สภาพปัจจุบัน และปัญหา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชาย สิกขา e-mail. Sakchaiubu@hotmail.com คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศักดิ์ชาย สิกขา สภาพปัจจุบนั และปัญหา พิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้าน อีสาน - อุบลราชธานี : ศิรธิ รรมออฟเซ็ท, 2555. 68 หน้า 1.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 2. อีสาน พิมพ์ครั้งแรก มกราคม พ.ศ. 2555 จำนวนที่พิมพ์ 300 เล่ม ISBN : 978-974-8469-69-0 วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 1. เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับจำนวน และสถานที่ที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในท้องถิ่นภาคอีสาน 2. เพื่ อ ศึ ก ษาและวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ในการดำเนิ น งานพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นในภาคอี ส าน ในด้ า นต่ า งๆ เช่ น องค์ความรู้ที่นำเสนอ การจำแนกประเภทวัตถุสิ่งของที่จัดแสดง การวางระบบดูแลสิ่งของและอาคารสถานที่ ความคาดหวังจากการตีพิมพ์เผยแพร่ 1. เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนและการเรียนรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม 2. เพื่อเป็นข้อมูล สารสนเทศสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 3. เพือ่ ประชาสัมพันธ์แหล่งพิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้าน โดยผูส้ นใจสามารถสืบค้นข้อมูลเพิม่ เติมได้จากเวปไซค์ฐานข้อมูล งานหั ต ถกรรมและภู มิปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น โครงการทำนุ บ ำรุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม คณะศิ ล ปประยุ ก ต์ แ ละการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดทำโดยโครงการ : การสำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหา การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน กองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สนับสนุนโดย : มูลนิธิภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย Asian Wisdom, Environment, Culture and Art Foundation (A-WECA) กราฟิคดีไซด์ : ธนวัฒน์ ฝอยจันทร์ พิมพ์ที่ : ศิริธรรมออฟเซ็ท เลขที่ 114-116 ถนนชยางกูร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
ก
กิตติกรรมประกาศ การสำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัจจุบนั และปัญหาการจัดทำพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้านในภาคอีสาน ในครัง้ นี้ ส่วนหนึ่งของแผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้เขียนในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้ใช้เวลา 1 ปี ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลใน 19 จังหวัดภาคอีสาน การดำเนินงานจะไม่สามารถสำเร็จ ลุล่วงได้ หากไม่ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานและบุคคลต่อไปนี้ ขอขอบคุณ สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักวัฒนธรรม ในพื้นที่หลายจังหวัด ที่ให้ความอนุเคราะห์ แนะนำแหล่งสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านภายในจังหวัด ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานเทศบาลตำบลหลายแห่ง ทีช่ ว่ ยติดต่อประสาน งานพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในพื้นที่ในการอำนวยความสะดวก ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ในพื้นที่ต่างๆในภาคอีสาน ที่ให้ข้อมูลและ อนุญาตให้บันทึกภาพต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์เพื่อการเผยแพร่ ขอขอบคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริรินธร (องค์กรมหาชน) กรุงเทพมหานคร ที่สนับสนุนงบประมาณ ในการเข้าร่วมประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 8-9 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่โรงแรมมุกดาแกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ทำให้พบแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งให้ ข้อมูลจากการขอเข้าสืบค้นข้อมูลภายในห้องสมุด ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. ธาดา สุทธิธรรม ที่ให้คำแนะนำปรึกษาความรู้ทางวิชาการ และให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการด้วยดีมาโดยตลอด ขอขอบคุณ คณะทำงานจากกองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย อุบลราชธานีที่ช่วยประสานงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2554 ท้ายที่สุดโครงการ นี้ จ ะสำเร็ จ ลุ ล่ ว งไม่ ไ ด้ ห ากขาดการทุ่ ม เทเสี ย สละของผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ดร. ประทั บ ใจ สิ ก ขา และผู้ร่วมโครงการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมแรงร่วมใจช่วยดำเนินการและแก้ไขปัญหาในระหว่าง การดำเนินโครงการ จนกระทั่งโครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
คำนำ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเป็นอีกคำหนึ่งที่ถูกนำมา ใช้รวมๆ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าพิพิธภัณฑ์ ท้องถิน่ ซึง่ เป็นพิพธิ ภัณฑสถานทีใ่ ช้จดั แสดงเรือ่ งราว ของท้องถิ่น และใช้จัดแสดงวัตถุหรือของตัวอย่างที่ เกี่ย วข้ อ งกั บ ท้ อ งถิ่ น อั น เป็ น ที่ ตั้ ง ของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พิพิธภัณฑ์ในสายตาของคนไทยมักถูกมองว่าเป็น สถานทีเ่ ก็บของเก่า ของทีเ่ ลิกใช้แล้ว หรือหนักหน่อย คือ ถูกมองว่าเป็นทีเ่ ก็บของเหลือทิง้ ไม่ใช้แล้วและมองว่า สิ่งของส่วนใหญ่ที่นำมาเก็บต้องอยู่ในสภาพที่ชำรุด ทรุ ด โทรม และมี ค วามเก่ า มากๆ ทั ศ นคติ นี้ เป็นความเจ็บปวดของนักอนุรกั ษ์ ทีต่ อ้ งใช้ความเพียร ในการเสาะแสวงหาวัตถุสิ่งของที่มีคุณค่าในอดีต เพื่อนำมาจัดแสดง ซึ่งในเชิงลึกการจัดทำพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้าน เป็นอะไรที่มากกว่าการรวบรวมของเก่า มาไว้ในที่เดียวกัน เพราะเป็นแหล่งรวมอดีตและ ปัจจุบันของชุมชน สำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่มี ความสมบูรณ์ทางด้านเนือ้ หา จะไม่เน้นแต่เพียงสิง่ ของที่ เป็นรูปธรรม แต่จะให้ความสำคัญกับนามธรรมที่มี โอกาสสู ญ หายด้ ว ย เช่ น ตำนานของชุ ม ชน เรื่ อ งเล่ า ขาน ความเชื่ อ ประเพณี วั ฒ นธรรม การละเล่นต่างๆ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทางด้านหัตถกรรม ด้านสมุนไพร ด้านอาหาร และอื่นๆ สิ่งของอาจ สามารถแสวงหามาจัดแสดงได้เรื่อยๆ แต่ความรู้ใน ท้ อ งถิ่ น มั ก จะสู ญ หายไปกั บ ตั ว บุ ค คลที่ นั บ วั น จะ ชราภาพ และล้มหายตายจากไปอย่างไม่มีผู้บันทึก และสืบทอด แนวคิดในการสนับสนุนการจัดทำพิพธิ ภัณฑ์ พื้นบ้านเป็นแนวคิดที่มีมานาน เอกสารนี้เป็นการ บันทึกในปี พ.ศ. 2554 ซึง่ พบว่า มีหลายหน่วยงานได้
ข
ใช้ ค วามเพี ย รพยายามที่ อ ยากจะให้ มี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้นบ้านในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นหมู่บ้าน เก่ า แก่ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ย าวนาน พื้ น ที่ ที่ มี แ หล่ ง ท่องเที่ยว ในสภาพปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจะ ไม่เป็นแต่เพียงศูนย์รวมข้อมูลท้องถิ่นจากอดีตถึง ปัจจุบัน แต่จะเป็นแหล่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ ชุมชนที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า การท่ อ งเที่ย วเชิ ง วัฒนธรรม ซึง่ จะเป็นส่วนหนึง่ ในการนำรายได้สชู่ มุ ชน ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการจัดทำโครงการ พิพธิ ภัณฑ์มาหลายปี ด้วยอยากจะช่วยเหลือชุมชนมี ศูนย์รวมข้อมูลท้องถิน่ ทีส่ วยงาม น่าเรียนรู้ น่าศึกษา จึ ง ได้ จั ด ทำโครงการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ ให้ ความรู้ และสร้างแรงกระตุ้นในชุมชน ส่วนใหญ่พบ ว่าหลังการดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านร่วม กับชาวบ้าน พิพิธภัณฑ์มักจะถูกทอดทิ้งด้วยสาเหตุ นานั ป การ แม้ ว่ า อาคารต่ า งๆ จะดู เ หมาะสม อยู่ในทำเลที่ดีก็ตาม ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการ การสำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหา การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน นี้ขึ้น เพื่อ เสาะแสวงหาต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทางออก ทางแก้ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ในเอกสารเล่มนี้จึง เป็นการประมวลจากการลงพื้นทีสำรวจข้อมูลจริง ข้อมูลบางส่วนอาจขอสงวนไว้ ไม่อาจนำมาตีพิมพ์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้ ง นี้ ผู้ เขี ย นหวั ง ใจว่ า ข้ อ มู ล นี้ น่ า จะเป็ น ประโยชน์ ต่ อ การทำงานร่ ว มกั น ของทุ ก ฝ่ า ยที่ มี ส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านในท้องถิ่น ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา
ค
สารบัญ เรื่อง กิตติกรรมประกาศ คำนำ สารบัญ บทนำ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ประวัติผู้เขียน
หน้า ก ข ค 1 3 46 55 57 60
บทนำ ความสำคัญและความเป็นมา
ด้ ว ยความตระหนั ก ที่ ม องเห็ น วั ฒ นธรรม ท้องถิน่ ถูกคุกคามจากวัฒนธรรมต่างถิน่ และมองเห็น ค่านิยมของคนในท้องถิ่นเริ่มสั่นไหวเปลี่ยนแปลง ยอมรับกระแสวัฒนธรรมต่างถิ่นมากขึ้น ผู้นำชุมชน สถานศึกษา ผูน้ ำทางศาสนา รวมทัง้ ปราชญ์ชาวบ้าน หลายพืน้ ทีไ่ ด้ตระหนักถึงความเปลีย่ นแปลงนี้ เช่นกัน โดยหลายพื้นที่ได้เริ่มรวบรวมองค์ความรู้ในท้องถิ่น เพือ่ ต้านกระแส บางแห่งมีการจัดกิจกรรม รวบรวม วัตถุสิ่งของเครื่องใช้โบราณในท้องถิ่น บางแห่งเข้า ดูแลสถานที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม บางแห่งลงมือ จัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จนทุกวันนี้ อาจจะเรียกได้ ว่ามีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเกิดขึ้นในทุกจังหวัด จังหวัด ละหลายแห่ง สถานที่ดำเนินมีหลากหลายสถานที่ เช่น วัด โรงเรียน อาคารในชุมชน และสถานที่ ส่วนบุคคล การดำเนินการดังกล่าวถือว่า เกิดประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิน่ อย่างมหาศาล เพราะเป็นการอนุรักษ์ที่ เ กิ ด จากคนในท้ อ งถิ่ น ที่ เป็นเจ้าของวัฒนธรรม แม้ว่าการดำเนินงานตั้งแต่ เริ่มต้น จนกระทั่งเปิดให้เข้าชมจะยากลำบากและ ไม่มีเงินอุดหนุนจากหน่วยงานภาครัฐก็ตาม ชุมชน ยังร่วมแรง ร่วมใจดำเนินการ ซึง่ ถือเป็นสิง่ ทีน่ า่ ยกย่อง อย่างยิง่ คณะทำงานได้พจิ ารณาแล้วเห็นว่า การจัดทำ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกพื้นที่ในภาคอีสาน 19 จั ง หวั ด เป็ น สิ่ ง ที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ งานอนุ รั ก ษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งควรได้รับการศึกษาสำรวจ
ข้อมูลเพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริง และนำมาจัดทำ ฐานข้ อ มู ล โดยวิ เ คราะห์ ภ าพให้ เ ห็ น ในทุ ก ด้ า น ทัง้ ด้านการบริหารจัดการ การนำเสนอข้อมูล การดูแล รักษา ความโดดเด่นของสิ่งที่นำมาจัดแสดง วิธีการ จัดแสดง สภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จริงจากการดำเนินงาน คณะทำงานเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ ต่อหลายภาคส่วนทัง้ ในแง่ของการอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรม ท้องถิน่ การส่งเสริมให้เกิดการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม และเป็นกระจกสะท้อนข้อมูลตามสภาพความเป็น จริงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดในทุกจังหวัด ที่ต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและต้องการ สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ความหมายและขอบข่าย
คำว่า “พิพิธภัณฑ์” อาจมีความหมายและ มีลกั ษณะดำเนินงานในหลายรูปแบบและอาจจำแนก ได้หลายประเภท แต่ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใด ล้วนกำเนิดขึ้น เพื่อสนองตอบต่อความปรารถนาใน จิตใจมนุษย์ ที่ต้องการจะรวบรวมสิ่งของต่างๆ ไว้ โดยเฉพาะสิ่ ง ของที่ มี ลั ก ษณะเป็ น ของหายาก เป็นของแปลก เป็นของมีคุณค่าหรือราคา เป็นของ สวยงาม แต่ไม่ว่าสิ่งของนั้นจะมีลักษณะใดก็ตาม บรรดาสรรพสิง่ จะเป็นสิง่ สะท้อนภาพแห่งชีวติ ความ เป็นอยู่ของมนุษย์ในกาลเวลาทีแ่ ตกต่างและในสภาพ นิเวศต่างกัน พิพิธภัณฑ์จะมีประโยชน์แม้กระทั่งต่อ คนทีไ่ ม่รหู้ นังสือ เพราะสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ 1
พิพิธภัณฑ์อาจมองคุณค่าได้จากหลายมิติ ทั้งในแง่ ของประโยชน์ที่อาจจะได้รับทางตรงและทางอ้อม รวมทั้ ง บทบาทที่ มี ต่ อ ระบบต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับมนุษย์ (ศักดิ์ชาย สิกขา, 2552: 1-2) จากการสัมมนาของนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ สาขาต่างๆ ทัว่ โลก ทีอ่ งค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ (UNESCO) จัดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1963 เรื่องบทบาททางการศึกษา ของพิพธิ ภัณฑ์ (The Education Role of Museum) โดยตกลงจำแนกประเภทของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ อ อก เป็น 9 ประเภท ดังนี้ 1) พิพิธภัณฑ์สถานทางศิลปะ (Museum of Arts) 2) พิพธิ ภัณฑ์ทางศิลปะร่วมสมัย (Gallery of Arts) 3) พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถาน ทางธรรมชาติวิทยา (Natural History Museum) 4) พิพิธภัณฑสถานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Museum of Science and Technology) 5) พิพิธภัณฑสถานทางมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์ วิทยา (Museum of Anthropology and Ethnology) 6) พิพธิ ภัณฑสถานทางประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี (Museum of History and Archaeology) 7) พิพิธภัณฑสถานแบบเฉพาะทาง (Specialized Museum) 8) พิพิธภัณฑสถานประจำท้องถิ่นหรือ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (Regional Museum /Folk Museum) 9) พิพิธภัณฑสถานของสถานการศึกษา (University Museum or School Museum) ซึ่ ง จะเห็ น ได้ ว่ า พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า น ถู ก จั ด เป็ น พิพิธภัณฑ์ในกลุ่มที่ 8 โดยได้ให้คำจำกัดความว่า เป็นพิพิธภัณฑสถานที่แสดงเรื่องราวของท้องถิ่น ใช้ จั ด แสดงวั ต ถุ ห รื อ ของตั ว อย่ า งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์
2
ซึง่ ในการดำเนินงานครัง้ นี้ คณะทำงานได้ลง พื้นที่สำรวจข้อมูลในพื้นที่จริง จำนวน 19 จังหวัด พบแหล่ ง ข้ อ มู ล ที่ ใช้ ชื่ อ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ นพื้ น ที่ ต่ า งๆ จำนวนมากกว่า 100 แห่ง ทั้งนี้ ได้นำข้อมูลมา คั ด แยกเลื อ กพื้ น ที่ จั ด เก็ บ และบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ลงฐานข้ อ มู ล พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ซึ่ ง รวบรวมได้ ทั้ ง หมด 65 แห่ง ในระยะเวลา 1 ปี จากนัน้ นำมาวิเคราะห์ขอ้ มูล เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของที่นำมาจัดแสดง ลักษณะของ การให้บริการ ความเป็นมาของการจัดตั้ง แหล่งที่ มาของงบประมาณในการจัดตั้ง สถานที่ตั้ง รวมทั้ง บุคคลและหน่วยงานทีเ่ ป็นผูด้ แู ลรับผิดชอบในปัจจุบนั จากนั้ น ได้ คิ ด เกณฑ์ คั ด เลื อ กพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า น ซึ่ ง มี ค วามจำเป็ น ต้ อ งตั ด พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ บ างแห่ ง ออก เพื่ อ นำพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ อ ยู่ ใ นขอบข่ า ยพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นที่ แ ท้ จ ริ ง มาใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ซึ่งข้อมูลนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการจัดทำแผนงาน ในการส่งเสริมและพัฒนาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่ อ ไป โดยเกณฑ์ ที่ ผ่ า นการกลั่ น กรองให้ เ ป็ น ข้ อ กำหนดของพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้าน ประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ ดังนี้ 1) จัดแสดงแสดงวัตถุหรือของตัวอย่างที่ เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ 2) ดำเนินการโดยบุคคลหรือคณะบุคคลที่ อาศัยอยู่ในท้องถิ่น 3) งบประมาณในการดำเนิ น การเริ่ ม ต้ น เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคลในท้องถิ่น 4) สถานที่ ตั้ ง จั ด แสดงตั้ ง อยู่ ใ นท้ อ งถิ่ น ซึ่งผลจากการพิจารณาตามเกณฑ์นี้ สรุป พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เข้าหลักเกณฑ์ จำนวน 43 แห่ง ดังนี้
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน กลุ่มเรียนรู้ที่ 1 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดสว่างโนนสูง บ้านโนนสูง หมู่ 9 ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูประโชติสารคุณ โทร. 084-5100892 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : เกิดจากแนวคิดของ พระครูประโชติสารคุณ เจ้าอาวาสที่มีโอกาสได้เข้าร่วม ประชุม/สัมมนาในกิจกรรมโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ริเริ่มในรัฐบาลยุค พันตำรวจโท ดร.ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร เป็ น นายกรั ฐ มนตรี โดยได้ รั บ งบประมาณสนั บ สนุ น การก่ อ ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ในปีงบประมาณ 2546 จำนวนเงิน 300,000 บาท สำหรับการริเริม่ โครงการจัดทำพิพธิ ภัณฑ์ ได้รบั ความร่วมมือ จากชาวบ้านในตำบลให้การสนับสนุนต้นไม้ทมี่ ลี ำต้นสวยงามมาจัดทำเป็นเสาและส่วนต่างๆ หลังสร้างเสร็จ ได้มีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านภายในตำบลให้ความร่วมมือนำวัตถุสิ่งของโบราณต่างๆ ที่มีมาบริจาคร่วม จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ สิ่งของบางส่วนไม่สามารถหาได้หรือหาได้แต่ชำรุดมาก ก็จะจัดทำขึ้นใหม่ ส่วนใหญ่ สิ่งของที่จัดแสดงไม่ได้มีการจัดซื้อ หลังการจัดแสดงมีผู้เข้าชมจำนวนมากทุกวัน แต่ในช่วงหลังประมาณ ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา มีผู้เข้าชมลดน้อยลงมาก ความโดดเด่นของพิพธิ ภัณฑ์ : มีการจัดแสดงสิง่ ของเครือ่ งใช้ในท้องถิน่ จากอดีตจนถึงปัจจุบนั จำนวนมาก และมีพน้ื ทีอ่ าคารสวยงาม มีพน้ื ทีก่ ว้างขวางสามารถนำมาใช้ในการจัดแสดงหรือจัดกิจกรรมต่างๆ ได้อกี มาก
ด้านหน้าอาคาร
พระครูประโชติสารคุณ (เจ้าอาวาส)
การจัดแสดง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
3
กลุ่มเรียนรู้ที่ 2 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดไชยศรี หมู่ 8 บ้านสาวะถี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผูร้ บั ผิดชอบการบริหารจัดการพิพธิ ภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดไชยศรี และคณะกรรมการโครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชนตำบลสาวะถี ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ แบบชั้นเดียว ภายในวัดไชยศรี ความเป็ น มาของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : บ้ า นสาวะถี เ ป็ น หมู่ บ้ า นที่ เ คยมี ค วามเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งมาก่ อ น มีหลักฐานเป็นเสมาหินสลักโบราณ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเคยมีความเจริญรุ่งเรืองในทางพุทธศาสนามาก่อน ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 (เป็นยุคที่พุทธศาสนารุ่งเรือง) นอกจากนั้นในวัดไชยศรียังมีสิมเก่า ซึ่งสิม หรืออุโบสถเก่า เป็นแบบพืน้ บ้านอีสานทีไ่ ด้รบั อิทธิพลมาจากช่างญวน ก่อสร้างก่อน พ.ศ. 2460 ในปัจจุบนั บ้านสาวะถีถือเป็นถิ่นนักปราชญ์มีภูมิปัญญาอีสาน โดยเฉพาะเป็นต้นแบบของหมอลำพื้นบ้านอีสาน ด้วยเหตุผลหลายประการ ทางวัดและชาวบ้านจึงมีแนวคิดร่วมกัน ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น เพื่อ เพิ่มเติมแหล่งเรียนรู้ในชุมชน นักท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรมสามารถชมได้ทง้ั สิมเก่า พิพธิ ภัณฑ์และการเรียนรู้ จากปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิน่ ย้อนอดีตการก่อเกิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดไชยศรี หลังจากทางวัดและชาวบ้านเห็นตรงกันว่าการ จัดทำพิพิธภัณฑ์ควรเริ่มต้นจากการอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ในชุมชนที่กำลังจะสูญหายก่อน โดยใช้ นโยบายไม่ซื้อแต่จะขอรับบริจาค เมื่อประกาศข่าวออกไปทำให้ชาวบ้านนำสิ่งของมาบริจาคจำนวนมาก นานวันเข้าจนชาวบ้านพูดกันติดปากว่า “ถ้ามีของฮ่างให้มาทิง้ ทีว่ ดั ” เมือ่ ปี พ.ศ. 2546 จึงมีสงิ่ ของมากมายทีว่ ดั การก่อตั้งและก่อสร้างอาคารจัดแสดงจึงเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2547 สภาพปัจจุบันมีวัตถุสิ่งของจัดแสดง มากกว่า 300 ชิ้น เป็นสิ่งของที่ได้มาจากการบริจาคของคนในชุมชนทั้งสิ้น ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีสิ่งของจัดแสดงจำนวนมาก พื้นที่สะอาด จัดเป็นระเบียบ มีการบอก ข้อมูล โดยใช้ชื่อเรียกขานเป็นภาษาถิ่นทุกรายการ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดไชยศรี
การจัดวางสิ่งของจัดแสดง
