Book_Wat2553

Page 1


ห ลวงพ่อทันใจ พระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร เปรียบเสมือนศูนย์รวมแห่งความหวัง ความศรัทธา ของชาวทุ่งทอง



ปู่ใหญ่

พระมหาเถราจารย์ที่เป็นพ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์ อบรมสั่งสอนหลวงปู่ต้นบุญติกขปัญโญ ที่ภูเขาควาย ประเทศลาว



ปู่สิงขร

ครูบาอาจารย์ที่คอยดูแลหลวงปู่ต้นบุญติกขปัญโญ ที่ภูเขาควาย ประเทศลาว



ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของโลก ของประเทศชาติบ้านเมือง และของพระพุทธศาสนา ผู้พัฒนาจำ�เป็นที่จะต้องมี ความรู้ ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีวิสัยทัศน์ กำ�หนดแนวทาง และเป้าหมาย ในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบไป

พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญโญ

(หลวงปู่ต้นบุญ เจ้าอาวาสวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช) เป็นตัวอย่างพระนักพัฒนา ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ และมีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปฏิบัติตามคำ�สอนของ พระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เผยแผ่พระธรรม สร้างความเจริญให้เกิดขึ้น ทำ�ให้วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และยังเป็นสถานที่ในการอบรมธรรมะแก่เยาวชน ในวาระอันเป็นมงคลนี้ อาตมาขออนุโมทนา และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดจงดลบันดาล ให้พุทธศาสนิกชนทุกท่าน มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ประสบแต่ความสุข ความเจริญ ความสำ�เร็จ ในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ

ดร.พระธรรมฐิติญาณ

เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธ.) เจ้าอาวาสวัดบึงพลาญชัย พระอารามหลวง



นับตั้งแต่อดีตกาลสมัย บนแผ่นดินที่แห้งแล้งและขาดปัจจัยที่เอื้อต่อการดำ�รงชีวิต ท้องทุ่งที่คน ทั้งหลายรู้จักกันในนามทุ่งกุลา หลายคนคงรับทราบถึงความลำ�บากยากแค้นในการดำ�รงวิถีชีวิตในท้องทุ่ง ที่ทุรกันดาร ชุมชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินแห่งนี้ต่างเฝ้ารอคอยโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงท้องทุ่ง แห้งแล้งสู่ความอุดมสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันพระพุทธศาสนาก็มิได้งอกงามตามสภาพนั้นด้วย เพราะความ ไม่พร้อมของสภาพแวดล้อมกับปัจจัยหลักในการบำ�เพ็ญสมณธรรม ยิ่งด้วยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ฝ่ายพระ กรรมฐานยังหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ไร้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติป่าไม้ภูเขาลำ�ธาร ก็ยิ่งทำ�ให้ท้องทุ่งแห่งนี้ขาดหลักการในการดำ�รงวิถีชีวิตทางพระทุทธศานา ทั้งหลักธรรมอันดีงาม ก็ไม่ สามารถได้รับตามปัจจัยที่น่าจะถึงพร้อมเพียงเพราะสาเหตุของความแห้งแล้งเป็นตัวกำ�หนด อาตมาได้รับมอบหมายงานพัฒนาวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชจาก พระเดชพระคุณพระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำ�เภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เข้ามา พัฒนาวัดและชุมชนแห่งนี้ เมื่อแรกเริ่มอาตมารู้สึกหนักใจต่อสภาพแวดล้อมของวัดและพื้นที่รอบบริเวณ ซึ่ง ยังขาดปัจจัยที่เอื้ออำ�นวยความสะดวกในการบำ�เพ็ญสมณธรรม มิหนำ�ซำ�้ยังยากแก่การพัฒนา ด้วยความที่ มีเหตุปัจจัยมากมายเช่นนั้น อาตมาจึงพยายามที่จะแปลเปลี่ยนความรู้สึกทางลบออกเสียก่อน แล้วเพียร สร้างกำ�ลังใจให้ตนเองและคนรอบข้างว่า คงมีสักวันที่เราจะสามารถพัฒนาทั้งวัด บ้าน และโรงเรียน ให้ เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมตามเจตจำ�นงค์ของพระเดชพระคุณพระธรรมฐิติญาณ


ด้วยความอดทนและความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า อาตมาได้ประจักษ์แจ้งในบุญฤทธิ์ ของพระศาสนธรรม ทำ�ให้สถานที่ภายในวัดฯต่างได้รับ การทำ�นุบำ�รุงเจริญขึ้นตามลำ�ดับ อีกทั้งพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล ก็ให้ความร่วมมือด้วยดีเสมอ อาตมามิได้มีเจตจำ�นงที่ยิ่งใหญ่อันใด อาตมาเพียงหวังว่าสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน ในรอบบริเวณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ให้มีศีลธรรม มโนธรรม จิตสำ�นึกที่ดี และพัฒนาศักยภาพของตัวเอง เพื่อศึกษาพระสัจธรรมของพระพุทธศานาให้ได้ง่ายเท่านั้นเอง ท้ายสุดแห่งคำ�ปรารภนี้ อาตมาเพียงมุ่งหวังให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้รวมจิตหลอมใจ เข้ามาช่วยทำ�นุบำ�รุงวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชแห่งนี้ร่วมกับอาตมาด้วย

พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกขปัญโญ สาธุเจ้าต้นบุญ ติกขปัญโญ



ความปรารถนาของเรา...มิได้ยิ่งใหญ่อะไร มหาปณิธานของเราก็มิได้...เลอเลิศวิเศษอะไร แต่...เราเห็นว่ามนุษย์ทั้งหลายยังทุกข์อยู่ และเราก็เพียงต้องการให้ความทุกข์ของเขาเหล่านั้น...หมดสิ้นไป...เท่านั้นเอง เรามิได้แสวงหาความรู้แจ้ง...เพื่อตัวเรา แต่...เราแสวงหาความรู้แจ้ง...เพื่อสรรพสัตว์ทั้งปวง... หลวงปู่ต้นบุญ


“พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญโญ หรือ หลวงปู่ต้นบุญ” เมื่อแรกพบกับหลวงปู่ ไม่ว่าตัวข้าพเจ้าหรือ ท่านทั้งหลายอาจจะเกิดคำ�ถามในใจ ว่าทำ�ไม? ดู ๆ ไปแล้วก็ยังไม่เห็นภิกษุรูปนี้ท่านชราภาพเลย เหตุใดจึงเรียก กันว่า “หลวงปู่” แต่.... หากได้พิจารณาฟังคำ�สอน และการตอบข้อสงสัยของท่านต่อ ผู้ที่มาพบกับท่านแล้ว นี่ไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่ตาเห็นอย่างเดียว สำ�หรับตัวข้าพเจ้าแล้ว นี่แหละ พระโพธิสัตว์ ซึ่งมีความเมตตาเป็นอย่าง มาก และมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งสามประการของพระโพธิสัตว์ คือ ๑. มหาปรัชญา หรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่า เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรมไม่ตกเป็นทาส ของกิเลส ๒.มหากรุณา หมายความว่า เป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละ ตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ ๓.มหาอุปาย หมายความว่า พระโพธิสัตว์ทรงมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ� อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้ เข้าถึงสัจธรรม ข้าพเจ้าเองนั้น ทราบได้จากการที่ได้พิจารณานั่นเอง ความเมตตาที่ท่านพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นนั้นมี อยู่ทุกขณะจิตโดยที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่หวังใดๆ มีบารมี ๓๐ ทัศ ประกอบเป็นอย่างดี และนี่คือคำ�ตอบที่ข้าพเจ้าได้ทราบว่า เหตุใดท่านจึงถูกขนานนามว่า “หลวงปู่” เพราะแม้สังขาร ณ ปัจจุบันจะดูเป็นภิกษุหนุ่ม แต่....จิตเดิมแท้คง องค์ความรู้นั่นมากคณานับได้ นั้นหมายถึงไม่ว่าจะอยู่ใน รูป ลักษณะใด ก็ยังคงความคิดและการกระทำ� ที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยแท้จริง ข้าพเจ้าเชื่อว่าก่อน หน้านี้ท่านคงต้องเหน็ดเหนื่อยมาไม่ใช่น้อย แต่ท่านก็สามารถผ่านมาได้ด้วยเพราะมหาปณิธานอันตั้งมั่น ของ ท่านนั้นเอง ณ บัดนี้ คงเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วแล้ว และยากที่จะปฏิเสธได้ว่าท่านคือ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้า เป็นเนื้อนาบุญของโลก ..สาธุ..สาธุ..สาธุ ขอความเพียรที่ท่านหลวงปู่ต้นบุญได้กระทำ�เป็นแบบอย่างอันดีงาม ให้แก่ข้าพเจ้า และท่านทั้งหลาย ได้นำ�ไปปฏิบัติในกาลต่อไป พร้อมทั้งส่งต่อเป็นธรรมทาน แตกกิ่งก้านสาขา งอกงามด้วยบุญเพื่อที่จะขจัดทุกข์ ทั้งปวงได้ตาม มหาปณิธาน ของ....”หลวงปู่ต้นบุญ” ....

อาจารย์ษรชม เกษกรรณ์ (หมอทีน)

นักพยากรณ์ไกล่เกลี่ยกรรม คอลัมน์นิตส์ Horoscope นิตยสาร เธอกับฉันและนิตยสาร พรีม่าโกลด์



หนังสือเล่มนี้ ร้อยเรียงเรื่องราว บอกเล่าถึงปฏิปทา จริยวัตรและศาสนกิจของหลวงปู่ต้นบุญในการบำ�เพ็ญมหาบารมี ทั้งในส่วนของพุทธ ศาสนสถานและถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณียสถานถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศูนย์รวมศรัทธาแห่งพุทธศาสนิกชน รวมถึงโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อสืบสานงานพระศาสนาตามมโนปนิธาน ที่ตั้งไว้ ณ ผืนแผ่นดินอันทรงคุณค่า ที่ได้ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ นับเนื่องแต่พุทธกาลสมัย เมื่อพิจารณาจากบันทึกทางวิชาการ พบว่า เรื่องราวต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุและผล จาก “ภูกำ�พร้า” ดังปรากฎในพุทธชาดก สู่การพัฒนา “ทุ่งกุลาร้องไห้” ในกาลสมัยปัจจุบัน ปฏิปทาของ “หลวงปู่ต้นบุญ” ไม่เพียงเป็นผู้นำ�ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำ�ในการ พัฒนาจิตวิญญาน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน ซึ่ง เป็นรากฐานชีวิตนำ�สาธุชนเข้าสู่กระบวนการทางธรรม โดยบุพกิจดังกล่าวเสมือนท่านได้ เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งพระศาสนาให้ดำ�รงอยู่สืบไป อีกทั้งยังประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ แสดงถึงกตเวทิตาธรรมต่อชาติ สร้างศรัทธาให้สังคมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยใช้ธรรมะ เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา ความเมตตาในธรรมทานของท่าน ดุจดั่งแสงแรกแห่ง ดวงอาทิตย์ที่สาดส่องมายังโลก ซึ่งถูกปกคลุมไว้ด้วยความมืดมิดแห่งอวิชชา ก่อเกิด ปัญญาและความงดงามขึ้นในจิตใจของปุถุชน ให้เบาบางลงจากการเผาไหม้ของเพลิง กิเลส พร้อมนำ�สรรพสัตว์ดำ�เนินตามรอยพระบรมศาสดา องค์พระมหาบุรุษ...ผู้ตรัสรู้ ธรรมด้วยพระองค์เองยิ่งด้วยปัญญา...เป็นผู้รู้...ผู้ตื่น...ผู้เบิกบาน...

คณะศิษยานุศิษย์ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ร่วมน้อมจิตศรัทธาสู่การสร้างมหาทานบารมี... เป็นมหากุศล... ได้พลานิสงค์... ให้ทุกท่านได้พบเส้นทางแห่งมรรคา... นำ�มาซึ่งความสงบ... สู่ความหลุดพ้นอย่างแท้จริง คณะศิษย์ผู้เรียบเรียง



สารบัญธรรม

ปฐมบท

“กัปปนคีรี หรือปณคีรี (ภูกำ�พร้า)” ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัป ร้อยเอ็ด...สาเกตนคร...อารยธรรมพุทธะ ทุ่งกุลาร้องไห้..ประวัติศาสตร์..ชาติพันธุ์ วิถีชุมชน..คนทุ่งกุลา ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลา เกษตรวิสัย ประวัติศาสตร์โบราณ ศาสนา ความเชื่อ ชุมชน

๒๕ ๓๒

๓๘ ๔๕ ๕๗ ๖๒ ๖๕ ๖๖ ๗๐

มัฌชิมบท

๗๕

ปัจฉิมบท

๑๕๗

แสงอุทัยแรกแห่งทุ่งกุลา ประวัติวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช คิดเป็นธรรม..ทำ�เป็นทาน...ธารสายบารมี ชายจีวร...กับริมขอบทุ่งกุลา ปลูกศรัทธา...เพิ่มพระสัจธรรม ภิกษุหนุ่มกับมโนปณิธาน รากฐานชีวิต...ปรับจิตสู่ธรรม เมล็ดพันธุ์แห่งพระพุทธศาสนา โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (ค่ายพุทธบุตร)

เปลี่ยนแปลงชีวิต...ลิขิตด้วยธรรม โครงการอบรมพระสงฆ์ : หลักสูตร “พระวิปัสนาจารย์” โครงการอบรมผู้นำ�ชุมชน : หลักสูตร “ผู้นำ�..กุญแจหลัก..แห่งธรรมในชุมชน” โครงการอบรมข้าราชการ : หลักสูตร “จรรยาบรรณข้าราชการ...คุณธรรม และจิตสำ�นึก...ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อมวลชน” โครงการฝึกอบรมบุคคลทั่วไป : หลักสูตร “วิปัสนากรรมฐาน สร้างงาน สร้างสุข”

๗๖ ๘๖ ๙๓ ๑๒๔ ๑๒๘ ๑๓๐ ๑๓๖ ๑๔๑ ๑๔๗

๑๗๐ ๑๗๔ ๑๗๘ ๑๘๐


๑๘๖ ๑๘๙ ๑๙๘ ๑๙๙ ๒๐๐ ๒๐๒ ๒๐๓ ๒๐๕ ๒๐๖ ๒๐๗

เพาะสร้างวิถี..สร้างบารมีสู่ตน โครงการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคล โครงการสร้างรูปหล่อหลวงปู่สิงขร เนื้อทองเหลือง ขนาดสูง ๓ เมตร โครงการสร้างองค์เทวนาคราช “ นาคพันธ์ปริวัตร “ ตำ�นานพญานาค พญานาคกับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเสด็จเทวโลก บันทึก พระอาจารย์มั่น บันทึก หลวงปู่คำ�พันธ์ ตำ�นานการสร้างเมือง

๒๑๐ ๒๑๒ ๒๑๓ ๒๑๔ ๒๑๙ ๒๒๐ ๒๒๒ ๒๒๖ ๒๓๐ ๒๓๔ ๒๓๖ ๒๔๔ ๒๕๗ ๒๗๐

๒๗๔ ๒๘๒ ๒๘๕ ๒๘๖ ๒๙๖ ๒๙๘ ๓๐๑ ๓๐๔

โครงการสถานีวิทยุกองทัพพิทักษ์ธรรม การมีส่วนร่วมกับสมาคมกิจการวิทุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะบริหาร และคณะดำ�เนินการ โครงการถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงการสร้างศาลาปฏิบัติธรรม โครงการระบบนำ�้ประปา โครงการผ้าป่ามหาบารมีสามัคคีร่วมใจ มหากฐินสามัคคีปี ๒๕๕๐ มหากฐินสามัคคีปี ๒๕๕๑ (ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐิน) มหากฐินสามัคคีปี ๒๕๕๒ (ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐิน) มหากฐินสามัคคีปี ๒๕๕๓ (ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ) ผลานิสงส์ (อานิสงส์) บุญนี้ที่ได้พบ (ศิษย์ขอเล่า) ของฝากจากแดนธรรม (โดย หลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ) เรื่องบุคคลพึงละสุขได้ ย่อมได้รับสุขที่ยิ่งกว่า เรื่องทำ�ใจให้ได้บุญ เรื่องเตือนตน เรื่อง โง่ โง่ ธรรมะบทพิเศษ ธรรมจิตตาเซนจุล หน้าเวปวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช นิทาน “อิติปิโส” นิทาน จากปู่ใหญ่ ตาราง กิจนิมนต์ หลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ



วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช พ.ศ.๒๕๕๓



วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช พ.ศ.๒๕๕๓




“จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ” “ภิกษุทั้งหลาย เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่ มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวย เทพและมนุษย์ จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์... พร้อมทั้งอรรถ...ทั้งพยัญชน... อันบริสุทธ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง”


พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญโญ หรือ หลวงปู่ต้นบุญ เป็นบุตรของ นายบัญญัติ และ นางพิศมัย วงศ์ดวงผา เกิดที่บ้านนาเหมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ด้วยสัญญานแห่งปุพเพนิวาสานุสติ การ เผชิญกับความตายถึง ๔ ครั้ง ทำ�ให้น้อมจิตพิจารณาอย่างแยบคายถึงมรณานุสติ ธรรม เกิดความเบื่อหน่ายในสายโซ่แห่งสังสารวัฏ เป็นมูลเหตุให้หลวงปู่ต้นบุญบรรพชา เป็นสามเณรที่วัดดงเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ๒๕๓๗ เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ ได้ รับความกรุณาจากพระธรรมรักขิต (หลวงปู่ใหญ่บรมครูเทพโลกอุดร) เป็นพ่อแม่ครูบา อาจารย์อบรมสั่งสอนธรรม และมีหลวงปู่สิงขรเป็นพระอาจารย์พี่เลี้ยง หลวงปู่ต้นบุญ บำ�เพ็ญเพียรภาวนา ศึกษาธรรมอยู่ฝั่งลาวประมาณ ๓ ปีเศษ เมื่อลาหลวงปู่ใหญ่กลับ มาฝั่งไทยแล้ว ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็น เวลา ๑ ปีเศษ จึงกลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง ตำ�บลพังโคน อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมีพระครูสุวิมล บุญญากร (หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ) วัดผาเทพนิมิต บ้านดงสว่าง ตำ�บลนำ�้อูน อำ�เภอ นิคมน้ำ�อูน จังหวัดสกลนคร เป็นพระอุปัชฌาย์


บุพกิจในการสร้างมหาบารมีระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙ ของ หลวงปู่ต้นบุญ ได้สืบสานงานพระศาสานา ณ ดินแดนบ้านเกิด ซึ่งครั้งหนึ่งใน พุทธกาลสมัยมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาและอารยธรรม ด้วย วัตรปฏิบัติอันงดงามของหลวงปู่ต้นบุญ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสงฆ์ สำ�นักปฏิบัติธรรมพระธาตุศรีจำ�ปามหารัตนาราม บ้านคำ�นำ�้เย็น ตำ�บลพังโคน อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ ท่านบ่มเพาะ ความเจริญทางธรรมให้แก่สาธุชนในท้องถิ่น และศิษยานุศิษย์ ทั้งในงานศาสนสงเคราะห์และงานสังคมสงเคราะห์ เป็นผู้นำ�แห่งศรัทธามหาชนสร้างศาสนถานต่าง ๆ อาทิเช่น พระธาตุศรีจำ�ปา มหารัตนมณี (สมโภชเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗) บูรณะปฏิสังขร พระธาตุเจ้าผู้ข้า ณ วัดพระธาตุเจ้าผู้ข้าอัฐถาวาส บ้านไผ่ทอง ตำ�บลช้าง มิ่ง อำ�เภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (สมโภชเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗) พระธาตุพุทธนิมิตร ณ วัดผาเทพนิมิต บ้านดงสว่าง ตำ�บลนิคมน้ำ�อูน อำ�เภอนิคมนำ�้อูน จังหวัดสกลนคร (สมโภชเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗) ศาสนสถานและถาวรวัตถุดังกล่าวคือศูนย์รวมศรัทธาแห่งสาธุชน เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำ�ความปิติ และความเจริญในธรรมของศิษยานุศิษย์ ด้วยเล็งเห็นในมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่และแน่วแน่ของหลวงปู่ต้นบุญ ในการสร้างคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะ ภาค ๑๐ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง จังหวัด ร้อยเอ็ด ได้มอบหมายให้หลวงปู่ต้นบุญ รับตำ�แหน่งเจ้าอาวาส ณ วัดป่าทุ่งกุลา เฉลิมราช บ้านโพนตูม ตำ�บลทุ่งทอง อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ในวัน ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อเป็นเนื้อนาบุญ เป็นที่พึ่งของหมู่คณะสาธุชน ทั้งหลาย นำ�มาซึ่งการสร้างมหาทานบารมี อันเป็นมหากุศล ให้ได้พบพระ สัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ในการดับทุกข์ ของเหล่าสาธุชน


แม้พบอุปสรรคและความยากลำ�บากในการเริ่มต้น ด้วยปฏิปทาและ ความเพียรในการดำ�เนินตามรอยพระศาสดา สืบสานงานพระศาสนาอย่าง ไม่ย่อท้อ หลวงปู่ต้นบุญได้ดำ�เนินการฟื้นฟูบูรณะศาสนสถาน ทุ่มเทกำ�ลังกาย กำ�ลังใจ สร้างศรัทธาสู่ชุมชน รวมหมู่ศิษยานุศิษย์ร่วมกันบูรณะปฏิสังขร พุทธสถาน สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ลานปฏิบัติธรรม พระพุทธปฏิมากร กุฏิ สงฆ์ สำ�นักชี เรือนพักสำ�หรับผู้ปฏิบัติธรรม ห้องนำ�้ห้องสุขา ตลอดจน สาธารณูปโภค อีกทั้งปรับปรุงทัศนียภาพภายในวัดให้ร่มรื่นร่มเย็น ทำ�ให้วัด ป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชเจริญรุ่งเรืองสวยงาม เป็นพุทธสถานสำ�หรับพุทธบริษัท ทั้ง พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาในการบำ�เพ็ญเพียรสร้างมหาบารมี สร้างมหากุศล เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กับพุทธศาสนิกชน เป็นสถานที่อบรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและเยาวชนทั้ง หลาย ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำ�สอนขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุท้องถิ่น “กองทัพพิทักษ์ธรรม” คลื่นวิทยุ เอฟ.เอ็ม. ๑๐๓.๕ เม็กกะเฮิร์ซ เป็นสื่อในการเผยแพร่ธรรมะและ สาระธรรมไปยังสาธุชนในชุมชน อีกทั้งยังริเริ่มโครงการสร้างงาน และราย ได้ให้แก่เกษตรกรหลังฤดูเก็บเกี่ยว ด้วยความห่วงใยในสภาพความเป็นอยู่ใน ่ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สภาวะเศรษฐกิจที่ตกตำ� ภารกิจที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งของหลวงปู่ต้นบุญ ติกฺขปัญโญ คือ การนำ�สาธุชนบำ�เพ็ญมหาบารมี สร้างพระบรมมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพล ญาณเฉลิมราชชัยมงคล เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากทุกแห่ง ทั่วโลก เพื่อเป็นศูนย์รวมพลังแห่งพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระ สังฆานุภาพและพระอริยสังฆานุภาพ เป็นพลังแห่งแผ่นดิน เป็นศูนย์รวม พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัทจากทั่วทุกแห่งหนทั้ง ๔ ทิศ ๘ ทางได้กราบสัก การะบูชา เป็นที่พึ่งแด่เหล่าเทพ เทวดา และมนุษย์พุทธบริษัททั้งหลาย เพื่อ สืบสานอายุพระพุทธศาสนาให้ดำ�รงอยู่จนครบกาลสมัย ๕๐๐๐ ปี



จฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท

ยาก...ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ยาก...ที่ชีวิตสัตว์อยู่สบาย ยาก...ที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ยาก...ที่พระสัมพุทธจะอุบัติมา


…ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัป…

ตำ�นานพระอุรังคธาตุ

ตำ�นานอุรังคนิทาน หรือตำ�นานอุรังคธาตุ เป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจาก ทางฝ่ายล้านนาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นเรื่องราวแสดงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ศาสนา เครือญาติ ชาติพันธุ์ การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ นับแต่พุทธกาลสมัย ต่อมาจนถึงในช่วงรัชสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ. ๒๐๓๘ - พ.ศ. ๒๐๖๘ ที่พุทธ ศาสนาถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุด รวมถึงประวัติศาสตร์หน้าสำ�คัญในรัชสมัยพระเจ้าไชย เชษฐา พ.ศ. ๒๐๙๑ - พ.ศ. ๒๑๑๕ ซึ่งเป็นผู้ที่สืบสายเชื้อพระวงศ์ทั้งจากเมืองเชียงใหม่และหลวง พระบางในเวลานั้น พระองค์เป็นบุคคลสำ�คัญที่นำ�พามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรที่ ชัดเจนที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนาและล้านช้าง ในตำ�นานอุรังคธาตุนี้ได้กำ�หนดเอาศาสนสถานในคติพราหมณ์ - ฮินดูโบราณของวัฒนธรรม จาม หรือขอม ปรับเปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยลักษณะของพระธาตุ เจดีย์ อันเป็นแบบหรือรูปทรงของพระธาตุพนมในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ ของงานสถาปัตยกรรมแถบลุ่มแม่นำ�้โขง แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้นำ�จากดินแดนแถบลุ่มแม่ นำ�้โขงทั้ง ๕ เมือง คือ


เมืองหนองหานน้อย กับ เมืองหนองหานหลวง เป็นพื้นที่บริเวณ อุดรธานีและสกลนครซึ่งเป็นสองเมืองฝั่งขวาของแม่นำ�้โขง ส่วนอีก สามเมืองนั้นประกอบด้วยเมืองแกวสิบสองจุไทในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูรณ์หรือมรุกขนครในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�โขง และ เมืองอินทปัตในดินแดนเขมร โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา โดยมีพระธาตุพนมประดิษฐาน อยู่ ใน ภูกำ�พร้า ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางระหว่างรอยต่อของวัฒนธรรม และดินแดนต่างๆ ของลุ่มแม่น้ำ�โขงเหล่านั้น ความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ของท้องถิ่นเป็นภาพความสัมพันธ์ ของสังคมวัฒนธรรมขนาดใหญ่ครอบคลุมภูมิภาคกว้างไกลในบริเวณ ลุ่มแม่นำ�้ โดยประชาชนในอาณาจักรมีส่วนร่วมในการสร้างอุรังคธาตุ ซึ่งในช่วงนั้นจะประกอบไปด้วยนครรัฐต่างๆ ดังจะแสดงตัวอย่างใน บางนครรัฐ เพื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ในสมัยอดีตของเมืองต่างๆ ใน ภาคอีสาน “ นครหนองหารหลวง ” ตั้งอยู่บริเวณหนองหาร สกลนคร มีพญาสุวรรณพิงคารเป็นผู้ครองนคร ได้สร้าง “ พระธาตุเชิงชุม ” ครอบรอยพระพุทธบาท และพระมเหสีนามว่าพระนารายณ์เจงเวงได้ สร้าง “ พระกุดนาเวง ” บรรจุพระอังคารนครหนองหารน้อย “ หนองหารกุมภวาปี ” ปกครองโดยพญาดำ�แดง เป็น ลูกพี่ลูกน้องกับผู้ครองหนองหารหลวง ทั้งสองนครนี้ได้ต้อนรับขบวน นำ�พระบรมธาตุมาครั้งแรก และได้ร่วมก่อสร้างจนสำ�เร็จ ต่อมาเกิด นำ�้ท่วมใหญ่จนหนองหารทั้งสองลัดถึงกัน ประชาชนจึงอพยพไปอยู่ที่ เวียงจันทน์ นครศรีโคตรบูรณ์​์ ซึ่งเป็นแคว้นที่ประดิษฐ์พระอุรังคธาตุ


พระธาตุเชิงชุม

จังหวัดสกลนคร


ครั้งพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ล่วงลับไปแล้ว พญานับแสน พระ อนุชาขึ้นครองนครแทน ต่อมาเป็นเวลา ๑๓ ปี พระองค์ได้ร่วมสร้าง พระอุรังคธาตุครั้งแรก เมื่อทิวงคต แล้วมีการย้ายนครไปตั้งอยู่ทาง เหนือ พระธาตุชื่อ “ มรุกขนคร นครสาเกตุ หรือ ๑๐๑ ประตู (สิบ เอ็ดประตู) ” อยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชครอง ครั้งทิวงคต บ้านเมืองแตกสลายประชากรอพยพไปอยู่ทางจังหวัด หนองคาย มีคำ�กลอนโบราณบทหนึ่งว่า .. “เมืองสิบเอ็ดผักตู

สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่ขั้นได”

ทั้งนี้ก็เพราะว่าได้มีการก่อสร้างวิหารหลังสูง ๖ ชั้น ชั้นที่กลาง เมือง คือ กลางบึงพลาญชัย ให้มีบันได ถึง ๒๙ ขั้น มีหน้าต่าง ๑๘ ช่อง มีประตู ๑๑ ช่อง ตำ�นานผาแดงนางไอ่ ตอนหนึ่งว่า บึงพลาญชัยนี้ มี บั้งไฟขนาดใหญ่ของพญาขอมตกลงมากลายเป็นบึง ในสมัยพระเจ้า สุริยวงศาธรรมิกราชนั้น มีเมืองขึ้นอยู่สิบเอ็ดเมือง มีทางเข้าสิบเอ็ด ประตูด้วย โดยถือเป็นสัญลักษณ์พิเศษแห่งเมืองนี้ คัมภีร์พระอุรังคนิทานได้จารึกไว้ว่า หลังพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระ นิพพานได้ ๗ ปี ๗ เดือน พระมหากัสสปะ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำ�พระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนพระอุระ) ขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ใน “อุโมงค์ภูกำ�พร้า” ในการก่อสร้างพระธาตุครั้งแรกที่ภูกำ�พร้านั้นได้มีกษัตริย์ ๕ นคร มาร่วมชุมนุมกัน คือ ๑. พญาสุวรรณพิงคาน เจ้าเมืองหนองหานหลวง ๒. พญาคำ�แดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย ๓. พญานันทะเสน เจ้าเมืองมะรุกขนคร (คือท่าแขก) ๔. พญาอินทะปัตถะนคร เจ้าเมืองอินทปัตยะ ประเทศเขมร ๕. พญาจุลณีพรมหัสดี เจ้าเมืองแก้วประกัน (แขวงเชียงขวาง) โดยทั้ง ๕ พระองค์ เป็นประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนม ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ แสดงถึงความเจริญ รุ่งเรืองทั้งทางด้านศาสนา อารยธรรมและสถาปัตยกรรมที่บังเกิด ณ ดินแดนแห่งนี้ นับเนื่องแต่ครั้งพุทธกาลสมัย โดยกษัตริย์ทั้ง ๕ และ ศิษยานุศิษย์ได้จุติลงมาเพื่อผลัดเปลี่ยนดูแลทำ�นุบำ�รุงพระอุรังคธาตุ คราวละ ๓ ปี ดังตัวอย่างที่ปรากฏไว้ในบันทึก เมื่อรัชสมัยของพระเจ้า


พระธาตุพนม

จังหวัดนครพนม

ไชยเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์ของลาว ที่ทรงเสด็จมาตรวจตาองค์พระธาตุพนมด้วยพระองค์เอง อยู่เสมอ แม้ในครั้งสุดท้าย พระองค์ได้เสด็จมาสักการะบูชาพระอุรังคธาตุก่อนที่พระองค์จะหายไป แม้ขณะนี้... นครทั้ง ๕ ไม่ปรากฏนามในระบบภูมิศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน หากแต่หลักฐานทาง โบราณคดี และลักษณะทางสถาปัตยกรรมของปูชนียสถาน โบราณวัตถุ คูนำ�้คันดิน แม้ร่องรอย เศษพาชนะที่คล้ายคลึงกัน ได้กลายเป็นผู้เล่าเรื่องราว ความเจริญทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมใน ชุมชนโบราณ ซึ่งที่เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้ง ๕ นคร


อย่างไรก็ตาม เมืองหนองหานหลวง (จ.สกลนคร) เมืองสาเกตนคร (จ.ร้อยเอ็ด) เมืองมรุกนคร (จ.นครพนม) และเมืองอินทรปัฏฐนคร (กรุงพนมเปญ)

ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์... ก็ยังคงดำ�รงอยู่... ด้วยความเพียรในการสืบสานงานพระศาสนาของ หลวงปู่ต้นบุญ... ผู้นำ�ศรัทธาแห่งมหาชน... ได้ร่วมบำ�เพ็ญมหาบารมี สร้างพุทธสถาน และถาวรวัตถุ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจแห่งสาธุชน ดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน


ร้อยเอ็ด คือ

๑๐๑ ๑๐+๑ หรือ

ความหมายของชื่อเมืองร้อยเอ็ด เป็นประเด็นที่ชาวร้อยเอ็ดและชาวอีสานต่างได้ร่วมกันตั้งข้อสังเกต และพูดคุยโต้แย้งกันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีมาแล้ว ซึ่งแต่เดิมได้มีเพียงความเชื่อเดียวคือ เชื่อว่า “ร้อยเอ็ด คือ ๑๐๑” ต่อมาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ ก็ได้มีกระแสความคิด ที่เชื่อว่า “ร้อยเอ็ด คือ ๑๐+๑” เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าทั้ง ๒ ความเชื่ออ้างอิงข้อมูล จากตำ�นานอุรังคธาตุทั้งสิ้น..


ความเชื่อที่ว่าร้อยเอ็ด คือ ๑๑ เป็นเรื่องราวที่ได้ถูกนำ�เสนอโดย อาจารย์จารุบุตร เรืองสุวรรณ ซึ่ง มีบางตอนได้กล่าวถึงเรื่องของตำ�นานอุรังคธาตุและประวัติเมืองร้อยเอ็ด สามารถสรุปเหตุผลสำ�คัญๆ ได้ ๓ ประการ คือ ๑.ในตำ�นานอุรังคธาตุ เขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ด เป็นตัวเลข เป็น ๑๐๑ ซึ่งอ่านเป็น ๑๐+๑ คือ ๑๑ และคนรุ่นต่อมาอ่านผิดจึงอ่านเป็น ร้อยเอ็ด ๒.ระบุว่า “ในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชนั้นมีเมืองขึ้นอยู่สิบเอ็ดเมือง” พร้อมกับไล่เรียงราย ชื่อเมืองต่างๆ ทั้ง ๑๑ เมือง ได้แก่ (๑) เมืองเชียงเยน (บ้านเชียงเยน อำ�เภอเมืองมหาสารคาม) (๒) เมืองฟ้าแดด (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำ�เภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์) (๓) เมืองสีแก้ว (บ้านสีแก้ว อำ�เภอเมืองร้อยเอ็ด) (๔) เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อำ�เภอเมืองร้อยเอ็ด) (๕) เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อำ�เภอเมืองร้อยเอ็ด) (๖) เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อำ�เภอจตุรพักตรพิมาน) (๗) เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อำ�เภอเกษตรวิสัย) (๘) เมืองคอง (อยู่บริเวณ อำ�เภอเมืองสรวง) อำ�เภอสุวรรณภูมิ) (๙) เมืองเชียงขวง (บ้านจาน อำ�เภอธวัชบุรี) (๑๐) เมืองเชียงดี (บ้านโนนหัว อำ�เภอธวัชบุรี) (๑๑) เมืองไพ (บ้านเมืองไพร อำ�เภอเสลภูมิ) ๓.นำ�เสนอบทผญาโบราณ (บทผญาหรือคำ�พญา คือ คำ�กลอนอีสานหรือปรัชญาอีสาน เป็นกลอนที่ แฝงด้วยปรัชญา แยกออกเป็นหลายประเภท เช่น คำ�สอน ความรัก นิทาน เป็นต้น) ที่กล่าวว่า “เมือง สิบเอ็ดผักตู สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่ขั้นได” ซึ่งท่านอาจารย์จารุบุตรกล่าวว่า เป็นบทผญาที่กล่าวถึง วิหารกลางเมืองร้อยเอ็ด


แม้ จ ะมี ผู้ นำ � เสนอประวั ติ ศ าสตร์ ค วามเป็ น มาจากชื่ อ ของเมืองร้อยเอ็ดอยู่หลายประเด็น อย่างไรก็ตาม “สาเกต นคร” ทั้งในตำ�นานที่กล่าวว่า ในสมัยพญาสุริยวงศา ร้อยเอ็ดมี เมืองขึ้นถึง ๑๑เมือง มีเส้นทางติดต่อเข้าออก ๑๑ เมือง หรือ ๑๑ ประตู หรืออีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวว่าอาจจะมีวิหารกลาง เมืองเป็นวิหารไม้ ๓ ชั้น ที่มี ๑๑ ประตู ๑๘ หน้าต่าง ๒๙ ขั้น บันได เป็นวิหารหลวงขนาดใหญ่ (สร้างด้วยไม้) ซึ่งก็นับได้ว่า เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดเช่นกัน ไม่เพียงแต่ตำ�นานอุรังคธาตุเท่านั้น ในบันทึกจาก หนังสือพระธาตุเจดีย์วัดสำ�คัญและพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ด พิมพ์ไดยกระทรวงธรรมการของประเทศลาว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้เรียบเรียงเรื่องประวัติพระธาตุสีโคตะบอง ที่กล่าวถึง นคร จัมปาศรี อยู่ในยุคร่วมสมัยเดียวกับเมืองศรีโคตรบูรณ์ เมือง หนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย เมืองสาเกตุหรือร้อยเอ็ด ประตูเมืองกุรุนทะนครหรืออโยธยา เมืองอินทปัฐนคร และ เมืองจุลมณี ในพุทธศตวรรษที่ ๖ ซึ่งตรงกับรัชกาลของพระเจ้า สุมินทราชหรือสุมิตตธรรมวงศาธิราชแห่งอาณาจักรศรีโคตร บูรณ์ ได้ขยายอาณาเขตครอบคลุมหัวเมืองน้อยใหญ่ “สาเกตนคร” เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนถึงสมัยผาแดง จน กระทั่งในสมัยของพญาขอมธรรมิกราช ผู้ครองนครหนองหาน หลวงก็ได้ทำ�ลาย “สาเกตนคร” ได้สำ�เร็จ เนื่องจากผู้ครองนคร สาเกตไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม หลังจากนั้น “สาเกตนคร” เมืองสิบเอ็ดผักตู ได้กลายเป็นเมืองร้างจนมีต้นกุ่ม (ผักกุ่ม) ขึ้น รอบเมืองจึงเรียกว่า “บ้านกุ่มฮ้าง (ร้าง)”


ต่อมาสมัยอาณาจักรขอม ได้เสื่อมอำ�นาจลงในบริเวณนี้ อาณาจักรล้านช้าง (เมืองหลวงพระบาง) ได้มีอำ�นาจเข้ามาแทนที่ จนกระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๒๒๕๖ (ในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช) พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร กษัตริย์นคร จำ�ปาศักดิ์ ทราบว่า ร้อยเอ็ดเป็นเมืองร้าง จึงให้ท้าวแก้วมงคล หรือจารย์แก้ว ซึ่งเป็นหลานปู่ของพระเจ้าศรีสัตนาคนหุต (เมือง เวียงจันทร์) คุมไพล่พลประมาณ ๓,๐๐๐ คน มาตั้งถิ่นฐานที่บ้าน ท่ง แล้วยกฐานะขึ้นเป็นเมืองท่งหรือ เมืองทุ่ง (อ.สุวรรณภูมิ) เมื่อ พ.ศ.๒๒๖๘ หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อท้าวแก้วมงคลถึงแก่กรรม เมืองทุ่งขาดจากการปกครองจากนครจำ�ปา ศักดิ์ เข้าอยู่ในอำ�นาจของกรุงศรีอยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ นับแต่นั้นเป็นต้นมา


ต้นกฐินเงิน สร้างขึ้นจากแรงศรัทธา ของผู้ร่วมมหากฐิน พ.ศ.๒๕๕๒


อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ ตณฺหกฺขยรโต โหติ สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ถึงแม้เงินตราจะไหลมาดังห่าฝน ความอยากของคนก็หาอิ่มไม่ กามวิสัยทั้งหลายมีความสุขจริงๆน้อยนัก เต็มไปด้วยความทุกข์สารพัด รู้ชัดดังนี้แล้ว สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ยินดีในกามารมณ์แม้ที่เป็นทิพย์ หากแต่ยินดีในทางสิ้นกิเลสตัณหา


งานมหากฐิน พ.ศ.๒๕๕๒


พื้นทุ่งราบแห้งแล้งและทุรกันดาร กว้างใหญ่สุดสายตา ไอแดดร้อนระอุ... ลอยสูงบนผืนดินที่แตกระแหง... จนสามารถสัมผัสได้ด้วยตาเนื้อ มองไปทิศใดก็ไม่มีแม้ร่มเงาไม้ให้พอได้อาศัยพักพิง เมื่อพิจารณาสภาวธรรมด้วยตาใน ได้สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่ร้อนรุ่มด้วยเพลิงกิเลส หากแต่มีเพียงร่มเงาไม้ พอให้ได้พักพิง แม้เพียงร่มเดียว ความเย็นกาย... สบายใจ... คงได้บังเกิดขึ้นในหมู่ชน...


