นาคสถานในภาคอีสานของไทย

Page 1


นาคสถานในภาคอีสานของไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม และคณะ คณะศิลปศาสตร์ และกองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการ และ ทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจาปีงบประมาณ 2561


ชื่อหนังสือ

นาคสถานในภาคอีสานของไทย

ปีที่พิมพ์

๒๕๖๑ พิมพ์ครั้งที่ ๑

คณะผู้จัดทา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี แก้วระหัน อาจารย์ ดร.ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ อาจารย์ ดร.ฑิฆัมพร วุฒิพรพงษ์ อาจารย์ จักรพันธ์ แสงทอง

อาจารย์ จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา

อาจารย์ พัชรี ธานี

อาจารย์ สุรศักดิ์ บุญอาจ

กชพรรณ บุญฉลวย

นวลละออง อุทามนตรี

ปาณฑรา ศิริทวี

ปิยะนุช สิงห์แก้ว

พัชรี ลิมทีปการ

มิณฑิตา โสภา

วัชราภรณ์ จันทรกาญจน์

ที่อยู่

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตาบลเมืองศรีไค อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190

หน่วยงานที่สนับสนุน

งานส่งเสริมการวิจัยและทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พิมพ์ที่

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


กิตติกรรมประกาศ “นาคสถานในภาคอี ส านของไทย” ที่ ท่ า นก าลั ง อ่ า นอยู่ นี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น ไม่ ไ ด้ เลย ถ้ า ปราศจาก “มหาวิท ยาลั ย อุ บ ลราชธานี ” ที่ เล็ งเห็ น ถึ งความส าคั ญ ของศิ ล ปวัฒ นธรรมของชาติ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ศิลปวัฒนธรรมอีสาน อันเป็นรากเหง้าของผู้คนแถบนี้ นอกจากจะอนุมัติทุนสนับสนุนในการดาเนินโครงการ แล้ว ยังอนุญาตให้คณะผู้จัดทาลาราชการเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามอีกด้วย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงถือเป็นผู้ที่สมควรได้รับการขอบคุณมากที่สุด ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนตาบลห้วยไผ่ อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งผู้บอก ข้อมูลทุกท่านทีไ่ ด้กรุณาสละเวลาให้ข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ยิ่ง ทาให้งานทานุศิลปวัฒนธรรมชิ้นนี้มีมิติที่ น่าสนใจ และมีคุณ ค่ามากกว่าเป็ น เพียงแค่ “งานรวบรวม” เท่านั้น แต่มีลักษณะกึ่ง “งานวิจัย ” ที่มีการ วิเคราะห์ที่มาที่ไปของความเชื่อความศรัทธาไว้ด้วย ขอขอบคุณคณะทางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจารย์ ดร.ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ ที่กรุณาช่วยพิสูจน์อักษร คุณกชพรรณ บุญฉลวย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชานาญการ คุณมิณฑิตา โสภา เจ้าหน้าที่บริหารงาน ทั่วไปปฏิบัติการ และคุณปิยะนุช สิงห์แก้ว เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ ของคณะศิลปศาสตร์ ที่ได้สละเวลาอันมี ค่าเพื่อให้การดาเนินโครงการเป็นไปอย่างเรียบร้อย ทั้ง ในเรื่องของการลาไปราชการ การทาเอกสารเบิกจ่าย งบประมาณ การจองที่พัก เป็นต้น ท้ายที่สุดนี้ ขอกราบแทบเบื้องบัวบาทแห่งองค์พญานาคราชผู้เรืองมหิทธานุภาพทุกๆ พระองค์ ด้วย ดวงจิตอันพิสุทธิ์ ขอกราบพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาแห่งวังนาคินทร์คาชะโนด พญาศรีสัตตนาคราช แห่งนครพนม พญาสัตตนาคาผู้พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ พ่อปู่อือลือนาคราชแห่งบึงโขง หลง พ่อปู่อินทร์นาคราชและแม่ย่าเกษราแห่งถ้าดินเพียง พญาทะนะมูลนาคราชแห่งลาน้ามูล พ่อปู่นิลกาฬ แห่งถ้าปาฏิหาริย์ และอีกหลายๆ พระองค์ที่มิได้เอ่ยพระนามมา ณ ที่นี้ ที่ทรงโปรดเมตตาประทานพร ทาให้ งานชิ้นนี้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทาให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากต้นสังกัด ทุกครั้งที่เดินทางไกลไป ลงพื้น ที่ภ าคสนามก็ทรงคุ้มครองให้ ป ลอดภัย รวมทั้งทรงจัดสรรให้ คนที่มีสายญาณพญานาคราชมาคอย ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระงานในส่วนต่างๆ ทาให้เรื่องที่ดูเหมือนยากเย็นแสนเข็ญกลายเป็นเรื่องที่ง่ายแสนง่าย อย่างน่าอัศจรรย์ ขอให้บุญกุศลจากการทาหนังสือนี้ จงบังเกิดมีแด่พญานาคราชทุกๆ พระองค์ ขอให้ ทุกพระองค์ทรง เรืองด้วยตบะเดชะยิ่ งๆ ขึ้น ไป พระบารมีแผ่ ไพศาล ขจรขจายไปทั่วทั้งไตรภพ เสวยทิพยสุขตราบเข้าสู่ กระแสแห่ งพระนิ รวาณอัน เกษม และขอให้ พญานาคราชทุกๆ พระองค์ ได้ ทรงโปรดเมตตาอภิ บาลรักษา ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ดารงเป็นหลักชัยอันประเสริฐ ขอให้ประชาชน ชาวสยามอยู่ดี กินดี และมีความสุข ตราบนิจนิรันดร...สาธุ


สารบัญ เรื่อง

หน้า

กิตติกรรมประกาศ เผดิมพจน์ สังคมไทย: สังคมอุดมศรัทธา ปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย ภาคอีสานของไทย: ดินแดนแห่งพญานาค นาคสถานในจังหวัดหนองคาย วัดถ้าศรีมงคล (วัดถ้าดินเพียง) พระธาตุหล้าหนอง วัดโพธิ์ชัย วัดศรีคุณเมือง วัดพระธาตุบังพวน วัดหินหมากเป้ง วัดไทย วัดมณีโคตร วัดหลวง นาคสถานในจังหวัดบึงกาฬ วัดอาฮงศิลาวาส วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) บึงโขงหลง นาคสถานจังหวัดอุดรธานี

ค ๑ ๑ ๓ ๙ ๑๖ ๑๗ ๒๓ ๒๗ ๒๙ ๓๑ ๓๔ ๓๖ ๔๔ ๔๖ ๕๐ ๕๑ ๕๔ ๖๐ ๖๕

วังนาคินทร์คาชะโนด ศาลเจ้าแม่นาคี

๖๖ ๘๐

นาคสถานในจังหวัดสกลนคร

๘๒

หนองหาร วัดถ้าผาแด่น

๘๔ ๘๙

นาคสถานในจังหวัดนครพนม

๙๓

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

๙๔


พญาศรีสัตตนาคราช นาคสถานในจังหวัดมุกดาหาร

๑๐๒ ๑๐๘

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์

๑๐๙ ๑๑๔

วัดป่าภูฮัง

๑๑๘

นาคสถานในจังหวัดอุบลราชธานี วัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดปากโดมเทพนิมิต วัดถ้าคูหาสวรรค์ วัดถ้าปาฏิหาริย์ วัดถ้าผาพญานาคราช เชิญชมบั้งไฟพญานาค ณ บ้านตามุย อาเภอโขงเจียม บทสังเคราะห์ว่าด้วยเรื่องพญานาค พญานาคในนาคสถาน การผสานความเชื่อทางศาสนาในนาคสถาน ผลดี ผลเสีย ที่เกิดจากปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย

๑๒๐ ๑๒๑ ๑๒๖ ๑๓๓ ๑๓๙ ๑๕๓ ๑๖๑ ๑๖๖ ๑๖๖ ๑๖๙ ๑๗๕

ปัจฉิมกถา

๑๘๓

รายการอ้างอิง

๑๘๕


สารบัญภาพ ภาพที่

หน้า

๑–๒

พญานาคตระกูลเอราบท และพญานาคตระกูลกัณหาโคตรมะ

นางนาคโสมา บรรพบุรุษของชาวกัมพูชา ตั้งอยู่ที่วงเวียนใกล้กับศาลพระองค์เจก พระองค์จอม เมืองเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา

๑๐

พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาวนาราม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

๕-๖

๑๒

เครื่องบวงสรวง ประกอบด้วย บายศรี เครื่องคาวหวาน เช่น หัวหมู ปลาช่อนต้มทั้งตัว ไข่ต้ม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย เป็นต้น

๑๓

ภายในตาหนักใหม่ของย่าสีดาแก้วพิมพิลาไลย ก่อนย้ายเครื่องบูชาเข้าไปประดิษฐาน

๑๔

ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชคกาลังสูบบุหรี่สองมวนพร้อมกัน โดยมีร่างทรงปู่ฤๅษีตาไฟ กาลังปรนนิบัติรับใช้อยู่ไม่ห่าง

๑๔

ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชค ร่ายราร่วมกับร่างทรงแม่ย่าสีดาแก้ว พิมพิลาไลย

๑๕

๑๐-๑๑

ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชคกาลังอบรมสั่งสอนร่างทรงแม่ย่าสีดาแก้ว

๑๕

๑๒

ป้ายด้านหน้าวัดถ้าศรีมงคล (ถ้าดินเพียง)

๑๘

๑๓

ป้ายแผนที่ภายในถ้าศรีมงคล (ถ้าดินเพียง)

๑๘

๑๔

บริเวณทางเข้าถ้าดินเพียง

๑๙

๑๕

รูปปั้นพ่อปู่อินทร์นาคราช และแม่ย่าเกษราภายในศาลหน้าปากถ้าดินเพียง

๑๙

๑๖

บริเวณปากทางเข้าถ้าดินเพียง มีรูปปั้นพญานาคราชสีทองเก้าเศียรประดิษฐานอยู่

๒๐

๑๗

หินที่เชื่อกันว่าเป็นหีบศพปู่อินทร์นาคราช จะเห็นว่าบรรดานักท่องเที่ยวต่างใช้มือสัมผัส แล้วอธิษฐานขอพร

๑๘

๒๐

บริเวณที่มีหินสามก้อนเรียงกันเชื่อกันว่า เป็นหีบศพแม่ย่าเกษรา หีบเงิน และหีบทอง ตามลาดับ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมในห้องนี้ต่างใช้มือสัมผัสหินทั้งสามก้อนเพราะเชื่อว่า จะทาให้มีโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองไหลมาเทมา

๒๐


ภาพที่ ๑๙

หน้า บริเวณห้องธิดานาคราช หรือห้องสีชมพู เป็นห้องที่นักท่องเที่ยวสามารถ่ายภาพปาฏิหาริย์ คล้ายกับรูปพญานาคได้บ่อยครั้ง

๒๐

ห้องช้างสามเศียร นักท่องเที่ยวที่จะผ่านไปต้องคลานไม่ต่างจากอาการ เลื้อยไปของงู

๒๑

๒๑ ๒๑

ห้องคัมภีร์ นักท่องเที่ยวมักมาสัมผัสก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายหนังสือที่ถูกกางออก เชื่อว่าจะทาให้มีสติปัญหาเฉลียวฉลาด

๒๑

๒๒

เจดีย์บริเวณห้องโถงทางออก ภายในบรรจุวัตถุมงคลต่างๆ ที่เจ้าอาวาสสะสมไว้

๒๒

๒๓

ปากทางออกจากถ้าดินเพียง

๒๒

๒๔

พระธาตุหล้าหนองจาลอง

๒๔

๒๕-๒๖

พระธาตุหล้าหนององค์เดิมที่จมอยู่ในแม่น้าโขง ในช่วงหน้าฝนที่น้ามากจะเห็นองค์พระธาตุ โผล่ขึ้นมาเพียงเล็กน้อย แต่พอถึงช่วงหน้าแล้งที่น้าลดลง จะเห็นองค์พระธาตุโผล่ขึ้นมา ชัดเจน ๒๔

๒๗

ภาพลายเส้นพระธาตุกลางน้า โดยคณะสารวจอินโดจีนของฟรองซิสการ์นิเยร์ วาดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๑

๒๕

๒๘

ศาลพญานาค ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับพระธาตุหล้าหนอง เชื่อว่าพญานาคตนนี้เป็นผู้พิทักษ์รักษา องค์พระธาตุ ๒๖

๒๙

ภาพวาดพระธาตุหล้าหนอง และพญานาคผู้อภิบาลรักษา ภายในศาล

๓๐

พระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ที่พระพุทธศาสนิกชน

๒๖

ทั่วประเทศให้ความเคารพนับถือส่วนเจดีย์สีขาวด้านหน้าพระวิหารนั้น คือเจดีย์บรรจุ พระธาตุพระอรหันต์ ๕ รูป

๒๘

๓๑

หลวงพ่อพระใส

๒๘

๓๒

วัตถุรูปร่างประหลาด ซึ่งผู้นามาถวายอ้างว่าเป็นหงอนของพญานาค ปัจจุบันจัดแสดง

๓๓-๓๔

อยู่ภายในพระวิหารหลวงพ่อพระใส

๒๘

วัดศรีคุณเมือง สถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระสุกจาลอง

๒๙


ภาพที่ ๓๕

หน้า หลวงพ่อพระสุกจาลอง (องค์ที่ ๒ ตรงกลาง) ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร จะสังเกตว่าเบื้องหน้ามีลูกแก้วพญานาควางอยู่ด้วย

๓๐

๓๖

พระธาตุบังพวน พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจาจังหวัดหนองคาย

๓๒

๓๗

หลวงปู่นาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ประดิษฐานอยู่ในสัตตมหาสถาน

๓๓

๓๘

พญานาคมุจลินท์ ภายในบ่อน้าโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าบริเวณนี้เป็นที่สิงสถิต ของเหล่าพญานาค

๓๙

๓๓

สถานที่พระราชทานเพลิงศพพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิสิษฏ์ หรือ หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี

๓๕

๔๐

เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ

๓๕

๔๑

“หลวงพ่อใหญ่วัดไทย” พระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นที่กราบไหว้บูชาของเหล่ามนุษย์ และบรรดานาคีนาคา

๓๗

๔๒-๔๓

ลอดปากพญานาคเพื่อสะเดาะเคราะห์

๓๗

๔๔

พญานาคราชัยยัญ และเสาหลักเมืองบาดาล (เสาสามเหลี่ยมที่ค้าเศียรนาค) ภายในองค์พญานาคทาเป็นถ้าแบ่งออกเป็น ๗ ห้อง

๓๘

๔๕

พญานาคศรีสุทโธ ที่สร้างไว้ภายในถ้า

๓๘

๔๖

ภาพการกวนเกษียรสมุทร หรือกูรมาวตาร ซึ่งถือเป็นเทพปกรณัมของพวกพราหมณ์ฮินดู ที่สาคัญเรื่องหนึ่ง

๔๗

พญานาคมุจลินท์แปลงกายเป็นมานพเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภายหลังจากที่ได้มาแผ่พังพานป้องกันลมฝนถวายพระพุทธองค์ตลอดสัปดาห์

๔๘

๓๙

พระพุทธเจ้าทรงปราบพญานาคที่อาศัยอยู่ในเรือนไฟของอุรุเวลากัสสปะจนสิ้นฤทธิ์ และทรงนามาขังไว้ในบาตร

๔๙

๓๙

๔๐

พระอริยสงฆ์ของไทยประดิษฐานอยู่ภายในถ้าพญานาค เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หลวงปู่ทวด เหยียบน้าทะเลจืด หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น

๔๐


ภาพที่ ๕๐

หน้า ป้ายของเทศบาลตาบลโพนพิสัย อยู่ทางด้านขวามือของวัดไทยใกล้กับร้านอาหารชื่อดัง คือ ร้าน “บ้านปลาทู”

๔๑

๕๑

พญานาคเจ็ดเศียรสีทองอร่ามบริเวณลานนาคาเบิกฟ้า

๔๒

๕๒

ด้านหน้าศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์เมืองโพนพิสัย เปิดวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา ๙.๐๐ -๑๖.๐๐ น.

๕๓

๔๒

ประติมากรรมรูปพญานาค ซึ่งจัดแสดงอยู่ภายในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ด้านหลังคือ ภาพจิตรกรรมตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีเหล่าพญานาคราช คอยถวายการต้อนรับ ส่วนลูกไฟกลมๆ สีส้มที่แขวนบนเพดาน สมมติให้เป็น บั้งไฟพญานาค

๔๓

๕๔

วัดมณีโคตร วัดสาคัญอีกแห่งหนึ่งของอาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

๔๔

๕๕

หลวงพ่อพระเสี่ยง ที่ชาวบ้านต่างเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ประดิษฐานอยู่บนแท่นบูชาที่แวดล้อมด้วยพญานาคราชสีทอง สีเงินและลูกแก้วพญานาค หลากสีหลายขนาด ๔๕

๕๖

สมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องจักรพรรดิประทับอยู่บนหลังพญานาคราช ๙ เศียร ประดิษฐานอยู่ ภายในวัดมณีโคตร

๕๗

สถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสุกจาลอง วัดหลวง อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

๕๘

๔๕ ๔๗

หลวงพ่อพระสุกจาลอง ที่ครูพิสัยกิจจาทรนาศรัทธาประชาชนสร้างขึ้น โดยจาลองพุทธลักษณะมาจากหลวงพ่อพระใสและหลวงพ่อพระเสริม พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นพร้อมกัน

๔๗

๕๙

สถานที่ทาบุญบูชาพญานาคราชเพื่อขอโชคลาภ ภายในวัดหลวง

๔๘

๖๐

โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปและพญานาคภายในพิพิธภัณฑ์วัดหลวง

๔๘

๖๑

จิตรกรรมภาพอินตาเจ้าฮั่ง ห่านฟ้า ภายในพิพิธภัณฑ์ วัดหลวง

๔๙

๖๒

หนึ่งในคณะทางานจับลูกแก้วพญานาคเพื่อสัมผัสพลังงานญาณพญานาคราช

๔๙


ภาพที่ ๖๓

หน้า วัดอาฮงศิลาวาส สถานที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งที่ถือเป็น “นาคสถาน” ซึ่งสายญาณพญานาค ไม่ควรพลาด

๕๑

๖๔

พระอุโบสถวัดอาฮงศิลาวาส

๕๒

๖๕-๖๖

บริเวณสะดือแม่น้าโขง ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่แม่น้าโขงมีความลึกมากที่สุด และเป็นที่ตั้ง ของนครบาดาล

๕๒

๖๗

ศาลเจ้าแม่เทพีสะดือแม่น้าโขง หรือเจ้าแม่ทองอู่ปั้นเป็นรูปเทวีมีสี่กร

๕๓

๖๘-๖๙

อุทยานหินงามอาฮง และเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สองสถานที่ที่นักท่องเที่ยว ไม่ควรพลาดชมเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนวัดอาฮงศิลาวาส

๕๓

๗๐

ความงามของภูทอก ซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น “ศรีคิริยา แห่งเมืองไทย”

๕๕

๗๑

ประติมากรรมรูปพระอริยสงฆ์แห่งสยามประเทศ นาโดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

๗๒

๕๕

ภูทอก ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้แสวงบุญควรหาโอกาสเดินทางมาเยือนให้ได้ สักครั้งหนึ่งในชีวิต

๕๖

๗๓

บริเวณชั้นที่ ๖ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ถ้าพญานาค”

๕๖

๗๔

คราบสีขาวนี้ที่เห็นอยู่นี้ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรอยพญานาค เมื่อพิจารณาดูให้ดีจะพบว่า มีรูปร่างคล้ายกับพญานาค ต่อมาได้มีผู้นาหินสีมาติดไว้ทาให้ดูคล้ายกับเป็นดวงตาของ พญานาค ๕๗

๗๕

เจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุซึ่งแปรสภาพเปลี่ยนเป็นพระธาตุของพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

๕๗

๗๖

ประติมากรรมรูปพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ในอิริยาบถยืน

๕๘

๗๗

อัฐิของพระอาจารย์จวน ที่แปรสภาพเป็นพระธาตุ เป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นพระอรหันต์ ผู้หมดกิเลส

๗๘ ๗๙

๕๘

ภาพถ่ายลาแสงประหลาดที่เกิดขึ้นบริเวณเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ

๕๙

สวนสาธารณะบึงโขงหลง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

๖๑


ภาพที่

หน้า

๘๐

โขงประตู ศาลปู่อือลือนาคราช

๖๒

๘๑

ด้านหน้าตาหนักเจ้าปู่อือลือนาคราช

๖๒

๘๒

ภายในตาหนักของเจ้าปู่อือลือนาคราช

๖๓

๘๓-๘๔

ศาลแม่ย่าจันทร์และแม่ย่าจาปา ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณตาหนักของเจ้าปู่อือลือ นาคราช

๖๓

๘๕

หนึ่งในคณะทางานกาลังให้เฒ่าจ้า ผูกด้ายสายสิญจน์ให้ที่แขน

๖๔

๘๖-๘๗

หลักกิโลเมตรขนาดใหญ่ด้านหน้าคาชะโนดโฮมสเตย์

๖๘

๘๘-๘๙

ต้นชะโนด ต้นไม้ที่มีลักษณะของต้นตาล ต้นมะพร้าว และต้นหมากรวมกัน ถือเป็นต้นไม้ สัญลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ เพราะขึ้นเฉพาะที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น

๖๘

๙๐

ประตูทางเข้าวังนาคินทร์คาชะโนด เปิดปิดเวลา ๗.๓๐- ๑๘.๐๐ น.

๖๙

๙๑-๙๒

บริเวณกลางสะพานนาค ที่เชื่อว่าเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของวิญญาณ แม้จะมีผู้พยายามเชื่อมต่อสะพานที่ขาดนี้เข้าด้วยกัน ทว่าไม่เคยทาได้สาเร็จ แม้แต่ครั้งเดียว

๙๓-๙๔

๖๙

บ่อน้าศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเป็นประตูเชื่อมระหว่างมนุษยโลกกับนาคพิภพ น้าในบ่อนี้ ถือเป็นน้ามนต์ที่ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขับไล่สิ่งอัปมงคลต่างๆ และดลบันดาล ความสิริสวัสดี

๙๕

ต้นมะเดื่อ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งที่อยู่ภายในวังนาคินทร์คาชะโนด เชื่อว่า บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของท้องพระคลังหลวงแห่งนาคนคร

๙๖

๗๐ ๗๑

นักเสี่ยงโชคจากทั่วทุกสารทิศเดินทางเข้ามายังสถานที่แห่งนี้เพื่อขอโชคลาภ ปัจจุบันทาง ราชการ ได้จัดระเบียบผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชม เช่น ห้ามจุดธูป เทียน หรือโรยแป้งฝุ่นเพื่อขูดหา ตัวเลข เป็นต้น เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของป่าคาชะโนดเพื่อไม่ให้ถูกทาลาย ไปมากกว่านี้

๙๗

๗๑

ภาพถ่ายหลวงปู่คาตา สิริสุทโธ โดยคุณทศพล จังพานิชย์กุล เป็นผู้ถวาย ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดศิริสุทโธ (คาชะโนด)

๗๓


ภาพที่

หน้า

๙๘

รูปหล่อหลวงปู่คาตา สิริสุทโธ ประดิษฐานอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (คาชะโนด)

๙๙

“แจ่มจันทร์ภาพยนตร์” ประจักษ์พยานที่ประสบกับเหตุการณ์ผีจ้างหนังอันลือเลื่อง

๗๔

เรื่องราวดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดอีกครั้งผ่านรายการมูไนท์ (Moonight) โดยมีคุณคชาภา ตันเจริญ (มดดา) และคุณกรรชัย กาเนิดพลอย (หนุ่ม) เป็นพิธีกร ออกอากาศทางช่อง ไทยรัฐทีวี เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ๗๔ ๑๐๐

บริเวณด้านหน้าศาลพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมา ภายในบริเวณวังนาคินทร์ คาชะโนด

๗๔

๑๐๑

รูปปั้นพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาล

๗๕

๑๐๒

บรรดาผู้ศรัทธานาบายศรีมาถวายพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาภายในศาล โดยมีเฒ่าจ้า เป็นผู้นากล่าวคาบูชา ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาขยะตามมา ทางศาลจึงออกกฎให้ผู้ที่นา บายศรีมาถวายนากลับไปบูชาที่บ้านด้วยเพื่อความเป็นศิริมงคล ๗๕

๑๐๓

บายศรีพญานาค ที่ผู้ศรัทธานามาถวายพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา วางไว้ด้านหน้าศาล

๑๐๔

ป้ายที่อยู่บริเวณข้างศาลเดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา ซึ่งชาวบ้านแถวนั้น เรียกว่า “ตาศรี ยายปทุม”

๑๐๕

๗๖ ๗๗

บริเวณด้านหน้าศาลเดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมา ศาลนี้สร้างขึ้นก่อนศาล ที่ตงั้ อยู่ในป่าคาชะโนด

๗๗

๑๐๖

ภายในศาลเดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมา

๗๘

๑๐๗

คณะผู้มีจิตศรัทธาตั้งเครื่องบวงสรวงพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมมาบริเวณศาลเดิม เครื่องบูชาพญานาคประกอบไปด้วย บายศรีพญานาค ผลไม้นานาชนิด เช่น มะพร้าวอ่อน กล้วยน้าว้า ขนุน เป็นต้น เครื่องดื่ม และที่ขาดไม่ได้คือ ไข่ไก่ต้ม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของที่ พญานาคโปรดปราน ๗๘

๑๐๘

ผู้บอกข้อมูล นางอรุณ โพธิ์ศรี อายุ ๕๗ ปี ชาวบ้านบ้านศรีเมือง ตาบลบ้านม่วง อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

๑๐๙-๑๑๐

๗๙

(ภาพซ้าย) ท่าเรือที่จะไปศาลเจ้าแม่นาคี (ภาพขวา) ศาลเจ้าแม่นาคี ที่ตั้งอยู่บนแพกลาง หนองน้า ๘๐


ภาพที่

หน้า

๑๑๑-๑๑๒

รูปปั้นเจ้าแม่นาคี ซึ่งตั้งอยู่ภายในศาล

๑๑๓

รูปปั้นเจ้าแม่นาคี ในละครเรื่องนาคี ภาพจาก www.youtube.com เปรียบเทียบกับ

๘๑

รูปปั้นเจ้าแม่นาคีที่อยู่ภายในศาลเจ้าแม่นาคีที่สร้างขึ้นใหม่

๘๑

๑๑๔

พุทธศาสนิกชนทาวัตรสวดมนต์บริเวณลานวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

๘๓

๑๑๕

ทัศนียภาพเกาะดอนสวรรค์ยามอาทิตย์อัสดง สวยงามเกินคาบรรยาย

๘๕

๑๑๖

พระวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะดอนสวรรค์

๘๕

๑๑๗

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร

๘๖

๑๑๘

ภาพปริศนาที่เหมือนมีใบหน้าคนปรากฏอยู่

๘๖

๑๑๙

ภาพใบหน้าคนครึ่งซีกภายในกระจก มีดวงตา จมูก และปากชัดเจน

๘๗

๑๒๐

รูปปั้นพญานาค หรือปู่ใหญ่ ผู้พิทักษ์รักษาเกาะดอนสวรรค์และหนองหาร

๘๗

๑๒๑

ซากศิลาแลง สันนิษฐานว่าสถานที่นี้น่าจะเคยเป็นที่ประกอบพิธีกรรมของพวกเขมรโบราณ มาก่อน

๑๒๒

๘๘

ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองศรีวิลานี ที่อยู่บนเกาะดอนสวรรค์ จุดหมายสาคัญของบรรดา นักเสี่ยงโชคจากทั่วทุกสารทิศ

๘๘

๑๒๓

บรรยากาศอันร่มรื่นภายในวัดถ้าผาแด่น อาเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

๙๐

๑๒๔-๑๒๕

หนทางที่จะขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาทนั้นยากลาบาก จะต้องเดินขึ้นภูเขา บางช่วงต้องปีนป่าย ผ่านป่าชัฏและช่องหินแยก ก่อนที่จะขึ้นไปสู่ลานหินที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาท

๑๒๖-๑๒๗

รอยพระพุทธบาท ซึ่งเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับไว้เพื่อปราบพญานาคพาล ให้ละมิจฉาทิฐิ หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

๑๒๘ ๑๒๙

๙๐ ๙๑

ภาพสลักพญาครุฑกุมกระบองท้าวเวสสุวรรณ สัญลักษณ์แทนอานาจบารมี และโภคทรัพย์ ประดิษฐานบริเวณผาหิน วัดถ้าผาแด่น

๙๒

พระธาตุพนม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่ดินแดนอีสาน

๙๖


ภาพที่ ๑๓๐

หน้า เครื่องบูชาพระธาตุพนม ? อันประกอบด้วยบายศรีพญานาค ดอกบัว และที่สาคัญ คือ น้าดืม่ บริสุทธิ์

๑๓๑

๙๖

ประติมากรรมรูปพระมหากัสสปเถระ พระอรหันต์ผู้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระ ผู้มีพระภาคเจ้ามาประดิษฐานไว้ในดินแดนแถบนี้

๑๓๒

๙๗

ประติมากรรมรูปพระอุปคุต พระอรหันต์ที่คอยปกปักรักษาพระพุทธศาสนาให้รอดพ้น จากมาร

๙๗

๑๓๓

รูปปั้นพญานาคเก้าเศียรตั้งอยู่ภายในวัด

๙๘

๑๓๔

บริเวณด้านหน้าห้องที่ประทับของพญาสัตตนาคา พญานาคผู้รักษาพระธาตุพนม

๙๘

๑๓๕

บริเวณด้านในที่ประทับของพญาสัตตนาคา

๙๙

๑๓๖

อาสน์ที่ประทับของพญาพาหุสัจจะวุฒินาโค และพญาจาคะวุฒินาโค

๙๙

๑๓๗

ภาพวาดพญาสัตตนาคา ในร่างมาณพ ซึ่งประดับอยู่ภายในห้องที่ประทับ ของพญาสัตตนาคา

๑๓๘

๑๐๐

ประติมากรรมรูปมนุษย์นาค ที่ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนร่างเป็นงู ประดับอยู่ภายในห้องที่ ประทับของพญาสัตตนาคา

๑๐๐

๑๓๙

ศาลผีเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ หรือศาลผีมเหศักดิ์สามตน ผู้พิทักษ์รักษาพระธาตุพนม

๑๐๑

๑๔๐

ประติมากรรมรูปพญาศรีสัตตนาคราชกาลังพ่นน้า หันหน้าไปทางแม่น้าโขง ฟากตรงข้ามคือเมืองท่าแขก แขวงคาม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๑๐๔

๑๔๑

บายศรีที่มีผู้คนนาไปกราบไหว้ด้วยความเคารพศรัทธา

๑๐๕

๑๔๒

พญาศรีสัตตนาคราชองค์จาลอง ที่ประดิษฐานอยู่ภายในห้องฐานแปดเหลี่ยม ซึ่งจัดเป็น ห้องนิทรรศการที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของการจัดสร้างพญาศรีสัตตนาคราช ให้เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครพนม

๑๔๓

๑๐๕

วัตถุมงคลรุ่น “มหาสิทธิโชค” และรุ่น “พญาศรีสัตตนาคราช” ซึ่งเป็นรุ่นแรกและรุ่นที่สอง จัดแสดงภายในห้องฐานแปดเหลี่ยม

๑๐๖


ภาพที่ ๑๔๔

หน้า ประมวลภาพเหตุการณ์การสร้างพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม ซึ่งจัดแสดงภายใน ห้องฐานแปดเหลี่ยม

๑๔๕

๑๐๖

ร้านจาหน่ายของที่ระลึก สินค้า OTOP ของจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับประติมากรรม พญาศรีสัตตนาคราช ชื่อร้าน “นาคราช”

๑๐๗

๑๔๖

พระพุทธรูปนาคปรก วัดศรีสุมังค์วราราม จังหวัดมุกดาหาร

๑๐๘

๑๔๗

ป้ายประชาสัมพันธ์งานบวงสรวงองค์ปู่พญานาค ณ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒

๑๔๘-๑๔๙

๑๑๐

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ มุกดาหาร สะหวันนะเขต และท่าน้า ณ ศาลพญานาคซึ่งอยู่ทางฝั่งไทย

๑๑๐

๑๕๐-๑๕๑

ศาลาภายในศาลพญานาค บริเวณหน้าจั่วเขียนด้วยภาษาขอม อ่านว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ซึ่งเป็นหัวใจพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในศาล ๑๑๑

๑๕๒-๑๕๕

ประติมากรรมรูปพญานาคราชภายในศาล

๑๕๖-๑๕๗

ปู่ฤๅษีนาคราช และพระแม่คงคา ทรงจระเข้ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในศาล

๑๕๘

ก้อนเมฆสีดาที่มีรูปร่างมองดูคล้ายพญานาค และมีสายรุ้งพาดผ่าน ตามความเชื่อของศาสนา

๑๑๑-๑๑๒ ๑๑๓

พราหมณ์ สายรุ้งคือตัวแทนของพญานาค ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมมนุษยโลกและเทวโลก เข้าไว้ด้วยกัน

๑๑๓

๑๕๙

“พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์” บนภูมโนรมย์ ที่กาลังดาเนินการก่อสร้าง

๑๑๔

๑๖๐

สถานที่ประดิษฐานพระธาตุ รอยพระพุทธบาทจาลอง และพระพุทธรูป (พระอังคารเพ็ญ)

๑๑๕

๑๖๑

เมื่อมองไปทางด้านทิศเหนือ จะพบกับทัศนียภาพเมืองมุกดาหารและแม่น้าโขง

๑๑๕

๑๖๒

“พญาสิริมุตตามหามุนีนีลบาลนาคราช” ซึ่งช่างกาลังทาสี ภายในวัดรอยพระพุทธบาท ภูมโนรมย์

๑๖๓

๑๑๖

บริเวณที่เชื่อว่าเป็นรูพญานาค นี่คือหนึ่งในจานวนทั้งหมด ๗ รู และรูนี้เป็น รูที่ใหญ่ที่สุด

๑๑๖


ภาพที่ ๑๖๔

หน้า ชายผู้นี้คือศิลปินผู้สร้างองค์พญานาคราช มีผลงานอยู่แทบทุกจังหวัดในภาคอีสาน ของไทย

๑๑๗

๑๖๕

รูปปั้นพญานาคราชเลื้อยขึ้นมาจากลานหิน

๑๑๘

๑๖๖

รูปปั้นพญานาคราช ๓ ตน บนลานธรรมพญานาค

๑๑๘

๑๖๗

หลวงพ่อองค์ดา ภายในวัดป่าภูฮัง

๑๑๙

๑๖๘

ภาพเขียนสีรูปพญานาค วัดป่าภูฮัง

๑๑๙

๑๖๙

ฝูงไก่ต๊อกและนกยูงภายในวัดป่าภูฮัง

๑๑๙

๑๗๐

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ

๑๗๑

๑๒๑

พระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะเขมร ด้านขวามือคือ พญานาคห้าเศียร ส่วนด้านซ้ายมือ คือ ปู่ฤๅษีภุชงค์ และพญานาคกาลังพ่นน้า

๑๒๒

๑๗๒

ทางขึ้นพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์ เป็นรูปพญานาคศิลปะเขมร งดงามมาก

๑๒๒

๑๗๓

รูปปั้นพญานาคเก้าเศียร เป็นองค์แทนของพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช ประดิษฐานอยู่ตรง ทางเข้าพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์

๑๒๓

๑๗๔

ภายในพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์

๑๒๓

๑๗๕-๑๗๖

บริเวณด้านในองค์พระเจดีย์ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูปปางนาคปรก พระแก้วจักรพรรดิ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ให้สาธุชน ได้กราบไหว้บูชา

๑๒๔

๑๗๗

หินพญานาคเสี่ยงทาย ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์เจดีย์

๑๒๔

๑๗๘

สุภาพสตรีท่านหนึ่งกาลังยกหินพญานาคเพื่อเสี่ยงทาย

๑๒๕

๑๗๙-๑๘๐

รูปปั้นพญานาคภายในวัด

๑๒๕

๑๘๑

ประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตตไตย อนาคตพระพุทธเจ้าแห่งภัทรกัปนี้ สังเกตที่ด้านล่างมีรูปปั้นนาคี นาคา ประดิษฐานอยู่

๑๒๘


ภาพที่ ๑๘๒

หน้า พระอาจารย์วิเชียร เจ้าอาวาสวัดปากโดมเทพนิมิต ขณะกาลังให้ศีลให้พร แก่คณะทางาน

๑๘๓

๑๒๙

พญาทะนะมูลนาคราช ในกายพญานาค และกายมนุษย์ ในปีนี้ (พ.ศ.๒๕๖๑) ท่านเจ้าอาวาส มีดาริให้จัดสร้างประติมากรรมพญาทะนะมูลนาคราชครึ่งมนุษย์ ครึ่งนาค อีกด้วย

๑๒๙

๑๘๔

แม่ยา่ เกตุปทุม นางแก้วคู่บารมีของพญาทะนะมูลนาคราช

๑๓๐

๑๘๕-๑๘๖

พญาทะนะมูลนาคราชในยามราตรี งดงามประหนึ่งมีชีวิต

๑๓๐

๑๘๗

พระพุทธปารุรังสีสัมมาโพธิญาณ ประดิษฐานอยู่ในศาลาริมแม่น้ามูล บริเวณที่พญาทะนะ มูลนาคราชขึ้นมาจากแม่น้ามูลขึ้นมากราบพระอาจารย์วิเชียร ด้านข้างองค์พระพุทธรูปเป็น ประติมากรรมรูปสองพระแม่ผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระแม่ธรณี ผู้พิทักษ์รักษาผืนแผ่นดิน และ พระแม่โพสพ ผู้ปกปักรักษาต้นข้าว พืชอาหารหลักของมนุษย์ ๑๓๑

๑๘๘

หางของพญานาคทอดยาวลงไปในแม่น้ามูล พระอาจารย์วิเชียรยืนยันว่า พญานาคราชขึ้นมาตรงบริเวณนี้

๑๘๙

๑๓๑

ประติมากรรมรูปพญาเต่ายักษ์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระพุทธปารุรังสีสัมมาโพธิญาณ พระอาจารย์วิเชียรกล่าวว่า สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงเมื่อครั้งที่พญาเต่ายักษ์สองตัวคลานขึ้นมา กราบท่าน

๑๙๐

๑๓๒

ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ภายในวัด ที่มีรูปร่างคล้ายโยนี (อวัยวะเพศหญิง) ปรากฏขึ้นบนลาต้น พระอาจารย์วิเชียรเมตตาพาคณะทางานไปชม ท่านอธิบายว่าต้นนี้มีนางไม้สิงสถิตอยู่ ๕ ตน สังเกตได้จากรูปโยนีที่เกิดขึ้นจานวน ๕ ที่ และนางไม้กลุ่มนี้ได้เคยมากราบท่านแล้ว ๑๓๒

๑๙๑

บริเวณทางลงไปยังถ้าคูหาสวรรค์

๑๓๔

๑๙๒

ฆ้องยักษ์ และพระเจดีย์สีทองอร่ามภายในบริเวณวัด

๑๓๔

๑๙๓-๑๙๔

บรรยากาศภายในวัดถ้าคูหาสวรรค์

๑๓๕

๑๙๕

พระอุโบสถ

๑๓๕

๑๙๖

หอระฆัง

๑๓๕

๑๙๗

พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะอีสาน พระพุทธเจ้าแสดงวิตารกมุทรา (ยกมือขึ้น นิ้วโป้ง และนิ้วชี้สัมผัสกัน) เป็นเครื่องหมายว่า พระองค์กาลังทรงแสดงธรรม

๑๓๖


ภาพที่

หน้า

๑๙๘

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายในถ้าคูหาสวรรค์

๑๓๖

๑๙๙

อีกมุมหนึ่งในถ้าคูหาสวรรค์

๑๓๗

๒๐๐

สามพระอริยสงฆ์ของไทย ตรงกลางภาพคือรูปหล่อหลวงปู่คาคะนิง ด้านขวามือของท่านคือ รูปหล่อของหลวงปู่ทวดเหยียบน้าทะเลจืด ส่วนทางด้านซ้ายมือคือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

๒๐๑

พระรูปของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขต อุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย ประดิษฐานภายในถ้าคูหาสวรรค์

๒๐๒

๑๓๘

แม่ออกกาลังถือขันหมากเบ็งที่ตั้งใจทาอย่างสุดฝีมือไปบูชาพระ เพราะวันนี้เป็นวัน ธรรมสวนะ

๒๐๓-๒๐๔

๑๓๗

๑๓๘

พญานาคคู่ นี้เป็นตัวแทนของพญานาคราช ผู้ปกปักรักษาถ้าปาฏิหาริย์ มีนามว่า “นิลกาฬเงิน ทอง” อยู่บริเวณด้านหน้าปากทางเข้าวัด

๑๔๐

๒๐๕

พญานาคราชสีทอง (วิรูปักโขนาคราช) ประดิษฐานอยู่ภายในพุทธอุทยานถ้าปาฏิหาริย์ ๑๔๑

๒๐๖

เทพพนมทั้ง ๒ ตนนี้ เชื่อกันว่าท่านเป็นเทพผู้ปกปักรักษาถ้าปาฏิหาริย์ ผู้ใดที่จะเข้าไป ภายในถ้าจะต้องมากราบขออนุญาต ณ ตรงจุดนี้ก่อน เหมือนเวลาที่เราจะเข้าไปในบ้านใคร ก็ต้องขออนุญาตเจ้าของบ้าน ไม่ผลีผลามเข้าไปโดยพลการ

๑๔๑

๒๐๗

ทางเดินลงไปสู่ถ้าปาฏิหาริย์

๑๔๒

๒๐๘

บันไดนาคหน้าปากถ้าปาฏิหาริย์ ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่าเป็นรูปแทนของพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นบันไดนาคธรรมดา

๒๐๙

๑๔๒

ทางลงถ้าปาฏิหาริย์ (บุคคลในภาพ ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน อาจารย์จากคณะ เกษตรศาสตร์ และอาจารย์จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) ๑๔๓

๒๑๐

บันไดนาคที่ทอดยาวลงสู่ถ้าปาฏิหาริย์ นอกจากแสงสว่างที่เริ่มน้อยลงแล้ว อากาศที่ใช้หายใจยังลดน้อยลงตามไปด้วย

๑๔๓


ภาพที่ ๒๑๑

หน้า แท่นบูชาพญานาคเบื้องหน้าพระพุทธไสยาสน์ สังเกตว่าบนแท่นมีบายศรีรูปพญานาคราช และแก้วพญานาค

๑๔๔

๒๑๒

หินศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในถ้าปาฏิหาริย์ เชื่อว่ามีเทพเทวาสิงสถิตอยู่

๑๔๔

๒๑๓

พระพุทธรูปน้อยใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในถ้าปาฏิหาริย์

๑๔๕

๒๑๔

บรรดาพระพุทธรูปที่มีผู้นามาถวาย จากภาพจะเห็นพระพุทธรูปไม้ ศิลปะลาวรวมอยู่ด้วย เชื่อว่าเป็นของที่มีมาแต่เดิม

๑๔๕

๒๑๕

คุณแม่เจรจา มาลี อายุเจ็ดสิบกว่าปี ผู้ดูแลถ้าในปัจจุบัน

๑๔๖

๒๑๖

บริเวณธารน้าศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้า ซึ่งไม่อนุญาตให้ลงไปชมเชื่อว่า น้านี้ไหลขึ้นมาจาก เมืองบาดาล

๒๑๗

๑๔๖

เมื่อเดินเข้าไปในถ้าเรื่อยๆ จะพบรั้วกั้นไว้ และมีป้ายเขียนบอกว่าไม่อนุญาตให้เดินต่อไปอีก เพราะเชื่อว่าหลังรั้วนี้เป็นดินแดนของพวกบังบด ลับแล และเป็นดินแดนของพวกพญานาค ถ้าเดินเข้าไปแล้ว อาจจะไม่ได้กลับออกมาอีกเลย ๑๔๗

๒๑๘

พญานาคในรูปกายที่เป็นงู ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าปากทางเข้าถ้าปาฏิหาริย์

๑๔๗

๒๑๙-๒๒๐

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดถ้าปาฏิหาริย์ มีทั้งพระพุทธรูป และพระอริยสงฆ์

๑๔๘

๒๒๑

พระเจดีย์ภายในวัดถ้าปาฏิหาริย์ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระแก้วมรกต (จาลอง)

๑๔๘

๒๒๒

ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต (จาลอง) และพระพุทธรูปปางต่างๆ ๑๔๙

๒๒๓

ภายในพระเจดีย์มีเสาทั้งหมด ๑๖ ต้น โดยแต่ละต้นทาเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียร เลื้อยพันเสาที่วาดเป็นรูปหมู่เมฆ

๒๒๔

ภายนอกเจดีย์ประดับด้วยดินเผา ในภาพเป็นเรื่องราวที่มาจากชาดกเรื่อง “ภูริทัตชาดก” ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เคยเสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต

๒๒๕ ๒๒๖

๑๔๙ ๑๕๐

ภายในศาลา ซึ่งเป็นสถานที่รับน้าทิพมนต์พญานาค ใกล้กันกับบาตรยักษ์ วัดถ้าปาฏิหาริย์

๑๕๐

บาตรยักษ์ สาหรับบรรจุน้า วัดถ้าปาฏิหาริย์

๑๕๑


ภาพที่

หน้า

๒๒๗

รูปปั้นพระฤๅษี ในวัดถ้าปาฏิหาริย์

๑๕๑

๒๒๘

พระบรมรูปพระเจ้าตากสินมหาราชในบริเวณวัดถ้าปาฏิหาริย์

๑๕๒

๒๒๙

พระบรมรูปพระปิยมหาราช ภายในวัดถ้าปาฏิหาริย์

๑๕๒

๒๓๐

พญามุจลินทนาคราช ประดิษฐาน ณ ถ้าผาพญานาคราช

๑๕๔

๒๓๑

ด้านข้างพญามุจลินทนาคราชเป็นบทสวดคาถาหัวใจพญานาคราช (อะ งะ สะ ประสิทธิลาโภ ) สวดบูชาเพื่อขอโชคลาภ

๒๓๒

๑๕๔

เต็นท์จาหน่ายบายศรี หมากพลู เครื่องบูชาพญานาค รวมทั้งวัตถุมงคล และของที่ระลึก (สินค้า OTOP) เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เพื่อนาปัจจัยที่ได้มาทานุบารุงวัด

๑๕๕

๒๓๓

พระพุทธรูปนาคปรก ทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ

๑๕๕

๒๓๔

พระฤๅษีประทับเหนือพญานาค แสดงท่าประทานพร

๑๕๖

๒๓๕

พระวิหารแก้ว บริเวณด้านหน้าวัด

๑๕๖

๒๓๖

วิหารแก้ว ทรงแปดเหลี่ยม ที่กาลังก่อสร้าง

๑๕๗

๒๓๗

คุณธีระพงศ์ โพธิสาร ช่างปั้นความรู้มหาบัณฑิต จากรั้วสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ปั้นรูปพญานาคมุจลินท์บริเวณด้านหน้าวัด ที่เคยโด่งดังมาแล้ว ปัจจุบันได้มาปั้นพญานาคมุจลินท์ในวิหารแก้ว

๑๕๗

๒๓๘

บรรยากาศอันร่มรื่นภายในวัดถ้าผาพญานาคราช

๑๕๘

๒๓๙-๒๔๐

หนทางอันแสนยากลาบากที่นาไปสู่ถ้าพญานาค

๑๕๘

๒๔๑

เมื่อไปถึงหน้าปากถ้าพญานาค จะต้องทาการขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เปิดทางก่อนลงไป สารวจ

๒๔๒

๑๕๘

ภายในถ้าวังผาพญานาคราช มีลักษณะเป็นซอกหลืบลึกลับซับซ้อน ถือได้ว่าเป็นสถานที่ ท่องเที่ยว UNSEEN ของจังหวัดอุบลราชธานี

๑๕๙

๒๔๓

บางช่วงของการสารวจถ้า ต้องคลานบ้าง เลื้อยบ้างไม่ต่างอะไรกับงู

๑๕๙

๒๔๔

รูเล็กๆ ที่เห็นนี้ คือทางออกจากถ้าพญานาค

๑๖๐


ภาพที่ ๒๔๕

หน้า ป้ายประชาสัมพันธ์ที่องค์การบริหารส่วนตาบลห้วยไผ่จัดทาขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์งาน “ไหลเรือไฟ ชมบั้งไฟพญานาค” ที่จัดขึ้น

๒๔๖

๑๖๒

พิธีบูชาพญาศรีสัตตนาคราช ในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ณ บ้านตามุย อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

๑๖๒

๒๔๗

รูปปั้นพญานาคภายในวัด

๑๖๓

๒๔๘

คุณยายมะลิวัลย์ ปัญญาชู ชาวบ้านตามุย (ผู้บอกข้อมูล)

๑๖๓

๒๔๙

ชาวบ้านกาลังลอยกระทงในแม่น้าโขงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า เนื่องในวันปวารณาออกพรรษา

๒๕๐

๑๖๔

เครื่องบวงสรวงบูชาพญานาค ประกอบไปด้วยบายศรีพญานาค กล้วยน้าว้า มะพร้าวอ่อน เป็นต้น

๒๕๑

๑๖๔

นายอาเภอโขงเจียม ปล่อยเรือไฟบูชาพญานาคถ่ายโดย องค์การบริหารส่วนตาบล ห้วยไผ่

๑๖๕

๒๕๒-๒๕๓

เรือไฟในเวลากลางวัน และกลางคืน

๑๖๕

๒๕๔

พญานาครูปลักษณ์กึ่งมนุษย์ กึ่งงู

๑๖๘

๒๕๕

พระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาราม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

๒๕๖

๑๗๒

คาบูชาบริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก วัดบูรพาราม สังเกตว่าแทนที่จะเป็น คากล่าวบูชาพระพุทธรูป กลับเป็นคากล่าวบูชาเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช และเจ้าย่า ปทุมานาคี

๑๗๒

๒๕๗

ประติมากรรมรูปกาฬนาคราชในศาลาแก้วกู่ อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

๑๗๓

๒๕๘

พระสิวลี พระอรหันต์ผู้เป็นเลิศในทางโชคลาภ รวมกับพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา ในคติความเชื่อดั้งเดิม ซึ่งพญานาคนั้นเป็นตัวแทนของทรัพย์สมบัติ เชื่อว่าช่วยบันดาล

๒๕๙

ให้ผู้บูชาได้รับลาภผลทวีคูณ

๑๗๔

ป้ายสรุปยอดเงินบริจาค ณ วังนาคินทร์คาชะโนด

๑๗๕


ภาพที่ ๒๖๐

หน้า รถรับบริจาคจากวัดโนนสว่าง แล่นเข้ามาขอรับบริจาคจากสาธุชน ณ วัดป่าศิริสุทโธ คาชะโนด ตั้งแต่เช้าตรู่

๒๖๑

๑๗๖

ชาวบ้านต่างมีรายได้จากการทาบายศรีพญานาค เพื่อจาหน่ายให้แก่บรรดานักท่องเที่ยว ที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ มากราบขอพรพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา สักครั้งหนึ่งในชีวิต

๑๗๗

๒๖๒-๒๖๓

งานหล่อพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช ณ วัดบ้านไม้ค้าง อ.วารินชาราบ จ.อุบลราชธานี

๑๗๘

๒๖๔

พระฤๅษีกาหลง ทาพิธีครอบเศียรพญานาคให้แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา เชื่อว่าจะทาให้เกิด เมตตามหานิยม มีโชคลาภ ทามาค้าขายดี

