คู่มือบริการเพื่อการท่องเที่ยวตำบลทุ่งหว้า

Page 1


คู่มือบริการเพื่อการท่องเที่ยว ต�ำบลทุ่งหว้า วิทยาลัยชุมชนสตูล 271 ม. 4 ต.เกตรี อ.เมืองสตูล จ.สตูล 91140 Tel. 074-711958 Fax. 074-772116 คู่มือเพื่อการศึกษาและประชาสัมพันธ์ เจ้าของ วิทยาลัยชุมชนสตูล วัตถุประสงค์ 1.) เผยแพร่การด�ำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนสตูลที่มีต่อ ต�ำบลทุ่งหว้า 2.) ส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรูท้ เี่ กีย่ วข้องกับต�ำบลทุง่ หว้า 3.) เป็นสื่อในการเรียนรู้ของคนในชุมชนและผู้สนใจ ทีมงาน วิทยาลัยชุมชนสตูล ที่ปรึกษา นางเกษร ปะลาวัน ครูวทิ ยฐานะครูชำ� นาญการพิเศษ นายอัศวยุช เทศอาเส็น ครูวิทยฐานะครูช�ำนาญการ บรรณาธิการ นางสาวเบญจวรรณ แก้วสวัสดิ์ นักวิชาการศึกษา 3 กองบรรณาธิการ นางสาวสุนิสา สะแหละ ครูวิทยฐานะครูช�ำนาญการ นายอุใบ หมัดหมุด ครู ที่ปรึกษาในชุมชน อบต.ทุ่งหว้าและชาวบ้านในชุมชน ออกแบบและพิมพ์ บริษัท ดับเบิ้ลยู ทู บิสเนส จ�ำกัด โทร. 0869690686 คู่มือบริการเพื่อการท่องเที่ยว ต�ำบลทุ่งหว้า เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยชุมชนสตูล


ต�ำบลทุ่งหว้า อุดมไปด้วยทรัพยากรหลากหลาย

รวมไว้ซึ่งสายใยความผูกพันของคนสามวัฒนธรรม เป็นแหล่งน่าจดจ�ำ เรียนรู้ทรัพยากรทางธรณีวิทยา อันมีค่าและคงไว้ ซึ่งวิถีของชุมชน


เกริ่นน�ำ การเดินทางท่องเที่ยวผจญภัยไปในโลกกว้าง ย่อมพบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย มีทั้งแหล่งพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีของความเป็นชุมชน ไว้ด้วยกัน แต่แหล่งพื้นที่ที่จะแนะน�ำให้รู้จักเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรณีวิทยาให้ได้ศึกษาเรียนรู้ หากนักท่องเที่ยวได้มาเยือน ได้มาสัมผัส แล้วทุกท่านจะสนุกไปกับการเดินทางตามรอยดินแดนธรณีวิทยา


ต�ำบลทุ่งหว้า เป็นต�ำบลที่มีผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกัน 3 เชื้อชาติ ประกอบด้วย ชาวไทยพุทธ ชาวไทย เชื้อสายมาลายู ชาวไทยเชื้อสายจีน วัฒนธรรม ประเพณี เชื่อมโยงให้กลุ่มคนเหล่านี้มาอยู่ร่วม กันอย่างผาสุข ต�ำบลทุง่ หว้า เป็นหมูบ่ า้ นทีม่ ผี คู้ นอาศัยอยูร่ ว่ มกัน จ�ำนวน 10 หมูบ่ า้ น โดยแบ่งออกเป็น พื้นที่เขตเทศบาลทุ่งหว้า ประกอบด้วยหมู่บ้านในเขตเทศบาล ต�ำบลทุ่งหว้าจ�ำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย หมู่ที่ 2 บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ (บางส่วน) หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ พืน้ ทีเ่ ขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลทุง่ หว้า ประกอบด้วยหมู่บ้านในเขตองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลทุ่งหว้า จ�ำนวน 6 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ (บางส่วน) หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม หมู่ที่ 7 บ้านคีรีวง หมู่ที่ 8 บ้านควนต�ำเสา หมู่ที่ 9 บ้านราวปลา หมู่ที่ 10 บ้านธารปลิว


วิทยาลัยชุมชนสตูลรูจ้ กั ต�ำบลทุง่ หว้า จากการเข้าไปส่งเสริมหลักสูตร การบริหารจัดการโฮมสเตย์ให้แก่ชมุ ชน ทางวิทยาลัยชุมชนสตูลได้ปพู นื้ ทักษะ ความรู้ ให้แก่คนในชุมชน จนกลุ่มคนในชุมชนที่ด�ำเนินการเรื่องโฮมสเตย์ สามารถบริหารจัดการเรื่องโฮมสเตย์มาได้จนถึงปัจจุบัน นอกจากจะผลักดัน เรื่องที่พักในรูปแบบของโฮมสเตย์ ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนทุ่งหว้าแล้ว ทางวิทยาลัยชุมชนสตูลได้นำ� นักศึกษาและผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ของทางวิทยาลัยชุมชนสตูลเข้าไปศึกษาเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ทุ่งหว้าอยู่เสมอ ประวัติความเป็นมาของทุ่งหว้า ทุ่งหว้าเดิมเรียกว่า "สุไหงอุเป" (Su-ngai Upe) หมายถึง คลองกาบ หมาก ขณะนั้น (ปี พ.ศ.2440) ท�ำการค้ากับชาวต่างประเทศมีความเจริญ รุ่งเรืองมาก สินค้าที่มีชื่อเสียงคือ พริกไทย ในภูมิภาคแถบนี้ขนานนามว่า "ปีนังน้อย" ส่วนค�ำว่า "ทุ่งหว้า" มีที่มาจากที่ตั้งของตลาด ร้านค้า และ สถานที่ราษฎร ตั้งอยู่กลางทุ่ง มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ต้นหว้า" จึงขนาน นามตามลักษณะที่ตั้งว่า "ทุ่งหว้า" สถานที่ตั้ง สุไหงอุเป ปัจจุบัน คืออ�ำเภอทุ่งหว้า ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ จังหวัดสตูล ซึ่งติดต่อกับทางทิศใต้ของจังหวัดตรัง อดีตตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต�ำบล ทุ่งหว้า ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต�ำบลทุ่งหว้า อยู่ติดถนนใหญ่ ถนนทุ่งหว้า ตรัง ห่างจากจังหวัดสตูล 76 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดตรัง 74 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4078


หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย

ชนกลุม่ แรกทีเ่ ข้ามาตัง้ รกรากในพืน้ ทีห่ มูบ่ า้ น เป็นคนไทยเชือ้ สายปากีสถาน เดินทางมาจากปีนัง (มาเลเซีย) เมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ๆก็เริ่มปลูกอ้อยบน เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ติดล�ำคลองชาวบ้านจาก หมู่บ้านอื่นจึงใช้เป็นเส้นทางที่สัญจรไปมาและท�ำการประมง เมื่ออ้อยที่ ปลูกไว้โตเต็มที่และได้รับผลชาวบ้านจะนิยมซื้ออ้อย มารับประทาน จนชาวบ้านในหมู่บ้านเรียกบ้านท่าอ้อย ติดปากมาจนทุกวันนี้