ทุ่งกุลาร้องไห้ มีเนื้อที่ ๒,๑๐๗,๖๘๑ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๕ จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือครอบคลุม อำ�เภอปทุมรัตต์ อำ�เภอเกษตรวิสัย อำ�เภอสุวรรณภูมิ และอำ�เภอโพนทราย ของจังหวัดร้อยเอ็ด ใน แนวทิศใต้มีลำ�นำ�้มูลทอดยาวตลอดพื้นที่อำ�เภอชุมพลบุรี อำ�เภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวัน ตก ผ่านอำ�เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ อำ�เภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำ�เภอพยัคฆภูมิพิสัย ของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งพื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณ ๓ ใน ๕ นั้นอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ในอดีต...ทุ่งกุลาร้องไห้...มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชน กระจายกันอยู่ห่างๆ ค่อนข้างโดดเดี่ยว ไกล จากความเจริญ เนื่องจากไม่มีถนนและเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบาย สำ�หรับคนภายนอกการเดิน ทางไปยังทุ่งกุลาร้องไห้มีความยากลำ�บากและต้องใช้เวลามาก ตามตำ�นานทุ่งกุลาเล่าว่า หลายร้อยปี มาแล้วมีการไปมาค้าขายติดต่อกับพ่อค้าต่างบ้านต่างเมืองทั้งที่ใกล้เคียงและห่างไกลกัน มีพ่อค้าหาบ สินค้าเที่ยวขายไปตามหมู่บ้านแถบทุ่งกว้างนี้เป็นประจำ�โดยเฉพาะในฤดูแล้ง บรรดาพ่อค้าที่มาค้าขาย ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้นี้ได้มีพ่อค้าเผ่าหนึ่งมีชื่อว่า “ เผ่ากุลา ” ได้นำ�สินค้ามาเร่ขาย โดยเดินทางมาเป็น หมู่คณะ คราวละประมาณ ๒๐-๓๐ คน สินค้าที่นำ�มาขายได้แก่สีย้อมผ้า เข็ม แพรพรรณ ยาสมุนไพร เครื่องถม ใส่ถึงใบใหญ่ที่เรียกว่า “ถึงกระเทียว” มาขาย และจะหาบสินค้าเร่ร่อน ขายสินค้าไปเรื่อย ๆ นานนับปี ครั้งหนึ่ง ได้มีพ่อค้ากุลากลุ่มหนึ่งได้เร่ขายสินค้าจากอุบลราชธานี ศรีสะเกษ เรื่อยมาจนถึง สุรินทร์ เมื่อมาถึงท่าตูม (อำ�เภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์) พ่อค้ากุลาได้พากันซื้อครั่งเป็นจำ�นวนมาก เพื่อ จะนำ�ไปทำ�สีย้อมผ้า พ่อค้ากุลาเดินทางหาบครั่งข้ามแม่นำ�้มูล จนกระทั่งมาถึงท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ โดยตั้งใจว่าจะเดินตัดทุ่งกว้างนี้ไปสู่เมืองปาหลาน (อำ�เภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) แต่ไม่ สามารถมองเห็นเมืองอยู่ในสายตา เพราะเนื่องจากไม่เคยเดินผ่านทุ่งนี้มาก่อน ทำ�ให้ไม่ทราบระยะทางที่แท้จริง ซึ่งไกลกว่าที่สายตา มองเห็นได้ ดังนั้นการเดินข้ามทุ่งเป็นระยะเวลาอันนาน จึงรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและเมื่อยล้า อาจเป็นเพราะ ฤดูแล้งทำ�ให้ไม่มีนำ�้ดื่ม ไม่มีต้นไม้ให้อาศัยร่มเงาแม้เพียงต้นเดียว การแบกขนสินค้าของพ่อค้าเผ่ากุลา ในครั้งนั้น จึงต้องทนทั้งแดดและความร้อน ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยและอิดโรยอย่างไร เหล่าพ่อค้าก็ไม่ ยอมทิ้งสินค้าที่หาบมาขาย จึงพากันโอดครวญร้องไห้และคิดว่าคงจะเอาชีวิตมาตายในทุ่งแห่งนี้เป็นแน่


พ่อค้ากุลาเมื่อร้องไห้และพัก...พอหายเหนื่อย จึงเดินทางต่อไป แต่เนื่องจากครั่งที่หาบมาหนัก มาก พ่อค้ากุลาจึงพากันเทครั่ง ซึ่งซื้อมาเพื่อเป็นสินค้า..ทิ้งบ้างเล็กน้อย ต่อมาจึงเรียกบริเวณนั้นว่า “หมู่บ้านครั่งน้อย” อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อเดินทางต่อไปอีกก็รู้สึกอิดโรยมาก ครั้น ไปถึงกลางทุ่งจึงตัดสินใจเทครั่งทั้งหมดทิ้งคงเหลือไว้แต่อาหารเท่านั้น บริเวณที่พ่อค้ากุลาเทครั่งทิ้ง ทั้งหมดนี้...ต่อมาได้ชื่อว่า “บ้านครั่งใหญ่” อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพ่อค้ากุลาเดินทางข้ามพ้นทุ่งแล้ว... เข้าสู่หมู่บ้านมีคนมามุงดู เพื่อขอซื้อสินค้าเป็นจำ�นวน มาก แต่พ่อค้ากุลาไม่มีสินค้าจะขายให้แก่ชาวบ้าน จึงเสียใจและเสียดายสินค้าที่ตนได้เททิ้งที่กลางทุ่ง พ่อค้ากุลาจึงพากันร้องไห้อีกเป็นครั้งที่สอง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกทุ่งอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ว่า “ทุ่ง กุลาร้องไห้” จากตำ�นานดังกล่าว ที่มีการโจษขานกันถึงสภาพความแห้งแล้งของทุ่งกุลาร้องไห้ อาจทำ�ให้ผู้คน ภายนอกนึกภาพของทุ่งร้างที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ในความเป็นจริง ทุ่งกุลามีผู้คนอยู่กันเป็นชุมชน ค่อน ข้างโดดเดี่ยวและห่างไกลความเจริญอย่างมาก เนื่องมาจากไม่มีถนนและเส้นทางคมนาคมที่สะดวก สบาย แม้สภาพภูมิศาสตร์ในปัจจุบันจะห่างไกลจากชุมชน แต่ร่องรอยทางโบราณคดี พบว่า ชุมชนใน เขตทุ่งกุลาร้องไห้นี้ มีการพัฒนาขึ้นตามลำ�น้ำ�ลำ�ห้วย เพื่อปรับตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เป็นลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่น เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของทุ่งกุลานั้นมีความแห้งแล้งอย่าง มาก ความแห้งแล้งของทุ่งกุลาร้องไห้ แม้ในฤดูฝนทุ่งราบยังเต็มไปด้วยหญ้าและทราย ลำ�นำ�้ที่ หล่อเลี้ยงชุมชนมนุษย์ในบริเวณนี้ เป็นลำ�นำ�้ลำ�ห้วยสายเล็กๆ ที่ไหลมาจากที่สูงทางฝั่งใต้ของลำ�นำ�้ชี ผ่านท้องทุ่งกุลาไปรวมกับลำ�นำ�้มูลทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�นำ�้สายสำ�คัญของทุ่งกุลา ได้แก่ ลำ� พลับพลา ลำ�เตา ลำ�เสียวใหญ่ และลำ�เสียวน้อย โดยเฉพาะ “ลำ�พลับพลา” นั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น “เส้น ชีวิตของทุ่งกุลา” เนื่องจากไหลผ่ากลางบริเวณทุ่ง ตามสองฝั่งลำ�น้ำ�รวมทั้งลำ�ห้วยที่เป็นสาขา ดังนั้นใน ผืนดินแห่งนี้จึงมีร่องรอยชุมชนโบราณกระจายอยู่ทั่วบริเวณ


ลักษณะของชุมชนโบราณ จะเป็นโคกเนิน มีคู นำ�้ล้อมรอบ ร่องรอยเศษภาชนะดินเผาหลากหลายรูป แบบกระจายกันอยู่ตามผิวดิน ภาชนะดินเผาจำ�นวนมาก ที่ปรากฏให้เห็นนั้น เป็นหม้อไหที่ใช้ใส่กระดูกคนตาย ใน ประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ซึ่งปรากฏให้เห็นตามชั้นดิน ของเนินดินที่ถูกตัด เพื่อทำ�ถนนในชุมชนสมัยปัจจุบัน ซึ่ง สันนิษฐานได้ว่า บริเวณสถานที่เหล่านี้ เคยมีผู้คนอาศัย กันอยู่เป็นชุมชน จากโครงสร้ า งทางกายภาพของชุ ม ชนที่ มี ส ระ นำ�้ล้อมรอบ และเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างกันดัง กล่าวคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า มนุษย์ที่จะดำ�รงชีวิตอยู่ ในทุ่งกุลาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มนั้น หาใช่การเริ่มต้นจาก เพียงคนกลุ่มเล็กๆ เข้ามาหักร้างถางพงตั้งถิ่นฐาน แล้ว ค่อยๆ ขยายตัวใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาไม่ หากเป็นการ เข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนจำ�นวนมาก ที่เคลื่อนย้าย เข้ามาตั้งถิ่นฐานกันตามลำ�นำ�้เล็กๆ ที่เป็นสาขาของลำ�นำ�้ มูล - ชี เมื่อถึงฤดูแล้งลำ�น้ำ�เหล่านี้อาจแห้งขอด ผู้คนใน ชุมชน จึงต้องร่วมกันขุดสระนำ�้ไว้รอบชุมชน เพื่อให้มีนำ�้ ใช้ได้ตลอดฤดูกาล



จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบข้างต้น มีการสันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามา ในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ น่าจะเป็นกลุ่มคนที่มีประเพณีการทำ�ศพครั้งที่สอง ซึ่งจากการสำ�รวจหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ พบว่า ประเพณีการทำ�ศพครั้งที่สองนี้ มีในชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มนำ�้มูล-ชีตอน ล่าง ตั้งแต่เขตจังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร ลงไปจนถึงอุบลราชธานี และผู้คนในเขตประเทศลาวและเวียดนาม โดยผู้คนในกลุ่มนี้มีชาติพันธุ์ใกล้เคียงกันกับพวกจาม ซึ่ง มีอารยธรรมร่วมสมัยกับพวกฟูนันและเจนละ เมื่อพิจารณาสถาปัตยกรรมของสิ่งปลูกสร้าง เปรียบ เทียบกับชุมชนโบราณใกล้เคียง เช่น ที่ดงเมืองเตยมีฐานปราสาทซึ่งมีลักษณะสิ่งปลูกสร้างในแบบ เจนละ ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบ ศิลาจารึกที่กล่าวถึงกษัตริย์ในตระกูลเสนะของรัฐเจนละเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้อย่างชัดเจน


แม้ลักษณะทางภูมิประเทศของรัฐเจนละจะมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกับชุมชนบริเวณทุ่ง กุลาร้องไห้ แต่อาชีพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันกับการผลิตเกลือและเหล็ก ซึ่ง ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในเมืองนครจำ�ปาขัณฑ์ที่อำ�เภอสุวรรณภูมิ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง แหล่งผลิตเกลือ มีการส่งสินค้าตามเส้นทางคมนาคม ผ่านกู่พระโกนาและทุ่งกุลาร้องไห้เข้าสู่เขต จังหวัดสุรินทร์ ผ่านช่องเขาไปเขตเขมรดำ�ในประเทศกัมพูชา และที่เมืองนครจำ�ปาศรีที่อำ�เภอนาดูนตั้ง อยู่บนเส้นทางที่แยกจากกู่พระโกนาไปทางตะวันตก ไปตามลำ�เตา ผ่านกู่กาสิงห์ เมืองบัว ขึ้นไปจนถึง นครจำ�ปาศรี ซึ่งมีกู่น้อยและกู่สันตรัตน์ที่เป็นศาสนสถานแบบขอมตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๘ และต่อจากนครจำ�ปาศรีก็มีเส้นทางขึ้นไปยังลุ่มนำ�้ชีในเขตจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และอุดรธานี ตามเส้นทางดังกล่าวนี้ มีร่องรอยปราสาทขอมเป็นระยะๆ ไป


อาจกล่าวได้ว่าบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ชายขอบทางวัฒนธรรมของบรรดารัฐและบ้านเมืองที่ อยู่โดยรอบ มีความเจริญเป็นแบบร่วมสมัย ที่มีฐานความเจริญมาจากการผลิตเกลือและเหล็ก อย่างต่อ เนื่องตั้งแต่สมัยยุคเหล็กลงมาจนถึงสมัยลพบุรี หลังจากนั้นแล้วบ้านเมืองก็ซบเซาลง อาจเนื่องมาจาก การผลิตเกลือซึ่งมีการกระจายพื้นที่การผลิต ขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ จนทำ�ให้เกิดทุ่งกว้างขนาด ใหญ่ที่มีความแห้งแล้ง จึงทำ�ให้ผู้คนเคลื่อนย้ายลงสู่ลุ่มนำ�้เจ้าพระยา และบริเวณทะเลสาบเขมรใน ประเทศกัมพูชา ความเป็นเมืองที่มีชุมชนกระจายอยู่จึงลดน้อยลง เกิดเป็นเมืองร้างหลายแห่ง ในขณะ เดียวกัน ผู้คนกลุ่มใหม่ได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนทับบนชุมชนเก่าๆ จวบจนปัจจุบันนี้ โดยอาศัยความเหมาะสมของถิ่นฐานที่อยู่ที่ทำ�กิน รวมทั้งแหล่งนำ�้และการชลประทานที่เคยมีมาแต่เดิม เป็นพื้นฐาน


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น เมื่อพิจารณาถึงชาติพันธุ์ของผู้คนที่อาศัยอยู่ใน ทุ่งกุลาร้องไห้ พบว่า มีการผสมผสานของกลุ่มผู้คนชาติพันธ์ต่าง ๆ หลายชาติพันธ์ เช่น ชาติพันธุ์กุย (หรือที่เรียกว่าพวกส่วย) เขมร และลาว ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า กลุ่มคนชาติพันธุ์กุยหรือส่วย อาจจะ เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานมาช้านานกว่ากลุ่มคนชาติพันธุ์อื่น แม้ในปัจจุบันทุ่งกุลาร้องไห้เต็มไปด้วย ข้าวหอมกุลา (มะลิ) แม้บนคันนามีต้นยูคาลิปปลูกเป็น ทิวแถว แต่ผู้คนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ยังคงสืบทอดความเชื่อและพิธีการดั้งเดิม เช่น การทำ�พิธีเลี้ยง ผีและเสี่ยงทายเพื่อความอุดมสมบูรณ์ตามหมู่บ้าน และประเพณีอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กัน...เป็นประวัติศาสตร์ทางสังคมและวัฒนธรรมใน “โลก” ของชาวบ้าน ที่ยกให้ปราสาทหินพิมาย เป็นศูนย์กลาง แล้วมีมณฑลบริวารไปทั้งทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มี กู่กาสิงห์ กับ กู่พระโกนา เป็นขอบเขต ซึ่ง สอดคล้องกับยุคอดีตเมื่อแรกสร้างปราสาทหินพิมาย ที่มีตำ�นานเล่าถึงการแข่งขันกัน สร้าง “ปราสาท นารายณ์เจงเวง” หรือ ปราสาทภูเพ็กที่สกลนคร จากข้อมูลประวัติศาสตร์...ชาติพันธุ์...รายละเอียดดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เนื้อหาของตำ�นาน เรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและชาติพันธุ์ เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับเรื่องราวการพัฒนาจิตวิญญาณของชุมชน ให้มีพื้นฐานการ ดำ�รงชีวิต ภายใต้ความดีงามและร่มเงาของพระพุทธศาสนา ด้วย มโนปนิธานอันแน่วแน่ในการนำ� สรรพสัตว์ก้าวข้ามสังสารวัฏ เพื่อพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง อีกทั้งบุพกิจในการสืบสานงานพระพุทธ ศาสนา แม้จะมีความยากลำ�บาก ทั้งในด้านภูมิประเทศ ความเชื่อที่ฝังอยู่ในใจของปุถุชน อีกทั้งความ เสื่อมของวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ด้วยความเพียรของหลวงปู่ต้นบุญ อุปสรรคดังกล่าว กลับเป็นหนทางในการนำ�พาหมู่คณะ สาธุชนและเหล่าศิษยานุศิษย์ ที่มีจิตศรัทธาได้มีโอกาสร่วมสร้างมหาบารมี ซึ่งไม่เพียงแต่การสร้าง ศาสนสถานและถาวรวัตถุเท่านั้น แต่ยังสร้างคุณธรรม วัฒนธรรมและวิถีชุมชน ให้เป็นไปตามแนวทาง ปฏิบัติ มรรควิธีที่พุทธศาสนิกชนและประชาชนชาวไทยพึงมี ด้วยโครงการต่างๆ มากมาย เช่น จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำ�หรับเยาวชนและพุทธบริษัท โครงการฝึกอบรมหมู่สงฆ์เพื่อเป็นผู้นำ� ทางธรรม โครงการฝึกอบรมผู้ปกครองท้องถิ่น โครงการฝึกอาชีพ และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย ยัง ผลอันเป็นสาธารณประโยชน์แก่คนในท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมหาบารมีดังกล่าว คือ การสร้างหนทาง สู่มรรคผลนิพพาน เพื่อการหลุดพ้นของเหล่าสาธุชนอย่างแท้จริง


สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ

...ธรรมทานชนะการให้ทานอื่นทั้งปวง...



ชาวบ้านมาร่วมพิธีมหากฐิน ๒๕๕๒


“อีสาน” ถือเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีความหลากหลาย ทั้งในด้านของวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ ทุกๆ ครั้งที่เดินทางไปดินแดนอีสานนั้น มักจะได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่า เวลานั้น เดินทางไปที่ไหน แห่งใด ความหลากหลายของแดนอีสานนั้น อาจเนื่องมาจากความหลากหลายของชนเผ่า และเชื้อชาติที่อพยพเข้ามาอยู่ในแดนอีสาน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจาก อิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ ที่ขยายแผ่เข้ามายังดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมทวาราวดี และอารยธรรมขอม ซึ่งในปัจจุบันยังสามารถค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย และถือได้ว่ายังเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญของโลกอีกด้วย


มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสาน มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามเพิงผาตามถำ�้และ บริเวณใกล้ริมแม่นำ�้ การดำ�รงชีวิตในชุมชนต่างๆ อาศัยธรรมชาติเป็นสำ�คัญ เช่น การล่าสัตว์ จับปลา เก็บของป่าเป็นอาหาร บางท่านจึงเรียกสังคมในยุคแรกเริ่มนี้ว่าสังคมล่าสัตว์ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า ชุมชนเหล่านี้ได้พัฒนาตนเอง เป็นชุมชนแบบเกษตรกรรม มีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำ�เครื่องปั้นดินเผา การหล่อสำ�ริตและเหล็ก มีการก่อร่างสร้างเมือง ในสังคมโบราณก่อนประวัติศาสคร์ มีความเป็นอยู่แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่าเป็นอิสระ มีความเชื่อทาง ศาสนาเป็นของกลุ่มตนเองและยอมรับความเชื่อจาก คนเผ่าอื่นได้ยาก ต่อมาเกิดความจำ�เป็นในการคบค้าสมาคม เพื่อการดำ�รงชีวิตที่สะดวกและดีขึ้น จึงมีการแลก เปลี่ยนสิ่งของที่หายากระหว่างกลุ่ม บางกลุ่มมีการแก้ปัญหาโดยการแต่งงานกัน แต่ความเชื่อในสิ่ง


ศักดิ์สิทธิ์และศาสนา ยังเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม เมื่อ หลายๆกลุ่มเกิดเป็นพันธมิตรกัน จึงทำ�ให้ชุมชนดังกล่าวหันหน้า มาร่วมมือกันสร้างที่อยู่อาศัยให้กว้างขวางใหญ่โตและกายเป็น สังคมเมือง มีการยอมรับในผู้นำ�ที่มีความสามารถ โดยมีศาสนา เป็นเครื่องมือสำ�คัญในการเมืองการปกครองการพัฒนาของ ชุมชนเกษตรกรรมมาเป็นชุมชนแบบเมืองในภาคอีสาน รวมทั้ง เอเซียอาคเนย์นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า ได้เริ่มขึ้นในดินแดนแถบนี้ โดยได้รับอิทธิพล อารยธรรมจากอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลทางด้านศาสนาจากอินเดีย ยังผลให้ชุมชนในดินแดนต่างๆ ได้ก่อตั้งเป็นเมืองหรือเป็นรัฐ เล็กๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ เป็นต้นมา เช่น ฟูนัน จัมปา เจน ละ เป็นต้น รัฐเหล่านี้ได้สถาปนาระบบกษัตริย์ และพิธีกรรม ต่างๆ ในราชสำ�นัก โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี การได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เป็นการพัฒนาตนเอง ให้เจริญตามลำ�ดับทั้งในด้านจิตใจและวัตถุ ซึ่งเป็นการพัฒนา สู่ขั้นอารยธรรมสร้างปราสาทที่อยู่ของกษัตริย์ เจ้าผู้ครอง เมืองได้สร้างเมืองล้อมรอบด้วยคูนำ�้และป้อมปราการสร้าง ปราสาทเป็นที่อยู่ของกษัตริย์ พระราชวงค์ และพระเจ้า โดย มีพราหมณ์ปุโรหิตอาศัยอยู่อีกส่วนหนึ่ง ในหัวเมือง หรือนคร ชุมชนคนอีสานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย โดยผ่าน ขึ้นมาตามลำ�นำ�้โขง (อาณาจักรเจนละ) และจากภาคกลางของ ประเทศไทย ดังนั้น เมืองใดที่อยู่ริมฝั่งทะเลย่อมได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมได้เร็วกว่า เมืองในยุคแรกๆ ของอีสานซึ่งอยู่ลึก เข้าไปจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมช้า ดังปรากฏหลักฐานให้ เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองโบราณ เช่น เมืองฟ้าแดด สูงยางและนครจัมปาศรี โดยเฉพาะเมือง นครจัมปาศรี อันเป็น ที่ตั้งอำ�เภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบันได้ปรากฏหลัก ฐานที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนมีการขุดพบพระ พิมพ์ดินเผาและสถูปบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ อันแสดงให้ เห็นถึงความเจริญทางด้านการเมือง และเจริญในทางพระพุทธ ศาสนาอย่างถึงที่สุด


ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ของชุมชนโบราณ หลัง พ.ศ.๑๐๐๐ พบว่า มีรัฐเจนละ บริเวณสองฝั่ง โขง-ชี-มูล เติบโตขึ้น ขยายอาณาจักรแผ่ลงไปถึงดิน แดนกัมพูชาทางทะเลสาบเขมร มีศาสนาพราหมณ์ อยู่ในหมู่ ชนชั้นสูง ส่วนศาสนาพุทธอยู่ในหมู่สามัญ ชน บริเวณที่เป็นถิ่นกำ�เนิดของเจนละคือปลายลุ่มแม่ นำ�้มูล-ชี ในเขตจังหวัดอำ�นาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานี จัดอยู่ในแอ่งโคราชที่มี ชุมชนหมู่บ้านเก่าแก่ไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ปีมาแล้ว มี ประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์ คนพวกนี้มีชุมชน หมู่บ้านหนาแน่นอยู่รอบๆทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นเขต ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก และเกลือ อย่าง มากมาย วัฒนธรรมทวารวดี จากที่ราบลุ่มนำ�้เจ้าพระยา ภาคกลางเข้าอีสาน ทำ�ให้ดินแดนอีสานเจริญก้าวหน้า ขึ้นเป็นบ้านเมืองอย่างเต็มที่เมื่อประมาณหลัง พ.ศ. ๑๑๐๐ เนื่องจากได้รับอารยธรรมจากอินเดียที่แพร่ ผ่านบ้านเมืองที่อยู่ใกล้ทะเลเข้ามา ๒ ทาง คือ (๑) จากบ้านเมืองทางทิศตะวันออก (เวียดนาม) และ บริเวณปาก แม่นำ�้โขงทางทิศใต้ (กัมพูชา)

(๒ จากบ้านเมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่นำ�้เจ้าพระยา


พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายไปบริเวณอุดรธานีและหนองหานหลวงที่สกลนครก่อน หลังจากนั้นกลุ่มชนในเขตหนองหานหลวงขยับขยายเข้าไปในเขตอำ�เภอธาตุพนม (จังหวัด นครพนม) แล้วผสมผสานกับกลุ่มชนต่างเผ่าพันธุ์ที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นๆ เช่น ทางเหนือ และทางตะวันออกของแม่นำ�้โขง ต่อมาได้สร้างพระธาตุพนมขึ้นเป็นศูนย์กลางของระบบ ความเชื่อ บ้านเมืองในอีสานไม่ใช่อาณาจักรเดียวกัน แต่แยกกันเป็นแคว้นอิสระหรือรัฐเอกเทศ ที่มีความสัมพันธ์กันฉันเครือญาติพี่น้องผู้ใหญ่ผู้น้อยอย่างใกล้ชิด แม้ไม่พบหลักฐานว่าแคว้น นั้นๆมีชื่ออะไรบ้าง แต่สามารถจำ�แนกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้ ๑. กลุ่มลุ่มแม่นำ�้โขง-ชี-มูล หรือเจนละ บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี อำ�นาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร นครพนม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ที่แม่นำ�้ชี-มูลไหลมารวม กันแล้วลงสู่แม่นำ�้โขงที่อุบลราชธานี นับถือพราหมณ์-พุทธ ๒. กลุ่มกลางลุ่มแม่นำ�้มูล หรือพนมวัน-พิมาย-พนมรุ้ง บริเวณที่ราบลุ่มบางส่วนของ จังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมา นับถือพุทธมหายาน ๓. กลุ่มต้นลุ่มนำ�้มูล หรือศรีจนาศะ บริเวณจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่อำ�เภอเมือง อำ�เภอปักธงชัยและอำ�เภอสูงเนิน ไปจรดเทือกเขาดงรักและดงพญาเย็นทางตะวันตก นับถือ พุทธ-พราหมณ์ ๔. กลุ่มลุ่มนำ�้ชี บริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ เป็นบ้านเมืองที่นับถือ พระพุทธศาสนาต่อเนื่องเรื่อยมาสร้างเสมาหิน พระนอน สถูปเจดีย์ ในศิลปะสถาปัตยกรรม แบบทวารวดีอย่างแพร่หลาย ๕. กลุ่มสองฝั่งโขงเวียงจันทร์ บริเวณอีสานเหนือ เขตเวียงจันทร์ หนองคาย สกลนคร เป็นบ้านเมืองที่นับถือพุทธศาสนาต่อเนื่องมา มีชื่อในตำ�นานว่าศรีโคตรบูร มีศูนย์กลางอยู่ เวียงจันทร์


ภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณชุมชนโบราณ ที่บ้านเมืองเสือ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลา

เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว คนทุ่งกุลามีพัฒนาการทางวัฒนธรรมมากขึ้น มีการขุดคูนำ�้ คันดินรอบบ้านเมืองของตน และทำ�ภาชนะดินเผา ซึ่งมีลักษณะ เฉพาะ นักโบราณคดีเรียก ภาชนะเหล่านี้ว่าอยู่ใน “ วัฒนธรรมทุ่งกุลา ” พื้นที่ทุ่งกุลานี้ คือแหล่งผลิตเกลือสำ�คัญ ทำ� แลกกับสินค้าของพื้นที่อื่นในกลุ่มชนลาว-ไทย-เขมร นอกจากนี้คนกุลายังรู้จักเทคโนโลยีถลุง-ตี เหล็กเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และมีประเพณีฝังศพ โดยเอาศพใส่ในภาชนะดินเผาฝังดิน ต้น เค้าโกศใส่กระดูก เมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว “ทุ่ง กุลา” จึงไม่ใช่แค่พื้นที่ธรรมดาๆ แต่มีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ของยุคแรกเริ่มบรรพชนคน ไทย-ลาว-เขมร ร่วมกันยาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในการศึกษาชุมชนโบราณในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ พบว่า ชุมชนโบราณจะเลือกตั้งบ้าน เรือนในบริเวณที่มีสภาพภูมิประเทศที่สามารถกักเก็บนำ�้จืดได้ โดยจะสร้างคูคันดินกักเก็บนำ�้ และตั้งชุมชนอยู่บนเนินเหล่านั้น เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยาบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ลุ่ม ต่ำ�คล้ายท้องกระทะของบริเวณที่ราบสูงโคราช และรองรับด้วยชั้นหินที่มีเกลือ เมื่อถึงฤดูนำ�้ หลากนำ�้จะไหลมารวมกันในบริเวณลุ่มนำ�้มูล แล้วจึงไหลลงสู่แม่นำ�้โขงนำ�้จะเอ่อท่วมบริเวณ ทุ่งกุลาร้องไห้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าน้ำ�ในแม่น้ำ�จะไหลลงสู่แม่นำ�้โขงจนหมด ซึ่งตรงกับคำ� บอกเล่าจากการเก็บข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณทุ่งกุลาในปัจจุบัน


ภูมิประเทศบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบ น้ำ�ท่วมในฤดูฝนและแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ�ในฤดูแล้ง เพราะลึกลงไปใต้ดินมีชั้นเกลือทำ�ให้น้ำ�และดินเค็ม

เกลือบริเวณผิวดิน เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำ�เค็มใต้ดินอยู่ใกล้พื้นดินมาก และจะเคลื่อนตัวขึ้นมาบนผิวดิน น้ำ�จะระเหยทิ้งตะกอนเกลือไว้ทำ�ให้เกิดดินเค็ม

เนื่องจากบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้รองรับด้วย ชั้นหินที่มีเกลือ บางแห่งชั้นหินเกลืออยู่ไม่ห่างจาก พื้นผิวดิน นำ�้ใต้ดินส่วนใหญ่ได้ละลายเกลือ และ เป็นนำ�้เค็มอยู่ใกล้พื้นดินมาก นำ�้เค็มจะเคลื่อนตัว ขึ้นมาบนพื้นดินด้วยแรงตึงผิว และจะระเหยไปทิ้ง ไว้แต่ตะกอนเกลือที่พื้นดิน ทำ�ให้ดินและน้ำ�มีความ เค็มโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในบางบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นเนินสูงกว่าบริเวณรอบข้าง และมี สภาพอำ�นวยให้เกลือถูกละลายลงสู่เบื้องล่าง และ ในฤดูฝนก็สามารถรับนำ�้จืดที่ซึมลงไปและกักเก็บไว้ ในบริเวณนั้น นำ�้จืดซึ่งเบากว่านำ�้เค็มจะลอยตัวอยู่ บนนำ�้เค็มในทันที สภาพภูมิประเทศดังกล่าวจึงเป็น แหล่งที่สามารถขุดกักนำ�้จืดได้ ในการสำ � รวจแหล่ ง ชุ ม ชนโบราณด้ ว ย ภาพถ่ายทางอากาศ ได้พบชุมชนโบราณทั้งหมด ๙๒ แห่ง และนอกจากนี้ยังได้พบคูคลองชลประทาน จำ�นวนทั้งหมด ๖๕ สาย ขุดต่อเชื่อมกันในลักษะ ของการระบายนำ�้จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศ

ตะวันออกรวมความยาวประมาณ ๕๔๓ กิโลเมตร และนอกจากนี้ยังได้พบแนวเขื่อนกั้นเพื่อปิดกักยก ระดับนำ�้ ๒ แห่ง ๔.๕ กิโลเมตร และ ๓.๕ กิโลเมตร ลักษณะการกระจายตัวของชุมชนโบราณในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้นี้ ชุมชนจะเลือกสถานที่ สำ�หรับอยู่อาศัยบนที่เนิน หรือลานตะพักแม่นำ�้ (river terrace) สูงจากระดับนำ�้ท่วม และส่วนใหญ่จะ อยู่ไม่ห่างไกลจากลำ�นำ�้ธรรมชาติที่ไหลผ่านบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ ลำ�พลับพลาและลำ�เสียวใหญ่ โดยลำ�นำ�้ธรรมชาติดังกล่าวทำ�หน้าที่ระบายนำ�้ได้อย่างดีในบริเวณชุมชนโบราณเหล่านี้เราได้พบร่อง รอยของการขุดคูต่อเชื่อมกันโดยตลอด มี มีลักษณะการระบายน้ำ�ให้ไหลไปตามระดับที่ลาดต่ำ� ลงตาม ธรรมชาติจากทิศตะวันตกไปทาง ทิศตะวันออก คูคลองที่สำ�รวจพบด้วยภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้ เห็นลักษณะการกระจายตัวและการเชื่อมโยงของทางนำ�้กับชุมชนโบราณ การใช้ประโยชน์คูคลองใน ลักษณะของการชลประทาน โดยนำ�นำ�้จืดจากทางด้านทิศตะวันตกมากักเก็บไว้ ตามบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้ง ชุมชนโบราณ และระบาย ออกสู่คูคลองธรรมชาติ ซึ่งจะไหลไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่นำ�้มูลต่อไป


เมื่อพิจารณากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณทุ่งกุลา ได้แก่

• กลุ่มไทย-ลาว เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองเดิม อาศัยทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด • กลุ่มไทย-เขมร เป็นคนที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด แต่มีบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายเขมร อยู่ใน อำ�เภอสุวรรณภุมิ และเกษตรวิสัย • กลุ่มไทย-ส่วย เป็นคนที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีเชื้อสายเป็นชาวส่วยหรือกูย อยู่บริเวณ อำ�เภอสุวรรณภูมิและอำ�เภอโพนทราย ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ • กลุ่มภูไทหรือผู้ไทย เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานในเขตอำ�เภอเมยวดี หนองพอก ซึ่งติดต่อกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ ยโสธร และมุกดาหาร • กลุ่มไทย้อ เป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากแขวงคำ�ม่วน ประเทศลาว อาศัยอยู่ในเขตอำ�เภอ โพธิ์ชัย


เกษตรวิสัย...ประวัติศาสตร์...ชุมชนโบราณ “ เกษตรวิสัย ” มีอาณาเขตกว้างขวางรองจากจังหวัดร้อยเอ็ดและ เก่าแก่มานาน โดยมีหลักฐานจากคำ�บอกเล่าถึงประวัติสืบต่อกันมาว่า อำ�เภอ เกษตรวิสัยเดิมชื่อ “เมืองเกษ” มีพระศรีเกษตราธิไชย (เหง้า) เป็นอุปราช ผู้ขอตั้งเมือง... ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชโองการให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้าน ดอนเสาโฮง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำ�เภอพนมไพร) แต่พระศรีเกษตราธิไชย (เหง้า) ผู้รับราชโองการเห็นว่าบ้านดอนเสาโฮงอยู่ในทำ�เลที่ไม่เหมาะสม จึง ขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนที่ตั้งเมืองใหม่จากบ้านดอนเสาโฮง มาตั้งที่ บ้านกู่กระโดน ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิเพราะเห็นว่าเป็นทำ�เลที่ เหมาะสมมีความ อุดมสมบูรณ์ดี และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขนานนาม ว่า “เมืองเกษ” เชื่อกันว่าที่ได้ชื่อว่าเมืองเกษ เพราะดินแดนแห่งนี้มีต้นดอก เกษเป็นจำ�นวนมาก รวมทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ถึงกับ มีคำ�กล่าวขานสืบต่อกันมาเสมอว่า “ข้อยอยู่กำ�้เมืองเกษคำ�นำ�้ชุ่ม ปลากุ่มบ้อน คือแข่แก่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น จักจั่นฮ้องคือฆ้องลั่นยาม” นั่นคือ เมืองเกษ แห่งทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๘ เมืองสุวรรณภูมิได้ยกฐานะเป็นอำ�เภอ เมืองเกษ จึงได้แยกการปกครองออกมา และยกฐานะเป็นอำ�เภอเรียกว่า “อำ�เภอหนอง แวง” ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อให้พ้องชื่อกับตำ�บลที่ตั้งของตัวอำ�เภอ และในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้เปลี่ยนจากชื่ออำ�เภอหนองแวงเป็น “อำ�เภอเกษตรวิสัย”


ประวัติศาสตร์โบราณ “บ้านเมืองบัว” เป็นที่ตั้งของชุมชน โบราณยุ ค ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ มี แ หล่ ง โบราณสถานหลายแห่ง เช่น สุสานมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กู่เมืองบัวศิลปะ ขอมแบบบาปวนคูนำ�้คันดินล้อมรอบชุมชน ของคนโบราณ ตั้งอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ มี ห ลั ก ฐานบ่ ง ชี้ ว่ า เป็ น ชุ ม ชนและเมื อ ง โบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน คือ ที่ตั้ง หมู่บ้านเป็นเนินดินสูงมีคันดินคูนำ�้ล้อมรอบ ด้านทิศเหนือ ตะวันออกและทิศใต้ พบหลุม ฝังศพ โครงกระดูก พบภาชนะดินเผา ลายเชื อ กทาบเคลื อ บโคลนสี แดงในหลุ ม ฝังศพ นักวิชาการโบราณคดีสันนิษฐานว่า เป็นแหล่งโบราณยุคเดียวกันกับโบราณคดี บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว

ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกวัฒนธรรมทุ่งกุลา จากแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ สำ�นักงาน โบราณคดี แ ละพิ พิ ธ ภั ณฑสถานแห่ ง ชาติ ที่ ๘ อุบลราชธานี ได้มาขุดค้นสำ�รวจ แหล่งโบราณสถานของบ้านเมืองบัว พบ หลั ก ฐานหลายอย่ า งว่ า บ้ า นเมื อ งบั ว เป็ น ชุ ม ชนโบราณสมั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ มีอายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว (วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดร้อยเอ็ด.


