ธุงอีสาน ฉบับปรับปรุง 2562

Page 1


“Thung” Isan : The Ceremonial Flags of The Northeast Thailand

ผู้เขียน : ประทับใจ สุวรรณธาดา

Author : Prathabjai Suwanthada, Ph.D. Asst.Prof. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ : ประทับใจ สิกขา ธุงอีสาน – อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2555. 68 หน้า. 1. ธุง 2. อีสาน ISBN : 978-974-8469-67-6 ข้อมูลลงพื้นที่โดย : โครงการบันทึก ศึกษา ธุงอีสาน

โครงการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการ และทำ�บำ�รุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สนับสนุนการพิมพ์โดย : มูลนิธิภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย

Asian Wisdom, Environment, Culture and Art Foundation (A-WECA)

พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จำ�นวน 300 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 มกราคม 2561 จำ�นวน 100 เล่ม ปก/รูปเล่ม : ธนวัฒน์ ฝอยจันทร์ พิมพ์ที่ : วิทยาการพิมพ์ 336-8 ผาแดง ตำ�บล ในเมือง อำ�เภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000


คำ�นิยม ผ้าเป็นนวัตกรรมในวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เก่าแก่และถูกน�ำมาใช้อย่างหลากหลาย นอกเหนือจาก การเป็นเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นประโยชน์อันดับแรก แต่ผู้ใดจะคิดว่า “ธง” เป็นการน�ำผ้ามาใช้อย่างส�ำคัญ ยิ่งในสังคมมนุษย์ ธงเป็นเครื่องบอกสัญลักษณ์การเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นชาติและการเป็นหมู่เหล่า ที่มิอาจเหยียบย�่ำได้ในศึกสงคราม ธงซึ่งท�ำขึ้นจากผ้าอ่อนบางและพลิ้วไหว ได้ถูกน�ำใช้เป็นเครื่องมือส�ำคัญ ดั่งอาวุธที่แหลมคม และมีส่วนช่วยยกระดับจิตใจให้ฮึกเหิม ในทางตรงข้ามกัน ด้ายเส้นเล็ก บ้างก็ถูกย้อมสี ได้ถกู ถักทอและตัดเย็บเป็นผืน มีลวดลาย หรือบ้างก็ถกู เขียนเป็นภาพ กลับถูกน�ำมาใช้เพือ่ สันติสขุ และสงบ เมื่อผ้าผืนนั้นได้กลายมาเป็นธง ในศาสนา ธง หรือ “ธุง” ในภาษาอีสาน เป็นสิ่งทอที่ขาดไม่ได้ในงานบุญในภาคอีสาน ผู้ศรัทธาล้วนเปรมปรีดิ์ ตกแต่ ง หมู ่ บ ้ า นและวั ด วาอารามด้ ว ยศรั ท ธา ด้ ว ยธุ ง หลากหลายสี ลั ก ษณะ และสื่ อ ความหมาย เชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นพุ ท ธศาสนา ที่ สื บ ทอดเรื่ อ งราวและความเชื่ อ มาหลายศตวรรษ ดั ง นั้ น การที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประทับใจ สุวรรณธาดา ได้ใช้อุตสาหะและวิริยะในการท�ำวิจัยจนสามารถน�ำมา จัดพิมพ์เป็นหนังสือเรื่อง “ธุงอีสาน” ได้อย่างละเอียดลออในหลากหลายมิติของการใช้ธุง ไม่ว่าจะเป็น ด้านศรัทธาความเชื่อ ฝีมือ ภูมิปัญญา สัญลักษณ์ ศิลปกรรม ฯลฯ และที่ส�ำคัญมากคือ ข้อมูลด้านลักษณะ วัสดุ เทคนิควิธีการทอ แหล่งผลิต และการรังสรรค์ลวดลายของผู้ทอ เหล่านี้นับเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ของผู้ทอ เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเป็นทุนทางวัฒนธรรมของภูมิภาคอีสานโดยตรง ซึ่งผู้สร้างสรรค์ ผลงานเหล่านี้ ต่างกอปรด้วยทักษะและองค์ความรู้ แต่ล้วนสูงวัย หากข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้รับการบันทึกไว้ ก็อาจสูญหายไปได้โดยง่าย ด้วยธุงส่วนใหญ่เป็นผลงานใช้เฉพาะชั่วคราวและมีอายุการใช้งาน ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประทับใจ สุวรรณธาดา จึงนับได้ว่ามีคุณค่าอย่างยิ่ง และมิมีผู้ใดเคยรวบรวมไว้โดย ครบถ้วนมาก่อน เพื่อสืบทอดและสืบสานการใช้ธุง จากรากฐานการน�ำมาใช้ในทางศาสนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประทับใจ สุวรรณธาดา ยังได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุงอีสานไว้อีกด้วย หนังสือ เล่มนี้จึงนับได้ว่ามีประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและต่อวงการศิลปประยุกต์อย่างน่ายกย่อง

(ศาสตราจารย์ ดร. ธาดา สุทธิธรรม)



กิตติกรรมประกาศ หนังสือ ธุงอีสาน (Thung Isan) เล่มนี้ เริ่มจัดพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2555 ในช่วงนั้นได้จัดพิมพ์ เผยแพร่ จำ � นวน 300 เล่ ม เป็ น ผลงานที่ มี จุ ด เริ่ ม ต้ น จากการดำ � เนิ น การตามแผนงานทำ � นุ บำ � รุ ง ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2554 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองส่งเสริมการ วิจัย บริการวิชาการ และทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเห็นความสำ�คัญของการ ทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นอีสาน ในการดำ�เนินงานผู้เขียนได้เดินทางจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ ภาคอีสาน 20 จังหวัด โดยใช้ระยะนานเกือบ 1 ปี จึงได้สำ�เร็จลุล่วงและได้มีการรวบรวมจัดทำ�เป็นเอกสาร เผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2561 ผู้เขียนเห็นว่า หนังสือ “ธุงอีสาน” นี้ มีผู้สนใจจำ�นวนมากและยังมีการนำ�ไปใช้ใน การเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องอย่างต่อเนือ่ ง ผูเ้ ขียนจึงได้ตดั สินใจนำ�มาจัดพิมพ์ใหม่อกี ครัง้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและเป็นการอนุรักษ์ สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทย สำ�หรับการดำ�เนินงานจัดพิมพ์ครั้งแรกจนถึงครั้งที่ 2 นี้ จะไม่สามารถสำ�เร็จลุล่วงได้เลย หากไม่ได้รับการ สนับสนุนจากบุคคลและหน่วยงาน ดังนี้ ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ให้การสนับสนุนในการเดินทางจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ขอขอบคุณ มูลนิธภิ มู ปิ ญ ั ญา สิง่ แวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย (A-WECA) ทีใ่ ห้การสนับสนุน งบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือนี้ ขอขอบคุ ณ พระครู เ กษมธรรมานุ วั ต ร เจ้ า อาวาสวั ด เกษมสำ � ราญและรองเจ้ า คณะอำ � เภอ ตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนเจ้าอาวาส พระภิกษุ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ช่างทอธุงและผู้รู้ในภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมดที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล ความรู้ คำ�แนะนำ�ที่เป็นประโยชน์ต่องานเขียนนี้ และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร. ธาดา สุทธิธรรม, รองศาสตราจารย์ ดร. รัฐไท พรเจริญ รองศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ ทองทรัพย์ และรองศาสตราจารย์ ดร. สามารถ จับโจร ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 4 ท่านที่ให้ความกรุณากลั่นกรองผลงานวิชาการนี้ อย่างรอบคอบจนสำ�เร็จลุล่วงด้วยดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประทับใจ สุวรรณธาดา ผู้เขียน



สารบัญ

บทที่ 1 ธุงอีสาน: ความเป็นมา ความเชื่อและลักษณะธุงอีสาน บทที่ 2 แหล่งผลิตธุงในอีสาน บทที่ 3 การวิเคราะห์ธุงอีสาน บทที่ 4 การอนุรักษ์ และสืบสาน ธุงอีสาน บทที่ 5 กรณีศึกษา: การออกแบบและพัฒนาธุงบ้านหนองบัว หมู่ที่ 1 ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บทที่ 6 สรุป: อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มธุงอีสาน บรรณานุกรม/บรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์ ภาคผนวก ก - ผลการประเมินหนังสือ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ สาขาประยุกต์ศิลป์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ข - การเผยแพร่ ธุงอีสาน ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ค - ประวัติผู้เขียน

1 17 71 93 107 129 149 153 155 161 165


คำ�ถวายธุง มะยัง ภันเต อิมินา ธะชะปะฎาเกนะ ระตะนัตตะยัง อภิปูเชมะ อะยัง ธะชะปะฎาเกนะ ระตะนัตตะยะบูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ พุขายะ สังวัตตะตุฯ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบูชาซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยแผ่นผ้านี้ การบูชาพระรัตนตรัยด้วยแผ่นผ้านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญฯ


การปักหลักไม้ธุง จะมีข้าวต้ม ดอกไม้ ขันธ์ 5 ไว้ใต้หลักไม้ธุง


อีสาน เรียกว่า ธุง เหนือ เรียกว่า ตุง ไทยใหญ่ เรียกว่า ตำ�ข่อน พม่า เรียกว่า ตะขุ่น ในหนังสือเล่มนี้ เรียกว่า ธุง ตามคำ�เรียกขานของคนอีสาน


ปัจจุบัน ธุง ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ อาจเห็นภาพไม่ชัดเจน ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ ธุง ก็ยังอยู่ในวิถีวัฒนธรรม ความเชื่อของคนอีสาน รวมถึงผู้คนในแถบลุ่มน้ำ�โขง และถือได้ว่า ธุง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ตามความเชื่อถือของแต่ละท้องถิ่น ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ



บทที่ 1

ธุงอีสาน ความเป็นมา ความเชื่อ และลักษณะธุงอีสาน

1


2


ธุงอีสาน ธุงอีสาน นิยมทอเป็นผืนยาวๆ มีรูปสัตว์ หรือรูปภาพต่างๆ ตามความเชือ่ บนผืนธุง นอกจากนัน้ ยังมีการดัดแปลงวัสดุอื่นๆ มาทำ�เป็นธุงด้วย เช่น ไม้ ไ ผ่ เส้ น พลาสติ ก ริ บ บิ้ น กก/ไหล ตกแต่ ง ให้สวยงามด้วยลูกปัด ดอกไม้พลาสติก และอื่นๆ ขนาดไม่จำ�กัด มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ การผลิต ธุ ง อี ส านโดยทั่ ว ไป มั ก ผสมผสานระหว่ า ง หลักในความเชื่อ และหลักทางสุนทรียศาสตร์ โดย หลักความเชื่อเล่ากันว่า ธุงเป็นหนึ่งในการทำ�บุญ จนบางคนบอกว่า ถวายอะไรก็ไม่ได้บญ ุ เท่ากับถวาย ธุ ง ให้ วั ด ดั ง นั้ น จึ ง มั ก เห็ น ธุ ง มากมายภายในวั ด ตามตำ � นานความเชื่ อ เรื่ อ งธุ ง และการใช้ ธุ ง เกิ ด ขึ้ น มาตั้ ง แต่ ส มั ย ครั้ ง พุ ท ธกาล ในตอนแห่ พระเวสสันดรเข้าเมือง ประชาชนชาวเมืองที่มา ต้อนรับได้ใช้ผ้าผืนยาวแขวนบนปลายไม้ไผ่ปล่อย ชายพลิ้วไหวตามเส้นทางเสด็จของพระเวสสันดร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการสืบต่อมาใช้ในงานบุญผะเหวด รวมทั้งบางครั้งยังถูกนำ�ไปใช้กับงานบุญอื่นๆ ด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการจัดงานบุญ นอกจากนั้น ยังเกิดธุงตามความเชื่ออีกหลากหลายรูปแบบ เช่น มีการเพิ่มเติมภาพตามความเชื่อ ลายตามความเชื่อ เพื่ อ ให้ ค รบถ้ ว นตามประเพณี ที่ สื บ ต่ อ กั น มา ส่ ว นหลั ก ทางสุ น ทรี ย ศาสตร์ ถื อ เป็ น ธรรมชาติ ของมนุษย์ที่ให้ความสำ�คัญทางด้านความงามใน สิ่งที่ตนเองผลิตหรือสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความงามที่ เ กิ ด จากความศรั ท ธา จึ ง ส่ ง ผลให้ ธุ ง ในภาคอีสานมีความงามที่หลากหลาย ซึ่งมักเป็นไป ตามความนิยมเฉพาะถิ่น 3


4


ความเชื่อของคนอีสานเกี่ยวกับธุง

คนอี ส านนิ ย มทอธุ ง ถวายเป็ น เครื่ อ งบู ช า และอุทิศถวายมาช้านาน ด้วยความเชื่อที่ว่า การถ วายธุงนั้น เป็นการสร้างกุศลให้แก่ตนเอง และยังได้ อุทิศกุศลผลบุญให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นอาจ กล่ า วได้ ว่ า คนอี ส านมี ค วามเชื่ อ เกี่ ย วกั บ ธุงใน 2 ลักษณะ คือ 1. การทำ�บุญ เมื่อได้ทำ�บุญด้วยการถวาย ธุงแล้ว จะอยู่เย็นเป็นสุข เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต 2. การให้ทาน เมื่อได้ให้ทานด้วยการถวาย ธุงแล้ว จะช่วยให้วิญญาณผู้ตายหลุดพ้นจากนรก หรือวิบากกรรม ความเชือ่ เกีย่ วกับธุง เป็นความเชือ่ ส่วนบุคคล อาจไม่เหมือนกัน เช่น เชื่อว่า ธุง เป็นสัญลักษณ์ว่า มีการทำ�บุญ เป็นการบอกกล่าวบวงสรวงเทพยดา เชื่อว่า ธุง เป็นเครื่องหมายชัยชนะ เมื่อเวลา มีการจัดงานบุญ พญามารจะไม่มารบกวน เชือ่ ว่า ธุง ใช้ปอ้ งกันมารผจญ หรือสิง่ ไม่ดี สิง่ ที่มองไม่เห็น วิญญาณต่างๆ ที่จะมารบกวนงานบุญ หากเห็นธุงแล้วจะถอยออกไป เชือ่ ว่า ถ้ายกธุงขึน้ แล้วจะชนะมาร พญามาร จะไม่มาเข้าใกล้ มารมาผจญเมื่อเวลาจัดงาน (เมา เหล้า มีเรื่องมีราว) ใส่เงินเพื่อความเจริญรุ่งเรือง เป็นการทำ�บุญ เกิดชาติใด หากเกิดเป็นผูห้ ญิง ขอให้ มี รู ป งาม ขายาวสะบั ด เหมื อ นธุ ง หากเกิ ด เป็นชาย ขอให้มีรูปร่างหุ่นดี สูงโปร่ง เชื่อว่า การถวายธุง เป็นการสร้างบุญกุศล เมื่อถวายธุงแล้วจะได้บุญ จะได้เกาะชายผ้าธุงขึ้น สวรรค์ และอุทิศกุศลผลบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เชื่อว่า ถวายธุงแล้วจะได้บุญ โดยการนำ� ข้าวต้ม เงิน แขวนหางธุงคนตายแขวนหางธุงขึน้ สวรรค์

เชื่อ ว่ า ทานธุ ง ในชาติ น้ี เพื่อ อานิ ส งส์ ใ น ชาติหน้าเช่น ถ้าชาตินี้รูปร่างไม่สูง ชาติหน้าจะได้สูง เชือ่ ว่า ถวายธุงทุกเดือนเมษายนช่วงสงกรานต์ จะได้บุญ ได้ความงาม ความร่มเย็นเป็นสุข

5


การใช้ธุง

ธุ ง ถื อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ง านบุ ญ ประเพณี หากยกขึ้นแสดงถึงศรัทธาทำ�บุญ ประกาศให้เทวดา อารักษ์ทงั้ หลายได้รบั รู้ สมัยก่อนใช้การจุดพลุให้สว่าง คนอี ส านนิ ย มใช้ ธุ ง ในงานบุ ญ ผะเหวด บุ ญ กฐิ น บุญอัฐถะ (แจกข้าว) ผ้าป่า งานบวช บุญสงกรานต์ ปีใหม่ ใช้ประดับวัด ฯลฯ การใช้ธุงไม่เหมือนกัน บางแห่งใช้เฉพาะใน งานบุญผะเหวดเท่านัน้ งานอืน่ ๆ ไม่ใช้ แต่บางแห่งใช้ ทุกงาน เพื่อให้รู้ว่ามีการจัดงานบุญประเพณี จำ�นวนที่ใช้ก็ไม่เหมือนกัน เช่น บางแห่งใช้ 4 ผื น เท่ า นั้ น บางแห่ ง ใช้ 8 ผื น หรื อ บางแห่ ง ใช้ไม่จำ�กัดจำ�นวน จะเท่าไหร่ก็ได้ การถวายธุ ง จะถวายเมื่ อ ไหร่ ก็ ไ ด้ เช่ น บุ ญ กฐิ น บุ ญ แจกข้ า ว (เดื อ น 3-4) ชาวบ้ า น จะทอธุงถวาย ปักไว้ 3 คืน จึงจะเก็บ แล้วถวายวัด เมื่อมีงานบุญผะเหวดก็จะนำ�ธุงมาปักอีกครั้ง หรือ เมื่อมีงานบุญวัดต่างๆ ก็จะนำ�มาประดับตกแต่ง พระครูปทุมจิตจาทร อายุ 83 ปี เจ้าอาวาส วั ด หนองบั ว บ้ า นหนองบั ว ตำ � บลหนองบั ว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เล่าว่า คนอีสาน ใช้ ธุ ง เนื่ อ งในงานบุ ญ ผะเหวด เทศน์ ม หาชาติ ปัก/แขวนธุง เพื่อให้เทพยดารับรู้ว่า บ้านนี้ เมืองนี้ มี ก ารทำ � บุ ญ มหาชาติ เฉพาะเขตนี้ เ ท่ า นั้ น ที่ใช้ธุงเนื่องในงานบุญมหาชาติ แต่ ที่ อื่ น /เขตอื่ น นอกจากใช้ ใ นงานบุ ญ มหาชาติ แ ล้ ว ยั ง ใช้ ใ น งานบุญกฐิน บุญข้าวจี่ บุญอัฐถะ หรือบุญแจกข้าว (เมื่ อ หมดห้ ว งเวลาทำ � บุ ญ กฐิ น แล้ ว จะเรี ย กว่ า บุญอัฐถะ เป็นการทำ�บุญอุทิศหาผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่การจัดเครื่องกองบุญจะทำ�เหมือนกับบุญกฐิน)

6

พระครูปทุมจิตจาทร เจ้าอาวาสวัดหนองบัว บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ธุ ง ชั ย หรื อ ธุ ง ผะเหวด เป็ น ธุ ง ที่ ใช้ ใ น งานบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ ใช้ 8 หาง ปัก 8 ทิศ ได้แก่ บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ปัจฉิม พายัพ อุดร และอี ส าน บริ เ วณรอบนอกศาลาการเปรี ย ญ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรม บางครั้งใช้ในงาน บุ ญ กฐิ น บุ ญ อั ฐ ถะ เป็ น งานที่ ช าวบ้ า นทำ � ด้ ว ย ศรัทธาทอขึ้นมาเอง เพื่อถวายวัดเป็นพุทธบูชา


ธุงชัย หรือ ธุงผะเหวด

งานบุญผะเหวด เป็นงานบุญประเพณีตาม คติ ค วามเชื่ อ ของชาวอี ส าน กำ � หนดจั ด งานใน ช่วงเดือนสี่ ซึง่ ชาวพุทธได้ปฏิบตั สิ บื ทอดกันมาหลาย ชั่วอายุคน เป็นการนำ�เอาพุทธชาดกชาติสุดท้าย ของพระพุทธเจ้า ก่อนทีจ่ ะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนสำ�เร็จอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้าใน เวลาต่อมา

ใครที่ มี โอกาสได้ ฟัง เทศน์ ม หาชาติ ใ นงาน ประเพณีจนจบตลอดทั้งเรื่องภายใน 1 วัน ในชาติ หน้าจะได้ไปเกิดในโลกของพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งจะมีแต่ความสุขความสมบูรณ์ จึงทำ�ให้ผู้คนมีใจ กุศลที่จะบริจาคทานเป็นที่ตั้ง

7


เมื่อมีการจัดงานบุญผะเหวด ชาวอีสานจะ ต้องอัญเชิญพระอุปคุตมาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ ประกอบพิธีกรรม ด้วยความเชื่อที่ว่า พระอุปคุต เป็นพระผู้ทรงมีอานุภาพเป็นที่ยำ�เกรงของหมู่มาร ทั้ ง ปวง ช่ ว ยคุ้ ม ครองให้ ก ารจั ด งานบุ ญ ผะเหวด ประสบผลสำ�เร็จ การจัดงานบุญผะเหวด ใช้เวลา 2 วัน คือ วันแรก เรียกว่า วันโฮม (วันเตรียมงาน) ถือเป็นวันสุกดิบที่ทุกคนจะต้องร่วมแรงร่วมใจเพื่อ เตรี ย มเครื่ อ งบู ช าลำ � ผะเหวด (เครื่ อ งบู ช ากั ณ ฑ์ เทศน์ ผ ะเหวด) มี ก ารจั ด เตรี ย มข้ า วปลาอาหาร สำ�หรับผู้ที่จะมาร่วมงานบุญ โดยมีอาหารประจำ� ประเพณีได้แก่ ขนมจีน ข้าวต้ม ข้าวโป่ง (ข้าวเกรียบ) ประมาณบ่ายสามโมง ไปรวมกันที่วัดเพื่อไปอัญเชิญ พระเวสสันดรเข้าเมือง การแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ก็จะนำ�ดอกไม้ธูปเทียนไปวางไว้ตามฐานของเสาธง ผะเหวดและหิ้งพระอุปคุต หลังจากนั้นพระสงฆ์จะ เจริญพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธีทางศาสนาใน วันโฮม วั น ที่ ส อง เรี ย กว่ า วั น เทศน์ (มื้ อ เทศน์ ) ก่อนจะเทศน์มหาชาติ ประมาณ ตี 3 ประธานในพิธี ฝ่ า ยพระสงฆ์ นำ � ชาวบ้ า นทำ � พิ ธี แ ห่ ข้ า วพั น ก้ อ น (แต่ละคนนำ�มารวมกัน นับครบพันก้อน) หมายถึง พระคาถาที่จะนำ�มาเทศน์ในงานบุญผะเหวด 1,000 พระคาถา ในขณะแห่กจ็ ะนำ�ข้าวทีเ่ ป็นก้อนๆ ไปวาง ไว้ที่ฐานของเสาธุงผ้าผะเหวดทั้ง 8 ต้น ที่ปักเอา ไว้รอบๆ ศาลา จนครบ 3 รอบ เป็นอันว่าเสร็จพิธี แห่ ข้ า วพั น ก้ อ น ไหว้ พ ระ รั บ ศี ล บอกศั ก ราช สวดทศพร กั ณ ฑ์ แ รก ไปจนจบ 13 กั ณ ฑ์ พันพระคาถาในวันเดียว งานบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2554

8


นอกจากการใช้ธุงในงานบุญผะเหวดแล้ว ในบางแห่งยังมีการใช้ธุงในงานบุญกฐิน บุญอัฐถะ (บุญแจกข้าว) เช่น ธุงจระเข้ ตะขาบ เต่า นางมัจฉา ลักษณะเป็นผ้าผืนสีขาวมีรูปดังกล่าวอยู่ตรงกลาง เรียกว่า ธุงกฐิน ใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในงานบุญ บนความเชื่อเกี่ยวกับจ้าวแห่งสัตว์ในท้องถิ่นที่จะมา ช่วยปกป้องคุ้มครองในงานบุญกุศล บางแห่งอาจมี รูปเสือที่เป็นเจ้าแห่งป่าร่วมด้วย การทำ�บุญกฐิน เชือ่ ว่า จะได้อานิสงส์มากมาย เป็นการทำ�บุญตามช่วง กาลเวลา ในเดือน 11- เดือน 12 (มีช่วงเวลาทำ� 1 เดื อ น) เมื่ อ หมดห้ ว งเวลาการทำ � บุ ญ กฐิ น แล้ ว จะเรี ย กว่ า บุ ญ อั ฐ ถะ เป็ น การทำ � บุ ญ อุ ทิ ศ หา ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่การจัดเครื่องกองบุญจะทำ� เหมื อ นกั บ บุ ญ กฐิ น พระครู เ กษมธรรมานุ วั ต ร เจ้าคณะตำ�บลเกษม เขต 1 เจ้าอาวาสวัดเกษมสำ�ราญ ตำ�บลเกษม อำ�เภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เล่าว่า ในพระธรรมบท ธุงกฐิน (รูปจระเข้) ตามตำ�นาน มีเศรษฐีคนหนึ่งร่ำ�รวยมาก ไม่มีลูก เกรงว่าภรรยา จะนำ�สมบัติไปใช้ในทางไม่ดี จึงได้เอาทรัพย์สมบัติ ไปฝังไว้บริเวณหัวสะพาน ครั้นต่อมาเศรษฐีเสียชีวิต เป็นห่วงสมบัติ กลายเป็นจระเข้วนเวียนอยู่ในแม่น้ำ� จึงไปเข้าฝันภรรยาบอกให้รู้ที่ซ่อนและให้ไปขุดเอา สมบัติมาและทำ�บุญกฐินให้ ซึ่งต้องใช้เรือข้ามไป จระเข้ขึ้นมาเอาหัวพาดหางเรือไปด้วย ตั้งแต่บัดนั้น เป็ น ต้ น มา หากมี ก ารทำ � บุ ญ กฐิ น (บุ ญ แจกข้ า ว) คราใดขอให้มีธุงจระเข้ด้วยเสมอ ตราบจนปัจจุบัน

ใช้ประกอบเครื่องกฐิน

ใช้ปักรอบสถานที่ประกอบพิธีกรรม

9


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ อ้างใน พวงเพชร ชุปวา (2542 : 19) ได้กล่าวถึง ธุงใย ซึง่ เป็นธุงชนิดหนึง่ ของ ภาคอี ส าน ทำ � ด้ ว ยเส้ น ฝ้ า ยย้ อ มสี แ ละไม้ ไ ผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็กๆ ไขว้กากบาทกัน แล้วใช้ เ ส้ น ฝ้ า ย พั น ส า น กั น เ ป็ น รู ป สี่ เ ห ลี่ ย ม จั ตุ รั ส จากศูนย์กลางออกมาเรื่อยๆ และมักจะใช้ฝ้ายสีพัน เป็นแถบสีสลับกันเป็นชั้นๆ ขนาดของธุงจะใหญ่ ต่างกัน แล้วนำ�ธุงมาต่อกันเป็นผืนยาวทิ้งชายห้อย

ให้แกว่งปลิวไปตามลม ธุงชนิดนี้จะมีสีสันสวยงาม จึงมักแขวนประดับไว้ตามศาลาการเปรียญของวัด เป็นพุทธบูชาตามความเชื่อของชาวบ้าน ธุงชนิดนี้ เป็นหัตถกรรมเก่าแก่ของมนุษย์ท�ำ มาตัง้ แต่สมัยกรีก และชาวอินเดียแดงในทวีปอเมริกาก็ทำ�ธุงชนิดนี้ เพื่อประกอบการสวด โดยจะพันเส้นฝ้ายทีละรอบๆ คล้ า ยการนั บ ลู ก ประคำ � ในการสวดมนต์ ภ าวนา ธุงชนิดนี้บางทีเรียก ธุงใย ธุงใยมุม ธุงใยแมงมุม

ธุงใย ธุงใยมุม ธุงใยแมงมุม

10


ลักษณะทั่วไปของธุง

ธุงชัย หรือ ธุงผะเหวด ทำ�ด้วยผ้า หรือเส้นด้าย รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 20 นิ้ว หรือตาม หน้ าฟื ม ความยาวไม่กำ�หนด ทำ�ได้ยาวเท่ า ไหร่ ยิ่ ง ดี มี อ านิ ส งส์ ม าก จะทอหรื อถั ก โปร่ ง ก็ ไ ด้ มัก มี ไม้ไผ่คนั่ เป็นช่วงๆ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวธุง ผืนธุง และชายธุง นอกจากนีใ้ นบางพืน้ ที่ เช่น แถบจังหวัด สุรินทร์จะพบว่า ด้านข้างของธุง จะประดับตกแต่งด้วยธุงเล็กๆ ไว้ด้วย

ภาพที่ 1.1 ลักษณะธุงอีสาน ที่มา: ประทับใจ สิกขา, 2555.