หมู่ที่ 2 บ้านท่าเรือ

เนือ่ งจากอดีตหมูบ่ า้ นนีม้ พี นื้ ทีต่ ดิ กับล�ำคลอง และใช้ลำ� คลองเป็นเส้นทาง ในการสัญจรไปมาติดต่อกับต่างจังหวัดเพียงเส้นทางเดียวในอดีต และ ยังเป็นทีต่ งั้ ทีท่ ำ� การด่านศุลกากรเรียกว่า ด่านสุไหงอุเป คนทัว่ ไปในสมัยนัน้ เรียกว่า ท่าเรือสุไหงอุเป เพราะเป็นล�ำคลองที่มีเรือมาจอดเทียบท่าเพื่อ ขนส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ เช่น ปีนัง ไทรบุรี หรือต่างจังหวัด เช่น จังหวัดภูเก็ต ตรัง และสตูล ประชาชนส่วนใหญ่จะเรียกว่าท่าเรือ หรือ ท่าเภา เพราะเรือที่มาจากปีนังนั้นจะเป็นเรือส�ำเภา

หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

ตั้งขึ้นมาใหม่ในปีพ.ศ. 2505 แยกมาจากหมู่ 1 บ้านท่าอ้อย


หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ

ลักษณะของหมู่บ้านมีทั้งเนินเขาที่ราบ และที่ลุ่มน�้ำขังปะปน กันไป โดย ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่มน�้ำขังตลอด และบริเวณนี้จะมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่มากมาย ชาวบ้านในแถบนี้เรียกว่า ต้นปรือ และเรียกชื่อหมู่บ้าน ว่า บ้านทุ่งปรือ ตามต้นไม้ที่มีในพื้นที่

หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม

ตามประวัติเดิมเล่าว่า มีคนจีนกลุ่มแรกที่เข้ามาในประเทศแถบนี้คือ คนจีนที่มาจากปีนัง ไทรบุรี ต่อมาบางส่วนอพยพกลับไปตั้งถิ่นฐานของ ตนเอง อีกส่วนหนึ่งก็อยู่จนเสียชีวิต ลูกหลานของชาวจีนเหล่านั้นก็ตั้ง ถิ่นฐานอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เดิมทีหมู่บ้านนี้ไม่มีเส้นทางคมนาคมทางบก มีทางเดียวก็คือทางเรือ ซึ่งจะลงเรือที่หมู่ที่ 4 ต.ทุ่งหว้าไปขึ้นเรือที่หมู่ที่ 5 และบริเวณท่าเรือของหมู่ที่ 5 นี้ก็จะต้องบอกคนแจวเรือข้ามว่าไปบ้าน ท่าขาม การเดินทางโดยทางเรือจะต้องให้น�้ำขึ้นเสียก่อนจึงจะข้ามไปได้ เพราะที่ท่าเรือจะมีแนวหินใต้น�้ำขวางอยู่ ถ้าน�้ำไม่เต็มคลองจะเดินทาง ข้ามไปไม่ได้ จนในปีพ.ศ. 2497 ได้สร้างสะพานขึ้น เป็นสะพานไม้ข้ามได้ เฉพาะรถจักรยานยนต์และคนเดินท้าวเท่านั้น จากสะพานนี้เองท�ำให้ ชาวบ้านแถบนี้มีการติดต่อกับตัวอ�ำเภอมากขึ้น


หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์

ชนกลุม่ แรกทีเ่ ข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานคือชาวจีนทีอ่ พยพมาจากเมืองไทรบุรี เกาะ ปีนัง โดยเข้ามาทางเรือกลไฟมาขึ้นที่ท่าเรือ สุไหงอุเป (ค�ำว่าสุไหง ภาษา มาลายู แปลว่า คลอง) เมื่อเข้ามาใหม่ๆบริเวณนี้ยังเป็นป่าทึบที่มีสัตว์ป่า นานาชนิดชุกชุม และมีโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคด้วย ท�ำให้บุคคลที่เข้ามา อาศัยเกิดความเกรงกลัวต่อสิ่งที่มีอยู่ จึงได้บนบานศาลกล่าวต่อเทวดา ช่วยปกปักรักษาหลังจากนั้นจึงได้ร่วมมือร่วมใจกันตั้งศาลขึ้น เพื่อไว้บูชา เทวดา และปลูกต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองไว้ใกล้ๆ กับศาลที่ตั้งขึ้นและตั้งชื่อ ศาลว่า ศาลต้นโพธิ์ ต่อมาประชาชนรุ่นหลังเรียกว่า บ้านโพธิ์

หมู่ที่ 7 บ้านคีรีวง

หมู่บ้านคีรีวงตั้งขึ้นมาประมาณ 230 ปี ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยท�ำมา หากิน ได้แก่ คนไทยที่มาจากจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ประมาณ 20 ครอบครัว เดิมการปกครองขึน้ อยูก่ บั หมูท่ ี่ 5 ต.ทุง่ หว้า แต่ตอ่ มาประชากร หนาแน่น จึงแยกหมู่บ้านออกไปเป็นหมู่ที่ 7 บ้านคีรีวง เนื่องจากท�ำเล โดยทัว่ ไปมีภเู ขาล้อมรอบ เมือ่ จะเดินทางไปยังอ�ำเภอจะต้องเดินทางอ้อม ไปอีกทางหนึ่ง ชาวบ้านในตัวอ�ำเภอจึงนิยมเรียกกันว่า บ้านท่าเขา (อยู่ คนละฝั่งเขา) แต่ทางราชการตั้งชื่อว่า บ้านคีรีวงหมายถึง บ้านที่มีภูเขา ล้อมรอบเป็นวงนั่นเอง

หมู่ที่ 8 บ้านควนต�ำเสา

เป็นหมูบ่ า้ นทีแ่ ยกมาจากหมูท่ ี่ 4 เพราะแต่เดิมมีบา้ นไม่กคี่ รอบครัวต่อมา ได้มีประชาชนจากหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 1 ได้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยกันมากขึ้น ทางราชการจึงได้แยกออกจากหมู่ที่ 4 มาตั้งหมู่บ้านใหม่ เนื่องจากสภาพ ภูมิประเทศเป็นควน (เนินสูง) มีต้นไม้อยู่มากรวมทั้งต้นต�ำเสาหลายต้น มีอยู่ต้นหนึ่งที่สูงใหญ่มาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า ควนต�ำเสา แต่ปัจจุบัน สภาพต้นไม้ในหมู่บ้านเกือบไม่มีให้เห็น เพราะชาวบ้านมาปลูกอาคาร บ้านเรือนกันอย่างหนาแน่น และต้นต�ำเสาที่สูงใหญ่นั้น ก็ถูกโค่นท�ำลาย จนหมด บริเวณต้นต�ำเสานี้ก็คือ บริเวณที่ปลูกสร้างโรงพยาบาลทุ่งหว้า ในปัจจุบัน


