a+A: Workpoint Studio Village

Page 1

9 789740 584902

ISBN 974- 05- 8490- X

£² ² ²

ª¡² ¡ ´ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢

«i­ °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢ ²Ä À ¸¡§± £¸ À ¡«² £  £¨± l ]  £ª²£ ­µÀ¡¥ BENJO!BDVB PS UI ] XXX BDVB PS UI

± ³Â ¢ ª¡² ¡ ´ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢

« ± ª·­À ¢Á £h ¥ ² ­­ Á µÀ h ­ ´ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢

« ± ª·­À ¢Á £h ¥ ² ­­ Á µÀ h ± ­ ´ ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢ ³Â ¢ ª¡² ¡ ´ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢ 8PSLQPJOU &OUFSUBJONFOU

± ³Â ¢ ª¡² ¡ ´ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢

« ± ª·­À ¢Á £h ¥ ² ­­ Á µÀ h ­ ´ª´ À h² °ª ² r ¢ ££¡¨²ª £l ¸¬²¥ £ l¡«²§´ ¢²¥±¢

­ ­ ¸


1

สถาปัตยกรรมของการเคลื่อนไหว

Workpoint

Studio Village


คำนำ

จากชีวติ ของนิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานออกแบบ ชิ้นสุดท้ายที่ ได้ทำ ตั้งแต่เริ่มคิดโครงการไปจนถึงการออกแบบก่อนจบการศึกษา ได้แก่ “วิทยานิพนธ์” ต่อจากนั้นมา เมื่อจบการศึกษาทุกคนออกไปประกอบวิชาชีพ ได้ทำงาน ออกแบบสร้างสรรค์ ที่นำไปก่อสร้างจริง พบปัญหา แก้ปัญหา สะสมประสบการณ์ และ สะสมความทรงจำ ผลงานที่สถาปนิกเหล่านี้ทำ จะต้องอยู่ ในโลกปัจจุบันต่อเนื่องไปสู่อนาคต และผ่าน กาลเวลาจนกระทัง่ เป็นอดีตของคนรุน่ หลัง การบันทึกความทรงจำไว้ ให้สถาปนิกรุน่ ต่อๆ มา ได้มี โอกาสศึกษา นำไปเป็นแนวทางในการสร้างผลงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ เช่นเดียวกับ รุ่นพี่ที่ผ่านมา สมาคมนิสติ เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนายกสมาคมฯ คุณมนู ตระกูลวัฒนะกิจ ได้ดำเนินการจัดทำหนังสือ a+A เพือ่ ตัง้ ใจเผยแพร่ผลงานของ นิสติ เก่ารุน่ ต่างๆ เป็นลำดับ หนังสือเล่มนีแ้ สดงให้เห็นความเป็นมา แนวคิด ในการออกแบบ และขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงานที่มาจากประสบการณ์จริง ของสถาปนิกแต่ละคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะของสถาบันการศึกษา ทีส่ ร้างสถาปนิกรุน่ ต่อรุน่ ตัง้ แต่ปพ ี ทุ ธศักราช ๒๔๗๖ จนถึงปัจจุบนั พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๗๕ ปี มีความยินดีอย่างยิง่ ที่ ได้มีโอกาสเห็นผลงาน การออกแบบ ในหนังสือดังกล่าว ที่ประสบความสำเร็จของศิษย์ ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับคณะฯ และขอ ขอบคุณกรรมการสมาคมนิสิตเก่าทุกท่าน ที่ร่วมมือร่วมใจ ดำเนินการผลิตหนังสือที่มี คุณค่า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อด้านวิชาการ และด้านวิชาชีพอย่างยิ่ง. รองศาสตราจารย์ เลอสม สถาปิตานนท์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มกราคม ๒๕๕๑

2 a+A:01 = Workpoint Entertainment

คำนำ

ผู้ที่เรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน จะมี ประสบการณ์ ในการทำวิทยานิพนธ์ โดยส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์นี้ จะต้องประกอบด้วย การจัดทำเอกสารที่เรียกว่า หนังสือ Thesis ที่จะประกอบด้วยข้อมูลเพื่อการออกแบบ เป็นการเน้นให้นิสิตรู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอน และมีเหตุผล แต่อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อนิสิตจบออกมาทำงานจริงแล้ว ชีวิตการทำงานเป็นสถาปนิกหรือนักออกแบบ ก็ยังมี เรื่องราวอีกมากที่ต้องเรียนรู้ จะดีแค่ ไหน หากเรามีรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ โชกโชน มาถ่ายทอดให้ฟังในทุกขั้นตอนว่า หลังจากทำแบบเสร็จแล้ว จะต้องทำอะไรอีกบ้างเพื่อให้แบบที่สวยงามนั้น ถูกสร้างเป็นงาน สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ ถ่ายทอดโดยการบอกเล่า ด้วยภาพถ่ายโครงการจริงประกอบ พร้อมลายเส้นค้นหาแนวความคิด และแบบพิมพ์เขียว ให้เห็นถึงการทำงานในระดับมืออาชีพ เป็นการขยายความหนังสือ Thesis เล่มเดิม ให้จบเป็นผลงานจริงที่น่าประทับใจ a+A เป็นหนังสือรวบรวมผลงานออกแบบดีเด่น ของนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทีน่ า่ สนใจ โดยมีจดุ มุง่ หมายทีจ่ ะรวบรวม และผลิตออก มาเป็นชุด และครอบคลุมผลงานดีเด่นของนิสิตเก่าฯ ให้ ได้มากที่สุด เพื่อช่วยเผยแพร่และ ส่งเสริมผลงานออกแบบที่มีคุณค่าออกสู่สาธารณะ เพื่อเป็นแนวทางและจุดประกายความ คิดใหม่ๆ ให้กบั สถาปนิกรุน่ ต่อๆ ไป ได้ค้นหาและพัฒนาวิธีการทำงานที่ดี ยิ่งขึ้นต่อไป. คณะทำงานหนังสือ a+A และกรรมการสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๑

3


“ทีน่ เี่ ปรียบเสมือน ‘อูข่ า้ ว อูน่ ำ้ ’ มี ให้เก็บเกีย่ วไม่หมดสิน้ Workpoint มี การพัฒนาจากบริษัทเล็กๆ เป็นตึกแถว จนธุรกิจเราดี ได้เข้าตลาดหุ้นฯ เรามีกำไรถึง 600 ล้าน ก็คิดกันอยู่ว่าจะเอาไปทำอะไรดี เราไม่มีสตูดิโอ เป็นของตนเอง ก็เลยตกลงกันว่า จะเอากำไรส่วนนี้ มาทำสตูดิโอ และ สำนักงานใหม่” ปัญญา นิรันดร์กุล

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

4 a+A:01 = Workpoint Entertainment

5


“จุดเริม่ ก็คงมาจากตรงนี้ คืออยากมีสตูดิโออย่างทีเ่ ราต้องการ และก็ เริ่มจากอยากอยู่ ใกล้ๆ ทํางานใกล้ๆ กัน เพราะจะสะดวกขึ้นอีกมาก แล้วก็ตัดขั้นตอนของการเดินทางในกรุงเทพฯ ซึ่งต้องยอมรับว่าแย่ เอามากๆ.. ตัวผมเองก็ได้ตงั้ ปณิธานไว้แล้วว่า ในการทีผ่ มเรียนจบจากคณะสถาปัตย์ฯ ถ้าเหมือนคนที่ชื่นชมภาพเขียน ผมก็ถือเป็นคนที่ชื่นชอบงานทาง สถาปัตยกรรมอยู่ แต่ก็ไม่ได้เป็นคนสร้างเอง เพราะจบมาจากคณะฯ ก็ไม่ได้ทํางานด้านสถาปัตยกรรม ไม่ได้มีประสบการณ์ แต่เป็นคนที่ ชอบสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องทางด้านนี้ ไม่วา่ จะมีอาคารใหม่ที่ไหนถูกสร้างขึน้ มา หรือเวลาไปต่างประเทศ ก็ชอบทีจ่ ะไปชืน่ ชมงานสถาปัตยกรรม สิง่ นี้ จึงเป็นปณิธานสำหรับตัวผมเองว่า ถ้าบริษทั ผมสามารถมีกาํ ลังสร้างได้ ก็จะผลักดันให้เกิดเป็นอาคารให้คนได้พดู ถึง ให้นกั เรียนได้เข้ามาศึกษากัน เราอาจยอมใช้งบประมาณมากพิเศษ แต่เพือ่ ความงามของสถาปัตยกรรม อาจจะเป็นเรื่อง space หรือสิ่งที่ได้ ในเรื่องของความรู้สึก ผมเองก็ตั้งใจไว้ว่า จะทําขึ้นมาให้ได้ อันนี้คือปณิธาน” ประภาส ชลศรานนท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

6 a+A:01 = Workpoint Entertainment

“คําว่า Workpoint มีการตีประเด็นไว้หลายอย่าง ตัวผมเองคิดว่า Workpoint เป็นองค์กรทีม่ กี ารเคลือ่ นไหว ไม่หยุดนิง่ และมีพลวัตอยูต่ ลอดเวลา นีค่ อื Workpoint เท่าทีผ่ มสังเกตดู พวกเขามีการเปลีย่ นแปลงกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสถาปัตยกรรมของพวกเขา ก็น่าจะสะท้อน ความเป็นพลวัตนี้ ออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด” สุทิต วังรุ่งอรุณ สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ บริษัท ฟอร์ม อาร์คีเทค จำกัด

7


Work Point Studio Village รางวัลเหรียญทองสถาปัตยกรรมดีเด่น

สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการที่ปรึกษา ปี 2549-2551 ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ รองศาสตราจารย์ เลอสม สถาปิตานนท์ นิธิ สถาปิตานนท์ พลเรือตรี ฐนิธ กิตติอำพน ธานี แก้วสีปลาด พงษ์ จิรโสภณ ชวลิต สุวัตถิกุล ประภากร วทานยกุล ภิญโญ รู้ธรรม ประภาส ชลศรานนท์ สุวัฒน์ วสะภิญโญกุล นิติพงษ์ ห่อนาค นันท์ วิทยดำรงค์ วัชระ แวววุฒินันท์ วัชระ ปานเอี่ยม

ประจำปี พ.ศ. 2551 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา

คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ปี 2549-2551

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. a + A : Workpoint Entertainment.-- กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. 180 หน้า. 1. การออกแบบสถาปัตยกรรม. l. ชื่อเรื่อง. 720 ISBN: 978-974-05-8490-2

a+A : 01 | Workpoint Entertainment

หนังสือรวบรวมผลงานออกแบบดีเด่น ของนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ISBN: 978-974-05-8490-2

8

เจ้าของ: สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้อง 118 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์: 02-218-4350 | โทรสาร: 02-252-4938 อีเมล: admin@acua.or.th | www.acua.or.th ต้นฉบับและรูปเล่ม ออกแบบและจัดทำโดย: สำนักพิมพ์ ช่องเปิด | โทรศัพท์: 081-347-5935 พิมพ์ที่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) | โทรศัพท์: 02-422-9000 จัดจำหน่ายโดย: สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | โทรศัพท์: 02-218-4350

a+A:01 = Workpoint Entertainment

มนู ตระกู ลวัฒนะกิจ ศิระ วิสุทธิโกศล วิรัตน์ ญาณวชิรากุล วรพงษ์ กำนลมาศ ญชัยวงศ์ ธงชัย ลาภธนั ศานิต กี่บุตร ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์ สุจิตรา ศรี ไกรวิน เสก สวัสดี บุรวิชช์ ชนาธิปัตย์ ชัยภัฏ จันทร์วิไล มรกต ยิบอินซอย

นายกสมาคมฯ อุปนายก ปฏิคม เลขาธิการ นายทะเบียนและเหรัญญิก กรรมการฝ่ายกีฬา กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการและผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการฝ่ายวิชาการ กรรมการฝ่ายนิสิตสัมพันธ์ กรรมการ กรรมการ

คณะทำงานหนังสือ a+A มนู ตระกูลวัฒนะกิจ บรรณาธิการอำนวยการ ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์ บรรณาธิการบริหาร สุจิตรา ศรี ไ กรวิ น รองบรรณาธิการบริหาร อธิโชค พิมพ์วิริยะกุล บรรณาธิการ/บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ มนทิรา อร่ามกิจโพธา ผู้ช่วยบรรณาธิการ อาทิตย์ อู๋ ไพจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ เกรียงไกร ไวยกิจจา ช่างภาพ (ภาพชุดขณะก่อสร้าง) วิสันต์ ตั้งวิญญา ช่างภาพ ทีมช่างภาพจาก Workpoint Entertainment ช่างภาพ

คำนำ a+A ถือกำเนิดขึ้นจากแนวความคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ประธาน

คณะกรรมการที่ปรึกษาของสมาคมฯ ที่อยากจะเห็นหนังสือรวบรวมงานออกแบบที่ดี โดย นิสติ เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแต่ละโครงการจะมีคณ ุ ค่า แก่การศึกษา เพือ่ เป็นการเผยแพร่ความคิด สร้างความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้ ต่อยอดออกไปอีก โดยเน้นการเข้าถึงเรื่องราว และภาพที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ เพื่อให้นิสิต นักศึกษา นักออกแบบทั่วไป รวมทั้งผู้ที่สนใจในศาสตร์ของการออกแบบได้เข้าใจ ทางคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ จึงได้มอบหมายให้กองบรรณาธิการ จัดทำและ ผลิตหนังสือชุดนี้ โดยเล่มแรกเริ่มต้นที่อาคารของ Workpoint Entertainment ซึ่งนับเป็น โครงการขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยผูร้ ว่ มออกแบบหลากหลายสาขา อีกทัง้ ผูบ้ ริหารระดับสูง ก็เป็นนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย จึงมีเรื่องราว ต่างๆ มากมายที่น่าสนใจ การดำเนินเรื่องในหนังสือเล่มนี้ นำเสนอโดยการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงของ นักออกแบบแต่ละท่านที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดวางบทสัมภาษณ์จะลำดับวางต่อเนื่องกันใน หัวเรื่องเดียวกัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบในทุกรายละเอียด และทุกมุมมอง

ในนามของกองบรรณาธิการ และคณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือ a+A ขอขอบคุณ ทีมผู้ออกแบบทุกท่าน บริษัท Workpoint Entertainment (มหาชน) จำกัด คณบดีคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผูอ้ ปุ การะคุณในการจัดทำหนังสือทุกท่าน รวมทั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ปี 2549-2551.