11


1

ธุง อายุมากกว่า 150 ปี ที่วัดบ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ธุงแต่ดั้งเดิมเป็นผ้าพื้นสีขาวไม่มีลวดลาย ผสมผสานด้วยไม้ไผ่ (ใช้ไม้ไผ่สอด) วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปทุกท้องถิ่น การสอดหรือคั่นด้วยไม้ไผ่ จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมให้แข็งแรง มีน้ำ�หนัก เมื่อโดนลมพัด ไม่หลุดลุ่ยง่าย 12

2

3 4 1. ธุง วัดทักษิณวารีสิริสุข ตำ�บลลำ�ดวน อำ�เภอลำ�ดวน จังหวัดสุรินทร์ 2. ธุง วัดสุภากรณ์นิคมธรรมาราม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร 3. ธุง วัดไชยศรี บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 4. ธุง บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร


กระเป๋า/ถุง สำ�หรับใส่ดอกไม้ เงิน ขนม

ปัจจุบัน จะพบเห็นธุง เป็นผ้าสีต่างๆ สดใส อาจคั่นหรือสอดด้วยไม้ไผ่พันกระดาษกุดจี่ (กระดาษตังโก) สีต่างๆ เพื่อให้มีสีสันสวยงาม การสร้างสรรค์ลวดลาย มักเป็นลวดลายตามความ เชื่อ ตามวัตถุสิ่งของที่พบเห็นรอบตัว หรือตาม ตัวอย่าง บางแห่งมีกระเป๋า/ถุง สำ�หรับใส่ดอกไม้ เงิน ขนม เพื่อทำ�บุญ/บวงสรวงเทพยดา มักมีข้อความระบุ ผู้สร้าง ......... , สร้าง ปี พ.ศ. ..... และอุทิศให้............ การเขียนชื่อผู้ถวาย ชื่อผู้ล่วงลับ ลงในธุง เป็นการ เขียนเพื่อให้เทพยดารับรู้ว่า ใครทำ� ให้ใคร เป็นการถวายธุงเพื่อทำ�บุญและอุทิศ ผลบุญให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว

ระบุข้อความ

13


ตัวอย่างรูปแบบและวัสดุที่ใช้

ผ้าพื้น

ขิดเก็บลายบางส่วน

ย้อมสีเส้นตอก

ขิดเก็บลายทั้งผืน

คั่นด้วยไม้ไผ่พันไหมพรม

14

คั่นด้วยไม้ไผ่พันกระดาษกุดจี่ (ตังโก)

คั่นด้วยไม้ไผ่และเศษผ้า

ผ้าชิ้นเย็บต่อกัน


คั่นด้วยไม้ไผ่ภาพถ่าย

คั่นด้วยไม้ไผ่

พลาสติก

ตกแต่งด้วยไหมพรม

เศษผ้า

ผ้าชิ้นเย็บต่อกัน

เขียนสี

ริบบิ้น

กก/ไหล

15


16


บทที่ 2

แหล่งผลิตธุงในอีสาน

17


18


การเก็บข้อมูล “ธุงอีสาน” ภาคสนาม

การลงพื้นที่สำ�รวจข้อมูลแหล่งผลิตธุงในภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรรี มั ย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรนิ ทร์ หนองคาย หนองบัวลำ�ภู อำ�นาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี บึงกาฬ ระยะเวลาในการลงพื้นที่ต่อเนื่องเกือบ 1 ปี ซึ่งภาคอีสานมีการแบ่งเขตพื้นที่ทางปกครองตาม แผนที่ ดังนี้

ภาพที่ 2.1 แผนที่ภาคอีสาน แบ่งตามเขตการปกครอง

ที่มา: https://d95ffec7-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/chawanwitapinan/

19


ในการเก็บข้อมูลธุงอีสาน ผู้เขียนได้แบ่งขั้นตอนการทำ�งานออกเป็น 6 ขั้นตอน และมีข้อสรุปจาก การดำ�เนินงานในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การทำ�หนังสือขอความร่วมมือ โดยทำ�หนังสือราชการจากหน่วยงานไปยังหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ขอข้อมูลแหล่ง ผลิตธุงในพืน้ ทีแ่ ต่ละจังหวัด สำ�หรับหน่วยงานทีข่ อความร่วมมือประกอบด้วย สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัด ผลการดำ�เนินงาน พบว่า การส่งหนังสือราชการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอ ข้อมูลแหล่งผลิตธุงในพื้นที่แต่ละจังหวัดได้รับหนังสือตอบกลับจำ�นวนน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 10 ของหนังสือที่นำ�ส่ง และจากการโทรศัพท์ติดตามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่พบปัญหาใน 2 ประเด็น คือ 1) ไม่มีข้อมูลแหล่งผลิตธุงในระบบฐานข้อมูลของหน่วยงาน 2) เจ้าหน้าที่มีภาระงานมาก ไม่สะดวกต่อการสืบค้นข้อมูลและการจัดส่ง โดยสรุปวิธีการขอข้อมูลดังกล่าวไม่ประสบผลสำ�เร็จเท่าที่ควร ขั้นที่ 2 การค้นหาข้อมูลทางเอกสารและสื่อที่เกี่ยวข้อง เป็นการค้นหาข้อมูลทางเอกสารและสื่อที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการประสานงานทาง โทรศัพท์กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการดำ�เนินงาน พบว่า การค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารและสื่อออนไลน์ มีจำ�นวน ที่พบจำ�นวนน้อยกว่า 10 แห่ง ส่วนการประสานกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มผู้ผลิตผ้าทอมือที่ได้ จากการสุ่มกลุ่มผู้ผลิตในแต่ละจังหวัด อีกจำ�นวนประมาณ 10 แห่ง ขั้นที่ 3 การรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลทางเอกสารเกีย่ วกับแหล่งธุงทีไ่ ด้จากหนังสือขอความร่วมมือ และข้อมูลทีไ่ ด้จากการค้นหาข้อมูลทางเอกสารและสือ่ ทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ การประสานงานทางโทรศัพท์กบั หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดหมวดหมู่ตามจังหวัดที่มีข้อมูลและโทรศัพท์ สอบถามยืนยันข้อมูลเพิ่มเติม ผลการดำ�เนินงาน พบว่า เมื่อนำ�ข้อมูลแหล่งธุงที่ได้จากการทำ�หนังสือราชการขอ ความร่วมมือและการค้นหาข้อมูลทางเอกสาร การประสานข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งได้จำ�นวนแหล่ง ผลิตธุงมาบางส่วน ในการนี้ ผู้เขียนได้จำ�แนกข้อมูลที่พบออกเป็น 3 กลุ่มข้อมูล คือ 1)ข้อมูลที่สมบูรณ์มี ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ชัดเจน 2)ข้อมูลที่มีเฉพาะชื่อหมู่บ้าน ตำ�บล อำ�เภอ จังหวัด แต่ไม่มีชื่อผู้ผลิต และบ้านเลขที่ที่จะติดตามได้ 3)ข้อมูลเก่าที่คาดว่าจะมีการผลิตในเขตพื้นที่ตำ�บลนั้น เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกจัดเตรียมจัดในเอกสารแผนงานการลงพื้นที่แต่ละจังหวัด

20


ขั้นที่ 4 การลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เป็นการวางแผนงานการลงพื้นที่ โดยใช้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางใน การเดินทาง ซึ่งแบ่งเขตพื้นที่ 20 จังหวัด ออกเป็น 7 กลุ่มจังหวัดเพื่อลงพื้นที่สำ�รวจข้อมูล ในการนี้ ได้แบ่ง ระยะเวลาสำ�หรับการลงพื้นที่เฉลี่ยกลุ่มจังหวัดละ 3 – 5 วัน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย เลย หนองบัวลำ�ภู อุดรธานี กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย บึงกาฬ หนองคาย สกลนคร กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย นครพนม มุกดาหาร อำ�นาจเจริญ กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ กลุ่มที่ 6 ประกอบด้วย บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา กลุ่มที่ 7 ประกอบด้วย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ผลการดำ�เนินงาน พบว่า การลงพืน้ ทีใ่ นหลายจังหวัดขาดข้อมูลแหล่งผลิตธุง ดังนัน้ การติดตามค้นหาแหล่งธุงในพื้นที่แต่ละจังหวัดจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นและมีความสำ�คัญ ซึ่งพบว่า มีแหล่งเริ่มต้น ในการค้นหาข้อมูลในพื้นที่ 3 แหล่ง คือ แหล่งที่ 1 หน่วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำ�นักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัด ศูนย์วัฒนธรรมระดับจังหวัด/ระดับอำ�เภอ การเดินทางมาพบกับเจ้าหน้าที่ในหน่วย งานโดยตรงทำ�ให้ได้ทราบข้อมูลมากขึ้น หลายแห่งมีข้อมูลที่น่าสนใจทำ�ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับธุงในพื้นที่เพิ่ม เติมและได้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งผลิตธุงเพิ่มมากขึ้น แหล่งที่ 2 วัด เป็นอีกแห่งที่สามารถให้ข้อมูลในพื้นที่ได้ เนื่องจากแหล่งผลิตธุงใน ชุมชนมีความเชื่อมโยงกับวัดโดยตรงทั้งการผลิตเพื่อการถวายธุงทุกปีและการผลิตจำ�หน่ายในชุมชน ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกวัดจะรู้แหล่งผลิตธุงในชุมชนทุกวัด แต่วัดที่จะเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตธุง ส่วนใหญ่ จะเป็นวัดที่เข้มงวดในการจัดงานบุญประเพณีประจำ�ปี วัดที่เก่าแก่มีการสืบทอดงานบุญประเพณีมาอย่าง ต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูลวัดท่ามาลานที (น�้ำจั้น) อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

21


แหล่งข้อมูลวัดตาแขก บ้านโนนเสลา ต�ำบลหนองตูม อ�ำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

แหล่งที่ 3 ร้านสังฆภัณฑ์ เป็นแหล่งจำ�หน่ายเครื่องใช้ในกิจของสงฆ์ ประเภทวัตถุ สิ่งของ พระบูชา ธูป เทียน รวมทั้งเครื่องถวายพระในงานบุญประเพณีต่างๆ ซึ่งหลายร้านมักนำ�ธุงในรูป แบบต่างๆมาแขวนหน้าร้านเพื่อจัดจำ�หน่าย ถือเป็นแหล่งขอข้อมูลที่ดี เพราะร้านค้าที่จำ�หน่ายมักมีที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิตที่ผลิตธุงมาส่งทางร้าน

แหล่งจ�ำหน่ายผ้าธุง ร้านเฮงอู่สูนสังฆภัณฑ์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

จากแหล่งค้นหาข้อมูลธุงทั้ง 3 แหล่งข้างต้น พบว่า ร้านสังฆภัณฑ์สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งผลิตธุงได้ดีและมากที่สุด รองลงมาคือ วัด และสุดท้าย คือ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หลังจาก การค้นหาข้อมูลตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ในพืน้ ทีแ่ ล้ว จึงวางเส้นทางในการเดินทางไปยังแหล่งผลิตธุงในพืน้ ที่ การดำ�เนินงานค้นหาข้อมูลทั้ง 3 วิธีการ ถือว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลมากที่สุด ซึ่งควรทำ�ทั้ง 3 วิธีจึงจะได้ ข้อมูลครบถ้วน 22


แหล่งจ�ำหน่ายผ้าธุง ร้านคัลเลอร์สังฆภัณฑ์ อ�ำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

วิธีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ อาจแบ่งขั้นการดำ�เนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมการลงพื้นที่ มีส่วนสำ�คัญที่ต้องจัดเตรียม ดังนี้ 1) เตรียมคนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอย่างน้อย 2 คน โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นผู้ทำ�หน้าที่บันทึกภาพธุง กระบวนการผลิต ลักษณะการใช้งาน วัดขนาดสัดส่วนธุง และเก็บรายละเอียดอื่นๆในพื้นที่ ส่วนที่สองเป็นผู้ทำ�หน้าที่สัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับธุง เช่น ความเป็นมา ความเชื่อเกี่ยวกับธุง การผลิต ช่างผู้ผลิตธุง รูปแบบธุงที่ผลิต การสืบทอด และอื่นๆ โดยทั้งสองคนต้องทำ� หน้าที่สอดประสานสัมพันธ์กันในการทำ�งานร่วมกัน 2) เตรียมเส้นทางในการเดินทางและวางแผนงานการเดินทาง จัดลำ�ดับ ก่อนหลัง เช่น เก็บข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลก่อนพื้นที่ใกล้ เก็บข้อมูลในพื้นที่เดินทางลำ�บากก่อนเก็บในพื้นที่ เดินทางสบาย เป็นต้น 3) เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเดินทางและจัดเก็บข้อมูล เช่น ชุดเสือ้ ผ้าเครือ่ ง แต่งกายที่เหมาะกับสภาพพื้นที่และสภาพอากาศ กล้องถ่ายรูปหรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ สำ�รองหรือที่ชาร์ตไฟสำ�รอง สมุดบันทึก แผนที่การเดินทาง แบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูลหรือสมุดบันทึก ตลับเมตร ปากกา/ดินสอ เป็นต้น ขั้ น ที่ 2 การลงพื้ น ที่ การลงพื้ น ที่ เ พื่ อ จั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ในแหล่ ง ผลิ ต มี ห ลั ก การ และแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1) การประสานงานกับผู้นำ�ชุมชนหรือผู้นำ�กลุ่มผู้ผลิต ในกรณีที่ลงพื้นที่ใน หมู่บ้าน ควรมีการประสานงานกับผู้นำ�ชุมชนหรือผู้นำ�กลุ่มผู้ผลิตเมื่อเดินทางไปถึงชุมชนเพื่อเป็นการให้ เกียรติชุมชนและเป็นการขออนุญาตดำ�เนินงานในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเก็บข้อมูล และการให้ข้อมูล 23


2) การแนะนำ�ตัวเองและการแจ้งวัตถุประสงค์ เป็นการเปิดข้อมูลของตนเอง ให้ผู้ที่จะถูกสัมภาษณ์ได้รับรู้ข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งจะสะดวกต่อการให้ข้อมูลและการให้ความร่วมมือ 3) การเก็บข้อมูล ควรใช้กิริยา วาจาที่สุภาพ การให้เกียรติกับผู้ให้ข้อมูล การใช้ สรรพนามในการเรียกขานผูใ้ ห้ขอ้ มูลอย่างเหมาะสมกับวัยและฐานะ การหยิบจับเพือ่ ตรวจสอบ ถ่ายรูป วัด ขนาดสัดส่วนเป็นไปด้วยความระมัดระวังโดยไม่ให้เกิดความเสียหายกับวัตถุสิ่งของ และจัดเก็บให้อยู่ใน สภาพเดิมเมื่อเก็บข้อมูลเสร็จสิ้น หลังการลงพื้นที่ เป็นการดำ�เนินงานหลังการลงพื้นที่ ซึ่งมีหลักการและแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1) จั ด ระบบข้ อ มู ล ในไฟล์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ควรดำ � เนิ น การโดยเร่ ง ด่ ว นหลั ง การลงพื้นที่ เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการจัดระบบข้อมูล โดยแยกภาพออกเป็นกลุ่มไฟล์ตามกลุ่ม จังหวัด และแยกย่อยตามแหล่งที่ลงพื้นที่ศึกษา 2) จัดแยกข้อมูลทางเอกสาร เช่น แบบฟอร์มในการลงพืน้ ที่ เอกสารทีใ่ ช้บนั ทึก แบบ สเก็ต (Sketch) รูปแบบและขนาดสัดส่วนธุง รวมทั้งเอกสารแจกต่างๆที่รวบรวมได้จากแหล่งข้อมูล การจัดกระทำ�ข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เป็นช่วงของการนำ�ข้อมูลภาพถ่าย บทสัมภาษณ์ มาเรียบเรียงเนื้อหาและวิเคราะห์ ข้อมูล ทั้งนี้ อาจมีการลงพื้นที่เพิ่มเติมในบางจังหวัด ผลการดำ�เนินงาน พบว่า การนำ�ข้อมูลต่างๆ มาเรียบเรียงเนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูล มีข้อมูลที่แตกต่างกันในเชิงพื้นที่ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ธุง รูปแบบของธุง รวมทั้ง ข้อมูลที่ได้รับจาก บางจังหวัดค่อนข้างน้อย ภาพการใช้ธุงในสถานการณ์จริงยังไม่มี ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยว กับช่วงเวลาในการจัดงานบุญต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีการนำ�ธุงรูปแบบต่างๆ ออกมาใช้ในงานจริง ดัง นัน้ ในบางส่วนจึงต้องรอเวลาจึงจะได้ขอ้ มูลทีค่ รบถ้วนสมบูรณ์ ทัง้ นี้ ในสถานการณ์จริง การเดินทางไปเก็บ ข้อมูลแต่ละครั้ง อาจได้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยบังเอิญจากการเดินทางผ่านเส้นทางต่างๆ เช่น การพบการจัด กิจกรรมงานบุญประเพณีในเส้นทางผ่าน การพบพิพิธภัณฑ์ภายในวัดที่เก่าแก่ สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อมูล ที่อาจพบได้เสมอ ซึ่งจะทำ�ให้การเก็บข้อมูลครอบคลุมในเชิงพื้นที่และปริมาณ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดศรีธาตุ ต�ำบลสิงห์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

24


การเขียนและจัดทำ�หนังสือเผยแพร่ เป็นการนำ�ข้อมูลที่เรียบเรียงมาเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่ นำ�ภาพถ่ายมาจัดทำ� กราฟิกและคำ�อธิบาย ผลการดำ�เนินงาน พบว่า การนำ�ข้อมูลทีไ่ ด้จากการสำ�รวจมาจัดระบบเพือ่ พิมพ์เป็นหนังสือ เผยแพร่ แ ละลงเผยแพร่ ใ นรู ป e – book รู ป แบบการนำ � เสนอต้ อ งเน้ น การสื่ อ สารข้ อ มู ล ให้อ่านง่าย เพื่อส่งเสริมการอ่านสำ�หรับคนยุคใหม่ การจัดรูปภาพที่สามารถสื่อสารเรื่องราวได้ ซึ่งภาพธุง ที่นำ�มาเผยแพร่ต้องผ่านการคัดกรอง เนื่องจากการถ่ายภาพธุงขณะใช้งาน ค่อนข้างถ่ายได้ยากเพราะธุง บางชนิดแขวนในที่สูง มีลมแรงปะทะตลอด จากขั้ น ตอนการจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนามเกี่ ย วกั บ ธุ ง อี ส าน สามารถสรุ ป เป็ น ภาพแผนภูมิได้ ดังนี้ 1. การท�ำหนังสือขอความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 1) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2) วัด 3) ร้านสังฆภัณฑ์

แหล่งผลิตธุงในอีสาน

2. การค้นหาข้อมูลทางเอกสาร และสื่อที่เกี่ยวข้อง 3. การรวบรวมข้อมูล

การจัดกระท�ำข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติม การเขียนและจัดท�ำหนังสือ

ภาพที่ 2.2 ขั้นตอนการเก็บข้อมูล “ธุงอีสาน” ภาคสนาม ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

ข้อมูลภาคสนาม การทอธุงและแหล่งผลิตธุงในอีสาน ในการนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ในบทนี้เป็นการนำ�เสนอแหล่งธุงที่ค้นพบใน

ปีงบประมาณ 2554 ประกอบด้วย การทอธุง โดยยกตัวอย่างอธิบายถึงกรณีศกึ ษากรรมวิธกี ารผลิตธุงในบางพืน้ ที่ และนำ�เสนอตัวอย่าง ลวดลายบนผืนธุง ตัวอย่างธุง แหล่งที่พบ และผู้ทอ เป็นการนำ�เสนอข้อมูลโดยสรุป ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการลงพื้นที่ ภาคสนาม ให้เห็นภาพของผ้าธุงลักษณะต่างๆ ชื่อ-ที่อยู่แหล่งผลิตธุง และผู้ทอผ้าธุง ซึ่งข้อมูลดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ 25


การทอธุง

เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สืบทอดต่อกันมาช้านาน ในวิถีชีวิตประจำ�วันของชาวอีสานจะต้อง ทอผ้าใช้อยู่แล้ว ก็จะนำ�เอางานทอผ้าที่อยู่คู่ตนเองไปทำ�บุญเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ธุงที่ทอใช้ในงานบุญ ซึง่ ชาวบ้านทอไปถวายพระ เกิดจากความศรัทธา ความเชือ่ จึงเป็นการทออย่างมีความหมายและสวยงาม

ธุงบ้านโนนรัง

ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้ทอธุง : 1. นางทองแกม แสนอาจ บ้านเลขที่ 156 หมู่ 16 บ้านโนนรัง ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 082-8533118 2. นางหุ่ง ต่อพรหม บ้านเลขที่ 85 หมู่ 16 บ้านโนนรัง ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 085-0139378 26

1.

2.


วัสดุ : ด้าย เส้นตอก (ไม้ไผ่) กระดาษกุดจี่ (ตังโก) กาว ผ้า ตุ้งติ้ง

ด้ายโทเร ซื้อมาจากตลาด นำ�มากวักด้าย ค้นด้าย ต่อใส่ฟืม กางใส่กี่ แล้วทอ (ต่ำ�) โดยวิธีการขิดเก็บลาย ด้วยไม้เก็บขิด

ไม้ไผ่ กระดาษกุดจี่ (ตังโก)

ขนาดความกว้างของธุงขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษกุดจี่ ธุงผืนเล็ก พับครึ่งตามแนวความยาวของกระดาษกุดจี่ ซึ่งเท่ากับ 25 เซนติเมตร ธุงผืนใหญ่ พับครึ่งตามแนวความกว้างของกระดาษกุดจี่ ซึ่งเท่ากับ 33 เซนติเมตร ธุง โดยทั่วไปยาว 2.5 เมตร หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความต้องการ ธุงยิ่งยาวยิ่งสวย

ธุง 1 ผืน ใช้เวลาทอประมาณ 2 วัน โดยวิธีการขิดลาย ด้วยไม้เก็บขิด ความยากลำ�บากอยู่ที่การทอตัวหนังสือ หากทอตัวหนังสือผิด ตกหล่น ต้องทอใหม่ทั้งผืน ขายไม่ได้ ใช้ไม่ได้ ไม่มีใครเอา เนื่องจากไม่ใช่ชื่อตัวเอง

27


ตุ้งติ้ง สำ�หรับตกแต่ง และเย็บขอบธุงด้วยจักร

ลายไดโนเสาร์

ลายปราสาท

ลายขันหมากเบ็ง

ลายพานบายศรี

ลายนาค

ลายธรรมาสน์

ลายช้าง

ลายตัวหนังสือ

ตัวอย่าง ลวดลายบนผืนธุง บ้านโนนรัง ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

28


ธุงบ้านสมสะอาด

ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร ผู้ทอธุง :

นางบัวกัน กอทอง บ้านเลขที่ 46 หมู่ 6 บ้านสมสะอาด ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร โทร. 089-0299679 วัสดุ : ด้ายหรือฝ้าย ไม้ไผ่ ลูกปัด หลอด ดอกไม้พลาสติก

ด้ายโทเร ซื้อมาจากตลาด นำ�มากวักด้ายใส่อัก ค้นใส่เฝือ ต่อใส่ฟืม ปั่นหลอดเข้ากระสวย กางใส่กี่ แล้วทอ (ต่ำ�) ใช้ฟืม 10 โดยวิธีการขิดเก็บลาย ด้วยไม้เก็บขิด (ข่มขิด) สอดไม้ไผ่คั่นให้เป็นลวดลาย โดยดูลายที่จะทอจากภาพ 29


ธุงบ้านหนองบัว

ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ทอธุง :

วัสดุ : ด้าย ลูกปัด ดอกไม้พลาสติก นางรัตนาภรณ์ หงส์วิเศษ บ้านเลขที่ 36 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 089-0299679 ธุง 1 หาง ใช้เวลาทอ 4-5 วัน สามารถทำ�ได้ 2 วิธคี อื แบบเก็บลาย (เก็บทีละไม้) แบบนี้ ใช้เวลานาน และแบบเหยียบ (เก็บลายก่อนทอ) ส่งขายในอำ�เภอ กั น ทรารมย์ และในจั ง หวั ด ศรีสะเกษ โดยทั่วไปจะสั่งทอ เก็บสะสมไว้ เนือ่ งจากทอไม่ทนั หลักๆ ในหมูบ่ า้ นนีม้ คี นทอ 3-4 คน ธุงผืนใหญ่ (ด้าย 1 เครือ สามารถ ทอได้ประมาณ 5-6 หาง) ขนาด 0.40 X 4 เมตร (ขนาดมาตรฐาน) ขนาด 0.40 X 6 เมตร ธุงผืนเล็ก (ด้าย 1 เครือ สามารถ ทอได้ประมาณ 7 หาง) ขนาด 0.40 X ยาว 2.50 เมตร

30

ด้ายโทเร ซื้อมาจากตลาด นำ�มากวักด้ายใส่อัก ค้นใส่เฝือ ต่อใส่ฟืม ปั่นหลอดเข้ากระสวย

กางใส่กี่ แล้วทอ (ต่ำ�) ใช้ฟืม 8 โดยวิธีการขิดเก็บลาย ด้วยไม้เก็บขิด ดูตัวอย่างลายจากธุงผืนเก่าต้นแบบ เช่น รูปช้าง นก ต้นไม้ ปราสาท ม้า พานบายศรี ตัวอักษร คน ฯลฯ และทำ�เชิงธุงเป็นลายขิด


