TSD56

Page 1

56 May 2013

ระยอง เมืองสวรรค์ ตะวันออก


56

follow us with

TSD TALK’

May 2013

ในช่ ว งเวลาหยุ ด หลายวั น อย่ า งเทศกาลสงกรานต์ ที่ ผ่ า นมานั้ น หลายคนคงมี ค วามสุ ข กั บ การเล่ น น้ำ � และพั ก ผ่ อ นอยู่ กั บ ครอบครั ว แต่สำ�หรับ TSDMAG แล้ว หากต้องพักกันยาวถึงขนาดนั้น มีหวัง eMag เล่มที่ 56 คงไม่ทันให้ดาวน์ โหลดแน่ๆ แม้ว่าจะเป็นวันหยุด ไม่ต้องเข้าไป ทำ�งาน office ก็จริง แต่ด้วยหน้าที่แล้ว ทีมงานของเราทุกคนก็ยังพร้อม อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างสรรค์ eMag ให้สมาชิกทุกคนที่รอดาวน์ โหลดไปอ่าน และหวังว่าสมาชิกของ TSDMAG ได้เดินทางกลับมาทำ�งานอย่างปลอดภัย แล้วทุกคน

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณสมาชิกทุกคนที่ ได้ ไปร่วมสนุกกับกิจกรรม TSD Happy Meeting ครั้งที่ 6 ของเราในชื่อ Theme ว่า Let’s go to the tree house ซึ่งก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี การได้กลับมาเจอกันอีกของสมา ชิกและทีมงาน จึงล้วนเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสุขตลอดช่วงเวลา ของทริปนี้ ขอขอบคุณจริงๆ ที่ยังไม่ทิ้งกันไปไหน

TSD STAFF

• บรรณาธิการบริหาร ผุสดี

พิพัฒพลกาย

• โปรแกรมเมอร์ อภิรักษ์

• ประสานงาน อรรณพ

สีกากี

คำ�ภีระ

• การตลาด ฐากูร

• กองบรรณาธิการ อนันต์ วิกรม พลเอก ธราดล

บุตรเวียงพันธ์ วิชานนุวงศ์ ศิริเวชอำ�นวยกิจ จิตมั่นชัยธรรม

ผลเจริญ

ติดต่อ :

Tel. +66 2930 3734-5 Fax. +66 2930 3735 e-mail : tsdmag@tsdmag.com

เนื้อหาทั้งหมดสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดย บริษัท ทางสะดวก (ไทย) จำ�กัด 203/3 ซอยพหลโยธิน 33 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900


Photo Tutor

Cool Product

BKK Snap

Photo Traveler

Shutter iDOL

iPhone graphy Outing


ProCdool uct

Zipnico

G-Drive Pro

หากกำ�ลังมองหา External HDD ไว้ ใช้งานกับเครื่อง Mac สักตัว อยากให้ลองพิจารณา G-Drive Pro กันดูสักหน่อย ด้วยรูปทรงที่ออกแบบมาให้เข้ากันได้กับเครื่อง Mac เมื่อวางไว้ ใกล้ๆ กันมันจึงดูดีและกลมกลืนเป็นอย่างมาก จุดเด่นของ G-Drive Pro ก็คือรองรับการเชื่อมต่อด้วย Thunder bolt port ที่ให้ความเร็วสูงสุดถึง 450MB/s มีสองความจุให้เลือกใช้ตามต้องการ คือ 2TB และ 4TB

สายหูฟังพันกัน เป็นปัญหาสุดคลาสสิคสำ�หรับ ผู้ที่มีดนตรีในหัวใจ เพราะเมื่อไรที่หยิบหูฟังออกมา เพื่อที่จะฟังเพลง สายเจ้ากรรมก็มักจะพันกันรุงรัง ต้องเสียเวลามานั่งแกะมันออกจากกันอยู่เป็นประจำ� Zipnico จึงถือกำ�เนิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ สายหูฟังจะถูกรวมเข้าด้วยกันกับสายซิป เมื่อใช้งาน เสร็จก็รูดมันเข้าด้วยกัน ปัญหาสายพันกันจึงไม่มีอีก ต่อไป มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Rock Series ที่เน้น ความดิบ หนักแน่นตามสไตล์ร็อค และ Dynamic Series ที่มากับไดร์เวอร์ขนาด 10 mm. ที่ใหญ่กว่า Rock Series จึงให้เสียงที่ครบครันกว่า http://www.zipnico.net/

http://www.g-technology.com/products/g-drive-pro-thunderbolt

MINOX DCC 14.0

เบื่อกล้องดิจิตอลแบบเดิมๆ แล้วใช่ไหม ถ้าคำ�ตอบ คือใช่ คงต้องลองมอง MINOX บ้างซะแล้ว MINOX DCC 14.0 คือ กล้อง Digital Reto Camera ขนาดจิ๋ว ที่จะทำ�ให้คุณกลายเป็นผู้นำ�ด้านแฟชั่นการถ่ายรูปได้ ทันทีเมื่อถือมันในมือ ให้ภาพความละเอียดสูงสุด 14 ล้านพิกเซล ใช้ View finder แบบ Galileo ให้ความรู้สึกสุดคลาสสิค เลนส์ขนาด 45 mm f/2.4 (เทียบเท่า format 35 mm) รองรับ SD card สูงสุด 32 GB มีสองสีให้เลือก คือ ดำ�ล้วนและเงินคลาสสิค http://www.minox.com/index.php?id=8523&L=1

001

Pokket Mixer

ปาร์ตี้ในครั้งต่อไปจะไม่จืดชืดกับเพลงจังหวะตึ๊ดๆ แบบเดิมๆ อีกต่อไป เพราะ Pokket Mixer จะมา สร้างสีสันบรรยากาศกับแนวดนตรีที่ Remix ขึ้นมาใหม่ ให้อารมณ์เหมือนกำ�ลังปาร์ตี้กันในผับยังไงยังงั้น ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัด ที่สำ�คัญไม่ต้องใช้ Battery อีกด้วย ฟังก์ชั่น Plug & Play สามารถใช้งาน ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาลงโปรแกรมใดๆ ให้ยุ่งยาก รับสัญญาณได้ 2 input ช่องสัญญาณออก 1 ช่อง พร้อมช่อง Headphone monitor อีกด้วย นี่แหล่ะ Dj ระดับ Pocket ของจริง !!! http://ibi360.tamaggo.com/