9


ในความคิด ในเล่ม ในอาคาร ในที่ว่าง

Workpoint Studio Village บทที่ 01 } จุดเริ่มต้นโครงการ | หน้า 14 02 } ที่ตั้ง อู่ข้าว-อู่น้ำ | 24 03 } เมืองน้ำ-ลานน้ำ | 28 04 } แนวคิด: อู่ข้าว-อู่น้ำ | 36 05 } หมู่บ้านอุตสาหกรรมบันเทิง | 44 06 } คนในหมู่บ้าน | 50 07 } โซนที่ 1: สตูดิโอ: ลานแสดงของหมู่บ้าน | 56 08 } โซนที่ 2: สำนักงาน: หัวหน้าหมู่บ้าน และชุมนุมนักคิด | 68 09 } โซนที่ 3: ส่วนสาธารณะ: ยุ้งข้าว ยุ้งฉางประจำหมู่บ้าน | 84 10 } ความเชื่อ สัญลักษณ์ และความหมาย | 96 11 } พระพิฆเนศวร | 104 12 } ต้นไม้และที่ว่าง | 106 รายละเอียดงานก่อสร้าง 13 } สถาปัตยหัตถกรรม และวิศวกรรมโครงสาน | 112 14 } หัตถกรรมเหล็ก | 118 15 } กระจกใส โปร่ง เบา | 120 16 } เปลือยผิว คสล. | 122 17 } ซีเมนต์ขัดมัน ถนนลาดยาง | 128 18 } หัตถกรรมแสง | 130 19 } สารพัดงานระบบ: ไฟฟ้า ปรับอากาศ เสียง | 135 20 } งบประมาณการก่อสร้าง | 138 21 } เรื่องที่ได้คิดตามมา | 140 22 } แบบพิมพ์เขียว | 144 23 } ผู้ร่วมสนับสนุน | 157

10 a+A:01 = Workpoint Entertainment

11 } สารบัญ


จิตวิญญาณ ของอู่ข้าวอู่น้ำ

คือ ขยัน ทำงาน สำเร็จ เป็นแนวคิด สถาปัตย์ หัตถกรรม

12 a+A:01 = Workpoint Entertainment

13 } จุดเริ่มต้น


01 }

จุดเริม่ ต้นโครงการ 15

14 a+A:01 = Workpoint Entertainment


ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปี ก่อน Workpoint มองหาทำเลที่ตั้งเพื่อสร้างสตูดิโอ และสำนักงานใหม่ จนมาพบที่ดิน 19 ไร่ เป็นทุ่งนา มีคลองไหลผ่านด้านหน้า ดินดี น้ำดี อุดมสมบูรณ์ “ที่นี่เปรียบเสมือน ‘อู่ข้าว อู่น้ำ’ มี ให้เก็บเกี่ยวไม่หมดสิ้น” นี่เป็นส่วนหนึ่งที่คุณปัญญา ได้พูดถึงแนวคิดการออกแบบ สตูดิโอแห่งใหม่ที่จังหวัดปทุมธานี “Workpoint มีการพัฒนาจากบริษัทเล็กๆ เป็นตึกแถว จนธุรกิจเราดี ได้เข้าตลาดหุ้นฯ เรามีกำไรถึง 600 ล้าน ก็คดิ กันอยูว่ า่ จะเอาไปทำอะไรดี เราไม่มสี ตูดโิ อเป็นของตนเอง ก็เลยตกลงว่าเอากำไรส่วนนี้ มาทำ สตูดิโอและสำนักงานใหม่” โครงการบ้านใหม่ของ Workpoint แห่งนี้ เราได้คุยกับคุณประภาส ชลศรานนท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง เพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้าง “อู่ข้าว อู่น้ำ” ที่มีให้เก็บเกี่ยวไม่หมดสิ้น คุณประภาสครับ โครงการสร้างบ้านใหม่ให้กับ Workpoint นี้เริ่มต้นขึ้นอย่างไรครับ

16 a+A:01 = Workpoint Entertainment

ผมขออธิบายให้เข้าใจนิดหนึ่งก่อนว่า อุตสาหกรรมผลิต รายการโทรทัศน์ จะมีสถานี โทรทัศน์ และผู้ผลิต ในต่าง ประเทศก็จะเป็นอย่างนี้เหมือนกัน แต่อาจต่างกันบ้าง ตรงที่เจ้าของรายการ จะเป็นผู้หาเม็ดเงินโฆษณาให้กับ ตัวเอง แล้วก็วา่ จ้างผูผ้ ลิต ซึง่ มี 2 แบบ อีกแบบหนึง่ ก็คอื ผูผ้ ลิตไปเช่าช่วงเวลาจากทางสถานี โทรทัศน์ แล้วมาผลิต รายการเอง ซึ่ง Workpoint ก็เป็นแบบหลังนี้ คือไปเช่า ช่วงรายการสถานี แล้วก็ผลิตรายการเองมาตลอด แล้วก็ เหมือนบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ทั่วๆ ไป คือไปเช่า สตูดิ โอเพื่อถ่ายทำรายการ เราก็คิดงานที่สำนักงานของ เราเอง แล้วก็ไปถ่ายที่นั่น พอตัดต่อเสร็จแล้วก็ส่งไปทาง สถานี โทรทัศน์เพื่อส่งออกอากาศ ทีนี้พอเราทําไปเรื่อยๆ นานเข้า จนกระทั่งด้วยความ อัดอัน้ ตันใจทีว่ า่ สตูดิโอทีเ่ ราไปเช่าทำงานนัน้ ทำอะไรได้ ไม่เหมือนกับทีเ่ ราคิดเอาไว้ และการเดินทางที่ไกลจากกัน บวกกับสำนักงานก็แคบ ประกอบกัน 2 เรื่องนี้จนความ ต้องการทั้งหมดที่เรามีอยู่ คือ อยากได้สตูดิ โอในแบบที่ เราต้องการ และอยู่ ในที่ๆ เดียวกับส่วนสำนักงาน และ สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้ เพราะเราก็กำลังเข้า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีผู้มาร่วมทุนกับเรามากมาย ซึ่งก็ หมายความว่า เราจะสามารถสร้างสตูดิ โอของตัวเองได้

จุดเริ่มก็คงมาจากตรงนี้ คืออยากมีสตูดิ โออย่างที่เรา ต้องการ และก็เริ่มจากอยากอยู่ ใกล้ๆ ทํางานใกล้ๆ กัน เพราะจะสะดวกขึ้นอีกมาก แล้วก็ตัดขั้นตอนของการเดิน ทางในกรุงเทพฯ ซึ่งต้องยอมรับว่าแย่เอามากๆ... สิง่ ทีผ่ มได้บอกกับคุณสุทติ คือ อยากมีตกึ ทีม่ สี ตูดิโออยู่ ด้วยกัน จากนัน้ ก็เริม่ หาทีด่ นิ กัน ในใจลึกๆ เองก็อยากจะ สร้างงานสถาปัตยกรรมดีๆ สักชิ้นหนึ่ง แล้วก็ตัวผมเอง กับคุณปัญญา นิรันดร์กุล) ที่เป็น CEO เราต่างก็จบมา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราทั้งสองคนจะให้ความสําคัญ เกี่ยวกับการออกแบบ สถาปัตยกรรม แต่ โดยภาระกิจที่มากมายของคุณปัญญา ที่ออกจะวุ่นวายนิดหน่อย คุณปัญญาก็เลยให้ผมเป็นคน จัดการเรื่องการออกแบบ แล้วบังเอิญมีสถาปนิกอย่าง คุณสุทิต วังรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นที่คณะฯ ก็เลย ทําให้ทำงานนี้ได้ง่ายขึ้น.

ตัวผมเองก็ได้ตงั้ ปณิธานไว้แล้วว่า ในการทีผ่ มเรียนจบจาก คณะสถาปัตย์ฯ มา ถ้าเหมือนคนทีช่ นื่ ชมภาพเขียน ผมก็ ถือเป็นคนที่ชื่นชอบงานทางสถาปัตยกรรมอยู่ แต่ก็ไม่ได้ เป็นคนสร้างเอง เพราะจบมาจากคณะฯ ก็ไม่ได้ทาํ งานด้าน สถาปัตยกรรม ไม่ ได้มีประสบการณ์ แต่เป็นคนที่ชอบสิ่ง ทีเ่ กีย่ วข้องทางด้านนี้ ไม่วา่ จะมีอาคารใหม่ที่ไหนถูกสร้าง ขึ้นมา หรือเวลาไปต่างประเทศ ก็ชอบที่จะไปชื่นชมงาน สถาปัตยกรรม สิ่งนี้จึงเป็นปณิธานสำหรับตัวผมเองว่า ถ้าบริษัทผมสามารถมีกําลังสร้างได้ ก็จะผลักดันให้เกิด เป็นอาคารให้คนได้พูดถึง ได้นักเรียนได้เข้ามาศึกษากัน เราอาจยอมใช้งบประมาณมากพิเศษ แต่เพือ่ ความงามของ สถาปัตยกรรม อาจจะเป็นเรื่อง space หรือสิ่งที่ ได้ ใน เรื่องของความรู้สึก ผมเองก็ตั้งใจไว้ว่า จะทําขึ้นมาให้ได้ อันนี้คือปณิธาน ผมเชื่อว่ามีสถาปนิกหลายๆ คน ที่ผมและคุณปัญญา รูจ้ กั และสามารถทำงานชิน้ นี้ได้ แต่เมือ่ มาตรองดูแล้วว่า เราอยากให้งานนี้ทำกันแล้วสนุกหน่อย เลยเลือกที่จะให้ เพื่อนทํา เพราะเชื่อมั่นฝีมือของเพื่อนเรา ถึงแม้คุณสุทิต จะไม่มอี อฟฟิศออกแบบสถาปัตยกรรมที่ ใหญ่ โต แต่กด็ ว้ ย การที่เห็นฝีมือกันมาจากสมัยเรียนด้วยกันที่คณะฯ แล้วก็ จากการถามไถ่เพื่อนๆ ซึ่งก็บอกกันว่า คุณสุทิตก็ยังเป็น สถาปนิกฝีมือดีคนหนึ่ง นับตั้งแต่จากที่จบมาจากคณะฯ คือตอนสมัยเรียนอยูด่ ว้ ยกัน เคยร่วมงานแบบเพือ่ นๆ กัน ผมเห็นงานออกแบบตอนทําวิชาสตูดิโอดีไซน์ของคุณสุทติ แล้วก็เคยทําฉากละครของคณะฯ มาด้วยกัน เลยเห็นวิธี คิดของคุณสุทิตมาตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว แล้วก็คิดว่าคงจะ แก้แบบกันสนุกน่ะ นี่คงเป็นอีกเหตุผลเล็กๆ อันหนึ่งที่ไม่ ใหญ่มากนัก.

17 } จุดเริ่มต้น


สำหรับเรื่องตัวโปรแกรมที่คุยให้คุณสุทิตฟัง เกี่ยวกับงาน ออกแบบสถาปัตยกรรมชิน้ นี้ เริม่ ต้น ผมก็นงั่ คิดถึงรายการ โทรทัศน์ต่างๆ ของเรา ด้วยบุคลิกของ Workpoint นั้น จะเป็นรายการโทรทัศน์ ประเภททีช่ อบให้ประชาชนเข้ามา แข่งขันกัน ไม่ว่าจะเป็นรายการแฟนพันธ์ุแท้ สงคราม เท้าไฟ ชิงช้าสวรรค์ หรือทศกัณฐ์ แม้วา่ เราจะมีดาราหรือ ผู้มีชื่อเสียงมาร่วมรายการก็จริงนะ แต่ก็มีผู้คนธรรมดาๆ ที่มีความสามารถต่างๆ กันเข้ามาร่วมด้วย ทำให้เรารู้สึก ว่าที่ทำงานของเรา ไม่ ใช่ โรงถ่ายแบบโรงถ่ายภาพยนตร์ ทีม่ แี ต่เฉพาะกองของทีมงานถ่ายทำกับนักแสดง แล้วก็ไป เกณฑ์หน้าม้ามาตบมือ... แต่ด้วยบุคลิกของรายการเรา จะไม่ ใช่เป็นแบบนั้นเลย แต่ของเราจะเป็นลักษณะที่มีคน เดินเข้ามาเพื่อที่จะเข้ามาชมการอัดรายการ นี่ก็เป็นที่มา ของการทีผ่ มพูดถึงโรงพยาบาลบํารุงราษฏร์​์ ให้คณ ุ สุทติ ฟัง ผมรู้สึกว่าโรงพยาบาลบํารุงราษฏร์ เป็นโรงพยาบาลที่ไม่ เหมือนโรงพยาบาลอื่นๆ ผมอยากให้สถาปัตยกรรมของ เราสร้างออกมาแล้วเหมือนมีชีวิตชีวาอย่างนั้น เพราะว่า ของเราจะมีผทู้ เี่ ดินทางเข้ามา เพือ่ รอดูการถ่ายทำรายการ ผมอยากให้มีส่วนที่เป็นพลาซ่าเพื่อพักคอย นั่นคือส่วนที่ ผมพูดถึง และส่วนของสตูดิโอของ Universal Studio ก็ เหมือนกัน คือที่นั่น เวลาที่คนจะเข้าไปดูรายการของเขา ก็จะมี ทางเข้าและออกทีช่ ดั เจน เพราะนัน่ คือการถ่ายทํา แต่ของ เราที่นี่ ผมอยากให้เป็นเหมือนโรงละครนิดๆ คือ ผมขอ กำหนดเป็นโจทย์ ให้กบั คุณสุทติ เลยว่า คนทีม่ าดูจะต้องไม่มี โอกาสได้เห็นนักแสดงก่อนเลย เหมือนเข้ามาดูการแสดง ในโรงละคร ผมขอให้เพิ่มประโยชน์ ใช้สอยนี้เข้าไปด้วย แล้วก็มีส่วนพลาซ่า ให้คนที่มาชมรายการค่อยๆ เดินเข้า ไปดูเหมือนหน้าโรงละคร เพราะรายการโทรทัศน์ของเรา เป็นอย่างนี้เยอะ แต่ส่วนที่เป็นสตูดิ โอโรงถ่ายภาพยนตร์ ของเราที่นี่ก็มีนะ แต่จะอยู่ทางด้านใน ตรงนั้นคือการทํา งานแบบถ่ายทำภาพยนตร์ ที่คนภายนอกจะไม่มีทางได้ เข้าไปถึง.

18 a+A:01 = Workpoint Entertainment

19 } จุดเริ่มต้น


20 a+A:01 = Workpoint Entertainment

โครงการนีถ้ อื ได้วา่ เป็นโครงการขนาดใหญ่ พืน้ ทีก่ อ่ สร้างกว่า 30,000 ตารางเมตร กับความต้องการใช้งานที่หลากหลายจุดประสงค์ ข้อจำกัดที่ท้าทายเรื่องเวลา และ ไม่มีตัวอย่างโครงการ หรือโปรแกมของอาคารประเภทนี้เกิดขึ้นมาก่อนในบ้านเรา นับเป็นความท้าทาย สำหรับ คุณสุทิต วังรุ่งอรุณ สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการนี้ จาก บริษัท ฟอร์ม อาร์คีเทค จำกัด อย่างยิ่ง คุณสุทิตช่วยเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการนี้ครับ Workpoint เติบโตมาเป็นระยะๆ มาโดยตลอดในวงการบันเทิง นับตั้งแต่ปีที่เริ่มต้นราวๆ ปี พ.ศ. 2532 ก็มีที่ปรึกษาทางด้านการเงิน มาแนะนําให้นําบริษัท Workpoint เข้าตลาด หลักทรัพย์ฯ แล้วก็แนะนําว่า ปัจจุบนั ถ้าหากมีรายการเกิน 10 รายการ คือจะเพิม่ มากขึน้ ๆ แล้วถ้าต้องเช่าสตูดิโอหลายห้อง ก็จะเสียค่าเช่าไปเปล่าๆ สถานที่ก็ไม่ดี ทำให้เกิดขั้นตอน การผลิตที่ยุ่งยาก สํานักงานเก่าของ Workpoint ที่แถวตลาดสะพานใหม่ ก็มีปัญหาว่าตัว สำนักงานอยูท่ นี่ ี่ ส่วนผลิตอยูอ่ กี ทีห่ นึง่ สตูดโิ อก็เช่าอีกทีอ่ ยูแ่ ถวถนนติวานนท์ ซึง่ ก็ไกลออก ไปอีกที่ ฝ่ายเสื้อผ้าก็อยู่อีกแห่งหนึ่ง พอถ่ายทำรายการกันแต่ละที ทุกฝ่ายก็วิ่งวุ่นสับสน ไปมา เดินทางกันเสียเวลาไม่สะดวก เพราะแต่ละที่ก็ห่างกันเยอะเหลือเกิน ฝ่ายทําฉากเก็บฉาก ก็ต้องไปอยู่อีกที่หนึ่ง เนื่องจากฉากต้องใช้สถานที่เยอะ ก็ต้อง ขนฉากกันไปขนมา บางทีไม่มีที่พอเก็บ ต้องไปหาเก็บที่อื่นอีก ต้องไปเช่าที่อื่น ขนาดไป เช่าที่เก็บแล้ว ก็ยังเช่าแบบกระจัดกระจายอยู่ แล้วบางอย่างที่ Workpoint ทํารายการอยู่ คนทํารายการอื่นๆ ก็มาเห็นฉาก ที่เราไปเช่าเก็บไว้ได้โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งก็ไม่ควร เพราะของ แบบนีล้ ว้ นแต่เป็นความลับทางธุรกิจทัง้ สิน้ ธุรกิจของ Workpoint ทีท่ าํ มานาน แล้วมีกาํ ไร มาตลอด สามารถลงทุนได้ แล้วก็เป็นที่สนใจของนักลงทุน เพราะว่าทาง Workpoint เคย ทดลองขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดู ก็มีคนสนใจมาจองซื้อหุ้น ซึ่งก็หมายความว่าน่าจะ ไปได้ด้วยดีนะ

