จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง

Page 1


จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุงศรีเมือง

สุรชัย ศรีใส


โครงการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โครงการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หนังสือ จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง งสื อ จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรี เมือง ผู้เขียผูน้เขีหนั ยน สุรชัย ศรีใส ผู้เขียน กัสุนรยายน ชัย ศรี๒๕๕๕ ใส พิพิมมพ์พ์คครัรั้ง้งแรก แรก มพ์คมรัมพ์้ งพ์แรก กันยายน จำจำ�พิ�นวนพิ นวนพิ ๕๐๐ เล่ม ๒๕๕๕ จํานวนพิ ๕๐๐ เล่ม ISBN ISBN มพ์ ๙๗๘-๖๑๖-๓๐๕-๓๗๖-๓ จัจัดดพิพิมมพ์พ์โโดย ดย ISBN ฝ่๙๗๘-๙๗๔-๕๒๓-๒๖๖-๒ ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำ�นักวิทยบริการ ทยาลัยอุบลราชธานี ๘๕กษา ถนนสถลมาร์ ตำ�บลเมื จัดพิมพ์โดย มหาวิ ฝ่ ายเทคโนโลยี ทางการศึ สํานักวิทคยบริ การ องศรีไค อำมหาวิ �เภอวาริ นชำ�ยราบ จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๑๙๐ ค ตําบลเมืองศรี ไค ทยาลั อุบลราชธานี ๘๕ ถนนสถลมาร์ โทรศั พท์ ๐ น๔๕๓๕ อําเภอวาริ ชําราบ๓๑๔๘ จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๑๙๐ สนั สนับบสนุ สนุนนงบประมาณ งบประมาณ เงิโทรศั นอุดหนุ �นุบ๓๑๔๘ ำ�รุงศิลปวัฒนธรรม พท์นโครงการทำ ๐ ๔๕๓๕ มหาวิ ลราชธานี ประจำ ๒๕๕๕ สนั บสนุนงบประมาณ เงินอุทดยาลั หนุยนอุบโครงการทํ านุบ�าํ ปีรุงงบประมาณ ศิลปวัฒนธรรม ถ่ายภาพ ถ่ายภาพ สุรชัย ศรีใส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจําปี งบประมาณ ๒๕๕๕ ผู้ช่วยช่างภาพ สุรชาติ ศรีใส ถ่ ายภาพ สุ รชัย ศรี ใส ภาพลายเส้ ภาพลายเส้ น น สุรชัย ศรีใส ผู้ช่วยช่ างภาพ สุ รชาติ ศรี ใส พิพิสสูจูจน์น์ออักักษร ษร สุรศักดิ์ ไพบูลย์สุขสิริ ภาพลายเส้ น ภัสุทราพร รชัย ศรี ใส ศรีใส รศักดิ์ มไพบู พิมพิพ์สทู จพิี่ น์ม พ์อทกั ษร ี่ วิสุทยาการพิ พ์ ลย์สุขสิ ริ สมร ศรี ใถนนผาแดง ส ๓๓๖-๓๓๘ พิมพ์ที่ อำวิ�ทเภอเมื ยาการพิ อง จัมงพ์หวัดอุบลราชธานี ๓๔๐๐๐ ๓๓๖-๓๓๘ ถนนผาแดง โทรศั พท์ ๐ ๔๕๒๔ ๐๖๙๒, ๐ ๔๕๒๖ ๔๓๓๓ อําเภอเมื๐อ๔๕๒๖ ง จังหวั ดอุบลราชธานี ๓๔๐๐๐ โทรสาร ๕๗๕๖

โทรศัพท์ ๐ ๔๕๒๔ ๐๖๙๒, ๐ ๔๕๒๖ ๔๓๓๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำโทรสาร �นักหอสมุด๐แห่๔๕๒๖ งชาติ ๕๗๕๖

National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุรชัย ศรีใส. จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง. -- อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์, 2555. 112 หน้า. 1. จิตรกรรมพุทธศาสนา. 2. จิตรกรรมฝาผนัง. I. ชื่อเรื่อง. 294.31875 ISBN 978-616-305-376-3


คำ�นำ� อีสานนับเป็นแหล่งอารยธรรมทีม่ มี ายาวนาน มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมาย ทีส่ ะท้อน ภู มิ ปั ญ ญาของผู้ ค นในอดี ตได้ เ ป็ น อย่ า งดี รวมไปถึ ง งานศิ ล ปกรรมแขนงหนึ่ ง ที่ ร วบรวมเอา ขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันไว้ในงานศิลปะแขนงนี้ คือ จิตรกรรมฝาผนัง ซึ่ ง เป็ น งานศิ ล ปกรรมที่ มี อ ยู่ ทั่ ว ทุ ก ภาคในประเทศไทย จิ ต รกรรมฝาผนั ง ที่ ห อพระพุ ท ธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ก็เป็นสถานที่แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังบอก เล่าเรื่องราวเชิงพุทธปรัชญา ซึ่งเป็นฝีมือการเขียนของช่างสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่สอดแทรกเรื่องราว วิถชี วี ติ ของคนในยุคนัน้ และเป็นการบันทึกประวัตศิ าสตร์ลงในภาพเขียนให้คนรุน่ หลังได้ศกึ ษาการ ดำ�เนินชีวิตของคนยุคก่อน จึงถือว่าเป็นหลักฐานสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งกรรมวิธีกระบวนการทำ�ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เป็นการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นใน การสร้างสรรค์งานศิลปะ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการทำ�พื้นที่ใช้ดินสอพอง ผสมกับกาวเม็ดมะขาม ทารองพื้น แม้กระทั่งสีที่ใช้ก็ได้จากธรรมชาติ คือ “สีฝุ่น” ผสมกับกาวกระถินหรือกาวมะขวิด เช่น สีแดงจากดินสีแดง สีขาวจากการฝนหอยกี่ สีดำ�จากเขม่าไฟ ฯลฯ จึงเป็นการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะจากแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ลักษณะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังมีความงดงามประณีต ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ แต่มีวิธีการดำ�เนินเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น สุดท้ายนี้ ด้วยอานิสงส์แห่งกุศลทีท่ กุ ท่านได้มรี ว่ มในการจัดทำ�หนังสือเล่มนี้ จงได้เป็นปัจจัย แก่ความเป็นผู้มีปัญญาเลิศทั้งในภพนี้และภพหน้า เป็นผู้มีความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และธนสารสมบัติ จงมีแก่ทุกท่านทุกประการ (นายสุรชัย ศรีใส) กันยายน ๒๕๕๕


สารบัญ ประวัติความเป็ นมา ประวั นมา ประวัตติคิกวามเป็ ารบูรณะ ประวัติการบูรณะ แผนผัง การลําดับภาพและเรื่ องราวจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรี เมือง แผนผัง การลำ�ดับภาพและเรื่องราวจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรี เมือง จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ขั้นตอนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ขั้นตอนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ผนังด้านทิศใต้ (ซ้ายพระประธาน) ผนังด้านทิศใต้ (ด้านซ้ายมือพระประธาน) ผนั ง ด้ า นทิ ศ เหนื อ (ขวาพระประธาน) ผนังด้านทิศเหนือ (ด้านขวามือพระประธาน) ผนั ง ด้ า นทิ ศ ตะวั น ออก (หน้ า พระประธาน) ผนังด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้าพระประธาน) ผนังงด้ด้าานทิ นทิศศตะวั ตะวันนตก ตก (ด้(หลั งพระประธาน) ผนั านหลั งพระประธาน) ประชุมมชาดกกลั ชาดกกลับบชาติ ชาติ ประชุ ทรียยภาพจิ ภาพจิตตรกรรมฝาผนั รกรรมฝาผนังงหอพระพุ หอพระพุทธบาท ทธบาท วัดวัทุด่งทุศรี่งศรี อง สุสุนนทรี เมืเอมืง สรุปป บรรณานุกกรม รม บรรณานุ ภาคผนวก ประวัติผเู ้ ขียน ประวัติผู้เขียน

หน้า ๑ ๑ ๑๕ ๑๕ ๒๒ ๒๒ ๒๓ ๒๓ ๒๕ ๒๕ ๒๘ ๒๘ ๔๙ ๔๘ ๖๖ ๖๔ ๗๓ ๗๑ ๘๗ ๘๔ ๘๙ ๘๕ ๑๐๓ ๑๐๒ ๑๐๗ ๑๐๖ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๑๑


หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ประวัติความเป็นมา หอพระพุทธบาท หรือพระอุโบสถวัดทุง่ ศรีเมือง พระอริยวงศ์ สร้างขึน้ ประมาณ พ.ศ, ๒๓๓๐ ปลายรัชกาลที่ ๓ (วัดทุ่งศรีเมือง. ๒๕๔๖ : ๕) โดยญาครูช่างเป็นผู้ดำ�เนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นที่ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำ�ลอง ความกว้าง ๐.๖๕ ยาว ๑.๖๕ เมตร ซึง่ จำ�ลองมาจากวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น และศิลปะล้านช้าง ขนาด ๓ ห้อง ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคามีชั้นลด ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ ตับ หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังจำ�หลักไม้ปิดทองประดับกระจก รูปพระอินทร์ ประทับในบุษบกบนหลังช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายก้านขด มีคันทวยรูปเทพพนมรองรับไขรา ทั้งสิ้น ๑๐ ตัว มีเสาพาไลคู่ด้านหน้ารองรับหลังคา ระหว่างเสาพาไลมีพนัก

1


การสร้างหอพระพุทธบาทเป็นไปด้วยความยากลำ�บาก เนื่องจากวัดทุ่งศรีเมืองเป็นที่ลุ่ม พอถึงฤดูฝน น้ำ�มักท่วมขังเป็นเวลานาน จึงขุดเอาดิน ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของพื้นที่ บริเวณก่อสร้างหอพระพุทธบาท ขึ้นมาถมให้สูงเพื่อป้องกันน้ำ�ท่วม ซึ่งบริเวณที่ขุดดินขึ้นมากลาย เป็นสระน้ำ� โดยสระน้ำ�ทิศตะวันตกเรียก “หนองหมากแซว” เพราะมีต้นหมากแซว (มะกอกน้ำ�) ขนาดใหญ่อยูข่ า้ งสระ ปัจจุบนั สระนีถ้ กู ถมไปแล้ว ครัน้ เมือ่ สร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว บริเวณ ด้านทิศเหนือที่เป็นหนองน้ำ� จึงสร้างพระหอไตรปิฎกขึ้นกลางสระน้ำ� กว้าง ๒๓ X ๔๐ เมตร ส่วนบริเวณด้านหน้าหอพระพุทธบาทได้ขดุ เอาดินขึน้ มาปัน้ เป็นก้อนอิฐ เพือ่ ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หอพระพุทธบาท สระบริเวณด้านหน้าจึงเรียกว่า “หนองดินจี่” ปัจจุบันได้ถูกถมไปแล้วเช่นกัน

ที่มา : หนังสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้า ๑๓๕ 2


3


4


พระเจ้าใหญ่องค์เงิน พระประธานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชยั ขนาดหน้าตัก ๘๙ เซนติเมตร สูง ๑.๔๕ เมตร หล่อด้วยเงินฮาง (เงินตราท้องถิ่นอีสานโบราณ) นั่งขัดสมาธิราบ พระเจ้าใหญ่ องค์เงินเดิมมีการปิดทองทับทั้งองค์ ต่อมาจึงทราบว่าองค์เนื้อในเป็นเงิน

รอยพระพุทธบาทจำ�ลอง ท่ า นเจ้ า คุ ณ พระอริ ย วงศ์ ได้จำ�ลองเอารอยพระพุทธบาท วั ด สระเกศมาประดิ ษ ฐานที่ วั ด ทุ่งศรีเมือง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๕ เซนติเมตร ยาว ๑.๖๕ เมตร การสร้างพระพุทธบาทจำ�ลอง จึง ช่วยให้พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธา แต่ไม่สามารถเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่วัดสระเกศ หรือรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีได้ สามารถมานมัสการรอยพระพุทธบาทที่วัดทุ่งศรีเมืองได้เช่นกัน

5


บันได ช่องบันไดเข้าสู่ตัวพระอุโบสถทางด้านทิศตะวันออก ราวบันไดประดับรูปพญานาคทรงจระเข้ ทำ�หน้าที่เป็นทวารบาล ส่วนในแง่ปริศนาธรรมหมายถึง ถ้าบวชเข้ามาแล้ว ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ ฉันแล้วเอน เพลแล้วนอน ก็ไม่ตา่ งอะไรกับจระเข้ จึงต้องมีกฎระเบียบมาบังคับเอาไว้ คือ พญานาค (วัดทุ่งศรีเมือง. ๒๕๔๖ : ๖) ซึ่งสันนิษฐานว่าเดิมน่าจะมีเฉพาะตัวมกร (แข่) แล้วมาสร้างพญานาค เพิ่มในภายหลัง เพราะโดยทั่วไปราวบันไดสิมอีสาน จะพบเห็นเฉพาะตัวมกรเท่านั้น

6


ประตู ประตูทางเข้าหอพระพุทธบาทมีประตูด้านหน้า เพียงด้านเดียว เป็นบานประตูจ�ำ หลักไม้ปดิ ทอง ประดับ กระจกสวยงาม ซุ้มประตูทรงมณฑป บานประตูทั้ง ๒ บานแกะสลักลายก้านขดพรรณพฤกษาออกช่อดอก “กาละกับ” ซึ่งเป็นดอกไม้ที่นิยมแกะสลักในภาคอีสาน ขนาด ๑.๑๓ X ๒.๔๓ เมตร ภายในลวดลายสอดแทรก รูปสัตว์ต่างๆ เช่น นก และกระรอก

7


หน้าต่าง หอพระพุทธบาท ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้มีหน้าต่าง ด้านละ ๓ ช่อง รวมทั้งสิ้น ๖ ช่อง เป็นซุ้มหน้าต่างทรงบันแถลง ที่ส่วนยอดซุ้มมีลักษณะจำ�ลองรูปด้านหน้าของหลังคา ทรงคฤห์ ยอดซุ้มทำ�เป็นซุ้มซ้อนกัน ๒ ชั้นเสาซุ้ม ยกเป็น ๒ ระดับ เพื่อล้อกับยอดบันแถลงที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น บานหน้าต่างปิดทองลายฉลุบนพื้นสีดำ� เรื่อง “ทศชาติชาดก” หรือ “พระเจ้าสิบชาติ” พระชาติละหนึ่งบาน เป็นเรื่องราวที่ พุทธศาสนิกชนไทยรู้จักกันอย่างแพร่ หลาย เป็นเรื่องที่พระโพธิสัตว์ทรง บำ�เพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวด พระชาติละ หนึ่งบารมี เรียกว่า “ทศบารมี” เริ่มจากบานที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ พระประธาน เวียนจากซ้ายไปทางขวา (อุตราวัฏ) จนครบ ๑๐ บาน ส่วน ๒ บาน ที่เหลือเขียนลายเครือเถาออกช่อเทพพนม การปิดทองลายฉลุบานหน้าต่างเหล่านี้ ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยช่างอุทัยทอง จันทกรณ์ (อุทัยทอง จันทกรณ์. ๒๕๓๕ : ๔๙)

8


๑. เตมียชาดก (เต) เนกขัมมบารมี (การออกบวช)

๒. มหาชนกชาดก (ชะ) วิริยบารมี (ความเพียร) 9


๓. สุวรรณสามชาดก (สุ) เมตตาบารมี (ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข) 10

๔. เนมิราชชาดก (เน) อธิษฐานบารมี (ความตั้งใจมั่น)


๕. มโหสถชาดก (มะ) ปัญญาบารมี (ความฉลาดรอบรู้)

๖. ภูริทัตชาดก (ภ) ศีลบารมี (ความสำ�รวมกาย วาจา ใจ) 11


๗. จันทกุมารชาดก (จะ) ขันติบารมี (ความอดทน)

๘. นารทชาดก (นา) อุเบกขาบารมี (ความวางเฉย) 12


๙. วิธุรชาดก (วิ) สัจจบารมี (ความสัตย์)

๑๐. เวสสันดรชาดก (เว) ทานบารมี (การให้) 13


หน้าบัน หน้าบัน ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคลำ�ยอง หน้าบันแกะสลักลวดลายปิด ทอง ประดับกระจกสีเขียว เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประกอบลายก้านขด ส่วนหน้าบัน ปีกนกแกะสลักลวดลายปิดทอง ประดับกระจกสีเขียวเช่นกัน เป็นลายเครือเถาก้านขดสวยงาม มีเสาบัวกลีบขนุน ๔ ต้น รองรับหน้าบัน

สาหร่ายรวงผึง ภาษาอีสาน เรียกว่า “โก่งคิว้ ” หรือ “ฮังผึง่ ” ประดับตกแต่งอยู่ ๓ ช่อง ระหว่างเสาทัง้ ๔ ต้น แกะสลักลวดลาย พรรณพฤกษาออกช่อดอก “กาละกับ” คันทวย ทั้งสิ้น ๑๐ ตัว เป็นคันทวย เทพพนม รู ป ทรงแบบศิ ล ปะรั ต นโกสิ น ทร์ ภายในแกะสลักนูนต่ำ�ภาพสัตว์ต่างๆ ตามคติ ผูพ้ ทิ กั ษ์รกั ษาพระพุทธศาสนา และเป็นเครือ่ ง ค้ำ�ยันด้านข้างระหว่างตัวอาคารกับชายคาปีกนก

14


ประวัติการบูรณะ สมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) เป็นเจ้าอาวาส ผนังภายนอกด้านทิศตะวันตกแตก ร้าวเป็นรอยใหญ่ เนือ่ งจากได้รบั การสัน่ สะเทือนจาก เสียงพลุ ดอกไม้ไฟที่จุดในงานพิธีต่าง ๆ ที่บริเวณ สนามทุ่งศรีเมือง จึงแก้ไขบูรณะซ่อมแซมด้วยการ ก่ออิฐเป็นรูปธาตุทับรอยร้าว จึงทำ�ให้ผนังด้านหลัง หอพระพุทธบาทหนาขึ้นกว่าเดิมประมาณ ๑ เมตร และหลังคาจากเดิมมุงด้วยแป้นไม้เกล็ดมาเป็นสังกะสี และนำ�เสาไม้ ๔ ต้นมาค้ำ�ยันขื่อ ซ่อมคร่าว และวาด ลวดลายที่เสา พุทธศักราช ๒๕๐๓ พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) มารับตำ�แหน่งเจ้าอาวาส ได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนหลังคาจากเดิมเป็น สังกะสีเป็นกระเบื้องเคลือบ และเปลี่ยนช่อฟ้า ใบระกาที่เดิมเป็นไม้แกะสลัก เปลี่ยนเป็นซีเมนต์ จนถึงปัจจุบัน

15


พุทธศักราช ๒๕๔๗ สำ�นักงานศิลปากรที่ ๑๑ ได้บูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์หอพระพุทธบาท ซ่อมหลังคา และโครงสร้างหลังคาทั้งหมด เสริมความมั่นคงของผนัง เสริมโครงสร้างเสาระเบียง หลังคามุข เสริมรากฐาน ซ่อมพืน้ หอพระพุทธบาท ซ่อมบันได และราวบันได ทำ�การปิดทองประดับ กระจกตามของเดิมทั้งหมด รวมทั้งปิดทองบัวหัวเสาด้วย เปลี่ยนช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์กลับ มาเป็นไม้ ซ่อมประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้องพื้นภายในหอพระพุทธบาท ซ่อมเสาไม้ยันขื่อโดยตัดต่อ ส่วนโคนของเสาซึ่งผุ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๒,๘๔๐,๐๐๐ บาท พุทธศักราช ๒๕๔๘ สำ�นักงานศิลปากรที่ ๑๑ ได้บูรณะและปรับภูมิทัศน์หอพระพุทธบาท ซ่อมกำ�แพงแก้ว รื้อซุ้มประตูกำ�แพงแก้วด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างตามแบบของเดิมที่เป็นเสา หัวเม็ด ปรับปรุงพืน้ คอนกรีตภายในกำ�แพงแก้ว ปรับปรุงทีบ่ รรจุอฐั ใิ ช้งบประมาณ ๑,๕๘๐,๐๐๐ บาท กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นโบราณสถานแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๕๙ ง. วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๘ การซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ได้มีการบูรณะซ่อมแซม มาหลายครัง้ จากเดิมการซ่อมแซมภาพเขียนก็ใช้วธิ กี ารเขียนทับส่วนชำ�รุด ซึง่ สามารถสังเกตได้จาก หลายส่วน ที่พบร่องรอยการเขียนทับของเดิม โดยเฉพาะที่ลายเส้นลวดขอบด้านล่างภาพเขียน หลายจุด และในบางจุดมีการเขียนซ่อมทับภาพเดิมที่ชำ�รุด จนไม่สามารถแยกออกได้ว่าภาพไหน ภาพเก่า ส่วนไหนเขียนซ่อมใหม่ หากแต่สังเกตดูอย่างละเอียดจะเห็นความแตกต่าง โดยเฉพาะ ลักษณะการตัดเส้นจะเห็นได้ถึงความแตกต่างของสีและขนาดของเส้นที่ไม่เหมือนกัน

16


ส่ ว นการบู ร ณะซ่ อ มแซมในระยะหลั ง มี เทคนิควิธีการที่ทันสมัย ถูกต้องตามหลักวิชาการ ขอยกตัวอย่างวิธีการซ่อม “ชั้นสีชำ�รุด” หลังจาก ทำ�ความสะอาดโดยใช้กระดาษสาวางลงบนผนัง ภาพ แล้วใช้ฟองน้ำ�ชุบน้ำ�สะอาดกดซับจนทั่วทั้ง แผ่น ดึงกระดาษสาที่มีคราบฝุ่นติดออกมา แล้ว ใช้สำ�ลีพันปลายไม้จุ่มน้ำ�ที่ผสมแอมโมเนียปั่นใน ส่วนที่ยังมีคราบสกปรกอยู่ ส่วนชั้นสีชำ�รุดก็ทา รองพื้นด้วยดินสอพองผสมกาวเม็ดมะขามและ กาวกระถิน (วัสดุที่ใช้ทำ�พื้นแบบโบราณ) ทาจน เสมอผิวชั้นสีเดิม จากนั้นระบายด้วยสีน้ำ�ให้ใกล้ เคียงกับสีเดิมให้มากที่สุด โดยทำ�เป็นสัญลักษณ์ เส้นในแนวดิ่งหรือเส้นตั้งนั้นเอง เพื่อให้สามารถ แยกแยะภาพเขียนเดิม กับส่วนที่เขียนซ่อม จาก นัน้ ก็จะทาด้วยน้�ำ ยาเคลือบอีกชัน้ เพือ่ ความคงทน ของภาพเขียน นีเ่ ป็นเพียงวิธหี นึง่ ในหลายวิธขี อง การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง

17

ร่องรอยการชำ�รุดของชั้นปูน และมีการฉาบปูนซ่อมส่วนที่ ชำ�รุดแล้วเขียนภาพทับลงไปใหม่ สังเกตได้จากความแตกต่าง ของเส้นที่มีขนาดใหญ่กว่า รวมไปถึงสีที่ใช้ตัดเส้นก็แตกต่าง กันด้วย


