หลังผ่านพ้นหน้านี้ไป ”เรา” คงจำ�เป็นต้องเข้าใจร่วมกันว่า บทความนี้ผมจะมุ่ง นำ�เสนอสิ่งที่ตัวเองได้ศึกษาด้วยกลวิธีในแบบของผม มันจึงเป็นตัวตนของผู้เขียน (ขณะเขียน) และแน่นอนว่ามันจะกลายเป็นตัวตนของผู้อ่าน (ขณะอ่าน) แน่นอน ว่าไม่ว่าผู้เขียน (ผม) หรือ ผู้อ่าน (คุณ) เราต่างไม่บริสุทธิ์
ข้ า ศึ ก บุ ก … ค ล้ า ย ว่ า เ รื่ อ ง มั น เ ริ่ ม ต ร ง นี้ “ข้าศึกบุก” ความคิดที่มาพร้อมกับอาการปวดท้องวูบวาบเริ่มสั่งให้ผมคิดเตรียม การรบ ขณะยืนเบียดกับผู้คนอยู่บนรถไฟฟ้า (BTS) ในช่วงเย็นของวันหยุดที่มุ่งตรง จากสถานีสยามไปยังสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นับว่าโชคยังดีตลอดสี่ปีที่ใช้ชีวิต อยู่ในเมืองหลวง ผมพอที่จะรู้หนทางว่าจะเอาชนะมันได้อย่างไรและมันจะจบลง ที่ไหน… ทันทีที่ลงจากรถไฟฟ้าสถานีอนุสาวรีย์ “ห้องน้ำ�สาธารณะ” จะกลายเป็น สมรภูมิในไม่ช้า ผมจึงดิ่งตรงไปที่นั่นเพื่อกำ�จัดข้าศึกที่คอยคุกคามมนุษย์อย่าง เราได้ทุกวี่วัน ภายในสมรภูมิ (ห้องน้ำ�) มีโครงสร้างเป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัด ภายในมี เครื่องสุขภัณฑ์วางเรียงรายอย่างเพียบพร้อม ขณะนั่งอยู่อย่างมีความสุขในสถาน ที่ปลดทุกข์ ผมมักชอบมองไปโดยรอบ พบเห็นตัวเลข ตัวอักษร ลายเส้นรูป ร่าง ร้อยเรียงกันด้วยความสัมพันธ์หลากรูปแบบ แม้ว่าบางจุดมันซ้อนทับกันไป มาอย่างสะเปะสะปะ แต่มันก็มากเกินพอที่จะทำ�ให้เข้าใจความหมายและสนใจ จะพิจารณา ผมเคยสงสัยและหาข้อสรุปเองแบบ “ผ่านๆ” คำ�ตอบที่ปรากฏขึ้นใน หัวก็คงไม่มีอะไรมากเกินไปกว่า “พวกมือบอน” ทว่าครั้งนี้คำ�ตอบมันต่างออกไป พอพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว แม้ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้จะตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณะ แต่ภายในนี้กลับเงียบสงบและมีความเป็นส่วนตัวสูงมาก ผมเพิ่งรู้สึกตัวว่ามันมี อิสรเสรีภาพมาก ไม่มีความอาย ผมอยู่คนเดียวในโลกส่วนตัว สามารถคิด พูด (เบาๆ) เขียน หรือกระทำ�พฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างอิสระไม่มีใครรู้เห็น ไม่มีหลัก ฐานใดที่จะบ่งบอกได้ว่าตัวเราเป็นผู้กระทำ� นอกจากเราจะสร้างมันขึ้นมาเอง ยิ่ง กวาดสายตาพิจารณาความเข้มข้นของการขีดเขียนโดยรอบห้องสี่เหลี่ยม กลับยิ่ง กระตุ้นความสงสัย เมื่อภาษาเหล่านั้นกลับปรากฏหนาแน่นเฉพาะตรงบริเวณ พื้นที่ประตู บริเวณผนังเหนือระดับสายตา และประปรายบ้างข้างตัวเรา หากเรา ยังนั่ง (ปลดทุกข์-ขับถ่าย) อยู่บนโถส้วม การขีดเขียนพื้นที่เหล่านั้น ดูจะไกลเกิน มือเอื้อมถึง เว้นเสียแต่จะมีฝีมือทัดเทียมแม่นาคที่ยื่นมือไปเก็บลูกมะนาว เป็นไป ได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นการขีดเขียนที่ “จงใจ” คำ�ถามก็คือ พวกเขา (ดูจากลายมือ
4
คมสัน พรมรินทร์
วิธีเขียน เนื้อความ วัสดุอุปกรณ์ และการโต้ตอบแล้ว คงไม่ใช่คนคนเดียวเป็นแน่) ทำ�ไมต้องเขียน ต้องการสื่ออะไร และมีผลต่อผู้อ่าน (ที่ไม่มีสิทธิ์เลือกอ่าน) อย่างไร แต่ความเป็นไปได้ที่จะศึกษาเรื่องเหล่านี้ดูแทบจะไร้หนทาง เมื่อเราไม่ สามารถรู้ได้ว่าใครเขียนและใครอ่านบ้าง เราจึงจำ�เป็นต้องแกะร่องรอยและ พิจารณาจาก “ภาษา” ที่ปรากฏในพื้นที่ห้องน้ำ�สาธารณะเพื่อเบิกทางไปสู่ความ เข้าใจมนุษย์ บางทีแรงบันดาลใจก็ไม่ได้มาจากที่อื่นไกล มันหลบซ่อนอยู่ในชีวิต ประจำ�วัน ผมย้อนคิดถึงการศึกษาทางมานุษยวิทยา งานของพวกเรานั้นส่วนใหญ่ให้ความ สำ�คัญกับวัฒนธรรมเป็นอันดับแรก ภาษาเองก็เป็นหนึ่งในมิติทางวัฒนธรรม ดังนั้น การศึกษาภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยาอาจนำ�พาเราไป สู่คำ�อธิบายทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และสามารถตอบได้ว่าการดำ�รงอยู่ ของวัฒนธรรมนี้มีความหมายอย่างไรต่อการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ คงไม่แปลกที่ผมคิดจะเปลี่ยนสนามรบให้กลายเป็นสนามเรียน คิดดูอีกที หรือบางที เรื่องนี้อาจมีคำ�ตอบไว้ล่วงหน้า บนผืนโลก ผมคิดว่าคงมีคนที่สนใจและศึกษาเรื่อง ทำ�นองนี้ไว้บ้าง “บางทีเรื่องนี้จึงมีคำ�ตอบไว้ล่วงหน้า” เพียงแต่รอเราไปค้นเจอ เอกสารหรือบทความสักบท หนังสือสักเล่ม หรือรอใครสักคนมาเล่าถึงสิ่งที่สนใจ เหมือนกันแต่ได้ก้าวล่วงไปก่อนจนได้คำ�ตอบสำ�เร็จรูปมาแล้ว เป็นธรรมดาของ มนุษย์ที่มักชอบความสะดวกสบาย มันง่ายและไม่ต้องลงแรงมาก แต่การขบคิด เรื่องสถานที่ (place) และเวลา (time) อาจทำ�ให้เราเปลี่ยนความมั่นใจในคำ�ตอบ ที่ถูกวางไว้ โดยเฉพาะการศึกษามิติภาษาที่มีความเป็นพลวัตสูงมาก (เกิด/ตาย/ ฟื้นคืนชีพ/เปลี่ยนรูป/เปลี่ยนความหมาย ฯลฯ) ตามแต่ละ “บริบทสังคม” เรื่องความเหมาะสมในการเป็น “พื้นที่ตัวแทน” ของสถานที่ศึกษาจึงควรถูกหยิบ ยกมากล่าวถึงเป็นเรื่องแรก เพราะห้องน้ำ�สาธารณะนั้นปรากฏขึ้นตามปั๊ม สวน สาธารณะ รถบริการสาธารณสุข ร้านอาหาร โรงเรียน ฯลฯ มีแทบทุกพื้นที่ใน ประเทศไทย (คงไม่ต้องนับไกลไปถึงโลก) เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภายใต้พื้นที่ (ทาง ภูมิศาสตร์) อันกว้างใหญ่มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน มีทั้งภาษาถิ่นตามชาติพันธุ์ ภาษาภูมิภาค รวมไปถึงภาษา (รัฐ) ไทย แม้ขณะภายใต้ภาษาเดียวกันก็ยังมีความ หลากหลายในการใช้ภาษาบนเงื่อนไขบทบาทและสถานภาพทางสังคม กอปรกับ ลักษณะของยุคโลกาภิวัตน์ ภายในพื้นที่เดียวไม่ได้มีคนพูด/เขียน เพียงภาษา เดียว ผมตระหนักว่าการศึกษาภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่เขียนโดยใครก็ได้ จึงไม่ได้นำ�ไปสู่คำ�ตอบของคนไทยทั้งประเทศ อภิมหาภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
5