ธุงบ้านถ่อนใหญ่

ตำ�บลนาข่า อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผู้ทอธุง : นางสมหวัง นาส่งเสริม บ้านเลขที่ 162 หมู่ 7 บ้านถ่อนใหญ่ ตำ�บลนาข่า อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โทร. 085-1043326 วัสดุ : ด้าย ไม้ไผ่

นำ�เส้นด้ายมากวัก ค้น สืบหูก ทอ (ต่ำ�) ใช้ฟืม 9 หลบ โดยวิธีการขิดเก็บลายด้วยไม้เก็บขิด สอดไม้ไผ่คั่นให้ เป็นลวดลาย ทอจนเสร็จเป็นผืน เย็บเก็บขอบธุง ให้เรียบร้อยด้วยจักรเย็บผ้า ซื้อด้ายประดิษฐ์ มาจากตลาด ฆ่าด้าย โดยการเอาน้ำ�ต้มให้เดือดใส่ข้าวเจ้าแดงลงไป ให้พอแตก ทิ้งไว้ให้เย็น นำ�ด้ายไปแช่ในน้ำ�ต้มข้าว กระตุก (ทก) และตากแดดให้แห้ง เพือ่ ให้เส้นด้ายแข็งตัว

เตรียมไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่บ้าน ทาบแบบที่ต้องการ และขัด ตัดตามรอยขีด เขียนหมายเลขกำ�กับ และมัดไว้เป็นชุดเพื่อความสะดวกในการทอ โดยสามารถทอได้ตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ

มัดชายแบบไขว้ แต่งชายธุงด้วยไม้ไผ่

31


ธุงบ้านหนองไผ่

ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ทอธุง : นางเอี้ยง ประยุทธเต บ้านเลขที่ 17 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ � บลบ้ า นแวง อำ � เภอพุ ท ไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 080-1034623

รูปช้าง ดูจากขวดเบียร์ช้าง

วัสดุ : ด้าย ไม้ไผ่ กระดาษกุดจี่ (ตังโก) ผ้า ตุง้ ติง้ ลูกปัด รูปม้า ดูจากหมอนขิด

เส้นตอก (จ้างจักตอก 100 เส้น/10 บาท) ติดด้วยกระดาษกุดจี่ (ตังโก)

กรอด้ายใส่กง ค้น (เป็นเครือ) ใส่หลักเฝือ เพื่อทำ�เส้นยืน สืบ (ต่อใส่ฟืม) ทอ+เก็บลาย โดยวิธีการขิดเก็บลายด้วยไม้เก็บขิด เหมือนกับ การทำ�หมอนขิด สอดไม้ไผ่คั่นให้เป็นลวดลาย รูปแบบลายดูจากวัตถุสิ่งของใกล้ตัว หรือภาพต่างๆ ที่พบเห็นและคิดว่าสวยงาม มีความหมาย

ตัดเจียนขอบธุงให้เสมอกัน กุ๊นด้วยผ้าขาว/แดงตามชอบ ใช้ไม้ไผ่ทำ�ชายธุง ประดับด้วยตุ้งติ้ง ลูกปัด ให้สวยงาม

32


ตัวอย่างลวดลายบนผืนธุง ลวดลายบนผื น ธุ ง ส่ ว นมากจะเป็ น

เครื่ อ งสั ก การะ สั ต ว์ พ าหนะ วั ต ถุ สิ่ ง ของมงคล ถ้าเราทานอะไร จะได้อานิสงส์เช่นนั้น เช่น ลายช้าง ม้า ถือว่าเป็นพาหนะของเจ้านาย จะเป็นคนร่ำ�รวย ลายปราสาท เชื่อว่า ภพหน้าก็จะได้อยู่ในปราสาท บนสวรรค์ เป็ น ต้ น พระอาจารย์ เ สวย ปภากโร

วัดตาแขก บ้านโนนเสลา ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เล่าว่า ชาวอีสานนิยมนำ�ภาพช้างมา เก็บขิดทำ�ผ้าธุง ตามตำ�นานเล่าขานเรือ่ งนางผมหอม ในบุ ญ ผะเหวด 13 กั ณ ฑ์ มี เ รื่ อ งชาติ ต่ า งๆ ของพระพุ ท ธเจ้ า 1 ในทศชาติ คื อ ชาติ ที่ พ ระ พุทธเจ้าเกิดเป็นช้าง มีลูกเป็นนางผมหอมนั่นเอง

ลายช้าง

ลายนาค

ลายนก

ลายช้าง ลายพาขวัญ

ลายกระถางดอกไม้

ลายม้า

ลายเจดีย์ 9 ชั้น

ลายพระใหญ่

ลายพระเวสสันดร นางมัทรี กัณหาชาลี

ลายแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง

ลายพานพุ่ม

ลายธรรมาสน์

ลายพญานาค

ลายช้าง

ลายช้าง

33


ลายปราสาท

ลายช้าง

ลายขันหมากเบ๊ง

ลายคั่นด้วยไม้ไผ่

ลายพญานาค

ลายนกยูง

ลายปราสาท

ลายคั่นด้วยไม้ไผ่

ลายช้าง

ลายช้าง

ลายนาค

ลายช้าง

ลายช้าง

ลายคั่นด้วยไม้ไผ่

ลายช้าง

ลายช้าง

ลายม้า

ลายช้าง

ลายปราสาท

ลายพานพุ่ม

ลายกัณฑ์กุมาร

นกหัสดีลิงค์

ลายขันหมากเบ็ง

ลายกวาง

34


ลายขิด

ลายคั่นด้วยไม้ไผ่

ลายช้าง

ลายพานพุ่ม

ลายชูชก

พระเวสสันดร นางมัทรี

ลายกลองมะโหระทึก

ลายนกบิน

ชูชก กัณหาชาลี

ลายพระราม

ลายเรือหงส์

ลายช้าง

ลายนางมัจฉา

ลายเต่า

ลายปลา

ลายช้าง

ลายช้างแม่ลูก

ลายม้า

ลายช้าง

ลายนก

35


ตัวอย่างธุง แหล่งที่พบ และผู้ทอ กาฬสินธุ์

1 แหล่งที่พบธุง : ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม โรงเรียนฟ้าแดดสูงยางวิทยาคาร บ้านเสมา ตำ�บลกมลาไสย อำ�เภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

2 แหล่งที่พบธุง : วัดท่ามาลานที (น้�ำ จัน้ ) บ้านน้ำ�จั้น ตำ�บลกมลาไสย อำ�เภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

1

2 36


กาฬสินธุ์

3 แหล่งที่พบธุง : วัดโพธิช์ ยั เสมาราม (เมืองฟ้าแดด) บ้านเสมา ตำ�บลหนองแปน อำ�เภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

4

3

4

แหล่งที่พบธุง : วัดสว่างโนนสูง บ้านโนนสูง หมู่ 9 เทศบาลตำ�บลโนนสูง อำ�เภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้มอบ : พระครูประโชติสารคุณ (เจ้าอาวาส) โทร. 084-5100892 37


ขอนแก่น

5

แหล่งที่พบธุง : บ้านโนนรัง ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้ทอ : นางทองแกม แสนอาจ

156 หมู่ 16 บ้านโนนรัง ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 082-8533118

นางหุ่ง ต่อพรหม

85 หมู่ 16 บ้านโนนรัง ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 085-0139378

6 5 38

6

แหล่งที่พบธุง : พิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้านวัดสระโนน บ้านขามป้อม ตำ�บลขามป้อม อำ�เภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น


ขอนแก่น

7 แหล่งที่พบธุง : วัดไชยศรี บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

8 แหล่งที่พบธุง : วัดพระพุทธฤทธิธ์ าราม (บ้านทางพาด) หมู่ 13 บ้านทางพาด ตำ�บลดงเค็ง อำ�เภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

7

8 39


ขอนแก่น

9 แหล่งที่พบธุง : วัดโพธิศ์ รี บ้านศิลา ตำ�บลศิลา อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

10 9 40

10

แหล่งที่พบธุง : วัดสระทอง บ้านบัว ตำ�บลกุดเค้า อำ�เภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น


ชัยภูมิ

11 แหล่งที่พบธุง : กลุม่ สตรีทอผ้าขิดโนนทัน หมู่ 10 บ้านโนนทัน ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ผู้ทอ : นางระเบียบ เข็มภูเขียว

452/1 หมู่ 5 บ้านโนนเสลา ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โทร. 044-741303, 081-0731989, 088-4112421, 080-4791691

นายเรียมศักดิ์ เข็มภูเขียว 132 หมู่ 10 บ้านโนนทัน ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โทร. 088-1164519

นางสมัย ศรีพิพัฒน์

85 หมู่ 10 บ้านโนนทัน ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โทร. 082-1461401

12 แหล่งที่พบธุง : วัดตาแขก บ้านโนนเสลา ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

11

ขนาด : 25x140 cm

12

ขนาด : 32x136 cm

41


ชัยภูมิ

13 แหล่งที่พบธุง : วัดบุญถนอมพัฒนาการ บ้านโนนเสลา ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

14 แหล่งที่พบธุง : วัดโพธิ์ บ้านจอก ตำ�บลคอนสวรรค์ อำ�เภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

13 42

14


นครพนม

15 แหล่งที่พบธุง : ร้านใจดีสงั ฆภัณฑ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม

16 แหล่งที่พบธุง : ร้านเฮงอูส่ นู สังฆภัณฑ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม

15

ขนาด : 33x200 cm

16 43


นครพนม

17 แหล่งที่พบธุง : วัดจอมพาราวาส หมู่ 2 บ้านสำ�ราญเหนือ ตำ�บลอาจสามารถ อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม

18 แหล่งที่พบธุง : วัดบุง่ ฮี บ้านบุ่งฮี ตำ�บลพระกลางทุ่ง อำ�เภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

17 44

18


นครพนม

19 แหล่งที่พบธุง : วัดมงคลรัตนาราม บ้านดงต้อง ตำ�บลดงขวาง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม

20 แหล่งที่พบธุง : วัดศิรพิ ทุ ธาราม บ้านท่าควาย ตำ�บลอาจสามารถ อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม

19

20 45


นครพนม

21 21 46

แหล่งที่พบธุง : วัดสว่างสุวรรณาราม ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม


นครราชสีมา

22 แหล่งที่พบธุง : วัดบ้านโจด (วัดศรีสว่างผาติการาม) บ้านโจด ตำ�บลขามสมบูรณ์ อำ�เภอคง จังหวัดนครราชสีมา

23 แหล่งที่พบธุง : วัดใหม่สามัคคีธรรม บ้านโคกเพ็ด ตำ�บลกุดจอก อำ�เภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โทร. 086-5854992 ผู้ทอ : นางสีดา ดาทอง

หมู่ 3 บ้านโคกเพ็ด ตำ�บลกุดจอก อำ�เภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

22

23 47


บุรีรัมย์

24 แหล่งที่พบธุง : บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 080-1034623 ผู้ทอ : นางเอี้ยง ประยุทธเต 17 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 080-1034623

นางบุ่น กรมไธสง

18 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

นางสายันต์ โนนไธสง

14/1 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

นางพัน สิงห์ไธสง

20 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

นางบัวเรือน สิริปิ

38 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

25 24 48

ขนาด : 28x440 cm

25

แหล่งที่พบธุง : วัดเทพรังสรรค์ บ้านหัวสะพานใหม่ ตำ�บลบ้านยาง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์


บุรีรัมย์

ธุงจากโมเสคติดผนังสิม

26 แหล่งที่พบธุง : วัดบรมคงคา บ้านแวง ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

27 แหล่งที่พบธุง : วัดมณีจนั ทร์ อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

26

27 49


มหาสารคาม

28 แหล่งที่พบธุง : วัดจันทร์ประสิทธิ์ หมู่ 3 บ้านโพน ตำ�บลโพนทอง อำ�เภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

29 แหล่งที่พบธุง : วัดบ้านหนองแหนวนาราม บ้านหนองแหน ตำ�บลนาโพธิ์ อำ�เภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

28 50

29


มหาสารคาม

30 แหล่งที่พบธุง : วัดอัมพวัน บ้านม่วง ตำ�บลเกิ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผู้มอบ : พระครูอัมพวัน สารกิจ

30

ขนาด : 34x360 cm

51


มุกดาหาร

31 แหล่งที่พบธุง : วัดนาอุดม-โนนหนองหอ ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร ผู้ทอ : นางบัวกัน กอทอง

46 หมู่ 6 บ้านสมสะอาด ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร โทร. 089-0299679

นางใคร โสภา

90 หมู่ 6 บ้านสมสะอาด ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร โทร. 087-2297335

นางหนูจันทร์ สันลักษณ์

28 หมู่ 6 บ้านสมสะอาด ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร

นางอุไร ทองสุขใส

123 หมู่ 6 บ้านสมสะอาด ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร

32 แหล่งที่พบธุง : วัดสุภากรณ์นคิ มธรรมาราม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร

31 52

ขนาด : 56x480 cm

32


ยโสธร

33 แหล่งที่พบธุง : วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ตำ�บลสิงห์ อำ�เภอเมือง จังหวัดยโสธร

33 53


ร้อยเอ็ด

34 แหล่งที่พบธุง : วัดธาตุ คุ้มใต้ ตำ�บลเกษตรวิสัย อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

35 แหล่งที่พบธุง : บ้านแซงแหลม บ้านแซงแหลม ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ทอ : นางบุญตา สนั่นก้อง 46 หมู่ 6 บ้านแซงแหลม ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 087-541141

34 54

35

ขนาด : 36x306 cm


ร้อยเอ็ด

36 แหล่งที่พบธุง : บ้านบึงโดน ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ทอ : นางคูณ เฟื่องสุคนธ์

17 หมู่ 5 บ้านบึงโดน ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 086-7826668

นางใส โคตรศิริ

17 หมู่ 5 บ้านบึงโดน ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 089-8221685

37 แหล่งที่พบธุง : ศูนย์เผยแพร่ศลิ ปะและ วัฒนธรรมพืน้ บ้านอีสาน สาขาช่างฝีมอื สิง่ ถักทอ บ้านหนองดู่ ตำ�บลธงธานี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ทอ : นายสุวิทย์ ภักดีวุฒิ 159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำ�บลธงธานี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 087-2135397

นางเสวย ภักดีวุฒิ

36

37

159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำ�บลธงธานี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 087-2135397

55


เลย

38 แหล่งที่พบธุง : กลุม่ ทอผ้าไทเลย 177 หมู่ 9 บ้านก้างปลา ตำ�บลชัยพฤกษ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย ผู้ทอ : นางฉลาด เสาวนนท์

177 หมู่ 9 บ้านก้างปลา ตำ�บลชัยพฤกษ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย

39 แหล่งที่พบธุง : แม่บา้ นทอธุงถวายวัดจอมมณี หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย ผู้ทอ : นางบุญยัง นายม

167 หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย

นางอรุณ ศรีคณ ู

188 หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย

นางสมร พรมมาศ

150 หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย

นางสนม สิงขิต

68 หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย

นางบุญเรียน บุญหนัก

137 หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย

38 56

ขนาด : 28x420 cm

39

ขนาด : 25x147 cm


เลย

40 แหล่งที่พบธุง : วัดศรีสัตตนาค บ้านก้างปลา ตำ�บลชัยพฤกษ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย ผู้มอบ : พระอาจารย์โอวาท วาทะกาโม (รองเจ้าอาวาส)

40

ขนาด : 26x142 cm

57


ศรีสะเกษ

41 แหล่งที่พบธุง : บ้านโพนทราย หมู่ 3 บ้านโพนทราย ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

42

41 58

42

แหล่งที่พบธุง : วัดบ้านเมืองน้อย ตำ�บลเมืองหลวง อำ�เภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ผู้มอบ : พระครูวรธรรมาภินันท์ รองเจ้าคณะอำ�เภอห้วยทับทัน, เจ้าอาวาส โทร. 084-8306866


ศรีสะเกษ

43 แหล่งที่พบธุง : บ้านยางเอือด หมู่ 6 บ้านยางเอือด ตำ�บลสำ�โรง อำ�เภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

44 แหล่งที่พบธุง : บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ทอ : นางรัตนาภรณ์ หงส์วิเศษ

36 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 081-0680859

นางวาสนา บัวหอม

43

44

27/1 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 080-4790298 ขนาด : 30x500 cm

59


ศรีสะเกษ

45 แหล่งที่พบธุง : วัดโพธิศ์ รี บ้านละทาย ตำ�บลละทาย อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ทอ : นางรำ�พึง วงศ์เจริญ 143/1 หมู่ 9 บ้านละทาย ตำ�บลละทาย อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 088-4681992

46 แหล่งที่พบธุง : วัดอีเซ บ้านอีเซ ตำ�บลอีเซ อำ�เภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้มอบ : พระอธิการทองมา ฐิตะวันโณ (เจ้าคณะตำ�บลเสียว เขต 2/ เจ้าอาวาส)

45 60

46


สกลนคร

47 แหล่งที่พบธุง : บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ผู้ทอ : นางดอกจันทร์ โพนทอง

108 หมู่ 14 บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

นางดอน เจริญเศรษฐ์

123 หมู่ 14 บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

48 แหล่งที่พบธุง : บ้านไฮหย่อง ตำ�บลไฮหย่อง อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ผู้ทอ : นางอินแปลง สุวรรณชัยรบ

47

ขนาด : 36x158 cm

48

2 หมู่ 13 บ้านไฮหย่อง ตำ�บลไฮหย่อง อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โทร. 083-4149270

ขนาด : 36x172 cm

61


สุรินทร์

49 แหล่งที่พบธุง : งานบุญกฐิน บ้านนายบุญชู สัญจรดี 87/2 หมู่ 15 บ้านตาเตียว ตำ�บลตาเบา อำ�เภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

50 49 62

50

แหล่งที่พบธุง : บ้านท่าสว่าง ตำ�บลท่าสว่าง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์


สุรินทร์

51 แหล่งที่พบธุง : วัดชัยประโคม (บ้านเสม็ดน้อย) หมู่ 6 บ้านเสม็ดน้อย ตำ�บลสลักได อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

52

51

ขนาด : 75x225 cm

52

แหล่งที่พบธุง : วัดทักษิณวารีสริ สิ ขุ ตำ�บลลำ�ดวน อำ�เภอลำ�ดวน จังหวัดสุรินทร์ ผู้มอบ : พระครูโกวิทธรรมาภินันท์ (เจ้าคณะตำ�บลลำ�ดวน/ เจ้าอาวาส) ขนาด : 90x700 cm

63


สุรินทร์

53 แหล่งที่พบธุง : วัดบ้านฉันเพล หมู่ 1 บ้านฉันเพล ตำ�บลปราสาททอง อำ�เภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

54 แหล่งที่พบธุง : วัดอมรินทราราม บ้านตาเตียว ตำ�บลตาเบา อำ�เภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

53 64

54


หนองบัวลำ�ภู

55 แหล่งที่พบธุง : วัดศรีคณ ู เมือง บ้านเหนือ ตำ�บลลำ�ภู อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู

56 แหล่งที่พบธุง : วัดศรีอมั พร บ้านหนองแก ตำ�บลหนองแก อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ผูท้ อ : นางสม แก้วดินเหนียว

39 หมู่ 8 บ้านหนองแกเหนือ ตำ�บลหนองแก อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู โทร. 087-0501761

นางอนงค์ ดอนแพง

1 หมู่ 8 บ้านหนองแกเหนือ ตำ�บลหนองแก อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู โทร. 084-7958677

55

ขนาด : 28x400 cm

56

ขนาด : 36x240 cm

65


อำ�นาจเจริญ

57 แหล่งที่พบธุง : วัดโนนศิลา ที่อยู่ : บ้านบุ่งเขียว ตำ�บลโคกก่ง อำ�เภอชานุมาน จังหวัดอำ�นาจเจริญ

57 66


อุดรธานี

58 แหล่งที่พบธุง : บ้านถ่อนใหญ่ บ้านถ่อนใหญ่ ตำ�บลนาข่า อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผู้ทอ : นางสมหวัง นาส่งเสริม

162 หมู่ 7 บ้านถ่อนใหญ่ ตำ�บลนาข่า อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โทร. 085-1043326

59 แหล่งที่พบธุง : วัดโนนเดือ่ หมู่ 16 บ้านโนนเดื่อ ตำ�บลบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผู้มอบ : พระอธิการทองแดง ศรีธโร (เจ้าอาวาส) โทร. 081-7692953

58

ขนาด : 40x680 cm

59

ขนาด : 30x420 cm

67


บทสรุป

ชาวอีสานนิยมถวายธุงเป็นพุทธบูชา และอุทิศถวายด้วย ความเชื่อและศรัทธา วัตถุประสงค์ในการถวายธุง เพื่อให้เกิดความ เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ผู้เกี่ยวข้อง และอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ปัจจุบันการใช้ธุง นอกจากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ชาวอีสานยังนิยมนำ�ธุงมาใช้ในการประดับ ตกแต่ ง สถานที่ เ นื่ อ งในงานพิ ธี ห รื อ เทศกาลต่ า งๆ ที่ ไ ม่ ใช่ เ ป็ น พุ ท ธบู ช าหรื อ เกี่ ย วข้ อ งกั บ พิ ธี ก รรมทางศาสนา แต่ เ พื่ อ ประดั บ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นการสืบสาน อนุรักษ์และเผยแพร่งานศิลปะพื้นบ้านอันมีคุณค่า อีกทั้งยังเป็น การส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การสร้ า งงาน สร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ คนทอผ้ า ในท้ อ งถิ่ น หรื อ ที่ นิ ย มเรี ย กขานกั น ทั่ ว ไปว่ า ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่แฝงมากับการทอธุงและการใช้ธุง ก็คือ ภาพสะท้อนของงานศิลปะบนผืนผ้าที่ผู้ทอใช้จินตนาการในการ สร้างสรรค์โดยยึดแบบแผนโบราณควบคู่กับการแต่งเติมตามความ เปลี่ ย นแปลงของยุ ค สมั ย โดยแสดงออกผ่ า นเทคนิ ค การทอ การเลือกใช้วัสดุ และการใช้ลวดลาย ซึ่งได้กลายเป็นความร่วมสมัย ทำ�ให้ผ้า ธุงในปัจ จุบันไม่ ไ ด้ เ ป็ น แต่ เ พี ย งความเชื่ อ ความศรั ท ธา แต่ยังแฝงไว้ด้วยความงามอย่างมีคุณค่าตามแบบฉบับเฉพาะถิ่น

68


69


70


บทที่ 3

การวิเคราะห์ธุงอีสาน

71


72


การวิเคราะห์ธุงอีสาน

ธุง เป็นงานหัตถกรรมที่มีกรรมวิธีการผลิตหลากหลายรูปแบบตามความเชื่อ ความชำ�นาญ และภูมิปัญญาในการผลิตที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีคุณค่าและความหมายในเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หากวิเคราะห์และมองรอบด้านงานธุงอีสานในบริบทต่างๆ ที่แตกต่างกันจะพบว่า ธุง เป็นมากกว่าสิ่งที่ มองเห็นด้วยสายตา ซึ่งผู้เขียนขอจำ�แนกมิติมุมมองออกเป็น 8 มิติ ดังนี้ สื่อสัญลักษณ์

ความเชื่อ ความศรัทธา

มรดกทางวัฒนธรรม

ภูมิปัญญาในการสืบทอด

งานศิลปกรรม

ธุงอีสาน

งานฝีมือในเชิงพาณิชย์

งานหัตถกรรมพื้นบ้าน งานสร้างสรรค์ในชุมชน

สื่อสัญลักษณ์ ในงานประเพณี ภาพที่ 3.1 การวิเคราะห์ธุงในมิติต่างๆ ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

มิติที่ 1 ธุงในมิติของความเชื่อ ความศรัทธา เป็นอีกมิติหนึ่งของธุงที่น่าสนใจ จากการศึกษาข้อมูลในตอนต้น จะพบว่า มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับธุงมา

กมาย เช่น ข้อมูลจาก วิทยา วุฒิไธสง ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ ว่า ในอดีตการมีพวกเหล่ามารปีศาจขึ้นไปก่อกวนเทวดาบนสวรรค์ จนทำ�ให้เหล่าเทวดาตกใจกลัวเป็น อย่างมาก ทำ�ให้เจ้าแห่งสวรรค์สร้าง “ธุง” ขึ้นมา เพื่อให้เหล่าเทวดาได้มองเห็นธุงแล้วเกิดความกล้าหาญ ไม่หวาดกลัวเหล่ามารปีศาจอีกต่อไป ธุง จึงเป็นเหมือนตัวแทนในการขับไล่มารร้ายไปจากสวรรค์นั่นเอง ทำ�ให้ในกาลต่อมามนุษย์จึงได้ประดิษฐ์ธุง เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การ ติดต่อสือ่ สารระหว่างมนุษย์กบั ผูท้ ลี่ ว่ งลับไปแล้ว อีกทัง้ เพือ่ เป็นพุทธบูชา เป็นปัจจัยการส่งกุศลให้แก่ตนเอง ในชาติหน้าจะได้เกิดบนสรวงสวรรค์ (ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จาก http://cac.kku. ac.th/?p=5048, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2555) 73


