แต่ละผลมี เมล็ดสีแดง 5-8 เมล็ด ผลจำลาแตกต่างจากพรรณไม้ใน วงศ์จำปาอย่างสิ้นเชิง คือผลจะแตกเป็นพูเหมือนทุเรียน เมล็ด กลมรี และมีสันเหลี่ยม สีแดง ยาว 6-8 มม. ดอกบานตั้งขึ้น มีกลีบดอก 9 กลีบ เรียงเป็น 3 ชั้น

การขยายพันธุ์ จำลาเป็น พรรณไม้ที่มีผลแก่ ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมี ความชื้นสูงมาก เมื่อผลแก่หล่นลงมากระแทกกับพื้นดิน ก็จะแตก เมล็ดได้รับบาดแผลหรือเสียหายแล้วมีเชื้อรา เข้าทำลายจนสูญเสียความงอก ทำให้ไม่สามารถงอกได้ จึงไม่พบต้นกล้าของจำลา ในปัจจุบันยังไม่สามารถหา

วิธีการที่จะช่วยให้ขยายพันธุ์ได้


176

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ตี นเป็ดแคระ Alstonia curtisii King & Gamble

ชื่ออื่น -

ปั จ จุ บั น นี้ “บอนไซ” หรือไม้แคระ กำลังเป็น ที่ นิยมของคนที่อาศัยอยู่ ในเมืองใหญ่ ค่าที่เป็นไม้ขนาด เล็ก ไม่กินเนื้อที่ใช้สอยภายในบ้านมากนัก และที่สำคัญ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีพื้นที่สีเขียวให้แก่ที่อยู่อาศัย แม้จะเป็นบนตึกสูงก็ตาม และหนึ่งในพรรณไม้ที่กำลัง ได้รับความสนใจจากผู้ปลูกเลี้ยงบอนไซและไม้กระถาง คือ ตีนเป็ดแคระ พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ซึ่งอยู่ ใน สกุลสัตบรรณ หรือตีนเป็ดที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง

ตีนเป็ดแคระสำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย โดยนักพฤกษศาสตร์ต่างชาติจากซีกโลกตะวันตก นาม ว่า Curtis ที่จังหวัดพังงา และมีรายงานการตั้งชื่อในปี 2450 ตีนเป็ดแคระเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกออกเป็น ช่อคล้ายดอกเข็ม มีดอกย่อยสีขาว จึงเหมาะที่จะปลูก เป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน ตีนเป็ดแคระมีการ กระจายพันธุ์อยู่ตามหน้าผาเขาหิน ปูนชายทะเล และ ตามเกาะต่างๆ ในจังหวัดกระบี่และพังงา


พรรณไม้ ภ าคใต้

177

คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของตีนเป็ดแคระ นอกเหนือจากความเป็นพรรณไม้ที่มีดอกสดใส น่ า รั ก ก็ คื อ ความสามารถในการทนแล้ ง และลมพั ด รุ น แรงได้ อ ย่ า งดี เ ยี่ ย ม ยิ่ งไปกว่ า นี้ ตี น เป็ ด แคระยั ง สามารถปรั บ ตั วได้ ดี อ ย่ า งน่ า อั ศ จรรย์ เพราะเมื่ อ นำ

ตีนเป็ดแคระที่ตามปกติเติบโตอยู่บนเขาหิน ปูนลงมา ปลูกในพื้นราบก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี และออกดอก ตลอดปี ต่างจากตีนเป็ดแคระในถิ่นกำเนิดที่จะออกดอก เฉพาะในช่ ว งเดื อ นมกราคมถึ ง มี น าคมเท่ า นั้ น ใน ปัจจุบันเราจึงพบเห็นคนในเมืองปลูกตีนเป็ดแคระเป็น ไม้ประดับและบอนไซ จนพรรณไม้ที่หายากชนิดนี้กลาย เป็นพรรณไม้ที่พ้นสภาพความหายากแล้ว เส้นกลางใบนูนเด่น สีม่วงแดง

ดอกสีขาว ปลายแยกเป็น กลีบ 5 กลีบ

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-1.5 ม. แตกกิ่ง เป็น หลายลำต้น เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งแตกใบ กระจุกละ 4 ใบ ห่างกันกระจุกละ 2-4 ซม.

ใบ รูปหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 6-8 ซม. เส้นกลางใบด้านบนนูนเด่นและมีสีม่วง แดง โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบยาว 4-5 มม. ดอก ช่ อ ดอกออกปลายยอด ยาว 1-2 ซม.

มีดอกย่อย 12-16 ดอก โคนกลีบดอกเป็นหลอดสีขาว ยาว 2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานมีเส้น-

ผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ไม่มีกลิ่น ผล เป็นฝักกลมเรียวยาว 5-6 ซม. เมื่อแก่แล้ว ฝักแห้งแตกซีกเดียว เมล็ดแบนบางมีปุย ปลิวไปตามลม ได้ เมล็ด กลมแบนบาง ขนาด 2-3 มม. และมีขนปุย ยาว การขยายพันธุ์ ปัจจุบัน มีการนำมาขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง

ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและได้ผลดี อีกทั้งปลูกใช้ประโยชน์ เป็นไม้ประดับกระถาง ซึ่งเมื่อปลูกเป็นไม้กระถางจะ สามารถออกดอกได้ ต ลอดปี แตกต่ า งจากต้ น ในถิ่ น กำเนิดเดิมบริเวณภูเขาหินปูนที่จะสามารถออกดอกได้ ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมเท่านั้น


178

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ตี นเป็ดพรุ Alstonia spatulata Blume

ชื่ออื่น ยวน ปูแลบาซา

ด้วยความที่ ตีนเป็ดพรุ เป็นพรรณไม้ที่มีเนื้อไม้ เบาที่สุดในโลก และไม่ทนแดดทนฝน คนจึงนิยมนำ

เนื้อไม้ของพรรณไม้ชนิดนี้ไปทำเป็นปีกเครื่องบินจำลอง ประดิษฐ์ของเล่น และบรรจุภัณฑ์ ใส่ของต่างๆ รวมทั้ง ใช้ทำเครื่องเรือนขนาดเล็กเพื่อใช้ ในงานตกแต่งภายใน อีกด้วย ตีนเป็ดพรุเป็นพรรณไม้ ในสกุลเดียวกับสัตบรรณ หรือตีนเป็ด มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ เฉพาะในเขตป่าพรุ และพื้น ที่ป่าที่มีน้ำท่วมขังเท่านั้น ชาวบ้ า นในจั ง หวั ด นราธิ ว าสเรี ย กพรรณไม้ ช นิ ด นี้ ว่ า

“ปู แ ลบาซา” ส่ ว นในต่ า งประเทศพบในประเทศ มาเลเซีย

ตีนเป็ดพรุเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อ

สีขาวเช่นเดียวกับตีนเป็ดแคระ ในช่วงหน้าร้อนระหว่าง เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ตีนเป็ดแคระจะออกดอก

สีขาวเล็กๆ สดใสน่ารักให้ ได้ชื่นชม ทั้งยังมีกลิ่น หอม รวยริ น เหมาะที่ จ ะปลู ก ประดั บ ตามบ้ า นเรื อ นและ อาคารสถานที่ ในปัจจุบันจึงได้มีผู้พยายามนำตีนเป็ด แคระไปปลูกยังนอกถิ่นกำเนิด ซึ่งไม่มีน้ำท่วมขังเหมือน ป่าพรุ ก็ปรากฏว่าปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียว กับต้นกล้าที่เกิดจากการเพาะเมล็ด เมื่อนำมาปลูกใน พื้นที่ตามภาคอื่นๆ ก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้ ทำให้มี ผู้นิยมนำไปตัดแต่งให้ต้นเตี้ย ทรงพุ่มกลมขนาดเล็ก เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับกันมากขึ้น


พรรณไม้ ภ าคใต้

179

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. เรือนยอดทรง กรวยคว่ำเมื่อต้นเล็ก แบนและแผ่กว้างเมื่อต้นใหญ่ขึ้น ลำต้นมีพูพอนกว้าง รากหายใจขนาดใหญ่คล้ายสะพาน โค้งครึ่งวงกลม เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดสีขาว เทา เปลื อ กชั้ น ในสี เ หลื อ งอ่ อ น มี น้ ำ ยางสี ข าวคล้ า ย

น้ำนมรอบๆ โคนต้นมีรากหายใจลักษณะหักพับรูปหัวเข่า ขนาดใหญ่ โผล่ขึ้นกระจัดกระจายในรัศมีของเรือนยอด ใบ เดี่ยวเรียงรอบกิ่ง วงละ 4-6 ใบ แผ่นใบรูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานคล้ายช้อน ส่วนกว้างที่สุด กลางใบยาว 8-12 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ผิวเกลี้ยงทั้ง สองด้าน ด้านบนสีเขียว เมื่อแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ด้ า นล่ า งสี ข าวนวล โคนใบสอบเรี ย วแคบเข้ า มาทาง

ก้านใบ ดอก เล็ ก สี ข าว ออกเป็ น ช่ อ ตามปลายกิ่ ง ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ผล เป็นฝัก เรียว เกลี้ยงหรือมีขนสั้นๆ ประปราย ออกเป็นคู่ ยาว 25-30 ซม. เมล็ด กลมรี ยาว 5 มม. มีขนเป็นปุยที่หัวและ ปลายเมล็ด ปลิวลอยไปตามลม ผลเป็นฝัก เรียว เกลี้ยงหรือ มีขนสั้นๆ ประปราย ออกเป็นคู่ ยาว 25-30 ซม.

การขยายพันธุ์ โดยวิธีการเพาะเมล็ด และตัดชำราก ในการเพาะ เมล็ด ควรเลือกเก็บฝักที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก่อนที่ ฝั ก จะแตกให้ น ำฝั ก มาแกะและนำเมล็ ด มาเพาะใน กระบะทราย เมล็ดจะมีอัตราการงอกได้สูงดีกว่านำฝัก ที่แห้งแตกแล้วมาเพาะ ซึ่งเมล็ดจะงอกได้น้อยกว่า


180

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

บุ หงาลำเจียก Goniothalamus tapis Miq.

ชื่ออื่น บุงอนือเก๊าะ สามะ

เมื่อเอ่ยถึงพรรณไม้ที่มีการปรับตัวได้ดีเพื่อการ

อยู่รอด บุหงาลำเจียก นับเป็นพรรณไม้อีกชนิดหนึ่งที่ ติดอยู่ ในทำเนียบไม้ป่า สามารถปรับตัวได้ดีเมื่อมีการนำ มาปลู ก นอกถิ่ น กำเนิ ด โดยเฉพาะในพื้ น ที่ ที่ มี ส ภาพ แวดล้อมคล้ายคลึงกับถิ่นกำเนิด กระทั่งทำให้พรรณไม้ หายากชนิดนี้ของไทยเปลี่ยนฐานะไปเป็นไม้ปลูกประดับ ที่สามารถนำไปปลูกได้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

บุหงาลำเจียก หรือที่รู้จักในชื่อ บุงอนือเก๊าะ และ สามะ ของชาวมุ ส ลิ ม เป็ น พื ช ที่ มี ถิ่ น กำเนิ ด และการ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 30-300 ม. ในเขตภาคใต้ ข องประเทศไทย บุ ห งาลำเจี ย กเป็ น

ไม้ที่ต้องอาศัยความชื้นสูงเพื่อการเจริญเติบโต ทั้งยัง ชอบอยู่ในพื้นที่ร่ม มีแสงแดดรำไรเท่านั้น การปลูกเลี้ยง ในสภาพที่ ไ ม่ เ หมาะสมเช่ น ในที่ ที่ มี อ ากาศร้ อ นและ

แห้งแล้ง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บุหงาลำเจียก จึงเหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของบุหงาลำเจียกที่ทำให้มี