อรรถาธิบาย (grand narrative) เกี่ยวกับมนุษย์โลกจึงหาไม่ได้จากบทความชิ้นนี้ แต่เหตุที่ผมเลือกศึกษาห้องน้ำ�สาธารณะที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้น เพราะมันง่าย ต่อการศึกษา งบประมาณค่าใช้จ่าย การเดินทาง ทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีผู้คนหลาก หลายทั้งเพศ วัยและชาติพันธุ์ อยู่ใจกลางเมืองหลวง เมืองที่มากไปด้วยผู้คน หลากวัฒนธรรม มันน่าจะแสดงบางแง่มุมที่น่าสนใจ ผมเห็นว่าเป็นการดีกว่าหาก เราจะรู้จักขอบเขตของพื้นที่และสาเหตุแห่งการเลือกพื้นที่ในการศึกษาไว้แต่แรก “เวลา” ก็สำ�คัญไม่แพ้กัน เพราะมันเป็นตัวหนึ่งที่ขับเคลื่อนและส่งผลต่อคำ�ตอบ ของข้อสงสัย หากลองสืบค้นทบทวนแนวทางการศึกษาแต่เดิมจะพบว่าการศึกษา เรื่องการเกิดขึ้นของภาษาตามที่สาธารณะนั้นมีมายาวนานและมากมายหลาก หลายแง่มุมพอสมควร ที่น่าสังเกตคือ แต่ละช่วงเวลามักมีคำ�ตอบ/คำ�อธิบายที่ต่าง กันไปตามบริบททางสังคม บ้างก็บอกเป็นการขัดขืน บ้างก็บอกเป็นการปลดปล่อย บ้างก็เป็นศิลปะ ฯลฯ แต่ด้วยความเชื่อแบบความจริงสัมพัทธ์ (relativism) ผมจึง เพียรพยายามศึกษาสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ด้วยวิธีทางมานุษยวิทยาทั้งการเข้าถึง ตั ว ผู้ ขี ด เขี ย นและผู้ อ่ า นให้ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด เพื่ อ ที่ อ ย่ า งน้ อ ยจะได้ เ ข้ า ใจถึ ง วิ ธี คิ ด และการให้ความหมายของการเขียนและผลจากการอ่าน (ในบางแง่มุม) แต่การ ติดตามเพื่อพูดคุยจนทราบถึงทัศนะผู้ขีดเขียนและผู้อ่านทุกคนคงไม่อาจเป็นไปได้ นี่ก็เป็นอีกข้อจำ�กัดหนึ่งของบทความนี้เช่นกัน ตามธรรมเนียมและประเพณีการศึกษาทางมานุษยวิทยาแบบดั้งเดิมนั้น การเก็บ ข้อมูลภาคสนามคือหัวใจสำ�คัญ ภายใต้เทคนิควิธีวิทยานี้ต้องลงทุนทั้งแรงกาย แรงใจ การศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมตัว การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลาอย่าง น้อย 1 ปีให้ครบตามฤดูกาล การติดต่อย้อนทวนเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงอยู่ เป็นระยะ แต่ดูเหมือนผมจะไม่เป็นเช่นนั้น (แม้อยากทำ�ให้ครบประเพณีก็คงทำ�ไม่ ได้) ผมไม่สามารถทนอยู่ในห้องน้ำ�เป็นปีๆ ได้ พื้นที่นี้ก็ไม่มีประชากรอาศัยอย่าง ถาวร ผมลองสืบค้นงานศึกษาดู พบว่าหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจคืองานของ Harvey Molotch ศึกษาเรื่องของภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะในมิติของยุทธวิธีทางการเมือง (politics) เขาเสนอเรื่องความต่างของการปรากฏภาษาระหว่างห้องน้ำ�สาธารณะกับห้องน้ำ� ที่บ้าน ว่ามันเกี่ยวเนื่องกับความอับอาย (shame) โดยมันจะเกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิก ในครอบครั ว พยายามค้ น หาตั ว ผู้ เ ขี ย น แต่ ห ากเป็ น ตามร้ า นอาหารหรื อ ห้ า ง สรรพสินค้า สิ่งเหล่านี้จะหายไปเพราะปราศจากความความกังวล (ไม่มีความอาย ด้วย) นอกจากนี้เขายังเสนอว่าการอยู่ในห้องน้ำ�เป็นเหมือนพื้นที่หลังฉาก (back
6
คมสัน พรมรินทร์
สรุปเนื้อหาจากบทความ “สะท้อนสังคมผ่านงาน ศิลปะ-Graffiti สารของคน ไร้ตัวตนหรือแค่งานขีดเขียน ที่ไร้ระเบียบ.” (2544)
1
“Toilet Door Communication.” ข้อมูล จาก Uncyclopedia (2011) 2
stage) ตามสำ�นวนของ Erving Goffman และถือว่ามันเป็นยุทธวิธีนำ�เสนอตัวตน ของปัจเจก (presentation of self) อย่างหนึ่ง (Molotch and Noren [eds.] 2010) นอกจากนี้ เรื่องที่น่าจะเกี่ยวข้องคงเป็นพฤติกรรมขีดเขียนตามสถานที่สาธารณะ ที่มีชื่อว่า graffiti และ TDC (Toilet Door Communication) กระแสที่เพิ่งเกิด ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 มีพัฒนาการแบบแผน จนถึงขั้นเกิดชุมชนทางจินตนาการ (imagined community) ที่ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างนิยามตัวตน ยอมรับคุณค่าและ ปฏิบัติตามแบบแผนเหล่านั้นเสมือนว่าเป็นชุมชนจริงของตน โดย “graffiti1” เกิด ช่วงปลายปี 1960 เป็นกระแสที่มีภาคปฏิบัติเป็นการขีดเขียนต่อสถานที่สาธารณะ โดยใช้สีสเปรย์กระป๋องเป็นเครื่องมือฉีดพ่น พวกเขาเรียกตัวเองว่า “writer” โดย “writer” แต่ละคนมีสัญลักษณ์เพื่อระบุตัวตนของตนในชุมชน graffiti (แต่มักเป็น นามแฝง) อาทิ Julio204, Takai183 การเขียน/ฉีดพ่นจะปรากฏเห็นตามสถานที่ เสี่ยงอันตราย อาทิ ขบวนรถไฟใต้ดิน ผนังกำ�แพงโรงพัก อาคารของรัฐบาล ฯลฯ ยิ่ง เสี่ยงมากยิ่งดีเพราะมันส่งผลต่อการจัดลำ�ดับชื่อเสียงที่มีเกณฑ์มาตรวัดเป็นความ ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ การเกิดขึ้นของกระแสนี้ถูกมองโดยหลายฝ่ายที่ต่างกันไป บ้างมองเป็นความพยายามในการแสวงหาอิสรภาพตามความพึงพอใจของกลุ่ม วัยรุ่น การพยายามขัดขืนต่อต้าน แสดงความคิด การพยายามโดดเด่นเพื่อให้เป็น ที่ยอมรับ บ้างมองเป็นศิลปะที่บริสุทธิ์หรือกระทั่งเป็นการปฏิวัติการสื่อสารรูปแบบ หนึ่ง สิ่งที่พวกเขาพยายามเสนอส่วนใหญ่เป็นภาพล้อเลียน ประชดประชันกระแส สังคม อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด graffiti ก็หนีไม่พ้นการถูกมอง (จากผู้มีอำ�นาจ) ว่าเป็นการทำ�ลายทรัพย์สินของสังคม จึงมีนโยบายมาควบคุมจัดการในที่สุด การเกิดขึ้นของกระแส “TDC2” ในปลายปี 1980 มีการทำ�งานของขบวนการสื่อสาร ที่เกิดขึ้นบนประตูห้องน้ำ�สาธารณะ โดยเริ่มจากการเขียนหัวเรื่อง (topic) อย่าง ไร้ข้อจำ�กัด เมื่อเกิดการสนทนาเขียนโต้ตอบ (door discussion) พวกนักเขียน (TDC'er) จะเรียกผู้เขียนตอบว่า TDD replier, หรือ TDDR และพวกที่ไม่ตอบว่า TDC พวกไม่ทำ�งาน (idler) ซึ่งเป็นคำ�แสลงมาจาก cockfag กระแสเหล่านี้ขับ เคลื่อนโดยกลุ่มวัยรุ่นที่รู้จักกันดีในนาม doilee การขีดเขียนเพื่อถามตอบตาม ประตูห้องน้ำ�สาธารณะของพวกเขาเป็นไปอย่างอิสระและไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล มันเกิดขึ้นจนพวกเขาให้ความสำ�คัญต่อสถานที่นี้ว่าเป็น “โรงเรียน” (school) ทาง ความคิด แต่เสรีภาพนี้ย่อมดึงดูดคนที่มีความเห็นขัดแย้ง ประเด็นที่แสดงถึงชาติ นิยมและความลามกอนาจารก็เริ่มเติบโตปรากฏมากขึ้น จนสังคมมองว่า TDC เป็นภัยคุกคาม ทางรัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายควบคุม (24/7 supervision of
ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
7
