Srrunrc2018 oral p.410-801

Page 1

การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-05 ความสัมพันธ์ของการกากับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กรณีศึกษา กลุ่ม SET100 THE RELATIONSHIP BETWEEN CORPORATE GOVERNANCE AND FIRM PERFORMACE OF THAI LISTED COMPANIES: SET 100 CASE STUDY กัลธิมา โพธิจินดา1 1

คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ Kanthima_nung_@hotmail.com

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเป็นอิสระของคณะกรรมการ ตรวจสอบที่ มี ต่ อ ผลการด าเนิ น งานของกิ จ การ 2) เพื่ อ ศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ข องความรู้ ท างการบั ญ ชี ข อง คณะกรรมการตรวจสอบที่มีผลต่อผลการดาเนินงานของกิจการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการควบตาแหน่ง ของประธานกรรมการที่มีต่อผลการดาเนินงานของกิจการ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดกรรมการบริษัทที่มีต่อ ผลการดาเนินงานของกิจการ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารต่อผลการดาเนินงานของกิจการ และ 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทที่มี ต่อผลการดาเนินงาน โดย รวบรวมข้อมูลจาก งบการเงิน รายงานประจาปี และแบบแสดงรายการแสดงข้อมูลประจาปี (แบบ 56-1) ของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอยศึกษา ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวได้แก่ 1.ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ 2.ความรู้ทางการ บัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบ 3.การควบตาแหน่งของประธานกรรมการ 4.ขนาดของคณะกรรมการบริษัท 5. ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร และ 6. จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัท โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงตัวแปรเดียว คือ ความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์ต่อ ผลการดาเนินงานของกิจการในเชิงบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 คำสำคัญ : ความสัมพันธ์; การกากับดูแล; Tobin’s Q Abstract This research aims to study 1) to study the relationship between independence of the Audit Committee affects the firm performance 2) to study the relationship of accounting knowledge of the Audit Committee affects the firm performance 3) to study the relationship between the position of the Chairman of the Board affects the firm performance 4) to study the relationship of the size of directors affects the firm performance 5) to study the relationship of the shareholders who are executives affects the firm performance 6) to study the relationship of the number of meetings of the Board of Directors affects the firm performance by collecting information from financial statements, annual report. Listing Details Annual Report (Form 56-1) of

382


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Thai listed companies: SET 100 and data were analyzed by using regression equation to study the relationship of 6 independent variables 1.Independence of the Audit Committee 2.Knowledge of the Audit Committee. 3. Amending the position of Chairman 4.Size of Board of Directors 5.Shareholders who are executives and 6.Number of meetings of the Board of Directors Using Statistical program. The results of this study that all variables were analyzed Knowledge of the Audit Committee positively correlated with the performance of the firm performance at significant level of 0.05. Keywords : Relationship; Corporate Governance; Tobin’s Q บทนา จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีอิทธิพลต่อระบบแศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลาดทุนมีความสาคัญต่อ ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การ กระจายรายได้ และเป็นช่องทางการออม การลงทุนของประชาชน เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีอิทธิพล การ ปรับตัวและพัฒนาในทุกด้านของตลาดทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานสากลจึงมีความจาเป็น ในปัจจุบัน หากต้องการเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน การดาเนินงานของตลาดทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องไม่ละเลยประโยชน์ และผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ใช่เพื่อหวังกาไรทางธุรกิจหรือประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล บางกลุ่ม (สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.). 2560) ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสาคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน โดยได้พัฒนาเรื่องการกากับ ดูแลกิจการ (Corporate Governance หรือ CG) ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในช่วงแรก ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยได้ออกหลักกากับดูแลกิจการ (Corporate Governance หรือ CG) 15 ข้อ และต่อมาพัฒนาเป็น หลักการกากับดูแลกิจการที่ดี โดยแบ่งเป็น 5 หมวด ตามหลักขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-Operation and Development หรือ OECD) เพื่อผลักดันให้บริษัทจด ทะเบียนปฏิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดี โดยกาหนดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 และ ให้สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการไทยประเมินการปฏิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการนั้นจากข้อมูลที่เปิดเผย (Corporate Governance Report: CGR) โดยแสดงผลประเมินเป็น 5 ระดับและเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ได้รับ ระดับดีขึ้นไป จากการผลักดันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการเพิ่มระดับการกากับดูแลกิจการที่ดีนั้น การประเมินระดับการกากับดูแลกิจการดังกล่าวเป็นแรงกระตุ้นอย่างดีให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพื่ อ ให้ ค วามสนใจกั บ การพั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง กระบวนการก ากั บ ดู แ ลกิ จ การ (Corporate Governance หรือ CG) ให้มีคะแนนสูงขึ้น โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผลักดันโดยการให้รางวัลกับบริษัท ที่มีคะแนนกากับดูแลในระดับสูง เช่น การลดอัตราค่าธรรมเนียมในการทาธุรกรรมกับตลาดหลักทรัพย์ การเปิดเผย ชื่อบริษัทในเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น จากกระบวนการดังกล่าวนั้น ทาให้ภาพรวมของ การกากับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทยดีขึ้นจากในอดีตที่ผ่านมา (ก.ล.ต., 2560) ในปั จ จุ บั น บริ ษั ท ที่ จ ดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ เ ห็ น ความส าคั ญ ของการก ากั บ ดู แ ลกิ จ การ (Corporate Governance หรือ CG) มากขึ้น เนื่องจากตามทฤษฎีตัวแทนแสดงให้เห็นว่าในสภาพแวดล้อมของการ

383


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ดาเนินธุรกิจสมัยใหม่ ได้มีการแบ่งความเป็นเจ้าของและการบริหารไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของไม่ สามารถเข้าร่วมบริหารจัดการบริษัทได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีอยู่เป็นจานวนมากและกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ จึง ต้องแต่งตั้งบุคคลที่ไว้วางใจให้เป็นกรรมการเพื่อเข้าไปควบคุมดูแลผู้บริหารบริษัทอีกทอดหนึ่ง โดยคณะกรรมการจะ เป็นผู้ สอดส่องดูแลการบริห ารงานของฝ่ ายบริหารแทนผู้ถือ หุ้น และผู้ถือ หุ้นเป็นผู้ ติดตามประเมินผลงานของ คณะกรรมการ แต่เมื่อความเป็นเจ้าของในบริษัทได้กระจายไปสู่ผู้ถือหุ้นจานวนมาก การติดตามประเมินผลงานของ คณะกรรมการโดยผู้ถือหุ้นย่อมทาได้ยาก รวมถึงอานาจในการควบคุมและการจัดการบริษัทอยู่ในความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการและผู้บริหาร ซึ่งอาจเป็นการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการและผู้บริหารกระทาการทุจริตได้โดย ปราศจากการตรวจสอบอันอาจทาให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ นาไปสู่ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวการและตัวแทน ตัวการย่อมหมายถึง ผู้ถือหุ้น ส่วนตัวแทนย่อมหมายถึง ผู้บริหาร ซึ่งการแบ่งแยกความเป็น เจ้าของออกจากการบริหารงานตามความสัมพันธ์ดังกล่าวทาให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เท่าเทียมกัน (Asymmetric Information) ระหว่างตัวการและตัวแทน จึงเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างตัวการและตัวแทน (Principal –Agent Problem) ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวสามารถควบคุมให้ลดลงได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า การกากับดูแลกิจการ (Corporate Governance หรือ CG) (สุชลธา บุพการะกุล, 2551) โดยมีแนวคิดว่า เมื่อกิจการให้ความสาคัญต่อการ กากั บ ดู แ ลผู้ บ ริ ห ารให้ บ ริ ห ารงานตามหน้ า ที่ ด้ ว ยความเป็ น ธรรม โปร่ งใสตามกลไกการก ากั บ ดู แ ลจะสะท้ อ น ความสามารถในการบริหารงานออกมาในรูปของผลการดาเนินงานที่สร้างความมั่นใจในผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นและ การเพิม่ มูลค่าหุ้นอย่างมั่นคงในระยะยาว (พรทิพา เค่งเปี่ยม. 2552) ผลการศึกษาจานวนมากแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการกับกาดูแลกิจการที่มีต่อผลการดาเนินงาน เช่น สัตยา ตันจันทร์พงศ์ (2557) พบว่าการกากับดูแลกิจการที่ดีจะทาให้กิจการมีมูลค่ากิจการที่สูงขึ้นและในทาง ตรงกันข้าม สัตยา ตันจันทร์พงศ์ก็พบว่า การจัดการกาไรจะทาให้กิจการมีมูลค่ากิจการที่ต่าลง สาเหตุหนึ่งที่ทาให้ เป็นแบบนี้ก็คือ บริษัทจดทะเบียนไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทครอบครัว ที่มีผู้บริหารเป็นบุคคลภายในครอบครัวอาจทา ให้มีการสอดส่องดูแล(Monitoring) ผู้บริหารลดลง จึงทาให้คณะกรรมการบริษัทไม่สามารถทางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการบริษัทเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นที่มีความสาคัญในการสอดส่องการทางาน ของผู้บริหาร จะเห็นได้จากงานวิจัยของ วรรณพร ศิริทิพย์ (2555) พบว่าความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริษัท มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับคุณภาพกาไร นั่นก็หมายความว่าคุณภาพของคณะกรรมการบริษัท ส่งผลให้กิจการ มีแนวโน้มในการจัดการกาไรลดลง และเมื่อการจัดการกาไรลดลง ข้อมูลการเงินของบริษัทก็จะมีความน่าเชื่อถือและ มีคุณภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีนักวิจัยบางส่วน ที่แสดงผลการวิจั ยในทางตรงกันข้ามกัน เช่น พรทิพา เค่งเปี่ยม (2552) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยการปฏิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดีกับผลการดาเนินงานที่ วัดโดยอัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นและอัตราส่วนTobin Q โดย พร ทิพา เค่งเปี่ยมได้ให้เหตุผลว่า ผลการดาเนินงานและมูลค่าตลาดของบริษัทอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในและ ภายนอก เช่น สถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดจากปัจจัยของการกากับดูแลกิจการ อีกทั้งผลการดาเนินงาน ที่วัดโดยอัตราส่วนทางการเงินเป็นเพียงเครื่องมือที่ให้นักลงทุนประกอบการตัดสินใจเท่านั้น จากการที่กล่าวไปแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า บทบาทของการกากับดูแลกิจการที่ดีในประเทศไทย เช่น บทบาทของคณะกรรมการบริษัทยังคลุมเครือในเรื่องของการเพิ่มหรือลดผลการดาเนินงาน เนื่องจากผลการวิจัย ยังคงแสดงในทิศทางที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเห็นแรงจูงใจให้ผู้วิจัยสนใจ ที่จะทาการศึกษาเรื่อง “ความสัมพันธ์ของ การกากับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา กลุ่ม SET 100” เพื่อทดสอบว่า ผลการวิจัยในตัวแปรของการกากับดูแลกิจการที่ดีที่ผู้วิจัยเลือกมาจากการทบทวน

384


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วรรณกรรมและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องของนักวิจัยหลายท่าน ตัวใดจะมีผลต่อผลการดาเนินงานและมีผล ในทิศทางใด ทั้งนี้ผลการวิจัยยังนามาเป็นข้อมูลสาหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจในผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น และทาให้บริษัทสามารถดาเนินงานได้อย่างยาวนาน มั่นคงได้ในอนาคต วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบที่มีต่อผลการดาเนินงาน ของกิจการ (Firm performance) 2. เพื่ อศึ กษาความสั มพั นธ์ ของความรู้ ทางการบั ญชี ของคณะกรรมการตรวจสอบมีผ ลต่ อผลการ ดาเนินงานของกิจการ (Firm performance) 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการควบตาแหน่งของประธานกรรมการที่มีต่อผลการดาเนินงานของ กิจการ (Firm performance) 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อผลการดาเนินงานของกิจการ (Firm performance) 5. เพื่ อศึ กษาความสั มพั นธ์ ของผู้ ถือ หุ้น ที่เ ป็น ผู้บ ริห ารที่มี ต่อ ผลการด าเนิน งานของกิจ การ (Firm performance) 6. เพื่ อ ศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ข องจ านวนครั้ ง การประชุ ม ของคณะกรรมการบริ ษั ท ที่ มี ต่ อ ผล การ ดาเนินงานของกิจการ (Firm performance) สมมติฐานการวิจัย 1. ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดาเนินงานของ กิจการ (Firm performance) 2. ความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดาเนินงานของ กิจการ (Firm performance) 3. การควบตาแหน่งของประธานกรรมการมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อผลการดาเนินงานของกิจการ (Firm performance) 4. ขนาดของคณะกรรมการบริ ษั ทมี ความสั มพั นธ์ เชิ งบวกต่ อผลการด าเนิ นงานของกิ จการ (Firm performance) 5. ผู้ ถื อ หุ้ น ที่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห ารมี ค วามสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง บวกต่ อ ผลการด าเนิ น งานของกิ จ การ (Firm performance) 6. จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดาเนินงานของ กิจการ(Firm performance)

385


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของการกากับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดาเนินงานของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา กลุ่ม SET 100 ประกอบด้วยตัวแปร ดังนี้ 1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ ด้านคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย 1. ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ 2. ความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้านคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1. การควบตาแหน่งของประธานกรรมการ 2. ขนาดของคณะกรรมการบริษัท 3. ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร 4. จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัท 2. ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลการดาเนินงาน (Firm Performance) ได้แก่ แบบจาลอง Tobin’s Q 3. ตัวแปรควบคุม (Control Variables) ได้แก่ ขนาดของกิจการ ขอบเขตด้านประชากร 1. การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100 ไม่รวม MAI 2. การศึ กษาครั้งนี้ศึก ษาการประเมิ นการกากับดู แลกิจ การที่ดีจ ากเอกสารที่ไ ด้มีก ารเผยแพร่ต่ อ สาธารณชนแล้ว เช่น แบบแสดงรายการ 56-1 เว็บไซต์ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. การศึกษาครั้งนี้ศึกษาผลการดาเนินงานวัดค่าโดยใช้แบบจาลอง Tobin Q ขอบเขตด้านระยะเวลา ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559) โดยเก็บข้อมูลจาก ฐานข้อมูล SET SMART หัวข้อแบบแสดงรายการ 56-1 ของปี 2557 และปี 2558 ซึ่งเป็นข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี และทาการเก็บข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ระหว่าง เดือนสิงหาคม 2560 ถึง เดือนกันยายน 2560 วิธีดาเนินการวิจัย การดาเนินการวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของการกากับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดาเนินงานของบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา กลุ่ม SET 100” การศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในการ แปรผลและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติในการคานวณ

386


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1. ประชากรและกลุ่ ม ตั ว อย่ า ง ประชากรที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นิ้ คื อ บริ ษั ท จดทะเบี ย นในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 ที่ไม่รวม MAI จานวน 200 บริษัท (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 ที่ไม่รวม MAI ซึ่งผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มีข้อมูลครบถ้วนเท่านั้นกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยกาหนดได้คือ จานวนประชากรทั้งหมด 200 บริษัท ลบบริษัทที่ข้อมูล ไม่ครบถ้วนปี 2557 จานวน 8 บริษัท และปี 2558 จานวน 2 บริษัท คงเหลือจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 190 บริษัท 2. เครื่องมือวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ ฐานข้อมูล SET SMART โดยดู ข้อมูลจากแบบแสดงรายการแสดงข้อมูลประจาปี (แบบ 56-1) ปี 2557 และ ปี 2558 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จานวน 190 บริษัท 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ทาการเก็บรวมรวมข้อมูลจาก ฐานข้อมูล SET SMART โดยดูข้อมูลจาก แบบแสดงรายการแสดงข้อมูลประจาปี (แบบ 56-1) ปี 2557 และ ปี 2558 ของบริษัทที่ทาการศึกษาจานวน 190 บริษัท ทาการเก็บข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวแปรอิสระทั้งหมดและประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ 4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการศึกษาของ งานวิจัย ชิ้นนี้ วิเคราะห์ภาพรวมของบริษัทที่ เป็นกลุ่ม ตัวอย่า งจานวน 190 บริษัท โดยใช้ส ถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติ โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเส้นตรง (Multiple Linear Regression Analysis) เพื่อทดสอบ ความสั มพัน ธ์ข องตั วแปรอิ สระ ได้แ ก่ ความเป็ นอิ สระของคณะกรรมการตรวจสอบ ความรู้ท างการบัญชี ของ คณะกรรมการตรวจสอบ การควบตาแหน่ งของประธานกรรมการ จานวนคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็น ผู้บริหารและจานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อผลการดาเนินงาน (Firm Performance) ผลการวิจัย ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ ความรู้ทางการบัญชี ของคณะกรรมการตรวจสอบและขนาดของกิจการต่อผลการดาเนินงาน R2 0.281 0.281 0.281

ตัวแปร ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ ความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบ ขนาดของกิจการ

SD 0.066 0.006 0.170

t -0.601 2.770 -7.147

Sig. 0.549 0.006* 0.000*

*มีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 จากตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ ความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบและขนาดของกิจการต่อผลการดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) ของปี 2557-2558 พบว่า ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ ตรวจสอบ มีค่า Sig. เท่ากับ 0.549 ซึ่งมากกว่า 0.05 นั่นคือ ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบไม่มี ความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานในเชิงลบ และความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบ มีค่า Sig. เท่ากับ

387


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

0.006 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 และขนาดของกิจการมีค่า Sig เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 นั่นคือ ความรู้ทางการ บั ญ ชี ข องคณะกรรมการตรวจสอบมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ผลการด าเนิ น งานในเชิ ง บวกและขนาดของกิ จ การมี ความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานในเชิงลบอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการควบตาแหน่งของประธานกรรมการ ขนาดของคณะกรรมการ บริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทและขนาดของกิจการต่อผลการ ดาเนินงาน ตัวแปร การควบตาแหน่งของประธานกรรมการ ขนาดของคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ขนาดของกิจการ

R2 0.266 0.266 0.266 0.266 0.266

SD 0.337 0.054 0.009 0.031 0.240

t -1.063 1.376 0.171 1.195 -6.487

Sig. 0.289 0.171 0.864 0.233 0.000*

*มีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 จากตารางที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการควบตาแหน่งของประธานกรรมการ ขนาด ของคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทและขนาดของ กิจการต่อผลการดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) ของปี 25572558 พบว่าการควบตาแหน่งของประธานกรรมการ มีค่า Sig เท่ากับ 0.289 ซึ่งมากกว่า 0.05 ขนาดของคณะกรรมการ บริษัท มีค่า Sig เท่ากับ 0.171 ซึ่งมากกว่า 0.05 ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร มีค่า Sig เท่ากับ 0.864 ซึ่งมากกว่า 0.05 จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัท มี ค่า Sig เท่ากับ 0.233 ซึ่งมากกว่า 0.05 และขนาดของกิจการมี ค่า Sig เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 สรุปได้ว่า การควบตาแหน่งของประธานกรรมการไม่มีความสัมพันธ์กับผล การดาเนินงานในเชิงลบ ขนาดของคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและจานวนครั้งการประชุมไม่ มี ความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานในเชิงบวกแต่ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานในเชิงลบอย่าง มีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 วิจารณ์ผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ ความรู้ทางการ บัญ ชีข องคณะกรรมการตรวจสอบและขนาดของกิ จ การต่ อ ผลการดาเนิ น งานของบริษั ท จดทะเบีย นในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) ของปี 2557-2558 พบว่า ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ มี ค่า Sig. เท่ากับ 0.549 ซึ่งมากกว่า 0.05 นั่นคือ ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความสัมพันธ์กับผล การดาเนินงานในเชิงลบ และความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการตรวจสอบ มีค่า Sig. เท่ากับ 0.006 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 และขนาดของกิจการมีค่า Sig เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 นั่นคือ ความรู้ทางการบัญชีของคณะกรรมการ ตรวจสอบมีความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานในเชิงบวกและขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงาน ในเชิงลบอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยนี้จึงสอดคล้องกับปรีชา มาตรา (2549) ได้ทาการศึกษาเรื่อง การ จัดการกาไรของบริษั ทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ แห่งประเทศไทยก่ อนและหลังการจั ดตั้งคณะกรรมการ

388


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตรวจสอบ กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบในช่ วงปี พ.ศ.2541-2543 ยกเว้นกลุ่ มธุรกิจ การเงิน ผลการศึก ษาพบว่ า การจัดตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการ จัดการกาไรอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า คณะกรรมการตรวจสอบมีอิทธิพลในการยับยั้งการจัดการ กาไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการควบตาแหน่งของประธานกรรมการ ขนาดของคณะกรรมการ บริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร จานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทและขนาดของกิจการต่อผลการ ดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) ของปี 2557-2558 พบว่าการควบ ตาแหน่งของประธานกรรมการ มีค่า Sig เท่ากับ 0.289 ซึ่งมากกว่า 0.05 ขนาดของคณะกรรมการบริษัท มีค่า Sig เท่ากับ 0.171 ซึ่งมากกว่า 0.05 ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร มีค่า Sig เท่ากับ 0.864 ซึ่งมากกว่า 0.05 จานวนครั้งการ ประชุมของคณะกรรมการบริษัท มีค่า Sig เท่ากับ 0.233 ซึ่งมากกว่า 0.05 และขนาดของกิจการมีค่า Sig เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 สรุปได้ว่า การควบตาแหน่งของประธานกรรมการไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานใน เชิงลบ ขนาดของคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและจานวนครั้งการประชุมไม่มีความสัมพันธ์กับผลการ ดาเนินงานในเชิงบวกแต่ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานในเชิงลบอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 ในด้านการควบตาแหน่งไม่สอดคล้องกับ ณิชนันท์ จันทรเขตต (2554) ได้ทาการศึกษาเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการกากับดูแลกิจการกับผลการดาเนินงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 ผลการศึกษาพบว่า การควบรวมตาแหน่งประธานกรรมการกับกรรมการผูจ้ ัดการในคนเดียวกัน (DUAL) มี ความสัมพันธ์ในเชิงลบ ณ ระดับนัยสาคัญ 0.05 ด้านขนาดของคณะกรรมการบริษัท สอดคล้องกับ ณรงค์ศักดิ์ อินต๊ะไชยวงค์ (2555) ได้ทาการศึกษาเรื่อง ผลกระทบของการกากับดูแลกิจการต่อผลการดาเนินงานของบริษัท กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2545-2555 จานวน 190 บริษัท ผลการศึกษาพบว่า ไม่ยอมรับ สมมติฐานที่ว่าอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมี ความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง บวกกั บ จ านวนกรรมการของคณะกรรมการบริ ษั ท ด้ านผู้ ถื อหุ้ น ที่ เป็ น ผู้ บริ หาร สอดคล้ อ ง กับลัทธวรรณ ประทุมศรี (2557) ได้ทาการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกากับดูแลกิจการและการเปิดเผย ข้อมูลส่วนงานดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ไม่พบ ความสัมพันธ์ของสัดส่วนการถือหุ้นของผู้บริหาร แต่สัดส่วนของผู้หุ้นโดยรัฐบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับการ เปิดเผยข้อมูลส่วนงานดาเนินงาน และด้านจานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัท สอดคล้องกับ วรกมล เกษมทรัพย์ (2553) ได้ทาการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกากับดูแลกิจการและผลการดาเนินงานของ กิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า จานวนครั้งที่ เข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ บริษัท ไม่พบความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงานอย่างมีนัยสาคัญ

389


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยทาให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของการกากับดูแลกิจการที่ดีต่อผลการดาเนินงาน ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อนักลงทุนและผู้สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นประโยชน์ต่อ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะนาผลของการวิจัยไปใช้ปรับปรุงแก้ไขการกากับดูแลกิจการที่ดีในด้านต่าง ๆ ของบริษัทโดยผลการวิจัยในครั้งนี้พบข้อเสนอแนะให้บริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการคัดเลือก และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบควรดูจากคุณวุฒิในสาขาวิชาการบัญชีเป็นหลักเพราะความรู้ทางการบัญชีจะมี ผลต่อผลการดาเนินงาน คณะกรรมการตรวจสอบจะมีความชานาญที่เหมาะสมตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มี ความรู้ต่อเนื่องเกี่ยวกับเหตุที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของการรายงานทางการเงิน ซึ่งจะมีผลทาให้ผลการดาเนินงาน ของบริษัทดีและมีประสิทธิภาพในสายตาของนักลงทุนที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนในบริษัทนั้นได้ ในส่วนของตัวแปร อิสระที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ของการกากับดูแลกิ จการในด้านความเป็นอิสระของ คณะกรรมการตรวจสอบ การควบตาแหน่งของประธานกรรมการ จานวนคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร และจานวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการบริษัทนั้น ผลที่ออกมาถึงแม้จะไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดาเนินงาน ที่วัดโดยแบบจาลอง Tobin’s Q ฉะนั้นการศึกษาในครั้งต่อไป ควรทาการวิจัยในตัวแปรที่ใช้วัดผลการดาเนินงานตัว อื่น เช่น ROA ROE ว่าจะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยความกรุณาอย่างสูงยิ่งของ ผศ ดร.สุภาวดี สุขีชีพ มอสส์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่กรุณาให้คาแนะนา ให้คาปรึกษา ให้ความช่วยเหลือแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อให้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน รวมถึงผู้เขียนตารา เอกสาร บทความต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าและนามาอ้างอิงในการศึกษาครั้งนี้และ ขอขอบพระคุณบิดา มารดา ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนและเป็นกาลังใจมาโดยตลอด ทาให้การศึกษาครั้งนี้สาเร็จ ลุล่วงด้วยดี เอกสารอ้างอิง ณรงค์ศักดิ์ อินต๊ะไชยวงค์. (2555). ผลกระทบของการกากับดูแลกิจการต่อผลการดาเนินงานของบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ณิชนันท์ จันทรเขตต์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระ ะหว่างการกากับดูแลกิจการกับผลการดาเนินงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปรีชา มาตรา. (2549). การจัดการกาไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนและ หลังการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรทิพา เค่งเปี่ยม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยการปฏิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดีกับ ผลการดาเนินงานของบริษัทจดะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 50.” การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

390


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ลัทธวรรณ ประทุมศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการกากับดูแลกิจการและการเปิดเผยข้อมูลส่วนงาน ดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชี มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วรกมล เกษมทรัพย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการกากับดูแลกิจการและผลการดาเนินงานของบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะ พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรรณพร ศิริทิพย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัตขิ องคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ และโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับคุณภาพกาไร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2557). การกากับดูแลกิจการ การบริหารกาไร และการวางแผนภาษีที่มีผลกระทบต่อ มูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สาขาวิชาการบัญชี คณะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สุชลธา บุพการะกุล. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการกากับดูแลกิจการกับผลการดาเนินงานของบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.). “การพัฒนาอย่างยั่งยืน.” (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 25 กันยายน 2560). จาก : http://www.cgthailand.org/TH/ principles/CG/Pages/cg- concept.aspx,

391


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-06 การจัดการความรู้ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบล ลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ THE KNOWLEDGE MANAGEMENT OF MARKETING FOR COMMUNITY ENTERPRISES: CASE STUDY THAI SILK AT PRADUTHONG VILLAGE, TAMBON LAMDUAN AMPHUR LAMDUAN, SURIN PROVINCE. ศิรินทิพย์ ไตรเกษม1 และพัชราภรณ์ เกลียวแก้ว2 1 2

Sirintip Trikasameand, สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ sirintip_tri@hotmail.com Phatcharaporn Klieokaeo สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ Klieokaeo.phat@gmail.com

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง “การจัดการความรู้ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้าน ประดู่ทอง หมู่5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคทางการตลาด และพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่ม ให้เป็นวิสาหกิจชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้ว ยการประชุม กลุ่ม ย่ อย การสัม ภาษณ์ ประธานกลุ่ ม รองประธานกลุ่ ม พนัก งานขายและกลุ่ม ผู้ ซื้ อ ผลิตภัณฑ์ ใช้การวิเคราะห์เอกสารเพื่อรวบรวมข้อมูลการดาเนินงานของกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคด้านการตลาดคือ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสีไม่คงทนผลิตภัณฑ์ยังไม่ หลากหลายและไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เฉพาะของกลุ่ม ต้นทุนการผลิตมีความผันผวนมากทา ให้ราคาขายไม่แน่นอน ขาดแหล่งเงินทุนในการผลิตสินค้า และมีช่องทางการจัดจาหน่ายน้อย ผู้วิจัยจึงส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมโดยได้สร้างตราสินค้าเป็นลายไทยสีแดง-เหลืองและบรรจุภัณฑ์ที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่ม สร้างสโลแกนของกลุ่ม และมีการกาหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อกาหนด ช่องทางในการจัดจาหน่ายอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าทางออนไลน์ ตามกระแสนิยมของสังคม ได้แก่ ช่องทางเฟสบุ๊ค ทางไลน์และทางโทรศัพท์ โดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้ดูแลระบบและ จัดส่งสินค้าให้แก่ทางไปรษณีย์หรือช่องทางการขนส่งอื่นๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ การทดสอบตลาดพบว่า ลูกค้าพึงพอใจใน ระดับมาก คำสำคัญ : การจัดการความรู้ทางการตลาด; วิสาหกิจชุมชน Abstract The purpose of this research was to study market challenges and barriers in order to develop market potential towards becoming self-reliant community enterprises. The data was collected from focus group discussions and interviews with the group’s president, vice president, salespersons, and product buyers. In addition, a document analysis form was used to gather operational data of the group.

392


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The findings revealed that the market barriers for silk products were their fading colors, limited variety of patterns, unstable product quality, lack of trademark and unique packaging for group products, variable production cost resulting in frequent price change, limited distribution channels, low price-bargaining power due to middlemen’s intervention who sell in the village to negotiate lower prices, and vague marketing promotional activities. The researcher has suggested that developing market potential for silk products requires a trademark with red and yellow Thai printing patterns and unique packaging for group products. Select specific customers to easy to choose distribution channel. Facebook is a new one as customers can make their order via Facebook inbox. The order can also be placed via Line or other mobile applications. The president should be responsible for the product-service system and product delivery by mail or other means of delivery according to customer request. The market testing showed that customer satisfaction was at a high level. Keywords : The Knowledge Management of Marketing; SMCE- Small and Micro Community Enterprises บทนา ในยุคของการแข่งขัน ธุรกิจต่างๆ ต่างแย่งกันตอบสนองความต้องการลูกค้าเพื่อยอดขายและส่วนครอง ตลาด ไม่เว้นแม้แต่ชุมชนต่างๆ ที่แต่ก่อนเคยดารงชีวิตเรียบง่าย การผลิตสินค้าต่างๆในชุมชนเพื่อการบริโภคใน ครัวเรือนหรือการแลกเปลี่ยนกันในชุมชนเท่านั้น แต่เมื่อมีกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคการแข่งขัน ค่าครองชีพ สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดารงชีวิตสูงขึ้น ทาให้รูปแบบในการผลิตสินค้าของครัวเรือนเปลี่ ยนไป อาทิจากการผลิตเพื่อ เพียงการบริโภคภายเฉพาะในครัวเรือนก็กลายเป็นการรวมกลุ่มกันผลิตเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตที่สูงมากขึ้นจากการ จาหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนให้กับกลุ่มผู้ซื้อในชุมชนก็กลายเป็นการพยายามแสวงหาผู้ซื้อ จากแหล่งอื่นๆมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาด้านผลผลิตที่มากเกินความต้องการ ประกอบกับเกิดจานวนคู่แข่งขันใน ตลาดมากขึ้นจนทาให้ธุรกิจหรือชุมชนที่มีศักยภาพในด้านการตลาดและด้านการบริหารจัดการที่ดีกว่าก็จะสามารถ สร้างความได้เปรียบที่มากกว่าและสามารถนาพากลุ่มมีความเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ต่อไป กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทองหมู่ 5 อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้รวมกลุ่มกันเพื่อต้องการหารายได้ เสริมเข้าครัวเรือนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตผ้าไหม เช่น ผ้าคลุมไหล่ลายราชวัตร ผ้าทอพื้นเมืองลายยกดอกลาย โบราณ กระเป๋าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทาจากผ้าไหม เป็นต้น สภาพการรวมตัวของกลุ่มสมาชิกจะมีการระดมเงินทุน จากการลงหุ้นของสมาชิก สมาชิกจะหมุนเวียนกันทอผ้าเมื่อผลิตสินค้าเสร็จก็จะมารวมกันเพื่อขาย และสมาชิกยังมี รายได้จากเงินปันผลด้วย อย่างไรก็ตาม ลักษณะการทาการตลาดในปัจจุบันของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง นั้น เน้นการทอผ้าส่งจาหน่ายตามคาสั่งผลิตของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอนและมีพ่อค้าคนกลางรับสินค้าไปขายแต่ การดาเนินการผลิตการตลาด และการบริหารต้องพึ่งพาความรู้หรือคาแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่มีความ ชานาญเฉพาะเรื่อง ซึ่งกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทองยังขาดคาแนะนาในการทาธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลทาให้ ธุรกิจของชุมชนต้องฝากความหวังไว้กับยอดการสั่งผลิตของลูกค้า ทาให้อานาจในการแข่งขันของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านประดู่ทองมีข้อจากัด นอกจากปัญหาดังกล่าว กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทองยังการขาดเงินทุนหมุนเวียน

393


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

และต้องการการส่งเสริมทางด้ านการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งในปัจจุบันไม่มีตราสินค้า ซึ่งเป็นประเด็น สาคัญในการแข่งขันทางการตลาด บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทันสมัย ไม่มีจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ของตราสินค้า การผลิตไม่ได้ มาตรฐานเดียวกัน เป็นต้น ดังนั้นหากชุมชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องทั้งในเชิงทฤษฏีและเชิงปฏิบัติแล้วผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ก็มีโอกาสที่จะขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีมากขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคทางการตลาดของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มสตรีท อผ้าไหมบ้านประดู่ทองให้เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ พึ่งพาตนเองได้ ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตเนื้อหา: ศึกษาปัญหา อุปสรรคทางการตลาดในมุมมองด้านส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจาหน่ายและการส่งเสริมการตลาด 2. ขอบเขตพื้นที่วิจัย: กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัด สุรินทร์ 3. ขอบเขตช่วงเวลาที่วิจัย: วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 4. ขอบเขตของประชากรผู้ที่เกี่ยวข้องในการวิจัย : สมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ วิธีดาเนินการวิจัย งานวิจัย เรื่อง การจัดการความรู้ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้าน ประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ มีรายละเอียดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูลที่ ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนการดาเนินการวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. การเก็บข้อมูลแบบประชุมกลุ่มย่อยจากสมาชิกในกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบล ลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ 2. การสั มภาษณ์ เป็น การสั มภาษณ์ แบบกึ่ งโครงสร้ างสอบถามจากผู้น าชุ มชนหรื อประธานกลุ่ ม เกี่ยวกับการก่อตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ สภาพการ ดาเนิ น งานในปั จ จุ บั น ปั ญหาที่ ก ลุ่ ม และสมาชิ ก ในกลุ่ม ก าลั งประสบอยู่ ทั้ งในเรื่อ งผลิ ต ภั ณ ฑ์ การผลิ ต สิ น ค้ า การตลาด ราคาและการจัดจาหน่าย เป็นต้น 3. จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อนาเสนอรูปแบบทางการตลาดให้แก่สมาชิกในกลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านการตลาด และ ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการตลาดที่จะต่อรองราคาหรือสร้างจุดได้เปรียบใน

394


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การแข่งขันหรือความแตกต่างในสินค้าเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความรู้ด้านการตลาด ของกลุ่มให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้กลุ่มฯ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการศึกษารูปแบบ ปัญหาและอุปสรรค ทางการตลาดจากนั้นนาเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง โดย การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แหล่งข้อมูลดังนี้ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้จากการเก็บข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย จากสมาชิกในกลุ่ม การสัมภาษณ์ประธานกลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์พนักงานขายศูนย์แสดงสินค้า สมาชิกที่เป็น ตัวแทนจาหน่ายของกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ 2. ข้อ มูล ทุติ ยภู มิ (Secondary Data) ได้ จากการศึก ษาข้อ มูล จากเอกสาร รายงานการวิ จั ย วิทยานิพนธ์ อินเตอร์เน็ต การศึกษาค้นคว้าอิสระ และหนังสือ ตาราทางการตลาด ตลอดจนข้อมูลของหมู่บ้านจาก กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง และข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลที่ได้จากการประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ การสังเกต รายงานผลเป็นการบรรยายประกอบการวิเคราะห์ 2. จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อนาเสนอรูปแบบทางการตลาดแก่กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ ทอง และการแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ของผู้เชียวชาญและสมาชิกในกลุ่ม ผู้เกี่ยวข้องและกลุ่มอื่นๆที่ สนใจ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย ผลการศึกษาตามโครงการวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่ม สตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง หมู่ 5 ตาบลลาดวน อาเภอลาดวน จังหวัดสุรินทร์ จะนาเสนอผลการศึกษาเพื่อตอบ วัตถุประสงค์การวิจัย โดยผลการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง จากโครงการ ประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์ประธาน รองประธานกลุ่ม พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่จะจาหน่ายผ้าไหมทอมือด้วย ตนเองให้แก่คนกลางที่มารับซื้อในหมู่บ้าน โดยไม่มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของตนเอง เป็นลักษณะการขายส่งทา ให้อานาจการต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางทาได้ยาก สมาชิกผู้ผลิตไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวน ในราคาตลาด รวมถึงไม่มีทุนมากพอที่จะเก็บผลิตภัณฑ์ไว้จาหน่ายในช่วงที่ราคาสูงขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสมาชิกขาด องค์ความรู้ทางการตลาด 2. ผลการศึกษาการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่ม ใช้แนวคิดการมี ส่วนร่วมของชุมชน โดย การจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางด้านการตลาด เพื่อให้สมาชิกใน กลุ่มได้เสนอแนะ เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติมส่วนประสมการตลาดที่คณะผู้วิจัยออกแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิถี ชุมชนและคงความเป็น เอกลักษณ์ของกลุ่ม จากนั้ นผลที่ได้ไปทดสอบตลาดกลุ่ม โดยผู้วิจัยกาหนดสถานที่ในการ ทดสอบตลาด 2 แห่ง คือตลาดนัดผ้าไหมข้างศาลากลางที่จัดทุกวันเสาร์แรกของเดือน และกลุ่มผู้ซื้อจากช่องทาง ออนไลน์ตั้งแต่ เดือน ส.ค. – ก.ย. 2558 รวมระยะเวลา 2 เดือน ผลการวิจัยพบว่าโดยรวมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่ม ควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ มีมาตรฐานใกล้เคียงกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในระดับสูง ขึ้น เพราะช่วยสร้างยอดขายได้มากขึ้น เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ถือเป็นส่วนประกอบสาคัญในการซื้อของฝาก ของขวัญ

395


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ในส่วนของตราสินค้า และโลโก้ที่ออกแบบใหม่ ผู้ซื้อเห็นว่ามี เอกลักษณ์และจดจาได้ง่าย สื่อถึงแหล่งผลิตและ เอกลักษณ์ผ้าไหมจากบ้านประดู่ทองได้ดี

ภาพที่ 1 ภาพตราสินค้า และสัญลักษณ์ตราสินค้าของกลุ่ม

ภาพที่ 2 ภาพตัวอย่างบรรจุภณ ั ฑ์แบบถุงกระดาษ

ภาพที่ 3 ภาพตัวอย่างบรรจุภัณฑ์แบบกล่อง

396


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลด้านผลติภัณฑ์และการตลาดของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านประดู่ทอง เล็งเห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบ้านประดู่ทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ผลิตภัณฑ์ การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ ตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมายโดยมีวัตถุประสงค์ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สามารถสรุปการวิจารณ์ผลการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้านประดู่ทอง ปี พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ รวมกลุ่มให้สมาชิกที่มีอาชีพเดียวกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และองค์ความรู้ด้านการทอผ้า ปัจจุบันมีสมาชิก 23 คน ซึ่งมีความชานาญในการทอผ้าแบบโบราณ เช่น ลายราชวัตร, ลูกแก้ว, สามตะกรอ, ผ้าไหม มัดหมี่, ลายพริกไทย, ลายดอกมะพร้าว โดยเฉพาะลายลูกแก้วได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาว ในอดีตการ รวมกลุ่มมีการรวมหุ้นของสมาชิกเพื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิตผ้าไหม แบ่งให้สมาชิกทอและแบ่งผลกาไรกัน แต่จาก ปัญหาด้านคุณภาพผ้าไหมที่ไม่สม่าเสมอ เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนมีความชานาญในการทอที่แตกต่างกัน สอดคล้อง กับผลงานวิจยั ของ ดวงฤทัย อรรคแสง (2552) ที่พบว่าสภาพปัญหาในการผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติคือ การย้อมสี ในแต่ละครั้งไม่เหมือนเดิม นั่นคือไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตให้สม่าเสมอได้ นอกจากนี้ระยะเวลาการทอไม่ เท่ากัน ทาให้ไม่สามารถจัดการการหมุนเวียนเงินทุนภายในกลุ่มได้ สอดคล้อ งกับผลของศึกษาของบรรเจิด พฤกษะ ศรีและคนอื่นๆ (2543) ซึ่งพบว่าปัญหาสาคัญในการจัดการของกลุ่มคือ ด้านเงินลงทุน ปัจจุบันจึงแยกการลงทุนแต่ รวมกลุ่มกันขายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบ สอดคล้องกับผลการวิจัยของ วิภาวี อภิชาตและวาสนา (2549) พบว่ามีปัญหาการผลิตในบางช่วงเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจาก ผลงานวิจัยของ สรัญญา แปะทอง (2544)และ ทวีศักดิ์ โมสันเทียะ (2545) ที่พบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและ อุปกรณ์ในการทอผ้า ด้านช่องทางการจัดจาหน่ายโดยส่วนใหญ่จะขายให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อในหมู่บ้ าน ถูกกด ราคา ไม่มีอานาจต่อรอง แต่สมาชิกก็ขายเนื่องจากต้องการเงินทุนหมุนเวียนเร็ว ซึ่งแตกต่างกับพัฒน์ภครพร หมื่นแก้ว (2551) ได้กล่าวถึงช่องทางการจัดจาหน่ายว่า มีการจาหน่ายโดยตรงกับผู้บริโภคนอกจากนั้นมีการจาหน่ายในงาน แสดงสินค้าชุมชนที่จัดโดยหน่วยงานรัฐบาลโดยไม่มีการวางแผนการตลอดของกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม การแก้ปัญหา นี้สามารถทาได้โดยการสร้างองค์ความรู้ให้แก่สมาชิก ตระหนักถึงความสาคัญของการพัฒนาด้านการตลาด เพื่อ สะท้อนถึงความจาเป็นที่กลุ่มจะต้องมีการวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการตลาด ผู้นา กลุ่มต้องมีความเข้าใจหลักการตลาดอย่างแท้จริงและกลุ่มควรมีที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการตลาด และเข้าใจสภาพปัญหาทางการตลาดของกลุ่ม นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านตราสินค้าและการส่งเสริมการตลาดที่ยัง ไม่ชัดเจน สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของเจิมขวัญ รัชชุศานติ และคนอื่นๆ (2552) ที่ศึกษาส่วนประสมทาง การตลาดของกลุ่มพบว่า ไม่มีตราสินค้า ไม่มีบรรจุภัณฑ์ รวมถึงไม่มีกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดอย่างจริงจัง 2. แนวคิดในการรวมกลุ่มแม้จะมีการจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ มีกฎระเบียบอย่างเป็นลายลักษณ์ อักษร แต่ไม่สามารถบังคับใช้กฎระเบียบกับสมาชิกได้อย่างจริงจัง สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน การบริหารงานจึงเป็นแบบเอื้ออาทร เมื่อไม่ได้บังคับใช้กฎและดาเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงทาให้ไม่เห็น ผลสาเร็จจากการรวมกลุ่มอย่างชัดเจน นอกจากนี้สมาชิกในกลุ่มยังขาดความรู้และขาดผู้ นาที่มีวิสัยทัศน์ด้านการ บริหารธุรกิจชุมชน ประกอบกับการขายตัดราคาและไม่มีการแปรรูปหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สอดคล้องกับการศึกษาของวิภาวี กฤษณะภูติ (2556) ที่พบปัญหาการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มไม่นิยมพัฒนาหรือ แปรรูปผลิตภัณฑ์ เนื่องจากขาดอุปกรณ์สาคัญและขาดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การตั้งราคาของสมาชิก เป็นไปตามความรู้สึกและอานาจต่อรองของผู้ซื้อ โดยไม่ได้คานวณต้นทุนอย่างแท้จริง ปัญหานี้เป็นปัญหาคล้ายๆ กับ

397


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สินค้าชุมชนประเภทอื่นๆ ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นเพราะสมาชิกในกลุ่มไม่มีความเข้าใจกลไกตลาดอย่างแท้จริง จึงทาให้ อานาจต่อรองราคาและการกาหนดราคามีอยู่ต่ามาก ซึ่งการแก้ไขผู้นากลุ่มจะต้องวางแผนการตลาดอ้างอิงจากสภาพ เศรษฐกิจทุกปี โดยแผนนี้ต้องนาไปถ่ายทอดให้แก่สมาชิกเพื่อนาแผนไปใช้อย่างจริงจัง ก็จะช่วยส่งเสริมศักยภาพ ทางการตลาดของกลุ่มให้เข้มแข็งได้ สอดคล้องกับนิรมล อัจฉริยะเสถียรและคนอื่นๆ (2550) พบว่าการจัดการ ความรู้ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในการถ่ายทอดวิธีสอนหรือทาให้ดู 3. กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประดู่ทอง มีจุดอ่อนสาคัญคือขาดการวางแผนการตลาดอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง แต่มีจุดแข็งอยู่หลายประการที่สามารถนามาปรับใช้กับโอกาสทางการตลาด และนโยบายส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากรัฐบาล เช่น การที่กลุ่มมีช่างฝีมือที่มีความชานาญการทอผ้าแบบโบราณ มีลายโบราณที่เป็น เอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุรินทร์ มีองค์ความรู้ด้านการ ทอผ้าที่เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ ย่อมมีความได้เปรียบด้านการผลิต หากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาให้คาปรึกษา ช่วยวางแผนการตลาดที่เหมาะสมกับศักยภาพของกลุ่มอย่างต่อเนื่องแล้ว จะก็เป็นการส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีช่องทางการจัดจาหน่ายใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบส่วนประสมทางการตลาดที่ เหมาะสม เป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้นจนสามารถนารายได้เข้าสู่ชุมชน แต่ทั้งนี้ต้องปลูกฝังให้สมาชิก เยาวชนในกลุ่ม และภายในชุมชนมีความเข้าใจสอดคล้องกับศักดิ์ชาย พวงจันทร์ และปิ่นฤทัย ยะแก้ว (2549) ที่ส่งเสริมให้มีการ แกะสลักในโรงเรียนประถมของหมู่บ้านเพื่อให้เด็กและเยาชนตระหนักและเห็นถึงคุณค่าภูมิปัญญาในชุมชน และ มุ่งมั่นที่จะเอาแนวคิดทางการตลาดมาปรับใช้กับกลุ่มอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อเกิดผลสาเร็จในระยะยาวได้ ทั้งนี้ ความสาเร็จของธุรกิจชุมชนไม่ได้วัดที่รายได้อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการรักษาภูมิปัญญา วิถีชุมชน การแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ระหว่างชุมชน ความรักและความร่วมมือกันภายในชุมชน ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ 1. ศึกษาปัญหาของกลุ่มด้านอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด เช่น ด้ านการเงิน การบัญชี 2. ศึกษาวิจัยโดยใช้กรณีศึกษา 2 กลุ่มเพื่อเปรียบเทียบกัน 3. ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการสารวจปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มโดยอาศัยข้อมูลจากสมาชิกในกลุ่ม เพีย งด้ านเดีย ว ครั้งต่อ ไปควรสารวจความคิ ดเห็นของผู้บริ โภคที่ มีต่อ กลุ่ ม เพื่อ เป็น ข้อ มูล ประกอบการพั ฒนา ศักยภาพทางการตลาดของกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการจริงของผู้บริโภค เอกสารอ้างอิง ดวงฤทัย อรรคแสง. (2552). กระบวนการจัดการความรู้ภมู ิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ. วารสาร วิจัย มข. 9(4): 135-147. บรรเจิด พฤกษะศรีและคนอื่นๆ. (2543). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือใน อ.ป่าซาง จ.ลาพูน. ลาปาง: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยโยนก. วิภาวี กฤษณะภูต,ิ อภิชาตแสงไกร,วาสนา เสียงดัง. (2549). การศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของจังหวัดขอนแก่น. ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

398


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สรัญญา แปะทอง. (2544). กลยุทธ์การตลาดผ้าไหม กรณีศึกษาศูนย์ศิลปะหัตกรรมบ้านสามโค ตาบลปราสาท ทอง กิ่งอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ทวีศักดิ์ โมสันเทียะ. (2545). ความต้องการวิทยาการในด้านการผลิตผ้าไหมของผุ้เลี้ยงไหมรายย่อยในจังหวัด ขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พัฒน์ภครพร หมื่นแก้ว. (2551). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านเหล่าเหนือ ตาบลหนองห้วยแก อาเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เจิมขวัญ รัชชุศานติและคนอื่นๆ. (2552). การจัดการความรู้ทางการตลาดเพื่อพัฒนากลุ่มทอผ้าหมู่ 6 บ้านดง เจริญชัย ตาบลหนองแหย่ง อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. The Knowledge Management of Marketing for Community Weave Club Development in Moo 6 BanDhongcharoenchai, Nongyang District, Amphur Sansai, Chiangmai Province.. (สานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.). นิรมล อัจฉริยะเสถียร. (2550). การจัดการความรู้ผลิตภัณฑ์ผ้ากาบบัว : กรณีศึกษาเครือข่ายผ้าทอมือดงอู่ผึ้ง. สานักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ศักดิ์ชาย พวงจันทร์และปิ่นฤทัย ยะแก้ว. (2549). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้แกะสลักบ้านหลุก. สานักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง.

399


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-07 แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม : กรณีศึกษา พระครูวิมลอิสสฺ รธรรม (เม้า อิสฺสโร) A GUIDELINE FOR PROMOTING THE DEVELOPMENT OF MONKS' ROLE AND SOCIAL DEVELOPMENT : A CASE STUDY OF PHRAKHRU VIMOL ISSARATHAM (MAO ISSARO) พระครูเกษมอาจารสุนทร (ศุภกิตต์ ชนุชรัมย์)1, วันชัย สุขตาม2 และ ศศิธร ศูนย์กลาง3 1

Phrakhru Kasem Ajarasuntorn นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2 Wanchai Sukktam คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 Sasithorn Sunklang คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวัตรปฏิบัติและชีวประวัติของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลย์ไลย์ บ้านใหม่ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของ พระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) กับการพัฒนาสังคม และ3) เพื่อนาเสนอแนวทางในการส่งเสริมบทบาท พระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จานวน 17 รูป/ท่าน ประกอบด้วยพระสงฆ์ กรรมการวัด ผู้นาชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตาบล ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนครู เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้าง ข้อสรุปเชิงอุปนัยและการพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) พระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) มี วัตร ปฏิบัติโดยทาวัตรเช้าไหว้พระสวดมนต์พร้อมกับพระภิกษุสามเณรในอุโบสถทุกวันตลอดปี มีการทาอุโบสถกรรม (สวด พระปาฏิโมกข์) ทุกกึ่งเดือน 2) บทบาทในการพัฒนาสังคมทั้งการพัฒนาด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ธรรม ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ ผลของ การพัฒนาพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลาดับ และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา คุณภาพชีวิตแก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ 3) ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทางด้านศาสนา ส่งเสริมการปกครอง แบบมีส่วนร่วม เน้นความสามัคคีเป็นหลัก คำสำคัญ : บทบาทพระสงฆ์; การพัฒนาสังคม; พระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺ โร) Abstract The purposes of this research were; 1) to study the practice and biography of PhraKhru Vimol Issaratham (Mao Issaro), the Abbot of Pa Laylai temple, Ban Mai, Sam Vang Sub-district, Huai Rat District, Buriram Province, 2) to study the role of PhraKhru Vimol Issaratham (Mao Issaro) and social development, and 3) to recommend a guideline for promoting the role of monks in social development. The research was a qualitative research. The sample consisted of 17 monks,

400


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

temple committees, community leaders, villagers, president of Sub-district Administration Organization, village philosopher, school administrators and teacher representatives. The research instruments used in this research was structured interview. Data Analyzing by creating inductive conclusions and descriptive analyze. The main research findings were as follow; 1) PhraKhru Vimol Issaratham (Mao Issaro) had practiced by praying with the monks and novices in the temple every day throughout the year and had chanted the Fundamental Precepts (Sùat-BpaaDtì-Môhk) in every semi-monthly. 2) The results of the development were found role in social development, including the development of the government, religious education, education, propaganda, public utilities and public welfare, The villagers in the community have a better life respectively and be applied to improve the quality of life for family, community and society. And 3) recommendation a guideline for promoting the role of monks in social development, namely; it should encourage religious learning and promote participatory governance emphasizes unity. Keywords : Role of Monks; Social Development; PhraKhru Vimol Issaratham (Mao Issaro) บทนา คนไทยได้ให้การยอมรับพุทธศาสนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2 และได้ถือเป็นศาสนาของชาติทาให้พุทธ ศาสนามีบทบาทสาคัญในฐานะผู้นาทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนแต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปทา ให้สูญเสียบทบาทในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เอง กล่าวคือ เดิมระบบการศึกษาอยู่ที่วัด พระมีบทบาทเป็นผู้นา แต่ ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการศึกษาออกจากการดูแลของวัด ทาให้ด้านการให้การศึกษาของพระสงฆ์น้อยลงนาไปสู่ ผลกระทบต่อด้านอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามวัดไม่ได้สูญเสียบทบาทไปทั้งหมด ยังคงรักษาสถานการณ์เป็นผู้นาทางจิต วิญญาณเป็นที่พึ่งทางใจแก่พุทธศาสนิกชนอยู่จนกระทั้งปัจจุบัน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ขับเคลื่อนบทบาทดังกล่าว ปัจจุบันในการบริหารการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ส่วนใหญ่จะเน้นที่ชนบทมากกว่าในเมือง ด้วยเหตุที่ สภาพสังคมชนบทนั้นยังมีแบบแผนการปฏิบัติแบบเก่าอยู่เป็นจานวนมากคือ เป็นสังคมที่มีวัดเป็นศูนย์กลางในการ ประกอบกิจกรรมแทบทุกด้านของหมู่บ้าน มีภิกษุเป็นผู้นาที่สาคัญของชุมชน ดังนั้นพระสงฆ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านโดยปริยาย กิจกรรมใดที่เป็นไปเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่หมู่บ้าน พระสงฆ์ ก็มักเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ โดยยึดหลักว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือโดยเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า บทบาทที่พระสงฆ์ทาได้ สามารถแบ่งออกเป็นหลายประการคือ เผยแผ่ด้วยให้ปริยัติ (การศึกษา) เพื่อให้ เกิดองค์ความรู้พัฒนาสู่ความคิดที่สามารถพิจารณาได้เองเผยแผ่ด้วยการทาให้ดู (ปฏิบัติ) เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และสร้างความสนใจต่อผู้พบเห็น และเผยแผ่ด้วยการมีความสุขให้ประจักษ์ (ปฏิเวธ) จนเกิดความไว้ใจในแนวทาง ส่งผลต่อการริเริ่มประพฤติปฏิบัติตาม (เบญจา มังคละพฤกษ์ . 2552 : 15) ส่วนพระสงฆ์ที่ออกไปแสดงบทบาท ต่อชุมชนนั้นเนื่องด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้เพิ่มบทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์ และด้านสาธารณสงเคราะห์ให้พระสงฆ์มีบทบาทในการมีส่วน ร่วมพัฒนาสังคมที่เห็นได้ชัดคือ เป็นผู้นาทางศีลธรรม เป็นผู้ให้คาปรึกษาด้านจิตใจ และส่งเสริมการให้การศึกษา ธรรมะแก่เยาวชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณวัดและชุมชนใกล้เคียง พระสงฆ์ในชนบทมีความผูกพันกับชุมชนอย่ าง มาก ดังจะเห็นได้จากในแต่ละฤดูกาลมักจะมีกิจกรรมที่สาคัญๆ เกี่ยวกับศาสนาและจารีตประเพณีในชุมชนนั้น ๆ

401


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ล้วนเป็นการเสริมบทบาทและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชุมชน นอกจากนั้นบทบาทที่สาคัญยิ่งและ ปรากฏอยู่ทั่วไป ได้แก่ การเข้าไปสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนทั้ งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา การเข้าไปบรรยายธรรมแบบผสมผสานกับศาสตร์ปัจจุบันตามหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็น บทบาทเชิงรุก (พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). 2559 : 21) พระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลย์ไลย์บ้านใหม่ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ มีความตั้งใจจริงในการสร้างชุมชนของตนเองให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง โดยอาศัยความร่วมมือจากคน ในชุมชนช่วยกันขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญของการเป็นผู้นาในการบริหารการ พัฒนา โดยเริ่มต้นจากชุมชนเล็ก ๆ จนกลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วอาเภอห้วยราช และจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัด ใกล้เคียง ว่าเป็นชุมชนต้นแบบ โดยจะเห็นได้จากงานที่ทาต่าง ๆ ที่ปรากฏ พระครูท่านจึงเป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่ง ในบวรพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสาคัญในการพัฒนาชุมชนและเผยแพร่วัฒนธรรมสูช่ ุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาชีวประวัติ บทบาทด้านการพัฒนาสังคม ตลอดจนผลของการ พัฒนาชุมชน เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณี และวัฒนธรรมให้อยู่คู่กับชุมชนและ สังคมไทยสืบต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาวัตรปฏิบัติและชีวประวัติของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลย์ ไลย์ บ้านใหม่ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาบทบาทของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) กับการพัฒนาสังคม และ3) เพื่อนา เสนอแนวทางในการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม : กรณีศึกษา พระ ครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลย์ไลย์บ้านใหม่ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นการวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จานวน 17 รูป/ท่าน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย พระสงฆ์ กรรมการวัด ผู้นาชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน นายกองค์การบริหาร ส่วนตาบล ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนครู เครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยได้จัดทาเครื่องมือโดยการทบทวนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญทาการ ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสม ดังนี้ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สมุด บันทึกภาคสนาม (Field note) เทปบันทึกเสียง กล้องบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การเก็บรวบรวมข้อมูล สาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษานั้น ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เป็น คาถามแบบปลายเปิ ด (Open-ended Interview) และใช้แ บบสั มภาษณ์ แบบมีโ ครงสร้า ง (Structured Interview) ซึ่งเป็นคาถามที่ได้จัดเตรียมไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

402


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) 1.1 ศึกษาชีวประวัติของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) โดยให้ท่านพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) ได้เล่าประวัติและประสบการณ์ในการพัฒนาสังคมที่ทาร่วมกับชุมชม กรณีใดที่ไม่กระจ่างจะใช้การ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยจะมีการเตรียมแนวคาถามไว้ล่วงหน้าเพื่อให้สามารถตอบคาถามการวิจัยได้ 1.2 สร้างประเด็นคาถามขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการจัดประชุมแบบกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น ในประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม 1.3 ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมต่าง ๆ ของบทบาทในการพัฒนาสังคม และสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมจากการทากิจกรรมต่าง ๆ ของบทบาท ในการพัฒนาสังคมของ พระครูวิมลอิสรธรรม (เม้า อิสฺสโร) โดยใช้การบันทึกการสังเกตในเวลาทากิจกรรม 2. การวิเคราะห์ SWOT Analysis เมื่อได้ข้อมูลที่ทาการศึกษาครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยดาเนินการทา การวิเคราะห์ SWOT ร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการจัดประชุมเพื่อจะยกร่างผลการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งตรงกับ สภาพความจริงและเป็นข้อมูลซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการจัดให้มีการพูดคุยเพื่อเปิดโอกาสให้ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงองค์ความรู้และทัศนคติ ที่หลากหลาย เพื่อเป็นการตรวจสอบ ข้อมูลซึ่งกันและกัน ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การศึกษา 3. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) ผู้วิจัยทาการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) เป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการศึกษากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา ตามแนวทางแบบสัมภาษณ์ที่กาหนดไว้ แต่ละประเด็นคาถาม โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาคาตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ SWOT Analysis และการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ทาการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) หรือการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย (Induction) และนาเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัย จากการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม : กรณีศึกษา พระครู วิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลย์ไลย์บ้านใหม่ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถนาเสนอผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. พระครูวิ ม ลอิ สฺส รธรรม (เม้า อิ ส สฺโ ร) มี วั ตรปฏิ บั ติโ ดยทาวั ตรเช้ า ไหว้พ ระสวดมนต์ พร้ อมกั บ พระภิกษุสามเณรในอุโบสถทุกวันตลอดปี มีการทาอุโบสถกรรม (สวดพระปาฏิโมกข์) ทุกกึ่งเดือน ท่านได้อบรมสั่ง สอนพระภิกษุสามเณรด้วยการนั่งสมาธิทาวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้านชีวประวัติ พบว่า นามเดิมชื่อเม้า จะรับรัมย์ เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2499 ณ วัดป่าเลไลย์ (บ้านใหม่) ตาบล สามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ สาเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านใหม่ ตาบล สามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2504 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สานักเรียนวัดพืชอุดม อาเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี และท่านเป็นผู้ มีความกตัญญูกตเวที มีความเมตตา เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านได้ศึกษาหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม 2. บทบาทในการพัฒนาสังคมของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) ที่สาคัญพอสรุปได้ดังนี้

403


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ด้านการปกครอง พบว่า บทบาทการปกครองในฐานะเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ (บ้านใหม่) ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ท่านปกครองคณะสงฆ์ใช้หลักธรรมวินัยและกฎหมายของคณะสงฆ์ กฎระเบียบของวัด คาสั่งของ มหาเถรสมาคม และแนวปฏิบัติ ของพระภิก ษุสามเณร จัด ให้มี การปกครองเป็ นคณะเดี ยวกัน และมอบให้ พระภิกษุผู้มีพรรษามากและมีความรู้เป็นผู้ควบคุมดูแลภายในวัด เพื่อให้อยู่ด้วยความเรียบร้อยและเป็นหมู่คณะ ส่วนบทบาทด้านการปกครองในฐานะเจ้าคณะตาบลห้วยราช ท่านได้ทางานร่วมกับเจ้าอาวาสทุกวัดในตาบลห้วย ราช จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างวัด มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดในวัดต่าง ๆ เพื่อ สร้างความผูกพันทางด้านไมตรีจิต และท่านในฐานะเจ้าคณะตาบลห้วยราช ได้ปฏิบัติและยึดหลักพระธรรมวิจัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับระเบียบ คาสั่งและประกาศต่าง ๆ ซึ่งเป็นคาสั่งของผู้บังคับบัญชาสูงสุดอีกด้วย ด้านการศาสนศึกษา พบว่า ท่านเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจา สานักศาสนศึกษา วัดป่าเลไลย์ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดบ้านใหม่ ตาบล สามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ประธานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์วัดป่าเลไลย์ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนห้วยราชพิทยาคม ตาบลห้วยราช อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ พบว่า ท่านได้สนับสนุนส่งเสริมสวัสดิการแด่นักเรียนที่เรียนหนังสือใน/นอก วัด ส่ งพระภิกษุ สามเณรไปศึ กษาพระปริ ยัติธรรมแผนกบาลีที่ต่างจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครราชสีมา สอบได้ ป.ธ 3, ป.ธ.4, ป.ธ.5, ป.ธ.และระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัด มหาธาตุ และศูนย์วัดศรีสุดารามกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมเยาวชนชายที่ยากจนให้เข้ารับการบรรพชาเพื่อศึกษาเล่า เรียนในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนพระ ปริยัติธรรมวัดอิสานราชวิทยานุสรณ์ จานวน 8 รูป ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ห้องเรีย นวัดพระพุทธบาทเขากระโดง จานวน 2 รูป และระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลั ย รามคาแหง จานวน 2 รูป ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแผนกนักธรรม/ธรรมศึกษาตรี โท เอก ภายในวัดป่า เลไลย์ (บ้านใหม่) พร้อมมอบรางวัลแก่นักเรียนธรรมศึกษา ที่สอบผ่านหลักสูตรแต่ละช่วงชั้น ตั้งกองทุนการศึกษา แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ฐานะยากจน ให้รางวัลแด่นักเรียนที่มีความตั้งใจขยันหมั่นเพียรในการศึกษาทุกปีการศึกษา ด้านการเผยแผ่ธรรม พบว่า ท่านเป็นผู้แสดงธรรมทุกวันธรรมสวนะ และงานฌาปนกิจศพทั่วไปในและ ต่างจังหวัด ได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตสายที่ 2 ฝ่ายปฏิบัติการประจาอาเภอเมือง อาเภอห้วยราช จังหวัด บุรีรัมย์ เป็นหัวหน้าหน่วย อ.ป.ต. ตาบลสามแวง ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน ท่านเป็นผู้อานวยการดาเนินการจัด โครงการบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อน จัดโครงการอบรมคุณธรรม-จริยธรรมแก่นักเรียนและประชาชน โดยได้รับ ความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ สถานศึกษา และพ่อค้า ประชาชน ท่านเป็นผู้ดาเนินการเปิดสอนธรรมศึกษาตรี โท เอก สาหรับเยาวชนในพรรษา ท่านได้เข้าร่วมประชุมอบรมเป็นพระนิเทศแม่แบบหอประชุมใหญ่พุทธมณฑล จังหวั ดนครปฐม ร่วมเป็น ประธานจัดอบรมพระนวกะประจาปี คณะสงฆ์ อาเภอห้ว ยราช ท่านดาเนินการจั ด โครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา จัดให้มีการประกอบ พิธี วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ตามประเพณีนิยมทั้งทางราชการและคณะสงฆ์ มีพระภิกษุ สามเณร ประชาชน ครู และนักเรียน เข้าร่วมพิธี มีการอบรมพระภิกษุสามเณรหลังจากทาวัตรในเวลาเย็น จัดการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียน ประชาชน จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ คือ สร้างหอกระจายข่าว เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารทางราชการ รายการธรรมะ และข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน

404


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ด้านการสาธารณูปการ พบว่า งานก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ท่านพระครูวิมลได้ ดาเนินการจ้างถม ที่(สระน้าเก่า) เพื่อปรับพื้นที่วัด ดาเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด ยาว 400 เมตร กว้าง 2 เมตร จัดซื้ออิฐลายสายปูรอบศาลาการเปรียญ 2 ชั้น ที่ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ กว้าง 1 เมตร ยาว 100 เมตร ดาเนินการสร้างกาแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 200 เมตร สร้างกาแพงบรรจุอัฐิ ยาว 200 เมตร ก่อสร้างกุฏิพักสงฆ์ริมสระ จานวน 3 หลัง สร้างห้องกระจกกั้นเป็น 2 ห้องเรียน พร้อมจัดซื้อเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง ให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์วัดป่าเลไลย์ มอบตู้เอกสารให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์วัดป่า เลไลย์ จานวน 7 ตัว มอบโต๊ะโซฟาไม้ จานวน 2 ชุด จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สานักงานเพื่อใช้ในสานักงานเจ้า คณะต าบลและให้ พระภิ ก ษุ ส ามเณรที่ กาลั งศึ ก ษาได้ ใ ช้ รวมกั น ภายในวั ด จ านวน 3 เครื่ อง และปั จ จุ บั น ได้ ดาเนินการก่อสร้างกุฏิชั้นเดียว จานวน 1 หลังลักษณะทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก -ไม้ หลังคามุง กระเบื้อง พื้นปูหินแกรนิต กว้าง 16 เมตร ยาว 16 เมตร ติดฝาไม้ มี 2 ห้ องนอน มีชั้นใต้ดินใช้เป็นที่เก็บน้าฝน 1 ส่วน ที่เหลือทาเป็นห้องเก็บวัสดุรวมค่าก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ และยังได้ดาเนินการถมที่บริเวณวัดที่ได้ทาการซื้อ ขยายทาเป็นสนามกีฬาแก่เยาวชนและตลาดนัดชุมชน ส่วนงานบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด พบว่า ท่าน ดาเนินการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถ โดยทาการเปลี่ยนหลังคามุงกระเบื้องใหม่หมดทั้งหลัง และวาดภาพศิลป์ภายใน ทาสีใหม่ เทพื้นปูนบริเวณรอบ ๆ และซ่อมแซมบันได ปลูกไม้ประดับรอบๆ บริเวณ บูรณะซ่อมแซมกุฏิแฝดสาม หลั ง โดยการทาสี ใ หม่ แ ละซ่ อ มหลั ง คา บู ร ณะซ่ อ มแซมศาลาอเนกประสงค์ โดยท าการปู กระเบื้ อ งใหม่ บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาอเนกประสงค์โดยการสร้างเป็นอาสน์สงฆ์ทาด้วยพื้นไม้ บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาห้องสมุด บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น(ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์) โดยทาการติดฝ้าเพดานชั้นบน ด้านการสาธารณสงเคราะห์ พบว่า ท่านเป็นผู้ดาเนินการซื้อท่อน้าพี วีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว รวมระยะทางยาว 1,000 เมตร เพื่อเป็นท่อส่งน้าจากอ่างเก็บน้า(ชลประทาน) มาเก็บไว้ในสระภายในวัดเพื่อใช้สูบ เป็นน้าประปาแจกจ่ายไปยังหมู่บ้าน จานวน 3 หมู่ ในหน้าแล้ง ดาเนินการซื้อที่ดินสร้างถนนลูกรังระยะทาง 800 เมตร เชื่อมต่อระหว่างวัดกับโรงเรียน เป็นถนนทางลัดสาหรับนักเรียนในการสัญจรไปมาได้สะดวกสบายขึ้น ท่าน เป็ น ผู้ ด าเนิ น การร่ ว มซื้ อ ที่ ดิ น ให้ ช าวบ้ า นที่ ถู ก เวนคื น จากการอาศั ย ในที่ ดิ น ของโรงเรี ย น จ านวน 2 คน และ ดาเนินการซื้อที่ดินขยายวัด ประมาณ 3 ไร่ ร่วมสร้างศาลาหมู่บ้าน บ้านโคกขี้ตุ่น ตาบลโคกเหล็ก อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทาการซื้อเหล็กตัวซีทาเป็นโครงหลังคา ได้บริจาคเงินส่วนตัวสร้างศาลาอนุสรณ์หลวงปู่ต๊ะให้แก่ วัดเพชรน้อย ตาบลสามแวง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้บริจาคเงินส่วนตัวสร้างกุฏิปราโมทย์ธรรมานุสรณ์ให้แก่วัดโคก เหล็ก อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ และได้บริจาคเงินส่วนตัวสร้างศาลาห้องสมุดให้แก่วัดเพชรน้อย ตาบลสาม แวง จังหวัดบุรีรัมย์ 3. ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทางด้านศาสนาให้มากขึ้น ส่งเสริมการปกครอง แบบมีส่วนร่วม เน้น ความสามัคคีเป็นหลัก สนับสนุนให้มีการมาร่วมทาบุญและปฏิบัติกรรมฐาน สร้างความตระหนักในการ่วมบริจาค เพื่อสังคม สรุปผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาวัตรปฏิบัติและชีวประวัติของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) พบว่า ท่านได้มี วัตรปฏิบัติโดยสมบูรณ์แบบ มีการสวดมนต์ทาวัตรเช้าเย็นพร้อมกับพระภิกษุสามเณรในอุโบสถทุกวันตลอดทั้งปี มี การอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป ส่วนชีวประวัติ พบว่า ท่านมีความกตัญญูกตเวที มี ความเมตตา เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านได้ศึกษา หาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและ

405


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สังคม ส่งผลให้พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไปในตาบลห้วยราช มีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านและได้ นาเอาแนวคิดต่าง ๆ และเอาเป็นแบบอย่างในการประพฤติตน เพื่อการดาเนินชีวิตทาให้เกิดผลดีกับตนเองและ สังคม 2. ผลการศึกษาบทบาทในการพัฒนาสังคมของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) ที่สาคัญ พอสรุป ได้ดังนี้ ผลการศึกษาด้านการปกครอง พบว่า การปกครองคณะสงฆ์ ทาให้เป็นที่ยอมรับเชื่อถือ ให้ความ ไว้วางใจและมีความศรัทธาต่อท่าน มีการทากิจกรรมร่วมกันทาให้เกิดความสามัคคีในคณะสงฆ์ ผลการศึกษาด้านการศาสนศึกษา พบว่า ท่านเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจา สานักศาสนศึกษา วัดป่าเลไลย์ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ทาให้มีนักธรรมบาลี พระภิกษุและสามเณรสอบผ่าน ได้มากขึ้นทุกปี และท่านได้ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับสถานศึกษาต่าง ๆ มีการจัด กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ทาให้ได้รับความสนใจและศรัทธา เป็นที่ยอมรับของสังคม ได้รับความสนับสนุนจาก ประชาชนในชุมชนมากขึ้น ผลการศึกษาด้านการศึกษาสงเคราะห์ พบว่า ท่านได้ส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุ และสามเณร ทั้ง การศึกษานักธรรม บาลี และสามัญศึกษาของพระภิกษุและสามเณร และยังได้เรียนนะดับอุดมศึกษามากขึ้นด้วย สาหรับนักเรียนทั่วไปท่านได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ ทาให้นักเรียนมีโอกาสได้ศึกษา ต่อในระดับที่สูงขึ้น ผลการศึกษาด้านการเผยแผ่ธรรม พบว่า ประชาชนทั่วไป ข้าราชการ นักเรียน มีความเข้าใจพุทธ ศาสนามากขึ้น เข้าใจศาสนพิธีและให้ความเคารพนับถือต่อพระสงฆ์ เห็นความสาคัญของวัด เข้ามาทากิจกรรม ทางสาคัญของพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาด้านการสาธารณูปการ พบว่า การก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ทาให้บริเวณวัดมีความ สะอาดและสวยงาม สิ่งก่อสร้างสามารถอานวยความสะดวกสบายให้แก่ประชาชนและพระภิกษุสามเณร ในการทา กิจกรรมทางสาคัญของพุทธศาสนา สาหรับการสร้างสาธารณูปการภายนอกวัด ท่านได้บริจาคเงินและสร้างสิ่ง อานวยความสะดวกต่าง ๆ ทาให้ชาวบ้านมีความพึงพอใจ มีความศรัทธาต่อท่าน เป็นที่ยอมรับของสังคม ผลการศึกษาด้านการสาธารณสงเคราะห์ พบว่า ท่านและพระสงฆ์จะเข้าไปมีบทบาทในการให้บริการ และช่วยเหลือสังคมตามความจาเป็น และความต้องการของประชาชน โดยพระสงฆ์กับวัดยังต้องรับภาระหน้าที่ใน การช่วยเหลือสังคมและทางราชการ 3. ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทางด้านศาสนาให้มากขึ้น ส่งเสริมการปกครอง แบบมีส่วนร่วม เน้น ความสามัคคีเป็นหลัก สนับสนุนให้มีการมาร่วมทาบุญและปฏิบัติกรรมฐาน สร้างความตระหนักในการร่วมบริจาค เพื่อสังคม วิจารณ์ผลการวิจัย จากการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม : กรณีศึกษา พระครู วิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลย์ไลย์บ้านใหม่ ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถวิจารณ์ผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. พระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) มีวัตรปฏิบัติดังนี้ ทาวัตรเช้าไหว้พระสวดมนต์ทาวัตรเช้า พร้อมกับพระภิกษุสามเณรในอุโบสถทุกวันตลอดปี มีการทาอุโบสถกรรม (สวดพระปาฏิโมกข์) ทุกกึ่งเดือน ท่านได้

406


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรด้วยการนั่งสมาธิทาวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อกาหนดได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการ ปฏิบัติ ท่านได้สอนให้นั่งสมาธิว่า การนั่งสมาธินั้นให้ตั้งกายตรงดารงสติให้มั่น ด้านชีวประวัติของพระครูวิมลอิสฺสร ธรรม (เม้า อิสสฺโร) พบว่า นามเดิมชื่อ เม้า จะรับรัมย์ เกิดวันที่ 3 พฤษภาคมพ.ศ. 2479 บิดาชื่อ นายยัง จะรับ รัมย์ มารดาชื่อ นางตุม จะรับรัมย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2499 ณ วัดป่าเลไลย์ (บ้านใหม่) ตาบลสามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พระอุปัชฌาย์ พระราชธรรมโกศล วัดอิสาน ตาบลอิสาน อาเภอ เมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พระกรรมวาจาจารย์ พระครูโพธิคณาจารย์ วัดเมืองโพธิ์ ตาบลเมืองโพธิ์ อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พระอนุสาวนาจารย์ พระครูปราโมทย์ธรรมากร วัดโคกเหล็ก ตาบลโคกเหล็ก อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ด้านการศึกษาพ.ศ. 2490 สาเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านใหม่ ตาบล สามแวง อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2504 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สานักเรียนวัดพืชอุดม อาเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี ท่านมีความชานาญพิเศษทางด้านการก่อสร้างและการเทศนาธรรม ท่านได้ศึกษาหาความรู้เพื่อ พัฒนาตนเองและสังคม ส่งผลให้พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไปในตาบลห้วยราช มีความศรัทธา เลื่อมใสในตัวท่านและได้นาเอาแนวคิดต่าง ๆ และเอาเป็นแบบอย่างในการประพฤติตน เพื่อการ ดาเนินชีวิตทาให้เกิดผลดีกับตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพระมหาฉันทยา คนเจน (2555 : 79 80) ได้วิจัยเรื่องบทบาทพระสงฆ์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษา พระ อาจารย์สุบิน ปณีโต ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต เป็น บทบาทเชิงรุกในฐานะเป็น กัลยาณมิตร ผู้สนับสนุนส่งเสริม คิดริเริ่ม เป็นที่ปรึกษาและเป็นตัวเชื่อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับคนใน กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อให้กลุ่มสามารถพึ่งพาช่วยเหลือกันและมีความคิดสร้างสรรค์ ความเห็นชอบ ตามหลัก โยนิโสมนสิการ ทาให้คนในชุมชนมีโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น 2. บทบาทในการพัฒนาสังคมทั้ง 6 ด้าน พบว่า ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ธรรม ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ ส่งผลให้ ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลาดับ และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ ทั้งนี้เนื่องจากท่านเป็นพระเถระที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสังคม โดยใช้ ศักยภาพทางการเรียนรู้และการปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาพัฒนาสังคมทั้ง 6 ด้าน ท่านเป็น พระสงฆ์ที่ประชาชนให้การยอมรับนับถือ จึงทาให้ท่านสามารถพัฒนาวัดและชุมชนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้อง กับงานวิจัยของกนกวรรณ ใจเที่ยง (2556 : 132) ได้วิจัยเรื่อง บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษา พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม ผลการวิจัยพบว่า พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺ โม ได้แนวคิดการพัฒนาชุมชนจาก ประสบการณ์การเรียนรู้และปัญหาที่พบในชุมชน โดยการนาทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนมา ใช้ในการพัฒนา พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนทั้งการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ด้าน เศรษฐกิจ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้ านวัฒนธรรม และบทบาทการพัฒนาด้านการศึกษา ผ่านโครงการและ กิจกรรมส่งผลให้ ชาวบ้านมีมีความรักหวงแหนและเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม สอดคล้องกับงานวิจัยของจริยา จัตุพร (2554 : 213 – 214) ได้ศึกษาบทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์ไทยใน ปัจจุบัน : กรณีศึกษาบทบาทและหน้าที่ของพระมหาไพเราะ ฐิตสีโล (ดร.กฤษณา) ซึ่งการวิจัยมุ่งเน้นไปที่ภารกิจ หลัก 6 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า ด้านการปกครอง ด้วยความที่พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล เป็นพระสงฆ์ระดับพระ เถระ ท่านจึงเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นาสูง โดยใช้หลักธรรมาธิปไตยมาเป็ นกรอบในการปกครอง ด้านการศึกษา ท่าน เป็นพระสงฆ์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ จึงทาให้ท่านมองเห็นทิศทางการพัฒนา ด้านการศึกษาของพระคณะสงฆ์อย่างรอบด้าน ด้านสาธารณูปการท่านพัฒนาวัดสามารถตอบสนองต่อความ

407


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่ างรอบด้าน ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ท่านสนับสนุนช่วยเหลือโดยมอบ ทุน การศึ กษาแก่ นัก เรี ยน ด้ านสาธารณสงเคราะห์ ท่า นได้ ใช้ หลั กพรหมวิห ารธรรม สั งคหวั ตถุ ธ รรม และ กัลยาณมิตรธรรม อันเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการช่วยเหลือเกื้อกูลพุทธศาสนิกชนและคนทั่วไป ด้านการเผยแผ่ ท่านใช้กลวิธีการเผยแผ่ให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบันด้วยการบรรยายธรรมผ่านสื่อต่าง ๆ 3. ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทางด้านศาสนาให้มากขึ้น ส่งเสริมการปกครองแบบมีส่วนร่วม เน้น ความสามัคคีเป็นหลัก สนับสนุนให้มีการมาร่วมทาบุญและปฏิบัติกรรมฐาน สร้างความตระหนักในการ่วมบริจาค เพื่อสังคม สารวจกิจกรรมที่คนในชุมชนสนใจเพื่อได้ดาเนินการตามความสนใจของผู้คนในชุมชนสอดคล้องกับที่ พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล) (2556 : 160 – 161) ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ในงานวิจัยเรื่องพระสงฆ์กับการ พัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึษาวัดเทพปูรณาราม ตาบลท่าพระ อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งสาหรับแนวทาง ส่งเสริมต้องเริ่มที่องค์กรสงฆ์ควรปรับปรุงรูปแบบวิธีการทางานของพระสงฆ์ให้สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมใหม่ โดยที่เจ้าคณะผู้ปกครองต้องควบคุมและแก้ไขปัญหา กระตุ้นให้วัดโดยเจ้าอาวาสต้องจัดกิจกรรมให้เกิดสัม พันธ์ที่ดี ต่อชุมชนและผู้นาของแต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งโน้มน้าวชี้แจงบทบาทพระสงฆ์ต่อสังคมถึงการอิงอาศัยกันต่อการ พัฒนาอย่างจริงใจ ด้วยการเปิดรับวิสัยทัศน์ระดับองค์กร ผู้นา และชุมชน ให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาไปใช้ 1. จากผลการศึกษาวัตรปฏิบัติของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) ท่านเป็นผู้ดารงตนอยู่ใน คุณธรรมสมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร เป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรม มีกรุณาต่อประชาชนในชุมชนและทั่วไป ปฏิบัติ ศาสนกิจและสังฆกรรมต่าง ๆ อย่างสม่าเสมอ ปกครองดูแลพระสงฆ์และสามเณรด้วยธรรมวินัย และดารงตนอยู่ ในคุณธรรม ศีลธรรม จารีต ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่ดี สามารถใช้ เป็นกรณีตัวอย่างให้กับพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป 2. จากผลการศึกษาบทบาทการพัฒนาสังคมของพระครูวิมลอิสฺสรธรรม (เม้า อิสสฺโร) ท่านใช้หลัก ความมีเมตรา หลักการมีส่วนร่วม และใช้พลังศรัทธาเป็นจุดร่วมในการปฏิบัติและการพัฒนา ดังนั้นควรมีการ ประชุมสัมมนาพระภิกษุสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากกว่า 10 พรรษา ให้มีความรู้และตระหนัก ในบทบาทต่อการ พัฒนาสังคมให้มากขึ้น 3. ควรให้พระภิกษุสงฆ์ใช้หลักคิด หลักการ หรือแนวทางในการด้านการปกครอง ชี้แนะปัญหาแก่ ชาวบ้านในชุมชน ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม 2. ควรมีการศึกษาบทบาทการพัฒนาสังคมของพระนักพัฒนารูปอื่นในลักษณะใกล้เคียงกัน

408


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จเรียบร้อยลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับความอนุเคราะห์จากการร่วมมือจาก หลาย ๆ ฝ่ายด้วยกันที่สนับสนุนและรับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือปรับปรุงจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านโดยการจัดทา หนั งสื อขอความร่ว มมื อในการพิ จารณาตรวจสอบเครื่อ งมื อ การวิ จัย จากคณะมนุษ ยศาสตร์แ ละสั งคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านทั้งฝ่ายคณะพระภิกษุ และญาติโยมทุก ๆ คน ที่ให้กาลังใจ และดูแลความก้าวหน้าในการทาวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ด้วย จึงทาให้ผู้วิจัยได้รับความร่วมมือและได้มีความพยายามได้ มุ่งมั่นค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) ผศ. ดร.จิรายุ ทรัพย์สิน 2) อาจารย์ ดร. อภิชาติ แสงอัมพร 3) อาจารย์ ดร. นพฤทธิ์ จิตรสายธาร ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่ให้กาลังใจช่วยเหลือตลอดถึงตรวจสอบเครื่องมือ ชี้แนะแนวทางในการค้นคว้า หาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คุณค่าของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยขอมอบเป็นกตัญญูกตเวทีแด่ คุณพ่อ คุณแม่ พี่ น้อง และญาติ โยม ที่ได้ช่วยเหลือและให้กาลังใจแก่ผู้วิจัยในการทาวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้มาด้วยดี เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ ใจเที่ยง. (2556). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษา พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม). หาดใหญ่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เบญจา มังคละพฤกษ์. (2552). พระกับการเมือง หลวงตามหาบัวกับทักษิณ บันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง ร่วมสมัย. นนทบุรี : บ้านหนังสือ. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย. พระมหาฉันทยา คนเจน. (2555). บทบาทพระสงฆ์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ชุมชน : กรณีศึกษา พระอาจารย์สุบิน ปณีโต. ปริญญานิพนธ์ ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การพัฒนา มนุษย์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล). (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพ ปูรณาราม ตาบล ท่าพระ อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

409


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-08 องค์กรแห่งการเรียนรู้กับความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก LEARNING ORGANIZATION AND ORGANIZATION COMMITMENT AFFECTING TO WORK EFFECTIVENESS OF EMPLOYEES AT BANK FOR AGRICULTURE AND AGRICULTURAL COOPERATIVES IN THE WESTERN REGION บุรารัตน์ บุญทรัพย์1 1

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความผูกพันต่อ องค์กรและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) ศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ด้านจิตใจของพนักงาน 3) ศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และ 4) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก โดยการเก็บกลุ่ม ตัวอย่างทั้งจานวน 300 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจยั คือ แบบสอบถาม โดยค่าทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.938 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การทดสอบค่า สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (r) และการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ (Regression & Correlation) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีความ คิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับ มากที่สุด รวมถึงมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านพลวัตรการ เรียนรู้ และด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ มีผลต่อความผูกพันองค์กรด้านจิตใจของพนักงานร้อยละ 61.5 ส่วนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ ด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ร่วมกัน มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานร้อยละ 58.1 และความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจมี ความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขต ภูมิภาคตะวันตกได้ร้อยละ 51.4 คำสำคัญ : องค์กรแห่งการเรียนรู,้ ความผูกพันต่อองค์กร, ประสิทธิผลการปฏิบตั ิงาน Abstract This research aims to 1) study the influence of learning organization. Organizational commitment and employee performance. 2) Learning organizations that influence employee mental commitment. 3) Educate learning organizations that affect employee productivity. 4) To study organizational commitment to psychological factors affecting employee performance. The

410


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

population in this study was the staff of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region. The research instrument was a questionnaire. The reliability of the questionnaire was 0.938. The descriptive statistics were percentage, mean, standard deviation, Standard deviation and statistics used in hypothesis testing include the correlation coefficient (r) and regression and correlation analysis. Transportation research finds Employees have a high level of opinion toward the organization of learning. And employees are committed to the organization at the highest level. The effectiveness of the work was at a high level. And a learning organization. The dynamics of learning. And a person who is focused on excellence. Affecting the organizational commitment of the employees was 61.5 percent. Individuals who focus on excellence. The dynamics of learning. The vision is shared. 58.1 percent of the employees' work efficiency was found to be related to the performance of the employees of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region, 51.4 percent. Keywords : Learning organization, Organizational commitment, Operational effectiveness บทนา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีภารกิจหลักในการเป็นสถาบันการเงินเพื่อ พัฒนาชนบทซึ่งเป็นกลไก สาคัญของรัฐบาล โดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินและสนับสนุนการพัฒนาแก่กลุ่มเป้าหมาย ใน ชนบทไทย ที่เป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการ กลุ่มบุคคล องค์กร และสหกรณ์ทุกประเภท มีค่านิยมองค์กร (core values) ที่ยึดถือปฏิบัติในการบริหารงานเพื่อช่วยสะท้อนความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อประชาชน สั งคม และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนในการดาเนินการตามพันธกิจ ให้บรรลุวิสัยทัศน์อันพึงประสงค์ โดยธนาคารได้ ให้คาจากัดความของค่านิยมองค์กรเรื่องการยกระดับความรู้ให้เป็นธนาคารแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ของธนาคาร คือ “เป็นผู้นาการพัฒนาความสามารถขององค์กรและเพิ่มความผูกพันของบุคลากรเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ ธนาคาร” รวมถึงพันธกิจสาคัญ 3 ด้าน คือ 1) บริหาร จัดการ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ธนาคาร และทันต่อสถานการณ์ ด้วยสารสนเทศและการบริหารจัดการที่ดี 2) เสริมสร้างพฤติกรรมบุคลากรให้ สอดคล้องวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเลิศ 3) เสริมสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร มีความพึงพอใจและผูกพันต่อ ธ.ก.ส. ทั้งนี้ ในการก้าวสู่ความสาเร็จขององค์กร จาเป็นจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นกาลังที่สาคัญในการขับเคลื่อน องค์กร อย่างไรก็ตามธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จึงไม่ละเลยในการให้ความสาคัญกับทรัพยากร ดังกล่าว รวมถึ งการกระตุ้น และจูงใจให้บุ คลากรทุกคนมี ความกระตือรื อร้นที่จ ะเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ ตลอดเวลา เพื่อขยายศักยภาพของตนเองและองค์กร โดยอาศัยรูปแบบการทางานเป็นทีม และการเรียนรู้ร่วมกัน จากการศึกษาการพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของ ประไพทิพย์ ลือพงษ์ (2556:8-9) พบว่า สภาพและปัญหาที่เป็นอุปสรรคกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตรทั้งในด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การจัดการความรู้ในองค์กร การเพิ่มอานาจให้แก่บุคคลใน องค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการคิดอย่างเป็นระบบ สภาพดังกล่าวอาจเกิดจากวัฒนธรรมขององค์กรที่เป็น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่อยู่ภายใต้การกากับของภาครัฐ ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรแบบระบบราชการ (bureaucratic system) ซึ่งเป็นอุปสรรค สาคัญในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นอกจากมีการนาแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้มา

411


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เป็นค่านิยมของธนาคาร เพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กรแล้ว การรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กร และทุ่มเทกับงานจึง ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สาคัญที่ส่งผลต่อความสาเร็จขององค์กรเช่นเดียวกัน การรักษาบุคลากรให้ปฏิบั ติงานอยู่กับ องค์กรนั้น องค์กรต้องทาให้บุคลากรเกิดความผูกพันกับองค์กร จากผลวิจัยล่าสุดของเดล คาร์เนกี (ประชาชาติธุรกิจ. 2556) พบว่า 71% ของพนักงานโดยเฉลี่ยทั่วโลกไม่มีความผูกพันกับองค์กร และจะตัดสินใจเปลี่ยนงานใหม่ทันที เมื่อองค์กรยื่นข้อเสนอค่าตอบแทนที่มากกว่า ดังนั้นความผูกพันกับองค์กร (organizational commitment) เป็น สิ่งสาคัญที่จะทาให้พนักงานทุ่มเทกาลังกาย กาลังใจในการทางาน มีความจงรักภักดีรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการเป็น เจ้าของ และต้องการอยู่ทางานกับองค์กรต่อไป และการที่องค์กรจะประสบความสาเร็จได้นั้น ความผูกพันต่อองค์กร เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพฤติกรรมการงานของพนักงานด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิผลการทางาน ทั้งในด้านเวลา ในการทางาน การประหยัดค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน และได้ปริมาณงานตามที่คาดหวังไว้ (ประชุม รอดประเสริฐ. 2545 : 332-333) จากค่านิยมองค์กรและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะเห็นได้ว่าธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรให้ความสาคัญกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และให้ความสาคัญอย่างยิ่งต่อความผูกพันต่อ องค์กรของพนักงาน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับความผูกพันต่อ องค์กร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเขต ภูมิภาคตะวันตก เพื่อให้สามารถนาผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการในการปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการ ธนาคารให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก 2. เพื่อศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก 3. เพื่อศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก 4. เพื่อ ศึก ษาความผู กพัน ต่อ องค์ กรด้า นจิต ใจที่ส่ งผลต่อ ประสิท ธิผ ลการปฏิบัติ งานของพนัก งาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและตัวอย่าง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน เขตภูมิภาคตะวันตก จานวน 1,086 คน ที่มา: ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปี พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก จานวน 300 คน จากการกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคานวณหา ตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane. 1973 อ้างถึงใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2549 : 88)

412


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค เท่ากับ 0.938 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ผู้วิจั ยน าแบบสอบถามที่ไ ด้รั บกลับคื นมาวิ เคราะห์ ข้อ มูล โดยใช้โ ปรแกรมส าเร็จ รูป และด าเนิน การ วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย 1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ อายุการทางาน และตาแหน่งงาน โดยใช้การแจกแจงความถี่ (frequency) และร้อยละ (percentage) 1.2 การวิเคราะห์ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ องค์กรแห่ง การเรี ยนรู้ และความผูก พัน ต่อ องค์ กรโดยการใช้ค่ าเฉลี่ ย (mean) และส่ วนเบี่ ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: S.D.) 2. สถิติเชิงอ้างอิง การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) สาหรับการ ทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย ตารางที่ 1 ผลการศึกษาศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน เขตภูมภิ าคภาคตะวันตก 1. 2. 3. 4. 5.

องค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ ด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านเทคโนโลยี รวมทุกด้าน

X

4.29 4.11 4.33 4.23 4.06 4.20

S.D. 0.569 0.583 0.509 0.488 0.698 0.475

ระดับความคิดเห็น มากที่สุด มาก มากที่สุด มากที่สุด มาก มาก

จากตารางที่ 1 พบว่าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมภิ าคภาคตะวันตก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดคือด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน รองลงมาคือด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ แต่พบว่าด้านเทคโนโลยีมี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนการศึกษาความผูกพันองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเขตภูมิภาคตะวันตกพบว่า พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อมีผู้ กล่าวถึงองค์กรในทางที่ไม่ดีพนักงานจะรู้สึกไม่ชอบใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือพนักงานพยายามปรับปรุง

413


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

และพัฒนาวิธีการในการปฏิบัติงานในรูปแบบ ใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงให้ผลงานมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ แต่พบว่า พนักงานรู้สึกว่าปัญหา ต่าง ๆ ของธนาคารคือปัญหาของตนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตารางที่ 2 ผลการศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน เขตภูมภิ าคตะวันตก ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

X

1. ด้านคุณภาพงาน 2. ด้านปริมาณงาน 3. ผลสัมฤทธิ์ในการทางาน

4.05 4.02 4.30 4.12

รวมทุกด้าน

S.D. 0.511 0.527 0.494 0.424

ระดับความคิดเห็น มาก มาก มากที่สุด มาก

จากตารางที่ 2 พบว่า พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตกมี ประสิทธิผลการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ในการทางานมี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านคุณภาพงาน ตารางที่ 3 ผลศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมภิ าคภาคตะวันตก ค่าสัมประสิทธ์ของ Beta ค่า t ค่านัยสาคัญ (sig) สมการ (β) (Constant) 2.247 9.846 0.000** ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ 0.146 0.207 2.573 0.011* ด้านพลวัตรการเรียนรู้ 0.180 0.258 3.216 0.001** ด้านการมีวิสยั ทัศน์ร่วมกัน 0.078 0.104 1.355 0.176 ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 0.109 0.133 1.649 0.100 ด้านเทคโนโลยี -.008 -0.048 -0.895 0.371 2 2 R = 0.752, R = 0.615, Adjusted R = 0.602 F = 24.015, Sig. of F = 0.000, Standard Error of the Estimate = 0.463 การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

** มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 * มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 3 พบว่าการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สามารถอธิบายความผันแปรที่เกิดขึ้นในตัวแปร ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ ในที่นี้สรุปได้ว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็น เลิศ และด้านพลวัตรการเรียนรู้ส ามารถอธิบายความผันแปรที่เกิด ขึ้นกับความผูก พันต่อ องค์กรด้านจิต ใจของ พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก ได้ 61.5 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ และด้านพลวัตรการเรียนรู้สามารถพยากรณ์ความ ผูกพันต่อองค์กรด้านจิ ตใจของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก ได้ ร้อยละ 61.5 ที่เหลืออีกร้อยละ 38.5 อธิบายได้ด้วยตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

414


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตารางที่ 4 ผลศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมภิ าคภาคตะวันตก การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ค่าสัมประสิทธ์ของ สมการ (β) 1.328 0.157 0.245 0.222 0.078 -0.040

(Constant) ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ ด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการมีวิสยั ทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านเทคโนโลยี R = 0.701, R2 = 0.581, Adjusted R2 = 0.562 F = 56.15, Sig. of F = 0.000, Standard Error of the Estimate = 0.503

Beta

ค่า t

ค่านัยสาคัญ (sig)

0.212 0.339 0.270 0.089 -0.067

6.925 3.285 5.205 4.585 1.400 -0.895

0.000** 0.001** 0.000** 0.000** 0.163 0.371

** มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 * มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4 พบว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านพลวัตรการเรียนรู้ และด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศสามารถอธิบายประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตกได้ 58.1 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านพลวัตรการเรียนรู้ และด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศสามารถพยากรณ์ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตกได้ ร้อยละ 58.1 ที่เหลืออีกร้อยละ 41.9 อธิบายได้ด้วยตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตารางที่ 5 ผลศึกษาความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจทีส่ ่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมภิ าคภาคตะวันตก ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ

ค่าสัมประสิทธ์ของ สมการ (β) 2.277 0.508

Beta

ค่า t

ค่านัยสาคัญ (sig)

(Constant) ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ 0.504 2 2 R = 0.767, R = 0.514, Adjusted R = 0.501 F = 100.237, Sig. of F = 0.000, Standard Error of the Estimate = 0.367

10.808 10.012

0.000** 0.000**

** มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากตารางที่ 5 พบว่าความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจสามารถอธิบายประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก ในที่นี้สรุปได้ว่า ความผูกพันต่อ องค์กรด้านจิตใจสามารถอธิบายความผันแปรที่เกิดขึ้นกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร เพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตกได้ 51.4 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความผูกพันต่อองค์กรด้าน จิตใจสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขต

415


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ภูมิภาคตะวันตกได้ร้อยละ 51.4 ที่เหลืออีกร้อยละ 48.6 อธิบายได้ด้วยตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่ความผูกพันต่อองค์กรด้าน จิตใจ สรุปผลการวิจัย องค์กรแห่งการเรียนรู้กั บความผูกพันต่อ องค์กรที่ส่งผลต่ อประสิ ทธิผลการปฏิบัติ งานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนั กงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน เขตภูมิภาคภาคตะวันตก พบว่าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตกมี ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดคือด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน รองลงมาคือด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ แต่พบว่าด้านเทคโนโลยีมี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และการศึกษาความผูกพันองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ในเขตภูมิภาคตะวันตกพบว่า พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเฉพาะ เมื่อมีผู้กล่าวถึงองค์กรในทางที่ไม่ดีพนักงานจะรู้สึกไม่ชอบใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือพนักงานพยายาม ปรับปรุงและพัฒนาวิธีการในการปฏิบัติงานในรูปแบบ ใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงให้ผลงานมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ แต่ พบว่าพนักงานรู้สึกว่าปัญหา ต่าง ๆ ของธนาคารคือปัญหาของตนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด รวมถึงการศึกษาประสิทธิผล การปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก พบว่า พนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตกมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ในการทางานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านคุณภาพ งาน 2. ผลการศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก พบว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเป็น บุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ และด้านพลวัตรการเรียนรู้ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 61.5 3. ผลศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตกพบว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการมี วิสัย ทัศ น์ร่ วมกัน ด้ านพลวัต รการเรี ยนรู้ และด้ านการเป็น บุค คลซึ่งมุ่งความเป็ นเลิศ ส่งผลต่อ ประสิ ทธิ ผลการ ปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก สามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 58.1 4. ผลศึกษาความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตกพบว่าความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจส่งผลต่อ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 51.4 วิจารณ์ผลการวิจัย การศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขต ภูมิภาคภาคตะวันตก พบว่าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตกมี

416


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดคือด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน รองลงมาคือด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ แต่พบว่าด้านเทคโนโลยีมี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดสอดคล้องกับแนวคิดของมาร์ควอดท์ และ เรโรลด์ (Marquardt and Reynolds. 1994 : 51) ได้ ทาการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะสาคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ จะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) การเรียนรู้และ การพัฒนาของบุคคลจะได้รับการเชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้และการพัฒนาขององค์กร 2) มุ่งเน้นให้เกิดความคิด สร้างสรรค์และความสามารถในการปรับเปลี่ยน 3) การทางานเป็นทีมในทุกรูปแบบจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้และการทางาน 4) การทางานแบบเครือข่ายเป็นสิ่งสาคัญที่จะเรียนรู้และบรรลุผลสาเร็จในงานนั้นๆ 5) มี ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากบุคคลและองค์กร จะทาให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่ง 6) มีความคิดอย่างเป็นระบบและให้ ความสาคัญกับการเรียนรู้ 7) ใช้ค่านิยมและความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวกระตุ้นองค์ กร สอดคล้องกับงานวิจัยของ (อาภรณ์ ลามะนา. 2553) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้และผลการดาเนินงานของ สาขาธนาคารนครหลวงไทยจากัด (มหาชน) พบว่าผู้จัดการสาขาธนาคารนครหลวงไทย จากัด (มหาชน) เห็นด้วย เกี่ยวกับการมีคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเป็นบุคคล รอบรู้ด้ านการเรียนรู้ ร่วมกั นเป็นที ม ด้านการคิ ดอย่างเป็นระบบ ด้ านการมีวิสัยทั ศน์ร่ว มกัน และด้านรูปแบบ ความคิดและมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลการดาเนินงานโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก และจาก การศึกษาความผูกพันองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเขตภูมิภาค ตะวันตกพบว่า พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากพนักงานจะรู้สึกไม่ชอบใจ เมื่อมีผู้กล่าวถึงองค์กรในทางที่ไม่ดี และพนักงานพยายามปรั บปรุงและพัฒนาวิธีการในการปฏิบัติงานในรูปแบบ ใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงให้ผลงานมีประสิทธิภาพอยู่เสมอสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ปัญญา ผ่อนผัน. 2550) ที่ศึกษาถึง “ผลกระทบของความผูกพันต่อองค์กร การเรียนรู้ขององค์กรและวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อศักยภาพการแข่งขันของ ธนาคารออมสิน” พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความผูกพันต่อองค์กร ทั้งโดยรวมและราย ด้านอยู่ในระดับมาก รวมถึงการศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก พบว่า พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาค ตะวันตกมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ในการ ทางานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านคุณภาพงานสอดคล้องกับงานวิจัยของ(เดชาพันธ์ รัฐศาสนศาสตร์ . 2555) ที่ศึกษาถึง “ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลการทางานและการคงอยู่ใน งานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ” พบว่า การรับรู้ค่านิยมร่วม ความเชื่อมั่นในองค์กร ความผูกพันใน องค์กรความร่วมมือในการทางาน ความพึงพอใจในงาน ประสิทธิผลการทางานและการคงอยู่ในงานของพนักงานอยู่ ในระดับมาก การศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตก พบว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเป็น บุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ และด้านพลวัตรการเรียนรู้ส่งผลต่อความผูกพันต่อ องค์กรด้านจิตใจของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 61.5 สอดคล้องกับ งานวิจัยของอทาค และเออตูกัส (Atak, M. and Erturgut, R. 2010) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการ เรียนรู้และความผูกพันต่อองค์กร พบว่ าความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึก ด้านความต่อเนื่อง และด้านบรรทัด ฐานทางสังคม มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ผลการการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าองค์กรยุคข้อมูล

417


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข่าวสารต้องได้รับพนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรสูงและใช้มาตรการเพื่อเพิ่มความผูกพันของพนักงานเพื่อให้ พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตกพบว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านพลวัตรการเรียนรู้ และด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 58.1 สอดคล้อง กับแนวคิดของมาร์ควอดท์ และเรโรลด์ (Marquardt and Reynolds. 1994, Peter M. Senge. 1990, Michael Marquardt. 1996) ซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ (ภาฆิลิน เอี่ยมบุญส่ง. 2551) ที่ศึกษาสไตล์การเรียนรู้และความ คิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานธนาคารกสิกรไทยพบว่า 1) ผลการศึกษาด้านความรอบรู้ ด้าน การเรียนรู้เป็นทีม ด้านการสร้างวิ สัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการคิดอย่างอิสระ อยู่ในระดับมาก 2) พนักงานที่มีอายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ในด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.5 การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคภาคตะวันตกพบว่าความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจส่งผลต่อประสิทธิผล การปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภูมิภาคตะวันตก สามารถพยากรณ์ ได้ร้อยละ 51.4 สอดคล้องกับ (อัจฉรา เนียมหอม. 2551) ที่ศึกษาถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรม ในองค์กร คุณภาพชีวิตการทางาน และความผูกพันต่อองค์กร : กรณีศึกษาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน )” พบว่า คุณภาพชีวิตการทางานด้านโอกาสในการก้าวหน้า ด้านความภูมิใจในองค์กร ด้านค่ าตอบแทนที่เพียงพอและ ยุติธรรม มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร และการรับรู้ความยุติธรรมใน องค์กรด้านการปฏิสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตการทางานด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ด้านผลตอบแทน ด้านภาวะอิสระจากงาน โดยมีสัมประสิทธิ์การทานายเท่ากับ 58% และสอดคล้องกับงานวิจัยของ (พิมพ์ชนก ทราย ข้าว. 2553) ที่ศึกษาถึง “ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารทิสโก้ จากัด (มหาชน)” พบว่า พนักงานธนาคารทิสโก้ จากัด (มหาชน) มีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก สาหรับปัจจัยที่ แสดงถึง ความผู กพั น ต่ อ องค์ ก รในด้ า นความเชื่อ มั่ น อย่า งแรงกล้ า ความเต็ม ใจที่ จะทุ่ ม เทความพยายามอย่ า งมากเพื่ อ ประโยชน์ขององค์กร และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพขององค์กร อยู่ในระดับ ผูกพันมาก ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารควรให้ความสาคัญในแต่ละด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านการเป็นบุคคลซึ่งมุ่งความเป็นเลิศ ผู้บริหารควรให้ความสาคัญกับพนักงาน และช่วงเวลา ในการทางานของพนักงาน โดยสนับสนุนให้พนักงานใช้เวลาว่างในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนางานที่ทา อยู่ใน ปัจจุบัน 1.2 ด้านพลวัตรการเรียนรู้ ผู้บริหารควรให้ความสาคัญ และส่งเสริมให้พนักงานแก้ไขปัญหาการ ทางานในลักษณะมองภาพรวมและแก้ไขอย่างเป็นระบบ มากกว่า ที่จะแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ไป

418


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1.3 ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ผู้บริหารควรให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนใน องค์กร เพื่อการมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกัน 1.4 ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนควรให้ความสาคัญเกี่ยวกับการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนา 1.5 ด้านเทคโนโลยี ผู้บริหารและพนักงานทุกคนควรให้ความสาคัญกับการนาเทคโนโลยีมาใช้ จัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน 2. ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน และสร้างความ จงรักภักดีต่อองค์กร โดยคิดว่าปัญหาต่าง ๆ ของธนาคารคือปัญหาของตนเอง 3. ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรให้ความสาคัญกับการชื่นชมพนักงานเมื่อพนักงานกระทา ดี และให้ความสาคัญกับปริมาณงานที่มอบหมายให้กับพนักงานควรมีความเหมาะสมกับค่าตอบแทนที่พนักงานได้รบั รวมถึงพนักงานทุกคนควรให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อพบปัญหาการทางาน เพื่อให้งานเกิดผลสัมฤทธิ์ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานและเพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ พนักงาน 2. การศึกษาความพึงพอใจของพนักงานในการปฏิบัติงานควรศึกษาแยกเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อจะได้นาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น กิตติกรรมประกาศ วิท ยานิ พ นธ์ฉ บั บ นี้ สาเร็ จ ได้ ด้ วยความกรุณ าจากผู้ ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตชน วงศ์ รั ต น์ และ ดร.นวรัตน์ ปรุทุมตาและคณาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านที่สละเวลาให้คาปรึกษา ชี้แนะ และตรวจแก้ไขข้ อบกพร่อง ต่ า งๆ ของการวิ จั ย ด้ ว ยความเอาใจใส่ อ ย่ า งดี ยิ่ ง ตลอดมา ผู้ วิ จั ย ขอขอบพระคุ ณ คณาจารย์ ทุ ก ท่ า น ทั้ ง ใน สถาบั น การศึก ษาที่ ผ่ านมา และมหาวิ ท ยาลั ยราชภั ฎ เพชรบุ รี ธนาคารธนาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในเขตภูมิ ภาคตะวันตก ที่อานวยความสะดวกในเรื่อ งต่า ง ๆ จนส าเร็ จเรียบร้อ ยสมบูร ณ์ในการให้ คาแนะนา ช่วยเหลือ และตรวจแก้ไขข้อบกพร่องในการค้นคว้าอิสระ ในครั้งนี้ รวมทั้งผู้ตอบแบบสอบถามทุก ๆ ท่าน ข้าพเจ้าจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ เอกสารอ้างอิง เดชาพันธ์ รัฐศาสนศาสตร์. (2555). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลการ ทางานและการคงอยู่ในงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่. ดุษฎีนิพนธ์ บธ.ด., มหาวิทยาลัยรามคาแหง, กรุงเทพฯ บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ ฯ : จามจุรีโปรดักท์. ปัญญา ผ่อนผัน. (2550). ผลกระทบของความผูกพันต่อองค์กรการเรียนรู้ขององค์กรและวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อ ศักยภาพการแข่งขันของธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พิมพ์ชนก ทรายข้าว. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคาร ทิสโก้ จากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

419


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ภาฆิลิน เอี่ยมบุญส่ง. (2551). การศึกษาสไตล์การเรียนรู้ และความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของ พนักงานในธนาคารกสิกรไทย กรณีศึกษาเฉพาะ : สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร.ี อัจฉรา เนียมหอม (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ คุณภาพชีวิตกาทางาน และ ความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด(มหาชน). การศึกษาอิสระ ศิลปศา สตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อาภรณ์ ลามะนา. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้และผลการดาเนินงานของ สาขาธนาคารนครหลวงไทย จากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ การตลาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Atak, M, and R. Erturgut. (2010) "An empirical analysis on the relation between learning organization and organizational commitment." Procedia-social and behavioral sciences 2.2. 3472-3476. Marquardt, M., and Reynolds, A. (1994). The global learning organization. Burr Ridge, IL: Irwin Professional Publishing. Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York : McGraw-Hill. Peter M. Senge. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.

420


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 HSBO-09

แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว A GUIDELINE FOR DEVELOPMENT OF CHARACTERISTICS OF COUNCIL MEMBERS IN SAKAEO MUNICIPALITY, SAKAEO PROVINCE สถาพร ศรีเพียวไทย1, นพฤทธิ์ จิตรสายธาร2, จิรายุ ทรัพย์สิน3 1

Sathaporn Sripeawthai นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ 2 Nopparit Jitsaitharn คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3

Jirayu Supsin คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลตามความคิดเห็นของ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับทัศนคติที่มีต่อคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาล ในความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวั ดสระแก้ว จาแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จานวน 389 คน ผลการวิจัย พบว่า คิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านความเป็นผู้นาและด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านบุคลิกภาพ ด้าน ความสามารถในการปฏิบัติงานและการบริหารงานยุคใหม่ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ การศึกษา และรายได้ต่างกันมีคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนา, คุณลักษณะ, สมาชิกสภาเทศบาล Abstract The objectives of this research were; 1) to study the characteristics of members of the municipal council according to the people’ opinions in Sakaeo Municipality and 2) to compare the people’ attitudes towards the characteristics of members of the municipal council in Sakaeo Municipality, Sakaeo Province as classified by gender, age, education and income. The sample size was 389 people who had the right to vote in an election. The results of the research showed that the opinions on the guidelines for the development of the characteristics of members of the municipal council according to the people’ opinions were at the highest level in overall. When considering each aspect, it was found that leadership and ethics were in the highest level. While personality, the ability to work and new age management was in a high level respectively. There was no difference in the characteristics of members of the municipal council in terms of gender, age, education and income. Keywords : A Guideline for Development, characteristics, Council Members

421


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

บทนา เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการแก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างดีที่สุด มีรูปแบบการบริหารโดยประชาชนในท้องถิ่น เป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาเทศบาลทาหน้าที่บริหารในรูปแบบของสภา เทศบาลมีนายกเทศมนตรีทา หน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและมีสภาเทศบาลซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่ราษฎรในเขตเทศบาลเลือกตั้งมา ทาหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ (จิรพร น้าฟ้า. 2556 : 1) ดังนั้นสมาชิกสภาเทศบาลถือเป็นกลุ่มบุคคลที่เปรียบเสมือนดั่งฟันเฟืองที่สาคัญในการขับเคลื่อนชุมชน นั้นๆ ให้เดินหน้าพัฒนาต่อไปได้ การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ เลือกสมาชิกสภาเทศบาล จึงถือเป็นกระบวนการที่ สาคัญ โดยอาจจะพิจารณาถึงคุณลั กษณะปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ เช่น บุคลิกภาพ คุณลักษณะเฉพาะตัว ด้าน ความเป็นผู้นา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม (ชาคริต คงแก้วขาว. 2546 : 2 ) ประกอบกับปัจจุบันการ ปฏิบัติงานของผู้นาท้องถิ่นต้องทันยุค และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาการเทคโนโลยี โดยเฉพาะการสื่อสารอาจจะกล่าวได้ว่าก้าวล้าไปอย่างก้าวกระโดด จนทาให้มองดูคล้ายกับว่าโลกของเราเล็กลง เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ณ มุมใดของโลกเพียงชั่วเวลาไม่กี่อึดใจคนทั่วโลก ก็จะสามารถรับรู้ถึงเหตุการณ์นั้นได้ อย่างละเอียดเพราะเทคโนโลยี ด้านการสื่ อสารเป็นสาคัญ รวมทั้งวิวัฒนาการทางด้านการบริหารจัดการก็เช่นกัน นักวิชาการยุคใหม่ หลายท่านได้ออกแบบและพัฒนาให้สามารถนาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ สูงสุด จนกลายเป็นหลักการบริหารที่ทันสมัยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ (GLOBALIZATION) อย่างแท้จริงผู้นาที่ดีจึงจาเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ทันกับกระแสโลกาภิวิฒน์ และเทคโนโลกสารสนเทศเพื่อช่วยให้ การบริหารงานบรรลุเป้าหมายของการทางาน (สมบัติ สินลือนาม. 2555 : 73) ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้ดารงตาแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในท้องถิ่นมี บทบาททาหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการเสนอแนะความคิดเห็นความต้องการของประชาชนในชุมชนต่อ ฝ่ายริหาร รวมถึงทาหน้าที่นิติบัญญัติในการออกกฎระเบียบข้อบังคับ พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจาปีรวมถึง การตรวจสอบการทางานของฝ่ายบริหาร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชนในเขตเทศบาล นั้น ผู้วิจัยใน ฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาล จึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวทาง การพัฒนาคุณลักษณะสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว กล่าวคือคุณลักษณะสมาชิกสภาเทศบาลที่พึงประสงค์ตามทัศนคติของประชาชนที่มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ว่าจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง จึงจะสอดคล้องตามความ ต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการพัฒนาตนเอง ในปัจจุบัน และการลงสมัครรับ เลือกตั้งในคราวต่อไป และจะนาเสนอผลงานการวิจัยต่อผูท้ ี่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งให้เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นตัวแทนของประชาชน และมีประโยชน์สาหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นในอนาคต ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาทุนทางสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3. เพื่อนาเสนอกระบวนการสร้างยุทธศาสตร์ การบูร ณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

422


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เป็น การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จานวน 13,660 คน (เทศบาลเมืองสระแก้ว. 2560) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จานวน 389 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และการสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งสร้างตาม วัต ถุ ป ระสงค์ และกรอบแนวคิ ด ที่ กาหนดขึ้น ความสอดคล้ อ งกั บวั ต ถุ ประสงค์ก ารวิจั ย โดยวิ ธี หาค่ า ดั ชนี ค วาม สอดคล้อง (Index of Congruence หรือ IOC) ซึ่งผลการตรวจสอบ พบว่า มีค่าระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความ เชื่อมั่น (Alpha Coeffcient) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ และระดับการศึกษา และรายได้ มีลักษณะคาถามแบบเลือกตอบ (Checklist) ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งประกอบด้วย1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านความเป็นผู้นา 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 4) ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน 5) ด้าน บทบาทการบริหารแนวใหม่ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ระดับ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตาม แบบของลิเคิร์ท (Likert) ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของสมาชิกสภาเทศบาล การสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตารา และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิก สภาเทศบาล ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยพิจารณาตามหลักระเบียบและวัตถุประสงค์ ของการวิจัยหลัก เพื่อเป็นกรอบประเด็นคาถาม 2. น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษามาเขี ย นเป็ น ข้ อ กระทงความ ( item) ของแบบสอบถามตาม องค์ประกอบต่าง ๆ ของแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลในเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว 3. จัดทาร่างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่กาหนดโดยพิจารณาถึงเนื้อหารายละเอียดให้ ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการ

423


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4. นาแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอ ประสานและกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อทาการตรวจสอบ และแก้ไขเพิ่มเติมข้อความให้ครอบคลุมเนื้อหาและรัดกุมยิ่งขึ้น 5. นาเครื่องมือที่แก้ไขปรับปรุงแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน เพื่อให้พิจารณาตรวจสอบความ ตรงเนื้อหาและความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ โดยการจัดทาหนังสือขอความร่วมมือในการพิจารณาตรวจสอบ เครื่องมือการวิจัยจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน นาผลการพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามกับ วัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยวิธีการ(IOC) (Index of Item – objective Congruence) 6. นาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบที่ผ่านการตรวจสอบจากผูเ้ ชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว นาเสนอประธานและคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจความชัดเจน 7. นาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียง กับกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย จานวน 30 ชุด 8. นาแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาคานวณหาค่าความเชื่อมั่น (Rrliability) โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์ แอลฟา (⍺ - Coefficient) โดยการใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach. 1970 : 160) จากการคานวณได้ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 9. นาผลการทดลองใช้มาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์ และนาเสนอประธาน และกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับจริง เพื่อนาไปใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยต่อไป วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จัดทาหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตลงพื้นที่ศึกษาโดยขอความอนุเคราะห์จากนายกเทศมนตรีเมืองสระแก้วให้ประชาชนที่มี สิทธิ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่ตอบแบบสอบถาม 2. ผู้วิจัยศึกษาและเก็บข้อมูลเพื่ อนาแบบสอบถามแจกให้กลุ่มตัวอย่าง ชี้แจงจุดประสงค์ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และลงเก็บข้อมูลตามกลุ่มเป้าหมาย และตามกลุ่มตัวอย่างที่ได้เลือก 3. ดาเนินการเก็บแบบสอบถามคืนจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตจังหวัด สระแก้ว จานวน 389 คน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ การหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากแบบสอบถามแนวทาง พั ฒ นาคุ ณ ลั ก ษณะของสมาชิ ก สภาเทศบาลเมื อ งสระแก้ ว จั งหวั ด สระแก้ ว พร้ อ มทั้ ง การทดสอบสมมติ ฐ าน เปรียบเทียบเพศโดยใช้สถิติการทดสอบค่า t – test (Independent variables) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว F – test (One way ANOVA) เกี่ยวกับอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ ซึ่งผู้วิจัยกาหนดค่านัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และถ้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้วิจัยจะทาการเปรียบเทียบรายคู่ ด้วย วิธีของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว มีผลการวิจัย ดังนี้

424


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.54, S.D.=0.12) เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ซึ่งด้านที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความเป็นผู้นา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.76, S.D.=0.14) ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.69, S.D.=0.13) ด้านบุคลิกภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.43, S.D.=0.20) ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.41, S.D.=0.44) และด้านที่ มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุดคือ ด้านการบริหารงานยุคใหม่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.38, S.D.=0.18) 2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว แยกเป็นรายด้าน 2.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็ นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านบุคลิกภาพ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.43, S.D.=0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านบุคลิกภาพ ซึ่ งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ มีบุคลิกดี ภูมิฐาน น่าเชื่อถือ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.89, S.D.=0.30) รองลงมา คือ เฉลียวฉลาด ทันสมัย รู้ทันเหตุการณ์ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.68, S.D.=0.47) และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบเข้าสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.66, S.D.=0.47) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือเป็นผู้มีระดับการศึกษาสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( X =3.61, S.D.=0.80) 2.2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็ นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านความเป็นผู้นา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.76, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านความเป็นผู้นา ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ กล้าคิด กล้าทา และกล้า ตัดสินใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =5.00, S.D.=0.00) รองลงมา คือ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความคิดริเริ่ม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.97, S.D.=0.16) เป็นคนที่ ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น และมีความพยายามในการทางานให้บรรลุ เป้าหมายไปได้ด้วยดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากันอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.90, S.D.=0.29) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.99, S.D.=0.89) 2.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็ นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.69, S.D.=0.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ มีความยุติธรรม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =5.00, S.D.=0.00) รองลงมา คือมีความอ่อนน้อมถ่อม ตน เป็นกันเอง ไม่ถือตัว ให้เกียรติผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.99, S.D.=0.05) และมีความขยัน ขันแข็ง กระตือรือร้นและเอาใจใส่ต่อหน้าที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.93, S.D.=0.26) ตามลาดับ และ

425


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นกันเอง ไม่ถือตัว ให้เกียรติผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.20, S.D.=0.40) 2.4 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็ นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านความสามารถ ในการปฏิบัติงาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( X =4.41, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิก สภา เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ เอาใจใส่ต่อปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน โดยดาเนินการแก้ไขอย่างทันที มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( X =4.96, S.D.=0.19) รองลงมา คือกล้าพูด กล้านาปัญหา ความเดือดร้อนความต้องการ ของพี่น้อง ประชาชนไปประชุมปรึกษาหารือในสภาเทศบาลได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.82, S.D.=0.38) เข้าร่วม กิจกรรม มีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นประจา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.54, S.D.=3.11) ตามลาดับ และข้อที่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการบริหารงานของเทศบาลเป็นอย่างดี และสามารถปฏิบัติ ตามขั้นตอนได้ถูกต้องเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.86, S.D.=0.81) 2.5 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็ นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ด้านการบริหารงานยุคใหม่ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.38, S.D.=0.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ ว จั งหวั ด สระแก้ ว ด้า นการบริ ห ารงานยุ คใหม่ ซึ่ งข้อ ที่ มีค่ า เฉลี่ ยมากที่ สุ ด สามลาดั บแรก คื อ มี การใช้ เทคโนโลยี รูปแบบการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ให้เข้าถึงประชาชนเพื่อตอบสนองความต้องการ หรื อปัญหาเร่งด่วน ของประชาชนได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.73, S.D.=0.44) รองลงมา คือเป็นผู้ประสานความคิด ประสานประโยชน์ ประสานความร่วมมือร่วมใจ สร้างเสริมทัศนคติเชิงบวก ให้ประชาชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( X =4.66, S.D.=0.47) และผู้นาต้องสร้างบทบาทเป็นผู้อานวยการ คอยส่งเสริมและอานวยการให้องค์กร จัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.59, S.D.=0.49) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือมี ความเข้าใจ ความหลากหลาย ทางพหุวัฒนธรรมเพื่อนาไปสู่การสร้างรูปแบบการให้บริการหรือแก้ไขปัญหาของ ประชาชนได้ตามความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.77, S.D.=0.72) สรุปผลการวิจัย 1. จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว อาเภอเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จานวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 60.20 อายุ ระหว่าง 36-50 ปี จานวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 35 ระดับการศึกษาระดับ ปวช.-ปวส. จานวน 216 คน คิดเป็น ร้อยละ 55.50 และมีรายได้ต่อเดือน 5,001 – 15,000 บาท จานวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 38.60 และระดับ ความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว อาเภอเมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว ดังตารางที่ 1

426


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (n=389) 1. 2. 3. 4. 5.

แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาล ด้านบุคลิกภาพ ด้านความเป็นผู้นา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารงานยุคใหม่ รวม

X

4.43 4.76 4.69 4.41 4.38 4.54

S.D. 0.20 0.14 0.13 0.44 0.18 0.12

แปลผล มาก มากที่สุด มากที่สุด มาก มาก มากที่สุด

จากตาราง พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความเป็นผู้นาและด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มี ด้านบุคลิกภาพ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุดคือ ด้านการบริหารงานยุคใหม่ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลาดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภา เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จาแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาล เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะของประชาชนต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภา เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ คือการวางตัวดี แต่งกายภูมิฐานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย มี ความรู้ เฉลียวฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความเป็นผู้นาคือ คือ มีกล้าคิด กล้าทา และกล้าตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มี วิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ แก่ให้ชุมชน และเข้าถึงพื้นที่ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและรับฟังความคิดเห็นของคน ในชุมชน ชุมชนเข้าถึงได้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม คือ เอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีความยุติธรรม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ อ่อน น้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว เข้าหาง่าย และมีสัจจะ รักษาคาพูด ของตนเอง ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน คือ กล้าพูด กล้านาปัญหา ความเดือดร้อนความต้องการ ของพี่น้องประชาชนไปประชุมปรึกษาหารือในสภาเทศบาลได้ เอาใจใส่ต่อปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน โดยดาเนินการแก้ไขอย่างทันที และเข้าร่วมกิจกรรม มีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นประจา ด้านการบริหารงานยุคใหม่ คือ มีเครือข่ายการทางาน นาสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน เป็นผู้ประสาน ความร่ ว มมื อ และสร้ า งความรู้ สึ กเป็ น อัน หนึ่งอั น เดี ย วกั น ของคนในชุ ม ชน และมี ความทัน สมัย รู้ จัก มี การใช้ เทคโนโลยี ให้เข้าถึงประชาชนโดยเร็ว

427


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย 1. แนวทางการพั ฒ นาคุ ณ ลัก ษณะของสมาชิ กสภาเทศบาลเมื องสระแก้ ว จั งหวัด สระแก้ ว โดย ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนให้ความสาคัญถึงคุณลักษณะทุกด้านซึ่งเป็น องค์ประกอบของการเป็นผู้นาที่ดี ในฐานะสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งเป็นทั้งตัวแทนของชุมชน และผู้นาความคิด ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ นุกุล ชิ้นฟัก (2559) ได้วิจัยเรื่องคุณลักษณะของผู้นาทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ใน ทัศนะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาจังหวัดสงขลา พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่นที่ พึงประสงค์ทุกด้ าน อยู่ใ นระดั บมากที่สุ ด และสอดคล้ องกับ งานวิจัยของ ปรีชา บูล พิไชย (2552) ได้ วิจัย เรื่อ ง คุณลักษณะของผู้นาที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลบ่อแดง อาเภอทิงพระ จังหวัด สงขลา พบว่า โดยภาพรวมแล้ว ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลบ่อแดง มี ทัศนะต่อ คุณลักษณะของผู้นาท้องถิ่นที่พึงประสงค์อยู่ในระดับสูง 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาล เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จาแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่า 2.1 ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิก สภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ประชาชนทั้งเพศชายและเพศหญิงให้ความสาคัญต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ในด้านบุคลิกภาพ ด้านความเป็นผู้นา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความสามารถในการ ปฏิบัติงาน และด้านการบริหารงานยุคใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พระประยงค์ สิงห์แก้ว (2556 : 64) ได้วิจัย เรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มี ต่อคุณลักษณะของผู้นา กรณีศึ กษาเทศบาลโคกม่วง อาเภอคลองหอยโข่ ง จังหวัดสงขลา ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นาของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลโคก ม่วง อาเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้นาไม่ ต่างกัน 2.2 ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิก สภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็น เพราะว่า ถึงแม้ประชาชนจะอายุที่ต่างกันต่างก็มีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภา เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อดุลย์ ดินทสโร (2552 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องคุณลักษณะของผู้นาท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบล กระดังงา อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้นาท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน 2.3 ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะ ของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ จึง ปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ถึงแม้ประชาชนจะระดับการศึกษาที่ต่างกันต่างก็มีความคิดเห็นต่อ บทบาทการบริหารจัดการของเทศบาลเมืองสุรินทร์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธนกร อิงคนันท์ (2550 : 92) ได้วิจัยเรื่องคุณลักษณะของผู้บริหารท้องถิ่นตามทัศนคติของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลเมืองอ านาจเจริญ พ.ศ. 2550 ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเที ยบความคิดเห็น ต่อคุณลักษณะของ ผู้บริหารท้องถิ่นในทัศนคติของประชาชน แยกตามการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

428


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2.4 ประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะ ของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะถึงแม้ว่าประชาชนจะมีรายได้ต่างกันแต่ก็คาดหวังกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ดวงใจ สถาวร (2551 : 55) ได้วิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึง ประสงค์ ศึกษากรณี เขตอาเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่ อ คุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ การผลการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาคุณ ลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวั ด สระแก้ว ผู้วิจัยขอนาเสนอข้อเสนอแนะในประเด็นที่สาคัญเพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณลักษณะของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว อีกทั้งยังเป็นแนวทางแก่สมาชิกสภาเทศบาลอื่น ๆ ในการนาไป ปรับปรุง และพัฒนาคุณลักษณะของตนเองในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้า นบุ คลิ ก ภาพ ได้แ ก่ การแต่งกายให้ ดู ดี สะอาด ดูภู มิ ฐ าน วางตั ว ให้ เ หมาะต่ อการเป็ น ผู้ น า น่าเชื่อถือ มีความเฉลียวฉลาด ความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทันต่อสถานการณ์ มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ ยิ้มแย้มแจ่มใส ควบคุมตนเองได้ทั้งในการปฏิบัติตนและอารมณ์ 2. ด้านความเป็นผู้นา ได้แก่ รับฟังความคิด เปิดใจรับฟังความเดือดร้อนของชุมชน มีความกล้าหาญ และความเด็ดขาด มีเหตุผลในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา มีความมั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าแสดงออก กล้านา ปัญหาเสนอความคิดเห็นในสภา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 3. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ ต้องมีความยุติธรรม ให้ความเสมอภาคต่อทุกคนเท่ากันไม่เลือก ปฏิบัติ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นกันเอง ไม่ถือตัว ให้เกียรติผู้อื่น มีความกระตือรือร้น ขยันและเอาใจใส่ต่อหน้าที่ ความเสียสละ อุทิศตนทางานเพื่อส่วนรวม มีความรับผิดชอบ มีความเมตตาปราณีมีความอดทน 4. ด้านความสามารถในการปฏิบัตงิ าน ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนเป็นประจามีความเอาใจใส่ ต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน สามารถลงพื้นที่ที่มีปัญหารวดเร็วว่องไวไม่นิ่งเฉย สนองต่อการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ติดตามงานอย่างรวดเร็ว มีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบ 5. ด้านการบริหารงานยุคใหม่ ได้แก่ ต้องปรับตัวเป็นผู้รู้จักใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร สร้างเครือข่ายของการทางาน ทั้งในหรือนอกพื้นที่ เป็นผู้ประสานงานที่ดี สร้างการมีส่วนร่วม และเป็นผู้อานวยการ ให้ความรู้ ผลักดันให้ชุมชนบริหารตัวเอง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนในด้านอื่น ๆ ต่อสมาชิกสภาเทศบาล เช่น ทักษะการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง ความรู้ความสารถที่จาเป็นของสมาชิกสภาเทศบาล 2. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงสารวจถึงสภาพปัญหาและอุปสรรค และข้อจากัดในการปฏิบัติหน้าที่ ของ สมาชิกสภาเทศบาล 3. ควรมีการศึกษาความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิบัติงานในการพัฒนาท้องถิ่นของสมาชิกสภา เทศบาล

429


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิตติกรรมประกาศ การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ครั้ง นี้ขอขอบคุณคณาจารย์ห ลักสูตรรั ฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิ ชารัฐศาสตร์ ซึ่ งให้ความรู้ ค าปรึกษา ตลอดจนแนวทางในการศึกษาแก่ผู้วิจัย ตลอดจนคณาจารย์ทุกท่านที่ให้การอบรมสั่งสอน ให้ความรู้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และขอขอบคุณสมาชิกในครอบครัวที่ให้กาลังใจสนับสนุนข้าพเจ้ากระทั่งรายงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จลุ ล่วง ด้วยดี ไว้ ณ ที่นี้ เอกสารอ้างอิง จงกมล ประสมสุข. (2550). คุณลักษณะของผู้นาท้องถิ่นในความคิดเห็นของประชาชน กรณีศึกษา เขตพื้นที่ อบต.เกาะลอย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น มหาวิทยาลัยบูรพา. ดวงใจ สถาวร. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงประสงค์ : กรณีเขตอาเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา. ธนกร อิงคนินันท์. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารท้องถิ่นตามทัศนคติของประชาชน ศึกษา เฉพาะกรณี เทศบาลเมืองอานาจเจริญ พ.ศ.2550. ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี. นพวัลภ์ คงคาลิหมีน. (2550). ความต้องการขอประชาชนต่อคุณลักษณะของผู้นาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การ บริหารส่วนตาบลในจังหวัดสงขลา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. นุกูล ชิ้นฟัก. (2559). คุณลักษณะผู้นาทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ในทัศนะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดสงขลา. (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก http://www. northern.ac.th/north_research/p/ document/file_14877764590.pdf. [19 มีนาคม 2560]. ปรีชา บูลพิไชย. (2552). คุณลักษณะของผู้นาที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลบ่อ แดง อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. พระประยงค์ สิงห์แก้ว. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีตอ่ คุณลักษณะของผู้นา กรณีศึกษาเทศบาลโคก ม่วง อาเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. อรณิชชา ทศตา. (2558). การศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา. (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก http://www.journal.nmc.ac.th/ th/admin/Journal/2558Vol3No1_72.pdf [20 มีนาคม 2560].

430


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-10 การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ AN INTEGRATION OF BUDDHIST PRINCIPLES FOR COMMUNITY DEVELOPMENT MANAGEMENT OF COMMUNITY LEADERS IN PA KAM DISTRICT, BURIRAM PROVINCE พระครูสถิตวีรานุวัตร1, นพฤทธิ์ จิตรสายธาร2 และวันชัย สุขตาม3 1

Phrakhrusathitveeranuwat นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ 2 Nopparit Jitsaitharn คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3

Wanchai Suktam คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับการบริหารการพัฒนาชุมชนของ ผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหาร การพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้การศึกษาวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษา วิจัยเชิงปริมาณ เก็บขอมูลจากประชาชนในอาเภอปะคาจานวน 397 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทาขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยเลือก กลุ่มเป้าหมายเองแบบเจาะจงเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับ การบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับปาน กลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านฉันทะ รองลงมาคือ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านปิยะวาจา ด้านทาน ด้านอัตถจริยา ด้านวิมังสา ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ด้านสมานัตตตา คำสำคัญ : บูรณาการ; หลักพุทธธรรม; การบริหารการพัฒนา. Abstract This research aimed to study the Buddhist principles in accordance with community development management of community leaders in Pa Kam District, Buriram Province and to compare an integration of Buddhist principles for community leaders in in Pa Kam District, Buriram Province. The research was conducted in 2 phases: 1) quantitative research; it was carried out from 397 samples in Pa Kam District by using multistage sampling method and using a questionnaire as a tool to collect data and 2) Qualitative research; it was collected data by selecting specific target groups to meet their objectives. The results revealed that the Integration of Buddhist principles for community development management of community leaders in Pa Kam District, Buriram Province was at a moderate level in overall. When considering each aspect, it was found that the aspiration was at the highest level followed by effort, thoughtfulness, kindly

431


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

speech, giving, useful conduct, and investigation respectively, while even and equal treatment was at the lowest level. Keywords : Integration; Buddhist Principles; Development Management บทนา ชุมชน เป็นสังคมฐานรากที่มีความสาคัญทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ งานพัฒนาชุมชน จึงเป็นงานบริหารที่ต้องการแก้ไขปัญหาสังคม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นเพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างประชาชนที่อยู่ในชนบทและประชาชน ที่อยู่ในชุมชนเมือง จึงนับว่าการพัฒนาชุมชนจะก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคีต่อกันระหว่างคนใน ชาติการพัฒนาชุมชนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะนามาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่ง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ และความเป็นธรรมในสังคมไทย ด้วยเหตุนี้จึงต้องนาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับหลักความดี ไปใช้ในการดาเนินชีวิต ของคนไทยในสังคมปัจจุบัน เพื่อจัดสรรความเป็นอยู่ของคนในสังคมและสภาพแวดล้อม เพื่อดาเนินชีวิตที่ดีร่วมกัน ความเจริญก้าวหน้าของสังคมไทยในสังคมปัจจุบัน นับว่ามีพัฒนาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและไร้ขอบเขต เป็นสังคม ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ โดยมีการพัฒนาที่เป็ นไปอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสังคมที่ทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กัน และอยู่ร่วมกันอย่างมีบทบาทหน้าที่ที่ซับซ้อนมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม เป็นสังคมที่ถูกกล่าวขานหรือเรียกกันในปัจจุบันว่า สังคมยุคโลกาภิวัตน์ หรือสังคมของโลกที่ไร้พรม แดน (Globalization) หมายความว่า การดาเนินชีวิตของมนุษย์ใน สังคมปัจจุบันไม่สามารถจะปฏิเสธกิจกรรมที่มนุษย์พึงมีหรือกระทาต่อกันได้ การติดต่อสัมพันธ์กันจึงเป็นสิ่งที่จาเป็น และเป็นไปอย่างไม่มีข อบเขตจากัด การคมนาคม การติดต่อสื่อสารในโลกยุคใหม่มีทั้งความสะดวกสบายและ คล่องตัวในการดาเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคมทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer) และอินเตอร์เน็ต (Internet) ที่เป็นการติดต่อสื่อสารแบบเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลกได้ถูกนามาใช้และ เข้ามามีบ ทบาทมีอิ ทธิพ ลต่อการด าเนิ นชีวิ ตของมนุ ษย์ในยุคสมัยใหม่นี้ สังคมมนุษย์โ ลกปั จจุบั นแม้ จะมี ความ เจริญก้าวหน้ามากมายสักเพียงใด แต่ความเจริญเหล่านั้นเป็นเพียงความเจริญทางด้านวัตถุ ซึ่งเป็นความเจริญที่มา พร้อมกับการก่อปัญหาอันซับซ้อนเกิดขึ้นแก่สังคมต่อไปเช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ปัญหา ในทางการเมืองการปกครอง การพัฒนาเศรษฐกิจ และปัญหาสังคมในด้านต่า ง ๆ ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิตของคนในสังคมโดยตรง ล้วนมีสาเหตุมาจากการที่มนุษย์ขาดหรือละเลยกฎเกณฑ์อันเป็นเครื่องควบคุม พฤติกรรม (พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์) . 2555 : 3 ) หลักธรรมที่จะนามาช่วยในการแก้ไขปัญหาทาให้เจริญก้าวหน้า และนาพาไปสู่ความสาเร็จ ธรรมแห่ง ความสาเร็จคือ อิทธิบาท 4 หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสาเร็จ , คุณธรรมที่นาไปสู่ความสาเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ได้แก่ 1) ฉันทะ ความพอใจ คือความต้องการที่จะทา ใฝ่ใจรักจะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทาให้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป 2) วิริยะ ความเพียร คือขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย 3) จิต ตะ ความคิดมุ่งไป คือตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทาและทาสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยให้ฟุ้งซ่านเลื่อยลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทา และ4) วิมังสา ความไตร่ตรอง หรือทดลอง คือหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจ ตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทานั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น และ หลักธรรมอีกหมวดหนึ่ง ที่จะช่วยให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผูกไมตรี ช่วยเหลือซึ่งกันในการพัฒนางานให้มีความ ประสบความสาเร็จ คือ สังคหวัตถุ 4 หมายถึง ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ใน

432


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สามัคคี, หลักการสงเคราะห์ ได้แก่ 1) ทาน คือการให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือด้วยสิ่งของ ตลอด ถึงการให้ความรู้และสั่งสอน 2) ปิยวาจา หรือเปยยวัชชะ คือวาจาที่เป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้าใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคาสุภาพไพเราะอ่อนหวาน สมานสามัคคี ให้เกิดไมตรี และความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคาแสดงประโยชน์ ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยินดี 3) อัตถจริยา คือการประพฤติประโยชน์ ขวนขวายช่วยเหลือ กิจการ บาเพ็ญสาธารณประโยชน์ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมทางจริยธรรม และ 4) สมานัตตตา คือความมี ตนเสมอ ทาตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติสม่าเสมอกันในชนทั้งหลาย และเพื่อดาเนินชีวิตที่ดีร่วมกัน บ้านปะคา ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าตั้ งขึ้นเมื่อใด รู้แต่เพียงว่า “ บ้านปะคา ” ได้รับ การยกฐานะเป็นตาบลปะคา ขึ้นกับอาเภอนางรอง และใน พ.ศ. 2526 กิ่งอาเภอปะคา ได้รับการยกฐานะอีกครั้ง เป็น อาเภอปะคา จวบจนถึงปัจจุบัน แยกหมู่บ้านต่างๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง รวมแล้วทั้งสิ้น 77 หมู่บ้าน ซึ่งมีขนาด พื้นที่ 296.029 ตร.กม. จานวนประชากร 45,580 คน (พ.ศ. 2558) ความหนาแน่น153.97 คน/ตร.กม. มีกลุ่ม ประชากรที่สาคัญ 3 กลุ่ม คือกลุ่มไทยโคราช กลุ่มไทยลาว และกลุ่มไทยเขมร ภาษาที่ใช้ภาษาที่ชาวอาเภอปะคา นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอีสาน , ภาษาไทยโคราช อาชีพหลักที่สาคัญของอาเภอปะคา ได้แก่ ทานา ทาสวน ทา ไร่ ค้าขาย รับราชการ รับจ้าง ตามลาดับ ประชากรของอาเภอปะคาคิดเป็น ร้อยละ 98 นับถือ “ ศาสนาพุทธ ” และอีกประมาณร้อยละ 2 นับถือ “ ศาสนาคริสต์ ” ( ปะคา-วิกิพีเดีย. 2560 : ออนไลน์) ดังนั้นผู้นาของชุมชนต้องมี บทบาทสาคัญในการนาชุมชนให้สามารถดาเนินไปอย่างเรียบร้อย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงการบูรณาการ หลั ก พุท ธธรรมสาหรั บการบริ ห ารการพั ฒ นาชุ มชนของผู้ นาชุ ม ชน ในอ าเภอปะค า จั งหวั ด บุ รีรั ม ย์ ว่ า มีค วาม สอดคล้องและครอบคลุมกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ท้องถิน่ ได้ดีหรือไม่ ต้องการทราบว่าทางหน่วยงานของรัฐให้ความสาคัญกับการพัฒนาชุมชนมากน้อยเพียงใด ตลอด ถึงเพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค ในการดาเนินงานการพัฒนาชุมชน ซึ่งได้นาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณา การในการพัฒนาชุมชน เพื่อนาผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณา กาหนดเป็นนโยบายเพื่อ ปรับปรุงพัฒนาแนวทางการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้มาก ยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นา ชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัด บุรี รัม ย์ เป็น การวิ จัย แบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่า งการวิจั ยเชิงปริ มาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาน (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือสาหรับรวบรวมข้อมูล

433


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth lnterview) เป็นเครื่องมือสาหรับรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้ แ ก่ ประชาชนที่ อ าศั ย อยู่ ใ นอ าเภอปะค า จั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ จ านวน45,686 คน (สานักงานทะเบียนอาเภอปะคา. 2559) 2. ลุ่ม ตัว อย่ าง ได้ แก่ ตั วแทนประชาชนที่อ าศั ยในอาเภอปะค า จั งหวัด บุรี รัม ย์ ในปี พ.ศ. 2559 จานวน 77 หมู่บ้าน จานวนทั้งสิ้น 397 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) จากการคานวณสูตรยามาเน่ (Yamane. 1960 : 1088-1089) ซึ่งใช้ระดับค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ที่ นัยสาคัญ .05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่ องที่ใ ช้ใ นการเก็ บรวบรวมข้อ มูล การวิ จัย ครั้ งนี้ ได้แ ก่ แบบสอบถาม เป็น แบบมาตราส่ว น ประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งสร้างตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กาหนดขึ้นแนวทางการบูรณาการ หลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ 2. แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการบูรณาการ หลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย 2.1 ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่ว ไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดั บ การศึกษา อาชีพ รายได้ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Checklist) 2.2 ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารการพัฒนาชุมชนโดยใช้ หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1) ฉันทะ ความพอใจ 2) วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร 3) จิตตะ ความเอาใจใส่ 4) วิมังสา ความรอบคอบ และ สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา การพูดด้วยคาสุภาพ 3)อัตถจริยา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ 4) สมานัตตตา เสมอต้นเสมอปลาย 2.3 ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหาร การพัฒนาชุมชนในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ การสร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการการบูรณาการหลักพุทธ ธรรมส าหรั บ การบริ ห ารการพั ฒ นาชุ มชนในอ าเภอปะค า จั งหวั ด บุรี รั มย์ โดยพิจ ารณาตามหลัก ระเบี ยบและ วัตถุประสงค์ของการวิจัยหลัก เพื่อเป็นกรอบประเด็นคาถาม 2. น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษามาเขี ย นเป็ น ข้ อ กระทงความ (Item) ของแบบสอบถามตาม องค์ประกอบต่างๆ ของแนวทางการการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ 3. จั ด ท าร่ า งแบบสอบถามตามกรอบแนวคิ ด ที่ ก าหนด โดยพิ จ ารณาถึ ง เนื้ อ หารายละเอี ย ดให้ ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา 4. นาแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอประธานและกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อทาการตรวจสอบ และแก้ไขเพิ่มเติมข้อคาถามให้ครอบคลุมเนื้อหาและรัดกุมยิ่งขึ้น

434


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

5. นาเครื่ อ งมือ ที่ ได้ รั บ การแก้ ไ ขปรั บ ปรุ งแล้ว เสนอผู้ เชี่ ย วชาญ จ านวน 3 ท่ า น เพื่ อให้ พิ จารณา ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ โดยการจัดทาหนังสือขอความร่วมมือใน การพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ไปยัง ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน 5.1 ผศ.ดร.จิรายุ ทรัพย์สิน 5.2 ดร.อภิชาติ แสงอัมพร 5.3 ดร.ศศิธร ศูนย์กลาง ผลการพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อ คาถามกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยวิธีการ IOC (Index of item Objective Congruence) ซึ่งผลการ วิเคราะห์ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 6. นาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความชัดเจน 7. นาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย จานวน 30 ชุด 8. นาแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาคานวณหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α - Coefficient) โดยการใช้สูตรของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.965 9. นาผลการทดลองมาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์ และนาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับจริงเพื่อนาไปใช้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยต่อไป การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามตามขั้นตอน ดังนี้ 1. จัดทาหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตต่อนายอาเภอ และผู้นาชุมชนหมู่บ้าน 77 หมู่บ้าน เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการ ตอบแบบสอบถาม 2. เตรียมความพร้อมของแบบสอบถาม ให้มีจานวนพียงพอกับจานวนกลุ่มตัวอย่างที่จะทาการเก็บ รวบรวมข้อมูล แล้วนาแบบสอบถามพร้อมหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลไปเสนอขออนุญาตเก็บรวบรวม ข้อมูลต่อนายอาเภอ และผู้นาชุมชนหมู่บ้าน 77 หมู่บ้าน พร้อมชี้แจงรายละเอียดของการดาเนินการศึกษาวิจัยและ ดาเนินการเพื่อใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบตามจานวนที่ต้องการ 3. นาแบบสอบถามไปทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยลงไปเก็บแบบสอบถาม ด้วยตนเอง 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิ จัยให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับคืนทั้งหมดแล้วนามาตรวจสอบความ ถูกต้องความสมบูรณ์ ถ้ายังไม่สมบูรณ์คัดแบบสอบถามฉบับนั้นออกแล้วดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จนครบ จากนั้นจึงได้เริ่มทาการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยที่เลือกใช้ในครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นาแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

435


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. นาผลของข้อมูลบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อคานวณหาค่าสถิติที่เลือกใช้เพื่ อการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อหาค่าทางสถิติ 3. นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะตารางแสดงผลการวิเคราะห์พร้อมการแปลความหมาย โดยวิธีการพรรณนาตามค่าสถิติของแต่ละตารางข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทาการิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการ วิจัยทางสังคมศาสตร์เสนอข้อมูลและใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 สถิติหาค่าความสอดคล้องของแบบสอบถาม ใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) โดยใช้สูตรของ โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton. 1977 : 49) โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้จากการคานวณจากสูตร ที่จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป คัดเลือกข้อสอบข้อนั้นไว้ใช้ได้ แต่ถ้าได้ค่า IOC ต่ากว่า 0.5 ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุง หรือตัดทิ้ง 1.2 สถิติหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α Coefficient) ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach. 1970 อ้างถึงใน วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 260) 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย ( X ) 2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) 2.4 ค่าแจกแจงแบบที (t – test) 2.5 ค่าความแปรปรวน (F – test) (ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2553 : 177) ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เรื่อง การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชน ของผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ ลาดับขั้นการนาเสนอ ดังนี้ 1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จานวน 397 ชุด แล้ว นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อคานวณหาค่าสถิติต่าง ๆ สาหรับตอบปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ การศึกษา พร้อมทั้งนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.1 ผลการวิเคราะห์การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นา ชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการ หลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.88, S.D. = 0.555) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนา ชุมชนของผู้นาชุมชน ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ) มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับปานกลาง ( X = 3.05, S.D. = 0.674) รองลงมา คือ ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.96, S.D. = 0.736) ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ

436


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ปานกลาง ( X = 2.95, S.D. = 0.741) ด้านปิยะวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ( X = 2.85, S.D. = 0.621) ด้านทาน (การให้ เสียสละ ช่วยเหลือแบ่งปัน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.83, S.D. = 0.666) ด้านอัตถจริยา (การทาประโยชน์) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.80, S.D. = 0.750) ด้านวิมังสา (ใช้ปัญญา พิจารณางาน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.80, S.D. = 0.691) ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.76, S.D. = 0.691) 1.2 ผลการวิเคราะห์การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นา ชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ จาแนกเป็นรายด้าน ผู้วิจัยนาข้อมูลการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอ ปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจาแนกรายด้าน มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า หลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับปานกลาง ( X =3.05, S.D. =0.674) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการ บริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ) ที่มากที่สุด คือ ผู้นาชุมชนทางานด้วยความสมัครใจและมุ่งหวังผลสาเร็จของงานเหนือสิ่งอื่นใด ( X = 3.36, S.D. = 0.842) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนให้ความสนใจจริงจังกับงานที่บริหารอยู่ เสมอแม้งานจะมีปัญหาอย่างมาก ( X = 3.05, S.D.=0.833) ผู้นาชุมชนพอใจที่จะบริหารงานอย่างเต็มที่โดยไม่หวังผลตอบแทน ( X = 2.90, S.D.= 0.903) ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ผู้นาชุมชนยินดีให้คาแนะนา ปรึกษาและร่วมแก้ไขปัญหาของงานนั้นๆ ด้วยความเต็มใจ ( X = 2.88, S.D. = 0.902) หลักอิทธิบาท 4 ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง ( X =2.96, S.D. =0.736) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหาร การพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) มากที่สุด คือ ผู้นาชุมชนทุ่มเทเวลาและความสามารถในการบริหารงานแม้จะเป็นงานที่ไม่ถนัด ( X = 3.01, S.D.=0.940) รองลงมาคือ ผู้ นาชุมชนบริหารงานทันที่ที่ได้ รับมอบหมาย ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และไม่ทิ้ งงาน ( X = 2.99, S.D.=0.867) ผู้นาชุมชนเพียรพยายามที่จะแนะนาและชักจูงให้คนในชุมชนเห็นความสาคัญของงานไม่เพิกเฉยต่อ งานในชุมชน ( X = 2.94, S.D.=0.918) ตามลาดับ และสุดท้ายคือ ผู้นาชุมชนสู้งานไม่ท้อถอยแม้ในขณะการ บริหารงานนั้นเกิดภาวะกดดันอย่างมาก ( X = 2.90, S.D. = 0.946) หลักอิทธิบาท 4 ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.95, S.D. =0.741) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนา ชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) มากที่สุด คือ ผู้นาชุมชนมีจิตใจแน่วแน่ มั่นคงต่องานหรือภารกิจ ไม่คิดเรื่องอื่นจนกว่างานจะสาเร็จ ( X = 3.01, S.D.=0.850) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนมี ความละเอียดในการบริหารงาน ไม่บริหารแบบขอไปทีหรือฉาบฉวย ( X = 2.97, S.D.=0.929) ผู้นาชุมชนเอาใจใส่ใน งานและผู้อยู่ในการปกครอง เมื่อพบปัญหาก็พร้อมที่จะแก้ไข ( X = 2.92, S.D.=0.973) ตามลาดับ และสุดท้ายคือ ผู้นาชุมชนมีจิตอาสา เป็นมิตรกับผู้อยู่ในการปกครองและคนรอบข้างด้วยความจริงใจ ( X = 2.91, S.D. = 0.969) หลักอิทธิบาท 4 ด้านวิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณางาน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.80, S.D. =0.691) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นา

437


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ชุมชนตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านวิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณางาน) มากที่สุด คือ ผู้นาชุมชนบริหารจัดการงบประมาณ ภายในชุมชนได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ( X = 2.95, S.D.=0.823) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนพัฒนาชุมชนตามความ จาเป็นของชุมชนนั้นๆ ( X = 2.85, S.D.=0.827) ผู้นาชุมชนพัฒนาชุมชนตามความจาเป็นของชุมชนนั้นๆ ( X = 3.77, S.D.=0.725) ผู้นาชุมชนเข้าใจในผลที่ได้รับจากการรู้จักประมาณในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในชุมชน ( X = 2.76, S.D. = 0.968) ตามลาดับ และสุดท้ายคือผู้นาชุมชนมีการใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่าง สูงสุด ( X = 2.64, S.D. = 0.906) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทาน (การให้ เสียสละช่วยเหลือ แบ่งปัน) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปาน กลาง ( X =2.83, S.D. =0.666) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการ พัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทาน (การให้ เสียสละช่วยเหลือ แบ่งปัน) มากที่สุด คือ ผู้นา ชุมชนจัดให้มีการส่งเสริมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ( X = 2.85, S.D.=0.881) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนมีการให้ความสะดวกสบายแก่ผู้มาติดต่อ ขอความช่วยเหลือ ได้แก่สถานที่รับรอง น้าดื่ม เป็นต้น ( X = 2.84, S.D.=0.866) ผู้นาชุมชนจัดให้มีการพัฒนาคน ในการจัดระเบียบสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน ( X = 2.82, S.D.=0.814) ตามลาดับ และสุดท้ายคือผู้นาชุมชนจัดให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( X = 2.80, S.D. = 0.938) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.85, S.D. =0.621) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนา ชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) มากที่สุด คือ ผู้นาชุมชนมีการพูดจา ทักทาย ให้คาแนะนาด้วยถ้อยคาสุภาพและเป็นกันเอง ( X = 2.93, S.D.=0.763) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนรับรู้ปัญหา และดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนโดยใช้วาจาที่อ่อนหวาน จริงใจ ( X = 2.93, S.D.=0.732) ผู้นาชุมชนไม่ พูดจาในสิ่งที่ผู้มาขอคาปรึกษาฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจ หรือคับแค้ นใจ ( X = 2.80, S.D. = 0.905) ตามลาดับ และ สุดท้ายคือผู้นาชุมชนไม่พูดจาในสิ่งที่ผู้มาขอคาปรึกษาฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจ หรือคับแค้นใจ ( X = 2.79, S.D. = 0.766) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านอัตถจริยา (การทาประโยชน์ แก้ไขปัญหาต่างๆด้วยความรู้ความสามารถ) โดย ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.80, S.D. =0.750) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการ หลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านอัตถจริยา (การทา ประโยชน์ แก้ไขปัญหาต่างๆด้วยความรู้ความสามารถ) มากที่สุด คือ ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะ ได้รับการตอบสนองจากแผนพัฒนาและโครงการต่างๆ ( X = 2.84, S.D.=0.980) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนมีความ เห็นชอบแผนพัฒนาชุมชน โดยคานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเป็นหลัก( X = 2.80, S.D.=0.956) ผู้นา ชุมชนสามารถควบคุมการทางานของคณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน โดยคานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนใน ชุมชน ( X = 2.80, S.D.=0.925) ตามลาดับ และสุดท้ายคือ ผู้ นาชุมชนมีการวางแผนโครงสร้างพัฒนาชุมชน สอดคล้องและเป็นประโยชน์กับความต้องการประชาชนในชุมชน ( X = 2.79, S.D. = 0.978) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม) โดยภาพรวม มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.76, S.D. =0.691) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการบูรณาการหลักพุทธธรรม สาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย

438


SRRU NCR2018

การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม) มากที่สุด คือ ผู้นาชุมชนมีการประชาสัมพันธ์ในการดาเนินตามแผนพัฒนาและ โครงการต่างๆสม่าเสมอ ( X = 2.89, S.D.=0.855) รองลงมาคือ ผู้นาชุมชนมีการทางานตามแผนพัฒนาชุมชน ประจาปีที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง ( X = 2.75, S.D.=0.910) ผู้นาชุมชนมีการออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน ชุมชนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ ( X = 2.73, S.D.=0.903) ตามลาดับ และสุดท้ายคือ ผู้ชุมชนปฏิบัติกับ ประชาชนทุกคนด้วยความเป็นกันเองอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน ( X = 2.65, S.D. = 0.964) สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยนาข้อมูลการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอ ปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ 1) ฉันทะ ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ 2) วิริยะ ความเพียรพยายามในการบริหารงาน 3) จิตตะความเอาใจใส่ต่องาน 4) วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณางานเพื่อให้ลุล่วง ตามเป้าหมาย และสังคหวัตถุ 4 คือ 1) ทาน การให้ เสียสละช่วยเหลือ แบ่งปัน 2) ปิยวาจา พูดด้วยวาจาสุภาพ 3) อัตถจริยา การทาประโยชน์ แก้ไขปัญหาด้วยความรู้ความสามารถ 4) สมานัตตตา เสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติกับทุก คนอย่างเท่าเทียม โดยภาพรวม มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอ ปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ (n = 397) การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน หลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ) ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) ด้านวิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณางาน) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทาน (การให้ เสียสละช่วยเหลือ แบ่งปัน) ด้านปิยวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) ด้านอัตถจริยา (การทาประโยชน์) ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย) ภาพรวม

X

S.D.