พอวางแผน กําหนดแผนเสร็จ ก็เริ่มต้นมาดูที่ดินที่จะสร้างเอาไว้ก่อน ที่ดินหลายแห่งก็ไป ดูกนั ไว้แล้ว และคุยกันเรือ่ งความคิดในการออกแบบสตูดโิ อ และเริม่ ศึกษาโครงการสตูดโิ อ ของคนอื่นหลายแห่ง เป็นการเตรียมข้อมูลเก็บไว้ก่อนออกแบบ แต่ถ้าโครงการเรื่องหุ้นไม่ เดินหน้า เรื่องที่ดินก็จะไม่ซื้อ แต่พอแผนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สําเร็จ มีคนสนใจมากพอที่ จะมีเงินสร้างสตูดิโอได้ เลยซื้อที่ดินเตรียมไว้เลย ผมก็ได้รับการติดต่อให้มาออกแบบงานนี้ ก็ประมาณช่วงนั้นแหละ เป็นช่วงที่ซื้อที่ดิน ช่วงที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีเวลาให้ผมเพียงแค่ 6 เดือน เพราะการเข้าตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ทางตลาดฯ จะอนุมตั ใิ ห้บริษทั ทีจ่ ะเข้าตลาดฯ สามารถดําเนินการปรับเรือ่ งเอกสาร ต่างๆ จากบริษัทเอกชนให้เป็นมหาชน ทําเรื่องต่างๆ มากมาย เช่น ไปจดทะเบียน แล้ว ช่วงเวลานี้ก็จะนําหุ้นไปลองขายให้กับประชาชนทั่วไป ช่องว่างที่ว่านี้ก็ประมาณ 6 เดือน สมมติว่าจะเปิดขายหุ้นตอนเดือนตุลาคม ผมก็รู้ตัวประมาณเดือนมกราคมว่า จะต้อง เป็นคนออกแบบงานนี้ แต่ก่อนหน้านั้น ผมเห็นที่ดินแปลงนี้มาพอสมควร ที่ตรงนี้ถือว่า ทําเลดีนะ ใกล้บ้านคุณปัญญาและคุณประภาสด้วย บริเวณรอบๆ ก็เป็นที่โล่งๆ ตอนนั้น ที่ดินราคาไม่แพง พอแผนเข้าตลาดฯ สําเร็จ ทุกคนก็จะเดินหน้าเต็มที่ คุณปัญญาก็เร่งรัด จะซื้อที่ดิน แต่ก่อนที่จะซื้อ ผมเองก็มีการทําสเก็ตช์แบบ หาไอเดียกันไปแล้วบางส่วน แต่ ยังไม่ตดั สินใจว่าจะเป็นอะไรแน่ชดั นัก เพราะยังไม่ถงึ เวลาทีต่ อ้ งตัดสินใจกัน ผมก็ทาํ สเก็ตช์ ไปเรื่อยๆ วางรูปแบบไป แต่พอมาเริ่มต้นตรงนี้ ผมมาทราบเอาว่า ตัวเองจะมีเวลาทำงาน อยู่ที่ประมาณ 6 เดือน ที่ว่า 6 เดือนนี้ หมายถึงรวมเวลาที่จะต้องยื่นขอใบอนุญาต เพื่อทำการก่อสร้างด้วย เพราะวางแผนเอาไว้ว่าตอนที่จะเอาหุ้นเข้าตลาดฯ จะต้องมีใบขออนุญาตในการก่อสร้าง แนบไปด้วย เพือ่ ให้ผทู้ จี่ ะมาลงทุนเกิดความมัน่ ใจว่า Workpoint ไม่ได้เอาเงินทีไ่ ด้มาไปทํา อย่างอื่น แต่มาลงทุนทํางานในโครงการนี้แน่ๆ และเหตุผลหลักที่สําคัญของการเข้าตลาด หลักทรัพย์ฯ ก็คือ ต้องการจะระดมทุนครั้งใหญ่ เพื่อมาสร้างสตูดิโอเป็นของตัวเองเสียที ฉะนั้นเวลาแถลงข่าวเดือนกันยายนปี 2547 จะต้องมีใบอนุญาตฯ แล้ว หรือมีแนวโน้มว่า ได้ยื่นขออนุญาตไปแล้ว แล้วระยะเวลาก่อสร้างอยู่ที่ 16 เดือน จะต้องมีสตูดิโอใหม่ แทน สตูดิโอเดิม ที่จะหมดสัญญาเช่าในต้นปี 2549

21 } จุดเริ่มต้น


22

ใบอนุญาตฯ นี้เป็นตัวกําหนดทุกอย่าง เพราะถูกกําหนดกรอบมาลงที่ 6 เดือน นี่ก็อาจจะ เป็นอีกเหตุผลหนึ่งก็ได้ ที่คุณประภาสให้ผมทํางานนี้ เพราะเคยเห็นผมทำงานได้เร็ว เพียง แต่ผลงานออกแบบทีผ่ มทําอยู่ ก็จะเป็นโครงการขนาดเล็กและขนาดกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ บริษัทของผมก็ไม่ใช่บริษัทสถาปนิกที่ใหญ่โตอะไรมากนัก เลยถามคุณประภาสไปเหมือน กันว่าทําไมไม่ติดต่อรุ่นน้องๆ หรือรุ่นพี่ๆ ที่ทํางานออกแบบอาคารใหญ่ๆ ประเภทใกล้ เคียงกันนี้ หรือไปที่บริษัทใหญ่ๆ เลยก็ได้ ที่มีผลงานออกแบบประเภทสตูดิโอแบบนี้อยู่ คุณประภาสบอกว่า Workpoint จะไม่เหมือนโครงการอืน่ อาจจะต้องทำไปแก้ไป อยากให้ ผมลองเริ่มต้นเสนอความคิดมาดูกัน ขนาดของโครงการนี้ใหญ่มาก กว่า 30,000 ตารางเมตร จะเห็นว่ามีสตูดิโอสําหรับ การถ่ายทํารายการโทรทัศน์มากถึง 5 ห้อง ทีเ่ หลือเป็นส่วนสำนักงานของ Workpoint แล้ว ถ้าจะออกแบบให้เหมือนกับ อาคารชาแลนเจอร์ที่ศูนย์แสดงสินค้า ที่เมืองทองธานี หรือ ไบเทคที่บางนา หรือศูนย์การประชุมแห่งชาติสริ กิ ติ ิ์ ซึง่ รูปแบบเหล่านัน้ คุณประภาสบอกว่า ไม่ใช่ แล้วจะเป็นแบบ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ก็ไม่ใช่ เพราะดูลักษณะส่วนตกแต่งเยอะเกินไป ซึ่งอาจแปลความหมายไปในทางว่าแพงไปก็ได้ ส่วนคุณปัญญาเองก็รอฟังสรุปจากผมและ คุณประภาส นั่นคือตอนที่เริ่มต้นคิดโครงการนี้ ลักษณะพิเศษของคุณประภาสอีกอย่างก็คือ สามารถเอาความคิดของคนอื่นมาทําให้ ได้ดกี ว่าทีเ่ ห็น คุณประภาสไม่จาํ เป็นต้องคิดอะไรเองหมดทุกอย่าง คุณประภาสบอกว่าไม่ใช่ หน้าที่ของเขา เขาจะให้ผมในฐานะสถาปนิกคิดอะไรก็ได้ แต่เขาขอเป็นคนตัดสินใจ ชอบ หรือไม่ชอบ เดี๋ยวบอกเอง เริม่ ต้นผมเองก็มานัง่ ทําลําดับรายชือ่ ของอาคาร ทีค่ ดิ ว่าเป็นลักษณะทีใ่ กล้เคียงกับของ Workpoint แต่สงิ่ ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ก็คอื จะทําอย่างไรให้ดแู ล้วเป็น Workpoint อันนีผ้ มบอกเอง ไม่ได้ว่า เมื่ออาคารเสร็จออกมาแล้วจะสมกับที่เราตั้งใจกันไว้หรือไม่ ต้องไปถามคนอื่นๆ คนที่เห็นอาคารตอนทําเสร็จออกมาแล้วว่า พวกเขาจะคิดเหมือนกับที่เราคิดหรือเปล่า แต่ สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือผมมีเวลาแค่ 6 เดือน แบบก็จะต้องพร้อมที่จะทำการก่อสร้างภายใน 6 เดือน ตอนนั้นคิดว่ายากมาก คิดว่าไม่มีทาง แล้วก็ให้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี คุณประภาสถามผมว่า เคยเข้าไปในโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์หรือเปล่า เขาคิดว่าพอ เข้าไปแล้ว ไม่รู้สึกเหมือนไปโรงพยาบาลเลย เพราะว่าให้ความรู้สึกว่าน่าไป อาคารของเรา ก็น่าจะทําให้เกิดความรู้สึกอย่างนั้นบ้าง ทําสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับว่าไม่ใช่แล้วใช่ ผมก็ เลยบอกว่า ผมก็จะทําให้รสู้ กึ เหมือนกับว่า มาสตูดโิ อแล้วไม่เหมือนอยูใ่ นสตูดโิ อ หรือมานี่ แล้วก็ไม่นา่ เบือ่ รู้สึกสนุก อยากมาอีก เหมือนมาดูละคร ทัง้ หมดเป็นจุดเริม่ ต้นทีห่ ลวมๆ มากตอนนัน้ ผมก็เริม่ คิด เริม่ สเก็ตช์ ทําเป็นรูปขาวดํา ทําเป็นสามมิติบ้าง คุณประภาสคุยให้ฟังต่ออีกว่า ตอนที่ไปดู Universal Studio สตูดิโอที่ นั่นทําเป็นหลังๆ แยกออกจากกัน เห็นแล้วก็รู้สึกว่าน่าจะประหยัดดี Workpoint เองก็น่า จะทําแบบนัน้ บ้าง แต่ออกแบบให้สวยกว่า ตอนนัน้ ผมยังคิดอะไรไม่ออก แต่กถ็ ามกลับไปว่า แล้วจะจอดรถกันอย่างไร เพราะในทีด่ นิ ของเรา จอดรถบนลานคอนกรีตแค่ 500 คัน ก็กนิ ไปเกือบครึ่งแล้ว ถ้าทําแบบนี้จะทําให้เรามีข้อจํากัดมากเกินไป ผมคิดว่าควรทําที่จอดรถ ให้อยู่ใต้ถุนตึกให้หมดเลย เหมือนที่เราเห็นกันอยู่ตอนนี้ แล้วพื้นที่ของสตูดิโอทั้ง 5 ห้อง ก็ตอ้ งขึน้ ไปอยูช่ นั้ 2 ผมบอกว่าวิธคี ดิ แบบนี้ เหมือนหลักการออกแบบศูนย์การค้าโดยทัว่ ไป จุดเริม่ ต้นของโครงการนีก้ เ็ ลยเริม่ ต้นจากตรงนี้ ส่วนสตูดโิ อจะเป็นอย่างไรนัน้ ก็คอ่ ยไปว่ากัน อีกที ซึ่งคุณประภาสเองก็เห็นด้วยตรงนี้.

a+A:01 = Workpoint Entertainment

23 } จุดเริ่มต้น


02 }

25 } ที่ตั้งโครงการ

24 a+A:01 = Workpoint Entertainment


ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

จังหวัดปทุมธานี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รเิ ริม่ ขุดคลองรังสิต เพือ่ เชือ่ มต่อแม่นำ้ นครนายกกับแม่นำ้ เจ้าพระยา ส่วนคลองเปรมประชากร เป็นคลองทีแ่ ยก ออกจากรังสิต ทั้งหมดถูกขุดขึ้นเพื่อการขนส่งและชลประทาน ให้กับทุ่งรังสิตทั้งหมด ที่นี่นับเป็นแหล่งปลูกข้าวสำหรับเลี้ยงคนในพระนคร ในบริเวณนี้ คนโบราณเรียกว่า “อู่ข้าวอู่น้ำ” สำหรับตราสัญลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี เป็นรูปดอกบัวสีชมพู ตรงกลางมีรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้างประกอบกัน สื่อความหมายถึงความสมบูรณ์ ด้วยพืชพันธ์ุธัญญาหารนานา. เรื่องที่ตั้งของโครงการ คุณสุทิตคิดว่ามีปัญหาอะไรบ้างไหมครับ มีปัญหาเดียวคือ ปัญหาน้ำท่วมเพราะเป็นพื้นที่ต่ำ ต้องระวังเรื่องระดับความสูงของพื้นที่ ตอนถมก็ต้องตรวจระดับถนนให้ดี ตอนแรกก็คิดจะทําที่จอดรถแบบใต้ดิน คือไม่ต้องถมที่ เพราะจะทําเป็นที่จอดรถใต้ดิน แล้วก็ทํากําแพงกันดิน แต่ทางวิศวกรที่ปรึกษาบอกอย่าไป เสี่ยงเลย เพราะว่าถ้าเกิดที่ดินรอบๆ ในอนาคตข้างหน้าเกิดถมสูงกันหมด แล้วที่ของเราก็ จะกลายเป็นแอ่งเดียวในพื้นที่นี้ เวลาน้ำท่วมถนนเลียบคลอง น้ำก็จะพากันไหลมารวมอยู่ ในแอ่งนี้ หรือที่จอดรถใต้ดินของเรานี้หมด จะเสียหายมาก แค่ทผี่ า่ นมาปีนี้ คลองเปรมประชาหน้าโครงการ น้ำปริม่ ถนนเลยนะ ระดับน้ำในคลอง ที่รังสิตที่ผ่านมา ทางราชการเขากันไว้เต็มที่ เพราะเขาจะพยายามรักษาระดับน้ำที่ระดับ ถนนพอดี นีเ่ ป็นแค่ตวั อย่างหนึง่ นะ แต่ถา้ เป็นเวลาทีน่ ำ้ มาเยอะจริงๆ ก็คงเอาไม่อยู่ ทีด่ นิ ตรงนี้เวลาถมจะอ้างอิงกับถนนใหญ่ปทุมธานี-รังสิตข้างนอก แล้วเราก็ถมสูงขึ้นมาจาก เดิมอีกประมาณ 4 เมตร วันนัน้ ผมเองก็บอกคุณประภาสไปว่า เราต้องทําเหมือนปัม้ น้ำมัน ตามต่างจังหวัด ทีถ่ มสูงขึน้ มาจนเห็นชัดเจน เพราะเขาก็องิ กับระดับถนนใหญ่หน้าปัม๊ เพราะ ฉะนั้นเราเองก็ไม่มีทางเลือก ถ้าเวลาเกิดน้ำหลากขึ้นมา น้ำก็จะไหลไปที่ท้องนารอบๆ ส่วนเรื่องทิศทางลม และแดดนั้น ก็เป็นไปตามธรรมชาติที่ค่อนข้างดีนะ ด้านหน้าเป็น ตะวันออก ถนนเป็นทางเข้า ด้านทิศตะวันออกก็รอ้ นแต่เป็นเฉพาะช่วงเช้า ผมจัดเป็นสวน เป็นส่วนของภูมิสถาปัตยกรรม ส่วนทางด้านทิศตะวันตก เป็นโซนที่ไม่ค่อยต้องการแสง เท่าไรนัก เพราะว่าเป็นจำพวกโรงเก็บฉาก แล้วก็ห้องสำหรับทําฉาก ส่วนทิศเหนือ วิวไม่ ค่อยสวย เป็นส่วนบริการ ทิศใต้เปิดโล่ง วิวสวย เป็นส่วนสำนักงาน และกำหนดตำแหน่ง ของลม และให้สตูดิโอทั้งหมด 5 โรงอยู่ตรงกลาง เพื่อเป็นศูนย์กลางการใช้สอย