ธุง หรือ ตุง หรือ ธง ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ของความดีงาม ความเป็นสิริมงคลและเป็นสื่อ นำ�วิญญาณของผู้ตายที่เคยได้ถวายตุง หรือได้รับการทานตุงให้ขึ้นไปสู่สวรรค์ หรือหลุดพ้นจากความทุกข์ อันเนื่องจากวิบากกรรม ตามพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับการให้ทานตุงนั้น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ พิธีกรรมในพระพุทธศาสนา (njoy. ความเชื่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตุง หรือ ธง. จาก http://www. openbase.in.th/node/8768. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555) นอกจากนั้น ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับวรรณกรรมอีสาน ธวัช ปุณโณทก, วรรณกรรมภาคอีสาน (2537: 91) เคยกล่าวไว้ในหนังสือวรรณกรรมภาคอีสานว่า คำ�ประพันธ์ร้อยแก้วของอีสานส่วนใหญ่จะเป็น คำ�พูดธรรมดา และมีการยกศัพท์บาลีขึ้นตั้งแล้วแปลเป็นภาษาถิ่น แต่ในบางตอนของวรรณกรรมมี ฉันทลักษณ์คล้ายกับร่ายผสมอยู่ด้วย และมีการใช้คำ�สัมผัส ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ ทั้งนี้เพราะ ว่าวรรณกรรมเหล่านี้ใช้เทศน์ ผู้แต่งพยายามใช้ศิลปะในการแต่งให้สัมผัสกัน แต่เป็นการสัมผัสระยะสั้นๆ เพื่อให้เกิดความไพเราะ ประทับใจผู้อ่าน ผู้ฟังเป็นช่วงๆ ไป ในตัวอย่างบางตอนของวรรณกรรมอีสานได้ กล่าวถึง ธุงอีสาน โดยยกข้อความมาจากหนังสือผูกหรือใบลาน (สังฮอมธาตุ: ม.ป.ป.) ว่า “โอทนฺตา ทันที ขาวก็ขาวงามสุทธิ์ยิ่ง มีวรรณะเพียงสิ่งสังขาร ยมยมา หยาดยายยั่งอยู่สอนลอน ทันทีอ่อนก็อ่อนงามแกม สิว่ ขึน้ แต่หว่างคิว้ เมือฮอดเกศาอันนีท้ อ่ แต่จกั เป็น อุปมาอุปไมยไปเทียมเหตุ ผิจกั กล่าวให้หมดอุปเทสน์แท้ ก็ยังย่อมเหลือหลาย รัศมีแผ่ผาย ล้อมคือดัง แถวเพชรแก้วอ้อมคาแกมสัตตรัตนฮ้อยฮอบคือดังพระจันทร์ แจ้งจอดเมืองแมน มีทังแสงเดือนดาวเดียรดาษ พระสุริยาสน์โอภาสสะพุ่งฮุ่งพันดวงสะเทืองทังฟ้า ฮุ่งทัง อินทร์เห็นทัง พรหม ยม ครุฑ มนุษย์กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ยักษ์ อาฮักขา เทพยดา สุราสุรินทร์ อินทร์พรหม ชวนกันมาทุกภาค ถือธุงกระดาษแลธุงชัย ธุงทองไกวแกมช่อ มีทั้งประธูป ประทีปใต้ติดต่อตาม เทียนประดับเลียนทุกภาค เครื่องหลายหลากบูชาเสียสังขานต์มวล มี ชะโพนพร้อมปี่ อ้อทังปี่ ห้ออรซอน ขับขานซ้อยซ่อขอดขิ่ง ทั้งต้อยติ่งแลสวนไลนั้น เดียรดาษ เพ็งพร้อมพาทย์พิณระบาสิงโขนฟ้อนลายละเมิง เมิงมายปิ่ง กระโดนตุริยาโย เค็งครื่น ขับฟ้อนตื่นบูชา สาธุการทุกแห่ง ตะบัดตะแบงเท้าเถิงพรหม เสียงระงมฟ้าฮ้อง ส่องใสสีทัวระณีทุกแห่ง ดวงแก้วแกว่งอัศจรรย์ เขาสะเมรุผันควี่คว่านๆ น้ำ�สมุทรกว้าง ม้างแตกตีแลกล่วงละนองเป็นข้าวตอก ดอกไม้ บูชาพระแก่นไท้ชินศาสนา…” จากข้อความในหนังสือผูกข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ธุง ในความเชื่อของคนอีสานได้เชื่อม โยงไปถึงพระอินทร์ พระพรหม พระยายม พระยาครุฑ มนุษย์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ ยักษ์ เทพยดาต่างๆ ที่ อัญเชิญมาร่วมงานบุญต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงในขบวนแห่คือ ธุง

74


เกิดกุศลแก่ตนเอง

เป็นพุทธบูชา

การขับไล่ มารร้าย

สื่อกลางมนุษย์ กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ธุงอีสาน

เป็นสื่อนำ� วิญญาณของผู้ตาย

ขึ้นสู่สวรรค์หรือหลุดพ้น จากวิบากกรรมความทุกข

ภาพที่ 3.2 ธุงในความเชื่อ ความศรัทธา ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

ดังนั้น ธุง จึงเป็นสื่อสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ ความศรัทธา ซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากความเชื่อ ความศรัทธา ที่ยึดถือสืบต่อกันมายาวนาน เป็นคำ�บอกเล่าที่ส่งต่อกันด้วยคำ�พูด เช่น คำ�บอกเล่าของ ผู้สูงอายุในชุมชน ผู้นำ�หมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน บุคคลเหล่านี้ ถือเป็นบุคคลที่ลูกหลานจะต้องรับฟัง และถือปฏิบัติ หากยึดถือหรือมีความเชื่อแล้วสบายใจก็จะทำ�สืบต่อๆ กัน ด้วยความศรัทธา เต็มใจ และมี ค วามสุ ข ที่ ไ ด้ ก ระทำ � เป็ น ความรู้ สึ ก สบายใจ แม้ ว่ า ความเชื่ อ นั้ น จะเป็ น สิ่ ง ที่ พิ สู จ น์ ไ ม่ ไ ด้ ใ น ทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม

75


การใช้ธุงตกแต่งสถานที่

งานกฐินสามัคคี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ ปี 2554 ณ วัดทักษิณวารีสิริสุข ตำ�บลลำ�ดวน อำ�เภอลำ�ดวน จังหวัดสุรินทร์

76


งานบุญกฐิน ที่บ้านนายบุญชู สัญจรดี เลขที่ 87/2 หมู่ 15 ตำ�บลตาเบา อำ�เภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

77


การใช้ธุงในขบวนแห่ งานบุญประเพณี

งานบุญกฐินแม่อำ�ไพ ตำ�บลท่าลาด อำ�เภอวารินชำ�ราบ จังหวัดอุบลราชธานี

78


มิติที่ 2 ธุงในมิติของภูมิปัญญา การสืบทอด คุณค่า และความหมาย ภูมิปัญญาในการสืบทอดงานฝีมือผลิตธุงจากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

จากข้อมูลในการค้นคว้า พบว่า ไม่มีมีข้อมูลบันทึกว่า ธุงอีสานเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคสมัยใด แต่พบหลักฐาน จากจิตรกรรมฝาผนังหรือฮูปแต้มอีสานหลายแห่งว่า มีการใช้ธุงมายาวนานตั้งแต่โบราณ การสืบทอดงาน ฝีมือทำ�ธุงอีสานมักมาคู่กับงานหัตถกรรมทอผ้าและการจัดงานบุญประเพณี หากจะถึงงานบุญประเพณีที่ เกี่ยวข้อง ผู้นำ�ชุมชน และกรรมการวัดก็จะนัดหมายให้มีการทำ�ธุงล่วงหน้า ทั้งธุงที่ต้องทอบนกี่ทอผ้า และธุงใยแมงมุม ธุงไส้หมู ธุงราวก็มักจะระดมกันมาทำ�ที่ธุงกันที่วัด เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานที่ได้มาพบ ปะกัน ทำ�งานบุญร่วมกัน ได้รับประทานอาหารร่วมกัน และที่สำ�คัญคือ ได้บุญกุศลจากการมีส่วนร่วม การสืบทอดจึงเป็นไปโดยธรรมชาติ โดยการช่วยกัน สอนกันภายในวัด แบบได้ความรู้ ได้งานฝีมือติดตัว โดยไม่รู้ตัว

งานโมเสคแสดงเรื่องราวในวิถีชุมชนที่ฝาผนังสิมวัดมณีจันทร์ อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

ในมุมมองของคุณค่า และความหมาย ธุงเป็นมากกว่าวัตถุสงิ่ ของทีน่ �ำ มาใช้ในงานตกแต่งในงานบุญ งานพิธี “ธุง” จึงเป็นงานหัตถศิลป์แห่งศรัทธา เป็นเครื่องบูชาด้วยความเชื่อ การทำ�บุญ การให้ทาน การปกป้องคุ้มครอง ดังนั้น ธุงจึงถือเป็นสัญญาลักษณ์ของงานบุญประเพณี แสดงถึงความศรัทธา ในการทำ�บุญ พร้อมทั้งประกาศให้เทวดาอารักษ์ทั้งหลายได้รับรู้ 79


งานบุญประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำ�พระแก้วบุษราคัม วัดศรีอุบลรัตนาราม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

80


นอกจากนั้น ยังมีงานหัตถศิลป์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในงานบุญร่วมกับธุงอีสาน คือ ดอกไม้ที่ที่นำ�มาร้อย เป็นพวงยาว บางแห่งเรียกว่า “ธุงดอกไม้” โดยทั่วไปจะใช้ดอกอะไรก็ได้ที่นิยมใช้สอยกันในการบูชา ทัง้ นี้ อาจใช้ดอกไม้ทมี่ รี ปู ร่างสวยงาม หรือมีกลิน่ หอม หรือมีสตี า่ งๆ ก็ได้ แต่ทนี่ ยิ มนำ�มาร้อยเป็นเครือ่ งบูชา มากที่สุด คือ ดอกสะแบง สาเหตุของการใช้ดอกสะแบงเป็นส่วนมากนั้น เพราะในช่วงเดือนมีนาคม ที่มักจัดงานบุญ เป็นช่วงที่ดอกสะแบงกำ�ลังออกดอกมากโตเต็มที่และมีสีสันที่สวยงามและมีจำ�นวนมาก อี ก ทั้ ง ดอกสะแบง มี ส ภาพที่ ท นทานต่ อ ระบบดิ น ฟ้ า อากาศ สามารถนำ � มาร้ อ ยแล้ ว เก็ บ ไว้ เ ป็ น ปี ไ ด้ และในแง่ของความหมาย เล่ากันว่า ดอกสะแบงเป็นดอกไม้ที่มีความพิเศษ คือ ดอกแก่เต็มที่จะหล่นลงมา ปะทะกับลมในฤดูแล้งจะลอยอยู่ได้นานและสามารถหมุนปลิวไปได้ไกล มีความสวยงามตามธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่อหล่นลงมาต้องลมพัดก็สามารถหมุนวนในอากาศตามลมไปตกได้ในที่ไกลๆ เปรียบเหมือน การเทศน์มหาชาติในงานบุญผะเหวด เมื่อจะเทศน์ก็มักจะนำ�ฎีกาไปนิมนต์พระภิกษุสงฆ์จากที่ต่างๆ บางท่านอยูไ่ กล ข้ามตำ�บล ข้ามอำ�เภอ ข้ามจังหวัด ความหมายคล้ายดอกสะแบงทีส่ ามารถถือเป็นสัญลักษณ์ ได้ ด้วยความกว้างไกลในอานิสงส์ของการทำ�ทานที่พระพุทธเจ้าได้เคยบำ�เพ็ญมาจะแผ่ไพศาลไปไกล ทั่วสารทิศ

ดอกสะแบง

81


มิติที่ 3 ธุงในมิติของงานหัตถกรรมพื้นบ้าน งานหัตถกรรมพื้นบ้าน หากพิจารณาถึงธุงในแง่ของวัสดุและการผลิตจะพบว่า ธุงอีสานได้ถูก

สร้างสรรค์บนความหลากหลายทางฝีมือและความคิด บนเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการความงามที่โบก สะบัด ให้เห็นชัดเจน ดังนั้น กระบวนการคิด การค้นหาวัสดุ และการผลิตจึงเป็นกระบวนการที่คิดค้น ทีผ่ า่ นการทดลองผลิต จนตกผลึกทางความคิดเป็นธุงในรูปแบบต่างๆ เช่น ธุงชัย หรือ ธุงผะเหวด ทีส่ ว่ นใหญ่ เกิดจากเทคนิคการทอบนกี่พ้ืนบ้านหรือกี่ทอผ้า มีเส้นทางเครือหรือเส้นยืนที่ต้องการความแข็งแรงคงทน เพราะเป็นเส้นทางยาวของธุง ส่วนวัสดุที่ใช้ทอทางพุ่งหรือเส้นในแนวนอนมักนิยมใช้วัสดุที่มีความแข็ง เป็นตัวคั่นสลับการทอรูปภาพหรือลาย บางครั้งเป็นติวไม้ไผ่หรือเป็นเส้นไม้ไผ่แบนที่ห่อด้วยกระดาษกุดจี่ (ตังโก) ทีม่ สี สี ดใสและมีความคงทน ซึง่ การเลือกวัสดุทมี่ คี วามแข็งแรงเป็นตัวคัน่ ก็เพือ่ ให้ธงุ มีนำ�้ หนักทีพ่ อดี และไม่พับจนเป็นม้วนเมื่อมีลมพัด ซึ่งเป็นความชาญฉลาดทางภูมิปัญญาของชาวบ้านที่คิดค้นและสืบสาน ทางภูมปิ ญ ั ญากันต่อมาจากรุน่ สูร่ นุ่ ซึง่ ในยุคหลังเมือ่ มีวสั ดุหลากหลายมากขึน้ ทัง้ วัสดุจากธรรมชาติและวัสดุ สังเคราะห์หลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุพลาสติกแทน ซึ่งถือเป็นการปรับตัวของธุงอีสาน • ธุงชัย ผ้าผืนยาว 1.5-3 เมตร • ธุงใย • ธุงราว

• ไหม ฝ้าย • ไม้ไผ่ กระดาษ

รูปทรง ขนาด และสีสัน

วัสดุในการผลิต

ธุงอีสาน ลวดลาย รูปภาพ • ลายเก็บขิดต่างๆ • รูปภาพพระพุทธรูป พานบายศรี รูปสัตว์ เจดีย์ ต้นไม้ และอื่นๆ

กรรมวิธีการผลิต • การทอบนกี่ทอผ้า • การพัน การทัก การเย็บ การร้อย ภาพที่ 3.3 การวิเคราะห์การผลิตธุงอีสาน ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

82


มิติที่ 4 ธุงในมิติของงานสร้างสรรค์ในชุมชน งานสร้างสรรค์เป็นงานทีเ่ ปิดให้คนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ในงานทอผ้าธุง พบว่า มีชา่ งทอธุงจ�ำนวน

หลายรายไม่ได้ยึดแบบแผนในการทอธุงแบบโบราณ แต่มีการคิดค้นสร้างสรรค์ผลงานการท�ำธุงใหม่ตลอด เช่น คุณยายเอี้ยง ประยุทธเต จากบ้านหนองไผ่ ต�ำบลบ้านแวง อ�ำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มอง สิง่ รอบข้างเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานได้แทบทุกเรือ่ ง แม้กระทัง่ รูปภาพจากขวดเบียร์ หรืออืน่ ๆ ก็จะ ถูกคุณยายน�ำมาใช้ในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ บนผ้าธุงเพือ่ ให้เกิดความสวยงามและไม่เกิดความเบือ่ หน่าย ต่อการท�ำงาน นอกจากนั้นยังพบอีกหลายแห่งที่คิดค้นลายใหม่ที่ได้มาจากเอกลักษณ์ในท้องถิ่น หรือลาย จากผืนผ้าทีต่ นเองไปพบมาและถ่ายเก็บไว้ดว้ ยโทรศัพท์มอื ถือ เป็นต้น ซึง่ แสดงให้เห็นว่า งานท�ำธุงเป็นงาน ที่ไม่เคยนิ่ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปตามยุคสมัยเป็นประวัติศาสตร์เล่าเรื่องของคนในแต่ละยุค ที่สื่อออกมาด้วยภาพและวัสดุที่ใช้ในการผลิต • การประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ในท้องถิ่น สวยงาม คงทน • วัสดุจากธรรมชาติ วัสดุ สังเคราะห์

• ตามรูปแบบของลูกค้า • ตามจินตนาการของผู้ผลิต

รูปทรง ขนาด และสีสัน

วัสดุในการผลิต

ธุงอีสาน ลวดลาย รูปภาพ • การประยุกต์ลวดลาย จากลายผ้าใหม่ๆ • การสรรค์สรรค์ จากสิ่งที่มองเห็น

กรรมวิธีการผลิต • การผลิต ใช้หลายเทคนิค ร่วมกัน เช่น ทอ ปัก เย็บติด แขวน

ภาพที่ 3.4 การวิเคราะห์งานสร้างสรรค์ธุงอีสานในชุมชน ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

83


คุณยายเอี้ยง ประยุทธเต ผู้มองสิ่งรอบข้าง เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์

ธุงจากพลาสติก

ส�ำหรับการสร้างสรรค์งานธุงในชุมชน ในยุคที่มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุง งานหัตถศิลป์พื้นถิ่นอีสานก็ได้รับอิทธิพลในความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่น้อยไปกว่าจากงานหัตถกรรมอื่นๆ หากวิเคราะห์ในภาพรวมของธุงใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) วัสดุในการผลิต วัสดุในการผลิตธุงตั้งแต่โบราณ ใช้เส้นฝ้าย เส้นด้าย เป็นวัสดุหลักในการทอ หรือในการมัด การผูก การถัก วัสดุเสริม คือ เส้นตอกไม้ไผ่ ส่วนวัสดุตกแต่งอื่นๆ เช่น ไม้ ลูกปัดจากเมล็ดพืชต่างๆ เป็นต้น ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป วัสดุในการผลิตธุงบางพื้นที่ได้มีการปรับแต่งใหม่ ใช้วัสดุที่ถูกน�ำมาเข้ามาใช้แตกต่าง จากเดิมหลายอย่าง เช่น เส้น/แผ่นพลาสติก เส้นไหมพรม เส้นด้ายสังเคราะห์ ลูกปัดพลาสติก ลูกปัด โลหะ เชือกจากเส้นใยสังเคราะห์ แผ่นโลหะต่างๆ เป็นต้น ท�ำให้งานท�ำธุงมีความหลากหลาย เกิดแนวคิด ในการค้นหาวัสดุเพื่อสร้างสรรค์ความงาม 84


2) กรรมวิธีการผลิต การผลิตธุงในยุคโบราณ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 การทอบนกี่ทอผ้า ใช้การทอเช่นเดียวกับการทอผ้าเก็บขิดหรือผ้ามัดหมี่ ซึ่งอาจมีความแตกต่างในการทอ เช่น การสอดสลับ ติวไม้ไผ่คั่นเป็นช่วงๆ แต่บางแห่งก็ทอเป็นผืนยาวเลย บางแห่งใช้วิธีทอโปร่งเว้นช่วงมีการถัก การมัดสลับ ลักษณะที่ 2 เป็นการใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นโครงสร้าง จากนั้นจึงใช้ฝ้ายสีต่างๆ มัดขึง ดึงให้แน่น เป็นรูปทรง ต่างๆ ทั้งสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม ส�ำหรับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การท�ำธุงไม่ได้มีเพียงขนาดเดียวแบบยุคโบราณ แต่มีทุกขนาด ทั้งเล็กจิ๋ว ใหญ่โต ทั้งที่ทอเคยจากเส้นฝ้ายแบบเดิมก็ใช้วัสดุอื่นและกรรมวิธีอื่นมาร่วมด้วย เช่น ธุง จากเส้นกก ธุง จากผ้าเศษ ธุง จากเส้นใยพืชต่างๆ จึงท�ำให้กรรมวิธีการผลิตธุงไม่ได้ถูกจ�ำกัดไว้ ด้วยกีแ่ ละการมัด แต่อาจใช้วธิ กี ารสมัยใหม่รว่ มด้วย เช่น การพิมพ์สกรีน การปักด้วยเครือ่ ง การใช้ภาพถ่าย จากแผ่นไวนีล และอื่นๆ 3) ลวดลาย และรูปภาพ ในยุคโบราณชาวอีสานมักนิยมน�ำรูปภาพและลวดลายมาใช้ในการสร้างสรรค์ความงาม ให้ธุงและสื่อความหมายถึงสิ่งที่เคารพหรือสิ่งที่มีความหมายในความเชื่อต่างๆ ในส่วนของลวดลาย มัก นิยมใช้ลายที่มาจากการทอผ้าเก็บขิด เช่น ลายเก็บขิดผ้าสไบ ลายเก็บขิดผ้าซิ่น เป็นลายเก็บขิดจากหน้า หมอน ลายขอ ลายนาค ลายต้นสน และอืน่ ๆ ส่วนรูปภาพ ถือเป็นสิง่ ทีถ่ กู น�ำมาบรรจุบนผ้าธุงมากทีส่ ดุ เช่น ภาพปราสาท ธรรมาสน์ ขันหมากเบ็ง พานบายศรี พานพุ่ม รูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นาค ช้าง ม้า นกยูง นกหัสดีลิงค์ เต่า ปลา นก กวาง ลายเกี่ยวกับวรรคดี ต�ำนาน ความเชื่อ เช่น ชูชก กัณหา-ชาลี นางมัจฉา พระราม เป็นต้น และลายอื่นๆ เช่น ต้นไม้ กลองมะโหระทึก กระถางดอกไม้ พาขวัญ เป็นต้น เมื่อยุคสมัย เปลีย่ นไป บางครัง้ ธุงได้ถกู ขยายสถานะในการใช้งานเป็นธุงส�ำหรับงานตกแต่งภายใน ลวดลายและภาพทีเ่ คย ใช้ได้ถูกปรับเปลี่ยนไป เช่น ธุงลายไดโนเสาร์ ธุงรูปพระมหากษัตริย์ ธุงรูปสถานที่ท่องเที่ยวและเอกลักษณ์ ในท้องถิ่น เป็นต้น 4) รูปทรง ขนาด และสี รูปทรง ขนาด และสี เป็นอีกส่วนหนึง่ ทีน่ า่ สนใจ หากพิจารณาถึงการท�ำธุงในยุคสมัยโบราณ ที่ยึดถือสืบต่อกันมา โทนสี ขนาด และรูปทรง มักเป็นแบบมาตรฐานตามแต่ละชุมชนยึดถือสืบต่อกันมา บางชุมชนเน้นโทนสีแดงก็จะสีแดงสืบต่อกันมา บางชุมชนจะเป็นสีธรรมชาติโทนสีนก็จะเป็นโทนน�้ำตาล บางแห่งเน้นความหลากสีก็จะเป็นความหลากสีมาโดยตลาด เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป พบว่า ธุงมีความหลาก หลายมากขึน้ เช่น มีธงุ ยาวมาก ๆ ส�ำหรับงานตกแต่งด้านหน้าสถานีจ่ ดั งาน มีธงุ ใยแมงมุมขนาดยักษ์ใช้สร้าง ความโดดเด่นในการจัดงาน มีธุงขนาดเล็กไว้ส�ำหรับใช้ไปแขวนในบ้านเรือนเป็นงานตกแต่งและแฝงไว้ด้วย ความเชือ่ ทีไ่ ด้รบั ข้อมูลมา งานธุงในยุคสมัยใหม่บางส่วนจึงกลายเป็นงานออกแบบให้ตรงกับสิง่ ต้องการใช้งาน

85


มิติที่ 5 ธุงในมิติของงานฝีมือในเชิงพาณิชย์ งานฝีมือในเชิงพาณิชย์ ในยุคปัจจุบันโครงการหนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP ของไทย

ได้ส่งเสริมให้มีการรื้อฟื้นภูมิปัญญาสู่การสร้างสรรค์เป็นงานอาชีพเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน การท�ำธุงจึง เป็นหนึ่งในงานหัตถกรรมของหลายแห่งที่ถูกรื้อฟื้น ปรับแต่งให้เป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ และหลายแห่งได้ ผลิตจ�ำหน่ายให้กบั ร้านสังฆภัณฑ์ในพืน้ ทีเ่ พือ่ จัดจ�ำหน่าย ซึง่ ในการผลิตเพือ่ จัดจ�ำหน่ายมีใน 2 ลักษณะ คือ การท�ำธุงจ�ำหน่ายเพื่อน�ำไปถวายวัด เป็นรูปแบบธุงแบบดั้งเดิม แหล่งจ�ำหน่าย คือ ร้านสังฆภัณฑ์ ลักษณะ ที่ 2 คือ การท�ำธุงเพื่อจ�ำหน่ายเป็นของที่ระลึก แหล่งจ�ำหน่าย คือ ชุมชน หมู่บ้านท่องเที่ยว หรือ ร้ า นจ�ำหน่ า ยของที่ ร ะลึ ก ในพื้ น ที่ ซึ่ ง รู ป แบบของธุ ง ประเภทของที่ ร ะลึ ก มั ก ถู ก ปรั บ ขนาดให้ เ ล็ ก ลง หรื อ ปรั บ สี ลวดลายให้ เ หมาะสมส�ำหรั บ การน�ำไปใช้ ใ นงานตกแต่ ง อาคารส�ำนั ก งาน ที่ พั ก อาศั ย หรือโรงแรม/รีสอร์ท

1. ตลาด

ธุงอีสาน

2. ผู้บริโภค

3. ประโยชน์ใช้สอย

4. รูปแบบ ขนาด สี รูปทรง

7. การกำ�หนดราคา

6. การบรรจุภัณฑ์ การนำ�เสนอข้อมูล

5. วัสดุ - การผลิต

ภาพที่ 3.5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตธุงในเชิงพาณิชย์ ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

86


หากมองถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตธุงในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับการท�ำธุรกิจเป็น การผลิตเพื่อการจ�ำหน่ายและแสวงหาก�ำไร การผลิตธุงโดยมีเป้าหมายในลักษณะนี้ จึงมีปัจจัยที่จะต้อง พิจารณา ดังนี้ 1) การตลาด ผู้ผลิตธุงในเชิงพาณิชย์คงต้องพิจารณาถึงตลาดของตนเองว่า คือ ร้านสังฆภัณฑ์ ที่เน้นการ ขายเพื่อถวายวัด ให้กับกลุ่มลูกค้าที่ชอบท�ำบุญ หรือร้านขายของที่ระลึก ของฝาก ที่เน้นงานตกแต่งอาคาร สถานที่ ตลาดทั้ง 2 แบบ วิธีการคิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ย่อมแตกต่างกัน การน�ำเสนอสินค้า การจัดวางสินค้า ย่อมแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภค ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจในการซื้อ การตัดสินใจของผู้ซื้อจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสิน ใจหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจ เป้าหมายในการซื้อ การกระตุ้นจุดสนใจให้เกิดการซื้อ การเคลื่อน ย้ายคนส่ง เป็นต้น ดังนั้น การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งส�ำคัญต่อการคิดค้นรูปแบบสินค้า 3) ประโยชน์ใช้สอย ในอดีตการซื้อธุง มักเป็นการซื้อเพื่อถวายวัด แต่ในปัจจุบันธุงบางส่วนได้กลายเป็นของ ตกแต่งบ้าน อาคารส�ำนักงาน โรงแรม และอื่นๆ ทั้งนี้ หากผลิตในเชิงพาณิชย์ต้องมองที่ประโยชน์ใช้สอย ของผูซ้ อื้ เป็นส�ำคัญ เช่น ธุงถวายวัด สามารถใส่ชอื่ ผูถ้ วายได้อย่างไร ธุงของทีร่ ะลึกใช้แขวนตกแต่งได้อย่างไร