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านสาระถี วัดไชยศรี
4
กลุ่มเรียนรู้ที่ 3 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสระโนนจังหวัดขอนแก่น สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดสระโนน หมู่ 1 บ้านขามป้อม ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดสระโนน และกศน.อำเภอพระยืน ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคาร 2 ชั้น มีปันไดขึ้นด้านใน ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : พิพธิ ภัณฑ์วดั สระโนน เป็นพิพธิ ภัณฑ์ทเ่ี กิดขึน้ จากความร่วมมือของชาวบ้าน การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพระยืน(กศน.พระยืน) และวัดสระโนน โดยให้เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ไทยสายใยชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของชาวตำบลขามป้อม วัดสระโนนถือเป็นวัดเก่าแก่ ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2420 ปีฉลู โดยท่านสำเร็จ คนบุญ เจ้าอาวาสวัดหนองวังปา(คำว่า สำเร็จ เป็นสมณศักดิ์ของพระอีสานในสมัยก่อน) โดยท่านได้แนะนำให้ ชาวบ้านบ้าหนองวังปาย้ายที่ตั้งใหม่มาตั้งที่โคกมะขาม เมื่อตั้งได้ 1 ปี ท่านจึงให้รื้อหอแจกหรือศาลาการ เปรียญวัดหนองวังปานำเสา 8 ต้น ล่องแพทวนน้ำลำห้วยอุ้ยขึ้นทางทิศเหนือแล้วมาหยุดที่ท่าโนน นำพา ชาวบ้านขนย้ายเสาและศาลาขึน้ มาสร้างวัด ด้านทิศตะวันออกของบ้านขามป้อม เมือ่ สร้างเสร็จท่านให้ชอื่ ว่า วัดสระโนน โดยถือเอาตามลักษณะภูมิประเทศเป็นนิมิตมงคลนาม(บริเวณที่ตั้งวัดเป็นพื้นราบเชิงบ้าน ทิศตะวันออกที่ตั้งวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองสิม) วัดสระโนนมีเจ้าอาวาสต่อมาอีกถึง19 รูป คือ พระครูปรีชาธรรมานุวัฒน์ ซึ่งทุกรูปล้วนแล้วแต่สร้างผลงานให้กับคนในชุมชน และเจ้าอาวาสถูกยอมรับ ว่าสร้างผลงานมากที่สุด ก็คือ พระครูญาณสารโสภิต ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 17 ในช่วงปีพ.ศ. 2495-2537 ท่านได้วางรากฐานการพัฒนาวัดสระโนนและบ้านขามป้อมในทุกๆด้านจนเป็นที่ยอมรับและประสบผลสำ เร็จเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการระหว่าง วัด โรงเรียน และชุมชน ด้วยความเป็นมาที่ยาวนาน และมีความสำคัญของชาวตำบลขามป้อม การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยในการจัด เก็บข้อมูลและรวบรวมวัตถุสิ่งที่บอกเล่าความเป็นมาของชุมชน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : นิทรรศการเกี่ยวกับ หลวงปู่พระครูญาณสารโสภิต และสิ่งของเครื่องใช้ ในวิถีชุมชนจำนวนมาก
บริเวณหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสระโนน
ด้านในเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน
สภาพภายนอกวัดและอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสระโนน
5
กลุ่มเรียนรู้ที่ 4 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านหัน จังหวัดชัยภูมิ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : เลขที่ 111 หมู่ 1 บ้านหัน ตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : นายยุทธชัย ฤาชา โทร. 081-0627860 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : ใช้อาคารเปิดโล่งขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณติดถนนในหมู่บ้าน (เป็นพื้นที่ บ้านพักของกำนันตำบลบ้านหัน) ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : ในปี พ.ศ. 2540 ดร.อาทร จันทรวิมล และทีมงานจากสำนักงานวัฒนธรรม แห่งชาติ และในนามอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้มาตรวจเยี่ยมปัญหาน้ำท่วม มีความห่วงใยในวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน มีความปรารถนาอยากให้มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มีสถานที่ให้นักเรียนได้ เรียนรู้วิถีชุมชนของตนเอง ท่านได้เสนอแนะชาวบ้านให้มีการจัดตั้งกลุ่มจักสาน และกลุ่มทอผ้าในชุมชน รวมทั้ ง ให้ มี แ หล่ ง จั ด แสดงผลงานทั้ ง ในอดี ต และปั จ จุ บั น ชาวบ้ า นได้ ข านรั บ แนวคิ ด ทั้ ง หมด เกิดกลุ่มจักสานไม้ไผ่ เกิดกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง รวมทั้งเกิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน และมีการสานต่อโครงการ ต่างๆ อีกหลายโครงการ จนกลายเป็นหมูบ่ า้ นอนุรกั ษ์ควายไทย มีกรมปศุสตั ว์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ องค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ ให้การสนับสนุน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานของชาวบ้านในชุมชนที่มีความเป็นรูปธรรม ด้วยความ เสียสละของชาวบ้านและกำนัน ยุทธชัย ฤาชาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กำนันแดง ที่ช่วยกันเสียสละวัตถุ สิ่งของจัดแสดง และพื้นที่จัดแสดง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิด มีปราชญ์ชาวบ้าน ชื่อ นายวีระ โกยทรัพย์มา (ข้อมูลปีพ.ศ. 2554 อายุ 63 ปี) เป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านคอยให้ คำอธิบาย แนะนำวัตถุสิ่งของที่นำมาจัดแสดง วัตถุสิ่งของหลายรายการเป็นของใช้เฉพาะถิ่นที่คนในยุค ปัจจุบนั ไม่รจู้ กั และไม่มโี อกาสเคยเห็น ในทุกวันที่ 4 ของเดือนชาวบ้าน เช่น อสม. กลุม่ แม่บา้ น จะร่วมมือกัน ทำความสะอาดทั้งหมู่บ้านรวมทั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นการรวมของใช้โบราณที่หลากหลาย วัตถุสิ่งของหลายหลายการเป็น ของใช้เฉพาะถิ่นที่หาชมได้ยาก วัตถุสิ่งของที่นำมาจัดแสดงบอกชื่อใช้ภาษาถิ่น
ด้านหน้าและด้านในของพิพิธภัณฑ์ ลักษณะการจัดแสดงและสิ่งของจัดแสดง
6
กำนันแดง
กลุ่มเรียนรู้ที่ 5 พิพิธภัณฑ์ มรดกอีสาน จังหวัดชัยภูมิ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดโบราณ(วัดโพธิ์ชัย) หมู่ 2 บ้านผักปัง ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูอนุการโกวิท เจ้าอาวาส ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั่วคราวชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : วัดโบราณ ในอดีตเรียกว่า วัดโพธิ์ชัย มีขอสันนิษฐานว่าตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2380 (อ้างจากบันทึกตามแผ่นป้ายในบริเวณวัดที่บันทึกมาจากประวัติการรับราชการของอำมาตย์ ตรี ด้วง ภิรมย์ไกรภัก ว่ามาอุปสมบทที่วัดโพธิ์ชัย 2 พรรษา ซึ่งตรงกับคำบอกเล่า และเอกสารต่างๆ เช่น คำบอกเล่าของ แม่เฒ่าเจ้าคุณทองสี ภรรยาของพระเสนาภิรมย์ เจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์ ท่าแม่เฒ่าเกิด พ.ศ. 2374 และแต่งงานตอนอายุ 20 ปี หลังแต่งงานย้ายมาอยู่บ้านผักปัง ที่วัดโพธิ์ชัยมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ หน้าพระอุโบสถ) ซึ่งวัดแห่งนี้ เชื่อกันว่า เคยใช้เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราวในช่วงที่สร้างที่ว่าการอำเภอ หลังใหม่ ในยุค ขุนพินิจ คงคา เป็นนายอำเภอภูเขียว และในปี พ.ศ. 2453 จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้อนุโมทนาเงินส่วนตัวผ่านนายพัฒน์ พิวงศานนท์ สส.จังหวัดชัยภูมิเพื่อสร้างศาลา สำหรับพิพิธภัณฑ์ มรดกอีสาน เป็นแนวคิดของพระครูอนุการโกวิท เจ้าอาวาส (ข้อมูลปี พ.ศ. 2554 อายุ 58 ปี) ได้เล็งเห็นว่า วั ด แห่ ง นี้ มี ค วามเป็ น มาที่ ย าวนาน ประชาชนในที่ แ ห่ ง นี้ มี ก ารอยู่ อ าศั ย มาหลายชั่ ว อายุ ค น มีมรดกทางวัฒนธรรมทีห่ ลากหลาย สมควรทีจ่ ะมีการรวบรวมวัตถุสง่ิ ของไว้เป็นหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ และให้เป็นแหล่งเรียนรูว้ ถิ ชี มุ ชน จึงได้มกี ารจัดรวบรวมสิง่ ของ และรับของบริจาคของโบราณจากญาติโยม เมื่อมีปริมาณมากพอก็จะขยายพื้นที่ต่อไป ปัจจุบันจัดเก็บและจัดแสดงในอาคารชั่วคราว ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีวัตถุสิ่งของแบบร่วมสมัย ตั้งแต่ของโบราณหายาก จนกระทั้งของที่ กำลังจะสูญหาย ซึ่งเป็นของใช้เฉพาะถิ่น
แผ่นป้าย มรดกอีสาน
ตุ้มดักปลา
ประตูทางเข้าอาคารพิพิธภัณฑ์
อาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ มรดกอีสาน
7
กลุ่มเรียนรู้ที่ 6 พิพิธภัณฑ์เผ่าไทยกวน สมัยเชียงรุ้ง จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีสมุ งั คล์ หมู่ 3 บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระปิยะรัตน์ จันทภาโส รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีสมุ งั คล์ โทร. 080-7479091 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : จัดแสดงภายในอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคาร ที่ก่อสร้างมานานหลายปี ความเป็ น มาของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : เกิ ด จากแนวคิ ด ของพระครู สิ ริ ปั ญ ญาวุ ฒิ (ขุ น ละคร สิ ริ ปั ญ โญ) อดีตเจ้าคณะอำเภอธาตุพนม ซึ่งมรณภาพแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ด้วยเหตุที่เขตพื้นที่ตำบลนาถ่อนใน อดีตเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของผู้คนในอดีต มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันก็มีความเป็นมาที่น่าสนใจ เล่ากันว่า ชาวบ้านนาถ่อนในอดีตมีเชื้อ สายมาจากเผ่าไทยกวน เดิมอยู่ที่เมืองป่ง (ปุงลิง) ทางตอนบนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบัน เมื่อประมาณ 250 ปีมาแล้ว ได้อพยพมาตามลำน้ำเซบั้งไฟ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ลาว) อีกพวก หนึ่งได้อพยพข้ามลำแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยโดยการนำของท้าวไชย ทรงยศ มาตั้งถิ่นฐานบริเวณปากน้ำ ลำห้วยบ้งฮวก ตั้งเป็นเมืองมรุกขนคร ต่อมาอพยพไปทางทิศเหนือ ลำห้วยบังฮวก มีทำเลเหมาะสม มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นทีร่ าบลุม่ มีไม้ถอ่ นปกคลุม ร่มเย็น และมีทงุ่ กว้างใหญ่ จึงได้ตงั้ ถิน่ ฐานสร้างหมูบ่ า้ น เพือ่ เป็นมงคลนามตามสัญลักษณ์ทงุ่ นาบวกกับไม้ถอ่ นจำนวนมาก จึงได้นำมาตัง้ เป็นชือ่ หมูบ่ า้ นบางหมูบ่ า้ น เรียกว่า บ้านนาถ่อนทุ่ง บางหมู่บ้านตั้งชื่อเรียกว่า บ้านนาถ่อนท่า ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาถ่อน จากข้อมูลต่างๆ ท่านพระครูสริ ปิ ญ ั ญาวุฒิ จึงเห็นว่า น่าจะมีสถานทีเ่ ก็บรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน ต่างๆ ไว้ภายในวัด ซึ่งเป็นแหล่งรวมจิตใจของชาวบ้าน ท่านจึงได้ร่วมกับชาวบ้านในการรวบรวมสิ่งของทั้ง ของโบราณทีข่ ดุ พบและของใช้ชาวบ้านทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะถิน่ มาจัดเก็บไว้ทวี่ ดั และได้ดำเนินการก่อสร้าง อาคารศาลาการเปรียญหลังใหญ่เพื่อใช้เป็นที่จัดเก็บและใช้ในกิจกรรมต่างๆของวัดด้วย ดังนั้นในช่วงเวลา ที่ผ่านมาจึงมีการจัดทำตาข่ายเหล็กจัดเก็บวัตถุสิ่งของไว้ก่อน โดยผู้ที่ต้องการชมต้องมองผ่านตาข่ายเหล็ก เพื่ อ ความปลอดภั ย ในการดู แ ลรั ก ษา ในปั จ จุ บั น เป็ น ที่ น่ า เสี ย ดายที่ ท่ า นได้ ม รณภาพแล้ ว จึ ง ยั ง ไม่ มี การสานงานต่อ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : วัตถุโบราณที่ขุดค้นพบในพื้นที่ใกล้เคียงกับวัดศรีสุมังคล์ บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
อาคารที่ใช้เก็บวัตถุสิ่งของโบราณ
สภาพภายในอาคารจัดแสดง
สิ่งของจัดแสดงภายในตาข่ายเหล็ก
พื้นที่จัดแสดงและอาคารพิพิธภัณฑ์เผ่าไทยกวน สมัยเชียงรุ้ง
8
กลุ่มเรียนรู้ที่ 7 พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม วัดโกศลมัชฌิมาวาส จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดโกศลมัชฌิมาวาส บ้านกลาง ตำบลเมือง จังหวัดนครพนม ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดโกศลมัชฌิมาวาส โทร. 042575296 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น พื้นที่โดยรอบ มีสิมเก่าจัดเก็บพระไม้ และมี อาคารจัดเก็บวัตถุสิ่งของโบราณประเภทงานไม้ เช่น โฮงฮด เกวียน และอื่นๆ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : การบุกเบิกสร้างศูนย์วัฒนธรรม วัดโกศลมัชฌิมาวาส เกิดขึ้นในยุค สมัยของพระครูสิริปริยัติคุ เจ้าอาวาสวัด พระครูสิริปริยัติคุณ ฉายา ขนฺติสาโร เกิดวัน 2 ขึ้น 5 ค่ำ ปี วอก วันที่ 11 เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ที่บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม จัง หวั ด นครพนม บรรพชาเมื่อวัน 5 ขึ้น 8 ค่ ำ ปี วอก วั น ที่ 12 เดื อ น กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ที่วัดโกศลมัชฌิมาวาส ต่อมาได้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโกศลมัชฌิมาวาส ในปี พ.ศ. 2533 และเป็ น เจ้ า อาวาสวั ด โกศลมั ช ฌิ ม าวาส ในปี พ.ศ. 2536 ปั จ จุ บั น ท่ า นดำรงตำแหน่ ง เจ้ า อาวาส วัดโกศลมัชฌิมาวาส และพระปริยัตินิเทศจังหวัดนครพนม ท่านเคยศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม จนสามารถอ่านออกเขียนได้ เป็นที่ยอมรับทั่วไปในการแสดงธรรม การเทศนาวิปัสสนากัมมัฏฐาน และมี ความชำนาญพิเศษในการก่อสร้าง ออกแบบแปลนสิ่งก่อสร้างต่างๆ การก่อสร้างอาคาร ศูนย์วัฒนธรรมได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 8,000,000 บาท การจัดเก็บวัตถุสิ่งของจัดแสดง ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายเป็นการรวบรวม สิ่งของเครื่องใช้สมัยก่อน เช่น พระพุทธรูปโบราณปาง ต่าง ๆ เหรียญ เงิน พันธบัตร สิง่ ของเครือ่ งใช้ในชีวติ ประจำวัน นอกจากนัน้ ยังมีกองเพลโบราณ โปงแลงโบราณ โฮงฮดโบราณ เกวียนโบราณ และอื่นๆ อีกมากมาย บาวส่วนถูกนำมาจัดแสดงไว้นอกอาคารศูนย์ ศิลปวัฒนธรรม เพราะมีขนาดใหญ่ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์บ้านกลาง หรือศูนย์วัฒนธรรม วัดโกศลมัชฌิมาวาส ได้รับความสนใจและมีผู้ขอเข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง ความโดดเด่ น ของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : มี วั ต ถุ สิ่ ง ของโบราณจำนวนมาก และมี สิ ม เก่ า มี อ าคารจั ด แสดงที่สวยงาม
สิมเก่าภายในวัด
หลวงพ่อเจ้าอาวาส
การจัดเก็บภายในตู้ อาคาร
สภาพบริเวณนอกและภายในอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
9
กลุ่มเรียนรู้ที่ 8 พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : หลวงพ่อพระเทพวรมุนี (เจ้าอาวาสวัด) และคณะกรรมการ ลั ก ษณะของอาคารพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : ประกอบด้ ว ยหลายอาคาร โดยใช้ อ าคาร 1 เป็ น อาคารหลั ก ในการจัดแสดง และโดยชั้นที่ เป็นศูนย์บริการ ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : อาคารพิพธิ ภัณฑ์ ทีเ่ รียกว่า ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร หลังที1่ ในสมั ย ก่ อ นเป็ น กุ ฏิ ข องเจ้ า อาวาสวั ด พระธาตุ พ นม คื อ พระธรรมราชานุ วั ต ร (แก้ ว อุ ทุ ม มาลา) เป็นอาคารที่ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมา พ.ศ. 2527 ได้ดัดแปลงให้เป็นอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โดยบูรณะใหม่ทงั้ หมด แต่อยูใ่ นทีเ่ ดิมและรูปทรงคล้ายของเดิม แต่ใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อย กว้าง 11.50 เมตร ยาว 17 เมตร ใช้เงินในการบูรณะ 857,020 บาท ศิลปโบราณวัตถุที่เก็บรักษาภายในอาคาร ประกอบด้วย หนังสือเก่าและใหม่ พระพุทธรูป เครื่องสักการะ และเครื่องอุปโภคต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เป็นสมบัติของพระธาตุพนมแต่เดิม บางส่วนขุดได้ที่กำแพงพระธาตุ และบางส่วนมาจาก พระธาตุพนมสมัยพังทลาย (วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2518) ได้มีการทำพิธีเปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็น ทางการเมื่ อ วั น ที่ 27 ธั น วาคม พ.ศ. 2530 โดยพระธรรมราชานุ วั ต ร และพระพนมธรรมโฆษิ ต (ดร.พระมหาสม สุมโน) เป็นหัวหน้าผู้นำสิ่งของอันมีค่ามาจัดแสดง ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : ศิลปะโบราณวัตถุต่างๆ การแสดงให้เห็นวิวัฒนาการแห่งความคิดมนุษย์ และภาพเขียนประวัติวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
บริเวณหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์
การจัดพื้นที่จัดแสดง
พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร
10
กลุ่มเรียนรู้ที่ 9 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านดู่ จังหวัดนครราชสีมา สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดโพธิ์ศรี บ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดโพธิศ์ รี และคณะกรรมการพิพธิ ภัณฑ์ โทร. 083-2977683 (นายสม คำสุข) ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาคารภายในวัด (ชั้นล่างของกุฏิ) ความเป็ น มาของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นเกิ ด จากแนวคิ ด ของ นายสาตราวุ ฒิ คำสุ ข ซึ่งมีความชอบในการสะสมของเก่า ของโบราณ ในอดีตได้ออกบวชเณรตั้งแต่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 6 และเมือ่ อายุ 27 ปี ก็ได้เป็นพระมหา (เมือ่ สอบไล่ได้เปรียญ 6) การสะสมวัตถุสง่ิ ของได้ดำเนินการมาอย่าง ต่อเนื่อง โดยใช้พื้นที่ภายในวัดในการจัดเก็บและจัดแสดง ต่อมาเมื่อลาสิกขาบทก็ยังสะสมและแสวงหา วัตถุสิ่งของ ต่างๆ มาจัดแสดงเพิ่มเติม ชาวบ้านที่เห็นความสำคัญก็ได้นำสิ่งของมาบริจาคเพิ่มเติม ต่อมา ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวนเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาท) จากทางจังหวัด ปัจจุบันปีพ.ศ. 2554 นายสาตราวุธ คำสุข หรือที่ชาวบ้านิยมเรียกว่า มหา อายุ 34 ปี ชาวบ้านยกย่องให้เป็น ปราชญ์ชาวบ้าน (เพราะเป็นผูม้ ภี มู คิ วามรูห้ ลายด้าน โดยเฉพาะด้านผ้าทอมือ) ยังคงดูแลและพัฒนาพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสุขภาพร่างกายจะไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีพระพุทธรูปโบราณจำนวนมาก และมีผ้าทอมือโบราณที่หาชมได้ยาก
หน้าประตูทางเข้าชมพิพิธภัณฑ์
สภาพการจัดพื้นที่ภายใน
ของใช้ในครัวเรือน
การจัดแสดงวัตถุสิ่งของ ภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านดู่
11
กลุ่มเรียนรู้ที่ 10 พิพิธภัณฑ์ชุมชน ชุมชนพะงาด จังหวัดนครราชสีมา สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดปริญัติไพศาล บ้านพะงาดเหนือ ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : นายวิจติ ร คงศักดิม์ าลากุล (ผูใ้ หญ่บา้ นหมู่ 12) ประธานชุมชนพะงาด ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้น สร้างภายในวัด ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : ในอดีตชาวบ้านในชุมชนพะงาดมีภมู ปิ ญ ั ญาดัง้ เดิมในการทอผ้าไหม จักสาน มีอาชีพหลัก คือ ทำนา ทำสวน ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชน ได้มีการจัดทำโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว และได้เลือกชุมชนแห่งนี้เป็นหมู่บ้านนำร่อง จึงได้มีการจัดทำแผนพัฒนาร่วมกับชุมชน และได้มีการรวม กลุ่มหลายหมู่บ้านร่วมกันเป็นชุมชนพัฒนา เรียกว่า ชุมชนพะงาด ซึ่งประกอบด้วย บ้านโจด หมู่ 4, บ้านสระหลวง หมู่ 3, บ้านโคกพะงาด หมู่ 2, บ้านพะงาดเหนือ หมู่ 12, บ้านหนองสะเดา หมู่ 11 รวม 5 หมู่บ้าน มีการจัดตั้งกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม, มหัศจรรย์สีธรรมชาติ, มัดทอผ้าไหมลายเอกลักษณ์, พิพิธภัณฑ์ชุมชน, โฮมพี่ โฮมน้อง, แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหม โดยให้มีประธานชุมชนพะงาดเป็น ผู้ น ำในการพั ฒ นา และชาวบ้ า นได้ เ ลื อ ก นายวิ จิ ต ร คงศั ก ดิ์ ม าลากุ ล (ผู้ ใ หญ่ บ้ า นหมู่ 12) เป็นประธานชุมชนพะงาดคนแรก มีคณะกรรมการบริหารชุมชนจากทุกหมู่บ้าน พิพิธภัณฑ์ชุมชน เป็นหนึ่งในโครงการของชุมชนพะงาด ตั้งอยู่วัดปริญัติไพศาล บ้านพะงาดเหนือ หมู่ 12 ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อมีโครงการและได้มีการสร้างอาคาร พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ล้ วเสร็จ ชาวบ้านได้นำของเก่ า ของโบราณจากบ้ า นมาจั ด แสดงรวมกั น ไว้ ที่ พิ พิ ธ ภัณฑ์ และได้ทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ให้บริการเมื่อ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา และคณะทำงานจากพัฒนาชุมชน รวมทั้งชาวบ้านจากทุกหมู่บ้านที่อยู่ในชุมชนพะงาด ปัจจุบันได้เปิดให้บริการเข้าชมแล้ว โดยติดต่อขอเข้าชมกับกรรมการชุมชน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : การจัดแสดงผ้าไหมลายพื้นเมือง และอุปกรณ์ในการผลิตผ้าทอมือ
อาคารพิพิธภัณฑ์ชุมชน ภายในวัด
นายวิจิตร คงศักดิ์มาลากุล ประธานชุมชนพะงาด
มุมเครื่องครัว และอุปกรณ์ผลิตผ้าไหม
สภาพภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์ชุมชน
12