26 a+A:01 = Workpoint Entertainment

27 } ที่ตั้งโครงการ


ดึงน้ำจากคลองเข้ามาหมุนวนในโครงการ

Workpoint

} การวางผังฯ

29

03 } เมืองน้ำ 28 a+A:01 = Workpoint Entertainment

- ลานน้ำ


งานวางผังโครงการนี้ ได้รับการดูแลจากคุณวโรภาสน์ วงศ์จตุรภัทร ภูมิสถาปนิกผู้ คร่ำหวอดอยู่ในงานอนุรักษ์โบราณสถาน จากกรมศิลปากร มาหลายสิบปี ขอให้คุณวโรภาสน์ ช่วยเล่าถึงการออกแบบวางผังของโครงการนี้ครับ

ผมเข้ามาออกแบบโครงการนี้ เพราะคุณสุทติ แนะนำมาให้ชว่ ย ปกติทำแต่งานประเภท อนุรักษ์ แล้วการออกแบบสำหรับภูมิทัศน์ใหม่ๆ ในงานอนุรักษ์จะมีข้อจำกัดค่อน ข้างเยอะ พอมาเจองานสมัยใหม่ ก็มีความรู้สึกท้าทายดี กว่างานแบบส่วนนี้จะมาถึงผม คุณสุทิตซึ่งเป็นสถาปนิกก็ได้วิ่งไปร้อยกว่าแบบ ได้แล้ว สถาปนิกได้ทำการวางผังของอาคารหลักๆไว้จนเรียบร้อยแล้ว เสียดายที่ทุก อย่างน่าจะเริ่มไปพร้อมๆ กัน แต่ก็เข้าใจได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความซับซ้อน ความยากของตัวโปรแกรม แล้วก็เรือ่ งประโยชน์ใช้สอยของส่วนต่างๆ ผนวกกับความ ต้องการในรายละเอียดต่างๆ ทีย่ งั ไม่คอ่ ยจะนิง่ นักของทาง Workpoint เอง ทีท่ ำให้ สถาปนิกต้องไปจัดการให้เสร็จเรียบร้อย กับทางเจ้าของโครงการเสียก่อน พอส่วน ออกแบบเริ่มนิ่งแล้ว สภาปนิกก็เลยได้มีโอกาสมาคุยกับภูมิสถาปนิกทีหลัง สำหรับผมเองแล้ว คิดว่าไม่ใช่แนวทางทีถ่ กู ต้องนัก แต่กท็ ำกันมาจนเป็นเรือ่ งปกติ ส่วนใหญ่สถาปนิกจะเป็นผู้รับงานออกแบบมาก่อน อันนี้ก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไปกับระบบ ที่ทำกันอยู่ สถาปนิกก็ลุยไปก่อนประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ทางสถาปนิกก็คิดมาแล้วก็ ออกมาเป็นโจทย์ให้ทางภูมิสถาปนิก ผมว่าดูเหมือนเกือบจะเบ็ดเสร็จแล้ว ก่อนที่ผม ได้เข้ามาคุยกับคุณสุทิต โครงการนีภ้ าพรวมทางสถาปัตยกรรม ออกแนวสากลสมัยใหม่ ภูมสิ ถาปัตยกรรม ก็คงต้องออกไปทางนั้นเช่นกัน แต่ด้วยคุณประภาสและคุณสุทิตเป็นผู้ดูแล ผมเชื่อว่า น่าจะมีการสอดแทรกความเป็นไทย เข้าไปในงานบางส่วนให้เหมาะสมได้ ตรงยุง้ ข้าว นี้คือส่วนหนึ่ง และเป็นเสมือนหัวใจของโครงการ ลานต้อนรับ (ลานน้ำ) ลานพระ พิฆเนศวรและพืน้ ทีต่ อ่ เนือ่ ง ซึง่ เป็นงานภูมสิ ถาปัตยกรรมทีต่ อ้ งคิดให้ตอ่ เนือ่ ง ออกมา เป็นลักษณะที่สอดคล้อง ตอบรับก่อน

ลานน้ำคืออะไรครับคุณสุทิต เราต้องการลานขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในกิจกรรมพิเศษ ที่สามารถรองรับได้มากกว่า 300 คน เนือ่ งจากเป็นเมืองน้ำ เราจึงต้องคิด “ลานน้ำ” สร้างความรูส้ กึ ของความต่อเนือ่ งจากคลอง เปรมประชากร ที่อยู่ด้านหน้าโครงการ ให้ไหลเวียนเป็นแนวคลื่น พัดเข้ามาในลานแห่งนี้ และตลอดชัน้ ล่างยกใต้ถนุ สูง โดยพืน้ ทีใ่ ช้สอยหลักขึน้ ชัน้ 2 แบบหมูบ่ า้ นไทย โดยให้มที าง ขึ้นชั้น 2 เป็นบันไดขนาดใหญ่ อยู่บริเวณลานแห่งนี้ด้วย.

30 a+A:01 = Workpoint Entertainment

ขอบเขตของงานภูมสิ ถาปัตย์ คือพืน้ ทีภ่ ายนอกอาคาร คอร์ตบริเวณส่วนสำนักงาน แนวถนน รั้ว รอบโครงการ และอีกส่วนหนึ่งที่คุณสุทิตให้ผมช่วยดู คือบริเวณลาน ต้อนรับทีม่ เี ส้นสายลายคลืน่ น้ำ ซึง่ ตอนผมดูครัง้ แรก งงมาก พืน้ เยอะมาก ระบบจุด เริ่มของเส้นต่างๆ เป็นอย่างไรไม่ทราบ อีกส่วนที่คุณสุทิตอยากได้มาก คือ ประตู ใหญ่ทางเข้าของโครงการ จะต้องตรงกับจุดศูนย์กลางยุ้งข้าว ซึ่งตรงกับโครงเหล็ก รับหลังคาตัวรูปตัว W ซึง่ ผมเองก็เห็นด้วย หลังจากนัน้ ก็เสนอแบบดูกนั สองสามรอบ ก็ยังรู้สึกว่าไม่ลงตัวสักเท่าไหร่ ยุง้ ข้าว นีค่ อื แนวคิดมาเป็นอย่างนีแ้ ล้ว เหมือนอยูบ่ า้ นไทยโบราณต้องมียงุ้ ข้าวเป็น ของตัวเอง มียุ้งข้าว มีฉาง มีชะลอมเก็บอาหาร ส่วนเรื่องของรูปทรง คุณสุทิต ก็คิด ปูพนื้ ฐานกันมาแล้ว คือเป็นเส้นโค้งๆ เป็นผังรูปวงรี ผนังเอียงเข้าหากัน ผนัง กำแพง กันดิน อัฒจันทร์บันได บ่อน้ำพุ ซึ่งอยู่โดยรอบผังเป็นเส้นโค้งทั้งหมด รัศมีเท่าไหร่ก็ แล้วแต่ใจของคุณสุทิต เส้นโค้งที่ว่าจะต้องไปเจอกับอาคารส่วนอื่นๆ ที่เป็นเส้นประ มีฉาก มีแนว ลวดลายพื้น วัสดุจะเป็นอย่างไรตรงลานพระพิฆเนศวร แล้วจะอยู่ที่ ตำแหน่งไหน ประตูใหญ่ทางเข้าจะต้องตรงกับศูนย์กลางยุง้ ข้าว ทัง้ หมดนัน้ คือ โจทย์ (ปัญหา) ของผม เรื่องความเป็นไทย ถ้าจะดูที่ทำแบบจนมาถึงผม นอกจากแนวคิด หลักๆ แล้ว ผมว่าในเรื่องของการกันแดดกันฝนตามสภาพภูมิอากาศ ทางสถาปนิก ก็พยายามที่จะรักษาไว้ ซึ่งก็เห็นออกมาชัดเจน

31 } การวางผังฯ


เมื่อต้องคิดถึงระบบเส้นสาย ระบบเส้นของเก่าที่คุณสุทิตทำไว้ คือเส้นที่กำหนด ขึ้นมาก่อน ดูเหมือนว่าจะมีจดุ ศูนย์กลางอยูท่ หี่ นึง่ โดยทีค่ ณ ุ สุทติ ไม่ทราบว่าเป็นจุด อะไรอยูต่ รงไหน แล้ววิง่ ไปตรงไหน คุณสุทติ คิดมาอย่างไรก็ไม่รู้แหละ ผมก็บอกไม่ เป็นไร เดี๋ยวผมมานั่งดูเอาเอง ปรากฏว่าเส้นที่ว่าที่คุณสุทิตทำมาทั้งหมด ไม่มีระบบ ผมก็มาคิดเองว่าถ้าจะมี ระบบ เราจะสร้างขึน้ มาได้อย่างไร ผมก็ลากด้วยมือเปล่าๆ ไปก่อน ไม่ได้ใช้วงเวียน หรือเครื่องมืออะไร ขีดไปขีดมาเรื่อยๆ ด้วยดินสอ พอเห็นภาพรวมๆ ได้แล้ว ก็ให้ น้องทีเ่ ก่งทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยแกะหน่อย มาช่วยหาดูวา่ ระบบจะเป็นอย่างไร ได้บ้าง ได้ผลออกมาว่ามี 2 ระบบอยู่ด้วยกัน โดยมีส่วนโค้งใหญ่ของวงรี (ยุ้งข้าว) และอื่นๆ (ผนังอัฒจันทร์ บันได ฯลฯ) เกิดจากส่วนโค้งของวงกลมมีรัศมีที่ต่างกัน และจุดศูนย์กลางที่มีแนวเคลื่อนไปทางทิศตะวันตก ส่วนโค้งเล็กของวงรี (ยุ้งข้าว) และอื่นๆ (ผนัง บ่อน้ำพุ ฯลฯ) เกิดจากส่วนโค้งของวงกลมมีรัศมีที่ต่างกัน และ จุดศูนย์กลางที่มีแนวเคลื่อนไปทางทิศใต้ ผนังอาคารด้านทิศใต้บริเวณสำนักงาน โค้งและเอียง ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ ช่วงแรกๆ ที่เสนอแบบ ส่วนที่มีเส้นสาย รูปทรงรูปร่างต่างๆ ผมพยายามให้มีความเป็นไทย คือ มีเส้นสาย รูปทรง รูปร่าง ของความเป็นไทยบ้าง คุณสุทิตกับคุณประภาสเห็นแล้วยังไม่ชอบกัน ภายหลังเมื่อ มาคิดอีกรอบ และเห็นองค์พระพิฆเนศวร จึงพอเข้าใจว่าภาพรวมของโครงการที่จะ ออกมาและตามที่ Workpoint คิดไว้ต่างจากสิ่งที่ผมคิด และคงจะเหลือเพียงราย ละเอียดแล้วก็พันธุ์ไม้เท่านั้น ที่พอจะเลือกชนิดให้มีบรรยากาศไทยได้ เมื่อพอจะจับแนวทางได้แล้ว ก็ปรับการวางผังใหม่ โดยเริ่มจากระบบเส้นหลัก ที่ได้จากผังยุ้งข้าว กับเส้นแนวผนังอาคารด้านทิศใต้ ซึ่งเมื่อดูจากผังจะโดดเด่นมาก และเป็นเรื่องเดียวกัน ผมก็ยึดเส้นนี้เป็นหลัก ซึ่งคุณสุทิตก็เห็นด้วย ตรงนี้จึงเป็น เหมือนจุดเริม่ ต้นของการออกแบบทีเ่ ห็นอยู่ ระบบเส้นของยุง้ ข้าวกับผนังโค้งด้านทิศใต้ เป็นระบบที่สอดคล้องกันเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อลองวางแนวถนน และกำหนดลาน พระพิฆเนศ ทางเดินต่างๆ ก็เห็นว่าดี ลงตัว มองดูแล้วเห็นว่างานสถาปัตยกรรมกับ งานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องเดียวกัน มีที่มาที่ไปจากสิ่งเดียวกันแล้ว

32 a+A:01 = Workpoint Entertainment

33 จากเส้น จากผัง ที่เห็นเป็นแบนๆ 2 มิติ ก็มาคิดรายละเอียดต่อให้เป็น 3 มิติ ขอบคัน ผนังมีระดับความสูงแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบ เพื่อกำหนด พืน้ ทีใ่ ช้สอยและองค์ประกอบ จังหวะ ภาพรวมของกายภาพ บรรยากาศทีผ่ ใู้ ช้จะรับรู้ และสัมผัสได้เมื่อเข้ามาในพื้นที่ ต้นไม้เป็นองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่ง ที่จะเข้ามาเสริม ความคิดให้สมบูรณ์มากขึน้ พืน้ ทีด่ า้ นหน้าบริเวณลานพระพิฆเนศวร และด้านนีเ้ ดิมทีจะมีบอ่ รับน้ำขนาดใหญ่ ซึง่ ผมเข้าใจว่าทาง Workpoint กับคุณสุทติ มีความคิดอะไรอยู่ แต่จริงๆ แล้วก็เพือ่ ใช้ รับน้ำเท่านัน้ ซึง่ คุยกันแล้วว่าไม่จำเป็น และบ่อใหญ่ขนาดนี้ กับเรือ่ งของการดูแลรักษา ที่ยากก็เลยตัดออกไป แบบสุดท้ายบริเวณนี้เป็นเนินดิน เพื่อควบคุมมุมมองจากถนน ภายในและภายนอก แนวเนินตอบรับกับลานพระพิฆเนศวร และส่วนสูงสุดของเนิน เป็นจุดรับ หรือซึมซับพลังพระพิฆเนศวรด้วยต้นไม้ใหญ่ ต้นเดี่ยว หลังต้นไม้เดี่ยวจะ เป็นป่า ซึง่ ผมชอบตรงนีท้ สี่ ดุ บริเวณลานต้อนรับ ลวดลายพื้นที่ออกไปก็ดูแบนๆ พยายามให้มีการเชื่อมต่อ ขึ้นมาเป็นระยะๆ เหมือนเป็นคลื่นที่ขาดๆ ซ้อนๆ กัน ในเส้นคลื่นเอง ก็ใช้วิธีการ แสดงออกทีห่ ลากหลาย เช่น การใช้ลกั ษณะของพืน้ ผิว การใช้สตี า่ งๆ ด้วย ผมทำให้ เป็นจังหวะๆ ใช้เป็นที่นั่งได้ด้วย ปรากฏว่าดูแล้วเกิดความรู้สึกว่าเสี่ยง คุณสุทิตก็ เลยบอกว่าส่วนทีเ่ ป็นเส้นดีแล้ว แต่ให้เล่นในเรือ่ งความหลากหลายแค่ทพี่ นื้ พอ ถ้าจะ มีให้ตอ่ เนือ่ งกัน ให้ไปสัมพันธ์กบั ทีอ่ นื่ ก็มาเชือ่ มใกล้ๆ ตรงถนนนี้ ซึง่ ไม่เกีย่ วข้องกัน เส้นทีว่ งิ่ ทีพ่ นื้ ก็มาถึงกำแพงแล้ววิง่ ในระดับบนต่อ เส้นสายทุกอย่าง ผมไม่อยากให้ไป ชนอะไรแล้วก็หยุด อยากให้วิ่งต่อเนื่องอีกได้ ถ้าอยากให้ต่อ มีเส้นที่พื้นข้างล่าง ขึน้ บันไดมาข้างบน (ชัน้ บน) เส้นสายก็จะขึน้ มาข้างบนด้วย บางช่วงคุณสุทติ อยากให้ไหล เข้าไปข้างในอาคารด้วย