การผลิตธุงไว้ส�ำหรับเป็นเครื่องประดับ เช่น ปิ่นปักผม ตุ้มหู เข็มกลัด

87


4) รูปแบบ ขนาด สี รูปทรง ในเชิงพาณิชย์ ค่านิยมของลูกค้าเป้าหมายที่จะซื้อเป็นสิ่งส�ำคัญ ดังนั้น เป้าหมายหลัก ก็คือ การเก็บข้อมูลกลุ่มผู้ซื้อก่อน ลูกค้าเป้าหมายคือใคร ซื้อไปเพื่ออะไร ค่านิยมเกี่ยวกับสีเป็นอย่างไร หากมีข้อมูลเหล่านี้ การก�ำหนดรูปแบบของธุงที่จะท�ำขายก็ง่ายขึ้น ขนาดที่เหมาะส�ำหรับการน�ำไปใช้ สี หรือรูปทรงก็จะตามมา เช่น กลุ่มท�ำธุงของอ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลิตธุงไว้ส�ำหรับเป็น เครื่องประดับ โดยท�ำธุงใยแมงมุมแบบย่อส่วนไว้ปักผม รูปแบบ สี ขนาด ก็จะถูกออกแบบให้พอดีกับ การใช้งาน 5) วัสดุ และการผลิต ในการผลิตเพือ่ การจ�ำหน่าย คงต้องคิดเกีย่ วกับการลดต้นทุน การผลิตทีไ่ ด้มาตรฐานเดียวกัน ความประณีตสวยงาม ความคงทน ดังนั้น วัสดุที่จะใช้ในการผลิตต้องมีความสัมพันธ์กับกระบวนการผลิต เช่น วัสดุที่ใช้ทอควรเป็นอะไร เช่น ฝ้ายชนิดใด ด้ายชนิดใด สีที่ที่ใช้ควรเป็นสีอย่างไร เป็นสีที่ย้อมมาจาก โรงงานหรือเป็นสีที่ย้อมเอง หากย้อมเองควรเป็นสีเคมีหรือสีธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้คือ จุดตัดสินใจเกี่ยว กับวัสดุ เมื่อได้วัสดุแล้วกระบวนการในการทอหรือการผลิตธุงจะใช้การสร้างลายโดยวิธีใด เช่น การเก็บ ขิดเป็นรายภาพ การเก็บขิดที่มีฟืมและไม้เก็บขิดเป็นตัวช่วยให้ได้รูปแบบเดียวกันเป็นชุดๆ หรืออย่างไร ช่ า งทอมี ทั ก ษะในการทอแบบใด ซึ่ ง ผู ้ ผ ลิ ต ธุ ง ในเชิ ง พาณิ ช ย์ ต ้ อ งค�ำนวณทั้ ง หมดเพราะทุ ก อย่ า งคื อ ต้นทุนในการผลิต 6) การบรรจุภัณฑ์ และการน�ำเสนอข้อมูลแก่ลูกค้า ในยุคปัจจุบนั การบรรจุภณ ั ฑ์ได้กลายเป็นส่วนส�ำคัญส�ำหรับการผลิตสินค้าเพือ่ การจ�ำหน่าย ผู้ผลิตธุงในเชิงพาณิชย์ควรออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่บ่งชี้ให้เห็นความส�ำคัญของธุงที่จะผลิตเพื่อจ�ำหน่าย เช่น ภาพแสดงการใช้งาน เรื่องราว (Story) เกี่ยวกับธุง การตั้งชื่อสินค้า การสร้างแบรนด์ (Brand) เป็นต้น ส่วนส�ำคัญประการ หลังจากการผลิตบรรจุภัณฑ์ ก็คือ การน�ำเสนอข้อมูลแก่ลูกค้า แม้ว่าจะมีข้อมูลบาง ส่วนบนบรรจุภัณฑ์แล้วก็ตาม ผู้ขายควรที่จะท�ำความเข้าใจในตัวสินค้าของตนเองอย่างรอบด้าน เช่น วัสดุ ในการผลิต การผลิต การน�ำไปใช้งาน เช่น หากน�ำไปเพื่อถวายวัด ควรมีค�ำกล่าวถวายแนบไว้ด้วย หาก น�ำไปใช้ตกแต่งควรมีการอธิบายวิธีการติดตั้งหรือแขวน ความหมายและคุณค่าของธุง เป็นต้น ส่วนวิธี การน�ำเสนออาจกระท�ำได้หลายรูปแบบ เช่น การขายผ่าสื่อต่างๆ การขายในงานมหกรรมสินค้า การขาย ณ แหล่งผลิต เป็นต้น 7) การก�ำหนดราคา การก�ำหนดราคา เป็นการคิดบนฐานความเป็นได้ทางการตลาด โดยค�ำนึงถึงต้นทุนใน การผลิต การตรวจสอบข้อมูลคู่แข่งทางการตลาด การค�ำนวณค่าความคิดสร้างสรรค์ (กรณีสินค้ามีความ แตกต่าง) การคิดค่าบรรจุภัณฑ์ การคิดค่าขนส่ง การคิดค่าสถานที่ในการจัดจ�ำหน่าย และก�ำลังซื้อของ ลูกค้าที่เป็นปัจจุบัน การคิดราคาที่เหมาะสมกับลูกค้าและมีความเป็นธรรมจะส่งผลต่อความยั่งยืนใน การท�ำธุรกิจจ�ำหน่ายธุง 88


การผลิตธุงในเชิงพาณิชย์

ธุง บ้านถ่อนใหญ่ ต�ำบลนาข่า อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ธุง บ้านโนนรัง ต�ำบลสาวะถี อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ธุง บ้านหนองบัว ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

89


ธุง บ้านบัวเจริญ ต�ำบลทุ่งเทิง อ�ำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

มิติที่ 6 ธุงในมิติของสื่อสัญลักษณ์ในงานประเพณี สื่อสัญลักษณ์ในงานประเพณี การติดตั้งธุงในบริเวณของการจัดงานบุญต่างๆ ประโยชน์ส่วนหนึ่ง

ของการใช้ธุง คือ การบอกกล่าวว่า ก�ำลังจะมีงานบุญ ดังนั้น คณะผู้จัดงานจึงมักติดตั้งธุงไว้ล่วงหน้าก่อน เป็นวันงานจริงเสมอเพื่อบอกญาติมิตรหรือคนในชุมชนให้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้ก�ำลังจะจัดงานบุญ ซึ่งอาจ เป็นวัดหรือบ้านเรือนของคนในชุมชนก็ได้ เช่น การใช้ธุงราว ธุงไส้หมูในบ้านเรือนที่ก�ำลังจะรวมกองบุญ เพื่อไปทอดกฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่ง หรือบ่งบอกว่า บ้านหลังนี้ก�ำลังจะมีงานมงคล เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น ในปัจจุบัน “ธุง หรือตุง” ถูกน�ำมาใช้ในงานพิธีกรรมทางพุทธศาสนาและงานประเพณีในท้องถิ่น งานเทศกาลต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้เพื่อความสวยงามน่าสนใจ โดยการออกแบบ ข้อความสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายได้อย่างน่าสนใจและสวยงาม เช่นเดียวกับงานพิธีกรรมและประเพณี ส�ำคัญแต่ละเดือนของชาวอีสานยังคงมีการน�ำ “ธุง” มาใช้เพื่อสื่อความหมายและบ่งบอกถึงความส�ำคัญ ในแต่ละงาน ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะถูกน�ำมาใช้ประดับประดาให้มีความสวยงามอลังการโดยไม่ได้ค�ำนึงถึง จุดมุ่งหมายของงานภายใต้ค่านิยมและแนวปฏิบัติโดยทั่วไปในปัจจุบัน ธุงยังคงสื่อความหมายถึงความ ศรัทธาของผูท้ จี่ ดั ท�ำขึน้ มาเพือ่ เป็นเครือ่ งสักการะ บวงสรวง ถวายเป็นพุทธบูชาต่อศาสนา เป็นสิง่ ยึดเหนีย่ ว 90


จิตใจส่งผลถึงความร่มเย็นเป็นสุข ตามหลักธรรมค�ำสอนในพุทธศาสนา คราวใดที่ได้เห็นธุงปลิวไสวในงาน บุญประเพณีต่างๆ ในงานวัด ท�ำให้จิตใจเป็นสุขยิ่งนัก บ่งบอกถึงความหมายแห่งสายบุญที่เชื่อมโยงถึง ความสุขสวัสดีทั้งชาติปัจจุบันและชาติภพต่อไป (เจนอักษรพิจารย์. จาก http://www.yupparaj.ac.th. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555)

มิติที่ 7 ธุงในมิติของงานศิลปกรรม งานศิลปกรรม เป็นงานสร้างสรรค์ที่เน้นแนวคิด ความงามในรูปแบบต่างๆ ในอดีตมักจะพบว่า มีงานจิตกรรมฝาผนังหลายแห่งได้เขียนรูปของธุงบันทึกเหตุการณ์ไว้ นอกจากนัน้ ยังพบว่า มีศลิ ปินหลายคน ได้น�ำธุงมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ทั้งที่เป็นภาพวาด ประติมากรรม และสื่อประสม ซึ่งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า ธุงนอกจากจะมีความงามในเชิงศิลปะแล้วยังมีกลิ่นไอแห่งความเป็นสื่อทาง วัฒนธรรมที่ศิลปินให้ความสนใจในการน�ำไปสร้างสรรค์ผลงานให้มีค่าและความหมาย

ผลงานสร้างสรรค์งานศิลปะจากธุงใยแมงมุม

ที่มา: ภาสกร เตือประโคน. จาก https://oer.kku.ac.th/index.php/search_detail/result/11713. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560.

มิติที่ 8 ธุงในมิติของมรดกทางวัฒนธรรม ธุงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล�้ำค่าของท้องถิ่น เนื่องจากธุงในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน

อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะมีการสร้างสรรค์เพิ่มเติมก็ตาม แต่ยังคงเก็บรายละเอียดของชาติพันธุ์ตัวเองไว้ อย่างเหนียวแน่น เช่น ธุงเขมรในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่ยังคงรักษาแบบแผนรูบแบบธุงของธุงตัวเอง ไว้อย่างเหนียวแน่นในทุกพื้นที่ ส่วนธุงศรีสะเกษยังคงรักษางานเก็บขิดบนผ้าธุงในรูปแบบของตัวเอง อย่างเหนียวแน่นเช่นเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่า ธุงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่มีค่าและความหมาย ต่อชุมชน 91


92


บทที่ 4

การอนุรักษ์และสืบสาน ธุงอีสาน

93


94


การอนุรักษ์และสืบสาน ธุงอีสาน

ในการที่จะรักษาธุงอีสานให้คงอยู่คู่คนอีสาน ผู้เขียนมีข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลที่ เกี่ยวข้อง ปราชญ์ชาวบ้าน ในช่วงของการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งประมวลข้อมูลโดยสรุปได้ดังนี้ การอนุรักษ์ธุงอีสาน การอนุรักษ์ธุงอีสาน เป็นการรักษาวัฒนธรรมความเชื่อ การผลิต และการใช้ธุงอีสานให้ คงอยู่คู่คนอีสาน ให้เป็นงานหัตถกรรมแห่งภูมิปัญญาที่มีคุณค่า เป็นความงดงามทางวัฒนธรรมที่แฝงไว้ ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา เป็นมรดกที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ผู้เขียนได้สรุปประเด็นข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ 4 แนวทาง ดังนี้ 1) การจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ในยุคปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเกิดขึ้นจ�ำนวนมาก ส่วนใหญ่มกั มีสถานทีต่ งั้ อยูภ่ ายในวัด แต่จากข้อมูลพบว่า ไม่มพี พิ ธิ ภัณฑ์ใดจัดแสดงธุงอย่างจริงจัง เป็นเพียง จัดวางให้ชมเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ อาจสืบเนื่องมาจาก การจัดแสดงธุงต้องใช้พื้นที่ที่มีความสูงมาก การดูแล รักษาเป็นเรื่องยุ่งยาก หากอุณหภูมิห้องไม่เหมาะสมก็เกิดการช�ำรุดเสียหายได้ง่าย บางครั้งก็มีปัญหามอด แมลงกัดแทะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะธุงโดยส่วนใหญ่ผลิตจากเส้นด้าย/เส้นฝ้ายร่วมกับงานไม้ไผ่ กรรมวิธี การทอบางครั้งบางชิ้นไม่ได้มีเนื้อแน่นดังเช่นการทอผ้า ดังนั้น การจัดเก็บธุงจึงจ�ำเป็นต้องเก็บด้วยความ ระมัดระวังเช่นเดียวกับการจัดเก็บคัมภีร์ใบลาน

ธุงโบราณเก่าเก็บ วัดศรีอัมพร ต�ำบลหนองแก อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

95


ธุงโบราณเก่าเก็บ วัดบ้านหนองบัว อ�ำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

2) การส่งเสริมให้มีกิจกรรมท�ำธุงในงานบุญประเพณีต่างๆ โดยทั่วไปในงานบุญประเพณี ในภาคอีสานเกือบทุกงานบุญสามารถใช้ธุงหลายชนิดในงานตกแต่งได้ เช่น ธุงราว ธุงไส้หมู ธุงใยแมงมุม ยกเว้นงานบุญกฐินที่มีธุงเฉพาะกิจ การท�ำธุงในงานบุญนอกจากจะเกิดบุญกุศลแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ งานศิลปะพืน้ บ้าน อนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมท้องถิน่ ของไทย การจัดกิจกรรมท�ำธุงในงานบุญยังเป็นการเสริมสร้าง ความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย

กิจกรรมรวมกลุ่มท�ำธุงในงานบุญบ้านนาอุดม อ�ำเภอนิคมค�ำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

96


3) การสอดแทรกการท�ำธุงในห้องเรียน เป็นการแทรกไว้ในรายวิชาสาระการเรียนรู้ ระดับประถม ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนของไทยได้เกิดความเข้าใจ ซึมซับมรดกทางวัฒนธรรมของไทย ได้ฝึกฝน ประสบการณ์ในงานวิชาชีพที่มีคุณค่า และสามารถสร้างสรรค์ต่อยอดให้เกิดความสวยงามได้ 4) การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาธุง จากข้อมูลที่พบในการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล พบว่า ธุงอีสานไม่ได้ถูกน�ำมาใช้ตลอดทั้งปี แต่จะถูกใช้เมื่อมีงานบุญประเพณีภายในวัดหรืองานบุญประเพณีของ บุคคลในชุมชนหรือการขอหยิบยืมจากวัด/ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้น ธุงจึงถูกใช้เป็นช่วงๆ และต้องน�ำ มาจัดเก็บเป็นช่วงๆ เช่นเดียวกัน ส�ำหรับพฤติกรรมการน�ำธุงออกไปใช้ในแต่ละครั้งมักจะถูกรื้นค้นอย่างไม่ ถูกวิธี ทัง้ นี้ ได้สร้างความเสียหายและการช�ำรุดให้เกิดขึน้ กับธุง ซึง่ ผ้าธุงแต่ละผืนเป็นงานทีม่ คี วามบอบบาง ช�ำรุดได้ง่าย หากมองทั้งด้านราคาและต้นทุนในการผลิต ธุงไชยแต่ละผืนจะมีราคาค่อนข้างสูง คือ ตั้งแต่ 1000-5000 บาท ทั้งนี้ ราคาจะสัมพันธ์กับความประณีตและเทคนิคในการทอ ส่วนธุงอื่นๆ ราคาก็จะแตก ต่างตามความยาก-ง่ายในการผลิต ด้วยราคาของธุงทีม่ กี ารผลิตจ�ำหน่ายและความศรัทธาของผูถ้ วาย ธุงจึง เป็นวัตถุ สิ่งของที่ไม่อาจประเมินราคาได้ การเก็บ รักษาธุงจึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เช่น ก่อนจัดเก็บ ควรห่อให้มิดชิดเพื่อป้องกันมอดแมลงกัดแทะ ควร มีข้อมูลเกี่ยวกับธุงแต่ละผืนเพื่อป้องกันการรื้อค้น ก่อนใช้งาน ควรจัดเก็บภายในตูท้ ปี่ ลอดภัย ควรมีการ ซ่อมแซมดูแลรักษา ควรมีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ เป็นต้น ทัง้ นี้ ชุมชนหรือหน่วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง ควรให้ความช่วยเหลือทางวัด ซึง่ เป็นแหล่งจัดเก็บธุง และทีส่ �ำคัญไม่ควรทิง้ ให้เป็นภาระของสงฆ์ฝา่ ยเดียว

การจัดเก็บธุงอีสานโดยทั่วไป มักนิยมเก็บในกระสอบปุ๋ย

การจัดเก็บธุงของวัดโพธิ์ บ้านจอก ต�ำบลคอนสวรรค์ อ�ำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

97


การจัดเก็บธุงของวัดโพธิ์ วัดศิริพุทธาราม บ้านท่าควาย ต�ำบลอาจสามารถ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

การจัดเก็บธุงของวัดโพธิ์ วัดใหม่สามัคคีธรรม บ้านโคกเพ็ด ต�ำบลกุดจอก อ�ำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

การจัดเก็บธุงของวัดศรีคูณเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

98


การสืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญาธุงอีสาน การสืบสานธุงอีสานให้คงอยู่อย่างมีคุณค่า สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ซึ่งมีแนวทางใน การสืบสานธุงอีสาน ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมประกวดธุงอีสาน ที่มาของธุงในงานบุญประเพณีต่างๆ มักมาจาก 3 แหล่ง คือ (1) ธุงเก่าเก็บของวัด เมือ่ ถึงงานบุญก็จะน�ำธุงทีจ่ ดั เก็บไว้มาติดตัง้ ไว้ตามจุดต่าง ๆ (2) การสร้างถวายวัดของ ญาติโยม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามความเชื่อและความหมายของแต่ละบุคคล เช่น ถวายเพื่อให้เกิดบุญกุศลต่อ ญาติผลู้ ว่ งลับ ถวายเพือ่ เป็นพุทธบูชาเพือ่ ให้เกิดบุญกุศลแก่ตนเองหรือบิดา มารดา เป็นต้น (3) เกิดจากการ ร้องของกรรมการวัด เนื่องจากมีความขาดแคลนธุงที่จะมาใช้ในงานบุญ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากธุงเดิมที่เคย ใช้มานานเกิดการช�ำรุดเสียหายจ�ำนวนมากและไม่เพียงพอต่อการใช้ในงานบุญ ทั้งนี้ หากมีการจัดกิจกรรม ประกวดธุงภายในวัด นอกจะเป็นการส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ธุงที่มีรูปแบบหลากหลาย สวยงาม ยังจะ เป็นส่วนส�ำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาธุงที่สอดคล้องกับความนิยมของยุคใหม่ 2) การพัฒนาธุงเป็นของที่ระลึกในชุมชน เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจ ในการสร้างสรรค์ธุง สู่งานของที่ระลึก ทั้งนี้ อาจต้องมีการปรับปรุงด้านวัสดุ ขนาด สัดส่วน สี การใช้งาน และการบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งต้องใส่เรื่องราว (Story) เพื่อบอกเล่าเรื่องราว และความหมายต่อนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความ น่าสนใจ

ธุงอีสานกับหมู่บ้านท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์

99


ธุงอีสานกับหมู่บ้านท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์

3) การใช้ธุงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ด้วยธุงเป็นงานสร้างสรรค์จาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความงาม มีคุณค่า มีความหมาย ในรูปแบบของการปักลาย การเก็บขิด การมัดหมี่ การทอ และการตกแต่ง ธุงจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ได้หยุดนิ่งแค่ธุง แต่ธุงยังมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น อัตลักษณ์ทางลวดลายและรูปทรง ดังนั้น ธุงจึงเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถน�ำไปต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์อนื่ ได้ดว้ ย ดังที่ กิตติธ์ นัตถ์ ญาณพิสษิ ฐ์ (https://www.gotoknow.org/posts/104086. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555) ได้ใช้ลายจากธุงใยแมงมุมเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลายผ้าไหม มัดหมี่ โดยเขียนไว้วา่ ลายแมงมุม ได้มกี ารผูกลดลายทีเ่ ป็นโยงใยคล้ายใยแมงมุม ลายนีเ้ ป็นลายทีไ่ ด้รบั ความ นิยมมาก เมื่อสืบหาที่มาของลวดลายจากชาวบ้าน พบเรื่องของแมงมุมอยู่ในคติชนของอีสานอยู่สองเรื่อง นัน้ คือแมงมุมในคติชนเรือ่ งพระยาคันคาก และทุงแมงมุมในแนวคิดคติวทิ ยาเรือ่ งพระยาคันคากเมือ่ ครัง้ ไป ปราบพระยาแถนทีไ่ ม่ยอมให้ฝนแก่โลกมนุษย์ท�ำให้พระยาคันคากต้องไปรบ คราวนัน้ ได้รบั ความร่วมมือจาก บริวารที่เป็นสัตว์มากมายช่วยสร้างถนนเชื่อมโยงจากโลกไปสวรรค์แดนแห่งพระยาแถน สัตว์ที่ว่ามีแมงมุม ร่วมด้วยที่ชักใยและเชื่อมโยงให้ถนนที่ร่วมกับสัตว์อื่น ๆ สร้างจนถึงสวรรค์แดนพระยาแถนได้และคราวนั้น พระคันคากก็ชนะ คติวิทยาเรื่องนี้น�ำมาซึ่งการเล่นบั้งไฟด้วยเพื่อเตือนพระยาแถนไม่ให้ลืมให้ฝนแก่ชาวนา อีสาน การเชือ่ มโยงโลกมนุษย์กบั โลกแห่งสวรรค์ของแมงมุมนัน้ แสดงอย่างเป็นรูปธรรมผ่านศิลปหัตถกรรม ของชาวบ้านอีสานที่เรียกว่า ตุงหรือ ธุง/ทุงใยแมงมุม หรือยู้แมงมุม

100


ลายมัดหมี่อีสาน ลายแมงมุม

ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/104086, สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555.

101


ศั ก ดิ์ ช าย สิ ก ขา (2551: 32) ได้ เขี ย นไว้ ใ นหนั ง สื อ ต่ อ ยอดภู มิ ป ั ญ ญา หั ต ถกรรมพื้ น บ้ า น ว่าการสร้างสรรค์เป็นวิธีคิดของมนุษย์หรือวิธีแห่งปัญญา วิธีดังกล่าวน�ำมาใช้ในการคิดแก้ไข และไตร่ตรอง แล้วน�ำมาปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาการ จึงเห็นได้วา่ การสร้างสรรค์กม็ สี ว่ นสัมพันธ์ใกล้ชดิ กับการออกแบบ ซึ่งจะต้องอาศัยความคู่กันในขั้นปฏิบัติการ เคยมีนักศิลปะหลายท่านกล่าวไว้ว่า “การสร้างสรรค์ด้าน ศิลปะท�ำเพื่อสนองทางด้านสุขภาพจิตทางความงามและทางด้านร่างกาย” ถึงแม้ว่าการสร้างสรรค์จะ เป็นคุณสมบัติที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้วก็ตาม แต่ในทางศิลปะมีความเชื่อว่าสามารถพัฒนาขึ้นได้ ดังนั้น หากจ�ำแนกแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ อาจแบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือการสร้างสรรค์ใน ด้านความคิด (CREATIVE IN THINKING) การสร้างสรรค์ในด้านความงาม (CREATIVE IN AESTHETIC) และการสร้างสรรค์ในด้านประโยชน์ใช้สอย (CREATIVE IN FUNCTION) โดยอธิบายไว้ ดังนี้ การสร้างสรรค์ในด้านความคิด คือ การใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบการค้นคว้า ทดลองให้เป็นที่ประจักษ์แก่ข้อสงสัยของตนเอง เช่น การก�ำหนดปัญหาทดลอง ศึกษาวิเคราะห์ปัญหานั้น แล้วน�ำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสม คือ ฝึกคิดแก้ไข ไตร่ตรอง ซึ่งเป็นวิธีการ ที่มนุษย์มีติดตัวมาและกระท�ำกันมาช้านานแล้ว ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ นั้นล้วนเกิดขึ้น จากการสร้างสรรค์ในด้านความคิดนี้ การสร้างสรรค์ในด้านความงาม คือ การสร้างสรรค์จากความประทับใจ ความมีจิตใจในด้าน สุนทรียภาพ แสดงออกมาในด้านของการสรรหาวัตถุ หรือธาตุทางศิลปะต่างๆ ที่เป็นโครงสร้างทางศิลปะ น�ำมาจัดประกอบกันให้เกิดความสวยงามในทางจิตใจ การสร้างสรรค์ในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ การน�ำการสร้างสรรค์ในด้านของความคิดและ ความงามทั้งสองข้อที่กล่าวมาแล้วมาผสมผสานกันดัดแปลงเลือกสรรวัสดุให้เหมาะสมในลักษณะของ การประดิษฐ์สิ่งของเพื่อมุ่งประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อมุ่งประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อสนอง ความสุขทางใจและกาย โดยมองเรื่องการตอบสนองทางกายเป็นเรื่องหลัก ความงามเป็นเรื่องรองลงมา ส�ำหรั บ ในกระบวนการสร้ า งสรรค์ ง านโดยใช้ แรงบั น ดาลใจจากสิ่ ง ต่ า งๆ ศั ก ดิ์ ช าย สิ ก ขา (2551: 40) เคยให้หลักการและแนวคิดไว้ว่า วิธีคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสิ่งที่เรามองเห็นโดยทั่วไป ทั้งสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือไม่ใช่เป็นผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อเรามองดูแล้วเห็นคุณค่าในความงามอาจสามารถ น�ำสิ่งเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในลักษณะต่างๆ เช่น การลดส่วน การขยายส่วน การเปลี่ยนแปลง การจัด ส่วนประกอบใหม่ การกลับไปในทางตรงกันข้าม การรวมกัน และการแทนที่ใหม่

102


จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าว ผูเ้ ขียนเห็นว่า วิธกี ารในการสร้างสรรค์งานโดยใช้ธงุ เป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์งาน ที่มีความเหมาะสมมี 4 วิธีการ ดังนี้ วิธีที่ 1 การตัดทอน เป็นการตัดออกหรือการย่อส่วน เช่น การตัดส่วนที่ไม่จ�ำเป็นออก การย่อ ส่วนให้เล็กลงและตัดรายละเอียดบางส่วนออก ทั้งนี้ ต้องพิจารณาถึงคุณค่าความงามของผลงานที่ก�ำลัง จะสร้างสรรค์ โดยลักษณะของธุงที่มีหลากหลายรูปแบบ การน�ำส่วนใดส่วนหนึ่งของธุงมาใช้ในการ สร้าสรรค์งานคงต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสิง่ ทีก่ �ำลังจะท�ำ เช่น การน�ำธุงใยแมงมุมมาใช้เป็นแรงบันดาล ใจในการออกแบบลวดลายบนผืนผ้า การจัดวางองค์ประกอบโดยใช้รูปทรงภายนอกมาจัดรางเรียงกัน เหมือนธุงใยแมงมุมที่แขวนไว้ในงานต่างๆ โดยไม่ต้องใส่รายละเอียดของเส้นฝ้ายก็เพียงพอแก่การน�ำมา ใช้ในงานออกแบบลายผ้ามัดหมี่หรือเก็บขิดแล้ว ดังนั้น ในการตัดทอนบางครั้งจึงไม่ใช่เพื่อความงามเพียง อย่างเดียวแต่เพื่อความเป็นไปได้ในการผลิตด้วย วิธีที่ 2 การจัดส่วนประกอบใหม่ เป็นการจัดส่วนประกอบให้ดูแปลกใหม่ไปจากเดิม โดยอาจจัด หรือสลับที่ใหม่ วางองค์ประกอบต่างๆ ใหม่ รวมทั้งการแต่งเติมส่วนประกอบอื่นร่วมด้วย ซึ่งในการสร้าง ผลงานการใช้แนวคิดในการสร้างสรรค์งานมาจากธุงเพียงอย่างเดียวอาจขาดหายบางสิ่งไป การค้นหา รายละเอียดอื่นมาเสริม เช่น ลวดลาย รูปทรง หรือลายเส้นต่าง ๆ มาร่วมและจัดส่วนประกอบใหม่ก็เป็น อีกหนึ่งแนวทางที่จะท�ำให้ผลงานสร้างสรรค์มีคุณค่าและความหมาย วิธีที่ 3 การเปลี่ยนแปลงวัสดุหรือการผลิต เป็นการใช้สื่อประสมในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นคิดใหม่ สร้างใหม่ทงั้ วัสดุและการผลิต โดยเริม่ ต้นจากการออกแบบบนกระดาษก่อน จากนัน้ จึงคิดหาวัสดุ ที่เหมาะสม และการวางแผนการผลิต เป็นผลงานใหม่ที่มีกลิ่นไอจากธุงอีสานที่น�ำมาสร้างสรรค์งาน วิธีที่ 4 การร่วมกับสิ่งอื่น เป็นการน�ำธุงมาร่วมสร้างสรรค์งานกับสิ่งอื่น เป็นการจับคู่หรือการจัด ร่วมกับหลายสิ่ง เพื่อสร้างสรรค์งาน เช่น การจับคู่กับสิ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันในทางความเชื่อและศาสนา ธุงและพานบายศรี ธุงกับขันกะหย่อง ธุงกับขบวนแห่ผะเหวด ธุงกับสิมหรือโบสถ์ ธุงกับชุดบูชาต่างๆ เป็นต้น การจับคู่กับสิ่งที่อยู่ต่างกลุ่ม เช่น ธุงกับธรรมชาติ ธุงกับต้นไม้ ใบไม้ ธุงกับชุดของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ผลงานที่ ไ ด้ จ ากการจั บ คู ่ อ าจปรากฏในรู ป ของงานจิ ต กรรม ประติ ม ากรรม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องที่ ร ะลึ ก หรือของใช้ ของตกแต่งต่างๆ โดยผู้สร้างสรรค์งานต้องค�ำนึงถึงความเหมาะสมด้วย เนื่องจากธุงเป็น งานศิลปหัตถกรรมที่อยู่ในความเชื่อ ความศรัทธาของคนอีสาน ดังนั้น จึงต้องจัดอยู่ในกลุ่มงานสร้างสรรค์ ที่เป็นของสูง ไม่ใช่ของใช้ทั่วไป

103


การตัดทอน

การจัดส่วนประกอบใหม่

งานสร้างสรรค์ จากธุงอีสาน การร่วมกับสิ่งอื่น

การเปลี่ยนแปลงวัสดุ และการผลิต

ภาพที่ 4.1 การสร้างสรรค์ผลงานจากธุงอีสาน ที่มา: ประทับใจ สุวรรณธาดา, 2561.