กลุ่มเรียนรู้ที่ 11 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (บ้านแฝก-บ้านโนนสำราญ) จังหวัดนครราชสีมา สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : บ้านโนนสำราญ หมู่ 4 ตำบลสามเมือง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : ผูใ้ หญ่บา้ นและกรรมการหมูบ่ า้ น โทร. 084-8974864 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั่วคราวใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชน ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : เกิดจากโครงการหมูบ่ า้ นท่องเทีย่ ววัฒนธรรมไหม ของสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้เล็งเห็นว่า เขตพื้นที่บ้าแฝกและบ้านโนนสำราญที่มีพื้นที่ใกล้ชิดติดกันมีการผลิต ผ้าไหมแถบทุกหลังคาเรือนและผลิตสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีเทคนิคการผลิตและลายผ้าโบราณเป็น อัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ดังนั้นโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านน่าจะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการรวบรวมข้อมูลอดีต-ปัจจุบันผ้าไหมให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมและเรียนรู้คุณค่าผ้าไหมของชุมชน ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับผ้ายังจะได้เรียนรู้วิถีชุมชน สิ่งของเครื่องใช้โบราณของชุมชน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554 ผู้สนใจสามารถติดต่อ เข้าชมได้กับผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนสำราญ (บ้านพักอยู่ใกล้กับที่ตั้งพิพิธภัณฑ์) ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะมีการ ขยับขยายพื้นที่ไปใช้อาคารศูนย์เด็กเล็ก(ที่กำลังจะย้ายไปที่ใหม่) โดยตั้งอยู่บริเวณใกล้กับที่ตั้งในปัจจุบัน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีการจัดแสดงอุปกรณ์ทอผ้าไหมในท้องถิ่น
อาคารพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว
นายบุญทัน อะโน ผู้ใหญ่บ้าน
สภาพการจัดในอาคารชั่วคราว
สภาพทั่วไปของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (บ้านแฝก-บ้านโนนสำราญ)
13
กลุ่มเรียนรู้ที่ 12 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หนองบัวโคก จังหวัดบุรีรัมย์ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ทำนุ วรธงไชย และครอบครัว ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มจากความสนใจส่วนตัวของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทำนุ วรธงไชย ซึ่งปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยมี ความสนใจเป็นการส่วนตัวชอบเก็บสะสม กะโหลกสัตว์ เปลือกหอย เพื่อใช้ในการเป็นสื่อการสอนในการ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการวาดหรือเขียนภาพศิลปะ จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้ไปศึกษาต่อใน ระดับปริญญาโท สาขาไทยคดี (เน้นมนุษยศาสตร์) ทีม่ หาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับเครื่องมือดักจับสัตว์ของชาวบ้านในภาคอีสาน ศึกษากรณี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้เริ่มเก็บสะสมเครื่องมือดักจับสัตว์ตามแหล่งต่างๆ ในการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูล ทำให้พบวัตถุสิ่งของที่น่าสนใจอื่นๆ ด้วย จึงได้รวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก หลังจบการศึกษาจึงได้เริ่มจัด ระบบพื้นที่บา้ นใหม่ให้เป็นพิพธิ ภัณฑ์จดั แสดงวัตถุ สิง่ ของพืน้ บ้าน โดยมีความตัง้ ใจว่าจะให้เป็นแหล่งเรียน รู้สำหรับเยาวชนในพื้นที่ และคิดว่าอีกไม่นานเมื่อออกจากราชการแล้วจะมาทำงานวาดรูปและจัดระบบ พิพธิ ภัณฑ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : กับดักและขังสัตว์ กะโหลกสัตว์ และของใช้ในวิถีชีวิตชุมชน
อาคารต้อนรับ ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์
ตู้จัดแสดงภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หนองบัวโคก
14
ทางเดินชมเครื่องมือดักจับสัตว์
กลุ่มเรียนรู้ที่ 13 พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : เลขที่ 1 หมู่ 18 บ้านเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : นายสันติภาพ คำสะอาด ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : เกิดจากอุดมการณ์ของ อาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด เจ้าของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ 2 ระดับ 7 สาขาวิจิตรศิลป์ คณะวิชาศิลปกรรม อาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด เกิดวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นคนบ้านเชียงเหียนโดยกำเนิด จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านเชียงเหียน เริ่มรับราชการตั้งแต่ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ในตำแหน่ง ครูจัตวา โรงเรียนช่างสตรีมหาสารคาม ชีวิตครอบครัวได้แต่งงานกับนางสงวนจิต คำสะอาด มีบุตรด้วยกัน 6 คน อาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด ได้จัดทำพิพิธภัณฑ์และเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 จนได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2541 โดยนำวัตถุสิ่งของที่เป็นของโบราณอีสานและของสะสมต่างมาจัดแสดงไว้ให้ผู้คน ได้มีโอกาสเข้าชมหาความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมอีสาน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจากการสะสมสิ่ง ละอันพันละน้อย ซึง่ เป็นสิง่ ประดิษฐ์ คิดขึน้ จากฝีมอื คนอีสาน เช่น วัสดุอปุ กรณ์ เครือ่ งใช้ เครือ่ งมือ สิง่ จักสาน เครื่ อ งมื อ การหาปลา เครื่ อ งมื อ การทำนา ฯลฯ ใช้ เวลาสะสมเกื อ บ 50 ปี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ บ้ า นเชี ย ง เหียนหลังการปรับปรุงใหม่มีอาคารใหญ่โต จัดแสดงวัตถุสิ่งของสองชั้น รูปแบบตัวอาคารเป็นมุมฉาก ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 ในปัจจุบนั ท่านอาจารย์บญ ุ หมัน่ คำสะอาด ได้เสียชีวติ แล้วตัง้ แต่วนั ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2544 ด้วยวัย 63 ปี ถึงท่านจะจากไปแล้ว แต่ด้วยวิถีชีวิตและผลงานเป็นที่ประจักษ์ได้ว่า มีคุณูปการก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมและวงการศิลปะร่วมสมัยอีสาน ท่านอาจารย์บุญหมั่น คำสะอาดได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่า เป็ น ศิ ล ปิ น มรดกอี ส าน สาขาทั ศ นศิ ล ป์ (จิ ต กรรม) จากสำนั ก วั ฒ นธรรม มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น เนื่องในงานอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2548 ให้ไว้เป็นเกียรติแก่ครอบครัวคำสะอาด ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ แห่งนี้อยู่ในการดูแลของบุตรชาย คือ นายสันติภาพ คำสะอาด เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : ภาพวาด เขาควายหลายรูปแบบ สิ่งของเครื่องใช้ในวิถีชุมชน
อาคารจัดแสดง
อาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด ผู้ก่อตังพิพิธภัณฑ์
การจัดแสดง วัตถุสิ่งของเครื่องใช้
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน
15
กลุ่มเรียนรู้ที่ 14 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดพุทธมงคล จังหวัดมหาสารคาม สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดพุทธมงคล(วัดบ้านสระ) บ้านสระ ตำบลคันธาราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล (พระครูอนุรกั ษ์พทุ ธมงคล รักษาการ เจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล) ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : ในเขตพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีปูชนียวัตถุที่พุทธศาส นิกชนเคารพ สองพระองค์ คือ หลวงพ่อพระยืน (วัดสุวรรณาวาส) หลวงพ่อพระยืน (วัดพุทธมงคล) ทั้งสองพระองค์ทรงอานุภาพ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุ ที่ควรแก่กาสักการะเคารพบูชายิ่ง ทั้งสององค์นี้ ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อพระยืน เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งและเป็นมิ่งขวัญเป็นที่พึ่งพาทาง ใจของชาวพุทธทุกถ้วนหน้าโดยเฉพาะ ชาวกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงอย่างดี เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอมก่อนยุคสุโขทัย จากข้อมูลที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาพื้นที่แถบอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เคยเป็นเมืองเก่ามาก่อน ส่วนในวัดพุทธมงคลมีอดีตเจ้าอาวาสที่ชาวกันทวิชัยเคารพ เลื่อมใส คือ หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ หรือพระครูปัญญาวุฒิ วิชัย ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่ง สารคาม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2466 ที่บ้านคันธารราษฎร์ จังหวัดมหาสารคาม ท่านเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา เจ้ า คณะอำเภอกั น ทรวิ ชั ย และเป็ น เจ้ า อาวาสวั ด พุ ท ธมงคล รู ป ที่ 11 (ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2512) ได้จัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อจัดแสดงวัตถุสิ่งของในวิถีชุมชน มีพระไม้จากวัดต่างๆ ใบลานมหาเวสสันดร ตูพ้ ระธรรม และจัดเก็บวัตถุโบราณต่างๆ หลวงปูข่ าว ปัญญาวุฑโฒ ผูก้ อ่ ตัง้ ได้ละสังขาร เมื่อปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังขาดการพัฒนา และยังคงรอหน่วยงานให้การสนับสนุนใน การพัฒนาต่อ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบ และในบริเวณวัดมีพระยืนมงคลที่มีประชาชน เดินทางมากราบไหว้สักการะทุกวัน
อาคารพิพิธภัณฑ์
หนังสืออนุสรณ์ หลวงปูข่ าว (พระครูปัญญาวุฒิวิชัย)/ผู้ก่อตั้ง
หม้อ ไห และวัตถุโบราณต่างๆ
สภาพบริเวณด้านนอกพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วักพุทธมงคล
16
กลุม่ เรียนรูท้ ่ี 15 พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดมหาชัยพระอารามหลวง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : วัดมหาชัยพระอารามหลวง โทร. 043-711274, 043-725786, 089-5740322 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวัดมหาชัย ได้มกี ารริเริม่ มาตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2507 จากการที่ พระอริยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดมหาชัย ในขณะนั้น ได้เห็นชาวต่างชาติมาขอซื้อของ เก่าแก่ และวัตถุโบราณจากชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อท่านเห็นเช่นนั้นจึงได้ปรึกษา นายบุญช่วย อัตถากร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม นายบุญช่วย อัตถากร จึงได้ถวายรถยนต์ให้ทางวัด 1 คันเพื่อใช้เป็นพาหนะช่วยเก็บโบราณวัตถุและของเก่าแก่จากหมู่บ้าน วัดและตามแหล่งต่างๆ มารวบรวมไว้ที่วัด จากนั้นได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชื่อว่า “ศูนย์อนุรักษ์โบราณคดี” ต่อมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้นคือ นายกิตติ ประทุมแก้ว ได้เห็นความสำคัญจัดตั้งคณะกรรมการ บริหารจัดการพิพธิ ภัณฑ์ขนึ้ โดยมีพระอริยานุวตั ร เป็นประธาน มีหวั หน้าหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ ร่ ว มกั น จั ด หางบประมาณก่ อ สร้ า งอาคารจั ตุ ร มุ ข 1 หลั ง และจั ด หาวั ส ดุ อุ ป กรณ์ โบราณวั ต ถุ พร้อมทั้งเอกสารโบราณต่างๆ มาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดมหาชัย ทำให้วัดมหาชัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ แห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยเป็นการแสดงเกี่ยวกับ โบราณวัตถุ เอกสารโบราณ ศิลปกรรมจำพวกไม้แกะสลัก หิน เครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา ทั้งสมัย ก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ เครื่องดนตรี เครื่องจักสาน พระพุทธรูปทั้งไม้ โลหะ และสำริด เทวรูปต่างๆ ทั้งแบบหินทราย โลหะ และสำริด เครื่องใช้ในการศาสนา ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : โบราณวัตถุอายุตั้งแต่ 1,000-2,000 ปีขึ้นไป
ซุ้มประตู วัดมหาชัยพระอารามหลวง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วัดมหาชัยพระอารามหลวง และอาคารพิพิธภัณฑ์
17
กลุ่มเรียนรู้ที่ 16 พิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอ จังหวัดมุกดาหาร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดนาอุดมวนาราม หมู่ 1 บ้านนาอุดม ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาส วัดนาอุดมวนาราม (พระอธิการธานินทร์ วิ สุทธิสาโร) และคณะกรรมการ ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : ก่อนที่จะมีพิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอแห่งนี้ ในอดีตได้มีการขุด ค้นพบโบราณวัตถุจนเป็นแหล่งโบราณคดีทส่ี ำคัญ การค้นพบเป็นไปโดยบังเอิญจากการขุดเตาเผาถ่านของ นายบุญสาร นาถาบำรุง ราษฎรตำบลนาอุดม ในช่วงปี พ.ศ. 2536 จากนั้นอีกหลายปีสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี กรมศิลปากรได้ดำเนินการตรวจสอบและเริม่ เก็บกูโ้ บราณวัตถุ (ปี พ.ศ. 2543) แหล่งโบราณคดี โนนหนองหอมีหมู่บ้านที่สัมพันธ์ใกล้ชิดจำนวน 3 หมู่บ้านคือ บ้านนาอุดม บ้านสมสะอาด บ้านนาเจริญ ซึ่งการขุดค้นโบราณวัตถุต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี มีการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุสำคัญออกไปจาก แหล่งโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง มีผู้มารับซื้อของเก่าโดยให้ราคาที่ค่อนข้างสูง แหล่งโบราณคดีถูกขุดทำลาย ทั่วบริเวณเสียหายกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ แม้ว่าหน่วยงานในพื้นที่จะมีความตั้งใจในการอนุรักษ์ก็ไม่ สามารถดำเนินการได้เต็มที่ ในขณะนั้นพระอธิการธานินทร์ วิสุทธิสาโร เจ้าอาวาสวัดนาอุดมวนารามและ ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งได้มองเห็นปัญหา จึงได้ริเริ่มหาวิธีการอนุรักษ์โบราณวัตถุนี้ไว้ โดยรวมพลังกันจัดทำ พิพิธภัณฑ์ขึ้นภายในวัด และจัดทำผ้าป่า ขอรับบริจาคโบราณวัตถุที่ชาวบ้านขุดได้ ซึ่งผลปรากฏว่า ได้รับ ความร่วมมือร่วมใจจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี จนกระทั้งสร้างพิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2551 มีการ ปรับปรุงขยายอาคารอีกครั้งในปี 2552 และคาดว่าจะมีการขยายต่อเติมอีกครั้งในโอกาสข้างหน้า พิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอแห่งนี้ไม่ได้มีแต่เพียงโบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายอายุ ราว 3,000-2,000 ปี แต่ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ในชุมชนจัดแสดงอีกมากมาย ความโดดเด่ น ของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : มี โ บราณวั ต ถุ ที่ ส ำคั ญ มี สิ่ ง ของเครื่ อ งใช้ ใ นวิ ถี ชุ ม ชนจำนวนมาก และมีการบริหารจัดการที่ดี
สภาพการจัดตกแต่งพื้นที่ด้านในอาคารพิพิธภัณฑ์
พระอธิการธานินทร์ วิสุทธิสาโร เจ้าอาวาสวัด
สภาพภายในพิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอ
18
กลุ่มเรียนรู้ที่ 17 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านหนองหล่ม จังหวัดมุกดาหาร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : บ้านหนองหล่ม หมู่ 3 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : นายพุทรา ยืนยง ประธานกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านหนองหล่ม ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชน ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : บ้านหนองหล่ม หมู่ 3 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นหมูบ่ า้ น OTOP เพือ่ การท่องเทีย่ ว มีการพัฒนาเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างเต็มรูปแบบ โฮมสเตย์บา้ นหนองหล่ม อำเภอดอนตาล จั ง หวั ด มุ ก ดาหาร ผ่ า นการรั บ รองมาตรฐานโฮมสเตย์ ไ ทยของกรมการท่ อ งเที่ ย ว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปี 2553 พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งละ 50-100 คน สำหรับการ จัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชาวบ้านหนองล่มมีความสนใจที่จะจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมานานหลายปี ในเบื้องต้นผู้นำชุมชนในยุคนั้นได้จัดกิจกรรมรวบรวมวัตถุสิ่งของเครื่องใช้มาไว้ที่อาคารชั่วคราวก่อน จนกระทั่ ง ประมาณปี พ .ศ. 2547 ผศ.ดร. ศั ก ดิ์ ช าย สิ ก ขา และที ม งานจากคณะศิ ล ปประยุ ก ต์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือในชุมชน พบวัตถุสิ่งของ ที่ชุมชนจัดเก็บรวบรวมไว้จำนวนมาก จึงมีแนวคิดว่า น่าจะมีการจัดระบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเพราะ ชุมชนแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งที่ตั้งชุมชนมีความเหมาะสมอย่างยิ่งใน การจัดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว หลังจากกลับมาจึงได้จัดทำโครงการ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ในภาคอีสาน โดยของบประมาณประจำปี 2548 จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมาช่วยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ โดยนำนักศึกษาที่เรียนรายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาออกค่ายอาสา จัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านร่วมกับ ชาวบ้านบ้านหนองหล่ม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ใหม่ มีการก่อสร้าง ซ่อมแซมฝาผนัง ติดตาข่ายเหล็ก ทาสีใหม่ จัดทำสวนหย่อมหน้าพิพิธภัณฑ์ จัดทำบ้านจำลอง ปรับปรุง พื้นที่จัดแสดง เขียนป้ายบอกชื่อวัตถุสิ่งของ และมีการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึก เพื่อเสริมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ และในปลายปีพ.ศ. 2548 ได้เปิดให้บริการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2554 ที่มีการสำรวจ พบว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในสภาพที่ควรต้อง ปรับปรุงอีกครั้ง เนื่องจากขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา ซึ่งต้องรอคอยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความ ช่วยเหลือเพิ่มเติม ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีวัตถุสิ่งของในวิถีชุมชนบ้านหนองหล่มตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจัดแสดง และจำลองการใช้งาน
อาคารพิพิธภัณฑ์
สภาพทั่วไป พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านหนองหล่ม
19
กลุ่มเรียนรู้ที่ 18 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพา จังหวัดยโสธร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดบูรพา หมู่ 1 บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : คณะกรรมการพิพธิ ภัณฑ์ และพระสงฆ์ภายในวัด ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นส่วนหนึ่งของอาคารภายในวัด ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : พิพธิ ภัณฑ์เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน โดยได้รวบรวมสิง่ ของ เครื่องใช้ ที่เป็นของเก่า ของโบราณ มาจัดเก็บภายในวัด จัดตั้งคณะทำงาน คณะที่ปรึกษา โดยได้รับความ ช่ ว ยเหลื อ จากสำนั ก งานวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด ยโสธร สำนั ก งานพั ฒ นาสั ง คม และอี ก หลายหน่ ว ยงาน สิ่งของที่จัดเก็บเน้นสิ่งของ เครื่องใช้โบราณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบูรพาแห่งนี้เปิดให้บริการอย่างเป็น ทางการเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2547 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบูรพา มีการจัดตกแต่งสวยงาม ทั้งนี้ หากมีหน่วยงานให้การสนับสนุนในการออกแบบพื้นที่และจัดหาตู้จัดแสดงอุปกรณ์จัดวางวัสดุสิ่งของ จะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีพระไม้จำนวนมาก มีสิ่งของเครื่องใช้ในประเพณี วัฒนธรรม และมี ผู้ดูแลรับผิดชอบในการอำนวยความสะดวก
ประตูทางเข้าวัด
พระครูปริยัติพลากร (เจ้าอาวาส)
การจัดวางวัตถุสิ่งของบนโต๊ะที่ปูด้วยผ้าขาวม้า
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพา
20
กลุ่มเรียนรู้ที่ 19 พิพิธภัณฑ์วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ จังหวัดยโสธร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีธาตุ หมู่ 13 บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูฉนั ทกิจโกศล รองเจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร และเจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ โทร. 08-18767996 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั่วคราวแบบชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีธาตุ ตามหลักฐานมีการก่อตั้งประมาณปีพ.ศ. 2360 เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้ า นเรี ย กบริ เวณนี้ ว่ า ดงผี สิ ง ต่ อ มามี ค ณะของเจ้ า คำสู เจ้ า คำโส เจ้ า คำขุ ย ท้ า วปุ้ ม ฯลฯ พร้อมด้วยมหาเซียงสา ย้ายมาจากนครเขือ่ นขันธ์กาบแก้วบัวบาน (ปัจจุบนั เป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ได้มา บูรณะวัดนีข้ น้ึ จนได้รบั พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ปัจจุบันการบริหารและ การปกครองมีพระครูฉันทกิจโกศล (จิม ฉนฺทวโร) เป็นเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 พระครูฉันทกิจโกศล ได้ริเริ่มการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เล่าว่า ที่ชุมชนแห่งนี้มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาและเชื่อกันว่า หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ หากย้อนไป ในสมัยพุทธศักราช 1800 สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สถานที่ตั้งบ้านสิงห์ในปัจจุบันเข้าใจว่าเป็นที่อยู่ ของลั้วะหรือละว้า เพราะคนในสมัยนั้นชอบแกะสลักและปั้นรูป เชื่อกันว่า รูปสิงห์แกะสลักอันเป็น สัญลักษณ์ของชาวบ้านสิงห์ จะถูกแกะขึ้นในสมัยนั้น นอกจากวัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ จะมีสิงห์หินอันเป็น สัญลักษณ์หมู่บ้านแล้วยังเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางเสวยวิมุติสุข (มารสดุ้ง) ก่ออิฐฉาบปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2.85 เมตร สูง 5.20 เมตร พระเจ้าใหญ่องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ มาก เมื่อชาวบ้านมีทุกข์จะนำดอกไม้ธูปเทียนมาสักการะอธิฐานขอให้ขจัดปัดเป่าทุกข์ภัย และยังมี พระธาตุองค์อาจกะบาลหลวง เป็นธาตุเก่าแก่ที่ชาวบ้านนับถือบูชามาตลอด จากหลักฐานต่างๆ เป็นที่เชื่อ ได้ว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พระครูฉันทกิจโกศลจึงได้จัดทำพิพิธภัณฑ์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆในชุมชน ปัจจุบันภายในพิพิธภัณฑ์ได้สะสมสมสิ่งของเครื่องใช้ โบราณไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะงานพุทธศิลป์ เช่น ธรรมมาสน์โบราณ ราวเทียนโบราณ โฮงฮด และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุสิ่งของที่หาชมได้ยากทั้งสิ้น ซึ่งในระยะเริ่มต้นของการดำเนินการเคยได้งบประมาณ จากโครงการ SML มาช่วยในการซ่อมแซมปรับปรุงพิพิธภัณฑ์จำนวนเงิน 7,000 บาท แต่ยังไม่สามารถจัด ระบบได้เต็มที่เพราะมีวัตถุสิ่งของจำนวนมาก ทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในชุมชน และอื่นๆ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีวัตถุสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าจำนวนมาก ทั้งงานพุทธศิลป์ และงานฝีมือ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