ผู้อยากได้ ไปครอบครอง คือดอกอันสวยงามและกลิ่นที่ หอมหวาน โชคดีที่ผู้ที่ต้องการปลูกได้คิดวิธีการที่เหมาะสม โดยหาแหล่ ง ปลู ก ที่ มี ส ภาพคล้ า ยแหล่ ง กำเนิ ด ของ

บุหงาลำเจียกให้มากที่สุด ในปัจจุบัน พบว่า มีการนำ

ต้นกล้าเพาะเมล็ดจากถิ่นกำเนิดเดิมในภาคใต้มาปลูกใน สวนเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นดินชื้นแฉะ และสภาพอากาศมีความชื้นสูงเหมือนกับสภาพผืนดิน

ในภาคใต้ ก็พบว่าบุหงาลำเจียกสามารถปรับตัวและ เจริญเติบโตได้ดี โดยต้นบุหงาลำเจียกที่นำมาปลูกกัน อยู่ในภาคกลางนั้นสามารถปรับตัวอยู่กลางแจ้งได้ แต่มี ทรงพุ่มขนาดเล็กลง และสามารถออกดอกได้ตลอด

ทั้ ง ปี ซึ่ ง เป็ น ลั ก ษณะที่ ผู้ ป ลู ก เลี้ ย งไม้ ด อกไม้ ป ระดั บ ต้องการกัน มาก หลังจากนั้น ก็ ได้ทดลองขยายพันธุ์

โดยวิธีการตอนและปักชำ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดี ช่วยให้ ปลูก เป็ นไม้ ป ระดั บ และไม้ ก ระถางได้ บุ ห งาลำเจี ย ก

จึงเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ ได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลาย


พรรณไม้ ภ าคใต้

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 ม. เปลือกลำต้น หนา ฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอมเทา มีกลิ่นฉุน แตกกิ่งน้อย กิ่ง อ่อนสีเทา ใบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-22 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลมและโค้งงอ เล็กน้อย ใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ใบด้านบนสีเขียว ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ดอก เดี่ ย วหรื อ เป็ น คู่ ออกตามซอกใบ ดอกสี เขียวอ่อน เมื่อบานกลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลหรือ ขาวอมชมพู และมีกลิ่นหอม ดอกบานอยู่ ได้ 2-3 วัน กลีบเลี้ยงสีขาวและมีแถบม่วงแดง รูป ไข่ ปลายแหลม ยาว 5 มม. ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกเรียงเป็น

2 ชั้น กลีบชั้นนอกหนา รูปหอก โคนกลีบคอด ปลายกลีบ แหลม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-5 ซม. ขอบกลีบชั้นใน ประกบกันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ยาว 1-1.7 ซม. ออกดอก เกือบตลอดปี

181

ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอ่อน เมื่อบานกลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล หรือขาวอมชมพู และมีกลิ่นหอม

ผล กลุ่ม มีผลย่อย 6-14 ผล ผลรูปกลมรี ยาว 1-1.2 ซม. เปลือกผลเรียบเป็น มัน เมื่อแก่สีม่วงเข้ม

มี 1 เมล็ด เมล็ด กลมรีสีขาว ยาว 1 ซม. การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยการเพาะเมล็ ด และการตอนกิ่ ง ปลูกลงแปลงในที่ร่มรำไร ต้องการความชื้นสูง


182

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

บุ หรงก้านเรียบ Dasymaschalon dasymaschalum (Blume) I.M.Turner

ชื่ออื่น บุหรง

บุ ห รงก้ า นเรี ย บ พรรณไม้ ไ ทยที่ ก ำเนิ ด ในป่ า เบญจพรรณในภาคใต้ ลักษณะดอกสีเหลืองสวยงาม แปลกตา ด้วยมี 3 กลีบประกบกันและบิดเกลียวลงมา อย่างอ่อนช้อย เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่คนทั่วไปให้ความ นิ ย มปลู ก เนื่ อ งจากดู แ ลง่ า ยและเป็ น ไม้ ที่ ต้ อ งการ แสงแดดจัด เหมาะแก่การปลูกในเมืองร้อน บุ ห รงก้ า นเรี ย บมี ชื่ อ เรี ย กสั้ น ๆ ว่ า บุ ห รง มี ลั ก ษณะเด่ น ที่ ก้ า นดอก ก้ า นใบเรี ย บไม่ มี ข น มี ก าร กระจายพันธุ์ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป เจริญเติบโตใน

ป่าดิบชื้น หรือป่าเบญจพรรณ ในระดับความสูงตั้งแต่ 300 ม. ออกดอกในฤดู ฝ น จะติ ด ผลและมี ผ ลแก่

ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป ผลแก่ของบุหรงมีสีแดงเข้ม และมีรสหวาน จึงเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั ว เล็ ก ๆ รวมทั้ ง นกต่ า งๆ หากต้ อ งการจะเก็ บ เมล็ ด บุหรงไปปลูกลงกระถาง จะต้องรีบเก็บก่อนที่เมล็ดแก่ จะร่วงและกลายเป็นอาหารของสัตว์ เพื่อที่จะได้เมล็ด บุ ห รงก้ า นเรี ย บที่ พ ร้ อ มเพาะพั น ธุ์ ไม่ แ ก่ เ กิ น จนไม่ สามารถเพาะพันธุ์ได้


พรรณไม้ ภ าคใต้

183

บุหรงก้านเรียบยังเป็นหนึ่งในพรรณไม้สกุลบุหรง ที่ นั ก วิ จั ย กำลั ง เร่ ง รี บ วิ เ คราะห์ ห าสาระสำคั ญ ที่ มี สรรพคุณทางเภสัชวิทยา ส่วนในวงการของคนที่รักและ ชื่นชอบไม้ประดับ ก็ ได้มีการคัดเลือกบุหรงก้านเรียบ

ต้นที่กลายพันธุ์แล้วมีดอกสีสันสวยงามต่างๆ ทั้งสีเหลือง สีแดง สีม่วง รวมทั้งที่มีหลากสีในดอกเดียวกัน ไปปลูก เป็นไม้ประดับจนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน ทั้งที่ปลูกเป็นไม้กระถางประดับหรือปลูกลง แปลงประดับสวน

ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 7-24 ผล

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 ม. และอาจสูง ได้ถึง 8 ม. ที่โคนต้นมีขนาดใหญ่ได้ถึง 10 ซม. แตกกิ่ง ยาวห้อยลู่ ใบ ใบรูปรีหรือรูป ไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 10-25 ซม. ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน ด้านล่าง มีนวลเคลือบสีขาว แผ่นใบหนา ดอก ดอกเดี่ยว ออกที่ใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก 3 กลีบประกบกันและบิดเป็นเกลียวคล้ายเหล็กขูดชาร์ฟ ดอกยาว 3-8 ซม. มีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มหรือสีส้ม ผล เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 7-24 ผล ผลย่อยรูป ทรงกระบอก มีรอยคอดตามช่วงเมล็ด แต่ละผลมี 1-6 เมล็ด เมื่อผลแก่มีสีแดงเข้ม เมล็ด กลม สีขาวหม่น ขนาด 5-8 มม.

ดอกเดี่ยว ออกที่ ใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก 3 กลีบ ประกบกันและบิดเป็นเกลียว

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง


184

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ปาหนั นขี้แมว Goniothalamus tenuifolius King

ชื่ออื่น -

ผลิตผลจากธรรมชาติส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เอื้อ คุณประโยชน์ให้แก่สิ่งมีชีวิต ด้วยเป็นแหล่งอาหาร เป็น ที่ พั ก พิ ง อยู่ อ าศั ย นอกจากนี้ ยั ง มอบความร่ ม รื่ น เป็ น สถานที่สำหรับพักผ่อนกายและใจ รวมทั้งใช้บำบัดรักษา อาการเจ็บป่วยต่างๆ ของคนเราอีกด้วย

ปาหนั น ขี้ แ มว พรรณไม้ ในวงศ์ ก ระดั ง งา (Annonaceae) ก็ เ ป็ น พรรณไม้ อี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ก ำลั ง

ได้รับความสนใจในวงการเภสัชศาสตร์ ไทย จากการ วิ จั ย ขณะนี้ ค้ น คว้ า พบว่ า ดอกปาหนั น ขี้ แ มวมี ส าร

ต้านเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดไข้มาลาเรียได้ ส่วนใบนั้นพบว่า มีประโยชน์ ในการต้านอนุมูลอิสระ ตัวการที่ก่อให้เกิด โรคมะเร็ ง ซึ่ ง หากได้ รั บ การวิ จั ย และพั ฒ นาอย่ า ง

ต่ อ เนื่ อ งก็ มี ค วามหวั ง ว่ า ในไม่ ช้ า วงการการแพทย์

แผนปั จ จุ บั น ของไทย อาจจะมี ส มุ นไพรที่ มี ส รรพคุ ณ รั ก ษาโรคเพิ่ ม ขึ้ น อี ก ชนิ ด หนึ่ ง ในทำเนี ย บยาสมุ นไพร

ของไทย ปาหนั น ขี้ แ มวเป็ น พรรณไม้ ข องไทยที่ มี ก าร กระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ตอนล่าง ในจังหวัด สุ ร าษฎร์ ธ านี นครศรี ธ รรมราช พั ท ลุ ง และตรั ง

ที่ระดับความสูง 200-400 ม. และนอกจากดอกและ

ใบที่ มี ส รรพคุ ณ ทางยาแล้ ว ผลสุ ก ของปาหนั น ขี้ แ มว

ก็ยังเป็ น อาหารของสั ต ว์ ป่ าได้ ส่ ว นในกลุ่ ม คนที่ นิ ย ม

ไม้แปลกก็มีการนำมาปลูกเป็นไม้สะสม โดยพืชชนิดนี้

มีการตั้งชื่อตามกลิ่นของดอกที่คล้ายกับขี้แมว แม้จะ ไม่ ใ ช่ ไ ม้ ด อกที่ มี ด อกสวยงามเมื่ อ เที ย บกั บ ปาหนั น

ชนิ ด อื่ น ๆ แต่ ด้ ว ยคุ ณ ประโยชน์ ข องพรรณไม้ ช นิ ด นี้

ก็ ท ำให้ มี โ อกาสที่ จ ะใช้ เ ป็ น เชื้ อ พั น ธุ ก รรมในการ ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านเภสัชศาสตร์

ในอนาคต


พรรณไม้ ภ าคใต้

185

ผล เป็นกลุ่ม มีผลย่อย 25-40 ผล ผลรูปกลมรี เปลือกเรียบ ยาว 1-1.2 ซม. เมื่อแก่สีส้มมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปรี ยาว 1 ซม. มีเมือกแข็งสีขาวหุ้มอยู่

ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 25-40 ผล

ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบตามกิ่ง ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง

ลักษณะพรรณไม้ การขยายพันธุ์ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 ม. เปลือกลำต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และมีปลูกอยู่ ใน เรี ย บ สี น้ ำ ตาลอมดำ เปลื อ กค่ อ นข้ า งหนา เหนี ย ว กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบสะสมพรรณไม้ มีกลิ่นฉุน แตกกิ่งน้อย มีใบเฉพาะส่วนปลายกิ่ง ใบ รู ป ขอบขนานแกมรู ป หอก กว้ า ง 3-5 ซม. ยาว 10-16 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบ ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบหนาและเหนียว ใบสีเขียวเข้ม เป็นมันทั้งสองด้าน ดอก เดี่ยว ออกที่ซอกใบตามกิ่ง ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง รูป ไข่ กว้างและ ยาว 5-8 มม. กลางกลีบด้านนอกเป็นสันนูน กลีบดอก เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบชั้นนอกหนารูป ไข่ โคนกลีบคอด ปลายกลีบมน มีสันกลางกลีบตามยาวด้านนอกนูนเด่น ขอบกลีบโค้งออกด้านนอก ขอบกลีบดอกชั้นในประกบ กันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ปลายแหลม


186

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ปาหนั นช้าง Goniothalamus giganteus Hook.f. & Thomson