TSD eMag 56 iSSUE


TutPohoto r นานมาแล้วที่ภาพแนว Light Painting เกิดขึ้นมาจากคุณสมบัติสปีดชัตเตอร์ B ของกล้องถ่ายภาพและปัจจุบันการ ถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ก็ดูเหมือนจะ พัฒนาไปมากขึ้นด้วยความสร้างสรรค์ ของมนุษย์จนสร้างความอลังการ ของภาพจนผู้ชมต้องถึงกับร้อง ว้าว! ซึ่งในวันนี้เราจะมาทำ�ความรู้จัก กับเทคนิควิธีการถ่ายภาพ Light Painting กัน

003

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor การถ่ายภาพเทคนิค Light Painting เป็นเทคนิคหนึง่ ทีเ่ ราต้องเข้าใจการทำ�งานของตัวกล้องเป็น อย่างดี ตั้งแต่การปรับค่ารูรับแสง ค่า ISO และคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้เลยอย่างสปีดชัตเตอร์ “B” ที่ เป็นการเปิดม่านชัตเตอร์ค้างไว้เพื่อรับแสงที่เราวาดขึ้นมามีลักษณะเป็นเส้นซึ่งเราสามารถประยุกต์ ออกมาเป็นภาพวาดต่างๆ ได้มากมายตามจินตนาการ แต่ปัจจัยที่จะทำ�ให้การวาดแสงของเราดูแปลกแตกต่างจากภาพ Light Painting ทั่วๆ ไปก็คือ รูปแบบของไฟและฝีไม้ลายมือวาดตัวแบบนั่นเอง เคยบ้างรึเปล่าครับเวลาที่เราค้นหาคำ�ว่า Light Painting ในกูเกิล้ แล้วเราจะเห็นภาพตัวอย่างการวาดแสงเจ๋งๆ ด้วยไฟ LED ในรูปแบบต่างๆ ซึง่ เจ้าตัวนีแ้ หละ ที่สร้างความแตกต่างให้กับภาพของเราได้อย่างดี ซึ่ง ณ จุดนี้ ตัวไฟ LED ทั้งหลายเราสามารถหาซื้อ ได้ตามท้องตลาดทั่วไป หรือถ้าใครจะเอาไปปรับให้เป็นแบบ D.I.Y เป็นของตัวเองก็ได้

005

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor สำ�หรับการถ่ายภาพ Light Painting สิ่งสำ�คัญอย่างแรกคือการเลือกสถานที่ เพราะเรา จำ�เป็นต้องใช้สปีดชัตเตอร์ B แบบนีแ้ ล้ว เราควรเลือกสถานทีท่ มี่ ดื เข้าไว้และถ้าเป็นไปได้กเ็ ลือก สถานที่ที่กว้างขวางด้วยก็จะดีมากโดยเฉพาะเวลาที่มีคนวาดแสงหลายๆ คน เพราะจากการที่ ทดลองสถานที่แคบๆ ดูเหมือนจะวาด (ง่าย) เอาเข้าจริงแล้วปรากฏว่ายากมาก ดังนั้นเวลาเรา วาดแสงแต่ละทีนั้นวาดขนาดใหญ่หน่อยกลับง่ายกว่าเยอะทีเดียว

เอาเป็นว่า เดี๋ยวเราไปดูขั้นตอน และอุปกรณ์การถ่ายภาพ Light Painting กันดีกว่าครับ

007

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

อุปกรณ์ที่ ใช้ 1. แหล่งกำ�เนิดไฟแบบต่างๆ เช่น ไฟ LED, ไฟฉาย หรือแฟลช 2. กล้อง DSLR 3. ขาตั้งกล้อง 4. สายลั่นชัตเตอร์ 009

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

ขั้นตอนการถ่ายภาพ Light Painting ขัน้ ตอนการถ่ายภาพเริม่ แรกให้เลือกสถานที่ให้ดคี รับ อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่ามืดเข้าไว้และมีพื้นที่กว้างๆ หน่อยก็จะดีมาก จากนั้นให้ตัวแบบยืนประจำ�จุดที่ต้องการ ในการวาดแสง • ล็อคโฟกัสที่ตัวแบบ (ถ้ามืดมากก็ใช้ไฟฉายส่องที่ตัวแบบ ก่อน) จากนั้นปรับโฟกัสมาที่ M • ตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ B, ISO 100, ค่ารูรับแสงตั้งไว้ที่ ประมาณ F8-22 ขึ้นอยู่กับว่าเราจะวาดอะไรแล้วใช้เวลา เท่าไหร่ ซึ่งการถ่ายแต่ละภาพนั้นใช้เวลาเปิดม่านรับแสง ไม่เท่ากัน สำ�หรับในขั้นตอนนี้ถ้าเราเลือกปรับค่ารูรับแสง ที่ F8 ก็จะได้เส้นแสงไฟคมชัดและตัวเส้นไม่เล็กจนเกินไป • จากนั้นตัวแบบก็ทำ�การวาดแสงด้วยอุปกรณ์ที่เราเตรียม มา ระหว่างที่ตัวแบบวาดแสงเราก็กดชัตเตอร์ซะ ถ้าจะให้ดี ที่กล้องเราก็ต้องมีสายลั่นชัตเตอร์ด้วยเพื่อความมั่นใจว่าจะ ได้ภาพที่นิ่งแน่นอน • ในเรื่องของการวาดแสงก็มีอยู่หลายวิธีไม่น้อยที่จะทำ�ให้ ภาพของเราน่าสนใจ และวันนี้ผมก็ได้รวบรวมการวาดแสง แบบต่างๆ เหล่านั้นให้ดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย ลองไปชมกัน ครับ

011

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

• เริ่มจากวิธีการวาดที่ง่ายที่สุด คือ การวาดแสงให้เป็นตัวอักษร 013

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

• ยากขึน้ มาอีกนิดกับการวาดให้ เป็นรูปต่างๆ 015

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

• วาดแบบลวดลายกันบ้าง ซึ่งเทคนิคนี้ เราใช้ไฟ LED ลักษณะยาวๆ 017

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

019

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

021

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

023

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

025

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

027

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Tutor

ไม่ ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะถ่ายภาพ Light Painting โดยเฉพาะการวาดไฟให้เป็นวัตถุสวยงาม สิ่งสำ�คัญก็คือตำ�แหน่งคนวาดไฟนี่แหละที่จะวาดไฟ ได้แม่นและสวยงามขนาดไหนทุกอย่างขึ้นอยู่กับการ ฝึกฝนการวาดไฟบ่อยๆ นั่นเอง และถ้าหากวาด ไฟจนชำ�นาญมากล่ะก็ รับรองได้ว่าภาพของเรานั้น อลังการอย่างแน่นอน