หมู่ที่ 9 บ้านราวปลา

สมัยก่อนหมูบ่ า้ นนีม้ ปี ลาชุกชุม ประชาชนจากหมูบ่ า้ นใกล้เคียงจะเข้าไปหา ปลาในหมูบ่ า้ นนี้ ในครัง้ นัน้ ยังไม่มถี นนหนทางการเดินทางล�ำบากทุรกันดาร มีแต่การเดินเท้า เมือ่ ได้ปลามาก็นำ� ออกจากพืน้ ทีไ่ ด้อย่างยากล�ำบาก ชาวบ้าน จึงกล่าวกันว่า ขอลาจะไม่มาหาปลาอีกแล้ว ชาวบ้านรุน่ นัน้ จึงตัง้ ชือ่ ว่า บ้าน ลาปลา หลังจากนั้นไม่นานประชาชนอพยพเข้าไปท�ำมาหากินตั้งถิ่นฐาน มากขึ้น ประกอบกับชาวบ้านรู้จักใช้เบ็ดราว (หมายถึงเบ็ดที่ผูกไว้กับเชือก ที่ขึงไว้เป็นราว มีระยะห่างกันพอสมควร ใช้ในการจับปลาแบบนี้ชาวบ้าน เรียกว่า ราวปลา ชาวบ้านจึงเรียกใหม่ว่า หมู่บ้านราวปลา

หมู่ที่ 10 บ้านธารปลิว

เป็นหมู่บ้านที่แยกมาใหม่จากหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 เนื่องจากหมู่บ้านมี ลักษณะเด่นทางด้านการท่องเที่ยวคือน�้ำตกธารปลิว จึงใช้ชื่อว่า หมู่บ้าน ธารปลิว น�้ำตกธารปลิวเป็นน�้ำตกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเดิมอยู่ในพื้นที่ ของหมู่ที่ 9 บ้านราวปลา มีลักษณะเป็นน�้ำตกสามชั้น มีความสวยงามมาก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าเขา น�้ำไหลตลอดปี บรรยากาศร่มรื่น


สารบัญ

14

สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส

17

พิพิธภัณฑ์ช้างดึกด�ำบรรพ์ทุ่งหว้า

21

จุดชมวิวท่าอ้อย

วัดชมภูนิมิตร

15

ถ�้ำเล-สเตโกดอน

19

น�้ำตกธารปลิว

23


สารบัญ ฉิม ไฮโดรโปนิกส์

25

27

สวนควนข้อง

ไอติมคนรักดี

29

30

ศาลโต๊ะทวดสามยอด

หินสาหร่าย

32

34

เขาน้อย

ทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน

36


สารผู้บริหาร วิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นหน่วยงานการศึกษา ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมความรู้ ทักษะ อาชีพ และการบริหารจัดการในด้านต่างๆให้เกิดขึ้นกับชุมชน เริ่มต้น จากการลงส�ำรวจ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ตลอดจนการจัดท�ำเวที เพื่อศึกษาความ ต้องการของชุมชน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างวิทยาลัยชุมชนสตูลกับชุมชน จนเกิดมุมมองทางความคิดที่หลากหลาย และสามารถน�ำมาปรับใช้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึง่ การจัดท�ำคูม่ อื บริการเพือ่ การท่องเทีย่ วต�ำบลทุง่ หว้าในครัง้ นี้ ได้รวบรวมองค์ความรู้ จากการลงพื้นที่ โดยยึดหลัก เข้าถึงชุมชน เข้าใจในชุมชน ร่วมพัฒนาไปพร้อมๆ กับชุมชน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่จัดท�ำขึ้นเพื่อคนในชุมชนและผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป ดร.วรรณดี สุธาพาณิชย์ ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยชุมชนสตูล


สถาปัตยกรรมแบบ

ชิโนโปรตุกีส

14

ก่อนถึงสีแ่ ยกบริเวณตลาดสดทุง่ หว้า จะมีอาคาร เรือนแถว เป็นแบบตึก ก่ออิฐถือปูนทรงยุโรป ผสมตะวันออก เรียกว่า แบบโปรตุเกสผสมจีน ปัจจุบันอายุประมาณ 100 ปี นักท่องเที่ยว สามารถแวะถ่ายรูปเพื่อเก็บความประทับใจ บริเวณย่านนี้ได้อย่างเพลิดเพลิน


วัดชมภูนิมิตร

15


วัดชมภูนิมิตร ชาวทุ่งหว้ามีประชากรส่วนหนึ่งที่ นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น ชาวพุทธต้องมีที่ยึด เหนี่ยวทางจิตใจ และเพื่อประกอบศาสนพิธี ในงานต่างๆ วัดชมภูนมิ ติ รมีหลวงพ่อแก่นจันทร์ อันเป็นพระพุทธรูปทีช่ าวทุง่ หว้าให้การเคารพ นับถือมาเป็นเวลาช้านาน โดยมีประวัติเล่า ต่อๆ กันมาว่า ชาวบ้านบ้านแหลมแค ต�ำบล บ้านท่าแลหลา อ�ำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่ง อยู่ริมทะเล ได้เจอพระพุทธรูป 3 องค์ ลอยน�้ำ มาเกยตื้นที่บ้านแหลมแค โดยพระพุทธรูป องค์ใหญ่แกะสลักสวยงามมาก แต่เนือ่ งจากว่า ชาวบ้านบ้านแหลมแคเป็นชาวอิสลามทัง้ หมด จึงส่งข่าวมาบอกนายเทียนยี่ เล่าเซ้ง กับนายหิน้ โพธิรัตน์ ซึ่งเป็นไทยพุทธและเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง วัดชมภูนมิ ติ ร บุคคลทัง้ สองจึงชักชวนไทยพุทธ ชาวทุ่งหว้าจ�ำนวนหนึ่งเดินเท้าจากอ�ำเภอ ทุง่ หว้าไปบ้านแหลมแค และได้อมุ้ พระพุทธรูป ทั้งสามองค์มาไว้ที่วัดชมภูนิมิตร ประดิษฐาน เป็นพระประธานซึง่ มีเพียง 3 องค์เท่านัน้ ขณะ เดินทางกลับเกิดฝนตกหนักปรากฏว่าคนอุ้ม พระไม่เปียกฝน ท�ำให้ชาวบ้านยิง่ มีความศรัทธา มากขึน้ และนิยมไปกราบไหว้ บูชาและบนบาน สานกล่าวขอพรเป็นประจ�ำ เมื่อได้ตามที่ขอไว้ แล้วก็จะน�ำขนมโคไปไหว้เพื่อแก้บน