๑๗๘

๒๖๕

ทางเข้างาน “Miracle of Candle” ภายใต้แนวคิด “นครนาคราช”

๑๗๙

๒๖๖-๒๖๗

พญานาคศรีสุทโธ ในภาคครึ่งมนุษย์ ครึ่งงู ทาจากเทียนหอม ขนาดความสูง ๕ เมตร

๑๘๐

๒๖๘-๒๖๙

พญาศรีสุทโธนาคราช พร้อมพญานาคบริวาร ซ้าย-ขวา

๑๘๐

๒๗๐

อีกมุมหนึ่งของงาน “Miracle of Candle มหัศจรรย์เทียนพรรษา”

๑๘๐

๒๗๑

ความวิจิตรบรรจงของเทียนหอมรูปเกล็ดพญานาคและพรรณดอกไม้น้า

๑๘๑

๒๗๒

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การแสดงคอนเสิร์ตคุณพระช่วย ครั้งที่ ๗ ในชื่อ “นาคฟ้อน มังกรระบา”

๑๘๒


เผดิมพจน์ สังคมไทย: สังคมอุดมศรัทธา “โลกมันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ประมาณปีที่แล้ว ผมพบอาจารย์ท่านหนึ่งที่ออสเตรเลีย Peter A. Jackson เขาศึก ษาเรื่ องเครื่ องรางของขลัง พยายามศึ กษาเรื่อ งโลกสมัยใหม่มี ค วามเป็ น ศาสนา น้อยลง คือลดความศรัทธา (Disenchanted) ต่อมานักมานุษยวิทยาก็ศึกษาเรื่องนี้ พอมาดูเมืองไทยก็ อาจมี ส ภาวะแบบนี้ ผมก็ แ ย้ ง ว่ า เมื อ งไทยไม่ เ คย Disenchanted เพราะมั น Enchanted อยู่ ตลอดเวลา เพียงแต่ว่าเปลี่ยนเรื่องราวอยู่ตลอดเวลา” (ตอนหนึ่งจากปาฐกถาของศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ในงานประชุมวิชาการเรื่อง “ไทยศึกษาในภูมิภาค อีสาน” เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) ข้อคิดเห็นข้างต้นเป็นความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย สังคมที่ผสานความคิดความเชื่อทางศาสนา (Religious Syncretism) ได้อย่างลงตัวมาช้านาน ทั้งความเชื่อดั้งเดิมที่ผู้คนนับถือผี อานาจเหนือธรรมชาติ รวมกับความเชื่อใน ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุ ท ธที่ เดิ น ทางไกลมาจากชมพู ท วีป จนถึงดิ น แดนแถบนี้ หล่ อ หลอมให้ สั งคมไทย กลายเป็นสังคม “อุดมศรัทธา” ส่วนหลักฐานที่สนับสนุนข้อคิดเห็นข้างต้น นั้น เพียงแค่ลองมองย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เริ่ม ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐ ที่กระแสจตุคามรามเทพ 1 ได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่จากัดอยู่เฉพาะในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชหรือทางภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น แต่ทว่ายังแพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ คนไทยต่างกราบไหว้บูชาจตุคามรามเทพกันถ้วนหน้า แม้แต่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็น สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพระบรมธาตุ เมืองนครศรีธรรมราชก็ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคล จตุคามรามเทพให้ประชาชนได้เช่าบูชาด้วยเช่นกัน สมัยนั้นไม่ว่าจะไปที่ ใดก็มักจะได้ยินผู้คนพูดถึงแต่ “เสด็จพ่อ จตุคามรามเทพ” คาดว่าในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๕๐ มีวัตถุมงคลจตุคามรามเทพผลิตออกมาประมาณ ๒๐๐ รุ่น และน่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนอยู่ในวงการพระเครื่องมากถึง ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ส่งผลให้จีดีพีของประเทศขยับสูงขึ้น ๐.๑-๐.๒% สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่อยู่ในช่วงขาลง มูลเหตุที่ทาให้กระแสจตุคามรามเทพมาแรงน่าจะเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย ทาให้ประชาชนมี สภาพความเป็นอยู่ ที่ยากลาบาก หลายคนจึงต้องแสวงหาที่พึ่งทางใจที่ จะสามารถช่วยดลบันดาลให้มีกินมีใช้ ไม่ ฝืดเคือง ซึ่งประชาชนเชื่อว่า จตุคามรามเทพสามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ เห็นได้จากประโยคที่อ้างกัน ว่าเป็นรับสั่งขององค์ท่านว่า “ตราบใดที่น้าทะเลยังไม่เหือดแห้ง มึงมีกูไว้ไม่จน” การโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็มีส่วนสาคัญไม่น้อยที่ทาให้กระแสจตุคามรามเทพมาแรง วัตถุมงคลแต่ละรุ่นจะ กล่าวถึงวัตถุป ระสงค์ ของการจัด สร้างไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการระดมทุน เพื่อนาไปใช้ส อยเพื่อสาธารณประโยชน์ 1

จตุคามรามเทพ คือ เทพผู้พิทักษ์รักษาพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ได้แก่ ท้าวขัตตุคามและท้าวรามเทพ เดิม ท่านเป็นเทพ เจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต่อมาได้มีการผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้ท่านกลายมาเป็นเทพ ผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาแทน


๒ มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่นามาสร้างล้วนแต่คัดสรรมาอย่างดี ผู้สร้างได้จัดให้มีการประกอบพิธีเทวาภิเษกและพุทธาภิเษก (อาจจะทาพิธีกัน ๑ ครั้ง ๓ ครั้ง ๕ ครั้ง ๗ ครั้ง หรือ ๙ ครั้ง สังเกตว่าจานวนครั้งมักเป็นเลขคี่) พระเถรานุเถระหรือ คณาจารย์ที่ทรงวิทยาคมที่เข้าร่วมพิธีมีใครบ้าง สถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมคือสถานที่ใด ซึ่งนอกจากจะใช้พื้นที่ บริเวณ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” และ “ศาลหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช” แล้ว บางรุ่นถึงขั้นทาพิธีปลุก เสกกันบนเครื่องบินหรือเรือรบเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการโหมกระแสจตุคามรามเทพให้เพิ่มมากขึ้น จึงไม่น่าแปลก ใจเลยว่า เพราะเหตุใดผู้คนจึงแย่งชิงกันเพื่อที่จะได้วัตถุมงคลจตุคามรามเทพมาครอบครอง แม้ว่าราคาจะสูงเพียงใด ก็ตาม บางรุ่นถึงขนาดเหยียบกันตายจนเป็นข่าวดังมาแล้วก็มี กระแสจตุคามรามเทพที่เกิดขึ้นดังได้ กล่าวมาแล้วข้างต้น สอดคล้องกับงานเขียนของ พจนา สัจจาศิลป์ (๒๕๕๐) เรื่ อง “จตุค ามรามเทพกั บ กระแสการตลาด” ว่า กระแสจตุ คามรามเทพได้กลายเป็น “Talk of the Country” ซึ่งเป็นกระแสที่ทาให้เกิดความบ้าคลั่ง (Fad) ยิ่งกว่ากระแส “Talk of the Town” เห็นได้จากลามไป ถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และกัมพูชา นั่นเป็นเพราะ P-People คือ ขุนพันธรักษ์รามเดช บุคคลที่ เป็น สัญลักษณ์ของผู้นาจตุคามรามเทพมาบูชาเป็นคนแรก P-Product รุ่นดี มวลสารดี พิธีขลัง พิมพ์สวย สมาคม รับรอง เริ่มจากการตั้งชื่อที่ให้ความรู้สึกเป็นมงคลเพื่อสร้างแรงจูงใจ ใช้มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นมงคลและหายาก ผ่านพิธีปลุกเสกโดยผู้รู้และเรืองวิทยาคม องค์พระมีการออกแบบที่สวยงาม มีศิลปะ และระบุผู้สร้างอย่างชัดเจน ไม่ใช่ของทาปลอมขึ้นมา P-Price ประเมินค่าไม่ได้ วิธีที่ ใช้คือการปั่นราคาสินค้าตามสื่อต่างๆ เช่น ปล่อยข่าวว่า สินค้ารุ่นนี้หมดเกลี้ยงแล้ว ทั้งที่ความจริงอาจยังไม่หมด เพื่อโก่งราคาให้สูงขึ้น เป็นต้น P-Place ทั่วทุกที่ ล้วน แล้วแต่มีจตุคามรามเทพจาหน่าย ไม่ว่าจะเป็นวัด พันธุ์ทิพย์พลาซ่า แผงพระ โรงแรมหรู ตลาดนัด ร้านจาหน่าย ริมทางเท้า เว็บไซต์ ฯลฯ ทาให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ สะดวกตามความพอใจ และ P-Promotion สื่อ ทุกแขนง ต่างพุ่งความสนใจไปที่จตุคามรามเทพโดยพร้อมเพรียงกัน การโฆษณาทาให้เกิด “ศรัทธามาร์เก็ตติ้ง” (Faith Margeting) ที่แปรเปลี่ยนไปตามงบประมาณ หรือภาวะทางการตลาด เมื่อกระแสจตุคามรามเทพเริ่มแผ่วลง (เซียนพระต่างสรุปตรงกันว่า การที่วัตถุมงคลจตุคามรามเทพผลิตออก สู่ท้องตลาดมากเกินไปจนกลายเป็นการพาณิชย์ ทาให้จตุคามรามเทพเสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว) ต่อมาไม่นาน กระแสของ “พระคเณศ” (เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ผู้เป็นหัวหน้าของเหล่าเทพคณะ และทรงเป็นโอรสของพระ ศิวะ) หรืออีกพระนามหนึ่งคือ “พระพิฆเนศ” (เทพเจ้าแห่งอุปสรรค หมายถึง พระองค์ทรงสร้างอุปสรรคและขจัด อุปสรรคทั้งหลาย) ได้เข้ามาแทนที่ พระคเณศเริ่มได้รับความนิยมในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เนื่องจากในปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้นเป็นปี นักษัตรชวด (สัญลักษณ์รูปหนู) ซึ่งถือเป็นเทพพาหนะของพระคเณศ กอปรกับข่าวที่ เผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เรื่องเทวรูปพระคเณศที่วัดเทพมณเฑียร กรุงเทพมหานคร สามารถเสวยนมที่มีผู้นามาถวายได้ ทาให้คนไทยเริ่มหันมาสนใจบูชาองค์พระคเณศมากขึ้น แทนทีท่ ้าวจตุคามรามเทพ ซึ่งเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ ความจริงกระแสการบูชาพระคเณศในสังคมไทยนั้นมีมานานแล้ว แต่จากัดอยู่เฉพาะในกลุ่มของผู้ที่ทางานใน แวดวงศิลปะ วงการบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งเมื่อความเคารพศรัทธาในพระคเณศได้แพร่ขยายออกไปอย่าง กว้างขวางในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม จึงได้จัดสร้างอุทยานพระพิฆ เนศขึ้นที่ จังหวัดนครนายก เพื่อประดิษฐานเทวรูป ปูนปั้นพระพิฆเนศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ความสูง ๙ เมตร) และสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อจัดแสดงเทวรูปพระคเณศทั้ง ๑๐๘ ปาง


๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พระครูปลัดสุวัฑฒน พรหมจริยคุณ (ไพรัตน์ ปัญญาธโร) เจ้าอาวาสวัดสมาน รัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้สร้างเทวรูปพระคเณศปางนอนเสวยสุขขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขึ้น เป็นพระคเณศสี ชมพูประดิษฐานอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้าบางปะกง ในปีเดียวกันนั้น สมาคมชาวฉะเชิงเทราได้ร่วมกับมูลนิธิน้าใจไทยจัดสร้างพระคเณศขึ้น เป็นเทวรูปยืนขนาด ความสูง ๓๙ เมตร (เท่ากับขนาดของเทพีสันติภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา) ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้าบางปะกง อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือได้ว่า เทวรูปองค์นี้เป็นเทวรูปพระคเณศที่ทาจากสัมฤทธิ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก นอกจากกระแสความศรัทธาในท้าวจตุคามรามเทพและองค์พระคเณศแล้ว คนไทยยังเคารพศรัทธาในสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ อีกเป็นระยะๆ เช่น หินนาโชค ตุ๊กตาลูกเทพ กุมารทอง ฯลฯ จนกระทั่งในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๐) กระแส “พญานาค” ได้กลายเป็ น กระแสความเชื่อที่ มาแรงที่สุด ในสังคมไทยกลบความเชื่อ ทุกกระแส กลายเป็น “ปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย” ขึ้น

ปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย ความเชื่อเรื่องงูใหญ่ หรือพญานาคเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยมาเนิ่นนานแล้ ว หากแต่เริ่ม มาเป็นกระแสอย่างมากเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๕๙ และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็ น “ปรากฏการณ์ พญานาคในสังคมไทย” ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจาก ๑) พื้นฐานความเชื่อเรื่องพญานาคของคนไทยที่มีอยู่เป็นทุนเดิม คนไทยมีพื้นฐานความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นทุนเดิมอยู่ แล้ว จึงสามารถปลุกกระแสความศรัทธาขึ้นมาได้ โดยง่าย ในสังคมไทยมีการผสานความเชื่อเรื่องพญานาคทั้งในคติดั้งเดิม คติในศาสนาพราหมณ์ และคติในศาสนาพุทธ ในคติดั้งเดิม พญานาคคืองูใหญ่มีหงอน ผู้เป็นเจ้าแห่งผืนดิน (พญานาคอาศัยอยู่ใต้พื้นแผ่นดิน ในนครบาดาล) ผืน น้า (แม่น้าสายสาคัญล้วนเกิดขึ้นจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาคเป็นผู้ขุดขึ้น เช่น แม่น้าโขง) พญานาคเป็นเจ้าแห่งฟ้าฝน และเป็นบรรพบุรุษสายมาตุพงศ์ (ฝ่ายแม่) ในคติในศาสนาพราหมณ์ พญานาคมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กั บมหาเทพ และเทพชั้นรองต่างๆ เช่น “พระนารายณ์” มหาเทพผู้พิทักษ์รักษาโลกมนุษย์ พระองค์ทรงประทับอยู่เหนือพญา อนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร “พระศิวะ” มหาเทพแห่งการทาลายล้าง พระองค์ทรงใช้พญานาควาสุกรีมาคล้อง พระศอต่างสร้อยสังวาล “พระวรุณ” เทพเจ้าแห่งฟ้าฝน พระองค์ทรงใช้พญานาคเป็นเทพพาหนะ เป็นต้น ส่วน คติในศาสนาพุทธ พญานาคถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา เห็นได้จากตามวัดวาอาราม ต่างๆ ที่ปรากฏลวดลายพญานาคตามศาสนาคาร เช่น ช่อฟ้า (ส่วนหัวของพญานาค) ใบระกา (ส่วนที่เป็นเกล็ด พญานาค) หรื อบริเวณบั น ได เป็ น ต้น คนไทยที่ นับถือศาสนาพุทธจึงไม่มีใครที่ ไม่รู้จักพญานาค เพราะทุกครั้งที่ ผู้ปกครองพาไปวัด ก็คงได้เคยพบเห็นประติมากรรมหรือภาพจิตรกรรมรูปพญานาคจนถือเป็นเรื่องปรกติ กล่าวเฉพาะในส่วนของพระพุทธศาสนา พบเรื่องราวของพญานาคปรากฏอยู่เป็นจานวนมาก เช่น ใน นิบาตชาดก (อยู่ในพระสุตตันตปิฎก) กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เคยเสวยพระชาติเป็นพญานาค เช่น พญานาคภูริทัต (พระชาติที่ ๖ ในทศชาติชาดก) พระโพธิสัตว์ทรงเลิศด้วยศีลบารมี


๔ ในพระพุทธประวัติก็ปรากฏเรื่องราวของพญานาคอยู่หลายตอน เช่น หลังจากที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ในสัปดาห์ที่ ๖ ได้เกิดพายุฝนโหมกระหน่าตลอด ๗ วัน ๗ คืน พญานาคมุจลินท์ได้ ขึ้นมาแผ่พังพานถวายพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝน จนกลายเป็นที่มาของ “พระพุทธรูปปางนาค ปรก” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจาวันของผู้ที่เกิดวันเสาร์ หรือเรื่องราวของพญานันโทปนันทนาคราช ผู้มากด้ว ย มิจฉาทิฐิ มุ่งหมายจะทาร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้าและบรรดาพระอรหันตสาวก เพราะโกรธว่า พระพุทธเจ้าและ บรรดาพระสาวกเหาะข้ามศีรษะของตน ในที่สุดพญานันโทปนันทนาคราชก็ถูกพระมหาโมคคัลลานเถระปราบจน สิ้นฤทธิ์ และหันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด แนวคิดเรื่องพญานาคในทางพระพุทธศาสนาแบ่งพญานาคออกเป็น ๔ ตระกูล ได้แก่ ๑) พญานาคตระกูล วิรูปักษ์ เป็นพญานาคกายสีทอง ๒) พญานาคตระกูลเอราบถ เป็นพญานาคกายสีเขียว ๓) พญานาคตระกูลฉัพพ ยาปุตตะ เป็นพญานาคกายสีรุ้ง และ ๔) พญานาคตระกูลกัณหาโคตรมะ เป็นพญานาคกายสีดา พญานาคนั้นมีทั้งที่เกิดบนบก (ถลชะ) และที่เกิดในน้า (ชลชะ) พวกที่เกิดบนบกก็จะแปลงกายได้เฉพาะเมื่อ อยู่บนบก ส่วนพวกที่เกิดในน้าก็จะแปลงกายได้เฉพาะในน้า การเกิดของพญานาคมีอยู่ด้วยกัน ๔ แบบด้วยกัน คือ ๑) แบบโอปปาติกะ เป็นพญานาคที่เกิดขึ้นแล้วโตทันที คล้ายเทวดา ๒) แบบสังเสทชะ เป็นพญานาคที่เกิดจาก เหงื่อไคล สิ่งหมักหมม ๓) แบบชลาพุชะ เป็นพญานาคที่เกิดจากครรภ์ คล้ายมนุษย์ และ ๔) แบบอัณฑชะ เป็น พญานาคที่เกิดจากฟองไข่ ถ้าจะจัดความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลของพญานาคกับการเกิด สามารถอธิบายได้ดังนี้ ๑) พญานาคตระกูล วิรูปักษ์ กาเนิดแบบโอปปาติกะ ๒) พญานาคตระกูลเอราบท กาเนิดแบบอัณฑชะ ๓) พญานาคตระกูลฉัพพยา ปุตตะ กาเนิดแบบชลาพุชะ และ ๔) พญานาคตระกูลกัณหาโคตรมะ กาเนิดแบบสังเสทชะ พญานาคทั้งหลายล้วน แต่เป็นบริวารของ “ท้าววิรูปักษ์” ซึ่งเป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล และเป็นผู้ ดูแลโลกอยู่ทางด้านทิศตะวันตก เหล่านี้ คือแนวคิดเรื่องพญานาคในทางพระพุทธศาสนา

ภาพที่ ๑-๒ (ภาพซ้าย) พญานาคตระกูลเอราบท (ภาพขวา) พญานาคตระกูลกัณหาโคตรมะ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/๖/๖๐

เมื่อศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อระบบความคิดความเชื่อของ คนในสังคมยืนยันอย่า งหนักแน่นว่า พญานาคเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง จึงทาให้กระแสการบูชาพญานาคถูกจุดขึ้นมาได้ไม่ ยากนักในสังคมไทย


๕ ๒) สภาพสังคมที่ไม่ปรกติทาให้ผ้คู นขาดที่พึ่ง และหันไปยึดพญานาคเป็นที่พึ่งทางใจ สังคมไทยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลังจานวนมาก มีทั้งสายขาวและสายดา สาย ขาว เช่น รูปหล่อหรือเหรียญรูปพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปสาคัญๆ ของไทย เช่น หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัด ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย ฯลฯ รูปหล่อหรือ เหรียญพระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง เช่น หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ หลวงพ่อโต พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ รูปหล่อหรือเหรียญสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าหรือ บุคคลสาคัญของชาติ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระปิยมหาราช กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ฯลฯ ส่วนสายดา เช่น โหงพราย ไอ้งั่ง อีเป๋อ เป็นต้น เครื่องราง ของขลั งเหล่านี้มี อยู่เป็นจานวนมากในสังคมไทย สังคมที่ดูเหมือนว่าผู้คนขาดที่พึ่งทางใจ ยิ่งสภาพการเมืองในปัจจุบันที่ผันผวน คนในชาติแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นเสื้ อสีต่างๆ มีการชุมนุมประท้วง มี การเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง ล้วนส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของประเทศ เช่น กรณีที่มีการชุมนุมประท้วง และเกิด เหตุการณ์บานปลายไปจนถึงขั้นปิดสนามบิน ย่อมส่งผลเสียทาให้การส่งออกของประเทศหยุดชะงัก เมื่อสินค้าไทยไม่ สามารถส่งออกไปจาหน่ายยังต่างประเทศได้ ไม่เพียงแต่นักธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แม้แต่ผู้ผลิตคือเกษตรกร ก็พลอยเดือดร้อนตามไปด้วย หรือกรณีที่ประเทศเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง ทาให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นใน เสถียรภาพทางการเมืองของไทย จึงไม่เลือกที่จะมาลงทุนหรือไม่ก็ย้ายฐานการผลิตไปตั้งอยู่ ในประเทศอื่น ๆ ที่มี เสถียรภาพทางการเมืองมั่นคงมากกว่า แม้ว่านายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) จะประกาศว่า จีดีพี (GDP) หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ ซึ่งเป็น ตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะขยับสูงขึ้น ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง ประชาชน ธรรมดาไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าในตลาด คนถีบสามล้อ คนขับรถแท็กซี่ ฯลฯ ต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า สมัยนี้ (พ.ศ.๒๕๖๐) เงินทองหายาก ผู้คนระมัดระวังในเรื่องการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามกระตุ้นให้ ประชาชนใช้จ่ายโดยจัดทาโครงการต่างๆ เช่น โครงการ “ช็อปช่วยชาติ ลดหย่อนภาษีปี ๒๕๖๐” หากแต่ทาให้ เศรษฐกิจดีขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น สภาพการเมืองที่มีปัญหาความขัดแย้งสูง สภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ข้าวยากหมากแพง ทาให้ประชาชนมี ภาวะความเครียดสูง เมื่อไม่สามารถพึ่งพารัฐบาลให้ช่วยแก้ ไขปัญหาต่างๆ ได้ จึงจาต้องหันหน้าเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ช่วยดลบันดาลโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง ให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข รวมทั้ง ให้มีความเจริญก้าวหน้าใน หน้าที่การงาน ๓) กระแสละครเรื่อง “นาคี” ทางไทยทีวีสีช่อง ๓ ละครเรื่อง “นาคี” ซึ่งออกอากาศในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ (ทุกวัน จันทร์-อังคาร เวลา ๒๐.๒๐-๒๒.๕๐ น.) ถือได้ว่าเป็นละครดังแห่งปีที่มีคนกล่าวถึงมากที่สุด เห็นได้จากละครเรื่องนี้ เป็นละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลโทรทัศน์ทองคา ครั้งที่ ๓๑ (รางวัลชนะเลิศสาขาองค์ประกอบศิลป์ดีเด่น , นักแสดงนาหญิงดีเด่น และละคร ดีเด่น) รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ ๑๐ (รางวัลชนะเลิศ สาขาคนสร้างสรรค์แห่งปี, ทีมสร้างสรรค์แห่ง ปี และนักแสดงนาหญิงแห่งปี) เป็นต้น รวมทั้ง เพลงประกอบละครเรื่องนี้ คือเพลง “คู่คอง” (คาว่า คอง เป็น


๖ ภาษาอีสานแปลว่า รอคอย) ซึ่งประพันธ์และขับร้องโดยนักร้องมากความสามารถอย่าง ก้อง ห้วยไร่ ก็ได้รับกระแส ตอบรับอย่างถล่มทลายอีกด้วย ละครเรื่องนาคี ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ ตรี อภิรุม นักเขียนผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของเมืองไทย นา แสดงโดย ณฐพร เตมีย์รักษ์ รับบท “เจ้าแม่นาคี” หลานสาวของพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช และ “คาแก้ว” หญิงสาว ชาวบ้านดอนไม้ป่า ภูภูมิ พงศ์ภาณุ รับบท “ทศพล” นักศึกษาคณะโบราณคดี ผู้ที่ในอดีตชาติคือ “แม่ทัพไชย สิงห์” คนรักของเจ้าแม่นาคี รวมทั้งนักแสดงมากฝีมืออีกหลายท่าน กากับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ละครเรื่อง “นาคี” กล่าวถึงเรื่องราวความรักต่างเผ่าพันธุ์ระหว่างพญานาคกับมนุ ษย์ เรื่องมีอยู่ว่า เจ้าแม่ นาคีกับแม่ทัพไชยสิงห์รักกัน เพราะแม่ทัพไชยสิงห์ได้เคยช่วยชีวิตเจ้าแม่นาคีไว้ให้รอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของ พญาครุฑ ต่อมาพระเจ้านิรุทธราชแห่งมรุกขนครได้ทาสงครามชนะเมืองปัตตนคร และจับตัวแม่ทัพไชยสิงห์มาเป็น เชลยศึกก่อนที่จะสังหาร สร้างความเจ็บแค้นให้แก่เจ้าแม่นาคีมาก แต่ยังไม่เทียบเท่าตอนที่พระเจ้านิรุทธราชทรงมี รับสั่งให้ทหารไปจับตัวปลาไหลเผือกมาแล่เนื้อแจกให้ชาวเมืองรับประทาน เพราะเชื่อว่าปลาไหลเผือกนั้นเป็นต้นเหตุ ที่ทาให้เกิดภัยแล้ง โดยหารู้ไม่ว่าปลาไหลเผือกตัวนั้น แท้จริงแล้วเป็นบุตรที่เกิดจากเจ้าแม่นาคีและแม่ทัพไชยสิงห์ จึงเป็นการเพิ่มความแค้นให้แก่เจ้าแม่นาคีมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ เจ้าแม่นาคีจึง ดลบันดาลให้เกิดน้าท่วมใหญ่จนทาให้ เมืองทั้งเมืองพินาศสาบสูญไปในชั่วพริบตา ด้วยผลกรรมดังกล่าว สวรรค์เบื้องบนจึงสาปให้เจ้าแม่นาคีต้องกลายร่าง เป็นรูปปั้นหินจนกว่าจะครบหนึ่งพันปี โดยระหว่างนั้นจะต้องถือศีลบาเพ็ญภาวนา เมื่อพ้นคาสาปจึงจะได้กลายร่าง เป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เจ้าแม่นาคีมาอาศัยอยู่ในร่างของคาแก้ว หญิงสาวแห่งบ้านดอนไม้ป่า เธอพบรักกับทศพล นักศึกษาคณะ โบราณคดีที่มาลงพื้นที่ สารวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ต่อมาทั้งคู่ได้แต่งงานกัน หากแต่การแต่งงานกลับไม่ใช่ จุดสิ้นสุดของความรัก เพราะคาแก้วยังไม่พ้นคาสาป เธอยัง ต้องเป็นครึ่งคนครึ่งงู เช่นในเวลาที่เธอนอนหลับสนิท หรือเสพสังวาส เธอจะต้องคืนร่างกลับเป็นงู ด้วยเหตุนี้เธอจึงไม่สามารถร่วมหลับนอนกับทศพลเหมือนสามีภรรยา ทั่วไปได้ ขณะเดียวกัน บุ ญส่ง (อดีตชาติของเขา คือ พระเจ้านิรุทธราชแห่งเมืองมรุกขนคร) กานันแย้ม (มหา อามาตย์แห่งเมืองมรุกขนคร) และพรรคพวกได้พยายามทาลายเจ้าแม่นาคีที่อยู่ในร่างคาแก้วทุกวิถีทาง จนในที่สุด เจ้าแม่นาคีครองสติไว้ไม่อยู่ ได้กลายร่างเป็นพญานาคมาเข่นฆ่าทุกคนที่เป็นเจ้ากรรมนายเวร จนเป็นเหตุให้เจ้าแม่ นาคีไม่อาจพ้นคาสาปได้ ต้องกลายเป็นสัตว์เดรัจฉานไปชั่วกัปกัลป์ ส่วนทศพล เมื่อทราบว่าภรรยาสุดที่รักไม่ใช่ มนุ ษ ย์ เขาก็ ตั ด สิ น ใจบวชตลอดชี วิ ต เพื่ อ อุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ศ ลให้ แ ก่ ค าแก้ ว หรื อ เจ้ า แม่ น าคี ความรั ก ที่ จ บลงแบบ โศกนาฏกรรม (tragedy) เป็นที่ติดตราตรึงใจผู้ชมทั่ว ทั้งประเทศ ถึงขนาดยกย่องให้เป็นละครดังแห่งปี ๒๕๖๐ ถึง ขนาดมีผู้กล่าวว่า “คาแก้ว (ชื่อตัวละครเอกฝ่ายหญิงของละครนาคี) ให้แต้ว (ชื่อเล่นของนักแสดงหญิง ณฐพร เตมีย์ รักษ์) เกิด (มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง)” ธเนศ เวศร์ภาดา (๒๕๖๐) ได้วิเคราะห์ลักษณะเด่นของละครเรื่องนาคีว่าประกอบด้วย ๑) การนาความ เชื่อทางคติชนวิทยามาประกอบสร้างตัวบท เริ่มจากโครงเรื่องที่นาเสนอเรื่องราวความรักต่างเผ่าพันธุ์ระหว่างคนกับงู ซึ่งการ “แหกกฎฟ้า” นี้ทาให้เรื่องนาคีสนุกสนาน น่าติดตาม เพิ่มสีสันด้วยการกล่าวถึงความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีกองกูณฑ์อัคคี พิธีร่ายรา “นาคบูชา” ถวายพญานาคในยามที่เกิดสุริยคราส เพื่อให้พญานาคช่วยคุ้มครอง ความเชื่อเรื่อง “เพชรพญานาค” ความเชื่อเรื่องของวิเศษต่างๆ ที่ใช้การาบพญานาคหรือป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอต่างๆ เช่น คทาพญาครุฑ ดาบเหล็กไหล มนต์อาลัมพายน์ แหวนพิรอด เป็นต้น ความเชื่อเรื่องว่านวิเศษต่างๆ เช่น ว่าน


๗ ดอกทอง ว่านพญาลิ้นงู เป็นต้น นอกจากนี้ละครเรื่องนาคียังมีการสร้างฉากที่สมจริง และชื่อสถานที่หลายแห่ งก็มี อยู่จริง เช่น เมืองมรุกขนคร พรหมประกายโลก เป็นต้น ๒) การใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นแก่นของตัวบท คือ แนวคิดที่ว่า “ความโกรธคืองูร้าย” ไม่ว่าใครที่ ตกเป็นทาสของความโกรธ ล้วนแล้วแต่ต้องพบกับหายนะ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าแม่นาคีที่ไม่สามารถเอาชนะความโกรธได้ทา ให้ต้องกลายเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ชั่วกัปกัลป์ หรือกานันแย้มและพรรคพวกที่ตกเป็นทาสของความโกรธ ในที่สุดก็ถูก เจ้าแม่นาคีฆ่าตายทั้งหมด ๓) ละครเรื่องนาคี นาเสนอภาพแทน (Representation) ของสังคมไทย สังคมที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง หลากหลาย และหลายสิ่งหลายอย่างก็ดูแปลกแยกจนทาให้ถูกไล่ล่าจากคนหมู่มาก การไล่ล่าเจ้าแม่นาคี ก็คือ การไล่ ล่าความแตกต่างนั่นเอง ธเนศ เวศร์ภาดา เปรียบเทียบว่า ละครเรื่องนาคีเหมือนขนมชั้นให้เลือกชมเลือกชิม ชั้นแรกสนุกด้วยสีสัน ท้องถิ่น ที่มีตานานคติความเชื่อต่างๆ มาประกอบสร้างให้กลายเป็นตัวบทที่เร้าใจ น่าติดตาม ชั้นที่สองสอนใจด้วยแก่น เรื่องโทสะกับอโทสะตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ส่วนชั้นที่สามเป็นภาพแทนของสังคมที่ไล่ล่า ความแตกต่างที่ไม่ อาจประเมินค่าหรือแม้กระทั่งจะวิพากษ์ว่าใครถูกใครผิดได้ เมื่อไทยทีวีสีช่อง ๓ ประสบปัญหาทางธุรกิจ ละครเรื่อง “บูเช็คเทียน” ซึ่งออกอากาศช่วงเย็น (๑๘.๒๐๒๐.๐๕ น.) เรตติ้งต่ามากจนต้องย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นละครช่วงบ่ายแทน และนาละครเรื่องนาคีกลับมา ออกอากาศซ้า (รีรัน) เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ปรากฏว่า เรตติ้งของละครเรื่องนี้ดีกว่าละครหลังข่าว ค่า ซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุด (prime time) บางเรื่องเสียอีก ละครเรื่องนี้ประสบความสาเร็จอย่างสูงถึงขนาดกาลังสร้างภาค ๒ ต่อมา นอกจากละครเรื่องนาคีแล้ว ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ยังได้นาละครอินเดีย เรื่อง “นาคิน” มาแพร่ภาพในช่วงเวลาเย็นอีกด้วย เรียกได้ว่า ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีทองของพญานาคเลยทีเดียว ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ภาคสนามครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พบว่า จานวนผู้เข้าไปกราบพ่อปู่ ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาลดลงจานวนมาก ชาวบ้านแถบนั้นให้เหตุผลว่า อาจเป็นเพราะไม่มีกระแสของละคร โทรทัศน์มาช่วยเสริมแรงเช่นแต่ก่อน ผู้เขียนได้ยินเสียงเพลง “คู่คอง” ผ่านทางเสียงตามสายที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของวังนาคินทร์คาชะโนดเปิด ยิ่งทาให้เชื่อว่า ละครเรื่องนาคีทาให้เกิดกระแสการบูชาพญานาคในสังคมไทย ถ้ายังกังขา ขอให้ท่านลองเปรียบเทียบกับช่วงเวลานี้ (ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๑) ซึ่งเป็นช่วงที่เกิด “ปรากฏการณ์ บุพเพสันนิวาส” หรือ “บุพเพสันนิวาส ฟีเวอร์” หลังจากที่ละครเรื่องนี้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ เพียงไม่กี่ตอน นักท่องเที่ยวต่างแห่ ไปเที่ยววัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเป็นฉากสาคัญในเรื่องจานวนมากเป็นประวัติการ ต้องถือได้ว่าละครโทรทัศน์มีส่วนสาคัญมากในการ “ปลุกกระแส” ต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ๔) บรรดาผู้นาทางความคิด (Opinion Leaders) ในสังคมไทยต่างศรัทธาพญานาค บรรดาผู้นาทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ หมอดู รวมทั้งดารา นักร้อง ที่มีชื่อเสียงหลายท่านต่าง กล่าวยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า พญานาคมีจริง และเคยได้สัมผัสกับอิทธิปาฏิหาริย์ที่พญานาคได้สาแดงให้เห็นเป็นที่ ประจักษ์มาแล้ว เช่น “พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป” พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบัน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญวิเวก อาเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เล่าถึงประสบการณ์ในช่วงวัยเยาว์ของท่านที่


๘ เกี่ยวข้องกับพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช แห่งวังนาคินทร์คาชะโนด นอกจากนี้ยังมีพระอริยสงฆ์ของไทยอีกหลายรูปยืนยัน ว่าพญานาคมีอยู่จริง เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น นอกจากพระอริยสงฆ์แล้ว “ลักษณ์ เรขานิเทศ” โหรชื่อดังระดับประเทศ หรือเจ้าของฉายา “หมอลักษณ์ ฟันธง” ถือเป็นอีกผู้หนึ่งที่เคารพศรัทธาพญานาคมาก เนื่องจากเคยมีประสบการณ์พบเห็นพญานาคมาแล้ว ทุกครั้งที่ เขาได้รับ เชิญ ให้ ไปออกรายการโทรทัศน์ ตามสถานีต่างๆ เขามักจะเชิญ ชวนสาธุชนให้ มาร่วมทาบุญ หล่อเทวรูป เทพบุตรนาคราชด้วยกันเพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นเทวานุสติ นอกจากนี้เขายังเขียนหนังสือเรื่อง “สมบัติพญานาคราช” เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้ศึกษา ซึ่งหนังสือเรื่องดังกล่าวจาหน่ายหมดลงอย่างรวดเร็วภายใน ระยะเวลาไม่นาน จนต้องจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ ส่วนดารา นักร้องที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับพญานาค เช่น “อาร์ต พศุตม์” ที่ถ่ายคลิปติดพญานาค คราวที่ ไปทาบุญ ณ วัดป่าเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ทางไทยทีวีสีช่อง ๓) จนกลายเป็นผู้มีความเชื่อความศรัทธาต่อพญานาคมาก ถึงขนาดตั้งรูปปั้นพญานาคไว้ ในบ้านเพื่อกราบไหว้บูชา “สุดารัตน์ บุตรพรม” หรือ “ตุ๊กกี้ ชิงร้อย” ที่บูชาพญานาคแล้วมีทั้งงาน มีทั้งเงินเข้า มาอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าเธอจะต้องการอะไร เมื่อขอพญานาคแล้ว ล้วนแต่ได้สมความปรารถนาทั้งสิ้น (รายการ มูไนท์ ออกอากาศวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๒๑.๔๕-๒๒.๔๕ น. ทางช่องไทยรัฐทีวี) “โบวี่ อัฐมา” ที่ เคยรอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์เพราะพญานาคมาช่วยเหลือ และเมื่อเธอหันมาประกอบธุรกิจ เธอและหุ้นส่วนได้สร้าง พญานาคไว้กราบไหว้บูชา ทาให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (รายการมูไนท์ ออกอากาศเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๒๑.๔๕-๒๒.๔๕ น. ทางช่องไทยรัฐทีวี) “ศิริพร อาไพพงษ์” นักร้องหมอลาชื่อดัง ที่ถูกหวยกว่า ๒๐๐ งวด ติดต่อกัน เพราะบูชาลูกแก้วพญานาค ครั้งหนึ่งเธอเคยเสียงหาย จนไม่สามารถร้องเพลงได้ ต่อมาเมื่อบูชาพ่อปู่ศรี สุทโธแล้ ว เสี ยงก็กลับ คืน มาเหมือนเดิม อย่างน่าอัศจรรย์ (รายการแฉ ออกอากาศเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกอากาศเวลา ๒๒.๓๐-๒๓.๓๐ น. ทางช่อง GMM 25) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า กลุ่มหลังนี้มีอิทธิพลต่อ ความเชื่อเรื่องพญานาคมากที่สุด เพราะมีประสบการณ์ที่พญานาคมาให้คุณ ช่วยให้รอดชีวิต ประสบความสาเร็จทั้ง เรื่องหน้าที่การงาน และเรื่องเงินๆ ทองๆ ผู้นาทางความคิดเหล่านี้ ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย เพราะถือเป็นต้นแบบให้ผู้คนทาตาม ยิ่งมีผู้นาทาง ความคิดเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ กระแสความศรัทธาพญานาคก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ๕) การนาเสนอข่าวสาร หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคผ่านทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การน าเสนอข่าวคราวพญานาคผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิท ยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โดยเฉพาะ โซเชี ย ลมี เดี ย (Social Media) เช่น มีผู้ พ บเห็ น พญานาค หรือ รอยพญานาค คนที่ กราบไหว้พ ญานาคแล้ ว ถู ก ลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ คนที่หายป่วยหรือรอดชีวิตเพราะพญานาคช่วยดลบันดาล เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ยิ่งช่วย เสริมแรงความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพญานาค ทาให้คนที่อาจเชื่อในเรื่องพญานาคอยู่ก่อนหน้าแล้ว ยิ่งเชื่อมากขึ้นไป อีก หรืออาจทาให้คนที่ไม่เคยเชื่อในเรื่องพญานาคเลยเปลี่ยนความคิดมาเป็นเชื่อถือศรัทธาในท้ายที่สุด


ภาคอีสานของไทย: ดินแดนแห่งพญานาค ภาคอีสานของไทย หรือภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงที่เรียกว่า “ที่ราบสู งโคราช” มีพื้นที่ราว ๑๗๐,๒๒๖ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ลาดเอียงจากตะวันตกไปตะวันออก มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะหงาย ๒ แอ่ง คือ แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร โดยมีเทือกเขาภูพานเป็นแนวกั้น มีแม่น้าสายสาคัญ เช่น แม่น้ามูล แม่น้าชี แม่น้า สงคราม แม่น้าอูน เป็นต้น ซึ่งแม่น้าทุกสายจะไหลลงสู่แม่น้าโขง ทางด้านตะวันตกของภาคมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทอดยาวติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น เป็นแนวกั้นระหว่างภาคอีสานกับภาคกลาง (ยุพดี เสตพรรณ, ๒๕๔๘: ๒๘) ปัจจุบันภาคอีสานมีทั้งสิ้น ๒๐ จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลาภู อานาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี ภาคอีสานเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมที่เคยรุ่งเรืองภายใต้ร่มเงาของอาณาจักรขอม อาณาจักรล้านช้าง และ อาณาจักรสยาม เป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นลาว เขมร ส่วย บรู เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ลาวนั้นมีจานวนมากที่สุด จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงการอพยพของพี่น้องชาว ลาวจากเวียงจันทน์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคอีสานของไทยหลายครั้ง เช่น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๓ พระวอ พระตา ซึ่ง เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ขัดแย้งกับเจ้าสิริบุญสาร กษัตริย์ผู้ปกครองนครหลวงเวียงจันทน์ในขณะนั้น จึงพากันนา ไพร่พลออกมาสร้างบ้านแปงเมืองใหม่อยู่ที่หนองบัวลาภู ต่อมาเจ้าสิริบุญสารได้ยกกองทัพมาปราบ ทาให้พระตา เสียชีวิตในที่รบ ส่วนพระวอได้นากาลังพลถอยร่นลงมาทางใต้ และมาตั้งบ้านเมืองอยู่ที่บริเวณดอนมดแดง (จังหวัด อุบลราชธานีในปัจจุบัน) คนลาวอพยพเข้าสู่ดินแดนอีสานครั้งใหญ่อีกครั้ง พ.ศ. ๒๓๒๑ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปตีนครหลวงเวียงจันทน์ ผลจากสงครามครั้งนี้ นอกจาก ฝ่ายลาวจะพ่ายแพ้แล้ว ฝ่ายไทยยังได้กวาดต้อนผู้คนจากฝั่ งลาวมาเป็นเชลยด้วยจานวนมาก เกิดเป็นบ้านเมือง กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคอีสานของไทยในเวลากาลต่อมา ชาวลาวที่อพยพมานี้นาความคิดความเชื่อติดตัวมาด้วย โดยเฉพาะความเชื่อเรื่อง “พญานาค” คนลาว ผูกพันกับพญานาคอย่างลึกซึ้ง คนลาวเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของพญานาค แม้แต่นครหลวงเวียงจันทน์นั้นก็สร้าง ขึ้นจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาคเช่นกัน (พญานาคได้มาช่วยบุรีจันทร์ อ่วยล้ วยสร้างบ้านแปงเมือง) ความเชื่อนี้ไม่ขัด กับกลุ่มคนที่ อาศัยอยู่ในดิน แดนแถบนี้มาก่อนเช่น กัน กลุ่มคนเขมรก็ เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนสืบเชื้อสายมาจาก “พระทอง นางนาค” และพญานาคนั้นถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมเขมร


๑๐

ภาพที่ ๓ นางนาคโสมา บรรพบุรุษของชาวกัมพูชา ตั้งอยู่ที่วงเวียนใกล้กับศาลพระองค์เจก พระองค์จอม เมืองเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๕/๑๒/๒๕๖๐

แต่เดิมคนแถบนี้เรียกงูใหญ่ มีหงอนนี้ว่า “สี” ในเรื่องนี้ เอี่ยม ทองดี (๒๕๓๗: ๑๐๗) อธิบายว่า คาเรียก ปีนักษัตร2 ที่ปรากฏอยู่ในตานานล้านช้างและตาราพรหมชาติของลาวนั้นเรียกปีนักษัตร “มะโรง” งูใหญ่หรือนาคว่า “สี” คานี้พ้องเสียงกับคาว่า “ศรี” ในภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ศิริมงคล จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า คาว่า “ศรีสัตนาค นหุต” “ศรีโคตรบอง” ซึ่งเป็นชื่อบ้านนามเมืองของเมืองโบราณแถบล้านช้าง หรือคาสู่ขวัญภาษาอีสานที่ขึ้นต้นด้วย คาว่า “ศรี ศรี” นั้น หมายถึง “สี” ที่แปลว่า งูใหญ่ หรือ “ศรี” ที่แปลว่า สิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ถ้าพิเคราะห์โดยใช้หลักภาษาศาสตร์จะพบว่าในภาษาลาวนั้นไม่มีพยัญชนะต้ นควบ ศร หรือ สร นอกจากนี้ ความรู้ ท างด้ านคติ ช นวิท ยาที่ มี อยู่ ยั งอธิบ ายว่า ผู้ ค นแถบนี้ มี ค วามเชื่อ เรื่อ งการบู ช างู ซึ่งเป็ น ความเชื่ อดั้ งเดิ ม เช่นเดียวกับความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ซึ่งพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญนั้นเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไท จึงมีความเป็นไปได้

2

ปีนักษัตรลาวเทียบกับไทยเป็นดังนี้ ๑) ไจ๊-ชวด (หนู) ๒) เป๊า-ฉลู (วัว) ๓) ยี-ขาล (เสือ) ๔) เม้า-เถาะ (กระต่าย) ๕) สี-มะโรง (งู ใหญ่) ๖) ไซ้ หรือไส-มะเส็ง (งูเล็ก) ๗) ซะง้า-มะเมีย (ม้า) ๘) เม็ด-มะแม (แพะ) ๙) สัน-วอก (ลิง) ๑๐) เล้า-ระกา (ไก่) ๑๑) เส็ดจอ (สุนัข) และ ๑๒) ไก๊-กุน (หมู)


๑๑ สูงว่า คานาหน้าชื่อบ้านนามเมือง หรือคาขึ้นต้นในบทบายศรีสู่ขวัญของภาคอีสานนั้น หมายถึง “สี” ที่แปลว่า งูใหญ่ ไม่ใช่ “ศรี” ที่แปลว่า สิริมงคล นี่คือหลักฐานที่เป็นร่องรอยทางภาษาที่ปรากฏมาถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับที่ ศรีศักร วัลลิโภดม (๒๕๓๓: ๑๓ อ้างถึงใน สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๔๓: ๓๘) กล่าวว่า ระบบ ความเชื่อยุคเริ่มแรกของกลุ่มชนที่อยู่ริมแม่น้าโขงตั้งแต่ทะเลสาบเตือนฉือที่เมืองคุนหมิงลงมา คือ ลัทธิบูชานาค หรือ ลัทธิบูชางู นาคหรืองูเป็นสัญลักษณ์ของน้า มีถิ่นที่อยู่ใต้ดินคือบาดาล ฉะนั้นภาชนะเขียนสีที่บ้านเชียงจึงมีลวดลาย เป็นรูปงู ตานานอุรังคธาตุก็ให้ความสาคัญเรื่องนาคหรืองู เพราะมีอานาจเหนือธรรมชาติสามารถบันดาลให้เกิด แม่น้า หนอง บึง ภูเขา และแหล่งที่อยู่อาศัยได้ เมื่อรับศาสนาพุทธและพราหมณ์ มาจากอินเดียแล้ว ลัทธิบูชา พญานาคไม่ได้สลายไป แต่กลับถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาที่เข้ามาใหม่ด้วย ดังจะเห็นบรรดาพญานาค ได้กลายเป็นผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชน กษัตริย์หรือเจ้าเมืององค์ใดยึดมั่นในพระพุทธศาสนาก็จะ ได้รับความช่วยเหลือจากพญานาคในการสร้างบ้านแปงเมืองและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่บ้านเมือง แต่ถ้า กษัตริย์และประชาชนในบ้านเมืองนั้นขาดศีลธรรม ไม่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา พญานาคจะกลายเป็นอานาจเหนือ ธรรมชาติบันดาลความวิบัติ ทาให้เมืองต้องล่มกลายเป็นหนองหรือบึงไป เช่น เมืองหนองหารหลวง เมืองมรุกขนคร เป็นต้น เช่นเดียวกับ จิตรกร เอมพันธ์ (๒๕๔๕) ได้อธิบายความหมายของพญานาคในสังคมอีสานไว้ว่า ๑) พญานาคคือผู้สร้างสรรค์และผู้ทาลาย เช่นที่ปรากฏในอุรังคนิทาน พญานาคได้ช่วยบุรีจันอ้วยล้วยสร้าง นครเวียงจันทน์ และคอยปกป้องคุ้มครองบ้ านเมือง เรียกว่า “ล่าม ๔ ศรี ๕” ล่าม ๔ ได้แก่ “กายโลหะนาค” และ “เอกจักขุนาค” พญานาคทั้ง ๒ ตนนี้อยู่รักษานอกเวียง “สุคนธนาค” อยู่รักษาหาดทรายกลางแม่น้า และ “อินทจักก นาค” อยู่รักษาปากห้วยมงคล ส่วนศรี ๕ ได้แก่ พญานาคที่ทาหน้าที่เป็นศรีเมืองอีก ๕ ตน คือ “สหัสสพลนาค” “สิทธิโภคนาค” “คันธัพพนาค” “สิริวัฒนนาค” และ“พุทโธธปาปนาค” ซึ่งพญานาคตนหลังนี้ ถือว่าเป็นใหญ่กว่า พญานาคทั้งปวง นี่คือตัวอย่างของพญานาคกับการสร้างสรรค์ แต่ ถ้าเมื่อใดที่ผู้ปกครองประพฤติตนไม่เหมาะสม พญานาคก็จะลงโทษทาให้ เกิดหายนะ เช่น น้าท่วมเมือง ดังปรากฏในตานานเมืองหนองหารในพงศาวดารเมือง สกลนคร เป็นต้น นี่คือตัวอย่างของพญานาคกับการทาลายล้าง ๒) พญานาคคือระบบเครือญาติแห่งสายมาตุพงศ์ เนื่องจากงานทอผ้านั้นเป็นงานของผู้หญิง (ผู้หญิงผลิตผ้า ผู้ชายผลิตข้าว) การที่ลวดลายผ้านั้นปรากฏลายพญานาค แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพญานาคกับเพศหญิง ซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของผู้ให้กาเนิดและความอุดมสมบูรณ์ ๓) พญานาคคือจิตวิญญาณของสายน้า จากตานานสุวรรณโคมคา กล่าวว่าแม่น้าโขงเกิดจากการคุ้ยควัก ของ “ศรีสัตตนาค” ขณะที่ “ทะนะมูลนาค” คุ้ยควักแผ่นดินไปจนถึงเมืองกุรุนทนครกลายเป็นแม่น้ามูลนที (แม่น้า มูล) ส่วน “ชีวายนาค” คุ้ยควักแผ่นดินต่อจากแม่น้ามูลนทีกลายเป็นแม่น้าชีวายนที (แม่น้าชี) ตานานพญาคันคาก เป็ นเรื่องราวการทาสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน พญาแถนไม่พอใจที่ ประชาชนให้การบูชาพญาคันคากมากกว่าพระองค์ จึงทรงปิดสระหนองกระแสเป็นเหตุให้พญานาคไม่สามารถลงเล่ น น้าได้ เมื่อฝนจึงไม่ตก พญาคันคาก พร้อมด้วยไพร่พล มีพญานาค กองทัพมด กองทัพปลวก เป็นต้น จึงยกขึ้นไป ต่อสู้ กับ พญาแถน จนได้รับ ชัย ชนะ พญาแถนให้ พญาคันคากคอยเตือนพระองค์ ให้ เปิดสระหนองกระแสเพื่อให้ พญานาคลงเล่นน้า ในช่วงเดือนหกของทุกปี โดยการจุดบั้งไฟ นาคจึงเป็นสัญลักษณ์ของสายน้า