ชื่ออื่น กระเนือเราะ

หากกล่าวถึงพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุดในโลกใน สกุลปาหนัน รวมทั้งมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์กระดังงา บรรดานักสำรวจและผู้ชื่นชอบพรรณไม้คงจะต้องเอ่ยเป็น เสียงเดียวกันถึงชื่อของ ปาหนันช้าง ปาหนันช้างเป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ ใน ป่ า ดิ บ ชื้ น ทางภาคใต้ ที่ ร ะดั บ ความสู ง 50-400 ม. บริเวณจังหวัดสงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิ ว าส ส่ ว นในต่ า งประเทศพบที่ ม าเลเซี ย อินโดนีเซีย พม่า และอินเดีย ปาหนันช้างเป็นพรรณไม้ ที่ มี ด อกใหญ่ โ ดดเด่ น โดยเฉพาะช่ ว งเดื อ นสิ ง หาคม ปาหนันช้างจะออกดอกสีเหลืองอร่ามงามสะพรั่งเต็มต้น ส่งกลิ่นหอมเย้ายวน เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ที่พบเห็น

ส่วนผลของปาหนันช้าง จะเริ่มติดผลหลังจากที่ ดอกบานไปแล้ว โดยจะเจริญเติบโตอย่างช้าๆ และแก่ ในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมของปีถัดไป นับเป็น พรรณไม้ที่มีช่วงระยะเวลาติดผลยาวนานถึง 10 เดือน นอกจากนี้ ป าหนั น ช้ า งยั ง เป็ น พรรณไม้ ที่ มี จ ำนวน

เมล็ดมาก แต่กลับมีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติน้อย เนื่องจากเมื่อเมล็ดใกล้แก่จะมีหนอนผีเสื้อเจาะเข้าไป

กัดกินต้นอ่อนที่อยู่ภายในเมล็ด ทำให้ ไม่สามารถขยาย พันธุ์ตามธรรมชาติได้ แต่ขณะนี้ ได้มีการใช้วิธีขยาย พันธุ์โดยการปักชำกิ่งในระบบพ่น หมอก ซึ่งเป็นวิธีที่ สะดวก รวดเร็ว และได้ผลดี จึงช่วยให้จำนวนต้นกล้า ของปาหนันช้างมีมากขึ้น และสามารถนำไปปลูกจน แพร่หลายไปทั่วประเทศ


พรรณไม้ ภ าคใต้

187

กลีบชั้นในรูปไข่ ปลายแหลมประกบกัน เป็นรูปสามเหลี่ยม

กลีบชั้นนอกรูปไข่ ขอบกลีบเป็นคลื่น

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-12 ม. แตกกิ่งน้อย เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ เปลือกลำต้นหนาเรียบ สีขาวปน น้ำตาล ฉ่ำน้ำ ใบ เดี่ยว รูปหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-25 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเป็นติ่งแหลม ยาว ผิวใบเป็นมันเรียบทั้งสองด้าน ดอก เดี่ยวหรือเป็นช่อ 2-3 ช่อ ออกตามกิ่งแก่ เหนือรอยแผลของก้านใบ ดอกสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็น สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกรูปไข่ ขอบกลีบเป็นคลื่น กลีบชั้นในรูปไข่ ปลายแหลม และประกบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ผล กลุ่ ม มี ผ ลย่ อ ย 8-20 ผล เปลื อ กผลย่ น ขรุขระเป็นตุ่มขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมเขียว มี 1-2 เมล็ดต่อผล เมล็ด รูปกลมรี ยาว 1-1.5 ซม.

เคยมีความเข้าใจที่ไม่กระจ่างชัดถึงความแตกต่าง ระหว่ า งปาหนั น ช้ า งและปาหนั น พรุ ม าเป็ น เวลานาน เนื่ อ งจากพรรณไม้ ทั้ ง สองมี ลั ก ษณะคล้ า ยคลึ ง กั น อย่างไรก็ตามถ้าได้มีการศึกษากันอย่างละเอียด จะพบ ข้อแตกต่างมากมาย เช่น ปาหนันช้างมีกลีบดอกกว้าง และยาวได้ถึง 18 ซม. ขณะที่ปาหนันพรุมีกลีบดอกยาว เพียง 8-10 ซม. ส่วนผลของปาหนันช้างจะมีรูปกลมรี เปลือกย่นขรุขระเป็นตุ่มขนาดเล็ก ขณะที่ปาหนัน พรุ

มีผลรูปทรงกระบอก เปลือกเรียบเป็นมัน ด้ ว ยความที่ ป าหนั น ช้ า งมี ด อกที่ ส วยงามและมี

กลิ่นหอม จึงได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ กั น มาก ปั จ จุ บั น มี ก ารคั ด พั น ธุ์ ต้ น ที่ มี ลั ก ษณะเตี้ ย

ดอกดก มีดอกขนาดใหญ่ และออกดอกได้เกือบตลอดปี มาขยายพันธุ์ จนได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย การขยายพันธุ์ ถือเป็นการอนุรักษ์พรรณไม้หายากที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง


188

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ฝาดดอกแดง Lumnitzera littorea ( Jack) Voigt

เพื่อแสดงศรัทธาที่มีต่อศาสนา คือการย้อมฝาด หมายถึง การย้ อ มจี ว รถวายพระโดยใช้ สี จ ากเปลื อ กของต้ น

พรรณไม้ ป่ า ชายเลนมี คุ ณ ค่ า มากมายมหาศาล ฝาดดอกแดง (ในภาคกลางจะย้อมด้วยแก่นขนุน) ที่นำ เช่น เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่อยู่ของสัตว์ มาทุบแล้วแช่น้ำ เมื่อนำไปย้อมจีวรพระก็จะให้สีเหลือง เศรษฐกิจ เป็นแนวป้องกันลมและคลื่น ทะเล ช่วยลด แก่ การกัดเซาะพังทลายของพื้น ที่ชายฝั่งอันเนื่องมาจาก ฝาดดอกแดงเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Combretaceae คลื่ น ทะเลได้ ดี เป็ น ถิ่ น ทำมาหากิ น ของชาวประมง มีการกระจายพันธุ์บริเวณด้านในของป่าชายเลนในภาค พื้ น บ้ า น อี ก ทั้ ง ยั ง ผู ก พั น อยู่ กั บ ชาวบ้ า นในท้ อ งถิ่ น ใต้ แ ละภาคตะวั น ออก เจริ ญ เติ บ โตในดิ น ร่ ว นและมี อย่างแน่นแฟ้น และหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมในการ ความเค็มน้อย และมักพบขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณปากแม่น้ำ ดำรงชีวิตมาแต่โบราณ ที่เป็นดินเลนแข็งหรือดินทราย ฝาดดอกแดงเป็นไม้ต้น ในสมั ย ก่ อ น คนไทยส่ ว นใหญ่ ทั่ ว ทุ ก ภาคมี ชี วิ ต ขนาดเล็ก สูง 6-10 ม. เจริญเติบโตได้ดี ในพื้นที่ลุ่มน้ำ

ผู ก พั น อยู่ กั บ วั ด ด้ ว ยเป็ น ศู น ย์ ร วมแห่ ง จิ ต ใจ และ มีความชุ่ ม ชื้ น และมี แ สงแดดส่ อ งถึ ง เพื่ อให้ ร ากพิ เ ศษ

กิจกรรมหนึ่งที่คนท้องถิ่นมักจะร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติ ที่งอกออกตามลำต้นหายใจได้

ชื่ออื่น -


พรรณไม้ ภ าคใต้

189

ชาวบ้ า นในท้ อ งถิ่ น ยั ง นำฝาดดอกแดงมาใช้ ประโยชน์ ในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิ การปลูกสร้าง

ที่อยู่อาศัย และใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาโรค โดย เนื้อไม้ของฝาดดอกแดงที่คงทน แข็งแรง จะถูกนำมาใช้ สร้ า งบ้ า นเรื อ น และทำฟื น ทำถ่ า น หากเกิ ด อาการ

เจ็บป่วยที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร คนในสมัยก่อนก็จะนำ เปลื อ กฝาดดอกแดงฝนกั บ น้ ำ เพื่ อ ดื่ ม รั ก ษาอาการ

ปวดท้องและท้องเสีย พรรณไม้ชนิดนี้จึงผูกพันแน่นแฟ้น อยู่กับวิถีของคนไทยมาช้านานอย่างยากที่จะแยกจากกันได้ ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อแต่ละช่อยาว 2-5 ซม. มีดอก 5-15 ดอก

ใบ เดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูป ขอบขนาน กว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 ซม. ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยั ก มน ปลายใบกลม เว้ า ตื้ น ก้ า นใบสั้ น

ใบสีเขียวเข้ม เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อแต่ละช่อยาว 2-5 ซม. มีดอก 5-15 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ กว้าง สีเขียว ขอบกลีบมีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแกม รูปขอบขนาน สีแดง แต่ละกลีบไม่ติดกัน ออกดอก-ผล ลักษณะพรรณไม้ ในเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ก สูง 6-10 ม. ราก ระบบ

ผล รู ป กระสวย ป่ อ งตรงกลาง มี สั น ตามยาว

รากแก้ ว หยั่ ง ลึ ก ลงดิ น มี ร ากพิ เ ศษ เป็ น รากหายใจ เล็กน้อย ผลแก่สีน้ำตาลแดง ยาว 1.3 ซม. มีผลละ 1 เปลือกลำต้นมีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาล เปลือกใน เมล็ด สีแดงเข้มหรือสีส้ม เนื้อไม้แข็ง เหนียว ทนทานมาก เมล็ด สีขาวนวล กลมรีและแบน ยาว 1 ซม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


190

พรหมขาว Mitrephora alba Ridl.

ชื่ออื่น -

พรหมขาว เป็ น พรรณไม้ ที่ ค้ น พบครั้ ง แรกที่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรายงานการค้นพบใน ปี 2458 และถึงแม้วันเวลาจะผันผ่านไปนับร้อยปี แต่ เมื่อย้อนกลับไปที่ถิ่นกำเนิดเดิม ก็ยังพบต้นพรหมขาว แตกกิ่งอ่อนช้อย ออกดอกสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็น เอกลักษณ์ของพื้นที่เช่นเดิม

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ในสมัยก่อน พรหมขาวเคยมีการกระจายพันธุ์อยู่ เกือบทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ ได้สูญพันธุ์ ไปหลาย แห่ ง และคงเหลื อในปั จ จุ บั น อยู่ น้ อ ยมาก ทุ ก วั น นี้

พรหมขาวมีการกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะในป่าดิบชื้น ใน จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา ที่ระดับความสูง 50-200 ม. เท่านั้น ดอกของพรหมขาวมีสีขาว ดังชื่อ ระบุชนิดที่ว่า alba ซึ่งแปลว่า ขาว ปลายกลีบชั้นใน สีชมพูอมม่วง ประกบกันเป็นกระเช้างดงามสะดุดตา เฉกเช่นพรรณไม้ในสกุลมหาพรหมอื่นๆ อีกทั้งยังมีกลิ่น หอมหวาน คนในท้ อ งถิ่ น จึ ง นิ ย มปลู ก พรหมขาวเป็ น

ไม้ดอกไม้ประดับ


พรรณไม้ ภ าคใต้

191

เปลือกผลขรุขระ หรือเรียบ

ดอกเดี่ยวหรือ เป็นกระจุก 1-3 ดอก สีขาวปนม่วงแดง

ดอก เดี่ยวหรือเป็นกระจุก 1-3 ดอก ออกตามกิ่ง แก่ตรงข้ามใบ ดอกสีขาวปนม่วงแดง มีกลิ่นหอมหวาน ด้วยความที่เป็นพรรณไม้ที่ ได้รับความนิยม จึงมี มี ก ลี บ ดอก 6 กลี บ เรี ย งเป็ น 2 ชั้ น ชั้ น นอกสี ข าว