พ.ศ. ๒๕๔๒) ชุมชนโบราณที่อยู่ใกล้เคียงและอยู่ในยุคเดียวกันกับชุมชนโบราณเมืองบัวสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ คือ

๑. แหล่งโบราณคดีโนนกระด้อง อยู่ด้านหลังโรงพยาบาลอำ�เภอเกษตรวิสัย ๒. แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเงิน ตำ�บลเมืองบัว ๓. แหล่งโบราณคดีบ้านสำ�ราญดอนกลาง ตำ�บลเมืองบัว ๔. แหล่งโบราณคดีบ้านหนามแดง ตำ�บลเมืองบัว ๕. แหล่งโบราณคดีบ้านหัวดงกำ�แพง ๖. ตำ�บลเมืองบัวแหล่งโบราณคดีบ้านม่วย ตำ�บลกู่กาสิงห์ ๗. แหล่งโบราณคดีบ้านต่องต้อนและบ้านสงแคน ตำ�บลกู่กาสิงห์ ๘. แหล่งโบราณคดีบ้านจานทุ่ง ตำ�บลหนองแวง อำ�เภอเกษตรวิสัย ๙. แหล่งโบราณคดีบ้านนำ�้อ้อม ตำ�บลนำ�้อ้อม อำ�เภอเกษตรวิสัย ๑๐. แหล่งโบราณคดีบ้านหัวดอนชาติ ตำ�บลโนนสว่าง อำ�เภอเกษตรวิสัย


ลักษณะภูมิประเทศของชุมชนเมืองบัว ณ ปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศของชุมชนเมืองบัวทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่เนินสูง ส่วนพื้นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่ด้านทิศตะวันตก และทิศใต้จะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ในหมู่บ้านจะมีหนองนำ�้ต่างๆ ตั้งอยู่ ภายในบริเวณของชุมชน ดังนี้คือ หนองกุดป่อง หนองบึงคาน้อย หนองบึงคาใหญ่ หนอง สรวง หนองยาง หนองช้าง หนองสา หนองอ้อ หนองส้มโฮง หนองซากหมา หนองเม็ก หนองนกเอาะ หนองสิมและหนองอื่นๆ ที่ตื้นเขินกลายเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนในปัจุบัน



ศาสนา ความเชื่อ และชุมชน

ศาสนาและความเชื่อ เป็นสิ่งสำ�คัญคู่กับชนชาวไทยมาโดยตลอด แม้ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะคนเชื้อสายไทย–ลาว ที่เข้ามาอยู่ในบ้านเมืองแห่งนี้ จะนับถือพระพุทธศาสนาร่วมกับ การนับถือผีบรรพบุรุษ มีความเชื่อเกี่ยวกับเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อในอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ เช่น การนับถือผีปู่ผีตา ผีบรรพบุรุษ และผีปอบ ผีบ้านผีเรือน โดยผู้ที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่า นั้น จะยกให้มีตัวตนโดยตั้งชื่อให้ตามที่ตนคิด โดยอ้างว่ามาเข้าร่างทรงให้เป็นเจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้า ปู่เจ้าป่า เจ้าเขา ฯลฯ จะมีคนกลางเป็นคนทำ�พิธีกรรมหรือให้ความสะดวกแก่คนอื่น ๆ ที่มีความ ประสงค์จะติดต่อกับผีเจ้าเหล่านั้น คนภาคอีสานและชาวบ้านเมืองบัวเรียกว่า “ เฒ่าจำ�้ ” หรือ หมอผี และยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผีอื่น ๆ เช่น ผีมเหศักดิ์หลักเมือง ผีประจำ�บ้าน ผีตาแฮก ผี เชื้อ ผีบรรพบุรุษ ผีปอบ ผีแถนหรือผีฟ้า และผีเทพารักษ์ ความเชื่อเรื่องขวัญ ความเชื่อเรื่อง ฤกษ์ยาม ความเชื่อเรืองดาวเพดาน ความเชื่อพิธีกรรมของเชียงข้อง ความเชื่อเรื่องมงคลและ เรื่องอัปมงคล อย่างไรก็ตาม ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คือ ต้นกำ�เนิดแห่งศีลธรรม จริยธรรม กฎหมาย จารีตประเพณี ตลอดถึงการดำ�เนินวิถีชีวิตของคนในชุมชน คำ�สอนทางพระพุทธ ศาสนาที่ขัดเกลาจิตใจ ให้เป็นคนมีศีล มีธรรม รักษารูปแบบวัฒนธรรม จริยธรรม ตลอดจน ขนบธรรมเนียมประเพณี และคุณธรรมอันดีงามสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อแนวทางการพัฒนา โดยมี วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิม ราช จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นศูนย์กลาง พบว่า กลุ่มผู้นำ�ชุมชน ประชาชน เยาวชนทั้งในและนอกเขต พื้นที่ ซึ่งได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับทางวัด มีการพัฒนาทางด้านความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาในทิศทางที่เป็นบวก ส่งผลให้การดำ�รงชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น เป็นอย่างมาก


ภาพงานมหากฐิน พ.ศ.๒๕๕๒

จากผลการสัมภาษณ์ผู้นำ�ชุมชน กล่าวว่า

วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช คือ ศูนย์รวมจิตใจของผู้คน เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ดำ�เนินการในเชิงรุก โดยการสร้างศรัทธามหาชน ปลูกฝังทัศนคติ นำ�ชาวบ้านในเขตทุ่งกุลาประพฤติปฏิบัติใน สิ่งดีงาม ประกอบอาชีพสุจริต งดเว้นหรือลดอบายมุข อันเป็นหนทางไปสู่ความเสื่อม มีกิจกรรมซึ่งเป็นกุศโลบายในการสร้างความสามัคคี

จากอดีตที่มีความแร้นแค้นในการทำ�มาหากิน เกิดการแย่งชิงแหล่งอาหาร เป็นเหตุให้เกิด การวิวาทเรื่อยมา ในปัจจุบัน ผู้คนมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส เอื้ออาทรกัน เนื่องจากได้รับคำ�สั่ง สอนจากหลวงปู่ต้นบุญ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดพระธรรมอันวิจิตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า...สู่ปุถุชนให้บางเบาจากกิเลส อีกทั้งการสร้างงานสร้างอาชีพ นำ�ความเจริญสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็น บุพกิจสำ�คัญทั้งในด้านศาสนสงเคราะห์และสังคมสงเคราะห์ของหลวงปู่ต้นบุญ ดังจะได้กล่าวโดย ละเอียดในมัชฌิมบทต่อไป






ตำ�บลทุ่งทอง...อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประวัติความเป็นมา

ตำ�บลทุ่งทอง เดิมขึ้นอยู่กับตำ�บลกำ�แพง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้ขอแยกแบ่งเขตออกจากตำ�บลกำ�แพง และ ตั้งชื่อใหม่ว่า ตำ�บลทุ่งทอง แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ หมู่บ้าน โดยมีนายบานเย็น ศรีโสภา เป็นกำ�นันคนแรก

สภาพทั่วไป : อาณาเขต :

สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้ สภาพดินเป็นดินเปรี้ยวและเค็ม ทิศเหนือ ติดกับ ตำ�บลกำ�แพง อ. เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ทิศใต้ ติดกับ ตำ�บลโนนไร่ อ.ชุมพลบุรี จ.ร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดกับ ตำ�บลดงครั่งใหญ่ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ทิศตะวันตก ติดกับ ตำ�บลเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

การเมืองการปกครอง

โครงสร้างการบริหารของ อบต. สำ�นักงาน อบต.ทุ่งทอง ๑. นายทองดี นามวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร ๒. นายสมศรี ศรีสมบูรณ์ กรรมการ ๓. นายบัว ประเคชาติ กรรมการ

รายชื่อกำ�นันผู้ใหญ่บ้าน

๑. นายบานเย็น ศรีโสภา ๒. นายไพรัตน์ ไชยงาม ๓. นายบานเย็น ศรีโสภา ๔. นายกัณหา แพงเจริญ ๕. นายสำ�รอง แพงเจริญ ๖. นายวิโรจน์ วันทอง ๗. นายทอง ศรีชาดา ๘. นายชาย คุ้มเหล่ายูง ๙. นายบุญหนา เขียวศิริ ๑๐. นายทองสุข เมืองวงษ

โครงสร้างพื้นฐาน จำ�นวนประชากร ข้อมูลอาชีพ สินค้าสำ�คัญ

: :

: :

ข้อมูลสถานที่สำ�คัญ

กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๔ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๗ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๙

บ้านเขวาตะคลอง บ้านโพนหิน บ้านเขวาตะคลอง บ้านเขวาตะคลอง บ้านเขวาหรดี บ้านโพนตูม บ้านซึกวึก บ้านหนองแวงยาว บ้านโพนข่อย บ้านโนนไผ่ลุ่ม

สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค มีไฟฟ้า นำ�้ประปา โทรศัพท์ ครบทุกหมู่บ้าน จำ�นวนประชากรในเขต อบต. ๕๓๒๘ คน อาชีพหลัก ทำ�นา / อาชีพเสริม หัตถกรรม รับจ้าง ผ้าไหมพื้นเรียบ ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นผ้าไหมสวยงาม มีหลายสี สวยงามฝีมือปราณีต

๑) วัด ๖ วัด ๒) องค์การบริหารส่วนตำ�บล ๓) สถานีอนามัย ๑ แห่ง ๔) โรงเรียนประถม ๔ แห่ง


จากทุ่งกุลาที่แห้งแล้งทุรกันดารในอดีต

ปัจจุบันนี้ทุ่งกุลายามเมื่อแสงอรุโณทัยสาดส่อง ช่างงดงามและเบิกบานใจยิ่งนัก.. หากแสงแดดยามอรุณรุ่งมีชีวิต คงจะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของทุ่งกุลาในแต่ละวัน นับตั้งแต่ภิกษุหนุ่ม ที่ได้สมัญญานามว่า “หลวงปู่ต้นบุญ” ซึ่งมีวัตรที่เรียบง่าย สมถะ เปี่ยมด้วยพระมหาบารมี และดำ�เนินตามรอยพระบาทแห่งองค์พระศาสดา ได้มายืนหยัดอยู่ ณ ที่แห่งนี้..


ถนนทางลูกรังขรุขระมีความกว้างเพียง รถยนต์ ๒ คันวิ่งสวนทางกันได้แบบระวัง ถนนสายนี้ ทอดตัวจากหมู่บ้านโพนหินสู่หมู่บ้านโพนตูม อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีความยาวประมาณ ๓ กิโลเมตร...และเป็น ถนนเส้นสุดท้าย ที่แม้จะทุรกันดารเพียงใด เมื่อมองด้วยตาเนื้อ ก็จะพบเห็นแต่ ภูมิทัศน์ ๒ ข้างทางที่แห้งแล้ง แต่เมื่อสัมผัสด้วยตาใน จินตทัศน์ทางธรรมได้ฉายภาพให้เห็นว่า ถนน สายนี้นี่เองคือ เส้นทางที่จะนำ�พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมุ่งสู่หนทางแห่งความสงบและความเบิกบาน อย่างแท้จริง


ความเจริญในทุกด้านทั้งในทางโลกและทางธรรมได้บังเกิดขึ้น ดั่งแสงแห่งพระมหาบารมี ของหลวงปู่ต้นบุญที่สาดส่องลงมา ณ ที่แห่งนี้ ดุจดังการพัฒนาสรรพสิ่งให้เจริญงอกงาม ด้วยมหา ปณิธานอันยิ่งใหญ่ ด้วยแรงใจที่แน่วแน่ เพื่อพลิกฟื้นผืนทุ่งกุลาแห่งนี้ให้สว่างไสว หากสาธุชนท่านใด ได้ฟังคำ�บอกกล่าวของคนในท้องถิ่น ถึงความเปลี่ยนแปลงอันมากมายมหาศาล เพียงช่วงเวลาสองปี ที่ผ่านมา ผู้คนที่นี่ศรัทธาเคารพและเชื่อฟังหลวงปู่ต้นบุญอย่างเปี่ยมล้น ชาวบ้านที่นี่ได้เล่าถึง ตำ�นานเก่าแก่ที่รับฟังสืบต่อกันมา แต่ครั้งปู่ย่าตายาย ที่กล่าวถึง พระ ภิกษุผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ จะนำ�ความเจริญและความร่มเย็นเป็นสุข มาให้แก่ชาวทุ่งกุลา ดัง นั้นผู้คนแถบนี้จึงเชื่อมั่นโดยไม่มีผู้ใดลังเลสงสัยเลย ในมหาบารมีของหลวงปู่ต้นบุญ เพราะท่านคือ “พระผู้เติมเต็มในคำ�ทำ�นาย” และกำ�ลังเริ่มฉายแสงแห่งบารมี “แสงอุทัยแรกแห่งทุ่งกุลา” นับแต่หลวงปู่ต้นบุญ ก้าวย่างมา ณ ทุ่งกุลาแห่งนี้ ท่านก็มีปณิธานในหลายๆ ด้าน ซึ่งในที่นี้ จะนำ�เสนอเพียงพระปณิธานที่สำ�คัญๆ ดังต่อไปนี้

ปณิธานที่จะให้การสนับสนุนการศึกษา เพื่อพัฒนาชีวิตชาวทุ่งกุลา

หลวงปู่ต้นบุญท่านให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพด้วยการให้การสนับสนุน ศึกษา เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้และมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ทั้งส่วนบุคคล และประเทศชาติ โดยได้เล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความ ประพฤติและคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบ ถ้วนพอเหมาะกันทุก ๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำ�รงรักษา ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ตลอด ซึ่งสอดคล้องกับปณิธานที่ จะให้วัดและพระสงฆ์ได้มีส่วนช่วยเหลือการศึกษาของชาติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่ง มี พระราชประสงค์ที่จะตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนและกำ�พร้าอนาถาขึ้นในวัด โดยอาราธนา พระสงฆ์มาเป็นครูอบรมศีลธรรมและช่วยสอนวิชาสามัญที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย เพื่อให้วัดและ พระสงฆ์ได้มีส่วนช่วยเหลือการศึกษาของประเทศชาติ


ปณิธานในการจรรโลงพระพุทธศาสนา

หลวงปู่ต้นบุญ ได้พิจารณาว่า เวลาล่วงผ่านเข้าสู่ยุคหลังกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐) นั้น ประเทศไทยก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาไปสู่ “ความทันสมัย” ตามแบบตะวันตกด้วยวิถีชีวิตการ ศึกษา วัฒนธรรม การทำ�มาหากิน ต่างมุ่งจะไปสู่ความสมบูรณ์มั่งคั่งทางวัตถุภายใต้คำ�ขวัญของการ พัฒนาที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ผู้คนในสังคมได้ถูกกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและความ สำ�คัญของวัตถุยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด จนเกิดการแสวงหาและแข่งขันกันสะสม ระหว่างบุคคลในสังคมโดย ทั่วไปในโลกแห่งความทันสมัยนี้ พระพุทธศาสนาซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๒,๕๕๓ ปี อาจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ ล้าสมัย คร่ำ�ครึไร้ประโยชน์ และไม่จำ�เป็นแก่การพัฒนาแบบนี้


หลวงปู่ต้นบุญได้กรุณาชี้แนวทางให้เห็นว่า ในกระแสแห่งการพัฒนาเช่นนี้มีแต่หลักการ ของวัตถุนิยมเป็นใหญ่ ยิ่งมีความจำ�เป็นที่จะต้องนำ� “แก่นพระพุทธศาสนา” ออกเผยแผ่ให้มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมองการณ์ไกลไปถึงอนาคต ท่านเห็นว่าการพัฒนาที่มุ่งแต่การปรนเปรอชีวิตด้วยความสุข ทางวัตถุนั้น จะนำ�ไปสู่ความทุกข์ทั้งของมนุษย์และสังคมโดยรวม เพราะเป็นการพัฒนาที่ขาดความ สมดุล คือ มองข้ามคุณค่าของการพัฒนาจิตใจมนุษย์ที่ต้องพัฒนาไปด้วยกัน และมนุษย์จะตกเป็น ทาสของวัตถุ จนเกิดการเบียดเบียน แย่งชิงและทำ�ร้ายกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาใน สิ่งที่ตนต้องการ ศีลธรรมจะเสื่อมถอย ชีวิตและสังคมจะเต็มไปด้วยความแก่งแย่ง ขาดความสงบ สุขมากขึ้นทุกขณะ ท่านจึงเห็นความจำ�เป็นที่จะต้องนำ�แก่นแห่งพุทธศาสน์ มาสั่งสอนเพื่อให้ทุกผู้ทุกคนมีชีวิต อยู่เหนือการเป็นทาสวัตถุมี “มหาสติ” ที่ปลอดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นแห่งตนรู้จักการแบ่งปัน และ ดำ�รงชีวิตโดยพอดีจึงเกิดการสร้าง”โรงมหรสพทางจิตวิญญาณ” ขึ้นที่วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช โดย ยึดหลักการพัฒนาทางจิตใจ ให้ใจมีกำ�ลังสูงสุดในการทำ�งานให้แก่พระศาสนา เน้นหลักการของการ มีสติเป็นที่ตั้งและในขณะที่สอนธรรมะแก่ผู้อื่นนั้น การดำ�รงชีวิตภายในวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เอง ก็ได้แสดงธรรมให้เห็นทางอ้อมด้วยว่า การกินอยู่อย่างเรียบง่ายนั้น มิใช่ความทุกข์ หากสามารถ


สร้างความสุขแก่ชีวิตได้ ถ้าบุคคลมีธรรมะเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ความเป็นอยู่ของทุกๆคนในแถบวัดป่า ทุ่งกุลาเฉลิมราช ก็จะบริบูรณ์พร้อมในขณะที่สังคมทั่วไป กำ�ลังเร่งแข่งขันสร้างวัตถุตามกระแสโลก หลวงปู่ต้นบุญกลับมุ่งสร้างสถานที่ใช้สอยต่างๆ ที่อิงกับธรรมชาติ ให้ความสงบแก่ทุกผู้ที่ได้ มาสัมผัส เหล่านี้คือการประยุกต์ธรรมะมานำ�ทางให้แก่ยุคสมัย ตลอด หลายปี ที่สังคมไทยเผชิญ กับปัญหาวิกฤตอันเนื่องมาจากการพัฒนา และความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ท่านหลวงปู่ต้นบุญ ได้พยายามที่จะนำ�พระธรรมคำ�สอนที่เข้ากับยุคสมัย มาอธิบายเพื่อชี้ทางออกให้แก่ผู้คนและสังคม ท่านยังคงแน่วแน่ที่จะเผยแพร่ธรรม และทำ�งานหนักขึ้นอีก เพื่อนำ�ธรรมะนั้นมาชี้นำ�สังคม และนำ� ลูกแก้วทั้งหลายผ่านพ้นห้วงวิกฤตต่างๆไปได้ตามปณิธานที่มุ่งมั่นแห่งพุทธวงศ์


พระผู้เปี่ยมศีลาจริยาวัตร ผู้ขจัดทุกข์ภัยในพระศาสนา ผู้สรรค์สร้างปฏิบัติพัฒนา พระผู้เปลี่ยนทุ่งกุลาให้ร่มเย็น



วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช พ.ศ.๒๕๕๐ หลวงปู่ต้นบุญได้ทำ�การปรับสภาพพื้นที่ ที่เป็นป่ารกทึบ

วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช พ.ศ.๒๕๕๓ หลวงปู่ต้นบุญได้ทำ�การปรับสภาพพื้นที่ ให้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม


ประวัติวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช

ป่าช้าโพนหนามแท่ง เป็นป่าช้าสาธารณประโยชน์ ใช้เป็นทั้งสถานที่ฝังศพ และเป็นที่ สาธารณะเพื่อเลี้ยงสัตว์ของชุมชนบ้านโพนตูม หมู่ที่ ๙ ตำ�บลกำ�แพง อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัด ร้อยเอ็ด มีสภาพเดิมเป็นเนินดินขนาดใหญ่และมีเนินดินเล็ก ๆ รายรอบ มีต้นไม้ประเภทต้นข่อย ต้น หว้า ต้นก่าม ต้นโก ขึ้นอยู่ มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม ส่วนพื้นที่ลุ่มใช้เป็นที่ทำ�นาและเลี้ยงสัตว์ ภาย หลังได้มีการจัดแยกเขตการปกครองของตำ�บลกำ�แพง เป็น ๒ ตำ�บล คือ ตำ�บลกำ�แพงและตำ�บล ทุ่งทอง บ้านโพนตูมถูกจัดอยู่ในเขตพื้นที่ปกครองของตำ�บลทุ่งทอง หมู่ที่ ๕ ในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่แวะพักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานของพระธุดงค์ ซึ่งเป็น ศิษยานุศิษย์ สายหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต บางท่านเคยปรารภว่า สถาน ที่แห่งนี้เหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นวัดวาอาราม เป็นเนื้อนาบุญของชาวพุทธทั่วทุกสารทิศ เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชน บางท่านที่เคยมาพักปักกลดปฏิบัติธรรม ยังได้เล่าถึงนิมิตที่ เคยปรากฏที่บริเวณเนิน ซึ่งปัจจุบันกำ�ลังดำ�เนินการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราช ชัยมงคล มีลักษณะคล้ายลูกไฟพุ่งขึ้นจากดินสู่ท้องฟ้า และแตกกระจายสว่างไสวทั่วบริเวณ บาง ครั้งขณะนั่งปฏิบัติธรรมจะเกิดนิมิตมีลูกแก้วลอยมาจากทิศทั้ง ๔ และตกลงบริเวณพื้นดิน ท่าน จึงแสดงความคิดเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นมงคลสถาน และแนะนำ�ว่าต่อไปภายหน้าจะได้เป็นที่พึ่ง ของชาวพุทธทั่วโลก


จากการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บุญมาและคุณยายวรรณ ศรีสมบูรณ์ หนึ่งในผู้นำ�ชุมชนตำ�บลทุ่ง ทอง ได้เล่าประวัติความเป็นมาของวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชให้ฟังว่า “ในอดีต...บริเวณนี้...เดิมเป็นที่สาธารณประโยชน์...มีแต่ความแห้งแล้ง หน้านำ�้นำ�้ก็ท่วม ทำ�นา หรือปลูกพืชใด ๆ ผลผลิตก็ไม่ดี ถนนหนทางไม่มี มีแต่ความแห้งแล้ง ทำ�ให้คนในชุมชนดำ�รงชีวิตอยู่ ด้วยความลำ�บากและแร้นแค้น แก่งแย่งอาหาร ทะเลาะวิวาท และขาดความสามัคคีต่อกัน” กระทั่งปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กำ�นันสุต นามมนตรี ซึ่งเป็นพ่อบ้านของหมู่บ้านในขณะนั้น ได้ ประชุมชาวบ้านเกี่ยวกับความคิดในการสร้างวัดป่า โดยมีมูลเหตุดังนี้ “เนื่องจากเป็นปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรง พระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา พี่น้องชาวไทยทุกหมู่เหล่าทั้งภาครัฐและเอกชน ได้พร้อมใจกัน แสดงออกซึ่งความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ” ผลจากการประชุมพี่น้องชาวบ้านโพนตูม ตำ�บลกำ�แพง (ปัจจุบันตำ�บลทุ่งทอง) ได้มีมติเป็น เอกฉันท์ร่วมกัน คือ จะดำ�เนินการสร้างวัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดชมหาราช โดยกำ�หนดสถานที่ในการก่อสร้างวัด คือ ที่สาธารณประโยชน์ของชาวบ้านโพน ตูม เมื่อผู้นำ�ชุมชนและชาวบ้านมีมติของประชาคมเห็นพ้องต้องกัน กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะ กรรมการหมู่บ้าน พร้อมด้วยชาวบ้านโพนตูมจึงได้เดินทางไปวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อกราบนมัสการ พระศีลวิสุทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เจ้า อาวาสวัดบึงพระลานชัย (นามเดิมพระศรีจันทร์ ลาวะลี ปุญญรโต ปัจจุบันเป็น พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ ธรรมยุต วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด) และกราบเรียนปรึกษาหารือตามที่ได้มีดำ�ริพ้องกันว่า ควรดำ�เนินการจัดสร้าง เป็นพุทธสถาน ให้เป็นสาธารณประโยชน์ จึงถวายพื้นที่ดังกล่าวในการดำ�เนินการสร้างวัดเฉลิมพระ เกียรติฯ เพื่อน้อมรำ�ลึกด้วยความจงรักภักดี ในพระมหากรุณาธิคุณอันประเสริฐที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีแก่พระพุทธศาสนา และพสกนิกรชาวไทยเป็นคุณูปการ และน้อมถวายเป็นพระ ราชกุศลในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐


ด้วยความเห็นชอบอย่างยิ่งของพระศีลวิสุทธาจารย์ จึงนำ�เจ้าหน้าที่คณะพระสังฆาธิการ ประกอบด้วยเจ้าคณะอำ�เภอ เจ้าคณะตำ�บล และเจ้าอาวาสได้พร้อมกันไปตรวจดูสถานที่ และ เห็นพ้องกันว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะกับการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติ ให้เป็นวัดป่าตามสภาพธรรมชาติ คณะสงฆ์สามเณรโดยการนำ�ของ พระศีลาวิสุทธาจารย์ อันเป็นฝ่ายศาสนทายาท และฝ่ายศาสนูป ถัมภ์ ที่ประกอบด้วยอุบาสก อุบาสิกา ได้ร่วมแรงรวมใจกับคณะชาวบ้านโดยการนำ�ของกำ�นัน ตำ�บลกำ�แพง ดำ�เนินการก่อสร้างวัดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ตรงกับวันเฉลิม พระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และพร้อมใจกันให้ ชื่อวัดว่า “วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช” ตามทำ�เลที่ตั้งซึ่งอยู่ในเขตบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ พระศีลวิสุทธาจารย์ ได้นำ�พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันบุกเบิก ก่อสร้างพัฒนา มาตามลำ�ดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ พ.ศ. ๒๕๓๑ เริ่มขุดคลองรอบบริเวณวัด เนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่ เพื่อสร้างแนวเขตวัด ปลูกบัว และใช้นำ�้รดต้นไม้ สิ้นงบประมาณก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๒ ปลูกต้นไม้ยืนต้นตามแนวคลองรอบวัด สิ้นงบประมาณซื้อพันธุ์ไม้และปรับปรุง บริเวณคลอง ประมาณ ๔๖๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนหกหมื่นบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๓ ขุดสระนำ�้ ขนาด ๑๐๑ x ๑๐๑ เมตร จำ�นวน ๒ สระ เพื่อใช้ประโยชน์ใน การกักเก็บนำ�้ไว้อุปโภคบริโภค รดนำ�้ต้นไม้ และนำ�มูลดินไปถมบริเวณปลูกต้นไม้ และทำ�ถนน สิ้นงบ ประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๔ ดำ�เนินการขอขยายไฟฟ้าจากหมู่บ้านโพนตูม เข้าสู่วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ระยะทาง ๒ กิโลเมตร สิ้นงบประมาณดำ�เนินการ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๕ ขุดสระนำ�้กว้าง ๗๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ๒ แห่ง เพื่อนำ�มูลดินไปถม บริเวณปลูกต้นไม้และใช้นำ�้รดต้นไม้ สิ้นงบประมาณดำ�เนินการ ๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหนึ่ง แสนบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๖ สร้างศาลาการเปรียญปฏิบัติธรรม กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สิ้น งบประมาณก่อสร้าง ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) สร้างห้องนำ�้-ห้องสุขา ๕ ห้อง และ ห้องอาบนำ�้ ๓ ห้อง และขุดสระนำ�้เนื้อที่ ๑๕ ไร่ เพื่อนำ�มูลดินไปถมวัดเพื่อปลูกต้นไม้และใช้นำ�้ อุปโภคบริโภค สิ้นงบประมาณ ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างพระประธาน ๓ องค์พร้อมแท่นพระประธาน ภายในศาลาการเปรียญ ปฏิบัติธรรม สิ้นงบประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) พ.ศ. ๒๕๓๘ ปลูกต้นไม้ถาวรเฉลิมพระเกียรติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ (คุณสุวิทย์ คุณกิตติ) และคณะ พร้อมด้วยประชาชนประมาณ ๖,๐๐๐ คน


ศาลาปฏิบัติธรมม หลังแรก พ.ศ.๒๕๓๐

พ.ศ. ๒๕๓๙ ขุดสระนำ�้ขนาด ๓ ไร่ เพื่อนำ�มูลดินไปถมบริเวณฌาปนสถานและใช้นำ�้รด ต้นไม้ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๙ ปรับปรุงบริเวณวัดปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ตกแต่งถนนภายในวัด ทำ� แปลงไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำ�ริ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ เปิดศูนย์ ปฏิบัติธรรมของประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ดำ�เนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน มอบหมายภาระหน้าที่ทั้งหมดให้พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญฺโญ (หลวงปู่ต้นบุญ) เจ้าอาวาสวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ดำ�เนินการพัฒนาวัดและชุมชน ทั้งในด้านศาสน สงเคราะห์ และสังคมสงเคราะห์ รายละเอียดดังจะกล่าวในลำ�ดับต่อไป



..ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.. ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก



บุพกิจในการสร้างมหาบารมี ณ ดินแดนบ้านเกิดที่สำ�นักปฏิบัติธรรมพระธาตุศรีจำ�ปามหา รัตนาราม บ้านคำ�นำ�้เย็น ตำ�บลพังโคน อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร หลวงปู่ต้นบุญได้สืบสาน งานพระศาสนา บ่มเพาะความเจริญทางธรรมให้แก่สาธุชนในท้องถิ่นและศิษยานุศิษย์ให้เจริญรุ่งเรือง ขึ้น เป็นลำ�ดับดังนี้

พระธาตุศรีจำ�ปามหารัตนมณี ณ บ้านคำ�นำ�้เย็น ตำ�บลพังโคน อำ�เภอพังโคน พระธาตุเจ้าผู้ข้าอัฐถาวาส ณ บ้านไผ่ทอง ตำ�บลช้างมิ่ง อำ�เภอพรรณานิคม พระธาตุพุทธนิมิตร ณ วัดผาเทพนิมิต บ้านดงสว่าง ตำ�บลนิคมนำ�้อูน อำ�เภอนิคมนำ�้อูน



ณ บ้านคำ�นำ�้เย็น ตำ�บลพังโคน อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร


ณ บ้านไผ่ทอง ตำ�บลช้างมิ่ง อำ�เภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


ณ วัดผาเทพนิมิต บ้านดงสว่าง ตำ�บลนิคมนำ�้อูน อำ�เภอนิคมนำ�้อูน จังหวัดสกลนคร



และนั่นเป็นสิ่งที่บอกเล่าถึงความเพียรและมหาบารมีของหลวงปู่ ต้นบุญ ในการนำ�ศรัทธามหาชน สร้างศาสนสถาน เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธ บูชาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแด่ พุทธบริษัท เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่จะได้บอกเล่าถึงความเจริญใน พระพุทธศาสนาในกาลสมัยปัจจุบัน นอกจากศาสนสถานและศาสนวัตถุที่หลวงปู่ต้นบุญได้พัฒนาให้เกิด ความเจริญแล้ว บุพกิจในการสร้างความเจริญในธรรมของศิษยานุศิษย์ ก็เจริญงอกงาม ดุจดั่งการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งพระพุทธศาสนา ด้วยวัตร ปฏิบัติและปฏิปทาอันงดงาม ประกอบกับความเพียรอย่างไม่ย่อท้อและ เหน็ดเหนื่อยของหลวงปู่ต้นบุญ ส่งผลสู่ธารสายบารมี ที่ศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันร่วมสร้างมหาบารมี มหากุศล ให้เกิดทั่วทั้งผืนแผ่นดิน สุวรรณภูมิแห่งนี้


ต่อมาเมื่อพระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระ อารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มอบหมายให้หลวงปู่ต้นบุญ รับตำ�แหน่งเจ้าอาวาส ณ วัดป่าทุ่งกุลา เฉลิมราช บ้านโพนตูม ตำ�บลทุ่งทอง อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด นับแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา นับแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ หลวงปู่ต้นบุญได้นำ�คณะศิษยานุศิษย์ ญาติโยมและสาธุชน ร่วมบำ�เพ็ญ มหาบารมี ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชอย่างไม่ลดละ การพัฒนาเริ่มจากการสร้างความเจริญทางด้าน สาธารณูปโภคให้แก่ท้องถิ่น อาทิเช่น ถนนหนทาง ศาลาปฏิบัติธรรม ลานปฏิบัติธรรม พระพุทธปฏิมากร กุฏิสงฆ์ สำ�นักชี เรือนพักสำ�หรับผู้ปฏิบัติธรรม ห้องนำ�้ห้องสุขา ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ ได้ กำ�ลังสำ�คัญคือ ศิษยานุศิษย์จากทั่วสารทิศ ระดมทุนระดมแรงและระดมความคิด ร่วมมือร่วมใจ ทำ�ให้ บุพกิจดังกล่าว เกิดขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพและดึงสาธุชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการสืบสาน งานพระศาสนา นับเป็นกุศโลบายอันประณีตและลึกซึ้งในการจำ�แนกธรรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่มีความ แตกต่างกัน มหากฐิน ปีแรก (พ.ศ.๒๕๕๐) ที่หลวงปู่ต้นบุญ รับตำ�แหน่งเจ้าอาวาส คณะศิษยานุศิษย์ ญาติโยมและสาธุชน ตำ�บลทุ่งทองและใกล้เคียง มาร่วมงานอย่างมากมาย


เมื่อสาธุชนในท้องถิ่น ซึ่งดำ�รงชีวิตอยู่บนความแร้นแค้น บนผืนดินอันแห้งแล้ง ประกอบอาชีพ การงานอันสุจริต มีรายได้เพียงพอเลี้ยงดูคนในครอบครัว ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความ ยากจน อาชญากรรมหรือความขัดแย้งในชุมชน เพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ�กัดได้ยุติลง ส่ง ผลให้ชุมชนเกิดศรัทธา และดำ�เนินตามมรรควิธีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้รับการถ่ายทอด จากหลวงปู่ต้นบุญผ่านการเทศนาและวัตรปฏิบัติอันงดงามของท่าน ปุถุชนเมื่อได้รับการตอบสนองปัจจัยขั้นพื้นฐานแล้ว หากมิได้รับการขัดเกลากิเลสให้เบาบาง ลง การเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อนำ�มาซึ่งความสุขทางโลกิยวิสัยก็จะตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อศรัทธา มหาชนเกิดขึ้น ความเพียรในการสร้างทัศนคติโดยมีธรรมะนำ�ชีวิตให้กับชุมชนได้ดำ�เนินการอย่างต่อ เนื่อง คณะศิษยานุศิษย์ไม่เพียงแต่ร่วมสร้างมหาบารมีในส่วนของศาสนสถานและถาวรวัตถุ แต่ยังร่วม สร้างทัศนคติที่ดีให้แก่ชุมชน ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ยากดี-มีจน สกุลสูง-ต่ำ� ต่างก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ต้นบุญอย่างเท่าเทียมด้วยกันทั้งสิ้น ความ เอื้ออาทรเกิดขึ้น ทั้งคณะศิษยานุศิษย์ทั้ง ๔ ทิศ ๘ ทางและสาธุชนในท้องถิ่น เผื่อแผ่ถึงชุมชนอื่น เกิด เป็นความสามัคคี เป็นเครือข่ายและกองทัพธรรมที่เข้มแข็ง เป็นอารยธรรมที่งดงามบังเกิดขึ้นแล้วใน หมู่มหาชน งานพัฒนาทางด้านศาสนสงเคราะห์และสังคมสงเคราะห์ถูกดำ�เนินการเป็นคู่ขนาน หลวงปู่ ต้นบุญไม่เพียงเป็นผู้นำ�ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำ�ในการพัฒนาจิตวิญญาน ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานชีวิตนำ�สาธุชนเข้าสู่กระบวนการทางธรรม และอาจกล่าวได้ว่า ความสงบสุขในสังคมและชุมชนเล็ก ๆ ของหมู่บ้านโพนตูมและชุมชนรอบๆ ได้ก่อ ตัวขึ้นจากพลังศรัทธาของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่สละทั้งกำ�ลังกาย กำ�ลังใจและกำ�ลังทรัพย์ เพื่อร่วมสร้าง มหาบารมี ได้อานิสงส์เป็นอริยทรัพย์ที่บังเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันตาและยังผลสืบไป เพื่อเป็นพละวะ ปัจจัยในอนาคตกาลของหมู่ศิษยานุศิษย์ทั้งปวง


ในขณะที่ทุกชีวิตใช้วิถีที่แตกต่าง แต่สิ่งที่แสวงหากลับเหมือนกัน ขณะที่มุ่งสู่การแสวง กับไม่ได้รับอะไรจากการมุ่งแสวงหา สิ่งที่ได้รับคล้ายมีกับไม่มี เมื่อนั้นมนุษย์ที่หมู่เหล่า เฝ้ารักษาสิ่งที่อยู่ กำ�้กึ่งระหว่างการมีกับไม่มี นั้นก็เพียงแต่รักษาความสมดุลไว้เท่านั้น


จากวัดป่าเล็กๆ ในอดีต กลายเป็นอุทยานพุทธะ...เป็นมงคลสถาน... ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนและสาธุชนทั้ง ๔ ทิศ ๘ ทาง ให้เป็นที่พึ่งของชาวพุทธทั่วโลก ดังคำ�ปรารภของศิษยานุศิษย์ สายหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่กล่าวว่า “สถานที่แห่งนี้เหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นวัดวาอาราม เป็นเนื้อนาบุญของชาวพุทธทั่วทุกสารทิศ เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชน”


นับแต่หลวงปู่ต้นบุญจากดินแดนบ้านเกิด... จากสาธุชนในท้องถิ่น... จากศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่คุ้นเคย...สู่ดินแดนแห่งใหม่ เมื่อมองไปรอบกายมีเพียงอัฐบริขารชุดเดิมที่คุ้นตา ผืนดินแห้งแล้งโอบล้อมรอบตัว... ไอร้อนระอุพัดผ่านร่าง... ปลายจีวรปลิวไสว เราจะเริ่มต้นอย่างไรดีหนอ.. หลวงปู่ได้แต่รำ�พันอยู่ในใจ…


“ ทุ่งกุลาร้องไห้ ” พื้นทุ่งราบกว้างใหญ่สุดสายตา...เต็มไปด้วยความ แห้งแล้งและทุรกันดาร...ความร้อน...ความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินและนำ�้ ความ ลำ�บากในเรื่องของถนนหนทางและสาธารณูปโภค เป็นมูลเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้พื้นที่ใน เขตทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการพัฒนาช้ากว่าท้องถิ่นอื่นๆ แม้สภาพภูมิศาสตร์ของทุ่งกุลาร้องไห้ มิได้เอื้ออำ�นวยและดึงดูด ให้เหล่า สาธุชนและคณะศิษยานุศิษย์จากที่ ต่าง ๆ เดินทางเข้ามาแสวงบุญ แต่ด้วยความ เพียรและวัตรปฏิบัติอันงดงามของหลวงปู่ต้นบุญ ความยากลำ�บากดังกล่าวมิได้ เป็นอุปสรรคที่จะสร้างความย่อท้อแต่อย่างใด กลับเป็นหนทางในการนำ�พาหมู่ คณะสาธุชนและเหล่าศิษยานุศิษย์ ที่มีจิตศรัทธาอย่างแรงกล้าในการสืบสานงาน พระพุทธศาสนา ต่างหลั่งไหลเข้ามา เพื่อร่วมสร้างมหาบารมีอย่างแท้จริง สาธารณูปโภคและความสะดวกแบบเรียบง่าย...เรือนพักสำ�หรับผู้ปฏิบัติ ธรรม ห้องนำ�้ ห้องสุขามิดชิด เป็นสัดส่วน ประปา ไฟฟ้า ถนนทางเดิน โรงครัว และ อื่นๆ ถูกจัดสร้างเพื่ออำ�นวยความสะดวกให้สาธุชนทั้งหลายได้เข้าสู่กระบวนการ ทางธรรม…สิ่งอำ�นวยความสะดวกเหล่านี้ ใช้ทั้งกำ�ลังกาย กำ�ลังใจและกำ�ลังทรัพย์ ของเหล่าสาธุชนทั้งหลาย ที่ได้น้อมจิตน้อมใจอันเป็นมหากุศลมาร่วมกัสร้าง ทั้งยัง ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ


ในที่สุด...ผืนแผ่นดินทุรกันดาร แห้งแล้ง แปรเปลี่ยนเป็นผืนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ถนนเส้นนี้...มิได้เป็นเพียงถนนลูกรังขรุขระ แต่ยังมีขวากหนามวางอยู่เป็นระยะ เพื่อทดสอบความเพียรของผู้กล้าครั้งแล้วเล่า

ร่มเงาไม้ได้บังเกิดแล้ว...บนผืนแผ่นดินที่ระอุ...ด้วยไอแดด...จิตใจที่ร้อนรุ่ม ด้วยเพลิงกิเลส..มีที่พักพิง...เกิดความเย็นกาย...สบายใจ...ในหมู่ชน...หลวงปู่ต้นบุญได้ สืบสานงานพระพุทธศาสนาภายในวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช โดยมีวัตถุประสงค์และ ภารกิจหลัก ดังนี้ ๑. เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กับพุทธศาสนิกชน ๒. เป็นสถานที่อบรมนักเรียน เยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม คำ� สอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓. เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ๔. เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำ�คัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ตลอดระยะเวลา ๒ ปี ที่ดำ�รงตำ�แหน่งเจ้าอาวาส พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญโญ ได้สร้าง ความเจริญ ทั้งทางวัตถุ ธรรมชาติ และทางธรรมมากมาย ให้แก่วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชแห่งนี้ และ พุทธบริษัททั้งใกล้และไกล อาทิ ๑. ฟื้นฟูบูรณะและสร้างเสริมเสนาสนะ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต ของพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนที่มาปฏิบัติธรรมและแสวงบุญ ให้ได้รับความสะดวกสบาย เพียงพอตามความเหมาะสม เช่น ดำ�เนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาอเนกประสงค์ ปรับปรุงถนน จัด ตั้งสำ�นักงานวัดฯ ร้านค้าจำ�หน่ายของใช้จำ�เป็น ดำ�เนินการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิพระสงฆ์ เรือนพักแม่ชี หอฉันท์ อาคารโรงครัว ห้องนำ�้ ห้องสุขา โรงอาบนำ�้ และระบบประปาที่ใช้นำ�้จาก สระนำ�้ที่ขุดขึ้น เป็นต้น