๑๒ ๔) พญานาคคือลัทธิทางศาสนา และผู้สะสมธรรมเพื่อบรรลุพุทธิภาวะ เห็นได้จากการผสานความเชื่อเรื่อง นาคในคติดั้งเดิม เข้ากับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และพุทธ และการที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกชาย ผู้ที่จะเข้ามา บวชเป็นพระภิกษุว่า “นาค” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผ่านภาวะ (Transition) จากโครงสร้างที่มีระเบียบวัฒนธรรม หนึ่งไปสู่โครงสร้างที่มีระเบียบวัฒ นธรรมอีกอย่างหนึ่ง จากการเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ (ฆราวาส) ไปสู่การเป็น บรรพชิต ซึ่งถือเป็นภาวะที่ศักดิ์สิทธิ์ นาคจึงเป็นสภาพที่กากวม (ผู้เขียนมองว่า เหมือนสภาพของนาคที่มีลักษณะกึ่ง เดรัจฉาน กึ่งเทพ) ๕) พญานาคคือเจ้าที่ ผู้คุ้มครองผืนดิน เห็นได้จากการปลูกเรือนที่จะต้องดูตารา “นาควัน” และ “นาค เดือน” ก่อนปลูกเรือนต้องมีการเซ่นไหว้พญานาคด้วย นอกจากนี้ ยังพบคาว่า “สี” เกี่ยวข้องกับเสาหลักเมือง เช่น หลักเมืองที่เวียงจันทน์มีชื่อว่า “สาวสี” จากความหมายของพญานาคดังกล่าวข้างต้น นาไปสู่ “พิธีกรรม” (Ritual) ที่เกี่ยวข้องกับพญานาค คือ “พิธี บวงสรวงบูชาบั้งไปพญานาค” เนื่องจากภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง สวนทางกับอาชีพของชาวอีสานส่วนใหญ่ที่ เป็นเกษตรกร ซึ่งต้องอาศัยน้าฝนในการทาการเกษตร การบวงสรวงบูชาพญานาคจึงเป็นพิธีที่เกี่ยวกับความอุด ม สมบูรณ์ (Fertility Cults) คนอีสานจึงผูกพันกับ “พญานาค” อย่างไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากพญานาคจะปรากฏในพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์แล้ว ผู้เขียนยังพบว่า พญานาคยังทาหน้าที่ เป็ น ที่ พึ่ งทางใจให้ แก่ค นในสั งคมอีก ด้ว ย จากการลงพื้ น ที่ ภ าคสนามของผู้ เขี ยนที่อ าเภอสว่ างวีระวงศ์ จังหวัด อุบ ลราชธานี ผู้เขียนพบว่า พญานาคยังช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ (โรคทางกาย) และช่วยทานายโชคชะตา คลายปัญหาชีวิต (โรคทางใจ) ให้แก่ผู้มาขอความช่วยเหลือ ปลดเปลื้องความคับข้องใจของผู้คนในสังคมอีกด้วย

ภาพที่ ๔ พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาวนาราม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๓ วันที่ผู้เขียนลงพื้นที่ภาคสนาม (๒๙/๑/๒๕๖๑) เป็นวันที่ร่างทรงพญานาคจัดงานบวงสรวงฉลองตาหนักใหม่ ร่างทรงเป็นหญิงสูงวัย อายุประมาณ ๖๐ กว่าปี มีครอบครัวแล้ว เธอเป็นร่างทรงมาได้ ๔ ปี โดยเธอเชื่อว่า “ย่าสีดา แก้ว พิมพิลาไลย” ซึ่งเป็นนางพญานาคีสามเศียร กายสีแดง เสด็จมาจากแขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ขอมาอาศัยอยู่กับเธอด้วย เพื่อสร้างบุญบารมี ช่วยเหลือบรรดามนุษย์ผู้ทุกข์ยาก พิธีกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. ไปจนถึงเวลา ๒๓.๐๐ น. โดยเจ้าภาพได้เชิญร่างทรง “พ่อปู่พญานาค อนันตโชค” มาเป็นประธานในพิธี เพราะเชื่อว่าท่านคือ บิดาของเจ้าย่าศรีดาแก้ว ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชค นั้นยังเป็นเด็กหนุ่ม เขาทาหน้าที่เป็นร่างทรงมาได้ประมาณ ๙ ปีแล้ว ในงานนี้มีร่างทรงอื่นมาร่วมด้วย เช่น ร่าง ทรงพ่อปู่ฤๅษีตาไฟ ร่างทรงพ่อปู่ฤๅษีนารอด เป็นต้น เมื่อถึงเวลาทาพิธีบรรดาญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านต่างเข้ามานั่งในปะราพิธีอย่างเป็นระเบียบ เจ้าพิธีซึ่งเป็น ร่างทรงของพ่อปู่พญานาคอนันตโชคทาพิธีจุดธูป เทียนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเปิดเพลงบรรเลงเป็นเสียงดนตรีอีสาน ก่อนที่จะร่ายราไปตามจังหวะ ไม่นานนัก ย่าสีดาแก้วก็ได้เข้ามาร่วมร่ายราด้วย บรรดาผู้เข้าร่วมพิธีต่างสังเกตท่ารา ของร่างทรงอย่างไม่วางตา เพื่อนาไปตีเป็นตัวเลขเสี่ยงโชค เวลาผ่านไปครู่ใหญ่ ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชคได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ เช่น นาเทียนมาสะบัดให้ น้าตาเทียนหยดลงที่แขน สูบบุหรี่พร้อมกันทีเดียวสองมวน ทั้งๆ ที่จริงแล้วร่างทรงไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น ก่อนที่จะ เรียกร่างทรงเข้าไปอบรมสั่งสอน โดยพ่อปู่พญานาคอนันตโชคได้สั่งให้ย่าสีดาแก้ว ถอยออกจากร่างของมนุษย์ก่อน เพื่อให้ร่างทรงกลับมามีสติสัมปชัญญะดังเดิม เรื่องที่สอนคือ ขอให้ ร่างจงเคารพยาเกรงสามี ไม่กล่าววาจาจ้วงจาบ หยาบช้าต่อสามีอีกต่อไป แล้วให้ยกขันธ์ห้ามาขอสมมากรรมเบื้องหน้าสามี (ปรกติร่างทรงจะชอบดุด่าว่ากล่าวสามี แสดงอานาจเข้าข่มอยู่เสมอ เพราะถือดีว่าตนมีองค์พญานาคคุ้มครองรักษา แสดงว่า พื้นที่ทางจิตวิญญาณนี้เป็น พื้นที่ของเพศหญิงที่ใช้แสดงอานาจเหนือเพศชายในสภาพสังคมที่เพศชายเป็นใหญ่ หรือปิตาธิปไตย) ตามปรกติในทุกวันจันทร์ ย่าสีดาแก้วจะช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยให้แก่ผู้ที่เดินทางมาหา เช่น คนที่ป่วยเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดตามข้อ เป็นต้น ท่านจะใช้น้าเป็นสื่อในการรักษา โดยจะชี้นิ้วไปที่น้านั้น และกล่าวเสียงดังๆ ว่า ท่านกาลั งไปน ายาวิเศษมาจากแหล่ งใดแหล่ งหนึ่งเพื่อมารักษาคนป่วย น้านั้นก็จะกลายเป็นน้าเทพมนต์อัน ศักดิ์สิทธิ์ไปโดยปริยาย บางรายท่านจะใช้วิธีการนวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่ วนในวันอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัน จันทร์ ย่าสีดาแก้วจะตรวจดวงชะตาให้แก่ผู้ที่มาขอคาปรึกษา ค่ายกครูในการรักษาโรคและตรวจดวงชะตา/ครั้ง คือ รายละ ๒๐ บาท

ภาพที่ ๕-๖ เครื่องบวงสรวง ประกอบด้วย บายศรี เครื่องคาวหวาน เช่น หัวหมู ปลาช่อนต้มทั้งตัว ไข่ต้ม ข้าวต้ม มัด กล้วย อ้อย เป็นต้น ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๑


๑๔

ภาพที่ ๗ ภายในตาหนักใหม่ของย่าสีดาแก้ว พิมพิลาไลย ก่อนย้ายเครื่องบูชาเข้าไปประดิษฐาน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๘ ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชคกาลังสูบบุหรี่สองมวนพร้อมกัน โดยมีร่างทรงปู่ฤๅษีตาไฟกาลังปรนนิบัติรับ ใช้อยู่ไม่ห่าง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๑


๑๕

ภาพที่ ๙ ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชค ร่ายราร่วมกับร่างทรงแม่ย่าสีดาแก้ว พิมพิลาไลย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๐-๑๑ ร่างทรงพ่อปู่พญานาคอนันตโชคกาลังอบรมสั่งสอนร่างทรงแม่ย่าสีดาแก้ว ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๑

จากตัวอย่างข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของ “พญานาค” ทีม่ ีต่อสังคมอีสานอย่างแนบแน่นจนแยก จากกันไม่ออก และเป็นที่มาที่ทาให้เกิด หนังสือเล่มนี้ขึ้น ซึ่งเป็นงานทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๑ โดยได้รั บ ทุน สนั บ สนุ น จากมหาวิทยาลั ยอุบลราชธานี ผู้ เขียนลงพื้น ที่เก็บข้อมูล และรวบรวมเรื่องราวที่ เกี่ยวข้องกับ “นาคสถาน” (อ่านว่า นา-คะ-สะ-ถาน หมายถึง สถานที่ของพญานาค เช่นเดียวกับคาว่า “พุทธ สถาน” หรือ “เทวสถาน” ที่หมายถึง สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หรือ สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเทวดา) ใน ภาคอีส าน จ านวน ๗ จั งหวัด คือ จั งหวั ดหนองคาย บึ งกาฬ อุ ดรธานี สกลนคร นครพนม มุ กดาหาร และ อุบลราชธานี เพื่อ ทาให้เห็นถึงระบบความคิด ความเชื่อสาคัญของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้าโขง รวมทั้งเกิด ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการนา “ต้นทุนทางวัฒนธรรม” ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวต่อไป


๑๖

นาคสถานในจังหวัดหนองคาย “วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว” จังหวัดหนองคาย อยู่ห่างจากจังหวัดกรุงเทพมหานครประมาณ ๖๑๖ กิโลเมตร เดิมชื่อ “บ้านไผ่” เพราะมี ต้นไผ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “หนองคาย” ตามชื่อของหนองน้าสาคั ญ ด้วยเหตุนี้จึงทาให้ ตราประจาจังหวัดหนองคายปรากฏรูปกอไผ่ที่ขึ้นอยู่ริมหนองน้าเป็นสัญลักษณ์ แต่เดิมจังหวัดหนองคายเคยเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรล้านช้างมาก่อน เห็นได้จากชาวหนองคายส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเวียงจันทน์ สาเนียงพูดก็ เป็นแบบเวียงจันทน์ สิ่งก่อสร้างที่พบในจังหวัดหนองคายก็มีลักษณะเหมือนกับที่พบในเมืองเวียงจันทน์ ต่อมาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) พระองค์ทรงยกหนองคายขึ้นเป็นเมืองภายหลังจากปราบ กบฏเจ้าอนุวงศ์ลง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นพระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๒๖.๕๓๔ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตด้านทิศเหนือติดกับกาแพงหลวง นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านทิศใต้ติดกับจังหวัดสกลนครและจังหวัดอุดรธานี ด้าน ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดบึงกาฬ (เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย) และด้านทิศตะวันตกติดกับจังหวัด เลย จังหวัดหนองคายประกอบด้วย ๙ อาเภอ คือ อาเภอเมืองหนองคาย อาเภอท่าบ่อ อาเภอโพนพิสัย อาเภอศรี เชียงใหม่ อาเภอสังคม อาเภอสระใคร อาเภอเฝ้าไร่ อาเภอรัตนวาปี และอาเภอโพธิ์ตาก ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังทาปศุสัตว์ และทาประมง ชาวจังหวัดหนองคายถือว่าจังหวัดของตนนั้นเป็นเมืองพญานาค และชาวจังหวัดหนองคายก็ ล้วนแล้วแต่เป็น ลูกหลานพญานาคด้วยเช่นกัน จากตานานการสร้างเมื องหนองคายและเมืองเวียงจันทน์เล่า ว่า มีชายผู้หนึ่งชื่อว่า “บุรีจันทร์ อ่วยล้วย” ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ร่องสะแก (เมืองเวียงจันทน์) เขาเป็นคนใจบุญสุนทาน มีเมตตากรุณามาก ทาให้เป็น ที่รักของบรรดามนุ ษย์ พญานาค และเทวดาทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพญานาคนั้นได้มาช่วยเหลื อ กิจกรรมต่างๆ ของเขาอยู่มิได้ขาด และได้ มาช่วยเนรมิตบ้านเมืองให้เขาปกครองในเวลาต่อมา (ลลนา ศักดิ์ชูวงษ์ , ๔๕๔๘: ๖๓) ในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่า (ตามจันทรคติลาว) หรือแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ ของทุกปี ชาวจังหวัดหนองคายจะจัด พิ ธี “ลอยเรื อ ไฟบู ช าพญานาค” ขึ้ น บริ เวณริ ม ฝั่ ง แม่ น้ าโขงใกล้ กั น กั บ วั ด สิ ริ ม หากั จ จายน์ ซึ่ ง ในวั น นี้ จ ะเกิ ด ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สาคัญในลาน้าโขง คือ “ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค” ขึ้น ลักษณะเป็นดวงไฟพุ่งขึ้น จากแม่น้าโขงลอยขึ้นไปในอากาศสูงราว ๕-๖ เมตร ก่อนที่จะสลายตัวไป ขนาดของดวงไฟมีตั้งแต่เท่าหัวแม่มือ ไป จนถึงขนาดเท่าผลส้ม ชาวหนองคายเชื่อกันว่า ดวงไฟนี้เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาคดลบันดาลให้เกิดขึ้น เพื่อเป็น การบู ชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคราวที่เสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ภ ายหลังจากโปรดพุทธ มารดา เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นเมืองพญานาค จึงมีสถานที่ที่เกี่ยวข้ องกับพญานาคอยู่เป็นจานวนมาก หาก จะคัดสรรเฉพาะสถานที่สาคัญๆ มีดังนี้


๑๗

วัดถ้าศรีมงคล (วัดถ้าดินเพียง) อ้าเภอสังคม จังหวัดหนองคาย “ถ้าดินเพียง”ตั้งอยู่ในตาบลหินตั้ง อาเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ชาวบ้านเชื่อกันว่าถ้าแห่งนี้เป็นเส้นทาง ที่พญานาคใช้สัญจรไปมา เพราะภายในถ้ามีลักษณะเป็นโพรงคดเคี้ยว ขนาดไม่สูงนัก หลายจุดทีน่ ักท่องเที่ยวจะต้อง ก้มตัวลงหรือคลานไปคล้ายกับการเลื้อยของงู เพื่อให้ลอดผ่านไปได้ บริเวณพื้นถ้าหลายแห่งเป็นร่องน้า มีน้าไหล ผ่าน บางจุดเป็นแอ่งน้ามีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แม้ถ้านี้จะไม่มีหินงอก หินย้อย วิจิตรตระการตาเหมือนกับถ้าอื่นๆ แต่ บ รรดาแท่ งหิ น ที่ เป็ น มั น ละเลื่ อ มคล้ ายกั บ ว่าได้ รับ การสั ม ผั ส อยู่ เป็ น ประจ า ได้ ส ร้า งความตื่ น ตาตื่ น ใจให้ แ ก่ นักท่องเที่ยวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เหตุที่ได้ชื่อว่า “ถ้าดินเพียง” เพราะบริเวณหน้าปากถ้ามีความสูงระดับพื้นดิน เดิมบริเวณนี้เคยเป็นที่ดินของ นายคาสิงห์ เกศศิริ ต่อมาเขาได้ถวายให้แด่วัดศรีมงคลเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะ ก่อนที่ นักท่องเที่ยว จะเข้าไปชมภายในถ้า จะต้องจุดธูปเทียนขออนุญาต “พ่อปู่อินทร์” และ “แม่ย่าเกษรา” ซึ่งเป็นพญานาคราชผู้คอย ปกปักรักษาถ้าแห่งนี้ กฎของการเข้าเยี่ยมชมถ้าดินเพียงคือ จะต้องมีมัคคุเทศก์ผู้ชานาญเส้นทางเป็นผู้นาชมเท่านั้น ไม่ควรเดินลงไปเองโดยพลการ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ นักท่องเที่ยวจะต้องถอดรองเท้า สารวมกิริยามารยาทให้ เรียบร้อย เพื่อเป็นการเคารพสถานที่ และปฏิบัติตามคาแนะนาของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด การเยี่ยมชมถ้า ดินเพียงจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ส่วนค่าเข้าชมถ้าและค่ามัคคุเทศก์นั้นทางวัดไม่ได้กาหนดราคามาตรฐานไว้ ขึ้นอยู่กับความศรัทธา โดยนักท่องเที่ยวสามารถบริจาคเงินใส่ตู้ รับบริจาคหน้าปากทางเข้าถ้าเพื่อเป็นค่าไฟฟ้ า และ มอบเงินให้เป็นสินน้าใจแก่มัคคุเทศก์ตามแต่เห็นสมควร ภายในถ้าแบ่งออกเป็น ๘ ห้องด้วยกัน คือ ๑) ห้องโถงทางเข้า ที่จะทาให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเย็นฉ่าเหมือนอยู่ ภายในห้องปรับอากาศ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ย่างเท้าเข้าไป ๒) ห้องหีบศพปู่อินทร์นาคราช ห้องนี้จะมีก้อนหินใหญ่คล้าย กับ หี บ ศพอยู่ เหนื อเพดานถ้า เชื่ อกัน ว่าผู้ ใดที่ ได้ สั มผั ส หิ น ก้อนนี้แล้ วตั้งจิตอธิษ ฐาน ผู้ นั้ นก็จะได้ทุกสิ่ งสมความ ปรารถนา ๓) ห้องหีบศพย่าเกษรา ห้องนี้จะมีหิ นรูปร่างคล้ายหีบศพตั้งอยู่ ถัดไปเล็กน้อยเป็นแท่งหินอีก ๒ ก้อน เชื่อว่าเป็นหีบสมบัติของพญานาค คือหีบเงิน หีบทอง นักท่องเที่ยวจะต้องเดินวนอ้อมเพื่อสัมผัสหินทั้ง ๓ ก้อนนี้ให้ ครบ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต ก่อนที่จะเดินไปยังห้องถัดไป ๔) ห้องธิดานาคราช บางทีก็เรียกว่าห้องสีชมพู เพราะประดับด้วยหลอดไฟสีชมพู ห้องนี้เป็นห้องที่นักท่องเที่ยวมักถ่ายติดภาพปาฏิหาริย์ที่มีลักษณะคล้ายพญานาค มาปรากฏให้เห็นอยู่หลายครั้ง ๕) ห้องช้างสามเศียร ผู้ที่จะผ่านห้องนี้ได้ จะต้องคลานไปไม่ต่างจากการเลื้อยของงู ชาวบ้านเชื่อว่า การได้มุดถ้านี้เป็นดั่งการลอดใต้ท้องช้าง จะทาให้ผู้ลอดหมดเคราะห์หมดโศกนานาประการ ชีวิต ประสบแต่ความสุข ความเจริญ ๖) ห้องคัมภีร์ ในห้องนี้มีแผ่นหินขนาดใหญ่คล้ายกับหนังสือที่กางออกตั้งอยู่ เชื่อ ว่าผู้ใดก็ตามที่ได้สัมผัสหินก้อนนี้แล้วจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ๗) ห้องโถงทางออก บริเวณนี้จะมีหินที่กองเป็นรูป เจดีย์ตั้งอยู่ ภายในเจดีย์ประดิษฐานวัตถุมงคลต่างๆ ไว้เป็นจานวนมาก ให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้บูชาเพื่อความเป็น สิริมงคล และห้องที่ ๘ ซึ่งเป็นห้องสุดท้าย คือห้องปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ ในห้องนี้นักท่องเที่ยวจะทาการขอขมา กรรมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายภายในถ้าที่อาจประมาทพลาดพลั้ง ทั้งโดยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี เพื่อขออโหสิกรรม ก่อนที่จะไต่บันไดขึ้นมาเหนือปากถ้า ถ้าดินเพียงเป็นสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพญานาค ตามตานานเล่าว่า ธิดาพญานาคได้ผูกสมัคร รักใคร่กับเจ้ าชายพระองค์ห นึ่ ง โดยที่ไม่ทรงทราบเลยว่า หญิ งสาวผู้นี้มีช าติกาเนิดที่แท้จริงเป็นอะไร ต่อมาธิดา พญานาคได้ขออนุญาตจากเจ้าชายเพื่อมาเล่นน้าภายในถ้าแห่งนี้ในวั นออกพรรษา และเมื่อเจ้าชายทรงทราบความ


๑๘ จริงว่าหญิ งสาวไม่ใช่มนุ ษย์ พระองค์จึ งทรงตัดความสัมพันธ์กับธิดาพญานาค ณ ถ้าแห่ งนี้ นอกจากความเชื่อ ดังกล่าวแล้ว ชาวบ้านยังเชื่ออีกว่า ถ้าแห่งนี้สามารถทะลุแม่น้าโขงไปโผล่ที่น ครหลวงเวียงจันทน์ได้ เพราะเคยมี สามเณรรูปหนึ่งเดินตามสามเณรแปลกหน้าลงไปในถ้า ปรากฏว่าเมื่อแหงนหน้าขึ้นดูด้านบนเพดานถ้ากลับพบว่า เป็น สีน้าตาล สามเณรอาคันตุกะจึงถามว่า “ที่เห็นนั้นคืออะไร ?” สามเณรที่นาลงมาได้กล่าวตอบว่า “นั่นคือแม่น้าโขง ถ้านี้อยู่ใต้แม่น้าโขง” บังเอิญมีพวงมาลัยพวงหนึ่งลอยตามน้ามา สามเณรอาคันตุกะจึงคว้ามาสวมคอ หลังจากนั้นก็ หมดสติไป มารู้สึกตัวอีกครั้งพบว่า ตนมานอนอยู่บนเรือของคนหาปลา ส่วนสามเณรที่พาลงมาในถ้าได้กลายร่าง เป็นปลาบึกยักษ์ สันนิษฐานว่า ปลาบึกนี้น่าจะเป็นพญานาคแปลงกายมา “ถ้าดินเพียง” จึงเป็นนาคสถานที่ผู้ศรัทธาในพญานาคควรหาโอกาสมาเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต ผู้เขียนรับรอง ว่าท่านจะได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่า ยากที่จะหาได้จากสถานที่อื่น

ภาพที่ ๑๒ ป้ายด้านหน้าวัดถ้าศรีมงคล (ถ้าดินเพียง) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๓ ป้ายแผนที่ภายในถ้าศรีมงคล (ถ้าดินเพียง) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๑๙

ภาพที่ ๑๔ บริเวณทางเข้าถ้าดินเพียง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๕ รูปปั้นพ่อปู่อินทร์นาคราช และแม่ย่าเกษราภายในศาลหน้าปากถ้าดินเพียง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๒๐

ภาพที่ ๑๖ บริเวณปากทางเข้าถ้าดินเพียง มีรูปปั้นพญานาคราชสีทองเก้าเศียรประดิษฐานอยู่ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๗ หินที่เชื่อกันว่าเป็นหีบศพปู่อินทร์ นาคราช จะเห็นว่าบรรดานักท่องเที่ยวต่างใช้มือ สัมผัสแล้วอธิษฐานขอพร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๘ บริเวณที่มีหินสามก้อนเรียงกัน เชื่อกัน ว่า เป็นหีบศพแม่ย่าเกษรา หีบเงิน และหีบทอง ตามลาดับ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมในห้องนี้ต่าง ใช้มือสัมผัสหินทั้งสามก้อนเพราะเชื่อว่าจะทาให้มี โชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองไหลมาเทมา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๒๑ ภาพที่ ๑๙ บริเวณห้องธิดานาคราช หรือห้องสี ชมพู เป็นห้องที่นักท่องเที่ยวสามารถ่ายภาพ ปาฏิหาริย์คล้ายกับรูปพญานาคได้บ่อยครั้ง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๐ ห้องช้างสามเศียร นักท่องเที่ยวที่จะ ผ่านไปต้องคลานไม่ต่างจากอาการเลื้อยไปของงู ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๑ ห้องคัมภีร์ นักท่องเที่ยวมักมาสัมผัส ก้อนหินทีม่ ีรูปร่างคล้ายหนังสือทีถ่ ูกกางออก เชื่อว่า จะทาให้มีสติปัญหาเฉลียวฉลาด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๒๒

ภาพที่ ๒๒ เจดีย์บริเวณห้องโถงทางออก ภายใน บรรจุวัตถุมงคลต่างๆ ทีเ่ จ้าอาวาสสะสมไว้ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๓ ปากทางออกจากถ้าดินเพียง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๒๓

พระธาตุหล้าหนอง อ้าเภอเมือง จังหวัดหนองคาย “พระธาตุหล้าหนอง” ที่จังหวัดหนองคาย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่บ รรดาพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาว ลาวต่างให้ความเคารพศรัทธา ตามตานานพระอุรังคธาตุเล่าว่า พระอรหันต์ ๕ รูปได้สร้างพระธาตุองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็น ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุฝ่าพระบาทเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าจานวน ๙ องค์ แต่เดิมองค์พระธาตุตั้งอยู่ บริเวณริมน้า ต่อมากระแสน้าโขงเกิดเปลี่ยนทิศทางและได้เซาะตลิ่งฝั่งเมืองหนองคายจนพังทาให้องค์พระธาตุจมลง ไปในน้า เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๕ ค่า เดือน ๙ พ.ศ. ๒๓๐๙ เวลาใกล้ค่า ปัจจุบันอยู่ ห่างจากฝั่งไทยออกไปราว ๑๘๐ เมตร ชาวเมืองหนองคายเชื่อกันว่า เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาคที่ต้องการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปรักษาไว้ มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยสงครามฝรั่งเศส มีผู้โดยสารเรือกาปั่นลบหลู่องค์พระธาตุด้วยการปัสสาวะใส่ เป็นเหตุ ให้เรือจมลงทันที จากเหตุการณ์ ในครั้งนั้นทาให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง ๓๖ คน แม้แต่ในปัจจุบัน ถ้าใครที่โดยสารเรื อ ผ่านบริเวณนั้นแล้วทาสิ่งไม่สมควร เช่น ปัสสาวะ หรือกล่าวถ้อยคาลบหลู่ดูหมิ่นองค์พระธาตุ เรือก็จะจมลงทันที เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้เกิดเหตุการณ์ ประหลาดขึ้น บริเวณพระธาตุกลางน้า กล่าวคือ ชาวบ้านนับร้อยนับพันคนได้พบเห็นสัตว์ประหลาดที่มีลาตัวยาวคล้ายงู (ยาวประมาณ ๑๐ เมตร) มีเกล็ดสีดาแกม เขียวเปล่งประกายระยิบระยับ ลอยทวนน้าอยู่ใกล้กับองค์พระธาตุ ยิ่งตอกย้าความเชื่อที่ว่า พญานาคเป็นผู้ปกปัก รักษาพระธาตุองค์นไี้ ด้เป็นอย่างดี หน่วยโบราณคดีภาค ๗ กรมศิลปากร เคยส่งนักโบราณคดีใต้น้าลงพื้นที่สารวจ แต่เมื่อนักประดาน้าดาลงไป กลับเกิดเหตุประหลาดขึ้น คือสายน้าที่เคยใสกลับขุ่นข้นจนไม่สามารถใช้กล้องถ่ายภาพได้เลย นักประดาน้าจึงจาต้อง ใช้วิธีการสัมผัส และกลับขึ้นมาสเก็ตช์ภาพแทน ทาให้ทราบว่า พระธาตุองค์นี้มีความกว้างด้านละประมาณ ๑๗.๒ เมตร ย่อมุมที่ฐาน ความสูงประมาณ ๒๘.๕ เมตร หักออกเป็น ๓ ท่อน ปัจจุบันจังหวัดหนองคายได้สร้างพระธาตุ องค์จาลองขึ้นแทน และประดิษฐานชิ้นส่วนของพระธาตุองค์เดิมไว้ภายใน ปัจจุ บัน ทางจังหวัดหนองคายได้ส ร้างองค์พระธาตุจาลองไว้ให้ พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เนื่องใน โอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระธาตุองค์นี้ใช้เวลาก่อสร้าง ๒ ปี จึงแล้วเสร็จ ชาวหนองคายได้จัดพิธีบวงสรวงพระธาตุใน วันขึ้น ๑๔ ค่าเดือน ๑๑ ของทุกปี มีการจุดบั้งไฟถวายในช่วงเดือน ๖ และมีการแข่งเรือยาวในวันออกพรรษาของ ทุกปีเพื่อเป็นพุทธบูชา พระธาตุห ล้ าหนอง ถือเป็ น สถานที่ศักดิ์สิ ท ธิ์อีกแห่ งหนึ่งที่ นักท่ องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือนจังหวัด หนองคายไม่ควรพลาด เมื่อแวะมาสักการะพระธาตุหล้าหนองแล้ว ก็อย่าลืมไปไหว้ “ศาลพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นศาลสีแดง ตั้งอยู่ใกล้กัน พ่อใหญ่คือพญานาคที่ปกปักรักษาพระธาตุหล้าหนองนั่นเอง


๒๔

ภาพที่ ๒๔ พระธาตุหล้าหนองจาลอง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๕-๒๖ (ภาพซ้าย) พระธาตุหล้าหนององค์เดิมที่จมอยู่ในแม่น้าโขง ในช่วงหน้าฝนที่น้ามากจะเห็นองค์พระธาตุโผล่ขนึ้ มา เพียงเล็กน้อย ภาพโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐ (ภาพขวา) แต่พอถึงช่วงหน้าแล้งที่น้าลดลง จะเห็น องค์พระธาตุโผล่ขึ้นมาชัดเจน ภาพนี้เป็นภาพของทางวัด ถ่ายเมื่อ ๑๕/๔/๒๕๕๓


๒๕

ภาพที่ ๒๗ ภาพลายเส้นพระธาตุกลางน้า โดยคณะสารวจอินโดจีนของฟรองซิสการ์นิเยร์ วาดเมือ่ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๑


๒๖

ภาพที่ ๒๘ ศาลพญานาค ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับพระธาตุหล้าหนอง เชื่อว่าพญานาคตนนี้เป็นผู้พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๙ ภาพวาดพระธาตุหล้าหนอง และพญานาคผู้อภิบาลรักษา ภายในศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๒๕๖๑


๒๗

วัดโพธิ์ชัย อ้าเภอเมือง จังหวัดหนองคาย “วัดโพธิ์ชัย” ตั้งอยู่ที่อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เดิมเป็นวัดร้าง ชื่อ “วัดผีผิว” ต่อมาพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคายในสมัยนั้น ได้เริ่มบูรณะวัดดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๘๒ จนแล้วเสร็จ และได้นิมนต์ท่านญาครูหลักคา พระเถระรูปสาคัญของเมืองหนองคายมา จาพรรษา เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด พระปทุ ม เทวาภิ บ าลได้ อั ญ เชิ ญ “พระเสริม ” ซึ่ งถื อ เป็ น พระพุ ท ธรูป ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์อ งค์ ห นึ่ ง จากเดิ ม ที่ เคย ประดิษฐานอยู่ ณ วัดหอก่อง มาประดิษฐานคู่กับ “หลวงพ่อพระใส” ที่วัดโพธิ์ชัย แท้จริงแล้วพระเสริมกับพระใสนั้น เป็นพระพุทธรูปพี่ พระพุทธรูปน้องกันมาแต่เดิม ตามตานานเล่าว่า พระราชธิดาในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่ง อาณาจักรศรีสัตนาคนหุต ๓ พระองค์ มีพระประสงค์จะหล่อพระพุทธรูปขึ้นแทนองค์ ทาพิธีหล่ออยู่ ถึง ๗ วัน ๗ คืน แต่หล่อเท่าใดก็ไม่สาเร็จ ทองคาไม่ละลาย จนกระทั่งวันที่ ๘ เทวดา (บางตานานกล่าวว่า เป็นพญานาคราช) ได้ จาแลงกายมาเป็นชีปะขาว อาสามาช่วยหล่อ ทาให้พระพุทธรูปทั้งสามองค์หล่อสาเร็จเป็นองค์พระขึ้นมาอย่างน่า อัศจรรย์ และได้น ามตามพระนามของพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ คือ พระสุก พระเสริม และพระใส ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จ พระบวรราชเจ้ ามหาศักดิพลเสพ เป็ นแม่ทัพยกทัพขึ้นไปตีนครเวียงจันทน์ เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว จึงได้อัญ เชิญ พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ล่องแพมาไว้ที่เมืองหนองคาย ขณะที่แพล่องมาตามลาน้างึมถึงแม่น้าโขง เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แพที่ บรรทุกพระสุกมานั้นเกิดแตก พระสุกได้จมหายลงไปในแม่น้า ชาวบ้านแถบนั้นต่างพากันเชื่อว่า เกิดจากอิทธิฤทธิ์ ของพญานาคที่อาศัยอยู่ในแถบนั้นปรารถนาจะได้พระสุกไว้สักการบูชาจึงอัญเชิญพระสุกลงไปยังนาคพิภพ เหลือพระ เสริมและพระใสเพียง ๒ องค์ ที่ล่องแพมาจนถึงเมืองหนองคาย พระเสริมประดิษ ฐานอยู่ ณ วัดหอก่อง ส่วนพระใส ประดิษฐานอยู่ ณ วัดโพธิ์ชัย ต่อมาเจ้าเมืองหนองคายได้อัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัยคู่กับ พระใส และให้หล่อพระสุกจาลองขึ้นใหม่ประดิษฐานไว้ ณ วัดศรีคุณเมือง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระเสริม และพระใสลงมาประดิษฐานไว้ ณ พระนคร ทว่าได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นระหว่างการขนย้าย คือเกวียนที่บรรทุกพระใส นั้นกลับไม่ขยับเขยื้อน แม้จะพยายามทาอย่างไรก็ตาม ในที่สุดเกวียนที่บรรทุกพระใสก็หักลง ทาให้พระใสได้รับการ ขนานนามอีกนามหนึ่งว่า “หลวงพ่อเกวียนหัก” ในที่สุดทางราชการจึงตัดสินใจนาพระใสกลับไปประดิษฐานไว้ที่วัด โพธิ์ชัยตามเดิม ส่วนพระเสริมนั้น ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ในวันสงกรานต์ของทุกปี ทางวัดโพธิ์ชัยจะอัญเชิญพระใสมาให้ประชาชนได้สรงน้าเพื่ อความเป็นสิริมงคล โดยจะแห่องค์พระไปรอบเมือง และจะอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารตามเดิม ความสัมพันธ์ระหว่างพญานาคกับ หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ยิ่ง ปรากฏชัดขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ อินตาเจ้าฮั่ง ห่านฟ้า จากนครหลวงพระบาง (อินตาเจ้า คือ ยศของราชวงศ์กษัตริย์ลาว) ได้นาเครื่อง บูชา เช่น แจกันเงินแท้ ทองแท้ เชี่ยนหมากเงินแท้ ทองแท้ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รวมทั้งหงอนพญานาคและฟัน พญานาค เป็นต้น มาถวายไว้เป็นพุทธบูชาที่วัดโพธิ์ชัย ทาให้ผู้ที่มาสักการะหลวงพ่อพระใสได้ชื่นชมบารมีพญานาคไป พร้อมกันด้วย


๒๘

ภาพที่ ๓๐ พระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ที่พระพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศให้ความเคารพ นับถือส่วนเจดีย์สขี าวด้านหน้าพระวิหารนั้น คือเจดีย์บรรจุพระธาตุพระอรหันต์ ๕ รูป ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๓๑ หลวงพ่อพระใส ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐

ภาพที่ ๓๒ วัตถุรูปร่างประหลาด ซึ่งผู้นา มาถวายอ้างว่าเป็นหงอนของพญานาค ปัจจุบนั จัดแสดงอยู่ภายในพระวิหาร หลวงพ่อพระใส ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๒๙

วัดศรีคุณเมือง อ้าเภอเมือง จังหวัดหนองคาย “วัดศรีคุณเมือง” ตั้งอยู่ในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เดิมชื่อว่า “วัดป่าขาว” เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยขุนพิพัฒน์โภคา เมื่อเวลาผ่านไป ถาวรวัตถุภายในวัดได้เสื่อมโทรมไปตามสภาพ จนกระทั่ง พระอาจารย์สีทั ตถ์ สุวรรณมาโจได้มาบูรณะวัดและได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดศรีคุณเมือง ตามชื่อของนางคูณ ทวี พาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์วัด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สาคัญคือ “หลวงพ่อพระสุกจาลอง” ชาวบ้านแถบนั้นต่างเคารพศรัทธาหลวงพ่อพระสุก แม้ว่าจะเป็นองค์จาลอง เพราะเชื่อว่ามีเทพเทวาปกปัก รักษา ท่านมีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ได้ อาทิ สามีภรรยาที่อยู่กินกันมานาน แต่ไม่มีทายาทไว้สืบสกุล เมื่อมาบนบานศาลกล่าว ไม่นานก็มีบุตรสมปรารถนา เป็นต้น ว่ากันว่าทุกครั้งที่ทางวัดศรีคุณเมืองจัดงานบุญมักจะ มีฝนตกลงมาทุกครั้ง ถึงแม้ว่า งานจะจัดขึ้นในช่วงหน้าแล้งก็ตาม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเกิดจากการดลบันดาลของ พญานาคที่ปกปักรักษาองค์หลวงพ่อพระสุกจาลองและวัดศรีคุณเมืองก็เป็นได้

ภาพที่ ๓๓-๓๔ วัดศรีคุณเมือง สถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระสุกจาลอง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมือ่ ๔/๖/๒๕๖๐


๓๐

ภาพที่ ๓๕ หลวงพ่อพระสุกจาลอง (องค์ที่ ๒ ตรงกลาง) ประดิษฐานอยูภ่ ายในพระวิหาร จะสังเกตว่าเบื้องหน้ามีลูกแก้ว พญานาควางอยู่ด้วย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๔/๖/๒๕๖๐


๓๑

วัดพระธาตุบังพวน อ้าเภอเมือง จังหวัดหนองคาย วัดพระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ที่ตาบลพระธาตุบังพวน อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๒ ไร่ สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นก่อนรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ล้านช้าง ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้า ไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง จึงได้ทาการก่อพระธาตุองค์ใหญ่ครอบพระธาตุองค์เดิมซึ่งเป็นศิลปะแบบอินเดียไว้ “พระธาตุบังพวน” ถือเป็นปูชนียสถานที่สาคัญคู่เมืองหนองคาย ไม่น้อยไปกว่า “หลวงพ่อพระใส” ที่วัดโพธิ์ชัย ซึ่ง ถือเป็นปูชนียวัตถุที่สาคัญที่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวลาวกราบไหว้บูชา คาว่า “บังพวน” น่าจะมาจากคาว่า “บังคน” หรือ “ขี้โผ่น” ในภาษาไทยถิ่นอีสาน หมายถึง กระเพาะ ปั ส สาวะ ชาวบ้ านเชื่อ กัน ว่า พระธาตุ อ งค์ นี้ เป็ น ที่ ป ระดิษ ฐานพระบรมสารีริก ธาตุส่ ว นกระเพาะปั ส สาวะของ พระพุทธเจ้า (บ้างก็ว่ากระดูกส่วนหัวเหน่า) ที่พระอรหันต์ทั้ง ๕ รูป ได้อัญเชิญมาจากประเทศอินเดียเมื่อนานมาแล้ว มีตานานเล่ าสื บ ต่อกัน มาอีกว่า ดิน แดนแห่ งนี้ คือ “ภู ล วง” ซึ่งเป็น ที่อยู่อ าศัยของเหล่ าพญานาค เมื่ อ พระพุทธเจ้าเสด็จมา ณ ที่นี้ เหล่าพญานาคจึงพากันขึ้นมาเฝ้า และแสดงตนเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานลง และพระอรหันต์ได้นาพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่นี่ ได้ บังเกิดน้าผุดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ ชาวบ้านเชื่อกันว่า บริเวณที่น้าผุดนี้เป็น ปากปล่องทางลงไปยังนครบาดาลที่อยู่ อาศัยของพญานาคผู้รักษาพระธาตุบังพวน จึงช่วยกันขุดทาเป็น “สระมุจลินท์” (บ้างเรียกว่า สระปัพพฬนาค) ขึ้น นัยว่าเป็นการจาลอง “สัตตมหาสถาน” มาไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ชาวหนองคายเชื่อกันว่า น้าในสระเป็นน้าศักดิ์สิทธิ์ที่ ไม่มีวันเหือดแห้ง จึงได้นามาใช้ในงานพระราชพิธีสาคัญๆ ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เช่น พระราช พิธีสรงมูรธาภิเษก พระราชพิธีถือน้าพระพิพัฒน์สัตยาในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นต้น วัดพระธาตุบังพวนมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ “สัตตมหาสถาน” ซึ่งจาลองแบบมาจากสัตตมหาสถานที่เมืองคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากที่พระโพธิสัตว์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็น พระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเสวยวิมุติสุข ณ สถานที่ ๗ แห่ง แห่งละ ๗ วัน ดังนี้ ๑) โพธิบัลลังก์ ทรงประทับอยู่บน พระแท่นวัชระอาสน์ หลังจากนั้นทรงเสด็จไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ ๒) อนิมมิสเจดีย์ ประทับ ยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่ทรงกะพริบพระเนตรเลย แล้วจึงเสด็จไปยัง ๓) รัตนจงกรมเจดีย์ ซึ่งอยู่ กึ่งกลางระหว่างโพธิบัลลังก์และอนิมมิสเจดีย์ ทรงอธิษฐานเดินจงกรมตลอด ๗ วัน ๔) รัตนฆรเจดีย์ พระพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้วที่เหล่าเทพยดาเนรมิตถวาย ทรงพิจ ารณาพระอภิธรรมซึ่งเป็นธรรมะชั้นสูง แล้วจึง เสด็จไปยัง ๕) อชปาลนิโครธเจดีย์ ทรงประทับอยู่ที่ใต้ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ ทรงสามารถเอาชนะธิดา พญามาร คือ นางตัณหา นางราคะ และนางอรตี ที่ แปลงกายเป็นสตรีในวัยต่างๆ มาแสดงกิริยายั่วยวน แสดงว่า พระองค์ ทรงเอาชนะมารได้ อย่ างเด็ด ขาด เป็ น ผู้ ท รงห่ างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ ว ๖) มุจลิ น ทเจดี ย์ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ ใต้ต้นจิก ตลอดทั้งสัปดาห์นั้นมีพายุฝน พญานาคมุจลินท์จึงขึ้นมาแผ่พังพานบังลมฝน ถวายพระพุทธเจ้า และ ๗) ราชายตนะเจดีย์ สถานที่ที่พระอินทร์ ได้มาถวายผลสมอทิพย์ และพ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะและภัลลิกะ ได้น้อมถวายข้าวตูก้อนและขนมน้าผึ้ง แด่พระพุทธเจ้า หลังจากนั้นทั้ง ๒ ท่านก็ได้กล่าวคาขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง สัตตมหาสถานที่วัดพระธาตุบังพวนนี้ ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สาคัญของ ชาติ เพราะทั่ ว ทั้ ง ประเทศไทยมี อ ยู่ เพี ย ง ๓ แห่ ง เท่ า นั้ น ได้ แ ก่ ๑) ที่ วั ด สุ ทั ศ น์ เทพวรารามราชวรมหาวิ ห าร กรุงเทพมหานคร ๒) ทีว่ ัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) จังหวัดเชียงใหม่ และ ๓) วัดพระธาตุบังพวน แห่งนี้


๓๒

ภาพที่ ๓๖ พระธาตุบังพวน พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจาจังหวัดหนองคาย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๖๑


๓๓

ภาพที่ ๓๗ หลวงปู่นาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ประดิษฐานอยู่ในสัตตมหาสถาน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๒๕๖๑

ภาพที่ ๓๘ พญานาคมุจลินท์ ภายในบ่อน้าโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าบริเวณนี้เป็นที่สิงสถิตของเหล่าพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๒๕๖๑


๓๔

วัดหินหมากเป้ง อ้าเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วัดหินหมากเป้ง ตั้งอยู่ที่อาเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เดิมเป็นพื้นทีป่ ่ารกร้างที่ขึ้นชื่อว่า “ผีดุมาก” ยากที่ใครจะกล้าเข้ามาพานักอยู่ได้ ต่างจากในปัจจุบันที่วัดหินหมากเป้งได้กลายเป็นรมณียสถานอันสัปปายะเหมาะ แก่การปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องด้วยบารมีของ “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี” พระอริยสงฆ์ผู้ควรแก่การกราบไหว้ บูชา ผู้ที่เราท่านควรยึดถือเป็นสรณะต่อจากพระธรรม และพระพุทธเจ้า “หมากเป้ง” เป็นภาษาไทยถิ่นอีสาน หมายถึง ลูกตุ้มสาหรับไว้ชั่งทองคาในสมัยก่อน เนื่องจากในบริเวณนี้มี ก้อนหิน ๓ ก้อนตั้งเรียงกันอยู่ริมฝั่งแม่น้าโขง มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า หินก้อนที่อยู่ข้างบนสุดนั้นแทนด้วยนครหลวง พระบาง หินก้อนที่อยู่ตรงกลางแทนนครบางกอก (กรุงเทพฯ) และหินก้อนที่อยู่ข้างล่างสุดแทนนครเวียงจันทน์ ต่อไปในภายภาคหน้ากษัตริย์ทั้ง ๓ นคร (หลวงพระบาง บางกอก และเวียงจันทน์) จะเสด็จมายังสถานที่แห่งนี้และ จะทรงร่วมกันสร้างบ้านแปงเมืองทาให้บริเวณนี้เจริญรุ่งเรือง นี่คือคาพยากรณ์ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องพญานาคที่วัดหินหมากเป้งนั้น หลวงปู่เทสก์เคยเล่าให้ฟังว่า บริเวณข้างใต้ผืนแผ่นดินของ วัดหินหมากเป้งนี้ มีลักษณะเป็นถ้าขนาดใหญ่มาก เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าพญานาคผู้ทรงศีลทรงธรรม หลวงปู่เคย ลงไปเทศน์โปรดพวกพญานาคอยู่หลายครั้ง บางคราวพวกพญานาคก็จะพากันขึ้นมาฟังธรรมจากท่าน พอถึงวันออก พรรษาของทุกปีก็มักมีผู้พบเห็นบั้งไฟพญานาคขึ้น ณ บริเวณนี้ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่ องยืนยันว่า พญานาคมีอยู่ ณ ที่นี่ จริง ! คนจ านวนไม่น้ อยยื น ยั น ว่า ในวันพระราชทานเพลิ งศพของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี (๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙) ได้พบเห็นงูหลามขนาดใหญ่หลายตัวเลื้อยมาร่วมพิธีด้วย ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่า นี่คือพญานาคแปลงกาย มา เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จลง งูหลามยักษ์เหล่านั้นก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่มาปรากฏกายให้ใครเห็น อีกเลย หลวงปู่ คาพัน ธ์ โฆษปั ญ โญ เคยเล่าให้ ฟังว่า วัดหิ นหมากเป้งเป็น เสมือนรอยต่อเขตแดนของพญานาค กล่ าวคือ “พญาจิ ตรนาคราช” ท่านปกครองดิน แดนตั้งแต่ตาลี ฟู ล งมาจนถึงวัดหิ นหมากเป้ง ส่ว น “พญาโสม นาคราช” ท่านปกครองดินแดนตั้งแต่วัดหินหมากเป้งเรื่อยลงมาจนถึงแก่งกระเบา นี่คือเครื่องยืนยันว่า พญานาคที่ วัดหินหมากเป้งนั้นมีอยู่จริง ล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ปรากฏรอยพญานาคขึ้นที่วัดหินหมากเป้ง วัดความยาวของ รอยพญานาคได้ประมาณ ๒๐ เมตร อยู่บริเวณด้านหน้าศาลาการเปรียญ กลายเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ ทาให้ บรรดานักเสี่ยงโชคจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมายังวัดแห่งนี้ การเดินทางมาเยือนวัดหินหมากเป้ง นอกจากท่านจะได้สัมผัสความเป็น “นาคสถาน” แล้ว ขอให้ทุกท่าน น้อมจิตน้อมใจให้ใสบริสุทธิ์ แล้วกราบพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หรือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระแท้ผู้ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนอัฐิได้แปรสภาพไปเป็นพระธาตุเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่แม้แต่เหล่าพญานาคยังกราบไหว้บูชา


๓๕

ภาพที่ ๓๙ สถานที่พระราชทานเพลิงศพพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิสิษฏ์ หรือ หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๒๕๖๑

ภาพที่ ๔๐ เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๔/๒๕๖๑


๓๖

วัดไทย อ้าเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ชาวอาเภอโพนพิสัยเชื่อกันอย่างสนิทใจว่า มีเมืองของพญานาคตั้งอยู่จริงในแม่น้าโขง ถ้านักท่องเที่ยวมี โอกาสแวะมาเยือนอาเภอแห่งนี้ ไม่ควรพลาดแลนด์มาร์กสาคัญนั่นคือ รูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “นาค ราชัยยัญ” ตั้งอยู่ที่วัดไทย ตาบลจุมพล อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามความ ฝัน ของท่านเจ้ าอาวาส (พระอาจารย์บุ ญ กว้าง ปภากโร) ที่พบชายหญิ งคู่ห นึ่งผิ วกายดา แต่งกายด้วยเครื่องทรง กษัตริย์มาขอร้องให้ท่านช่วยสร้างสัญลักษณ์ของเมืองบาดาลไว้ ณ โลกมนุษย์ ประกอบด้วย ๑) นาคราชัยยัญ ๒) นาคบาศก์ ๓) เสาหลักเมืองบาดาลทรงสามเหลี่ยม ๔) ประตูทางเข้าเมืองบาดาล และ ๕) อุโมงค์เข้าถ้าพญานาค ภายในอุโมงค์เข้าถ้าพญานาคแบ่งออกเป็นห้องๆ มีทั้งหมด ๗ ห้อง (ห้องที่ ๑ เบิกภพนาคอนันต์ ห้องที่ ๒ ขันเงิน ห้องที่ ๓ นาคแก้วนที ห้องที่ ๔ สีทองพันธการ ห้องที่ ๕ บูรพาจารย์ประณต ห้องที่ ๖ มรกตสายธาร และห้องที่ ๗ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค) ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างวิจิตรตระการตา และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา เช่น พระพุทธรูปประจาวันเกิด พระอริยสงฆ์ของไทย เหล็กไหลพญานาค แก้วมณี นาคราช รวมทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคทั้งคติในศาสนาพราหมณ์และศาสนา พุทธ เช่น ภาพการกวนเกษียรสมุทร (กูรมาวตาร) ในศาสนาพราหมณ์ หรือภาพพระพุทธประวัติ ตอนพระโพธิสัตว์ สิทธัตถะอธิษฐานลอยถาดทองคาในแม่น้าเนรัญชรา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกนามว่า “หลวงพ่อใหญ่วัดไทย” ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเภอโพน พิสัย (ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร สูง ๒.๕ เมตร) ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา พระพุทธรูปองค์นี้ พญานาคได้มาขอร้องให้ท่านสร้างขึ้นเช่นกัน เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวนาคพิภพให้ความเคารพนับถือ มาก พร้อมกันนี้ทางวัดยังได้สร้างรอยพระพุทธบาทจาลองขึ้น และรูปปั้นพญานาคา พญานาคีสีดาคู่หนึ่ง เพื่อให้ ชาวนครบาดาลได้กราบไหว้บูชา อาเภอโพนพิสัย ยังมีชื่อเสียงในเรื่อง “ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค” ในอดีตชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่า “บั้งไฟผี” ซึ่งเป็นเรื่องปรกติธรรมดาที่ชาวบ้านเห็นกันจนชินตาในคืนวันออกพรรษา ไม่มีใครใส่ใจ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดหนองคาย มี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น ต้น ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว ทาให้ “บั้งไฟผี ” หรือ “บั้งไฟพญานาค” กลายเป็นสินค้าสาคัญทางการท่องเที่ยวของจังหวัด ปี พ.ศ.๒๕๖๐ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้เดินทางมาเปิดงาน “เทศกาลออก พรรษาบั้ งไฟพญานาคโลก” ณ ลานนาคาเบิกฟ้า บริเวณวัดไทย อาเภอโพนพิสัย ที่พิเศษคือ ทางจังหวัดได้เชิญ นักแสดงนาจากละครเรื่อง “นาคี” คือ ณฐพร เตมีรักษ์ มาร่วมราบวงสรวง “พญาพิสัยศรีสัตนาคราช” ร่วมกับ นางรากว่า ๒,๐๐๐ คน ท่ามกลางสายตาของประชาชนนับหมื่นคนที่มารอชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคด้วยใจจด จ่ อ ซึ่งต่างก็ไม่ ผิ ด หวัง เมื่ อ บั้ งไฟพญานาคลู ก แรกโผล่ ขึ้น เหนื อ ผื น น้ า พร้อ มกั บ เสี ย งโห่ ร้องอั น ดังกึก ก้อ งของ ประชาชนด้วยความปีติยินดี