ผู้ คิ ด ขยายพั น ธุ์ พ รหมขาวให้ มี จ ำนวนต้ น เพิ่ ม มากขึ้ น รูปร่างค่อนข้างกลม กลีบชั้นนอกรูปช้อน โคนกลีบเรียว เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับและไม้กระถาง วิธีการขยายพันธุ์ เล็ ก ปลายกลี บ แผ่ ก ว้ า งสี ม่ ว งแดงประกบกั น เป็ น รู ป ของพรหมขาวทำได้หลายวิธี นับตั้งแต่เพาะเมล็ด เสียบ กระเช้า ยอด และทาบกิ่ง ซึ่งมีข้อดีเด่นแตกต่างกัน ส่วนวิธีที่จะ ผล เป็นกลุ่ม มีผลย่อย 4-7 ผล แต่ละผลรูปทรง ทำให้ได้ทรงพุ่มกลมแน่นสวยงามคือการเพาะเมล็ด แต่ กระบอกยาว 4-6 ซม. เปลือกผลขรุขระหรือเรียบคอด วิธีนี้จะทำให้ออกดอกช้า ใช้เวลานาน 4-5 ปี ขณะที่ ตามรอยเมล็ดเล็กน้อย เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง มี 6-8 การทาบกิ่งและการเสียบยอด จะออกดอกได้ภายใน เมล็ด 1 ปี แต่ทรงพุ่มจะสูงชะลูดไม่สวยงามเท่ากับการเพาะ เมล็ด สีขาวนวล กลมแบน ขนาด 5-7 มม. เมล็ ด การเสี ย บยอดและทาบกิ่ ง นิ ย มใช้ ต้ น มะป่ ว น

ซึ่ ง เป็ น พรรณไม้ พื้ น เมื อ งในสกุ ล เดี ย วกั น ที่ ห าได้ ง่ า ย การขยายพันธุ์ แข็งแรงทนทานมาเป็นต้นตอ ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาในการ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เสียบยอด และ ปลูกเลี้ยงให้สั้นลง และจะออกดอกได้ภายใน 1 ปี ทาบกิ่ง ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 6-8 ม. ทรงพุ่ ม โปร่ ง เรือนยอดกลมรูปโดม เปลือกลำต้นหนาเรียบ สีดำ เนื้อไม้ เหนียว ใบ เดี่ยว รูปรี กว้าง 4.5-6 ซม. ยาว 10-14 ซม. โคนใบมน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีอ่อน กว่า


192

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พั งกาหัวสุมดอกแดง Bruguiera gymnorrhiza

เครื่องมือประมง หรือใช้ทำถ่านและฟืน รวมทั้งสร้าง

ที่อยู่อาศัย เสาไม้ที่ทำจากต้น พังกาหัวสุมดอกแดงจะ พังกาหัวสุมดอกแดง เป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งในป่า ทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียงน้ำจืด ทำให้ ชายเลนของไทย ที่มีความสำคัญและมีคุณอเนกอนันต์ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี ต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก หลังมหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิ คนไทยทั่วไปก็ ได้ เนื่องจากชาวบ้านใช้ประโยชน์จากพังกาหัวสุมได้อย่าง ประจั ก ษ์ แ ล้ ว ว่ า แนวป่ า ชายเลนที่ มี อ ยู่ ไม่ ว่ า จะใน หลากหลาย ไม่ ว่ า จะในแง่ ข องการประกอบอาชี พ จังหวัดระนอง พังงา ตรัง หรือว่าสตูล กลายเป็นด่าน อุตสาหกรรม และการใช้รักษาโรค รับแรงปะทะแล้ ว ลดความรุ น แรงของคลื่ น ยั ก ษ์ ล งได้

พั ง กาหั ว สุ ม ดอกแดง จั ด เป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ ทั้งบ้านเรือนและพืชที่ปลูกอยู่ถัดแนวป่าชายเลนเข้ามา Rhizophoraceae ที่มีการกระจายพันธุ์ ในป่าชายเลน ต่ า งก็ ป ระสบกั บ ความเสี ย หายไม่ ม ากนั ก เท่ า กั บ ว่ า

ขึ้ น ตามดิ น เลนแข็ ง หรื อ ดิ น ค่ อ นข้ า งแข็ ง และเหนี ย ว ป่าชายเลนเป็นปราการธรรมชาติช่วยลดภัยพิบัติครั้งนี้ และบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง บางครั้งบางคราวชาวบ้าน ลงได้ คุณประโยชน์อเนกอนันต์ของป่าชายเลนนี้ ผู้คน ใช้พังกาหัวสุมในงานก่อสร้าง เนื่องจากลำต้นมีเนื้อไม้ ในท้ อ งถิ่ น จะทราบซึ้ ง กั น ดี และก็ แ น่ น อนว่ า หนึ่ ง ใน ค่อนข้างแข็ง สามารถนำไปใช้เป็นเสาเรือน แพ คันเบ็ด พรรณไม้ป่าชายเลนนั้นก็คือ พังกาหัวสุมดอกแดง

ชื่ออื่น ประสักดอกแดง


พรรณไม้ ภ าคใต้

ลำต้ น พั ง กาหั วสุมดอกแดงยังใช้เป็นวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ส่วนเปลือกของลำต้นจะให้ น้ำฝาดสำหรับทำสีย้อมผ้า ย้อมอวนชนิดหนา และย้อม หนังได้อย่างดี คนโบราณมักใช้พืชชนิดนี้เป็นยาฝาด สมานแก้ท้องเสียและไข้มาลาเรีย ใช้กินกับหมากในบาง ครั้ง และใช้หยอดตา ฝักก็ยังนำไปเชื่อมรับประทานเป็น ของหวาน รสชาติคล้ายสาเกเชื่อมได้ นอกจากนี้ ยั ง มี ร ายงานจากห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทาง เภสัชศาสตร์ถึงการค้น พบสารที่เป็น ประโยชน์ทางยา จากเปลือก ราก ลำต้น และใบของพังกาหัวสุมดอกแดง และไม้ อี ก หลายพั น ธุ์ ใ นป่ า ชายเลนที่ มี คุ ณ สมบั ติ ใ น

การรักษาโรคพาร์กินสัน ลูคีเมีย และยับยั้งเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงสารที่สามารถฆ่าเชื้อเอชไอวีได้อีกด้วย

193

ดอก เดี่ยว ออกที่ซอกใบ สีแดงหรือแดงอมชมพู ลักษณะพรรณไม้ ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีแดง ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-12 ม. ลำต้นตั้งตรง ปนเขี ย ว ปลายแยกเป็ น แฉกแหลม มี 10-16 แฉก

เนื้อไม้แข็ง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เป็นชั้นเหมือนฉัตร กลีบดอก 10-16 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบเว้า ทึบ โคนต้นเป็นเหลี่ยม ต้นใหญ่มีลักษณะเป็นพูพอนสูง หยักลึกลงเกือบถึงกลางกลีบ สีขาวหรือสีเหลืองอมเขียว มีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป เปลือกลำต้น หยาบ เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายสุ่ม ผล รูปลูกข่าง ขนาด 2-3 ซม. ผิวเรียบ จะงอก

เป็นเกล็ดหนา แตกเป็นร่องสม่ำเสมอตามยาวไม่เป็น ระเบียบ สีน้ำตาลดำถึงดำ มีรากพิเศษออกตามลำต้น ตั้ ง แต่ ผ ลติ ด อยู่ บ นต้ น เรี ย กว่ า “ฝั ก ” หรื อ ลำต้ น ใต้

ใบเลี้ ย ง รู ป กระสวย เป็ น เหลี่ ย มหรื อ มี สั น เล็ ก น้ อ ย

เป็นรากหายใจ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี หรือ สีเขียวเข้มแกมม่วง เมื่อแก่จัดมีสีม่วงดำ เมล็ด มีผลละ 1 เมล็ด ลูกยาวรี ปลายแหลม รูปไข่แกมรี ยาว 8-20 ซม. ปลายใบแหลมสั้น ไม่มีติ่ง ผิ วใบเรี ย บหนาคล้ า ยแผ่ น หนั ง ใบด้ า นบนสี เ ขี ย วเข้ ม

เป็น มัน ท้องใบเขียวอมเหลือง มีเส้นกลางใบเป็นสัน การขยายพันธุ์ นูนเด่น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


194

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พุ ดชมพู Kopsia rosea D.J. Middleton

ชื่ออื่น เข็มอุนากรรณ

พุ ด ชมพู เป็ น พรรณไม้ พื้ น เมื อ งที่ มี ก ารนำมา

คัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์จนได้สายพันธุ์ที่มีดอกดก ดอก ขนาดใหญ่ สีชมพูเข้ม และที่สำคัญคือมีต้นเป็นพุ่มเตี้ย จนปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางได้ ขณะที่ต้นในถิ่น กำเนิดเดิมจะมีกลีบดอกสีขาวหรือสีชมพูอ่อน และกลีบ ดอกค่อนข้างเล็ก ซึ่งเป็นธรรมดาว่าต้น ปรับปรุงพันธุ์ ย่อมมีอะไรดีกว่าต้นในถิ่นกำเนิดเดิมในป่า ด้วยเหตุนี้จึง มีการขยายพันธุ์ต้นที่ปรับปรุงพันธุ์แล้วและปลูกประดับ กันอย่างแพร่หลาย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ส่วนต้นที่ อยู่ ใ นธรรมชาติ ไ ม่ ไ ด้ รั บความสนใจเท่าใดนัก จึงลด จำนวนลงจนกลายเป็นพรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์

การขยายพันธุ์พุดชมพูโดยการปักชำกิ่ง หรือการ ตอนกิ่งจากต้น ที่มีดอกใหญ่สีเข้มสวยงาม แล้วนำไป ปลู ก ก็ จ ะได้ ต้ น ที่ ค งพั น ธุ ก รรมเหมื อ นเดิ ม คื อ มี ด อก ใหญ่ สี เ ข้ ม สวยงาม แต่ ห ากขยายพั น ธุ์ โ ดยการเพาะ เมล็ ด แล้ ว นำต้ น กล้ า ที่ ง อกขึ้ น มาไปปลู ก อาจจะมี

พันธุกรรมคงเดิมหรือเปลี่ยนไปก็ได้ ขนาดของดอกและ สีสันของดอกก็อาจจะใหญ่ขึ้นหรือลดลง รวมถึงอาจมี

สี เ ข้ ม ขึ้ น หรื อ สี ซี ด ลงก็ ไ ด้ นั บ ว่ า มี ค วามหลากหลาย

มากขึ้น ซึ่งผู้ปลูกเลี้ยงที่นิยมความแปลกใหม่จะชื่นชอบ เป็นอย่างมาก


พรรณไม้ ภ าคใต้

195

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ พุ่ ม หรื อไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 5 ม. ส่ ว น ต่างๆ มียางขาว แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มกลมแน่น ใบ ใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ออกตาม ข้อกิ่ง ลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียว ขนาดใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 8-12 ซม. ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาว โคนกลีบแดงอมชมพูเข้ม กลีบเรียงชั้นเดียว ผล รูปเคียวขอบขนาน ยาวประมาณ 1.7 ซม. ตรงกลางมีเดือยคล้ายตะขอ ยาวประมาณ 0.3 ซม. เมล็ด สีขาวอมเทา เรียวแหลม ยาว 3-5 มม. การปลูกเลี้ยงพุดชมพูให้เจริญเติบโตเป็นพุ่มกลม แตกใบใหม่สีเขียวเข้มเป็นมันวาว จะต้องปลูกในสภาพ ที่ต้นพุดชมพูชอบคือ ปลูกในดินร่วน ระบายน้ำดี ได้รับ ความชื้นและปุ๋ยอย่างเพียงพอ พุดชมพูจะแตกกิ่งอ่อน หรือกิ่งกระโดง แล้วออกดอกขนาดใหญ่สมบูรณ์เต็มที่ ส่วนจะมีสีเข้มสวยงามได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแสงแดดที่

ได้รับอย่างเหมาะสม จึงต้องปลูกอยู่ในตำแหน่งกลางแจ้ง หรือมีร่มเงาเพียงเล็กน้อย ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ของพุดชมพู จะ ขึ้นอยู่ ในอุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา (ธารโบกขรณี) จังหวัดกระบี่ ส่วนในต่างประเทศจะมีขึ้นอยู่ห่างๆ ทาง ตอนใต้ของพม่า

ดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง กลีบเรียงชั้นเดียว

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง


196

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พุ ดภูเก็ต Gardenia thailandica Tirveng.