เปรียบเทียบภาพจิตรกรรมฝาผนังก่อนและหลังบูรณะ

ที่มา : หนังสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้า ๑๗๓

ภาพเดิมก่อนการบูรณะ

ภาพหลังการบูรณะ

ที่มา : หนังสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้า ๒๒๒

ภาพเดิมก่อนการบูรณะ

ภาพหลังการบูรณะ 18


เสาไม้ที่ค้ำ�ยันขื่อ จำ�นวน ๔ ต้น เพื่อรับน้ำ�หนัก มีการวาดลวดลายที่เสา เป็นฝีมือของ พระครูวิโรจน์รัตโนบล เสาคู่หน้าเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ส่วนเสาคู่ด้านในสุด ที่อยู่ด้าน ขวามือพระประธานเขียนเรื่องสังข์ศิลป์ชัย และเสาด้านซ้ายมือพระประธานแบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกเขียนลายก้านขดพรรณพฤกษาออกช่อดอกเทพพนม ส่วนที่ ๒ เขียนลายประจำ�ยามดอก ซีกดอกซ้อน และส่วนที่ ๓ เป็นลายเครือเถาก้านแย่งประกอบภาพกินรี

เสาคู่หน้าเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง

19


เสาด้านขวามือพระประธานเขียนเรื่องสังข์ศิลป์ชัย หรือ สินไซ เขียนเรื่องสินไซที่ต้องเดินทางไปเมืองอโนราช เพื่อพา “นางสุมนทา” ที่ถูกท้าวกุมภัณฑ์ลักพาตัว ไปเป็นมเหสี จนมีธิดาด้วยกัน ชื่อ “นางสีดาจัน” สีโห สังข์ และสินไซต้องผ่านด่านต่างๆ โดยให้สังข์ แปลงกายเป็นเรือให้สินไซขี่ข้ามแม่น้ำ�ต่างๆ ตั้งแต่ ด่ า นงู ซ วง ด่ า นวรุ ณ ยั ก ษ์ ด่ า นช้ า งพระยาฉั ท ทั น ต์ ด่านยักษ์สตี่ น ด่านยักษ์ขนิ ี ด่านนารีผล ด่านนางยักษ์ อัสมุข ี ดา่ นเทพกินรี จนถึงด่านสุดท้าย คือ ยกั ษ์กมุ ภัณฑ์

20


ลายท้องเสาด้านซ้ายมือพระประธาน

ลายท้องเสาด้านซ้ายมือพระประธาน เขียนลวดลายด้วย สีเหลืองอมน้ำ�ตาล ตัดเส้นสีดำ�แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรก เขียนเป็นลายก้านขดพรรณพฤกษา ออกช่อดอกเป็นเทพพนม บน พื้นสีคราม ส่วนที่ ๒ เป็นลายหน้ากระดานดอกไม้และลายประจำ� ยามดอกซีกดอกซ้อน ส่วนที่ ๓ เป็นลายก้านแย่ง พรรณพฤกษา ออกช่อกินรี

21


แผนผั �ดับภาพและเรื ่องราวจิตรกรรมฝาผนั ง หอพระพุ ทธบาท แผนผัง การลํ าดังบการลำ ภาพและเรื ่องราวจิตรกรรมฝาผนั ง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรี เมือง วัดทุ่งศรีเมือง ๘.๑๐ เมตร

N

๒ ๖

๗ ๑๖.๖๘ เมตร ๘.๖๐ เมตร

๑๐

๑๑ ๕

๔.๔๐ เมตร

๒๒

22

๑. พระเวสสันดร (ผนังด้นาดรนทิศใต้) ๑. พระเวสสั งด้านทิศใต้ย) ๒.(ผนัพระมาลั ๒. พระมาลัย (ผนั(ผนั ด้าศนทิ งด้างนทิ เหนืศอ เหนือ ดซ้าดยมืซ้อาพระประทาน) ช่อช่งในสุ องในสุ ยมือพระประธาน) ๓.๓. พุทธประวั ต ิ “ ตอนมหาภิ เนษกรมณ์เ”นษกรมณ์” พุ ท ธประวั ต “ ิ ตอนมหาภิ (ผนังด้านทิศเหนือ) (ผนั งด้ตาิ “ตอนมารผจญ” นทิศเหนือ) ๔. พุทธประวั (ผนังพุด้ทานทิ ศตะวันตตก) ๔. ธประวั ิ “ตอนมารผจญ” ๕. พุทธประวัติ “ตอนปริ นิพพาน” (ผนั านทินศออก) ตะวันตก) (ผนังด้านทิงด้ศตะวั ๖.๕. ปาจิพุ ตตกุ มารชาดกติ “ตอนปรินิพพาน” ทธประวั (บานแผละหน้าต่างด้านซ้ายมือ (ผนั งด้านทิศตะวันออก) พระประทานช่องแรกในสุ ดด้านซ้าย) ปาจิมชาดก ตตกุมารชาดก ๗.๖.จุลปทุ าต่างด้าานซ้ ยมือานซ้ายมือ (บานแผละหน้ (บานแผละหน้ ต่าางด้ พระประทานช่องแรกในสุ ดด้านขวา) ๘. สิ นพระประธานช่ ไช “สั งข์ ศิลป์ ชั ย”องแรกในสุดด้านซ้าย) (บานแผละหน้ ต่างด้านซ้ายมือ ๗. จุลปทุมาชาดก พระประทานช่องที่ ๒ ทั้งด้(บานแผละหน้ านซ้ายและขวา) าต่างด้านซ้ายมือ ๙. พระประธานช่ สิ นไซ “สั งข์ ศิลป์ ชั ย” องแรกในสุดด้านขวา) (เสาด้สิานนขวามื อพระประทาน) ๘. ไซ “สั งข์ศิลป์ชัย” ๑๐. ลายเครือเถาออกช่ อเทพพนม/กินรี (เสาด้ (บานแผละหน้ าต่างด้านซ้ายมือ านซ้ายมือพระประทาน) ๑๑. ลายพุ ่ มข้ าวบิณฑ์ องที่ ๒ พระประธานช่ (เสาคู่ดา้ นหน้าประตูทางเข้า) ทั้งด้านซ้ายและขวา) ๙. สินไซ “สังข์ศิลป์ชัย” (เสาด้านขวามือพระประธาน) ๑๐. ลายเครือเถาออกช่อเทพพนม/กินรี (เสาด้านซ้ายมือพระประธาน) ๑๑. ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ (เสาคู่ด้านหน้าประตูทางเข้า)


จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง จิตรกรรมฝาผนังหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ภาษาอีสานเรียก “ฮูปแต้ม” ส่วนช่าง เขียนเรียกว่า “ช่างแต้ม” ผนังด้านซ้าย ด้านหน้าและด้านหลังพระประธานเขียนเรื่องราวพุทธ ประวัติ ส่วนผนังด้านขวามือพระประธานเขียนเรื่องมหาเวสสันดรชาดก นอกจากนี้ที่บานแผละ หน้าต่างด้านซ้ายมือพระประธานเขียนภาพปัญญาสชาดก และนิบาตชาดก จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะแบบอย่างของไทย ที่แตกต่างจากศิลปะของ ชนชาติอื่น ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ (๒๕๔๒ : ๖-๗) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์งานจิตรกรรมไทยว่า “...ที่มีการเขียนรูปภาพขึ้นในวัดแต่ละแห่งๆ นั้น ทำ�ขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ให้มีรูปภาพชนิดที่เขียน ขึ้นอย่างสวยงาม เพื่อเป็นเครื่องประดับฝาผนังเป็นสำ�คัญ เพราะตามปกติฝาผนังภายในอาคาร ทางศาสนาทั่วไป มักจะทำ�น้ำ�ปูนขาวแล้วปล่อยฝาเปล่าทิ้งไว้ แลดูจืดตา พอนานไปจะมีฝุ่นจับมอม เป็นแห่งๆ บนพื้นผิวซึ่งถือเกรียงไม่เกลี้ยง ทำ�ให้แลดูน่าเกลียด ถ้าเขียนรูประบายสีกลบเสียก็จะ สวยงามขึน้ และพรางฝุน่ ทีจ่ ะจับผิวนัน้ ได้ดว้ ย...” “...ประการหลังอาศัยรูปภาพนัน้ พรรณนาความ หรือเล่าเรื่อง โดยเฉพาะการแสดงธรรมหรือ นัยหนึ่งเอารูปภาพต่างๆ สมมุติเป็นธรรมถึก จึงได้ เขียนรูปภาพเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเป็นพื้น...” ศิลป์ พีระศรี (๒๕๐๒ : ๔-๕) กล่าวว่า จิตรกรรมฝาผนังนิยมเขียนขึ้นไว้เป็นพุทธบูชา ตามผนังโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ผนังถ้ำ� มีจุดมุ่งหมายเพื่อประดับตกแต่งพื้นผนัง โน้มน้าว ชักนำ�ให้ผู้ดูเกิดความศรัทธาต่อพุทธศาสนา ส่วนผู้ที่ศรัทธาอยู่แล้วเมื่อได้สัมผัส จะทำ�ให้ซาบซึ้งต่อ พระธรรมคำ�สั่งสอนยิ่งขึ้น จึงพอสรุปได้วา่ การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีวตั ถุประสงค์เพือ่ การประดับพืน้ นัน้ ให้งาม และพรรณาความได้ดั่งประสงค์นั่นแล จิตรกรรมฝาผนังจึงเป็นงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา ที่บ่งบอกถึง เรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิต คติธรรม ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็น อยู่ของคนยุคนั้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในอดีตเทคโนโลยีการถ่ายภาพยังไม่แพร่หลายเหมือนเช่น ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการเขียนภาพ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการบันทึกประวัติศาสตร์ของคนยุคก่อน ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาสำ�รวจฮูปแต้มตามวัดในภาคอีสานของ ไพโรจน์ สโมสร และคณะ

23


พบว่ามี ฮูปแต้ม ๗๔ วัด สามารถจำ�แนกตามเนื้อเรื่องที่ปรากฏได้สองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเรื่อง “พุทธศาสนา” ได้แก่ พุทธประวัติ พระมาลัย ไตรภูมิ อรรถกถาชาดก ปริศนาธรรม กลุ่มที่ สองเรื่อง “วรรณกรรมท้องถิ่น” ได้แก่ สินไซ พระลักษณ์-พระราม สุริวงศ์ กาละเกด ปาจิตต์ อรพิมพ์ ส่วนจิตรกรรมฝาผนังสิมอีสานมีรปู แบบกรรมวิธ ี หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ไม่มกี ฎเกณฑ์ แน่ชัด ช่างแต้มสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ และมีรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อย่างเช่น ตำ�แหน่งการจัดภาพจิตรกรรมฝาผนังหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ไม่ได้เรียงลำ�ดับต่อเนื่องกัน เพราะช่างยึดถือฉากสถานที่ในท้องเรื่องเป็นสำ�คัญ บางฉากจึงมีเหตุการณ์มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ ส่วนเรื่องราวไม่ได้แบ่งเป็นช่วง ตามช่องของผนัง หรือเรียกว่า “ห้องภาพ” ที่ใช้เรียกผนังระหว่าง ช่องหน้าต่าง และไม่มีการแบ่งพื้นที่ส่วนที่อยู่เหนือหน้าต่าง ที่เรียกว่า “คอสอง” การแสดงภาพ เล่าเรื่องจึงดำ�เนินต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งผนัง ภาพจิตรกรรมบางตอนปรากฏจารึกอักษรไทยน้อย บรรยายไว้ใต้ภาพ จึงเป็นลักษณะท้องถิ่นอย่างหนึ่งในการดำ�เนินเรื่อง และเป็นการแก้ปัญหาพื้นที่ ผนังทีม่ อี ยูอ่ ย่างจำ�กัดให้สามารถบรรจุเรือ่ งราวได้มากทีส่ ดุ ซึง่ แตกต่างจากพระอุโบสถทีม่ ขี นาดใหญ่ ในกรุงเทพฯ ทีส่ ามารถเขียนเล่าเรือ่ งราวได้จ�ำ นวนมาก จึงเป็นข้อจำ�กัดอย่างหนึง่ ของอุโบสถขนาด เล็กในภาคอีสาน

24


ขั้นตอนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ขัน้ ตอนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของคนโบราณ มีความน่าสนใจอย่างยิง่ เป็นความชาญ ฉลาดในการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอันทรงคุณค่า รวมไปถึงเทคนิควิธีการที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ สอดแทรกอยู่ ซึ่งคนยุคนั้นสามารถคิดค้นขึ้นได้อย่างน่าทึ่ง ทั้งๆ ที่วิทยาการสมัยก่อนยังไม่เจริญ ก้าวหน้าอย่างเช่นปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้าถึงวิทยาการของช่างเขียนในอดีต ๑. การเตรียมพื้นผนัง ผนังปูนโบราณนิยมทำ�การก่อฉาบด้วยปูนน้ำ�อ้อย ที่มีคุณสมบัติ พรุนตัว สามารถระบายความชื้นได้ดี ซึ่งปูนน้ำ�อ้อยมีส่วนผสมของปูนขาว ทราย น้ำ�อ้อย และ กาวหนังสัตว์ ผสมเข้ากันและนำ�ไปก่อฉาบ กาวหนังสัตว์หรือกาวหนังควาย ได้จากส่วนที่เป็นหนัง ควายเผาเอาขนของหนังควายออกให้หมด โดยการนำ�มาขัดในน้ำ�ให้สะอาดอีกครั้ง เพื่อลดกลิ่น หลังจากนัน้ นำ�ไปหมักประมาณ ๑๕ วัน แล้วจึงนำ�น้�ำ หนังควายไปเคีย่ วจนกลายเป็นกาวน้�ำ หนังควาย (สมเจตน์ วิมลเกษม, สราวุธ รูปิน. ๒๕๕๑ : ๗) หรือใช้ยางบงที่ได้จากเปลือกบง ซึ่งเป็นต้นไม้ ขนาดใหญ่ นำ�มาบดให้ละเอียดแล้วตากให้แห้ง ผสมกับผงปูน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ขี้นกอินทรี ที่ เ ผาไฟให้ สุ ก แล้ ว นำ � มาบดให้ ล ะเอี ย ด ผสมน้ำ � จนเหนี ย ว ใช้ ยึ ด ก้ อ นอิ ฐ หรื อ ฉาบทาผนั ง (ไพโรจน์ สโมสร. ๒๕๓๒ : ๓๗) การผสมต้องได้สัดส่วนที่พอเหมาะ ถ้าปูนมากไป ผนังอาจจะ แตกเป็นลาย หรือถ้าทรายมากไป จะทำ�ให้ผนังร่วน ปูนทีค่ นสมัยก่อนใช้กอ่ ฉาบ ล้วนได้จากวัตถุดบิ ทีห่ าได้ในท้องถิน่ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เมื่อได้ผนังปูนที่ฉาบด้วยปูนน้ำ�อ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการล้างหรือปะสะพื้นด้วยน้ำ� ใบขี้เหล็ก เพื่อกำ�จัดความเค็มของผนังปูนที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เมื่อล้างด้วยน้ำ�ใบขี้เหล็กสดตำ� ละลายน้ำ�ให้ทั่วผนัง ทั้งช่วงเช้าและเย็นตลอดเวลา ๗ วัน แล้วทดสอบโดยใช้ขมิ้นขีดที่ผนัง หากขมิ้นที่ขีดเป็นสีแดงหรือส้ม แสดงว่าผนังปูนยังมีความเค็มอยู่ ให้ล้างด้วยน้ำ�ใบขี้เหล็กจนกว่า ขมิ้นจะเป็นสีเหลือง ผนังจึงจะไม่มีความเค็มพร้อมที่จะทำ�การรองพื้นได้แล้ว ซึ่งเป็นวิธีการตรวจ สอบทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ ๒. ขั้นรองพื้น เมื่อผนังพร้อมที่จะทำ�การเขียนแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนของการรองพื้นผนัง คนโบราณมีวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมในการรองพื้นดังต่อไปนี้ ๒.๑. ดินสอพอง คือ ดินขาวที่คนโบราณนิยมนำ�มาทาหน้าแทนแป้ง พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็นหินปูนเนื้อมาร์ล (marly limestone) เป็นดินที่มีเนื้อเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอา

25


มะนาวบีบใส่ น้ำ�มะนาวมีกรด เมื่อทำ�ปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดเป็นแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น ดูเผินๆ ก็เห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง นำ�มาผ่าน กระบวนการทำ�ให้ดินสอพองสะอาด ๒.๒. กาวเม็ดมะขาม คือ การนำ�เม็ดมะขามคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออก แช่น้ำ�ทิ้ง ไว้หนึ่งคืน จากนั้นนำ�มาต้มเคี่ยวเติมน้ำ�อยู่เรื่อยๆ จนกาวเม็ดมะขามออกมาผสมกับน้ำ�จนข้น เหนียว นำ�มากรองเอาเฉพาะน้ำ�กาว เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการรองพื้น ๒.๓. กาวยางมะขวิดหรือกาวยางกระถิน ยางมะขวิดมีลกั ษณะเป็นก้อนแข็ง สีเหลือง อ่อนค่อนข้างใส ได้จากต้นมะขวิด ยางมะขวิดมีมากในฤดูหนาว ปัจจุบันยางมะขวิดไม่มีขาย ช่างจึงหันมาใช้ยางกระถินแทน กาวยางกระถินเป็นยางไม้จากต้นกระถินณรงค์ ลักษณะทัว่ ไปไม่แตก ต่างจากต้นกระถินบ้าน ฝักอ่อน ยอด เมล็ดในฝักรับประทานกับน้ำ�พริกได้ แต่มีขนาดใหญ่กว่าต้น กระถินบ้าน กาวยางกระถินมีลักษณะเป็นเม็ดใสสีน้ำ�ตาลเข้ม วิธีการใช้ให้นำ�เม็ดกาวกระถินมา ชงกับน้ำ�ร้อนจนละลายหมด แล้วก็กรองด้วยผ้าขาวบางจนสะอาด ใส่ขวดก็สามารถนำ�มาใช้ผสม ได้เลย แต่ไม่ควรทำ�ไว้มากเกินไป เพราะกาวกระถินจะเสียส่งกลิ่นเหม็นจากการเน่าบูด สาเหตุ ที่ต้องใช้น้ำ�ร้อนชง เพราะถ้าใช้วิธีการต้มกาวกระถินให้ละลาย เมื่อเย็นลงกาวกระถินจะคืนตัวเกาะ กันเป็นเม็ด ส่วนคุณภาพสูก้ าวยางมะขวิดไม่ได้ เพราะกาวยางมะขวิดมีคณ ุ สมบัตเิ ป็นกาวตลอดกาล ไม่มีวันเสื่อม และยังไม่ดูดความชื่นในอากาศ (ฉลอง ฉัตรมงคล. ม.ป.ป. : ๓๘-๓๙). เมื่อเตรียมส่วนผสมทั้ง ๓ อย่างเรียบร้อยแล้ว นำ�มาผสมคนให้เข้ากันจนได้ที่ ใช้เป็นสีรอง พืน้ ก่อนเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง วิธตี รวจ สอบว่าส่วนผสมของสีรองพื้นได้ที่หรือไม่ โดยการใช้มอื ลูบในส่วนทีท่ าพืน้ ไปแล้ว หาก ไม่มีผงดินสอพองติดมือออกมาแสดงว่า ผสมกาวได้ท ี่ ให้ทารองพืน้ ประมาณ ๒-๓ ครั้ง ในแต่ละครั้งที่ทารองพื้นให้กวดพื้น ด้วยหลังหอยเบี้ยให้ทั่ว เพื่อการกดอัดให้ พืน้ ดินสอพองติดแน่นกับพืน้ ผนัง ก็เป็นอัน เสร็จสิ้นกระบวนการรองพื้น พร้อมที่จะ ลงมือเขียนภาพได้แล้ว ที่มา : ฉลอง ฉัตรมงคล. ม.ป.ป. หน้า ๗๒ 26


๓. ขั้นตอนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีกรรมวิธีการเขียนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะช่าง โบราณเขียนภาพด้วยสีฝนุ่ เป็นสีทที่ �ำ จากวัสดุธรรมชาติ เช่น สีด�ำ จากเขม่าไฟ สีแดงจากดินแดง สีเขียวจากสนิมทองแดง สีเหลืองจากยางต้นรง สีขาวจากการฝนหอยกี้ หรือสีแดงชาดจากต้นชาด หรคุณ และสีเคมี ได้แก่ สีบรรจุซองตราสตางค์แดง สีบางสีสามารถละลายในน้ำ�ได้ แต่สีบางสีต้อง ละลายในแอลกอฮอล์ ช่างเขียนสมัยก่อนจึงมีการดื่มเหล้า และใช้เหล้าผสมสีไปในตัว เช่น สี เขียวตังแช สีฝุ่นก่อนที่จะเขียน ต้องมีการบดสีให้ละเอียดด้วยโกร่งบดยา หรือกะลามะพร้าว นำ�สีฝุ่น ผสมน้ำ�และกาวกระถิน หรือกาวมะขวิดเป็นตัวยืดเกาะระหว่างชั้นสีกับพื้น คนให้เข้ากัน ช่างเขียน จะต้องเขียนภาพไปพร้อมกับการบดสี เพราะเนื้อสีจะตกตะกอน หากสีข้นเกินไปให้เติมน้ำ� และ กาวกระถินอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นช่างเขียนจะต้องมีความรู้เรื่องสีเป็นอย่างดี ข้อสังเกตอีกประการหนึง่ ของจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุง่ ศรีเมือง ทีเ่ ห็นความ แตกต่างจากภาพเขียนภาคกลาง คือ ภาพตัวพระตัวนางไม่นิยมปิดทองที่เครื่องประดับ แต่จะใช้สี เหลืองคล้ายสีทองระบายส่วนทีเ่ ป็นเครือ่ งประดับแล้วตัดเส้นด้วยสีแดง จะมีการปิดทองเฉพาะภาพ พระพุทธเจ้าผนังด้านหลังพระประธานเพียงแห่งเดียว ส่วนเทคนิคการปิดทองในงานจิตรกรรมไทยของช่างโบราณ เริ่มด้วยการทาสีเหลืองบริเวณที่ ต้องการจะปิดทองให้ทั่ว แล้วทาทับด้วยยางมะเดื่อ ทิ้งไว้สักพัก จึงใช้แผ่นทองคำ�เปลว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ปิดทับลงไปในส่วนที่ทายางมะเดื่อไว้ ใช้นิ้วกระทุ้งแผ่นทองให้ติดแน่นกับพื้น จากนั้นใช้ พู่กันขนอ่อนปัดทองส่วนเกินออก จะได้สีทองตามลักษณะที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องทาสีเหลืองรอง พืน้ ก่อนปิดทอง เพือ่ ป้องกันกรณีทกี่ ารปิดทองเกิดรูเล็กๆ อันเกิดจากการทายางมะเดือ่ ไม่ทวั่ หรือ เกิดจากแผ่นทองที่ไม่ได้คุณภาพ ภาษาช่างเรียกว่า “ตามด” พื้นสีเหลืองจะช่วยให้สีกลมกลืนใกล้ เคียงกับสีทอง ช่วยกลบเกลือ่ นข้อผิดพลาดได้ในระดับหนึง่ จากนัน้ ช่างจะใช้พกู่ นั เบอร์ศนู ย์พเิ ศษ ที่มีลักษณะขนยาวกว่าพู่กันทั่วไป ที่มีคุณลักษณะในการอุ้มน้ำ�สีได้มากกว่าพู่กันธรรมดา แล้วตัด เส้นด้วยสีแดง หรือช่างโบราณเรียกว่า “กระทบเส้น” เป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ

27


ผนังด้านทิศใต้ (ด้านขวามือพระประธาน)

ผนังด้านขวามือพระประธาน แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก ได้แก่ “คอสอง” คือ ผนังที่อยู่เหนือ ขอบหน้าต่างขึ้นไปจนถึงเพดาน ด้านบนสุดของผนังเขียน ภาพเทพชุมนุม ในลักษณะภาพเทวดานั่งพนมมือถือ ดอกบัว แบบศิลปะรัตนโกสินทร์ หันหน้าเข้าหาพระ ประธาน ซึ่งผนังส่วนนี้คั่นด้วยลายหน้ากระดานประจำ� ยามก้ามปู เพือ่ แบ่งแยกส่วนทีเ่ ป็นภาพเทพชุมนุมให้ออก จากภาพเรื่องพระเวสสันดรที่อยู่ด้านล่าง