029

TSD eMag 56 iSSUE


ระยอง เมืองสวรรค์ ตะวันออก ระยองเป็นเมืองชายทะเลชายฝั่งตะวันออกที่มีธรรมชาติสวยงาม เป็นถิ่นกำ�เนิด ของครูกวีไทยอย่าง “สุนทรภู่” เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปอาหารทะเลชั้นดี และ ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย ด้วยการทีเ่ ป็นเมือง ทีม่ อี ตุ สาหกรรมอยูม่ าก จึงทำ�ให้มกี ารตัดถนนหลายเส้นทางเพือ่ รองรับการขนส่ง สินค้า การท่องเที่ยวจึงได้รับผลพลอยได้จากการเดินทางที่รวดเร็วสะดวกสบาย อีกด้วย เมือ่ มีธรรมชาติทสี่ วยงามบวกกับการเดินทางอันแสนสะดวกสบาย มีหรือ ที่ TSDMAG จะไม่ไปพิสูจน์

031

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

เขาแหลมหญ้า อุทยานแห่งชาติ

ขอเริ่มต้นสถานที่ท่องเที่ยวด้วยภาพจากปกกันก่อน อุทยานเขาแหลมหญ้า นั้นตั้งอยู่ที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยในท้องที่ตำ�บลบ้านเพ อำ�เภอเมือง และตำ�บลแกลง อำ�เภอแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางไปนั้น เส้นทางง่าย ที่สุดก็คือเลี้ยวเข้าบ้านเพ มุ่งหน้าสู่ชายหาด เมื่อถึงสามแยกจะถูกบังคับเลี้ยวขวา จากนัน้ วิง่ ตรงไปเรือ่ ยๆ จะเจอสามแยกสนามกีฬา ให้เลีย้ วขวา วิง่ ไปตามถนนเรือ่ ยๆ จะเจอป้ายบอกทางอุทยานเขาแหลมหญ้าเลี้ยวซ้าย วิ่งตรงไปอีก 2.5 กิโลเมตร จะเจอป้ายทางเข้าอุทยานเขาแหลมหญ้าทางซ้ายมือ

033

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler

คลิกเพื่อชมภาพ

Taradol Chitmanchaitham Photo © Anan PoneakBootviengpunth Sirivetaumnuikit

035

เขาแหลมหญ้า ชื่อนี้ ได้มาจากลักษณะของพื้นที่ที่เป็นแหลมยื่นลงไปใน ทะเล บริเวณโดยรอบจะเป็นหิน ซึ่งต้นไม้ ใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้ มีเพียงแต่ต้นหญ้า เท่านั้น จึงเป็นที่มาของชื่อเขาแหลมหญ้า ทางอุทยานเขาแหลมหญ้ามีบ้านพัก คอยบริการนักท่องเที่ยว หรือใครอยากจะนอนเต็นท์ก็สามารถทำ�ได้ นักท่องเที่ยว ส่วนมากนิยมมาตัง้ เต็นท์นอนกัน เพราะบรรยากาศดี มีหอ้ งน้�ำ สะอาด ย้�ำ ว่าสะอาด จริงๆ มีร้านค้าสวัสดิการคอยบริการนักท่องเที่ยวจนถึงตอนค่ำ� มีการถมสะพาน เรือเข้าไปในทะเลและทำ�สะพานไม้เพื่อเป็นท่าเทียบเรือ ตรงข้ามกับท่าเทียบเรือ จะเป็นระยองรีสอร์ต นักท่องเที่ยวสามารถไปเล่นน้ำ�ได้ เพราะมีชายหาดเล็กๆ หากมองจากสะพานเรื อ ออกไปในทะเล จะสามารถมองเห็ น เกาะเสม็ ด ได้

ส่วนบริเวณที่เรียกว่าแหลมหญ้านั้นจะต้องเดินเท้าลัดเลาะไปตามชายฝั่งที่เป็น โขดหินประมาณ 800 เมตร การเดินทางก็ไม่ได้ลำ�บากมากมายสักเท่าไร เพราะ ทางอุทยานได้มีการทำ�สะพานพาดไปตามโขดหิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดิน ได้สะดวกมากขึ้นนั่นเอง ที่ปลายแหลมหญ้ามีภูมิประเทศที่สวยงาม คล้ายๆ กับ แกรนด์แคนยอน เพราะมองไปทางไหนก็มีแต่หินทั้งนั้น ลมที่พัดแรงก็ทำ�ให้เกิด คลืน่ ลูกใหญ่ กระแทกก้อนหินอยูต่ ลอดเวลา เหมาะสำ�หรับการถ่ายภาพแบบ Long Exposure เพือ่ เปลีย่ นทะเลให้กลายเป็นทะเลหมอกได้ไม่ยาก เมือ่ ถึงตอนกลางคืน จะสามารถมองเห็นไฟจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้จากบริเวณนี้ เรียกได้ว่า มาที่เดียว แต่ได้ภาพหลากหลายบรรยากาศกลับบ้านไปด้วยมากมาย TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

037

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

039

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

041

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

043

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

045

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

047

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

049

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

051

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

053

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler

ตลาดบ้านเพ

ตลาดบ้านเพเป็นจุดรวมของท่าเรือไปเกาะเสม็ด นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์จากทะเลอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดระยอง มี ทัง้ อาหารทะเลสดและอาหารแห้งวางจำ�หน่ายเรียงรายกันไป ในตอนเช้าจะ มีอาหารทะเลสดๆ จากสะพานปลามาวางจำ�หน่าย ทั้งปลาหมึก กุ้ง ปู และ ปลา โดยแต่ละอย่างนั้นขอบอกว่าตัวใหญ่มาก และที่สำ�คัญราคาไม่แพง ส่วนร้านค้าจำ�หน่ายอาหารทะเลแปรรูปนั้นจะอยู่เลยออกมาทางด้านนอก อยู่คนละส่วนกับอาหารทะเลสด ไม่ว่าจะเป็น กุ้งแห้ง ปลาแห้ง ปลาหมึก แห้ง ทุกอย่างล้วนคุณภาพคับแก้วจนทีมงานอดใจไม่ไหว ต้องขอซื้อติดไม้ ติดมือกลับบ้านคนละสองสามอย่าง นอกจากอาหารทะเลแปรรูปแล้ว ยังมี ผลไม้แปรรูปอย่างทุเรียนทอดวางขายกันเป็นจำ�นวนมากอีกด้วย