public) ในปี 1985 และปราบปรามโดย FBI จนทำ�ให้เกิดการสิ้นสุดของเสรีภาพที่ ถือเป็นจุดแข็งและเสน่ห์ของ TDC ในประเทศไทย พบว่ารอยขูด ขีด เขียน ในลักษณะ graffiti มีให้เห็นเป็นจำ�นวน มาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร แต่จะพบเห็นตามอาคารหรือกำ�แพงที่ถูกทิ้ง ร้าง รวมถึงกำ�แพงและอาคารที่ยังมีผู้อยู่อาศัยด้วย ส่วนใหญ่ยังเป็นการแสดงออก ทางศิลปะเท่านั้น ยังไม่มีการเสียดสีหรือล้อเลียนเรื่องราวต่างๆ ในสังคมมากนัก3 แต่การขีดเขียนที่ลักษณะของ TDC นั้นไม่มีปรากฏให้เห็นชัด เพราะไม่ได้มีการ เขียนโต้ตอบกันโดยใช้ประตูห้องน้ำ�อย่างเป็นเรื่องราว หรือกลายเป็นชุมชนทาง จินตนาการอย่างชัดเจน graffiti และ TDC จึงเป็นพฤติกรรมมนุษย์ที่ขีดเขียนตามสถานที่สาธารณะ ที่มี ข้อมูลรากเหง้าทางประวัติศาสตร์มาแล้วบ้าง แต่ก็ยังไร้คำ�อธิบายที่ชัดเจนว่าราก เหล่านั้นมีความเป็นมาอย่างไร ส่วนหนึ่งของการย้อนทวนดูเรื่องเหล่านี้จะให้ภาพ รวมที่สามารถนำ�ไปสู่ความเหมือนต่างกับงานที่ผมศึกษา แต่เป็นไปได้ว่ามันอาจ จะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพราะมันถูกจัดวางบนเงื่อนไขสถานที่ทางสังคมและ ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน การเกิดขึ้นจึง “ไม่ได้ต่อเนื่อง” เหมือนสายน้ำ� แต่อาจมี บางส่วนที่เชื่อมโยงถึงกันได้บ้าง ดังนั้นการอธิบายภาษาในห้องน้ำ�ของบทความนี้ ผมจึงตั้งวางอยู่บนข้อมูลที่ได้จากงานภาคสนามเป็นสำ�คัญ
ปิ ด ตำ � ร า แ ล้ ว ไ ป ล ง ส น า ม เมื่อผมต้องเปลี่ยนห้องน้ำ�เป็นห้องเรียน ผนังกำ�แพงเป็นหนังสือ ผู้ ใช้บริการคือคุณครูผู้ ให้ความรู้ ผมเริ่มต้นด้วยการทำ�แผนที่ พร้อมทั้งเก็บข้อมูลภายในห้องน้ำ�โดยการจดข้อความ รูปวาด พร้อมบันทึกภาพถ่ายทั้งหมด รวมทั้งโครงสร้างห้องน้ำ�สาธารณะ อย่าง สำ�รวมและระมัดระวัง (ทั้งห้องน้ำ�ชายและหญิง) ผมไม่ได้ลืมว่าการแบ่งแยกห้อง น้ำ�สาธารณะนั้นเกิดขึ้นด้วยเงื่อนไขตามเพศสรีระ (ชาย/หญิง) ผมจึงขอความร่วม มือจากเพื่อนนักศึกษาสรีระหญิง (สุดารัตน์ จรรยาวดี) ในการช่วยเก็บข้อมูล การขอบคุณเธอจึงเป็นสิ่งที่ผมอยากทำ�เป็นสิ่งแรก สำ�หรับการเก็บข้อมูลภายใน ห้องน้ำ� ผมเริ่มทีละฝั่ง (ทั้งหมด 4 ฝั่ง รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) และทีละห้อง โดยเริ่มการวาดแผนที่ฉบับย่อ แล้วจดข้อความลงในสมุดบันทึก ถ่ายภาพด้วย กล้องถ่ายรูปขนาดพกพา (มีความยากลำ�บากที่ต้องปิดเสียงชัตเตอร์และปิดแฟลช
8
คมสัน พรมรินทร์
“รอยขูดขีดเขียน.” 2554. วิกิพีเดีย เข้าถึงวัน ที่ 8 พฤศจิกายน. http:// th.wikipedia.org/wiki/รอย ขูดขีดเขียน. 3
ภาพ 1 ห้องน้ำ�สาธารณะบริเวณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทั้ง 4 แห่งและ โครงสร้างห้องน้ำ�ภายใน ภาพ 2 ภาพบันทึกภายในห้องน้ำ� จะพบว่าความหนาเน่นของ การขีดเขียนจะอยู่บริเวณ ประตู หรือขอบบนผนัง ห้องน้ำ�ระดับสายตาขณะยืน แต่บริเวณโดยรอบขณะนั่ง กลับพบประปราย
เพราะไม่มีหลักประกันใดว่าผมจะไม่ถูกจับดำ�เนินคดีข้อหาอนาจารและแอบถ่าย) เราตระเวนเก็บข้อมูลจากห้องน้ำ�ทั้งสี่แห่งโดยไล่เรียง 1 2 3 4 ตามลำ�ดับ (ภาพ 1) เบื้องต้นพบว่า สิ่งที่เหมือนกันของห้องน้ำ�ทั้งสี่แห่งคือ ความเข้มของรอยขีดเขียน จะอัดแน่นอยู่บริเวณประตู และผนังส่วนบนระดับสายตาขณะยืน (ภาพ 2) หน้า ทางเข้าจะมีโต๊ะของพนักงานเก็บค่าบริการครั้งละ 2 บาท พร้อมทั้งขายกระดาษ ชำ�ระ ลูกอม หมากฝรั่ง ขนมขบเคี้ยว รวมไปถึงบุหรี่ ลักษณะโครงสร้างภายใน (จำ�นวนห้องและสุขภัณฑ์) มีความใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก ส่วนวัสดุที่ใช้ทำ� ผนังห้องน้ำ�นั้นจะต่างกันไป โดยบริเวณห้องน้ำ� แห่งที่ 1 และ 4 ผนังจะสร้างจาก ปูน ปูด้วยกระเบื้องสีขาวกั้นแต่ละห้องไว้โดยยกพื้นสูงเล็กน้อย เพื่อให้น้ำ�ไหลผ่าน ไม่ขังในห้อง ประตูห้องน้ำ�จะทำ�ด้วยไม้ทาด้วยสีขาว ส่วนบริเวณห้องน้ำ� แห่งที่ 2 และ 3 จะเป็นห้องน้ำ�สำ�เร็จรูปซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบโพลิเมอร์สีฟ้าอ่อนทั้งผนังและ ประตู ส่วนพื้นจะยกขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน มีเพียงห้องน้ำ�ชายเท่านั้นที่มีกล่องขายถุง ยางอนามัยทั้งสี่แห่ง ข้อมูลที่พบในห้องน้ำ�นั้น โดยตัวภาษาเองมีทั้ง “คำ� ข้อความ รูปภาพ สัญลักษณ์” ที่เขียนขึ้นโดยวัสดุหลากชนิด แต่ล้วนติดทนนานที่แตกต่างกัน มีทั้งลักษณะซ้อน ทับไปมา เน้นย้ำ� หรือขีดฆ่าเพื่อลบ ผมลองนำ�ข้อมูลที่ได้มาลองแบ่งประเภท ความเกี่ยวเนื่องทางความหมายโดยใช้ตัวผมเองเป็นเกณฑ์ดูดังนี้ คือ (1) เรื่องการ เมือง (2) คำ�ด่า (3) ชื่อ/รูปสัญลักษณ์ที่ผมไม่อาจรู้ และ (4) เรื่อง (ความต้องการ ทาง) เพศ ซึ่งมีมากที่สุด
ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
9
เรื่องทางการเมือง
ภาพ 3
พบว่ามีการขีดเขียน “ข้อความ” ที่โต้แย้ง อธิบาย ด่าทอ หรือท้าทาย อาทิ คำ� ติ-ชม บุคคล รัฐบาล องค์กร สถาบัน หรือข้อมูลเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องที่อัพเดทพอสมควร และเป็นข้อความที่ รุนแรงพอ ๆ กันไม่ว่าจะในห้องน้ำ�ทั้งหญิงหรือชาย ที่น่าสังเกตคือนักขีดเขียนทุก คนจะไม่ระบุตัวตนของตนเอง (ภาพ 3) หากพิจารณาดูในฐานะผู้อ่าน ข้อความ เหล่านี้แสดงไปตามอุดมการณ์ ความรู้สึก ความรู้ และความเชื่อส่วนตัวของ ปัจเจก โดยปราศจากความกังวลจากผลที่ตามมา เพราะไม่สามารถสืบได้ว่าใคร เขียน รอยประทับแห่งอุดมการณ์ที่จารึกไว้เหล่านี้มีพลังอำ�นาจมากพอที่จะทำ�ให้ เกิดการอ่านและตีความ ส่งผลสะเทือนถึงการรับรู้และสร้างปฏิบัติการบางอย่าง แก่ผู้อ่าน เห็นได้จากการ “เขียนตอบ” โต้แย้งหรือสนับสนุน เสนอ ชี้แจงอุดมการณ์ สลับกันไปมาภายในพื้นที่เดียวกัน แต่มักเป็นเพียงข้อความสั้นๆ ที่ปราศจากการ อ้างอิง (ระบุตัวตนผู้ตอบ) นอกจากนี้ยังปรากฏข้อความแสดงความเบื่อหน่ายของ การโต้ตอบทั้งสองฝ่าย อาทิ “มึงจะเถียงกันทำ�ไม” แต่ก็อาจจะยังจัดและตีความ หมายได้ว่ามันถูกเขียนด้วยเรื่องการเมืองอีกมิติหนึ่ง ที่แตกต่างออกไปจากการ แบ่งขั้วฝั่งของเรื่องการเมืองกระแสหลักที่มีแต่ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน ผมเห็นว่า “ภาษา” ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ส่วนหนึ่งเหมือนเป็น “แหล่งข้อมูล” ทาง การเมืองในเรื่องการเมืองการปกครองที่ไร้แหล่งอ้างอิง แต่ถือได้ว่าเป็นยุทธวิธี ของปัจเจกที่จะแสดงความเห็นทางการเมืองบนพื้นที่ที่มีหลักประกันว่าจะมีผู้
ข้อความที่ปรากฏ บนผนังห้องน้ำ� เพื่อแสดงความเห็น ทางการเมือง
10
คมสัน พรมรินทร์