ส่วนที่ ๒ คือ ตั้งแต่ลาย หน้ า กระดานประจำ � ยามก้ า มปู จนถึงลายหน้ากระดานประจำ�ยาม ก้ามปูใต้ชอ่ งหน้าต่างด้านล่าง เป็นผนังทีเ่ ริม่ ต้นเรือ่ งราวในอดีตพระชาติของพระโพธิสตั ว์ โดยเลือก เอาพระชาติสุดท้ายที่สำ�คัญ ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ “มหา เวสสันดรชาดก” ซึ่งเป็นประเพณีสำ�คัญของพุทธศาสนิกชนชาวอีสาน ได้แก่ “เทศน์มหาชาติ” อีสานเรียก “บุญผเวส” โดยแบ่งเรื่องราวออกเป็น ๑๓ ตอน หรือ ๑๓ กัณฑ์ ในการฟังพระธรรม เทศนาทั้ง ๑๓ กัณฑ์ เพื่อเป็นอานิสงส์ในการพบพระศาสนาของพระศรีอารยเมตไตรยในกาลข้าง หน้า ทำ�ให้การดำ�เนินเรื่องราวต่อจากพระเวสสันดร ช่างจึงเขียนเรื่อง “พระมาลัย” ไว้ผนังด้าน ซ้ายมือพระประธาน เป็นเรื่องที่พระมาลัยได้สนทนากับพระอินทร์ และพระศรีอารยเมตไตรย ว่าหากมนุษย์ผู้ใดต้องการพบกับพระศาสนาของพระศรีอารยเมตไตรย ให้ฟังพระธรรมเทศนาพระ เวสสันดร ๑๐๐ บท ๑,๐๐๐ พระคาถา ให้จบภายใน ๑ วัน จะได้พบกับศาสนาของพระศรีอารย เมตไตรย ทีจ่ ะมาตรัสรูเ้ ป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แต่การดำ�เนินเรือ่ งของภาพจิตรกรรม ฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง ผนังที่เขียนเรื่องพระเวสสันดรมิได้เริ่มจาก กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร ที่พระนางผุสดี

28


ทูลขอพรพระอินทร์ ๑๐ ประการ แต่เริ่มเรื่องด้วย กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ ซึ่งอาจเป็นข้อจำ�กัดด้าน พื้นที่ผนังไม่เพียงพอในการเล่าเรื่องทั้งหมด จึงเริ่มเรื่องราวจากผนังทิศใต้ด้านล่างที่ติดกับผนังด้าน หน้าพระประธาน เมื่อครั้งพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำ�หนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยว ชมตลาดร้านค้า บังเอิญขณะเสด็จประพาสพระนางประชวรครรภ์ และประสูตพิ ระโอรส ในบริเวณ ย่านการค้านัน้ พระประยูรญาติจงึ ถวายพระนามว่า “เวสสันดร” หมายถึง “ในท่ามกลางระหว่าง ย่านค้าขาย”

บริเวณรอบๆ ที่ประสูติ แสดงภาพวิถีชีวิตชาวบ้านทั้งชาวไทยและชาวจีน กำ�ลังซื้อขายแลก เปลีย่ นสินค้ากันอย่างคึกคัก มีขบวนเกวียนทีข่ นสินค้ามาขายจำ�นวนมาก มีภาพการชัง่ น้�ำ หนักสินค้า ด้วยเครือ่ งมือชัง่ แบบโบราณ มีแผงวางสินค้าให้ชาวบ้านมาเลือกซือ้ สินค้า เป็นภาพแสดงบรรยากาศ การจับจ่ายซื้อขายของตลาดย่านค้าขายได้เป็นอย่างดี ภาพเขียนโดยรวมใช้โทนสีน�้ำ ตาลแดงเป็นพืน้ หลัก จุดเด่นของภาพ คือ ภาพพระนางผุสดีทรง ประสูติพระเวสสันดร โดยมีฉากลายดอกสวยงามเป็นม่านปิดล้อมรอบบริเวณประสูติ ส่วนเครื่อง ประดับพระนางผุสดีระบายสีเหลืองคลายสีทอง แล้วตัดเส้นด้วยสีแดงสวยงาม ส่วนต้นไม้ เป็น ต้นไม้ทรงพุ่ม โดยใช้เทคนิคการลงสีขาวเป็นโครงสร้างของต้นไม้ จึงระบายสีเขียวอ่อนเป็นพุ่ม แล้วตัดเส้นเป็นใบไม้ด้วยสีดำ� ริมขอบพุ่มทำ�เป็นลักษณะเงาใบไม้ เพื่อความสมจริงของพุ่มไม้

29


30


ในวันเดียวกันที่ประสูติพระโอรส นางช้างตระกูลฉัททันต์เชือกหนึ่งตกลูกเป็นช้างเผือก เพศผู้ ชื่อ “ปัจจัยนาค หรือ ปัจจัยนาเคนทร์” เป็นช้างแก้วอุดมด้วยมงคลลักษณะ อันเป็น เลิศยิ่งนัก แม้ขับขี่ไปในที่ใด ก็จะทำ�ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เป็นช้างคู่บุญของพระเวสสันดร ครั้นนั้นเมืองกาลิงครัฐ เกิดข้าว ยากหมากแพง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พระเจ้ากาลิงครัฐมิอาจทรงแก้ไขได้ แม้ จะทรงรักษาอุโบสถศีลครบ ๗ วันก็ตาม ราษฏรได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส พระเจ้ากาลิงครัฐจึงแต่งพราหมณ์แปดคน ไปทูลขอช้างปัจจัยนาคจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรก็ประทานให้ ภาพด้าน บนเป็นภาพทีพ่ ระเวสสันดรกำ�ลังหลัง่ น้�ำ ทักษิโณทกขณะประทับบนหลังช้างปัจจัยนาค แวดล้อมไปด้วยทหารที่ตามเสด็จถืออาวุธปืนเป็น ทหารชาวต่างชาติ ส่วนทหารไทยถือดาบ และหอก ณ บริเวณข้างกำ�แพงเมือง และมีอักษรไทย น้อยกำ�กับที่ผนังกำ�แพงเมือง ตามด้วยภาพพราหมณ์ทั้ง ๘ นำ�ช้างปัจจัยนาคกลับเมืองกาลิงครัฐ

31


ชาวเมืองสีพเี ห็นพระเวสสั างปั จจัจยจันาคก็ ไม่ไพม่อใจ จึ นไปเข้ าเฝ้าพระเจ้ า พระเวสสันนดรทรงบริ ดรทรงบริจาคช้ จาคช้ างปั ยนาคก็ พอใจงพากั จึงพากั นไปเข้ าเฝ้ าพระ นดร ขอให้ เนรเทศพระเวสสั นดรไปเสี ยจากเมื องสีพอี งสี พระเจ้ ยา เจ้สญชั าสญชัยทูยทูลลกล่กล่าวโทษพระเวสสั าวโทษพระเวสสั นดร ขอให้ เนรเทศพระเวสสั นดรไปเสี ยจากเมื พี าสญชั พระเจ้ ไม่อยาจขั ราษฎรได้ จึงมีพระราชโองการขั บพระเวสสั นดรออกจากนครสี พีไปอยูพ่ป่าีไทีปอยู ่เขาวงกต สญชั ไม่อดาจขั ดราษฎรได้ จึงมีพระราชโองการขั บพระเวสสั นดรออกจากนครสี ป่ ่ าที่เขา พระเวสสั นดรของเวลา ๓ วัน ๓เพื่อวัจันดการทรั สิ่งของพย์ลาพระนางมั ทรี และบำท�เพ็ สัตตสดก วงกต พระเวสสั นดรของเวลา เพื่อจัพดย์การทรั ส่ิ งของ ลาพระนางมั รี ญและบํ าเพ็ญ มหาทาน ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาต สัตตสดกมหาทาน ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาต 32 ๓๒


กักัณณกัฑ์ณฑ์ทฑ์ที่ ที่ ๓๓ี่ ๓ ทานกั ทานกั นที ทานกัณณณฑ์ฑ์ ก่ก่ก่อออนที นที่ ่พ่พระ ระ พระเวสสั นดรจะเสด็ จออกจากเมื เวสสั จจออกจากเมื อองสี เวสสันนดรจะเสด็ ดรจะเสด็ ออกจากเมื งสีพพี ี อง ทรง ทรง สี พ ี ทรงบำ า เพ็ ญ สั ต ตสดกมหาทาน คื อ บําบํเพ็าเพ็ญญสั สัตตตสดกมหาทาน ตสดกมหาทาน คืคืออการแจกทาน การแจกทาน การแจกทานครั ้ ง ยิ ่ ง ใหญ่ ๗ อย่ า ง ม้า ครัครั ้ งยิ้ งง่ ยิใหญ่ ง่ ใหญ่๗๗อย่อย่างาง ได้ ได้แแก่ก่ ๑.๑.ช้ช้าางง ๒. ๒. ได้แก่ ๑. ช้าง ๒. ม้า ๓. รถ ๓.๓.รถรถ๔.๔.สตรี สตรี ๕.๕.โคนม โคนม ๖.ทาสชาย ๖.ทาสชาย ๗. ๔. สตรี ๕. โคนม ๖. ทาสชาย ทาสหญิ ง งอย่อย่ ทาสหญิ าอย่ งละา๗๐๐ ๗๐๐ รวม รวม ๔,๙๐๐ ๗. ทาสหญิ งา งละ งละ ๗๐๐ ๔,๙๐๐ รวม สิ่ ง วยกันน ่งด้วยกัน ด้๔,๙๐๐ สิ วด้ยกั ภาพด้าานบนเป็ านบนเป็ นบนเป็นนภาพที ระ่ พ ระ ภาพด้ ่พ่พระ ภาพด้ นภาพที ภาพที เวสสันนดรหลั ราหมณ์ เวสสั ง่ นํง่ นํ้ า่ ง้ทัาน้ทักำกาษิษิทัโโณทกให้ พพราหมณ์ เวสสั นดรหลั ดรหลั กณทกให้ ษิ โ ณทกให้ ขอม้าา่มาทู เทวดาจึ แปลง ทัพราหมณ์ ทีที่ม่มาทูาทูลลขอม้ เทวดาจึ ทคนั้ง ๔ คน ที ลขอม้งงาแปลง ้ งทั้ง ๔๔ คน เป็นละมั นละมั ง่ ทองมารองรั ราชรถนั ไว้บ งง่ แปลงเป็ นละมับบง่ ราชรถนั ทองมารองรั เป็เทวดาจึ ทองมารองรั ้ น้ นไว้ ราชรถนั้นไว้ ๓๓ ๓๓

33


ส่วนภาพถัดมาทางด้านขวา มีพราหมณ์อกี หนึง่ คนมาทูลขอราชรถพระเวสสันดรก็พระราชทาน ให้และละมั่งทองนั้นก็อันตรธานหายไปพระเวสสันดรทรงอุ้มชาลี พระนางมัทรีทรงอุ้มกัณหา แล้วเสด็จสู่เขาวงกตด้วยพระบาท

34


กัณฑ์ที่ ๔ วนปเวศน์ เป็นภาพที่พระเวสสันดรอุ้มชาลีและพระนางมัทรีอุ้มกัณหา เสด็จสู่เขา วงกตด้วยพระบาท จากเมืองสีพีถึงภูเขาตาลบรรพต แม่น้ำ�โกติมารา เขาอัญชัน และมาตุลนคร แห่ ง แคว้ น เจตราษฎร์ บรรดากษั ต ริ ย์ เ จตราษฎร์ ทู ล ขอให้ ท รงครองราชสมบั ติ ม าตุ ล นครแทน พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ และทรงขอร้องให้บอกทางไปเขาวงกต กษัตริยเ์ จตราษฎร์ทลู ชีท้ างให้และ ทรงตัง้ ให้พรานเจตบุตรเป็นผูถ้ วายอารักขา จนเสด็จถึงเขาคันธมาทน์ วิบลุ บรรพต เลียบฝัง่ แม่น�้ำ เกตุมะดี ข้ามเขาสุวรรณบรรพต เสวยผลไม้แล้วเสด็จต่อไปยังนาฬิกบรรพต ครัง้ นัน้ พระอินทร์ทรงมีเทวบัญชาให้พระวิษณุกรรมเทพบุตร นิรมิตบรรณศาลาไว้ ๒ หลังพร้อม เครือ่ งบรรพชิตบริขาร แล้วเขียนหนังสืออนุญาตให้ผใู้ คร่ประสงค์จะบรรพชา พึงถือเอาอาศรมสถาน และเครือ่ งเหล่านีเ้ ป็นของตนเอง เมือ่ กษัตริยท์ งั้ ๔ เสด็จมาถึงทรงบรรพชาเป็นฤาษีอยู่ ณ เขาวงกต เป็นเวลา ๗ เดือน ด้วยอำ�นาจบุญกุศลของพระองค์ทำ�ให้ฝูงสัตว์ที่อยู่ในระยะ ๑ โยชน์รอบเขา วงกตมีความเมตตาปราณีต่อกันและกัน

35


กัณฑ์ที่ ๕ กัณฑ์ชชู ก โดยเริม่ จากมุมหนึง่ ของผนังระหว่าง หน้าต่างช่องที่ ๑ และ ๒ ด้านทิศใต้มมุ ขวาด้านบนผนังตอนประสูติ พระเวสสันดร เป็นภาพทีน่ างอมิตตดาอ้อนวอนให้ชชู กสามีชราไป ขอกัณหา ชาลีมาเป็นทาสรับใช้นาง ชูชกปฏิเสธนางไม่ได้ จึงจำ�ใจรับคำ� นางจึงจัดเสบียง กรังให้ ชูชกจึงแต่งกายเป็นตา ปะขาวดาบส ออกเดินทางไป ยังกรุงสีพีราษฎร์ เที่ยวสืบ ถามชาวเมื อ งเกี่ ย วกั บ พระ เวสสันดร พวกชาวเมือง โกรธพากันขับไล่ชูชกเข้าป่าไป บุพกรรมของชูชก ที่ได้ ภรรยาสาวสวยวั ย รุ่ น นั้ น เป็นเพราะในชาติหนึ่งได้บูชา พระด้วยดอกไม้สดแรกแย้ม มาในชาติ นี้ จึ ง มี ภ รรยาสาว วัยรุ่น บุ พ กรรมของนาง อมิตตดา ที่มีสามีแก่ เพราะ ในชาติหนึง่ นางได้บชู าพระด้วย ดอกไม้เหีย่ วแห้ง ส่วนดอกไม้ สดนางก็นำ�มาประดับตัวเอง จนกระทัง่ นางนึกขึน้ ว่าไม่ดงี าม นางได้กลับใจบูชาพระด้วยดอกไม้ สดตูมสวย จนต่อมาเมื่อชูชกจากนางไปไม่นาน นางก็มีชาย หนุ่มรูปงามมาเกี้ยวพาราสี นางจึงได้หลบหนีไปอยู่ด้วยกัน จึง เป็นอันว่าตอนหลังนางก็มีสามีหนุ่มไม่ใช่ตาเฒ่าชูชก ผนังส่วนนี้ มีการชำ�รุดอยู่มาก 36


กัณฑ์ที่ ๖ กัณฑ์จุลพน หลังจากที่ชูชกถูกชาวเมืองขับไล่เข้าป่าไป เทพยดาดลใจให้ชูชกเดิน หลงทางไปถึงแดนป่าที่พรานเจตบุตรดูแลรักษา ชูชกหนีสุนัขของพรานเจตบุตรขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ เมื่อพรานเจตบุตรพบชูชกจึงถามเรื่องราว ชูชกจึงหลอกว่าตนเป็นทูตถือพระราชสาส์นของพระเจ้า สญชัย เพือ่ เชิญพระเวสสันดรกลับพระนคร พรานเจตบุตรหลงเชือ่ จึงให้ชชู กพักอาศัยด้วยหนึง่ คืน เช้ารุ่งจึงชี้ทางไปเขาวงกต โดยต้องผ่านอาศรมพระอัจจุตฤาษี แล้วให้แวะถามทางที่จะไปเขาวงกต

37


กัณฑ์ ที่ ๗ กัณฑ์ มหาพน ชูชกออกเดินทางตามคําแนะนําของพรานเจตบุตร จนมาถึง กัณฑ์ที่ ๗ กัณฑ์มหาพน ชูชกออกเดินทางตามคำ�แนะนำ�ของพรานเจตบุตร จนมาถึงอาศรม อาศรมอั ฤาษีวกล่แล้ สาว่าเคยคบหาสมาคมกั บพระเวสสั น ด้วนยจากตนมานาน อัจจุตฤาษีจจุ ตแล้ าวมุวกล่ สาว่าาวมุเคยคบหาสมาคมกั บพระเวสสั นดรมาก่นดรมาก่ อน ด้วอยจากกั มานาน จึงใคร่ ่ จึจะได้ งใคร่พจบ อั ะได้พจจุบตฤาษี อัจจุหตลงเชื ฤาษีห่อลงเชื ่ อ จึ ง ให้ ช ู ช กนอนพั ก หนึ ่ ง คื น รุ ง ขึ น ก็ ช ี ท างไปเขาวงกตให้ ในภาพ ้ ้ จึงให้ชูชกนอนพักหนึ่งคืน รุ่งขึ้นก็ชี้ทางไปเขาวงกตให้ ในภาพจะมี ภาพ จะมี ตว์ป่านานาชนิ ด พรรณไม้ สระบันวและเขามอ โขดหินและเขามอ ่แสดงถึดงความสมบู ณ์ของป่ สัตว์ภปาพสั ่านานาชนิ ด พรรณไม้ สระบัว โขดหิ ที่แสดงถึทีงความอุ มสมบูรณ์ขรองป่ า า ๓๘

38


๓๙

39


กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กมุ าร ผนังเหนือช่องหน้าต่างด้านทิศใต้ ทีต่ ดิ กับผนังขวามือพระประธาน กัณฑ์ ที่ ๘ กัณฑ์ กมุ าร ผนังเหนือช่องหน้าต่างด้านทิศใต้ ที่ติดกับผนังขวามือพระประธาน ด้านในสุด เป็นภาพชูชกเดินทางถึงสระโบกขรณีเวลาจวนค่ำ� จึงหยุดพักรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรี ด้านในสุ ด เป็ นภาพชูชกเดินทางถึงสระโบกขรณี เวลาจวนคํ่า จึงหยุดพักรอรุ่ งเช้าให้พระนางมัทรี ออกไปหาผลไม้ในป่า จึงจะเข้าไปขอสองกุมาร เมื่อรุ่งเช้าได้เวลาชูชกจึงเขาไปขอสองกุมาร ออกไปหาผลไม้ในป่ า จึงจะเข้าไปขอสองกุมาร เมื่อรุ่ งเช้าได้เวลาชูชกจึงเขาไปขอสองกุมาร เมื่อ เมื่อกัณหา ชาลีรู้ว่าชูชกจะมาขอไปเป็นทาสรับใช้ จึงหนีลงไปซ่อนตัวในสระบัว พระเวสสันดร พระกั ชาลีวรกัู ้วณา่ ชูหา แก้ ชกจะมาขอไปเป็ ทาสรับใช้ จึงหนีลงไปซ่นอดรก็ นตัทวรงกั ในสระบั ว พระเวสสั นดร จึงตรัณสหา เรียกแก้ วชาลี ก็ขึ้นนมากอดพระบาทพระเวสสั นแสง โทนสี โดยรวม จึงของภาพเป็ ตรัสเรี ยกแก้ หา แก้วชาลี ก็ข้ ึนมากอดพระบาทพระเวสสันดรก็ทรงกันแสง โทนสี โดยรวม นสีวนกั้ำ�ณตาลแดง ของภาพเป็ สี น้ าํ ตาลแดง หลังนจากนั ้นพระเวสสันดรทรงหลั่งน้ำ�ทักษิโณทกลงมือของชูชก มอบสองกุมารให้ แล้วชูชก พระเวสสั นดรทรงหลั โณทกลงมืนดร แต่ อของชูชกพระองค์ มอบสองกุ ารให้�ประการ แล้วชู ใช้เถาวัหลั ลย์งมจากนั ัดมือ้ นสองกุ มารลากไป เฆี่ยนตีง่ นํต้่อาทัหน้กษิาพระเวสสั ก็ไม่อมาจทำ ชกใช้ ลย์มดั มือสองกุ เฆี่ยชนตี ต่อหน้วาพระเวสสั นดร แต่มพารล่ ระองค์ ไ็ ม่อาจทํ ใดได้เถาวั เพราะทรงถื อว่าได้มบารลากไป ริจาคทานแก่ ูชกไปแล้ ชูชกจึงพาสองกุ วงลับกประตู ป่าเป็าประการ นเวลา ใดได้ พลบค่เพราะทรงถื ำ�พอดี อว่าได้บริ จาคทานแก่ชูชกไปแล้ว ชูชกจึงพาสองกุมารล่วงลับประตูป่าเป็ นเวลา พลบคํ ่าพอดี บุพกรรมของกัณหา ชาลี ในอดีตชาติได้เกิดเป็นกุมารและกุมารีของชาวนา บิดามารดาใช้ ให้กุลบุตพรทั ้งสองดูแลควายมิ ให้เข้ในอดี ากัดกินตข้ชาติ าวกล้ ควายแก่มนารีั้นขดืองชาวนา ้อด้าน ก้าวลงสู ่ท้องนา กรรมของกั ณหา ชาลี ได้าเกิในนาข้ ดเป็ นากุวมารและกุ บิดามารดาใช้ าวกล้ า กุลแบุลควายมิ ตรทั้งสอง จึ วายนั ้นให้เข็าดวหลาบ ด้วยบุนพ้ นั กรรมอั งผลให้่ ทสอ้ อง ให้กักดลุ กิบุนตข้รทั ให้เข้ากังเฆี ดกิ่ยนนตี ข้าควกล้ าในนาข้ ควายแก่ ดื้อด้านนนั้นก้าส่วลงสู งนา ้ งสองดู งมาถู กมั้ งดสอง มือเฆีจึ่ยงนตี กัดกุกิมนารต้ ข้าอวกล้ า กกุชูลชบุกผู ตรทั เฆี ่ยนตีควายนั้นให้เข็ดหลาบ ด้วยบุพกรรมอันนั้นส่ งผลให้สอง กุมารต้องมาถูกชูชกผูกมัดมือเฆี่ยนตี