๓๗

ภาพที่ ๔๑ “หลวงพ่อใหญ่วัดไทย” พระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นที่กราบไหว้บูชาของเหล่ามนุษย์ และบรรดานาคี นาคา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๔๒-๔๓ ลอดปากพญานาคเพื่อสะเดาะเคราะห์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๓๘

ภาพที่ ๔๔ พญานาคราชัยยัญ และเสาหลักเมืองบาดาล (เสาสามเหลี่ยมที่ค้าเศียรนาค) ภายในองค์พญานาคทาเป็นถ้า แบ่งออกเป็น ๗ ห้อง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๔๕ พญานาคศรีสุทโธ ที่สร้างไว้ภายในถ้า ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๓๙

ภาพที่ ๔๖ ภาพการกวนเกษียรสมุทร หรือกูรมาวตาร ซึ่งถือเป็นเทพปกรณัมของพวกพราหมณ์ฮินดูที่สาคัญเรื่องหนึ่ง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๔๗ พญานาคมุจลินท์แปลงกายเป็นมานพเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภายหลังจากทีไ่ ด้มาแผ่พังพาน ป้องกันลมฝนถวายพระพุทธองค์ตลอดสัปดาห์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๐

ภาพที่ ๔๘ พระพุทธเจ้าทรงปราบพญานาคที่อาศัยอยู่ในเรือนไฟของอุรุเวลากัสสปะจนสิน้ ฤทธิ์ และทรงนามาขังไว้ใน บาตร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๔๙ พระอริยสงฆ์ของไทยประดิษฐานอยู่ภายในถ้าพญานาค เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หลวงปู่ ทวด เหยียบน้าทะเลจืด หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๑ ถ้ายืนอยู่ที่ตรงวัดไทยโพนพิสัย แล้วหันหน้ามองลงไปยังลาน้าโขงจะพบกับสถานที่กราบไหว้บูชาพญานาค อีก ๒ แห่ง คือ ๑) “ป้ายเทศบาลตาบลโพนพิสัย สุดเขตแดนอีสาน จุดชมบั้งไฟพญานาค” ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือใกล้ กับร้านอาหาร “บ้านปลาทู” ณ จุดนี้ นักท่องเที่ยวสามารถไปกราบไหว้พญานาคได้ โดยคาถาบูชาพญานาคมีดังนี้ ตั้ง นะโม ๓ จบ อิมัง เอกจักขุนาคะราเช สุปติฏฐิตัง ตุมหัง เอกะจักขุนาคะ อภิปูชะยามิ (๓ จบ)

ภาพที่ ๕๐ ป้ายของเทศบาลตาบลโพนพิสัย อยู่ทางด้านขวามือของวัดไทยใกล้กับร้านอาหารชื่อดัง คือ ร้าน “บ้านปลาทู” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

๒) “พญาพิสัยศรีสัตนาคราช” ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายมือของวัดไทยโพนพิสัย เป็นพญานาค ๗ เศียร ซึ่งพระศรีวชิรโมลี (เปรียญธรรม ๙ ประโยค, ครุศาสตรมหาบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดชัยพร และรองเจ้าคณะ จังหวัดหนองคาย ได้นาศรัทธาประชาชนสร้างขึ้น บทสวดบูชาพญาพิสัยศรีสัตนาคราช มีดังนี้ ตั้งนะโม ๓ จบ วันทามิ เทยยารามะติตเถ สุปะติฏฐิตัง อิมัง สัตถะสีสะนาคะราชัง ตัสสานุภาเวนะ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชะโยนิจจัง โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พญานาค ๗ เศียรนี้ ที่ประดิษฐานไว้ดีแล้ว ณ ท่าน้าวัดไทย ด้วยอานุภาพแห่งการกราบไหว้บูชาพญานาค ๗ เศียรนั้น กิจที่มุ่งหวัง โชคลาภที่มุ่งหวัง ความชนะเป็นนิตย์ และความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าตลอดกาล


๔๒

ภาพที่ ๕๑ พญานาคเจ็ดเศียรสีทองอร่ามบริเวณลานนาคาเบิกฟ้า ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ถ้ามาเที่ยวที่อาเภอโพนพิสัย สถานที่ท่องเที่ยวสาคัญที่ไม่ควรพลาดอีกแห่งหนึ่งคือ “ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิม ราช” สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่สาคัญ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา สภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวโพนพิสัย นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงประติมากรรมพญานาคราช ฝีมือการรังสรรค์ของนายทองร่วง เอมโอษฐ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประณีตศิลป์-ศิลปะปูนปั้น ปี พ.ศ.๒๕๕๔ โดยผลงานนี้มีชื่อว่า “พญานาค” สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “พญานาคคือผู้รักษาพระพุทธศาสนา” นอกจากนี้ ภ ายในพิ พิธ ภัณ ฑ์ยั งได้จัดแสดง “ไข่พญานาค” ซึ่งนายวิรัตน์ พระฉายา คนงานขับรถตัก ประจาท่าทรายวีณา เป็นผู้เก็บได้ ลักษณะของไข่พญานาคเป็นก้อนสีขาวขุ่นปนเหลือง เนื้อนุ่มคล้ายโฟม ผิวขรุขระ มีกลิ่นคาวเล็กน้อย เขาได้นาไปแช่น้าไว้ พอนาขึ้นมาจากน้าก็เกิดควันพวยพุ่ง เมื่อลองฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ และรีดน้า ออกทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาทีจะเกิดเป็ นประกายไฟ และติดไฟลุกไหม้ พอไฟดับลงแล้วจะเหลือเป็นคราบสีแดง คล้ายสนิมเหล็ก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นวัตถุที่ทาให้เกิดบั้งไฟพญานาคขึ้นในทุกคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑

ภาพที่ ๕๒ ด้านหน้าศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์เมืองโพนพิสัย เปิดวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา ๙.๐๐ -๑๖.๐๐ น. ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๓

ภาพที่ ๕๓ ประติมากรรมรูปพญานาค ซึ่งจัดแสดงอยู่ภายในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ด้านหลังคือภาพจิตรกรรมตอน พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีเหล่าพญานาคราชคอยถวายการต้อนรับ ส่วนลูกไฟกลมๆ สีส้มที่แขวนบน เพดาน สมมติให้เป็นบั้งไฟพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๔

วัดมณีโคตร อ้าเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย วัดมณี โคตร ตั้งอยู่ ที่ตาบลจุมพล อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย วัดแห่ งนี้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของอาเภอโพนพิสัย คือ “พระเสี่ยง” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปประจาพระองค์พระราชธิดาของกษัตริย์ เมืองหลวงพระบาง ต่อมาเมื่อเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ท าสงครามกั น เป็ น เหตุ ให้ พ ระเสี่ ย งถู ก อั ญ เชิ ญ มาประดิ ษฐานไว้ ที่ น ครเวี ย งจั น ทน์ จนกระทั่ ง ถึ ง รั ช กาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระเสี่ยงมาประดิษฐานไว้ที่วัดมณีโคตร อาเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองโพนพิสัยที่ประชาชนต่างให้ ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง ภายในวัดมณีโคตรยังมีเจดีย์โบราณให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังมีผู้สร้างสมเด็จองค์ปฐม (พระพุทธเจ้าองค์แรก ผู้ค้นพบหนทางพ้นทุกข์ก่อนพระพุทธเจ้าทั้ งปวง) ประทับนั่งอยู่เหนือพญานาคราช ๙ เศียร ประดิษฐานไว้ใกล้กับบริเวณห้วยหลวง เพื่อให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชาอีกด้วย

ภาพที่ ๕๔ วัดมณีโคตร วัดสาคัญอีกแห่งหนึ่งของอาเภอโพนพิสยั จังหวัดหนองคาย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๕

ภาพที่ ๕๕ หลวงพ่อพระเสี่ยง ที่ชาวบ้านต่างเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ประดิษฐานอยูบ่ นแท่นบูชา ที่แวดล้อมด้วยพญานาคราชสีทอง สีเงินและลูกแก้วพญานาคหลากสีหลายขนาด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๕๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องจักรพรรดิประทับอยู่บนหลังพญานาคราช ๙ เศียร ประดิษฐานอยู่ภายใน วัดมณีโคตร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๖

วัดหลวง อ้าเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ตาบลวัดหลวง อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ถือเป็นวัดสาคัญวั ดหนึ่ง เนื่องจากเป็น สถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อ “พระสุกจาลอง” พระครูพิสัยกิจจาทร ท่านได้ปรารภที่จะหล่อองค์หลวงพ่อพระสุกจาลองขึ้นมาใหม่ ซึ่งองค์จริงนั้นจมอยู่ใต้ ลาน้าโขงบริเวณเวินสุก อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เชื่อว่าพญานาคได้อัญเชิญหลวงพ่อพระสุกไปสักการบูชา พระครูพิสัยกิจจาทรได้จัดพิธีหล่อองค์พระสุกจาลองขึ้นมาใหม่ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ในครั้งนั้นได้มี ประชาชนร่วมบริจาคทองคาหล่อพระน้าหนักไม่ต่ากว่า ๗๐ บาท เมื่อหล่อเสร็จแล้วได้จัดให้มีพิธีสมโภชพระขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๘ ตุลาคม – ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมเป็นเวลา ๕ วัน ๖ คืน นอกจากหลวงพ่อพระสุ กจาลองแล้ ว ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงสิ่ งของมีค่า เช่น พระพุทธรูป หงอนพญานาค และเครื่องเงิน ซึ่งได้รับการบริจาคจากอินตาเจ้าฮั่ง ห่านฟ้า โดยท่านผู้นี้เป็นผู้ถวายสมบัติมีค่า ส่วนตัวให้แด่วัดโพธิ์ชัย อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เช่นเดียวกัน แม่ชีผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ภายในวัดเล่าว่า พญานาคมีบ้านมีเมืองอยู่ใต้ผืนแผ่นดินนี้ อย่างใต้เมืองโพนพิสัยก็เป็น บ้านเมืองของพญานาค พญานาคมีอยู่เป็นจานวนมาก แต่ละที่ก็มีนาคราชาคอยปกครองดูแล พญานาคราชผู้เป็น อธิ บ ดี แ ห่ งนาคทั้ งปวงนั้ น มี อ ยู่ ด้ ว ยกั น หลายพระองค์ อาทิ พญานาคศรี สุ ท โธ ประทั บ อยู่ ที่ จั งหวั ด อุ ด รธานี พญานาคนาโคประทับอยู่ที่จังหวัด สกลนคร พญาศรีสัตตนาคราชประทับอยู่ที่จังหวัดนครพนม พญานาคสนธิและ นางพญานาคีภาวนาประทับอยู่ที่จังหวัดหนองคาย และพญานาคองค์ดาแสนสิรินาคราช ท่านมาจากทะเล มาคอย ดูแลรักษามนุษย์ทั้งหลายจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่วัดหลวงมีรูปปั้นพญานาคราชให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพร (องค์พญานาคประดิษฐานอยู่ ภายในพระ วิหารใกล้กับพระเจดีย์ สถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระสุกจาลอง) คาถาบูชาพญานาคราชของวัดหลวงมีดังนี้ ตั้ง นะโม ๓ จบ นะโมพุทธายะ สุภะสะยะคะ อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ นาคีนาคะ ลาโภลาภะ โภคาโภคะ นะมามิหัง ประสิทธิมัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ


๔๗

ภาพที่ ๕๗ สถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสุกจาลอง วัดหลวง อาเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๕๘ หลวงพ่อพระสุกจาลอง ที่ครูพิสัยกิจจาทรนาศรัทธาประชาชนสร้างขึ้น โดยจาลองพุทธลักษณะมาจาก หลวงพ่อพระใสและหลวงพ่อพระเสริม พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นพร้อมกัน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๘

ภาพที่ ๕๙ สถานที่ทาบุญบูชาพญานาคราชเพื่อขอโชคลาภ ภายในวัดหลวง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๖๐ โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปและพญานาคภายในพิพิธภัณฑ์วัดหลวง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๔๙

ภาพที่ ๖๑ จิตรกรรมภาพอินตาเจ้าฮั่ง ห่านฟ้า ภายในพิพิธภัณฑ์ วัดหลวง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๖๒ หนึ่งในคณะทางานจับลูกแก้วพญานาคเพื่อสัมผัสพลังงานญาณพญานาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๕๐

นาคสถานในจังหวัดบึงกาฬ ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ายางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้าตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง” สถานะเดิม ดิน แดนแห่ งนี้ เคยเป็ นเพียงตาบลเล็ กๆ ในเขตปกครองของอาเภอชัยบุรี จังหวัดนครพน ม ต่อมาได้ย้ายทาเลที่ตั้งของตัวอาเภอชัยบุรีมาตั้งอยู่ริมฝั่งหนองน้าแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า “บึงกาญจน์” ตรงข้ามกับเมือง ปากซัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และให้ขึ้นตรงกับจังหวัดหนองคาย ที่มาของชื่อจังหวัดมาจากการที่ข้าราชการระดับสูงท่านหนึ่งได้เดินทางไปตรวจราชการที่อาเภอชัยบุรี และ พบว่ามีหนองน้าแห่งหนึ่งยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร และกว้าง ๑๖๐ เมตร ซึ่งชาวบ้านเรียกหนองน้าแห่งนี้ว่าบึง กาญจน์ เพื่อไม่ให้เป็นการทับซ้อนภายหลังการย้ายอาเภอชัยบุรีไปขึ้น ตรงกับจังหวัดหนองคาย จึงได้เปลี่ยนชื่อ อาเภอใหม่เป็นบึงกาญจน์ตามชื่อหนองน้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ทางฝ่ายปกครองกลับเห็นว่าการ เขียนชื่ออาเภอว่าบึงกาญจน์นั้นเป็นการยากลาบาก และไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริง (เพราะน้าในบึงมีสีคล้า) จึงได้ เปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น “บึงกาฬ” แทน เพื่อให้เขียนง่าย ทั้งๆ ที่ชื่อและความหมายดุดันกว่าชื่อเดิม (อนุพันธ์ นิตินัย, ๒๕๕๕: ๒๗๐-๒๗๑) (บึงกาญจน์ = บึงทอง ส่วน บึงกาฬ = บึงสีดา) จังหวัดบึงกาฬแยกตัวออกมาจากจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยรวมอาเภอบึงกาฬ อาเภอโซ่พิสัย อาเภอเซกา อาเภอบุ่งคล้า อาเภอบึงโขงหลง อาเภอปากคาด อาเภอพรเจริญ และอาเภอศรีวิไลมารวมไว้ด้วยกัน มีพื้นที่ประมาณ ๔,๓๐๕ ตารางกิโลเมตร อาณาเขตด้านทิศเหนือติดกับแขวงบอลิคาไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ด้านทิศใต้ติดกับจังหวัดสกลนคร ด้านทิศตะวันออกติดกับแขวงบอลิคาไซและจังหวัดนครพนม ส่วน ด้านทิศตะวันตกติดกับแขวงบอลิคาไซและจังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬอุดมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ป่าเขาลาเนาไพร น้าตก และบึงน้า สถานที่ หลายแห่งมีตานานที่เกี่ยวข้องกับพญานาคเล่าขานให้อนุชนรุ่นหลังได้ยินได้ฟังมาจนถึงทุกวันนี้


๕๑

วัดอาฮงศิลาวาส อ้าเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านอาฮง หมู่ที่ ๓ ตาบลไคศี จังหวัดบึงกาฬ หลวงพ่อลุนเป็นผู้ก่อตั้งวัด นี้ขึ้น เดิมชื่อว่าวัดป่าเลไลย เนื่องจากบริเวณโดยรอบเป็นป่าและแก่งหิน ต่อมาเมื่อหลวงพ่อลุนมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๕๐๖ วัดแห่ งนี้ จึงกลายเป็ น วัดร้าง จวบจนกระทั่งท่านเจ้าคุณ นิเทศนศาสนคุณ (หลวงพ่อพระมหาสมาน สิริปัญโญ) ได้มาบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ วัดป่าเลไลยจึงฟื้นกลับคืนมามีชีวิต ขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับนามใหม่ว่า “วัด อาฮงศิลาวาส” ที่แปลว่า อาวาสที่อยู่บริเวณแก่งอาฮง ไม่ไกลกัน กับ วัดอาฮงศิล าวาสนั้น เป็น ที่ตั้งของ “แก่งอาฮง” หรือ “สะดือแม่น้าโขง” เหตุที่เรียกเช่นนี้ เพราะชาวบ้านแถบนั้นเชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นจุดที่แม่น้าโขงมีความลึกมากที่สุด และยังเป็นวังบาดาลที่อยู่อาศัยของ เหล่าพญานาคราชอีกด้วย ในหน้าแล้งของทุกปี (ราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ระดับน้าในแม่น้าโขงจะลดระดับลง ทาให้มองเห็นแก่งหินรูปร่างแปลกตา เช่น หินลิ้นนาค หินปลาเข้ ถ้าปลาสวาย เป็นต้น นอกจากนี้ในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ของทุกปี บริเวณนี้ยังเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคให้เห็นอีกด้วย ตามตานานเล่าว่า สาเหตุที่บริเวณนี้เกิดบั้งไฟพญานาค เนื่องจาก พญาโอฆินทรนาคราช ผู้เป็นใหญ่ในลาน้า โขง พร้อมด้วยมธุรนาคราชผู้เป็นโอรสได้ขึ้นมาจากเมืองบาดาลบริเวณสะดือแม่น้าโขง (แก่งอาฮง) เพื่อเที่ยวเล่นใน เมืองมนุษย์ เป็นเวลาเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ส์ในวันเทโวโรหนะ และทรงเปิดโลก ให้สรรพสัตว์ที่อยู่ในโลกทั้งสามได้แลเห็นกัน ทาให้พญานาคทั้งสองตนบังเกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างแรง กล้าจึงได้จุดบั้งไฟถวายเป็นพุทธบูชาในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ของทุกปี และเนื่องจากบริเวณนี้เป็นเมืองหลวงของ พญานาค บั้งไฟของที่นี่จึงมีสีสันต่างจากบั้งไฟของที่อื่น คือ มีสีเขียว และมีขนาดใหญ่มากจนเป็นที่น่าอัศจรรย์ แก่งอาฮง ถือเป็นนาคสถานที่สาคัญที่ผู้ศรัทธาพญานาคไม่ควรพลาดที่จะเดินทางมาสัมผัสประสบการณ์ทาง จิตวิญญาณให้ได้สักครั้งในชีวิต

ภาพที่ ๖๓ วัดอาฮงศิลาวาส สถานที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งทีถ่ ือเป็น “นาคสถาน” ซึ่งสายญาณพญานาคไม่ควรพลาด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๕๒

ภาพที่ ๖๔ พระอุโบสถวัดอาฮงศิลาวาส ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๖๕-๖๖ บริเวณสะดือแม่น้าโขง ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่แม่น้าโขงมีความลึกมากที่สุด และเป็นที่ตั้งของนครบาดาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๕๓

ภาพที่ ๖๗ ศาลเจ้าแม่เทพีสะดือแม่น้าโขง หรือเจ้าแม่ทองอู่ปั้นเป็นรูปเทวีมีสี่กร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๖๘-๖๙ อุทยานหินงามอาฮง และเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สองสถานที่ที่นกั ท่องเที่ยว ไม่ควรพลาดชมเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนวัดอาฮงศิลาวาส ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑


๕๔

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) อ้าเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ วัดเจติยาคิรีวิหาร ตั้งอยู่บนภูทอก (คาว่า “ทอก” ในภาษาอีสานแปลว่า โดดเดี่ยว) อาเภอศรีวิไล จังหวัด บึงกาฬ มีเรื่องเล่าว่า พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้รับอาราธนาจากพญานาคราชให้มาสร้างวัดไว้ ณ สถานที่แห่ง นี้ (พระอาจารย์จวน เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านมรณภาพเพราะเหตุเครื่องบิน ตกที่ทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยพระเถระอีก ๔ รูป คือ พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมวโร และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม ขณะกาลังเดินทางมาเจริญพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวัง หลังจากประชุมเพลิงแล้ว อัฐิของพระเถระทั้ง ๕ รูปได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทั้งหมด ยืนยันความเป็นพระอรหันต์ ผู้หมดสิ้นกิเลสทั้งปวงแล้ว) ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ก่อนที่พระอาจารย์จวนจะมรณภาพ ท่านได้นาศรัทธาญาติโยม พระภิกษุ สามเณรช่วยกัน สร้ า งสะพานไม้ ขึ้ น ไปบนภู ท อกรวมทั้ งหมด ๗ ชั้ น ใช้ เวลาในการก่ อ สร้า งนานถึ ง ๕ ปี เต็ ม บริ เวณชั้ น ที่ ๑-๒ นักท่องเที่ยวจะได้ดื่มด่ากับความงามตามธรรมชาติ เพราะเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ อันแสนร่มรื่น ชั้นที่ ๓ เป็นทาง เวียนรอบเขา ซึ่งชั้นนี้มีเส้นทางลัดไปสู่ชั้นที่ ๕ และ ๖ ด้วย ชั้นที่ ๔ เป็นเส้นทางที่เวียนรอบเขาเช่นเดียวกับชั้นที่ ๓ ณ ชั้นนี้ นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นภูลังกาได้ในระยะไกล ชั้นที่ ๕ ถือเป็นชั้นที่สาคัญที่สุด เพราะมีศาลากลาง หลังใหญ่และกุฏิของพระสงฆ์ตั้งอยู่ เป็นชั้นที่มีถ้าอยู่หลายถ้า เช่น ถ้าเหล็กไหล ถ้าแก้ว ถ้าฤๅษี เป็นต้น และมี สะพานทอดไปสู่พุทธวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะคล้ายพระธาตุอินทร์แขวนในประเทศ พม่า บริเวณชั้นที่ ๖ มีถ้าทางเข้าเมืองบาดาลของพญานาค ตั้งอยู่ด้านหลังพระพุทธรูปปางนาคปรก ชาวบ้านเชื่อ กันว่า รอยสีขาวที่ปรากฏบนผนังถ้านั้นเป็นรอยถลอกที่ท้องพญานาคไปครูดกับหิน และในบริเวณนี้ยังมีบ่อน้าขนาด เล็กที่น้าไม่เคยเหือดแห้งด้วย หลายคนเคยได้ยินเสียงพญานาคดัง ออกมาจากในถ้า ส่วนบริเวณชั้นที่ ๗ เป็นลาน กว้างที่ เต็มไปด้วยต้น ไม้เขีย วขจี เชื่อ ว่ าเป็ น ที่อาศัยของบรรดางูน้ อยใหญ่ (นาคี นาคา) และบรรดารุกขเทวดา ทั้งหลาย บริเวณชั้นที่ ๕-๗ นี้ถือเป็นเขตแดนสวรรค์ พระอาจารย์จวน ได้กล่าวว่า พญานาคเคยมาบอกท่านว่า ภูทอกเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน หรือบนเขา เพราะเหตุนี้จึง ห้ ามทาสิ่ งต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม อัน เป็นการไม่เคารพต่อสถานที่ เช่น ทิ้งขยะหรือถ่ม น้าลายลงบนพื้น หรือส่งเสียงดัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังห้ามนาอาหารขึ้นมารับประทานอีกด้วย เนื่องจากบรรดางู (นาคี นาคา) ที่อาศัยอยู่ภายในบริเวณนี้ต่างก็รักษาศีล ไม่กินเนื้อสัตว์ เกรงว่าถ้าหากเกิดได้กลิ่นอาหารซึ่งเจือด้วย เนื้อสัตว์ที่มีคนนาขึ้นมารับประทานแล้ว จะตบะแตกเลื้อยออกมาหาอาหาร กลายเป็นอันตรายต่อผู้พบเห็น หรือ พระภิกษุ สามเณรที่พานักอยู่ประจา วัดเจติยาคิรีวิหาร จึงถือเป็นนาคสถานอีกแห่งหนึ่ง ที่ควรหาโอกาสเดินทางมาให้ได้สักครั้งในชีวิต


๕๕

ภาพที่ ๗๐ ความงามของภูทอก ซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น “ศรีคิริยา แห่งเมืองไทย” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๗๑ ประติมากรรมรูปพระอริยสงฆ์แห่งสยามประเทศ นาโดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๕๖

ภาพที่ ๗๒ ภูทอก ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้แสวงบุญควรหาโอกาสเดินทางมาเยือนให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๗๓ บริเวณชั้นที่ ๖ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ถ้าพญานาค” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๕๗

ภาพที่ ๗๔ คราบสีขาวนี้ที่เห็นอยู่นี้ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรอยพญานาค เมื่อพิจารณาดูให้ดีจะพบว่ามีรูปร่างคล้ายกับ พญานาค ต่อมาได้มีผนู้ าหินสีมาติดไว้ทาให้ดูคล้ายกับเป็นดวงตาของพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๗๕ เจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุซึ่งแปรสภาพเปลี่ยนเป็นพระธาตุของพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๕๘

ภาพที่ ๗๖ ประติมากรรมรูปพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ในอิริยาบถยืน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๗๗ อัฐิของพระอาจารย์จวน ที่แปรสภาพเป็นพระธาตุ เป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลส ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๕๙

ภาพที่ ๗๘ ภาพถ่ายลาแสงประหลาดทีเ่ กิดขึ้นบริเวณเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ โดยนายเลิศชาย ก้อนแก้ว ผู้ดูแลเจดีย์เล่าว่า สามีภรรยาคู่หนึ่งได้เดินทางมากราบเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวน เมื่อเห็นภาพนี้คนทั้งคู่จึง อธิบายว่า แสงที่เห็นคือเหล่าพญานาคที่มากราบไหว้พระธาตุของหลวงปู่ ประกอบด้วย ลาแสงขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านหน้าสุด คือ พระราชินีและพระราชาแห่งเหล่าพญานาค ถัดมาที่เป็นลาแสง ๒ ลา ขนาบลาแสงขนาดใหญ่อยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา คือ พญานาคผู้เป็นพระนัดดาทั้ง ๒ ตน แถวที่สามที่เป็นลาแสง ๓ ลา คือ พญานาคผู้เป็นพระโอรส พระธิดารวม ๓ ตน (แสดงว่า ทรงรักหลานมากกว่าลูก) ส่วนลาแสงเล็กๆ ที่อยู่ไกลออกไปนั้น นั่นคือเหล่าบรรดาเสวกามาตย์ พญานาคที่คอยตามเสด็จองค์ นาคาธิบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๖๐

บึงโขงหลง อ้าเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ “บึงโขงหลง” ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอาเภอโขงหลง และอาเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑,๘๕๘ ไร่ พื้นที่แห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ ชุ่มน้าโลกลาดับที่ ๑๐๙๘ เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยปลาหายากและนก นานาชนิด บึงโขงหลงเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อ พ.ต.อ.ชยรพ สายจันยนต์ ผกก.สภ.บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ปู่อือลือนาคราช ผู้เป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้มา เข้าฝันว่าจะมาปรากฏกายให้เห็น และเมื่อถึงวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลาประมาณ ๑๖.๒๐ น. ตามที่ได้ นัดหมายไว้ ประชาชนนับหมื่นคนที่เฝ้ารอชมบารมีปู่อือลือนาคราชก็ได้เห็นท่านปรากฏกายขึ้นมาดาผุดดาว่ายเป็น บุญตา ลักษณะเป็นงูใหญ่มีความยาวร่วม ๑๐ เมตร ว่ายน้าห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๑๕๐ เมตร ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อกันว่า ในอดีตบริเวณแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของ “รัตพานคร” มาก่อน มี “พระเจ้าอือลือ” เป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง พระองค์ทรงมีพระมเหสีนามว่า “พระนางแก้วกัลยา” และมีพระธิดาด้วยกันองค์หนึ่งทรง พระนามว่า “พระนางเขียวคา” ต่อมาพระธิดาได้อภิเษกกับ“พระเจ้าสามพันตา” มีพระโอรสนามว่า “เจ้าชายฟ้ารุ่ง” เจ้าชายฟ้ารุ่ง ผู้เป็นพระนัดดาของพระเจ้าอือลือ ได้อภิเษกกับนางนาครินทรานี ผู้เป็นธิดาพญานาค แต่เหตุ ที่ทั้งคู่นั้นต่างเผ่าพันธุ์กันคือเป็นมนุษย์กับพญานาค ทาให้ไร้ทายาทสืบสกุล นางนาครินทรานีตรอมใจจนล้มป่วย เมื่อร่างกายไม่แข็งแรงจึงทาให้กลับร่างเดิมกลายเป็นนาคราช พอพระเจ้าอือลือและชาวเมืองรัตพานครทราบเรื่องนี้ ต่างพากันไม่พอใจ จึงช่วยกันขับไล่นางนาครินทรานีออกจากเมือง สร้างความเจ็บแค้นให้แก่พญานาคราชผู้เป็นพระ บิดาเป็นอันมาก ถึงขั้นพากองทัพ พญานาคขึ้นมาล้อมเมืองไว้ พญานาคได้ขอทรัพย์สินต่างๆ ที่เคยได้มอบให้ไว้ แก่ พระเจ้าอือลือคืน แต่พระเจ้าอือลือกลับปฏิเสธ พญานาคจึงดลบันดาลให้เมืองรัตพานครล่มจมลงกลายเป็นหนองน้า ขนาดใหญ่ เหลือไว้แต่วัดเพียงสามแห่งเท่านั้น คือ วัดดอนแก้ว วันดอนโพธิ์ และวัดดอนสวรรค์ ส่วนพระเจ้าอือลือ นั้น พญานาคได้จับตัวไว้เป็นเชลยและสาปให้กลายเป็นพญานาคคอยเฝ้าบึงโขงหลงตราบจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบัน พ.ต.อ.ชยรพ สายจันยนต์ ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนาชาวบ้านสร้างศาลปู่อือลือขึ้นใหม่ นอกจากนี้ พ่อปู่อือลือยังได้มานิมิตบอกให้ พ.ต.อ.ชยรพ เปลี่ยนคาถาสาหรับสวดบูชาท่าน เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่ง คาถามีดังนี้ ตั้ง นะโม (๓ จบ) เอหิสังคัง ปิโยนาคะ สุปันนานัง นะมามิหัง กายะ วาจะ จิตตัง อหังวันทา อือลือนาคราชราชา วิสุทธิเทวาปูเชมิ เมตตัญจะ มหาลาโภ ปิโยนาคะ ขันธะปริตรตัง คุณพ่อสมจิตร ลาโพธิ์ อายุ ๖๙ ปี อาชีพทานา ได้ทาหน้าที่เป็นเฒ่าจ้ามา ๕ ปีแล้ว หลังจากที่เฒ่าจ้า คนก่อนเสียชีวิตลง นางเทียม ๓-๔ คน ได้เลือกให้ท่านมาทาหน้าที่นี้ แทน (วิธีการคัดเลือกทาโดยให้ ผู้ชายทุกคนใน หมู่บ้านถือดอกไม้มาคนละหนึ่งดอก แล้วให้ บรรดานางเทียมเดินไปดม แล้วเลือกผู้ ที่เหมาะสมที่สุดมาทาหน้าที่ เป็น เฒ่าจ้า คอยติดต่อสื่อสารกับปู่อือลือ) คุณพ่อสมจิตร กล่าวว่า ชาวบ้านจะทาพิธีไหว้ปู่อือลือในวันขึ้น ๓ ค่า เดือน


๖๑ ๓ ของทุกปี สิ่งของที่ใช้เซ่น ไหว้ประกอบด้วย หั วหมู ไก่ต้ม เหล้าขาว ผลไม้ต่างๆ รวม ๙ ชนิด เช่น กล้วย มะพร้าวอ่อน เป็นต้น ข้าวเหนียว บายศรีใหญ่ และมีการแสดงหมอลาถวาย คุณพ่อสมจิตร ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ปู่อือลือมาแสดงฤทธิ์ให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ (๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๑๐ น.) พ.ต.อ.ชยรพ สายจันยนต์ ได้มาประกอบพิธีบวงสรวง ปู่อือลือก็ขึ้นมาปรากฏกายให้ เห็นเป็นเวลา ๑๐ นาที หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ ได้มีงูขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๑.๖๐ เมตร มี หงอนสีดา ได้เลื้อยขึ้นมานอนในศาล แต่แปลกประหลาดที่ข้าวของที่ตั้งวางอยู่ภายในศาลกลับไม่มีสิ่งใดล้มลงเลย ปู่อือลือนาครราชเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทีบ่ ึงโขงหลงมาก เชื่อกันว่า ท่าน คอยคุ้มครองดูแลชาวประมงให้แคล้วคลาดปลอดภัยเวลาที่ออกเรือหาปลา ใครมีทุกข์ร้อนใดๆ เมื่อมาบนบานปู่อือลือ นาคราช ต่างก็ย่อมได้รับความสาเร็จสมดังมุ่งหมาย

ภาพที่ ๗๙ สวนสาธารณะบึงโขงหลง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/๓/๒๕๖๑


๖๒

ภาพที่ ๘๐ โขงประตู ศาลปู่อือลือนาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๘๑ ด้านหน้าตาหนักเจ้าปู่อือลือนาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๖๓

ภาพที่ ๘๒ ภายในตาหนักของเจ้าปู่อือลือนาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑

ภาพที่ ๘๓-๘๔ ศาลแม่ย่าจันทร์และแม่ย่าจาปา ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณตาหนักของเจ้าปู่อือลือนาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๖๔

ภาพที่ ๘๕ หนึ่งในคณะทางานกาลังให้เฒ่าจ้า ผูกด้ายสายสิญจน์ให้ที่แขน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/๓/๒๕๖๑


๖๕

นาคสถานในจังหวัดอุดรธานี “หนองประจักษ์คู่เมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมบ้านเชียงมรดกโลกห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติ เนรมิตทะเลบัวแดง” อุดรธานี เดิมชื่อบ้านหมากแข้ง (มะเขือพวง) เป็นเมืองร้าง ต่อมาพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนจากจังหวัดหนองคายมาไว้ที่ จังหวัดอุดรธานี ในเวลานั้นทรงโปรดให้สร้างถนนหนทาง ที่ว่าการมณฑล ที่ว่าการอาเภอ ศาล เรือนจา โรงทหาร โรงพัก ไปรษณีย์ บ้านพักข้าราชการ วัด ตลาดสด เป็นต้น นาความเจริญมาสู่จังหวัดอุดรธานี จั งหวัดอุ ดรธานี มี พื้ น ที่ ป ระมาณ ๑๑,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร แบ่ งการปกครองเป็น ๒๐ อาเภอ ได้แ ก่ อาเภอเมืองอุดรธานี อาเภอกุดจับ อาเภอหนองวั วซอ อาเภอกุมภวาปี อาเภอโนนสะอาด อาเภอหนองหาน อาเภอทุ่งฝน อาเภอศรีธาตุ อาเภอไชยวาน อาเภอวังสามหมอ อาเภอบ้านดุง อาเภอบ้านผือ อาเภอน้าโสม อาเภอเพ็ญ อาเภอสร้างคอม อาเภอหนองแสง อาเภอนายูง อาเภอพิบูลย์รักษ์ อาเภอกู่แก้ว และอาเภอประจักษ์ ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานีมีอาณาเขตทางด้านทิศเหนือติดกับจังหวัดหนองคาย ทางด้านทิศใต้ติดกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านทิศตะวันออกติดกับจังหวัดสกลนคร และด้านทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเลยและจังหวัด หนองบัวลาภู จังหวัดอุดรธานีถือเป็นจังหวัดใหญ่ที่ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจมากจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน สมกับตรา ประจาจังหวัดที่เป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ เทพผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ จังหวัดอุดรธานีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สาคัญ หลาย แห่ง เช่น “วัดป่าบ้านตาด” ของพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งปัจจุบันท่านได้ละ สังขารไปแล้ว เหลือไว้แต่อัฐิ ธาตุที่ปัจจุบันได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุให้ บรรดาพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา “วัดป่าภูก้อน” ที่งดงามสุดจะพรรณนา หรือ “แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง” ที่เปิดการรับรู้เรื่องราวของมนุษย์ก่อน ประวัติศาสตร์ย้อนหลังไป ๕,๐๐๐ ปี นอกจากนี้จังหวัดอุดรธานียังมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพญานาคที่โด่งดังที่สุดในยุค นี้ คือ “วังนาคินทร์คาชะโนด” ของพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมา ที่ ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศให้หลั่งไหลกันมา อย่างไม่ขาดสาย กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของจังหวัดอุดรธานีไปแล้ว ณ ขณะนี้


๖๖

วังนาคินทร์ค้าชะโนด อ้าเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี วังนาคินทร์คาชะโนด ตั้งอยู่ที่ตาบลบ้านม่วง อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สถานที่แห่งนี้มีลักษณะเป็น เกาะลอยน้า เนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ เหตุที่มีต้นชะโนดขึ้นอยู่หนาแน่น จึงเป็นที่มาของชื่อ “คาชะโนด” ชาวบ้านเชื่อ ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ประทับของพญานาคผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ คือ พ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา ตามตานานเล่าว่า เดิมพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราชและบริวารอาศัยอยู่ที่หนองแสร่วมกับพญาสุวรรณนาคราชและ บริวาร ทั้งสองฝ่ายต่างมีไมตรีต่ อกันและตกลงกันว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาอาหารได้ก็จะนามาแบ่งปันกัน วันหนึ่ง พญาศรีสุทโธนาคราชหาช้างมาได้ตัวหนึ่ งก็นามาแบ่งให้ พญาสุวรรณนาคราชผู้เป็นสหาย วันต่อมาพญาสุ วรรณ นาคราชหาเม่ น มาได้ ตั ว หนึ่ ง ก็ น ามาแบ่ งให้ พ ญาศรีสุ ท โธนาคราชบ้ า ง แต่ พ ญาศรีสุ ท โธนาคราชกลั บ ไม่ พอใจ เนื่องจากเห็นแต่ขนเม่น ก็เข้าใจผิดคิดไปว่า พญาสุวรรณนาคราชเอาเปรียบตน คราวที่พญาศรีสุท โธนาคราชหา เหยื่อมาได้นั้น สัตว์ชนิดนั้นมีขนเส้นเล็กนิดเดียว แต่ร่างกายกลับใหญ่โต (ช้าง) ขณะที่สัตว์ที่พญาสุวรรณนาคราชหา มาได้นั้นขนเส้นยาวกว่า ใหญ่กว่ามาก (เม่น) ชะรอยว่าสัตว์ชนิดนี้น่าจะมีขนาดใหญ่มหึมาเป็นแน่ ทาให้พญาศรีสุทโธ นาคราชและพญาสุวรรณนาคราชเกิดหมางใจกันและสู้รบกันนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน สรรพสัตว์ที่อาศัยอยู่ใน หนองน้านั้นต่างก็ได้รับ ความทุกข์ยากเดือดร้อน บาดเจ็บล้มตายลงเป็นจานวนมาก ร้อนถึงพระอินทร์ ต้องลงมา หาทางไกล่เกลี่ยให้พญานาคราชทั้ง ๒ ตนสงบศึก พระอินทร์มีเทวโองการให้พญานาคทั้ง ๒ ตนขุดแม่น้าแข่งกัน พญาศรีสุทโธนาคราชรับพระบัญชาแล้วรีบลงมือขุดแม่น้าทันทีโดยไม่รอช้า ตรงไหนที่เป็นหิน พญาศรีสุทโธนาคราช ก็เว้นไว้ และเลี่ยงไปขุดบริเวณที่เป็นดินเป็นทรายแทน ทาให้แม่น้ามีลักษณะคดไปโค้งมา จนกลายเป็นที่มาของนาม แม่น้าว่า “โขง” (มาจากคาว่า โค้ง) ส่วนพญาสุวรรณนาคราชนั้นใจเย็นกว่า จึงค่อยๆ ขุดควักแผ่นดินจนเกิดเป็น แม่น้าที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง และเหตุที่ใช้เวลานานมากถึงจะขุดสาเร็จจึงทาให้แม่น้าสายนี้ได้นามว่า “น่าน” (มา จากคาว่า นาน) นั่นเอง เหตุที่พญาศรีสุทโธนาคราชขุดแม่น้าเสร็จก่อนพญาสุวรรณนาคราช ทาให้พระอินทร์ทรงประทาน “ปลา บึก” ให้มาอาศัยอยู่ในลาน้าโขง และให้คาชะโนดเป็นทางขึ้น -ลงระหว่างโลกมนุษย์และเมืองบาดาลของพญานาค (บ้างว่ามี ๓ แห่ง คือ ๑) พรหมประกายโลก หรือ คาชะโนด ๒) พระธาตุหลวง นครเวียงจันทน์ และ ๓) พระธาตุดา นครเวียงจันทน์ ) ปัจจุบันวังนาคินทร์ คาชะโนด กลายเป็นจุดหมายปลายทางสาคัญที่นักเดินทางจากทั่วทุกสารทิศ ต่างเดินทางมาเยือน ผู้เขีย นเคยเดิน ทางไปคาชะโนดหลายครั้ง แต่ล ะครั้งมักจะเจอเรื่องราวที่ แปลกประหลาดไม่เหมือนกัน ผู้เขียนจะออกเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานีในตอนกลางคืน และไปถึงคาชะโนดในตอนเช้ามืดของวันใหม่ มี อยู่ ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนไปถึงคาชะโนดเวลาราว ๔.๐๐ น. ผู้เขียนเลือกที่จะนอนพักผ่อนอยู่บนรถตู้เพราะอ่อนเพลีย แทนที่ จะไปเข้าแถวอยู่บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าเหมือนกับคนอื่นๆ ขณะที่กาลังกึ่งหลับกึ่งตื่นนั้นเอง ผู้เขียนรู้สึกชาไป ทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า และขนลุกซู่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการแบบนี้ไม่ใช่อาการ “ผีอา” อย่างแน่นอน เพราะผู้เขียนไม่ รู้สึกอึดอัดเลย (ผู้เขียนเคยถูกผีอามาแล้ว ลักษณะจะเป็นเงาดาๆมาทับอยู่บนร่างจนหายใจไม่ออก ขยับเขยื้อนตัว ไม่ได้) ในตอนนั้น จิตของผู้เขียนเห็นชายหญิงคู่หนึ่งสวมชุดขาวมายืนยิ้มให้ จิตบอกว่า นี่คือพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่า ศรีปทุมาอย่างแน่นอน ด้วยความกลัว เกรงว่าพ่อปู่กับแม่ย่าจะพาไปอยู่ด้วย จึงนึกถึงพระพุทธเจ้าและขอให้ท่านทั้ง สองพระองค์กลับไป ไม่นานนักอาการชาทั้งตัวและขนลุกซู่ก็หายไป พร้อมกับจิตที่บอกว่า ท่านทั้งสองได้จากไปแล้ว


๖๗ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อไปถึงคาชะโนดตอนเช้ามืด ผู้เขียนได้ ไปอาบน้าชาระร่างกายและเดินมายัง บริเวณที่พัก นักท่องเที่ยวเพื่อรอที่จะตักบาตร ผู้เขียนเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งท่าทางมีสง่าราศี พร้อมด้วยบรรดาศิษยานุศิษย์กาลัง ทาบายศรีพญานาคขนาดใหญ่อย่างขะมักเขม้นเพื่อทีจ่ ะนาไปถวายพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมา ผู้เขียนจึงขอร่วม อนุโมทนาบุญโดยการนาดอกกุหลาบสีส้มจานวนสามดอกไปร่วมประดับบายศรี ด้วย ปรากฏว่าพระรูปนั้นหันมาทาง ผู้เขียน พร้อมกับถามว่าอยากได้อะไร ผู้เขียนตอบท่านไปว่าอยากให้หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ท่านจึงสั่งให้ผู้เขียน แบมือออก แล้วท่านก็พ่นบางสิ่งบางอย่างลงบนกลางฝ่ามือของผู้เขียน สิ่งนั้นคือ เพชรพญานาคขนาดเล็ก สีม่วง สวยงามมาก น่าประหลาดคือ เพชรพญานาคนั้นกลับไม่เลอะคราบน้าหมากหรือเปื้อนน้าลายเลย ทั้งๆ ที่พระรูปนั้น กาลังเคี้ยวหมากอยู่ ปัจจุบันเพชรพญานาคดังกล่าวได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย ทั้งๆ ที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี สาเหตุ เนื่องมาจากการที่ผู้เขียนเกิดความสงสัย และกล่าวปรามาสไปว่า เพชรพญานาคเม็ดนี้น่าจะไม่ใช่ของจริง คงเป็นการ แสดงมายากลของพระ แม้จะรู้สึกเสียดายมาก แต่ก็ไม่อาจโทษใครได้ เพราะเป็นความผิดของผู้เขียนเอง พื้นที่เมืองชะโนดมีสภาพเป็นน้าคลามีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นเต็มบริเวณ เนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ต้นไม้ชนิดนี้ เรียกว่า “ต้นชะโนด” เป็นต้นไม้ตระกูลปาล์ม นัยว่ามีเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น ต้นชะโนดมี ลักษณะคล้ายต้นตาล แต่ขนาดจะเล็กกว่า ขนาดจะเท่ากับต้นมะพร้าว ลาต้นมีกาบห่อหุ้ม และตามกาบรอบๆ ต้น จะมีหนามยาวและแหลมคม ความสูงของต้นชะโนดจะสูงกว่าต้นมะพร้าว ส่ว นก้านและใบมีลักษณะเหมือนก้านตาล และใบตาล แต่มีหนามยาวและแหลมคมกว่าใบตาล เมื่อเวลาต้องลมจะมีเสียงดัง “หวือๆ” มีผลเป็นพวง ห้อยเป็น ทะลายเหมือนมะพร้าว ผลมีขนาดเล็กกว่าผลองุ่นเล็กน้อย รับประทานไม่ได้เพราะจะทาให้คันปาก (จิตรกร เอม พันธ์, ๒๕๔๕: ๒๙๐) ชาวบ้านเชื่อกันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของบรรดาพญานาค รวมทั้งเหล่าบังบด ลับแล มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีสุภาพสตรี ๒ คนแต่งกายคล้ายหญิงชาววังเดินออกมาจากเมืองคาชะโนด มาขอยืม ฟืมตาหูก (อุปกรณ์ทอผ้า) จากชาวบ้านเมืองไพร ซึ่งอยู่ ห่างจากคาชะโนดไปประมาณ ๔ กิโลเมตร สตรีทั้ง ๒ คน พูดคุยกับเจ้าของบ้านอย่างถูกคอจนเวลาล่วงเลยไปมาก เจ้าของบ้านจึงชวนค้างคืนด้วย เมื่อเจ้าของบ้านจัดที่หลับที่ นอนเสร็จแล้วก็เชื้อเชิญแขกเข้าพักตามธรรมเนียม แต่สตรีคู่นี้กลับขอให้ช่วยปูที่นอนไว้ในเพนียด (กระเชอใบใหญ่) ที่ อยู่ใต้ถุนบ้านแทน ซึ่งเจ้าของบ้านก็ไม่ขัดข้อง หากแต่ยังเก็บความสงสัยไว้ พอตกดึก เจ้าของบ้านจึงได้ส่องไฟลงมา ดูสตรีทั้งสอง แต่กลับต้องพบกับงูใหญ่สองตัวนอนขดเต็มเพนียด เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะพญานาคจะคืนร่างเดิมเมื่อ เวลานอนหลับเสมอ พอรุ่งเช้าสตรีทั้งสองได้เดินทางจากไป (จิตรกร เอมพันธ์, ๒๕๔๕: ๒๙๐-๒๙๑)


๖๘

ภาพที่ ๘๖-๘๗ หลักกิโลเมตรขนาดใหญ่ด้านหน้าคาชะโนดโฮมสเตย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐

ภาพที่ ๘๘-๘๙ ต้นชะโนด ต้นไม้ที่มีลักษณะของต้นตาล ต้นมะพร้าว และต้นหมากรวมกัน ถือเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของสถานที่ แห่งนี้ เพราะขึ้นเฉพาะที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐


๖๙ ภายในวังนาคินทร์คาชะโนด มีศาลเจ้าปู่เจ้าย่าตั้งอยู่ ภายในศาลประดิษฐานรูปปั้นพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่า ศรีปทุมา ผู้ที่จะเข้าไปกราบขอพรพ่อปู่และแม่ย่าต้องเดินข้ามสะพานพญานาค ซึ่งบริเวณกลางสะพานนั้น เชื่อว่าเป็น รอยต่อระหว่างโลกมนุษย์และโลกวิญญาณ จึงไม่สามารถเชื่อมรอยแยกกลางสะพานพญานาคให้ติดกันได้ แม้จะ พยายามสักกี่ครั้งก็ตาม ผู้ที่จะเข้ามาในวังนาคินทร์คาชะโนดจะต้องถอดรองเท้า เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อ สถานทีเ่ สียก่อน ภาพที่ ๙๐ ประตูทางเข้าวังนาคินทร์ คาชะโนด เปิดปิดเวลา ๗.๓๐- ๑๘.๐๐ น. ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐

ภาพที่ ๙๑-๙๒ บริเวณกลางสะพานนาค ที่เชื่อว่าเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของวิญญาณ แม้จะมีผู้พยายาม เชื่อมต่อสะพานทีข่ าดนี้เข้าด้วยกัน ทว่าไม่เคยทาได้สาเร็จแม้แต่ครั้งเดียว ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐


๗๐ ภายในป่าคาชะโนด นอกจากจะมีศาลเจ้าปู่ เจ้าย่าแล้ว ยังมีบ่อน้าศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นทางขึ้นลงของ พญานาคระหว่างโลกมนุษย์กับเมืองบาดาล ชาวบ้านเชื่อว่า น้าในบ่อ นี้เป็นน้าศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีวันเหือดแห้ง สามารถ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ สาหรับผู้ที่มายังบ่อ น้าศักดิ์สิทธิ์มีข้อควรปฏิบัติคือ ห้ามนั่งบนบ่อ น้าศักดิ์สิทธิ์ ห้ามตักน้าใน บ่อน้าศักดิ์สิทธิ์มาล้างเท้าโดยเด็ ดขาด ห้ามไม่ให้โยนเหรียญหรือปล่อยสัตว์น้าลงไปในบ่อ รวมทั้งไม่นาขวดเหล้า ขวดเบียร์มาบรรจุน้าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