} การวางผังฯ


35 ตรงทีม่ ขี อบ คสล. แต่กส็ รุปว่า ขอบไม่เอา ให้เส้นไหลทะลุไปเลย ไปจบทีต่ รงมุม จะว่าไปแล้ว เส้นของผมมีเยอะมากเลย ทีแรกมีบนถนนด้วย ช่วงหลังๆ จาก 100 เส้น ลดลงเหลือแค่ 70 เส้น เพราะรู้สึกเริ่มจะยุ่งยาก การทำลายเส้นบนถนน เป็นเรื่องที่ ยุง่ ยากจริงๆ ตอนทำง่ายแต่หลังจากนัน้ การดูแลรักษายุง่ พอควร ถ้าพืน้ ถนนยุบ ก็ตอ้ ง ปรับแก้อกี ทำให้เกิดความยุง่ ยากในการดูแล ผมก็เข้าใจ ไม่มกี ไ็ ม่เป็นไร แต่บริเวณ ทางลาดเข้าโครงการนี้ มีได้เพราะมีทางลาด (slope) ผมก็บอกว่าขอเถอะ ถ้าเป็น ไปได้อยากให้เป็นคอนกรีต ให้ไหลๆ ไปตามนี้ ทีแรกผมอยากจะทำทางลาดตรงนี้ แต่ปรากฏว่าดูไปดูมา มาทำทางลาดตรงที่ต่อเนื่องกับเส้นโค้งแทน อีกส่วน คือ ลานรับตรงส่วนด้านหน้า มีความพยายามที่จะเอาน้ำมาประกอบ ปรึกษากันหลายรอบ ก็รู้สึกว่าบริเวณนี้แห้งมากเลยนะ ถ้ามีน้ำก็จะดูสบายๆ และ น้ำก็ไม่ควรเป็นน้ำนิ่ง ควรเป็นพลวัต (dynamic) ให้มีชีวิตชีวา ยุ้งข้าว และส่วน ต่างๆ โดยรอบก็น่าจะไปกันได้ เรื่องโทนสีคุณสุทิตก็อยากให้ข้างล่างดำสนิทเลย ส่วนนั่งพักบริเวณพลาซ่า ตอนแรกอยากให้สัมพันธ์ไปตามเส้นโค้งนี้ แต่ทำเป็น ม้านั่งขึ้นมาจากพื้น แต่สุดท้ายก็เป็นเก้าอี้กลมๆ แบนๆ ส่วนเรื่องของวัสดุก็คุยกัน อยู่เยอะ เท่าที่ดูอย่างไรเสียก็ต้องมาจากโจทย์ เป็นเรื่องของสัจจะของวัสดุ ประเภท คอนกรีตเปลือย คุณสุทิตพยายามมาก หินก็เป็นอีกส่วนที่จะเอามาประกอบ เป็น วัสดุปิดผิว (finishing) บุหินมาเป็นแผ่นก็มี เป็นเม็ดก็มี ส่วนเรื่องของสี ผมคุมโทน สีมาก คุณสุทติ อยากให้ออกสีโทนกึง่ ๆ อุตสาหกรรมหน่อย โทนแดงๆ ดินเผา จะเป็น แนวอบอุน่ ก็ไม่ใช่ ดังนัน้ โทนสีโดยรวม ก็เลยออกมาเป็นดำๆ เทาๆ คล้ายเป็นโลหะ ให้อารมณ์แบบอุตสาหกรรม.

34 a+A:01 = Workpoint Entertainment

} การวางผังฯ


รูปทรงคล้ายเครือ่ งมือจับปลา “ยกยอ”

37 } แนวคิด

แนวคิดในการออกแบบเบื้องต้น

04 }

ปทุมธานี เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ

แนวคิด “อูข่ า้ ว อูน่ ำ้ ”

น้ำ หมายถึง การทำมาหากิน เจริญเติบโต ความเคลื่อนไหว ขยันขันแข็ง ข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมี ใช้

ขยัน ขันแข็ง 36 a+A:01 = Workpoint Entertainment


คุณสุทิตเริ่มทำแบบร่างด้วยวิธีใดครับ

ตอนเริ่มคิดแบบร่าง ผมเริ่มไป 3 แบบ แบบที่ 1 ก็คิดไปตามที่คุณประภาสอยากจะได้ คล้ายๆ กันกับ Universal studio ที่ทํา

แบบที่ 1

38 a+A:01 = Workpoint Entertainment

สตูดิโอเป็นหลังๆ ผมก็บอกว่า Universal studio เขาไม่มีบริษัทแม่ที่เป็นสํานักงานใหญ่ รวมเข้าไปอยู่ในสตูดิโอแบบเราด้วย เพราะได้ถูกแยกออกไป แล้วเอาสตูดิโอไปรวมไว้ตรง ที่หนึ่ง เอาส่วนสำนักงานไปอีกที่หนึ่ง ตัวสำนักงานก็เลยดูสวย สตูดิโอก็เลยดูเรียบร้อย แต่ในขณะที่ของเราต่างกันที่ว่า เราเอาสตูดิโอกับสำนักงานมาจับรวมกัน เพราะฉะนั้นเรา จะต้องทําให้ภาพลักษณ์ของ Workpoint ที่จะต้องดูดีด้วย สตูดิโอทั้ง 5 หลังที่สร้างติดกัน รวมกันแล้วดีนั้น อันนี้เป็นเรื่องยาก แล้วทั้งหมดต้องบ่งบอกว่า เป็น Workpoint หรือเป็น อาคารชนิดพิเศษ นีค่ อื โจทย์ ผมแก้งา่ ยๆ โดยการทีเ่ มือ่ วางตำแหน่งอาคารต่างๆ แล้วก็ใช้ หลังคาปิดทีเดียวผืนเดียวเลย ข้างใต้จะมีกี่หลังก็แล้วแต่ แต่จะยกหลังคาเปิดเป็นบางช่วง เพือ่ ให้ลมหรือแสงเข้ามาได้ตามความต้องการ อันแรกก็คอื คลุมไปหมด ลักษณะเป็นเหมือน คลุมโปง แบบที่ 2 ไม่คลุมไปทีเดียวทั้งหมด แต่ให้หลังคาเอียงลาดไปลาดมา ซึ่งจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้มี อาคารลักษณะนีอ้ อกมากันเยอะนะ โชคดีของผมทีไ่ ม่ได้ทาํ แบบนีอ้ อกมาเป็นแบบสุดท้าย มิฉะนั้นคงรู้สึกว่าเห็นมาก่อนหน้านี้กันมาเยอะมาก ไปซ้ำกับคนอื่นอีก เพราะเราคงเสร็จ ออกมาทีหลังเขาอีก แบบที่ 3 คือแบบที่ผมอยากจะได้ คือทําหลังคาคลุมเป็นชิ้นๆ ไม่ใช่คลุมโปงเหมือนแบบ แรกๆ ช่วงที่คิดแรกๆ นี้ผมมีคําสําคัญที่เป็นหลักคิดอยู่คําหนึ่งว่า “น้ำ” เพราะที่ดินของ เราติดกับน้ำ แล้วก็อยากทําให้อาคารหลังนี้ ดูเหมือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง อาจจะเป็น ใบเรือ หรืออะไรก็แล้วแต่ และการพัฒางานออกแบบในช่วงหลังๆ นี้ ก็จะนํามาสูค่ วามคิด เรือ่ ง “น้ำ” นี้ เช่นตัวอย่างของรูปนีเ้ อามาจากหนังสือ “ลักษณะไทย” เป็นสิง่ ของทีเ่ กีย่ ว ข้องกับน้ำ ผมก็จะเอามาใช้หมด พวกทีเ่ ป็นอุปกรณ์ เครือ่ งมือต่างๆ เช่น ยกยอ เสากระโดง แหต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เราก็เสนอไปเป็นแนวคิดหลักอันนี้ได้เลย ผมนําแบบทัง้ 3 แบบ เข้าไปอธิบายให้ทมี งานของ Workpoint ทีด่ แู ลเรือื่ งนี้ พร้อมๆ กับคุณประภาส ผมให้ดูกันทั้งแบบ 3 แบบนี้เลย โดยไม่อธิบายอะไรมากนัก แต่ปล่อยให้ พวกเขาดูกันเอาเอง สุดท้ายทีมงานเลือกแบบที่สามนี้ ทุกคนเห็นพ้อง ตัวคุณประภาสเอง ก็เห็นพ้องตามด้วยกับทีมงาน ก็พากันเอาไปเสนอให้คุณปัญญาดู คุณปัญญาก็ใช้เวลาดู เหมือนพวกทีมงานแหละ ผมก็เล่าว่ามี 3 แบบ แต่ยังไม่บอกผลลัพธ์ว่าพวกทีมงานและ คุณประภาสเลือกแบบไหน แต่ให้คุณปัญญาดูทั้ง 3 แบบเลย

39 } แนวคิด

แบบที่ 2

แบบที่ 3


แบบสุดท้ายที่เลือก

ยกยอ

ลานน้ำ

ยุง้ ข้าว

คุณประภาสได้คุยกับคุณสุทิตว่าอย่างไร ก่อนที่คุณสุทิตจะเริ่มทำแบบร่างทั้ง 3 แบบมาให้ดูเป็นครั้งแรก และหลังจากเห็นแบบแล้ว คุณประภาสรู้สึกอย่างไรบ้างครับ

วิธีเล่าก็เล่าคล้ายๆ กับเล่าให้คุณประภาสกับทีมงานฟัง แบบแรกก็ยังไม่มีใครเคยทํา นะครับ ความคิดรวบยอดของแบบแรกคือ คลุมทั้งหมดเลย ถ้าคลุมสวยก็สวยนะ ไม่สวยก็ ไม่สวย ส่วนแบบที่สองที่มีหลังคาหลายๆ ชิ้น ผมก็บอกไปเลยว่า ถ้าเสร็จออกมาแล้ว ก็ดู คล้ายๆ กับของคนอืน่ ๆ ทีเ่ คยเห็นๆ กันมา มีเป็นการแตกชิน้ ของหลังคาออกมาเป็นชิน้ ๆ พอเห็นแบบแรก คุณปัญญาก็ให้คําติมาสั้นๆ ได้ว่าดูใหญ่เกินไปหรือเปล่า ซึ่งอันนี้ถูกต้อง เพราะว่าเราจะใช้ที่ดินเต็มพื้นที่เกินไป แล้วคุณปัญญาก็ถามด้วยว่าแต่ละด้านของที่ดินจะ เหลือพื้นที่อีกเท่าไหร่ แล้วตัวอาคารดูแน่น อึดอัดไปหรือเปล่า ส่วนแบบที่สอง ซึ่งเป็นหลังคาหลายๆ ชิ้น คุณปัญญาแค่มองผ่านไป ไม่พูดไม่จาว่า อะไร ทีมงานก็แปลความหมายได้ว่า ไม่ค่อยจะชอบนัก มาถึงแบบอันที่ทีมงาน Workpoint และคุณประภาสเลือก แบบที่สาม คุณปัญญาก็ ชี้ถามทันทีว่าพวกเขาเลือกอันนี้กันใช่ไหม ผมก็เลยตอบว่าใช่ครับ คุณปัญญาก็อึ้งไปนาน ซักพักก็หันมาถามคุณประภาสอีกทีว่า เลือกกันอันไหน คุณประภาสก็บอกว่าอันนี้ก็ดีนะ คุณประภาสใช้วิธีตอบแบบอ้อมๆ ไป คุณปัญญาก็อึ้งไปสักพัก ใช้เวลานิดเดียวก็พูดคํา สําคัญออกมาคําเดียวเลยนะว่า “สุทิต พี่ “เหนื่อย” มาหลายปีแล้ว”

40 a+A:01 = Workpoint Entertainment

พอเราทราบและแน่ ใจว่า เป็นทีด่ นิ ตรงนีแ่ ล้ว ก็ ให้คณ ุ สุทติ เข้ามาช่วยดู คุณสุทิตก็ถามผมว่าคิดถึงอะไรบ้าง ผมก็ บอกว่าผมไม่ตอ้ งการอะไรตัง้ โด่เด่กลางท้องนา เพราะรูส้ กึ ว่าจะตัดกันแรงจนเกินไป คุณสุทิตก็เข้าใจ แล้วก็กลับมา พร้อมกับเสนอไอเดียเรื่อง “น้ำ” ซึ่งเป็นเรื่องของจังหวัด ปทุมธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการเป็นเมืองน้ำ เมื่อก่อน บริเวณนีก้ เ็ ป็นท้องนาหมด จากทีด่ นิ ของเราตรงนี้ ถ้าเดิน เลยลึกเข้าไปอีกในซอยข้างในนี้ ก็มที อ้ งนาตลอด คุณสุทติ ก็เลยเสนอแนวคิดเรื่อง “อู่ข้าวอู่น้ำ” ซึ่งในแง่ของคนไทย เป็นความหมายที่ดี เป็นมงคล ซึ่งก็น่าสนใจทั้งในแง่ของ มงคลแบบไทยทั้งชื่อ และก็ ในความหมายของท้องถิ่นที่ เป็นจังหวัดปทุมธานี ซึง่ เป็นเมืองน้ำ เป็นเมืองทีป่ ลูกข้าว แล้วก็เข้ากันพอดี น่าสนใจ

ในช่วงที่ ให้คุณปัญญาดูแบบ คุณสุทิตเล่นคล้ายๆ กับเป็น “ยกยอ” ซึง่ คุณปัญญาดูแล้วถึงกับงง เพราะว่าดูเหมือนว่า มันจะล้ม เราก็ปลงใจกันว่า ไม่นา่ จะไปได้ดี ในแง่ของเรือ่ ง การก่อสร้าง เพราะงบจะบานปลายออกไปมาก ก็เลยมา ลดเรื่องพวกนี้ลงไปมาก ยังคงเหลือเฉพาะความเป็นน้ำ และเส้นโค้งของยอทีย่ กตักปลาขึน้ มา แต่แนวคิดของเรือ่ ง นี้ก็ยังมีอยู่ คุณสุทิตก็เลยเสนอ อาคาร “ยุ้งข้าว” ขึ้นมา เพิม่ อีกอันหนึง่ ซึง่ ผมก็วา่ เป็นความคิดทีด่ ี เพราะเรากําลัง อยากจะได้ห้องเอนกประสงค์ (function room) ที่แม้แต่ การแถลงข่าวของเราเอง เราก็ไม่อยากทีจ่ ะเดินทางเข้าไป ในเมืองเลย แล้วอนาคตถ้าเกิดเราอยากจะทําพวกสัมมนา เชิงปฏิบัติการต่างๆ เราก็สามารถทำได้ที่นี่เลย เพราะว่า เรามีหอ้ งที่ ใหญ่เพียงพอ ถึงจะไกลแต่พอมีทางด่วนฯ แต่ เมื่อเทียบกับระยะการเดินทางแล้ว ก็น่าจะเป็นการคุ้มค่า เลยเกิดตัวอาคารที่คล้ายๆ เป็น landmark เป็นลักษณะ ของ “ยุง้ ข้าว” ซึง่ คุณสุทติ ก็เสนอแบบนีเ้ ข้ามา ก็คอ่ นข้าง คุยกันเข้าใจ เข้าขากันได้ดี โดยตลอด พอเสนอไอเดียมา ซึ่งก็มีที่มาที่ไปดี

อาคาร “ยุ้งข้าว” นี้ ทีแรก คุณสุทิตเสนอมาเป็นแนวคิด แบบ “ประภาคาร” แต่ผมรูส้ กึ ว่าประภาคาร จะไปเกีย่ วกับ เรื่องทะเลไป แต่ถ้าเป็นยุ้งข้าวก็น่าจะเข้ากันได้ดีกว่า คือ ถ้าพูดในแง่ของรูปทรงและเส้นสายแล้ว ผมก็อยากจะได้ สถาปัตยกรรมชิน้ หนึง่ เพือ่ เป็นตัวหยุด หรือเป็นตัวกําเนิด ของอะไรอย่างหนึ่งของอาคารนี้ แล้วในแง่ของการวางผัง ผมก็อยากได้อะไรอย่างหนึง่ เป็นตัวยึด พอออกแบบมาเรื่อยๆ ก็เริ่มมีเปลี่ยนแปลง อยากได้อะไรที่เป็น landmark อะไรที่เกี่ยวข้องกับการ ออกอากาศ ก็เลยได้ skylight ทีเ่ ป็นแฉกๆ อยูบ่ นยอดของ ตัวอาคาร “ยุ้งข้าว” อีกที.