ชื่ออื่น พุดป่า

ธรรมชาติ นั้ น น่ า มหั ศ จรรย์ ที่ ส ามารถเสกสรรค์ พลั น บั ง เกิ ด ความงดงามขึ้ นได้ ทุ ก ถิ่ น ที่ บ นโลก ไม่ ว่ า

ดิ น แดนนั้ น จะอุ ด มสมบู ร ณ์ หรื อ จะแห้ ง แล้ ง เพี ย งใด

แม้จะเป็น ป่าดิบแล้งมีความชุ่มชื้นต่ำ หรือบนเนินเขา ชายทะเลที่ แ สนกั น ดาร ธรรมชาติ ก็ ยั ง ให้ ก ำเนิ ด

พุ ด ภู เ ก็ ต พรรณไม้ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ท นทานต่ อ ความ

แห้งแล้ง ยืนต้นได้แม้จะมีน้ำและอาหารเพียงน้อยนิด ซ้ำยังทนทานต่อลมทะเลในช่วงฤดูมรสุมเช่นเดียวกับ

ไม้ป่าอื่นๆ คนทั่วไปจึงเรียกพุดชนิดนี้ว่า “พุดป่า”

พุ ด ภู เ ก็ ต เป็ น พรรณไม้ ถิ่ น เดี ย วของไทยที่ ดร.ชวลิต นิยมธรรม สำรวจพบเป็นครั้งแรกที่อำเภอ กระทู้ ในจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต เมื่ อ ปี 2525 ในบริ เ วณป่ า ละเมาะเนินเขาชายทะเลที่ระดับความสูง 30 ม. และ

มีรายงานการตั้งชื่อในปี 2526 ปัจจุบันพุดภูเก็ตมีการ กระจายพันธุ์ ในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับ น้ ำ ทะเลถึ ง ระดั บ 150 ม. พบมากในจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต

และพบบ้างประปรายในเกาะตะรุเตา และบางเกาะของ จังหวัดพังงา


พรรณไม้ ภ าคใต้

197

ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อเริ่มแย้มสีขาวนวล ส่งกลิ่นหอม

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนอันยาวนาน พุดภูเก็ตจะแสดง คุ ณ สมบั ติ อั น โดดเด่ น ด้ ว ยการไม่ ย อมแพ้ ต่ อ สภาพ อากาศที่ทั้งร้อนและแห้งแล้งทารุณ ด้วยการปลิดใบทิ้ง หมดทั้งต้น คงเหลือไว้ก็แต่กิ่งก้านสาขาและออกดอก ผลิบานเต็มต้นแทนที่ ดอกพุดภูเก็ตนี้มีกลิ่นหอมและมี ช่อดอกสีเหลืองเข้มสวยงามมาก ใครที่ต้องการสัมผัส กับความงามของพรรณไม้ชนิดนี้ ควรเดินทางไปเยือน จุดชมวิวหาดกะตะในจังหวัดภูเก็ตช่วงเดือนเมษายน

ซึ่งเป็นช่วงที่พุดภูเก็ตออกดอกสีเหลืองสดใสพราวไสว ไปทั้ ง ต้ น นั บ พั น นั บ หมื่ น ดอก อี ก ทั้ ง ยั ง ส่ ง กลิ่ น หอมจรุ ง อบอวลไปทั่วบริเวณ เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น ด้วยความที่เป็น พรรณไม้ถิ่นเดียว หายากในถิ่น กำเนิดตามธรรมชาติ แต่มีดอกดก สวยงามมาก จึงมี ความพยายามที่ จ ะนำมาขยายพั น ธุ์ และได้ พ บว่ า สามารถใช้ วิ ธี เ พาะเมล็ ด ตอนกิ่ ง และปั ก ชำได้ ผ ลดี

จึ งได้ รั บ ความนิ ย มปลู ก กั น อย่ า งแพร่ ห ลาย และพ้ น สภาพจากการเป็นพรรณไม้หายากแล้ว

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 ม. เปลือกลำต้น

สีน้ำตาล แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ มีใบเฉพาะปลายกิ่ง ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเรียว แหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า และสากคาย ดอก เดี่ยว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด โคนกลีบ เชื่ อ มติ ด กั น เป็ น หลอดยาว 5-7 ซม. ปลายแยกเป็ น

5 กลี บ เมื่ อ เริ่ ม แย้ ม สี ข าวนวล ส่ ง กลิ่ น หอม ต่ อ มา เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเหลืองเข้ม ดอกบานวันเดียว แล้วโรย ผล กลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. มีครีบตามแนวยาวของผลเป็น 5 สัน เมล็ด กลมรี สีน้ำตาลอ่อน ขนาด 3-5 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ


198

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โพทะเล Thespesia populnea Soland. Ex Correa

ชื่ออื่น บากู ปอกะหมัดไทร ปอมัดไซ

พื ช ห ล า ย ช นิ ด มี คุ ณ ส ม บั ติ เ ป็ น พ ร ร ณ ไ ม้ อเนกประสงค์ คือสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่าง หลากหลายนับตั้งแต่รากจนจรดปลายยอด หนึ่งในนั้น คือ โพทะเล ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีชื่อ เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น “ปอมัดไซ” ใน จังหวัดเพชรบุรี “ปอกะหมัดไทร” ในจังหวัดราชบุรี

โพทะเลเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Malvaceae เป็นพืช เมืองร้อน กระจายพันธุ์ตามป่าชายเลน หรือตามชายฝั่ง ทะเลในที่ ที่ น้ ำ ทะเลท่ ว มถึ ง พบมากทางภาคใต้ แ ละ

ภาคตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ต้น ที่มีพุ่มขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 15 ม. ถือเป็นไม้สารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะ ทางด้านงานอุตสาหกรรม หัตถกรรม และเภสัชกรรม ร่วมทั้งช่วยรักษาระบบของป่าชายเลน


พรรณไม้ ภ าคใต้

199

ดอกขนาดใหญ่ สีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 ซม. ออกตามง่ามใบ

เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ กว้าง 12 ซม.

เนื้ อไม้ ข องโพทะเลที่ เ หนี ย วแข็ ง และทนทาน

ไสกบตกแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำพื้นกระดาน เครื่อง กลึง ด้ามเครื่องมือ ไม้พายแจว และทำไม้คิวบิลเลียด นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา เช่น เปลือก ต้มกับน้ำ แล้ ว นำมาชะล้ า งแผลเรื้ อ รั ง ผลและใบ ใช้ ต ำพอก

แก้โรคผิวหนัง เช่น หิด หรือจะนำใบมาตากแห้งแล้วบด เป็นผงยาไว้สำหรับใส่แผลเรื้อรัง และใช้เป็นยาระบาย อ่อนๆ เมื่อนำผงไปละลายน้ำสุกกิน ดอก มีลักษณะ ดอกสีเหลืองสวยงาม คนโบราณใช้ต้มกับน้ำนมหยอดหู รักษาอาการเจ็บ ระคายเคืองในหูได้ ราก ใช้กินเป็นยา บำรุง รักษาอาการไข้ เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ นอกจากนี้เมือกที่ได้จากการนำเอาเปลือกไม้โพทะเลสด มาแช่ น้ ำ ยั ง สามารถใช้ รั ก ษาโรคที่ เ กี่ ย วกั บ ทางเดิ น อาหารได้อีกด้วย โพทะเลที่มีลำต้นเปลาตรง ยังใช้ทำไม้คิว หรือไม้ แทงลู ก บิ ล เลี ย ดได้ เ ป็ น อย่ า งดี จึ ง นั บ เป็ นไม้ ส ารพั ด ประโยชน์อีกชนิดที่ควรส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อนำไป ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคต

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-15 ม. เปลือกสีน้ำตาลอ่อน อมชมพู ขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ ตลอดลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ กว้าง 12 ซม. เนื้อใบบาง ขอบใบเรียบ ผิวใบค่อนข้างเป็นมัน ดอก ขนาดใหญ่ สีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 ซม. ออกตามง่ า มใบ ออกดอกระหว่ า งเดื อ น พฤษภาคมถึงมิถุนายน เป็นผลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม ผล ผลโตขนาดใหญ่ 4 ซม. ผิวแข็ง เมล็ด เล็กยาวคล้ายเส้นไหม การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ชอบแสงแดดจัด เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ต้องมีความชุ่มชื้นอยู่สม่ำเสมอ และจะเจริญเติบโต ได้ดีหากเป็นสภาพน้ำกร่อย


200

โมกเขา

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โมกเขาได้รับการสำรวจพบครั้งแรกในประเทศ ไทยเมื่ อ วั น ที่ 11 กรกฎาคม 2469 โดยหมอคาร์

ชื่ออื่น - นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช ที่อุทยานแห่งชาติเขาสามภาคใต้ของไทยถือเป็นแหล่งนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ ร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีรายงานการตั้ง ที่มีทั้งขุนเขาและท้องทะเล อันเป็นแหล่งกำเนิดของ ชื่อในปี 2480 โมกเขาเป็นพรรณไม้ที่มีรูปร่างคล้ายคลึง สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ที่เป็น พืชพรรณนานาชนิด และถึง กับโมกอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า โมกสยาม แต่มีกลีบดอก แม้ ว่ า ภู เ ขาส่ ว นใหญ่ ท างภาคใต้ ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น เขา กว้างกว่าและสีเข้มกว่า รวมทั้งมีลำต้นใหญ่กว่า ส่วน หินปูนติดชายทะเลอันแห้งแล้ง หากทว่าธรรมชาติก็ยัง ลักษณะของใบและฝักจะคล้ายคลึงกัน สร้างสรรค์พืชพรรณที่สวยงาม ซึ่งมีความทนทรหดต่อ ด้ ว ยความที่ มี ถิ่ น กำเนิ ด บนเขาหิ น ปู น ชายทะเล สภาพลมฟ้าอากาศที่หนักหน่วงอย่าง โมกเขา พรรณไม้ โมกเขาจึงมีความทนทานต่อไอเกลือริมทะเลและความ ถิ่นเดียวของไทยที่มีแหล่งกำเนิดอยู่บนภูเขาหิน ปูน ที่ แห้ง แล้ งได้ ดี โดยเฉพาะในช่ ว งเดื อ นพฤศจิ ก ายนถึ ง ความสู ง ระดั บ 50 ม. ในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขาสาม- กุ ม ภาพั น ธ์ ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ ล มมรสุ ม พั ด พาไอเกลื อใน

ร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทะเลอ่าวไทยเข้าหาฝั่ง เมื่อไอเกลือเข้ามาจับยอดไม้

Wrightia lanceolata Kerr


พรรณไม้ ภ าคใต้

201

พรรณไม้ที่ไม่ใช่พืชพื้นเมือง หรือไม่มีความทนทานมาก พอก็มักจะตายหรือเสียหายเป็นอย่างมาก โมกเขาจึงถือ เป็น พรรณไม้ที่เหมาะต่อการปลูกริมทะเล หรือปลูก ประดับตามบ้านพักชายทะเล เพราะทนทานต่อไอเกลือ และลมที่พัดรุนแรงได้ดี โมกเขาเป็นพรรณไม้ที่มีดอกสวยงาม ดอกออก เป็นช่อเล็กๆ หรือเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ปลายยอด นับเป็น โมกพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาเปลี่ยนฐานะ ให้เป็นไม้ปลูกประดับที่ ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นใน ภาคใต้ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน

ดอกตูม

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ พุ่ ม ขนาดเล็ ก สู ง 2-3 ม. ทุ ก ส่ ว นของ ลำต้นมียางสีขาว เปลือกลำต้นมีช่องหายใจเป็นขีดนูน

สีขาวกระจายทั่วไป ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบรูปมนหรือเว้า เล็กน้อย ด้านบนใบเรียบ ด้านล่างมีขนเล็กน้อยและมี เส้นแขนงใบเป็นสันนูนเด่น ดอก ช่อออกที่ปลายยอด 2-4 ดอก กลีบดอก

รูปขอบขนาน เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-4 ซม. มี กลิ่นหอมอมเปรี้ยว ออกดอกเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ผล เป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ขนาด 8 มม. ยาว 15 ซม. ปลายเชื่อมติดกัน เมล็ด กลมแบน ขนาด 4-5 มม. ตอนปลายมีขน ยาวฟู ปลิวลอยตามลมได้ ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก กลีบดอก มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่งและเสียบ ยอด โดยการเสียบยอดสามารถใช้พืชในสกุลเดียวกัน คือโมกบ้านและโมกมันเป็นต้นตอ หรือใช้พืชต่างสกุล คือพุดฝรั่งเป็นต้นตอก็ได้


202

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

รั กนา Gardenia carinata Wall.