แปลผล

3.05 2.96 2.95 2.80

0.674 0.736 0.741 0.691

ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

2.83 2.85 2.80 2.76 2.88

0.666 0.621 0.750 0.691 0.555

ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

จากตารางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหาร การพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.88, S.D. = 0.555) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่ เสมอ) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.05, S.D. = 0.674) รองลงมา คือ ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.96, S.D. = 0.736) ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.95, S.D. = 0.741) ด้านปิยะวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ( X = 2.85, S.D. = 0.621) ด้านทาน (การให้ เสียสละ ช่วยเหลือแบ่งปัน) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.83, S.D. = 0.666) ด้านอัตถจริยา (การทา

439


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประโยชน์) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.80, S.D. = 0.750) ด้านวิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณางาน) มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.80, S.D. = 0.691) ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.76, S.D. = 0.691) สรุป ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชน ของผู้นาชุมชน โดยภาพรวม ข้อเด่นที่สุด คือ หลักอิทธิบาท 4 ด้าน ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่ เสมอ) และข้อด้อยที่สุด คือ หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย) วิจารณ์ผลการวิจัย การศึกษาหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับการบริหารการพัฒนาชุมชน โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 และ หลักสังคหวัตถุ 4 ทั้ง 8 หลักของอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย หลัก อิทธิบาท 4 คุณธรรมที่นาไปสู่ความสาเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย 1) ฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่ใจรักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ) 2) วิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) 3) จิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) 4) วิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณา งานเพื่อให้ลุล่วงตามเป้าหมาย) แสดงให้เห็นว่า ผู้นาชุมชนปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารการพัฒนาชุมชนตามแผน ยุทธศาสตร์ชุมชนที่ได้วางไว้และดูว่าแผนที่วางไว้นั้นมีการดาเนินการตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ และต้อง ยึดมั่นในกฎระเบียบ ข้อบังคับตามบทบาทหน้าที่ที่กระทรวงมหาดไทยได้กาหนดไว้ มีการดูแลควบคุมรายละเอียด ต่างๆ โดยเฉพาะหลักการทางานที่จะทาให้บรรลุถึงความสาเร็จที่ตนประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต) (2551 : 39) กล่าวว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสาเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสาเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสาเร็จในสิ่งใดต้องทาตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิ บาท ซึ่งจาแนกไว้เป็น 4 อย่างคือ (1) ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้ ข้อนี้เป็นกาลังใจอันแรกที่ทาให้เกิดคุณธรรมข้อต่อไปทุกข้อ (2) วิริยะ คือความพากเพียร การกระทาที่ติดต่อ ไม่ ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบความสาเร็จ คานี้มีความหมายของความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง (3) จิต ตะ คือความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทาสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ คานี้รวม ความหมายของคาว่าสมาธิอยู่ด้วยอย่างเต็มที่ (4) วิมังสา คือความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสาเร็จ เกี่ยวกับ เรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นไปตลอดเวลา คานี้รวมความหมายของคาว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่ และหลักสังคหวัตถุ 4 ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจบุคคลและประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี 1) ทาน (การให้ เสียสละช่วยเหลือ แบ่งปัน) 2) ปิยวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) 3) อัตถจริยา (การทาประโยชน์ แก้ไขปัญหาด้วยความรู้ความสามารถ) 4) สมานัตต ตา (เสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม) แสดงให้เห็นว่าผู้นาชุมชน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ มี จิ ต ส านึ ก ในหน้ า ที่ ท างานโดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทน มี ก ารอธิ บ ายขั้ น ตอนการท างานอย่ า งชั ด เจนรู้ จั ก การ ประนีประนอมความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีความใกล้ชิดกับประชาชน สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมีการวางแผนพัฒนาที่ สอดคล้องกับความต้องการ มีความสม่าเสมอ ประพฤติตนถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ ซึ่งสอดคล้องกับ พระ พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2550 : 25) กล่าวว่า สังคหวัตถุ 4 คือ หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้าใจคน และ ประสานหมู่ชนไว้ในความสามัคคี ประกอบไปด้วย 1) ทาน ให้ปัน คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือ สงเคราะห์ด้วยปัจจัย4หรือทรัพย์สินสิง่ ของ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจและศิลปะวิทยา 2) ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน คือกล่าวคาสุภาพไพเราะน่าฟัง ชี้แจงแนะนาสิ่งที่เป็นประโยชน์มีเหตุผล เป็นหลักฐาน ชักจูงในทางที่ดีงาม หรือ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กาลังใจ รู้จักพูดให้เกิดความดีงาม สมานสามัคคี เกิดไมตรี ทาให้รักใคร่นับถือและ

440


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ช่ว ยเหลื อเกื้อ กู ลซึ่ งกั นและกั น 3) อัต ถจริ ยา ท าประโยชน์แ ก่เ ขา คือ ช่ วยเหลือ ด้ วยแรงกาย และขวนขวาย ช่วยเหลือกิจการต่างๆบาเพ็ญสาธารณะประโยชน์รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงเสริมในด้านจริยธรรม 4) สมานัตตตา เอาตนเข้าสมาน คือ ทาตัวให้เข้ากับเขาได้ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติเสมอ กันต่อคนทั้งหลายไม่เอาเปรียบและเสมอในสุขทุกข์ คือ ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุขร่วมกัน เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านเกี่ยวกับการบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชน ของผู้นาชุมชน ในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถนามาวิจารณ์ผลได้ ดังนี้ 1. หลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ (ความพอใจ ใฝ่รักที่จะทาสิ่งนั้นอยู่เสมอ) หลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นาใน อาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่มีความเบื่อหน่ายต่องานในหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายและไม่รีรอในการ ทางาน รักในงานที่ทา มีการนาหลักทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการให้เข้ากับการบริหารการพัฒนาชุมชน มุ่งหวัง ให้งานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายสาเร็จผลตามที่วางแผนไว้ ผู้นาได้รับมอบหมายงานแม้เป็นงานที่ไม่ถนัด หรือมีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอ แต่เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบสูงเกินความสามารถ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดความท้าทาย ในการทางานใหม่ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) (“ม.ป.ป.” : 61) ที่กล่าวว่า ความ พอใจในการที่จะกระทา มีใจรักในสิ่งที่ทา อยากทาสิ่งนั้นๆให้สาเร็จ บรรลุถึงจุดหมาย โดยไม่พะวงกับสิ่ งเร้าหรือ ผลตอบแทนทั้งหลาย อันเป็นจุดตั้งต้นที่มีความสาคัญที่สุด ซึ่งจะต้องมีการตั้งต้นให้ถูกต้อง เพราะสิ่งใดที่เรารัก เรา พอใจ ก็มักจะทาสิ่งนั้นได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีความพอใจในการที่จะปฏิบัติให้เกิดขึ้น ให้เกิดความรักในคุณค่าความ ดีงาม รักในความสมบูรณ์ข องสิ่งนั้น และอยากทางานนั้นให้บรรลุเป้าหมายโดยสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้น ผู้นาจะต้องมี ความทุ่มเท เต็มใจในการทางานเพื่อให้งานนั้นสมบูรณ์ สาเร็จ โดยไม่ต้องห่วงกับสิ่งเร้าหรือผลตอบแทนทั้งหลายทีจ่ ะ ได้ 2. หลักอิทธิบาท 4 ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามในการบริหารงาน) หลักอิทธิบาท 4 ด้านวิริยะโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นาในอาเภอ ปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นคนที่มีความเพียรพยายาม บากบั่น ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและความยากลาบาก รู้จัก วางแผนก่อนการดาเนินงานเพื่อให้การดาเนินงานสาเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ เป็นคนที่มีคุณธรรมในการ บริหารการพัฒนาชุมชน มีความมุ่งมั่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้มองการณ์ไกล คาดคะเนได้ถึงแนวโน้มใน อนาคต รักในงานที่ทาจะได้รู้ว่าเราควรทางานอะไร ส่วนความขยันจะทาให้งานของเราก้าวหน้าไปสู่ความสาเร็จ ซึ่ง สอดคล้องกับ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2553 : 844) ที่กล่าวว่า ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าว ไป ใจสู้ ไม่ท้อถอย ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลาบาก เมื่อคนรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง ถ้า วิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว แม้ได้ยินว่าจุดหมายนั้นจะถึงได้ ยาก มีอุปสรรคมากหรืออาจใช้เวลายาวนาน เขาก็ไม่เคย ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทายที่จะเอาชนะให้ได้ทาให้สาเร็จ ผู้นาจะต้องทางานด้วยความไม่ประมาท ใช้สติ ปัญญา เป็นตัวประคับประคอง ไม่กลัวต่ออุปสรรคมี จิตใจที่แน่วแน่ ไม่ละทิ้งหน้าที่หรือภารกิจระหว่างที่ทางานเพื่อให้ งานมี ความก้าวหน้าและสาเร็จผล 3. หลักอิทธิบาท 4 ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ต่องาน) หลักอิทธิบาท 4 จิตตะ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นามีจิตใจมั่นคง มีความละเอียดรอบคอบในการบริหารการพัฒนา ไม่ทางานแบบฉาบฉวย เอาใจใส่กับงานที่ทาอยู่เข้าถึงเนื้องานและ ไม่สนใจถึงปัญหา อุปสรรคที่เป็นเหตุให้เสียกาลังใจ รู้จักการอุทิศตัว อุทิศใจให้กับสิ่งที่ทา ด้วยความเสียสละ ไม่หวัง

441


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลตอบแทนใดๆ เอาใจใส่ดูแล บาบัดทุกข์ บารุงสุข เอาใจใส่ในผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง รู้จักพอใจในฐานะและเอา ใจใส่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อสังคมและปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) (2548 : 197) ที่กล่าวว่า การเอาใจฝักใฝ่สนใจในกิจการงานนั้นๆ ไม่ทอดทิ้งธุระ สนใจอย่างจริงจัง ในสิ่งที่ตนได้ปลูกฝังความพอใจ และกาลังใช้ความพยายามอยู่ ไม่ทอดทิ้งธุระเหล่านั้น มีความแน่ว แน่มั่นคงอยู่กับภารกิจนั้น อันเป็นลักษณะของการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ของตนด้วยความแน่วแน่ มุ่งมั่น ไม่ หวั่นไหว จนกว่าจะประสบความสาเร็จในสิ่งที่ตนประสงค์ การทางานนั้นจะต้องมีใจจดจ่ออยู่กับงานที่ทาเพื่อให้ เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องด้วยเหตุผล เมื่อใจตั้งมั่นอยู่กับงานนั้นอย่างจริงจังงานนั้นก็จะสาเร็จลุล่วง 4. ห ลั กอิ ท ธิ บาท 4 ด้านวิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณางานเพื่อให้ลุล่วงตามเป้าหมาย) หลักอิทธิบาท 4 ด้านวิมังสา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เ ห็นว่า ผู้นาในอาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ รู้จักพิจารณาแผนการบริหารงาน ใคร่ครวญ หาข้อดี ข้อด้อย มีความรอบรู้และรอบคอบ มีความตั้งใจ และเต็มใจที่จะทางานอย่างเต็มที่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพของการทางานซึ่งจะส่งผลต่อความสาเร็จ และเป็นไปตามเป้าหมายของชุมชน ดาเนินงานโดยใช้สติคิด พิจารณา วางแผน ทดลอง วัดผล คิดค้นวิธีปรับปรุง แก้ไขเพื่อจัดการดาเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น รู้จักสรุปผลการดาเนินงานที่ผา่ นมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดูว่าสิ่งที่ ทามานั้นเป็นไปในแนวทางที่คาดหวังไว้หรือไม่ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2553 : 845) ที่กล่าวว่า การคิดค้นหาเหตุผล ชอบสอบสวนทดลอง เมื่อทาอะไร ก็คิดพิจารณาทดสอบไป เช่นคิดว่าผลนี่เกิดจากสาเหตุอะไร ทาไมจึงเป็นอย่างนี้ ผลคราวนี้เกิดจากปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้เท่านั้น ถ้า นาองค์ประกอบนี้ออกเสียจะเป็นอย่างนี้ ถ้าเพิ่มองค์ประกอบนี้เข้าไปแทนจะเกิดผลอย่างนี้ ลองเปลี่ยนองค์ประกอบ นั้นแล้ว ไม่เกิดผลอย่างที่คาดหมาย เป็นเพราะอะไร จะแก้ที่จุดไหน ผู้นาต้องใช้ปัญญาไตร่ตรอง ค้นคว้าหาเหตุผลใน งานที่ทา ตรวจสอบข้อผิดพลาดในงานที่ทาด้วยเหตุผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขวิธีการทางานให้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและ มีประสิทธิภาพ 5. หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทาน (การให้ เสียสละช่วยเหลือ แบ่งปัน) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทาน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นาในอาเภอ ปะคา จังหวัดบุรีรัมย์รู้จักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเข้มแข็ง อนุเคราะห์กับคน ในชุมชนในทุกๆด้าน ทั้งทางทุนทรัพย์ สิ่งของ ปัจจัยสี่ที่จาเป็ นเพื่อให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขและยัง ช่วยส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ รู้จักเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้เสนอความคิดเห็น แล้วนาความ คิดเห็นนั้นมาทดลองใช้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และทันสมัยต่อเหตุการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับ บุญสิริ ชวลิตธารง (2529 : 23-31) ที่กล่าวว่า การเฉลี่ยเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นข้อสาคัญเพราะว่าทุกๆคนนั้นย่อมต้องการความ ช่วยเหลือจากกันและกันอยู่ในด้านต่างๆ ในด้านวัตถุ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ในด้านกาลัง กาย ช่วยกระทากิจการของกันและกัน ในด้านวาจา พูดจาช่วยเหลือในเรื่องที่ควรพูดจา ในด้านสติปัญญา ช่วยให้ ความรู้ให้การแนะนา ในข้อที่ควรจะแนะนาต่างๆ การให้ การอนุเคราะห์เจือจานซึ่งกันและกันด้วยการให้สิ่งของแก่ คนที่ต้องการและยังต้องรู้ว่าเวลานี้ควรให้หรือช่วยเหลืออะไร ที่สาคัญต้องรู้จักการประมาณในการให้ 6. หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจา (พูดด้วยวาจาสุภาพ) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นาใน อาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ รู้จักอธิบายขั้นตอนและวิธีการทางานอย่างชัดเจนและมีการปรึกษาหารือ ทางานร่วมกัน เป็นทีมอยู่เสมอ ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างทั่วถึง ใช้คาพูดที่สุภาพ นิ่มนวล ชัดเจน ใช้ถ้อยคาที่แสดงถึง ความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจผู้อื่นรู้จักการพูดจาทักทาย ให้คาแนะนาด้วยถ้อยคาสุภาพและเป็นกันเอง มีความใกล้ชิด

442


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กับประชาชน มีวาทศิลป์ในการเจรจาต่อรองกับประชาชนภายในชุมชน จะต้องใช้การเจรจาด้วยเหตุผล และจะต้อง หลีกเลี่ยงคาพูดที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งและความบาดหมาง ไม่ยุยงให้แตกความสามัคคี พูดแต่ในสิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ภายใต้ความเหมาะสมกับกาลเทศะ ซึ่งสอดคล้องกับ บุญสิริ ชวลิตธารง (2529 : 23-31) ที่ กล่าวว่า ปิยวาจา คือการเจรจาถ้อยคาซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่จับใจของกันและกัน อันเป็นถ้อยคาสุภาพ เพราะวาจาที่พูด ออกไปนั้น ถ้าเป็นวาจาที่ไม่สุภาพไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็อาจเป็นวาจาที่เสียดแทงน้าใจของผู้อื่น ทาให้ผู้อื่นเสียใจ เจ็บ ใจ ไม่สบายใจ เพราะฉะนั้น เราทุกคนจะต้องมีสติควบคุมใจ ควบคุมวาจา ที่จะพูดออกไปให้เป็นวาจาที่สุภาพ เหมาะสม แม้ว่าในบางครั้งต้องทางานเหนื่อยก็ตาม สิ่งที่จะเป็นเครื่องควบคุมการพูดของเราให้ดีก็คือสตินั่นเอง ดังนั้นการพูดหรือการแสดงออกทุกครั้งต้องมีสติอยู่เสมอ การพูดด้วยถ้อยคาที่สุภาพ มี ประโยชน์ เป็นจริงและ ถ้อยคาที่ไม่กระทบกระทั่งผู้อื่น พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทาให้เกิดความเลื่อมใส พูดทาให้การงานสาเร็จเป็น ประโยชน์ในการดารงชีวิต 7. หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านอัตถจริยา (การทาประโยชน์ แก้ไขปัญหาด้วยความรู้ความสามารถ) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านอัตถจริยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นาใน อาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์รู้จักสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน การร่วมกันทางานตามหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบให้ดี ที่สุดรวมถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นการส่งเสริมให้เกิดผลสาเร็จของงานมากขึ้น ทาคุณประโยชน์แก่บุคคลใน ชุมชน ช่วยเหลือด้วยแรงกายและขวนขวายช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ บาเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมทั้งช่วยแก้ไข ปัญหาและช่วยปรับปรุง ส่งเสริมในด้านคุณธรรม จริยธรรม ผู้นามีน้าใจช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ทา ด้วยกาลังความคิด กาลังกาย กาลังทรัพย์ ช่วยเหลือตามกาลังที่ตนมีอยู่ มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมทั้ง ช่วย แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต) (2549 : 70-75) ที่ กล่าวว่า อัตถจริยา คือ การทาตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น (สงเคราะห์ประชาชน) ตรงกับคาพังเพยที่ว่า “อยู่บ้าน ท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น” นักบริหารทาอัตถจริยาได้หลายวิธี เช่น การช่วยเหลือกันยามป่วย ไข้ หรือเป็นประธานในงานต่างๆของผู้ใต้บังคับบัญชา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น รู้จักการ เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ความสุขสบายส่วนตัว บาเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทุ่มเทแรงกาย แ รงใจในการ ช่วยเหลือผู้อื่นแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเต็มความสามารถ 8. หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม) หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านสมานัตตตา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นา ในอาเภอปะคา จัง หวัดบุรีรัมย์รู้จักทาตนให้มีความสม่าเสมอ ประพฤติตนอย่างเหมาะสมตามเวลา สถานที่และ ตาแหน่งหน้าที่ของตนเองปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเป็นกันเองอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม ร่วมสุขร่วมทุกข์กับคน ในชุมชน เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา จะช่วยให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยและเป็นการสร้างความไว้วางใจกันจนเชื่อใจ กัน ผู้นามีหน้าที่รักษาระเบียบวินัยอันใดที่ทุกคนพึงปฏิบัติทั้งผู้ใหญ่ทั้งผู้น้อยตามหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วย ความเคารพและต้องมีความสามารถในการไม่เลือกปฏิบัติ ตัดสินปัญหาต้องเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ตามเหตุ และผล ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับ พระวีรวัฒน์ รอดสุโข (2550) ที่กล่าวว่า สมานัตตตา คือความเป็นผู้วางตนสม่าเสมอหรือเสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งหมายถึงการรักษาระเบียบวินัยอันใดที่ทุกคนพึงปฏิบัติทั้ง ผู้ใหญ่และผู้น้อยตามหน้าที่ที่บัญญัติเอาไว้เป็นระเบียบของสถานที่ของหน่วยงาน เช่น กฎระเบียบของสถาบัน การศึกษา ระเบียบของสถานที่ราชการต่างๆ เป็นต้น ตลอดถึงกฎหมายของบ้านเมือง ในทางพระพุทธศาสนาก็คือ พระวินัยบัญญัติของพระสงฆ์นั่นเอง การวางตัวให้เหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย รู้จักวางตนให้สมกับฐานะ มีจิตใจที่

443


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

มั่นคงไม่หวั่นไหว เปลี่ยนแปลงง่าย ดารงตนไว้ไม่ให้ตกไปในความชั่ว ปฏิบัติกับคนทั้งหลายอย่างเท่าเทียมกันสังคม จะได้ดารงอยู่ในความสงบและได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ องค์กรภาครัฐควรสนับสนุนบุคลากรและงบประมาณในการบริหารงานของผู้นาในชุมชนเพื่อร่วมกัน พัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า หน่วยงานภาครัฐควรมีการยกย่องสรรเสริญประกาศเกียรติคุณแก่ผู้นาชุมชนที่มี บทบาทด้านการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 และ สังคหวัตถุ 4 ควรส่งเสริมให้มีก ารใช้หลักอิทธิบาท 4 และ สังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานพัฒนาชุมชน กิตติกรรมประกาศ การวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักพุทธธรรมสาหรับการบริหารการพัฒนาชุมชนของผู้นาชุมชน ในอาเภอ ปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ ขอขอบพระคุณคณาจารย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งให้ความรู้ คาปรึกษา ตลอดจนแนะนาแนวทางในการศึกษาแก่ผู้วิจัย ตลอดถึงคณาจารย์ทุกท่านที่ให้การอบรมสั่ง สอน ให้วิชาความรู้ และที่ขาดไม่ได้เลยคือเพื่อนๆร่วมหลักสูตรทุกท่านที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอดด้วยดีอย่าง สม่าเสมอ ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นกาลังกันเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนในครอบครัว หวัง เป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาค้นคว้างานเล่มนี้จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในโอกาสต่อไป เอกสารอ้างอิง ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี. บุญศิริ ชวลิตธารง. (2529). ธรรมโอสถ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์. พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์). (2555). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดาเนินชีวิตของ คนไทยในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ประวัตคิ วามเป็นมาอาเภอปะคา. สืบค้น 15 มีนาคม 2559 จาก https://th.wikipedia. org/wiki/ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2548). นิเทศธรรม. กรุงเทพมหานคร : แปดสิบเจ็ด. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2549). พุทธวิธีในการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. ______. (2551). ทาอย่างไรจึงจะเรียนเก่ง. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) . (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวยจากัด. ______. (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์(ฉบับประมวลธรรม). กรุงเทพมหานคร : เพิม่ ทรัพย์. พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท). (ม.ป.ป.). งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบันลือธรรม. พระวีรวัฒน์ รอดสุโข. (2550). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชา พระพุทธศาสนาเรื่องสังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 ไตรลักษณ์ 3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยชัน้

444


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนด้วยการ์ตูนและการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. Cronbach Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row Publishers. Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,2, 4960. Taro Yamane. (1960). Statistics : An introductory analysis. Singapore : Harper International Edition.

445


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-11 ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ STRATEGIC INTEGRATION OF SOCIAL CAPITAL AND GOOD GOVERNANCE OF THE LOCAL GOVERNMENTS FOR SUSTAINABILITY IN KHWAO SINARIN DISTRICT, SURIN PROVINCE ชุลีพร เจริญท้าว1, อภิชาติ แสงอัมพร2 และ จิรายุ ทรัพย์สิน3 1

Chuleeporn Charoaytao นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ 2 Apichat Sangamporn คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3

Jirayu Supsin คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทุนทางสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อนาเสนอกระบวนการสร้างยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นที่นาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จานวน 395 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทาขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็ บ รวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่า งยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก เมื่ อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการความรู้ รองลงมา คือ ด้านโครงสร้าง พื้นฐาน ด้านคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านความคุ้มค่า รวมทุนทางสังคม รวมธรรมาภิบาล ด้านความโปร่งใส ด้านรายได้ ด้านความไว้วางใจ ด้านนิติธรรม ด้านการมีส่วนร่วม ตามลาดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้าน บุคคล ซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : ยุทธศาสตร์; การบูรณาการ; ทุนทางสังคม; การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. Abstract This research aims to study the social capital of a local government in Khwao Sinarin District, Surin Province and to propose the creation of a strategic integration of social capital and governance of the organization that contribute to sustainable development in the district. This research use the quantitative research studies. The data were collected from residents in Khwao Sinarin District, Surin province of 395 cases with multi-stage random sampling method. A

446


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

questionnaire was prepared as a tool to collect data. The data were analyzed by percentage, average and standard deviation. The results showed that the strategic integration of social capital and governance of local governments for sustainability in Khwao Sinarin District, Surin province was overall at average level. Considering each aspect, it was found that on an average the most was the knowledge management, infrastructure, moral, responsibility, value, social venture including good governance, the transparency of the income , trust , the rule of law, participation, respectively, and the average minimum is the personnel. All of those have high average level. Keywords: strategy; integration; Social capital; Good Governance. บทนา หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) จัดเป็นแนวคิดสาคัญในการบริหารงานและการปกครองใน ปัจจุบัน เพราะโลกปัจจุบันได้หันไปให้ความสนใจกับเรื่องของโลกาภิวัตน์และธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ดี มากขึ้น การพัฒนาเรื่องของการเมืองการปกครองได้มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นหากจะให้ประเทศมีการ เจริญ เติ บโตอย่า งยั่ งยื น การมุ่ งด าเนิน ธุร กิจ หรื อปฏิบั ติร าชการต่ าง ๆ โดยไม่ ให้ ความสนใจถึงเรื่ องของสั งคม ประชาชน และสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป การมีการบริหารจัดการที่ดีจึงเข้ามาเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้ ความสาคัญและเริ่มมีการนาไปปฏิบัติกันมากขึ้น ธรรมาภิบาลหรื อการบริหารจัดการที่ดีเป็นประเด็นที่อยู่ในความ สนใจของประชาชนโดยเฉพาะข้าราชการและพนักงานบริษัทเอกชนเพราะธรรมาภิบาลเป็นการบริหารงานให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งมั่นอยู่บนหลักการบริหารงานที่เที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจิตสานึก ในการทางาน มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทา พร้อมตอบคาถามหรือตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพร้อม รับผิด มีศีลธรรม จริยธรรมในการทางาน การคานึงถึงการมีส่วนร่วมในการรับรู้ ตัดสินใจ ดาเนินการและประเมินผล ตลอดจนร่วมรับผลจากการตัดสินใจร่วมนั้น มีการส่งเสริมสถานภาพหญิงชายและการให้ความสาคัญกับกลุ่มต่างๆ รวมทั้งคนด้อยโอกาสตลอดจนการสร้างความเท่าเทียมกับทางสังคมในการรับโอกาสต่างๆ ที่ประชาชนพึงได้รับจากรัฐ อีกด้ วยธรรมาภิบาลเป็ น หลั ก การกระบวนการและเป็ น เป้า หมายไปในตั วการมี ธ รรมาภิบ าลอาจนามาสู่ก ารมี ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ในที่สุดและการมีประชาธิปไตยก็นามาสู่การมีผลทางสังคมคือการมีการพัฒนาประเทศไป ในทางที่สร้างความสงบสุขอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนามาสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้โดยสันติวิธี ทุนทางสังคมเป็นเครือข่ายที่มีพลังในการขับเคลื่อนองค์กรในชุมชนที่มุ่งทากิจกรรมต่างๆ ของชุม ชน ได้รับประโยชน์ ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนาไปสู่กระบวนการจัดการความรู้นอกจากนี้ ในสังคม เศรษฐกิจฐานความรู้ยังเป็นสินทรัพย์ที่สาคัญที่องค์กรทุกองค์กร ตลอดจนบุคคลแต่ละคนจะต้องมี เพราะความรู้ ความสามารถเป็นพลังสาคัญของการพัฒนาในยุคเศรษฐกิจ ดังนั้นองค์ กรทุกองค์กรจึงมุ่งให้ความสาคัญกับการเพิ่ม ความรู้แก่บุคลากรมาร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล และความรู้ที่ ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งความรู้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ความรู้เด่นชัด เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือวิชาการอยู่ในตารา คู่มือปฏิบัติงาน 2. ความรู้ซ่อนเร้น เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนานเป็ น ภู มิ ปั ญ ญา โดยผ่ า นกระบวนการหนึ่ งที่ เ รี ย กว่ า “กระบวนการจั ด การความรู้ ” (Knowledge management) ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่องค์กรทุกองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้ความสาคัญ สภาพ การทางานในยุคนี้ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ เพราะฉะนั้น การดาเนินการภายในองค์กรจึงต้องให้ความสาคัญกับการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง

447


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สอดคล้องกับแนวคิดของ Manville ที่ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นรากฐานในการพัฒนาที่จะช่วยให้บริษัทสามารถ สร้างนวัตกรรมได้มากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้พนักงานสามารถปรับตัวและพร้อมที่จะทางานในบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ได้ อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นการจัดการความรู้จึงเป็นเรื่องสาคัญและเป็นความท้าทายขององค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐ ที่จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรเข้าถึงการจัดการความรู้โดยการให้คนในองค์กรเกิดการพัฒนาความรู้ และสร้างความคิด ใหม่ๆ อยู่เสมอ ในขณะเดียวกันตัวองค์กรก็ต้องสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ เพิ่มพูนความรู้เพื่อสามารถนาความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารองค์กรให้มีความสามารถเชิงแข่งขัน ในทางสังคมก็สามารถสร้างความสมดุลทางสังคมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหมายถึง สังคมที่ประกอบไปด้วยคนที่มีการพัฒนา ทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา อันจะทาให้ชุมชนนั้นๆ เกิดความเข้มแข็ง (ยืน ภู่วรวรรณ และ สมชาย นาประเสริฐชัย. 2548) ท้องที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตาบล 55 หมู่บ้าน (ประวัติ ความเป็นมาอาเภอเขวาสินรินทร์. 2559 : ออนไลน์) อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ อาเภอเมืองสุรินทร์ มีจานวนประชากร 34,477 คน นอกจากคนท้องถิ่นเดิมยังมีคนจากถิ่นอื่นย้ายมาอยู่เพื่อประกอบ อาชีพ จึงมีความหลากหลายของอาชีพ ภาษา วัฒนธรรม ดังนั้นผู้นาของท้องถิ่นจึงมีความจาเป็นที่จะต้องมีการ บริหารงานโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นแนวทางในการกาหนดนโยบายการบริหารในด้านต่างๆ ภายในองค์กร และตั้งอยู่ในความถูกต้องและเป็นธรรม ผู้ทาวิจัยมีแนวคิดในการทาวิจัยยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อนาผลการวิจัย ไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. พื่อศึกษาทุนทางสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3. เพื่อนาเสนอกระบวนการสร้างยุทธศาสตร์ การบูร ณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บ รวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) เป็นเครื่องมือ สาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล

448


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จานวน 34,477 คน (สานักงานทะเบียนอาเภอเขวาสินรินทร์. 2559) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนประชาชน จานวน 395 ราย ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamana. 1970 : 125) ซึ่งใช้ระดับค่าความเชื่อมั่น ที่ 95% ที่นัยสาคัญ 0.05 ดังนั้น จานวนกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบของ ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ซึ่ งแบ่ง ออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ โดยจาแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และสถานภาพ ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Check list) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับทุนทางสังคม 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) ด้าน ความไว้วางใจ 2) ด้านรายได้ 3) ด้านบุคคล 4) ด้านการจัดการความรู้ 5) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นแบบมาตรา ส่วนประเมินค่า (Rating Scale)การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยยึดเกณฑ์ (ประกอบ กรรณสูตร. 2542 : 108) ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วน ร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale)การแปล ความหมายของค่าเฉลี่ยโดยยึดเกณฑ์ (ประกอบ กรรณสูตร. 2542 : 108) ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่ างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นคาถามแบบปลายเปิด (Open Ended Question) ขั้นตอนการสร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตารา และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ยุทธศาสตร์การ บูรณาการทุนทาง สังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเข วาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยพิจารณาตามหลักระเบียบและวัตถุประสงค์ของการวิจัยหลัก เพื่อเป็นกรอบ ประเด็นคาถาม 2. น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษามาเขี ย นเป็ น ข้ อ กระทงความ (Item) ของแบบ สอบถามตาม องค์ประกอบต่างๆ ของยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3. จัดทาร่างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดที่กาหนดโดยพิจารณาถึงเนื้อหารายละเอียดให้ครอบคลุม ถึงวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา 4. น าแบบสอบถามที่ ส ร้ า งขึ้ น เสนอ ประธานและกรรมการที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ เพื่ อ ท าการ ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมข้อคาถามให้ครอบคลุมเนื้อหาและรัดกุมยิ่งขึ้น

449


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

5. นาเครื่องมือที่แก้ไขปรับปรุงแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน เพื่อให้พิจารณาตรวจสอบความ ตรงของเนื้อหาและความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ โดยการจัดทาหนังสือขอความร่วมมือในการพิจารณา ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) อาจารย์ ดร.นพฤทธิ์ จิตรสายธาร 2) อาจารย์ ดร.วันชัย สุขตาม 3) นายตฤณ สุวรรณพัฒน์ ผลการพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC (Index of Item – Objective Congruence ) ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 6. นาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว นาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความชัดเจน 7. นาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่ม ตัวอย่างเป้าหมาย จานวน 30 ชุด 8. นาแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาคานวณหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability )โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α - Coefficient) โดยการใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach. 1970 : 160) จากการคานวณได้ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 9. นาผลการทดลองใช้มาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์ และนาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับจริง เพื่อนาไปใช้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จัดทาหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตต่อนายอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการตอบ แบบสอบถามจากกานัน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในพื้นที่ 2. เตรียมความพร้อมของแบบสอบถาม ให้มีจานวนเพียงพอกับจานวนกลุ่มตัวอย่างที่จะทาการเก็บ รวบรวมข้อมูล แล้วนาแบบสอบถามพร้อมหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลไปเสนอขออนุญาตเก็บรวบรวม ข้อมูลต่อนายอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พร้อมชี้แจงรายละเอียดของการดาเนินการศึกษาวิจัยและการ ดาเนินการเพื่อใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบตามจานวนที่ต้องการ 3. นาแบบสอบถามไปทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยลงไปเก็บแบบสอบถาม ด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1 – 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจั ยให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับคืนทั้งหมดแล้วนามาตรวจสอบความ ถูกต้องความสมบูรณ์ถ้ายังไม่สมบูรณ์คัดแบบสอบถามฉบับนั้นออกแล้วดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จนครบ จากนั้นจึงได้เริ่มทาการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยที่เลือก ใช้ในครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นาแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

450


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. นาผลของข้อมูลบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อคานวณหาค่าสถิติที่เลือกใช้เพื่อ การวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อหาค่าทางสถิติ 3. นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะตารางแสดงผลการวิเคราะห์พร้อมการแปลความหมาย โดยวิธีการพรรณนาตามค่าสถิติของแต่ละตารางข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทาการิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการ วิจัยทางสังคมศาสตร์เสนอข้อมูลและใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 สถิติหาค่าความสอดคล้องของแบบสอบถาม ใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) โดยใช้สูตรของ โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton. 1977 : 49) โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้จากการ คานวณจากสูตรที่จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป คัดเลือกข้อสอบข้อนั้นไว้ใช้ได้ แต่ถ้าได้ค่า IOC ต่ากว่า 0.5 ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุง หรือตัดทิ้ง 1.2 สถิติหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α Coefficient)ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach. 1970 อ้างถึงใน วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 260) 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย ( X ) 2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) 2.4 ค่าแจกแจงแบบที (t – test) 2.5 ค่าความแปรปรวน (F – test) (ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2553 : 177) ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ลาดับขั้นการนาเสนอ ดังนี้ 1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จานวน 395 ชุด แล้ว นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อคานวณหาค่าสถิติต่าง ๆ สาหรับตอบปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ การศึกษา พร้อมทั้งนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.1 ผลการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มี ความคิดเห็ นต่ อ ยุ ทธศาสตร์การบูรณาการ ทุน ทางสั งคมและการบริห ารกิจ การ บ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดย ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.16, S.D. = 0.296) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ยุทธศาสตร์ การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่าง

451


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการความรู้ ( X = 4.27, S.D. = 0.570) รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( X = 4.22, S.D. = 0.574) ด้านคุณธรรม ( X = 4.21, S.D. = 0.456) ด้านความรับผิดชอบ ( X = 4.17, S.D. = 0.524) ด้านความคุ้มค่า ( X = 4.17, S.D. = 0.519) ด้านความ โปร่งใส ( X = 4.14, S.D. = 0.494) ด้านรายได้ ( X = 4.13, S.D. = 0.454) ด้านความไว้วางใจ ( X = 4.12, S.D. = 0.520) ด้านนิติธรรม ( X = 4.12, S.D. = 0.514) ด้านการมีส่วนร่วม ( X = 4.11, S.D. = 0.461) และน้อยที่สุด คือ ด้านบุคคล ( X = 4.06, S.D. = 0.601) 1.2 ผลการวิเคราะห์ ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จาแนกเป็นราย ด้าน ผู้วิจัยนาข้อมูล ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยจาแนกรายด้าน มา ดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า ด้านความไว้วางใจ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.12, S.D. = 0.520) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านความไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุก ข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทันเหตุการณ์ ( X = 4.17, S.D. = 0.575) รองลงมาคือ ความสามารถในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ( X = 4.15, S.D. = 0.566) และ น้อยที่สุดมีความรับผิดชอบต่อสังคม ( X = 4.03, S.D. = 0.705) ด้านรายได้ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.13, S.D. = 0.454) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านรายได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่ง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการจัดตั้งกองทุเพื่อช่วยเหลือชุมชน ( X = 4.16, S.D. = 0.626) รองลงมา คือ มีการ สร้างเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้กับชุมชน ( X = 4.12, S.D. = 0.618) และน้อยที่สุด คือ มีการฝึกอบรมด้านอาชีพ เสริมให้กับชุมชน ( X = 4.12, S.D. = 0.586) ด้านบุคคล โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.06, S.D. = 0.601) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านบุคคล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมและยกย่องเชิดชูคนดี ( X = 4.096, S.D. = 0.6458) รองลงมา คือ มีความจริงใจเปิดเผยตรงไปตรงมา ( X = 4.06, S.D. = 0.656) และน้อยที่สุด คือ มีความ เอื้ออาทรต่อกัน ( X = 4.03, S.D. = 0.641) ด้านการจัดการความรู้ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.27, S.D. = 0.570) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปฏิบัติงานสอดคล้องและเข้าใจตามความรู้ ( X = 4.29, S.D. = 0.602)

452


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

รองลงมา ตั้งใจปฏิบัติงานและเรียนรู้งานอย่างต่อเนื่อง ( X = 4.27, S.D. = 0.584) และน้อยที่สุด คือ ระดับความรู้ ในการปฏิบัติงาน ( X = 4.25, S.D. = 0.603) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.22, S.D. = 0.574) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เส้นทางคมนาคมที่สะดวกและปลอดภัย ( X = 4.25, S.D. = 0.599) รองลงมา คือ ไฟฟ้าครอบคลุมทุกครัวเรือน ( X = 4.21, S.D. = 0.598) และน้อยที่สุด คือ น้าเพื่อการ อุปโภคและบริโภคที่เพียงพอ ( X = 4.20, S.D. = 0.624) ด้านหลักนิติธรรม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.12, S.D. = 0.514) เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านหลักนิติธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบังคับหรื อ ระเบียบต่างๆ ที่จะมีผลบังคับใช้กับชุมชนหมู่บ้าน ( X = 4.16, S.D. = 0.578) รองลงมา คือ ปฏิบัติต่อประชาชน โดยไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาค ( X = 4.14, S.D. = 0.547) มีการปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับให้ เหมาะสมถูกกับสถานการณ์ ( X = 4.12, S.D. = 0.590) การบริหารงานของ อปท.มีความชัดเจนถูกต้องตามหลัก กฎหมายระเบียบข้อบังคับ ( X = 4.09, S.D. = 0.637) และน้อยที่สุด คือ ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อ งตามหลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ( X = 4.09, S.D. = 0.627) ด้านหลักคุณธรรม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.21, S.D. = 0.456) เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านหลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารและบุคลากรควรยึดหลักคุณธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อ ประชาชน ( X = 4.25, S.D. = 0.586) รองลงมา คือ บุคลากรมีความซื่อสัตย์สุจริตยึดมั่นในศีลธรรมและจริยธรรม ( X = 4.24, S.D. = 0.552) ผู้บริหารมีการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบธรรมให้ อยู่ในพื้นฐานของศีลธรรมและจริยธรรม ( X = 4.23, S.D. = 0.572) บุคลากรของ อปท. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อ่อนน้อม ถ่อมตนพร้อมให้บริการ ( X = 4.22, S.D. = 0.567) และน้อยที่สุด คือ บุคลากรของ อปท. ปฏิบัติตนดีถูกต้องตามหลั กคุณธรรม ( X = 4.13, S.D. = 0.609) ด้านหลักความโปร่งใส โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.14, S.D. = 0.494) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านหลักความโปร่งใส มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เปิดโอกาสให้ประชาชนติดตามตรวจสอบการบริหารงานของ อปท. อย่างสม่าเสมอ ( X = 4.18, S.D. = 0.628) รองลงมา คือ การบริหารงานหรือกิจกรรมต่างๆ มีการสรุปและ เปิดเผยต่อสาธารณะชน ( X = 4.16, S.D. = 0.562) ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะชนมีความถูกต้องตรง กับความเป็นจริงและสม่าเสมอ ( X = 4.13, S.D. = 0.637) กระบวนการทางานของ อปท. เป็นไปตามระเบียบ

453


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สามารถตรวจสอบได้ ( X = 4.12, S.D. = 0.575) และน้อยที่สุด คือ กระบวนการให้ความดีความชอบสามารถ ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ( X = 4.10, S.D. = 0.623) ด้านหลักการมีส่วนร่วม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.11, S.D. = 0.461) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านหลักการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ารับฟังการประชุมสภาเพื่อ กาหนดนโยบาย,ออกกฎระเบียบ,ข้อบังคับต่างๆของ อปท. ( X = 4.16, S.D. = 0.597) รองลงมา คือ มีการจัดเวที ประชาคมในการรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชน ( X = 4.14, S.D. = 0.614) อปท.มีการเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผล ( X = 4.09, S.D. = 0.582) เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอ ความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ( X = 4.08, S.D. = 0.551) และน้อยที่สุด คือ อปท.มีการแต่งตั้งตัวแทน ประชาชนเข้าร่วมในการจัดซื้อจัดจ้าง ( X = 4.07, S.D. = 0.549) ด้านหลักความรับผิดชอบ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.17, S.D. = 0.524) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านหลักความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการกาหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์การ อย่างชัดเจน ( X = 4.27, S.D. = 0.594) รองลงมา คือ การบริหารบุคลากรด้วยความรับผิดชอบให้ทุกฝ่ายมี ขวัญ และกาลังใจในการทางาน ( X = 4.21, S.D. = 0.634 บุคลากรมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเมื่อได้รับ มอบหมาย ( X = 4.15, S.D. = 0.642) และน้อยที่สุด คือ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสีย โดยตรงเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ( X = 4.11, S.D. = 0.645) และมีการนาโครงการ กิจกรรม หรือแผนงานที่ แถลงไปดาเนินการได้เห็นเป็นรูปธรรม ( X = 4.11, S.D. = 0.620) ด้านหลักความคุ้มค่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.17, S.D. = 0.519) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านหลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการรณรงค์ให้บุคลากรประหยัดพลังงาน ( X = 4.21, S.D. = 0.631) รองลงมา คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดาเนินชีวิตโดยยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( X = 4.17, S.D. = 0.618) การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ชุมชน/หมู่บ้าน จะได้รับ ( X = 4.16, S.D. = 0.646) การจัดสรรตาแหน่งของบุคลากรให้มีความเหมาะสมหรือความชานาญในการปฏิบัติหน้าที่ ( X = 4.15, S.D. = 0.646) และน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ( X = 4.14, S.D. = 0.677) สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยนาข้อมูลยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่ง ยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้หลัก 11 ข้อ คือ 1) ด้านความไว้วางใจ 2) ด้านรายได้ 3) ด้านบุคคล 4) ด้านการจัดการความรู้ 5) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 6) หลักนิติ

454


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ธรรม 7) หลักคุณธรรม 8) หลักความโปร่งใส 9) หลักการมีส่วนร่วม 10) หลักความรับผิดชอบ และ 11) หลักความ คุ้มค่า โดยภาพรวม มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานของยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม (n = 395) ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านความไว้วางใจ ด้านรายได้ ด้านบุคคล ด้านการจัดการความรู้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทุนทางสังคม ด้านนิติธรรม ด้านคุณธรรม ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความรับผิดชอบ ด้านความคุ้มค่า รวมธรรมาภิบาล ภาพรวม

X 4.12 4.13 4.06 4.27 4.22 4.16 4.12 4.21 4.14 4.11 4.17 4.17 4.15 4.16

S.D. 0.520 0.454 0.601 0.570 0.574 0.354 0.514 0.456 0.494 0.461 0.524 0.519 0.315 0.296

แปลผล มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

จากตารางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทาง สังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.16, S.D. = 0.296) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการความรู้ ( X = 4.27, S.D. = 0.570) รองลงมา คือ ด้าน โครงสร้างพื้นฐาน ( X = 4.22, S.D. = 0.574) ด้านคุณธรรม ( X = 4.21, S.D. = 0.456) ด้านความรับผิดชอบ ( X = 4.17, S.D. = 0.524) ด้านความคุ้มค่า ( X = 4.17, S.D. = 0.519) รวมทุนทางสังคม ( X = 4.16, S.D. = 0.354) รวมธรรมาภิบาล ( X = 4.15, S.D. = 0.315) ด้านความโปร่งใส ( X = 4.14, S.D. = 0.494) ด้านรายได้ ( X = 4.13, S.D. = 0.454) ด้านความไว้วางใจ ( X = 4.12, S.D. = 0.520) ด้านนิติธรรม ( X = 4.12, S.D. = 0.514) ด้านการมีส่วนร่วม ( X = 4.11, S.D. = 0.461) และน้อยที่สุด คือ ด้านบุคคล ( X = 4.06, S.D. = 0.601) สรุป ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพั ฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ โดยภาพรวม มีข้อเด่นที่สุด คือด้านการจัดการความรู้ และข้อด้อยที่สุด คือด้านบุคคล

455


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย 1. ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่สามารถบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลได้ครบทุกด้าน การบริหารงาน ยังขาดตกบกพร่องในเรื่องหลักธรรมาภิบาลนี้ ควรจะต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจะแสดงออกมาในรูปของผลงานเพราะว่าผลงานจะเป็นเครื่องวัดความสามารถทางการบริหาร และเมื่อ นาหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากเพียงไร ย่อมส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้า ของท้องถิ่นและคนในชุมชนให้ได้รับความสุขอย่างถ้วนหน้า แต่ตรงกันข้ามหากการบริหารงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในแต่ละด้านบกพร่อง ย่อมเกิดความเสียหายต่อการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวม ซึ่ง สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ จตุพร ผ่องสุข (2550) ได้ทาการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตาบลโคกสว่าง อาเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า องค์การบริหารส่วนตาบลโคกสว่าง มีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยของ อภิชาต โชต ชัชวาลกุล (2548) ได้ทาการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนตาบล กรณีศึกษาเขตอาเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหาร ส่วนตาบลในเขตอาเภอหนองหญ้าไซ อยู่ในระดับมากและไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุรชิต พิสัยพันธ์ (2550) ได้ ทาการศึ กษาวิ จัย เรื่ อง “การบริห ารงานตามหลั กธรรมาภิ บาลขององค์ก ารบริ หารส่ วนตาบลในเขตจั งหวั ด หนองคาย” พบว่า องค์การบริหารส่วนตาบลในเขตจังหวัดหนองคายมีระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ จาแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และสถานภาพ พบว่า 2.1 ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากเพศเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน เพศชายและเพศหญิงมีความรู้เกี่ยวกับ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เพศชายอาจ มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมากกว่าเพศหญิงจึงทาให้เข้าใจการบริหารงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีกว่า แต่ในทางตรงกันข้ามเพศหญิง อาจจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรร มาภิบาล ก็จะไม่เข้าใจการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทาให้มีความคิดแตกต่างกันไปคนละอย่าง จึง ส่งผลต่อความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ จันทรมงคล พันธุ์พาณิชย์ (2553) ได้ทาการวิจัย เรื่อง “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตาบลลิ้นฟ้า อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัด ร้อยเอ็ด” พบว่า ประชาชนมีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลไม่ แตกต่างกัน 2.2 ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากอายุมีผลต่อความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากอายุมีผลต่อการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิ

456


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

บาล ช่วงอายุที่แตกต่างกัน มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และอาจมีไม่มีการพบปะพูดคุยกัน จึงทาให้มีความ คิดเห็นต่อคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ การบูรณาการทุนทางสั งคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้อง กับงานวิจัยของ วิจิตราภรณ์ ไชยโคตร (2550) ได้ทาการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลตาบลบรบือ อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม พบว่า บุคลากรที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการ บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน 2.3 ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทาง สังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเข วาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากระดับการศึกษามีผลต่อ ความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ถึงแม้ประชาชนจะมีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันก็ มีความ เข้าใจถึงการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าได้นาหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานมากน้อย เพียงใด จึงสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธีรพงษ์ กันทรสมบูรณ์ (2553) ได้ทาการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตาบลเหล่าดอกไม้ อาเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม” พบว่า ประชาชนที่ มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน 2.4 ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายได้ต่อเดือนต่างกันมีความ คิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เสนาะ สภาพไทย (2549) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามความเห็นของนักเรียนเสนาธิการทหารบก” พบว่า โดย ส่วนใหญ่แล้วนักเรียนเสนาธิการทหารบก จะให้ความเห็นการบริหารบ้านเมืองและสังคมที่ดีของรัฐบาลแตกต่างกัน 2.5 ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ จึงสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมใจ วิริยพงศ์รัตน์ (2550) ได้ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ศึกษากรณีองค์การ บริหารส่วนตาบลเสม็ด อาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ อนุรัตน์ จักรเจริญพรชัย (2550) ได้ศึกษาความ คิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตาบล ศึกษากรณี องค์การบริหารส่วนตาบลหมอนนาง อาเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็น ต่อการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน 2.6 ประชาชนที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคม และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินริ นทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ จะเห็นได้ว่าสถานภาพมีส่วนสาคัญใน ความคิดเห็นของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ รหัส แสงผ่อง (2547) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลของกรรมการบริหารและสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตาบลในจังหวัดจันทบุรี พบว่า กรรมการบริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบล ในจังหวัดจันทบุรี มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เสนาะ สภาพไทย (2549) ได้ศึกษาวิจัย

457


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เรื่อง “หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามความเห็นของนักเรียนเสนาธิการทหารบก” พบว่า ประชาชนที่มี สถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารบ้านเมืองและสังคมที่ดีของรัฐบาลแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารงานด้านต่างๆ เพื่อนาหลักธรร มาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นแนวทางเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหาร และสมาชิกสภา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารงานจึงได้นามาเป็นข้อเสนอแนะสองระดับ ดังต่อไปนี้ 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรจะปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาลให้ถึงระดับมากที่สุด และ นาหลักนี้มาปรับใช้ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อที่จะพัฒนาการบริหารงานให้มากขึ้น โดย ตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ยึดถือหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ ประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นในสังคมและส่งเสริมและสนับสนุนให้ ประชาชนพัฒนาตัวเองไปพร้อมกัน การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปิดประกาศข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่าย ประจาปี ที่เป็นประโยชน์ให้มากขึ้นและตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น มีการจัดเวทีประชาคมในการรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ป ระชาชนมี ส่วนร่วมรั บรู้แ ละเสนอความคิดเห็ นในการตั ดสิน ใจปั ญหา ผู้บริ หารควรมี ความ รับผิดชอบที่จะบริหารงานให้มากยิ่งขึ้น และปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้ให้ไว้กับประชาชน 2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย 2.1 ควรจะมีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เรื่อง ปัจจัยความรับผิดชอบต่อการ บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อจะได้ นาผลการวิจัยไปส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป 2.2 ควรจะศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไ ขปัญหาการบริหารงานตามหลั ก ธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึก และนา ผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการบริหารงานให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น 2.3 ควรจะมีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดย เปิดโอกาสให้ทั้งคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา และตัวแทนภาคประชาชน เป็นผู้ร่วมวิจัย เรื่อง “การประยุกต์หลัก ธรรมาภิบาล มาใช้ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อนา ผลการวิจัยสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น และบาบัดทุกข์ บารุงสุขประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้นต่อไป กิตติกรรมประกาศ การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การบูรณาการทุนทางสังคมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ครั้งนี้ขอบคุณคณาจารย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งให้ความรู้ คาปรึกษา ตลออดจนแนวนา แนวทางในการศึกษาแก่ผู้วิจัย ตลอดถึงคณาจารย์ทุกท่านที่ให้การอบรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้ และที่ขาดไม่ได้เลย คือเพื่ อนๆ ร่วมหลัก สูตรทุ กท่า นที่ช่ว ยเหลือเกื้ อกูล กันมาตลอดด้วยดีอย่ างสม่ าเสมอ ขอบคุ ณทุกท่ านที่ มีส่ว น

458


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เกี่ยวข้องและเป็นกาลังกันเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนในครอบครัว ผศ.ดร ที่มีส่วนในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุนมาโดยตลอด เอกสารอ้างอิง ชัยเสรฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นาองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท. ถวิลวดี บุรีภักดี. (2548). การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2549). การบริหารสังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. นภาภรณ์ หะวานนท์. (2550). การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : สานักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. บุญทัน ดอกไธสง. (2532). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ตะวัน. ประเวศ วะสี. (2541). ชุมชนเข้มแข็ง ทุนทางสังคมไทย หนังสือชุดชุมชนเข้มแข็งลาดับที่ 1. เสนาะ สภาพ ไทย. (2549). หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามความคิดเห็นของนักเรียนเสนาธิการ ทหารบก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. รหัส แสงผ่อง. (2547). กระบวนการบริหารพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลของกรรมการบริหารและ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบลในจังหวัดจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันราชภัฏราไพ พรรณี.

459


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-12 การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก THE PERCEPTION OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP ADMINISTRATORS AFFECTING TO EMPLOYEE'S OPERATING EFFECTIVENESS OF BANK FOR AGRICULTURE AND AGRICULTURAL COOPERATIVES IN THE WESTERN REGION SECTION วันเพ็ญ เนียมแสง1 1

Wanpen Niemsaeng บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก และ ศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ได้ขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจานวน 287 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามเท่ากับ 0.910 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกรับรูภ้ าวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ พนักงานระดับความคิดเห็นภาพรวมค่าเฉลีย่ อยู่ในระดับมาก และการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การรับรู้ ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม แบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบการกระตุ้นทางปัญญา แบบการการ คานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก โดยมีประสิทธิภาพในการทานายร้อยละ 56.50 คำสำคัญ : ผู้นาการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิผลการปฏิบตั ิงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร Abstract This research The purpose of this study was to investigate the level of perception, transformation leadership and effectiveness of employees of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region. A study of transformation leadership affecting job performance of employees of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region. The population in this study was the staff of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region. The sample size was 287 persons using simple sampling technique. The research instrument was a questionnaire with the reliability of 0.910.

460


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation And multiple regression analysis. The results showed that the employees of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region recognized the transformation leadership. The performance of the employees was rated at a high level. And transformation leadership awareness. include include and The perception of transformational leadership as a whole. Motivational Stimulus An individualistic approach. Affecting the Effectiveness of Workers in the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in the western region. The predicted efficiency was 56.50%. Keywords : transformation leadership, performance, Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives บทนา ผู้บริหารถือบุคลากรหลักที่สาคัญขององค์กรที่จะนาไปสู่การจัดการและบริหารองค์กรที่ดี ทาให้เกิด ประสิทธิผลในการปฏิบั ติงาน โดยผู้บริหารจะต้องแสดงบทบาทของตนให้เหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ สมบู ร ณ์ เพื่ อ ให้ ผู้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชามี ค วามมุ่ ง มั่ น และร่ ว มมื อ กั น ปฏิ บั ติ ง านอย่ า งเต็ ม ความสามารถ ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับการศึกษาของแบสส์และอโวลิโอ (Bass & Avolio, 1994) ที่พบว่า ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ไปสู่ความเป็นผู้นาที่มีวิสัยทัศน์ (visionary) และมีการกระจายอานาจหรือเสริมสร้างพลังจูงใจ (empowering) เป็นผู้มีคุณธรรม (moral agents) และกระตุ้นผู้ตามให้มีความเป็นผู้นา และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ทั้งนี้ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (work effectiveness) ของบุคลากรย่อมมีส่วนสาคัญที่เป็นตัวกาหนดความสาเร็จหรือความล้อมเหลวขององค์กร เพราะ การดาเนินงานขององค์กรต้องอาศัยความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายของ องค์กรและทันระยะเวลาที่กาหนด โดยเฉพาะธนาคารประเภทรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกร แต่สภาพการณ์ปัจจุบันสถานบันการเงินมีการ แข่งขันกันอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีปริมาณธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และการหมุนเวียนอยู่ในระบบจานวนมาก จึงทาให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต้อง พยายามปรับตัวไปตามกับสถานการณ์ที่เปลีย่ นแปลงไป รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรักษา สถานภาพให้อยู่ในระดับที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จึงต้องให้ ความสาคัญกับประสิทธิผลในการทางานของพนักงานในทุกระดับทั้งผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง รวมไปถึง พนักงานในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้มีการดาเนินงานเป็นไปตามนโยบายของธนาคาร เพราะพนักงานมีส่วนสาคัญยิ่ง ที่ทาให้ประสิทธิผลการดาเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ภายใต้การกากับดูแลของผู้บริหาร จากปัญหาสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้นของ สถาบันการเงิน รวมถึงการให้ความสาคัญเกี่ยวกับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน โดยอาศัยทรัพยากรบุคคลในการ ขับเคลื่ อนการด าเนิน งานของธนาคาร ไม่ว่ าจะเป็ น ผู้นา หรื อพนัก งานระดั บปฏิบั ติก าร ล้ วนมีส่ วนทาให้ การ

461


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ดาเนินงานของธนาคารบรรลุเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการรับรู้ภาวะผูน้ าการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันตก ซึ่ง การวิจัยในครั้งนี้สามารถนาผลการวิจัยไปใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหาร และการบริการที่เหมาะสมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันตก นอกจากนี้ยังสามารถนาข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานไปพัฒนาการบริหารและบริการธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ การเกษตร และใช้ เ ป็น แนวทางในการจั ด การบริ หารและบริก ารธนาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน สังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก 3. เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและตัวอย่าง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ พนักงานจานวนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่าย กิจการสาขาภาคตะวันตก จานวน 1,021 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัด ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก จานวน 287 คน จากการกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคานวณหา ตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973 อ้างถึงใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2549 : 88) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค เท่ากับ 0.910 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ผู้วิจั ยน าแบบสอบถามที่ไ ด้รั บกลับคื นมาวิ เคราะห์ ข้อ มูล โดยใช้โ ปรแกรมส าเร็จ รูป และด าเนิน การ วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย 1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ วิเคราะห์โดยการจาแนก ความถี่ (Frequency) การหาค่าร้อยละ (Percentage) 1.2 วิเ คราะห์แ บบสอบถามเกี่ย วกั บการรับ รู้ภ าวะผู้น าการเปลี่ย นแปลงและประสิท ธิผ ลการ ปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก สถิติที่ ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D)

462


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. สถิติเชิงอ้างอิง โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการ วิเ คราะห์ ก ารรั บ รู้ ภาวะผู้ นาการเปลี่ ย นแปลงที่ส่ งผลต่อ ประสิ ท ธิ ผ ลการปฏิ บั ติ งานของพนั ก งานธน าคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ผลการวิจัย ตารางที่ 1 ผลการศึกษาระดับการรับรูภ้ าวะผู้นาการเปลีย่ นแปลงของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก 1. 2. 3. 4.

การรับรูภ้ าวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง แบบการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ แบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบการกระตุ้นทางปัญญา แบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รวมทุกด้าน

X

3.91 3.83 3.81 3.68 3.81

S.D. 0.703 0.628 0.636 0.643 0.569

ระดับการรับรู้ มาก มาก มาก มาก มาก

จากตารางที่ 1 พบว่าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขา ภาคตะวันตกรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแบบการมีอิทธิพล อย่างมีอุดมการณ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดมาก รองลงมาคือแบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบการกระตุ้นทางปัญญา และ แบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลาดับ ตารางที่ 2 ผลการศึกษาประสิทธิผลการปฏิบตั ิงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน สังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ด้านการบรรลุเป้าหมายหรือผลลัพธ์การปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิภาพในงาน ด้านความสาเร็จของพฤติกรรมในการทางาน คะแนนเฉลี่ยรวม

X

3.73 3.74 3.74 3.74

S.D. 0.654 0.638 0.594 0.564

การปฏิบัติ มาก มาก มาก มาก

จากตารางที่ 2 พบว่าประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้านพบว่าด้านประสิทธิภาพในงาน และความสาเร็จของพฤติกรรมในการทางานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการบรรลุ เป้าหมายหรือผลลัพธ์การปฏิบัติงาน ตามลาดับ

463


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตารางที่ 3 ผลการศึกษาการรับรูภ้ าวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบตั ิงานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ค่าสัมประสิทธ์ของ ค่านัยสาคัญ Beta ค่า t (sig) สมการ (β) ค่าคงที่ 0.579 3.314 0.001** โดยภาพรวมการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลีย่ นแปลง 0.582 0.601 8.422 0.000*** แบบการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 0.016 0.017 0.290 0.772 แบบการสร้างแรงบันดาลใจ 0.166 0.159 2.471 0.014* แบบการกระตุ้นทางปัญญา 0.143 0.138 2.175 0.030** แบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 0.519 0.510 8.390 0.000*** R = 0.752, R2 = 0.565, Adjusted R2 = 0.559 F = 91.64, Sig. of F = 0.000, Standard Error of the Estimate = 0.434 การรับรูภ้ าวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง

** มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 * มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 3 พบว่า การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงแบบ การสร้างแรงบันดาลใจ แบบกระตุ้นทางปัญญา และแบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล สามารถอธิบายความ ผันแปรที่เกิดขึ้นกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัด ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกได้ร้อยละ 56.5 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงแบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบกระตุ้นทางปัญญา และแบบการคานึงถึงความเป็น ปัจ เจกบุ ค คล สามารถพยากรณ์ ป ระสิ ท ธิ ผลการปฏิ บั ติงานของพนัก งานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกได้ร้อยละ 56.5 ที่เหลืออีกร้อยละ 43.5 อธิบายได้ด้วยตัวแปรอื่นที่ ไม่ใช่การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุประสงค์การวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาระดับการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุป ระสงค์ข้อที่ 1 พบว่าพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแบบการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดมาก รองลงมาคือ แบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบการกระตุ้นทางปัญญา และแบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลาดับ 2. ผลการศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัตงิ านของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านประสิทธิภาพในงาน และความสาเร็จของพฤติกรรมในการทางาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการบรรลุเป้าหมายหรือผลลัพธ์การปฏิบัติงาน ตามลาดับ

464


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. ผลการศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่าการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงแบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบ กระตุ้ น ทางปั ญ ญา และแบบการค านึ ง ถึ งความเป็ น ปั จ เจกบุ ค คล สามารถอธิ บ ายความผั น แปรที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาค ตะวันตกได้ร้อยละ 56.5 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม ภาวะผู้นาการ เปลี่ยนแปลงแบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบกระตุ้นทางปัญญา และแบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัตงิ านของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่าย กิจการสาขาภาคตะวันตกได้ร้อยละ 56.5 ที่เหลืออีกร้อยละ 43.5 อธิบายได้ด้วยตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่การรับรู้ภาวะผู้นา การเปลี่ยนแปลง วิจารณ์ผลการวิจัย ผลการศึกษาระดับการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแบบการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดมาก รองลงมาคือแบบการ สร้างแรงบันดาลใจ แบบการกระตุ้นทางปัญญา และแบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลาดับ สอดคล้อง กับแนวคิดของ แบส และ อโวลิโอ (Bass และ Avolio.1994) กล่าวว่าภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง (transformational leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานและผู้ตาม พัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานและผู้ตามไปสู่ ระดับที่สูงขึ้นและศักยภาพมากขึ้น ทาให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและวิสัยทัศน์ของทีมและขององค์กร มีการจูง ใจให้ผู้ร่วมงานและผู้ตามมองไปสู่ประโยชน์ของกลุ่มองค์กรหรือสังคม กระบวนการที่ผู้นามีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานหรือ ผู้ตามนี้จะกระทาโดยผ่านองค์ประกอบพฤติกรรมเฉพาะ 4 ประการคือ แบบการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ แบบ การสร้างแรงบันดาลใจ แบบการกระตุ้นทางปัญญา และ แบบการคานึงถึงเป็นปัจเจกบุคคล สอดคล้องกับ (อารีรัตน์ สีขาว. 2555) ที่ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงและคุณภาพชีวิตการทางานกับ ความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงาน บริษัท ธนาคารกสิกรไทย (มหาชน) ศูนย์ธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ 1 พบว่า พนักงานศูนย์ธุรกิจบริการลูกค้าผู้ประกอบการ 1 มีการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน สังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านประสิทธิภาพในงาน และความสาเร็จของพฤติกรรมในการทางานมีค่าเฉลี่ย สูงสุด และด้านการบรรลุเป้าหมายหรือผลลัพธ์การปฏิบัติงาน ตามลาดับสอดคล้องกับ (ศรีสมพร รอดศิริ. 2551, ธีรนุช สุมขนทด.2555, ปัญญา ศิลารัตน์. 2556, พัชรา หาญเจริญกิจ. 2545, Chemers and Ayman. 1989 อ้างอิงในฉัตรรัชา วิโรจน์รัตน์ 2549, Podsakoff, Ahearne, and Mackenzie. 1997) เป็นพื้นฐานในการศึกษา สอดคล้องกับ (รัฐพล ศรีกตัญญู. 2551) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารธนชาติ จากัด (มหาชน) สานักงานอาคารกลาสเฮ้าส์ รัชดาภิเษก พบว่าความคิดเห็นของพนักงาน ด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยและยังสอดคล้องกับงานวิจัยของปราณี

465


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลการศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนั กงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่าการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงแบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบ กระตุ้ น ทางปั ญ ญา และแบบการค านึ ง ถึ งความเป็ น ปั จ เจกบุ ค คล สามารถอธิ บ ายความผั น แปรที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาค ตะวันตกได้ร้อยละ 56.5 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวม ภาวะผู้นาการ เปลี่ยนแปลงแบบการสร้างแรงบันดาลใจ แบบกระตุ้นทางปัญญา และแบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัตงิ านของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่าย กิจการสาขาภาคตะวันตกได้ร้อยละ 56.5 ที่เหลืออีกร้อยละ 43.5 อธิบายได้ด้วยตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่การรับรู้ภาวะผู้นา การเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับ (ชาญชัย โตสงวน. 2553) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการคิดสร้างสรรค์ ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลของหัวหน้างานตามการรับรู้ของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทโต โยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด (โรงงานเกตเวย์) พบว่า ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง และประสิทธิผลของหัวหน้างานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการ รับรู้รูปแบบภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผ ลของหัวหน้างาน และการศึกษาของ (อัมพล ชูสนุก. 2559) ได้ศึกษาภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อ องค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารทิสโก้ จากัด (มหาชน)พบว่าภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของ หัวหน้างานทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ จากผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารควรให้ความสาคัญในแต่ละด้าน ดังนี้ 1.1 แบบการมีอิ ทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริ หารให้ความสาคั ญกับความเชื่อส่ว นบุคคลของ ผู้ร่วมงาน เนื่องจากความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ร่วมงานทาให้บุคคลเกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ถ้าผู้บริหารให้ ความสาคัญในเรื่องดังกล่าวแล้ว จะทาให้พนักงานยอมรับการบริหารงานของผู้บริหารมากยิ่งขึ้น 1.2 แบบการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารควรเชื่อมั่นในความสามารถและศักยภาพของผู้ร่วมงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน 1.3 แบบการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารควรมีแนวคิด และข้อเสนอแนะที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน แก่ผู้ร่วมงาน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในการทางาน 1.4 แบบการคานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารควรใส่ใจต่อความต้องการของผู้ร่วมงาน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการและสามารถตอบสนองความต้องการพนักงานได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน โดยให้พนักงานรู้สึกว่า ปัญหาต่าง ๆ ของธนาคารคือปัญหาของตน และพนักงานปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สั้นและใช้ เวลาน้อยกว่าที่เป็นอยู่เพื่อการปฏิบัติงานที่ดี ขึ้น รวมถึงผู้บริหารควรชมเชยและยกย่องพนักงานเมื่อพนักงานงาน ปฏิบัติงานได้มีคุณภาพ

466


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาเรื่องการสร้างความพึงพอใจในงาน คุณภาพชีวิตการทางานของพนักงานที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารงานบุคคลได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น 2. ควรศึกษาภาวะผู้นาในรูปแบบอื่น หรือพฤติกรรมของผู้นาที่พึงประสงค์ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิผล การปฏิบัติงานของพนักงาน กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์การรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิ ทธิผลการปฏิบัติ งานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตกงานวิจัยฉบับนี้ สาเร็จสมบูรณ์ ได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจาก อาจารย์ที่ปรึกษาผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤตชน วงศ์รัตน์ ที่ได้กรุณาให้คาปรึกษา ชี้แนะ และตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของการวิจัยด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งตลอดมา ตลอดจนขอขอบพระคุณ บิดา มารดา และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดฝ่าย กิจการสาขาภาคตะวันตกที่อานวย ความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ จนสาเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ในการให้คาแนะนา ช่วยเหลือ และตรวจแก้ไขข้อบกพร่องในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้ เอกสารอ้างอิง ฉัตรรัชดา วิโรจน์รตั น์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการเรียนรู้ กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ ผู้ทาบัญชี ในเขตนนทบุร.ี วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. ชาญชัย โตสงวน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความคิดสร้างสรรค์ ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงและ ประสิทธิผลของหัวหน้างานตามการรับรู้ของพนักงานระดับปฏิบตั ิการ กรณีศึกษา บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย จากัด (โรงงานเกดเวย์). วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ธีรนุช สุมขนทด (2555). ภาวะผู้นาของผู้บังคับบัญชาหญิงและเจตคติของพนักงานต่อผู้บังคับบัญชาหญิง ที่ พยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ ฯ : จามจุรีโปรดักท์. ปัญญา ศิลารัตน์. (2556). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บมจ. ธนาคารกรุงไทยใน เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา ภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. พัชรา หาญเจริญกิจ (ม.ค.-มิ.ย. 2545) มาตรฐานการปฏิบตั ิงาน (Performance Standard). วารสารรังสิต สารสนเทศ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. รัฐพล ศรีกตัญญู. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารธนชาต จากัด (มหาชน) สานักงานอาคารกลาสเฮ้าส์ รัชดาภิเษก. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การ จัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

467


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ศรีสมพร รอดศิร.ิ (2551). ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในการนาระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์มา ใช้ ในกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. อารีรัตน์ สีขาว. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงและคุณภาพชีวิต การทางาน กับความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงาน บริษัท ธนาคารกสิกรไทย (มหาชน) ศูนย์ธุรกิจลูกค้า ผู้ประกอบการ 1. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. อัมพล ชูสนุก. (สิงหาคม 2559). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อ องค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารทิสโก้ จากัด (มหาชน). วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 8 ฉบับพิเศษ. Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Tousand Oska: Sage. Podsakoff, Ahearne, and Mackenzie (1997). Organizational citizenship behavior and the quantity and quality of work group performance. Journeal of Applied Psychology, 82, 262-270.

468


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 HSBO-13

บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ THE PROPER ROLE OF THE CHIEF DISTRICT AND VILLAGE CHIEF IN PROMOTING DEMOCRACY IN THE COMMUNITY, AMPHURE MUANG, SURIN PROVINCE รัฐธรรมนูญ รุ่งเรือง1, ศศิธร ศูนย์กลาง2 และจิรายุ ทรัพย์สิน3 1

Ratthammanoon Rungruang นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2 Sasithorn Soonklang คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3

Jirayu Supsin คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริม ประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สุรินทร์และเพื่อนาเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทที่ เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จานวน 168 ราย ด้วยวิธกี ารสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทาขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า บทบาทที่เหมาะสม ของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมี ค่าเฉลี่ยอยู่ใ นระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้ าน พบว่า ด้ านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านหลั กภราดรภาพ รองลงมา คือ ด้านหลักความเสมอภาค ด้านหลักการยึดเสียงข้างมาก ด้านหลักเหตุผล ตามลาดับ และด้านที่มี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักสิทธิเสรีภาพ ซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : บทบาท; กานันและผู้ใหญ่; ส่งเสริมประชาธิปไตย. Abstract This research aims to study the appropriate role of the village headman and the promotion of democracy in Muang Surin. Surin Province and to provide guidelines for the development of the appropriate role of chief district and village chief and the promotion of democracy in the community. Muang Surin, Surin Province. This research studies use a quantitative research . Quantitative Research Data was collected from 168 samples of the public in the city of Mueng Surin. Surin Province with multi-stage random sampling method. A questionnaire was prepared as a tool to collect data. The data was analyzed by percentage, average, standard deviation. The results showed that the chief district and village chief has a

469


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

proper role in the promotion of democracy in Muang Surin, Surin Province. Overall, the average value is high. Considering each aspect, it was found that on average, with most is the Brotherhood, followed by the Equality, The principle secures majority, The main reasons, respectively, and the average minimum is the main rights and freedoms. Each aspect has a high average level. Keywords : Role, Chief District and Village Chief, Promoting Democracy. บทนา การจัดระเบียบการปกครองของรัฐหรือเรียกว่าการจัดระเบียบบริหารราชการของประเทศ สาหรับ ประเทศไทยได้มีรูปแบบการปกครองที่วิวัฒนาการมาเป็นลาดับ จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ การบริหารราชการของ ประเทศโดยได้แบ่งราชการบริหารออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ราชการบริหารส่วนกลาง 2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (กรมการปกครอง. 2555 : 1) นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ ซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 นั่นเอง ดังนั้น กิ่งอาเภอ ตาบล และหมู่บ้าน จึงจัดเป็นการปกครองท้องที่ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินใน ระดับพื้นฐาน โดยจะกล่าวถึงกิ่งอาเภอ รวมไว้ในส่วนนี้เพื่อสะดวกต่อการทาความเข้าใจ (กรมการปกครอง. 2555 : 8) ในอดีตลักษณะสังคมของไทยจะอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มในแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้าทาหน้าที่เป็นผู้ปกครองควบคุมดูแล ชีวิตความเป็นอยู่และป้องกันโจรผู้ร้ายอย่างใกล้ชิด ในปัจจุบันแม้สภาพสังคมจะเจริญขึ้น ผู้นาที่จะช่วยประสานกับ ภาครัฐแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเมื่อเกิดภัยพิบัติในชุมชนขึ้น จึง จาเป็นต้องมีผู้นา ซึ่ง“กานันผู้ใหญ่บ้าน” มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ อยู่คู่กับการปกครองของไทย ความสาคัญของกานัน ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสาคัญยิ่งในการ ปฏิบัติภารกิจ "บาบัดทุกข์บารุงสุข" ให้แก่ประชาชน ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยจึงกาหนดให้วันที่ 10 สิงหาคม ของทุก ปีเป็น “วันกานันผู้ใหญ่บ้าน” ลักษณะการปกครองเช่นนี้ปรากฏเด่นชัดขึ้น เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 ขึ้นใช้ (สุริยะ วิริยะสวัสดิ์. ม.ป.ป.) ปัญหาของระบอบประชาธิปไตย คือ คน มีความรู้ มีทุน มีอานาจ ไม่ได้มีคุณธรรมทุกคน ส่วนใหญ่ครอบงาประชาชนด้วยวิธีต่างๆ ทาให้ได้รับเลือกเข้าไปใน สภา คนที่ถูกครอบงาก็เห็นดีเห็นงามกับคนที่ครอบงาตนเอง ยอมแม้กระทั่งให้ “โกงก็ได้ ขอให้พัฒนาบ้านเมืองก็ พอ” การเลือกตั้งทาให้เกิดการแตกแยก ยิ่งเลือกตั้งในระดับเล็กลงไปก็ยิ่งแตกแยกและขัดแย้งกันรุนแรง เลือกตั้ งจบ ความสัมพันธ์อันดีงามที่เคยมีก็จบไปด้วย เกิดเป็นพวกที่ชนะกับพวกที่แพ้ เป็นพวกกูพวกมึง หาวิธีโค่นอีกฝ่ายหนึ่ง ทุกวิถีทาง ชุมชนหลายแห่งมีการตกลงกันก่อน ให้มีผู้สมัครเพียงคนเดียว ไม่ใช่เพราะอานาจอิทธิพลหรือการข่มขู่ แต่ เพราะชุมชนได้ปรึกษาหารือกันแล้ว แข่งขันกันก็เสียเงิน เสียเวลา และอาจเสียความสัมพันธ์ บางแห่งที่ยอมให้มีการ ลงสมัครสองสามคน แต่ด้วยข้อตกลงว่า ต้องมีการหาเสียงอย่างสมานฉันท์ ไม่มีการใส่ร้ายป้ายสี มีแต่ขึ้นเวทีแสดง วิสัยทัศน์พร้อมกัน ให้ชุมชนได้ยินได้ฟังว่า ถ้าได้เป็นกานัน ผู้ใหญ่บ้าน จะทาให้ชุมชน ตาบลหรือเทศบาลเจริญ พัฒนา อยู่ดีมีสุขอย่างไร ชุมชนได้ยินได้ฟังแล้วค่อยตัดสินใจว่าจะเลือกใคร เมื่อเลือกแล้วผู้สมัครก็ยังเป็นพี่เป็นน้อง กัน ร่วมมือกันสร้างสรรค์ สิ่งดีงามให้ชุมชนต่อไป ชุมชนที่ทากันเช่นนี้มีอยู่แม้ไม่มาก แต่ก็ทาให้เชื่อว่า ประชาธิปไตย แบบสมานฉันท์ในชุมชนเป็นไปได้ และน่าจะเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มาก ประชาธิปไตยชุมชนเกิดได้ถ้าอยู่ บนฐานคุณค่า จารีตประเพณีของชุมชน สรรหาคนดีคนเก่งให้เป็นผู้นาที่มีหน้าที่รับใช้อย่างแท้จริงได้ด้วยฉันทามติ ของชุมชน (เสรี พงศ์พิศ. 2560 : ออนไลน์) เพื่อให้งานสามารถที่จะดาเนินได้อย่างต่อเนื่องจาเป็นต้องมีกานัน ผู้ใหญ่บ้านที่มีความสามารถประสานกับผู้นาท้องถิ่นเพราะผู้นาในระดับท้องถิ่นมีความสาคัญ เพราะสามารถนาพา

470


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ท้องถิ่น ไปสู่ก ารพัฒนาที่มีค วามเหมาะสมกับท้ องถิ่น ของตนและการเชื่ อมโยงไปสู่ก ารพัฒ นาในระดับประเทศ องค์ประกอบของผู้นาชุมชน มีลักษณะที่ไม่ต่างจากลักษณะของผู้นาทั่วไปเพียงแต่ความเป็นผู้นาในระดับชุมชนนั้น จะมีค วามเป็น กั นเองกั บ ชาวบ้า น มี ค วามใกล้ ชิด และเป็น ระบบเครือ ญาติ ซึ่ งสามารถสรุ ปได้ ดังนี้ 1) มี ค วามรู้ ความสามารถในกิจกรรมที่มีอยู่ในชุมชนเป็นอย่างดี 2) มีคุณธรรม 3) มีความมุ่ งมั่นในการทางาน 4) สามารถ ประสานต่อรองเรื่องต่างๆ ได้ 5) มีฐานะค่อนข้างมั่นคง 6) มีความเป็นกันเองสูง หรือมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (จิรา ลักษณ์ เขียวหลี. 2559 : ออนไลน์) นักวิชาการได้ให้ความหมายของคาว่า ระบอบประชาธิปไตยหมายถึง ระบอบ การปกครองตนเองของประชาชน คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมืองเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้าง ความมีประสิทธิภาพและความเป็นธรรม แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ระบอบประชาธิปไตยมี 1) ประชาธิปไตยโดยตรง 2) ประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทน 3) ประชาธิปไตยแบบประชาชน มีส่วนร่วม หลักการประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตย อยู่บนรากฐานหลักการที่สาคัญ 5 ประการ คือ 1) หลักการ อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน 2) หลักเสรีภาพ 3) หลักความเสมอภาค 4) หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือ หลักนิติธรรม 5) หลักการเสียงข้างมาก ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิข องเสียงข้างน้อย (วิทยากร เชียงกูล. 2550 : ออนไลน์) ท้องที่อาเภอเมืองสุรินทร์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 21 ตาบล 289 หมู่บ้าน (ประวัติความเป็นมา อาเภอเมืองสุรินทร์. 2559 : ออนไลน์) อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นอาเภอมีขนาดใหญ่ประชากรจานวน มาก นอกจากคนท้องถิ่นเดิมยังมีคนจากถิ่นอื่นย้ายมาอยู่เพื่อประกอบอาชีพ จึงมีความหลากหลายของอาชีพ ภาษา วัฒนธรรม ดังนั้นผู้นาของชุมชนต้องมีบทบาทสาคัญในการนาชุมชนให้สามารถดาเนินไปอย่างเรียบร้อย การส่งเสริม ประชาธิปไตยให้ทุกคนได้รับรู้ ได้รับสิทธิเสรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับ บทบาทที่ เหมาะสมของก านั น และผู้ใ หญ่บ้ า นในการส่ งเสริ มประชาธิป ไตยในชุ ม ชนเป็ น การศึก ษา รู ปแบบการส่ งเสริ ม ประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมองค์กรของสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ภาคอีสาน ผลการวิจัยพบว่า สภานักเรียน ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การมีความ รับผิดชอบความเป็นผู้มีวินัยในตนเอง การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่ วนตน การมีส่วนร่วมทั้งความคิด การ กระทา (นงคราญ อนุกูล. 2558 : บทคัดย่อ) ผู้ทาวิจัยจึงเห็นว่ากานันและผู้ใหญ่บ้านควรส่งเสริมประชาธิปไตย กับ บทบาทที่เหมาะสมของกานันและ ผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน ในอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ โดยการนาเอาหลักการประชาธิปไตยซึ่งเป็นหลักการที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ สาหรับอาเภอเมือง สุรินทร์ควรส่งเสริมหลักประชาธิปไตยให้ประชาชนได้รับรู้เพื่อเป็นหลักกันในชีวิตประจาวันและสามารถถ่ายทอดต่อ ให้ครอบคลุมทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) หลักสิทธิเสรีภาพ 2) หลักเหตุผล 3) หลักความเสมอภาค 4) หลักการยึดถือ เสียงข้างมาก 5) หลักภราดรภาพ ดังนั้น ด้วยเหตุผลและความเป็นมาข้างต้น ผู้วิจัยมีแนวความคิดที่จะทาการวิจัย เพื่อศึกษาบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อนาไปใช้ เป็นแนวทางในการส่งเสริมประชาธิปไตยในเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่ง เป็นองค์กรที่ประสานงานสนับสนุนการดาเนินงานและสนองนโยบายของภาครัฐให้บรรลุเป้าหมายมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนสืบไป

471


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สุรินทร์ 2. เพื่ อ น าเสนอแนวทางการพั ฒ นาบทบาทที่ เ หมาะสมของก านั น และผู้ ใ หญ่ บ้ า นในการส่ งเสริ ม ประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บ รวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) เป็นเครื่องมือ สาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ กานันและผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จานวนทั้งสิ้น 289 ราย (สานักงานจังหวัดสุรินทร์. 2559) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กานันและผู้ใหญ่บ้าน จานวน 289 ราย ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamana. 1970 : 125) ซึ่งใช้ระดับค่าความเชื่อมั่น ที่ 95% ที่นัยสาคัญ 0.05 ดังนั้น จานวนกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบของ บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ โดยจาแนก อายุ เพศ การศึกษา ระยะเวลาการดารงตาแหน่งและการยกย่องเชิดชูเกียรติทางการปกครอง ซึ่งเป็น แบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Check list) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ ย วกั บ บทบาทที่ เ หมาะสมของก านั น และ ผู้ ใ หญ่ บ้ า นในการส่ ง เสริ ม ประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) หลักสิทธิเสรีภาพ 2) หลัก เหตุผล 3) หลักความเสมอภาค 4) หลักการยึดถือเสียงข้างมาก 5) หลักภราดรภาพ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประเมิน ค่า (Rating Scale)การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยยึดเกณฑ์ (ประกอบ กรรณสูตร. 2542 : 108) ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ ย วกั บ ข้ อ เสนอแนะในการส่ งเสริ ม บทบาทที่ เ หมาะสมของก านั น และ ผู้ใ หญ่บ้ า นในการส่ งเสริ ม ประชาธิ ป ไตยในชุ ม ชน เขตอ าเภอเมื อ งสุริ น ทร์ จั งหวั ดสุ ริ น ทร์ ซึ่ งเป็ นค าถามแบบ ปลายเปิด (Open Ended Question)

472


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ขั้นตอนการสร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทที่เหมาะสมของกานั นและ ผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยพิจารณาตามหลัก ระเบียบและวัตถุประสงค์ของการวิจัยหลัก เพื่อเป็นกรอบประเด็นคาถาม 2. น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษามาเขี ย นเป็ น ข้ อ กระทงความ (Item) ของแบบ สอบถามตาม องค์ประกอบต่างๆ ของบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3. จัดทาร่างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดที่กาหนดโดยพิจารณาถึงเนื้อหารายละเอียดให้ครอบคลุม ถึงวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา 4. น าแบบสอบถามที่ ส ร้ า งขึ้ น เสนอ ประธานและกรรมการที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ เพื่ อ ท าการ ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมข้อคาถามให้ครอบคลุมเนื้อหาและรัดกุมยิ่งขึ้น 5. นาเครื่องมือที่แก้ไขปรับปรุงแล้วเสนอผูเ้ ชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน เพื่อให้พิจารณาตรวจสอบความ ตรงของเนื้อหาและความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ โดยการจัดทาหนังสือขอความร่วมมือในการพิจารณา ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) อาจารย์ ดร.นพฤทธิ์ จิตรสายธาร 2) อาจารย์ ดร.วันชัย สุขตาม 3) อาจารย์ ดร.อภิชาติ แสงอัมพร ผลการพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC (Index of Item – Objective Congruence ) ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 6. นาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เ ชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว นาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความชัดเจน 7. นาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่ม ตัวอย่างเป้าหมาย จานวน 30 ชุด 8. นาแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาคานวณหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability )โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α - Coefficient) โดยการใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach. 1970 : 160) จากการคานวณได้ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 9. นาผลการทดลองใช้มาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์ และนาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับจริง เพื่อนาไปใช้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จั ด ท าหนั ง สื อ ขออนุ ญ าตเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จากคณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตต่อนายอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ใน การตอบแบบสอบถามจากกานันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่

473


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. เตรียมความพร้อมของแบบสอบถาม ให้มีจานวนเพียงพอกับจานวนกลุ่มตัวอย่างที่จะทาการเก็บ รวบรวมข้อมูล แล้วนาแบบสอบถามพร้อมหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลไปเสนอขออนุญาตเก็บรวบรวม ข้อมูลต่อนายอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พร้อมชี้แจงรายละเอียดของการดาเนินการศึกษาวิจัยและการ ดาเนินการเพื่อใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบตามจานวนที่ต้องการ 3. นาแบบสอบถามไปทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยลงไปเก็บแบบสอบถาม ด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1 – 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับคืนทั้งหมดแล้วนามาตรวจสอบความ ถูกต้องความสมบูรณ์ถ้ายังไม่สมบูรณ์คัดแบบสอบถามฉบับนั้นออกแล้วดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จนครบ จากนั้นจึงได้เริ่มทาการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยที่เลือก ใช้ในครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นาแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม 2. นาผลของข้อมูลบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อคานวณหาค่าสถิติที่เลือกใช้เพื่อการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อหาค่าทางสถิติ 3. นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะตารางแสดงผลการวิเคราะห์พร้อมการแปลความหมาย โดยวิธีการพรรณนาตามค่าสถิติของแต่ละตารางข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทาการิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เสนอข้อมูล และใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 สถิติหาค่าความสอดคล้องของแบบสอบถาม ใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) โดยใช้สูตรของ โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton. 1977 : 49) โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้จากการ คานวณจากสูตรที่จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป คัดเลือกข้อสอบข้อนั้นไว้ใช้ไ ด้ แต่ถ้าได้ค่า IOC ต่ากว่า 0.5 ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุง หรือตัดทิ้ง 1.2 สถิติหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α Coefficient)ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach. 1970 อ้างถึงใน วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 260) 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย ( X ) 2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) 2.4 ค่าแจกแจงแบบที (t – test) 2.5 ค่าความแปรปรวน (F – test) (ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2553 : 177)

474


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลการวิจัย ผลการวิเ คราะห์ข้อ มูล การวิ จัย เรื่ อง บทบาทที่เหมาะสมของกานั นและผู้ใ หญ่ บ้านในการส่ งเสริ ม ประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ลาดับขั้นการนาเสนอ ดังนี้ 1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จานวน 168 ชุด แล้ว นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อคานวณหาค่าสถิติต่าง ๆ สาหรับตอบปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ การศึกษา พร้อมทั้งนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.1 ผลการวิเคราะห์บทบาทของกานันผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขตอาเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อบทบาทที่เหมาะสมของ กานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิ ปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยภาพรวม มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.20, S.D. = 0.334) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของ กานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ด้านหลักภราดรภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( X = 4.29, S.D = 0.439) รองลงมา คือ ด้านหลัก ความเสมอภาคมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.27, S.D. = 0.451) ด้านหลักการยึดเสียงข้างมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก ( X = 4.24, S.D. =0.472) ด้านหลักเหตุผลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.23, S.D. = 0.450) ตามลาดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักสิทธิเสรีภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดั บมาก ( X = 3.99, S.D. = 0.488) 1.2 ผลการวิเคราะห์บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยใน ชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์จาแนกเป็นรายด้าน ผู้วิจัยนาข้อมูลบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยจาแนกรายด้าน มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า หลักสิทธิเสรีภาพ โดยภาพรวม มีค่า เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.99, S.D. = 0.488) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมือง สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือปฏิบัติตนตามหลักสิทธิเสรีภาพปฏิบัติและส่งเสริมต่อประชาชน อย่างเท่าเทียมกันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.15, S.D = 0.680) รองลงมา คือ รู้จักเหตุแห่งปัญหาต่างๆ และแก้ปัญหาตามหลักสิทธิเสรีภาพได้ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.07, S.D. = 0.702) ทราบถึงเสรีภาพ ของบุคคลที่จะกระทาการต่างๆได้ตามความต้องการของตนโดยไม่ละเมิดต่อผู้อื่นและไม่ผิดกฎหมายมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( X = 3.95, S.D. = 0.728) ทราบถึงสิทธิ อานาจหรือผลประโยชน์บุคคลที่ได้รบั การคุ้มครองและรับรอง ตามกฎหมายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.92, S.D. = 0.660) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทราบถึงข้อจากัดแห่งสิทธิเสรีภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.85, S.D. =0.689) หลักเหตุผล โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.23, S.D. = 0.450) เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือดูแลและให้บริการเต็มที่ เมื่อมีประชาชนมาขอรับบริการหรือติดต่อซักถาม

475


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.39, S.D = 0.666) รองลงมา คือ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และรับฟังเหตุผลผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.29, S.D. = 0.641) รู้จักใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสิน หรือยุติปัญหาสังคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.26, S.D. = 0.638) เมื่อประชาชนมีการร้องเรียนต่อการ ปฏิบัติงานของกานันและผู้ใหญ่บ้านก็สามารถยอมรับและชี้แจงได้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.20, S.D. = 0.662) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทราบถึงผลเสียหายที่เกิดจากการใช้หลักเหตุผลอย่างไม่ถูกต้องมี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.99, S.D. = 0.754) หลักความเสมอภาค โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.27, S.D. = 0.451) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอ เมืองสุริน ทร์ จังหวัดสุ รินทร์ข้อ ที่มีค่ าเฉลี่ ยมากที่สุ ด คื อให้ ความเสมอภาคแก่ ทุกคนในการบริห ารชุ มชนอย่า ง เหมาะสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.33, S.D = 0.616) รองลงมา คือ ปรับตัววางตัวได้อย่างเหมาะสมเข้า กับประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดีมีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก( X = 4.30, S.D. = 0.643) ปฏิบัติหน้าที่มีความ รับผิดชอบและให้ประโยชน์ต่างๆ แก่ชุมชนอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.28, S.D. = 0.599) ทราบว่าบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายได้รั บความคุ้มครองเท่าเทียมกันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( X = 4.23, S.D. = 0.700) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของ ตนเองมีความสามารถในการให้บริการชุมชนอย่างเสมอภาคมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.20, S.D. = 0.653) หลักการยึดเสียงข้างมาก โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.24, S.D. = 0.472) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือเข้าใจและส่งเสริมหลักการยึดเสียงข้างมากและเคารพ เสียงส่วนน้อยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.34, S.D = 0.664) รองลงมา คือ ทราบหลักการยึดเสียงข้างมาก และเคารพเสียงส่วนน้อยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.33, S.D. = 0.680) บริหารชุมชนโดยไม่ลาเอียงเข้าข้าง เสียงส่วนมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.31, S.D. = 0.656) มีการใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุดแก่ส่วนรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.26, S.D. = 0.650) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุด คือ เคารพและปฏิบัติตามเสียงส่วนน้อยในการพัฒนาชุมชนตามความจาเป็นของชุมชนนั้นๆมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( X = 3.95, S.D. = 0.927) หลักภราดรภาพ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.29, S.D. = 0.439) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมือง สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สดุ คือให้ความเป็นกันเองเอื้ออาทรต่อชุมชนเสมือนพี่น้องในบ้านเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( X = 4.36, S.D = 0.612) รองลงมา คือ ลาดับขั้นตอนในการทางานกันสามารถแก้ไข สถานการณ์ต่างๆ ได้ทันท่วงที และรู้ว่าอะไรควรทาก่อนอะไรควรทาทีหลังมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.32, S.D. = 0.632) ปกครองชุมชนโดยไม่แยกมิตร ศัตรู มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และตรงต่อเวลามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( X = 4.31, S.D. = 0.717) จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริม ความรัก ความสามัคคีและความรู้ในด้านต่าง ๆ ช่วง วันหยุดและเทศกาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.26, S.D. = 0.692) ตามลาดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ให้การดูแลความปลอดภัยช่วยเหลือชุมชนในสถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงเวลาที่เหมาะสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.18, S.D. = 0.644)

476


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยนาข้อมูล บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้หลัก 5 ข้อ คือ 1) หลักสิทธิเสรีภาพ 2) หลักเหตุผล 3) หลักความเสมอ ภาค 4) หลักการยึดเสียงข้างมาก และ 5) หลักภราดรภาพโดยภาพรวม มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ ย ( X ) และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการ ส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยภาพรวม (n = 168) บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน

X

หลักสิทธิเสรีภาพ

3.99

หลักเหตุผล

4.23

หลักความเสมอภาค

4.27 4.24 4.29 4.20

หลักการยึดเสียงข้างมาก หลักภราดร ภาพรวม

S.D. 0.488 0.450 0.451 0.472 0.439 0.334

แปลผล มาก มาก มาก มาก มาก มาก

จากตารางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อ บทบาทที่เหมาะสมของกานันและ ผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( X = 4.20, S.D. = 0.334) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านใน การส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านหลัก ภราดรภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.29, S.D = 0.439) รองลงมา คือ ด้านหลักความเสมอภาคมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( X = 4.27, S.D. = 0.451) ด้านหลักการยึดเสียงข้างมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.24, S.D. =0.472) ด้านหลักเหตุผลมีค่าเฉลี่ยอยูใ่ นระดับมาก ( X = 4.23, S.D. = 0.450) ตามลาดับ และด้านที่มีค่าเฉลีย่ น้อยที่สุด คือ ด้านหลักสิทธิเสรีภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.99, S.D. = 0.488) สรุป ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริม ประชาธิปไตยในชุมชนโดยภาพรวม มีข้อเด่นที่สุด คือหลักภราดรภาพ และข้อด้อยที่สุด คือหลักสิทธิเสรีภาพ วิจารณ์ผลการวิจัย การศึกษาบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ผลการศึกษาบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 5 หลักของอาเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย หลักสิทธิเสรีภาพ หลักเหตุผล หลักความเสมอ ภาค หลักการยึดเสียงข้างมาก และหลักภราดรภาพ แสดงให้เห็นว่า กานันและผู้ใหญ่บ้านมีการส่งเสริมประชาธิปไตยใน ชุมชนอย่างเหมาะสม ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนที่พึงมีต่อ ชุมชนในการรักษาความสงบเรียบร้อย แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดูแลทุกข์สุขประชาชนในท้องที่ และเป็นจุด เชื่อ มโยงระหว่า งสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริ ย์ ซึ่งต้ องเป็นผู้ รู้กฎหมายเบื้ องต้นเพื่อใช้ในการปกครอง

477


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประชาชนในท้องที่ ซึ่งสอดคล้องกับ กรมการปกครอง. (2555 : 39-40) กล่าวว่าพระราชบัญญัติลักษณะการปกครอง ท้องที่มีเจตนารมณ์ เพื่อให้มีกานัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราความทุกข์ของราษฎรตามพื้นที่บ้านต่าง ๆ ซึ่ งเป็น กาลังสาคัญ อย่ างหนึ่ งในการปกครองบ้ านเมื อง นอกจากนั้ นก็ เพื่อ รัก ษาพระราชอานาจตามกาหนด กฎหมายให้ ป ระชาชนพึ ง ปฏิ บั ติ ต ามด้ ว ยความเรี ย บร้ อ ย พระราชบั ญ ญั ติ ลั ก ษณะปกครองท้ อ งที่ ร.ศ. 116 ประกาศใช้มาได้ประมาณ 17 ปี ก็ได้มีการปรับปรุง และได้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ขึ้นใช้บังคับแทนและเป็นหลักของการปกครองท้องที่ในประเทศไทยมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันนอกจาก กานัน ผู้ใหญ่บ้าน จะมี อานาจหน้า ที่ตามพระราชบั ญญัติลั กษณะปกครองท้อ งที่ พุ ทธศัก ราช 2457 แล้ว ยังมี กฎหมายอีกหลายฉบับที่กาหนดให้อานาจหน้าที่ไว้จนอาจกล่าวได้ว่าตาแหน่งผู้ใหญ่บ้านมีบทบาท ภารกิจ อานาจ หน้าที่กว้างขวางครอบคลุมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในตาบล หมู่บ้าน ตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านเกี่ยวกับบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริม ประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สามารถนามาวิจารณ์ผลได้ ดังนี้ 1. หลักสิทธิเสรีภาพ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กานันและผู้ใหญ่บ้าน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีความรู้เรื่องสิทธิเสรี ภาพและสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ประชาชนว่าบุคคลย่อมมี สิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็น ส่วนตัว ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกันการรู้จักใช้สิทธิของตนเองรักษาสิทธิของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ สภา นักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย (2559 : ออนไลน์) ที่กล่าวว่า อุดมการณ์ประชาธิปไตยยึดหลักการสาคัญในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคควบคู่กันไป มีสิทธิ คือ อานาจอันชอบธรรมหรือความสามารถที่จะกระทาการใด ๆ ได้ โดยชอบธรรม โดยอานาจอื่นแม้กระทั่งอานาจของรัฐจะก้าวก่ายในสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้ มีเสรีภาพ คือ มีอิสระใน การกระทาการใด ๆ ได้ตามปรารถนา แต่มีขอบเขตจากัดว่า การกระทานั้นๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือละเมิด สิทธิ ของบุค คลอื่น โดยเสรีภ าพที่ เป็ นสิท ธิขั้ นพื้น ฐานได้ แก่ เสรีภ าพในการชุ มนุ มโดยสงบและปราศจากอาวุ ธ เสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง 2. หลักเหตุ ผล โดยภาพรวม มีค่า เฉลี่ยอยู่ ในระดั บมาก ซึ่งแสดงให้เห็น ว่า กานั นและผู้ ใหญ่บ้า น ส่งเสริมหลักเหตุผลในชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถทาให้ประชาชนมีเหตุมีผลทางประชาธิปไตย และปฏิบัติ ตนเป็น แบบอย่างในการรับฟังอย่างมีเหตุมีผล มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ใช้หลักเหตุผลมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และหากมีการตัดสินปัญหา ด้วยการออกเสียงต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อย ซึ่งสอดคล้องกับ วิทยา สุรินทร์ (2553) ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ภาวะผู้นาของกานัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอาเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นาของกลุ่มตัวอย่าง คือ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อยู่ในระดับมากทุ กด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ เป็นกานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นาชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทอานาจหน้าที่ และ คุณลักษณะของการเป็นผู้นาในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ได้แก่ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเคารพและยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่นรู้จักปรับตัวให้เข้ากั บเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น มีความรอบรู้เกี่ยวกับงานที่ตนต้ องกระทาหรื อ รับผิดชอบ สามารถแก้ไขปัญหาหรือเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้อย่างสุขุม รอบคอบ ไม่ตื่นตระหนก ผู้ที่มีความ รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนกระทา 3. หลักความเสมอภาค โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กานันและผู้ใหญ่บ้าน ใช้หลักความเท่าเทียมกันในการปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เล็งเห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสาคัญ มากกว่าประโยชน์ส่วนตน ยึดถือความเท่าเทียมกันของประชาชนเป็นหลัก ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกปฏิบัติ สิ่งใด

478


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ที่มีผลประโยชน์ต่อส่วนรวม จะต้องกระจายผลประโยชน์นั้นอย่างทั่วถึง ต้องคานึงถึงประโยชน์สาธารณะเหนือ ประโยชน์ส่วนบุคคลซึ่งสอดคล้องกับ นงคราญ อนุกูล (2558 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่อง รูปแบบการส่งเสริม ประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมองค์กรของสภานักเรียนระดับมัธยมศึกษา ภาคอีสาน ผลการวิจัยพบว่า สภานักเรียน ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การมีความ รับผิดชอบความเป็นผู้มีวินัยในตนเอง การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน การมีส่วนร่วมทั้งความคิด การ กระทา 4. หลักการยึดเสียงข้างมาก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กานันและ ผู้ใหญ่บ้านในเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ยึดถือหลักเกณฑ์ของเสียงข้างมากตามหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างดี สามารถส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนเคารพกฎเกณฑ์ของเสียงข้างมาก และเคารพเสียงส่วนน้อย มีความซึ่งสอดคล้องกับ สุขุม นวลสกุล (2543 : 20) ที่กล่าวว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ หมายความเพียงการยึดหลักเสียงข้างมากเท่านั้น แต่จะต้องมีหลักประกันสาหรับเสียงข้างน้อยด้วย หลักประกันนั้นหมายถึง การที่สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อย จะต้องได้รับการเคารพ เสียงข้างมาก จะละเมิดและก้าวก่ายสิทธิของเสียงข้างน้อยไม่ไ ด้ นอกจากนี้ ความเห็นหรือ ทัศนะของเสียงข้างน้อย จะต้องได้รับการรับฟัง เพราะในระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องเปิดโอกาสให้กับทุกฝ่าย หรือ ผู้มีความ คิดเห็นแตกต่างได้เผยแพร่ทัศนะหรือแนวความคิดของเขา เพราะการลงมติเพื่อหาทัศนะที่เสียงข้างมาก สนับสนุนนั้น จะยุติธรรมและเชื่อถือได้ว่าถูกต้อง ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายได้รับโอกาสในการเสนอทัศนะและเหตุผล ของตน สู่การรับฟัง ของผู้ที่จะใช้วิจารณญาณตัดสินใจแล้ว 5. หลักภราดรภาพ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กานันและผู้ใหญ่บ้านใน เขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปฏิบัติตนฉันพี่น้อง มีความเอื้ออาทร ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ด้วยการเปิด โอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มได้มาทากิจกรรมร่วมกัน มีการยอมรับนับถือและร่วมมือกันในการทากิจกรรมต่างๆ และ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นต่อกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งสอดคล้องกับ Hiessman (1999 : 36) ได้วิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในสหรัฐอเมริกาเพื่อฝึกอบรมนักเรียนชั้นประถมศึกษาให้เป็นพลเมืองดีตาม วิถีทางประชาธิปไตย ผลการวิ จัยพบว่า วิ ธีการ ให้ เด็กเรี ยนรู ความเป็นพลเมืองดี จากการปฏิบัติตนในแนวทาง ประชาธิปไตย โดยใช้กิจกรรมต่างๆเข้ามาช่วย เช่น สโมสรโครงการสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียนและสถาน การณอื่นๆ ที่ต้องการความเป็นประชาธิปไตย มีการยอมรับนับถือและร่วมมือกัน นักเรียนจะเรียนรู บางสิ่งบางอย่าง จากสิ่งเหล่านี้ โดยการเรียนเพื่อที่ จะฝึกให้ มีความรับผิดชอบและ ตระหนักว่า พลเมืองดีต้องการยอมรับในหน้าที่ และพันธะ ระหว่างกันและกัน การยอมรับนับถือผู้ อื่น ความซาบซึ้งในบริการที่หน่วยงานทางสังคมจัดให้ การใช้ กระบวนการกลุม และโครงการเกี่ยวกับชุมชน สิ่งเหล่านี้จะถูกนามาพัฒนาทักษะประชาธิปไตยให้กับนักเรียน ข้อเสนอแนะ องค์ กรภาครัฐ ควรสนั บสนุ นงบประมาณในการพัฒนาบุ คลากรภาครัฐ ให้ มีความรู้ด้า นการส่ งเสริ ม ประชาธิปไตยในชุมชน หน่วยงานภาครัฐควรมีการยกย่องสรรเสริญประกาศเกียรติคุณแก่กานันและผู้ใหญ่ บ้านที่ ส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน หน่วยงานที่อยู่ในท้องถิ่น ควรมีการบูรณาการร่วมกันในการส่งเสริมประชาธิปไตยใน ชุมชน

479


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิตติกรรมประกาศ การวิจัยเรื่อง บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ครั้งนี้ขอบคุณคณาจารย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์ ซึ่งให้ความรู้ คาปรึกษา ตลออดจนแนวนาแนวทางในการศึกษาแก่ผู้วิจัย ตลอดถึงคณาจารย์ทุก ท่านที่ให้การอบรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้ และที่ขาดไม่ได้เลยคือเพื่อนๆร่วมหลักสูตรทุกท่านที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มาตลอดด้วยดีอย่างสม่าเสมอ ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นกาลังกันเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุก คนในครอบครัว รวมถึงพระครูปริยัติวิสุทธิคุณ ผศ.ดร ที่มีส่วนในการผลักดัน ส่งเสริมสนับสนุนมาโดยตลอด เอกสารอ้างอิง กรมการปกครอง. (2555). คู่มือปฏิบัติงานกานัน ผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์อาสาสมัครรักษาดินแดน. จิราลักษณ์ เขียวหลี. (2555). องค์ประกอบของผู้นาชุมชน. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2559 จาก https:// www. l3nr. org/posts /448872 ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บิส ซิเนสอาร์แอนด์ดี. นงคราญ อนุกูล. (2558). รูปแบบการส่งเสริมประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมองค์กรของสภานักเรียนระดับ มัธยมศึกษาภาคอีสาน. ปริญญา ปร.ด.วัฒนธรรมศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ประกอบ กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ด่านสุทธาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ. วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ประวัติความเป็นมาอาเภอเมืองสุรินทร์.สืบค้น 20 ธันวาคม 2559 จาก https://th.wikipedia. org/wiki/ วิทยากร เชียงกูล. (2550). หลักการของระบอบระชาธิปไตย. สืบค้น 14 กันยายน 2560. จาก https://witayakornclub wordpress.com/democratic/ สุริยะ วิริยะสวัสดิ์. (ม.ป.ป.). สถาบันกานัน ผู้ใหญ่บ้าน : อดีต ปัจจุบนั และอนาคต. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2559 จาก www.dopatrang.go.th/datacenter/doc_download/ iadtoppic1.doc เสรี พงศ์พิศ. (2555). ปัญหาของระบอบประชาธิปไตย. สืบค้น 10 กันยายน 2560 จาก http:// www.chaoprayanews.com Cronbach Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row Publishers. Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,2, 4960. Yamana, Taro . (1970). Statistics : An introductory Analysis. 2^nd ed. Tokyo : John Weather – Hill

480


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-14 บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ศิริพร สมานจิตร์1, อภิชาต แสงอัมพร2 และ วันชัย สุขตาม3 1

Siriporn Samanchit นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ 2 Apichat Sangamporn คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 Wanchai Suktam คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจั ย ครั้ งนี้มี วั ต ถุป ระสงค์ เพื่อ ยกระดับ บทบาทขององค์ กรปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่น ในการพั ฒ นา คุณภาพชีวิตคนพิการในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของคนพิการ ต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการใน เขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ นาเสนอการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากคนพิการในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จานวน 295 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทาขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับ ปานกลาง ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน รองลงมาคือ ด้านสิ่ง อานวยความสะดวก ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้านการมีคุณค่า ด้านการศึกษาสูงสุด ด้านอาชีพและรายได้ และด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม1 คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทนา พระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า “งานช่วยเหลือคนพิการนี้ก็มีความสาคัญอย่างยิ่ง เพื่อว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็น ผู้พิการและอยากช่วยเหลือ ตนเองถ้า เราไม่ช่ว ยเขาให้สามารถปฏิ บั ติงานอะไรเพื่อ ช่วยชี วิตและเศรษฐกิ จของ ครอบครัว จะทาให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัวหนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้น นโยบายที่จะทาก็คือช่วยเขาให้ช่วยเหลือ ตนเองได้เพื่อจะทาให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม” (สุจินต์ สว่างศรี. 2550 : 1) มนุษย์ได้รับการยกย่องว่าเป็นทรัพยากรที่สาคัญและมีคุณค่ามากที่สุด เป็นปัจจัยสาคัญประการหนึ่งที่มี บทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติสังคมใดมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ และมี สมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจสังคมนั้นก็จะมีความเจริญก้าวหน้ามากแค่ไหนย่อมต้องประกอบไปด้วย

481


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประชากรประเภทต่าง ๆ ทั้งที่มีคุณภาพ ทั้งที่มีร่างกายปกติสมบูรณ์และผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญาที่ถูกเรียกว่า คนพิการ รวมอยู่ในสังคมด้วยทั้งสิ้น ซึ่งการพัฒนาประเทศที่จะให้ผลที่ทรงประสิทธิภาพสูง ตามความคาดหวังนั้นจาเป็นต้องมีการพัฒนาประชาชนของประเทศให้มีคุณภาพควบคู่กันไป การพัฒนาคนมิใช่เป็น เรื่องที่จะกระทาได้ง่าย ๆ ต้องอาศั ยสิ่งประกอบหลายประการเข้ามาสนั บสนุน และยิ่งคนที่มีความพิการ ซึ่ ง บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญาก็ยิ่งเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมมากยิ่งขึ้นกว่าคนปกติธรรมดา ประเทศใดมีคนพิการมากย่อมสูญเสียแรงงาน และทรัพยากรจานวนมากในการพัฒนาประเทศคนพิการ หรือบุคคล ทุพพลภาพ หมายความถึง บุคคลซึ่งมีข้อจากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจาวันและการมีส่วนร่วมทางสังคม ได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้ และความต้องการจาเป็นพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดาเนิน ชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป คงไม่มีบุคคลใดที่ต้องการให้เกิดความทุพพลภาพดังกล่าวในตนเอง และบุคคลใกล้ชิด เมื่อเกิดขึ้นจึงมีความจาเป็นต้องแสวงหาวิธีการที่จะดารงชีวิตให้ได้ตามปกติมากที่สุด ความ เปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมทุนนิยมที่มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อคน พิการและครอบครัวทั้งทางบวกทางลบพบว่าคนพิการยังคงดารงชีวิตอย่างอยากลาบากเช่นเดิมบางคนยังขาดสิทธิใน การเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ (อิสบอรอเฮง เวานิ. 2555 : 250-251) อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตาบล 55 หมู่บ้าน (ประวัติความ เป็นมาอาเภอเขวาสินรินทร์. 2559 : ออนไลน์) จากสภาพความเป็นจริงในการดาเนินงานบทบาทขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์มีเพียงการ จ่ายเงินสวัสดิการเบี้ยยังชีพความพิการและไม่มีสวัสดิการอื่นๆซึ่งยังไม่ครอบคลุมความจาเป็นพื้นฐานของการใช้ ชีวิตประจาวันของคนพิการ ไม่ว่า จะเป็นด้านร่างกายและจิตใจ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพและรายได้ ด้านสิ่ง อานวยความสะดวก ด้านสังคม ด้านการมีศักดิ์ศรี ด้านการมีคุณค่า และจากสภาพปัญหาของคนพิการที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันจึงทาให้ผู้วิจัยมีความสนใจ และต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับบทบาทขององค์การปกครองส่วน ท้องถิ่นในอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อนาข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการกาหนดบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อยกระดับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขต อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของคนพิการต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิง

482


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บ รวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) เป็นเครื่องมือ สาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล คนพิการและกลุ่มตัวอย่าง คนพิการ ได้แก่ คนพิการที่อาศัยอยู่ในเขตอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จานวน 1,131 คน (สานักงานทะเบียนอาเภอเขวาสินรินทร์. 2559) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนพิการในพื้นที่ จานวน 1,131 ราย ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamana. 1970 : 125) ซึ่งใช้ระดับค่าความเชื่อมั่น ที่ 95% ที่นัยสาคัญ 0.05 ดังนั้น จานวนกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามบทบาทของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ โดยจาแนกเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้ต่อปี และอาชีพ ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบ เลือกตอบ (Check list) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับทุนทางสังคม 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน สุขภาพร่างกายและจิตใจ 2) ด้านอาชีพรายได้ 3) ด้านการศึกษาสูงสุด 4) ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 5) ด้าน สิ่งอานวยความสะดวก 6) ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน 7) ด้านการมีคุณค่า ซึ่งเป็นแบบมาตรา ส่วนประเมินค่า (Rating Scale)การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยยึดเกณฑ์ (ประกอบ กรรณสูตร. 2542 : 108) ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นคาถามแบบปลายเปิด (Open Ended Question) ขั้นตอนการสร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยพิจารณาตามหลัก ระเบียบและวัตถุประสงค์ของการวิจัยหลัก เพื่อเป็นกรอบประเด็นคาถาม 2. น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษามาเขี ย นเป็ น ข้ อ กระทงความ (Item) ของแบบ สอบถามตาม องค์ประกอบต่างๆ ของบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3. จัดทาร่างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดที่กาหนดโดยพิจารณาถึงเนื้อหารายละเอียดให้ครอบคลุม ถึงวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา

483


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4. น าแบบสอบถามที่ ส ร้ า งขึ้ น เสนอ ประธานและกรรมการที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ เพื่ อ ท าการ ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมข้อคาถามให้ครอบคลุมเนื้อหาและรัดกุมยิ่งขึ้น 5. นาเครื่องมือที่แก้ไขปรับปรุงแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน เพื่อให้พิจารณาตรวจสอบความ ตรงของเนื้ อหาและความถูกต้ องเหมาะสมของภาษาที่ ใช้ โดยการจั ดทาหนั งสือขอความร่ วมมื อในการพิจารณา ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) อาจารย์ ดร.นพฤทธิ์ จิตรสายธาร 2) อาจารย์ ดร.อภิชาต แสงอัมพร 3) อาจารย์ ดร.วันชัย สุขตาม ผลการพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC (Index of Item – Objective Congruence ) ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 6. นาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว นาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความชัดเจน 7. นาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกั บกลุ่ม ตัวอย่างเป้าหมาย จานวน 20 ชุด 8. นาแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาคานวณหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability )โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α - Coefficient) โดยการใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach. 1970 : 160) จากการคานวณได้ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 9. นาผลการทดลองใช้มาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์ และนาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับจริง เพื่อนาไปใช้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จั ด ท าหนั ง สื อ ขออนุ ญ าตเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จากคณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตต่อนายอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ใน การตอบแบบสอบถามจากผู้บริหารท้องถิ่น กานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่ บ้าน และคน พิการในพื้นที่ 2. เตรียมความพร้อมของแบบสอบถาม ให้มีจานวนเพียงพอกับจานวนกลุ่มตัวอย่างที่จะทาการเก็บ รวบรวมข้อมูล แล้วนาแบบสอบถามพร้อมหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลไปเสนอขออนุญาตเก็บรวบรวม ข้อมูลต่อผู้บริหารท้องถิ่น กานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน และคนพิการในพื้นที่ พร้อม ชี้แจงรายละเอียดของการดาเนินการศึกษาวิจัยและการดาเนินการเพื่อใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบ ตามจานวนที่ต้องการ 3. นาแบบสอบถามไปทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยลงไปเก็บแบบสอบถาม ด้วยตนเอง ระหว่าง เดือน กุมภาพันธ์ 2561 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับคืนทั้งหมดแล้วนามาตรวจสอบความ ถูกต้องความสมบูรณ์ถ้ายังไม่สมบูรณ์คัดแบบสอบถามฉบับนั้นออกแล้วดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จนครบ จากนัน้ จึงได้เริ่มทาการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยที่เลือก ใช้ในครั้งนี้

484


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นาแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม 2. นาผลของข้อมูลบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อคานวณหาค่าสถิติที่เลือกใช้เพื่อการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อหาค่าทางสถิติ 3. นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะตารางแสดงผลการวิเ คราะห์พร้อมการแปลความหมาย โดยวิธีการพรรณนาตามค่าสถิติของแต่ละตารางข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทาการิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการ วิจัยทางสังคมศาสตร์เสนอข้อมูลและใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 สถิติหาค่าความสอดคล้องของแบบสอบถาม ใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) โดยใช้สูตรของ โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton. 1977 : 49) โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้จากการคานวณจากสูตร ที่จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป คัดเลือกข้อสอบข้อนั้นไว้ใช้ได้ แต่ถ้าได้ค่า IOC ต่ากว่า 0.5 ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุง หรือตัดทิ้ง 1.2 สถิติหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α Coefficient)ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach. 1970 อ้างถึงใน วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 260) 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย ( X ) 2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) 2.4 ค่าแจกแจงแบบที (t – test) 2.5 ค่าความแปรปรวน (F – test) (ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2553 : 177) ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เรื่อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ลาดับขั้นการนาเสนอ ดังนี้ 1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จานวน 295 ชุด แล้ว นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อคานวณหาค่าสถิติต่าง ๆ สาหรับตอบปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ การศึกษา พร้อมทั้งนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใน รายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.1 ผลการวิเคราะห์บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการใน เขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมพบว่าประชาชนความคิดเห็นว่า ผลการวิเคราะห์ความ คิดเห็น เกี่ยวกั บ บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้อ งถิ่นในการพั ฒนาคุณ ภาพชีวิ ตคนพิก ารในเขตพื้นที่ อาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.77, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็น

485


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

รายด้าน พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเข วาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก ที่สุดสามลาดับแรก คือ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.22, S.D.=0.89) รองลงมา คือ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.11, S.D.=0.83) ด้าน สุขภาพร่างกายและจิตใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.86, S.D.=0.65) ตามลาดับ และน้อยสุด คือ ด้านที่อยู่ อาศัยและสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.28, S.D.=0.89) 1.2 ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ แยกเป็นรายด้าน ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.86,S.D.=0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขต พื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจา ตาบลจัดบริการตรวจสุขภาพประจาปี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.11, S.D.=.79) รองลงมา คือ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดบริการทางการแพทย์และการบริการ สาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.03, S.D.=.77) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดบริการตรวจสุขภาพที่บ้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.02, S.D.=.89) ตามลาดับ และน้อยสุด ผู้พิการสามารถไปไหนมาไหนด้วยตนเอง ๆ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ลาบากใจ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( X =3.49, S.D.=.95) ด้านอาชีพและรายได้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.47,S.D.=0.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขต พื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านอาชีพและรายได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ ซึ่งข้อที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ ผู้พิการได้รับเบี้ยยังชีพคนพิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =4.45, S.D.=.72) รองลงมา คือ ผู้พิการได้รับการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายให้สามารถประกอบอาชีพได้ จากความจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.49, S.D.=1.06) และผู้พิการ ได้รับการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายให้สามารถจากองค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับปานกลาง ( X =3.27, S.D.=1.16) ตามลาดับ และน้อยสุด ผู้พิการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประกอบอาชีพสาหรับคนพิการหรือผู้ดูแลผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.06, S.D.=.77) ด้านการศึกษาสูงสุด โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.67, S.D.=0.88) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการศึกษาสูงสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและปานกลาง ซึ่งข้อที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ ผู้พิการได้รับความรู้ด้านสุขภาพสิทธิต่างและสวัสดิการที่รัฐให้การสนับสนุน มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.91, S.D.=.93) รองลงมา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ผู้พิการมี ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.71, S.D.=.90) และการสนับสนุนการ

486


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจัยและพัฒนางานสวัสดิการสังคมสาหรับผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.67, S.D.=1.94) ตามลาดับ และน้อยสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสนับสนุนประสานงานให้มีการจัดบริการการศึกษาสาหรับผู้พิการ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.42, S.D.=1.88) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.28, S.D.=0.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิ ตคน พิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากและปานกลาง ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ที่อยู่อาศัยของผู้พิการดีต่อ สุขภาพของผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.56, S.D.=.97) รองลงมา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการครอบครัวอุปการะสาหรับผู้พิการที่อยู่คนเดียวไร้ที่พึ่ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.41, S.D.=1.02) และองค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการสนับสนุนงบประมาณซ่อมแซมบ้านพักผู้พิการ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.26, S.D.=1.08) ตามลาดับ และน้อยสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการ บ้านพักกรณีฉุกเฉินสาหรับผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.06, S.D.=1.10) ด้านสิ่งอานวยความสะดวก โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ( X =4.11, S.D.=0.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุก ข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการที่จอดรถสาหรับผู้พิการเพื่อ เข้ามาใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.31, S.D.=3.24) รองลงมา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการติดตั้งป้ายและสัญลักษณ์สาหรับผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.13, S.D.=.78) องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการทางลาดสาหรับผู้พิการเพื่อเข้ามาใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.12, S.D.=.78) ตามลาดับ และน้อยสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี่รถเข็นเอาไว้คอยบริการผู้พิการที่จะมาใช้บริการ มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.98, S.D.=.84) ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.22, S.D.=0.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจัดบริการรถ และบุคลากรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการด้านต่าง ๆ แทนผู้พิการในตาบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.29, S.D.=1.79) รองลงมา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดให้มีอาสาสมัครดูแลผู้พิการในชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( X =4.22, S.D.=.78) และน้อยสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดบริการ เยี่ยมบ้านผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.16, S.D.=.83) ด้านการมีคุณค่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.76, S.D.=0.66) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการมีคุณค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด สามลาดับแรก คือ บุคคลรอบข้างคนพิการภูมิใจในตัวท่านที่ท่านสามารดาเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน

487


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ระดับมาก ( X =3.83, S.D.=0.72) รองลงมา คนพิการรู้สึกว่าบุคคลรอบข้างให้การยอมรับ และมองเห็นคุณค่าในตัว ท่าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =377, S.D.=0.75) และบุคคลรอบข้างคนพิการมักจะบอกท่านเสมอว่าท่านเป็น คนมีประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =377, S.D.=0.75) ตามลาดับ และน้อยสุด คนพิการสามารถพัฒนา ตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =64, S.D.=0.87) สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยนาข้อมูลบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้หลัก 7 ข้อ คือ 1) ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2) ด้านอาชีพและ รายได้ 3) ด้านการศึกษาสูงสุ ด 4) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 5) ด้านสิ่งอานวยความสะดวก 6) ด้านการ สร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน 7) ด้านการมีคุณค่า โดยภาพรวม มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ 1. ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ด้านอาชีพและรายได้ 3. ด้านการศึกษาสูงสุด 4. ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 5. ด้านสิ่งอานวยความสะดวก 6. ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกือ้ หนุน 7. ด้านการมีคุณค่า ภาพรวม

X

3.86 3.47 3.67 3.28 4.11 4.22 3.76 3.77

S.D. 0.65 0.77 0.88 0.89 0.83 0.89 0.66 0.51

แปลผล มาก ปานกลาง มาก ปานกลาง มาก มาก มาก มาก

จากตารางพบว่าบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมพบว่าประชาชนความคิดเห็นว่า ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น เกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.77,S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ตคนพิ ก ารในเขตพื้ น ที่อ าเภอเขวาสิ น ริ น ทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับ แรก คือ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.22, S.D.=0.89) รองลงมา คือ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.11, S.D.=0.83) ด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.86, S.D.=0.65) ตามลาดับ และน้อยสุด คือ ด้านที่อยู่อาศัยและ สภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.28, S.D.=0.89) สรุ ป ผู้ ตอบแบบสอบถามมีค วามคิ ดเห็ นต่ อ บทบาทขององค์ กรปกครองส่ วนท้ องถิ่ นในการพัฒ นา คุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินริ นทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีข้อเด่นที่สุด คือ ด้านการ สร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน และข้อด้อยที่สุด คือด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม

488


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย การศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอ เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ผลการศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 7 ด้านของอาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2) ด้านอาชีพและรายได้ 3) ด้าน การศึกษาสูงสุด 4) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 5) ด้านสิ่งอานวยความสะดวก 6) ด้านการสร้างบริการและ เครือข่ายเกื้อหนุน 7) ด้านการมีคุณค่า แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตคนพิการอย่างเหมาะสมตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเข วาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐกระจายอานาจให้คนท้ องถิ่นบริหารงานเพื่อแก้ไข ปัญหาพัฒนา และให้บริการแก่คนในท้องถิ่นเอง ซึ่งการดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นไปอย่าง อิสระมีอานาจในการบริหารกาหนดนโยบาย และการตัดสินใจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรมีมีความ ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีข้อมูล มีค วามรอบรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางประชากรของชุมชน และเป็นผู้รู้ ปัญหาของประชาชนในพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีอานาจอิสระในการกาหนดทิศทางการวางแผนการ ตัดสินใจในการที่จะสนับสนุนงานด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยมีกฎหมายและอานาจของข้อบัญญัติของตาบล ต่างๆ และสามารถบังคับใช้กับราษฎรมีการดาเนินการจัดบริการสาธารณะสอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตาบล และองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) 2552 มาตรา 66 กล่าวว่า องค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น มีอานาจหน้าที่ในกาพัฒนาตาบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พระราชบัญญัติกาหนด แผนและขั้นตอนกระจายอานาจของ องค์การบริหารส่วนตาบล จานวน 31 เรื่อง ซึ่งในจานวนนี้ได้ระบุถึงหน้าที่ใน การสั งคมสงเคราะห์ และการพั ฒนาคุ ณ ภาพชี วิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ ด้อ ยโอกาส และสอดคล้ องกั บ พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กล่าวว่า ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตาบลมีอานาจหน้าที่ในการจั ดระบบการบริหารสาธารณะเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (ข้อ 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชี วิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สามารถนามาวิจารณ์ผลได้ ดังนี้ 1. ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดย ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ มีค่าเฉลี่ ยอยู่ใน ระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสามลาดับแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตาบลประจาตาบลจัดบริการตรวจสุขภาพประจาปี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดบริการทางการแพทย์และการบริการสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบล จัดบริการตรวจสุขภาพที่บ้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลาดับ และน้อยสุด คนพิการสามารถไปไหนมาไหน ด้วยตนเอง ๆ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ลาบากใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสุเวช ทรงอยู่สุข (2550 ) ได้เสนอแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านการแพทย์ โดยบูรณาการร่วมมือให้การช่วยเหลือคนพิการด้าน การตรวจ การรักษา การจัดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จาเป็นสาหรับคนพิการ การให้ความรู้ในการดูแลตนเอง

489


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สาหรับคนพิการ ความรู้ในการดูแลคนพิการสาหรับครอบครัวคนพิการ สอดคล้องกับกชนนิภา นราพินิชและ คณะ (2551 : 146) ได้เสนอแนวทางการให้กาลังใจคนพิการ โดยมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคนพิการ ให้เห็นคน พิการได้คลายเหงา เพื่อเสริมกาลังใจบ่อยมาก วัชรีกร ภิมาลย์ จุฬารัตน์ สุริยาทัย ณัฐนิช ไชยสลี พจนพร พลแดง กิติยา ขันแปง (2554) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ศึกษาปัญหา หรือความต้องการด้านสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลจากชุมชนเป็น พื้นฐาน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับชุมชนในการดูแลผู้พิการ เตรียมชุมชน ด้วยการคืนข้อมูลคนพิการข้อมูลสู่ชุมชน ใช้ แนวทางและกระบวนการมีส่วนร่วมของ คนพิการ ครอบครัว อาสาสมัคร และ ผู้นาชุมชน พบว่ามีชุมชนสมัครใจ ร่วมโครงการจานวน 3 ชุมชนร่วมกันออกแบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ได้รูปแบบบริการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน คือ สร้างชุมชนเป็นสถานบริการ มีอาสาสมัครประจาบ้าน พยาบาลประจาครัวเรือน และคนพิการเป็นเจ้าของสุขภาพโดยยึดหลักการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่ง คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอานวยความสะดวกอันเป็น สาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ มุ่งเน้น การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ความเท่าเทียมกัน ของโอกาส และให้คนพิการมีส่วนร่วมและเป็นอันหนึ่งอันเดี ยวกันในสังคม ให้เห็นคุณค่าคนพิการ เพื่อให้คนพิการ สามารถก้าวออกไปสู่สังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี เสมอภาคเท่าเทียมกัน ดังนี้ สร้างชุมชนเป็นสถานบริการ : ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดลานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในพื้นที่สาธารณะของชุมชน และ ออกแบบอุปกรณ์ตามภูมิ ปัญญาที่เอื้ออานวยต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายแก่ผู้พิการ การสนับสนุนในการดารงชีวิตในชุมชน รวมทั้งการส่ง ต่อสถานบริการสุขภาพเมื่อผู้พิการเจ็บป่วย อาสาสมัครประจาบ้าน :อาสาสมัครในชุมชนประกอบด้วยอาสาสมัคร สาธารณสุขหรืออาสาสมัครตามธรรมชาติที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพพร้ อมให้การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้พิการ และ ครอบครัวในการฟื้นฟูสมรรถภาพและการดารงชีวิต พยาบาลประจาครัวเรือน : ผู้ดูแลผู้พิการที่อยู่ในครอบครัว เดียวกันที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ สามารถช่วยเหลือให้ผู้พิการฟื้นฟูสภาพและช่วยเหลือตนเองได้ คนพิการเป็น เจ้าของสุขภาพ : ผู้พิการต้องเป็นผู้ที่สามารถประเมินภาวะสุขภาพ สามารถดูแลตนเอง และฟื้นฟูสมรรถภาพได้ ถูกต้อง ลดภาวะพึ่งพาผู้อื่น อนัญญา เจียนรัมย์ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลสนามชัย อาเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ คนพิการต้องการให้มีแพทย์ นักจิตวิทยา อาสาสมัครสาธารณสุขประจา หมู่บ้านออกไป พบปะ พูดคุยกับคนพิการ เช่น การแนะนา เรื่องกายภาพบาบัด การตรวจร่างกายประจา เดือน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ที่ดี องค์การบริหารส่วนตาบลสนามชัยควรประสานงานกับแพทย์ โรงพยาบาลบางไทร หรือผู้อา นวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตาบลสนามชัย ผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านแป้ง อสม. ตาบล สนามชัย และอสม. ตาบลบ้านแป้ง เพื่อบูรณาการความร่วมมือให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้คา ปรึกษา หรือ คาแนะนาแก่คนพิการ การจัดหาอุปกรณ์ การให้ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลคนพิการ และการออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้ กาลังใจคนพิการ 2. ด้านอาชีพและรายได้ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ด้านอาชีพและรายได้ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการบริหารจัดการในเขต เทศบาลเมืองสุรินทร์ ด้านอาชีพและรายได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและปานกลาง ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากลาดับ แรก คือ คนพิการได้รับเบี้ยยังชีพคนพิการอย่างทั่วถึงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และข้อมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลางสามลาดับแรก คือ คนพิการได้รับการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย

490


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ให้สามารถประกอบอาชีพได้จากความสามารถของคนพิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการประกอบอาชีพคนพิการ เช่น กลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับปานกลาง ตามลาดับ และน้อยที่สุด คนพิการได้สนับสนุนงบประมาณประกอบอาชีพสาหรับคนพิการหรือ ผู้ดูแล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ณฤทัย เกตุหอม (2555) ที่วิจัยเรื่อง ความต้องการได้รับสวัสดิการ สังคมของ คนพิการในเขตอาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ผลการวิจัย พบว่า คนพิการมีความต้องการด้านสุขภาพร่างกายและ จิตใจอยู่ ในระดับมาก มีความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอาชีพและรายได้ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความพิการเป็นอุปสรรค ต่อการประกอบอาชีพ และคนพิการส่วนใหญ่ได้รับเบี้ยยังชีพเป็น ประจา ประกอบกับคนพิการส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับ ประถมศึกษา ทา ให้ขาดความรู้ความสามารถ ขาด ทักษะเฉพาะ ด้าน ส่งผลต่อการเลือกประกอบอาชีพ จึงทา ให้ความต้องการ ด้านอาชีพอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมี ความสอดคล้องกับงาน วิจัยของ เอื้องทิพย์ ไตรบารุง (2550) ที่วิจัยเรื่อง ความต้องการ สวัสดิการสังคมของคน พิการในเขตเทศบาลนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า คนพิการมีความต้องการด้านอาชีพ อยู่ใน ระดับปานกลาง 3. ด้านการศึกษาสูงสุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการศึกษาสูงสุด โดยภาพรวม มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการศึกษาสูงสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและ ระดับปานกลาง ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสามลาดับแรก คือ คนพิการได้รับความรู้ด้านสุขภาพสิทธิต่าง ๆ และ สวัสดิการที่รัฐให้การสนับสนุน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้คน พิการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา งานสวัสดิการสังคมสาหรับคนพิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ตามลาดับ และน้อยสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี การสนับสนุนประสานงานให้มีการจัดบริการการศึกษาสาหรับคนพิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้อง กับ จักรภพ ดุลศิริชัย และดร.วิภาวี กฤษณะภูต (2556) เรื่อง การจัดสวัสดิการสังคมสาหรับคนพิการในจังหวัด ขอนแก่น: กรณีศึกษา บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ความต้องการใช้สิทธิของคนพิการและ การขอรับสิทธิ ของคนพิการในการบริการสวัสดิการ สังคมนั้น สามารถจาแนกตามมาตรา 20 ที่ระบุไว้ ในพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. 2550 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ด้านการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย กระบวนการ ทางการแพทย์ คือ คนพิการส่วนใหญ่ มีความต้องการที่จะได้รับสวัสดิการสังคมด้านการ รักษาพยาบาลฟรีและ ต้องการความสะดวกในการ เข้ารับบริการ เช่น ช่องทางของคนพิการ ผู้ช่วยนาพา ไปยังขั้นตอนต่าง ๆ ด้านการจัด การศึกษาสาหรับคนพิการ คือ 1) ด้านงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณด้าน การจัดการศึกษาให้เพียงพอและควร ให้มากกว่าการ จัดการศึกษาของบุคคลทั่วไป และ 2) ด้านบุคลากร ควรสนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและ ที่สาคัญต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพสาหรั บ คนพิการ คือ 1) คนพิการ ต้องการความรู้และทักษะ ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่ครบวงจร ที่คนพิการ สนใจและมีความถนัด เช่น นวดแผน ไทยเกษตรกรรม หัตถกรรม เป็นต้น นอกจากนี้คนพิการต้องมีอาชีพ เสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว 2) คน พิการ บางรายต้องการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพเพื่อ สร้างโอกาสและความเข้มแข็งในกลุ่มของคนพิการเอง ด้านการช่วยให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวก เพื่อการสื่อสาร สาหรับคนพิการ คือ 1) ต้องการความต่อเนื่องของ การให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อให้คนพิการได้ติดตาม อย่างสม่าเสมอ และทันต่อ สถานการณ์ปัจจุบันทั้งใน รูปของทางการและไม่เป็นทางการ และ 2) หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการจัดบริการ

491


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สวัสดิการสังคมให้กับ คนพิการควรคานึงถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ จริงโดยให้คนพิการทุกประเภทสามารถ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ส่วนการใช้สิ่งอานวยความสะดวก เช่น คอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บไซต์นั้นให้สามารถอ่าน ข้อมูลไฟล์ที่เป็นรูปภาพได้ ด้านเครื่องช่วยความพิการหรืออุปกรณ์ นาทาง คือ ความต้องการให้ภาครัฐแก้ไข ระเบียบกฎหมายให้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องที่แท้ จริงของคนพิการ และเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ทางานได้ ง่ายขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติในการ ดาเนินงานจัดสวัสดิการสังคม ด้านการรับเบี้ยความพิการ คือ คนพิการ ต้องการความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินให้กับคนพิการและต้องการให้ได้รับเบี้ยดังกล่าวทันทีเมื่อคนพิการ ไปขึ้นทะเบียนขอรับจะได้นาไปใช้จ่ายในชีวิตประจาวันต่อไป ด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย คือ 1) คน พิการต้องการได้รับบริการโดยไม่มกี าร เลือกปฏิบัติและต้องการให้ทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมดาเนินงานโดยการจัดตั้ง คณะทางานเฉพาะขึ้น เพื่อความโปร่งใสในการทางานและเพื่อป้องกัน ปัญหาการเลือกปฏิบัติ 2) ต้องการให้มีการ จัดสรร งบประมาณด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ให้กับคนพิการทุกคนที่ไปขอรับสิทธิ สอดคล้องกับ อนัญญา เจียนรัมย์. 2557 : 68 ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ในเขตองค์การบริหาร ส่วนตาบลสนามชัย อาเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คนพิการมี ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตด้านการศึกษา อยู่ใน ระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนพิการเห็นว่าการศึกษาที่ตนได้ รับมาก่อนนั้นยังไม่ เพียงพอ เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่จบการ ศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งระดับการศึกษานั้นจะส่งผลต่อการ ประกอบอาชีพของคนพิการ หากว่าคนพิการมีการศึกษาในระดับ ที่สูงขึ้นกว่านี้ ก็จะทา ให้คนพิการมีงานทา มี รายได้ สามารถเลี้ยง ดูตนเองและครอบครัวได้ และทา ให้คนพิการมีชีวิตความเป็น อยู่ดีขึ้น จึงส่งผลให้ความ ต้องการด้านการศึกษาอยู่ในระดับมาก 4. ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปาน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากลาดับแรก คือ สภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้านดีต่อ สุขภาพคนพิการและบ้านใกล้บ้านคนพิการสภาพแวดล้อมดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และองค์การปกครองส่วน ท้องถิ่นจัดกิจกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ผู้พิการโดยชุมชนมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น จั ด บริ ก ารสนั บ สนุ น งบประมาณซ่ อ มแซมบ้ า นพั ก คนพิ ก าร มี ค่ า เฉลี่ ย อยู่ ใ นระดั บ มาก ตามลาดับ และน้อยสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับอนุชา แพ่งเกษร, ณตา ทับทิมจรูญ และวุฒิ คงรักษา. 2553 : 195 ดังนี้ ที่จอดรถและทางเดินเชื่อม : ควรมีพนักงานรักษา ความปลอดภัย บริเวณทางแยกมี พื้นผิวต่างสัมผัส และ จัดสิ่งกีดขวางบนทางเดินให้อยู่ในแนวเดียวกันเพื่อความ ปลอดภัยสาหรับผู้พิการ – ลิฟต์ : มี ป้ายแสดงทิศทางตาแหน่งหรือหมายเลขชั้น และสัญลักษณ์คนพิการ ลิฟต์ต้องสามารถขึ้นลงได้ทุกชั้น และมีขนาด รวมถึงอุปกรณ์เพื่ออานวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการอย่างครบถ้วน – ห้องส้วม : การติดตั้ง โถส้วม อ่างล้างมือ และ สายฉีดชาระ ตามมาตรฐานสาหรับผู้พิการ สิ่งที่ไม่ค่อย พบเห็นตามสถาบันทั่วไป คือ จัดให้มีที่ถ่ายปัสสาวะที่มี ระดับเสมอพื้นอย่างน้อย 1 ที่ และมีพื้นผิวต่างสัมผัส สาหรับคนพิการ ภายในห้องส้วมชาย - พื้นผิวต่างสัมผัส: ตาม บริเวณดังต่อไปนี้ ทางขึ้น และทางลงของทางลาดหรือบันไดที่พื้นที่ด้านหน้า และ ด้านหลังประตูเข้าอาคารที่มีความ แตกต่างทั้งสี และวัสดุ - ที่จอดรถ: มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการที่พื้น และป้าย ติดสูงจากพื้น 2 เมตร และจานวนที่จอดรถ สาหรับผู้พิการ ตามกระทรวงกาหนด - ทางลาดและราวจับ: มีความยาวโดยรวมไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ในกรณีที่มี ความยาวเกิน 6 เมตร ต้องมีพื้นที่พักไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร มีราวจับที่อยู่ในสภาพดีเชื่อมต่อ

492


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เสมอกับพื้นดิน ปลาย ราวจับยื่นจากจุดสิ้นสุดและเริ่มต้น 30 เซนติเมตร และ เป็นปลายมน - บันได: ความกว้างไม่ น้อยกว่า 150 เซนติเมตร มีชานพักทุกระยะในแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร มีราวจับ ทั้ง 2 ข้าง ลูกตั้งไม่เกิน 15 เซนติเมตร และไม่มีช่องเปิดพื้นผิววัสดุไม่ลื่น มีป้ายแสดงทิศทาง ตาแหน่ง หมายเลขชั้น นอกจากประเด็นที่กล่าวมาแล้วยังมี ประเด็นที่นามา พิจารณาประกอบการออกแบบอาคารเรียน ได้แก่ ป้าย สัญลักษณ์และทางเดินเชื่อม ประตู พื้น ทางลาด ราวจับ ป้ายสัญลักษณ์ รวมไปถึง จิตวิทยาเรื่องของสีที่มีต่อ ผู้พิการ วัสดุที่เหมาะสมต่ อผู้พิการ และสิ่ง อานวยความ สะดวกสาหรับผู้พิการในด้านอื่นๆ สอดคล้องกับ คนพิการมีความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้าน ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ คนพิการส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ มี รายได้จากเบี้ยยังชีพและ บุตรหลานให้ต่ากว่าเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งทา ให้คนพิการไม่มี เงินเพียงพอที่จะนามา ซ่อมแซมหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่ อาศัยของตนให้มีความมั่นคง ปลอดภัยและเหมาะสมกับสภาพ ความ พิการของตน จึงส่งผลให้ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและ สภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความสอดคล้องกั บ งานวิจัย ของ ณฤทัย เกตุหอม (2555) ที่วิจัยเรื่อง ความต้องการได้รับ สวัสดิการสังคมของคนพิการในเขตอาเภอบ่อ ทอง จังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า คนพิการมีความต้องการด้านที่อยู่อาศัยอยู่ใน ระดับมาก 5. ด้านสิ่งอานวยความสะดวก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก โดย ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการที่ จอดรถสาหรับคนพิการ เพื่อเข้ามาใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการติดตั้งป้ายและสัญลักษณ์สาหรับคนพิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการทางลาดสาหรับคนพิการ เพื่อเข้ามาใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลาดับ และน้อยสุด องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีรถเข็นเอาไว้คอยบริการคนพิการที่จะมาใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ สุธินี ตรังคตระการ (2555) ที่วิจัยเรื่อง ความต้องการสวัสดิการเบี้ย ความพิการของผู้พิการในอาเภอหาดสาราญ จังหวัดตรัง ผลการ วิจัยพบว่าคนพิการมีความต้องการด้านสิ่งอา นวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ อนัญญา เจียนรัมย์ (2557 : 68-69) คนพิการมีความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งอานวยความ สะดวกอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนพิการ เห็นว่า สิ่งอานวยความสะดวกสา หรับคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นรถ โยก/รถเข็น ทางลาด ราวจับทั้งสองข้าง ห้องน้าคนพิการ ที่จอด รถสา หรับคนพิการ ป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่บอก ประเภทคนพิการ เพื่อให้คนพิการเข้ารับบริการได้อย่างรวดเร็วขึ้น สิ่งอา นวยความ สะดวกเหล่านี้ จะช่วยทา ให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนพิการดีขึ้น มีความเสมอภาค และสามารถดา รงชีวิตอยู่ในสังคมได้เช่นเดียว กับคนปกติ ทั่วไป จึงส่งผลให้ความต้องการด้านสิ่งอา นวยความ สะดวกอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับจิตรา ศิริสมบูรณลาภ. 2557 5-6 เรื่ อง แนวทางการจั ดสิ่ งอานวยความสะดวกส าหรั บ คนพิก ารในประเทศไทยเพื่อ รองรั บการก้ าวสู ประชาคมอาเซียนในเชิงนโยบาย (1) ควรจัดใหมีแผนกลยุทธเฉพาะดานการดาเนินงานจัดสาหรับอานวยความ สะดวกสาหรับคนพิการใหครอบคลุมใน 3 ดานหลักไดแกการปรับปรุงสภาพแวดลอม(Environmentalhardware) การพัฒนากลไกหรือระบบขับเคลื่อน ทางสังคม (Environmental software) และการพัฒนาระบบจิตสานึกให เขาใจ ตระหนักสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการ (Environmentalheart ware) (2) รัฐบาลควรจัดสรร งบประมาณแกหนวยงานภาครัฐเพื่อจัดสิ่งอานวยความสะดวกแกคนพิการและคนทุกคนในสังคมในสัดสวนรอยละ 3 หรือสัดสวนที่เหมาะสมของวงเงิน งบประมาณประจาป (3) หนวยงานหลักที่รับผิดชอบแผนและนโยบายการจัดสิ่ง