บทสรุป ธุง ไม่ใช่เพียงงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านสร้างขึ้นเท่านั้น

ธุง อาจสร้างจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่เมื่อประกอบสร้างเป็นธุงแล้ว ธุงจะมีความหมาย ที่เชื่อมโยงกับความเชื่อ ความศรัทธาของคนนับล้าน ธุง มีต�ำนาน มีภูมิปัญญาในการประกอบสร้าง มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง ในเชิงพื้นที่ ธุงจึงเป็น “มรดกทางวัฒนธรรม” ที่ล�้ำค่าของชุมชน ธุง มีการขับเคลื่อน ปรับตัว เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ธุงจึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่บ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ธุงอีสานคงอยู่อย่างยาวนาน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถส่งต่อไป ยังลูกหลานได้อย่างมีคุณค่า

104


105


106


บทที่ 5

กรณีศึกษา: การออกแบบและพัฒนา ธุงบ้านหนองบัว

หมู่ที่ 1 ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

107


108


การพัฒนาผ้าธุงร่วมสมัย

วิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต เล่ากันว่า ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน ผู้หญิงหากทอผ้าไม่เป็นก็ยาก ที่จะมีสามีและได้ออกเรือน ดังค�ำที่ว่า “ยามว่างจากงานในนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน” เป็นค�ำกล่าวที่ สะท้อนให้เห็นสภาพการด�ำรงชีวิตและสังคมของชาวอีสาน ดังนั้น การทอผ้าจึงเป็นงานส�ำคัญของผู้หญิง ผ้าที่ทอส่วนใหญ่จะทอเพื่อใช้เป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย ของใช้ประจ�ำกาย เช่น เสื้อ ซิ่น (ผ้าถุง) ซ่ง (กางเกง) โสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ เครื่องนอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม นอกจากนั้นยังทอเครื่องใช้ สิง่ ของในงานบุญประเพณีทจี่ ะถวายพระในงานบุญประเพณีตา่ งๆ เช่น ทีน่ อน หมอน ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผ้าผะเหวด และผ้าธุง เทคนิคในการทอ การสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าจะเป็นความถนัดที่สืบทอดมา จากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ยายสอนให้แม่ แม่สอนให้ลูก และมีการแลกเปลี่ยนทักษะฝีมือ เทคนิคกันระหว่างคนในครอบครัว ระหว่างญาติมิตร และระหว่างคนในชุมชน เทคนิคการสร้างสรรค์ลาย ผ้ายอดนิยมของคนอีสาน คือ ผ้าเหยียบ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าจก และผ้าพื้น ส�ำหรับการทอผ้าธุงในอีสาน ยอดนิยม คือ การเก็บขิด ส่วนเทคนิคการมัดหมี่พบน้อยมาก การทอผ้าเหยียบหรือผ้าลายขัด เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ที่น�ำมาทอเป็นผ้าธุงพบในบางพื้นที่ มากที่สุด คือ ในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดสุรนิ ทร์ ซึง่ ยึดถือสืบต่อกันมาทัง้ ผ้าทีใ่ ช้ท�ำธุงและรูปแบบของผ้าธุง ซึง่ ประกอบด้วย หัวธุง ผืนธุง และหางธุง พร้อมติดกระเป๋าไว้ในส่วนของหางธุงเพื่อใส่เงิน ใส่ดอกไม้ และขนม ในช่วงท้ายของหนังสือนี้ ผู้เขียนจึงขอน�ำเสนอข้อมูล การทอผ้าธุงลายขิด ซึ่งถือว่า พบมากที่สุด เกือบทุกพื้นที่ในภาคอีสาน เทคนิคการทอผ้าขิด อาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการทอผ้าธุง มากที่สุด โดยเฉพาะ “ธุงชัย หรือธุงผะเหวด” เพราะเทคนิคนี้ สามารถคั่นด้วยติวไม้ไผ่เป็นช่วงๆ ได้สะดวก สามารถแบ่งช่อง สร้างลายสร้างรูปเป็นช่องๆ ได้ตลอดทั้งผืน ช่างทอสามารถแสดงความสามารถในการ สร้างสรรค์ได้ตลอดทั้งผืน ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคการมัดหมี่ที่ต้องเตรียมเส้นพุ่งในการทอ ด้วยการมัดหมี่ การค้นหมี่ การย้อมหมี่ เป็นขัน้ ตอนทีย่ าวและสร้างสรรค์ความงามทีแ่ ตกต่างกันในแต่ละช่องตามความยาว ของผ้าธุงได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม การเก็บขิดก็ไม่ใช่เรือ่ งทีง่ า่ ยต้องอาศัยความช�ำนาญมากจึงจะท�ำได้สวยงาม จากสื่อออนไลน์ เวบไซต์ ผ้าไหมสาเกต ที่เขียนบทความในหัวข้อ “ภาคอีสาน-ผ้าขิด” บันทึกไว้ว่า ชาวอีสานถือว่า ในกระบวนการทอผ้าด้วยกันแล้ว การทอผ้าขิดต้องอาศัยความช�ำนาญ และมีชั้นเชิงทาง ฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่นๆ เพราะทอยากมาก มีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนมากกว่าการทอผ้าธรรมดา 109


เพราะต้องใช้เวลา ความอดทน และความละเอียดลออ มีกรรมวิธที ยี่ งุ่ ยากทอได้ชา้ ผูท้ อต้องมีประสบการณ์ และพรสวรรค์ในการทอ การทอผ้าลายขิด คือ การทอผ้าทีท่ อแบบ “เก็บขิด” หรือ “เก็บดอก” เหมือนผ้าที่ มีการปักดอก การทอผ้าดอกนีช้ าวอีสานเรียกกันว่า “ การทอผ้าเก็บขิด” ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรปู แบบทีส่ วยงาม มีความมันวาว นูนลอยออกมาบนผืนผ้า ชาวอีสานโดยทัว่ ไปนิยมทอผ้าขิดเพือ่ ท�ำเป็นหมอน สังเกตว่าลวดลายขิดจะอยู่บริเวณส่วนกลางของตัวหมอน ส่วนหน้าหมอนนั้นนิยมเย็บปิดด้วยผ้าฝ้ายสีแดง ลวดลายหมอนขิดส่วนใหญ่ เป็นลวดลายทีผ่ ทู้ อได้รบั แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม และความ เชื่อ เช่น ลายแมงงอด ลายอึ่ง ลายช้าง ลายม้า ลายพญานาค ลายดอกแก้ว ลายดอกจันทน์ ลายตะเภาหลง เกาะ ลายขอ ลายสิงห์ ลายคชสีห์อองน้อย ลายแมงมุม ลายกาบ ลายหอปราสาท หรือธรรมาสน์ เป็นต้น แต่เดิมชาวภาคอีสานนิยมทอลวดลายขิดด้วยเส้นใยฝ้ายสีคราม ส่วนปัจจุบันนิยมใช้สีสันสดใส และ พัฒนาการย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ (https://sites.google.com/site/phahimsaket/ phakh-xisan-pha-khid. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2554) ในยุคสมัยของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชมุ ชนตามแนวนโยบายภาครัฐ ซึง่ เริม่ ประกาศแนวนโยบายหนึง่ ต�ำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ (OTOP) เมือ่ ปี พ.ศ. 2544 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิตในชุมชนทุกแขนง รวมทัง้ ผ้าทอมือ ทุกชนิดถูกยกระดับอย่างเป็นทางการ จากการทอเพื่อใช้ในครัวเรือนและจ�ำหน่ายกันเองในชุมชนยกระดับ เป็นสินค้าออกสู่ตลาด สร้างงานสร้างรายได้เข้าสู่ครัวเรือน ชุมชนและประเทศ ผ้าธุงจากผ้าที่เคยทอในครัว เรือนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้เปลี่ยนมาเป็นการทอเพื่อจ�ำหน่ายและมีการซื้อหาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา งานออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ค�ำว่า “ออกแบบ” เริ่มมีการรับรู้และเข้าใจใน ชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชนจ�ำนวนมากได้รับการออกแบบและพัฒนาใหม่ เพื่อขับเคลื่อนเข้าสู่ตลาด ส�ำหรับ “งานออกแบบ” มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและแนวคิดไว้ดังนี้ ท�ำนอง จันทิมา (2537 : 2) เคยให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ว่า การออกแบบ หมายถึง การใช้ความคิดใน การเลือกใช้วสั ดุ เพือ่ สร้างสรรค์งานศิลปะให้มหี น้าทีใ่ ช้สอยตามความต้องการ ทัง้ ในด้านอัตถประโยชน์และ ความงามในรูปร่างลักษณะตลอดทั้งรูปทรง นวลน้อย บุญวงษ์ (2539 : 133) เคยกล่าวไว้ว่า กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นระบบเป็นวิธี ทีช่ ว่ ยลดความผิดพลาดในการท�ำงานและมีความเหมาะสมกับการแก้ปญ ั หาในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ มาโนช กงกะนันน์ (2549 : 46) ได้กล่าวถึง “การสร้างงานออกแบบ” ในหนังสือ ศิลปะการ ออกแบบว่า นักออกแบบแต่ละคนอาจมีแรงบันดาลใจแตกต่างกัน ทัง้ นีข้ นึ้ กับประสบการณ์และจินตนาการ แรงบั น ดาลใจเป็ น พลั ง อั น เร้ น ลั บ และมี คุ ณ ค่ า มหาศาล อาจเกิ ด ขึ้ น จาก 3 ทาง คื อ จากตั ว เรา 110


โดยผ่านทางสมอง เรียกว่า “จินตนาการ” อีกทางจากภายนอกคือ การรับรู้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทางสุดท้ายคือ จากสังคมและวัฒนธรรม จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า งานออกแบบเป็นกระบวนการทางความคิด ที่ช่วยลดความผิด พลาดในการท�ำงาน ซึ่งการสร้างงานออกแบบนั้น ต้องอาศัยแรงบันดาลใจของนักออกแบบที่เชื่อมโยงกับ ประสบการณ์และจินตนาการ สอดคล้ อ งกั บ ศั ก ดิ์ ช าย สิ ก ขา (2552 : 227) เคยเขี ย นไว้ ใ นหนั ง สื อ ศิ ล ปะไม้ แ กะสลั ก ในแถบลุ่มแม่น�้ำโขง: การอนุรักษ์และการประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ ว่า ผู้ออกแบบควรท�ำความ เข้ า ใจในองค์ ค วามรู ้ ต ่ า งๆ ให้ ชั ด เจนก่ อ นการด�ำเนิ น งานออกแบบ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยประเด็ น หลั ก 3 ประเด็น ดังนี้

าร

แรง บ

งก

ันด

ต้อ

าล

าม

ใจ

คว

งานออกแบบ เชิงสร้างสรรค์

เงื่อนไข ในการออกแบบ ภาพที่ 5.1 องค์ความรู้ที่ควรศึกษาและท�ำความเข้าใจก่อนท�ำงานออกแบบ ที่มา: ศักดิ์ชาย สิกขา (2552: 210)

111


ซึ่งอธิบายไว้ดังนี้ 1) แรงบันดาลใจ ต้องเรียนรูก้ ารเลือกสิง่ บันดาลใจในการออกแบบ ซึง่ ไม่ใช่วา่ ของทุกสิง่ จะสามารถ เชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด ดังนั้นค�ำว่า ความเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบจะต้องค้นหา 2) ความต้องการ ต้องเรียนรู้ ศึกษา และส�ำรวจความต้องการของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย เพราะทุก สิ่งที่เราท�ำ เราออกแบบ ล้วนแล้วแต่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกายภาพและจิตใจ มนุษย์ มีปัจจัยในการตัดสินใจในการเลือกใช้สิ่งของแตกต่างกันและมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย 3) เงื่อนไขในการออกแบบ การออกแบบจะต้องค�ำนึงถึงวัสดุ กระบวนการผลิต ศักยภาพของ ผูผ้ ลิต ต้นทุนค่าใช้จา่ ย และอืน่ ๆ ดังนัน้ ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทอี่ าศัยแรงบันดาลใจต่างๆ ในการออกแบบ ควรจะท�ำความเข้าใจเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย นอกจากนัน้ ยังได้เสนอกระบวนการในการออกแบบงานต่างๆ ทีเ่ ชือ่ มโยงกับการใช้แรงบันดาลใจใน งานออกแบบไว้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ (ศักดิ์ชาย สิกขา, 2552 : 210) ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ขั้นที่ 2 การสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ (Creating the Inspiration of Design) ขั้นที่ 3 การวางต�ำแหน่งทางการตลาด (Market Positioning) ขั้นที่ 4 การสร้างลักษณะพิเศษ (Creating Distinctive Characteristics) ขั้นที่ 5 การออกแบบ (Design) ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน (Implementation) ส�ำหรับแนวทางในการพัฒนาผ้าธุง งานออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะท�ำให้ผ้าธุง อีสานเกิดการขับเคลื่อน เพิ่มความแปลกใหม่ เพิ่มทางเลือก และสร้างเรื่องราวให้กับผืนผ้าธุง ซึ่งจะเป็น การสร้างมูลค่าให้กับผู้ผลิตผ้าธุงในอีสาน ส�ำหรับกรณีศึกษา การออกแบบและพัฒนาธุงอีสาน ผู้เขียนได้ น�ำกระบวนการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการการออกแบบและพัฒนาธุงอีสานโดยได้ปรับปรุงกระบวนการ ให้มีความเหมาะสมกับการด�ำเนินงาน ดังนี้

112


กรณีศึกษา การออกแบบและพัฒนาธุงอีสาน บ้านหนองบัว หมู่ 1 ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ธุงในภาคอีสานจากข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ส�ำรวจข้อมูล พบว่า มีการผลิตธุงในทุกจังหวัด แต่ มีจ�ำนวนมาก-น้อยต่างกัน ปริมาณการผลิตธุงในพื้นที่มักเชื่อมโยงกับงานทอผ้า หากเขตพื้นที่ใดมีงานฝีมือ ทอผ้าขิดจ�ำนวนมาก มักพบการทอผ้าธุงอยู่ด้วย เพราะการทอผ้าธุงในยุคโบราณพื้นบ้านอีสาน ไม่ได้ทอ เป็นงานประจ�ำแต่จะเริ่มทอผ้าธุงเมื่อใกล้จะถึงงานบุญผะเหวดเท่านั้น ส่วนเวลาที่ไม่ใช่งานบุญก็จะทอผ้า ซิ่น และผ้าอื่นๆเพื่อใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากยุคปัจจุบันที่มีหมู่บ้านทอผ้าธุง หมู่บ้านทอผ้าซิ่น หมู่บ้านทอผ้า ผืน ที่ทอจนเป็นที่รู้จักในวงการผ้าทอมือว่าเชี่ยวชาญผ้าชนิดใด อย่างไร ต�ำนานบ้านหนองบัว แหล่งผลิตธุงอีสาน งานทอผ้าขิด บ้านหนองบัว หมู่ 1 ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหมู่บ้านที่โดดเด่นใน การทอผ้าเก็บขิดมีการทอผ้าธุงและผ้าสไบขิดเป็นงานประจ�ำจึงท�ำให้เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้า ธุงและผ้าสไบขิด หากสืบค้นถึงแหล่งที่มาของชุมชนแห่งนี้ ต�ำบลหนองบัว ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การ บริหารส่วนต�ำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 42 ตร.กม. ห่างจากอ�ำเภอ กันทรารมย์ ประมาณ 7 กม. สภาพทั่วไปมีทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ค่อนข้างอุดมสมบูณ์ มีแม่น�้ำมูล ไหลผ่าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากข้อมูลแบบบันทึกการดําเนินงานของเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนระดับตําบล ปี¬ 2554 บันทึกไว้ว่า ชุมชนบ้านหนองบัวเป็นกลุ่มชนพื้นเมือง ที่อาศัยอยู่ตามล�ำน�้ำมูลในละแวกใกล้เคียง ได้อพยพ หนีภัยโรคระบาด เดิมกลุ่มนี้ สืบเชื้อสายมาจากชาวเมืองเวียงจันทร์ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระมหา กษัตริยศ์ กึ และพระยาสุรสีห์ พิษณุวาธิราช ยกทัพมาปราบกบฏ ไปตีเมืองเวียงจันทร์และเชิญพระแก้วมรกร ตมาไว้กรุงธนบุรี ในกาลศึกครัง้ นัน้ ทหารเอกของเมืองขุขนั ธ์ ชือ่ เชียงขัน ได้รว่ มกระบวนศึกกลับมาด้วย ใน ปี พ.ศ. 2322 เชียงขันได้กรวดต้อนชาวลาวเวียงจันทร์มาด้วยมากมาย ชาวลาวเวียงจันทร์ตั้งรกรากอยู่ดง บักอี(ต�ำบลจาระแม จังหวัดอุบลราชธานี) อยู่ต่อมา 3 ปีเกิดภัยแล้ง จึงอพยพมาตามริมแม่น�้ำมูล และท�ำ มาหากินที่บ้านโพนทราย บ้านโนนเรือ บ้านขามป้อม และบ้านหนองบัว ถือเป็นคนไทยเชื้อสายลาว ภาษา ทีใ่ ช้จงึ เป็นภาษาไทยลาวหรือไทยอีสาน (http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dy, สืบค้น เมื่อ 20 มกราคม 2555) ข้อมูลข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ เชื่อมโยงให้เห็นถึงความเป็นมาของชุมชน และคาดคะเนได้ ว่า งานฝีมือในการทอผ้าของบ้านหนองบัว หมู่ 1 ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ อาจ ได้รับการสืบทอดมาจากวัฒนธรรมของลาวเวียงจันทร์ ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอพยพมาจากเวียงจันทร์ จึงได้ มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน

113


การเตรียมเส้นด้ายส�ำหรับการทอผ้าธุงเก็บขิด บ้านหนองบัว

กี่และการทอผ้าธุงเก็บขิด บ้านหนองบัว

114


ลายผ้าธุงแบบต่าง ๆ ของบ้านหนองบัว

ลายม้า และลายผ้าขิด

ลายช้าง

ลายคน ลายผ้าขิด และการทอชื่อ

ลายปราสาท

ลายขันหมากเบ็ง

ลายคนขี่ม้า ขี่ช้าง

115


การออกแบบและพัฒนาธุงอีสาน โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมจากศิลปะขอมโบราณ

ขั้นที่ 1 การค้นหาทุนทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมเขมรหรือขอมหรือขแมร์ในภาคอีสาน เป็นการสืบค้นเพือ่ หาข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ทเี่ กีย่ วเนือ่ งในเชิงพืน้ ทีอ่ สี านเพือ่ น�ำมาสร้าง อัตลักษณ์ให้กับงานออกแบบและพัฒนาธุงอีสาน จากการศึกษาข้อมูล พบว่า อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อีสานในอดีตเคยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรโบราณที่เคย รุ่งเรืองหลายอาณาจักร ดังหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในรูปของศิลาจารึก ต�ำนาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ จิตกรรม และอื่นๆ หนึ่งในหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนและมีจ�ำนวนมากในภาคอีสาน คือ อิทธิพลที่ได้รับจาก อาณาจักรขอมโบราณหรือเขมรหรือขแมร์ ในกรณีดงั กล่าว สุจติ ต์ วงศ์เทศ (2549: 367 – 371) เคยกล่าวไว้ ว่า วัฒนธรรมเขมรหรือขอม จากกัมพูชาขยายเข้ามาอีสานตั้งแต่สมัยแคว้นเจนละ ต่อจากนั้นทวีความเป็น ปึกแผ่นมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ 16 (หลัง พ.ศ. 1500) หรือตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เป็นต้นมา ซึ่งนิยมเรียกว่า “ขอม” โดยแพร่เข้ามา 2 ทาง คือ 1) ผ่านช่องเขาต่างๆ ของเทือกเขาพนมดง รัก และ 2) ขึ้นมาตามแม่น�้ำโขง หลักฐานที่เป็นประวัติศาสตร์ขอมในอีสาน อาจจ�ำแนกได้เป็น 6 ประเภท ใหญ่ๆ สรุปได้ดังนี้ 1) เมืองโบราณ 2) ชุมชนโบราณ 3) ศาสนสถาน 4) ถนนโบราณ 5) คันดินชักน�้ำและคลองชลประทาน 6) เตาเผาเครื่องเคลือบ ตามหลักฐานที่เป็นประวัติศาสตร์ขอมในอีสาน ในส่วนของศาสนสถาน สุจิตต์ วงศ์เทศ (2549: 368 – 369) ได้แบ่งศาสนสถานหรือเทวาลัย ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปราสาทอิฐ มีจ�ำนวน 3 องค์หรือ 5 องค์ตงั้ อยูบ่ นฐานเดียวกันและมีคนู ำ�้ รูปสีเ่ หลีย่ มรายล้อม มักมีวิหารเล็กๆ ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ใกล้ๆ บางแห่งมีก�ำแพงศิลาแลงหรือหินล้อมอีกชั้นหนึ่ง เช่น ปราสาทกู่ สวนแตง(จังหวัดบุรีรัมย์) ปราสาทศรีขรภูมิ(จังหวัดสุรินทร์) และปราสาทปรางค์กู่(จังหวัดศรีสะเกษ) ปราสาทศิลาแลง มีปราสาทหรือปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง มีวิหารเล็กๆ ตั้งอยู่ข้างๆ มี ก�ำแพงล้อมรอบ ที่ก�ำแพงมีซุ้มประตูเข้าทางทิศตะวันออกมีคูน�้ำรูปสี่เหลี่ยมล้อมรอบก�ำแพง และริมคูน�้ำ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มักมีสระน�้ำรูปสี่เหลี่ยมกุด้วยศิลาแลงสร้างไว้เป็นน�้ำศักดิ์สิทธิ์ มีตัวอย่าง คือ ปราสาทก�ำแพงน้อย(จังหวัดศรีสะเกษ) ปราสาทปรางค์กู่(จังหวัดชัยภูมิ) ปราสาทกู่พระสันตรัตน์(จังหวัด มหาสารคาม) ปราสาทกู่ฤาษี(จังหวัดบุรีรัมย์) 116


ปราสาทหิน เป็นศาสนสถานทีม่ วี วิ ฒ ั นาการถึงขัน้ สมบูรณ์แบบตามคติขอม มักประกอบด้วย คูนำ�้ ล้อมรอบเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า มีก�ำแพงหินหรือศิลาแลงล้อมรอบ ก�ำแพงนีอ้ าจอยูน่ อกคูนำ�้ หรือด้านใน ของคูน�้ำก็ได้ มักมีโคปุระหรือซุ้มประตู 4 ทิศ ถัดก�ำแพงและคูน�้ำไปเป็นระเบียงคด มีโคปุระหรือซุ้มประตู 4 ทิศและมีทางเดินรอบ ส่วนมากก่อสร้างด้วยหินทรายและสิลาแลง ภายในระเบียงคดเป็นกลุ่มอาคาร ปราสาท ประกอบด้วยวิหารเล็ก หอสมุด และเทวาลัยมีมุขยื่นไปทางทิศตะวันออก บางแห่งมีปราสาทสมัย เก่ารวมอยู่ด้วย ปราสาทประเภทนี้ มักเป็นศาสนสถานส�ำคัญที่กษัตริย์มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง สมัยแรก สร้างเป็นปราสาทอิฐ เมือ่ พังลงก็สร้างเป็นปราสาทหิน ระเบียงคดและโคปุระก็สร้างในระยะหลังแล้วค่อยๆ ต่อเติมจนสมบูรณ์ มีตัวอย่าง คือ ปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทเมืองต�่ำ(จังหวัดบุรีรัมย์) ปราสาทหิน พิมายและปราสาทพนมวัน(นครราชสีมา) ปราสาทก�ำแพงใหญ่และปราสาทเขาพระวิหาร(จังหวัดศรีสะเกษ) เป็นต้น ศาสนสถานแบบเขมรหรือขอมในภาคอีสาน

ปราสาทก�ำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ต�ำบลก�ำแพงใหญ่ อ�ำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 (ปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน บนฐานศิลาแลง)

ปราสาทศรีขรภูมิ บ้านปราสาท ต�ำบลระแงง อ�ำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 (ปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน บนฐานศิลาแลง)