๔๐

40


กัณฑ์ ที่ ๙ กัณฑ์ มทั รี เมื่อชูชกพาสองกุมารไปแล้ว พระอินทร์จึงให้เทวดา ๓ องค์ จําแลง กายเป็ นเสื อโคร่ ง เสื อเหลือง และราชสี ห์มาขวางทางพระนางไว้ จนเวลาพลบคํ่า สัตว์จาํ แลงทั้ง ๓ กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี เมื่อชูชกพาสองกุมารไปแล้ว พระอินทร์จึงให้เทวดา ๓ องค์ จำ�แลง จึงหลีกกายเป็ ทางให้ พระนางเสด็จกลับไม่เห็นสองกุมาร จึงถามพระเวสสันดร พระองค์กไ็ ม่บอกเพราะ นเสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์มาขวางทางพระนางไว้ จนเวลาพลบค่ำ� สัตว์จำ�แลงทั้ง ๓ เกรงว่าจึพระนางเศร้ าโศกเสี ยใจเป็จกลั นอับนไม่ตรายถึ งชีมวาร จึ ติ จึงงถามพระเวสสั แกล้งกล่าวเป็นดรนทีพระองค์ หึงหวงก็ไม่ว่บาพระนางมั งหลีกทางให้ พระนางเสด็ เห็นสองกุ อกเพราะ ทรี มวั ไปหลงรื ่ นรมย์ กบั ชายชูาเ้ โศกเสี สี ยในป่ าจึงนกลั คํ่า งพระนางมั ทรีงทกลู่ลาขอโทษ จึงออกไปเที ่ยวหาสองกุ เกรงว่ าพระนางเศร้ ยใจเป็ อันบตรายถึ ชีวิต จึงแกล้ วเป็นทีหึงหวง ว่ าพระนางมั ทรีมัว มาร ่นรมย์่ งกเช้ับาชายชู าจึงกลับดค่โรยอ่ ำ� พระนางมั ทรีทยูลจึขอโทษ ตลอดทัไปหลงรื จึงกลั้เสีบยด้ในป่ วยความอิ อนพระทั งสลบไปจึงออกไปเที่ยวหาสองกุมาร ้ งคืน จนรุ ตลอดทั้งคืน จนรุ่งเช้าจึงกลับด้วยความอิดโรยอ่อนพระทัยจึงสลบไป บุพกรรมของพระนางมัทรี ที่ถูกพระเวสสันดรทรงตัดพ้อให้เจ็บชํ้าพระหฤทัยนั้น ก็เพราะ บุพกรรมของพระนางมัทรี ที่ถูกพระเวสสันดรทรงตัดพ้อให้เจ็บช้ำ�พระหฤทัยนั้น ก็เพราะใน ในพระชาติ ที่ททรงเกิ าต่อขานสามี ซึ่งเป็ดนอยูพ่​่ใอนดอกบั นกติดวอยู ใ่ นดอกบั พระชาติ ี่ทรงเกิดดเป็เป็นนนกกระจาบ นกกระจาบ ได้ต่อได้ว่าตต่​่ออว่ขานสามี ซึ่งเป็นพ่อนกติ ไม่ สามารถ ว ไม่ สามารถกลั รัง ได้จึงเป็จึงนเป็เหตุนเหตุ ูกน้อองตายไปในกองไฟป่ ยต้องตายไปในกองไฟป่ กลับรับงได้ ให้ลูกใน้ห้อลยต้ าทั้งหมด าทั้งหมด พอพระนางมั นื้ คืนสติ นดรจึงบอกความจริ งและขอให้พระนางมั ทรีชว่ ยอนุ โมทนา ทรี ช่วย พอพระนางมั ทรีทฟรีฟ้ื นคื สติ พระเวสสั พระเวสสั นดรจึงบอกความจริ งและขอให้ พระนางมั ทานด้วย พระนางก็ อนุโมทนาปิ บุตรทานยบุตรทาน อนุโมทนาทานด้ วย พระนางก็ อนุโยมทนาปิ

๔๑

41


กัณฑ์ที่ ๑๐ กักัณณฑ์ฑ์สสักั กกบรรพ รุ กบรรพ รุ่ ง่งเช้เช้าาท้ท้าวสักกเทวราชแปลงเป็ นพราหมณ์ พราหมณ์มมาขอพระนางมั าขอพระนางมัททรี รี พระเวสสันนดรก็ ดรก็ททรงพระราชทานให้ รงพระราชทานให้ และหลั และหลัง่ ่งนํน้​้ าำ�เป็เป็นนสิสิททธิธิ์ ข์ขาดแก่ าดแก่พพราหมณ์ ราหมณ์ จากนั พระเวสสั จากนั้น้ นก็ถก็วายคื ถวายคืนนแก่แก่ พระเวสสันดรแล้ น ดรแล้ �แดงตนเป็ ท้าวสั กกเทวราช ทรงให้ พ ระเวสสั นดรขอพร ๘ ประการ พระเวสสั วสํวาสำแดงตนเป็ นท้นาวสั กกเทวราช ทรงให้ พระเวสสั นดรขอพร ๘ ประการ

ภายในภาพเป็นนอาศรม อาศรม๒๒หลั หลังงทีทีแ่ ่แทรกอยู ทรกอยูภ่ ภ่ ายในซอกเขา มี ายในซอกเขา มีกก�ำ แพงแก้ าํ แพงแก้วล้วล้ออมรอบ มี มรอบ มีพพราหมณ์ ราหมณ์ ภายในภาพเป็ ทีที่มม่ ีรูรีปปู กายสี ทร์ททจี่ ี่จ�ำ าแลงมา กำ ํ แลงมา �ลังกํทูาลลัขอพระนางมั งทูลขอพระนางมั ทรี กายสีเขีเขียยวที วที่แแ่ ทนค่ ทนค่าาสีสีกายของพระอินทร์ ทรี พระเวสสั นพระ ดร นุ่งห่นมดรนุ อาภรณ์ ้วยหนังเสื สวมมงกุ ฎลำ�โพงอย่ ่ฤาษีทาั่วงทีไปสวมใส่ ่งห่มดอาภรณ์ เวสสั ดว้ อยหนั งเสื อ สวมมงกุ ฎลํางที โพงอย่ ่ฤาษีทวั่ ไปสวมใส่ ๔๒

42


กักัณณฑ์ฑ์ทที่ ี่ ๑๑๑๑กัณกัฑ์ณมฑ์หาราช ชู มหาราช ชชูกได้ ชกได้ พาสองกุมมารเดิ ารเดิมนผ่ผ่าานป่นป่าเป็ าเป็นนระยะทาง ระยะทาง ๖๐๖๐ พาสองกุ โยชน์ ครัครั้น้ นพลบค่ โยชน์ พลบคํำ�ชู่าชูชกก็ ชกก็ผผูกกูแขนสองกุ แขนสองกุมาร มาร ไว้กกับบั กอไม้ วตนเองปี ไปนอนบน ไว้ กอไม้ แล้แล้ วตนเองปี นขึน้ นขึ้นไปนอนบนคา คาคบไม้ เทวดาเนรมิ ต กายคล้ า ยพระ คบไม้ เทวดาเนรมิตกายคล้ายพระเวสสันดร เวสสันดรและพระนางมัทรีมาปรนนิบตั ิ สอง และพระนางมั ทรี่อมชูาปรนนิ ตั ิ สองกุ มารทุ กุมารทุกคืน เมื ชกเดินบทางมาถึ งทาง ๒ก คืแพร่ น ง เทวดาดลใจให้ เมื่อชูชกเดินทางมาถึ งทาง ๒ พแพร่ เดิมทางมานครสี ี ง เทวดาดลใจให้เดิมทางมานครสี พี

๔๓

43


๔๔

44


กรับบพระราชทานทรั พระราชทานทรัพพย์ย์สสินิ นและปราสาท และปราสาท พระเจ้ พระเจ้าากรุ กรุงงสญชั สญชัยยทรงไถ่ ทรงไถ่ตตวั ัวสองกุ สองกุมมารกั ารกับบชูชูชชกก ชูชูชชกรั ๗๗ชั้นชั้นชูชชูกชื ่นชมสมบั บริ โภคอาหารจนท้ การ ชกชื ่นชมสมบัติจตนลื ิจนลืมมตัตัว ว บริ โภคอาหารจนท้อองแตกตาย งแตกตาย พระเจ้ พระเจ้าาสญชั สญชัยยจึจึงงโปรดให้ โปรดให้ททำ�าํ การ ปลงศพชู นภาพที ่ช่างแต้ ยนเป็ นประเพณี การปลงศพแบบอี ก น“งัเฮืนอเฮืนดี อนดี ” ถ้าาว่ว่าา ปลงศพชูชกชกเป็ภาพที ่ช่างแต้ มเขีมยเขีนเป็ นประเพณี การปลงศพแบบอี สานสาน เรียเรีก ย“งั ” ถ้ ตามรู แต่ความจริ ยกให้ ตรงข้ ามกั ตามรูปศัปพศัท์พแท์ปลว่ แปลว่าฉลองเรื าฉลองเรืออนมงคล นมงคล แต่ ความจริงหมายถึ งหมายถึง ง“งานศพ” “งานศพ”เป็ นเป็การเรี นการเรี ยกให้ ตรงข้ ามบ กับความหมายที ริงา อย่ น คนอี านเรียกคนตายที ำ�พิธีแาวว่ จกข้า “เฮื าวว่อานดี “เฮื” อเวลาเอา นดี” ความหมายที ่แท้จริ่แงท้จอย่ งเช่นางเช่ คนอี สานเรี ยสกคนตายที ่ยงั ไม่ไ่ยด้ังทไม่าํ พิได้ธีแทจกข้ เวลาเอาศพไปป่ าเรียกว่าเอาคนไป “ลงฮ่ กคืนทีง่ านศพจะมี วงศาคณาญาติ ละเพื อ่ นน ศพไปป่ าช้าเรี ยกว่าช้เอาคนไป “ลงฮ่ มลงเย็ น”มลงเย็ ทุกคืนน”ที่งทุานศพจะมี วงศาคณาญาติ และเพื่อแนฝู งมางั นดีน”เฮือผูนดี ้มาร่จะทํ วมงัาตันวเฮืให้อรนดี เริงเข้นาดนตรี ไว้ มีกฟ้ารเล่ ่ าเริจงะทำ กันฝูงเรีมางั ยกว่นากัน“งันเรีเฮืยอกว่ นดีา” “งัผูม้ นาร่เฮืวอมงั เข้�าตัไว้วให้มีรก่าารเล่ อนรํนาดนตรี หมอ � หมอลำ� หมอแคน นและการละเล่ าง เกิๆ ทำ �ให้เกิดกความสนุ สนาน เพื ่อให้เจ้าลภาพได้ ลําฟ้อนรำ หมอแคน และการละเล่ ต่างๆ ทํนต่าให้ ดความสนุ สนาน กเพื ่อให้เจ้าภาพได้ ืมความ ลืมความโศกเศร้ า คนอีคสวามสํ านให้าคคัวามสำ คัญกับงานศพมากที ส่ ดุ งานอื น่ ยังพอไม่ แต่ ถา้ นเป็งานศพ นงาน โศกเศร้ า คนอีสานให้ ญกับ�งานศพมากที ่สุด งานอื ่นยังพอไม่ ไปได้ไปได้แต่ ถา้ เป็ ว คนที ่อยู่บ่ในหมู นเดีนต้ยอวกังมาร่ นต้อวงมาร่ างน้ออนละหนึ ยเรือนละหนึ แล้ศพแล้ ว คนที ่อยูใ่ นหมู า้ นเดี่บย้าวกั มกันวงัมกั นเฮืนองันนดีเฮืออย่นดี างน้ออย่ยเรื ่ งคนทุ่งกคนทุ คืนกคืน

๔๕

45


กัณฑ์ที่ ๑๒ กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสญชัยสั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับพระเวสสันดร กัณฑ์ ที่ ๑๒ กัณฑ์ ฉกษัตริย์ พระเจ้าสญชัยสั่งให้จดั กระบวนเสด็จเพื่อไปรับพระเวสสันดร และพระนางมัทรีกลับคืนสู่นครสีพี เสียงดังกึกก้องจนพระเวสสันดรตกพระทัย เมื่อกษัตริย์ทั้งหก และพระนางมัทรี กลับคืนสู่ นครสี พี เสี ยงดังกึกก้องจนพระเวสสันดรตกพระทัย เมื่อกษัตริ ยท์ ้ งั หก ได้มาพบกันทรงกันแสงร่ำ�ไห้ กษัตริย์ทั้งหกและราชบริพารต่างก็สลบ พระอินทร์จึงทรงบันดาลฝน มาได้พบกันทรงกันแสงรํ่าไห้ กษัตริ ยท์ ้ งั หกและราชบริ พารต่างก็สลบ พระอินทร์จึงทรงบันดาล โบกขรพรรษตกลงมา กษัตกษั ริยต์ทริั้งยหกและราชบริ พารต่พาารต่ งฟื้นาคืงฟืน้สติ ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ท์ ้ งั หกและราชบริ นคื นสติ บุบุพพกรรมของพระเวสสั วเสีวเสียงไพร่ พลช้ างม้างม้ า ที าสญชั ยยกทั พมารั บบ กรรมของพระเวสสันนดรดรทรงหวาดกลั ทรงหวาดกลั ยงไพร่ พลช้ า ่พทีระเจ้ ่พระเจ้ าสญชั ยยกทั พมารั กลับบพระนคร พระนคร ก็เก็ป็เนป็เพราะครั ง้ หนึ ง่ พระเวสสั นดรเสวยพระชาติ เป็นกษั ริย์ ตพระองค์ รงยกกองทั พ กลั นเพราะครั ่ งพระเวสสั นดรเสวยพระชาติ เป็ นตกษั ริ ย ์ ทพระองค์ ทรงยก ้ งหนึ ใหญ่อพอกจากพระนครและได้ มีพระภิกมษุีพรูประภิ หนึก่งเดิ านมา พระองค์ รงเกรงว่าทพระภิ กษุราูปพระภิ นั้นจะกษุ กองทั ใหญ่ออกจากพระนครและได้ ษุรนู ปผ่หนึ ่ งเดินผ่านมา ทพระองค์ รงเกรงว่ ตรายนอันจึงตราย ให้อำ�มาตย์ มนต์ไพปนิ ระภิมกนต์ ษุใพห้ระภิ หลบไปก่ พระภิอกนษุรูปพระภิ นั้นตกใจกลั หลบไป ว รูเป็ปนัน้อันนจะเป็ จึงให้ไอปนิ าํ มาตย์ กษุให้อหนลบไปก่ กษุรูปนัว้ นก็ตกใจกลั ยผลกรรมอั นนี้พระเวสสั งตกใจกลั ยงกองทัวพเสีด้ยวงกองทั ยประการฉะนี ้ ก็ด้หวลบไป ด้วยผลกรรมอั นนีน้ พดรจึ ระเวสสั นดรจึวงเสีตกใจกลั พด้วยประการฉะนี ้ ๔๖

46


กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ พระเวสสันดรได้เสด็จกลับเมืองตามคำ�ทูลเชิญของชาวเมืองสีพ ี รวม เวลาบำ�เพ็ญพรตอยู่ ณ เขาวงกตนานถึง ๙ เดือน ๑๕ วัน ครั้นพระเวสสันดรกลับมาครองเมือง ก็มีห่าฝนสัตตรัตน์เป็นมหัศจรรย์ คือ สุวรรณ หิรัญ มุกดา มณี ประพาฬ ไพฑูรย์ และวิเชียร ตกไปทัว่ พระนคร เพือ่ เป็นทานแก่ชนทัง้ หลาย พระเวสสันดรทรงครองราชสมบัตอิ ยูจ่ นพระชนมายุ ๑๒๐ พรรษาจึงสิ้นพระชนม์ ภาพเขียนตอนนี้เป็นริ้วขบวนทหารที่ เป็นหมู่สหชาติโยธา ประกอบด้วยภาพนาง กำ�นัลเดินกางร่ม ส่วนพระประยูรญาติที่นั่ง เกวียนเทียมวัว และชาวบ้านที่ฟ้อนรำ�ตาม ขบวน ประดับธงทิวสวยงาม มีการร่ายรำ� ประกอบเสียงแคน ที่เป็นเครื่องดนตรีพื้น บ้านอีสาน “หมอลำ� หมอแคน” มหรสพ ชนิดนี้ทางภาคกลางเรียกว่า “แอ่วลาว” หรือ “ลาวแคน” สนุก สนานรืน่ เริง พร้อม กับการแต่งกายแบบพื้นบ้านอีสาน โดยมี พระเวสสันดรทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์นำ� ขบวน

47


ผนังด้านทิศเหนือ (ด้านซ้ายมือพระประธาน)

ผนั ง ด้ า นในสุ ด เหนื อ ช่ อ งหน้ า ต่ า งไปจนถึ ง เส้ น ลวดด้ า นบน เขี ย นเรื่ อ งพระมาลั ย หมื่ น พระมาลัยแสน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับผนังด้านทิศใต้ เรื่องมหาเวสสันดรชาดก โดยมีความเชื่อว่าหาก มนุษย์ผใู้ ดต้องการพบกับพระศาสนาของพระศรีอารยเมตไตรย ให้ฟงั พระธรรมเทศนาพระเวสสันดร ๑๐๐ บท ๑,๐๐๐ พระคาถา ให้จบภายใน ๑ วัน จะได้พบกับศาสนาของพระศรีอารยเมตไตรย ทีจ่ ะมาตรัสรูเ้ ป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ท ี่ ๕ พระมาลัยหมืน่ พระมาลัยแสน เป็นการนับจาก จำ � นวนเทพบุ ต รและเทพธิ ด าที่ เ ป็ น บริ ว ารของเทวดาแต่ ล ะองค์ ในการบำ � เพ็ ญ บุ ญ มากน้ อ ย แตกต่างกัน ที่แสดงจำ�นวนเทพบริวารตั้งแต่หลักพัน หมื่น แสน ไปจนถึงไม่สามารถนับจำ�นวนได้ ตามบุญที่ได้สั่งสมมา

48


49


เริ่ ม จากชายเข็ ญ ใจคนหนึ่ ง นำ�ดอกบัว ๘ ดอก มาถวายพระมาลัย พระมาลั จึ ง นำ � ดอกบั ว ทั้ ง่ งแปดนี้ ไนํปา เริ่ มยจากชายเข็ ญใจคนหนึ ถวายเป็ ทธบูชมาถวายพระมาลั า ณ พระเจดี ุฬา ดอกบัว น๘พุดอก ย ย์จพระ มณี นที่ป้ ไปถวายเป็ ระดิษฐานพระ มาลัสยนํถาน าดอกบัอัวนทั้งเป็แปดนี นพุทธ บูชา ณ มุ่นพระเจดี ยจ์ ุฬแามณี สถานอั้ยนวแก้ เป็ นวที ่ เกศาธาตุ พระโมลี ละพระเขี ประดิ ครั ้ น ดำษ�ฐานพระเกศาธาตุ ริ แ ล้ ว พระมาลัมุ่นยพระโมลี เถรเจ้ าแก็ละเ ข้ า พระเขี ครั้นดํภาาวะอธิ ริ แล้วพระมาลั ้ ยวแก้วโดยวสี จตุ ตถฌาน ษฐานบัยนเถรเจ้ ดาลา ก็เข้รา่ าจตุ ตถฌาน โดยวสี าวะอธิษฐาน ให้ งของตนเหาะล่ วงพ้นภจากมนุ ษย์ บันดาลให้ ร่างของตนเหาะล่ จากมนุงษส์ย์ โลก มุ่งตรงไปยั งสวรรค์วงพ้ชั้นนดาวดึ มุ่งตรงไปยั งสวรรค์ ทัโลก นทีโดยมิ ช้าเพียงแค่ ลัดชมื้ นั อดาวดึ เดียวงส์ก็ทถนั ึงที โดยมิชทา้ ธเจดี เพียงแค่ อเดียว และได้ ก็ถึงลานพุ ทธ ลานพุ ย์จลุฬดั มืามณี สนทนา เจดียจ์ ุฬบามณี ธรรมกั พระอินและได้ ทร์ สถึนทนาธรรมกั งการทำ�บุญบเช่พระ น อินทร์ ถึงการทําบุญเช่นไรของเทวดาแต่ละ ไรของเทวดาแต่ ละองค์ที่เหาะมาพร้อม องค์ที่เหาะมาพร้อมบริ วาร เพื่อสักการะพระ บริวาร เพื่อสักการะพระเจดีย์จุฬามณี เจดียจ์ ุฬามณี และได้สนทนากับพระศรี และได้สนทนากับพระศรีอารยเมตไตรย อารยเมตไตรยเทพบุตร และฝากให้แจ้งแก่ เทพบุตร และฝากให้แจ้งแก่มนุษย์ว่า มนุษย์วา่ “ผู้ใดปรารถนาจะเกิดในศาสนา “ผู้ใดปรารถนาจะเกิดในศาสนาของ ของพระองค์ ให้ ฟังมหาเวสสั นดรชาดกให้ พระองค์ ให้ฟังเทศน์มหาเวสสันดร จบทั้งพันพระคาถาในวันเดียว” ชาดกให้จากภาพจิ จบทัง้ พัตนรกรรมตอนนี พระคาถาในวันเดีจะเห็ ยว”น ้ เป็ นภาพพระอิ จากภาพจิ ตรกรรมตอนนี้ จะเห็น นทร์ประทับอยูใ่ นทิพย์วมิ าน เป็ นภาพพระอิ นทร์ประทั บอยู นทิพย์ณ ไพชยนต์ มหาปราสาท บนหลั งช้า่ใงเอราวั วิณมานไพชยนต์ มหาปราสาท ยอดเขาพระสุ เมรุ ซึ่งเป็บนหลั นที่ต้ งั งอยูช้าจ่ งุด เอราวั ณ ณ ยอดเขาพระสุ ศูนย์กลางของโลกหรื อจักรวาลเมรุ ซึ่งเป็น ที่ ตั้ ง อยูส่​่วจนภาพประธาน ุ ด ศู น ย์ ก ลางของโลกหรื อ หรื อจุดเด่นของ จัภาพนี กรวาล ้ คือ ภาพพระมาลัยนัง่ บนบัลลังก์ มือ อส่ตาลปั วนภาพประธาน หรือจุ่ใดหญ่เด่กนว่ของ ขวาถื ตรมีขนาดตัวภาพที าตัว ภาพนี ้ คือ ภาพพระมาลั ยนัง่ บนบั ลลันงทร์ก์ ภาพอื่น หันหน้าสนทนากั บพระอิ มือขวาถือตาลปัตรมีขนาดตัวภาพทีใ่ หญ่ กว่ า ตั ว ภาพอื่ น หั น หน้ า สนทนากั บ พระอินทร์

๕๐

50


ภาพเบือ้ งขวาของปราสาทไพชยนต์ เป็นภาพพระศรีอารยเมตไตรยเทพบุตรทีอ่ ยูส่ วรรค์ชนั้ ดุสติ ภาพเบื่องสรรพอาภรณ์ ภาพพระศรี รที่อยูส่ วรรค์อชคณา ้องขวาของปราสาทไพชยนต์ ้ นั ทรงเครื อันวิจิตร พร้อมด้เป็วนยเหล่ าเทพธิดอาารยเมตไตรยเทพบุ นางฟ้าแวดล้อมจำต�นวนมากเหลื ดุสิต นับทรงเครื ่ องสรรพอาภรณ์ พร้อมด้ดวจ้ยเหล่ ดา บนางฟ้ านวนมากเหลื อ เหาะมาทางอากาศ เปล่องนั รัวิศจมีิตสรว่างไสวเจิ า ไม่าตเทพธิ ่างอะไรกั พระจัาแวดล้ นทร์หอมืมจํ ่นดวงมาสั กการะพระ ย์จุฬามณี คณานัเจดี บ เหาะมาทางอากาศ ส่ งรัศมีสว่างไสวเจิดจ้า ไม่ต่างอะไรกับพระจันทร์หมื่นดวง มาสักการะ พระเจดียจ์ ุฬามณี