สภาพภายในห้องจัดเก็บ/จัดแสดง
พระครูฉันทกิจโกศล
หีบพระธรรม สมัยโบราณจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์
21
กลุม่ เรียนรูท้ ่ี 20 พิพธิ ภัณฑ์ ศูนย์เผยแพร่ศลิ ปะและวัฒนธรรมพืน้ บ้านอีสาน จังหวัดร้อยเอ็ด สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : บ้านเลขที่ 159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : นายสุวทิ ย์-นางเสวย ภักดีวฒ ุ ิ โทร. 087-2155397 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคาร หลังบ้านพักอาศัย ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : คุณแม่เสวย ภักดีวุฒิ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านช่างฝีมือพื้นบ้าน (การทอผ้า) เป็นผู้อนุรักษ์และถ่ายทอดช่างฝีมือพื้นบ้าน จนได้รับการยกย่องจากสำนักวัฒนธรรมจังหวัด ร้อยเอ็ด ให้เป็น ศิลปินดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2545 คุณพ่อสุวิทย์ ภักดีวุฒิ สามีของคุณแม่เสวย ภักดีวุฒิ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ทางด้านวัฒนธรรมกว้างขวาง มีฝีมือเชิงช่างในการสร้างสรรค์งานศิลปะ พื้นบ้านหลายแขนง โดยเฉพาะงานผลิตผ้าธุง คุณพ่อสุวิทย์ ภักดีวุฒิ ได้เห็นความสำคัญของงานอนุรักษ์ มานาน ได้เก็บสะสมวัตถุสิ่งของโบราณไว้มากมาย เริ่มจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยได้ก่อสร้างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไว้สนามหญ้าหน้าบ้าน จุดประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นแหล่ง เรียนรูใ้ นชุมชนและให้นกั ท่องเทีย่ วทีม่ าชมผ้าทอมือทีบ่ า้ น รวมทัง้ ได้ชมวัตถุสง่ิ ของเครือ่ งใช้ของคนในท้องถิน่ ก่ อ นเข้ า ชมงานทอผ้ า ซึ่ ง ได้ จั ด ตั้ ง กลุ่ ม ทอผ้ า พื้ น เมื อ งไว้ ห ลั ง บ้ า น ในช่ ว งแรกมี ผู้ เข้ า ชมจำนวนมาก แต่ช่วงหลังมีจำนวนลดลงบ้าง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 คุณพ่อสุวิทย์ ภักดีวุฒิ ได้ตัดสินใจรื้อถอน พิพิธภัณฑ์ที่อยู่หน้าบ้าน มาจัดรวมกันกับกลุ่มทอผ้าที่หลังบ้าน ที่ผ่านมามีหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วย งานมาเยี่ ย มชม แต่ ไ ม่ เ คยได้ รั บ งบประมาณในการสนั บ สนุ น การดำเนิ น งาน ดั ง นั้ น คุ ณ พ่ อ สุ วิ ท ย์ และคุณแม่เสวย ภักดีวุฒิ จึงได้จัดทำพิพิธภัณฑ์ตามศักยภาพที่สามารถจะทำได้โดยหวังไว้ว่าจะเป็น ประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังในการศึกษาความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจุบันสภาพพิพิธภัณฑ์อยู่ในสภาพ ที่ต้องปรับปรุงใหม่ ยังหวังว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้การสนับสนุน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่หาชมยาก เจ้าของพิพิธภัณฑ์เป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถอธิบายได้ชัดเจน
สภาพพื้นที่ในการจัดวาง
พ่อสุวิทย์ ภักดีวุฒิ แนะนำของใช้โบราณที่เก็บในบ้าน
ศูนย์เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน
22
กลุ่มเรียนรู้ที่ 21 พิพิธภัณฑ์ มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดสว่างอารมณ์ หมู่ 2 บ้านหนองเมืองแสน ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : ดร.อำคา แสงงาม (ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลกูก่ าสิงห์) และกรรมการ โทร. 084-7897006 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : ชั้นสองของศาลาการเปรียญ(หลังเก่า) วัดสว่างอารมณ์ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์แห่งนี้ เกิดจากการจัดตั้งของ สภาวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์ เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2548 จากการประชุมผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่บ้านจากหมู่ บ้านต่างๆ ในตำบลกู่กาสิงห์ โดยเห็นว่า เขตพื้นที่ตำบลกู่กาสิงห์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ที่มี พืน้ ทีค่ รอบคลุมหลายจังหวัดในภาคอีสาน ทีผ่ า่ นมามีนกั วิชาการทีส่ นใจประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ได้เข้ามาศึกษา ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทุ่งกุลาร้องไห้ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นนักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักวิจัยที่ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจำนวนมากหนึ่งในนั้นคือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้ โดยคนในท้องถิ่นหลายคนได้มีโอกาสร่วมงานกับท่าน ซึ่งท่านถือเป็น ส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิชาการในท้องถิ่นได้ตระหนักถึงคุณค่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของ ตนเอง ดร.อำคา แสงงาม (ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์)เล่าว่า แรงบันดาลใจนี้ทำให้เกิด กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพือ่ การพัฒนาวิถชี วี ติ คนทุง่ กุลาร้องไห้ การสร้างพิพธิ ภัณฑ์ในชุมชน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ชุมชนของตนเอง ผลการประชุมระดมระดมความคิดในครั้งนั้น ถือเป็นจุด เริ่มต้นของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ นำโดย กำนันสงบ ใจสาหัส ดร.อำคา แสงงาม และผู้ใหญ่บ้านต่างๆ มีการประกาศให้ลูกบ้านที่มีของโบราณ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่มาบริจาคเข้าพิพิธภัณฑ์โดยเขียนชื่อ ผูบ้ ริจาคและมีการลงทะเบียนสิง่ ของทีบ่ า้ นผูใ้ หญ่บา้ นแต่ละหมูบ่ า้ น จากนัน้ จึงรวบรวมส่งทีค่ ณะกรรมกลาง ของชุมชน ซึ่งการดำเนินการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีวัตถุสิ่งของจัดเก็บไว้ที่ศาลาการ เปรียญวัดสว่างอารมณ์ จำนวนมาก แต่ยังขาดงบประมาณในการจัดพื้นที่ และการจัดระบบต่างๆ วัตถุสิ่งของจึงยังถูกจัดวางและแบ่งเป็นหมวดหมู่เต็มพื้นศาลาการเปรียญ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ในวิถีชุมชน และโบราณวัตถุที่ขุดพบในชุมชน
การวางบนเสื่อตามพื้นศาลา
ดร. อำคา แสงงาม (ประธาน) และกำนัน สงบ ใจสาหัส
พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อตั้ง
23
กลุ่มเรียนรู้ที่ 22 พิพิธภัณฑ์เมืองจำปาขัน จังหวัดร้อยเอ็ด สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : สำนักงานปลัดเทศบาลตำบลจำปาขัน โทร. 043-501082, 043-588505 โทรสาร. 043-501082 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นบ้านไม้ยกพื้น แบบบ้านอีสาน ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : เดิมเมืองโบราณบ่อพันขัน เป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในระหว่าง 2,500 – 1,500 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองจำปาขัน อยู่ในเขตตำบลจำปาขัน โดยแยก ออกจากเขตปกครองตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตัง้ แต่วนั ที่ 1 สิงหาคม 2538 และได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาขัน เมือ่ วันที่ 14 ธันวาคม 2542 ต่ อ มาเทศบาลตำบลจำปาขั น ได้ รั บ การจั ด ตั้ ง จากองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลจำปาขั น เป็ น เทศบาลตำบลจำปาขัน เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ พระธาตุบ่อพันขัน บ่อพันขัน และแหล่งโบราณคดีเนินขันหมาก จากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ แสดงให้ เห็นว่าชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลจำปาขันเคยเป็นเมืองโบราณมาก่อน มีตำนานมีเรื่องราวที่น่าสนใจ มากมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทศบาลตำบลจำปาขันเห็นความสำคัญของการบอกเล่าเรื่องราวสู่ชนรุ่นหลัง และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ พิพิธภัณฑ์เมืองจำปาขัน ได้เกิดขึ้นตามแนวคิด ของผู้บริหารเทศบาลตำบลจำปาขันและความร่วมมือจากชุมชน ได้ก่อสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2553 ตั้ ง อยู่ บ ริ เวณโนนอี ก า บ้ า นหนองจาน หมู่ 7 ตำบลจำปาขั น อำเภอสุ ว รรณภู มิ จั ง หวั ด ร้ อ ยเอ็ ด ห่างจากเขตพื้นที่หมู่บ้านราว 1-2 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่สวยงามด้านหน้าเป็นถนน ด้านหลังเป็นแม่น้ำ ตั้งอยู่บริเวณเนินหรือโนน เป็นบ้านไม้สองชั้นยกพื้นสูงแบบบ้านอีสาน ภายในปูพรมจัดแสดงขันหมาก พระไม้โบราณ ก่องข้าว กระติบ หน้าเก้ง และอื่นๆ โดยวางไว้ในตู้กระจก มีป้ายชื่อบอกบางรายการ จากข้อมูลทราบว่าจะมีการพัฒนาให้สวยงามยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : พระพุทธรูปไม้แกะสลักฝีมือประณีตจำนวนมากกว่า 10 องค์ และสิ่งของ เครื่องใช้ในวิถีชุมชน
อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองจำปาขัน
การจัดพื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์
สภาพพื้นที่ภายนอกพิพิธภัณฑ์เมืองจำปาขัน
24
กลุ่มเรียนรู้ที่ 23 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ จังหวัดเลย สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีจันทร์ ถ.เลย-เชียงคาน บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีจันทร์ และเทศบาลตำบลนาอ้อ (นายก้าน กุนวงษ์ นายกเทศบาลตำบลนาอ้อ โทร. 042-834930) ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นกุฏิเก่าอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : บ้านนาอ้อ เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี ผู้คนสืบเชื้อสายมาจาก เวียงจันทน์และหลวงพระบาง เดิมเรียกว่า บ้านหนองวังขอน เพราะมีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีขอนไม้ อยู่ ก ลางหนองน้ ำ ต่ อ มาราวปี พ.ศ. 2226 ชาวบ้ า นได้ อ พยพลงมาทางใต้ ซึ่ ง มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ คืออยู่ในบริเวณรอบๆ หนองอ้อ ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านนาอ้อ และได้ตั้งวัดศรีจันทร์ขึ้นเป็นวัดแรก ผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อนเล่าว่า ในครั้งนั้นได้นิมนต์เจ้าหัวพ่อเมืองขวาและเจ้าหัวพ่อรางคำ ชาวมุกดาหาร ที่ จ าริ ก ธุ ด งค์ เข้ า มาในบ้ า นนาอ้ อ พร้ อ มกั บ หอบหนั ง สื อ ใบลาน ติ ด ตั ว มาเป็ น จำนวนมาก มาเป็ น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ วัดศรีจันทร์จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการทำกิจกรรมทางศาสนา รวมถึงการ เรี ย นหนั ง สื อ ของพระภิ ก ษุ ส ามเณรหลั ง ปี พ.ศ. 2464 พระราชบั ญ ญั ติ ป ระถมศึ ก ษามี ผ ลบั ง คั บ ใช้ทั่วประเทศให้เรียนภาษาไทยกลางเป็นหลัก บรรดาวัดต่างๆ ได้หันมาสอนอ่านและเขียนภาษาไทยกลาง ซึ่งมีพระครูวิจารณ์สังฆกิจ หรือพระครูพา เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระครูพามีพรสวรรค์ในการสร้าง ศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้นำท้องถิ่นและประชาชน ชาวบ้านต่างเคารพและศรัทธาท่านเป็นอันมาก ด้วย คุ ณู ป การนานั บประการที่ท่านสร้างให้กับ บ้ า นนาอ้ อ เมื่ อ ทางบ้ า นนาอ้ อ ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ นจาก สภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย กรมศิลปากร สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ มีโครงการที่จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ขึ้นที่วัดศรีจันทร์ ในปี พ.ศ. 2542 จึงได้อัญเชิญนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อพิพิธภัณฑ์ ความโดดเด่นของพิพธิ ภัณฑ์ : เป็นการรวมรวมข้อมูลชุมชนในทุกด้านทัง้ ด้านประวัตศิ าสตร์ บุคคลสำคัญ และของใช้ในวิถีชุมชน มีการจัดแสดงและดูแลอย่างเป็นระเบียบ
อาคารจัดแสดง
หุ่นตานั่งจักสาน และยายนั่งกินหมาก
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ วัดศรีจันทร์
25
กลุ่มเรียนรู้ที่ 24 พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เมืองด่านซ้าย จังหวัดเลย สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : การศึกษานอกโรงเรียน เมืองด่านซ้าย โทร. 042-891094 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารไม้ยกพื้น ตั้งอยู่ภายในวัดโพนชัย ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เมืองด่านซ้าย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน ตั้ ง อยู่ ที่ วั ด โพนชั ย (หรื อ ที่ ช าวบ้ า นนิ ย มเรี ย กว่ า วั ด โพน) ถื อ เป็ น วั ด คู่ เ มื อ งของอำเภอด่ า นซ้ า ย วัดโพนชัยเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่า สร้างขึน้ พร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก ประมาณ พ.ศ. 2103 ทีว่ ดั แห่งนี้ มีการทำบุญมหาชาติหลังจากเสร็จงานพระธาตุศรีสองรักเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด ถือเป็นประเพณี สืบต่อกันมาชาวบ้านเรียกว่า บุญหลวง ในงานนี้จะมีผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนน้อยมาเล่นในงานนับร้อย การเล่ น ผี ต าโขน จะมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ บุ ญ หลวงเป็ น บุ ญ พระเวสสั น ดรและบุ ญ บั้ ง ไฟรวมกัน ถือเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่ตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเวลาหลายร้อยปี โดยชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้ วัดที่จะร่วมทำบุญหลวงมักจะเตรียมเครื่องแต่งกายผีตาโขนไว้ให้พร้อม โดยแบ่งประเภทผีตาโขนออกเป็น 2 จำพวก คือ ผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนเล็กหรือผีตาโขนทั่วไป ขบวนแห่ผีตาโขนที่เกิดขึ้นในช่วง 3 วัน ถือเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวทั่วไปมีความสนใจ และเป็นกิจกรรมสนุกสนานที่ถือสืบต่อกันมา ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนแห่งนี้ อยู่ในการดูแลของวัด ชุมชน และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งทางการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอด่านซ้าย ได้เข้ามาช่วยในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการให้ บริการความรูแ้ ก่ผนู้ กั ท่องเทีย่ วทีเ่ ข้าชมพิพธิ ภัณฑ์ผตี าโขน ปัจจุบนั ปี พ.ศ. 2554 อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้ จั ด สรรงบประมาณมาปรั บ ปรุ ง ต่ อ เติ ม อาคารพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เพื่ อ จั ด ระบบการให้ บ ริ ก ารที่ดีข้ึน ซึ่งคาดว่าในปีพ.ศ.2555 พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนแห่งนี้ จะสามารถเปิดบริการแก่ผู้สนใจได้เช่นเดิม ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : แสดงเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับผีตาโขน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น ภายในมีการให้บริการที่ดี สวยงาม สะอาด สะดวกแก่การเข้าชม
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
หุ่นจำลอง ผีตาโขน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เมืองด่านซ้าย
26
กลุ่มเรียนรู้ที่ 25 พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดศรีคุณเมือง จังหวัดเลย สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีคุณเมือง ถนนชายโขง ซอย 7 ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โทร 042-821309 ผู้ รั บ ผิ ด ชอบการบริ ห ารจั ด การพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : พระครู สิริปัญ ญาวิ สุท ธิ์ เจ้ า อาวาสวั ด ศรี คุณ เมื อ ง และเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : อาคารคอนกรีตชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : วัดศรีคณ ุ เมือง เดิมเรียกว่า วัดใหญ่ สร้างขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2380 โดยพระครูบดุ ดี อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีคุณเมืองกับลูกศิษย์และผู้มีจิตศรัทราร่วมกันสร้าง ถือเป็นแหล่งรวมงานศิลปะ ล้านนาและล้านช้าง มีศลิ ปวัตถุทส่ี ำคัญหลายชิน้ เช่น พระพุทธรูปไม้จำหลักลงรักปิดทองปางประทานอภัย แบบล้านช้าง พระพุทธรูปดังกล่าวมีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 นอกจากนี้ในวัดยังมีธรรมาสน์ไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ทุกด้าน พนักหลังมียอดคล้ายปราสาทเป็นชั้นๆ ด้านหน้าแกะลายดอกประจำยามในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อเนื่องกัน ด้านหลังมีลวดลายเหมือนกับหน้าบันของสิม มีโฮงฮดในแบบศิลปะล้านช้าง มีพระไม้ จำนวนนั บ ร้ อ ย ตู้ พ ระธรรมใช้ เ ก็ บ คั ม ภี ร์ ใ บลาน บั น ไดธรรมาสน์ โ บราณ ชุ ด ไม้ ส ำหรั บ ใส่ ต ะเกี ย ง รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในวิถีชุมชน ทางวัดได้รวบรวมวัตถุสิ่งของมีค่าจัดเก็บไว้ในอาคาร โดยจัดวางสิ่งของจัดแสดงอย่างเป็นระเบียบ มีระบบป้องกันความปลอดภัยอย่างดี เนื่องจากที่ผ่านมามีการสูญหายจำนวนหลายชิ้น ดังนั้นการขอ เข้าชมต้องติดต่อกับทางวัดโดยตรง ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีวัตถุสิ่งของที่เป็นงานพุทธศิลป์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
อาคาร พิพิธภัณฑ์วัดศรีคุณเมือง
ก่องข้าว วี และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
พิพิธภัณฑ์วัดศรีคุณเมือง
27
กลุ่มเรียนรู้ที่ 26 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทย จังหวัดศรีสะเกษ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดบ้านสร้างเรือง ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารสี่เหลี่ยมแบ่งออกเป็น 6 ชั้น ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ก่อสร้างเมือ่ ปี พ.ศ. 2511 โดยหลวงปูธ่ มั มา พิทกั ษา ซึง่ เป็นชาวบ้านสร้างเรืองโดยกำเนิด วัดบ้านสร้างเรือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี เมื่อปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่ธัมมา ได้เล็งเห็นว่าในภูมิภาคอีสานใต้ไม่มี พระธาตุให้ชาวบ้านสักการะบูชา ท่านจึงได้รเิ ริม่ สร้างพระธาตุขนึ้ ในปี พ.ศ. 2525 เรียกว่า พระธาตุเรืองรอง เป็นพระธาตุศิลปะแบบพื้นบ้าน สร้างแบบศิลปะพื้นบ้านสี่เผ่า ได้แก่ ส่วย เขมร ลาว เยอ มีความสูง 49 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 30 เมตร แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ชั้น และเป็นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ สี่เผ่าไทย ดังนี้ ชั้นที่ 1 จัดแสดงนิทรรศการนิทานพื้นบ้าน ความเป็นมาต่างๆ และฮีต 12 คลอง 14 ชั้นที่ 2 จัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทย คือ ส่วย เขมร ลาว เยอ ชั้นที่ 3 จัดแสดงวัตถุโบราณ เครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้านในอดีต ชั้นที่ 4 เป็นจุดพักผ่อน ชั้นที่ 5 เป็นที่ปฏิบัติธรรม สมาธิ ชั้นที่ 6 ประดิษฐานพระบรมเกศาธาตุ (เส้นผม) ของพระอรหันต์ และใช้เป็นจุดชมทิวทัศน์ บริเวณโดยรอบพระธาตุเรืองรองมีการตกแต่งพื้นที่โดยการสร้างแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม และแบบจำลองปูนปั้นประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญของชาวอีสาน รวมทั้งมีการจัดสถานที่สำหรับการร่วม ทำบุญโดยการบริจาค บูชาวัตถุมงคล และจำหน่ายของที่ระลึก รายได้ทั้งหมดทางวัดได้นำมาใช้ใน การปรับปรุงพัฒนาพระธาตุเรืองรอง ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีหุ่นจำลองที่แสดงวิถีชุมชนจำนวนมาก และมีสิ่งของเครื่องใช้โบราณ หลากหลายชนิด
พระธาตุเรืองรอง
การจัดแสดงสิ่งของมากมายตามตู้บริเวณทางเดิน
พระธาตุเรืองรอง และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทย
28