055

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

057

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

059

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

หาดแม่รำ�พึง หาดแม่รำ�พึงอยู่ถัดจากอุทยานเขาแหลมหญ้า หาดแม่รำ�พึงเป็น ชายหาดที่ยาวมาก มีความยาวตลอดชายหาดประมาณ 12 กิโลเมตร จึงกลายเป็นชายหาดที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีการสร้างถนนเลียบ ชายหาดเป็นระยะทางถึง 10 กิโลเมตรด้วยกัน การเดินทางมาเทีย่ วหาดแม่ รำ�พึงจึงสะดวกสบายมาก ตลอดชายฝั่งมีที่พักและร้านอาหารคอยบริการ นักท่องเที่ยว ด้วยลักษณะของชายหาดที่มีทรายขาวสะอาด และน้ำ�ทะเล ใส จึงทำ�ให้นกั ท่องเทีย่ วนิยมมาเทีย่ วกัน แต่การเล่นน้�ำ ทะเลทีห่ าดแม่ร�ำ พึง นั้นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะจะมีบางช่วงของชายหาดที่จะ เป็นร่องน้ำ�ขนาดใหญ่ มีคลื่นพัดเข้าหากัน 2 ฝั่ง จึงมีอันตรายจากการโดน น้ำ�ทะเลดูดลงไป ปัจจุบันมีการติดตั้งป้ายเตือนไว้ ในบริเวณที่อันตรายแล้ว นักท่องเที่ยวควรหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำ�ทะเลในบริเวณดังกล่าว

061

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

บ้านก้นอ่าว บ้านก้นอ่าวอยูห่ า่ งจากตัวเมืองระยอง 11 กิโลเมตร เป็นหมูบ่ า้ น ชาวประมงพื้นบ้านที่อยู่สุดปลายชายหาดแม่รำ�พึง มีเรือประมงขนาด เล็กจอดเรียงรายตามชายฝั่ง

063

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

หาดแหลมเจริญ ตั้ ง อยู่ ใ กล้ ป ากน้ำ � ระยอง ห่ า งจากตั ว เมื อ งระยองมาทางใต้ 5 กิโลเมตร ติดกับหาดแสงจันทร์ เป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วชายทะเลทีอ่ ยูใ่ กล้ตวั เมืองระยองมากที่สุด เป็นแหล่งผลิตน้ำ�ปลาที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ตั้งของ ชุมชนชาวประมง นอกจากนี้ยังมีร้านจำ�หน่ายอาหารทะเล ซึ่งนักท่องเที่ยว นิยมไปรับประทานอาหารในช่วงเย็นด้วย ตลอดแนวชายหาดจะมีการสร้าง เขือ่ นกันคลืน่ ช่วยลดการกัดเซาะชายฝัง่ และผลพลอยได้อกี อย่างหนึง่ ของ การสร้างเขือ่ นนีก้ ค็ อื ทำ�ให้การเล่นน้�ำ มีความปลอดภัยมากขึน้ เพราะเขือ่ น ช่วยลดความแรงของคลื่นลงได้มาก ทำ�ให้ปลอดภัยสำ�หรับเด็กๆ

065

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler

สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตัง้ อยูบ่ ริเวณศูนย์บ�ำ รุงรักษาและบ้านพัก ปตท. บนถนนทางหลวงหมายเลข 3191 ต.มาบข่ า กิ่ ง อ.นิ ค มพั ฒ นา จ.ระยอง เปิ ด ทำ � การวั น อั ง คารวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. (หยุดวันจันทร์) สวนสมุนไพร แห่งนีถ้ อื ได้วา่ เป็นแหล่งเรียนรูท้ สี่ �ำ คัญในด้านสมุนไพร สร้างขึน้ โดยบริษทั ปตท. จำ�กัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด มิติการเรียนรู้ด้านสมุนไพรอย่าง สนุกสนาน เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรมากกว่า 20,000 ต้น มีอาคาร จัดแสดงให้ความรู้ ในเรือ่ งสมุนไพร ในส่วนของสวนสมุนไพรนัน้ จะมีรถ NGV คอยให้บริการพาเทีย่ วชม โดยจะมีไกด์คอยบรรยายให้ความรูต้ ลอดเส้นทาง บรรยากาศภายในสวนสมุนไพรนัน้ ร่มรืน่ โดยพืชพันธุท์ กุ ชนิดทีค่ อยให้รม่ เงา นัน้ ล้วนเป็นสมุนไพรทัง้ สิน้ และด้วยลักษณะการจัดสวนทีส่ วยงาม จึงทำ�ให้ ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบนั้นนิยมเข้ามาใช้บริการพักผ่อนหย่อนใจกัน

067

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

069

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

071

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

น้ำ�ตกเขาชะเมา

น้ำ�ตกเขาชะเมาตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ห่าง จากตัวเมืองระยอง 71 กิโลเมตร การเดินทางไปนั้นให้วิ่งตามถนนสุขุมวิท เมือ่ ถึงกิโลเมตรที่ 274 ให้เลีย้ วซ้าย เข้าไปอีก 17 กิโลเมตร ก็จะเจอทางเข้า อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อยูท่ างขวามือ น้�ำ ตกเขาชะเมาลักษณะ น้ำ�ตกเป็นธารน้ำ�ใสรองรับน้ำ�ตกขนาดใหญ่ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วยน้ำ�ตกที่สวยงาม 8 ชั้น ได้แก่ • วังหนึ่ง เป็นลำ�ธารไหลผ่านโขดหิน มีแอ่งน้ำ�ให้ลงเล่นน้ำ�ตกได้ และยัง มีปลาพลวงด้วย • วังมัจฉา เป็นแอ่งน้ำ�ขนาดใหญ่ เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของปลาพลวงจำ�นวนมาก และมีสะพานแขวนไว้สำ�หรับให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมธรรมชาติ • วังมรกต เหมาะสำ�หรับการเล่นน้ำ�ตกเพราะมีแอ่งน้ำ�ขนาดใหญ่ • วังไทรงาม เป็นแอ่งน้ำ�ใสสีเขียวมรกตสามารถลงเล่นน้ำ�ได้ • ผากล้วยไม้ เป็นชั้นน้ำ�ตกที่มีขนาดใหญ่ ด้านบนของน้ำ�ตกมีหน้าผาที่มี กล้วยไม้ขึ้นอยู่ • ช่องแคบ เป็นที่มาของสายน้ำ�ที่ไหลมาตามซอกหินเป็นชั้นๆ • น้ำ�ตกหกสาย เป็นชั้นที่มีความสวยงาม มากที่สุดเพราะน้ำ�ตกจะไหลลง มาเป็นแผ่นผากว้าง ด้านล่างสามารถลงเล่นน้ำ�ได้ • ผาสูง เป็นชั้นสุดท้ายที่มีลักษณะเป็นลำ�ธารไหลลงจากหน้าผาสูง