41 } แนวคิด


แนวคิดในการออกแบบพัฒนาต่อมา

42

คําว่า Workpoint มีการตีประเด็นไว้หลายอย่าง ตัวผมเองคิดว่า Workpoint เป็นองค์กรที่ มีการเคลือ่ นไหว ไม่หยุดนิง่ และมีพลวัตอยูต่ ลอดเวลา นีค่ อื Workpoint เท่าทีผ่ มสังเกตดู พวกเขามีการเปลี่ยนแปลงกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสถาปัตยกรรมของพวกเขา ก็น่า จะสะท้อนความเป็นพลวัตนี้ ออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด ด้วยรูปทรงของอาคารที่มีเห็นได้ ว่ามีความเคลื่อนไหว (movement) หมดทั้ง 3 แบบร่างที่ทําออกมา ผมก็นําเสนอว่าเป็น ภาพลักษณ์ขององค์กร Workpoint ที่มีการเปลี่ยนแปลง มีพลวัตอยู่เสมอ ที่คุณปัญญาบอกว่า “เหนื่อย” คือความรู้สึกของการดูแล้วเหนื่อย ในความหมายก็ คือลักษณะของเสากระโดงที่เอียง กับรูปแบบลักษณะอาคารแบบนี้ ซึ่งมองดูคล้ายกับรูป ทรงของเครื่องมือจับปลา หรือเรือใบ เป็นของที่เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งจะดูเป็นคลื่นลมแรงไปไหม เพราะเดีย๋ วองค์กรเราจะเหนือ่ ยไปมากกว่านีน้ ะ คือคุณปัญญาพูดในเชิงฮวงจุย้ คือถ้าอาคาร ของเรามีการเคลื่อนไหวมากๆ เดี๋ยวจะเหนื่อยไปหรือเปล่า คุณปัญญาขอพูดถึงแบบแค่นี้ นะก็ไม่ได้บอกว่าดีไม่ดี จะเปลีย่ นหรือไม่เปลีย่ นก็ไม่พดู นะ เพียงแต่บอกว่าเห็นแล้วเหนือ่ ย คุณปัญญาคล้ายๆ กับพยายามบอกกับทุกคนว่า แกอยากจะได้สิ่งที่ดูแล้วให้ความรู้สึกที่ มั่นคง เพราะที่ผ่านมาก็เหนื่อยกันมานานมากแล้ว แต่ก็ไม่ได้หักล้างความคิดเรื่องพลวัตร แต่ขอให้มีความรู้สึกที่ดูมั่นคง พอทุกคนฟังแล้วก็เข้าใจ ดูเหมือนกับว่าพวกเราลืมคิดเรือ่ งนีไ้ ป เพราะคุณปัญญาเป็น ประธานบริษทั พอวิจารณ์ครัง้ เดียวแล้วโดน เราก็เข้าใจ ผมเองเป็นคนออกแบบ ก็คดิ แต่จะ เอางานออกมาให้มันส์ๆ อย่างเดียว แต่เจ้าของตึกไม่มันส์ไปกับเราด้วย แต่ที่คุณปัญญา ว่าเดีย๋ วมัน “เหนือ่ ย” เป็นเหตุผลสําคัญทีท่ มี งานทัง้ หมดต้องถอยหลังมาหมดเลย กลับมา คิดกันว่า เราน่าจะขาดอะไรไปแค่นิดเดียว พอมานั่งดูกัน เรื่องแนวคิดของการแบ่ง และซอยอาคารออกเป็นส่วนๆ กับการทํา หลังคาให้เป็นชิ้นๆ ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่ที่คุณปัญญาชี้เป็นจุดๆ อย่างเช่น เสา ทําให้เป็นเสา ตรงๆ ไม่ได้หรอ คือคุณปัญญาก็มองแบบที่เราคิดเหมือนกับลูกค้าทั่วๆ ไปว่า ทําไมต้อง ทําเสาเอียงๆ ด้วย เองแล้วเดี๋ยวก็ล้มสิ คือ โครงสร้างที่มีพลวัตร ก็คือต้องไม่เป็นเส้นตรง ใช่ไหมล่ะ แต่แกไม่อยากจะได้วิธีคิดแบบนี้ ผมเองก็ใช้เวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์ คิดว่าจะ ไปหาอะไรอย่างอื่นมาแทน และการที่ได้หยุดแล้วใช้เวลาคิดนี้ ก็เลยเป็นที่มาของ “ยุ้งข้าว” ตอนแรก ผมก็คิดว่า ห้องๆ นี้ จะทำเป็นห้องอเนกประสงค์ ผมจะใช้อะไรเป็นตัวหยุดของกลุ่มอาคารดี ก็นึกถึง ว่าในท้องนา มีน้ำ มียุ้งข้าวนะ ตอนนั้นยังไม่ได้เรียกว่ายุ้งข้าวเสียด้วยซ้ำ ผมบอกกับคุณ ประภาสว่า ผมจะเปลี่ยนรูปทรงตรงนี้ให้เป็น “ประภาคาร” ตอนนั้นยังเป็นแนวคิดใน เรื่องของน้ำอยู่ พอทํารูปทรงอย่างนี้ คุณประภาสบอกว่าอาคารนี้ น่าเรียกว่า “ยุ้งข้าว”

a+A:01 = Workpoint Entertainment

43 } แนวคิด

เพราะให้ความรูส้ กึ เกีย่ วกับท้องนา พอคุณประภาสพูดคํานีป้ บุ๊ จากรูปทรงทีย่ งั ไม่ได้พฒ ั นา พอมีคําว่ายุ้งข้าว ผมก็พัฒนาแบบต่อให้เป็นห้องประชุมรูปวงรี เหมือนเป็นอาคารที่เป็น ยุ้งฉางขนาดใหญ่ ที่กลายไปเป็นห้องจัดเลี้ยง ห้องแถลงข่าวได้ พอได้ส่วนนี้แล้ว ผมมีรูป สเก็ตซ์เพิ่มอีกอันหนึ่ง ใส่อาคารส่วน “ยุ้งข้าว” เข้าไปแล้ว ทำให้ทุกอย่างดู “นิ่ง” แล้วก็ นําเสนอคุณปัญญากัน ซึ่งแกก็เห็นดีด้วยเลยทันที เพราะรู้สึกว่ามั่นคงดี รูปแบบก็ลักษณะ ่ ำ้ ” อยูพ่ กั หนึง่ แต่อาจจะเปลีย่ น เป็นแบบโรงสีอยู่ แต่แรกๆ เราเรียกอาคารนีว้ า่ “อูข่ า้ วอูน ชื่อในภายหลังก็ได้.

ยุ้งข้าวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่มั่นคง

สร้างพลังให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันไป


05 }

Workpoint Studio Village

หมูบ่ า้ นอุตสาหกรรมบันเทิง

คุณสุทติ เริม่ ต้นคิดโครงการ Workpoint นีอ้ ย่างไร และเพราะเหตุใด จึงให้ความหมาย ว่าเป็น “หมู่บ้าน” ครับ ตอนที่ผมเริ่มออกแบบ มีความต้องการให้มีหลายอาคารแยกกัน และมี space ส่วนต่างๆ เชือ่ มต่อกันให้ลกั ษณะเหมือนพิพธิ ภัณฑ์ เพือ่ เป็นส่วนระบายอากาศ และรับแสงธรรมชาติ การวางแปลน 80 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่จะเป็นของสตูดิโอทั้ง 5 โรง เหลือแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ สําหรับสํานักงาน ทำให้อาคารมีลักษณะคล้ายโรงงานและโกดังเก็บสินค้า เราจะออกแบบ ให้เป็นในแนวของพิพิธภัณฑ์ศิลปะก็คงเป็นไปไม่ได้ อย่างมากเราก็ทําให้ออกมาเป็นแนว สตูดิโอ แล้วก็ส่วนอาคารด้านหน้าที่ใช้เป็นสํานักงาน ต้องให้คนที่เดินเข้ามาในอาคารนี้ดู ไม่ออก แบ่งไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็นส่วนของอะไร ผมต้องออกแบบให้ดูกลืนกันไปหมด เป็น กิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น ผมตั้งใจออกแบบให้ทั้งหมดดูเป็นองค์กรเดียวกัน ไม่แบ่งแยก ออกเป็นส่วนสตูดิโอ หรือส่วนสำนักงาน คุณปัญญาถามผมว่า ทําไมไม่ออกแบบอาคารสํานักงานส่วนหน้า ให้เป็นอาคารสูง 7 ชัน้ แล้วให้คณ ุ ปัญญานัง่ อยูช่ นั้ ที่ 7 แต่คณ ุ ประภาสไม่เห็นด้วย คุณประภาสเห็นว่าแนวคิด ทีเ่ ราจะทํานัน้ ดีอยูแ่ ล้ว เพราะถ้าเกิดทำอาคารสูงขึน้ มา 7 ชัน้ ลักษณะเป็นเหมือนหอคอย ขึ้นมา ภาพรวมของอาคารทั้งหมดก็จะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราก็เลยใช้วิธีขึ้นอาคาร สํานักงานเพียง 5 ชัน้ คุณปัญญาอยูช่ นั้ ที่ 5 พอดีกันกับส่วนหลังคาของส่วนสตูดิโอ สูงขึ้น มาตรงที่คุณปัญญานั่งอยู่พอดี ความตั้งใจแต่แรกเริ่ม คืออยากได้อาคารที่แยกออกเป็นหลังๆ แต่ดูรวมๆ แล้วเป็น อันหนึง่ อันเดียวกัน มีกจิ กรรมร่วมกันไม่วา่ จะเป็นพนักงานระดับไหน นับแต่ระดับคนขนฉาก กับระดับคุณปัญญา จะว่าไปแล้วอยู่ใกล้ชิดกันนะ คนแต่งหน้าเสื้อผ้า ก็อยู่กันตรงนี้หมด เวลาทำงานในสตูดโิ ออัดรายการกัน คุณปัญญายืนพูดหรือเตรียมตัวอยูบ่ นเวที คนขนฉาก หรือคนทําฉาก ก็ยืนทํางานกันอยู่ใกล้ๆ อย่างที่บอกว่าเกี่ยวข้องกันกับคนทุกระดับ ตั้งแต่ เจ้าของธุรกิจพันล้านอย่างคุณปัญญา ดารา ผู้อุปถัมภ์รายการ ต่างก็เดินกันไปมาเพื่อมา เข้ามาในฉากเดียวกันนี่แหละ ผมก็เลยคิดถึงคำว่าเป็น “หมู่บ้าน” นี่แหละ แล้วผมก็มานัง่ วิเคราะห์คำว่า Work ทีม่ าจากชือ่ ของบริษทั อย่างแรกต้องมีพลวัต มีการ เคลือ่ นไหว (dynamic) คิดการก้าวหน้า ส่วนเรือ่ งทีส่ อง ก็จะต้องสะท้อนการทำงานเป็นระบบ อุตสาหกรรม สิง่ ที่ Workpoint ทำอยูท่ กุ วันนี้ เป็นอุตสาหกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ ที่ ผลิตรายการโทรทัศน์กนั อาทิตย์ละเกือบ 20 รายการ ทุกคนทีท่ ำงานอยูใ่ นทีน่ ี้ ต่างก็ทำงาน กันเสมือนเป็นเครือ่ งจักร เพราะลองคิดดูวา่ การผลิตรายการชิงร้อยชิงล้านขึน้ ปีทสี่ บิ กว่าได้ แล้วก็ตอ้ งดูสนุกกันทุกตอน ต้องไม่ใช่เรือ่ งธรรมดา แต่เป็นเหมือนอุตสาหกรรมกลายๆ

44 a+A:01 = Workpoint Entertainment

สร้างสะพาน เพื่อเชื่อมอาคารต่างๆ นอกจากจะดูสวยงาม และใช้งานต่อเนื่องกันแล้ว ยังได้ประโยชน์ ใช้สอยจากลม และแสงธรรมชาติ

เพราะฉะนั้น การถ่ายทอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของผมกับโครงการนี้ ก็ต้องออกมา ให้เห็นเป็นอุตสาหกรรมโดยแท้เลย รูปแบบอุตสาหกรรมก็คือ ต้องไม่มีสิ่งตกแต่งมากมาย เกินไป ตัดสิง่ ทีไ่ ม่จำเป็นออกให้หมด เหลือแต่รปู ทรงแท้ๆ แต่จะเล่นอย่างไรกับรูปทรงของ วัสดุนั้นเท่านั้นเอง คือการใช้สัจจะของวัสดุ คอนกรีตก็เปลือย กระจกก็เห็นว่าเป็นกระจก เหล็กก็เป็นเหล็ก ฉาบปูนก็ไม่ทาสี ส่วนที่ทาสีก็ทาแต่เฉพาะภายใน ฉะนั้นความคิดที่ว่า หนึ่ง พลวัตหรือความเคลื่อนไหว สอง ต้องเป็นอาคารกึ่งอุตสาหกรรมโดยแท้ ไม่มกี ารตกแต่ง ไม่มีวัสดุประเภทหินแกรนิต หรือหินอ่อน ไม่มีเลย ส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตขัดมัน ฉะนั้น Workpoint จึงไม่เหมือนกับเมเจอร์ ไม่เหมือนไบเทค ไม่เหมือนอาคารแสดงสินค้าชาแลนเจอร์ ทีอ่ มิ แพ็ค เราเหมือนเป็นลักษณะของอุตสาหกรรมมากกว่า ซึง่ ถ้าค่าก่อสร้างแพง ก็จะหลุด ออกไปจากงบประมาณทีไ่ ด้ตงั้ เอาไว้ อันนีเ้ ป็น 2 แนวคิดหลักๆ ของ Workpoint ซึง่ ทำให้ เป็นลักษณะของอาคารกึ่งอุตสาหกรรม แสดงเนื้อแท้ของวัสดุ และโครงสร้างที่ชัดเจน วัสดุของอาคารนี้ ได้ถูกกำหนดไว้อยู่แล้วว่าต้อง “ประหยัด และเร็ว” เพราะฉะนั้น ก็เลยต้องเป็นคอนกรีตเปลือย ใช้เหล็กแผ่นรีด (metal sheet) และกระจก ทั้งโครงการเลย เพราะตอบโจทย์ทไี่ ด้ทงั้ ประหยัด และเร็ว ผมตัง้ โจทย์ไว้อกี อย่างหนึง่ ว่า ต้องออกมาให้เห็น เป็นลักษณะของอุตสาหกรรม แต่ไม่ใช่อตุ สาหกรรมผลิตสินค้านะ แต่เป็นอุตสาหกรรมผลิต ความบันเทิง ทีว่ า่ จะให้เป็นหมูบ่ า้ นอุตสาหกรรมบันเทิง เกิดจากการมีคนเข้าร่วมอันเป็นส่วนสําคัญ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทเี่ รารูจ้ กั มักมีแค่คนงาน แล้วก็มสี นิ ค้า แต่ของเราเป็นอุตสาหกรรม ของเราใช้คน แต่เป็นคนที่เข้ามาเพื่อแสดงความสามารถ เข้ามาร่วมเป็นส่วนสําคัญของ รายการ เป็นคนดู และเป็นคนที่คิดสร้างสรรค์เพื่อผลิตรายการ จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องกับคนเยอะ คล้ายๆ กับตัวอย่างของโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ที่คุณประภาสพูด ให้ฟังตั้งแต่แรก มีคนเดินเข้าเดินออก ทําให้เกิดความอยากรู้ แล้วก็อยากเข้าไปในตึกนี้นะ