ในการนี้ ไผท ภูธา (2554: 99 – 100) เคยเขียนไว้ในหนังสือ ความเป็นมาคนอีสาน ในเหตุการณ์ ส�ำคัญของประวัติศาสตร์ โดยกล่าวไว้ว่า การสร้างเมืองขึ้นใหม่ของขอมตามดินแดนที่ขอมเข้าครอบครอง ยังมีสิ่งที่โอบอุ้มท�ำให้อ�ำนาจรัฐของขอมแข็งแกร่งอีก นั่นก็คือ วัฒนธรรมทางความเชื่อหรือศาสนา เราได้ พบหลักฐานมากมายว่า ขอมได้สร้างเทวสถานตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ขึ้นในชัยภูมิต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์เอง เช่น ปราสาทพระวิหาร ปราสาทพนมรุ้ง ฯลฯ โดยมีหนาแน่น ที่เขตใต้แม่น�้ำมูลลงไปแผ่นดินเขมร นอกจากเทวสถานขนาดใหญ่เพื่อมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมุติเทพ ได้มา ประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว ขอมยังสร้างเทวสถานอีกมากมายเพื่อประกอบเป็นศาสนกิจของประชาชน ที่ขอมปกครองตามเมืองใหญ่เมืองน้อยนั้นๆ เช่น เมืองทรายฟองริมฝั่งแม่น�้ำโขงด้านใต้เมืองเวียงจันทร์ เมืองสระก�ำแพง (อ�ำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ) ฯลฯ และมีการสร้างศาสนสถานเช่นนี้ตาม 117


ถิ่นฐานที่มีทรัพยากรส�ำคัญ ซึ่งย่อมมีประชาชนเป็นข้าทาสแรงงานหนาแน่น เช่น รอบ ๆ แองน�้ำกลางทุ่ง กุลาร้องให้แถวเมืองพยัคฆภูมิพิสัย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองบรบือ ในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัด มหาสารคาม ฯลฯ ด้วยว่าทีน่ เี้ ป็นบ่อเกลือขนาดใหญ่และมีแร่เหล็ก แร่ทองเหลือง แร่ทองแดง ขอมจะสร้างเป็ นโรงมโหษธหรื อ โรคยาศาลขึ้ น ตามรายทางส�ำคั ญ เพื่ อ การบู ช าเทวะและรั ก ษาพยาบาลชาวขอม ระหว่างเดินทาง การกระท�ำทางด้านวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นการถอดแบบวิธีการมาจากอินเดียในสมัยนั้น ศิลปะขอมโบราณในภาคอีสาน สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล (2551: 64) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์และศิลปะแห่ง อาณาจักรขอมโบราณ ว่า ศิลปะเขมรหรือศิลปะขอมนั้น แพร่หลายอยู่ในประเทศกัมพูชาและประเทศใกล้ เคียงในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 เป็นศิลปะทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากประเทศอินเดีย ในระยะแรกมีลกั ษณะ คล้ายอินเดียมาก ต่อมามีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นและโดดเด่นในด้านลวดลายประดับที่งดงามซึ่งไม่ ปรากฏในอินเดียมาก่อน ประติมากรรมแสดงความแข็งปนการแสดงอ�ำนาจที่ไม่พบในศิลปะอินเดีย และ เกีย่ วกับความเชือ่ ในศิลปะขอมโบราณ ธิดา สาระยา (2538: 27) เคยเขียนไว้ในหนังสือ เมืองประวัตศิ าสตร์ ว่า เครือ่ งประดับต่าง ๆ ของปราสาทขอมมีความสัมพันธ์ระหว่างโลกมนุษย์และจักรวาลด้วยการแสดงออก เชิงสัญลักษณ์ชใี้ ห้เห็นการยอมรับว่า มนุษยชาติต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลังจักรวาล ทัง้ พุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ เชื่อว่า เขาพระเมรุ คือ แกนกลางโลก จึงนิยมสร้างศาสนสถานเป็นตัวแทนและเป็น ศูนย์กลางล้อมรอบด้วยก�ำแพง เลยออกไปคือ สระน�้ำหรือบ่อน�้ำ เปรียบดัง มหาสมุทรนทีสีทันดร การจัด รูปแบบก่อสร้างเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการเลียนแบบจักรวาลมีการตกแต่งเป็นภาพสลักนูนต�่ำ เล่าเรื่องสัตว์ใน เทพนิยายที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาพระเมรุ ในการเลือกทุนทางวัฒนธรรมเขมรหรือขอมหรือขแมร์ในภาคอีสาน ได้มีการลงพื้นที่เก็บ ข้อมูลและการค้นหาข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อค้นหาลวดลายที่มีความสวยงาม และเหมาะสมกับการน�ำ มาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบและพัฒนาผ้าธุงเก็บขิดให้กับบ้านหนองบัว หมู่ 1 ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอ กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ดังภาพประกอบต่อไปนี้

ตัวอย่างงานเก็บข้อมูลที่ ปราสาทก�ำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

118


ตัวอย่างงานเก็บข้อมูลที่ ปราสาทก�ำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

ลายก้านต่อดอก

ลายใบไม้ม้วน

ตัวอย่างงานเก็บข้อมูลที่ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

119


พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สุรินทร์

ทัพหลังจ�ำหลักภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ ศิลปะขอมแบบแปรรูป

ประติมากรรมรูปบุรุษ ศิลปะขอบแบบปาปวนหรือศิลปะลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 16

120

ทับหลังจ�ำหลักภาพพระกฤษณะ ประลองก�ำลังกับช้างและคชสีห์ ศิลปะขอมแบบนครวัด หรือศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17


ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสิงห์ ที่มา : http://bbexnae.blogspot.com/2015/

ปราสาทพนมรุ้ง ที่มา : https://www.tlcthai.com/travel/30020/

ขั้นที่ 2 การค้นหาความคิดรวบยอด โดยน�ำข้อมูลจากภาพถ่ายที่ได้จากการค้นคว้าข้อมูลผ่านสื่ออนไลน์ และภาพจากการ ลงพื้นที่จริงมาสรุป เพื่อหาข้อสรุปลายและรูปทรงที่จะน�ำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลายบน ผ้าธุงอีสาน ลายประยุกต์จากศิลปะขอมโบราณ ดังนี้

รูปทรง และลายศิลปะขอมโบราณที่คัดเลือกเพื่อใช้ในงานออกแบบ

121


ขั้นที่ 3 การร่างแบบลายเบื้องต้น ร่างแบบลายเบื้องต้น

122


ขั้นที่ 4 การร่างแบบลายประยุกต์ เพื่อน�ำไปใช้ในงานออกแบบ

123


ขั้นที่ 5 การลงตารางกราฟเพื่อน�ำไปใช้ในกระบวนการทอผ้ามัดหมี่ และผ้าขิด

ตารางกราฟลายลพบุรี ส�ำหรับมัดหมี่ และเก็บขิด

124


ขั้นที่ 6 การผลิตผ้าธุงต้นแบบ ลายเก็บขิดศิลปะขอมโบราณ

การทอด้วยวิธีการเก็บลาย (เก็บทีละไม้)

ผ้าธุงเก็บขิดที่ใช้แรงบันดาลใจจากลายศิลปะขอมโบราณ

125


สรุปการพัฒนาผ้าธุงร่วมสมัย ตามตัวอย่างข้างต้น เป็นหนึ่งในกรณีศึกษา ที่เป็นแนวทางในการพัฒนาลวดลายบนผืนผ้าธุง เพื่อสร้างความแตกต่างด้วยความงาม คุณค่า และความหมาย ซึ่งในหลายพื้นที่สามารถยึดถือเป็นแนวทาง ในการค้นหาอัตลักษณ์ในท้องถิ่นของตนมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผืนผ้าธุงได้ นอกจากนั้น การพัฒนาผ้าธุงอาจไม่ได้เกิดจากการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าเท่านั้น แต่ยัง สามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วยการพัฒนาด้านวัสดุ กระบวนการผลิต รูปทรง สี และอื่นๆ ได้ ซึ่งผู้สนใจ งานด้านนี้สามารถค้นคว้าด�ำเนินการได้ทั้งในรูปแบบของงานวิจัย และงานสร้างสรรค์

126


บทที่ 6

สรุป: อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มธุงอีสาน

127


128


ในช่วงท้ายของการศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ กรณีศึกษา การออกแบบและพัฒนาธุงอีสาน ผู้เขียนขอสรุปท้ายบทเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา โดยจ�ำแนกประเด็นในการสรุปออกเป็น 3 ส่วน คือ อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มธุงอีสาน ดังนี้ ส่วนที่ 1 อดีต : ธุงอีสานมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ธุงอีสานมีหลากหลายรูปแบบและมีการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ธุงชัยหรือธุงไชยหรือธุงผะเหวด เป็นธุงที่มีชื่อเรียกขานหลายชื่อ และมีการเขียนต่างกัน มีความกว้างประมาณ 20 - 40 เซนติเมตร มีความยาวตั้งแต่ 1 - 6 เมตร มีหัวธุง ตัวธุง และหางธุง ตั้งแต่ โบราณมี 2 รูปแบบ คือ แบบเป็นผ้าทัง้ ผืนนิยมทอด้วยวิธเี ก็บขิด ส่วนใหญ่ลายขิดมักเป็นลายขิดหน้าหมอน ลายภาพที่มาจากต�ำนานความเชื่อ ลายภาพจากสิ่งสักการะต่างๆ ส่วนอีกแบบเป็นการทอสลับกับการ สอดไม้ไผ่คั่นเป็นช่วงๆ บางครั้งก็ใช้กระดาษสี (กระดาษกุดจี่หรือตังโก) พันไม้ไผ่ก่อนสอด เป็นการสอดคั่น เพื่อสร้างรูปภาพ สร้างลาย รวมทั้งการเก็บขิดเป็นตัวหนังสือชื่อผู้สร้างถวาย และท�ำให้โครงสร้างแข็งแรง ธุงไม่พันกันเมื่อน�ำไปแขวน ส่วนหางธุงมีการตกแต่งด้วยหลอดไม้ เศษผ้า ลูกปัด หรืออื่นๆ เป็นพู่ห้อยให้ สวยงามและเป็นส่วนส�ำคัญในการถ่วงน�้ำหนักของธุงขณะแขวน

ธุงชัยเก็บขิดลายหมอนขิด ธุงโบราณในโรงเรียนฟ้าแดดสูงยางวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์

ธุงชัยหรือธุงผะเหวด พิพิธภัณฑ์วัดสระโนน บ้านขามบ้อม อ�ำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

129


ธุงชัย แบบใส่ชื่อผู้สร้างถวาย วัดไชยศรี ต�ำบลสาวะถี อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

การแขวนธุงชัยหรือธุงผะเหวด วัดบ้านดงยาง ต�ำบลบากเรือ อ�ำเภอมหาชนะชัย จังหวัดศรีสะเกษ

ธุงใยแมงมุม บางครัง้ เรียกว่า “ธุงใย” เป็นการผลิตโดยเริ่มต้นที่น�ำไม้ไผ่เหลามามัดไขว้กัน จะใช้ไขว้แบบสอง ไขว้สามก็ได้ จากนัน้ จึงใช้เส้นด้าย หรือฝ้ายหรือไหมหรืออืน่ ๆ มาผูกโยงคล้ายใยแมงมุม นิยมจัดวางตกแต่งไว้หน้าพระประธาน หรือโดยรอบ ในงานพิธี การแขวนสามารถออกแบบได้หลากหลาย เช่น แขวนมุมเดียวแบบร้อยต่อกัน แขวนสองมุมทั้ง บนและล่างร้อยต่อกัน แขวนต่างขนาดใหญ่ลงมาเล็ก และอืน่ ๆ ธุงใยแมงมุมมีความหมายและความเชือ่ ใน การปกป้องคุม้ ครอง ธุงใยแมงมุมจึงเป็นทีแ่ พร่หลาย มากในภาคอีสาน และมีการน�ำมาใช้ในหลายลักษณะ หลายพิธีกรรม ธุงใยแมงมุม วัดสระทอง บ้านบัว อ�ำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

130


ธุงใยแมงมุม วัดสระทอง บ้านบัว อ�ำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ธุงใยแมงมุม บ้านนาอุดม อ�ำเภอนิคมค�ำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ธุงไส้หมู เป็นธุงทีเ่ กิดจากศิลปะการตัดกระดาษ โดยน�ำกระดาษสีหรือกระดาษแก้วหลายๆ สีมาพับจับมุม ตัดสลับกันเป็นลายฟันปลาด้วยกรรไกรจากยอดจนถึงปลาย จากนัน้ จึงจับหงายและคลีอ่ อก จะกลายเป็นพวงกระดาษสวยงาม น�ำไปแขวนในงานพิธี ทัง้ การแขวนแบบเดีย่ วและการแขวนเป็นศูนย์กลาง กระจายออกไปด้วยเส้นลิบบิน้ กระดาษหลากสี บางครัง้ ก็ตดิ แขวนด้วยธุงราว นิยมใช้ตกแต่งในงานบุญต่างๆ ตกแต่งปราสาทศพ ประดับเจดียท์ ราย ประดับครัวทาน ธุงไส้หมูเป็นธุงทีเ่ น้นการตกแต่งสร้างความสวยงาม จึงเป็นธุงที่ใช้ได้กับงานทุกลักษณะ

ธุงไส้หมู บ้านนาอุดม อ�ำเภอนิคมค�ำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ธุงไส้หมู วัดโนนศิลา บ้านส�ำราญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

131


ธุงราว เป็นธุงอีกชนิดหนึง่ ทีใ่ ช้ได้กบั งานทุกลักษณะ เป็นการตัดกระดาษสีรปู ทรงสามเหลีย่ ม มาติดกาวบนเชือกทีข่ งึ เป็นราว โดยติดเว้นช่วงเป็นระยะและสลับสี เป็นส่วนหนึง่ ทีบ่ ง่ บอกในเชิงสัญญลักษณ์ ว่าสถานที่แห่งนี้ก�ำลังจัดงาน เป็นธุงที่เน้นความสวยงาม บางครั้งกระดาษสีรูปสามเหลี่ยมนี้จะถูกติดกาว กับไม้ไผ่เป็นอันๆ เพื่อใช้ในการปักเจดีย์ทราย ก็จะถูกเรียกอีกชื่อว่า “ธุงเจดีย์ทราย”

ธุงราว วัดไชยศรี บ้านสาวะถี อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ธุงเจดีย์ทราย วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ธุงจากวัสดุธรรมชาติ เป็นธุงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการตกแต่งงานบุญ ถือเป็นภูมิปัญญา ท้องถิน่ และเป็นความคิดสร้างสรรค์ของคนในชุมชนตัง้ แต่บรรพบุรษุ ในการน�ำวัสดุจากธรรมชาติมาดัดแปลง เป็นระย้าเพือ่ ใช้ในงานตกแต่งในงานบุญหรือพิธกี รรมต่างๆ มีความสวยงามและหลากหลาย และมีชอื่ เรียก แตกต่างกันตามภาษาถิน่ เช่น ธุงจากลูกยางนา ธุงจากลูกสะแบง ธุงจากลูกชาติ ธุงจากการพับใบตอง/ใบไม้ เป็นรูปปลา รูปนก รูปแมลง นอกจากนั้นยังมีธุงที่ผลิตจากงานไม้ เช่น ไม้ไผ่สาน ไม้แกะสลักรูปนกหรือสัตว์ ต่างๆ ความหลากหลายเหล่านี้สะท้อนให้เห้นความคิดสร้างสรรค์ของคนในชุมชน ที่แฝงด้วยความเชื่อและ ความศรัทธา

ธุงจากการพับใบตอง วัดสระทอง บ้านบัว อ�ำเภอ มัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

132

ธุงจากลูกสะแบง วัดศรีบุญเรือง บ้านสระแต้ ต�ำบลหนองไผ่ อ�ำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ


ธุงอื่นๆ ที่มีมาแต่โบราณ เป็นธุงที่มีการสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีอยู่จ�ำนวนมากใน หลายพืน้ ที่ วัสดุโดยส่วนใหญ่มกั ผลิตจากผ้า เช่น ธุงหมอนเข็ม (เป็นรูปทรงสามเหลีย่ มด้านในบรรจุนนุ่ เป็น รูปแบบของหมอนที่ท�ำไว้ใช้ส�ำหรับปักเข็มเย็บผ้าเพื่อใช้ในงานปัก งานเย็บต่างๆ) ธุงจากเศษผ้า เป็นธุงชัย อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม และอ�ำนาจเจริญ เป็นการน�ำ เศษผ้าหลากสีมาเย็บต่อเป็นผืนตั้งแต่ 1- 6 เมตร หน้ากว้างตั้งแต่ 30 - 40 เซนติเมตร ธุงชัยจากผ้าขาวม้า ผ้าโสร่งเป็นธุงที่ได้รับความที่นิยมในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีรูปทรงที่แตกต่าจากธุงชัยทั่วไป แยกส่วนหัว ธุง ตัวธุง และหางเป็นรูปทรงสองแฉกชัดเจน ธุงต่างๆ เหล่านี้ เป็นธุงโบณาณเช่นเดียวกัน

ธุงหมอนเข็ม วัดบ้านดงยาง ต�ำบลบากเรือ อ�ำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ธุงผ้าหลากสี วัดสุภากรณ์นิคมธรรมาราม อ�ำเภอนิคมค�ำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ธุงผ้าหลากสี วัดโนนศิลา ต�ำบลโคกก่ง อ�ำเภอชานุมาน จังหวัดอ�ำนาจเจริญ

ส่วนที่ 2 ปัจจุบัน : ธุงอีสานกับการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ในยุคปัจจุบันนอกจากธุงในรูปแบบดั้งเดิมที่ยังคงนิยมใช้กันอยู่ ได้มีชุมชนหลายชุมชนที่มี บุคคลนักคิด นักสร้างสรรค์ ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของธุงให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น บางแห่งใช้วิธี ปรับปรุงรูปแบบ รูปทรง สี บางแห่งใช้เทคนิคประสม บางแห่งใช้วัสดุสมัยใหม่ วัสดุสังเคราะห์ที่หาได้ง่าย ในชุมชน มาเสริมเติมแต่งให้เกิดความแปลงใหม่ ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ดังนี้

133


ธุงชัย เทคนิคประสมระหว่าง แบบดั้งเดิมกับเศษผ้าสีต่างๆ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ธุงใยแมงมุม ปรับปรุงรูปแบบใหม่ วัดสว่างโนนสูง อ�ำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ธุงใยแมงมุม ปรับปรุงการวางใหม่ วัดจอมมณีบ้านวังสะพุง อ�ำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

134

ธุงใยแมงมุม แขวนแบบพวงระย้า วัดโนนศิลา บ้านส�ำราญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ธุงใยแมงมุม หลากสีขนาดใหญ่ วัดไชยศรี บ้านสาวะถี อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น


ธุงกับการสร้างสรรค์ร่วมกับงานพลาสติก ยุคปัจจุบันเป็นยุคของโลกพลาสติก สิ่งของ เครื่องใช้จากพลาสติกจึงมีอยู่ทั่วไป อิทธิพลของพลาสติกได้ส่งผลต่อทุกเรื่องราวของมนุษย์ยุคใหม่และ ส่งผลต่อวิธีคิด วิธีหาสิ่งทดแทน ในอดีตธุงที่เคยถูกแขวนบนงานไม้ไผ่ที่วางเป็นรูปกากะบาดหรือวงกลม จึงถูกแทนที่ด้วยพลาสติกรูปทรงต่างๆ ที่หาได้ง่าย ธุงที่สร้างสรรค์ใหม่โดยส่วนใหญ่มักวางรูปแบบเหมือน งานโมบายส�ำหรับงานตกแต่ง (Mobile Decoration) หรือโคมระย้า (Chandelier) ธุงในลักษณะนี้ บางครั้งจึงถูกเรียกว่า โมบาย หรือ ธุงระย้า

ธุงใยแมงมุมรูปแบบใหม่ กับถาด+แผ่นพลาสติก วัดสว่างโนนสูง อ�ำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ธุงใยแมงมุมรูปแบบใหม่ กับฝาชี+แผ่นพลาสติก วัดสว่างโนนสูง อ�ำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ธุงระย้ากับลูกปัด ดอกไม้ประดิษฐ์พลาสติก วัดศรีโพธิ์ชัย ต�ำบลท่าไห อ�ำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ธุงระย้ากับหลอดพลาสติก วัดโนนศิลา บ้านส�ำราญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ธุงระย้า หลอดพลาสติกพับ รูปปลาตะเพียน วัดศรีบุญเรือง บ้านสระแต้ ต�ำบลหนองไผ่ อ�ำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ธุงระย้าเส้นริบบิ้น วัดสระทอง บ้านบัว อ�ำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

135


ธุงระย้า พับหลอดพลาสติก วัดสระทอง บ้านบัว อ�ำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ธุงระย้า สานปลาตะเพียน ลูกปัด ดอกรักพลาสติก วัดสระทอง บ้านบัว อ�ำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ธุงกับการสร้างสรรค์ร่วมกับงานหัตถกรรมอื่นๆ เป็นอีกงานสร้างสรรค์ที่มีการผลิตใช้ใน ในงานบุญ เป็นการน�ำสิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้านมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตธุงระย้า เช่น น�ำไซจ�ำลองมา สร้างสรรค์กับดอกไม้ประดิษฐ์พลาสติก น�ำงอบหรือหมวกของเกษตรกรมาสร้างสรรค์กับดอกไม้ประดิษฐ์ พลาสติก เป็นต้น

ธุงระย้ากับงอบ วัดศรีบุญเรือง บ้านสระแต้ ต�ำบลหนองไผ่ อ�ำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

136

ธุงระย้ากับไซจ�ำลอง วัดศรีบุญเรือง บ้านสระแต้ ต�ำบลหนองไผ่ อ�ำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ธุงระย้า นกกระดาษ และด้ายสี วัดโพธิ์ศรี ต�ำบลศิลา อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น


ธุงระย้า พวงมาลัย วัดบ้านดงยาง ต�ำบลบากเรือ อ�ำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

การน�ำพืชผัก ผลไม้ ขนม ลูกอม มาแขวนในงานบุญ เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ประยุกต์มาจากธุงระย้า วัดบ้านดงยาง ต�ำบลบากเรือ อ�ำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ธุงกับการสร้างสรรค์รปู ทรง เป็นการ พัฒนารูปแบบเพื่อสร้างความแตกต่าง ในสังคมยุค ใหม่ การสร้างสรรค์ดว้ ยเทคนิควิธกี ารต่างๆ สามารถ ท�ำได้งา่ ยขึน้ มีเครือ่ งมือ อุปกรณ์ในการผลิตเพิม่ มาก ขึ้น ดังนั้น รูปแบบของธุงจึงถูกขับเคลื่อนด้วยทักษะ ความสามารถของมนุษย์ ในงานบุญต่างๆ จึงมักมีสงิ่ ใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ทั้งนี้ ถือเป็นการปรับเปลี่ยนที่ ท�ำให้ธุงมีค่าและมีความหมายยิ่งขึ้น สวยงามยิ่งขึ้น โดยรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมควบคู่กับงานสร้างสรรค์

ธุงสร้างสรรค์ ส�ำหรับใช้ใน ธุงสร้างสรรค์ งานตกแต่งในงานบุญ เทคนิคการทอให้สวยงาม วัดบุญถนอมพัฒนาการ และประณีต ต�ำบลหนองตูม วัดโนนศิลา บ้านส�ำราญ อ�ำเภอภูเขียว อ�ำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น

137


ธุงกับการสร้างสรรค์หางธุง หางธุงเป็นอีกส่วนที่เสริมความงามให้กับผืนผ้าธุง ที่ผ่านมา การสร้างสรรค์ความงามที่ผู้ผลิตธุงให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษ คือ ส่วนหางของธุง จากข้อมูลที่ได้จากการ ลงพื้นที่จึงมีรูปแบบการสร้างสรรค์หางธุงอย่างหลากหลาย ดังนี้

หางธุงหลอดไม้และกระดาษสี วัดสว่างโนนสูง อ�ำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

หางธุงถักลายแต่งด้วยลูกปัดพลาสติก วัดมงคลรัตนาราม บ้านดงต้อง ต�ำบลดงขวาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

138

หางธุงหลอดไม้และปุยเส้นด้าย หางธุงหลอดพลาสติก ลูกปัด วัดบุญถนอมพัฒนาการ กระดิ่งพลาสติก วัดบุ่งฮี ต�ำบลหนองตูม อ�ำเภอภูเขียว ต�ำบลพระกลางทุ่ง อ�ำเภอธาตุพนม จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม

หางธุงเส้นด้ายถัก ปล่อยชาย วัดมงคลรัตนาราม บ้านดงต้อง ต�ำบลดงขวาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

หางธุงหลอดและลูกปัดพลาสติก วัดศรีสัตตนาค ต�ำบลชัยพฤกษ์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย


หางธุงหลอดพลาสติกและเปลือกหอยแคง วัดจันทร์ประสิทธิ์ ต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

หางธุง ลูกปัด ดอกรัก กระดิ่งพลาสติก วัดอัมพวัน บ้านม่วง ต�ำบลเกิ้ง อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

หางธุงลูกปัดและเส้นพลาสติก วัดจันทร์ประสิทธิ์ ต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

หางธุง เส้นฝ้ายถัก กลุ่มทอผ้าไทเลย บ้านก้างปลา อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย

หางธุง ดอกรักพลาสติก วัดอัมพวัน บ้านม่วง ต�ำบลเกิ้ง อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

หางธุง ลูกปัด ดอกรัก กระดิ่งพลาสติก วัดป่าพุทธคุณานุสรณ์ บ้านไร่พวย อ�ำเภอหนองหิน จังหวัดเลย

139


หางธุง ถักลาย แต่งด้วยลูกปัด พลาสติก วัดบ้านอีเซ อ�ำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

หางธุง ปล่อยชาย กลุ่มทอผ้าธุงบ้านแร่ อ�ำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

หางธุง สองชายหรือสองแฉก วัดทักษิณวารีสิริสุข อ�ำเภอล�ำดวน จังหวัดสุรินทร์

ตุงภาคเหนือในอีสาน

วัดพระพุทธฤทธิ์ธาราม ต�ำบลดงเค็ง อ�ำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

140


ส่วนที่ 3 แนวโน้ม : ธุงอีสานงานแห่งคุณค่าและความหมาย ในยุคปัจจุบนั ธุงภาคอีสาน และตุงภาคเหนือ ได้เกิดการแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมการ ผลิตธุง และมีการใช้งานร่วมกันในบุญประเพณีต่างๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 25544 ได้เกิดโครงการหนึ่งต�ำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP : One Tambon One Product) ภาครัฐมีแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมี ผลิตภัณฑ์หลักเป็นของตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาท�ำการ พัฒนาเป็นสินค้าที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนของตนเอง ธุงเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่น ในประเภทของผ้าทอมือ ของใช้ ของทีร่ ะลึก จึงได้ถกู ขับเคลือ่ นให้เป็นสินค้าในชุมชน จากธุงทีเ่ คยผลิตตาม เทศกาลเพือ่ การถวายเป็นพุทธบูชา ได้กลายเป็นผลิตให้กบั ลูกค้าทีต่ อ้ งการน�ำธุงไปถวายวัด มีการผลิตตาม สี ลวดลาย เติมข้อความตามที่ลูกค้าก�ำหนด