ชื่ออื่น พุดป่า

อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วทางภาคใต้ เ ป็ น แหล่ ง

รายได้ ที่ ส ำคั ญ ของคนในท้ อ งถิ่ น และชุ ม ชนที่ อ าศั ย ทรัพยากรธรรมชาติทมี่ อี ยู่ ไม่วา่ จะเป็นป่าเขาลำเนาไพร หรือท้องทะเลให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะธุรกิจ

รีสอร์ตและแหล่งพักผ่อนชายทะเล ที่ล้วนแล้วแต่อาศัย สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมาสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งผืนแผ่นดินไทย

ธุรกิจรีสอร์ตที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เอง ที่มี การนำพรรณไม้ ในธรรมชาติมาปลูกเป็นไม้ประดับกัน มากขึ้ น หนึ่ ง ในพรรณไม้ ที่ เ จ้ า ของธุ ร กิ จ นี้ นิ ย มก็ คื อ

รักนา ไม้ป่าที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในป่าดิบชื้น ที่ระดับความ สู ง 50-800 ม. พบได้ ตั้ ง แต่ จั ง หวั ด เพชรบุ รี ล งไป

จนถึงภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งในประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่างมาเลเซีย รักนาเป็นพรรณไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่และมีทรง พุ่มสวยงาม เหมาะแก่การนำไปปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ ทรงพุ่ม และให้ร่มเงา เมื่อเริ่มแย้มมีสีขาวแล้วเปลี่ยน เป็ น สี เ หลื อ งหรื อ เหลื อ งอมส้ ม และส่ ง กลิ่ น หอมแรง

เมื่อใกล้โรย เนื้อไม้ของรักนาสามารถนำไปใช้ ในงาน ก่อสร้างที่ไม่ใหญ่โตมากนัก ทำฟืนและเผาถ่านได้ รั ก นานี้ มี อี ก ชื่ อ ว่ า พุ ด ป่ า ซึ่ ง เป็ น ชื่ อ เดี ย วกั บ

พุดภูเก็ต แต่เมื่อนำรักนามาเปรียบเทียบกับพุดภูเก็ตแล้ว รักนาจะมีดอกขนาดใหญ่กว่า และดอกของรักนาก็มี

สีเหลืองส้มเด่นชัดกว่าพุดภูเก็ต แต่พุดภูเก็ตจะออกดอก ดกกว่ามาก ไม้ทั้งสองชนิดเป็นไม้ที่เหมาะแก่การปลูก เป็นไม้ประดับริมทะเล เพราะมีความทนทานต่อความ แห้งแล้งเหมือนกัน แต่รักนานี้จะไม่ทนทานต่อความ แห้งแล้งและไอเกลือจากทะเลได้ดีเท่าพุดภูเก็ต


พรรณไม้ ภ าคใต้

203

ดอกบาน สีเหลืองส้ม

เริ่มแย้มจะมีสีขาวนวล

ลักษณะพรรณไม้ ผล กลมรี ยาว 3-4 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สดี ำ ต้ น เป็ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 5-8 ม. แตกกิ่ ง จำนวนมาก ทรงพุ่มกลมโปร่ง มีใบอยู่เฉพาะช่วงปลาย มี สั น นู น ตามยาว 5 เส้ น ปลายผลมี ก ลี บ เลี้ ย งติ ด อยู ่ มีเมล็ดจำนวนมาก ยอด เมล็ด สีขาวหม่น กลมแบน ขนาด 4-6 มม. ใบ รูป ไข่กลับ ยาว 15-30 ซม. ผิวใบมีขนมาก ลักษณะสากคาย เส้นแขนงใบเห็นเด่นชัด ดอก เป็นดอกเดี่ยว โคนกลีบดอกเป็นหลอดยาว การขยายพันธุ์ 5-7 ซม. ดอกออกที่ปลายยอด มีกลีบดอก 6-8 กลีบ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 ซม. เมื่อเริ่มแย้มมี

สีขาวนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ส่งกลิ่นหอมแรง เมื่อใกล้โรย เมื่อใกล้โรย ส่งกลิ่นหอมแรง


204

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

เล็ ง เก็ ง Magnolia betongensis (Craib) H. Keng

ชื่ออื่น -

ชื่อของ เล็งเก็ง บ่งบอกได้เป็นอย่างดีถึงความ เป็นพรรณไม้พื้นถิ่นของปักษ์ใต้ เนื่องจากคำนี้เป็นชื่อที่ ชาวมุสลิมชายแดนไทย-มาเลเซียใช้เรียกพรรณไม้ชนิด หนึ่งในวงศ์จำปา ซึ่งมีการกระจายพันธุ์อยู่ ในจังหวัด สงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ไปจนถึงตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย

เล็งเก็งเป็นพรรณไม้ที่มีความใกล้ชิดกับมณฑาป่า และมณฑาดอย ด้วยมีลักษณะของดอกคล้ายคลึงกัน วิธีสังเกตความแตกต่างให้ดูที่กลีบดอกชั้นนอก ซึ่งหาก เป็นเล็งเก็งกลีบดอกจะบางกว่าและมีสีเขียวอ่อน ขณะ ที่มณฑาป่าและมณฑาดอยกลีบดอกชั้นนอกมีสีม่วงแดง และหากสังเกตที่ ใบจะพบว่า ปลายใบของเล็งเก็งเป็น รูป ไข่กลับ ส่วนปลายใบของมณฑาป่าและมณฑาดอย จะเรียวแหลม เล็ ง เก็ ง เป็ น ไม้ พื้ น เมื อ งที่ ช อบอากาศร้ อ นชื้ น

ทรงพุ่มสวยงาม มีดอกขนาดใหญ่ และส่งกลิ่นหอมแรง โดยจะเริ่ ม ส่ ง กลิ่ น หอมตั้ ง แต่ ด อกแรกแย้ ม ในช่ ว ง พลบค่ำ และสามารถส่งกลิ่นหอมไปไกลแม้กลีบดอกจะ ร่วงลงสู่โคนต้นจนหมดแล้ว จึงเหมาะแก่การปลูกเป็น ไม้ประดับ แต่ด้วยข้อจำกัดที่เล็งเก็งเป็น พรรณไม้หา ยากเพราะมีการกระจายพันธุ์ต่ำ อันเนื่องมาจากขณะที่ เป็นผลอ่อนจะมีผีเสื้อกลางคืนเจาะผลเข้าไปวางไข่ ใน เมล็ดอ่อน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนก็จะกัดกินเมล็ดอ่อน จนเมล็ดเสียหายเกือบทั้งหมด ไม่มีเมล็ดแก่ที่สมบูรณ์ พอจะงอกเป็นต้นใหม่ ได้ เป็นเหตุให้เล็งเก็งมีจำนวนต้น อยู่ในถิน่ กำเนิดน้อยมาก จนมีสภาพเป็นพรรณไม้หายาก ใกล้จะสูญพันธุ์


พรรณไม้ ภ าคใต้

ด้วยความมุ่งมั่น พยายามที่จะขยายพันธุ์เล็งเก็ง ของโครงการอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมพื ช อั น เนื่ อ งมาจาก

พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักวิจัยจึงได้เฝ้าเก็บผลแก่ของเล็งเก็งนำมา ขยายพันธุ์เพาะเป็นต้นกล้า แล้วนำออกไปปลูกในพื้นที่ อื่นๆ ที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นคล้ายคลึงกับแหล่งกำเนิด เดิ ม ประกอบกั บ การที่ เ ล็ ง เก็ ง เป็ น พรรณไม้ ที่ มี ด อก หอมและสวยงาม จึงได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ดอก หอม จนมีจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้นและพ้นสภาพจากการ เป็นพรรณไม้หายากแล้ว ถึงแม้ว่าการขยายพันธุ์โดยวิธี อื่นๆ จะยังไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-10 ม. ทรงพุ่มกลม โปร่ง เปลือกลำต้น หนาและมีกลิ่นฉุน กิ่งก้านเหนียว มาก ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปขอบขนาน แกมรูป ไข่กลับ กว้าง 10-12 ซม. ยาว 24-35 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ เนื้อ ใบหนาแข็งกรอบ ดอก เป็นดอกเดีย่ วออกทีป่ ลายยอด สีขาว ดอกบาน ตั้งขึ้น บานอยู่ ได้ 2-3 วัน มีกลิ่นหอมแรง เริ่มส่งกลิ่น หอมแรงตั้งแต่ดอกแรกแย้มในช่วงพลบค่ำ มีกลีบดอก 9 กลีบ เรียบเป็น 3 ชัน้ กลีบหนาแข็ง อวบน้ำ กลีบชัน้ นอก สีเขียวอ่อนรูปไข่ กลีบชั้นกลางและชั้นในหนาสีขาวนวล รูปไข่กลับ เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม.

205

ผล กลมรี กว้าง 5-7 ซม. ยาว 8-10 ซม. มีผล ย่อย 70-80 ผล เปลือกผลย่อยหนาและแข็งเชื่อมติด กัน เมื่อผลแก่ผลย่อยแตกออกตามรอยเชื่อมและหลุด ออก มี เ มล็ ด สี แ ดงติ ด อยู่ กั บ แกนกลางผล ช่ อ งละ 2 เมล็ด เมล็ด กลมรี ยาว 1-1.3 ซม. สีแดงเข้ม การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ผลกลมรี มีผลย่อย 70-80 ผล

เมล็ดสีแดงเข้ม

เปลือกผลย่อยหนา และแข็ง เชื่อมติดกัน


206

ศรี ย ะลา Saraca thaipingensis Cantley ex King

ชื่ออื่น โสกเหลือง อโศกเหลือง อโศกใหญ่

ความเชื่ อ หนึ่ ง ที่ อ ยู่ คู่ กั บ คนไทยมานานคื อ การ ปลู กไม้ ม งคลไว้ ใ นบริ เ วณบ้ า นเรื อ นที่ อ ยู่ อ าศั ย เพื่ อ ความเป็นสิริมงคล และความร่มเย็นของสมาชิกภายใน บ้ า น รวมถึ ง การมี ต้ นไม้ ป ระจำจั ง หวั ด ทั่ วไทยที่ เ ป็ น พรรณไม้ ค วามหมายดี และมี ลั ก ษณะอั น บ่ ง บอกถึ ง ความรุ่งเรือง เพื่อความผาสุกของชาวเมืองที่อยู่อาศัย

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง ศรียะลา หรือในชื่ออื่นๆ ว่า โสกเหลือง อโศกเหลือง หรืออโศกใหญ่ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา ที่ มีความหมายเข้าใจง่ายว่า ต้นไม้อันเป็นเกียรติเป็นศรี แก่ชาวเมืองยะลา ดังจะพบว่าตามเกาะกลางถนน หรือ ริ ม ถนนในตั ว เมื อ งยะลาเกื อ บทุ ก สายเต็ ม ไปด้ ว ยต้ น