ชมและความปลอดภัยของผู้แสดง เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้สิ่งที่ตนคิดและนำ�เสนอ ซึ่ง แม้ไม่รู้ถึงลักษณะผู้อ่านเกินไปกว่าการมีเพศสรีระเดียวกับตนก็ตาม แต่คงคาดเดา ได้ว่ารอยเขียนที่คงอยู่นี้จะส่งผลต่อความคิดของผู้อ่านอยู่บ้าง หากมองในแง่นี้ ภาษาจึงเป็นยุทธวิธีการต่อรองอุดมการณ์ความคิดเห็นทางการเมือง-การปกครอง ของปัจเจก (ระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน) ที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกัน อีกแง่มุม หนึ่งที่น่าสนใจก็คือ เมื่อเราพิจารณาถึงอำ�นาจที่เกิดขึ้น ขณะที่ปัจเจกขีดเขียน อุดมการณ์ลงบนผนังห้องน้ำ�สาธารณะ การแสดงความเห็นทางการเมืองเพื่อ เป้าประสงค์บางอย่างภายใต้เงื่อนไขความปลอดภัย (ไม่ระบุตัวตน) นั้น ปัจเจก ต้องการยึดกุมพื้นที่ของอำ�นาจในการรับรู้ตัวตนจากผู้ชม ผู้เขียนจึงมีอำ�นาจที่จะ เขียนและผู้อ่านจึงไร้สิทธิอำ�นาจที่จะเลือกอ่าน แต่ขณะเดียวกันก็ได้สะท้อนความ เกรงกลั ว ต่ อ อำ � นาจของการล่ ว งรู้ ตั ว ตนจากผู้ ช ม ซึ่ ง ชี้ ไ ปถึ ง นั ย ยะของความ เกรงกลัวต่อรับรู้ของสังคมเช่นกัน การไม่ปรากฏการอ้างอิงตัวตนของผู้เขียน จึง ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับอำ�นาจของสังคม ในการแสดงออกซึ่งความเห็นทางการ เมืองการปกครอง การเกรงกลัวต่อบทลงโทษ การเกรงกลัวต่อผู้คนหรือสังคมที่มี ความคิดเห็นขัดแย้งกับตน ขณะเดียวกันการขีดเขียนก็เป็นยุทธวิธีหนึ่งที่ปัจเจก พยายามไกล่เกลี่ย ต่อรอง ต่อต้าน ขัดขืน หรือยอมรับอำ�นาจระหว่างตนเองและ สังคม ผ่านการขีดเขียน ภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะในเรื่องการเมืองจึงเป็นการ สร้าง/สะท้อนตัวตนทางการเมืองของทั้งผู้เขียนและผู้อ่านไปเรื่อยๆ
คำ�ด่า ในที่นี้ผมพบ “คำ�/ข้อความ” ที่เมื่อเปล่งเป็นเสียงพูดในชีวิตประจำ�วันแล้ว เป็นสิ่ง ที่สังคมตีตราว่าหยาบคาย มันจึงเป็นสิ่งห้าม (เปล่งเสียง/พูด) เพราะจะสะท้อน ความสัมพันธ์ด้วยความหมาย (โดยนัยยะ) ของมันอัดแน่นไปด้วยความรู้สึกทาง ด้านลบ (negative) ต่อตัวเป้าหมายที่ได้รับฟัง/อ่าน นอกจากนี้โดยนัยยะของมัน ยังย้อน (reflex) มาถึงการประเมินคุณค่าและตัวตนของผู้พูด/เขียนด้วย ผมขอ เรียกคำ�เหล่านี้โดยรวมว่า “คำ�ด่า” เพราะมันง่ายต่อความเข้าใจประจำ�วัน ที่น่า สังเกตก็คือ คำ�/ข้อความ/ประโยคเหล่านี้ ไม่พบการระบุตัวตนของผู้เขียนเช่นกัน ผมพบว่าคำ�ด่าที่พบ (ผม) สามารถแบ่งและจัดรวมกลุ่มโดยใช้ตัวเองเป็นเกณฑ์ได้ คือ (ดูภาพ 4 ในหน้าถัดไป) 1. คำ�ด่าโดยใช้เรื่องพฤติกรรมกริยา/อาการ/บุคคลที่เคารพ: เลว ชั่ว พ่อ/แม่ มึงตาย บ้า โง่ ฯลฯ ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
11
2. คำ�ด่าโดยใช้เ(ค)รื่องเพศและเรื่องเพศ: ควย หี (มักมีการขยายความต่างๆ กันไป) ฯลฯ 3. คำ�ด่าโดยใช้อคติทางชาติพันธุ์: ไอ้เขมรระยำ� ไอ้พม่า ลาวว่ะ ฯลฯ 4. คำ�ด่าโดยเปรียบกับสัตว์: ไอเหี้ย สัด ใจหมา ควาย เดรัจฉาน ฯลฯ ผมเห็นว่าการแสดงออกของการขีดเขียนประเด็นคำ�ด่าเหล่านี้วางอยู่บนเงื่อนไข ของการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะต่อบทบาทและอำ�นาจทางสถานภาพ ทั้งนี้คง ปฏิเสธไม่ได้ว่าแทบจะทุกภาษานั้นได้ถูกวางกาละและเทศะของการใช้ภาษาไว้แต่ กำ�เนิดบนรากฐานความต่างทางอำ�นาจ การจัดลำ�ดับชนชั้นทางสังคม แต่ใช่ว่า ปัจเจกทุกคนจะยอมรับและยินยอมอย่างพร้อมใจและเต็มใจเสมอไป เนื่องจาก ความเป็นมนุษย์นั้นได้ผสานเข้ากับอารมณ์ และตัวภาษาเองนั้นก็เป็นส่วนช่วย หนึ่งในฐานะตัวแสดงอารมณ์เหล่านั้นด้วย ความคิดเห็นของมนุษย์ที่บอกเล่าผ่าน ออกมาทางภาษาจึงปะปนออกมาพร้อมกับการแสดงอารมณ์ที่หลากหลายตลอด เวลา ภายในห้องน้ำ�สาธารณะก็เป็นอีก “เวที” ที่ผู้เขียนสามารถแสดงอารมณ์ได้อย่าง อิสระ ทั้งอารมณ์ที่ต้องเก็บกดจากบริบทอื่น หรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ในบริบทขณะ นั้น จึงมีความเป็นไปได้ของการเขียนทั้งในแง่ของการเขียนแสดง/ระบายอารมณ์ และการทดลองสวมบทบาทเพื่อแสดงอารมณ์ ดังนั้นการที่เราพบเห็นคำ�ด่าจึง ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสามัญสำ�นึก อาทิ คำ�ว่าเลว ชั่ว บ้า โง่ เหี้ย สัตว์ ฯลฯ แต่บางประเด็นก็น่าสนใจ เช่น การใช้เ(ค)รื่องเพศมาเป็นคำ�ด่า มันอาจสะท้อน ถึงการหล่อหลอมจากสังคมที่คอยปกปิดและมองว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องหยาบคาย
12
คมสัน พรมรินทร์
ภาพ 4 คำ�ด่าที่พบ ซึ่งมีทั้งการกล่าวถึง พฤติกรรมเ(ค)รื่องเพศ และชาติพันธุ์
สกปรก ไม่ควรกล่าวถึงในที่สาธารณะ การขีดเขียนถ้อยคำ�เหล่านี้จึงเป็นการปลด ปล่อย/กระตุ้นอารมณ์ได้อย่างหนึ่ง ที่น่าสนใจและเสียใจยิ่งไปกว่านั้นคือ คำ�ด่ายัง เกี่ยวเนื่องกับเรื่องชาติพันธุ์ ที่ทั้งมอบความเป็นอื่น อคติ มายาคติ อันสะท้อนถึง การยังคงอยู่ของการผลิตซ้ำ�ความคิดสูงต่ำ�ทางวัฒนธรรมและอคติต่อชาติพันธุ์ ที่ แนบสนิทอยู่ในวิธีการต่างๆ ในสังคมนั้นๆ และการเขียนก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ยืนยัน ว่ามันยังคมมีอยู่และถูกผลิตไปเรื่อยๆ ผ่านตัวสื่อหลากรูปแบบ แม้มุมมองของผมเกี่ยวกับคำ�ด่าจะมุ่งไปทางมิติของจิตวิทยาอย่างจำ�ยอม คือเป็น ไปเพื่อทำ�ให้เกิดการระบาย/กระตุ้นอารมณ์ผ่านทางภาษาเสียส่วนใหญ่ แต่มิติ ทางวัฒนธรรมก็ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะลักษณะนี้ ได้กลายเป็นแหล่งชุดความรู้ (แม้จะไม่ค่อยได้รับการยอมรับ) ที่ผลิตซ้ำ�เรื่อง คำ� ด่า และกลายเป็นข้อมูลหนึ่งที่กล่อมเกลาความคิดของคนในสังคม ทั้งเรื่องเพศ เป็นสิ่งต้องห้าม หรือชาติพันธุ์อื่นต้อยต่ำ�กว่า ทั้งนี้เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมต่าง มีชุดความรู้ที่รู้กันดีอยู่ว่า คำ�ด่าที่พบในห้องน้ำ�คือสิ่งที่ไม่สมควรพูดและใช้ในชีวิต ประจำ�วันเพราะเป็นสิ่งที่สังคมมองว่าไม่ดี แต่ขณะที่อารมณ์ค่อนข้างแสดงออก ไปในทางลบ เรามักนึกถึงสิ่งต้องห้าม เพื่อปลดปล่อยอารมณ์นั้น แน่นอนว่า คำ� ด่าที่เราเรียนรู้จากห้องน้ำ�สาธารณะก็น่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นจำ�นวนมาก มัน จึงเป็นคลังความรู้ด้านหนึ่งของการเรียนรู้ภาษา
ชื่อ/รูปสัญลักษณ์ที่ผมไม่อาจรู้
ภาพ 5 ข้อความหรือ สัญลักษณ์ที่ปรากฏ บนผนังห้องน้ำ� เพื่อระบุแสดงตัวตน