เชิงเขาพระสุเมรุมีน้ำ�ล้อมรอบ มีภาพ เชิงเขาพระสุ เมรุ มีน้ าํ ล้อมรอบ มีภาพ อมนุษย์ เช่น มนุษย์นาคกำ�ลังเหาะขึ้นจากน้ำ� อมนุษเงืย์อกชายหญิ เช่น ง มนุ เหาะขึ ้ นจากนํ ผีเษสืย์้อนสมุาคกํ ทราลักุงญ ชรวารี มกร้ า เงือกชายหญิ ผีเสื้ อสมุทตรว์นกุ้ำ�นานาชนิ ญชรวารีด มกร (แข้) ง ปลาและสั คลื่น(แข้ น้ำ�) ปลาและสั ตว์นว้ าํ ยสี นานาชนิ คลื่นใช้นํส้ าระบายด้ วยสี ระบายด้ ค รามอ่ดอ น ี ข าวตั ด เส้ น ครามอ่หยาบๆ อน ในลั ใช้สกี ขษณะคล้ าวตัดเส้นายคลื หยาบๆ ในลักษณะ ่นน้ำ�แบบโบราณ สะบั ดทีแปรงแล้วกระทุ ้งเป็ดนทีละอองน้ แทนง้ คลื่นคล้ ายแบบโบราณ สะบั แปรงแล้ำ� วกระทุ การตัดเส้​้ า นแทนการตั เป็ นละอองนํ ดเส้น ด้านล่ ด้าานล่ างพระมาลั นภาพช้ างนำาดอกบั �ดอกบัวสีว งพระมาลั ยเป็ยนเป็ภาพช้ างนํ สีขาบ ๒ ดอก ตรงเข้ามาบูชา สันนิษฐาน ขาบ ๒ ดอก ตรงเข้ามาบูชา สันนิษฐานว่าช่างคง ว่าช่างคงจะแสดงอุปมาของกุศลกรรมที่พระ จะแสดงอุ ศลกรรมที ่พระโพธิ ัตว์ได้สสานง่ั โพธิสปตั มาของกุ ว์ได้สงั่ สมมา จากมหาชาติ ส�ำ สนวนอี สมมาว่ าจากมหาชาติ สานช ชฮาช ว่า “อุตัปวมาดั “อุ ป มาดั่ สง ช้าํ นวนอี า งสารคุ เสี ย่ง ช้ างสารคุ ชชฮาช กตักวั วเสีกก้ยประสาทตา จักกวั ประสาทตาจั าวขึ้นสู่ยอดเขาสู งอักนก้หาาว งบ่ได้ง”อันจะสั งเกตได้ ช้างนังเกตได้ ้นมีก้อวนา่ ขึน้ สู่ ยคนจู อดเขาสู หาคนจู งบ่ ไวด้่าที” ่เท้าจะสั รองรั า บซึ่งอยูคงเป็ นสัา ญซึลั่ งกคงเป็ ษณ์ทนี่ ้ นหิ่ทุกนเท้ ที่เท้าช้หิานงนั รองรั ท่ ุกเท้ ้ นมีบกออยู างกำ�าลัช้งาปีงกํ นภูาลัเขาอยู เอง น่ นั่ เอง สัญลักแสดงว่ ษณ์ที่แาช้สดงว่ งปี นภู่นเั่นขาอยู (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. ๒๕๔๑ : ๒๙) (ยุทธนาวรากร แสงอร่ าม. ๒๕๔๑ : ๒๙) ๕๑

51


ผนังด้านทิศเหนือ เนื้อหาหลักเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ โดยจุดเด่นของผนังด้านนี้ คือภาพตอน “เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์” ซึ่งเริ่มต้นที่ผนังคอสองด้านบนเหนือช่องหน้าต่างตรง กลางเป็ น ตอนประสู ติ ใ ต้ ต้ น สาละ มี ฉ ากเป็ น ผ้ า ม่ า นลายดอกสี แ ดงบนพื้ น สี น้ำ � เงิ น คราม เหนือฉากเป็นภาพกุมารประทับนั่งขัดสมาธิบนดอกบัว ไม่แสดงเรื่องราวรายละเอียดภาพบุคคล อื่นๆ แม้แต่พระนางสิริมหามายา เพียงแสดงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นตอน “ประสูติ” ซึ่ง ช่างไม่ได้ต้องการเน้นเรื่องนี้ให้เป็นจุดเด่น ด้านข้างจะเป็นภาพวิถีชีวิตการดื่มกินของชาวบ้าน

52


ภาพกาฬเทวิลดาบส ทราบข่าวพระโอรส ประสูต ิ จึงเหาะมายังกรุงกบิลพัสดุถ์ วายพระพร พระเจ้าสุทโธทนะ และขอเข้าเฝ้าพระราชกุมาร หลังจากที่ได้เห็นกาฬเทวิลดาบสกระทำ�อัญชลี ถวายพระกุมาร ซึง่ เรือ่ งราวส่วนนีก้ ไ็ ม่ได้แสดง รายละเอียดปาฏิหาริย์ พระบาททัง้ สองของพระ โอรส กลับขึ้นไปปรากฏบนเศียรเกล้าของกาฬ เทวิลดาบสเป็นอัศจรรย์ กาฬเทวิลดาบสประณม หัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระ กุมาร และพระเจ้าสุทโธทนะก็ถวายอัญชลีตาม เป็นครั้งแรก 53


ลำ�ดับเรื่องต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ ๕ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะทรงกระทำ� พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเรื่องราวส่วนนี้ก็ไม่ได้แสดงรายละเอียดปาฏิหาริย์ที่เจ้าชาย สิทธัถะเสด็จอยู่ลำ�พังพระองค์เดียวภายใต้ต้นหว้า จวบจนตะวันบ่ายคล้อยและแดดแรง แต่เงา ของต้นหว้าก็ยังคงบังเป็นร่มเงาให้เจ้าชายสิทธัตถะดังเดิม ไม่เคลื่อนย้ายไปตามตะวัน พระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จทอดพระเนตรก็เกิดความอัศจรรย์ในพระทัย จึงถวายอัญชลีเป็นครั้งที่สอง

54


เทวทูตทั้งสี่ ผนังด้านซ้ายมือพระประธานช่องที่ ๓ ระหว่างหน้าต่างบานที่ ๒ และ ๓ เป็นภาพ “เทวทูต ทั้ง ๔” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะครองราชสมบัติ จนมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้เสด็จประพาส พระราชอุทยานโดยรถพระที่นั่ง พบเทวทูตทั้ง ๔ ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระทัยปรารถนาที่จะครองเพศบรรพชิต ส่วนด้านซ้ายมือเป็นภาพชีวิตชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำ� ที่ประกอบอาชีพประมงหาปลา จะเห็นภาพ ผู้คนกำ�ลังหว่านแหหา กุ้ง หอย ปู ปลา ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ�

55


56


มหาภิเนษกรมณ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายในการเป็นฆราวาส เมื่อเสด็จถึงพระราช นิเวศแล้ว คืนนั้นเสด็จเข้าที่บรรทมแวดล้อมบำ�เรอด้วยเหล่าขัตติยกัญญา ทอดพระเนตรเห็นนางทั้งหลายหลับใหลในอาการต่างๆ ก็มีพระทัยสังเวช เมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะมีพระทัยปรารถนาที่จะครองเพศบรรพชิต จึงสั่งให้นายฉันนะ เตรียมม้ากัณฐกะไว้ แล้วเสด็จไปห้องบรรทม ทอดพระเนตรพระนางพิมพา และ ราหุล แล้วก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทางด้านหลังพระนคร มีท้าวจตุโลกบาล เสด็จมารองรับเท้าทัง้ ๔ ของม้ากัณฐกะ ทวยเทพทัง้ หลายอัญเชิญเครือ่ งสักการบูชา และนายฉันนะเกาะยึดหางม้า ผนังด้านนี้มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ การแบ่งเนื้อหา ของแต่ละตอนโดยใช้ ฉัตรเบญจา คือ ฉัตร ๕ ชั้น ในการแบ่งเรื่องราวแต่ละ ตอนออกจากกัน ซึ่งไม่พบเห็นบ่อยนักในงานจิตรกรรมฝาผนัง จึงถือได้ว่าเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่างแต้มวัดทุ่งศรีเมือง

57


พระยาวสวัดดีมารเหาะมายกพระหัตถ์ข้ ึนห้ามมิให้เจ้าชายสิ ทธัตถะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พญาวสวัดดีมารเหาะมายกพระหัตถ์ขึ้นห้ามมิให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ แล้วกล่าวว่า “ท่ านมหาวีระอย่ าออกอภิเนษกรมณ์ เลย นับแต่ นีไ้ ป ๗ วัน จักกรั ตนะทิพย์ จะ แล้วกล่าวว่า “ท่านมหาวีระอย่าออกอภิเนษกรมณ์เลย นับแต่นไี้ ป ๗ วัน จักกรัตนะทิพย์จะปรากฏ ปรากฏ แก่ ท่านแน่ นอน.ท่ านจักครองราชย์ แห่ งทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้ อยสองพันเป็ นบริ วาร กลับเสี ย แก่ท่านแน่นอน.ท่านจักครองราชย์แห่งทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร กลับเสียเถิด ท่าน เถิด ท่ านผู้นิรทุกข์ ” พระมหาบุรุษตรัสว่า “ดูก่อนมหาราช เรารู้ ว่าจักรรั ตนะ จะปรากฏแก่ เรา แต่ ผู้นิรทุกข์” พระมหาบุรุษตรัสว่า “ดูก่อนมหาราช เรารู้ว่าจักรรัตนะ จะปรากฏแก่เรา แต่เราไม่ เราไม่ ต้องการจักกวัตติราชย์ ไปเสี ยเถิดอย่ ามาในที่ นี่เลย แต่ เราจักเป็ นพระพุทธเจ้ า ผู้นาํ พิเศษใน ต้องการจักกวัตติราชย์ ไปเสียเถิดอย่ามาในที่นี่เลย แต่เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้นำ�พิเศษในโลก โลก บันลือลัน่ ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ” มารนั้นก็อนั ตรธานไปในที่น้ นั นัน่ เอง เมื่อมหาบุรุษมีพระทัย บันลือลั่นไปทั่วหมื่นโลกธาตุ” มารนั้นก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง เมื่อมหาบุรุษมีพระทัยแน่วแน่ แน่วแน่ที่จะบรรพชา ก็ทรงขับม้าต่อไปสิ้ นหนทาง ๓๐ โยชน์ บรรลุถึงฝั่งแม่น้ าํ อโนมาในเพลา ที่จะบรรพชา ก็ทรงขับม้าต่อไปสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ บรรลุถึงฝั่งแม่น้ำ�อโนมาในเพลาใกล้รุ่ง ใกล้รุ่ ง ผนังตอนมหาภิเนษกรมณ์ ภาพโดยรวมเป็นโทนสีคราม ประดับพื้นด้วยดอกมณฑา เพื่อแก้ ผนังตอนมหาภิเนษกรมณ์ ภาพโดยรวมเป็ นโทนสี คราม ประดับพื้นด้วยดอกมณฑา เพื่อ ปัญหาพื้นที่ว่าง เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์ จะมีขึ้นเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์สำ�คัญของ แก้ปัญหาพื้นที่วา่ ง เพราะดอกมณฑาเป็ นดอกไม้ทิพย์ จะมีข้ ึนเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์สาํ คัญของ พระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ฯลฯ พระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู ้ แสดงปฐมเทศนา ฯลฯ ๕๘

58


เมื่อเสด็จมาถึงริมฝั่งแม่น้ำ�อโนมา ทรงตัดพระเกศาด้วยพระขรรค์ แล้วทรงจับพระจุฬาโมลี และพระภูษาโพกโยนขึ้นไปในอากาศ ทรงอธิษฐานว่า หากพระองค์จะได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษแล้ว “ขอจุฬาโมลีนี้จงตั้งอยู่ในอากาศ อย่าตกลงสู่พื้นดิน” พระจุฬาโมลีและพระภูษาโพกพระเศียรนั้น ก็ประดิษฐานลอยอยู่บนอากาศ พระอินทร์จึงนำ�ผอบมารองรับอัญเชิญไปประดิษฐานในพระเจดีย์ จุฬามณี ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่ อ พระองค์ ผ นวชถื อ เพศ บรรพชิต จึงมอบเครื่องประดับให้แก่ นายฉั น นะเพื่ อ นำ � กลั บ กรุ ง กบิ ล พั ส ดุ์ พอนายฉันนะพาม้ากัณฐกะเดินไปได้ไม่ กี่ก้าว ม้ากัณฐกะก็ล้มลงขาดใจตาย นายฉันนะจึงเดินทางกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพียงลำ�พัง 59


60


ส่วนผนังด้านซ้ายมือพระประธาน ทีต่ ดิ กับผนังด้านหน้าประตูทางเข้าเป็นภาพขบวนทหารเดิน เท้าที่ถือหอก ทั้งขบวนช้าง ขบวนม้า มุ่งหน้าไปทางผนังด้านหน้าพระประธานที่เป็นตอน “ปรินิพพาน” ยุทธนาวรากร แสงอร่าม (๒๕๔๑ : ๒๐) กล่าวว่า “เข้าใจว่าคงหมายถึง พระเจ้า มหานามะ กษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๗ นคร ที่ยกทัพไปยังเมืองกุสินารา เพื่อขอ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ” ด้านล่างเป็นภาพวิถีชีวิตชาวเมืองกบิลพัสดุ์ จึงเป็นส่วนที่ช่างสามารถสอดแทรกชีวิตความ เป็นอยู่ของผู้คนขณะนั้นลงไปในภาพจิตรกรรมส่วนนี้ได้ เช่น การตำ�ข้าวซ้อมมือ การผ่าฟืน การ ให้นมลูก การขี่วัว การขี่แพะชนกัน ซึ่งการละเล่นของเด็กสมัยนั้น รวมไปถึงการขี่ช้าง เข้าป่า ล่าสัตว์ แม้กระทั่งการแต่งกายของชาวบ้านก็เป็นแบบพื้นถิ่นอีสาน ที่ไม่นิยมสวมเสื้อเปลือย ทอนบน ไม่วา่ ผูห้ ญิงหรือผูช้ าย ส่วนผูห้ ญิงอาจมีสไบปิดหน้าอกบ้าง แต่ไม่มากนักเพราะประเทศไทย มีภูมิประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ชาวบ้านจึงสวมเสื้อผ้าให้น้อยที่สุด

ภาพผูห้ ญิงชาวบ้านอีสานทีย่ นื รอตัก น้ำ�พร้อมกับอุปกรณ์ตักน้ำ� ที่เรียกว่า คุถัง หรือกระบุงตักน้ำ�และไม้คานหาบน้ำ� ใน ภาพจะเห็นได้วา่ ผูห้ ญิงชาวบ้านอีสานสมัย ก่อน นุ่งผ้าถุงผืนเดียว เปลือยหน้าอก ที่มา : หนังสือองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอีสาน หน้า ๒๐๗ 61


62


63


ผนังด้ านทิศตะวันตก (ผนังด้ านหลังพระประธาน) ผนังด้านทิศตะวันตก (ด้านหลังพระประธาน) ด้านหลังพระประธาน โดยรวมเป็ นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ซึ่งแตกต่างจากคติการ เขี ยนภาพจิ งของสกุลโดยรวมเป็ ช่างรัตนโกสิ นทร์ทธประวัทีต่นิติยอน มเขี“มารผจญ” ซึ ยนภาพไตรภูมิไ่งว้แตกต่ ดา้ นหลั งพระ ผนังตด้รกรรมฝาผนั านหลังพระประธาน นภาพพุ างจาก ประธาน ่อแสดงถึ งพระพุทธองค์ ได้หนั ลหลั ภพภูนมทร์ ิต่า งๆทีน่ โดยสิ ง ไม่หวนกลั นว่าย คติการเขีเพืยนภาพจิ ตรกรรมฝาผนั งของสกุ ช่างรังให้ ตนโกสิ ยิ มเขี้ นยเชินภาพไตรภู มไิ ว้ดบา้ ไปเวี นหลัยงพระ ในวั ฏสงสารอี่อกแสดงถึ แล้ว ส่งวพระพุ นผนัทงด้ธองค์ านหน้ นิยงมเขี นภาพมารผจญ นถึงหความแตกต่ างของการ ประธาน เพื ได้าหนั​ัน้ นหลั ให้ภยพภู มิต่างๆ โดยสิ้นจึงเชิเห็ง ไม่ วนกลับไปเวี ยนว่าย ลําในวั ดับฏภาพจิ ตรกรรมฝาผนั งวัดทุงด้่งาศรีนหน้ เมือางนั้นและถื อได้ วา่ เป็ นการจัดวางภาพที นเอกลักษณ์างของการ เฉพาะถิ่น สงสารอี กแล้ว ส่วนผนั นิยมเขี ยนภาพมารผจญ จึงเห็นถึ่เงป็ความแตกต่ �ดับางหนึ ภาพจิ่ งตรกรรมฝาผนังวัดทุง่ ศรีเมือง และถือได้วา่ เป็นการจัดวางภาพทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ อีกลำอย่ อีกอย่าภาพจิ งหนึ่งตของจิ ตรกรรมวังดด้ทุานหลั ่งศรีเงมืพระประธานจากด้ อง รกรรมฝาผนั านบนลงมาจนถึงช่วงกลางของผนัง เป็ น ทภาพจิ ตรกรรมฝาผนั งด้านหลั ภาพ ภาพพุ ธประวั ติตอน มารผจญ เป็ นงพระประธานจากด้ ภาพพระโพธิสัตว์านบนลงมาจนถึ ประทับนัง่ ในซุงมช่้ วเรืงกลางของผนั อนแก้วภายใต้ง ตเป็น้ นพระศรี พุทธประวั ตติ ้ออน เป็นภาพพระโพธิ สตั ว์ ประทัส่บวนภาพด้ นัง่ ในซุม้ าเรืนขวามื อนแก้วอภายใต้ ตน้ พระศรี ์ เบื มหาโพธิ งล่ามารผจญ งเป็ นภาพพระแม่ ธรณี บีบมวยผม ของพระพุ ทธเจ้ามเป็หาโพธิ นภาพ ์ เบื้องล่าพงเป็ บีบมวยผม ส่ อของพระพุ าเป็นบภาพการยกทั พ การยกทั ไพร่นภาพพระแม่ พลเสนาพร้ธอรณี มสรรพาอาวุ ธมืดวฟ้นภาพด้ ามัวดินานขวามื ทั้งบนเวหา บนดินทธเจ้ และใต้ าดาล ของพญา ไพร่พลเสนาพร้ อมสรรพาอาวุ ธมืโดตฟ้ามัมีวมดิือนนับทัพั้งบนเวหา น และใต้ มารวสวั ดดีที่เนรมิ ตร่ างกายใหญ่ นมือถือศับนดิ สตราวุ ธ บนช้บาาดาล งทรงของพญามารวสวั ชื่อ “คีรีเมขล์” ดเพืดี่อ ที่เนรมิตร่างกายใหญ่โต มีมือนับพันมือถือศัสตราวุธบนช้างทรง ชื่อ “คีรีเมขล์” เพื่อผจญ ผจญพระโพธิสัตว์ หมายจะทําลายความเพียรของพระโพธิสัตว์ ที่กาํ ลังตรัสรู ้เป็ นพระสัมมาสัม พระโพธิสัตว์ หมายจะทำ�ลายความเพียรของพระโพธิสัตว์ ที่กำ�ลังตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธเจ้า ๖๔

64


ภาพด้านล่ านล่างพระแม่ างพระแม่ธรณี ธรณีบบบี มวยผม เป็ ีบมวยผม นภาพพระโพธิ เป็ นภาพพระโพธิ ัตว์ผดจญธิ ดาพญามาร างประทั ระหว่าบง ภาพด้ สตั ว์ผสจญธิ าพญามาร ระหว่ ประทั ในสัทปี่ ๕ ใต้ ดาห์ทตี่ ้น๕ไทร ตามพระปฐมสมโพธิ ใต้ตน้ ไทร ตามพระปฐมสมโพธิ กถา ในสมเด็ จพระมหาา ุตติสุขป”ดาห์ àสวÂ บ“วิเสวย มุตติ“วิ สุขม” ในสั กถา ในสมเด็ จพระมหาสมณเจ้ ่งศรี เมือง เป็ น “โคลง สมณเจ้ า กรมพระปรมานุ ชิตสชิำาโหรั นรส แต่สาํ หรับจิงวัตดรกรรมฝาผนั งวัดนทุ “โคลงสารปถมสมโพธิ กรมพระปรมานุ ชิตชิโนรส แต่ บจิตรกรรมฝาผนั ทุ่งศรีเมือง เป็ สารปถมสมโพธิ ฉบั่งพระมหาชนะธมฺ บล้านช้ าง” ซึ่งพระมหาชนะธมฺ มธโช ผูป้ ริ วรรต ธิอดมารกั าพญามารหรื อมารกัญญา ฉบับล้านช้าง” ซึ มธโช ผู้ปริวรรต ธิ ดาพญามารหรื ญญา ๓ นาง คื อ ดดีมาร เข้ สัตว์ที่ควงไม้ ๓นางตั นางณหา นางอรดี คือ นางตัณหา และนางราคา อาสาพญาวสวั นางอรดี และนางราคา อาสาพระยาวสวั ดดีมาประโลมพระโพธิ าร เข้าประโลมพระโพธิ สัตว์ ก่อนที์ ่พก่ระโพธิ ัตว์ตรัสสั ตรูว์้ ต รัเมืสรู่อ้ ทำเมืาไม่ เร็จส าํ เร็กลั บกลายร่ างเป็ นหญิ งชรามี ทีพระศรี ่ควงไม้มพหาโพธิ ระศรี์ ม หาโพธิ อนทีพ่ สระโพธิ ่อทํสาำาไม่ จ กลั บกลายร่ างเป็ นหญิ งชราถันมี อนยาน หลั งโก่งงโก่ ถืง อไม้ ท้า จึ ไปทู ลพญามารวสวั ดดี จากนั ้นพญามารจึ งแต่งพลเสนา ถัหย่นหย่ อนยาน หลั ถือเไม้ เท้า งกลั จึงบกลั บไปทู ลพญามารวสวั ดดี จากนั งแต่งพล ้ นพญามารจึ มาร ยกมาผจญพระโพธิ สัตว์สัตว์ เสนามาร ยกมาผจญพระโพธิ ๖๕

65


โดยทั่วไปสกุลช่างรัตนโกสินทร์ นิยมเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้า “ปางมารวิชัย” ในพระ อิรยิ าบถประทับนัง่ ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซา้ ยหงายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี เบื้องล่างเป็นภาพพระแม่ธรณีนามว่า “วสุนธนา” ได้ผุดขึ้นมาเป็น สักขีพยานในการบำ�เพ็ญบารมีของพระโพธิสตั ว์ โดยบีบน้�ำ ทีพ่ ระโพธิสตั ว์ได้หลัง่ น้�ำ ทักษิโณทกในการ บำ�เพ็ญบารมีในพระชาติต่างๆ ออกจากมวยผมของพระแม่ธรณีเป็นสายน้ำ�ขนาดใหญ่พัดพาเหล่า ไพร่พลของพญามารวสวัดดีแตกแพ้ไป จึงเป็นภาพที่สะท้อนเรื่องราวพุทธประวัติตอนมารผจญได้ อย่างดียิ่ง อีกนัยหนึ่ง คือ การอุปมาอุปมัย เพื่อให้ผู้ดูได้จินตนาการเห็นถึงสภาพจิตใจที่ต้องต่อสู้ ดิ้นรน เพียรพยายามขจัดกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป แต่ที่วัดทุ่งศรีเมืองเขียนเป็นพระพุทธเจ้าปาง อธิษฐานเพศบรรพชิต ประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภาพเหตุการณ์ตอนที่ ๒ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ประทับเสวย “วิมุตติสุข” คือ ความสุขที่เกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง บริเวณพุทธมณฑล ๗ แห่ง แห่งละ ๗ วัน เรียก “สัตตมหาสถาน” สัปดาห์แรก โพธิบัลลังก์ ประทับ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สัปดาห์ที่ ๒ อนิมสิ เจดีย์ ในอิรยิ าบถ ประทับยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไป ข้างหน้า พระหัตถ์ทงั้ สองห้อยลงมาประสาน กันอยู่ด้านหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ ขวาซ้อนพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร กลางแจ้ง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงยืนทอดพระเนตร ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน โดยไม่ กระพริ บ พระเนตร และนิ ย มสร้ า งเป็ น พระพุทธรูปประจำ�วันของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ เรียก “ปางถวายเนตร”