ศรียะลา ศรียะลามีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบตามเชิงเขา ขึ้ น ใกล้ ล ำห้ ว ย ริ ม ลำธาร เป็ น ไม้ ก ลางแจ้ ง ที่ เ จริ ญ เติบโตได้ดีในแทบทุกสภาพ สามารถพบเห็นต้นศรียะลา ปลูกขึ้นได้ ในพื้นที่ทั่วไปเป็นไม้ประดับต้น ประดับทรง พุ่ ม หรื อ เป็ น ไม้ ด อกสวยงาม ไม้ ด อกหอมที่ ช อบ ความชื้นค่อนข้างมากถึงความชื้นสูง ปลูกได้ทั่วประเทศ ได้เห็นกันบ่อยๆ แม้แต่ในกรุงเทพมหานคร


พรรณไม้ ภ าคใต้

207

ใบ เป็นช่อค่อนข้างใหญ่ มีมากตามปลายกิ่ง เป็น ใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อย 4-8 คู่ ปลาย แหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอก สีเหลืองอมน้ำตาล กลิ่นหอม ออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่งและลำต้น แต่ละช่อมีขนาดใหญ่มาก เป็น ช่อกลม ดอกบานไม่พร้อมกัน ดอกบานใหม่สเี หลืองอ่อน เมื่ อใกล้ โ รยสี เ หลื อ งเข้ ม อมสี น้ ำ ตาล มี แ ต่ ก ลี บ เลี้ ย ง

4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้และเพศเมียยื่นยาว ออกมาชัดเจน มีน้ำหวานไหลเยิ้มออกมา จึงมีแมลง หรือฝูงผึ้งบินมาตอมอยู่ตลอดเวลา ผล เป็นฝักแบน กว้าง 3.5-8 ซม. ยาว 15-40 ซม. ฝักหนา 1.5 ซม. เมล็ ด กลมแบน ขนาด 2 ซม. สี น้ ำ ตาลอ่ อ น เหมือนสีฟางข้าว

ศรียะลาเป็นไม้ต้นในวงศ์เข็ม ที่มีช่อดอกสีเหลือง อร่ามสวยงาม มีดอกย่อยเล็กๆ รูปร่างเหมือนดอกเข็ม นับร้อยดอก เบ่งบานเบียดเสียดกันเป็นช่อแน่น ส่งกลิ่น หอมรุนแรง เมื่อแตกกิ่งที่ปลายยอดจำนวนมากจะมีทรง พุ่มกลมแผ่กว้าง จึงเหมาะที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ โชว์ ท รงพุ่ ม ริ ม ถนน ให้ มี ร ะยะต้ น ห่ า งกั น 10 ม. ใช้ การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง เวลาเพียง 4-5 ปีก็จะเริ่มผลิดอก และเมื่อยามลมหนาว โชยมาในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ต้นศรียะลาก็จะ พากั น ผลิ ด อกราวกั บ แข่ ง ขั น กั น โชว์ ค วามงาม ยิ่ ง ถ้ า

ปีไหนมีลมแรง พื้นดินแห้งแล้ง ศรียะลาก็จะพากันทิ้งใบ โชว์ดอกเหลืองอร่ามงามเต็มต้น ศรียะลาเป็นไม้ต้นที่มีลักษณะสูงใหญ่ สามารถ ปลูกและดูแลง่าย เจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วน ชอบน้ำ และความชื้ นสู ง คนทั่วไปจึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากนี้ศรียะลายังถือเป็นพืชสมุนไพร เพราะดอกมี รสเปรี้ยว สามารถรับประทานแก้ ไอ ขับเสมหะ และ บำรุงธาตุได้ ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. บางต้นอาจสูง เพียง 3-5 ม. แตกกิ่งต่ำเป็นกิ่งยาว ปลายกิ่งห้อยลู่


หัวใจที่รับผิดชอบ ต่อสังคมไทยของเรา ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ…สู่ ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง ผลงานจากใจ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นเวลา 3 ปีมาแล้วที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้ขานรับต่อนโยบายของ รัฐบาลในการดำเนินการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิม พระเกียรติฯ ด้วยการปลูกป่าจำนวน 23,000 ไร่ ใน พื้น ที่ภาคเหนือ 6 จังหวัด คือ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา ชัยภูมิ และพิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2548-2550 และ เตรี ย มแผนการดู แ ลรั ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งไปอี ก 3 ปี

ข้างหน้า เพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติให้ ดูแลรักษาต่อไปเพื่อให้เป็นป่าไม้ที่เติบโตสมบูรณ์ และ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าคู่ชุมชนตลอดไป จากการได้คลุกคลีกับกิจกรรมปลูกป่าระยะยาวนี้ ทำให้ บริษั ท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ ตระหนั ก ว่ า การที่ ผื น ป่ า จะเติ บ โตอย่ า งยั่ ง ยื นได้ นั้ น

ต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจและการมีจิตสำนึกภายใน ของทุกคนในสังคมเพื่อช่วยผืน ป่าให้ดำรงอยู่ รวมถึง การไม่มีส่วนร่วมในการทำลายป่าด้วย เพราะต่อให้เรา ช่วยกันปลูกต้นไม้สักกี่หมื่น กี่แสน กี่ล้านต้นก็ตาม หาก มนุษ ย์ยังคงตัดไม้ทำลายป่า ป่าที่มีอยู่ก็นับวันจะหมดไป ตามวันเวลา ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่ อโลกของเราตามมา เช่ น ภาวะโลกร้ อ น น้ ำ ท่ ว ม อากาศและฤดูกาลแปรปรวนจนเกิดภัยธรรมชาติ แต่ หากว่าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้เพียงคนละหนึ่งต้น ความสมดุลทางธรรมชาติก็จะกลับคืนมา เพราะป่าคือ

ที่อยู่อาศัยของสรรพสิ่งมีชีวิตต่างๆ ป่าจึงเป็นส่วนหนึ่ง

ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเสมอมา


หั วใจที่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมไทยของเรา

สร้างสำนึกดีต่อสังคม จึงเป็นหัวใจในการดำเนิน ธุรกิจขององค์กร ซึ่งเริ่มต้นจากคนหลอมรวมกับความ เข้ าใจ และจิ ต สำนึ กในการทำความดี เ พื่ อ สั ง คม ซึ่ ง

หยั่งรากมาจากความเชื่อมั่นว่า ธุรกิจจะดำรงอยู่ ได้ ในสังคม

อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง บริษั ท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงได้สร้างเครือข่ายผู้นำ ความดี “CAT DNA สำนึกดีต่อสังคม” ที่มุ่งทำดีโดยไม่ หวังผลตอบแทน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง การดำเนิ น ธุ ร กิ จ กั บ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม และ กระตุ้นให้พนักงานตื่นตัวเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ในกระบวนการธุรกิจ (CSR In Process) และร่วมผลักดัน โครงการหรื อ กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คมนอกเหนื อ จาก กระบวนการธุรกิจ (CSR After Process) โดยยึดหลัก การธรรมาภิบาลในการให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งบริษั ท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ร่วม ทำกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม ความรู้ เ รื่ อ ง CSR แก่ พ นั ก งาน ลู ก ค้ า และประชาชนผู้ ส นใจทั่ ว ประเทศและร่ ว ม ทำความดี เ พื่ อ ประโยชน์ ต่ อ สั ง คมมาแล้ ว นั้ น ได้ แ ก่ โครงการ “CSR Campus” และโครงการ “แทนคุณ แผ่นดิน 76 คนดีนำทางปี 2551”

209 CAT DNA สำนึกดีต่อสังคม บริ ษั ท กสท โทรคมนาคม จำกั ด (มหาชน) ตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ของการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ควบคู่ ไ ปกั บ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (Corporate Social Responsibility: CSR) และได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ในรูปแบบที่หลากหลายเสมอมาโดยตลอด จากปรัชญา และความเชื่อที่ว่า เพียงหนึ่งพลังสำนึกดี หากเชื่อมร้อย เป็ น เครื อ ข่ า ยความดี ก็ ส ามารถขยายเป็ น พลั ง อั น

ยิ่งใหญ่ที่ส่งผ่านทุกชุมชน ทุกสังคม…เป็นแรงขับเคลื่อน อันยิ่งใหญ่ที่ช่วยให้โลกของเราแข็งแรงและน่าอยู่


210

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

เชื่อมร้อยความดีสู่สังคมด้วยโครงการ “สื่อสานสังคม” ใ น บ ท บ า ท ข อ ง ผู้ ใ ห้ บ ริ ก า ร ก า ร สื่ อ ส า ร โทรคมนาคมด้ ว ยเจตนารมณ์ ในการเป็นผู้นำความดี

สู่สังคม โครงการ “สื่อสานสังคม” จึงเกิดจากแนวคิด การดำเนินธุรกิจที่ต้องการมีส่วนร่วมสร้างคุณภาพชีวิต ที่ ดี ให้ แ ก่ ชุ ม ชน ส่ ง เสริ ม ภู มิ ปั ญ ญาและอนุ รั ก ษ์

สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยเน้ น การดำเนิ น งานด้ ว ยการนำระบบ เทคโนโลยีสื่อสารไปพัฒนา และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ แก่ ผู้ ค นในชุ ม ชน 3 ด้ า น คื อ ชุ ม ชน การศึ ก ษาและ

สิ่ ง แวดล้ อ ม กิ จ กรรมที่ ด ำเนิ น การได้ แ ก่ โครงการ “Telehealth” สื่อสารการแพทย์ทางไกลที่สถานีอนามัย บ้านสล่าเชียงตอง สถานีอนามัยบ้านกองก๋อย สถานี อนามัยบ้านป่าแป๋ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และสถานีอนามัย

เกาะปั น หยี จั ง หวั ด พั ง งา โครงการ “Telecenter” เรียนรู้ทางไกลผ่านเครือข่ายมัลติมีเดียไร้สายความเร็ว สูง CAT CDMA ที่ห้องสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลบ้ า นบางเหรี ย ง อำเภอทั บ ปุ ด จั ง หวั ด พั ง งา โครงการ “โทรคมนาคมเพื่อบรรเทาสาธารณภัย” นำ บริ ก ารวิ ท ยุ ค มนาคมระบบ Trunked Mobile ไปให้

อาสาสมั ค รสื่ อ สารช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป ระสบภั ย โครงการ “Young Web Designer” สร้างนักออกแบบเว็บไซต์

รุ่นเยาว์ ส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในเชิงสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการแห่งการเรียนรู้โลกไซเบอร์ ในทางบวก และโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นเรื่องการปลูก

จิ ต สำนึ ก รั ก ต้ นไม้ ใ นโครงการ “ปลู ก ป่ า ถาวรเฉลิ ม -

พระเกี ย รติ ฯ 80 พรรษา คื น ป่ า เพื่ อ พ่ อ ” สู่ โครงการ

“๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง” และร่ ว มส่ ง เสริ ม โครงการ “คืนช้างสู่ป่า” เป็นต้น


หั วใจที่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมไทยของเรา

211

แนวคิดการจัดทำหนังสือ “๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง” หนังสือ “๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง” นี้ จัดทำขึ้น เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษาครบ 7 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 และเป็ น การสานต่ อ จากโครงการปลู ก ป่ า ถาวรเฉลิ ม

พระเกี ย รติ ฯ โดยดำเนิ น งานตามแนวพระราชดำริ ฯ

ในเรื่องการปลูกป่าในใจคน อันเป็นการปลูกจิตสำนึก ให้ เ กิ ด ความรั ก และหวงแหนป่ า จนเกิ ด การช่ ว ยกั น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แหล่งน้ำ และสัตว์ ป่าทุกชนิด และหยุดคิดที่จะทำลายป่าและธรรมชาติ

ต่อไป การจัดทำหนังสือ “๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง” เป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันแนวคิด CSR ที่เน้นการปลูก

จิ ต สำนึ กให้ ทุ ก คนในสั ง คมช่ ว ยกั น ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบต่ อ

สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งแวดล้อมผูกพันกับ เราตลอดเวลา ซึ่ ง ถ้ า ทุ ก คนมี ค วามเข้ าใจและร่ ว มใจ