กำ�ลังสร้างหอฉันท์


ติดตั้งเสาไฟฟ้ารอบบริเวณวัด


ที่พักสำ�หรับผู้มาปฏิบัติธรรม


ห้องนำ�้สะอาด แบ่งแยกชายหญิงเป็นสัดส่วน มีหลายจุดรอบบริเวณวัด


โรงครัวหลังใหม่ที่สะอาด เป็นสัดส่วน

เรือนพักแม่ชี สงบเงียบ เป็นสัดส่วนมีรั้วรอบขอบชิด


ที่พักผ่อนร่มไม้ บรรยากาศร่มรื่น ข้างศาลา


แปลงปลูกผัก ที่พักแม่ชี


๒. จัดบรรพชาสามเณร และอุปสมบทพระภิกษุ ประจำ�ปี

๓. จัดการบวชและอบรมชีพราหมณ์เป็นประจำ�เมื่อมีงานบุญของวัดฯ (โดยเฉลี่ยทุก ๒ เดือน)


๔. ดำ�เนินการศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำ�หรับเยาวชนและพุทธบริษัท ในตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการศูนย์ฯ ทำ�การฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม ตามรอยพระบาทพระเจ้าอยู่หัว เดือนละ ๑ หรือ ๒ ครั้ง ๆ ละประมาณ ๒๐๐-๔๐๐ คน


๕. เผยแพร่พระธรรมคำ�สั่งสอนและ การปฏิบัติธรรมสู่ประชาชน โดยรับนิมนต์เป็น วิทยากรบรรยายธรรมในสถานที่ต่างๆ ในหลาย จังหวัด เช่น สกลนคร มหาสารคาม สุรินทร์ กรุงเทพมหานคร สงขลา ยะลา เป็นต้น รวมทั้ง จัดตั้งสถานีวิทยุกองทัพพิทักษ์ธรรม ๑๐๓.๕ MHz ที่วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช อันประกอบด้วยอาคาร สถานี เสาอากาศวิทยุ ขนาดกำ�ลังส่ง ๑,๐๐๐ วัตต์ เสาสูง ๕๔ เมตร ให้บริการครอบคลุมได้ ๑๐ อำ�เภอใน ๔ จังหวัด (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ และสุรินทร์)

๖. สร้างพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๔.๒๐ เมตร ๑ องค์ อีก ๔ องค์ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร


และพระสีวลี ขนาดสูง ๙.๕๐ เมตร เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับพุทธศาสนิกชน ที่ไปวัด และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการศึกษา ประวัติความเป็นมาของแต่ละพระองค์

พระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร (หลวงพ่อทันใจ) ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ เมตร สูง ๘ เมตร


๗. จัดทำ�โครงการต่าง ๆ อันเป็นสาธารณประโยชน์ อาทิ โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ในเขต วัด ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ต้นไม้มงคล และต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ (พระศรีมหาโพธิ์จากอินเดีย) ให้เป็นที่ สงบร่มรื่นสำ�หรับปฏิบัติสมาธิกัมมัฏฐาน โครงการไถ่ชีวิตโค เพื่อสนับสนุนคำ�สอนทางพระพุทธ ศาสนา และเพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาภาคเกษตรของโรงเรียน หรือเป็นแรงงานและ ทำ�ปุ๋ยปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้นสำ�หรับการเพาะปลูก โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ โครงการบริจาคเครื่องกรองนำ�้ เพื่อผลิตนำ�้สะอาดสำ�หรับบริโภคให้แก่โรงเรียนต่างๆเป็นต้น


๘. โครงการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคล ขนาดเจดีย์สูงประมาณ ๕๔ เมตร ฐานกว้าง ๑๔ x ๑๔ เมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากทั่วโลก และน้อมถวายเป็นพุทธ บูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

นอกจากบุพกิจดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น วัตรปฏิบัติในการเทศนาอบรมสั่งสอนสรรพ ชีวิต ก็มิได้ว่างเว้น เพื่อสร้างพลังศรัทธาซึ่งเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการสืบสานงานพระศาสนา งานสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ ภาพหลวงปู่ต้นบุญวางแผนงาน ลงมือก่อสร้าง ทำ�นุบำ�รุงศาสนสถานและศาสนวัตถุ อย่างเต็มกำ�ลัง ราวกับว่าสังขารนี้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เป็นภาพที่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายคุ้นเคย เสมอ ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของท่าน เป็นต้นแบบตามมรรควิธีขององค์พระศาสดาสัมมาสัม พุทธเจ้า ให้หมู่มหาชนได้น้อมนำ�และปฏิบัติตาม สมกับสมัญญานาม “ต้นบุญ” อย่างแท้จริง


นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ไม่มีไฟใดเสมอด้วย ราคะ ไม่มีโทษใดเสมอด้วย โทสะ ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วย เบญจขันธ์ ไม่มีสุขใดเสมอด้วย ความสงบ



๑๔ ก.พ. ๒๕๕๓


๑๔ ก.พ. ๒๕๕๓


การฟังธรรมเป็นสิ่งจำ�เป็นที่เราท่านทั้งหลาย ต้องให้ความสำ�คัญ แต่ธรรมะหรือคำ�สอนของสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หากเราได้ศึกษาเล่าเรียนมาเป็นวิชาความรู้ เรียนจน ชั่วชีวิตอาจจะไม่จบสิ้น เนื่องด้วยเพราะคัมภีร์พระ ไตรปิฏกตัวบาลีมีถึง ๔๕ เล่ม หากแปลคำ�ต่อคำ�จะได้ ๔๕ เล่มเช่นเดียวกัน แต่ถ้ารวม อรรถกถา ฎีกาด้วยแล้ว ก็จะได้หลายสิบเล่ม ดังนั้นวิชาความ รู้ทั้งหลายที่มีจารึกในคัมภีร์พระไตรปิฏก เราควร ทำ�ความเข้าใจว่าเป็นทฤษฎีหรือเป็นวิชาที่ให้เราศึกษา เป็นเครื่องมือค้นคว้าหาความจริง ซึ่งคำ�สอนของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นหลักวิชา เป็น หลักสูตร เป็นเครื่องมือซึ่งจะนำ�ให้เราเข้าไปหาสิ่งที่ เรียกว่า สัจธรรมของจิต เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส


ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ทุกข์ สมุหทัย ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และสิ่งที่มีอยู่ จริงทั้งหลายเหล่านั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าทรงค้นพบ คนที่เกิดก่อนพระพุทธเจ้า รู้ เพียงแต่ว่า มนุษย์มีทุกข์ตามสัญญา และมนุษย์ มีทุกข์เพราะความทะเยอทะยานตามสัญญา

ความจริง และความจริงอันนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสร้าง ขึ้น หากเป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่แล้วประจำ�โลก ซึ่งองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้ก่อนใครในโลก

นรกและสวรรค์ นรกเป็นแดนรองรับบุคคลที่ ทำ�บาป สวรรค์เป็นแดนรองรับบุคคลผู้ทำ�บุญ ทำ�ความ ดี อันนี้ก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้น พระพุทธเจ้าทรง คำ�ว่า “บุญ” เป็นชื่อของความดี คำ�ว่า “บาป” ทราบว่านรกมีจริง สวรรค์มีจริง และทรงทราบแนวทาง เป็นชื่อของความชั่ว เป็นชื่อของธรรมชาติที่มีอยู่แล้วใน ที่จะเป็นเหตุให้มนุษย์และสัตว์ขึ้นสวรรค์ หรือลงนรก อัน โลก เป็นของจริงตามธรรมชาติ คือ บาปกับบุญนี้เป็นสิ่ง นี้ก็เป็นความจริงที่มีอยู่ประจำ�โลก ที่มนุษย์ทำ�ขึ้น ประกอบขึ้น เรามีกายกับใจ ภายในกาย ความจริงอีกอย่างหนึ่ง คือ มรรค ผล ของเรามีใจเป็นใหญ่ กายเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของใจ เมื่อใจบงการให้กายทำ�อะไร วาจาพูดอะไรลงไป ใจจะ นิพพาน ก็มีมานานหลายกับป์ ใช่จะมีแต่ในสมัยของ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หมายถึง การทำ�บุญก็ดี ทำ�บาปก็ พระพุทธศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้าเท่านั้น แม้ ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ดี ในเมื่อใจสั่งการให้กายทำ�อะไรลงไปแล้ว ไม่ว่าสิ่งนั้น ที่ ท รงปริ นิ พ พานไปแล้ ว นั บ ไม่ เป็นของดีหรือของไม่ดีก็ตาม จะมากลับจิตกลับใจ ถ้วน พระพุทธเจ้าพระองค์ ว่าฉันทำ�เล่นๆ ไม่ต้องการผลตอบแทน แต่ก็หลีก ใดทรงตรัสรู้ ก็ทรงตรัสรู้ เลี่ยงไม่ได้ ทำ�ไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะกฎของ อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุห บุญและบาปนี้เป็นของจริง ใครทำ�แล้วต้องได้ รับผลจริง ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ อันนี้ก็คือ


ทัย นิโรธ มรรค ทรงตรัสรู้ไม่แตกต่างกัน สิ่งที่พระองค์ ตรัสรู้ที่เรียกว่า สัจธรรมหรืออริยสัจ เป็นกฎธรรมชาติ ความจริงที่มีอยู่แล้วประจำ�โลก พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และบรรลุสัจธรรมนั้นๆ ดังนั้น ความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ บาป บุญ นรก สวรรค์ ไม่ใช่มีแต่ในพุทธศาสนา แม้ศาสนาอื่นๆ ก็ รับรองว่ามีบาป บุญ นรก สวรรค์ สำ�หรับพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้พบแนวทาง ที่จะปฏิบัติให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในเบื้ อ งต้ น พระพุ ท ธเจ้ า ทรงศึ ก ษาปฏิ บั ติ ต าม แบบศาสนาพราหมณ์ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระ ศาสดา ผู้มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม ทรงสามารถ ตรั ส รู้ สิ่ ง ที่ ล ะเอี ย ดเหนื อ ความรู้ นั ก ปราชญ์ ในสมั ย นั้ น พระองค์จึงทรงสามารถค้นพบแนวทางปฏิบัติให้ถึงพระ นิพพานได้ ดังนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรง เป็นศาสดาเอกของโลก ไม่เฉพาะแต่ชาวพุทธ แม้ศาสนา อื่นๆ ก็ยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นศาสดาที่ประเสริฐที่สุด ศาสนาพราหมณ์บัญญัติคำ�สอนสูงสุดถึงพรหมโลก แต่ พระพุทธเจ้าบัญญัติคำ�สอนสูงสุดถึงพระนิพพาน

การเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย หรือการสอน ธรรมะในเมืองไทย คล้ายกับว่าคำ�สอนนั้นมันเฟ้อ เฟ้อ เสียจนผู้ฟังไม่สามารถจะจับต้นชนปลาย ผู้ฟังผู้ศึกษา เป็นเหมือนผู้มีความรู้ แต่ไม่รู้ว่าเอาธรรมะหรือคำ� สอนนั้นมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำ�วันได้ อย่างไร ซึ่งการเข้าถึงธรรมะหรือการนำ�ธรรมะมาเป็น ประโยชน์แก่ชีวิตประจำ�วันไม่มีทางใดดียิ่งไปกว่าการ ภาวนา การภาวนาก็คือการเจริญกัมมัฏฐาน การเจริญ สมถกัมมัฏฐาน การทำ�สมาธิภาวนาทุกแบบสามารถ ทำ�ให้จิตสงบลงเป็นสมาธิได้ หมั่นฝึกฝนภาวนาจน กระทั่งจิตสงบนิ่งลงเป็นสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอ กกัคคตา ทำ�ให้คล่องแคล่ว ชำ�นิชำ�นาญ จนสามารถ จิตสงบได้ทันทีเมื่อตั้งใจทำ�สมาธิ หรือบางทีพูดคุยกัน อยู่ จิตก็สงบลงเป็นสมาธิ ธรรมะที่เกี่ยวข้องกับการฝึกจิตที่หลวงปู่ต้น บุญ มักจะให้แก่ศิษยานุศิษย์ คือ “สัญญมะ” ในที่นี้แปล ว่า การยับยั้งหรือการควบคุมบังคับอากัปกิริยา หมาย ถึง เครื่องแสดงออก หมายถึง อาการที่แสดงออก ท่านอรรถาธิบายง่ายๆ ว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ศีล”


ลำ�ดับต่อไปละเอียดเข้าไปถึงเรื่องของ “ใจ” ใจ หากพิจารณาใคร่ครวญดู สัญญมะนั้นประกอบด้วยการ ตัวนี้เป็นใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ใจนี้เป็นใหญ่ เมื่อ กระทำ� ๓ อย่างคือ ใจไม่สั่ง กายก็ไม่กระทำ� เมื่อใจไม่สั่ง วาจาไม่ออก ใจนี้จึง เป็นใหญ่กว่า แต่ยิ่งใหญ่เกินไป เปรียบเหมือนกับดาบ ๒ การกระทำ�อย่างที่ ๑ คือ กาย คม ถ้าคิดไปในทางที่เป็นกุศล ก็เป็นกุศลอย่างล้นเหลือ การกระทำ�อย่างที่ ๒ คือ วาจา แต่ถ้าคิดไปในทางที่เป็นอกุศล ก็เป็นอกุศลอย่างล้นเหลือ การกระทำ�อย่างที่ ๓ คือ ใจ เช่นเดียวกัน มันมีอยู่ ๒ อย่าง แบ่งไว้เป็น มโนทุจริต กับ กาย ทำ�อย่างไรจึงชื่อว่ามี “สัญญมะ” กายนั้น มโนสุจริต ต้องประกอบไปด้วยอาการ ๓๒ หรือแม้กระทั่งว่าไม่ครบ จะเห็นได้ว่า “สัญญมะ” ตัวเดียว คือ การเข้าไป อาการ ๓๒ แต่ขอให้เป็นมนุษย์ปุถุชน ผู้มีร่างกาย มีเลือด เนื้อประกอบเข้าด้วยกัน สะสมเข้าด้วยกันเป็นมนุษย์ขึ้น ควบคุม การเข้าไปยับยั้ง โดยสัญญมะตัวนี้ มีความสำ�คัญ มันสามารถ มา มีร่างกาย มีอาการต่างๆ ร่างกายนี้แบ่ง ๔ อย่าง โดย ต่อชีวิตและวิถีชีวิตของเราอย่างแท้จริง เปลี่ยนอากัปกิริยาของเราได้ สามารถเปลี่ยนแปลงวาจา อาการต่างๆ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้ดีและให้งาม ของเราได้ สามารถเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณของเราได้ ในเรื่องของอาการทาง “วาจา” ก็เช่นกัน การใช้ จากการยับยั้งไม่ได้เป็นยับยั้งได้ จากการควบคุมไม่ได้ วาจาพูดออกมา ด้วยวาจาส่อการประทุษร้าย วาจาส่อ เป็นควบคุมได้ จากการบังคับไม่ได้ก็เป็นบังคับได้ ไปสู่ใน การลักขโมยของผู้อื่น วาจาส่อการที่จะผิดลูกผิดเมีย แนวทางที่ดี เมื่อยับยั้งได้ทุกข์ก็น้อยลง ทุกข์อยู่เหมือนกัน เขา เพียงแค่พูดออกไปก็ผิดจากระบบของมรรคที่เป็น แต่ทุกข์น้อยลง คือ ยับยั้งได้ทั้ง โลภ โกรธ หลง อยู่ จากระบบของสัญญมะ คือ ขาดการควบคุมและการ จะเห็นได้ว่า ธรรมะจากหลวงปู่ต้นบุญนั้น มีความ ยับยั้งไว้ วิจิตรและลึกซึ้ง ที่มักกล่าวถึงเรื่องสัญญมะ หรือ เรื่อง เกี่ยวกับ “ศีล” เป็นลำ�ดับแรก ๆ ในการสั่งสอนปุถุชน เพื่อให้เข้าถึงพระสัจธรรมในลำ�ดับต่อ ๆ ไป หากเรา พิจารณาตามพระโอวาทที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ทรงกล่าวไว้ว่า ศีลอบรมสมาธิ...สมาธิอบรม ปัญญา...ปัญญาอบรมจิตเพราะฉะนั้น...ศีล สมาธิ ปัญญา...เป็นคุณธรรมที่หนุนเนื่องกัน


เมื่อใช้วิถีชีวิตที่แตกต่าง แต่ความพอใจในสิ่งที่แสวงหากลับเหมือนกัน สุข..ทุกข์..ใช่เป็นสิ่งที่เราต้องการแท้จริงหรือ ระหว่าง...ได้รับ...หรือ...สูญเสียไป ไยจึงต้องคำ�นึงถึงผลของมัน เพราะที่แท้เพียงแค่คำ�ว่า... ยึดติด...เท่านั้นเอง



“ความปรารถนาของเรา...มิได้ยิ่งใหญ่อะไร… มหาปณิธานของเราก็มิได้...เลอเลิศวิเศษอะไร แต่...เราเห็นว่ามนุษย์ทั้งหลายยังทุกข์อยู่ และเราก็เพียงต้องการให้ความทุกข์ของเขาเหล่านั้น... หมดสิ้นไป...เท่านั้นเอง”

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณีและแนวคิดทางด้านศาสนา นำ�มาซึ่ง ปัญหาสังคมในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม โสเภณี ความยากจน เป็นวิกฤติการณ์ทางสังคม มีสาเหตุทั้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเอง และสาเหตุจากกระแสโลกที่ เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาดังกล่าวต้องแก้ไขด้วยการเปลี่ยนกระบวนความคิดหรือวิธีคิดใหม่ โดย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องผนึกกำ�ลังกันทุกภาคส่วน ทำ�งานเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหา ที่เกิดขึ้นจะแก้ไขทีละเรื่องไม่ได้ ต้องทำ�พร้อมกันทุกเรื่องแบบบูรณาการ โดยมีครอบครัวและชุมชน เป็นหลัก ปัญหาทางสังคมที่เป็นปัญหาใหญ่ในชุมชน คือ ปัญหายาเสพติด ความยากจนและการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้เกิดการหย่าร้างและในที่สุดได้กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป วัฒนธรรม และค่านิยมในสังคมที่เปลี่ยนไป ความพึงพอใจในวัตถุนิยม เป็นมูลเหตุสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็ง เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่คิดว่า “เงิน” เป็นสิ่งสำ�คัญในการดำ�รงชีวิต


อาจกล่าวได้ว่า มูลเหตุหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เกิดจากปัญหาทางด้าน ภูมิศาสตร์ในชุมชน ปัญหานำ�้ท่วมและความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ� ทำ�ให้ผลผลิตทางการ เกษตรไม่ดี ประชากรจึงต้องออกไปทำ�งานด้านอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด ปล่อยเด็ก ๆ ลูกหลาน อยู่บ้านกับปู่ย่า ตายาย เพียงลำ�พัง ส่งแต่เงินกลับมาบ้าน ไม่มีใครให้คำ�ปรึกษา แม้แต่สถาบันการ ศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำ�คัญรองจากครอบครัว ปัญหาที่ตามมา คือ เด็กมีความกร้าวร้าว ติดสิ่งเสพ ติดและมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร แนวโน้มการติดยาเสพติด สถานการณ์เอดส์และการตั้งท้องที่ไม่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข จากรายงานสถานการณ์เอดส์ในจังหวัด ร้อยเอ็ด ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ พบผู้ป่วยทั้งสิ้น ๖,๐๔๖ ราย เสียชีวิต ๑,๐๕๗ ราย และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เพิ่มขึ้นอีก ๘๗ ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานอายุระหว่าง ๒๕-๓๔ ปี สาเหตุของการ ติดเชื้อเอดส์เกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ติดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันตนเอง และพบผู้ป่วยราย ใหม่ มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจัยที่เอื้ออำ�นวยให้เกิดปัญหาเหล่านี้อาจสรุปได้ ดังนี้ ๑. สภาวะของสังคม สภาพทางสังคมที่ไม่ปกติ ครอบครัวไม่สามารถดำ�รงชีวิตได้อย่างมี ความสุข ก่อให้เกิดแรงผลักดันให้ต้องพึ่งยาเสพติด ๒. ขนบธรรมเนียมและประเพณี มี ส่วนสำ�คัญในฐานะปัจจัยเกื้อหนุนต่อการใช้ ยาเสพติด เช่น ครอบครัวที่พ่อแม่มีอาชีพ ต้มเหล้าขาย หรือเปิดร้านขายเหล้า บุหรี่ หรือครอบครัวที่พ่อแม่ นิยมตั้งวงกินเหล้า เล่นไพ่ สูบบุหรี่ รวมทั้งธรรมเนียมพื้นบ้าน ของบางท้องถิ่นที่ชักชวนกันเสพสิ่งเสพติด กันอย่างสนุกสนานในเทศกาลต่างๆ ย่อม เป็นองค์ประกอบที่ชักจูงให้เด็กหันไปเสพสิ่ง เสพติดตามอย่างได้อย่างง่ายดาย ๓. อิทธิพลความฟุ้งเฟ้อ เป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ทำ�ให้คนในสังคมหันไปเสพสิ่งเสพติด เช่น การเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ การ กระทำ�ตามอย่างของวัยรุ่น ที่คิดว่ายาเสพ ติดเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวและจำ�เป็นต้องใช้เพื่อ เพิ่มความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่


๔. ขาดแคลนแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ การที่ประชาชนในสังคมขาดแคลนแหล่งพักผ่อนทั้งกาย และใจ ทำ�ให้ไม่มีช่องทางผ่อนคลายความเครียดและความกดดัน ประชาชนบางส่วนจึงหันเข้าหา การพักผ่อนด้วยการดื่มเหล้า “ วัด ” เป็นสถาบันทางศาสนา ที่มีบทบาทสำ�คัญในการสร้างกระบวนทรรศน์ใหม่ในการ พัฒนาชุมชน เนื่องจากวัดเป็นสถาบันที่สำ�คัญอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน บทบาทของวัดต่อชุมชน ที่ปรากฏตามหลักแห่งธรรมวินัยและบทบาทของวัดต่อชุมชนเมืองที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน ยังคง มีหน้าที่หลักคือ การสืบทอดหลักธรรมคำ�สอนและอุดมคติทาง พระพุทธศาสนาไปสู่สังคมและ ชุมชนไทย สืบทอดมานับแต่อดีตจนปัจจุบัน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ของสังคมและชุมชนไทยผูกติดอยู่ กับหลักคำ�สอนในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้นมาเป็นเวลายาวนาน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง และ เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอารยธรรมของสังคมและชุมชนไทย

บทบาทของวัดกับชุมชนเมืองอาจแบ่งได้ ๗ ด้าน คือ ๑. บทบาทด้านการศึกษา ๒. บทบาทด้านการท่องเที่ยว ๓. บทบาทด้านพิธีการทางศาสนา ๔. บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ชุมชน ๕. บทบาทด้านเป็นสถานที่พักผ่อน ออกกำ�ลังกาย และกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ๖. บทบาทด้านเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ ๗. บทบาทด้านเป็น แหล่งอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย


ซึ่งบทบาทเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักการ แห่งพระธรรมวินัยและอุดมคติทางศาสนา มี ความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของ ชุมชนเมืองในระดับหนึ่ง ส่วนในด้านความสัมพันธ์ ระหว่างวัดกับชุมชนเมืองนั้น พบว่า วัดกับชุมชนมีความสัมพันธ์เกื้อกูลต่อกันสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบันใน ๓ ด้าน คือ ๑. ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ๒. ความสัมพันธ์เชิงภาระหน้าที่ ๓. ความสัมพันธ์ ที่เป็นไปตามวัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้น มีรากฐานมาจากหลักธรรมคำ�สั่งสอนของพระพุทธศาสนาที่มี อิทธิพลต่อวิถีชีวิตของสังคมและชุมชนไทย จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว หลวงปู่ต้นบุญได้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา “วัดป่าทุ่ง กุลาเฉลิมราช” ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางใน การพัฒนาจิตใจเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่ง แวดล้อมไปพร้อมกัน โดยหวังผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน แผนการพัฒนาชุมชน แบบบูรณาการของหลวงปู่ต้นบุญมีความละเอียด ลึกซึ้ง ครอบคลุมในทุกด้าน ดำ�เนินการพร้อมกัน แบบคู่ขนาน เริ่มต้นจากการสร้างสาธารณูปโภค ที่ต้องระดมกำ�ลังกาย กำ�ลังใจและกำ�ลังทรัพย์ ทั้งหมด ก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ เชื่อมโยงกับการดำ�เนินงานพัฒนาด้านทัศนคติและจิตสำ�นึกใน ชุมชน ซึ่งดำ�เนินการผ่านโครงการฝึกอบรมต่าง ๆ ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ปฏิบัติ งานในเชิงรุก เข้าหาชุมชน...นำ�ธรรมมะเข้าสู่จิตใจของคนในท้องถิ่น เพื่อให้ธรรมะเป็นเครื่องนำ�ทาง ในการดำ�รงชีวิตของสาธุชนทั้งหลาย ก่อให้เกิดประโยชน์สุขในภาพรวมของสังคมไทยอย่างยั่งยืน


อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย


ใบสีพญานาค ในงานมหากฐิน ปี พ.ศ.๒๕๕๒


ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมและวิถีชีวิต อันดีงาม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเริ่มเลือน หายไปจากสังคมปัจจุบัน เมื่อทุกคนเชื่อว่า “เงิน” สามารถเนรมิตได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ค่านิยมดังกล่าว ทำ�ให้ผู้คนให้ความสำ�คัญกับเงินแต่ไม่ให้ความสำ�คัญเรื่อง ความรู้และปัญญา การใช้ “ความรู้และปัญญา” เป็นวิธีการในการแก้ไขปัญหาทั้งของตนเอง ครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชนและสังคมในทุกด้าน โดยปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตั้งแต่ระดับรากหญ้าสู่ ระดับสูง สามารถใช้ความรู้และปัญญานี้ ก่อให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนได้ในทุกสังคม


จากการศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และแนวคิดของบุคคลสำ�คัญ ในเรื่อง หลักการ เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แนวคิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ และยั่งยืนโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขทุกหมู่บ้านทุกตำ�บลและทุกจังหวัด ของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี และจากแนวคิดของนายเจมส์ วอลเฟอร์โซน (James Wolfersohn) อดีตประธานธนาคารโลก ซึ่งพอขยายความโดยสังเขปดังนี้ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึง แนวการดำ�รงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับ ชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศ ให้ดำ�เนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ “ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำ�เป็นที่จะต้อง มีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำ� วิชาการต่าง ๆ เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนัก ธุรกิจในทุกระดับให้มีสำ�นึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำ�เนิน ชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล พร้อมต่อ การรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เสนอแนวคิด เพื่อนำ�สู่การปฏิบัติ เรื่องพัฒนาอย่างบูรณาการ ๘ ประการ การพัฒนาไม่ควรจะมุ่งในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง หรือแยกส่วน เพราะจะทำ�ให้เกิดการเสีย สมดุลและความวิกฤต แต่ควรจะพัฒนาทุกด้าน อย่างเชื่อมโยงเป็นบูรณาการ เพื่อความสมดุลและ ความยั่งยืน ตามองค์ประกอบของมรรคผล ๘ ประการ ที่ควรพัฒนาอย่างบูรณาการคือ ๑. การมีสัมมาอาชีวะเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงเต็มพื้นที่ ๒. การอนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการใช้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ๓. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๔. มีสังคมเข้มแข็ง ๕. มีการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรม ๖. มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณหรือศาสนธรรม ๗. มีสุขภาพดี ๘. มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ที่จะรักษาดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง การจัดระเบียบสังคม (Social Control) คือ เครื่องมือที่จะช่วยทำ�ให้สังคม มีระเบียบ มี ความสงบมั่นคงถาวร และสมาชิกของสังคมสามารถดำ�เนินชีวิตของตนไปได้ การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก เป็นกระบวนการที่ครอบคลุม ปรากฏการณ์สังคมหลายอย่าง เริ่มจากการจัดให้มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ หลายอย่าง เพื่อให้ สมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้คือ บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm) ที่เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นที่คาดหวังของสังคม เป็นมาตรฐานที่สมาชิกของสังคม ถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามจึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป กฏเกณฑ์ที่เรียกว่าบรรทัดฐานทางสังคมนั้นมีอยู่หลายประการ โดยทั่วไปนักสังคมวิทยาจะ แบ่งบรรทัดฐานทางสังคมออกเป็น ๓ ประเภท คือ วิถีชาวบ้าน (Folk ways) จารีต (Mores) และ กฎหมาย (Laws) จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว หลวงปู่ต้นบุญ ได้วางแผนการพัฒนาชุมชน แบบบูรณาการให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตให้ กับชุมชน ซึ่งส่งผลกับการพัฒนาทางด้านอาชีพ และดำ�เนินการปรับทัศนคติให้ธรรมะเป็นเครื่อง ชี้นำ�ทางในการดำ�รงชีวิต ประกอบสัมมาอาชีวะและยึดทางสายกลางและเศรษฐกิจพอเพียงเป็น หลักปฏิบัติ โดยใช้วิถีชาวบ้านและจารีตของสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบสังคม


จากการสัมภาษณ์ผู้นำ�ชุมชน กล่าวถึง การจัดระเบียบทางสังคมของหลวงปู่ต้นบุญ ไว้ว่า เป็นไปแบบชาวบ้านไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกครั้งก็พบว่า คนในครอบครัวและคนในชุมชน ลด ละอบายมุข บางคนถึงกับเลิกโดยสิ้นเชิง เช่น การดื่มสุรา การพนัน การฆ่าสัตว์หรือการลักขโมย เป็นต้น การ บังเกิดขึ้นของขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่ดีงามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชุมชน เช่น บุญกฐิน ปลอดเหล้า ซึ่งเปลี่ยนจากค่านิยมดั้งเดิมอย่างถาวรที่งานบุญต้องมีเหล้า เมื่อถามถึงธรรมะที่หลวงปู่ต้นบุญสั่งสอน กลุ่มชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำ�คัญ ไม่สามารถ ตอบคำ�ถามนี้ได้เลย ได้แต่บอกกับผู้สัมภาษณ์ด้วยนัยน์ตาปริ่มนำ�้ว่า “ไม่เพียงแค่ในคำ�เทศนาสั่งสอนเท่านั้น

ทุกอย่างรอบตัวหลวงปู่ต้นบุญ คือ “ธรรม... ที่นำ�ชีวิตใหม่สู่ชุมชนของเราอย่างยั่งยืน”


หลวงปู่ใหญ่


“ศาสนาพุทธ” เป็นศาสนาประจำ�ชาติไทยมาแต่ครั้งโบราณ ในอดีตลูกหลานคนไทยส่วนใหญ่ รวมถึงบุตรหลานของข้าราชบริพารชั้นสูง ต่างก็ล้วนได้ร่ำ�เรียนวิทยาการด้านต่างๆ มาจากวัดทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่า “วัด” เป็นโรงเรียนสรรพวิชาและสรรพอาชีพของประชาชนในสมัยนั้นก็ว่าได้ เมื่อ “วัด” เป็นเสมือนโรงเรียน เหล่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย จึงมีบทบาทและสถานะเป็นครู นอกเหนือจากการเป็นผู้สืบทอดงานพระพุทธศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว


เ ห ตุ ที่ พ ร ะ ส ง ฆ์ ใ น ส มั ย โบราณมีความรู้ ความสามารถรอบ ด้าน ทั้งทางด้านธรรมและสรรพ วิทยา หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง อาจสันนิษฐานได้ว่าพระสงฆ์ในสมัย โบราณ เป็นผู้รอบรู้ ตามหลักความ เป็นจริง ตามหลักความเป็นไปตาม ธรรมชาติของมนุษย์ และสังคม การเป็นอยู่ร่วมกัน ดังนั้น บุตร หลานของประชาชนทุกระดับชั้น ที่ ได้เข้าเล่าเรียนวิทยาการต่างๆ ใน วัด ล้วนได้รับการอบรมสั่งสอนใน สรรพวิทยาการ ตั้งแต่ด้านศีลธรรม และศิลปะวิทยาการในแขนงต่าง ๆ ที่อาจจะกล่าวได้ว่า ครบถ้วน ในกระบวนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว การเมืองการปกครอง การเศรษฐกิจ การ สังคม มานุษยวิทยา และอื่นๆ อีกมากมาย ที่จำ�เป็นต้องศึกษาหาความรู้ในยุคสมัยนั้น บุตรหลานและเยาวชนในอดีตได้รับการขัดเกลา และอบรมจากพระสงฆ์ ตามหลักความเป็น จริง ตามหลักธรรมชาติ อันเป็นไปตามหลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เยาวชนเหล่านั้น จึงประกอบไปด้วย ศีลธรรมอันดีงาม สืบเนื่องกันมา จนกลายเป็นจารีตวัฒนธรรมประเพณี ในรูปแบบต่างๆ ที่สืบทอดเป็น วัฒนธรรมอันดีงามสืบต่อกันมา ในยุคปัจจุบัน สังคมการเป็นอยู่ของประชาชน ได้แปรเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ระบบ การศึกษาปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบสากล โดยมิได้คำ�นึงถึงความจำ�เป็นพื้นฐาน วัฒนธรรมและแนวทาง การดำ�เนินชีวิตของผู้คนในสังคมไทย ครูผู้สอนไม่เข้าใจหลักความจริงตามธรรมชาติ ไม่มีความรู้ทางด้าน ธรรมอย่างแท้จริง ทำ�ให้ไม่สามารถอบรมขัดเกลา เยาวชน ให้มีความยึดมั่นในหลักธรรมคำ�สอนในพุทธ ศาสนา “พุทธศาสนา” ไม่ได้สอนให้ผู้คนทั้งหลาย หลีกหนีหรือหลบหลีก ให้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งหลาย เพียงอย่างเดียว แต่พุทธศาสนาสอนให้ผู้คนทั้งหลาย ได้รู้ ได้เข้าใจ ถึงธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติ ของสรรพสิ่ง และยังสอนให้ผู้คนทั้งหลายได้เข้าใจ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม กล่าวคือ พุทธศาสนา สอน ให้รู้จักคิด รู้จักใช้ประสบการณ์ รู้จักคุณ รู้จักพูด รู้จักการทำ�มาหากิน การประกอบอาชีพ รู้จักความเป็น พ่อแม่ บุตร ฯลฯ รู้จักหน้าที่ บทบาทและสถานะของตนในสังคมอย่างแท้จริง


เยาวชนไทย สังคมไทยในอดีต หล่อหลอมเด็กไทยในเชิงการกำ�หนดคุณค่า การเป็นผู้สืบทอดทางศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี การเติบใหญ่ขึ้นเพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ เด็กเป็นเสมือน ดวงตาดวงใจของพ่อแม่ เป็นสมาชิกในชุมชนดุจเครือญาติลูกหลาน ที่ต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่ ปกป้องคุ้มครองกันอย่างเต็มที่ องค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นได้หล่อเลี้ยง เด็กไทยใน อดีตให้เป็นลักษณะประชาสังคม (Civic Society) มีกระบวนการทางสังคมประกิต(Socialization) ที่งดงาม เกิดคุณค่า สร้างคุณภาพ คุณลักษณะของเด็กไทยจนมีเอกลักษณ์ประจำ�ชาติหลาย ประการไม่ว่าจะเป็นคนดีที่มีจิตใจอ่อนโยน ยิ้มง่าย เป็นมิตรมีนำ�้ใจ มีความเอื้อเฟื้อ รู้จักสัมมา คารวะ วางตนให้เหมาะสม รู้จักประมาณตน ดำ�เนินชีวิตที่เรียบง่าย เคารพตนเองและผู้อื่น เป็นต้น ความงดงามและคุณค่าของสังคมไทยและตัวเด็กไทยจำ�นวนมาก เริ่มผุกร่อน หมดความ หมายและกำ�ลังถูกสังคมแบบใหม่ (Post-Modernization) และยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมและจิตวิญญาณใหม่กับเด็กไทยมายาวนานไม่น้อยกว่า ๒๐ ปีที่ผ่าน มา และยิ่งรุนแรงหนักขึ้นในระยะหลังจากที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาวิกฤติทาง เศรษฐกิจนับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ปัญหาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นมา เช่น ปัญหายาเสพติด เพศเสรี วัตถุนิยม ความรุนแรงในพฤติกรรมและอารมณ์ ฯลฯ เป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งใกล้ชิดกับประชาชน จำ�เป็นจะ ต้องสร้างพลังชุมชนให้กลับมาเข้มแข็ง มีศักยภาพ เพื่ อ ดู แ ลปกป้ อ งคุ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชนจาก ปัญหาดังกล่าว รวมทั้งพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ มีสุขภาพกายและจิตดี มีสติปัญญาเข้มแข็ง และ เติบโตเป็นประโยชน์ต่อสังคม เนื่องจากเยาวชนเป็นกำ�ลังสำ�คัญที่จะเป็น ผู้ใหญ่ในอนาคต ดังนั้น จึงมีการคาดหวังบทบาท ที่เยาวชนพึงปฏิบัติ โดยอาจแบ่งความคาดหวังต่อ


บทบาทของเยาวชนไว้ ๗ ประการ คือ ๑. เยาวชน คือ สมาชิกของครอบครัว และสังคม ซึ่งต้องฝึกฝนอบรมให้รู้จักบทบาทของตน ในครอบครัว และการบำ�เพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ๒. เยาวชนไทย คือ กำ�ลังในการปกป้องรักษาบ้านเมืองจึงต้องอบรมให้วินัยแบบทหาร และ มีความรู้สึกในเรื่องชาตินิยม ๓. เยาวชนไทย คือ พลังในทางเศรษฐกิจ จะต้องพัฒนาให้เป็นกำ�ลังผลิตที่พอเพียงกับการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยการศึกษาในระบบโรงเรียนเป็นเครื่องมือ ๔. เยาวชนไทย คือ พลังในการพัฒนาเศรษฐกิจจึงต้องพัฒนาให้เหมาะสมทั้งปริมาณ และ คุณภาพโดยอาศัยการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ๕. เยาวชน เป็นทั้งผู้รับการพัฒนา และผู้ดำ�เนินการพัฒนาด้วย โดยเฉพาะเยาวชนในกลุ่ม ที่มีระดับการศึกษาสูง จะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการกระจายการพัฒนาไปสู่ผู้ด้อยโอกาส ดังนั้น ต้องตระหนักในบทบาทและการมีระเบียบวินัยในตนเอง ๖. เยาวชน เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมเพื่อนำ�ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อความอยู่รอดปลอดภัย ของสังคมในอนาคต ๗. เยาวชน ต้องเป็นคนที่มีความรู้ มีสติปัญญา มีเหตุผล มีคุณธรรม และวัฒนธรรม มี พลานามัยที่สมบูรณ์ มีทักษะในการประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีความรู้ ความสามารถ และเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ


แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน “เยาวชน” หมายถึง ผู้ที่มีอายุระหว่าง ๑๕-๒๕ ปี และจะเติบโตเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการ พัฒนาประเทศ การพัฒนาเยาวชนมีแนวคิดพื้นฐาน ๖ ประการ คือ ๑. เยาวชนมีเกียรติ สิทธิ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ๒. การพัฒนาคนนั้นเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต ในช่วงชีวิตหนึ่ง ๆ ต่างก็มีจุด วิกฤต และจุดเด่น อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ การรับรู้โดยเฉพาะด้านการปรับตัว และ การปรับบทบาท อันเนื่องมาจากประสบการณ์ และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ๓. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ปรากฎชัดเจนกล่าวคือความยากจน สภาพทุพ โภชนาการ การมีโรคภัยไข้เจ็บ ความด้อยโอกาสในการศึกษา ความไม่รู้ การขาดทักษะเชิงอาชีพ การไม่มีงานทำ� การเพิ่มประชากร การไม่ได้รับการบริการพื้นฐานที่ทั่วถึง และบริการที่ขาดคุณภาพ ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ต่อการพัฒนาเยาวชน โดยทั้งเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนา และเสริมให้มีสภาพเศรษฐกิจที่สร้างปัญหาให้แก่เยาวชนเอง อันมีผลทำ�ให้ เยาวชนบางกลุ่มกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด ๔. เยาวชนควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ๕. จำ�เป็นต้องสร้างโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยเฉพาะ เยาวชนที่มีโอกาสมากกว่าจะต้องช่วยพัฒนาผู้ด้อยโอกาส ๖. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน และต้องลงทุนสูงจึงควร ระวังมิให้เกิดการสูญเปล่าโดยใช้วิธีการป้องกันมากกว่าการแก้ใข ทั้ง ๖ ข้อนี้คือแนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาเยาวชน ที่คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ ได้กำ�หนดเป็นกรอบเพื่อกำ�หนดนโยบาย และวิธีการหลักในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ


จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว หลวงปู่ต้นบุญได้ให้ความสำ�คัญในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ แห่งพระพุทธศาสนาสู่เด็กและเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง โดยมีความมุ่งหวังให้เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ได้เติบโต เป็นคนดีของสังคม เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาประเทศและจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยใช้ธรรมะเป็นเครื่องชี้นำ�แนวทางในการดำ�รงชีวิต เกิดขึ้น ตั้งแต่ในวัด ชุมชนรอบ ๆ วัด ชุมชนใกล้เคียง รวมไปถึงชุมชนนอกเขตพื้นที่ ตามแต่ทางโรงเรียน จะแจ้งความประสงค์ในการนำ�เด็กและเยาวชนเข้ารับการฝึกอบรม หลวงปู่ต้นบุญ เริ่มเพาะเมล็ด พันธุ์แห่งพระพุทธศาสนาจากในวัดและชุมชนใกล้เคียง โดยให้โอกาสลูกหลานของคนในหมู่บ้าน ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เกเร พ่อแม่หรือญาติพี่น้องไม่มีใครสามารถอบรมสั่งสอนได้ เข้ามาช่วยงานในวัด เพื่อลดปัญหาการสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนในครอบครัวและคนในหมู่บ้าน


ด้วยธรรมะอันวิจิตร บุญฤทธิ์หรือเหตุใดก็ตาม เด็กและเยาวชนเหล่านั้น เปลี่ยนนิสัยไปอย่างสิ้นเชิง จากผลการสัมภาษณ์ พบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้า รับการฝึกอบรมหรือเพียงเข้าไปช่วยงานในวัด มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดี ขึ้นเป็นอย่างมาก จากเด็กเกเร ก้าวร้าว กลายเป็นเด็กที่มีสัมมาคารวะ มีความ กตัญญู ช่วยเหลืองานของบุพการีและงานสาธารณประโยชน์และไม่ยุ่งเกี่ยวกับ อบายมุข ซึ่งสร้างความอัศจรรย์ให้แก่ชาวบ้านบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียง มี การบอกเล่าต่อกันไปยังชุมชนและจังหวัดอื่น จึงเป็นผลให้โรงเรียนต่าง ๆ ทั้งใน และนอกเขตพื้นที่แจ้งความประสงค์ในการนำ�เด็กและเยาวชนเข้ารับการอบรม ธรรมมะจากหลวงปู่ต้นบุญและวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่การอบรมสั่งสอนเยาวชนเท่านั้น ด้วยธรรมมะอันวิจิตรและลึก ซึ้งของหลวงปู่ต้นบุญ ในโครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ท่านมักจะอบรมสั่ง สอนและแนะนำ�ครู-อาจารย์ผู้ควบคุมเยาวชนเหล่านั้น ให้ทราบถึงหลักธรรมและ การเป็นครูอย่างแท้จริง ซึ่งเหตุนี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริหารสถานศึกษาต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากครู-อาจารย์ ซึ่งเป็นต้นแบบของเยาวชนบางท่านประพฤติ ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม แม้ผู้บริหารตักเตือนอย่างไร ก็ไม่ยอมแก้ไขปรับปรุง ผล การฝึกอบรมดังกล่าว จึงไม่เพียงแต่พัฒนาจิตใจเยาวชนเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ บุคลากรที่สำ�คัญในการพัฒนาเยาวชนพัฒนาตนเองอีกด้วย ซึ่งการพัฒนานี้จะ เป็นไปอย่างยั่งยืนและเห็นผลสัมฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น


โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเยาวชน(ค่ายพุทธบุตร) สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

ระหว่าง วันที่ .................เดือน....................... พ.ศ.๒๕๕๓ ๑. ชื่อโครงการ “โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเยาวชน(ค่ายพุทธบุตร)” ๒. หลักการและเหตุผล เยาวชนเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ความมั่นคงของชาติในอนาคต เยาวชนที่มีคุณภาพ นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่ดี มีสติปัญญาดีแล้ว ยังต้องมีคุณธรรมจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจในการ ดำ�เนินชีวิตประจำ�วันด้วย พระพุทธศาสนาถือเป็นแหล่งคำ�สอนและระบบจริยธรรมของสังคมไทย เด็ก และเยาวชนไทยทุกคนควรได้รับการปลูกฝังหลักคำ�สอนของพระพุทธศาสนา เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม สำ�หรับการดำ�เนินชีวิตและการทำ�งานในหน้าที่ เพื่อตนเอง ครอบครัว และสังคมโดยรวม ได้อย่าง กลมกลืนภายใต้สภาพแวดล้อมในสังคม และวัฒนธรรมแบบพุทธ ซึ่งการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตาม แนวพระพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน เป็นหน้าที่ของทุกสถาบันหลักในสังคม เริ่มตั้งแต่บ้าน วัด โรงเรียน ตลอดจนถึงชุมชนที่อยู่อาศัย ที่จะต้องร่วมมือกันในการอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนทั้งทางตรงและทาง อ้อมให้มีความรู้และความเชื่อที่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ดีต่อพระพุทธศาสนา ตลอดจนมีประสบการณ์ในการ ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำ�สอนขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวัยเด็กถึงวัย รุ่นตอนปลาย เป็นช่วงที่บุคคลต้องการเรียนรู้และแสวงหาประสบการณ์ที่หลากหลาย แต่ยังต้องพึ่งพา อาศัยผู้ใหญ่อยู่มาก ช่วงวัยดังกล่าวจึงเหมาะจะให้การปลูกฝังลักษณะทางพระพุทธศาสนา เช่น ความ เชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ปัจจุบัน แนวโน้มของการพัฒนาหันมาเน้นการพัฒนาจิตใจและพัฒนาตัวคนมากขึ้น เพื่อให้ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖ ที่ได้กำ�หนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำ�รงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ได้เล็งเห็นความสำ�คัญและคุณประโยชน์ของการ พัฒนาเยาวชน จึงร่วมกันจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน หรือเยาวชนได้เข้าฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ทดลองฝึกการ ปฏิบัติและเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพุทธด้วยตนเอง ๓. วัตถุประสงค์ของโครงการ ๓.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรม และหลักปฏิบัติทางพระพุทธ ศาสนาอย่างถูกต้อง(พุทธิพิสัย) ๓.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีทัศนคติที่ดีต่อพระพุทธศาสนา ศรัทธาในพระพุทธ-ศาสนา อย่างซาบซึ้ง (จิตพิสัย) ๓.๓ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีงาม โดยอาศัยหลัก ธรรมทางพระพุทธศาสนา(ทักษะพิสัย) ๔. กลุ่มเป้าหมาย ๔.๑ นักเรียนชาย-หญิง ในเขตอำ�เภอเกษตรวิสัย และอำ�เภออื่นใกล้เคียง จำ�นวน รุ่นละไม่เกิน ๓๐๐ คน ๕. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ๕.๒ หน่วยงานที่นำ�เยาวชนเข้ารับการฝึกอบรม ๕.๓ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ๖. สถานที่ฝึกอบรม สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ตำ�บลทุ่งทอง อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. ๐๘๔-๕๖๒๑๐๒๘ ๗. ระยะเวลาในการฝึกอบรม ใช้เวลาในการอบรมรุ่นละ ๓ วัน ๒ คืน


๘. หลักสูตรและแนวการฝึกอบรม ๘.๑ ภาควิชาการ - ตามรอยพระพุทธเจ้า - ศาสนพิธี - พระรัตนตรัย - พระคุณของพ่อแม่ - ลูกที่ดีของพ่อแม่ - ศิษย์ที่ดีของครู - พลเมืองที่ดีของชาติ ๘.๒ ภาคปฏิบัติ - สวดมนต์ทำ�วัตร เช้า-เย็น แปล - การบริหารจิตและเจริญปัญญา - ขยับกายสบายชีวีวิถีพุทธ

- ธรรมะในชีวิตประจำ�วัน - มารยาทชาวพุทธ - ธรรมะจากสื่อ - พระคุณของครู -เพื่อนที่ดีของเพื่อน -ศาสนิกชนที่ดีของศาสนา -เบญจศีล/เบญจธรรม/ศีล ๑๐ - ฝึกมารยาทไทย - ฝึกเดินจงกรม


๘.๓ ภาคกิจกรรม - กิจกรรมต้านยาเสพติด - ธรรมะนันทนาการ - กิจกรรมผ้าป่ากิเลส -กิจกรรมจุดเทียนปัญญา

- กิจกรรมเทิดพระคุณบิดามารดา - กิจกรรม มาลาบูชาพระคุณครู - ธรรมะแรลลี่ - เพื่อนที่แท้

๙. ผู้รับผิดชอบโครงการ ๙.๑ พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญโญ(หลวงปู่ต้นบุญ) เจ้าอาวาสและประธานสำ�นัก ปฏิบัติธรรม ๙.๒ พระมหาสัญญาศรณ์ โสตฺถิวํโส หัวหน้าพระวิทยากร ๙.๓ พระวิทยากรทุกรูป ๙.๔ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าอบรม ๙.๕ คณะครูอาจารย์ที่ทางโรงเรียนแต่งตั้ง ๑๐. คณะพระวิทยากร ๑) พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปญฺโญ(หลวงปู่ต้นบุญ) ๒) พระมหาสัญญาศรณ์ โสตฺถิวํโส ๓) พระมหาภักดี มหพฺพโล ๔) พระมหาชาครินทร์ กิตฺติเมธี ๕) พระโกศล โกสโล ๖) พระวิษณุ ขนฺติธโร ๗ ) พระมหาภูวดล ญาณเมธี ๘) พระมหาณัฐวัตร ขนฺติพโล ๙) พระครูสมุห์ธาราภัทร ญาณโสภโณ ๑๑) พระธีระพงษ์ ธีรปญฺโญ ๑๒) พระคมกริช ฐิติสมฺปนฺโน

ที่ปรึกษา


๑๑. งบประมาณในการดำ�เนินงานทั้งหมด ๑๑.๑ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ๑๑.๒ ค่าพาหนะพระวิทยากร ๑๑.๓ ค่าตอบแทนพระวิทยากร ๑๑.๕ ค่าจัดสถานที่/ค่านำ�้ประปา/ค่าไฟฟ้า ๑๑.๗ ค่าเบ็ดเตล็ด อื่น ๆ (รายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ประสานงานกับสำ�นักปฏิบัติธรรมโดยตรง) ๑๒. ที่มาของงบประมาณ ๑๒.๑ หลวงปู่ต้นบุญ ติกฺขปญฺโญ ๑๒.๒ รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป


๑๓. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑๓.๑ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีทัศนคติที่ดีต่อพระพุทธศาสนา ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างซาบซึ้ง ๑๓.๒ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ฝึกปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตแบบพุทธ ในสถานการณ์ต่าง ๆ (ทักษะพิสัย) ๑๓.๓ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และมีพฤติกรรมที่ดีงาม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา(ทักษะพิสัย) ๑๓.๔ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำ�หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำ� วัน หลังจากผ่านการฝึกอบรมแล้ว (พุทธิพิสัย) ๑๓.๕ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการเป็นคนดี เช่น ลูกที่ดีศิษย์ที่ดี เพื่อนที่ ดี พลเมืองที่ดี พุทธศาสนิกชนที่ดี และรับรู้ถึงความสามารถของตนในการเป็นคนดีดังกล่าวด้วย


การที่เรามุ่งเน้นค้นหาภาวะความรู้แจ้ง...มิใช่เราไม่รู้แจ้ง เพียงแต่ว่า...เราทำ�ความรู้จักกับความรู้แจ้งน้อยเกินไป จึงอาศัยจิตปัญญา...ค้นหาความกระจ่างแจ้ง ซึ่งสุดท้ายเพียงแค่ สุญญะ ในสุญญะซ่อนความรู้แจ้งนั้นเอง





ปัญหาสำ�คัญในแถบทุ่งกุลาร้องไห้ ปัญหาความยากจนจัดได้ว่าเป็นปัญหาสำ�คัญที่สุดปัญหาหนึ่ง ที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และ คุณภาพชีวิตของประชาชน เมื่อศึกษาข้อมูลจากสถิติรายได้ของประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดของสำ�นักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมีรายได้เฉลี่ยเพียง ๒๑,๙๔๑ บาท/คน/ปี และการสำ�รวจข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำ�นักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมีรายได้เฉลี่ยเพียงเดือนละ ๗,๒๐๗ บาท/ครัวเรือน เท่านั้น ประกอบกับ ตัวเลขหมู่บ้านยากจนในข้อมูล จปฐ. ที่มีหมู่บ้านยากจนจำ�นวนมากถึง ๑๒๒ หมู่บ้าน เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง ระดับความสำ�คัญของปัญหาดังกล่าวที่จะต้องเร่งรัดหาทางแก้ไขเป็นกรณีเร่งด่วน นอกจากปัญหาด้านรายได้ของประชาชนแล้ว ปัญหาการว่างงานและการอพยพแรงงานไปทำ�งานนอก เขตจังหวัดร้อยเอ็ดก็เป็นปัญหาหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงที่มาและสภาพการดำ�รงชีวิตของประชาชนได้เป็นอย่าง ดี จากสถิติการออกไปทำ�งานนอกจังหวัดในฤดูแล้งของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า มีประชาชน อพยพไป ทำ�งานนอกเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำ�นวน ๑๘๘,๕๓๘ คน จากจำ�นวนประชาชนที่ทำ�การสำ�รวจ จำ�นวน ๑,๐๙๘,๐๑๕ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๗.๑๗ ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในอัตราที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ เมื่อพิจารณา จากสถิติข้อมูลและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว ปัญหาความยากจนของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ดน่าจะมีสาเหตุ มาจากปัญหาสำ�คัญต่างๆ ดังนี้ ๑. ปัญหาด้านกายภาพ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งนำ�้แหล่งท่องเที่ยว มีจำ�นวนจำ�กัดดินขาดความอุดมสมบูรณ์และมีปัญหาการแพร่กระจายของดินเค็มและสภาพภูมิอากาศมีความ แปรปรวนซึ่งปัจจัยทางกายภาพดังกล่าวมีผลต่อการประกอบอาชีพและการหารายได้ของประชาชน ประกอบ กับที่ตั้งของจังหวัดร้อยเอ็ดไม่ได้ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์หรือทางผ่านของ ถนนสายหลัก ซึ่งมีผลต่อการกระจาย ความเจริญ แหล่งทุนและแหล่งงานที่จะเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ ประชาชนฐานล่างของจังหวัด ๒.ปัญหาด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดร้อยเอ็ดยังคงพึ่งพิงภาคการเกษตรเป็นหลัก รองลงมาจะ เป็นรายได้ในภาคการค้าส่งและค้าปลีก และการบริการ ตามลำ�ดับ ซึ่ง ภาคการเกษตรยังมีปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนา เช่น ผลผลิตทางการเกษตรราคาตำ�่ ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชมีราคาแพง ประสบปัญหา อุทกภัย เป็นต้น สำ�หรับภาคอุตสาหกรรมหรือการท่องเที่ยวที่จะนำ�รายได้เข้าสู่จังหวัดยังมีอยู่ในสัดส่วนที่ตำ�่ จึง ยังไม่สามารถพัฒนาเป็นรายได้หลักของจังหวัดได้ ๓. ปัญหาด้านการประกอบอาชีพของประชาชน ในวัยทำ�งานและวัยหนุ่มสาวในชนบทส่วนหนึ่งมีค่านิยมในการไปประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม หรือรับจ้างแรงงานทั่วไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งเมืองใหญ่ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการ ขาดแคลนแหล่งงานและการว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว


เขตอำ�เภอในแถบทุ่งกุลาร้องไห้ ๑. โพนทอง ๒. ศรีสมเด็จ ๓. หนองพอก ๔. จตุรพักตรพิมาน ๕. ธวัชบุรี ๖. โพนทราย ๗. อาจสามารถ ๘. เมืองร้อยเอ็ด ๙. เชียงขวัญ ๑๐. ปทุมรัตต์

๑๑. เสลภูมิ ๑๒. เกษตรวิสัย ๑๓. หนองฮี ๑๔. เมยวดี ๑๕. พนมไพร ๑๖. โพธิ์ชัย ๑๗. สุวรรณภูมิ ๑๘. ทุ่งเขาหลวง ๑๙. จังหาร ๒๐. เมืองสรวง

ปัญหาต่างๆในชุมชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงแถบทุ่งกุลา จากการสำ�รวจกลุ่มเยาวชนแถบทุ่งกุลานี้ก็พบ ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นหลายอย่างไม่ต่างจากที่อื่นๆ จากผลการสำ�รวจพบปัญหาเยาวชนไทยในสังคมยุค “ วัตถุนิยม ” มีดังนี้ แนวโน้มการพยายามฆ่าตัวตายสูงขึ้น พบว่าเยาวชนอายุต่ำ�กว่า ๒๕ ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก จำ�นวน ๒๙.๗๓ เป็น ๓๓.๙๘ คนต่อแสนประชากรในกลุ่มอายุและที่ฆ่าตัวตายสำ�เร็จถึงราววันละ ๒ คน จำ�นวน เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เพิ่มขึ้น เด็กประถมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๓.๕๘ เป็น ๒๕.๓๖ ส่วนเด็กมัธยมอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๐.๑๓ เป็น ๓๑.๐๙ แนวโน้มเด็กเล็กติดขนมกรุบกรอบ และนำ�้อัดลมเพิ่มขึ้น พบ ว่าเด็กประถมทาน ขนมกรุบกรอบและดื่มนำ�้อัดลมเป็นประจำ�เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๖.๗๕ และ ๒๐.๒๘ เพิ่มเป็น ๒๗.๑๔ และ ๒๒.๘๑ เนื่องจากสื่อโฆษณาชักจูงให้เด็กนิยมรับประทานมากขึ้น แนวโน้มวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์และมาทำ�คลอดสูงขึ้น เด็กวัยรุ่นระดับมัธยมยอมรับว่า มีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น จากร้อยละ ๑๖ เป็นร้อยละ ๑๙ และมีวัยรุ่นตำ�่ กว่า ๑๙ ปีมาทำ�คลอดเพิ่มขึ้นจาก ๕๒,๐๐๐ คนเป็น ๗๑,๐๐๐ คน เด็กถูกละเมิดทางเพศเพิ่มสูงขึ้น อัตราเด็กอายุ ๑๘ ปีและตำ�่ กว่าถูกละเมิดทางเพศ เพิ่มขึ้นจาก ๖.๔๒ เป็น ๓๑.๓๒ คนต่อแสนประชากรในกลุ่มอายุหรือคิดเป็นจำ�นวน ๕,๓๐๐ คนต่อปีหรือวันละถึง ๑๕ คน ปัญหาความ รุนแรงและการพนันในกลุ่มเยาวชน วัยรุ่นระดับมัธยมต้นขึ้นมาร้อยละ ๑๕ เล่นพนันบอล ร้อยละ ๑๐ ถูกรีดไถ โดยเพื่อนนักเรียน จำ�นวนเด็กที่ถูกส่งเข้าสถานพินิจสูงถึงปีละ ๓๐,๐๐๐ คน ปัญหาส่วนใหญ่เริ่มมาจากครอบครัว ซึ่งจากผล การวิจัยติดตามสภาวการณ์เด็ก พบว่าที่ใดมีอัตราเด็ก ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่สูง จำ�นวนคดีละเมิดทางเพศและคดียาเสพติดก็มีแนวโน้มสูงตาม นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าใน โรงเรียนต่างๆ โดยเฉลี่ยมีเด็กที่พ่อแม่แยกทางกันสูงถึงร้อยละ ๑๕ และเด็กกลุ่มนี้จะเข้าสู่ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง ต่างๆ สูงกว่าเด็กปกติถึง ๒-๓ เท่า ทั้งเหล้าบุหรี่ การพนัน ความรุนแรง ตลอดจนพฤติกรรมติดเกมส์ต่างๆ โดยสามารถแยกปัญหาต่างๆดังนี้ - การศึกษา - ยาเสพติด - อาชญากรรม - ติดเกมส์ - การพนัน - มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร - ฆ่าตัวตาย


ระบบการศึกษาของไทย การศึกษาเป็นสิ่งที่สำ�คัญมากซึ่งในการศึกษานั้นมีทั้งวิชาการ สำ�คัญในการอยู่รอดต่อสังคม และเพื่อการพัฒนาของประเทศชาติ

จริยธรรม

รวมอยู่ด้วยและเป็นปัจจัย

ระบบการศึกษาของไทยเราแบ่งออกเป็น ๒ สายหลัก

๑. สายสามัญคือผู้ที่เรียนในระดับชั้นมัธยมปลายในวิชาสามัญ เพื่อจะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป ๒. สายอาชีพคือ ผู้ที่เรียนในระดับประโยควิชาชีพ (ปวช) เพื่อจะศึกษาต่อในระดับประโยควิชาชีพชั้นสูง (ปวส) จะเรียนในสายงานวิชาชีพ เช่น ช่างฝีมือต่างๆ สายพาณิชย์ เป็นต้น

ปัญหาต่างๆในการศึกษา

แม้ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาการศึกษาไปอย่างมาก มีการช่วยเหลือ สนับสนุนจากภาครัฐ มีการ กำ�หนดการศึกษาภาคบังคับ ให้โอกาสทางการศึกษา จนถึงขั้นตราไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังมีปัญหา ต่างๆอยู่เช่น - การแบ่งชนชั้นทางการศึกษาคือ การที่คนมองว่าผู้เรียนสายอาชีพเป็นคนหัวไม่ดี หรือผู้ที่เรียนสายช่าง ต่างๆจะเป็นอันธพาล หรือแม้แต่สายสามัญก็ยังแบ่งเกรดกันว่าโรงเรียนนี้ดีกว่าอีกโรงเรียนหนึ่ง โรงเรียนนี้ดี ที่สุดในอำ�เภอ - ปัญหาความไม่เอาใจใส่นักเรียนของครูบางคน ทำ�ให้ไม่สามารถเข้าใจปัญหาต่างๆของเด็ก บางครั้งเด็ก ไม่มีที่พึ่งทำ�ให้เด็กหาทางออกทางอื่นในทางมิชอบ ๑. สถานการณ์ยาเสพติด สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ ได้สรุปผลการดำ�เนินการปราบปรามยาเสพติดในปีที่ผ่านมา ผลปรากฏ ว่า มีการจับกุมผู้ผลิต ๔๒๓ ราย ผู้ต้องหา ๓๕๓ คน จับกุมรายสำ�คัญ ๑,๕๐๕ ราย ผู้ต้องหา ๑,๗๒๙ คน ราย ย่อย ๑๓,๗๔๘ ราย ผู้ต้องหา ๑๔,๕๘๕ คน จับกุมผู้ต้องหาครอบครองยาบ้า ๑๙,๑๑๒ ราย ผู้ต้องหา ๑๙,๖๖๓ คน จับกุมผู้เสพ ๑๙,๔๔๒ ราย ผู้ต้องหา ๑๙,๖๕๓ ราย ตั้งจุดสกัด ๑๘๒,๑๒๓ ครั้ง จับกุมผู้เสพยาเสพติดได้ ๕,๐๔๑ ราย ผู้ต้องหา ๕,๓๒๒ คน ปิดล้อมแหล่งยาบ้า ๖๔,๙๑๑ ครั้ง จับกุมผู้เสพยาบ้าได้ ๑๐,๑๖๕ ราย ผู้ต้องหา ๑๐,๘๘๔ คน เข้าตรวจสถานบริการ ๘๗,๗๗๖ ครั้ง ตรวจปัสสาวะ ๔๙,๗๑๘ ราย พบปัสสาวะสีม่วง ๒,๖๗๙ คน รวมผู้ต้องหาที่จับได้ทั้งหมด ๕๔,๙๘๓ ราย จำ�นวนผู้ต้องหาทั้งสิ้น ๕๕,๙๘๓ คน ยึดของกลางยาบ้าได้ทั้งหมด ๑๓,๑๕๐,๓๓๕ เม็ด ปัญหายาเสพติดถึงแม้รัฐบาลมีความตั้งใจจริงที่จะขจัดให้หมดไปจากผืนแผ่นดินไทย แต่จากข่าวทาง โทรทัศน์และหน้าหนังสือพิมพ์มีให้เห็นเกือบทุกวันว่า มีการจับยาเสพติดและยึดทรัพย์อยู่เป็นประจำ�ทุกวี่ทุก วัน และที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง พบว่าเด็กและเยาชนหันกลับมานิยมเสพกาวและสารระเหย เพื่อทดแทนยาบ้า เนื่องจากยาบ้าหายาก และมีราคาแพงขึ้นถึง ๓ เท่าตัว นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กและเยาวชนหันไปทดลองเสพ สารเสพติดใหม่ๆ ที่กฎหมายและผู้ใหญ่อย่างเรายังตามไม่ทัน เช่น ไนตรัสออกไซด์ หรือที่เรียกกันในหมู่วัยรุ่นว่า “ดมตรัส” และ ดิ้ว เป็นต้น


๒. สาเหตุของการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดมีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ ๒.๑ สารเสพติด โดยตัวของสารเสพติดจะมีฤทธิ์ เสพติด หรือฤทธิ์ที่กระตุ้นให้คนอยากกลับไปใช้ใหม่อีก เรื่อยๆ ซึ่งเป็นฤทธิ์ต่อสมองและจิตใจทำ�ให้เกิด ความอยากใช้สารเสพติด อยากจะใช้อยู่เรื่อยๆ ๒.๒ ผู้เสพ • เกิดความสงสัย อยากลอง ซึ่งพบในกลุ่มเด็กและเยาวชนผู้มีอายุน้อยมีความกระตือรือร้นอยาก ท้าทาย อยากทดลอง • ทัศนคติที่มีต่อสารเสพติด ถ้ามองว่าเป็นสิ่งที่เลว ก็จะไม่อยากลอง แต่ถ้ามีทัศนคติที่ไม่น่ากลัว ก็อาจ จะทำ�ให้อยากลองยา • ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด หากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดที่ดี ก็จะมองยาในทางลบและไม่คิดที่ จะลองเสพยาเสพติด ๒.๓ สิ่งแวดล้อม • ความหายาก หาง่าย ภายในสภาพแวดล้อม ถ้าหายาได้ง่ายก็จะทำ�ให้เกิดการลองใช้ยาได้มากขึ้น แต่ ในทางกลับกันถ้าไม่สามารถหายาได้หรือหายายากก็จะทำ�ให้ไม่มีโอกาสในการทดลองยา • ราคาของที่ถูกหรือแพง ก็จะทำ�ให้เกิดโอกาสในการทดลองยาใช้ยา ที่แตกต่างกันในกรณีของยาที่ ราคาถูกก็จะทำ�ให้มีความสามารถในการซื้อหามาลองได้ • กลุ่มหรือเพื่อน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเสพยา ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ใช้ยาก็จะเกิดการชักชวนให้ทดลอง หรือ ในบางกรณี วัยรุ่นมักจะมีความรู้สึกว่าถ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้จะต้องเหมือนๆ กับกลุ่ม ๓. ผลกระทบของปัญหายาเสพติด ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำ�ลาย” ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้าง ขวางทั้งต่อบุคคล และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบต่อตัวบุคคล ที่เป็นเยาวชน ๓.๑ ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน รวมถึงพฤติกรรมความรุนแรงต่างๆ ๓.๒ ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกจำ�กัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิก ทางการเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ ๓.๓ ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่จะปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิด อุบัติเหตุ ๓.๔ ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน ขัดแย้ง แตกแยก ๓.๕ ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้าง ๓.๖ ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ๓.๗ สำ�หรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำ�เนินการทางกฎหมาย จะส่ง ผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัวได้รับความเดือดร้อนในการดำ�รงชีวิต


ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำ�ให้การดำ�เนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำ�ความผิด

สิ่งเสพติดถูกกฎหมายที่สังคมมองข้าม การแก้ไขปัญหายาเสพติดมีการตื่นตัวขึ้นอย่างมากเป็นวงกว้างมีการร่วมมีทั้งภาครัฐและเอกชนแต่จาก การอบรมเยาวชนที่วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เมื่อนำ�ข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผลทำ�ให้ได้ข้อมูลว่า ก้าวแรก ของการทดลองยาเสพติดในเยาวชน ร้อยละ๙๘.๕ เริ่มมาจากการเสพยาเสพติดที่ถูกกฎหมายทั้งสิ้น แม้ภาครัฐ จะมีการแก้ปัญหาด้านนี้บ้าง เช่น ห้ามโฆษณาสุรา ห้ามขายบุหรี่ ขายสุรา แก่เยาวชนที่อายุต่ำ�กว่า๑๘ปี แต่ก็เป็น เพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะกฎระเบียบที่เหมือนจะเข้มงวดแต่มีช่องว่าง เช่น เยาวชนอาจให้ผู้ใหญ่กว่า ไปซื้อหามาเสพได้ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารระเหย

สาเหตุการติดสิ่งเสพติด จากการวิเคราะห์กันในชุมชนแถบนี้ สาเหตุของการติดสิ่งเสพติดมีสาเหตุผสมผสานกันหลายประการ เช่น สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลที่ผลักดันให้ไปติดสิ่งเสพติดได้ เป็นต้นว่า สถานที่อยู่อาศัยเต็มไปต้วย แหล่งค้ายาเสพติด สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงฐานะทางเศรษฐกิจ และปัญหาชึวิต สิ่ง แวดล้อมที่เลวร้ายไม่เพียงแต่ช่วยเร่งให้เขาใช้สิ่งเสพติดแต่เพียงอย่างเดียว ยังเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางมิให้เขา เลิกใช้สิ่งเสพติด แม้จะได้รักษาหายแล้ว เพราะสิ่งแวดล้อมเก่าจะกดดันให้เขาต้องกลับไปใช้สิ่งเสพติดอีก ปัญหาเรื่องสื่อ สื่อสำ�หรับเยาวชนคือภาพต่างๆในสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆที่แสดงออกมาให้ เยาวชนได้เห็นและนำ�มาซึ่งพฤติกรรมเลียนแบบโดยทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ เรียกว่าการเสพสื่อ สื่อจึงเป็นปัจจัย สำ�คัญที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง สามารถโน้มน้าวเยาวชนให้คล้อยตามได้ โดยเฉพาะการบริโภคสื่อของ เยาวชนในแถบนี้เมื่อมีการบริโภคโดยไม่ได้คัดกรอง ผิดรูปแบบ ไม่สามารถแยกแยะได้ทำ�ให้เกิดปัญหาต่างๆตาม มา


อิทธิพลของสื่อที่ทำ�ให้เยาวชนรู้จักกับสิ่งเสพติด เยาวชนในแถบทุ่งกุลานี้

คือ

การแสดงออกในพฤติกรรมของผู้ใกล้ชิดกับ

อิทธิพลครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันที่มีผลต่อเยาวชนมากที่สุด หากครอบครัวใดแตกแยกจะเป็น ปัจจัยแบบต่อเนื่องไปยังเยาวชนทันที มีการใช้ยาเสพติดและนำ�ไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การก่อ อาชญากรรมเพราะไม่มีเงินมาซื้อยา การทำ�แท้ง เป็นต้น ความเอาใจใส่กันในครอบครัว เนื่องจากครอบครัว เป็นต้นแบบแรกของการดำ�เนินชีวิต จึงควรมีการแสดงออกอย่างเหมาะสม สังเกตจากการแสดงออกภายใน ครอบครัวหากคนในครอบครัว กินเหล้าสูบบุหรี่ เยาวชนก็จะมองเหล้า บุหรี่ เป็นของธรรมดา กินแล้วดี หาก ครอบครัวไหนมีการตบตี ใช้ความรุนแรงกันเยาวชนก็จะเก็บกดชอบความรุนแรง เพราะการเสพสื่อภายใน ครอบครัวนั้นเอง อิทธิพลสถานศึกษา โรงเรียนเป็นแหล่งความรู้แต่เมื่อครูอาจารย์มีการแสดงออกไม่ถูกต้องนักเรียนก็จะ ลอกเลียนแบบ เช่น ครูเมามาทุกวัน มาสอนหนังสือมีกลิ่นเหล้าติดมา สูบบุหรี่ในโรงเรียน ครูทะเลาะกันแบ่ง ข้างกันในโรงเรียนบ้าง พูดจาหยาบคายใส่กันต่อหน้านักเรียน ไม่เอาใจใส่นักเรียน สอนแบบให้เสร็จๆไปในแต่ละ วัน นักเรียนก็จะเห็นเป็นเรื่องปกติ ชินตาและนำ�ไปปฎิบัติเพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิด อิทธิพลของเพื่อน เพื่อนเป็นคนสำ�คัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี พาไป เสีย ผู้เสียคน ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำ�ตาม และชักจูงให้เขาได้ใช้ ชีวิตที่ถูกต้อง และดีงาม แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเหลือบ่ากว่าแรง ก็คงต้องโบกมือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือ คติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ดีกว่ามีร้อยเพื่อนเลว” ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด ไม่จำ�เป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เรื่อง บางเรื่องจำ�เป็นต้องพิสูจน์ ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำ�เป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะ กาลเวลาผ่านมา กี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็น สิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย และมีผลกระทบทำ�ลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ หากเยาวชนจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติด ด้วยการทดลองใช้ด้วยตนเอง ก็ เป็นการลงทุนที่สูงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ ทำ�ให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญ เสียเวลา และอนาคตกับเรื่องนี้ ไปตลอดชีวิต


ปัญหาเรื่องเพศ ทั้งนี้พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทย ก้าวแรกสู่การขายบริการทางเพศ แนวคิดเซ็กซ์เสรีตามวัฒนธรรม ตะวันตกกำ�ลังส่งผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของคนรุ่นใหม่ ที่เห็นเป็นเรื่องความสนุกสนานชั่วครู่ชั่วยาม เช่น การเช่าหอพักอยู่ด้วยกัน เกมการล่าแต้ม เป็นจุดเริ่มต้นของการถลำ�ไปสู่การขายบริการทางเพศ ซึ่งจำ�แนก ผู้แอบแฝงขายบริการทางเพศได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำ�งานอิสระบางเวลา และกลุ่มนักศึกษา คาดว่ามี จำ�นวนรวมกันประมาณ ๔๘,๐๐๐ คน และมีแนวโน้มที่ผู้ขายบริการทางเพศจะมีอายุน้อยลง ซึ่งจากการศึกษาที่ สนับสนุนโดย สศช.ปี ๒๕๕๑ การสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ร้อยละ ๔๔.๔ ของผู้ขายบริการทางเพศที่สำ�รวจเป็น นักเรียน นักศึกษา มีอายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มเข้าสู่วงการนี้คือ ๑๖ ปี และผู้ที่มีอายุต่ำ�สุดเมื่อเริ่มขายบริการทางเพศคือ ๑๓ ปี

ปัญหาการเลียนแบบคนดังในสังคม พฤติกรรมเลียนแบบสื่ออื่นๆในชุมชนและสังคม เช่น ดาราภาพยนตร์ การเลียนแบบดีเจวิทยุ มีการเป็น สื่อกลางให้เยาวชนชอบกันฉันท์ชู้สาว ให้เห็นว่าเป็นสิ่งสวยงาม เป็นสิ่งหนึ่งให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอัน ควร นำ�มาซึ่งปัญหาการหย่าร้าง ทำ�แท้ง และแบบอย่างพฤติกรรมของผู้มีชื่อเสียงในสังคม การเลิกรา หย่าร้าง ที่ประกาศตัวเมื่อเวลาจะเลิกกันมีการประโคมข่าวต่างๆโดยให้สังคมเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ

ปัญหาการเมืองท้องถิ่น เนื่องจากเป็นการเมืองรูปแบบหนึ่ง ทำ�ให้ท้องถิ่นมีปัญหาหลายอย่างที่อาจทำ�ให้เกิดปัญหา ให้ทุกท่านได้ เข้าใจสภาพและบริบทของท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อไม่ให้ตั้งความหวังกับท้องถิ่นไว้สูงเกินไปนั่นเอง ท้องถิ่นนั้นมีจุด อ่อนที่จะต้องเร่งปรับปรุง ๒ เรื่องคือ การพัฒนาทางการเมืองท้องถิ่น และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ในเรื่องการเมืองท้องถิ่นนั้น ท้องถิ่นของไทยเราส่วนใหญ่เป็นการเมืองประชาธิปไตยแบบกลไก มีการจัดกลุ่ม การเมืองเป็นกลุ่มเล็ก มีโครงสร้างกลุ่มแนวตั้ง (มีลูกพี่-ลูกน้องและลักษณะเจ้าขุนมูลนาย) และมีพฤติกรรม ทางการเมืองที่เน้นการใช้อำ�นาจทางการเมืองในทางที่มิชอบ เพื่อแสวงประโยชน์ของกลุ่มตนเองสูง และไม่ โปร่งใส ประชาชนไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจในตัวบุคคลหรือกลไกทางการเมืองของท้องถิ่น (เช่นเดียวกับการเมือง ระดับชาติ)


นอกจากนั้น การเมืองระดับชาติก็กำ�ลังสร้างกลไกเข้าไปควบคุม ครอบงำ�การเมืองท้องถิ่นมากขึ้นอย่าง ชัดเจน ด้วยการใช้วิธีการรวบนักการเมืองท้องถิ่น ให้เข้ามาอยู่ในเครือข่ายการเมืองระดับชาติมากขึ้น (สังเกต เห็นได้จากการที่พรรคการเมืองระดับชาติ ส่งตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งใน การเมืองท้องถิ่น และใช้นักการเมือง ท้องถิ่นเป็นหัวคะแนนของนักการเมืองระดับชาติ) ทำ�ให้การเมืองท้องถิ่นไม่เป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง ระดับชาติ ซึ่งสวนทางกับเจตนารมย์ของการกระจายอำ�นาจ ที่ต้องการให้ระบบการเมืองท้องถิ่นเป็นอิสระจาก การเมืองระดับชาติ ในส่วนของ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ พบว่าระบบบริหารจัดการของท้องถิ่นในปัจจุบันเป็น ระบบราชการแบบปิด ไม่โปร่งใส ขาดความยืดหยุ่น ไม่คล่องตัว เน้นการจัดการแบบราชการเป็นทางการ เป็น วิชาชีพเช่นเดียวกับระบบราชการของรัฐบาล ผู้บริหารท้องถิ่นรวมทั้งข้าราชการท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังมีความคิดว่า เมื่อรัฐบาลถ่ายโอนภารกิจมาให้มากขึ้น ท้องถิ่นจะต้องมีระบบราชการที่เข้มแข็งและใหญ่โตมากขึ้น เพราะเข้าใจ ว่าท้องถิ่นจะต้องบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ในระบบราชการเช่นเดียวกับที่รัฐบาลเคยปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ มาก่อน ระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่นที่เป็นแบบปิดเช่นนี้ สวนทางกับแนวคิดการกระจายอำ�นาจแบบใหม่ ที่เน้นระบบการจัดการแนวราบ ไม่เป็นระบบราชการแนวดิ่ง ใช้วิธีการว่าจ้างองค์กรภายนอก (ท้องถิ่นอื่นๆ ที่ มีศักยภาพการผลิตมากกว่า หรือหน่วยงานของรัฐ ที่ทำ�หน้าที่เป็น Contractor ด้านเทคนิควิชาการ หรือว่าจ้าง ให้เงินอุดหนุนองค์กรเอกชนให้ทำ�หน้าที่จัดบริการบางประเภท ฯลฯ เป็นต้น) ใช้ระบบอาสาสมัครของชุมชน (กรรมการชุมชน อสม. อปพร. อพม. อสพป. อาสา กกต. เป็นต้น) แทนการจ้างข้าราชการประจำ� และเน้นความ ยืดหยุ่น ความคล่องตัว การแข่งขันระหว่างหน่วยจัดบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบริการ ฯลฯ เป็นต้น องค์กรในส่วนกลาง(รัฐบาล กระทรวง กรม) ที่เกี่ยวข้องจะต้องไม่ผลักดันหรือเร่งรัดให้ท้องถิ่นต้องรับ โอนบุคลากรของรัฐบาลไปโดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน และโดยที่ท้องถิ่นไม่มีความต้องการหรือประสงค์ที่จะได้ บุคลากรดังกล่าว (ซึ่งขณะนี้มีกระแสการผลักดันในลักษณะเช่นนี้ โอนย้ายกันมั่วไปหมด) เพราะจะทำ�ให้ท้องถิ่น มีระบบราชการที่ใหญ่โต สิ้นเปลือง และจัดการยากเช่นเดียวกับที่รัฐบาล กำ�ลังมีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เป็นที่น่า สังเกตว่า การดำ�เนินการเกี่ยวกับการกระจายอำ�นาจที่ผ่านมา จะกระจุกตัวอยู่ที่ระดับรัฐบาลและการเมืองระดับ ชาติ ในขณะที่ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้หรือสนใจมากนัก