66


ดีย์ ได้ และต้น ม” คือ

สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์ ได้ เสด็จจงกรมระหว่างอนิมิสเจดีย์ และต้น พระศรีมหาโพธิ์ คำ�ว่า “จงกลม” คือ กิริยา เดินด้วยสติกำ�หนดทุกขณะ สัปดาห์ที่ ๔ รัตนฆรเจดีย์ ประทับ ขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตถวาย ทางทิ ศ ตะวั น ตกเฉี ย งเหนื อ ของต้ น พระศรีมหาโพธิ์ ในหนังสือพระปฐมสมโพธิ กถา กล่าวว่าในสัปดาห์ที่ ๑-๓ พระฉัพพรรณ รังสี (รัศมี ๖ ประการ) ยังมิได้โอภาสออก จากพระวรกาย จนสัปดาห์ที่ ๔ จึงเปล่งพระ รัศมีออกจากพระวรกาย สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโคร ประทับ ในอิริยาบถขัดสมาธิที่ต้นไทร

สัปดาห์ที่ ๔ รัตนฆรเจดีย์ ประทับ ขัดสมาธิ ณ เรื อนแก้วที่เทวดาเนรมิตถวาย ทางทิศตะวันตกเฉี ยงเหนือ ของต้นพระศรี มหาโพธิ์ ในหนังสื อพระปฐมสมโพธิกถา กล่าวว่าในสัปดาห์ที่ ๑-๓ พระ ฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) ยังมิได้ โอภาสออกจากพระวรกาย จนสัปดาห์ที่ ๔ จึงเปล่งพระรัศมีออกจากพระวรกาย สัปดาห์ท67ี่ ๕ อชปาลนิโคร ประทับ


สัปดาห์ที่ ๖ มุจจลินท์เจดีย์ ประทับใน อิริยาบถขัดสมาธิใต้ต้นจิก พระหัตถ์ทั้งสองวาง หงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวา ซ้อนทับพระหัตถ์ซา้ ยเหมือนปางสมาธิ มีพญานาค ชื่อ มุจจลินท์ มาขดรอบพระวรกาย แผ่พังพาน ปกพระเศี ย รไม่ ใ ห้ ฝ น ความหนาว และลม ตกต้องพระวรกายและนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูป ประจำ � วั น ของผู้ ที่ เ กิ ด วั น เสาร์ เรี ย ก “ปาง นาคปรก” ภาพส่ ว นนี้ ล บเลื อ น แต่ ยั ง พอมี เค้าโครงพระพุทธเจ้าประทับนั่งในซุ้มนาคปรก สัปดาห์ที่ ๗ ราชายตนเจดีย์ ประทับใต้ ต้นเกต พ่อค้าชาวอุกกละชนบท ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับภัลลิกะ ได้รับคำ�แนะนำ�จากเทวดา ซึ่งเคยเป็นญาติกับพ่อค้าทั้งสองในอดีตชาติ ให้ นำ�ข้าวสัตตุก้อน และสัตตุผง มาถวาย แสดง ตนเป็นเทววาจิกอุบาสก อุบาสกที่ถึงพระรัตนะสองคนแรก พระพุทธเจ้าทรงประทานเส้นพระเกศา ๘ เส้น เพื่อนำ�ไปสักการบูชา ต่อมาจึงเป็นคติในการสร้างพระพุทธรูป “ปางพระเกตธาตุ” เป็นภาพ เขียนผนังด้านหลังพระประธานต่อเนือ่ งจนถึงบานแผละ (ผนังส่วนทีบ่ านประตู หน้าต่าง โบสถ์วหิ าร เมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่)

68


๖๙

69


70


ผนังด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้าพระประธาน) ผนังด้านหน้าพระประธาน หรือเรียกอีกอย่างว่า ด้าน “หุ้มกลอง” ด้านหน้าพระประธาน สภาพโดยรวมของผนังด้านนี้ยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก แต่ผนังด้านบนที่ติดกับหลังคามีร่องรอย การรั่ว มีคราบน้ำ�ฝน ทำ�ให้ภาพส่วนนั้นดูลบเลือนไม่ชัดเจน โดยเฉพาะภาพพระจิตกาธาน โครงสีโดยรวมเป็นสีฟ้าครามและสีน้ำ�ตาลแดง มีการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง หรือซ้าย ขวาเท่ากัน เขียนเรื่องการเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปจนถึงการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีจุด เด่น คือ ภาพพระจิตกาธานประดิษฐานพระบรมศพ มีรั้วราชวัตรและกำ�แพง โขดหิน พุ่มไม้ และเส้นสินเทาในการแบ่งเนื้อหาแต่ละตอน โดยเริ่มจากมุมบนซ้ายสุดของผนัง เขียนเป็นภาพ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานระหว่างต้นสาละที่ใช้เทคนิคการกระทุ้งให้เป็นพุ่มใบไม้ พู่กันที่ ทำ�จากรากลำ�เจียกทุบให้เป็นฝอย โดยมีภาพพระสาวกแวดล้อม มีการแบ่งภาพส่วนนี้ออกจาก องค์ประกอบอื่นด้วยเส้นฮ่อ โดยเน้นจุดเด่นด้วยผ้าม่านที่มีสีเข็มประดับด้วยลายดอกไม้สวยงาม

71


ส่วนผนังด้านบนมุมขวาเป็นภาพพระมหากัสสปะทีถ่ อื ธุดงค์เป็นวัตร ได้ออกบิณฑบาตใกล้เมือง ปาวา พร้อมพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป ระหว่างทางพบอาชีวกคนหนึ่ง (นักบวชนิกายหนึ่ง นอกพระพุทธ ศาสนา ในครั้งพุทธกาล) ถือดอกมณฑารพ หรือดอกมณฑา (ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์) เอาไปเสียบ เป็นคันร่มเดินมาจากเมืองกุสนิ าราจะไปเมืองปาวา จึงถามข่าวพระบรมศาสดาและทราบว่าพระองค์ เสด็จปรินิพพานได้ ๗ วันแล้ว ส่วนดอกมณฑารพนี้ อาชีวกก็ถือมาจากที่นั้น จากภาพจะแสดงถึงความเป็นป่าที่ อุดมสมบูรณ์ ที่มีสิงสาราสัตว์ ประกอบ ด้วยโขดหินเขามอ ตามเทคนิควิธีการ เขียนภาพแบบโบราณ ต้นไม้ทรงพุ่ม ตัดเส้นทีละใบ แล้วแตะขอบพุม่ เป็นเงา ใบไม้ด้วยสีดำ� ลำ�ต้นเป็นสีขาว

72


ภาพการเดินทางของพุทธสาวก ในภาพเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่นั่งบนแคร่ มีขบวนเครื่อง ประกอบสมณศักดิ์นำ�ขบวนไปยังพระจิตกาธาน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “พระอนุรุทธะ” ยุทธนาวรากร แสงอร่าม (๒๕๔๑ : ๓๖) ได้กล่าวว่า “...ใบหน้าบุคคลสามัญ ช่างจะวาด ใบหน้าตามอากัปกริยาต่างๆ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงภาพใบหน้าคนเหมือน ที่อาจเป็นใบหน้าของ บุคคลที่เคยมีตัวตนจริงอยู่ในช่วงเวลานั้น คือ ภาพเหมือนพระอริยวงศ์...” ซึ่งเป็นองค์อำ�นวยการ สร้างวัดทุ่งศรีเมือง และเจ้า คณะเมื อ งอุ บ ลราชธานี ใ น ขณะนั้น คือ ท่านเจ้าคุณ อริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลคณาภิบาล สังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ�) ภาพเหมือนพระอริยวงศ์

73


ภาพพระจิตกาธาน ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญของผนัง ด้านหน้านี ้ ถูกวางภาพไว้ในตำ�แหน่งกึง่ กลางของผนัง พระจิ ต กาธานเป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระพุ ท ธสรี ร ะบน บุษบก ภายในปราสาท ๓ ยอด ล้อมรอบด้วยรั้ว ราชวัตรชั้นใน และกำ�แพงแก้วชั้นนอก ภายในรั้ว ราชวัตรมีเหล่าพุทธสาวกสักการะพระบรมศพ ส่วน นอกรั้วราชวัตรจนถึงกำ�แพงแก้วเป็นภาพเหล่ามัลล กษั ต ริ ย์ ทหารไทย และทหารจี น รวมไปถึ ง พุทธศาสนิกชนกำ�ลังฟังพระเถระแสดงธรรม ส่วนยอด ของปราสาททำ � เป็ น เส้ น สิ น เทาเพื่ อ แบ่ ง พื้ น ที่ ข อง ปราสาท ๓ ยอด ออกมาเป็นอีกมิติหนึ่ง ที่แสดง เรือ่ งราวของเทวดาและนักสิทธ์ วิทยาธร กำ�ลังเหาะ โปรยดอกไม้ เพื่อ สักการบูชาพระบรมศพ 74


มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นภาพปราสาททีม่ กี �ำ แพงแก้วล้อมรอบ เป็นสถานทีถ่ วายพระเพลิงพระบรมศพ มกุฏพันธนเจดีย์เป็นที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของราชวงศ์มัลละ เป็นสถานที่สูงสุดขอ งมัลลกษัตริย์ เพราะเป็นเจดีย์ที่ผูกมกุฎ คือ ทำ�พิธีสวมมงกุฎของกษัตริย์ กษัตริย์ทั้ง ๗ นคร ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ต่างก็ส่งราชทูตมาขอแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อไปสร้างเป็นเจดีย์ มัลลกษัตริย์ปฏิเสธไม่ยอมแบ่ง เกิดการโต้เถียง จนเตรียมจะทำ�ศึกสงคราม โทณพราหมณ์ ที่เป็นอาจารย์ของเหล่ากษัตริย์ จึงอาสาจะเป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์ ไ ด้ ฉ วยพระเขี้ ย ว แก้วเบื้องขวา เก็บไว้ในมวยผม โดยแบ่ ง พระบรมสาริ ก ธาตุ ใ ห้ กษัตริย์พระองค์ละ ๑ ทะนาน ระหว่ า งที่ โ ทณพราหมณ์ แ บ่ ง พ ร ะ บ ร ม ส า รี ริ ก ธ า ตุ อ ยู่ นั้ น พระอินทร์ได้มาอัญเชิญพระเขี้ยว แก้ ว ออกจากมวยผม นำ � ไป ประดิษฐานไว้ ณ พระจุฬามณี เจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

75


76


ช่ช่างเขี �นัานนั ที ชนั้ สูชง้ นั ของหั วเมือวงอี างเขียยนได้ นได้แสดงภาพนางกำ แสดงภาพนางกํ น แ่ ต่ทีง่แกายแบบสตรี ต่งกายแบบสตรี สู งของหั เมืสอาน นุ งอีสานง่ ผ้านุซิน่​่งผ้ ห่ าซิม่น ผ้าสไบ และเกล้าผมมวยที่กลางศีรษะอย่างวัฒนธรรมไท-ลาว ห่มผ้าสไบ และเกล้าผมมวยที่กลางศีรษะอย่างวัฒนธรรมไท-ลาว

ที่มา : หนังสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้ า ๑๑๒ ๗๗

77

ที่มา : หนังสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้า ๑๑๒


78


สำ�หรับผนังด้านข้างประตูขวามือ เขียนเป็นภาพโทณพราหมณ์ก�ำ ลังทูลขอทะนานตวงพระบรม สารีริกธาตุจากมัลลกษัตริย์ เมื่อไม่ได้พระเขี้ยวแก้ว ก็ขอเอาทะนานนี้ไปบรรจุไว้ในสถูปแทน เพราะ ทะนานทองคำ�นี้ก็มีคติดังพระบรมสารีริกธาตุ

79


ส่วนตอนล่างของผนังเป็นภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองกุสินารา ภาษาช่างเรียกว่า “ภาพกาก” เป็นภาพบุคคลที่ไม่ใช่เนื้อหาหลัก เป็นส่วนประกอบที่สอดแทรกเพื่อเพิ่มสีสันแก่ ภาพ เช่น ภาพชาวบ้าน ชาวต่างชาติ และข้าราชสำ�นักทีส่ ะท้อนวิถชี วี ติ ความเป็นอยูข่ องชาวอีสาน ดังจะเห็นได้จากภาพวิถชี วี ติ ของชาวบ้านทีอ่ ยูร่ มิ แม่น้ำ� มีเรือสำ�เภาค้าขายของชาวจีน เรือแจว เรือน แพริมน้ำ� การเล่นน้ำ�ของเด็กๆ

ส่ วนตอนล่างของผนังเป็ นภาพวิถีชีวติ ความเป็ นอยูข่ องชาวเมืองกุสินารา ภาษาช่างเรี ยกว่า “ภาพกาก” เป็ นภาพบุคคลที่ไม่ใช่เนื้อหาหลัก เป็ นส่ วนประกอบที่สอดแทรกเพื่อเพิ่มสี สันแก่ภาพ เช่น ภาพชาวบ้าน ชาวต่างชาติ และข้าราชสํานักที่สะท้อนวิถีชีวติ ความเป็ นอยูข่ องชาวอีสาน ดังจะ เห็นได้จากภาพวิถีชีวติ ของชาวบ้านที่อยูร่ ิ มแม่น้ าํ มีเรื อสําเภาค้าขายของชาวจีน เรื อแจว เรื อนแพ ริ มนํ้า การเล่นนํ้าของเด็กๆ ผนังนี้ยงั มีภาพประเภท ผนังนี้ยังมีภาพประเภท การเล้าโลม หรือ ภาพสมพาส เป็นการสวมกอดของชายหญิง ซึ่ง การเล้“จั าโลม ภาพสมพาส มักแสดงอาการ บมือหรืถืออนม ชมแก้ม” ดังภาพที่อยู่ด้านซ้ายมือของปราสาท และภาพการ การสวมกอดของชายหญิ ง ตรกรรมวัดทุ่งศรีเมือง เช่น เด็กเปลื้องผ้าวิ่งเล่น และเด็ก เปิดเผยของลัเป็บน ซึ ่งมีอยู่จำ�นวนมากในจิ มักแสดงอาการ เปลื้องผ้าเล่นซึน้่ งำ� ฯลฯ “จับมือ ถือ ชมแก้ม” งดัอีงกภาพที ่อยูด่ า้ น ง่ ทีเ่ ป็นสีสนั สะท้อนความเป็นจริงของการดำ�เนินชีวติ ของ ภาพจิตนม รกรรมฝาผนั ประเภทหนึ ซ้าอยมืภาพการเสพสั อของปราสาท งและภาพ มนุษย์ทวั่ ไป คื วาส ภาพประเภทนีม้ กั จะมีอะไรปิดบังตัวภาพบางส่วน มิให้โจ่งแจ้ง การเปิ ดเผยของลับ อยู่ จนเกินไป อาจเป็นต้นไม้ หรือเสาเรืซึ่งอมีน เช่ น ภาพชายหญิงคู่หนึ่งกำ�ลังเสพสังวาสข้างเก๋งจีนมี จํานวนมากในจิตรกรรมวัดทุ่ง ต้นมะพร้าวปิดบังบางส่วนไว้ ศรี เมือง เช่น เด็กเปลื้องผ้าวิง่ เล่น และเด็กเปลื้องผ้าเล่นนํ้า ฯลฯ ภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกประเภท หนึ่งที่เป็ นสี สัน สะท้อนความเป็ นจริ งของ การดําเนินชีวติ ของมนุษย์ทวั่ ไป คือ ภาพ การเสพสั งวาส ภาพประเภทนี้มกั จะมี อะไรปิ ดบังตัวภาพบางส่ วน มิให้โจ่งแจ้ง จนเกินไป อาจเป็ นต้นไม้ หรื อเสาเรื อน เช่น ภาพชายหญิงคู่หนึ่งกําลังเสพสังวาส ข้างเก๋ งจีน มีตน้ มะพร้าวปิ ดบังบางส่ วนไว้

80

๘๐


ส่วนเรือ่ งราวเพิม่ เติมที่ ผนั ง ด้ า นทิ ศ เหนื อ ที่ บ าน แผละช่องหน้าต่างด้านในสุด ซ้ายมือพระประธานเขียนเป็น เรื่ อ ง ปาจิ ต ตกุ ม ารชาดก หนึ่งในปัญญาสชาดก เป็น ฉากตอนเณรน้อยพายเรือพา นางอรพิมพ์ข้ามฟาก แต่ไม่ ยอมพาไปส่งให้ปาจิตตกุมาร กลับพายเรือต่อไป หวังจะ เอานางไปเป็นภรรยาพี่ชาย นางอรพิมพ์จึงออกอุบายว่า อยากกินผลมะเดื่อ เณรจึง แวะเรือเข้าฝั่ง ปีนขึ้นไปเอา ผลมะเดื่ อ นางจึ ง รี บ เอา หนามสะไว้ ที่ โ คนต้ น แล้ ว พายเรื อ กลั บ ไปหาปาจิ ต ต กุมารแต่ไม่พบ ส่ ว นนางอรพิ ม พ์ ต้ อ ง พลัดพรากจากสามี ร้องไห้ ตามหาสามี จนถึงเมืองจัม ปากนคร เข้าไปในวิหารแห่ง หนึ่ ง อธิ ษ ฐานขอให้ เ ปลี่ ย น เพศเป็ น ชาย ต่ อ มาได้ อุปสมบทจนได้เป็นพระสังฆ ราชา และได้พบปาจิตตกุมาร จึ ง อธิ ษ ฐานขอคื น เพศหญิ ง เหมือนเดิม จึงลาสิกขาเป็น คฤหัสถ์ กลับไปครองบ้าน เมืองด้วยกัน

81


บานแผละด้านขวาเขียนเป็นเรือ่ ง จุลปทุมชาดก จากนิบาตชาดก ตอน พระปทุมกุมารกับพระชายาประทับใน อาศรม อยูม่ าวันหนึง่ มีนกั โทษถูกลอยแพ มา ถูกลงอาญา ตัดมือ เท้า หู และ จมูก ปทุมกุมารมีใจเมตตาช่วยเหลือ รักษา เลี้ยงดูให้อยู่ในอาศรมด้วยกัน จนพระชายาเกิ ด มี จิ ต ปฏิ พั น ธ์ ใ น โจรชัว่ นัน้ ประพฤติอนาจารร่วมกับโจร ชัว่ ทัง้ สองจึงวางแผนจะฆ่าปทุมกุมาร ทั้งที่ปทุมกุมารเคยช่วยชีวิตพระชายา และให้ดื่มเลือดที่เข่าแทนน้ำ� ส่วนตอนล่างพระชายาผลักพระ ปทุมกุมารตกเหว โดยออกอุบายว่าได้ บนบานต่อเทพเจ้าผูส้ งิ สถิตบนยอดเขา โดยให้ ป ทุ ม กุ ม ารหั น พระพั ก ตร์ เ ข้ า หาเหว ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ทำ�เป็น ปรารถนาจะทำ�ประทักษิณถวายบังคม พอได้จังหวะ ก็ผลักปทุมกุมารตกเหว แต่ ปทุ ม กุ ม ารไปติ ดอยู่ ที่ พุ่ ม ไม้ เหนือ ยอดต้นมะเดื่อ และได้พญาเหี้ยช่วย ให้กลับบ้านครองเมืองได้ สุดท้ายพระ ชายาถูกปทุมกุมารสั่งให้ผูกกระเช้าที่ แบกโจรชั่วไว้บนศีรษะจนแน่น ไม่ให้ นางยกลงจากศีรษะได้ ขังชายชั่วนั้น ไว้ในกระเช้าจนกระทั่งตาย

82


บานแผละหน้ บานแผละหน้าต่างช่องถั นเรื่ อ่องสิงสินนไซ ไซ (สั น งถัดมาทั มาทั้งงสองด้ สองด้าาน เขี น เขียยนเรื (สังข์งศข์ิลศป์ิลชัป์ยช)ัย) ด้ ด้านซ้าานซ้ ยเป็ายเป็ นตอน นไซพานางสุ มณฑาออกจากเมื องอโนราชจนถึ งถ้วำ�แก้ว(คู(คู หาถ้ ำ�แอ่ วจึวงจึกลั บเข้บเข้ าเมืาเมืององ สิ นตอนสิ ไซพานางสุ มณฑาออกจากเมื องอโนราชจนถึ งถํ้าแก้ หาถํ น)น) แล้แล้ งกลั ้ าแอ่ อโนราช เพื ่อไปปราบยักกษ์ษ์กกมุ ุมภัภัณณฑ์ฑ์ ่งนอนหลับบอยูอยูใ่ นปราสาท ่ในปราสาท บานแผละด้ บานแผละด้าานขวาเป็ นขวาเป็นนภาพสิ อโนราช เพื่อไปปราบยั ซึ่งซึนอนหลั ภาพสินนไซ ไซ รบกับวิบทวิทยาธรแย่ ยาธรแย่งนารี งนารีผผลล ขณะเดิ นทางไปเมื องอโนราช รบกั ขณะเดินทางไปเมื องอโนราช ๘๓

83


ประชุมชาดกกลับชาติ หลังจากที่ได้นำ�เสนอเรื่องราวมหาเวสสันดรและพุทธประวัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อแสดง ความเชื่อมโยงของเรื่องราวทั้ง ๒ เรื่อง พระพุทธองค์ได้ตรัสเท้าความหลังให้พระภิกษุทั้งหลาย ฟังว่า ผูม้ นี ามปรากฏในเรือ่ งมหาเวสสันดรชาดกนัน้ เมือ่ กลับชาติมาในปัจจุบนั มีใครบ้าง แว่นแคว้น นครสีพใี นสมัยพุทธกาลเปลีย่ นเป็นสักกชนบท นครพิชยั เชตุอดุ รเปลีย่ นเป็นกรุงกบิลพัสดุ ์ ราชวงศ์ สีพีราชเปลี่ยนเป็นศากยราช ส่วนบุคคลต่างๆ นั้นกลับชาติมาดังนี้ มหาเวสสันดรชาดก กลับชาติเป็น ๑. พระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ ๒. พระเจ้ากรุงสญชัย ๓. พระนางผุสดี ๔. พระนางมัทรี ๕. พระชาลี ๖. พระกัณหา ๗. พระอัจจุตฤาษี ๘. ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ๙. วิษณุกรรมเทพบุตร ๑๐. พรานเจตบุตร ๑๑. พราหมณ์ชูชก ๑๒. นางอมิตตดา ๑๓. เทวดาที่แปลงเป็นพระยาพยัคฆราช ๑๔. เทวดาที่แปลงเป็นพระยาทีบีราช ๑๕. เทวดาที่แปลงเป็นพระยาไกรสรราช ๑๖. เทวดาที่ดูแลกัณหาชาลี ๑๗. เทพธิดาที่ดูแลกัณหาชาลี ๑๘. ช้างปัจจัยนาค ๑๙. แม่ช้างปัจจัยนาค ๒๐. กษัตริย์มัททราช ๒๑. กษัตริย์ที่ทูลข่าวเนรเทศ ๒๒. เสนาคุตตอำ�มาตย์ ๒๓. สหชาติโยธีทั้งหกหมื่น 84

พุทธกาล พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะ (พุทธบิดา) พระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระนางยโสธรา พิมพา พระราหุล นางอุบลวรรณาเถรี พระสารีบุตร พระอนุรุทธเถระ พระมหาโมคคัลลานะ พระฉันนะเถระ พระเทวทัต นางจิญจมาณวิกิ สาวิกาเดียรถีย์ พระสิมพลีเถระ พระจุนนาคเถระ พระอุบาลีเถระ พระมหากัจจายนะเถระ นางวิสาขาอุบาสิกา พระมหากัสสปะเถระ นางกีสา โคตมี พระยามหานามศากยราช พระอานนทเถระ อนาถปีณฑิกเศรษฐี พุทธบริษัททั้งหลาย


สุนสุทรีนทรี ยภาพจิ ตรกรรมฝาผนั ง งหอพระพุ ทธบาท ยภาพจิ ตรกรรมฝาผนั หอพระพุ ทธบาท วัวัดดทุทุ่ง่ งศรีศรีเมืเมือองง