Mass Study แบ่งกลุ่มอาคาร ศึกษาปัญหาที่มีพื้นที่ 15% เป็นสำนักงาน และ 80% เป็นสตูดิโอ 5 ห้อง

45 } แนวคิด


งานก่อสร้างโครงการนี้ ได้รับการมอบหมายจาก บริษัท คริสเตียนีและนิลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) นำทีม โดยคุณวัชระ พรหมขุนทอง พร้อมกันนั้น ได้พูดคุยกับผู้ช่วยคุณวัชระอีกสองท่าน คือ คุณไกรสร ตะไก่แก้ว และ คุณชาคร เหมภักดี ถึงการเข้ามาดูแลการก่อสร้างโครงการนี้

46

ขอทราบความเห็นคุณวัชระ และทีมดูแลการก่อสร้างว่า อะไรคือเรื่องที่ยากที่สุดของโครงการนี้ เรื่องยากที่สุดของโครงการนี้ คือเรื่องของแบบ เรื่องของ อันหนึง่ ทีใ่ ห้คนอืน่ เข้ามาเช่าเพิม่ ถ้าพวกนีไ้ ปอยูก่ นั คนละทีๆ่ drawing ทีม่ กี ารเปลีย่ นไปตลอดเวลา เปลีย่ นไปตัง้ แต่เราเข้า ก็ไม่ยาก แต่บังเอิญว่าทุกๆ อย่าง ต้องอยู่ต่อเนื่องกัน ตรงนี้ มาประมูลงานนีม้ าด้วยมูลค่าหนึง่ พอเราเข้าไปเริม่ งาน ทาง ทำให้ทุกอย่างทำได้ยากมาก ยากตรงส่วนนี้แหละ Workpoint ก็ได้ตเี ข็มเผือ่ สำหรับเพิม่ อีกอาคาร ทีบ่ ริเวณด้าน โครงสร้างของแต่ละส่วนก็แตกต่างกันด้วย สะพาน 24 ข้างและด้านหลังไว้เรียบร้อยแล้ว มีแต่เข็มเท่านัน้ นะ แต่แบบ เมตร ก็ตอ้ งคํานวณ 3 มิติ คุณสุทติ ก็ตอ้ งทําเป็นภาพสามมิติ ของโครงสร้างยังไม่ออกมาให้เห็น ที่นี้พอเราจะไปเริ่มงาน ให้เราดูกอ่ นว่า อยากได้หน้าตาออกมาแบบนี้ ก็มกี ารปรับแก้ ก่อสร้างตรงอื่นก่อน แล้วค่อยกลับมาสร้างตรงนี้ก็ทำไม่ได้ หลายครัง้ เรียกได้วา่ มีรายละเอียดถีย่ บิ กันแทบทุกจุด มีการ เพราะทุกส่วนมีความเกี่ยวพันกันอยู่ ตรงที่เผื่อไว้ คือที่เป็น แก้ไข และต้องพัฒนากันต่อไปอีก สํานักงาน 5 ชัน้ ด้านข้าง ไม่ใช่ดา้ นหน้านะ แล้วก็มสี ว่ นทีจ่ ะ ทำเป็นห้องเก็บฉากด้านหลังที่ขยายออกมา เรื่องแบบนี้เรา ก็ไม่คดิ ว่าจะมีปัญหาหรอก แต่เป็นเรื่องของแบบทีจ่ ะต้องรอ กว่าทีเ่ ราจะได้แบบมานัง่ ทํา shop drawing ต่อ แล้วเราจะ เริ่มทํางานได้ ใช้เวลาพอสมควร ทำให้ทำงานยาก ตามความเห็นทีมงานของคุณวัชระ คิดว่าโครงการนี้ ทำงานล่าช้ามากเกินไปไหม โครงการนี้เดิมทีกำหนดว่า จะต้องให้เสร็จเดือนกุมภาพันธ์ เราทําจริงๆ เสร็จเดือนกันยายน งานส่วนใหญ่ก็เสร็จเดือน พฤศจิกายน บางส่วนก็ชา้ ออกไปประมาณ 8 เดือน แต่วา่ การ ใช้พื้นที่ของทาง Workpoint เขาก็ใช้เริ่มใช้สตูดิโอทำรายการ ความที่คุณสุทิตแกเป็นคนที่ความคิดไม่หยุดนิ่ง เต็มที่ ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม เพราะโซนไหนเสร็จก่อนก็ใช้กอ่ นเลย คุณสุทิตเป็นผู้ออกแบบที่เข้าประชุมทุกครั้ง แล้วก็ไปเดินดู ส่วนทีย่ งั ไม่เสร็จ อย่างเช่นส่วนสำนักงานด้านหน้า ยังไม่ได้ ตรวจงานด้วย บางทีดว้ ยการทีแ่ กเป็นคนออกแบบ บางทีแบบ ออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเวลาก็ต้องขยายไปโดยอัตโนมัติ ทีแ่ กทำมา ก็ไม่ได้มรี ายละเอียดแสดงออกให้เห็นหมดทุกจุด อยูแ่ ล้ว แล้วอีกเรือ่ งทีส่ ำคัญคือ มีมลู ค่าของการเปลีย่ นแปลง ผมอาจจะมองเองไม่ออก พอคุณสุทติ เข้าไปดูปบุ้ ก็จะเห็นว่า เพิ่มขึ้นมาอีกถึง 50% ทำออกมาไม่ได้ตรงกับแบบที่ให้ไป แกก็จะรีบบอก แล้วก็รีบ อีกเรื่องที่ทำให้งานล่าช้าไปอีก คือการหาข้อสรุปบาง แก้ไขกันทันที เป็นตัวอย่างที่ดีที่สถาปนิกให้ความสัมพันธ์ เรื่องใช้เวลานาน ทำให้งานส่วนอื่นๆ ต้องรอ เช่น เรื่องของ ใกล้ชิด ทำงานเป็นทีมเดียวกับผู้รับเหมาฯ ซึ่งปกติน้อยงาน การควบคุมเสียง (noise control) กว่าทุกฝ่ายจะตกลงและ มากนัก ทีผ่ อู้ อกแบบจะมีเวลามาใกล้ชดิ แบบนี้ คุณสุทติ ทุม่ เท เห็นชอบกันได้ว่า จะเลือกการหุ้มผนังกันแบบไหนก็ใช้เวลา กับงานชิ้นนี้มาก ตัดสินใจหาข้อสรุปกันนาน ก็เป็นสาเหตุสำคัญทีท่ ำให้ชา้ กัน ไปหมด และเฉพาะตัวอาคารเอง สถาปนิกก็ออกแบบไว้เรียก ตอนทีเ่ ริม่ งานก่อสร้างกันใหม่ๆ คุณวัชระและทีมงานฯ ได้ว่าสุดยอดเลย เพราะกลุ่มอาคารเหล่านั้น มีหน้าที่การใช้ รูส้ กึ ว่าจะมีปญ ั หา เกีย่ วกับเรือ่ งของโครงสร้างไหมครับ การทีแ่ ตกต่างกันถึง 5-6 รูปแบบนะ ทัง้ สตูดโิ อ ห้องแต่งตัว เรือ่ งของปัญหาโครงสร้างไม่มี แต่มปี ญ ั หาเรือ่ ง drawing ทีไ่ ม่ สำนักงาน ผมจําไม่ได้ว่ามีกี่รูปแบบ แต่ดูแล้วภายในหลังคา เรียบร้อยมากกว่า สาเหตุสำคัญเกิดจากความต้องการในที่ ผืนใหญ่ๆ นัน้ บรรจุอาคารเล็กๆ เอาไว้หลายหลัง เป็นเหมือน จะขยายพื้นที่ของอาคารเพิ่มอีก เพราะระหว่างที่ดำเนินการ หมู่บ้านเล็กๆ โรงเก็บฉากอยู่หลังสุด หน้าที่ใช้สอยก็คล้ายๆ ก่อสร้าง ธุรกิจของ Workpoint ก็ขยายตัวใหญ่ขนึ้ พอดี ทำให้ กับโกดัง มีสตูดโิ อขนาดใหญ่ 5 หลัง แล้วในแต่ละหลัง มีหอ้ ง คิดได้วา่ จะต้องมีสว่ นนัน้ ส่วนนีเ้ พิม่ พอมีการเพิม่ เติมเกิดขึน้ แต่งตัวอีก ไม่ได้งา่ ยๆ เลย แล้วห้องแต่งตัวข้างใน ก็มหี อ้ งน้ำ ส่วนโครงสร้างต่างๆ ก็จะต้องอิงกันไปมา ถึงส่วนนั้นส่วนนี้ ส่วนด้านหน้าสุด เป็นที่ทํางานของพนักงานสำนักงานทั่วไป ฉะนัน้ ในพืน้ ทีก่ อ่ สร้างบางส่วนก็ตอ้ งหยุด เกิดเป็นปัญหาของ ตรงที่ว่าอาคารที่เพิ่มมาอีกหลัง เป็นอีกประโยชน์ใช้สอยอีก การชะลองานมากกว่า คือทํางานได้ไม่เต็มที่.

a+A:01 = Workpoint Entertainment

งานออกแบบระบบวิศวกรรมของโครงการนี้ ได้รับการ ดูแลจากคุณจรง เจียมอนุกูลกิจ วิศวกรที่ปรึกษา ผู้เข้า มารับหน้าทีด่ แู ลงานด้านวิศวกรรมทัง้ หมด และร่วมใน การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง โครงการที่ใหญ่ขนาดนี้ และดูเหมือนว่าเป็นลักษณะ ของหมู่บ้านอีกด้วย คุณจรงคิดว่าอย่างไรครับ โครงการนีน้ บั เป็นโครงการขนาดใหญ่ และประกอบไปด้วย หลายๆ อาคารถูกเชื่อมให้มารวมกัน พื้นที่ก่อสร้าง 3 หมื่น กว่าตารางเมตร กฏหมายเองก็กำหนดอยู่แล้วว่า ถ้าเกิน 1 หมื่นตารางเมตรขึ้นไป ถือว่าเป็นอาคารขนาดใหญ่ อาคาร ขนาดใหญ่พเิ ศษมากๆ ก็เกิน 3 หมืน่ ผมถือว่าเป็นโครงการ ที่ดี น่าร่วมงาน เท่าที่ได้คุยกับทางผู้รับเหมาก่อสร้างหลัก (บริษัท คริสเตียนีและนีลเซ่น (ไทย) จำกัด (มหาชน)) เขา ก็อยากเข้ามาทํางานนี้ ความอยากทําของทางคริสเตียนี ผมคิดว่าก็ด้วยชื่อ เสียงของ Workpoint และความอยากทําเพราะรูปแบบของ สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ ท้าทาย เพราะส่วนใหญ่งานที่ทำ ผ่านๆ มา ส่วนของการออกแบบจะไม่โดดเด่นเท่าใดนัก แต่ สําหรับโครงการนีม้ คี วามโดดเด่นและท้าทาย เป็นงานทีพ่ อ ผมได้สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาฯ ให้เข้ามาทำงานนี้ แต่ละที่ต่างก็อยากจะเข้ามาทํา บางที่ก็อยากทํามาก แล้ว ก็ไม่ได้หวังผลกําไรมากนัก เพราะว่าอยากทํางานดีๆ เพื่อ เป็นงานที่เป็นหน้าตา ก็เลยเป็นที่มาของคุณภาพงานที่ดีที่ ออกมาในขั้นสุดท้าย แล้วในส่วนงานเสาเข็มที่ใช้สำหรับโครงการนี้ คุณจรง ให้ใช้ระบบไหนครับ เนือ่ งจากเป็นพืน้ ทีโ่ ล่ง เราใช้เป็นเสาเข็มตอก เพราะประหยัด ทํางานเร็วกว่า คุณภาพชัดเจน พูดแทนด้วยสายตาได้ คือ ถ้าเลือกได้ และถ้าคานต้องรับน้ำหนักที่ไม่เยอะ ก็จะเลือก เข็มตอก เพราะประหยัดสุด มีความแข็งแรง ทั้งโครงการก็ เลยเลือกใช้เข็มตอกหมดเลย แล้วเราก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่อง ของทีด่ นิ ข้างเคียง เนือ่ งจากเป็นทีโ่ ล่ง งานก่อสร้างก็สามารถ ทําได้โดยไม่ได้ตดิ ขัดอะไรเลย เข็มทีใ่ ช้ไปทัง้ หมดประมาณ พันต้น ตอกลงไปลึกประมาณ 19 -20 เมตร ในขณะตอกเข็ม คุณสุทิตก็เริ่มออกแบบอาคารเพิ่มเติม ทั้งด้านข้างทั้งสอง และด้านหลังตลอดแนวพอดี.