16


พิพิธภัณฑ์ ช้าง ดึกด�ำบรรพ์ ทุ่งหว้า 17


พิพิธภัณฑ์ช้างดึกด�ำบรรพ์ทุ่งหว้า เป็นแหล่งเรียนรูข้ องนักท่องเทีย่ วอีกแห่งหนึง่ ของทุง่ หว้า เพราะทีน่ เี่ ป็นแหล่งรวบรวม ซากดึกด�ำบรรพ์ที่ขุดพบในพื้นที่ เช่น ชิ้นส่วนของกรามช้างสเตโกดอน กรามของแรด ขวาน หินโบราณ รวมถึงเป็นทีเ่ ก็บรักษาฟอสซิลทีพ่ บในท้องทีท่ งั้ ในส่วนของอ�ำเภอทุง่ หว้า และพืน้ ที่ ต่างๆ ในจังหวัดสตูล นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ทุ่งหว้าในมุมมองและมิติต่างๆ เพราะข้อมูล ในพิพิธภัณฑ์จะบอกเล่าทุกเรื่องราวของทุ่งหว้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สถานที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนต�ำบลทุง่ หว้าได้ดำ� เนินการก่อสร้างอาคารพิพธิ ภัณฑ์ชา้ งดึกด�ำบรรพ์ ทุง่ หว้าไว้ในบริเวณทีท่ ำ� การองค์การบริหารส่วนต�ำบลทุง่ หว้า อยูด่ า้ นหลังทีว่ า่ การอ�ำเภอทุง่ หว้า สามารถเข้าชมได้ฟรีทุกวันตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. ณ ที่ท�ำการองค์การ บริหารส่วนต�ำบลทุ่งหว้า

18


ถ�้ำเล-สเตโกดอน

19


ถ�้ำเล-สเตโกดอน ถ�้ำเล-สเตโกดอน เป็นถ�้ำหินปูน ที่มีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาเป็น อย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะเป็นถ�้ำธาร ลอดที่มีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร (ยาวที่สุดในประเทศไทย) และยังมีการ ก่ อ ตั ว ของหิ น งอกหิ น ย้ อ ย มี ลั ก ษณะ สวยงามแปลกตามากมาย อาทิ หลอด หินย้อย หินปูนฉาบ และม่านหินย้อย เป็นต้น จึงถือได้ว่าเป็นถ�้ำ เและที่ส�ำคัญ มีการค้นพบซากดึกด�ำบรรพ์ของสัตว์มี กระดูกสันหลังจ�ำนวนมาก บริเวณพืน้ ล�ำธาร ตลอดความยาวของถ�้ำ เช่น ขากรรไกร พร้อมฟันกรามล่างของช้างโบราณสเตโกดอน อายุประมาณ 1.8 ล้านปี ถึง 1,000 ปีก่อน แผ่ น ฟั น กรามของช้ า งโบราณเอลิฟาส กรามแรดโบราณ และเขากวาง เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นถ�้ำที่มีความโดดเด่นทั้งทาง ด้านธรณีสณ ั ฐานและด้านซากดึกด�ำบรรพ์ เป็นอย่างมาก ก่อนการมาของนักท่องเที่ยว ในแต่ละครัง้ นักท่องเทีย่ วต้องโทรสอบถาม รายละเอียดของช่วงเวลาการเข้าถ�้ำจาก ตารางน�ำ้ ขึน้ น�ำ้ ลงก่อน ไม่อย่างนัน้ การมา เที่ยวของท่าน อาจจะไม่ได้เข้าไปสัมผัส บรรยากาศภายในถ�้ำก็เป็นได้ แนะน�ำว่า ให้โทรสอบถามเจ้าหน้าทีข่ องทางองค์การ บริหารส่วนต�ำบลทุ่งหว้าก่อนทุกครั้ง

20


จุดชมวิวท่าอ้อย

21


จุดชมวิวท่าอ้อย หลังการเดินทางออกจากถ�ำ้ เลสเตโกดอน นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศที่ร่มรื่น และเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน นอกจากนี้จุดชมวิวท่าอ้อยในยามเย็นยังเป็นที่ พักผ่อนหย่อนใจของหลายๆ คน อีกด้วย จุ ด ชมวิ ว ท่ า อ้ อ ยหรื อ ที่ เรี ย กกั น ว่ า ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านใต้ของ คลองหญ้าระที่ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน อยู่ห่าง จากตลาดทุ่งหว้าไปทางเหนือ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นท่าเทียบเรือประมงสัตว์นำ�้ จากคลอง และจากทะเลจะขึน้ ท่าเรือนีเ้ พือ่ ป้อนสูต่ ลาดชุมชน ต่อไป และเป็นสินค้าส่งไปยังพื้นที่อื่นๆ ด้วย พื้นที่ท่าเรือถูกโอบล้อมด้วยผืนป่าชายเลนที่ยัง คงไว้ซงึ่ ระบบนิเวศทีม่ คี วามสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ดัง้ เดิม เทศบาลต�ำบลทุง่ หว้าได้พฒ ั นาเป็นสถานที่ พักผ่อนหย่อนใจด้วยศาลาริมน�้ำ 7 หลัง สนาม เด็กเล่น และแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมง องค์การบริหารส่วนต�ำบลทุง่ หว้าได้ใช้พนื้ ทีน่ เี้ ป็น ท่าเทียบเรือ ส�ำหรับรับนักท่องเที่ยวขึ้นฝั่งจาก การพายเรือลอดถ�้ำเลสเตโกดอน

22


น�้ำตกธารปลิว

23


น�้ำตกธารปลิว นักท่องเที่ยวที่ชอบการสัมผัสความชุ่มฉ�่ำของสายน�้ำที่ไหลลงมาตามโขดหิน ที่แห่งนี้ จึงเหมาะแก่การเล่นน�้ำเป็นมาก ซึ่งน�้ำตกที่นี่เป็นน�้ำตกที่พบในพื้นที่หินปูนยุคคอร์โดวิเชียน (อายุประมาณ 470 ล้านปี) เนื้อหินมีสีเทาด�ำ น�้ำตกธารปลิวเป็นหน้าผาหินปูนที่มีขนาดความ สูง 5 เมตร ยาว 50 เมตร และมีน�้ำตกเล็กๆ สูง 1-2 เมตร กระจายอยู่ทั่วไป แหล่งเกิดของน�้ำ เกิดจากการพอกตัวของคราบหินปูนและตะกอนแขวนลอยที่มากับน�้ำ ท�ำให้เกิดลักษณะเป็น แอ่งน�ำ้ คล้ายท�ำนบลดหลัน่ กันลงมาอย่างสวยงาม มีการกัดเซาะของน�ำ้ ตรงหน้าผาน�ำ้ ตกแสดง ลักษณะหินย้อยสวยงามมาก การเดินทาง เดินทางออกจากอ�ำเภอทุ่งหว้ามาตามถนนหมายเลข 416 ประมาณ 8 กิโลเมตร ถึง สามแยก แล้วเลี้ยวขวาไปอีก 5 กิโลเมตร 24