073

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

075

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

077

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Taradol Chitmanchaitham

079

TSD eMag 56 iSSUE


Photo Traveler Photo © Anan Bootviengpunth

081

TSD eMag 56 iSSUE


r iDoSl hutte Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

Shutter iDol 083

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

085

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

087

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

089

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

091

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

093

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

095

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

097

TSD eMag 56 iSSUE


Shutter iDol

Photo © Tantandad Follow : http://500px.com/Tantandad

099

TSD eMag 56 iSSUE


SnaBKK p

Photo © Anan Bootviengpunth

ในแต่ละวันนอกจากการทำ�งานทีเ่ ราต้องพบเจอกันอยูท่ กุ วันแล้วก็ยงั มีมลพิษและ ความวุน่ วายทีต่ ามมาอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ BKK Snap ในฉบับนีเ้ ราจะพาไปสัมผัส กับธรรมชาติในเมืองกรุงที่ให้เราได้สูดอากาศบริสุทธิ์กันเต็มปอดเหมาะสำ�หรับ การพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวต้อนรับเดือนพฤษภาคมแบบนี้ที่ สวนหลวง ร.๙ สวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร

101

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

103

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

105

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

107

สวนหลวง ร.๙ ตั้งอยู่ที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยสวนแห่ ง นี้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ จ ากแนวคิ ด ของกลุ่ ม บุ ค คลและส่ ว นราชการ ฝ่ า ยต่ า งๆ เพื่ อ น้ อ มเกล้ า น้ อ มกระหม่ อ มถวายเนื่ อ งในศุ ภ มงคลสมั ย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ให้สวนหลวง ร.๙ เป็นสถานที่ส่งเสริมวิชาการทางด้านพฤกษศาสตร์ มีการปลูกรวบรวม พรรณไม้ ต่ า งๆ เพื่ อ การศึ ก ษา เป็ น สถานที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ รวมทั้ ง ปลู ก ฝั ง ทั ศ นคติ ก ารอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดสวนหลวง ร.๙ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 และนับตั้งแต่นั้นมา สวนหลวง ร.๙ ก็เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของใครหลายๆ คน

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Taradol Chitmanchaitham

109

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

111

ด้วยพื้นที่ขนาดกว่า 500 ไร่ ภายในสวนหลวง ร.๙ จึงมีการจัดแบ่งพื้นที่ การเดินเป็นส่วนๆ ให้เราเลือกเดินชม แต่สำ�หรับช่างภาพอย่างเราๆ นอกจากใครที่อยากมาพักผ่อนแล้ว การถ่ายภาพภายในสวนแห่งนี้ก็เป็น สถานทีท่ ี่ให้เราได้ฝกึ ถ่ายภาพทีน่ า่ สนใจไม่แพ้กนั โดยเฉพาะกลุม่ ทีช่ นื่ ชอบ การถ่ายภาพทิวทัศน์และภาพมาโคร ส่วนใครที่อยากถ่ายภาพแนวพอต เทรต ที่นี่เขาไม่อนุญาตให้ถ่ายนะครับ แต่ถ้าใครอยากจะถ่ายจริงๆ ก็ต้องมี ค่าใช้จ่ายในเรื่องสถานที่ครับ แต่ส�ำ หรับเราทีช่ นื่ ชอบการถ่ายภาพทิวทัศน์กข็ อเดินชมภายในสวนก่อนล่ะ ระหว่างที่เดินก็จะเห็นนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนกัน บ้างก็ปั่นจักรยาน บ้างก็ ออกกำ�ลังกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมาเที่ยวกันในรูปแบบครอบครัว

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

ภายในสวนแห่งนี้ส่วนที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษก็คือ สวนนานาชาติที่มีถึง 7 ชาติ ด้วยกัน ที่ดูแล้วก็คล้ายๆ กับสวนนานาชาติของสวนราชพฤกษ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่แต่ที่นี่สร้างก่อนนานทีเดียว โดยสวนประเทศทั้ง 7 ประกอบไปด้วย สวนจีน สวนญี่ปุ่น สวนอังกฤษ สวนฝรั่งเศส สวนอิตาลี สวนสเปน และสวนอเมริกนั ทีแ่ ต่ละสวนนัน้ ได้รบั ความร่วมมือจากเจ้าของ ประเทศในการออกแบบและดำ�เนินการสร้างทัง้ หมด ดังนัน้ แต่ละสวนจึงมี ลักษณะดั้งเดิมของประเทศนั้นๆ ไม่ผิดเพี้ยน เป็นอีกจุดหนึ่งที่สวยงามทั้ง การเดินเที่ยวและถ่ายภาพ นอกจากจุดหลักๆ ที่เหมาะกับการถ่ายภาพแนวทิวทัศน์แล้ว กลุ่มดอกไม้ สำ�หรับขามาโครก็มีให้เราถ่ายภาพได้เยอะเลยล่ะ โดยเราสามารถหาถ่าย ได้รอบๆ สวนที่มีต้นไม้ พุ่มไม้ ปลูกตลอดทางเดิน หรือถ้าใครอยากจะ ถ่ายภาพพันธุ์ ไม้แปลกๆ ก็ขอแนะนำ�อาคารพันธุ์ ไม้ทะเลทราย ที่รวม พันธุ์ไม้ทะเลทราย และไม้อวบน้ำ�ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เอาไว้ รวมไปถึงอาคารพันธุ์ ไม้ ในร่ม ภายในอาคารปลูกประดับด้วยไม้ ในร่มนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีเรือนเฟิร์นและกล้วยไม้ สำ�หรับรวบรวม พันธุ์เฟิร์นและกล้วยไม้ชนิดต่างๆ อีกด้วย