ผมพบว่ามีทั้งข้อความและรูปสัญลักษณ์ที่ผมไม่รู้ความหมายหรือเจตนา แต่มัน ก็ได้ถูกมองและจัดวางบนข้อสมมติฐานของผมว่าเป็นเรื่องของความพยายามที่จะ บ่งบอกตัวตนของผู้ขีดเขียนด้วยวัสดุหลากรูปแบบ (ภาพ 5) คงต้องยอมรับว่า ตามรูปภาพและสัญลักษณ์เหล่านี้ผมไม่อาจทราบหรือรู้ความ หมายได้ บางทีอาจเป็นคำ�ที่ถูกเขียนขึ้นด้วยจุดประสงค์บางอย่าง อาจเป็น สัญลักษณ์ประจำ�กลุ่ม ประจำ�ตัวบุคคล เป็นงานศิลปะ หรืออะไรก็ตาม เป็นที่รับ รู้เฉพาะตัวของผู้เขียน (และอาจรวมไปถึงผู้อ่านบางคน) หลากหลายสมมติฐานไม่ อาจหาคำ�ตอบที่เที่ยงแท้ได้เพราะปราศจากตัวผู้เขียน การคงอยู่ของมันมีลักษณะ คล้ายกับงานกระแส graffiti แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือตัวแสดงถึงอุดมการณ์ที่สะท้อน ซ่อนอยู่ในนั้นและลำ�ดับชื่อเสียงหรือชุมชนในจินตนาการ สัญลักษณ์เหล่านี้เพียง บ่งบอกยืนยันถึงตัวผู้เขียน (ที่รับรู้ได้โดยตัวผู้เขียนเอง หรือกลุ่มพรรคพวก) แต่ ไม่บ่งบอกเป้าวัตถุประสงค์ในการเขียน อาจด้วยเงื่อนไขในการพยายามแสวงหา ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
13
ตำ�แหน่งแห่งที่และการยืนยันถึงการมีอยู่ของตัวตน/กลุ่ม ให้ผู้อื่นรับรู้ หรืออย่าง น้อยก็เพื่อให้ตนเองนั้นรับรู้ว่าตนได้เขียนมันเอาไว้ กล่าวได้เพียงว่ามันเป็นการ แสดงอัตลักษณ์เฉพาะผ่านภาษาที่เฉพาะมากๆ เท่านั้น
เรื่อง (ความต้องการทาง) เพศ ผมพบทั้งรอยขีดเขียนข้อความ รูปภาพ รวมไปถึงการเขียนตัวเลข (หมายเลข โทรศัพท์) ด้วยวัตถุประสงค์ทางเพศสัมพันธ์ [ผิดไปจากการเอาเ(ค)รื่องเพศมา เป็นคำ�ด่า] (ภาพ 6) น่าสนใจตรงที่ หลังพบข้อความที่ระบุความต้องการแล้ว มักจะตามมาด้วยเรียงตัวของตัวเลขเป็นเบอร์โทรศัพท์เพื่อสามารถติดต่อไปยัง ผู้เขียนได้ ซึ่งสามารถพบทั้งในห้องน้ำ�ชายและหญิง แต่มีความแตกต่างกันเรื่อง ความเข้มของการขีดเขียนโดยพบในห้องน้ำ�ชายมากว่าห้องน้ำ�หญิง การที่ห้องน้ำ�ชายจะมีความเข้มของการขีดเขียนมากกว่าห้องน้ำ�หญิง ผมมองว่า มันสะท้อนถึงสภาพสังคมชายเป็นใหญ่อย่างชัดเจน ความสำ�เร็จของการกำ�หนด กรงกรอบอั ต ลั ก ษณ์ ท างเพศโดยการผนวกความเป็ น ชายสำ � หรั บ เพศชายและ ความเป็นหญิงสำ�หรับเพศหญิง โดยความเป็นชายสามารถแสดงออกมาได้แทบ ทุกเรื่องแม้กระทั่งเรื่องเพศ อันตรงข้ามกับความเป็นหญิงที่คอยกดทับตัวตนของ เพศหญิงเอาไว้ มันทรงอำ�นาจแม้อยู่ในภาวะเกือบอิสระ (ในห้องน้ำ�) ก็ตาม กระทั่งเรื่องการเมือง คำ�ด่า และสัญลักษณ์ที่ผมไม่รู้ ที่อธิบายผ่านมาแล้ว ก็ มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ด้านการเมืองแม้ความรุนแรงจะมีเท่ากัน แต่ ปริมานความเข้มข้นด้านการขีดเขียนโต้ตอบหัวข้อการเมืองในห้องน้ำ�ชายจะมาก
14
คมสัน พรมรินทร์
ภาพ 6 ข้อความที่แสดง อารมณ์เรื่องเพศ พร้อมเบอร์ติดต่อกลับ
กว่าในห้องน้ำ�หญิง ด้านคำ�ด่า ห้องน้ำ�ชายก็จะหยาบและดุดัน (อาจด้วยความ รู้สึกของผมเอง) มากกว่าห้องน้ำ�หญิง นอกจากสรรพนาม มึง/กู ที่ปรากฏอย่าง สามัญอยู่ในห้องน้ำ�แล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือ แนวโน้มของคำ�ด่าที่ผู้ด่ารู้ว่าผู้อ่านนั้น มีเพศสรีระเดียวกับตน มันจึงมีลักษณะเฉพาะของ เช่น ห้องน้ำ�ชายจะด่ากันแบบ ผู้ชาย เชิงท้าทาย ต่อยตี หากพิจารณาต่อไปจะพบว่า บางคำ�จะแฝงด้วยการ กดทับตัวตนเพศหญิง เช่นการด่าคำ�ว่า ไอ้หน้าตัวเมีย ไอ้หน้าหี มันสะท้อนนัยยะ บางอย่างว่าเพศหญิงนั้นมีลักษณะบางอย่างที่ด้อยกว่าผู้ชาย (ผมไม่เคยเจอผู้หญิง ด่ากันว่าอีหน้าควยสักที) ส่วนห้องน้ำ�หญิงจะเป็นคำ�ด่าด้วยอวัยวะเพศหญิงเชิงด่า กันเอง เช่น อีดอก อีเห็ด อีกะหรี่ บางทีแทบจะไม่พาดพิงถึงผู้ชายด้วยซ้ำ� ส่วน การปรากฏรูปแบบสัญลักษณ์ที่ไม่อาจเข้าใจพบว่าห้องน้ำ�ชายจะมีมากกว่าห้องน้ำ� หญิง ทั้งหมดนี้มันสะท้อนถึงความเป็นชายและความเป็นหญิงว่ามันเป็นเป็น อำ�นาจหนึ่งที่จะคอยกำ�หนด หรือมีส่วนช่วยในการตัดสินใจกระทำ�ของบุคคล มัน เป็นเหมือนหอคอยงาช้างภายในตัวบุคคล มีคุณค่าพอๆ กับศาสนาและความเชื่อ แน่นอนเราเรียนรู้มันมาจากสังคมทั้งสิ้น ในแง่ของภาษา หากพิจารณาตัวข้อความแล้วพบว่า ความต้องการทางเพศผ่าน ภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะจะเป็นเรื่องของเพศวิถี (sexuality) ทั้งนี้เพราะการสื่อสารเป็นด้วยการเขียนอ่านและตีความเพื่อระบุความต้องการทางเพศ โดยใน ห้องน้ำ�หญิงจะเขียนขึ้นเพื่อแสดงความต้องการมีเพศสัมพันธ์ อาทิ “สวย คัน สนใจติดต่อ 08xxxxxxxx” แต่ทว่าข้อความเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นภายในห้องน้ำ�หญิง ซึ่งจะไม่ได้ถูกอ่านโดยเพศชาย (เข้าได้เฉพาะเพศสรีระหญิง) การเขียนลักษณะนี้
ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
15
จึงเป็นไปได้ในลักษณะการกลั่นแกล้ง (ตามสมมติฐานของผมเพราะผมลองโทร. ไปแล้วพบว่าไม่สามารถติดต่อเบอร์ดังกล่าวได้) ซึ่งอาจเขียนโดยผู้อื่นหรือเขียน โดยเจ้าของเบอร์เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างก็เป็นได้ อีกอย่างที่อาจเป็นไปได้คือ การเขียนเพื่อติดต่อสัมพันธ์กับหญิงรักหญิงด้วยกันเอง ทางฝั่งห้องน้ำ�ชาย พบว่ามีการขีดเขียนในลักษณะแสดงถึงความต้องการทาง เพศสัมพันธ์ที่มากและหนาแน่น โดยมีทั้งข้อความ ภาพวาด เบอร์โทรศัพท์ โดย หากพิจารณาความหมายจะสามารถแบ่งได้เป็น กลุ่มคนรักเพศตรงข้ามจะเขียน ข้อความแสดงความต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเพศหญิง (ซึ่งพบน้อยและไม่ระบุ เบอร์โทร.) หรือเป็นการเขียนเรื่องเล่าประสบการณ์ทางเพศระหว่างตนกับใครสัก คนซึ่งเป็นเพศหญิง คล้ายเป็นการแสดงจินตนาการหรือปลุกกระตุ้นอารมณ์เสีย มากกว่า ส่วนทางด้านกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน (ชายรักชาย) จะเขียนข้อความ แสดงความต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเพศชายพร้อมทั้งระบุเบอร์โทรศัพท์ โดย ส่วนใหญ่นั้นจะระบุความต้องการของตนเองโดยพร้อม อาทิ “อยากดูดควย โทร 08xxxxxxxx” “ไบแมนๆ หาเพื่อนว่าว” “รุกหาเงิน” “แมนๆ ชอบดูดควยครับ” “ต้องการคุยกับโบทไม่อ้วนเท่านั้น” “เย็ดฟรี” ฯลฯ และ ฯลฯ ผมได้พยายามติดต่อ (โทร.อย่างระมัดระวัง) เพื่อทำ�ความเข้าใจการให้ความ หมายของการเขียนจากผู้เขียนเหล่านี้ ซึ่งพบว่าการโทรติดต่อเบอร์เหล่านี้ มีทั้ง การโทร.ไม่ติด (เบอร์ถูกยกเลิก) โทร.