ภาพที่ ๙๓-๙๔ บ่อน้าศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเป็นประตูเชื่อมระหว่างมนุษยโลกกับนาคพิภพ น้าในบ่อนี้ถือเป็นน้ามนต์ที่ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขับไล่สิ่งอัปมงคลต่างๆ และดลบันดาลความสิรสิ วัสดี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

นอกจากนี้ในคาชะโนดยังมีต้นมะเดื่อและต้นไทรยักษ์อายุนับร้อยปี ที่เชื่อกันว่ า บริเวณนี้เป็นท้องพระคลัง ของพ่อปู่ศรีสุทโธ นักเสี่ยงโชคจานวนมากจึงพากันนาแป้งไปทาเพื่อขูดขอเลขเด็ด เมื่อเข้าไปในวังนาคินทร์ คาชะโนดแล้ว สิ่งที่พึงกระทา คือ ควรสารวมกาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ไม่แสดง กริยาหรือใช้คาพูดที่ไม่เป็นการสมควร ถึงแม้ไม่มีบายศรี หมากพลู เครื่องบูชา ขอแค่เพียงยกมือไหว้ด้ว ยใจที่ใส บริสุทธิ์ เพียงเท่านี้พ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาก็รับทราบและอวยชัยให้พรแก่ทุกท่านแล้ว


๗๑ คาถาบูชาพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา กายะ วาจา จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวี ปูเชมิฯ กายะ วาจา จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคินี ศรีปทุมา วิสุทธิเทวี ปูเชมิฯ

ภาพที่ ๙๕ ต้น มะเดื่อ สถานที่ ศัก ดิ์สิท ธิ์อีก แห่ ง หนึ่ ง ที่ อ ยู่ ภ ายในวั ง นาคิ น ทร์ ค าชะโนด เชื่ อ ว่ า บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของท้องพระคลังหลวงแห่ง นาคนคร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

ภาพที่ ๙๖ นั ก เสี่ ย งโชคจากทั่ ว ทุ ก สารทิ ศ เดิ น ทางเข้ามายังสถานที่แห่งนี้เพื่อขอโชคลาภ ปัจจุบัน ทางราชการได้จั ดระเบี ยบผู้ที่ เข้ าไปเยี่ ยมชม เช่ น ห้ามจุดธูป เทียน หรือโรยแป้งฝุ่นเพื่อขูดหาตัวเลข เป็นต้น เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของป่าคาชะโนด เพื่อไม่ให้ถูกทาลายไปมากกว่านี้ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

เรื่องเล่า “หลวงปู่คาตา” และ “ผีจ้างหนัง” ช่วยเสริมแรง พลังความศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนคาชะโนด นายคาตา ทองสีเหลือง ชาวบ้านวังทอง ตาบลวังทอง อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี คือประจักษ์พยาน บุคคลที่ช่วยยืนยันความมีอยู่จริงของพ่อปู่ศรีสุทโธและพิภ พนาคราช ตอนที่ท่านยังเป็นวัยรุ่น (อายุราว ๑๗-๑๘ ปี) ท่านไปซักผ้ากับเพื่อนที่บริเวณบ่อน้าในป่าคาชะโนด ขณะที่ท่านกาลังตักน้าอยู่นั้น พลันสายตาได้เหลือบไปพบปลา ไหลตัวใหญ่ ตาแดงก่า แต่ไม่ทัน ที่จะเรียกให้เพื่อนที่ไปด้วยกัน มาดู ปลาไหลตัวนั้นก็ดาน้าหายไปเสียแล้ว ท่านกับ เพื่อนจึงรีบวิ่งกลับบ้านด้วยความกลัว ต่อมาไม่นาน ท่านก็ได้พบกับเรื่องประหลาดอีกครั้ง ขณะที่กาลังหาปลา ท่านรู้สึกเหมือนกับว่า มีปลาตัว ใหญ่เข้ามาติดอยู่ภายในยอของท่าน แต่พอยกยอขึ้นกลับกลายเป็นเต้าปูนกินหมาก ด้วยความสงสัยท่านจึงเอื้อมมือ


๗๒ ไปหมายจะหยิบขึ้นมาดู เต้าปูนนั้นกลับดิ้นดุกดิกประหนึ่งว่ามีชีวิตและกระโดดลงน้าหายไปอย่างรวดเร็ว สร้างความ อัศจรรย์ใจให้แก่ท่านเป็นอันมาก ขณะที่เป็ น ฆราวาส ท่านได้พบกับเหตุการณ์ ประหลาดอีกหลายครั้ง จนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ท่านจึงเข้า อุป สมบทที่ วัดบ้ านวังทอง ระหว่างที่ดารงเพศเป็นสมณะนั้น เหตุการณ์ ผิ ดปรกติต่างๆ ไม่มาแผ้ วพานท่านเลย จนกระทั่งเวลาผ่านไป ๓ พรรษา ท่านจึงได้ลาสิกขามาใช้ชีวิตเป็นฆราวาสตามเดิม วันหนึ่ง ท่านได้ออกไปเกี่ยวข้าวในนา พอถึงเวลาพัก ท่านก็เดินเข้ามายังกระท่อม พบหญิงสาวแปลกหน้าคน หนึ่งนั่งหันหลังให้ ท่านจึงเข้าไปสนทนาด้วย หญิงสาวคนนั้นพูดจาด้วยถ้อยคาแปลกๆ ทานองถามหาคนชื่อคาตา และจะพาไปอยู่ด้วย ท่านรู้สึกกลัวจึ งกล่าวปดผู้หญิงคนนั้นไปว่า “รู้จักคนที่ชื่อคาตา เป็นเพื่อนกัน ขอให้รอสักครู่ เดี๋ยวจะไปตามมาให้” ว่าแล้วท่านก็รีบกลับไปหาพวกญาติๆ และเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟังโดยตลอด บรรดาญาติพี่น้อง เร่งกลับมาดูที่กระท่อม แต่ก็ไม่พบใคร จึงคิดว่าคาตาคงจะมีภัยมาถึงตัวในไม่ช้านี้ จึงหาวิธีการที่จะไม่ให้ผีมาเอาตัว ไป โดยขั้น แรกทาการเปลี่ย นชื่อจาก “คาตา” เป็น “สุ ภาพ” ต่อมาให้ จัดงานแต่งงานแบบสมมติ ขึ้น กับนางสาว ทองคา สองพาลี ซึ่งเป็นญาติ และเมื่อแต่งงานแล้วให้ย้ายไปอยู่ที่วัดบ้านหนองกา โดยไปขออาศัยอยู่กับท่านพระครู คาจนกว่าจะครบ ๗ วัน แล้วจึงค่อยกลับมาอยู่ที่บ้านวังทองตามเดิม ต่อมาอีก ๒ เดือน ญาติพี่น้องจึงได้ไปสู่ขอหญิง สาวในหมู่บ้านเดียวกันมาให้แต่งงานด้วย จนมีบุตรด้วยกัน ๑ คน วันหนึ่งท่านฝันไปว่า พ่อปู่ศรีสุทโธมาชวนท่านไปประกวดชายงามที่เมืองบาดาล แต่ท่านปฏิเสธ วันต่อมา พ่อปู่ศรีสุทโธก็มาเข้าฝันท่านอีก ครั้งนี้ท่านรับปากว่าจะไปประกวด แต่ขอสัญญาว่าเมื่อประกวดเสร็จแล้วจะต้องรีบ นาท่านกลับมาส่งคืนยังโลกมนุษย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ท่านได้วิ่งไปยังหนองน้าทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เหมือนคนไร้ส ติ บรรดาญาติพี่น้ องและชาวบ้านจึงพากันวิ่งไล่ ตามพยายามจับตัวกลั บมา หากแต่นายคาตากลั บ หายไปอย่างไร้วี่แวว พ่อปู่ศรีสุทโธได้พาท่านไปประกวดชายงาม ผลปรากฏว่า ได้รับรางวัลชนะเลิศ ต่อมาพ่อปู่ศรี สุทโธได้พาท่านกลับมาส่งคืนยังโลกมนุษย์ โดยที่มีคนไปพบท่านนอนสลบไสลอยู่ ตรงบริเวณที่ท่านหายตัวไป และได้ พากลับมาส่งทีบ่ ้าน ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้ไปรักษาศีลอุโบสถที่วัด พอตกกลางคืนพ่อปู่ศรีสุทโธได้มาเข้าฝัน ขอร้องให้ท่านอุปสมบท แต่ท่านปฏิเสธ เป็นเช่นนี้อยู่ถึง ๓ วันพระ ท่านจึงได้ยอมตอบตกลง เมื่อท่านบวชแล้วจึง ได้รับฉายาว่า “สิริสุทโธ” และเนื่องจากบวชเมื่ออายุมากแล้ว ชาวบ้านจึงพากันเรียกท่านว่า “หลวงปู่” ทุกครั้งไป ท่านจาพรรษาอยู่วัด บ้านวังทองไม่นาน ก็ย้ายมาสร้างสานักสงฆ์อยู่ใกล้กับป่าคาชะโนด ต่อมาได้กลายเป็นวัดคือ “วัดศิริสุทโธคาชะโนด” พ่อปู่ศรีสุทโธแวะเวียนมาเยี่ยมท่านอยู่เสมอ จนท่านต้องจัดที่นั่งที่นอนเตรียมไว้ให้พ่อปู่เป็นพิเศษ บางคราว พ่อปู่ศรีสุทโธก็มาสอนเวทมนต์คาถาให้แก่หลวงปู่คาตาด้วย โดยปรกติแล้ว หลวงปู่กล่าวว่าท่านเป็นคนสมองไม่ดี จาอะไรไม่ค่อยได้ แต่แปลกที่เวลาที่พ่อปู่ศรีสุทโธมาสั่งสอนอะไรก็ตาม ท่านกลับจดจาได้อย่างแม่นยา คืนหนึ่งท่านฝันไปว่า พ่อปู่ศรีสุทโธได้พาท่านไปยังเมืองคาชะโนด เพื่อไปชมสมบัตินาคราช และพาเข้าไป ยังศาลาหลังใหญ่หลังหนึ่ง ที่นั่นมีผู้คนนั่งอยู่เป็นจานวนมาก พ่อปู่ศรีสุทโธกล่าวแก่คนเหล่านั้นว่า หลวงปู่คาตาคือ บุตรชายของท่านและสมบัติทั้งหลายนี้ ท่านขอยกให้แก่หลวงปู่คาตาทั้งหมด ขอให้คนทั้งหลายจงเคารพเชื่อฟังหลวง ปู่ ค าตานั บ ตั้งแต่ บั ดนี้ เป็ น ต้ น ไป หลั งจากวัน นั้น หลวงปู่ ค าตาก็ล้ ม ป่ ว ยกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จนวัน ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หลวงปู่คาตาได้มรณภาพลง ยังความเศร้าโศกเสียใจให้แก่บรรดาชาวบ้านแถวนั้นยิ่งนั้น


๗๓ คุณ ธงชัย แสงชั ย ถือเป็ น อีกคนหนึ่ งที่ เคยได้ยิน เรื่ องราวเกี่ยวกับ พญานาคจากหลวงปู่ คาตา สิ ริสุ ทโธ คราวหนึ่งขณะที่หลวงปู่คาตากาลังเล่าเรื่องราวความเร้นลับของป่าคาชะโนดให้คุณธงชัยและภรรยาฟัง ได้มีงูตัวใหญ่ สีดาสนิทเลื้อยเข้ามาขดตัวอยู่ตรงหน้าท่าน เหมือนเป็นการห้ามปรามไม่ให้หลวงปู่คาตาเปิดเผยเรื่องราวความลับของ ป่าคาชะโนดไปมากกว่านี้ มูลเหตุที่คุณธงชัยและภรรยาได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่คาตา เนื่องจากบริษัท “แจ่มจันทร์ภาพยนตร์” ของเขา เจออาถรรพณ์คาชะโนด กลายเป็นที่มาของข่าวดังในช่วงนั้น คือ “ข่าวผีจ้างหนัง” ประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ นายจาปา คาแก้ว ได้มาว่าจ้างบริษัทแจ่มจันทร์ภาพยนตร์ ให้ไปฉาย ภาพยนตร์ทั้งหมด ๔ เรื่อง ในราคา ๔,๐๐๐ บาท เมื่อถึงวันงาน (๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒) ทีมงานของแจ่มจันทร์ ภาพยนตร์รวม ๗ คน เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีมายังบ้านวังทอง เมื่อมาถึงปรากฏว่ามีคนมารอรับและพาไปยัง สถานที่ที่จะฉายภาพยนตร์ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ภาพยนตร์เรื่องแรกได้เริ่ม ฉาย น่าแปลกที่ในงานนั้น ไม่มี พ่อค้าแม่ค้ามาตั้งร้านขายอาหารเลย มีแต่ผู้ชมซึ่งมีลักษณะแปลกๆ กล่าวคือ ผู้ชายล้วนแต่สวมใส่เสื้อผ้าสีดา ส่วน ผู้หญิงสวมใส่เสื้อผ้าสีขาว นั่งเป็นสองฝั่งไม่ปะปนกัน ฝั่งละประมาณ ๕๐ คน ไม่ว่าภาพยนตร์จะบู๊ ล้างผลาญ หรือ ตลกโปกฮาอย่างไร (ภาพยนตร์ที่ไปฉายในค่าคืนนั้น เช่น เรื่องทอง เรื่องบ้านผีปอบ) ผู้ชมต่างนั่งชมด้วยอาการอัน สงบ ไม่มีลุกออกจากที่ จนกระทั่งถึงเวลา ๔.๐๐ น. ผู้ชายคนที่มารับได้นาเงินค่าจ้างมามอบให้ และกาชับว่าให้รี บ เก็บ ของออกจากสถานที่นี้ ก่อนรุ่งเช้า ไม่เช่นนั้นแล้ วจะออกจากสถานที่แห่ งนี้ไม่ได้ ขณะที่กาลั งเก็บของอยู่นั้น ปรากฏว่าผู้ชมที่นั่งชมอยู่ประมาณร้อยชีวิตหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่ทราบว่าลุกออกไปตั้งแต่เมื่อใด พอรุ่งเช้ารถ ฉายภาพยนตร์ได้ขับมาจนถึงบ้านวังทอง และแวะร้านขายของชาเพื่อซื้อบุหรี่ พอพูดคุยกับเจ้าของร้านจึงได้ทราบว่า พวกเขาได้ไปฉายภาพยนตร์ให้ผีดู ลูกน้องของคุณธงชัยตัดสินใจลาออกจากงานทั้งหมดในคราวนั้น คุณธงชัยจึงลงมือ ค้นหาความจริงจากเรื่องนี้ เขาได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์นายจาปา คาแก้ว ผู้ว่าจ้าง ซึ่งนายจาปายืนยันว่าในคืนวันนั้น แจ่มจันทร์ภาพยนตร์ได้มาฉายภาพยนตร์ที่บ้านของตน คุณธงชัยจึงนาเรื่องนี้ไปกราบเรียนถามหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งหลวงตาเมตตาตอบปัญหานี้ว่า เป็นเพราะอิทธิฤทธิ์ของพญานาค ที่ดลบันดาลให้เกิดขึ้น ภาพที่ ๙๗ ภาพถ่ายหลวงปู่คาตา สิริสุทโธ โดย คุณทศพล จังพานิชย์กุล เป็นผู้ถวาย ปัจจุบันเก็บ รักษาไว้ที่วัดศิริสุทโธ (คาชะโนด) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐


๗๔

ภาพที่ ๙๘ รูปหล่อหลวงปู่คาตา สิริสุทโธ ประดิษฐานอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (คาชะโนด) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

ภาพที่ ๙๙ “แจ่มจันทร์ภาพยนตร์” ประจักษ์พยานที่ประสบกับเหตุการณ์ผีจ้างหนังอันลือเลื่อง เรื่องราวดังกล่าวได้รับการ ถ่ายทอดอีกครั้งผ่านรายการมูไนท์ (Moonight) โดยมีคุณคชาภา ตันเจริญ (มดดา) และคุณกรรชัย กาเนิดพลอย (หนุ่ม) เป็นพิธีกร ออกอากาศทางช่องไทยรัฐทีวี เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๐๐ บริเวณด้านหน้ าศาลพ่ อ ปู่ ศรี สุ ท โธและแม่ ย่ า ศรี ป ทุ ม า ภายใน บริเวณวังนาคินทร์คาชะโนด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพี ยรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐


๗๕

ภาพที่ ๑๐๑ รูปปั้นพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๐๒ บรรดาผู้ศรัทธานาบายศรีมาถวายพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมาภายในศาล โดยมีเฒ่าจ้าเป็นผู้นากล่าวคาบูชา ในปัจจุบนั เนื่องจากมีปัญหาขยะตามมา ทางศาลจึงออกกฎให้ผู้ที่นาบายศรีมาถวายนากลับไปบูชาที่บ้านด้วย เพื่อความเป็นศิริมงคล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐


๗๖

ภาพที่ ๑๐๓ บายศรีพญานาค ที่ผู้ ศรัทธานามาถวายพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ ย่าศรีปทุมา วางไว้ด้านหน้าศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๑/๒๕๖๐

“ศาลตาศรี ยายปทุมา” ศาลเดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมา ปั จ จุ บั น มี ผู้ ค นเป็ น จ านวนมากหลั่ งไหลเข้าไปกราบสั กการบู ช าพ่ อ ปู่ ศ รีสุ ท โธและแม่ ย่ าศรีป ทุ ม า ณ วั ง นาคินทร์คาชะโนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่ใกล้วันออกสลากกินแบ่งรัฐบาล ช่วงที่กระแสละครเรื่องนาคีกาลังมาแรง หลายคนมารอเฝ้ าอยู่ที่หน้าประตูทางเข้าตั้งแต่ เวลา ๒ นาฬิกา ทั้งๆ ที่ ประตูเปิดในเวลา ๗.๓๐ น. เพียงเพื่อขอให้ได้เข้าไปกราบทั้งสองพระองค์สักครั้งในชีวิต หลายคนต้องผิดหวัง ไม่อาจเข้าไปกราบในบริเวณวังนาคินทร์คาชะโนดได้ จึงมีคนจานวนไม่น้อยเลือกที่จะ ไปกราบพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา บริเวณศาลเดิมที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดศิริสุทโธคาชะโนด แทน ชาวบ้านแถบนั้นเล่าให้ฟังว่า ศาลนี้เป็นศาลเดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมา ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ตาศรี ยายปทุม” สร้างมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายก่อนที่จะมีการสร้างศาลใหม่ภายในวังนาคินทร์คาชะโนด นางอรุณ โพธิ์ศรี อายุ ๕๗ ปี ชาวบ้านบ้านศรีเมือง ตาบลบ้านม่วง อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า “พ่อปู่ศรีสุทโธท่านไปเข้าฝันบอกคนที่บ้านสามัคคีว่า เดี๋ยวนี้คนเข้าไปไหว้ท่านข้างในนั้น (พูดพลาง ชี้มือไปที่วังนาคินทร์ คาชะโนด) เต็มไปหมด ท่านอยากจะอยู่แบบสงบบ้าง จึงขอให้คนนั้นมาช่วยยกศาล ให้ท่านใหม่บริเวณสถานที่แห่งนี้ คนนั้นเขาก็ไม่รู้หรอกว่าตรงนี้แต่เดิมเคยมีศาลตั้งอยู่ พอมาพบศาลเก่าเข้า ก็ประหลาดใจ จึงชวนเจ้าของโฮมสเตย์ร่วมกันบูรณะศาลขึ้นใหม่เมื่อ ๒-๓ ปีที่ผ่านมานี้” “เมื่อวันพระที่แล้ว (วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ตรงกับวันแรม ๘ ค่า เดือน ๔ ปีระกา) ปู่ก็เสด็จ ขึ้นมาจากวังบาดาลมายังที่ศาลนี้ คนขายลอตเตอรี่เขาได้ยินเสียงแกรกๆ ดังขึ้นมาจากพงหญ้าริมน้า สักพัก ก็เห็นเป็นรอยยาวคล้ายกับรอยพญานาค คนแถวนั้นเขาเอากระเป๋าสตางค์ไปวางบนรอยนั้น เพราะเชื่อว่า จะทาให้เงินทองไหลมาเทมาเต็มกระเป๋า” “ป้า (ผู้บอกข้อมูล) มาคอยทาความสะอาดศาลพ่อปู่อยู่เป็นประจา แต่ก่อนนี้ป้าจนมาก แทบจะไม่


๗๗ มีอะไรกินเลย ตอนที่ซ่อมศาลนี้เสร็จใหม่ๆ เขามีพิธีบวงสรวง ป้าจาได้ว่าป้าคลานเข้ามาขอของไหว้จากพ่อ ปู่ไปกินเพราะหิว ไม่มีอะไรกิน หลังจากนั้นป้าก็ถูกหวยติดกัน ๗ งวด ชีวิตป้าเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เลยตั้งใจว่าจะ ขอรับใช้พ่อปู่ คอยดูแลทาความสะอาดศาลให้ท่านตลอดไป”

ภาพที่ ๑๐๔ ป้ า ยที่ อ ยู่ บ ริเวณข้ างศาล เดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา ซึ่งชาวบ้านแถวนั้น เรียกว่า “ตาศรี ยาย ปทุม” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมือ่ ๓๐/๓/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๐๕ บริเวณด้ านหน้ าศาลเดิ ม ของพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมา ศาลนี้ สร้างขึ้นก่อนศาลที่ตั้งอยู่ในป่าคาชะโนด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/ ๒๕๖๐


๗๘

ภาพที่ ๑๐๖ ภายในศาลเดิมของพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๐๗ คณะผู้มีจิตศรัทธาตั้งเครื่องบวงสรวงพ่อปู่ศรีสุทโธ แม่ย่าศรีปทุมมาบริเวณศาลเดิม เครื่องบูชาพญานาคประกอบ ไปด้วย บายศรีพญานาค ผลไม้นานาชนิด เช่น มะพร้าวอ่อน กล้วยน้าว้า ขนุน เป็นต้น เครื่องดื่ม และที่ขาดไม่ได้ คือ ไข่ไก่ต้ม ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นของที่พญานาคโปรดปราน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐


๗๙

ภาพที่ ๑๐๘ ผู้บอกข้อมูล นางอรุณ โพธิ์ศรี อายุ ๕๗ ปี ชาวบ้านบ้านศรีเมือง ตาบลบ้านม่วง อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐


๘๐

ศาลเจ้าแม่นาคี อ้าเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ชาวบ้านดุงเชื่อกันว่า พ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมามีหลานสาวสุดที่รักอยู่คนหนึ่งนามว่า “นาคีน้อย” หรือ “นาคน้อย” แต่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง จนกระทั่งนายโชคเสมอ คามุงคุณ นายกเทศบาลเมืองบ้านดุงได้ริเริ่ม ก่อสร้างศาลเจ้าแม่นาคีขึ้น เนื่องจากฝัน ไปว่า มีพระมาบอกให้ไปบูรณะลาห้วยธง (ห้วยทวน) เพราะเจ้าแม่นาคีจะ มาสิงสถิตอยู่ ณ บริเวณนี้ ตอนที่ฝันครั้งแรก นายโชคเสมอยังไม่ได้ทาอะไร จนกระทั่งฝันเป็นครั้งที่สอง เขาจึงได้ พาพรรคพวกออกหาพื้นที่ที่เหมาะจะตั้งศาลเจ้าแม่นาคี จนกระทั่งมาถึงบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งศาลในปัจจุบัน เขาได้เกิด ความรู้สึกอิ่มใจอย่างประหลาด ขนลุกชันจนไม่สามารถควบคุมได้ เขาจึงตัดสินใจที่จะตั้งศาลขึ้น แต่ยังขาดทุนทรัพย์ แม้ว่าระยะหลังมานี้ เขาจะถูกหวยอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ถูกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่พอที่สร้างศาลได้ วันหนึ่ง ขณะที่เขากาลังทางานอยู่ที่เทศบาลเมืองบ้านดุง เขารู้สึกเคลิ้มไปคล้ายตกอยู่ในภวังค์ และได้มีคน มาบอกเขาว่าให้สร้างเหรียญพ่อปู่ศรีสุทโธและเจ้าแม่นาคีขึ้นเพื่อระดมทุนทรัพย์ในการจัดสร้าง หลังจากนั้นไม่นาน ศาลเจ้าแม่นาคีจึงเกิดขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากผู้คนที่มาจากทั่วทุกสารทิศ ปั จจุ บั น เกาะเจ้าแม่น าคี ตั้งอยู่ ในบริเวณฝายท่ามะนาว ผู้ ที่จะเดินทางไปสั กการะเจ้าแม่จะต้องนั่งเรือ ออกไปประมาณ ๕ นาทีจึงจะถึง ในอนาคตทางเทศบาลเมืองบ้านดุงมีแผนที่จะพัฒนาบริเวณดังกล่าวให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี เช่นเดียวกับวังนาคินทร์คาชะโนด โดยจะจัดรายการล่องแพ เพื่อ ไปกราบสักการะศาลเจ้าแม่ และจัดสร้างตลาดน้า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้จั บจ่ายใช้สอย เป็นการสร้างรายได้ให้กับคน ในชุมชน

ภาพที่ ๑๐๙-๑๑๐ (ภาพซ้าย) ท่าเรือที่จะไปศาลเจ้าแม่นาคี (ภาพขวา) ศาลเจ้าแม่นาคี ที่ตั้งอยู่บนแพกลางหนองน้า ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐


๘๑

ภาพที่ ๑๑๑-๑๑๒ รูปปั้นเจ้าแม่นาคี ซึ่งตั้งอยู่ภายในศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๑๓ (ภาพซ้าย) รูปปั้นเจ้าแม่นาคี ในละครเรื่องนาคี ภาพจาก www.youtube.com เปรียบเทียบกับรูปปั้นเจ้าแม่นาคีที่อยู่ภายในศาลเจ้าแม่นาคีที่สร้างขึ้นใหม่


๘๒

นาคสถานในจังหวัดสกลนคร “พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตาหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร งามตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้ง สาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม” จังหวัดสกลนครมีพื้นที่ประมาณ ๙,๖๐๕ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๘ อาเภอ ได้แก่ อาเภอเมืองสกลนคร อาเภอกุสุมาลย์ อาเภอกุดบาก อาเภอพรรณนานิคม อาเภอพังโคน อาเภอวาริชภูมิ อาเภอ น้าอูน อาเภอวานรนิวาส อาเภอคาตากล้า อาเภอบ้านม่วง อาเภออากาศอานวย อาเภอสว่างแดนดิน อาเภอ ส่องดาว อาเภอเต่างอย อาเภอโคกศรีสุพรรณ อาเภอเจริญศิลป์ อาเภอโพนนาแก้ว และอาเภอภูพาน อาณาเขต ด้านทิศเหนือติดกับจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดหนองคาย ด้านทิศใต้ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านทิศตะวันออกติดกับ จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม และด้านทิศตะวันตกติดกับจังหวัดอุดรธานี “หนองหาร” ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร (เช่นเดียวกับพระธาตุเชิงชุม) แม้แต่ชื่อเมืองสกลนคร เดิมก็มีชื่อว่า “เมืองหนองหาร” สถานที่แห่งนี้มีความสัมพันธ์กับพญานาค ตามตานานเล่าว่า พระเจ้าสุรอุทกะ ผู้ เป็นเจ้าเมืองได้รบกับพญานาคทะนะมูลนาค เรื่องที่ไม่พอใจว่า พระราชบิดายกหน้าที่ดูแลลาน้ามูล ตลอดจนดงพญา เย็นให้แก่สัตว์เดรัจฉาน ผลการรณยุทธ์นั้นไม่มีฝ่ายใดแพ้ ฝ่ายใดชนะ ในที่สุดต่างก็แยกย้ายกันไป หากแต่ทะนะมูล นาคยังผูกใจเจ็บจึงแปลงกายเป็นเก้งเผือกหลอกล่อทหารของพระเจ้าสุรอุทกะ เมื่อทหารยิงเก้งเผือกตาย ทะนะมูล นาคก็ถอดวิญญาณออกจากร่างเก้งเผือกนั้น และบันดาลให้ร่างของเก้ งเผือกมีขนาดใหญ่เท่ากับช้างสาร กล่าวฝ่าย ทหารไม่รู้ในกลอุบายก็แล่เนื้อเก้งเผือกออกปันกันจนทั่ว ตกดึกคืนนั้น ทะนะมูลนาคได้พาบริวารมาช่วยกันขุดดินจน แผ่นดินถล่ม ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก เหลืออยู่แค่เพียงบริเวณดอนสวรรค์ที่เดียวเท่านั้นที่รอดพ้นจากพิบัติภัยครั้ งนี้ ทะนะมูลนาคได้จับตัวพระเจ้าสุระอุทกะลากลงไปยังแม่น้าโขงจนสวรรคต นอกจากตานานข้างต้นแล้ว ยังมีนิทานพื้นบ้านอีกเรื่องหนึ่ง ที่เล่าถึงกาเนิดหนองหาร คือเรื่อง “ผาแดง นาง ไอ่” เรื่องมีอยู่ว่า กษัตริย์ขอมมีพระธิดาอยู่พระองค์หนึ่ง คือ นางไอ่คา ซึ่งมีพระสิริ โฉมงดงามมาก จนกิตติศัพท์เลื่อง ลือไปทั่วทุกแว่นแคว้น ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของท้าวผาแดง ราชกุมารแห่งเมืองผาโพง ทาให้พระองค์อดรนทนไม่ ไหวต้องเสด็จมาหานางไอ่คา ทั้งสองพระองค์ได้แลกของกานัลกันไปมาและได้เสียกันในที่สุด ท้าวผาแดงลานางไอ่คา กลับบ้านเมือง และสัญญาว่าจะมาสู่ขอนางไอ่คา ต่อมาพระบิดาของนางไอ่คาได้จัดการแข่งขันบั้งไฟขึ้น โดยมีรางวัล เป็นนางไอ่คา ท้าวผาแดงเดินทางมาร่วมการแข่งขันด้วย แต่บั้งไฟของพระองค์กลับแตก ทาให้พระองค์เสียพระทัย มาก โชคดีที่ผลการแข่งขัน ในครั้งนั้น ผู้ที่ชนะมีศักดิ์เป็นพระญาติผู้ใหญ่ ของนางไอ่คา นางจึงรอดตัวไม่ต้องตกเป็น พระมเหสีของผู้ใด ฝ่ายพญานาคภังคี เมื่อได้ยินกิตติศัพท์ความงามของนางไอ่ คา ก็ใคร่จะยลโฉม จึงแปลงกายเป็นกระรอก เผือกมาแอบมอง นางไอ่ คาเห็ นกระรอกเผือกก็ให้ นึกอยากได้จึงให้ ทหารช่วยกันจับ ถ้าจับเป็นไม่ได้ก็ให้ จับตาย ทหารใช้ลูกศรอาบยาพิษยิงกระรอกเผือกนั้นจนตาย ก่อนตายภังคีได้อธิษฐานขอให้ร่างของกระรอกเผือกมีขนาดใหญ่ เท่ากับช้างสาร ชาวเมืองต่างพากันแบ่งเนื้อกระรอกเผือกกิน ยกเว้นแต่แม่ม่ายเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้กิน พอ ตกกลางคืนพญานาคจึงพากันมาล่มเมืองจนกลายเป็นหนองน้าใหญ่ เหลือไว้แต่บ้านของแม่ม่ายเท่านั้น ท้าวผาแดง เมื่อรู้ว่าเมืองล่มก็รีบมาช่วยนางไอ่คา แต่ไม่สามารถช่วยได้เพราะนางไอ่คาก็ได้กินเนื้อกระรอกเผือกเช่นกัน พญานาค ใช้หางเกี้ยวนางไอ่คาไว้ในขณะที่ท้าวผาแดงกาลังควบม้าพานางไอ่ คาหนี ทาให้นางไอ่คาจมน้าตาย ท้าวผาแดงเสีย พระทัยมากจนสวรรคต กลายเป็นผี และได้นาบริวารมารบกับวิญญาณของภังคีที่ใต้หนองหาร โดยมีเดิมพันเป็น


๘๓ วิญญาณของนางไอ่คา ชาวบ้านเชื่อว่าปัจจุบันพญานาคภังคีกับผีท้าวผาแดงก็ยังคงรบกันอยู่ รอจนกว่าจะถึงเวลาที่ พระศรีอาริยเมตไตย พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจะมาตรัสรู้และเสด็จมาช่วยตัดสินคดี เรื่องราวพญานาคที่หนองหารเป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ เห็นได้จากเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ คุณคารณ หว่างหวังศรี ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง นาทีมงานรายการ “เกษตรฮอตนิวส์ ” ช่วงเกษตรเรา เกษตรโลก ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่ อง ๓ ไปถ่ายทารายการและเก็บภาพบรรยากาศพระอาทิตย์อัสดงที่หนองหาร ปรากฏ ว่าพบสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดยาวใหญ่คล้ายงูลอยขึ้นมาบนผิวน้า คุณคารณยืนยันว่า สิ่งที่เห็นนั้นไม่ใช่คลื่นน้า ซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ ทั่ว ไปตามธรรมชาติอย่ างแน่ นอน นี่คือเครื่องยืนยันว่า พญานาคมีอ ยู่จริง ณ หนองหาร จังหวัด สกลนคร

ภาพที่ ๑๑๔ พุทธศาสนิกชนทาวัตรสวดมนต์บริเวณลานวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑


๘๔

เกาะดอนสวรรค์ หนองหาร อ้าเภอเมือง จังหวัดสกลนคร หนองหาร ตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร ถือเป็นหนองน้าธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ขนาดความกว้าง ประมาณ ๗ กิโลเมตร ความยาวประมาณ ๑๘ กิโลเมตร นักโบราณคดีค้นพบว่า ในบริเวณนี้มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ชาวสกลนครเชื่อว่าหนองหารนั้น เกิดขึ้นจากการกระทาของพญานาค ตามตานานเรื่องกวางเผื อกเล่ าว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ขอมได้ยกไพร่พลมาสร้างบ้านแปงเมือง ณ บริเวณนี้ ขนานนามว่า “เมืองหนองหาร หลวง” มีพระยาสุรอุทกะเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองดูแล ทว่าขึ้นตรงต่อกรุงอินทปัฐนคร (ขอมหรือเขมร) พระองค์ทรงมี พระโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าภิงคารกับเจ้าคาแดง ต่อมาพระยาสุรอุทกะได้เดินทางมายังแม่น้ามูล ซึ่งกษัตริย์ขอม (เมืองอินทปัฐนคร) ได้มอบหมายให้ ทะนะมูลนาคราช ทาหน้าที่ เป็นผู้ปกครองดูแล พระยาสุระอุทกะทรงไม่พอ พระทัยยิ่งนักที่พระอัยกาและพระบิดาทรงโปรดปรานพญาทะนะมูลนาคราช ซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถึงกับมอบหมาย หน้าที่สาคัญให้ดูแล พระองค์จึงตรัสดูหมิ่นถากถางทาให้ทะนะมูลนาคราชโกรธมาก นามาซึ่งการสู้รบกันเกิดขึ้น ทั้ง สองฝ่ายต่างประลองฤทธิ์กัน อยู่นานหลายวัน เมื่อไม่มีฝ่ายใดแพ้ ฝ่ายใดชนะ ต่างฝ่ายจึงหยุดรบ พระยาสุรอุทกะ เสด็จกลับพระนคร ส่วนพญาทะนะมูลนาคราชนั้นยังผูกใจเจ็บ จึงเดินทางไปยังเมืองหนองหารพร้อมด้วยเหล่า นาค บริวาร พญานาคได้แปลงกายเป็นกวางเผือก (ฟานด่อน) เดินไปมา จนชาวบ้านนาความขึ้นกราบทูลพระยาสุรอุทกะ พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พรานป่า ออกไปช่วยกันจับกวางเผือก นายพรานยิงลูกศรอาบยาพิษถูกทะนะมูลนาคราช พญานาคอธิษฐานขอให้เนื้อกวางเผือกมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเท่ากับพญาช้างสาร พระยาสุรอุทกะให้ทหารแบ่ง เนื้อกวางเผือกแจกจ่ายให้แก่ราษฎร คืนนั้นพญาทะนะมูลนาคราชพร้อมด้วยนาคบริวารจึงช่วยกันขุดดินทาลายเมือง หนองหารหลวงจนพินาศสิ้น กลายเป็นหนองน้าใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน หลายท่านเคยมีประสบการณ์สัมผัสพญานาคในหนองหารมาแล้ว เช่น คุณคารณ หว่างหวังศรี และทีมงาน สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ ที่ครั้งหนึ่งได้ไปถ่ายทารายการ “เกษตรฮอตนิวส์” (๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕) ใน ทะเลสาบหนองหาร ระหว่างที่นายสันติ ชัยยศ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กาลังเล่าตานานเมือง หนองหารหลวงล่มอยู่นั้น ได้บังเกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น มีลักษณะเป็นคลื่นม้วนลอยขึ้นมาเหนือผิวน้า เชื่อกันว่า เป็นเพราะพญานาคสาแดงฤทธิ์เหตุเพราะไม่พอใจ ทาให้คุณคารณต้องยกเลิกการถ่ายทารายการในทันที สถานที่สาคัญในหนองหาร คือ “เกาะดอนสวรรค์” ซึ่งถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหนองหาร อยู่ห่าง จากฝั่งไปประมาณ ๔ กิโลเมตร เกาะแห่งนี้เป็นที่หมายปองของผู้มีอิทธิพลจนเกิดคดีฟ้องร้องกันหลายครั้ง เพราะ เหตุใดจึงมีผู้หมายปองเกาะแห่งนี้ ? คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ข้าราชการบานาญ สานักงานกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์อธิบายว่า เกาะดอนสวรรค์ในหนองหารมีความสาคัญมาตั้งแต่ครั้งดินแดนสกลนครอยู่ภายใต้อิทธิพลของ อาณาจักรขอมโบราณแล้ว ในวัน “วิษุวัต” (Equinox) ที่โลกโคจรเข้าสู่ตาแหน่งที่ดวงอาทิตย์ทามุมตั้งฉากกับเส้น ศูนย์สูตร จะเกิดปรากฏการณ์ที่กลางวันเท่ากับกลางคืน โดยดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกแท้และตกทางทิศ ตะวันตกแท้ ซึ่งพวกขอมโบราณล่วงรู้ความลับของธรรมชาติในข้อนี้ จึงสร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง และปราสาท ภูเพ็ก บนยอดภูเพ็กให้อยู่ในแนวสุริยวิถีเดียวกัน ซึ่งในหนึ่งปีจะมีอยู่วันหนึ่งที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นแนวเดียวกัน พาดผ่านสถานที่ทั้งสามแห่งนี้ เกาะดอนสวรรค์ จึงไม่ใช่เกาะธรรมดาในหนองหารแต่เป็นเกาะศักดิ์สิทธิ์ตามแนวคิด ของคนโบราณ


๘๕ เกาะดอนสวรรค์ ในหนองหารเป็นสถานที่ที่คนที่มีสายญาณพญานาคแวะเวียนมากราบไหว้ขอพรอยู่เสมอ จึงถือเป็นนาคสถานอีกแห่งหนึ่งที่สาคัญ ที่ผู้ศรัทธาพญานาคควรหาโอกาสไปเยี่ยมชมให้ได้

ภาพที่ ๑๑๕ ทัศนียภาพเกาะดอนสวรรค์ยามอาทิตย์อัสดง สวยงามเกินคาบรรยาย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๑๖ พระวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะดอนสวรรค์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑


๘๖

ภาพที่ ๑๑๗ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๑๘ ภาพปริศนาที่เหมือนมีใบหน้าคนปรากฏอยู่ ถ่ายโดย อาจารย์จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑


๘๗

ภาพที่ ๑๑๙ ภาพใบหน้าคนครึ่งซีกภายในกระจก มีดวงตา จมูก และปากชัดเจน ถ่ายโดย อาจารย์จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๒๐ รูปปั้นพญานาค หรือปู่ใหญ่ ผู้พิทักษ์รักษาเกาะดอนสวรรค์และหนองหาร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑


๘๘

ภาพที่ ๑๒๑ ซากศิลาแลง สันนิษฐานว่าสถานที่นนี้ ่าจะเคยเป็นทีป่ ระกอบพิธีกรรมของพวกเขมรโบราณมาก่อน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๒๒ ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองศรีวิลานี ที่อยู่บนเกาะดอนสวรรค์ จุดหมายสาคัญของบรรดานักเสี่ยงโชคจากทั่วทุกสารทิศ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑


๘๙

วัดถ้าผาแด่น อ้าเภอเมือง จังหวัดสกลนคร “วัดถ้าผาแด่น” ตั้งอยู่ที่บ้านดงน้อย หมู่ที่ ๙ ตาบลดงมะไฟ อาเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ถือเป็นสถานที่ ที่เงียบสงบ มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจานวนมาก เหมาะสาหรับการปฏิบัติ ธรรมอย่ างยิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ในอดีต สถานที่แห่ งนี้จะเคยเป็นที่พานักของพระวิปัส สนาจารย์ห ลายรูป เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, พระมหาทองสุก สุจิตโต, หลวงพ่อพรหม จิรปุณโญ, หลวงพ่อวัน อุตตโม, หลวงพ่อเส็ง ปุสโส, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นต้น ปัจจุบันวัดถ้าผาแด่นมี “หลวงพ่อปกรณ์ กันตวีโร” ดารงตาแหน่งเจ้าอาวาสวัด (พ.ศ.๒๕๕๑ – ปัจจุบัน) หลวงพ่อปกรณ์ กันตวีโร ถือเป็นพระกรรมฐานรูปสาคัญรูปหนึ่งของภาคอีสาน ด้วยวัตรปฏิบัติที่งดงามทา ให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดสกลนครและสาธุชนทั่วประเทศ วันหนึ่งท่านได้พบรอยพระพุทธบาทเข้า โดยบังเอิญ เป็ น รอยพระพุทธบาทเบื้ องขวาขนาดความกว้าง ๑ เมตร ความยาวเกือบ ๒ เมตร ประดิษฐานอยู่ บริเวณผลาญหินบนภูเขา สร้างความปลื้มปีติให้แก่บรรดาพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมาก เย็นวันนั้นขณะที่หลวงพ่อ ปกรณ์กาลังเจริญพระกรรมฐานอยู่นั้น ท่านได้นิมิตเห็นมนุษย์นาคตนหนึ่งนาท่านไปยัง นครบาดาล เพื่อไปพบกับ “สัตตนาคราช” ซึ่งเป็นเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง ที่ อาศัยอยู่ ณ บริเวณนี้ พญานาคราชได้กล่าวกับท่านว่า ในอดีต พระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมายังสถานที่แห่งนี้ พระองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อการาบพวกนาคทั้งหลาย ซึ่ง มีมิจฉาทิฐิ ให้หันมาตั้งอยู่ในศีลในธรรม เลิกเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ให้ไ ด้รับความเดือดร้อน พญาสัตตนาคราชได้ ขอให้หลวงพ่อปกรณ์ช่วยดูแลรักษารอยพระพุทธบาทไว้ให้ดี ต่อมาหลวงพ่อจึงได้นาศรัทธาประชาชนช่วยกันสร้าง ศาลาครอบรอยพระพุทธบาทไว้มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบั นหลวงพ่อปกรณ์ได้พัฒ นาวัดจนเจริญรุ่งเรืองไปไกลมาก มีการสร้างเจดีย์ที่มีรูปทรงคล้ายพระธาตุ อิ น ทร์ แ ขวนของพม่ า มี ก ารแกะสลั ก หิ น เป็ น รูป สิ่ งศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ต่ างๆ ประดิ ษ ฐานอยู่ ทั่ ว บริ เวณวัด เช่ น รูป สลั ก พระพุทธเจ้าปางต่างๆ (พระประจาวันเกิด ) รูปสลักพระอริยสงฆ์ ของไทย เช่น หลวงปู่ทวด เหยียบน้าทะเลจืด หลวงปู่โต พรหมรังสี เป็นต้น รูปสลักเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ เช่น พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม พระ คเณศ เป็นต้น ทาให้วัดสวยงามโดดเด่น กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด สกลนคร สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ หลวงพ่อปกรณ์ท่านชื่นชอบพญาครุฑมากเป็นพิเศษ โดยท่านให้เหตุผลว่า พญาครุฑเป็นสัญลักษณ์แทนอานาจ โชคลาภ วาสนาบารมี จะเห็นได้ว่าที่หน้าผาหินด้านหน้าวัด ท่านได้ให้ช่าง สลักเป็นรูปพญาครุฑกางปีก มือกุมกระบองของท้าวเวสสุวรรณ (พญายักษ์ ผู้เป็นนายของภูตผี ทั้งปวง หนึ่งในท้าว จตุโลกบาล) ข้างๆ กันนั้นมีพญานาคสลักอยู่ด้วยตนหนึ่ง สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่ องรอยพระพุทธบาทที่ว่า ในอดีต พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังบริเวณนี้และประทับรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อการาบพญานาค ในปัจจุบัน หลวงพ่อปกรณ์ ได้มาเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดแห่งนี้และได้สร้างพญาครุฑไว้ ทั้งนี้อาจเพื่อใช้การาบพญานาคด้วยเช่นกัน (ตามตานาน กล่าวว่า พญาครุฑกินพญานาคเป็นอาหาร ทาให้เหล่าพญานาคจึงเกรงกลัวฤทธิ์อานาจของพญาครุฑ)


๙๐

ภาพที่ ๑๒๓ บรรยากาศอันร่มรื่นภายในวัดถ้าผาแด่น อาเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๒๔-๑๒๕ หนทางที่จะขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาทนั้นยากลาบาก จะต้องเดินขึ้นภูเขา บางช่วงต้องปีนป่าย ผ่านป่าชัฏและช่องหินแยก ก่อนที่จะขึน้ ไปสู่ลานหินที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐


๙๑

ภาพที่ ๑๒๖-๑๒๗ รอยพระพุทธบาท ซึ่งเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับไว้เพื่อปราบพญานาคพาลให้ละมิจฉาทิฐิ หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐


๙๒

ภาพที่ ๑๒๘ ภาพสลักพญาครุฑกุมกระบองท้าวเวสสุวรรณ สัญลักษณ์แทนอานาจบารมี และโภคทรัพย์ ประดิษฐานบริเวณ ผาหิน วัดถ้าผาแด่น ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐


๙๓

นาคสถานในจังหวัดนครพนม “พระธาตุพนมค่าล้า วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง” คาว่า “นครพนม” แปลว่า เมืองแห่งขุนเขา (นคร เป็นคาบาลี สันสกฤต แปลว่า เมือง ส่วนคาว่า พนม เป็นคาที่มาจากภาษาเขมร แปลว่า ภูเขา) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานนามนี้ เนื่องจากแต่เดิมบริเวณนี้มีภูเขาอยู่เป็นจานวนมาก ต่อมาเมื่อจังหวัดนครพนมถูกแบ่งออกมาเป็นจังหวัดมุกดาหาร (ปี พ.ศ. ๒๕๒๕) ทาให้พื้นที่ส่วนที่เป็นภูเขามาอยู่ทางจังหวั ดมุกดาหารแทบทั้งหมด เหลือภูเขาอยู่ที่จังหวัดนครพนม เพียงแห่งเดียว คือ ภูลังกา ในอาเภอบ้านแพง เท่านั้น นครพนมเป็น จังหวัดที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณ เห็ นได้จากพระธาตุพนม ปูชนียสถาน คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งมีอายุเก่าแก่มานานกว่า ๑,๕๐๐ ปี นอกจากพระธาตุพนม (พระธาตุสาหรับผู้ที่เกิดในวันอาทิตย์) แล้ว จังหวัดนครพนมยังมีพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองอีก ๗ แห่ง คือ พระธาตุเรณู (พระธาตุสาหรับผู้ที่ เกิดในวันจันทร์) พระธาตุศรีคุณ (พระธาตุสาหรับผู้ที่เกิดในวันอังคาร) พระธาตุมหาชัย (พระธาตุสาหรับผู้ที่เกิดในวันพุธ กลางวัน) พระธาตุมรุกขนคร (พระธาตุสาหรับผู้ที่เกิดในวันพุธ กลางคืน) พระธาตุประสิทธิ์ (พระธาตุสาหรับผู้ที่เกิดในวัน พฤหัสบดี) พระธาตุท่าอุเทน (พระธาตุสาหรับผู้ที่เกิดในวันศุกร์) และพระธาตุนคร (พระธาตุสาหรับผู้ ที่เกิดในวัน เสาร์) อีกด้วย แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเหนือดินแดนแถบนี้ และความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร โบราณนาม “ศรีโคตรบูร” จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๑๒ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๒ อาเภอ ได้แก่ อาเภอเมืองนครพนม อาเภอปลาปาก อาเภอธาตุพนม อาเภอเรณูนคร อาเภอท่าอุเทน อาเภอบ้านแพง อาเภอ ศรีสงคราม อาเภอนาแก อาเภอนาหว้า อาเภอโพนสวรรค์ อาเภอนาทม และอาเภอวังยาง มีอาณาเขตด้านทิศ เหนือติดกับจังหวัดบึงกาฬ ด้านทิศใต้ติดกับจังหวัดมุกดาหาร ด้านทิศตะวันออกติดกับแขวงคาม่วน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และด้านทิศตะวันตกติดกับจังหวัดสกลนคร นครพนมเป็นจังหวัดที่มีถนนเลียบริมโขงความยาวกว่า ๑๕๐ กิโลเมตร ด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม และเงียบ สงบทาให้จังหวัดนครพนมถือเป็นจังหวัดที่น่าอยู่จังหวัดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีจุดขายสาคัญ คือ เมืองที่ มีความเป็นที่สุด ๓ อย่าง ได้แก่ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด (พระธาตุพนม) สวยที่สุด (สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๓) และ งามที่สุด (ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง) และความที่เป็นเมืองริมโขง ทาให้มีเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคอยู่ไม่น้อยทีเดียว