กลุ่มเรียนรู้ที่ 27 พิพิธภัณฑ์ไทยโส้ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยโส้ หวัดสกลนคร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : ที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ เลขที่ 6/13 หมู่ที่ 1 ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : ชุมชน และเจ้าหน้าทีจ่ ากทีว่ า่ การอำเภอกุสมุ าลย์ ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : ในอดีตประชาชนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นชาวไทยโส้ ประมาณร้อยละ 70 ชาวไทยโส้มีภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณี การประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อเป็นของตนเอง มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ไทยโส้หรือกะโซ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่ม ภาษา ออสโตรเอเชียติก เชื่อว่ามีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอาศัยอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขาอากและกลุ่มแม่ น้ำตะโปน เขตเทือกเขาเซบังเหียนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) บ้านกุสุมาลย์ ในปัจจุบัน เดิมชื่อ บ้านกุดขมาน ตามชื่อลำห้วยขมาน ที่เรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า ลำห้วยขมาน ก็เพราะตาม ริมห้วยมีต้นขมาน(บางคนเรียกว่า ต้นหมากหูลิง) ขึ้นอยู่มากมาย แต่คนโบราณบางท่านก็เรียกว่า บ้านกุดสมาน หรือบ้านอุชุมาน บางท่านก็เรียกว่า บ้านศรีสัตตนาค เมื่อบ้านกุดขมานได้ตั้งขึ้นแล้ว ก็มี สมัครพรรคพวกครอบครัวญาติวงศ์ทางฝั่งซ้ายอพยพมาเพิ่ม มีบุตรหลาน สืบต่อกันมาจนมีประชาชนพล เมืองหนาแน่นเป็นบ้านใหญ่ มีความเจริญอุดมสมบูรณ์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2524 นายสุวัฒน์ แสงสุทธิเศรษฐ์ นายอำเภอกุ สุ ม าลย์ คนที่ 7 ได้ ร่ ว มมื อ กั บ ชาวกุ สุ ม าลย์ ก่ อ สร้ า ง ศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมไทยโส้ บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ ให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปู่มเหศักดิ์ และพิพิธภัณฑ์ไทยโส้ ซึ่งถือเป็นสถานที่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ กั การะบูชาของชาวไทยโส้ เป็นทีส่ ถิตย์ของเทพทีช่ ว่ ยคุม้ ครองชาวไทยโส้ ด้านหน้าประดิษฐาน รูปหล่ออนุสาวรีย์พระอรัญอาสา และรูปปั้นหุ่นจำลองการละเล่นและวิถีชุมชนไทยโส้ ภายในพิพิธภัณฑ์ยัง เป็นที่เก็บรูปหล่อพระอรัญอาสาพร้อมเครื่องสักการะ ด้านข้างแสดงอาวุธต่างๆ และสิ่งของเครื่องใช้ของ เจ้าเมือง นอกจากนั้นเป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวไทยโส้ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : การจัดพื้นที่มีระเบียบ มีสิ่งของที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น สิ่งของเครื่องใช้ของเจ้าเมือง เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพของชาวไทยโส้ ผ้าทอมือไทยโส้
อาคารศูนย์ศนู ย์ศลิ ปวัฒนธรรมไทยโส้ หรือพิพธิ ภัณฑ์ไทยโส้
ตู้จัดเก็บวัตถุสิ่งของสำคัญ
สภาพบริเวณโดยรอบพิพิธภัณฑ์ไทยโส้
29
กลุ่มเรียนรู้ที่ 28 พิพิธภัณฑ์ บ้านบึงสา จังหวัดสกลนคร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดบึงสา บ้านบึงสา หมู่ 3 ถนนสายเต่างอย-เขาวง ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : อยูใ่ นดูแลของพระครูโสภณขันติพลาธิการ (เจ้าอาวาสวัดถ้ำพระผาป่อง) /วัดบึงสา/ชุมชนบ้านบึงสา โทร. 081-9542035 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นส่วนหนึ่งของกุฏิสงฆ์ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : พิพิธภัณฑ์บ้านบึงสาก่อตั้งโดย พระครูโสภณขัติพลากร (ทรงศักดิ์ ขันติโก) หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียก อาจารย์ แจ๋ว (จากวัดถ้ำพระผาป่อง บ้านขัวสูง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร) ท่านได้เกิดแรงบันดาลใจในการก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑ์เมือ่ ประมาณปี พ.ศ. 2542 โดยได้เขียนข้อมูลแสดง จุดประสงค์ในการก่อตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์ว่า “เมื่อครั้งบ้านบึงสาและหมู่บ้านใกล้ชิดพบวัตถุโบราณ แต่ไม่มี หน่วยงานใดเข้ามาจัดการเพราะขาดงบประมาณเพื่ออนุรักษ์และรักษาวัตถุโบราณที่กระจัดกระจายอยู่ ซึ่งควรที่จะมีการจัดให้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง จึงได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ก่อนชั่วคราว ให้เป็นที่รวมสิ่งของเครื่องใช้เก่าๆ ประจำหมู่บ้านและชุมชนเพื่อไม่ให้เสื่อมสูญ และเป็น ประโยชน์แก่หมู่บ้านและชุมชนให้ยังคงเครื่องใช้เก่า สิ่งของเก่าๆ วัฒนธรรมเก่าๆ อันดีงามให้คู่บ้านคู่เมือง สืบต่อไป จึงจัดทำพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อมอบเป็นมรดกให้บ้านบึงสา บ้านนาหลวง และชุมชนเต่างอย อันเป็น บ้านเกิดของข้าพเจ้าเพือ่ ตอบแทนคุณต่างๆทีข่ า้ พเจ้าได้อาศัยชุมชนแห่งนีเ้ ป็นบ้านเกิด จึงขอมอบพิพธิ ภัณฑ์ พื้นบ้านบ้านบึงสาแห่งนี้ ให้ทุกท่านในชุมชนเต่างอยแห่งนี้ช่วยกันดูแลรักษาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป” พระครูโสภณขันติพลากร ได้ดำเนินการเสร็จและเปิดพิพิธภัณฑ์บ้านบึงสาให้ผู้สนใจเข้าชมมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2545 อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นกุฏิสงฆ์เก่าครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นกุฏิพระสงฆ์ ส่วนชั้นล่างดัดแปลง เป็นพืน้ ทีจ่ ดั แสดง สำหรับวัตถุสง่ิ ของทีน่ ำมาจัดแสดงส่วนใหญ่เป็น โบราณวัตถุทช่ี าวบ้านขุดพบตามทุง่ นา ในหมู่บ้านบึงสา (หมู่บ้านบึงสา - บ้านนาหลวง และหมู่บ้านใกล้เคียงหลายหมู่บ้านถือเป็นแหล่งที่มีการขุด พบโบราณวัตถุอายุไม่น้อยกว่า 2500 ปี การขุดค้นพบสิ่งของต่างๆ พบของใช้จำนวนมากมาย ไม่น้อยกว่า 15 แหล่ง แต่ละแหล่งมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ขึ้นไป) แล้วนำมาบริจาคแก่ทางวัด ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : โบราณวัตถุอายุไม่น้อยกว่า 2500 ปี สิ่งของเครื่องใช้ของชาวบ้านบึงสา
กุฏเิ ก่าทีต่ ง้ั พิพธิ ภัณฑ์บา้ นบึงสา
การจัดวางวัตถุสง่ิ ของเครือ่ งใช้ในวิถชี มุ ชนตามแนวผนัง
สภาพบริเวณภายนอกพิพิธภัณฑ์บ้านบึงสา
30
กลุ่มเรียนรู้ที่ 29 พิพิธภัณฑ์สถานศาสนสมบัติ จังหวัดสกลนคร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดมหาสมณกิจภาวนา บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระจักกฤษจิตสังวโร (รักษาการเจ้าอาวาสวัดมหาสมณกิจภาวนา) โทร. 08-02861006 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : อาคารแบบชั้นเดียว ความเป็ น มาของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ในสมัยนั้นได้เคยเสด็จโดนรถยนต์พระที่นั่งจาก พระตำหนัก ภูพานราชนิเวศน์ มายังวัดมหาสมณกิจ เมื่อวันศุกร์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ได้ปฏิสันถารกับ พระอาจารย์เหรียญชัย มหาปัญโญ เจ้าอาวาสและทอดพระเนตรโบราณวัตถุต่างๆ เยี่ยมชมราษฎรที่มารอ รับเสด็จภายในวัด ต่อมาวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ได้เสด็จมาวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑ์สถานศาสน สมบัติ วัดมหาสมณกิจภาวนาอีกครั้ง ซึ่งมีภาพถ่ายพระกรณียกิจในครั้งนั้นติดแสดงอยู่ในวัด พระครู ส าธุ กิ จ จารั ก ษ์ หรื อ ที่ รู้ จั ก ทั่ ว ไปในนาม พระอาจารย์ เ หรี ย ญทอง มหาปั ญ โญกิ จ ผู้ บุ ก เบิ ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ ท่ า นอุ ป สมบท ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2508 ที่ วั ด สิ ท ธิ บั ง คม บ้ า นไฮ ตำบลไร่ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเป็นเกจิอาจารย์ผู้ทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเคร่งต่อการ ปฏิบตั ธิ ดุ งค์ไม่เคยขาด มีลกู ศิษย์และสาธุชนทีเ่ ลือ่ มใสศรัทรามากมาย ท่านเคยเป็นหัวหน้าพระวิปสั สนาจารย์ ประจำจังหวัดสกลนคร และเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาสมณกิจภาวนา เป็นพระนักวิปัสสนา พระนักพัฒนา พระสงฆ์นักสังคมสงเคราะห์ พระนักการศึกษาผู้เปี่ยมบารมีแห่งเทือกเขาภูพาน ในช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสท่านได้ร่วมกับชาวบ้านในท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในการ พัฒนาจนก่อเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์สถานศาสนสมบัติ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : โบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา โฮงฮด และงานพุทธศิลป์ต่างๆ
พุทธสถานที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์
ตู้จัดเก็บวัตถุสิ่งของต่างๆ
สภาพภายนอกพิพิธภัณฑ์สถานศาสนสมบัติ
31
กลุม่ เรียนรูท้ ่ี 30 พิพธิ ภัณฑ์ ศูนย์สง่ เสริมการท่องเทีย่ วและอนุรกั ษ์ไฮหย่อง จังหวัดสกลนคร สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีโพธิช์ ยั บ้านไฮหย่อง หมู่ 1 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีโพธิช์ ยั และอบต.ไฮหย่อง ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : คำว่า ไฮหย่อง เป็นชื่อภาษาถิ่น ไฮ หมายถึง ต้นไทรหรือต้นไฮ และหย่อง หมายถึง ห้อยหรือย้อยลงมา เล่ากันมาว่า บรรพบุรุษได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจาก มี ห นองน้ ำ ทั้ ง ทางทิ ศ เหนื อ และใต้ เหมาะแก่ ก ารตั้ ง รกราก และมี ต้ น ไทรหรื อ ต้ น ไฮอยู่ ใ นบริ เวณนี้ ต่อมาได้กลายชื่อหมู่บ้าน ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์วัฒนธรรมไฮหย่อง ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดศรีโพธิ์ชัย เป็นวัดประจำบ้านไฮหย่อง เป็นอาคารชั้นเดียว เดิมพ่อใหญ่พิทักษ์ แซ่อึ้ง เป็นผู้นำชาวบ้านในการจัดทำ โครงการของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลไฮหย่อง(อบต.ไฮหย่อง) และได้รว่ มกันก่อสร้างอาคาร ด้วยงบประมาณสองแสนกว่าบาท ใช้จัดแสดงเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจัดแสดงไว้ บนชั้นไม้ ในช่วงแรกของการดำเนินการได้จัดแสดงไว้อย่างสวยงาม แต่ในปี พ.ศ. 2554 ที่สำรวจพบว่า ขาดการดูแล ส่ ว นอี ก แห่ ง หนึ่ ง ที่ ไ ด้ มี ก ารดำเนิ น การรวมรวมเรื่ อ งราววิ ถี ชี วิ ต ประเพณี บ้ า นไฮหย่ อ ง คื อ โรงเรียนบ้านไฮหย่อง จัดแสดงข้อมูลที่ห้องจริยวัฒนธรรม บอกเล่า ประวัติและเรื่องราวการเซิ้งผีโขนใน พิธีบุญผะเหวด หัวผีโขน เครื่องประดับหน้ากาก เนื้อเพลงที่ใช้ในการแหล่จากเอกสารใบลาน รวมทั้ง หนังสือแบบเรียนและวรรณกรรมเกี่ยวกับท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีบทเรียนอื่นๆ ที่เป็นรูปแบบของสื่อ เอกสารการสอน และรูปภาพ ซึ่งมีการดูแลรักษาอย่างดี ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีวัตถุสิ่งของที่สะท้อนถึงวิถีชุมชน แต่ไม่พร้อมที่จะให้บริการเข้าชม
อาคาร ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ไฮหย่อง
วัตถุสิ่งของที่กองรวมกันไว้มุมห้อง
สภาพภายนอกอาคาร ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ไฮหย่อง
32
กลุ่มเรียนรู้ที่ 31 พิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัดอมรินทราราม จังหวัดสุรินทร์ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดอมรินทราราม บ้านตาเดียว หมู่ 3 ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรนิ ทร์ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูโสภณบุญกิจ เจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารแบบเปิดโล่ง ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : พิพธิ ภัณฑ์ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ วัดอมรินทราราม ตัง้ อยูภ่ ายในวัดอมรินทราราม เมื่อเดินทางเข้ามาในวัดจะพบบรรยากาศที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ และพบอาคารเปิดโล่งมีงานปูนปั้น แสดงวิถีชีวิตของชาวบ้านในสมัยโบราณในกิจกรรมต่างๆ เช่น ชาวบ้านนั่งเกวียนที่มีวัวเทียมเกวียน 2 ตัว มีผู้หญิง 2 คนกำลังช่วยกันตำข้าว มีชาวนากำลังไถนา มีรูปปั้นแสดงวัฏสงสาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีรูปปั้นพระพุทธเจ้าในปางต่างๆ มีรูปปั้นเทพ เทวดาต่างๆตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ด้านหลังมีภาพ วาดตอนประสูติพระพุทธเจ้า และจัดเก็บวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ของชาวบ้านหลายชิ้นโดยใช้แขวนตามเสา และขื่อคา ด้านหน้ามีป้ายใหญ่ 2 ป้าย คือ ป้าย พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาวัฒนธรรม ตำบลตาเบา และป้ายศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลตาเบา วัดอมรินทราราม พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัดอมรินทรารามแห่งนี้ ก่อสร้างในช่วงพระครูโสภณบุญกิจ เป็นเจ้าอาวาสวัด รูปที่ 11 โดยการประสานงานกับสภาวัฒนธรรม ตำบลตาเบา และความร่วมมือร่วมใจ ของคนในชุมชน จากแนวคิดที่ต้องการจะอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อของผู้คนในยุคโบราณไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของคนรุ่นหลัง การใช้วิธีปั้นหุ่นจำลองจะช่วยให้การสื่อความหมายเกิด ความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ซึ่งสร้างมานานกว่า 20 ปีแล้ว พระครูโสภณบุญกิจในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) ท่านอายุ 69 ปีแล้ว วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดเก่าแก่ เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน 7-8 หมู่บ้าน ในการประสานเข้าชมหรือขอ ข้อมูลผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ พระสุนันท์ ขันติธัมโม (พระเลขา) โทร.089-8481773, 089-6277292 ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : มีรูปปั้นที่แสดงถึงวิถีชุมชนในอดีต ตลอดจนความเชื่อและศาสนา
อาคารพิพิธภัณฑ์ และเขตพื้นที่จัดแสดง
รูปปั้นวิถีชุมชน การฟัดข้าว การตำข้าว
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัดอมรินทราราม
33
กลุ่มเรียนรู้ที่ 32 พิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอน จังหวัดหนองคาย สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : บ้านโคกคอน หมู่ 4 ตำบลโคกคอน อำเภอท่อบ่อ จังหวัดหนองคาย ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : นายพุทธ ชัยแสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน อำเภอท่อบ่อ จังหวัดหนองคาย ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารเดี่ยวชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : บ้านโคกคอน ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่แถบ ลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีสายน้ำสำคัญสายหนึ่งที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำโขงบริเวณ ซึ่งปากน้ำออกทางบ้านน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ พบว่า มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาถึง สมัยทวาราวดี มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และโบราณวัตถุต่างๆ จำนวนมาก ในช่วงปี พ.ศ. 2536 ชาวบ้านได้แตกตื่นไปขุดค้นหาของเก่าหรือโบราณวัตถุจำนวนมาก บางรายขุดขาย บางราย ขุดมาจัดเก็บไว้เพราะกลัวสูญหาย พิพธิ ภัณฑ์บา้ นโคกคอน ได้กอ่ สร้างอาคารเสร็จมาหลายปี ดังแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดการก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์ที่เขียนไว้ว่า “โครงการก่อสร้างของ อบต.โคกคอน ปริมาณงานกว้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร พื้นที่ 66 ตารางเมตร งบประมาณก่อสร้าง 989,000 บาท วันเริม่ ทำสัญญา 20 มิถนุ ายน พ.ศ. 2548 วันสิน้ สุดสัญญา 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549” ภายในพิพิธภัณฑ์มีตู้ มีบอร์ดนิทรรศการจัดวางแสดงไว้ด้านใน แต่จากการ สอบถามผู้นำชุมชน ทราบว่า ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ เพราะยังขาดงบประมาณในการดำเนินงาน และ อยู่ระหว่างรวบรวมวัตถุสิ่งของจัดแสดง และจากข้อมูลที่สัมภาษณ์ชาวบ้านหลายครัวเรือนที่อยู่โดยรอบ พบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ตอ้ งการให้มกี ารดำเนินงานต่อโดยเร็ว เพราะหลายครัวเรือนพร้อมทีจ่ ะบริจาค โบราณวัตถุที่ขุดค้นได้หากมีการจัดระบบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : โบราณวัตถุทข่ี ดุ ค้นพบสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ตอ่ เนือ่ งมาถึงสมัยทวาราวดี เช่น เครื่องมือหินขัด กำไลหิน หัวลูกศรหิน ขวานหินขัดกระพวนสำริด แท่งดินเผา มีลายภาชนะ ดินเผาแบบเนื้อดิน ทั้งนี้พบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ยังไม่นำมาจัดแสดได้ บางส่วนจัดเก็บที่บ้านผู้นำชุมชน บางส่วนจัดเก็บที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น (จะนำมาจัดแสดงเมื่อมีโอกาสสำคัญเท่านั้น)
อาคาร พิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอน
ตัวอย่างโบราณวัตถุทข่ี ดุ ค้นพบในบริเวณพิพธิ ภัณฑ์ สภาพภายนอกอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอน
34
กลุ่มเรียนรู้ที่ 33 พิพิธภัณฑ์วัดโนนศิลา จังหวัดอำนาจเจริญ สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดโนนศิลา บ้านบุ่งเขียว ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : หลวงพ่อพระครูอาทรธรรมาภินนั ท์ เจ้าอาวาสวัดโนนศิลา ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นส่วนหนึ่งภายในศาลาการเปรียญ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : วัดโนนศิลา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโคกก่ง ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลเป็น ชาวภูไท ซึง่ อพยพมาจากเมืองเซโปน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวถิ ชี วี ติ วัฒนธรรมความเชือ่ และประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในแบบของชาวภูไทหรือผู้ไทย มีการผลิตงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ โดดเด่น โดยเฉพาะผ้าทอมือภูไท งานจักสานอุปกรณ์ประมง เช่น ตุ้มดักปลา จั่นดักปลา และอื่นๆ พระครูอาทรธรรมาภินันท์ เป็นเจ้าอาวาสวัดโนนศิลามานานหลายปี เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ในวิถชี มุ ชนแถบนีเ้ ป็นอย่างดี เป็นทีเ่ คารพเลือ่ มใสศรัทราของชาวบ้าน ท่านได้รวบรวมวัตถุสง่ิ ของเครือ่ งใช้ ในวิถชี มุ ชนไว้อย่างหลากหลาย เช่น เครือ่ งจักสานทีใ่ ช้ในการประมง ของใช้ในครัวเรือนแบบโบราณ ซึง่ ส่วนใหญ่ เป็นสิง่ ของทีช่ าวบ้านเลิกใช้แล้ว ท่านได้นำมาจัดเก็บไว้บริเวณใต้ชายคาศาลาการเปรียญ ซึง่ เป็นไปในลักษณะ ของการรวบรวมไว้ก่อน ในปี พ.ศ. 2551 ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา และทีมงานได้เดินทางสำรวจข้อมูล พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในพื้นที่หลายจังหวัด บังเอิญแวะเวียนเข้ามาภายในวัดและได้มีโอกาสกราบนมัสการ หลวงพ่อพระครูอาทรธรรมาภินนั ท์ ทำให้ได้พบวัตถุสงิ่ ของทีน่ ำมาจัดเก็บไว้จำนวนมาก จึงได้หารือแนวทาง การจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์กับหลวงพ่อ จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2552 ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา ได้จัดทำโครงการ ออกแบบและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน โดยของบประมาณในแผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึง่ ได้รบั การอนุมตั โิ ครงการและได้เริม่ ดำเนินการตัง้ แต่จดั เก็บข้อมูลวัตถุสง่ิ ของ ทีม่ อี ยูเ่ ดิม การระดมรับบริจาควัตถุสงิ่ เครือ่ งใช้จากชาวบ้านเพิม่ เติม การเลือกพืน้ ทีจ่ ดั แสดงเป็นพิพธิ ภัณฑ์ ภายในวัด และการจัดกิจกรรมพัฒนาร่วมระหว่างชาวบ้านที่เป็นอาสาสมัครกับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยจัดกิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาพิพธิ ภัณฑ์ จำนวน 3 วัน จนการดำเนินการเสร็จสิน้ และสามารถเปิดให้บริการได้ ในวั น ที่ 15 มี น าคม พ.ศ. 2552 ปั จ จุ บั น พื้ น ที่ ดั ง กล่ า วยั ง ถื อ เป็ น พื้ น ที่ ชั่ ว คราว ซึ่ ง ยั ง ขาดอาคาร สถานที่ที่เหมาะสมและขาดงบประมาณในการดำเนินการต่อ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นการจัดแสดงวัตถุสง่ิ ของทีม่ เี ฉพาะแถบลุม่ น้ำโขงและในวัฒนธรรมภูไท
พิธีเปิด พิพิธภัณฑ์วัดโนนศิลา
การตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์วัดโนนศิลา พิพิธภัณฑ์วัดโนนศิลา
35