493


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

อานวยความสะดวกสาหรับ คนพิการ ตองสรางหรือกาหนดใหมีกลไกขับเคลื่อนการจัดสิ่งอานวยความสะดวกเชิงรุก เพื่อกาวไปขางหนาอยางตอเนื่อง (Onward-going) ดวยการกาหนดเปาหมายที่สอดคลองกับอาเซียน ในการจัดสิ่ง อานวยความสะดวกเพื่อทุกคนสามารถเขาถึง และใชประโยชนรวมกันได(Universal Design) และควรจัดใหมีกลไก ขับเคลื่อน ไดแกการมีสวนรวมในการดาเนินงานรวมกับภาคีภาคสวนตางๆ คนพิการทุกประเภทความพิการ และ ประชาชน เขามามีสวนรวมอยางตอเนื่องสม่าเสมอในการกาหนดแผน นโยบาย กฎหมาย หรือระเบียบและ การ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล รวมถึงการมีกลไกศูนยการประสานงานในระดับปฏิบัติการเพื่อใหมีระบบการ ประสานงาน การติดตาม การจัดเก็บขอมูลการจัดสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการรวมทั้งผลการศึกษาวิจัย สาหรับการพัฒนาใหเปนแหลงการประสานงานดานสิ่งอานวยความสะดวกส าหรับคนพิการ ทุกดาน (One stop service) เมื่อเขาสูประชาคมอาเซียนตอไป (4) ควรมีการขับเคลื่อนบูรณาการงานรวมกันใน กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ที่เกี่ยวของกับการจัดสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการที่ทุกคนสามารถเขาถึงและใช ประโยชนไดโดยจัดทาคู มือการจัดสิ่งอานวยความสะดวกท ี่ ทุกคนสามารถเขาถึงและใชประโยชนไดที่มีการบูรณาการ เนื้อหาสาระสาคัญใน กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ สาหรับขอเสนอเชิงปฏิบัติ ไดแก (1) สงเสริมสนับสนุนใหองคการบริหารสวนทองถิ่น โดยเฉพาะ อบต. ดาเนินการจัดสิ่งอานวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสาหรับคนพิการใหครบทุกอบต. และพัฒนาต อยอดจัดสิ่งอานวยความสะดวกที่ทุกคนเขาถึงการใชประโยชนรวมกันไดเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนพิการสวนใหญอยูในส วนภูมิภาคจะไดรับโอกาสเขาถึงสิ่งอานวยความสะดวกมากขึ้น (2) สรางและพัฒนามาตรฐานการจัดสิ่งอานวยความ สะดวกสาหรับคนพิการ เพื่อเปนเกณฑสาหรับการประเมินคุณภาที่คนพิการตองสามารถเขาถึงประโยชน(access) ที่ มีความสอดคลองกับความสะดวกสบาย (convenience) (3) สงเสริมการวิจัยและพัฒนาการจัดสิ่งอานวยความ สะดวกที่ทุกคนเขาถึงการใชประโยชนรวมกัน (Universal Design) รวมกับสถาบันการศึกษา โดยขอการสนับสนุน จากกองทุนสงเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ (4) สงเสริมใหองคกรดานคนพิการจัดทาศูนยตนแบบการ จัดสิ่งอานวยความสะดวกที่ทุกคนเขาถึงการใชประโยชนรวมกันได(Universal Design) เพื่อเปนตนแบบและขยาย ผลเปนศูนยการเรียนรูแลกเปลี่ยนที่นาไปสูการยอมรับในระดับอาเซียน เพื่อเสริมสรางศักยภาพขององคกรดานคน พิการใหมีความเขมแข็งในการสรางหุนสวนการพัฒนาในระดับภูมิภาคอาเซียน 6. ด้านการสร้างบริการเครือข่ายการเกื้อหนุน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการสร้าง บริการเครือข่ายการเกื้อหนุน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาท ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสิน รินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามลาดับ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดให้มีอาสาสมัคร ดูแลคนพิการในชุมขน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตาบลประจาตาบลจัดบริการเยี่ยมบ้านคนพิการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และน้อยสุด มีองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการและบุคลากรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการต่าง ๆ แทนคนพิการใน ตาบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับณฤทัย เกตุหอม (2555) เรื่อง ความต้องการไดรับสวัสดิการทาง สังคมของคนพิการในเขตอาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรีควรจัดกิจกรรมเพื่อให้สวัสดิการสาหรับคนพิการ ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับอายุของคนพิการ เช่น คนพิการที่อายุน้อย อาจจะจัดเป็น กิจกรรมส่งเสริม ด้านอาชีพและการมีรายได้ส่วนคนพิการที่มีอายุมาก อาจจะจัดกิจกรรมทางด้าน สุขภาพ เช่น การตรวจสุขภาพคน พิการ การเยี่ยมบ้านคนพิการ สอดคล้อง คมกริบ หลงละเลิง , จารุภา เลขทิพย์ , วรรณิศา คุ้มบ้าน และทวีพล

494


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

แสนภักดี. 2558 : 115 เรื่อง การรับรู้และทัศนคติของผู้นาชุมชนต่อการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการทางการ เคลื่อนไหวในชุมชน อาเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับประสบการณ์ของชีวิตของมนุษย์ โดยที่ผู้ให้ ข้อมูลมีข้อมูลหรือเป็นผู้รู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้ น ศึกษาวิจัยในพื้นที่ 3 ชุมชน ที่มีจานวนคนพิการทางการ เคลื่อนไหวมาก และมีระบบการดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ดีโดยได้รับคาแนะนาจากนักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย รพ.สต. บ้านสาขา ต.ท่าขึ้น รพ.สต.จันพอ ต.ดอน ตะโก และ รพ.สต.บ้านสอง แพรก ต.โพธิ์ทอง โดยเป็นการสนทนากลุ่ม (focus group interview) กับผู้นาชุมชน ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบจาเพาะเจาะจงผู้นาชุมชนทุกคนจะเป็น ผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) แต่ละ ชุมชนมีผู้เข้าร่วม สนทนาประมาณ 8-9 คน ประกอบด้วยผู้นาองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (จานวน 4 คน) และ ผู้นาทางด้าน สาธารณสุข (จานวน 4-5 คน) โดยผู้นาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วน ตาบล (นายก อบต.) และ/หรือปลัด อบต. นักพัฒนาชุมชน กานัน และผู้ใหญ่บ้า ส่วนผู้นาทางด้านสาธารณสุข ได้แก่ ผู้อานวยการรพ.สต.(พยาบาลวิชาชีพ และหรือ นักวิชาการสาธารณสุข) อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) และหรือจิตอาสาดูแลคนพิการ 3 คน ผู้ ที่ไม่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนได้ จะไม่นาเข้ามาร่วม ศึกษาวิจัยใน ครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2557 โดยงานวิจัยนี้ได้รับ การรับรองจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยใน มนุษย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 7. ด้านการมีคุณค่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการมีคุณค่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการในเขตพื้นที่อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการมีคุณค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งข้อที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลาดับแรก คือ บุคคลรอบข้างคนพิการภูมิใจในตัวท่านที่ท่านสามารดาเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา คนพิการรู้สึกว่าบุคคลรอบข้างให้การยอมรับ และมองเห็นคุณค่าในตัวท่าน มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และบุคคลรอบข้างคนพิการมักจะบอกท่านเสมอว่าท่านเป็นคนมีประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากตามลาดับ และน้อยสุด คนพิการสามารถพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สอ่ดคล้อง กับ(นริสา วงศ์พนารักษ์ , อภิญญา วงศ์พิริยโยธา. 2558 ) เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าใน ตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตเมือง การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับ คุณภาพชีวิต ทีมสุขภาพควรมีการทาวิจัยเชิงทดลองโดยการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับคนพิการใน เขตเมือง ซึ่งในโปรแกรมควรมีกิจกรรมในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และส่งเสริม สุขภาพร่างกายและจิตใจ การมีสัมพันธภาพทางสังคม และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของ คนพิการในเขตเมืองดีขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอ จังหวัดสุรินทร์ 2. ควรศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขด้านการเพิ่มงบประมาณในการจัดทาโครงการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอ จังหวัดสุรินทร์ 3. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลและประสิทธิภาพของแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภออาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวดสุรินทร์

495


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิตติกรรมประกาศ การวิจัยเรื่อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตพื้นที่ อาเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ครั้งนี้ขอบคุณคณาจารย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งให้ความรู้ คาปรึกษา ตลออดจนแนวนาแนวทางในการศึกษาแก่ผู้วิจัย ตลอดถึงคณาจารย์ ทุกท่านที่ให้การอบรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้ และที่ขาดไม่ได้เลยคือเพื่อนๆร่วมหลักสูตรทุกท่านที่ช่วยเหลือเกื้อกูล กันมาตลอดด้วยดีอย่างสม่าเสมอ ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกีย่ วข้องและเป็นกาลังกันเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกคนในครอบครัว ผศ.ดร ที่มีส่วนในการผลักดัน ส่งเสริมสนับสนุนมาโดยตลอด เอกสารอ้างอิง ธานีรัตน์ ผ่องแผ้ว. (2558). คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์การบริหารส่วนตาบลในอาเภอท่าศาลาจังหวัด นครศรีธรรมราช : ปัจจัยที่มีผลและแนวทางการพัฒนา อนัญญา เจียนรัมย์. (2557). ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหาร ส่วนตาบลสนามชัย อาเภอบางไทร จังหวัดนครศรีอยุธยา ยศพล เหลืองโสมนภา, สาคร พร้อมเพราะ, สุกัญญา ขันวิเศษ. (2554. คุณภาพชีวิต ปัญหา และความ ต้องการของผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตาบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี อิสบอรอเฮง เวานิ. (2555). บทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ศูนย์กายภาพบาบัด คณะกายภาพบาบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555) [ออนไลน์] สืบค้นได้จาก www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=70 สานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์. (2545). ออนไลน์ สืบค้นได้จาก dep.go.th/sites/default/files/document มูลนิธิอนุเคราะคนพิการ.[ออนไลย์]สืบค้นได้จาก www.fwc1954.org/disabklity/content/ reasonandprotect.html สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=16&chap=10&page คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์การบริหารส่วนตาบลในอาเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช: ปัจจัยที่มีผลต่อ แนวทางพัฒนา โดยธานีรัตน์ ผ่องแผ้ว. (2558). [ออนไลน์] สืบค้นได้จาก Kb.psu.ac.th/psukb/bitststream/ การปกครองส่วนท้องถิ่น วิกิพีเดีย. (2558). [ออนไลน์] สืบค้นได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki ณตา ทับทิมจรูญ (2557) : 195 เรื่อง การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อคนพิการ วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจาเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2557 จิตรา ศิริสมบูรณลาภ. (2557). 5-6 เรื่อง แนวทางการจัดสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการในประเทศไทย เพื่อรองรับการก้าวสูประชาคมอาเซียน ค้นหาได้จาก PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com คมกริบ หลงละเลิง , จารุภา เลขทิพย์, วรรณิศา คุ้มบ้าน และทวีพล แสนภักดี. (2558) 115 เรื่อง การรับรู้และ ทัศนคติของผู้นาชุมชนต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลือ่ นไหวในชุมชน อาเภอท่าศาลา

496


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จังหวัดนครศรีธรรมราช สืบค้นได้จาก thailand.digitaljournals.org/index.php/TJPT/article/ viewFile/26183/pdf_67

497


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-15 แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมของผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี DEVELOPMENT GUIDELINES THE LIFE QUALITY OF ELDERLY IN THE PHIBUN MANGSAHAN DISTRICT, UBON RATCHATHANI PROVINCE ภานุสิทธิ์ ประทุมทอง1, นพฤทธิ์ จิตรสายธาร2 และ จิรายุ ทรัพย์สิน3 1

Panusit Pathoomthong นักศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ Shadow2517@hotmail.com 2 Nopparit Jitskytran คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 Jirayu Supsin คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมของของผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตสาหรับผู้สูงอายุ จานวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ด้านสภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี ด้านสภาพร่างกายที่ดี และด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุในเขตอาเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จานวน 385 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่ จัดทาขึน้ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัย ได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านการรวมกลุ่มทางสังคมเป็นด้านที่สูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพร่างกาย ที่ดี ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ตามมาตรฐาน 6 ด้านของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี มีปัจจัย ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สูงอายุเข้ากับคนอื่นได้ง่าย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สูงอายุชอบใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัว ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม มีปัจจัยเกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยด้าน ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆที่ชุมชนจัดขึ้น ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีปัจจัยเกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัย ด้านผู้สูงอายุมีเงินเก็บสะสมเพื่อการดารงชีพ ด้านสภาพร่างกายที่ดี มีปัจจัยเกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สูงอายุได้รับ รู้ข่าวสารทางสุขภาพจากครอบครัวญาติมิตร ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ดี มีปัจจัยเกี่ยวข้องได้ แก่ ปัจจัยด้าน ผู้สูงอายุจะแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมที่ท่านไม่เห็นด้วยว่าต้องทา 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ควรมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านการจัดกิจกรรม ผู้สูงอายุ การแสดงมุทิตา

498


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จิตกับผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวสถานที่สาคัญ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การทาบุญ งานประเพณี วันสาคัญต่างๆโดยร่วมกับชุมชน การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุแสดงออก ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลควรมีแนว ทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการสร้างความเข้าใจให้บุตรหลานและสมาชิกในครอบครัวให้เข้าใจธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุในความดูแล การให้ความรู้ในการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริม สนับสนุนผู้สูงอายุให้มีบทบาทและเข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัว กิจกรรมพบปะมิตรสหาย กิจกรรมการท่องเที่ยวกับ กลุ่มเพื่อนๆรวมถึงกิจกรรมของชุมชน ด้านการรวมกลุ่มทางสังคมควรมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดย การจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมสาหรับผู้สูงอายุ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนโดยสื่อสารผ่านผู้นาชุมชนเพื่อสร้างความผูกพันกับถิ่นฐานหรือชุมชนที่อาศัยอยู่ การสนับสนุนส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เข้ารับตาแหน่งกรรมการชุมชน ด้าน สภาพความเป็นอยู่ที่ดี ควรมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการจัดกลุ่ม อาชีพ สร้างรายได้ให้กับ ผู้สูงอายุ ทาให้ผู้สูงอายุไม่ต้องพึ่งพา หรือเบียดเบียนจากบุตรหลาน การหาแหล่งทุน หรือแหล่งสนับสนุนในเรื่อง ปัจจัยสี่สาหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ การบริโภคที่เหมาะสมกับวัย รู้จักพอประมาณในการบริโ ภค เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านสุขภาพที่ดีแก่ผู้สูงอายุ การใช้เวลาว่างในการปรับปรุง สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ให้ปลอดภัย การให้คาแนะนาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ด้านสภาพร่างกาย ที่ดี ควรมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการจัดกิจกรรมการออกกาลังกาย เช่น การเดิน การวิ่งเพื่อ ส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ การจัดสถานที่ขององค์การบริหารส่วนตาบลดอนจิกตลอดจนอุปกรณ์สาหรับการ ออกกาลังกาย การประชาสัมพันธ์ข่าวสารในการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งจะเน้นถึงการป้องกันทั้งในเชิงรุกและรับกับ โรคภัยที่เกิดกับผู้สูงอายุ อันตรายจากการสูบบุหรี่ และการดื่มของมึนเมาการเลือกบริโภคอย่างชาญฉลาดเพื่อ สุขภาพที่ดี การติดต่อกับหน่วยงานแพทย์เคลื่อนที่ หรือหน่วยงานสาธารณสุขให้เข้ามาดูแลเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย ของผู้สูงอายุ ด้านการตัดสินใจด้วยตนเองควรมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการให้ผู้สูงอายุเข้าร่วม แสดงความคิดเห็นและไตร่ตรองอย่างรอบคอบถึงแนวทางการพัฒนาชุมชน การที่ชุมชนจัดสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีใน ชุมชน โดยการจัดให้ผู้สูงอายุที่มีความรู้และประสบการณ์ร่วมพัฒนาชุมชน คำสำคัญ : การพัฒนา,คุณภาพชีวิต,ผู้สูงอายุ Abstract This thesis to development guidelines the life quality of older people living in the district Phibunmangsahan Ubon Ratchathani The objectives of the study are: 1. To study the quality of life in the elderly district Phibunmangsahan Province 2. To analyze factors associated with quality of life in district Phibunmangsahan Province 3. To determine the quality of life of the elderly. According to the principles of good governance of the District Phiboon likely killed Hte number 385 was used in the research base. Measure the quality of life for seniors. This is classified as six aspects: the good mood. The interpersonal relationships The living conditions are good, the good physical condition. The social integration And the self-determination The precise content and are believed to be used for data analysis using the frequency in the manner described. Sample Using the principle of participation. Local executives and personnel Administration of

499


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

district Phibunmangsahan. According to the principles of good governance The concept and the principles of the sufficiency economy as a result of the study showed that: 1) the quality of life of the elderly in the overall rankings quite a lot-by-side relationship. During the first The second is the integration of social groups. The good temperament and good physical condition, respectively, while the living conditions of the poor. And the decision by It has the quality of life in the medium 2) factors related to quality of life. I have found that the emotional factors involved, including the factors of loneliness and desolation factors well being and interpersonal factors are involved. Factors interact in family, friends and neighbors. The integration of social factors, including factors related to the dedication and recognition from the community. The living conditions are good. Factors, including factors related to survival. And the factors of income and expenses Quality of life in good physical condition. Factors involved include Factors of health care And factors of consumption and the final decision on their own. Factors involved include Factors independence of thought. And factor in choosing what they want to do 3) guidelines for the development of the quality of life of older people living in the district Phibunmangsahan Ubon Ratchathani Through the approval of the luminaries, which can be brought to trial and the results of the study with the elderly in local research in the following key words to find the pivotal's quality of life. According to development guidelines the quality Just as the main base of research. Keywords: Development, the quality of life, the elderly บทนา ประเทศไทยและประเทศที่กาลังพัฒนาอื่นๆในอาเซียนกาลัง ‘แก่ก่อนรวย’ ดังนั้นความสามารถของรัฐ ที่จะจัด การกั บการเข้ าสู่สั งคมสู งวั ยอย่า งรวดเร็ว จะถูก จากัด มากกว่ าประเทศที่ พัฒ นาแล้ว ซึ่งร่ารวยในขณะที่ ประชากรวัยทางานนั้นกาลังเติบโต ในขณะเดียวกันคนไทยยังขาดความคาดหวังที่สูงจากรัฐ ดังนั้นแล้วประเทศไทย ที่กาลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยสามารถทาอะไรได้บ้าง ขั้นแรกต้องทาความเข้าใจว่าการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยไม่ได้ เกี่ยวข้องแต่เพียงตัวผู้สูงอายุเท่านั้น ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับทุกคน การปฏิรูปนโยบายที่ครอบคลุมในวงกว้างและการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเป็นปัจจัยสาคัญในการแก้ปัญหา กระบวนการนี้สามารถเริ่มต้นที่นโยบายต่างๆ ที่มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจในการมีบุตรของแต่ละครอบครัว การผนวกกาลังความช่วยเหลือของรัฐในการดูแลเด็ก และ นโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยปรับสมดุลของชีวิตการทางานและครอบครัว ตลอดจนนโยบายในช่วงชีวิตการ ทางานที่จะต้องสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และการปฏิรูปแรงงานและนโยบายด้านภาษีเพื่อสนับสนุนชีวิตการ ทางานที่ยาวนานและมีประสิทธิภาพ รวมถึงนโยบายการย้ายถิ่นเพื่อดึงดูดคนงานอายุน้อย การปฏิรูปเหล่านี้ยังมี ความจาเป็นเพื่อรับรองความครอบคลุมของประกันสังคม สุขภาพ และระบบการดูแลระยะยาวอย่างกว้างขวาง และให้การคุ้มครองทางการเงินที่เพียงพอแก่ผู้สูงอายุ อีกทั้งยังคงค่าใช้จ่ายภาครัฐอย่างยั่งยืน การตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสาคัญ ส่งผลให้ภาครัฐกาหนดมาตรการเตรียมการ รองรับให้การดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ ผู้สูงอายุเหล่านั้นมี คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยกาหนดยุทธศาสตร์ "การเตรียม

500


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ความพร้อม สังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ" เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 12 ด้วยการมีแผน ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) เพื่อกาหนดทิศทางนโยบายยุทธศาสตร์ และ มาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ดาเนินการด้านผู้สูงอายุให้ ซึ่งสะท้อน ให้เห็นว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้อง เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับระบบการดูแลและให้ ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่นการให้บริการด้านสุขภาพ การจัด สวัสดิการทางสังคม การส่งเสริม คุณภาพชีวิตที่ดี โดยที่สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการได้รับรู้ถึงข้อมูลที่จาเป็นต่อการ วางแผนและ ดาเนินการบนฐานของการลงทุนและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า จากสภาพปัญหาข้างต้น ถ้าได้มีการเตรียม รับมือกับปัญหาเหล่านี้เสียแต่ล่วงหน้า ย่อมเป็นการเตรียมการอย่างชาญฉลาด ช่วยให้รัฐไม่ต้องทุ่มงบประมาณ จานวนมหาศาลกับการฟื้นฟู ดูแล รักษาผู้สูงอายุ ดังนั้นการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็น สิ่งจาเป็น และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐควรเร่งรีบในการดาเนินการ หากไม่มีการดาเนินการใด ๆ เพื่อ รองรับสังคมผู้สูงอายุของ ไทย ก็จะมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนของผู้สูงอายุ รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จากเหตุและผลทั้งหมดข้างต้น ผู้วิจัยจึงเห็นความสาคัญเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาการบริหารการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อนาไปเป็นฐานข้อมูลในการกาหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และนาไปขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพในชุมชนและสังคมต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่ อ วิ เ คราะห์ ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ผู้ สู ง อายุ ใ นเขตอ าเภอพิ บู ล มั งสาหาร จั งหวั ด อุบลราชธานี 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมของของผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี วิธีดาเนินการวิจัย ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่าง 1. การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งกาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ยามาเน่ ในการคานวณ (ที่ค่าความเชื่อมั่น 95%) จากประชากรทั้งสิ้น จานวน 9,950 ราย ได้กลุ่มตัวอย่าง จานวน 385 ราย 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ นายอาเภอพิบูลมังสาหาร ปลัดอาเภอ พัฒนากร รองปลัด ผู้อานวยการ กองสวัสดิการสังคม นักวิชาการสาธารณสุข ผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กานัน ประธานชมรมผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุในเขตอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ตอบแบบสอบถามในเชิงปริมาณ จานวนรวมทั้งสิ้น 20 คน ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการวิจัยครั้งนี้ได้กาหนดพื้นที่ดาเนินการวิจัยคือ อาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี

501


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ขอบเขตเชิงเนื้อหา ในการวิจัยครั้งนี้ได้กาหนดเนื้อหาในการวิจัย คือ แนวทางในการจัดทามาตรฐาน การจัดบริการเพื่อสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามกรอบแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม และการบริการสาธารณะแก่ผู้สูงอายุ และข้อกาหนด ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มี 6 มาตรฐาน ดังนี้ 1) มาตรฐานด้านสภาพอารมณ์ที่ดี 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) มาตรฐานด้านด้านการรวมกลุ่มทางสังคม 4) มาตรฐานด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี 5) มาตรฐานด้านสภาพร่างกายที่ดี และ6) มาตรฐานด้านการตัดสินใจ ด้วยตนเอง เพื่อการกาหนดแนวทางการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมต่อไป ผลการวิจัย สรุปผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ 1. สถานภาพส่วนบุคคล ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จานวน 212 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.06 มีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี จานวน 208 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.03 มีสถานภาพสมรส จานวน 232 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.26 มีรายได้ต่าว่า 5,000 บาท จานวน 253 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.71 มีที่พักอาศัยเป็นบ้านชั้นเดียว มีห้องน้าแบบโถนั่งยอง จานวน 129 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.50 2. ผลการวิเคราะห์การได้รับบริการมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2.1 ผลการวิ เ คราะห์ ก ารได้ รั บ บริ ก ารมาตรฐานการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.33, S.D.= 0.233) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มาตรฐานของระดับการ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการรวมกลุ่มทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.87,S.D.= 0.521) รองลงมา คือด้านสภาพอารมณ์ที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.48, S.D.= 0.299) ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.29,S.D.= 0.459) ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.28, S.D.= 0.502) ด้านสภาพร่างกายที่ดี มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ( X = 3.18,S.D.= 0.317)และสุดท้าย คือ ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.87, S.D.= 0.566) ตามลาดับ 2.2 ผลการวิเคราะห์การได้รับบริการมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตแยกเป็นรายด้าน 2.2.1 ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.48, S.D.=0.299) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามาตรฐานด้านสภาพอารมณ์ที่ดีที่มากที่สุด คือผู้สูงอายุเข้ากับคนอื่นได้ ง่าย( X = 4.24, S.D. =0.743) รองลงมาคือ ผู้สูงอายุจะมีความสุขความเบิกบานแจ่มใสกับสิ่งรอบข้าง ( X = 4.07, S.D. =0.875) ผู้สูงอายุพึงพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ( X = 3.48, S.D. =0.843) ผู้สูงอายุยอมรับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต ( X = 3.42, S.D. =0.861) ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว ( X = 2.17, S.D. =0.783) อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ทาให้ผู้สูงอายุเกิดความไม่สบายใจ เบื่อหน่ายหรือ รู้สึกโดดเดี่ยว ตลอดจนการคิดว่าตนเองไม่มีประโยชน์ต่อคนอื่นเกิดขึ้นได้เช่นกัน 2.2.2 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.28, S.D.= 0.502) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามาตรฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มากที่สุด คือ ผู้สูงอายุชอบใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัว ( X = 3.81, S.D. =0.794) รองลงมาคือ ผู้สูงอายุพูดคุยกับสมาชิก

502


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ภายในครอบครัวเป็นปกติดี ( X = 3.59, S.D. =0.959) สมาชิกของผู้สูงอายุมักจะปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลาพัง ( X = 3.37, S.D. =0.907) เมื่อผู้สูงอายุมีเรื่องไม่สบายใจ ผู้สูงอายุสามารถปรับทุกข์กับเพื่อนของผู้สูงอายุได้( X = 2.88, S.D. =0.967) และสุดท้าย คือ สมาชิกในครอบครัวช่วยจัดหาอาหารให้ผู้สูงอายุเป็นประจา( X = 2.74, S.D. =0.925) สรุปได้ว่าผู้สูงอายุจะมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปในทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมที่ทาร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ทาร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุกับกลุ่มเพื่อน รวมถึงความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน และญาติมิตร ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปด้วยดี 2.2.3 ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.87, S.D.= 0.521) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามาตรฐานด้านการรวมกลุ่มทางสังคมที่มากที่สุด คือผู้สูงอายุให้ความ ร่วมมือในกิจกรรมต่างๆที่ชุมชนจัดขึ้น( X =4.07, S.D. =0.990) รองลงมาคือ คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ ( X =4.03, S.D. =0.929) ผู้สูงอายุได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ( X = 3.83, S.D.=0.885) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสังสรรค์รับประทานอาหาร ร่วมประชุม กลุ่มงานงานเลี้ยง งานศพ ( X = 3.80, S.D. =1.004) และผู้สูงอายุมักให้ความช่วยเหลือกับชุมชนหรือองค์กรต่างๆ( X =3.63, S.D. =0.958) ซึ่งพอสรุปได้ว่าผู้สูงอายุจะมี การรวมกลุ่มทางสังคมเป็นไปในทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น การให้ความช่วยเหลือชุมชน การได้รับ การยอมรับจากคนในชุมชน แต่อาจมีปัจจัยที่ชุมชนควรเพิ่มเติมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ได้แก่ การสร้างความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุกับชุมชนที่อาศัยให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้สูงอายุที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ปรึกษากรรมการชุมชน วัด มัสยิด หรือโรงเรียนในบริเวณชุมชน 2.2.4 ด้ า นสภาพความเป็ น อยู่ ที่ ดี โดยภาพรวม มี ค่ า เฉลี่ ย อยู่ ใ นระดั บ ปานกลาง( X =3.29,S.D. =0.459) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามาตรฐานด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดีที่มากที่สุด คือ ผู้สูงอายุมี เงินเก็บสะสมเพื่อการดารงชีพ ( X =3.48, S.D.=0.688) รองลงมา คือรายได้ของผู้สูงอายุปัจจุบันยังต้องพึ่งพาอาศัย ลูกหลานอยู่( X = 3.41, S.D. =0.752) เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วยจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง ( X = 3.31, S.D. =0.876) เมื่อผู้สูงอายุมีความจาเป็นจะต้องช่วยงานการกุศลตางๆจาเป็นต้องพึ่งเงินจากลูกหลาน ( X = 3.29, S.D. =0.917) และสุดท้าย คือ ปัจจุบันผู้สูงอายุยังมีภาวะหนี้สินจะต้องจ่ายเป็นประจา( X = 2.95, S.D. =0.710) ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าผู้สูงอายุจะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีเป็นไปในทางที่พอใช้ได้ กล่าวคือยังมีผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับ การอบรมอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้รวมถึงยังต้องพึ่งพาอาศัยลูกหลานในเรื่องค่าใช้จ่ายอยู่ เช่น การพึ่งค่าใช้จ่าย รักษาพยาบาล การช่วยงานการกุศลต่างๆ รวมถึงการมีภาวะหนี้สินที่จะต้องจ่าย อย่างไรก็ตามในด้านที่พึงประสงค์ ของคุณภาพชีวิตด้านนี้ พบว่าผู้สูงอายุจะให้ความสาคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพในเรื่องการรับประทานอาหารที่เป็น ประโยชน์ต่อสุขภาพ 2.2.5 ด้านสภาพร่างกายที่ดี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดั บปานกลาง ( X =3.18, S.D.=0.317) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามาตรฐานด้านสภาพร่างกายที่ดีที่มากที่สุด คือ ผู้ สูงอายุได้รับรู้ข่าวสาร ทางสุขภาพจากครอบครัวญาติมิตร ( X = 3.57, S.D.=0.721) รองลงมา คือ ผู้สูงอายุมักจะเจ็บไข้ได้ป่วย ( X = 3.33, S.D. =0.822) ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในสุขภาพของตนเอง ( X = 3.29, S.D. =0.637) ผู้สูงอายุมีเวลาในการ ออกกาลังกาย( X = 3.05, S.D. = 0.667) ) ตามลาดับ และสุดท้าย คือ ผู้สูงอายุไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวร่างกาย ( X = 2.66, S.D. =0.824) ซึ่งพอสรุปได้ว่าผู้สูงอายุจะมีสภาพร่างกายเป็นไปในทางที่ดี กล่าวคือ

503


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผู้สูงอายุพึงพอใจในสุขภาพตนเอง มีการปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง เช่นตรวจสุขภาพ ออกกาลังกาย ให้ความสนใจในเรื่องข่าวสารสุขภาพ รวมถึงการเข้ามาของภาครัฐหรือเอกชนในการสนับสนุน ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามมีประเด็นที่ทางชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรเน้นให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพ ร่างกายให้มากยิ่งขึ้นได้แก่ การลดจานวนการสูบบุหรี่ของผู้สูงอายุ การหาช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเรื่อง สุขภาพแก่ชุมชนอย่างทั่วถึงต่อไป 2.2.6 ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.87, S.D.= 0.566) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามาตรฐานด้านการตัดสินใจด้วยตนเองมากที่สุด คือ ผู้สูงอายุจะ แสดงความคิดเห็นในกิจกรรมที่ท่านไม่เห็นด้วยว่าต้องทา( X = 3.21, S.D. =0.984)รองลงมาคือ ผู้สูงอายุมักจะทา ตามสิ่งที่ผู้สูงอายุตั้งใจแม้ว่าจะมีคนอื่นไม่เห็นด้วยก็ตาม ( X = 3.17, S.D. =0.983) ผู้สูงอายุสามารถเลือกทาในสิ่งที่ ผู้สูงอายุปรารถนาหรือต้องการ ( X = 3.13, S.D.=1.042) ผู้สูงอายุมักจะได้สิ่งที่ท่านไม่ต้องการ ( X = 2.51, S.D. =0.809)และสุดท้าย คือ ผู้สูงอายุต้องทาสิ่งที่ผู้สูงอายุรู้สึกฝืนใจ( X = 2.36, S.D. =0.640) ซึ่งพอสรุปได้ว่าผู้สูงอายุจะ มีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองพอสมควร กล่าวคือยังมีผู้สูงอายุที่ฝืนใจ หรือขาดความเป็นอิสระในการทากิจกรรม ต่างๆที่อยากจะทา หรือที่ไม่ต้องการ รวมถึงไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ กับคนรอบข้าง เช่น คนใน ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนสนิท อย่างไรก็ตามยังมีผู้สูงอายุที่จะทาตามสิ่งที่ท่านตั้งใจแม้ว่าจะมีคนอื่นไม่เห็นด้วย เลือกทาในสิ่งที่ท่านปรารถนาหรือต้องการ ตลอดจนการตัดสินใจที่จะทาหรือไม่ทาสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเองรวมอยู่ด้วย เช่นกัน วิจารณ์ผลการวิจัย จากการดาเนินการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมของผู้สูงอายุในเขตอาเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ตามมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6 ด้าน ผู้วิจัยสามารถนามาวิจารณ์ผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของ อาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สงู อายุ ตามมาตรฐาน 6 ด้านของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อกาหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ของอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี วิจารณ์ผลได้ดังนี้ 1. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุอยู่ในระดับค่อนข้างมากและเป็นด้านที่มีระดับ คุณ ภาพชี วิ ตที่ สูงที่ สุด เมื่ อ เที ยบกั บด้ านอื่ นๆจากการวิ จั ยอภิป รายได้ ว่ า ผู้สู งอายุส่ ว นใหญ่ มี ปฏิ สัม พั นธ์ ที่ดี กั บ ครอบครัว มิตรสหายและเพื่อนบ้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัว มีการ พบปะหรือร่วมกิจกรรมกับมิตรสหายและเพื่อนบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับบังอร ธรรมศิริ (2549:47-48) ที่กล่าวว่า ผู้สูงอายุยังมีความต้ องการทางด้านจิตใจและสังคม กล่าวคือต้องการความรัก การเอาใจพูดคุยอย่างสม่าเสมอจาก ครอบครัว ซึ่งเป็นการดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขและมีกาลังใจในการดาเนินชีวิตอย่างมี คุณค่าต่อไป ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุควรเน้นการ สร้างความเข้าใจให้ลูกหลาน และสมาชิกในครอบครัวเข้าใจธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุในความดูแล การทาความเข้าใจเกี่ยวกับความสูงวัย จะทาให้สมาชิกในครอบครัวปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม นามาซึ่ง ความสุขของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีบทบาทและเข้าร่วม

504


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิจกรรมในครอบครัว กิจกรรมพบปะเพื่อน มิตรสหาย กิจกรรมการท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนๆรวมถึงกิจกรรมของ ชุมชน 2. ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม คุณภาพชีวิตด้านการรวมกลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับค่อนข้างมากจากการวิจัยอภิปรายได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับจากชุมชน รวมถึงคนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ โดยสิ่งเหล่านี้เป็นการ ตอบสนองความต้องการทางด้านสังคมของผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับ สุพร คูหา (2552) และบังอร ธรรมศิริ (2549) ที่สรุปว่าควรมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมให้กับผู้สูงอายุเพื่อตอบสนองกับความต้องการทางดานสังคม สาหรับผู้สูงอายุ และยังสอดคล้องกับพจนา ศรีเจริญ (2544) ที่สะท้อนว่าการให้ผู้สูงอายุเป็นวิทยากรให้ความรู้ ประสบการณ์ตามความถนัดจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทาให้คนในชุมชนยอมรับนับถือ เกิดเครือข่ายการทางานร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุกับชุมชน ที่สาคัญเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนหรือท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีต่อไป ดังนั้น แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการรวมกลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุ ควรที่จะเน้นการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรม ผู้สูงอายุเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมสาหรับผู้สูงอายุ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของ ชุมชนโดยสื่อสาร่านผู้นาชุมชน เพื่อสร้างความผูกพันกับถิ่นฐานหรือชุมชนที่อาศัยอยู่ การสนับสนุนส่งเสริมผู้สูงอายุ ทีมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เข้ารับตาแหน่งกรรมการชุมชน 3. ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี คุณภาพชีวิตด้านสภาพอารมณ์ที่ดีของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก จากการวิจัยอภิปรายได้ว่าผู้สูงอายุส่วน ใหญ่มีความสุข แจ่มใส เบิกบานกับสิ่งรอบข้าง สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนได้ มีความพึงพอจับ สภาพที่เป็นอยู่ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าครอบครัวและสภาพแวดล้อมที่ดีมีส่วนทาให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นไปในทางที่ ดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุพร คูหา (2552) ที่สะท้อนว่าควรมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางใจให้กับผู้สูงอายุ เช่น การจัดโครงการแสดงธรรมเทศนาสาหรับผู้สูงอายุเป็นประจาทุกเดือน การจัดกิจกรรมกลุ่มชมรมสาหรับ ผู้สูงอายุ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุควรที่จะเน้นในลักษณะ การจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ การแสดงมุทิตาจิตกับผู้สูงอายุ การจัดงานวันคล้ายวันเกิด การจัดกิจกรรมท่องเที่ยว สถานที่สาคัญ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การทาบุญ งานประเพณีวันสาคัญต่างๆ การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุ แสดงออก เช่น การร้องราทาเพลง การพบปะพูดคุยแสดงความคิดเห็น เป็นต้น 4. ด้านสภาพร่างกายที่ดี คุณภาพชีวิตด้านสภาพร่างกายที่ดีของผู้สูงอายุอยู่ในระดับค่อนข้างมาก จากการวิจัยอภิปรายได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ให้ความสาคัญและใส่ใจในการดูแลสุขภาพกาย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุพร คูหา(2552) ที่ สะท้อนว่าควรให้ความสาคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ และสอดคล้องกับงานวิจัย ของวลัยพร นันท์ศุภวัฒน์และคณะ (2548) ที่พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน โดยผลการดาเนินการพบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้น แนวทางการ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสภาพร่างกายที่ดีของผู้สูงอายุควรเน้นการจัดกิจกรรมการออกกาลังกาย เช่น การเดิน /วิ่ง เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ การจัดสถานที่และอุปกรณ์สาหรับการออกกาลังกาย การประชาสัมพันธ์บ่าวสาร ในการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งจะเน้นถึงการป้องกันทั้งในเชิงรุกและรับกับโรคภัยที่เกิดกับผู้สูงอายุ รวมถึงอันตราย จากการสูบบุหรี่ และการดื่มของมึนเมา นอกจากนี้ยังต้องเน้นถึงการเลือกบริโ ภคอย่างชาญฉลาดเพื่อสุขภาพที่ดี

505


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตลอดจนการติดต่อกับหน่วยงานแพทย์เคลื่อนที่หรือหน่วยงานสาธารณสุขให้เข้ามาดูแลเร่องการเจ็บไข้ได้ป่วยของ ผู้สูงอายุ

5. ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี คุณภาพชีวิตด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง จากการวิจัยอภิ ปรายได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีความต้องการประกอบอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพื่อไม่ต้องพึ่งพงจากลูกหลาน สามารถใช้ จ่ายในเรื่องต่างๆได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้จากการวิจัยในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ พบว่าผู้สูงอายุยังคงวิตกกังวลใน เรื่องอุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อมในบ้า น ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของ ผู้สูงอายุควรเน้นการจัดกลุ่มอาชีพโดยการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพหลัก และ /หรืออาชีพเสริมที่ เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของผู้สูงอายุเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ทาให้ผู้สูงอายุไม่ต้ องพึ่งพาหรือ เบียดเบียนจากบุตรหลาน การหาแหล่งทุน หรือแหล่งสนับสนุนในเรื่องปัจจัยสี่สาหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน การ จัดอบรมให้ค วามรู้ เกี่ยวกับโภชนาการ การบริโ ภคที่เ หมาะสมกับวั ย รู้จั กพอประมาณในการบริโ ภคเพื่ อสร้า ง ภูมิคุ้มกันด้านสุขภาพที่ดีแก่ผู้สูงอายุ การให้คาแนะนา ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของพจนา ศรีเจริญ (2544) ที่ผลการวิจัยสะท้อนว่าควรให้ความสาคัญในการจัดหารายได้กับผู้สูงอายุ โดย การส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ควรเน้ นให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ ดูแลผู้สูงอายุแบ่งเวลา หรือใช้เวลาว่างในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ให้ปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับบังอร ธรรมศิริ (2549 : 50) ที่กล่าวว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจทาให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นการ ดูแลป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ เช่น การหกล้มขณะขึ้นบันได การหกล้มในห้องน้า จึงเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องศึกษาหาความรู้และนาไปปฏิบัติ 6. ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง คุณภาพชีวิตด้านการตัดสินใจด้วยตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลางจากการวิจัยอภิปรายได้ว่ า ผู้สูงอายุจะมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองพอสมควร อาจรู้สึกฝืนใจในกิจกรรมที่ไม่ต้องการจะทา รวมถึงการไม่ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นกับคนในครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนสนิท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมี ส่วนร่วมในการคิด วางแผนในกิจกรรมของครอบครัว หรือการไปพบปะสังสรรค์กับญาติมิตร จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึก ว่าตนเองมีคุณค่าต่อคนรอบข้างเหล่านี้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจด้วยตนเองของผู้สูงอายุในบางเรื่องที่ผู้ดูแลหรือผู้ที่ เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน ก็จะต้องสร้างความเข้าใจโดยใช้หลักการมีเหตุผลที่จะแสดงให้ ผู้สูงอายุเห็นผลที่จะ เกิดขึ้นตามมาจากการกระทาให้สิ่งต่างๆเหล่านั้น เช่นการไม่ไปตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัด การดื่มชา กาแฟ หรือ รับประทานอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นต้น ดังนั้นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการตัดสินใจด้วยตนเองของ ผู้สูงอายุควรเน้นการให้ผู้สูงอายุเข้ าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวการพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ การจัดให้ผู้สูงอายุที่มี ความรู้ และประสบการณ์เข้ามาร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนชุมชนให้มีความเข้มแข็ง(Odebode,2009:591-592) ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะทางวิชาการ

506


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1. ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ผู้ สู งอายุ ไ ด้ อ ย่ า งเหมาะสมนั้ น ควรน าแนวทางการมี ส่ ว นร่ ว มหรื อ ศักยภาพของชุมชนเข้ามามีบทบาท หรือเป็นฐานในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อจะได้สอดคล้องกับ บริบท และความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนนั้นๆ 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุในงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะผู้สูงอายุจานวน 385 คน ที่อาศัย อยู่ในเขตอาเภอพิบูลมังสาหารดังนั้นผลที่ได้จากการวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตอาจมีความแตกต่างจากการเก็บ รวบรวมข้อมูลที่มีจานวนแตกต่างจากนี้ หรือพื้นที่ที่แตกต่างจากนี้ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ 1. รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณในการดาเนินงานด้านผู้สูงอายุให้เพียงพอ 2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรมีการจัดโครงการและกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ในทุกระดับ ทุกภาคส่วน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการปรับแนวทางการดาเนินงานด้านผู้สูงอายุเพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้สูงอายุโดยให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตาบล ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข ควร สนับสนุนในการนาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุซึ่งผ่านตัวแทนชุมชน กรรมการชุมชน ไปสู่การปฏิบัติกับ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2. ควรมีการศึกษาผลการนาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิ ตผู้สูงอายุไปทดลองใช้ เพื่อจะได้นามา ปรับปรุง หรือเสริมแนวทางการพัฒนาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป 3. ควรมี ก ารศึ ก ษาปั จ จั ย ที่มี ผ ลต่ อความพึงพอใจในคุ ณ ภาพชี วิ ตของผู้ สูงอายุ หรื อ ศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ เกี่ยวข้องกับการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุต่อไป เอกสารอ้างอิง ประเวศ วะสี. (2550). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อายุวัฒนะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน รมย์นลิน ชื่นชุมพร. (2554). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตาบลดอนฉิมพลี อาเภอ บางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตร วิโรจน์ อรุณรัตน์. (2552). การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตาบลบุดี. รายงานการศึกษาอิสระ หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศิรินุช ฉายแสง. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดอานาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี. สิงหา จันทริย์วงษ์. (2553). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบทของราชอาณาจักรไทยและ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค(กลุ่มสาธารณสุขชุมชน) คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎสุรินทร์. Cronbach, Lee Joseph. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row.

507


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Holloway ,William V. (1951). States and Local Government in the United States. Newyork : McGraw Hill Book. Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 : 49 Taro Yamane. (1967). Statistic : An Introductory Analysis. New York : Harper &row.

508


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 HSBO-16

วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน THE ORGANIZATIONAL CULTURE AFFECTING JOB SATISFACTION OF SUPPORTING STAFF IN HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS IN RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY ISAN กุสุมาวดี คงฤทธิ์1, สุภาวดี ขุนทองจันทร์2 1

Kusumawadee Kongrit นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2 Supawadee Khunthongjan ดร. อาจารย์ประจาสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสาย สนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน จานวน 384 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง โดยเลือกประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ผลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของ วัฒนธรรมองค์การ และความพึงพอใจในงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตัง้ รับ-ก้าวร้าว ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานในทิศทางบวก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ : วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงาน Abstract The objective of this research was to The Organizational Culture Affecting Job Satisfaction of Supporting Staff in Higher Education Institutions in Rajamangala University of Technology Isan. The sample of the study comprised 384 the Supporting Staff in Higher Education Institutions in Rajamanaga University of Technology Isan. Sampling method. Select the population as a sample. The Data were collected by questionnaire. survey Descriptive data analysis which are mean, standard deviation, correlation coefficient was applied to analyze demographic profile of the sample. The hypotheses were test by multiple regression analysis. The results revealed that the Rating level of Organizational culture and Job satisfaction, overall was at the highest level. Constructive styles,Aggressive/Defensive styles affecting of positive direction. The results of the study were as follows: the Organizational Culture and Job satisfaction in aggressive/defensive style has a positive effect on job satisfaction. Statistically significant at the 0.05 level

509


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Keywords : Organizational Culture Job Satisfaction บทนา ในปัจจุบันระบบราชการของไทยเป็นระบบการทางานพื้นฐานในการบริหารจัดการประเทศที่สาคัญ ระบบหนึ่ง ดังนั้น การพัฒนาระบบราชการจึงมีความสาคัญ เพราะถ้าระบบพื้นฐาน มีการทางาน ที่มีประสิทธิภ าพ ย่อมส่งผลดีต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ การพัฒนาระบบการทางานของข้าราชการพลเรือนเพื่อให้มีการ ทางานที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสาคัญอย่างยิ่ง (สิริกร สุขสุดไพศาล และ กาญณ์ระวี อนันตอัครกุล . 2556) การ ปรับระบบการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพมีโครงสร้างที่กะทัดรั ด เหมาะสมกับสถานการณ์จะต้องมีการปรับ เปลี่ยนระบบการบริหารงานบุคคลให้สอดคล้องด้วย หัวใจสาคัญของการบริหารราชการตามแนวคิดการบริหาร จัดการภาครัฐแนวใหม่ คือ การปรับ ขนาดกาลังคนให้เหมาะสมกับภารกิจที่รัฐต้องปฏิบัติ ด้วยการถ่ายโอนภาระ งานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของภาครัฐสู่เอกชนผ่านการจ้างเหมาบริการหรือซื้อบริการ และถ่ายโอนโดยภารกิจและ อัตรากาลังจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในระบบราชการให้มีศักยภาพเหมาะสมกับภารกิจ (คู่มือการบริหารระบบพนักงานราชการ, 2559: 1) การพัฒนาคุณภาพของการบริหารจัดการและดาเนินกิจกรรมตาม ภารกิจของสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทาง การศึกษา สถานศึกษาทุกแห่ง จะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้อง ดาเนินการอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้เล็งเห็น ความสาคัญของหน่วยงานทุกระดับใน มหาวิทยาลัย ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อเป็นการพัฒนา ขีดความสามารถของหน่วยงานให้ตอบสนอง นโยบายคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง (คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หน่วยงาน สายสนับสนุน ปีการศึกษา 2559. 2559 : 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีระบบการทางานใน รูปแบบราชการ มีบุคลากรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มที่สาคัญ คือ กลุ่มวิชาการและกลุ่มสนับสนุนวิชาการ ซึ่งกลุ่ม สนับสนุนวิชาการ จะคอยสนับสนุนอานวยความสะดวกให้การทางานของกลุ่มวิชาการมีความสาคัญทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ในการทาให้มหาวิทยาลัยบรรลุพันธกิจ ในแต่ละหน่วยงานจะมีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปตาม ลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือได้รั บมอบหมาย จะส่ งผลต่อการทางานที่มีประสิทธิภาพ การตระหนักถึงวัฒนธรรม องค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน จึงเป็นปัจจัยสาคัญที่ผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องทาความเข้าใจ เพื่อใช้ในการบริหารงาน การพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การต่อไปเพราะในทางหนึ่งวัฒนธรรม องค์การที่มีอยูอ่ าจเป็นอุปสรรค และอีกทางหนึ่ง ก็อาจมีคุณค่า สามารถเป็นพลังเสริมให้องค์การประสบความสาเร็จ ได้ การที่สามารถทราบถึงรูปแบบวัฒนธรรมองค์การย่อมทราบถึง วิถีชีวิต หรือแบบแผนการประพฤติปฏิบัติของ สมาชิก ในองค์การนั้น และในที่สุด วัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจในงานจะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของ คนที่แสดงออกมา สามารถใช้สนับสนุน ส่งเสริม รวมทั้งกากับ ควบคุม ดูแล ให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ของ องค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (พินิจ หนูเกตุ. 2551 : 5) ดังนั้น วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงค่านิ ยม ความเชื่อ และแบบแผนทางพฤติกรรมที่ ยอมรั บ และปฏิ บั ติ โ ดยสมาชิ ก ขององค์ ก ารและเป็ น ตั ว ก าหนดพฤติ ก รรมในการท างานของบุ ค คลในองค์ ก าร วัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ขององค์การจะช่วยหล่อหลอมให้บุคคลในองค์การมีความภาคภูมิใจ มีความฮึกเหิม กล้าคิด กล้าทา รักและผูกพันในองค์การ เกิดจิ ตสานึกแห่งการร่วมคิดร่วมทาเพื่อความก้าวหน้าของตนเอง กลุ่ม และ

510


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

องค์การ ความสาเร็จขององค์การขึ้นอยู่กับความเข้าใจวัฒนธรรมองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมองค์การจะ เป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งที่จะกาหนดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและระดับความพึงพอใจในงานของบุคลากร ผู้ปฏิบัติงาน (ณัฐธิดา ชูเจริญพิพัฒน์. 2555: 1) ซึ่งความพึงพอใจในงานเป็นความรู้สึกเต็มใจ ความสุข เจตคติใน ทางบวกของบุคลากร ที่มีต่องานและปัจจัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ความชอบหรือพอใจที่มีต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของงานและผู้ที่ปฏิบัติงานนั้นได้รับการสนองตอบตามความต้ องการที่เขาพึงประสงค์ในปัจจัยนั้น ๆ ได้หากบุคคล มีความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีต่องานจะทาให้เกิดความกระตือรือร้น มุ่งมั่น ทุ่มเทให้กับงาน ถ้าความต้องการของ บุค ลากรได้ รั บ การตอบสนองหรื อได้ รั บ ผลส าเร็ จ ตามวั ต ถุป ระสงค์ข องผู้ ป ฏิบั ติ งานแล้ ว จะทาให้ งานที่ ท าเกิ ด ประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายขององค์การ (กิ่งจันทร์ ศรีบุณยะแก้ว. 2554 : 33-34) จากเหตุผลและความเป็นมาข้างต้น ทาให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึง พอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนทั้งพนักงานราชการและพนักงาน ในสถาบันอุดมศึกษา ผลการวิจัยนี้ เป็น แนวทางในการศึกษาหนึ่งที่จะช่วยประกอบการหาแนวทางในการสร้างความพึงพอใจในงานของบุคลากรสาย สนับสนุน ซึ่งจะกระตุ้นให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในการทางาน ยอมรับการมอบหมายงานจากผู้บริหาร ทาให้มี ความมั่นคงปลอดภัยในการทางาน และส่งผลให้การทางานมีประสิทธิภาพและประสบผลสาเร็จในการทางานได้รับ การเลื่อนตาแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อความก้าวหน้าในการทางานต่อไป นอกจากนี้หน่วยงานยังสามารถใช้ เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ขององค์การต่าง ๆ ในปัจจุบันให้เหมาะกับความ ต้องการ และเสริมสร้างความพึงพอใจในการทางานของบุคลากรสายสนับสนุน ตลอดจนนาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์ การที่ ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุ คลากรสายสนั บสนุนมหาวิ ทยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กรอบแนวคิดในการวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและนามาสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการ วิจัยการศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม วัฒนธรรมองค์การ วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ – เฉื่อยชา วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ – ก้าวร้าว Cooke and Lafferty (1989)

ความพึงพอใจในการทางาน Smith, P. C., Kendall, L. M., and Hulin, C. L. (1969)

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย ที่มา (ทฤษฏีคุณลักษณะของงาน บูรณาการจากแนวคิด Cooke and Lafferty. 1989)

511


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ทฤษฎีความพึงพอใจในการทางาน บูรณาการจากแนวคิด Smith, P. C., Kendall, L. M., and Hulin, C. L. (1969) วิธีดาเนินการวิจัย ขั้นตอนในการวิจัย จากการศึกษา ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอนตามระเบียบวิธีดาเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอน ในการดาเนินงานวิจัย ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากตารา เอกสาร และทาการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจในงาน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกาหนด กรอบแนวคิดในการวิจัยและสร้างแบบสอบถามในการวิจัย 2. กาหนดหลักเกณฑ์ในการวิจัยและกรอบแนวคิดในการศึกษาวัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจ ในงาน 3. กาหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย 4. สร้างเครื่องมือโดยใช้หลักการจากทฤษฎี แนวคิดและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนามาประยุกต์ใช้ และดาเนินการสร้างแบบสอบถามฉบับร่างให้ครอบคลุมเนื้อหา รวบรวมข้อมูลและประเมินผลของข้อมูลที่ได้จาก การแจกแบบสอบถาม 5. นาผลที่ได้จากการประเมินของแบบสอบถามมาวิเคราะห์ ประมวลผล สรุปผลการวิจัย จัดทารูปเล่ม การศึกษาค้นคว้าอิสระและเผยแพร่ผลงานวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งประกอบด้วย พนักงานราชการ และ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จานวน 384 คน ข้อมูล ณ วันที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2560 (กองบริหาร งานบุคคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. 2560) การที่ผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะบุคลากรสายสนับสนุนที่มี สถานภาพเป็นพนักงานราชการและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีลักษณะคล้ายคลึง กันในลักษณะสัญญาจ้าง ซึ่งมีความแตกต่างจากลุ่มข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้ อ มู ล ทั่ ว ไปของผู้ ต อบแบบสอบถาม ลั ก ษณะค าถามเป็ น ค าถามปลายปิ ด ซึ่ ง ประกอบด้วย เพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา ตาแหน่งงาน สังกัดหน่วยงาน ลักษณะของการบรรจุในงาน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือนในปัจจุบัน โดยใช้แบบสอบถามแบบหลายตัวเลือก ประกอบด้วยข้อมูล เกี่ยวกับ เพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา ตาแหน่งงาน สังกัดหน่วยงาน ประเภทการบรรจุในงาน ระยะเวลาที่ ปฏิบัติงาน (นับตั้งแต่เริ่มบรรจุ) และอัตราเงินเดือนในปัจจุบัน โดยลักษณะของคาถามเป็นแบบสารวจรายการ จานวน 8 ข้อ ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของ บุคลากรสายสนับสนุนที่ผ่านการบรรจุเป็น พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาพนักงานราชการ ในสังกัดมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ที่

512


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผู้ วิ จั ย บู ร ณาการมาจากแบบสอบถามวั ด วั ฒ นธรรมองค์ ก าร ของ กิ่ งจั น ทร์ ศรี บู ณ ยะแก้ ว (2554) ซึ่ งเป็ น แบบสอบถามที่ใช้วัดวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ Cooke and Lafferty (1989) และได้ปรับให้เข้า กับการศึกษาในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของบุคลากรสายสนับสนุน ในกลุ่มพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และกลุ่มพนักงานราชการ โดยเป็นแบบสอบถามวัดวัฒนธรรมองค์การ 3 ลักษณะ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การลักษณะ สร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ – เฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ – ก้าวร้าว จานวน 42 ข้อ ตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในงาน เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของ บุคลากรสายสนับสนุนที่ผ่านการบรรจุเป็น พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาพนักงานราชการ ในสังกัดมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ที่ ผู้วิจัยบูรณาการมาจากแบบสอบถามวัดความพึงพอใจในงาน ของ รัชลภ ไชยศรี (2557) ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่ใช้วัด วัฒนธรรมองค์การ ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ Smith, P. C., Kendall, L. M., and Hulin, C. L. (1969) ซึ่งได้ใช้ แบบวัด Job Descriptive Index (JDI) และได้ปรับให้เข้ากับการศึกษาในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของ บุคลากรสายสนับสนุน ในกลุ่มพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และกลุ่มพนักงานราชการ โดยเป็นแบบสอบถามวัด ความพึงพอใจในงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านค่าจ้าง ด้านการเลื่อนตาแหน่ง ด้าน เพื่อนร่วมงาน จานวน 13 ข้อ ตอนที่ 4 ข้อมูลเสนอแนะอื่น ๆ เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และกลุ่มพนักงานราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด เพื่อให้กลุ่ม ตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นๆ และวิธีการแก้ไขปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจ ในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือการวิจัย 2.1 ศึกษางานวิจัย ทฤษฎี และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น 2.1.1 การด าเนิ น การสร้ า งแบบสอบถามให้ เ ป็ น ไปตามกรอบแนวคิ ด และครอบคลุ ม วัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยบูรณาการแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์การจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน การวิจัยของ กิ่งจันทร์ ศรีบูณยะแก้ว (2554 : 87-91) และแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงาน จาก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิจัยของ รัชลภ ไชยศรี (2557: 93-95) 2.1.2 นาแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาความเหมาะสม 2.1.3 ปรับแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะอาจารย์ที่ปรึกษา 2.2 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ นาแบบสอบถามที่สร้างขึ้น สาหรับการวิจัยไปทดสอบเพื่อให้แบบสอบถามมีดัชนีความเที่ยงตรง (Validity) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) โดยผู้วิจัยได้นาแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาตรวจสอบความเชื่อมั่น ดังนี้ 2.2.1 การทดสอบความเที่ยง (Validity) ผู้วิจัยได้รวบรวมและสร้างแบบสอบถาม โดย ประยุกต์จากกรอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และมีการนาเสนอให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาตรวจสอบเนื้อหาโครงสร้าง แบบสอบถาม ซึ่งอาจขอคาแนะนาจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขแล้ว นามาให้ตรวจสอบใหม่ ปรับปรุง แก้ไขจนเป็นที่น่าพอใจที่มีความชัดเจนเหมาะสมและตรงตามเนื้อหาและโครงสร้างของแบบสอบถามแล้ว จึงใช้เป็น แบบสอบถามในการวิจัย

513


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) นาแบบสอบถามไปทดลอง ใช้ (Try-Out) กับกลุ่มตัวอย่างที่ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน คือ บุคลากรสายสนับสนุน จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จานวน 30 ราย และนา แบบสอบถามมาทดสอบความเชื่อมั่น ด้วยวิธีหาค่ าสัมประสิท ธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient Method) โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ค่าความเชื่อมั่นมีค่ามากกว่า 0.70 เป็นเกณฑ์ที่สามารถ ยอมรับได้ (บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. 2555 : 45) งานวิจัยนี้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 จากนั้นผู้วิจัยจัดทาแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนาไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตาม จานวนที่กาหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ผลการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ 1.1 การแจกแจงความถี่ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 1.2 ค่าร้อยละ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 1.3 ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้คู่กันเพื่อแสดงการกระจายของข้อมูล ใช้แปลความหมาย ข้อมูลเพื่ออธิบายระดับวัฒนธรรมองค์กรกับความพึงพอใจในการทางานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสาย สนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2. การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ 2.1 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความพึงพอใจในงานของบุคลากรสาย สนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือ การหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient) 2.2 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความ พึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ผลการวิจัย ผลการวิ จั ย เรื่ อ ง วั ฒ นธรรมองค์ ก ารที่ ส่ ง ผลต่ อ ความพึ ง พอใจในงานของบุ ค ลากรสายสนั บ สนุ น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จานวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 80.7 มีสถานภาพโสด จานวน 208 คน มีอายุ 30 – 39 ปี จานวน 292 คน คิดเป็นร้อยละ 76.0 มี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จานวน 298 คน คิดเป็นร้อยละ 77.6 มีประเภทตาแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา จานวน 336 คนคิดเป็นร้อยละ 87.5 มีสังกัดหน่วยงานนครราชสีมา จานวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 มี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน (นับตังแต่เริ่มบรรจุ) 6-10 ปี จานวน 220 คน มีอัตราเงินเดือนในปัจจุบัน 25,001-30,000 บาท จานวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะสร้างสรรค์ ด้านลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และด้านลักษณะตั้ง รับ-ก้าวร้าว ดังตารางที่ 1

514


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ภาพรวม วัฒนธรรมองค์การ 1. วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ 2. วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา 3. วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว ภาพรวม

X

S.D.

4.15 3.52 3.34 3.67

0.54 0.55 0.61 0.56

ระดับ ความคิดเห็น มาก มาก ปานกลาง มาก

จากตารางที่ 1 พบว่า วัฒนธรรมองค์การ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.67, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก โดย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( X = 4.15, S.D. = 0.54) รองลงมาคือวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -เฉื่อยชา มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 3.52, S.D. = 0.55) และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ - ก้าวร้าว มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับปานกลาง ( X = 3.34, S.D. = 0.61) ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ภาพรวม ความพึงพอใจในงาน 1. 2. 3. 4. 5.

ด้านลักษณะงาน ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านค่างจ้าง ด้านการเลื่อนตาแหน่ง ด้านเพื่อนร่วมงาน ภาพรวม

X

S.D.

4.27 4.18 4.13 3.96 4.46 4.20

0.58 0.66 0.73 0.81 0.70 0.70

ระดับ ความคิดเห็น มากที่สุด มาก มาก ปานกลาง มากที่สุด มาก

จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.20, S.D. = 0.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเพื่อน ร่วมงาน และ ด้านลักษณะงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.46, S.D. = 0.70, X = 4.27, S.D. = 0.58) รองลงมาคือ ด้านผู้บังคับบัญชา และด้านค่าจ้าง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.18, S.D. = 0.66 และ X = 4.13, S.D. = 0.73) และด้านการเลื่อนตาแหน่ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.96, S.D. = 0.81) ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความพึงพอใจใน งานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson 's Correlation Coefficient Analysis) และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression

515


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Analysis) เพื่อ ศึ ก ษาตั ว แปรวั ฒ นธรรมองค์ ก ารที่ ส่ งผลต่ อ ความพึ งพอใจในงานของบุค ลากรสายสนั บ สนุ น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสร้างสมการพยากรณ์ โดยมีสมมติฐาน สมมติฐานการวิจัย คือ วัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในเชิงบวก การวิ เคราะห์ ค วามสั มพั นธ์ ร ะหว่า งตั วแปรวั ฒนธรรมองค์ การ มีมิ ติใ นการวั ด 3 ลัก ษณะ ได้ แ ก่ วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และ วัฒนธรรมด้านลักษณะตั้งรับก้าวร้าว และความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ดังตารางที่ 3 การทดสอบนี้ใช้เกณฑ์การแปลความหมายของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) (บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. 2550 : 377) ถ้าค่าสหสัมพันธ์ (r) ± 1.00 หมายถึง ความสัมพันธ์อย่างสมบูรณ์ ถ้าค่าสหสัมพันธ์ (r) มากกว่า 0.70 หมายถึง ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ถ้าค่าสหสัมพันธ์ (r) ระหว่าง 0.30-0.70 หมายถึง ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ถ้าค่าสหสัมพันธ์ (r) น้อยกว่า 0.30 หมายถึง ความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่า ถ้าค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0 หมายถึง ไม่มีความสัมพันธ์ ตารางที่ 3 แสดงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรวัฒนธรรมองค์การทุกด้านกับความพึงพอใจของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน X1 X2 X3 Y

X

S.D.

X1 1 0.130* 0.032 0.676** 4.15 0.54

X2 1 0.630** 0.095 3.52 0.54

X3

Y

1 0.111 3.34 0.61

1 4.14 0.58

VIF 1.022 1.691 1.665

* Correlation is significant at the 0.05 level (2-tailed) ** Correlation is significant at the 0.01 level (2-tailed) จากตารางที่ 3 พบว่า วัฒนธรรมองค์การในทุก ๆ ด้าน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของ บุคลากรสายสนับสนุน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า วัฒนธรรมองค์การ ลักษณะสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยมีความสัมพัน ธ์ในทิศทาง เดียวกันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.676) รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -ก้าวร้าว มีความสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในงานระดับต่า (r = 0.111) และ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -เฉื่อยชา มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในทิศทางตรงกันข้ามที่อยู่ในระดับต่า (r = -0.095) ตามลาดับ การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระโดยใช้ (Collinearity Statistics) เป็นการพิจารณาว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ โดยการพิจารณาจากค่า (Variance Inflation Factor: VIF) ซึ่งค่า VIF มีค่า สูงมากเท่าใด หมายความว่า ระดับความ สัมพันธ์ของตัวแปรยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งโดยปกติค่าสูงสุดของ (VIF) คือ

516


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

10 ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยพบว่าค่า (VIF) มีค่าอยู่ในช่วง 1.022 – 1.665 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 10 แสดงว่าไม่มี ความสัมพันธ์กันภายในกลุ่มตัวแปรอิสระ (บุญใจ ศรีสถิตนรากูร 2555, 326) ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้นาตัวแปรอิสระ และตั ว แปรตามมาสร้ า งสมการพยากรณ์ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ใ นด้ า นความพึ งพอใจในงานของบุ ค ลากรสายสนั บ สนุ น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ดังตารางที่ 4 การทดสอบสมมติฐาน H0 = วัฒนธรรมองค์การ (วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับเฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์การตัง้ รับ-ก้าวร้าว) ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของ บุคคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน H1 = วัฒนธรรมองค์การ (วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับเฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์การตัง้ รับ-ก้าวร้าว) ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตารางที่ 4 การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตัวแปร Constant วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ (X1) วัฒนธรรมองค์การลักษณะ ตั้งรับ-เฉื่อยชา (X2) วัฒนธรรมองค์การลักษณะ ตั้งรับ-ก้าวร้าว (X3) R2 = 0.685, Adj R2 = 0.469

B 0.981 0.728 -0.088 0.135

S.E. 0.211 0.040 0.051 0.046

β 0.682 -0.083 0.142

t 4.658 18.051 -1.712 2.953

P-value 0.000** 0.000** 0.088 0.003*

** มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 * มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จานวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ วัฒนธรรม องค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -เฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้ งรับก้าวร้าว สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน ได้ร้อยละ 46.90 (Adj R2 = 0.469) โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ = 0.682(X1) + -0.083(X2) + 0.142 (X3) จากสมการสามารถสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ (β = 0.682, P < 0.01) ส่งผลต่อ ความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 ขณะที่ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าวส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (β = 0.142, P < 0.05) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -เฉื่อยชา (β = -0.083, P > 0.05) ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 เมื่อพิจารณา

517


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จากค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่าเป็นไปตามสมมติฐาน H1= วัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อความ พึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในเชิงบวก สมมติฐานยอมรับ H1 ปฏิเสธ H0 สรุปผลการวิจัย 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 80.7 สถานภาพโสด ร้อยละ 54.2 อายุ 30 – 39 ปี ร้อยละ 76.0 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 77.6 ประเภทตาแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ร้อยละ 87.5 สังกัดศูนย์กลางนครราชสีมา ร้อยละ 45.3 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน (นับตังแต่เริ่มบรรจุ) 6-10 ปี ร้อย ละ 57.3 อัตราเงินเดือนในปัจจุบัน 25,001-30,000 บาท ร้อยละ 43.2 ตามลาดับ 2. วัฒนธรรมองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในภาพรวม มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย เป็นอันดับแรก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ- ก้าวร้าว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลาดับ 3. ความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเพื่อนร่วมงาน และด้านลักษณะงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผู้บังคับบัญชา และ ด้านค่าจ้างมี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ ด้านการเลื่อน ตาแหน่ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลาดับ 4. สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้ง รับ-ก้าวร้าว ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของ บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 วิจารณ์ผลการวิจัย จากการศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และ วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว โดยผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิด Patterson (1999) สัญสุณี เสมาภักดี (2557) และ พินิจ หนูเกตุ (2551) และวัฒนธรรมองค์การ ลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Cooke & Lafferty (1989) กิ่งจันทร์ ศรีบุณยะแก้ว (2554) สิมาพร แจ่มบุญศรี (2552) ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ยกเว้น วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -เฉื่อยชา ที่ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เนื่องจากต้องการให้บุคลากรในองค์การต้องทาตามกฎระเบียบที่วางไว้อย่าง เคร่งครัดมีความรู้สึกที่ดีต่อระเบียบและกฎนั้น ๆ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ระบบการบริหารจัดการภายในองค์การ การเปลี่ยนโครงสร้างการทางาน การกระบวนการหรือขั้นตอนในการทางาน นั้น จึงทาให้วัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ -เฉื่อยชาไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

518


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ดังนั้น ผู้บริหารสามารถนาผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างวัฒนธรรมองค์การ วางแผน ระบบการบริหารงานเพื่อให้การทางานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นาข้อมูลที่ได้รับไปใช้เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถใช้เสริมแรงวัฒนธรรมองค์การ การประเมินผลงาน วิธีการ ให้รางวัล การฝึกอบรมและการพัฒนา การพัฒนาสายอาชีพงาน การเลื่อนตาแหน่ง ซึ่งจะทาให้เกิดความมั่นใจได้ว่า บุค ลากรเหมาะสมกั บ ต าแหน่ งการให้ ร างวั ล บุ คลากรสายสนั บ สนุน ที่ ส นับ สนุ นวั ฒ นธรรม และสามารถแก้ ไ ข ข้อบกพร่องในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างตรงจุด เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การ ลักษณะสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้ งรับ-ก้าวร้าว ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานซึ่งจะนาไปสู่การ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรจะมีการทาวิจัยที่เก็บตัวอย่างจาก บุคลากรสายสนับสนุน พนักงานราชการ และพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง เพื่อให้ทราบผลการศึกษาที่ชัดเจน และสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น 2. สถานศึกษาควรมีการศึกษาวัฒนธรรมองค์การ และความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบผลการศึกษาถึงช่วงเวลา และสามารถนามาปรับปรุงพัฒนาวัฒนธรรมองค์การและ สามารถพัฒนางานของตนเองอย่างอิสระ และสร้างความพึงพอใจในงานของบุคลากรสายสนับสนุนต่อไป 3. ควรมีการศึกษาในรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือใน การศึก ษา เพื่ อให้เ ข้า ถึงวั ฒนธรรมองค์ การและความพึ งพอใจในงานของบุ คลากรสายสนับ สนุ นม หาวิ ทยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 4. ควรทาการศึกษาในปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ศึกษาความสุขในการทางาน ศึกษากระบวนการประเมิน ประสิทธิภาพในการทางานของบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อให้เกิดผลสรุปที่หลากหลาย และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป กิตติกรรมประกาศ ผู้มีส่วนสนับสนุนในการทาวิจัยให้ประสบผลสาเร็จ ประกอบด้วยคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์ คณบดี/ประธานกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งได้ให้ ความกรุณาเอาใจใส่และสละเวลาในการให้คาแนะนาและให้คาปรึกษา อีกทั้งช่วยตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ต่าง ๆ จนทาให้การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ จิตต์น้อม ดร.ระบิล พ้นภัย ดร.ภาคภูมิ หมีเงิน ดร.ปฎิมา ถนิมกาญจน์ ที่ได้กรุณาให้คาแนะนา ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงแก้ไขงานวิจัย ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้วิจัยตลอดระยะเวลาที่ศึกษา และ ขอขอบคุณบุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มพนักงานราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสานที่ให้ความร่วมมือ ในการตอบแบบสอบถามในการศึกษาไว้ ณ โอกาสนี้

519


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เอกสารอ้างอิง กิ่งจันทร์ ศรีบุณยะแก้ว. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความพึงพอใจในการทางานของ บุคลากรศูนย์การการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอาเภอสังกัดสานักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. จิตรวี เชิญพิพัฒธนสกุล. (2555). ตัวกาหนดความพึงพอใจในงานและความตั้งใจในลาออกจากงานของพนักงาน ธนาคาร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พินิจ หนูเกตุ. (2551). วัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ในเขต พื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบตั ิสู่ความสาเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย. รัชลภ ไชยศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทางาน ความพึงพอใจในงาน และผลการ ปฏิบัติงานในพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา บริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2559). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หน่วยงานสาย สนับสนุน ปีการศึกษา 2559. นครราชสีมา: กองกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. สิมาพร แจ่มบุญศรี (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ กับความพึงพอใจในการทางานของ พนักงานบริษัทเอกชน. วิทยาพินธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัย ศรีปทุม. สัญสุณี เสมาภักดี. (2557). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทางานของพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. Cooke and Lafferty. (1989). Organizational Culture Inventory. Plymonth : MI Human Synergistics. Smith, S.E. (1997). “Participatory Action Research within The Global Contex,” In Nurtured by Knowledge: Learning to Do Participatory Action – Research. S.E. Smith, D.G. William and N.A. Johnson (editor). pp.8. New York : The Apex Press.

520


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-17 การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ THE PARTICIPATIVE MANAGEMENT AFFECTING THE PERFORMANCE OF TAMBOL MUNICIPALITY ORGANIZATION IN PHETCHABUN PROVINCE. ธารา เจริญรัตน์1, ประกอบ คงยะมาศ2 1

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ประจาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต 2 รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต อาจารย์ประจาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมและผลการดาเนินงานของเทศบาล ตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมและผลการดาเนินงานของเทศบาล ตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างประสิทธิผลของเทศบาลตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการ วิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะผู้บริหารเทศบาล ข้าราชการ/ พนักงานส่วนท้องถิ่นสมาชิกสภาเทศบาลจานวน 277 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า การบริหาร แบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลมีความสัมพันธ์ในรูปเชิงเส้นและสัมพันธ์กันในทางบวก (r เป็นบวก) ในระดับมาก มีค่า r ระหว่าง 0.741 ที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 และมีตัวแปรต้นจานวน 4 ตัวแปรมีอิทธิพล พยากรณ์ตัวแปรตามประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลที่ระดั บนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 ประกอบด้วย การมี ส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน และการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ คำสำคัญ : การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล Abstract This research was aimed to; 1) study the Participative Management and The Performance Effectiveness of Tambol Municipality Organization in Phetchabun Province. 2) study the relationship of Participative Management and The Performance Effectiveness of Tambol Municipality Organization in Phetchabun Province, and 3) to propose development of the Performance Effectiveness of Tambol Municipality Organization in Phetchabun Province. The research employed A Quantitative Research. The sample populations were 277 including administrators, civil servants, employees, and members of Tambol Municipality Organization in Phetchabun Province. The populations were selected using stratified random sampling and simple random techniques.

521


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The research findings revealed that the relationship between participative management and the performance effectiveness were correlated in the same direction (r=0.741) at 0.01 level of significance. The 4 factors influencing to Performance Effectiveness of Tambol Municipality Organization were participation in the benefits, participation in the evaluation, participations in the implementation, and decision-making process. Keywords: participative management, performance effectiveness. บทนา การบริหารแบบมีส่วนร่วมนั้นถือเป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสาคั ญและจาเป็นในสังคม ประชาธิปไตย เพราะการปฏิบัติงานขององค์การโดยทั่วไป จะมีการแบ่งแยกหน้าที่การงานแต่ละแผนกฝ่ายกองหรือ หน่วยงานตามคาสั่งมอบหมายหน้าที่การงานพฤติกรรมการปฏิบัติงานลักษณะเช่นนี้ เป็นหลักการพื้นฐานของ องค์การที่ได้วางไว้การเสนอความคิดและร่วมกระทาของผู้ร่วมงานสามารถกระทาได้แต่ยังไม่สอดรับเท่าที่ควรจึง จาเป็นต้องจัดให้มีการพัฒนาและเร่งรัดให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม (วันชัย โกลละสุต. 2549) และการบริหารแบบ มีส่ว นร่ว มถื อได้ ว่า เป็น เงื่อ นไขและกุ ญแจดอกสาคัญของความส าเร็ จของการพั ฒนาระบบราชการให้ สามารถ ตอบสนองความต้องการและเอื้อต่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนได้ เพราะประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจทางการบริหารและการดาเนินการของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ. 2549) เทศบาลตาบลเป็นหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งของประเทศไทย การบริ หารงานของ เทศบาลเป็นบริบทการบริหารและจัดการที่ผู้นาสูงสุดในองค์กรเป็นผู้มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการบริหารและ จัดการมากที่สุด (รัตติภรณ์ จงวิศาล. 2012) ปัญหาที่พบมากจากการบริหารงานมี 2 ประการ คือ ภาพลักษณ์ของ ตัวผู้นาและศักยภาพในการบริหาร (สมชัย วัฒนการุณ. 2553 ; อรทัย ก๊กผล และสุมามาลย์ ชาวนา. 2550) และอีก ทั้งการวัดประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลนั้นยังมีปัญหาเรื่องกรอบมาตรฐานในการวัดประเมินเรื่อยมา จน กระทั้ง ปี พ.ศ. 2556 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้จัดทาแบบประเมินรับรองมาตรฐานการปฏิบัติราชการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นเครื่องมือชี้วัดประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลขึ้นมา (กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น, 2556) การวิจัยครั้งนี้มีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม (independent variables; IV) (dependent variables; DV) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. การมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ 2. การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน 3. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล

ประสิทธิผลของผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล 1. มิติด้านการบริหารจัดการ 2. มิติด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา 3. มิติด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง 4. มิติด้านการบริการสาธารณะ

522


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมและผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมและผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบลใน จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อเสนอแนวทางการสร้างประสิทธิผลของเทศบาลตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีขั้นตอนการดาเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) การออกแบบการวิจัย 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4) การตรวจสอบและหาคุณภาพ เครื่องมือ 5) การเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ คณะผู้บริหารเทศบาล ข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น และสมาชิกสภาเทศบาลตาบลใน จังหวัดเพชรบูรณ์ จานวน 22 แห่ง รวมทั้งสิ้น 990 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สาหรับการวิจัย ได้แก่คณะผู้บริหารเทศบาลข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นและ สมาชิกสภาเทศบาลตาบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ จานวน 277 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง ชั้น (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน ในส่วนที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบปลาย ปิด (closed form) ส่วนที 2 ส่วนที่ 3 เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบมาตราส่วนแบบลิเคอร์ท (likert scale) ตามแนวคิดของ Likert (1961) และส่วนที่ 4 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดสาหรับการแสดงความคิดเห็น ทั่วไปและข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และตาแหน่ง ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล จานวน 20 ข้อ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ ยวกับ ประสิ ทธิ ผลการดาเนิ นงานของเทศบาลแบ่งออกเป็ น 4 ด้า น ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา ด้านการบริหารงานการเงินและการ คลังด้านการบริการสาธารณะ จานวน 83 ข้อ ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป การตรวจสอบและหาคุณภาพเครื่องมือ 1. การหาความตรงเชิ งเนื้ อหา (content validity) ผู้วิจัย นาเครื่องมือที่ ใช้ใ นการวิจัย ได้แ ก่ แบบสอบถาม ตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและภาษาเมื่อตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนาข้อคิดเห็นมา ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะหลังจากนั้นผู้วิจัยนาแบบสอบถามมาหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าแบบสอบถามมีดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index; CVI) เท่ากับ 0.83

523


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยใช้วิธีการทดสอบความตรง ตามแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อทดสอบค่าสถิติ Barlett’s test of sphericity และค่าดัชนีไกเซอร์ -ไมเยอร์ ออลคิน (Kaiser-Meyer-Olkin Measures of Sampling Adequacy: KMO) และหาค่าExtraction communalities ได้ค่าBartlett’s test มีนัยสาคัญทางสถิติที่ น้อยกว่า 0.05 (Sig. < 0.05) ค่า KMO มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5-1.0 และค่า Extraction communalities มีค่าอยู่ ระหว่าง.5-1.0 3. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนาแบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้บริหาร เทศบาลข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาเทศบาลของเขตเทศบาลตาบลในจังหวัดพิจิตร จานวน 30 ชุด หลังจากนั้นนาแบบสอบถามมาวิเคราะห์ หาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ผู้วิจัยทาหนังสือถึงนายกเทศมนตรีของเทศบาลตาบลทั้ง 22 แห่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ การวิจัยและขออนุญาตดาเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและให้ผู้ช่วย คณะผู้วิจัยติดตามเพื่อรับคืนแบบสอบถามในระหว่างเดือน มิถุนายน 2560 ถึง เดือน สิงหาคม 2560 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างได้แก่อายุเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และตาแหน่ง วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ความถี่ ร้อยละ ข้อมูลส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้อต้นเพื่อหาระดับความ คิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการบริหารแบบมี ส่วนร่วมและประสิทธิผลการดาเนินงาน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่การหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ใน การวิเคราะห์โครงสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล โดยสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 3) การวิเคราะห์อิทธิพลเพื่อให้ทราบว่าตัวแปรซึ่งเป็นเหตุมีอิทธิพลต่อตัว แปรซึ่งเป็นผลในลักษณะใดโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ข้อมูลส่วนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับ การบริหาร แบบมีส่วนร่วมและแนวทางการสร้างประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.0 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อย ละ 66.7 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 62.7 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 65.9 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 38.43 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผล การดาเนินงานของเทศบาลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยรองลงมา (ตารางที่ 1และ ตารางที่ 2)

524


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผล การดาเนินงานของเทศบาล (n=277) ตัวแปร(Variables) 1. การบริหารแบบมีสว่ นร่วม 2. ประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล

X

4.32 4.25

สถิติและการแปลความหมาย S.D. ความหมาย .44 .22

3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า 1การบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการ ดาเนินงานของเทศบาลมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกันในระดับมาก r= 0.741 อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ ระดับ 0.01 (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์(Pearson Correlation) ระหว่างการบริหารแบบ มีส่วนร่วมและประสิทธิผลการ ดาเนินงานของเทศบาล (n = 277) การบริหารแบบมี ส่วนร่วม 1.000 0.741**

ตัวแปร (Variables) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล

ประสิทธิผลการดาเนินงานของ เทศบาล 0.741**

หมายเหตุ ** P.<0.01 ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์หรือทานายอิทธิพลของการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วม จานวน 3 ตัว แปร มีอิทธิพลพยากรณ์ตัวแปรตามประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 เรียง ตามลาดับอิทธิพลพยากรณ์ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน และ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 ทดสอบอิทธิพลพยากรณ์ตัวแปรต้นการบริหารแบบมีสว่ นร่วมที่มีต่อประสิทธิผลการดาเนินงานของ เทศบาลตาบล (n= 277) ตัวแปรพยากรณ์ (Predict Variables)

คะแนนดิบ (B)

ค่าคงที่ (Constant) 2.402 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ .196 การมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ .260 การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน .315 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล .196 2 2 R = .506 R = .256 R Adj = .250 F = 45.392 Sig. 000

ความคลาด เคลื่อน มาตรฐาน (Ste) .118 .022 .036 .043 .021

คะแนน มาตรฐาน(β) .456 .343 .207 .156

หมายเหตุ P<0.05 ตัวแปรตามคือประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล

525

ผล ทดสอบ (t) 20.421 8.864 7.326 7.379 3.764

นัยสาคัญ (Sig.) .000 .000 .000 .000 .000


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เสนอแนวทางการสร้างประสิทธิผล การดาเนินงานของเทศบาลในอนาคตว่า เทศบาลต้องใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมซึ่งประกอบด้วย การมีส่วน ร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมใน การรับผลประโยชน์ โดยให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมในกระบวนการบริหารทุกขั้ นตอนและเทศบาลต้องปฏิบัติงานเพื่อให้มี ผลการปฏิบัติงานผ่านเกณฑ์การประเมินของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามกรอบมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่นกาหนดซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภาด้านการ บริหารการเงินและการคลังด้านการบริการสาธารณะ (ตารางที่ 4 และตารางที่ 5) ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมและองค์ประกอบ ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม (n=277) ค่าเฉลี่ย(Mean) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 2. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล 3. การมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ 4. การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน

4.31 4.50 4.27 4.23 4.23

ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน .44 .64 .53 .56 .44

ความหมาย (defining) มาก มาก มาก มาก มาก

ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของการระดับความคิดเห็นของประสิทธิผลการ ดาเนินงานและองค์ประกอบของประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล (n=277) ค่าเฉลี่ย(Mean)

X ประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล 1. มิติด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา 2. มิติด้านการบริหารจัดการ 3. มิติด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง 4. มิติด้านการบริการสาธารณะ

4.25 4.36 4.27 4.26 4.09

ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน S.D. .22 .32 .30 .38 .26

ความหมาย (defining) มาก มาก มาก มาก มาก

จากผลการวิจัยพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วม ภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.31, S.D. = .44) โดยการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการ ดาเนินงานของเทศบาลในมิติด้านการบริการสาธารณะไปในทิศทางเดียวกัน ในระดับมาก ที่ค่า r=0.711 อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มีอิทธิ พลพยากรณ์ประสิทธิผลการ ดาเนินงานของเทศบาลร้อยละ 45.6 (Ste=0.019 Sig, 0.000) สอดคล้องกับ อรพินท์ สพโชคชัย (2550) ที่ได้ กล่าวถึงการบริหารแบบมีส่วนร่วมไว้ว่า จะช่วยให้หน่วยงานราชการเจ้าของโครงการ ได้ทราบปัญหาและการแก้ไข สามารถลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือการต่อต้านจากประชาชน เกิดแรงผลักดันที่ช่วยให้งานบรรลุผลสาเร็จ

526


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ได้ตรงกับความต้องการของประชาชน ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนรวมถึงความไว้วางใจจากประชาชน ประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาล ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.25, S.D.=.22) โดยมีองค์ประกอบ ด้านมิติด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด( X =4.36, S.D. = .32) มิติด้านการบริหาร จัดการ( X =4.27, S.D. = .30) มิติด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง ( X =4.26, S.D. = .38) และ มิติด้าน การบริการสาธารณะ ( X =4.09, S.D. = .26) สรุปผลการวิจัย การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นกระแสนิยมที่ทุกฝ่ายให้ความสาคัญ โดยมาจากความล้มเหลวในการ ทางานของภาครัฐตามแนวทางการบริหารงานในระบบราชการแบบดั้งเดิม การใช้วัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการบรรจุแต่งตั้ง ทาให้เกิดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ดังนั้น เทศบาลจึงควรนาหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงานหรือบุคลากรด้านต่างๆเข้า มามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์การหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทุกๆขั้นตอนของกระบวนการบริหารซึ่ง จะก่อให้เกิดผลดีต่อองค์การและประชาชนตามมา เช่น 1) การบริหารจัดการปรับตัวดีขึ้น 2) การบริหารจัดการ ยืดหยุ่นมากขึ้น 3) มีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น 4) การครอบคลุมการบริการทั่วถึงมากขึ้น 5) สนับสนุนให้เกิด การประสานงานระหว่างองค์กรในพื้นที่เดียวกันและเทศบาลควรให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถติดตามตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของ โครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาฯเสนอแนะแนว ทางการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดบริการประชาชนอย่างรวดเร็ว สร้างความประทับใจให้ประชาชน ไม่ใช่บริหารงานตาม อาเภอใจ (กิ่งดาว จินดาเทวิน , 2552) การนาแบบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2556 มาเป็นเกณฑ์ในการวัดผลการปฏิบัติงานของเทศบาล ถือว่าเหมาะสมเนื่องจากเป็นที่ยอมรับของ ผู้บริหาร บุคลากรเป็นอย่างดีและสามารถวัดประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลได้ครอบคลุมทุกด้าน วิจารณ์ผลการวิจัย การบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการมีสว่ นร่วมในการบริหารหรือที่เรียกว่าการบริหารแบบ มีส่วนร่วมซึ่งเป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงานหรือบุคลากรด้านต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ องค์การหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทุกๆขั้นตอนของกรบวนการบริหารนับตั้งแต่การวางแผน (Planning) หรือ การวางโครงการการจัดองค์การ (Organizing) หรือการกาหนดโครงสร้างอานาจหน้าที่ การแบ่งส่วนงาน การจัดสาย งานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การบริหารบุคคล (Staffing) หรือการบริหารงานบุคคลได้แก่การ จัดอัตรากาลัง การสรรหาและพัฒนาบุคลากร การเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการทางาน การอานวยการ (Directing) หรือการวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบัญชาการและควบคุมการปฏิบัติงาน การประสานงาน (Coordinating) หรือ ประสานกิจการด้านต่างๆของกิจการเพื่อให้เกิดการร่วมมือประสานงานที่ดีและนาไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางเดียวกัน การรายงาน (Reporting) หรือการรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงาน ได้รับทราบความเคลื่อนไหวและความคืบหน้ าของกิจการอย่างสม่าเสมอ งบประมาณ (Budgeting) หรือการจัดทา งบประมาณการจัดทาบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบทางด้านการเงินและทรัพย์สนิ ซึ่งการบริหารแบบมีส่วน ร่วมดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีต่อองค์การและประชาชนตามมา เช่น (1) การบริหารจัดการปรับตัวดีขึ้น (2) การ บริหารจัดการยืดหยุ่นมากขึ้น (3) มีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น (4) การครอบคลุมการบริการทั่วถึงมากขึ้น (5)

527


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สนับสนุนให้เกิดการประสานงานระหว่างองค์กรในพื้นที่เดียวกัน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยสูง ที่สุดตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง บ่งชี้ได้ถึง ความสาคัญที่ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยที่ เทศบาลต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว สร้างความ ประทับใจให้ประชาชน ไม่ใช่บริหารงานตามอาเภอใจ การบริหารเทศบาลตาบลต้องมีการการปรับปรุงกลไกการ ทางานขององค์กร ให้มีความโปร่งใสเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและ ตรวจสอบความถูกต้อง มีช่องทางในการเข้าถึง ข้อมูลการบริหารทรัพยากรได้ง่ายและชัดเจน ประชาชนเข้าใจได้ รวมทั้งมีการรายงานข้อมูลที่โปร่งใส (UNDP. 1997 ; กิ่งดาว จินดาเทวิน. 2552) ข้อเสนอแนะ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล มี ความสัมพันธ์ไปทิศทางเดียวกันในระดับมาก มีค่า r = .741 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ผู้วิจัยเห็นว่า ผู้บริหารเทศบาลตาบลควรนาหลักการบริหารแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการบริหารเทศบาลตาบล เพื่อ เพิ่มประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตาบล กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัย ขอขอบพระคุณที่ได้ให้โอกาสในการพัฒนางานวิจัยนอกจากนั้นงานวิจัยเรื่องนี้สาเร็จลุล่วงได้ เนื่องจากคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นประจาเทศบาลตาบลทั้ง 22 แห่งใน จังหวัดเพชรบูรณ์ที่กรุณาให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ให้คาสัมภาษณ์และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอด งานวิจัย เอกสารอ้างอิง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). “แบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัตริ าชการขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2556.” จาก https://docs.google.com/file/d/0BzWFvW8bSCICOX pYVi1reXJpU2c/edit?pref=2 &pli=1. เข้าถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2558 กิ่งดาว จินดาเทวิน. (2552). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสาหรับองค์การบริหาร ส่วนตาบล (อบต.) ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพฯ : โรงพิพม์เฮาสออฟเคอรมีสท. รัตติภรณ์ จงวิศาล. (2012). “ภาวะผู้นา จิตวิญญาณในการทางาน ผลการปฏิบัติงานและบรรษัทภิบาล.” วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 54(1), 104-105. วันชัย โกลละสุต. (2549). “การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม.” จาก http://opens.dpt.go.th/dpt_ kmcenter/index.php?option=comcontent&task=view&id=26&Itemid=1. เข้าถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2559. สมชัย วัฒนการุณ. (2553). คาพิพากษาในคดีปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยาลัยการพัฒนาการ ปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

528


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2547). การบริหารจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตาบล บ้านฉาง. ปัญหารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2549). คู่มอื การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคา รับรองการปฏิบัติราชการของสวนราชการ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: (ม.ป.ท.). อรทัย ก๊กผล และสุมามาลย์ ชาวนา. (2550). ร่วมคิด ร่วมปฏิรูป การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิน่ . สถาบัน พระปกเกล้า: โรงพิมพ์ ส. เจริญ การพิมพ์. อรพินท์ สพโชคชัย. (2550). “หลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance).” จาก http://www.opdc.go.th. เข้าถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 Likert, R. (1961). New Patterms of Management. New York: Mcgraw-Hill Book Company Inc. United Nations. (2000). Building Partnership of Good Governance. New York: United Nation Press.

529


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-18 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ตาบลวัดตูม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา THE PARTICIPATION OF PEOPLE IN ECOTOURISM DEVELOPMENT OF TOOM SUB- DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA DISTRICT, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA PROVINCE. ธารา เจริญรัตน์1 โกศล สอดส่อง2 1

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ประจาหลักสูตรรัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต 2 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ประจาหลักสูตรรัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์ขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อ เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้สูตรทา โร่ ยามาเน่ จากประชาชนในเขต อบต.3,191 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จานวน 355 คน จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน และใช้การสุ่มแบบง่ายวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยภาพรวมพบว่าทุกด้านอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96 รายด้าน ด้านการอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติค่าเฉลี่ย 3.95 ด้านการทาให้ระบบนิเวศน์ ยั่งยืนมีค่าเฉลี่ย 3.87 ด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศน์มีค่าเฉลี่ย 3.89 ด้านการให้ชุมชนมีรายได้ มีค่าเฉลี่ย 4.02 และด้านการให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 4.09 2) ผลการเปรียบเทียบ จาแนกตามปัจจัยส่วน บุคคลพบว่า ประชาชนที่มี เพศ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ไม่ต่างกัน มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีส่วน ร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมในการพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ Abstract The objectives of the researcher were to 1) study level of participation of people in ecotourism development of Toom Sub-district Administrative Organization, Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province; and 2)to compare the participation of people in

530


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ecotourism development of Toom Sub-district Administrative Organization classified by sex, age, education level, occupation, and monthly income. It was a quantitative survey study. The population was 3,191 people in Toom Sub-district Administrative Organization, Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Simple random sampling technique was used to draw 500 subjects. The instrument used in collect data was a 5 level rating scale. The research data was analyzed by using descriptive statistical analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. The research revealed that:1)the level of participation of people in ecotourism development of Toom Sub-district Administrative Organization as a whole was at a high level ( X = 3.96). When considered in individual aspect, it was found that all aspects were at high levels: living on natural basis( X =3.95);ecologic system sustain ab lutino ( X =3.87); environmental study in ecologic system ( X =3.89);making income of community ( X = 4.20); and tourists satisfying ( X =4.09) 2) the opinions of people with different sex in participation of ecotourism development were not different; but the people with different age, education level, occupation, and monthly income had statistical significantly different opinions in participation of ecotourism development at the level of .05 Keywords : Participation on development, of ecological tourism. บทนา การท่องเที่ยวนับว่าเป็นรายได้ทางหนึ่งของรัฐที่มีมูลค่ามหาศาลและถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาท สาคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่เพียงจะก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจแล้ว ยังก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาการทาลายทัศนียภาพ รวมทั้งวิถีชีวิตของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวให้ เสื่อม โทรมลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจาเป็นต้องใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรทางศิลปะวัฒนธรรมที่มีอยู่ ภายในประเทศเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวขณะที่ทรัพยากรเหล่านี้มีอยู่อย่างจากัดไม่เพียงพอที่จะ รองรับความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ ทาให้การจัดการแหล่งท่องเที่ยวมักประสบปัญหาที่สวนทาง กันระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสังคมกับการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา จึงได้เกิดรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ขึ้น โดยมีรูปแบบการท่องเที่ยว อย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นนั้น ๆ และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบ นิเวศน์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการการท่องเที่ยวอย่างมี ส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึง คุณค่าต่อการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์และก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในท้องถิ่น (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2541 : 4) การ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จึงเป็นนโยบายและแนวทางที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งของการ ท่องเที่ยวที่ต้องมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีการ จัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้ องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนสืบไป ซึ่ ง นโยบายและแนวทางการท่ อ งเที่ ย วนี้ ยั ง สอดคล้ อ งกั บ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 9

531


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

(พ.ศ.2545 – พ.ศ. 2549) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism) เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนรูปแบบหนึ่ง หมายถึง การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ชื่นชม และเพลิดเพลิน ไปกับ ทั ศนี ยภาพธรรมชาติ สภาพสังคม วั ฒนธรรม และชีวิ ต ของคนในท้ องถิ่น บนพื้ นฐานความรู้ และความ รับผิดชอบต่อระบบนิเวศน์ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2539 : 10) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เป็นรูปแบบหนึ่ง ของการท่องเที่ยวในปัจจุบันที่นานาประเทศให้ความสาคัญ เพื่อการมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศและ นานาชาติ ตามหลั ก ปฏิ ญ ญาสากลว่ า ด้ ว ยการพั ฒ นาสิ่ งแวดล้ อ มที่ ยั่ งยื น (Environmentally Sustainable Development) โดยให้ความสาคัญ มุ่งเน้นให้เกิดการอนุรักษ์มากกว่าการ จัดการลดหรือปราศจากผลกระทบและ นักท่องเที่ยวพึงพอใจเท่านั้น แต่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์จะต้องเป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบในแหล่ง ท่องเที่ยวธรรมชาติ มีการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมและให้การศึกษาแก่นักท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ตาบลวัดตูมอาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐ กระจายอานาจให้ ปกครองตนเอง ตามที่รัฐธรรมนูล ปี พ.ศ. 2540 2550 และ 2560 ในหมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นได้ เขียนไว้ ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้ท้องถิ่นจัดทา องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ตาบลวัดตูม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความมุ่งหวังให้ชุมชนมีความสงบสุข น่าอยู่อาศัย สังคมดี เศรษฐกิจดี และมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นสังคมแห่งสันติสุข พัฒนาทุกภารกิจ โดยหลักบูรณาการ สืบสานวัฒนธรรมของชาติ ส่งเสริมศาสตร์เทคโนโลยี สนับสนุนเกษตรอินทรีย์เพื่อการผลิต วิสาหกิจชุมชนสู่หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ ” จากวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการ จึงส่งผลให้ชุมชนมีศัก ยภาพในด้าน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผู้วิจัยจึงให้ความสนใจในการทาวิจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ โดยคาดว่า ผลจากการศึกษาวิจัย ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ครัง้ นี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเสริมสร้างความ เข้มแข็งของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์มากขึ้น และเป็นมาตรการในการพัฒนาประชาชนในองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ให้มีความสงบสุขน่าอยู่ อาศัย สังคมดี เศรษฐกิจดี และมีทศั นียภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีและยัง่ ยืนต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ขององค์การ บริหารส่วนตาบลวัดตูม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขององค์การ บริหารส่วนตาบลวัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ 7 ขั้นตอน 1) การออกแบบการวิจัย 2)ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่าง 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4) การตรวจสอบหาคุณภาพเครื่องมือ 5) การเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การ วิเคราะห์ข้อมูล7) การนาเสนอข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and Samples) ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขต องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ตาบลวัดตูม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างได้ จากการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ จากประชาชน 3,191 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จานวน 355 คน

532


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research Tool) ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตาม แบบของ ไลเคิร์ท (Likert’s scale) มีทั้งหมด 5 ระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยแบบสอบถาม ที่ ใช้ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และ รายได้ มีจานวน 5 ข้อ ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ส่วนที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จานวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติ 2) ด้านการทาให้ระบบนิเวศน์ยั่งยืน 3) ด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมในระบบ นิเวศน์ 4) ด้านการให้ชุมชนมีรายได้ 5) ด้านการให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ รวมจานวน 15 ข้อ ส่วนที่ 3 ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของประชาชน เป็นแบบสอบถามปลายเปิด การตรวจสอบหาคุณภาพเครื่องมือ (Instrument Measurement) 1. การหาความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ผู้วิจัยนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและภาษาเมื่อตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนาข้อคิดเห็นมา ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยนาแบบสอบถามมาหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าแบบสอบถามมีดัชนีความตรง เชิงเนื้อหา (content validity index; CVI) เท่ากับ 0.83 2. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนาแบบสอบถามไปทดสอบกับประชากรที่ ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่เป็น (try out) ประชากรที่อยู่ในพื้นที่องค์การบริ หารส่วนตาบลบ้านป้อม จานวน 30 ชุด หลังจากนั้นนาแบบสอบถามมา วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ผู้วิจัยทาหนังสือถึงนายกองค์การบริหารส่ วนตาบล วัดตูมเพื่อชี้แจ้งวัตถุประสงค์การวิจัยและขออนุญาตดาเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยัง กลุ่มตัวอย่างและรับคืน แบบสอบถามในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2560 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2561 4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ผู้วิจัยทาการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) ศึกษา เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ลักษณะ ของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และ รายได้ มีจานวน 5 ข้อ ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จานวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติ 2) ด้านการทาให้ระบบนิเวศน์ยั่งยืน 3) ด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมในระบบ นิเวศ4) ด้านการให้ชุมชนมีรายได้ 5) ด้านการให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ รวมจานวน 15 ข้อ โดยแบบสอบถาม ที่ใช้เป็นชนิดเลือกตอบ ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามแบบของไลเคิร์ท (Likert’s scale) มี ทั้งหมด 5 ระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตอนที่ 3 ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของประชาชน เป็นแบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ใช้สถิติข้อมูลเชิงพรรณนา(descriptive statistic analysis)โดยการวิเคราะห์ความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. การทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การประมวลผล เพื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติ ด้วยวิธีการทางสถิติ โดยใช้ โปรแกรมสาเร็จรูปคอมพิวเตอร์

533


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลการวิจัย 1. การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 1.1) เพศ เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 70.70 รองลงมา เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 29.30 ตามลาดับ 1.2) อายุ อายุ 41–50 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.70รองลงมา มีอายุ 30 -40 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.20 อายุต่ากว่า 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.50 และ มีอายุ 51 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อย ละ 3.70 ตามลาดับ 1.3) การศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 41.40 รองลง มัธยมศึกษา/ปวช.คิดเป็นร้อย ละ 23.70 ประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 20.60 ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 14.40 ตามลาดับ 1.4) อาชีพ อาชีพเกษตรกร เป็นร้อยละ 46.80 รองลงมาข้าราชการคิดเป็น ร้อยละ 29.60 อาชีพรับจ้างทั่วไป คิด เป็นร้อยละ 15.80 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 7.90 ตามลาดับ 1.5)รายได้ รายได้ 10,000 – 20,000 บาท คิด เป็นร้อยละ 50.40 มีรายได้ ต่ากว่า 20001 – 3000บาท คิดเป็นร้อยละ 24.80 มีรายได้ ต่ากว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.90 และ30001 บาทขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 9.90 ตามลาดับ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ใน การองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม 2.1) โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย3.96 เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากคือ ด้านการอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติ มีค่าเฉลี่ย 3.95 ด้านการทาให้ระบบ นิเวศน์ยั่งยืน มีค่าเฉลี่ย 3.87 ด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ มีค่าเฉลี่ย 3.89 ด้านการให้ชุมชนมีรายได้ มี ค่าเฉลี่ย 4.02 และด้านการให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 4.09 2.2) ตามรายข้อ 2.2.1) ด้านการอยู่ บนพื้นฐานของธรรมชาติ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.95 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 3 ข้อที่ 1.ข้อที่ 2. ตามลาดับ 2.2.2) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.87 ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 5 ข้อที่ 4. ข้อที่ 6. ตามลาดับ 2.2.3) ด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.89 ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 8. ข้อที่ 7. และข้อที่ 9. ตามลาดับ 2.2.4) ด้าน การให้ชุมชนมีรายได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.02 ข้อที่มีค่า เฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 12. ข้อที่ 10. และข้อที่ 11. 2.2.5)ด้านการให้นักท่องเที่ยวมี“ความพึงพอใจ”ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.09 ข้อที่มีค่า เฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ15. ข้อที่ 14.ข้อที่ 13.ประชาชนมี “ความพึงพอใจ”ต่อข้อมูลการท่องเที่ยวฯที่ถูกต้อง พอใจกับ การจัดประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เหมาะสม ตามลาดับ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ต.วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.1) จาแนกตามเพศ ที่ระดับนัยสาคัญ .05 ความแปรปรวน พบว่า F มีค่าเท่ากับ 14.34 และค่า Sig มีค่าเท่ากับ 0.19 ซึ่งมีค่ามากกว่า .05 ดังนั้น เพศต่างกันมีส่วนร่วมของประชาชนในการพั ฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่ต่างกัน 3.2) จาแนกตามอายุ ที่ระดับนัยสาคัญ .05 พบว่า F มีค่าเท่ากับ 21.74 และค่า Sig มีค่าเท่ากับ 0.00 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 อายุต่างกันมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แตกต่างกัน 3.3) จาแนกตามระดับ การศึกษา ที่ระดับนัยสาคัญ .05 พบว่า F มีค่าเท่ากับ 43.21 และค่า Sig มีค่าเท่ากับ 0.00 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 ดังนั้น ระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกัน 3.4) จาแนก ตามอาชีพ ที่ระดับนัยสาคัญ .05 พบว่า F มีค่าเท่ากับ 23.21 และค่า Sig มีค่าเท่ากับ 0.00 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 ดังนั้น ระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แตกต่างกัน 3.5)จาแนก ตามรายได้ต่อเดือน ที่ระดับนัยสาคัญ .05 พบว่า F มีค่าเท่ากับ 9.01 ค่า Sig มีค่าเท่ากับ 0.03 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 ดังนั้น มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แตกต่างกัน

534


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สรุปผลการวิจัย 1. ด้านปัจจัยส่วนบุคคล เพศ เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 70.70 แสดงว่าเพศชาย มีอิทธิพลต่อการมี ส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มากว่าเพศหญิง ส่วนอายุ 41–50 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.70 มีระดับ การส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แสดงว่าอายุ 41–50 ปี ก็มีเหตุและปัจจัย เพราะ อายุระดับนี้เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง อาชีพ อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 46.80 ระดับการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากสุด การศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 41.40 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มากสุด รายได้ รายได้ 10,000 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.40 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มากสุด แสดงว่ารายได้มากมีเวลาที่จะไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆขององค์ได้มากกว่าผู้มีรายได้น้อย เพราะผู้มีรายได้น้อย ต้องทา มาหากินเลี้ยงชีพตอนเอง ไม่มีเวลาจะไปรวมกิจกรรมกับองค์กร 2. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศองค์การบริหารส่วนตาบลวัด ตูม โดยภาพรวม พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก แสดงว่าประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูมมีระดับ การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วเชิ งนิ เ วศน์ ทุ ก ด้ า น แสดงว่ า ในภา พรวมทุ ก ๆ ด้ า น ประชาชนต่างให้ความร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูมอย่างพร้อมเพียงกัน 3. การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูมจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วน ร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ไม่ต่างกัน มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานของการ ศึกษาวิจัย ที่ตั้งไว้ อายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษาวิจัย ที่ตั้งไว้ วิจารณ์ผลการวิจัย 1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศองค์การบริหารส่วน ตาบลวัดตูม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้าน การอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติ ด้านการทาให้ระบบนิเวศน์ยั่งยืน ด้านการ ศึกษาสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศน์ ด้าน การให้ชุมชนมีรายได้ ด้านการให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กษมา ประจง (2546) ทาการศึกษาเรื่อง ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนกรณีศึกษาชุมชนบ้านศรีฐาน ตาบลศรีฐาน อาเภอภูกระดึง จังหวัดเลย พบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจด้านบวก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน การยกมาตรฐานการครองชีพ และลดภาวะการว่างงานผลกระทบด้านลบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่ แน่นอน ปัญหาค่าครองชีพปัญหาการแบ่งปัน สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ เตชะเอราวัณ (2544) ได้ทาการ ศึกษาเรื่อง การจัดการธุรกิจบ้านพักแบบชุมชนมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาบ้านแม่กาปอง กิ่งอาเภอแม่ออน จังหวัด เชียงใหม่ พบว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของหมู่บ้านแม่กาปองมีศักยภาพและความพร้อมอยู่ในระดับดีทั้งในด้านสิ่ง ดึงดูดใจ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก และความสามารถในการเข้าถึง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทองยุ่น บุตรโสภา (2547) ทาการศึกษาเรื่อง การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาท่าด่านโฮมสเตย์ ตาบลหินตั้ง อาเภอเมืองจังหวัดนครนายก พบว่า ชุมชนมีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และมีปัจจัยภายในของ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชน ได้แก่ การสร้างบรรยากาศให้เกิดความอบอุ่นแก่นักท่องเที่ยว การ

535


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

บริการ และโปรแกรมการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการจัดการการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์โดยชุมชน 2. การเปรียบเทียบระดับการมีส่ วนร่วมของประชาชนในการบริหารจั ดการการท่ องเที่ ยวเชิ ง นิเวศน์ขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านประกอบไปด้วย ข้อที่ 3. องค์การ บริหารส่วนตาบลวัดตูม ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้การวางแผน การพัฒนา การจัดการด้านท่อง เที่ยวในพื้นที่ให้ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างจริงจังและทั่วถึง ข้อที่ 5. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม เป็นที่ยอมรับของชุมชนในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนา ศักยภาพ คุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวให้สิ่งแวดล้อมคงอยู่ ไม่ได้รับความเสียหาย ข้อที่ 8. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ อย่างมีความหมาย จะช่วยดึงดูดผู้คนที่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมให้ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีสานึกให้กิจกรรมใน แหล่งท่องเที่ยวอยู่ได้อย่างยั่งยืน ข้อที่ 12. ประชาชนต้องการให้ องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ส่งเสริมให้ชุมชนมี รายได้ ตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และข้อที่ 15. ประชาชนในชุมชน ต้องการให้องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม มีการพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ และให้เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวตามความคาดหวังที่เป็นจริง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อมรา จารูญ สิริ (2545) ทาการศึกษาเรื่อง การท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตาบลหนองบัว อาเภอภูเรือ จังหวัดเลย ผลการวิจัย พบว่า หลังจากที่ภูเรือได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป ด้านเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง อาชีพมีอาชีพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตจากการผลิตเพื่อยังชี พ เป็นการผลิตเพื่อขาย การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมพบว่า การปกครองมีระเบียบแบบแผนดาเนินการโดยคณะกรรมการ ตามลาดับสอดคล้องกับงานวิจัยของ สิรินยา วัฒนสุขชัย (2545) ทาการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้านกับ ผู้มาเยือน กรณีศึกษาหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านทรงไทยปลายโพงพาง อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า การท่องเที่ยวนามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม กับชุมชนโดยรวม สอดคล้องกับงานวิจัยของ พนิตตา สิงห์ครา (2544) ทาการศึกษาเรื่อง ศักยภาพของชุมชนบ้ าน ห้วยฮี้ ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แบบโฮมสเตย์ พบว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แบบโฮม สเตย์ คือ การ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่นักท่องเที่ยวจะพักแรมในชุมชนเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนแห่ง นี้ส่วนใหญ่ดาเนินธุรกิจท่องเที่ยวประมาณ 3-4 ปี สามารถสร้างรายได้ ให้แก่สมาชิกระหว่าง 200-600 บาทต่อเดือน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุดในแต่ละด้านประกอบไปด้วย ข้อที่ 2.ประชาชน เขตพื้นที่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม มีส่วน ร่วมและรับรู้การวางแผน การพัฒนา การจัดการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยอยู่บนพื้นฐาน การอยู่กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ข้อที่ 6. ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ยอมรับ การพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ทาให้สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมคงอยู่ ไม่ได้รับความเสียหาย ข้อที่ 9.องค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม ต้องส่งเสริมความรู้ ความ เข้าใจ และมีสานึกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมทั้งร่วมกิจ กรรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ข้อที่ 11.ประชาชนในท้องถิ่น ให้ความร่วมมือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เช่น การให้ ความรู้ ให้บริการ ให้ความสะดวก และขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งก่อให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่น ข้อที่ 13. ประชาชนมี “ความพึงพอใจ” ต่อข้อมูลการท่องเที่ยวฯที่ถูกต้อง พอใจกับการจัดประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เหมาะสม ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ของ ระพีพรรณ ทองห่อ และคณะ (2545) ทาการศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทาง

536


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นผลจากการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน พบว่า การท่องเที่ยวทาให้เกิด การเปลี่ ย นแปลงด้ า นสั งคมและวั ฒ นธรรมน้ อ ยมากส าหรั บ การเปลี่ ย นแปลงทางด้ า นเศรษฐกิ จ พบว่ า มี ก าร เปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนกว่าด้านอื่น ๆ กล่าวคือ ผลจากการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านทาให้ประชาชนมีรายได้ เพิ่มมากขึ้น มีอาชีพหลากหลายมากขึ้น นอกเหนือจากการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียว สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุวณี ทรัพย์พิบูลย์ผล (2544) ทาการศึกษาเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์กับการ เปลี่ยนแปลงของชุมชนปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) บ้านแม่กลางหลวงและบ้านอ่างกาน้อย อุทยานแห่งชาติดอยอิน ทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โครงสร้างหลักทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนกะเหรี่ยง มิได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นัก แต่ได้มีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน ชุมชนยังคงไว้ซึ่งระบบการผลิตแบบ เลี้ยงตนเอง และคงความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน มีความสามัคคีช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี ซึ่ง แม้ว่าชุมชนจะมีการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาไปแล้ว แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งระบบคุณค่าของการเคารพต่อธรรมชาติซึ่ง มีสิ่งเหนือธรรมชาติควบคุมได้วิจารณ์ ข้อเสนอแนะ ด้านการทาให้ระบบนิเวศน์ยั่งยืน มีค่าเฉลี่ย 3.87 มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดจากทั้ง 4 ด้าน ควรมีการประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างทั่วถึง / ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง / ควรมีการประเมินผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์เพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณนายกองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม พนักงาน ลู กจ้างขององค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม และประชาชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลวัดตูม เอกสารอ้างอิง กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2537). การพัฒนาชนบทเพื่อการกระจายอานาจ:กรณีศึกษาขององค์การชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาตนเองของชนบท. กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์. กองวิชาการและแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). แผนยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน.พ.ศ.2551-2554 . บริษัทราไทยเพรส จากัด. กรุงเทพมหานคร. จีรศักดิ์ ปาลีพงศ์พันธุ์. (2545). วิเคราะห์ความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ฉัตรทิพย์นาถสุภา. (2529). แนวคิดการพัฒนาแบบพึ่งตนเองบ้านกับเมือง. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ สร้างสรรค์จากัด.

537


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ชิดชยางค์ ยมาภัย. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบการดาเนินงานกลุม่ ออมทรัพย์ชุมชน : ศึกษากรณีกลุ่มออม ทรัพย์ในเขตพื้นที่อาเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. ฑีระวัฒน์ จตุรโยธิน. (2552). การประเมินโครงการเศรษฐกิจชุมชนของตาบลไผ่เขียว อาเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประพันธ์ ผาสุกยืด. (2541). ทางเลือก ทางรอด. กรุงเทพมหานคร:เอเอาร์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับบลิเคชั่นทิชี่.โนเอล เอ็ม. (2542). กลไกสร้างภาวะผู้นา (ทรงวิทย์ เขมเศรษฐ์ แปล). กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี. ดารณี รักดี. (2540). การพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่ออาชีพในชุมชนชนบทพึ่งตนเอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต ภาควิชาสารัตถศึกษา บัญฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทศพล กฤตยพิสิฐ. (2538). การมีส่วนร่วมของกานันผู้ใหญ่บ้าน เขตหนองจอกทีม่ ีต่อโครงการกิจกรรมการ พัฒนาตามแนว “บวร” และ “บรม” เพื่อสร้างอุดมการณ์แผ่นดินทองหนองจอก. วิทยานิพนธ์ สงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์(บรรณธิการ). (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภาการพิมพ์. ธร สุนทรายุทธ. (ม.ป.ป.) หลักการและทฤษฎีทางบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพาคณะศึกษาศาสตร์. นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรมการพัฒนาชุมชน. บริษัทราไทยเพรส จากัด. กรุงเทพมหานคร. นเรศ สงเคราะห์สุข. (2541). จากแนวคิดสู่การปฏิบัต.ิ สานักงานโครงการพัฒนาที่สูงไทยเยอรมัน : เชียงใหม่. รสนา โตสิตระกูล. (2524). คาตอบอยู่ที่หมู่บ้าน.กรุงเทพมหานคร : แสงรุ้งการพิมพ์. สานักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2552). แผนกับการ พัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. บริษัท บพิธการพิมพ์ จากัด. สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ผู้จัดการ สุมาลี พุ่มภิญโยและคณะ. (2545). สถานการณ์ด้านการผลิต การตลาดโอกาสทางการตลาด และกลยุทธ์ทาง การตลาดของสินค้าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภายใต้โครงการหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา ดอกไม้ประดิษฐ์ จังหวัดนครราชสีมา และอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ. (2543). “การจัดทายุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองจังหวัดเลย (พ.ศ. 2542– 2544).” วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 13 (2) พ.ค. – ส.ค. : 79-84. อภิชัย พันธเสน. (2539). แนวคิดทฤษฎีและภาพรวมของการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง (มหาชน). Bass.B.M. (1998). Transformational leadership: lndustial. Military.and edncational impact. Mahwah. NJ : Lawrence Erlbaum associates. Blatchford E. (1994). Working Together for Community Economic Development in RuralAlaska. Economic Development Review. 12(1) : 41-45.

538


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Hersey, P.B., & Blanchard,K.H. (1982). MAanagement of organizational behavior:Utilizing human resources. Strauss,G. & Sayless,R.L. (1960). Personal:The human problem of management. New York: Prentice-hall. Tennenbaurn, R. (1959). Leadership and organization: A behavior sclence opproach. New York: MoGraw-Hill. Yuki,G.A. (1989). Leadership in organization. New York : Prentice-Hall.

539


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 HSBO-19

การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตจังหวัดนครราชสีมา THE POLITICAL PARTICIPATION AFFECTING DEMOCRATIZATION IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE. ธารา เจริญรัตน์1 ประกอบ คงยะมาศ2 1

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ประจาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต 2 รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต อาจารย์ประจาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยใน เขตจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยใน เขตจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเสนอ แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยของประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา ใน การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีดาเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จานวน 400 คน เลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการพัฒนาประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์ไป ทิศทางเดียวกันในระดับมาก มีค่า r = .905 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 และมีตัวแปรต้นจานวน 5 ตัว แปรมีอิทธิพลพยากรณ์ ตัวแปรตามการพัฒนาประชาธิปไตยที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 ประกอบด้วย ความ สนใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการบริหาร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการประท้วง คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมทางการเมือง การพัฒนาประชาธิปไตย Abstract This research was aimed to; 1) study the Political Participation and Democratization in Nakhon Ratchasima Province. 2) study the relationship of Political Participation and Democratization in Nakhon Ratchasima Province, and 3) to propose for Democratization development in Nakhon Ratchasima Province. The research employed A Quantitative Research. The sample populations were 400 including persons older than 18 years olds in Nakhon Ratchasima Province. The populations were selected using stratified random sampling and simple random techniques. The research findings revealed that the relationship between participative management and the performance effectiveness were correlated in the same direction (r=0.741) at 0.01 level

540


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

of significance. The 5 factors influencing democratization of political participations in Political interest, election , administration, protest, and political activity. Keywords : Political Participation, Democratization. บทนา การพัฒนาประชาธิปไตย เป็นการพยายามแก้ไขปัญหาความอ่อนแอของระบอบประชาธิปไตย ด้วยการ ทาให้เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิมแทนที่จะหาหนทางออกด้วยการยกเลิกประชาธิปไตย เช่น การ รัฐประหาร (ธเนศ วงศ์ยานนาวา. 2555) กระบวนการประชาธิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตยให้ มั่นคงได้นั้น สิ่ง ที่สาคัญที่สุดก่อนอื่น คือการเป็นรัฐเอกราช เพราะประชาธิปไตยเป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองรัฐแล้วต้องมี เงื่อนไขที่ควบคุมซึ่งกันและกันและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Interconnected and Mutually Reinforcing Conditions) (Linz & Stepan. 1998) การพัฒนาประชาธิปไตยจะให้สังคมกลายเป็นสังคมการเมือง (Political Society) ที่เข้มแข็ง (วิสุทธิ์ โพธิแท่น. 2550) ซึ่งหนทางหนึ่งที่จะทาให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นก็คือการมีส่วนร่วม ทางการเมือง (Political Participation) เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ คนสามารถ ตัดสินใจชะตาชีวิตของตนเองได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงกิจกรรมทางการเมืองในสังคมซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล กิจกรรมทาง การเมืองเหล่านี้ คือ กระบวนการทางการเมืองซึ่งจะนาไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ประชาชน (อนุสรณ์ ลิ่มมณี, 2553) และการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมของประชาชนแต่ละบุคคลที่มีความมุ่งหมายเพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้มีความชอบธรรมในการตัดสินใจแบ่งสรรสิ่งที่มีคุณค่าซึ่งมีอยู่อย่างจากัดในสังคมทั้งนี้ไม่ ว่าการกระทานั้นจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่และการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นอาจเป็นไปด้วยความสานึกของตนเอง หรือถูกชักจูงให้เข้าร่วมก็ได้ (Huntington & Nelson. 1982 ) การวิจัยครั้งนี้มีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม (Independent variables; IV) (Dependent variables; DV)

1. 2. 3. 4. 5.

การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสนใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการบริหาร การมีส่วนร่วมในการประท้วง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง

การพัฒนาประชาธิปไตย 1. 2. 3. 4.

เสรีภาพ สิทธิทางการเมือง ความเสมอภาคทางการเมือง ความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตจังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตจังหวัด นครราชสีมา 3. เพื่อเสนอ แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยของประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา

541


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีขั้นตอนการดาเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) การออกแบบการวิจัย 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4) การตรวจสอบและหาคุณภาพ เครื่องมือ 5) การเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and Samples) ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในจังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น จานวน 1,052,406 คน (http//th.wikipedia.org/wiki/สมาขิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สาหรับการวิจัย ได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในจังหวัดนครราชสีมา จานวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น(พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2547) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research Tool) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน ในส่วนที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบปลาย ปิด(closed form) ส่วนที 2 ส่วนที่ 3 เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบมาตราส่วนแบบลิเคอร์ท (likert scale) ตามแนวคิดของ Likert (1961) และส่วนที่ 4 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดสาหรับการแสดงความคิดเห็น ทั่วไปและข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมรส และตาแหน่ง ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประกอบด้วย ความสนใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการบริหาร การมีส่วนร่วมในการประท้วง และการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางการเมือง จานวน 25 ข้อ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้าน เสรีภาพ ด้านสิทธิทางการเมือง ด้านความเสมอภาคทางการเมือง และด้าน ความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย จานวน 20 ข้อ ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป การตรวจสอบและหาคุณภาพเครื่องมือ (Instrument Measurement) 1. การหาความตรงเชิ งเนื้ อหา (content validity) ผู้วิจัย นาเครื่องมือที่ ใช้ใ นการวิจัย ได้แ ก่ แบบสอบถาม ตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและภาษาเมื่อตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนาข้อคิดเห็นมา ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะหลังจากนั้นผู้วิจัยนาแบบสอบถามมาหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าแบบสอบถามมีดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index : CVI) เท่ากับ 0.87 2. การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยใช้วิธีการทดสอบความตรง ตามแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อทดสอบค่าสถิติ Barlett’s test of sphericity และค่าดัชนีไกเซอร์ -ไมเยอร์ ออลคิน (Kaiser-Meyer-Olkin Measures of Sampling Adequacy: KMO) และหาค่าExtraction communalities ได้ค่าBartlett’s test มีนัยสาคัญทางสถิติที่ น้อยกว่า 0.05 (Sig. < 0.05) ค่า KMO มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5-1.0 และค่า Extraction communalities มีค่าอยู่ ระหว่าง.5-1.0

542


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนาแบบสอบถามไปทดลองใช้กับประชาชนที่ มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในจังหวัดบุรีรัมย์ จานวน 30 ชุด หลังจากนั้นนาแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.875 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ผู้วิจัยทาหนังสือถึงกานัน จานวน 289 ตาบล ในเขต 32 อาเภอของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อชี้แจง วัตถุประสงค์การวิจัยและขออนุญาตดาเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง และให้ผู้ช่วยคณะผู้วิจัยติดตามเพื่อรับคืนแบบสอบถามในระหว่างเดือน มีนาคม 2559 ถึง เดือน มิถุนายน 2559 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างได้แก่อายุเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และตาแหน่ง วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ความถี่ ร้อยละ ข้อมูลส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้อต้นเพื่อหาระดั บความ คิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่การหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ใน การวิ เ คราะห์ โ ครงสร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ งและการพั ฒ นาประชาธิ ป ไตย โดยสถิ ติ เ ชิ งอ้ า งอิ ง ได้ แ ก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 3) การวิเคราะห์อิทธิพลเพื่อให้ทราบว่าตัวแปรซึ่งเป็นเหตุมีอิทธิพลต่อตัวแปรซึ่ง เป็นผลในลักษณะใดโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ข้อมูลส่วนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ การมีส่วนร่วม ทางการเมืองและแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตย ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.50 มีอายุระหว่าง 20– 30 ปี ร้อยละ 26.51 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 34.20 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 73.34 เป็น นักธุรกิจ/ค้าขาย ร้อยละ 43.25 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการ ดาเนินงานของเทศบาลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยรองลงมา (ตารางที่ 1และตาราง ที่ 2) ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนา ประชาธิปไตย (n=400) ตัวแปร(Variables) 1. การมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. การพัฒนาประชาธิปไตย

X

4.62 4.51

543

สถิติและการแปลความหมาย S.D. ความหมาย .25 มากที่สุด .27 มากที่สุด


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. ผลการวิ จั ย ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข้ อ ที่ 2 พบว่ า 1การมี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ งและการพั ฒ นา ประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกันในระดับมาก r= 0.905 อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์(Pearson Correlation) ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการ ดาเนินงานของเทศบาล (n = 277) ตัวแปร (Variables) การมีส่วนร่วมทางการเมือง การพัฒนาประชาธิปไตย

การมีส่วนร่วมทางการเมือง 1.000 0.905**

การพัฒนาประชาธิปไตย 0.905**

หมายเหตุ ** P.<0.01 ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์หรือทานายอิทธิพลของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรการมีส่วนร่วมทางการเมือง จานวน 5 ตัวแปร มี อิทธิพลพยากรณ์ตัวแปรตามการพัฒนาประชาธิปไตย ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 เรียงตามลาดับอิทธิพล พยากรณ์ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการบริหาร การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทาง การเมือง การส่วนร่วมในการประท้วงและความสนใจทางการเมือง (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 ทดสอบอิทธิพลพยากรณ์ตัวแปรต้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย (n=400) ตัวแปรพยากรณ์ (Predict Variables)

คะแนนดิบ (B)

ค่าคงที่ (Constant) .062 ความสนใจทางการเมือง .144 การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง .662 การมีส่วนร่วมในการบริหาร .769 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง -.443 การมีส่วนร่วมในการประท้วง -.115 2 2 R = .976 R = .953 R Adj = .952 F = 1600.166 Sig. 000

ความคลาด เคลื่อน มาตรฐาน(Ste) .055 .021 .038 .020 .032 .020

คะแนน มาตรฐาน(β)

ผลทดสอบ (t)

นัยสาคัญ (Sig.)

.119 .737 .860 -.516 -.129

1.128 5.432 17.326 38.067 -13.636 -5.674

.000 .000 .000 .000 .000 .000

หมายเหตุ P<0.05 ตัวแปรตามคือการพัฒนาประชาธิปไตย 4. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เสนอแนวทางการพัฒนา ประชาธิปไตยในอนาคตว่า การการพัฒนาประชาธิปไตย ในระบบสังคมประชาธิปไตยประชาชนภายใต้การปกครอง ควรจะมีความเสมอภาคทางการเมือง มีความเท่าเทียมกันในการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอาเภอใจ หรือ อานาจของตัวบุคคล จะต้องคานึงถึงความเป็น ธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและรวดเร็วด้วย สอดคล้องที่ Georg (1998) ได้เสนอไว้ และในระดับ ภาครัฐนั้น จะต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่ใช้ในการบริหารจัดการร่วมกันภายในภาครัฐ ส่วนใน

544


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ระดับองค์การ/หน่วยงานนั้นจะต้องปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ใช้ในการบริหารและการดาเนินงาน รวมทั้งข้อตกลงใน การสับเปลี่ยนหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ดังที่ Mill (1861) เสนอไว้ ขณะเดียวกันเสรีภาพก็เป็นสิ่งสาคัญ พลเมือง จะต้องมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมทางการเมืองและทุกคนมีอิสระบนพื้นฐานของความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิทุก ประการในการแสดงออกของตนทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยมิให้ผู้อื่นเดือดร้อนและไม่ขัดต่อกฎหมายซึ่ง เป็นหลักพื้นฐานในการได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพที่ถูกต้องชอบธรรม (ชัยอนันต์ สมุทวณิช , 2554) รัฐบาลจะต้อง รับผิดชอบและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยยึดหลักนิติธรรมอันกาหนดสิทธิเสรีภาพโดยอิสระ ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยมีการยึดถือหลักนิติธรรม (Rule of Law)ที่มีอยู่อย่างแน่นเหนียวในวัฒนธรรมของ สังคมเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นตัวของตัวเองและความเป็นอิสระของประชาสังคมและสังคมการเมือง (วิสุทธิ์ โพธิแท่น, 2550) ประชาชนต้องมีเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง(Cor Van, 2007) การพัฒนาประชาธิปไตย จะต้ อ งให้ ค วามส าคั ญ กั บ การบั งคั บ ใช้ ก ฎหมายรั ฐ ธรรมนู ญ ให้ ถู ก ต้ อ งชอบธรรม (Legitimacy) การสร้ า ง ประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น มิใช่การสร้างการปกครองหรือการบริหารเป็นหลัก เราต้องเน้นการปกครองท้องถิ่นที่ โปร่งใส (transparency) และความถูกต้องชอบธรรม (legitimacy) ในการบริหารการปกครอง สร้างประชาชนให้ เข้ามีส่วนร่วมโดยตรงด้วยความเสียสละและความรับผิดชอบ(อเนก เหล่าธรรมทัศน์. 2552) สรุปผลการวิจัย การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีองค์ประกอบที่สาคัญ ประกอบด้วย ความสนใจทางการเมือง การมีส่วน ร่วมในการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการบริหาร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการ ประท้วง การมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.62, S.D. = .25) โดยมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายข้อตามลาดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย อันดับแรก คือ การมีส่วนร่วมในการประท้วงมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( X =4.66, S.D. = .30) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการบริหาร ( X = 4.62, S.D. = .31) ความสนใจทาง การเมือง( X = 4.61, S.D. = .29) การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ( X =4.61, S.D. = .30) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ( X =4.61, S.D. = .32) การพัฒนาประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.62, S.D.=.27770) โดยเมื่อแยก พิจารณาเป็นรายข้อตามลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านความเสมอภาคทางการเมืองมีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด ( X =4.63, S.D.=.29) รองลงมา คือ ด้านเสรีภาพ ( X =4.62,S.D.=.29) ด้านสิทธิความเท่าเทียมกันทาง การเมือง ( X = 4.61, S.D.=.41) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุดคือ ด้านความชอบธรรมทางกฎหมาย ( X = 4.60, S.D. = .34) วิจารณ์ผลการวิจัย การมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านการส่วนร่วมในการประท้วง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ตามความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ในเขตพื้นที่จังหวัด นครราชสีมา เป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ได้ถึง ความสาคัญของการมีส่วนร่วมในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น การชุ มนุม เคลื่ อนไหวทางการเมือง ในระบบสังคมประชาธิปไตยประชาชนมี สิทธิ และเสรี ภาพที่จะชุมนุ มและ เคลื่อนไหวทางการเมืองได้ทั้งในทางสนับสนุนและคัดค้านการกระทาของรัฐบาลการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง ถือว่าเป็น การแสดงออกซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมือ งที่สาคัญในระบอบประชาธิ ปไตยทั้งนี้ เพื่อให้รั ฐบาลรู้ว่ า

545


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย (สมบัติ ธารงธัญวงค์. 2554)ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหาร มีค่าเฉลี่ยรองลงมา ตามความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ชี้ให้เห็นว่า การมีส่วน ร่วมในการจัดประชาคมเพื่อเสนอปัญหาและความต้องการต่อรัฐบาล การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกาหนด นโยบายต่างๆของรัฐบาล การเสนอแผนงานโครงการให้รัฐบาลดาเนินการ การมีส่วนร่วมการจัดสรรทรัพยากรให้กับ ชุมชน การมีส่วนร่วมในการติดตามการทางานหรือการบริหารงานของรัฐบาล การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตามขั้นตอนการใช้จ่ายงบประมาณต่าง ๆ มีความสาคัญอย่างยิ่ง ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ตาม ความคิดเห็นของของกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ใดเลย เช่น ไม่สนใจพูดคุยเรื่องการเมือง ไม่สนที่จะไปเลือกตั้ง ไม่เคยพยายามพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นไปเลือกผู้ที่ตน สนับสนุนร่วมประชาสัมพันธ์ทางการเมือง ไม่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้นาทางการเมือง ไม่เคยบริจาคเงิน สิ่งของช่วยเหลือพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไม่สนใจไปร่วมการประชุมฟังการหาเสียงแนะนาตัวหรือการ ชุมนุมทางการเมือง ไม่สนใจการรณรงค์หาเสียงต่างของพรรคการเมือง ไม่เคยเข้าร่วมดาเนินกิจกรรมสาธารณะ ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยที่พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยมี ความสัมพันธ์ไปทิศทางเดียวกันในระดับมาก มีค่า r = .905 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้วิจัยเห็นว่า การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นจะให้ประชาธิปไตยได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การพัฒนาประชาธิปไตยจึงจาเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัย ขอขอบพระคุณที่ได้ให้โอกาสในการพัฒนางานวิจัยนอกจากนั้นงานวิจัยเรื่องนี้สาเร็จลุล่วงได้ เนื่องจากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากกานันทุกตาบลในเขตจังหวัดนครราชสีมาที่กรุณาประสานกลุม่ ตัวอย่าง ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และขอบคุณกลุ่มตัวอย่างทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม เอกสารอ้างอิง ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). จากรัฐชาติสู่รัฐตลาด: แนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและสังคมในยุคโลกานุวัตร. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์. ถวิลวดี บุรีกุล และวิศิษฐ์ ชัชวาลทิพากร. (2551). ทศธรรม: ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แก่นจันทร์. ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2555). ฐานความคิดของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพฯ: โรงพิพม์เฮาสออฟเคอรมีสท. วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. สมบัติ ธารงธัญวงศ์. (2554). การเมือง: แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์เสมาธรรม. อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2553). รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลง : พิจารณาในเชิงอานาจ นโยบายและเครือข่าย ความสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

546


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). แปรถิ่นเปลี่ยนฐาน:สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น กรุ๊ป. Cor Van, B. (2007). Bureaucracy and Democratic Development in Asia and Latin America. N.J.: Princeton University Press. Georg, S. (1998). Democracy and Democratization: Processes and Prospects in a changing World. (2nd) (Ed.). Boulder : Westview Press. Huntington, S.P., & Nelson, J.M. (1982). No Easy Choice : Political Participation In Developing Country . London: Havard University. Jeremy, J. & Nicholas, R. (2005). “Democratic Development in Oman” in the middle east Journal. 59(3) (2005, Summer), ABI/INFORM Complete. Likert, R. (1961). New Patterms of Management. New York: Mcgraw-Hill Book Company Inc. Linz, J., & Stepan, A. (1998). Comparative Government and Politics : An Introduction. London : Macmillan. Mill, J.S. (1861). The Retum of Civil Society: The Emergence of Democratic Spain. n.a: Harvard University Press. http//th.wikipedia.org/wiki/สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา.

547


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-20 ความสามารถในการบูรณาการความรู้และความสาเร็จขององค์กร : สานักงานบัญชีในประเทศไทย ACCOUNTING KNOWLEDGE INTEGRATION CAPABILITY AND FIRM SUCCESS: ACCOUNTING FIRMS IN THAILAND พิทยา ผ่อนกลาง1, บัลลังก์ จงวัฒนานุกูล2 1 2

อาจารย์ประจาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล อาจารย์ประจาหลักสูตรการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบความสามารถในการบูรณาการความรู้และความสาเร็จ ขององค์กร มีตัวแปรต้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การเรียนรู้ของพนักงาน และ การแลกเปลี่ยนความรู้ การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้จั ดการของสานักงานบัญชีในประเทศไทยจานวน 104 สานักงาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้ Ordinary Least Squares (OLS) regression analysis ผลการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ของพนักงานมีผลกระทบเชิงบวกกับความสามารถในการบูรณาการความรู้และความสาเร็จขององค์กร นอกจากนี้ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสาเร็จขององค์กร งานวิจัยในอนาคต อาจดาเนินการเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างออกไปเพื่อสามารถนาผลการวิจัยนี้ไปใช้กับกลุ่มประชากรกลุ่มอื่นได้ รวมทั้ งอาจน าวิ ธี ก ารวิ จั ย แบบอื่ น ๆ เช่ น การสั ม ภาษณ์ เ ชิ งลึ ก และกรณี ศึ ก ษา เพื่ อ น าผ ลการวิ จั ย มายื น ยั น ความสัมพันธ์ทั้งหมดของโมเดลนี้ คำสำคัญ : ความสามารถในการบูรณาการความรู,้ การแลกเปลี่ยนความรู้ Abstract The purpose of this study is to examine the effects of accounting knowledge integration capability on firm success. Executive vision, employee learning and knowledge exchange are hypothesized to become the antecedents of accounting knowledge integration capability. The questionnaire is used as an instrument for data collection and the accounting executive is the key informant. Data were collected from a sample of 104 accounting firms in Thailand are the sample of the study. The Ordinary Least Squares (OLS) regression analysis is a method for testing the hypotheses. The results reveal that employee learning has a significant positive effect on accounting knowledge integration capability. In addition, accounting knowledge integration capability has a significant positive effect on firm success. The future research could be conducted on different samples on a larger scale to widen the generalizability of its findings. Furthermore, future study needs to develop other methods which may be applied in the future such as in-depth interview, case studies in order to confirm all relationships of this model. Keywords : Accounting Knowledge Integration Capability, Knowledge Exchange

548


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

บทนา ในปัจจุบันองค์กรทุกองค์กรให้ความสาคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge management) ซึ่งเป็น ปัจจัยสาคัญที่ส่งผลให้องค์กรทุกองค์กรประสบความสาเร็จโดย Liu Tc and Chen CS, 2004 ได้เสนอว่าการจัดการ ความรู้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ส าหรั บ การรั ก ษาข้ อ มู ล ที่ จ ะช่ ว ยให้ อ งค์ ก รสามารถท างานได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพส่ ว น Venkatraman and tanriverdi 2004 ได้เสนอกระบวนการของความสามารถการจัดการความรู้ในองค์กรประกอบ ไปด้วย การสร้าง การถ่ายโอน การบูรณาการ และการนาไปใช้ ส่วน menon and varadarajan, 1992 ได้เสนอ ว่า หากกิจการมีความสามารถในการบูรณาการความรู้จะส่งผลให้องค์กรเกิดศักยภาพในการปฏิบั ติงานซึ่งจะทาให้ องค์กรประสบความสาเร็จได้ การบูรณาการ หมายถึง กระบวนการดึงความรู้ส่วนย่อยหรือในทุกส่วนงานมาเป็น ส่วนเดียวกัน เมื่อองค์กรมีการบูรณาการที่ดี จะส่งผลให้พนักงานมีความเข้าใจการปฏิบัติงาน ผู้บริหารเข้าใจบทบาท หน้าที่ตนเอง รวมถึง หากเกิดปัญหาหรืออุป สรรคในการปฏิบัติงานจะถูกดาเนินการแก้ไขได้โดยง่ายและรวดเร็ว Sarin and McDermott, 2003 ได้ระบุว่าการเรียนรู้ของพนักงานจะถูกกาหนดว่าเป็นความพยายามที่จะได้รับ ข้อมูลใหม่ ๆ ที่พัฒนาและรักษาความสามารถในการปฏิบัติงานภายในองค์การได้รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ของพนักงานแต่ละคนซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Wijnhoven, 2001 นอกจากนี้การสร้างให้องค์กรตระหนักถึง การบู รณาการความรู้ เพื่อ ให้องค์กรประสบความสาเร็จในการดาเนินงานนั้น ขึ้นอยู่ กับภาวะผู้ นาวิ สัยทัศ น์ของ ผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย Strand;2011 สานั กงานบัญชี เป็ นธุ รกิ จที่ใ ห้บ ริก ารในการจัด ทาบั ญชี ซึ่ งบุ คลากรในสานั กงานบัญ ชีต้อ งมี ความรู้ ความสามารถและมีการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันกับมาตรฐานการบัญชีที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยสานักงาน บัญชีถือเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการถ่ายทอดความรู้ระหว่างพนักงาน มีร ะบบพี่เลี้ยงในการดูแลบุคลกรใหม่ เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ งานเป็ น ไปด้ว ยดี ทั้ งนี้ ส านั ก งานสอบบั ญ ชีใ นปั จ จุ บั นเป็ น องค์ก รแห่ งการเรี ย นรู้ ในระดั บ สู ง เนื่ อ งจากการปฏิ บั ติ ง านทางด้ า นการสอบบั ญ ชี ต้ อ งอาศั ย ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ที ม งานที่ มี ประสิทธิภาพ (อนุธิดา เตียวไพบูลย์ และ ดร.นนทวรรณ ยมจินดา. 2559) ในส่วนของทฤษฏีที่ใช้ในการสนับสนุนความสามารถในการบูรณาการความรู้และความสาเร็จขององค์กร์ คือทฤษฎีพื้นฐานทรัพยากร (Resource based View: RBV) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการที่กิจการได้ให้ความสนใจใน เรื่องทรัพยากรในองค์กร การที่องค์กรจะได้เปรียบเชิงการแข่งขันนั้น องค์กรควรพิจารณาถึงทรัพยากร (resource) และความสามารถ (capabilities) ที่มีอยู่ แทนที่จะพิจารณาในการแข่งขันด้านต้นทุนกับตัวผลิตภัณฑ์ให้เกิดความ แตกต่างจากคู่แข่งขันแต่จะให้ความสาคัญกับการพัฒนาและทาการวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมภายนอก ในขณะที่ Barney. 1991 ได้มีแนวคิดถึงทรัพยากรว่าหมายถึง สินทรัพย์ (Assets) ความสามารถ (capabilities) กระบวนการในการทางานองค์กร (organization process) เอกลักษณ์หรือคุณสมบัติของธุรกิจ (firm attributes) ข้อมูลสารสนเทศ (information) ความรู้ (Knowledge) ซึ่ง ทรัพยากรเหล่านี้องค์การสามารถใช้ประโยชน์และสามารถควบคุมได้ จากงานวิจัยที่ผ่านมา มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการบรูรณาการความรู้จานวนมากในบริบทที่ แตกต่างกัน รวมไปถึงปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการบูรณาการความรู้ โดยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบอย่างไรกับ ความสาเร็จขององค์กร จึงนามาสู่คาถามการวิจัยที่ว่า ความสามารถในการบูรณาการความรู้มีผลกระทบต่อควา สาเร็จของสานักงานบัญชีอย่างไร

549


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการบูรณาการความรู้ 2. เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการบูรณาการความรู้และความสาเร็จขององค์กร ดังนั้น จากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยเชื่อว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การเรี ยนรู้ของ พนักงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการบูรณาการความรู้ได้ และส่งผลต่อความสาเร็จ ขององค์กร จึงนามาสู่สมมติฐานดังนี้ สมมติฐานที่ 1: วิสัยทัศน์ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ สมมติฐานที่ 2: การเรียนรู้ของพนักงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ สมมติฐานที่ 3: การแลกเปลี่ยนความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ สมมติฐานที่ 4: ความสามารถในการบูรณาการความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสาเร็จขององค์กร จากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยในอดีตและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปเป็น กรอบแนวคิดในการวิจัยได้ดังนี้

วิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร

การเรียนรู้ ของพนักงาน การแลกเปลี่ยน ความรู้

H1 (+)

H2 (+)

ความสามารถใน การบูรณาการความรู้

H4 (+)

ความสาเร็จของ องค์กร

H3 (+)

วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง งานวิจัยนี้มีกลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ สานักงานบัญชีในประเทศไทย จานวนทั้งสิ้น 724 บริษัท จากฐานข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ฐานข้อมูล ประเทศไทย (18 มีนาคม 2559) จากการ คานวณหาขนาดของตัวอย่าง (Sample size) ตามวิธีของ Taro Yamane (1973) ซึ่งกาหนดความเชื่อมั่น 95% ค่า ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 พบว่าจานวนข้อมูลที่ต้องเก็บมีจานวน 258 ราย ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มตัวอย่าง อย่าง เป็นระบบ (Systematic Random Sampling) โดยแบบสอบถามที่ได้รับการตอบกลับและสมบูรณ์มีจานวน 104 ราย ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้จัดการฝ่ายบัญชีของสานักงานบัญชีแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการความรู้ได้เป็นอย่างดี

550


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ตอน ข้อคาถามที่ใช้ แสดงความคิดเห็นเป็นแบบ 5 ระดับ ในแต่ละตัวแปรจะประกอบไปด้วย 4 ข้อคาถาม รวมจานวนทั้งสิ้น 20 ข้อ คาถามที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม 2. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีขั้นตอนดังนี้ (1) การหาความเที่ยงตรง (Validity) โดยการ นาแบบสอบถามฉบับร่าง เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ข้อ (2) การหาความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยนาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดสอบ (Pre Test) โดยการทดลองใช้ (Try - Out) แบบสอบถามกับผู้จัดการของสานักงานที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 ชุด เพื่อหาข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในแบบสอบถาม และนาแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์หาความเชื่อถือได้ของ แบบสอบถาม โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แ อลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient Alpha) ได้ค่าความ เชื่อถือได้ของทุกตัวแปรทุกตัว อยู่ระหว่าง 0.825 – 0.872 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการของสานักงานบัญชีใน ประเทศไทย จานวน 258 คน โดย (1) ขอหนังสือจากมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือ จัดการของสานักงานบัญชีในประเทศไทย (2) นาแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้วผู้วิจัยได้ดาเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมทั้งจัดส่งทางไปรษณีย์ให้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยส่งแบบสอบถามตามที่อ ยู่ของ สานักงานบัญชีในประเทศไทย และแนบซองจดหมายตอบกลับไปพร้อมกับแบบสอบถาม แล้วทาการติดตามทวง ถามโดยส่งไปรษณียบัตรอีกครั้งเพื่อให้ได้แบบสอบถามกลับมาให้ได้มากที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่ อเก็บ รวบรวมข้อ มูล ได้แ ล้ว จึงทาการตรวจสอบความถู ก ต้อ ง และความสมบู ร ณ์ข องค าตอบใน แบบสอบถามทั้งหมด ก่อนนามาลงรหัส (Coding) เพื่อนาไปทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทาง การ วิเคราะห์โดยใช้ Correlation Coefficient ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถใน การบูรณาการความรู้ และความสาเร็จขององค์กร และแปลค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปร ตัวแปรที่ผู้วิจัยคาด ว่าจะมีความสัมพันธ์กันในการศึกษาครั้งนี้มี 5 ตัวแปร 1. วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร (Executive Vision) 2. การเรียนรู้ของพนักงาน (Employee Learning) 3. การแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Exchange) 4. ความสามารถในการบูรณาการความรู้ (Knowledge Integration Capability) 5. ความสาเร็จขององค์กร (Firm Success) ตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษาถูกนามาทาการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) โดยใช้สมการโครงสร้าง ดังนี้ Equation 1: KIC = α1 + β1 EV + β2 EM + β3 KE + ε1 Equation 2: FS = α2 + β4 KIC + ε2

551


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

EM EV FS ε

แทนที่ ค่าคงที่ แทนที่ ค่าสัมประสิทธิถดถอยของตัวแปรอิสระ แต่ละตัว KIC แทนที่ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ KE แทนที่ การแลกเปลี่ยนความรู้ αn βn

แทนที่ แทนที่ แทนที่ แทนที่

SRRU NCR2018 การเรียนรู้ของพนักงาน วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ความสาเร็จขององค์กร ค่าความคลาดเคลื่อน

ผลการวิจัย การศึกษาเรื่อง ความสามารถในการบูรณาการความรูแ้ ละความสาเร็จของสานักงานบัญชีในประเทศไทย เป็นการศึกษาเชิงสารวจ (Survey Research) เพื่อป้องกันปัญหา Multicollinerarity ผู้วิจัยจึงทาการทดสอบ Multicollinearity โดยพิจารณาจากค่า VIF ของตัวแปรอิสระมีค่าอยู่ระหว่าง 1.135 – 3.351 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 10 แสดงว่าตัวแปรอิสระไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดปัญหา Multicollinerarity (Neter, Wasserman and Kutner :1985) ซึ่ง สามารถนาไปวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ได้ โดยได้เสนอผลการวิเคราะห์ดัง ตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ตารางที่ 1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการบูรณาการความรู้ Coefficien tลาดับที่ Variable Std. Error Prob. t Statistic 1 วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร (BV) 0.108 0.121 0.985 0.335 2 การเรียนรู้ของพนักงาน (EL) 0.629 0.109 6.571* 0.000 3 การแลกเปลี่ยนความรู้ (KE) 0.010 0.095 0.079 0.939 2 n = 104, R adj = 0.515 *มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 1 การศึกษาการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ของสานักงานบัญชีในประเทศไทย โดยเลือกใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิง พหุแบบวิธี Enter ซึ่งเป็นการเลือกตัวแปรอิสระเข้าสมการถดถอยเชิงพหุในขั้นตอนเดียว ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปร อิสระที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ คือการเรียนรู้ของพนักงาน ที่ระดับ 0.05 โดยส่งผลถึงร้อยละ 51.5 (R2adj = 0.515) จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2 สาหรับตัวแปรอิสระ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และการแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่มีนัยสาคัญกับความสามารถ ในการบูรณาการความรู้จึงอาจกล่าวได้ว่าตัวแปรนี้ไม่มีความสัมพันธ์หรือส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบูรณา การความรู้อย่างมีนัยสาคัญ จึงไม่ยอมรับสมมติฐานที่ 1 และ 3 ตารางที่ 2 ความสามารถในการบูรณาการความรู้ส่งผลต่อความสาเร็จขององค์กร ลาดับที่ Variable 1 ความสามารถในบูรณาการความรู้ (KIC) n = 104, R2adj = 0.670

Coefficient 0.569

* มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

552

Std. Error 0.085

t-Statistic 5.815*

Prob. 0.000


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จากตารางที่ 2 ผลการศึกษาการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความ สามารถในการบูรณาการความรู้ ส่งผลกระทบต่อความความสาเร็จขององค์กร โดยเลือกใช้การวิเคราะห์ความ ถดถอยเชิงพหุแบบวิธี Enter พบว่าตัวแปรความสามารถในการบูรณาการความรู้ความรู้ ส่งผลกระทบต่อความ ความสาเร็จขององค์กร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยส่งผลถึงร้อยละ 67 (R2adj = 0.670) มี ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์ S.E.est = 0.828 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 4 สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการบูรณาการความรู้ของสานักงานบัญชีใน ประเทศไทย สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การเรียนรู้ของพนักงาน และ การแลกเปลี่ยนความรู้ ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบูรณาการความรู้ของสานักงานบัญชีในประเทศไทย คือ การเรียนรู้ของพนักงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญไปในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการบูรณาการ ความรู้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ทาการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ส่วนวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และการแลกเปลี่ยน ความรู้ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการบูรณาการความรู้ของสานักงานบัญชีในประเทศไทย นอกจากนี้ยัง พบว่าความสามารถในการบูรณาการความรู้ของสานักงานบัญชีในประเทศไทยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญไปใน ทิศทางเดียวกันกับความสาเร็จขององค์กร วิจารณ์ผลการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการบูรณาการความรู้และความสาเร็จของสานักงานบัญชี ในประเทศไทย เป็นการเพิ่มวรรณกรรมที่ไม่ซ้ากับงานวิจัยที่ผ่านมาเพื่อเป็นการขยายความรู้เกี่ยวความสามารถใน การบูรณาการความรู้และความสาเร็จขององค์กร นอกจากนี้ผลการวิจัยในครั้ งนี้ยังเป็นการยืนยันทฤษฎีพื้นฐาน ทรัพยากร (Resource based View: RBV) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการที่กิจการได้ให้ความสนใจในเรื่องทรัพยากรใน องค์กร การที่องค์กรจะได้เปรียบเชิงการแข่งขันนั้น องค์กรควรพิจารณาถึงทรัพยากร (resource) และความสามารถ (capabilities) ที่มีอยู่ นอกจากนี้ความสามารถในการบูรณาการความรู้ จะส่งผลกระทบให้องค์กรมีความสาเร็จ ผู้บริหารจึงต้องให้ความสาคัญกับปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสามารถในการบูรณาการความรู้ ข้อเสนอแนะ งานวิจัยในอนาคตอาจดาเนินการเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างออกไปเพื่อสามารถนาผลการวิจั ยนี้ไป ใช้กับกลุ่มประชากรกลุ่มอื่นได้ รวมทั้งอาจนาวิธีการวิจัยแบบอื่น ๆ เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก และกรณีศึกษา เพื่อนา ผลการวิจัยมายืนยันความสัมพันธ์ทั้งหมดของกรอบแนวคิดนี้ เอกสารอ้างอิง อนุธิดา เตียวไพบูลย์ และ นนทวรรณ ยมจินดา. (2559). สานักงานสอบบัญชี : องค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสาร วิชาชีพบัญชี, 12(36). 48-60. ยุรพร ศุทธรัตน์. (2552). องค์การเพื่อการเรียนรู.้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัย.

