ºบØุÞญàเ¢ข ŒÒาÇวÑั´ดÊสÒา àเ¢ข ŒÒา¾พÃรÃรÉษÒา ºบØุÞญàเ´ด×ืÍอ¹นáแ»ป´ด "จันทรเพ็งแจงทอแสงใสสงา เดือนแปดมาฮอดแลวแววสิขึ้นลื่นหลัง เดือนนี้สงฆเพิ่นยังเขาอยูจำพรรษา ภาวนาอบรมขมใจทุกแลงเชา เฮามาพากันเขาเอาบุญพรอมพร่ำ ถวายผาอาบน้ำฟาใหญาทานไดใชสอย"
บุญเข้าพรรษาของภาคอีสานเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับทางภาคกลาง คือจะมีการทําบุญ ตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน สบง จีวรและเทียนพรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะจัดขบวนแห่เทียนอย่างยิ่งใหญ่ และมักมีการประกวดความสวยงามของเทียนจากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่งสลักเสลาเทียนเป็นลวดลายเรื่องราวทาง พุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัดชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค่ำจะเวียนเทียนรอบพระ อุโบสถ
มูลเหตุของพิธีกรรม เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเที่ยวจาริกสอนธรรมไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเป็น ฤดูฝน ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน แต่ในฤดูฝนนั้น ภิกษุได้เหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย สัตว์ตัวน้อย ต่างๆ พลอยถูกเหยียบตายไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ภิกษุต้องจําพรรษา ๓ เดือน ในฤดูฝนโดยมิให้ไป ค้างแรมที่อื่นใดนอกจากในวัดของตน ถ้าภิกษุฝ่าฝันถือว่า "ศีลขาดและต้องอาบัติทุกกฎ" เว้นแต่กรณีจําเป็นที่ เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น บิดามารดา ป่วย เป็นต้น แต่ต้องกลับมาภายใน ๗ วัน พรรษาจึงจะไม่ขาด