ไปแล้วเจ้าตัวไม่ได้เป็นผู้เขียน (จากการ ไม่ยอมรับ หรือการกล่าวว่าตนไม่รู้เรื่องใดๆ) และการโทรติดต่อได้ ในเบื้องต้น ตลอดการพยายามสนทนา ผมได้ระบุตัวเองในการพูดคุยทางโทรศัพท์ว่าตนนั้น เป็นชายรักชายอย่างเปิดเผย ชวนพูดคุยเรื่อยไปตามที่ผมพอจะคิดและชวนคุยได้ บ้าง และต่อท้ายด้วยการบอกวัตถุประสงค์ว่าผมกำ�ลังทำ�งานศึกษาและขอนัด พูดคุย ผมพบว่าการทำ�เช่นนี้จะส่งผลให้ผมถูกปฏิเสธซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า (รวมถึงการ ไม่ยอมรับว่าตนเป็นผู้เขียน--ความเห็นของผม) อาจด้วยความอายและความกลัว การล่วงรู้ตัวตน/การถูกตีแผ่ก็ไม่อาจทราบได้ แต่ก็ยังโชคดีที่ความพยายามของ ผมนั้นสำ�เร็จด้วยการโทร.ติดต่อไปยังเบอร์ของพี่บอยและพี่เอก (นามสมมติทั้งคู่) โดยทั้งสองเขียนข้อความ “หาเพื่อนและตามด้วยเบอร์” เท่านั้น ไม่ได้ระบุความ ต้องการทางเพศแต่อย่างใด นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำ�ให้พวกเขากล้าพบปะและ ให้ข้อมูล ผมนัดเจอพี่บอย (นามสมมติ) ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพระนครฝั่งแฟชั่นมอลล์ตอน ประมาณห้าโมงครึ่ง เราทานข้าวและพูดคุยกันไปด้วย บทสนทนาเริ่มด้วยการ
16
คมสัน พรมรินทร์
อธิบายงานศึกษาของผม และคำ�มั่นสัญญาในการปกปิดชื่อและแนวทางการตาม รอยผู้ให้ข้อมูล พี่บอย เป็นคนกรุงเทพฯ ทำ�งานเป็นพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง ย่านเขตพญาไท อายุ 28 ปี แต่งกายเป็นชายในชุดทำ�งาน พูดลงท้ายด้วยคำ�ว่า “ครับ” ระบุว่าตนเองนั้นเป็น “เกย์โบท -แมนๆ” (สามารถมีเพศสัมพันธ์เป็นได้ทั้ง ฝ่ายรุกและฝ่ายรับ) พี่บอยพูดถึงการเขียนของตน ว่าไม่เป็นเรื่องที่ผิด เพราะตน เขียนหาเพื่อน แต่ก็ยอมรับว่ามีวัตถุประสงค์ของการ “หาเซ็กซ์” ปนอยู่ (พิจารณา จากคำ�พูด “พี่ก็เขียนไปอย่างนั้น แต่ถ้าได้ก็ดี”) ส่วนเหตุที่แจกเบอร์โทรศัพท์ นั้นเพราะต้องการเจอผู้ติดต่อ ที่เขียนไปนั้นจะเป็นเบอร์ของเครื่องที่แยกส่วนจาก เบอร์ที่ใช้ในชีวิตประจำ�วันจริง (มีโทรศัพท์ 2 เครื่อง) และเบอร์นี้จะเปลี่ยนไป เรื่อยๆ พร้อมกับการเขียนใหม่เรื่อยๆ หลังจากเปลี่ยนเบอร์ พี่บอยมองว่าเรื่อง การเขียนในห้องน้ำ�มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของ ”เกย์” เมื่อมีคนโทร.เข้ามา จะ เริ่มสอบถาม อย-นน-สส เท่าไหร่? (อายุ-น้ำ�หนัก-ส่วนสูง) และแบบไหน? (ฝ่าย รุก/รับ/ไบ ฯลฯ) จากนั้นจึงนัดพบกันและถ้าเจอตัว/เห็นหน้าแล้ว จะสานต่อหรือ ร่วมเพศสัมพันธ์ ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย พี่บอยกล่าวถึงการเขียนความต้องการและเบอร์โทร.ของตนว่ามัน “ไม่เกี่ยว” กับ พวกเกย์/กระเทย ที่ชอบมีเซ็กซ์ตามห้องน้ำ�สาธารณะ หรือการโชว์ช่วยตัวเองตาม โถปัสสาวะ โดยพี่บอยได้ให้ความรู้กับผมว่า ถ้าสังเกตดูตามห้องน้ำ�ชายจะมี “รู” ที่ถูกเจาะไว้อย่างจงใจเพื่อส่องดูห้องข้างๆ รูเหล่านี้มักถูกเจาะโดยกลุ่มเกย์หรือ กระเทยที่ชื่นชอบการมีเพศสัมพันธ์ตามห้องน้ำ� เราเรียกพวกนี้ว่า “ผีห้องน้ำ�” โดยพวกนี้จะเข้าไปนั่งห้องน้ำ�นานๆ รอเหยื่อหรือพวกเดียวกันเข้าห้องน้ำ� จากนั้น จะส่องดูและช่วยตัวเองไป หรือบางทีหากชอบพอกันผ่านรู อาจมีการส่งสัญญาณ เพื่อร่วมมีเซ็กซ์ภายในห้องน้ำ�ห้องเดียวกันหรือทำ�ผ่านระหว่างรูก็ได้ เป็นไปได้ทั้ง การสอดใส่ทางทวารหนัก การทำ�ออรัลเซ็กซ์ (ใช้ปาก) หรือการผลัดกันช่วยตัวเอง นอกจากนี้ ตามโถปัสสวะเวลาหลังเลิกงานตามห้องน้ำ�สาธารณะจะมีพวกชอบ โชว์ หรือนัด “ฟันดาบ” (การมีเพศสัมพันธ์ภายนอกโดยเอาอวัยวะเพศมาถูไถกัน) ซึ่งกรณีหลังนี้จะมีคนร่วมเข้ามามากกว่าและมีมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่สำ�เร็จความ ใคร่ก็จะออกจากไปรอคนใหม่เข้ามา พี่บอยยอมรับว่าข้อความที่อ่านในห้องน้ำ� เรื่องเล่า หรือข้อความเชิญชวนทางเพศนั้น “กระตุ้นให้เกิดอารมณ์” แต่ด้วยความ ที่ตนคิดว่ามันค่อนข้างสกปรกและกลัวติดโรค (เข้าใจว่าเอดส์-ความเห็นของผม) ตนจึงแค่เขียนเพื่อนัดเจอก่อน เป็นการป้องกันตนไปในตัว ส่วนพี่เอก เรานัดเจอกันที่ร้านกาแฟชั้นบนสุดของห้างแฟชั่นมอลล์ตอนช่วงเที่ยง
ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
17
วัน บทสนทนาช่วงแรกมักเป็นความรู้สึกแปลกใจมากที่ผมโทร.มาและพูดคุยเกี่ยว กับงานของผมอย่างสนอกสนใจพอควร เมื่อเริ่มเข้าสู่เรื่องราว พี่เอกบอกว่าตนเอง เป็นเกย์รับ (ออกสาวทั้งกริยาและท่าทาง แต่พูดครับ เรียกผู้เขียนว่า “คุณน้อง” และพูด “ค่ะ” ในบางครั้ง) อายุ 32 ปีทำ�งานอยู่ร้านธุรกิจความสวยความงาม แห่งหนึ่งย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พี่เอกเขียนข้อความเพื่อหาเพื่อนแต่ก็ยอมรับ ว่ามีจุดมุ่งหมายในการหาคู่นอน เพราะมันเป็น “ช่องทาง” หนึ่งที่ทำ�ให้กล้า และมีมองว่าเป็นโอกาสในการเจอคู่ที่เป็นเกย์เหมือนกัน แม้ว่าจะรู้ดีในเรื่องของ ความปลอดภัยและกลัวโรคมาก แต่ตนก็รู้สึกสนุกและตื่นเต้นเวลาอ่านเพราะเห็น คนอื่นก็เขียนกันเยอะแยะ โดยตนเองนั้นเป็นฝ่ายโทรติดต่อไปบ้าง บางทีก็แค่คุย โทรศั พ ท์ เ พื่ อ ความสนุ ก สนานเพื่ อ อยากรู้ ว่ า มี ค นที่ คิ ด และชื่ น ชอบเหมื อ นกั น อยู่บ้างไหม หรือบางทีก็นัดเจอพูดคุย ซึ่งมีทั้งเกย์รุก โบท ชายแท้ที่ต้องการ เงิน ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของข้อตกลงบนความพอใจทั้งสองฝ่าย ส่วนคนที่เป็น เกย์ รั บ เหมื อ นกั น พี่ เ อกจะไม่ คุ ย ด้ ว ย หรื อ คุ ย เป็ น เพื่ อ นแล้ ว เลิ ก สานต่ อ ความ สัมพันธ์ พี่เอกบอกว่าช่องทางของตนไม่ได้เขียนแค่ในห้องน้ำ�สาธารณะ ส่วน มากจะเขียนตามเว็บบอร์ดหาคู่ทางอินเทอร์เน็ตเสียมากกว่า ซึ่งในอินเตอร์เน็ตก็ จะบอก “แหล่ง” ห้องน้ำ�ที่มีเกย์เยอะเช่นกัน แต่การเขียนในห้องน้ำ�จะให้ความ รู้สึกต่างออกไปอย่างบอกไม่ถูก การพูดคุยของผมกับพี่เอกเป็นไปด้วยเวลาไม่นาน นักเนื่องจากพี่เอกต้องรีบกลับไปทำ�งาน พี่เอกสารภาพอย่างจริงใจว่าการมาพบ ผมในวันนี้ก็เพื่ออยากเห็นหน้าและพูดคุยกัน (เหมือนพี่เอกมองว่าการที่ผมโทร. มาก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำ�เร็จในการเขียนของเขา และที่มาพบผมก็เผื่อชวนมี อะไรด้วย ถ้าถูกใจทั้งสองฝ่าย--ผมคิดและรู้สึก) นอกจากข้อมูลจากผู้เขียนทั้งสองแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้สำ�หรับผมคือการหาข้อมูล