47 } แนวคิด


49 } แนวคิด

สตูดิโออยู่ที่เดียวกับที่ทำงาน อยากมีสตูดิโอทำรายการเป็นของตัวเอง

48 a+A:01 = Workpoint Entertainment

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ใบอนุญาตก่อสร้างภายใน

6 เดือน


51

คน ในหมูบ่ า้ น

06 }

เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุด

50 a+A:01 = Workpoint Entertainment

ผู้ ใช้อาคาร


เมื่อพูดถึงคน อันนี้หมายถึงคนที่เข้ามาในอาคารแห่งนี้ พอนั่งวิเคราะห์กันแล้ว มีหลายประเภท

พนักงานของทาง Workpoint เราก็ลงลึกกันในรายละเอียดเลยนะ พนักงานที่ทํางานเองที่ แต่เพื่อมาทำงานร่วมกัน คือการผลิตรายการโทรทัศน์ นับได้ว่าโครงการแห่งนี้ นีก้ ม็ ี 3 ประเภท ประเภทแรก สาวสวย แบบพนักงานต้อนรับ พนักงานนัง่ โต๊ะ ออฟฟิศ เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมบันเทิง และเป็นหมู่บ้านโอท๊อปใหม่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการ ทีแ่ ต่งตัวดีสวยมาเลย ประเภททีส่ องแบบมอมมาเลย ก็ฝา่ ยผลิต พวกแผนกความคิดสร้างสรรค์ หรือพวกฝ่ายโปรดักชั่น และ ประเภทที่สาม ฝ่ายผลิตที่ มอมยิ่งกว่า (มอม) คือฝ่ายทําฉาก ทาง Workpoint ก็บอกกับผมว่า พวกทีส่ วยก็อยูใ่ นทีส่ วยๆ หน่อย พวกมอมกลางๆ ก็อยู่ในที่กลางๆ หน่อย มอมก็ไปอยู่ที่มอมๆ หน่อย แยกโซนกันไปเลย เพราะฉะนั้นใน อาคารของเรา ก็ตอ้ งออกแบบให้สอดคล้องกันกับทัง้ 3 ระดับ และเดินเข้าหากันได้แบบไม่ ขัดเขินด้วยนะ เพราะว่าพวกเขาก็ต้องทํางานด้วยกันตลอดเวลา รวมทั้งระดับที่ 4 ที่เป็น ฝ่ายบริหารระดับคุณปัญญา ก็ต้องเรียบหรูดูดี ส่วนคุณประภาสเองก็มีลักษณะเฉพาะตัว บางอย่าง ประเภททีส่ ี่ นักแสดง ดารานักร้อง ซึง่ มีทางเข้าออกเฉพาะ เรียกว่า “บันไดดารา” ประเภทที่ห้า แขกของรายการ ประเภทแรกเป็นผู้ร่วมรายการ แขกของรายการของ บริษทั คนต่างๆ ทีเ่ ข้ามาจากข้างนอก มีตงั้ แต่ผรู้ ว่ มรายการ มีทกุ ระดับอายุ ทุกระดับอาชีพ แล้วก็มคี นทีเ่ ข้าชมรายการเฉยๆ ญาติของคนทีเ่ ข้ามาร่วมในรายการ ซึง่ เป็นกลุม่ คนทีส่ าํ คัญ มากเลยนะ ทุกคนมักจะลืมญาติๆ ของคนที่เข้ามาร่วมรายการไป แล้วเวลาญาติของคนที่ ร่วมรายการพากันมาให้กําลังใจ มาทีกันตั้ง 5 คน แล้วจะให้ไปอยู่ที่ไหนกัน มีปัญหา แขกประเภทที่สอง คือที่เป็นนักเรียน นักศึกษา แล้วก็บุคคลอื่นๆ ประเภทเฉพาะกิจ แขกอีกประเภทคือ ผู้อุปภัมถ์รายการ เจ้าของสินค้า แล้วก็นักข่าวที่มาทําข่าว ก็จะหาวิธี จับอยู่ในที่ๆ พวกเขาควรจะอยู่

52

เรามีคนที่เข้ามาในโครงการขณะนี้ พนักงานกว่า 500 คน กับคนภายนอกอีกหลายร้อย จัดว่าเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่แต่ละคนก็มีหน้าที่ต่างๆ กันไป

a+A:01 = Workpoint Entertainment

สุดท้ายเลยก็คือ พวกแขกพิเศษชนิดวีไอพี

แต่กต็ อ้ งไม่ลมื ว่าที่ Workpoint ยังมีสงิ่ มีชวี ติ อย่างอืน่ เข้ามาร่วมในรายการด้วยเสมอๆ เช่น สุนัข ม้า ล่าสุดก็มีช้าง ที่ออกรายการ “คุณพระช่วย” ก็ต้องเตรียมพื้นที่ แล้วก็ต้องมี บริเวณให้พวกนี้อยู่ด้วย แต่พวกนี้เตรียมไว้แล้วนะ นับว่าเป็นโจทย์ที่คุณปัญญาบอกกับผม ตั้งแต่แรกเกี่ยวกับสตูดิโอของที่นี่ เคยโชว์คุณหม่ำด้วยวิธีการสารพัดมาแล้ว อีกหน่อยจะให้ คุณหม่ำขี่ช้างเข้ามาในฉากเลยนะ หรือช้างอาจจะมาเล่นละครสัตว์ได้ สตูดิโอของที่นี่ก็ต้อง ทําทุกอย่างได้หมดเลย จะมีขบวนอะไรเข้ามา ขบวนรถแข่ง เข้ามาต้องเข้ามาในสตูดิโอได้ เลยนะ ถ้ามีจักรยานยนตร์แข่งกันเข้ามา ก็ต้องเข้ามาแล้วออกไปได้เลยด้วยนะ วนออกไป เลยนะ ไม่ใช่เข้ามาแล้วต้องมาจอดแล้วถอยกลับรถออกไป แต่ให้วิ่งเข้ามาผ่านหน้ากล้อง แล้วก็คนที่เข้ามาชมในสตูดิโอด้วย พวกนี้ต้องโชว์ได้หมด เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการเตรียม พื้นที่ ให้กับของพวกนี้เอาไว้เลย แล้วก็มีผู้ขอเข้ามาชมตึก ที่เข้ามาชมเป็นช่วงๆ เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือ คณะนิเทศาสตร์จากสถาบันต่างๆ จากบริษัทสถาปนิกก็มากันไปแล้ว แล้วก็มีนักลงทุน ตัวแทนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นกิจกรรมที่ไม่เคยคิดมาก่อน แต่ก็ออกแบบเตรียมไว้นะ หลังจากที่มีคนประเภทต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมากแล้วนะ ก็เริ่มจะต้องจัดโซน ทีแ่ บ่งคนนัน้ อยูต่ รงไหน คนนีอ้ ยูต่ รงไหน เด็กทีจ่ ะมาออกรายการ Workpoint ก็ไม่ให้เด็กๆ ที่รอหรือมาออกรายการแล้ว วิ่งเล่นไปมาในส่วนของสำนักงาน เลยต้องออกแบบให้ห้อง สัมภาษณ์อยู่ด้านนอก ทางรายการจะไม่ไปควบคุมเด็กมากนัก แต่ก็กลัวว่าเดี๋ยวเด็กๆ จะ เข้าไปวิ่งเล่น แล้วไปรื้อข้าวรื้อของต่าง ยุ่งวุ่นวาย เลยอย่าให้เข้ามาข้างในจะดีกว่า มีส่วนห้องพิเศษต่างๆ อีกเช่น พวกมายากล มีห้องลับประเภทโชว์มายากล หายไป จากห้องอัดรายการได้ ทางฝ่ายสร้างสรรค์ของคุณปัญญากับคุณประภาส มีการคิดกันว่า คุณปัญญาน่าจะหายไปจากห้องอัดรายการได้ ทั้งๆ ที่ทั้งห้องดูว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย.

53 } ผู้ ใช้อาคาร


จุดเชื่อมต่อ Workpoint กับอาคารอื่น A service mall เชื่อมสตูดิโอทั้ง 5 ห้อง B สะพาน 24 ม. เชื่อมอาคาร 1 และยุ้งข้าว C บันไดดารา เชื่อมโถงดารา และสตูดิโอ D ห้องควบคุม เชื่อมอาคาร 2 และสตูดิโอ E V.I.P เชื่อมส่วน V.I.P และโถงดารา F สะพานโค้ง เชื่อมอาคาร 1 และส่วน V.I.P ชั้น 4 G สวนสารภี เชื่อมอาคาร 1 และ 2 H สะพาน service mall เชื่อมอาคาร 2 และอาคาร 3

I sky lounge ชั้น 3 J ramp ขนของ K บันไดลานน้ำ ชั้น 1 L ลานน้ำ ชั้น 2 M โถงเข้าสตูดิโอ 1 และ 2 N ลานกลางแจ้ง O sky light ยุ้งข้าว โดยออกแบบให้แต่ละจุดเชื่อม เป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน

B

O L

เป็นสตูดิโอ 5 ห้อง Studio Zone หัและส่วใจของโครงการ วนบริการเก็บฉาก และอุปกรณ์ โซน 1

A บริเวณต้อนรับคนภายนอก

J

Public Zone โซน 3

A สตูดิโอ 1

O

L

N

สตูดิโอ 5

D C

D E

M

F

K

สตูดิโอ 4

D

B

F

55 } ผู้ ใช้อาคาร

สตูดิโอ 2

I I G

สตูดิโอ 3

อาคาร 1

I

H

อาคาร 2

B

โซน 2 Workpoint Office Zone

อาคาร 3

เป็นอาคาร 3 หลัง เชื่อมต่อกัน

K

H

C G

E

54 a+A:01 = Workpoint Entertainment

J

M

K N


57

ลาน แสดง ของ หมู่บ้าน 07 }

ทุกส่วนเชื่อมโดยตรงถึงกัน

56 a+A:01 = Workpoint Entertainment

5 ฝ่ายต้องมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมาสตูดิโอ

เวทีที่ ให้ทุกคนในหมู่บ้านได้แสดงความสามารถ

Studio Zone: ส่วนสตูดิโอ

} โซนที่ 1


59 } โซนที่ 1

58 a+A:01 = Workpoint Entertainment

Service Mall


เรื่องตัวโปรแกรม เพราะความต้องการของ Workpoint มีมากมาย แล้วก็หาตัวอย่างดูได้ยาก คุณประภาสได้ บอกอะไรเป็นพิเศษ กับคุณสุทิตบ้างครับ

ต้องชมเชยคุณสุทติ นะ เพราะโปรแกรมเราค่อนข้างวุน่ วาย จะให้เหมือน FUJI TV ก็ไม่เชิง จะไปเหมือน Universal Studio ก็ไม่ ใช่ แต่เราเอามาประมวลกัน แล้วบวกความ ต้องการของผมเอง เราเอาโปรดิวเซอร์มาร่วมประชุมกับ คุณสุทิตตลอดว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรกับแบบที่คุณสุทิต ทำมา หรือมี ไอเดีย ความต้องการอะไรพิเศษที่คุณสุทิต สร้างได้บ้างไหม เช่น ประตูโรงถ่ายออกแบบให้สูงมาก เป็นพิเศษได้ ไหม เนื่องจากต้องขนฉากขนาดใหญ่พิเศษ เข้าไป ทีเ่ ป็นคำขอพิเศษ ทีท่ างทีมออกแบบฉากทีน่ ขี่ อให้ คุณสุทิตช่วยออกแบบให้เป็นกรณีพิเศษ ผมเองก็ชอบสร้างฉากสูงๆ เพราะเวลาไปถ่ายรายการ ทีส่ ตูดิโออืน่ ๆ ฉากของเราทีท่ ำไปต้องตัดครึง่ แล้วเอาเข้า ไปต่อข้างใน แล้วก็จะมีปญ ั หาเรือ่ งรอยต่อฉากตลอดเวลา พอเราจะทำสตูดิโอของเราเอง คนทําฉากก็มาบอกผมว่า ขอหน่อยได้ ไหม ขอประตูสตูดิ โอให้สูงๆ จะได้ขนฉาก สร้างฉากกัน ได้อย่างเต็มที่ ก็เลยเกิดเป็นแปลนชั้น 2 เวลาขึ้นบันได ก็เลยต้องเอาบันไดไปหลบประตูในสตูดิโอ แล้วก็มีการทะลุพื้นสตูดิ โอ เพื่อแอบซ่อนอุปกรณ์ที่มีอยู่ ในโรงละครใหญ่ๆ ซึ่งโดยปกติจะมีระบบไฮโดรลิคซ่อนไว้ คุณสุทิตก็ทําไว้ ให้ แต่พอดีแปลนชั้นล่าง แต่เดิมทำเป็นที่ จอดรถใช่ไหม ก็เลยต้องกัน้ ทําเป็นห้อง แล้วก็ ใส่ไฮโดรลิค เข้าไปตรงกลางสตูดิโอ คุณสุทิตก็ทำให้.

61 } โซนที่ 1 กลุ่มอาคารสตูดิโอ 5 ห้อง มีมี 2 แบบ แบบแรกคือแบบเปิด ได้แก่ สตูดิโอ 1 และ 2 เป็นประเภทของรายการโทรทัศน์ ซึ่งจะมีผู้เข้ามาร่วมรายการ และคนดูที่เข้าชมรายการได้ ส่วนแบบที่สอง จะเป็นแบบปิด คือ สตูดิโอ 3, 4 และ 5 เป็นแบบ ถ่ายภาพยนตร์ ที่คนภายนอกเข้าไม่ ได้ คุณสุทิตครับ ส่วนของสตูดิโอนี้ การออกแบบเริ่มต้นอย่างไรครับ แต่ละสตูดโิ อ จะต้องมีการใช้สอยทีค่ รบครัน ได้แก่ ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ ทางเข้าออกโดยตรง ของนักแสดง ทางเข้าออกของคนดู ทีมงานฝ่ายผลิต ห้องตัดต่อ ห้องวีไอพี ส่วนบริการ ขนาดใหญ่ๆ เรียก service mall เพือ่ ขนฉากเข้าออก มีขนาดใหญ่สำหรับรถบรรทุกขนฉาก พร้อมๆ กันหลายคัน รถยนต์สามารถวิง่ วนเข้าไปแล้วออกจากประตูสตูดโิ อได้เลย ในส่วน บริการ (service mall) นี้ จะต่อเนือ่ งกับโรงเก็บฉาก ฝ่ายอุปกรณ์ประกอบฉาก ฝ่ายเสือ้ ผ้า และเครื่องแต่งตัว ฝ่ายกล้อง และห้องประชุมรายการและผู้อุปถัมภ์รายการ การติดตัง้ ฉาก จะต้องสามารถทำได้ภายใน 1 วัน เมือ่ การบันทึกเทปรายการโทรทัศน์ เสร็จแล้ว ก็สามารถถอดฉากออกได้ภายใน 1 วัน เพือ่ เปลีย่ นเป็นฉากของรายการอืน่ แทน จะไม่มกี ารมีฉากถาวรอยูใ่ นสตูดโิ อ เนือ่ งจากทาง Workpoint มีรายการมาก ฉากทีถ่ กู ถอด ออกไป จะถูกถอดออกแยกเป็นส่วนๆ แล้วไปเก็บที่โรงเก็บฉากด้านหลัง อย่างเป็นระบบ และหมวดหมู่ เพื่อนำกลับมาใช้ได้อีก การจัดการเรื่องฉากนี้มีส่วนสำคัญมาก เนื่องจากใน บางครัง้ มีการใช้สตูดโิ อพร้อมๆ กัน 3 สตูดโิ อ เพือ่ ถ่ายทำ 3 รายการพร้อมกัน โดยในแต่ ละสตูดิโอ จะมีการควบคุมคุณภาพที่สำคัญเหมือนๆ กัน 3 ระบบ คือคุณภาพของเรื่อง ระบบเสียง (noice control) ระบบควบคุม (studio control) และ catwalk.

60 a+A:01 = Workpoint Entertainment


63 } โซนที่ 1

ตัว catwalk นี้ มีขั้นตอนการแก้ปัญหากันอย่างไรครับ คุณวัชระ อย่าง catwalk นี้ ก็ทำเสนอกันไปกันมาจน คิดกันหมดทุก คนเลยนะว่า จะทําอย่างไรกับตัว catwalk นี้ดี ตอนแรกที่ เสนอไปราคาสูงมาก เพราะใช้เหล็กเยอะมาก ก็ต้องกลับมา นั่งช่วยกันคิด จนลดขนาดให้เล็กลงมาได้ เป็นลักษณะของ การยอมรับการเปลี่ยนน้ำหนัก แต่เดิมเราคิดไปที่ 250 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สุดท้ายจบที่ 100-150 กิโลกรัม ต่อตารางเมตรspan ยาวๆ แบบนี้แล้วเปลี่ยน load ลงมา เป็นเท่าตัว ก็จะช่วยลดพื้นที่หน้าตัดของเหล็กลงไปได้เยอะ ประหยัดได้พอควร เกือบเท่าตัว คือตอนแรกเราไปคิดเผือ่ ให้มากไปเอง ก็ตอ้ งคุย กันหลายฝ่าย ฝ่ายผูใ้ ช้กต็ อ้ งมาดูวา่ จะเอาอะไรมาแขวนบ้าง ทางเราก็ออกแบบ load ทีพ่ อดีๆ ไม่ ต้องเผื่ออะไรมากนัก.

62 a+A:01 = Workpoint Entertainment


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.