กลุ่มเรียนรู้ที่ 34 พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดนาคาเทวี จังหวัดอุดรธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดนาคาเทวี ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระอธิการนิกร สุขโิ ต เจ้าอาวาสวัดนาคาเทวี โทร. 089-7124443 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว (อาคารชั่วคราว) ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : วัดนาคาเทวี เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2454 มีบันทึกข้อมูลว่า ในอดีต หลวงปู่หน่อยได้นำชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านขาว มาช่วยกันสร้างและบูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่ จนกระทั่งได้ รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 สำหรับชื่อ วัดนาคาเทวี เล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีตเชื่อกันว่าพญานาคตัวเมียอาศัยอยู่ในปล่องกลางโบสถ์และเป็นผู้ดูแลวัด เดิมภายในวัดมีเจดีย์ โบราณที่คงเหลือเพียงส่วนฐานอยู่แห่งหนึ่งมีลักษณะฐานเขียงสี่เหลี่ยม จากการขุดแต่งฐานเจดีย์ดังกล่าว 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2538 และในปี พ.ศ. 2548 มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุหลายชนิด เช่น ชิ้นส่วน ภาชนะดินเผาทั้งที่มาจากแหล่งผลิตในประเทศ คือ กลุ่มเตาลุ่มแม่น้ำสงครามและที่มาจากแหล่งผลิต ต่างประเทศ ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเคลือบเขียนสีน้ำเงินบนพื้นขาว ซึ่งเป็นชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หมิง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 นอกจากนั้น ยังพบพระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ซึ่งแกนในขององค์พระเป็นดินเหนียว ด้านนอกใช้โลหะเงินและทองหุ้มสลักเป็นลวดลายขององค์พระ แยกเป็นพระพุทธรูปบุเงินจำนวน 11 องค์ พระพุทธรูปบุทองจำนวน 8 องค์ รวมเป็น 19 องค์ ลักษณะ พระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นศิลปกรรมแบบล้านช้าง นอกจากนั้นยังพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ยุคสมัยบ้านเชียง พร้อมเศษไห หม้อ กำไล การขุดค้นพบโบราณวัตถุดังกล่าวจึงทำให้มีการรวบรวมและ จัดเก็บไว้ภายในวัด โดยจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดนาคาเทวี ปัจจุบัน พบว่า ทางวัดได้มีการจัดเก็บโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดค้นพบไว้ในตู้ไม้ติดกระจกรอบด้าน อย่างมิดชิด เป็นตู้ขนาดต่างๆ ทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง จำนวนประมาณ 10 ตู้ และกำลังมีการ ก่ อ สร้ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห ลั ง ใหม่ ที่ ส วยงามยิ่ ง ขึ้ น คาดว่ า จะเปิ ด อาคารพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห ลั ง ใหม่ ไ ด้ ใ นระหว่ า ง ปี พ.ศ. 2555-2556 ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบภายในวัด มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
อาคาร พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดนาคาเทวี ในปัจจุบัน ด้านหน้า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดนาคาเทวี พื้นที่บริเวณอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดนาคาเทวี
36
กลุ่มเรียนรู้ที่ 35 พิพิธภัณฑ์เมืองเกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดเกษมสำราญ บ้านเกษม หมู่ 8 ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูเกษมธรรมานุวตั ร เจ้าอาวาสวัดเกษมสำราญ และชุมชน โทร. 087-2556088 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น และกำลังก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหลายอาคาร ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : พิพธิ ภัณฑ์เมืองเกษมสำราญแห่งนี้ เกิดจากแนวคิดของทางวัดและชาวบ้าน นำโดย พระครูเกษมธรรมานุวัตร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า ญาท่านเกษม แนวคิดในการสร้างพิพิธภัณฑ์ เมืองเกษมสีมา หลวงพ่อมีแนวคิดที่ว่า จะต้องสร้างไว้ในน้ำตามความเชื่อโบราณ เพราะหากสร้างบนดิน นานเข้ า ปลวกจะกั ด กิ น ดั ง นั้ น ท่ า นจึ ง เริ่ ม ขุ ด สระขึ้ น ก่ อ นการก่ อ สร้ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ นปี พ.ศ. 2537 และเริ่มก่อสร้างอาคารในปี พ.ศ. 2544 จนมาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2552 ภายในพิพิธภัณฑ์ มีของเก่ามากมาย มีของใช้ในครัวเรือน มีของทีใ่ ช้ในการทำมาหากินของคนอีสานโบราณ เป็นความร่วมแรง ร่วมใจของชาวบ้าน และผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วสารทิศ บริจาคปัจจัย และสิ่งของต่างๆ ส่วนการจัดพื้นที่ ตกแต่งและการออกแบบต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ ผ.ศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา ผ.ศ.ดร.ประทับใจ สิกขา และ ทีมงานจากคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่มีจิศรัทราได้จัดทำโครงการ การออกแบบและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน ของบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี มาช่วยในการดำเนินการสมทบร่วมกับทางวัดและชาวบ้านจนเสร็จลุลว่ งด้วยดี ซึง่ ได้ทำพิธเี ปิด อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553 โดย นายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัด อุบลราชธานีในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธีเปิดร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่นและบุคคลสำคัญในจังหวัด นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมามีผู้ให้ความสนใจ มาเยี่ยมชมมากมาย ทั้งนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ และในปีพ.ศ. 2554 นี้ หลวงพ่อและชาวบ้านผู้มีจิตศรัทรายังได้ร่วมแรงร่วมใจช่วย กันต่อเติมขยายพื้นที่สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติมอีกหลายจุด เพื่อให้เป็นอุทยานในการเรียนรู้และ เป็นส่วนหนึ่งในการดึงคนให้เข้าวัดมากขึ้น ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในแหล่งโบราณคดี นาโนนว่าน งานพุทธศิลป์เก่าแก่ และของใช้ในวิถีชุมชน
อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองเกษมสีมา
พระครูเกษมธรรมานุวัตร
มุมจัดแสดงบางส่วน
พิพิธภัณฑ์เมืองเกษมสีมา
37
กลุ่มเรียนรู้ที่ 36 พิพิธภัณฑ์วัดศรีอุบลรัตนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดศรีอบุ ลรัตนาราม และคณะกรรมการ ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : อาคารไม้เนื้อแข็ง 2 ชั้น (เดิมเป็นศาลาหอแจก) ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นวัดธรรมยุตินิกาย สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2398 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระแก้วบุษราคัม (พระพุทธปฏิมากรปาง มารวิชัยสมัยเชียงแสน แกะสลักจากหินผลึกสีน้ำผึ้ง หน้าตักกว้าง 3 นิ้ว มีอายุเก่าแก่มากกว่าพันปี เป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองอุบล ตามตำนานบันทึกว่า เป็นสมบัติของเจ้าปางคำ ผู้สร้างเมืองนครเขื่อน ขัณฑ์กาบแก้วบัวบานแล้วตกทอดมายัง พระวอ พระตาและจ้าวคำผง บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบล) อาคารพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด ศรี อุ บ ลรั ต นาราม เป็ น อาคารที่ ส ร้ า งจากไม้ เ นื้ อ แข็ ง 2 ชั้ น เดิ ม เป็ น ศาลาหอแจก(ศาลาการเปรีย ญ ใช้ เ ป็ น ที่ ท ำบุ ญ ทำทานของคนในสมั ย ก่ อ น) ซึ่ ง สร้ า งขึ้ น ใน สมัยพระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาในสมัยพระครูวิจิตรธรรมภาณี เป็นเจ้าอาวาส ได้มกี ารรือ้ ถอนและมีการประกอบใหม่ดว้ ยเหตุผลในการจัดวางตำแหน่งอาคารต่างๆ ภายในวัดใหม่ และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุและการตกแต่งแบบเดิม เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยชั้นบน ของอาคารเป็นที่ประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้กันเกรา นอกจาก นั้นยังจัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ซึ่งมีอายุนับร้อยปีที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปขนาดเล็ก หลายองค์ทสี่ ว่ นใหญ่มพี ทุ ธลักษณะแบบล้านช้าง มีตลู้ ายรดน้ำปิดทองใช้ในการเก็บพระไตรปิฎก มีหนังสือผูก คัมภีร์ใบลาน ผ้าห่อคัมภีร์(ผ้าโบราณพื้นเมืองอีสาน) โหง่หรือช่อฟ้า รวยระกา งานแกะสลักโบราณเป็นรูป หัวพญานาคมีหงอนสะบัดพลิ้วงดงามเรียงซ้อนกันทำจากไม้ตะเคียนแบบดั้งเดิมลงรักปิดทอง และโฮงฮด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถือเป็นศูนย์รวมงานพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นงานไม้แกะสลักโบราณ ที่ใช้ในศาสนสถาน ซึ่งมีความเป็นมา ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลราชธานี
อาคาร พิพิธภัณฑ์วัดศรีอุบลรัตนาราม และโหง่
โฮงฮด หรือรางสรงน้ำพระ
พิพิธภัณฑ์วัดศรีอุบลรัตนาราม
38
กลุ่มเรียนรู้ที่ 37 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพาปะอาวเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดบูรพาประอาวเหนือ 87 หมู่ 5 บ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระมหาพยนต์ สันตจิตโต เจ้าอาวาสวัดบูรพาประอาวเหนือ โทร. 045-344454, 089-5785763 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นส่วนหนึ่งของกุฏิสงฆ์ ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : วัดบูรพาปะอาวเหนือ และชาวบ้านบ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มี แ นวคิ ด ในการจั ด ทำพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นมานานหลายปี โดยพระอาจารย์ ม หาพยนต์ สั น ตจิ ต โต และชาวบ้านมีแนวคิดว่า ชุมชนบ้านปะอาวเป็นชุมชนทีม่ คี วามเก่าแก่ มีประวัตคิ วามเป็นมายาวนานคนใน ชุมชนมีสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่หลงเหลืออยู่จำนวนมาก ซึ่งยังขาดผู้ที่จะมาช่วยจัดเก็บรวบรวมสิ่งของ เหล่านั้นไว้เท่านั้น ทางวัดได้เล็งเห็นคุณค่าและต้องการรักษาภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากบรรพบุรุษไว้ ในระยะเริ่มต้นทางวัดได้รับบริจาคและรวบรวมวัตถุสิ่งของเครื่องใช้โบราณต่างๆ มาเก็บไว้ที่ใต้ศาลา ที่พักสงฆ์ก่อนเป็นการชั่วคราว โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 และได้จัดแสดงแบบไม่เป็น ทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งต่อมาได้เปิดตัวพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยหลวงพ่ อ พระครู สุ ท รนิ วิ ฐ เจ้ า อาวาสในสมั ย นั้ น พระอาจารย์ ม หาพยนต์ และ นายอภิชาต พานเงิน และใช้พื้นที่บริเวณชั้นล่างของกุฏิหลังใหญ่เป็นพื้นที่จัดแสดง ซึ่งถือเป็นอาคาร พิพิธภัณฑ์ชั่วคราว ที่ผ่านมามีหน่วยงานทั้งราชการ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักท่องเที่ยว ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์เดินทางเข้ามาศึกษาเรียนรู้ จนเป็นที่รู้จักทั่วไป ต่อมาทางวัดและชุมชนเห็นว่า เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมแท้จริงจึงได้วางแผนจัดหางบประมาณมาดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ หลังใหม่ มีความสูง 3 ชั้น ใช้เวลาก่อสร้างนานหลายปี แบบค่อยเป็นค่อยไปตามปัจจัยที่ได้มา ซึ่งคาดว่า น่าจะแล้วเสร็จราวปี พ.ศ. 2555 - 2556 ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นการแสดงวัตถุสิ่งของโบราณของชุมชนบ้านปะอาว
อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพาปะอาวเหนือหลังใหม่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ที่จัดวางด้านหน้าพิพิธภัณฑ์หลังเดิม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพาปะอาวเหนือ
39
กลุ่มเรียนรู้ที่ 38 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านท่าไห หมู่ 1 ตำบลท่าไห อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูปริยตั ธิ รรมจารี เจ้าอาวาสวัดศรีโพธิช์ ยั 085-7785469 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารเป็นอาคาร 2 ชั้นที่สร้างขึ้นกลางสระน้ำ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : บ้านท่าไห ตำบลท่าไห เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ ทิ ศ ใต้ ข องอำเภอเขื่ อ งใน พื้ น ที่ ริ ม ฝั่ ง แม่ น้ ำ ชี เดิ ม ชาวบ้ า นท่ า ไหเป็ น ชุ ม ชนที่ อ พยพมาจากจั ง หวั ด ร้ อ ยเอ็ ด และจั ง หวั ด ยโสธรมาตั้ ง บ้ า นเรื อ นอยู่ อ าศั ย ตามที่ ร าบลุ่ ม ริ ม แม่ น้ ำ ชี มี ทั ก ษะฝี มื อ การทำ เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห ตั้งอยู่ภายในวัดศรีโพธิ์ชัย เป็นอาคาร 2 ชั้นที่สร้างขึ้นกลางสระน้ำ ตัวอาคารทำด้วยไม้ยูงทั้งหลัง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 โดย พระครูปริยัติธรรมจารี เจ้าอาวาสวัด ได้สะสมของเก่าจากการบริจาคของชาวบ้านท่าไหที่มีจิตศรัทธานำมาถวายให้แก่วัด ซึ่งเมื่อ ระยะเวลานานเข้าเริม่ มีจำนวนสิง่ ของทีไ่ ด้รบั การบริจาคเพิม่ มากขึน้ พระครูจงึ มีการจัดประชุมปรึกษาหารือ กับชาวบ้านเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ส ำหรั บ เก็ บ รั ก ษาของเก่ า ที่ มี อ ยู่ ใ ห้ เ ป็ น ที่ ศึ ก ษาและเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ของชุมชนสืบไป สิ่งจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห ประกอบด้วย เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือจับปลา ภาชนะต่างๆ เครื่องปั้นดินเผา ขันหมาก อุปกรณ์กินหมาก กระต่ายขูดมะพร้าว ไห ชิ้ น ส่ ว นของสั ต ว์ เช่ น เปลื อ กหอย กระดองเต่ า ของมี ค่ า ต่ า งๆ เช่ น เงิ น ตราในสมั ย โบราณ เงินตราต่างประเทศ งานพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูป โฮงฮด และของใช้ในพุทธศาสนาต่างๆ ส่วนการขอ เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันต้องขออนุญาตกับทางวัดและมีผู้คอยดูแลทุกครั้งเพราะที่ผ่านมาพบว่ามีการ ลักขโมยสิ่งของในพิพิธภัณฑ์บ่อยครั้ง ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เป็นวัตถุสง่ิ ของเครือ่ งใช้โบราณ และสิง่ ของจากการบริจาคของคนในชุมชน
อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห
ชั้นหนึ่ง แสดงเกี่ยวกับของใช้ในชุมชน
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห
40
กลุม่ เรียนรูท้ ่ี 39 พิพธิ ภัณฑ์ หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปฏั นาราวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดสุปัฏนาราวรวิหาร ถนนสุปัฏน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร และคณะกรรมการ (โดยมอบให้ พระปลัดสมควร สุนจาโร เป็นพระผู้ดูแล) ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว (ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายโบสถ์) ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : การจัดตั้ง หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนาราวรวิหาร หรือพิพิธภัณฑ์ วัดสุปฏั นาราวรวิหาร เกิดจากแนวความคิดของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึง่ ขณะนัน้ ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน มีความคิดกว้างไกลต้องการที่จะสร้างอนุสรณ์สถานไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์ โดยรวบรวมของเก่าโบราณ และรวบรวมหลักศิลาต่างๆ มาจัดแสดงบริเวณหน้าอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์ กลางแจ้งระยะเวลาผ่านไปภาพของหลักศิลาต่างๆ ได้ปรากฏไปตามที่ต่างๆ และถึงพระเนตรพระกัณฑ์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงทรงพานักเรียนจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามาศึกษาหลาย ครั้ง และมีพระราชดำริให้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายตามกุฏิและที่เก็บ สัมภาระต่างๆ รวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์ของอุบลราชธานี เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาและป้องกันการสูญหาย จากผู้มีเจตนาร้ายลักขโมย จากนั้นจึงได้มีการรับบริจาคปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อสร้างอาคาร สำหรับ ใช้เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณที่กระจัดกระจายมาไว้ที่เดียวกัน หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ได้รบั การก่อสร้างเมือ่ พ.ศ. 2529 ในช่วง พระวิจติ รธรรมภาณี เป็นเจ้าอาวาส มีคณะสงฆ์และทายกทายิกา วัดสุปฏั นารามเป็นผูด้ ำเนินการจัดหาทุนและศรัทธา การจัดแสดงภายใน หอศิลปวัฒนธรรมวัดสุปฏั นาราม วรวิหาร ประกอบด้วย โบราณวัตถุตา่ งๆ เอกสารใบลาน ตำรา และพระไตรปิฎก ภาชนะโบราณประเภทต่างๆ ปัจจุบนั หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปฏั นารามวรวิหาร อยูใ่ นระหว่างการจัดระเบียบหลักฐานข้อมูลและใบลาน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ข องจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี จั ด เก็ บ โบราณวั ต ถุ บ างชิ้ น มี ค วามเก่ า แก่ ร่ ว ม 1,000 ปี เช่ น ทับหลังปราสาทหินเขมรในยุคแรกๆ พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
อาคารและป้าย หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนาราวรวิหาร
ตู้จัดเก็บวัตถุสิ่งของ
หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนาราวรวิหาร
41
กลุ่มเรียนรู้ที่ 40 พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมไทบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : บ้านเลขที่ 90/1 หมู่ 4 บ้านศรีไค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : ผศ.ดร. ศักดิช์ าย สิกขา โทร. 081-7900290 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : เกิดจากอุดมการณ์ของผศ.ดร. ศักดิ์ชาย สิกขา เจ้าของพิพิธภัณฑ์ ด้วยนิสัย ที่ชอบสะสมวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตของคนอีสานซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด และด้วยหน้าที่การงานใน ตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่รับผิดชอบ สอนรายวิชา เทคโนโลยีชาวบ้าน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น,ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบเบื้องต้นใน ระดับปริญญาตรี และสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ชุมชน,ระเบียบวิธีวิจัยทางศิลปประยุกต์ ในระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งที่ผ่านมาได้จัดทำโครงการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยงบประมาณจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมานานหลายปี มีโครงการความร่วมมือกับหน่วยงาน ภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนหลายจังหวัด ซึ่งทำต่อเนื่องมานานหลายปี ทำให้ต้อง เดินทางไปพบปะให้คำแนะนำปรึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องสิ่งที่ได้พบนอกเหนือ จากการทำงาน คือ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้แบบโบราณที่ชาวบ้านเลิกใช้แล้วถูกปล่อยทิ้งตามใต้ถุนบ้าน ใต้ ถุ น เล้ า ข้ า ว (ยุ้ ง ข้ า ว) ตามต้ น ไม้ หรื อ เสารั้ ว ทำให้ เ กิ ด ความเสี ย ดายที่ ต้ อ งชำรุ ด ตามกาลเวลา บางส่วนที่เป็นของมีค่า เช่น ขันหมาก มีดสะนาก ตะบันหมาก และอื่นๆ ได้ถูกพ่อค้ารับซื้อของเก่าซื้อ ในราคาถูกๆ เพื่อไปจำหน่ายในตลาดของเก่า จึงได้เริ่มต้นรวบรวมวัตถุสิ่งของมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 บางอย่างชาวบ้านก็ให้เฉยๆ เพราะรกบ้าน บางอย่างก็ขอซือ้ เมือ่ รวบรวมได้มากขึน้ จึงได้จดั ทำเป็นพิพธิ ภัณฑ์ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ปัจจุบันได้สะสมสิ่งจัดแสดงไว้จำนวนมาก บางส่วนยังไม่นำออกแสดง ซึง่ ต้องใช้เวลาเก็บสะสมเงินทุนส่วนตัว เพือ่ ปรับปรุงอาคารให้มคี วามปลอดภัยก่อน ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตของคนอีสาน และผลงานการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ประเภทงานหัตถกรรม ที่สะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการทางภูมิปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับงานหัตถกรรม ของคนอีสาน
ภูมิทัศน์ด้านใน เป็นบ้านไม้เก่า และซุ้มต่างๆ พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมไทบ้าน
42
ตู้ชั้นวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
กลุ่มเรียนรู้ที่ 41 พิพิธภัณฑ์วัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูสิริภาวนารังสี (รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าสว่าง พิมพ์ธรรม) โทร. 0872242269 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารชั้นเดียวรูปทรงสี่เหลี่ยมล้อมรอบอุโบสถ ความเป็นมาของพิพธิ ภัณฑ์ : วัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม ในอดีตเคยเจริญรุง่ เรืองมาก่อน มีพระครูญาณวิสทุ ธิคณ ุ (กอง โนนทิโอ) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้ก่อตั้ง (ไม่มีวันเดือนปีที่ก่อตั้ง คงมีหลักฐานเพียงซากปรักหักพัง ของพระอุโบสถ สันนิษฐานว่าก่อตั้งก่อนปี พ.ศ. 2429) ต่อมาในปีพ.ศ. 2519 ชาวบ้าน บ้านสว่างได้จัดตั้ง วัดให้เป็นทีจ่ ำพรรษาสำหรับพระสายวิปสั สนา เพือ่ ชาวบ้านจะได้มที สี่ ำหรับทำวัตร สวดมนต์ และปฏิบตั ธิ รรม ภายหลังญาติโยมได้ไปนิมนต์พระครูสิริภาวนารังสี หรือหลวงพ่อบัวกัน สิริธโร (เกิดในสกุล จันทร์เวียง วันศุกร์ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488) จากวัดป่าสิริสารวัน บ้านโนนทัน ตำบลโนนทัน อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี มาจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม ท่านเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้นำพาชาวบ้านบ้านสว่าง พัฒนาวัดสว่างพิมพ์ธรรม ก่อสร้างศาสนาคาร และยังเป็นผูน้ ำพัฒนาหมูบ่ า้ น จัดอบรมการปฏิบัติจิตภาวนา เผยแพร่พุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ต่อมาจึงได้ให้พระครูวิมลอุบลคุณ (พระอาจารย์สนุก อุปสันโต) ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ของท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ส่วนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้าน วัดสว่างพิมพ์ธรรม องค์ประธานผู้ริเริ่มจัดตั้งคือ พระครูสิริภาวนารังสี (หลวงพ่อบัวกัน สิริธโร) ประธานที่ปรึกษา คือ พระครูวิมลอุบลคุณ (พระอาจารย์สนุก อุปสันโต) การดำเนินงานจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ได้ใช้พื้นที่อาคารโดยรอบพระอุโบสถ ปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จแล้วและเปิดให้บริการเข้าชมทุกวัน มีผมู้ าขอเข้ามาเยีย่ มชมมากมาย ต่อมาท่านพระครูวมิ ลอุบลคุณ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ได้มรณภาพ เมือ่ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภารกิจของพิพิธภัณฑ์และวัดสว่างพิมพ์ธรรม ได้กลับมาอยู่ในดูแลของหลวงพ่อ พระครูสิริภาวนารังสี อีกครั้ง ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดแนะนำพิพิธภัณฑ์ หมวดศาสนาพิธี หมวดเครื่องดนตรี หมวดเครื่องเรือนของใช้ หมวดเครื่องมืออาชีพ หมวดหนังสืออ้างอิง หมวดของแปลก และเรือรบโบราณขนาดใหญ่ อายุประมาณ 200 ปี