๙๔

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ้าเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ถือเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่สุดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประชาชนให้ความเคารพบูชา เห็นได้จากช่วงเทศกาลไหว้พระธาตุ ซึ่งจัดขึ้นในราวเพ็ญ เดือนสามของทุกปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศได้เดินทางมากราบสักการะขอพร โดยเฉพาะคนที่เกิดในปีวอกและ คนที่เกิดในวันอาทิตย์ ควรหาโอกาสมากราบขอพรพระธาตุพนมให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ตามตานานกล่าวว่า พระมหากัสสปะได้นาพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ประดิษฐานไว้ที่นี่ โดยมีกษัตริย์ที่ปกครองแว่นแคว้ นต่างๆ ในบริเวณนี้มาร่วมสร้าง คือ พระยานันทเสนแห่ง ศรีโคตร บู ร พระยาสุ วรรณภิงคารแห่ งแคว้น หนองหารน้อย พระยาอินทปัฐ แห่ งแคว้นอินทปัฐนคร และพระยาจุล มณี พรหมทัตแห่ งแคว้น จุล มณี เมื่อ สร้างส าเร็ จ พระอิ นทร์ได้พ าทวยเทพมาบู ช าองค์พ ระธาตุ เมื่อกษัตริ ย์ทั้งหมด สวรรคต พระยาศรีโคตรบูรได้มาจุติเป็นพระยาสุมิตตธรรม ครองเมืองมรุกขนคร ส่วนกษัตริย์องค์อื่นๆ ได้มาถือ กาเนิดเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกันและต่างบรรลุอรหันตผล ทั้งหมดได้ทรงร่วมกันก่อสร้างพระธาตุพนมครั้งที่ ๒ เชื่อว่าใน ยุคนี้ พระธาตุพนมมีรูปร่างเป็นคูหาสี่เหลี่ยมสองชั้นก่อด้วยอิฐซ้อนกัน ต่อมาในสมัยล้านช้าง พระเจ้าโพธิสารราชได้ เสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างวิหารและถวายข้าพระเป็นจานวนมากเพื่อคอยดูแลรักษาพระบรมธาตุ (สุวิช สถิต วิทยานันท์ และคงฤทธิ์ ภาระราช, ๒๕๓๖: ๔) พระธาตุพนมได้พังทลายลงมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. สร้างความโศกเศร้า เสี ย ดายให้ แ ก่ ค นไทยทั้ ง ประเทศเป็ น อย่ า งมาก ต่ อ มาประชาชนไทยทุ ก ภาคส่ ว นจึ ง ได้ ร่ ว มแรงร่ ว มใจกั น บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยที่บนยอดพระเจดีย์ทาเป็นฉัตรทองคาน้าหนักรวม ๑๑๐ กิโลกรัม แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ปัจจุบันพระธาตุพนมสร้างเป็นรูปคูหาสี่เหลี่ยมสองชั้น ทาจากอิฐ ฐานกว้างด้านละ ๑๖ เมตร ส่วนยอดเป็น ทรงโกศต่อเติมขึ้นใหม่ในภายหลัง รอบๆ คูหาชั้นแรกมีลวดลายสลักบนแผ่นอิฐ ทาเป็น รูปกษัตริย์ทรงช้างม้า มี บริวาร มีรูปสัตว์เช่นวัวควาย รวมทั้งมีลวดลายต่างๆ (สุวิช สถิตวิทยานันท์ และคงฤทธิ์ ภาระราช, ๒๕๓๖: ๕) พระธาตุพนมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพญานาคมาก เชื่อว่าพระธาตุองค์นี้มีพญานาคพิทักษ์รักษา เมื่อวัน ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลาประมาณ ๒.๐๐ น. นายไก้ฮวด แซ่ตั้ง และภรรยา ซึ่งอาศัยอยู่ไม่ไกล จากวัดพระธาตุพนมวรวิหารมากนัก ได้เห็นลาแสงประหลาดเจ็ดสีปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าและลอยลงมายังลานพระธาตุ พนม ท่านพ่อแก้ว อุทุมมาลา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงให้สามเณรทรัพย์นั่งทางในตรวจสอบดู พญานาคจึงยืม ร่างของสามเณรเพื่อกราบเรียนท่านพ่อแก้วว่า ตนเป็นพญานาคราชมีนามว่า สัทโธนาคราช และบริวารอีก ๖ ตน คือ พญาศีลวุฒิ น าโค พญาหิริวุฒิ นาโค พญาโอตตัปปะวุฒิ นาโค พญาพาหุสัจจะวุฒิ นาโค พญาจาคะวุฒิ นาโค และพญาปัญญาเตชะวุฒินาโค อาศัยอยู่ที่สระอโนดาต ได้รับเทวบัญชาจากพระอินทร์ให้มาพิทักษ์รักษาพระธาตุพนม แทนเทวดาชุดเก่าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะสิ้นศาสนาพระสมณโคดมพระพุทธเจ้า พญาสัทโธนาคราชคอยดูแลพระธาตุพนมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พญาศีลวุฒินาโคและพญาหิริวุฒิ นาโคคอยดูแลพระธาตุพ นมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ พญาโอตตัปปะวุฒินาโคและพญาพาหุสัจจะวุฒินาโค คอยดูแลพระธาตุพนมทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพญาจาคะวุฒินาโคและพญาปัญญาเตชะวุฒินาโคคอยดูแล พระธาตุพนมทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พญานาคแต่ละตนล้วนมีทิพยวิมานอยู่ใต้องค์พระธาตุพนม การบูชา พญานาคนั้นไม่จาเป็นต้องตั้งเครื่องบัตรพลีใหญ่โต ขอเพียงมีน้าบริสุทธิ์เพียงแก้วเดียวก็เพียงพอแล้ว


๙๕ ต่อมาสามเณรทรัพย์ก็อาศัยญาณบารมีพญานาคราชรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งอาการทางกายและทางใจ เช่น เป็นนิ่ว หรือป่ วยเพราะถูกทาคุณ ไสยจนเสี ยสติ และสามารถทานายโชคชะตา เหตุการณ์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่าง แม่นยา ทาให้หลายต่อหลายคน รวมทั้งสมภาร (พระธรรมราชานุวัตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพ่อแก้ว อุทุม มาลา) เชื่อว่า พญานาคที่มาเฝ้ารักษาพระธาตุพนมนั้นมีอยูจ่ ริง พิ เชฐ สายพั น ธ์ (๒๕๖๐) อธิบ ายว่ า “สั ต ตนาคา” (พญานาคทั้ ง ๗ ตน ดังที่ ได้ก ล่ าวมาข้ างต้ น ) คื อ สัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโต้ปมทางสังคมที่ผ่านมา คือ ตอบโต้กับปมขัดแย้งระหว่างกลุ่มนับถือผีเจ้าเฮือน (กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มคนลาวที่พระเจ้าแผ่นดินสมัยโบราณอุทิศถวายแด่องค์พระธาตุพนม เรียกว่า “ข้าโอกาส”) กับพระสงฆ์ที่แย่ง กันเป็นผู้ทาหน้าที่พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุพนม และปมเงื่อนไขใหม่ที่ฝ่ายราชการไทยได้เข้ามาช่วงชิงบทบาทจากทั้ง สองกลุ่มนี้ไป สัญลักษณ์พญานาคจึงถูกนามาใช้ โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างพระเทพรัตนโมลี (แก้ว อุทุม มาลา) เจ้าอาวาสวัด และกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “ธิดาพญานาค” ซึ่งทาหน้าที่เป็นร่างทรง สร้างความชอบธรรมให้ พญาสัตตนาคาในการเข้ามาทาหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รักษาพระธาตุพนม ความหมายของสัตตนาคาในเชิงสัญลักษณ์เป็นทั้ง “ขั้วความหมายจริยธรรมทางพุทธ” และ “ขั้วความหมาย ทางระเบี ย บสั งคม” ในขั้ว ความหมายจริ ยธรรมทางพุ ท ธนั้ น แบ่ งความหมายออกเป็ น ๒ ระดับ คือ ๑) ระดั บ จริย ธรรมในเชิงอุดมคติ ที่ให้ “นาค” สื่ อความหมายในฐานะผู้คุ้มครองปกป้องพระพุทธศาสนา และ ๒) ระดับ จริยธรรมในเชิงปฏิบัติ ที่ให้พญาสัตตนาคาสื่อถึงชุดความคิดเรื่อง “อริยทรัพย์ ๗ ประการ” ที่สัมพันธ์กับนามของ พญานาคทั้ง ๗ ตน ซึ่งหลักธรรมดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นเสมือนทรัพย์อันประเสริฐที่หนุนนาส่ งเสริมให้ มนุษย์ได้บาเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยิ่งขึ้นไป ขั้วความหมายทางระเบียบสังคม จะเห็นถึงการอธิบายการจัดระเบียบชุมชนของผู้คนรอบพระธาตุพนมใหม่ โดยที่พระเทพรัตนโมลี (แก้ว อุทุมมาลา) นั้นเป็น “ท่านพ่อ” เพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มพิธีบูชาสัตตนาคาและทาให้ความ เชื่อเรื่องนี้ปรากฏจริงในสังคม โยมหญิงที่อุปฐากท่านคนหนึ่งเป็น “ท่านแม่” เพราะในอดีตชาติเคยเป็นมารดาของ สัตตนาคา ส่วนกลุ่มคนทรงทั้งหมด ซึ่งเป็นหญิงล้วน คือ “ธิดาพญานาค” ที่กลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์ ปัจจุบันคน กลุ่มนี้ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติร่วมกันอีกด้วย การเป็น “ญาติพี่น้อง” และ “ญาติทางธรรม” สืบเนื่องมา ตั้งแต่อดีตชาติ ทาให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคมในการทาหน้าที่บารุงรักษาพระธาตุพนม โดยอาศัยความเชื่อจาก สัญลักษณ์และพิธีกรรมบูชาพญาสัตตนาคาเป็นตัวกลางเชื่อมโยง ในท้ายที่สุด ความเชื่อเรื่องผีเจ้าเฮือน ซึ่งเป็นความ เชื่อดั้งเดิมที่ทรงอิทธิพลมากก็ได้เลือนหายไปในปัจจุบัน พิเชฐ สายพันธ์ ได้กล่าวเสริม อีกว่า นาคถือเป็นสัญ ลักษณ์ ที่ยังคงมีชีวิตชีวา มีพลังที่ จะช่วยสร้างเสริม ความหมาย อั ต ลั ก ษณ์ วั ฒ นธรรมให้ กั บ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ต่ างๆ ในอี ส าน และดึ งดู ด ผู้ ค นให้ เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มกั บ กระบวนการใช้ชีวิต เชิงบริโภคสมัยใหม่ ทั้งการบริโภคบุญ บริโภคศาสนา และบริโภคการท่องเที่ยว ด้วยการ นาเสนอซูปเปอร์สัญลักษณ์นาค (super Naga symbolic) ในปัจจุบัน ซึ่งไม่ว่าจะไปหนใด ก็จะพบประติมากรรมรูป พญานาคที่มีขนาดใหญ่โต รูปลักษณ์ที่แปลกตา ตั้งอยู่บริเวณที่ต้องการให้เกิดภูมิทัศน์โดดเด่นของชุมชน บางคราวก็ ถึงกับแย่งชิงความโดดเด่นกับชุมชนอื่น


๙๖

ภาพที่ ๑๒๙ พระธาตุพนม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่ดินแดนอีสาน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓ / ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๓๐ เครื่องบูชาพระธาตุพนม ? ประกอบด้วยบายศรีพญานาค ดอกบัว และที่สาคัญคือน้าดื่มบริสุทธิ์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๔/ ๓/ ๒๕๖๑


๙๗

ภาพที่ ๑๓๑ ประติมากรรมรูปพระมหากัสสปเถระ พระอรหันต์ผู้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาประดิษฐาน ไว้ในดินแดนแถบนี้ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๓๒ ประติมากรรมรูปพระอุปคุต พระอรหันต์ที่คอยปกปักรักษาพระพุทธศาสนาให้รอดพ้นจากมาร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑


๙๘

ภาพที่ ๑๓๓ รูปปั้นพญานาคเก้าเศียรตั้งอยู่ภายในวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/ ๓/ ๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๓๔ บริเวณด้านหน้าห้องที่ประทับของพญาสัตตนาคา พญานาคผู้รักษาพระธาตุพนม ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/ ๓/ ๒๕๖๐


๙๙

ภาพที่ ๑๓๕ บริเวณด้านในที่ประทับของพญาสัตตนาคา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/ ๑/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๓๖ อาสน์ที่ประทับของพญาพาหุสัจจะวุฒินาโค และพญาจาคะวุฒินาโค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/ ๑/ ๒๕๖๑


๑๐๐

ภาพที่ ๑๓๗ ภาพวาดพญาสัตตนาคา ในร่างมาณพ ซึ่งประดับอยู่ภายในห้องที่ประทับของพญาสัตตนาคา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/ ๑/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๓๘ ประติมากรรมรูปมนุษย์นาค ที่ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนร่างเป็นงู ประดับอยู่ภายในห้องที่ประทับ ของพญาสัตตนาคา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/ ๑/ ๒๕๖๑


๑๐๑

ภาพที่ ๑๓๙ ศาลผีเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ หรือศาลผีมเหศักดิ์สามตน ผู้พิทักษ์รักษาพระธาตุพนม ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๐๒

พญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม “พญาศรีสัตตนาคราช” ประดิษฐานอยู่ที่ลานศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้าโขง หน้าสานักงานป่าไม้ ถนน สุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลนครพนม ประติมากรรมรูปพญาศรีสัตตนาคราชทาเป็นพญานาค ๗ เศียร หล่อขึ้นจาก ทองเหลือง มีน้าหนัก ๙,๐๐๐ กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ขนาดความสูงของพญานาครวมฐาน ๑๕ เมตร หั น หน้ าไปยั งแม่น้ าโขง ความพิ เศษของพญานาคตนนี้คือ สามารถพ่น น้าได้ ปัจจุบัน ได้ กลายเป็ นแลนมาร์คอั น ศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดนครพนมเคียงคู่กับพระธาตุพนม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่พี่น้องสองฝั่งโขงให้ความเคารพศรัทธา การสร้างพญาศรีสัตตนาคราช เป็นดาริของนายอนุกูล ตังคณานุกูลชัย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (คนที่ ๓๘) ร่วมกับนายนิวัติ เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม ร่วมกับภาครัฐ เอกชนภายในจังหวัด ที่ จะสร้างพญานาคให้เป็นสัญลักษณ์ของเมือง ต่อมานายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ได้มาดารงตาแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด นครพนม (คนที่ ๓๙) ท่านได้สานงานต่อจากผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อน และมาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยที่นาย สมชาย วิทย์ดารงค์ มาดารงตาแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (คนที่ ๔๐) ซึ่งท่านได้ริเริ่มให้จัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อให้เป็นทุนทรัพย์ในการดาเนินการ ไม่ว่าจะเป็นรุ่น “มหาสิทธิโชค” “พญาศรีสัตตนาคราช” “เพิ่มยศ เพิ่ม ลาภ” ซึ่ งแต่ล ะรุ่ น ล้ วนได้รั บ ความนิ ย มอย่ างสู ง รายได้จากการจาหน่ายนามาใช้ในพิธีอัญ เชิญ องค์พ ญาศรีสัต ต นาคราชมาประดิษฐาน ณ แลนด์มาร์ค รวมทั้งใช้บารุงรักษาประติมากรรม วัน ที่ ๑๙ สิ งหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นายสมชาย วิท ย์ดารง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้เดินทางไป อัญเชิญประติ มากรรมพญาศรีสัตตนาคราชจากโรงหล่อในอาเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรีมายังจังหวัดนครพนม วันที่ ๙-๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ทางจังหวัดนครพนมได้จัดพิธีสมโภชองค์ศรีสัตตนาคราชตลอด ๙ วัด ๙ คืน โดย นิมนต์พระเกจิมาร่วมประกอบพิธี นอกจากนี้ยังมีสาวงามจาก ๗ ชนเผ่ากว่า ๔๐๐ ชีวิตมาฟ้อนราถวายตลอดงาน ในวันที่อัญเชิญเศียรพญานาคขึ้นประดิษฐานนั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือ พระอาทิตย์ทรงกลด ซึ่งถือเป็นนิมิตหมาย อันดี และวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลาประมาณ ๒๑.๓๙ น. ประชาชนนับพันคนได้มารวมกันโดยมิได้นัด หมาย เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ คือ ก้อนเมฆได้มารวมตัวกันเป็นรูปพญานาค และนกนับพันตัวต่างร้องส่งเสียงต้อนรับ นักท่องเที่ยว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ได้ตั้งชื่อประติมากรรมรูปพญานาคนี้ว่า “พญาศรีสัตตนาคราช” หลวงปู่คาพันธ์ โฆสปัญโญ แห่งวัดพระธาตุ มหาชัย จังหวัดนครพนม พระเกจิรู ปสาคัญรูปหนึ่ง ซึ่งบรรดาผู้ที่มีสาย ญาณพญานาคราชต่างรู้จักกันดีได้เมตตาอธิบายว่า สองฟากแม่น้าโขงนั้นมีพญานาคปกครองดูแลในส่วนของตน ฝั่ง ไทยมี “พญาศรีสุทโธนาคราช” (นาคาธิบดีศรีสุทโธ) เป็นผู้ดูแล ท่านเป็นพญานาคมีเศียรเดียว พญาศรีสุทโธเป็น พญานาคที่มีคุณธรรมสูง ชอบถือศีล ปฏิบัติธรรม และมักมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่พระธาตุพนมอยู่เนืองๆ คราวใดที่ พญาศรีสุทโธนาคราชไม่อยู่ ท่านก็จะมอบหมายให้ พญานาคอีก ๖ ตน ซึ่งเป็นอามาตย์คอยดูแลบ้านเมืองแทน หลวงปู่คาพันธ์ได้กล่าวถึงพญานาค ๖ ตนนี้ไว้เพียงแค่ ๓ ตน คือ “พญาจิตรนาคราช” ผู้รักสวยรักงาม ปกครอง ดินแดนตั้งแต่ตาลีฟูถึงจังหวัดหนองคาย บริเวณวัดหินหมากเป้ง “พญาโสมนาคราช” ปกครองดินแดนตั้งแต่วัดหิน หมากเป้งลงมาจนถึงบริเวณแก่งกระเบา จังหวัดนครพนม พญานาคตนนี้เป็นที่โปรดปรานของพญาศรีสุทโธนาคราช มากที่สุด เพราะมีอุปนิสัยคล้ายคลึงกัน คือชอบปฏิบัติธรรม และ “พญาชัยนาคราช” พญานาคตนนี้ดูแลตั้งแต่แก่ง กระเบาลงไปยังทะเลสาบเขมร มีนิสัยรักการต่อสู้ทาสงคราม


๑๐๓ ทางฝั่งลาวมี “พญาศรีสัตตนาคราช” ซึ่งเป็นพญานาคเจ็ดเศียรคอยดูแล ท่านเป็นพญานาคที่มีฤทธิ์มาก และ รักความสงบ ชอบปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับพญาศรีสุทโธนาคราช และมักจะมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนมอยู่เนืองๆ ทั้งพญาศรีสุทโธนาคราชและพญาศรีสัตตนาคราชต่างรักใคร่สามัคคีกัน ทั้งสองได้ให้คาสัตย์สัญญาต่อกันว่า มาตร แม้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการความช่วยเหลือ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะช่วยเหลือจนสุดกาลัง หลวงปู่คาพันธ์ ยังกล่าวอีกว่า พญาศรีสัตตนาคราชเป็นพญานาคที่สืบเชื้อสายมาจากพญานาคมุจลินท์ พญานาคที่แผ่พังพานช่วยกันลมฝนถวาย พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๖ ภายหลังจากตรัสรู้ กลายเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางนาคปรก ถ้าเชื่อตามคากล่าวของหลวงปู่คาพันธ์ที่ว่า “พญาศรีสัตตนาคราช เป็นใหญ่ในฝั่งลาว” นั่นหมายความ ว่า การประดิษฐานประติมากรรมรูปพญาศรีสัตตนาคราชไว้ที่ฝั่งไทย เป็น “การตัดไม้ข่มนาม” เพราะแม้แต่ พญานาคที่คุ้มครองแผ่นดินลาวยังมาสถิตอยู่ในฝั่งไทย นั่นหมายถึง อานาจของไทยที่อยู่เหนือลาวด้วย หลายท่านที่ได้เคยเดินทางไปกราบไหว้บูชาพญาศรีสัตตนาคราชที่จังหวัดนครพนมมาแล้ว ต่างยืนยันถึง ความศักดิ์สิทธิ์ฤทธานุภาพ และเมื่อมีโชคลาภจากการเสี่ยงโชคแล้วก็มักจะเดินทางกลับไปกราบไหว้ขอพรอีกครั้ง เสมอ คาถาบูชาพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม จุดธูป ๑๙ ดอก นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ) คาบูชา กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสาวา อิมัง สิริสัตตะนาคะราชะ นามะกัง อะหังวันทามิ สัพพะทา สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม คาแปล ข้าพเจ้าขอน้อมกาย วาจา และจิตใจ กราบไหว้วันทาพญานาคนามว่า “ศรีสัตตนาคราช” ตนนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ


๑๐๔

ภาพที่ ๑๔๐ ประติมากรรมรูปพญาศรีสัตตนาคราชกาลังพ่นน้า หันหน้าไปทางแม่น้าโขง ฟากตรงข้ามคือเมืองท่าแขก แขวง คาม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถ่ายโดย ผศ.ดร. ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑


๑๐๕

ภาพที่ ๑๔๑ บายศรีที่มีผู้คนนาไปกราบไหว้ด้วยความเคารพศรัทธา ถ่ายโดย ผศ.ดร. ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๔๒ พญาศรีสัตตนาคราชองค์จาลอง ที่ประดิษฐานอยูภ่ ายในห้องฐานแปดเหลี่ยม ซึ่งจัดเป็นห้องนิทรรศการที่บอกเล่า ประวัติความเป็นมาของการจัดสร้างพญาศรีสัตตนาคราช ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครพนม ถ่ายโดย ผศ.ดร. ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑


๑๐๖

ภาพที่ ๑๔๓ วัตถุมงคลรุ่น “มหาสิทธิโชค” และรุ่น “พญาศรีสัตตนาคราช” ซึ่งเป็นรุ่นแรกและรุ่นที่สอง จัดแสดงภายในห้อง ฐานแปดเหลี่ยม ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๔๔ ประมวลภาพเหตุการณ์การสร้างพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม ซึ่งจัดแสดงภายในห้องฐานแปดเหลี่ยม ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑


๑๐๗

ภาพที่ ๑๔๕ ร้านจาหน่ายของที่ระลึก สินค้า OTOP ของจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับประติมากรรมพญาศรีสัตตนาคราช ชื่อร้าน “นาคราช” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๘/๑/๒๕๖๑


๑๐๘

นาคสถานในจังหวัดมุกดาหาร “หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกระเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้าเลิศ ถิ่นกาเนิดลาผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน” จังหวัดมุกดาหาร ถือเป็ น ประตูสู่อินโดจีนที่ส าคัญ มีพื้นที่ประมาณ ๔,๓๓๙ ตารางกิโลเมตร แบ่งการ ปกครองออกเป็น ๗ อาเภอ ได้แก่ อาเภอเมืองมุกดาหาร อาเภอนิคมคาสร้อย อาเภอดอนตาล อาเภอดงหลวง อาเภอคาชะอี อาเภอหว้านใหญ่ และอาเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารมีอาณาเขตทางด้านทิศเหนือติดกับจังหวัด สกลนครและจังหวัดนครพนม ด้านทิศใต้ติดกับจังหวัดยโสธร จังหวัดอานาจเจริญ และจังหวัดร้อยเอ็ด ด้านทิศ ตะวันออกติดกับแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และด้านทิศ ตะวันตกติดกับจังหวัด ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พระเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครองบ้านโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพระธาตุ อิงฮัง (พระธาตุ นี้ เป็ น พระธาตุ คู่แฝดกับ พระธาตุพ นม ตั้ งอยู่ ที่ แขวงสะหวัน นะเขต สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว) มีพระโอรสนาม เจ้ากินรี ต่อมาเจ้ากินรีได้พาไพร่พลข้ามลาน้าโขงมาบริเวณปากห้วยมุก แล้วสร้าง บ้านแปงเมืองขึ้น แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า “มุกดาหาร” ตามศุภนิมิตขณะสร้างเมืองที่พบเห็น แก้วมุกดา ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเจ้ากินรี เป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชมัณฑาตุราช ดารงตาแหน่งเจ้าเมืองคนแรกในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่น่าสนใจ เพราะมีการสร้างตานานพญานาคขึ้นมาใหม่บริเวณสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ ๒ ซึ่งเป็นนาคสถานที่มีชื่อเสียงในขณะนี้

ภาพที่ ๑๔๖ พระพุทธรูปนาคปรก วัดศรีสุมังค์วราราม จังหวัดมุกดาหาร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๐๙

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัดมุกดาหาร สะพานมิ ต รภาพไทย-ลาว แห่ งที่ ๒ สร้างขึ้ น เพื่ อ พั ฒ นาเส้ น ทางคมนาคมขนส่ งทางบกในแนวระเบี ย ง เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ซึ่งจะเชื่อมโยงเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม + แขวงสะหวัน เขต ประเทศลาว + บ้ านสงเปือย ตาบลบางทราย จังหวัดมุกดาหาร + เมืองแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย + เมืองเมียววดี ประเทศพม่า และไปสิ้นสุดที่เมืองมะละแหม่ง สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ แล้วเสร็จเมื่อต้นเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ สะพานมีความยาว ๑,๖๐๐ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๒,๕๘๘ ล้านบาท โดยกูเ้ งินจาก JBIC ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓๖ เดือน ก่อนที่สะพานแห่ งนี้ จะสร้างเสร็ จต้องสังเวยชีวิตของผู้คนไปเป็นจานวนมาก เนื่องจากฝ่าฝืนคาเตือนของ พญานาคที่มาเข้าสิงร่างเด็กน้อยว่าไม่ให้สร้างสะพานแห่งนี้ เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค เหตุการณ์ที่ไม่คาด ฝันเกิดขึ้นขณะที่กาลังดาเนินการเททรายลงไปในตอม่อช่วงที่ ๑๑ เนื่องจากเทลงไปเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม วิศวกรผู้ควบคุม การก่อสร้างจึงให้นักประดาน้าดาลงไปสารวจดูว่าเกิดอะไรขึ้น พบว่าตอม่อดังกล่าวตั้งอยู่เหนือปากถ้า นอกจากนี้มีงู ยักษ์ตาแดงก่าเหมือนกับลูกไฟ เกล็ดเป็นสีเขียวพันรอบเสานั้น ด้วยความกลัว นักประดาน้าจึงรีบหนีตายขึ้นมาบน ฝั่ง เก็บข้าวของแล้วจากไปทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างแม้แต่บาทเดียว หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว แทนที่วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างจะเกรงกลัว เขากลับสั่งให้เร่งดาเนินการ ก่อสร้างโดยไม่ยอมหยุดพัก จนถึงวันเข้าพรรษา ซึ่งผู้คนในแถบนั้นเชื่อกันว่า เป็นวันสาคัญที่พญานาคจะพากันมารับ ศีล ปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจึง ไม่ทาการใดๆ เพื่อเป็นการรบกวนพญานาค ในวันนั้น (๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น.) เครนได้ หั ก ลงมาทั บ นายฮิ โตชิ ทานากะ อายุ ๔๕ ปี ผู้ ค วบคุ ม งานเสี ย ชี วิ ต คาที่ นอกจากนี้ยังมีวิศวกรชาวไทย ชาวฟิลิปปินส์ ชาวญี่ปุ่น และแรงงานเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจานวนมาก ในที่สุด ทางจังหวัดมุกดาหารจึงได้สร้างศาลพญานาคขึ้น ณ เชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ และทาพิธีบวงสรวง พญาอนันตนาคราช ผู้สิงสถิตอยู่ในถ้าใต้สะพาน เพื่ออัญเชิญ ให้ขึ้นมาสิงสถิตอยู่ภายในศาล โดยมี พ.ต.อ. สมเดช ตั้งจิตนุ สรณ์ ข้าราชการในพระองค์ ประจาส านักพระราชวังพิเศษ และนายสรสิทธิ์ ฤทธิ์ส รไกร ผู้ว่าราชการ จังหวัดมุกดาหาร มาเป็นประธานในพิธี ปัจจุบันทางจังหวัด มุกดาหารได้จัดพิธีบวงสรวงพญานาคเป็นประจาทุกปี (ราว ๘-๙ มิถุนายน) เพื่อให้พญานาคมาช่วยดลบันดาลให้เกิดลาภผล ประสบแต่ความสุขความเจริญ

บทสวดบูชาพญาอนันตนาคราช ตั้งนะโม ๓ จบ โอม นะโมพุทธายะ โอมตรียะฮัน ตรีสะเรมฮัน โอมนะโม นารายะ นารายะ โอมยา สีหะๆๆ ปะติยา มหา อาริเย พุทธาษะญา มหาเตชา พะละพะลัง มะหานะโม พุทธายะ โอม


๑๑๐

ภาพที่ ๑๔๗ ป้ายประชาสัมพันธ์งานบวงสรวงองค์ปู่พญานาค ณ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖ / ๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๔๘-๑๔๙ (ภาพซ้าย) ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ มุกดาหาร สะหวันนะเขต (ภาพขวา) ท่าน้า ณ ศาลพญานาคซึ่งอยู่ทางฝั่งไทย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐


๑๑๑

ภาพที่ ๑๕๐-๑๕๑ (ภาพซ้าย) ศาลาภายในศาลพญานาค บริเวณหน้าจั่วเขียนด้วยภาษาขอม อ่านว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ซึ่งเป็นหัวใจพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ (ภาพขวา) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทอี่ ยู่ภายในศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐


๑๑๒

ภาพที่ ๑๕๒-๑๕๕ ประติมากรรมรูปพญานาคราชภายในศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐


๑๑๓

ภาพที่ ๑๕๖-๑๕๗ (ภาพซ้าย) ปู่ฤๅษีนาคราช (ภาพขวา) พระแม่คงคา ทรงจระเข้ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในศาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๕๘ ก้อนเมฆสีดาที่มีรูปร่างมองดูคล้ายพญานาค และมีสายรุ้งพาดผ่าน ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ สายรุ้งคือ ตัวแทนของพญานาค ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมมนุษยโลกและเทวโลกเข้าไว้ด้วยกัน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม ถ่ายเมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐


๑๑๔

วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ อ้าเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๕ ตาบลศรีบุญเรือง จังหวัดมุกดาหาร ตามประวัติกล่าวว่า ท่านขุนศาลาและพระอาจารย์บุ นันทวโร เป็นผู้สร้างไว้เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม โดยได้สร้างเจดีย์ทรงแปด เหลี่ยม รอยพระพุทธบาทจาลอง และพระพุทธรูป (พระอังคารเพ็ญ) ให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา พระมหามงคล มงคลฺคุโณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้นาคณะศรัทธาญาติโยมมาร่วมสร้างพระพุทธรูปเฉลิม พระเกีย รติฯ “พระเจ้ าใหญ่ แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์ ” ประดิษฐานไว้บ นยอดเขาเมื่อวัน ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓๙.๙๙ เมตร ความสูง (ไม่รวมฐาน) ๕๙.๙๙ เมตร โดยหั น พระพั ก ตร์ ไปทางด้านทิ ศเหนื อ อั น เป็ น ที่ ตั้ งของตั ว เมื อ งมุก ดาหารและแม่ น้ าโขง โดยได้ รับ งบประมาณ สนับสนุนจากรัฐบาลและจากศรัทธาของประชาชนที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ นอกจากนี้ท่านเจ้าอาวาสยังได้สร้าง “พญาสิริมุตตามหามุนีนีลบาลนาคราช” ซึ่งเป็นรูปปั้นพญานาคขนาด มหึมา องค์พญานาคทาด้วยสีดา ครีบหลังสีแดง ตามที่เจ้าอาวาสได้นิมิต ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พญานาคมา ช่ว ยปกปั กรั ก ษาองค์ พ ระใหญ่ ที่ ส ร้ างไว้ บ นยอดเขา ที่ น่ าสนใจ คื อ บริเวณที่ ส ร้างรูป ปั้ น พญานาคขึ้น นั้ น พบรู พญานาคอยู่ทั้งสิ้น ๗ แห่ง เชื่อว่าบนภูมโนรมย์แห่งนี้มีพญานาคปกปักรักษาอยู่เป็นจานานมาก ถือเป็นนาคสถานอีก แห่งหนึ่งในภาคอีสานของไทย

ภาพที่ ๑๕๙ “พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์” บนภูมโนรมย์ ที่กาลังดาเนินการก่อสร้าง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๑๕

ภาพที่ ๑๖๐ สถานที่ประดิษฐานพระธาตุ รอยพระพุทธบาทจาลอง และพระพุทธรูป (พระอังคารเพ็ญ) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๖๑ เมื่อมองไปทางด้านทิศเหนือ จะพบกับทัศนียภาพเมืองมุกดาหารและแม่น้าโขง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๑๖

ภาพที่ ๑๖๒ “พญาสิริมุตตามหามุนีนลี บาลนาคราช” ซึ่งช่างกาลังทาสี ภายในวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๖๓ บริเวณที่เชื่อว่าเป็นรูพญานาค นี่คือหนึ่งในจานวนทั้งหมด ๗ รู และรูนี้เป็นรูที่ใหญ่ที่สุด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๑๗

ภาพที่ ๑๖๔ ชายผู้นี้คือศิลปินผู้สร้างองค์พญานาคราช มีผลงานอยู่แทบทุกจังหวัดในภาคอีสานของไทย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๑๘

วัดป่าภูฮัง อ้าเภอนิคมค้าสร้อย จังหวัดมุกดาหาร วัดป่าภูฮัง ตั้งอยู่ที่บ้านเตาถ่าน อาเภอนิคมคาสร้อย จังหวัดมุกดาหาร จัดเป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่ การปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้มี “ลานธรรมพญานาค” ซึ่งเป็นลานหิน ชาวบ้านแถบนี้เชื่อว่าเป็นสถานที่สถิตแห่ง พญานาค นับเป็นนาคสถานแห่งใหม่ของภาคอีสานที่น่าไปเที่ยวชม บทบูชาพญานาควัดป่าภูฮัง นาคะ นาโค เมตไตรโย โพธิสัตโต นะโมพุทธายะ

ภาพที่ ๑๖๕ รูปปั้นพญานาคราชเลื้อยขึน้ มาจากลานหิน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๖๖ รูปปั้นพญานาคราช ๓ ตน บนลานธรรมพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๑๙

ภาพที่ ๑๖๗ หลวงพ่อองค์ดา ภายในวัดป่าภูฮัง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๖๘ ภาพเขียนสีรูปพญานาค วัดป่าภูฮัง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๖๙ ฝูงไก่ต๊อกและนกยูงภายในวัดป่าภูฮัง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๓/ ๒๕๖๑


๑๒๐

นาคสถานในจังหวัดอุบลราชธานี “อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้าสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้าเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล” จังหวัดอุบ ลราชธานี ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคอีสานที่เรียกว่าอีสานใต้ สุ ดเขตแดนประเทศไทย เป็น จังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน ท้าวคาผง บุตรพระวอ ซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ของเมืองเวียงจันทน์ เป็นผู้สร้าง ย้อนกลับไปเมื่อครั้งพระวอ พระตาแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู (หนองบัวลาภู) ได้ ให้ความช่วยเหลือพระเจ้า สิริบุญสารจนได้ขึ้นครองราชย์ แต่ แทนที่พระองค์จะระลึกถึงบุญคุณ กลับยกกองทัพมาหมายจะทาลายล้างพระวอ พระตาให้สิ้นซาก ฝ่ายพระวอ พระตาได้ต่อสู้อย่างเต็มกาลังและให้ไพร่พลเร่งสร้างป้อมค่ายปราการให้แน่นหนา และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” พระเจ้าสิริบุญสารร่วมมือกับพม่าเข้าโจมตีนครเขื่อน ขันธ์กาบแก้วบัวบาน พอพระตาเสียชีวิตในสนามรบ เมืองก็แตก พระวอจึงพาไพร่พลอพยพหนีลงมาทางใต้ ต่อมา พระวอก็ถูกสังหารอีก ท้าวคาผงซึ่งเป็นบุตรคนโตจึงได้พาไพร่พลมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่ดงอู่ผึ้ง ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒ และตั้งชื่อเมืองว่า “อุบล” เพื่อราลึกถึงมาตุภูมิคือ เมืองหนองบัวลุ่มภู หรือนครกาบแก้วบัวบาน และขอพึ่งพระบรม โพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ต่อมาท้าวคาผงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เป็น “พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ประมาณ ๑๕,๗๗๔ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒๕ อาเภอ ได้แก่ อาเภอเมืองอุบลราชธานี อาเภอศรีเมืองใหม่ อาเภอโขงเจียม อาเภอเขื่องใน อาเภอเขมราฐ อาเภอเดชอุดม อาเภอนาจะหลวย อาเภอน้ ายื น อาเภอบุณ ฑริก อาเภอตระการพืช ผล อาเภอกุดข้าวปุ้น อาเภอม่วงสามสิ บ อาเภอพิบูลมังสาหาร อาเภอวารินชาราบ อาเภอตาลสุม อาเภอโพธิ์ไทร อาเภอสาโรง อาเภอดอนมดแดง อาเภอ สิรินธร อาเภอทุ่งศรีอุดม อาเภอนาเยีย อาเภอนาตาล อาเภอเหล่าเสือโก้ก อาเภอสว่างวีระวงศ์ และอาเภอน้า ขุ่น ในอดีตจังหวัดอุบลราชธานีเคยเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย ต่อมาได้แยกบางส่วนออกไปเป็น จังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ และจังหวัดอานาจเจริญ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จังหวัดอุบลราชธานีมีอาณาเขต ทางด้านทิศเหนือติดกับจังหวัดอานาจเจริ ญและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านทิศใต้ติดกับจังหวัด พระวิหาร ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านทิศตะวันออกติดกับแขวงจาปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และด้านตะวันตกติดกับจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดยโสธร จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัด ที่มีแหล่งน้าธรรมชาติจานวนมาก เช่น แม่น้าโขง แม่น้ามูล แม่น้าชี เป็นต้น จึงเป็นพื้นที่ที่มีเรื่องเล่าเกี่ยวข้องกับพญานาคไม่แพ้จังหวัดอื่น ๆ คือ มีพยานบุคคลที่เคยพบเห็นพญานาค มีสถานที่ สิงสถิตของพญานาค และมีปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค หากแต่กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่านั้นเอง


๑๒๑

วัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วัดใต้ หรือวัดใต้เทิง ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒ ถนนพรหมราช ตาบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๒ ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งคู่จังหวัดอุบลอุบลราชธานี และเหตุที่วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” ทาให้มีผู้เรียกขานนามวัดนี้ใหม่ว่า “วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” ปัจจุบันมีพระราชธรรมโกศล (สวัสดิ์ ทัสสนีโย) เป็นเจ้าอาวาสวัด (พ.ศ. ๒๕๑๘-ปัจจุบัน) และดารงตาแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ฝ่าย ธรรมยุต) “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” (คาว่า ตื้อ เป็นจานวนนับในภาษาอีสาน ไล่ไปตามลาดับคือ หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ตื้อ และอสงไขย) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว ความสูงรวมฐาน ๘๕ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามองค์หนึ่งของไทย สันนิษฐานว่าสร้างโดยช่างชาวเวียงจันทน์ ปัจจุบัน พระพุ ท ธรู ป ที่ ได้ รั บ การสมมติ น ามว่ า “พระเจ้ า ใหญ่ อ งค์ ตื้ อ ” มี อ ยู่ ทั้ ง หมด ๕ องค์ ด้ ว ยกั น โดยอยู่ ที่ จั ง หวั ด อุบลราชธานี ๒ องค์ (อีกองค์หนึ่งอยู่ที่วัดปากแซง อาเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี) อยู่ที่จังหวัดหนองคาย ๑ องค์ อยู่ ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ๑ องค์ และอยู่ ที่ ส าธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาวอี ก ๑ องค์ ชาวเมื อ ง อุบลราชธานีเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก เล่ากันว่า ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธรูป ออกจากพระอุโบสถ หลังเก่าเข้ามาประดิษฐานในพระอุโบสถหลังใหม่นั้น ฝนตกติดต่อกันอยู่นานถึง ๗ วัน ๗ คืน นอกจากนี้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ยังมี “พระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์” ซึ่งภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระแก้วจักรพรรดิ วรรณะมรกต (สีเขียว) โกเมน (สีแดง) และบุ ษราคัม (สีเหลือง) รวมทั้งมีรูป เคารพพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมาให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

ภาพที่ ๑๗๐ พระเจ้าใหญ่องค์ตือ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ประดิษฐานอยูภ่ ายในพระอุโบสถ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๒๒

ภาพที่ ๑๗๑ พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะเขมร ด้านขวามือคือ พญานาคห้าเศียร ส่วนด้านซ้ายมือ คือ ปู่ฤๅษีภุชงค์ และ พญานาคก้าลังพ่นน้า ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๗๒ ทางขึนพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์ เป็นรูปพญานาคศิลปะเขมร งดงามมาก ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๒๓

ภาพที่ ๑๗๓ รูปปั้นพญานาคเก้าเศียร เป็นองค์แทนของพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช ประดิษฐานอยู่ตรงทางเข้าพระมหาธาตุเนรมิต เจดีย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๗๔ ภายในพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๒๔

ภาพที่ ๑๗๕-๑๗๖ บริเวณด้านในองค์พระเจดีย์ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูปปางนาคปรก พระแก้วจักรพรรดิ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๗๗ หินพญานาคเสี่ยงทาย ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระมหาธาตุเนรมิตเจดีย์เจดีย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๒๕

ภาพที่ ๑๗๘ สุภาพสตรีท่านหนึ่งก้าลังยกหินพญานาคเพื่อเสี่ยงทาย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๗๙-๑๘๐ รูปปั้นพญานาคภายในวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๒๖

วัดปากโดมเทพนิมิต (วัดป่าปากโดม) อาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี วัดปากโดมเทพนิมิต หรือวัดป่าปากโดม ตั้งอยู่ที่ตาบลโพธิ์ไทร อาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอาจารย์วิเชียร จันทะสาโร ดารงตาแหน่งเจ้าอาวาส ที่วัดแห่งนี้มีรูปปั้นพญานาคราชขนาดความสูง ๒ เมตร ประดิษฐานอยู่ โดยทาเป็นรูปพญานาคราชหนึ่งเศียร กายสีเขียว (พญานาคในตระกูลเอราบถ เช่นเดียวกันกับ พ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช และแม่ย่าศรีปทุมา) เลื้อยขึ้นมาจากแม่น้ามูล พระอาจารย์วิเชียรได้ขนานนามรูปปั้นพญานาค ราชนี้ว่า “พญาทะนะมูลนาคราช” ซึ่งตามตานานพระอุรังคธาตุกล่าวว่า พญานาคราชตนนี้คือผู้ขุดแม่น้ามูลขึ้น พระอาจารย์วิเชียรกล่าวว่า ท่านสร้างรูปปั้นพญาทะนะมูลนาคราชขึ้นตามที่นิมิต พญานาคตนนี้มีฤทธิ์มาก ถึงแม้จะเป็นนักรบ แต่ท่านก็ชอบปฏิบัติธรรม ท่านเป็นผู้มีจิตเมตตา มักจะคอยช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากเสมอ ใครมี ความทุกข์เดือดร้อนก็มักจะมาขอให้ท่านช่วยเหลือ รวมทั้งนักเสี่ยงโชคที่มักจะมาขอเลขเด็ดจากรูปปั้นพญานาคอยู่ เนืองๆ ในงานวันบวงสรวงพญานาคราชได้บังเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ขึ้น ตามคาบอกเล่าของประจักษ์พยานบุคคล เล่าว่า ขณะที่พระสงฆ์กาลังเจริญพระพุทธมนต์อยู่นั้น ทั่วทั้งท้องน้าได้เกิดระลอกคลื่นเป็นทางยาว ซึ่งชาวบ้านเชื่อ ว่าเกิดจากอิทธิฤทธิ์การดลบันดาลของพญานาคราช นอกจากนั้น ขณะที่กาลังทาพิธี ได้มีงูใหญ่สองตัวเลื้อยพันอยู่บน ต้นไม้ไม่ยอมหนีไปไหน หลายคนเชื่อว่า งูใหญ่สองตัวนี้คือนางพญานาคีแปลงกายมา เพราะพระอาจารย์วิเชียรเคย พบกับนางพญานาคีมาก่อนหน้านี้แล้ว พระอาจารย์วิเชียรเล่าว่า ท่านเคยถูกนางพญานาคีสองตนพี่น้องลองใจ โดยนางพญานาคีได้แปลงกายมา เป็ น มนุ ษย์ พายเรือมาใส่บ าตรท่านอยู่เป็ น ประจา พอคุ้นเคยกัน หญิ งสาวทั้งสองคนจึงได้ชวนให้ ท่านไปอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่ท่านปฏิเสธ เมื่อถวายจังหันเสร็จ เรียบร้อยแล้ว หญิงสาวทั้งสองคนจึงได้พากันกราบลา ท่านกลับ พระอาจารย์วิเชียรได้สะกดรอยตามไปดูเพื่อให้รู้ว่าเธอทั้งคู่พายเรือมาจากทางไหน แต่กลับไม่พบแม้แต่เงา เป็นไปไม่ได้ที่หญิงสาวทั้งสองคนจะพายเรือไปได้รวดเร็วราวกับล่องหนหายตัว เช่นนี้ ต่อมานางพญานาคีทั้งสองตน ได้มาแจ้งในนิมิตว่า ตนไม่ใช่มนุษย์ ทั้งคู่เลื่อมใสศรัทธาพระอาจารย์มาก จึงปวารณาตัวขอเป็นโยมอุปัฏฐากคอย ดูแลพระอาจารย์วิเชียร และช่วยสร้างวัดให้สาเร็จ พระอาจารย์วิเชียร เมตตาแสดงธรรมโปรดคณะทางานที่เข้าไปกราบนมัสการท่านเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ ว่า “ขอให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัยเป็นสรณะเหนือสิ่งอื่นใด ไม่ใช่ยึดถือพญานาคเป็นสรณะสูงสุด เพราะ ถึงแม้ว่าพญานาคจะมีฤทธิ์มากเพียงใด พวกเขาก็ยังคงเป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน ไม่สามารถไปนิพพานได้ ต่างจาก มนุษย์ซึ่งอยู่ในภพภูมิที่ประเสริฐกว่า จะไปสวรรค์ก็ได้ ไปพรหมโลกก็ได้ ไปนิพพานก็ได้” พระอาจารย์วิเชียร ยังได้กล่าวถึงมูลเหตุที่ท่านได้สร้างประติมากรรมรูปพญานาคราชไว้ในวัดว่า “สร้างไว้ให้ ดูเป็นของเล่น สร้างไว้ให้รู้ว่าพญานาคมีอยู่จริงๆ ไม่ใช่เรื่องหลอกลวง พญานาคเคยมาใส่บาตรอาตมาหลายครั้ง พวกนาคแปลงนี้สังเกตได้ไม่ยาก แม้จะดูเหมือนคนธรรมดาทั่วไป แต่จะมีหงอนคล้ายกับหงอนไก่สีแดงอยู่ทางด้าน หลังศีรษะ เวลาจะกลับบางทีพวกเขาก็เดินหายเข้าไปในกอไผ่เลย”


๑๒๗ “พญานาคมีเป็นจานวนมาก อาศัยอยู่ตามถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นแดนทิพย์ แต่ละที่ก็มีพญานาคปกครองอยู่ เป็น บ้านเป็นเมืองเหมือนกับเมืองมนุษย์เรานี่แหละ ต่างกันก็ตรงที่เมืองของพญานาคนั้นทาด้วยทองคาและอัญมณีต่างๆ เช่น พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าในนาคพิภพนั้นทาจากทองคาบริสุทธิ์ ทั่วบริเวณประดับ ตกแต่งด้วยดอกดาวเรือง ซึ่งปลูกไว้โดยรอบ ดอกดาวเรืองในเมืองบาดาลนั้นมีกลิ่นหอมชื่นใจมาก ผิดจากดอก ดาวเรืองในเมืองมนุษย์” พระอาจารย์วิเชียรยังได้กล่าวเสริมอีกว่า “โยมเห็นภูเขาที่อยู่ในฝั่งลาวตรงข้ามกับวัดถ้าคูหาสวรรค์ไหม? ใต้ ภูเขาตรงนั้นเป็นเมืองของพญานาคทั้งเมือง นอกจากนี้ บริเวณข้างใต้จังหวัดสกลนคร นั่นก็เป็นเมืองของพญานาค คาว่า ‘สกล’ นี่มาจากคาว่า ‘สระ’ หมายถึง สระน้า รวมกับคาว่า ‘โกน’ ในภาษาอีสาน แปลว่า โพรง สกล จึง หมายถึง โพรงที่มีสระน้าอยู่ภายใน พญานาคนั้นมี อยู่แทบทุกที่ แต่ละที่ก็จะมีพญานาคผู้เป็นนาคาธิบดี ปกครองอยู่ เช่น พญาทะนะมูล นาคราช ท่านเป็ น ใหญ่ ในดิน แดนแถบนี้ ไม่ใช่พญานาคศรีสุ ทโธ ซึ่งตนนั้น ปกครองอยู่ทาง อุดรธานี โยมอย่าได้เข้าใจผิด หัวหน้าพญานาคแต่ละท้องที่ก็เหมือนกับผู้ว่าราชการจังหวัดนั่นแหละ จังหวัดใคร จังหวัดมัน ไม่ก้าวก่ายกันนะ” “พญาทะนะมูลนาคราช ท่านขุดแม่น้าโขง ที่คนลาวเรียกว่าแม่น้า ‘ของ’ หมายถึง สิ่งของ ชื่อแม่น้ากับชื่อ ผู้ขุดตรงกันนะ เห็นไหม? ‘ทะนะ’ มาจากภาษาบาลีว่า ‘ธน’ หมายถึง ทรัพย์สินเงินทอง ส่วน ‘มูล’ ในภาษาอีสาน คือ ‘มูลมัง’ แปลว่า มรดก สร้างให้ญาติโยมได้กราบไหว้บูชา มีนักข่าวมาสัมภาษณ์อาตมาว่า พญานาคมีจริงไหม? อาตมาตอบไปว่า ถ้าพญานาคไม่มีจริง ทาไมสิบสองนักษัตรจึงมีปี ‘มะโรง’ ทาไมตามวัดต่างๆ จึงมีพระพุทธรูปปาง ‘นาคปรก’ ให้ประชาชนได้กราบได้ไหว้ ทาไมถึงมีประเพณี ‘บวชนาค’ ไหนใครลองอธิบายหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องระลึกอยู่เสมอนะว่า สิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดไม่ใช่พญานาค ไหว้กราบได้นะ แต่อย่างหลงติดยึด สิ่งที่เป็นของจริง คือ ศีล ๕ ขอให้ทุกคนปฏิบัติกันให้ได้ พระพุทธเจ้าท่านวางไว้หมดแล้ว ศีลข้อที่ ๑ ห้ามฆ่าสัตว์ ข้อนี้เป็นศีลสังคม นะ สังคมที่คนไม่ฆ่ากัน ไม่ทาร้ายกัน ไม่เบียดเบียนกัน สังคมนั้นก็มีแต่ความสงบสุข อย่างทางภาคใต้ของไทยที่ไม่ สงบ เพราะคนไม่มีศีลข้อ ๑ ศีลข้อที่ ๒ ห้ามลักทรัพย์ ข้อนี้เป็นศีลเศรษฐกิจ ไม่ลักวิ่งชิงปล้นของใคร ขยันหาขยัน เก็บ ในทางสุ จ ริต อีกหน่ อยก็มั่งมี ศีลข้อ ที่ ๓ ห้า มประพฤติผิดในกาม ศีล ข้อนี้เป็ นศีล ครอบครัว ถ้าบ้ านไหน พ่อบ้าน แม่บ้านไปแอบมีกิ๊ก ไม่นานบ้านแตก ทาให้ลูกเต้ากลายเป็นเด็กมีปัญหา ศีลข้อที่ ๔ ห้ามพูดปด ศีลข้อนี้ เป็นศีลเครดิต ถ้าคนไหนพูดจาโกหกหลอกลวงคนอื่น พูดอะไรก็ไม่มีใครเชื่อถือ ไปขอยืมเงินก็ไม่มีใครกล้าให้ และ ศีลข้อที่ ๕ ห้ามดื่มสุรา ศีลข้อนี้เป็นศีลสุขภาพ ปฏิบัติให้ได้ สุขภาพก็จะดี ไม่เป็นโรคร้าย ได้อยู่กับลูกกับหลานไป นานๆ ขอให้ปฏิบัติให้ได้ แค่ศีล ๕ ข้อ นี้ก็ทาให้ชีวิตของเรามีความสุขแล้ว” ใครที่เคยแวะมาเยี่ยมชมวัดปากโดมเทพนิมิต (วัดป่าปากโดม) คงจะได้ดื่มด่ากับธรรมชาติในบรรยากาศที่ แสนเงียบสงบ ร่มรื่นไปด้วยบรรดาพรรณไม้นานาชนิด ฟังเสียงนกร้องและนั่งรับลมเย็นๆ ที่พัดเอื่อยมาจากแม่น้ามูล ที่ไหลรินระเรื่อย ส่วนใครก็ตามที่มีสัมผัสพิเศษคงจะรู้สึกได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนี้ สถานที่ที่เต็มไปด้วย ญาณบารมีของ “พญาทะนะมูลนาคราช” จอมนาคราชแห่งลาน้ามูลได้เป็นอย่างดี