553


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Barney, J.B. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage. Journal of Management. 17 (1): 99–120. Chenhall, R. H. (2003). Management Control Systems Design within its Organizational Context Finding from Contingency-Based Research and Direction for the Future. Accounting Organizations and Society. 28, 127-168. Goll, Johnson and Rasheed. (2007). Knowledge Capability, Strategic Change, and Firm Performance; The Moderating Role of The Environment. Management Decision, Vol. 45 No2: 161-179. Ju, T. L., Chia-Ying Li and Tien-Shiang L. 2006. A Contingency Model for Knowledge Management Capability and Innovation. Industrial Management & Data Systems, 106(6): 855-877. Lawson, S. (2003). Examining the Relationship Between Organizational Culture and Knowledge Management (Doctoral dissertation, Nova Southeastern University, 2003). Retrieved from Nova Southeastern University dissertation database. Liu TC, Chen CS. (2004). The role of Taiwan’s National Health Insurance program in Influencing adequate prenatal care. International Journal of Health Planning and Management, 19. 113-130. Menon, A., and Varadarajan. P. R. 1992. A Model of Marketing Knowledge Use With in Firms. Journal of Marketing, (56.4). 53-71. Neter, John, Wasserman, William and Kutner, Michael H. 1985. Applied Linear Statistical Models: Regression, Analysis of Variance, and Experimental Designs, 2nd Edition. Homewood: Richard D. Irwin, Inc. Venkatraman, and Tanriverdi. 2004. Reflecting Knowledge in Strategy Research: Conceptual Issues and Methodological Challenges. Research Methodology in Strategy and Management, Volume 1: 33-66. Zhao, Yushan and S. Tamer Cavusgil. 2006. The Effect of Supplier's Market Orientation on Manufacturer's Trust. Industrial Marketing Management, 35(4): 405-414.

554


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 HSBO-21

พฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา EXERCISE BEHAVIOR OF THE ELDERLY IN NAKHON RATCHASIMAI MUNICIPALITY วราพร โภชน์เกาะ1, ปภารัตน์ โคตรชุม2 1 2

อาจารย์ประจาสาขาวิชาการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นักศึกษาประจาสาขาวิชาการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา จาแนก ตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ออกกาลังกายในเขต เทศบาลนคร นครราชสีมา จานวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วย Chi-square ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีเพศแตกต่าง กันมีพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่างกันด้านวิธีการออกกาลังกาย ด้านระยะเวลาการออกกาลังกาย ด้านเหตุผล การออกกาลังกาย และด้านสถานที่ออกกาลังกายอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่าง กัน มีพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่างกันด้านระยะเวลาการออกกาลังกาย ด้านเหตุผลการออกกาลังกายอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผู้สูงอายุที่มีน้าหนักตัวแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่าง กันด้านวิธีการออกกาลังกาย ด้านระยะเวลาการออกกาลังกาย และด้านเหตุผลการออกกาลังกายอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ : พฤติกรรม การออกกาลังกาย ผู้สูงอายุ Abstract The aims of the research were 1) to study the exercise behavior of the elderly in Nakhon Ratchasimai Municipality. 2) to compare the exercise behavior of elderly in Nakhon Ratchasimai Municipality. The population were classified by demographic characteristics. The samples were the 400 elderly who aged over 60 years old and exercised in Nakhon Ratchasimai Municipality. The data were collected by the questionnaires. The data were analysed using Frequency, Percentage , and Chai-square. The research results investigated that 1) the difference in gender dimension of elderly have the different exercise behavior ; way to exercise, the period of exercise, the reason of exercise and the place for exercise. 2) the difference in age dimension of elderly showed the difference in exercise behavior ; period of exercise, the reason of exercise, and the place for exercise with statistically significant at 0.05 and .3. 3) the elderly who have different body weight have the difference exercise behavior ; the way of exercise, the period of exercise, and the reason of exercise with statistically significant at 0.05. Keywords : Behavior, Exercise, Elderly

555


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

บทนา ในช่วง 5 – 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ารัฐบาลประเทศต่างๆให้ความสาคัญกับการสร้างทัศนคติอันดีของ ประชาชน ต่อการออกกาลังกาย เพื่อชักจูงให้ประชาชนออกกาลังกายมากขึ้น จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ได้ง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่ ารักษาพยาบาล และเป็นทรัพยากรมนุษย์ ข องประเทศที่มีค่ามากขึ้น ความพยายามของ ประเทศต่างๆ นี้เริ่มเห็นผลได้ชัดเจน อย่างมากในช่วงไม่กี่ปีหลัง เนื่องจากประชาชนในหลายประเทศเริ่มมีทัศนคติ เช่นนั้นอย่างแท้จริง และเริ่มให้ความสาคัญกับการออกกาลังกายมากขึ้นอย่างจริงจังอย่างไรก็ดีตัวเลขทางสถิติ นานาประการยังชี้ให้เห็นว่าการเล่นกีฬาและการออกกาลังกาย ของประชาชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้นยังไม่ เพียงพอ เช่น การวิจัยในปีพ.ศ. 2559 ระบุว่ามีเด็กและเยาวชนในประเทศ สหรัฐอเมริกาเพียงหนึ่งในสิบเท่านั้นที่มี การออกกาลังกายอย่างเพียงพอ ส่วนผู้ใหญ่ก็มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่มีการออกกาลังกายในระดับที่เหมาะสม อย่างสม่าเสมอในทุกๆวัน และมีเพียงหนึ่งในสามที่มีการออกกาลังกายอย่างเพียงพอในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าประชากรทั่วโลกในช่วงอายุ 65-74 ปีนั้น มีเพียงร้อยละ 28-34 เท่านั้นที่มีการเคลื่อนไหว ร่างกายในระดับที่เพียงพอในแต่ละวัน 31 สัญญาณต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าแม้แนวโน้มด้านทัศนคติเกี่ยวกับ การออกกาลังกายจะเป็นไปในทางบวก ในทางปฏิบัติยังถือว่า ในภาพรวมนั้นประชากรโลกยังออกกาลังกายไม่ เพียงพออยู่เช่นเดิม (http://www.mots.go.th/ ewt_dl _link. php? nid=9689) จากสานักงานสถิติแห่งชาติแสดงจานวนประชากรผู้สูงอายุปี 2550 มีจานวน 7.0 ล้านคนเมื่อจาแนก ตามวิธีการออกกาลังกาย พบว่าผู้สูงอายุออกกาลังกายจานวน 2.89 ล้านคน หรือร้อยละ41.10 เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีเพียงผู้สูงอายุจานวน1.1 ล้านคน หรือร้อยละ 17.70 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสนใจว่า ยังมีผู้สูงอายุที่ไม่ ออกกาลังกายใดๆ ในปี 2550 จานวน 4.1 ล้านคนหรือร้อยละ58.90 ลดลงจากปี 2545 ซึ่งมีผู้สูงอายุจานวน 4.9 ล้านคน หรือร้อยละ 82.30 และในกลุ่มผู้สูงอายุมีเพียงร้อยละ 48.10 ที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจาปี ซึ่ งตรวจ พบว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ มากเป็น 3 ลาดับแรกคิดเป็นร้อยละ 65.90, 27.65 และ 14.55 ตามลาดับจึงเห็นได้ว่าผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางกาย มีการเจ็บป่วยตามวัยมากขึ้นกว่ากลุ่มอายุ อื่นๆ และในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ออกกาลังกายกว่า ครึ่งหนึ่ง ควรส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการออกกาลังกายเพิ่มขึ้นเพื่อ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง คล่องตัวขึ้น ช่วยให้ลดความเครียดและสมรรถภาพทางเพศดีขึ้นด้วยดี จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยสนใจศึกษา พฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม สุขภาพ โดยมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นรวมไปถึงมีพฤติกรรมการออกกาลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับ ผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา จาแนก ตามลักษณะประชากรศาสตร์

556


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สมมติฐานการวิจัย ลักษณะประชากรศาสตร์แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่างกัน วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งไม่ ทราบจานวนประชากรที่แน่นอน กลุ่ม ตัวอย่ าง คือ ผู้ สูงอายุ ที่มี อายุ 60 ปี ขึ้นไปที่ ออกกาลังกายในเขตเทศบาลนครนครราชสีม า เนื่องจากไม่ทราบจานวนของประชากรที่แน่นอน ดังนั้นผู้วิจัยใช้วิธีการกาหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคานวณ และ ไม่ทราบจานวนประชากรที่แน่นอน (กัลยา วานิชย์ปัญญา. 2551 : 14) โดยให้มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5%

เมื่อ

n แทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง Z แทน ค่าคะแนนมาตรฐานของระดับความเชื่อมั่น E แทน ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้น = 385 คน

ผู้วิจัยจึงกาหนดขนาดกลุม่ ตัวอย่างเป็น 400 ราย เครื่องมือวิจัย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน น้าหนัก และโรคประจาตัว โดยเป็นแบบสอบถามปลายปิด (Close-ended Question) คาถาม เป็นแบบมีหลายคาตอบให้เลือก (Multiple Choice Question) และเลือกตอบได้เพียงคาตอบเดียว (Best Answer) ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุโดยเป็นแบบสอบถามปลาย ปิด (Close-ended Question) คาถามเป็นแบบมีหลายคาตอบให้เลือก (Multiple Choice Question) และเลือกตอบ ได้เพียงคาตอบเดียว (Best Answer) การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนามาวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้ดาเนินการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยขอความร่วมมือจากผู้สูงอายุที่มาออกกาลังกาย เป็นจานวนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด จานวน 400 คน 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) โดยการศึกษาจากหนังสือ เอกสารงานวิจัย และการค้นคว้า ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

557


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 1. วิธีการจัดทากับข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามได้แล้ว จึงทาการตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคาตอบในแบบสอบถามทั้งหมด นามาทาการลงรหัส (Coding) เพื่อนาไปทาการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อใช้ในการอธิบายข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการแจก แจงหาค่าความถี่ (Frequency Distribution) และหาค่าร้อยละ (Percentage) 2) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามส่วนที่ 2 พฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุใน เขตเทศบาลเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยการแจกแจงหาค่าความถี่ (Frequency Distribution) และหาค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi-Square เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย 1. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 60 – 64 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้ เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่มีน้าหนักตัว 51 – 60 กิโลกรัม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีโรค ประจาตัว ได้แก่ ความดัน เบาหวาน ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จานวน N = 400

ร้อยละ

ชาย หญิง

196 204

49.00 51.00

60 – 64 ปี 65 – 69 ปี 70 – 74 ปี 75 – 79 ปี 80 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษา ต่ากว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท สูงกว่าปริญญาโท

152 140 68 35 5

38.00 35.00 17.00 8.75 1.25

80 252 48 20

20.00 63.00 12.00 5.00

ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ

อายุ

558


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ปัจจัยส่วนบุคคล รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ากว่า 10,000 บาท 10,001 – 20,000 บาท 20,001 - 30,000 บาท มากกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป น้าหนักตัว ต่ากว่า 50 กก. 51 – 60 กก. 61 – 65 กก. มากกว่า 65 กก. ท่านมีโรคประจาตัวหรือไม่ มีโรคประจาตัว ได้แก่ ความดัน, เบาหวาน ไม่มีโรคประจาตัว

SRRU NCR2018

จานวน N = 400

ร้อยละ

24 204 132 40

6.00 51.00 33.00 10.00

32 132 124 112

8.00 33.00 31.00 28.00

389 11

97.25 2.75

2. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ออกกาลังกายด้วยการเดิน ใช้เวลาออกกาลังกายประมาณ 25 -30 นาที ส่วนใหญ่ออกกาลังกายช่วงเวลา 17.00 – 18.00 น. เหตุผลที่มาออกกาลังเพื่อสุขภาพ สถานที่ออกกาลังกาย ได้แก่สวนสุขภาพ ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา พฤติกรรมการออกกาลังกาย ท่านออกกาลังกายเพื่อสุขภาพด้วยวิธใี ดบ้าง เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิค โยคะ อื่นๆ (โปรดระบุ) แกว่งแขน ระยะเวลาท่านออกกาลังกายเพื่อสุขภาพครั้งละกี่นาที 10 – 15 นาที 15 – 20 นาที 20 – 25 นาที 25 – 30 นาที มากกว่า 30 นาที โดยส่วนใหญ่ท่านออกกาลังกายในช่วงเวลาใด 05.00 – 06.00 น. 06.00 – 07.00 น. 07.00 – 08.00 น. 16.00 – 17.00 น. 17.00 – 18.00 น. ตั้งแต่ 18.00 น.เป็นต้นไป

559

จานวน N = 400

ร้อยละ

272 39 10 25 54

68.00 9.75 2.50 6.25 13.50

28 84 140 88 60

7.00 21.00 22.00 35.00 15.00

25 23 14 83 165 90

6.25 5.75 3.50 20.75 41.25 22.50


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

พฤติกรรมการออกกาลังกาย เหตุผลที่ท่านมาออกกาลังกายคือ เพื่อสุขภาพ ลดน้าหนัก เพื่อความสนุกสนาน อื่นๆ (โปรดระบุ) ได้แก่ เพื่อการแข่งขัน ท่านไปออกกาลังกายในสถานที่ใด สวนสุขภาพ สวนสาธารณะ ฟิตเน็ต สนามกีฬา อื่นๆ (โปรดระบุ) บ้าน

SRRU NCR2018

จานวน N = 400

ร้อยละ

343 40 13 4

85.75 10.00 3.25 1.00

245 55 15 45 40

61.25 13.75 3.75 11.25 10.00

3. เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดนครราชสีมา จาแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3.1 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่างกันด้านวิธีการ ออกกาลังกาย ด้านระยะเวลาการออกกาลังกาย ด้านเหตุผลการออกกาลังกาย และด้านสถานที่ออกกาลังกายอย่าง มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.2 ผู้ ต อบแบบสอบถามที่ มี อ ายุ แ ตกต่ า งกั น มี พ ฤติ ก รรมการออกก าลั งกายแตกต่ า งกั น ด้ า น ระยะเวลาการออกกาลังกาย ด้านเหตุผลการกาลังกายอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.3 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีน้าหนักตัวแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่างกันด้าน วิธีการกาลังกาย ด้านระยะเวลาการออกกาลังกาย และด้านเหตุผลการออกกาลังกายอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 วิจารณ์ผลการวิจัย จากการศึกษาพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา ผู้วิจัยขอ วิจารณ์ผลการวิจัยดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีเหตุผลการออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ ธาริน สุขอนันต์ (2557) ศึกษาปัจจัยที่มีผลตอพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมือง บานสวน จังหวัด ชลบุรี พบว่าผู้สูงอายุสวนใหญ่ออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ การรับรูประโยชนของการออกกาลังกายและพฤติกรรมการ ออกกาลังกายอยูในระดับปานกลาง พฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกาลังแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ วิวัฒน์ กาญจนะ (2551) ศึกษาพฤติกรรมการออกกาลั งกายของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2551 พบว่านักศึกษาชายและหญิงมีพฤติกรรมการออกกาลังกายแตกต่างกัน อย่าง มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

560


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ ควรนาผลการวิจัยการศึกษาพฤติกรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุไปเผยแพร่และนาไปใช้ประโยชน์ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกาลังกาย รวมไปถึงศึกษารูปแบบการให้ ความรู้ และเสริมเจตคติ รวมทั้งการสร้างพฤติกรรมการออกกาลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุต่อไป เอกสารอ้างอิง กุณฑลี เวชสาร. (2546). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธาริน สุขอนันต์. (2557). ปัจจัยที่มีผลตอพฤติกรรมการออกกาลังกายของผูสูงอายุ ในเขตเทศบาลเมือง บาน สวน จังหวัดชลบุร.ี วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557 หน้า 66-75 สานักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th/article_attach/13101/17262.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 2 มีนาคม 2561) วิวัฒน์ กาญจนะ. (2551). พฤติกรรมการออกกาลังกายของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2551.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. หน้า 41-54

561


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-22 การมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนใน เขตจังหวัดหนองบัวลาภู PEOPLE’S PARTICIPATION AND THE SUSTAINABLE SECURE DRUG-FREE COMMUNITY BUILD GUIDELINES IN NONG BUA LAMPHU PROVINCE. บุญเหลือ บุบผามาลา1, ประกอบ คงยะมาศ2 1

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ประจาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต 2 รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต อาจารย์ประจาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการสร้างหมู่บ้าน ชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู และ 3)เพื่อเสนอแนวแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จานวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่ าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)การมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ความมั่นคงของหมู่บ้าน ชุมชนด้านยาเสพติดและสภาพปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชน 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทาง การสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน มีความสัมพันธ์ไปทิศทางเดียวกันในระดับมาก มีค่า r ระหว่าง .93 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 และ3)แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยา เสพติดอย่างยั่งยืนควรใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนนาไปเป็นแนวทางแก้ปัญหาของชุมชน คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน Abstract This research was aimed to; 1) study the people’s participation and the sustainable secure drug-free community in Nong Bua Lamphu Province. 2) study the relationship of People’s Participation and the sustainable secure drug-free community in Nong Bua Lamphu Province. 3) to propose development of the sustainable secure drug-free community in Nong Bua Lamphu Province. The research employed A Quantitative Research. The sample group of 400 persons over

562


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

15 years old from Nong Bua Lamphu Province. Selected sample by stratified random sampling and simple random sampling method. The questionnaires were used for research instrument. The statistics used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation, pearson correlation coefficient analysis. The research findings revealed that : (1)The People’s Participation include : decision making participation, implementation participation, benefits participation, and evaluation participation. The sustainable secure drug-Free sommunity include : security of the village drug community and the drug abuse of village / community. (2) The relationship between people’s participation and the sustainable secure drug-free community in Nong Bua Lamphu Province are correlated in the same direction the analysis showed that the correlation relationship r= 0.93 at the 0.01 significance level. (3) The propose development of the sustainable secure drug-Free community were people’s participation. Keywords : People’s Participation, The Sustainable Secure Drug-Free Community. บทนา ปั ญ หายาเสพติ ด เป็ น วาระส าคั ญ ของชาติ ที่ ส่ งผลกระทบต่ อ ความเดื อ ดร้ อ น ความทุ ก ข์ ย ากของ ประชาชนและศักยภาพของการพัฒนาประเทศในอนาคต ในระยะที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถควบคุม การผลิตยา เสพติดได้ แต่ยังได้รับผลกระทบจากการลักลอบลาเลียงยาเสพติดจากภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจาหน่าย ภายในประเทศ โดยยาบ้าและยาไอซ์เป็นตัวยาสาคัญ กลุ่มผู้ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องกับการเสพ/ใช้มากที่สุด คือเด็กและ เยาวชน ช่วงอายุ ระหว่าง 15 - 29 ปี ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และมีการกระจายยาเสพติดไปถึงหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่ง เป็นรากฐานสาคัญของสังคม โดยมีสถานการณ์สาคัญ ดังนี้ 1)จากการดาเนินงานตามแผนป้องกันและปราบปรามยา เสพติดตามนโยบายของรัฐบาล ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา สามารถสกัดกั้นและลดปริมาณการนาเข้ายา เสพติดจากแหล่งผลิตยาเสพติดในภูมิภาค รวมทั้งปราบปรามจับกุมขบวนการผลิต และค้ายาเสพติดจานวนมากแต่ จากสภาวะเงื่อนไขทางสังคมภายในประเทศยังปรากฏการแพร่ระบาดและส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้แก่ ประชาชนโดยทั่วไป 2)ผลการประเมินหมู่บ้าน/ชุมชน สานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ปี พ.ศ.2558 จานวน 81,905 แห่ง ทั่วประเทศ ตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติด (มาก – ปาน กลาง – น้อย) พบว่ามีปัญหามาก 7,743 แห่ง(ร้อยละ 9.45) ปานกลาง 6,383 แห่ง (ร้อยละ 7.79) น้อย 67,779 แห่ง (ร้อยละ 82.75) 3)ผลการสารวจความคิดเห็นของประชาชนของสานักงานสถิติแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 2–10 พฤศจิกายน 2558 ปรากฏว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการดาเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของ รัฐบาล แต่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากปัญหายาเสพติดและต้องการให้รัฐบาล ดาเนินการอย่างเร่งด่วน (สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด . 2559) ปัญหายาเสพติดเป็น ปัญหาที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อปัญหา อื่นๆ หลายด้าน อาทิ ด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิตและอาชญากรรม ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงต้อ งได้รับความ ร่วมมือจากทุกคนในหมู่บ้าน/ชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสาคัญที่จะทาให้การดาเนินการแก้ไข ปัญหายาเสพติดประสบผลสาเร็จ ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น Cohen & Uphoff (1980) และถวิลวดี บุรี กุล(2551) ที่แบ่งการมีส่วนร่วมของประชาชน ออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 1)การมีส่วนร่วมในการคิดการวางแผน

563


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตัดสินใจ 2)การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน3)การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และ 4)การมีส่วนร่วมประเมินผล และขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทยได้ใช้เกณฑ์การประเมินหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด พ.ศ. 2557 (กระทรวงมหาดไทย. 2557) มาเป็นตัวชี้วัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ จานวน 12 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 1. ความมั่นคงของหมู่บ้านชุมชนด้านยาเสพติด จานวน 10 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย การมีกลุ่มหรือองค์กรต้านยาเสพ ติดในหมู่บ้านชุมชน การมีการประชุมกลุ่มหรือองค์กรต้านยาเสพติด การมีธรรมนูญหมู่บ้าน การมีการจัดตั้งกองทุน แก้ไขปัญหายาเสพติด การมีการบริหารกองทุนต้านยาเสพติดที่มีประสิทธิผล การมีประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาและ ตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การมีผู้นาเสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบาบัดฟื้นฟู มีการติดตามผลและให้การ ช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการบาบัดฟื้นฟู การมีการควบคุมแหล่งมั่วสุม /การจัดกิจกรรมเชิงป้องกันยา เสพติด การมีการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์อื่น องค์ประกอบที่ 2 สภาพปัญหายาเสพติดของหมู่บ้านชุมชน จานวน 2 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย หมู่บ้านชุมชนไม่มีผู้ผลิตผู้ขายยาเสพติด หมู่บ้านชุมชนไม่มีผู้ติด/ผู้เสพ จังหวัดหนองบัวลาภู เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อาเภอ ประกอบด้วย อาเภอเมืองหนองบัวลาภู อาเภอนากลาง อาเภอนาวัง อาเภอโนนสัง อาเภอศรีบุ ญเรือง และอาเภอ สุวรรณคูหา จานวน 713 หมู่บ้าน ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดของจังหวัดหนองบัวลาภู มีสถานการณ์การ แพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลการประเมินหมู่บ้าน/ชุมชนในจังหวัดหนองบัวลาภู ครั้งที่ 1ของปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม 2559- 31 มีนาคม 2560)ของสานักงานป้องกันและปรามปรามยาเสพติด (ปปส.) พบว่ามีหมู่บ้าน/ ชุมชนที่มีระดับการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรง จานวน 35 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 4.86 มีหมู่บ้าน/ชุมชนที่มี การแพร่ระบาดของยาเสพติดปานกลาง จานวน 209 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 29.06 หมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดน้อย หรือไม่มีการแพร่ระบาดเลยจานวน 475 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 66.06 และจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ดั ง กล่ า วมี แ นวโน้ ม ว่ า การแพร่ ร ะบาดของยาเสพติ ด ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด หนองบั ว ล าภู จะเพิ่ ม มากขึ้ น (ส านั ก งาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด , 2559) ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างหมู่บ้านชุมชน มั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทาการศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู ”การวิจัย ครั้งนี้มีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพ ติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู 3. เพื่อเสนอแนวแนวทางการสร้า งหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขต จังหวัดหนองบัวลาภู แทรกก่อนกรอบแนวคิด แล้วขึ้นหัวข้อกรอบแนวคิดใหม่เลย ก่อนวิธีดาเนินการวิจัย

564


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ตัวแปรอิสระ (independent variables; IV)

SRRU NCR2018

ตัวแปรตาม (dependent variables; DV)

แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่าง ยั่งยืน (1) ความมั่นคงของหมู่บ้านชุมชนด้านยาเสพติด 1. การมีกลุ่มหรือองค์กรต้านยาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน 2. การมีการประชุมกลุ่มหรือองค์กรต้านยาเสพติด 3. การมีธรรมนูญหมู่บา้ น การมีส่วนร่วมของประชาชน 1. การมีส่วนร่วมในการคิดการ วางแผนตัดสินใจ 2. การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน 3. การมีส่วนร่วมในการรับ ผลประโยชน์ 4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล

4. การมีการจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด 5. การมีการบริหารกองทุนต้านยาเสพติดที่มีประสิทธิผล 6. การมีประชาคมหมู่บา้ นเพื่อค้นหาและตรวจสอบผู้ที่เกีย่ วข้อง กับยาเสพติด 7. การมีผู้นาเสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบาบัดฟื้นฟู 8. มีการติดตามผลและให้การช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ ผ่านการบาบัดฟื้นฟู 9. มีการควบคุมแหล่งมั่วสุม/การจัดกิจกรรมเชิงป้องกันยาเสพติด 10. การมีการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดร่วมกับการจัดกิจกรรม เพื่อสาธารณะประโยชน์อื่น (2) สภาพปัญหายาเสพติดของหมู่บา้ น/ชุมชน 11. หมู่บา้ นชุมชนไม่มีผู้ผลิต ไม่มีผู้ขายยาเสพติด 12. หมู่บา้ นชุมชนไม่มีผู้ติดยาเสพติด/ไม่มีผู้เสพยาเสพติด

วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีขั้นตอนการดาเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) การออกแบบการวิจัย 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4) การตรวจสอบและหาคุณภาพ เครื่องมือ 5) การเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and Samples) ประชากร คือ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู รวมทั้งสิ้น 418,888 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู จานวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2547) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research Tool) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน ในส่วนที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบปลาย ปิด(closed form) ส่วนที 2 ส่วนที่ 3 เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบมาตราส่วนแบบลิเคอร์ท (likert scale) ตามแนวคิดของ Likert (1961) และส่วนที่ 4 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดสาหรับการแสดงความคิดเห็น ทั่วไปและข้อเสนอแนะ

565


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมรส และอาชีพ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย มิติการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มิติการมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน มิติการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มิติการมี ส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่าง ยั่งยืน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย ความมั่นคงของหมู่บ้านชุมชนด้านยาเสพติด สภาพปัญหายาเสพติดของ หมู่บ้านชุมชน ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป การตรวจสอบและหาคุณภาพเครื่องมือ (Instrument Measurement) 1. การหาความตรงเชิ งเนื้ อหา (content validity) ผู้วิจัย นาเครื่องมือที่ ใช้ใ นการวิจัย ได้แ ก่ แบบสอบถาม ตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและภาษาเมื่อตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนาข้อคิดเห็นมา ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะหลังจากนั้นผู้วิจัยนาแบบสอบถามมาหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าแบบสอบถามมีดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index; CVI) เท่ากับ 0.87 2. การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยใช้วิธีการทดสอบความตรง ตามแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อทดสอบค่าสถิติ Barlett’s test of sphericity และค่าดัชนีไกเซอร์ -ไมเยอร์ ออลคิน (Kaiser-Meyer-Olkin Measures of Sampling Adequacy: KMO) และหาค่าExtraction communalities ได้ค่าBartlett’s test มีนัยสาคัญทางสถิติที่ น้อยกว่า 0.05 (Sig. < 0.05) ค่า KMO มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5-1.0 และค่า Extraction communalities มีค่าอยู่ ระหว่าง.5-1.0 3. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนาแบบสอบถามไปทดลองใช้กับประชาชน อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดอุดร จานวน 30 ชุด หลังจากนั้นนาแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดย ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ วิ ธี ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล การวิ จั ย ในครั้ งนี้ คื อ การแจกแบบสอบถาม โดยผู้ วิ จั ย ได้ อ อกไปแจก แบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างโดยตนเอง และให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเขียนตอบได้เอง ให้เวลา ให้อิสระในการตอบ โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับผู้วิจัย เมื่อกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามแล้วให้ผู้วิจัยตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล หากพบว่าแบบสอบถามชุดใดขาดข้อมูลสาคัญบางอย่าง(missing data)เนื่องจากผู้ตอบตอบไม่ครบ ผู้วิจัยก็สามารถ ขอให้ผู้ตอบได้ให้ข้อมูลที่ขาดหายไปเพิ่มเข้ามาได้ในทันที เมื่อเรียบร้อยแล้วผู้วิจัยก็จะได้รวบรวมแบบสอบถามที่ สมบูรณ์กลับไปให้ครบตามจานวนตามที่ผู้วิจัยต้องการ คือ จานวน 400 ชุด การเก็บรวบรวมข้ อมูลทุติยภูมิจากการค้นคว้าเอกสาร ตารา ทฤษฎี แนวความคิดและผลงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และอาชีพ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

566


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อมูลส่วนที่ 2-3 วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาระดับความคิดเห็นของกลุ่ม ตัวอย่างที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่าง ยั่งยืนโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่การหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ เพื่อวัดระดับและทิศทางความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรงระหว่างตัวแปร การมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนโดยใช้สถิติเชิงอ้างอิง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์ สัน(Pearson correlation coefficient หรือ the Pearson Product-Moment Correlation) (Gravetter & Wallnau, 2004) ข้อมูลส่วนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51 มีอายุระหว่าง 26 –35 ปี ร้อยละ 47.00 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส./อนุปริญญา)ร้อยละ 39.00 มี สถานภาพสมรส ร้อยละ 58.80 เป็นเกษตรกรรม ร้อยละ 35.50 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( X =3.33, S.D. = 0. .65 รองลงมา คือ แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขต จังหวัดหนองบัวลาภู มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด( X =3.28, S.D. = 0.73) (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทางการสร้างหมูบ่ ้านชุมชน มั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู (n=400) ค่าเฉลี่ย(Mean) 1. การมีส่วนร่วมของประชาชน 2. หมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัย จากยาเสพติดอย่างยั่งยืน

3.33

X

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. .65

ความหมาย (defining) ปานกลาง

3.28

.73

ปานกลาง

3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทางการสร้าง หมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู มีความสัมพันธ์ ในรูปเชิงเส้นและ สัมพันธ์กันในทางบวก(r เป็นบวก) ที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน มีความสัมพันธ์กับแนว ทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภูในระดับมากแบบ สมบูรณ์แบบ ที่ค่า r=0.93 (ตารางที่ 2)

567


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์(Pearson Correlation) ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชน และแนวทางการ สร้างหมู่บา้ นชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภู (n=400)

1. การมีส่วนร่วมของประชาชน 2. แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน

การมีส่วนร่วม ของ ประชาชน 1 .93**

แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชน มั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติด อย่างยั่งยืน .93** 1

หมายเหตุ ** P.<0.01 4. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติด อย่างยั่งยืน ควรใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนนาไปเป็นแนวทางแก้ปัญหาของชุมชน สรุปผลการวิจัย ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายให้ความสาคัญ โดยสาเหตุของปัญหามาจาก การขาดความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหาจากประชาชนอย่างจริงจัง ขาดแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน ดังนั้น หมู่บ้าน/ชุมชน จึงควรนา หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีกระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา สามารถชี้แ จงได้ เมื่ อ มีข้ อ สงสั ยและสามารถเข้ าถึ งข้อ มู ลข่ า วสารอั น ไม่ ต้ องห้ ามตามกฎหมายได้อ ย่ างเสรี โ ดย ประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดาเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆและสามารถตรวจสอบได้จัดทาข้อมูลที่ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเอื้อต่อการตัดสินใจประชาชน สังคมและสื่อมีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สาคัญ ได้อย่างอิสรเสรี ซึ่งจะสามารถลดปัญหายาเสพติดได้ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหายา เสพติดที่ชัดเจนจะก่อให้เกิดผลดีตอ่ หมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน คือ 1) หมู่บ้าน/ชุมชนไม่ มีผู้ผลิตยาเสพติด 2) หมู่บ้าน/ชุมชนไม่มีผู้ขายยาเสพติด 3) หมู่บ้าน/ชุมชนหมู่บ้านชุมชนไม่มีผู้ติดยาเสพติด 4) หมู่บ้าน/ชุมชนหมู่บ้านชุมชนไม่มีผู้เสพยาเสพติด วิจารณ์ผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.33, S.D.= 0.65) โดยมิติการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( X =3.35, S.D.= 0.74) รองลงมา คือ มิติการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( X =3.35, S.D.= 0.77) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และ หมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน ในด้านสภาพปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชน และ แนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดหนองบัวลาภูมีความสัมพันธ์ ในรูปเชิงเส้นและสัมพันธ์กันในทางบวก(r เป็นบวก)ในระดับมาก ที่ค่า r= 0.79 และ r = 0.79 ที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 ตามลาดับ และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด หมายความว่า ถ้าหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับ การประกาศเกียรติคุณเป็นหมู่บ้านมั่นคงปลอดยาเสพติด ประชาชนได้รับเงินค่าตอบแทนในการเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้รับความร่วมมือจากประชาชนจะทา ให้หมู่บ้าน/ชุมชน เป็นหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับผลการวิจัย เรื่อง การมี ส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในเขตตาบลสร้อย อาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ของ บรรจง สายวงค์ (2557) ที่ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมโดยรวมของประชาชนต่อการป้องและปราบปรามยา

568


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เสพติดในเขตตาบลสรอย อาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อยู่ในระดับมาก ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดในเขตตาบลสรอย อาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ได้แก่ควรจัดให้มี การอบรม ให้ความรู้แก่ ประชาชนเกี่ ย วกั บ โทษของยาเสพติ ด ควรจั ด ชุ ด กั น และปราบปรามยาเสพติ ด ภายในหมู่ บ้ า น และควรเพิ่ ม งบประมาณในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้มากขึ้นกว่าเดิม ประเด็นนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า การมีส่วนร่วมของ ประชาชน ด้ า นการมี ส่ ว นร่ ว มในการรั บ ผลประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ ความคิ ด เห็ น จากกลุ่ ม ตั ว อย่ า งมากที่ สุ ด น่ า จะ เนื่องมาจากการที่ประชาชนเข้าใจหรือคิดว่า เมื่อในหมู่บ้านชุมชนของตนเองได้รับการแก้ไขหรือได้มีการดาเนิน โครงการหรือแผนการแก้ไขปัญหายาเสพติดแล้ว ตนเองจะได้รับผลประโยชน์จากการดาเนินการดังกล่าว ทั้งความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สาหรับแนวทางการสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืนใน เขตจังหวัดหนองบัวลาภู ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.28, S.D.=0.73) โดยด้านสภาพปัญหา ยาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ซึ่งด้านสภาพปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชนที่สาคัญ ได้แก่ การไม่มีผู้ผลิตยาเสพติด การไม่มีผู้ขายยาเสพติด การไม่มีผู้ติดยาเสพติด การไม่มีผู้เสพยาเสพติด โดยด้านการไม่มีผู้ ติดยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X =3.37, S.D.=0.58) สาหรับในประเด็นนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าการที่ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการรับทราบสภาพปัญหาของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองแล้วย่อมส่งผลให้เกิดดาเนินการให้ หมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองปลอดภัยจากยาเสพติดร่วมกัน ข้อเสนอแนะ รัฐบาล/สานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ควรที่จะกาหนดหรือหาแนวทางให้ ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมหรือเข้ามามีบทบาทในแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชนของตนเองมาก ยิ่งขึ้น เนื่องจากผลการศึกษานี้พบว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหารวมถึงการดาเนินการ ตามแนวทางประชารัฐเพื่อให้หมู่บ้านชุมชนปลอดภัยจากยาเสพติดยังอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น เอกสารอ้างอิง กระทรวงมหาดไทย. (2557). คู่มือการประเมินหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง. ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่ เฮ้าส์ออฟ เคอร์มสี ท์. สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2559). คู่มือแนวทางการดาเนินงานแผนประชารัฐ ร่วมใจสร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : สานักยุทธศาสตร์ สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). “Participation’s Place in Rural Develop : Seeking clarity Through Specificity”. New York : World Development. Gravetter, F.J., & Wallnau, L.B. (2004). Statistics for the Behavioral Sciences. (6th ed.). Belmont : Wadsworth. Likert, R. (1961). New Patterms of Management. New York: Mcgraw-Hill Book Company Inc.

569


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Kelley, K., & Maxwell, S. E. (2003). Sample size for multiple regression : Obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological Methods, 8(3), 305321.

570


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 HSBO-23

การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี SELF-RELIANCE OF FARMERS SEABASS IN SURATHANI PROVINCE เตชธรรม สังข์คร1, ดาริน รุ่งกลิ่น2, สุกานดา เทพสุวรรณชนะ3 และนลวัชร์ ขุนลา4 1

Techadham Sangkhorn หลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Techadham.san@sru.ac.th 2 Darin Rungkrin หลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Darin.run@sru.ac.th 3 Sukanda Thepsuwanchana หลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Sukanda.the@sru.ac.th 4 Nollawach khunla ผู้ชว่ ยนักวิจยั คณะวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Nollawach.khu@sru.ac.th

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัด สุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในพื้นที่ 5 อาเภอ จานวน 37 คน ใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และบอกต่อ (Snowball Sampling) ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การทดสอบค่าที (t-Test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ในการทดสอบเชิงอ้างอิง ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจได้มากสุด เนื่องจากเกษตรกรมีหนี้สิน รายได้จากการ ประกอบอาชีพเลี้ยงปลากะพงสามารถช่วยในการชาระหนี้เงินกู้ให้แก่เกษตรกรได้ และนาผลตอบแทนมาใช้จ่ายใน การดาเนินชีวิตประจาวัน เพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกร ส่วนด้านที่เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ น้อยที่สุด คือด้านเทคโนโลยี อาจเป็นเพราะเกษตรกรมี พื้นฐานทางการศึกษาไม่สูงมากนัก จึงส่งผลต่อความรู้ความ ในเข้าในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร คำสำคัญ : การพึ่งพาตนเอง; เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว; ชาวประมง Abstract This study for self-reliance in communities of farmers fish in the province, with the objectives of this study were 1) to learn about farming fish in Suratthani and 2) to learn about self-reliance in the community of fish farmers in the province. The sample consisted of farmers who fish in the province in five districts of 37 samples. Data were collected using a questionnaire

571


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

and analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and analyzed using t-test, and One way ANOVA for the inferential statistics. The inputs for study is ability to self-sufficiency in the community of farmers sea bass in the province found that most farmers can help themselves. Considering it was found that a self-reliant economy has been good for farmers in debt. Revenue from professional farming can help to repay the loans to the farmers. The returns used in the daily operation. To improve the living conditions of the farmers, the better. For the farmers who can’t help themselves. Including technology because farmers are enrolled in primary school. Tooling Electronic devices may not be good enough. Making knowledge and technology experience less. I can’t bring knowledge of technology applied to farming it. Keywords : Self-reliance; Famer Sea bass; Fisherman บทนา ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ากร่อยที่ถือว่ามีความสาคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทยสานักวิจัย เศรษฐกิจการเกษตร [1] มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความนิยมกันอย่างแพร่หลาย การเลี้ยงปลากะพงขาวใน กระชังมีความเหมาะสม เป็นปลาที่มีความอดทน สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพน้าได้อยู่ ได้ทั้งน้าจืดและ น้าเค็ม เติบโตได้ดีและมีมูลค่าที่สูง [2] จึงทาให้การเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นอาชีพที่น่าสนใจ ในการเพาะเลี้ยงของ หน่วยงานประมงเริ่มระยะแรกเป็นการรวบรวมพันธุ์ปลาที่ได้จากธรรมชาติ จนกระทั่งปี 2516 ประเทศไทยถือว่า เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวได้เป็นประเทศแรกและเป็นแห่งแรกของโลกจึงทาให้การเลี้ยงปลากะพงขาว [3] ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาระบบการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนาหลักการพึ่งพาตนเองตามมิติของ TERMS MODEL [4] ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การพึ่งพาตนเองทาง เทคโนโลยี (Technology Self Reliance) พึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ (Economic Self Reliance) พึ่งพาตนเอง ทางทรัพยากรธรรมชาติ (Resource Self Reliance) พึ่งพาตนเองจิตสานึก (Mind Self Reliance) พึ่งพาตนเอง ทางสังคม (Social Self Reliance) มาส่งเสริมการปฏิบัติให้เป็นไปตามศักยภาพและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลากะพง โดยนาแนวคิดการดารงชีวิตในการทาการเกษตรที่มีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นอีกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกที่มีการเลี้ยงปลา กะพงขาว 5 อาเภอ ได้แก่ อาเภอไชยา อาเภอเมือง อาเภอกาญจนดิษฐ์ อาเภอดอนสัก และอาเภอพุนพิน ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าการเลี้ยงปลากะพงขาวยังไม่สามารถเป็นอาชีพหลักให้กับเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ เพราะส่วนมาก เกษตรกรจะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ซึ่งยังทราบถึงปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการเรื่องของการพัฒนาการเลี้ยง ปลากะพงขาวเพือ่ ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อตัวเกษตรกรนั้นจาเป็นต้องมีการจัดการที่ดีและเหมาะสม เพื่อจะใช้ ในการแนะนา สนับสนุน และส่งเสริมผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการพึ่งพาตนเองของ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี [5]

572


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อศึกษาการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมมติฐานการวิจัย การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความแตกต่างกันจาแนกตาม เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา จานวนสมาชิกในครอบครัว และจานวนสมาชิกเลี้ยงปลา ขอบเขตการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้แบบเจาะจง และกาหนดในพื้น ที่ 5 อาเภอของ จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่พบว่ามีการเลี้ยงปลากะพงขาวมากที่สุด ได้แก่ พื้นที่อาเภอพุนพิน อาเภอไชยา อาเภอดอนสัก อาเภอกาญจนดิษฐ์ และอาเภอเมืองสุราษฎร์ธานี 2. เนื้ อ หาที่ ใ ช้ ใ นการศึ ก ษาเป็ น ไปตามหลั ก การพึ่ ง พาตนเองตามมิ ติ ข อง TERMS MODEL ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี (Technology Self Reliance) พึ่งพาตนเองทาง เศรษฐกิจ (Economic Self Reliance) พึ่งพาตนเองทางทรัพยากรธรรมชาติ (Resource Self Reliance) พึ่งพา ตนเองจิตสานึก (Mind Self Reliance) พึ่งพาตนเองทางสังคม (Social Self Reliance) 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการดาเนินการคือเดือนตุลาคม 2558 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 วิธีดาเนินการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้มีวิธีดาเนินการวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการครั้งนี้คือชาวประมงผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากเอกสาร บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระบุว่ามีขาวประมงปลากะพงขาวในกระชัง จานวน 101 ราย และชาวประมง ปลากะพงขาวในบ่อดิน 53 ราย ส่วนในปี 2558 ไม่มีการสารวจข้อมูลที่ชัดเจนแต่จากการศึกษาของนินธนา เอี่ยม สะอาด และสินีนาท โชคดาเกิง พบว่ามีจานวนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในการกาหนดกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่ามีจานวนประชากรไม่มาก จึงเลือกใช้ วิธีการกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่า แต่ไม่น้อยกว่า 30 ราย เพื่อให้สามารถนาไปสู่การทดสอบสมมติฐานได้ ทั้งนี้ ในกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยเลือกใช้แบบเจาะจง (Purposive sampling) และบอกต่อ (Snowball sampling) จึงทาให้กลุ่มตัวอย่างจากการเก็บรวบรวมจริง 37 ราย เครื่องมือวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการสารวจข้อมูลคือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 3 อันดับ โดยกาหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละอันดับ ดังนี้ คะแนน 3 คะแนน หมายถึงมาก คะแนน 2 คะแนน หมายถึงปานกลาง คะแนน 1 คะแนน หมายถึงน้อย สาหรับคะแนนดังกล่าวนามาคานวณด้วยการหาค่าพิสัย เพื่อให้ได้คะแนน 3 ช่วงคะแนน จึงได้เกณฑ์ คะแนน ดังนี้

573


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ช่วงคะแนน 2.35-3.00 หมายถึงชาวประมงสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับมาก ช่วงคะแนน 1.68-2.35 หมายถึงชาวประมงสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับปานกลาง ช่วงคะแนน 1.00-1.67 หมายถึงชาวประมงสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับน้อย การเก็บรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลดาเนินการในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2558 – เดือนกันยายน พ.ศ.2559 ด้วยการ สัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม โดยผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative analysis) เป็นหลัก โดยนาข้อมูลที่ได้ จากการเก็บรวบรวมมาตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้อง ทาการลงรหัสและจัดทาแฟ้มข้อมูล ในคอมพิวเตอร์ แล้วทา การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป สาหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) โดยการ คานวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง (Inferential statistics) โดยใช้การ ทดสอบค่าที (t-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เพื่อการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทาการศึกษาส่วนใหญ่เป็น เพศ ชาย จานวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 78.4 และเพศหญิงจานวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 จากประชากรกลุ่ม ตัวอย่างจานวน 37 คน ตามทัศนคติของผู้วิจัย เนื่องจากอาชีพการเลี้ยงปลากกะพง เป็นอาชีพทีต้องใช้แรงงานดังนั้น เกษตรกรที่เลี้ยงปลากะพงส่วนใหญ่จึงเป็นเพศชาย ด้านอายุ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทาการศึกษาส่วนใหญ่มีอายุ ระหว่าง 31-40 ปี จานวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 35.1 รองลงมาอายุระหว่าง 51-60 ปี จานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 32.4 อายุระหว่าง 41-50 ปี จานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 18.9 อายุน้อยกว่า 30 ปี จานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 8.1 และน้อยที่สุด 61 ปี จานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 เนื่องจากการเลี้ยงปลากะพงต้องใช้แรงงานในการ ทางาน จาเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงปลาควรมีร่างการที่แข็งแรงสมบูรณ์ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงมีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ด้านศาสนา พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จานวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 75.7 และเกษตรกรที่นับถือศาสนาอิสลาม จานวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 24.3 เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสัดส่วนของการนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด อาจ มีศาสนาคริสต์ อิสลาม หรือศาสนาอื่นๆ เป็นบางกลุ่ม ทาให้ผลการศึกษาออกมาเป็นเช่นนี้ ด้านระดับการศึกษา พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ทาการศึกษามีระดับ การศึกษาชั้นประถมศึกษามากที่สุด จานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 67.6 อนุปริญญา/ปวส. จานวน 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 10.8 และปริญญาตรีขึ้นไปจานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8 และน้อยที่สุดคือระดับมัธยมศึกษาจานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 8.1 จากทัศนคติของผู้วิจัย การเลี้ยงปลากะพงต้องใช้ความรู้ความชานาญเกี่ยวกับการประมง เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์น้าเป็นอย่างมีความใกล้ชิดเข้าใจระบบนิเวศ เป็นอย่างดี ไม่จาเป็นต้องมีการศึกษา สูงก็สามารถเลี้ยงปลากะพงขาวได้

574


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ด้า นจ านวนสมาชิ กในครั วเรื อน พบว่า เกษตรกรผู้ เลี้ ยงปลากะพงขาวในจั งหวั ดสุ ราษฎร์ ธานี ที่ ทาการศึกษาส่วนใหญ่มีจานวนสมาชิก 5 คน คิดเป็นร้อยละ 48.6 รองลงมา จานวนสมาชิก 4 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 จานวนสมาชิก 3 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 และ จานวนสมาชิก 2 คน คิดเป็นร้อยละ 8.1 ด้ า นจ านวนสมาชิ ก ที่ เ ลี้ ย งปลา พบว่ า เกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งปลากะพงขาวในจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ที่ ทาการศึกษาส่วนใหญ่ มีจานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลา จานวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 56.8 รองลงมา มีจานวนสมาชิกที่ เลี้ยงปลาจานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ32.4 จานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลา 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 และจานวนสมาชิก ที่เลี้ยงปลา 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 ด้านการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร ด้านเทคโนโลยี พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง มีการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีโดยรวม ไม่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 1.30 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การใช้ประสบการณ์และภูมิปัญญามาพัฒนางาน และใช้เทคโนโลยีการผลิต การตลาด และการจัดการที่สอดคล้องกับธุรกิจ ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 1.32) รองลงมา คือ การนาเทคโนโลยีสมั ยใหม่ที่เ หมาะสมมาปรับใช้ ในงาน ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ (ค่ าเฉลี่ย 1.30) ตามลาดับ ด้านเศรษฐกิจ ผลการวิเคราะห์ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง มีการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ โดยรวม สามารถพึ่งตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.96) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความสามารถในการชาระหนี้เงินกูไ้ ด้ ไม่มีความฟุ่มเฟือยจนเกินตัว, ดาเนินการผลิตอย่างประหยัด โดยเน้นการลดรายจ่ายการผลิตเป็นสาคัญ , สามารถ จัดหารายรับได้พอเพียงกับรายจ่าย, สามารถควบคุมและติดตามการหมุนเวียนของเงินสด และรายได้อยู่เสมอ , มี การลงทุนอย่างประมาณตน ไม่ก่อให้เกิดหนี้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รองลงมา ความพอดีกันระหว่างความต้องการ ด้านวัตถุกับด้านจิตใจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.95) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง มีการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยรวม สามารถพึ่งตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการเอาใจใส่แหล่งน้าให้เพียงพอ สมบูรณ์อยู่ตลอดปี สามารถพึ่งตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.52) รองลงมา (2)ร่วมกันรักษาและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงที่ มี ความสมดุลของระบบนิเวศน์ (3) พยายามฟื้นฟู รักษา และเสริมสร้างความเป็นธรรมชาติของชุมชน, (4)ใช้และ จัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนร่วมกันอย่างฉลาด คุ้มค่า สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.49) รองลงมา คือ ใช้อาหารชีวภาพมากกว่าใช้อาหารสาเร็จรูป สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.43) ด้านจิตสานึก พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง มีการพึ่งพาตนเองด้านจิตสานึก โดยรวม สามารถพึ่งพา ตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า คานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมในการทาธุรกิจและมี จริยธรรมในการดาเนินงาน สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.89) รองลงมา คือ ไม่มีความเอารัดเอาเปรียบและ เบียดเบียนเพื่อนร่วมธุรกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.84) ตามลาดับ ด้านสังคม พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง มีการพึ่งพาตนเองด้านสังคม โดยรวม สามารถพึ่งพาตนเอง ได้ (ค่าเฉลี่ย 2.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความภูมิใจในเอกลักษณ์ ศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็น มนุษย์, มีการยึดถือวิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณี เป็นความเข้มแข็งของชุมชน, มีการร่วมมือโดยพร้อมเพรียงกัน ในการต่อรองเพื่อประโยชน์ของชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.97) รองลงมา คือ มีการถือประโยชน์ของ ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.43) และ มีการร่วมมือกันผลิตของคนในชุมชน สามารถพึ่งพา ตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย 2.41) ตามลาดับ

575


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านเพศ ผลการทดสอบความแตกต่างของการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามเพศโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) พบว่าโดยรวมชายและเพศหญิงมีประสิทธิภาพ การทางานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เพศชายและเพศ หญิงมีประสิทธิภาพการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจและด้านจิตสานึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ส่วน ด้านอื่น ๆ เพศชายและเพศหญิง มีประสิทธิภาพการทางานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ด้านอายุ ผลการทดสอบความแตกต่างของรูปแบบการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา กะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามอายุ โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ด้านศาสนา ผลการทดสอบความแตกต่างของรูปแบบการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา กะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามศาสนาโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) พบว่าโดยรวมศาสนาพุทธและ ศาสนาอิสลามมีมีสถิติการพึ่งพา ตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้านพบว่า ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามมีประสิทธิภาพการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติแตกต่างกันอย่าง มีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามมีประสิทธิภาพการทางานไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ด้านระดับการศึกษา ผลการทดสอบความแตกต่างของสถิติการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามการศึกษาโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีประสิทธิภาพการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านจานวนสมาชิกในครัวเรือน ผลการทดสอบความแตกต่างของสถิติการพึ่งพาตนเองในชุมชนของ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามจานวนสมาชิกในครัวเรือน โดยใช้การทดสอบความ แปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีประสิทธิภาพการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านจานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลา ผลการทดสอบความแตกต่างของสถิติการพึ่งพาตนเองในชุมชนของ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามจานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลา โดยใช้การทดสอบความ แปรปรวน ทางเดียว (One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีประสิทธิภาพการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันอย่ างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วิจารณ์ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปี นับถือ ศาสนาพุทธ มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงชั้นประถมศึกษามากที่สุด จานวนสมาชิกในครัวเรือนมีจานวน 5 คน และ จานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลามีเพียง 1 คน เท่านั้น ด้านการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการ พึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจได้ดีสุด เพราะ เกษตรกรมีหนี้สิน รายได้จากการประกอบอาชีพเลี้ยงปลากะพงสามารถ ช่วยในการชาระหนี้เงินกู้ให้แก่เกษตรกรได้ และนาผลตอบแทนมาใช้จ่ายในการดาเนินชีวิตประจาวัน เพื่อพัฒนา สภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกร สอดคล้องกับงานวิจัยของจานง จุลเอียด และคณะ [8] ที่ได้ทาการศึกษา รูปแบบการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร พบว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าซึ่งนอกจากเป็นแหล่งอาหารแล้ว ยัง

576


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดีด้วย ส่วนด้านที่เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้น้อย ได้แก่ด้านเทคโนโลยี เนื่ อ งจากเกษตรกรกลุ่ ม นี้ มี ก ารศึ ก ษาอยู่ ใ นระดั บ ไม่ สู ง มากนั ก จึ ง อาจะท าให้ ก ารใช้ อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ ทาง อิเล็กทรอนิกส์อาจไม่ดีเท่าที่ควร ทาให้ความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีน้อย ส่งผลต่อความสามารถในนา ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงปลากะพงได้ ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านเพศ ผลการทดสอบข้อมูลทั่วไปกับการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามเพศโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) พบว่าเพศชายและเพศหญิงมีการพึ่งพาตนเอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เพศชายและเพศหญิงมีการ พึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจและด้านจิตสานึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ที่ระดับ .05 เนื่องจาก เพศชายและเพศ หญิง ต่างต้องทางานหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวเพื่อดาเนินชีวิตประจาวัน ส่วนด้านอื่น ๆ เพศชายและเพศหญิง มี ประสิทธิภาพการทางานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ด้านอายุ ผลการทดสอบข้อมูลทั่วไปกับการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามอายุ โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) พบว่า โดยรวมมีการพึ่งพาไม่แตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .5 เนื่องจากการเลี้ยงปลากะพงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับอายุของคนเลี้ยงใครก็สามารถเลี้ยงได้ ด้านศาสนา ผลการทดสอบข้อมูลทั่วไปกับการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามศาสนาโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) พบว่าโดยรวมศาสนาพุทธและศาสนา อิสลามมีการพึ่งพา ตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามมีการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 เนื่องจากชาวพุทธมีอาชีพเลี้ยงปลากะพงจึงรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรทางธรรมชาติ ต้องดูแลรักษาเอาไว้เพื่อใช้ ในการประกอบอาชีพต่อไป ส่วนด้านอื่น ๆ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามมีการพึ่งพาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ บาเพ็ญ เขียวหวาน (2554) ที่ได้ทาการวิจัยเรื่องสังคมเกษตรกรและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรกรที่กล่าวไว้ว่าการทามาหากินและการมองธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ด้านระดับการศึกษา ผลการทดสอบข้อมูลทั่วไปกับการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา กะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามการศึกษาโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากระดับการศึกษาไม่มผี ล ต่อการพึ่งพา เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้ ด้านจานวนสมาชิกในครัวเรือน ผลการทดสอบข้อมูลทั่วไปกับการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามจานวนสมาชิกในครัวเรือน โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทาง เดียว(One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากจานวนสมาชิกในครัวเรือนไม่มีผลต่อการพึ่งพาตนเอง ด้านจานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลา ผลการทดสอบข้อมูลทั่วไปกับการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จาแนกตามจานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลา โดยใช้การทดสอบความแปรปรวน ทาง เดียว (One way ANOVA) พบว่าโดยรวมมีการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากจานวนสมาชิกที่เลี้ยงปลาไม่มีผลต่อการพึ่งพาตนเอง

577


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อเสนอแนะ จากการดาเนินการวิจัย พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นเพศชาย อายุ ระหว่าง 51-60 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถม นับถือศาสนาพุทธ มีการพึ่งพาตนเองในด้านเศรษฐกิจมาก ที่สุด เพราะต้องการรายได้มาจุนเจือค่าใช้จ่ายในครอบครัว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนการพึ่งพาตนเองด้าน เทคโนโลยีเกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนพาเองได้ และพบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา จานวน สมาชิกในครัวเรือนและจานวนสมาชิกที่เ ลี้ยงปลา ไม่มีผลต่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากข้อมูลเบื้องต้นมีข้อเสนอแนะว่าการพึ่งพาตนเองในชุมชนของเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งปลากะพงขาว ในจังหวัดสุราษฎร์ธานียังขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาก จึงไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องมีการส่งเสริมทางด้าน เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความรู้ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และการนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในการ พึ่งพาตนเองได้ กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าปลากะพงขาวแบบ มีส่วนร่วมของชาวประมงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ” ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ ธานี (งบประมาณแผ่นดิน) ผู้วิจัยขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ เอกสารอ้างอิง จุฑารัตน์ จุลศิริพงษ์. (2553). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลีย้ งปลากะพงขาว. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(29), 1-15. เทพบุตร เวชกามา, วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม, วาสนา อากรรัตน์ และรัชกร อรชุน. (2555). การวิเคราะห์ตน้ ุทนและ ผลตอบแทนของการเลี้ยงปลากะพงขาว กรณีศึกษาการเลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, 6(1), 103-114. นิตยา ร่วมชาติ และอภิสิทธิ์ นุชเนตร. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและอัตราผลตอบแทนระหว่างการเลี้ยง ปลากะพงขาวในบ่อน้ากร่อย และน้าเค็ม กรณีศึกษากลุม่ ผูเ้ ลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์. ในวารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคล ครั้งที่ 5 (80-90). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร. นินธนา เอี่ยมสะอาด และสินีนาท โชคดาเกิง. (2558). ห่วงโซ่อุปทานสัตว์น้าอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี : กลุ่มปลาและหมึก. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. บาเพ็ญ เขียวหวาน. (2554). สังคมเกษตรและยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรกร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สานักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2553). เอกสารสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2553. กลุ่มงานสารสนเทศและการ สื่อสาร สานักวิจัยการเกษตร. (2557). เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดปลากะพงขาวในกระชัง. กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร. อภินันท์ จันตะนี. (2550). การใช้สถิติสาหรับวิจัยทางธุรกิจ. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.

578


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-24 บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบญ ุ บั้งไฟ ในพื้นที่ อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ THE ROLE OF LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONS IN PRESERVING THE FIREBALLS IN NONG KI DISTRICT, BURIRAM PROVINCE. สันต์ ประจิตร1, จิรายุ ทรัพย์สิน2 และอภิชาติ แสงอาพร3 1

Sun Prajit นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ SUN91001@gmail.com 2 Jirayu Supsin คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 Apichat Seangumpron คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อค้นพบจากการวิจัยเรื่อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ อนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมุ่งนาเสนอประเด็นสาคัญ ในแต่ละด้าน คือ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการปกป้องรักษาทานุบารุง ด้านการปลูกจิตสานึก ด้านการสืบทอด ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการส่งเสริมสนับสนุน ที่มีผลต่อการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งในปัจจุบันที่บุญบั้งไฟ ไม่ได้ทา หน้าที่ในฐานะการเป็นวัฒนธรรม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเข้าสูภ่ าคอุตสาหกรรม มากขึ้น การเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง ทั้งที่มาจากทั้งนโยบายรัฐและความเจริญที่เข้ามาสู่สังคม การมองบุญบั้งไฟ ในฐานะของงานที่ไม่ได้ถูกจากัดอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมชนบทแบบดั้งเดิม ไม่มีความร่วมมือของคนในชุมชนทั้งนี้ เนื่องมาจาก มีระบบการขอเงินสนับสนุนแทนที่ ความไม่เอื้ออานวยในการสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ทาให้การ จัดหาองค์ประกอบของงานบุญ มีวิธีการบริหารที่แตกต่างกัน ไม่ได้เป็นการลงแรงร่วมกันของคนในพื้นที่ ประเด็น ปัญหาด้านการพัฒนาของรัฐหรือนโยบายของรัฐส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ชุมชนและเชื่อมถึงการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒ นธรรม ในพื้น ที่ อาเภอหนองกี่ จั งหวัดบุ รีรั มย์ บุญ บั้งไฟจึ งควรได้รั บการศึกษาท าความเข้ าใจร่ว มกั น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างซึ่งส่งผลต่อวิธีคิดและถ่ายทอดออกมาเป็นรูปแบบปัจจุบัน เพื่อสร้างความ เข้าใจต่อประเพณีดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน คำสำคัญ : บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การอนุรักษ์, ประเพณีบุญบั้งไฟ Abstract Articles from Resources on Natural Resources and Environment Conservation in Nongkii Province, Buriram Province. It focuses on key issues. Each one is Local Wisdom The protection and maintenance of highways. Awareness Inheritance Participation Activity Promotion That affects the conservation of fireballs. At present, the fireballs are not made. Fun as a culture Changed Transforming from agricultural society into more industrial sectors, transition from rural to urban society. Both from the state policy and the progress that comes into society. Looking at the

579


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

fireworks as a work is not limited to the traditional rural culture. There is no cooperation of people in the community. There is a system of funding. Uncomfortable cooperation in various fields. Make the element of merit. There are different management approaches. It is not a joint effort of people in the area. Issues of state development or public policy affect community relations. And link to cultural change in the Nongki District, Buriram. The fireballs should be studied together, especially the structural changes, which affect the way of thinking and convey the current form. To understand such traditions knowingly. Keywords : local administration; conservation; Rocket Festival บทนา วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นรากฐานสาคัญของวัฒนธรรมของชาติเพราะเป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีการดาเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีต ประเพณีพิธีกรรม และภูมิปัญญาของคนในชุมชน อันบ่งบอกถึงความเป็น อัตลักษณ์ อันสะท้อนถึงวิถีชีวิตอันเรียบง่ายเป็นสังคมที่พัฒนาชุมชนให้ก้าวไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ โดยสร้าง คุณธรรม และ จริยธรรม อีกทั้งยังดารงความเป็นชาติพันธุ์ การเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและรูปแบบการบริโภค พลวัตความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทยที่ได้รับอิทธิพล จากกระแสวัฒนธรรมโลกมีสาเหตุจากโลกาภิวัตน์ เกิดการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิต ทัศนคติ ความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาทิ การใช้สื่อออนไลน์ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยไม่จาเป็นต้องรู้จักตัวตนซึ่งกันและกัน การบริโภคสื่อหลายช่องทางในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร้ขีดจากัด เกิดการสร้างวัฒนธรรมร่วมสมัย และ ขณะเดียวกัน อาจก่อให้เกิด วิกฤตทางวัฒนธรรมเนื่องจากการขาดการคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดีงาม จนทาให้คนไทยละเลย อัตลักษณ์ มีพฤติกรรมที่เน้นบริโภคนิยมและค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ไม่เคารพในสิทธิคนอื่นขาดความเ อื้อเฟื้อ เกื้อกูล ซึ่งนาไปสู่การสูญเสียคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ นโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ซึ่งผู้บริหาร ข้าราชการ ใน ส่วนกลาง และวัฒนธรรมจังหวัดจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2563 ที่จะผลักดันให้ ประเทศไทย ก้าวสู่ความมั่ นคง มั่งคั่ง ยั่ งยืน ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่ วยงานหลัก ที่ รับผิ ดชอบงานด้ านศาสนา ศิ ลปะ และวั ฒนธรรม โดยน ามิ ติท างวัฒนธรรมมาขับ เคลื่อ น การดาเนิ นงานตาม เจตนารมณ์ และนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ 1. การพัฒนาคนและสังคม สร้างคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม ภูมิใจใน ความเป็นไทย สังคมที่มีความเอื้ออาทรและปรองดองสมานฉันท์ 2. สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างสมดุลอันจะนาไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศอย่างยั่งยืน 3. นาวัฒนธรรมมาใช้ใน การสร้างความสัมพันธ์ ภาพลักษณ์และเกียรติภูมิของไทยในเวทีโลก เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทาขึ้นเพื่อเป็นกรอบ ทิศทางการพัฒนางานศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายสาคัญ คือ พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มี ความเข้มแข็ง และมั่นคงทางวัฒนธรรม คนไทยมีความภาคภูมิใจในความเป็น ไทย มีความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม (unity in diversity) มีความรู้ คู่คุณธรรม สามารถดารงภูมิปัญญาของ สังคมไทย ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม และเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

580


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

และอนาคต ซึ่งแสดงถึง การมีภูมิคุ้มกัน และสามารถดารงตนได้อย่างมีเหตุ มีผล พอประมาณตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงอันจะนาไปสู่การพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุล มั่นคงและยั่งยืนสืบไป พื้นที่ของอาเภอหนองกี่นั้น มีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก อยู่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มไทยเขมร กลุ่มไทยโคราช กลุ่มไทย ลาว และกลุ่มไทยส่วย โดยร้อยละ 50 ของกลุ่มชาติพันธุ์เป็น ไทยลาวหรือไทยอีสาน กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว (ไทย อีสาน)การตั้งถิ่นฐานชาวไทยลาวบุรีรัมย์ เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอาเภอพุทไธสง และเขตเดิมของอาเภอพุทไธสง เช่น นาโพธิ์และบ้านใหม่ไชยพจน์ ส่วนกลุ่มไทยลาวที่อพยพเข้ามาภายหลังช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มักตั้งถิ่น ฐานอยู่ในเขตพื้นที่อาเภอเมืองบุรีรัมย์ บ้านกรวด ลาปลายมาศ หนองกี่ สตึก หนองหงส์ ประโคนชัย เป็นต้น ที่ มีการยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีที่นิยมปฏิบัติ วัฒนธรรมประเพณีชาวไทยลาวบุรีรัมย์ทั่วไป คือ ยึดมั่นใน “ฮีตสิบสอง” คือ มีประเพณีประจาสิบ สองเดือนในรอบปีเช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป ดังนี้ เดือนเจียง (เดือนอ้าย) หรือเดือนธันวาคม นิมนต์พระสงฆ์มาเข้าปริวาสกรรม ในด้านฆราวาสจาทาพิธีเลี้ยงผีแถนผีต่าง ๆ(ผีบรรพบุรุษ) เดือนยี่(มกราคม) ทาบุญคูณข้าว หรือบุญคูณลาน โดยนิมนต์ พระสงฆ์สวดมนต์เย็นและฉันภัตตาหารเช้าเพื่อเป็นริ มงคลแก่ข้าวเปลือกเมื่อพระฉัน เดือนสาม (กุมภาพันธ์) ทาบุญข้าวจี่ เริ่มพิธีทาบุญข้าวจี่ในตอนเข้าโดยใช้ข้าวเหนียว ปั้นหุ้มน้าอ้อยนาไปย่างไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะเพื่อนาไปถวายพระสงฆ์พร้อมกับอาหารอื่น ๆ ข้าวจี่ที่เหลือจากพระ ฉันแล้ว เดือนสี่(มีนาคม) ทาบุญเผวส (บุญพระเวส) หรือทาบุญมหาชาติ มีการฟังเทศน์มหาชาติ เดือนห้า (เมษายน) ตรุษสงกรานต์ หรือทาบุญขึ้นปีใหม่ มีการสรงน้าพระพุทธรูปและ พระสงฆ์ชาวบ้านจะไปเก็บดอกไม้มาบูชาพระ เดือนหก (พฤษภาคม) ทาบุญบั้งไฟ สาหรับบุญบั้งไฟก็เป็ นพิธีเพื่อ ขอฝนจากเทวดา (แถน) เดือนเจ็ด (มิถุนายน) ทาบุญซาฮะ เพื่อบูชาเทวดาอารักษ์หลักเมือง โดยทาพิธีเซ่นบวงสรวงหลักเมืองหลักบ้าน ผีพ่อแม่ ผีปู่ผีเมือง (ผีบรรพบุรุษ) ผีตาแฮก (เทวดารักษาไร่นา) เพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ เดือนแปด (กรกฎาคม) ทาบุญเข้าพรรษา มีการ ทาบุญตักบาตรพระสงฆ์นาขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียนพรรษา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และจะเก็บไว้ตลอดพรรษา เดือน เก้า (สิงหาคม) ทาบุญข้าวประดับดิน โดยจัดอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ สุราแล้วนาไปวางไว้ใต้ต้นไม้หรือที่ใดที่ หนึ่งพร้อมทั้งเชิญวิญญาณบรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลักไปแล้วให้มารับเอาอาหารไป เดือนสิบ(กันยายน) ทาบุญข้าว สาก หรือสลากภัตในวันเพ็ญ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เช่นเดียวกับทาบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบเอ็ด (ตุลาคม) มีการทาบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่า เดือน11 ตอนเช้าชาวบ้านจะร่วมทาบุญตักบาตร รับศีล ฟังเทศน์ ถวายผ้าจานาพรรษา พระสงฆ์จะร่วมกันทาพิธีปวารณา กลางคืน มีการจุดโคมไฟแขวนไว้ตามต้นไม้ หรือตามริมรั้ว ของวัด เดือนสิบสอง (พฤศจิกายน) ในเดือนนี้จะมีการทาบุญกฐิน หรือบางแห่งจะมีการแห่ปราสาทผึ้งเพื่อถวาย พระสงฆ์และเพื่อเป็นพุทธบูชา ทั้งสิบสอง เดือนนี้ถือเป็ นประเพณีหลักของชาวอีสานทั่วไปที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และประเพณีเหล่านี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจ กันของชาวบ้าน ประเพณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมอีสานที่เต็ม ไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ แรงกาย แรงใจเพื่อการกุศล ความสมานสามัคคี ตลอดจนความกตัญญูรู้คุณต่อบุพการี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสาคัญที่หล่อหลอม บุคลิกภาพของชาวอีสานที่สาคัญยิ่งอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ปัจจุบันการปฏิบัติตาม ฮีตสิบสองก็ เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาธรรมชาติในการเพาะปลูก น้าเป็นสิ่งจาเป็นหลัก ในการเพาะปลูก หากปีใดน้าไม่เพียงพอที่จะเพาะปลูก เกษตรกรจะจัดพิธีขอฝน ในแต่ละภูมิภาคมีพิธีขอฝนที่ แตกต่างกัน ภาคกลางมีประเพณีแห่นางแมวขอฝน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประเพณีบุญบั้งไฟ หนึ่งใน ประเพณีสาคัญของภาคตะวั นออกเฉียงเหนือของไทยตลอดจนถึงประเทศลาวที่ ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันต่อมา ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือ “งานบุญเดือนหก” เป็นประเพณีพื้นถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยประวัติความ

581


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เป็นมาของบุญบั้งไฟประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลก มนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การราผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการ นับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิ พลของแถน หากทาให้แถน โปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่ง สัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจานวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทาน ปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป ปั จ จุ บั น เวลาก็ ไ ด้ ล่ ว งเลยผ่ า นไปตามยุ ค สมั ย ผู้ ค นก็ เ ริ่ ม ที่ จ ะปรั บ เปลี่ ย นตั ว เองเพื่ อ สอดคล้ อ งกั บ สภาพแวดล้อมในปัจจุบันให้มากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่เริ่มมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น ประเพณี ดั้งเดิมก็เริ่มที่จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ บางพิธีกรรมสูญสิ้นไปเลย ถึงแม้ จะมีให้เห็นบ้างก็มีน้อย และก็มักปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน “บุญบั้งไฟ” ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งในสมัยก่อนมีขึ้นเพื่อขอฝน เป็นสัญญาว่าให้ผู้คนที่ไปทางาน ในที่ต่างๆกลับมารวมกันเพื่อลงแขกดานา หรือเป็นตัวบอกกล่าวว่าใกล้ฤดูกาลทานาแล้ว(นี้คือจุดประสงค์หลัก)แต่ พอมาถึงปัจจุบันได้มีการวิวัฒนาการของประเพณีนี้มากขึ้นโดยจัดขึ้นมาเพื่อความสนุกสนานของผู้คนในหมู่บ้านซึ่งมี ทั้งมหรสพความบันเทิงต่างๆ และบางจังหวัดก็มีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศโดย จัดขบวนแห่ที่ตระการตา และมีการแข่งขันกันจุดบั้งไฟว่าบั้งไหนขึ้นสูงกว่ากันหรือมีระยะเวลาในการตกลงสู่พื้นมาก ที่สุด ใครที่เป็นเจ้าของบั้งนั้นก็จะชนะและได้เงินรางวัลไป แต่ที่แย่ไปกว่านั้นบางจังหวัดมีการทาบั้งไฟเพื่อมาแข่งขัน กันโดยใช้การพนันเป็นตัวสื่อถึงความชนะที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า “พนันบั้งไฟ”และเริ่มเป็นที่นิยมกันมากใน ปัจจุบันด้วย ซึ่งก็เห็นได้แล้วว่าประเพณีบุญบั้งไฟที่จัดขึ้นในสมัยก่อนมีจุดประสงค์เพื่อขอฝนและรวมผู้คนเพื่อ ช่วยกันลงแขกทานาและปัจจุบันกลายเป็นเกมส์การแข่งขันจนมีบางคนต้องสิ้นเนื้อปะดาตัวกับมันเพราะนาเงินมา เล่นพนันบั้งไฟ นอกเนื้อจากประเด็นดังกล่าวแล้วข้างต้น ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ พิธีกรรมต่างๆ ดิฉันคิดว่าน่าจะมาจาก “คน”มากกว่า ซึ่งจากการที่ได้ลงพื้นที่ในหมู่บ้านหนึ่งในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งก็ได้ถามความคิดเห็นของพระสงฆ์และชาวบ้านบ้างคนว่าคิดยังไงกับรูปแบบพิธีกรรม ดั้งเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ท่านได้บอกว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบพิธีกรรมหรือตัวพิธีกรรมนั้นไม่ค่อย เปลี่ยนเท่าไรหรอก แต่ ที่เปลี่ยนก็มีแ ต่คนนั่นแหละเพราะปัจจุ บันคนเราก็ ได้รับการศึก ษามากขึ้น เริ่มมีการ ใช้ เทคโนโลยีและความรู้สมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ และก็เริ่มที่จะไม่ค่อยปฏิบัติตามฮีตคอง(หลักปฏิบัติตนของชาวบ้านใน แถบภาคอีสาน)เหมือนเมื่อก่อน เพราะผู้คนเริ่มมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะเห็นได้แล้วว่าการเปลี่ยนแปลง ของพิธีกรรมการขอฝน ของงานบุญบั้งไฟแต่ก่อนมีจุดประสงค์เพียงเพื่อขอฝน แต่ปัจจุบันมักจะกลายเป็นสินค้า โดย ใช้กรอบของทุนนิยมเป็นตัวกาหนด ดังเช่นการดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชม เพื่อจะได้นาเงินเข้าหมู่บ้านของตนจากการ ท่องเที่ยวและสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดได้ และ การพนันบั้งไฟ ซึ่งมีขึ้นก็เพื่อเงิน (การบริโภคทุนนิยม) เพราะเป็นการหารายได้ทางอ้อม โดยชาวบ้านมักจะเล็งเห็นว่าอาจจะได้เงินง่ายและไม่ต้องลงทุนอะไรเพียงแค่นาเงิน มาพนันกับกลุ่มเพื่อนก็ได้เงินแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า “ทุนนิยม” เป็นปัจจัยสาคัญหรือเป็นตัวกาหนดการ เปลี่ยนแปลงพิธีกรรมต่างๆในปัจจุบัน “บุญบั้งไฟ” ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งในพื้นที่ของอาเภอหนองกี่ก็เช่นกัน ที่จะจัดในช่วงฤดูฝนที่เข้าสู่ฤดูทานา อยู่ในช่วงเดือน ชาวนาชาวไร่ จะทาพิธีบูชาขอฝนจากพญาแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาไม่เสียหายนอกจากจะเป็นการขอฝน แล้ว ในความเชื่อของชาวบ้านในท้องถิ่นมีอยู่ว่าการจุดบั้งไฟยังเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง ถ้าจุดบั้งไฟแล้วลอยขึ้นสูง ทานายได้ว่าปีนี้ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล น้าท่าข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ดี ในวันงานประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้าน

582


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จะนาบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน บั้งไฟของบ้านไหนจุดแล้วลอยสูงที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะไป ส่วนบั้งไฟที่ลอย ต่าที่สุดหรือแตกก่อนถือว่าแพ้ ผู้แพ้ต้องโดนลงโทษด้วยการอุ้มไปโยนลงบ่อโคลน สร้างเสียงหัวเราะบรรยากาศ สนุกสนานในงาน งานบุญบั้งไฟของชาวหนองกี่จึงเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงการเคารพ ให้เกียรติธรรมชาติ และ การฉลอง ความสนุกสนาน รื่นเริง ในวันงานจึงมีขบวนแห่บั้งไฟพร้อมนางเซิ้งนาขบวนแห่บั้งไฟ หากแต่ในปัจจุบัน ประเพณีบุญบั้งไฟได้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของงานประเพณีไปในหลายด้านและวิธีการของงานประเพณี จึงได้นา ประเด็นของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะเรื่องของการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมากในปัจจุบั น ซึ่งประเพณีบุญ บั้งไฟ เป็น การจั ดสืบทอดประเพณีข องชาวหนองกี่ ที่ ยึดถือ การบู ชาแถน เหมือนกับการจัดงานของชาวอีสานในพื้นที่อื่น ในปัจจุบัน การจัด งานบุญบั้งไฟในพื้นที่อาเภอหนองกี่ ได้เปลี่ยนแปลง ไปจากรูปแบบดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ไม่ได้ทาการเกษตร ความเชื่อในธรรมเนียมประเพณีไม่ได้เหนียวแน่นเหมือนดังเดิม การเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายของภาครัฐต่อการจัด งานประเพณี เป็นต้น ทาให้รูปแบบและวัตถุประสงค์ในการจัดงานบุญบั้งไฟถูกแทรกด้วยวัตถุประสงค์เช่นเพื่อการ ท่องเที่ยวแทนที่ โดยเฉพาะจะเห็นได้ในการจัดงานบุญบั้งไฟบางพื้นที่ก็จะมีการพนันอยู่ด้วย และได้มีรูปแบบการจัด งานที่เปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิม หรือจากรูปแบบ ในชนบทอย่างมาก ทั้งในเรื่องของวัตถุประสงค์การจัดงาน และรูปแบบการจัดงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม และ มี ภารกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตามพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กร ปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตาบลมีอานาจและ หน้าที่ในการ จัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (ข้อ 11) การบารุง รักษาศิลปะประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็น หน่วยงานซึ่งเป็นกลไกสาคัญ ที่สุดมีผลในการผลักดัน กระตุ้น ส่งเสริมการดาเนินงานด้านวัฒนธรรมประเพณี ในท้องถิ่น รวมทั้งการขยายโอกาส ให้ประชาชน เยาวชน นักเรียนและผู้สนใจทั้งในท้องถิ่นและบุคคลภายนอก ได้มีโอกาสสัมผัส และเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการ ศึกษา ค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ทดลอง เพื่อการ อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น การนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้าง นวัตกรรมใหม่และนาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้ คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อดารงไว้ซึ่งภาคภูมิใจในท้องถิ่น และเกียรติภูมิไทย สร้างความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่ง ปัญหาทีพ่ บในปัจจุบันจากการค้นคว้า ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ (2554) อาภาวดี ทับสิรักษ์.(2555) วิภาษณ์ เทศน์ธรรม (2541) ดังนี้ 1)การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างหน้าที่ของประเพณี เช่น บุญบั้งไฟไม่ได้ทา หน้าที่ในฐานะการเป็น วัฒนธรรม ซึ่งการที่โครงสร้างทางสังคมได้เปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม มากขึ้น การเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง ทั้งที่มาจากทั้งนโยบายรัฐและความเจริญที่เข้ามาสู่สังคมอีสาน 2) มีการ พนันที่เพิ่มมากขึ้นในการจัดงาน ซึ่งว่ากันว่ามีเงินสะพัดในการจัดงานแต่ละครั้ง เกิดเซียนบั้งไฟที่รับแทงพนั นบั้งไฟ ซึ่งในงานนั้น นักการเมืองหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ หรือแม้แต่ข้าราชการในพื้นที่เอง ได้เข้ามามีส่วนในการเปิด โอกาสให้มีการพนันอย่างเสรี นอกจากมีการพนันในงานบุญแล้ว ยังมีการจัด แข่งขันจุดบั้งไฟนอกฤดูกาลซึ่งไม่ได้ เกี่ยวข้องกับความหมายในเชิงประเพณี อยู่เลยแม้แต่น้อย การมองบุญบั้งไฟในฐานะของงานที่ไม่ได้ถูกจากัดอยู่ใน กรอบของวัฒนธรรมชนบทแบบดั้งเดิม 3) บุญบั้งไฟได้กลายเป็นเวทีในการหาเสียงให้กับนักการเมืองทั้งที่เป็นการหา เสียงของนักการเมืองท้องถิ่นและพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งเราจะพบป้ายการสนับสนุนงานประเพณีของกลุ่มคน เหล่านี้ในหลายพื้นที่ไม่เพียงแต่เฉพาะในบุญบั้งไฟ 4) บุญบั้งไฟได้กลายเป็นงานในเชิงธุรกิจ ไม่มีความร่วมมือของคน ในชุมชนแต่ละคุ้มทั้งนี้เนื่องมาจาก มีระบบการขอเงินสนับสนุนแทนที่ ความไม่เอื้ออานวยในการสร้างความร่วมมือ

583


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ในด้านต่างๆ ทาให้การจัดหาองค์ประกอบของงานบุญในแต่ละคุ้ม มีวิธีการบริหารที่แตกต่างกัน ไม่ได้เป็นการลงแรง ร่วมกันของคนในพื้นที่ 5) ประเด็นปัญหาด้านการพัฒนาของรัฐหรือนโยบายของรัฐส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ชุมชนและเชื่อมถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ในพื้นที่ อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ 6) ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ ผู้ศึกวิจัยในฐานะที่ได้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงทาให้มีแนวคิดที่จะทาการศึกษา บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่ อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ จากปัญหาการเปลี่ ยนแปลงของประเพณีบุญบั้งไฟ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งความ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ส่งผลอย่างน้อยต่อการถกเถียงประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นประเด็น เกี่ยวกับโลกโลกาภิวัตน์ที่นาวัฒนธรรมเข้ าสู่กระบวนการพาณิชย์ทาให้ระบบความคิด ความเชื่อ ต่อการจัดงานได้ เปลี่ยนแปลงไป หรือประเด็นปัญหาด้านการพัฒนาของรัฐหรือนโยบายของรัฐส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ชุมชน และเชื่อมถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม บุญบั้งไฟจึงควรได้รับการศึกษาทาความเข้าใจร่วมกันโดยเฉพาะการ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างซึ่งส่งผลต่อวิธีคิดและถ่ายทอดออกมาเป็นรูปแบบปัจจุบัน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อ ประเพณีดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน เขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บ รวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) เป็น เครื่องมือสาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยเชิงปริมาน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กาหนดประชากรกลุ่มเป้าหมายดังนี้ ประชากรที่อยู่ในเขต อาเภอหนองกี่ ซึ่งเป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จากประชากรทั้งหมด 68,446 คน (ข้อมูลสถิติสาคัญของจังหวัดบุรีรัมย์.2559)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยได้จัดเลือกกลุ่มตัวอย่างสาหรับ เก็บ ข้อมูลผู้วิจัยได้คัดเลือก ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน 398 คน จากการคานวณสูตรยามาเน่ (Yamane. 1960 : 10881089) ซึ่งใช้ระดับค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ที่นัยสาคัญ .05 การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ วัฒนธรรมอาเภอ นักพัฒนาชุมชนอาเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 20 คน ดังนี้ วัฒนธรรมอาเภอ หรือตัวแทน จานวน 1 คน ผู้ปริหารท้องถิ่น หรือตัวแทน จานวน 11 คน ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 8 คน เกณฑ์การคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน การเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Non – Probability Sampling) การเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling)

584


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้ง ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งสร้างตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กาหนดขึ้นในบทบาทขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ จังหวั ดบุรีรัมย์ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อ ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Checklist) ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญ บั้งไฟ ซึ่งประกอบด้วย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจั ดการ ด้านการจัดการองค์กร ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญ บั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ขั้นตอนการสร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างและตรวจหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการอนุ รั ก ษ์ ป ระเพณี บุ ญ บั้ ง ไฟ ในพื้ น ที่ อ าเภอหนองกี่ จั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ โ ดยพิ จ ารณาตามหลั ก ระเบี ย บและ วัตถุประสงค์ของการวิจัยหลัก เพื่อเป็นกรอบประเด็นคาถาม 2. น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษามาเขี ย นเป็ น ข้ อ กระทงความ (Item) ของแบบ สอบถามตาม องค์ประกอบต่างๆ ของบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอ หนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ 3. จัดทาร่างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดที่กาหนดโดยพิจารณาถึงเนื้อหารายละเอียดให้ครอบคลุม ถึงวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา 4. น าแบบสอบถามที่ ส ร้ า งขึ้ น เสนอ ประธานและกรรมการที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ เพื่ อ ท าการ ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมข้อคาถามให้ครอบคลุมเนื้อหาและรัดกุมยิ่งขึ้น 5. นาเครื่องมือที่แก้ไขปรับปรุงแล้วเสนอผูเ้ ชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน เพื่อให้พิจารณาตรวจสอบความ ตรงของเนื้อหาและความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ โดยการจัดทาหนังสือขอความร่วมมือในการพิจารณา ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) อาจารย์ ดร.นพฤทธิ์ จิตรสายธาร 2) อาจารย์ ดร.ศศิธร ศูนย์กลาง 3) อาจารย์ ดร.วันชัย สุขตาม ผลการพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC (Index of Item – Objective Congruence ) ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง

585


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

6. นาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว นาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความชัดเจน 7. นาแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่ม ตัวอย่างเป้าหมาย จานวน 30 ชุด 8. นาแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาคานวณหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability )โดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α - Coefficient) โดยการใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach. 1970 : 160) จากการคานวณได้ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 9. นาผลการทดลองใช้มาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์ และนาเสนอประธานและ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับจริง เพื่อนาไปใช้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จัดทาหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตต่อวัฒนธรรมอาเภอ นักพัฒนาชุมชนอาเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ใน พื้นที่ 2. เตรียมความพร้อมของแบบสอบถาม ให้มีจานวนเพียงพอกับจานวนกลุ่มตัวอย่างที่จะทาการเก็บ รวบรวมข้อมูล แล้วนาแบบสอบถามพร้อมหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลไปเสนอขออนุญาตเก็บรวบรวม ข้อมูลต่อวัฒนธรรมอาเภอ นักพัฒนาชุมชนอาเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน พร้อมชี้แจงรายละเอีย ดของ การดาเนินการศึกษาวิจัยและการดาเนินการเพื่อใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบตามจานวนที่ต้องการ 3. นาแบบสอบถามไปทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยลงไปเก็บแบบสอบถาม ด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1 – 30 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับคืนทั้งหมดแล้วนามาตรวจสอบความ ถูกต้องความสมบูรณ์ถ้ายังไม่สมบูรณ์คัดแบบสอบถามฉบับนั้นออกแล้วดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จนครบ จากนั้นจึงได้เริ่มทาการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยที่เลือก ใช้ในครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นาแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม 2. นาผลของข้อมูลบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อคานวณหาค่าสถิติที่เลือกใช้เพื่อการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อหาค่าทางสถิติ 3. นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะตารางแสดงผลการวิเคราะห์พร้อมการแปลความหมาย โดยวิธีการพรรณนาตามค่าสถิติของแต่ละตารางข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทาการิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการ วิจัยทางสังคมศาสตร์เสนอข้อมูลและใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 สถิติหาค่าความสอดคล้องของแบบสอบถาม ใช้ก ารหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) โดยใช้สูตรของ โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton. 1977 : 49) โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้จากการคานวณจากสูตร

586


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ที่จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป คัดเลือกข้อสอบข้อนั้นไว้ใช้ได้ แต่ถ้าได้ค่า IOC ต่ากว่า 0.5 ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุง หรือตัดทิ้ง 1.2 สถิติหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α - Coefficient) ตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach. 1970 อ้างถึงใน วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 260) 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย ( X ) 2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) 2.4 ค่าแจกแจงแบบที (t – test) 2.5 ค่าความแปรปรวน (F – test) (ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2553 : 177) ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เรื่อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญ บั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จานวน 398 ชุด แล้ว นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อคานวณหาค่าสถิติต่าง ๆ สาหรับตอบปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ การศึกษา พร้อมทั้งนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ผลการวิเคราะห์บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอ หนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาท ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก ( X =3.68, S.D.= 0.500 )เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ โดยภาพรวม มีค่ าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากซึ่งเรียงลาลับได้ดังนี้ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น X( =3.75, S.D.= 0.500) ด้านการปกป้องรักษาทานุบารุง ( X =3.74, S.D.= 0.562) ด้านการจัดกิจกรรม ( X =3.68, S.D.= 0.615) ด้านการส่งเสริมสนับสนุน ( X =3.68, S.D.= 0.540) ด้านการปลูกจิตสานึก ( X =3.64, S.D.= 0.638) ด้านการมีส่วนร่วม (X =3.64, S.D.= 0.590) และด้านการสืบทอด ( X =3.63, S.D.= 0.654) สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยนาข้อมูล บทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขต อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้หลัก 5 ข้อ คือ 1) หลักสิทธิเสรีภาพ 2) หลักเหตุผล 3) หลักความเสมอ ภาค 4) หลักการยึดเสียงข้างมาก และ 5) หลักภราดรภาพโดยภาพรวม มาดาเนินการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของบทบาทที่เหมาะสมของกานันและผู้ใหญ่บ้านในการ ส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชนเขตอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยภาพรวม

587


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 (n = 398)

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการปกป้องรักษาทานุบารุง ด้านการปลูกจิตสานึก ด้านการสืบทอด ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการส่งเสริมสนับสนุน ภาพรวม

X

3.75 3.74 3.64 3.63 3.64 3.68 3.68 3.68

S.D.

แปลผล

0.500 0.562 0.638 0.654 0.590 0.615 0.540 0.500

มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

จากตาราง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =3.68, S.D.= 0.500) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ใน พื้นที่อาเภอหนองกี่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากซึ่งเรียงลาลับได้ดังนี้ ด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ( X =3.75, S.D.= 0.500) ด้านการปกป้องรักษาทานุบารุง ( X =3.74, S.D.= 0.562) ด้านการ จัดกิจกรรม ( X =3.68, S.D.= 0.615) ด้านการส่งเสริมสนับสนุน ( X =3.68, S.D.= 0.540) ด้านการปลูกจิตสานึก ( X =3.64, S.D.= 0.638) ด้านการมีส่วนร่วม ( X =3.64, S.D.= 0.590) และด้านการสืบทอด ( X =3.63, S.D.= 0.654) สรุป ผู้ต อบแบบสอบถามมีความคิ ดเห็ นต่อ บทบาทขององค์ กรปกครองส่ วนท้องถิ่นในการอนุ รัก ษ์ ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ โดยภาพรวม มีข้อเด่นที่สุด คือด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและข้อด้อยที่สุด คือ ด้านการสืบทอด วิจารณ์ผลการวิจัย นโยบายท้อ งถิ่นการบริหารส่งผลต่อการจัด กิจกรรมบุญ บั้งไฟอย่า งมาก กลุ่ม นักการเมื องท้องถิ่น มี ความสัมพันธ์กับชาวชุมชนทั้งโดยตรงและโดยผ่านหัวคะแนนเป็นหลัก โดยมีทั้งกลุ่มพ่อค้า อดีตข้าราชการเก่า คนรุ่น ใหม่ และกลุ่มอาชีพอิสระ ซึ่งในแต่ละปีแต่ละกลุ่มก็จะให้การสนับสนุนกิจกรรมของคณะบั้งไฟ เพื่อหาเสียงไปในตัว ด้วย นักการเมืองท้องถิ่นท่านหนึ่งสะท้อนว่า “การจัดงานบุญบั้งไฟ เป็นกิจกรรมใหญ่ที่มีหน้าตาเป็นเดิมพัน การจัด งานบุญบั้งไฟดีไม่ดีก็จะสะท้อนออกมาตามเสียงของหัวคะแนนและส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งของชาว ชุมชนด้วย นอกจากนี้การให้การสนับสนุนคณะบั้งไฟยังเสมือนการซื้อใจฐานเสียง แม้ว่าให้การสนับสนุนแล้ว ถึงเรา ไม่ต้องการให้ขึ้นป้ายผู้ให้การสนับสนุน เขาก็ขึ้นให้อยู่ดี เหมือนเป็นธรรมเนียมไปโดยปริยาย”ผู้นาท้องถิ่นที่ให้เป็นที่ ปรึกษาประจาชุมชน ปราชญ์ช่างที่เกี่ยวข้องกับบั้งไฟมีสองกลุ่ม คือ ช่างแกะลายรถบั้งไฟสวยงาม และช่างทาบั้งไฟ สาหรับ ช่างทาบั้งไฟ ซึ่งช่างทาบั้งไฟรับทาบั้งไฟแฟนซีจะมีไม่มากการว่าจ้างให้ผลิตบั้งไฟเปิดงานเป็นหลักเมื่อระบบการ จัดการของงานบุญบั้งไฟกลายเป็นการว่าจ้างเบ็ดเสร็จ ก็ทาให้ช่างกลายเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มี บทบาทมากนัก ในการมีส่วนร่วมในการจัดงานบุญบั้งไฟเพราะช่างส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ชุมชน ไม่เหมือนกับในอดีตที่จะมีช่างทา บั้งไฟในชุมชน หรือช่างที่ทาหน้าที่เกี่ยวกับการประดับตกแต่งรถบั้งไฟในพื้นที่ สาหรับช่างที่รับจ้างทารถบั้งไฟ

588


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สวยงามเมื่อดูผิวเผินไม่มีบทบาทอะไรนอกจากรับเหมารถบั้งไฟสวยงาม แต่ช่างกลับมีบทบาทแฝงที่สาคัญคือหาก ชุมชนใดใช้ช่างที่มีความสามารถก็จะทราบได้ว่ารถบั้งไฟของคุ้มใดจะเป็นผู้ชนะ เป็นต้นโดยรถบั้งไฟสวยงามที่ได้รับ รางวัลมักจะเป็นของช่างคนเดิม สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันแต่ละปี ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยเห็นว่าจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาวะในปัจจุบัน ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกระแสโลกกระแส การเมืองการปกครองการบริหารประเทศ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการไวต่อการรับรู้ข่าวสาร การศึกษาเรื่อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ บุญ บั้งไฟจึงเป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจในการศึกษาอย่างยิ่งโดยน่าจะมีการวิจัยต่อยอด ในประเด็น ต่อไปนี้ 1) เหตุใดการพนันบั้งไฟจึงไม่ถูกแก้ไขอะไรเป็นปัจจัยใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากกรณีดังกล่าว 2) การศึกษานโยบายที่จะมีผลต่อการคงอยู่ของบุญบั้งไฟของชาวอีสานอันเป็นอัตลักษณ์ 3) การศึกษาโครงสร้างหน้าที่ตามแบบที่เป็นอยู่และควรพัฒนาเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ร่วมสมัย เอกสารอ้างอิง นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2536). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร. : ทิศทางไทย, ผจงจิตต์ อธิ คมนันทะ. (2543). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ภาณุมาศ แก้วพิลึก. (2552).การจัดการงานประเพณีบุญบั้งไฟขององค์การบริหารส่วนตาบลนาคา อาเภอคา เขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร: หน้า 48-52 รายงานอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จารัส ปัตตานัง.(2541)การศึกษาการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมขององค์การ บริหารส่วนตาบล ในอาเภอพล จังหวัดขอนแก่น: การบริหารการศึกษาวิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.. บัวฮอง กิตติธมโม (จานงศักดิ์). (2544). บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ศึกษากรณี อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น : รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พระครูใบฎีกาบัวฮอง กิตติธมโม (จานงศักดิ์) การศึกษาค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม. ไทยคดีศึกษา กลุ่มมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (สาเนา). Taro Yamane. (1960). Statistics : An introductory analysis. Singapore : Harper International Edition. USA: Prentice

589


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

HSBO-25 THE GUIDELINE OF CULTURAL BANANA VALUE-ADDED IN TA ONG COMMUNE, CHAMKAR LEU DISTRICT, KAMPONG CHAM PROVINCE, CAMBODIA KHIN MENGLORM1 DR. SUREESHINE SUKANTARAT2 AND DR. SUPIMPHA WATTASANGKHASOPHON3 1

Master of Arts Program Research for Community Development, Faculty of Humanity and social science, Surindra Rajabhat University 2 PhD. In Faculty of Humanity and social science, Surindra Rajabhat University 3 PhD. In Faculty of Humanity and social science, Surindra Rajabhat University

Abstract The banana was one of the Cambodian's importance fruit crops that applied in foods and was an excellent source valuable for higher raw materials. The author aimed: (1) To study the value of banana culture at Ta Ong Commune, Chamkar Leu District, Kampong Cham Province, Cambodia. (2) To propose the guideline of value-added of banana culture for Ta Ong commune, Chamkar Leu District, Kampong Cham Province, Cambodia. The methodology of research- The author conducted with the participant or nonparticipant observation and collected data through in the deep interview. The tools that used for research analysis was a group discussion and SWOT analysis. The results showed that the banana had importance for Cambodian people’s cultural and economic. The banana was prodigiously cropping could make the symbolic of worship such as Bay Sie, Pe, and Sla Thor that can apply in belief, religion, and traditional ceremonies. The economic value showed that people in Ta Ong community still used traditional cultivation techniques, in the food transformation that brought the banana to cook as a sweet and meat dish food. Banana products of Ta Ong community were to present in throughout the country and International markets also. The second object showed that people of Ta Ong community should be improved and developed local wisdom, the potential of products, and marketing potential by organizing of Bay Sei competition. For economic value, People of Ta Ong community should be developed knowledge to Improve the potential of products by teste, improve and increase the variety of banana products, and should be caught the pricing, channel of distribution, and strengthen marketing. Keywords: Culture, Banana, Economic Value

590


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Introduction Banana is one type of crops cultivated in the history of Cambodia agriculture and cultivated anywhere in the country. Mostly, the banana tree is found in along Mekong river and in the central and northeast highland regions of the country. Banana is crop has importantly used in the daily life of Cambodian people such as cultural, economy, and diet, etc. The modern of people’s banana fruits consumption has been using for wrapping food, the meat dish, and fried food. For the banana cultural have used in various rituals religious and tradition (Men Sarom, 2003). Besides, banana has been using for food and ritual culture purposes and applied to the pharmacy in the prevention of herbal treatment for many diseases such as rashes, high blood pressure, insomnia, depression, and gastritis (Reference). Similarly, Cambodian people is like the cultivated banana for eating and trading. Therefore, to increase the livelihood economic has sustainable the people of Ta Ong community, Chamkar Leu district, Kampong Cham province have cultivated banana more than any areas. People of Ta Ong community have also produced banana by-products such as banana crisp, wine, sugar and these products are presenting in throughout the markets in the country and International markets as well as Japan, Korea, Vietnam, China. Regardless of the contribution importance bananas can apply to the country’s economic, and investment in banana research is still limited. Currently, the production of banana in Ta Ong community is still a small-hold industry, a constant problem with the expansion of the crop. Addition variety of banana, products are the damage caused by community people have low awareness of agricultural technique and low awareness for improved value-add of banana products. Study problem cultural value, and economic value-added is a good guideline that researcher can make a strategic plan for improved livelihood and developed the family economy of people in Ta Ong community. According to the ministry of Agriculture’s strategic plan has developed a strategy to increase the banana as follow, (1) Research about the local wisdom of the community and production techniques to develop quality banana products. (2) Dissemination of new knowledge, new Production techniques about the planting technique, and banana processing to farmers (Ministry of Agriculture’s Agricultural development plan, 2013-2018). Therefore, The researcher interest to study "The guideline of cultural banana value-added in Ta Ong commune, Chamkar Leu district, Kampong Cham province, Cambodia " by the way, the researcher must be studied about cultural (belief, religion, and tradition) and economy (Produce, transformation, and marketing) to promote and upgrade banana products, to improve the living standard and household economic.

591


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Research objectives 1. To study the value of culture banana at Ta Ong Commune, Chamkar Leu District, Kampong Cham Province, Cambodia. 2. To propose the guideline of value-added of banana culture for Ta Ong commune, Chamkar Leu District, Kampong Cham Province, Cambodia. Research Methodology This research designed by using the qualitative method. While the first and the second objective mainly concentrated on the qualitative data. To reach the main research question below was the procedure for conducted this research. Explored a case of Ta Ong’s community on what we want to study Ta Ong community, Chamkar Leu district, was just only a case in our study. The first and second objective we had chosen tree groups such as key information group, performance information group, and general information group. Identification of population and sampling People group in Ta Ong community, key informants were selected for the explorative study. Data collection method To achieve this research, was different types of research methods and techniques of gathering field data had used documentary research, participant observations, key informants interview, semi-structured Interviews, informal interviews. - The documentary research: used since the earlier stage of designing the research. The researcher collected data from any journals, thesis, internet, a document from the national Development planning. - Participant observation: used to understand the social interaction among villagers. This method used to observe deeply on their communication in the community. During this, we tried to identify key informants for further interviews. - Key informant interviews: used to collect information about local history, local awareness, belief, traditional, producing, transformation, and marketing that relate to banana. Furthermore, this method had focused on cultural value and economic value added. The key informants were those who had an awareness that related to banana cultural value adding. These include village chief, community chief, core person and member of the community from different backgrounds based in the area. - The methods of Semi-Structured Interviews: used to determine the role of banana in the community that related to culture and economic. After that the questionnaire was designed to obtain the specific information the cultural value and economic value added of

592


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

community people, how the community had helped to improve the people of community livelihood, how the community had regulated the local market system, the member of the community had used their resource, and how did strategies to support their living. - The informal interviews: used to obtain data, which involves informal talk with villagers. This method aimed to understand relation the role of banana with community people. - Focus group discussion: was used to select a specific purposive sampling group. Was chosen from experts, including monks, village leaders, farmers, traders, philosophers, villagers, teachers, community leaders, and who took advantage of bananas. The banana farmers who cultivated bananas transformation enterprises, to gather and analyze data. Analysis and discussion of results: To propose the guideline of value-added of banana culture for Ta Ong commune, the researcher used SWOT tool to analysis for finding the potential of community and banana by was analyzed strength, weakness, Opportunity, and threat. These points were important to make strategies plan to develop household economic of Ta Ong community. Research Results The value of banana culture 1. The banana and belief In the belief, found that banana is a kind of plant has associated with the way of life which can be divided into two types is spiritual belief and belief of eating. In the spiritual, people in the community has the belief that bananas are sacred plants that can make prosperity, good fortune and happiness for the family. In addition, people believe that banana is the plant can be escorted deceased soul to rest in the peace. Therefore, people in the community bring the banana applied to the wedding party, the column raising ceremony and the funerals etc. For the belief of eating, Banana are a valuable fruit in the diet helps to add to body power, it helps the nursing mother has enough milk for the baby, help to digestion and excretion. But in the belief of eating, some variety banana is forbidden such as Cheak Noun eating is forbidden for the nursing mother because it makes twitched that effects for life. 2. The banana and religion Banana is an essential element that can’t be absent in daily life. Banana becomes an identity in the sacrifice to show for respects, faithfulness that people in the community being applied in Buddhism and Brahmanism. Bay sei, Sla Thoar, and Pae are a sacred symbol religious ceremonies that made from leaves, stalk, shoot, and pseudostem. These symbols bring to show about rituals peace and to increase strengthener people to religion. The reason that people choice banana is applied in religious rituals because banana is a kind of tree that can be carved, sewn as easily that has noticed in rituals and belief of religion.

593


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. The banana and tradition Banana is a plant played a role in preserve promoting culture, and banana has intered in cultural as though belief, religion, and traditions of the 12-month. Furthermore, banana is a symbol of the sacrifice as Bay sei, Sla Thoar, and Pae, and use for carvings symbol, decorations in the traditional the 12-month ceremony, such as Khmer New Year, Visakabucha, Magha Puja, Asalha Puja, Kathina ceremony, Bon Om Touk, The Royal Ploughing Ceremony. In addition to the use of the traditional 12-month ritual, bananas also serve as food for use in traditional festivals. The economic value of the cultural banana value in Tan Ong community 1. The production Ta Ong community is an abundant area that favorites for crop planting, especially banana. The farmers Ta Ong community 's banana production are used the traditional technique that derives from local wisdom. Moreover, the people in this community do not new techniques researching to apply for cultivar and maintenance which affects growth and harvesting. The farmer in Ta Ong community cultivate banana that follows in natural, no soil improvement selection and no takes good care of. The normally, the farmers in the Ta Ong community are selected suitable spacing of 3 m x 4 m or 4 m x 5 m and the pit size of 40 cm x 50 cm x 30 cm or 40 cm x 50 cm x 50 cm. For the caring of banana has only cut leaves at ground level and cover the exposed plant with soil. The farmer’s banana harvesting is 2 type, harvested by bunch and comb. 2. the transformation It is well known that banana is very useful in the food and raw materials. All the parts of the banana are useful, including pseudostem, bract, leaf, and flower, It furnishes food, domestic materials, and medicine. But the majority of the people in Ta Ong community is transformed banana into 2 types as a raw material, and food. In terms of food, the people in the Ta Ong community is transformed bananas 2 parts such as the food transformed from bananas, and the food wrapped from leaves and bracts.

594


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Table 1 lists of miscellaneous banana transformation Category

Food Food transformed from bananas Dessert Meat Dishes

Leaf

Steamed curried fish (Amok trey) Banana sticky rice Grilling Fish

Bracts Banana Flower

Pseudostem Banana Fruit

Food wrapped

Steamed Banana cake Banana porridge dessert Banana in syrup Fried banana Banana sticky rice Banana grilled sticky rice Banana chips sun-dried banana Banana candy Roasted banana Banana wine Sugar banana

Raw Materials

String

Nham banana flower Banana flower soup Roasted chicken banana flower Trei sour soup Trei sour soup Nham pseudostem Banana fruit soup Banana fruit sour soup

3. The marketing The stimulation of banana selling's the people in Ta Ong community is based on 4Ps marketing principles as well as products, price, place, and promotion. All parts of the banana products in Ta Ong community that sell in the market has a different price between the price that sells by producers and middlemen. Yet, the banana products of Ta Ong Community are merchandise have popularized in the market, Include, community market until the nationwide market that has Phsar Dermka be the central market that delivery to many provincial markets such as Kandal, Kampong Cham, Siem Reap, Battem Bong, Kampong Thom, Kampong Speu, Takeo, and Stoeng Treng. More, recently, banana products of Ta Ong community such as wine

595


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

and Sugar banana have been purchased from the international market as well Japan, Vietnam, China, and Korea. In addition, The market enhancement lack development and all most customers, they have known the banana products of Ta Ong community by other customers who use to buy before and products nation exhibition or traditional ceremony, In addition, there is often a real lack of price transparency between producers and some middlemen, making confusion among producers about how middlemen determined the prices they paid. In practice, fair trade minimum prices are received by middlemen, who are expected to pass benefits to producers, yet poor communication about the arrangement and low farmgate price permitted some producers to think that the middlemen steal from them or there is nothing fair about the price they get. Table 2 list of the different prices that producer get and the prices are sold in the market Category of product Leaf Banana Flower Pseudostem Banana Fruit Banana Chips Banana Candy Banana Wine Sugar Banana

The prices producer got 500 Reil/piece 700 Rei 2,000 Riel/tree 1,000 Riel/comb 10,000 Riel/kg 100,000 Riel/case 24,000 Reil/bottle 40,000 Riel/kg

The prices sell in the market 1,500 Reil/piece 1,500-2,500 Riel 3,500 Reil/tree 1,500-3,500 Reil/comb 20,000 Reil/kg 150,000 Reil/case 40,000 Reil/bottle 60,000 Reil/kg

As above information shows that the people in Ta Ong community do not recognize the bananas value and lacked the knowledge to increase the bananas benefits to transfer into applying in daily life. More ever, banana products have the competitive marketing from other countries, so like that the focus group discussion is one a method only that can be made the guidelines of cultural banana value-added, by the way, SWOT analysis used to find strategies for developed and upgrade banana products in the livelihood improvement of people in Ta Ong community. Analysis of strengths, weaknesses, opportunities, and threat, the cultural value 1. The Strength Bananas are valuable in cultural Cambodia such as religious and traditional. In believing, banana is a mysterious plant created propitious, happiness and be peaceful in mind. The beliefs associated with bananas make bananas more valuable in religious and traditional rituals for 12 months, that people bring it be made symbolic for offerings such as Bai Sei, Sla Tar, and Pe, etc. In addition, banana is a highly valuable plant in the food sector.

596


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. The weakness Though banana has cultural value and economic value, the community also lacked the knowledge and crafts to improve carve of a sacrificial item. Especially, lack of knowledge and ability to convey cultural wisdom becomes to the value asset such as the symbolic carving of the ritual for business. Moreover, the community's lack of awareness and distribute awareness, beliefs, religions, and traditions toward young generation. 3. The Opportunities Cambodian have respected and continued practice in religious and traditional. The relationship a between the banana with religious, traditional is a reason that the people used the banana as worship to express the respected to religious. Therefore, people can create a business by carving worship such as Bai Sei, etc. 4. The Threat The globalization makes certain rituals of religion and tradition have decreased, so economic value and cultural value of bananas disappeared. There have carved symbolic artificially Bai Sei to replace Bai Sei that makes from the banana leaf. Analysis of strengths, weaknesses, opportunity, and threat, the economic value 1. The Strength Ta Ong community is an abundance area that good for cultivated crops. Especially, banana, and it is a crop preserve easily. More ever, banana has valued in food can be applied to the dessert, meat dish in daily life. The banana cultivation utilizing low cost but can get high profits, the same as cultivating banana 1 ha invest US 218 but can get profits US 938 and can be collected 5-6 year. Meanwhile, some of parts bananas crops can be sold such as leaf, banana flower, pseudostem, etc. At the end of bananas have valuable in the market as well as family business and commerce business. Community's banana products have the country sit market and international market as Japan, Korea, China, and Vietnam also. 2. The Weakness Although, bananas are easy cultivating. But the yield is not enough to support the demand of consumer because of people in community lack knowledge in division spacing site and cultivation technique and lack upgrade the wisdom of transformation in recipes for a dish and products from the banana. Bananas products are not standard, Especially, be in business with a middle businessman, the farmer can't set the higher prices 3. The Opportunities Consumer's demanding and breadthways the market in Asian countries is an opportunity for banana products of the community be able into these countries market and enterprises able to increase the value of production and transformation. People can set the high price. The

597


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

government and private sector will support marketing management and banana products distribution. 4. The threat Global warm and globalization affect the growth and yield of bananas. There is banana products competition from neighboring countries such as Vietnam and Thailand. At the sometimes the consumer's behavior has bought banana products, it makes bananas products become excessive products and less buying decisions. If middle businessmen have the right to set the prices, It has affected banana production in the community. The guideline of value-added the cultural banana To increase the value-added the cultural banana in the Ta Ong community has more valuable efficiency and strengthens that can improve the livelihood and economy of the people in Ta Ong community. The author is used group discussion and SWOT analysis tool to find the guidelines for the way to bring the banana products go into the market. The guidelines are potential development strategies that must be applied for value-add cultural banana in Ta Ong community as follow The guideline of cultural value-added banana (banana culture value) There are 2 guideline that the potential strategies to develop the value of banana culture in Ta Ong community such as 1. Develop wisdom and the new awareness to share with young generation for culture conservation. In addition, establish Bai Sei community enterprise group to improve the family economy, in this field, people should invent the variety of Bai Sei such as the dragon and swan, etc. 2. Develop marketing potential by organizing a competition for Bain Sei, Sala Thor at traditional festivals such as Khmer New Year, Phchum Ben, boat racing, and Buddhist Lent, etc. In addition, the community enterprise group should be volunteering to invent Bai Sei, Sla Thor to show the skills to the public and get a chance to hire for the invention. The guideline of cultural value-added banana (banana culture value-added) There are 3 guideline that the potential strategies to develop the value of banana culture value-added in Ta Ong community should develop such as the production, transformation, and marketing 1. For production, people in the community need to use the development strategy as follow 1.1 Strategies to distribute the spacing site In this strategy, farmers in the community should improve their farming area that according to the new theoretical approach of the HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ that

598


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

follow 30% for corps, 30% for rice, 30% for source water, and 10% house building (Sunisa Phunkvamthuk. 2017) 1.2 Strategies for improving cultivation techniques The people of Ta Ong community should choose none flooding area if it is folding area should make flowing water and flowing air, good spacing for banana plantation should be with spacing 2m x 3m and pit size 30cm x 30cm x 30cm. For caring, should be soil presses around the planted plant don't press it hard, as it causes to irregular growth of the plant. Also, avoid cultivation deep. After banana cultivation, two months should use Urea with organic fertilizer, five months should be stalk cutting, and six months need to dig out of the banana shoot and keep it 3 to 4 tree per clump. In during banana fall out flower must be used potassium and after cut banana flower out should cover banana bunch with blue plastic. 2. For transformation, people in the community need to use the development strategy as follow 2.1 Improve awareness and develop local wisdom The community should establish women group to study about banana product improvement and do researching related new product improvement and the technique of banana product transformation. 2.2 Develop the potential of banana products There are two strategies that community should adopt for value-added of banana culture as well as improvement of taste and increase of the variety of banana products. The products should improve the taste such as banana chips, banana candy, sun-dried banana, roasted banana, fried banana, banana grilled. To increase of the variety of banana products people in the community can be further transformed banana products by transform raw banana as a banana flour, syrup banana. Addition, people in the community can transform outer skin of pseudostem as a dishes, container to decrease global warming and develop like a souvenir for the tourism sector such as bags, souvenir packages, coarse paper and other decorative home items. The table 3 the testes of banana products should improve Category The testes should improve Banana chips Tom Yum, Chocolate, BBQ, Salty, Herbal flavors mixed with garlic leaves and Kaffir lime leaves Banana candy Coffe and Chocolate mixed with peanuts and sesame Sun-dried banana Sun-dried banana bake coffee and chocolate Roasted banana Need to improve syrup flavors such as coconut milk mixed with pandan leaves and syrup mixed with honey Fried banana Coffee, BBQ and wakame seaweed flavors

599


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. For marketing, people in the community need to use the development strategy as follow 3.1 Strengthen pricing People in the Ta Ong community should set up the price that suitable with characteristically consumer and middleman groups. Moreover, should set up the price that lower than or right price with the business competitor. 3.2 Strengthen channel of distribution It has essential for banana products of Ta Ong community can go to market so people should participate with the government agencies and private sectors to organize exhibitions in the district, province, national levels, and any activities, etc. The addition should be placed banana products in the souvenir store, grocery, restaurant, mini mart, and hotel, etc. Moreover, should create the central market commercial base in the province, Skun is the best local to create the market for selling placed Ta Ong community's banana products. All above people in the community can sell and promote products by technology market such as Instagram, Facebook, Line and provide transportation services to the customer. Another part that is a guideline to strengthen the marketing, people in the community should create official business group stationed in the community. 3.3 Promotion of marketing People in the community should corporate with the government, private sectors of exhibitions and connect with government's radio to advertise banana products. Besides can advertise in the theaters, billboards, and use strategy buy one free one or discount, etc. 3.4 Strengthen standard of banana products All products should have the date of produced and expire, checking of food quality and Inspection certificate from the government. Strategies to improve the banana potential for cultural value and economic value-add is a good guideline for livelihood development that reflects consumers' demand and sustainable economies development for Ta Ong community people in the future. Discussion 1. Review of banana culture in Ta Ong community, Chamkar Leu district, Kampong Cham province has two appearances of cultural value and economic value-add 1.1 Cultural value In the value of banana culture in the beliefs, religions and traditional show that Cambodia people or people in the Ta Ong community have strong cultural ties with banana, since birth to death, it makes bananas valuable in the part of the culture, beliefs, religion, and tradition. In the belief, Cambodia people believe that bananas make gain smooth life, imaginative

600


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

prosperous plant, happiness, and creates household income that effectively in the spirit of the people. Value of banana in the belief and practicing of tradition is a concept or local wisdom that people bring a banana to apply in the ritual religion as worship symbolic forms such as Bay Sie, Pe, and Sla Thor to show faith and respect. Beliefs and attitudes toward the rituals of religion also make the banana more valuable. Moreover, The people bring some part of bananas such as leaves, pseudostem, shoot, fruit, flower apply for food, the carving of worship symbolic, and other decorative items for using in ceremonies of traditional 12 of months. The relationship of banana with Cambodia people lifestyle is born from the belief when has faith it will execute carving invaluable items and creating value-add that can drive lifestyle in society. 1.2 The economic value of the production, transformation, and marketing, bananas is a high-value crop which valuable crop in the economy, so Cambodia farmers cultivate bananas in almost village, around the house for sustainable food and to increase economic in the household. In the production show that banana cultivation in the community is the planting of tradition, natural growth, none prevention. But they cultivate to keep food security and reduce the family expense. In the transformation, find that Ta Ong community is one area transformed banana products. Although Ta Ong community is an area transformation of banana more than another area, this community does not transform banana is the variety of tastes and product variety, etc. However, bananas are the valuable crop creation of career in creating value for the community.As usual, people in the community transfer of local wisdom bring the banana to transform into sweet food, meat dish food, and other goods. Moreover, bananas are valuable crops and economic value and generate income to the producers, banana transformation carrier, and middleman. There are two types of the community selling, they sell by the middleman and by themselves, but most of them sell by the middleman who is essential in pricing and distribution of products to another province. If the people in the community sell by the middleman, it makes products and transformation products of Banana community are not able to set a high price, such as leaves 500 Reil per pack, banana flower 700 Riel per fruit, and chip banana 10,000 Riel per kilogram, etc. If people in the community sell products by themselves who will get unstable incomes, but they can set high prices and get mainly sustainable occupation. The selling method of Ta Ong community is to show the value of bananas to create value in the market. The distribution of banana products is one reason to help promote the bananas of the community to be more valuable. 2. Discussion on the analysis of strengths, weaknesses, opportunities, and threat in the way to increase the value of banana culture in the Ta Ong community. It is the best way to develop cultural value and economic value which analysis to find strategies for creating the household economy. SWOT is a tool used for analyzing the strength value of culture.

601


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2.1 Discussion on the analysis of strengths, weaknesses, opportunities, and threat about cultural value 2.1.1 In the strength Th study shows that banana is a valuable crop in a belief of people forever and it brings to use in religious and indispensable tradition. 2.1.2 In the weakness The people, young generation, and monks generation still lack knowledge, the ability to search, transfer of local wisdom, of design banana as a sacrifice, Addition the other invention carvings are not also accessible into the type of worship styles and decreasing of the transfer of local wisdom and carving of other sacrifices. 2.1.3 In the opportunity Most people in the city have turned back to use the symbol of worship such as Bay Sei, Sla Tar that makes from banana leaves, pseudostem. In this situation, It will make bananas more expensive into the market. 2.1.4 In the threat The way of living has changed according to the technological society, so there is an urgent need for convenience, so some people bring worship symbol that makes from paper sacrifice plastic to replace the worship of the banana symbol. 2.2 Discussion on the analysis of strengths, weaknesses, opportunities, and threat about cultural value 2.2.1 In the strength Banana is easy planting crop and used low cost, can be the transformation of various products and banana products of the community has the demanding from the market across the country. 2.2.2 In the weakness The people have still lacked the knowledge, techniques, cultivation, and developing new products. In addition, the finished product packaging doesn't have standard and don't have a group of producers from banana products that why it make fail management. 2.2.3 In the opportunity Ta Ong community 's banana product will get promotion and marketing management from the government and private sectors. Addition, the food demanding and fruit for healthy will bring people back to eat bananas, so it is an opportunity for the people in the Ta Ong community can expand product areas and nation and international marketing, especially China, Japan, Vietnam, Korea, etc. 2.2.4 In the threat

602


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The global warming and the globalization is an effect on the growth of bananas and consumer buying decisions. And then there is competition with neighboring countries. The standard of products is failing quality, and there is no support from government and the private sector. 3. Discussion about the guideline of cultural banana value-added in Ta Ong community In order, to make the banana more valuable than what is this present. the community should follow the guidelines two aspects to increase value such as cultural value and economic value 3.1 Cultural banana value. To increase the potential of cultural banana value have more valuable, the people in Ta Ong community should use benefit from banana in the beliefs, religions, and traditions to make the sustainable strategy for developed household economic as follows, (1) develop knowledge and local wisdom, (2) Develop product potential by improving the various style of Bay Sei and (3) Develop marketing potential by competition organizing of Bay Sei. 3.2 Guidelines for increasing the value of banana culture in terms of economic value, shows that the villagers should improve and strengthen their production, transformation, and marketing that following strategies such as (1) The economic value of the production of the community find the lack knowledge of cultivation, and find new techniques to improve production into better products, so the people in the community should follow strategies to distribute the spacing site 30% for corps, 30% for rice, 30% for source water, and 10% house building, (Sunisa Phunkvamthuk. 2560). and the strategies for improving cultivation techniques such as spacing 2m x 3m and pit size 30cm x 30cm x 30cm. For caring, should be soil presses around the planted plant don't press it hard, as it causes to irregular growth of the plant. Also, avoid cultivation deep. After banana cultivation, two months should use Urea with organic fertilizer, five months should be stalk cutting, and six months need to dig out of the banana shoot and keep it 3 to 4 tree per clump. In during banana fall out flower must be used potassium and after cut banana flower out should cover banana bunch with blue plastic. (2) In the transformation, show that people in the community have low awareness and none expertise to increase the economic value of the banana to improve the economy the people in the community should follow suit by two strategies such as the development of awareness and local wisdom, and improvement of the potential in banana products by the tests improving and various adding of banana products such as banana syrup, banana flour, bags, souvenir packages, coarse paper and other decorative home items. Addition, the packaging should be comfortable, strong, and easy to carry. especially packaging should specify the date of manufacture, expiration date establishes and manufacturing standard. (3) The economic value of marketing to enhances the economic value of marketing. In order to promote the banana product into the market, the

603


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

community has to develop products and develop marketing potential in three strategies 1) Price enhancement is set to equal price and lower than the competition. 2) Strengthening the distribution channels, organizing exhibitions and activities, placing banana products at the souvenir shops, grocery stores, and placing them at the restaurant. Hotel Facebook, IG, and delivery services. And the group of products processed from bananas to a single 3) Marketing promotion is attended by exhibitors. And exhibit goods organized by public or private agencies or public relations with radio stations of government agencies. And private to advertise banana products. In addition, there are advertisements based on the publications, theaters, billboards, locations, as well as the distribution of discounts, redemptions, giveaway, etc. Therefore, the study of ways to increase the value of banana culture in Ta Ong community, ChamKar Leu district, Kampong Cham province people have to work together to find new knowledge from the local wisdom. Studying deeply about consumer behavior, such as behavior in the shopping cart, demand, personality of the person economic opportunities, beliefs, religions, and traditions of individuals are when the need arises. And the possibility of the consumer, which can cause the community to live. The banana is a new product that is entering the market. Reference Men Sarom. (2003). Advancing banana and plantain R&D in Asia and the Pacific. Vol 13. Proceedings of the 3 rd BAPNET Steering Committee meeting held in Guangzhou, China 23-26 November 2004. Ministry of Agriculture’s Agricultural development plan. (2013-2018). The nation development strategy planning. Sunisa Phunkvamthuk. (2560). “Sufficiency theory with the New theory” Retrieved November 19, 2017, from https://sites.google.com/site/mindmoy12090/. ________. (2560). “Sufficiency theory with the New theory” Retrieved November 19, 2017, from https://sites.google.com/site/mindmoy12090/.

604


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

กลุ่ม ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์

605

SRRU NCR2018


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กลุม่ ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ภาคบรรยาย กลุม่ ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ห้อง : ณ ห้องนาเสนอ 41405 ชั้น 4 อาคาร 41 ลำดับ EDUO-01

EDUO-02

EDUO-03

EDUO-04

EDUO-05

EDUO-06

EDUO-07

ชื่อ-สกุล ดนุพล สืบสำรำญ, สุภัทร สำยรัตนอินทร์, สุวิมล นำเพีย, พยุงศักดิ์ คงศิลำ, มัสติกำ พิมพ์สุตะ อ่อนศรีสุดำ เครือเนียม พำนชัย เกษฎำ พนำ จินดำศรี

เรื่อง เวลำ หน้ำ กำรเสริมสร้ำงทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 12.50-13.05 น. 610 21 ของนักศึกษำ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัย รำชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ

ผลกำรจัดกำรเรียนรู้ เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรี สู่ขวัญ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ฐิติวรำกำนต์ เกียรติเลิศเด กำรศึกษำปัจจัยทีส่ ่งผลต่อกำรตัดสินใจศึกษำ ชำ และ สิทธิชัย แก้ว ต่อระดับปริญญำตรี ระบบทวิภำคีของ สถำบัน เกื้อกูล กำรอำชีวศึกษำ ภำคกลำง 2 ธรำทร มหำนำม กำรศึกษำสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อ นุชจรี บุญเกต สร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ประชิต อินทะกนก ของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ นุชจรีย์ คำโมรี กำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย ศิรภัสสร์ อินทรพำณิชย์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ ภำษำไทย เรื่องคำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 เพ็ญพักตร แกล้วทนงค์ วัลล สภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อ ยำ ธรรมอภิบำล อินทนิน คุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของ อมลวรรณ วีระธรรมโม ผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำช มงคลศรีวิชัย เกื้อ กระแสโสม กำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงค่ำประจำ พิศิษฐ ตัณฑวณิช ข้อสอบในแบบสอบปลำยภำครำยวิชำกำรวิจัย พนำ จินดำศรี เพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้” เมื่อวิเครำะห์โดย ตรีคม พรมมำบุญ วิธีกำรต่ำงกัน 3 วิธี บุญทวี อิ่มบุญตำ

606

13.05-13.20 น.

619

13.20-13.35 น. 635

13.35-13.50 น. 643

13.50-14.05 น. 656

14.05-14.20 น. 667

14.20-14.35 น. 677


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ลำดับ EDUO-08

ชื่อ-สกุล พวงเพชร นำเมืองรักษ์ หนูกร ปฐมพรรษ พัดตำวัน นำใจแก้ว

EDUO-09

สมำน ประวันโต

EDUO-10

เครือวัลย์ ทิพวัต พนำยุทธ เชยบำล พิมพ์พร จำรุจิตร์

EDUO-11

แสงระวี ลิตรักษ์ พนำยุทธ เชยบำล พิมพ์พร จำรุจิตร์

EDUO-12

สุพล รำศี สมคิด สร้อยน้ำ นวัตกร หอมสิน สรำวุธ ชัยวิชิต และคณะ ตรีคม พรมมำบุญ เกื้อ กระแสโสม

EDUO-13 EDUO-14

EDUO-15

EDUO-16

ศิริพร ดวงศรี วันทนำ อมตำริยกุล พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ พูลสวัสดิ์ แสงรุ่ง สุมำลี ศรีพุทธรินทร์

เรื่อง ผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้กำรสอนแบบอุปนัย ร่วมกับเทคนิค KWL Plus ต่อมโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี และควำมสำมำรถในกำรคิด วิเครำะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 วัฒนธรรมองค์กำรกับประสิทธิภำพกำรบริหำร โรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นทีก่ ำรศึกษำ มัธยมศึกษำ เขต 20 ปัจจัยกำรบริหำรทีส่ ่งผลต่อกำรจัดกำรเรียน กำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูใน โรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นทีก่ ำรศึกษำ มัธยมศึกษำเขต 20 ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 แนวทำงในกำรพัฒนำทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหำรโรงเรียนในสังกัดเทศบำลจังหวัด อุดรธำนี รูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชน ต้นแบบจังหวัดนครนำยก กำรประเมินผลโครงกำรกำรเรียนรู้ ภำษำอังกฤษพื้นฐำนของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ : กำรประเมิน บทเรียนออนไลน์รำย วิชำ GE302 ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียน ประถมศึกษำสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ กำรศึกษำประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำร กำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก สำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร

607

SRRU NCR2018

เวลำ หน้ำ 14.35-14.50 น. 685

14.50-15.05 น. 694

15.05-15.20 น. 703

15.20-15.35 น. 714

15.35-15.50 น. 725

15.50-16.05 น. 731 16.05-16.20 น. 741

16.20-16.35 น. 756

16.35-16.50 น. 762


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

608

SRRU NCR2018


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ภาคบรรยาย กลุ่ม ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์

609

SRRU NCR2018


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-01

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ ST ENHANCEMENT OF 21 CENTURY LEARNING SKILL OF EDUCATION STUDENT IN SISAKET RAJABHAT UNIVERSITY FOR PROFESSIONAL TEACHERS DEVELOPMENT ดนุพล สืบสำรำญ, สุภัทร สำยรัตนอินทร์, สุวิมล นำเพีย, พยุงศักดิ์ คงศิลำ, มัสติกำ พิมพ์สตุ ะ บทคัดย่อ กำรเสริมสร้ำงทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษำ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ เพื่อ พัฒนำสู่ครูมืออำชีพ วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย คือ เพื่อสำรวจทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษำ คณะครุ ศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจำกนักศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถำมข้อมูลทั่วไป มีลักษณะ เป็นแบบเลือกตอบ (Check List) 2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำรพัฒนำนักศึกษำครูในกำรจัดกำรเรียนกำรสอน จำนวน 7 ด้ำน คือ 1) ด้ำนนโยบำย และเป้ำหมำย 2) ด้ำนทรัพยำกร และสภำพแวดล้อม 3) ด้ำนกระบวนกำร และกำรจัดกำร 4) ด้ำนผลลัพธ์กำรประเมินผล และกำรติดตำม 5) ด้ำนกำรเตรียมกำร และกำรวำงแผน 6) ด้ำนกำรนำไปใช้ และ 7) ด้ำน กำรพัฒนำกำรจัดกำรเรียนรู้ โดยมีลักษณะข้อคำถำมเป็นแบบสอบถำม 3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำรพัฒนำทักษะกำร เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้ำน คือ 1) ทักษะด้ำนกำรสร้ำงสรรค์ และนวัตกรรม 2) ทักษะด้ำนกำรสื่อสำรสำรสนเทศ และรู้เท่ำทันสื่อ และ 3) ทักษะ ด้ำนคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสำรสนเทศ และกำรสื่อสำร 4. ควำมคำดหวังของนักศึกษำ ครูที่มีต่อคุณลักษณะ ควำมเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 11 ด้ำน คือ 1) ควำมคำดหวังของนักศึกษำครูที่มีต่อวิชำชีพใน ภำพรวม 4 ด้ำน 2) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับกำรปฏิบัติงำนในหน้ำที่ ด้ำนควำมสำเร็จในกำรทำหน้ำที่ควำมเป็นครู 3) ควำม คำดหวังเกี่ยวกับกำรปฏิบัติงำนในหน้ำที่ ด้ำนกำรพัฒนำตนเอง 4) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับกำรปฏิบัติงำนในหน้ำที่ด้ำน กำรทำงำนเป็นทีม 5) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับกำรปฏิบัติงำนในหน้ำที่ ด้ำนจริยธรรม 6) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับ จรรยำบรรณ และมำตรฐำนวิชำชีพ ด้ำนจรรยำบรรณครู 7) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับจรรยำบรรณ และมำตรฐำน วิชำชีพ ด้ำนมำตรฐำนวิชำชีพครู 8) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะครู ด้ำนจิตวิทยำสำหรับครู 9) ควำมคำดหวัง เกี่ยวกับสมรรถนะครู ด้ำนควำมเป็นครู 10) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะครู ด้ำนกำรปฏิบัติกำรสอนในสถำนศึกษำใน สำขำวิชำเฉพำะ และ 11) ควำมคำดหวังเกี่ยวกับกำรเตรียมตัวที่จะอยู่ในสังคมแห่งกำรเรียนรู้ และ 5 กำรวัดทักษะกำร เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก่อนเรียน และหลังเรียน เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ ผลกำรวิจัย พบว่ำ 1. กำรพัฒนำนักศึกษำครูในกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ทั้ง 7 ด้ำน ในกำรวิเครำะห์ข้อมูลทั่วไปของกำรนำ นวัตกรรม และเทคโนโลยีกำรศึกษำไปใช้ในกำรสอนในศตวรรษที่ 21 มีระดับควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก 2. กำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้ำน มีระดับควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก 3. ควำมคำดหวังของนักศึกษำครู ที่มีต่อคุณลักษณะควำมเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 11 ด้ำน มีระดับ ควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก ทั้ง 3 ข้อที่กล่ำวมำนั้น มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่กำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนำสู่ครูมือ อำชีพ คำสำคัญ: การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, การพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ

610


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Abstract Enhancement of 21 Century Learning Skills of Education Student in Sisaket Rajabhat University for Professional Teachers Development Objectivity for Exploration of 21ST Century Learning Skills of Education Student in Sisaket Rajabhat University for Professional Teachers Development The Researcher Collected Data From Student in Science Education Faculty of Education Sisaket Rajabhat University are Sampling Research Tools include : 1. Check List Questionnaire, 2. The Teaching for Education Student Development Data in 7 Sides : 1) The Policy and goal 2) The Resource and Environment 3) The Process and Management 4) The Evaluation and following 5) The preparation and Planning 6) The Extension and 7) Teaching Development by Question is a Questionnaire, 3. The 21ST Century Learning Skills Development Data in 3 Sides : 1) The Creativity and Innovation 2) The Communications, Information, and Media Literacy and 3) The Computing and ICT Literacy 4. Expectations of Education Student for Teachers Attribute in 11 Sides : 1) The Profession Attribute in 4 Sides 2) The Success in Teachers 3) The Personal Development 4) The Teamwork 5) The Ethics 6) The Teachers Professional Ethics 7) The Teachers Professional Autonomy 8) The Psychology for Teachers 9) The Teachers Performance 10) The Teaching in Subject Specific Performance and 11) Preparation for Society and 5. Pre-test Post-test of 21ST Century Learning Skills Measurement for Professional Teachers Development The Research Found That 1. The Teaching for Education Student Development Data in 7 Sides : General Data Analysis Use of Innovation and Technology in The 21ST Century Learning Have a Total Comment Level in the High Level. 2. The 21ST Century Learning Skills Development Data in 3 Sides : Have a Total Comment Level in the High Level. 3. The Expectations of Education Student for Teachers Attribute in 11 Sides : Have a Total Comment Level in the High Level. 3 Item, The 21ST Century Learning Skills Development in The trend for Professional Teachers of Education Student. ST

Keywords: Enhancement of 21ST Century Learning Skills, Professional Teachers Development บทนา โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกำภิวัตน์ (Globalization) ที่มีควำมเจริญก้ำวหน้ำอย่ำงรวดเร็วทำงด้ำน เทคโนโลยีสำรสนเทศ (Information Technology) เมื่อต้องเผชิญหน้ำกับปัญหำท้ำทำยต่ำงๆ ที่รออยู่ในอนำคต มนุษย์มองเห็นคุณค่ำอเนกอนันต์ข องกำรศึก ษำ เพื่อ นำไปสู่กำรมีชีวิตที่ดีขึ้ นในศตวรรษใหม่ในวงกำรศึกษำ ควำมก้ำวหน้ำของเทคโนโลยีดังกล่ำว ก่อให้เกิดปัญหำกำรเผชิญกับข้อมูลมหำศำล ซึ่งไม่สำมำรถจัดกำรกับข้อมูล เหล่ำ นั้น และใช้ข้ อ มูล เหล่ำ นั้ นให้เ กิด ประโยชน์ ไ ด้ก ำรเปลี่ ยนแปลง และปั ญหำชุด ใหม่ที่ เ กิด ขึ้น ท ำให้ มนุ ษ ย์

611


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อกำรดำรงอยู่อย่ำงมีคุณภำพ จึงทำให้เกิดควำมจำเป็นในกำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ใหม่ และ ทักษะชีวิตชุดใหม่ (ทิศนำ แขมมณี, 2555) อีกทั้งปัจจุบันมนุษย์อยู่ในโลกำภิวัตน์ที่ไม่มีควำมแน่นอน ทักษะเดิมๆ ที่ มนุษย์มี และใช้ได้ผลในโลกยุคก่อนๆ ไม่สำมำรถใช้ได้ผลในยุคปัจจุบัน และอนำคตมนุษย์ต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อ ควำมอยู่รอดในสังคม (Martin, 2010) กำรรับรู้ถึงควำมเปลี่ยนแปลง และควำมจำเป็นที่จะต้องพัฒนำทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับกำรเรียนรู้ และกำรดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นกำรเรียกร้องให้เตรียมควำมพร้อมพลเมืองสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อสะท้อน ควำมเป็นไปได้ในด้ำนต่ำงๆ ของกำรเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสรุปทักษะกำรเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (Bellanca & Brandt, 2010 อ้ำงถึงใน ทิศนำ แขมมณี, 2555) ดังนี้ 1) ทักษะกำรเรียนรู้ และนวัตกรรม ได้แก่ กำรมีควำมคิดสร้ำงสรรค์และนวัตกรรม กำรสื่อสำรและกำรร่วมมือทำงำน กำรคิดเชิงวิพำกษ์และกำรแก้ไขปัญหำ 2) ทักษะด้ำนสำรสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ได้แก่ ควำมรู้พื้นฐำนด้ำนสำรสนเทศ สื่อ เทคโนโลยีสำรสนเทศ และกำร สื่อสำร (ICT) และ 3) ทักษะชีวิตและกำรทำงำน ได้แก่ ควำมยืดหยุ่น และควำมสำมำรถในกำรปรับตัว ทักษะทำง สังคม และกำรเรียนรู้ข้ำมวัฒนธรรม กำรมีควำมคิดริเริ่ม และกำรชี้นำตนเอง กำรเพิ่มผลผลิตและกำรรู้รับผิด ควำม เป็นผู้นำ และควำมรับผิดชอบ นอกจำกนี้ Kay (2010) ได้ให้เหตุผลว่ำ โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมำจำก ควำมก้ำวหน้ำของเทคโนโลยีสำรสนเทศ ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ควำมรู้ และนวัตกรรม ผู้ที่มีควำมรู้และทักษะในกำร รับมือกับกำรเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่ำงต่อเนื่องและสำมำรถปรับตัวให้เข้ำกับสถำนกำรณ์ใหม่ๆ ได้เท่ำนั้นที่จะ ประสบควำมสำเร็จได้ ดังนั้น ทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำมำรถช่วยให้บุคคลเรียนรู้ และปรับตัวได้อย่ำง ต่อเนื่อง มีทักษะที่จำเป็น และหลำกหลำย ส่งเสริมให้บุคคลมีทักษะกำรเรียนรู้ที่สำคัญในยุคปัจจุบัน โลกแห่งกำรศึกษำได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้ำงมำกในช่ วงระยะเวลำที่ผ่ำนมำ กำรศึกษำที่ยอมรับกันว่ำ เป็นกำรสร้ำงควำมรู้ ควำมสำมำรถ และพัฒนำศักยภำพของคน ได้แก่ กำรศึกษำที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลำง หมำยถึง กำรให้โอกำสแก่ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกำสรับรู้ เพิ่มพูนควำมรู้ และประสบกำรณ์ ตลอดจนพัฒนำศักยภำพ ของแต่ละคนให้ได้มำกที่สุดเท่ำที่จะทำได้ โดยปรำศจำกข้อจำกัด ทั้งระดับสติปัญญำ ควำมสำมำรถในกำรรับรู้ และ อื่นๆ อีกทั้งยังหวังว่ำผู้เรียนสำมำรถเรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับ เวลำ และสถำนที่ ที่สำคัญอีกประกำรหนึ่ง คือ เปิดโอกำสให้ผู้เรียนได้ใช้ควำมคิดทั้งในกำรแก้ปัญหำ วิเครำะห์ และสังเครำะห์ควำมรู้ ในทุกระดับ ในลักษณะที่ เรียกว่ำ Constructivism ควำมก้ ำวหน้ ำด้ ำนเทคโนโลยีสำรสนเทศ และกำรสื่ อสำร (Information and Communication Technology – ICT) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้กำรศึกษำในอุดมคติเป็นจริงได้ เพรำะสำมำรถแสดงอักษรภำพ เสียง ภำพเคลื่อนไหว รวมถึงกำรสร้ำงสถำนกำรณ์เสมือนจริง (Virtual Situation) ได้เหมือนๆ กับที่หนังสือ หนังสือภำพ เทปเสียง วีดีทัศน์ หรือสื่ออื่นๆ ที่มีทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มกำรปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้ใช้ได้ และสร้ำงเครือข่ำย ให้สำมำรถติดต่อสื่อสำรได้อย่ำงไร้ขอบเขต ในแง่ของสถำนที่ที่แตกต่ำงคนละแห่งกัน ในโลกยุคปัจจุบัน และอนำคตมีกำรแข่งขันสูงขึ้นๆ และก็มีภำวะโลกำภิวัตน์มำกขึ้น บัณฑิตที่จบ กำรศึกษำเข้ำสู่แวดวงธุรกิจ อุตสำหกรรม หรือตลำดแรงงำนนั้น ถูกคำดหวังสูงว่ำจะมีควำมรู้ควำมสำมำรถ เพียง พอที่จะปฏิบัติงำนได้ทันที แต่ในควำมเป็นจริง บัณฑิตจำนวนไม่น้อยถูกประเมิน ว่ำยังมีควำมรู้ควำมสำมำรถไม่ พอเพียง ซึ่งคงจะเกิดจำกหลำยปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ โลกของควำมรู้เปลี่ยนแปลงไปจำกเดิม ซึ่งภำคธุรกิจ ภำคอุตสำหกรรม นั้นมีกำรปรับตัว และสำมำรถทำได้อย่ำงรวดเร็ว เพื่อกำรแข่งขันในตลำดเชิงธุรกิจ ในขณะที่ภำค กำรศึกษำขยับตัวช้ำ และขำดกำรเชื่อมโยงอย่ำงใกล้ชิดกับภำคธุรกิจภำคอุตสำหกรรมเหล่ำนั้น ทำให้บัณฑิตที่จบ กำรศึกษำแล้วต้องได้รับกำรถ่ำยทอดควำมรู้ เรียนรู้เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนเริ่มปฏิบัติงำน รวมถึงต้องมีศักยภำพที่จะ

612


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เรียนรู้อย่ำงต่อเนื่อง รับข้อมูล ควำมรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปตลอดชีวิตกำรทำงำน ควำมสำมำรถในกำรใช้ ภำษำต่ำงประเทศ และกำรใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศ กลำยเป็นคุณสมบัตทิ ี่ต้องมี และต้องใช้สำหรับบัณฑิตศตวรรษที่ 21 จึงต้องใฝ่รู้ สู้งำนประสำนสัมพันธ์ มุ่งมั่นประสิทธิภำพและประสิทธิผลของงำน รวมถึงกำรมีอิสระทำงควำมคิด และมีจิตวิจัย คือ รู้และรักที่จะค้นหำควำมรู้ใหม่ๆ มิฉะนั้นจะหำงำนอำชีพที่ดีได้ยำก ยิ่งในอนำคต ตลำดแรงงำนจะ เปิดกว้ำงไร้พรมแดน เช่นเดียวกับสินค้ำ ถ้ำแข่งขันไม่ได้ ตำแหน่งงำนที่ดี มั่นคง ผลตอบแทนสูง อำจกลำยเป็นของ คนต่ำงชำติไปเสียส่วนใหญ่ก็เป็นได้ ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อคุณภำพกำรเรียนกำรสอน และคุณภำพของผู้เรียน คุณลักษณะ ของครูในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นผู้ที่มีควำมรอบรู้มำกขึ้น มีควำมเป็นมืออำชีพ มีควำมสำมำรถ และศักยภำพสูง เป็น ผู้ที่มีนวัตกรรมกำรสอน เพื่อให้นักเรียนได้ผลด้วยกำรเรียนรู้ตำมที่ต้องกำร และเตรียมควำมพร้อมให้แก่นักเรียนใน กำรเข้ำสู่โลกของกำรทำงำนในศตวรรษที่ 21 ครูควรเป็นผู้รักในอำชีพ มีชีวิตเรียบง่ำย และมีจิตวิญญำณของควำม เป็นครู มีกำรกำหนดสมรรถนะของครูโดยภำพรวมประกอบด้วย 1) ควำมรู้ในเนื้อหำวิชำ 2) กำรสื่อสำรและกำรใช้ภำษำ 3) กำรพัฒนำหลักสูตร 4) หลักกำรจัดกำรเรียนรู้ 5) กำรจัดกำรเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6) กำรบริหำรจัดกำร ชั้นเรียน 7) กำรใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศและนวัตกรรมทำงกำรศึกษำ 8) กำรวัดและประเมินผล 9) กำรวิจัยเพื่อ พัฒนำกำรเรียนกำรสอน 10) จิตวิทยำสำหรับครู 11) กำรสร้ำงควำมสัมพันธ์กับชุมชน 12) คุณธรรม จริยธรรมและ จรรยำบรรณในวิชำชีพ 13) ภำวะผู้นำและกำรทำงำน เป็นทีม 14) กำรพัฒนำตนเองและวิชำชีพ 15) กำรพัฒนำ คุณลักษณะของผู้เรียน นอกจำกนั้นมีกำรควบคุมคุณภำพกำรผลิตครู โดยกำรใช้ระบบกำรรับรองวิทยฐำนะของสถำบัน ผลิตครู คัดคนเก่งระดับยอดเยี่ยมให้มำเป็นครู โดยกำหนดกลุ่มที่มีผลกำรเรียนสูงสุดเข้ำเรียนเพื่อเป็นครู กำรยกย่อง อำชีพครูว่ำเป็นวิชำชีพชั้นสูงเทียบเท่ำอำชีพสำคัญ กำรได้รับกำรยอมรับเชื่อถือไว้วำงใจในระดับแนวหน้ำของ ประเทศ และมีเงินเดือนสูงในระดับเดียวกับอำชีพอื่น เช่น แพทย์ นักกฎหมำย เป็นต้น ครูเป็นผู้เรียนที่ต้องเรียนรู้ และพัฒนำตนเอง และได้รับกำรส่งเสริมให้เกิดกำรเรียนรู้อย่ำงต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีกฎหมำย และมีนโยบำยว่ำ ครูทุกคนต้องได้รับกำรพัฒนำจำกหน่วยงำน และพัฒนำตนเองทุกปีอย่ำงน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องเข้ำรับกำรพัฒนำอย่ำงต่อเนื่องปีละ 100 ชั่วโมง ครูบรรจุใหม่ต้องผ่ำนกำรอบรมตำมโปรแกรมกำรอบรมเพื่อ ฝึกหัดกำรสอน และได้รับเงินเดือนสูงระหว่ำงกำรอบรมด้วย กำรพัฒนำตนเองต้องอยู่ในกำรกำกับดูแลของ ศึกษำนิเทศก์ และผู้บริหำร และต้องผ่ำนกำรทดลองงำน 1 ปี ครูเก่ำอำยุงำน 10 ปีขึ้นไป ต้องเข้ำรับกำรพัฒนำด้วย โดยมีองค์กรทำหน้ำที่ด้ำนพัฒนำครูเป็นกำรเฉพำะ มีคูปองกำรพัฒนำควำมรู้เพื่อให้ครูเข้ำรับกำรพัฒนำตนเองตำม ควำมต้องกำรทุกปี จำกมหำวิทยำลัยที่ได้รับมอบหมำยจำกรัฐ มีกำรสร้ำงเครือข่ำยกำรพัฒนำ มีระบบพี่เลี้ยง หรือ ครูต้นแบบ (Master Teachers) มีกำรพัฒนำทักษะกำรจัดกำรเรียนรู้ในรูปแบบ และวิธีกำรต่ำงๆ ที่สอดคล้องกับ สถำนกำรณ์ และผู้เรียน เช่น กำรทำห้องเรียนให้เป็นห้องทำงำนจำลอง กำรพัฒนำทักษะต่ำงๆ เช่น ทักษะ ปฏิสัมพันธ์ระหว่ำงครูกับศิษย์ ทักษะกำรตั้งคำถำม รวมถึงทักษะกำรออกแบบกำรเรียนรู้แบบ Active learning นั้น คือ กระบวนกำรในกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีโอกำสลงมือทำมำกกว่ำกำรฟังเพียงอย่ำงเดียว เช่น กำร ให้ผู้เรียนได้อ่ำน เขียน โต้ตอบ และวิเครำะห์ปัญหำ ทักษะกำรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน โดยกำรสังเกต พฤติกรรมกำรเรียนของนักเรียนแล้วนำสิ่งที่สังเกตได้มำให้ข้อมูลแก่นักเรียน เพื่อประโยชน์ในกำรพัฒนำปรับปรุง ของนักเรียน ทักษะกำรเรียนรู้ เป็นทีม ทักษะกำรพัฒนำผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนแบบรู้จริง ทักษะกำรพัฒนำผู้เรียนให้ เป็นผู้กำกับกำรเรียนรู้ของตนเองได้ ฯลฯ นอกจำกนี้ต้องมีระบบกำรนิเทศ ติดตำมและพัฒนำกำรทำงำนของครูในชั้น เรียน กำรเรียนรู้และพัฒนำจำกเพื่อนครู และกำรพัฒนำครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐำน รวมทั้งมีกำรสร้ำงครูจิตอำสำเพื่อ

613


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ช่วยสอน มีกำรพัฒนำกำรเรียนกำรสอนของครู โดยเน้นกำรสอนของครูให้น้อยลง และให้ผู้เรียนเกิดกำรเรียนรู้ และ นำมำปฏิบัติด้วยตนเองมำกขึ้น ครูเป็นผู้มีบทบำทสำคัญในกำรปลูกฝังทั้งวิชำควำมรู้ และควำมประพฤติแก่เด็ก และเยำวชน ดังนั้น ครู จึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่จะทำให้เด็กไทยอ่ำนออกเขียนได้ และครูเป็นผู้สร้ำงพัฒนำกำรให้เด็กมีควำมรู้ควำมสำมำรถ อย่ำงมีมิติครบทุกส่วน โดยผ่ำนทำงด้ำนวิชำกำรคือกำรเรียนกำรสอนวิชำกำรต่ ำงๆ ทำงด้ำนร่ำงกำยต้องมีสุขภำพ แข็งแรงด้วยวิชำพลศึกษำสุขศึกษำ ทำงด้ำนอำรมณ์ คือกำรกล่อมเกลำด้วยวิชำศิลปศึกษำ นำฏศิลป์ ดนตรี และใน ส่วนทำงด้ำนสังคมนั้น ครูต้องสอนให้เด็กเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้จักประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ส่วนรวม รู้จัก บำเพ็ญประโยชน์ด้วยกำรสอนวิชำลูกเสือ เนตรนำรี รวมทั้งรู้จักควำมเสียสละ อดทนด้วยวิชำทหำร ซึ่งวิชำดังกล่ำว จะพัฒนำให้เยำวชนมีควำมรู้อย่ำงสมบูรณ์ในทุกด้ำน จำกปัจจัยของกำรเรียนรู้ และควำมรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่ำงมำก จึงทำให้ ครู หรือ อำจำรย์ ต้องปรับตัว ในกำรถ่ำยทอดควำมรู้เพื่อให้ได้ ผลผลิต ทั้งในด้ำนควำมรู้ ที่จะถ่ำยทอด และบัณฑิตที่มีคุณภำพ โดย 1) ติดตำม ควำมก้ำวหน้ำทำงวิชำกำร ตรวจสอบ คุณภำพ ของควำมรู้ คุณค่ำของควำมรู้ ควำมแม่นตรง ของควำมรู้ ที่จะนำมำ ถ่ำยทอด 2) ใช้ควำมรู้ นั้นๆ เป็นฐำนในกำรถ่ำยทอดต่อสู่ผู้เรียน ตำมระดับควำมเหมำะสมเพื่อให้ตนเอง และผู้เรียน รู้สำมำรถใช้ควำมรู้ประยุกต์ในกำรแก้ปัญหำ หรือหำหนทำงพัฒนำงำนที่เกี่ยวข้อง หรือนำไปใช้เพื่อพัฒนำผลิตภัณฑ์ กระบวนกำรผลิต ตลอดจนกำรสร้ำงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดควำมสำมำรถในกำรแข่งขัน ควำมรู้ที่ถ่ำยทอดควร ถ่ำยทอดทั้งเนื้อหำควำมรู้ (Cognitive) วิธีปฏิบัติ หรือควำมสำมำรถในกำรใช้ (Skills) และเจตคติ (Attitude) 3) ศึกษำควำมรู้ที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับควำมรู้ในศำสตร์เฉพำะทำงแห่งตน เพรำะปัจจุบันต้องใช้ควำมรู้แบบองค์รวม หรือสหวิทยำกำรมำกขึ้น 4) พิสูจน์ และสร้ำงควำมรู้ คือทั้งพิสูจน์ควำมรู้ที่ติดตำมมำว่ำเป็นจริง แม่นตรง ทั้งใน ภำพรวม และมีควำมถูกต้องเมื่อนำมำใช้ในแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภำคที่มีสภำพแวดล้อมต่ำงกัน รวมถึงสร้ำง ควำมรู้ใหม่ขึ้นเองจำกกำรศึกษำค้นคว้ำวิจัย ซึ่งอำจต่อยอดจำกควำมรู้ที่มีผู้ค้นพบมำแล้ว รวมถึงนำควำมรู้ที่ได้จำก กำรวิจัยนั้นมำใช้ในกำรถ่ำยทอด หรือปฏิบัติงำน 5) ถ่ำยทอด ควำมรู้ตำมแนวคิดของกำรเรียนรู้สมัยใหม่ที่ผู้เรียนมี อิสระในกำรรับรู้ และสร้ำงศักยภำพให้ผู้เรียนรู้จักหำควำมรู้ด้วยตนเอง และชี้นำ กำรเรียนรู้ในลักษณะของ Mentor และพัฒนำวิธีวิทยำในกำรสอนให้เพิ่มกำรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน 6) อำศัยเทคโนโลยีสำรสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเข้ำถึง ควำมรู้ได้แบบไม่มีขีดจำกัดว่ำต้องเรียนเฉพำะในห้องเรียน หรือต้องเรียนจำกครูเท่ำนั้น 7) สร้ำงผู้เรียนให้รู้จักคิด วิเครำะห์อย่ำงมีเหตุมีผล มีจิตวิจัย ใช้ข้อมูลในกำรแก้ปัญหำหรือพัฒนำ และ 8) พัฒนำตนเองให้ศึกษำ และเรียนรู้ อย่ำงต่อเนื่องตลอดชีวิต รู้จักเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น และยึดมั่นในหลักบูรณำกำรควำมรู้แบบสห วิทยำกำร หำกเข้ำใจถึงปัจจัยต่ำงๆ ที่เปลี่ยนแปลงของโลกแห่งกำรเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ำกับปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง จะสำมำรถพัฒนำเป็นครูมืออำชีพที่เพียบพร้อม ได้รับกำรยอมรับ สำมำรถสร้ำงผลผลิตที่มีคุณภำพ และมีคุณค่ำ ทำ ให้เกิดควำมเจริญก้ำวหน้ำต่อตนเอง อำชีพ สถำบัน และประเทศชำติได้ ดังนั้ น ผู้วิจั ยจึ งสนใจที่จะเสริมสร้ ำงทั กษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษำ คณะครุ ศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อสำรวจควำมคิดเห็นของกำรเสริมสร้ำงทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษำ คณะ ครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ

614


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ขอบเขตการวิจัย ประชำกร ได้แก่ นักศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ จำนวน นักศึกษำทั้งสิ้น 440 คน กลุ่มตัวอย่ำง ได้แก่ นักศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏ ศรีสะเกษ จำนวนทั้งสิ้น 205 คน โดยใช้ตำรำงกำหนดขนำดกลุ่มตัวอย่ำงของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกร คือ นั กศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลั ยรำชภัฏศรีสะเกษ จำนวน นักศึกษำทั้งสิ้น 440 คน กลุ่มตัวอย่ำง คือ นักศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏ ศรีสะเกษ จำนวนทัง้ สิ้น 205 คน โดยใช้ตำรำงกำหนดขนำดกลุ่มตัวอย่ำงของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือวิจัย ตอนที่ 1 ได้แก่ สภำพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถำม และข้อมูลทั่วไป มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Check List) ตอนที่ 2 ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำรพัฒนำนักศึกษำครูในกำรจัดกำรเรียนกำรสอน จำนวน 7 ด้ำน คือ 1) ด้ำนนโยบำยและเป้ำหมำย 2) ด้ำนทรัพยำกรและสภำพแวดล้อม 3) ด้ำนกระบวนกำรและกำรจัดกำร 4) ด้ำนผลลัพธ์กำรประเมินผลและกำรติดตำม 5) ด้ำนกำรเตรียมกำรและกำรวำงแผน 6) ด้ำนกำรนำไปใช้ 7) ด้ำนกำร พัฒนำกำรจัดกำรเรียนรู้ โดยมีลักษณะ ข้อคำถำมเป็นแบบสอบถำม ตอนที่ 3 ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำรสำรวจควำมคิดเห็นของกำรเสริมสร้ำงทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้ำน ได้แก่ 1) ทักษะด้ำนกำรสร้ำงสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 2) ทักษะด้ำนกำรสื่อสำร สำรสนเทศ และรู้เท่ำทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) และ 3) ทักษะด้ำนคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสำรสนเทศ และกำรสื่อสำร (Computing and ICT Literacy) โดยมีลักษณะข้อคำถำมเป็นแบบสอบถำม แบบมำตรส่วนประมำณค่ำ (Rating Scale) ตำมแนวคิดของ Likert ตอนที่ 4 ควำมคำดหวังของนักศึกษำครู ที่มีต่อคุณลักษณะควำมเป็นครูในศตวรรษที่ 21 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ทำหนังสือเพื่อขอควำมร่วมมือในกำรเก็บข้อมูลกับนักศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เพื่อขอเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดรหัสหมำยเลข แบบสอบถำม เพื่อตรวจสอบกำรเก็บแบบสอบถำม 2. ผู้วิจัยดำเนินกำรส่งแบบสอบถำม และเก็บรวบรวมแบบสอบถำมกลับคืนมำภำยในระยะเวลำ 4 สัปดำห์ 3. ตรวจสอบควำมถูกต้อง และควำมครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบสอบถำมก่อนประมวลผล หำกมีฉบับ ใดไม่สมบูรณ์จะคัดออก และทำกำรเก็บเพิ่มเติมเพื่อให้ครบตำมจำนวน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

615


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1. นำแบบสอบถำมที่ผ่ำนกำรตรวจสอบควำมถูกต้อง และครบถ้วนแล้ว นำมำลงรหัสเลข(Code) ตำม เกณฑ์ของเครื่องมือแต่ละส่วน 2. น ำแบบสอบถำมที่ ล งรหั ส แล้ ว มำบั น ทึ ก ลงในโปรแกรมส ำเร็ จ รู ป ทำงสถิ ติ (Statistical) เพื่ อ ประมวลผลข้อมูลที่ได้จัดเก็บ และคำนวณหำค่ำทำงสถิติ แล้วนำผลที่ได้มำวิเครำะห์เพื่อตอบคำถำมวิจัย และ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยนำเสนอผลในรูปแบบตำรำงประกอบควำมเรียง และนำผลกำรศึกษำที่วิเครำะห์ได้มำสรุป ผลกำรวิจัย อภิปรำยผล และเขียนข้อเสนอแนะ 3. กำรวิเครำะห์ข้อมูลที่ได้จำกแบบสอบถำมปลำยเปิด (Open Ended) ผู้วิจัยนำมำวิเครำะห์เนื้อหำ (Content Analysis) ผลการวิจัย 1. กำรพัฒนำนักศึกษำครูในกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ทั้ง 7 ด้ำน ในกำรวิเครำะห์ข้อมูลทั่วไปของกำรนำ นวัตกรรม และเทคโนโลยีกำรศึกษำไปใช้ในกำรสอนในศตวรรษที่ 21 มีระดับควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก 2. กำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้ำน มีระดับควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก 3. ควำมคำดหวังของนักศึกษำครู ที่มีต่อคุณลักษณะควำมเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 11 ด้ำน มีระดับ ควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก ทั้ง 3 ข้อที่กล่ำวมำนั้น มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่กำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนำสู่ครูมือ อำชีพ วิจารณ์ผลการวิจัย 1. กำรพัฒนำนักศึกษำครูในกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ทั้ง 7 ด้ำน พบว่ำ ในทุกๆ ด้ำน มีระดับควำมคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมำก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ำ นักศึกษำครูมีควำมรู้ในทุกๆ ด้ำน อยู่ในระดับมำก ซึ่งจะนำไปสู่กำรพัฒนำ ทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ ต่อไป 2. กำรพัฒนำนักศึกษำครูในด้ำนทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้ำน พบว่ำ ในทุกๆ ด้ำน มี ระดับควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ำ นักศึกษำครูมีควำมรู้ในทุกๆ ด้ำน อยู่ในระดับมำก ซึ่งจะ นำไปสู่กำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ ต่อไป 3. ควำมคำดหวังของนักศึกษำครู ที่มีต่อคุณลักษณะควำมเป็นครูในศตวรรษที่ 21 พบว่ำ ทั้ง 11 ด้ำน มีระดับควำมคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมำก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ำ นักศึกษำครูมี ควำมรู้ในทุกๆ ด้ำน อยู่ในระดับมำก ซึ่ง จะนำไปสู่กำรพัฒนำทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ ต่อไป ข้อเสนอแนะ 1. มหำวิทยำลัยควรศึกษำแนวทำงในกำรปรับปรุ ง และพัฒนำนักศึกษำครูในด้ำนกำรปฏิบัติงำนตำม มำตรฐำนวิชำชีพ เพื่อพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำ ที่จะส่งผลต่อกำรพัฒนำผู้เรียน เป็นสำคัญ 2. มหำวิทยำลัยควรกำหนดนโยบำย จุดเน้นด้ำนกำรพัฒนำนวัตกรรมกำรเรียนกำรสอน และจัดหำ เทคโนโลยีต่ำงๆ มำใช้ในกำรพัฒนำนวัตกรรมกำรเรียนกำรสอน ตลอดจนกำรเผยแพร่ผ่ำนเทคโนโลยีสำรสนเทศ หลำกหลำยรูปแบบ พร้อมทั้งจัดสรรงบประมำณในกำรดำเนินกำรให้เพียงพอ

616


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. นักศึกษำครูควรพัฒนำตนเองอย่ำงสม่ำเสมอ ด้วยกำรแสวงหำควำมรู้ เทคนิคกระบวนกำร วิธีกำร ในกำรพัฒนำนวัตกรรมกำรเรียนกำรสอน และแนวทำงกำรพัฒนำผู้เรียนในแบบต่ำงๆ เพื่อพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ 4. ในกำรวิจัยครั้งต่อไป ควรเก็บข้อมูลโดยกำรทดลองกับนักศึกษำ เพื่อวัด ทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 และวัดกำรพัฒนำสู่ครูมืออำชีพ ของนักศึกษำต่อไป กิตติกรรมประกาศ วิจัยเล่มนี้ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยควำมกรุณำ และควำมช่วยเหลือจำกอำจำรย์ประจำคณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ ทุกท่ำน ที่ได้ให้คำปรึกษำ แนะนำ และช่วยเหลือ จนทำให้วิจัยฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดี ขอขอบคุณ นักศึกษำ สำขำวิชำวิทยำศำสตร์ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ ทุกคน ที่ เป็นกลุ่มตัวอย่ำงให้เก็บข้อมูลเพื่อกำรทำวิจัยในครั้งนี้ จนสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี และขอขอบพระคุณ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏศรีสะเกษ ที่ให้ทุนเพื่อทำกำรวิจัย จนสำเร็จ ลุล่วงได้ด้วยดี เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษำธิกำร, สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน, สำนักวิชำกำรและมำตรฐำน กำรศึกษำ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [ออนไลน์]. จำก http://www.curriculum51.net. กำรศึกษำแห่งชำติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงำนคณะกรรมกำรศึกษำแห่งชำติ. คุรุสภำ. (2548). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. ชัยรัตน์ พละเลิศ. (2551). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3. นครปฐม : มหำวิทยำลัยศิลปำกร. ถำวร นำมลำพุทธำ. (2529). การพัฒนาครูด้านการจัดทาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการโรงเรียน บ้านขามคุรุราษฎร์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2. รำยงำนกำรศึกษำ ค้นคว้ำอิสระครุศำสตรมหำบัณฑิต มหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย. วรรณรัตน์ ลังกำวงศ์. (2547). การพัฒนาบุคลากรในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัด การเรียนการสอนในโรงเรียน สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสำมัญศึกษำเขต กำรศึกษำ 7. วิทยำนิพนธ์ครุศำสตรมหำบัณฑิต สถำบันรำชภัฏกำแพงเพชร. วิรัตน์ หำโคตร. (2552). การพัฒนาครูเพื่อปฎิรูปการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. ปริญญำครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย. สำนักงำน ก.ค.ศ., กระทรวงศึกษำธิกำร. (2549). รวมกฎหมาย กฎระเบียบการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภำ. Clark, J.C. & Walsh, J. (2007). Elements of a Model Effective Teacher. Faculty of Education, Deakin University. David Hung., Shu-Shing Lee., & Kenneth Y.T. Lim. (2012). Teachers as brokers:

617


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

BridgingFormal and informal learning in the 21st century. Journal of educationPolicy. 71-89. from edscohost database. Diane Marks. (2013). The Hybrid Course: Leaning Into the 21st century. Journal of Technology Integration in the Classroom. 5(1), 39. Kristen Kereluik, Punya Mishra, Chris Fahnoe, Luara Terry. (2013). What Knowledge Is of Most Worth: Teacher Knowledge for 21st Century Learning. Journal of Digital Learning in Teacher Education. 29(4), 130-131.