การจัดแสดงเครื่องดนตรีอีสาน และการแสดงข้อมูล
การจัดแสดงอุปกรณ์ทอผ้าและการแสดงข้อมูล
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์วัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม
43
กลุ่มเรียนรู้ที่ 42 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดภูเขาแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ : พระครูพบิ ลู ธรรมภาณ โทร. 045-441054 ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารไม้สองชั้น จัดแสดงพิพิธภัณฑ์บริเวณชั้นสอง ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดภูเขาแก้ว เป็นผลงานของพระครูพิบูลธรรมภาณ หรือหลวงพ่อโชติ ท่านได้สะสมวัตถุสิ่งของต่างๆ มานานหลายปี ประกอบกับในช่วงที่ขุดพื้นที่เพื่อก่อสร้าง พระอุโบสถหลังใหม่ ได้มีการขุดพบวัตถุสิ่งของโบราณหลายชิ้น เช่น หม้อ ไห แจกัน และอื่นๆ จึงได้มีการ นำมารวบรวมกับวัตถุสิ่งของที่มีอยู่เดิม จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านให้ญาติโยมที่มาไหว้พระ ทำบุญที่วัด ได้ชมและศึกษาเรียนรูข้ องใช้โบราณ ต่อมามีชาวบ้านทีเ่ ห็นความสำคัญของวัตถุสงิ่ ของทีเ่ ป็นของโบราณได้ นำมาบริจาคเข้าพิพิธภัณฑ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลวงพ่อโชติท่านได้ร่วมกับญาติโยมช่วยกันจัดพื้นที่แสดงไว้ บริเวณชั้นสองของกุฏิสงฆ์หลังใหญ่ วัตถุสิ่งของจัดแสดงมีมากมาย เช่น ไหโบราณ พระเครื่องนับพันองค์ พระพุ ท ธรู ป ยุ ค ต่ า งๆ ธนบั ต รเก่ า ของไทยและของต่ า งชาติ เหรี ย ญต่ า งๆ เทวรู ป ที่ ขุ ด ค้ น พบ สิ่งของเครื่องใช้ในวิถีชุมชน และอื่นๆ ชิ้นเล็กจัดแสดงไว้ในตู้กระจก ชิ้นใหญ่จัดวางบนแท่น และพื้นห้อง บางรายการบอกชื่อ บอกข้อมูลที่มา ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้งดให้บริการเข้าชมมานานหลายปีแล้ว สื บ เนื่ อ งจากที่ ผ่ า นมา สิ่ ง ของจั ด แสดงที่ มี ค่ า ประเภทพระเครื่ อ ง พระพุ ท ธรู ป และอื่ น ๆ ได้เกิดการสูญหายจำนวนมาก อีกทั้งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) พระครูพิบูลธรรมภาณ หรือหลวงพ่อโชติ ท่ า นอายุ 83 ปี ท่านอยู่ในช่วงอาพาธด้ว ยโรคอั ม พฤกษ์ ม านานหลายปี ขาไม่ มี แรง แต่ มื อ ขยับได้ และท่านพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 1 ของอาคารพิพิธภัณฑ์ (ด้านล่างเป็นคอนกรีต ส่วนชั้นสองเป็นไม้ทั้งพื้น และฝาผนัง) ซึ่งท่านได้ขอลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดภูเขาแก้วมาเป็นเวลา 8-9 ปีแล้ว มีญาติโยมค่อยดูแล และมาร่วมทำบุญอยู่เรื่อยๆ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : วัตถุโบราณที่ขุดพบภายในวัด พระเครื่องยุคต่างๆ ของใช้ในวิถีชุมชน
วัดภูเขาแก้ว และพระครูพิบูลธรรมภาณ
พื้นที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดภูเขาแก้ว
44
กลุ่มเรียนรู้ที่ 43 พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ : วัดปากน้ำ บ้านปากน้ำ หมู่ที่ 10 ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผูร้ บั ผิดชอบการบริหารจัดการพิพธิ ภัณฑ์ : พระมหาวิมาน กนฺตสีโล (เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ) 089-7203529 พระสมุห์สัมฤทธิ์ สิริธมฺโม (ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ) 087-4407977 และชุมชน ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ : เป็นอาคารคอนกรีต ชั้นเดียว ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ : จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีทข่ี ดุ พบในชุมชนบ้านปากน้ำหลายชิน้ เช่น พระพิฆเณศวร์ประติมากรรมหินทราย ศิลปะขอม (สันนิษฐานว่า อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 อายุประมาณ 1,300 ปี) เครือ่ งปัน้ ดินเผา เสมาหินทราย พระพุทธรูปหินทรายยุคทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษ ที่ 12 อายุประมาณ 1,200 ปี) สอดรับกับข้อมูลการสำรวจโบราณคดีตามโครงการเขื่อนปากมูล เมื่อปี พ.ศ. 2525 และการขุดค้นพบ หลวงพ่อเงินในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนล้านช้าง อายุประมาณ 700 ปี ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนบ้านปากน้ำเป็นชุมชนโบราณ พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยของ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ มีนามเดิม บุญจันทร์ นามสกุล ประสานพิมพ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2469 ท่านได้ละสังขารเมื่อปี พ.ศ. 2550) ท่านได้เห็นความ สำคัญของโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานการก่อตั้งชุมชน วิถีชีวิตของคนในชุมชน ท่านจึงได้ร่วมกับ ญาติโยมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น โดยให้พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำแห่งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน รวบรวมจัดแสดงเครือ่ งไม้เครือ่ งมือในการประกอบอาชีพของชาวบ้านลุม่ น้ำบุง่ สระพัง หรือชุมชนบ้านปากน้ำ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ : โบราณวัตถุ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ในวิถีชุมชนบ้านปากน้ำ
รูปเหมือน หลวงพ่อเงิน
การจัดแสดง ภายในพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ
45
การสรุป และการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการดำเนินงาน
การสำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและ ปัญหา การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน ในครั้งนี้ คณะทำงานได้ดำเนินการเดินทางจัดเก็บ ข้ อ มู ล ใ น พื้ น ที่ 1 9 จั ง ห วั ด ใ น ภ า ค อี ส า น การค้นหาสถานที่จัดเก็บข้อมูล สามารถสรุปวิธีการ เสาะแสวงหาแหล่งข้อมูลได้ 5 วิธีการ ดังนี้ 1) การสืบค้นข้อมูลทางเอกส่าร โดยเดินทาง ค้ น หาจากห้ อ งสมุ ด ต่ า งๆ ทั้ ง ในท้ อ งถิ่ น และ ต่างจังหวัด โดยเฉพาะห้องสมุดของศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร 2) การสืบค้นข้อมูลทางเวปไซค์ จากข้อมูล การท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด และฐานข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ 3) การลงพืน้ ทีส่ อบถามข้อมูลจากหน่วยงาน ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เช่ น สำนั ก วั ฒ นธรรม สำนั ก งาน พัฒนาชุมชน และส่วนราชการในท้องถิ่น(อบต., เทศบาล และอื่นๆ) 4) การลงพื้นที่สุ่มจากความน่าจะเป็น เช่น อดีตเคยเป็นเมืองโบราณ แหล่งประวัติศาสตร์ 5) การสอบถามแบบห่วงโซ่ โดยสอบถามที่ ตั้งพิพิธภัณฑ์อื่นจากพิพิธภัณฑ์ที่พบ จากการสืบค้นข้อมูลทั้ง 5 วิธีการข้างต้น พบว่า การสอบถามแบบห่วงโซ่ ทำให้คน้ พบมากทีส่ ดุ รองลงมา คือ การลงพื้นที่สุ่มจากความน่าจะเป็น 46
ส่วนวิธีการอื่นค้นพบในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ อาจสืบเนื่องมาจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโดยส่วนใหญ่ ไม่ ไ ด้ ถู ก บั น ทึ ก ในทางเอกสารหรื อ สื่ อ ต่ า งๆ ทำให้ยงุ่ ยากในการค้นหา ซึง่ แตกต่างจากพิพธิ ภัณฑ์ สถานแห่งชาติที่มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก กันทั่วไป ตลอดระยะเวลา 1 ปี คณะทำงานสามารถ สืบค้นและศึกษาข้อมูลได้มากกว่า 100 แห่ง และได้ ลงพื้นที่ศึกษาค้นพบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในเบื้องต้น จำนวน 65 แห่ง จากนัน้ นำมาคัดกรองตามหลักเกณฑ์ ขอบข่ายของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่คณะทำงานได้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า และนำมาใช้ เ ป็ น ข้ อ กำหนด โดย พิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่คณะทำงานได้ตัดออกจาก การนำมาวิเคราะห์ขอ้ มูล ส่วนใหญ่มีเหตุผลจากการ ที่ ไ ด้ รั บ งบประมาณสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ ในการ ดำเนินการเริ่มต้น ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดำเนินงาน ของคนในชุ ม ชนที่ แ ท้ จ ริ ง รู ป แบบของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ มี ค วามใหญ่ โ ตโดยแตกต่ า งจากพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ ดำเนินการของชุมชุนสิ้นเชิง ซึ่งไม่สามารถนำมา เป็ น ข้ อ เปรี ย บเที ย บ และวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ได้ คงเหลือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ตามหลักเกณฑ์ จำนวน 43 แห่ง ดังนี้
จังหวัด
ที่
1 กาฬสินธุ์
1 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ -แสดงงานพื้นบ้าน วัดสว่างโนนสูง บ้านโนนสูง หมู่ ตำบลโนนสูง -เปิดให้บริการทุกวัน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ -การดูแล ปานกลาง
2 ขอนแก่น
2 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดไชยศรี วัดไชยศรี หมู่ 8 บ้านสาวะถี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสระโนน วัดสระโนน หมู่ 1 บ้านขามป้อม ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี -แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี
4 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านหัน (พิพิธภัณฑ์บ้านกำนันแดง) เลขที่ 111 หมู่ 1 บ้านหัน ตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 5 พิพิธภัณฑ์มรดกอีสาน วัดโบราณ(วัดโพธิ์ชัย) หมู่ 2 บ้านผักปัง ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล พอใช้
3 ชัยภูมิ
4 นครพนม
5 นครราชสีมา
สถานที่จัดเก็บข้อมูล
ผลการศึกษา
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล พอใช้
6 พิพิธภัณฑ์เผ่าไทยกวน สมัยเชียงรุ้ง -แสดงงานพืน้ บ้าน/โบราณวัตถุ วัดศรีสุมังคล์ หมู่ 3 บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน -เปิดให้บริการทุกวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม -การดูแล ควรปรับปรุง 7 พิพิธภัณฑ์บ้านกลาง หรือศูนย์วัฒนธรรม -แสดงงานพื้นบ้าน วัดโกศลมัชฌิมาวาส บ้านกลาง ตำบลเมือง -ต้องติดต่อขอเข้าชม จังหวัดนครพนม -การดูแล ดี 8 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร -แสดงงานพื้นบ้าน วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม -เปิดให้บริการทุกวัน จังหวัดนครพนม -การดูแล ดี 9 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านดู่ -แสดงงานพื้นบ้าน วัดโพธิ์ศรี บ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย -ต้องติดต่อขอเข้าชม จังหวัดนครราชสีมา -การดูแล ปานกลาง 47
จังหวัด 5 นครราชสีมา
6 บุรีรัมย์
7 มหาสารคาม
8 มุกดาหาร
9 ยโสธร 48
ที่
สถานที่จัดเก็บข้อมูล
ผลการศึกษา
10 พิพิธภัณฑ์ชุมชน ชุมชนพะงาด -แสดงงานพื้นบ้าน วัดปริญัติไพศาล บ้านพะงาดเหนือ -ต้องติดต่อขอเข้าชม ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา -การดูแล พอใช้ 11 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (บ้านแฝก-บ้านโนนสำราญ) -แสดงงานพื้นบ้าน บ้านโนนสำราญ หมู่ 4 ตำบลสามเมือง -ต้องติดต่อขอเข้าชม อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา -การดูแล ควรปรับปรุง 12 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี
13 พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน เลขที่ 1 หมู่ 18 บ้านเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 14 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดพุทธมงคล วัดพุทธมงคล (วัดบ้านสระ) บ้านสระ ตำบลคันธาราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 15 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยพระอารามหลวง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 16 พิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอ วัดนาอุดมวนาราม หมู่ 1 บ้านนาอุดม ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร 17 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านหนองหล่ม บ้านหนองหล่ม หมู่ ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ปานกลาง -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ควรปรับปรุง
18 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพา วัดบูรพา หมู่ 1 บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี
-แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ดี -แสดงงานพืน้ บ้าน/โบราณวัตถุ -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล พอใช้
จังหวัด 9 ยโสธร
10 ร้อยเอ็ด
11 เลย
12 ศรีสะเกษ
13 สกลนคร
ที่
สถานที่จัดเก็บข้อมูล
ผลการศึกษา
19 พิพิธภัณฑ์วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ -แสดงงานพื้นบ้าน วัดศรีธาตุ หมู่ 1,3 บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ -ต้องติดต่อขอเข้าชม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร -การดูแล ควรปรับปรุง 20 ศูนย์เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน -แสดงงานพื้นบ้าน บ้านเลขที่ 159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำบลธงธานี -ต้องติดต่อขอเข้าชม อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด -การดูแล พอใช้ 21 พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์ -แสดงงานพื้นบ้าน วัดสว่างอารมณ์ หมู่ 2 บ้านหนองเมืองแสน -ต้องติดต่อขอเข้าชม ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด -การดูแล พอใช้ 22 พิพิธภัณฑ์เมืองจำปาขัน -แสดงงานพื้นบ้าน ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ดี 23 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ -แสดงงานพื้นบ้าน วัดศรีจันทร์ ถ.เลย-เชียงคาน บ้านนาอ้อ -เปิดให้บริการทุกวัน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย -การดูแล ดี 24 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เมืองด่านซ้าย -แสดงงานพื้นบ้าน วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี 25 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีคุณเมือง -แสดงงานพื้นบ้าน วัดศรีคุณเมือง ถนนชายโขง ซอย 7 -ต้องติดต่อขอเข้าชม ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย -การดูแล พอใช้ 26 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทยวัดบ้านสร้างเรือง -แสดงงานพื้นบ้าน ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี 27 พิพิธภัณฑ์ไทยโส้ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยโส้ -แสดงงานพื้นบ้าน ที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ เลขที่ 6/13 หมู่ที่ 1 -เปิดให้บริการวันทำการ ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร -การดูแล ปานกลาง 28 พิพิธภัณฑ์บ้านบึงสา -แสดงโบราณวัตถุ/พื้นบ้าน วัดบึงสา บ้านบึงสา หมู่ 3 ถนนสายเต่างอย-เขาวง -ต้องติดต่อขอเข้าชม ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร -การดูแล ควรปรับปรุง 49
จังหวัด 13 สกลนคร
14 สุรินทร์ 15 หนองคาย 16 หนองบัวลำภู 17 อำนาจเจริญ 18 อุดรธานี
19 อุบลราชธานี
50
ที่
สถานที่จัดเก็บข้อมูล
29 พิพิธภัณฑ์สถานศาสนสมบัติ วัดมหาสมณกิจภาวนา บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร 30 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ไฮหย่อง วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านไฮหย่อง หมู่ 1 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 31 พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัดอมรินทราราม บ้านตาเดียว หมู่ 3 ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 32 พิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอน หมู่ 4 ตำบลโคกคอน อำเภอท่อบ่อ จังหวัดหนองคาย
ผลการศึกษา -แสดงโบราณวัตถุ/พื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ปานกลาง -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ควรปรับปรุง -แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ควรปรับปรุง -แสดงโบราณวัตถุ -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ควรปรับปรุง
ไม่พบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ตามหลักเกณฑ์ 33 พิพิธภัณฑ์วัดโนนศิลา บ้านบุ่งเขียว ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ 34 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดนาคาเทวี วัดนาคาเทวี ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 35 พิพิธภัณฑ์เมืองเกษมสีมา วัดเกษมสำราญ บ้านเกษม หมู่ 8 ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี 36 พิพิธภัณฑ์วัดศรีอุบลรัตนาราม วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 37 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพาปะอาวเหนือ 87 หมู่ 5 บ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล พอใช้ แสดงโบราณวัตถุ -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล พอใช้ -แสดงงานพืน้ บ้าน/โบราณวัตถุ -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ดี -แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการตามวันกำหนด -การดูแล ดี -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล พอใช้
จังหวัด
19 อุบลราชธานี
ที่
สถานที่จัดเก็บข้อมูล
38 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านท่าไห หมู่ 1 ตำบลท่าไห อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 39 หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนาราวรวิหาร ถนนสุปัฏน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 40 พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมไทบ้าน บ้านเลขที่ 90/1 หมู่ 4 บ้านศรีไค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 41 พิพิธภัณฑ์วัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม วัดป่าสว่างพิมพ์ธรรม บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี 42 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการศึกษา -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ปานกลาง -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล ควรปรับปรุง -แสดงงานพื้นบ้าน -ต้องติดต่อขอเข้าชม -การดูแล พอใช้
-แสดงงานพื้นบ้าน -เปิดให้บริการทุกวัน -การดูแล ปานกลาง -แสดงงานพืน้ บ้าน และโบราณวัตถุ -ต้องติดต่อขอเข้าชม -ดูแล ปานกลาง 43 พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ -แสดงงานพืน้ บ้าน และโบราณวัตถุ วัดปากน้ำ บ้านปากน้ำ หมู่ที่ 10 ตำบลกุดลาด -ต้องติดต่อขอเข้าชม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี -การดูแล ปานกลาง
หมายเหตุ : ผลการศึกษาในตารางเป็นการสรุปบางประเด็น แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) สิ่งที่แสดงหลัก เช่น งานพืน้ บ้าน (ของใช้ในวิถชี มุ ชน ของใช้ในความเชือ่ และศาสนา) โบราณวัตถุ (วัตถุสง่ิ ของทีข่ ดุ พบ) 2) การให้บริการ ในปัจจุบนั ทีแ่ สดงถึงการบริหารจัดการทีด่ ี และความนิยมในการเข้าชม เช่น เปิดบริการทุกวัน เปิดบริการเฉพาะวันทำการ เปิดบริการบางวันทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์กำหนด หรือต้องติดต่อขอเข้าชมล่วงหน้าทุกครัง้ 3) การดูแล หมายถึง การรักษาความสะอาด การจัดวางทีแ่ สดงถึงความเอาใจใส่ และเห็นความสำคัญของสิง่ ทีน่ ำมาแสดง เป็นการประเมินโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ และการสังเกตุจากสภาพปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ปรับปรุง พอใช้ ปานกลาง ดี และดีมาก โดยทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้นจะเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นสภาพของพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น
ผลการการสำรวจ และวิเคราะห์สภาพ ปัจจุบนั และปัญหา การจัดทำพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้านใน ภาคอีสาน 19 จังหวัด ในครั้งนี้ สามารถสรุปตาม วัตถุประสงค์ของโครงการได้ดังนี้
1) การสำรวจข้อมูลจำนวน และสถานที่ ที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในท้องถิ่นภาคอีสาน พบว่า การสำรวจข้อมูลในครั้งนี้ สมารถสำรวจพบ แหล่ ง ที่ มี ก ารจั ด ทำพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า น ตาม 51
ความหมาย คือ มีการนำวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ที่มี คุ ณ ค่ า และมี ค วามหมายต่อชุมชนทั้งในอดี ต และ ปัจจุบันมาจัดแสดง โดยวัตถุสิ่งของนั้นอาจมาจาก ของใช้ในครัวเรือน ของใช้ในการประกอบอาชีพของ ใช้ในการทำมาหากิน (การดัก จับ ขัง และล่าสัตว์ตา่ งๆ) ของใช้ ใ นความเชื่ อ พิ ธี ก รรมและศาสนา ทั้ ง นี้ อาจเป็นวัตถุสงิ่ ของทีข่ ดุ ค้นพบในท้องถิน่ ของสะสม