ด้ านองค์ ประกอบศิลป์ ด้านองค์ประกอบศิลป์ เมื่อจะพูดถึงความงามของจิตรกรรมฝาผนัง หรื อ ฮูปแต้ม หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรี เมือง เมื่อจะพูดถึงความงามของจิตรกรรมฝาผนัง หรือ ฮูปแต้ม หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง หรื อฮูปแต้มใน “สิ ม” ตามภาษาอีสาน ก็คือ โบสถ์น้ นั เอง สิ ม มาจากคําว่า สี มา หรื อ เสมา ที่ หรือฮูปแต้มใน “สิม” ตามภาษาอีสาน ก็คือ โบสถ์นั้นเอง สิม มาจากคำ�ว่า สีมา หรือ เสมา แปลว่า เขต หลักเขตการทําสังฆกรรม สิ มอีสานสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยทางพิธีกรรมของ ที่แปลว่า เขต หลักเขตการทำ�สังฆกรรม สิมอีสานสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยทางพิธีกรรม สงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ที่ประกอบพิธีกรรมมีจาํ นวนไม่เกิน ๑๐ รู ป สิ มจึงมีขนาดเล็ก อีกประการ ของสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ที่ประกอบพิธีกรรมมีจำ�นวนไม่เกิน ๑๐ รูป สิมจึงมีขนาดเล็ก อีกประการ หนึ ห้ามสตรี ผลถึงงการวางองค์ การวางองค์ปประกอบภาพของ ระกอบภาพของ หนึ่ ง่งคืคืออสิสิมมเป็เป็นนเขตสั เขตสังงฆาวาส ฆาวาส ห้ ามสตรีเข้เข้าาโดยเด็ โดยเด็ดดขาด ขาด จึจึงงส่ส่งงผลถึ ช่ช่างแต้ ไม่เเหมื หมืออนพระอุ นพระอุโโบสถในภาคกลางที บสถในภาคกลางที ีขนาดใหญ่ ต เพราะ างแต้มมในเนื ในเนื้ อ้อทีที่ท่ที่มี่มีอีอยูยูอ่ ่อย่ย่าางจํงจำา�กักัดด ไม่ ่มีข่มนาดใหญ่ โต โเพราะฉะนั ้น ฉะนั ปัญหาการจั องค์ประกอบภาพ โดยยือ่ดงราวเป็ ฉากเรื่ อนงราวเป็ สําคัอ่ญงราวหนึ ฉากเรืง่ เหตุ ่ องราวหนึ ้ นช่มางแต้ ช่างแต้ แก้ปมญ ั แก้ หาการจั ดองค์ปดระกอบภาพ โดยยืดฉากเรื สำ�คัญ นฉากเรื การณ์ ่ ง เหตุ การณ์ อาจมี การนํ่อาเสนอเรื ่ องราวมากกว่ อย่า้ งต่อไปนี้ อาจมี การนำ �เสนอเรื งราวมากกว่ าหนึ่งเหตุกาหนึ ารณ์่ งเหตุ ดังตัการณ์ วอย่าดังต่งตัอวไปนี

๖ ๓

๕ ๒

๔ ๑

จากภาพตัววอย่ อย่างจะเห็ งจะเห็นนได้ได้วว่าภาพนี า่ ภาพนี้ม้ มีหีหลายเหตุ ลายเหตุกการณ์ ารณ์เกิเกิดดขึขึ้น้ นโดยที โดยที่ไม่​่ไไม่ด้ไเด้รียเรีงลำ ยงลํ บเหตุการณ์ การณ์ จากภาพตั �ดัาบดัเหตุ ก่ก่ออนหลั สามารถมองเห็นนเหตุ เหตุกการณ์ ารณ์ตต่า่างๆงๆ ได้ได้ นหลังงตามเนื ตามเนื้ อ้อเรืเรื่ อ่องมาจั งมาจัดดให้ ให้ออยูยูก่ ่กนั ันในพื ในพื้น้ ที่ภาพเดียยวกั วกันน สามารถมองเห็ มกันน ดัโดยเป็ พร้พร้ออมกั งนี้ นเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระ ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ ๘๕

85


๑. พระเวสสันดรพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พราหมณ์ทั้ง ๘ ๒. ชาวเมืองสีพีเห็นพระเวสสันดรทรงบริจาคช้างปัจจัยนาคก็ไม่พอใจ จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระ เจ้าสญชัยทูลกล่าวโทษพระเวสสันดร ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรไปเสียจากเมืองสีพี ๓. พราหมณ์อีกหนึ่งคนมาทูลขอราชรถพระเวสสันดรก็พระราชทานให้ ๔. เมื่อชูชกเดินทางมาถึงทาง ๒ แพร่ง เทวดาดลใจให้เดิมทางมานครสีพี ๕. พระเจ้าสญชัยทรงไถ่ตัวสองกุมารกับชูชก ๖. พระเวสสันดรเสด็จกลับเมือง ตามคำ�ทูลเชิญของชาวเมืองสีพี จะเห็นได้ว่าช่างแต้มมีการแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ที่จำ�กัด โดยการจัดวางองค์ประกอบภาพแต่ละ เรื่องได้ดีพอสมควร ถึงจะไม่มีระบบกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว แต่ก็แสดงให้เห็นถึงอิสระในการจัด วางภาพที่แตกต่างจากภาพเขียนภาคกลาง จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่การจัดองค์ประกอบ ภาพลักษณะนี้ อาจทำ�ให้ผู้ชมเกิดความสับสนในการลำ�ดับเรื่องราว มุมมองการจัดองค์ประกอบภาพโดยรวมเป็นมุมมองแบบนกมอง (Bird Eye View) คือ การมองภาพจากทีส่ งู ลงสูท่ ตี่ � ่ำ ทำ�ให้มองเห็นเหตุการณ์ได้กว้างขึน้ นอกจากนีย้ งั มีการใช้เส้นสินเทา เส้นฮ่อ กำ�แพงเมือง ฉัตรเบญจา แนวภูเขาและพุ่มไม้ แบ่งแยกราวเรื่องแต่ละตอนออกจาก กัน ทำ�ให้ภาพมีลกั ษณะเคลือ่ นไหวต่อเนือ่ งกัน โครงสร้างโทนสีโดยรวมเป็นสีน�้ำ ตาลแดงและสีคราม มีสีเขียวของต้นไม้แทรกอยู่เป็นระยะ ลักษณะการเขียนภาพคล้ายกับศิลปะรัตนโกสินทร์ ที่มักรอง พื้นฉากหลังด้วยสีเข้ม แล้วจึงเขียนภาพตัวละครทับลงไป ทำ�ให้ตัวภาพลอยเด่นออกมาจาก ฉากหลัง ไพโรจน์ สโมสร (๒๕๓๒ : ๓๘) ได้แบ่งช่างแต้มอีสาน ออกเป็น ๓ กลุ่ม ๑. กลุ่มช่างพื้นบ้านแท้ๆ ๒. กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลช่างหลวงกรุงเทพฯ ๓. กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมผสม ล้านช้าง-กรุงเทพฯ ช่ า งแต้ ม ฮู ป แต้ ม หอพระพุ ท ธบาท วัดทุ่งศรีเมือง จัดอยู่ในกลุ่มที่ ๓ คือ กลุ่มที่ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลวั ฒ นธรรมผสมระหว่ า ง ล้ า นช้ า งกรุงเทพฯ เพราะรูปแบบจิตรกรรมได้รับอิทธิพล จากศิลปะรัตนโกสินทร์ แต่ในด้านเรือ่ งราว และ วิถีชีวิตได้ประสานสอดแทรกความเป็นท้องถิ่น อีสานได้อย่างลงตัว จึงเป็นการผสมผสานของ ศิลปะรัตนโกสินทร์และล้านช้างได้อย่างกลมกลืน 86


จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเขียนแบบอุดมคติ ในลักษณะภาพ ๒ มิติ แบนๆ มีความกว้าง และความยาว แต่ไม่มีความหนา ไม่มีน้ำ�หนักแสงเงาเหมือนภาพเขียนตะวันตก ให้ความสำ�คัญ ด้วยการตัดเส้นที่ละเอียดอ่อน ประณีต บรรจง จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ กล่าวว่า รูปแบบทางจิตรกรรม คือ สิ่งที่ช่างจิตรกรรมเขียน ระบายทำ�ขึ้นเพื่อแทนสรรพสิ่งต่างๆ ที่เขาปรารถนาจะใช้มันเพื่อพรรณนาหรืออธิบายประสบการณ์ และความนึกเห็นของเขา เกี่ยวกับหลักการแห่งรูปแบบในจิตรกรรมไทย มีการสร้างสรรค์รูปแบบ อยู่ ๓ แบบ ได้แก่ ๑. รูปแบบประดิษฐ์ เช่น ภาพมนุษย์ ภาพสัตว์ ภาพสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้และเขามอ ล้วนถูกสร้างขึ้นโดยการประดิษฐ์ รูปทรง สัดส่วนรายละเอียดใหม่ เพื่อให้สามารถสัมผัสเข้าใจและ ง่ายต่อการรับรู้ของผู้ชม ๒. รูปแบบที่สร้างขึ้นใหม่ คือ การสร้างรูปแบบใหม่โดยสลับตำ�แหน่ง เช่น การนำ�เอา ส่วนของร่างกายคนท่อนบนต่อกับท่อนล่างของนก เกิดเป็นรูปกินรี การสร้างรูปใหม่โดยเพิม่ อวัยวะ เช่นการนำ�ศีรษะเพิ่มเข้าไปกับร่างเดิมเกิดรูปแบบหลายหน้า เช่น พระพรหม การสร้างรูปแบบ ใหม่โดยย่อส่วนให้เล็กลงกว่าความเป็นจริง เช่น ปราสาท ศาลา บ้าน เรือน ๓. รูปแบบอย่างลดทอน เป็นรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ หรือเครือ่ งหมายแทนสิง่ ซึง่ เป็นรูปธรรม เช่น ภาพตอนประสูติ ใช้ดอกบัว หรือรอยพระพุทธบาท ภาพตอนตรัสรู้ ใช้พุทธบัลลังก์ใต้ต้น ศรีมหาโพธิ์ ภาพตอนปฐมเทศนา ใช้ธรรมจักรมีกวางหมอบ และตอนปรินิพพาน ใช้พระสถูป เป็นต้น

87


ภาพบุคคล ช่างเขียนมีการเขียนภาพบุคคล ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำ�คัญในการดำ�เนินเรื่องต่างๆ โดยให้ ความรู้สึกอ่อนหวานด้วยเส้นโค้งที่สัมพันธ์กัน เป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Ldialistic Art) ที่ระบาย สีแบนเรียบ แล้วตัดเส้นเป็นภาพ ๒ มิติ มีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาอันอ่อนช้อย ภาพบุคคล ในงานจิตรกรรม สามารถจำ�แนกสถานะของบุคคลได้อย่างชัดเจนโดยเครื่องแต่งกาย อากัปกริยา ตำ�แหน่งในการจัดวาง แบ่งภาพบุคคลได้ ๒ แบบ ดังนี ้ ๑. ภาพบุคคลชั้นสูง ได้แก่ ภาพพระพุทธเจ้า กษัตริย์ พระโอรส พระธิดา เทวดา และยักษ์ ทีช่ า่ งได้ประดิษฐ์ขนึ้ ตามจินตนาการของอุดมคติไทย ซึง่ เป็นภาพทีไ่ ม่ได้ยดึ ติดตามธรรมชาติ ความเป็นจริง เช่น ภาพตัวพระ ตัวนาง ดังภาพตัวอย่างเป็นภาพเทวดา แสดงหน้า ด้านข้าง ลำ�ตัวเป็นด้านหน้า มือด้านข้าง ซึง่ ขัดกับ ความเป็นจริงตามธรรมชาติ เพราะช่างจะเป็นผู้ เลือกเอาเฉพาะส่วนทีค่ ดิ ว่าสวยงามมาประกอบกัน ผนวกกับความงามตามอุดมคติของไทย เช่น คิ้วโก่งดังคันศร ปากกระจับ คอเป็นปล้องๆ ออก มาเป็นรูปแบบประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยให้ความ สำ�คัญกับเส้นทีส่ อดประสานสัมพันธ์กนั หน้าตาไม่ แสดงอารมณ์บนใบหน้า ไม่แสดงอายุหรือวัย แต่ แสดงออกด้วยกิริยาท่าทางในลักษณะ “นาฏลักษณ์” คล้ายๆ ตัวละครที่แสดงโขนลักษณะงามสง่าด้วย ลีลาอันอ่อนช้อย ถ้าเป็นรูปยักษ์มารก็แสดงออก ด้วยใบหน้าท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน แสดงความ แตกต่างของบุคคลด้วยสี อาทิ พระอินทร์กายสี เขียว และเครือ่ งแต่งกาย เช่น ทองพระกร พาหุรดั ทับทรวง สังวาล ฉลองพระบาท

88


๒. ภาพกาก หมายถึง ภาพบุคคลที่ไม่ใช่เนื้อหาหลักของเรื่ อง ที่ประกอบสอดแทรก ๒. ภาพกาก หมายถึง ภาพบุคคลที่ไม่ใช่เนื้อหาหลักของเรื่อง ที่ประกอบสอดแทรก เพื่อให้เกิดสี สันในภาพจิตรกรรม เป็ นการเขียนภาพเหมือนบุคคลจริ งในธรรมชาติ แสดงอารมณ์ เพื่อให้เกิดสีสันในภาพจิตรกรรม เป็นการเขียนภาพเหมือนบุคคลจริงในธรรมชาติ แสดงอารมณ์ ความรูความรู ้สึกบนใบหน้ า า ภาพกากมี ภาพกากมีการสอดแทรกสภาพชี การสอดแทรกสภาพชี วติ ความเป็ แ่ ละวั ฒนธรรมประเพณี ้สึกบนใบหน้ วิตความเป็ นอยูน่แอยูละวั ฒนธรรมประเพณี การแต่การแต่ งกายของบุ คคลแต่ ละชาติ พนั พธุัน์ ธุ์ การทํ การละเล่นนของเด็ ภาพกามวิ ัย ของ งกายของบุ คคลแต่ ละชาติ การทำามาหากิ �มาหากินน การละเล่ ของเด็กก ภาพกามวิ สัย สของ ชาวบ้ชาวบ้ านในยุ คสมัคยสมัของช่ างแต้ ม ม ทำ ทําให้ หลักกฐานสำ ฐานสํ�คัาญคัญทางประวั ทางประวั ติศาสตร์ านในยุ ยของช่ างแต้ �ให้ภภาพเหล่ าพเหล่าานีนี้ กลายเป็ นนหลั ติศาสตร์ ของของ สานได้ ป็นาอย่ ชาวอีชาวอี สานได้ เป็ นเอย่ งดีางดี ประเพณี ประเพณี ของชาวอี สานเช่นเช่การทํ น การทำ บาตร งั อนดี ต่าตงๆ่างๆของชาวอี สาน าบุญ�บุใส่ญบใส่าตร งันเฮืนอเฮืนดี

๘๙

89


ภาพยักษ์ ยักษ์ จัดเป็นอมนุษย์ประเภทหนึ่ง ที่ประดิษฐ์ให้แตกต่างไป จากภาพมนุษย์ ได้แก่ การสร้างรูปแบบใหม่ เป็นจินตนาการ ของช่างในการนำ�เสนอภาพที่พิสดาร ซึ่งไม่มีอยู่จริง ในโลกมนุษย์ เพื่อเพิ่มสีสันเรื่องราวให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในสภาพเหนือความเป็นจริงตามธรรมชาติ ในจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง จะมีภาพยักษ์ประกอบในผนัง ด้านทิศตะวันตก (ด้านหลังพระประธาน) “ตอนมารผจญ” และผนังด้านทิศเหนือ “ตอนมหาภิเนษกรมณ์”

90


ภาพการเล้าโลมและการเสพสังวาส เป็นภาพรูปแบบหนึ่งที่ช่างสอดแทรกลงไปในจิตรกรรม เพื่อแสดงกามวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปยังคงต้องเสพ เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังไม่หลุด พ้นจากกิเลส เพื่อความสังเวช และความขบขัน การแสดงกิจกรรมเหล่านี้ มักต้องมีอะไรปิดบังตัว ภาพ เช่น ต้นไม้ หรือเสาเรือน

91


มหรสพและการละเล่น จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุง่ ศรีเมือง มีภาพกากทีแ่ สดง มหรสพของภาคอีสาน เช่น หมอลำ�กลอน ที่ประกอบด้วยหมอลำ�ชาย หญิง หมอแคน และการ บรรเลงเป็นวง หรือ การประสมวง ที่ต้องใช้เครื่องดนตรีหลายชิ้น ส่วนการละเล่นที่พบในวัดทุ่ง ศรีเมือง ได้แก่ การขี่แพะชนกัน

92


วิถีชีวิตและอาชีพชาวบ้าน ช่างแต้มบรรจง แต่งแต้มถ่ายทอดเรือ่ งราววิถชี วี ติ ความเป็นอยูแ่ ละ การประกอบอาชีพของผู้คนยุคนั้น เช่น นาย พราน การจับปูหาปลา รวมไปถึงการค้าขายของ ชาวไทยและชาวจีน

93


ภาพสัตว์ ภาพสัตว์ในงานจิตรกรรมไทย เป็นรูปแบบที่ได้ประดิษฐ์จากรูปแบบที่มีอยู่จริงในธรรมชาติ โดยเลือกสรรเอาเฉพาะลักษณะเด่นของสัตว์ชนิดนัน้ มานำ�เสนอ เพือ่ ให้ทราบว่าเป็นสัตว์อะไร ด้วย ลักษณะของสีและเส้น ให้รายละเอียดของภาพเท่าทีจ่ �ำ เป็น โดยให้ความสำ�คัญกับรูปร่างมากกว่า การคำ�นึงถึงเหตุผลทางรูปทรง แบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้ ๑. สัตว์ทั่วไปในธรรมชาติ ทั้งสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข ไก่ นก กระรอก กวาง งู จระเข้ เสือ ปลา ลิง ฯลฯ

94


95


๒. สัตว์หิมพานต์ เป็นสัตว์ในจินตนาการที่ปรากฏในวรรณคดีต่างๆ และหนังสือไตรภูมิที่ กล่าวถึงป่าหิมพานต์ ซึ่งอยู่เชิงเขาพระสุเมรุเป็นแดนทิพย์ที่มนุษย์ไม่สามารถไปถึงได้ มีสัตว์ หิมพานต์มากมาย บางส่วนเกิดจากจินตนาการของครูชา่ งในอดีต และช่างเขียนได้เขียนสืบทอดต่อ กันมา สัตว์หิมพานต์ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ได้แก่ สิงห์ เงือก กุญชรวารี กินรี กินนร อรหัน ฯลฯ

96


ภาพปราสาท ราชวัง อาคาร บ้าน เรือน เป็นการเขียนที่ไม่เคร่งครัดกับกฎเกณฑ์ ตามความเป็นจริงมากนัก เขียนเพื่อให้สื่อถึง เรื่องราวที่ต้องการเล่าถึง เป็นลักษณะของ อาคารประดิษฐ์ ที่สามารถเขียนบรรจุภาพ คนในอาคารได้ตามทีช่ า่ งต้องการ ซึง่ ตามหลัก การมองเห็นจริงๆ แล้ว ภาพคนบางส่วนจะต้อง ถูกบังด้วยผนังกำ�แพงห้อง แต่ชา่ งเขียนแสดง ภาพตัด เพื่อให้เห็นภาพบุคคลในตัวอาคาร รวมไปถึงภาพบุคคลและตัวอาคารที่มีสัดส่วน ไม่สมั พันธ์กนั ตามความเป็นจริง กล่าวคือ หาก บุคคลในภาพยืนขึน้ ศีรษะจะทะลุหลังคา เพราะ งานจิตรกรรมไทยเป็นงานลักษณะอุดมคติ มี วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้ชม เข้าใจในสิ่งที่ช่างต้องการสื่อ ไม่ยึดติดกับกฎ เกณฑ์ธรรมชาติความเป็นจริง แต่หากมองโดย ภาพรวมแล้วจะเห็นความสวยงามลงตัวไม่ขดั ตา จึงเป็นความสำ�เร็จอย่างหนึง่ ของงานจิตรกรรมไทย

97


โดยช่าางทังทัง้ ้สิงสิน้ ้ น ต้นไม้ ต้นมไม้ ีท้ งั แบบตั เส้นใบไม้ ต้ต้นไม้ และเขามอ ละเขามอ ล้วนแต่ประดิษฐ์ฐ์คคดิ ิดขึขึน้ นโดยช่ ที งั้ มแบบตั ดเส้นดใบไม้ เป็นกลุเป็ม่ น ่ม และต้ นไม้ทนี่กไม้ระทุ เป็นพุง้ เป็่ม ด้ นลำน�เจีลํายเจีกทุยกทุ บปลายให้ เป็นเป็ฝอยตามต้ องการ ลั กลุและต้ ที่ก้งระทุ นพุ่มวด้ยรากของต้ วยรากของต้ บปลายให้ นฝอยตามต้ องการ ลักกษณะ ษณะ ของลำาต้�นต้คดโค้ นคดโค้งง อ่ นไหวตามที่ช่ช่า่างต้ ่งโขดหิ น เขามอ ล้วนประดิ ษฐ์ขึ้นให้ษฐ์เหมาะ ของลํ อ่ออนไหวตามที งต้อองการ แม้ งการ แม้กระทั กระทั ง่ โขดหิ น เขามอ ล้วนประดิ ข้ ึนให้ สมกับการเล่ าเรื่องราวประกอบฉากที ่เป็นธรรมชาติ ให้เกิดความสวยงามสมจริ ง เหมาะสมกั บการเล่ าเรื่ องราว ประกอบฉากที ่เป็ นธรรมชาติ ให้เกิดความสวยงามสมจริ ง

มีปรากฏอยู เพื่อ่อแสดงเรื โขดหิ โขดหินนเขามอ เขามอ มี ปรากฏอยูท่ ่ทวั่ ไปในภาพจิ ั่วไปในภาพจิตตรกรรม รกรรม เพื แสดงเรื่ อ่องราวที งราวที่เกี่เกี่ย่ยวกัวกับบธรรมชาติ ธรรมชาติที่ เป็ทีน่เป่ป็านป่และภู เขา เในลั กษณะเขามอเล็ กๆ ไม่กๆได้ไม่ สัดได้ส่สวัดนตามความเป็ นจรินงจริเพืง เพื ่อให้เ่อหมาะสมกั บพื้นบที่ า และภู ขา ในลั กษณะเขามอเล็ ส่วนตามความเป็ ให้เหมาะสมกั เขีพืยนภาพที ่มีอยูอ่ ย่ม่ าอีงจํยูาอ่ กัย่ดางจำ�กัและทํ าหน้�าหน้ ที่เป็าทีนเ่ เพีป็นยงฉากประกอบเรื ่ องราว โดยเขียยนให้ น้ ทีเ่ ขียนภาพที ด และทำ เพียงฉากประกอบเรื อ่ งราว โดยเขี นให้เเขามอมี ขามอ ลักมีษณะโค้ งมนงมน ระบายสี ระบายสี อ่ออนเป็ นพืน้นพืแล้ วเพิว่มเพินํ่ม้ าน้หนั กสีกใสีห้ให้เข้เมข้ขึม้ นขึ้น จนเกิ จนเกิดปริ ลักษณะโค้ ่อนเป็ ้นแล้ ำ�หนั ดปริมมาตรเป็ าตรเป็นนก้ก้ออนนแล้แล้วว เน้เน้ นด้นวด้ยการตั วยการตัดเส้ ดเส้นรอบนอกอี นรอบนอกอีกกทีที ๙๘