๑๒๘ คาถาบูชาพญาทะนะมูลนาคราช ตังนะโม ๓ จบ นะมามิ สิระสา เขปัตถะ จะนาละปะ ธัมมาสะคะ สับตีสะ เมตตะ นาคะราเชนะ ยาถาปิสะโค กายา วาจา จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีทะนะมูละนาคราช วิสุทธิเทวา ปูเชมิ ทุติยัมปิ กายา วาจา จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีทะนะมูละนาคราช วิสุทธิเทวา ปูเชมิ ตะติยัมปิ กายา วาจา จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีทะนะมูละนาคราช วิสุทธิเทวา ปูเชมิ เมตตัณจะ มหาลาโภ ปิโยนาคา ขันธาปริตรตัง

ภาพที่ ๑๘๑ ประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตตไตย อนาคตพระพุทธเจ้าแห่งภัทรกัปนี สังเกตที่ด้านล่างมีรูปปั้นนาคี นาคา ประดิษฐานอยู่ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๒๙

ภาพที่ ๑๘๒ พระอาจารย์วิเชียร เจ้าอาวาสวัดปากโดมเทพนิมิต ขณะก้าลังให้ศีลให้พรแก่คณะท้างาน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๘๓ พญาทะนะมูลนาคราช ในกายพญานาค และกายมนุษย์ ในปีนี (พ.ศ.๒๕๖๑) ท่านเจ้าอาวาสมีด้าริให้ จัดสร้างประติมากรรมพญาทะนะมูลนาคราชครึ่งมนุษย์ ครึ่งนาค อีกด้วย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๐

ภาพที่ ๑๘๔ แม่ย่าเกตุปทุม นางแก้วคู่บารมีของพญาทะนะมูลนาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๘๕-๑๘๖ พญาทะนะมูลนาคราชในยามราตรี งดงามประหนึ่งมีชีวิต ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๑

ภาพที่ ๑๘๗ พระพุทธปารุรังสีสัมมาโพธิญาณ ประดิษฐานอยู่ในศาลาริมแม่น้ามูล บริเวณที่พญาทะนะมูลนาคราช ขึนมาจากแม่น้ามูลขึนมากราบพระอาจารย์วิเชียร ด้านข้างองค์พระพุทธรูปเป็นประติมากรรมรูปสองพระแม่ผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระ แม่ธรณี ผู้พิทักษ์รักษาผืนแผ่นดิน และพระแม่โพสพ ผู้ปกปักรักษาต้นข้าว พืชอาหารหลักของมนุษย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๘๘ หางของพญานาคทอดยาวลงไปในแม่น้ามูล พระอาจารย์วิเชียรยืนยันว่า พญานาคราชขึนมาตรงบริเวณ นี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๒

ภาพที่ ๑๘๙ ประติมากรรมรูปพญาเต่ายักษ์ ตังอยู่บริเวณด้านหน้าพระพุทธปารุรังสีสัมมาโพธิญาณ พระอาจารย์ วิเชียรกล่าวว่า สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงเมื่อครังที่พญาเต่ายักษ์สองตัวคลานขึนมากราบท่าน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๙๐ ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ภายในวัด ที่มีรูปร่างคล้ายโยนี (อวัยวะเพศหญิง) ปรากฏขึนบนล้าต้น พระอาจารย์วิเชียรเมตตาพาคณะท้างานไปชม ท่านอธิบายว่า ต้นนีมีนางไม้สิงสถิตอยู่ ๕ ตน สังเกตได้จากรูปโยนีที่เกิดขึน จ้านวน ๕ ที่ และนางไม้กลุ่มนีได้เคยมากราบท่านแล้ว ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๓

วัดถ้าคูหาสวรรค์ อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี วัดถ้าคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ตาบลโขงเจียม อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่คาคะนิง จุลมณีได้ สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากพระอุโบสถที่วิจิตรงดงามแล้ว ภายในวัดยังมีปูชนียสถานอื่นๆ อาทิ พระ ธรรมเจดีย์ศรีไตรภูมิ ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม มี ๙ ยอด แต่ละยอดล้วนเป็นสีทองอร่ามงามตา พระพุทธรูปปาง นาคปรกองค์ใหญ่ ผินพระพักตร์ไปยังแม่น้าโขง รวมทั้งถ้าคูหาสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานโลงแก้ว ซึ่งบรรจุ สังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่คาคะนิงไว้ให้บรรดาสาธุชนได้กราบไหว้บูชา หลวงปู่คาคะนิง จุลมณี เป็นพระอภิญญาที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง ชาติภูมิท่านเป็นชาวแขวงคาม่วน ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อนที่จะเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านได้ถือเพศเป็นฤๅษี มาก่อน โดยใช้ชีวิตอยู่ตามป่าเขาลาเนาไพรนานถึง ๑๕ ปี มีอาจารย์เหม่ย เป็นอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน รวมทั้ง สรรพวิทยาการต่างๆ ให้จนเชี่ยวชาญ ความเก่งกาจของฤๅษีคาคะนิงนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้พาบรรดาพระลูกศิษย์จานวน ๔ รูปออกธุดงค์ไป ยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีหลวงพ่อฤๅษีลิงดา (พระราชพรหมญาณ) แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานีรวมอยู่ด้วย ท่ านได้ ม าพบกั บ ฤๅษี ค าคะนิ งเข้าโดยบั งเอิ ญ ทั้ งสองฝ่ ายจึงเกิ ด ประลองฤทธิ์ กัน ขึ้ น ฤๅษี ค าคะนิ งเสกหวายให้ กลายเป็ น งูใหญ่เลื้ อยตรงไปหมายทาร้าย ฝ่ายหลวงพ่อปานก็เสกใบไม้แห้ งให้ กลายเป็นนกตัวใหญ่ บินลงมาจิกงู ต่อมางูได้กลายร่างไปเป็นช้างสาร นกใหญ่จึงกลายร่างไปเป็นเสือลายพาดกลอนเข้าต่อสู้กันอีก สู้กันอยู่นาน แต่ก็ ยังไม่มีฝ่ายใดแพ้ฝ่ายใดชนะ จนในที่สุดทั้งสองท่านก็นั่งลงและหัวเราะขึ้นพร้อมกัน หลวงพ่อปานเฉลยว่า แท้จริง แล้ว ท่านทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าฤๅษีคาคะนิงเป็นผู้มีฤทธิ์อภิญญา กิตติศัพท์เรื่องคุณวิเศษของท่านเลื่องลือไปจนถึงพระกรรณของพระเจ้าศรีสว่างวัฒ นา เจ้ามหาชีวิตของ ประเทศลาว จนพระองค์มีรับสั่งให้เชิ ญฤๅษีคาคะนิงเข้าเฝ้า ต่อมาพระองค์ทรงรับเป็นธุระจัดพิธีอุปสมบทให้ เมื่อ อยู่ในเพศสมณะแล้ว พระภิกษุคาคะนิงได้กลับมาจาพรรษาอยู่ที่ภูอีด่าง ไม่นานท่านก็ย้ายมาอยู่ฝั่งไทยบริเวณที่เป็น วัดถ้าคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน ท่านได้เริ่มสร้างวัดขึ้น และพัฒนาจนมีความเจริญ ดังที่เห็นในปัจจุบัน หลวงปู่คาคะนิง จุลมณี มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ รวมเวลาที่ท่านอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์นานถึง ๓๒ ปี หลวงปู่คาคะนิง จุลมณีเคยเดิน ทางไปพิสูจน์เรื่องราวพญานาคที่ถ้าปาฏิหาริย์ห รือถ้ามืด และท่านยังได้ ยืนยันว่าเมืองของพญานาคมีอยู่จริง นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ภายในถ้าคูหาสวรรค์นั้นมีทางลงไปยังนครบาดาล ซึ่ง หลวงปู่ได้เคยลงไปพิสูจน์มาแล้ว


๑๓๔

ภาพที่ ๑๙๑ บริเวณทางลงไปยังถ้าคูหาสวรรค์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๙๒ ฆ้องยักษ์ และพระเจดีย์สีทองอร่ามภายในบริเวณวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๕

ภาพที่ ๑๙๓-๑๙๔ บรรยากาศภายในวัดถ้าคูหาสวรรค์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๙๕ พระอุโบสถ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๙๖ หอระฆัง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๖

ภาพที่ ๑๙๗ พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะอีสาน พระพุทธเจ้าแสดงวิตารกมุทรา (ยกมือขึน นิวโป้งและนิวชีสัมผัส กัน) เป็นเครื่องหมายว่า พระองค์ก้าลังทรงแสดงธรรม ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๑๙๘ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายในถ้าคูหาสวรรค์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๗

ภาพที่ ๑๙๙ อีกมุมหนึ่งในถ้าคูหาสวรรค์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๐๐ สามพระอริยสงฆ์ของไทย ตรงกลางภาพคือรูปหล่อหลวงปู่ค้าคะนิง ด้านขวามือของท่านคือรูปหล่อของ หลวงปู่ทวดเหยียบน้าทะเลจืด ส่วนทางด้านซ้ายมือคือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๘

ภาพที่ ๒๐๑ พระรูปของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดา แห่งกองทัพเรือไทย ประดิษฐานภายในถ้าคูหาสวรรค์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๐๒ แม่ออกก้าลังถือขันหมากเบ็งที่ตังใจท้าอย่างสุดฝีมือไปบูชาพระ เพราะวันนีเป็นวันธรรมสวนะ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๓๙

วัดถ้าปาฏิหาริย์ อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี “ถ้าปาฏิหาริย์ ” หรือที่ชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันว่า “ถ้ามืด” ตั้งอยู่ที่ตาบลนาโพธิ์กลาง อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ใกล้กับป่าดงนาทาม ถ้าแห่งนี้เป็นสถานที่เร้นลับอาถรรพณ์ ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของ พญานาค และพวกบังบดลับแลที่คอยปกปักรักษา “เหล็กไหล” ซึ่งเป็นแร่กายสิทธิ์ ในอดีตมีพระสงฆ์และผู้มีวิชา อาคมจานวนไม่น้อยที่ปรารถนาจะล่าสมบัติต้องมาจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ จนเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่วถึงกิตติศัพท์ ความน่าสะพรึงกลัว หลวงปู่ คาคะนิง จุลมณี แห่ งวัดถ้าคูห าสวรรค์ พระเกจิรูปสาคัญ รูปหนึ่งของภาคอีสาน ท่านเคยลงไป สารวจถ้าแห่งนี้ ท่านเล่าว่าท่านได้พบกับงูใหญ่ขนาดเท่ากับลาต้นตาล สีดาเป็นมะเมื่อมอยู่ภายในถ้า พญางูได้พา ท่านไปชมความงามภายในถ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นถ้าน้อยใหญ่เชื่อมต่อกันคล้ายกับรังผึ้ง ภายในมีหิ นงอก หินย้อย และอัญมณีสีสันต่างๆ งดงามเกินที่จะพรรณนา ที่สาคัญ คือ พญางูได้พาท่านไปชมนาคพิภพ ซึ่งเป็นบ้ านเป็นเมือง คล้ายกับเมืองมนุษย์ มีปราสาทราชวัง วัดวาอาราม บ้านเรือนประชาชน ต่างเพียงแต่ว่าเมืองของพญานาคนั้นสร้าง จากทองคาบริสุทธิ์และอัญมณีอันมีค่า งดงามสุดพรรณนา ผู้ก่อตั้งวัดถ้าปาฏิหาริย์ คือ หลวงพ่ออุดม กิตติญาโณ (นายอุดม กอบแก้ว) ท่านเป็นชาวจังหวัดนครนายก เดิมรับราชการเป็นทหารเรือ ต่อมาท่านได้ลาอุปสมบท ๑ พรรษา แต่เมื่อครบกาหนดแล้วแทนที่ท่านจะสึกจาก เพศบรรพชิต ท่านกลับลาออกจากราชการทหาร และเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ท่านได้เดิน ธุดงค์มายังถ้าปาฏิหาริย์ตามที่ท่านได้นิมิตถึง และในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ท่านจึงได้เริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เพื่อให้เป็น สมบัติของพระพุทธศาสนา ปัจจุบันแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่คุณงามความดีของท่านยังคงดารงอยู่ในอนุชนรุ่น หลังได้ระลึกถึง เมื่ อ หลายปี ม าแล้ ว ก่อ นที่ ห ลวงพ่ อ อุด มจะมรณภาพ ท่ านได้ เมตตาเล่ าให้ ผู้ เขี ย นฟั งว่ า ท่ านเคยพบ พญานาคราชมาหาท่าน โดยมาในรูปกายของมนุษย์ ทรงเครื่ องทรงอย่างกษัตริย์ในละครจักรๆ วงศ์ๆ งดงามมาก บางทีก็มีคนพบเห็นพญานาคอยู่ภายในถ้าปาฏิหาริย์ ลักษณะเป็นงูใหญ่ขนาดเท่าลาตาล ส่งเสียงร้องน่าสะพรึงกลัว ท่านยังได้กล่าวกับผู้เขียนว่า ถ้าไม่เชื่อ ขอให้ลองมาปฏิบัติธรรมที่วัดสัก ๒-๓ วันเถิด รับรองว่าจะได้สัมผัสของจริง บริเวณปากทางเข้าถ้าทาเป็นบันไดพญานาคสองตนซ้ายขวา เดิมเชื่อว่าเป็นรูปปั้นของพ่อปู่ศรีสุทโธ และ แม่ย่าศรีปทุมมา เมื่อเดินลงไปภายในถ้าจะได้ยินเสียงน้าไหล เนื่องจากเป็นทางน้า และถ้ามาในช่วงฤดูฝนก็จะมีน้า หยดลงมาจากบนผนังถ้าอยู่ ตลอดเวลา บริเวณสุ ดหางนาคเป็นห้อ งโถงใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จานวนมากให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา แท้จริงแล้วถ้าแห่งนี้มีทางเดินต่อไปได้อีก แต่ทางวัดไม่อนุญาตให้เดินเข้าไป ลึกกว่านี้ เพราะเกรงว่านักท่องเที่ยวจะได้รับอันตราย ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้เคยพาวิทยากรพิเศษจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รองศาสตราจารย์ อิงอร สุพันธุ์วณิช) มาเที่ยวที่ถ้าแห่งนี้ ปรากฏว่าอาจารย์ท่านนี้ลงบันไดนาคไปได้เพียงครึ่งทาง ท่ านก็รีบวิ่งกลับขึ้นมาทางปากถ้าอย่าง หน้าตาตื่น เนื่องจากท่านได้กลิ่นสาบงู ซึ่งท่านเชื่อมั่นว่า สถานที่แห่งนี้มีพญานาคอาศัยอยู่จริง ล่าสุด ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ ณ วัดถ้าปาฏิหาริย์อีกครั้ง (๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑) ครั้งนี้ได้มีโอกาสสนทนา ธรรมกับคุณยายเจรจา มาลี (นามสมมติ) อายุ ๗๗ ปี ผู้ ดูแลรักษาพุทธอุทยานถ้าปาฏิหาริย์ ท่านเมตตาเล่าให้ คณะทางานฟังว่า ท่านเป็นผู้ที่เบื้องบนเลือกให้มาเปิดปากถ้ามืดแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ แต่เดิมที่ถ้าปาฏิหาริย์มี


๑๔๐ พระภิกษุจาพรรษาอยู่รูปหนึ่ง (ผู้เขียนคิดว่า คุณยายคงจะหมายถึง หลวงพ่ ออุดม) แต่ภิกษุรูปนั้นไม่ใช่คนที่เบื้องบน เลือก และปัจจุบันพระรูปนั้นได้มรณภาพไปแล้ว คุณยายเล่าว่า ถ้าปาฏิหาริย์นี้เป็น ถ้าศักดิ์สิทธิ์ ลึกเข้าไปบริเวณที่มีรั้วกั้นคือเขตแดนของโลกมนุษย์กับโลก ทิพย์ มีพวกบังบดลับแล และเหล่าพญานาคอาศัยอยู่เป็นจานวนมาก เป็นบ้านเมืองเหมือนกับเมืองมนุษย์ แต่สร้าง จากทองคาและเพชรนิลจินดา พญานาคที่เป็นใหญ่ในบริเวณแถบนี้ คือ “พ่อปู่นิลกาฬ” ไม่ใช่ “พ่อปู่ศรีสุทโธ” ตามที่ หลายคนเข้าใจ พ่อปู่นิลกาฬเคยมาปรากฏกายให้ คุณยายเห็ นด้วยตาเนื้อหลายต่อหลายครั้ง บางคราวก็มาเป็น เสียงพูด คุณยายกล่าวว่า พ่อปู่นิลกาฬท่านเมตตาลูกหลานมาก ท่านว่าในถ้านี้มีน้าศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นน้าที่ไหลขึ้นมา จากเมืองบาดาลขึ้นมาบนภูเขา เวลาที่มีพิธีบวงสรวงต่างๆ เจ้าพิธีมักมาขอน้าศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่แห่งนี้ไปใช้เป็นสื่อ ในการทาพิธีด้วย คุณยายตั้งใจสร้างพ่อปู่นิลกาฬประดิษฐานไว้บริเวณปากทางเข้าวัด ตอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เชื่อว่าญาณบารมี ของพ่อปู่จะสถิตอยู่บริเวณนั้น บางคนไม่ทราบ คิ ดว่าบันไดนาคที่ทอดลงมาจากปากถ้านี้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ หลงไป กราบไหว้บูชา แท้จริงแล้วก็เป็นเพียงบันไดธรรมดาเท่านั้น (บันไดนาคนี้สร้างโดยหลวงพ่ออุดม ตอนที่หลวงพ่อยังมี ชีวิตอยู่ เคยเชื่อว่าเป็นรูปปั้นพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราชและแม่ย่าศรีปทุมา) นอกจากพญานาคราชแล้ ว ภายใน “พุทธอุทยานถ้าปาฏิห าริย์ ” (ชื่อปัจจุบัน) ยังมีสิ่งศักดิ์สิ ทธิ์อีกเป็น จานวนมากให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา อาทิ เทพเจ้าฮินดู เช่น พระพิฆเนศ พระศิวะมหาเทพ เป็นต้น เทพเจ้าใน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือเจ้าแม่กวนอิม ปางต่างๆ รวมทั้งพระบรมรูปสมเด็จ พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้ าที่สาคัญของไทย เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นต้น พุทธอุทยานถ้าปาฏิหาริย์ จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่รอต้อนรับผู้มีบุญทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีบุญสัมพันธ์ หรือมีสายญาณพญานาคราช สมควรที่จะหาโอกาสเดินทางมาให้ได้สักครั้งในชีวิต

ภาพที่ ๒๐๓-๒๐๔ พญานาคคู่ นีเป็นตัวแทนของพญานาคราช ผู้ปกปักรักษาถ้าปาฏิหาริย์ มีนามว่า “นิลกาฬเงิน ทอง” อยู่บริเวณด้านหน้าปากทางเข้าวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๑

ภาพที่ ๒๐๕ พญานาคราชสีทอง (วิรูปักโขนาคราช) ประดิษฐานอยูภ่ ายในพุทธอุทยานถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๐๖ เทพพนมทัง ๒ ตนนี เชื่อกันว่าท่านเป็นเทพผู้ปกปักรักษาถ้าปาฏิหาริย์ ผู้ใดที่จะเข้าไปภายในถ้าจะต้องมากราบขอ อนุญาต ณ ตรงจุดนีก่อน เหมือนเวลาที่เราจะเข้าไปในบ้านใคร ก็ต้องขออนุญาตเจ้าของบ้าน ไม่ผลีผลามเข้าไปโดยพลการ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๒

ภาพที่ ๒๐๗ ทางเดินลงไปสู่ถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๐๘ บันไดนาคหน้าปากถ้าปาฏิหาริย์ ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่าเป็นรูปแทนของพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมา แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นบันไดนาคธรรมดา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๓

ภาพที่ ๒๐๙ ทางลงถ้าปาฏิหาริย์ (บุคคลในภาพ ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน อาจารย์จากคณะเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๑๐ บันไดนาคทีท่ อดยาวลงสู่ถ้าปาฏิหาริย์ นอกจากแสงสว่างที่เริ่มน้อยลงแล้ว อากาศที่ใช้หายใจยังลดน้อยลงตาม ไปด้วย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๔

ภาพที่ ๒๑๑ แท่นบูชาพญานาคเบืองหน้าพระพุทธไสยาสน์ สังเกตว่าบนแท่นมีบายศรีรูปพญานาคราชและแก้วพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๑๒ หินศักดิ์สิทธิท์ ี่อยูภ่ ายในถ้าปาฏิหาริย์ เชื่อว่ามีเทพเทวาสิงสถิตอยู่ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๕

ภาพที่ ๒๑๓ พระพุทธรูปน้อยใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๑๔ บรรดาพระพุทธรูปที่มีผู้น้ามาถวาย จากภาพจะเห็นพระพุทธรูปไม้ ศิลปะลาวรวมอยู่ด้วย เชื่อว่าเป็นของที่มีมา แต่เดิมถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๖

ภาพที่ ๒๑๕ คุณแม่เจรจา มาลี อายุเจ็ดสิบกว่าปี ผู้ดูแลถ้าในปัจจุบัน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๑๖ บริเวณธารน้าศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้า ซึ่งไม่อนุญาตให้ลงไปชม เชื่อว่า น้านีไหลขึนมาจากเมืองบาดาล ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๗

ภาพที่ ๒๑๗ เมื่อเดินเข้าไปในถ้าเรื่อยๆ จะพบรัวกันไว้ และมีป้ายเขียนบอกว่าไม่อนุญาตให้เดินต่อไปอีก เพราะเชื่อว่าหลังรัว นีเป็นดินแดนของพวกบังบด ลับแล และเป็นดินแดนของพวกพญานาค ถ้าเดินเข้าไปแล้ว อาจจะไม่ได้กลับออกมาอีกเลย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๑๘ พญานาคในรูปกายที่เป็นงู ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าปากทางเข้าถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๘

ภาพที่ ๒๑๙-๒๒๐ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดถ้าปาฏิหาริย์ มีทังพระพุทธรูป และพระอริยสงฆ์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๒๑ พระเจดีย์ภายในวัดถ้าปาฏิหาริย์ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระแก้วมรกต (จ้าลอง) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๔๙

ภาพที่ ๒๒๒ ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต (จ้าลอง) และพระพุทธรูปปางต่างๆ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๒๓ ภายในพระเจดีย์มีเสาทังหมด ๑๖ ต้น โดยแต่ละต้นท้าเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรเลือยพันเสาที่วาดเป็นรูปหมู่เมฆ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๐

ภาพที่ ๒๒๔ ภายนอกเจดีย์ประดับด้วยดินเผา ในภาพเป็นเรื่องราวที่มาจากชาดกเรื่อง “ภูริทัตชาดก” ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เคย เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๒๕ ภายในศาลา ซึ่งเป็นสถานที่รับน้าทิพมนต์พญานาค ใกล้กันกับบาตรยักษ์ วัดถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๑

ภาพที่ ๒๒๖ บาตรยักษ์ ส้าหรับบรรจุน้า วัดถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๒๗ รูปปั้นพระฤๅษี ในวัดถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๒

ภาพที่ ๒๒๘ พระบรมรูปพระเจ้าตากสินมหาราชในบริเวณวัดถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๒๙ พระบรมรูปพระปิยมหาราช ภายในวัดถ้าปาฏิหาริย์ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๓

วัดถ้าผาพญานาคราช อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี วัดถ้าผาพญานาคราช ตั้งอยู่ที่ตาบลห้ วยไผ่ อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเดือนตุล าคม พ.ศ.๒๕๕๙ วัดแห่งนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วทั้งประเทศ หลังจากที่ หลวงปู่เพิ่มพันธ์ อานันโท เจ้าอาวาสได้ ออกมาเปิ ดเผยผ่ านสื่อต่างๆ ทั้งหนั งสื อพิมพ์ และโทรทัศน์ว่า มีถ้าวังพญานาคอยู่ใต้แผ่ นหิ นใกล้ กับบริเวณวัด ชาวบ้านเชื่อกันว่าปากถ้าแห่งนี้ถูกแผ่นหินปิดทับมานับร้อยปี ปัจจุบันไม่มีชาวบ้านคนใดกล้าเข้ามาตัดต้นไม้หรือจับ ปลา ทั้งๆ ที่ในบริเวณนั้นมีต้นไม้ขึ้นอยู่รกชัฏ และมีฝูงปลาแหวกว่ายอยู่ในลาห้วยเป็นจานวนมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากชาวบ้านเกรงอิทธิฤทธิ์ของพญานาค ดังคาของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ เล่าว่า ในอดีตเคยเห็นพญานาคขึ้นมาเล่นน้า นอกจากนี้หลวงปู่เพิ่มพันธ์ก็เคยนิมิตเห็นพญานาคในสมาธิ ท่านจึ งสร้างรูปปั้นพญานาคมุจลินท์ ๒ ตนไว้ที่บริเวณ หน้าปากทางลงสู่ถ้า สิ่งที่ถือว่าเป็น UNSEEN ของที่นี่ คือ “ถ้าวังผา” ซึ่งเป็นที่อยู่ของบรรดาพญานาคราช สถานที่นี้เพิ่งเปิดให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยนักท่องเที่ยวที่สนใจ จะเดิน ทางไปเยี่ย มชมสามารถแจ้ งความจ านงได้ที่ กองอานวยการภายในวัดบริเวณด้านหน้ารูปปั้นพญามุจลิน ท์ นาคราช ทางวัดได้จัดบริการรถรับ -ส่ง และมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ซึ่งก็คือชาวบ้านแถวนั้นไว้คอยให้บริการนาเที่ยว ทาง วัดไม่เก็บค่าเข้าชม ขอเพียงนักท่องเที่ยวช่วยค่าน้ามันรถ และมอบสินน้าใจเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่มัคคุเทศก์บ้างก็พอ นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งท้ายรถกระบะที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ ผ่านไร่มันสาปะหลังไปยังจุดจอดรถที่ใกล้กับถ้า พญานาคมากที่สุด หลังจากนั้นจะต้องเดินเท้าเข้าไปยังจุดที่รถไม่สามารถแล่นเข้าไปได้ อย่างทุลักทุเล ลักษณะภูมิ ประเทศบริเวณนี้เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวต้องกระโดดขึ้นลง จึงควรสวมใส่รองเท้าผ้าใบหุ้มส้น เพื่อความ คล่องตัว เมื่อมาถึงปากถ้าพญานาคราช มัคคุเทศก์ท้องถิ่นจะนานักท่องเที่ยวจุดธูปเทียน กล่าวคาขออนุญาตเจ้าป่า เจ้าเขา และเหล่าพญานาคราชผู้ปกปักรักษาถ้าให้ช่วยเปิดปากถ้า มัคคุ เทศก์ถือไฟฉายมุดนาเข้าไปเป็นคนแรก โดย เขาจะให้สัญญาณตลอดทางว่า ช่วงใดที่จะต้องก้มศีรษะ ช่วงใดที่จะต้องหมอบคลาน บางช่วงที่มีแอ่งน้าขนาดใหญ่ อยู่เบื้องหน้า มัคคุเทศก์จะบอกให้ก้าวขายาวๆ แต่บางคนก้าวพลาด เมื่อข้ามไม่พ้นเลยจาต้องลงไปแช่น้าทั้งตัว ดู เป็นที่น่าขบขันยิ่งนัก นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะลอดถ้าพญานาคราชควรเตรียมเสื้อผ้ามาเปลี่ยนด้วยหนึ่งชุด เพราะถึงอย่างไรท่าน คงจะต้องเปียกปอนกลับไปอย่างแน่นอน ความรู้สึกของการมาท่องเที่ยวที่นี่คล้ายๆ กับที่ไปมุดถ้าดินเพียง อาเภอ สังคม จังหวัดหนองคาย แม้ว่าถ้าวังผาจะมีขนาดเล็กกว่าถ้าดินเพียงมาก แต่ทว่าความสนุกนั้นน่าจะไม่ยิ่งหย่อนกว่า กัน ความสนุกอยู่ตรงที่ เมื่อยิ่งมุดเข้าไป ทางก็จะยิ่งแคบจนแทบจะเลื้อยไป อีกทั้งยังมืดมาก จนชวนให้จินตนาการ ไปต่างๆ นานาว่า อาจมีบางสิ่งบางอย่างซ่อนตัวอยู่ สร้างความตื่นเต้นให้แก่นักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันทางวัดได้ออกเหรียญและผ้ายันต์ “องค์ท้าวมุจลินท์นาคราช” เพื่อหารายได้ไปจัดสร้างพระวิหารแก้ว ไว้รองรับผู้เดินทางมาปฏิบัติธรรม ชาระกายใจให้สะอาดผ่องใส เหรียญองค์ท้าวมุจลินท์นาคราชทาเป็นรูปพญานาค ๗ เศียร ตรงกลางอกพญานาคทาเป็นรูปดอกจิกและมีเลข ๑ ปรากฏอยู่ ซึ่งในทางเลขศาสตร์นั้น เลข ๑ หมายถึง ความมีอานาจ ความเป็นผู้นา ยศถาบรรดาศักดิ์ รวมทั้งวาสนาบารมี นอกจากนี้ยังได้จารคาถาหัวใจพญานาค คือ


๑๕๔ “อะ งะ สะ ประสิทธิลาโภ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ปิโยนาคามะยัง อะ งะ สะ ประสิทธิลาโภ” เพื่อให้ผู้บูชาประสบแต่ความสุขสวัสดี มีโชคลาภหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย วัดถ้าผาพญานาค ถื อเป็นรมณียสถานอันร่มรื่น เงียบสงบ เหมาะสาหรับการพักผ่อนทั้งทางร่างกายและ จิตใจอย่างยิ่ง ปล่อยวางภาระทางโลกที่ชวนปวดหัว เพื่อการแสวงหาตัวตนที่แท้จริง

ภาพที่ ๒๓๐ พญามุจลินทนาคราช ประดิษฐาน ณ ถ้าผาพญานาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมือ่ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๓๑ ด้านข้างพญามุจลินทนาคราชเป็นบทสวดคาถาหัวใจพญานาคราช (อะ งะ สะ ประสิทธิลาโภ ) สวดบูชาเพื่อขอ โชคลาภ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๕

ภาพที่ ๒๓๒ เต็นท์จ้าหน่ายบายศรี หมากพลู เครื่องบูชาพญานาค รวมทังวัตถุมงคล และของทีร่ ะลึก (สินค้า OTOP) เปิด ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เพื่อน้าปัจจัยที่ได้มาท้านุบ้ารุงวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๓๓ พระพุทธรูปนาคปรก ทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๖

ภาพที่ ๒๓๔ พระฤๅษีประทับเหนือพญานาค แสดงท่าประทานพร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๓๕ พระวิหารแก้ว บริเวณด้านหน้าวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๗

ภาพที่ ๒๓๖ วิหารแก้ว ทรงแปดเหลี่ยม ที่ก้าลังก่อสร้าง ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๓๗ คุณธีระพงศ์ โพธิสาร ช่างปั้นความรู้มหาบัณฑิต จากรัวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ปั้นรูปพญานาคมุจลินท์บริเวณด้านหน้าวัด ที่เคยโด่งดังมาแล้ว ปัจจุบนั ได้มาปั้นพญานาคมุจลินท์ในวิหารแก้ว ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๘

ภาพที่ ๒๓๘ บรรยากาศอันร่มรื่นภายในวัดถ้าผาพญานาคราช ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๓๙-๒๔๐ หนทางอันแสนยากล้าบากทีน่ ้าไปสู่ถ้าพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๔๑ เมื่อไปถึงหน้าปากถ้าพญานาค จะต้องท้าการขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เปิดทางก่อนลงไปส้ารวจ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๕๙

ภาพที่ ๒๔๒ ภายในถ้าวังผาพญานาคราช มีลักษณะเป็นซอกหลืบลึกลับซับซ้อน ถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยว UNSEEN ของจังหวัดอุบลราชธานี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๔๓ บางช่วงของการส้ารวจถ้า ต้องคลานบ้าง เลือยบ้างไม่ต่างอะไรกับงู ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๖๐

ภาพที่ ๒๔๔ รูเล็กๆ ที่เห็นนี คือทางออกจากถ้าพญานาค ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๘/๒/๒๕๖๑


๑๖๑

เชิญชมบั้งไฟพญานาค ณ บ้านตามุย อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลลนา ศัก ดิ์ชูว งษ์ (๒๕๔๘) ได้ เสนอวิท ยานิ พ นธ์ม หาบั ณ ฑิ ตสาขาวิ ช านิเทศศาสตร์ ต่อบั ณ ฑิ ต วิทยาลั ย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เรื่อง “การให้ความหมายและเหตุผลการดารงอยู่ของประเพณีบั้งไฟพญานาคในยุคโลกา ภิวัตน์” สรุปได้ว่า “ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค” มีลักษณะเป็นลูกไฟพุ่งขึ้นจากแม่น้าโขง ขนาดตั้งแต่นิ้วหัวแม่มือ ขนาดเท่าไข่ไก่ ไปจนถึงผลส้ม ตามความเชื่อของคนที่ได้พบเห็นบั้งไฟพญานาคสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ความเชื่อ ด้วยกัน คือ ความเชื่ อที่ ๑ เชื่อ ว่าเกิ ด จากพญานาคเป็ น ผู้ ก ระท า โดยอิ งกั บ ความเชื่ อทางพระพุ ท ธศาสนาตอนที่ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา ภายหลังจากโปรดพระพุทธมารดา พระองค์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์เปิดโลกให้โลกทั้ง ๓ โลก คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก ได้แลเห็นกัน เหล่าพญานาคที่อาศัยอยู่ใน แม่น้าโขงต่างชื่นชมโสมนัส ยิ่งจึงพากันปล่อยลูกไฟถวายเป็นพุทธบูชา แสดงความชื่นชมยินดีในกตัญญุตาธรรมของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ความเชื่อที่ ๒ เชื่อว่ามาจากการที่ใต้ลาน้าโขงมีซากพืช ซากสัตว์ทับถมกันจนเกิดเป็นก๊าซความร้อน ซึ่ง ประกอบด้วยมีเทนและไฮโดรเจน เมื่อถูกกระทาด้วยแรงดึงดูดจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในระยะเวลาและ บรรยากาศที่เหมาะสมจึงทาให้เกิดการสันดาปกลายเป็นลูกไฟลอยขึ้นจากน้ามาในอากาศ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวนี้ นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ เป็นผู้คิดขึ้นจนกลายเป็นทฤษฎีเรียกว่า “ทฤษฎีมนัส” ความเชื่อที่ ๓ เชื่อว่าเกิดจากน้ามือของมนุษย์ ขณะนี้ยังไม่สามารถหาเหตุผลและจุดประสงค์ที่เด่นชัดได้ ซึง่ ผู้ที่เชื่อเช่นนี้ เช่น รองศาสตราจารย์ มนตรี บุญเสนอ อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น ในพื้นที่บริเวณชุมชนใต้ผาแต้ม ใกล้กันกับวัดถ้าผาพญานาคราช ซึ่งประกอบด้วยบ้านกุ่ม บ้านตามุย และ บ้านท่าล้ง อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีปรากฏการณ์ประหลาดทางธรรมชาติเกิดขึ้น กล่าวคือ ในค่าคืน ของวันขึ้น ๑๕ ค่าเดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษาจะมีดวงไฟสีส้มขนาดเท่าไข่ไก่ผุดขึ้นจากลาน้าโขงแล้วลอยขึ้นไปใน อากาศก่อนที่จะหายไปเพียงชั่วเวลาไม่กี่วินาที ในอดีตชาวบ้านแถบนี้เรียกลูกไฟดังกล่าวว่า “ดวงแก้ว” ก่อนที่จะ เปลี่ยนมาเรียกว่า “บั้งไฟพญานาค” ตามจังหวัดหนองคาย ซึ่งบั้งไฟพญานาคของจังหวัดหนองคายกลายมาเป็นจุด ขายทางด้านการท่องเที่ยวเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา คุณ ยายมะลิ วัล ย์ ปั ญ ญาชู อายุ ๗๗ ปี ชาวบ้ านตามุย เล่ าให้ ฟั งว่า ชาวบ้ านแถบนี้ มีค วามเชื่ อเรื่อ ง พญานาคมานานแล้ว เมื่อสมัยที่คุณยายอายุราว ๑๖-๑๗ ปี มีคนเคยพบเห็ นพญานาคว่ายน้าเล่นอยู่ในลาน้าโขง บริเวณดังกล่าว ลักษณะคล้ายกับงูแต่มีลาตัวยาวและมีขนาดใหญ่มาก บนลาตัวมีเกล็ด สีดาคล้ายจระเข้ ไม่เห็น ส่วนหัว เห็นแต่บริเวณกลางลาตัวเท่านั้น และในวันออกพรรษาของทุกปี พญานาคจะคายดวงแก้วออกมาด้วยความ ยินดีปรีดา เพื่อร่วมราลึกถึงเหตุการณ์สาคัญเมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ องค์การบริหารส่วนตาบลห้วยไผ่ ได้เริ่มประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมบั้งไฟพญานาค ณ บริเวณบ้านตามุย อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นต้นมา จนมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ แม้ว่าจะไม่ได้ประชาสัมพันธ์เหมือนกับเช่นทุกปี เนื่องจากใกล้ที่จะวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ


๑๖๒ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทว่าก็มีประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงจานวน หนึ่งเดินทางไปชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดังกล่าวจานวนไม่น้อยทีเดียว เสน่ห์ของการมาชมบั้งไฟพญานาคที่บ้านตามุย อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี คือ การได้สัมผัสกับ วิถีชีวิตของชาวบ้านที่ผูกพันกับสายน้าโขง นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมบ้านเรือนของชาวบ้านที่ปลูกขึ้นอย่างเรียบ ง่าย เลือกซื้อกระทงที่เด็กๆ ในหมู่บ้านทาขึ้น เพื่อนาไปลอยลงในแม่น้าโขงเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และขอขมาพระแม่ คงคา (ขณะที่หลายคนลอยกระทงเพื่อบูชาพญานาคราช) บรรยากาศของที่นี่ค่อนข้างเงียบสงบ ท้องฟ้ามืดสนิท ปราศจากแสงไฟนีออนให้ระคายตา เมื่อมองไปทางฝั่งประเทศลาวจะพบทิวเขาที่ทอดตัวยาวขนานไปกับสายน้าที่ไหล ริน งามเหมือนภาพวาดที่จิตรกรได้รังสรรค์ขึ้น

ภาพที่ ๒๔๕ ป้ายประชาสัมพันธ์ที่องค์การบริหารส่วนต้าบลห้วยไผ่จัดท้าขึน เพื่อประชาสัมพันธ์งาน “ไหลเรือไฟ ชมบังไฟ พญานาค” ที่จัดขึน ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๔๖ พิธีบูชาพญาศรีสัตตนาคราช ในวันขึน ๑๕ ค่้า เดือน ๑๑ ณ บ้านตามุย อ้าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐


๑๖๓

ภาพที่ ๒๔๗ รูปปั้นพญานาคภายในวัด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๔๘ คุณยายมะลิวัลย์ ปัญญาชู ชาวบ้านตามุย (ผู้บอกข้อมูล) ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐


๑๖๔

ภาพที่ ๒๔๙ ชาวบ้านก้าลังลอยกระทงในแม่น้าโขงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเนื่องในวันปวารณาออกพรรษา ถ่ายโดย องค์การบริหารส่วนต้าบลห้วยไผ่ เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๕๐ เครื่องบวงสรวงบูชาพญานาค ประกอบไปด้วยบายศรีพญานาค กล้วยน้าว้า มะพร้าวอ่อน เป็นต้น ถ่ายโดย องค์การบริหารส่วนต้าบลห้วยไผ่ เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐


๑๖๕

ภาพที่ ๒๕๑ นายอ้าเภอโขงเจียม ปล่อยเรือไฟบูชาพญานาคถ่ายโดย องค์การบริหารส่วนต้าบลห้วยไผ่ เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๕๒-๒๕๓ (ซ้าย) เรือไฟในเวลากลางวัน (ขวา) และกลางคืน ถ่ายโดย องค์การบริหารส่วนต้าบลห้วยไผ่ เมื่อ ๕/๑๐/๒๕๖๐


๑๖๖

บทวิเคราะห์ว่าด้วยเรื่องพญานาคราช ในบทสั งเคราะห์ นี้ ผู้ เขียนได้ป ระมวลข้อมูล จากเอกสารและการลงพื้นที่ภ าคสนาม เพื่ออภิปรายใน ๓ ประเด็น คือ พญานาคในนาคสถาน การผสานความเชื่อเรื่องพญานาคในนาคสถาน และผลดี ผลเสียที่เกิดจาก ปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย ๑) พญานาคในนาคสถาน หัวข้อ พญานาคในนาคสถาน ผู้ เขียนได้วิเคราะห์ ใน ๒ ส่วน คือ ๑) สถานที่ที่ เป็น “นาคสถาน” และ ๒) รูปลักษณ์ของประติมากรรมรูปพญานาคที่พบในนาคสถาน ๑.๑ สถานที่ที่เป็นนาคสถาน จากการลงพื้น ที่เก็บข้อมูลภาคสนามพบว่า สถานที่ที่เป็น “นาคสถาน” หรือที่อยู่ของพญานาคนั้นมักมี ลักษณะดังนี้ คือ ๑.๑.๑ ) นาคสถาน ส่วนใหญ่ มักจะตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้กันกับวัด มีเพียงส่วนน้อย เท่ านั้ น ที่ ไม่ ได้ มี ที่ ตั้ งในบริ เวณดั งกล่ าว เนื่ อ งจากบทบาทหน้ าที่ ส าคั ญ ของพญานาคนั้ น คื อ การพิ ทั ก ษ์ รัก ษา พระพุทธศาสนาให้ดารงอยู่ เช่น “วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร” ที่นอกจากจะเป็นสถานที่ ที่ประดิษฐานองค์ พระธาตุพนม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พี่น้องสองฝั่งโขงให้ความเคารพบูชาอย่างยิ่งแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังเป็นที่สิงสถิต ของเหล่าพญาสัตตนาคา (พญานาคทั้ง ๗ ตน) ผู้ทาหน้าที่พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุพนมอีกด้วย บางคราวพญานาคบังเกิดศรัทธาได้มาอาราธนาพระสงฆ์ผู้ทรงศีลให้มาจาพรรษาหรือสร้างวัดขึ้นในบริเวณถิ่น ที่อยู่ของตน จากนาคสถานจึงได้กลายมาเป็นวัดทางพระพุทธศาสนา ขณะที่บางคราวพญานาคได้มาขอพานักอยู่ใน วัดเพื่อทาให้วัดนั้นเจริญรุ่งเรือง เช่น พญานาค ๓ ตน ที่วัดมรุกขนคร จังหวัดนครพนม ที่มาขออาศัยอยู่ที่นี่เพื่อช่วย ทาให้วัดเจริญรุ่งเรืองขึ้น วัดทางพระพุทธศาสนาจึงได้กลายมาเป็นนาคสถานด้วย ๑.๑.๒ ) นาคสถานมั ก จะตั้ งอยู่ ใกล้ กั บ แหล่ ง น้ า หรื อ ตามถ้ า หรือ ในป่ า ซึ่ ง อาจจะผนวกเอา คุณสมบัติในข้อ ๑.๑.๑ มารวมอยู่ด้วยกันหรือไม่ก็ได้ เช่น “ศาลพญานาคที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒” จังหวัดมุกดาหาร สถานที่แห่งนี้ไม่ได้ตั้ง อยู่ภายในวัดหรือใกล้วัด แต่อยู่ใกล้กับลาน้าโขง เช่นเดียวกันกับ “พญาศรี สัตตนาคราช” ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดนครพนมก็ไม่ได้ตั้งอยู่ภายในวัดหรือใกล้วัดเช่นกัน แต่ตั้งอยู่ริมแม่น้า โขงแทน “ถ้าดิน เพี ยง” ซึ่ งเป็ น ที่พานั กของพ่อปู่อินทร์นาคราชกับแม่ย่าเกษรา เป็น ตัว อย่างของนาคสถานที่ มี ลักษณะเป็นถ้า “ภูมโนรมย์” เป็นตัวอย่างของนาคสถานที่ตั้งอยู่บนภูเขา ส่วน “ป่าคาชะโนด” เป็นตัวอย่างของนาค สถานซึ่งมีลักษณะเป็นป่าลอยน้า เป็นต้น เหตุที่พญานาคสิงสถิตอยู่ทั่วไปทั้ง บนภูเขาและแหล่งน้าตามธรรมชาติ เนื่องจากพญานาคเป็นเจ้าแห่งดินและน้านั่นเอง ๑.๑.๓ ) นาคสถานมักจะเป็นสถานที่ทีมีตานาน หรือเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับพญานาค เช่น บริเวณ แห่งนี้เป็นสถานที่ตั้งของนครบาดาลที่อยู่ของเหล่าพญานาค สถานที่แห่งนี้เป็นจุดเชื่อมต่อหรือเป็นประตูระหว่างเมือง บาดาลกับโลกมนุษย์ หรือบริเวณนี้เคยมีผู้พบเห็นพญานาคมาปรากฏกายในลักษณะต่างๆ เช่น เห็นเป็นงูใหญ่มีหงอน เห็นเป็นรอยพญานาค หรือเห็นเป็นมนุษย์ เป็นต้น และจากตานานหรือเรื่องเล่าก็ได้เพิ่มรูปแบบพิธีกรรมเข้าไป ทา ให้นาคสถานเหล่านั้นเกิดความเข้มขลังขึ้น


๑๖๗ นาคสถานส่วนใหญ่ในภาคอีสานเกิดขึ้นมาจาก ๓ องค์ประกอบนี้ ทาให้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีจุด ขาย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศให้มาสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ “ผ่านวิถีเรื่องเล่า” ที่นักท่องเที่ยวสามารถ “รับรู้” (Awareness) เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคผ่านสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ “เข้าไป เห็น” (Experience) สถานที่จริงดื่มด่ากับความงดงามทางธรรมชาติและผลงานสร้างสรรค์จากฝีมือมนุษย์ “มีส่วน ร่วม” (Engagement) กับกิจกรรมที่ ทางวัดหรือทางชุมชนจัดขึ้น เช่น อิ่มใจเมื่อได้ทาบุญให้ทาน และ “เข้าถึง” (Value) คุณค่าของความเชื่อที่มิได้เป็นแค่เพียงความเชื่อ หากแต่ยังหมายถึงชีวิตและจิตวิญญาณของผู้คนที่อาศัยอยู่ บนผืนดินถิ่นอีสานอีกด้วย “นาคสถาน” จึงไม่ใช่แค่รูปปั้นพญานาคที่ตั้งบูชาไว้หน้าบ้าน หน้าห้างร้านทั่วไป แต่นาคสถานคือ สถานที่ที่ มีเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาค มีความเชื่อ มีพิธีกรรม มีความรักความผูกพันอันล้าลึก ที่ร้อยรัดผู้คนนับร้อยนับพันให้ เป็นหนึ่งเดียว ๑.๒ รูปลักษณ์ของประติมากรรมรูปพญานาคที่พบในนาคสถาน จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามพบว่า ประติมากรรมรูปพญานาคในภาคอีสานที่ตั้งอยู่ภายในนาคสถาน มีรูปลักษณ์อยู่ด้วยกัน ๓ ลักษณะ คือ ๑) รูปลักษณ์ของงูใหญ่มีหงอน ๒) รูปลักษณ์ของครึ่งมนุษย์ ครึ่งงู และ ๓) รูปลักษณ์ของมนุษย์ ๑.๒.๑) รูปลักษณ์ของงูใหญ่มีหงอน มีเศียร ๑ เศียรบ้าง ๓ เศียรบ้าง ๕ เศียรบ้าง ๗ เศียรบ้าง และ ๙ เศียรบ้าง (จานวนเศียรพญานาคจะเป็นเลขคี่ เสมอ) สีกายของพญานาคมีมากกว่าที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก (พญานาคในตระกูลวิรูปักษ์-กายสีทอง พญานาคในตระกูลเอราบถ-กายสีเขียว พญานาคในตระกูลฉัพยาปุตตะ-กาย สี รุ้ ง และพญานาคในตระกู ล กั ณ หาโคตรมะ-กายสี ด า) คื อ มี สี ฟ้ า สี แ ดง สี ข าว สี ช มพู สี ม่ ว ง ฯ ขึ้ น อยู่ กั บ จินตนาการของผู้สร้าง พญานาคที่พบอยู่ในอิริยาบถต่างๆ อาทิ ขดตัวและแผ่พังพาน กาลังเลื้อยและแผ่พังพาน หรือพั น บางสิ่งบางอย่างไว้ เช่น ต้น เสา นอกจากนี้ผู้ เขียนยังสั งเกตว่า บางที่ สร้างรูปพญานาคเป็นรูปงูใหญ่ แต่ ปราศจากหงอน ลักษณะคล้ายกับงูจงอาง แต่พบได้ไม่มากนัก ๑.๒.๒) รูปลักษณ์ของกึ่งมนุษย์ กึ่งงู มีลักษณะท่อนบนเป็นมนุษย์ สวมใส่เครื่องทรงอย่างกษัตริย์ แต่ท่อนล่างเป็นงู รูปลักษณ์คล้ายคลึงกับพระเกตุ หนึ่งในเทพนพเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์


๑๖๘

ภาพที่ ๒๕๔ พญานาครูปลักษณ์กึ่งมนุษย์ กึ่งงู ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

รูปลักษณ์กึ่งมนุษย์กึ่งงูนี้ บางที่ทาเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียร แต่เศียรที่ ๗ ซึ่งอยู่ตรงกลางกลับทาเป็นรูปครึ่ง ท่อนบนของมนุษย์ ๑.๒.๓) รูปลักษณ์ของมนุษย์ (สภาวะเทพ) มีทั้งแบบที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว แบบที่อยู่ในวัยกลางคนไป จนถึงผู้สู งวัย มีทั้งที่แต่งกายทรงเครื่องตามแบบกษัตริย์ แต่งกายแบบนักบวช ไปจนถึง แบบชาวบ้านทั่ว ไปใน สมัยก่อน บางครั้งก็มีพญานาคมาปรกคล้ายกันกับพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึง่ เป็นการนากายสัตว์เดรัจฉานและกาย เทพมาอยู่ด้วยกัน แต่ไม่นารวมกันเป็นหนึ่งเดียวเหมือนในข้อ ๑.๒.๒ รูปลักษณ์ของพญานาคแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของความเชื่อเรื่องที่ซับซ้อนขึ้น จากแต่เดิมทีร่ ูปลักษณ์ของ พญานาคนั้น เป็นเพียงงูใหญ่ (ทั้งที่มีหงอนและไม่มีหงอน) มาสู่รูปลักษณ์กึ่งมนุษย์ กึ่งงู และรูปลักษณ์ของมนุษย์ (สภาวะเทพ) ในปัจจุบัน โดยที่การเปลี่ยนผ่านจากสภาวะของสัตว์เดรัจฉาน มาสู่สภาวะกึ่งเทพ กึ่งสัตว์เดรัจฉาน และสภาวะของความเป็นเทพนี้ ตั้งอยู่บนเงื่อนไขทีส่ าคัญข้อหนึ่ง คือ พญานาคมีฤทธิ์มาก จึงสามารถแปลงกายเป็น อะไรก็ได้ตามที่ตนปรารถนา เหตุทรี่ ูปลักษณ์ของพญานาคพัฒนาจากสัตว์เดรัจฉานมาสู่รูปกายมนุษย์นั้น เป็นเพราะภพภูมิของมนุษย์เป็น ภพภูมิที่ประเสริฐกว่าพญานาค ซึ่งถือเป็นเดรัจฉานภูมิ (ตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา) เพราะถึงแม้พญานาคจะมี ฤทธิ์มาก ทว่าพญานาคก็ยังคงเป็นสัตว์เดรัจฉาน (เดรัจฉาน แปลว่า ผู้มีอกขนานไปกับพื้น) ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ต่างจากมนุษย์ที่สามารถปฏิบัติ ตนจนบรรลุพระนิพพานได้ การสร้างประติมากรรมรูปพญานาคในภาคกายมนุษย์ นี้ ทาให้คนบางกลุ่มเปิดใจยอมรับได้บ้างและพร้อมที่จะกราบไหว้ เพราะถือว่าเป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน นอกจากนี้ การที่ประติมากรรมรูปพญานาคได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ไปเป็นแบบต่างๆ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ยัง แสดงให้เห็นถึงการสนองตอบต่ออุปสงค์ (demand) ของคนในสังคมไทยที่หันมายอมรับนับถือพญานาคมากขึ้น การ สร้างประติมากรรมรูปพญานาคให้เป็นงูใหญ่มีหงอน มีหลายเศียร มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้คนเกิดความเคารพยาเกรง แต่นั่นอาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทาให้คนในยุคปัจจุบันเกิดศรัทธาเพิ่มขึ้นจากเดิม เพราะรูปลักษณ์ดังกล่าวสามารถพบ เห็ นได้ทั่วไปตามวัดวาอารามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณราวบันได ช่อฟ้า หรือภาพจิตรกรรมฝาผนัง การสร้าง