ช่วยกันคนละเล็กคนละน้อยจากสิ่งง่ายๆ ใกล้ๆ ตัวก่อน อาทิ สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ชุมชน สังคม ประเทศ บ้านเมืองของเราจนไปถึงโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล ก็จะ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ดี ที่ ส ามารถนำไปสู่ ก ารพั ฒ นาอย่ า ง

ยั่งยืนในที่สุด


212

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

บรรณานุกรม กรมป่าไม้. (2542). พรรณไม้ต้นของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรม. กรมป่าไม้. (2544). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ. บริษัทประชาชน จำกัด. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2547). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย. สำนักแผนงานและสารนิเทศ. กรุงเทพฯ : กรม. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2550). พรรณไม้เกียรติประวัติของไทย. กรุงเทพฯ. บริษัทประชาชน จำกัด. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2551). พืชหายากของประเทศไทย. สำนักหอพรรณไม้. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. การ์ดเนอร์, ไซมอน; พินดา สิทธิสุนธร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. (2543). ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ : คบไฟ. จำลอง เพ็งคล้าย; ชวลิต นิยมธรรม และวิวัฒน์ เอื้อจิรกาล. (2534). พรรณไม้ป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส (งานป่าไม้). กรุงเทพฯ. : โรงพิมพ์ ส.สมบูรณ์การพิมพ์. ชวลิต นิยมธรรม. (2540). ไม้ต้นในพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ในโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. เต็ม สมิตินันทน์. (2518). พันธุ์ไม้ป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต. ธวัชชัย สันติสุข. (2543). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด. ปิยะ เฉลิมกลิ่น. (2545). แมกโนเลียเมืองไทย Thai Magnoliaceae. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน. ปิยะ เฉลิมกลิ่น. (2548). พรรณไม้วงศ์กระดังงา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน. ปิยะ เฉลิมกลิ่น. (2549). พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด. ปิยะ เฉลิมกลิ่น. (2551). พรรณไม้ที่พบครั้งแรกของโลกในเมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด ปิยะ เฉลิมกลิ่น; จิรพันธ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. (2548). ไม้ดอกหอมในป่าสะแกราช. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ปิยะ เฉลิมกลิ่น; จิรพันธ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. (2551). พรรณไม้ถิ่นเดียว : การอนุรักษ์และพัฒนา การใช้ประโยชน์. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). กรุงเทพฯ. พิมพ์พินิจการพิมพ์. ปิยะ เฉลิมกลิ่น; รังสิมา ตัณฑเลขา, กมลวรรณ เอี่ยมกุล และชัยเชษฐ์ ตันถิ่นทอง. (2546). หอมกลิ่นดอกไม้ ใน เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT. กรุงเทพฯ : บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด. ภัทรชัย รัชนี; บุญชุบ บุญทวี และจำลอง เพ็งคล้าย. (2535). พรรณไม้ ในสวนป่าสิริกิติ์ ภาคกลาง. กรุงเทพฯ : ชุติมาการพิมพ์. ภาควิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2535). สารานุกรมไทย เล่ม 1 สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2539). สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.


213

ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2543). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4: กกยาอีสาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). ราชบัณฑิตยสถาน. (2541). ศัพท์พฤกษศาสตร์อังกฤษ-ภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ. อรุณการพิมพ์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ข. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. วีระชัย ณ นคร. (2538). สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง. วีระชัย ณ นคร. (2539). สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง. วีระชัย ณ นคร. (2540). สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง. สมจิตร พงศ์พงันและสุภาพ ภู่ประเสริฐ. (2534). พืชกินได้และพืชมีพิษในป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2544). พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. Barfod, A.S. & Saw,L.G. (2002). The Genus Licuala (Arecaceae, Coryphoideae) in Thailand. Kew Bulletin 57:827-852. Chalermglin, P. and H.P. Nooteboom. (2007). A new species of and a new combination in Magnolia (Magnoliaceae). Blumea 52:559-562. Forest Herbarium. (2005). A Preliminary Check-list of Threatened Plants In Thailand. Bangkok. ACFT. Ltd. Jacobs, M. (1962). Reliquiae Kerrianae. Blumea 11(2): 427-493. Keng, H. (1978). The delimitation of the Genus Magnolia (Magnoliaceae). Gard. Bull. Straits Settlement. 31: 127-131. Nooteboom, H.P. and P. Chalermglin. (2000). A new species of Magnolia (Magnoliaceae) from Thailand. Blumea 45: 245-247. Nooteboom, H.P. and P. Chalermglin. (2002). A new species of Magnolia (Kmeria) from Thailand. Blumea 47: 541-543. Saunders, R.M.K and P. Chalermglin. (2008). A synopsis of Goniothalamus species (Annonaceae) in Thailand, with descriptions of three new species. Bot. J. Linn. Soc. 156:355-384. Sinclair, J. (1955). A revision of the Malayan Annonaceae. Gard. Bull. Singapore 14: 149-508. Smitinand, T., K. Larsen & T. Santisuk. (1970-2001). Flora of Thailand. Vol. 2-7. Forest Herbarium, Royal Forest Department, Bangkok. Tirvengadum, D.D. (1983). New taxa and new name changes in tropical Asiatic Rubiaceae. Nord. J. Bot. 3(4): 455-469. Weerasooriya, A.D.; P. Chalermglin and R.M.K. Saunders. (2006). Mitrephora sirikitiae (Annonaceae) : a remarkable new species endemic to northern Thailand. Nord. J. Bot. 24(2):201-206.


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

214

ดัชนี ก. กระเจาะ 32 กระดังงาเขา 168 กระมอบ 82 กลาย 128 ก่วมแดง 84 กะพ้อสี่สิบ 170 กะหนาย 112 กาสะลองคำ 34 กันเกรา 86 กัลปพฤกษ์ 88 กุหลาบขาวเชียงดาว 36 กุหลาบพันปี 38 โกงกางน้ำจืด 130 ข. ขมิ้นต้น 40 ค. คำมอกหลวง 42 ง. งิ้วป่า 44 จ. จันทน์หอม 132 จั่นน้ำ 134 จำปาขอม 172 จำปาขาว 46 จำปาหลวง 136 จำปีช้าง 48 จำปีดอย 138

จำปีป่า 140 จำปีเพชร 142 จำปีรัชนี 50 จำปีศรีเมืองไทย 90 จำปีสิรินธร 144 จำปีหนู 92 จำลา 174 ช. ชมพูพาน 94 ชมพูพิมพ์ใจ 52 ชมพูภูคา 54 ชมพูภูพิงค์ 56 ชมพู่น้ำ 146 ด. ด้ามมีด 148 ต. ตำหยาวผลตุ่ม 114 ตีนเป็ดแคระ 176 ตีนเป็ดพรุ 178 ธ. ธนนไชย 96 น. นมสวรรค์ต้น 116 บ. บุหงาลำเจียก 180

บุหรงก้านเรียบ 182 บุหรงใบนวล 150 บุหรงสุเทพ 58 ป. ปาหนันขี้แมว 184 ปาหนันช้าง 186 โปร่งกิ่ว 98 ฝ. ฝาง 100 ฝาดดอกแดง 188 พ. พรหมขาว 190 พะยอม 60 พะยูง 102 พังกาหัวสุมดอกแดง 192 พุงทะลาย 118 พุด 152 พุดชมพู 194 พุดภูเก็ต 196 พุดสี 120 โพทะเล 198 โพสามหาง 62 ม. มณฑาดอย 154 มณฑาป่า 64 มหาพรหมราชินี 66 มหาพรหม 156

มะป่วน 104 มังตาน 158 โมกเขา 200 โมกราชินี 160 โมกเหลือง 162 โมลีสยาม 164 ย. ยี่หุบปลี 122 ร. รักนา 202 รักใหญ่ 68 รัง 70 ล. ลำดวนดอย 72 ลำดวนแดง 106 เล็งเก็ง 204 ศ. ศรียะลา 206 ส. สะแล่งหอมไก๋ 74 สารภีดอย 76 เสี้ยวดอกขาว 78 แสดสยาม 124 ห. หมักม่อ 108


215

คณะผู้จัดทำ คณะที่ปรึกษา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.สุทธาธร สุวรรณรัตน์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษา หน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ปิยะเกษตร สุขสถาน นักวิชาการ สวนพฤกษศาตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ คณะอำนวยการจัดทำหนังสือ ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยคณะทำงานโครงการดำเนินธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) บรรณาธิการ อรนุช ทาบทอง บรรณาธิการภาพ หัสชัย บุญเนือง หน่วยงานสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัทจัดทำ บริษัท เปรียว จำกัด (พริ้นติ้ง) โทร. 0-2513-7013 ลิขสิทธิ์และจัดพิมพ์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ISBN 978-974-499-035-8


หยั่งรากลงดินแล้วอย่าปล่อยทิ้งให้เลือนหาย... ร่วมรักษาผืนป่าที่ปลูกด้วยมือเราไว้ให้อยู่ยั่งยืนสืบไป

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 99 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 0-2104-3299, 0-2104-3429 โทรสาร 0-2104-3100 www.cattelecom.com www.cat-csr.com


พะยูง

โมกมัน

ไผ่ซางนวล

Dalbergia cochinchimensis pierre

Wrightia arborea (Dennst.) Mabb. Dendrocalamus strictus (Roxb.) Nees

ชื่ออื่น ขะยุง กระยุง ชื่ออื่น โมกมัน โมกน้อย วงศ์ Leguminosae-Papilionoideae วงศ์ Apocynaceae

ชื่ออื่น ไผ่ซาง ไผ่นวล วงศ์ Gramineae

เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูงถึง 25 ม. ลำต้น เปลาตรง เปลื อ กสี เ ทา ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ มี ใ บย่ อ ย 7-9 ใบ ดอกออกเป็ น ช่ อ ที่ ป ลายกิ่ ง ดอกย่ อ ย แบบดอกถั่วสีขาว ผลเป็นฝักแบนยาว 4-6 ซม. วิ ธีเพาะเมล็ด แช่เมล็ดในน้ำ 1-2 ซม. เพาะลงในดินร่วน ผสมทรายในถุงเพาะชำขนาด 2×6 นิ้ว รดด้วยยากันเชื้อราและมดปลวก ตั้งถุง

ไว้ ในที่ร่มรำไร 1 เดือน ต้นกล้าจะงอก และแตกใบเลี้ยง

เป็นไผ่กอใหญ่ สูงได้ถึง 10 ม. แตกเป็น

ลำขนาดกลาง ใบสีเขียวเข้ม เหมาะจะ ปลูกเป็นแนวกันลมหรือตามรั้วบ้านหรือ สวนผลไม้ ทนแล้งได้ดี น้ำที่สกัดจาก

ไผ่ซางนวลสามารถนำไปผลิตเป็นหัวน้ำหอม สำหรับทำน้ำหอมปรับอากาศได้ด้วย วิธีเพาะเมล็ด แช่ เ มล็ ดในยากั น ราผสมน้ ำ นาน 1-2 ชั่ วโมง แล้ ว นำมาเพาะลงในกระบะ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ ราดด้วยยากัน มดและปลวก รดน้ำพอชุ่มทุกวัน เมื่อ เริ่มงอกภายใน 2 เดือนจึงแยกปลูกได้

เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-15 ม. ใบมี ขนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ สีขาวนวล มี ก ลี บ ดอก 5 กลี บ ขนาด 3.5 ซม.

มี ก ลิ่ น หอมอ่ อ นๆ ออกดอกเดื อ น เมษายนถึ ง พฤษภาคม ผลเป็ น ฝั ก ยาว 23-30 ซม. วิ ธีเพาะเมล็ด แช่ เ มล็ ดในยากั น ราผสมน้ ำ นาน 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาเพาะในกระบะทราย ผสมขี้ เ ถ้ า แกลบ รดน้ ำ พอชุ่ ม ทุ ก วั น เมื่องอกและแตกใบเลี้ยงให้แยกปลูกใน ถุงเพาะชำ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.