113

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

115

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Taradol Chitmanchaitham

117

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Taradol Chitmanchaitham

119

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Taradol Chitmanchaitham

121

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

123

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Poneak Sirivetaumnuikit

125

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

ส่วนจุดทีเ่ ป็นมุมมหาชนสำ�หรับช่างภาพมากทีส่ ดุ ก็คงหนีไม่พน้ หอรัชมงคล เพราะตัง้ อยูบ่ ริเวณริมสระน้�ำ สวยเด่นเป็นสง่า จะถ่ายภาพช่วงทีย่ งั มีแสงอยู่ หรือช่วงพระอาทิตย์ตกดินเล่นเทคนิคเงาสะท้อนน้�ำ ก็งามไม่แพ้กนั สำ�หรับ หอรัชมงคล นัน้ หลายๆ คนอาจจะไม่รวู้ า่ คืออะไรนอกจากเป็นสถาปัตยกรรม ที่สวยงาม หอรัชมงคล จะเรียกกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ก็ว่าได้ โดยภายใน หอรั ช มงคลแห่ ง นี้ มี ก ารจั ด แสดงหุ่ น จำ � ลอง โครงการในพระราชดำ � ริ และของใช้ ส่ ว นพระองค์ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว โปรดเกล้ า ฯ พระราชทาน รวมไปถึงเป็นอาคารห้องกว้างขนาดใหญ่ใช้เป็นที่จัดกิจกรรม

127

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

129

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Taradol Chitmanchaitham

131

TSD eMag 56 iSSUE


BKK SNAP Photo © Anan Bootviengpunth

133

แม้ว่าสวนหลวง ร.๙ จะอยู่ห่างไกลจากใจกลางเมืองไป สักหน่อย ทำ�ให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เท่าที่ควร แต่ภายในสวนแห่งนี้ก็ยังเหมาะแก่การพักผ่อน ออกกำ�ลังกาย พบปะสังสรรค์และยังมีคุณค่าทางพฤกษา ศาสตร์ที่น่าสนใจไม่แพ้ที่ ไหนๆ หากใครว่างๆ อยากจะมา เดินเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกับสวนสวยแห่งนี้ ก็ขอแนะนำ� ไว้เลยว่าไม่ผิดหวังแน่นอนครับ สวนหลวง ร.๙ เปิดให้เข้าชมสวนทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 - 19.00น. แต่เก็บค่าผ่านประตูคนละ 10 บาท ตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00 น.

TSD eMag 56 iSSUE


graipPhone hy Easy shooting, unlimited creativity

หลายคนน่าจะเคยเห็นภาพถ่ายที่ ไฟถนนเป็นเส้นสวยๆ หรือภาพถ่าย ที่ ใช้ไฟเย็นวาดเป็นคำ�ว่า LOVE กันมาบ้างแล้ว และคงนึกสงสัยในใจ แน่นอนว่าเค้าทำ�มันได้อย่างไรใช่ ไหม iPhonegraphy มีคำ�ตอบให้ ภาพถ่ายที่ว่ามานั้นใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่เรียกว่า Long Exposure ซึ่งสามารถทำ�ได้โดยใช้กล้องถ่ายภาพแบบ DSLR นั่นเอง แล้วสงสัย ต่อใช่ ไหมว่าถ้ามีแต่กล้อง iPhone ไม่มี DSLR ล่ะ จะถ่ายได้ไหม??? iPhonegraphy ก็ขอบอกได้เลยว่าได้แน่นอน App Magic Shutter ที่เอามานำ�เสนอกันในเล่มนี้ สามารถช่วยให้เราสามารถ ถ่ายภาพแบบ Long Exposure ได้อย่างสบาย แถมมีเมนูการใช้งานทีต่ รงตามการใช้งาน ของเราอีกด้วย การที่จะใช้งาน App ตัวนี้ให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงามนั้น จำ�เป็นจะต้องใช้ งานร่วมกับขาตั้งเช่นเดียวกับการถ่าย Long Exposure ด้วยกล้อง DSLR มิฉะนั้นแล้ว ภาพที่ได้จะเบลอจนดูไม่ออกว่าคือภาพอะไรไปเลย

135

TSD eMag 56 iSSUE


iPhonegraphy

หน้าตาของ App เมื่อเปิดใช้งานจะเป็นดังนี้ A. Exposure function setting ใช้สำ�หรับตั้งค่า การเปิดรับแสง โดยจะมี Exposure mode ให้เลือก 5 mode ด้วยกัน เมื่อกดเข้าไปดูจะพบหน้าตาเช่นนี้ A1. Exposure mode ใช้เลือกโหมดการถ่ายภาพ แบบต่างๆ A2. Flash Sync ใช้สำ�หรับตั้งค่าการเปิดแฟลชให้ สัมพันธ์กับการเปิดรับแสง เช่นเดียวกันกับกล้อง DSLR A3. Shutter speed ใช้เลือกค่าการเปิดรับแสงที่ ต้องการ มีให้เลือกตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 60 วินาที และ มี Bulb mode ให้อีกด้วย A4. Exposure compensation ใช้สำ�หรับชดเชย แสงในโหมด Manual Exposure และ Double Exposure

137

B. Switch photo preview screen ใช้ดูผลลัพธ์ที่ จะได้ก่อนการถ่ายภาพ กดที่ปุ่มนี้เมื่อต้องการดูแบบ เต็มจอ กดซ้ำ�อีกครั้งเพื่อย่อหน้าต่างพรีวิวไปไว้ที่มุม จอ เมื่อกดเข้าไปดูจะพบหน้าตาเช่นนี้ B1. Viewfinder window ในขณะทีถ่ า่ ยภาพ หน้าต่าง นี้จะใช้เป็น viewfinder สำ�หรับดูภาพที่จะถ่าย B2. Exposure live preview เมื่อเริ่มถ่ายภาพแล้ว หน้าต่างนี้จะแสดงผลลัพธ์ที่ถ่ายได้ ในทันที ทำ�ให้ สามารถปิดรับแสงในจังหวะที่เหมาะสมได้ เมื่อกด ขยายหน้าต่าง

TSD eMag 56 iSSUE


iPhonegraphy

(B1.) Viewfinder window ก็สามารถที่จะควบคุม การวัดแสง ล้อคค่าแสง และการโฟกัสได้อีกตาม ตำ�แหน่งต่อไปนี้ B3. AE/AF Lock ใช้สำ�หรับล็อคค่าแสงและโฟกัส B4. Flashlight ใช้สำ�หรับเปิดปิดไฟฉาย (iPhone 4 ขึ้นไป) ในการช่วยหาโฟกัส B5. Exchange Cameras ใช้สลับกล้องหน้า/หลัง (iPhone 4 ขึ้นไป) B6. Auto Focus Point ใช้นิ้วแตะหน้าจอ 1 ครั้ง เพื่อเลือกจุดออโต้ โฟกัสในภาพ โดย App จะทำ�การ วัดแสงที่จุดเดียวกัน B7. Focus Point หากต้องการโฟกัสและวัดแสง คนละจุดให้ ใช้สองนิว้ แตะหน้าจอ 1 ครัง้ เพือ่ เรียกจุด โฟกัส จากนั้นเลื่อนไปตามจุดที่ต้องการ B8. Exposure Point จากนั้นใช้สองนิ้วแตะหน้าจอ อีก1 ครั้ง จะปรากฏรูปรูรับแสงขึ้นมา เลื่อนรูรับแสง นี้ ไปในตำ�แหน่งที่ต้องการวัดแสง