๑๖๙ พญานาคให้มีรูปลักษณ์กึ่งมนุษย์ กึ่งงู หรือรูปลักษณ์ที่เป็นมนุษย์ (สภาวะเทพ) ทาให้ผู้คนรู้สึกว่าแตกต่างจากรูปปั้น พญานาคตามราวบันได และเชื่อว่าสิ่งที่กาลังกราบไหว้ อยู่นั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จริง เพราะสามารถเนรมิตรูปลักษณ์ได้ หลากหลาย อนึ่ ง การกราบไหว้พญานาคที่มีรูปลั กษณ์เป็นงู อาจทาให้ คนที่กราบไหว้บางคนรู้สึกตะขิดตะขวงใจว่า กาลังกราบไหว้สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งอยู่ในภพภูมิที่ต่ากว่ามนุษย์ (ตามคติทางพระพุทธศาสนา) ถือเป็นการกระทาที่ไม่ สมควร การทารูปลักษณ์พญานาคให้เป็นมนุษย์ก็เพื่อทาให้ผู้คนกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจกว่า ผู้ไ หว้ก็รู้สึกว่ากาลัง กราบว่าพญานาคที่มีสภาวะเป็นเทพ (กายมนุษย์) ไม่ได้ไหว้สัตว์เดรัจฉาน รูปลักษณ์งูใหญ่ —› เดรัจฉาน

—›

รูปลักษณ์กึ่งมนุษย์ กึ่งงู —› กึ่งเทพกึ่งเดรัจฉาน

—›

รูปลักษณ์มนุษย์ เทพ

๒) การผสานความเชื่อทางศาสนาในนาคสถาน กระแสความเชื่อเรื่องพญานาคในภาคอีสานของไทยนั้นมีลักษณะของการปะทะประสานกันระหว่างความเชื่อ ดั้งเดิม ความเชื่อที่มาจากคติทางศาสนาพราหมณ์ และความเชื่อที่มาจากศาสนาพุทธ ดังนี้ ๒.๑ ความเชื่อดังเดิม ความเชื่อดั้งเดิมเรื่องพญานาค ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ว่า พญานาคเป็นเจ้าของผืนดิน สายน้าในภาคอีสาน แม่น้าสายสาคัญล้วนเกิดจากพญานาคเป็นผู้บันดาลขึ้นทั้งสิ้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ทางภาคอีสานตอนบนเคารพศรัทธาใน พญานาคศรีสุทโธมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบพื้นที่จังหวัดอุดรธานี) ต่อมาความเชื่อนี้ได้กระจายไปทั่วพื้นที่ภาค อีสาน สอดคล้องกับคากล่าวของหลวงปู่คาพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิสายญาณพญานาคแห่งจังหวัดนครพนมที่ว่า “พญานาคศรีสุทโธเป็นพญานาคราชที่เป็นใหญ่ในฝั่งไทย ท่านคอยดูแลฝั่งไทย” วาทกรรมดังกล่าวได้ถูกต่อต้าน โดยในพื้นที่อื่นๆ ได้สร้างวาทกรรมขึ้นมาหักล้าง ตัวอย่างเช่น “วัดปากโดม เทพนิ มิ ต ” ซึ่ งตั้ งอยู่ ในอ าเภอพิ บู ล มั งสาหาร จั งหวั ด อุ บ ลราชธานี มี ก ารสร้างรู ป ปั้ น พญาทะนะมู ล นาคราช (พญานาคผู้ที่ขุดแม่น้ามูล) ทั้งในรูป ลักษณ์ ที่เป็นพญานาค เป็นมนุษย์กึ่งนาค และเป็นมนุษย์ขึ้น พระอาจารย์ วิเชียร ผู้เป็นเจ้าอาวาสได้กล่าวว่า “พญานาคศรีสุทโธ ท่านดูแลเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเท่านั้น ส่วนพื้นที่ ภาคอีสานตอนล่าง ท่านที่ดูแล คือ พญาทะนะมูลนาคราช ซึ่งท่านเป็นผู้ขุดแม่น้ามูล ขึ้น” วาทกรรมนี้เป็นการผลิต ซ้าวาทกรรมเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในสังคมอีสาน ส่วนวาทกรรมใหม่ที่ท่านได้สร้างขึ้นมาคือ “พญาทะนะมูลนาคราชได้ สร้างแม่น้าโขงขึ้นด้วย เพราะคาว่า ‘โขง’ นั้น คนอีสานออกเสียงว่า ‘ของ’ หมายถึง ทรัพย์สินสิ่งของ ซึ่งตรงกับ คาว่า ‘ทะนะ’ หรือ ‘ธน’ ในภาษาบาลี สันสกฤต ที่แปลว่า ทรัพย์สินสิ่งของ เช่นกัน ส่วนคาว่า ‘มูล’ นั้นมีที่มา จากคาในภาษาอีสานว่า ‘มูนมัง’ แปลว่า มรดก รวมความแล้ว “ทะนะมูล” จึงหมายถึง สิ่งของที่เป็นมรดก (จาก พญานาค) ก็คือ ‘แม่น้าของ’ นั่นเอง” ซึ่งถ้าเชื่อตามวาทกรรมนี้ พญานาคที่เป็นใหญ่ที่สุดในภาคอีสานก็น่าจะเป็น พญาทะนะมูลนาคราช ไม่ใช่พญานาคศรีสุทโธ เพราะท่านเป็นผู้สร้างแม่น้าโขง ซึ่งถือเป็นแม่น้าสายสาคัญ อีกตัว อย่างหนึ่ งคือ กรณี “พุ ทธอุทยานถ้าปาฏิห าริย์ ” ซึ่งตั้งอยู่ที่อาเภอโขงเจียม จังหวัด อุบ ลราชธานี หลวงปู่ถ้า ซึ่งเคยเป็นผู้ดูแล (ปัจจุบันท่านได้มรณภาพไปแล้ว) ได้กล่าวว่า บันไดนาคที่ท่ านได้นาศรัทธาญาติโยม


๑๗๐ สร้างลงไปยังถ้าปาฏิหาริย์นั้น คือตัวแทนของพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมา ต่อมาเมื่ออุบาสิกาคนหนึ่ งได้เข้ามา ดูแลถ้าปาฏิหาริย์ต่อจากหลวงปู่ถ้า ท่านได้กล่าวว่า “ปู่ศรีสุทโธ ท่านอยู่ที่อุดรธานีโน่น ท่านไม่ได้มาอยู่ที่นี่ ผู้ที่ปก ปักรักษาถ้าปาฏิหาริย์ คือ พ่อปู่นิลกาฬ ส่วนบันไดนาคที่สร้ างขึ้นนั้นก็ไม่ใช่ตัวแทนของพญานาคตนใดตนหนึ่งทั้งสิ้น เป็นบันไดนาคธรรมดาๆ นี่เอง” เห็นได้ว่า วาทกรรมใหม่ได้เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ที่ว่า “พญานาคศรีสุทโธเป็นใหญ่ที่สุด ในภาคอีสาน” โดยเฉพาะในบริเวณอีสานตอนล่างอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ ง คือ จังหวัดนครพนม จัดสร้าง “พญาศรีสัตตนาคราช” ไว้เป็นแลนด์มาร์ค สาคัญของจังหวัด ทั้งที่หลวงปู่คาพันธ์ โฆสปัญโญ ท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า “พญาศรีสัตตนาคราช เป็นพญานาคที่คอย ปกป้องดูแลฝั่งลาว” เพราะเหตุใดไทยจึงนาพญาศรีสัตตนาคราชมาประดิษฐานอยู่ที่ฝั่งไทย? ที่เป็นเช่นนี้ ผู้เขียนมองว่าอาจเป็นเสมือน “การตัดไม้ข่มนาม” เพราะพญานาคที่เป็นใหญ่ในฝั่งลาว มาสถิต อยู่ในฝั่งไทยและหันหน้าไปยังดินแดนลาว โดยปริยายนั่นหมายถึงอานาจที่ไทยมีเหนือลาว สามารถควบคุมประเทศ ลาวได้ด้วย จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า วาทกรรมเกี่ยวกับพญานาคในภาคอีสานนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาและ แทบทุกพื้นที่ ไม่เฉพาะแต่จังหวัดที่ติดแม่น้าโขงเท่านั้น หากแต่ปัจจุบันยังแพร่ ขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั่วภาคอีสาน เช่น ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อีกด้วย และแต่ละวาทกรรมก็พยายามช่วงชิงพื้นที่ของตน นี่คือตัวอย่างของพญานาคใน คติดั้งเดิม ๒.๒ ความเชื่อดังเดิม + ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อเรื่องพญานาคในคติดั้งเดิมของอีสานถูกผสานเข้ากับคติความเชื่อเรื่องพญานาคในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาสาคัญที่รับมาจากชมพูทวีป ตัวอย่างที่สาคัญคือ ศาลพญานาคที่ใต้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ จังหวัดมุกดาหาร เหตุที่ผู้เขียนกล่าวเช่นนั้นเนื่องมาจากเหตุผล ๕ ข้อ คือ ๑) นามของพญานาคราชที่ศาลพญานาค จังหวัด มุกดาหารตรงกับ นามของพญานาคตนส าคั ญ ของศาสนาพราหมณ์ ชาวบ้ านเชื่อ ว่า พญานาคที่ สิ งสถิตอยู่ ณ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๒ จังหวัดมุกดาหารนี้มีนามว่า “พญาอนันตนาคราช” ซึ่งไปตรงกับนามของพญานาค ผู้เป็นแท่นที่ประทับแห่งองค์พระนารายณ์ มหาเทพผู้ปกปักรักษาโลกมนุษย์ ๒) ภายในศาลพญานาคที่เชิงสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ จังหวัดมุกดาหารนั้นประดิษฐานรูปเคารพของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เป็นจานวนมาก เช่น พระศิวะ พระพรหม พระนารายณ์ พระพิฆเนศ และพระแม่คงคา 1 เป็นต้น ทาให้สถานที่นี้คล้ายกับเป็น เทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ ๓) บทสวดบูชาพญานาคที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ ใช้ภาษาสันสกฤต ซึ่ง เป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ที่ใช้จารึกคัมภีร์พระเวท นอกจากนี้เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคาที่ใช้ในบทสวดพบว่า มีการ ใช้คาว่า “โอม” (โอม หมายถึง เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ ๓ พระองค์ คือ “พระพรหม” มหาเทพผู้สร้าง โลก “พระนารายณ์” มหาเทพผู้พิทักษ์รักษาโลก และ “พระศิวะ” มหาเทพผู้ทาลายล้างโลก) และมีการกล่าวถึง พระนารายณ์ มหาเทพผู้เป็นนายของพญาอนันตนาคราชอีกด้วย ผู้เขียนจึงคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่มีการผสาน 1

เรื่อ งการประดิ ษ ฐานรูป ปั้ น พระแม่ ค งคาไว้ที่ ริม ฝั่งโขง ไม่ ว่า จะเป็ น ด้ ว ยความบั งเอิ ญ หรื อ ความจงใจ ก็ ต้ องถื อ ว่าสามารถสื่ อ ความหมายได้อย่างลึกซึ้ง ลงตัว ทั้งนี้เพราะได้มีนักวิชาการด้านนิรุกติศาสตร์ (Philology) บางท่านสันนิษฐานว่า คาว่า “โขง” นั้น เดิมมาจากคาว่า “คงคา” (ขณะที่บางท่านสันนิษฐานว่า “โขง” มาจากคาว่า “โค้ง” ตามตานานเล่าว่า พญาศรีสุทโธนาคราชเร่ง ขุดแม่น้าตามเทวบัญชาของพระอินทร์ และด้วยความใจร้อนจึงทาให้แม่น้ามีลักษณะคดไปโค้งมาดังที่เห็นในปัจจุบัน)


๑๗๑ ความเชื่อเรื่องพญานาคท้องถิ่นเข้ากับความเชื่อเรื่องพญานาคที่มาจากศาสนาพราหมณ์ ๔) ศาลพญานาคแห่งนี้ได้ จัดพิธีบวงสรวงพญานาคขึ้นเป็นประจาทุกปี และบุคคลที่ได้รับเชิญมาเป็ นประธานในพิธีมักมีความเกี่ยวข้องกับราช สานัก เช่น เชื้อพระวงศ์ หรือข้าราชบริพารชั้นสูง เป็นต้น เป็นที่ทราบดีว่า ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลในราชสานัก สยามมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยพราหมณ์จะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมสาคัญถวายแด่พระมหากษัตริย์ เช่น พระ ราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น และ ๕) ในวันสุดท้ายของพิธีบวงสรวงของทุกปี พิธีสุดท้ายหลังจากบูชาพญานาค แล้ว จะมีการลอยหุ่นพระคเณศลงในแม่น้าโขง คล้ายกับในพิธี “คเณศจตุรถี” ของอินเดียที่มีการลอยหุ่นพระคเณศลง ไปในทะเล เพื่อเชิญพระองค์กลับสู่สรวงสวรรค์ จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความเชื่อและพิธีกรรมมีการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิม กับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ พญานาคที่ปกปักรักษาแม่น้าโขงบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ จึงถูก ทาให้เชื่อว่าเป็นพญานาคที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ ๒.๓ ความเชื่อดังเดิม + ความเชื่อในศาสนาพุทธ การผสานความเชื่อเรื่องพญานาคในคติดั้งเดิมเข้ากับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในดินแดนภาคอีสาน ของไทย เป็นลักษณะที่ปรากฏพบมากที่สุด อาทิ วัดถ้าวังผาพญานาคราช อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีการสร้างพญานาคมุจลินท์ไ ว้ให้ประชนชน ได้กราบไหว้บูชา เพราะเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเหล่าพญานาค จากหลักฐานพระพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๖ สัปดาห์ พญานาคมุจลินท์ได้ขึ้นมาแผ่พังพานบังพายุฝนถวายแด่พระพุทธเจ้า จนเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางนาคปรก แม้พญานาคมุจลินท์จะไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพญานาคที่วัดถ้าวังผา แต่ การสร้างรูปปั้นพญานาคมุจลินท์ไว้ก็ทาให้ผู้ ที่พานักอยู่ภายในวัดอุ่นใจว่าจะไม่ถูกพญานาคมารบกวน เพราะคนที่ อาศัยอยู่ในวัดต่างเคารพให้เกียรติพญานาค (ตามคติความเชื่อดั้งเดิมของคนอีสานที่บูชาพญานาค) และหวังว่าบารมี ของพญานาคมุจลินท์ ซึ่งเป็นจอมนาค ที่มีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนา จะมาช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้พญานาคหมู่อื่น เข้ามาทาอันตรายบรรดาพุทธบริษัทได้ วัดบูรพาราม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่ ทาสีสวยงามมาก แต่ แทนที่ทางวัดจะอธิบายว่า เป็นพญานาคมุจลินท์ ตามที่ปรากฏในพระพุทธประวัติ ทางวัดกลับอธิบายว่า พญานาค ตนนั้นเป็นพญานาคศรีสุทโธ พร้อมทั้งติดตั้งแผ่นหินอ่อนที่มีบทสวดบูชาพญานาคศรีสุทโธไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้สวด บูชาอีกด้วย สิ่งที่น่าสนใจคือ แทนที่พุทธศาสนิกชนจะได้กราบไหว้พระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระพุทธรูปเป็นองค์แทน และมี พญานาคเป็ น ส่ ว นประกอบ แต่ ก ลั บ ต้ อ งมากราบไหว้ พ ญานาคเป็ น หลั ก และไหว้ พ ระพุ ท ธเจ้ า ในฐานะที่ เป็ น ส่วนประกอบแทน ???


๑๗๒

ภาพที่ ๒๕๕ พระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาราม อ้าเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑

ภาพที่ ๒๕๖ ค้าบูชาบริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก วัดบูรพาราม สังเกตว่าแทนที่จะเป็นค้ากล่าวบูชา พระพุทธรูป กลับเป็นค้ากล่าวบูชาเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช และเจ้าย่าปทุมานาคี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑/๑/๒๕๖๑


๑๗๓

ที่ “ศาลาแก้วกู่” (บ้างเรียกว่า “อาศรมแก้วกู่” “วัดแขก”) ตั้งอยู่ที่อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีการ ผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากั บคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จากภาพด้านล่างปรากฏรูปบุคคลกาลังนอนตะแคง ขวาในท่าสีหไสยาสน์ ผู้สร้างอธิบายว่า นี่คือ “พญากาฬนาคราช” ผู้ที่นอนหลับใหลเป็นระยะเวลายาวนานใต้แม่น้า เนรั ญ ชรา ครั้ น เมื่ อ พระโพธิ สั ต ว์อ ธิ ษ ฐานลอยถาดครั้งหนึ่ ง พญานาคตนนี้ ก็ จ ะตื่ น ขึ้ น และทราบว่ า บั ด นี้ ได้ มี พระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติยังโลกมนุษย์อีกพระองค์หนึ่งแล้ว และก็จะนอนต่อไป ผู้สร้างกล่าวว่า พญากาฬนาคราชใน พระพุทธประวัตินี้เป็นตนเดียวกับพญานาคศรีสุทโธ ท่านเป็นใหญ่ในเมือง “อุดตรนคร” หรือเมืองนาคพิภพ

ภาพที่ ๒๕๗ ประติมากรรมรูปกาฬนาคราชในศาลาแก้วกู่ อ้าเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๙/๔/๒๕๖๑

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ทาให้เห็นถึงการผสานความเชื่อทางศาสนาได้อย่างชัดเจน คือ ใน “วัดศิริสุทโธ” ได้มีการ สร้างประติมากรรมรูปพระสิวลี พระอรหันต์แห่งโชคลาภขึ้น ส่วนที่บริเวณใต้ฐานพระได้ทาเป็นรูปพ่อปู่ศรีสุทโธและ แม่ย่าศรีปทุมมาในรูปลักษณ์ครึ่งมนุษย์ครึ่งนาค ทั้งนี้เพื่อให้การมาขอโชคขอลาภนั้นได้ผลทวีคูณ เสมือนการ “ยก กาลังสอง” นี่คือตัวอย่างของการผสานความเชื่อทางศาสนาระหว่างศาสนาพุทธและความเชื่อดั้งเดิมเข้าด้วยกัน


๑๗๔

ภาพที่ ๒๕๘ พระสิวลี พระอรหันต์ผู้เป็นเลิศในทางโชคลาภ รวมกับพ่อปู่ศรีสุทโธ และแม่ย่าศรีปทุมาในคติความเชื่อดังเดิม ซึ่งพญานาคนันเป็นตัวแทนของทรัพย์สมบัติ เชื่อว่าช่วยบันดาลให้ผู้บูชาได้รับลาภผลทวีคูณ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๓/๓/๒๕๖๑

๒.๔ ความเชื่อดังเดิม + ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ + ความเชื่อในศาสนาพุทธ ในภาคอีสาน พบความเชื่อที่ผสานไปด้วยกันทั้งพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อดั้งเดิม กรณีศึกษาคือที่ “วัด ถ้าผาแด่น” อาเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ความน่าสนใจคือ แต่เดิมเชื่อว่าบริเวณถ้าผาแด่นนี้ปกครองโดยเหล่า พญานาคมิจฉาทิฐิ ซึ่งคอยทาร้ายผู้คนให้ต้องได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนอยู่เสมอ ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายัง บริเวณดินแดนแถบนี้ และทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อการาบบรรดาพญานาค พระองค์ทรงสั่งสอนให้เหล่า พญานาคหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเลิกเบียดเบียนมนุษย์ทั้งปวง แต่นั้นมา พญานาคและมนุษย์จึงอาศัยอยู่ ร่วมกันอย่างสันติ เมื่อพระอาจารย์ปกรณ์ กันตวีโร ได้มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดถ้าผาแด่น ท่านได้ดาริให้แกะสลักรูป พญาครุฑไว้ที่ผาหิน ลักษณะกาลังกางปีก ส่วนมือกุมกระบองของท้าวเวสสุวรรณไว้ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างวัตถุ มงคลที่เกี่ยวข้องกับพญาครุฑออกมาหลายต่อหลายรุ่น ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตามคติความเชื่อของศาสนา พราหมณ์นั้น พญานาคกับพญาครุฑไม่ถูกกัน โดยพญาครุฑมักจับพญานาคกินเป็นอาหาร การสร้างพญาครุฑไว้จึง เพื่อการาบพญานาคอยู่ในที ไม่ต่างจากการที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทไว้ตั้งแต่ในครั้งอดีต


๑๗๕ ตัวอย่างข้างต้น นี้ พญานาคแทนด้วยความเชื่อดั้งเดิม พระพุทธเจ้า รอยพระพุทธบาท และพระอาจารย์ ปกรณ์แทนความเชื่อในศาสนาพุทธ ส่วนพญาครุฑแทนความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็น ได้ว่าความเชื่อเรื่องพญานาคในสังคมอีสานนั้น มี ลักษณะของ “การปะทะ ประสาน” (syncretism) เกิดขึ้น ความเชื่อดังกล่าวได้หยั่งรากลึกลงในวิธีคิดของผู้คน กลายเป็นระบบความคิด ที่ ส่งผลเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตน สมควรที่จะได้รับการ ยกย่องไม่น้อยไปกว่าพื้นที่แห่งใดในโลก ๓) ผลดี ผลเสีย ที่เกิดจากปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย ถ้าจะกล่าวถึงผลดี และผลเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย ผู้เขียนสามารถสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้ ๓.๑ ผลดี ผลดีอันสืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย คือ ทาให้เม็ดเงินสะพัด ทั้งยอดเงินบริจาค เงิน ที่มาจากการให้เช่าบูชาวัตถุมงคล รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวต่างมีรายได้เป็นกอบเป็นกา ตัวอย่างเช่น วังนาคินทร์คาชะโนดมียอดเงินบริจาคเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เพียงวันเดียว สูงถึง ๒๑๕,๘๖๙ บาท ส่วนยอดเงินปากนาคประจาวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นจานวนเงิน ๒๓๒,๙๓๐ บาท รวมยอดเงินสะสม บัญชีกองทุนคาชะโนดทั้งหมดสูงถึง ๓๘,๑๘๑,๖๐๕.๕๒ บาท และมีแนวโน้มว่ายอดเงินบริจาคจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๐ คาดว่าน่าจะมียอดเงินบริจาคเกือบ ๑๐๐ ล้านบาททีเดียว

ภาพที่ ๒๕๙ ป้ายสรุปยอดเงินบริจาค ณ วังนาคินทร์ค้าชะโนด ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐

ไม่เพียงแต่ “วัดศิริสุทโธ” เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากกระแสความเชื่อความศรัทธานี้ วัด อื่นๆ ทั้งใกล้ไกล ต่างก็ได้รับประโยชน์ด้วย เช่น วัดโนนสว่าง ซึ่งตั้งอยู่ในอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีเช่นกัน (ไม่ไกลจากคาชะโนด เท่าใดนัก) และเป็นวัดบ้านเกิดของหลวงปู่คาตาด้วย ได้ระดมทุนสร้างศาลาการเปรียญ พร้อมกับการสร้างรูปหล่อ


๑๗๖ พ่อปู่ศรีสุทโธขึ้นในคราวเดียวกัน มัคนายกกล่าวเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาว่า การทาบุญครั้งนี้ถือเป็นมหากุศล เพราะได้ สร้างทานบารมี ๒ อย่าง คือ สร้างวิหารทานถวายไว้ในพระพุทธศาสนา และสร้างรูปหล่อพ่อปู่ศรีสุทโธไว้ให้ผู้คนได้ กราบไหว้บูชา เชื่อว่าการกระทาเช่นนี้จะทาให้พ่อปู่ศรีสุทโธโปรดปราน และบันดาลโชคลาภ ทรัพย์ศฤงคารให้ไหลมา เทมา

ภาพที่ ๒๖๐ รถรับบริจาคจากวัดโนนสว่าง แล่นเข้ามาขอรับบริจาคจากสาธุชน ณ วัดป่าศิริสุทโธค้าชะโนด ตังแต่เช้าตรู่ ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๒๕/ ๖/ ๒๕๖๐

ไม่เพียงแต่วัดเท่านั้นที่มีรายได้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็พลอยมีรายได้ตามไปด้วย หลายคนหันมา ประกอบอาชีพทาบายศรีพญานาคขาย ราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น นอกจากคนขายบายศรีแล้ว ยังมี คนขายหมากพลู คนขายวัตถุมงคล เช่น เหรียญ รูปหล่อ ลูกแก้วพญานาค เพชรพญานาค 2 เป็นต้น คนขายสลาก กินแบ่งรัฐบาล คนขายอาหาร คนขายของที่ระลึก คนขับรถรับจ้าง ฯลฯ ที่ต่างอาศัยบารมีพ่อปู่ศรีสุทโธช่วยทาให้มี สภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ต้องลาบากยากแค้นเหมือนดัง เช่นแต่ก่อน ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดีมากเท่าไหร่ ธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ ความศรัทธานี้กลับยิ่งดีขึ้นมากเท่านั้น

2

เพชรพญานาค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพชร ๗ สี มณี ๗ แสง แต่ละสีมีความหมายแตกต่างกัน ดังนี้ ๑) สีขาว เป็นบารมีแห่ง พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ๒) สีแดง หมายถึงฤทธิ์อานาจ พลังแห่งความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ๓) สีเขียว เป็นความเมตตากรุณา ความเย็นกาย เย็นใจ ๔) สีเหลือง หมายถึงทรั พย์สินเงินทอง ความมั่งคั่ง โชคลาภมากมี เงินไหลนอง ทองไหลมา ๕) สีฟ้ า หมายถึงผู้บาเพ็ญบุญบารมีมาแต่ปางก่อน ทาให้เทพเทวาคอยอุปถัมภ์ค้าชู ๖) สีน้าเงิน คือสีแห่งผู้บาเพ็ญตบะบารมีมามาก เป็นสี แห่งผู้ปกครอง และ ๗) สีชมพู เป็นสีแห่งเมตตามหานิยม ความมีเสน่ห์ เป็นที่รักใคร่แก่ผู้พบเห็น นอกจากนี้ยังมีสีพิเศษ เช่น สีส้ม สีม่วง สีดาหรือสีชา เป็นต้น เพชรพญานาคมีหลายรูปทรง เช่น รูปหยดน้า รูปน้าเต้า รูปเขี้ยวพญานาค เป็นต้น บางทีก็อยู่ใน ศิลาคอน ต้องใช้ของแข็งทุบให้แตกจึงจะได้เพชรพญานาคที่ซ่อนอยู่ภายในนั้น


๑๗๗

ภาพที่ ๒๖๑ ชาวบ้านต่างมีรายได้จากการท้าบายศรีพญานาค เพื่อจ้าหน่ายให้แก่บรรดานักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุก สารทิศ ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ มากราบขอพรพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมา สักครังหนึง่ ในชีวิต ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๓๐/๓/๒๕๖๐

ไม่เพียงแต่เฉพาะวัดศิริสุทโธ หรือวัดในอาเภอบ้านดุงเท่านั้นที่อาศัยบารมีพญานาคในการระดมทุน “วัด บ้านไม้ค้าง” อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานพิธีเททองหล่อพ่อปู่ศรีสุทโธขึ้นเช่นกัน ภายในงาน นอกจากจะมีการทาบุญแผ่นทองแล้ว ยังมีการจาหน่ายวัตถุมงคลต่างๆ เช่น ผ้ายันต์ เหรียญพญานาค จี้ แหวน กาไลรูปพญานาค เป็นต้น ให้แก่ผู้ศรัทธา รวมทั้งมีการครอบเศียรพญานาคโดยพระฤๅษี ผู้เรืองวิทยาคมอีกด้วย การจัดงานดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากวัดเองทั้งหมด วัดเพียงแต่ให้ใช้สถานที่เพื่อจัดงานเท่านั้น สิ่งที่วัดจะ ได้รับคือ รูปหล่อพ่อปู่ศรีสุทโธ (ที่หล่อเสร็จแล้ว) และปัจจัยตามที่ตกลงกัน หน่วยงานที่เข้ามาจัดงานนี้เป็นคนนอก พื้นที่ การทางานเป็นระบบ มีฝ่ายพิธีการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ที่ประกอบพิธีเทวาภิเษก หรือ พระฤๅษีที่มาประกอบไสยพิธี ผู้จัดงานก็จัดเตรียมมาเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวข้องกับทางวัดแต่อย่างใด กลุ่มผู้จัดงานจะ ตะเวนไปในหลายจังหวัด เพื่อจัดงานในลักษณะนี้ และไม่ได้มีกลุ่มนี้เพียงกลุ่มเดียว ยังมีอีกหลายกลุ่ม คาดว่าน่าจะมี รายรับภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจานวนไม่น้อย


๑๗๘

ภาพที่ ๒๖๒-๒๖๓ งานหล่อพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช ณ วัดบ้านไม้ค้าง อ.วารินช้าราบ จ.อุบลราชธานี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑๘/ ๖/ ๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๖๔ พระฤๅษีกาหลง ท้าพิธีครอบเศียรพญานาคให้แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา เชื่อว่าจะท้าให้เกิดเมตตามหานิยม มีโชคลาภ ท้ามาค้าขายดี ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๑๘/ ๖/ ๒๕๖๐

ปรากฏการณ์พญานาคยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด เห็นได้จากจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมี ชื่อเสี ยงเรื่องการจัดประเพณี แห่ เทีย นพรรษา ยั งได้จัดงาน “Miracle of Candle” ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้แนวคิด “นครนาคราช” ขึ้น โดยจัดทาเทียนหอมเป็นรูปพ่อปู่ศรีสุทโธนาคในภาคครึ่ง มนุษย์ครึ่งงู ขนาดความสูง ๕ เมตร และพญานาคบริวารอีก ๒ ตน (ซ้าย ขวา) ขนาดความยาว ๘ เมตร เพื่อดึงดูด


๑๗๙ นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศให้มาเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นงานศิลป์ชิ้นเดียวในโลก ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร เพราะผู้ชมจะเสพสุนทรียะ ทั้งรูปสวยและกลิ่นหอม ผลงานชิ้นนี้ต้องใช้ทั้งฝีมือและความอดทนอย่างยิ่งยวดในการประดิษฐ์ เพราะเพียงแค่เกล็ด พญานาคที่ทาจากเทียนหอมก็มีมากกว่าสามหมื่นเกล็ดเลยทีเดียว สร้างสรรค์ ผลงานโดยคุณชาลิดา พูนทรัพย์ ศิลปินจากกลุ่มผลิตภัณฑ์เทียนหอมเดชอุดม ร่วมกับนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนเดชอุดม ใช้เวลาสร้างสรรค์ผลงานนานกว่า ๒ เดือน ก่อนที่จะให้นักท่องเที่ยวได้ ชื่นชมระหว่างวันที่ ๖-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ในความเป็ น จริง เมื่อพู ดถึง “นครนาคราช” คงต้องนึกถึงจังหวัดหนองคาย มากกว่าที่ จะนึกถึงจังหวัด อุบลราชธานี นี่ต้องถือว่าทางจังหวัดอุบลราชธานี “ฉลาด” ที่เลือกจะเกาะกระแสดังกล่าว เป็นการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลแห่เทียนพรรษาของจังหวัดให้มีสีสัน แปลกใหม่ มากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ากับในปีก่อน เป็นการเพิ่ม ศั ก ยภาพในการแข่ ง ขั น กั บ จั ง หวั ด อื่ น ๆ ที่ จั ด งานประเพณี แ ห่ เที ย นพรรษาได้ ยิ่ ง ใหญ่ ไม่ แ พ้ กั น ไม่ ว่ า จะเป็ น ที่ นครราชสีมา (โคราช) หรือสุพรรณบุรี

ภาพที่ ๒๖๕ ทางเข้างาน “Miracle of Candle” ภายใต้แนวคิด “นครนาคราช” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๗/ ๗/ ๒๕๖๐


๑๘๐

ภาพที่ ๒๖๖-๒๖๗ พญานาคศรีสุทโธ ในภาคครึ่งมนุษย์ ครึ่งงู ท้าจากเทียนหอม ขนาดความสูง ๕ เมตร ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๗/ ๗/ ๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๖๘-๒๖๙ พญาศรีสุทโธนาคราช พร้อมพญานาคบริวาร ซ้าย-ขวา ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๗/ ๗/ ๒๕๖๐

ภาพที่ ๒๗๐ อี ก มุ ม หนึ่ ง ของงาน “Miracle of Candle มหัศจรรย์เทียนพรรษา” ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๗/ ๗/ ๒๕๖๐


๑๘๑

ภาพที่ ๒๗๑ ความวิจิตรบรรจงของเทียนหอมรูปเกล็ดพญานาคและพรรณดอกไม้น้า ถ่ายโดย ผศ.ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม เมื่อ ๗/ ๗/ ๒๕๖๐

แม้ แต่ชื่อคอนเสิ ร์ตก็ยั งใช้พญานาคมาช่วยประชาสั มพันธ์ เห็ นได้จากคอนเสิ ร์ตชื่อ “นาคฟ้อน มังกร ระบา”3 ซึ่งโตโยต้า (TOYOTA) รวมกับบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์จากัดมหาชนจัดขึ้น ณ โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ ชั้น ๗ สยามสแควร์วัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๑-๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เหตุที่ได้ชื่อ ว่าคอนเสิร์ตว่านาคฟ้อน มังกรระบา เนื่องจากเป็นการผสมผสานความเป็นจีนในคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย (บรรเลงโดย ใช้เครื่องดนตรีจีน ผสมกับวงออเคสตร้าของตะวันตก) นาคหมายถึงไทย มังกรหมายถึงจีน ส่วนการฟ้อนและการ ระบาหมายถึงการแสดงนาฏศิลป์ เมื่อพิเคราะห์แล้ว จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า “นาคฟ้อน มังกรระบา” คงเป็นเรื่องของความ เชื่อตามกระแสสังคมของคนไทยที่ว่า เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้ถือเป็นปีพญานาคเปิดทรัพย์ ใคร อยากมีโชคลาภวาสนา เงินทองไหลมาเทมา เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้บูชาพญานาค ผู้จัดงานคงจับกระแส สังคมดังกล่าวมาเป็นแนวคิดหลักในการจัดงาน เพื่อผลทางด้านจิตใจและในแง่การตลาด การสรุปเช่นนี้ไม่ใช่การเชื่อมโยงโดยปราศจากเหตุผล เมื่อพิเคราะห์ดูจะเห็นได้ว่า ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ไม่ใช่ปี นักษัตรมะโรง (งูใหญ่) แต่เป็นนักษัตรระกา (ไก่) ซึ่งสัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่ถูกกัน การตั้งชื่อเช่นนี้จึงไม่น่าจะเป็นผลดี และถ้าไม่ใช่เป็นเพราะกระแสสังคมคงไม่จาเป็นต้องตั้งชื่อเช่นนี้ บางท่านอาจแย้งว่า เป็นเพราะคนจีนอ้างว่าตนเป็น ลูกหลานพญามังกร การตั้งชื่อแบบนี้ จึงถือว่าเหมาะสมแล้ว แต่ท่านอย่าลืมว่า คนไทย (ทุกคน) ไม่ใช่ลูกหลาน พญานาค การตั้งชื่อเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการโหนกระแสสังคมเป็นแน่ 3

ส.พลายน้อย อธิบายเรื่อง “นาค” กับ “มังกร” ไว้ว่า คนไทยใช้พญานาค เป็นสัญลักษณ์แทนปีนักษัตรมะโรง ส่วนคนจีนใช้มังกร เป็นสัญลักษณ์ แท้จริงแล้ว พญานาคกับมังกรก็ไม่ได้มีรูปร่างเหมือนกันสักทีเดียว กล่าวคือ พญานาคเป็นงูใหญ่ มีหงอน ขณะที่มังกร ได้รับส่วนต่างๆ มาจากร่างกายสัตว์ ๙ ชนิด คือ ๑. ได้รับเขามาจากกวาง ๒. ได้รับหัวมาจากอูฐ ๓. ได้รับตามาจากปีศาจ หรือบาง ตาราก็ว่าเป็น กระต่าย ๔. ได้รับคอมาจากงู ๕. ได้รับส่วนท้องมาจากหอยแครงยักษ์ หรือบางตาราก็ว่า กบ ๖.ได้รับเกล็ดมาจาก พวกปลาตะเพียนหรือปลากระโห้ ๗. ได้รับเล็บมาจากนกอินทรี ๘.ได้รับฝ่าเท้ามาจากเสือ และ ๙. ได้รับหูมาจากวัว


๑๘๒

ภาพที่ ๒๗๒ โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การแสดงคอนเสิร์ตคุณพระช่วย ครังที่ ๗ ในชื่อ “นาคฟ้อน มังกรระบ้า”

ผลดีที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์พญานาคที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ เรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยว ทาให้คนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องจากบ้านไปทางานไกลๆ ซึ่งถือเป็นการสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว และเมื่อครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนก็เ ข้มแข็งตามไปด้วย นี่คือผลทางอ้อมที่มี ต่อสังคม ๓.๒ ผลเสีย ผลเสียที่ตามมา ประการที่ ๑ คือปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ซึ่งเกิดจากธุรกิจท่องเที่ยวที่เจริญเติบโตขึ้น อย่างรวดเร็วโดยขาดการควบคุม ขาดการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น ปัญหาขยะล้นคาชะโนด โดยเฉพาะ ขยะบายศรี ปัญหาควันธูปที่ทาให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ส่งผลให้ต้นชะโนดลดจานวนลง ปัญหาการสร้างสิ่งปลูก สร้างกีดขวางทางน้า ทาให้เกิดปัญหาน้าท่วมตามมา ดังปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องปิดคาชะโนดอย่าง ไม่มีกาหนด (๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐) ผลเสียประการที่ ๒ คือ สังคมที่เต็มไปด้วยศรัทธา โดยปราศจาก “ปัญญา” คอยกากับ ย่อมกลายเป็นสังคม ที่งมงาย ไม่พัฒนา เพราะแทนที่ผู้คนจะตั้งหน้าตั้งตาทามาหากินโดยสุจริต มีความขยัน อดทน รู้จักอดออม ก็ กลายเป็นว่าทุกคนต่างเฝ้ารอโชคชะตา หวังให้พญานาคมาช่วยเหลือ ดลบันดาลให้มั่งมีเ งินทองจากการเสี่ยงโชค สังคมจึงไม่อาจพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง


๑๘๓

ปัจฉิมกถา คติความเชื่อเรื่อง “นาค” เป็นคติดั้งเดิมของชุมชนในภาคอีสานก่อนการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์และ ศาสนาพุทธจากชมพูทวีป ผู้คนแถบนี้เชื่อว่าพญานาค หรืองูใหญ่มีหงอนคือเจ้าแห่ งผืนดินและสายน้า แม่น้าสาย สาคัญในภาคอีสานไม่ว่าจะเป็นแม่น้าโขง แม่น้ามูล แม่น้าชี เป็นต้นล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการคุ้ยควักแผ่นดินของ พญานาคทั้งสิ้น เชื่อกันว่าพญานาคเป็นบรรพบุรุษ สายมาตุพงศ์ (สายแม่) จึงมีส่วนช่วยลูกหลานสร้างบ้านแปงเมือง ช่วยดลบันดาลให้น้าท่าอุดมสมบูรณ์ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ยังผลให้ทาการเกษตรได้ผลดี ประชาชนกินดี อยู่ดี และมีความสุข แต่ถ้าเมื่อใดที่ลูกหลานทาผิดฮีตคองอันดีงาม ผู้ปกครองมิตั้งอยู่ในธรรม พญานาคก็จะบันดาลให้เกิด มหันตภัย ล่มเมืองให้อันตรธานไป ทาให้ประชาชนต้องอยู่ร้อน นอนทุกข์ เมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามายังดินแดนแถบนี้ ความเชื่อเรื่องนาคที่มีอยู่เดิมได้เกิดการ ปะทะประสานกับความเชื่อใหม่ จนเกิดเป็นตานานจานวนมาก เช่น ตานานที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ พร้อมด้วยพระสาวกได้เคยเสด็จมายังดินแดนแถบนี้เพื่อปราบพญานาคมิ จฉาทิฐิให้ละพยศ และหันมาเป็นผู้พิทักษ์ พระพุทธศาสนาแทน ในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๖๐) ได้เกิดปรากฏการณ์พญานาคขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย มูลเหตุเกิดจากการ ที่คนไทย โดยเฉพาะคนอีสานมีความเชื่อในเรื่องพญานาคเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ ว ต่อมาเมื่อละครเรื่อง “นาคี ” ออกอากาศ และประสบความสาเร็จอย่างท่วมท้น ขณะเดียวกันผู้นาทางความคิดในสังคมไทยต่างออกมายืนยันผ่าน สื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้งว่า พญานาคมีอยู่จริง และเมื่อบูชาพญานาคแล้วจะประสบความสาเร็จในชีวิตทั้งเรื่องเงิน เรื่อง งาน ย้อนแย้งกับสภาพการเมือง เศรษฐกิจของไทยที่ไม่ สู้จะดีนัก จึงทาให้ผู้คนในสังคมที่ดูเหมือนเป็นคนที่ขาดที่พึ่ง ทางใจ หันมาเชื่อในพญานาคอย่างรุนแรง พญานาคในยุคบริโภคนิยมจึงมีรูปลักษณ์มากกว่าที่เป็นงูใหญ่มีหงอน ดังที่พบเห็นตามวัดวาอาราม คือ มีทั้งที่ รูปร่างเป็นพญานาคหลายเศียร แต่เศียรที่อยู่ตรงกลางเป็นมนุษย์ มีที่ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นงู และมีที่ เป็นร่างมนุษย์โดยสมบูรณ์ แต่จะมีพญานาคอยู่ใกล้ๆ เพื่อบอกให้ทราบว่า มนุษย์นี้ที่แท้แล้วก็คือพญานาคนั่นเอง ซึ่ง ในร่างมนุษย์นี้มีทั้งที่เป็นหนุ่มสาวและคนชรา มีทั้งที่เป็นเพศชายและเพศหญิง ถิ่นที่พานักของพญานาคนั้นถ้าไม่ใช่ ใกล้แหล่งน้า ก็ต้องเป็นป่าที่มีถ้า เพราะพญานาคเป็นเจ้าของดินและน้า บางทีพญานาคก็อยู่ในวัด เพราะพญานาค มีหน้าที่คอยพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ส่วนสิ่ง ที่พญานาคโปรดปรานคือไข่ต้ม จึงมักพบเห็นผู้คนนาไปแก้บนเมื่อ ประสบผลสาเร็จสมปรารถนา ปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ สถานที่ที่เชื่อ กันว่ามีพญานาคอาศัยอยู่ (นาคสถาน) ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีผู้คนเดินทางเข้าไปด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ไป เป็นจานวนมาก ทาให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวคึกคัก เช่น ธุรกิจโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร รถรับจ้าง ฯลฯ ทาให้คนท้องถิ่นมี รายได้ นอกจากนี้ วัดยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินบริจาคของประชาชนอีกด้วย เห็นได้ว่าได้รับประโยชน์ทั้งในส่วนของ รัฐและศาสนา ข้อเสียของปรากฏการณ์พญานาคในสังคมไทย คือ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนเดินทางเข้าไปจานวนมหาศาล ถ้าไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ อาจส่งผลเสียตามมาในระยะยาว อาทิ ที่วังนาคินทร์คาชะโนด จังหวัดอุดรธานี ที่ ประสบปัญหาขยะล้น มลภาวะทางอากาศที่เกิดจากควันธูปและควันจากท่อไอเสียของยานพาหนะ ปัญหาเรื่องการ ระบายน้า เป็นต้น นอกจากนี้ความเชื่อที่ปราศจากปัญญา ย่อมกลายเป็นความ “งมงาย” ที่ให้ผลเสียมากกว่าผลดี


๑๘๔ ความเชื่อเรื่องพญานาคในสังคมอีสานของไทย ถูกผลิตซ้าและประกอบสร้างขึนใหม่อย่างไม่รู้จบสิน จึง ไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีพญานาคเกิดขึนอีกเป็นจ้านวนมาก เช่น “พญานาคศรีสุทธา” ที่พระครูปลัดนิชวัฒน์ กิ ต ตสาโร (หลวงพ่ อฤๅษี ลิ งใหญ่ ) แห่ งวัด ป่ า ศรี สุ ท ธาค้ า มะโฮ อ้ า เภอห้ ว ยเม็ ก จั งหวัด กาฬสิ น ธุ์ กล่า วว่ า พญานาคตนนีเป็นน้องชายของพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช แห่งค้าชะโนด “เจ้าแม่นาคี” ที่เชื่อว่าเป็นหลานสาวของ พ่อปู่ศรีสุทโธ เป็นต้น แม้จะยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพญานาคจริงหรือไม่? แต่หลายคนก็พร้อมที่จะเดินทางไป สัมผัสสถานที่ที่เป็น “นาคสถาน” บางทีอาจไม่ใช่การไปพิสูจน์เรื่ องพญานาค แต่อาจเดิน ทางไปเพื่อเรียนรู้ แง่งามทางความคิด ความเชื่อของผู้คนริมฝั่งแม่น้าโขงที่สืบเนื่องกันมายาวนานนับพันปีก็เป็นได้

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง

เมตตัง กัณหาโคตะมะเก จะ

ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลายในตระกูลวิรูปักษ์ด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลายในตระกูลเอราบถด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลายในตระกูลฉัพพยาปุตตะด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลายในตระกูลกัณหาโคตรมะด้วย


๑๘๕

รายการอ้างอิง จักรพันธ์ แสงทอง และพิสิทธิ์ กอบบุญ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การศึกษาสถานภาพความรู้ ความเชื่อร่วมเรื่องนาคไทย-ลาว ตังแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๕๗. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, ๒๕๕๖. จิตรกร เอมพันธ์. พญานาค เจ้าแห่งแม่น้าโขง : พิธีกรรมกับระบบความเชื่อพืนบ้านแห่งวัฒนธรรมอีสาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕. ชลิดา ตั้งถาวรสิริกุล. ลวดลายผ้า: สื่อสัญลักษณ์ของลาวเวียง (จันท์). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขา มานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๘. ชาญชัย คงเพียรธรรม. “นาคาคติในสังคมเขมร.” วารสารสังคมลุ่มน้าโขง ๑๑, ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๘): หน้า ๑๐๕-๑๒๖. โชติ ศรีสุวรรณ และเกริก ท่วมกลาง. ต้านานพญานาคและค้าชะโนด ปากทางสู่เมืองบาดาล. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, ๒๕๖๐. เฒ่าวายุ คันเคียว. เกจิผู้เผชิญพญานาค. กรุงเทพฯ : ไพลินบุ๊คเน็ต, ๒๕๖๐. เตโชไชยการ. เรื่องจริงพญานาค. กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๕๕. ทศพล จังพานิชย์กุล. ปาฏิหาริย์ฤทธาพญานาค. กรุงเทพฯ : คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์, ๒๕๕๔. _______________. มหัศจรรย์พญานาค. กรุงเทพฯ : คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์, ๒๕๕๔. _______________. มนต์วังค้าชะโนด. กรุงเทพฯ : คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์, ๒๕๕๙. _______________. ศรัทธาพญานาค. กรุงเทพฯ : คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์, ๒๕๖๐. _______________. อัศจรรย์บังไฟพญานาค. กรุงเทพฯ : คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์, ๒๕๕๕. ถวิล มนัสน้อม. ไทยรัฐน้าเที่ยวทั่วไทย. กรุงเทพฯ : สุวรี ิยาสาส์น, ๒๕๔๔. ธเนศ เวศร์ภาดา. ความคิดเดินทาง เล่ม ๑ รวมบทความทางภาษา วรรณคดี สารคดี ละคร การวิจารณ์ การแปล. กรุงเทพฯ : แซทโฟร์ พริ้นติ้ง, ๒๕๖๐. พจนา สัจจาศิลป์. “จตุคามรามเทพกับกระแสการตลาด.” ใน ประภาคาร ๒. พนารัตน์ บัวแพร บรรณาธิการ. หน้า ๑๖๗-๑๘๐. กรุงเทพฯ: ออฟเซท, ๒๕๕๐. พรชนก ชาติชานิ. หลวงปู่ชอบ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๘. พิเชฐ สายพันธ์. “นาคาคติ อีสานลุ่มน้าโขงร่วมสมัย.” ใน วัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนอีสานเหนือ. ฉัตรทิพย์


๑๘๖ นาถสุภา และปรีชา อุยตระกูล บรรณาธิการ. หน้า ๑๕-๔๖. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, ๒๕๖๐. ยุพดี เสตพรรณ. ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์การพิมพ์, ๒๕๔๘. ลลนา ศักดิ์ชูวงษ์. การให้ความหมายและเหตุผลการด้ารงอยู่ของประเพณีบังไฟพญานาคในยุคโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ๒๕๔๘. ลักษณ์ เรขานิเทศ. สมบัติพญานาคราช. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส, ๒๕๕๙. ส. พลายน้อย (นามแฝง). เล่าเรื่องมังกร: ต้านานหลากชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : พิมพ์คา, ๒๕๕๖. สัติยะพันธ์ คชมิตร. พัฒนาการความเชื่อเรื่องนาคแถบลุ่มแม่น้าโขงตังแต่ยุคอุรังคธาตุสู่ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๖. สิทธา เชตะวัน. “หลวงปู่คาคนิง จุลมณี บุกเมืองพญานาค.” ใน ประวัติและปฏิปทาของหลวงปู่ค้าคนิง จุลมณี. พระสุธี ธาตุเหล็ก ลพระทองสา คาแฝง. หน้า ๔๒-๑๑๑. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ม.ป.ป. สุจิตต์ วงษ์เทศ. เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๓. สุพรรณ ก้อนคา ณ ลาโขง และกฤษณะ พราหมณ์. ปาฏิหาริย์บังไฟพญานาค สุดยอดความอัศจรรย์และ ต้านานศักดิ์สิทธิ์แห่งแม่น้าโขง. กรุงเทพฯ : ย้อนรอย, ๒๕๕๘. สุวิช สถิตวิทยานันท์ และคงฤทธิ์ ภาระราช. ประติมากรรมตกแต่งพุทธสถานตามริมฝั่งแม่น้าโขง. รายงานการ วิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนอุดหนุนทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๓๖. อนุพันธ์ นิตินัย. ต้านาน ๗๗ จังหวัด. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์, ๒๕๕๕. เอี่ยม ทองดี. วัฒนธรรมข้าว. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, ๒๕๓๗.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.