98


ภาพต้นไม้ ที่ช่างเขียน สร้างสรรค์ ขึ้นใหม่มีหลายแบบ โดยจดจำ�จากต้นไม้ ในธรรมชาติมาจัดระเบียบ ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น ภาพต้นไม้โชว์กิ่ง ต้นไม้โชว์ใบ ต้นไม้โชว์พุ่ม ส่วนเทคนิคการเขียนต้นไม้ในจิตรกรรม ฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมืองแบ่งเป็นหลายวิธีดังต่อไปนี้ ๑. ต้นไม้แบบตัดเส้นใบ ช่างจะเริ่มด้วยการระบายสีลำ�ต้น และกิ่งก้านของต้นไม้ ตามที่ได้ออกแบบไว้ด้วยลักษณะของเส้นโค้ง ที่เคลื่อนไหวสัมพันธ์อย่างอ่อนช้อยสวยงาม จากนั้นระบายสีเขียวอ่อน เป็นพุ่มๆ คล้ายลักษณะพุ่มไม้ตามธรรมชาติ จากนั้นช่างต้องใช้ ทักษะความพยายามในการตัดเส้นที่ละใบด้วยสีดำ� จนเป็นพุ่มตาม ที่ต้องการ แล้วจึงใช้สีดำ�แตะเป็นเงาของใบไม้รอบๆ พุ่มไม้แต่ละพุ่ม และการตัดเส้นใบมีหลายแบบ แล้วแต่ช่างประดิษฐ์สร้างสรรค์ ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางธรรมชาติ

99


๒. ๒. ต้ต้นนไม้ ไม้แแบบกระทุ บบกระทุ้ ง้งใบ ใบ เป็เป็นนเทคนิ �เจีาเจียกทุ เทคนิคควิวิธธีกีการเขี ารเขียยนต้ นต้นนไม้ไม้ที่ใทช้ี่ใรช้ากลำ รากลํ ยกทุบปลายเป็ บปลายเป็นนฝอย ฝอย ระบายลักกษณะของลํ ษณะของลำาต้�ต้นนและกิ และกิ่ง่ง จากนั จากนั้น้ นนำนํ�รากลำ ารากลํ�เจีาเจียยกที กที่ท่ทุบุบเป็เป็นนฝอยแล้ ฝอยแล้ววมาจุ มาจุ่ม่มสีสีเขีเขียยวเข้ วเข้มม ใช้ใช้พพ่กู นู่กั ันระบายลั กระทุง้ ให้ ง้ ให้เป็เป็นนเงาพุ เงาพุ่มม่ ใบระยะหลั ใบระยะหลังงสุสุดด แล้ ขีย่มวสี ่มใบระยะกลางสุดท้ายจุ กระทุ แล้ววจุจุม่ ่มสีสีเเขีขียยวกระทุ วกระทุง้ งให้ ้ ให้เป็เป็นนพุพุม่ ใบระยะกลาง สุ ดม่ ท้สีาเยจุ ้งเป็ง้นเป็ระยะหน้ าสุดาทีสุ่กดระทบแสง เพื ให้่อเกิให้ดเป็ ่แสงมาตกกระทบใบ จนทำ�ให้ เขีอ่ยอวอ่นกระทุ อนกระทุ นระยะหน้ ที่กระทบแสง ่อเพื เกิดนเป็ทิศนทางที ทิศทางที ่แสงมาตกกระทบใบ จน กลาง และไกล คล้าคล้ ยลัากยลัษณะทรงพุ ่มไม้่มจไม้ ริงตามธรรมชาติ ทําเกิให้ดเระยะใกล้ กิดระยะใกล้ กลาง และไกล กษณะทรงพุ จริ งตามธรรมชาติ

๑๐๐

100


๓. ต้นไม้ประเภทใบใหญ่ ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง มีการเขียนภาพธรรมชาติเป็นจำ�นวนมาก ต้นไม้อีกประเภทหนึ่งที่ให้ความสวยงามไม่แพ้ต้นไม้ชนิด อื่นๆ ได้แก่ ต้นไม้ประเภทใบใหญ่ ได้แก่ ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ต้นหมาก ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ นิยมปลูกกันไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แม้ในปัจจุบันก็ยังนิยมปลูกกันอยู่ โดยช่างเขียนจะ เขียนภาพต้นไม้เหล่านี้ในเชิงประดิษฐ์ให้เป็นรูปทรงที่เรียบง่าย แต่ดูแล้วรู้ว่าเป็นต้นอะไร ให้ความรู้สึกสวยงามด้วยเส้นที่อ่อนช้อย ด้วยการระบายรูปทรง และใบด้วยสีเขียวอ่อน จากนั้นจึงตัดเส้นรูปทรงรอบนอก ส่วนต้นไม้ที่มีใบเป็นเส้นริ้ว ก็จะตัดเส้นริ้วเล็กๆ ไม่ตัด เส้นรอบนอก สิ่งที่แสดงให้รู้ว่าเป็นต้นไม้อะไร จะดู ได้จากลักษณะของผล

101


สรุป เรื่องราวในจิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อประดับ ตกแต่งพื้นผนัง ส่วนจุดมุ่งหมายต่อมาก็เพื่อโน้มน้าวชักนำ�ให้ผู้ดูเกิดความศรัทธาต่อพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่ให้แง่คดิ คติสอนใจแก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะเรื่องของการทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ชั่ว ใครทำ�กรรมดี ย่อมได้รับกรรมดี ใครทำ�กรรมชั่ว ย่อมได้รับกรรมชั่วอย่างแน่นอน ได้ชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อยหรือยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม เมื่อถึง วาระที่กรรมนั้นจะให้ผล แม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดในไตรภพ ก็ยังมิอาจ หลีกเลี่ยงให้พ้นไปได้ อย่างเช่นกรรมที่ทำ�ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงพระโลหิต หลังจากเสวย สูกรมัททวะที่นายจุนทกัมมารบุตรจัดถวาย เป็นเหตุทำ�ให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วยบุพกรรมในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นแพทย์ หาเลี้ยงชีพด้วยการรักษาโรคทั่วไป บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งป่วยด้วยโรคเรื้อรังมาช้านาน ไม่มีผู้ใดรักษาโรคให้หายได้ เศรษฐีผู้เป็นบิดาจึงมา ขอร้องให้พระโพธิสัตว์ทำ�การรักษา พระองค์ปรุงยาขนานหนึ่งให้ผู้ป่วยดื่ม อาการก็ทุเลาลง พระโพธิสัตว์เรียกร้องค่าดูแลรักษา เศรษฐีตอบแทนด้วยกหาปณะ (มาตราเงินโบราณ ๑ กหาปณะ เท่ากับ ๑ ตำ�ลึง หรือ ๔ บาท) เพียงเล็กน้อย พระโพธิสัตว์ ไม่พอใจ จึงปรุงยาให้อีกขนานหนึ่ง เมื่อบุตรเศรษฐีบริโภคแล้วเกิดอาการถ่ายเป็นโลหิตจนถึงแก่ความตาย 102


ด้วยวิบากแห่งกรรมนัน้ พระโพธิสตั ว์ตอ้ งเสวยทุกข์ในอบายภูมเิ ป็นเวลานาน ด้วยเศษกรรม กรรมที่ยงั เหลืออยู่ ในชาติน้ ีทาํ ให้พระองค์เกิดอาการลงพระโลหิต หลังจากเสวยสู กรมัททวะที่นาย ที่ยังเหลืออยู่ ในชาตินี้ทำ�ให้พระองค์เกิดอาการลงพระโลหิต หลังจากเสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะ จุนทะถวาย จนต้องปริ นิพพาน ถวาย จนต้องปรินิพพาน เพราะฉะนั้นเมื่อได้มีโอกาสเกิดเป็ นมนุษย์ ควรมุ่งมัน่ ที่จะกระทําแต่ความดี ดังคําสอนของ เพราะฉะนั้นเมื่อได้มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ ควรมุ่งมั่นที่จะกระทำ�แต่ความดี ดังคำ�สอนของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรี ยกว่าหัวใจของพระพุทธศาสนา “หมัน่ ทําความดี ละเว้ นความชั่ว องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่าหัวใจของพระพุทธศาสนา “หมั่นทำ�ความดี ละเว้นความชั่ว ทําทำจิ�ตจิใจให้ ผ่อผงใส” ตใจให้ ่องใส” าวถึางวถึ จิตงรกรรมฝาผนั ง งหอพระพุ ทธบาท ไพโรจน์ ไพโรจน์ สโมสร. สโมสร.(๒๕๓๒ (๒๕๓๒: ๘๖) : ๘๖)กล่กล่ จิ ต รกรรมฝาผนั หอพระพุ ท ธบาทวัด ทุ่งวัศรี งสื อจิงตสืรกรรมฝาผนั งอีสานว่ “...หลั งจากภาพแต้ มเสร็จมสมบู ใหม่รๆณ์ใหม่ ในช่ วๆง ดทุเมื่งอศรีงในหนั เมืองในหนั อจิตรกรรมฝาผนั งอีาสานว่ า “...หลั งจากภาพแต้ เสร็รจณ์สมบู แรก โบสถคงจะสว่ างสดใส างสดใส ผู้ใดได้ ย่างเท้ าก้ ายวเข้ าสูา่ พก้ระอุ นี ้ ดู ในช่วบรรยากาศภายในพระอุ งแรก บรรยากาศภายในพระอุ โบสถคงจะสว่ ผู้ใดได้ ่างเท้ าวเข้โาบสถหลั สู่พระอุโงบสถ ราวกั ก้าวเข้ สู่โกลกทิ ี่ ทรงคุพย์ณทค่ที่ ารงคุ แห่ งณความงาม ที่ปรากฏให้ เห็นเทางรู ปธรรม และ หลังบนีว่้ าดูได้ราวกั บว่าได้ า้ วเข้พาสูย์ ทโ่ ลกทิ ค่าแห่งความงาม ทีป่ รากฏให้ ห็นทางรู ปธรรม และ สามารถโน้ ความรู้ส้สึกึ ก สามารถโน้มมนํนำา�จิจิตตใจให้ ใจให้เกิดคุณธรรม ซึซึ่ ง่งเป็เป็นนผลทางนามธรรม...” ผลทางนามธรรม...” จึงเป็เป็นการพรรณนาถึ การพรรณนาถึงงความรู ภายในที วย่าางเข้ งเข้าาสูสู่ ภภ่ ายในพระอุ ายในพระอุโโบสถได้ บใจบใจถือเป็ถืนอความสำ �เร็จอย่ างแต้มาง ภายใน ที่กก่ า้ า้ วย่ บสถได้ออย่ย่างน่ างน่าประทั าประทั เป็ นความสํ าเร็าจงสูอย่งาของช่ งสู งของช่ ผลงานอั นวิจนิตวิร จนสามารถทำ �ให้าเให้ กิดเความรู ้สึกแห่ แดนทิ พย์ขพึ้นย์บนโลกใบนี ้ ้ แต้ทีม่สทีร้่สางสรรค์ ร้างสรรค์ ผลงานอั จิตร จนสามารถทํ กิดความรู ้สึกงแห่ งแดนทิ ข้ ึนบนโลกใบนี คุคุณณค่ค่าาของงานจิ ของงานจิตตรกรรมฝาผนั รกรรมฝาผนังงวัวัดดทุทุ่ง่งศรี ศรีเเมืมือองง เป็ เป็ นนผลงานที ผลงานที่ส่สร้ร้าางขึงขึ้น้ นจากแรงศรั จากแรงศรัททธา ประณี ธา ประณีตต ละเอี ยดอ่ �เสนอในลั กษณะอุ ดมคติ ค่าทางตรงและทางอ้ อไปนี้ ้ ละเอี ยดอ่ อนอน นำ นําเสนอในลั กษณะอุ ดมคติ จนก่จนก่ อให้อเให้ กิดเคุกิณดคุค่ณาทางตรงและทางอ้ อมอมดังดัต่งอต่ไปนี ๑.๑. คุคุณณค่ค่าาทางประวั ทางประวัตตศิ ิศาสตร์ าสตร์ ภายในจิ ภายในจิตตรกรรมฝาผนั รกรรมฝาผนังงมีมีกการสอดแทรกวิ ารสอดแทรกวิถถีชีชีวีวิตติ ความเป็ ความเป็นนอยูอยู่ ่ ของผู ้คนในขณะนั ้นแฝงลงไปในภาพเขี รวมไปถึ งขนบธรรมเนี ประเพณี การละเล่ น ของผู ค้ นในขณะนั ยนยนรวมไปถึ งขนบธรรมเนี ยมยมประเพณี การละเล่ น การ ้ นแฝงลงไปในภาพเขี การแต่งกาย วัฒนธรรมร่วมสมัยที่เห็นได้ชัดเจน คือ การถือร่มแบบชาวตะวันตก จึงเป็นการบันทึก แต่งกาย วัฒนธรรมร่ วมสมัยที่เห็นได้ชดั เจน คือ การถือร่ มแบบชาวตะวันตก จึงเป็ นการบันทึก ประวัตศิ าสตร์ดว้ ยการเขียนภาพ เพราะเทคโนโลยีทางถ่ายภาพยังไม่แพร่หลายเหมือนเช่นปัจจุบนั ประวัติศาสตร์ดว้ ยการเขียนภาพ เพราะเทคโนโลยีทางถ่ายภาพยังไม่แพร่ หลายเหมือนเช่นปั จจุบนั

๑๐๓

103

่มา : หนังสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้ า ๑๕๐ ที่มา : ทีหนั งสือจิตรกรรมฝาผนังอีสาน หน้า ๑๕๐


ภาพวัฒนธรรมการแต่งกาย การฟ้อนรำา ประเพณี ภาพวัฒนธรรมการแต่งกาย การฟ้ อนรํา ประเพณี การงันเฮือนดี และการบรรเลงประสมวง โดยปกติเครือ่ ง การงั นเฮืที่ชอนดี ดนตรี าวอีสและการบรรเลงประสมวง านนิยมที่สุด คือ แคน โดยปกติ เพื่อใช้ขเครื ับลำ่ อาง ดนตรี ที่ชาวอีสานนิ ยมที สุด คือ แคน ประกอบแคน เรี ยกว่ า ่“หมอลำ า”

๑๐๔

104


๒. คุณค่าทางพุทธศาสนา เป็นการสืบทอดเรื่องราวทางพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วยชาดก พุทธประวัติ และปริศนาธรรม เป็นสื่อในการบรรยายธรรมะด้วยภาพ ซึ่งภาพเป็นภาษาสากลที่ สามารถรั บ รู้ แ ละเข้ าใจได้ จิ ต รกรรมฝาผนั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ช่ ว ยเชิ ด ชู แ ละจรรโลงพุ ท ธศาสนา วรรณกรรมท้องถิ่น สามารถกล่อมเกลาจิตใจผู้คนในชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ตามหลักธรรมคำาสอนที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา เช่น การทำาดีได้ดี ทำาชั่วได้ชั่ว ๓. คุณค่าด้านศิลปกรรม จิตรกรรมฝาผนังเป็นงานที่มีเอกลักษณ์ สวยงาม น่าสนใจ ที่ควร ค่าแก่การศึกษา โดยเฉพาะขัน้ ตอนกรรมวิธกี ารเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังทีเ่ ป็นมรดกภูมปิ ญ ั ญาชาว บ้าน ที่มีการเขียนภาพสถาปัตยกรรมรูปทรงต่างๆ ที่เป็นของไทย เช่น บ้าน พระราชวัง และ อาคารได้รับอิทธิพลจากหลายชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย อาทิ เก๋งจีน ๔. คุณค่าด้านการศึกษา เป็นมรดกของบรรพบุรุษมอบให้คนรุ่นหลัง ได้ศึกษาทั้งในด้าน เรื่องราว วิถีชีวิตของคนสมัยก่อน รวมไปถึงกระบวนการสร้างผลงานจิตรกรรมที่น่าสนใจ ที่แสดงออกด้วยความงามตามอุดมคติ ด้วยความรู้สึกของเส้นที่เคลื่อนไหวสัมพันธ์กัน จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งที่ทรงคุณค่า เป็นมรดกอันควรค่าแก่การดูแลรักษา ให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ศึกษา สิ่งสำาคัญ คือ คนรุ่นต่อไปได้ เล็งเห็นถึงคุณค่าของศิลปกรรมเหล่านีม้ ากน้อยเพียงใด มีความรักและหวงแหนมรดกทีบ่ รรพชนคน อีสานได้มอบไว้ให้หรือไม่ นั่นคือสิ่งที่น่าเป็นห่วง อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ทำาให้เยาวชน ลุ่มหลงวัฒนธรรมชาติอื่น จนหลงลืมรากเหง้าของตัวเอง เพราะฉะนั้นศิลปกรรมเหล่านี้จะคงอยู่ต่อ ไปได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับอนุชนคนรุ่นหลังผู้ที่จะรับช่วงต่อ ผู้เขียนเองได้ทำาหน้าที่วันนี้ให้ดีที่สุด ในการดูแล รักษา เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสานให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน ตราบเท่าที่ยังมีกำาลัง และลมหายใจอยู่ ส่วนศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้จะเป็นเช่นไรในอนาคต ก็คงต้องฝากไว้ในกำามือของ เยาวชนคนรุ่นต่อไป สุดท้ายขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ตอนหนึ่งว่า อันชาติใดไร้ช่างชำานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมประโลมสง่า ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำาเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

105


บรรณานุกรม คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำ�นวยการจัดงานฉลองสิริ ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี. (๒๕๔๙). ชาดกและพุทธประวัติจากตู้ลายรดน้ำ�. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์. โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. (๒๕๔๐). ศิลปกรรมท้องถิ่น. (ม.ป.ท.). จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์. (๒๕๒๔, กุมภาพันธ์-มิถุนายน). วัตถุประสงค์งานจิตรกรรมไทย.ศิลป์. ๑(๑). ๔-๗. --------. (๒๕๒๙). “แบบอย่างจิตรกรรมไทย” ใน ไทยศึกษา. หน้า ๒๖๙-๒๗๒. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. ฉลอง ฉัตรมงคล. (ม.ป.ป.). ความรู้ด้านการทำ�ลายรดน้ำ�แบบโบราณ. (ม.ป.ท.). เติม วิภาคย์พจนกิจ. (๒๕๔๖). ประวัติศาสตร์อีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ทุนนิธิเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา. (๒๕๕๐). พุทธประวัติเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ปรีชา เถาทอง. (๒๕๔๘). จิตรกรรมไทยวิจักษ์. (ม.ป.ท.). ฝ่ายตำ�รา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (๒๕๕๑). เทศน์มหาชาติ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี : จตุพร ดีไซน์. ฝ่ายวิชาการภาษาไทย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด.(๒๕๕๓). พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัยและ สมบูรณ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. พระสำ�ลี ทิฏฐธมโม, พระจันดี สุจนโท, รักษา ศรีภา, ดรุณ พวงอินทร์. (๒๕๔๖), วัดทุ่งศรีเมือง อ. เมือง จ. อุบลราชธานี. อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์. ไพโรจน์ สโมสร และคณะ. (๒๕๓๒). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ฟ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. (๒๕๔๙). เทศน์มหาชาติมหากุศล เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหา มงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม.

106


ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. (๒๕๔๑). พื้นถิ่นอีสานในงานจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศิลป์ พีระศรี. (๒๕๐๒). คุณค่าจิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร สมเจตน์ วิมลเกษม, สราวุธ รูปิน. (๒๕๕๑). กรรมวิธีดั้งเดิมในการผลิตงานช่างพุทธศิลป์น่าน. เชียงใหม่ : สันติภาพแพ็คพริ้นท์. สุรีย์ มีผลกิจ, วิเชียร มีผลกิจ. (๒๕๔๔). พระพุทธประวัติ. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม. สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์. (๒๕๔๗). จิตรกรรมไทย พุทธศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : เทนเดอร์ ทัช. --------. (๒๕๕๐). พุทธลักษณ์พุทธรูป. กรุงเทพฯ : เทนเดอร์ ทัช. สำ�นักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๓). สารบรรยายการสัมมนาทางวิชาการ ทิศทาง ศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร อุทัยทอง จันทกรณ์. (๒๕๓๕). องค์ประกอบสถาปัตยกรรมอีสาน. สกลนคร : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูสกลนคร. อูทอง ประศาสน์วินิจฉัย. (๒๕๕๑). ซ่อนไว้ในสิม : ก-อ ในชีวิตอีสาน (Hiden Treasures). กรุงเทพฯ : ฟูลสต๊อป

107


108


109


ภาพการดำ�เนินโครงการจัดทำ�หนังสือ “จิตรกรรมฝาผนัง หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง”

๑ 110


ประวัติผู้เขียน ชื่อ-สกุล นายสุรชัย ศรีใส วัน เดือน ป‚ เกิด ๑๗ กันยายน ๒๕๐๘ สถานที่เกิด อำาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่อยู่ปัจจุบัน ๑๔๙ หมู่ ๑๗ ตำาบลแสนสุข อำาเภอวารินชำาราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตำาแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ชำานาญการพิเศษ สังกัด ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ประวัติการศึกษา - ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนฮั้วเฉียวกงฮัก จังหวัดอุบลราชธานี - ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุบลวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี - มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (หัตถกรรม) วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานี - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (จิตรกรรมไทย) สถาบันเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาวิทยาเขตเพาะช่าง กรุงเทพฯ - ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา) สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี ประวัติการทำางาน - ๒๕๒๙-๒๕๓๔ นายช่างศิลปกรรม งานอนุรักษ์จิตรกรรมและ ประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร - ๒๕๓๔-๒๕๓๖ นายช่างศิลป์ ระดับ ๒ แผนกประชาสัมพันธ์ สำานักงานกลาง สภากาชาดไทย - ๒๕๓๖ นายช่างศิลป์ ระดับ ๒ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - ๒๕๔๐ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับ ๓ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - ๒๕๔๙ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ระดับ ๘ ชำานาญการ ฝ่าย เทคโนโลยีทางการศึกษา สำานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี - ๒๕๕๓-ปัจจุบัน นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ชำานาญการพิเศษ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี 111


ผลงานทางวิชาการ - บทความทางวิชาการ วารสาร “สาร มอบ.” จำ�นวน ๒๐ เรื่อง - บทความ “การปิดทองในงานศิลปะไทย” วารสารคณะศิลปประยุกต์ฯ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - งานวิจัย “การศึกษาความต้องการรูปแบบรายการ UBU CATV ของบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” - หนังสือหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง อื่นๆ ๒๕๒๘, ๒๕๒๙ ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม “งานวันเกิดเพาะช่าง” ๒๕๒๘ รางวัลผลงานดีเด่นอันดับที่ ๒ การแสดงผลงานศิลปกรรม เนื่องในงาน “วันเกิดเพาะช่าง” ๒๕๓๙ ร่วมแสดงผลงานศิลปะ “นิทรรศการศิลปกรรม ของนักศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี” ๒๕๔๑-ปัจจุบัน กรรมการตัดสินเทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๔๒ ร่วมแสดงผลงานศิลปะ “นิทรรศการคืนภูมิปัญญาสู่มาตุภูมิ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วโรกาส พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒” วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ๒๕๔๒ ร่วมเป็นกรรมการฝ่ายช่างจัดสร้าง “เทียนเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา” ณ ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๔๘- ปัจจุบัน กรรมการตัดสินภาพวาด “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่ง ชาติ” คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๒๕๔๘ ร่วมแสดงผลงานศิลปะ “การเสวนาทางวิชาการ” วิกฤติศิลปะ พื้นบ้านอีสาน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๒๕๕๓, ๒๕๕๔ วิทยากร “การผลิตสื่อเสียงเพื่อประกอบการเรียนการ สอน และการประชาสัมพันธ์” ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

112



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.