139

C. App function setting ใช้ตั้งค่าต่างๆ ของ App เช่น การตัง้ เวลาถ่าย คุณภาพของภาพ เปิด/ปิดกริด หน้าจอ เซฟภาพอัตโนมัติเป็นต้น

เมื่อกดเข้าไปดูจะพบหน้าตาเช่นนี้

Grid ใช้ สำ � หรั บ ช่ ว ยในการจั ด วางองค์ ป ระกอบ สามารถเปิดปิดได้ • Timer ใช้ตั้งเวลาถ่ายภาพ • Auto Save เมื่อเปิดใช้งาน หลังจากถ่ายภาพเสร็จ เรียบร้อยแล้ว App จะทำ�การเซฟภาพให้อัตโนมัติ • Auto Clear เมือ่ เปิดใช้งาน หลังจากถ่ายภาพเสร็จ เรียบร้อยแล้ว App จะทำ�การเซฟภาพให้อัตโนมัติ • Quality ใช้ปรับระดับคุณภาพของรูปภาพ มี 2 ระดับคือ High Speed และ Best Quality

TSD eMag 56 iSSUE


iPhonegraphy

D. Start/End shooting ใช้เริ่มต้นการเปิดรับแสง ปิดรับแสง โดยสามารถเปิด/ปิดกี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะ ได้ภาพที่พอใจ E. Reshoot กดนิ้วแช่ที่กลางจอ เพื่อเรียกเมนูนี้ขึ้น มา ปุ่มนี้ใช้สำ�หรับเคลียร์ภาพก่อนหน้าเพื่อถ่ายภาพ ใหม่ F. Edit Photo ใช้สำ�หรับตกแต่งภาพ สามารถปรับ Hue, Saturation, Brightness และ Contrast ให้กับ ภาพได้ที่เมนูนี้

141

เมื่อเข้าใจฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ก็เริ่มต้นถ่าย ภาพกันได้เลย เปิด App ขึ้นมา จากนั้น เลือก Exposure Mode ให้เหมาะสมกับ ภาพที่เราต้องการ เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ก็ ล งมื อ ถ่ า ยภาพได้ เ ลย อย่ า ลื ม ว่ า ต้ อ งใช้ ข าตั้ ง ด้ ว ย รั บ รองว่ า จะได้ภาพที่สวยงาม ไม่แพ้กล้อง DSLR แน่นอน

TSD eMag 56 iSSUE


Out ing

Photo © Taradol Chitmanchaitham

ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ. 2549 ที่จังหวัดเชียงใหม่คงไม่มีงานไหนอีกแล้ว ทีย่ งิ่ ใหญ่เท่ากับ งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ เพือ่ เป็นการเฉลิมฉลองเนือ่ งในวโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่นักท่องเที่ยวได้มาเยือนพร้อมกับ ความประทั บ ใจที่ ก ลั บ ไปอย่ า งไม่ รู้ ลื ม กั บ บุ ป ผานั บ ร้ อ ยแปดที่ อวดโฉมสู่ ส ายตาแก่ ค นนั บ หลั ก ล้ า นก็ ว่ า ได้ นั บ จากวั น นี้ ก็ผา่ นมาจากวันนัน้ ก็ 7 ปีแล้ว ผมก็ยงั จดจำ�สถานทีเ่ ทีย่ ว ทีเ่ รียกกันว่า พืชสวนโลก ได้ดี แต่ในปัจจุบนั นี้ พืชสวนโลก ได้เปลี่ยนชื่อแล้วเป็น อุทยาน หลวงราชพฤกษ์ ว่าแต่ที่เปลี่ยนไปเพราะ อะไรและหลังจากเปลี่ยนไปแล้ว หน้าตา ของที่ นี่ จ ะเป็ น ยั ง ไง ไหนๆ ได้ มี โ อกาส มาเยือนเชียงใหม่อีกครั้ง ก็ขอมาถ่ายภาพ กันหน่อยล่ะ 143

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

เท้ า ความกั น สั ก นิ ด สำ � หรั บ สถานที่ แ ห่ ง นี้ อย่ า งที่ บ อกไปว่ า ในปี พ.ศ. 2549 พืชสวนโลกได้เกิดขึ้นและผ่านไปอย่างยิ่งใหญ่ จากนั้นอีกห้าปีให้หลังซึ่งก็คือปี 2554 มหกรรมพืชสวนโลก เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ได้กลับมาเปิดให้เข้าชมอีกครั้ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ 3 วโรกาสสำ�คัญของคนไทย ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งในปีดังกล่าวได้มี เสียงตอบรับจากนักท่องเที่ยวอย่างล้นหลาม จากสวนสวยต่างๆ ที่เนรมิตกลับมาอีกครั้งผ่านสายลมหนาวและที่เป็นไฮไลท์มาก ทีส่ ดุ คงหนีไม่พน้ กระเช้าราชพฤกษ์ลอยฟ้า (Giant Flora Wheel) ที่มีความสูงถึง 40 เมตร ทำ�ให้เห็นภาพมุมสูงสุดสายตา และในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2556 จากงานมหกรรมพืชสวนโลก ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานหลวงราชพฤกษ์ (มีความหมายว่า สวนของพระมหากษัตริย์) โดยการบริหารงานของสถาบันวิจัย และพั ฒ นาพื้ น ที่ สู ง โดยมี ภ ารกิ จ หลั ก คื อ การพั ฒ นาให้ เ ป็ น แหล่งเรียนรูพ้ ชื สวนและเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทางการเกษตรและ วัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย

145

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

ที่บริเวณหน้าทางเข้า เราก็จะพบกับป้ายสถานที่ภายใต้ชื่อใหม่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ สำ�หรับค่าเข้าชม ผู้ ใหญ่เพียง 50 บาทและเด็ก 25 บาทเท่านั้น เมื่อเข้ามายังอุทยานหลวง หากใครที่ มี นิ สั ย ชอบการเดิ น ล่ ะก็ เราก็ ส ามารถเดิ น ได้ ทุ ก พื้ น ที่ ภ ายในงาน แต่ถ้าใคร ที่เพิ่งเคยมาครั้งแรกแล้วอยากจะรู้ว่าพื้นที่งานมีอะไรและกว้างขนาดไหน เราก็สามารถ ใช้บริการรถพ่วงได้อย่างไม่มีปัญหา อย่างที่คุ้นเคยสำ�หรับคนที่เคยมาแล้ว ในจุดแรก ที่เราจะเห็นได้ก็คือ ประติมากรรมต้นโพธิ์ รูปร่างน่าสนใจตั้งตระหง่านใจกลางลานที่ประดับ ไปด้วยดอกไม้สสี นั สวยงาม เป็นอีกฉากหนึง่ ที่ใครๆ ต่างแวะเวียนมาถ่ายภาพคูก่ นั เป็นประจำ� และเมื่อเดินตรงมาเราก็จะพบกับลานราชพฤกษ์ซึ่งเป็นเสมือนประตูหน้าบ้านที่เปิดต้อนรับ เราเข้าไปยัง หอคำ�หลวง สถาปัตยกรรมอันโด่งดังและเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุด นับตั้งแต่มีงานพืชสวนโลก ด้วยความเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ครึ่งไม้ครึ่งตึกสีน้ำ�ตาลแดง ประดับไปด้วยการแกะสลักลวดลายไทย อย่างวิจิตรตระการตาโดยฝีมือของช่างสิบหมู่พื้นบ้านล้านนานับสิบคน ที่ผ่านการออกแบบโดยช่างรุ่ง สถาปนิกชื่อดังของจังหวัดเชียงใหม่ที่เคย ฝากผลงานด้านสถาปัตยกรรมเด่นๆ มาแล้ว อาทิเช่น วัดเจ็ดยอด มหาโพธาราม วรวิหาร หรือ หออินทขิลเสาหลักเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น

147

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

149

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

151

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

สิง่ ทีเ่ ป็นตัวชูโรงนอกจากภายนอกของหอคำ�หลวงแล้ว ข้างในหอคำ�หลวง ที่เราสามารถเข้าไปภายในได้ก็ยังมี พุ่มดอกบัวตูม 9 พุ่ม ที่ตั้งอยู่ใจกลาง หอคำ�หลวง มีความหมายถึงจำ�นวนวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ โดยมีจำ�นวนถึง 21,915 ใบเลยทีเดียว เพราะเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามจริงๆ ผมเลยใช้เวลานานในการเดิน ไปมุมซ้ายที ขวาที หรือจะเดินออกมาระยะไกลเพื่อถ่ายภาพรวมของ หอคำ�หลวง บอกได้เลยว่าด้วยพืน้ ทีข่ นาดใหญ่รวมไปถึงการประดับประดา ต้นไม้และดอกไม้จำ�นวนมาก ทำ�ให้ไม่แปลกใจเลยว่าทำ�ไม หอคำ�หลวง ไม่ว่าจะเป็นเมื่อก่อนหรือตอนนี้ ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย หรือเรียกได้ว่าสวยไม่สร่าง น่าจะเหมาะที่สุด

153

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

155

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

157

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

159

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

พอถ่ายภาพมุมหอคำ�หลวงช่วงแสงเช้าเสร็จ สิง่ ทีพ่ ลาดไม่ได้กค็ อื เวลาตอนเย็นทีห่ อคำ�หลวง จะเปิดไฟทองอร่ามสวยงาม แต่ในระหว่างนั้นเรามาเดินสำ�รวจกันหน่อยว่าปัจจุบันที่อุทยาน หลวงราชพฤกษ์ภายใต้การดำ�เนินงานด้วยเจ้าของใหม่จะมีการจัดแสดงอะไรน่าสนใจบ้าง ผมเดินไปยังทางฝั่งขวามือจากหอคำ�หลวง เราก็จะพบกับบริเวณสวนนานาชาติที่ในอดีตนั้น ได้ รั บ ความนิ ย มอย่ า งสู ง จากนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ส่ ว นในปั จ จุ บั น เราจะเห็ น ว่ า สิ่ ง ปลู ก สร้ า ง ของสวนเกือบจะทุกชาติที่จัดแสดงก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ยกตัวอย่างเช่น สวนภูฏาน สวนเนเธอร์แลนด์ สวนจีนและสวนญีป่ นุ่ ทีแ่ ม้วา่ จะมีสภาพทีเ่ ก่าไปบ้างแต่กย็ งั มีการประดับ ด้วยพืชพรรณไม้อยู่เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชม ไม่ได้ปล่อยให้ทิ้งร้างไปเสียทีเดียว แต่ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ (มาก) และใช้วิธีเดินเพียงอย่างเดียว เผลอแปปๆ ก็เข้ามาสู่ช่วงเย็นของวันซะแล้ว ผมกลับมาประจำ�การอยู่จุดเดิมอีกครั้ง บริเวณริมสระน้ำ�ระยะไกลเพื่อรอถ่ายภาพ หอคำ�หลวง ยามเปิดไฟ และ ก็ได้ภาพของช่วงแสงเย็นแค่มุมเดียวนี่แหละ เพราะเวลาปิดทำ�การภายใน อุทยานหลวงแห่งนี้ช่างทำ�ให้เวลาการถ่ายภาพแสงเย็นของเราต้องเร่งรีบ เสียเหลือเกิน กับเวลาปิดทำ�การ 19.00 น. พอกดชัตเตอร์ปุ๊บ เสียงตามสายก็ ประการปิดทันที เลยต้องรีบหอบอุปกรณ์ก่อนที่ประตูจะปิดตายเสีย

161

TSD eMag 56 iSSUE


Outing Photo © Taradol Chitmanchaitham

พอเดินออกจากงาน ใจผมก็คิดมาเมื่อไหร่หนอที่ตัวงานจะกลับมาจัดเต็มรูปแบบเหมือน เมื่อปี พ.ศ. 2549 อีกสักครั้ง เพราะเห็นขนาดพื้นที่และสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ เรียกได้ว่า แทบจะไม่มีอะไรเสียหายไปเลยนอกจากความเก่าจากเวลาที่ผ่านเลยไป สรุปได้ว่าตัวงาน ที่เป็นอย่างในปัจจุบันดีอยู่และถือว่า อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ท่องเที่ยวที่คลาสสิคไม่เสื่อมคลายและเป็นสถานที่เที่ยวแนะนำ�ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ไม่ควรพลาดอีกด้วย

163

TSD eMag 56 iSSUE


w w w . tsd ma g .c om

57 >>

เนื้อหาทั้งหมดสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดย บริษัท ทางสะดวก (ไทย) จำ�กัด 203/3 ซอยพหลโยธิน 33 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดต่อ : tsdmag@tsdmag.com Tel. +66 2930 3734-5 Fax. +66 2930 3735


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.