ฉิม ไฮโดรโปนิกส์

25


ฉิม ไฮโดรโปนิกส์ เป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกพืช โดยไม่ใช้ดิน พร้อมทั้งเรียนรู้ การผสม เกษรของเลม่อน ผลไม้ทที่ ำ� รายได้ให้แก่ เจ้าของสวนแห่งนี้ เมือ่ ท่านเดินทางมาถึง จะได้เรียนรู้การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่ง เป็นวิธกี ารใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะ การปลู ก ผั ก และพื ช ที่ ใช้ เ ป็ น อาหาร เนือ่ งจากประหยัดพืน้ ที่ และไม่ปนเปือ้ น กับสารเคมีต่างๆ ในดิน ท�ำให้ได้พืชผัก ทีส่ ะอาดเป็นอาหาร ซึง่ ในสภาพแวดล้อม และสภาพการศาสตร์หนึง่ ๆ การปลูกพืช แบบไฮโดรโปนิ ก ส์ จ ะให้ ผ ลก� ำ ไรแก่ เกษตรกรได้มากขึ้น และด้วยการปลูกที่ ไม่ใช้ดนิ จึงท�ำให้พชื ไม่มโี รคทีเ่ กิดในดิน ไม่มวี ชั พืชและไม่ตอ้ งจัดการดิน และยัง สามารถปลูกพืชใกล้กนั มากได้ ด้วยเหตุนี้ พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณทีม่ ากกว่าเดิม ขณะทีใ่ ช้พนื้ ทีจ่ ำ� กัด นอกจากนีย้ งั มีการ ใช้น�้ำน้อยมาก เพราะมีการใช้ภาชนะ หรือระบบวนน�ำ้ แบบปิด เพือ่ หมุนเวียน น�ำ้ เมือ่ เทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้น�้ำเพียงส่วนนิดเท่านั้น 26 26 สนใจติดต่อ นายชยพัทธ์ หล่อสุพรรณพร หมายเลขโทรศัพท์ 08-18398022 อัตราค่าบริการ 600/ชั่วโมง


สวนควนข้อง

27 27


สวนควนข้อง จากความชอบเป็นชีวิตจิตใจในการสะสมและ พยายามศึกษาเรียนรูข้ นั้ ตอนการเพาะหม้อข้าวหม้อแกงลิง ของนายวรวิทย์ ควนข้อง ที่มีมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น แหล่งเรียนรูใ้ ห้แก่นกั เรียน นักศึกษา และประชาชนโดยทัว่ ไป มาถึงปัจจุบัน ลักษณะหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลือ้ ย มีระบบ รากที่ตื้นและสั้น สามารถสูงได้หลายเมตร มีความเสี่ยงสูง ต่อการสูญพันธุ์ทั้งจากเก็บออกมาขาย หรือบุกรุกป่าเพื่อ ทีท่ ำ� กิน จะมีลกั ษณะพิเศษโดยภายในหม้อจะบรรจุไปด้วย ของเหลวที่พืชสร้างขึ้น อาจมีลักษณะเป็นน�้ำหรือน�้ำเชื่อม ใช้สำ� หรับให้เหยือ่ จมน�ำ้ ตาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วย สารเหนียวทีถ่ กู ผสมขึน้ เป็นส�ำคัญเพือ่ ใช้ยอ่ ยแมลงในหม้อ โดยปกติหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือหม้อล่างเป็นหม้อทีอ่ ยูแ่ ถวๆโคนต้นมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม อีกชนิดคือหม้อบนที่มีขนาดเล็ก ก้านหม้อ จะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และมีสีสันจืด ชืดกว่า หรือความแตกต่างอีกอย่างคือ หม้อล่างท�ำหน้าที่ ล่อเหยือ่ และดูดซึมสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโต ส่วน หม้อบน เมือ่ โตขึน้ สูงขึน้ หม้อบนจะลดบทบาทการหาเหยือ่ แต่เพิ่มบทบาทการจับยึด โดยก้านใบจะม้วนเป็นวง เกาะ เกี่ยวกิ่งไม้ข้างๆ ดึงเถาหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สูงขึ้นและ มั่นคงขึ้นไม่โค่นล้มโดยง่าย 28 สนใจติดต่อ นายวรวิทย์ ควนข้อง หมายเลขโทรศัพท์ 08-10971684 อัตราค่าบริการ 600/ชั่วโมง


ไอติมคนรักดี

เนื่องจากทางสวนเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าบ้าน มีการ ปลูกมะพร้าวขึน้ เรียงรายเป็นจ�ำนวนมาก ทางเจ้าบ้านจึงคิดหาวิธใี นการสร้างรายได้จากมะพร้าว โดยการสั่งซื้อเครื่องท�ำไอศกรีมพร้อมคิดค้นวิธีและขั้นตอนการท�ำไอศกรีมซึ่งเป็นสูตรโบราณ อันได้รบั การถ่ายทอดจากบรรพบุรษุ จนมีไอศกรีมสูตรโบราณให้นกั ท่องเทีย่ วได้เรียนรูแ้ ละชิม มาจนถึงปัจจุบัน สนใจติดต่อ นางสาววาสนา เศษแอ หมายเลขโทรศัพท์ 09-04814504 อัตราค่าบริการ 600/ชั่วโมง

29


ศาลโต๊ะทวดสามยอด

30


ศาลโต๊ะทวดสามยอด เป็นอีกสถานที่ที่สามารถพบเห็น นอติลอยด์ หรือ ฟอสซิลปลาหมึกทะเลโบราณ ต้นตระกูลของปลาหมึกทะเล โบราณ มีล�ำตัว อ่อนนิ่ม แต่ได้พัฒนาส่วนหัวให้มีเปลือก หุม้ ล�ำตัว โผล่แต่สว่ นหนวดออกมา ภายในส่วนท้ายของล�ำตัว เป็นห้องอับเฉาโดยมีท่อสูบฉีดน�้ำ ช่วยควบคุมการดันน�้ำเข้า เหมือนเรือด�ำน�้ำ เมื่อนอติลอยด์ต้องการลอยตัวก็จะดูดน�้ำ ออกจากห้องอับเฉา เพือ่ ลดความหนาแน่นภายในล�ำตัวท�ำให้ ลอยตัว และจะใช้วิธีอัดน�้ำเข้าไปในช่องว่าง เพื่อเพิ่มความ หนาแน่นภายในล�ำตัว ก็จะท�ำให้จมตัวลงเหมือนกับหอยงวงช้าง ซึง่ เป็นแขนงของนอติลอยด์ ส่วนปลาหมึกปัจจุบนั วิวฒ ั นาการ มาโดยไม่มีเปลือกหุ้มล�ำตัว