618


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-02 ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุม่ ผลสัมฤทธิ(์ STAD) ร่วมกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม COLLABORATIVE LEARNING MANAGEMENT USING STUDENT TEAMS- ACHIEVEMENT DIVISION (STAD) WITH SUPPLEMENTARY READING BOOK ON THE TOPIC OF BAISRI SUKHWAN BANTONGNOI CEREMONY SANGKHA DISTRICT SURIN PROVINCE. อ่อนศรีสุดำ เครือเนียม1ดร.พำนชัย เกษฎำ2 และดร.พนำ จินดำศรี3 1

สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ 3 สาขาการวัดและประเมินผล คณะครุศาสตร์ 2

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษำกระบวนกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัด สุรินทร์ 2) เพื่อศึกษำผลกำรจัดกำรเรียนรูโ้ ดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำ เขต3 ภำค เรียนที่ 1 ปีกำรศึกษำ 2560 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรี ยน แบบบันทึกกำรจัดกำรเรียนรู้ เรื่อง พิธี กรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ และแบบสอบถำมวัดควำมพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในกำรวิเครำะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่ำเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน และ Dependent t- test ผลกำรศึกษำพบว่ำ 1. กระบวนกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธี กรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 1 ผู้เรียนมีกระบวนกำรเรียนรู้ตำมรูปแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ที่ส่งเสริมผลกำรเรียนรู้ร่วมกันสอดคล้องกับกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ผลจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำร บำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำ ปีที่ 1 มีค่ำประสิทธิภำพ 88.16/89.65 ซึ่งสูงกว่ำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย เมื่อเรียนโดยใช้ วิธีกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01

619


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4. นักเรียนมีควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนโดยใช้วิ ธีกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ ในภำพรวมอยู่ใน ระดับมำกที่สุด ( = 4.85) และเมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำอยู่ในระดับมำกที่สุดทุกด้ำน คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ; การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ; หนังสืออ่านเพิ่มเติม; พิธีกรรม บายศรีสู่ขวัญ Abstract The study aimed : 1) to study the process of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topic of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province. 2) to study Learning outcomes of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topic of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province. The samples used in the research were 15 participants from Matthayomsuksa 1 who inrolled th 1th semester of Academic year 2016 in Bantongnoi School under the Surin Primary Educational Service Office Area 3. Research tools comprised of a supplementary reading book on the topic of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province, achievement tests (pre-test and post-test), learning activity record and a satisfactory questionnaire. The collected data were analyzed for mean, percentage, standard deviation and t-test (Dependent Samples) using SPSS program for windows. The results showed as the followings. 1. The process of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topinc of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province. Social Studies, Religion and Culture learning group for students in Matthayomsuksa 1, the effective of process of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topic of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province to promote the learning outcomes of the students centered. 2. Learning outcomes of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topic of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province. Social Studies, Religion and Culture subject for students in Matthayomsuksa 1, was equal to 88.16/89.65 which was higher than the specified crtera.i 3. The achievement of students in Matthayomsuksa 1 Bantongnoi School when study the process of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topic of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony,

620


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Sangkha district Surin province. The study also showed that that average scores of achievement post-tests was higher than pretests were difference at .01 level of significance. 4. The students were satisfaction of collaborative learning management using student teams – achievement division (STAD) with supplementary reading book on the topinc of Baisri Sukhwan Bantongnoi ceremony, Sangkha district Surin province, with a higher level ( = 4.85). It was found that the consideration in each aspect was in higher level. Keywords: Collaborative learning management; Student Teams – Achievement Division; Reading book ; Baisri sukhwan ceremony. บทนา พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พุทธศักรำช 2542 ได้กำหนดให้กำรศึกษำเป็นกระบวนกำรเรียนรู้ เพื่อควำมเจริญงอกงำมของบุคคลและสังคม กำรจัดกำรศึกษำต้องเป็นไปเพื่อ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทำงร่ำงกำย จิตใจและสติปัญญำ ควำมรู้ คุณธรรม และวัฒนธรรมในกำรดำรงชีวิ ต สำมำรถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่ำงมีควำมสุข เปิด โอกำสให้สังคมมีส่วนร่วมในกำรจัดกำรศึกษำ และสถำนศึกษำสำมำรถจัดทำสำระที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น จำกหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับ ชุมชนและสังคมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญำ กำรจัดกระบวนกำรเรียนกำรสอน ผู้เกี่ยวข้องทำงด้ำนกำรศึกษำทุกฝ่ำย จะต้องนำไปสู่กำรปฏิบัติที่เป็นจริงโดยมุ่งเน้นกำรจัดกำรเรียนรู้ให้ผู้เรียนประสบควำมสำเร็จจำกประสบกำรณ์จริง ปฏิบัติจริงในทุกๆกลุ่มสำระกำรเรียนรู้ ทุกระดับชั้น (กระทรวงศึกษำธิกำร.2551) ภูมิปัญญำท้องถิ่นที่ปรำกฏใน พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ.2542 ได้แก่ หมวด 4 แนวกำรจัดกำรศึกษำ มำตรำ 23 ข้อ3 ที่ระบุถึงกำร นำควำมรู้เกี่ยวกับศำสนำ ศิลปะ วัฒนธรรม กำรกีฬำ ภูมิปัญญำท้องถิ่นและกำรประยุกต์ใช้ภูมิปัญญำมำจัดกำร เรียนรู้โดยบูรณำกำรตำมควำมเหมำะสมของแต่ระดับกำรศึกษำ และมำตรำ 27 ให้คณะกรรมกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน กำหนดหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำนเพื่อควำมเป็นไทย ควำมเป็นพลเมืองที่ดีของชำติ กำรดำรงชีวิต และ กำรประกอบอำชี พ ตลอดจนเพื่ อ กำรศึ ก ษำต่ อ ให้ ส ถำนศึ ก ษำขั้ น พื้ น ฐำนมี ห น้ ำ ที่ จั ด สำระของหลั ก สู ตรตำม วัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภำพปัญหำในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญำท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึง ประสงค์เพื่อเป็นสมำชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชำติ หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551 ได้กำหนดเนื้อหำสำระด้ำนขนบธรรมเนีย ม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในกลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและ วัฒนธรรม สำระหน้ำที่พลเมือง วัฒนธรรมและกำรดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นสำระที่มีแนวคิดให้ควำมสำคัญต่อกำรนำวัฒนธรรมมำใช้เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียน สำมำรถประพฤติปฏิบัติตนเป็นสมำชิกที่ดีของสถำบันทำงสัง คม ตำมสถำนภำพ บทบำทอย่ำงถูกต้องตำมบรรทัด ฐำน วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ที่สำคัญของชำติ มีค่ำนิยมที่ดีงำม ร่วมมือกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญำไทย และมีวิจำรณญำณในกำรเลือกรับวัฒนธรรมและภูมิปัญญำนำนำชำติอย่ำงเหมำะสม ช่วยพัฒนำผู้เรียนให้มีควำมรู้ ควำมเข้ ำ ใจ กำรด ำรงชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ ทั้ ง ในฐำนะปั จ เจกบุ ค คลและกำรอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คมกำรปรั บ ตั ว ตำม สภำพแวดล้อม กำรจัดกำรทรัพยำกรที่มีอยู่อย่ำงจำกัด เข้ำใจถึงกำรพัฒนำเปลี่ยนแปลง ตำมยุคสมัย กำลเวลำ ตำม เหตุปัจจัยต่ำงๆ เกิดควำมเข้ำใจในตนเอง และผู้อื่น มีควำมอดทน อดกลั้น ยอมรับในควำมแตกต่ำง และมีคุณธรรม สำมำรถนำควำมรู้ไปปรับใช้ในกำรดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชำติ และสังคมโลก (พันทิวำ มำลำ.2538)

621


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

พิธีบำยศรีสู่ขวัญ เป็นภูมิปัญญำพื้นบ้ำนของชนทุกกลุ่มชำติพันธุ์ ที่ได้อนุรักษ์สืบต่อกันมำยำวนำน โดย ในพื้นที่เขตบริกำรชุมชนของโรงเรียนบ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ ชำวบ้ำนเป็นกลุ่มชำติพันธุ์กูย ก็ได้สืบทอดพิธีกรรม บำยศรีสู่ขวัญเช่นเดียวกัน ซึ่งกำรทำขวัญหรือกำรบำยศรีสู่ขวัญนั้นมีคุณค่ำสำคัญต่อกำรเป็นกลไกสร้ำงควำมมั่นคง ควำมสัมพันธ์ควำมเอื้ออำทรของคนในสังคมและภำวะควำมเข้มแข็งของชุมชน ถึงแม้จะมีประโยชน์อย่ำงไรก็ตำม ใน สภำพปัจจุบันควำมนิยมเรื่องกำรทำขวัญ หรือ กำรบำยศรีสู่ขวัญ ได้เสื่อมถอยลงในสภำพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง กำรลดลงของมรดกทำงวัฒนธรรมประเภทนี้ จึงเป็นไปอย่ำงรวดเร็วมำกขึ้น ยิ่งกว่ำนั้นสภำพสังคมในปัจจุบัน ควำม เจริญทำงเทคโนโลยีสูง กำรปะทะสังสรรค์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่ำงชำติเป็นไปได้รวดเร็ว สังคมบ้ำนแปรสภำพ เป็นสังคมเมือง ประชำชนสำมำรถแสวงหำควำมบันเทิงได้หลำกหลำยรูปแบบ กำรทำขวัญเริ่มเสื่อมถอย ขำด ผู้สนับสนุน กลำยเป็นของล้ำสมัย(ศรไกร รุ่งรอด.2533) กำรบำยศรีสู่ขวัญของชุมชนบ้ำนโตงน้อย ในปัจจุบันก็ได้ รับ ผลกระทบจำกกำรเปลี่ยนแปลงทำงสังคมส่งผลให้มีควำมนิยมลดน้อยลงเช่นเดียวกัน และมีแนวโน้มว่ำในอนำคต เยำวชนคนรุ่นใหม่ จะไม่มีใครรู้จักวัฒนธรรมอันดีงำมทั้งแง่เชิงศิลปะ และภูมิปัญญำท้องถิ่นอันเป็นกุศโลบำยให้คนมี จิตใจที่ดีงำม มีควำมรักสำมัคคีแสดงมุทิตำจิตต่อกัน ซึ่งควรได้รับกำรส่งเสริม สืบทอดและอนุรักษ์ไว้ จำกกำรศึก ษำข้อ มูล สภำพกำรจั ด กำรเรีย นกำรสอนกลุ่ม สำระกำรเรี ยนรู้สั งคมศึ กษำ ศำสนำและ วัฒนธรรมของครูผู้สอน พบว่ำ ส่วนใหญ่ครูผู้สอนเน้นเฉพำะเนื้อหำที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ใช้วิธีกำรสอนตรงหรือ สอนโดยวิธีกำรบอกควำมรู้ อธิบำยเนื้อหำ อำจมีกำรใช้สื่อประกอบบ้ำง กำรวัดผลประเมินผลส่วนใหญ่จะใช้วิธีกำร สอบควำมรู้ โดยใช้ข้อควำมที่เน้นเฉพำะกำรวัดควำมรู้ควำมเข้ำใจเท่ำนั้น ส่วนสภำพกำรเรียนของนักเรียนนั้น นักเรียนจะเรียนรู้เรื่องต่ำงๆ จำกกำรฟังคำอธิบำยกำรบอกเล่ำของครูผู้สอน เน้นควำมรู้ควำมเข้ำใจด้ำนเนื้อหำและ กำรเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ครูผู้สอนเป็นศูนย์กลำงถึงจะมีกำรเปิดโอกำสให้นักเรียนปฏิบัติบ้ำงก็ตำม แต่ก็ ปฏิบัติกิจกรรมตำมที่ครูสั่งเท่ำนั้น ควำมรู้ที่ได้รับจึงเกิดจำกกำรท่องจำและทำควำมเข้ำใจเนื้อหำมำกกว่ำกำรศึกษำ ค้นคว้ำหรือกำรปฏิบัติจริง นอกจำกนี้บรรยำกำศของกำรเรียนกำรสอนกำรดำเนินกิจกรรมต่ำงๆ จะดำเนินอยู่ภำยใน ห้องเรียน กำรจัดกำรเรียนกำรสอนเกี่ยวกับหน้ำที่พลเมือง วัฒนธรรมและกำรดำเนินชีวิต จึงขำดประสิทธิภำพ ทำ ให้ผู้เรียนเกิดควำมเบื่อหน่ำย ไม่ใส่ใจในวัฒนธรรม ภูมิปัญญำและประเพณีของท้องถิ่นตนเอง และควำมขำดแคลน สื่อกำรเรียนกำรสอนก็เป็นปัญหำที่สำคัญ โดยเฉพำะหนังสือแบบเรียนและหนังสืออ่ำนเพิ่มเติมที่น่ำสนใจ ทันสมัย และข้อมูลถูกต้องยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย(พันทิวำ มำลำ.2538) โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ กำรศึกษำประถมศึกษำ สุรินทร์เขต 3 นั้นได้มีแนวนโยบำยในกำรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำเนื้อหำสำระด้ำนภูมิปัญญำ ประเพณี พิธีกรรมในท้องถิ่นมำสอดแทรกบูรณำกำรในกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนกลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำศำสนำและ วัฒนธรรมให้มีควำมสอดคล้องตำมเจตนำรมณ์ของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551 อย่ำงไรก็ตำมจำกกำรสำรวจบริบทของโรงเรียน พบว่ำ ข้อมูลเนื้อหำสำระและสื่อกำรสอนด้ำนพิธีกรรมในท้องถิ่นยัง มีจำนวนน้อย และจำกผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของผู้เรียนปีกำรศึกษำ 2559 ระดับชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 สำระหน้ำที่ พลเมือง วัฒนธรรมและกำรดำเนินชีวิต ผู้เรียนมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 75.85 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ซึ่งปัญหำ ด้ำนผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนในกลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ที่อยู่ในระดับต่ำสำเหตุ ประกำรหนึ่งอำจเป็นผลมำจำกกำรจัดกำรเรียนกำรสอนในรูปกำรบรรยำยผู้เรียนไม่มีสิ่งเร้ำใจมำกกระตุ้นให้เกิดกำร เรียนรู้ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจในกำรเรียน ขำดโอกำสในกำรแสดงควำมคิดเห็น ขำดทักษะกำรทำงำนกลุ่ม จำกสภำพ ดังกล่ำว จึงส่งผลให้ผู้เรียนเข้ำใจในเนื้อหำวิชำในระดับต่ำนอกจำกนี้จำกกำรสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจำกกำรสัมภำษณ์ ผู้เรียน พบว่ำ ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่รู้ประวัติควำมเป็นมำ ควำมสำคัญ และสนใจในภูมิปัญญำท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์

622


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ของชุมชน ส่วนในด้ำนครูผู้สอนพบว่ำ ครูผู้สอนส่วนใหญ่เป็นครูประจำชั้นที่จัดกำรเรียนกำรสอนทุกกลุ่มสำระกำร เรียนรู้ มักจะจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนโดยใช้หนังสือที่ทำงโรงเรียนจัดหำให้ ซึ่งในรำยละเอียดเกี่ยวกับวัฒนธรรม มักจะกล่ำวเพียงแค่วัฒนธรรมประเพณีของชำติโดยรวมเท่ำนั้น มิได้เน้นรำยละเอียดสำคัญของวัฒนธรรมประเพณี พิธีกรรมกำรสืบสำนภูมิปัญญำท้องถิ่น ประกอบกับครูผู้สอนบำงท่ำนมิได้เป็นบุคลำกรในพื้นที่ และบำงท่ำนมีควำมรู้ เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมภูมิปัญญำท้องถิ่นไม่ลึกซึ้งเท่ำที่ควร ทำให้มีกำรนำเนื้อหำดังกล่ำวมำใช้ประกอบกำรจัด กิจกรรมกำรเรียนกำรสอนน้อยหรืออำจไม่มีเลย แนวทำงกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ที่เน้นควำมสำคัญของผู้เรียน เพื่อนำมำแก้ปัญหำและปรับปรุงกำร เรียนกำรสอนวิชำสังคมศึกษำให้มีประสิทธิภำพยิ่งขึ้นนั้น กำรจัดกระบวนกำรเรียนกำรสอนควรส่งเสริมกำรทำงำน ร่วมกันเป็นกลุ่มตำมวิถีประชำธิปไตย และช่วยเหลือกันตำมวิธีพึ่งพำกันในสังคมและรูปแบบกำรสอนโดยใช้เทคนิค วิธีกำรสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning) เป็นวิธีกำรจัดกำรเรียนกำรสอนอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้ ผู้เรียนได้ร่วมมือกันแก้ปัญหำต่ำง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จลงได้ โดยบทบำทของครูจะเปลี่ยนไปจำกเดิมคือ ต้องไม่ถือ ว่ำตัวเองเป็นผู้ถ่ำยทอดควำมรู้ ในชั้นเรียนคนเดียว แต่เป็นกำรสร้ำงสภำพแวดล้อม วิธีดำเนินกำรที่เอื้ออำนวยให้ นักเรียนสำมำรถค้นหำควำมรู้ได้จำกกำรร่วมมือกันเรียนรู้ ซึ่งเกิดจำกกำรกระทำของตนเองและจำกเพื่อนนักเรียน ด้วยกัน โดยสมำชิกในกลุ่มตระหนักว่ำ แต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ดังนั้นควำมสำเร็จหรือควำมล้มเหลวของ กลุ่มสมำชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน สมำชิกจะมีกำรพูดคุยกันและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ผู้เรียน จะได้รับควำมรู้จำกเพื่อน สิ่งที่เป็นผลพลอยได้จำกกำรใช้วิธีกำรสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ประกำรหนึ่ง ก็คือ นักเรียนจะรู้สึกถึงคุณค่ำของตนเองมำกขึ้น เกิดควำมมั่นใจในตนเอง ทั้งนี้ก็เพรำะว่ำนักเรียนได้มีส่วนร่วมในกำรทำ กิจกรรมกลุ่ม ซึ่งแต่ละคนจะมีบทบำทสำคัญต่อควำมสำเร็จของกลุ่มและเมื่อกลุ่มประสบควำมสำเร็จก็จะทำให้ ผู้เรียนเข้ำใจว่ำตนเองก็มีควำมสำมำรถที่จะช่วยให้กลุ่มประสบควำมสำเร็จได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ และเมื่อผู้เรียน ตระหนักถึงคุณค่ำของตนเองแล้วก็จะมีควำมกระตือรือร้ นที่จะเรียนรู้มำกขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ช่วยเหลือกลุ่มต่อไป นอกจำกนี้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ยังก่อให้เกิดบรรยำกำศที่นักเรียนทุกคนได้พูดคุยกัน ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อ กัน ได้ฝึกกำรทำงำนร่วมกัน ซึ่งเป็นกำรพัฒนำทำงด้ำนสังคมให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่ำงดี กำรให้อิสระที่ผู้เรียนได้แสดง ควำมคิดเห็นพูดคุยกัน ปรึกษำหำรือกันนั้น เป็นกำรส่งเสริมบรรยำกำศให้ผู้เรียนได้พัฒนำควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์ และช่วยให้ตัวนักเรียนและเพื่อนเข้ำใจปัญหำมำกยิ่งขึ้น สำมำรถมองหำแนวทำงแก้ปัญหำ ตลอดจนพัฒนำผลงำนได้ อย่ำงสร้ำงสรรค์ หรือแม้ว่ำจะไม่สำมำรถหำคำตอบได้ แต่ระดับกำรติดตำมปัญหำจะสูงกว่ำกำรที่ครูกำหนดคนเดียว และกำรที่นักเรียนสำมำรถอธิบำยให้เพื่อนฟังได้ ก็จะเป็นกำรยกระดับควำมเข้ำใจให้สูงขึ้นถึงระดับ กำรถ่ำยทอด ควำมคิด ซึ่งเป็นกำรเรียบเรียงถ้อยคำอธิบำยออกมำ จะช่วยปรับควำมเข้ำใจให้เกิดควำมชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่ง เป็นกำรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะพึงประสงค์สอดคล้อง ตำมแนวกำรจัดกำรศึกษำหมวด 4 ของพระรำชบัญญัติ กำรศึกษำแห่งชำติ พุทธศักรำช 2542 (ขนิษฐำ ทองมนและคณะ.2553) กำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams – Achievement Division) นั้น เป็นรูปแบบกำรเรียนที่วัดควำมสำมำรถของผู้เรียนโดยกำรทำแบบทดสอบย่อยแล้วนำคะแนนที่ได้จำกกำรทำ แบบทดสอบย่ อ ยไปเปรี ย บเที ย บกั บ คะแนนพื้ น ฐำนของนั ก เรี ย นแต่ ล ะคนซึ่ ง ไม่ เ ท่ ำ กั น ได้ ม ำโดยน ำคะแนน ควำมก้ำวหน้ำของสมำชิกกลุ่มเดียวกันมำรวมกัน ถ้ำคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มสูงกว่ำเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มก็จะได้รับกำร ยกย่องหรือรำงวัลตำมที่ตกลงไว้ (ขนิษฐำ ทองมนและคณะ.2553) หลักกำรพื้นฐำนของกำรจัดกำรเรียนรู้แบบ STAD ในกำรจัดกำรเรียนรู้แบบ STAD นั้น สมำชิกในกลุ่มทุกคนต้องปฏิบัติตำมหลักกำรพื้นฐำน 5 ประกำรได้แก่ 1) กำรพึ่งพำอำศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก 2) กำรติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรง 3) กำรรับผิดชอบงำนกลุ่มของกลุ่ม 4) ทักษะ

623


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ในควำมสัมพันธ์กับกลุ่มเล็กและผู้อื่น และ5) กระบวนกำรกลุ่ม วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จึงเป็นกำร สอนที่สอดคล้องกับกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกำรสร้ำง องค์ควำมรู้ ได้ค้นคว้ำหำควำมรู้ และค้นพบคำตอบในบทเรียน โดยกำรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แลกเปลี่ยนเรียนรูแ้ ละ ท ำงำนกลุ่ ม ฝึ ก ฝน ทั ก ษะกำรคิ ด กำรเคลื่ อ นไหว ผู้ เ รี ย นมี ส่ ว นร่ ว มในกำรจั ด กิ จ กรรมทั้ งทำ งด้ ำ นร่ ำ งกำย สติปัญญำ สังคมและอำรมณ์กำรเกิดควำมสนุกสนำน ไม่เบื่อหน่ำยในกำรเรียน ส่วนบทบำทของครูคือผู้กระตุ้น ชี้แนะทำให้ ผู้เรี ยนเกิด กำรพัฒ นำควำมรู้เ ต็มศั กยภำพ มี คุณ ลักษณะอันพึ งประสงค์ต ำมที่หลั กสูต รแกนกลำง กำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551 กำหนดให้ นอกจำกนี้กำรจัดกำรเรียนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์จะช่วย พัฒนำผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ทำให้สูงขึ้นได้และจำก กำรที่ นั ก เรี ย นมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ ผู้ อื่ น รู้ จั ก กำรท ำงำนกลุ่ ม นั ก เรี ย นสำมำรถน ำทั ก ษะกำรท ำงำนกลุ่ ม ไปใช้ ใ น ชีวิ ต ประจำวั นได้ นอกจำกนี้ ยั งพบว่ ำ หนังสื ออ่ ำ นเพิ่ มเติ มเป็ นสื่ อ กำรเรีย นกำรสอนประเภทหนึ่ งที่ก ระทรวง ศึกษำธิกำรส่งเสริมให้หน่วยงำนของรัฐ ท้องถิ่น โรงเรียนมีส่วนร่วมในกำรจัดทำ โดยโรงเรียนใช้เป็นสื่อในกำรจัด กิจกรรมกำรเรียนกำรสอนในกลุ่มประสบกำรณ์ต่ำง ๆ ให้เหมำะสมกับสภำพและควำมต้องกำรของท้องถิ่น ซึ่งกำร จัดทำหนังสืออ่ำนเพิ่มเติมนี้จะต้องนำเนื้อหำในหลักสูตรมำขยำยให้มีรำยละเอียดมำกขึ้น โดยเน้นเนื้อหำสำระที่ให้ ควำมรู้ ข้อเท็จจริงที่มีคุณค่ำเพลิดเพลินอันแตกต่ำงไปจำกหนังสือแบบเรียน(สุพรรณี มีภูเวียง.2549) ดังนั้น กำรจัด กิจกรรมกำรเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำมำรถนำมำใช้ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติมเพื่อ ศึกษำ ค้นคว้ำ สรุปเนื้อหำสำระ จัดลำดับขั้นตอนกำรนำเสนอ และเตรียมนำไปสอนหรือให้ควำมรู้แก่สมำชิกในกลุ่ม ได้ เพรำะหนังสืออ่ำนเพิ่มเติมนั้นนอกจำกจะมีเนื้อหำสำระแล้วยังให้ควำมเพลิดเพลินทำให้ผู้เรียนไม่เกิดควำมรู้สึก เบื่อหน่ำย สำมำรถพัฒนำกำรเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ จำกแนวคิดและหลักกำรดังกล่ำว ได้มีผู้ที่ได้ดำเนินกำรวิจัยกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ และกำรเรียนกำร สอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับกำรเรียนกำรสอนหรือสื่อประเภทต่ำง ๆ ได้อย่ำงมีประสิทธิผล มำแล้วอำทิเช่น สุพรรณี มีภูเวียง (2549) ได้วิจัยกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบ เทคนิค STAD กลุ่มสำระสังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรมเรื่องวันสำคัญทำงพระพุทธศำสนำ ชั้นประถมศึกษำปีที่ 3 ผลกำรวิจัยพบว่ำ แผนกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ มีประสิทธิภำพเท่ำกับ 85.33/83.65 ซึ่งสูงกว่ำเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 0.7100 แสดงว่ำให้เห็นว่ำผู้เรียนมีควำมก้ำวหน้ำทำงกำรเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 71 และนักเรียนมีควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนกำรสอนอยู่ในระดับมำกที่สุด จำกเหตุผลดังกล่ำว ผู้วิจัยได้ตระหนักเห็นปัญหำกำรเรียนกำรสอนที่ประสบอยู่และควำมสำคัญกำร อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนให้ดำรงคงอยู่ จึงมีควำมสนใจที่จะศึกษำ ผลกำรจัดกำรเรียนรู้ เรื่อง พิธี กรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอน แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ซึ่งผลกำรวิจัยครั้งนี้จะช่วยทำให้นักเรียนไม่เกิดควำม เบื่อหน่ำย เป็นจุดเริ่มต้นทำให้นักเรียนมีควำมกระตือรือร้นในกำรเรียน ทำให้นักเรี ยนมีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน สูงขึ้น ส่งเสริมทักษะทำงสังคม ควำมรับผิดชอบงำนกลุ่ม และมีเจตคติที่ดีต่อกำรเรียนในกลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคม ศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม สำมำรถนำควำมรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่ำและมีส่วนร่วมในกำรอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญำท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป

624


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษำกระบวนกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสือ อ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษำผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำน เพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนที่เรียนด้วยกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับหนังสืออ่ำน เพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 มี ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูงกว่ำก่อนเรียน 2. นักเรียนที่เรียนด้วยกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำน เพิ่มเติมเรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 มีควำมพึง พอใจในระดับมำกขึ้นไป ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตด้ำนประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง 1.1 ประชำกร ประชำกรที่ ใช้ ในกำรวิ จัย ครั้ งนี้ เป็น นัก เรี ยนชั้น มัธ ยมศึก ษำปี ที่ 1 ในกลุ่ม เครือ ข่ำ ยบริห ำร สถำนศึกษำแบบบูรณำกำรตำบลขอนแตก สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำสุรินทร์เขต 3 จำนวน 6 โรงเรียน โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 รวม 124 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่ำง กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึ กษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย อำเภอ สังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปีกำรศึกษำ 2559 จำนวน 15 คน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีกำรสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 2. ตัวแปรที่ศึกษำ 2.1 ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ กำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสั มฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 2.2 ตัวแปรตำม ผลกำรจัดกำรเรียนรู้เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อยอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ปีกำรศึกษำ 2559 3. ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ กำรวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมกำรเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับ หนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยอ้ำงอิงหลักสูตร แกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551 และขอบข่ำยเนื้อหำกลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและ วัฒนธรรม สำระที่ 1 ศำสนำ ศีลธรรมและจริยธรรมประกอบด้วย มำตรฐำน ส 1.2 มำตรฐำน ส 1.2 เข้ำใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศำสนิกชนที่ดี และธำรงรักษำพระพุทธศำสนำ หรือศำสนำที่ตนนับถือ ตัวชี้วัด ม.1/4 จัด

625


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

พิธีกรรม และปฏิบัติตนในศำสนพิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง ซึ่งแบ่งเนื้อหำออกเป็น 8 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 ควำมเป็นมำและควำมหมำยของกำรบำยศรีสู่ขวัญ เรื่องที่ 2 ประเภทของพำนบำยศรี เรื่องที่ 3 อุปกรณ์และวิธีกำรในกำรทำพำนบำยศรี เรื่องที่ 4 ควำมเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ เรื่องที่ 5 พิธีกรรมกำรสู่ขวัญคน เรื่องที่ 6 พิธีกรรมสู่ขวัญสัตว์ เรื่องที่ 7 พิธีกรรมสู่ขวัญสิ่งของ เรื่องที่ 8 หลักธรรมทำงพุทธศำสนำที่ปรำกฏในพิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ วิธีดาเนินการวิจัย กำรดำเนินกำรวิจัยครั้งนี้ เป็นกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำน เพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และ วัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โดยมีรำยละเอียดประกอบดำเนินงำนนำเสนอลำดับหัวข้อต่อไปนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกรที่ใช้ในกำรศึกษำค้นคว้ำ ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนขั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 ในเขตตำบลขอนแตก กลุ่มเครือข่ำยบริกำรสถำนศึกษำแบบบูรณำกำรขอนแตก สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำสุรินทร์เขต 3 จำนวน 6 โรงเรียน รวม 134 คน กำรสุ่มกลุ่มตัวอย่ำง คือ นักเรียนขั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 ในเขตตำบลขอนแตก กลุ่มเครือข่ำยบริกำร สถำนศึกษำแบบบูรณำกำรขอนแตก สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำสุริน ทร์เขต 3 จำนวน 6 โรงเรียน รวม 134 คน ผู้ศึกษำจึงได้สุ่ม โดยใช้วิธีกำรสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้นักเรียนชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย กำรวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษำได้แบ่งเครื่องมือออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ แผนกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม สำระที่ 1 ศำสนำ ศีลธรรมและจริยธรรม มีทั้งหมด 8 แผนกำรเรียนรู้ คือ - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ควำมเป็นมำและควำมหมำยของกำรบำยศรีสู่ขวัญ - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ประเภทของพำนบำยศรี - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อุปกรณ์และวิธีกำรในกำรทำพำนบำยศรี - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ควำมเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พิธีกรรมกำรสู่ขวัญคน - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พิธีกรรมสู่ขวัญสัตว์ - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง พิธีกรรมสู่ขวัญสิ่งของ - แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง หลักธรรมทำงพุทธศำสนำที่ปรำกฏในพิธีกรรมกำร บำยศรีสู่ขวัญ

626


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม เรื่อง พิธีกรรมกำร บำยศรีสู่ขวัญ ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 ข้อสอบแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งแบบทดสอบวัดควำมรู้ ควำมจำ ควำมเข้ำใจ กำรนำไปใช้ วิเครำะห์ และกำรประเมินค่ำ มีทั้งสิ้น จำนวน 40 ข้อ 40 คะแนน 3. แบบสอบถำมวัดควำมพึงพอใจ แบบสอบถำมควำมพอใจของนักเรียนที่มีต่อกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติมเรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นแบบมำตรส่วนและแบบประเมินค่ำ 5 ระดับ มี ทัง้ สิ้น 20 ข้อ 4. แบบบันทึกกำรจัดกำรเรียนรู้ แบบบันทึกกำรจัดกำรเรียนรู้ ตำมรูปแบบควำมหมำยของกำรจัดกำรเรียนกำรสอน แบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ซึ่งจะประเมินผลกำรตอบสนองของผู้เรียนในแต่ละแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล กำรศึกษำครั้งนี้ ผู้ศึกษำค้นคว้ำ ได้ดำเนินกำรศึกษำค้นคว้ำและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. จัดเตรียมนักเรียนในกลุ่มทดลอง โดยกำรปฐมนิเทศชี้แจงและให้คำแนะนำลักษณะกำรเรียน กำรสอนและบทบำทหน้ำที่ของนักเรียนต่อรูปแบบกำรเรียนกำรสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จุดประสงค์ ของกำรเรียน และวิธีกำรประเมินผลของกำรเรียนรู้ มีรำยละเอียดดังนี้ 1.1 ครูอธิบำยวิธีกำร กำรเรียนแบบกระบวนกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ให้ นักเรียนเข้ำใจโดยเน้นให้นักเรียนทรำบถึงข้อตกลงเบื้องต้นบทบำทหน้ำที่ควำมรับผิดชอบของนักเรียน 1.2 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย โดยคละเพศและควำมสำมำรถจำนวน 5 กลุ่มกลุ่มละ 5 คน 2. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนก่อนเรียน Pre-Test โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรียน เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ จำนวน 40 ข้อ 3. ดำเนินกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนตำมแผนกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 ที่ โดยจัดกิจกรรม ตำมแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ผู้ศึกษำค้นคว้ำสร้ำงขึ้น จำนวน 8 แผน ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวมเวลำสอน 8 ชั่วโมง 4. เก็บรวบรวมข้อมูลกระบวนกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้แบบบันทึกกำรจัดกำรเรียนรู้ในระหว่ำง กำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบ แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 5. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนหลังเรียน (Post-test) กับนักเรียนกลุ่มเป้ำหมำยจำนวน 15 คน โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน 6. สอบถำมวั ด ควำมพึ งพอใจของนั ก เรี ย นที่ เ รี ย นด้ ว ยแผนกำรจั ด กำรเรี ย นรู้ แ บบแบ่ งกลุ่ ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวั ดสุรินทร์ กลุ่ม สำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 จำกแบบสอบถำมควำมพึงพอใจที่ผู้ศึกษำ ค้นคว้ำสร้ำงขึ้น จำนวน 20 ข้อ 7. นำคะแนนจำกกำรทำแบบทดสอบย่อยท้ำยแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ทุกแผน แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน แบบสอบถำมวัดควำมพึงพอใจ ของนักเรียนมำวิเครำะห์หำค่ำทำงสถิติ

627


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ กำรวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษำวิจัยดำเนินกำรวิเครำะห์ข้อมูล ดังรำยละเอียดต่อไปนี้ 1. ด ำเนิ น กำรใช้ ร ะเบี ย บวิ ธี วิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภำพโดยใช้ ก ระบวนกำรวิ เ ครำะห์ ข้ อ มู ล แบบสำมเส้ ำ (triangulation) มีรำยละเอียดดังต่อไปนี้ 1.1 แหล่งเวลำ ผู้วิจัยได้ดำเนินกำรกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)จำนวน ทั้งสิ้น 8 แผนจำนวน 8 ครั้งซึ่งในแต่ละครั้งจะใช้ดำเนินกำรตำมรูปแบบกำรสอนที่ครบสมบูรณ์ทุกขั้นตอนทั้งนี้ผู้ ศึกษำได้ดำเนินกำรวิเครำะห์ข้อมูลเพื่ อตรวจสอบทั้ง 8 ครั้งว่ำมีลักษณะใกล้เคียงกันหรือเป็นแบบแผนในทำนอง เดียวกันหรือไม่และเพื่อลำดับลักษณะจุดเด่นจุดด้อยของกำรใช้ในแต่ละขั้นตอนแต่ละครั้ง 1.2 แหล่งบุคคล เป็นกำรตรวจสอบผู้เรียนซึ่งสังเกตจำกผู้เรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มที่จัดกำรเรียน กำรสอนว่ำมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่ำงในแต่ละขั้นตอนกำรจัดกำรเรียนรู้ 1.3 แหล่ ง วิ ธี ก ำรเก็ บ ข้ อ มู ล เป็ น กำรเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล โดยใช้ วิ ธี ก ำรสั ง เกตแบบทดสอบ แบบสอบถำมผลที่ใช้จำกกำรรวบรวมข้อมูลในแต่ละวิธีจะมีควำมแตกต่ำงและมีควำมสอดคล้องกันหรือไม่ 2. ดำเนินกำรใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมำณ ดังรำยละเอียดต่อไปนี้ 2.1 คะแนนร้อยละ ค่ำเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จำกกำรทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน และ แบบสอบถำมวัดควำมพึงพอใจ 2.2 วิเครำะห์หำประสิทธิภำพของชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ตำมเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร E1 /E2 2.3 วิเครำะห์ควำมแตกต่ำงระหว่ำงคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรี ยน ใช้ Dependent t-test สถิติที่ใช้ในกำรวิเครำะห์ข้อมูล 1. สถิติพื้นฐำน ได้แก่ 1.1 ค่ำเฉลี่ย (Arithmetic Mean) 1.2 ค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำน (Standard Deviation) 1.3 ร้อยละ (Percentage) 2. สถิติที่ใช้ในกำรวิเครำะห์หำคุณภำพของเครื่องมือ กำรวิเครำะห์หำประสิทธิภำพ ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน ดังนี้ 2.1 กำรหำควำมเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน โดยใช้สูตรดัชนี ค่ำควำมสอดคล้อง IOC 2.2 หำค่ำระดับควำมยำกง่ำยของแบบทดสอบโดยใช้สูตร P 2.3 กำรหำค่ำอำนำจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน โดย ใช้สูตร r 2.4 กำรหำค่ำควำมเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชำร์ดสัน 2.5 กำรหำควำมเชื่ อ มั่ น ของแบบสอบถำมวั ด ควำมพึ ง พอใจต่ อ กำรจั ด กำรเรี ย นรู้ โดยใช้ วิ ธี สัมประสิทธิ์แอลฟำ (Alpha-Coefficient) ตำมวิธีของครอนบำค

628


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐำน 3.1 กำรทดสอบควำมแตกต่ำงของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ Dependent t- test 3.2 กำรวิเครำะห์หำประสิทธิภำพของชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ ตำมเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1 /E2 ผลการวิจัย 1. กำรศึกษำกระบวนกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อ ง พิ ธีกรรมกำรบำยศรีสู่ ขวั ญ บ้ำนโตงน้ อย จังหวั ดสุ รินทร์ กลุ่ มสำระกำรเรีย นรู้สั งคมศึ กษำ ศำสนำและ วัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ มีทั้งหมด 6 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นกำรเสนอบทเรียนทั้งชั้น 2) ขั้นกำรเรียนเป็น กลุ่มย่อย 3) ขั้นกำรทดสอบย่อย 4) ขั้นกำรคิดคะแนนในกำรพัฒนำตนเองและของกลุ่ม 5) และ 6) ขั้นกำรยกย่อง กลุ่มที่ประสบควำมสำเร็จ ซึ่งกำรแบ่งแผนกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่ งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำน เพิ่มเติม แบ่งเป็น 2 วงรอบ และใช้แบบบันทึกกำรจัดกำรเรียนกำรสอน สะท้อนผลกระบวนกำรเรียนรู้ของที่เรียน ด้วยกิจกรรมกำรเรียนรู้ บบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ด้วยกระบวนกำรดังกล่ำว จะ เห็นได้ว่ำกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอน ที่ผู้ศึกษำสร้ำงขึ้นในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียน มีกระบวนกำร เรียนรู้ตำมรูปแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และใช้สื่อกำรสอนประเภทหนังสืออ่ำน เพิ่มเติมส่งเสริมผลกำรเรียนรู้ร่วมกันสอดคล้องกับกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้จำกผู้เรียน ได้เรียนรู้จำกกำรลงมือปฏิบัติกิจกรรม หรือศึกษำควำมรู้ด้วยตนเอง จำกสื่อหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ ผู้เรียนได้สรุปควำมรู้ด้วยตนเอง นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมมือกันเรียนรู้เป็นรำยกลุ่ม ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกำร ทำงำนกลุ่ม มีกำรแลกเปลี่ยนควำมรู้ภำยในกลุ่มและแลกเปลี่ยนควำมรู้ภำยในชั้นเรียน จำกกิจกรรมกำรนำเสนอ ควำมรู้หน้ำชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนควำมคิดเห็นกับเพื่อนและครู เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้ำ แสดงออก นอกจำกนี้นักเรียนยังได้ฝึกควำมชำนำญ เพื่อให้เกิดควำมเข้ำใจในเรื่องที่เรียนมำกยิ่งขึ้น 2. กำรศึกษำผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับ หนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 สำมำรถสรุป ได้ดังนี้ 2.1 กำรจัด กำรเรี ย นรู้ แ บบแบ่ งกลุ่ ม ผลสั ม ฤทธิ์ (STAD)ร่ ว มกับ หนั งสื อ อ่ ำนเพิ่ม เติ ม เรื่ อง พิ ธี กรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 1 มีค่ำประสิทธิภำพ 88.16/89.65 ซึ่งสูงกว่ำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2.2 ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย เมื่อเรียนโดย ใช้วิธีกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 2.3 นักเรียนมีควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนโดยใช้วิธีกำรจัดกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ ในภำพรวมมี ค่ำเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมำะสมมำกที่สดุ โดยมีค่ำเฉลี่ย 4.85 และเมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำนทั้ง 4 ด้ำน คือ ด้ำนเนื้อหำ ด้ำนกิจกรรมกำรเรียนกำรสอน ด้ำนสื่อและอุปกรณ์ในกำรเรียนกำรสอนและด้ำนกำรวัดผลและประเมินผล มีควำม พึงพอใจอยู่ในระดับมำกที่สุดทุกด้ำน

629


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย กำรวิจัย เรื่อง ผลกำรจัดกำรเรียนรู้ เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่ม สำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำศำสนำ และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึ กษำปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม มีประเด็นที่นำมำอภิปรำยผลและสรุปผลได้ดังนี้ 1. กระบวนกำรจัดกำรเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสือ อ่ำนเพิ่มเติม ผู้ศึกษำได้จัดทำแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ขึ้น โดยอำศัยแนวคิด 5 แนวคิด ได้แก่ กำรพึ่งพำอำศัยซึ่งกัน และกันเชิงบวก (Positive Interdependent) กำรติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรง (Face to Face Interaction) กำร รับผิดชอบงำนกลุ่มของกลุ่ม (Individual Accountability at Group Work) ทักษะในควำมสัมพันธ์กับกลุ่มเล็ก และผู้อื่น (Social skills) และกระบวนกำรกลุ่ม (Group Processing) โดยใช้กำรจัดกำรเรียนกำรสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกำรเสนอบทเรียนทั้งชั้น 2) ขั้นกำรเรียนเป็นกลุ่มย่อย 3) ขั้นกำรทดสอบย่อย 4) ขั้นกำรคิดคะแนนใน กำรพัฒนำตนเองและของกลุ่ม 5) และ 6) ขั้นกำรยกย่องกลุ่มที่ประสบควำมสำเร็จ ซึ่งจำกกำรปฏิบัติกิจกรรมกำร เรียนกำรสอน จะเห็นได้ว่ำนักเรียนได้เรียนรู้จำกกำรปฏิบัติกิจกรรม ได้ศึกษำ ค้นคว้ำ ควำมรู้ ด้วยตนเอง จำก หนังสืออ่ำนเพิ่มเติมและสื่อที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้นักเรียนได้ทำงำนเป็นกลุ่ม มีก ำรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและครู นักเรียนมีโอกำสได้นำเสนอควำมรู้ มีกำรอภิปรำยในชั้นเรียน และนักเรียนได้ฝึกสรุปควำมรู้ด้วยตนเอง ซึ่ง สอดคล้องกับสุลัดดำ ลอยฟ้ำ [7] ที่พบว่ำ กำรจัดกำรเรียนกำรสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นกำรจัดกิจกรรมที่ให้ ควำมสำคัญต่อกำรพัฒนำทัศนคติและค่ำนิยมในตัวนักเรียนที่จำเป็นทั้งในและนอกห้องเรียน กำรจำลองรูปแบบ พฤติกรรมทำงสังคมที่พึงประสงค์ในห้องเรียน กำรเสนอและแลกเปลี่ยนควำมคิดเห็นและแนวควำมคิดที่หลำกหลำย ระหว่ำงสมำชิกในกลุ่ม กำรพัฒนำพฤติกรรมกำรแก้ปัญหำ กำรคิดวิเครำะห์ และกำรคิดอย่ำงมี เหตุผล รวมทั้งกำร พัฒนำลักษณะของผู้เรียนให้รู้จักตนเองและเพิ่มคุณค่ำของตนเอง จำกกิจกรรมดังกล่ำวจะมีผลต่อผู้เรียนโดยสรุปใน 3 ประกำรคือ ควำมรู้ควำมเข้ำใจเนื้อหำวิชำที่เรียน (Cognitive Knowledge) ทักษะทำงสังคมโดยเฉพำะทักษะกำร ทำงำนร่วมกัน (Social Skills) กำรรู้จักตนเองและตระหนักในคุณค่ำของตนเอง (Self-Esteem) นอกจำกนี้ยังเปิด โอกำสให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกำรปฏิบัติกิจกรรมอย่ำงกระตือรือร้น เรียนรู้จำกแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน อี ก ทั้ งยั งช่ ว ยเพิ่ ม ทั ก ษะกระบวนกำรในกำรแก้ ปั ญ หำ ทั ก ษะกระบวนกำรให้ เ หตุ ผ ล ทั ก ษะกร ะบวนกำรสื่ อ ควำมหมำย และกำรนำเสนอ และทักษะกระบวนกำรควำมคิดสร้ำงสรรค์ 2. ผลกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่ม สำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำศำสนำ และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม มีค่ำประสิทธิภำพเท่ำกับ 88.16/ 89.65 หมำยควำมว่ำ นักเรียนที่ ได้คะแนนเฉลี่ยจำกกำรทำแบบทดสอบระหว่ำงเรียน จำนวน 8 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.16 และคะแนนเฉลี่ยจำกกำร ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนหลังเรียนคิ ดเป็นร้อยละ 89.65 แสดงว่ำ กำรจัดกำรเรียนรู้เรื่อง พิธี กรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำศำสนำ และวัฒนธรรมชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ที่ผู้ศึกษำ ค้นคว้ำพัฒนำขึ้นมีประสิทธิภำพสูงกว่ำสมมติฐำนที่ตั้งไว้ 80/80 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมำจำกชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ที่ สร้ำงขึ้นนี้ได้ผ่ำนกระบวนกำร ขั้นตอนในกำรจัดทำอย่ำงมีระบบและดำเนินกำรพัฒนำตำมหลักเกณฑ์กำรพัฒนำ ประสิทธิภำพของสื่อกำรสอนอย่ำงเหมำะสม โดยศึ กษำหลักสูตร คู่มือครู เทคนิควิธีกำร จำกเอกสำรต่ำง ๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ ง และได้ ผ่ ำ นกำรตรวจสอบ ประเมิ น ควำมถู ก ต้ อ งจำกผู้ เ ชี่ ย วชำญ แล้ ว น ำไปแก้ ไ ขข้ อ บกพร่ อ งตำม ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชำญ ผ่ำนกำรทดลองหำประสิทธิภำพ โดยนำผลกำรทดลองไปปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้

630


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จริงจึงเป็นชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ที่ตอบสนองกำรเรียนกำรสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองควำมต้องกำรและควำม สนใจของผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนสำมำรถเรียนรู้ได้อย่ำงเต็มศักยภำพ ซึ่งผลกำรศึกษำนี้ได้สอดคล้องกับ งำนวิจัยของ ปิยนุช รัตนพันธุ์ที่ (2549) ได้ศึกษำเรื่อง กำรพัฒ นำแผนกำรเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง เพลง นครรำชสีมำ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 วิทยำลัยนำฏศิลป์นครรำชสีมำ จังหวัดนครรำชสีมำ ผลกำรวิจัยพบว่ำ แผนกำรเรียนรู้แบบ STAD มีประสิทธิภำพเท่ำกับ 81.97/81.00 นอกจำกนี้กิจกรรมกำรเรียนรู้ ยังช่วยส่งเสริมบรรยำกำศกำรเรียนกำรสอนให้สนุกสนำน มีชีวิตชีวำขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีควำมสนใจและเกิดควำม อยำกรู้อยำกเห็น อีกทั้งส่งเสริมทักษะทำงสังคมที่ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันภำยในกลุ่มและระหว่ำงกลุ่ม ด้วยเหตุผล ดังกล่ำว จึงทำให้กิจกรรมกำรเรียนรู้นี้ สำมำรถนำไปใช้ ได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ 2. นักเรียนที่เรียน เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญ บ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ สังคมศึกษำศำสนำ และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม มีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนหลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่ำ กำรจัดกำรเรียนรู้ที่ผู้ศกึ ษำค้นคว้ำพัฒนำขึ้นสำมำรถพัฒนำผูเ้ รียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนหลังเรียน สูงกว่ำก่อนเรียน โดยมีค่ำนัยสำคัญทำงสถิติสูงกว่ำสมมติฐำนที่ตั้งไว้ .05 ทัง้ นี้เนื่องจำก กำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้มี กระบวนกำรกำรเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดควำมรู้ควำมเข้ำใจ ควำมสนุกสนำน ได้เรียนรู้ด้วยกำรร่วมมือกันคิด ร่วมมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และร่วมมือกันวำงแผนแก้ปัญหำ ได้แลกเปลี่ยนควำมคิดเห็น มีกำรช่วยเหลือกันและ กัน กลุ่มนักเรียนทีอ่อนขำดควำมเชื่อมั่นในตนเองไม่กล้ำถำมครู ก็จะถำมเพื่อนในกลุ่มหรือมีเพื่อนในกลุ่มคอย ช่วยเหลือให้คำแนะนำ บรรยำกำศที่เป็นกันเองและส่งเสริมควำมเป็นประชำธิปไตยเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้นักเรียนที่ เรียนอ่อนสำมำรถเรียนได้ดีขึ้น และนักเรียนที่เรียนเก่งเมื่อได้อธิบำยหรือถ่ำยทอดควำมรู้ของตนเองแก่เพื่อนบ่อย ๆ ก็จะเป็นกำรทบทวนควำมรู้ของเขำไปในตัว นอกจำกจะได้พัฒนำควำมสำมำรถทำงกำรเรียนของตนเองให้สูงขึ้นอีก ระดับหนึ่งแล้ว ยังเป็นกำรปลูกฝังพฤติกรรมด้ำนคุณธรรม เช่นควำมมีน้ำใจ ควำมเอื้อเฟื้อ ควำมรับผิดชอบแก่ผู้เรียน อีก ด้ ว ย สอดคล้ อ งกั บ กำรวิ จั ย ของ อั ญ ชนำ โพธิ พ ลำกร (2545) ที่ ไ ด้ ศึ กษำเรื่ อ ง กำรพั ฒ นำชุด กำรเรี ย น คณิตศำสตร์ที่เน้นทักษะกำรแก้ปัญหำทำงคณิตศำสตร์ด้วยกำรเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กรุงเทพมหำนคร ผลกำรวิจัยพบว่ำ ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนวิชำคณิตศำสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 3 ภำยหลังได้รับกำรสอนด้วยชุดกำรเรียนคณิตศำสตร์ที่เน้นทักษะกำรแก้ปัญหำทำงคณิตศำสตร์ ด้วยกำรเรียนแบบร่วมมือสูงกว่ำก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนโตงน้อย มีควำมพึงพอใจต่อกำรเรียนโดยใช้กิจกรรมกำร เรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม เรื่อง พิธีกรรมกำรบำยศรีสู่ขวัญบ้ำนโตงน้อย จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมและรำยด้ำนทุกด้ำนอยู่ในระดับมำกที่สุด ซึ่งสูงกว่ำที่ตั้งสมมติฐำนไว้ในระดับมำก ทั้งนี้อำจ เนื่องมำจำก วิธีกำรสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ที่ผู้วิจัยค้นคว้ำได้นำมำประกอบกำรจัดกิจกรรมส่งเสริมกำร เรียนรู้แก่นักเรียนได้เหมำะสมกับ กำรนำมำใช้กับหนังสืออ่ำนเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีควำมรู้ควำมเข้ำใจยิ่งขึ้น มี ควำมสนุกสนำน ได้เรียนรู้จำกกำรทำงำนร่วมกัน ได้มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควำมคิดเห็นและควำมสำมำรถ ของตนเอง ได้ แ สดงออกถึ งควำมสำมำรถที่ ต นเองมี ใ นกลุ่ ม ของตนเอง ได้ รั บ ทรำบผลกำรทดสอบทั น ที แ ละ ประเมินผลกำรปฏิบัติงำนด้วยตนเอง เป็นกำรกระตุ้นให้นักเรียนต้องกำรพัฒนำตนเองให้มีควำมก้ำวหน้ำและ กระตือรือร้นในกำรเรียน นักเรียนจึงเกิดควำมพึงพอใจในกำรเรียนด้วยวิธีดังกล่ำว สอดคล้องกับงำนวิจัยของ สม ทรัพย์ เลิศนำ(2547) ที่ได้ศึกษำเรื่อง กำรพัฒนำกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้โครงงำนแบบกลุ่มตำมสัมฤทธิผลทำงกำร เรียน (STAD) เรื่องสัตว์น่ำรัก กลุ่มสำระกำรเรียนรู้วิ ทยำศำสตร์ ชั้นประถมศึกษำปีที่ 4 โรงเรียนบ้ำนดอนตัดเรือ

631


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จังหวัดนครรำชสีมำ ผลกำรวิจัยพบว่ำ นักเรียนมีควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้โครงงำนในด้ำนกำรเรียนรู้ ด้ำนสื่อกำรเรียนรู้ ด้ำนครูผู้สอนอยู่ในระดับมำกที่สุด และสมใจ ปำณะวงศ์ (2549) ที่ได้ศึกษำเรื่อง กำรพัฒนำ แผนกำรเรียนรู้ ชุดฟ้อนออนซอนกำฬสินธุ์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD สำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย ชั้นต้นปีที่ 3 วิทยำลัยนำฏศิลป์กำฬสินธุ์ ผลกำรศึกษำพบว่ำ แผนกำรเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD นักเรียนมีควำมพึง พอใจต่อกำรเรียนด้วยแผนกำรเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD อยู่ในระดับมำกที่สุด ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาไปใช้ 1. กำรจัดกำรเรียนกำรสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) นั้นได้ให้โอกำสนักเรียนได้ทำกิจกรรมอย่ำงมี อิสระ ดังนั้น ครูผู้สอนควรดูแลให้ใกล้ชิดอย่ำงกัลยำณมิตร คือไม่ควรลงโทษหรือบังคับให้ปฏิบัติตำมคำสั่งครู แต่เปิด โอกำสให้นักเรียนใช้อิสระในกำรคิดด้วยตนเอง โดยอำจใช้เทคนิควิธีที่หลำกหลำยที่กระตุ้นให้นักเรียนตระหนักถึง หน้ำที่ควำมรับผิดชอบต่อกำรเรียนของตนเองว่ำควำมสำเร็จของกลุ่มขึ้นอยู่กับสมำชิกทุกคนในกลุ่ม 2. ผู้บริหำรสถำนศึกษำ ครูผู้สอนตลอดจนผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกำรจัดกำรศึกษำ ควรให้กำรสนับสนุน และส่งเสริมกำรจัดทำแผนกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้โดยใช้รูปแบบกำรสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) และชุด กิจกรรมกำรเรียนรู้ สำหรับเป็นแนวทำงในกำรออกแบบกำรจัดกำรเรียนรู้ที่เหมำะสมกับนักเรียน สำมำรถใช้จัด กิจกรรมกำรเรียนรู้ในกลุ่มสำระกำรเรียนรู้ต่ำง ๆ ได้ 3. กำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้กิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับหนังสืออ่ำน เพิ่มเติม ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงควำมแตกต่ำงระหว่ำงบุคคล สภำพแวดล้อมในกำรเรียน สภำพควำมพร้อมในทุก ๆ ด้ำนของผู้เรียนด้วย เพรำะผู้เรียนทุกคนต้องระดมควำมคิด ควำมสำมำรถของตนต่อกลุ่ม ครูผู้สอนจึงต้องควร ระมัดระวังเรื่องกำรจัดกลุ่มนักเรียนให้คละกันอย่ำงเหมำะสมซึ่งถือว่ำเป็นปัจจัยที่สำคัญ 4. ครูผู้สอนควรสร้ำงบรรยำกำศที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดควำมคิดสร้ำงสรรค์เพื่อกำรแสดงออกที่ อิสระ ครูควรเป็นผู้อำนวยควำมสะดวก คอยให้กำลังใจนักเรียนในกำรทำกิจกรรมด้วยแรงเสริมทำงบวก ซึ่งจะทำให้ นักเรียนมีควำมสำมำรถในกำรฟัง กำรพูด กำรแสดงควำมคิดเห็น และ มีพัฒนำกำรไปสู่กำรมีทักษะในด้ำนอื่น ๆ ได้ ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป 1. ควรมีกำรศึกษำค้นคว้ำผลของกำรใช้สื่อกำรเรียนรู้ประเภทอื่น ๆ ประกอบกำรเรียนกำรสอนแบบ ร่วมมือกันเรียนรู้ เช่น สื่อประสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวิดีทัศน์ เป็นต้น 2. ควรมีกำรศึกษำค้นคว้ำผลของกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับรูปแบบ กำรเรียนกำรสอนอื่นๆ เช่น กำรเรียนกำรสอนแบบ 4 MAT กำรเรียนกำรสอนแบบ CIPPA กำรเรียนกำรสอนแบบ บูรณำกำร เป็นต้น 3. ควรมีกำรศึกษำค้นคว้ำกำรกิจกรรมกำรเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อพัฒนำทักษะของ ผู้เรียนทำงด้ำนต่ำงๆ เช่น ควำมคิดสร้ำงสรรค์ กำรคิดอย่ำงมีวิ จำรณญำณ กำรคิดวิเครำะห์ ทักษะกำรแก้ปัญหำ เป็นต้น

632


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิตติกรรมประกาศ วิทยำนิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลงได้ด้วยควำมกรุณำของท่ำนอำจำรย์ ดร.พำนชัย เกษฎำ ประธำนที่ปรึกษำ วิทยำนิพนธ์ และท่ำนอำจำรย์ดร.พนำ จินดำศรี กรรมกำรที่ปรึกษำวิทยำนิพนธ์ ตลอดจนคณำจำรย์สำขำสังคม ศึกษำทุกท่ำนที่ประสำทวิชำควำมรู้ให้ในระหว่ำงที่ผู้วิจัยศึกษำตำมหลักสูตรจนสำเร็จ ผู้วิจัยขอกรำบขอบพระคุณไว้ เป็นอย่ำงสูงที่ได้กรุณำให้คำปรึกษำเสนอแนะและตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องด้วยควำมเอำใจใส่ตั้งแต่ต้นจนเสร็จ เรียบร้อย ขอกรำบขอบพระคุณ ผู้เชี่ยวชำญ อำจำรย์วิทยฐำนะชำนำญกำรพิเศษทั้ง 3 ท่ำน นำงสุภำ เกตุศรี นำงสำวอัจฉรำพร อินทร์นุช และนำงสำวยุพำ ทองสีมำ ที่ให้ควำมอนุเครำะห์ช่วยชี้แนะวิธีดำเนินกำรวิจัย แนะนำ ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ตลอดจนให้กำลังใจ ในกำรเขียนผลงำนทำงวิชำกำรอย่ำงสม่ำเสมอ ผู้ศึกษำขอก รำบขอบพระคุณเป็นอย่ำงสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุ ณ ท่ ำ นผู้ อ ำนวยกำรโรงเรี ย นบ้ ำ นหนองโสนวิ ท ยำ ดร.ภั ท รพร บรรลื อ ทรั พ ย์ ท่ ำ น ผู้อำนวยกำรโรงเรียนบ้ำนเลิศอรุณ ดร.สงวน ศำลำงำม และท่ำนผู้อำนวยกำรโรงเรียนบ้ำนขอนแตก นำยสมนึก พลศรี ที่ กรุณำให้ควำมอนุเครำะห์กลุ่มตัวอย่ำงในกำรดำเนินกำรทดลองหำคุณภำพของเครื่องมือวิจัย ขอขอบพระคุณท่ำนผู้อำนวยกำรโรงเรียนบ้ำนโตงน้อย นำยวิรัตน์ ปิ่นแก้ว และคณะครูโรงเรียนบ้ำนโต งน้อย ที่ได้กรุณำแนะนำ ตลอดทั้งให้กำลังใจ และควำมช่วยเหลือเป็นอย่ำงดีมำโดยตลอด และนักเรียนที่ได้ให้ควำม ร่วมมือในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับกำรศึกษำครั้งนี้ ขอขอบพระคุณคุณพ่อสมุทร เครือเนียม คุณแม่อำจ เครือเนียม และน้อง ๆ ที่คอยห่วงใยให้กำลังใจ และคอยช่วยเหลือ สนับสนุนในกำรทำผลงำนทำงวิชำกำรในครั้งนี้จนสำเร็จได้ด้วยดี เอกสารอ้างอิง กรมวิชำกำร. (2545). ความคิดสร้างสรรค์ หลักการ ทฤษฎี การเรียนการสอน การวัดผลและ ประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหำนคร : โรงพิมพ์คุรุสภำ. กระทรวงศึกษำธิกำร. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหำนคร : โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์กำรเกษตรแห่งประเทศไทย. พันทิวำ มำลำ. (2538). การทาขวัญนาค : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพมหำนคร : สำนักงำนคณะกรรมกำรวิจัยแห่งชำติ. ศรไกร รุ่งรอด. (2533). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และการให้ความร่วมมือต่อกลุ่มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรีย นแบบ STAD กับกิจกรรมการ เรียนตามคู่มือครูของ สสวท. ปริญญำนิพนธ์กำรศึกษำมหำบัณฑิต. มหำวิทยำลัยศรีนครินทรวิโรฒประสำนมิตร. กรุงเทพมหำนคร. ขนิษฐำ ทองมนและคณะ. (2553). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ภูมิปัญญาบรรพบุรุษไทย ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กำรศึกษำค้นคว้ำด้วยตนเองปริญญำกำรศึกษำ มหำบัณฑิต. มหำวิทยำลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

633


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สุพรรณี มีภูเวียง. (2549). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสาเร็จรูปประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่องวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กำรศึกษำค้นคว้ำอิสระปริญญำกำรศึกษำมหำบัณฑิต. มหำวิทยำลัย มหำสำรคำม. มหำสำรคำม. สุลัดดำ ลอยฟ้ำ. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอนการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. คณะศึกษำศำสตร์มหำวิทยำลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. ปิยนุช รัตนพันธุ์. (2547). การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง เพลงนครราชสีมา กลุ่ม สาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กำรศึกษำค้นคว้ำอิสระปริญญำกำรศึกษำมหำบัณฑิต . มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. มหำสำรคำม. อัชนำ โพธิพลำกร. (2545). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญำนิพนธ์กำรศึกษำ มหำบัณฑิต. มหำวิทยำลัยศรีนครินทรวิโรฒประสำนมิตร. กรุงเทพมหำนคร. สมทรัพย์ เลิศนำ. (2547). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานแบบกลุ่มตามสัมฤทธิผลทางการเรียน (STAD) เรื่อง สัตว์น่ารัก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กำรศึกษำค้นคว้ำ อิสระปริญญำกำรศึกษำมหำบัณฑิต. มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. มหำสำรคำม. สมใจ ปำณะวงศ์. (2549). การพัฒนาแผนการเรียนรู้ ชุดฟ้อนออนซอนกาฬสินธุ์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD สาขาวิชานาฎศิลป์ไทย ชั้นปีที่3 วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์. กำรศึกษำค้นคว้ำอิสระปริญญำกำรศึกษำ มหำบัณฑิต. มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. มหำสำรคำม.

634


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-03

การศึกษาปัจจัยทีส่ ่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ระบบทวิภาคีของ สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 2 A STUDY OF FACTORS INFLUENCING THE DECISION TO STUDY AT THE UNDERGRADUATE LEVEL INSTITUTE OF VOCATION CENTRAL REGION 2. ฐิติวรำกำนต์ เกียรติเลิศเดชำ1และ สิทธิชัย แก้วเกื้อกูล2 1

Thitiwarakarn Kiatlertdecha Sittichai Kaewkuekool

2

บทคัดย่อ กำรวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษำปัจจัยที่ส่งผลต่อกำรตัดสินใจศึกษำต่อระดับปริญญำตรี ระบบทวิภำคี ของสถำบันกำรอำชีวศึกษำ ภำคกลำง 2มีวิธีดำเนินกำร 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษำสภำพปัญหำและแนวทำงในกำร บริหำรงำนอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี และออกแบบเครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถำม กลุ่มตัวอย่ำงคือ นักศึกษำระดับ ประกำศนียบัตรวิชำชีพชั้นสูง ของสถำบันกำรอำชีวศึกษำ ภำคกลำง 2และผู้ที่สำเร็จกำรศึกษำระดับประกำศนียบัตร วิชำชีพชั้นสูง จำนวน 132 คน 2) นำแบบสอบถำมให้ผู้เชี่ยวชำญประเมินและแก้ไข 3) เก็บผลและสรุปผล สถิติที่ใช้ วิเครำะห์ข้อมูลคือค่ำเฉลี่ยและค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำน ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลพบว่ำ โดยรวบระดับควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( =4.48, S.D.=0.54) โดยมี ควำมคิดเห็นมำกที่สุด 5ด้ำน และมีควำมคิดเห็นมำก 3 ด้ำ น พิจำรณำลำดับคะแนนค่ำเฉลี่ย รำยด้ำน พบว่ำด้ำนมี ค่ำเฉลี่ยมำกสุด คือ ด้ำนกำรประชำสัมพันธ์ มีควำมคิดเห็นมำกที่สุด ( = 4.64 , S.D. = 0.48) รองลงมำด้ำน บุคลำกร ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.58 , S.D. = 0.48) ด้ำนกำรดำเนินงำน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับ มำกที่สุด ( = 4.54 , S.D. = 0.48) ด้ำนกำรนิเทศติดตำมผล ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.53 , S.D. = 0.46) ด้ำนกำรวัดผลและประเมินผล ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.45 , S.D. = 0.68) ด้ำนหลักสูตรควำม คิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.42 , S.D. = 0.45) ด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.39 , S.D. = 0.63) และด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้ำนสื่อและทรัพยำกรในกำรเรียนกำรสอน ควำมคิดเห็นอยู่ใน ระดับมำก ( = 4.20 , S.D. = 0.69) ตำมลำดับ คำสำคัญ: การศึกษาระบบทวิภาคี; สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 Abstract The purpose of this research is to study of factors influencing the decision to study at the undergraduate level institute of vocation central region 2. There are 3 steps 1) Study problems and approaches in vocational. The research instrument was a questionnaire. 2) Send a questionnaire to the experts for evaluation and correction. 3) Collect and summarize results. Statistics used in data analysis were mean and standard deviation.

635


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The results of the data analysis revealed that the overall opinion was very high ( =4.48, S.D.=0.54) There are 5 opinions and 3 opinions. Considering the mean score of each item, the mean is highest. Most Commented ( = 4.64 , S.D. = 0.48). Second, the personnel. Comments are at the highest level ( = 4.58 , S.D. = 0.48). Operation Comments are at the highest level. ( = 4.54 , S.D. = 0.48) .Follow-up supervision Comments are at the highest level. ( = 4.42 , S.D. = 0.45) The teaching and learning. Comments are at a high level ( = 4.39 , S.D. = 0.63). And the lowest is the average. The media and resources in teaching. Comments are at a high level ( = 4.20 , S.D. = 0.69). Keywords: Bilateral Education System; institute of vocation central region 2 บทนา ปัจจุบันมีกำรเปลี่ยนแปลงในด้ำนอุตสำหกรรม มีแนวโน้มด้ำนกำรแข่งขันมำกขึ้น มีกำรย้ำยฐำนกำรผลิต ไปลงทุนในตลำดต่ำงประเทศที่มีค่ำจ้ำงแรงงำนรำคำถูก ส่งผลให้กำรจ้ำงงำนในประเทศไทยมีปัญหำคือ ขำดแคลน แรงงำน ซึ่งมีหลำยสำเหตุคือ ค่ำจ้ำงที่ค่อนข้ำงต่ำเมื่อเทียบกับค่ำครองชีพ จ้ำงแรงงำนต่ำงด้ำวมำกขึ้นเพื่อลดต้นทุน กำรขำดแรงงำนทักษะฝีมือเฉพำะ กำรไม่ปรับระบบกำรศึกษำไทยให้สอดคล้องกับควำมต้องกำรของตลำดแรงงำน ปั จ จุ บั น ภำคธุ ร กิ จ เอกชน ภำคอุ ต สำหกรรม มี ค วำมต้ อ งกำรช่ ำ งเทคนิ ค ที่ มี ฝี มื อ และประสบกำรณ์ ใ นสำขำ อุตสำหกรรมเฉพำะด้ำนเป็นจำนวนมำก แต่หำแรงงำนที่มีคุณภำพตำมที่ต้องกำรไม่ได้ ในขณะเดียวกันยังมีปัญหำ กำรว่ำงงำนของผู้ส ำเร็ จกำรศึก ษำในระดับ อำชี วศึก ษำที่ไม่ มีประสบกำรณ์แ ละขำดแคลนคนในระดับ สูง ด้ำ น วิทยำศำสตร์ และเทคโนโลยี วิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้ำ โยธำ ก่อสร้ำง เครื่องมือวัดและควบคุม กำรแพทย์และ เกษตรสมัยใหม่ กระทรวงศึ ก ษำธิ ก ำรได้ ก ำหนดนโยบำยในกำรจั ด กำรศึ ก ษำเพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ พระรำชบั ญ ญั ติ กำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่ มเติม ซึ่งเน้นกำรปฏิรูปกำรศึกษำ ทั้งด้ำนกำรบริหำรและกำรจัดกำร เรียนกำรสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกำสเรียนรูต้ ลอดชีวิต ตำมควำมถนัด ควำมสนใจและได้รับบริกำรด้ำนกำรศึกษำจำก รัฐอย่ำงมีคุณภำพ โดยคำนึงถึงควำมแตกต่ำงระหว่ำงบุคคล เน้นกำรฝึกทักษะ กระบวนกำรคิด จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จำกประสบกำรณ์ตริง ฝึกกำรปฏิบัติ ทำให้เกิดกำรใฝ่รู้อย่ำงต่อเนื่อง ปลูกฝังคุณธรรม ค่ำนิยมที่ดีงำมและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชำ พระรำชบัญญัติกำรอำชีวศึกษำ พ.ศ. 2551 เน้นควำมสำคัญของกำรจัดกำร อำชีวศึกษำและกำรฝึกอบรมวิชำชีพให้สอดคล้ องกับแผนพัฒนำเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติและแผนกำรศึกษำ แห่งชำติ เพื่อพัฒนำกำลังคนด้ำนวิชำชีพระดับฝี มือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเพื่อยกระดั บ กำรศึกษำวิชำชีพให้สูงขึ้นและสอดคล้องกับควำมต้องกำรของตลำดแรงงำนโดยพัฒนำระบบกำรจัดกำรอำชีวศึกษำ ภำยใต้ควำมร่วมมือกันระหว่ำงสถำนศึกษำอำชีวศึกษำหรือสถำบัน กับสถำนประกอบกำร ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้ผลผลิต ของอำชีวศึกษำ ตำมพระรำชบัญญัติกำรอำชีวศึกษำ พ.ศ. 2551 มำตรำ 8 กำรจัดกำรอำชีวศึกษำและกำรฝึกอบรม วิชำชีพให้จัดได้โดยรูปแบบ (3) กำรศึกษำระบบทวิภำคี เป็นกำรจัดกำรศึกษำวิชำชี พที่เกิดจำกข้อตกลงระหว่ำง สถำนศึกษำอำชีวศึกษำหรือสถำบัน กับสถำนประกอบกำร รัฐวิสำหกิจ หรือหน่วยงำนของรัฐในเรื่องกำรจัดหลักสูตร

636


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กำรเรียนกำรสอน กำรวัดและกำรประเมินผลโดยผู้เรียนใช้เวลำส่วนหนึ่งในสถำนศึกษำอำชีวศึกษำหรือสถำบันและ เรียนภำคปฏิบัติ ในสถำนประกอบกำร รัฐ วิสำหกิจ หรือหน่วยงำนของรัฐเพื่อ ประโยชน์ในกำรผลิตและพัฒนำ กำลังคน ทั้งนี้ สถำนศึกษำอำชีวศึกษำหรือสถำบันนั้น ต้องมุ่งเน้นกำรจัดกำรศึกษำระบบทวิภำคีเป็นสำคัญ สถำบันกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 มีสถำนศึกษำจำนวน 7 แห่ง เข้ำร่วมจัดตั้งเป็นสถำบันกำร อำชีวศึกษำ ประกอบด้วย 1.วิทยำลัยเทคนิคชัยนำท 2.วิทยำลัยเทคนิคอ่ำงทอง 3.วิทยำลัยเทคนิคลพบุรี 4.วิทยำลัย อำชีวศึกษำลพบุรี 5.วิทยำลัยเทคนิคสิงห์บุรี แห่งที่ 2 6.วิทยำลัยเทคนิคสิงห์บุรี และ 7.วิทยำลัยอำชีวศึกษำสิงห์บุรี โดยจัดกำรศึกษำในระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติก ำร ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สำขำวิชำ เทคโนโลยีกำรก่อสร้ำง(ต่อเนื่อง) สำขำวิชำเทคโนโลยียำนยนต์(ต่อเนื่อง) สำขำวิชำเทคโนโลยีไฟฟ้ำ(ต่อเนื่อง) สำขำวิชำกำรบัญชี(ต่อเนื่อง) และสำขำวิชำเทคโนโลยีแม่พิมพ์(ต่อเนื่อง) ซึ่งเป็นกำรจัดอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี เป็นไปตำมพระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542 และตำมพระรำชบัญญัติกำรอำชีวศึกษำ พ.ศ. 2551 โดย ให้สถำนประกอบกำรได้เข้ำมำมีส่วนร่วมในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี ปั จ จั ย ส ำคั ญ ที่ จ ะส่ งผลต่ อ กำรตั ด สิ น ใจศึ ก ษำต่ อ ระบบทวิ ภ ำคี ข องสถำนศึ ก ษำขึ้ น อยู่ กั บ ผู้ บ ริ ห ำร สถำนศึกษำที่จะต้องมีจิตวิญญำณนักบริหำร และครูผู้สอนที่มีจิตวิญญำณของครูมืออำชีพที่ต่ำงมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนนักศึกษำ ควำมสำเร็จของสถำนศึกษำ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยในกำรดำเนินงำนกำรจัดกำรศึกษำระบบทวิ ภำคี อันประกอบด้วย กำรมีภำวะผู้นำ ทัศนคติและทักษะในกำรบริกำร กำรทำงำนเป็นทีม กำรสร้ำงแรงจูงใจใน กำรทำงำน คุณภำพกำรสอนของครู ระบบคุณภำพและขอบข่ำยควำมรับผิดชอบ กำรสื่อสำรกำรนิเทศ กำกับติดตำม กำรจัดกำรศึกษำ ควำมร่วมมือและสนับสนุนจำกแหล่งอื่น ผลการวิจัย กำรศึกษำกลยุทธ์ที่ใช้ในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี เพื่อนำไปพัฒนำ กำรดำเนินกำรจัดกำร อำชีวศึกษำระบบทวิภำคี ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำร ของ สถำบันกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 โดยผู้ศึกษำกำหนดกลุ่มตัวอย่ำง 132 คน ได้แบบสอบถำม ตอบกลับคืนมำสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งหมด มีผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กำรวิเครำะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถำมจำแนกตำม เพศ ระดับกำรศึกษำ ควำมเกี่ยวข้องและ ระยะเวลำที่ร่วมดำเนินกำร วิเครำะห์หำค่ำควำมถี่และค่ำร้อยละ จำกแบบสอบถำมจำนวน 132 ชุด ปรำกฏผลดัง ตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 จำนวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถำม (n=132) ข้อมูลทั่วไป 1. เพศ ชำย หญิง 2. อำยุ ไม่เกิน 20 ปี 21 - 25 ปี 26 - 30 ปี

637

จำนวน

ร้อยละ

69 63

52.27 47.73

50 31 28

37.88 23.48 21.21


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ข้อมูลทั่วไป 31 - 35 ปี ข้อมูลทั่วไป 36 - 40 ปี 3. สำขำที่ท่ำนสำเร็จกำรศึกษำ ช่ำงยนต์ ช่ำงไฟฟ้ำ ช่ำงก่อสร้ำง แม่พิมพ์ บัญชี 4. อำชีพ กำลังศึกษำระดับ ปวส.2 ทำงำน 5. ท่ำนต้องกำร/สนใจศึกษำต่อระดับปริญญำตรี หรือไม่ ต้องกำร ไม่ต้องกำร ไม่แน่ใจ 6. หำกท่ำนสนใจหรือไม่แน่ใจโปรดระบุเหตุผลของท่ำน อำยุมำก ไม่พร้อมเรื่องค่ำใช้จ่ำย ต้องกำรเปลี่ยนสำขำวิชำที่ศึกษำ เหตุผลและควำมจำเป็นส่วนตัว อื่นๆ 7.หำกท่ำนสนใจ/ต้องกำรโปรดเลือกสำขำที่ท่ำนต้องกำรศึกษำต่อระดับปริญญำตรี เทคโนโลยีก่อสร้ำง เทคโนโลยียำนยนต์ เทคโนโลยีไฟฟ้ำ เทคโนโลยีแม่พิมพ์ กำรบัญชี

SRRU NCR2018

จำนวน 20 จำนวน 3

ร้อยละ 15.15 ร้อยละ 2.27

26 26 26 28 26

19.69 19.69 19.69 21.21 19.69

66 66

50.00 50.00

84 28 20

63.63 21.21 15.15

3 35 2 5 3

6.25 72.91 4.16 10.41 6.25

15 12 18 17 22

17.85 14.28 21.42 20.23 26.19

จำกตำรำงที่ 1 พบว่ำ ผู้ตอบแบบสอบถำมจำกกลุ่มตัวอย่ำงจำนวน 132 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชำย จำนวน 69 คน คิดเป็น ร้อยละ 52.27 ที่เหลือเป็นเพศหญิง จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 47.73 พิจำรณำอำยุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอำยุไม่เกิน 20 ปี จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ37.88 รองลงมำคือ ช่วงอำยุ 21-25 ปี จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 23.48 ช่วงอำยุ 26-30 ปี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 ช่วงอำยุ 31-35 ปี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 15.15 และน้อยที่สุด คือช่วงอำยุ 36-40 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.27 พิจำรณำสำขำที่สำเร็จกำรศึกษำ แม่พิมพ์ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 รองลงมำเป็นช่ำงยนต์ ช่ำงไฟฟ้ำ ช่ำงก่อสร้ำง บัญชี สำขำจำนวนละ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 19.69 พิ จ ำรณำจำกอำชี พ ปั จ จุ บั น ส่ ว น

638


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ใหญ่มีกำลังศึกษำระดับ ปวส.2 จำนวน 80 คนคิดเป็นร้อยละ 60.064 รองลงมำคือทำงำน จำนวน 52 คน คิดเป็น ร้อยละ 39.39 พิจำรณำควำมต้องกำร/สนใจศึกษำต่อระดับปริญญำตรี ส่วนใหญ่มีควำมต้องกำร จำนวน 84 คนคิดเป็น ร้อยละ 63.63 รองลงมำคือไม่แน่ใจ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 และน้อยคือไม่แน่ใจ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 15.15 พิจำรณำจำกควำมไม่สนใจ/ไม่แน่ ใจ ส่วนใหญ่ไม่พร้อมเรื่องค่ำใช้จ่ำย จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 72.91 รองลงมำเหตุผลและควำมจำเป็นส่วนตัว จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.41 อำยุและอื่นๆ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 และน้อยที่สุดต้องกำรเปลี่ยนสำขำที่ศึกษำ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 พิจำรณำควำมสนใจ/ต้องกำรโปรดเบือกสำขำที่ต้องกำรศึกษำ ส่วนใหญ่ต้องกำรเรียนกำรบัญชี จำนวน 22 คนคิดเป็นร้อยละ 26.19 รองลงมำเทคโนโลยีไฟฟ้ำ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 21.42 เทคโนโลยีแม่พิมพ์ จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 20.23 เทคโนโลยีก่อสร้ำง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อ ยละ 17.85 และน้อยที่สุด เทคโนโลยียำนยนต์ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 14.28 ตอนที่ 2 ผลกำรวิเครำะห์ควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี ใน หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัตกิ ำร ของสถำบันกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 กำรวิเครำะห์ระดับควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี ในหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำร ของสถำบัน กำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 วิเครำะห์เป็นรำยประเด็น รำยด้ำน และโดยรวม โดยหำค่ำเฉลี่ย ค่ำส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน และแปลผลระดับควำมคิดเห็น ปรำกฏผลดังตำรำงที่ 2 ตำรำงที่ 2 ค่ำเฉลี่ย ค่ำส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน และระดับควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบ ทวิภำคี ของสถำบัน กำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 รำยด้ำน รายการ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

ด้ำนกำรประชำสัมพันธ์ ด้ำนกำรดำเนินงำน ด้ำนหลักสูตร ด้ำนสื่อและทรัพยำกรในกำรเรียนกำรสอน ด้ำนบุคลำกร ด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ด้ำนกำรวัดและประเมินผล ด้ำนกำรนิเทศติดตำมผล เฉลี่ยรวม

4.64 4.54 4.42 4.20 4.58 4.39 4.45 4.53 4.48

ระดับความคิดเห็น S.D. การแปลผล 0.48 มำกที่สุด 0.48 มำกที่สุด 0.54 มำก 0.69 มำก 0.48 มำกที่สุด 0.63 มำก 0.68 มำกที่สุด 0.46 มำกที่สุด 0.54 มาก

จำกตำรำงที่ 2 พบว่ำระดับควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีว ศึกษำระบบทวิภำคี ใน หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำรของสถำบันกำรอำชีวศึกษำภำค

639


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2559 โดยรวมระดับควำม คิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.48, S.D. = 0.54) โดยมีด้ำนมี ระดับควำมคิดเห็นมำกที่สุด 5 ด้ำน และมีระดับควำมคิดเห็นมำก 3 ด้ำน พิจำรณำลำดับคะแนนค่ำเฉลี่ย รำยด้ำน พบว่ำด้ำนมีค่ำเฉลี่ยมำกสุด คือ ด้ำนกำรประชำสัมพันธ์ มี ควำมคิดเห็นมำก ที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.48) รองลงมำด้ำนบุคลำกร ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.48) ด้ำนกำรดำเนินงำน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.48) ด้ำนกำร นิเทศติดตำมผล ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.46) ด้ำนกำรวัดผลและประเมินผล ควำม คิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.45, S.D. = 0.68) ด้ำนหลักสูตรควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.42, S.D. = 0.45) ด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอนควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.39, S.D. = 0.63) และด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยต่ำ ที่สุดคือ ด้ำนสื่อและทรัพยำกรในกำรเรียนกำรสอน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.20, S.D. = 0.69) ตำมลำดับ สรุปผลการวิจัย กำรศึกษำปัจจัยที่ใช้ในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำ ตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำร ของสถำบันกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 สรุปผลกำรศึกษำ ได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถำมจำกกลุ่มตัวอย่ำงจำนวน 132 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชำย จำนวน 69 คน คิดเป็น ร้อยละ 52.27 ที่เหลือเป็นเพศหญิง จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 47.73 อำยุอยู่ในช่วงอำยุไม่เกิน 20 ปี จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ37.88 รองลงมำคือ ช่วงอำยุ 21-25 ปี จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 23.48 ช่วงอำยุ 26-30 ปี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 ช่วงอำยุ 31-35 ปี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 15.15 และน้อยที่สุด คือช่วงอำยุ 36-40 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.27 สำขำที่สำเร็จกำรศึกษำ แม่พิมพ์ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 รองลงมำเป็นช่ำงยนต์ ช่ำงไฟฟ้ำ ช่ำงก่อสร้ำง บัญชี สำขำจำนวนละ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 19.69 อำชีพ ส่วนใหญ่มีกำลังศึกษำระดับ ปวส.2 จำนวน 80 คนคิดเป็นร้อยละ 60.064 รองลงมำคือทำงำน จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 39.39 ควำมต้องกำร/สนใจศึกษำต่อระดับปริญญำตรี ส่วนใหญ่มีควำมต้องกำร จำนวน 84 คนคิดเป็นร้อยละ 63.63 รองลงมำคือไม่แน่ใจ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 และน้อยคือไม่แน่ใจ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อย ละ 15.15 ควำมไม่สนใจ/ไม่แน่ใจ ส่วนใหญ่ไม่พร้อมเรื่องค่ำใช้จ่ำย จำนวน 35 คนคิดเป็นร้อยละ 72.91 รองลงมำ เหตุผลและควำมจำเป็นส่วนตัว จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.41 อำยุและอื่นๆ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 และน้อยที่สุดต้องกำรเปลี่ยนสำขำที่ศึกษำ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 ควำมสนใจ/ต้องกำรโปรดเบือกสำขำที่ต้องกำรศึกษำ ส่วนใหญ่ต้องกำรเรียนกำรบัญชี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 26.19 รองลงมำเทคโนโลยีไฟฟ้ำ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 21.42 เทคโนโลยีแม่พิมพ์ จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 20.23 เทคโนโลยีก่อสร้ำง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 17.85 และน้อยที่สุด เทคโนโลยียำนยนต์ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 14.28

640


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลกำรวิเครำะห์เกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี วิเครำะห์ควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคีในหลักสูตรเทคโนโลยี บัณฑิตระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำรของสถำบันกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 สรุปได้ว่ำ ระดับควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคีในหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำตรีสำยเทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำรของสถำบันกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 โดยรวมระดับควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.48, S.D. = 0.54) โดยมีด้ำนมีระดับควำมคิดเห็นมำกที่สุด 5 ด้ำน และมีระดับควำมคิด เห็นมำก 3 ด้ำน พิจำรณำลำดับคะแนนค่ำเฉลี่ย รำยด้ำน พบว่ำด้ำนมีค่ำเฉลี่ยมำกสุด คือ ด้ำนกำรประชำสัมพันธ์ มี ควำมคิดเห็นมำกที่สุด ( = 4.64 , S.D. = 0.48) รองลงมำด้ำนบุคลำกร ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.58 , S.D. = 0.48) ด้ำนกำรดำเนินงำน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.54 , S.D. = 0.48) ด้ำนกำร นิเทศติดตำมผล ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำกที่สุด ( = 4.53 , S.D. = 0.46) ด้ำนกำรวัดผลและประเมินผล ควำม คิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.45 , S.D. = 0.68) ด้ำนหลักสูตรควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.42 , S.D. = 0.45) ด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.39 , S.D. = 0.63) และด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ย ต่ำที่สุดคือ ด้ำนสื่อและทรัพยำกรในกำรเรียนกำรสอน ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก ( = 4.20 , S.D. = 0.69) ตำมลำดับ ข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่ใช้ในกำรจัดกำรอำชีวศึกษำระบบทวิภำคี ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญำตรีสำย เทคโนโลยีหรือสำยปฏิบัติกำร ของสถำบั นกำรอำชีวศึกษำภำคกลำง 2 ปีกำรศึกษำ 2560 พบว่ำ ปัจจัยด้ำนกำร ประชำสัมพันธ์มีผลต่อควำมสำเร็จในกำรจัดกำรศึกษำระบบทวิภำคี จึงต้องดำเนินกำรด้ำนกำรประชำสัมพันธ์ให้ ต่อเนื่อง เหมำะสมในกลุ่มเป้ำหมำย เช่น ผู้เรียน ชุมชนท้องถิ่น สถำนประกอบกำร ทั้งในส่วนวิทยำลัย สถำบั นฯ และต้นสังกัด ให้สอดคล้องกับควำมต้องกำรของสถำนประกอบกำรและผู้เรียน เป็นกำรพัฒนำกำลังคนของประเทศ ให้มีคุณภำพและเพียงพอในกำรเข้ำสู่ตลำดแรงงำน และปรับปรุงพัฒนำกำรบริหำร จัดกำรในด้ำนต่ำงๆ ให้มี ประสิทธิภำพ และคุณภำพมำกขึ้น ข้อเสนอแนะสำหรับกำรศึกษำในครั้งต่อไป 1. ควรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยที่ส่งผลต่อควำมสำเร็จในกำรจัดกำรศึกษำระบบทวิภำคีกับ ควำมสำเร็จในกำรจัดกำรศึกษำระบบทวิภำคี 2. ควรมีกำรศึกษำวิจัยเชิงคุณภำพควบคู่ไปกับกำรวิจัยเชิงปริมำณ โดยกำรสัมภำษณ์แบบเจำะลึก เพื่อให้ทรำบถึงรำยละเอียดในกำรจัดกำรศึกษำระบบทวิภำคีให้ดียิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง มงคล รำชบุตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม ของสถาบั น การอาชี ว ศึ ก ษาภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ 6. วิ ท ยำนิ พ นธ์ ค รุ ศ ำสตร์ ม หำบั ณ ฑิ ต . มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์. โปรแกรมวิชำเทคโนโลยีอุตสำหกรรม. หน้ำ 99-101.

641


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ศูนย์อำชีวศึกษำทวิภำคี. (2557). แนวทางการปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ : สำนักงำน คณะกรรมกำรกำรอำชีวศึกษำ , หน้ำ 1-83. สุชำย จินะเสนำ. (2548). การศึกษาปัจจัยที่สงผลตอความสาเร็จในการประกันคุณภาพภายใน สถานศึ กษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต. วิทยำนิพนธ์ครุศำสตรมหำบัณฑิต,มหำวิทยำลัยรำชภัฏภูเก็ต, สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ,หน้ำ 65.

642


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-04

การศึกษาสภาพการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ USING OF CLOUD COMPUTING TO CRAET PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY FOR THE WORK PLACE OF PERSONNELS SEVERAL LOCAL HOSPITALS IN SURIN PROVINCE ธรำทร มหำนำม1,นุชจรี บุญเกต2,ประชิต อินทะกนก3, นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรนิ ท 2 รองคณบดีฝ่ายบริหาร อาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 เลขานุการโครงการบัณฑิตศึกษา ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรนิ ทร์

บทคัดย่อ งำนวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษำสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำง วิชำชีพ และเพื่อเสนอแนวทำงกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ของบุคลำกร โรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ รูปแบบกำรวิจัยเป็นกำรวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่ม ตัวอย่ำงเป็นบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 344 คน ใช้วิธีกำรสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถำม วิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนำ ผลกำรวิจัยพบว่ำ บุคลำกรมีควำมคิดเห็นเกี่ยวกับสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำร เรียนรู้ทำงวิชำชีพตำมกรอบกำรเป็นชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทั้ง 5 ด้ำน ในภำพรวมอยู่ในระดับมำก (xˉ = 3.55) ด้ำน ที่มำกที่สุด คือ กำรสร้ำงบรรทัดฐำนและค่ำนิยมร่วมกัน (xˉ = 3.68) รองลงมำ คือ ด้ำนกำรแบ่งปันควำมรู้และกำร เรียนรู้ส่วนบุคคล (xˉ = 3.62) ด้ำนกำรรวบรวมควำมคิดสร้ำงสรรค์ (xˉ =3.52) ด้ำนกำรจัดสภำพที่เอื้ออำนวย (xˉ =3.51) และน้อยที่สุดคือ ด้ ำนกำรสนับสนุนและกำรเป็นผู้นำร่วมกัน (xˉ =3.42) โดยกำรวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอแนว ทำงกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ คำสำคัญ : คลาวด์คอมพิวติ้ง, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Abstract This research aims to study the use of cloud computing to construct professional learning community and to propose guidelines of cloud computing use for creating professional learning community of personnel in community hospitals in Surin Province. This is survey research with samples of 344 personnel in community hospitals in Surin Province. Data were collected with a questionnaire and data were analyzed with descriptive statistics.

643


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The study result was found that in overall, personnel had opinions on the condition of using cloud computing to construct professional learning community according to framework of learning community in 5 aspects at high level (xˉ = 3.55). The highest mean belonged to creation of criteria and shared value (xˉ = 3.68) followed by knowledge sharing and personal learning (xˉ = 3.62), creative thought accumulation (xˉ =3.52), promising place provision (xˉ =3.51) and mutual leadership support (xˉ =3.42). This work proposes guidelines of using cloud computing in constructing professional learning community of personnel in community hospitals in Surin Province. Keywords : Cloud computing, Professional learning community บทนา ควำมก้ำวหน้ำทำงเทคโนโลยีสำรสนเทศและกำรสื่อสำรทำให้รูปแบบกำรปฏิบัติงำนของบุคลำกรใน องค์กรต้องเปลี่ยนจำกกำรทำงำนคนเดียวเป็นกำรทำงำนเป็นทีม กำหนดเป้ำหมำยร่วมกันในลักษณะของชุมชนแห่ง กำรเรียนรู้วิชำชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยมีเป้ำหมำยเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลร่วมกัน ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในกำรทำงำน ปรับปรุงและพัฒนำงำนอย่ำงต่อเนื่อง กำร พัฒนำรูปแบบกำรทำงำนสู่กำรเป็นชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศและกำร สื่อสำรให้เหมำะกับงำน นับว่ำเป็นสิ่งสำคัญอย่ำงยิ่งต่อองค์กรในศตวรรษที่ 21 ที่สำมำรถช่วยเพิ่มประสิทธิภำพใน กำรทำงำนให้กับองค์กร เทคโนโลยีสำรสนเทศและกำรสื่อสำร เป็นเครื่องมือในกำรพัฒนำระบบข้อมูลข่ำวสำรซึ่งมีควำมสำคัญ ต่อกำรพัฒนำระบบสุขภำพของประชำชน ดังนั้น กำรมีข้อมูลข่ำวสำรที่ถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภำพและทันสมัย จึง เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้กำรพัฒนำสุขภำพประชำชนบรรลุเป้ำหมำยตำมแผน นอกจำกเป็นเครื่องมือในกำรพัฒนำ ระบบข้อมูลข่ำวสำรแล้ว ยังสำมำรถนำ ICT มำประยุกต์ใช้ในกำรให้บริกำรแก่ประชำชนในสถำนบริกำรให้เกิดควำม รวดเร็ว ผู้ป่วยไม่ต้องรอนำน ประชำชนสำมำรถเข้ำถึงแหล่งควำมรู้ทำงอินเตอร์เน็ต เพื่อกำรป้องกันและส่งเสริม สุขภำพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน กลุ่มประชำชนผู้ด้อยโอกำส เช่น ผู้ที่อยู่ในท้องที่ห่ำงไกลสำมำรถได้รับ บริกำรทำงกำรแพทย์จำกแพทย์ผ่ำนระบบกำรแพทย์ทำงไกล อดีตที่ผ่ำนมำผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มักประสบกับ ปัญหำด้ำนกำรบริหำรจัดกำรข้อมูล กำรรับส่งข้อมูล ค่ำใช้จ่ำยที่เกิดขึ้นกับกำรจัดกำรโครงสร้ำงพื้นฐำนและกำร พัฒนำแอพพลิเคชั่น อุปกรณ์ฮำร์ดแวร์ และเซิร์ฟเวอร์ต่ำงๆ รวมทั้งควำมยุ่งยำกในกำรบำรุงรักษำระบบ ปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ำมำช่วยในกำรลดต้นทุนเรือ่ งกำรจัดเก็บข้อมูลและส่งข้อมูลมีมำก มีแนวโน้มในกำรนำเทคโนโลยีคลำวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในด้ำนต่ำงๆ เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมำกยิ่งขึ้น ไม่ว่ำจะ เป็นทั้งจำกหน่วยงำนภำครัฐและเอกชนหรือจำกองค์กรต่ำง ๆ มำกมำยทั้งในและต่ำงประเทศ (กรอบนโยบำย เทคโนโลยีสำรสนเทศและกำรสื่อสำรกระทรวงสำธำรณสุข พ.ศ. 2556-2565 : 65) คลำวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีที่ให้บริกำรในรูปแบบ กำรประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบ ออนไลน์ต่ำง ๆ จำกผู้ให้บริกำร เพื่อลดควำมยุ่งยำกในกำรติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัด

644


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เวลำ และลดต้นทุนในกำรสร้ำงระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ำย ซึ่งมีทั้งแบบบริกำรฟรีและแบบเสียค่ำใช้จ่ำย ซึ่ง อำจอยู่ในรูปแบบซอฟต์แวร์ ระบบ และทรัพยำกรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริกำรผ่ำนเครือข่ำยอินเทอร์เน็ต โดยสำมำรถเข้ำถึงข้อมูล บนเทคโนโลยีค ลำวด์คอมพิวติ้งจำกที่ใดก็ได้ (www.it24hrs.com.2015) ดังนั้น คลำวด์ คอมพิวติ้ง จึงเป็นทำงเลือกในกำรนำมำใช้เพื่อลดกำรลงทุนและเพิ่มควำมยืดหยุ่นทำงด้ำนงบประมำณมีส่วนช่วยใน เรื่องกำรสื่อสำรทำงไกลผ่ำนอินเทอร์เน็ต สำมำรถรองรับแนวคิดและกำรพัฒนำเครือข่ำยสังคมออนไลน์ (Social Network) โดยเชื่อมต่อออนไลน์กับเซิร์ฟเวอร์หลำยแห่ง ช่วยให้กำรจัดกำรสะดวกรวดเร็ว เข้ำถึงข้อมูลได้อย่ำงทั่วถึง ตอบสนองสังคมแห่งกำรเรียนรู้ (คมกริช อุดำรักษ์.2558) ชุมชนกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ( ProfessionalLearning Community: PLC) นั้น ยังไม่มีกำรให้คำนิยำม ที่เป็นสำกล (Universal Definition)แม้ว่ำ Richard DuFour ผู้ได้รับยกย่องว่ำเป็น “บิดำของ PLC” เริ่มทำงำนวิจัย พัฒนำและส่งเสริมเรื่องชุมชนกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ มำตั้งแต่ ค.ศ.1998 (พ.ศ. 2541) และตอนนี้ชุมชนกำรเรียนรู้ ทำงวิชำชีพได้แพร่ขยำยไปทั่วสหรัฐอเมริ กำ รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ที่ต้องกำรพัฒนำคุณภำพของกำรศึกษำของ ประเทศ เช่น สิงคโปร์ (วิจำรณ์ พำณิช, 2555) และมีนักกำรศึกษำได้พยำยำมศึกษำแนวคิดเกี่ยวกับควำมเป็นชุมชน กำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพมำอย่ำงต่อเนื่อง ชุมชนกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ เป็นกระบวนกำรสร้ำงกำรเปลี่ยนแปล งโดย เรี ย นรู้ จ ำกกำรปฏิ บั ติ ง ำนของกลุ่ ม บุ ค คลที่ ม ำรวมกั น เพื่ อ ท ำงำนร่ ว มกั น และสนั บ สนุ น ซึ่ ง กั น และกั น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ร่วมกันวำงเป้ำหมำยกำรเรียนรู้และตรวจสอบ สะท้อนผลกำรปฏิบัติทั้งในส่วน บุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวม ผ่ำนกระบวนกำรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำรวิพำกษ์วิจำรณ์ กำรทำงำนร่วมกัน กำร ร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนกำรเรียนรู้อย่ำงเป็นองค์รวม (เรวณี ชัยเชำวรัตน์ ,ชุมชนกำรเรียนรู้ ทำงวิชำชีพ 1 : 13) ด้วยควำมสำมำรถและคุณประโยชน์อันมำกมำยดังที่กล่ำวมำนี้ ถือได้ว่ำคลำวด์คอมพิวติ้งจะกลำยเป็ น เทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนำคต และกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกร ในโรงพยำบำลชุม ชนนั้น อำจประสบปัญหำและอุปสรรคในกำรดำเนินงำน ทั้งในด้ำนของศักยภำพของระบบ สำรสนเทศเอง ในเรื่องของกำรใช้งำน ควำมสะดวก กำรตอบสนองต่อผู้ใช้ ควำมครอบคลุมในข้อมูลที่จำเป็นต้องมีใน ระบบ ไม่ว่ำจะเป็นระบบบริกำรผู้ป่วย ระบบจัดเก็บข้อมูล ควำมสำมำรถในกำรอัพโหลด กำรดำวน์โหลดข้อมูล ควำมรู้ควำมสำมำรถและทัศนคติของบุคลำกร ที่อำจส่งผลต่อกำรเพิ่มประสิทธิภำพในกำรทำงำนให้กับบุคลำกรใน โรงพยำบำลชุมชน ดังนั้นผู้วิจัยซึ่งปฏิบัติหน้ำที่อยู่ในโรงพยำบำลชุมชน จึงสนใจที่จะศึกษำสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง เพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกรในโรงพยำบำลชุมชน โดยแบ่งกรอบในกำรใช้คลำวด์คอมพิ วติ้งออกเป็น 4 ด้ำน ได้แก่ 1) เว็บเพจ 2) ฐำนข้อมูลออนไลน์ 3) แอพพลิเคชัน 4) กำรจัดเก็บข้อมูล/กำรแชร์ ข้อมูล และกรอบชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ตำมคุณลักษณะทั้ง 5 ประกำร ได้แก่ 1) กำรสนับสนุนและกำรเป็นผู้นำ ร่วมกัน(Supportive and Shared Leadership) 2) กำรสร้ำงบรรทัดฐำนและค่ำนิยมร่วมกัน(Shared values and vision) 3) กำรรวบรวมควำมคิดสร้ำงสรรค์(Collective Creativity) 4) กำรแบ่งปันควำมรู้และกำรเรียนรู้ ส่วนบุคคล (Shared Personal Practice 5) กำรจัดสภำพที่เอื้ออำนวย(Supportive Conditions) เพื่อทรำบถึง สภำพกำรใช้ และแนวทำงกำรใช้ คลำวด์ค อมพิว ติ้งเพื่ อสร้ ำงชุม ชนแห่ งกำรเรี ยนรู้ทำงวิ ชำชีพ ของบุ คลำกรใน โรงพยำบำลชุมชนดังกล่ำว ว่ำเป็นไปในแนวทิศทำงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทำงในกำรแก้ไขข้อบกพร่องให้เหมำะสมและ พัฒนำควบคู่ไปกับกำรพัฒนำรูปแบบกำรให้บริกำรของบุคลกรด้ำนสำธำรณสุขสอดคล้องกับแนวทำงพัฒนำองค์กร

645


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ภำครัฐไทยแลนด์ 4.0 ทิศทำงและนโยบำยเร่งรัดของกระทรวง นโยบำยกำรพัฒนำระบบบริกำรสุขภำพสำธำรณสุข และสอดคล้องตำมบริบทของประเทศต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษำสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกร โรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อเสนอแนวทำงกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกร โรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ กรอบแนวคิดของกำรวิจัย ผู้วิจัยได้กรอบแนวคิดของกำรศึกษำ สภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำง วิชำชีพของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยจะทำกำรศึกษำข้อมูลกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง ของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน และคุณลักษณะที่สำคัญที่ทำให้เกิดชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ดังนี้ กลุ่มงานที่ปฏิบตั ิ 1. องค์กรแพทย์/ทันตสาธาณสุข 2 .งานการพยาบาล 3. งานบริหารทั่วไป/ศูนย์ ยุทธศาสตร์ 4. เภสัชกรรมชุมชน/เวชศาสตร์ ฟื้นฟูและกายภาพบาบัด 5. รังสี/เทคนิคการแพทย์ 6. เวชศาสตร์ครอบครัวและบริการ ปฐมภูมิ (สานักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์,2560)

สภาพการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคลากรโรงพยาบาล ชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ กรอบการใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) 1. เว็บเพจ 2. ระบบฐานข้อมูลออนไลน์ 3. แอพพลิเคชั่น 4. การจัดเก็บข้อมูล/การแชร์ขอ้ มูล ( KSC Internet and Blz Solutions,2009 ) คุณลักษณะชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( Professional Learning Community:PLC ) 1. การสนับสนุนและการเป็นผู้นาร่วมกัน กรอบแนวคิ ของกำรวิ จัย านิยมร่วมกัน 2.การสร้ดางบรรทั ดฐานและค่ 3.การรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ 4.การแบ่งปันความรู้และการเรียนรู้ส่วนบุคคล 5.การจัดสภาพที่เอือ้ อานวย ( Hord,1997:14-23 )

แนวทางการใช้คลาวด์ คอมพิวติ้งเพื่อสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพของบุคลากร โรงพยาบาลชุมชนใน เขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

กรอบแนวคิดในกำรวิจัย

วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกร คือ บุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้งหมด 15 แห่ง จำนวน 2,791 คน กลุ่มตัวอย่ำง คือ บุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ กำหนดขนำดของกลุ่มตัวอย่ำง โดยใช้ ตำรำงของ Krejcie and Morgan ได้ขนำดกลุ่มตัวอย่ำง จำนวน 344 คน ผู้วิจัยใช้วิธีกำรสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กำหนดประชำกรออกเป็นแต่ละกลุ่มงำน แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่ำงจำกแต่ละกลุ่มงำนตำมสัดส่วน ประชำกร

646


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถำมสำหรับใช้สอบถำมบุค ลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถำมแบบตรวจสอบรำยกำร (Checklist) สอบถำมเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของ ผู้ตอบแบบสอบถำม ได้แก่ เพศ อำยุ ระดับกำรศึกษำ ประสบกำรณ์กำรทำงำน กลุ่มงำนที่ปฏิบัติ ตอนที่ 2 สอบถำมเกี่ยวกับสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง เป็นคำถำมแบบเลือกตอบ ตำมกรอบแนวคิดที่ ใช้ในกำรวิจัย คือ กรอบในกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง ได้แก่ 1) เว็บเพจ 2) ฐำนข้อมูลออนไลน์ 3) แอพพลิเคชัน 4) กำรจัดเก็บข้อมูล/กำรแชร์ข้อมูล ตอนที่ 3 สอบถำมเกี่ยวกับสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ เป็น คำถำมแบบประเมินค่ำ (Rating Scale) แบ่งตำมกรอบกำรเป็นชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ตำมคุณลักษณะทั้ง 5 ประกำร ได้แก่ 1) กำรสนับสนุนและกำรเป็นผู้นำร่วมกัน(Supportive and Shared Leadership) 2) กำรสร้ำงบรรทัดฐำน และค่ำนิยมร่วมกัน(Shared values and vision) 3) กำรรวบรวมควำมคิดสร้ำงสรรค์(Collective Creativity) 4 )กำรแบ่งปันควำมรู้และกำรเรียนรู้ส่วนบุคคล(Shared Personal Practice) 5) กำรจัดสภำพที่เอื้ออำนวย (Supportive Conditions) ตอนที่ 4 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำง วิชำชีพของผู้ตอบแบบสอบถำม เป็นคำถำมปลำยเปิด การสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1. ศึกษำค้นคว้ำแนวคิด ทฤษฎี และงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจำกกลุ่ม ประชำกร และขอคำแนะนำจำกผู้เชี่ยวชำญกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตของเนื้อหำในกำรวิจัย 2. สร้ำงแบบสอบถำม 1 ฉบับ ให้ครอบคลุมเนื้อหำและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3. นำแบบสอบถำมมำปรับปรุงแก้ไขตำมทีอ่ ำจำรย์ที่ปรึกษำแนะนำ 4. นำแบบสอบถำมที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วมำเสนอต่อผู้เชี่ยวชำญ 5 ท่ำน เพื่อตรวจสอบควำมตรงของ เนื้อหำ (Content Validity) 5.นำแบบสอบถำมมำปรับปรุงแก้ไขตำมที่ผู้เชี่ยวชำญ 5 ท่ำน เสนอแนะ แล้วนำแบบสอบถำมที่ปรับปรุงแก้ไขไป ทดสอบหำควำมเที่ยง (Reliability) โดยนำแบบสอบถำมไปทดลองสอบถำม (Tryout) กับกลุ่มตัวอย่ำงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ ประชำกรที่ศึกษำ ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้จริง จำนวน 30 คน จำกนั้นนำข้อมูลที่ได้จำกแบบสอบถำมไปหำค่ำควำมเชื่อมั่น ใช้วิธีกำรหำค่ำสัมประสิทธิ์แอลฟำ (Alpha Coefficient) โดยใช้สูตรของ Cronbach นำแบบสอบถำมที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปจัดพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้วิจัยจัดทำหนังสือจำกคณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏุสุรินทร์ ถึงผู้อำนวยกำรโรงพยำบำล ชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวั ดสุรินทร์ จำนวน 15 แห่ง เพื่อขออนุญำตสอบถำมโดยแนบหนังสือรำชกำรไปพร้อมกับ แบบสอบถำมถึงหน่วยงำนที่จะสอบถำม 2. ผู้วิจัยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

647


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล กำรวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำกำรวิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปที่เป็นโปรแกรมทำง สถิติ และทำกำรวิเครำะห์ด้วยสถิติพรรณนำ (Descriptive Statistics) ดังนี้ 1. กำรวิเครำะห์ข้อมูลทั่วไป และสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชนในเขต พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ใช้ค่ำควำมถี่ (Frequency) และค่ำร้อยละ (Percentages) 2. กำรวิเครำะห์สภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกร โรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ใช้ค่ำเฉลี่ย (Mean) และค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำน (Standard Deviation) 3. กำรวิเครำะห์เปรียบเทียบควำมแตกต่ำงของสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่ง กำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตำม กลุ่มงำนที่ปฏิบัติ โดยใช้ กำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนแบบทำงเดียว(One way Anova) และเมื่อพบควำมแตกต่ำงเป็นรำยคู่ทดสอบควำม แตกต่ำงด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe´s Method) สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุคลำกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอำยุระหว่ำง 31 – 35 ปี กำรศึกษำส่วนใหญ่สำเร็จกำรศึกษำระดับ ปริญญำตรี รองลงมำคืออนุปริญญำ/ปวส.หรือเทียบเท่ำ และจบสูงกว่ำปริญญำตรี เป็นส่วนน้อย บุคลำกรส่วนใหญ่ ปฏิบั ติงำนอยู่ ในกลุ่มกำรพยำบำล มีประสบกำรณ์ในกำรทำงำนอยู่ร ะหว่ ำง 5 – 10 ปี ส่ วนใหญ่ใ ช้อุป กรณ์ คอมพิวเตอร์ PC ในกำรเข้ำใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อกำรปฏิบัติงำน บันทึก/ลงรำยงำน บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ต มำกกว่ำ 4 ชั่วโมง/วัน และส่วนใหญ่หน่วยงำนมีกำรสนับสนุนกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งในกำรนำระบบฐำนข้อมูล ออนไลน์มำใช้ในกำรปฏิบัติงำน และปัญหำและอุปสรรคที่มีคือกำรเข้ำถึงอินเทอร์เน็ตในหน่วยงำน ผลการวิเคราะห์สภาพการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัด สุรินทร์ ด้านเว็บเพจ ส่วนใหญ่มีเว็บไซต์เป็นของหน่วยงำนเอง ประเภทข้อมูลที่มีกำรอัพโหลด ดำวน์โหลดบน เว็บไซต์ส่วนมำกเป็นไฟล์เอกสำร บุคลำกรส่วนใหญ่สืบค้นข้อมูลออนไลน์ทำงเว็บไซต์ Google และพบปัญหำส่วนใหญ่ ในกำรเข้ำใช้เว็บเพจ ด้านระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ระบบฐำนข้อมูลที่หน่วยงำนใช้บนเครือข่ำยอินเทอร์เน็ตมำกที่สุดคือ ระบบ สำรบรรณสำธำรณสุข บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้ระบบสำรบรรณสำธำรณสุขมำกที่สุด รองลงมำคือ ระบบตรวจสอบสิทธิ์ ออนไลน์ และน้อยที่สุดคือ ระบบรำยงำนกำรจัดกำรพลังงำนอิเล็กทรอนิกส์( E-Frome) มีกำรสืบค้นข้อมูลในระบบ ฐำนข้อมูลออนไลน์มำก รองลงมำคือ กำรดำวน์โหลดข้อมูลและกำรแลกเปลี่ยนข้อมูลน้อยที่สุด ปัญหำและอุปสรรคใน กำรเข้ำใช้ระบบฐำนข้อมูลออนไลน์ส่วนมำกคือ กำรบันทึกข้อมูล อัพโหลด ดำวน์โหลดข้อมูลในระบบ ด้านแอพพลิเคชัน แอพพลิเคชันในหน่วยงำนที่บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้มำกที่สุดคื อ สิทธิ 30 บำท มีกำรใช้ แอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ (Social Network) พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแอพพลิเคชันสังคม ออนไลน์ที่ใช้มำกที่สุดคือ Facebook รองลงมำคือ Line และ Skype เป็นอันดับสุดท้ำย บุคลำกรส่วนใหญ่เคยใช้ บริกำรของ Google และที่ใช้มำกที่สุดคือ Gmail รองลงมำคือ Google Drive และใช้น้อยที่สุดคือ Google Sites ส่วนใหญ่ใช้บริกำรของ google ช่วยทำงำนในหน่วยงำน ที่ใช้มำกที่สุดคือ Gmail ในกำรส่งจดหมำย ปัญหำและ อุปสรรคในกำรใช้งำนมำกที่สุดคือ ปัญหำเครือข่ำยอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุนในกำรเข้ำใช้งำน

648


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ด้านการจัดเก็บข้อมูลและการแชร์ข้อมูล บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้ Google Drive ในกำรจัดเก็บข้อมูล ขนำดพื้นที่ในกำรจัดเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ 5 – 10 GB ส่วนใหญ่มีปัญหำหรืออุปสรรคในกำรจัดเก็บและกำรแชร์ ข้อมูลออนไลน์ในด้ำนของเครือข่ำยอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุนในกำรเข้ำใช้งำน ผลการวิเคราะห์ความความคิดเห็นสภาพการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุคลำกรมีควำมควำมคิดเห็นเกี่ยวกับสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำง วิชำชี พตำมกรอบกำรเป็นชุ มชนแห่งกำรเรีย นรู้ทั้ ง 5 ด้ำ นในภำพรวมอยู่ใ นระดับ มำก (xˉ = 3.55) และเมื ่อ วิเ ครำะห์ค วำมคิด เห็น เป็น รำยด้ำ น กำรสร้ำงบรรทัดฐำนและค่ำนิยมร่วมกันมีควำมคิดเห็นมำกที่ (xˉ =3.68) รองลงมำ คือ ด้ำนกำรแบ่งปันควำมรู้และกำรเรียนรู้ส่ วนบุคคล (xˉ=3.62) ด้ำนกำรรวบรวมควำมคิดสร้ำงสรรค์ (xˉ =3.62) ด้ำนกำรจัดสภำพที่เอื้ออำนวย (xˉ =3.51) และควำมคิดเห็นน้อยที่สุด คือด้ำนกำรสนับสนุนและกำรเป็น ผู้นำร่วมกัน มีควำมคิดเห็นอยู่ในระดับปำนกลำง (xˉ =3.42) แสดงได้ดังตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 ค่ำเฉลี่ยและค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำนสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำง วิชำชีพตำมคุณลักษณะทั้ง 5 ด้ำน 1. 2. 3. 4. 5.

กรอบกำรเป็นชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ กำรสนับสนุนและกำรเป็นผู้นำร่วมกัน (Supportive and Shared Leadership) กำรสร้ำงบรรทัดฐำนและค่ำนิยมร่วมกัน (Shared values and vision) กำรรวบรวมควำมคิดสร้ำงสรรค์ (Collective Creativity) กำรแบ่งปันควำมรู้และกำรเรียนรู้ส่วนบุคคล (Shared Personal Practice) กำรจัดสภำพที่เอือ้ อำนวย (Supportive Conditions) รวม

ˉx 3.42 3.68 3.52 3.62 3.51 3.55

S.D. 0.87 0.86 0.86 0.91 0.88 0.79

ระดับควำมคิดเห็น ปำนกลำง มำก มำก มำก มำก มำก

แนวทางการใช้ ค ลาวด์ ค อมพิ ว ติ้ ง เพื่ อ สร้ า งชุ ม ชนแห่ ง การเรี ย นรู้ ท างวิ ช าชี พ ของบุ ค ลากร โรงพยาบาลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ 1. ด้ำนกำรสนับสนุนและกำรเป็นผู้นำร่วมกัน ผู้บริหำรควรมีกำรจัดสรรงบประมำณเพื่อสนับสนุนกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง เช่น กำรเพิ่มควำมเร็ว อินเทอร์เน็ต มีคลำวด์สำหรับใช้หน่วยงำน และกำหนดนโยบำยกำรปฏิบัติงำนและกำรตัดสินใจร่วมกัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ผ่ำนสื่อสังคมออนไลน์ต่ำงๆ จัดอบรมให้บุคลำกรมีควำมรู้เกี่ยวกับกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อนำมำใช้ในกำร ปฏิบัติงำน 2. ด้ำนกำรสร้ำงบรรทัดฐำนและค่ำนิยมร่วมกัน โรงพยำบำลควรมีกำรประชำสัมพันธ์หรือมีกำรสร้ำงกลุ่มแจ้งกิจกรรมพันธกิจและวิสัยทัศน์ผ่ำนเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ เพื่ อให้บุคลำกรรับทรำบร่วมกัน ให้มีกำรเผยแพร่ค่ำนิยมผ่ำนเว็บไซต์หรือแอพ พลิเคชัน สังคมออนไลน์ สนับสนุนให้มีกำรจัดกำรควำมรู้เกี่ยวกับกำรส่งเสริมสุขภำพแก่บุคลำกรและประชำชนผ่ำน เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์

649


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. ด้ำนกำรรวบรวบควำมคิดสร้ำงสรรค์ บุคลำกรควรมีกำรค้นคว้ำหำควำมรู้ทักษะและกลยุทธ์ต่ำงๆ บนเว็บไซต์เพื่อนำมำประยุกต์ใช้ในกำร ทำงำนและร่วมเรียนรูด้ ้วยกันและประยุกต์ควำมรูใ้ หม่ๆ ในกำรแก้ปัญหำในกำรทำงำน สนับสนุนให้มีกำรรวบรวมกล ยุทธ์และวิธีกำรใช้คู่มือกำรปฏิบัติงำน องค์ควำมรู้ต่ำงๆบนเว็บไซต์ 4. ด้ำนกำรแบ่งปันควำมรู้และกำรเรียนรู้ส่วนบุคคล ควรมีกำรเผยแพร่กิจกรรมที่สร้ำงควำมสัมพันธ์ที่ดีระหว่ำงบุคลำกร กำรแบ่งปันควำมรู้ในกำรทำงำน ร่วมกันบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ต่ำงๆ 5. ด้ำนกำรจัดสภำพที่เอื้ออำนวย ควรมีสถำนที่ที่เหมำะสมและเอื้อต่อกำรเรียนรู้ และสนับสนุนอุปกรณ์ด้ำนอินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยควำม สะดวกในกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง ควรจัดหำสื่อและวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมำะสมให้บุคลำกรได้เรียนรู้ร่วมกันผ่ำน เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ วิจารณ์ผลการวิจัย จำกกำรวิจัยเรื่อง กำรศึกษำสภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ของบุคลำกรโรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีประเด็นที่น่ำสนใจ ซึ่งผู้วิจัยได้ข้อค้นพบจำกกำรวิจัยที่ สำมำรถนำมำอภิปรำยผลได้ดังต่อไปนี้ สภาพการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำกกำรวิเครำะห์ข้อมูลเชิงปริมำณ พบว่ำ บุคลำกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 68.60 มี อำยุระหว่ำง 31 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.40 ระดับกำรศึกษำส่วนใหญ่สำเร็จกำรศึกษำระดับปริญญำตรี คิดเป็น ร้อ ยละ 75.58 ส่ว นใหญ่ ป ฏิ บั ติ งำนอยู่ ใ นกลุ่ ม งำนกำรพยำบำล คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 44.48 ส่ ว นใหญ่ ใ ช้ อุ ป กรณ์ คอมพิวเตอร์ PC ในการเข้าใช้อินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 33.77 รองลงมำคือ สมำร์ทโฟน คิดเป็นร้อยละ 31.70 ใช้แล็บท็อปน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 2.62 บุคลำกรส่วนใหญ่เข้ำใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อกำรปฏิบัติงำน บันทึก/ลงรำยงำน คิดเป็นร้อยละ 20.04 และส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตมำกกว่ำ 4 ชั่วโมง/วัน คิดเป็นร้อยละ 36.63 บุค ลำกรส่ว นใหญ่ มีค วำมคิ ดเห็น ว่ำ หน่ วยงำนมี กำรสนับสนุ นกำรใช้ คลำวด์คอมพิวติ้งในกำรน ำระบบ ฐำนข้อมูลออนไลน์มำใช้ในกำรปฏิบัติงำน คิดเป็นร้อยละ 34.65 ส่วนปัญหำและอุปสรรคนั้นส่วนมำกจะมีปัญหำใน กำรใช้อินเทอร์เน็ตในหน่วยงำนมีควำมล่ำช้ำมำกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.42 จำกกำรวิเครำะห์สภำพกำรใช้ คลำวด์คอมพิวติ้งของบุคลำกรด้ำนเว็บเพจ พบว่ำส่วนใหญ่หน่วยงำนมี เว็บไซต์ของหน่วยงำนเอง และส่วนใหญ่บุคลำกรมีกำรเข้ำใช้ อัพโหลด ดำวน์โหลดข้อมูลในเว็บไซต์ คิดเป็นร้อยละ 84.01 ประเภทข้อมูลที่มีกำรอัพโหลด ดำวน์โหลดคือ ไฟล์ เอกสำร มำกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.31 รองลงมำคือ รูปภำพ ร้อยละ 32.63 และน้อยที่สุดคือไฟล์เสียง คิดเป็นร้อยละ 9.74 บุคลำกรส่วนใหญ่มีกำรสืบค้นข้อมูลออนไลน์ ทำงเว็บ Google ร้อยละ 67.88 รองลงมำคือ Sanook ร้อยละ 15.35 และน้อยที่สุดคือ Bing คิดเป็นร้อยละ 3.23 ส่วนใหญ่ข้อมูลที่สืบค้นคือ ไฟล์เอกสำร คิดเป็นร้อยละ 36.98 รองลงมำคือไฟล์รูปภำพ ร้อยละ 32.86 และน้อยที่สุด คือไฟล์เสียง คิดเป็นร้อยละ 10.48 บุคลำกรส่วนใหญ่มีปัญหำในกำรเข้ำใช้งำนเว็บเพจ กำรอัพโหลด ดำวน์โหลดข้อมูล มีควำมล่ำช้ำมำก คิดเป็นร้อยละ 37.17 รองลงมำคือ ควำมรู้เกี่ยวกับกำรป้องกันไวรัส มัลแวร์ สปำยแวร์ ร้อยละ 22.04 และน้อยที่สุดคือ เว็บเพจบำงเว็บมีควำมยุ่งยำกในกำรสมัครเข้ำใช้ คิดเป็นร้อยละ 20.06 ด้ำนระบบฐำนข้อมูลออนไลน์ ระบบฐำนข้อมูลที่หน่วยงำนใช้บนเครือข่ำยอินเทอร์เน็ตมำกที่สุดคือ ระบบสำรบรรณสำธำรณสุข คิดเป็นร้อยละ 15.72

650


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

รองลงมำคือระบบตรวจสอบสิทธิ์ออนไลน์ ร้อยละ11.27 และน้อยที่สุดคือ ระบบคลินิก PB คิดเป็นร้อยละ 1.70 บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้ระบบสำรบรรณสำธำรณสุขมำกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 19.59 รองลงมำคือ ระบบตรวจสอบสิทธิ์ ออนไลน์ ร้อยละ11.73 และน้อยที่สุดคือ ระบบรำยงำนกำรจัดกำรพลังงำนอิเล็กทรอนิกส์(E-Frome) คิดเป็นร้อยละ 1.09 ปัญหำและอุปสรรคในกำรเข้ำใช้ระบบฐำนข้อมูลออนไลน์มำกที่สุดคือ ปัญหำกำรบันทึกข้อมูล อัพโหลด ดำวน์ โหลดข้อมูลในระบบมีควำมล่ำช้ำ คิดเป็นร้อยละ 30.15 รองลงมำคือ ปัญหำด้ำนควำมรู้เกี่ยวกับกำรใช้ระบบฐำนข้อมูล ออนไลน์ ร้อยละ 28.98 และน้อยที่สุดคือ ปัญหำกำรอัพเดตข้อมูลผ่ำนระบบฐำนข้อมูลออนไลน์ คิดเป็น ร้อยละ 17.92 ด้ำนแอพพลิเคชัน แอพพลิเคชันที่บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้มำกที่สุดคือ แอพสิทธิ 30 บำท คิดเป็นร้ อยละ11.90 รองลงมำ คือ แอพยำกับคุณ (Ya&You) ร้อยละ 10.56 และน้อยที่สุดคือ แอพ Love Say Play คิดเป็นร้อยละ 0.27 ส่วนใหญ่ บุคลำกรมีกำรใช้แอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ (Social Network) พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 97.67 ส่วนใหญ่แอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ที่ใช้คือ Facebook คิดเป็นร้อยละ 45.79 รองลงมำคือ Line ร้อยละ 43.65 และน้อยที่สุด Skype คิดเป็นร้อยละ 2.43 บุคลำกรส่วนใหญ่เคยใช้บริกำรแอพพลิเคชันของ Google คิดเป็นร้อยละ 96.51 แอพฯของ google ที่ใช้มำกที่สุดคือ Gmail คิดเป็นร้อยละ 38.14 รองลงมำคือ Google Drive ร้อยละ 27.54 และน้อยที่สุดคือ Google Sites คิดเป็นร้อยละ 6.21 แอพฯบริกำรของ google ช่วยทำงำนในหน่วยงำนที่ใช้มำกที่สุด คือ Gmail คิดเป็นร้อยละ 43.02 รองลงมำคือ Google Drive จัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน คิดเป็นร้อยละ 29.21 และน้อยที่สุดคือ Google Sites ในกำรสร้ำงเว็บเพจเรียนรู้ร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 6.19 ปัญหำและอุปสรรคในกำรใช้ งำนแอพพลิเคชันออนไลน์มำกที่สุดคือ ปัญหำเครือข่ำย อินเทอร์เน็ตที่สนับสนุนในกำรเข้ำใช้ คิดเป็นร้อยละ 38.95 รองลงมำคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมำร์ทโฟน ที่สนับสนุนในกำรเข้ำใช้งำน ร้อยละ 31.34 และน้อยที่สุดคือ ค่ำใช้จ่ำยในกำรสมัครเข้ำใช้งำน คิดเป็นร้อยละ 8.70 ด้ำนกำรจัดเก็บข้อมูลและกำรแชร์ข้อมูล บุคลำกรส่วนใหญ่ใช้ Google Drive ในกำรจัดเก็บข้อมูลและแชร์ข้อมูล มำกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.74 รองลงมำคือ Youtube ร้อยละ 19.38 และน้อยที่สุดคือ Mediafire คิดเป็นร้อยละ 2.46 ส่วนใหญ่มีกำรใช้พื้นที่ในกำรจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ 5 – 10 GB มำกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.33 รองลงมำคือ 11 – 15 GB ร้อยละ 25.00 และน้อยที่สุดคือ 16 – 25 GB คิดเป็นร้อยละ 9.88 บุคลำกรส่วนใหญ่มีปัญหำหรืออุปสรรคในกำรจัดเก็บและกำรแชร์ข้อมูลออนไลน์ด้ำนเครือข่ำย อินเทอร์เน็ตที่สนับสนุนในกำรใช้งำนมำกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.47 รองลงมำคือปัญหำด้ำนฮำร์ดแวร์ ซอฟแวร์ หรือ อุปกรณ์ที่สนับสนุนในกำรใช้งำน ร้อยละ 19.85 และน้อยที่สุดคือปัญหำกำรแชร์ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังเรื่อง พรบ. คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 11.11 แนวทางการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำกกำรวิเครำะห์สภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพของบุคลำกร โรงพยำบำลชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ด้ำนกำรสนับสนุนและกำรเป็นผู้นำร่วมกัน พบว่ำ ในภำพรวมอยู่ใน ระดับปำนกลำง (xˉ = 3.42) และเมื่อวิเครำะห์ควำมคิดเห็นเป็นรำยข้อ พบว่ำ บุคลำกรมีควำมคิดเห็นว่ำผู้บริหำรมี กำรจัดสรรงบประมำณเพื่อสนับสนุนในกำรพัฒนำเว็บไซต์และกำรนำระบบฐำนข้อมูลออนไลน์มำใช้ในโรงพยำบำล มำกที่สุด อยู่ในระดับมำก (xˉ = 3.61) และน้อยที่สุดคือ โรงพยำบำลมีกำรจัดอบรมให้บุคลำกรมีควำมรู้เกี่ยวกับกำร พัฒนำเว็บไซต์ กำรใช้ระบบฐำนข้อมูล กำรใช้แอพพลิเคชันต่ำงๆ เพื่อนำมำใช้ในกำรปฏิบัติงำนมีควำมคิดเห็นอยู่ใน ระดับปำนกลำง (xˉ =3.06) สภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งด้ำนกำรสร้ำงบรรทัดฐำนและค่ำนิยมร่วมกัน ในภำพ รวมอยู่ในระดับมำก (xˉ = 3.68) และเมื่อวิเครำะห์ควำมคิดเห็นเป็นรำยข้อ พบว่ำ บุคลำกรส่วนใหญ่ มีควำม คิดเห็นว่ำโรงพยำบำลมีกำรแจ้งพันธกิจและวิสัยทัศน์ผ่ำนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ เพื่ อให้บุคลำกร

651


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

รับทรำบร่วมกัน มำกที่สุด อยู่ใ นระดับ มำก (xˉ = 3.87) รองลงมำคือ โรงพยำบำลมีกำรเผยแพร่ค่ำนิยมผ่ำน เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชัน สังคมออนไลน์ เช่น facebook, line เป็นต้น เพื่อให้บุคลำกรรับทรำบร่วมกัน อยู่ใ น ระดับ มำก (xˉ = 3.81) และควำมคิด เห็น น้อ ยที่สุด คือ โรงพยำบำลมีกำรจัดกำรควำมรู้เกี่ยวกับกำรส่งเสริม สุขภำพแก่บุคลำกรและประชำชนผ่ำนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับปำนกลำง (xˉ = 3.38) สภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งของบุคลำกรด้ำนกำรรวบรวบควำมคิดสร้ำงสรรค์ในภำพรวมอยู่ใ นระดับมำก (xˉ = 3.52) และเมื่อวิเครำะห์ควำมต้องกำรเป็นรำยข้อ พบว่ำ บุคลำกรมีกำรค้นหำควำมรู้ทักษะและกลยุทธ์ต่ำงๆ บน เว็บไซต์ เพื่อนำมำประยุกต์ใช้ในกำรทำงำนมำกที่สุด อยู่ใ นระดับมำก (xˉ = 3.65) รองลงมำคือ บุคลำกรร่วม เรียนรู้ด้วยกันและประยุกต์ควำมรู้ใหม่ๆ ในกำรแก้ปัญหำในกำรทำงำนผ่ำนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ ต่ำงๆ อยู่ในระดับมำก (xˉ = 3.63) และควำมคิดเห็นน้อยที่สุดคือ บุคลำกรในหน่วยงำน มีกำรรวบรวมกลยุทธ์และ วิธีกำรใช้คู่มือกำรปฏิบัติงำน องค์ควำมรู้ต่ำงๆบนเว็บไซต์หรือในระบบฐำนข้อมูล อยู่ใ นระดับ มำก (xˉ = 3.40) สภำพกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งด้ำนกำรแบ่งปันควำมรู้และกำรเรียนรู้ส่วนบุคคล ในภำพรวมอยู่ในระดับมำก (xˉ = 3.62 ) และเมื่อวิเครำะห์ควำมคิดเห็นเป็นรำยข้อ พบว่ำ โรงพยำบำลมีกำรเผยแพร่กิจกรรมที่สร้ำงควำมสัมพันธ์ที่ ดีระหว่ำงบุคลำกรบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ต่ำงๆ อยู่ในระดับมำก (xˉ = 3.72) รองลงมำคือ บุคลำกรมีกำรแบ่งปันควำมรู้ในกำรทำงำนร่วมกันผ่ำนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ต่ำงๆ อยู่ในระดับ มำก (xˉ = 3.66) และน้อยที่สุดคือ บุคลำกรแต่ละหน่วยงำนมีกำรแบ่งปันควำมรู้ในกำรทำงำนร่วมกันผ่ำนเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ต่ำงๆ มีค วำมคิดเห็นอยู่ใ นระดับปำนกลำง (xˉ = 3.51) สภำพกำรใช้คลำวด์ คอมพิวติ้งด้ำนกำรจัดสภำพที่เอื้ออำนวยในภำพรวมอยู่ในระดับมำก (xˉ =3.51) และเมื่ อวิเครำะห์ควำมคิดเห็น เป็นรำยข้อ พบว่ำ โรงพยำบำลมีเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันต่ำงๆ ที่เหมำะสม และเอื้อต่อกำรเรียนรู้ มำกที่สุด มี ควำมคิด เห็น อยู่ใ นระดับ มำก (xˉ =3.68) รองลงมำคือ โรงพยำบำลมีกำรสนับสนุนสถำนที่และอุปกรณ์ด้ำน อินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยควำมสะดวกในกำรใช้ระบบฐำนข้อมูล เว็บไซต์ กำรจัดเก็บข้อมูล แชร์ข้อมูล และกำรใช้ แอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ต่ำงๆ มีควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก (xˉ =3.61) และน้อยที่สุด คือ โรงพยำบำลมีกำร จัดหำสื่อและวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมำะสมให้บุคลำกรได้เรียนรู้ร่วมกันผ่ำนเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันสังคม ออนไลน์ มีควำมคิดเห็นอยู่ในระดับมำก (xˉ =3.38) ซึ่งสอดคล้องกับงำนวิจัยของ Veera Bhatiasevi, Michael Naglis (2015 : Abstract) ได้ศึกษำงำนวิจัยเรื่อง ควำมสัมพันธ์ของโครงสร้ำงปัจจัยของกำรยอมรับกำรใช้ คอมพิวเตอร์บน Cloud ในกำรจัดกำรศึกษำ ผลกำรวิจัยแสดงให้เห็นว่ำผู้ใช้ชำวไทยส่วนใหญ่ขณะนี้ให้ควำมสนใจ มำกขึ้นกับแนวคิดของกำรใช้cloud computing มำใช้ในกำรจัดกำรศึกษำเพรำะใช้ง่ำย สะดวก ผลกำรศึกษำ สำมำรถใช้เป็นแนวทำงในกำรพัฒนำซอฟแวร์ที่เป็นปัจจัยที่คิดว่ำจะเป็นสิ่งสำคัญในกำรนำ cloud computing ไป ใช้ เพื่อที่จะดึงดูดผู้ใช้มำกขึ้น และนวรัตน์ ไวชมภู และ สุจิตรำ จรจิตร (2560 : 277) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ ควำมสำคัญ ของกำรเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ(PLC : Professional Learning Community) โดยมีจุดมุ่งเน้นที่อำจำรย์พยำบำล ซึ่งกำรเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ จะทำให้อำจำรย์พยำบำลมี ควำมเข้มแข็งทำงวิชำกำรได้อย่ำง โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน ผ่ำนกำรรวมตัวของอำจำรย์พยำบำลในกำรทำงำน เป็นกลุ่มหรือทีม โดยกำรวำงแผนภำยใต้กำรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมในกำรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบกำรณ์ต่ำง ๆ ในกำรจัดกำรเรียนรู้ เพื่อพัฒนำวิธีกำรเรียนรู้ของผู้เรียนตำมแนวคิดวงจรคุณภำพซึ่งมีกำร พั ฒ นำอย่ ำ งต่ อ เนื่ อ งไม่ รู้ จ บตำมยุ ค สมั ย ที่ เ ปลี่ ย นแปลงเพื่ อ ควำมยั่ ง ยื น ในกำรพั ฒ นำผู้ เ รี ย น นอกจำกนี้ ยั ง ข้อเสนอแนะว่ำ กำรวำงแผนกำรเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพในศตวรรษที่ 21 ของอำจำรย์ และยัง

652


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สอดคล้อ งกับ เพ็ญนภำ ประภำวัต และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2552 : บทคัดย่อ) ได้ทำกำรศึกษำกำรเป็น องค์กำรแห่งกำรเรียนรู้ของโรงพยำบำลของรัฐขนำดเล็ก โดยใช้โรงพยำบำลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุรำษฎร์ ธำนี เป็นกรณีศึกษำ ซึ่งเป็นกำรศึกษำ จำกควำมคิดเห็นของเจ้ำหน้ำที่ของโรงพยำบำลที่มีต่อกำรเป็นองค์กำรแห่ง กำรเรียนรู้ของโรงพยำบำล และทดสอบปัจจัยที่มีควำมสัมพันธ์กับกำรเป็นองค์กำรแห่งกำรเรียนรู้ของโรงพยำบำล โดยกำรศึกษำใช้กำรเก็บรวบรวมข้อมูลจำกกำรใช้แบบสอบถำมเจ้ำหน้ำที่ของโรงพยำบำลทั้ งหมดจำนวน 100 คน ผลกำรศึกษำพบว่ำ กำรเป็นองค์กำรแห่งกำรเรียนรู้ของโรงพยำบำลดอนสักในภำพรวมตำมควำมคิดเห็นของ เจ้ำหน้ำที่โรงพยำบำลอยู่ในระดับปำนกลำง และปัจจัยที่มีควำมสัมพันธ์กับกำรเป็นองค์กำรแห่งกำรเรียนรู้ของ โรงพยำบำลดอนสัก ได้แ ก่ วั ฒนธรรมองค์ก ำร วิ สั ยทั ศน์ พั น ธกิ จและยุ ทธศำสตร์ บรรยำกำศในกำรท ำงำน โครงสร้ำงองค์กำร กำรจูงใจ และภำวะผู้นำ ซึ่งต่ำงก็มีควำมสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 และอนุสรำ สุวรรณวงศ์ (2559: 163) ศึกษำเกี่ยวกับคุณลักษณะของชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพในบริบท กำรศึกษำไทย เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยคือ แบบสัมภำษณ์และแบบสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกำรสัมภำษณ์ พบว่ำ คุณลักษณะของชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพในบริบทกำรศึกษำไทย ผลกำรวิจัยเป็นแนวทำงในกำร พัฒนำโรงเรียนสู่กำรเป็นชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ทำงวิชำชีพ ในด้ำนนโยบำยกำรบริหำรโรงเรียนตำมหลักกำรกระจำย อำนำจกำรบริหำรจัดกำรเพื่อสร้ำงครูผู้นำ กำรพัฒนำวัฒนธรรม ของโรงเรียนเพื่อสร้ำงวัฒนธรรมกัลยำณมิตรทำง วิชำกำร และกำรพัฒนำทำงวิชำชีพของครูที่มุ่งเน้นกำรพัฒนำ กำรจัดกำรเรียนกำรสอนเพื่อยกระดับผลลัพธ์ ทำงกำรเรียนรู้ของผู้เรียนและผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของผู้เรียนอย่ำงมีประสิทธิผล ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ ข้อ มูล ที่ไ ด้จ ำกกำรวิ จัย ครั้ งนี้ สำมำรถน ำไปใช้ ประโยชน์กั บหน่ว ยงำนภำครั ฐและหน่ วยงำนด้ ำ น สำธำรณสุขอื่น ๆ ได้ ดังต่อไปนี้ 1. ควรมี ก ำรจั ด สรรงบประมำณเพื่ อ สนั บ สนุ น กำรใช้ ค ลำวด์ ค อมพิ ว ติ้ ง เช่ น กำรเพิ่ ม ควำมเร็ ว อิ น เทอร์ เ น็ ต มี ค ลำวด์ ส ำหรั บ ใช้ ใ นหน่ ว ยงำน และก ำหนดนโยบำยกำรปฏิ บั ติ งำนและกำรตั ด สิ น ใจร่ ว มกั น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่ำนสื่อสังคมออนไลน์ต่ำงๆ จัดอบรมให้บุคลำกรมีควำมรู้เกี่ยวกับกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อ นำมำใช้ในกำรปฏิบัติงำน 2. สนับสนุนให้มีกำรจัดกำรควำมรู้เกี่ยวกับกำรส่งเสริมสุขภำพแก่บุคลำกรและประชำชนผ่ำนเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ ควรมีกำรรวบรวมกลยุทธ์และวิธีกำรใช้คู่มือกำรปฏิบัติงำนองค์ควำมรู้ต่ำงๆบน เว็บไซต์เพื่อกำรเผยแพร่ต่อไป 3. ควรมีสถำนที่ที่เหมำะสมและเอื้อต่อกำรเรียนรู้ และสนับสนุนอุปกรณ์ด้ำนอินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวย ควำมสะดวกในกำรใช้เทคโนโลยีคลำวด์คอมพิวติ้ง ควรจัดหำสื่อและวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมำะสมให้กับบุคลำกร ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ศึกษำแนวทำงกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ของบุคลำกรด้ ำนด้ำนอื่นๆ เพื่อเป็นกำรเปรียบเทียบ 2. ศึกษำและหำแนวทำงดำเนินงำนที่จะพัฒนำและเพิ่มประสิทธิภำพกำรใช้เทคโนโลยีคลำวด์คอมพิ วติ้งควบคู่ไปกับกำรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 3. ศึกษำผลกระทบในกำรใช้คลำวด์คอมพิวติ้ง เพื่อสร้ำงชุมชนแห่งกำรเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อตัวบุคลำกร

653


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

หรือหน่วยงำนนั้นๆ เอกสารอ้างอิง ดำรงศัก ดิ์ แก้ วอ ำไพ. (2557). แนวทางในการสร้ างการยอมรั บการพัฒนาการให้บ ริก ารซอฟต์ แวร์บ นการ ประมวลผลแบบกลุ่มเมฆให้เหมาะสมกับองค์กรในประเทศไทย. ปริญญำวิทยำศำสตรมหำบัณฑิต มหำบัณฑิต สำขำวิชำเทคโนโลยีสำรสนเทศ บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ำพระ นครเหนือ. ทัศนีย์ รอดมั่นคง. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศผ่านคลาวด์คอมพิวติงตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วิทยำนิพนธ์ปรัชญำดุษฎีบัณฑิต สำขำเทคโนโลยีสำรสนเทศและกำร สื่อสำรเพื่อกำรศึกษำ บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ำพระนครเหนือ. ธนยศ สิริโชดก. (2555). แนวคิดในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้บนคลาวด์ คอมพิวติ้ง. วำรสำรกำรอำชีวะและเทคนิคศึกษำ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3. นวรัตน์ ไวชมพู และสุจิตรำ จรจิตร.(2560). การเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของ อาจารย์พยาบาล.วำรสำรเครือข่ำยวิทยำลัยพยำบำลและกำรสำธำรณสุขภำคใต้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. มำลี ผลไม้. (2558). การศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อาเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยำนิพนธ์ครุศำสต รมหำบัณฑิต สำขำวิชำเทคโนโลยีและสื่อสำรกำรศึกษำบัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์. มินตรำ ลำยสนิทเสรีกุล.(2556).กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร.ปริญญำมหำบัณฑิต สำขำวิชำ บริ ห ำรกำรศึ ก ษำ ภำควิ ชำนโยบำยกำรจั ด กำรและควำมเป็ น ผู้ น ำทำงกำรศึ ก ษำ คณะครุ ศ ำสตร์ จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. เรวณี ชัยเชำวรัตน์.(2556).ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(Professional Learning Community: PLC) วำรสำร ครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์.10(1),34-46. สว่ำงนภำ ต่วนภูษำ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในสถาบันอุดมศึกษา. ปริญญำบริหำรธุรกิจมหำบัณฑิต สำขำวิชำระบบสำรสนเทศ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี อนุสรำ สุวรรณวงศ์.(2016). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการศึกษาไทย.วำรสำร ปัญญำภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1:163-175. อัญชลีพร หล่อสุวรรณกุล. (2554). การประเมินความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชีย งใหม่ จัง หวัดเชี ย งใหม่ . ปริ ญญำบริ ห ำรธุ ร กิ จมหำบั ณ ฑิ ต บั ณ ฑิ ต วิทยำลัย มหำวิทยำลัยเชียงใหม่. Cheng-Sian Chang, Tzung-Shi Chen and Hsiu-Ling Hsu. (2012). “The Implications of Learning Cloud for Education: From the Perspectives of Learners.” 2012 Seventh IEEE International Conference on Wireless, Mobile and Ubiquitous Technology in Education. IEEE Computer Society. Hord S. (1997).Professional learning communities: communities of continuous inquiry and improvement. Southwest Educational Development Lab, Austin:TX.