ร้านคัลเลอร์สังฆภัณฑ์ อ�ำเภอ เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ร้านใจดีสังฆภัณฑ์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ธุงในปัจจุบันจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการจ�ำหน่ายทั้งในร้านสังฆภัณฑ์ ร้านขายสินค้าโอทอป (OTOP) และร้านขายของที่ระลึกทั่วไป กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของไทย ทั้งที่ผลิตตามรูปแบบธุงอีสาน และรูปแบบของตุงภาคเหนือ ซึ่งมีข้อแตกต่างกันไม่มากนัก เช่น ตุงภาคเหนือมักนิยมติดไม้ไขว้รูปกาแล ไว้บริเวณหัวธุง ส่วนธุงอีสานจะมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแบบไม้ไผ่สอดส�ำหรับการแขวนแบบง่ายๆ และแบบเป็นงานไม้แกะสลักรูปพญานาค สวนวิธีการทอรูปแบบของธุงอีสานจะใช้เทคนิคการเก็บขิด ค่อนข้างมาก มีรูปภาพ ลายต่างๆ ที่มาจากความเชื่อ และต�ำนานของคนอีสาน เอกลักษณ์ของการทอผ้า ธุงในอดีตอาจมีความแตกต่างกันตามภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอด แต่เมื่อเวลาผ่านไปวัฒนธรรมในการ ทออาจมีอิทธิพลต่อกันบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาของการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรมที่มักเป็นไปอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป 141


ตุงภาคเหนือในปัจจุบันมีจ�ำหน่ายและมีใช้ในภาคอีสานโดยทั่วไป

วัดไชยศรี บ้านสาวัตถี อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

วัดพระพุทธฤทธิ์ธาราม ต�ำบลดงเค็ง อ�ำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

แนวโน้มของธุงอีสานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้เขียนเชื่อว่า ธุงอีสาน จะยังคงเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมอีกนานเท่านาน แต่อาจมีการปรับเปลีย่ นรูปแบบการใช้งานไปบ้าง ถูกสร้างสรรค์ให้มคี วามหลาก หลายบ้าง และอาจโดดเด่นในบ้างพื้นที่ บางกิจกรรม ซึ่งผู้เขียนขอวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า ดังนี้ 1) ธุงในงานประเพณีระดับจังหวัดและระดับชาติ แนวโน้มนี้ มีให้เห็นในหลายพืน้ ที่ ของประเทศไทย เช่น งานประเพณีต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และ อีกหลายจังหวัด ได้มีการน�ำธุงมาตกแต่งในงานประเพณีอย่างอลังการ การน�ำธุงมาใช้ในงานบุญประเพณี นอกจากจะสร้างความสวยงามที่แฝงไว้ด้วยความเชื่อ ยังเป็นสื่อสัญลักษณ์ให้เห็นความยิ่งใหญ่ของการจัด งานอีกด้วย และมีความเป็นไปได้มากที่จะมีการใช้ธุงในงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่เพิ่มมากขึ้นเพื่อปลุกกระแส การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขึ้นในประเทศ

142


งานบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด

การตกตกแต่งด้วยธุงในงานประเพณีสงกานต์ วัดศรีอุบลรัตนาราม(วัดศรีทอง) อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

143


การตกตกแต่งด้วยธุงในงานสวดมนต์ใหญ่ วัดโพธิ์ศรี บ้านละทาย อ�ำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

การตกแต่งด้วยธุงตามต้นไม้ เสาไฟฟ้าในงานบุญประเพณี วัดสว่างสุวรรณาราม อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

2) การพัฒนาธุงเพื่องานตกแต่งถาวร เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นบ้างแล้วในหลายพื้นที่ จากธุงที่เคยถูกน�ำออกมาใช้เฉพาะเทศกาลงานบุญ ธุงที่มีรูปแบบสวยงามได้ถูกน�ำมาปรับปรุงรูปแบบใหม่ ให้เหมาะสมกับอาคารสถานทีแ่ ละการติดตัง้ ถาวร นอกจากการออกแบบเพือ่ การติดตัง้ ถาวรในศาสนสถาน แล้ว ธุงยังถูกออกแบบเพื่อใช้ในการติดตั้งและตกแต่งในบ้านพักอาศัย ส�ำนักงาน

144


ธุงใยแมงมุมและธุงระย้า ออกแบบเพื่อการตกแต่งในศาสนสถาน และอาคารในแหล่งท่องเที่ยว

ธุงใยแมงมุม ออกแบบเพื่อ การตกแต่งภายในศาสนสถาน วัดจอมมณีบ้านวังสะพุง อ�ำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

แหล่งท่องเที่ยววังน�้ำมอก ต�ำบลพระพุทธบาท อ�ำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

3) การผลิตธุงในเชิงพาณิชย์ ในปัจจุบนั การผลิตธุงของหลายชุมชนได้มกี ารปรับตัว เป็นการผลิตเพื่อการจ�ำหน่าย ซึ่งมีทั้งการผลิตธุงแบบดั้งเดิม การผลิตธุงแบบร่วมสมัย ซึ่งคาดว่าในอนาคต ธุง นอกจากจะผลิตเพื่อการจ�ำหน่ายและน�ำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีแนวโน้มว่า ธุงจะถูกผลิตเป็นของ ที่ระลึกเพื่อเป็นของฝากส�ำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยเหตุที่ธุงมีรูปแบบที่สวยงามและกระบวนการผลิตที่เกิด จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ ผู้จ�ำหน่ายควรที่จะเพิ่มเรื่องราว (Story) ให้กับผู้ซื้อด้วยเพราะธุงไม่ได้มีเพียง ความงดงามตามแบบอย่างงานหัตถกรรมท้องถิ่นเท่านั้น แต่ธุงยังมีคุณค่าและความหมายตามความเชื่อ ที่ยึดถือสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครอง การน�ำโชค และอื่นๆ

145


บทสรุป อดีต : ธุงอีสานมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ปัจจุบัน : ธุงอีสานกับการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย แนวโน้ม : ธุงอีสานงานแห่งคุณค่าและความหมาย ทัง้ 3 ช่วง เป็นข้อมูลทีไ่ ด้จากการศึกษา การวิเคราะห์ถงึ สถานการณ์ของธุงในแต่ละ ช่วงจังหวะและบริบททีต่ า่ งกัน อาจกล่าวโดยสรุปได้วา่ “ธุงอีสาน” เป็นงานหัตถกรรมในความเชือ่ ทีม่ คี ณ ุ ค่า และความหมายต่อวิถวี ัฒนธรรมคนอีสาน ซึง่ ได้สบื สานกันมาอย่างยาวนาน ในยุคปัจจุบัน ธุงอีสาน ไม่เคย มีการใช้ที่ลดน้อยลง แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้างและมีงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ ธุงอีสานมาความเคลื่อนไหวอย่างน่าสนใจ ในอนาคตคาดการณ์ว่า ธุงอีสานมีแนวโน้มที่จะเป็นส่วนหนึ่งใน การสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับงานบุญประเพณีของไทยในหลายพื้นที่ และบางส่วนอาจปรับตัวเป็นของฝาก ของที่ระลึกที่มีทั้งความงาม คุณค่า และความหมายส�ำหรับนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

146


บรรณานุกรม กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์. ธุงลายแมงมุม เชื่อมโยงชีวิตโลกสู่สวรรคาลัย. จาก https://www.gotoknow.org/posts/104086. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555. เจนอักษรพิจารย์. ตุงความงดงามยามสายลมไหว. จาก http://www.yupparaj.ac.th.. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555. จิตต์ วงศ์เทศ. (2549). พลังลาวชาวอีสาน มาจากไหน. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์มติชน. ทำ�นอง จันทิมา. 2537. การออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. ธวัช ปุณโณทก. 2537. วรรณกรรมภาคอีสาน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. ธิดา สาระยา. (2538). เมืองประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ. นวลน้อย บุญวงษ์. (2539). หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พวงเพชร ชุปวา.(2542). ธุงผะเหวดกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน หนองดู่ ตำ�บลธงธานี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (กลุ่มมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ไผท ภูธา. (2554). ความเป็นมาคนอีสาน ในเหตุการณ์สำ�คัญของประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ. มาโนช กงกะนันทน์. (2549). ศิลปะการออกแบบ. นนทบุรี: เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น. เบญจพล สิทธิประณีต. (2549). ตุง. เชียงใหม่: บริษัท นพบุรีการพิมพ์ จำ�กัด. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองบัว. แบบบันทึกการดําเนินงานของเครือข่ายสุขภาพ ภาคประชาชน ระดับตําบล ปี¬ 2554. จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_ center/, สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2555. วิทยา วุฒิไธสง. ธุงอีสาน. ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น . จาก http://cac.kku. ac.th/?p=5048 , สืบคนเมื่อ 10 มกราคม 2555)

147


บรรณานุกรม (ต่อ) ศักดิ์ชาย สิกขา. (2551). ต่อยอดภูมิปัญญา หัตถกรรมพื้นบ้าน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. ศักดิ์ชาย สิกขา. (2552). ศิลปะไม้แกะสลักในแถบลุ่มแม่น้ำ�โขง: การอนุรักษ์และการประยุกต์ใช้ในงาน ออกแบบ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สังฮอมธาตุ. ไม่ปรากฏปี ที่จาร. หนังสือผูก, อักษรธรรม อีสาน. ฉบับลานดิบ, ผูกที่ 4/17/1/4-4/18/1/1, วัดชมพู บ้านหนองหิน อำ�เภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล. (2551). ประวัติศาสตร์และศิลปะแห่งอาณาจักรขอมโบราณ. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ. อุทิศ เมืองแวง. (2548). วรรณกรรมผ้าผะเหวดโบราณร้อยเอ็ด. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์. อุรคินทร์ วิริยะบูรณะ. (2506). ประเพณีไทย ฉบับพระมหาราชครู. สำ�นักพิมพ์ประจักษ์. njoy. ความเชื่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตุงหรือธง. จาก http://www.openbase.in.th/node/ 8768. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2555.

148


บรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์ คูณ เฟื่องสุคนธ์. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 17 หมู่ 5 บ้านบึงโดน ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด, 23 สิงหาคม 2554. จรินทร์ แป้นทอง. ความเชื่อและการใช้ธุง. ชาวบ้าน. บ้านเลขที่ 3 หมู่ 6 บ้านเสม็ดน้อย ตำ�บลสลักได อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์, 27 สิงหาคม 2554. ฉลาด เสาวนนท์. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง/ประธานกลุ่ม ทอผ้าไทเลย. บ้านเลขที่ 177 หมู่ 9 บ้านก้างปลา ตำ�บลชัยพฤกษ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย 28 พฤศจิกายน 2554. ดอกจันทร์ โพนทอง. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 108 หมู่ 14 บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร, 6 สิงหาคม 2554. ดอน เจริญเศรษฐ์. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 123 หมู่ 14 บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร, 6 สิงหาคม 2554. ทองแกม แสนอาจ. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 156 หมู่ 16 บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, 8 มกราคม 2554. พระครูเกษมธรรมานุวัตร. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุงของคนอีสาน. เจ้าคณะตำ�บลเกษม เขต 1 เจ้าอาวาสวัดเกษมสำ�ราญ. บ้านเกษม ตำ�บลเกษม อำ�เภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี, 16 ธันวาคม 2554. พระครูโกวิทธรรมาภินันท์. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าคณะตำ�บลลำ�ดวน/เจ้าอาวาส วัดทักษิณวารีสิริสุข. ตำ�บลลำ�ดวน อำ�เภอลำ�ดวน จังหวัดสุรินทร์, 27 สิงหาคม 2554. พระครูฉันทกิจโกศล. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ. บ้านสิงห์ ตำ�บลสิงห์ อำ�เภอเมือง จังหวัดยโสธร, 13 กรกฎาคม 2554. พระครูปทุมจิตจาทร. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดหนองบัว. บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, 2 สิงหาคม 2554. พระครูประโชติสารคุณ. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดสว่างโนนสูง. หมู่ 9 บ้านโนนสูง เทศบาลตำ�บลโนนสูง อำ�เภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์, 25 พฤศจิกายน 2554. พระครูปริยติโพธิสารคุณ. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดโพธิ์. บ้านจอก ตำ�บลคอนสวรรค์ อำ�เภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ, 29 กันยายน 2554. พระครูวิโรจน์ธรรมรัตน์. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. พระครูชั้นเอก/เจ้าอาวาสวัดศรีอัมพร. บ้านหนองแก ตำ�บลหนองแก อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู, 24 กันยายน 2554. 149


บรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์ (ต่อ) พระครูวิสุทธิเมธาภรณ์. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดศรีสะอาด. บ้านโคกคอน ตำ�บลโคกคอน อำ�เภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย, 16 ตุลาคม 2554. พระครูวรธรรมาภินันท์. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. รองเจ้าคณะอำ�เภอห้วยทับทัน/เจ้าอาวาส วัดบ้านเมืองน้อย. ตำ�บลเมืองหลวง อำ�เภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ, 12 ธันวาคม 2554. พระครูสุวรรณ คุณาธาร. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแหนวนาราม. บ้านหนองแหน ตำ�บลนาโพธิ์ อำ�เภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม, 13 กันยายน 2554. พระครูสันติ อาจารกุล. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าคณะตำ�บลกมลาไสย/เจ้าอาวาสวัดท่ามาลานที (น้ำ�จั้น). บ้านน้ำ�จั้น ตำ�บลกมลาไสย อำ�เภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, 24 พฤศจิกายน 2554. พระครูสุนทรรัตนากรกุล. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดมงคลรัตนาราม. บ้านดงต้อง ตำ�บลดงขวาง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม, 19 พฤศจิกายน 2554. พระครูอัมพวันสารกิจ. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน. บ้านม่วง ตำ�บลเกิ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, 1 พฤศจิกายน 2554. พระสุบัน อธิจิตโตกุล. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. รองเจ้าอาวาสวัดจันทร์ประสิทธิ์ หมู่ 3 บ้านโพน ตำ�บลโพนทอง อำ�เภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม, 1 พฤศจิกายน 2554. พระอธิการกฤษณา จน.หาโภกุล. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดใหม่สามัคคีธรรม. บ้านโคกเพ็ด ตำ�บลกุดจอก อำ�เภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา, 16 พฤศจิกายน 2554. พระอธิการทองมา ฐิตะวันโณ. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าคณะตำ�บลเสียว เขต 2/เจ้าอาวาส วัดอีเซ บ้านอีเซ ตำ�บลอีเซ อำ�เภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ, 19 ตุลาคม 2554. พระอธิการทองแดง ศรีธโร. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดโนนเดื่อ. บ้านโนนเดื่อ ตำ�บลบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี, 22 กันยายน 2554. พระอาจารย์ขวัญชัย ธ.ม.มโฆสโกคุณ. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง. บ้านสระแต้ ตำ�บลหนองไผ่ อำ�เภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ, 29 กันยายน 2554. พระอาจารย์โอวาท วาทะกาโม. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. รองเจ้าอาวาสวัดศรีสัตตนาค. บ้านก้างปลา ตำ�บลชัยพฤกษ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย, 27 พฤศจิกายน 2554. บุญตา สนั่นก้อง. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 46 หมู่ 6 บ้านแซงแหลม ตำ�บลแสนชาติ อำ�เภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด, 23 สิงหาคม 2554. บุญยัง นายม. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 167 หมู่ 4 บ้านปากเป่ง ตำ�บลวังสะพุง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย, 28 พฤศจิกายน 2554.

150


บรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์ (ต่อ) บุญรัง วรรณะ. ความเชื่อและการใช้ธุง. มรรคทายกวัดหนองบัว. บ้านเลขที่ 17/4 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, 6 กุมภาพันธ์ 2554. บุญโฮม ศรีณาวัฒน์. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก การทำ�มาลัยข้าวตอก. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ทำ�มาลัย ข้าวตอก. บ้านเลขที่ 124 หมู่ 3 ตำ�บลฟ้าหยาด (ชุมชนฝั่งแดงพัฒนา) อำ�เภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร, 19 กรกฎาคม 2554. บัวกัน กอทอง. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 46 หมู่ 6 บ้านสมสะอาด ตำ�บลนาอุดม อำ�เภอนิคมคำ�สร้อย จังหวัดมุกดาหาร, 7 สิงหาคม 2554. รัตนาภรณ์ หงส์วเิ ศษ. การผลิต ลวดลาย ความเชือ่ และการใช้ธงุ . ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ผูผ้ ลิตธุง. บ้านเลขที่ 36 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, 6 เมษายน 2554. ระเบียบ เข็มภูเขียว. การผลิต ลวดลาย ความเชือ่ และการใช้ธงุ . ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ผูผ้ ลิตธุง/ประธานกลุม่ อาชีพสตรีทอผ้าขิดโนนทัน. บ้านเลขที่ 452/1 หมู่ 5 บ้านโนนเสลา ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ, 30 กันยายน 2554. รำ�พึง วงศ์เจริญ. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 143/1 หมู่ 9 บ้านละทาย ตำ�บลละทาย อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, 20 มีนาคม 2554. ลา บุญมี. ความเชื่อและการใช้ธุง. ชาวบ้าน. บ้านเลขที่ 97 หมู่ 8 บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, 8 มกราคม 2554. วนิดา จักษุกรรณ. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก การทำ�มาลัยข้าวตอก. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ทำ�มาลัย ข้าวตอก. บ้านเลขที่ 95 หมู่ 3 ตำ�บลฟ้าหยาด (ชุมชนฝั่งแดงพัฒนา) อำ�เภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร, 19 กรกฎาคม 2554. วาสนา บัวหอม. การผลิต ลวดลาย ความเชือ่ และการใช้ธงุ . ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ผูผ้ ลิตธุง. บ้านเลขที่ 27/1 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, 6 กุมภาพันธ์ 2554. สุทา ชัยสิทธิ์. ความเชื่อและการใช้ธุง. มรรคทายกวัดหนองบัว. บ้านเลขที่ 36 หมู่ 1 บ้านหนองบัว ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, 6 กุมภาพันธ์ 2554. สุวิทย์ ภักดีวุฒิ. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำ�บลธงธานี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด, 30 กรกฎาคม 2554. เสวย ภักดีวุฒิ. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง ศิลปินดีเด่น ประจำ�ปี 2545 สาขาช่างฝีมือสิ่งถักทอ. บ้านเลขที่ 159 หมู่ 9 บ้านหนองดู่ ตำ�บลธงธานี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด, 30 กรกฎาคม 2554.

151


บรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์ (ต่อ) สม แก้วดินเหนียว. การผลิต ลวดลาย ความเชือ่ และการใช้ธงุ . ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ผูผ้ ลิตธุง. บ้านเลขที่ 39 หมู่ 8 บ้านหนองแก ตำ�บลหนองแก อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู, 24 กันยายน 2554. สมพาน ใสส่องสิทธิ์. ความเชื่อและการใช้ธุง. ผู้ใหญ่บ้าน. บ้านเลขที่ 132 หมู่ 2 บ้านสำ�ราญเหนือ ตำ�บลอาจสามารถ อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม, 20 พฤศจิกายน 2554. สมหวัง นาส่งเสริม. การผลิต ลวดลาย ความเชือ่ และการใช้ธงุ . ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ผูผ้ ลิตธุง. บ้านเลขที่ 162 หมู่ 7 บ้านถ่อนใหญ่ ตำ�บลนาข่า อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี, 22-23 กันยายน 2554. สามเณรจักรกฤษ์ สามานิตย์สิทธิ์. ความเชื่อและการใช้ธุง. สามเณรวัดบุ่งฮี. ตำ�บลพระกลางทุ่ง อำ�เภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม, 19 พฤศจิกายน 2554. หุ่ง ต่อพรหม. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง. บ้านเลขที่ 85 หมู่ 16 บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, 8 มกราคม 2554. หลวงพ่อสุภาพ ยโสทโรสิทธิ์. ที่มา ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าอาวาสวัดวัดบ้านโจด ตำ�บลขามสมบูรณ์ อำ�เภอคง จังหวัดนครราชสีมา, 16 พฤศจิกายน 2554. อินแปลง สุวรรณชัยรบ. การผลิต ลวดลาย ความเชือ่ และการใช้ธงุ . ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ผูผ้ ลิตธุง. บ้านเลขที่ 2 หมู่ 13 บ้านไฮหย่อง ตำ�บลไฮหย่อง อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร, 6 สิงหาคม 2554. เอี้ยง ประยุทธเต. การผลิต ลวดลาย ความเชื่อและการใช้ธุง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ผลิตธุง บ้านเลขที่ 17 หมู่ 10 บ้านหนองไผ่ ตำ�บลบ้านแวง อำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์, 23 ตุลาคม 2554. ออ ลีทอง. ความเชื่อและการใช้ธุง. เจ้าของธุงที่จะนำ�ไปถวายวัดในงานบุญกฐิน. บ้านเลขที่ 121/3 หมู่ 14 บ้านแร่ ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร, 6 สิงหาคม 2554.

152


ภาคผนวก

153


154


ภาคผนวก ก

ผลการประเมินหนังสือ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการสาขาประยุกต์ศิลป์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

155


156


157


158


159


160


ภาคผนวก ข

การเผยแพร่ ธุงอีสาน ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ

161


การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ศิลปะและวัฒนธรรม : พลวัตในสังคมร่วมสมัย

โดย สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

162


163


164


ภาคผนวก ค ประวัติผู้เขียน

165


ประวัติผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประทับใจ สุวรรณธาดา หน่วยงาน การศึกษา ผลงานการวิจัย 166

สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 E-mail: papassuwan66@hotmail.com ปริญญาเอก: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์) ท�ำหน้าที่ หัวหน้าโครงการวิจัย ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา สถานประกอบการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี (2553) 2) การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ ในภาคอีสาน ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ ในภาคอีสาน ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2554) 3) การศึกษาผ้าในวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ไทด�ำในประเทศไทย (2554) 4) การออกแบบและพัฒนาเครื่องทุ่นแรงในกระบวนการทอผ้าพื้นเมือง กรณีศึกษา เครื่องค้นหูก (2559) 5) การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกกและเตยหนาม ย้อมสีธรรมชาติ (2559)


ท�ำหน้าที่ ผู้ร่วมวิจัย ดังนี้ 1) ประเพณีอีสานในเชิงอนุรักษ์และเผยแพร่ (2544) 2) การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดหนองบัวล�ำภู (2548) 3) การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานร่วมสมัย โครงการจัดตัง้ เครือข่ายองค์ความรูช้ มุ ชน KBO จังหวัดอุบลราชธานี (2550) 4) แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ศึกษากรณี ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีค่าคะแนน 1-2 ดาว KBO จังหวัดศรีสะเกษ (2550) 5) ศิลปะไม้แกะสลักในแถบลุ่มแม่น�้ำโขง: การอนุรักษ์และการประยุกต์ใช้ ในงานออกแบบ (2552) 6) การศึกษาเปรียบเทียบไม้แกะสลักสองฝั่งโขง ไทย-ลาว (2553) 7) การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์ลายผ้าแถบลุ่มน�้ำโขง: กรณีศึกษาบ้านกุ่ม ต�ำบลห้วยไผ่ อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ทุนอุดหนุนการวิจัย โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม (2555) 8) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยอาศัยอัตลักษณ์จากแหล่งหิน สามพันโบกแถบลุ่มน�้ำโขง: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแกะสลักไม้ บ้านกุดสมบูรณ์ อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี (2559)

ผลงานการเขียนหนังสือ/เอกสารเผยแพร่/บทความ : ประทับใจ สิกขา. 2541. เขียนภาพด้วยแสง เล่าเรื่องลุ่มน�้ำโขง. โครงการรวบรวมข้อมูลและภาพถ่าย ลุ่มน�้ำโขง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ประทับใจ สิกขา. 2548. บทความ “เป้หลังลาวเทิง” วารสารทางวิชาการ สืบสาน ของสาขาวิชาการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. จังหวัดอุบลราชธานี. 2550. เลิศล�้ำเลอค่า เทียนพรรษาเมืองอุบล. (บทที่ 3 มูนมังเทียนพรรษา) อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ประทับใจ สิกขา. 2550. ศิลปะพื้นบ้านชนเผ่าในลาวตอนใต้. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท. ประทับใจ สิกขา. 2551. เปิดกล้อง ส่องศิลป์. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ประทับใจ สิกขา. 2552. ผ้าในวิถีชีวิตไทด�ำ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ประทับใจ สิกขา. 2554. ธุงอีสาน. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท. ประทับใจ สิกขา. 2554. ผ้าทอผู้ไทย. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ประทับใจ สิกขา. 2555. นกหัสดีลิงค์. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 167


ผลงานการตีพิมพ์บทความงานวิจัย วารสารระดับชาติ 1) จรรยาวรรณ จรรยาธรรม และประทับใจ สิกขา. 2555. การพัฒนาเส้นใยของต้นจากเพื่อใช้ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 3(1) เม.ย.-ก.ย.: 94-104. 2) ชัยวัฒน์ แก้วคล้ายขจรศิริ และประทับใจ สิกขา. 2555. การศึกษากระบวนการผ้าย้อมคราม โดยใช้ยางกล้วยน�้ำว้าดิบเป็นสารช่วยติด. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 3(1) เม.ย.-ก.ย.: 105-113. 3) วิชัย เกษอรุณศรี และประทับใจ สิกขา. 2555. การพัฒนาเครื่องมือสร้างลวดลายบนผิวไม้ไผ่ โดยใช้ความร้อน. ศรีวนาลัยวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2(3) ม.ค.-มิ.ย.: 20-27. 4) ศักดิ์ชาย สิกขา ประทับใจ สิกขา และธันยมัย เจียรกุล. 2558. การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ ในภาคอีสาน. อุบลราชธานี : วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6(1) ม.ค.-มิ.ย. : 109-119. การน�ำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ 1) ประทับใจ สิกขา. 2553. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา สถานประกอบการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 2 “การขับเคลื่อนคุณภาพ การศึกษาสู่การพัฒนาท้องถิ่น” 6-7 กันยายน 2553. ล�ำดับที่ OP47 หน้า 34-38. 2) ศักดิ์ชาย สิกขา ประทับใจ สิกขา และเสกสันต์ ศรีสันต์. 2555. การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อสร้างสรรค์ลายผ้าแถบลุ่มน�้ำโขง : กรณีศึกษา บ้านกุ่ม ต�ำบลห้วยไผ่ อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2555.

168


การน�ำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Sikka, Prathabjai. 2011. A Study of Cloth Usage in the Way of Life of The Tai Dam Ethnic Group in Thailand. The 1st International Conference and Exhibition 2011. “Arts and Design: Integration of the East and the West” February 9th-10th, 2011. Ubon Ratchathani University Hotel and Tourism Training Center (UBU-HTTC) pp 148-155. ผลงานด้านงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น 1) ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไอที ของกลุ่มสรรค์ศิลป์ล�ำไผ่ อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับ รางวัลชมเชย ในงาน KBO Contest ปี 2554 2) ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โมบายกระดิ่งทองเหลือง กลุ่มอาชีพหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับ รางวัลชมเชย ในงาน KBO Contest ปี 2555 3) ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุดกระเป๋าเที่ยวทั่วไทยจากกกและผ้าย้อมมะเกลือปักแซ่ว ของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากกก อ�ำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับ รางวัลชมเชย ในงาน KBO Contest ปี 2556

169



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.