31


หินสาหร่าย

32


หินสาหร่าย หินโผล่แหล่งนีไ้ ด้รบั การปกป้อง โดยการสร้างอาคารคลุมและสักการะบูชาจากเจ้าของ พื้นที่ เนื่องจากมีนิมิตจนถูกเลขล๊อตเตอรี่เมื่อหลายปีก่อน หินปูนนี้มีลักษณะเป็นชั้นบาง เรียงสลับซับซ้อนกันระหว่างหินปูนสีแดงชัน้ บางกับหินโคลนสีนำ้� ตาลเข้มชัน้ บางมาก ลักษณะ โครงสร้างพอกเป็นชั้นแบบนี้เป็นลักษณะของสโตรมาโตไลต์ที่เกิดใต้ท้องทะเล โดยการพอก และเชื่อมตัวกับเม็ดตะกอน โดยชั้นของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไซนาโนแบคทีเรีย (รู้จัก กันทั่วไปว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน�้ำเงิน) หินปูนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินป่าแก่ ซึ่งเป็น หมวดหินที่อยู่ด้านบนสุดของกลุ่มหินทุ่งสง มีการพบซากดึกด�ำบรรพ์ ไทรโลไบต์สกุลน�้ำลึก ได้แก่ Ovalocaphalus, Orthorhachis, Nileus และ Amphytrion ท�ำให้ทราบได้ว่าหินปูนนี้มี อายุในช่วงยุคออร์โด วิเชียนตอนปลาย

33


เขาน้อย

34


เขาน้อย เป็นพืน้ ทีท่ มี่ หี นิ โผล่ทสี่ ามารถจ�ำแนกได้เป็นสองหมวดหิน คือหมวดหินป่าแก่ วางตัว อยู่ด้านล่างและถูกปิดทับด้วยหมวดหินวังตง หมวดหินป่าแก่ ประกอบด้วยหินปูนสีแดงชั้น บางสลับกับหินโคลนสีน�้ำตาลแดงชั้นบางมาก ก่อตัวขึ้นโดยสาหร่ายสีเขียวแกมน�้ำเงินในทะเล พบซากนอติลอยด์และไทรโลไบต์จำ� นวนมาก มีอายุชว่ งปลายยุคออร์โดวิเชียน ส่วนหมวดหิน วังตง ประกอบด้วย ชั้นหินดินดานและหินเชิร์ต มีชั้นหินทรายสีเขียวที่มีซากไทรโลไบต์และ แบรคิโอพอตแทรกอยูท่ างด้านล่าง มีซากแกรฟโตไลน์จำ� นวนมากในชัน้ หินดินดานสีดำ� มีอายุ ช่วงปลายสุดของยุคออร์โดวิเชียนจนถึงยุคไซลูเรียน

35


ประวัติความเป็นมา

กลุม่ “ทุง่ หว้าโฮมสเตย์โกดอน” จัดตัง้ ขึน้ มาจากสมาชิกทีม่ คี วามสนใจในการให้บริการ ทีพ่ กั ชุมชนแก่นกั ท่องเทีย่ วในรูปแบบโฮมสเตย์ เนือ่ งจากในเขตพืน้ ทีอ่ งค์การบริหารส่วนต�ำบล ทุง่ หว้า มีแหล่งท่องเทีย่ วทีโ่ ดดเด่นและมีชอื่ เสียงทางด้านธรณีวทิ ยา ในแต่ละปีมนี กั ท่องเทีย่ ว ทัง้ ชาวไทย ชาวต่างประเทศ นักเรียน นักศึกษา และคณะศึกษาดูงาน รวมไปถึงผูส้ นใจเกีย่ วกับ ซากฟอสซิลโบราณ ซึ่งเดินทางมาศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่ของอ�ำเภอทุ่งหว้าเป็นจ�ำนวนมาก เพือ่ เป็นการอ�ำนวยความสะดวกแก่ผทู้ มี่ าเยือน ให้สามารถเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมของอ�ำเภอทุง่ หว้า ได้อย่างเต็มที่ การจัดตั้งกลุ่มทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน จึงเป็นการรวมตัวของชุมชนเพื่อให้ “โฮมสเตย์” เป็นอีกหนึง่ ทางเลือกของการให้บริการด้านทีพ่ กั ทีช่ มุ ชนได้พร้อมใจเปิดให้บริการ

36

ผู้ประสานงาน นายพรหมพจน์ สิริพรชัยเจริญ ประธานกลุ่มทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน หมายเลขโทรศัพท์ 091-0240988, 095-5046984


ระเบียบข้อบังคับของ “ทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน” มีดังนี้ 1. สมาชิกต้องมาประชุมทุกๆ วันเสาร์แรกของเดือน เวลา 14.00 น. 2. ถ้าสมาชิกขาดประชุม 3 ใน 5 ครั้ง ต้องถูกพิจารณา 2.1 การขาดประชุมเกิน 3 ครัง้ โดยไม่แจ้ง ให้งดรับนักท่องเทีย่ ว 1 คิว 2.2 การลาประชุมกรณีเกิน 3 ครัง้ ให้สมาชิกทีล่ าประชุมช�ำระค่าบ�ำรุง กลุ่มโฮมสเตย์ ครั้งละ 20 บาท 3. สมาชิกทุกคนต้องให้ความร่วมมือทุกครั้งเมื่อมีกิจกรรม 4. การประชุมทุกครั้ง เอามติของกลุ่มถือเป็นการสิ้นสุด 5. คณะกรรมการบริหาร อยู่ในต�ำแหน่งคราวละ 1 ปี 6. คณะกรรมการบริหารต้องมาจากการลงมติจากที่ประชุมของสมาชิก ทั้งหมด

กติกาบ้านพักโฮมสเตย์ 1. ผู้ที่มาพักคือเจ้าของบ้าน 2. ผู้ที่มาพักเปรียบเสมือนญาติที่สนิทคนหนึ่งที่หายไปและกลับมาบ้าน 3. เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ท�ำไปเรียนรู้ไป 4. เจ้าบ้านต้องให้ผมู้ าพักเขียนและเซ็นสมุดเยีย่ มทุกครัง้ เมือ่ มีการเข้าพัก 5. บ้านต้องสะอาดและเรียบร้อย มีความสะดวกสบาย ภายในบ้าน เป็นระเบียบ 6. มีความเป็นกันเอง มีอัธยาศัยต่อผู้ที่เข้ามาพักเป็นอย่างดี 7. เจ้าของบ้านต้องมีความพร้อม ในการบริการคอยรับและส่งผู้ที่มาพัก ด้วยความเรียบร้อย 37