ที่
จังหวัด
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี
ของใช้ในปัจจุบันที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น หรืออื่นๆ ทีพ่ บในท้องถิน่ นำมาสะสมหรือจัดแสดงไว้ในชุมชน เช่น วัด อาคารเอนกประสงค์ของชุมชน อาคารที่ สร้ า งไว้ เ ป็ น การเฉพาะในชุ ม ชน รวมทั้ ง สถานที่ ที่เป็นส่วนบุคคล ซึ่งพบแหล่งข้อมูลที่นำมาศึกษา ครั้งนี้ จำนวน 43 แห่ง โดยสรุปตามแหล่งที่พบ ได้ดังนี้
จำนวน และแหล่งที่พบ พบจำนวน 1 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล 1 แห่ง พบจำนวน 2 แห่ง : วัด 2 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 2 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน 1 แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 3 แห่ง : วัด 3 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 3 แห่ง : วัด 2 แห่ง, ชุมชน 1 แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 1 แห่ง : วัด - แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล 1 แห่ง พบจำนวน 3 แห่ง : วัด 2 แห่ง, ชุมชน - แห่ง, ส่วนบุคคล 1 แห่ง พบจำนวน 2 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน 1 แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 2 แห่ง : วัด 2 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 3 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน 1 แห่ง, ส่วนบุคคล 1 แห่ง พบจำนวน 3 แห่ง : วัด 3 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 1 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 4 แห่ง : วัด 3 แห่ง, ชุมชน 1 แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 1 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 1 แห่ง : วัด - แห่ง, ชุมชน 1 แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน - แห่ง : วัด - แห่ง, ชุมชน - แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 1 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 1 แห่ง : วัด 1 แห่ง, ชุมชน - แห่ง,ส่วนบุคคล - แห่ง พบจำนวน 9 แห่ง : วัด 8 แห่ง, ชุมชน – แห่ง, ส่วนบุคคล 1 แห่ง
สรุปผล จากตารางวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ ที่สำรวจ พบว่า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสาน มี การดำเนินการในสถานทีท่ แ่ี ตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ ข้อมูลแหล่งทีพ่ บพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้าน จำนวน 43 แห่ง พบว่า มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในเขตพื้นที่วัด (วัดในที่นี้ หมายถึง การใช้พื้นที่วัดเป็นที่ตั้งในการจัดแสดง 52
ส่ ว นการดู แ ลอาจเป็ น ของชุ ม ชนฝ่ า ยเดี ย วหรื อ วัดฝ่ายเดียว หรือดูแลร่วมกันระหว่างวัดกับชุมชน ก็ได้) จำนวน 33 แห่ง, ชุมชน (ชุมชนในที่นี้ หมายถึง หน่วยงานที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วม เช่น อบต. สภาวัฒนธรรมในชุมชน หรือกลุ่มผู้นำในชุมชน) จำนวน 6 แห่ง, และบุคคล( บุคคลในที่นี้ หมายถึง
การดำเนินงานเฉพาะบุคคล ในสถานที่ส่วนบุคคล) จำนวน 4 แห่ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโดยส่วนใหญ่ มักมีการดำเนิน การจั ด ตั้ ง ภายใน วั ด รองลงมา คื อ ชุ ม ชน ส่วนที่มีการดำเนินการน้อยที่สุด คือ ส่วนบุคคล 2) ส่วนของการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนิ น งานพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นในภาคอี ส าน ในด้านต่างๆ เช่น องค์ความรูท้ น่ี ำเสนอ การจำแนก ประเภทวัตถุ สิง่ ของทีจ่ ดั แสดง การวางระบบดูแลสิง่ ของ และอาคารสถานที่ พบว่ า จากข้ อ มู ล ที่ ส ำรวจโดยใช้ เ ทคนิ ค การสัมภาษณ์ และการสังเกต ตามที่คณะทำงาน ได้กำหนดประเด็นในการศึกษา จำนวน 12 ประเด็น คือ (1) ชื่อพิพิธภัณฑ์ (2) สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ (3) ผูร้ บั ผิดชอบการบริหารจัดการพิพธิ ภัณฑ์ (4) สถานะพิพิธภัณฑ์ (5) ลักษณะของอาคารพิพิธภัณฑ์ (6) ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ (7) วัตถุ สิ่งของจัดแสดง (8) สภาพปั จ จุ บั น และลั ก ษณะการจั ด ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น วิธีการจัดแสดง วิ ธี ก ารให้ ข้ อ มู ล ภายในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ การจั ด พื้ น ที่ ภายในห้องจัดแสดง และวิธีการให้บริการ (9) ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ (10) กิจกรรมเสริมในพิพิธภัณฑ์ (11) ปัญหาในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่ผ่านมา (เรียงตามลำดับความสำคัญของปัญหา) (12) ข้อมูลอื่นๆ (จากการสัมภาษณ์ หรือ การสังเกต) และสุดท้าย คือ รายละเอียดของผู้ให้ข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลที่สืบค้น
โดยผลการศึ ก ษาข้ อ มู ล ทั้ ง หมด ได้ น ำมา ประมวลสรุปเป็นประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1) สิ่งที่นำมาแสดงเป็นหลักหรือเป็นส่วนใหญ่ เช่น งานพื้นบ้าน (ของใช้ในวิถีชุมชน ของใช้ในความเชื่อ และศาสนา) งานโบราณวัตถุ 2) การให้บริการใน ปัจจุบันที่แสดงถึงการบริหารจัดการที่ดี ความนิยม ในการเข้าชม และการให้บริการที่ดี เช่น เปิดบริการ ทุกวัน เปิดบริการเฉพาะวันทำการ เปิดบริการบางวัน ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ำหนด หรื อ ต้ อ งติ ด ต่ อ ขอเข้ า ชม ล่วงหน้าทุกครัง้ 3) การดูแล หมายถึง การรักษาความ สะอาด การจัดวางที่แสดงถึงความเอาใจใส่และเห็น ความสำคั ญ ของสิ่ ง ที่ น ำมาแสดง จากนั้ น นำมา ประเมิน เพือ่ จัดระดับความแตกต่าง โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ปรับปรุง พอใช้ ปานกลาง ดี และดีมาก โดยทัง้ 3 ประเด็นทีก่ ล่าวถึงข้างต้น จะเป็นส่วนสำคัญ ที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น สภาพปั จ จุ บั น และปั ญ หาของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสานที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้ 1) ด้ า นวั ต ถุ สิ่ ง ของที่ น ำมาจั ด แสดงใน พิพิธภัณฑ์ พบว่า พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงงานพื้นบ้าน เป็นส่วนใหญ่มีทั้งหมด 34 แห่ง พิพิธภัณฑ์ที่จัด แสดงโบราณวัตถุมที งั้ หมด 2 แห่ง พิพธิ ภัณฑ์ทเี่ น้นจัด แสดงงานพื้นบ้านควบคู่กับการแสดงโบราณวัตถุ มีทั้งหมด 7 แห่ง จากข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นที่ มี ก ารจั ด แสดงในภาคอี ส าน โดยส่วนใหญ่เป็นการจัดแสดงงานพืน้ บ้านทีป่ ระเภท สิ่งของเครื่องใช้ในวิถีชุมชน ความเชื่อ และศาสนา รองลงมา คือ การจัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบใน ชุมชนควบคู่กับงานพื้นบ้าน ส่วนที่มีการจัดแสดงใน พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ น้ อ ยที่ สุ ด คื อ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ จั ด แสดง โบราณวัตถุเพียงอย่างเดียว 53
2) ด้ า นการให้ บ ริ ก ารในปั จ จุ บั น พบว่ า พิพิธภัณฑ์ที่สำรวจพบ 43 แห่ง มีพิพิธภัณฑ์ที่เปิด ให้บริการทุกวันมีทั้งหมด 19 แห่ง มีพิพิธภัณฑ์ที่ เปิดให้บริการเฉพาะวันทำการมีทั้งหมด 1 แห่ง มี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารบางวั น ตามที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ กำหนดมีทงั้ หมด 1 แห่ง มีพพิ ธิ ภัณฑ์ทเี่ ปิดให้บริการ โดยต้องติดต่อล่วงหน้ามีทั้งหมด 22 แห่ง ซึ่งแสดง ให้เห็นว่า พิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้าน ในภาคอีสาน โดยส่วนใหญ่
อันดับ
เกณฑ์
1
ปรับปรุง
2 3 4 5
คำอธิบาย
อยูใ่ นสภาพทีท่ รุดโทรม ไม่สมควรเปิดให้บริการ เช่น ภาพรวมของพิพธิ ภัณฑ์ อยูใ่ นสภาพของการสะสมวัตถุสง่ิ ของ การจัดวางไม่สามารถศึกษาเรียนรูไ้ ด้สะดวก พอใช้ อยู่ในสภาพของการจัดวางที่สามารถดูได้ แต่ยังไม่อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย เช่น ให้ข้อมูลวัตถุสิ่งของน้อยชิ้น ขาดการดูแลรักษาที่ดี ปานกลาง อยู่ในสภาพการจัดวางที่ดี แต่ขาดการตกแต่งให้สวยงาม วัตถุสิ่งของมีการ ให้ข้อมูลน้อยกว่าร้อยละ 50 และมีการดูแลเป็นครั้งคราว ดี อยู่ในสภาพการจัดวางที่ดี มีการตกแต่งสวยงาม มีการให้ข้อมูลน้อยกว่า ร้อยละ 80 และมีการดูแลสม่ำเสมอ ดีมาก อยู่ในสภาพการจัดวางที่ดีมาก มีการตกแต่งสวยงาม ใช้สื่อต่างๆประกอบการอธิบาย มีการให้ข้อมูลมากกว่าร้อยละ 80 สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าชม และมีการดูแลสม่ำเสมอ
ผลการประเมินพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้านทัง้ 43 แห่ง สรุปได้ ดังนี้ คือ พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในระดับดีมาก ไม่มี พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในระดับดีมีจำนวน 14 แห่ง พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในระดับปานกลางมีจำนวน 9 แห่ง พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในระดับพอใช้มีจำนวน 11 แห่ง พิพธิ ภัณฑ์ทอี่ ยูใ่ นระดับควรปรับปรุงมีจำนวน 9 แห่ง จากข้อมูลการประเมินตามเกณฑ์ทกี่ ำหนด สรุปได้วา่ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาคอีสานโดยส่วนใหญ่อยู่ใน ระดั บ ดี รองอั น ดั บ ที่ ห นึ่ ง คื อ ระดั บ พอใช้ รองอั น ดั บ สอง คื อ ระดั บ ปานกลางและระดั บ 54
เปิ ด ให้ บ ริ ก าร โดยต้ อ งติ ด ต่ อ ขอเข้ า ชมล่ ว งหน้ า รองลงมา คือ เปิดให้บริการทุกวัน และที่มีรปู แบบ การให้บริการน้อยทีส่ ดุ คือ เปิดให้บริการตามวันเวลา ที่พิพิธภัณฑ์กำหนดเปิดให้บริการเฉพาะวันทำการ 3) ด้านการดูแลพิพิธภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพ ที่พร้อมให้บริการที่ดี คณะทำงานได้ใช้เกณฑ์ในการ ประเมิน โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึง่ มีรายละเอียด ในการประเมินในแต่ละระดับ ดังนี้
ควรปรับปรุง ซึ่งมีระดับเท่ากันส่วนที่น้อยสุดที่ไม่ พบเลยคือ ระดับดีมาก แสดงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านในภาคอีสานยังควรที่จะต้องมีการพัฒนา ให้ดีขึ้นอีกจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์และการสังเกตพบปัญหาในการพัฒนาที่ แตกต่างกัน คือ การขาดงบประมาณในการดำเนินการ ขาดหน่วยงานหรือบุคลากรสนับสนุนด้านการออกแบบ และพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้น่าสนใจ และขาดระบบ การบริหารจัดการที่เหมาะสม ทั้งนี้ในการพัฒนา ควรมีการศึกษษสภาพปัจจุบนั และปัญหาเป็นรายกรณี
การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การอภิปรายผล
จากผลการศึกษา สภาพปัจจุบันและปัญหา การจัดทำพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้านในภาคอีสาน จำนวน 19 จังหวัด พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น ดังนี้ 1) การจัดทำพิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้านในภาคอีสาน สวนใหญ่ มั ก ใช้ พื้ น ที่ วั ด เป็ น สถานที่ ด ำเนิ น การ รองลงมาคือ ในชุมชน ซึง่ มีจำนวนทีแ่ ตกต่างกันมาก ทั้งนี้หากนำข้อมูลที่แสดงถึงระดับการดูแลที่ดีมา เปรียบเทียบ จะพบว่า การดูแลพิพธิ ภัณฑ์ทจี่ ดั แสดง ในวัดมีระดับดี มากกว่าการดูแลพิพธิ ภัณฑ์ทจ่ี ดั แสดง ในชุ ม ชน ที่ เป็ นเช่นนี้ อาจมีความเกี่ยวเนื่ องกั บ สาเหตุหลายประการ ดังนี้ (1) วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนในชุมชน การจัดระดมวัตถุสิ่งของบริจาค สามารถกระทำได้ง่าย (ทั้งนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับความ ศรั ท ราของญาติ โ ยมที่ มี ต่ อ พระสงค์ ภ ายในวั ด และความเชือ่ เรือ่ งบุญกุศล) (2) วัดหลายแห่งมีความ พร้ อ มทางด้ า นอาคารสถานที่ และมี ส ภาพพื้ น ที่ ที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าชม (3) วัดมีความพร้อม ในการดูแลรักษา ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ทำให้วดั ซึง่ ถือเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชนกลายเป็นแหล่ง จัดทำพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดในชุมชน 2) การก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ในชุมชน หากประมวล ข้อมูลทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับจุดเริม่ ต้นของการก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ พื้นบ้านในภาคอีสาน จะพบว่า โดยส่วนใหญ่ของ การก่อตั้งมักมีที่มา มาจากแนวคิดของผู้นำในชุมชน เช่น ที่วัดมักมีที่มาจากแนวคิดของเจ้าอาวาส ในชุม ชนมักมีที่มาจากผู้นำชุมชน(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และอื่นๆ) ดังนั้น จึงมักพบว่า พิพิธภัณฑ์หลายแห่ง
มักขับเคลือ่ นได้ดใี นระยะเริม่ ต้น และมักประสบปัญหา หลังจากผูก้ อ่ ตัง้ หมดวาระลงหรือล้มหายตายจากไป ขาดผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อ พิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่ ดี ใ นอดี ต จึ ง มั ก ถู ก ปล่ อ ยให้ ท รุ ด โทรมหรื อ ทิ้ ง ร้ า ง ทัง้ นีอ้ าจเป็นผลสืบเนือ่ งมาจากการจัดทำพิพธิ ภัณฑ์ เป็นเรือ่ งของคนทีม่ ใี จรัก หากผูท้ มี่ าทำหน้าทีส่ บื ทอด ต่ อ ไม่ เ ห็ น ความสำคั ญ หรื อ รั ก ที่ จ ะทำก็ จ ะทำให้ พิพธิ ภัณฑ์แห่งนัน้ ถูกทิง้ ร้างและขาดการดูแลในทันที
ข้อเสนอแนะ
ในการที่จะทำให้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในภาค อีสานให้เกิดการพัฒนาและมีความยัง่ ยืน คณะทำงาน มีข้อเสนอแนะทั่วไป 2 ประการ ดังนี้ 1) แหล่ ง จั ด ทำพิ พิ ธ พื้ น บ้ า นที่ เ หมาะสม ควรเลือกใช้พื้นที่ภายในวัดเป็นสถานที่ดำเนินการ และควรทำในรูปของคณะกรรมการ โดยคัดเลือก จากบุคคลในชุมชนที่มีใจรัก เห็นความสำคัญ และมี เวลาที่จะทุ่มเทเสียสละ ทั้งนี้ ควรให้พระภิกษุสงฆ์ ภายในวัดเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยเนื่องจากเป็น เจ้าของสถานที่ และน่าจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน การดูแลรักษาด้วย 2) หน่วยงานภาครัฐ ควรให้ความสำคัญใน การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในท้องถิ่นให้มากขึ้น จากข้อมูลพบว่า พิพิธภัณฑ์หลายแห่งไม่สามารถ ดำเนินการต่อเนื่องให้สมบูรณ์ได้เนื่องจากติดขัด งบประมาณ และขาดแคลนบุคลากรทางวิชาการมา ช่วยออกแบบและวางแผนการบริหารจัดการ 55
เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชาย สิกขา. 2552. การออกแบบและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
บุคคลอ้างอิง ช่อผกา คำล้าน (ญาติโยมประจำวัดภูเขาแก้ว). บ้านเลขที่ 86 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดภูเขาแก้ว. ชำนาญ จำนงค์(ผู้ดูแลปิด-เปิดพิพิธภัณฑ์เมืองจำปา.) บ้านเลขที่ 75 หมู่ 7 บ้านหนองจาน ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์เมืองจำปาขัน. จันทา ฝางคำ (ญาติโยมประจำวัดบ้านปากน้ำ) บ้านเลขที่ 185 หมู่ 10 บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ. บุญทัน อะโน (ผู้ใหญ่บ้าน). บ้านเลขที่ 216 หมู่ 4 บ้านโนนสำราญ ตำบลสามเมือง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (บ้านแฝก-บ้านโนนสำราญ). ประชา เทือกทา (รองประธานคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ฯ). บ้านเลขที่ 100 หมู่ 1 บ้านนาอุดม ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์ ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอ. ยุทธชัย ฤาชา(กำนันตำบลบ้านหัน). เลขที่ 111 หมู่ 1 บ้านหัน ตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านหัน. ยุทธพงษ์ คำมะปะนา (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านโคกพะงาด) บ้านโคกพะงาด ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์ชุมชน ชุมชนพะงาด. ทำนุ วรธงไชย(เจ้าของพิพิธภัณฑ์). ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หนองบัวโคก. วิจิตร คงศักดิ์มาลากุล (ประธานชุมชนพะงาด). บ้านพะงาดเหนือ ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์ชุมชน ชุมชนพะงาด. พระครูประโชติสารคุณ (เจ้าอาวาสวัดสว่างโนนสูง) บ้านโนนสูง หมู่ 9 ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่น หนึ่งตำบล หนึ่ง ผลิตภัณฑ์. พระลิขิต ระวิเพิศ (พระลูกวัด วัดพุทธมงคล). บ้านสระ ตำบลคันธาราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดพุทธมงคล.
บุคคลอ้างอิง(ต่อ) พระอธิการธานินทร์ วิสุทธิสาโร (เจ้าอาวาสวัดนาอุดมวนาราม) หมู่ 1 บ้านนาอุดม ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม โนนหนองหอ. พระครูฉันทกิจโกศล (รองเจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร และเจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ). บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์. พระครูสิริปัญญาวิสุทธิ์ (เจ้าอาวาสวัดศรีคุณเมือง). ถนนชายโขง ซอย 7 ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์วัดศรีคุณเมือง. พระครูอาทรธรรมาภินันท์ (เจ้าอาวาสวัดโนนศิลา). ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์วัดโนนศิลา. พระอธิการนิกร สุขิโต (เจ้าอาวาสวัดนาคาเทวี). วัดนาคาเทวี ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดนาคาเทวี. พระครูสุตบูรณาสถิต (พระลูกวัด วัดบูรพา). บ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพาปะอาวเหนือ. พระสุวัฒน์ วิสารโท (พระผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห วัดศรีโพธิ์ชัย). บ้านท่าไห หมู่ 1 ตำบลท่าไห อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านท่าไห. พระครูเกษมธรรมานุวัตร(เจ้าอาวาสวัดเกษมสำราญ และเจ้าคณะตำบล เขต1 ) บ้านเกษม ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์เมืองเกษมสีมา. สุวิทย์ ภักดีวุฒิ (เจ้าของพิพิธภัณฑ์). บ้านเลขที่ 159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. หัวข้อสัมภาษณ์ ศูนย์เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน. สมพร ไชยแสง (กำนันตำบลโคกคอน). หมู่ 4 ตำบลโคกคอน อำเภอท่อบ่อ จังหวัดหนองคาย. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอน. สงบ ใจสาหัส (กำนันตำบลกู่กาสิงห์). บ้านเลขที่ 5 หมู่ 2 บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์. สม คำสุข (กรรมการพิพิธภัณฑ์). บ้านเลขที่ 22/6 บ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านดู่. สภารัตน์ ศรีใสคำ (กรรมการพิพิธภัณฑ์). บ้านเลขที่ 99 หมู่ 1 ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบูรพา. อำคา แสงงาม (ประธานวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์/ครูประจำโรงเรียนบ้านกู่กาสิงห์). บ้านเลขที่ 79 หมู่ 2 บ้านหนองเมืองแสน ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. หัวข้อสัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์.
ประวัติผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชาย สิกขา
E-mail : Sakchaiubu@hotmail.com มือถือ. 081-7900290 หน่วยงานที่สังกัด : คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การศึกษา : ศิลปประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต (ศป.ด.) สาขาวิชา การออกแบบผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์การบริการวิชาการ : เป็นวิทยากรให้หน่วยงานต่างๆ มากกว่า 10 ปี เป็นวิทยากรด้านการบริหารองค์กรในหัวข้อต่างๆ เช่น การพัฒนาบุคลิกภาพและศิลปะการพูด, การเป็นวิทยากรมืออาชีพ, ศิลปะการพูดในทีช่ มุ ชน, เทคนิคการสอนงาน, การพัฒนาองค์กร, การให้บริการ ที่ประทับใจ และอื่นๆ ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นวิทยากรด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในหัวข้อต่างๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์และ การบรรจุภัณฑ์, การตลาดกับการออกแบบ และอื่นๆ ให้กับผู้ผลิตในชุมชน เป็นวิทยากรด้านศิลปวัฒนธรรมในหัวข้อต่างๆ เช่น การอนุรกั ษ์ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ , ภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้าน อีสานผ่านเครื่องใช้และงานสถาปัตยกรรม และอื่นๆ ให้กับหน่วยงานและผู้สนใจทั่วไป ผลงานการเขียนหนังสือ หนังสือที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว เช่น ค้ำคูณผ้าขาวม้าภูมิปัญญาสู่สากล, การออกแบบและพัฒนา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน, ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน, ศิลปะไม้แกะสลักในแถบลุ่มน้ำโขง, ไม้แกะสลักสองฝั่งโขง ไทย-ลาว, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, รูปแบบและวิธีใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทำประมง ในแถบลุ่มน้ำโขง, สืบสานตำนานเมืองเกษมสีมา, การพูด การจัดกิจกรรม แบบมีส่วนร่วม, การออกแบบและพัฒนาลายผ้าเอกลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ, การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสาน จังหวัดศรีสะเกษ และอื่นๆ ผลงานการวิจัย มีงานวิจัยทางด้านศิลปวัฒนธรรม และการวิจัยด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มากกว่า 10 เรื่อง เช่น การศึกษาเปรียบเทียบไม้แกะสลักสองฝั่งโขง ไทย-ลาว, การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ในภาคอีสาน, การออกแบบและการพัฒนาเตาอบไม้ไผ่ที่เหมาะสมกับงานหัตถกรรม, การศึกษากระบวนการถ่ายทอด ความรู้ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพในภาคอีสาน เป็นต้น