654


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Veera Bhatiasevi,Michael Naglis. (2015). “Investigating the structural relationship for the determinants of cloud computing adoption in education”. Springer Science+Business Media New York 2015

655


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUP-05

การพัฒนาทักษะการใช้แป้นพิมพ์ภาษาไทยด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคาพื้นฐาน สาหรับนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 1 DEVELOPMENT OF THAI KEYBOARD USING SKILL WITH PROGRAM OF THAI SUBJECT IN THE TOPIC BASIC WORDS FOR PRIMARY 1 นุชจรีย์ คำโมรี1, ศิรภัสสร์ อินทรพำณิชย์2 1

นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ประจาสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

2

บทคัดย่อ กำรใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประสิทธิภำพนั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะพื้นฐำนในเรื่องกำรใช้เมำส์และแป้นพิมพ์ ผู้วิจัยจึงได้สร้ำงโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้น โดยกำรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ ภำษำไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนกลุ่มสำระกำรเรียนรู้ ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน กลุ่มตัวอย่ำงในกำรวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนฝำย จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 16 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจำะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 2) แบบ ประเมินทักษะกำรอ่ำนออก เขียนได้ เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 จำกสถำบันภำษำไทย ผลกำรวิจัย พบว่ำ กำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เรื่อง คำพื้นฐำน ที่สร้ำงขึ้นมีประสิทธิภำพ 80.02 / 81.33 ซึ่งเป็นไปตำมเกณฑ์ประสิทธิภำพที่กำหนดไว้ ผู้เรียนที่ใช้โปรแกรม สำเร็จรูปแล้วมีค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 0.5612 ซึ่งหมำยควำมว่ำผู้เรียนมีทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทยเพิ่มขึ้น 0.5612 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.12 และจำกกำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้ จำกแบบประเมินทักษะของ สถำบันภำษำไทย พบว่ำ ค่ำเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่ำค่ำเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : โปรแกรมสาเร็จรูป ,ทักษะการใช้แป้นพิมพ์ภาษาไทย ,คาพื้นฐานภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 Abstract To use the computer to be effective. Learners must have basic skills in using the mouse and keyboard. Researchers have created software packages. The purposes of this study were : 1) to develop key board using for primary 1 2) to make a comparison between achievement of pre and post learning of Thai subject in the topic: basic words for primary 1. A sample was selected from 16 students in primary 1 of Ban Fai school, Chaiyaphum province. A sample of this case were drawn from primary 1 using purposive sampling method. Due to development of basic skill in learning of computer , research tools were: 1) development of Thai

656


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

key board using skill program of basic words for primary1 2) assessment form of reading, writing skill in topic basic words for primary1 from Thai institution. The results of the study were as follows: The software packages indicated that the effective of Thai key board using skill program of basic words for primary1 was 80.02 / 81.33 which was followed with effective rubric. Learners using the software program had a performance index of 0.5612, which means that the learners' skills in using Thai keyboard increased 0.5612 , calculated as 56.12%. In addition from an achievement comparision by using assessment form of reading, writing skill in topic basic words for primary1 was found that score of post-learning average higher than score of pre-learning average which was statistically significant at .05 level. Keywords : Software packages , Thai key board using skill , Thai subject in the topic basic words for primary 1 บทนา ประเทศไทยให้ควำมสำคัญกับกำรส่งเสริมกำรอ่ำนและกำรเรียนรู้มำเป็นระยะเวลำนำน โดยมีหน่วยงำน ทั้งภำครัฐบำลและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมเกี่ยวกับหนังสือและกำรรณรงค์ส่งเสริมกำรอ่ำน รัฐบำลมีกำรกำหนด นโยบำยด้ำนกำรอ่ำนอย่ำงต่อเนื่อง รวมทั้งพระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กล่ำวถึงคุณลักษณะ นิสัยด้ำนกำรอ่ำนโดยตรงในมำตรำ 24 วรรค 3 กำหนดให้มี “จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จำกประสบกำรณ์จริง ฝึกกำรปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักกำรอ่ำนและเกิดกำรใฝ่รู้อย่ำงต่อเนื่อง” นอกจำกนั้นได้กำหนดปัจจัย ส่งเสริมสนับสนุนกำรอ่ำนและกำรเรียนรู้ เช่น มำตรำ 7 กล่ำวว่ำ “กระบวนกำรเรียนรู้มุ่งให้นักเรียนมีควำมคิดริเริ่ม สร้ำงสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่ำงต่อเนื่อง” มำตรำ 23 วรรค 4 เน้นควำมรู้และทักษะด้ำนภำษำ“เน้นกำร ใช้ภำษำไทยอย่ำงถูกต้อง”ตลอดจนนโยบำยด้ำนกำรศึ กษำ ได้แก่ นโยบำยกำรปฏิรูปกำรศึกษำในแผนพัฒนำ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ ฉบั บที่ 12 (พ.ศ.2560 -2564) ถือเป็นแผนแม่ บทหลั กในกำรพั ฒนำประเทศที่ไ ด้ ประกำศในรำชกิจจำนุเบกษำเป็นกฎหมำยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลำคม 2559 ถึงวันที่ 31 กันยำยน 2564 นั้น กระทรวงศึกษำธิกำรในฐำนะหน่วยงำนหลักในภำคกำรจัดกำรศึกษำเพื่อพัฒนำคุณภำพคนของประเทศได้ตระหนัก ถึงควำมสำคัญดังกล่ำว ภำยใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งพัฒนำผู้เรียนให้มีควำมรู้คู่คุณธรรม มีคุณภำพชีวิตที่ดี มีควำมสุขใน สังคม” ของแผนพัฒนำกำรศึกษำของกระทรวงศึกษำธิกำรฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ฉบับนี้ จึงได้มีกำร กำหนดยุทธศำสตร์และวำงเป้ำหมำยที่สำมำรถตอบสนองกำรพัฒนำที่สำคัญในด้ำนกำรพัฒนำศักยภำพของผู้เรียนที่ เป็นเป้ำหมำยโดยรวม คือ คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ สำมำรถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีควำมเป็น พลเมือง ตื่นรู้ ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นนวัตกรรมสร้ำงสรรค์ทำงสังคม มีควำมสุขทั้งมิติทำงกำย ใจ สังคมและ จิตวิญญำณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีควำมเป็นไทย และมีควำมสำมำรถเชิงกำรแข่งขันในเวทีโลกได้อย่ำงมีศักดิ์ศรี และ ยังส่งเสริมให้สถำนศึกษำและหน่วยงำนทำงกำรศึกษำทุกระดับทุกประเภทกำรศึก ษำเข้ำถึงทรัพยำกร และระบบ เครือข่ำยเทคโนโลยีสำรสนเทศอย่ำงทั่วถึงและมีประสิทธิภำพ ซึ่งในปัจจุบันระบบกำรศึกษำกำลังเปลี่ยนแปลงไป ตำมกำรพัฒนำกำรทำงเทคโนโลยี ทำให้ต้องอำศัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ำมำเป็นสื่อกลำงเพื่อเพิ่มควำมสอดคล้อง ระหว่ำงกำรเรียนรู้ กำรอ่ำน กำรเขียน และพัฒนำบทบำทกำรเรียนกำรสอนเพื่อให้เท่ำทันกับควำมทันสมัยในยุค

657


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

โลกำภิวัตน์โดยกำรใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในกำรเรียนกำรสอน กำรใช้สื่อไอซีทีเพื่อบูรณำกำรกำรเรียนกำร สอน หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในกำรเพิ่มประสิทธิภำพของผู้เรียน ให้ก้ำวเข้ำสู่กำรพัฒนำเศรษฐกิจและสังคมยุค 4.0 ปัจจุบันสถำนศึกษำต่ำง ๆ จัดให้มีกำรจัดกำรเรียนกำรสอนวิชำคอมพิวเตอร์มำกขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่ใน ระดับอนุบำลหรือชั้นประถมศึกษำตอนต้นกันแล้ว ผู้เรียนจึงเกิดควำมสนใจในกำรใช้งำนคอมพิวเตอร์เป็นอย่ำงมำก ทำให้ขำดกำรเอำใจใส่กำรเรียนกำรสอนในวิชำอื่น ๆ มีควำมสนุกสนำนในกำรใช้เทคโนโลยีเป็นอย่ำงมำก ทำให้เกิด สภำวะกำรณ์ ก ำรอ่ ำ นเพื่ อ กำรเรี ย นรู้ ล ดน้ อ ยลง ซึ่ ง สวนทำงกั บ กำรพั ฒ นำตำมแผนพั ฒ นำกำรศึ ก ษำของ กระทรวงศึกษำธิกำรฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ครูจึงมีบทบำทสำคัญอย่ำงยิ่งที่จะใช้เทคโนโลยีที่ได้รับมำใช้ให้ เกิดขึ้นกับผู้เรียนมำกที่สุด พร้อมทั้งต้องทำหน้ำที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนให้พัฒนำตนเองให้ได้เต็มศักยภำพ และกำร ใช้คอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภำพนั้น ผู้เรียนควรมีทักษะพื้นฐำนบำงประกำรโดยเฉพำะทักษะกำรป้อนข้อมูลให้ คอมพิวเตอร์ เช่น กำรใช้เมำส์และแป้นพิมพ์ หำกผู้เรียนมีทักษะในกำรใช้อุปกรณ์ดังกล่ำว ก็จะช่วยให้ประสิทธิภำพ ในกำรใช้งำนคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นมำก โดยเฉพำะทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ซึ่งแต่ก่อนเป็นทักษะเฉพำะอำชีพเลขำนุกำร หรือพนักงำนพิมพ์ดีดเท่ำนั้น แต่ปัจจุบันได้กลำยเป็นทักษะสำหรับทุกคนไปแล้ว เพรำะทักษะดังกล่ำวจะช่วยให้กำร ทำงำนคอมพิวเตอร์สะดวกมำกขึ้น สำมำรถป้อนข้อมูลข่ำวสำรได้มำกและแม่นยำด้วยเวลำที่น้อยลง ซึ่งเท่ำกับช่วย ลดเวลำในกำรใช้งำนคอมพิวเตอร์ ลดควำมเหนื่อยล้ำเบื่อหน่ำยของผู้เรียนซึ่งส่งผลต่อควำมต้องกำรในกำรเรียนรู้ จำกเหตุผลและสภำพปัญหำดังกล่ำว ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในกำรพัฒ นำทักษะทำงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน ตั้งแต่เริ่มเรียนคอมพิวเตอร์ครั้งแรก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะและพัฒนำเป็นควำมชำนำญสำมำรถนำไปใช้งำนในด้ำน ต่ำง ๆ ได้อย่ำงมีประสิทธิภำพและประสิทธิผลต่อตนเองและผู้อื่นมำกยิ่งขึ้น จึงบูรณำกำรกำรเรียนรู้กำรอ่ำน กำร เขียน ควบคู่ไปกับกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับ (ปิยนัยน์ ภู่เจริญ. 2553 : 55) พบว่ำ นักเรียนกลุ่มทดลองหลังจำกกำรเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แป้นพิมพ์อักษรแสนสนุก มีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูงกว่ำก่อนเรีย นอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.5 แสดงว่ำ กำรเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้ำงขึ้น สำมำรถช่วยให้นักเรียนเกิดกำรเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรียนดีขึ้น สำหรับนักเรียนที่เรียนในระดับปำนกลำงและเก่ง ได้รับกำรฝึกทักษะให้มีควำมชำนำญเพิ่มมำกขึน้ และเป็นแนวทำงในกำรพัฒนำทักษะในด้ำนอื่น ๆ ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มสำระกำรเรียนรูภ้ ำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ขอบเขตการวิจัย กำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน เป็นกำรส่งเสริมกำรฝึกทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โดยมีกำรประเมิน คุณภำพจำกผู้เชี่ยวชำญ และหำประสิทธิภำพของโปรแกรมจำกผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่ำงทั้ง 3 กลุ่ม (Try Out) ก่อนนำไปทดลองใช้จริงกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่ำง โดยอำศัยเนื้อหำในกำรพัฒนำ ประกอบด้วย 1) ทักษะกำรใช้ แป้นพิมพ์ภำษำไทยตำมหลักกำรใช้แป้นพิมพ์ดีดภำษำไทยเบื้องต้น 2) บัญชีคำพื้นฐำนระดับประถมศึกษำปีที่ 1

658


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำนวนทั้งสิ้น 708 คำ จำกสำนักวิชำกำรและมำตรฐำนกำรศึกษำ สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน และกำหนดระยะเวลำในฝึกทักษะ 30 นำทีต่อครั้ง บทเรียนละ 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 18 บทเรียน วิธีดาเนินการวิจัย กำรวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบกำรทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีกำรทดสอบก่อนและหลังกำรทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชำกร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 – 6 ที่กำลังศึกษำอยู่ในโรงเรียนบ้ำนฝำย ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 จำนวนทั้งสิ้น 60 คน 2. กลุ่มตัวอย่ำง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ที่กำลังศึกษำอยู่ในโรงเรียนบ้ำนฝำย ภำคเรียน ที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจำะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาค้นคว้า 1. โปรแกรมสำเร็จรูป แบบปฏิสัมพันธ์ในกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 เรื่อง คำพื้นฐำน จำนวน 708 คำ ซึ่งใช้หลักกำรพัฒนำตำมขั้นตอนกำรพัฒนำโปรแกรมของ ADDIE MODEL มีกำรประเมินคุณภำพจำกผู้เชี่ยวชำญ และหำประสิทธิภำพของโปรแกรมจำกผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่ำงทั้ง 3 กลุ่ม (Try Out) ก่อนนำไปทดลองใช้จริงกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่ำง โดยแบ่งเนื้อหำในโปรแกรมเป็น สัดส่วนดังต่อไปนี้ 1.1 แบบทดสอบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) แบบพิมพ์คำพื้นฐำนที่ปรำกฏบนหน้ำจอ 2) แบบพิมพ์คำ พื้นฐำนจำกเสียงที่ได้ยินในโปรแกรม ซึ่งผู้วิจัยใช้เป็นแบบทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน 1.2 บทเรียนกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย จำนวน 18 บทเรียน รวมทั้งมีแบบฝึกบทเรียนในแต่ละ บทเรียน เพื่อฝึกทักษะให้ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดให้ฝึกบทเรียนละ 3 ครั้ง 1.3 เกมฝึกพิมพ์ ใช้เสริมแรงให้แก่ผู้เรียนหลังจำกที่ผู้เรียนศึกษำเรียนรู้บทเรียนผ่ำนเกณฑ์กำร ประเมินในแต่ละครั้งเรียบร้อยแล้ว 2. แบบประเมินทักษะกำรอ่ำนออก เขียนได้ เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โดยผู้วิจัย ใช้แบบทดสอบจำกเครื่องมือสำหรับกำรวัดและประเมินผลควำมสำมำรถในกำรอ่ำน และควำมสำมำรถในกำรเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 จำกสถำบันภำษำไทย สำนักวิชำกำรและมำตรฐำนกำรศึกษำ สำนักงำน คณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ฉบับภำคเรียนที่ 2 เดือนพฤศจิกำยน 2) ฉบับภำค เรียนที่ 2 เดือนกุมภำพันธ์ กรอบแนวคิดในการพัฒนาโปรแกรมตามขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมของ ADDIE MODEL ขั้น กระบวนการ ผลลัพธ์ A Analysis - วิเครำะห์ผู้เรียน - ทักษะพื้นฐำนกำรใช้งำนคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 - วิเครำะห์เนื้อหำ - กลุ่มสำระภำษำไทยทักษะกำรอ่ำนออก เขียน ได้ ของนักเรียน - วิเครำะห์เทคนิคกำรบูรณำกำร - กำรใช้เทคโนโลยีเข้ำไปพัฒนำกำรอ่ำนออก เขียนได้ของนักเรียน

659


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ขั้น D Design

D Development

I Implement

กระบวนการ - กำรออกแบบบทเรียน - กำรออกแบบผังงำน - กำรออกแบบหน้ำจอภำพ - กำรเตรียมองค์ประกอบ - กำรสร้ำงโปรแกรมสำเร็จรูปด้วย โปรแกรม Construct 2 - กำรสร้ำงเอกสำร - กำรนำไปหำควำมสอดคล้อ งโดย ผู้เชี่ยวชำญ - กำรหำประสิทธิภำพและ ประสิทธิผลของโปรแกรม - นำไปใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่ำง

SRRU NCR2018

ผลลัพธ์ - แบบทดสอบ สื่อ วัตถุประสงค์ เนื้อหำ - แผนผังกำรไหลของสื่อ - รูปแบบ Storyboard - โปรแกรมฝึกทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1

- กำ รป รั บ ปรุ งแ ก้ ไ ขตำ ม ค ำแ นะ น ำ ของ ผู้เชี่ยวชำญ - ปัญหำและกำรแก้ไขปัญหำจำกกำรทดลองกับ ผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่ำง E Evaluation - ผลจำกกำรนำไปใช้ เก็บข้อมูลมำประเมินผล ตำมวัตถุประสงค์ของงำนวิจัย จำกผลกำรพัฒนำตำมกระบวนกำรดังกล่ำวจึงได้ดำเนินกำรเก็บรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่ำงต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินกำรทดลองกับกลุ่มตัวอย่ำง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนบ้ำนฝำย จังหวัด ชัยภูมิ ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 มีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นเตรียมกำรเก็บรวบรวมข้อมูล 1.1 ผู้วิจัยได้ทำกำรขอควำมอนุเครำะห์จำกโรงเรียนบ้ำนฝำย สำหรับกำรศึกษำและทดลองใช้ โปรแกรมกำรฝึกทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 1.2 จัดเตรียมห้องปฏิบัติกำรคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบอุปกรณ์ต่ำง ๆ ให้อยู่ในสภำพพร้อมใช้ งำน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรม แป้นพิมพ์ เมำส์ หูฟัง ลำโพง 1.3 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำกแบบประเมินทักษะกำรอ่ำนออก เขียนได้ เรื่อง คำ พื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้เครื่องมือสำหรับกำรวัดและประเมินผลควำมสำมำรถในกำรอ่ำน และ ควำมสำมำรถในกำรเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 จำกสถำบันภำษำไทย สำนักวิชำกำรและมำตรฐำน กำรศึกษำ สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน ฉบับภำคเรียนที่ 2 เดือนพฤศจิกำยน จำกนั้นเก็บรวบรวม ข้อมูลเพื่อใช้ในกำรวิเครำะห์ผลในลำดับต่อไป 2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล 2.1 ให้ผู้เรียนตรวจสอบโปรแกรมตำมที่ได้จัดเตรียมไว้ พร้อมตรวจเช็คอุปกรณ์อีกครั้ง 2.2 ผู้วิจัยอธิบำยกำรขั้นตอนและวิธีกำรใช้งำนของโปรแกรมฝึกทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย และข้อตกลงกำรใช้งำน รวมทั้งเปิดโอกำสให้ผู้เรียนถำมข้อสงสัยในกำรใช้โปรแกรมก่อนกำรใช้งำนจริง 2.3 ให้ผู้วิจัยเริ่มใช้งำนจริง โดยเริ่มจำกแบบทดสอบก่อนเรียน จนจบกระบวนกำรวิจัยโดยมีผู้วิจัย กำกับ ดูแล ติดตำม อย่ำงสม่ำเสมอพร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในกำรวิเครำะห์ผลในขั้นตอนต่อไป 3. ขั้นหลังกำรฝึกทักษะจำกโปรแกรมสำเร็จรูป

660


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3.1 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำกแบบประเมินทักษะกำรอ่ำนออก เขียนได้ เรื่อง คำ พื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โดยใช้เครื่องมือสำหรับกำรวัดและประเมินผลควำมสำมำรถในกำรอ่ำน และ ควำมสำมำรถในกำรเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 จำกสถำบันภำษำไทย สำนักวิชำกำรและมำตรฐำน กำรศึกษำ สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน ฉบับภำคเรียนที่ 2 เดือนกุมภำพันธ์ หลังจำกจบ กระบวนกำรทดลอง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทุกส่วนเพื่อนำไปใช้ในกำรวิเครำะห์ข้อมูลเป็นลำดับต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำกำรเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมำวิเครำะห์ผล โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ กำรหำค่ำเฉลี่ย กำรหำค่ำ ร้อยละ กำรหำค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำน กำรหำค่ำประสิทธิภำพและประสิทธิผลของโปรแกรม กำรหำค่ำ T – Test และนำกำรวิเครำะห์ที่ได้มำประเมินผลเป็นคุณภำพผู้เรียน ผลการวิจัย จำกกำรใช้โปรแกรมฝึกทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน เก็บรวบรวมข้อมูลจำกกลุ่ม ตัวอย่ำง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ปรำกฎผลดังตำรำงต่อไปนี้ 1. กำรเก็บรวบรวมข้อมูลจำกผู้เชี่ยวชำญเพื่อประเมินค่ำควำมสอดคล้องในภำพรวมทุกองค์ประกอบ ของโปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำนในระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 พบว่ำ ค่ำ ควำมสอดคล้องในภำพรวมทุกองค์ป ระกอบของโปรแกรม มีค่ำคะแนนเฉลี่ยเท่ำกับ 4.18 และมีค่ำเบี่ยงเบน มำตรฐำนเฉลี่ยเท่ำกับ 0.34 และแปลผลกำรประเมินค่ำควำมสอดคล้องของโปรแกรมอยู่ในระดับ ดี ดังตำรำงที่ 1.1 ตำรำง 1.1 ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกำรประเมินควำมสอดคล้องของของโปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้ แป้นพิมพ์ภำษำไทย ผู้เชี่ยวชาญ ด้ำนคุณภำพ ด้ำนเนื้อหำ ด้ำนเทคนิค ภาพรวม

N 3 3 3 3

4.07 4.07 4.40 4.18

S.D. 0.31 0.41 0.30 0.34

ระดับความคิดเห็น ดี ดี ดี ดี

2. จำกกำรทดลองใช้โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้น ประถมศึกษำปีที่ 1 เพื่อใช้หำค่ำประสิทธิภำพของโปรแกรม E1/E2 ในผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่ำงทั้ง 3 ครั้ง ให้ได้ตำม เกณฑ์ของสื่อปฏิสัมพันธ์ที่ 80/80 พบว่ำ ผลทดสอบของกลุ่มเดี่ยว (1:3) มีค่ำคะแนนก่อนเรียนเท่ำกับ 11.67 ค่ำ คะแนนหลังเรียนเท่ำกับ 22.33 เมื่อนำข้อมูลกรอกลงในโปรแกรมช่วยกำรวิเครำะห์ประสิทธิภำพและประสิทธิผล ของนวัต กรรม (โดยนำยปกรณ์ ประจัญ บำน และพั ฒนำเพิ่ มเติ มโดย นำยศัก ดิ์สิ ทธิ์ วัชรำรั ตน์ ) ได้ค่ ำคะแนน ประสิทธิภำพเท่ำกับ 64.26/74.44 มีค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 0.5818 และร้อยละค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 58.18 ซึ่งแปลค่ำเท่ำกับยังไม่เป็นไปตำมเกณฑ์ของสื่อที่กำหนดไว้ และผลทดสอบของกลุ่มแบบกลุ่ม (1:9) มีค่ำ คะแนนก่อนเรียนเท่ำกับ 14.22 ค่ำคะแนนหลังเรียนเท่ำกับ 23.56 เมื่อนำข้อมูลกรอกลงในโปรแกรมช่วยกำร วิเครำะห์ประสิทธิภำพและประสิทธิผลของนวัตกรรม ได้ค่ำคะแนนประสิทธิภำพเท่ำกับ 74.94/78.52 มีค่ำดัชนี ประสิทธิผลเท่ำกับ 0.5915 และร้อยละค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 59.15 แปลค่ำเท่ำกับยังไม่เป็นไปตำมเกณฑ์ของ

661


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สื่อที่กำหนดไว้ และผลทดสอบของกลุ่มภำคสนำม (1:25) มีค่ำคะแนนก่อนเรียนเท่ำกับ 10.56 ค่ำคะแนนหลังเรียน เท่ำกับ 24.40 เมื่อนำข้อมูลกรอกลงในโปรแกรมช่วยกำรวิเครำะห์ประสิทธิภำพและประสิทธิผลของนวัตกรรม ได้ค่ำ คะแนนประสิทธิภำพเท่ำกับ 80.02/81.33 มีค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 0.7119 และร้อยละค่ำดัชนีประสิทธิผล เท่ำกับ 71.19 แปลค่ำเท่ำกับเป็นไปตำมเกณฑ์ของสื่อปฏิสัมพันธ์ที่กำหนดไว้ ดังตำรำงที่ 1.2 ตำรำง 1.2 ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกำรหำประสิทธิภำพของโปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 (n=16) การทดสอบ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน ค่ำประสิทธิภำพ ค่ำดัชนีประสิทธิผล ร้อยละค่ำดัชนีประสิทธิผล

กลุ่มเดี่ยว (1:3) 11.67 22.33 64.26 / 74.44 0.5818 58.18

แบบกลุม่ (1:9) 14.22 23.56 74.94 / 78.52 0.5915 59.15

ภาคสนาม (1:25) 10.56 24.40 80.02 / 81.33 0.7119 71.19

3. ผลกำรวิ เ ครำะห์ ข้ อ มู ล แสดงค่ ำ เฉลี่ ย คะแนนก่ อ นเรี ย นและค่ ำ เฉลี่ ย คะแนนหลั งเรี ยนเพื่ อ ใช้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้ของผู้เรียน จำกกำรใช้โปรแกรมฝึกทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 พบว่ำ ผลกำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 มีค่ำเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่ำค่ำเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนด้วยกำรใช้โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำนภำษำไทย อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 และมีค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 0.5612 ซึ่งหมำยควำมว่ำผู้เรียนมีทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทยเพิ่มขึ้น 0.5612 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.12 ดังตำรำงที่ 1.3 ตำรำง 1.3 แสดงผลกำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้กำรใช้โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำนภำษำไทย (n=16) คะแนน ก่อนเรียน หลังเรียน

คะแนนเต็ม 30 30

6.50 19.69

S.D.

ดัชนีประสิทธิผล

ร้อยละดัชนี ประสิทธิผล

3.29 6.39

0.5612

56.12

4. ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้ ทักษะกำรอ่ำนออก เขียน ได้ เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ด้วยเครื่องมือสำหรับกำรวัดและประเมินผลควำมสำมำรถในกำร อ่ำน และควำมสำมำรถในกำรเขียน พบว่ำ กำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษำปี ที่ 1 มีค่ำเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่ำค่ำเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 ดังตำรำงที่ 1.4

662


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตำรำง 1.4 ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรู้ ทักษะกำรอ่ำนออก เขียนได้ (N=16) คะแนน คะแนนเต็ม ก่อนเรียน 40 หลังเรียน 40 * มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ .05

14.94 30.75

S.D. 6.76 8.58

t

Sig

16.97

0.0000

สรุปผลการวิจัย โปรแกรมสำเร็จรูปที่ผู้วิจัยได้สร้ำงขึ้นเพื่อพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 เมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่ำง เก็บข้อมูลใน กำรวิจัย วิเครำะห์ข้อมูลและนำมำสรุปผล ได้ดังต่อไปนี้ 1. กำรประเมินคุณภำพของโปรแกรมพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่ มสำระกำรเรียนรู้ ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชำญทำงด้ำนคุณภำพ ด้ำนเทคนิค และ ด้ำนเนื้อหำในภำพรวม มีค่ำเฉลี่ยรวมเท่ำกับ 4.18 ค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำนเท่ำกับ 0.34 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้ กำหนดไว้ พบว่ำอยู่ในเกณฑ์ ดี 2. ประสิทธิภำพของโปรแกรมพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 มีประสิทธิภำพ E1 / E2 : 80.02 / 81.33 ซึ่งเป็นไปตำม เกณฑ์ประสิทธิภำพที่กำหนดไว้ 3. จำกกำรศึกษำกำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรียนรู้ เรื่อง ทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 พบว่ำ ค่ำเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่ำค่ำเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน อย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 และมีค่ำดัชนีประสิทธิผลเท่ำกับ 0.5612 ซึ่งหมำยควำมว่ำผู้เรียนมีทักษะกำรใช้ แป้นพิมพ์ภำษำไทยเพิ่มขึ้น 0.5612 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.12 4. จำกกำรเปรี ยบเทีย บผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรีย นรู้ ทัก ษะกำรอ่ ำนออก เขี ยนได้ เรื่อ ง ค ำพื้น ฐำน ระดั บ ชั้ น ประถมศึ ก ษำปี ที่ 1 จำกเครื่ อ งมื อ ส ำหรั บ กำรวั ด และประเมิ น ผลควำมสำมำรถในกำรอ่ ำ น และ ควำมสำมำรถในกำรเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 พบว่ำ ค่ำเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่ำค่ำเฉลี่ย คะแนนก่อนเรียน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 อันเป็นผลมำจำกผู้เรียนได้เกิดกำรเรียนรู้ทักษะกำรใช้ แป้นพิมพ์จำกกระบวนกำรฝึกแบบซ้ำไปซ้ำมำ ผ่ำนคำพื้นฐำนที่ปรำกฏในเกมทำให้ผู้เรีย นจดจำคำได้ดียิ่งขึ้นจน สำมำรถเขียนและอ่ำนคำได้อย่ำงถูกต้อง ซึ่งผลกำรเปรียบเทียบที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลได้มีผลสอดคล้องกับกำรวิจัยของ นันทิยำภรณ์ หงส์เวียงจันทร์ (2553 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง กำร ใช้เมำส์และแผงแป้นอักขระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 5 พบว่ำ ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนหลังเรียนสูงกว่ำ ก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05

663


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย จำกผลกำรวิจัยในครั้งนี้ พบว่ำโปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย เรื่ อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 เป็นสื่อกำรเรียนกำรสอนที่สำมำรถนำมำใช้พัฒนำกับผู้เรียนได้ในทุกระดับชั้นเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดทักษะในกำรใช้แป้นพิมพ์ให้ดีมำกยิ่งขึ้น และยังเป็นเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำพื้นฐำนใน ชั้นเรียนได้คล่องมำกยิ่งขึ้น รวมทั้งสำมำรถใช้จัดกำรเรียนกำรสอนให้กับผู้เรียนได้ทุกกลุ่มเป้ำหมำยทั้งในระดับเก่ง ปำนกลำง หรืออ่อน ซึ่งสอดคล้องกับ (ลำจวน กิติ. 2547) ได้วิจัยกำรใช้เกมเพื่อฝึกกำรเขียนสะกดคำยำก สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 3 พบว่ำ ได้แผนกำรเรียนรู้กำรใช้เกมเพื่อฝึกกำรเขียนสะกดคำยำก สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษำปีที่ 3 จำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั้วโมง รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง ซึ่งมีควำมเหมำะสมในกำรสอนกำร เขียนสะกดคำยำกให้แก่นักเรียน และหลังจำกที่นักเรียนได้เรียนโดยใช้แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ใช้เกมแล้ว นักเรียนมี คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.78 ซึ่งสูงกว่ำเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 60 % และ(เสำวนีย์ ชลมำศ. 2550) ได้ศึกษำกำรใช้เกมเป็น สื่อกำรสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์กำรอ่ำนและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดหนอง คอกหมู จังหวัดระยอง พบว่ำ นักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมเป็นสื่อกำรสอนอ่ำนมีคะแนนกำรอ่ำนสะกดคำหลังเรียนสูง กว่ำก่อนเรียนอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 และ นักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมเป็นสื่อกำรสอนเขียนสะกดคำ หลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียนอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเพื่อนาผลการวิจัยไปใช้ 1. โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำ พื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 เหมำะสมกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เป็นทักษะพื้นฐำนในกำรเรียนวิชำ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น รวมทั้งใช้กับผู้เรียนที่สนใจพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ที่ถูกวิธี เพื่อให้สำมำรถใช้แป้นพิมพ์ได้ ดียิ่งขึ้น 2. โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำ พื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 สำมำรถนำมำช่วยในกำรจัดกำรเรียนกำรสอนเสริมให้กับผู้เรียนในเรื่อง แป้นพิมพ์ได้โดยให้ผู้เรียนศึกษำด้วยตนเองจำกโปรแกรม ในทุกช่วงเวลำที่ผู้เรียนว่ำงจำกกิจกรรมอื่นๆ ใช้เป็นสื่อ สำหรับผู้เรียนที่สำมำรถเรียนรู้ได้ตลอด 3. โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 สำมำรถนำไปเผยแพร่ให้กับผู้เรียน ครูผู้สอน และสถำนศึกษำอื่นที่มีควำมต้องกำร พัฒนำผู้เรียนในด้ำนทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทยให้เพิ่มมำกขึ้นนำเสนอผลกำรวิจัยที่เด่นชัดสมควรนำไปใช้ ประโยชน์อย่ำงไร และแนวทำงกำรวิจัยต่อไป ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. โปรแกรมกำรพัฒนำทั กษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำ พื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนำขึ้นสำมำรถนำไปพัฒนำเป็นกำรจัดกำรเรียนกำรสอนด้วยเกม เรื่อง คำพื้นฐำนในระดับชั้นต่ำง ๆ เพื่อส่งเสริมกำรเรียนรู้คำพื้นฐำนให้ดียิ่งขึ้น 2. โปรแกรมกำรพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำ พื้นฐำน ระดับชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นกำรเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่ำงดี ผู้วิจัยควรต่อยอด

664


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

งำนวิจัยด้วยกำรใช้คำพื้นฐำนในระดับชั้นอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมทั้งสำมำรถให้เป็นฐำนกำรสร้ำงโปรแกรมสำหรับกลุ่ม สำระอื่นได้ กิตติกรรมประกาศ โปรแกรมพัฒนำทักษะกำรใช้แป้นพิมพ์ภำษำไทย กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย เรื่อง คำพื้นฐำน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 นี้สำเร็จได้ด้วยดี ผู้วิจัยได้รับควำมกรุณำให้ข้อคิดเห็น คำแนะนำ ช่วยเหลือ เกี่ยวกับวิธีในกำรจัดทำวิจัย ช่วยแก้ไขปัญหำต่ำง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่ำงจัดทำ กำรเรียบเรียงข้อมูลต่ำง ๆ รวมทั้ง ตรวจสอบควำมถูกต้องของโปรแกรมจำกท่ำน อำจำรย์ศิรภัสสร์ อินทรพำณิชย์ อำจำรย์ที่ปรึกษำงำนวิจัย ขอขอบพระคุณ ผู้เชี่ ยวชำญทุก ท่ำ น ได้แ ก่ ดร.อภิ ช ำติ พรหมฝำย ที่ใ ห้ค วำมอนุ เครำะห์ในกำรให้ คำแนะนำด้ำนเทคนิค และตรวจสอบควำมถูกต้อง นำงศิริลักษณ์ พิมพ์ลำศรี ที่สละเวลำให้คำแนะนำ ตรวจสอบ ควำมถูกต้องด้ำนควำมสอดคล้องในเนื้อหำและกำรสร้ำงโปรแกรม ขอขอบพระคุณ นำยอภิวัฒน์ วงศ์กัณหำ และครู อั๋น ใจดี ที่สละเวลำในกำรให้ คำแนะนำ ช่วยเหลือ ในกำรใช้โปรแกรม Construct 2 เพื่อสร้ำงสื่อที่ใช้ในกำรวิจัย นำงบรรเลง เทียมกระโทก ที่สละเวลำให้คำปรึกษำด้ำนกำรแปลภำษำและถ้อยคำเป็นภำคภำษำอังกฤษ ทำให้ งำนวิจัยสมบูรณ์ขึ้น ขอขอบคุณ ผู้บริหำร คณะครู บุคลำกรในโรงเรียนทุกท่ำน และนักเรียนโรงเรี ยนบ้ำนฝำย ตำบลหนอง ขำม อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภู มิ ที่ให้ควำมอนุเครำะห์ในกำรทดลองเครื่องมือในกำรวิจัยครั้งนี้จนบรรลุ วัตถุประสงค์งำนวิจัย ควำมสำเร็จและควำมภำคภูมิใจอันเกิดจำกงำนวิจัยฉบับนี้ เป็นผลมำจำกควำมมำนะ อุตสำหะและพลัง ใจที่ผู้วิจัยได้รับจำกบิดำ มำรดำ ญำติพี่น้องและมิตรสหำยทั้งหลำย คุณค่ำและประโยชน์อันพึงมีจำกงำนวิจัยฉบับนี้ ขอมอบให้เป็นเครื่องบูชำพระคุณแด่บิดำ มำรดำ รวมทั้งครูอำจำรย์ทุกท่ำนที่ได้ประสิทธิ์ประสำทวิชำควำมรู้แก่ ผู้วิจัยด้วยควำมเคำรพยิ่ง เอกสารอ้างอิง กรมวิชำกำร. (2551),หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ กำรเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กระทรวงศึกษำธิกำร. (2542),คำชี้แจงประกอบพระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ กำรศำสนำ. เกสร วิวัฒนะ.(2556), “กำรพิมพ์ดีดไทยเบื้องต้นด้วยตนเอง” กรุงเทพฯ : คอมพิวเตอร์ เอจ เทคโนโลยี. เกษมณี สุขสมบัติ. (2558),“กำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน วิชำคอมพิวเตอร์ เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ น่ำรู้ ชั้นประถมศึกษำปีที่ 2 ระหว่ำงกำรสอนโดยใช้สื่อ CAI กับกำรสอนปกติ” วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ศึกษำศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรวิจัยทำงกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำมคำแหง. ชำลิชำ ประชุมวรรณ. (2557),“กำรพัฒนำเกมคอมพิวเตอร์ส่งเสริมกำรอ่ำน สำหรับเด็กที่มีควำมบกพร่องทำงกำร เรียนรู้” วำรสำรวิชำกำรแพรวำกำฬสินธุ์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏกำฬสินธุ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภำคม – สิงหำคม. ชัยรัตน์ พงศ์อุดมกุล. (2559), สร้ำงสื่อกำรสอนมัลติมีเดียด้วย Construct 2. เผยแพร่ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : , กรกฎำคม.

665


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ชนธัญ วัฒนสุทธิ์. (2544), “พิมพ์ดีดไทยเบื้องต้น ” วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำมหำบัณฑิต สำขำวิชำหลักสูตร และกำรสอน บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยบูรพำ. นัฏยำ บันดำลสิน. (2553), “กำรสร้ำงบทเรียนมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรม Multipoint Mouse เรื่องกำรสร้ำงสรรค์งำนจำกอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 3” วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ครุศำสตร์อุตสำหกรรมมหำบัณฑิต สำขำวิชำครุศำสตร์เทคโนโลยี คณะครุศำสตร์อุตสำหกรรมและ เทคโนโลยี มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ำธนบุรี. นันทิยำภรณ์ หงส์เวียงจันทร์. (2553),“กำรพัฒนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องกำรใช้เมำส์ และแผงแป้นอักขระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 5” วิทยำนิพนธ์ปริญญำครุศำสตร์มหำบัณฑิต สำขำวิชำหลักสูตรและกำรสอน บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยรำชภัฏนครปฐม. ปิยนัย น์ ภู่ เจริญ . (2553), “กำรพัฒนำบทเรียนคอมพิ วเตอร์ช่วยสอน เรื่อ งแป้น พิมพ์อั กษรแสนสนุก ส ำหรั บ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 1 โรงเรียนอนุบำลลำปำง(เขลำงค์รัตน์อนุสรณ์) ” วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำหลักสูตรและกำรสอน บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยรำชภัฏลำปำง. รพี พ ร ปรุ งสุ ข . (2548), “ผลกำรสอนโดยใช้ บ ทเรีย นส ำเร็ จ รู ป เรื่ อ งอำหำรและสำรอำหำร ของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษำปี ที่ 4” วิท ยำนิ พ นธ์ป ริ ญญำครุศ ำสตรมหำบั ณฑิ ต สำขำวิ ชำหลั ก สูต รและกำรสอน มหำวิทยำลัยรำชภัฏนครสวรรค์. สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์. (2560),“สอนอย่ำงไรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ” กำรออกแบบและกำรวำงแผนกำรจัดกำร เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.

666


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-06

สภาพความเป็นจริง และความคาดหวังต่อคุณลักษณะภาวะผู้นาในศตวรรษที่ 21 ของผู้นานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย REALITY AND EXPECTATIONS OF LEADERSHIP FEATURES IN THE 21ST CENTURY OF STUDENT LEADERS RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY SRIVIJAYA เพ็ญพักตร แกล้วทนงค์1วัลลยำ ธรรมอภิบำล อินทนิน2 และอมลวรรณ วีระธรรมโม3 1

Penpak Gleawtanong สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ sej.eng.rmutsv@gmail.com 2 Wanlaya Thamaphiban Intanin ภาควิชาการประเมินผลและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 3 Amonwan Wirathammo ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้เป็น กำรวิจัยมี วัตถุประสงค์ 4 ประกำร คือ 1) ศึกษำสภำพควำมเป็นจริง และควำม คำดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวัง เกี่ยวกับคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 3) เปรียบเทียบสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังตำมปัจจัย ส่วนบุคคล และ 4) ศึกษำแนวทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัย เทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ดำเนินกำรเก็บข้อมูลกับนักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกรมหำวิทยำลัยเทคโนโลยี รำชมงคลศรีวิชัยโดยใช้แบบสอบถำม จำนวน 390 คน และแบบสัมภำษณ์จำนวน 12 คน วิเครำะห์ข้อมูลจำก แบบสอบถำมใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยกำรหำค่ำควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน กำรทดสอบที กำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนแบบทำงเดียว และกำรทดสอบค่ำเฉลี่ยรำยคู่ด้วยวิธีกำร LSD และวิเครำะห์ข้อมูลจำก แบบสัมภำษณ์โดยกำรวิเครำะห์เนื้อหำ ผลกำรศึกษำพบว่ำ 1) สภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 แตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 โดยสภำพควำมเป็นจริงอยู่ในระดับปำนกลำง ส่วนควำมคำดหวัง อยู่ในระดับมำก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่ำงกันส่วนใหญ่ มีผลต่อระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพควำมเป็นจริง และควำม คำดหวังแตกต่ำงกัน และ 3) แนวทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ ควร สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่ำงๆ ที่ช่วยเพิ่มคุณลักษณะ ปรับทัศนคติ หรือสร้ำงวิสัยทั ศน์ในกำรปฏิบัติงำนของผู้นำ นักศึกษำ ในรูปแบบต่ำงๆ โดยเน้นคุณลักษณะ ด้ำนเชื่อมสำยสัมพันธ์กับคน คุณธรรมนำผลงำน และเปี่ยมวิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่นักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกร มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย มีควำมคำดหวัง เป็นลำดับต้นๆ คำสำคัญ: คุณลักษณะภาวะผู้นาในศตวรรษที่ 21; ผู้นานักศึกษา; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย;

667


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Abstract This research has four objectives: 1) Study the reality and expectation of leadership features in the 21st Century. 2) Compare the reality and expectation of leadership features in the 21st century. 3) Compare reality and expectation by personal factors. And 4) To study development guide leadership features in the 21st century of student leaders Rajamangala University of Technology Srivijaya. The data were collected with students, student leader and staff Rajamangala University of Technology Srivijaya with questionnaire consisted of 390 person. And interview consisted of 12 person. Analysis of data from the questionnaire using software package by finding frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and LSD. And analysis of data from the interviews by analyzes content. The findings of the research were as follows: 1) Reality and expectations for leadership attributes in the century. 21th differently at the .01 level of significance. By opinion about the reality are moderate but expectations high. 2.) Personal factors are different influence the level of opinion on the reality and expectations are different. And 3) Developmental approach leadership features in the 21st century of student leadership should support the activities enhances the attitude or creates the vision of the student leader in various ways. By feature focus human relationship, morality & accountability, and growing-vision. This are a feature that students, student leaders, and Staff, Rajamangala University of Technology Srivijaya Have expectations in the first place. Keywords: Leadership Features in the 21st Century; Student Leader; Rajamangala University of Technology Srivijaya; บทนา กำรจัดกำรศึกษำของประเทศไทยในระดับอุดมศึกษำดำเนินกำรภำยใต้กรอบพระรำช บัญญัติกำรศึกษำ แห่งชำติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (สำนั ก งำนรั บ รองมำตรฐำนและประเมิ น คุ ณ ภำพ กำรศึ ก ษำ (องค์ ก ำรมหำชน). 2547) และกรอบมำตรฐำนคุณวุฒิระดับอุดมศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2552 (เกรียง ศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2559) มุ่งเน้นกำรจัดกำรศึกษำเพื่อพัฒนำคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อม แต่ผลกำรศึกษำ พบว่ำ กำรจัดกำรศึกษำระดับอุดมศึกษำของประเทศไทยกำลังเผชิญภำวะวิกฤติ นักศึกษำขำดภำวะผู้นำ ขำด กระบวนกำรวำงแผน กำรทำงำนเป็นทีม ควำมต้องกำรที่จะเป็นผู้นำ และกำรมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมของสังคมลด น้ อ ยลง (ทบวงมหำวิ ท ยำลั ย .2543) สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ มู ล สะท้ อ นจำกกลุ่ ม ผู้ ใ ช้ บั ณ ฑิ ต สำขำต่ ำ งๆ ของ ทบวงมหำวิทยำลัย (สำเนำว์ ขจรศิลป์. 2539) พบว่ำ คุณภำพของบัณฑิตโดยรวมยังต้องได้รบั กำรพัฒนำ เนื่องจำก ในอนำคตบั ณ ฑิ ต จะต้ อ งมี ทั ก ษะทั้ ง ทำงด้ ำ นวิ ช ำกำร วิ ช ำชี พ และทั ก ษะกำรใช้ ชีวิ ต สำมำรถปรั บ ตั ว รั บ กำร เปลี่ยนแปลงทำงสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทักษะที่สำคัญคือ ทักษะชีวิตและอำชีพ ประกอบด้วยมีควำมเป็นผู้นำ รู้จักกำรปรับตัว รู้จักกำรเข้ำสังคม รับผิดชอบต่อหน้ำที่ มีควำมรอบรู้ หมั่นหำแนวทำงสำหรับพัฒนำแนวทำงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลำ ซึ่งทักษะดังกล่ำวเป็นทักษะที่จำเป็นที่นำไปสู่กำรปฏิบัติงำนที่มีประสิทธิภำพทั้งขณะเป็นนักศึกษำ

668


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

และบัณฑิตก้ำวเข้ำสู่ตลำดแรงงำนในอนำคต ซึ่งกำรพัฒนำนักศึกษำให้มีคุณภำพนั้น ย่อมไม่สำเร็จด้วยกำรศึกษำใน ห้องเรียนเพียงอย่ำงเดียว แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญโดยเฉพำะกิจกรรมนักศึกษำ โดยกำรเปิดให้นักศึกษำมี กำรรวมกลุ่มกันเพื่อริเริ่มโครงกำร วำงแผนกระบวนกำร และดำเนินกำรโครงกำร พร้อมทั้งสรุปปรับปรุงวิธีกำร ดำเนินงำนอยู่เสมอเพื่อให้กำรทำงำนบรรลุตำมเป้ำหมำย เพื่อสร้ำงคุณลักษณะภำวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับนักศึกษำ นอกจำกนี้ผลกำรศึกษำของ สำเนำว์ ขจรศิลป์ (วิจำรณ์ พำนิช. (2555) พบว่ำ ประเทศไทยได้กำหนดให้ภำวะผู้นำ เป็นทักษะในกำรพัฒนำคุณภำพชีวิต สะท้อนให้เห็นว่ำประเทศไทยให้ควำมสำคัญกับทักษะภำวะผู้นำเป็นอย่ำงมำก (ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. 2558) โดยองค์ประกอบสำคัญของภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย 7 คุณลักษณะ คือ คุณธรรมนำผลงำน ประสำนแรงจูงใจ เปี่ยมวิสัยทัศน์ กล้ำตัดสินใจ ว่องไวสื่อสำร ทำงำนมุ่งเป้ำหมำย และเชื่อม สำยสัมพันธ์กับคน (สำนักวิทยบริกำรและเทคโนโลยีสำรสนเทศ. 2559) จำกสภำพปัญหำดังกล่ำว ผู้วิจัยมีควำมสนใจที่จะศึกษำ สภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อ คุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย เพื่อเป็นแนวทำง สำหรับกำรพัฒนำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ให้เป็ นบัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อมก้ำวทันต่อกำร เปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษำสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย 2. เพื่อศึกษำเปรียบเทียบสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะภำวะผู้นำใน ศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย 3. เพื่อศึกษำเปรียบเทียบสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะภำวะผู้นำใน ศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ตำมปัจจัยส่วนบุคคล 4. เพื่อศึกษำแนวทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย สมมติฐานการวิจัย 1. คุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นจริงและคำดหวังของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัย เทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย แตกต่ำงกัน 2. ปั จ จั ย ส่ ว นบุ ค คลของนั ก ศึ ก ษำ ผู้ น ำนั ก ศึ ก ษำ และบุ ค ลำกรที่ ไ ม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ น ำนั ก ศึ ก ษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยที่ต่ำงกัน มีระดับควำมคิดเห็นต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ที่ เป็นจริงและคำดหวังของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย แตกต่ำงกัน ขอบเขตการวิจัย สำหรับขอบเขตกำรวิจัย ผู้วิจัยจึงเลือกใช้คุณลักษณะภำวะผูน้ ำในศตวรรษที่ 21 ตำมแนวคิดของธัญวิทย์ ศรีจันทร์ [7] ซึ่งประกอบด้วย 7 คุณลักษณะ คือ คุณธรรมนำผลงำน ประสำนแรงจูงใจ เปี่ยมวิสัยทัศน์ กล้ำตัดสินใจ ว่องไวสื่อสำร ทำงำนมุ่งเป้ำหมำย และเชื่อมสำยสัมพันธ์กับคน สำหรับกำรศึกษำสภำพควำมเป็นจริง และควำม คำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย

669


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิธีดาเนินการวิจัย กำรวิจัยครั้งนี้เป็นกำรวิจัยแบบผสมผสำน (Mixed Method Research) ประกอบด้วย กำรวิจัยเชิง ปริมำณ และกำรวิจัยเชิงคุณภำพ ซึ่งมีรำยละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินกำรวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กำรวิจัยครั้งนี้แบ่งประชำกร และกลุ่มตัวอย่ำงออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กำรวิจัยเชิงปริมำณ ประชำกร คือ นักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกรมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ทั้ง 6 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่สงขลำ รัตภูมิ ตรัง ไสใหญ่ ทุ่งใหญ่ และขนอม จำนวน 16,069 คน [8] กลุ่มตัวอย่ำง คือ นักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกร มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ทั้ง 6 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่สงขลำ รัตภูมิ ตรัง ไสใหญ่ทุ่งใหญ่ และขนอม จำนวน 390 คน คำนวณหำขนำดกลุ่ม ตัวอย่ำงโดยใช้สูตรของทำโร่ยำมำเน่ที่ระดับควำมคลำดเคลื่อน .05 [9] และดำเนินกำรสุ่มตัวอย่ำงด้วยวิธีแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กำรวิจัยเชิงคุณภำพ ประชำกร คือ นักศึกษำ บุคลำกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรี วิชัยทั้ง 6 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่สงขลำ รัตภูมิ ตรัง ไสใหญ่ ทุ่งใหญ่ และขนอม จำนวน 80 คน [8] กลุ่มตัวอย่ำง คือ บุคลำกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยทั้ง 6 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่สงขลำ รัตภูมิ ตรัง ไสใหญ่ ทุ่งใหญ่ และขนอม จำนวน 12 คน ดำเนินกำรเลือกกลุ่ม ตัวอย่ำงแบบเจำะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่ละ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ประกอบด้วย 1. แบบสอบถำมเพื่อสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ตำมระดับควำมคิดเห็นของนักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และ บุคลำกรที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้นำนักศึกษำ ลักษณะข้อคำถำมแบบมำตรำส่วนประมำณค่ำ (Rating Scale) 5 ระดับ รวมข้อคำถำม 35 ข้อ ผ่ำนกำรตรวจสอบควำมเที่ยงตรงเชิงเนื้อหำโดยผู้เชี่ยวชำญจำนวน 3 คน มีค่ำดัชนีควำม สอดคล้อง (IOC) เฉลี่ยเท่ำกับ 0.94 และนำไปทดลองใช้กับนักศึกษำ ผู้นำนักศึ กษำ และบุคลำกรที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยที่มีคุณสมบัติเหมือนกลุ่มตัวอย่ำง จำนวน 30 คน ได้ค่ำควำม เชื่อมั่นเท่ำกับ 0.90 2. แบบสัมภำษณ์เพื่อศึกษำแนวทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผ่ำนกำร ตรวจสอบควำมเที่ยงตรงเชิงเนื้อหำโดยผู้เชี่ยวชำญจำนวน 3 คน มีค่ำดัชนีควำมสอดคล้อง (IOC) เฉลี่ยเท่ำกับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ วิเครำะห์ข้อมูลจำกแบบสอบถำมใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทำงสถิติ ประกอบด้วย ควำมถี่ (Frequency) และร้ อ ยละ (Percentage) ส ำหรั บ วิเ ครำะห์ปั จ จั ย ส่ วนบุ ค คล ค่ ำ เฉลี่ ย (Mean) และส่ ว นเบี่ย งเบนมำตรฐำน (Standard Deviation) สำหรับวิเครำะห์ระดับควำมคิดเห็นเกี่ยวกับสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อ คุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย กำรทดสอบที (Dependent Sample t-test) กำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนแบบทำงเดียว (One-way ANOVA) และกำรทดสอบ ควำมแตกต่ำงระหว่ำงค่ำเฉลี่ยเป็นรำยคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) สำหรับกำรเปรียบเทียบ

670


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สภำพควำมเป็ น จริ ง และควำมคำดหวั งเกี่ ย วกั บ คุ ณ ลั ก ษณะภำวะผู้ น ำในศตวรรษที่ 21 ของผู้ น ำนั ก ศึ กษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย และกำรเปรียบเทียบสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังเกี่ยวกับ คุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ตำมปัจจัยส่วน บุคคล วิเครำะห์ข้อมูลจำกแบบสัมภำษณ์ ใช้กำรวิเครำะห์เนื้อหำ (Content Analysis) สำหรับกำรสรุปแนว ทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ผลการวิจัย ผลกำรวิจัย สภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำ นักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย สรุปผลได้ดังนี้ 1. นักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกร มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ทั้ง 6 พื้นที่ มีระดับ ควำมคิดเห็นต่อ สภำพควำมเป็นจริงของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยในศตวรรษที่ 21 ระดับปำนกลำง ( = 3.23) และมีระดับควำมคำดหวังอยู่ในระดับมำก ( = 4.29) และเมื่อพิจำรณำรำยด้ำนพบว่ำ สภำพควำมเป็นจริงที่มีค่ำเฉลี่ยต่ำสุด 3 ลำดับแรก คือ ประสำนแรงจูงใจ เปี่ยมวิสัยทัศน์ และว่องไวสื่อสำร และ ระดับควำมคำดหวังที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ เชื่อมสำยสัมพันธ์กับคน คุณธรรมนำผลงำน และเปี่ยม วิสัยทัศน์ นอกจำกนี้ผลจำกกำรสัมภำษณ์ พบว่ำ ผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย จะต้องเป็น คนเก่ง คนดี รู้จักใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศที่เหมำะสม มีทักษะในกำรสร้ำงเครือข่ำยกำรทำกิจกรรมทั้งภำยใน และ ภำยนอกมหำวิทยำลัย 2. สภำพควำมเป็ น จริ ง และควำมคำดหวั งต่ อ คุ ณ ลั ก ษณะภำวะผู้ น ำในศตวรรษที่ 21 ของผู้ น ำ นักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยแตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มตัวอย่ำงที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่ำงกัน ส่วนใหญ่มีระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรี วิชัยแตกต่ำงกัน ยกเว้นกลุ่มตัวอย่ำงที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้ำนเพศ และประสบกำรณ์กำรเป็นผู้นำนักศึกษำต่ำงกัน มี ระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพควำมเป็นไม่แตกต่ำงกัน และกลุ่มตัวอย่ำงที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้ำนสถำนภำพในงำนของ บุคลำกรต่ำงกัน มีระดับควำมคำดหวังไม่แตกต่ำงกัน 4. แนวทำงกำรพั ฒ นำคุ ณ ลั ก ษณะภำวะผู้ น ำในศตวรรษที่ 21 ของผู้ น ำนั ก ศึ ก ษำ มหำวิ ท ยำลั ย เทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ควรส่งเสริมกำรจัดกิจกรรมต่ำงๆ ที่ช่วยเพิ่มคุ ณลักษณะ หรือสร้ำงวิสัยทัศน์ในกำร ปฏิบัติงำนของผู้นำนักศึกษำ ทั้งในรูปแบบของกำรอบรมสัมมนำ กำรศึกษำดูงำน กำรสร้ำงเครือข่ำย กำรจัดกิจกรรม แลกเปลี่ ยนเรียนรู้ โดยเน้นคุ ณลัก ษณะภำวะผู้น ำด้ำ นเชื่ อมสำยสั มพัน ธ์กับ คน คุณธรรมนำผลงำน และเปี่ย ม วิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่นักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกรมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย มี ควำมคำดหวังเป็นลำดับต้นๆ นอกจำกนี้กำรจัดกิจกรรม ควรเน้นให้ผู้นำนักศึกษำมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีกำรพัฒนำ กระบวนกำรอย่ำงต่อเนื่อง และยั่งยืน เริ่มตั้งแต่กระบวนกำรวำงแผน กำรปฏิบัติตำมแผน กำรตรวจสอบ และกำร ปรับปรุงกำรดำเนินกำรอย่ำงเหมำะสม พร้อมนำไปสู่กระบวนกำรวำงแผนเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมำมีคุณภำพได้ มำตรฐำนตรงตำมเป้ำหมำยที่กำหนด ภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยนำเสนอรูปแบบกำรจัดกิจกรรมสำหรับกำร พัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ตั้งแต่ เริ่มต้นจนพ้นสภำพกำรเป็นผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ดังนี้

671


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4.1 ปรับรูปแบบกำรได้มำของตำแหน่งสภำนักศึกษำ องค์กำรนักศึกษำ และสโมสรนักศึกษำ โดย กระตุ้นให้เกิดกำรแข่งขันให้มีทีมสมัครเข้ำรับกำรเลือกตั้งมำกกว่ำ 1 ทีมขึ้นไป 4.2 เปิดเวทีสำหรับกำรแสดงออกของผู้นำนักศึกษำ ตั้งแต่เริ่ม จนสิ้นสุดกำรเป็นผู้นำนักศึกษำ เช่น เวทีสำหรับกำรแถลงนโยบำย เวทีสำหรับกำรนำเสนอผลกำรปฏิบัติ เวทีสำหรับกำรประชำสัมพันธ์ข่ำวสำรกิจกรรม ต่ำงๆ เป็นต้น 4.3 กำรจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะในรูปแบบต่ำงๆ เพื่อช่วยในกำรปรับทัศนคติ หรือสร้ำงวิสัยทัศน์ใน กำรปฏิบัติงำนของผู้นำนักศึกษำ เช่น กำรจัดอบรมสัมมนำ กำรศึกษำดูงำน กำรสร้ำงเครือข่ำยกิจกรรมนักศึกษำ กำรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Show & Share เป็นต้น 4.4 กำรสนับสนุนส่งเสริมโดยให้ผู้นำนั กศึกษำมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่กระบวนกำรวำงแผน นำกระบวนกำรวำงแผนสู่กำรปฏิบัติ ตรวจสอบติดตำมผลกำรดำเนินกิจกรรม และนำผล กำรประเมินสู่กำรปรับปรุง และวำงแผนในลำดับถัดไป โดยอำจำรย์หรือบุคลำกรที่เกี่ยวข้องมีหน้ำที่เฉพำะให้ คำแนะนำ หรือวำงเป้ำหมำยของกิจกรรมเพียงอย่ำงเดียว วิจารณ์ผลการวิจัย จำกผลกำรวิจัยเรื่อง สภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย พบข้อสรุปและข้อสังเกตที่ควรนำมำอภิปรำยผลดังนี้ 1. สภำพควำมเป็นจริงต่อคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยี รำชมงคลศรีวิชัย อยู่ในระดับปำนกลำง สอดคล้องกับผลกำรศึกษำของ กัลย์ ปิ่นเกสร และประสพชัย พสุนนท์ (2558) พบว่ ำ คุ ณ ลัก ษณะภำวะผู้ น ำกำรเปลี่ ย นแปลงของนั ก ศึก ษำระดั บ ปริ ญ ญำโท คณะวิ ท ยำกำรจั ด กำร มหำวิทยำลัยศิลปำกร โดยภำพรวมอยู่ในระดับปำนกลำง และผลกำรศึกษำของ รภัสศำ พิมพำ (2557) พบว่ำ สภำพปัจจุบันของนิสิตครูหลักสูตรกำรศึกษำบัณฑิต (กศ.บ. 5ปี) มหำวิทยำลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีคุณลักษณะภำวะ ผู้นำอยู่ในระดับปำนกลำง โดยสภำพควำมเป็นจริงเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัย เทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิ ชัย ที่มีร ะดับคะแนนต่ำสุด 3 ลำดับแรก คือ คุณ ลักษณะผู้ นำในศตวรรษที่ 21 ด้ำ น ประสำนแรงจู งใจ ด้ ำ นเปี่ ย มวิ สั ย ทั ศ น์ และด้ ำ นว่ อ งไวสื่ อ สำร ทั้ ง นี้ อ ำจเนื่ อ งมำจำก กลุ่ ม ของผู้ น ำนั ก ศึ ก ษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ในปัจจุบันอำยุระหว่ำง 18–23 ปี เกิดในช่วง พ.ศ. 2537–2542 ซึ่งเป็น ช่วงอำยุของกลุ่มของคนเจนเนอเรชั่นวำย และเจนเนอเรชั่นซี เติบโตมำในยุคของกำรเปลี่ยนแปลงอย่ำงมำกของ สภำพแวดล้อมทำงสังคม เศรษฐกิจ กำรเมือง และเทคโนโลยี ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่ม ดังกล่ำวต้องกำรอิสระ มีควำม เป็นตัวของตัวเองสูง มีควำมสำมำรถในกำรใช้เทคโนโลยีต่ำงๆ (ฉัตรนภำ ติละกุล. 2555) 2. ควำมคำดหวังต่อคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำช มงคลศรีวิชัย อยู่ในระดับมำก ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ำย ตั้งแต่ผู้บริหำร คณำจำรย์ บุคลำกร นักศึกษำ ต่ำงมุ่งหวังในกำรพัฒนำนักศึกษำ หรือตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีควำมสมบูรณ์พร้อม ทั้งทักษะด้ำนวิชำกำร วิชำชีพ และทักษะกำรใช้ชีวิต มีควำมรอบรู้สำมำรถวิเครำะห์ สังเครำะห์ สำมำรถปรับตัวรับกำรเปลี่ยนแปลง และ สำมำรถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่ำงมีควำมสุข เนื่องจำกโลกในยุคปัจจุบันและอนำคตบัณฑิตถูกคำดหวังสูง (ทบวงมหำวิทยำลัย. 2543)

672


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

โดยควำมคำดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยี รำชมงคลศรีวิชัย ที่มีระดับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ คุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ด้ำนเชื่อมสำยสัมพันธ์ กับคน คุณธรรมนำผลงำน และเปี่ยมวิสัยทัศน์ ซึ่งสอดคล้องกับผลกำรศึกษำของ เพอรูลท์ และเซลเนอร์ (ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ.2559) ที่กล่ำวว่ำ ผู้นำในยุคสมัยใหม่โดยเฉพำะผู้นำนักศึกษำจำเป็นต้องมีคุณลักษณะสำคัญหรือ องค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ ไปสู่เป้ำหมำยด้วยควำมปรำรถนำ ปฏิบัติตำมค่ำนิยมอันดีงำม นำด้วยหัวใจ สร้ำงสัมพันธ์ ที่ยั่งยืน และปฏิบัติตนแสดงถึงวินัย และ คูซส์ และพอสเนอร์ (ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ.2559) ที่กล่ำวว่ำ องค์ประกอบของผู้นำนักศึกษำควรประกอบด้วย 5 คุณลักษณะสำคัญ คือ เป็นต้นแบบนำทำง สร้ำงแรงบันดำลใจได้ วิสัยทัศน์ร่วมกัน ฟันฝ่ำท้ำทำยต่อกระบวนกำร ให้และกระตุ้นกำลังใจ และสำนนำให้ผู้อื่นปฏิบัติงำนได้ 3. สภำพควำมเป็ น จริ ง และควำมคำดหวั งต่ อ คุ ณ ลั ก ษณะภำวะผู้ น ำในศตวรรษที่ 21 ของผู้ น ำ นักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย แตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 โดยระดับควำม คิดเห็นเกี่ยวกับสภำพควำมเป็นจริงต่ำกว่ำระดับควำมคำดหวังทั้งภำพรวมและรำยด้ำน ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำกบทบำท สำคัญของผู้นำนักศึกษำ คือ กำรเป็นตัวแทนของนักศึกษำในกำรพัฒนำกิจกรรมนักศึกษำ กำรเป็นศูนย์กลำงรับฟัง ควำมคิดเห็ น เรื่องรำวร้อ งทุก ข์ และร่ว มกันเสนอควำมคิดเห็ นสิ่งที่ เป็น ประโยชน์ ต่อมหำวิทยำลัย ในภำพรวม ถึงแม้ว่ำกำรจัดกิจกรรม โครงกำร หรือกำรเป็นกระบอกเสียงในกำรพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้แก่กลุ่มนักศึกษำ จะ ประสบผลสำเร็จเพียงใดก็ไม่สำมำรถที่สร้ำงควำมพึงพอใจให้กับทุกฝ่ำยได้ ทำให้เกิดทั้งผู้ที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งอำจ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ส่งผลให้ระดับควำมคิดเห็นต่อต่อคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นจริงของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย อยู่ในระดับปำนกลำง แต่อย่ำงไรก็ตำมก็ไม่อำจปฏิเสธได้ว่ำกลุ่มผู้นำ นักศึกษำมีบทบำทสำคัญต่อกระบวนกำรพัฒนำมหำวิทยำลัย ในส่วนของกำรร่วมคิด ร่วมดำเนินกำร ร่วมหำรูปแบบ กิจกรรมใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่กำรพัฒนำคุณภำพของนักศึกษำ และเป็นส่วนสำคัญในกำรเป็นศูนย์กลำงในกำรเป็น กระบอกเสียงเสนอควำมคิดเห็นต่อมหำวิทยำลัย เพื่อ กำรพัฒนำให้สำมำรถตอบสนองควำมต้องกำรของนักศึกษำ และนอกจำกนี้กระแสกำรเปลี่ยนแปลงทำงสังคม บัณฑิตที่สำเร็จกำรศึกษำ และก้ำวเข้ำสู่ตลำดแรงงำนถูกคำดหวัง สูงสถำบันกำรศึกษำต้องให้ควำมตระหนักในกำรผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีควำมพร้อมทุกๆ ด้ำน เพื่อให้นักศึกษำเป็นผู้ ที่ มี ค วำมสมบู ร ณ์ พ ร้ อ มทั้ ง ในด้ ำ นองค์ ค วำมรู้ คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม ทั ก ษะทำงปั ญ ญำ และทั ก ษะกำรใช้ ชี วิ ต (ทบวงมหำวิทยำลัย. 2543) จึงอำจเป็นเหตุผลให้ระดับควำมคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่คำดหวังอยู่ในระดับมำก 4. ปัจจั ยส่ว นบุ คคลที่ต่ ำงกั น มีผลต่อ ระดั บควำมคิด เห็น เกี่ ยวกั บสภำพควำมเป็น จริง และควำม คำดหวังต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย แตกต่ำงกัน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้ำนเพศ และประสบกำรณ์กำรเป็นผู้นำนักศึกษำ มีระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพ ควำมเป็นจริงต่อคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ไม่แตกต่ำงกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้ำนสถำนภำพในงำนของบุคลำกร มีระดับควำมคิดเห็นเกี่ยวกับควำมคำดหวัง ต่อคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยไม่แตกต่ำงกัน สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีลักษณะส่วนบุคคลของ ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2538) พบว่ำ ปัจจัยส่วนบุคคลเป็น ปัจจัยที่ทำให้คนมีควำมแตกต่ำงกันในเรื่องของควำมคิด และพฤติกรรม และศักดิ์พิสุทธิ์ อัครสิริธีรกุล (2544) พบว่ำ ระดับควำมต้องกำร ควำมคำดหวัง หรือกำรคำดคะเนของแต่ละบุคคลอำจเหมื อนหรือต่ำงกัน ขึ้นอยู่กับควำมรู้สึก แรงจูงใจ และประสบกำรณ์ทั้งอดีตและปัจจุบัน (ศักดิ์พิสุทธิ์ อัครสิริธีรกุล. 2544) ซึ่งผลจำกกำรวิจัยสำมำรถ อธิบำยสรุปตำมประเด็นปัจจัยส่วนบุคคลดังนี้

673


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประสบกำรณ์ด้ำนผู้นำนักศึกษำต่ำงกัน มีระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพควำมเป็นจริงเกี่ยวกับคุณลักษณะ ผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยไม่แตกต่ำงกัน อำจเนื่องมำจำกกลุ่ม นักศึกษำที่อำสำดำรงตำแหน่ง หรือช่วยเหลืองำนในส่วนของสภำนักศึกษำ องค์กำรนักศึกษำ หรือสโมสรนักศึกษำ ต่ำงมีบทบำทหน้ำที่คล้ำยคลึงกัน และนอกจำกนี้กลุ่มนักศึกษำที่ไม่มีประสบ กำรณ์ด้ำนผู้นำนักศึกษำในส่วนของงำน สภำนักศึกษำ องค์กำรนักศึกษำ หรือสโมสรนักศึกษำ พบว่ำ มีบทบำทหน้ำที่ หรือช่วยเหลืองำนในลักษณะของผู้นำ นักศึกษำในระดับสำขำ หลักสูตร และชมรม พื้นที่ปฏิบัติงำนหรือพื้นที่ที่กำลังศึกษำต่ำงกัน มีระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพควำมเป็นจริง และควำม คำดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย แตกต่ำงกัน อำจเนื่องมำจำกวัฒนธรรมควำมเป็นอยู่ ลักษณะพื้นที่ จำนวนนักศึกษำและบุคลำกรของแต่ละพื้นที่ นอกจำกนี้ยังพบว่ำระเบียบมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ว่ำด้วยกิจกรรมนักศึกษำ พ.ศ. 2558 พบว่ำ ผู้นำนักศึกษำในพื้นที่รัตภูมิ และขนอม ขำดคุณสมบัติกำรเป็นตัวแทนคณะกรรมกำรบริหำรองค์กำรนักศึกษำ ใน ตำแหน่งนำยกองค์กำรนักศึกษำ และอุปนำยกองค์กำรนักศึกษำประจำพื้นที่ จึงอำจเป็นเหตุผลให้ระดับควำมคิดเห็น ต่อคุณลักษณะที่เป็นจริง และคำดหวังแตกต่ำงกัน สถำนภำพในงำนของบุคลำกรต่ำงกัน มีระดับควำมคิดเห็นต่อสภำพควำมเป็นจริง และควำมคำดหวัง เกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยไม่แตกต่ำงกัน อำจเนื่องมำจำกบุคลำกรของมหำวิทยำลัยทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหำร คณำจำรย์ และบุคลำกรทุกฝ่ำย ต่ำงมุ่งหวังใน กำรปฏิบัติหน้ำที่ในกำรพัฒนำนักศึกษำของมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยให้เป็นบัณฑิตที่มีควำมสมบูรณ์ พร้อม มีควำมรู้ ควำม สำมำรถ มีคุณธรรมจริยธรรม มีโลกทัศน์กว้ำงไกลตรงตำมควำมต้องกำรของสังคมสอดคล้อง กับสภำพเศรษฐกิจ สังคม และกำรเมือง ต่อกำรเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 เนื่องจำกโลกในยุคปัจจุบัน และอนำคต บัณฑิตที่สำเร็จกำรศึกษำ และก้ำวเข้ำสู่ตลำดแรงงำนถูกคำดหวังสูง มีทักษะเฉพำะด้ำนวิชำกำรเพียง อย่ำงเดียวไม่เป็นที่ต้องกำรของตลำด แรงงำน บัณฑิตจะต้องมีทักษะทั้งทำงด้ำนวิชำกำร วิชำชีพ และทักษะกำรใช้ ชีวิต มีควำมรอบรู้สำมำรถวิเครำะห์ สังเครำะห์ หรือพัฒนำแนวทำงใหม่ๆ เพื่อพัฒนำตนเอง และสังคมอย่ำงต่อเนื่อง รวมถึงกำรมีควำมสำมำรถในกำรเป็นผู้นำที่ดี รับผิดชอบต่องำนที่ได้รับมอบหมำย มีคุณธรรมจริยธรรมสำมำรถ ปรับตัวรับกำรเปลี่ยนแปลง และสำมำรถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่ำงมีควำมสุข (ทบวงมหำวิทยำลัย. 2543) ข้อเสนอแนะ จำกผลสรุป และอภิปรำยผล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับกำรนำผลกำรวิจัยไปใช้เป็นแนวทำงในกำร วำงแผนพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย และกำรวิจัยในอนำคตดังนี้ ข้อเสนอแนะการนาผลวิจัยไปใช้ 1. กำรนำแนวทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัย เทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระดับมหำวิทยำลัย หรือคณะฯ จะต้องเน้นให้นักศึกษำมีส่วนร่วมใน กิจกรรมเริ่มตั้งแต่กระบวนกำรวำงแผน กำรปฏิบัติตำมแผน กำรตรวจสอบ และกำรปรับปรุงกำรดำเนินกำรพร้อม นำไปสู่กระบวนกำรวำงแผนต่อไปในอนำคต 2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระดับมหำวิทยำลัย หรือคณะฯ ควรจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้ำงคุณลักษณะภำวะ ผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัยให้เป็นไปตำมระดับควำมคำดหวัง

674


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ของนักศึกษำ ผู้นำนักศึกษำ และบุคลำกรของมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย โดยเน้นคุณลักษณะภำวะ ผู้นำในศตวรรษที่ 21ด้ำนเชื่อมสำยสัมพันธ์กับคน ด้ำนคุณธรรมนำผลงำน และด้ำนเปี่ยมคุณธรรม เป็นลำดับแรก 2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระดับมหำวิทยำลัย หรือคณะฯ ควรจัดกิจกรรม หรือโครงกำรที่สนับสนุนเพื่อ พัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย เช่น กำร กระตุ้นให้มีทีมสมัครเข้ำรับกำรเลือกตั้งคณะกรรมกำรบริหำรกิจกรรมนักศึกษำ ทั้งระดับสภำนักศึกษำ องค์กำร นักศึกษำ และสโมสรนักศึกษำ มำกกว่ำ 1 ทีม กำรเปิดเวทีสำหรับกำรแสดงออกของผู้นำนักศึกษำ กำรจัดกิจกรรม เพิ่มทักษะหรือเทคนิคกำรเป็นผู้นำ เป็นต้น ข้อเสนอแนะการทาวิจัยครั้งต่อไป 1. กำรศึกษำระดับผลสัมฤทธิ์ตำมแนวทำงกำรพัฒนำคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำ นักศึกษำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย 2. กำรศึกษำควำมต้องกำรพัฒนำตนเองของผู้นำนักศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลศรีวิชัย เอกสารอ้างอิง สำนั ก งำนรั บ รองมำตรฐำนและประเมิ น คุ ณ ภำพกำรศึ ก ษำ (องค์ ก ำรมหำชน). (2547). พระราชบั ญ ญั ติ การ ศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวำนกรำฟ ฟิค. กระทรวงศึ ก ษำธิ ก ำร. (2552). ประกำศกระทรวงศึกษำธิกำร เรื่อง กรอบมำตรฐำนคุณวุฒิระดับอุดมศึกษำ แห่งชำติ พ.ศ.2552. 17-19 เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). ยุควิกฤตเด็กและเยาวชน...ขาดภาวะผู้นา. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภำพันธ์ 2559, จำก http://www.kriengsak.com/node/49. ทบวงมหำวิ ท ยำลั ย . (2543). แนวคิ ด การปฏิ รู ป โครงสร้ า งและการบริ ห ารจั ด การอุ ด มศึ ก ษา. กรุ ง เทพ : คณะทำงำนจัดระบบบริหำรและกำรจัดกำรอุดมศึกษำ ทบวงมหำวิทยำลัย. สำเนำว์ ขจรศิลป์. (2539). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 1 : พื้นฐานและบริการนักศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหำนคร : มหำวิทยำลัยเกษมบัณฑิต. วิจำรณ์ พำนิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหำนคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นาในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิต นักศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศำสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. กรุงเทพมหำนคร. สำนักวิทยบริกำรและเทคโนโลยีสำรสนเทศ. (2559). ประชากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย . สืบค้น เมื่อ 15 กุมภำพันธ์ 2559, จำก http://mis.rmutsv.ac.th. ไพศำล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหำสำรคำม : คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏ มหำสำรคำม. กัลย์ ปิน่ เกสร และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำกำรเปลี่ยนแปลงกับกำรทำงำนเป็น ทีมของนักศึกษำระดับปริญญำโท คณะวิทยำกำรจัดกำร มหำวิทยำลัยศิลปำกร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 27-28. รภัสศำ พิมพำ. (2557). ภาวะผู้นาของนิสิตครูหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ. (วิทยำนิพนธ์ กำรศึกษำมหำบัณฑิต). มหำวิทยำลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหำนคร.

675


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ฉัตรนภำ ติละกุล. (2555). การศึกษาบคุลิกภาพของพนักงานกล่มุเจนเนอเรชั่นวายที่มีผลต่อความต้องการ คุณลักษณะงาน: ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. (วิทยำนิพนธ์ บริหำรธุรกิจมหำบัณฑิต). มหำวิทยำลัยหอกำรค้ำไทย. กรุงเทพมหำนคร. ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ. (2559). กำรวิเครำะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของ กรรมกำรองค์กรนิสิตนักศึกษำ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 139-156. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหำนคร : ไทยวัฒนำพำนิช. ศักดิ์พิสุทธิ์ อัครสิริธีรกุล. (2544). ความคาดหวังของวัยรุ่นที่มีต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ . (วิทยำนิพนธ์ สังคมศำสตรมหำบัณฑิต). มหำวิทยำลัยมหิดล. กรุงเทพมหำนคร.

676


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-07 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าประจาข้อสอบในแบบสอบปลายภาครายวิชาการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้” เมื่อวิเคราะห์โดยวิธีการต่างกัน 3 วิธี THE STUDY OF CORRELATIONS BETWEEN INDICES OF ITEM IN “RESEARCH FOR LEARNING IMPROVEMENT COURSE” WHEN 3 TYPES OF ITEM INDICES WERE USED เกื้อ กระแสโสม1 พิศิษฐ ตัณฑวณิช2 พนำ จินดำศรี 3 ตรีคม พรมมำบุญ4 บุญทวี อิ่มบุญตำ 5 1

Guah Grasaresom อาจารย์ประจากลุ่มวิชาทดสอบและวิจยั การศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ Pisit Tantawanith อาจารย์ประจากลุ่มวิชาทดสอบและวิจยั การศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 Pna Jindasri อาจารย์ประจากลุ่มวิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 4 Treekom Prommabon อาจารย์ประจากลุ่มวิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรนิ ทร์ 5 Boontawee Imbunta อาจารย์ประจากลุ่มวิชาทดสอบและวิจยั การศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรนิ ทร์ 2

บทคัดย่อ งำนวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหำค่ำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงค่ำประจำข้อสอบในรำยวิชำ “กำรวิจัยเพื่อ พัฒนำกำรเรียนรู้” เมื่อวิเครำะห์ข้อสอบโดยวิธีกำรวิเครำะห์ต่ำงกัน 3 วิธี คือกำรวิเครำะห์ในแนวทฤษฎีกำรวัดผล แบบดั้งเดิม วิธีกำรวิเครำะห์ตำมแนวคิดกำรสร้ำงแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ และวิเครำะห์ตำมแนว ทฤษฎี ก ำรตอบสนองต่ อ ข้ อ สอบแบบสอบที่ พั ฒ นำขึ้ น เป็ น แบบสอบ 5 ตั ว เลื อ ก จ ำนวน 100 ข้ อ มุ่ งวั ด ใน คุณลักษณะสำคัญ 7 ประกำร กลุ่มตัวอย่ำงเป็นนักศึกษำครุศำสตรบัณฑิต มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ ชั้นปีที่ 3 ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 จำนวน 1070 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชำกำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรูก้ ับผู้วิจัย ทั้ง 5 คน แบบสอบทั้งฉบับมีค่ำควำมเที่ยง (KR20) เป็น 0.89 กำรวิเครำะห์ข้อสอบตำมแนวทฤษฎีดั้งเดิมใช้ โปรแกรม TAP กำรวิเครำะห์ข้อสอบตำมแนวกำรพัฒนำแบบสอบโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำใช้วิธีกำรวิเครำะห์ใน แนวคิด The DINA Model โดยใช้โปรแกรม CDM PACKAGE กำรวิเครำะห์ข้อสอบตำมแนวทฤษฎีกำรตองสนอง ต่อข้อสอบใช้โปรแกรม XCALIBRE ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลพบว่ำ กลุ่มค่ำควำมยำกของข้อสอบ กลุ่มค่ำอำนำจ จำแนกของข้อสอบเมื่อวิเครำะห์โดยวิธีกำรวิเครำะห์ต่ำงกัน 3 วิธี และกลุ่มค่ำกำรเดำของข้อสอบเมื่อวิเครำะห์โดย วิธีกำรทำงพุทธิปัญญำและวิธีกำรตอบสนองต่อข้อสอบ แต่ละกลุ่มมีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิ ติที่ ระดับ 0.01 คำสำคัญ: ความสัมพันธ์; การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู;้ การวิเคราะห์ข้อสอบ; The DINA Model; The IRT Model Abstract The objective of this research was to find coefficient of item indices in “Research for learning improvement course”, when 3 types of item indices were used. The analysis techniques consisted of the classical test theory, the cognitive diagnostic model and the item response

677


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

theory method. The 5 multiple-choices items for the course was developed. There were 100 items in the test which was used to measure abilities of student in 7 traits. Samples were 1070 students studying in the third year for bachelor of education. The data was collected in the second semester of 2017 academic year. The KR20 reliability of the test was 0.89 The TAP Program, The CDM Package and The XCALIBRE program were used to analyzed the data. The results of studying were that the correlation coefficients amongst the item difficulty indices, amongst the item discrimination indices analyzed by the 3 method and amongst the item guessing indices by the cognitive diagnostic model and the item response theory were statistically significant at 0.01 level. Keywords: Correlation; Research for learning improvement; Test analysis; The DINA Model; The IRT Model บทนา ในปัจจุบัน แนวคิดกำรพัฒนำและวิเครำะห์ค่ำประจำข้อสอบได้พัฒนำขึ้นอย่ำงมำก เกิดแนวคิดกำร พัฒนำข้อคำถำมในแบบสอบ และกำรวิเครำะห์ขึ้นหลำย ๆ แนวคิด ทั้งนี้วิธีกำรวิเครำะห์ข้อสอบที่เป็นที่ทำงเลือก ขั้นพื้นที่ฐำนที่น่ำสนใจประกอบด้วยแนวคิดวิเครำะห์ต่ำงกัน 3 วิธีคือ วิธีที่ 1 ใช้กำรวิเครำะห์ในแนวทฤษฎีกำรวัดผลแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory ตัวย่อ CTT) โดย มุ่งหำค่ำควำมยำก ค่ำอำนำจจำแนก และค่ำเชื่อมั่นของแบบสอบ ด้วยเป็นแนวคิดที่มีมำช้ำนำน และมีใช้กัน แพร่หลำยทั่วไป วิธีที่ 2 ใช้วิธีกำรวิเครำะห์ตำมแนวคิดกำรพัฒนำแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ (Cognitive Diagnostic Model ตัวย่อ CDM) ซึ่งเป็นแนวคิดกำรวิเครำะห์ข้อสอบแบบใหม่ ทั้งนี้ผู้ใช้สำมำรถหำโปรแกรมที่ ใช้ในกำรวิเครำะห์ข้อสอบมำใช้ได้โดยเป็นโปรแกรมแบบให้เปล่ำ วิธีที่ 3 ใช้วิธีกำรวิเครำะห์ตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบ (Item Response Theory ตัวย่อ IRT) โดยมุ่งหำค่ำประจำข้อสอบ 3 ค่ำคือ ค่ำอำนำจจำแนก (a) ค่ำควำมยำก (b) และค่ำกำรเดำ (c) ประกอบกับในภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 ทำงโปรแกรมทดสอบและวิจัยกำรศึกษำ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ได้มีข้อตกลงร่วมกันในกำรจัดเรียนกำรสอนรำยวิชำ “กำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ ” ว่ำอำจำรย์ผู้สอนทุกท่ำนจะใช้แบบสอบปลำยภำคร่วมกันในกรอบหัวข้อที่กำหนดขึ้น โดยอำจำรย์ผู้สอนทั้ง 5 ท่ำน ช่วยกันออกข้อสอบคนละ 20 ข้อ รวมทั้งฉบับ 100 ข้อ ทั้ งนี้เพื่อว่ำจะได้ควบคุมมำตรฐำนเรียนกำรสอนและกำร ประเมินผลกำรเรียนให้อยู่ในมำตรฐำนเดียวกัน รวมทั้งจะได้เป็นกำรสอบทำนกำรให้ระดับคะแนนในขั้นตอน สุดท้ำยของกระบวนกำรทำงำนทั้งหมด และท้ำยสุดตกลงร่วมกันให้มีกำรวิเครำะห์ข้อสอบปลำยภำคเพื่อจะได้ ทรำบคุณภำพของแบบสอบและจะได้มีกำรแก้ไขพัฒนำในระยะต่อไป ซึ่งนับได้ว่ำเป็นแนวทำงกำรจัดกำรศึกษำที่ ก่อให้เกิดประสิทธิภำพและประสิทธิผลที่ดี ท้ำยสุดจึงได้นำเอำข้อมูลผลกำรทดสอบทั้งหมดมำวิเครำะห์หำค่ำ ประจำข้อสอบในแนวคิดทั้ง 3 วิธีกำรข้ำงต้น เพื่อหำควำมสัมพันธ์ของค่ำประจำข้อสอบจำกกำรวิเครำะห์โดยวิธีกำร ต่ำงกัน

678


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วัตถุประสงค์การวิจัย ในกำรวิจัยครั้งนี้มีวตั ถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อวิเครำะห์หำค่ำประจำข้อสอบในแบบสอบรำยวิชำกำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ เมื่อวิเครำะห์ โดยวิธีกำรต่ำงกัน 3 วิธี คือกำรวิเครำะห์ในแนวทฤษฎีกำรวัดผลแบบดั้งเดิ ม วิธีกำรวิเครำะห์ตำมแนวคิดกำรสร้ำง แบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ วิธีกำรวิเครำะห์ตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบ 2. เพื่ อ หำค่ ำ ควำมสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ ำ งค่ ำ ประจ ำข้ อ สอบในแบบสอบแบบสอบรำยวิ ชำกำรวิ จั ย เพื่ อ พัฒนำกำรเรียนรู้ เมื่อวิเครำะห์โดยวิธีกำรต่ำงกัน 3 วิธีดังกล่ำว สมมติฐานการวิจัย ในกำรวิจัยครั้งนี้มสี มมุติฐำนดังนี้ 1. ค่ำควำมยำกของข้อสอบเมื่อวิเครำะห์โดยแนวคิดตำมแนวทฤษฎีกำรวัดผลแบบดั้งเดิม (ค่ำ p) วิเครำะห์โดยกำรหำค่ำ 1- s ตำมแนวทฤษฏีกำรสร้ำงแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ และค่ำควำมยำก (ค่ำ b) ของข้อสอบแต่ละข้อตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบ มีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ 2. ค่ำอำนำจจำแนกควำมยำกของข้อสอบเมื่อวิเครำะห์โดยแนวคิดตำมแนวทฤษฎีกำรวัดผลแบบ ดั้งเดิม (ค่ำ r) วิเครำะห์โดยกำรหำค่ำ IDI ตำมแนวทฤษฏีกำรสร้ำงแบบวินิจฉัยโดยวิ ธีกำรทำงพุทธิปัญญำ และ ค่ำอำนำจจำแนก (ค่ำ a) ของข้อสอบแต่ละข้อตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบ มีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติ 3. ค่ำกำรเดำของข้อสอบเมื่อวิเครำะห์ตำมแนวทฤษฏีกำรสร้ำงแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิ ปัญญำ (ค่ำ g) และค่ำกำรเดำ (ค่ำ c) ของข้อสอบแต่ละข้อตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบไม่มีควำม สัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ ขอบเขตการวิจัย กำรวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตดังนี้ 1. ประชำกร ในกำรวิจัยครั้งนี้ หมำยถึงนักศึกษำสำยครุศำสตรบัณฑิตในระดับชั้นปีที่ 3หลักสูตรครุศำ สตรบัณฑิต ซึ่งต้อ งเรียนวิชำ “กำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ ” (1043408) เป็นรำยวิชำชีพครูบังคับ กลุ่ม ตัวอย่ำง หมำยถึงนักศึกษำสำยครุศำสตร์ หลักสูตรครุศำสตรบัณฑิต ระดับชั้นปีที่ 3 สังกัดมหำวิทยำลัยรำชภัฏ สุรินทร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชำ “กำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้” ในภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 รวม 1,070 คน 2. กำรหำค่ำอำนำจจำแนกของข้อสอบในแบบสอบรำยวิชำกำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ ใช้วิธีกำร หำค่ำ ponit biserial correlation ของข้อสอบข้อนั้น กับค่ำคะแนนรวมของแบบสอบทั้งฉบับเมื่อตัดคะแนนใน กำรตอบข้อสอบข้อดังกล่ำวออก 3. กำรหำค่ำประจำข้อสอบตำมแนวกำรสร้ำงแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ มุ่งศึกษำ เฉพำะกำรหำค่ำประจำข้อสอบในแนว The DINA Model เท่ำนั้น 4. กำรหำค่ำประจำข้อสอบตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบจะใช้โปรแกรมวิเครำะห์ข้อมูลที่ มุ่งหำค่ำประจำข้อสอบทั้ง 3 พำรำมิเตอร์ คือ อำนำจจำแนก ค่ำควำมยำก และค่ำกำรเดำ โดยใช้โปรแกรม XCALIBRE

679


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิธีดาเนินการวิจัย ในกำรดำเนินกำรพัฒนำพัฒนำแบบสอบครั้งนี้ เนื่องจำกกำรพัฒนำแบบสอบโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ นั้น ประเด็นที่สำคัญที่สุดของกำรพัฒนำแบบสอบ คือจะต้องกำหนดคุณลักษณะประจำข้อสอบขึ้ นมำก่อน กำร พัฒนำข้อสอบจึงเริ่มต้นด้วยคณำจำรย์ผู้สอนประจำโปรแกรมทดสอบและวิจัยกำรศึกษำรวม 5 ท่ำน ได้ร่วมกัน พัฒนำข้อสอบขึ้นท่ำนละ 20 ข้อ ภำยในกรอบเนื้อหำที่ตกลงร่วมกัน จำกนั้นร่วมกันพิจำรณำว่ำ ข้อสอบแต่ละข้อ มุ่งวัดคุณลักษณะใดบ้ำง (โดยข้อสอบ 1 ข้ออำจวัดคุณลักษณะที่กำหนดได้มำกกว่ำ 1 คุณลักษณะซึ่งเป็นไปตำม แนวคิดของกำรพัฒนำแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ) ผลกำรพิจำรณำปรำกฏดังตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 แสดงกำรกำหนดเนื้อหำและจำนวนข้อสอบที่ร่วมกันพัฒนำ กรอบเนื้อหำที่ 1 2 3 4

5 6 7

เนื้อหำ ควำมหมำย หลักกำรและลักษณะของกำรวิจยั ควำมมุ่งหมำยประโยชน์ของกำรวิจัย จรรยำบรรณของนักวิจัย มโนทัศน์ที่จำเป็นสำหรับกำรวิจัย เช่น ปัญหำกำรวิจยั ตัวแปร ประชำกร กลุ่มตัวอย่ำง สมมุติฐำนกำรวิจยั และสมมุติฐำนทำงสถิติ เป็นต้น ประเภทกำรวิจัยแบบต่ำง ๆ เช่น (1) กำรวิจัยเชิงปริมำณและกำรวิจยั เชิงคุณภำพ (2) กำรวิจยั เชิงประวัติศำสตร์ กำรวิจยั เชิงบรรยำย กำรวิจยั เชิงทดลอง (3) กำรวิจัยอื่น ๆ ขั้นตอนกำรดำเนินกำรวิจยั โดยทั่วไป และ ประเด็นหัวข้อกำรวิจยั รูปแบบกำรเขียน โครงกำรวิจัย และหลักกำรเขียนโครงกำรวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจยั เช่น แบบสอบถำม แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน เป็นต้น กำรตรวจสอบคุณภำพของเครื่องมือ เช่น ควำมยำกง่ำย อำนำจจำแนกของแบบสอบ ควำม ตรง และควำมเที่ยง สถิติและกำรวิเครำะห์ข้อมูล เช่น กำรวิเครำะห์ข้อมูลพื้นฐำน เช่น ควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน กำรทดสอบควำมแตกต่ำงของค่ำเฉลี่ย 1 ค่ำ และ 2 ค่ำ รูปแบบและหลักกำรเขียนรำยงำนกำรวิจัย กำรประเมินผลกำรวิจัย

จำนวนข้อ 11 20 21

15 15 20 11

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกร ในที่นี้ หมำยถึงนักศึกษำสำยครุศำสตรบัณฑิตในระดับชั้นปีที่ 3 มหำวิทยำลัย รำชภัฏสุรินทร์ ซึ่งต้องเรียนวิชำ “กำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ ” กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือนึกศึกษำสำยครุศำสตร์ ระดับชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศำสตรบัณฑิต มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชำดังกล่ำวในภำคเรียนที่ 1 ปีกำรศึกษำ 2560 กับคณำจำรย์ทั้ง 5 ท่ำน จำนวนทั้งสิ้น 1,070 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน รำยวิชำ กำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำร เรียนรู้ รหัสวิชำ 1043408 แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 100 ข้อ วัดครอบคลุมเนื้อหำ ตำมกรอบเนื้อหำที่มุ่ง วัด จำนวน 7 กรอบเนื้อหำ (ดังตำรำงที่ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลจำกกำรดำเนินกำรตำมกำหนดกำรสอบปลำยภำคเรียนในเดือนกันยำยน 2560 โดยมีกำร ดำเนินกำรจัดสอบให้เป็นไปตำมมำตรฐำนกำรดำเนินกำรสอบ

680


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ กำรวิจัยครั้งนี้ มีประเด็นและวิธีกำรวิเครำะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. กำรหำค่ำควำมยำก ค่ำอำนำจจำแนกของข้อสอบ และค่ำควำมเชื่อมั่นของแบบสอบโดยกำรหำค่ำ KR20 ใช้วิธีกำรวิเครำะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคือโปรแกรม TAP (Test Analysis Program) ซึ่งพัฒนำโดย Gordon P. Brooks (2002) 2. กำรหำค่ำโอกำสควำมน่ำจะเป็นของควำมคลำดเคลื่อนในกำรที่ผู้รอบรู้ในทุกคุณลักษณะที่ต้องใช้ เพื่อกำรตอบข้อสอบข้อนั้นๆ ให้ถูกต้องตอบข้อสอบข้อดังกล่ำวผิด (s) และกำรหำค่ำโอกำสควำมน่ำจะเป็นของ ควำมคลำดเคลื่อนในกำรที่ผู้ไม่รอบรู้ในคุณลักษณะที่ต้องใช้เพื่อกำรตอบข้อสอบข้อนั้น ๆ ให้ถูกต้องตอบข้อสอบข้อ ดังกล่ำวถูก (g) และค่ำอำนำจจำแนกของข้อสอบรำยข้อในแบบสอบปลำยภำครำยวิชำกำรวิจัยเพื่อพัฒนำกำร เรียนรู้ เมื่อวิเครำะห์ข้อสอบโดยวิธีกำรสร้ำงแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ โดยใช้ The DINA Model ใช้โปรแกรมที่มีชื่อว่ำ The CDM Package ซึ่งทำงำนบนโปรแกรม Program R พัฒนำโดย Robitzsch, A and others (2015) เป็นโปรแกรมวิเครำะห์ข้อมูล 3. กำรหำค่ำพำรำมิเตอร์ทั้งสำมค่ำตำมแนวทฤษฎีกำรตอบสนองต่อข้อสอบ ใช้โปรแกรม XCALIBRE (Assessment Systems Corporation, 1967) เป็นโปรแกรมวิเครำะห์ข้อมูล 4. กำรหำค่ ำ ควำมสั ม พั น ธ์ ข องค่ ำ ประจ ำข้ อ สอบที่ วิ เ ครำะห์ โ ดยวิ ธี ก ำรต่ ำ งกั น ใช้ วิ ธี ก ำรหำค่ ำ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลเกี่ยวกับค่ำประจำข้อสอบทั้ง 100 ข้อ ได้ค่ำสถิติพื้นฐำนประจำข้อสอบ ปรำกฏดัง ตำรำงที่ 2 ต่อไปนี้ ตำรำงที่ 2 แสดงค่ำเฉลีย่ ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ค่ำมัธยฐำน ค่ำสูงสุดและค่ำต่ำสุดของค่ำประจำข้อสอบตำม แนวกำรวิเครำะห์ข้อสอบทั้ง 3 แบบ ค่ำประจำข้อสอบ ค่ำควำมยำก(p) ค่ำอำนำจจำแนก (r ) ค่ำ s ค่ำ g ค่ำ IDI ค่ำ a ค่ำ b ค่ำ c

ค่ำเฉลี่ย 0.49 0.25 0.39 0.37 0.24 0.67 0.82 0.21

ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน 0.18 0.14 0.23 0.17 0.16 0.20 1.29 0.03

ค่ำมัธยฐำน 0.48 0.25 0.36 0.35 0.24 0.64 0.75 0.21

ค่ำสูงสุด 0.90 0.51 0.91 0.84 0.60 1.16 3.00 0.31

ค่ำต่ำสุด 0.09 -0.13 0.05 0.06 -0.09 0.27 -2.35 0.11

จำกตำรำงที่ 2 โดยภำพรวมข้อสอบที่พัฒนำขึ้นมีค่ำควำมยำกโดยภำพรวมในค่อนไปทำงยำก มีค่ำ อำนำจจำแนกโดยภำพรวมไปในทำงบวกแต่ไม่สูงนัก มีค่ำกำรเดำในระดับค่อนไปในทำงต่ำ

681


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลตำมวัตถุประสงค์ของกำรวิจัยปรำกฏในตำรำงที่ 3 ดังต่อไปนี้ ตำรำงที่ 3 แสดงค่ำสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่ำงค่ำ p r ค่ำ 1- s g IDI และค่ำ a b และ c ของข้อสอบ 100 ข้อที่ได้พัฒนำขึ้น ค่ำสถิติ ‘”r””” 1- s “g” IDI “a” “b” “c”

CTT Model “p” r 0.45** 0.94** 0.71** 0.91** 0.07 0.35** 0.95** -0.27** 0.50** -0.96** -0.58** 0.33** -0.31**

The DINA Model 1–s “g”

0.72** 0.65** -0.00 -0.95** 0.17

-0.07 -0.54** -0.82** 0.48**

IDI

0.59** -0.47** -0.28*

The IRT Model “a” “b”

0.14 -0.55**

”c”

-0.09

จำกตำรำง 3 มีคู่ของค่ำสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของค่ำควำมยำก อำนำจจำแนก และค่ำกำรเดำที่ สำคัญ ๆ ดังนี้ ในด้ำนควำมยำกพบว่ำ ค่ำ p ค่ำ 1 - s และค่ำ b มีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ ระดับ 0.01 โดยค่ำ p และ 1- s มีควำมสัมพันธ์กันในทำงบวก และค่ำ p กับค่ำ 1-s มีควำมสัมพันธ์ในทำงลบ กับค่ำ b (พร้อมกับมีข้อน่ำสังเกตว่ำค่ำ g ไปมีควำมสัมพันธ์กับค่ำ p ค่ำ 1 - s และค่ำ b อย่ำงมีนัยสำคัญ ทำงสถิติที่ระดับ 0.01 อีกด้วย โดยค่ำ g ค่ำ p และ 1- s มีควำมสัมพันธ์กันในทำงบวก และค่ำ g กับค่ำ b มีควำมสัมพันธ์ในทำงลบซึ่งเป็นข้อค้นพบนอกเหนือจำกสมมุติฐำนที่กำหนดไว้) ในด้ำนค่ำอำนำจจำแนก พบว่ำ ค่ำ r ค่ำ IDI และค่ำ a มีสัมพันธ์กันทำงบวกอย่ำงมีนัยสำคัญทำง สถิติที่ระดับ 0.01 ในด้ำนค่ำกำรเดำพบว่ำ ค่ำ g กับค่ำ c มีควำมสัมพันธ์กันทำงบวกอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.01 วิจารณ์ผลการวิจัย จำกผลกำรวิจัยซึ่งพบว่ำผลกำรวิเครำะห์ค่ำประจำข้อสอบเมื่อวิเครำะห์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีต่ำงกัน ค่ำ ประจำข้อสอบส่วนที่สำมำรถเทียบเคียงกันได้มีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ ทำให้ผู้ใช้ผลกำรวิเครำะห์ ข้อสอบโดยทั่วไป พอที่จะมีควำมมั่นใจได้ว่ำ หำกพัฒนำและได้ข้อสอบที่มีคุณภำพดีพอแล้ว จะวิเครำะห์ข้อสอบใน แนวทฤษฎีใด ก็มีแนวโน้มว่ำ ผลที่ได้จะไม่มีควำมแตกต่ำงกันอย่ำงมำก และกำรวิเครำะห์ข้อสอบพื้นฐำนโดยทั่วไป คือ กำรหำค่ำควำมยำกและอำนำจจำแนกก็ยังคงเป็นวิธีกำรที่ใช้ได้ นอกจำกนั้น ข้อค้นพบที่ว่ ำค่ำควำมยำกของ ข้อสอบ กับค่ำกำรเดำที่ได้จำกกำรวิเครำะห์ข้อสอบตำมแนวกำรพัฒนำแบบสอบโดยวิ ธีกำรทำงพุทธิปัญญำมี ควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ และค่ำกำรเดำบำงข้ออำจขึ้นสูงถึงระดับสูงกว่ำ 0.50 ทำให้ควำม เชื่อมั่นในดัชนีค่ำควำมยำกลดลงไปได้ส่วนหนึ่ง และค่ ำประจำข้อสอบขั้นพื้นฐำนที่นักสร้ำงข้อสอบควรคำนึงถึง อย่ำงมำกคือ ค่ำอำนำจจำแนก หรือมีควำมหมำยว่ำหำกพัฒนำข้อสอบรำยข้อให้มีค่ำอำนำจจำแนกสูงพอเพียงแล้ว ก็มีแนวโน้มสูงมำกที่จะได้ข้อสอบที่มีคุณภำพดี

682


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

นอกจำกนี้ยังคงพบว่ำด้วยว่ำ ข้อค้นพบด้ำนควำมสัมพันธ์ระหว่ำงค่ำ ควำมยำก ด้ำนค่ำอำนำจจำแนก และด้ำนค่ำกำรเดำ เมื่อวิเครำะห์โดยวิธีกำรต่ำงกัน มีควำมสัมพันธ์กันสูงอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติครั้งนี้ ให้ ผลกำรวิจัยทั้งหมดไปในทิศทำงเดียวกับงำนวิจัยที่มีกำรดำเนินกำรในต่ำงประเทศ คือผลกำรวิจัยของ Lee, de la Torre and Park (2012) ซึ่งศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงค่ำประจำข้อสอบเมื่อวิเครำะห์โดยแนวทฤษฎีทั้ง 3 เช่นกัน โดยศึกษำกับนักเรียนระดับ เกรด 9 จำนวน 1,500 คน ที่สอบในปี 2003 แบบสอบที่ใช้เป็นแบบสอบ 5 ตัวเลือก ในวิชำคณิตศำสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Florida Comprehensive Assessment Test ยิ่งทำให้เกิดควำมมั่นใจ ได้ว่ำ ข้อค้นพบดังกล่ำวนี้มีควำมเป็นทั่วไป เชื่อถือได้สูง กล่ำวคือจะศึกษำ ณ ที่ใด โดยใช้แบบสอบใดๆ ที่มี คุณภำพ กับกลุ่มตัวอย่ำงที่ต่ำงกันผลกำรวิจัยก็จะปรำกฏออกมำทิศทำงเดียวกัน ข้อเสนอแนะ ในด้ำนกำรนำไปใช้ คำแนะนำขั้นพื้นฐำนสำหรับนักสร้ำงข้อสอบมีว่ำ กำรหำค่ำควำมยำกและค่ำอำนำจ จำแนกยังคงเป็นแนวคิดพื้นฐำนของกำรพัฒนำข้อสอบให้มีคุณภำพที่ดีได้ และหำกจำเป็นต้องเลือกค่ำประจำ ข้อสอบให้เหลือเพียงค่ำเดียว ค่ำที่ควรคำนึงถึงมำกที่สุดคือ ค่ำอำนำจจำแนก หรือคือกำรพยำยำมสร้ำงคำถำมที่ จำแนกให้ออกระหว่ำงผู้สอบที่มีควำมสำมำรถในเรื่องนั้นอย่ำงแท้จริงออกจำกผู้สอบที่ไม่มีควำมสำมำรถในเรื่องนั้น ให้ได้เป็นสำคัญที่สุด ข้อเสนอแนะในกำรดำเนินกำรวิจัยระยะต่อไป เนื่องจำกแนวคิดกำรพัฒนำแบบสอบวินิจฉัยโดยวิธีกำร ทำงพุทธิปัญญำยังคงเป็นแนวคิดกำรสร้ำงและวิเครำะห์ข้ อสอบแบบใหม่ ยังคงไม่เป็นที่แพร่หลำยในประเทศไทย และเป็นแนววิธีกำรวิเครำะห์ข้อสอบที่ให้ข้อมูลในรูปแบบใหม่ที่วิธีกำรวิเครำะห์ข้อสอบแบบเดิมไม่มีมำก่อน สมควร ที่จะนำเสนอแนวคิดดังกล่ำวให้แพร่หลำยออกไปรวมทั้งศึกษำวิจัยผลที่ได้จำกกำรวิเครำะห์ข้อสอบโดยวิธีกำร ดังกล่ำวกับเด็กไทย และนำเอำผลที่ได้มำใช้ในกำรพัฒนำกำรศึกษำต่อไป กิตติกรรมประกาศ ในภำคเรียนที่ 1 ปีกำรศึกษำ 2560 กลุ่มวิชำทดสอบและวิจัยกำรศึกษำ ได้จัดกำรเรียนรู้รำยวิชำ กำร วิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ จำนวน 25 หมู่เรียน เนื่องจำกเป็นวิชำเดียวกัน คณะผู้สอนได้ให้ ควำมสำคัญ ร่วม ดำเนินกำรในประเด็นหลักต่อไปนี้ (1) กำหนดผลลัพธ์ของกำรจัดกำรเรียนรู้ ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์กำรเรียนรู้ ทั้ง ทฤษฎี ปฏิบัติ และคุณลักษณะที่ดี (2) ดำเนินกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ให้บรรลุผลลัพธ์ โดยใช้เทคนิควิธีกำร จัดกำรเรียนรู้ สื่อต่ำงๆ เอกสำรประกอบกำรสอน กำรตรวจงำน กำรให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่เหมำะสม โดยเฉพำะ กำรเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติงำนวิจัยเพื่อพัฒนำกำรเรียนรู้ตำมกระบวนกำรวิจัย (3) กำหนดวิธีกำรวัดและประเมิน น้ำหนักคะแนนเก็บระหว่ำงภำค ปลำยภำค เกณฑ์กำรประเมิน กำรใช้ข้อสอบปลำยภำคร่วม ทั้งนี้เ พื่อทวนสอบหรือ ควบคุมคุณภำพกำรวัดและประเมิน อย่ำงไรก็ดี กำรดำเนินกำรจัดกำรเรียนรู้ดังกล่ำว นอกเหนือจำกคุณภำพที่ต้องกำรให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน แล้ว กลุ่มวิชำทดสอบและวิจัยกำรศึกษำ มุ่งหวังให้ได้ผลเชิงประจักษ์ว่ำ “กำรจัดกำรเรียนรู้นำสู่ กำรวิจัย เพื่อให้ได้ สำรสนเทศสำหรับพัฒนำผู้เรียน” จึงมีประเด็นคำถำมกำรวิจัยเกี่ยวกับคุณภำพของแบบสอบปลำยภำคที่พัฒนำขึ้น และดำเนินกำรวิจัยให้แล้วเสร็จ ซึ่งงำนวิจัยเล่มนี้ สำเร็จได้ โดยควำมร่วมมือของคณำจำรย์ทุกคนในกลุ่มวิชำทดสอบ และวิจัยกำรศึกษำ ควำมตั้งใจของนักศึกษำในกำรพัฒนำกำรเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุตำมมำตรฐำนกำรเรียนรู้ และที่สำคัญ รศ.ดร.พิศิษฐ ตัณฑวณิช ผู้จุดประกำยในเชิงแนวคิดทฤษฎี วิธีกำรวิเครำะห์ข้อสอบแบบใหม่ กำหนด

683


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ประเด็นกำรวิจัย นำคณำจำรย์ผู้สอนในกลุ่มวิชำทดสอบและวิจัยกำรศึกษำ ร่วมดำเนินกำรวิจัย จนงำนวิจัยแล้ว เสร็จ และนำสู่กำรนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เอกสารอ้างอิง เกื้อ กระแสโสม, พิศิษฐ ตัณฑวณิช, พนำ จินดำศรี, ตรีคม พรมมำบุญ และบุญทวี อิ่มบุญตำ. (2560). การ พัฒนาแบบสอบปลายภาครายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. ”กลุ่มวิชำทดสอบและวิจัยกำรศึกษำ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์. พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). “กำรพัฒนำแบบสอบวินิจฉัยโดยแนวคิดด้ำนพุทธิปัญญำ”. วารสารบัณฑิตวิจัย . มหำวิทยำลัยรำชภัฏเชียงใหม่. 6(2), 1–14. พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2560). “กำรสร้ำงแบบสอบแนวคิดพื้นฐำนกำรวิเครำะห์ข้อสอบตำมแนวทฤษฎีกำร พัฒนำแบบสอบวินิจฉั ยโดยวิธีกำรทำงพุทธิปัญญำ.(กำรศึกษำระยะที่ 2)”. วารสารสถาบันวิจัยและ พัฒนา มหำวิทยำลัยบ้ำนสมเด็จเจ้ำพระยำ. 2(2), 1 – 13. Assessment Systems Corporation. (1967). User’s Manual for The XCALIBRE Marginal Maximum-Likelihood Estimation Program. 2nd. ed. Mionesota. Brooks, G.P. (2002). TAP User’s Guide Version 4.2.5. Ohio : Marsha Lewis. de la Torre, J. (2009). DINA model and parameter estimation : a didactic. Journal of Educational and Behavioral Statistics. 34(1), 115-130. George, A.C. ; Robitzsch, A.; Keifer, T.; Groß, J. and Ülü, A. (2016). The R Package CDM For Cognitive Diagnosis Models. Journal of Statistical Software. 74(2), 1–24. [Online] Available: https://www.jstatsoft.org/article/view/v074i02/0 Retrieved March 25, 2017. Lee, Y.S.; de la Torre, J & Park,Y.S. (2012). Relationships between cognitive diagnosis, CTT, and RT indices : an empirical investigation. Asia Pacific Education Review : 13(2) : 333–345. [Online] Available‘https://www.researchgate.net/”publication/257788305_ Relationships_between_cognitive_diagnosis_CTT_and IRT_indices_An_ empirical_investigation. Retrieved April 2, 2017.

684


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-08 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ต่อมโนมติ เรื่องสมดุลเคมี และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 THE EFFECT OF LEARNING MANAGEMENT INDUCTIVE TEACHING METHOD SUPPLEMENTEDWITH KWL PLUS SCIENCE CONCEPTS AND ANALYTICAL THINKING ABILITYOF MATTHAYOMSUKSA 5 STUDENTS. พวงเพชร นำเมืองรักษ์1,หนูกร ปฐมพรรษ2, พัดตำวัน นำใจแก้ว3 1

Puangpet Namuangrak, นักศึกษาหลักสูตรการสอนวิทยาศาสตร์ สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 Nookorn Pathommapas, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 Pattawan Narjaikaew ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษำและเปรียบเทียบมโนมติ เรื่องสมดุลเคมี และควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ระหว่ำงก่อนเรียน และหลังเรียน กลุ่มตัวอย่ำง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 โรงเรียนอุดรพิทยำ นุกูล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธำนี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มำโดยกำรสุ่มแบบกลุ่มดำเนินกำรวิจัย โดยใช้แบบแผนวิจัย แบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยประกอบด้วย แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ 7 แผน แบบวัดมโนมติแบบ 2 ระดับ ประกอบด้วยแบบวัดปรนัย 4 ตัวเลือก และกำรเขียนแสดงเหตุผลประกอบคำตอบ เรื่อง สมดุลเคมี และแบบวัดควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยไม่อิงเนื้อหำ วิเครำะห์ คะแนนมโนมติตำมเกณฑ์ของ Haidar (1997) คือ 1) แนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ (SU, 3 คะแนน) 2) แนวคิดทำง วิทยำศำสตร์แบบไม่สมบูรณ์ (PU, 2 คะแนน) 3) แนวคิดทำงวิทยำศำสตร์บำงส่วน และแนวคิดคลำดเคลื่อน (PS, 1 คะแนน) 4) ไม่มีแนวคิด (NU, 0 คะแนน) สถิติที่ใช้วิเครำะห์ข้อมูล ได้แก่ ควำมถี่ ค่ำเฉลี่ย ร้อยละ ค่ำเบี่ยงเบน มำตรฐำน และกำรทดสอบด้วยทีแบบไม่อิสระ (t-tes for Dependent Samples) ผลกำรวิจัย พบว่ำ 1.นักเรียนที่ เรียนกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus มีคะแนนมโนมติ เรื่องสมดุลเคมี ก่อน เรียนเท่ำกับ 7.37 (ร้อยละ 24.56) และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ำกับ 23.10 (ร้อยละ 77.00) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่ำก่อนเรียน เมื่อพิจำรณำกำรแจกแจงของจำนวนนักเรียนเป็นมีมโนมติที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับแนวคิด วิทยำศำสตร์ พบว่ำ ก่อนเรียนนักเรียนส่วนใหญ่มีมโนมติไม่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ (76.00%) อย่ำงไร ก็ตำมหลังเรียนนักเรียนร้อยละ 83.67 มีมโนมติสอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ 2.นักเรียนที่เรียนด้วยกำรจัด กิจกรรมกำรเรียนรู้กำรสอนแบบอุ ปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus มีคะแนน ควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ำกับ 10.17 (ร้อยละ 33.89) เฉลี่ยหลังเรียน 18.10 คะแนน (ร้อยละ 60.33) และมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียนอย่ำง มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: มโนมติเรื่องสมดุลเคมี, การสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus

685


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ABSTRACT The purposes of this research were to study and compare on chemical equilibrium concepts and analytical thinking ability of grade 11 students who learnt through the KWL Plus Technique and Inductive Method. The participants were selected using cluster random sampling technique, and they comprised 30 grade 11 students who learned in the first semester of academic year 2017 at Udonpittayanukoon School in Muang District, Udonthani. The research design was the one-group pretest-posttest design. The research instruments were 7 lesson plans and a two tier test on Udon Pittayanukoon School) and on chemical equilibrium ability test. The student responses to each two-tier test item were classified following the criteria by Haidar (1997): Sound Understanding (SU, 3 points), Partial Understanding (PU, 2 points), Partial understanding with misunderstanding (PS, 1 point), Misunderstanding (MU, 0 point), and No Understanding (NU, 0 point). The data were analyzed using frequency, mean, percentage, standard deviation and t-test for Dependent Samples. The findings revealed that: 1. The student’s mean scores before and after learning were 7.30 (24.56%) and 23.10 (77.00%), respectively; and the post-test mean score was higher than the pretest. Before learning, most students’ conceptions were inconsistent with scientific view (76.00 %); however, most of them had Work and Energy concepts which is consistent with the scientific view after learning (83.67%).2. The student’s the pre-test mean score of Critical Thinking Ability of students who were taught through Constructivist learning theory and inductive method. was 10.17 (33.89 %) and the posttest mean score was 18.10 (60.33 %). It showed that the posttest means score was higher than the pretest at the level of statistical significance .01 KEYWORDS: Chemical equilibrium Concepts, KWL Plus Technique and Inductive Method บทนา ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่ำกำรจัดกำรศึกษำวิทยำศำสตร์ คณิตศำสตร์และเทคโนโลยีของประเทศมีปัญหำ มำกจะเห็นได้จำกผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนเมื่อเทียบกับนำนำชำตินักเรียนของไทยมีระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ จำกผลคะแนนกำรสอบ PISA ของนักเรียนในทั้งด้ำนกำรอ่ำน คณิตศำสตร์ และวิทยำศำสตร์ มีคะแนนรวมที่ต่ำกว่ำ ค่ำเฉลี่ยของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) (สถำบันส่งเสริมกำร สอนวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยี , 2556: 18) แม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2012 ทั้งนี้เกิดจำกกำรที่นักเรียนทำ ข้อสอบประเภทกำรนำควำมรู้ไปใช้และกระบวนกำรคิดแก้ปัญหำไม่ค่อยได้และเขียนอธิบำยไม่เป็น และจำกกำร ทดสอบวัดผลกำรเรียนของนัก เรียนชั้นมัธยมศึกษำในช่วงระหว่ำงภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2556 โรงเรียนอุดร พิทยำนุกูล ในรำยวิชำเคมีเพิ่มเติม พบว่ำ นักเรียน ร้อยละ 76.56 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ผู้วิจัยทำกำรสอนนั้น มีผลกำรสอบไม่ผ่ำนเกณฑ์คะแนนที่ร้อยละ50 ของคะแนนทั้งหมด และพบว่ำมีนักเรียนร้อยละ 40.54 ไม่สำมำรถ เขียนอธิบำยในส่วนที่เป็นข้อสอบเขียนอธิบำยได้

686


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำกปัญหำข้ำงต้น จึงจำเป็นอย่ำงยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องหำวิธีกำรในกำรจัดกำรเรียนกำรสอนเพื่อให้เกิด มโนมติที่ถูกต้อง จะเป็นกำรช่วยให้ผู้เรียนเกิดกำรเรียนรู้เนื้อหำสำระต่ำงๆอย่ำงเข้ำใจ และสำมำรถให้คำนิยำมของ มโนมตินั้นนั้นด้วยตนเองได้ (ทิศนำ แขมมณี, 2556: 225) บรูนเนอร์ (Jerome Bruner อ้ำงถึงใน สุรำงค์ โค้วตระกูล, 2545: 213) จำกกำรศึกษำงำนวิจัยพบว่ำ กำรใช้วิธีกำรสอนแบบอุปนัย ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนและ กำรคิดวิเครำะห์ที่สูงขึ้น (อรนุช กอสวัสดิ์พัฒน์, 2550; สุดำรัตน์ หมื่นไธสง, 2553; ปิยนุช แก่นสำ, 2554) นอกจำ กำรนำวิธีกำรสอนแบบอุปนัยมำใช้ในกำรจัดกำรเรียนกำรสอนเรื่องสมดุลเคมีแล้วผู้วิจัยมีควำมสนใจที่จะใช้กำร จัดกำรเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus มำใช้พัฒนำทักษะกำรเขียนอธิบำยและสรุปควำมรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นเทคนิค วิธีที่พัฒนำต่อเนื่องมำจำกเทคนิค KWL ที่พัฒนำขึ้นโดย โอเกิ้ล (Ogle) ในปี ค.ศ. 1986 และร่วมกันกับคำร์ (Carr) ในปี ค.ศ. 1987 ศึกษำพัฒนำเทคนิค KWL Plus ให้มีควำมสมบูรณ์มำกยิ่งขึ้น โดยเพิ่มกำรทำแผนภูมิรูปภำพ ควำมคิดให้นักเรียนได้สรุปเรื่องที่เรียนอีกครั้ง คำร์ และโอเกิ้ล (Carr and Ogle, 1987: 626 – 631) ซึ่งเป็นเทคนิค วิธีที่ส่งเสริมทักษะกำรคิดทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน และส่งเสริมทักษะกำรเขียนอธิบำยและสรุปควำมรู้ในขั้นของ กำรสรุปเรื่องโดยใช้แผนภูมิรูปภำพควำมคิด รวมทั้งส่งเสริมกำรเรียนรู้โดยกำรระดมกำลังสมอง สอดคล้องกับ พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พุทธศักรำช 2542 มำตรำ 22 (สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ , 2548: 19-21) ซึ่งจำกกำรศึกษำงำนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกำรใช้เทคนิค KWL Plus ในกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้พบว่ำ กำรใช้เทคนิค KWL Plus ในกำรจัดจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ สำมำรถทำให้นักเรียนเกิดกำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำร คิดวิเครำะห์ในด้ำนกำรประยุกต์และนำไปใช้ที่สูงขึ้น (วิไลลักษณ์ วงศ์วัจนสุนทร, 2551; วรำพร โยธำภักดี, 2555; ยุทธนำ กันตะบุตร, 2553; Stahl, 2003) จำกเหตุผลที่กล่ำวมำข้ำงต้น ผู้วิจัยมีควำมประสงค์ที่จะใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ในกำรจัดกำรเรียนรู้ในรำยวิชำเคมี เรื่อง สมดุลเคมี เพื่อที่จะนำมำใช้ในกำรพัฒนำมโนมติของนักเรียน และ พัฒนำควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ กำรอธิบำยและสรุปควำมรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 โดยต้องกำร ศึกษำว่ำกำรใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus จะสำมำรถพัฒนำมโนมติของนักเรียน และพัฒนำ ควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ได้หรือไม่ อย่ำงไร วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึก ษำและเปรี ยบเที ยบมโนมติ เรื่อง สมดุ ลเคมี ก่อนเรียนและหลั งเรีย น ของนักเรียนชั้ น มัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus 2. เพื่อศึกษำและเปรียบเทียบควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus สมมติฐานของการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่ได้เรียนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus หลัง เรียนมีมโนมติเรื่อง สมดุลเคมี สูงกว่ำก่อนเรียน และนักเรียนมีมโนมติ ที่สอดคล้องทำงวิทยำศำสตร์หลังเรียนสูงกว่ำ ก่อนเรียน 2. ควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ได้เรียนโดยใช้กำรสอนแบบ อุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus หลังเรียนสูงกว่ำก่อน

687


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ขอบเขตของการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตกำรวิจัย ดังนี้ 1) ประชำกรในกำรวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 โรงเรียนอุดรพิทยำนุกูล สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 จำนวน 4 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 208 คน 2) ตัวแปรที่ศึกษำ ตัวแปรต้น ได้แก่ 1 กำรจัดกำรเรียนรู้โดย ใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ตัวแปรตำม คือ มโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี และควำมสำมำรถในกำร คิด วิ เ ครำะห์ 3) เนื้ อ หำที่ ใช้ ใ นกำรวิ จั ย เป็ น เนื้ อ หำ รำยวิ ชำเคมี เ รื่ องเรื่ อ งสมดุ ล เคมี ชั้ น มั ธ ยมศึก ษำปี ที่ 5 4) ระยะเวลำที่ใช้ในกำรทดลองแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ได้ 7 แผน โดยใช้เวลำกำรทดลอง 7 แผน ใช้แผนละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 21 ชั่วโมง ในภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกรที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 ของ โรงเรียนอุดรพิทยำนุกูล สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำ เขต 20 ที่เรียนวิชำเคมีเพิ่มเติม ว 32223 เรื่องสมดุล เคมี จำนวน 4 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 208 คน กลุ่มตัวอย่ำงในกำรวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ภำคเรียนที่ 2 ปีกำรศึกษำ 2560 โรงเรียนอุดรพิทยำนุกูล อ.เมือง จ.จังหวัดอุดรธำนี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus จำนวน 7 แผน ใช้แผน ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 21 ชั่วโมง ประเมินองค์ประกอบของแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ มีค่ำเฉลี่ยอยู่ระหว่ำง 4.364.64 ซึ่งมีลำดับกำรจัดกิจกรรมขั้นตอน ดั้งนี้ 1. ขั้นเตรียม เป็นกำรนำเข้ำสู่บทเรียนโดยกำรทบทวนควำมรู้เดิมใน บทเรี ย นที่ เ รี ย นมำแล้ ว เพื่ อ เป็ น พื้ น ฐำนในกำรรั บ ควำมรู้ ใ หม่ แจ้ งเนื้ อ หำที่ จ ะเรี ย นในชั่ ว โมงนี้ พ ร้ อ มทั้ ง แจ้ ง จุดประสงค์ในกำรเรียนกำรสอน ให้นักเรียนเขียนควำมรู้ที่นักเรียนรู้มำเกี่ยวกับเรื่ องที่จะเรียน (What you know: K) จำกนั้นให้นักเรียนเขียนบันทึกสิ่งที่นักเรียนคิดว่ำอยำกจะรู้จำกเนื้อหำที่จะเรียนนี้ (You want to know: W) 2. ขั้นนำเสนอตัวอย่ำง เป็นขั้นที่ครูนำเสนอตัวอย่ำง ซึ่งตัวอย่ำงนั้นอำจจะเป็น สัญลักษณ์ทำงเคมี กำรทดลอง เหตุกำรณ์ หรือปรำกฏกำรณ์ต่ำงๆ ให้นักเรียนได้ศึกษำ โดยนำเสนอตัวอย่ำงสองหรือสำมตัวอย่ำง เพื่อให้นักเรียน สำมำรถเปรียบเทียบลักษณะร่วมที่สำคัญของแต่ละตัวอย่ำงมำสรุปเป็นควำมหมำยของมโนทัศน์ด้วยตัวของผู้เรียน เอง 3. ขั้นสำรวจ ให้นักเรียนศึกษำ สังเกต ทดลอง เพื่อพิจำรณำ หรือเปรียบเทียบองค์ประกอบร่วมที่คล้ำยคลึงกัน ในตัวอย่ำงที่ครูนำเสนอเพื่อเตรียมไว้เป็นข้อมูลในกำรสรุปเป็นกฎเกณฑ์ต่อไป 4. ขั้นสรุป เป็นกำรนำผลกำร เปรียบเทียบและค้นหำลักษณะร่วมที่ได้ดำเนินกำรไว้มำสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยำม หลักกำร หรือสูตรด้วยตัวนักเรียน เอง แล้วให้นักเรียนนำเสนอผลที่ได้ เพื่อนนักเรียนและผู้สอนอภิปรำยผลร่วมกัน จำกนั้นให้นักเรียนทำแผนภำพ ควำมคิดสรุปควำมรู้ที่ได้ในเนื้อหำนั้นๆ (Mind Mapping) 5. ขั้นนำไปใช้ เป็นกำรทดสอบควำมเข้ำใจของนักเรียน เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ นิยำม หลักกำร หรือสูตรที่นักเรียนสรุปได้ว่ำสำมำรถนำไปใช้แก้ปั ญหำได้หรือไม่ โดยกำรให้ นักเรียนทำแผนภำพควำมคิดสรุปควำมรู้ที่ได้ในเนื้อหำนั้นๆ

688


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. แบบวัดมโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี 2 ระดับที่ผู้วิจัยสร้ำงขึ้นระดับที่ 1 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกและ ระดับที่ 2 เป็นกำรเขียนเหตุผลอธิบำยประกอบคำตอบในระดับที่ 1 จำนวน 10 ข้อ มีค่ำควำมยำกง่ำยอยู่ระหว่ำง 0.45-0.67 และมีค่ำอำนำจจำแนกอยู่ระหว่ำง 0.40-0.67 ค่ำควำมเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ เท่ำกับ 0.81 3. แบบวัดควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ เป็นแบบวัดกำรคิดวิเครำะห์ (มำตรฐำน) โดยใช้แบบวัด ของ ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงำม เป็นแบบไม่อิงเนื้อหำ จำนวน 30 ข้อ ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยมีคำตอบถูกและ ผิด โดยตอบถูกได้ 1 คะแนนและตอบผิดได้ 0 คะแนน การเก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนกำรทดลองให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่ำงทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบวัดมโนมติ เรื่อง สมดุลเคมีและแบบ วัดควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์จำกนั้นนำผลกำรทดสอบมำตรวจนับคะแนน และหำค่ำเฉลี่ยร้อยละ หลังจำกนัน้ ผู้วิจัยจัดกำรเรียนรู้ให้นักเรียนกลุม่ ตัวอย่ำงโดยใช้แผนกำรจัดกำรกำรเรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับ เทคนิค KWL Plus จำนวน 7 แผน ใช้แผนละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 21 ชั่วโมง หลังจบบทเรียน เรื่อง สมดุลเคมี ทั้งหมดตำมแผนกำรจั ด กำรเรี ย นรู้ แ ล้ว ให้ นั ก เรี ย นท ำ แบบทดสอบวั ด มโนมติ เรื่ อ ง สมดุล เคมี และแบบวั ด ควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดีย วกับแบบทดสอบก่อนเรียน จำกนั้นนำผลที่ได้ไ ป วิเครำะห์ต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ในกำรวิเครำะห์ข้อมูลกำรเปรียบเทียบมโนมติทำงวิทยำศำสตร์ เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่ได้รับกำรจัดกำรเรียนกำรเรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ซึ่งผู้วิจัยดำเนินกำรโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในกำรวิจัยครั้งนี้ใช้เกณฑ์ที่ปรับมำจำกงำนวิจัยของ Haidar (1997) ซึ่งแบ่งมโนมติออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยได้วิเครำะห์คำตอบของนักเรียนจำกแบบวัด มโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี โดยอ่ำนคำตอบของนักเรียนไปพร้อมกัน จำกนั้นลงควำมเห็นว่ำ ควรจัดคำตอบของนักเรียน เข้ำกลุ่มใดตำมเกณฑ์ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งมีเกณฑ์ดังตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 เกณฑ์กำรจัดกลุ่มแบบวัดมโนมติ เรื่อง เรื่องสมดุลเคมี มโนมติ SU (3 คะแนน) PU (2 คะแนน) PS (1 คะแนน) NU (0 คะแนน)

ตัวเลือก

เหตุผล เขียนแสดงเหตุผลถูกต้องสมบูรณ์ เขียนแสดงเหตุผลถูกหรือบำงส่วนไม่เขียน เขียนแสดงเหตุผลถูกต้องสมบูรณ์ เขียนแสดงเหตุผลผิดหรือคลำดเคลื่อน เขียนแสดงเหตุผลถูกต้องบำงส่วน เขียนแสดงเหตุผลผิ ดหรื อคลำดเคลื่อน ไม่ เขีย น เหตุผล/ตอบไม่ตรง

ถูกต้อง ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง

จำกนั้นรวมคะแนนของนักเรียนแต่ละคน หำร้อยละของคะแนนของนักเรียนแต่ละคน ค่ำเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมำตรฐำน (SD) และเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยกำรทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test for depentdent samples) ที่ p = .01 จำกนั้นนำควำมถี่ของแบบวัดมโนมติแต่ละข้อ โดยให้ นักเรียนที่มีมโนมติที่อยู่

689


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ในกลุ่ม SU และ PU จัดเข้ำกลุ่มมโนมติที่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ และมโนมติที่อยู่ในกลุ่ม PS และ NU จัด เข้ำกลุ่มที่มีมโนมติไม่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ แล้วเปรียบเทียบมโนมติก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกำร ทดสอบไคสแควร์แบบ McNemar 2. กำรวิเครำะห์ข้อมูลจำกแบบวัด ควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ เป็นแบบวัดกำรคิดวิเครำะห์ (มำตรฐำน) โดยใช้แบบวัดของ ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงำม เป็นแบบไม่อิงเนื้อหำ จำนวน 30 ข้อ ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยมีคำตอบถูกและผิด โดยตอบถูกได้ 1 คะแนน และตอบผิดได้ 0 คะแนน นำมำตรวจหำค่ำเฉลี่ยของ คะแนน ค่ำร้อยละ ค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำนจำกนั้นเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อทดสอบสมมุติฐำน โดยใชสถิติทดสอบที (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัย 1. ผลกำรเปรียบเทียบ มโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกำร เรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ระหว่ำงก่อนเรียนและหลังเรียน ผู้วิจัยนำ คำตอบของนักเรียนจำกแบบวัดมโนมติมำเปรียบเทียบควำมแตกต่ำงระหว่ำงคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน ผลกำรศึกษำ (ตำรำงที่ 2 ) พบว่ำ ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนมโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี เฉลี่ย เท่ำกับ 7.37 (ร้อยละ 24.56) และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ำกับ 23.10 (ร้อยละ 77.00) เมื่อเปรียบเทียบควำมแตกต่ำงระหว่ำงคะแนน เฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยกำรทดสอบทีแบบไม่อิสระ พบว่ำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกำร เรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus หลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียน ตำรำงที่ 2 ผลกำรเปรียบเทียบคะแนนมโนมติ เรื่อง สมดุลเคมี ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำ ปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกำรเรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus กำรทดสอบ ก่อนเรียน หลังเรียน

Mean 7.37 23.10

SD 3.60 3.24

t -21.455

Sig 0.00

2. ผลกำรศึ ก ษำกำรเปรี ย บเที ย บมโนมติ เ รื่ อ งสมดุ ล เคมี ข องมโนมติ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ทำง วิทยำศำสตร์ และมโนมติที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับกำรจัดกิจกรรม กำรจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus) ของนักเรียนจำนวน 30 คน มำเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลัง มีกำรเปลี่ยนแปลงไปอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจำรณำมโน มติของนักเรียนก่อนเรียน พบว่ำนักเรียนส่วนมำก มีมโนมติที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ คิดเป็นร้อยละ 76.00 แต่เมื่อหลังเรียน พบว่ำนักเรียนมีกำรปรับเปลี่ยนจำกมโนมติที่ไม่สอดคล้อง เป็นมโนมติที่สอดคล้องกับ แนวคิดทำงวิทยำศำสตร์มำกขึ้น คิดเป็นร้อยละ 83.67 ดังแสดงในตำรำงที่ 3

690


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตำรำงที่ 3 ผลกำรศึกษำกำรเปรียบเทียบมโนมติเรื่องสมดุลเคมีของมโนมติที่สอดคล้องกับแนวคิด ทำงวิทยำศำสตร์ และมโนมติที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์ก่อนเรียนและหลัง แบบวัด มโนมติข้อที่ รวม (ร้อยละ)

ก่อนเรียน มโนมติที่ไม่สอดคล้อง มโนมติที่สอดคล้อง รวม

หลังเรียน มโนมติที่ไม่สอดคล้อง มโนมติที่สอดคล้อง 46 (15.33) 182(60.67) 3 (1.00) 69 (23.00) 49(16.33) 251(83.67)

รวม 228 (76.00) 72 (24.00) 300 (100)

3. ผลกำรศึกษำและเปรียบเทียบควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกำรจัด กิจกรรมกำรเรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ำกับ 10.17 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.89 เฉลี่ยหลังเรียน เท่ำกับ 18.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60.33 เมื่อ นำมำเปรียบเทียบควำมแตกต่ำงระหว่ำงคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยกำรทดสอบแบบทีไม่อิสระ สรุปได้ ว่ำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 5 ได้รับกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนโดยใช้กำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus มีควำมสำมำรถกำรคิดวิเครำะห์หลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียนอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 สรุปผลการวิจัย นัก เรีย นชั้น มัธ ยมศึก ษำปีที่ 5 ที่เ รีย นด้ว ยกำรสอนแบบอุป นัย ร่ว มกับ เทคนิค KWL Plus เรื่อง สมดุ ลเคมี พบว่ำ ก่อ นเรีย นนัก เรี ยนส่วนใหญ่มี มโนมติ วิท ยำศำสตร์ ส่วนมำกอยู่ในกลุ่ มที่ ไม่มี ควำมเข้ำ ใจ ( No Understanding: NU) และมีมโนมติเข้ำใจถูกบำงส่วน (Partial Understanding: PU) คิดเป็นร้อยละ 76.0 ส่วนมี มโนมติ เ ข้ำ ใจถูก บำงส่ ว น (Partial Understanding: PU) และมี มโนมติที่ เ ข้ำ ใจเชิ งวิท ยำศำสตร์ (Sound Understanding :SU) นั้นมีจำนวนมำกน้อยสลับข้อกันไป ในภำพรวมคิดเป็นร้อยละ 24.0 และหลังเรียนนักเรียน ส่วนใหญ่มีมโนมติที่เข้ำใจเชิงวิทยำศำสตร์ (SU) และมีมโนมติเข้ำใจถูกบำงส่วน (PU)คิดเป็นร้อยละ 83.67 และยังคง มีนักเรียนจำนวนน้อยที่ยังคงมีมโนมติในในกลุ่มมีควำมเข้ำใจคลำดเคลื่อน (Ps) และไม่มีควำมเข้ำใจ (NU)คิดเป็นร้อย ละ 16.33 เมื่อทำกำรกำรทดสอบทีแบบไม่อิสระ(t-test for Dependent Sample) พบว่ำ นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษำปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกำรจัด กำรเรียนกำรสอนแบบอุปนัยร่วมกั บเทคนิค KWL Plus มีกำรเปลี่ยนแปลง มโนมติ เรื่องสมดุลเคมีที่สอดคล้องกับแนวคิดทำงวิทยำศำสตร์เพิ่มขึ้นอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ 0.01 ระหว่ำงก่อน เรียนและหลังเรียนทุกแนวคิด และควำมสำมำรถในกำรคิดวิเครำะห์หลังเรียนสูงกว่ำก่อนเรียนอย่ำงมีนัยสำคัญทำง สถิติที่ระดับ .01 วิจารณ์ผลการวิจัย กำรจัด กำรเรีย นรู้ด้ว ยกำรเรียนกำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus เป็นกำรจัดกำรเรียน กำรสอนที่ส่งเสริมควำมเข้ำใจมโนมติทำงวิทยำศำสตร์และเป็นวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนำทักษะกำรอ่ำน คิด วิเครำะห์ เขียนสรุปและนำเสนอข้อมูลด้วยตนเองอันเป็นเครื่องมือสำคัญของกำรเรียนรู้ โดยที่นักเรียนได้เป็นผู้สร้ำง ควำมรู้ด้วยตนเอง ผ่ำนกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ที่ได้ออกแบบไว้ให้สอดคล้องกับกำรเรียนรู้ตำมหลัก จิตวิทยำกำรเรียนรู้ โดยเริ่มตั้งแต่กำรเตรียมควำมพร้อมทั้งทำงด้ำนอำรมณ์ สังคม สติปัญญำ ที่ ผู้เรียนจะรับรู้ถึง

691


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จุดมุ่งหมำยและมีแรงจูงใจในกำรเรียนบทเรียน ให้ผู้เรียนสืบเสำะหำควำมรู้จำกกำรศึกษำ สำรวจ/ทดลอง จำกกรณี ตัวอย่ำงจำนวน 2-3 ตัวอย่ำง ที่เป็นสถำนกำรณ์เกี่ยวกับเรื่อง สมดุลเคมี ที่สัมพันธ์กับเนื้อหำย่อย ๆ นั้น โดยที่ครู นำเสนอตัวอย่ำงข้อมูล สถำนกำรณ์ เหตุกำรณ์ ปรำกฏกำรณ์ให้นักเรียนสังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่ำง เพื่ อ พิ จ ำรณำเปรี ย บเที ย บหรื อ ท ำกำรทดลองว่ ำ มี ปั จ จั ย อะไรที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ปรำกฏกำรณ์ ที่ น ำเสนอแต่ ล ะ ปรำกฏกำรณ์และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปปัจจัย (ตัวแปร) ที่พบเป็นหลักกำร แนวคิด หรือกฎเกณฑ์ ครู และนักเรียนอภิปรำยผลร่วมกันทั้งห้อง เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้องค์ควำมรู้ทำงวิทยำศำสตร์จำกระบวนกำรดังกล่ำว แล้ว จะทำให้นักเรียนสร้ำงองค์ควำมรู้วิทยำศำสตร์ที่เป็นมโนมติสำคัญ หลักกำร กฎ หรือทฤษฎีขึ้น ภำยในตัวผู้เรียน เอง เช่นเดี ยวกับกระบวนกำรที่นักวิท ยำศำสตร์ท ำ และเพื่อให้นักเรี ยนเรี ยนอย่ ำงมีควำมหมำย (Meaningful Learning Theory) ตำมหลักของ ออซูเบล (Ausubel) ซึ่งจะทำให้มีควำมคงทนของควำมเข้ำใจมโนมติทำง วิทยำศำสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบกำรสอนแบบอุปนัยของ ชำตรี เกิดธรรม (2542: 89) และ บัญญัติ ชำนำญกิจ (2540: 140) นอกจำกนี้พบว่ำ กำรจัดกำรเรียนกำรสอนแบบอุปนัยยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนค้นคว้ำควำมรู้ด้วย ตนเอง ส่งผลต่อควำมเข้ำใจมโนมติทำงวิทยำศำสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับกำรศึกษำของสนอง อินละคร (2544: 95) นอกจำกกำรสอนแบบอุปนัยแล้ว เทคนิค KWL Plus มีส่วนช่วยในกำรเชื่อมโยงควำมรู้เดิมกับควำมรู้ใหม่ของ นักเรียน จำกกำรศึกษำพบว่ำ หำกนักเรียนมีควำมรู้เดิมเกี่ยวกับหลักกำรสมดุลเคมี นักเรียนจะสำมำรถทำควำม เข้ำใจในเนื้อหำได้อย่ำงรวดเร็ว รวมทั้ง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งวัตถุประสงค์ ในกำรอ่ำน รวบรวมข้อมูลจำกเรื่อง จัดระบบข้อมูลสร้ำงแผนภูมิควำมคิดจำกเรื่องและสรุปเรื่องที่อ่ำนไดอย่ำงมีประสิทธิภำพ ส่งผลให้มีควำมเข้ำใจมโน มติทำงวิทยำศำสตร์ในเรื่องสมดุลเคมี ซึ่งสอดคล้องกับกำรศึกษำของวรำพร โยธำภักดี (2555) และวิไลวรรณ สวัสดิ์ วงศ์ (2547) ข้อเสนอแนะ. ควรศึกษำผลของกำรจัดกำรเรียนรู้โดยกำรวิธีกำรสอนแบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค KWL Plus ใน เนื้อหำวิชำเคมีเรื่องอื่น ๆ เช่น กรด – เบส โครงสร้ำงอะตอม พันธะเคมี เป็นต้น และศึกษำผลที่มีต่อกำรเรียนรู้ของ นักเรียนในด้ำนอื่น ๆ เช่น ทักษะกระบวนกำรทำงวิทยำศำสตร์ กำรคิดวิเครำะห์ กำรคิดอย่ำงมีวิจำรณญำณ เป็นต้น เอกสารอ้างอิง ทิศนำ แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. บัญญัติ ชำนำญกิจ. (2540). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 1022301 หลักการสอน. นครสวรรค์: ภำควิชำ หลักสูตรและกำรสอน คณะครุศำสตร์ สถำบันรำชภัฏนครสวรรค์. ปิยนุช แก่นสำ. (2554). การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารและการ เปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามรูปแบบอุปนัย แบบอุปนัย–นิรนัย และ แบบปกติ. วิทยำศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำเคมีศึกษำ มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. ยุทธนำ กันตะบุตร. (2553). ทำกำรศึกษำผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน และทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของ นัก เรีย นชั้น มั ธยมศึก ษาปี ที่ 5 โดยใช้ รูป แบบวัฏจั ก รการเรี ย นรู้ 5E ร่ วมกั บเทคนิ ค KWLH. วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ศึกษำศำสตรมหำบัณฑิต มหำวิทยำลัยรำมคำแหง.