จากประชากรที่ค่อนข้างถาวรในพื้นที่ ป้าเล็ก (นามสมมติ) หญิงคนดูแลทำ�ความ สะอาดและเก็บค่าบริการฝั่งที่ 1 (ตามแผนที่ในภาพ 1) วัย 48 ปี กล่าวถึงเรื่อง การขีดเขียนว่า ห้ามไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าใครเขียน นานๆ ทีถึงจะมีงบจากทาง กทม. ให้ปรับปรุงทำ�ความสะอาดห้องน้ำ�สาธารณะ จึงจะสามารถซื้อสีมาทาทับ ให้ประตูให้ดูใหม่ แต่เดียวก็จะมีเขียนอีก โดยตัวเองนั้นชินกับการเขียนและมอง ว่าเป็นพวกมือบอน เลอะเทอะ แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นในความเห็นป้าเล็กคือส่วน ห้องน้ำ�ชายที่พวก “ตุ๊ด” ที่ชอบนั่งอยู่ในห้องน้ำ�นานๆ จนทำ�ให้คนรอเข้าคิว จน ต้องตะโกนไล่ให้ออก บอกให้เกรงใจคนอื่นบ้าง การเจาะผนังห้องน้ำ�บ้าง ป้าเล็ก บอกว่าตั้งแต่ทำ�ความสะอาดมา ช่วงหลังนี้ บางครั้งดึกๆ ก็เจอผู้ชายสองคน ออกมาจากห้องน้ำ�ห้องเดียวกัน แต่ตนก็ทำ�อะไรมากไปกว่านี้ไม่ได้ ทำ�ได้เพียง
18
คมสัน พรมรินทร์
ต้องทำ�ความสะอาดบ่อยๆ เพื่อไม่ให้พวกนี้กล้า “มั่ว” ทำ�อะไรกันประเจิดประเจ้อ ส่วนในห้องน้ำ�หญิงไม่ค่อยพบปัญหาอะไรนอกจากการทิ้งผ้าอนามัยลงในโถส้วม จากข้ อ มู ล เหล่ า นี้ เราจึ ง เห็ น ได้ ว่ า ในเฉพาะประเด็ น ของภาษาในเรื่ อ งความ ต้องการทางเพศนั้น เป็นทั้งสิ่งที่ยืนยันถึงความต้องการทางเพศที่มีใน “ทุกเพศ” แต่ในพื้นที่นี้ (ห้องน้ำ�สาธารณะที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) จะมีความโดดเด่นมาก ในกลุ่มคนรักเพศ (สรีระ) เดียวกัน ด้วยการเล็งเห็นว่าพื้นที่เป็น “ช่องทาง” หรือ สื่อกลาง (mediator) ในการติดต่อสื่อสารหนึ่ง (บนการตระหนักรู้ว่าผู้ที่อ่านต้อง เป็นเพศสรีระเดียวกับตน คือ ช-ช, ญ-ญ) ดังนั้นการปรากฏตัวของ “ภาษา” จึง เป็นจุดเริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์และอาจนำ�ไปสู่การสานความสัมพันธ์ของผู้เขียนและ ผู้อ่าน นอกจากนี้มันยังกลายเป็นเสมือนตราประทับของพื้นที่ ทำ�ให้เกิดการสร้าง ชุมชนความสัมพันธ์ทางเพศ (เมื่อมีการเขียนที่มากขึ้นจึงเป็นแหล่งที่รู้กันดีกว่า มีกลุ่มคนรักเพศเดียวกันมาใช้บริการอยู่บ่อยครั้ง--อาจมีการกระจายข้อมูลตาม เว็บบอร์ดในอินเทอร์เน็ตด้วยดังเช่นคำ�บอกเล่าของพี่เอก) แต่ทว่าเรื่องนี้โดยแท้ แล้วเป็นเรื่องที่ละเอียดซับซ้อนเพราะเกิดกับกลุ่มผู้คนที่มีรสนิยมทางเพศแบบนอก สถานที่ (ส่วนตัว) หรือพวกชอบโชว์ อันเป็นความชอบทางความใคร่ส่วนบุคคล มากกว่าการเหมารวมว่าเป็นวัฒนธรรมหรือแบบแผนการดำ�รงชีวิตของคนรักเพศ เดียวกันหรือรักต่างเพศทั้งหมด เราจึงไม่อาจและไม่ควรมองว่าพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมของกลุ่มเพศใดเพศหนึ่งอย่างเป็นเอกภาพและเอกพจน์ แต่ทว่า มันอาจเป็นกลุ่ม/รูปแบบความชอบหนึ่งในประเด็นเพศสัมพันธ์ของมนุษย์ในหลาก หลายรูปแบบก็เป็นได้ การที่พี่บอยและพี่เอกมองว่า “ไม่ใช่เรื่องผิด แปลก เพราะคนอื่น (ที่เป็นเหมือน ตน) ต่างก็เขียน” มันจึงสะท้อนว่าภาษาที่ปรากฏตัวอยู่และถูกบอกเล่าผ่านผนัง ตามห้องน้ำ�สาธารณะ กลายเป็นกรอบชี้แนวทางในการบอกเล่า “ตัวตนทางเพศ” ของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน (เป็นส่วนใหญ่) ว่าพวกตนนั้นควรมีพฤติกรรมแบบใด และจัดประเภทย่อยและมีบทบาทใดได้บ้าง (อาทิ รับ รุก โบท ไบ ฯลฯ) นอกจาก การแสดงและยืนยันการมีอยู่ของตัวตนทางเพศของกลุ่มคนรักเพศสรีระเดียวกัน แล้วยังเป็นตัวตีตราให้แก่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันว่าเป็นพวกมักมากในกามารมณ์ มั่ว สำ�ส่อน ผิดที่ผิดทาง “เบี่ยงเบน” สำ�หรับกลุ่มคนรักต่างเพศ/กลุ่มคนรักเพศ เดียวกันด้วยกันเองที่ใช้บริการและได้อ่านข้อความ และมองเรื่องเพศว่าเป็นสิ่ง ต้องห้ามน่าอับอาย มันจึงนำ�ไปสู่ความเข้าใจ/ไม่เข้าใจ และตัดสินประเมินค่าตัว ตนทางเพศของบุคคลเรื่องเพศสภาพ (gender) ภายในชีวิตปกติทางสังคม อย่าง ที่ป้าเล็กมองว่าพวกตุ๊ด (ตามความเข้าใจของป้าเล็ก) ชอบมั่ว แน่นอนว่าแนวโน้ม ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
19
ส่วนใหญ่มักก่อให้เกิดอคติต่อกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน มันจึงเป็นทั้งสถานที่ปลด ปล่อยและกรงขังเรื่องเพศ ที่น่าสนใจนอกจากนี้ในกรณีของห้องน้ำ�ชายก็คือ การเขียนของกลุ่มคนเหล่านี้ (ชายรักชาย) มักลงท้ายหรือแสดงความ “แมน” ด้วยคำ�ว่า ครับ คร้าบ คร้าฟ โดยเรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับงานเสนอของ ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (ม.ป.ป.) ในเรื่อง การแสดงความสาว (femininity) ในสังคมเกย์ไทย ว่าตัวตนของเกย์นั้น “ไม่มี สูตรสำ�เร็จของความสาว แต่ทว่า การเปิดพื้นที่สร้างความสัมพันธ์ใหม่จะใช้ความ เป็นชาย เพราะเกย์ไม่ต้องการให้เพื่อนใหม่เข้าใจว่าตนเป็นกระเทยหรือไม่มีความ เป็นชาย ในขณะที่การแตกสาวจะถูกใช้เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนฝูงที่ คบหากันมานาน รู้นิสัยใจคอกันอย่างดี” เกย์หรือกลุ่มคนรักเพศเดียวกันจึงต้อง ไกล่เกลี่ยและสร้างตัวตนทางเพศของตนเอง รวมถึง “วิถี” ทางเพศและการ ดำ�รงชีวิตของตนเอง โดยมีห้องน้ำ�สาธารณะเป็นตัวแปรหนึ่งในการบอกเล่า ตีตรา ต่อรอง และสวมรับ หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ไม่ใช่เพียงกลุ่มคน รักเพศเดียวกันเท่านั้นที่ต้องไกล่เกลี่ย กลุ่มคนรักต่างเพศเองก็เช่นเดียวกัน ภาษา ที่ปรากฏในห้องน้ำ�สาธารณะเรื่องเพศนี้จึงเป็นเหมือนตัวกลางที่แอบซ่อนสารทั้ง การต่อต้านขัดขืนสังคมกระแสหลัก และเป็นร่องรอยให้ปัจเจกสรรค์สร้าง เลือก รับ ปรับเปลี่ยนทั้งตัวตน อารมณ์และความรู้สึกทางเพศของตนอยู่เสมอ
บทส่งท้าย ปั จ เ จ ก : ผ ล ผ ลิ ต ข อ ง สั ง ค ม ผ่ า น ภ า ษ า หากผมลองมองถึ ง สาเหตุ ข องความอิ ส ระในการเขี ย นของผู้ ค นในห้ อ งน้ำ � สาธารณะ เราจะพบว่าความเป็น “ส่วนตัวอย่างชั่วคราว” บนพื้นที่สาธารณะนั้น เป็นช่วงที่อำ�นาจของสังคมครอบคลุมปัจเจกไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะอำ�นาจของรัฐ และอำ�นาจจากบุคคลรอบข้าง ด้วยความคลุมเครือของช่วงภาวะความคิดนี้จึง เรียกได้เป็นช่วงชายขอบของอำ�นาจ เมื่อเปรียบเทียบงานศึกษาของ Mary Douglas (1979) ที่กล่าวถึงคุณสมบัติของช่วงชายขอบ (margin) ว่าเป็น “การ อยู่ในภาวะที่เปลี่ยนผ่านจากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่งเป็นช่วงที่อันตราย และสามารถทำ�อันตรายต่อผู้อื่นได้ สามารถควบคุมได้โดยพิธีกรรม แต่ว่านอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของอำ�นาจอีกด้วย” ความอันตรายของภาวะนี้ใน ห้องน้ำ�สาธารณะจึงส่งผลให้ปัจเจกสามารถแสดงตัวตนที่ ”ขัดขืน” หรือแย้งกับ สถานะ บทบาท ทั้งทางด้านความคิดและการปฏิบัติผ่านการขีดเขียน จึงอาจเป็น