วิธีการแก้ปัญหาของชุมชน ทางชุมชนและผุ้ที่เกียวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในส่วนของชุมชนแถบนี้ได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อ แก้ไขปัญหาเยาวชนในแถบนี้แต่ก็ยังพบปัญหาต่างๆ เช่น การแก้ไขภายในครอบครัว ได้มีการปลูกฝังให้สถาบันครอบครัวมีการอบรมบุตรหลานของแต่ละ ครอบครัว แต่เนื่องจากแถบทุ่งกุลานี้มีปัญหาความยากจนอยู่ มีการทำ�เกษตรกรรม ซึ่งเป็นงานที่หนักพอสมควร ทำ�ให้ไม่มีเวลาที่จะอบรมเยาวชนในครอบครัวได้เต็มที่จึงยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร การแก้ไขภายในโรงเรียน มีการวางโครงการต่างๆภายในโรงเรียนแต่ละแห่งเพื่อพัฒนาศักยภาพ เยาวชนในแต่ละโรงเรียน แต่ที่ยังพบปัญหาคือ เด็กนักเรียนมาก ครูมีน้อย เป็นปัจจัยสำ�คัญยิ่งที่ทำ�ให้ครูดูแล นักเรียนได้ไม่ทั่วถึง และบางโรงเรียนมุ่งเน้นการแข่งขันเพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เช่นมุ่งแต่ กีฬา บางแห่งมุ่งแต่เรียน แต่ขาดวิธีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างโรงเรียนกับผู้ ปกครอง การแก้ไขของหน่วยงานของรัฐระดับท้องถิ่น ระดับท้องถิ่นก็ได้ดำ�เนินการแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ อย่างจริงจังเช่นกัน มีการสนับสนุนงบประมาณต่างๆทั้งระดับจังหวัด หรือระดับอ.บ.ต. แต่ปัญหาที่สำ�คัญอย่าง ยิ่งเลยคือ ความไม่เสถียรภาพทางการเมืองเนื่องจากระบบการเมืองบ้านเราเป็นลักษณะอุปถัมภ์การเมืองท้อง ถิ่นสังกัดพรรคการเมือง หรือแม้แต่ข้าราชการประจำ�ก็มีการเลือกข้าง แบ่งพรรคกันอยู่ หากช่วงใดการเมืองไม่ นิ่งองค์กรต่างๆจึงระสับระส่ายไปด้วย งบประมาณโดนตัดบ้าง ได้ไม่ครบบ้าง พรรคใหญ่ที่องค์กรตัวเองสังกัด ไม่ได้เป็นรัฐบาลบ้าง ทำ�ให้องค์กรท้องถิ่นเหล่านี้ต้องจัดการเรื่องการเมืองเป็นลำ�ดับแรกและพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสาธารณูปโภคทีหลังทำ�ให้ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างจริงจัง เต็มที่ และเกิดความไม่ยั่งยืน

ความหวังเล็กๆกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากปัญหาที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ทำ�ให้หลายฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาดังกล่าวเพราะประเทศชาติจะ เจริญได้เยาวชนต้องเข้มแข็ง หลวงปู่ต้นบุญจึงได้มีดำ�ริให้วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในทุกๆ ด้านแก่คนทุกๆระดับ ให้เติมเต็มสิ่งต่างๆแก่ทรัพยากรมนุษย์อย่างสุดขีดความสามารถและสามารถดำ�เนินไปได้ อย่างต่อเนื่อง


หลักการการแก้ปัญหาของวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เนื่องจากหลวงปู่ต้นบุญได้เล็งเห็งถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ให้แนวทางแก่ศิษยานุศิษย์ให้ดำ�เนินการวาง รากฐานชุมชนโดยให้วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชเป็นศูนย์กลาง - ดำ�เนินการให้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนทั้งหมดปรับทัศนคติให้ธรรมเป็นแนวทางเพื่อขัดเกลาพื้น ฐานจิตใจให้ง่ายต่อการปลูกฝังสิ่งอื่นๆต่อไป เช่นจัดให้มีโครงการปฏิบัติธรรมต่างๆที่วัด - จัดการอบรมเยาวชนโดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเยาวชนโดยวิธีที่สามารถเข้าถึงเบื้องลึกของจิตใจของ เยาวชน เสริมสร้างความเข้าใจเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ในการจัดอบรมแต่ละครั้งจะสามารถแก้ไขปํญหาได้ เป็นอย่างดีเช่นการติดยาเสพติด การพนัน ขาดความอบอุ่นในครอบครัว อาชญากรรม เพศสัมพันธ์ โดยใช้หลัก การที่ชี้นำ�เยาวชนให้คิดเป็น ตัดสินใจถูกต้อง ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา ไม่ใช้อารมณ์ชั่ววูบในการตัดสินใจ ซึ่งเห็นได้ จากการติดตามผลงานหลังจากผ่านการอบรมเยาวชนเยาวชนเริ่มกล้าที่จะปรึกษาพูดคุยกับพระวิทยากร และ ร่วมมือกันแก้ปัญหา และปัญหาต่างๆก็สามารถคลี่คลายได้ด้วยดี


- มีการพบปะพูดคุยกับผู้นำ�ชุมชน หลวงปู่ต้นบุญได้ชี้นำ� กระตุ้น ให้ผู้นำ�ชุมชน เช่น ส่วน อ.บ.ต. ครู ตำ�รวจ กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เห็นถึงปัญหาอย่างแท้จริง มีความกระตือลือล้นที่จะทำ�เพื่อท้องถิ่นมากขึ้น ลืมข้อ บาดหมางส่วนตัว ปราศจากการแบ่งแยกทางการเมือง มีความสมานฉันท์ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง - มีการใช้สื่อในการทำ�ความเข้าใจกับชุมชนและช่วยแก้ปัญหา เนื่องจากที่วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชมีสถานี วิทยุท้องถิ่นคลื่นกองทัพพิทักษ์ธรรม FM.๑๐๓.๕๐MHz ที่เปรียบเสมือนสื่อกลางของวัด เพื่อให้คนแถบนี้ได้รับ ฟังข้อมูลข่าวสารและฟังธรรมมะได้ทุกวัน เพื่อความสงบในจิตใจโดยการกำ�กับดูแลของหลวงปู่ต้นบุญอย่าง ใกล้ชิด และคลื่นกองทัพพิทักษ์ธรรมยังได้จัดรายการทั่วไปแต่ดำ�เนินตามวิถีธรรมมะ มีผู้จัดรายการที่เข้าใจวิถี แห่งธรรมของหลวงปู่คอยดำ�เนินรายการ ชี้นำ�ให้เยาวชนแก้ปัญหาได้ถูกทาง และนักจัดรายการที่วัดป่าทุ่งกุลา เฉลิมราชยังได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องด้วยทำ�ให้ปัญหาการเสพสื่อของเยาวชนไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างมากและบางช่วงยังจัดโคงการให้เยาวชนแถบนี้ได้มาทดลองออกอากาศ เป็นนักจัดรายการวิทยุเพื่อให้มี ประสบการณ์ที่ดี มีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

พวกเราเหล่าศิษยานุศิษย์ ลูกแก้วในแดนธรรม ได้เห็นถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหลวงปู่ต้นบุญ ในการแก้ปัญหาได้ถูกจุดโดยแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ได้แก้ที่ปลายเหตุ การอบรมสั่งสอนของท่านได้ปลูกฝัง จิตสำ�นึกให้แก่ พวกเราเหล่าศิษยานุศิษย์ ลูกแก้วในแดนธรรมทั้งหลาย บัดนี้หลวงปู่ท่านได้ปลูก ต้นบุญ ลงไปในหัวใจพวกเรา หัวใจแห่งพระพุทธศาสนา และต้นบุญต้นนั้น ได้หยั่งรากลงลึกเข้าไปถึงก้นบี้ง แห่งหัวใจพวกเราทุกคน และกำ�ลังแตกหน่อ เจริญงอกงาม ในดินแดนแห่งนี้ ดินแดนแห่งพุทธภูมิ จะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาของชุมชนของหลวงปู่ต้นบุญ ใช้แนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ ซึ่งเป็น “กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนา” เพื่อก่อให้เกิดแนวทางใหม่แห่งความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาของทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ ภาคธุรกิจ ชุมชน องค์กรเอกชน สถาบันวิชาการ และสถาบันทางศาสนา ในการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรมไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนา “อย่างสมดุลและยั่งยืน” ทั้งทางด้าน วัตถุและจิตใจ และจะนำ�ไปซึ่งจุดหมายปลายทางสูงสุดของกระบวนการพัฒนา ก็คือ “การพัฒนาคน” นั่นเอง การพัฒนาคนนั้นจะต้องพัฒนาให้มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนา คนให้มีคุณภาพ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านวัตถุ ส่วนการพัฒนาให้คนมีคุณธรรม เป็นผลสืบเนื่อง มาจากการพัฒนาทางด้านจิตใจ อธิบายได้ว่า กระบวนการพัฒนาชุมชน มุ่งพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ ความ สามารถทำ�งานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คุณภาพ) และมีความซื่อสัตย์ ยอมเสียสละผลประโยชน์ ส่วนตัวเพื่อชุมชนส่วนรวม (คุณธรรม)


ในการพัฒนาบุคคลทางด้านจิตใจหรือคุณธรรมนั้น ธรรมะอันสูงสุดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้า ถ่ายทอดสู่สาธุชนทั้งหลาย สามารถนำ�มาปรับใช้ในการดำ�รงชีวิต ให้เกิดความสุขทั้งภายนอกและ ภายใน ซึ่ง เป็นความสุขทางด้านจิตใจอย่างแท้จริง หลวงปู่ต้นบุญ ผู้ถ่ายทอดธรรมะอันวิจิตรและลึกซึ้ง เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และตระหนักถึงปัญหาของชุมชน จึงดำ�ริให้มีโครงการอบรมจริยธรรม พัฒนา บุคคลภายใต้ร่มเงาแห่งธรรม สร้างทัศนคติ ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามสู่ชุมชุมชาวบ้านโพนตูม และ ชุมชนต่างๆใกล้เคียง เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของสรรพสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์ ด้วยพระธรรมคำ�สอนของ พระพุทธเจ้า สาธุชน ศิษยานุศิษย์ พุทธบริษัทและมหาชนทั้งหลาย ต่างร่วมมหาบารมี สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ ด้วย การให้ธรรมะซึ่งชนะการให้ทั้งปวง ร่วมกันเป็นเจ้าภาพและร่วมอนุโมทนาบุญกุศลในการจัดโครงการฝึกอบรม เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายได้ตลอดทั้งปี โดยหลักสูตรในการฝึกอบรม มีรายละเอียด ดังนี้


โครงการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์

โครงการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑. หน่วยงานรับผิดชอบ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ร่วมกับ สำ�นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง เริม่ ต้นโครงการโดยประมาณปี ๒๕๕๔ ๒. หลักการและเหตุผล หน้าที่อันสำ�คัญของพระภิกษุผู้เป็นศาสนทายาท มี ๒ ประการ หนึ่งคือ การศึกษาเล่าเรียนพระ ธรรมวินัย เรียกว่า คันถธุระ และสอง คือ การอบรมกาย วาจา ใจ ตามแนวแห่งไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิปัสสนาธุระ ในส่วนของการเล่าเรียนพระธรรมวินัย คณะสงฆ์ได้ดำ�เนินการส่งเสริมให้เป็น ไปโดยความเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี แต่ในทางปฏิบัติวิปัสสนาธุระ ยังขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง ดังนั้น วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชและสำ�นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำ�คัญของ วิปัสสนาธุระ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ ภิกษุบริษัท ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ทางการปฏิบัติส่วนตัวและเป็นที่ ศรัทธานำ�พาพุทธบริษัทประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในทีฆนิกาย มหาวรรค ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชน เป็นอันมาก อันจะส่งผลถึงความสถิตมั่นสถาพรแห่งบวรพระพุทธศาสนาสืบต่อไป” ๓. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้พระภิกษุผู้เข้ารับการอบรม ได้รับการนิเทศและฝึกปฏิบัติ ๒. เพื่อให้พระภิกษุผู้เข้ารับการอบรม เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สามารถปฏิบัติเองและอบรมสั่งสอนผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง ๓. เพื่อให้พระภิกษุผู้เข้ารับการอบรม ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เพิ่มพูนความเคารพ ศรัทธา เป็นผู้นำ�ของชุมชนในด้านการปฏิบัติธรรม อันเป็นการอนุเคราะห์ประชาชนตามพุทธประสงค์ ๔. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีในคณะพระภิกษุผู้เข้ารับการอบรม และพระสังฆาธิการผู้ร่วม กันปฏิบัติหน้าที่ ถวายการอุปถัมภ์บำ�รุง


๕. เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ที่มีประสิทธิภาพ และจัด ทำ�เป็นหลักสูตรมาตรฐาน สำ�หรับใช้อบรมรุ่นต่อๆ ไป ๔. เป้าหมาย เชิงคุณภาพ พระภิกษุผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ในหลักการและวิธีปฏิบัติ สมถวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติเองได้และสามารถนำ�ผู้อื่นให้ปฏิบัติตามได้ เชิงปริมาณ พระภิกษุ จำ�นวน ๒๕๐ รูป ๕. ลักษณะและระยะเวลาดำ�เนินการ ภาคปริยัติ คือการฟังบรรยาย สลับกับภาคปฏิบัติ ๖. สถานที่จัดอบรม ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ๗. วิธีดำ�เนินการ ๑. กำ�หนดหลักสูตร เนื้อหาการอบรม และพระวิทยากรผู้ถวายความรู้ ๒. อาราธนาพระมหาเถระ พระสังฆาธิการ เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการอุปถัมภ์โครงการ ๓. ประชุมคณะกรรมการดำ�เนินงานเตรียมการจัดอบรม ๔. อาราธนาพระมหาเถระ / วิทยากรมาถวายความรู้ ๕. จัดเตรียมเอกสาร สถานที่ และอุปกรณ์ ๖. ดำ�เนินการจัดอบรม ๗. ทดสอบ / วัดผลความรู้ผู้เข้ารับการอบรม ทั้งก่อนและหลังการอบรม ๘. ประเมินโครงการ เพื่อนำ�ผลการประเมินใช้เป็นแนวทางปรับปรุงการอบรมในครั้งต่อไป ๘. การประเมินผลโครงการ ๑. ด้านความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติ ประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึก อบรมทั้งก่อนและหลังการฝึกอบรม ๒. ประเมินโดยรวม โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากคณะกรรมการ วิทยากร และผู้เข้ารับ การฝึกอบรม


๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. พระภิกษุผู้เข้าอบรม ได้รับการนิเทศและฝึกปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ๒. พระภิกษุผู้เข้าอบรม เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติสมถวิปัสสนาตามแนว สติปัฏฐาน ๔ สามารถปฏิบัติเองและอบรมสั่งสอนผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง ๓. พระภิกษุผู้เข้าอบรม ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เพิ่มพูนความเคารพศรัทธา เป็นผู้นำ�ของ ชุมชนในด้านการปฏิบัติธรรม อันเป็นการอนุเคราะห์ประชาชนตามพุทธประสงค์ ๔. เกิดความสามัคคีในคณะพระภิกษุผู้เข้ารับการอบรม และพระสังฆาธิการผู้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ ถวายการอุปถัมภ์บำ�รุง ๕. ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ที่มีประสิทธิภาพ และจัดทำ�เป็น หลักสูตรมาตรฐาน สำ�หรับใช้อบรมรุ่นต่อๆ ไป

ประวัติพระวิปัสสนาจารย์

ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ รวบรวมประวัติพระวิปัสสนาจารย์ สายต่างๆ พระวิปัสสนาจารย์ได้แก่ พระภิกษุผู้ทำ�การสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำ�สอนของพระพุทธศาสนา พระวิปัสสนาจารย์ คือพระภิกษุผู้สอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำ�สอนของพระพุทธศาสนา โดยที่พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีคุณสมบัติได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรม โดยผู้บังคับบัญชาระดับ จังหวัด ผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ จากกรมการศาสนาโดยหน้าที่หลักของ พระวิปัสสนา จารย์ คือการอธิบายให้ผู้คนรู้จักวิปัสสนากรรมฐาน คือการเข้าไปเห็น หรือรู้ ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของ ชีวิต ๓ ประการ ได้แก่ ๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ๒. ทุกขัง ความไม่สมหวัง ๓. อนัตตา ความไม่มีตัวตนของกายและจิต วิปัสสนากรรมฐานเป็นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาให้เกิดสติที่จดจ่อ เฉียบคม การพากเพียรกำ�หนดรู้ สภาวะธรรมทางกายและทางจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะในตัวเรา จะก่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ในธรรมชาติ ที่แท้จริงของชีวิต ปัญญาญาณนี้เองที่ช่วยให้เราดำ�รงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระ และข้องเกี่ยวกับโลกรอบตัว


ได้อย่างยึดมั่นถือมั่นน้อยลง กลัวและสับสนน้อยลง ทั้งยังช่วยให้เราดำ�เนินชีวิตไปพร้อมกับความคิดที่สุขุม ถูกต้อง มีความกรุณา และมีปัญญาเป็นตัวกำ�กับมากยิ่งขึ้น พระวิปัสสนาจารย์ สอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมถึงพร้อมทั้งทางกาย วาจา ใจ ดังนี้ ทางกาย ควรสะสางหน้าที่การงานให้เรียบร้อย และไม่ติดต่อกับใครตลอดการปฏิบัติ ระหว่างการ ปฏิบัติเข้มนี้ ไม่ควรอ่านหรือเขียนบทความใดๆ เพราะจะรบกวนสมาธิ เป็นอุปสรรคต่อการเกิดปัญญา ญาณ ยกเว้นการจดบันทึกเกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับ หรือประสบการณ์ของสภาวะธรรมที่ได้พบ เพียงสั้นๆ ทางวาจา เมื่อสมาทานกรรมฐานแล้ว ควรงดพูดโดยเด็ดขาด โดยจะพูดกับท่านวิปัสสนาจารย์เมื่อ ส่งอารมณ์เท่านั้น การพูดคุยเป็นภัยที่ร้ายแรงที่สุดของการปฏิบัติกรรมฐาน นอกจากจะรบกวนการเจริญ สมาธิของผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการตัดทอนการพัฒนาปัญญารู้แจ้งของตัวเราเองอีกด้วย ทางใจ ควรตั้งใจไว้ทุกวันว่าจะปฏิบัติอย่างทุ่มเท ไม่ท้อถอย และจะอดทน พากเพียรปฏิบัติอย่าง เต็มสติกำ�ลังตลอดเวลา หัวใจสำ�คัญยิ่งที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติ คือวิปัสสนาจารย์ที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญ แตกฉานในปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ สามารถถ่ายทอดธรรมะที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย พระวิปัสสนาจารย์ที่เชี่ยวชาญจะมีเทคนิคในการสอบอารมณ์ มีความเฉียบคม จับสภาวะของผู้ฝึก ได้แม่นยำ� และช่วยแก้ไขแต่งอินทรีย์ให้เราได้อย่างถูกต้องตรงตามสภาวะที่เป็นจริงในขณะ นั้น ประหนึ่ง บอกทางให้แก่ผู้ที่หลงทาง


กำ�หนดการ โครงการอบรมหลักสูตร

“ผู้นำ�...กุญแจหลัก..แห่งธรรมในชุมชน” ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๖ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วันพุธที่ ๑๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน, รายงานตัว, เข้าที่พัก ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. พิธีเปิด คณะวิทยากรกล่าวต้อนรับ ๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๑ เครื่องมือการเรียนรู้ “เรื่องเล่าเร้าคุณธรรม” พัก/กาแฟ ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร, พัก ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๒ “การขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์” ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๓ การพัฒนาชุมชนด้วยศรัทธาและปัญญา กิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ ๓ วงจร และโจทย์เร้ากุศล นำ�เสนอโจทย์เร้ากุศล และประมวลสรุปความรู้ พัก/ กาแฟ ๑๕.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๔ “บันทึกภาพจากใจด้วยเส้นเพียงเส้นเดียว” ๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. พัก, อาบนำ�้, ทำ�ภารกิจส่วนตัว ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหาร ๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. กิจกรรมที่ ๕ “สวดมนต์ - ทำ�วัตร, บริหารจิตเจริญปัญญา” ๑๙.๓๐ - ๒๐.๓๐ น. กิจกรรมที่ ๖ “การสร้างสรรค์เพลงท้องถิ่น” ๒๐.๓๐ - ๒๑.๓๐ น. กิจกรรมที่ ๗ “หลักการและแนวคิดในการจัดทำ�แผนที่คนดี/ความดี” ๒๒.๐๐ น. พักผ่อน


วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๐๔.๓๐ - ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน, ทำ�ภารกิจส่วนตัว ๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. สวดมนต์ทำ�วัตร, บริหารจิตเจริญปัญญา ๐๖.๐๐ - ๐๗.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๘ จริยศิลป์, พัก ๐๗.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. รับประทานอาหาร ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๙ แผนที่คนดีภาคสนาม - วิทยากรนำ�เข้าสู่กิจกรรมภาคสนาม - แบ่งกลุ่มย่อยลงชุมชนเพื่อค้นหาและสัมภาษณ์คนดี และบันทึกภาพถ่าย ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร , พัก ๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น. กิจกรรมที่ ๑๐ การจัดนิทรรศการแผนที่คนดี -วิเคราะห์และเรียบเรียงบทบรรยายประกอบภาพถ่าย -จัดทำ�สื่อเพื่อนำ�เสนอคุณค่าคนดี พัก / กาแฟ ๑๔.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๑๑ การสร้างสรรค์เพลงคนดีของท้องถิ่น ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหาร ๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. สวดมนต์ - ทำ�วัตร , บริหารจิตเจริญปัญญา ๑๙.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๑๒ “การจัดเวทีคนดีของชุมชน” - ติดตั้งและตกแต่งนิทรรศการแผนที่คนดี - ชมเชย ยกย่องคนดีของชุมชน “ร้องเพลงคนดีที่ฉันพบ” - มอบประวัติคนดี ๒๒.๐๐ น. พักผ่อน


วันศุกร์ที่ ๑๖ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๐๔.๓๐ - ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน, ทำ�ภารกิจส่วนตัว ๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. สวดมนต์ทำ�วัตร, บริหารจิตเจริญปัญญา ๐๖.๐๐ - ๐๗.๐๐ น. เดินจงกรม, พัก ๐๗.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. รับประทานอาหาร ๐๘.๓๐ - ๐๙.๓๐ น. กิจกรรมที่ ๑๓ ธาตุจริงครูแท้ พัก / กาแฟ ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. กิจกรรมที่ ๑๔ การออกแบบโครงการพัฒนาชุมชน ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร, พัก ๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น. กิจกรรมที่ ๑๕ การนำ�เสนอโครงการต่อที่ประชุมรวม พัก / กาแฟ - สรุปสะท้อนประสบการณ์เรียนรู้ ๑๔.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. พิธีปิดการอบรม - มอบวุฒิบัตร - เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


วัตถุประสงค์ของโครงการ ๑. เพื่อผสานความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มผู้นำ� ในการทำ�งานเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนองค์กร อื่นๆ ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงกัน ๒. เพื่อกำ�หนดกรอบคิด แผนงานในการพัฒนาคุณธรรมอย่างครบวงจร ทั้งในระดับบุคคล (บ้าน/ชุมชน วัด ราชการ) ๓. เพื่อสร้างสรรค์โครงการเฉพาะพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายการดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ หมู่บ้านอื่น ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ๔. เพื่อการปรับวิธีการการเข้าถึงระบบคุณค่า และการพัฒนาระบบการคิด ตลอดจนการ ทำ�งานเป็นทีมอย่างเป็นระบบพร้อมเพรียงกัน


โครงการ อบรมข้าราชการ หลักสูตร “จรรยาบรรณข้าราชการ ..คุณธรรมและจิตสำ�นึก..ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อมวลชน” เริ่มต้นโครงการโดยประมาณปี ๒๕๕๔ หลักการและเหตุผล การตระหนักถึงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในจิตสำ�นึก ซึ่งก็คือการเคารพศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ในคนทุกคน และการจัดทำ�สื่อสาธารณะเพื่อสะท้อนคุณค่ากลับไป ยังชุมชนเพื่อสร้างพลังความดีงาม ที่เป็นที่ประจักษ์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ซึ่งเป็นหัวใจสำ�คัญของ กระบวนการค้นหาความดีในตัวคน ทำ�ให้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของหน้าที่หนึ่ง ที่จะเป็นผู้นำ�การ เปลี่ยนแปลงในทางบวกมาสู่ชุมชนโดยสื่อสารคุณค่าความดีที่มีอยู่แล้วในตัวคนที่จะหันกลับมาย้อน มองคุณค่าและหันกลับมาเคารพความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์อันบ่มเพาะฝังรากเป็นขุมทรัพย์ทาง ปัญญาที่สำ�คัญของท้องถิ่น หลักการสำ�คัญประการหนึ่งของกระบวนการค้นหาความดีในตัวคนที่จะสร้างพลังการ เปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์มาสู่ชุมชนนั้น เหตุ-ปัจจัยที่สำ�คัญประหนึ่งคือ ผู้สื่อความดี จะต้อง เข้าใจหัวใจหลักสำ�คัญ คือการมองย้อนกลับมาเปลี่ยนทัศนคติมุมมองในเชิงคุณค่าของตนเอง ออกจากความเคยชินเดิม และก้าวเข้าสู่แนวคิดมุมมองแบบใหม่ที่สามารถนำ�เอาเรื่องเล่าจาก ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน บันทึกเรียบเรียงและจัดทำ�สื่ออย่างง่าย เพื่อสะท้อนคุณค่าความดี งามนั้นกลับไปสู่ชุมชนได้ จนสามารถกลับมาเปลี่ยนแปลงตนเองและการสร้างสื่อกระตุ้นความดีจะ เข้าไปช่วยปลุกฟื้นความเป็นชุมชนและเสริมพลังทางบวกมาสู่ผู้คนในชุมชนได้ โดยผู้สื่อความดีนี้จะ เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้ท้องถิ่นกลับมามองเห็นมุมมองที่ดีต่อกัน ร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนา คุณค่าของตนเองและท้องถิ่นให้ดีขึ้น รู้จักที่จะกลับมาตระหนักถึงองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในตัวคน ทุกคนในชุมชน เมื่อหันกลับมาเห็นคุณค่าระหว่างกันเช่นนี้แล้ว บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน จึงเกิดขึ้นได้ไม่ยาก การสร้างกลุ่มคุณธรรมและมีจิตสำ�นึกที่ดีให้กระจายทั่วไปในชุมชน สังคมและประเทศชาติ นอกจากจะช่วยบันทึกเรื่องราวคุณค่าคนดีในชุมชนในแต่ละพื้นที่แล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นและตัว กระตุ้นที่สำ�คัญของการเรียนรู้ที่แท้ในชุมชน และแพร่ขยายคุณค่าคามดีงามออกไปได้อย่างกว้าง ขวางและเป็นรูปธรรม ซึ่งหากสามารถประสานรวมกำ�ลังทีมผู้สื่อความดีของแต่ละชุมชนได้ ก็จะ ผสานเป็นเครือข่ายแห่งพลังความดีงาม นำ�คุณธรรม จิตสำ�นึกที่ดี และความสุขให้เบ่งบานทั่วแผ่น ดินไทย


วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีความเข้าใจ และเข้าถึงหลักการที่เป็นหัวใจ สำ�คัญที่ถูกต้องของกระบวนการค้นหาคนดี ซึ่งก็คือ การปรับทัศนคติของตนเองในการเคารพ ศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ และมองเป็นถึงความจริงประการหนึ่งว่า “ทุกคนต่างมีด้านดี” โดย การผ่านการมีประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติการร่วมกัน ๒. เพื่อฝึกฝนการใช้เครื่องมือที่ธรรมชาติให้มาอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การฟังอย่างลึก ซึ้ง การบันทึก การจับประเด็นคุณค่าความดี การตั้งคำ�ถาม เป็นต้น ๓. เพื่อฝึกฝนการสร้างสื่อสาธารณะสำ�หรับเผยแพร่ในชุมชนที่หลากหลายและเหมาะสมต่อ บริบท เป้าหมาย ๑. ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ๒. นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บล เจ้าหน้าที่ อบต. สมาชิกอบต. ๓. กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในหัวใจหลักสำ�คัญของกระบวนการแผนที่คนดี ซึ่งก็คือ ”การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนมีความดีงามอยู่ภายใน” ๒. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงตนเอง เกิดจิตสำ�นึกที่ดี และมีทักษะ พื้นฐาน ทั้งในฐานะผู้สื่อความดีที่ส่งเสริมคุณธรรม และในฐานะผู้บริโภคที่ฉลาดและรู้เท่าทัน และ การประสานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ๓. ผู้เข้ารับการอบรม มีการยกย่องส่งเสริมคุณค่าความดีและการสร้างความเข้าใจเรื่อง “ทุกคนมีดี” ในระดับภูมิภาค และสามารถนำ�กระบวนการไปใช้ในหน่วยงาน องค์กรของตนได้ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ๔. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถปฏิบัติงานร่วมกันในองค์กรของตนอย่างมีสำ�นึกรับผิดชอบ และครองตนอยู่ในความดีงามถูกต้อง รวมถึงมีการปฏิบัติตนต่อกันด้วยความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อให้องค์กร ชุมชนของตนมีการเป็นอยู่อย่างมีความสุข โดยถาวรตลอดไปใน อนาคต


โครงการอบรมบุคคลทั่วไป หลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน สร้างงาน สร้างสุข สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกลาเฉลิมราช เมษายน - ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกลาเฉลิมราช ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ที่เป็นมรดกธรรมอันล้ำ�ค่าของพระพุทธองค์ สามารถลดอวิชชาและกิเลส อันเป็นเหตุ แท้จริงของความทุกข์ได้ ผู้ปฏิบัติเมื่อได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าได้ทั้งปัญญาและความสุข ก็เกิด ศรัทธาที่จะขยายผลแห่งการปฏิบัติให้กว้างไกลออกไปถึงบุคคลอื่นด้วย จึงถือเอา การฝึกอบรม วิปัสสนากรรมฐานเป็นกิจกรรมสำ�คัญของวัดป่าฯ ตลอดมา ด้วยปณิธานดังกล่าวข้างต้นนี้ และเพื่อเป็นการฝึกฝนประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานแก่ผู้มีศรัทธาในการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาตนเอง สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกลาเฉลิม ราช ซึ่งมีหลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ ผู้มีบารมีธรรมอันสูงลำ�้ เป็นหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์ มา สอนวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฎฐาน ๔ และแนวทางแห่งวิมุตติมรรค การสอนของหลวงปู่ เหมาะแก่ผู้ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการปฏิบัติแม้จะใช้ห้องปฏิบัติธรรม แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิ และกำ�หนด อิริยาบถย่อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง คุณสมบัติของผู้สมัคร ๑. พุทธศาสนิกชน ชาย – หญิง อายุตั้งแต่ ๑๘ ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป ๒. เคยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน ๔ มาแล้ว ๓. เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำ�ตัวอันก่อให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติ ๔. มีสุขภาพจิตปกติ ไม่เป็นโรคประสาท โรคจิต ๕. ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด ๖. สามารถรักษาศีล ๘ และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโครงการ ** รับสมัคร รุ่นละ ๗๐ ท่าน **


ระเบียบในการปฏิบัติ ๑. สามารถอยู่ปฏิบัติได้ตลอดหลักสูตร ๒. รักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด (ไม่ควรดื่มนมสด นมเปรี้ยว นมถั่วเหลืองทุกชนิด หรือดื่ม เครื่องดื่มผสมนม หรือคอฟฟี่เมท หลังเวลา ๑๒.๐๐ น.) ๓. พึงเจริญสติ กำ�หนดรู้อาการของกาย ใจ อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง แม้ในเวลาพักผ่อน ๔. ไปสอบอารมณ์ตามเวลาที่กำ�หนดอย่างเคร่งครัด ๕. งดเว้นการพูดคุยตลอดเวลาที่กำ�หนดในหลักสูตร ยกเว้นพูดกับวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ ประสานงานโครงการเท่านั้น ๖. งดเว้นการเขียน การอ่าน การฟังวิทยุเทป งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ๗. งดพบผู้มาเยี่ยม โดยมิได้รับอนุญาตจากวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ประสานงาน ๘. งดสูบบุหรี่ ๙. หากมีความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ให้ปรึกษาวิปัสสนาจารย์หรือผู้ประสานงานโครงการ เท่านั้น ๑๐. ปฏิบัติตามระเบียบในการปฏิบัติ และระเบียบของศูนย์วิปัสสนาฯ อย่างเคร่งคัด ผู้ที่ไม่ สามารถปฏิบัติตามระเบียบในการปฏิบัติของหลักสูตรได้ จะยินยอมออกจากการปฏิบัติโดยไม่มีข้อ โต้แย้ง การเตรียมตัว เตรียมใจ ๑. วางความรู้เดิมทั้งหมด และทำ�ตนประหนึ่งว่าท่านเป็นนักเรียน ที่เพิ่งเริ่มการเรียนรู้ ๒. วางภารกิจทั้งหลาย ตัดความกังวลในทุก ๆ เรื่อง ๓. วาง ยศศักดิ์ ฐานะ ตำ�แหน่ง ทั้งหมด ๔. ตั้งใจปฏิบัติตามระเบียบในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


การเตรียมของใช้ ๑. เตรียมเสื้อผ้าให้พอใช้ตลอดระยะเวลาที่กำ�หนดในโครงการ ไม่มีการซักรีดในระหว่าง โครงการ ๒. เตรียมของใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน หวี ผ้าเช็ดตัว ยาประจำ�ตัว นาฬิกาปลุก ไฟฉาย การแต่งกาย เพื่อแสดงความเคารพต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และต่อสถานที่ ผู้ปฏิบัติพึงแต่ง กายดังนี้ ๑. สุภาพบุรุษ - สวมเสื้อผ้าชุดสีขาว และกางเกงขายาวเท่านั้น ๒. สุภาพสตรี - สวมเสื้อผ้าชุดสีขาว ผ้าถุงหรือกระโปรงยาวเหนือข้อเท้า - สวมชุดชาว ผ้าถุงและห่มสไบ ระหว่างเข้าฟังพระธรรมเทศนาและเข้าสอบอารมณ์ - ไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูป เสื้อไม่มีแขน เสื้อบาง หรือเสื้อคอกว้าง สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีไม่สวมชุดนอน เสื้อผ้าสีฉูดฉาด มีลวดลายและมีตัวหนังสือบน เสื้อ ออกนอกห้องพัก การให้บริการอาหารและที่พัก สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกลาเฉลิมราช มีห้องพักรวม มีพัดลม พร้อมที่นอน หมอน ผ้าห่ม อาหารเช้า ๐๗.๐๐ น.อาหารกลางวัน ๑๑.๐๐ น.นำ�้ปานะ บริการตนเองตามอัธยาศัยตามจุดบริการ


ค่าใช้จ่าย การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตรนี้ มีค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินการรุ่นละประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท สำ�นักปฏิบัติธรรมวัดป่าทุ่งกลาเฉลิมราช ขอเชิญชวนผู้เข้าปฏิบัติธรรม และผู้มีจิต เป็นกุศลร่วมเป็นเจ้าภาพหรือบริจาคตามกำ�ลังศรัทธา


ไม่ว่าความเป็นตัวตนจะยิ่งใหญ่ หรือเล็กน้อยเพียงใด แต่ละคนย่อมมีมุมมองของตนเป็นที่ตั้ง มีความต้องการและปณิธานของตน เส้นแบ่งระหว่างใหญ่หรือเล็ก เพียงเป็น ตัวกำ�หนดค่าของอัตตา เท่านั้น ส่วน มุมมอง เพียงเป็น บทสรุปของอัตตา เท่านั้นเอง


ทุกข์เกิดที่ไหน ทุกข์เกิดที่ใจ ใจที่มันพร่องมันไม่เต็ม มันกลัวอยู่ตลอดเวลา กลัวว่าจะมีคนมาแย่งชิง กลัวว่าจะหมด กลัวว่าจะไม่มี ความทุกข์มันเกิดขึ้นที่นี่ จะดับได้อย่างไรรึ ทุกข์เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ ยิ่งกลัวว่าจะหมด ก็ยิ่งต้องให้ ให้..ให้...ให้จนเราเติมเต็ม..จากใจที่พร้อมจะให้ เมื่อนั้นใจก็จะเป็นสุข


บุพกิจในการนำ�สาธุชน ศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท สร้างมหาบารมี มหากุศล ทั้งใน ด้านศาสนสงเคราะห์และสังคมสงเคราะห์ เป็นสาธารณกุศลที่สร้างโอกาสและความเจริญ ทางธรรมให้แก่มหาชน การร่วมสร้างบารมีของเหล่าสาธุชน ศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท ทั้งหลาย คือ การสะสมอริยทรัพย์ เป็นการสร้างบารมีแก่ตนเอง เกิดผลานิสงส์นำ�ไปสู่ มรรค ผล นิพพาน โครงการต่าง ๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำ�เนินการในขณะนี้ ขอเชิญสาธุชนทั้งหลาย สามารถน้อมจิตบริจาคได้ตามกำ�ลังทรัพย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมมะบูชา สังฆบูชา และ สืบสานงานพระศาสนาให้ดำ�รง ครบพุทธกาล ๕,๐๐๐ ปี มีรายละเอียด ดังนี้



เจดีย์ศรีทศพลญาณ ๑๔ ก.พ. พ.ศ.๒๕๕๓


โครงการสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคล วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ๒. เพื่อบรรจุพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ๓. เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ ของเหล่าพุทธศาสนิกชน ๔. เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา การจัดสร้าง ๑. จัดสร้างเจดีย์ขนาดสูงประมาณ ๕๔ เมตร ฐานกว้าง ๑๔ x ๑๔ เมตร ๒. รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุพนม ๓. ปรับปรุงทัศนียภาพและภูมิทัศน์ บริเวณโดยรอบเพื่อสามารถใช้ปฏิบัติธรรม ๔. จัดสร้างกำ�แพงแก้วโดยรอบ สถานที่ - ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ระยะเวลา - เริ่มดำ�เนินการก่อสร้าง โดยประมาณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม. พ.ศ. ๒๕๕๑ งบประมาณ การประเมินราคาเบื้องต้นประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท ความคืบหน้า - ณ ปัจจุบัน วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ - ใช้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้นโดยประมาณ