692


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วรำพร โยธำภักดี. (2555). การปรับเปลี่ยนมโนมติของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด – เบส โดยใช้ การอุปมาร่วมกับการวัดและประเมินผลด้วยวิธี K-W-L. วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ศึกษำศำสตร มหำบัณฑิต สำขำหลักสูตรและกำรสอน มหำวิทยำลัยขอนแก่น. วิไลวรรณ ปิยะปกรณ์. (2535). การศึกษาผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และ ความสามารถในการคิดวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการสอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยำนิพนธ์ปริญญำศึกษำศำสตรมหำบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหำวิทยำลัยศรีนครินทรวิโรฒประสำนมิตร. สนอง อินละคร. (2544). เทคนิควิธีการและนวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็น ศูนย์กลาง. อุบลรำชธำนี : อุบลกิจออฟเซทกำรพิมพ์. สถำบันส่งเสริมกำรสอนวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยี . (2548). หนังสือเรียนเคมี พื้นฐานและเพิ่มเติมเล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภำลำดพร้ำว. สถำบันส่งเสริมกำรสอนวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยี. (2556). บทสรุปผลการวิจัย TIMSS 2011(ด้านนักเรียนและ ครูผู้สอน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). สุรำงค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. อรนุช กอสวัสดิ์พัฒน์. (2550). การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการเรียน วิทยาศาสตร์กับการ เรียนด้วยชุดการสอนแบบอุ ปนัยและแบบนิรนัย ของนัก เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ . สำขำวิชำเทคโนโลยีกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยศิลปำกร. Carr and Ogle. (1987). K-W-L: A teaching model that develops active reading of expository text. The Reading Teacher. 39(6), 626 – 631. Haidar, A. H. (1997). Prospective chemistry teachers’ conception of conservation of matter and related concept. Journal of Research in Science Teaching, 34(4), 181-197. Novak, J. D. (1993). How do we learn our lesson?: Taking students through the process. The Science Teacher, 60(3), 51–55. Schwandt, T. A. (1994). Constructivist, interpretive approaches to human inquiry. [n.p.]: Denzin & Lincoln.

693


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-09 วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 THE ORGANIZATIONAL CULTURE AND THE EFFICIENCY OF SCHOOL ADMINISTRATION IN THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE ARES 20 สมำน ประวันโต บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ อ1) ศึกษำวัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 และ 2) เพื่อศึกษำควำมสัมพันธ์ วัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพ กำรบริหำรโรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 และ 3)เพื่อเสนอแนวทำงกำรสร้ำงประสิทธิภำพ กำรบริหำรโรงเรียน ในกำรวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมำณ กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัย คือ คณะ ผู้บริหำรและครูของโรงเรียนสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 จำนวน 297 คน เลือกกลุ่ม ตัวอย่ำงโดยวิธีกำรสุ่มแบบแบ่งชั้นและกำรสุ่มตัวอย่ำงแบบง่ำย รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถำมสถิติที่ใช้ในกำรวิจัย ได้แก่ ควำมถี่ ค่ำร้อยละค่ำเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำนค่ำสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)วัฒนธรรมองค์กำร ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็ จ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ และวัฒนธรรมแบบรำชกำร ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน ประกอบด้วยกำรบริหำรงำนวิชำกำร กำรบริหำรงำน งบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และกำรบริหำรงำนทั่วไป 2)วัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพกำรบริหำร โรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 มีควำมสัมพันธ์ในรูปเชิงเส้นและสัมพันธ์กันในทำงบวก (r เป็นบวก) ในระดับมำก มีค่ำ r ระหว่ำง 0.951 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 3)แนวทำงกำรสร้ำงประสิทธิภำพกำร บริหำรโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย กำรบริหำรงำนวิชำกำร กำรบริหำรงำนงบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และกำร บริหำรงำนทั่วไป คำสำคัญ : วัฒนธรรมองค์การ ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียน Abstract This research was aimed to; 1) study the Organizational Culture and The Efficiency of School Administration in the Office of Secondary Educational Service Ares 20. 2) study the Organizational Culture and The Efficiency of School Administration in the Office of Secondary Educational Service Ares 20. 3) to propose development of the Efficiency of School Administration. The research employed A Quantitative Research. The sample populations were 297 including administrators and Teachers of Schools in the Office of Secondary Educational Service Ares 20. The populations were selected using stratified random sampling and simple random techniques. The research findings were as follows : 1) the organizational culture consisted of 4 components : adaptability culture, achievement oriented culture, clan culture, and bureaucratic culture. The efficiency of school administration consisted of 4 components :

694


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

academicadministration, administrative budget, personnel management, and personnel management. 2) the relationship between the organizational culture and the efficiency of school administration in the office of secondary educational service ares 20 were correlated in the same direction (r=0.951) at 0.01 level of significance. 3) The propose development of the Efficiency of School were academic management, Budget management, human resource management, and general management. Keywords : Organizational Culture, Efficiency of School Administration. บทนา สถำนศึกษำเป็นตัวจักรสำคัญในกำรปฏิรูปกำรศึกษำขั้นพื้นฐำนช่วยแก้ปัญหำต่ำงๆ ที่เกิดขึ้นโดยรีบด่วน และเป็นกำรแก้ไขที่ให้ผลอย่ำงยั่งยืน ภำระหน้ำที่ของผู้บริหำรสถำนศึกษำจะมีมำกหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับขนำดของ สถำนศึก ษำและระดั บช่ วงชั้ นของกำรจั ดกำรศึ ก ษำ ขอบเขตของกำรบริ หำรสถำนศึ กษำในสังกั ดส ำนัก งำน คณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำนกำหนดไว้ มี 4 ด้ำน คือ 1) ด้ำนกำรบริหำรงำนวิชำกำร 2) ด้ำนกำรบริหำรงำน งบประมำณ 3) ด้ำนกำรบริหำรงำนบุคคลและ 4) ด้ำนกำรบริหำรงำนทั่วไป(สำนักงำนคณะกรรมกำรแห่งชำติ , 2545) วัฒนธรรมองค์กำร(Organizational Culture)เป็นเครื่องมือทำงกำรบริหำรและกำรพัฒนำองค์กำรที่ทำให้ องค์กำรเกิดประสิทธิภำพและประสิทธิผล(Kluckhohn & Kelly, 1945 ; Schein, 2004) วัฒนธรรมองค์กำร ก่อให้เกิดควำมสำเร็จขององค์กำรและถือว่ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกำรปฏิบัติงำนขององค์กำรอย่ ำงมีนัยสำคัญ (Denison, 1990 ; Schermerhorn et al., 2005 ; Cameron, 2008 ) องค์กำรใดที่มีวัฒนธรรมไม่เข้มแข็งและไม่ ยืดหยุ่น จะทำให้องค์กำรมีกำรปรับตัวไม่ทันต่อสถำนกำรณ์ ไม่ทันต่อกระแสกำรเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกำภิ วัตน์ กำรบริหำรสมัยใหม่จึงต้องกำหนดวัฒนธรรมขององค์กำรที่พึงประสงค์และสร้ำงวัฒนธรรมใหม่ที่สอดคล้องกับ ทิ ศทำงและวิ สั ยทั ศ น์ ขององค์ กำรขึ้ น เพื่ อใช้ เ ป็ น เครื่ อ งหล่ อ หลอมให้ พ นั ก งำนยึ ด ถื อ เป็ น แนวทำงปฏิ บั ติ ใน ขณะเดียวกันก็ต้องขจัดวัฒนธรรมที่ไม่ดีให้หมดไปจำกองค์กำรอีกด้วย (พัชรี ชมพูคำ, 2551) องค์กำรทุกแห่งต่ำงมี วัฒนธรรมองค์กำรเป็นของตนเองที่แตกต่ำงกันออกไปซึ่งวัฒนธรรมองค์กำรจะเชื่อมโยงกับแบบแผนพฤติกรรมที่ บุคคลในองค์กำรยึดถือเป็นแนวทำงในกำรประพฤติปฏิบัติในกำรทำงำนภำยในองค์กำร เชื่อมโยงกับกระบวนกำร ทำงำนหรือควำมเป็นผู้นำในองค์กำร ผู้บริหำรจึงควรออกแบบกำรบริหำรงำนที่ มุ่งผลสัมฤทธิ์ในกำรดำเนินงำนของ พนักงำนร่วมกันเพื่อกำรปรับปรุงพัฒนำกระบวนกำรปฏิบัติงำนภำยในองค์กำรให้มีประสิทธิภำพและประสิทธิผล (สุ พำนี สฤษฎ์วำนิช, 2552) สำหรับมิติต่ำงๆของวัฒนธรรมนั้น Daft (2002) ได้เสนอวัฒนธรรมองค์กำรที่มุ่งสู่ ผลสัมฤทธิ์และส่งเสริมประสิทธิ ผลขององค์กำร ประกอบไปด้วย 4 มิติ ได้แก่ 1)วัฒนธรรมแบบปรับตัว 2) วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ 3)วัฒนธรรมแบบเครือญำติ 4)วัฒนธรรมแบบรำชกำร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กำรที่ ก่อให้เกิดควำมเหนียวแน่นสอดคล้องในกำรบูรณำกำรภำยในองค์กำร เกิดอัตลักษณ์ของกลุ่ม ช่วยให้สมำชิกของ องค์กำรมีกำรประสำนควำมร่วมมือให้เข้ำกับนโยบำยและวัตถุประสงค์ขององค์กำร

695


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรอิสระ (independent variables; IV)

วัฒนธรรมองค์กำร 1. วัฒนธรรมแบบปรับตัว 2. วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ 3. วัฒนธรรมแบบเครือญำติ 4. วัฒนธรรมแบบรำชกำร

SRRU NCR2018

ตัวแปรตำม (dependent variables; DV) ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดสานักงาน เขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 1.กำรบริหำรงำนวิชำกำร 2.กำรบริหำรงำนงบประมำณ 3.กำรบริหำรงำนบุคคล 4.กำรบริหำรงำนทั่วไป

วิธีดาเนินการวิจัย กำรวิจัยครั้งนีใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมำณ มีขั้นตอนกำรดำเนินกำรวิจัยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) กำรออกแบบกำรวิจัย 2) ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง 3) เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย 4) กำรตรวจสอบและหำคุณภำพ เครื่องมือ 5) กำรเก็บรวบรวมข้อมูล 6) กำรวิเครำะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกร คื อ คณะผู้ บ ริ ห ำรและครู ใ นโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษำในสั งกั ด ส ำนั กงำนเขตพื้ นที่ กำรศึ กษำ มัธยมศึกษำ เขต 20 จำนวน 1,148 คน กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้สำหรับกำรวิจัย ได้แก่คณะผู้บริหำรและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษำในสังกัดสำนักงำนเขต พื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 จำนวน 296 คน เลือกกลุ่มตัวอย่ำงโดยใช้วิธีกำรสุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่งชั้น(พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถำม แบ่งเป็น 4 ส่วน ในส่วนที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบปลำย ปิด(closed form) ส่วนที 2 ส่วนที่ 3 เป็นแบบมำตรประมำณค่ำ 5 ระดับแบบมำตรำส่วนแบบลิเคอร์ท (likert scale) ตำมแนวคิดของ Likert (1961) และส่วนที่ 4 เป็นแบบสอบถำมแบบปลำยเปิดสำหรับกำรแสดงควำมคิดเห็น ทั่วไปและข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่ำง ประกอบด้วย เพศ อำยุ ระดับกำรศึกษำ สถำนภำพสมรส และตำแหน่ง ส่วนที่ 2 แบบสอบถำมเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กำร ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรม แบบมุ่งผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ และวัฒนธรรมแบบรำชกำร จำนวน 20 ข้อ ส่วนที่ 3 แบบสอบถำมเกี่ยวกับประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำ มัธยมศึกษำ เขต 20 ประกอบด้วย กำรบริหำรงำนวิชำกำร กำรบริหำรงำนงบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และ กำรบริหำรงำนทั่วไป จำนวน 20 ข้อ ส่วนที่ 4 ควำมคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป

696


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

การตรวจสอบและหาคุณภาพเครื่องมือ 1. การหาความตรงเชิ งเนื้อ หา (content validity) ผู้วิจั ยนำเครื่อ งมือ ที่ใช้ใ นกำรวิจัย ได้แ ก่ แบบสอบถำม ตรวจสอบควำมถูกต้องด้ำนเนื้อหำและภำษำเมื่อตรวจสอบจำกผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนำข้อคิดเห็นมำ ปรับปรุงตำมข้อเสนอแนะหลังจำกนั้นผู้วิจัยนำแบบสอบถำมมำหำค่ำควำมตรงเชิงเนื้อหำพบว่ำแบบสอบถำมมีดัชนี ควำมตรงเชิงเนื้อหำ (content validity index; CVI) เท่ำกับ 0.73 2. การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยใช้วิธีกำรทดสอบควำมตรง ตำมแบบกำรวิเครำะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อทดสอบค่ำ สถิติ Barlett’s test of sphericity และค่ำดัชนีไกเซอร์-ไมเยอร์ ออลคิน (Kaiser-Meyer-Olkin Measures of Sampling Adequacy: KMO) และหำค่ำExtraction communalities ได้ค่ำBartlett’s test มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ น้อยกว่ำ 0.05 (Sig. < 0.05) ค่ำ KMO มีค่ำอยู่ระหว่ำง 0.5-1.0 และค่ำ Extraction communalities มีค่ำอยู่ ระหว่ำง.5-1.0 3. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนำแบบสอบถำมไปทดลองใช้กับ ผู้บริหำร และครูโรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 19 จำนวน 30 ชุด หลังจำกนั้นนำแบบสอบถำมมำ วิเครำะห์หำควำมเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟำ (alpha coefficient) ของครอนบำคได้ค่ำควำมเชื่อมั่น เท่ำกับ 0.93 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ผู้วิจัยทำหนังสือถึงผู้บริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 จำนวน 63 แห่ง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์กำรวิจัยและขออนุญ ำตดำเนินกำรวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่ง แบบสอบถำมไปยังกลุ่มตัวอย่ำงและให้ผู้ช่วยคณะผู้วิจัยติดตำมเพื่อรับคืนแบบสอบถำมในระหว่ำงเดือน พฤษภำคม 2560 ถึง เดือน มิถุนำยน 2560 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่ำงได้แก่อำยุเพศ อำยุ ระดับกำรศึกษำ สถำนภำพสมรส และตำแหน่ง วิเครำะห์ด้วยสถิติพรรณนำได้แก่ควำมถี่ ร้อยละ ข้อมูลส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 วิเครำะห์ข้อมูลโดย 1) กำรวิเครำะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหำระดับควำม คิดเห็นของกลุ่มตัวอย่ำงที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่ กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนำได้แก่กำรหำค่ำเฉลี่ยและกำรหำค่ำเบี่ยงเบนมำตรฐำน 2) กำร วิเครำะห์ค่ำสหสัมพันธ์ระหว่ำงตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ในกำรวิเครำะห์โครงสร้ำงวัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพ กำรบริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 โดยสถิติเชิงอ้ำงอิง ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ข้อมูลส่วนที่ 4 วิเครำะห์ข้อมูลโดย วิเครำะห์ปรำกฎกำรณ์ทำงกำรบริหำรที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม องค์กำรและประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถำมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.28 มีอำยุระหว่ำง 31-40 ปี ร้อย ละ 47.30 มีระดับกำรศึกษำอยู่ในระดับปริญญำโท ร้อยละ 45.94 มีสถำนภำพสมรส ร้อยละ 60.81 เป็นครู ร้อยละ 78.71

697


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

2. ผลกำรวิจัยตำมวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่ำระดับควำมคิดเห็นของกลุ่ม ตัวอย่ำงที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กำรมีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด และประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 มีค่ำเฉลี่ยรองลงมำ ดังตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 แสดงค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ระดับควำมคิดเห็นของวัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพกำร บริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 (n=296) สถิติและกำรแปลควำมหมำย S.D. ควำมหมำย X 4.25 .35 มำก 4.14 .36 มำก

ตัวแปร(Variables) 1. วัฒนธรรมองค์กำร 2. ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน

วัฒนธรรมองค์กำร มีองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่ง ผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ และวัฒนธรรมแบบรำชกำร ในภำพรวม พบว่ำ กลุ่มตัวอย่ำงมีระดับควำม คิดเห็นมีค่ำเฉลี่ยอยู่ในระดับมำกที่สุด( X =4.25, S.D. = .35) โดย วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด ( X =4.35, S.D. = .45) รองลงมำตำมลำดับ คือ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ( X =4.26, S.D. = .45) วัฒนธรรม แบบปรับตัว ( X =4.22, S.D. = .45) และ วัฒนธรรมแบบรำชกำร มีค่ำเฉลี่ยน้อยที่สุด( X =4.17, S.D. = .43) ดังตำรำงที่ 2 ตำรำงที่ 2 ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ระดับควำมคิดเห็นของวัฒนธรรมองค์กำรและองค์ประกอบของ วัฒนธรรมองค์กำร (n=296) ตัวแปร วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบรำชกำร

ค่ำเฉลี่ย (Mean : X ) 4.3568 4.2649 4.2297 4.1716

ส่วนเบี่ยนเบนมำตรฐำน(S.D)

ควำมหมำย(defining)

.45027 .45668 .45077 .43955

มำกที่สุด มำกที่สุด มำกที่สุด มำก

ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย กำรบริหำรงำนวิชำกำร กำร บริหำรงำนงบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และกำรบริหำรงำนทั่วไป ในภำพรวม พบว่ำ กลุ่มตัวอย่ำงมีระดับ ควำมคิดเห็นมีค่ำเฉลี่ยอยู่ในระดับมำก( X =4.14, S.D. = .36) โดย กำรบริหำรงำนทั่วไป มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด ( X =4.28, S.D. = .42) รองลงมำตำมลำดับ คือ กำรบริหำรงำนวิชำกำร( X =4.20, S.D. = .48) กำรบริหำรงำน บุคคล( X =4.07, S.D. = .44) และกำรบริหำรงำนงบประมำณมีค่ำเฉลี่ยน้อยที่สุด( X =4.02, S.D. = .47) ดัง ตำรำงที่ 3

698


SRRU NCR2018

การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

ตำรำงที่ 3 ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ระดับควำมคิดเห็นของประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนและ องค์ประกอบของประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน ( n=296) ตัวแปร ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน กำรบริหำรงำนวิชำกำร กำรบริหำรงำนงบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล กำรบริหำรงำนทั่วไป

ค่ำเฉลี่ย (Mean : X )

ส่วนเบี่ยนเบน มำตรฐำน(S.D)

ควำมหมำย (defining)

4.14 4.20 4.02 4.07 4.28

.36 .48 .47 .44 .42

มำก มำก มำก มำก มำกที่สุด

3. ผลกำรวิจัยตำมวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่ำ วัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนมี ควำมสัมพันธ์กันไปในทิศทำงเดียวกันในระดับมำก r= 0.951 อย่ำงมีนัยสำคัญ ทำงสถิติที่ระดับ 0.01 (ตำรำงที่ 5) ตำรำงที่ 5 : แสดงควำมสัมพันธ์(Pearson Correlation) ระหว่ำงวัฒนธรรมองค์กำรและประสิทธิภำพกำรบริหำร โรงเรียน (n = 296) กำรบริหำรแบบมีส่วน ร่วม 1.000 0.951**

ตัวแปร (Variables) วัฒนธรรมองค์กำร ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน

ประสิทธิภำพกำร บริหำรโรงเรียน 0.951**

หมายเหตุ ** P.<0.01 วัฒนธรรมองค์กำร และประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน มีควำมสัมพันธ์ไปในทิศทำงเดียวกันในระดับมำก แบบสมบูรณ์แบบ ที่ค่ำ r= .951 อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ0.01 โดยวัฒนธรรมแบบเครือญำติและกำรบริหำรงำน ทั่วไป มีควำมสัมพันธ์กันมำกที่สุด ที่ค่ำ r= .951 อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ0.01 รองลงมำคือวัฒนธรรมแบบ ปรับตัวและกำรบริหำรงำนบุคคลมีควำมสัมพันธ์ไปในทิศทำงเดียวกันในระดับมำกแบบสมบูรณ์แบบ ที่ค่ำ r= .894 อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ0.01 วัฒนธรรมแบบรำชกำรและกำรบริหำรงำนทั่วไป มีควำมสัมพันธ์กันน้อยที่สุด โดย มีควำมสัมพันธ์ไปในทิศทำงเดียวกันในระดับปำนกลำง ที่ค่ำ r= .521(ตำรำงที่ 6) ตำรำงที่ 6 แสดงควำมสัมพันธ์(Pearson Correlation) ระหว่ำงองค์ประกอบวัฒนธรรมองค์กำรและองค์ประกอบ ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน (n= 296) ตัวแปร วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ วัฒนธรรมแบบรำชกำร

กำรบริหำรงำน วิชำกำร .610** .792** .548** .533**

กำรบริหำรงำน งบประมำณ . .867 ** .812** .719** .524**

หมายเหตุ ** P.<0.01

699

กำรบริหำรงำนบุคคล .894** .776** .533** .874**

กำรบริหำรงำน ทั่วไป .456** .947** .641** .521**


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4. ผลกำรวิจัยตำมวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 จำกกำรวิเครำะห์ควำมคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่ม ตัวอย่ำงส่วนใหญ่เห็นว่ำ แนวทำงกำรสร้ำงประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย กำรบริหำรงำน วิชำกำร กำรบริหำรงำนงบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และกำรบริหำรงำนทั่วไป ครอบคลุมงำนต่ำงๆ ภำยใน สถำนโรงเรียนและสำมำรถต่อยอดไปสู่กำรปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมำกยิ่งขึ้น ดังนั้น และกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่ ควำมสำเร็จ คือ ผู้บริหำรมีอิทธิพลต่อควำมสำเร็จและควำมล้มเหลวของโรงเรียนเป็นอย่ำงสูง ดังนั้น ผู้บริหำร โรงเรียนจึงมีควำมรับผิดชอบและพัฒนำตนเองให้เป็นผู้เชี่ยวชำญครอบคลุมกำรบริหำรงำนวิชำกำร กำรบริหำรงำน งบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และกำรบริหำรงำนทั่วไป สรุปผลการวิจัย วัฒนธรรมองค์กำร มีองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่ง ผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ และวัฒนธรรมแบบรำชกำร วัฒ นธรรมองค์ ก ำร ในภำพรวม พบว่ ำ กลุ่ มตั ว อย่ ำ งมีร ะดั บควำมคิ ด เห็ น มี ค่ำ เฉลี่ย อยู่ ในระดั บ มำกที่ สุ ด โดย วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด รองลงมำตำมลำดับ คือ วัฒนธรรมแบบเครือญำติ วัฒนธรรมแบบ ปรับตัว และ วัฒนธรรมแบบรำชกำร มีค่ำเฉลี่ยน้อยที่สุด วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ ภำพรวมมีค่ำเฉลี่ยอยู่ในระดับมำกที่สุด โดยกำหนดเกณฑ์กำรประเมินผล สำเร็จของงำน มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด( X =4.35, S.D. = .45) โดยกำหนดเกณฑ์กำรประเมินผลสำเร็จของงำน มีระดับ ควำมคิดเห็นอยู่ในระดับ มำกที่สุด มีค่ำเฉลี่ยสูงที่สุด( X =4.47, S.D. = .61) รองลงมำ คือ กำรกำหนดพันธกิจไว้ อย่ำงชัดเจน มีค่ำเฉลี่ย ( X =4.39, S.D. = .68) และข้อที่มีค่ำเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กำรแข่งขันกันทำงำนเพื่อให้บรรลุ เป้ำหมำย มีค่ำเฉลี่ย ( X =4.18, S.D. = .73) ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย กำรบริหำรงำนวิชำกำร กำร บริหำรงำนงบประมำณ กำรบริหำรงำนบุคคล และกำรบริหำรงำนทั่วไป ในภำพรวมมีค่ำเฉลี่ยระดับมำก ( X =4.14, S.D. = .36) โดยกำรบริหำรงำนทั่วไป มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด( X =4.28, S.D. = .42) วิจารณ์ผลการวิจัย วัฒนธรรมองค์กำร จำกกำรวิจัย พบว่ำ ภำพรวม มีค่ำเฉลี่ยอยู่ในระดับ มำกที่สุด โดยวัฒนธรรมแบบมุ่ง ผลสำเร็จ มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด และวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ มีควำมสัมพันธ์กับประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียนใน มิติด้ำนกำรบริหำรงำนบุคคลในระดับมำก ที่ค่ำ r= .894 อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.01 สอดคล้องกับ ผลกำรวิจัยของ โยษิตำ กฤตพรพินิต เรื่อง อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อควำมสุขในกำรทำงำนของพนักงำน กรณีศึกษำ บริษัท ธีรชัยไพศำล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ที่ผลกำรวิจัยพบว่ำ ผลกำรศึกษำพบว่ำระดับควำมคิดเห็นวัฒนธรรม องค์กำรโดยรวมอยู่ในระดับปำนกลำง โดยมีควำมคิดเห็นมิติเน้นควำมสำเร็จมีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุด รองลงมำคือมิติเน้น ไมตรีสัมพันธ์ มิติเน้นสั จจะแห่งตน และมิติเน้นให้ควำมสำคัญกับบุคลำกร มิติเน้นควำมสำเร็จ พนักงำนมีระดับ ควำมคิดเห็นหัวข้อให้บริกำรแก่ลูกค้ำอย่ำงเต็มกำลังควำมสำมำรถด้วยควำมเสมอภำคและปรำศจำกอคติ สูงที่สุด ( X = 3.94และ S.D.= 0.77) รองลงมำคือยินดีในควำมสำเร็จของเพื่อนร่วมงำนเสมอ X (= 3.91และ S.D.=0.82) และมีระดับควำมคิดเห็นหัวข้อปฏิบัติต่อลูกค้ำมำกกว่ำหน้ำที่ควำมรับผิดชอบที่องค์กำรกำหนด ต่ำที่สุด ( X =2.38 และ S.D.= 1.04) สำหรับในประเด็นนี้ ผู้วิจัยเห็นว่ำ วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ เป็นวัฒนธรรมที่มีกำรกำหนด

700


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิสัยทัศน์ เป้ำหมำย ที่ชัดเจนของโรงเรียน โดยคณะผู้บริหำรมุ่งขับเคลื่อนองค์กำรตำมขั้นตอนกำรดำเนินกำรให้ ประสบผลสำเร็จตำมเป้ำหมำยที่วำงไว้ โดยไม่ต้องมีควำมยืดหยุ่น ช้ำหรือเร็วแต่อย่ำงใด ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน ประสิทธิภำพกำรบริหำรโรงเรียน มี 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1) กำร บริหำรงำนวิชำกำร 2) กำรบริหำรงำนงบประมำณ 3) กำรบริหำรงำนบุคคล 4) กำรบริหำรงำนทั่วไป ซึ่งใน โรงเรียนสำมำรถบริหำรงำนได้โดยชอบตำมกฏหมำย โดยเฉพำะกำรบริหำรงำนวิชำกำรที่เป็นงำนที่มีควำมสำคัญ ของโรงเรียน โรงเรียนจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้ำหมำยเพื่อให้สำมำรถบริหำรจัดกำรได้ อย่ำงมีประสิทธิภำพโดยเฉพำะทำงด้ำนกำรบริหำรจัดกำรงำนวิชำกำรที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ดังนั้น เพื่อสร้ำงควำมมั่นใจ ควำมน่ำเชื่อถือ และควำมไว้วำงใจของสังคม โรงเรียนจึง ต้องพัฒนำตนเองด้วยระบบ กำรประกันคุณภำพภำยในและรับกำรตรวจสอบคุณภำพมำตรฐำนจำกกำรประเมินภำยนอก และต้องประกำศให้ สำธำรณชนทรำบ เพื่อเป็นกำรตรวจสอบคุณภำพมำตรฐำนของสถำนศึกษำ ข้อเสนอแนะ ผู้บริหำรโรงเรียน ควรนำข้อค้นพบที่ได้จำกกำรศึกษำวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ใ นกำรบริหำรงำนของ โรงเรียน โดยจัดลำดับควำมสำคัญของแต่ละปัจจัยที่เหมำะสมกับสภำพบริบทของโรงเรียน และคำนึงถึงนโยบำยของ รัฐบำล พร้อมทั้งกำรสร้ำงขวัญและกำลังใจ ควำมรู้ควำมเข้ำใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ำย และมีกำรติดตำมประเมินผล ในกำรนำไปใช้เป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำเทียบเท่ำมำตรฐำนสำกล ให้ได้ตำมมำตรฐำนที่ กำหนด ควรมี ก ำรเตรี ย มควำมพร้ อ มในด้ ำ นงบประมำณเพื่ อ รองรั บ กำรจั ด กำรศึ ก ษำเพื่ อ พั ฒ นำคุ ณ ภำพ กำรศึกษำเทียบเท่ำมำตรฐำนสำกล เพิ่มขึ้นจำกงบประมำณที่ใชในกำรจัดกำรเรียนกำรสอนในหลักสูตรปกติ ควรมีกำรเตรียมควำมพร้ อมในด้ำ นอำคำรสถำนที่เ พื่อรองรั บกำรจัด กำรศึกษำเพื่ อพัฒ นำคุ ณภำพ กำรศึกษำ ประกอบด้วยกำรเตรียมควำมพร้อมในเรื่องห้องเรียนและอุปกรณ์กำรเรียนกำรสอนที่ทันสมัย มีห้องสมุด ที่มีทรัพยำกรสำหรับกำรศึกษำคนคว้ำทั้งภำษำไทยและภำษำต่ำงประเทศอย่ำงเพียงพอ กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัย ขอขอบพระคุณที่ได้ให้โอกำสในกำรพัฒนำงำนวิจัยนอกจำกนั้นงำนวิจัยเรื่องนี้สำเร็จลุล่วงได้ เนื่องจำกคณะผู้บริหำรและครูของโรงเรียนสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 ที่กรุณำให้ควำม ร่วมมือในกำรตอบแบบสอบถำม ให้คำสัมภำษณ์และเข้ำร่วมกิจกรรมต่ำงๆตลอดงำนวิจัย เอกสารอ้างอิง (References) พัชรี ชมพูคำ. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพฯ: โรงพิพม์เฮำสออฟเคอรมีสท สุพำนีสฤษฎ์วำนิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์. สำนักงำนคณะกรรมกำรแห่งชำติ . (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหำนคร : พริกหวำนกรำฟฟิค.

701


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Cameron, K.S. (2008). A process for Changing Organization Culture. In T.G.Cummings (Ed.), Handbook of organization development, 429-445. Los Angeles : SAGE. Daft, R. L. (2002). The leadership experience. (2nd Ed.). Orlando, Fl :Hartcourt College Publishers. Denison, D.R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York: John Wiley & Sons. Likert, R. (1961). New Patterms of Management. New York: Mcgraw-Hill Book Company Inc. Kluckhohn, C., & Kelly, W. H. (1945). The concept of culture. In R. Linton (Ed.). The Science of Man in the World Culture. (pp. 78-105). New York. Columbia University Press. Schein, E.H. (2004). Organizational culture and leadership.(3rd). (Ed.).San Francisco : Jossey-Bass. Schermerhorn, J.R., Jr., Hunt, J.G., & Osborn, R.N. (2005). Organizational Behavior. (9th Ed.). New York : Wiley.

702


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-10 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 THE ADMINISTRATIVE FACTORS AFFECTING LEARNER CENTER INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OF TEACHERS IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE SECONDARY EDUCATION AREA 20 เครือวัลย์ ทิพวัต1 , พนำยุทธ เชยบำล2 , พิมพ์พร จำรุจิตร์3 1

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 อาจารย์ประจาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษำระดับปัจจัยกำรบริหำร ระดับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญของครู หำควำมสัมพันธ์และสร้ำงสมกำรพยำกรณ์กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 กลุ่มตัวอย่ำงในกำรวิจัยครั้ง นี้เป็น ครูผู้สอน จำนวน 342 คน ได้มำโดย กำรสุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่งชั้นตำมขนำดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถำม มำตรำส่วนประมำณค่ำ แบ่งเป็นแบบสอบถำมปัจจัยกำรบริหำร มีควำมเชื่อมั่นเท่ำกับ 0.94 และกำรจัดกำรเรียน กำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู มีควำมเชื่อมั่นเท่ำกับ 0.90 วิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิตสิ ำเร็จรูปทำง สังคมศำสตร์หำควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเครำะห์ ถดถอยหพุคูณโดยวิธีวิเครำะห์กำรถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลกำรวิจัยพบว่ำ ปัจ จั ย กำรบริ ห ำรและกำรจั ด กำรเรี ยนกำรสอนที่ เ น้ นผู้ เ รี ย นเป็ น ส ำคั ญ ของครู อยู่ใ นระดับ มำก มี ควำมสัมพันธ์ทำงบวกในระดับปำนกลำง สมกำรพยำกรณ์เป็นดังนี้ สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนดิบ 

 = 2.528 + 1.837(  4 ) - 1.175(  2 ) - 0.610(  5 ) + 0.253(  3 )

สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนมำตรฐำน 

 = 3.564 

4

- 1.957   - 1.883   + 0.639   2

5

3

คำสำคัญ : ปัจจัยการบริหาร , การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ Abstract The purposes of this research were to study the level the administrative factors, the level of learning center instructional management, of teacher find the correlotion and create a

703


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

predictive equation of leaning center instructional management of teachers in schools under the office of the secondary education area 20. The sample group consisted of 342 teachers selected through stratified random sampling based on school size. The research intrument was a fiverating scales questionnair consisting of two parts ; the administrative factors factors with the reliability of 0.94 and learner center instructional management of teacher in schools with reliability of 0.90 the data were analyzed using the statistical package for social Sciences to find frequency, percentage, mean, standard deviation and pearson product- moment correlation coefficient and stepwise multiple regression were also employed. The results were as follow: The administrative factors and the learner center instructional management of teacher was at the high level. Had relationship. The predictive equations as follows. The predictive equation of raw scores 

 = 2.528 + 1.837(  4 ) - 1.175(  2 ) - 0.610(  5 ) + 0.253(  3 )

The predictive equation standard scores 

 = 3.564 

4

- 1.957   - 1.883   + 0.639   2

5

3

Key Word: Administrative factors, Learning Center Instruction management of teachers. บทนา กระแสโลกำภิ วัฒ น์ท ำให้ส ถำนกำรณ์ต่ ำงๆ ในโลกเกิด กำรเปลี่ ยนแปลงใหม่ๆ ขึ้ นอย่ำ งรวดเร็ วจน กลำยเป็นปัจจัยท้ำทำย ที่ประเทศจะต้องเผชิญในกำรพัฒนำประเทศ โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งกำรกำหนดนโยบำยด้ำน กำรศึกษำเพื่อพัฒนำควำมรู้ และทักษะใหม่ๆให้แก่ตนเองสำมำรถปรับตัวและรู้เท่ำทันกำรเปลี่ยนแปลงของกระแส ต่ำงๆ ที่เกิดขึ้น ( สำนักบริหำรงำนกำรศึกษำนอกโรงเรียน, 2550: 1 ) กำรศึกษำเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วย พัฒนำคนในชำติให้มีควำมรู้ควำมสำมำรถและมีคุณลักษณะตรงตำมควำมต้องกำรของสังคมและประเทศ ดั งนั้น กำรศึกษำจึงมีบทบำทสำคัญในกำรพัฒนำประเทศ ( สถำบันพัฒนำครู คณำจำรย์และบุคลำกรทำงกำรศึกษำ, 2550: 426 ) กำรจัดกำรศึกษำในปัจจุบันภำครัฐให้ควำมสำคัญกับกำรพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำทุกระดับกำรพัฒนำผูเ้ รียน ให้มีคุณภำพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลำยด้ำน ทั้งกำรบริหำรงำนที่มีประสิทธิภำพของผู้บริหำรสถำนศึกษำ และส่วนหนึ่งที่ สำคัญ คือ ประสิทธิภำพกำรจัดกำรเรียนสอนของครูซึ่งเป็นตัวบ่งชี้คุณภำพของผู้เรียน จึงเป็นหน้ำที่ของบุคลำกร ทำงกำรศึกษำที่จะต้องร่วมมือกันจัดกำรศึกษำให้มีคุณภำพ เพื่อให้ผู้เรียนมีกำรพัฒนำอย่ำงเต็มศักยภำพตลอดชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่กำรเป็นสังคมคุณภำพ (สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน, 2550: 4 ) พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542 ให้คำจำกัดควำมของ “ครู” คือผู้มีหน้ำที่หลักทำงด้ำน กำรเรียนกำรสอน กำรส่งเสริมกำรเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีกำรต่ำงๆ ในสถำนศึกษำครูเป็นผู้อำนวยควำมสะดวก เพื่อให้เกิดกำรเรียนรู้ของผู้เรียน ครูต้องเป็นผู้กำรแสวงหำกิจกรรมต่ำงๆ เพื่อสนองควำมสนใจและควำมต้องกำร ของผู้เรียน ( สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ, 2545: 6 ) ดังที่ ( กระทรวงศึกษำธิกำร, 2552: 119 ) ได้ กล่ ำ วว่ ำ สถำนศึ กษำเป็ น องค์ กำรหนึ่งของสั งคม โดยมี ค รู เ ป็ นบุ ค ลำกรสำคั ญที่ ไ ด้รั บ กำรคำดหวั งว่ำ จะน ำพำ กำรศึกษำของประเทศให้บรรลุจุดมุ่งหวังกำรปฏิรูปกำรศึกษำ ( สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ, 2551: 6 ) ผู้บริหำร

704


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ถือเป็น ผู้มี บทบำทส ำคั ญอย่ำ งยิ่ งในกำรบริห ำรโรงเรีย น โดยผู้ บริ หำรโรงเรีย นที่ มีภ ำวะผู้ นำสูง ต้ องใช้ ควำมรู้ ควำมสำมำรถและประสบกำรณ์ วิสัยทัศน์ ผู้นำในกำรเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมสนับสนุน ครูอำจำรย์ให้ได้พัฒนำ และทันต่อกำรเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลตำมเป้ำหมำยที่วำงไว้(กนกรัตน์ ภู่ระหงษ์, 2549: 12 ) ดังนั้นภำวะผู้นำของ ผู้บริหำรจึงเป็นตั วบ่งชี้สำคัญ คือ ตัวบ่งชี้ ด้ำนต่ำงๆ ของโรงเรีย น ( ไพโรจน์ กลิ่นกุหลำบ, 2550:13)กำรสร้ำ ง แรงจูงใจให้เกิดกับข้ำรำชกำรครูและบุคลำกรทำงกำรศึกษำมีควำมสำคัญอย่ำงยิ่งในกำรบริหำรกำรศึกษำ กำรทำให้ เกิดควำมเข้ำใจ ควำมสำมำรถ นำไปประยุกต์ ใช้ทำให้เกิดประสิทธิภำพในกำรพัฒนำกำรบริหำรโรงเรียน และกำร พัฒนำประสิทธิภำพกำรสอนของครูนั้น จะเห็นได้ว่ำมีปัจจัยหลำยปัจจัยที่ทำให้ครูมีประสิทธิภำพกำรสอนที่ดี ( ชุติ กำรญจน์ สกุลเดช, 2552: 40-48 ) ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูงขึ้น เช่น คุณลักษณะผู้นำ ปัจจัยกำรติดต่อสื่อสำร ( บุญชู ชูติปณโญ, 2550 ) ปัจจัยวัฒนธรรมโรงเรียน ( โสภิณ ม่วงทอง, 2553 ) ปัจจัย ด้ำนโครงสร้ำงองค์กำร ( นัยนำ กวนวงค์, 2558) เป็นต้น จำกเหตุผลและควำมสำคัญดังกล่ำว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษำปัจจัยกำรบริหำรที่สง่ ผลต่อกำรจัดกำร เรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย เพื่อศึกษำปัจจัยกำรบริหำรที่ส่งผลต่อกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำเขต 20 วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกรที่ใช้ในกำรศึกษำครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 ปีกำรศึกษำ 2560 จำนวน 3,097 คนกลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน ผู้วิจัยได้กำหนดขนำดกลุ่ม ตัวอย่ำง ใช้ตำรำงสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่ำงจำนวน 342 คน แล้วกำหนดสัดส่วนของกลุ่ม ตัวอย่ำงตำมขนำดโรงเรียนใช้กำรสุ่มกลุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่งชั้น จำกนั้นใช้กำรสุ่มกลุ่มตัวอย่ำงอย่ำงง่ำย โดยกำรจับ สลำก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถำมแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถำมข้อมูล เกี่ยวกับสถำนภำพทั่วไป มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรำยกำร ตอนที่ 2 สอบถำมเกี่ยวกับกำรบริหำร ประกอบด้วย 5 ด้ำน มีลักษณะเป็นแบบสอบถำมชนิดมำตรำส่วนประมำณค่ำ ตอนที่3 สอบถำมเกี่ยวกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู ประกอบด้วย 3 ด้ำน มีลักษณะเป็นแบบมำตรำส่วนประมำณค่ำ โดยแบบสอบถำมมี ควำมเชื่อมั่นตอนที่ 2 และตอนที่ 3 เท่ำกับ 0.94 และ 0.90 ตำมลำดับ การเก็บรวบรวมข้อมูล วิจัยดำเนินกำรเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำส่งแบบสอบถำมส่งไปทำงไปรษณีย์ จำนวน 342 ฉบับ ได้รับ แบบสอบถำมคืนมำทำงไปรษณีย์ จำนวน 342 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ100 การวิเคราะห์ข้อมูล กำรวิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติทำงสังคมศำสตร์วิเครำะห์หำร้อยละค่ำเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมำตรฐำนหำควำมสัมพันธ์ โดยหำสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเครำะห์ปัจจัยกำรบริหำรที่

705


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ส่งผลต่อกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู โดยใช้กำรวิเครำะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย ผลกำรวิจัยระดับและควำมสัมพันของปัจจัยกำรบริหำรและกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญของครูของโรงเรียนสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำเขต 20 ผู้วิจัยขอเสนอ ดังตำรำงที่ 1 - 3 ตำรำงที่ 1 ค่ำเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ( S.D. ) และกำรแปลผลปัจจัยกำรบริหำร ปัจจัยการบริหาร 1. ปัจจัยด้ำนแรงจูงใจ (  1 ) 2. ปัจจัยด้ำนวัฒนธรรมองค์กำร (  2 ) 3. ปัจจัยด้ำนภำวะผู้นำ (  3 ) 4. ปัจจัยด้ำนกำรติดต่อสื่อสำร (  4 ) 5. ปัจจัยด้ำนโครงสร้ำงองค์กำร (  5 ) โดยรวม (  0 )

 4.56 4.09 4.41 4.45 4.51

S.D. 0.41 0.59 0.65 0.61 0.64

แปลผล มำกที่สุด มำก มำก มำก มำกที่สุด

4.40

0.58

มาก

จำกตำรำงที่ 1 พบว่ำ ปัจจัยกำรบริหำรของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมำก (  = 4.40 )เมื่อ พิจำรณำเป็นรำยปัจจัย พบว่ำมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้ำนแรงจูงใจ และปัจจัยด้ำนโครงสร้ำงองค์กำร อยู่ในระดับมำก ที่สุด (  = 4.56 และ 4.51 ตำมลำดับ )ส่วนอีก 3 ปัจจัย อยู่ในระดับมำก คือ ปัจจัยด้ำนกำรติดดต่อสื่อสำรปัจจัย ด้ำนภำวะผู้นำและปัจจัยด้ำนวัฒนธรรมองค์กำร (  =4.45 , 4.41 และ 4.09 ตำมลำดับ ) ตำรำงที่ 2 ค่ำเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ( S.D. ) และกำรแปลผลกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของครู การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญของครู 1. ด้ำนกำรมีกระบวนกำรเรียนกำรสอน ที่สร้ำงโอกำสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม ( 1 ) 2. ด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอนทีย่ ึดโยงกับบริบทของชุมชน และท้องถิ่น ( 2 ) 3. ด้ำนกำรตรวจสอบและประเมินควำมรู้ควำมเข้ำใจของผู้เรียน อย่ำงเป็นระบบและมีประสิทธิภำพ ( 3 ) โดยรวม ( 0 )

S.D. แปลผล

4.21 0.46

มำก

4.19 0.56

มำก

4.35 0.52

มำก

4.25 0.51

มาก

จำกตำรำงที่ 2 พบว่ำ กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู โดยรวมอยู่ในระดับมำก (  = 4.25) เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำทุกด้ำนอยู่ในระดับมำกโดยด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุด คือด้ำนกำร ตรวจสอบและประเมินควำมรู้ควำมเข้ำใจของผู้เรียนอย่ำงเป็นระบบ และมีประสิ ทธิภำพ (  = 4.35) และด้ำนที่มี ค่ำเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น (  = 4.19)

706


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตำรำงที่ 3 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยกำรบริหำรกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนพี่เน้นผูเ้ รียนเป็นสำคัญของครู ปัจจัยการบริหาร

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญของครู

1 2

3 4

5

0

.650** .377** .660** .593** .570**

3 .428** .175** .093 .422** .276**

0 .468** .194** .384** .462** .351**

.609**

.259**

.390**

1

2

-.184** -.280** -.015 -.085 -.235** -.150**

**มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 จำกตำรำงที่ 3 พบว่ำ ปัจจัยกำรบริหำรโดยรวม (  0 ) กับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญของครูในโรงเรียน โดยรวม ( 0 ) มีควำมสัมพันธ์กันทำงบวกในระดับปำนกลำง ( r = .390 ) อย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ผลกำรวิจัยสมกำรพยำกรณ์ปัจจัยกำรบริหำรกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของครู เป็นดังตำรำงที่ 4 ตำรำงที่ 4 สัมประสิทธิ์กำรถดถอยของตัวแปรพยำกรณ์ ที่ใช้ในกำรพยำกรณ์กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของครูในโรงเรียน ปัจจัยการบริหาร

คะแนนดิบ Std.E  2.528 .087 1.837 .049 -1.175 .037 -.610 .032 .253 .021

ค่ำคงที่ 1. ปัจจัยด้ำนกำรติดต่อสื่อสำร (  4 ) 2. ปัจจัยด้ำนวัฒนธรรมองค์กำร (  2 ) 3. ปัจจัยด้ำนโครงสร้ำงองค์กำร (  5 ) 4. ปัจจัยด้ำนภำวะผู้นำ (  3 )

คะแนนมาตรฐาน Bate 3.564 -1.957 -1.883 .639

t 28.796** 37.178** 31.994** -18.763** 12.282**

**มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 จำกตำรำงที่ 4 สมกำรพยำกรณ์กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูอย่ำงมีนัยสำคัญ ทำงสถิติที่ระดับ .01 ผู้วิจัยขอเสนอดังนี้ สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนดิบ 

 = 2.528 + 1.837(  4 ) - 1.175(  2 ) - 0.610(  5 ) + 0.253(  3 )

สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนมำตรฐำน 

 = 3.564 

4

- 1.957   - 1.883   + 0.639   2

5

707

3


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สรุปผลการวิจัย ผลกำรวิจัยสรุปสำระสำคัญตำมวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1. ปัจจัยกำรบริหำรของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมำก เมื่อพิจำรณำรำยปัจจัย มี 2 ปัจจัย อยู่ใน ระดับมำกที่สุด ส่วนอีก 3 ปัจจัย อยู่ในระดับมำก 2. กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู อยู่ในระดับมำกทั้งโดยรวมและรำยด้ำนทุก ด้ำน 3. ปัจจัยกำรบริหำรโดยรวมมีควำมสัมพันธ์ทำงบวกในระดับปำนกลำงกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน 4. สมกำรพยำกรณ์กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน โดยใช้ปัจจัยกำร บริหำรเป็นตัวแปรพยำกรณ์เขียนเป็นสมกำรพยำกรณ์ ได้ดังนี้ สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนดิบ 

 = 2.528 + 1.837(  4 ) - 1.175(  2 ) - 0.610(  5 ) + 0.253(  3 )

สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนมำตรฐำน 

 = 3.564 

4

- 1.957   - 1.883   + 0.639   2

5

3

วิจารณ์ผลการวิจัย จำกกำรศึกษำปัจจัยกำรบริหำรที่ส่งผลต่อกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูใน โรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 มีข้อค้นพบที่ควรนำมำอภิปรำยตำมวัตถุประสงค์ และสมมติฐำนกำรวิจัย ดังนี้ 1. ปัจจัยกำรบริหำรของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมำก เมื่อพิจำรณำเป็นรำยปัจจัย พบว่ำ มี 2 ปัจจัย อยู่ในระดับมำกที่สุด คือ ปัจจัยด้ำนแรงจูงใจ และปัจจัยด้ำนโครงสร้ำงองค์กำร ส่วนอีก 3 ปัจจัย อยู่ในระดับ มำก คือ ปัจจัยด้ำนกำรติดต่อสื่อสำร ปัจจัยด้ำนภำวะผู้นำ และปัจจัยด้ำนวัฒนธรรมองค์กำร ตำมลำดับ ทั้งนี้ อำจ เป็นเพรำะผู้บริหำรและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 มุ่งเน้ นในเรื่อง ของกำรทำงำนร่วมกัน และผู้บริหำรมีควำมเอำใจใส่ต่อกำรทำงำนของครูผู้สอนเป็นอย่ำงดี สอดคล้องกับแนวคิดของ สมยศ นำวีกำร ( 2550: 3 ) ที่กล่ำวว่ำกำรบริหำร คือ กำรทำงำนร่วมกับบุคคล เพื่อสร้ำงบรรยำกำศที่ส่งเสริมกำร ใช้ทรัพยำกรบริหำร สอดคล้องกับประจักร บัวผัน ( 2554: 6 ) ที่กล่ำวว่ำปัจจัยกำรบริหำรมีควำมสำคัญ และจำเป็น ต่อกำรบริหำร และสอดคล้องกับอเนก ไชยคำหำญ( 2559 ) ที่ศึกษำปัจจัยกำรบริหำรที่ส่งผลต่อกำรปฏิบัติงำนของ ครูตำมเกณฑ์มำตรฐำนวิชำชีพครู ด้ำนกำรปฏิบัติงำน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 พบว่ำ ปัจจัยทำงกำรบริหำรโดยรวม อยู่ในระดับมำก 2. กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู โดยรวมและรำยด้ำนอยู่ในระดับมำก โดย เรียงลำดับค่ำเฉลี่ยจำกมำกไปหำน้อย คือ ด้ำนกำรตรวจสอบและประเมินควำมรู้ควำมเข้ำใจของผู้เรียนอย่ำงเป็น ระบบและมีประสิทธิภำพ ด้ำนกำรมีกระบวนกำรเรียนกำรสอนที่สร้ำงโอกำสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม และด้ำน กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำก ปัจจุบันนี้อยู่ในช่วงปฏิรูป กำรศึกษำ ครูซึ่งเป็นหัวใจสำคัญทำงกำรศึกษำได้รับกำรส่งเสริมและพัฒนำให้มีคุณภำพและมำตรฐำนที่เหมำะสม จึง ทำให้ครูตระหนักในหน้ำที่ของตนเอง โดยกำรจัดกำรศึกษำต้องยึดหลักว่ำ ผู้เรียนทุกคนมีควำมสำมำรถเรียนรู้ และ

708


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

พัฒนำตนเองได้ กระบวนกำรจัดกำรศึกษำต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสำมำรถพัฒนำตำมธรรมชำติ และเต็มศักยภำพ (สำนักงำนปฏิรูปกำรศึกษำ, 2545: 12) สอดคล้องกับแนวคิดของนำวำ สุขำรมย์ ( 2550 : 34 ) ที่ได้กล่ำวเพิ่มเติม ว่ำ ครูต้องมีควำมรู้เรื่องหลักสูตร และสำมำรถปรับหลักสูตรให้เหมำะกับผู้เรียน และสอดคล้องกับสุจินต์ ใจกระจ่ำง ( 2553 ) ที่ศึกษำสภำพกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรี ยนสำธิต มหำวิทยำลัยรำมคำแหง พบว่ำ ควำมคิดเห็นของผู้บริหำรและครูผู้สอนเกี่ยวกับกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสำธิต มหำวิทยำลัยรำมคำแหง โดยรวมและรำยด้ำนอยู่ในระดับมำก 3. ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยกำรบริหำรกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูใน โรงเรียน โดยรวมมีควำมสัมพันธ์ทำงบวกในระดับปำนกลำง ซึ่งเป็นไปตำมสมมติฐำนข้อที่ 1 ทั้งนี้อำจเนื่องจำก ปัจจัยกำรบริหำรทั้ง 5 ปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญในกำรบริหำรงำนด้ำนกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของครู โดยครูผู้สอนเกิดกำรยอมรับไว้วำงใจ และเชื่อมั่นต่อกำรทำงำนร่วมกับผู้บริหำร และถูกกระตุ้นให้ มีควำมตระหนักต่อเป้ำหมำยในกำรทำงำน สอดคล้องกับไซม่อน (Simon, 1960 : 80) ที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับ ประสิทธิภำพไว้ คือ พิจำรณำว่ำงำนที่มีประสิทธิภำพสูงสุดนั้น ให้ดูจำกควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยนำเข้ำกับผลผลิต ที่ได้รับออกมำ สอดคล้องกับเรดดิน ( Reddin, 1970: 230 ) ที่กล่ำวว่ำ ผู้นำหรือนักบริหำรที่มีผลงำนดีเลิศนั้น มี สัมพันธภำพที่ดี และสอดคล้องกับผลกำรวิจัยของกอบศักดิ์ มูลมัย ( 2554 ) ที่ศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำ กำรเปลี่ ยนแปลงของผู้บ ริ หำรโรงเรีย นกับ ประสิ ทธิ ภ ำพกำรสอนของครู สั งกั ด สำนั กงำนเขตพื้ น ที่ก ำรศึ ก ษำ ประถมศึกษำปทุมธำนี เขต 1 ผลกำรวิจัย พบว่ำ ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำกำรเปลี่ยนแปลงของผู้บริหำร โรงเรียนกับประสิทธิภำพกำรสอนของครู พบว่ำ โดยรวมและรำยด้ำนมีควำมสัมพันธ์กันทำงบวกในระดับปำนกลำง 4. กำรวิเครำะห์กำรถดถอยพหุคูณและสร้ำงสมกำรพยำกรณ์กำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของครูในโรงเรียน โดยใช้ปัจจัยกำรบริหำรเป็นตัวแปรพยำกรณ์ ผลกำรวิจัยสำมำรถสร้ำงสมกำรพยำกรณ์ ดังนี้ สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนดิบ 

 = 2.528 + 1.837(  4 ) - 1.175(  2 ) - 0.610(  5 ) + 0.253(  3 )

สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนมำตรฐำน 

 = 3.564 

- 1.957   - 1.883   + 0.639   จำกสมกำรพยำกรณ์ปัจจัยกำรบริหำรที่ส่งผลต่อกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู ในโรงเรียน มีประเด็นที่จะวิจำรณ์ ดังนี้ 4.1 ปัจจัยด้ำนกำรติดต่อสื่อสำร เป็นตัวแปรพยำกรณ์ เป็นอันดับแรก อำจเนื่องมำจำกกำรติดต่อสื่อสำร เป็นกระบวนกำรสำคัญในกำรบริหำร ทั้งนี้ เพรำะทุกขั้นตอนของกำรบริหำรย่อมมีกำรติดต่อสื่อสำรเกี่ยวข้องเสมอ กำรติดต่อสื่อสำรที่ดีมีเหตุผลก่อให้เกิดบรรยำกำศที่ดีในกำรทำงำน สอดคล้องกับทรงธรรม ธีระกุล ( 2548: 51 ) ที่ ได้กล่ำวว่ำพื้นฐำนที่สำคัญของกำรบริหำรจัดกำรภำยในองค์กำรขึ้นอยู่กับกำรสื่อสำรที่ดี สอดคล้องกับแนวคิดของ อำคม วัดไธสง ( 2547: 58 ) ที่ได้กล่ำวว่ำกำรติดต่อสื่อสำรเป็นกระบวนกำรถ่ำยทอดข่ำวสำรที่สำมำรถทำให้เข้ำใจ ข่ำวสำรตรงกัน และสอดคล้องกับแนวคิดของสัลมำน สะบูดิง ( 2551 : 11 ) ที่ได้กล่ำวว่ำกำรติดต่อสื่อสำร คือ กำร ส่งข้อมูลข่ำวสำร แนวควำมคิด ควำมรู้สึก ควำมคิดเห็น รวมทั้งทัศนคติจำกบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยอำศัย ช่องทำงกำรสื่อสำรต่ำง ๆ เพื่อให้เกิดควำมเข้ำใจตรงกัน 4

2

5

709

3


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4.2 ปัจจัยด้ำนวัฒนธรรมองค์กำร เป็นตัวแปรพยำกรณ์ เป็นอันดับสอง อำจเนื่องมำจำก โรงเรียน มัธยมศึกษำ ในสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 20 มีวัฒนธรรมองค์กำรที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ ละโรงเรียน กำรที่บุคลำกรได้รับวัฒนธรรมองค์กำรที่ดี ก็จะทำให้เกิดกำรปฎิบัติงำนมีประสิทธิภำพและประสิทธิผล สอดคล้องกับแนวคิดของอัมพร ไตรภัทร ( 2550: 33 ) ที่กล่ำวว่ำ วัฒนธรรมองค์กำร คือ ค่ำนิยมร่วมแบบแผน พฤติกรรม สภำพแวดล้อมในที่ทำงำน ที่กำหนดจำกปฏิสัมพันธ์ของสมำชิกในองค์กำร สอดคล้องกับแนวคิดของศิริ พงษ์ ฐำนมั่น ( 2555: 116 ) ที่กล่ำวว่ำ วัฒนธรรมองค์กำร คือ แนวทำงกำรปฏิบัติของกลุ่มบุคคลที่สำมำรถนำพำ ตนเอง และองค์กำรไปสู่เป้ำหมำยร่วมกันได้ และสอดคล้องกับผลกำรวิจัยของนัยนำ กวนวงค์ ( 2558 ) ที่ศึกษำ ปั จ จั ย กำรบริ ห ำรที่ ส่ ง ผลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ ำพกำรสอนของครู ใ นโรงเรี ย น สั ง กั ด ส ำนั ก งำนเขตพื้ น ที่ ก ำรศึ ก ษำ ประถมศึกษำ จังหวัดขอนแก่น ผลกำรวิจัย พบว่ำ ปัจจัยด้ำนวัฒนธรรมองค์กำรและปัจจัยด้ำนกำรสื่อสำร ซึ่ง สำมำรถพยำกำรณ์ประสิทธิภำพกำรสอนของครูในโรงเรียนได้ 4.3 ปัจจัยด้ ำนโครงสร้ำ งองค์ กำร เป็น ตัวแปรพยำกรณ์ที่ เป็นอัน ดับสำม อำจเนื่องมำจำก ผู้บริหำรโรงเรียนได้จัดโครงสร้ำงกำรบริหำรงำนที่ลดขั้นตอน เพื่อให้มีควำมรวดเร็ว สะดวก และคล่องตัว เพื่อให้ฝ่ำย ต่ำงๆ มีกำรดำเนินงำนเป็นไปในทิศทำงเดียวกัน สอดคล้องกับแนวคิดของกิ๊บสันและคณะ (Gibson et al., 1982: 289 - 290) ที่กล่ำวว่ำ โครงสร้ำงองค์กำรมีควำมสำคัญที่ค่อนข้ำงตำยตัวที่อยู่ระหว่ำงงำนต่ำงๆ ในองค์กำร สอดคล้องกับแนวคิดของดำฟท์ ( Daft, 1999: 202 ) ที่กล่ำวว่ำ โครงสร้ำงขององค์กำรต้องมีลักษณะ แสดงสำย บังคับบัญชำ และมีกำรสื่อสำร ทั้งในแนวดิ่งและแนวรำบ และสอดคล้องกับแนวคิดของจำเริญ จิตหลัง (2550 : 70) ที่กล่ำวว่ำ กำรจัดโครงสร้ำงขององค์กำรมีส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อกำรปฏิบัติงำนของบุคลำกรในองค์กำรที่เหมำะสม 4.4 ปัจจัยด้ำนภำวะผู้นำ เป็นตัวแปรพยำกรณ์ เป็นอันดับสี่ อำจเนื่องมำจำกผู้บริหำรโรงเรียนมี วิสัยทัศน์กว้ำงไกล มีกำรวำงแผนสนับสนุน ส่งเสริมกำรเรียนรู้ของครูอย่ำงสม่ำเสมอ สอดคล้องกับแนวคิดของฟีดเลอร์ (Fiedler, 1967 : 419 ) ที่ได้กล่ำวว่ำ ภำวะผู้นำที่มีประสิทธิภำพจะขึ้นอยู่กับควำมเหมำะสมระหว่ำงพฤติกรรมของ ผู้นำ สมำชิก และสถำนกำรณ์ในกำรปฏิบัติงำน สอดคล้องกับแนวคิดของเซอร์จิโอวำนนี่ (Sergiovani, 1982 : 144 ) ที่ได้สรุปคุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลด้ำนกำรบริหำรงำน พบว่ำ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้ำน คือ ด้ำน บุคลิกภำพ ด้ำนควำมสำมำรถและด้ำนทักษะทำงสังคม และสอดคล้องกับผลกำรวิจัยของสทิวเบอร์ ( Stueber, 2000 ) ที่ศึกษำรูปแบบควำมเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภำพ ผลกำรศึกษำ พบว่ำ ผู้บริหำรที่มีประสิทธิภำพไม่มีรูปแบบ ควำมเป็นผู้นำที่สอดคล้องกันเลย แต่ส่วนมำกใช้รูปแบบผู้นำที่เข้มแข็งที่สุด ผู้บริหำรประเมินควำมเป็นผู้นำที่มี วิสัยทัศน์อยู่ในระดับสูง กำรประเมินเป็นแบบอย่ำงให้บุคลำกรในโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด กำรปฏิบัติตนในกำร บริหำรผู้อื่นอยู่ในระดับปกติ ข้อเสนอแนะ 1. ผู้บริหำรควรใช้ผลกำรวิจัยเป็นข้อมูลในกำรพัฒนำกำรบริหำรโรงเรียน เพื่อให้บรรลุตำมเป้ำหมำยที่ กำหนดไว้ ผู้บริหำรควรนำปัจจัยกำรบริหำรทั้ง 5 ด้ำน ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบกำรบริหำรจัดกำร เพื่อ พัฒนำกำร ดำเนินงำนขององค์กำรให้เกิดประสิทธิภำพและประสิทธิผล 2. ผู้บริหำรควรใช้เป็นข้อมูลในกำรพัฒนำกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู โดยเฉพำะกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ผู้บริหำรควรใช้ผลกำรวิจัยเป็นข้อมูลใน กำรหำแนวทำงกำรบริหำร เพื่อพัฒนำกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู

710


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กิตติกรรมประกาศ วิทยำนิพนธ์นี้ได้รับทุนสนับสนุนจำกมหำวิทยำลัยรำชภัฏอุดรธำนี ปีกำรศึกษำ 2560 เอกสารอ้างอิง กนกรัตน์ ภู่ระหงษ์. (2549). ประสิทธิผลการดาเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิตของ ผู้บริหารและพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. วิทยำนิพนธ์ ปริญญำมหำบัณฑิต สำขำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเทพสตรี. กอบศักดิ์ มูลมัย. (2554). การศึกษาภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย. วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. กระทรวงศึกษำธิกำร. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์กำรเกษตรแห่งประเทศไทย. จำเริญ จิตหลัง. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยการจัดการความรู้ที่ ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดภาคใต้. วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ดุษฎีบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยสงขลำนครินทร์. ชุติกำญจน์ สกุลเดช. (2552). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยทีส่ ัมพันธ์กับประสิทธิภาพ การสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรวิจัยกำรศึกษ มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. ทรงธรรม ธีระกุล. (2548). กำรสื่อสำร: กลยุทธ์สู่ควำมสำเร็จขององค์กำร. วารสารปาริชาติ, 1(18), 51-61. นัยนำ กวนวงศ์. (2558). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น วิทยำนิพนธ์ปริญญำ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏอดรธำนี. นำวำ สุขรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชการของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หนองคาย เขต 2. วิทยำนิพนธ์ปริญำครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏอุดรธำนี. บุญชู ชูติปญโญ. (2550). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนในสังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 1. วิทยำนิพนธ์ปริญญำครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำ กำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏนครรำชสีมำ. ประจักร บัวผัน. (2554). หลักการบริหารสาธารณสุข. ขอนแก่น: มหำวิทยำลัยขอนแก่น. ไพโรจน์ กลิ่นกุหลำบ. (2550). การนิเทศการศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภำควิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ คณะศึกษำศำสตร์ มหำวิทยำลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศิริพงษ์ ฐำนมั่น. (2555). การจัดการต่างวัฒนธรรม. ปทุมธำนี: มหำวิทยำลัยรำชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรม รำชูปถัมภ์ สมยศ นำวีกำร. (2550). การบริหาร. กรุงเทพฯ: คณะพำณิชยศำสตร์และกำรบัญชี มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์.

711


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สัลมำน สะบูดิง. (2551). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1. วิทยำนิพนธ์ปริญญำศึกษำ ศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยสงขลำนครินทร์ วิทยำเขตปัตตำนี. สถำบันพัฒนำครู คณำจำรย์ และบุคลำกรทำงกำรศึกษำ. (2550). Teacher Watch. นครปฐม: สถำบันพัฒนำ ครู คณำจำรย์ และบุคลำกรทำงกำรศึกษำ. สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน. (2550). แนวทางการดาเนินงานการมีส่วนร่วมบริหารจัด การศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์กำรเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ. (2545). รายงานการปฏิบัติการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรประถมศึกษำแห่งชำติ. สำนักบริหำรงำนกำรศึกษำนอกโรงเรียน. (2550). แผนส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. สำนักงำนปฏิรูปกำรศึกษำ. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สาหรับประเมินคุณภาพการบริหารจัดการเขตพื้นที่ การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธำรอักษร. สุจินต์ ใจกระจ่ำง. (2553). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ทุนอุดหนุนกำรวิจัย มหำวิทยำลัยรำมคำแหง. สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ : ภำพพิมพ์. โสภิณ ม่วงทอง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญในภาคตะวันออก. วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำดุษฎีบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยบูรพำ. อเนก ไชยคำหำญ. ( 2559 ). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูตามเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยำนิพนธ์ปริญญำครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏอุดรธำนี. อำคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นาในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลำ: ภำรกิจเอกสำรและตำรำ มหำวิทยำลัยทักษิณ. อำพร ไตรภัทร. (2550). วัฒนธรรมที่พึงประสงค์. วารสารการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(2), 33-39 Daft, R. L. (1999). Leadership theory and practice. New York: The Dryden Press. Fiedler, F.E. (1967). Improving Leadership Effectiveness: The Leader Match Concept, New York : Wiley. Gibson et al. (1982). Organizations, Behavior Structure Process. Texas Business Publications lnc. Reddin, W.J. (1970). Managerial Effectiveness. New York: McGraw Hill. Sergiovani, T.J. (1982). “Ten Principles of Quality Leadership”. Educational Leadership, 39(5), 330-336

712


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. 3rd ed. New York: The free Press. Stuber, R. E. (2000). The characteristics of an effective Lutheran high school anministrator. Dissertation Abstracts International, 61 (2), 61.

713


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-11

ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 THE STRATEGIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE SECONDARY EDUCATION REGION 21 แสงระวี ลิตรักษ์1 , พนำยุทธ เชยบำล2 , พิมพ์พร จำรุจิตร์3 Sangrawee Littarak, Panayuth Choeybal, Pimporn Charuchit 1 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 อาจารย์ประจาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

บทคัดย่อ กำรวิ จั ย ครั้ งนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษำภำวะผู้ น ำเชิ งกลยุ ท ธ์ ข องผู้ บ ริ ห ำรสถำนศึ ก ษำที่ ส่ งผลต่ อ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 กลุ่มตัวอย่ำงเป็นครูผู้สอน จำนวน 325 คน สุ่ ม ตัว อย่ ำงแบบแบ่ งชั้ นตำมขนำดโรงเรีย น เครื่อ งมือ ที่ใ ช้เ ป็ นแบบสอบถำมมำตรำส่ว นประมำณค่ ำ แบ่งเป็นแบบสอบถำมภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ มีควำมเชื่อมั่นเท่ำกับ .967 และประสิทธิผล ของโรงเรียน มีควำมเชื่อมั่นเท่ำกับ .916 วิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทำงสังคมศำสตร์หำควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเครำะห์ถดถอยหพุคูณโดยวิธี วิเครำะห์กำรถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลกำรวิจัยพบว่ำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำและประสิทธิผลของโรงเรีย น โดยรวมและรำยด้ำนอยู่ใน ระดับมำก มีควำมสัมพันธ์กันและได้สมกำรพยำกรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยใช้ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นตัว แปรพยำกรณ์ มีภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัตอิ ย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุมองค์กำรให้สมดุล ด้ำนกำรกำหนด ทิศทำงเชิงกลยุทธ์ ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติ เป็นตัวแปรพยำกรณ์ที่สำมำรถพยำกรณ์ ได้ร้อยละ 60 คำสำคัญ : ภาวะผู้นา , ประสิทธิผล Abstract The purpose of this research were the strategic leadership of school administrators affecting the effectiveness of schools under the office of the secondary education region 21 The sample consisted of 325 teachers in School. The research instrument was a questionnaire with the discrimination reliability of the strategic leadership of school administrators at .967 and reliability effectiveness of schools at .916. nes inunnhinhcut nsceThlasi sittats hT this analysis

714


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

were frequency percentage,mean,standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis using the Statistical Package for the Social Science. The result were as follow : The Strategic Leadership of School Administrators and The Effectiveness of Schools in overall and each aspect were at a high level. Both have positive correlation. The predicted equations of the effectiveness of schools by using the Strategic Leadership of School Administrators is the predicted equations. It was found that operating with in tegrity in the organization to control balance, strategic direction and revolutionary thinking rspectively. Were predicted equations and the prediction equation for 60 persent. Keywords : Leadership , Effectiveness บทนา สถำนกำรณ์กำรเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและแนวโน้มในอนำคต สะท้อนให้เห็นถึงควำมเสี่ยงที่อำจจะ เกิดขึ้นทั้งกำรเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้ำง สถำบันทำงสังคม และควำมแตกต่ำงของแต่ละบุคคล จำเป็นต้องเตรียมคน ให้พร้อมรับกำรเปลี่ยนทั้งในระดับโลกและภูมิภำค ประเทศไทยประสบปัญหำต่ำง ๆ และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ขึ้น ส่วนหนึ่งอำจเป็นผลมำจำกกำรจัดกำรศึกษำของประเทศ ผู้บริหำรหลำยระดับยอมรับว่ำกำรศึกษำเป็นเครื่องมือที่ สำคัญในกำรพัฒนำประเทศและกำรศึกษำคือปัจจัยชี้ข ำดอนำคตของประเทศ (อมรำ จำรูญศิริ. 2555 : 1) ซึ่งคนมี คุณภำพเป็นปัจจัยสำคัญต่อควำมสำเร็จของกำรพัฒนำทั้งปวง รวมถึงเป็นปัจจัยสำคัญในกำรพัฒนำคนด้วย (ธีระ รุญ เจริญ. 2550 : 2) ดังนั้นกำรศึกษำจึงได้มีกำรปฎิรูปกำรศึกษำขึ้น แต่ภำพรวมด้ำนกำรศึกษำก็ยังคงเป็นปัญหำอยู่ หลำย ๆ ด้ำน ทำให้ผู้บริหำรสถำนศึกษำสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องมีควำมรู้ควำมเข้ำใจในหลักกำรบริหำรกำรศึกษำเป็น อย่ำงดี (สมำน อัศวภูมิ. 2551 : 63) ผู้ บ ริ ห ำรสถำนศึ ก ษำในยุ ค ปั จ จุ บั น จึ งต้ อ งมี ค วำมเป็ น ผู้ น ำที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปและผู้ น ำเชิ ง กลยุ ท ธ์ (Strategic Leadership) เป็นผู้นำที่นำควำมเจริญก้ำวหน้ำมำสู่องค์กำร ผู้นำขององค์กำรหลำยแห่งที่ประสบ ควำมสำเร็จล้วนแต่มีควำมเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ทั้งสิ้น กำรเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์เริ่มจำกกำรมีคุณสมบัติคือ เป็นผู้มี วิสัยทัศน์กว้ำงไกล และนำวิสัยทัศน์มำสู่กำรปฏิบัติได้อย่ำงเป็นผลสำเร็จตำมขั้นตอน (เนตร์พณณำ ยำวิรำช. 2549 : 44) โรงเรียนที่มีประสิทธิผลหรือโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องอำศัยควำมทุ่มเทพยำยำมในทุกด้ำนจำกบุคคลที่ เกี่ยวข้อง ต้องอำศัยควำมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต้องอำศัยเป้ำหมำยที่ชัดเจนและท้ำทำย ต้องอำศัยทรัพยำกรที่ เพียงพอและมีคุณภำพ ต้องอำศัยควำมมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกำรบริหำรหลักสูตรและกำรสอนเทคโนโลยี ต้องอำศัย ภำวะควำมเป็นผู้นำทั้งของผู้บริหำรสถำนศึกษำและของคณะครู ต้องอำศัยบรรยำกำศแห่งกำรยอมรับนับถือและ ไว้วำงใจซึ่งกันและกัน ที่สำคัญก็คือ ต้องอำศัยหลักกำรแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นทิศทำงของกำรพัฒนำ ที่ถูกต้องถูกทิศทำง อันเป็นบทบำทหน้ำที่ที่สำคัญของผู้บริหำรสถำนศึกษำ (วิโรจน์ สำรรัตนะ. 2549 : 38) ผู้บริหำรสถำนศึกษำ จึงควรมีภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อกำหนดทิศทำงของโรงเรียนผ่ำนทำงวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ ผู้นำต้องมีควำมรับผิดชอบต่อสภำพแวดล้อมภำยในและภำยนอกของโรงเรียน พิจำรณำถึงควำมอยู่รอด ของโรงเรี ย นต่ อ ไปในอนำคตที่ มี ก ำรเปลี่ ย นแปลง เพื่ อ พั ฒ นำโรงเรี ย นให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ ำพและประสิ ท ธิ ผ ล โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งประสิทธิผลด้ำนผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของผู้เรียนและคุณภำพของผู้เรียน จำกควำมสำคัญและ

715


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ปัญหำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับ ประสิทธิผลของโรงเรียนดังกล่ำว ดังนั้น ผู้วิจัยในฐำนะที่เป็นข้ำรำชกำรครู สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 จึงมีควำมสนใจที่จะศึกษำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำร สถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 เพื่อจะได้ ทรำบข้อมูลพื้นฐำนอันนำไปสู่กำรวำงแผน ส่งเสริมและพัฒนำสถำนศึกษำให้มีศักยภำพมำกยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของกำรวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษำระดับภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ ระดับ ประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำกับประสิทธิผล ของโรงเรียน และเพื่อสร้ำงสมกำรพยำกรณ์ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 ในกำรศึกษำวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ค้นคว้ำ แนวคิด ทฤษฎีและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดควำมรู้ ควำมเข้ำใจ ในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกั ด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้กำรวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ทำหน้ำที่หลักด้ำนกำรเรียนกำรสอนที่ปฏิบัติงำนในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำเขต 21 ผู้วิจัยได้กำหนดขนำดของกลุ่มตัวอย่ำงโดยกำรใช้ตำรำงเครจ ซี่และมอร์แกน ( Krejcie & Morgan ) ( บุญชม ศรีสะอำด. 2556 : 42 – 43 ) จำกนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่ง ชั้นตำมขนำดโรงเรียน แล้วใช้กำรสุ่มกลุ่มตัวอย่ำงอย่ำงง่ำย โดยกำรจับสลำกจนได้กลุ่มตัวอย่ำง ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 ครบตำมที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถำม (Questionnaires) แบ่งเป็น3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถำนภำพของผู้ตอบแบบสอบถำม เป็นแบบตรวจสอบรำยกำร (Checklist) ตอนที่ 2 ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหำรสถำนศึกษำ 4 ด้ำน ได้ค่ำควำมเชื่อมั่นเท่ำกับ .967 และตอนที่ 3 ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้ค่ำควำม เชื่อมั่นเท่ำกับ .916 ลักษณะคำถำมเป็นแบบสอบถำมที่เป็นมำตรำส่วนประมำณค่ำ (Rating Scale) 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อ มูล โดยวิธี กำรส่ งแบบสอบถำมทำงไปรษณีย์ไปยังครู ผู้สอนในโรงเรียน สังกั ด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่ำง พร้อมด้วยหนังสือขอควำมอนุเครำะห์ในกำร ตอบแบบสอบถำม และซองเปล่ำติดแสตมป์จ่ำหน้ำซองชื่อ ที่อยู่ผู้รับ เพื่อใช้ในกำรส่งกลับมำยังผู้วิจัย จำนวน 325 ฉบับ ได้รับแบบสอบถำมกับคืนมำจำกไปรษณีย์จำนวน 325 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ผู้วิจยั วิเครำะห์ข้อมูลโดยกำรหำร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและสร้ำงสมกำรพยำกรณ์โดยกำรวิเครำะห์กำรทดถอยพหุคณ ู แบบขั้นตอน เพื่อพยำกรณ์ปัจจัย

716


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กำรบริหำรที่ส่งผลต่อกำรจัดกำรเรียนกำรสอนที่เน้นผูเ้ รียนเป็นสำคัญของครู จำกนั้นทำกำรแปลผล และนำข้อมูลเป็นตำรำงประกอบคำบรรยำย ผลการวิจัย ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำเสนอผลดังนี้ ตำรำงที่ 1 ค่ำเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน (S.D.) และกำรแปลผลภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหำร สถำนศึกษำ ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา  1. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ (  1 ) 4.41 2. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติ (  2 ) 4.30 3. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรบริหำรทรัพยำกร ภำยในองค์กำร (  3 ) 4.21 4. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัตอิ ย่ำงมีคุณธรรม ในกำรควบคุมองค์กำรให้สมดุล (  4 ) 4.39 โดยรวม (  0 )

4.33

S.D. 0.29 0.39

แปลผล มำก มำก

0.45

มำก

0.40

มำก

0.38

มาก

จำกตำรำงที่ 1 พบว่ำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำ มัธยมศึกษำ เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมำก เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำ ทุกด้ำนอยู่ในระดับมำก โดยด้ำนที่มี ค่ำเฉลี่ยสูงสุด คือ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ รองลงมำ คือ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำน กำรปฏิบัติอย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุมองค์กำรให้สมดุล ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติ และภำวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรบริหำรทรัพยำกรภำยในองค์กำร ตำมลำดับ ตำรำงที่ 2 ค่ำเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ( S.D. ) และกำรแปลผลประสิทธิผลของโรงเรียน ประสิทธิผลของโรงเรียน 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนด้ำนควำมสำมำรถในกำรผลิตนักเรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูง ( 1 ) 2. ประสิทธิผลของโรงเรียนด้ำนควำมสำมำรถในกำรพัฒนำนักเรียน ให้มีเจตคติทำงบวก ( 2 ) 3. ประสิทธิผลของโรงเรียนด้ำนควำมสำมำรถในกำรปรับเปลีย่ น และพัฒนำโรงเรียน ( 3 ) 4. ประสิทธิผลของโรงเรียนด้ำนควำมสำมำรถในกำรแก้ปัญหำ ภำยในโรงเรียน (  4 )

S.D. แปลผล

4.49 0.33

มำก

4.45 0.40

มำก

4.49 0.35

มำก

4.68 0.28 มำกที่สุด

โดยรวม ( 0 )

4.53 0.34 มากที่สุด

717


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำกตำรำงที่ 2 พบว่ำ ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำเขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมำกที่สุด เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำ มี 1 ด้ำนที่อยู่ในระดับมำกที่สุด คือ ประสิทธิผลของ โรงเรียนด้ำนควำมสำมำรถในกำรแก้ปัญหำภำยในโรงเรี ยน และอีก 3 ด้ำนที่อยู่ในระดับมำก โดยด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ย สูงสุด คือ ประสิทธิผลของโรงเรี ยนด้ำนควำมสำมำรถในกำรผลิต นักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูงและ ประสิทธิผลของโรงเรียนด้ำนควำมสำมำรถในกำรปรับเปลี่ยนและพัฒนำโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียนด้ำน ควำมสำมำรถในกำรพัฒนำนักเรียนให้มีเจตคติทำงบวก มีค่ำเฉลี่ยต่ำสุด ตำรำงที่ 3 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำทีส่ ่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา 1 2

3 4

0

ประสิทธิผลของโรงเรียน

4

.535** .632** .680** .700**

3 .589** .603** .634** .663**

.533** .579** .599** .657**

0 .624** .686** .713** .751**

.707**

.685**

.654**

.766**

1

2

.589** .646** .641** .676** .703**

**มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 จำกตำรำงที่ 3 พบว่ำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยรวม (  0 ) กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึก ษำ เขต 21 โดยรวม ( 0 ) มีควำมสัมพันธ์กันทำงบวกในระดับสูง ( r = .766 ) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ตำรำงที่ 4 ค่ำสถิติของตัวแปรพยำกรณ์ที่ใช้พยำกรณ์ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียน ด้วยวิธสี เตปไวส์ Model 1. (  4 ) 2. (  4 ) (  1 ) 3. (  4 )(  1 ) (  2 )

R .751 .769 .774

R2 .564 .591 .600

Adj.R 2 Std.E Sig. .563 .200 .000** .588 .194 .000** .596 .193 .008**

**มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 จำกตำรำงที่ 4 พบว่ำ เมื่อนำตัวแปรพยำกรณ์ทั้ง 4 ตัว มำวิเครำะห์เพื่อพยำกรณ์ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 โดยวิธีวิเครำะห์กำรถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ( Stepwise Multiple Regression Analysis ) แล้วรูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่สุดของกำรพยำกรณ์ที่สำมำรถพยำกรณ์ภำวะผูน้ ำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัติอย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุมองค์กำรให้สมดุล (  4 ) ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ (  1 ) ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติ (  2 ) เป็นตัวแปรพยำกรณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ดีที่สุดอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 โดยมี

718


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ( R ) = .774 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในกำรตัดสินใจ ( R 2 ) = .600 หรือมีอำนำจ พยำกรณ์ ร้อยละ 60 ตำรำงที่ 5 ผลกำรทดสอบภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา ค่ำคงที่ 1. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัติ อย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุม องค์กำรให้สมดุล (  4 ) 2. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำน กำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ ( 1 ) 3. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิด เชิงปฏิวัติ (  2 )

คะแนนดิบ Std.E  1.526 .162

คะแนนมาตรฐาน Bate

t 9.401**

0.389

.045

0.512

8.719**

0.165

.054

0.159

3.024**

0.132

.049

0.168

2.668**

**มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 จำกตำรำงที่ 5 พบว่ำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัติอย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุมองค์กำรให้ สมดุล (  4 ) ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ (  1 ) ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิง ปฏิวัติ (  2 ) ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 อย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 เมื่อนำค่ำสถิติต่ำง ๆ มำสร้ำงสมกำรพยำกรณ์ได้สมกำรประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 ดังนี้ สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนดิบ 

 = 1.526 + 0.389(  4 ) + 0.165(  1 ) + 0.132(  2 )

สมกำรพยำกรณ์ในรูปคะแนนมำตรฐำน 

 = 0.512 

 + 0.159   + 0.168   จำกกำรวิเครำะห์ข้อมูลและนำค่ำสถิติต่ำง ๆ มำสร้ำงสมกำรพยำกรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 ได้ร้อยละ 60 4

1

2

สรุปผลการวิจัย 1. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพืน้ ที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 อยู่ในระดับมำก 2. ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 อยู่ในระดับมำก ที่สุด

719


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำมีควำมสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 4. กำรพยำกรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 โดย ใช้ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นตัวแปรพยำกรณ์ มีภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัติอย่ำงมีคณ ุ ธรรมในกำรควบคุม องค์กำรให้สมดุล ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติ เป็นตัวแปรพยำกรณ์ทสี่ ำมำรถพยำกรณ์ ได้ร้อยละ 60 เขียนเป็นสมกำรพยำกรณ์ ได้ดังนี้ สมกำรพยำกรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ 

 = 1.526 + 0.389(  4 ) + 0.165(  1 ) + 0.132(  2 )

สมกำรพยำกรณ์ในรูปแบบคะแนนมำตรฐำน 

 = 0.512 

4

+ 0.159   + 0.168   1

2

วิจารณ์ผลการวิจัย 1. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ ตำมควำมคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 อยู่ในระดับมำก ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำกผู้บริหำรสถำนศึกษำโรงเรียน ในสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 มีควำมสำมำรถในกำรบริหำรงำนที่ดีและมีประสิทธิภำพ มี กำรกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน กว้ำงไกล มีกำรวำงแผนกำรปฏิบัติงำนด้วยกระบวนกำรมีส่วนร่วม มีควำมสำมำรถใน กำรคิดที่แปลกใหม่ สร้ำงสรรค์ มีกำรส่งเสริมให้สถำนศึกษำมีกิจกรรมที่สำมำรถปลูกจิตสำนึก เน้นบุคลำกรภำยใน สถำนศึกษำทำงำนให้เกิดผลทั้งภำยในและภำยนอกอย่ำงสูงสุด ตลอดจนมีควำมสำมำรถในกำรสนับสนุนและ ส่งเสริมให้บุคลำกรทำงำนร่วมกันด้วยควำมสำมัคคี กระตุ้นให้ครูทำงำนอย่ำงเต็มที่เต็มควำมสำมำรถ มีควำมสุขและ มีประสิทธิภำพอย่ำงสูงสุด สอดคล้องกับแนวคิดของ เนตรพัณณำ ยำวิรำช (2550 : 19) ได้ให้ข้อคิดเห็นแนวคิด เกี่ยวกับภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เป็นรูปแบบของภำวะผู้นำชนิดหนึ่งที่นำควำมเจริญก้ำวหน้ำมำสู่องค์กำร ควำมเป็น ผู้นำเชิงกลยุทธ์เริ่มจำกกำรที่มีคุณสมบัติสำคัญคือเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Vision) กว้ำงไกลและนำวิสัยทัศน์มำสู่กำร ปฏิบัติได้อย่ำงเป็นผลสำเร็จ สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ เกศรำ สิทธิแก้ว (2558) ได้ศึกษำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริ หำรที่ส่งผลต่อกำรดำเนิ นงำนประกันคุณภำพภำยในสถำนศึกษำ สั งกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ก ำรศึกษำ ประถมศึกษำปทุมธำนี ผลกำรวิจัยพบว่ำ ระดับภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรอยู่ในระดับมำกทั้งโดยรวมและรำย ด้ำน 2. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 อยู่ในระดับมำก ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำก กำรบริหำรงำนของผู้บริหำรสถำนศึกษำและควำมร่วมมือของบุคลำกรทุกคน จนสำมำรถ ดำเนินงำนให้บรรลุเป้ำหมำยและวัตถุประสงค์ที่โรงเรียนตั้งไว้ รวมไปถึงประสิทธิภำพของผู้บริหำรสถำนศึกษำและ ครูที่สำมำรถใช้ควำมรู้ ควำมสำมำรถและประสบกำรณ์ในกำรบริหำรจัดกำร แสดงให้เห็นว่ำมีควำมสำมำรถในกำร ปฏิบัติงำนบรรลุตำมวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับแนวคิดของ เรียม สุขกล่ำ (2553 : 28) ได้ให้แนวคิดว่ำ ประสิทธิผลโรงเรียน คือ ควำมสำเร็จของโรงเรียนที่สำมำรถทำหน้ำที่ให้บรรลุตำมเป้ำหมำยที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เกิดจำก ประสิทธิภำพของผู้บริหำรสถำนศึกษำ ครูที่สำมำรถใช้ควำมรู้ ควำมสำมำรถและประสบกำรณ์ในกำรบริหำรจัดกำร เพื่อแสดงให้เห็นว่ำมี ควำมสำมำรถในกำรปฏิบัติงำนบรรลุตำมวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ ควำมสำมำรถในกำรผลิต นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูง ควำมสำมำรถพัฒนำนักเรียนให้มีทัศนคติทำงบวก ควำมสำมำรถ ปรับเปลี่ยน

720


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

และพัฒนำโรงเรียนให้เข้ำกับสิ่งแวดล้อม และควำมสำมำรถแก้ปัญหำภำยในโรงเรียน สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ เสำวลักษณ์ โสมทัต (2553) ได้ศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำกำรเปลี่ยนแปลงของผู้บริหำรสตรีกับ ประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำชลบุรี เขต 1 ผลกำรวิจัยพบว่ำประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำชลบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมำกเรียงตำมค่ำเฉลี่ยจำกมำกไปน้อย ดังนี้ ด้ำนควำมสำมำรถในกำรแก้ปัญหำในโรงเรียน ด้ำนควำมสำมำรถในกำรปรับเปลี่ยนและพัฒนำโรงเรี ยน ด้ำน ควำมสำมำรถในกำรพัฒนำนักเรียนให้มีทัศนคติทำงบวก และด้ำนควำมสำมำรถในกำรผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรียนสูง ตำมลำดับ 3. ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำมีควำมสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 เป็นไปตำมสมมติฐำนข้อที่ 1 ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำกกำรเปลี่ยนแปลง อย่ำงรวดเร็วในทุก ๆ ด้ำน ควำมก้ำวหน้ำทำงเทคโนโลยี กำรสื่อสำรสมัยใหม่ที่สำมำรถแพร่กระจำยข่ำวสำรได้อย่ำง รวดเร็ว ผู้บริหำรจึงต้องมีวิสัยทัศน์กว้ำงไกล ตลอดจนต้องใช้ควำมรู้ควำมสำมำรถในกำรแก้ปัญ หำ เพื่อนำพำ องค์กำรไปสู่ควำมสำเร็จตำมเป้ำหมำยที่ตั้งไว้อย่ำงมีประสิทธิภำพ ดังนั้นผู้บริหำรในปัจจุบันต้องเป็นผู้นำที่เป็น รูปแบบของผู้นำชนิดที่นำควำมเจริญก้ำวหน้ำมำสู่องค์กำร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เซนจ์ (Senge. 1990 : 39) ได้บรรยำยถึงภำวะผู้นำแบบใหม่ในฐำนะผู้สร้ำงวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ว่ำคนที่จะก้ำวไปสู่ควำมเป็นเลิศได้นั้นจะต้องมี 1) วิสัยทัศน์ส่วนตนคือมีจุดมุ่งหมำยมีควำมหวังที่จะไปอย่ำงใดอย่ำงหนึ่งในอนำคต 2) มีแรงมุ่งมั่นใฝ่ดีคือมีวิสัยทัศน์ แล้วก็ต้องมีแรงมุ่งมั่นที่จะลงมือทำกิจทั้งปวงให้บรรลุต่อผลสำเร็จ 3) มีควำมมุ่งมั่นฝึกฝนให้เกิดควำมชำนำญ และ 4) มีควำมคิด วิเครำะห์ สิ่ง่ใด ๆ ด้วยเหตุด้ วยผล สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของเพ็ญประภำ สำริภำ ได้ศึกษำ ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขต พื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 19 ผลกำรวิจัยพบว่ำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำกับประสิทธิผล ของโรงเรียนโดยภำพรวม มีควำมสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจำรณำเป็น รำยด้ำนพบว่ำ ทุกด้ำนมีควำมสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนอยู่ในระดับสูงอย่ำงมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ .01 4. กำรวิเครำะห์กำรถดถอยพหุคูณและสร้ำงสมกำรพยำกรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำน เขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 โดยใช้ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นตัวแปรพยำกรณ์ มีประเด็นอภิปรำย ดังนี้ 4.1 ภำวะผู้นำเชิงกลยุ ทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ เป็นตัวพยำกรณ์ประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 เป็นอันดับแรก ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำกผู้บริหำร สถำนศึกษำได้ให้ควำมสำคัญต่อกำรกำหนดทิศทำงขององค์กำรโดยเฉพำะเรื่องของกำรกำหนดวิสัยทัศน์ ผู้บริ หำรมี ควำมสำมำรถในกำรวำงแผนและกำหนดทิศทำงของหน่วยงำนได้ โรงเรียนให้คณะกรรมกำรสถำนศึกษำ ชุมชน เข้ำ มำมีส่วนร่วมในกำรกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้บรรลุเป้ำหมำยที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ มันฑนำ กองเงิน (2554: 35) ซึ่งได้กล่ำวว่ำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) หมำยถึง กำรเป็นผู้ที่สำมำรถคำดกำรณ์ มี วิสัยทัศน์กว้ำงไกล มีควำมยืดหยุ่น และสำมำรถนำวิสัยทัศน์ไปสู่กำรปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กำร สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ ขัตติยำ ด้วงสำรำญ (2552) ได้ศึกษำรูปแบบกำรบริหำรเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรี ยน ขนำดเล็ ก ผลกำรศึ ก ษำพบว่ ำ องค์ ป ระกอบของรู ป แบบกำรบริ ห ำรเชิ ง กลยุ ท ธ์ ส ำหรั บ โรงเรี ย นขนำดเล็ ก ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ 1 ) กำรวำงแผนกลยุทธ์ 2 ) ประเมินกลยุทธ์ของโรงเรียน 3 ) กำหนดทิศทำงของ โรงเรียน 4) กำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน 5) กำรปฏิบัติตำมกลยุทธ์ของโรงเรียน และ 6) ประเมินกลยุทธ์ของโรงเรียน และรูปแบบกำรบริหำรเชิงกลยุทธ์โดยรวมและรำยด้ำนอยู่ในระดับมำก

721


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

4.2 ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติ เป็นตัวพยำกรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 เป็นอันดับสอง ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำกผู้บริหำรสถำนศึกษำมีควำมคิด ที่แปลกใหม่ สร้ำงสรรค์ นำเสนอควำมคิดที่แตกต่ำงออกไปจำกควำมคิดเดิม รับฟังควำมคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมำ ปรับปรุงแก้ไขในกำรทำงำน มีกำรจัดประชุมเพื่อสะท้อนควำมคิดเห็นและกระตุ้นควำมคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือ บุคลำกรภำยในสถำนศึกษำ ให้นำสิ่งที่ได้นั้นมำประยุกต์เป็นแผนในกำรปฏิบัติงำนของสถำนศึกษำ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของ ดูบริน (Dubrin, 2004: 333 - 336) ได้กล่ำวถึงวิธีกำรคิดเชิงปฏิวัติ ว่ำ เป็นกำรใช้ควำมคิดสร้ำงสรรค์ เพื่อกำรเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ซึ่งมีลักษณะคล้ำยคลึงกับคำว่ำ กำรสร้ำงสรรค์อนำคตใหม่หลำยองค์กำรที่ไม่ประสบ ควำมสำเร็จเพรำะกลยุทธ์ไม่สำมำรถตอบสนองควำมต้องกำรของลูกค้ำได้เหนือกว่ำคู่แข่ง สอดคล้องกับผลกำรวิจัย ของ สุพรรณ ประศรี (2555) ได้ศึกษำ กำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผูน้ ำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ กับกำรดำเนินกำรประกันคุณภำพภำยในสถำนศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำพระนครศรีอยุธยำ เขต 2 พบว่ำ ผู้บริหำรสถำนศึกษำมีภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในภำพรวมอยู่ในระดับมำก เมื่อพิจำรณำรำยองค์ประกอบ พบว่ำ ผู้บริหำรสถำนศึกษำมีภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับมำกทุกด้ำน โดยมีองค์ประกอบที่ 5 กำรกำหนดวิสัยทัศน์ มี ค่ำเฉลี่ยสูงสุดรองลงมำคือ องค์ประกอบที่ 2 ควำมสำมำรถนำปัจจัยต่ำง ๆ มำกำหนดกลยุทธ์ได้ องค์ประกอบที่ 4 วิธีกำรคิดเชิงปฏิวัติ องค์ประกอบที่ 3 กำรมีควำมคำดหวังและกำรสร้ำงโอกำสสำหรับอนำคตและองค์ประกอบที่มี ค่ำเฉลี่ยต่ำสุดคือองค์ประกอบที่ 1 กำรมีควำมคิดควำมเข้ำใจในระดับสูง 4.3 ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรปฏิบัติอย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุมองค์กำรให้สมดุล เป็นตัว พยำกรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 เป็นอันดับสำม ทั้งนี้อำจ เนื่องมำจำกผู้บริหำรสถำนศึกษำมีควำมสำมำรถในกำรสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลำกรทำงำนร่วมกันด้วยควำม สำมัคคี กระตุ้นให้ครูทำงำนอย่ำงเต็มที่เต็มควำมสำมำรถ ยึดหลักกำรบริหำรงำนตำมหลักธรรมภิบำลในกำรบริหำร เพื่อป้องกันและปรำบปรำมกำรทุจริต คิดหำวิธีกำรแก้ไขปัญหำในกำรทำงำนได้อย่ำงถูกต้อง ส่งเสริมกำรทำงำน ร่วมกันด้วยควำมสำมำรถสูงสุด ให้บุคลำกรทำงำนร่วมกันได้อย่ำงมีควำมสุขและมีประสิทธิภำพอย่ำงสูงสุด ซึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดของ ไอร์แลนด์และฮิตต์ (Ireland & Hitt, 1999: 53 - 54) ได้กล่ำวถึงกำรปฏิบัติตนอย่ำงมี คุณธรรมจริยธรรม โดยผู้นำเชิงกลยุทธ์จะต้องยึดมั่นและมุ่งเน้นแนวปฏิบัติอย่ำงมีจริยธรรม ด้วยกำรแสดงออกถึง ควำมซื่อสัตย์เชื่อถือคุณธรรม ยึดมั่นในกำรหลักกำรของตน ทั้งสำมำรถในกำรดลใจพนักงำนให้ประกอบธุรกิจบน หลั ก ของควำมมี จ ริ ยธรรม นอกจำกนี้ ผู้น ำยังต้ องเรีย นรู้ และเข้ ำ ใจอย่ำ งลึ กซึ้ งต่อ ค่ ำนิ ย มและวัฒ นธรรมอย่ ำ ง หลำกหลำย อันจะส่งผลต่อโอกำสที่จะประสบควำมสำเร็จเพิ่มมำกขึ้นสอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ เกศรำ สิทธิแก้ว (2558) ได้ศึกษำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหำรที่ส่งผลต่อกำรดำเนินงำนปรันคุณภำพภำยใน สถำนศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำปทุมธำนี ผลกำรวิจัยพบว่ำ 1) ระดับภำวะผู้นำเชิงกล ยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหำรอยู่ในระดับมำก ทั้งโดยรวมและรำยด้ำน 2) ระดับกำรดำเนินงำนประกันคุณภำพ ภำยใน อยู่ ในระดับมำกทั้งโดยรวมและรำยด้ำน และ 3) ภำวะผู้นำเชิงกลยุท ธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บ ริหำร สถำนศึก ษำที่ ส่งผลต่ อกำรด ำเนิน งำนประกัน คุณ ภำพภำยในสถำนศึ กษำ สั งกั ดส ำนั ก งำนเขตพื้ นที่ ก ำรศึก ษำ ประถมศึกษำปทุมธำนี เรียงตำมลำดับ ได้แก่ ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ รองลงมำด้ำนกำรบริหำรทรัพยำกร ภำยในองค์กำร ด้ำนกำรปฏิบัติอย่ำงมีคุณธรรมในกำรควบคุมองค์กำรให้สมดุลและด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวั ติร่วมกัน พยำกรณ์ กำรดำเนิน งำนประกัน คุณภำพภำยในสถำนศึก ษำ สังกั ดส ำนัก งำนเขตพื้น ที่กำรศึก ษำประถมศึ กษำ ปทุมธำนี ได้ร้อยละ 67.00

722


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะสาหรับการนาผลการวิจัยไปใช้ 1.จำกผลกำรวิจัยพบว่ำ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยรวมอยู่ในระดับมำก ด้ำนกำรกำหนดทิศทำง เชิงกลยุทธ์มีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุดและภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรบริหำรทรัพยำกรภำยในองค์กำรมีค่ำเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหำรสถำนศึกษำควรให้ควำมสำคัญเกี่ยวกับกำรบริหำรทรัพยำกรภำยในองค์กำรให้มำกขึ้น ใช้วิธีกำรที่ หลำกหลำยในกำรบริหำรงำนด้ำนงบประมำณ ด้ำนบุคลำกรและทรัพยำกรภำยในสถำนศึกษำ เช่น บุคลำกร วัสดุ อุปกรณ์ สถำนที่ วำงแผนและสนับสนุนกำรใช้งบประมำณที่เหมำะสมกับโครงกำรพัฒนำต่ำง ๆ ที่ดำเนินงำน ส่งเสริมให้สถำนศึกษำมีกิจกรรมที่สำมำรถปลูกจิตสำนึก เน้นบุคลำกรภำยในสถำนศึกษำทำงำนให้เกิดผลทั้งภำยใน และภำยนอกอย่ำงสูงสุด 2. จำกผลกำรวิจัยพบว่ำ ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมำก ด้ำนควำมสำมำรถในกำรแก้ปัญหำภำยในโรงเรียนมีค่ำเฉลี่ยมำกที่สุดและด้ำน ควำมสำมำรถในกำรพัฒนำนักเรียนให้มีเจตคติทำงบวกมีค่ำเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้นผู้บริหำรควรให้ควำมสำคัญในด้ำน กำรพัฒนำนักเรี ยนให้มีเจตคติท ำงบวกให้มำกขึ้ น เพรำะเป็นกำรส่งเสริมผู้เรี ยนให้เป็นผู้มีควำมกตัญญูกตเวที ส่งเสริมผู้เรียนให้คิดเชิงบวก คิดดีต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อโรงเรียนและต่อกำรเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกถึง พฤติกรรมในทำงที่ดีงำม เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย รู้จักพัฒนำตนเองในด้ำนกำรศึกษำเล่ำเรียน มี เจตคติที่ดีต่อกำรศึกษำและอยู่ในสังคมได้อย่ำงมีควำมสุข ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีกำรศึกษำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลประสิทธิผลของโรงเรียนใน เขตพื้นที่กำรศึกษำอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ศึกษำมำเปรียบเทียบในแต่ละบริบท 2. ควรมีกำรศึกษำถึงภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำอื่นๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 21 เช่น กำรนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ กำรควบคุมและ ประเมินกลยุทธ์ เป็นต้น เพื่อให้ทรำบถึงภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน 3. ควรมีกำรศึกษำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดอื่นๆ เช่น สำนักงำนเขตพื้นทีก่ ำรศึกษำประถมศึกษำ สำนักบริหำรงำนกำรศึกษำพิเศษ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่หลำกหลำยจำกผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ควรทำกำรวิจัยเชิงคุณภำพเป็นกำรศึกษำระดับโรงเรียนหรือจังหวัด เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และ สำมำรถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบกำรวำงแผน ปรับปรุง และพัฒนำโรงเรียนหรือหน่วยงำนที่เกี่ยวข้องต่อไป 5. ควรนำภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหำรสถำนศึกษำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน คือ ภำวะ ผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรกำหนดทิศทำงเชิงกลยุทธ์ ภำวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้ำนกำรคิดเชิงปฏิวัติและภำวะผู้นำเชิงกล ยุทธ์ด้ ำนกำรปฏิบัติ อย่ ำงมีคุณ ธรรมในกำรควบคุ มองค์กำรให้ สมดุล ไปทำกำรวิจั ยและพัฒนำ (Research and Development) หรือวิจัยเชิงปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อนำไปสู่กำร ปฏิบัติที่เห็นผลเชิงประจักษ์ กิตติกรรมประกาศ วิทยำนิพนธ์นี้ได้รับทุนสนับสนุนจำกมหำวิทยำลัยรำชภัฏอุดรธำนี ปีกำรศึกษำ 2560

723


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เอกสารอ้างอิง เกศรำ สิทธิแก้ว. (2558). ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดาเนินงานประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี. วิทยำนิพนธ์ ปริญญำศึกษำศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี. ธีระ รุญเจริญ . (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ข้ำวฟ่ำง. เนตรพัณณำ ยำวิรำช. (2549). ภาวะผู้นาและผู้นาเชิงกลยุทธ์ . พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส. ________. (2550). ภาวะผู้นาและผู้นาเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส. บุญชม ศรีสะอำด. (2556). วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยำสำส์น. เพ็ญประภำ สำริภำ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยำนิพนธ์ปริญญำ กำรศึกษำมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย. เรียม สุขกล่ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทางานของข้าราชการครูกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำมหำบัณฑิต สำขำวิชำ กำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยบูรพำ. วิโรจน์ สำรรัตนะ. (2549). การบริหารหลักการ ทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์. เสกสิทธิ์ ปำนนูน. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในฝัน สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษา อุดรธานี.วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัย รำชภัฏอุดรธำนี. เสำวลักษณ์ โสมทัต. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีกับประสิทธิผล ของโรงเรียน ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำ มหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยบูรพำ. อมรำ จำรูญศิริ. (2555). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออ เฉียงเหนือตอนบน. วิทยำนิพนธ์ปริญญำครุศำสตรดุษฎีบณ ั ฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย. Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization. New York, NY: Doubleday.

724


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-12 แนวทางในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลจังหวัดอุดรธานี SKILLS DEVELOPMENT IN THE 21ST CENTURY OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS IN UDON THANI MUNUCIPALITY สุพล รำศรี1, สมคิด สร้อยน้ำ2, นวัตกร หอมสิน3 1

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รองศาสตรจารย์ ดร. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 ดร. อาจารย์ที่ปรึกษารอง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษำระดับทักษะของผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ตำมควำมคิดเห็นของ ครูโรงเรียนในสังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัย เป็นครูในสังกัดโรงเรียนเทศบำลจังหวัด อุดรธำนี จำนวน 244 คน ได้มำจำกกำรสุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถำม แบบมำตรำส่วนประมำณค่ำ 5 ระดับ มีค่ำควำมเชื่อมั่น เท่ำกับ 0.89 วิเครำะห์ข้อมูลโดยหำค่ำควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ผลกำรวิจัยพบว่ำ ระดับทักษะของผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหำรตำม ควำมคิดเห็นของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี โดยรวมอยู่ในระดับมำกทั้งโดยรวมและรำยด้ำนทุก ด้ำน คำสำคัญ : ทักษะผู้บริหาร, ศตวรรษที่21, โรงเรียนในสังกัดเทศบาลจังหวัดอุดรธานี Abstract This research aims. The skill level of management in the 21st century. According to the opinions of teachers in schools under the municipal offense. The sample used in this study under a teacher in the school district, Udon Thani, 244 derived from stratified sampling. The tools used in this research is a questionnaire rating scale level 5, the reliability of the questionnaire was 0.89 data analysis of percentage, mean and standard deviation. The research found that skill levels of management in the 21st century. The management of the opinions of teachers in schools under the municipal offense. Overall, in both overall and in all aspects. Keywords : Management skills, 21st Century, a municipal school in Udon Thani บทนา สถำนกำรณ์ของโลกในศตวรรษที่ 21 (ระหว่ำง ค.ศ.2001 - 2100) มีกำรเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อ องค์กำร และพลเมืองโลกหลำยด้ำนได้แก่ ควำมผันผวนทำงเศรษฐกิจกำรเข้ำสู่สังคมสูงวัยของโลกกำร เปลี่ยนแปลง ทำงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็ว กำรปรวนแปรของสภำพภูมิอำกำศควำมเสื่อมโทรมของ ทรัพยำกรธรรมชำติ และสิ่งแวดล้อมภัยพิบัติทำงธรรมชำติของโลกมีแนวโน้มเกิดควำมรุนแรงมำกขึ้นและผลกระทบ อื่นๆอีกมำกมำย

725


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

(สำนักงำนคณะกรรมกำรพัฒนำกำรเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ , 2558) ทำให้องค์กำรทั้งภำครัฐ และเอกชนต่ำ ง ได้รับผลกระทบ จึงต้องมีกำรปรับเปลี่ยนให้อยู่รอด และมีควำมเหมำะสมกับสถำนกำรณ์ดังกล่ำว ผู้บริหำรในฐำนะ ผู้นำองค์กำรจำเป็นต้องปฏิรูปตนเอง และกำรเปลี่ยนแปลงองค์กำรครั้งใหญ่เพื่อนำพำไปสู่ ควำมสำเร็จตำมเป้ำหมำย ที่ต้องกำรโดยเฉพำะอย่ำงยิ่งผู้บริหำรสถำนศึกษำมีบทบำทสำคัญที่จะต้องบริหำรจัดกำร ทรัพยำกรทำงกำรศึกษำให้ เกิดประสิทธิภำพ และควำมสมดุลเพื่อให้บริหำรจัดกำรศึกษำบรรลุผลสำเร็จ (บุญช่วย สำยรำม, 2557) กำรบริหำรและกำรจัดกำรศึกษำ ตำมมำตรำ 41 ของพระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ.2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุไว้ว่ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดกำรศึกษำในระดับใดระดับ หนึ่งหรือทุกระดับตำมควำมพร้อม ควำมเหมำะสมและควำมต้องกำรภำยในท้องถิ่น และเนื่องจำกโรงเรียนเป็น องค์กำรหนึ่ งที่มีควำมสำคัญต่อกำรจัดกำรศึ กษำ ต่อมำ ได้มีกำรออกพระรำชบัญญัติก ำหนดแผนและขั้ นตอน กระจำยอำนำจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มำตรำ 16 มำตรำ 17 และมำตรำ 18 กำหนดให้เทศบำล เมืองพัทยำ องค์กำรบริหำรส่วนตำบล องค์กำรบริหำรส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหำนคร มีอำนำจหน้ำที่ในกำรจัดระบบกำรบริหำรสำธำรณะเพื่อประโยชน์ของประชำชนในท้องถิ่น ของตน โดยถือว่ำกำรจัดกำรศึกษำเป็นส่วนหนึ่งของกำรบริกำรสำธำรณะ นอกจำกนี้ รัฐยังกำหนดนโยบำยไว้อย่ำง ชัดเจนว่ำให้เตรียมควำมพร้อมในกำรจัดกำรศึกษำแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจุบันกก โรงเรี ย นเทศบำลเป็ น องค์ ก รหนึ่ งที่ ไ ด้ ร่ ว มรั บ ภำระกำรจั ด กำรศึ ก ษำโดยมี ก องกำรศึ ก ษำเทศบำล มีหน้ำที่ดูแลส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนจัดกำรศึกษำได้อย่ำงมีคุณภำพได้รับกำรดูแลจำกหลำยหน่วยงำนเทศบำลกำร จัดกำรศึกษำก็ยังประสบปัญหำหลำยประกำร (สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ , 2542: 16) และถ้ำ โรงเรียนจะสร้ำงหลักประกันควำมมั่นคงให้กับชุมชน สังคมได้นั้นสิ่งสำคัญ คือ ประสิทธิผลของโรงเรียนซึ่งจะทำให้ เกิดควำมเชื่อถือของผู้ปกครองและช่วยในกำรตัดสินใจที่จะทำให้ผู้ปกครองเลือกที่จะส่งบุตรหลำนของตนเองเข้ำมำ ศึกษำในโรงเรียน ในกำรจะพิจำรณำว่ำโรงเรียนจะมีประสิทธิผลอยู่ในระดับใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญได้แก่ โรงเรียน กำรบริหำร ผู้บริหำร ครู บุคลำกรของโรงเรียน คือ ผู้บริหำร ครู นักเรียน เป็นปัจจัยสำคัญ (สุเนตร์ ทอง โพธิ,์ 2548) ซึ่งประสิทธิผลขององค์กำรจะเกิดขึ้นได้เมื่อองค์กำรได้มีกำรดำเนินงำนอย่ำงมีประสิทธิภำพโดยสำมำรถ ใช้ทรัพยำกรที่มีอยู่อย่ำงจำกัดได้อย่ำงเหมำะสมนำไปสู่ควำมสำเร็จบรรลุตำมวัตถุประสงค์ขององค์กำร (รุ่ง แก้วแดง และชัยณรงค์ สุวรรณสำร, 2540) จำกควำมเป็นมำและควำมสำคัญดังกล่ำว อำจจะมีปัญหำสำหรับผู้บริหำรที่ยังไม่สำมำรถปรับตัวเข้ำกับ ยุคของกำรเปลี่ยนแปลงอย่ำงรวดเร็ว จึงทำให้ขำดทักษะที่จำเป็นสำหรับกำรบริหำรในองค์กรและหน่วยงำนที่เข้ำมำ เกี่ยวข้องโดยเฉพำะผู้บริหำรสถำนศึกษำจึงเป็นบุคคลที่มีควำมสำคัญอย่ำงยิ่งที่จะต้องมีทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 เพื่อหน่วยงำนให้มีมำตรฐำนสูงขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยในฐำนะเป็นครูผู้สอนและเป็นบุคลำกรใต้บังคับบัญชำ มีควำม สนใจที่จะศึกษำแนวทำงในกำรพัฒนำทักษะกำรบริหำรในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหำรสถำนศึกษำ โรงเรียนเทศบำล จังหวัดอุดรธำนีมีอะไรบ้ำง และมีอยู่ในระดับใด ข้อมูลในกำรวิจัยครั้งนี้จะสำมำรถนำมำใช้ ในกำรพัฒนำทักษะของ ผู้บริหำรในโรงเรียนสังกัดเทศบำลนครอุดรธำนี ให้มีมำตรฐำนที่สูงขึ้น และเป็นข้อมูลให้หน่วยงำนที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ ในกำรวำงแผนงำนตลอดจนพัฒนำกำรบริหำรงำนในสถำนศึกษำให้มีประสิทธิภำพต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษำระดับทักษะของผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ตำมควำมคิดเห็นของครูโรงเรียนในสังกัด เทศบำล จังหวัดอุดรธำนี

726


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี จำนวนประชำกรทั้งสิ้น 663 คน เลือกกลุ่มตัวอย่ำงโดยเปิดตำรำงสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970 อ้ำงถึงใน บุญชม ศรีสะอำด, 2553) ได้กลุ่มตัวอย่ำงทั้งสิ้นจำนวน 244 คน โดยใช้วิธีกำรสุ่มแบบ แบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตำมขนำดโรงเรียน และใช้วิธีกำรสุ่มกลุ่มอย่ำงง่ำย (Simple Random Sampling) โดยกำรจับสลำกให้ได้จำนวนครบตำมสัดส่วนที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรกำรเก็บรวบรวมข้อมูลในกำรวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถำมที่ผู้วิจัยสร้ำงขึ้นจำนวน 1 ชุด เป็นแบบมำตรำส่วนประมำณค่ำ (Rating Scale) 5 ระดับแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป สอบถำมเกี่ยวกับสถำนภำพของผู้ตอบแบบสอบถำม ได้แก่ เพศ อำยุ ระดับกำรศึกษำ ตำแหน่ง และประสบกำรณ์ กำรทำงำน มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรำยกำร (Checklist) และตอนที่ 2 ทักษะของผู้บริหำรโรงเรียนในศตวรรษ ที่ 21 โดยมีค่ำควำมเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ำกับ .89 เก็บรวบรวมข้อมูล กำรเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ทำงไปรษณี ย์ ผู้ วิ จั ย ส่ ง แบบสอบถำมจ ำนวน 244 ฉบั บ พร้ อ มหนั ง สื อ ขอควำมร่ ว มมื อ ตอบแบบสอบถำมไปยั ง กลุ่ ม ตั ว อย่ ำ ง โดยก ำหนดให้ ส่ ง คื น ภำยใน 2 สั ป ดำห์ และ ได้แบบสอบถำมครบตำมจำนวน วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ วิเครำะห์ข้อมูลนำแบบสอบถำมทั้งหมดมำตรวจสอบควำมสมบูรณ์ควำม ถูกต้อง ในกำรตอบแบบสอบถำม แล้วคัดเลือกฉบับที่สมบูรณ์และถูกต้องเพื่อนำมำวิเครำะห์ข้อมูลหำควำมถี่และ ร้อยละของข้อมูลที่เป็นสถำนภำพของผู้ตอบแบบสอบถำม หำค่ำเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน (Standard Deviation) ของคะแนนจำกกำรตอบแบบสอบถำมที่วัดสภำพกำรดำเนินงำนวิชำกำร ผลการวิจัย ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลกำรศึกษำทักษะผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ตำมควำมคิดเห็นของครูโรงเรียนใน สังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี แสดงในตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน แปลผล กำรศึกษำทักษะผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ตำมควำมคิดเห็น ของครู โรงเรียนในสังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี ทักษะของผู้บริหำรโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ทักษะด้ำนกำรสื่อสำรอย่ำงมีประสิทธิภำพ ทักษะด้ำนกำรสร้ำงสรรค์นวัตกรรมและใช้เทคโนโลยี ทักษะด้ำนมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้ำนกำรบริหำร ทักษะด้ำนควำมรู้ควำมคิด ทักษะด้ำนกำรสร้ำงทีมงำน ทักษะด้ำนกำรประเมิน ทักษะด้ำนกำรวำงแผน โดยรวม

 4.31 4.15 4.24 4.10 4.27 4.11 4.17 4.25 4.20

727

S.D. 0.70 0.62 0.68 0.69 0.64 0.59 0.68 0.69 0.66

แปลผล มำก มำก มำก มำก มำก มำก มำก มำก มำก


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำกตำรำงที่ 1 พบว่ำ ทักษะของผู้บริหำรโรงเรียนในศตวรรษที่21 ตำมควำมคิดเห็นของครูโรงเรียนใน สังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี โดยรวมอยู่ในระดับมำก (  =4.20) เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำ ทุกด้ำนอยู่ใน ระดับมำก โดยด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุด คือทักษะด้ำนควำมรู้ควำมคิด (  =4.27) รองลงมำ คือ ทักษะด้ำนกำร วำงแผน (  =4.25) และทักษะด้ำนกำรบริหำร (  =4.10) มีค่ำเฉลี่ยต่ำสุด สรุปผลการวิจัย กำรวิจัยแนวทำงในกำรพัฒนำทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริ หำรโรงเรียนในสังกัดเทศบำลจังหวัด อุดรธำนี ผลกำรวิจัยพบว่ำทักษะผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ตำมควำมคิดเห็นของครูโรงเรียนในสังกัดจังหวัดอุดรธำนี อยู่ในระดับมำกทั้งโดยรวมและรำยด้ำนทุกด้ำน วิจารณ์ผลการวิจัย ทักษะผู้บริหำรในศตวรรษที่ 21 ตำมควำมคิดเห็นของครูโรงเรี ยนในสังกัดจังหวัดอุดรธำนี อยู่ในระดับ มำกทั้งโดยรวมและรำยด้ำนทุกด้ำน ข้อค้นพบจำกกำรวิจัยในภำพรวม พบว่ำ ทักษะของผู้บริหำรสถำนศึกษำใน ศตวรรษที่21 ประกอบด้วย 8 ทักษะ ดังนี้ 1) ทักษะด้ำนกำรสื่อสำร อย่ำงมีประสิทธิภำพ 2) ทักษะด้ำนกำร สร้ำงสรรค์นวัตกรรมและใช้เทคโนโลยี 3) ทักษะด้ำนมนุษยสัมพันธ์ 4) ทักษะด้ำนกำรบริหำร 5) ทักษะด้ำนควำมรู้ ควำมคิด 6) ทักษะด้ำนกำรสร้ำงทีมงำน 7) ทักษะกำรประเมิน และ 8) ทักษะกำรวำงแผน ซึ่งสอดคล้องกับ Hoyle, English and Steffy (2005) จำกหนังสือเรื่อง ทักษะที่ทำให้ประสบควำมสำเร็จของผู้บริหำรสถำนศึกษำในศตวรรษ ที่ 21 (Skills for Successful 21st Century School Leaders) ประกอบด้วย ทักษะกำรสื่อสำรและควำมสัมพันธ์ ระหว่ำง ชุมชน ทักษะกำรบริหำรจัดกำรองค์กร ทักษะกำรวำงแผนและกำรพัฒนำหลักสูตร ทักษะกำรจัดกำรเรียนรู้ ทักษะกำรประเมินผลงำนและกำรบริหำรบุคลำกร และสอดคล้องกับผลกำรศึกษำของ Loc (2010) ได้ศึกษำทักษะที่ จำเป็นสำหรับผู้บริหำรสถำนศึกษำเพื่อจัดทำหลักสูตรและพัฒนำทักษะของนักศึกษำ สำขำวิชำทำงกำรบริหำร กำรศึกษำ มหำวิทยำลัยแห่งชำติเวียดนำม ซึ่งทักษะที่จำเป็นประกอบด้วย ทักษะกำรใช้ ICT เป็นส่วนหนึ่งของ บรรยำกำศกำรเรียนรู้ ทักษะกำรบริหำรจัดกำรกำรเรียนรู้และกำรสอน และทักษะกำรบริหำรทรัพยำกรมนุษย์ และ ยังสอดคล้องกับทองทิพภำ วิริยะพันธุ์ (2550) กล่ำวว่ำ ผู้บริหำร หรือผู้ที่จะเป็นผู้บริหำร นอกจำกจะต้องเป็นคนเก่ง มีควำมรู้ควำมสำมำรถแล้ว ยังต้องมีทักษะสำหรับผู้บริหำรเพื่อสร้ ำงคุณค่ำเพิ่ม (Value creation) ให้แก่ตนเอง สูงสุดจะได้มีศักยภำพพร้อมที่จะแข่งขันในโลกยุคไร้พรหมแดน และยังสอดคล้องกับกำรวิจัยของแพรดำว สนองพัน (2557)ได้ศึกษำทักษะของผู้บริหำรสถำนศึกษำในศตวรรษที่ 21 สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 ผลกำรวิจัย พบว่ำ ทักษะของผู้บริหำรสถำนศึกษำในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 11 ทักษะ คือ ทักษะด้ำน เทคนิค ทักษะด้ำนมนุษย์ ทักษะด้ำนควำมคิดรวบยอด ทักษะด้ำนกำรศึกษำและกำรสอน ทักษะด้ำนควำมรู้และ ควำมคิด ทักษะด้ำนกำรบริหำร ทักษะด้ำนกำรวำงแผน ทักษะด้ำนกำรสื่อสำรอย่ำงมีประสิทธิ ภำพ ทักษะด้ำนกำร ประเมิน ทักษะกำรใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศเพื่อกำรสื่อสำรและกำรบริหำรจัดกำร และทักษะด้ำนกำรสร้ำงทีมงำน โดยทักษะที่มีแนวโน้มเป็นไปได้มำกที่สุดและมีควำมเห็นสอดคล้องกันอันดับแรก คือ ทักษะด้ำนกำรสร้ำงทีมงำน ส่วนแนวโน้มเป็นไปได้มำกและมีควำมเห็นสอดคล้ องกันอันดับสุดท้ำย คือ ทักษะด้ำนกำรใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศ เพื่อกำรสื่อสำรและกำรบริหำรจัดกำร และ มณีรัตน์ คำจำปำ (2558) ได้ศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงทักษะผู้บริหำร สถำนศึกษำกับกำรบริหำรงำนในสถำนศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำร้อยเอ็ด เขต 2

728


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ผลกำรวิจัยพบว่ำ กลุ่มตัวอย่ำงข้ำรำชกำรครูมีควำมคิดเห็นต่อทักษะผู้บริหำรสถำนศึกษำ โดยรวมค่ำเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้ำนกำรจัดกำรเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่ำงมีควำมเห็นต่อกำรบริหำรงำนในสถำนศึกษำโดยรวมและเป็นรำยด้ำนอยู่ในระดับ มำก ด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้ำนกำรบริหำรงำนบุคคล และด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุด ด้ำนกำรบริหำรงำนทั่วไป ค่ำ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่ำงทักษะผู้บริหำรสถำนศึกษำกับกำรบริหำรงำนในสถำนศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ กำรศึกษำประถมศึกษำร้อยเอ็ด เขต 2 มีควำมสัมพันธ์กันทำงบวก อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ มีค่ำสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ตั้งแต่ .110 ถึง .593 และวัตสัน (Waston, 2000) ได้ศึกษำวิจัยเรื่องภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตำมกำร รับรู้ของผู้นำในภำคเอกชน ประเทศแคนนำดำ โดยใช้แบบสอบถำมและกำรโทรศัพท์สัมภำษณ์ ผลกำรศึกษำ พบว่ำ ผู้นำในภำคเอกชน รับรู้ถึงควำมสำคัญอย่ำงมำกเกี่ยวกับกระแสโลกำภิวัตน์ กำรมีวิสัยทัศน์ กำรทำงำนเป็นทีม ควำมสำมำรถในกำรเรียนรู้ ทักษะกำรสอน กำรเจรจำต่อรอง ทักษะระหว่ำง บุคคลจริยธรรม ทักษะของกำรเป็น ผู้ประกอบกำร กำรแก้ปัญหำ ควำมคิดริเริ่ม ควำมอดทน กำรใช้เทคโนโลยีและกำรตื่นตัวกับกระแสโลกำภิวัตน์ เป็น ควำมสำมำรถที่มีควำมสำคัญด้วยเช่นกันสำคัญของผู้นำ กำรปรับวิธีกำร ลดขนำดกำลังในกำรทำงำนและยอมรับใน ควำมหลำกหลำยของสังคมนอกจำกนี้ผู้นำให้ควำมสำคัญในกำรที่จะผลักดันให้วิสัยทัศน์มีกำรน ไปปฏิบัติขยำย แนวคิดสู่บริบท โลกอย่ำงมีประสิทธิภำพ โดยพิจำรณำเห็นควำมสำคัญของโปรแกรม กำรพัฒนำภำวะผู้นำ ควรเน้น กำรพัฒนำศักยภำพผู้นำที่มุ่งสอนอนำคตอย่ำงมีวิสัยทัศน์ในโลกำภิวัตน์และควำมสำมำรถในด้ำนอื่นๆ เช่นกำร ติดต่อสื่อสำร กำรทำงำนเป็นทีม เพื่อกำรก้ำวเข้ำสู่ภำวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ข้อเสนอแนะ 1. ผลกำรวิจัยในกำรศึกษำทักษะผู้บริหำรในศตวรรษที่21 โดยรวมอยู่ในระดับมำกและสำมำรถนำไป เป็นข้อมูล สำหรับผู้บริหำรโรงเรียนในสังกัดเทศบำลจังหวัดอุดรธำนี ในกำรบริกำรโรงเรียน เพื่อให้เกิดควำมชัดเจน ในกำรกำหนดนโยบำยและกำหนดกิจกรรมพัฒนำให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียน และสำมำรถนำผลกำรวิจัยมำ ประกอบกำรวำงแผนในกำรพัฒนำกำรศึกษำท้องถิ่นให้มีประสิทธิภำพ และเกิดประโยชน์ต่อไป 2. ควรมีกำรศึกษำเพิ่มเติมในทักษะที่มีแนวโน้มที่เป็นไปได้น้อยที่สุด คือ ทักษะด้ำนกำรบริหำร ว่ำมี สำเหตุมำจำกอะไร และควรจัดทำแผนในกำรส่งเสริมพัฒนำทักษะในด้ำนนี้อย่ำงไร เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษำธิกำร. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กำรรับส่ง สินค้ำและพัสดุภณ ั ฑ์. กำญจนำภำ กลิ่นลออ. (2551). แนวทางการเสริมสร้างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครปฐม. วิทยำนิพนธ์ปริญญำศึกษำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยศิลปำกร. ทองทิพภำ วิริยะพันธุ์. (2550). ทักษะผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: จี. พี ไซเบอร์พริ้นท์. แพรดำว สนองฝัน. (2557). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยำนิพนธ์ปริญญำศึกษำศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยขอนแก่น. มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนำพำนิช.

729


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

มณีรตั น์ คำจำปำ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานในสถานศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต2. วิทยำนิพนธ์ปริญญำกำรศึกษำหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. วิจำรณ์ พำนิช. (2556). การเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนทาให้เกิดกลไกลหลายอย่างซึ่งได้แก่ การปฏิรูปเรียนรู้สู่ แนวทาง 21 Century Learning ซึ่งจะเข้าประชาคมอาเซียนยังสามารถช่วยให้บรรลุทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: อักษรกำรพิมพ์. Waston, S. H. (2000). Leadership requirements in the 21 century: The perceptions of Canadian private sector leaders. n.p.

730


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-13

รูปแบบการใช้เวลาว่างของผู้สูงอายุในชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนายก สรำวุธ ชัยวิชิต1วิมลมำลย์ สมคะเน2วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์3จีรนันท์ เจริญชัยภินันท์4อนงค์ หำญสกุล5 1

อาจารย์ประจาหลักสูตรการจัดการกีฬาและนันทนาการ (ปร.ด) คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์ประจาหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา (ปร.ด) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง 3 อาจารย์ประจาหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา (ปร.ด) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง 4 อาจารย์ประจาหลักสูตรสุขศึกษาและพลศึกษา (กศ.ด) คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 5 อาจารย์ประจาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (ปร.ด) คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2

บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษำรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนำยก และศึกษำปัจจัยที่มีผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำง ตลอดจนศึกษำเปรียบเทียบควำมคิดเห็นของผูส้ งู อำยุกับปัจจัย ที่มีผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงในจังหวัดนครนำยก กลุม่ ตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือ ประชำชนในพื้นที่ จังหวัดนครนำยกในองค์กำรบริหำรส่วนตำบล 2 แห่ง ประกอบด้วย ผู้สูงอำยุในโรงเรียนผู้สูงอำยุองค์กำรบริหำรส่วน ตำบล บ้ำนนำ จำนวน 55 คน และ ผู้สูงอำยุในโรงเรียนผู้สูงอำยุองค์กำรบริหำรส่วนตำบล ชุมพล จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยคือ แบบสอบถำมรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนำยก ค่ำ ดัชนีของควำมสอดคล้อง อยู่ในช่วง 0.6-1 มีค่ำควำมเชื่อมั่น โดยวิธีวัดค่ำสัมประสิทธิ์แอลฟำที่ 0.89 วิเครำะห์ข้อมูล โดยใช้ ควำมถี่ ค่ำร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน และ ค่ำสถิติไคสแควร์ ผลกำรวิจัย พบว่ำ จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่ำงจำแนกตำมรูปแบบกิจกรรมภำยในบ้ำนใน ภำพรวมรู ป แบบกิ จ กรรมภำยในบ้ำ นที่ ก ลุ่ม ตั ว อย่ ำ งท ำเป็ น จ ำนวนมำกที่ สุ ด คื อ ดู โ ทรทัศ น์ รูป แบบกิจ กรรม สร้ำงสรรค์ที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่ สุดคือ ร้องเพลง/ เล่นดนตรี รูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่ที่กลุ่ม ตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ พบปะสังสรรค์ รูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวน มำกที่สุดคือ นวดแผนโบรำณ ส่วนในภำพรวมกลุ่มตัวอย่ำงมีควำมคิดเห็นว่ำทุกปัจจัยมีผลต่อกำรตัดสินใจในเข้ ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงใน จังหวัดนครนำยกทุกรูปแบบกำรอยู่ในระดับมำก ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำงพบว่ำ ปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกิจกรรมกำรใช้เวลำว่ำงทุกรูปแบบมีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดั บ .05 คำสำคัญ : รูปแบบการใช้เวลาว่าง, ผู้สูงอายุ, ชุมชน Abstract The aim of study leisure pattern of the elderly in prototype community and to study factors affecting leisure participation including the comparison study of the elderly’s opinion with factors affecting leisure participation in Nakhonnayok Province.The samples of this study is

731


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

residence in Nakhonnayok in two subdistrict administration organizations which are 55 of the elderly in Banna subdistrict administration organization and 38 of the elderly in Chumpon subdistrict administration organization. The research instrument is the questionnaire used to investigate the leisure pattern of the elderly in the prototype community in Nakonnayok. The index of validity is between 0.6-1. The reliability index measured by Alpha coefficient is 0.89. The data analyzed by means, percentage, standard deviation, and chi-square. Findings: It is found that the frequency and percentage of sample classified based on in-house activity is overall done by the samples with the greatest frequency which is watching television. The pattern of creative activity which is done by the samples with the highest frequency is singing/playing music. The pattern of outdoor activity which is done by the samples with the greatest frequency is meeting and greeting. The pattern of sports and health activity which is done by the samples with the highest frequency is Thai traditional massage. Overall, the samples think that all factors affecting the decision on participating in leisure in Nakhonnayok Province are high. The result of the analysis of the relations between personal factor and leisure pattern of the samples is found that they are statistical correlation significance at 0.5. Keyword : Leisure pattern, elderly, Community บทนา มนุษย์มีกำรพัฒนำตนเองเพื่อแสวงหำคุณภำพชีวิตที่ดี และควำมพึงพอใจในรูปแบบกำรใช้ชีวิตของ ตนเองอยู่ตลอดเวลำ โดยเริ่มจำกกำรดำเนินชีวิตเพื่อควำมอยู่รอดขั้นพื้นฐำน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของทุกคน อัน ได้แก่ กำรนอนหลับพักผ่อน กำรรับประทำนอำหำร กำรใช้เครื่องนุ่งห่ม และกำรใช้ยำรักษำโรค ปัจจัยพื้นฐำน เหล่ำนี้เป็นส่วนสนับสนุนให้มนุษย์แสวงหำคุณภำพชีวิตและควำมพึงพอใจในระดับที่ดีขึ้นไป ภำยใต้บริบทกำรอำศัย รวมกับบุคคลอื่นๆในสังคมที่มีกำรพึ่งพำอำศัยซึ่งกันและกัน ด้วยกำรปฏิบัติตำมบทบำทหน้ำที่ และควำมรับผิดชอบ ที่สังคมกำหนดไว้ เช่น กำรทำงำนเพื่อหำรำยได้ กำรปฏิบัติตำมบทบำทในฐำนะสมำชิกของสถำบันครอบครัว ตลอดจนกำรประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี เพื่อทำให้ได้รับกำรตอบสนองควำมต้องกำรขั้นพื้นฐำนและเกิดกำรอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่ำงสงบสุข อย่ำงไรก็ตำมกำรทำงำนและปฏิบัติตำมบทบำทหน้ำที่ที่สังคมกำหนดนั้น อำจไม่ สำมำรถพัฒนำบุคคลไปสู่คุณภำพชีวิตที่พึงปรำรถนำสูงสุดในชีวิตได้ เนื่องจำกกำรปฏิบัติตำมหน้ำที่และควำม รับผิดชอบเหล่ำนั้นอำจเกิดขึ้นด้วยควำมไม่สมัครใจ หรือควำมจำเป็นบำงประกำรในชีวิต ดังนั้นเวลำว่ำงที่เหลือจำก กำรกำรทำกิจวัตรประจำวัน และกำรทำงำนปฏิบัตตำมหน้ำที่ หรือเรียกว่ำ “เวลำว่ำง (Free Time)” จึงเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญในชีวิตของทุกคนที่นำไปสู่กำรมีคุณภำพชีวิตที่ปรำรถนำสูงสุด ด้วยกำรเรียนรู้และเพิ่มพูน ประสบกำรณ์จำกกำรใช้เวลำว่ำงของตนเอง ด้วยกำรเข้ำร่วมกิจกรรมที่ตนเองสนใจภำยใต้เวลำว่ำงที่มีอยู่ หรือเรียก กิจกรรมที่เกิดขึ้นในเวลำว่ำงนั้นว่ำ “กิจกรรมนันทนำกำร” กล่ำวคือ เป็นกิจกรรมที่กระทำอย่ำงอิสระในเวลำว่ำง เข้ำร่วมด้วยควำมสมัครใจและช่วนฟื้นฟูควำมเครียดในกำรทำงำน และสร้ำงประสบกำรณ์กำรรับรู้ถึงควำมสำเร็จ กำรค้นพบตนเอง และกำรเจริญเติบโตอย่ำงสร้ำงสรรค์ (สุวิมล ตั้งสัจจพจน์, 2553) กำรพัฒนำที่เกิดจำกกำรเข้ำ

732


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ร่วมกิจกรรมนันทนำกำรและกำรใช้เวลำว่ำงเหล่ำนี้ ถือได้ว่ำเป็นกระบวนกำรกำรเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบกำรณ์ ให้แก่บุคคล เพื่อค้นหำแนวทำงสู่กำรพัฒนำคุณภำพชีวิตที่เหมำะสมกับตนเองในอนำคตได้ ผู้สูงอำยุเป็นกลุ่มประชำกรช่วงวัยหนึ่งที่มีหน้ำที่ควำมรับผิดชอบที่ลดลงจำกวัยผู้ใหญ่ เนื่องจำกกำร เกษียรกำรทำงำน เพรำะควำมเสื่อมที่เกิดขึ้นตำมช่วงวัย เช่น ร่ำงกำยเปลี่ยนแปลงไป สำยตำยำวขึ้น ผมหงอก ขี้ลืม เหนื่อยง่ำย หำกเจ็บป่วยจะใช้เวลำในกำรรักษำนำนกว่ำเดิม มีกำรทำงำนเชื่องช้ำลง และมีกำรปฏิสัมพันธืกับผู้อื่น ลดลงไปด้วย (กุลยำ ตันติพลำชีวะ, 2551) แม้ว่ำควำมเสื่อมจะเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกันควำมอิสระในกำรใช้ชีวิต เพื่อแสวหำคุณภำพชีวิตที่ดี หรือกำรแสวงหำควำมสุขในบั้นปลำยชีวิตจะเพิ่มมำกขึ้น เนื่องจำกเวลำว่ำงที่มีมำกขึ้น กว่ำตอนช่วงวัยผู้ ใหญ่ ด้วยเหตุนี้กำรใช้เวลำว่ำงจึงเข้ำมำมีบทบำทในกำรพัฒนำคุณภำพชีวิต ผ่ำนกำรเข้ำร่วม กิจกรรมนันทนำกำรสำหรับผู้สูงอำยุ เพื่อป้องกันควำมเสื่อมที่จะเกิดขึ้น หรือ คงสภำพให้ปัญหำสุขภำพไม่รุนแรงไป กว่ำเดิม อันเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอำยุมีคุณภำพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจำกนี้ และยังเป็นกำรลดค่ำใช้จ่ำยในกำร บริกำรรักษำพยำบำลผู้ป่วยได้อีกทำงหนึ่ง เพรำะในแต่ละปีรัฐบำลต้องสิ้นเปลืองค่ำใช้จ่ำยสูงถึงปะละเกือบ300,000 ล้ำนบำท โดยบริกำรต่ำงๆมุ่งแก้ปัญหำ และสนองควำมต้องกำรของผู้สูงอำยุทุกภำวะสุขภำพ (บุญศรี นุเกตุ และ คณะ 2550) ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยได้มุ่งเน้นที่จะศึกษำรูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุ อันเป็นข้อมูล สำคัญในกำรสร้ำงบริกำรนันทนำกำรและกำรใช้เวลำว่ำงในชุมชนผู้สูงอำยุต้นแบบที่สำมำรถตอบสนองควำมต้องกำร ของผู้สูงอำยุและเกิดกำรพัฒนำคุณภำพชีวิตของผู้สูงอำยุได้พ ร้อมๆกัน และนำไปสู่กำรสร้ำงควำมร่วมมือระหว่ำง หน่วยงำนที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอำยุทั้งภำครัฐและเอกชนในกำรจัดสร้ำงรูปแบบกำรให้บริกำรทำงนันทนำกำรและกำร ใช้เวลำว่ำงเพื่อพัฒนำควำมสุขและคุณภำพชีวิตสำหรับผู้สูงอำยุในชุมชนต่อไปในอนำคตได้ วัตถุประสงค์การวิจัย เพือ่ ศึกษำรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนำยก และศึกษำปัจจัยที่มีผล ต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำง ตลอดจนศึกษำเปรียบเทียบควำมคิดเห็นกับปัจจัยที่มีผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำง ในจังหวัดนครนำยก คาถามของการวิจัย รูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนำยกเป็นอย่ำงไร นิยามศัพท์เฉพาะ รูปแบบกำรใช้เวลำว่ำง หมำยถึง 1. รูปแบบกิจกรรมภำยในบ้ำน หมำยถึง กิจกรรมที่มีบ้ำนเป็นสถำนที่ในกำรทำกิจกรรมต่ำงๆ เช่น ดู โทรทัศน์ ดูวีดีโ อ / วี ซีดี ฟังวิทยุ / เทป / ซีดี เล่นเกมคอมพิ วเตอร์ / อิ น เทอร์เ น็ตทำงำนอดิเ รก อ่ำ นหนังสื อ ทำอำหำร ทำสวน และอื่นๆ 2. รูปแบบกิจกรรมสร้ำงสรรค์ หมำยถึง กิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงควำมคิดริเริ่ม และสำมำรถนำไปใช้ ประโยชน์ได้ เช่น ร้องเพลง / เล่นดนตรี วำดรูป แกะสลัก ถ่ำยภำพ เย็บปักเต้นรำ และอื่นๆ

733


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3. รูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่ หมำยถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติตำมสถำนที่ต่ำงๆ เช่นพบปะสังสรรค์ ชม ภำพยนตร์ เดินเที่ยวศูนย์กำรค้ำ ทำนอำหำรนอกบ้ำน ชมคอนเสิร์ต เยี่ยมญำติ เพื่อน พักผ่อนนอกสถำนที่ ชมกำร แข่งขันกีฬำ เล่นกีฬำ เรียนกิจกรรมพิเศษ ไปห้องสมุด ไปเที่ยวต่ำงจังหวัด นั่งสมำธิ ทำบุญ และอื่น 4. รูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพ หมำยถึง กิจกรรมที่แสดงออกทำงร่ำงกำย เสริมสร้ำงควำม แข็งแรงและสุขภำพ เช่นฟุตบอล แบดมินตัน บำสเกตบอล ว่ำยน้ำ โบว์ลิ่ง เทนนิส เทเบิลเทนนิส วอลเล่ย์บอล กอล์ฟ วิ่ง (Jogging) แอโรบิก (Aerobic) นวดแผนโบรำณ ออกกำลังกำย โยคะ (Yoga) อบไอน้ำ (Sauna) นวด น้ำมัน (Spa) และอื่นๆ 5. ผู้สูงอำยุ หมำยถึง บุคคลที่มีอำยุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นนักเรียนของโรงเรียนผู้สูงอำยุตำบล บ้ำนนำ และ ตำบลชุมพล จังหวัดนครนำยก 6. ชุมชนต้นแบบ หมำยถึง ชุมชนที่สมำชิกในชุมชนรวมตัวกันเข้ำร่วมกิจกรรมนันทนำกำรและกำรใช้ เวลำว่ำงอย่ำงสม่ำเสมอ ภำยใต้กำรจัดกำรเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอำยุองค์กำรบริหำรส่วนตำบล บ้ำนนำ และ องค์กำรบริหำรส่วนตำบลชุมพล จังหวัดนครนำยก วิธีดาเนินการวิจัย 1. ศึกษำทบทวนข้อมูลจำก เอกสำร ตำรำ และงำนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกำรศึกษำรูปแบบกำรใช้เวลำ ว่ำงของผู้สูงอำยุและนำข้อมูลที่ได้มำพัฒนำเป็นแบบแบบสอบถำมรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุ 2. จำกนั้นทำกำรสร้ำงเครื่องมือวิจัย และหำคุณภำพของหำคุณภำพของเครื่องมือโดยให้ผู้เชี่ยวชำญ 5 ท่ำน ตรวจพิจำรณำหำคุณภำพ เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัยคือ แบบสอบถำมรูปแบบกำรใช้ เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุใน ชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนำยก ค่ำดัชนีของควำมสอดคล้อง อยู่ในช่วง 0.6-1 จำกนั้น นำมำหำค่ำควำมเชื่อมั่น โดย วิธีวัดค่ำสัมประสิทธิ์แอลฟำ ของ Cronbarch ซึ่งได้ค่ำควำมเชื่อมั่นที่ 0.89 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือ ประชำชนในพื้นที่ จังหวัด นครนำยกในองค์กำรบริหำรส่วนตำบล 2 แห่ง ประกอบด้วย ผู้สูงอำยุในองค์กำรบริหำรส่วนตำบล บ้ำนนำ จำนวน 55 คน และ ผู้สูงอำยุในองค์กำรบริหำรส่วนตำบล ชุมพล จำนวน 38 คน รวมทั้งสิ้น 93 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เดินทำงไปเก็บข้อมูลไปในตำบลต่ำงๆด้วยตนเอง และนำแบบสอบถำมแจกให้กลุ่มตัวอย่ำงตอบ แบบสอบถำม ซึ่งผู้วิจัยจะใช้แบบสอบถำมรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมนต้นแบบจังหวัดนครนำยก การวิเคราะห์ข้อมูล วิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้ ควำมถี่ ค่ำร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน ค่ำสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย 1. จำนวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่ำงโดยใช้แบบสอบถำมที่ผู้วิจัยสร้ำงขึ้น โดยมี จำนวน ผู้ตอบแบบสอบถำมทั้งหมด 93 คน ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่ำ เป็นเพศชำยจำนวน 18 คน และหญิง จำนวน 75 คน มีอำยุระหว่ำง 60 ถึง 90 ปี ระดับกำรศึกษำส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่ำมัธยมศึกษำ ส่วนใหญ่มี รำยได้ต่อเดือนอยู่ในระดับน้อยกว่ำ 5,000 บำท พำหนะที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น รถส่วนตัว และรถมอเตอร์ไซด์นับถือ

734


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ศำสนำพุทธจำนวน 55 คน และศำสนำอิสลำมจำนวน 38 คน โดยส่วนใหญ่พัก อำศัยอยู่กับครอบครัว และมีโรค ประจำตัวคือ ควำมดันสูง ไขมัน และเบำหวำนเป็นส่วนใหญ่ 2. จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่ำงจำแนกตำมรูปแบบกิจกรรมภำยในบ้ำนในภำพรวมรูปแบบ กิจกรรมภำยในบ้ำนที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุด คือ ดูโทรทัศน์ รูปแบบกิจกรรมสร้ำงสรรค์ที่กลุ่ มตัวอย่ำง ทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ ร้องเพลง/ เล่นดนตรี รูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่ที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุด คือ พบปะสังสรรค์ รูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ นวดแผนโบรำณ 3. ภำพรวมกลุ่มตัวอย่ำงมีควำมคิดเห็นว่ำปัจจัยที่ มีผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงในชุมนต้นแบบ จังหวัดนครนำยก ทุกรูปแบบกำรอยู่ในระดับมำก โดยปัจจัยเรื่องควำมสะดวกในกำรเดินทำงมีผลต่อรูปแบบกำรใช้ เวลำว่ำงในระดับมำกเป็นอันดับแรก รองลงมำคือปัจจัยเรื่องควำมชอบ ปัจจัยเรื่องควำมปลอดภัย ปัจจัยเรื่องควำม พร้อมทำงร่ำงกำย และปัจจัยเรื่องควำมพร้อมทำงจิตใจ 4. ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ร ะหว่ำงปัจจัยส่วนบุคคลกับทุกรู ปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่ ม ผู้สูงอำยุในชุมนต้นแบบ จังหวัดนครนำยก มีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 5. เมื่อวิเครำะห์ควำมแปรปรวนทำงเดียวเพื่อเปรียบเทียบค่ำเฉลี่ยคะแนนควำมคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผล ต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำง พบว่ำกลุ่มตัวอย่ำงที่อยู่ในกลุ่มชุมชนต่ำงกัน มีควำมคิดเห็นต่อปัจจัยที่มี ผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงโดยรวมแตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 วิจารณ์ผลการวิจัย จำกคำถำมกำรวิจัยข้อที่ 1 กล่ำวว่ำรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมนต้นแบบจังหวัดนครนำยก เป็นอย่ำงไร จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่ำงจำแนกตำมรูปแบบกิจกรรมภำยในบ้ำน ในภำพรวมรูปแบบกิจกรรม ภำยในบ้ำนที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ ดูโทรทัศน์ เมื่อพิจำรณำเป็นเจเนอเรชั่นต่ำง ๆ พบว่ำ จำก ผลกำรวิจัยจะเห็นได้ว่ำภำพรวมรูปแบบกิจกรรมภำยในบ้ำนที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ ดูโทรทัศน์ ซึ่ง สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ แดซี่และวีล (Darcy and Veal. 1996 : 17-24) นำเสนองำนวิจัยกำรใช้เวลำว่ำงใน ออสเตรเลีย โดยทำกำรศึกษำพฤติกรรมกำรใช้เวลำว่ำงของผู้ชำยและผู้หญิงเน้นกำรดูโทรทัศน์หรือวีซีดีมำกที่สุด โดยให้เหตุผลว่ำออสเตรเลียเป็นประเทศที่ชอบพักผ่อนอยู่กับบ้ำนและให้เวลำกับครอบครัว ไม่ค่อยเดินทำงรวมทั้ง สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ ฮำรำดำ (Harada. 1996 : 153) ได้ศึกษำกำรมีส่วนร่วมในกิจกรรมกำรใช้เวลำว่ำง ของประชำชนในประเทศญี่ปุ่น ปี 1992 ประเภทงำนอดิเรกที่ประชำชนในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ คือดูโทรทัศน์มำก ที่สุด ต่อ มำผลกำรวิ จั ยแสดงให้เ ห็ นว่ ำจ ำนวนและร้อ ยละของกลุ่ม ตั วอย่ำ งจำแนกตำมรู ปแบบกิ จ กรรม สร้ำงสรรค์ และเจเนอเรชั่นในภำพรวมรูปแบบกิจกรรมสร้ำงสรรค์ที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ ร้อง เพลง/ เล่นดนตรี, รองลงมำคือ เย็บปัก, ถ่ำยภำพ, เต้นรำ วำดภำพ, และแกะสลัก, ตำมลำดับ และผลกำรวิจัยของ จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่ำงจำแนกตำมรูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่ และเจเนอเรชั่นในภำพรวมรูปแบบ กิจกรรมนอกสถำนที่ที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ พบปะสังสรรค์, ทำบุญ, เดินเที่ยวตำมศูนย์กำรค้ำ ตำมลำดับพบว่ำสอดคล้องกับผลกำรวิจัยของซูซำนเนค (Zuzanek. 1996 : 35 -75) นำเสนองำนวิจัยกำรใช้เวลำ ว่ำงในแคนำดำ (สำรวจโดย Canadian Arts Consumer Profile Surveys) ในปี 1990-1991 ภำพรวมในกำรทำ กิจกรรมคือ กำรไปพบปะสังสรรค์ ไปเยี่ยมญำติ / เพื่อนมำกที่สุด ถือเป็นกำรได้มีกำรปฎิสัมพันธ์และเป็นกิจกรรม

