ข้าวปาด เปียกปูน

Page 1

ข้าวปาด เป็นขนมหวานของชาวอีสาน และเป็นของ หวานพื้นบ้านที่พบเห็นกันมากในจังหวัดนครราชสีมา มี ลักษณะคล้ายกับขนมเปียกปูนของภาคกลาง ต่างกันตรง เนื้อขนมไม่เป็นสีดํา ข้าวปาดนิยมทําในงานบุญต่าง ๆ เช่น บุญบวชนาค บุญกฐิน และบุญขึ้นบ้านใหม่ ข้าวปาดจะทํามาจากแป้งข้าวเจ้า ในอดีตทีย ่ งั ไม่มแ ี ป้งข้าวเจ้าสําเร็จรูป ชาวบ้านจะแช่ปลายข้าวเจ้าให้นม ่ิ แล้วนํามาโม่ให้ละเอียด จากนั้นจะนําไปใส่ในถุงผ้าดิบและมัดปากถุงให้แน่น ใช้หินโม่ทับถุงน้ําแป้งไว้ เพื่อให้ น้ําไหลออกจนหมดเหลือแต่เนื้อแป้ง จากนั้นจึงนําแป้งมานวดกับน้ําและน้ําปูนใส น้ําที่ใช้อาจจะเป็นน้ําใบ เตยเพื่อให้ข้าวปาดมีกลิ่นหอมและมีสีเขียว หรือน้ําลอยดอกมะลิ นวดให้เข้ากันดีแล้วนําไปต้มในกระทะหรือ หม้อ ใช้ไฟปานกลาง และกวนตลอดเวลาไม่ให้ไม่แป้งติดหม้อ เติมน้ําตาลหรือน้ําอ้อย และกวนต่อจนกว่า แป้งจะสุก เมื่อแป้งสุกจะมีลักษณะเป็นเนื้อใสและข้น ยกเทลงถาด ใช้พายปาดหน้าขนมให้เสมอกัน อาจจะ โรยหน้าด้วยถั่วลิสง แล้วปล่อยให้เย็น เวลาจะรับประทานจะตัดหรือปาดเป็นชิ้น ๆ ตามขนาดที่ต้องการ แล้ว โรยหน้าให้สวยงามด้วยมะพร้าวขูด สามารถเก็บไว้ได้นาน 1-2 วัน ในการทําแป้งข้าวเจ้า บางพื้นที่จะนําข้าวเจ้าไปโขลกในครกกระเดื่อง และใช้ผ้าแย่ง (ผ้าฝ้ายทอห่าง ๆ) หรือผ้าขาวบางร่อนแป้ง ให้ได้เนื้อแป้งละเอียด จึงนําแป้งนั้นมาทําขนม

ข้าวปาด เปียกปูน

ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่มที่ 2 ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/ 2011/05/D10523199/D10523199.html http://www.nakhonratchasima-city.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.