หน้าที่ผู้ประสานงานโฮมสเตย์

38

1. ควรให้คำ� แนะน�ำและบริการบ้านโฮมสเตย์ในเขตหมูบ่ า้ นทีม่ กี ารเข้าพัก ของผู้เข้าพัก 2. ประสานความร่วมมือระหว่างหมู่บ้านและส�ำนักงานโครงการ 3. ให้ค�ำแนะน�ำพร้อมบริการผู้มาพักเสมือนญาติสนิทคนหนึ่ง 4. ในการจัดกิจกรรมนันทนาการกลางคืน ท่านต้องมีสว่ นร่วมทุกกิจกรรม 5. กลุม่ เปิดรับสมาชิกใหม่จะด�ำเนินการทุกๆ 1 ปี โดยผูท้ มี่ คี วามประสงค์ จะสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของกลุม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า 300 บาท 6. สมาชิกใหม่ ก่อนจะรับนักท่องเที่ยวเข้าพักในโฮมสเตย์ต้องเข้าร่วม ประชุมมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง 7. สมาชิกใหม่ทเี่ ข้ามาจะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากสมาชิกเกินกึง่ หนึง่ 8. สมาชิกโฮมสเตย์ ต้องบริจาคเงินให้กับกลุ่มฯ 10% ของเงินรายได้ เพือ่ เป็นกองกลางในการด�ำเนินกิจกรรมของกลุม่ โฮมสเตย์และให้กลุม่ โฮมสเตย์จา่ ยส่วนแบ่ง 2% แก่กลุม่ ท่องเทีย่ ว โดยชุมชนและแบ่งให้กบั อุทยานธรณีโลกสตูล 1% เพื่อเป็นค่าด�ำเนินการ 9. สมาชิกกลุ่มอาหาร ต้องบริจาคเงินให้กับกลุ่ม 5% ส่วนแบ่ง 2% แก่กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนและแบ่งให้กับอุทยานธรณีโลกสตูล 1% 10. การใช้จ่ายเงินกองกลางของกลุ่มสมาชิกโฮมสเตย์และกลุ่มอาหาร จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของกลุ่มเกิน ครึ่งหนึ่งของจ�ำนวนคณะกรรมการบริหาร 11. การรับนักท่องเทีย่ วเข้าพักบ้านพักของสมาชิกทุกหลัง จะต้องหมุนเวียน ตามล�ำดับคิวการก�ำหนด จะใช้วิธีการเรียงล�ำดับเจ้าของบ้านตาม ตัวอักษร 12. กรณีทรัพย์สินของผู้เข้าพักและเจ้าของบ้านพักสูญหายในระหว่าง การให้บริการที่พัก เป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าพักและเจ้าของ บ้านในการด�ำเนินการแก้ไขปัญหา 13. สมาชิกทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จะต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานของโฮมสเตย์ อย่างเคร่งครัด 14. กรรมการบริหาร ทุง่ หว้าโฮมสเตย์โกดอน อ�ำเภอทุง่ หว้า จังหวัดสตูล จะด�ำเนินการตรวจมาตรฐานการให้บริการที่พักของสมาชิกทุกๆ 1 เดือน กรณีมีบ้านพักไม่ผ่านการตรวจประเมิน ให้ด�ำเนินการแก้ไข ภายใน 1 เดือน แล้วขอรับการประเมินใหม่จากคณะกรรมการบริหาร อีกครัง้ ซึง่ บ้านพักทีไ่ ม่ผา่ นการประเมินมาตรฐานของคณะกรรมการ บริหารจะไม่อนุญาตให้รับผู้เข้าพักได้ จนกว่าจะผ่านการประเมิน


ข้อพึงปฏิบัติส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่มาพัก

"ทุ่งหว้าโฮมสเตย์ โกดอน" อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

ห้ามน�ำเนื้อสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนา เข้ามาในบ้านพักชุมชน ห้ามทิ้งขยะในชุมชน ห้ามแต่งตัวล่อแหลมในชุมชน ห้ามเสพหรือดื่มของมึนเมาไม่ว่าในบ้านหรือนอกบ้าน ในขณะมาพักโฮมสเตย์ ห้ามเล่นการพนัน ห้ามน�ำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบ้าน (สุนัข) ห้ามน�ำอาวุธเข้ามาในบ้านพัก ห้ามน�ำสิ่งผิดกฎหมายเข้ามาในบ้านพัก ห้ามน�ำทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าของเจ้าบ้านออกไปจากบ้านพัก โดยไม่ได้รับอนุญาต ห้ามแสดงพฤติกรรมที่ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงาม ห้ามน�ำถุงพลาสติกและวัตถุอันตรายเข้ามาในบ้านพัก เช่น โฟมใส่อาหาร ถุงแกงใส่อาหาร 39


รายการค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว อัตราค่าที่พัก นักท่องเที่ยวต่างประเทศ อัตรา 490 บาท/คน/คืน อัตราค่าที่พัก นักท่องเที่ยวทั่วไป อัตรา 390 บาท/คน/คืน อัตราค่าอาหาร อาหารเช้า อัตรา 80 บาท/คน/มื้อ อาหารเที่ยง อัตรา 150 บาท/คน/มื้อ อาหารเย็น อัตรา 150 บาท/คน/มื้อ อาหารว่าง อัตรา 35 บาท/คน/มื้อ อัตราค่าบริการเสริม ค่าบริการน�ำเที่ยว/มัคคุเทศก์ อัตรา 1,000 บาท/วัน ค่าบริการน�ำเที่ยวพร้อมรถรับส่ง อัตรา 1,500 บาท/วัน ค่าบริการติดต่อประสานงานและใช้สถานที่ อัตรา 1,000 บาท/วัน ค่าเข้าชมถ�้ำเลสเตโกดอน อัตรา 500 บาท/คน ค่าบริการเข้าชมแหล่งเรียนรู้พร้อมค่าวิทยากร อัตรา 600 บาท/ชั่วโมง กิจกรรมที่จัดขึ้นให้นักท่องเที่ยวเลือก การแสดงออกพรานนางทาสี 1,000 บาท การแสดงระบ�ำพระสมุทรเทวา 1,000 บาท การแสดงตาลีกีปัส (ร�ำพัด) 1,000 บาท การแสดงตารีวาบูแล (ระบ�ำว่าววงเดือน) 1,000 บาท การแสดงต�ำนานผีโบ๋ 1,500 บาท การแสดงมโนราห์ 1,500 บาท การแสดงร�ำชาชัก 1,500 บาท การแสดงกลองยาว 1,500 บาท การแสดงรองแง็งบิค 1,500 บาท

40


ทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน

ในปี พ.ศ. 2556 ทางวิทยาลัยชุมชนสตูลได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักสูตรการบริหารจัดการโฮมสเตย์ให้แก่กลุ่มทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน จากนั้นทางกลุ่ม มีการพัฒนาจนทางวิทยาลัยได้ด�ำเนินการขอมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ท�ำให้ทางกลุ่มได้รับ มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยในปี พ.ศ. 2559-2562 ในปี พ.ศ. 2562 ทางวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้จดั ฝึกอบรมให้ความรูเ้ กีย่ วกับการพัฒนา ทักษะการบริหารจัดการโฮมสเตย์ให้แก่กลุ่มทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน จากนั้นทางกลุ่ม มีการพัฒนาจนทางวิทยาลัยได้ด�ำเนินการขอมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยรอบที่สอง ซึ่งปัจจุบันบ้านที่ด�ำเนินการเรื่องโฮมสเตย์มีจ�ำนวนทั้งหมด 6 หลัง ดังนี้