20
คมสัน พรมรินทร์
ช่วงหลังฉาก ดังงานศึกษาของ Molotch มันจึงเป็นช่วงที่อันตรายทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น แต่ก็อาจเป็นจริงอย่างที่ Douglas กล่าวว่าช่วงชายขอบนี้ควบคุมได้ โดยพิ ธี ก รรม แต่ ใ นห้ อ งน้ำ � นั้ น ไม่ มี พิ ธี ก รรมที่ เ ป็ น แบบแผนใด แต่ ห ากมอง เรื่องอำ�นาจแล้วมันยังคงอยู่ อิสระโดยแท้นั้นไม่เคยมีจริง อำ�นาจหนึ่งที่คอย ทะลุทะลวงและควบคุมมนุษย์อยู่ คือ “ศีลธรรม” ที่เป็นปราการหอคอยงาช้าง ในตัวมนุษย์ หากเรียกในภาษาของ Foucault มันก็คือเป็น biopower เราจึง เห็นผลสำ�เร็จของการเชื่อ(ง)ในความเป็นชาย ความเป็นหญิง ที่มาพร้อมกับ บทบาทผ่านภาษาในห้องน้ำ�สาธารณะในแง่มุมที่แตกต่างกัน อาทิ ห้องน้ำ�ชาย จะเขียนหยาบคายกว่าห้องน้ำ�หญิง หรือ กลุ่มคนรักเพศเดียวกันจะกล้าเขียน หาคู่มากกว่า แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่ามันแสดงถึงการมีศีลธรรมที่สูงต่ำ�หรือ มากน้อยของผู้คน แต่มันแสดงถึงความสำ�เร็จในการครอบงำ�ผู้คนด้วยหลักของ กาละและเทศะที่ เ หมาะสมในการแสดงออกทางเพศที่ สั ง คมขี ด เส้ น กรอบไว้ อย่างชัดแจ้งแล้ว ห้องน้ำ�สาธารณะเป็นช่วงชายขอบที่ไม่มีอำ�นาจใดตรวจสอบได้ นอกจากระเบียบทางศีลธรรมที่มีในตัวปัจเจก พื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้จึงเป็นเสมือน บริเวณศักดิ์สิทธิ์เฉพาะตัวของปัจเจก ประหนึ่งปรัมในพิธีกรรมการเปลี่ยนผ่านตัว ตน อำ�นาจที่แม้จะอยู่ในตัวบุคคลจะมีผลบังคับให้คิด กระทำ�/ไม่กระทำ� สิ่งใดใด ในภาวะที่เสมือนว่าตนเป็นอิสระอย่างจอมปลอมนั้น จะปะทะอำ�นาจของภาษาที่ ปรากฏบนผนังห้องน้ำ� เพื่อต่อรอง เลือกรับ ปรับ เปลี่ยน โดยมีรูปธรรมของผล การปะทะเป็นภาคปฏิบัติการ (เช่น คิด เขียน ฯลฯ) นอกจากนี้สำ�หรับเหล่าตัว ผู้เขียนแล้ว มันอาจสร้างชุมชนเสมือนทางจินตนาการและรูปแบบวัฒนธรรมหนึ่ง ขึ้นมา (การเขียนที่ไม่มีวันจบสิ้น หรือการกลายเป็นแหล่งชุกชุมของกลุ่มคนรัก เพศเดียวกัน กลุ่มคนมีความคิดเห็นทางการเมืองร่วมกัน ฯลฯ) ส่วนสำ�หรับตัวผู้ อ่าน มันมีผลต่อการขัดเกลาความคิด โดยมันอาจส่งผลให้คล้อยตาม ต่อต้าน หรือกระทั่งตีตรา ตัดสิน ดังนั้นการเข้าห้องน้ำ�สาธารณะแม้เพียงครั้งเมื่ออ่าน/ ตีความ ภาษาที่ปรากฏอยู่ จึงอาจสามารถเปลี่ยนปัจเจกได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จากข้อมูลและการตรวจสอบ เราจะเห็นได้ถึงพลังของการกระทำ�ผ่านการสร้างตัว ตนทางสังคมแบบ social construction โดยมีภาษาเป็นตัวการหนึ่งที่ขับเคลื่อน อย่างทรงอำ�นาจ โดยมีพื้นที่ห้องน้ำ�สาธารณะเป็นเสมือนโรงงาน ที่ก่อให้เกิดการ ขัดขืนและก่อสร้างตัวตนของปัจเจก โดยมีภาษาและการตีความ (คิด) เป็นเครื่อง มือและวัตถุดิบไปพร้อมๆ กัน มันจึงเป็น “กระบวนการ (process)” ไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างตัวตนที่ ไม่มีวันจบสิ้น ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
21
เ
อ
ก
ส
า
ร
อ้
า
ง
อิ
ง
หนังสือ Douglas, Mary. 1979 (1966) Purity and Danger: an analysis of concepts of pollution and taboo. London: Routledge & Kegan Paul. Molotch, Hervey and Laura Noren (eds). 2010. Toilet: Public restroom and politics of sharing. New York: New York University Press.
เอกสารออนไลน์ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. ม.ป.ป. “บทความ Queer Anthropology: การแสดงความ สาวในสังคมเกย์ไทย.” เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. เข้าถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2554. http://www.sac.or.th/main/article_detail. php?article_id=183&category_id=27. นักศึกษากระบวนวิชาปรัชญาศิลป์และศิลปวิจารณ์ โครงการกราฟฟิติ (Project : Graffiti). ควบคุมโดย สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 2544. “สะท้อนสังคมผ่านงานศิลปะ-Graffiti สารของคน ไร้ตัวตนหรือแค่งานขีดเขียนที่ไร้ระเบียบ.” aRTgazinE. เข้าถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2554. http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic. php?t=1937. “รอยขูดขีดเขียน.” 2554. วิกิพีเดีย. เข้าถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน. http:// th.wikipedia.org/wiki/รอยขูดขีดเขียน. “Toilet Door Communication.” 2011 Uncyclopedia. Last modified on May 25, 2011. http://uncyclopedia.wikia.com/wiki/Toilet_Door_ Communication.
22
คมสัน พรมรินทร์
บทความที่เผยแพร่ในโครงการ สนาม+ เป็นข้อเสนอทางวิชาการจากการค้นคว้าของนักศึกษา ในการศึกษารายวิชาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความเชื่อและสนับสนุนในเสรีภาพ ของการแสดงความเห็นทางวิชาการต่อสาธารณชน คณะบรรณาธิการไม่จำ�เป็นต้องมีความเห็นพ้อง ในข้อเสนอของผู้เขียนบทความ
ค ณ ะ บ ร ร ณ า ธิ ก า ร พรทิพย์ เนติภารัตนกุล พรรณราย โอสถาภิรัตน์ ยุกติ มุกดาวิจิตร สลิสา ยุกตะนันทน์ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ รูปเล่ม: วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์
ภาษาห้องน้ำ�สาธารณะ
23
สนาม+ เป็นโครงการขยายพื้นที่ทางวิชาการ ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกไปนอก สนาม-จดหมายข่าวฉบับพิมพ์ ของคณะ ฯ สนาม+ เป็นพื้นที่แสดงตัวตนและความสนใจ ทางวิชาการของนักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ผลงานบางส่วนที่ปรากฏในที่นี้ แสดงให้เห็นถึง ศักยภาพและทิศทางความสนใจทางวิชาการ ที่กำ�ลังเริ่มก่อตัวขึ้นของนักศึกษารุ่นปัจจุบัน สนาม+ จะเป็นหนึ่งในเวทีแรกๆ ของพวกเขา/เธอ ต่อหน้าประชาคมวิชาการของไทย