735


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ทำงสังคม สอดคล้องกับแนวคิดของโรเบิร์ต (Robert. 1978 : 3) แบ่งรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงไว้อย่ำงหลำกหลำย และได้กล่ำวถึง กำรใช้เวลำว่ำงทำงสังคม (Leisure & Socialising) นั้นสำมำรถแบ่งออกได้หลำยรูปแบบ เช่น เล่น พนัน ทำนอำหำร ช็อปปิ้ง เต้นรำ สิ่งบันเทิงภำยในบ้ำน สุขภำพและควำมงำม อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดของเคล ลี่ (Kelly. 1996 : 133) ศึกษำรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงใน 3 ชุมชนของประเทศสหรัฐอเมริกำ ได้กล่ำวว่ำรูปแบบ กิจกรรมนอกสถำนที่ เป็นส่วนหนึ่งในกำรมีปฏิสัมพันธ์ระหว่ำงครอบครัวและเพื่อนๆ มีรูปแบบดังนี้ คือสร้ำงควำม สนิทสนม สนทนำกัน กิจกรรมที่ทำเป็นคู่ ออกนอกสถำนที่ เยี่ยมญำติและเพื่อน เล่นกับเด็กๆทำให้เกิดสัมพันธภำพ ที่ดีในสังคม สุดท้ำยผลกำรวิจัยของจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่ำงจำแนกรูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพ ภำพรวมรูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพที่กลุ่มตัวอย่ำงทำเป็นจำนวนมำกที่สุดคือ นวดแผนโบรำณ,เข้ำศูนย์ออก กำลังกำย(Fitness Center) รองลงมำคือแอโรบิก (aerobic), ตำมลำดับ สอดคล้องกับแนวคิดของสมิต (Smith. 1991) วิจัยโปรแกรมกำรใช้เวลำว่ำงในประเทศสหรัฐอเมริกำ เป็นสิ่งที่ได้รับควำมสนใจ ควำมท้ำทำย ที่จะช่วยให้ กำรดำรงชีวิตและสุขภำพดีขึ้น เพิ่มพลังให้กับชีวิต ควำมสำเร็จในโปรแกรมนี้อยู่ภำยใต้หลักปรัชญำของวัยรุ่นที่เป็น แหล่งทรัพยำกรที่กำลังจะถูกพัฒนำ มำกกว่ำกำรจัดกำรกับปัญหำของวัยรุ่น และผู้วิจัยยังมีควำมเห็นว่ำไม่ใช่แค่ วัยรุ่นเท่ำนั้นแม้แต่เจเนอเรชั่นต่ำง ๆ ในสังคมไทยก็ควรได้รับกำรส่งเสริมกำรใช้เวลำวำงอย่ำงเหมำะสมเช่นกัน ดังนั้นผลกำรวิจัยเรื่องรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมนต้นแบบจังหวัดนครนำยกจะเป็นตัวแปรที่สำคัญใน กำรกำหนดหลักสูตรวิชำกำรเรียนกำรสอนกำรใช้เวลำว่ำงเกี่ยวกับผู้สูงอำยุ และเข้ำใจถึงกำรเปลี่ยนแปลงและควำม ต้องกำรกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชน นำไปสู่กำรวำงกลยุทธ์ในกำรให้บริกำรกำรใช้เวลำว่ำง ต่อไปในอนำคต จำกคำถำมกำรวิจัยข้อที่ 2 ที่กล่ำวว่ำปัจจัยที่มีผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุในชุมชน ต้นแบบจังหวัดนครนำยก เป็นอย่ำงไร พบว่ำ ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงประกอบด้วย 15 ปัจจัย ผลกำร วิเครำะห์ข้อมูลแสดงในภำพรวมกลุ่มตัวอย่ำงมีควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยโดยรวมว่ำมีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำง ในระดับมำก โดยปัจจัยเรื่องควำมสะดวกในกำรเดินทำงมีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงในระดับมำกเป็นอันดับแรก รองลงมำคือปัจจัยเรื่องควำมชอบ ปัจจัยเรื่องควำมปลอดภัยและควำมพร้อมทำงจิตใจ ปัจจัยเรื่องควำมพร้อมทำง ร่ำงกำยและปัจจัยเรื่องสถำนที่ประกอบกิจกรรม ตำมลำดับซึ่งสอดคล้องกับผลกำรวิจัยของกลุ่มตัวอย่ำงเบบี้บูมเมอร์ สมีควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยโดยรวมว่ำมีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงในระดับมำก โดยปัจจัยเรื่องควำมสะดวกใน กำรเดินทำงมีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงในระดับมำกเป็นอันดับแรก รองลงมำคือปัจจัยเรื่องควำมชอบ ปัจจัยเรื่อง ควำมปลอดภัย ปัจจัยเรื่องควำมพร้อมทำงร่ำงกำย และปัจจัยเรื่องควำมพร้อมทำงจิตใจ (ทองใบ สุดชำรี. 2544) โดยคำนึงถึงเรื่องควำมสะดวกในกำรเดินทำง และควำมชอบในกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำง และกลุ่มตัวอย่ำงนี้นี้ถือ ว่ำเป็นกลุ่มคนที่มีอำวุโส แต่เนื่องจำกบุคคลกลุ่มนี้มีอำยุค่อนข้ำงมำกอยู่ในวัยเกษียณ พวกเขำจึงเริ่มที่จะวำงแผน ชีวิตในกำรปลดเกษียณหรือออกจำกงำนเพื่อมำดูแลสุขภำพและอนำมัย (ทองใบ สุดชำรี . 2544) ดังนั้นในกำร ประกอบกิจกรรมกำรใช้เวลำว่ำงจะต้องเป็นกิจกรรมที่มีควำมปลอดภัยอย่ำงมำก และยังสอดคล้องกับผลกำรวิจัยมี ควำมคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยโดยรวมว่ำมีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงในระดับมำก โดยปัจจัยเรื่องควำมสะดวกในกำร เดินทำงมีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงในระดับมำกเป็นอันดับแรก รองลงมำคือปัจจัยเรื่องควำมพร้อมทำงจิตใจ ปัจจัยเรื่องควำมปลอดภัย ปัจจัยเรื่องควำมพร้อมทำงร่ำงกำย และปัจจัยเรื่องควำมชอบ ตำมลำดับ ดังนั้นในกำรจัดโปรแกรมกำรให้บริกำรกำรใช้เวลำว่ำงต้องคำนึงถึงเจเนอเรชั่นจะมีคุณลักษณะที่แตกต่ำง กันเพรำะในกำรจัดโปรแกรมกำรให้บริกำรให้กับบุคคลที่มีควำมต้องกำรที่แตกต่ำงกันมำกๆต้องใช้แนวคิดและหลักกำรที่ จะสำมำรถตอบสนองควำมต้องกำรทำงกำรใช้เวลำว่ำงได้อย่ำงเหมำะสม ฉะนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นแนวคิดหลักกำรในกำร

736


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จั ด โปรแกรมกำรให้ บ ริ ก ำรของหน่ ว ยงำนบริ ก ำรกำรใช้ เ วลำว่ ำ งที่ ต้ อ งเป็ น สิ่ ง ที่ ส ำมำรถมอบสิ่ ง ที่ มี คุ ณ ค่ ำ คุณประโยชน์หรือสิ่งผู้ใช้บริกำรคำดหวัง Edginton and Rossman (1988 อ้ำงถึงใน Edginton et al, 1995:308) กล่ำวว่ำ ผู้จัดบริกำรกำหนด ส่งเสริม และให้บริกำร เพื่อให้ลูกค้ำได้รับประสบกำรณ์ในกำรพักผ่อนหย่อนใจ” นั่น คือจัดสิ่งแวดล้อมทำงธรรมชำติ กำยภำพ และสังคมที่เอื้อต่อกำรพักผ่อนหย่อนใจเช่น กำรปฏิสัมพันธ์ ให้เข้ำถึง ธรรมชำติ ได้ รัป ระสบกำรณ์ ที่ ดี ก ล่ ำ วว่ ำ ผู้ว ำงแผน มีห น้ ำที่ วำงแผน จั ดกำร จั ด วัส ดุ อุ ปกรณ์ เป็น ผู้ น ำ และ ดำเนินกำรอื่นๆ เพื่อสร้ำงโอกำสที่เหมำะแก่กำรพักผ่อนหย่อนใจ” ผู้จัดอำจควบคุมในทุกขั้นตอนของกิจกรรมเอง เกือบทั้งหมด ไปจนถึงสอนหรือกระตุ้นให้ผู้รับบริกำรควบคุมด้วยตนเอง ในประกำรแรก กิจกร รมที่หน่วยงำน วำงแผนจะเอื้อต่อกำรควบคุมของหน่วยงำน ส่วนประกำรหลังต้องควบคุมและรับผิดชอบต่อผู้รับบริกำรอย่ำงมำก อีกทั้งยังสอดคล้องกันแนวคิดของ Edginton et al (1995:311-313) กล่ำวว่ำ นักวำงแผนหรือผู้นำนันทนำกำร และผู้เชี่ยวชำญด้ำนนันทนำกำรต้องตระหนักและเข้ำใจในผลกระทบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำรวำงแผนโครงกำร นันทนำกำรเหล่ำนี้คือ วัยของผู้รับบริกำร (generation) สิ่งแวดล้อมและมุมมอง ที่จะเป็นกำรสร้ำงทั้งโอกำสใหม่ๆ และปัญหำที่ต้องจัดกำร ดังนั้นผู้ที่มีหน้ำที่ วำงแผน จัดกำรโปรแกรมจำเป็นต้องทรำบควำมต้องกำรและต้องทรำบว่ำมีปัจจัยที่มี ผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงใดบ้ำงที่แตกต่ำงกันเพื่อที่จะสำมำรถจัดรูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงได้อย่ำงมี ประสิทธิภำพ และตรงตำมวัตถุประสงค์ในกำรเข้ำร่วมที่มีควำมต้องกำรมำกที่สุด จำกคำถำมกำรวิจัยข้อที่ 3 ที่กล่ำวว่ำ กลุ่มตัวอย่ำง มีควำมคิดเห็นต่อรูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำง แตกต่ำงกันหรือไม่ 3.1 ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำง พบว่ำ ปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกิจกรรมภำยในบ้ำนทุกรูปแบบมีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของแดซี่และวีล (Darcy and Veal. 1996 : 17-24 ) นำเสนองำนวิจัยกำรใช้เวลำว่ำง ในออสเตรเลีย พบว่ำผู้ชำยเน้นกำรดูโทรทัศน์หรือวีซีดีมำกที่สุด รองลงมำคือฟังวิทยุและอ่ำนหนังสือ ส่วนผู้หญิงจะ กำรดูโทรทัศน์หรือวีซีดีมำกที่สุดเช่นเดียวกัน รองลงมำคืออ่ำนหนังสือ ฟังวิทยุ และคุยโทรศัพท์ และยังสอดคล้องกับ ผลกำรวิจัยของ คัสแมนและไลเดอร์ (Cushman and Laidler. 1996 : 165) นำเสนองำนวิจัยในนิวซีแลนด์ปี 1990 เรื่องกำรใช้เวลำว่ำงของประชำชนทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็นผู้หญิงและผู้ชำยที่อำยุมำกกว่ำ 65 ปี นิยมกำรอ่ำน หนังสือ ส่วนประชำชนทั่วๆไปนิยมกำรอ่ำนหนังสือ 3.2 ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำง แสดงควำมสัมพันธ์ระหว่ำงเจเนอเรชั่นกับรูปแบบกิจกรรมสร้ำงสรรค์ พบว่ำ ทุกรูปแบบมีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับแนวคิดของ แบมเมล และ แบมเมล (Bammel and Bammel. 1996: 201 - 211) ได้รวบรวมและสรุปทฤษฎีกำรใช้เวลำว่ำงที่กล่ำวถึง ทฤษฎีกำรใช้เวลำว่ำงเป็นกำรพักผ่อน กำรบันเทิง และเป็นกำรพัฒนำตนเอง (Leisure as Relaxation , Entertainment and Self – Development) ของ Joffre Dumazedier ซึ่งกล่ำวว่ำ กำรที่เจเนอเรชั่นต่ำงๆให้ควำมสำคัญกับรูปแบบกิจกรรมสร้ำงสรรค์นั้นถือว่ำเป็นกำรสร้ำง ควำมสุนทรีย์ให้กับชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เคลลี (Kelly. 1982: 415 - 432) ได้เสนอถึงทฤษฎีกำรใช้เวลำ ว่ำงเรียกว่ำ A Spiral of Leisure Theory มีลักษณะเชิงควำมเป็นเหตุเป็นผลที่กล่ำวถึงทฤษฎีควำมเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ (Humanist) คือกำรใช้เวลำว่ำงเป็นส่วนหนึ่งของควำมเป็นมนุษย์โดยมี 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ควำมคิด สร้ำงสรรค์ กับกำรมีจิตสำนึกที่ผิด โดยกำรใช้เวลำว่ำงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของควำมคิดสร้ำงสรรค์ที่เกิดจำกภำยในของ บุคคล

737


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

3.3 ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำง แสดงควำมสัมพันธ์รูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่ พบว่ำ ทุกรูปแบบมีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ ระดับ .05 รูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่ด้ำนกำรพบปะสังสรรค์ กำรเดินเที่ยวตำมศูนย์กำรค้ำ กำรชมคอนเสิร์ต กำร รับประทำนอำหำรนอกบ้ำน กำรไปเที่ยวต่ำงจังหวัด กำรพักผ่อนนอกสถำนที่ (Picnic) กำรเล่นกีฬำ กำรเรียน กิจกรรมพิเศษ กำรไปห้องสมุด กำรนั่งสมำธิและกำรทำบุญ และรูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่กำรเยี่ ยมญำติ/ เพื่อน และกำรชมกำรแข่งขันกีฬำ มีควำมสัมพันธ์กัน สอดคล้องกับแนวคิดของเคลลี่ (Kelly. 1982 : 8) ได้กล่ำวว่ำ เวลำ ว่ำง คือกิจกรรมที่เลือกอย่ำงอิสระ และจำนำมำซึ่งควำมพึงพอใจ ซึ่ง Kelly ได้มีกำรจำแนกกำรใช้เวลำว่ำงคือ กำร ใช้เวลำว่ำงแบบสัมพันธ์ (Relation Leisure) คือ กำรทำกิจกรรมที่จะสร้ำงควำมสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว กับคนอื่นๆ เช่น กำรไปเล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ ไปเที่ยวชมสถำนที่ต่ำงๆกับครอบครัว จำกลกำรวิจัยจะเห็นได้ว่ำกิจกรรมที่พบ เป็นควำมต้องกำรที่ต้องใช้ทักษะทำงด้ำนควำมสัมพันธ์เป็นตัวกำหนด อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดของนูลินเกอร์ (Neulinger. 1981: 89) นักจิตวิทยำชำวอเมริกำ ได้พัฒนำ กระบวนทัศน์ (Paradign) เพื่ออธิบำยถึงคำว่ำเวลำว่ำง โดยให้ควำมสำคัญถึงปัจจัยที่จะทำให้เป็น เวลำว่ำง และไม่เป็นเวลำว่ำง ทฤษฎีมีชื่อว่ำ Neulinger’s Theory ซึ่ง กล่ำวถึง กำรใช้เวลำว่ำงอย่ำงแท้จริง (Pure Leisure) คือ กิจกรรมที่เลือกกระทำเพื่อตัวเอง มีอิสระจำกกำรบังคับ ภำยนอกและนำมำสู่กำรตอบแทนที่มีคุณค่ำ ดังนั้นกลุ่มตัวอย่ำงจึงให้ควำมสำคัญกับรูปแบบกิจกรรมนอกสถำนที่นั้น ถือว่ำเป็นควำมต้องกำรกับกำรใช้เวลำว่ำงอย่ำงแท้จริง 3.4 ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงปัจจัยส่วนบุคคลกับรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำง กับรูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพ พบว่ำ ทุกรูปแบบมีควำมสัมพันธ์กันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นกำรเล่นโบว์ลิ่ง เทเบิลเทนนิส และกอล์ฟ ที่ไม่มีควำมสัมพันธ์กันเมื่อพิจำรณำเป็นรำยกิจกรรม พบว่ำเจเนอ เรชั่นกับรูปแบบกิจกรรมกีฬำและสุขภำพ นวดแผนโบรำณ แอโรบิก (Aerobic) กำรออกกำลังกำย(Fitness Center) มีควำมสัมพันธ์ ตำมลำดับ ตำมลำดับ สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของคอร์ด และ ไอบรำฮิม (Cordes and Ibrahim. 1996 : 87) นำเสนออันดับกิจกรรมที่เป็นที่นิยมและกิจกรรมที่อยำกลองในประเทศอเมริกำ ซึ่งกิจกรรมที่นิยมคือ บำสเกตบอล ว่ำยน้ำ กำรสังสรรค์ อัตรำกำรเข้ำร่วมคือกำรสังสรรค์มำเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมที่นิยมคือรองลงมำ คือกำรเข้ำชมกีฬำ และบำสเกตบอล ส่วนกิจกรรมที่วัยรุ่นอยำกลองคือกำรขี่ม้ำ กำรเล่นเจ็ตสกี และกีฬำทำงอำกำศ จำกคำถำมกำรวิจัยข้อที่ 4 ที่กล่ำวว่ำ กลุ่มตัวอย่ำง มีควำมคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อกำรเข้ำร่วมกำรใช้ เวลำว่ำงในจังหวัดนครนำยก แตกต่ำงกันหรือไม่ ผลกำรเปรียบเทียบควำมคิดเห็นของกลุ่มที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงผลกำรวิเครำะห์ ควำมแปรปรวนทำงเดียวของค่ำเฉลี่ยคะแนนควำมคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำง พบว่ำ เมื่อวิเครำะห์ควำมแปรปรวนทำงเดียวเพื่อเปรียบเทียบค่ำเฉลี่ยคะแนนควำมคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อ รูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของกลุ่มตัวอย่ำง มีควำมคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงโดยรวมแตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจำรณำรำยปัจจัย พบว่ำกลุ่มตัวอย่ำงปัจัยส่วนบุคคลต่ำงกัน มีควำมคิดเห็นต่อทุกปัจจัยที่มีผลต่อ รูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงแตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 ซึ่ งสอดคล้องกับแนวคิดของ Edginton et al (1995:311-313) กล่ำวว่ำ วัยของผู้รับบริกำร (generation) คนต่ำงวัยมีสิ่งแวดล้อมและมุมมอง ต่ำงกัน เช่นวัยรุ่นปัจจุบันอยู่ในโลกของเทคโนโลยี ควำมก้ำวหน้ำด้ำนคอมพิวเตอร์ กำรสื่อสำร กำรเดินทำง ที่สร้ำง ทั้งโอกำสใหม่ๆและปัญหำที่ต้องจัดกำร คนที่เกิดต่ำงยุคกันมองโลกต่ำงกัน ซึ่งบำงครั้งทำให้เกิดช่องว่ำงระหว่ำงวัย ของผู้สูงอำยุกับคนหนุ่มสำว ซึ่งในกำรวิจัยในครั้งนี้ยังได้ทำกำรเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่ำงที่มีกำรศึกษำที่แตกต่ำงกัน

738


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

อำจเป็นไปได้ว่ำระดับกำรศึกษำ (Level of education) คนมีกำรศึกษำสูงมักมีรำยได้มำกกว่ำจึงสำมำรถเข้ำร่วม กิจกรรมนันทนำกำรที่ต้องกำรได้ เข้ำรวมในกิจกรรมนอกสถำนที่ กีฬำ วัฒนธรรม และท่องเที่ยวมำกกว่ำ คนมี กำรศึกษำน้อยกว่ำมักเข้ำร่วมกิจกรรมกีฬำประเภทล่ำสัตว์ ตกปลำ ส่วนคนมีกำรศึกษำสูงกว่ำเข้ำร่วมกิจกรรมศึกษำ ธรรมชำติ พำยเรือแคนู ผจญภัยจึงทำให้ผลกำรวิจัยมีข้อค้นพบที่แตกต่ำงกันมีควำมคิดเห็นต่อปัจจัยเรื่องควำมชอบ เรื่องญำติ พี่น้อง และเพื่อน เรื่องค่ำใช้จ่ำย เรื่องวันปกติ เรื่องสถำนที่ประกอบกิจกรรม เรื่องควำมปลอดภัย เรื่อง ควำมพร้อมทำงจิตใจ และเรื่องควำมพร้อมทำงร่ำงกำยทีต่ ่ำงกันออกไป ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้ ผลจำกกำรวิจัยในครั้งนี้มีลักษณะเป็นข้อมูลพื้นฐำน (Data Base) เกี่ยวกับรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของ ผู้สูงอำยุในชุมชนต้นแบบจังหวัดนครนำยก สำมำรถนำข้อมูลและผลงำนวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทำงในกำรจัดและ ส่งเสริมกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงเพื่อให้สอดคล้องกับควำมต้องกำรของผู้เข้ำร่วมที่มีควำมต้องกำรที่แตกต่ำงกัน อีก ทั้งยังได้ทรำบแนวคิดและทรำบถึงปัจจัยหลำกหลำยควำมต้องกำรได้รับกำรบริกำร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่ำงมำกกับ หน่วยงำนภำครัฐ (Government Agencies) ที่จะสำมำรถจัดรูปแบบกำรใช้เวลำว่ำงของประชำชนที่อยู่ในจังหวัด นครนำยก ให้เหมำะสมกับควำมต้องกำร และยังรวมถึงหน่วยงำนที่มีกำรให้บริกำรกำรใช้เวลำว่ำงที่เป็นของเอกชน หรือหน่วยงำนที่แสวงหำผลกำไร (Profit Agencies) ก็สำมำรถนำข้อมูลและผลงำนวิจัยที่ได้นำไปจัดกำรให้บริกำรให้ เกิดควำมแตกต่ำง เพื่อที่จะสนองต่อควำมต้องกำรและผลกำไรที่มีต่อหน่วยงำนของตนได้ หรือแม้กระทั้งบุคลำกร ทำงนันทนำกำร เช่น ครู และอำจำรย์ที่สอนในศำสตร์ทำงนันทนำกำรละกำรใช้เวลำว่ำง สำมำรถนำข้อมูลและ ผลงำนวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทำงในสอนและจัดประสบกำรณ์ที่สอดคล้องกับควำมต้องกำรของผู้ เข้ำร่วม เพื่อที่จะได้ ผลิตนักนันทนำกำรที่มีควำมรู้และควำมสำมำรถรับใช้สังคมได้อย่ำงมีประสิทธิภำพต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรจะมีกำรศึกษำปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อ กำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงของผู้สูงอำยุ เพื่อให้เข้ำใจ และ ทรำบถึงปัญหำของผู้เข้ำร่วม และปัญหำต่ำงๆอย่ำงรอบด้ำนเพื่อนำมำเป็นแนวทำงในกำรจัดกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำ ว่ำงให้เหมำะสมกับควำมต้องกำรต่อไป 2. ควรมีกำรศึกษำเกี่ยวกับ รูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงของประชำกรกลุ่มอื่นๆ เช่น เด็กใน ชุมชนแออัด, แฟลต และในชนบท เพื่อนำมำเปรียบเทียบกับผลกำรวิจัยนี้ 3. ควรมีกำรศึกษำเกี่ยวกับรูปแบบกำรเข้ำร่วมกำรใช้เวลำว่ำงที่มีรูปแบบควำมหลำกหลำย และเพิ่ม จำนวนของเจเนอเรชั่นต่ำงๆ ให้มำกขึ้นเพื่อจะได้ข้อมูลที่มีควำมละเอียดนำไปใช้ เป็นประโยชน์ต่อกำรวำงแผนและ เป็นแนวทำงในกำรป้องกันปัญหำสังคม เอกสารอ้างอิง กุลยำ ตันติพลำชีวะ. (2551). สุขภำพกับวัยผู้สูงอำยุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรืองปัญญำ. ทองใบ สุดชำรี. (2544). ภาวะผู้นาและแรงจูงใจ. อุบลรำชธำนี : สถำบันรำชภัฎอุบลรำชธำนี. บุญศรี นุเกตุ และ ปำลีรัตน์ พงทวีกัณหำ. (2550). กำรพยำบำลผู้สูงอำยุ. นนทบุรี : โครงกำรสวัสดิกำรวิชำกำร สถำบันบรมรำชชนก สุวิมล ตั้งสัจพจน์. (2553). นันทนำกำรและกำรใช้เวลำว่ำง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอดิสันเพรสโพรดักส์.

739


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Bammel, G. and L.L. Burrus- Bammel. (1996). Other Factors that Affect Leisure Behavior:Leisure and Human Behavior. Iowa : Brown and Benchmark Publishers. Cordes, Kathleen A. & Ibrahim Hilmi M. (1996). Applications in Recreation & Leisure for Today and the Future. Mosby-Year Book Inc, St.Louis. Cushman G. and Laidler A. (1996). New Zealand. World Leisure Participation : Free Time in the Global Village. Cambridge : CAB International. Darcy S. & Veal A.J. (1996). Australia. World Leisure Participation : Free Time in theGlobal Village. Cambridge : CAB International. Edginton, C. R., D. J. Jordan, D. G. Degraaf and S. R. Edginton, (1995). Leisure and Life Satisfaction. Iowa : Brown and Benchmark Publishing. Harada, Munehiko. (1996). Japa n. World Leisure Participation : Free Time in the Global Village. Cambridge : CAB International. Kelly, J.R. (1982). Leisure. New Jersey : Prentice- Hall. Neulinger, J. (1981). To Leisure: An Introduction. Boston : Ally and Bacon Inc. Smith, Christen. (1991). Overview of Youth Recreation Programs in The United States. Eric Database. Accession no.ED360268. Zuzanek, Jiri. (1996). Canada. World Leisure Participation : Free time in the Global Village, Cambridge : CAB International.

740


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-14

การประเมินผลโครงการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ : การประเมินบทเรียนออนไลน์รายวิชา GE302 ตรีคม พรมมำบุญ1 เกื้อ กระแสโสม2 1

อาจารย์กลุ่มวิชาทดสอบและวิจยั ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ อาจารย์กลุ่มวิชาทดสอบและวิจยั ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

2

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงกำรกำรเรียนรู้ภำษำอังกฤษพื้นฐำนของนักศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ ประกอบด้วย 1) ประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 2) ศึกษำควำมคิดเห็นและควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning ของ นักศึกษำชั้น ปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่ำงคือ นักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ จำนวน 836 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบรำยหน่วยกำรเรียนรู้ แบบบันทึกคะแนนสอบปลำยภำค เรีย นรำยบุ คคล แบบสัม ภำษณ์แ บบมีโครงสร้ำ ง แบบสอบถำมควำมคิด เห็ นและแบบประเมิน ควำมพึ งพอใจ วิเครำะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนำ ได้แก่ ควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำนและสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติเชิงอนุมำน ได้แก่ One –sample t-test, Independent t-test และ One-way-ANOVA ผลกำรวิจัยพบว่ำ 1. ผลกำรประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ พบว่ำ (1) ผลกำรวิเครำะห์ผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้รำยวิชำ GE 202 จำกสำขำวิชำเอก 18 สำขำวิชำ พบว่ำ ในภำพรวมผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้รำยวิชำ ระดับ A ร้อยละ 23.09 รองลงมำระดับ B ร้อยละ 13.16 ระดับ C ร้อยละ 12.30 ระดับ C+ ร้อยละ 12.08 ระดับ B+ ร้อยละ 11.36 ระดับ D+ ร้อยละ 7.78 ระดับ D ร้อยละ 4.90 และ ระดับ E ร้อยละ 14.47 (2) ผลกำรเรียนรู้จำกกำรสอบในระบบ E-Learning วิชำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษ มีผลกำรเรียนรู้สูงที่สุด มีค่ำเฉลี่ย 14.79 คะแนน (S.D.=5.19) รองลงมำวิชำเอก ค.บ.คณิตศำสตร์ ค่ำเฉลี่ย 14.50 คะแนน (S.D.=5.63) (3) ควำมสัมพันธ์ ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนน ระหว่ ำ งภำคเรี ย น คะแนนสอบปลำยภำคเรี ย น และคะแนนผลสั ม ฤทธิ์ ก ำรเรี ย นรู้ มี สั ม พั น ธ์ เ ชิ ง บวก (r=0.737*,0.696*, 0.767*) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ตำมลำดับ (4) ผลกำรเรียนรู้ระหว่ำงเรียนจำก คะแนนสอบในระบบ E-Learning เฉลี่ย 10.38 คะแนน (S.D.= 6.272) ซึ่งต่ำกว่ำเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 เพศหญิงมีคะแนนผลกำรเรียนรู้สูงกว่ำเพศชำย อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 วิชำเอกแตกต่ำงกัน คะแนนสอบในระบบ E-Learning และคะแนนสอบปลำยภำคแตกต่ำงกัน อย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผลกำรศึกษำควำมคิด เห็นต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning เห็นว่ ำจัดกำรได้ในระดับ ดี (Mean=4.09;S.D.=0.67) และมีผลกำรประเมินผลควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning ภำพรวม อยู่ในระดับมำก (Mean=4.03;S.D.=0.48) คำสำคัญ: การประเมินผลโครงการ, การเรียนรูภ้ าษาอังกฤษพื้นฐาน, บทเรียนออนไลน์

741


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

Abstract This research aims to evaluate the students' basic English learning project. Surindra Rajabhat University. 1) to evaluation of learning outcome from using E-Learning courses GE 302 of 1st year students ,and 2) to study the opinion and satisfaction for E-Learning courses GE 302 of 1st year students. The sample were 836 1st year students in Surindra Rajabhat University. Research Tools; unit testing quiz, final examination form, structured interview, questionnaire and satisfaction assessment form. Data were analyzed using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson's correlation,and inferential statistics, one – sample t-test, Independent t-test and ANOVA. The results showed that; 1. E-Learning assessment of the GE 302 Course of the 1st year students in Surin Rajabhat University; (1) The results of the analysis of the GE 202 learning achievement from the 18 major disciplines showed that the overall achievement of learning Grade A was 23.09%, followed by the Grade B 13.16%, Grade C 12.08%, Grade B + 11.36%, Grade D + 7.78%, Grade D 4.90% and Grade E 14.47% respectively. (2) Learning outcomes of the E-Learning exam. The highest learning outcomes were 14.79 points (S.D. = 5.19) English majors, followed by Mathematics majors average 14.50 points (S.D. = 5.63). (3) Relationship between E-Learning scores, semester exam scores and final exam scores with the learning achievement scores were positively correlated. (r = 0.737 *, 0.696 *, 0.767 *) were statistically significant at the 0.05 level, respectively. (4) Learning outcomes of the E-Learning exam average score of 10.38 (S.D. = 6.272), lower than the 50 percent significant at the 0.05 level. Female scores were higher than male scores statistically significant at the 0.05 level. Majors differ E-Learning scores and final exam scores were statistically significant at the 0.05 level. 2. The results of opinion on E-Learning of the GE 302 Course was at a good level. (Mean = 4.09; S.D. = 0.67) and an evaluation of satisfaction on E-Learning of the GE 302 Course was overall at a high level. (Mean = 4.03; S.D. = 0.48). Keyword: Project Evaluation, basic English learning, E-Learning courses บทนา จำกควำมเจริญ ก้ ำ วหน้ ำ ทำงเทคโนโลยี ด้ำ นกำรติ ด ต่ อ สื่อ สำรที่ ทั น สมัย ควำมรู้ แ ละ ข้ อ มู ล ต่ ำ งๆ แพร่หลำยไปอย่ำงรวดเร็ว ก่อให้เกิดกำรเปลี่ยนแปลงด้ำนเศรษฐกิจ และสังคม ภำษำอังกฤษเป็นภำษำต่ำงประเทศ ภำษำหนึ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในกำรติดต่อสื่อสำรและ ศึกษำหำข้อมูลควำมรู้ ตลอดจนกำรประกอบอำชีพ ในยุ คโลกไร้ พรมแดน จึงทำให้ภ ำษำต่ ำงประเทศโดยเฉพำะภำษำอั งกฤษที่จั ดว่ ำเป็ นภำษำกลำงที่ ในหลำยๆ ประเทศให้กำรยอมรับ ในกำรสื่อสำรที่มีบทบำทมำกในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ำในหลำยๆ ประเทศให้มีกำรเรียนกำร สอน ภำษำอังกฤษกันอย่ำงกว้ำงขวำงเพื่อใช้ประโยชน์ในหลำยๆ ด้ำน โดยเฉพำะกำรศึกษำที่จำเป็นต้องมีกำร

742


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ค้นคว้ำข้อมูลต่ำงๆ ทั้งในรูปของหนังสือ วำรสำรต่ำงๆ ต ำรำ และตลอดจนข้อมูลที่มีอยู่ ในทำงอินเตอร์เน็ตที่เป็น ภำษำอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ จึงส่งผลให้คนไทยมีโอกำสพบปะกับชำว ต่ำงประเทศเพิ่มขึ้น โดยใช้ภำษำอังกฤษเป็น ภำษำกลำงในกำรสื่อสำรทำให้ภำษำอังกฤษมีบทบำท เป็นภำษำนำนำชำติมำกขึ้น (ธีรำพร แซ่แห่ว,ศศิวิมล คงเมือง และจิตรลดำ บุรพรัตน์, 2552) ด้วยเหตุนี้จึงมีควำมจำเป็นอย่ำงยิ่งที่จะต้องพัฒนำศักยภำพของทรัพยำกรมนุษย์ให้มีคุณภำพทำงด้ำน วิชำกำรให้ทัดเทียมกับมำตรฐำนสำกล โดยมุ่งเน้นให้มีกำรจัดกำรเรียนกำรสอนภำษำต่ำงประเทศโดยเฉพำะ ภำษำอังกฤษให้มีคุณภำพเพื่อประโยชน์ในกำรศึกษำค้นคว้ำวิทยำกำรใหม่ๆ เพื่อกำรเล่ำเรียนและกำรประกอบอำชีพ ในอนำคต ทั้งนี้เพื่อให้สถำบันอุดมศึกษำต่ำงๆสำมำรถผลิตบัณฑิตที่มีควำมรู้กว้ำงขวำง มีโลกทัศน์กว้ำงไกล เป็นผู้ใฝ่ รู้ สำมำรถคิดอย่ำงมีเหตุผล ใช้ภำษำในกำรติดต่อสื่อสำรได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ สำมำรถนำควำมรู้ไปใช้ในกำร ดำเนินชีวิต (อดุลย์ วิริยะเวชกุล, 2540) กำรที่บุคคลมีควำมรู้ควำมสำมำรถทำงภำษำอังกฤษจึงได้เปรียบทุกด้ำน โดยเฉพำะประเทศไทยที่มีกำรขยำยตัวทำงด้ำนเศรษฐกิจ กำรเมือง และสังคม จึงมีควำมจำเป็นต้องใช้ภำษำอังกฤษ ในกำรติดต่อสื่อสำรกับต่ำงประเทศมำกขึ้นตำมลำดับในกำรพัฒนำกำรอุดมศึกษำไปสู่ควำมเป็นสำกลมำกยิ่งขึ้น ควำมรู้ ภ ำษำอั งกฤษจึ ง มี ค วำมจ ำเป็ น ที่ นั ก ศึ ก ษำในระดั บ อุ ด มศึ ก ษำต้ อ งได้ รั บ กำรพั ฒ นำควำมสำมำรถทำง ภำษำอังกฤษเชิงวิชำกำร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกำรศึกษำค้นคว้ำหำข้อมูลและกำรประกอบอำชีพในอนำคต ซึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดของ O’Malley และ Chamot (1990) กล่ำวว่ำ ในระดับสูงนักศึกษำควรมีควำมสำมำรถใน กำรใช้ภำษำอังกฤษเป็นเครื่องมือในกำรเรียนรู้เนื้อหำวิชำต่ำงๆ และควรจะเป็นภำษำอังกฤษเชิงวิชำกำรมำกกว่ำ ภำษำอังกฤษที่ใช้สื่อสำรในชีวิตประจำวันนักศึกษำควรมีทักษะกำรอ่ำนตำรำ เพื่อให้ได้ข้อมูล และสะท้อนสิ่งที่อ่ำน ออกมำในรูปแบบของกำรเขียน หรือกำรนำเสนอรำยงำนหน้ำชั้น รวมทั้งประยุกต์ใช้ควำมสำมำรถในกำรอ่ำน และ กำรเขียนภำษำอังกฤษในกำรเรียนเนื้อหำวิชำอื่นๆ ได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ นักศึกษำจะไม่สำมำรถประสบควำมสำเร็จในกำรศึกษำได้ หำกกำรเรียนรู้ภำษำกับกำรเรียนรู้เนื้อหำวิชำ ถูกแยกออกจำกกันโดยสิ้นเชิง เพรำะภำษำไม่ใช่เพียงแค่สื่อในกำรถ่ำยทอดเนื้อหำ แต่ภำษำเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ พร้อมๆ กับกำรเรียนรู้เนื้อหำ (Mohan,1986) คือ กำรเข้ำใจภำษำจะช่วยให้นักศึกษำเรียนรู้เนื้อหำได้ง่ำยขึ้น ทำให้ สิ่งที่เรียนรู้มีควำมหมำยต่อนักศึกษำมำกขึ้น และเกิดกำรถ่ำยโอนกำรเรียนรู้เมื่อนักศึกษำมีควำมตั้งใจที่จะนำวิธีกำร เรียนรู้จำกวิชำหนึ่งไปให้เป็นประโยชน์กับกำรเรียนรู้อีกวิชำหนึ่ง นักศึกษำจะไม่สำมำรถถ่ำยโอนกำรเรียนรู้กฎเกณฑ์ ทำงภำษำและกลวิธีกำรอ่ำนไปสู่สถำนกำรณ์ที่แตกต่ำงออกไปได้ โครงกำรเรียนรู้ภำษำอังกฤษพื้นฐำนของนักศึกษำมหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ รำยวิชำ GE302 เป็น รำยวิชำกำรศึกษำทั่วไปที่จัดให้นักศึกษำชั้นปีที่ 1 ในทุกคณะของมหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ได้ลงทะเบียนเรียน โดยมีจุดมุ่งหมำยของรำยวิชำเพื่อให้ นักศึกษำสำมำรถใช้คำศัพท์ วลี สำนวน และประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ สำมำรถพัฒนำทักษะขั้นพื้นฐำนด้ำนกำรฟัง กำรพูด กำรอ่ำน และเขียน สำมำรถใช้ภำษำอังกฤษติดต่อสื่อสำรใน ชีวิตประจำวันได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ สำมำรถนำควำมรู้ด้ำนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกำรใช้ภำษำอังกฤษไปประประยุกต์ใช้ ใน กำรอ่ำน-เขียนเพื่อติดต่อสื่อสำรในชีวิตประจำวันได้อย่ำงถูกต้อง และสำมำรถพัฒนำกำรสื่อสำรของตนเองได้ อย่ำงถูกต้องและเหมำะสมกับสถำนกำรณ์ ต่ำงๆ โดยมีขอบเขตเนื้อหำวิชำคือ กำรศึกษำคำศัพท์ วลี สำนวน และ ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกทักษะกำรฟัง พูด อ่ำน และเขียน เน้นฝึกฟัง-พูดเบื้องต้น โดยกำรสร้ำงสถำนกำรณ์ ปกติที่จะเกิดกำรโต้ตอบสื่อสำรกับผู้อื่น และศึกษำกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกำรใช้ภำษำอังกฤษเบื้องต้นเท่ำที่จำเป็นจะต้อง ใช้ เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้สำมำรถสื่อควำมหมำยด้ำนกำรฟัง-พูดได้อย่ำงถูกต้อง ทั้งนี้กระทรวงศึกษำธิกำรได้ตระหนัก ถึงควำมสำคัญ และควำมจำเป็นในกำรพัฒนำกำรเรียนรู้ภำษำอังกฤษโดยเล็งเห็นว่ำ ผู้เรียนควรมีควำมรู้เกี่ยวกับ

743


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ภำษำอั งกฤษและสำมำรถใช้ ภ ำษำอั งกฤษเป็ น เครื่ อ งมื อ ในกำรติ ด ต่ อ สื่ อ สำรกั บ ผู้ อื่ น ได้ อ ย่ ำ งเหมำะสมทั้ งใน ชีวิตประจำวัน กำรงำนอำชีพในอนำคตและกำรศึกษำต่อ (ธีรำพร แซ่แห่ว,ศศิวิมล คงเมือง และจิตรลดำ บุรพรัตน์, 2552) จำกจุดมุ่งหมำยของรำยวิชำ GE302 สำนักส่งเสริมวิชำกำรและงำนทะเบียน มหำวิทยำลัยรำชภัฏ สุรินทร์ จึงได้จัดทำโครงกำรโครงกำรเรียนรู้ภำษำอังกฤษพื้นฐำนของนักศึกษำมหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ รำยวิชำ GE302 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษำได้เกิดกำรเรียนรู้ให้เกิดทักษะด้ำนภำษำอังกฤษ และจัดรูปแบบกำรเรียนรู้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับสภำพสังคมและเทคโนโลยีสำรสนเทศที่เปลี่ยนไป และเป็นกำรส่งเสริมให้เกิดกำรเรียนรู้ในรูปแบบ Actives Learning ของนักศึกษำ เพื่อให้สำมำรถนำไปใช้ชีวิตประจำวันและกำรประกอบอำชีพในอนำคต จำกควำมเป็นมำและควำมสำคัญ สำนักส่งเสริมวิชำกำรและงำนทะเบียน มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ จึงได้จัดทำโครงกำรสำหรับประเมินบทเรียนออนไลน์(E-learning Online) โครงกำรเรียนรู้ภำษำอังกฤษพื้นฐำนของ นักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning รำยวิชำ GE 302 ประเมินกระบวนกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning รำยวิชำ GE 302 ศึกษำควำมคิดเห็นต่อกำร จัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning โดยใช้รูปแบบกำรประเมินแบบอิงวัตถุประสงค์ทั้งนี้เพื่อนำสำรสนเทศที่ได้ไปใช้ใน กำรพัฒนำกำรจัดกำรเรียนรู้ โดยใช้ E-Learning รำยวิชำ GE302 และรำยวิชำอื่นๆต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษำควำมคิดเห็นและควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ ขอบเขตการวิจัย ด้านประชากร คือ นักศึกษำชั้นปีที่ 1 ทุกคณะที่เรียนในรำยวิชำ GE 302 ด้านรูปแบบการวิจัย เป็นกำรวิจัยเชิงประเมินโดยใช้โมเดลกำรประเมินแบบอิงวัตถุประสงค์ ด้านเนื้อหา มุ่งประเมินผลโครงกำรเรียนรู้ภำษำอังกฤษพื้นฐำนของนักศึกษำมหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ รำยวิชำ GE302 ครอบคลุมเนื้อหำ 5 เนื้อหำ ได้แก่ Unit 1 Greetings and Introduction,Nation and Nationalities Unit 2 Dates and Time,Ordinal and Cardinal Numbers Unit 3 Family,Job & Occupations Unit 4 My Hometown,Giving Directions Unit 5 Clothing and Shopping ด้านระยะเวลา เดือนมิถุนำยน-พฤศจิกำยน 2560 วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ นักศึกษำชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรำยวิชำ GE 302 จำนวนประมำณ 1,003 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษำชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรำยวิชำ GE 302 จำนวน 836 คน โดยกำรสุ่มจำก จำกฐำนข้อมูลฐำนข้อมูล E-Learning รำยวิชำ GE302

744


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย จำแนกตำมวัตถุประสงค์กำรวิจัยได้ดังนี้ 1. แบบทดสอบรำยหน่วยกำรเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วย จำกฐำนข้อมูล E-Learning รำยวิชำ GE302 เนื้อหำประกอบด้วย Unit 1 Greetings and Introduction,Nation and Nationalities Unit 2 Dates and Time,Ordinal and Cardinal Numbers Unit 3 Family,Job & Occupations Unit 4 My Hometown ,Giving Directions Unit 5 Clothing and Shopping 2. แบบบันทึกคะแนนสอบปลำยภำคเรียนรำยบุคคล จำกฐำนข้อมูลสำนักส่งเสริมวิชำกำรและงำน ทะเบียน 3. แบบสอบถำมควำมคิดเห็น ตรวจสอบควำมตรงเชิงเนื้อหำ (Content Validity) จำกผู้เชี่ยวชำญ 3 ท่ำน ได้ค่ำดัชนีควำมสอดคล้องของข้อคำถำมกับวัตถุประสงค์ (Index of item Objective Congruence :IOC) มำกกว่ำ 0.5 ทุกข้อ คำนวณค่ำควำมเที่ยง (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิอัลฟำของครอนบำค (Cronbach Alpha Coefficient) เท่ำกับ 0.97 4. แบบประเมินควำมพึงพอใจ ได้ค่ำดัชนีควำมสอดคล้องของข้อคำถำมกับวัตถุประสงค์ (Index of item Objective Congruence :IOC) มำกกว่ำ 0.5 ทุกข้อ คำนวณค่ำควำมเที่ยง (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประ สิทธิอัลฟำของครอนบำค (Cronbach Alpha Coefficient) เท่ำกับ 0.94 5. แบบสัมภำษณ์แบบมีโครงสร้ำง ตรวจสอบควำมตรงเชิงเนื้อหำ (Content Validity) จำกผู้เชี่ยวชำญ 3 ท่ำน ได้ค่ำดัชนีควำมสอดคล้องของข้อคำถำมกับวัตถุประสงค์ (Index of item Objective Congruence :IOC) มำกกว่ำ 0.5 ทุกข้อ 6. แบบทดสอบปลำยภำครำยวิชำ GE302 จำกอำจำรย์ผู้สอนในรำยวิชำ GE202 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. เก็ บ รวบรวมผลคะแนนรำยบุ คคลจำกกำรท ำแบบทดสอบรำยหน่ ว ยกำรเรีย นรู้ หน่ ว ยที่ 1-5 แหล่งข้อมูลจำกฐำนข้อมูล E-Learning รำยวิชำ GE302 2. ตรวจสอบควำมถูกต้องของข้อมูลเพื่อเตรียมนำไปวิเครำะห์ทำงสถิติและนำเสนอผล 3. จัดทำหนังสือรำชกำร เพื่อขอเก็บรวบรวมผลคะแนนรำยบุคคลจำกกำรทำแบบทดสอบปลำยภำค เรียน รำยวิชำ GE302 จำกสำนักส่งเสริมวิชำกำรและงำนทะเบียน 4. สัมภำษณ์นักศึกษำกลุ่มตัวอย่ำง โดยนักศึกษำครุศำสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ที่กำลังเรียนในรำยวิช ำ วิจัยและพัฒนำกำรเรียนรู้ เกี่ยวกับสภำพปัจจุบัน ปัญหำในกำรเรียนรู้ในระบบ E-Learning รำยวิชำ GE302 โดย และแบบสัม ภำษณ์ ค วำมคิ ดเห็น และควำมพึ งใจของนั กศึ กษำกลุ่ม ตัว อย่ ำ ง ต่อ กำรจั ดกำรเรีย นรู้ ในระบบ ELearning 5. ตรวจสอบควำมถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภำพ และข้อมูลเชิงปริมำณ เพื่อเตรียมนำไปวิเครำะห์ทำง สถิติและนำเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 1. กำรวิเครำะห์ข้อมูลเชิงคุณภำพ ใช้กำรวิเครำะห์เชิงเนื้อหำ 2. กำรวิเครำะห์ข้อมูลเชิงปริมำณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป มีกำรวิเครำะห์ทำงสถิติดังนี้ 2.1 วิเครำะห์ข้อมูลพื้นฐำน ด้วยสถิติ ควำมถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน

745


SRRU NCR2018

การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

2.2 วิเครำะห์ข้อมูลควำมคิดเห็นและควำมพึงพอใจ ด้วยสถิติ

ค่ำเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน

มำตรฐำน 2.3 วิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนนระหว่ำงภำค เรียน,ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนนสอบปลำยภำคเรียน และควำมสัมพันธ์ ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนนรวมทั้งหมด โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 2.4 วิเ ครำะห์ เ ปรี ยบเที ย บผลกำรเรี ย นระหว่ ำ งเรี ย นหน่ ว ยที่ 1-5 กั บ เกณฑ์ ร้ อ ยละ 50(12.5 คะแนน) โดยใช้สถิติ One –sample t-test (เกณฑ์ร้อยละ 50) 2.5 วิเครำะห์เปรียบเทียบผลกำรเรียนผลคะแนนสอบในระบบ E-Learning ,ผลคะแนนสอบ ระหว่ำงภำคเรียน, ผลคะแนนสอบปลำยภำคเรียน และคะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ตำมตัวแปรเพศ โดยใช้สถิติ Independent t-test 2.6 วิเครำะห์เปรียบเทียบผลกำรเรียนผลคะแนนสอบในระบบ E-Learning , ผลคะแนนสอบ ปลำยภำคเรียนตำมตัวแปรสำขำวิชำเอก โดยใช้สถิติ One-way-ANOVA ผลการวิจัย 1. ประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัย รำชภัฏสุรินทร์ 1.1 ผลกำรประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning รำยวิชำ GE 302 ผลกำรวิเครำะห์ผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้รำยวิชำ GE 202 พบว่ำ ผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ระดับ A ร้อย ละ 23.09 รองลงมำระดับ B ร้อยละ 13.16 ระดับ C ร้อยละ 12.30 ระดับ C+ ร้อยละ 12.08 ระดับ B+ ร้อยละ 11.36 และ ระดับ E ร้อยละ 14.47 ค.บ.ภำษำอังกฤษ ได้ผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้รำยวิชำ ระดับ A มำก ที่สุด ร้อยละ 68.33 รองลงมำคือ วิชำเอก ค.บ.คณิตศำสตร์ ร้อยละ 65.50 1.2 ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนระหว่ำงเรียนหน่วยที่ 1-5 กับเกณฑ์ร้อยละ 50(12.5 คะแนน) ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรู้ระหว่ำงเรียนหน่วยที่ 1-5 กับเกณฑ์ร้อยละ 50 รำยวิชำ GE 202 จำกสำขำวิชำเอก 18 สำขำวิชำ พบว่ำ ผลกำรเรียนรู้ระหว่ำงเรียนเฉลี่ย 10.38 คะแนน (S.D.= 6.272) ผลกำร เรียนรู้ระหว่ำงเรียนต่ำกว่ำเกณฑ์อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ดังตำรำงที่ 1 ตำรำงที่ 1 ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนระหว่ำงเรียนหน่วยที่ 1-5 กับเกณฑ์

หน่วยวิเครำะห์ ผลกำรเรียนระหว่ำง เรียนหน่วยที่ 1-5

Mean

S.D.

Mean Difference

10.38

6.27

-2.124

95% Confidence Interval of the Difference Lower Upper 2.55

เกณฑ์เท่ำกับ 12.5 คะแนน ระดับนัยสำคัญทำงสถิติ 0.05

746

9.793

t

df

pValue

-9.793 835

0.000


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1.3 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับผลกำรเรียนรู้ ผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ พบว่ำ คะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนนเก็บทั้งหมดมี สัมพันธ์เชิงบวก (r=0.737**) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนน สอบปลำยภำคเรียนมีสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.696**) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนนรวมทั้งหมดสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.767**) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ดังตำรำง ที่ 2 ตำรำงที่ 2 ควำมสัมพันธ์คะแนนสอบจำกระบบ E-Learning กับผลกำรเรียนรู้ ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน (r) 0.737** 0.696** 0.767**

ลักษณะความสัมพันธ์ คะแนนสอบในระบบ E-Learning (5 unit) กับคะแนนเก็บทั้งหมด คะแนนสอบในระบบ E-Learning (5 unit) กับคะแนนสอบปลำยภำคเรียน คะแนนสอบในระบบ E-Learning (5 unit) กับคะแนนรวมทั้งหมด

ระดับนัยสาคัญ ทางสถิติ p< 0.05 p< 0.05 p< 0.05

1.4 ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรู้ จำแนกตำมเพศ ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรู้ จำแนกตำมเพศ พบว่ำ คะแนนสอบจำก E-Learning ของเพศหญิงสูง กว่ำเพศชำย 2.44 คะแนน ผลคะแนนสอบระหว่ำงภำคเรียนของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย 4.50 คะแนน ผล คะแนนสอบปลำยภำคเรียนของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย 2.62 คะแนน และ คะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ของเพศ หญิงสูงกว่ำเพศชำย 7.12 คะแนน ผลกำรเปรียบเทียบควำมแตกต่ำงของคะแนนทั้ง 3 ชุด พบว่ำ คะแนนผลกำร เรียนรู้ของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ดังตำรำงที่ 3 ตำรำงที่ 3 ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรู้ จำแนกตำมเพศ (n=836) ผลกำรเรียนรู้ ผลคะแนนสอบในระบบ E-Learning ผลคะแนนสอบระหว่ำงภำคเรียน ผลคะแนนสอบปลำยภำคเรียน คะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้

8.75 11.19 43.58 48.08

Std. Deviation 6.380 6.059 19.616 19.026

Mean Difference -2.446

-5.320

pvalue 0.000

-4.502

-3.196

0.001

13.16 15.78 56.73 63.86

7.906 7.932 25.938 25.500

-2.627

-4.524

0.000

-7.129

-3.793

0.000

เพศ

n

Mean

ชำย หญิง ชำย หญิง

280 556 280 556

ชำย หญิง ชำย หญิง

280 556 280 556

ระดับนัยสำคัญทำงสถิติ 0.05

747

t


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1.5 ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรู้ จำกคะแนนสอบในระบบ E-Learning จำแนกตำมวิชำเอก ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรู้จำกคะแนนสอบในระบบ E-Learning จำแนกตำมวิชำเอก พบว่ำ คะแนนสอบในระบบ E-Learning แต่ละวิชำเอกแตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ (p<0.05) ดังตำรำงที่ 4 ตำรำงที่ 4 ผลกำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนคะแนนสอบในระบบ E-Learning จำแนกตำมวิชำเอก (n=836) แหล่งควำมแปรปรวน

องศำควำมเป็น อิสระ (df)

ผลรวมกำลัง สอง (SS)

ระหว่ำงกลุ่ม ภำยในกลุ่ม รวม

17 818 835

7800.730 25047.573 32848.302

ค่ำเฉลี่ยกำลัง สอง (MS) 458.866 30.621

ค่ำ F 14.986

pvalue .000

ผลกำรวิเครำะห์ควำมแตกต่ำงผลคะแนนสอบในระบบ E-Learning จำแนกตำมวิชำเอก พบว่ำ นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษ ได้คะแนนเฉลี่ย 14.79 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ ค.บ.พลศึกษำ ค.บ.บรรณำรักษศำสตร์ ค.บ.เกษตรศำสตร์ วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี และ B.Ed.(I.C.T.Edu) อย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.คณิตศำสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย 14.50 คะแนน และ มีคะแนนสูงกว่ำ ค.บ.พลศึกษำ ค.บ.บรรณำรักษศำสตร์ ค.บ.เกษตรศำสตร์ วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี และ B.Ed.(I.C.T.Edu) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.ชีววิทยำ ได้คะแนนเฉลี่ย 13.11 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ ค.บ.พลศึกษำ ค.บ.บรรณำรักษศำสตร์ ค.บ.เกษตรศำสตร์ วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี และ B.Ed.(I.C.T.Edu) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.วิทยำศำสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย 13.03 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.สังคมศึกษำ ได้คะแนนเฉลี่ย 12.49 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ ค.บ.พล ศึกษำ ค.บ.เกษตรศำสตร์ ค.บ.เคมี วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี และ B.Ed.(I.C.T.Edu) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ ระดับ 0.05 นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.เคมี ได้คะแนนเฉลี่ย 12.45 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ วท.บ. 59.1/ วท.บ. เคมี อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษำวิชำเอก วิชำเอก ค.บ.กำรประถมศึกษำ ได้ คะแนนเฉลี่ย 12.17 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ ค.บ.พลศึกษำ ค.บ.เกษตรศำสตร์ ค.บ.เคมี และวท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ผลกำรเปรียบเทียบแสดงตำมแผนภูมิที่ 2

748


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

1.6 ผลกำรเปรียบเทียบผลกำรเรียนรูจ้ ำกคะแนนสอบปลำยภำคจำแนกตำมวิชำเอก กำรวิเครำะห์ควำมแตกต่ำงของคะแนนสอบปลำยภำค จำแนกตำมวิชำเอก พบว่ำ คะแนนสอบ ปลำยภำค แต่ละวิชำเอกแตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ (p<0.05) ดังตำรำงที่ 6 ตำรำงที่ 6 ผลกำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนคะแนนสอบปลำยภำค จำแนกตำมวิชำเอก (n=836) แหล่งควำม แปรปรวน ระหว่ำงกลุม่ ภำยในกลุ่ม รวม

องศำควำมเป็น อิสระ (df) 17 818 835

ผลรวมกำลัง สอง (SS) 6458.209 47187.895 53646.104

ค่ำเฉลี่ยกำลังสอง (MS) 379.895 57.687

ค่ำ F

p-value

6.585

.000

ผลกำรวิเครำะห์ควำมแตกต่ำงผลคะแนนสอบปลำยภำค จำแนกตำมวิชำเอก พบว่ำ นักศึกษำวิชำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษ ได้คะแนนเฉลี่ย 20.88 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ำ ค.บ.พล ศึกษำ ค.บ.คหกรรมศำสตร์ ค.บ.เกษตรศำสตร์ วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี และ B.Ed.(I.C.T.Edu) อย่ำงมีนัยสำคัญ ทำงสถิติที่ระดับ 0.05 และ วิชำเอก ค.บ.วิทยำศำสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย 22.35 คะแนน และมีคะแนนสูงกว่ ำ ค.บ. พลศึกษำ ค.บ.คหกรรมศำสตร์ ค.บ.บรรณำรักษศำสตร์ ค.บ.เกษตรศำสตร์ วท.บ.59.1/ วท.บ. เคมี และ B.Ed.(I.C.T.Edu) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 รำยละเอียดดังแผนภูมิ

1.7 ผลกำรเรียนรู้และพัฒนำตนเองของนักศึกษำระหว่ำงกำรเรียนผ่ำนทำง E-tsurThTg พบว่ำ จำกกำรวิเครำะห์เชิ งเนื้อ หำในภำพรวมจำกกำรสัมภำษณ์นัก ศึกษำ เกี่ยวกั บกำรเรียนรู้ และพัฒ นำตนเองของ นักศึกษำระหว่ำงกำรเรียนผ่ำนทำง E-tsurThTg ได้ผลดังนี้ ด้ำนกำรอ่ำน พบว่ำ นักศึกษำส่วนใหญ่เห็นว่ำตนเองได้ เรียนเกี่ยวกับคำศัพท์มำกขึ้น ได้ฝึกกำรอ่ำนจับใจควำม พัฒนำทักษะกำรอ่ำนดีขึ้น ด้ำนกำรเขียน นักศึกษำส่วน ใหญ่เห็นว่ำตนเองได้นำควำมรู้จำกกำรอ่ำนมำต่อยอดกำรเขียน ทำให้มีทักษะกำรเขียนมำกขึ้น สำมำรถเขียน ค ำศั พ ท์ ไ ด้ ถู ก ต้ อ งมำกยิ่ งขึ้ น และเขี ย นถู ก ต้ อ งตำมหลั ก ไวยกรณ์ สำมำรถเขี ย นสรุ ป เนื้ อ หำได้ ด้ ำ นกำรฟั ง นักศึกษำส่วนใหญ่เห็นว่ำตนเองได้พัฒนำทักษะกำรฟังจำกกำรฟังและดูวิดีโอ ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องสำเนียงภำษำของ

749


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เจ้ำของภำษำ ทำให้เพิ่มทักษะกำรฟังและจับใจควำมสำคัญ ฟังอย่ำงตั้งใจมำกขึ้น และด้ำนกำรพูด นักศึกษำส่วน ใหญ่เห็นว่ำตนเองได้มีทักษะกำรพูดดีขึ้น เพรำะได้ ฝึกออกเสียง และเห็นควำมก้ำวหน้ำของตนเองคือกำรกล้ำพูด ภำษำอังกฤษมำกขึ้น ได้พัฒนำกำรพูดระหว่ำงคู่สนทนำผ่ำนระบบ พูดแสดงควำมคิดเห็นและสนทนำระหว่ำงกลุ่ม สมำชิก สำมำรถอธิบำยได้และสื่อสำรภำษำอังกฤษได้ดีขึ้น มั่นใจมำกขึ้น 1.8 ลักษณะพฤติกรรมกำรเรียนรู้ผ่ำนระบบ E-Learning พบว่ำ นักศึกษำมีกำรเข้ำระบบช่วง 08.01-18.00 น. ส่วนใหญ่อยู่ภำยในมหำวิทยำลัย ประมำณร้อยละ 45.45 เข้ำระบบมำกที่สุดช่วง 11.01-13.00 น. ประมำณร้อยละ 13.16 นักศึกษำเข้ำระบบช่วงเวลำ 18.01- 08.00 น. ส่วนใหญ่ช่วงเวลำนี้จะอยูภ่ ำยนอก มหำวิทยำลัย ร้อยละ 55.55 ค่ำเฉลี่ยกำรเข้ำระบบทั้ง 5 Unit ประมำณ 135.09 ครั้งต่อคน รำยละเอียดดังกรำฟ

2. เพื่อศึกษำควำมคิดเห็นและควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Leaning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ 2.1 ผลกำรวิเครำะห์ควำมคิดเห็นต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning นั ก ศึ ก ษำมี ค วำมคิ ด เห็ น ว่ ำ กำรจั ด กำรเรี ย นรู้ โ ดยใช้ E-Learning จั ด กำรได้ ใ นระดั บ ดี (Mean=4.09;S.D.=0.67) จำแนกรำยด้ำนพบว่ำด้ำนบทเรียนเห็นว่ำอยู่ในระดับดี (Mean=4.12;S.D.=0.68) และ เห็นว่ำ E-learning รำยวิชำ GE 302 ช่วยเสริมทักษะกำรเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับดี (Mean=4.25;S.D.0.76) ด้ำนกำรใช้งำนระบบเห็ นว่ำอยู่ ในระดั บดี (Mean=4.07;S.D.=0.69) และเห็นว่ ำกำรใช้บทเรี ยน E-learning รำยวิชำ GE 302 มีควำมเหมำะสมที่จะนำไปใช้ในอนำคต อยู่ในระดับดีมำก (Mean=4.21;S.D.=0.75) 2.2 ผลกำรวิเครำะห์ควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning นั ก ศึ ก ษำมี ค วำมพึ ง พอใจต่ อ กำรจั ด กำรเรี ย นรู้ โ ดยใช้ E-Learning ภำพรวมอยู่ ใ นระดั บ มำก (Mean=4.03;S.D.=0.48) จำแนกรำยด้ำนพบว่ำ ด้ำนบทเรียน มีควำมพึงพอใจระดับมำก(Mean=4.02;S.D.=0.49) ด้ำนกำรใช้งำนระบบมีควำมพึงพอใจระดับมำก(Mean=4.00;S.D.=0.52) ด้ำนกำรจัดกำรเรียนรู้ของอำจำรย์ผู้สอน มีควำมพึงพอใจระดับมำกที่สุด(Mean=4.00;S.D.=0.52)

750


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิจารณ์ผลการวิจัย 1. ผลกำรประเมินผลกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning รำยวิชำ GE 302 ของนักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ พบว่ำ ผลกำรเรียนรู้จำกกำรสอบในระบบ E-Learning วิชำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษ มี ผลกำรเรียนรู้สูงที่สุด มีค่ำเฉลี่ย 14.79 คะแนน (S.D.=5.19) รองลงมำวิชำเอก ค.บ.คณิตศำสตร์ ค่ำเฉลี่ย 14.50 คะแนน (S.D.=5.63) ผลกำรวิจัยมีควำมสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้รำยวิชำของวิชำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษ ที่ได้ ระดับ A มำกที่สุด ร้อยละ 68.33 รองลงมำคือ วิชำเอก ค.บ.คณิตศำสตร์ ร้อยละ 65.50 อำจกล่ำวได้ว่ำ ข้อมูลมีควำมน่ำเชื่อถือ สอดคล้องกับผลกำรวิเครำะห์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับ คะแนนระหว่ ำ งภำคเรี ย น คะแนนสอบปลำยภำคเรี ยน และคะแนนผลสั ม ฤทธิ์ ก ำรเรี ย นรู้ มี สั ม พั น ธ์ เ ชิ งบวก (r=0.737*,0.696*, 0.767*) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ตำมลำดับ สอดลคล้องกับ อัศวิน มณีรำษฎร์. (2551).กฤษณำ สิกขมำน (2554) วิชชุกร บัวคำซำว (2556) ปำนวำส ประสำทศิลป์ (2558) และกันตภณ พริ้วไธ สง (2559) ที่พ บว่ำ บทเรียนอิเล็ กทรอนิก ส์ออนไลน์ (E-Learning) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ท ำงกำรเรียนสูงขึ้ นอย่ ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 อำจสรุปได้ว่ำบทเรียน E-Learning รำยวิชำ GE 302 มีควำมสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรียน ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงคะแนนสอบในระบบ E-Learning กับคะแนนระหว่ำงภำคเรียน คะแนนสอบ ปลำยภำคเรียน และคะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้มีสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.737*,0.696*, 0.767*) อย่ำงมีนัยสำคัญ ทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ตำมลำดับ ผลกำรวิจัยที่ปรำกฏแสดงให้เห็นอย่ำงชัดเจนว่ำคะแนนสอบในระบบ E-Learning มีควำมสัมพันธ์สูงกับคะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ กล่ำวได้ว่ำกำรที่นักศึกษำได้มีกำรเรียนรู้ผ่ำนระบบ E-Learning ในรำยวิชำ GE 302 มีควำมรู้ควำมเข้ำในหลักวิชำสำมำรถนำควำมรู้นำไปใช้ในกำรพัฒนำตนเองได้เป็นอย่ำงดี พิจำรณำได้จำกค่ำสัมประสิทธิ์ส หสัมพันธ์เพียร์สันมีค่ำในเชิงบวก โดยพิจำรณำจำกนักศึกษำเรียนรู้และสอบได้ คะแนนสูงในระบบ E-Learning ก็จะทำให้ผลกำรสอบปลำยภำคเรียน และจะทำให้คะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้สูง ตำมไปด้วย สอดลคล้องกับ อัศวิน มณีรำษฎร์. (2551) กฤษณำ สิกขมำน (2554) วิชชุกร บัวคำซำว (2556) ปำน วำส ประสำทศิลป์ (2558) และกันตภณ พริ้วไธสง (2559) ที่พบว่ำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (E-Learning) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนสูงขึ้นอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ผลคะแนนสอบจำก E-Learning ของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย 2.44 คะแนน ผลคะแนนสอบระหว่ำง ภำคเรียนของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย 4.50 คะแนน ผลคะแนนสอบปลำยภำคเรียนของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย 2.62 คะแนน และ คะแนนผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ของเพศหญิงสูงกว่ำเพศชำย 7.12 คะแนน ผลกำรเปรียบเทียบ ควำมแตกต่ำงของคะแนนทั้ง 3 ชุด พบว่ำ คะแนนผลกำรเรียนรู้ของเพศหญิงสู งกว่ำเพศชำย อย่ำงมีนัยสำคัญทำง สถิติที่ระดับ 0.05 ผลกำรวิจัยที่ปรำกฏอำจเกิดจำกนักศึกษำหญิงมีทักษะด้ำนภำษำมำกกว่ำเพศชำยเนื่องจำกชอบ เจรจำ สอดคล้องกับ ฉัตรปวีณ์ จรัสวรำวัฒน์ (2550) พบว่ำ ตัวแปรเพศหญิงมีควำมสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทำงกำร ศึกษำในทุกช่วงแต้มเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ร้อยละ 39.0 ขึ้น ไป สอดคล้องกับ เพ็ญภัคร พื้นผำ(2556) ตัวแปลเพศ ส่งผลต่อ ทัก ษะภำษำอังกฤษของนั กศึ กษำชั้ นปี ที่ 4 สำขำกำรจัด กำรธุ รกิ จ คณะบริ หำรศำสตร์ มหำวิท ยำลั ย อุบลรำชธำนี สอดคล้องกับผลกำรวิจัยของ Levecie & Jenin (2006); Goldschmidt และคณะ (2007); Kyriakides และคณะ (2009) และ French, Peevely และ Stanley (2008) ที่พบว่ำเพศส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทำงด้ำน ภำษำของนักเรียน โดยเพศหญิงจะได้เปรียบเพศชำยในด้ำนทักษะภำษำอังกฤษเพรำะเป็นเพศที่ช่ำงเจรจำ และมี วำทศิลป์ สอดคล้องกับ โสภิต กตัญญุตำ (2552) ที่กล่ำวว่ำเพรำะผู้หญิ งมีสมองซีกซ้ำยพัฒนำได้ดีกว่ำ ผู้ชำยทำให้ ควำมสำมำรถด้ำนกำรพูด กำรอ่ำน รวมถึงกำรเรียนภำษำที่สองได้ดีกว่ำเพศชำย สอดคล้องกับ สมพร โกมำรทัต

751


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

(2559) พบว่ำกำรใช้กลยุทธ์กำรเรียนภำษำต่ำงประเทศมีควำมสัมพันธ์กับเพศอย่ำงมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ กลยุทธ์ด้ำนกำรจำและกลยุทธ์ด้ำนควำมรู้ ควำมเข้ำใจ นักศึกษำหญิงใช้กลยุทธ์ด้ำนควำมรู้ ควำมเข้ำใจ และกลยุทธ์ ด้ำนกำรจำมำกกว่ำนักศึกษำชำย ดังนั้นอำจำรย์ผู้สอนควรให้ควำมเอำใจใส่ในกำรเรียนกำรสอนกับนักศึกษำชำยให้ มำกขึ้นเพื่อนักศึกษำชำยจะได้มีผลกำรเรียนทักษะภำษำอังกฤษได้ทัดเทียมเพศหญิง โดยอำจจะป้อนคำถำมหรือกำร กระตุ้นให้ นักศึกษำชำยเข้ำร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนผู้หญิงเพรำะกำรฝึกปฏิบัติในกลุ่มจะทำให้ไม่เคอะเขินเวลำ พูด และแสดงควำมคิดเห็น ที่สำคัญเวลำเรียนต้องมีกำรให้กำลังใจเพศชำยว่ำก็สำมำรถทำได้ดี เช่นเดียวกับเพศหญิง เช่นกัน ผลกำรเรียนรู้ระหว่ำงเรียนจำกคะแนนสอบในระบบ E-Learning เฉลี่ย 10.38 คะแนน (S.D.= 6.27) ต่ำกว่ำเกณฑ์อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ผลกำรวิจัยที่ปรำกฏอำจเกิดจำกมีสำขำวิชำเอกที่สำมำรถสอบ ผ่ำนตำมเกณฑ์ (50% หรือ 12.5 คะแนน จำกคะแนนเต็ม 25 คะแนน) เพียง 6 (33%) สำขำเท่ำนั้นจำกทั้งหมด 18 สำขำ จึงทำให้ค่ำเฉลี่ยของคะแนนต่ำกว่ำเกณฑ์อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 สอดคล้องกับ พร พรม มหำรำช (2554) พบว่ำผลกำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนระหว่ำงนักศึกษำสำขำวิชำที่แตกต่ำงกันจะมีผลสัมฤทธิ์ ทำงกำรเรียนที่แตกต่ำงกันที่ระดับนัยทำงสถิติ (P< .05) สอดคล้องกับ บัญชำ จำปำรักษ์ (2551) พบว่ำ สำขำวิชำ มนุษย์กับสังคม วิชำภำษำกับกำรสื่อสำรมีผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน อยู่ในเกณฑ์ดีมำก คิดเฉลี่ย 85% ดังนั้นอำจำรย์ ผู้สอนจึงควรมีกำรวำงแผนแก้ไขและพัฒนำผลกำรเรียนรู้ในสำขำที่มีผลกำรเรียนรู้ในระบบ E-Learning ให้ผ่ำน เกณฑ์ ต้องมีกำรติดตำม ประเมินผลระหว่ำงเรียนและมีกำรป้อนข้อมูลกลับแก่ผู้เรียนอย่ำงต่อเนื่อง เพื่อกำรพัฒนำ อย่ำงเต็มศักยภำพ เนื่องจำกมีควำมสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ในรำยวิชำ ผลกำรวิจัยพบว่ำ ผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้รำยวิชำของวิชำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษ ที่ได้ ระดับ A มำกที่สุด ผลกำรวิจัยที่ปรำกฏอำจเกิดจำกพื้นฐำนควำมรู้เดิมของนักศึกษำเอก ค.บ.ภำษำอังกฤษที่ดีทำให้ผลสัมฤทธิ์ทำงกำร เรียนดีด้วย ผลสอดคล้องกับงำนวิจัย มำกมำยอำทิ Kyriakides และคณะ (2009); Booker & Isenberg (2008); Papanastasiou (2008) และ เพ็ญภัคร พื้นผำ (2554) ; เพ็ญภัคร พื้นผำ(2556) พบว่ำปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะ ภำษำอังกฤษของนักศึกษำชั้นปีที่ 4 สำขำกำรจัดกำรธุรกิจ คณะบริหำรศำสตร์ มหำวิทยำลัยอุบลรำชธำนี ประกำร หนึ่งคือทักษะภำษำอังกฤษเดิม (Pretest) ของนักศึกษำถือว่ำเป็นตัวแปรที่สำคั ญที่สุดในโมเดล จะสังเกตได้จำกค่ำ beta slope ที่ได้มีค่ำบวกและมำกที่สุดเปอร์เซ็นต์ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงตัวแปรกับสัมประสิทธิ์กำรถดถอยมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นก็แสดงว่ำ พื้นควำมรู้ทักษะภำษำอังกฤษของนักศึกษำนั้นมี ควำมสำคัญมำกต่อ กำรเรียนรู้ของนักศึกษำในอนำคต หำกนักศึกษำมีควำมรู้พื้นฐำนดีแล้ว กำรที่จะต่อยอดให้ลำดับชั้นต่อไปนั้นจะไม่ ยำก แต่หำกนักศึกษำมีควำมรู้พื้นฐำนไม่ดีก็จะทำให้ผู้สอนจะต้องเตรียม ควำมพร้อมให้กับนักศึกษำเพิ่มเติมมำก ยิ่งขึ้น หรือสอนเพิ่มเติมมำกขึ้น ซึ่งอำจจะมีผลกระทบกับเวลำ เรียนที่กำหนดไว้ใน course syllabus ได้ 2. ผลกำรศึกษำควำมคิดเห็นและควำมพึงพอใจต่อกำรจัดกำรเรียนรู้โดยใช้ E-Learning ของนักศึกษำ ชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยรำชภัฏสุรินทร์ พบว่ำ นั ก ศึ กษำ มี ค วำ ม คิ ด เ ห็ นว่ ำ กำ ร จั ด กำ ร เ รี ย นรู้ โ ด ย ใช้ E-Learning จั ด กำ ร ไ ด้ ในร ะ ดั บ ดี (Mean=4.09;S.D.=0.67) ผลกำรวิจัยที่ปรำกฏอำจเกิดจำกนักศึกษำเล็งเห็นควำมสำคัญว่ำรูปแบบกำรจัดกำร เรียนรู้โดยใช้ E-learning จะช่วยเสริมทักษะกำรเรียนรู้ด้วยตนเอง กำรจัดระบบกำรเรียนรู้แบบ E-learning รำยวิชำ GE 302 เป็นประโยชน์ต่อกำรเรียน และสำมำรถนำควำมรู้และควำมเข้ำใจในกำรเรียนรู้แต่ละ Unit ของ E-Learning รำยวิชำ GE 302 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจำกนี้กำรใช้งำนระบบ E-learning มีควำมน่ำสนใจ และสะดวกในกำรเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลำ สอดคล้องกับ สุภำรัตน์ จันทร์แม้น (2556) ได้ทำกำรวิจัยเรื่อง ผลกำรเรียนอี

752


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

เลิร์นนิงแบบโครงงำนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนและพฤติกรรมกำรท้ำงำนร่วมกันของนักศึกษำระดับปริญญำตรี คณะศึกษำศำสตร์ มหำวิทยำลัยศิลปำกร พบว่ำควำมคิดเห็นของนักศึกษำที่มีต่อกำรเรียนอีเลิร์นนิงแบบโครงงำนอยู่ ในระดับดี สอดคล้องกับ ปำนวำส ประสำทศิลป์ (2558) ได้ทำกำรพัฒนำบทเรียนออนไลน์ “ภำษำอังกฤษเพื่อ ควำมพร้อมในกำรทำงำน” ด้วยเอ็ดโมดู สำหรับนักศึกษำปริญญำตรีพบว่ำนักศึกษำมีควำมคิดเห็นต่อกำรเรียนด้วย บทเรียนออนไลน์ในภำพรวมอยู่ในระดับมำก นั ก ศึ ก ษำมี ค วำมพึ ง พอใจต่ อ กำรจั ด กำรเรี ย นรู้ โ ดยใช้ E-Learning ภำพรวมอยู่ ใ นระดั บ มำก (Mean=4.03;S.D.=0.48) ผลกำรวิจัยที่ปรำกฏ อำจเกิดจำกนักศึกษำได้รับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในแต่ละเนื้อหำของ E-learning รำยวิชำ GE 302 จำกอำจำรย์ผู้สอนเป็นอย่ำงดี อำจำรย์ผู้สอนมีกำรให้ข้อเสนอแนะหลังกำร ทดสอบแต่ละ Unit ของนักศึกษำอย่ำงต่อเนื่อง และมีกำรกำกับติดตำมกำรเรียนรู้ข องนักศึกษำอย่ำงต่อเนื่อง จึง ทำให้นักศึกษำมีกำรเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอำจำรย์ทำหน้ำที่เป็นโค้ช(Coaching) และคอยให้กำลังกระตุ้นให้ นักศึกษำเกิดกำรเรียนรู้ ในด้ำนกำรใช้งำนระบบนักศึกษำมีควำมพึงพอใจระดับมำก สอดคล้องกับ กฤษณำ สิก ขมำน (2554) ได้ศึกษำผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน รำยวิชำกำรสื่อสำรภำษำอังกฤษธุรกิจ โดยกำรใช้กำรสอนแบบ ELearning พบว่ำนักศึกษำมีควำมพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ในระดับมำกที่สุด แต่ยังพบว่ำระบบยัง มีปัญหำในกำรกำหนดระยะเข้ำไปทำแบบทดสอบในระบบ ควำมเสถียรของระบบต้องมีกำรเข้ำระบบบ่อยครั้ง และ นักศึกษำบำงส่วนยังขำดควำมเข้ำใจในกำรเข้ำไปเรียนรู้ในระบบ E-learning ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการนาผลการวิจัยไปใช้ 1. ผลกำรวิจัย พบว่ำ ในรำยวิชำ GE 302 มีอำจำรย์ผู้สอนหลำยคน จึงควรมีกำรวำงแผนในกำร จัดกำรเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อใช้เป็นแนวทำงในกำรจัดกำรเรียนรู้ของอำจำรย์ผู้สอนทุกคน 2. ผลกำรวิจัยพบว่ำผลกำรเรียนรู้ในระบบ E-learning ยังต่ำกว่ำเกณฑ์ที่กำหนด (เกณฑ์ 50%) ใน สำขำที่คะแนนต่ำกว่ำเกณฑ์ควรมีกำรวำงแผนแก้ไขปัญหำและพัฒนำผู้เรียนอย่ำงต่อเนื่อง 3. ผลกำรวิจัยพบว่ำผลกำรเรียนรู้ในระบบ E-learning มีควำมสัมพันธ์กับคะแนนสอบปลำยภำค และ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน ดังนั้นกำรพัฒนำผู้เรียนอย่ำงต่อเนื่องในระบบ E-learning ให้ได้ตำมเกณฑ์ในแต่ละ หน่วยจะทำให้นักศึกษำสำมำรถพัฒนำสมรรถนะตนเองเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์กำรเรียนรู้ให้สูงขึ้น 4. ผลกำรวิจัย พบว่ำ ในกำรทำข้อสอบแต่ละหน่วยของกำรเรียนรู้ในระบบ เป็นกำรทำข้อสอบแบบสุ่ม โดยระบบ ทำให้นักศึกษำแต่ละคนอำจจะไม่ได้ทำข้อสอบข้อเดียวกัน ดังนั้นผู้พัฒนำระบบควรมีกำรทำชุดของ แบบทดสอบเพื่อให้สำมำรถวิเครำะห์คุณภำพของแบบทดสอบและข้อสอบได้อย่ำงชัดเจน และเกิดควำมยุติธรรมกับ กลุ่มผู้สอบ เพรำะอำจทำข้อสอบที่ มีควำมยำกง่ำยแตกต่ำงกัน ซึ่งในกำรวิจัยครั้งนี้ถือเป็นข้อจำกัดของกำรวิจัย ประกำรหนึ่งเพรำะไม่สำมำรถวิเครำะห์คุณภำพของแบบทดสอบและข้อสอบได้ 5. ผลกำรวิจัยพบว่ำแบบเรียนออนไลน์ก่อนนำมำใช้ยังไม่มีกำรหำคุณภำพ จึงควรมีกำรหำค่ำดัชนี ประสิทธิภำพ (Efficiency Index;EI) ของบทเรียนในระบบ E-learning เพื่อเพิ่มควำมน่ำเชื่อถือของบทเรียน Elearning มำกขึ้น 6. ผลกำรวิจัยพบว่ำระบบอินเทอร์เน็ตยังขำดควำมเสถียร ซึ่งยังพบปัญหำกำรเข้ำระบบของผู้ใช้ จำนวนมำกทำให้กำรใช้งำนช้ำและประสิทธิภำพลดลง จึงควรมีกำรปรับปรุงระบบให้เกิดเสถียรภำพมำกขึ้นเพื่อ รองรับกำรใช้งำนของ User ที่มำกขึ้น และมีกำรกระจำยสัญญำณให้ครอบคลุมทุกพื้นที่กำรเรียนรู้ของมหำวิทยำลัย

753


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

7. ผลกำรวิจัยพบว่ำเพศหญิงมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ำเพศชำย ดังนั้นอำจำรย์ผู้สอนควรให้ควำมเอำใจใส่ใน กำรเรียนกำรสอนกับนักศึกษำชำยให้มำกขึ้น โดยอำจกระตุ้นให้ นักศึกษำชำยเข้ำร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนผู้หญิง เพรำะกำรฝึกปฏิบัติในกลุ่มจะทำให้ไม่เคอะเขินเวลำ พูด และแสดงควำมคิดเห็น ที่สำคัญเวลำเรียนต้องมีกำรให้ กำลังใจเพศชำยว่ำก็สำมำรถทำได้ดี เช่นเดียวกับเพศหญิงเช่นกัน 8. ผลกำรวิจัยพบว่ำ นักศึกษำเข้ำระบบภำยในมหำวิทยำลัยมำกที่สุดช่วง 11.01-13.00 น. ประมำณ ร้อยละ 13.16 และช่วง 20.00 – 24.00 น. ประมำณร้อยละ 38 ผู้ควบคุมระบบควรมีกำรจัดระบบออนไลน์ให้มี ประสิทธิภำพสูงสุดรองรับกำรใช้งำน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีกำรวิจัยพัฒนำรูปแบบของสื่อออนไลน์ในระบบ E-learning ให้มีควำมหลำกหลำย 2. ควรมีกำรพัฒนำคลังข้อสอบภำษำอังกฤษพื้นฐำนที่มีคุณภำพตำมเกณฑ์ก่อนนำมำใช้ในกำรวัดผล กำรเรียนรู้ในแต่ละหน่วยกำรเรียนรู้ และกำรวัดผลกำรเรียนรู้ภำพรวมของรำยวิชำ เอกสารอ้างอิง กฤษณำ สิกขมำน.(2554). กำรศึกษำผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนรำยวิชำกำรสื่อสำรภำษำอังกฤษธุรกิจโดยกำรใช้กำร สอนแบบ E-Learning . มหำวทิยำลัยศรีปทุม กันตภณ พลิ้วไธสง.(2559). กำรเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักศึกษำปริญญำตรี สำขำวิชำวิศวกรรม เมคคำทรอนิกส์ ผ่ำนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ในรำยวิชำฟัซซีลอจิก. คณะวิศวกรรมศำสตร์ มหำวิทยำลัยวงษ์ชวลิตกุล. ฉัตรปวีณ์ จรัสวรำวัฒน์ (2550).“ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทำงกำรศึกษำของนักศึกษำชั้นปี ที่ 1 ในมหำวิทยำหัว เฉียวเฉลิมพระเกียรติ”, รำยงำนกำรวิจัย, สมุทรปรำกำร:มหำวิทยำลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ธีรำพร แซ่แห่ว ศศิวิมล คงเมือง และจิตรลดำ บุรพรัตน์. (2552). กำรพัฒนำควำมสำมำรถภำษำอังกฤษของ นักศึกษำชั้นปีที่ 1 มหำวิทยำลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะวิศวกรรมศำสตร์ มหำวิทยำลัยเชียงใหม่. บัญชำ จำปำรักษ์.(2551) .รำยงำนกำรวิจัย.ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธ์ิทำงกำรเรียนของพระนิสิตมหำวิทยำลัยมหำ จุฬำลงกรณรำชวิทยำลัย วิทยำเขตอุบลรำชธำนี. มหำวิทยำลัยมหำจุฬำลงกรณรำชวิทยำลัย วิทยำเขต อุบลรำชธำนี. ปำนวำส ประสำทศิลป์ (2558).รำยงำนกำรวิจัย .กำรพัฒนำบทเรียนออนไลน์ “ภำษำอังกฤษเพื่อควำมพร้อมในกำร ทำงำน”ด้วยเอ็ดโมดู สำหรับนักศึกษำปริญญำตรี คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคล สุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. พร พรมมหำรำช.(2550). กำรศึกษำผลสัมฤทธิ์และปัจจัยที่มผี ลต่อผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักศึกษำระดับ ปริญญำตรี คณะวิทยำศำสตร์, สืบค้นเมื่อ 20 ธันวำคม 2560.จำก http://www.science.cmu.ac.th เพ็ญภัคร พื้นผำ. (2554). กำรพัฒนำโมเดลมูลคำเพิ่มพหุระดับเพื่อกำรวัดประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยำนิพนธ์ ปริญญำดุษฎีบณ ั ฑิต, ภำควิชำวิจยั และจิตวิทยำกำรศึกษำ บัณฑิตวิทยำลัย จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย. เพ็ญภัคร พื้นผำ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะภำษำอังกฤษของนักศึกษำสำขำธุรกิจชั้นปีที่ 4 คณะบริหำรศำสตร์ มหำวิทยำลัยอุบลรำชธำนี. กำรนำเสนองำนวิจัยระดับชำติระดับบัณฑิตศึกษำ มหำวิทยำลัยรำชภัฎ อุบลรำชธำนี ครั้งที่ 5. Online publication: http://re-ed.onecapps.org/ReEDFile/56-40009.pdf.

754


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิชชุกร บัวคำซำว .(2556) .กำรพัฒนำเพื่อปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน รำยวิชำงำนระบบควบคุมเครื่องยนต์ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักศึกษำระดับประกำศนียบัตรวิชำชีพชั้นสูง โดยใช้ ้E – learning ผ่ำน website word press. วิทยำลัยเทคโนโลยีเทโทร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงำนคณะกรรมกำร ส่งเสริมกำรศึกษำเอกชน. สุภำรัตน์ จันทร์แม้น.(2556) .ผลกำรเรียนอีเลิร์นนิงแบบโครงงำนที่มตี ่อผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนและพฤติกรรมกำร ทำงำนร่วมกันของนักศึกษำระดับปริญญำตรี คณะศึกษำศำสตร์ มหำวิทยำลัยศิลปำกร. วิทยำนิพนธ์ สำขำวิชำเทคโนโลยีกำรศึกษำ บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยศิลปำกร. โสภิต กตัญญุตำ. (2552). ข้อมูลทำงบรรณำนุกรมขอหอสมุดแห่งชำติ. กรุงเทพฯ. บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหำชน) อัศวิน มณีรำษฎร์. (2551). กำรศึกษำผลสัมฤทธิ์กำรอ่ำนจับใจควำมภำษำอังกฤษของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษำ ปีที่ 1 ที่มีผลกำรเรียนวิชำกำรอ่ำนภำษำอังกฤษต่ำกว่ำเกณฑ์โดยใช้บทเรียน.อิเล็กทรอนิกส์. สำรนิพนธ์ ศ. ศ.ม. (กำรสอนภำษำอังกฤษในฐำนะภำษำต่ำงประเทศ) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยำลัย มหำวิทยำลัยศรีนคริ นทรวิโรฒ. Booker, K., and E.J. Isenberg.(2008).Measuring School Effectiveness in Memphis. Washington,DC: Mathematica Policy Research, Inc. French, P., Peevely, G., & Stanley, R. (2008). Measuring perceived school board effectiveness in Tennessee: The latest survey results. International Journal of Public Administration, 31(2), 211-243. Jones, M.G., & Farquhar, J.D. (1997). User interface design for web-based instruction. In Badrul, H. K. (Ed.), Web-based instruction. Englewood cliffs, NJ: Educational Technologies Publications. Kyriakids,L., et al. (2009). Generating criteria for evaluating teacher through teacher effectiveness research. Educational research, 48(1), 1 – 20. Levacic, R., & Jenkins, A. (2006). Evaluating the effectiveness of specialist school in England. School Effectiveness and School Improvement. 17(3), 229 – 254. Mohan B.(1986). Language and Content reading.MA : Addison – Wesley. O’Malley, J. M. & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge: Cambridge University Press. Papanastasiou, C. (2008). A residual analysis of effective school and effective teaching in mathematics. Studies in Educational Evaluation, 34, 24-30.

755


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018 EDUO-15

ภาวะผู้นาแบบประชาธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 THE DEMOCRATIC LEADERSHIP OF PRIMARY SCHOOL UNDER THE OFFICE OF UDONTHANI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 3 ศิริพร ดวงศรี1 , วันทนำ อมตำริยกุล 2, พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ3 1

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 อาจารย์ประจาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2

บทคัดย่อ กำรวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษำระดับภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 กลุ่มตัวอย่ำงในกำรวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอน จำนวน 311 คน ได้มำโดยกำรสุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถำมมำตรำส่วนประมำณค่ำ 5 ระดับ มีค่ำควำม เชื่อมั่นเท่ำกับ 0.98 วิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทำงสังคมศำสตร์หำควำมถี่ ร้อยละ ค่ำ เฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมำตรฐำน ผลกำรวิจัยพบว่ำ ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษำโดยรวมอยู่ในระดับมำกเมื่อ พิจำรณำรำยด้ำนพบว่ำมี 6 ด้ำน คือ ด้ำนควำมไว้วำงใจผู้ใต้บังคับบัญชำ กำรรับฟังควำมคิดเห็นผู้ใต้บังคับบัญชำ กำรใช้แรงจูงใจในกำรบริหำรงำน กำรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชำมีส่วนร่วมในกำรบริหำรงำน กำรเคำรพในสิทธิและ เสรีภำพของผู้ใต้บังคับบัญชำและกำรกระตุน้ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชำเกิดควำมคิดเชิงสร้ำงสรรค์ อยู่ในระดับมำก ส่วนอีก 1 ด้ำน คือ กำรคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชำอยู่ในระดับปำนกลำง คาสาคัญ : ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตย ABSTRACT The purposes of this research was to study the level the democratic leadership of primary school under the office of Udon Thani primary education service area 3. The sample group consisted of 311 teachers selected through stratified random sampling. The research instrument was a five-rating scale questionnaire with the reliability of 0.94. The data was analyzed using the statistical package for social Sciences to find frequency, percentage, mean, standard deviation.

756


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

The results were as follow: The level of democratic leadership of primary school showed that overall in the high and considered that the high level in 6 aspects and the medium level in 1 aspect. Key Word: democratic leadership บทนา ภำยใต้กำรเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกำภิวัตน์ (Globalization) ประเทศไทยได้รับอิทธิพลในด้ำนต่ำงๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลกและกระแสโลกำภิวัตน์ (Globalization) มิได้ส่งผลกระทบเฉพำะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่ ส่งผลกระทบกับทุกๆด้ำน โดยเฉพำะด้ำนกำรศึกษำ (สำนักงำนเลขำธิกำรสภำกำรศึกษำ, 2550: 1) กำรบริหำรจัด กำรศึกษำจึงต้องมีกำรปรับเปลี่ยน และพัฒนำอย่ำงต่อเนื่อง เพื่อสร้ำงข้อได้เปรียบและควำมมุ่งมั่นของสังคมที่ ดำเนินไปอย่ำงรวดเร็ว กำรปรับเปลี่ยนบริบทและโครงสร้ำงกำรบริหำรจัดกำรกำรศึกษำที่ยึดหลักของกำรมีเอกภำพ เชิงนโยบำยที่หลำกหลำยในกำรปฏิบัติ โดยเน้นระบบกำรกระจำยอำนำจและกำรยึดหลักกำรมี ส่วนร่วมเป็นสำคัญ แนวคิดและวิธีกำรจัดกำรศึกษำที่ท้ำทำยหลำยด้ำนจึงเป็นเสมือนกฎหมำยปฏิรูปกำรศึกษำ สอดรับกับแผนกำรศึกษำ แห่งชำติ พ.ศ. 2560 - 2579 ภำยใต้ 6 ยุทธศำสตร์ ประกอบด้วย กำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมมั่นคงของสังคมและ ประเทศชำติ กำรผลิตและพัฒนำกำลังคน กำรวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้ำงขีดควำมสำมำรถในกำรแข่งขันของ ประเทศ กำรพัฒนำศักยภำพคนทุกช่วงวัยและกำรสร้ำงสังคมแห่งกำรเรียนรู้ กำรสร้ำงโอกำส ควำมเสมอภำค และ ควำมเท่ำเทียมทำงกำรศึกษำ กำรจัดกำรศึกษำเพื่อสร้ำงเสริมคุณภำพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกำรพัฒนำ ประสิทธิภำพของระบบบริหำรจัดกำรศึกษำ (สำนักงำนเลขำธิกำรสภำกำรศึกษำ, 2560: 17) กำรปฏิรูปกำรศึกษำ ภำยใต้ยุทธศำสตร์ดังกล่ำวจะส่งผลให้กำรบริหำรจัดกำรศึกษำไทยเป็นไปอย่ำงมีคุณภำพภำยใต้กำรปกครองระบอบ ประชำธิปไตยอันมีพระมหำกษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชำธิปไตยก่อให้เกิดควำมสงบสุข เนื่องจำกเป็นกำรยอมรับฟังเสียงข้ำงมำกแต่เคำรพในเสียงข้ำงน้อย ซึ่งทำให้เกิดควำมเสมอภำคและกำรเคำรพสิทธิซึ่งกันและกัน ทุกคนมีสิทธิและเสรีภำพเท่ำเทียมกัน และมีส่วนร่วม ในทำกิจกรรมต่ำงๆ อย่ำงสร้ำงสรรค์ อันจะส่ งผลให้องค์กำรประสบควำมสำเร็จ จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้อง ปฏิรูประบบกำรศึกษำให้เป็นประชำธิปไตยเพื่อให้กำรบริหำรจัดกำรศึกษำไทยเป็นไปอย่ำงมีคุณภำพสอดรับกับอำรย ธรรมนำนำประเทศ จึงเป็นภำรกิจหลักของผู้บริหำรที่จะต้องกำหนดแบบแผนวิธีกำรและขั้นตอนต่ำงๆในกำร ปฏิบัติงำนไว้อย่ำงเป็นระบบ ในกำรบริหำรจัดกำรองค์กำรโดยเฉพำะหน่วยงำนทำงกำรศึกษำและสถำนศึกษำ นั้ น ปั จ จั ย หนึ่ งที่ จ ะท ำให้ ป ระสบควำมส ำเร็ จ ในกำรด ำเนิ น งำนภำยในองค์ ก ำร คื อ กำรมี ผู้ บ ริ ห ำรที่ มี ค วำมรู้ ควำมสำมำรถ และทักษะในกำรบริหำรที่จะสำมำรถนำพำองค์กำรให้มีควำมเป็นน้ำหนึ่งใจเดี ยวกันที่ปฏิบัติงำนเพื่อ มุ่งไปสู่เป้ำหมำยที่ตั้งไว้ร่วมกันได้ ผู้บริหำรและผู้นำที่เป็นนักบริหำรที่ดีต้องสำมำรถสร้ำงอำนำจชักนำและมีอิทธิพล ได้เหนือผู้อื่น ตัวชี้วัดกำรนำของผู้บริหำรที่ดี คือ ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภำพของงำน (สุภัททำ ปิณฑะแพทย์ , 2550) นัก บริหำรที่ ดีต้ องรู้จั กเลือ กวิธีก ำรบริหำรที่เหมำะสม เพื่อ ที่จะให้งำนนั้นบรรลุจุ ดหมำยที่วำงไว้ซึ่ งกำร บริหำรงำนนั้นจะต้องใช้ศำสตร์และศิลป์ทุกประกำรเพรำะกำรดำเนินงำนต่ำงๆ มิใช่เพียงกิจกรรมที่ผู้บริหำรจะ กระท ำเพีย งล ำพังแต่ ยังมีผู้ ร่ วมงำนอี กหลำยคนที่มี ส่ว นทำให้ งำนนั้ น ประสบควำมสำเร็ จ ปัจ จั ยส ำคั ญต่ อกำร เสริมสร้ำงกำรเรียนรู้ในโรงเรียนคือระบบกำรบริหำรจัดกำรที่มีประสิทธิภำพ ดังนั้นผู้บริหำรสถำนศึกษำจึงต้องมี ควำมรั บ ผิ ด ชอบในกำรบริ ห ำรงำนด้ ำ นต่ ำ งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งซึ่ งสอดคล้ อ งกั บ พระรำชบั ญ ญั ติ ก ำรศึ ก ษำแห่ งชำติ

757


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

พุทธศักรำช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พุทธศักรำช 2545 และฉบับที่ 3 พุทธศักรำช 2553 มำตรำ 39 ได้ กำหนดให้มีกำรกระจำยอำนำจกำรบริหำรและกำรจัดกำรศึกษำทั้ง 4 ด้ำนคือ ด้ำนวิชำกำร งบประมำณ กำร บริหำรงำนบุคคลและกำรบริหำรงำนทั่วไป ไปยังคณะกรรมกำรและสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำและสถำนศึก ษำ โดยตรงเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของโรงเรียนโดยเป็นควำมสำมำรถของผู้บริหำรและครูในโรงเรียนที่ทำงำนร่วมกัน สำมำรถทำให้นักเรียนใฝ่รู้ รักกำรอ่ำน แสวงหำควำมรู้ด้วยตนเอง (สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ , 2553: 14) และนอกจำกนั้นกำรใช้ภำวะผู้นำของผู้บริหำรก็เป็นสิ่ งที่สำคัญในกำรที่จะขับเคลื่อนองค์กำรไปสู่ ควำมสำเร็จ ผู้บริหำรก็ควรจะเลือกใช้ภำวะผู้นำที่เหมำะสมและให้ผู้ใต้บังคับบัญชำได้มีส่วนร่วมในกำรบริหำรตำม หลักกำรของประชำธิปไตยให้มำกที่สุด ภำวะผู้ น ำแบบประชำธิ ป ไตย ถื อ เป็ น ภำวะผู้ น ำที่ ส มำชิ ก ของกลุ่ ม มี บ ทบำทกำรมี ส่ ว นร่ วม ใน กระบวนกำรตัดสินใจมำกขึ้นและมีประสิทธิผลช่วยเพิ่มผลผลิตมำกขึ้นได้รับกำรสนับสนุนจำกสมำชิกที่ดีขึ้นและช่วย เพิ่มขวัญกำลังใจให้กับสมำชิกมีลักษณะสำคัญคือสมำชิกของกลุ่มได้รับกำรกระตุ้นให้มีกำรแลกเปลี่ยนควำมคิดและ ควำมเห็ น สมำชิ ก มี ค วำมผู ก พั น กั บ กระบวนกำรด ำเนิ น งำน มี ก ำรกระตุ้ น และให้ ร ำงวั ล ส ำหรั บ ควำมคิ ด ริ เ ริ่ ม สร้ำงสรรค์ซึ่งลักษณะดังกล่ำวส่งผลต่อกำรได้รับข้อเสนอทำงเลือกเพื่อแก้ไขปัญหำใหม่ๆริเริ่มสร้ำงสรรค์สมำชิกมี ควำมรู้สึกผูกพันกับกำรบรรลุเป้ำหมำย (Cherry, 2013 อ้ำงถึงใน วิโรจน์ สำรรัตนะ, 2557: 31) และภำวะผู้นำแบบ ประชำธิปไตยใช้กำรตัดสินใจของกลุ่มหรือผู้ตำมให้มสี ่วนร่วมในกำรตัดสินใจ รับฟังควำมคิดเห็นส่วนรวม ทำงำนเป็น ทีม มีกำรสื่อสำรแบบสองทำงทำให้เพิ่มผลผลิตและควำมพึงพอใจในกำรทำงำน (Lewin, 1944:310-312 อ้ำงถึงใน วิโรจน์ สำรรัตนะ, 2557:9) กำรนำในโลกยุคใหม่จะต้องคำนึงถึ งผู้นำแบบหมู่ที่มีกำรกระจำยอำนำจกันอย่ำงเป็น ประชำธิปไตย ผู้นำที่สำมำรถสร้ำงทีมงำน จูงใจและทำงำนร่วมกับทีมงำนและประชำชนได้อย่ำงดี และจะต้องมี แนวคิดอุดมกำรณ์ นโยบำยและหลักกำรที่มีเหตุผล มีควำมสอดคล้องกันอย่ำงเป็นระบบชัดเจน (วิทยำกร เชียงกูล, 2551) สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำอุดรธำนีเขต 3 ดูแลรับผิดชอบโรงเรียนในอำเภอ 5 อำเภอ คือ อำเภอหนองหำน อำเภอพิบูลย์รั กษ์ อำเภอกู่แ ก้ว และอำเภอไชยวำน ในปี กำรศึก ษำ 2560 มีโ รงเรีย น ประถมศึกษำในควำมรับผิดชอบ 210 โรงเรียน และเป็นโรงเรียนประถมศึกษำขนำดเล็กที่มีนักเรีย นไม่เกิน 120 คน จำนวน 110 โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษำขนำดกลำงที่มีนักเรียนไม่เกิน 499 คน จำนวน 93 โรงเรียน และ โรงเรียนประถมศึกษำขนำดใหญ่ที่มีนักเรียนมำกกว่ำ 500 คน จำนวน 7 โรงเรียน (สำนักงำนคณะกรรมกำร กำรศึกษำขั้นพื้นฐำน, 2560: 31) ด้วยโรงเรียนแต่ละโรงเรียนมี บริบทและควำมพร้อมในด้ำนต่ำงๆแตกต่ำงกัน กำร ใช้ภำวะผู้นำของผู้บริหำรงำนจึงส่งผลต่อประสิทธิภำพและประสิทธิผลของสถำนศึกษำ กำรที่ผู้บริหำรขำดกำร บริหำรแบบมีส่วนร่วม หรือเลือกใช้ภำวะผู้นำที่ไม่เหมำะสมย่อมส่งผลกระทบต่อ ขวัญกำลังใจ ควำมสำมัคคีในกำร ทำงำนและกำรปฏิสัมพันธ์ภำยในองค์กำรซึ่งทำให้เกิดควำมขัดแย้งในองค์กำร และส่งผลต่อประสิทธิภำพกำรบริหำร จัดกำรในองค์กำรและหัวใจหลักของกำรจัดกำรศึกษำ นั่นก็คือผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักเรียน จำกสภำพกำรณ์ ที่ผ่ำนมำพบว่ำ ผู้บริหำรบำงโรงเรียนในสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ประถมศึกษำอุดรธำนีเขต 3 มีกำรบริหำรงำนอย่ำง ไม่เป็นประชำธิปไตย ทำให้เกิดควำมขัดแย้งในองค์กำรและส่งผลต่อคุณภำพกำรศึกษำและผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน ของนักเรียน คือ จำกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ประถมศึกษำอุดรธำนีเขต 3 ที่เข้ำรับกำรประเมิน ภำยนอกรอบสำมปี ก ำรศึ ก ษำ 2554-2558 และผลกำรพั ฒ นำในปี 2559 โรงเรี ย นที่ เ ข้ ำ รั บ กำรประเมิ น ระดับประถม-มัธยม จำนวน 210 โรงเรียน ไม่ผ่ำนกำรรับรองมำตรฐำน จำนวน 13 โรงเรียนปัญหำด้ำนกำรพัฒนำ ผู้เรียน พบว่ำ ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน NT ในด้ำนกำรคำนวณยังต่ำกว่ำทุกด้ำน และผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน O-Net

758


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ชั้นประถมศึกษำปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษำปีที่ 3 พบว่ำต่ำกว่ำเกณฑ์มำตรฐำนทุกวิชำ นอกจำกนั้นนักเรียนยังมี ทักษะกำรคิดวิเครำะห์อย่ำงมีวิจำรณญำณน้อย มีนิสัยรักกำรอ่ำนและแสวงหำควำมรู้น้อย รวมถึงมีพฤติกรรม เบี่ยงเบนและอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น (สำนักงำนเขตพื้นที่ประถมศึกษำอุดรธำนีเขต 3, 2560 : 9) จำกเหตุผลดังกล่ำว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษำหำแนวทำงในกำรพัฒนำภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตย ของโรงเรียนประถมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 โดยหวังว่ำผลกำรวิจัยจะ เป็นข้อมูลสำคัญในกำรพัฒนำภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยซึ่งจะส่งผลต่อกำรเพิ่มประสิทธิภำพกำรบริหำรจัดกำร และผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักเรียน วัตถุประสงของการวิจัย เพื่อ ศึก ษำระดั บภำวะผู้น ำแบบประชำธิ ปไตยของโรงเรี ยนประถมศึก ษำ สังกัดส ำนั กงำนเขตพื้น ที่ ประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกรที่ใช้ในกำรศึกษำครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำ ประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 ปีกำรศึกษำ 2560 จำนวน 1,644 คน กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน ผู้วิจัยได้กำหนดขนำดกลุ่มตัวอย่ำง ใช้ตำรำงสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่ำงจำนวน 311 คน แล้ว กำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่ำงตำมขนำดโรงเรียน ใช้กำรสุ่มกลุ่มตัวอย่ำงแบบแบ่งชั้น จำกนั้นใช้กำรสุ่มกลุ่ม ตัวอย่ำงอย่ำงง่ำย โดยกำรจับสลำก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถำม แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถำมข้อมูล เกี่ ยวกับ สถำนภำพทั่ ว ไป มี ลัก ษณะเป็น แบบตรวจสอบรำยกำร ตอนที่ 2 สอบถำมเกี่ ยวกับ ภำวะผู้น ำแบบ ประชำธิปไตย ประกอบด้วย 7 ด้ำน มีลักษณะเป็นแบบมำตรำส่วนประมำณค่ำ ควำมเชื่อมั่น 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินกำรเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำส่งแบบสอบถำมส่งไปทำงไปรษณีย์ จำนวน 311 ฉบับ ได้รบั แบบสอบถำมคืนมำทำงไปรษณีย์ จำนวน 311 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ กำรวิเครำะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติทำงสั งคมศำสตร์ วิเครำะห์หำร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมำตรฐำน ผลการวิจัย ผลกำรวิจัยระดับกำรใช้ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่ กำรศึกษำประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 ดังนี้

759


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตำรำงที่ 1 ค่ำเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน (S.D.) และกำรแปลผลระดับกำรใช้ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตย โดยภำพรวมและรำยด้ำน 1. (  1 ) 2. (  2 ) 3. (  3 ) 4. (  4 ) 5. (  5 ) 6. (  5 ) 7. (  5 )

ภาวะผู้นาแบบประชาธิปไตย ควำมไว้วำงใจผู้ใต้บังคับบัญชำ กำรรับฟังควำมคิดเห็น กำรใช้แรงจูงใจในกำรบริหำรงำน กำรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชำมีส่วนร่วม กำรคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ กำรเคำรพในสิทธิและเสรีภำพ กำรกระตุ้นให้เกิดควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์ โดยรวม (  0 )

 3.82 3.59 3.75 3.64 3.44 3.77 3.70

3.67

S.D. 0.88 0.89 1.02 1.11 0.91 0.87 0.87 0.94

แปลผล มำก มำก มำก มำก ปำนกลำง มำก มำก มาก

จำกตำรำงที่ 2 พบว่ำ กำรใช้ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษำ โดยรวมอยู่ใน ระดับมำก (  = 3.67 ) เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำ มี 6 ด้ำนอยู่ในระดับมำก คือ ด้ำนควำมไว้วำงใจ ผู้ใต้บังคับบัญชำ (  = 3.82 ) กำรเคำรพในสิทธิและเสรีภำพ (  = 3.77 ) กำรใช้แรงจูงใจในกำรบริหำรงำน (  = 3.75 ) กำรกระตุ้นให้เกิดควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์ (  = 3.70 ) กำรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชำมีส่วนร่วม (  = 3.64 ) และกำรรับฟังควำมคิดเห็น (  = 3.59 ) ตำมลำดับ และด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยปำนกลำง คือ กำรคอยให้ คำแนะนำช่วยเหลือ (  = 3.44 ) สรุปผลการวิจัย ผลกำรวิจัยสรุปสำระสำคัญตำมวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1. กำรใช้ ภ ำวะผู้น ำแบบประชำธิ ป ไตยของโรงเรีย นประถมศึ ก ษำ โดยรวมอยู่ใ นระดั บมำก เมื่ อ พิจำรณำรำยด้ำน มี 6 ด้ำน อยู่ในระดับมำก ส่วนอีก 1 ด้ำน อยู่ในระดับปำนกลำง วิจารณ์ผลการวิจัย จำกกำรศึกษำภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำ ประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 อภิปรำยตำมวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. กำรใช้ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษำ สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำ ประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมำก เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำน พบว่ำ มี 6 ด้ำนอยู่ในระดับมำก คือ ด้ำนควำมไว้วำงใจผู้ใต้บังคับบัญชำ กำรเคำรพในสิทธิและเสรีภำพ กำรใช้แรงจูงใจในกำรบริหำรงำน กำรกระตุ้นให้ เกิดควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์ กำรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชำมีส่วนร่วม และกำรรับฟังควำมคิดเห็น ตำมลำดับ และมี 1 ด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยปำนกลำง คือ กำรคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ ทั้งนี้อำจเป็นเพรำะผู้บริหำรในโรงเรียน สังกัด สำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำประถมศึกษำอุดรธำนี เขต 3 ยังมีกำรให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชำค่อนข้ำง น้อยจึงทำให้องค์กำรไม่ประสบควำมสำเร็จเท่ำที่ควร สอดคล้องกับ (Klinker, 2014) ที่ศึกษำกำรใช้ภำวะผู้นำแบบ ประชำธิปไตยเป็นแนวทำงในกำรปฏิบัติงำนพบว่ำ กำรให้คำปรึกษำ แนะนำ ช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชำ จะช่วยให้ เกิดควำมสำเร็จในกำรทำงำน สำมำรถเอำชนะอุปสรรคในกำรทำงำนท่ำมกลำงควำมท้ำทำยและนำพำองค์กำรไปสู่

760


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ควำมสำเร็จ ดังนั้นภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยจึงถือว่ำเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมโรงเรียนและเป็นตัวช่วยไม่ให้ เกิดล้มเหลวในองค์กำร ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีกำรศึกษำควรศึกษำในเขตพืน้ ที่อื่นด้วย เพื่อเป็นกำรเพิ่มขนำดของประชำกร และควรศึกษำ ภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยกับควำมผูกพันต่อองค์กำร ควำมพึงพอใจในกำรปฏิบัติงำน ควำมไว้วำงใจและควำม ยุติธรรมในองค์กำร 2. ควรหำแนวทำงในกำรพัฒนำภำวะผู้นำแบบประชำธิปไตยต่อไป กิตติกรรมประกาศ วิทยำนิพนธ์นี้ได้รับทุนสนับสนุนจำกมหำวิทยำลัยรำชภัฏอุดรธำนี ปีกำรศึกษำ 2560 เอกสารอ้างอิง กรมสำมัญ. (2536). คู่มือสร้างเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมฯ. กรมวิชำกำร. (2548). นักวางแผนวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภำลำดพร้ำว. ______. (2538). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ. กรุงเทพฯ: กรมฯ. กรมสำมัญศึกษำ. (2540). แนวทางการวิจัยในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กองพัสดุและอุปกรณ์กำรศึกษำ. กนกวรรณ โรจนอุทัย. (2550). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ปริญญำครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยสงขลำนครินทร์) กระทรวงศึกษำธิกำร. (2550). แนวทางการกระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ กระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์กำรเกษตร แห่งประเทศไทย. Klinker (2014). Decision Making for Democratic Leadership in a Guided Internship : Department of Educational Administrator and foundation college of Education Illinois State University. Terzi & Derin (2016). Ralation between Democratic Leadership and Organization Cynicism : Department of Educational Sciences, Necatibey Faculty of Education, Balikesir University.

761


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

EDUO-16 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัด สกลนคร วิทยำนิพนธ์ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยนครพนม พูลสวัสดิ์ แสงรุ่ง1 และ ผศ.ดร.สุมำลี ศรีพุทธรินทร์2 1

นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ กำรศึก ษำครั้ งนี้ มีวั ตถุ ประสงค์ เพื่ อศึ กษำและเปรีย บเทีย บกำรมีส่ว นร่ วมของชุ มชนในกำรบริ หำร กำรศึ ก ษำของโรงเรีย นพระปริ ยัติ ธ รรม แผนกสำมั ญ ศึก ษำจั งหวัด สกลนคร จ ำแนกตำมสถำนภำพ และวุ ฒิ กำรศึกษำ กลุ่มตัวอย่ำงได้แก่ผู้บริหำรสถำนศึกษำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำนและครูผู้สอนในโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร จำนวน 132 รูป/คน กำหนดขนำดของกลุ่มตัวอย่ำงโดยวิ ธีกำร สุ่มแบบแบ่งชั้นใช้เกณฑ์ร้อยละของจำนวนประชำกร เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถำม แบบมำตรำ ส่วนประมำณค่ำ 5 ระดับ แบบสอบถำมมีค่ำควำมเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ำกับ0.96 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ำร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำนและกำรวิเครำะห์ควำมแปรปรวนทำงเดียว ผลกำรศึกษำพบว่ำ (1) กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับปำนกลำง (2) ผลกำรเปรียบเทียบกำรมีส่วนร่วมของชุมชน ในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร โดยรวม แตกต่ำงกัน อย่ำง มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ทั้งสถำนภำพและวุฒิกำรศึกษำ คาสาคัญ : กำรมีส่วนร่วมของชุมชน Abstract The community participation in educational administration of general Buddhist scripture schools Sakon Nakhon Province. Thesis of Master of Education Program in Administration, Nakhon Phanom University, The objective of this research were To study and compare the community participation in educational administration of general Buddhist scripture schools Sakonnakhon Province classified by Status and Educational background The sample were the school administrators. Basic Education Commissioner and Teachers in Buddhist Scripture School Department of General Education, Sakon Nakhon Province. Were 132 people who selected by using stratified random sampling By Percentage of population. The instrument used was a fiverating scale questionnaire with the reliability of 0.96. The statistics employed in data analysis

762


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

were percentage, mean, standard deviation and F - test (One-way ANOVA) The results were found that (1) The community participation in educational administration of general Buddhist scripture schools Sakon Nakhon Province were at the moderate level In comparison the community participation in educational administration of general Buddhist scripture schools Sakon Nakhon Province classified by Status and Educational background A whole and the different is statistically significant at the .01 Keywords : (1) The community participation บทนา กำรศึกษำเป็นเรื่องสำคัญ อย่ำงยิ่งส่งผลต่อควำมมั่นคงและควำมอยู่รอดของประเทศชำติไม่ว่ำจะเป็น กำรศึกษำของประชำชนทั่วไปหรือกำรศึกษำของพระภิกษุสงฆ์และสำมเณรซึ่งรัฐธรรมนูญ แห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2550 ได้ให้ควำมสำคัญแก่กำรศึกษำของประชำชนเป็นอย่ำงยิ่ง ดังบัญญัติไว้ในมำตรำ 49 ไว้ว่ำ “บุคคล ย่อมมีสิทธิเสมอกันในกำรรับกำรศึกษำไม่น้อยกว่ำ 12 ปี ที่รัฐ จะต้องจัดให้อย่ำงทั่วถึง และมีคุณภำพ โดยไม่เก็บ ค่ำใช้จ่ำย” และมำตรำ 80 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินกำรด้ำนกำรศึกษำไว้ว่ำ (1) คุ้มครองและพัฒนำเด็กและเยำวชน สนับสนุนกำรอบรมเลี้ยงดูและให้กำรศึกษำระดับปฐมวัยส่งเสริมควำมเสมอภำคของหญิงและชำย (2) พัฒนำ คุณภำพและมำตรฐำนกำรจัดกำรศึกษำในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับควำมเปลี่ยนแปลงทำงเศรษฐกิจ และสังคม จัดให้มีแผนกำรศึกษำแห่งชำติ กฎหมำยเพื่อพัฒนำกำรศึกษำของชำติ จัดให้มีกำรพัฒนำคุณภำพครูและ บุคลำกรทำงกำรศึกษำให้ก้ำวหน้ำทันกำรเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกรวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของควำมเป็น ไทย มีระเบียบวินัยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในกำรปกครองระบอบประชำธิปไตยอันมีพระมหำกษัตริย์ ทรงเป็นประมุข..” นอกจำกนี้ยังให้ควำมสำคัญต่อ ทุกภำคส่วน ซึ่งกำรจัดกำรศึกษำเป็นหน้ำที่ของทุกภำคส่วน โดยเฉพำะชุมชนที่ต้องเข้ำมำมีส่วนร่วม ดังปรำกฏในมำตรำ 80 อีกเช่นกัน นอกจำกนี้พระรำชบัญญัติกำรศึกษำ แห่งชำติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้ทุกภำคส่วนได้เข้ำมำมีส่วนร่วมในกำร จัดกำรศึกษำ ดังกำหนดไว้ในมำตรำ 8 มำตรำ 9 และมำตรำ 29 โดยสรุปใจควำมว่ำ “กำรจัดกำรศึกษำให้ยึดหลัก ดังนี้ เป็ น กำรศึก ษำตลอดชี วิ ต ส ำหรั บประชำชนให้ สังคมมี ส่ วนร่ ว มในกำรจัด กำรศึ กษำ กำรพัฒ นำสำระและ กระบวนกำรเรียนรู้ให้ เป็นไปอย่ำงต่อเนื่อง กำรจัดระบบโครงสร้ำงและกระบวนกำรจัดกำรศึกษำให้ยึดหลักกำ ร กระจำย อำนำจไปสู่เขตพื้นที่กำรศึกษำสถำนศึกษำและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดมทรัพยำกรจำกแหล่งต่ำงๆ มำใช้ในกำรจัดกำรศึกษำ กำรมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ชุมชน องค์กำร ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชำชีพ สถำบันศำสนำ สถำนประกอบกำรและสถำบันสังคมอื่น มีกำรแสวงหำควำมรู้ ข้อมูลข่ำวสำรและรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญำ วิทยำกำร ต่ำงๆ เพื่อพัฒนำชุมชนให้สอดคล้องกับสภำพปัญหำและควำม ต้องกำร รวมทั้งหำวิธีกำรสนับสนุนให้มีกำรแลกเปลี่ยนประสบกำรณ์กำรพัฒนำระหว่ำงชุมชน” หมำยควำมว่ำ ทุก ภำคส่วนของสังคมจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในกำรจัดกำรศึกษำโดยเฉพำะชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่จะต้องมีส่วน ร่ ว มทำงกำรศึ ก ษำ ท ำให้ ไ ด้ ท รำบว่ ำ ชุ ม ชนเป็ น ส่ ว นส ำคั ญ ยิ่ งที่ ต้ อ งเข้ ำ มำร่ ว มในกำรจั ด กำรศึ ก ษำ(ส ำนั ก งำน คณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ. 2550 : 2,5-7) โรงเรียนพระปริยัติธรรมในฐำนะเป็นกำรจัดกำรศึกษำในรูปแบบหนึ่งที่ดำเนินกำรโดย สถำบันทำง ศำสนำ ตำมที่รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทยและพระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ ได้กำหนดไว้ ฉะนั้นจึง

763


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำเป็นต้องจัดกำรศึกษำตำมที่มีกำหนดไว้ในพระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ ซึ่งมีหลักกำรจัดกำรศึกษำไว้ 3 ประกำร คือ เป็นกำรศึกษำตลอดชีวิตให้สังคมมีส่วนร่วมในกำรจัด กำรศึกษำพัฒนำสำระและกระบวนกำรเรียนรู้ อย่ำงต่อเนื่อง ในกำรจัดระบบโครงสร้ำงและกระบวนกำรจัดกำรศึกษำ ซึ่งอำศัยหลักกำร 6 หลักกำร (ในมำตรำ 9 แห่งพระรำชบัญญัติกำรศึกษำ แห่งชำติ) โดยเฉพำะหลักกำรให้สังคมมีส่วนร่วมในกำรจัดกำรศึกษำ เมื่อเทียบสภำพ กำรมีส่วนร่วม ของชุมชนระหว่ำงสถำนศึกษำของรัฐหรือเอกชนกับสถำนศึกษำที่เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก สำมัญศึกษำแล้ว พบว่ำ สภำพกำรมีส่วนร่วมของสถำนศึกษำของรัฐหรือเอกชนมีมำกกว่ำของ สถำนศึกษำที่เป็น โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ (ธีระ รุญเจริญ, 2550 : 58) ดังนั้น ผู้ศึกษำจึงสนใจศึกษำกำรมีส่วนร่วม ของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำ เพื่อนำไปสร้ำง ควำมสัมพันธ์และควำมร่วมมือกันระหว่ำงสถำนศึกษำกับชุมชนใน กำรบริหำรสถำนศึกษำ และ พัฒนำกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสำมัญศึกษำ ในจังหวัดสกลนค ร ต่อไป วัตถุประสงค์ในกำรศึกษำครั้งนี้ เพื่อศึกษำและเปรียบเทียบระดับกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำร กำรศึ ก ษำของโรงเรีย นพระปริ ยัติ ธ รรม แผนกสำมั ญ ศึก ษำจั งหวัด สกลนคร จ ำแนกตำม สถำนภำพ และวุ ฒิ กำรศึกษำ กรอบแนวคิดในกำรศึกษำ ผู้ศึกษำได้นำ แนวคิดกำรบริหำรแบบมีส่ว นร่วม (สุมำลี ศรีพุทธรินทร์. 2554: 169 ; อ้ำงอิงมำจำก อรพินท์ สพโชคชัย : 2553 ) มำเป็นกรอบ แนวคิดในกำรวิจัย มี 5 ด้ำน (1) กำรมี ส่วนร่วมในกำรรับรู้ (2) กำรมีส่วนร่วมในกำรเลือกและเสนอแนวทำง (3) กำรมีส่วนร่วมในกระบวนกำรตัดสินใจ (4) กำรมีส่วนร่วมในกำรประเมินและติดตำมผล (5)กำรมีส่วนร่วมในกำรได้รับผลประโยชน์ วิธีดาเนินการวิจัย กำรศึกษำกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญ ศึกษำ จังหวัดสกลนคร ครั้งนี้ ผู้ศึกษำดำเนินกำรตำมลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง (2) เครื่องมือที่ใช้ในกำรศึกษำ (3) กำรเก็บรวมรวบข้อมูล (4) กำรวิเครำะห์ข้อมูล (5) สถิติที่ใช้ในกำรวิเครำะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชำกรที่ใช้ในกำรศึกษำครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ บริหำร คณะกรรมกำรสถำนศึกษำและครูผู้สอน ในโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร จำนวนทั้งสิ้น 159 คน จำกโรงเรียนทั้งหมด 8 โรงเรียน จำแนก เป็น ผู้บริหำรสถำนศึกษำ จำนวน 24 รูป/คน คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน จำนวน 70 รูปคน และ ครูผู้สอน 65 รูป/คน กลุ่มตัวอย่ำงที่ใช้ในกำรศึกษำครั้งนี้กำหนดขนำดโดยวิธีกำรสุ่มแบบแบ่งชั้น ได้แก่ ผู้บริหำรสถำนศึกษำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำและครูผู้สอน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร โดยใช้เกณฑ์ ร้อ ยละของจำนวนประชำกร จ ำแนกเป็ น ผู้บ ริห ำรสถำนศึ กษำ ใช้ เกณฑ์ ร้อ ยละ 100 จำนวน 24 รู ป/คน คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน ใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 56 รูปคน และครูผู้สอน ใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 52 รูป/คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 132 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถำม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถำม มีลักษณะตรวจสอบ (Checklist ) ประกอบด้วย (1) สถำนภำพผู้ตอบสอบแบบสอบถำม (2) วุฒิกำรศึกษำ

764


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตอนที่ 2 แบบสอบถำมระดับกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดสกลนคร มำตรำส่วนประมำณค่ำ (Rating scale) 5 ระดับของ ลิเคอร์ท (Likert’Rating Scale) มีค่ำอำนำจจำแนกเท่ำกับ 0.50 และมีค่ำควำมเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ำกับ 0.96 การเก็บรวบรวมข้อมูล ขอหนังสือจำกคณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยนครพนม ถึงผู้บริหำรโรงเรียนพระปริยัติ ธรรม แผนกสำมัญ ศึกษำจังหวัดสกลนคร เพื่ อขอควำมอนุเครำะห์ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูล (2) นำหนังสือจำกคณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยนครพนม พร้อมด้วยแบบสอบถำมส่งถึงสถำนศึกษำ ที่มีกลุ่มตัวอย่ำง เพื่อขอควำมร่วมมือและตอบ แบบสอบถำม โดยผู้ศึกษำส่งด้วยตนเองและขอรับแบบสอบถำมคืนใน 30วัน (3) เก็บรวมรวมแบบสอบถำม โดยผู้ ศึกษำขอรับแบบสอบถำมคืนด้วยตนเองได้รับแบบสอบถำมคืนมำทั้งหมด ร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล กำรจัดกระทำข้อมูล (1) นำแบบสอบถำมที่เก็บรวมรวมได้ทั้งหมดมำตรวจสอบควำมสมบูรณ์(2) นำ แบบสอบถำมที่เรียบร้อยสมบูรณ์มำลงรหัสแล้วบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ กำรวิเครำะห์ข้อมูลวิเครำะห์ข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์โดยใช้โปรมแกรมสำเร็จรูปตำมลำดับดังนี้ (1) กำรวิเครำะห์ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถำม โดยแจกแจง ควำมถี่และหำร้อยละ (2) กำรวิเครำะห์สภำพกำรบริหำรงำนบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญ ศึกษำ จังหวัดนครพนม โดยภำพรวมรำยด้ำนและรำยข้อ กำรวิเครำะห์ใช้ค่ำเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบน มำตรฐำน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติที่ใช้ในกำรหำคุณภำพของเครื่องมือ ได้แก่ (1) ตรวจสอบควำมสอดคล้องของแบบสอบถำมกับ เนื้อหำ โดยใช้ IC (Index of Item Congruence) (บุญชม ศรีสะอำด. 2551 : 79) (2) ตรวจสอบควำมเชื่อมั่น โดยหำค่ำสัมประสิทธิ์แอลฟำ (Alpha Coefficient) ตำมวิธีของ ครอนบำค (Cronbach) (บุญชม ศรีสะอำด. 2551 : 88) (3) หำค่ำอำนำจจำแนก โดยกำรหำค่ำสหสัมพันธ์อย่ำงง่ำย (Simple Correlation) ตำมวิธีของเพียรสัน (Pearson Simple Item Total Correlation) (บุญชม ศรีสะอำด. 2551 : 85) 2. สถิติพื้นฐำน ได้แก่ (1) ร้อยละ (Percentage) (2)ค่ำเฉลี่ย (Mean) (3)ส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน (Standard Deviation) 3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐำน ใช้ F-test หำกพบควำมแตกต่ำงของค่ำเฉลี่ยอย่ำงมีนัยสำคั ญทำงสถิตจะทำกำรทดสอบควำม แตกต่ำงของค่ำเฉลี่ยเป็นรำยคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’ ผลการวิจัย จำกกำรวิจัยเรื่องกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก สำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร ผู้วิจัยได้สรุปผลดังนี้ 1. ระดับควำมคิดเห็นของผู้บริหำรสถำนศึกษำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน และครูผู้สอน เกี่ยวกับกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัด สกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับปำนกลำง

765


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

ตำรำงที่ 1 ค่ำเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมำตรฐำน กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร โดยภำพรวมและรำยด้ำน ด้านที่ 1 2 3 4 5

ระดับการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียน พระปริยัตธิ รรม ฯ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรรับรู้ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรเลือกและเสนอแนวทำง ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกระบวนกำรตัดสินใจ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรประเมินและติดตำมผล ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรได้รับผลประโยชน์ ภำพรวม

X

S.D.

แปลผล

3.69 3.70 3.72 3.73 3.69 3.71

0.51 0.50 0.48 0.47 0.50 0.49

ปำนกลำง ปำนกลำง ปำนกลำง ปำนกลำง ปำนกลำง ปำนกลำง

จำกตำรำงที่ 1 พบว่ำ กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร จำแนกตำมสถำนภำพและวุฒิกำรศึกษำ โดยรวม อยู่ในระดับปำนกลำง เมื่อ พิจำรณำเป็นรำยด้ำนพบว่ำ อยู่ในระดับ ปำนกลำง ทุกด้ำน เรียงลำดับจำกมำกไปหำน้อยได้แก่ ด้ำนกำรมีส่วนร่วม ในกำรประเมินและติดตำมผล ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกระบวนกำรตัดสินใจ 2. ผลกำรเปรียบเทียบควำมคิดเห็นของผู้บริหำรสถำนศึกษำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน และครูผู้สอนต่อกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดสกลนคร ตำรำงที่ 2 ผลกำรเปรียบเทียบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก สำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร จำแนกตำมสถำนภำพ กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำร บริหำรกำรศึกษำของโรงเรียน พระปริยัติธรรม ฯ

แหล่งควำมแปรปรวน

ระหว่ำงกลุ่ม ภำยในกลุ่ม รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรเลือก ภำยในกลุ่ม และเสนอแนวทำง รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมใน ภำยในกลุ่ม กระบวนกำรตัดสินใจ รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรประเมิน ภำยในกลุ่ม และติดตำมผล รวม ด้ำนกำรมีส่วนร่วม ในกำรรับรู้

SS

df

MS

F

p – value

28.51 5.54 34.046 27.56 5.375 32.946 25.14 5.319 30.462 23.19 6.017 29.209

2 129 131 2 129 131 2 129 131 2 129 131

14.26 0.43

332.26**

0.000

13.786 0.42

330.85**

0.000

12.571 0.41

304.861**

0.000

11.596 0.47

248.594**

0.000

766


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำร บริหำรกำรศึกษำของโรงเรียน พระปริยัติธรรม ฯ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรได้รับ ผลประโยชน์ ภำพรวม

แหล่งควำมแปรปรวน ระหว่ำงกลุ่ม ภำยในกลุ่ม รวม ระหว่ำงกลุ่ม ภำยในกลุ่ม รวม

** p  .01 ** มีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01

SRRU NCR2018

SS

df

MS

F

p – value

28.51 5.535 34.046 26.54 5.099 31.642

2 129 131 2 129 131

14.256 0.43

332.271**

0.000

13.272 0.40

335.74**

0.000

จำกตำรำงที่ 2 พบว่ำ ผลกำรเปรียบเทียบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียน พระปริ ยั ติ ธ รรม แผนกสำมั ญ ศึ ก ษำจั งหวั ด สกลนคร จ ำแนกตำมสถำนภำพ โดยรวมและรำยด้ ำ นของผู้ ต อบ แบบสอบถำมที่ต่ำงกันโดยรวม พบว่ำ แตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจำรณำร้อยละของกำรมีส่วนร่วม พบว่ำผู้บริหำรสถำนศึกษำ และครูผู้สอนในสถำนศึกษำมีควำม คิดเห็นต่อกำรมีส่วนร่วมมำกกว่ำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขึ้นพื้นฐำน ตำรำงที่ 3 ผลกำรเปรียบเทียบควำมคิดเห็นต่อกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดสกลนคร จำแนกตำมวุฒิกำรศึกษำ กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำร บริหำรกำรศึกษำของโรงเรียน พระปริยัติธรรม ฯ

แหล่งควำมแปรปรวน

ระหว่ำงกลุ่ม ภำยในกลุ่ม รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรเลือก ภำยในกลุ่ม และเสนอแนวทำง รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกระบวนกำร ภำยในกลุ่ม ตัดสินใจ รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรประเมิน ภำยในกลุ่ม และติดตำมผล รวม ระหว่ำงกลุ่ม ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรได้รับ ภำยในกลุ่ม ผลประโยชน์ รวม ระหว่ำงกลุ่ม ภำพรวม ภำยในกลุ่ม รวม ด้ำนกำรมีส่วนร่วม ในกำรรับรู้

SS

df

MS

F

p – value

10.36 23.69 34.046 10.782 22.164 32.946 11.186 19.276 30.462 11.536 17.673 29.209 10.357 23.689 34.046 10.837 20.805 31.642

2 129 131 2 129 131 2 129 131 2 129 131 2 129 131 2 129 131

5.18 0.184

28.20**

0.000

5.391 0.172

31.375**

0.000

5.593 0.149

37.429**

0.000

5.768 0.137

42.103**

0.000

5.179 0.184

28.201**

0.000

5.419 0.161

33.598**

0.000

767


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

จำกตำรำงที่ 3 ผลกำรเปรียบเทียบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระ ปริ ยั ติ ธ รรม แผนกสำมั ญ ศึ ก ษำจั ง หวั ด สกลนคร จ ำแนกตำมวุ ฒิ ก ำรศึ ก ษำ โดยรวมและรำยด้ ำ นของผู้ ต อบ แบบสอบถำมที่ต่ำงกันโดยรวม พบว่ำ แตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิ ติที่ระดับ .01 เมื่อพิจำรณำร้อยละของ กำรมี ส่ว นร่ วม พบว่ำ ผู้ ที่มี วุฒิ ก ำรศึก ษำต่ำกว่ ำ ปริ ญญำตรีมี ค วำมคิ ดเห็น ต่อ กำรมีส่ วนร่ว มน้ อ ยกว่ำ ผู้ ที่มี วุ ฒิ กำรศึกษำในระดับปริญญำตรีและสูงกว่ำปริญญำตรี วิจารณ์ผลการวิจัย ผลกำรวิจัยกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสำมัญ ศึกษำ จังหวัดสกลนคร ผู้ศึกษำได้อภิปรำยผลไว้ดังนี้ 1. กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดสกลนคร จำแนกตำมสถำนและวุฒิกำรศึกษำ โดยรวมพบว่ำ ผู้บริหำรสถำนศึกษำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำ ขั้นพื้นฐำนและครูผู้สอน มีควำมคิดเห็นต่อระดับกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำ อยู่ในระดับปำน กลำง เมื่อพิจำรณำรำยด้ำนพบว่ำอยู่ในระดับ ปำนกลำง ทั้ง 5 ด้ำน โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำร รับรู้ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรเลือกและเสนอแนวทำง ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกระบวนกำรตัดสินใจ ด้ำนกำรมีส่วน ร่วมในกำรประเมินและติดตำมผล และด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรได้รับผลประโยชน์ ทั้งนี้อำจเป็นเพรำะว่ำ ทั้งนี้อำจ เป็นเพรำะว่ำ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำนั้นเป็นสถำนศึกษำที่จัดขึ้นภำยในวัด ซึ่งเป็นสถำนที่รวม จิตใจของชำวบ้ำนในชุมชนอยู่แล้ว จึงทำให้กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรจัดกิจกรรมต่ำงๆในสถำนศึกษำได้รับ ควำมร่วมมือจำกชุมชนเป็นอย่ำงดีมำโดยตลอดรวมทั้งกิจกรรมทำงคณะสงฆ์และกิจกรรมของสถำนศึกษำซึ่งมี ผู้บริหำรสถำนศึกษำและครูผู้สอนส่วนหนึ่งเป็นพระภิกษุหรือเจ้ำ อำวำสวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผล กำรศึกษำกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำอยู่ใน ระดับปำนกลำง ทุกด้ำน ซึ่งสอดคล้องกับงำนวิจัยของ พระธีรพงค์ ธีรปญฺโญ (2553 :93) ได้ศึกษำงำนวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมของชุมชนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดเชียงรำย ผลกำรวิจัยพบว่ำ โดย ภำพรวมแล้ว อยู่ในระดับปำนกลำง ซึ่งเมื่อพิจำรณำรำยด้ำนคือ ด้ำนกำรวำงแผน ด้ำนกำรตัดสินใจ ด้ำนกำร ดำเนินงำน ด้ำนกำรประสำนงำน ด้ำนกำรจัดสรรทรัพยำกร และด้ำนกำรประเมินผลและติ ดตำมผล มีอยู่ในระดับ ปำนกลำง งดเว้นด้ำนกำรได้รับประโยชน์ ซึ่งมีผลอยู่ในระดับมำก และในส่วนของกระบวนกำรมีส่วนร่วมควร ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ กำรมีส่วนร่วมของชุมชนด้ำนกำรวำงแผนและตัดสินใจ กำรมีส่วนร่วมของชุมชน ด้ำนกำรดำเนินงำน กำรมีส่วนร่วมของชุมชนด้ำนกำรประชำสัมพันธ์ และกำรมีส่วนร่วมของชุมชนด้ำนกำรประเมิน และติดตำมผล ซึ่งสอดคล้องกับงำนวิจัยของ รำวะดี สิงห์ด้วง (2555 : 98) ได้ศึกษำวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในกำรจัดกำรศึกษำโรงเรียนมัธยมศึกษำในสหวิทยำเขตบึงกำฬ จังหวัดบึงกำฬ ผลกำรวิจัยพบว่ำ กำรมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในกำรจัดกำรศึกษำโรงเรียนมัธยมศึกษำในสหวิทยำเขตบึงกำฬ จังหวัดบึงกำฬ โดยรวมและ รำยด้ำนอยู่ในระดับปำนกลำง สอดคล้องกับแนวคิดของ สมคิด พรมจุ้ย และคณะ (2550 : 14) กล่ำวถึงขั้นตอน ของกำรมีส่วนร่วมว่ำ ขั้นตอนของ กำรมีส่วนร่วมในกำรดำเนินโครงกำรหรือกิจกรรมใดๆ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) กำรมีส่วนร่วมในกำรวำงแผนกำรดำเนินงำนโครงกำรหรือกำรจัดกิจกรรม (2) กำรมีส่วนร่วมในกำรสนับสนุน ด้ำนทรัพยำกรหรือปัจจัยดำเนินงำน (3) กำรมีส่วนร่วมในกำรปฏิบัติกำร (4) กำรมีส่วนร่วมในกำรติดตำมและ ประเมินผลกำรดำ เนินงำน (5) กำรมีส่วนร่วมในกำรรับประโยชน์หรือผลผลิตที่เกิดจำกกำรดำเนินกำรร่วมกัน ซึ่ง สอดคล้องกับงำนวิจัยของ ณพัชฌำ ตะนัง (2555 : 85) ได้ศึกษำวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมของครูในกำรบริหำรงำน

768


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

วิชำกำร โรงเรียนมัธยมศึกษำเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมั ธยมศึกษำเขต 22 ผลกำรวิจัย โดยรวม พบว่ำอยู่ในระดับกลำง สอดคล้องกับงำนวิจัยของ กฤษฎำกรณ์ ยุงทอง (2555 : 76) ได้ศึกษำวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมของประชำชนในกำร จัดทำแผนพัฒนำเทศบำลตำบลนำงัว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลกำรวิจัย พบว่ำ ปัจจัยที่มีผลต่อกำรมีส่วนร่วมของประชำชนในกำรจัดทำแผนพัฒนำเทศบำลตำบลนำงัว อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นกำรศึกษำ กำรมีส่วนร่วมของประชำชนในกำรพัฒนำท้องถิ่น เทศบำลตำบล นำงัว อยู่ภำพรวมอยู่ในระดับปำนกลำง และเมื่อพิจำรณำในองค์ประกอบแต่ละด้ำน พบว่ำประชำชนมีส่วนร่วมมำ ทีส่ ุด คือ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรตัดสินใจ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมรับ ผลประโยชน์ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรปฏิบัติกำร และด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรประเมินผล ซึ่งสอดคลองกับงำนวิจัยของ วรำภรณ์ เศษฤทธิ์ (2555 : บทคัดย่อ) ได้ ศึกษำวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกำรบริ หำรจัดกำรศูนย์พัฒนำเด็กเล็กในเขตเทศบำลตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดำหำร จังหวัดมุกดำหำร ผลกำรศึกษำโดยรวมพบว่ำ อยู่ในระดับปำนกลำง เมื่อพิจำรณำเป็นรำย ด้ำนพบว่ำ อยู่ในระดับปำนกลำงทุกด้ำนด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ด้ำนบุคลำกรและกำรบริหำรจัดกำร ด้ำนวิชำกำร และกิจกรรมตำมหลักสูตร ด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ด้ำนอำคำรสถำนที่สิ่งแวดล้อมและควำมปลอดภัย ผลกำรเปรียบเทียบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก สำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร จำแนกตำมสถำนภำพ โดยรวมแตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ อำจเนื่องมำจำก ผู้บริหำรสถำนศึกษำและครูผู้สอนมีส่วนร่วมในกำรจัดกำรศึกษำมำกกว่ำคณะกรรมกำรสถำนศึกษำ ขึ้นพื้นฐำน ซึ่งผู้บริหำรสถำนศึกษำและครูผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบำทโดยตรงในกำรบริหำรกำรศึกษำของสถำนศึกษำ และผู้บริหำรยังเป็นบุคลสำคัญในกำรกระตุน้ ส่งเสริมให้กำรบริหำรงำนในสถำนศึกษำให้ประสบควำมสำเร็จและเป็น ผู้นำในกำรประสำนควำมร่วมมือกับชุมชนในกำรจัดกำรศึกษำ ครูผู้สอน เป็นผู้ที่มีหน้ำที่หลักในกำรปฏิบัติงำน เกี่ยวกับกำรศึกษำส่วนใหญ่มักจะมุ่งเป้ำไปที่กำรพัฒนำงำนวิชำกำรของสถำนศึกษำ ซึ่งแตกต่ำงจำก คณะกรรมกำร สถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน ซึ่งเป็นบุคคลภำยนอกสถำนศึกษำที่เป็นตัวแทนจำกชุมชน โดยมีส่วนร่วมในกำรดำเนินงำน ของโรงเรียนในบำงกิจกรรมเท่ำนั้น จึงมีควำมคิดต่อกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียน ต่ำงจำก ผู้บริหำรสถำนศึกษำและครูผู้สอน สอดคล้องกับงำนวิจั ยของ รณริฏฐ์ ศรีสวัสดิ์ (2555 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษำวิจัย เรื่อง กำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรสถำนศึกษำของคณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน โดยรวมแตกต่ำงกันอย่ำงมี นัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำนพบว่ำแตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ทุก ด้ำน และสอดคล้อ งกับ งำนวิจั ยของ พระไพศำล ปญฺญำวุฑฺ โฒ (หมวดแดง) (2555 : 133) ได้ ศึกษำวิ จัยเรื่อ ง ประสิทธิภำพกำรจัดกำรกำรเรียนกำรสอนพระปริยติธรรมแผนกธรรม ของวัดในอำเภอโพธำรำม จังหวัดรำชบุรี ผล กำรเปรียบเทียบควำมคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อประสิทธิภำพกำรจัดกำรกำรเรียนกำรสอน พระปริยัติธรรมแผนกธรรม ของวัดในอำเภอโพธำรำม จังหวัดรำชบุรี โดยจำแนกตำมสถำนภำพ ส่วนบุคคล พบว่ำ สถำนภำพส่วนบุคคลด้ำน อำยุ พรรษำ วุฒิกำรศึกษำนักธรรม และวุฒิกำรศึกษำ เปรียญธรรม ไม่มีผลทำให้ควำมคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อ ประสิทธิภำพกำรจัดกำรกำรเรียนกำรสอน พระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของวัดในอำเภอโพธำรำม จังหวัดรำชบุรี เกิดควำมแตกต่ำงกันได้ จึงปฏิเสธสมมติฐำนกำรวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนวุฒิกำรศึกษำสำมัญ พบว่ำ แตกต่ำงกัน อย่ำงมี นัยสำคัญทำง สถิติที่ระดับ .05 ผลกำรเปรียบเทียบกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร จำแนกตำมวุฒิกำรศึกษำ โดยรวมแตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้อำจเนื่องมำจำก พื้นฐำนองค์ควำมรู้ที่ต่ำงกันทำให้มุมมองด้ำนกำรมีส่วนร่วมต่อกำรบริหำรกำรศึกษำต่ำงกัน โดยผู้ที่มีระดับกำรศึกษำต่ำกว่ำปริญญำตรี มีควำมคิดเห็นต่อกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรกำรศึกษำน้อยกว่ำผู้ที่มีวุฒิ

769


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

กำรศึกษำระดับ ปริญญำตรีและสูงกว่ำ ปริญญำตรี ทั้งนี้ผู้ที่มีวุฒิ กำรศึก ษำต่ำกว่ำปริญ ญำตรีส่ วนใหญ่ ล้วนเป็ น คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน ซึ่งเป็นบุคคลภำยนอกสถำนศึกษำที่เป็นตัวแทนจำกชุมชน โดยมีส่วนร่วมใน กำรดำเนินงำนของโรงเรียนในบำงกิจกรรมเท่ำนั้น จึงมีควำมคิดเห็นต่อกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรกำรศึกษำของ สถำนศึ ก ษำน้ อ ยกว่ ำ ผู้ ที่ มี วุ ฒิ ก ำรศึ ก ษำระดั บ ปริ ญ ญำตรี แ ละสู งกว่ ำ ปริ ญ ญำตรี ซึ่ งส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว คื อ ผู้ บ ริ ห ำร สถำนศึกษำและครูผู้สอน ซึ่งมีบทบำทหลักในกำรดำเนินงำนในสถำนศึกษำอยู่แล้วสอดคล้องกับงำนวิจัยของ รณ ริฏฐ์ ศรีสวัสดิ์ (2555 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษำวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรสถำนศึกษำของคณะกรรมกำร สถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน โดยรวมแตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำนพบว่ำ แตกต่ำงกันอย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้ำน และสอดคล้องกับงำนวิจัยของ พระไพศำล ปญฺญำวุฑฺโฒ (หมวดแดง) (2555 : 133) ได้ศึกษำวิจัยเรื่อง ประสิทธิภำพกำรจัดกำรกำรเรียนกำรสอนพระปริยติธรรมแผนกธรรม ของวัดในอำเภอโพธำรำม จังหวัดรำชบุรี ผลกำรเปรียบเทียบควำมคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อประสิทธิภำพกำรจัดกำร กำรเรียนกำรสอน พระปริยัติธรรมแผนกธรรม ของวัดในอำเภอโพธำรำม จังหวัดรำชบุรี โดยจำแนกตำมสถำนภำพ ส่วนบุคคล พบว่ำ สถำนภำพส่วนบุคคลด้ำน อำยุ พรรษำ วุฒิกำรศึกษำนักธรรม และวุฒิกำรศึกษำ เปรียญธรรม ไม่ มีผลทำให้ควำมคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อประสิทธิภำพกำรจัดกำรกำรเรียนกำรสอน พระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของ วัดในอำเภอโพธำรำม จังหวัดรำชบุรี เกิดควำมแตกต่ำงกันได้ จึงปฏิเสธสมมติฐำนกำรวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนวุฒิกำรศึกษำ สำมัญ พบว่ำ แตกต่ำงกัน อย่ำงมีนัยสำคัญทำง สถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการนาผลการวิจัยไปใช้ จำกผลกำรวิจัย พบว่ำ กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรบริหำรกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดสกลนคร ด้ำนที่มีค่ำเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรได้รับผลประโยชน์ และ ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรรับรู้ ซึ่งผู้บริหำรควรให้ ควำมสำคัญในกำรมีส่วนร่วมของชุมชนในด้ำนกำรมีส่วนร่วมใน กำรรับรู้ เพรำะว่ำกำรทำงำนจะได้โปร่งใส และมีควำมเชื่อถือ ส่วนกำรได้รับผลประโยชน์ ทำงโรงเรียนควรจัด สัมมนำให้ควำมรู้แก่ชุมชนใน ทำงด้ำนควำมรู้ และภูมิปัญญำชำวบ้ำน ข้อเสนอแนะสาหรับการทาวิจัยครั้งต่อไป 1.ควรวิจัยเรื่อง กำรมีส่วนร่วมของชุมชนในกำรพัฒนำหลักสูตรท้องถิ่น กระบวนกำรเรียนรู้และสื่อ นวัตกรรมเพื่อกำรศึกษำของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสำมัญศึกษำ จังหวัดสกลนคร 2.ควรวิจัยเรื่อง ชุมชนมีส่วนร่วมในกำรดำเนินงำนของโรงเรียนตำมหลักธรรมำภิบำล ในโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร กิตติกรรมประกาศ วิทยำนิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยควำมกรุณำอย่ำงยิ่งจำก ผศ.ดร.สุมำลี ศรีพุทธรินทร์ อำจำรย์ที่ ปรึกษำวิทยำนิพนธ์ และ ท่ำนอำจำรย์ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ กรรมกำรที่ปรึกษำ วิทยำนิ พนธ์ และท่ำนอำจำรย์ ดร. สรร ยิ่งยศ ที่กรุณำให้คำ ปรึกษำ แนะนำ ตลอดจนตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่ำง ๆ จนกระทั่ง วิทยำนิพนธ์ฉบับ นี้สำเร็จด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่ำงสูงไว้ ณ โอกำสนี้ ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชำญ ทั้ง 5 ท่ำน ซึ่งได้แก่ พระครูวิมลวรำนุกิจ ผู้อำนวยกำรโรงเรียนพระปริยัติ ธรรม แผนกสำมัญศึกษำวัดทุ่ง, พระครูสุตปัญญำวุฒิ ผู้อำนวยกำรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำวัด

770


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

SRRU NCR2018

โพธิ์คำ, ว่ำที่ร.ท.ปิยะ วงค์สรีลำ รองผู้อำนวยกำรโรงเรียนวัดแจ้งแสงอรุณวิทยำ,นำงวลำรัตน์ ปฏิเวศ ศษ.ม. (วัดผลกำรศึกษำ) ตำแหน่ง รองผู้อำนวยกำรโรงเรียนคำยำงพิทยำคม ตำบลดงเหนือ อำเภอบ้ำนม่วง จังหวัด สกลนคร, และ นำงพกำพรรณ วะนำนำม วท.ม.(กำรสอนคณิตศำสตร์) ตำแหน่ง อำจำรย์ประจำสำขำหลักสูตร และกำรสอน คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร ที่กรุณำตรวจสอบ และแก้ไขเครื่องมือกำรวิจัย ขอขอบพระคุณ คณำจำรย์สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยนครพนม ทุกท่ำนที่ให้ควำมรู้ และประสบกำรณ์ที่เป็นประโยชน์ ขอบพระคุณเพื่อนนักศึกษำ รุ่น 7 ที่เป็น กำลังใจในกำรวิจัยในครั้งนี้ ขอบพระคุณ ท่ำนผู้เป็นเจ้ำของเอกสำร ตำรำ และงำนวิจัย ที่ผู้วิจัยไดใช้ ประโยชน์ในกำรวิจัยครั้งนี้ ขอบพระคุณผู้บริหำรสถำนศึกษำ คณะกรรมกำรสถำนศึกษำ และครูผู้สอน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสำมัญศึกษำจังหวัดสกลนคร ที่ให้ควำมอนุเครำะห์ และอำนวยควำมสะดวก ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูล จึงขอ ประกำศคุณูปกำรแด่บุคคลดังกล่ำวให้ปรำกฏไว้ในวิทยำนิพนธ์เล่มนี้ ด้วยควำมขอบคุณอย่ำงยิ่ง เอกสารอ้างอิง กฤษฎำกรณ์ ยูงทอง (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาเทศบาลตาบล นางัว อาเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ : กรณีศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาเทศบาลตาบลนางัว คณะมนุษยศำสตร์และ สังคมศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเพชรบูรณ. ณพัชฌำ ตะนัง. (2555 : 85). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอาเภอเมือง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. วิทยำนิพนธ์ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยนครพนม ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหำนคร : แอล.ที.เพรส. ธนสำร บัลลังก์ปัทมำ (2551).นิตยสาร นิตยสาร Thecity Journal บุญชม ศรีสะอำด. (2551). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวิริยำสำส์น. พระธีรพงค์ ธีรปญฺโญ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดนครพนม. วิทยำนิพนธ์ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยนครพนม รำวะดี สิงห์ด้วง. (2555). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสหวิทยาเขตบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วิทยำนิพนธ์ ครุศำสตรมหำบัณฑิต สำขำวิชำกำร บริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยนครพนม สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำแห่งชำติ (2550). หลักสูตรสถานศึกษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สุมำลี ศรีพุทธรินทร์ (2554). หลักการ ทฤษฏีและกระบวนการบริหารการศึกษา. คณะศิลปะศำสตร์และวิทยำศำสตร์ มหำวิทยำลัยนครพนม สมคิด พรมจุ้ย และคณะ. (2550). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการยกระดับการศึกษาของ ประชากรวัย แรงงานตาม Roadmap กศน. ทุนอุดหนุน กำรวิจัยจำกสำนักงำนส่งเสริม กำรศึกษำนอกระบบและกำรศึกษำตำมอัธยำศัย สำขำวิชำศึกษำศำสตร์ มหำวิทยำลัยสุโขทัยธรรมำธิรำช.

771


การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 21 – 22 เมษายน 2561

772

SRRU NCR2018


186 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรนิ ทร์ ตาบลนอกเมือง อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.