41


หลังที่ 1

นายพรหมพจน์ สิริพรชัยเจริญ ที่ตั้ง 118 หมู่ที่ 6 ต�ำบลทุ่งหว้า อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 91120 โทรศัพท์ 091-0240988

42


หลังที่ 2

นางปุษยา ทิพย์มณี ที่ตั้ง 82 หมู่ที่ 7 ต�ำบลทุ่งหว้า อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โทรศัพท์ 080-8678875

43


หลังที่ 3

นางสาวสุกัลยา ทองรักษ์ ที่ตั้ง 99/2 หมู่ที่ 7 ต�ำบลทุ่งหว้า อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 91120 โทรศัพท์ 096-4167753

44


หลังที่ 4

นางจงจิต หัสมา ที่ตั้ง 68/51 หมู่ที่ 7 ต�ำบลทุ่งหว้า อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 91120 โทรศัพท์ 080-5448528

45


หลังที่ 5

นางอนงค์ โตวาโต ที่ตั้ง 89 หมู่ที่ 8 ต�ำบลทุ่งหว้า อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 91120 โทรศัพท์ 099-3606318

46


หลังที่ 6

นายสมศักดิ์ บริบูรณ์ ที่ตั้ง 67/14 หมู่ที่ 8 ต�ำบลทุ่งหว้า อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 91120 โทรศัพท์ 082-8271560

47


โปรแกรมการท่องเที่ยว

(1 Day Trip)

08.30 น. 09.30 น. 10.30 น. 11.30 น. 13.00 น. 16.30 น.

48

เดินทางถึงต�ำบลทุ่งหว้า เข้าชมศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ช้างดึกด�ำบรรพ์ทุ่งหว้า ซึ่งรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของจังหวัดสตูล รวมทั้งฟอสซิลช้างสเตโกดอน อายุกว่าล้านแปดแสนปี ชมสวน ฉิมไฮโดรโปนิกส์ สวนผักไร้ดินและเมล่อน คุณภาพ แห่งเดียวในทุ่งหว้า ชมความมหัศจรรย์ของพืชกินแมลง หม้อข้าวหม้อแกงลิง หลากหลาย สายพันธุ์ ณ สวนควนข้อง รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารพืน้ บ้าน แบบบุฟเฟ่ จากทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน) ณ องค์การบริหารส่วนต�ำบลทุง่ หว้า เดินทางไปยังถ�้ำเลสเตโกดอน ตื่นเต้นกับการล่องเรือแคนู สัมผัส ความสวยงามของหินงอกหินย้อย ภายในถ�้ำเลสเตโกดอน ถ�้ำเลที่ยาว ที่สุดในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ตาม เส้นทางการตามหาหัวใจทีป่ ลายอุโมงค์ กลับถึงจุดชมวิวท่าอ้อย เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


โปรแกรมการท่องเที่ยว

(2 วัน 1 คืน)

วันแรก 09.00 น. 10.00 น. 11.30 น. 13.00 น. 16.00 น. 16.30 น.

เดินทางถึงต�ำบลทุ่งหว้า นมัสการหลวงพ่อแก่นจันทร์ วัดชมพูนิมิต พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองชาวต�ำบลทุ่งหว้า เข้าชมศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ช้างดึกด�ำบรรพ์ทุ่งหว้า ซึ่งรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของจังหวัดสตูล รวมทั้งฟอสซิลช้างสเตโกดอน อายุกว่าล้านแปดแสนปี รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารพื้นบ้าน แบบบุฟเฟ่จาก ทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน) ณ องค์การบริหารส่วนต�ำบลทุ่งหว้า ตื่นเต้นกับการล่องเรือแคนู สัมผัส ความสวยงามของหินงอกหินย้อย ภายในถ�้ำเลสเตโกดอน ถ�้ำเลที่ยาว ที่สุดในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ตาม เส้นทางการตามหาหัวใจทีป่ ลายอุโมงค์ เดินทางถึงจุดชมวิวท่าอ้อย เข้าทีพ่ กั และรับประทานอาหารเย็น ณ ทุ่งหว้า โฮมสเตย์โกดอน

49


โปรแกรมการท่องเที่ยว

(2 วัน 1 คืน)

วันที่สอง 09.00 น. 09.30 น. 10.30 น. 11.30 น. 12.00 น. 13.00 น. 14.00 น. 50

รับประทานอาหารเช้า ณ ทุ่งหว้า โฮมสเตย์โกดอน พร้อมกันที่องค์การ บริหารส่วนต�ำบลทุ่งหว้า ชมความมหัศจรรย์ของพืช กินแมลง หม้อข้าวหม้อแกงลิง หลากหลายสายพันธุ์ ณ สวนควนข้อง ชมสวน ฉิมไฮโดรโปนิกส์ สวนผัก ไร้ดินและเมล่อนคุณภาพ แห่งเดียวในทุ่งหว้า แวะชิม ไอศกรีมคนรักดี ไอศกรีม สูตรโบราณ ใช้วัตถุดิบจากสวน ข้างบ้าน ส่งเสริมการด�ำเนินชีวิตตาม แนวพระราชด�ำริ เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับประทานอาหารกลางวัน (อาหาร พื้นบ้าน แบบบุฟเฟ่จากทุ่งหว้า โฮมสเตย์โกดอน) ณ องค์การ บริหารส่วนต�ำบลทุ่งหว้า เดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ทางธรณี ที่มีความส�ำคัญ ได้แก่ เขาน้อย หินสาหร่าย และศาลโต๊ะทวดสามยอด เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


การเดินทางมายังจังหวัดสตูล 1.) โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯไปสตูล โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นจึงเข้าทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน นครศรีธรรมราช พัทลุง แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ไปสงขลา จากนั้น แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 406 จนถึงสตูล ระยะทางประมาณ 973 กิโลเมตร 2.) โดยรถประจ�ำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทขนส่ง จ�ำกัดและของเอกชน ออกจากสถานีขนส่ง สายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปสตูล ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง สอบถาม รายละเอียดได้ที่บริษัทขนส่งจ�ำกัด โทร.1490 3.) โดยเครื่องบิน จากกรุงเทพมหานครถึงท่าอากาศยานหาดใหญ่ จากนัน้ แล้วให้ตอ่ รถแท็กซีห่ รือรถโดยสารประจ�ำทางมาจนถึงศูนย์วฒ ั นธรรมเฉลิมราช พิพธิ ภัณฑ์ ช้างดึกด�ำบรรพ์ทุ่งหว้า ระยะทางประมาณ 172 กิโลเมตร และจากท่า อากาศยานตรัง ระยะทางประมาณ 74 กิโลเมตร

51



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.