พิธีเทเสาเจดีย์ศรีทศพลญาณ ๙ ธ.ค. ๒๕๕๑


พิธีเทเสาเจดีย์ศรีทศพลญาณ ๙ ธ.ค. ๒๕๕๑


พิธีเทเสาเจดีย์ศรีทศพลญาณ ๙ ธ.ค. ๒๕๕๑


พิธีเทเสาเจดีย์ศรีทศพลญาณ ๙ ธ.ค. ๒๕๕๑

เตรียมงานก่อนพิธีเทเสาเจดีย์ศรีทศพลญาณ ๙ ธ.ค. ๒๕๕๑


วางศิลาฤกษ์เจดีย์ศรีทศพลญาณ ๑๖ ก.ค. ๒๕๕๑


วางศิลาฤกษ์เจดีย์ศรีทศพลญาณ ๑๖ ก.ค. ๒๕๕๑



โครงการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่สิงขร วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นตัวแทนหลวงปู่สิงขร ให้ลูกศิษย์ได้กราบสักการะ ๒. เพื่อเผยแผ่เรื่องราว ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่สิงขร ๓. เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ความเคารพ ความศรัทธา ต่อพระอาจารย์ ของลูกศิษย์ การจัดสร้าง ๑. จัดสร้างรูปหล่อหลวงปู่สิงขร เนื้อทองเหลือง ขนาดความสูง ๓ เมตร พร้อมฐาน สถานที่ - บริเวณด้านหน้าพระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ระยะเวลา - ระยะเวลาดำ�เนินการจัดสร้างรูปหล่อหลวงปู่สิงขร เริ่มเดือน มกราคม. พ.ศ. ๒๕๕๓ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน กรกฎาคม. พ.ศ. ๒๕๕๓ งบประมาณ การประเมินราคาเบื้องต้นประมาณ ๕ แสนบาท



โครงการสร้าง องค์เทวนาคราช “ นาคพันธุ์ปริวัตร ” วัตถุประสงค์ ๑. สร้างองค์เทวนาคราช “ นาคพันธุ์ปริวัตร “ บริเวณกลางสระนำ�้หน้าพระพุทธเจ้า ห้าพระองค์ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้พิทักษ์ศาสนา เทวานุสติ เทว บูชา เป็นบุญกริยาวัตถุ ที่ตั้งแห่งการทำ�บุญ พิทักษ์ ปกป้อง และ ทำ�นุบำ�รุงพระพุทธศาสนา แห่งองค์พระศาสดา ตลอดชนพุทธศาสนิกชน ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ๒. เพื่อเผยแผ่ และ ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมา ความเป็นศาสนูปถัมภก พุทธมา มะกะขององค์นาคพันธุ์ปริวัตร ๓. เพื่อจรรโลงจิตใจแก่ผู้พบเห็นตลอดจนผู้มีโอกาสสักการะ เพื่อให้เข้าถึงแก่นพระ ศาสนา อีกทั้งยังเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ความเคารพ ความศรัทธาต่อองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ซึ่งหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ๔. เพื่อปรับปรุงทัศนียภาพและภูมิทัศน์ บริเวณสระนำ�้ เพื่อเป็นสถานที่สักการะและ ปฏิบัติธรรมพัฒนาจิตเจริญสมถะ วิปัสสนากัมมัฏฐาน การจัดสร้าง ๑. จัดสร้างองค์เทวนาคราช “ นาคพันธุ์ปริวัตร “ หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับผิว ขนาดเท่าคนจริง สถานที่ - บริเวณสระนำ�้หน้าพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ระยะเวลา - ระยะเวลาดำ�เนินการจัดสร้างเทวนาคราช “องค์นาคพันธุ์ปริวัตร” เริ่มเดือน เมษายน ๒๕๕๓ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ธันวาคม ๒๕๕๓ งบประมาณ การประเมินราคาเบื้องต้น ๑ ล้านบาท ( อยู่ในขั้นตอนการสอบราคา )


ตำ�นานพญานาค พญานาค เป็นราชาแห่งงู จัดเป็นเดรัจฉานด้วย เพราะมีลำ�ตัวไปทางขวางและไม่สามารถ บรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา นาคแบ่ง ออกเป็น ๔ ตระกูล ใหญ่ คือ ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ� พญานาคเกิดได้ทั้ง ๔ แบบ คือ แบบโอปปาติกะเกิดแล้วโตทันที แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม แบบชลาพุชะเกิดจากครรภ์ แบบอัณฑชะเกิดจากฟองไข่ พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่ นำ�้ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ ในการ ปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็น พญานาคเพราะทำ�บุญเจือด้วยราคะ การปกครองของพญานาค พญานาคมีการปกครองด้วยระบอบ บุญญาธิปไตย คือ ผู้มีบุญมากปกครองผู้มี บุญน้อย ลำ�ดับชั้นปกครอง ได้แก่ กำ�เนิดแบบโอปปาติกะ เป็นนาคชั้นปกครองโดยมีพญานาคชั้นสังเสทชะเป็นบริวารรับใช้ กำ�เนิดแบบสังเสทชะ เป็นนาคกึ่งสัตว์เดรัจฉานและกึ่งทิพย์ ปกครอง พวกกำ�เนิดแบบ ชลาพุชะ กำ�เนิดแบบชลาพุชะ เป็นนาคที่เกิดด้วยครรภ์ ลักษณะเป็นงูขนาดใหญ่ ปกครอง พวก กำ�เนิดแบบอัณฑชะ กำ�เนิดแบบอัณฑชะ เป็นนาคที่เกิดใน ฟองไข่ ส่วนใหญ่เป็นงูชั้นล่าง เช่น งูเหลือม งูเห่า งู จงอาง เป็นต้น อายุขัยของพญานาค พญานาคใต้แม่นำ�้โขง เป็นพญานาค ระดับภุมเทวาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีอายุแตกต่างกันตาม กำ�ลังบุญ


กำ�เนิดแบบโอปปาติกะ จะมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ปี กำ�เนิดแบบสังเสทชะ จะมีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี กำ�เนิดแบบชลาพุชะ จะมีอายุประมาณ ๑๐๐ - ๕๐๐ ปี กำ�เนิดแบบอัณฑชะ จะมีอายุประมาณ ๑๐ – ๓๐ ปี

การแปลงกายเป็นมนุษย์ กำ�เนิดแบบโอปปาติกะ สามารถแปลงกายได้ทั้งขณะอยู่บนบกและอยู่ในนำ�้ กำ�เนิดแบบสังเสทชะ ซึ่งเกิดในเมืองบาดาล แปลงกายได้เฉพาะขณะอยู่ในเมืองบาดาล ถ้าหากออกพ้นเมือง บาดาลก็จะกลายร่างเป็นนาคเหมือนเดิม กำ�เนิดแบบชลาพุชะ และแบบอัณฑชะล้วนแปลงกายไม่ได้ เพราะบุญน้อย ฤทธิ์ก็น้อย ตาม จึงอยู่ในสภาวะของงูตลอดไป อาหารของพญานาค กำ�เนิดแบบโอปปาติกะและแบบสังเสทชะ จะกินอาหารทิพย์ที่เกิดจากบุญ ภายในวิมาน ตนเองใต้ภพบาดาล กำ�เนิดแบบชลาพุชะ หรืองูเทพเจ้า จะกินปลาใหญ่เป็นอาหาร กำ�เนิดแบบอัณฑชะ หรืองูทั่ว ๆ ไป จะกินพวกกบเขียดปลาเล็กๆ เป็นอาหาร วิมานในภพบาดาล วิมานสร้างจากทองคำ� พื้นรอบนอกวิมานจะเป็นทรายเงิน ทรายทอง ทรายแก้ว ตามกำ�ลัง บุญของเจ้าของวิมาน ภายในวิมานจะมีคลังเก็บสมบัติ ทั้งที่เป็นหีบแก้วแหวนเงินทอง และรัตน ชาติ บางส่วนก็เป็นสมบัติโบราณ ที่ตนเองมีหน้าที่เก็บรักษา เช่น พระพุทธรูปโบราณที่จมลงไปใน ดิน หรือสิ่งก่อสร้างสำ�คัญของวัดวาอารามที่ปรักหักพัง หรือเทวรูปต่างๆ มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับอดีต ชาติของพระรัฐปาล ซึ่งคัดย่อเฉพาะเนื้อหา ที่ เกี่ยวข้องกับพญานาคว่า มีพระดาบสองค์หนึ่งได้เห็นสมบัติอันอลังการของพญานาค ก็ กลับไป เล่าให้โยมอุปัฏฐากฟัง โยมอุปัฏฐาก ก็เชื่อพระดาบสนั้น จึงปรารถนาสมบัติพญานาค เมื่อทำ�บุญก็ จะอธิษฐานให้ไปเกิดในภพพญานาค เมื่อตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็น พญานาคสมดังใจที่ได้อธิษฐานไว้ หน้าที่ของพญานาค กำ�เนิดแบบโอปปาติกะ เป็นนาค ชั้นผู้ปกครอง มีหน้าที่เป็นผู้พิพากษา คอยตัดสินคดีความ ต่างๆ ในสายการปกครองของตน เสวยสุขอยู่ในวิมานใต้ ภพบาดาล รายล้อมไปด้วยนางนาค มาณวิกา คอยฟ้อนรำ� กำ�เนิดแบบสังเสทชะ มีหน้าที่คอยรับใช้พวกโอปปาติกะ และมีนางนาคมาณวิกาคอยฟ้อนรำ�ใน วิมานเช่นกัน กำ�เนิดแบบชลาพุชะ เป็นงูเทพเจ้า มีหน้าที่เฝ้าสถานที่สำ�คัญ เช่น วัดวาอาราม เก่าๆ หรือ เฝ้าสมบัติโบราณ นาค กำ�เนิดแบบอัณฑชะ มีความเป็นอยู่เหมือนงูทั่วไป


พญานาคกับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเคยกำ�เนิดเป็นพญานาค พระพุทธเจ้าทรงแสดงอดีตตำ�นานว่า พระองค์เคยเกิดเป็นพญานาคดังที่ปรากฏ ใน อรรถกถาจัมเปยชาดก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ หน้า ๑๘๕ พระศาสดาเมื่อเสด็จ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุโบสถกรรม ความว่า ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกา ทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายอยู่รักษาอุโบสถกรรมเป็นความดี โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ละ นาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถกรรมเหมือนกัน อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรง นำ�อดีตนิทานมาตรัสให้อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นฟัง องค์มุจลินทร์ ประวัติและความสำ�คัญ ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาล นิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำ�อยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำ�ขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้ว แผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์ มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายของ พระพุทธเจ้าออก แล้วได้จำ�แลงกายเป็นมาณพน้อยยืนทำ�อัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่ เฉพาะพระพักตร์ ลำ�ดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า “สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะ โม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ” ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริง อย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำ�รวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจาก ความกำ�หนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำ�ออกเสียซึ่งอัสมินมา นะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธ รูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัว พญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำ�นาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะ เป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชั้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และ พระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย


พระพุทธเจ้าเสด็จเทวโลก คราวหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จพร้อมด้วยพระอรหันต์จำ�นวน ๕๐๐ รูป เพื่อเสด็จไป ยังเทวโลก ได้ผ่านวิมานของเหล่าพญานาค ที่กำ�ลังมีการรื่นเริงกันอย่างสนุกสนาน ที่มี นันโทปนัน ทนาคราช เป็นประธานใหญ่ เมื่อเห็นคณะสงฆ์ผ่านไปเหนือวิมานจึงมีความโกรธมาก จึงได้ตรง ไปยังเขาพระสุเมรุแปลงตนเป็นนาคขนาดใหญ่ พันโอบเขาพระสุเมรุด้วยขดถึง ๗ รอบ แล้วแผ่ พังพานบังชั้นดาวดึงส์เอาไว้ เพื่อไม่ให้พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ผ่านไปได้ และเมื่อเป็นดังนั้นได้มี พระอรหันต์หลายรูปอาสาปราบ แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต จน พระโมคคัลลานะ ผู้ซึ่งตาม เสด็จไปด้วยอาสา พระองค์จึงทรงอนุญาต ดังนั้น พระโมคคัลลานะ จึงได้แปลงกายเป็นนาคราช ขนาดใหญ่กว่าถึงเท่าตัว พันเอานาคนันโทปะนันทะนาคราช เอาไว้ด้วยขดถึง ๑๔รอบ นาคราชทน ไม่ไหวบันดาลให้ไฟลุกขึ้น พระโมคคัลลานะ ก็ให้เกิดไฟขึ้นเช่นกัน ไฟของนันโทปะนันทะนาคราชสู้ ไม่ไหว จึงถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นใคร” ตอบว่า “เราคือโมคคัลลานะ ศิษย์ของตถาคต” นัน โทปะนันทะนาคราช จึงบอกว่า ท่านจงคืนร่างกลับเป็นพระเหมือนเดิมเถิด แต่ด้วยนิสัยของผู้รู้ว่า นันโทปะนันทะนาคราช เป็นคนไม่ยอมแพ้ใครง่ายๆ จึงได้แปลงกายให้เล็กนิดเดียว สามารถเข้ารูหู รูจมูกได้ แล้วเข้าไปตามรูต่างๆ จน นันโทปะนันทะนาคราช ทนไม่ไหว และนันโทปะนันทะนาคราช สู้ไม่ได้จึงหนีไป พระโมคคัลลานะ จึงแปลงร่างเป็นพญาครุฑไล่ติดตามไป เมื่อหนีไม่พ้นจึงแปลง ร่างเป็นมาณพหนุ่ม ยอมแพ้พระโมคคัลลานะและที่สุดจึงยอมให้พระพุทธเจ้าพร้อมพระอรหันต์ ผ่านไปแต่โดยดี พญานาคแปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวช คราวหนึ่ง พญานาคตนหนึ่งฟังธรรมของพระพุทธองค์จนบังเกิดความเลื่อมใสคิด ออกบวชเพื่อติดตามพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวแต่คำ�สัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ซึ่งเวลานั้นเป็นห้วงครึ่งพุทธกาลอัน พระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตให้คณะสงฆ์เป็นคณะอุปสมบทผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ เมื่อ พญานาคคิดอย่างนี้จึงแปลงกายเป็นชายหนุ่ม เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายเพื่อขอบวช ภิกษุทั้งหลายจึง ให้เข้าบรรพชาอุปสมบท พระนาคนั้นพักอยู่ในวิหารท้ายวัดกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นใกล้สว่าง ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้ว ออกไปเดินจงกรมอยู่ด้านนอก พอภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระนาคนั้นก็วางใจเผลอจำ�วัดได้กลาย ร่างกลับเป็นพญานาค วิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงูใหญ่ ขนดหางยื่นออกไปทางหน้าต่างครั้นภิกษุรูป นั้นผลักบานประตูเข้าไปด้วยตั้งใจจักเข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ก็ตกใจร้องเอะอะ ขึ้น ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ร้องเอะอะไปทำ�ไม ภิกษุรูปนั้นบอก ว่า วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงูใหญ่ ขณะนั้น พระนาคได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงเอะอะ แล้วนั่งอยู่บน อาสนะของตน ภิกษุทั้งหลายจึงถามว่าท่านเป็นใคร ภิกษุนาคตอบว่า ผมเป็นนาค ภิกษุทั้งหลาย จึงได้นำ�เรื่องกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาค


พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ได้ทรงประทานพระพุทธโธวาทนี้แก่นาคนั้นว่า พวกเจ้าเป็นนาคมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถใน วันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำ�เนิดนาค และจักกลับได้ อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า ตนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้เป็น ธรรมดาก็เสียใจหลั่งนำ�้ตา และทูลขอถวายคำ�ว่า นาค ให้แก่ผู้ขอบวชเพื่อเป็นอนุสรณ์ พระพุทธ องค์ทรงเมตตาตามคำ�ทูลขอนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดคำ�ว่าบวชนาค และเกิดอัตรายิกธรรมเป็นต้นมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพ ของนาค มีสองประการนี้ คือ เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาค ผู้มีชาติเสมอกัน ๑ เวลาวางใจนอน หลับ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค ๒ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว บัณฑิตรุ่นหลังนิยมเรียกผู้จะบวชว่านาค ตามเรื่องราวของนาคตนนี้ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เพื่อ เป็นการระลึกถึงศรัทธาอันแรงกล้าของนาค ซึ่งแม้จะเป็นสัตว์เดรัจฉานแต่ก็ยังปรารถนาที่จะ บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จนถึงกลับจำ�แลงเป็นมนุษย์มาขอบวช เรื่องราวของนาคตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ยืนยันถึงศรัทธาและความเพียรพยายาม ในการบำ�เพ็ญบารมีของนาค แม้บางครั้งจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่เมื่อได้รับการฝึกหัดกล่อมเกลา จิตใจ ก็กลับกลายเป็นผู้ประเสริฐขึ้นมาอย่างฉับพลัน ในอีกด้านหนึ่ง กุลบุตรผู้จะบวชเป็นพระ ภิกษุดำ�เนินชีวิตตามเส้นทางของพระอริยเจ้า ปฏิปทาของพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นปฏิปทาอัน ประเสริฐ เพราะเว้นเสียจากการทำ�บาปทั้งปวง ผู้จะดำ�เนินชีวิตตามปฏิปทาอันประเสริฐนั้นจึงถูก เรียกว่า “นาค” แปลว่า ผู้ประเสริฐ ตามไปด้วย


บันทึก “ พระอาจารย์มั่น ” อ้างถึงบันทึกประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นปรมาจารย์พระสายปฏิบัติหรือพระ ป่าองค์แรก ในหนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” ซึ่งท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน บันทึกไว้ มีการกล่าวถึงพญานาคใจความว่า “...ท่าน อาจารย์องค์นี้มีนิสัยชอบรู้สิ่งต่าง ๆ จำ�พวกกายทิพย์ที่สายตามนุษย์ไม่อาจมองเห็นได้ เช่น พวก เปรต ผี เทวบุตร เทวธิดา พญานาค คล้ายคลึงกับท่านอาจารย์มั่น...” “....ผู้เขียน (อาจารย์พระมหาบัว) เรียนถามเกี่ยวกับพวกกายทิพย์ เช่น พญานาค เป็นต้น ท่านพูดได้ละเอียดลออน่าฟัง ท่านว่า พวกพญานาคมีฤทธิ์มานิรมิตกายได้ต่าง ๆ เวลามาเยี่ยมท่าน ท่านให้เขานิรมิตให้ท่านดู เขาเรียนท่านว่าการนิรมิตกายของพวกพญานาคไม่เป็นของยากลำ�บาก อะไรเลย จะนิรมิตให้เป็นอย่างไรก็ได้ตามต้องการ...” “...ที่ว่าพญานาคพ่นพิษนั้น ท่านเล่าว่าสมัยท่านไปเที่ยววิเวกแถบฝั่งแม่นำ�้โขงกับท่าน อาจารย์มั่น ขณะพักอยู่ในที่บางแห่งมีบึงนำ�้ใสสะอาดน่าอาบดื่มใช้สอย แต่ท่านอาจารย์มั่นห้าม ไม่ให้พระลงอาบและตักนำ�้ที่นั่นมาดื่มใช้สอย กลัวพญานาคพ่นพิษใส่ในนำ�้นั้นไว้ เวลาตักมาใช้และ อาบดื่มจะเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยกันลำ�บาก เพราะพญานาคพวกนี้ยังไม่มีความเคารพเสื่อมใสในพวก เรา....” “...เรื่องพญานาคที่ถือทิฐิมานะแข่งดีกับท่านอาจารย์มั่นได้กลับยอมตนลงโดยสิ้นเชิงและ ถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาอรรถธรรมกับท่านด้วยความสนใจเสื่อมใสอย่างยิ่ง ตั้งแต่วันนั้นมาเมื่อ ทราบว่าพญานาคยอมตนและถอนพิษออกจากนำ�้หมดแล้ว ท่านจึงสั่งให้พระลงอาบนำ�้และใช้สอย นำ�้ในบึงนั้นต่อไป...” “...การหยั่งทราบเรื่องลึกลับต่าง ๆ ดังเรื่องพญานาคเป็นต้น ท่านอาจารย์มั่นนับว่าละเอียด ลออมาก ยากที่ลูกศิษย์คนใดจะเสมอเหมือนได้ การปฏิบัติต่อพวกกายทิพย์นั้น ท่านอาจารย์ก็คอย แนะนำ�พระอยู่เสมอ...”


บันทึก “ หลวงปู่คำ�พันธ์ ” หลวงปู่คำ�พันธ์เคยเล่าไว้ว่า ในผืนแผ่นนำ�้ของประเทศไทยของเรานั้น มีพญานาคราชเป็น ใหญ่นามว่า พญาศรีสุทโธ ท่านชอบจำ�ศีลบำ�เพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม โดยมอบหมายให้เหล่าพญานาค ๖ อำ�มาตย์ ดูแลแทน ในระหว่างที่หลบมาจำ�ศีลภาวนา หลวงปู่คำ�พันธ์เอ่ยชื่อ ๖ อำ�มาตย์แห่งพญานาคไว้ เพียง ๓ คือ ๑. พญาจิตรนาคราช เป็นพญานาคที่รักสวยรักงาม มีเขตแดนปกครองของตน ตั้งแต่ตา ลีฟู ถึงจังหวัดหนองคาย ตามแนวแม่น้ำ�โขง โดยมีที่สุดแดนอยู่วัดหินหมากเป้ง ๒ พญาโสมนาคราช มีเขตแดนปกครอง ตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาจนถึงวัดพระธาตุพนม สุดเขตแดนที่แก่งกะเบา พญาโสมนาคราช มีอุปนิสัยคล้ายพญาศรีสุทโธนาคราช คือชอบปฏิบัติ ธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจ และโปรดปรานแก่พญาศรีสุทโธนาคราชมากกว่าพญานาคอื่น ๆ ๓. พญาชัยยะนาคราช มีเขตแดนจากแก่งกะเบา เรื่อยไปจนสุดแดนที่ปากแม่น้ำ�โขงลง ทะเลในเขมร พญานาคตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการรณรงค์ทำ�สงคราม คือชอบการต่อสู้เป็นนิสัย ส่วนฝั่งลาวนั้น มี พญาศรีสัตตนาคราช เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง เป็นพญานาค ที่ทรงฤทธิ์ ทรงอำ�นาจเหนือกว่าพญานาคทั้งหลายใน ๒ แผ่นดินนี้ แต่ท่านเป็นพญานาคที่ชอบ จำ�ศีลและประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนพญาศรีสุทโธนาคราช โดยชอบมาที่วัดพระธาตุพนมเหมือน กัน จนถึงกับมีการให้พันธะสัญญาแก่กันว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการความช่วยเหลือก็จะช่วย กันอย่างเต็มที่เต็มกำ�ลังสามารถ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้อยใหญ่ประการใด พญาศรีสัตตนาคราช มี ความเด่นสง่าด้วยมี ๗ เศียร ซึ่งถือได้ว่าเป็นตระกูลพญานาคที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล มีความใกล้ ชิดพระพุทธองค์ และพระพุทธศาสนา จนอาจถือว่าเป็นต้นตระกูลแห่งพญานาคทั้งหมด หลวงปู่ คำ�พันธ์ยังได้กล่าวอีกว่า ส่วนใดที่อยู่ใกล้ต้นนำ�้ลำ�ธาร หรือหากมี พิธีกรรมอันใดเกิดขึ้น ให้อัญเชิญ บอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเกี่ยวกับพญานาคที่วัดธาตุพนม มีเรื่องราว บันทึกไว้ว่า ในคืนขึ้น ๑๕ คำ�่ เดือน ๑๑ ปี ๒๕๐๐ (วันออกพรรษา) คืนนั้นมีฝนตกหนัก นายไกฮวด และภรรยา ได้ลุกขึ้นมารองนำ�้ฝนไว้ดื่มกินตอนกลางดึก บังเอิญเห็นลำ�แสงแปลกประหลาดสว่าง เป็นลำ�โต ขนาดต้นตาล ๗ ลำ�แสง และมีสีสันแตกต่างกัน ๗ สี สวยงามมาก โดยที่ลำ�แสงทั้ง ๗ พุ่งมาจากฟากฟ้าทิศเหนือ ด้วยลักษณะแข่งกัน คือแซงกันไปแซงกันมา จนพุ่งเข้าซุ้มประตูวัด ธาตุพนมแล้วก็หายไป มีสามเณรรูปหนึ่งในขณะนั้นประทับทรงบอกนายไกฮวดและภรรยาว่าลำ� แสงทั้ง ๗ คือ พญานาค มาจากเทือกเขาหิมาลัย มาเพื่อปกปักรักษาพระธาตุพนม และช่วยเหลือ ประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก แต่หลวงปู่คำ�พันธ์บอกว่า นั่นเป็นพญาศรีสุทโธนาคราช และอำ�มาตย์ ทั้ง ๖ แสดงฤทธิ์ ในโอกาสที่ท่านได้บอกกล่าวเรื่องพญานาคนี้ ท่านจึงได้กล่าวพยากรณ์ดังข้างต้น ว่า พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตรายจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นหลังจาก ท่านมรณภาพไปแล้ว ๓ ปี นี่ก็ก้าวเข้าปีที่ ๓ แล้ว จวนเจียนจะครบตามกำ�หนดในพยากรณ์ ซึ่งท่าน บอกว่าจงสังเกตดูให้ดีจะเห็นความวุ่นวายเดือดร้อนจะปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ หลวงปู่คำ�พันธ์มรณภาพ เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖


ตำ�นานการสร้างเมือง ความเป็นมาของดินแดนและชุมชนในแถบลุ่มแม่นำ�้สายและแม่นำ�้โขง รวมถึงแถบลุ่มแม่ นำ�้กกนั้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนนับแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในรัชสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์ผู้ สถาปนาอาณาจักรล้านนา ทว่าก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้น ก็พบว่ามีชุมชนเกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งแบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ ชุมชนในเขตที่ราบลุ่มแม่นำ�้กก - โขง และชุมชนในเขตที่ราบลุ่มแม่ นำ�้ปิง เรื่องราวของกำ�เนิดชุมชนในเขตที่ราบลุ่มแม่นำ�้กก - โขงนั้น ปรากฏอยู่ในตำ�นานหลาย ฉบับ ตำ�นานเมืองสุวรรณโคมคำ� ตำ�นานสิงหนวัติ ตำ�นานพื้นเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน ต่างกล่าวไว้ว่า เทวกาล เจ้าผู้ครองเมืองนครไทยเทศในยูนาน ได้ให้ราชบุตรแยก ย้ายกันไปสร้างบ้านแปงเมือง สิงหนวัติกุมารจึงได้นำ�ผู้คนอพยพมาสร้างเวียงขึ้นในเขตลุ่มแม่นำ�้ กก ตำ�นานระบุว่า พญานาค ได้มาช่วยสร้าง จึงเรียกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “ นาคพันธุ์สิงหนวัติ ” หรือ “ เวียงโยนกนาคพันธุ์ ” มีกษัตริย์ปกครองต่อมาถึง ๔๕ พระองค์ รวมถึงการขับไล่พวกขอมออก ไปจากพื้นที่ จนในที่สุดเวียงโยนกนาคพันธุ์ก็ล่มสลายกลายเป็นหนองนำ�้ เนื่องด้วยชาวเมืองไปจับปลา ไหลเผือกตัวเท่าต้นตาลในแม่นำ�้กก และแบ่งปันกันกินทั่วเมือง ตกกลางคืนเกิดฝนฟ้าคนอง แผ่น ดินไหวเมืองจึงล่มเป็นหนองนำ�้ กระทั่งปัจจุบันยังปรากฏหนองนำ�้แห่งหนึ่งใกล้อำ�เภอเชียงแสน เรียกว่า เวียงหนอง ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า เดิมคือเวียงโยนกนาคพันธุ์ของพระเจ้าสิงหนวัติ บริเวณ กลางหนองมีเกาะเรียก ดอนแม่ม่าย ซึ่งพ้องตามตำ�นานที่ว่ามีแม่ม่ายรอดตายจากเมืองล่มอยู่ เพียงลำ�พังคนเดียว เพราะไม่ได้ร่วมกินปลาไหลเผือกกับชาวเมืองคนอื่น ๆ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงตำ�นานเวียงโยนกนาคพันธุ์ล่มไว้ว่า “ศักราชได้ ปีเถาะ พุทธศาสนาล่วงได้ ๑๐๐๒ ปี พระองค์มหาชัยชนะเป็นกษัตริย์แห่งเมืองโยนกได้ ๕ ปี คนทั้ง หลายไปแอ่วแม่นำ�้กุกกนาดี ก็เห็นปลาเหยี่ยนเผือกตัวใหญ่เท่าลำ�ตาลยาว ๗ วา เขาก็ปล่าวกันไป ทุบเหยี่ยนเผือกตัวนั้นจนตายแล้วก็มีอาชญาให้ครัวแล้วแจกกันกินใคว่ทั้งเวียง เมื่อถึงเวลาคำ�่แล้วก็ ปรากฏได้ยินเสียงแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว เมื่อนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั่น ก็ยุบลงเกิดเป็น หนองนำ�้ใหญ่ คนทั้งหลายอันมีในเวียงนั้น มีกษัตริย์เจ้าเป็นประธานเลยวินาศฉิบหายตกจมลงไปใน นำ�้ทั้งหมดแล...” นอกจากนั้นยังมีเรื่องราวของตำ�นานเมืองเชียงแสนที่เล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากของ ผู้เฒ่าผู้แก่แห่งบ้านแม่ลาก อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายว่า “ครั้งหนึ่งมีหนองนำ�้ใหญ่อยู่ในเมืองนี้ หนองหนึ่ง พญาเจ้าเมืองปล่อยเป็ด ห่านลงเล่นนำ�้ทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่งพญาเจ้าเมืองพบว่าเป็ด ห่านที่เลี้ยงไว้ถูกปลาไหลกิน ท่านจึงได้ไปขอฝ้ายบ้านละปิ๊บ เอามาพันทำ�เป็นสายเบ็ดมัดติดไว้กับ หลังเป็ดแล้วปล่อยลงหนองนำ�้ ปลาไหลเผือกออกมากินจึงติดเบ็ด ชาวบ้านจึงช่วยกันจับได้ที่บ้าน แม่ฮะ แล้วลากมาที่บ้านแม่ลาก เอาใส่เกวียนไปทำ�อาหารที่บ้านแม่ลัว จากนั้นจึงเอาไปฆ่าแล้วแบ่ง กันไปทำ�อาหารกินที่บ้านแม่กก จากนั้นมีลูกชายพระอินทร์มาเที่ยวที่บ้านแม่ม่าย ถามว่าเมืองนี้มีกลิ่นอะไรหอมจัง แม่ ม่ายตอบว่าเขากินปลาไหลเผือกกัน ลูกชายพระอินทร์จึงถามว่าได้กินกับเขาบ้างไหม แม่ม่ายตอบ


ว่าไม่ได้กิน เขาไม่แบ่งให้ ลูกชายพระอินทร์ตอบว่าไม่ได้กินก็ดีแล้ว ถ้าได้ยินเสียงดังตอนกลางคืน อย่าออกไปข้างนอกให้อยู่แต่ในบ้าน ตกกลางคืนมีเสียงดังกึกก้อง แม่ม่ายจะวิ่งออกมาดูก็นึกถึง คำ�เตือนจึงกลับเข้านอน แต่ก็ได้ยินเสียงดังยิ่งกว่าเดิม พอถึงตอนเช้าจึงออกไปดู มองเห็นแต่นำ�้ เวิ้งว้างไปทั่ว” หนองนำ�้ดังกล่าวชาวบ้านเชื่อว่ากลายเป็นทะเลสาบเชียงแสน แอ่งนำ�้ธรรมชาติขนาด ใหญ่เนื้อที่กว่า ๑ ตร.กม. ในท้องที่ตำ�บลโยนกก่อนถึงเมืองเชียงแสนประมาณ ๕ กม. เป็นที่อาศัย ของสัตว์นำ�้จืดและปลานานาชนิด ซึ่งชาวบ้านหากินเลี้ยงชีพมาแต่โบราณ ทะเลสาบเชียงแสนใน ปัจจุบันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเวียงโยนกนาคพันธุ์ที่ล่มสลายไปเมื่อกว่าหนึ่งพันปีก่อน ซึ่งยังปรากฏ มีเศษซากของโบราณสถานหลายแห่งไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบค้นเรื่องราวของตำ�นานมนต์ตราแห่งคำ� สาป ปัจจุบันพื้นที่ทะเลสาบเชียงแสนประมาณ ๒,๗๑๑ ไร่ แวดล้อมไปด้วยขุนเขาถูกประกาศให้ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย หรือ ทะเลสาบเชียงแสน เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๒๘ เพราะมี การสำ�รวจพบว่าบริเวณนี้มีนกมากมายอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนกท้องถิ่นอย่างนกอีโก้ง นกอีลุ้ม นก อีลำ�้ นอกจากนั้นในช่วงฤดูหนาวทุกปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไปจะมีนกเป็ดนำ�้จำ�นวนมาก ซึ่งอพยพโยกย้ายมาจากทางตอนกลางของทวีปเอเชียมาอาศัยอยู่ รวมทั้งนกที่หายากในเมืองไทย เช่น นกเป็ดพม่า นกเป็ดผีใหญ่ นกกานำ�้ใหญ่ นกกระสานวล และนกเป็ดแดง เป็นต้น ตำ�นานสังหนวัติกุมาร ได้แสดงเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับตำ�นานสุวรรณโคมคำ� คือ เป็น เหตุการณ์ต่อเนื่องอย่างเหมาะเจาะ กำ�เนิดเมืองสิงหนวัตินคร เกิดด้วยพญานาคชื่อ พันธุนาคราช เนรมิตตนเองเป็นพราหมณ์เข้าไปชี้แนะเจ้าสิงหนวัติกุมาร ผู้เป็นราชบุตรของกษัตริย์ฮ่อแห่ง ตระกูลไทยเมือง ชื่อ เทวกาล ให้ตั้งบ้านเมืองที่ริมฝั่งแม่น้ำ�ชลนที แล้วพญานาคได้แสดงฤทธิ์ขุดคู รอบเมืองกว้าง ๓,๐๐๐ วาโดยรอบทุกด้าน แล้วตั้งชื่อเมืองเป็นอนุสรณ์ระหว่างพญานาคกับมนุษย์ ว่า “เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร” ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรี ช้างแสน” สองตำ�นานนี้จะว่าไปแล้วเท่ากับเป็นการแสดงกำ�เนิดแผ่นดินล้านนา (ภาคเหนือของ ประเทศไทย) ทีนี้มาดูอุรังคธาตุนิทาน ซึ่งเป็นเอกสารตำ�นานแสดงการเกิดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่ง มีเรื่องราวเป็นอันเดียวกันกับตำ�นานสุวรรณโคมคำ� หากแต่แตกต่างที่เป็นพญานาคคนละตน อุรัง คธาตุนิทาน แสดงเรื่องราวของพญานาคอย่างละเอียดและซับซ้อน ผู้เรียบเรียงอุรังคธาตุ คือ พระยาศรีชมพู และคัดลอกต่อมาโดย อาชญาเจ้าอุปราชใน พ.ศ. ๒๔๐๔ ต้นฉบับแท้ดั้งเดิมปัจจุบัน เก็บไว้ที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร คือ เก็บไว้ที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ ผู้ที่สนใจ สามารถไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ อุรังคธาตุนิทาน กล่าวถึงกำ�เนิดล้านช้าง ล้านนา ไว้ว่า หนองแส เป็นสถานที่อยู่ของเหล่า พญานาคจำ�นวนมาก โดยมีพญานาค ๒ ตน ชื่อว่า พินทโยนกวติ กับ ธนะมูลนาค เป็นสหายกัน ต่อ มาทะเลาะกันเรื่องแบ่งปันอาหาร ทำ�ให้ธนะมูลนาคอพยพลงไปทางใต้ โดยขุดคุ้ยควักแผ่นดินจน เกิดแม่นำ�้มูลนที (แม่นำ�้มูลทุกวันนี้) ส่วนแม่นำ�้ชี ก็เกิดจากการคุ้ยควักของชีวายนาค ผู้เป็นหลาน แม่นำ�้มูลกับแม่นำ�้ชี ก็มีความสัมพันธ์กันคือ ชีไหลลงมูลที่จังหวัดอุบลฯ ดูไปก็คล้ายว่า คุ้ยควักแผ่น


ดินมาด้วยกันแล้วแยกออกจากกันที่อุบลฯ เมื่อธนะมูลนาคอพยพหนีมาทางใต้แล้ว พินทโยนกวติ นาคก็คุ้ยควักแผ่นดินไปทางตรงข้ามคือ ไปทางเหนือ โดยออกไปทางเมืองเชียงใหม่ เกิดทางนั้นว่า แม่นำ�้พิง (ปิง) ส่วนวัง ยม และน่าน ตำ�นานไม่ได้กล่าวถึง จึงคาดว่าจะเกิดจากลูกหลานบริวาร ของพินทโยนกวตินาคคุ้ยควักไปก็เป็นได้ เพราะว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน คู่กรณี ๒ ตน หนีจาก หนองแสไปแล้ว ไม่นานหนองแสก็ขุ่นคลั่ก ทำ�ให้เหล่านาคที่เหลือทนอยู่หนองแสไม่ได้ จึงอพยพหนี ออกไปอีกเป็นรุ่นที่ ๒ ทำ�ให้เกิดสถานที่สำ�คัญมากมาย สุวรรณนาค หนีไปอยู่ปู่เวียน (ภูเวียน, ภู พาน) พุทโธปาปนาค ไปอยู่หนองบัวบาน ปัพพารนาค ไปอยู่ภูเขาหลวง สุกขรนาค ไปอยู่เวินหลอด หัตถศรีสัตตนาค อยู่ดอยนันทกังรี และเหล่าพญาเงือก งู ชั้นบริวารไปอยู่แม่นำ�้งึม ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่แสดงการกำ�เนิดบ้านเมืองและสถานที่สำ�คัญ ๒ ฝั่งโขง ทั้งล้าน นาและล้านช้าง โดยมีเหตุกำ�เนิดมาจากพญานาค เรื่องของนาคอพยพลงมาทางใต้นั้นก็มาพ้องกับ ตำ�นานพระเจ้าเลียบโลกที่ได้กล่าวไปแล้ว ทำ�ให้เป็นที่น่าสังเกตุว่าแต่ละตำ�นาน มีความสัมพันธ์กัน อย่างน่าแปลกใจ เนื้อความในตำ�นานนี้ยังกล่าวถึงกำ�เนิดเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาวทุก วันนี้ไว้ด้วยว่าเกิดจากสุวรรณนาค และบริวาร ช่วยสร้างเมืองเวียงจันทน์ เนรมิตสมบัติ ปราสาท สระนำ�้ โรงข้าว และกำ�แพงรอบพระนคร ทั้งยังแต่งตั้งพญานาคทั้ง ๙ รักษาบ้านเมืองไว้ ตำ�นาน นี้ได้ไปพ้องกับนิทานพื้นเมืองของชาวบ้านสีธานใต้และชาวเวียงจันทน์ โดยมีการเล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยก่อนเมืองเวียงจันทน์มีความผูกพันกับพญานาคเป็นอันมาก ถึงกับกล่าวว่า “แผ่นดินเป็นของ มนุษย์ แม่นำ�้เป็นของนาค” โดยเชื่อว่า มีเมืองบาดาลของนาคซ้อนกันอยู่กับเมืองเวียงจันทน์ เมืองบาดาลนั้นปกครองโดยพญานาค ๗ หัว (พญาสีสัตตนาคราช ๗ เศียร) ผู้มีอิทธิฤทธิ์ และชีวิตวนเวียนอยู่กับคน ระหว่างเมืองนาคและเมืองมนุษย์ ๒ เมืองนี้มีเส้นทางไปมาหาสู่กัน (รูพญานาค) เมื่อมนุษย์มีเหตุร้าย (ชาวเวียงจันทน์) จะตีกลอง “หมากแค้ง” เป็นสัญญาณเรียก พญานาคมาช่วย เพราะเหตุนี้เมืองเวียงจันทน์จึงไม่เคยแพ้สงครามและอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา เพราะอำ�นาจพญานาค ต่อมาพวกคนสยาม (มีวิชาอาคมดี) ปลอมตัวเป็นพระนุ่งผ้าขาวมาจำ�ศีล อยู่ป่าหลายแห่งที่นครเวียงจันทน์ ได้แอบปิดรูทางขึ้นลงของนาคและทำ�ลายกลองหมากแค้งทิ้ง จึงเป็นเหตุให้ชาวเวียงจันทน์เรียกพญานาคมาช่วยไม่ได้ เวียงจันทน์จึงถูกโจมตีทำ�ลายกลายเป็น เมืองขึ้นของสยาม


โครงการสถานีวิทยุคลื่นกองทัพพิทักษ์ธรรม ปัจจุบันการสื่อสารมีการพัฒนาและการก้าวไปอย่างรวดเร็ว สื่อวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพล ต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก ทำ�ให้การติดต่อช่วยสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง ประชาชนสู่ชุมชนและมีบทบาทสำ�คัญในการสร้างสรรค์สังคม สถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นกองทัพพิทักษ์ FM.๑๐๓.๕๐MHz. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑ ตามที่คณะกรรมการสำ�นักงานวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชโดยมี พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกขปัญโญ (หลวงปู่ต้นบุญ) เจ้าอาวาสวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เป็นผู้ ดำ�เนินการก่อตั้งสถานีวิทยุ และมอบหมายให้ นายคมกริช วะนาพรม เป็นหัวหน้าสถานีวิทยุและเป็นผู้ดำ�เนินการในด้านประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ต่างทั้งของวัดและชุมชน ในการก่อตั้งสถานีวิทยุ เนื่องจากวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชมีการพัฒนาโครงสร้าง ปรับภูมิทัศน์ของวัด สร้างเสนาสนะสถานที่ปฏิบัติธรรม ของพระภิกษุสงฆ์-สามเณร ชีพราหมณ์ และผู้ ปฎิบัติธรรมทั่วไป อนึ่งงานสืบสานพระพุทธศาสนาของวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชแห่งนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักของบุคคล ทั่วไป เนื่องจากวัดอยู่ห่างไกลชุมชน การคมนาคมไม่สะดวก หลวงปู่ต้นบุญ มีความห่วงใยต่อสาธุชน ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมงานพระพุทธศาสนาให้กับชุมชน ใกล้ ไกลได้ทราบโดยทั่วกัน จึงได้ก่อตั้งสถานีวิทยุชุมชนขึ้นมาโดยมีชื่อว่า “คลื่นกองทัพพิทักษ์ธรรม” FM.๑๐๓.๕๐MHz. สถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นกองทัพพิทักษ์ธรรม FM.๑๐๓.๕๐MHz. อยู่ภายใต้การ ดูแลของสำ�นักงานวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ วัตถุประสงค์ ๑. สืบสานพระพุทธศาสนาโดยพัฒนาให้วัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ๒. ประชาสัมพันธ์งานวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชและบริการข่าวสาร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ ประชาชนทั่วไป ๓. ให้ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ ที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์สังคม ๔. ให้ความสุขความบันเทิงแก่ประชาชนพร้อมสาระและธรรมะสอดแทรก ๕. เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาวภาคอีสาน ๖. นำ�แนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงมาเผยแพร่ให้ ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และปฏิบัติได้ ๗. ปลูกจิตสำ�นึกให้คนไทยเทิดทูนและปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


กลุ่มเป้าหมาย ๑. กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม ไม่จำ�กัดเพศและวัย ๒. กลุ่ม นักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น อายุ ๑๘-๒๕ ปี ๓. กลุ่มข้าราชการ พนักงานบริษัท เอกชนต่างๆ ระดับอายุ ๒๐-๕๕ ปี ๔. กลุ่มแม่บ้าน และ บุคคลทั่วไป ช่วงอายุ ๓๕-๖๕ ปี สโลแกน : “คลื่นแห่งสาระธรรม และ ความบันเทิง” แนวคิด สถานีวิทยุคลื่นกองทัพพิทักษ์ธรรม FM.๑๐๓.๕๐ MHz. เป็นสถานีวิทยุที่ นำ�เสนอเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์งานวัด ป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ในการสร้างเสนาสนะ สถานที่ปฏิบัติ ธรรมของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชี และอุบาสก-อุบาสิกา สำ�หรับส่งเสริมการปฏิบัติธรรม และให้ความรู้เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา รวมทั้งข่าวสาร จากภาครัฐสู่ชุมชน เป็นสถานีที่มีความหลากหลาย นอกจากจะให้ธรรมะที่ดี และงานประชาสัมพันธ์แล้ว ยังให้ความบันเทิงแก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพอีกด้วย ข้อมูลสัญญาณวิทยุของสถานี ๑. กำ�ลังเครื่องส่ง ๘๐๐ วัตต์ ๒. ความถี่ FM.๑๐๓.๕๐MHz.MHz. ๓. เสาสัญญาณสูง ๕๔เมตร ๔. สถานที่ตั้ง วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช บ.โพนตูม ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่คลอบคลุม คลอบคลุมเขตรอยต่อ ๔ จังหวัด ๑๓ อำ�เภอ ดังนี้ ๑. จังหวัดร้อยเอ็ด: อำ�เภอเกษตรวิสัย, อำ�เภอปทุมรัตน์, อำ�เภอจตุรพักตร์พิมาน, อำ�เภอสุวรรณภูมิ ๒. จังหวัดมหาสารคาม อำ�เภอพยัคฆภูมิพิสัย, อำ�เภอนาดูน, อำ�เภอยางสีสุราช, อำ�เภอวาปีปทุม ๓. จังหวัดสุรินทร์: อำ�เภอชุมพลบุรี, อำ�เภอท่าตูม, อำ�เภอรัตนะ, อำ�เภอไพรขลา ๔. จังหวัดบุรีรัมย์: อำ�เภอสตึก

***ความชัดเจน ๙๐-๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับพื้นที่***


การมีส่วนร่วมกับสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (สก.วท.)

พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกขปัญโญ (หลวงปู่ต้นบุญ) ได้เข้าร่วมสัมมนาบทบาทหน้าที่ จรรยา บรรณ และจริยธรรม ผู้บริหารสถานีวิทยุท้องถิ่นชุมชน รุ่นที่ ๘เมื่อวันที่ ๑๑-๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ ณ สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ สำ�นักนายกรัฐมนตรี หลักสูตรผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ประกาศและการจัดทำ�รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ ทางสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (สก.วท.) ได้นิมนต์พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติก ขปัญโญ เป็นกรรมการที่ปรึกษากิติมศักดิ์ของสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (สก. วท.) ในด้านงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ในที่ ๑๙-๒๐ เดือนธันวาคม ๒๕๕๑สถานีวิทยุได้ส่งนักจัดรายการเข้าร่วมอบรมในโครงการผู้ประกาศ และจัดทำ�รายการทางสถานีวิทยุและวิทยุโทรทัศน์โดยสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (สก.วท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีหลักสูตรการเป็นผู้ประกาศและการวางแผนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง รายการ วิทยุเพื่อความรู้ บรรยายโดย อ.อัจฉรา หัศบำ�เรอ มุ่งให้เกิดประโยชน์ในด้านสร้างสรรค์ สติปัญญา ความรู้ รายการด้านนี้จึงออกมาหลายรูปแบบด้วยกัน

ะราชดำ�ริ าช ร พ ว น แ ม า ต น ช ุ ม วิทยุช ู่หัวภูมิพลมหาร ย อ า ้ จ ะเ ร พ จ ็ เด ม ส องค์พระบาท

ประชาชนได้ ้ ให ง ิ ร จ ้ ท แ ง า ่ ย อ ยชน์ต่อประชาชน ะโ ร ป น ็ เครือข่ายแจ้ง เป น ็ ร ป ว เ ้ ค ใช น า ช ม ม ุ ำ� ช ุ น ย ถ ท ร ิ า “ว รู้ข่าวสารและสาม ม า ว ค ่างรวดเร็วโดย ร า ย อ ก ้ า ได ช ิ น ว ช น ม ุ า ้ ช ด ์ ง น า ่ ช ว ย รับประโ วามช่วยเหลือระห ค อ ะข ล แ น ช ม ุ ช บ ั เตือนภัยสำ�หร ้อาจนำ�เอา ท แ น ่ ก แ ย โด ย ไท น แท้จริง...... ี่สร้างจากชุมชนค ท ุ ย ท ิ ว น ็นการเริ่มต้น ็ ป เป ะเ ร า ว ร ค พ น เ ้ ช ได ม ุ ไป ช ุ ด ิ ย ผ ท ิ ว ่แบบนั้นย่อมไม่นับ ม แ น ็ เป ยเข้าใจกันดีว่า า ไท ม น ศ ค ท อ ื ะเ ม ี ร ฝ ป ย ง ว ้ า ่ ด ต า ร ม า วิทยาก ้จริง และสร้างขึ้น แท ง า ่ ย อ อกมาเพื่อคนไทย อ ย า ไท น น ฒ ั ค น พ ช ย ั จ ิ ม ุ ว ช น ้ ย ต โด ม ่ ิ า พัฒน ้เอง หากแต่ไม่เร ้อยซึ่งต่าง ได น ่ ำ� ญ ท า ให ม ศ บ ิ ท ด ุ ะเ ถ ร ต ั ป ว ี น ั ม ่ ท เมืองไทยยังไม ัฒนาวิทยากรก้าว พ ส า ก โอ ย ี ส ะเ จ ้ ี น ด ั บ ด้วยกันและตั้งแต่ ้วทั้งสิ้น” แล า ้ น ห น อ ่ ก ไป า น พากันพัฒ


คณะผู้บริหารและคณะกรรมการดำ�เนินงาน ๑ พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกขปัญโญ ผู้บริหาร ๒. พระธีระพงษ์ ธีรปัญโญ ฝ่ายข้อมูลประชาสัมพันธ์สำ�นักงานวัด/ฝ่ายรายการธรรมมะ ๓. นายคมกริช วะนาพรม นายสถานีวิทยุ ๔. นายอภิชัย ผ่องใส ประชาสัมพันธ์/ ประสานงาน ๕. นายอุล ศาลางาม ผู้ประกาศข่าว ก.ศ.น.สัมพันธ์ ๖. นายต้นตระการ ภูนะ ผู้ประกาศข่าว / คอลโทล ๗. พันตำ�รวจตรี อำ�นาจ แก้วน่าน สารวัตรจราจร ส.ภ. ร้อยเอ็ด ที่ปรึกษา/กฏหมาย ๘. ว่าที่ร้อยตรีศุภโชค ลิ่วสกุลรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษา/กฏหมาย ๙. นายกรพชร สุขเสริม ที่ปรึกษา/ฝ่ายรายการ ๑๐. คุณสุชญา ชาติสัมปันน์ ที่ปรึกษา/การตลาด ๑๑. คุณธนาวุฒิ เหลืองอ่อน ที่ปรึกษา/เทคนิค ๑๒. คุณหิรันญา แก้วรัตน์ ที่ปรึกษา/เทคนิค ๑๓. นายเชาวลิต โป๊ะแก้ว ที่ปรึกษา/ประชาสัมพันธ์ ๑๔. นายชินกร ชัยบุตร คณะกรรมการ ๑๕. นายชารี โมรพัตร ๑๖. นายธีระ คุยพร ๑๗. นายอุดม โจมเสนาะ ๑๘. นายอุล ศาลางาม ๑๙. นายปราสาท นามวงษ์ ๒๐. นายสม ตรีกา ๒๑. นายวิริยพงษ์ บ้างตำ�รวจ ๒๒. นางจตุรพร วันทอง ๒๓. นางละมัย พิมพ์เวิน ๒๔. นางคำ�นาง จันทร์เสน ๒๕. นางคำ�เพียร มาตรเสนา

คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ


โครงการถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อปรับปรุงสภาพถนนที่ขรุขระ และเป็นหลุม ๒. เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของผู้มาปฏิบัติธรรม ๓. ปรับปรุงบริเวณลานจอดรถ การจัดสร้าง - ถนนบริเวณทางเข้าวัดป่าทุงกุลาเฉลิมราช - ถนนภายในวัดป่าทุงกุลาเฉลิมราช - ลานจอดรถภายในวัดป่าทุงกุลาเฉลิมราช การร่วมบุญสร้างถนน เนื่องจากวัดมีบริเวณถึง ๓๐๐ ไร่ ดังนั้นการสร้างถนนคอนกรีตภานในวัด และลาน จอดรถ รวมถึงการปรับปรุงสภาพผิวถนนทางเข้าวัด ต้องใช้งบประมาณมาก ปัจจุบันทาง วัดฯ ได้ดำ�เนินการทำ�ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัดไปเรียบร้อยแล้ว โดยได้รับปัจจัยจาก การทอดผ้าป่า แต่ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ดังนั้น ทางวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชยังค้างชำ�ระค่าวัสดุก่อสร้างกับร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จึงขอเชิญท่านร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างถนนตารางเมตรละ ๕๕๐ บาท


สภาพถนนบริเวณทางเข้า วัดป่า ทุ่งกุลาเฉลิมราช ในช่วงหน้าฝน รถเล็ก ใหญ่ไม่สามารถ ขับผ่านไปได้

ทางวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ได้มีการปรับสภาพพื้นถนน โดยนำ� หิน มาถมอยู่เป็นระยะ


แต่เดิมถนนภายในวัดป่าทุ่งกุลา เฉลิมราช เป็นดินทราย เวลาหน้าฝน สภาพถนนจะแฉะมาก ทำ�ให้ยากลำ�บาก ต่อผู้มาปฏิบัติธรรม และพระสงฆ์

ทางวัดจึงดำ�เนินการปรับสภาพ พื้น โดยสร้างถนนคอนกรีดเสริมเหล็ก ทำ�ให้ผู้ที่เดินทางมาปฏิบัติธรรมสะดวก ยึ่งขึ้น


แต่เดิมรถจะจอดที่ลานดิน และบริเวณวัด แต่ไม่สามารถจอดได้ในหน้าฝน ทางวัดจึงจัดสร้างลานจอดรถคอนกรีดเสริมเหล็ก ทำ�ให้สามารถจอดรถได้ และเป็น สัดส่วนมากขึ้น



โครงการสร้างศาลาปฏิบัติธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นสถานที่สำ�หรับปฏิบัติธรรม และสำ�หรับรองรับญาติธรรม จำ�นวน ๒,๐๐๐ คน 2. เพื่อจัดกิจกรรมด้านศาสนา การจัดสร้าง 1. จัดสร้างศาลาขนาด กว้าง ๕๐ เมตร และยาว ๑๐๑ เมตร 2. ปรับปรุงทัศนียภาพ และภูมิทัศน์ บริเวณโดยรอบเพื่อความเหมาะสมกับการใช้ ปฏิบัติธรรม สถานที่ - ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช บริเวณด้านตรงข้ามพระสีวลี เยื้องไปทางด้านพระทันใจ ระยะเวลา - ระยะเวลาดำ�เนินการจัดสร้างศาลา เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค. พ.ศ. ๒๕๕๓ คาดว่าจะ แล้วเสร็จเดือน ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๕๓ งบประมาณ การประเมินราคาเบื้องต้นประมาณ ๑๐ ล้านบาท


โครงการระบบนำ�้ประปา “เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้มีนำ�้สะอาดใช้ เพื่อให้ผู้มาปฏิบัติธรรม ได้ใช้นำ�้สะอาด”


โครงการระบบนำ�้ประปา วัตถุประสงค์ ๑. ปรับปรุงระบบนำ�้ใช้ นำ�้ดื่ม ภายในวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ๒. เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้มีนำ�้สะอาดใช้ ๓. เพื่อให้ผู้มาปฏิบัติธรรม ได้ใช้นำ�้สะอาด การจัดสร้าง - จัดสร้างระบบประปาภายในวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช - ติดตั้งแทงค์เก็บนำ�้เพื่อสำ�รองนำ�้สะอาดใช้ช่วงหน้าแล้ง - ติดตั้งเครื่องกรองนำ�้เพื่อให้มีนำ�้สะอาดสำ�หรับดื่มภายในวัด ระยะเวลา - ระยะเวลาดำ�เนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ งบประมาณ - การประเมินราคาเบื้องต้นประมาณ ๓ ล้านบาท


ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่ามหาบารมีสามัคคีร่วมใจ

ณ. วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช บ้านโพนตูม ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด วันที่ ๕ – ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ขอเชิญท่านพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท ผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพ ทำ�บุญทอด ผ้าป่าสามัคคี เพื่อหาทุนในการดำ�เนินงาน และสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช บ้านโพน ตูม ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เช่น โครงการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคล เพื่อจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกประทานให้ กับทางวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช และพระบรมสารีริกธาตุจากทั่วโลก มาประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน พุทธ บริษัททั้งหลายได้สักการะบูชา เป็นต้น ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัย พร้อมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดประทานพรอันยิ่งใหญ่ ให้กับทุกท่านที่ ได้ร่วมบุญ มหาบารมีในครั้งนี้ จงสำ�เร็จ มรรค บังเกิดผล รำ่�รวยเลิศล้น ด้วยเดชแห่งบุญนี้เทอญ

อานิสงส์ในการทอดผ้าป่า มีเรื่องเล่าในสมัยพุทธกาลดังต่อไปนี้ ในสมัยดึกดำ�บรรพ์ สมเด็จพระเจ้านันทราช เมื่อก่อนท้าวเธอเป็นกุมฎพีมีศรัทธา อาศัยอยู่ในเมืองพาราณ สี วันหนึ่งได้ไปเที่ยวในป่าเพื่อตัดไม้ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง นั่งฉีกผ้าเย็บจีวรอยู่ที่เงื้อมเขา ผ้าที่จะทำ�อนุ วาทพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นไม่เพียงพอ ครั้นได้เห็นจึงยินดีโสมนัส ได้เอาผ้าห่มที่พันเอวอยู่เข้าไปถวายพระปัจเจก พุทธเจ้า ครั้นแล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เอาผ้านั้นเย็บเป็นอนุวาดจีวรเต็มบริบูรณ์ ครั้นกุมฎพีตายจากชาตินั้น ด้วย เดชกุศลผลบุญอันนั้น จึงได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติเป็นเวลาช้านาน ครั้นจุติจากสวรรค์แล้วได้มาเกิดเป็นมนุษย์ โดยเป็นลูกชายมหาอำ�มาตย์อยู่ในบ้านมหาคามไกลจากเมืองพา ราณสีประมาณ ๑ โยชน์ เป็นผู้มั่งคั่งด้วยสมบัติต่างๆ ครั้นเจริญวัยแล้ว บังเอิญอยู่มาวันหนึ่ง เป็นวันนักขัตฤกษ์ บุตรชายมหาอำ�มาตย์นั้นเกิดอยากแต่งตัวให้สวยหรู จึงเข้าไปหาแม่วิงวอนขอผ้าอย่างดีในตระกูล แม่ได้จัดหาให้ ตามความต้องการ หนุ่มน้อยได้บอกกับแม่ว่า “ผ้าสาฎกผืนนี้ช่างเนื้อหยาบเหลือเกิน” แม่จึงหาผืนใหม่ที่ดีกว่ามาให้ หนุ่มน้อยก็ยังไม่ชอบใจ แม่จึงพูดเป็นเชิงปลอบใจว่า “เรือนเราไม่มีผ้าเนื้อดีกว่าผืนนี้อีกแล้วลูกเอ๋ย” หนุ่มน้อยจึง กล่าวแก่มารดาว่า “ถ้าอย่างนั้น ลูกจะไปเที่ยวแสวงหาจนกว่าจะได้ผ้าสาฎกเนื้อดีควรแก่การนุ่งห่ม” ครั้นแล้วเขา ได้ลงจากเรือน ไปยังเมืองพาราณสีล่วงเลยเข้าไป่จนถึงพระราชอุทยาน แล้วนอนอยู่เหนือพระแท่นศิลาอาสน์พร้อม กับคลุมศรีษะด้วยผ้า วันนั้นเป็นวันที่ ๗ นับแต่วันที่พระเจ้าพาราณสีสวรรคต หมู่เสวกามาตย์ราชบริพาร และพสกนิกรได้จัดการ ถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงประชุมปรึกษาหารือกัน ปล่อยบุษยราชรถออกไปทางประตูด้าน ทิศปราจีน บุษยราชรถนั้นได้แล่นออกจากพระนครไป และไปหยุดอยู่แทบเท้าของหนุ่มน้อยผู้นอนอยู่บนแท่นศิลา


อาสน์ ฝ่ายปุโรหิตได้เข้าไปเลิกผ้าดู พิจารณาลักษณะพื้นเท้าแล้วประกาศว่า “ ผู้มีบุญญาธิการ ควรเสวยราช สมบัติโดยแท้” ฝ่ายหนุ่มน้อยนั้นตื่นขึ้นจึงได้สนทนากับปุโรหิต ทราบว่าพระราชาแห่งกรุงพาราณสี ไม่มีราชโอรส ที่จะเสวยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ คงมีแต่พระราชธิดาเพียงองค์เดียว หนุ่มน้อยได้ฟังดังนั้นจึงรับคำ�อัญเชิญ ของประชาชนด้วยความยินดี ครั้นถึงงานอภิเษกปุโรหิตได้ถวายพระภูษาสำ�หรับกษัตริย์มีราคาแสนตำ�ลึงแก่ ท้าวเธอหรือหนุ่มน้อยนี้ ท้าวเธอรับสั่งว่า “ ผ้านี้เนื้อหยาบนัก จงส่งพระเต้าทองมาให้เรา” จากนั้นทรงรินลงใน ฝ่าพระหัตถ์ แล้วสาดไปในทิศทั้ง ๔ ด้วยอำ�นาจบุญกุศลที่ตนได้ถวายผ้าอันตรวาสแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ต้น กัลปพฤกษ์จึงผุดขึ้นเหนือแผ่นดินในทิศละ ๘ ต้น ท้าวเธอทรงยื่นพระหัตถ์ไปหยิบพระภูษาทิพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ มานุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แล้วรับสั่งให้ตีกลองประกาศให้พสกนิกรของพระองค์ไปเอาเครื่องประดับทิพย์จากต้น กัลปพฤกษ์นั้น แล้วเสด็จเสวยราชย์โดยธรรมสืบไป ครั้นต่อมาท้าวเธอได้สละราชสมบัติทรงผนวชเป็นดาบส พร้อมด้วยอัครมเหสี เจริญฌานจนได้อภิญญา สมาบัติ ครั้นเสด็จสวรรคต ก็ได้ไปอุบัติในพรหมโลกทั้งสองพระองค์

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘ ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓.

การทำ�บุญเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำ�ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า ย่อมได้อานิสงส์แห่งการทำ�บุญ ในการสร้างหอพระบรมธาตุดังนี้ มีสติรู้ชอบตลอดกาล มีปัญญารู้แจ้ง มีความเพียร มานะ อดทน และขันติ มีทรัพย์เป็นอันมาก โภคทรัพย์มหาศาล มี ลาภ สักการะอยู่เนืองนิจ ไม่ไปสู่ทุกขคติ ไม่ไปสู่อบายทั้ง ๔ พึงไปเกิดในสวรรค์สมบัติ พึงไปเกิดในนิพพานสมบัติ เป็นผู้ปราศจากโรคปราศจากโศก ปราศจากภัย ป้องกันหมู่มารมาเบียดเบียน จะได้ฟังธรรมจากพระศาสดา ถ้าเกิดในชาติที่ยังไม่สำ�เร็จมรรคผล จะได้อยู่ในศาสนาพุทธ ของพุทธิวงศ์


กำ�หนดการ วันจันทร์ ที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๕.๐๐ น. เวลา ๐๗.๐๐ น. เวลา ๐๙.๐๐ น. เวลา ๐๙.๓๙ น. เวลา ๑๗.๐๐ น. เวลา ๑๘.๐๐ น. เวลา ๑๙.๐๐ น. เวลา ๒๐.๒๙น.

สวดมนต์ทำ�วัตรเช้า ทำ�บุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร ลงทะเบียนบวชชีพราหมณ์ พิธีเททองหล่อหลวงปู่สิงขร (องค์ท้าวมหาพรหมชินะปัญชะระ) สูง ๓ เมตร - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ - เจ้าหน้าที่ต้มหลอมทองเหลือง - เจ้าหน้าที่เททองลงในแบบพิมพ์ - พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ทำ�พิธีบวชชีพราหมณ์ สวดมนต์ทำ�วัตรเย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตวิปัสสนากรรมฐาน สวดพุทธาภิเสกพระนาคพันธ์ปริวัตร (องค์หลวงพ่อทันใจ)

วันอังคาร ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๓

เวลา ๐๕.๐๐ น. เวลา ๐๗.๐๐ น. เวลา ๐๙.๓๐ น. เวลา ๐๙.๓๙ น. เวลา ๑๘.๐๐ น. เวลา ๑๙.๑๙ น. เวลา ๒๐.๒๙ น.

วันพุธ ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๕.๐๐ น. เวลา ๐๗.๐๐ น. เวลา ๐๘.๐๐ น. เวลา ๐๙.๓๐ น. เวลา ๐๘.๐๐ น. เวลา ๑๙.๑๙ น. เวลา ๒๐.๒๙น.

สวดมนต์ทำ�วัตรเช้า ทำ�บุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตวิปัสสนากรรมฐาน พิธีบวงสรวงพระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร (องค์หลวงพ่อทันใจ) สวดมนต์ทำ�วัตรเย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตวิปัสสนากรรมฐาน สวดพุทธาภิเสกพระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร (องค์หลวงพ่อทันใจ)

สวดมนต์ทำ�วัตรเช้า ทำ�บุญตักบาตร - หลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ ทำ�บุญตักบาตรพระเถรานุเถระ ๙๕ รูป ถวายภัตตาหารเช้าพระเถรานุเถระ ๙๕ รูป - หลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์ และพระเถรานุเถระ ๙๕ รูป ทำ�พิธีสรงนำ�้ บูชาพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาจากสถานที่ต่าง ๆทั่วโลก เจริญพระพุทธมนต์เย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตวิปัสสนากรรมฐาน สวดพุทธาภิเสกพระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร (องค์หลวงพ่อทันใจ)


วันพฤหัส ที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓

เวลา ๐๕.๐๐ น. เวลา ๐๗.๐๐ น. เวลา ๐๙.๐๐ น. เวลา ๐๙.๓๐ น. เวลา ๑๐.๐๐ น. เวลา ๑๘.๐๐ น. เวลา ๑๙.๑๙ น. เวลา ๒๐.๒๙ น.

วันศุกร์ ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓

เวลา ๐๕.๐๐ น. เวลา ๐๗.๐๐ น. เวลา ๐๙.๐๐ น. เวลา ๐๙.๓๐ น. เวลา ๑๐.๐๐ น. เวลา ๑๘.๐๐ น. เวลา ๑๙.๑๙ น. เวลา ๒๐.๒๙ น.

สวดมนต์ทำ�วัตรเช้า ทำ�บุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร ลงทะเบียนบวชชีพราหมณ์ ทำ�พิธีสรงนำ�้ บูชาพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาจากสถานที่ต่าง ๆทั่วโลก ถวายเครื่องสักการะเนื่องในวันเกิดหลวงปู่ใหญ่ บรมครูปู่เทพโลกอุดร จริญพระพุทธมนต์เย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตวิปัสสนากรรมฐาน สวดพุทธาภิเสกพระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร (องค์หลวงพ่อทันใจ)

สวดมนต์ทำ�วัตรเช้า ทำ�บุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร ลงทะเบียนบวชชีพราหมณ์ ทำ�พิธีสรงนำ�้ บูชาพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาจากสถานที่ต่าง ๆทั่วโลก ถวายกองบุญแก่วัดต่าง ๆ จำ�นวน ๙ วัด วัดละ ๓๐,๐๐๐ บาท เจริญพระพุทธมนต์เย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตวิปัสสนากรรมฐาน สวดพุทธาภิเสกพระพุทธศิริราชนาคพันธ์ปริวัตร (องค์หลวงพ่อทันใจ) ประธานฝ่ายสงฆ์

หลวงปู่ต้นบุญ ติกฺขปญฺโญ

เจ้าอาวาสวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช


มหากฐินสามัคคี ๒๕๕๐

พิธีทอดกฐินสามัคคี ในปี ๒๕๕๐ ณ วัดป่าทุ่ง กุลาเฉลิมราช นับว่าเป็นปีแรกที่หลวงปู่ต้นบุญได้เข้ามา รับตำ�แหน่งเจ้าอาวาส ในปีนี้มีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินถึง ๕ ชุด เพื่อเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ว่า งานทอดกฐิน ของหลวงปู่ต้นบุญ จะมีต้นกฐินที่ประดับด้วยเงินสด เป็ นธนบั ต รใหม่ จ ากธนาคารที่ ใ ช้ ไ ด้ ถู ก ต้ อ งตามกฏ หมาย ซึ่งไม่มีที่ใหนในโลกทำ�ต้นกฐินเงินแบบนี้ ยังเป็น สิ่งที่สร้างความประทับใจ และตื่นตาตื่นใจ กับทุกคนที่ ได้พบเห็น ทั้งในเรื่องของความสวยงาม ปราณีต ความ คิดสร้างสรรค์

และความเพียร ของหลวงปู่ต้นบุญ ในแต่ละปี ต้นกฐินจะมีรูปแบบไม่เหมือนเดิม ทำ�ให้ทุกคนเฝ้ารอดู ว่าต้นกฐินในปีนี้จะเป็นรูปอะไร ทุกๆคนที่ได้มาร่วมงาน ทอดกฐินจะมีความรู้สึกอิ่มเอิบและปีติที่ได้มาร่วมเป็น เจ้าภาพทอดกฐิน


ในปี๒๕๕๐ นี้ หลวงปู่ได้ออกแบบต้นกฐินเงินเป็นรูปพระมหาธาตุเจดีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ สูง ประมาณ ๑๐ เมตร กว้างประมาณ ๓ x ๓ เมตร ดังนั้นจึงเป็นปีแรกที่ต้องตั้งองค์กฐินไว้กลางแจ้ง โดยไม่กลัว ฝนและลม ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงพุทธานุภาพ พอถึงวันทอดกฐิน ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ชาวบ้านโพนตูม และชาวบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียง ต่างอัศจรรย์ใจกันมากเพราะไม่เคยเห็นต้นกฐินเงินมาก่อนในชีวิต และบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ไปร่วมงานทอดกฐิน ก็ได้ประจักกับสายตาตนเองว่า ต้นกฐินปีนี้สูงดูสง่างามยิ่งนัก มีฉัตรเงินที่สวยงามมาก จึงพากันอนุโมทนากับบุญ กฐินในครั้งนี้ด้วยความปีติกันอย่างยิ่ง




มหากฐินสามัคคี ๒๕๕๑

มารู้จัก “กฐินหลวง-กฐินราษฎร” กันก่อน

เมื่อประเทศไทยและประชาชนชาวไทย มีพระพุทธ ศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ “การทอดกฐิน” จึงกลายเปน ประเพณีของบานเมืองมาโดยลําดับ อีกทั้งพระเจาแผนดิน ผูปกครองบานเมืองทรงรับเรื่องกฐินเปนพระราชพิธีอยางหนึ่ง และทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐิน จึงเปนเหตุใหเรียก กันวา “กฐินหลวง” ในอดีต วัดใดก็ตามไมวาวัดหลวงหรือวัด ราษฎรที่พระเจาแผนดินเสด็จพระราชดําเนินไปทรงถวายผา พระกฐินแลว จะถูกเรียกวา “กฐินหลวง” ทั้งสิ้น แตสมัยตอมา กฐินหลวงไดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณของบาน เมือง เชน ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธา ของพระเจาแผนดิน และไดรับพระมหากรุณาธิคุณใหถวายผา พระกฐินตามควรแกฐานะ ในปจจุบัน “กฐินหลวง” ยังแบงออกเปนประเภท ตาง ๆ ประเภทแรกคือ “กฐินหลวง” ที่กําหนดเปน พระ ราชพิธี พระเจาแผนดินเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงถวายผา พระกฐินดวยพระองคเอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ให้ พระบรมวงศานุวงค์และองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไป

ทอดถวายตามพระอารามหลวงที่กำ�หนดไว้ 16 วัด ได้แก่ วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤกษฎ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดอรุณ ราชวราราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม วัดราชาธิวาส วัดราชโอรสาราม วัดพระปฐม เจดีย์ วัดสุวรรณดาราราม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ และวัด พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สําหรับ “กฐินตน” จะหมายถึง กฐินที่พระเจาแผน ดินเสด็จพระราชดําเนินไปทรงถวายผาพระกฐิน ณ วัดที่ มิใชวัดหลวง และมิไดเสด็จไปอยางเปนทางการ หรือเปนพระ ราชพิธี แตเปนการบําเพ็ญพระราชกุศลสวนพระองค ในขณะที่ “กฐินพระราชทาน” เปนกฐินที่พระ เจาแผนดินพระราชทานผาของหลวงแกผูที่กราบบังคมทูลขอ พระราชทานไปถวายยังวัดหลวงที่นอกเหนือไปจากวัดสําคัญ 16 วัดที่กําหนดไว ซึ่งสาเหตุที่มีกฐินพระราชทาน ก็เพราะปจจุ บันวัดหลวงมีจํานวนมาก จึงเปดโอกาสใหกระทรวง ทบวง กรม


ตาง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลตาง ๆ ที่สมควรขอพระราช ทานผาพระกฐินไปถวายได ดังนั้น กฐินดังกลาวสวนใหญจึง เปนกฐินที่หนวยงานราชการตางๆ นําไปถวายนั่นเอง สวนผูที่ จะรับพระราชทานผากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดตองติด ตอไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบ เพื่อเปนการจองไวกอน ทางดาน “กฐินราษฎร” หมายถึง กฐินที่ราษฎร หรือ ประชาชนผูมีศรัทธานําผากฐินของตัวเองไปถวายตามวัดตาง ๆ ยกเวนวัดหลวง 16 วัดดังที่กลาวขางตน ซึ่งจะมีชื่อเรียก ตาง ๆ ตามลักษณะของการทอด “กฐินหรือมหากฐิน” เปนกฐินที่ราษฎรนําไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตัวเองศรัทธาเปนการเฉพาะ ผาที่เปน องคกฐินจะเปนผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได จะเย็บแลวหรือ ไมก็ได แตปจจุบันสวนใหญจะเปนผาสําเร็จรูปแลว และนิยม ถวายของอื่น ๆ ที่เรียกวา “บริวารกฐิน” ไปพรอมกับองคกฐิน ดวย เชน เครื่องอุปโภคบริโภคของพระภิกษุสงฆ อยางเชน หมอน โองน้ำ� เตา ไมกวาด จอบ เสียม อาหาร ยาตาง ๆ เปนตน สวน “จุลกฐิน” เปนกฐินที่ตองทําดวยความรีบเรง เดิมเรียกแบบไทย ๆ วา “ กฐินแลน ” ซึ่งเจาภาพที่จะ ทอดกฐินเชนนี้ได จะตองมีพวกและกําลังมาก เนื่องจากตอง เริ่มตั้งแตปนฝายเปนดาย ทอดายใหเปนผา ตัดผา และเย็บ ผาเปนจีวร ยอมสี และตองทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ ตองกรานและอนุโมทนาในวันนั้นดวย เรียกวา เปนกฐินที่ ตองทําทุกอยางใหเสร็จภายในวันเดียว

“กฐินสามัคคี” เปนกฐินที่มีเจาภาพหลายคนรวมกัน ไมจําเปนวาใครบริจาคมากหรือนอย แตสวนใหญมักจะตั้ง เปนคณะทํางานขึ้นมาดําเนินการ และมีหนังสือบอกบุญไปยัง ผูอื่น เมื่อไดปจจัยมาแลวก็จัดผาอันเปนองคกฐินรวมทั้งบริวาร ไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้ ซึ่งกฐินดังกลาวนี้เปนที่นิ ยมอยางแพรหลายในปจจุบัน เพราะนอกจากทําบุญกฐินแลวยัง นําปจจัยที่เหลือไปชวยทํานุบํารุงวัด เชน กอสรางศาสนสถาน บูรณปฏิสังขรณโบสถ เจดีย เปนตน ยังมี “กฐินตกคาง” หรือ “กฐินโจร” เปนการทอดกฐิน ในวัดที่ตกคางไมมีใครไปทอดตามทองถิ่นตาง ๆ ซึ่งมีผูมีจิต ศรัทธาจะนํากฐินไปทอดในวันใกลสิ้นสุดเทศกาลกฐินหรือวัน สุดทาย จึงมักเรียกวา “กฐินตกคาง” หรืออาจเรียกวา กฐิน โจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอยางไมรูเนื้อรูตัวจู ๆ ก็ไปทอด ไมบอกกลาวลวงหนาใหวัดรูเพื่อเตรียมตัวคลายโจรบุก เพราะ ฉะนั้น กฐินแบบนี้จึงตางกับกฐินอื่น ๆ คือ ไมมีการจองลวงหนา และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไมมีใครทอด จะทอดหลายวัดก็ได และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไมไดทอด (กรณี ไปหลายวัด) ไปจัดเปนผาปา เรียกวา “ผาปาแถมกฐิน” ก็ได สิ่งที่สำ�คัญ คือ อานิสงส์ของ “การทอดกฐิน” และการ ประพฤติปฏิบัติตั้งจิตตั้งใจในพิธีการเพื่อให้เกิดกุศลสูงสุด อัน จะเป็นการชวยทํานุบํารุงพระศาสนาใหคงอยูตราบนานเทานาน นั่นเอง


วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เป็นวัดป่า มิใช่พระอาราม หลวง จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับ “กฐินหลวง” ประเภทใดๆ แต่เมื่อมีตัวแทนชาวบ้านตำ�บลทุ่งทองแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ ขอ พระราชทานผ้าไตรเพื่อเป็นผ้าพระกฐิน ในการทอดมหา กฐินสามัคคีในปีพ.ศ. ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้า พระกฐินเป็นกรณีพิเศษ แม้การทำ�เรื่องขอพระราชทานจะ ค่อนข้างกระชั้นในช่วงเวลาเพียง ๑ เดือน และได้รับทราบ พระมหากรุณาธิคุณที่โปรดเกล้าฯ ลงมาภายในเวลาไม่ถึง ๓ สัปดาห์ ในคืนวันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ผ้าพระกฐิน ได้รับการอัญเชิญจากกรุงเทพมหานครไปยังอำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อประดิษฐานหน้าองค์กฐินที่ทำ�ด้วยธนบัตร เป็นรูปพระธาตุพนมองค์ใหญ่ ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช และ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์องค์กฐิน ในบ่ายวันเสาร์ที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ตลอดจนทำ�บุญถวายพระพรพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการปฏิบัติธรรมภาวนา ตลอดทั้งคืน

มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐิน ให้กับชาวบ้านตำ�บลทุ่งทอง อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด แสดงถึงพระมหาเมตตาที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั่ว ประเทศที่ได้ไปร่วมทอดมหากฐิน ในวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดป่าทุ่ง กุลาเฉลิมราชนองไปด้วยน้ำ� น้ำ�จากฟ้าที่ตกลงมามากมายเพื่อ อนุโมทนาผ้าพระกฐินที่ได้รับพระราชทาน เมื่อได้เวลาฤกษ์ กำ�หนด ๐๙.๑๙ น. ฝนหยุดตกทันทีเพื่อให้สามารถอัญเชิญผ้า พระกฐินเข้าสู่พิธีกรานกฐินในศาลาเอนกประสงค์ หลังจากนั้น น้ำ�จากตาของผู้ไปร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ก็ไหลท่วมนองภาย ในศาลาฯ ด้วยความตื้นตันใจด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม และความรู้สึกปิติปลาบปลื้มยินดีเป็น มหามงคลต่อชีวิต เป็นขวัญกำ�ลังใจในการดำ�เนินการระดม กำ�ลังกายกำ�ลังใจและกำ�ลังทรัพย์เพื่อการสร้างพระมหาธาตุ เจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคล ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสเฉลิม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเหน็จเหนื่อยพระ พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ วรกายอุ ทิ ศ พระองค์ ดู แ ลทุ ก ข์ สุ ข ของพสกนิ ก รทั่ ว ประเทศ ตลอดเวลาที่ทรงครองศิริราชสมบัติกว่า ๖๐ ปี การที่ได้รับพระ



มหากฐินสามัคคี ปี ๒๕๕๒ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช โดย พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺ ขปัญโญ (หลวงปู่ต้นบุญ) เจ้าอาวาส พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัททั้งหลาย ได้ดำ�เนินการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรี ทศพลญาณลิมราชชัยมงคล (ทรงพระธาตุพนมจำ�ลอง) มี ขนาดความสูง ๕๔ เมตร ฐานกว้าง ๑๔ x ๑๔ เมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญมาจากทั่วโลก ซึ่ง คณะดำ�เนินงานสร้างทั้งฝ่ายสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่ว ประเทศไทย ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติใน วโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ (๘๔ พรรษา) เป็น ศาสนสถานสำ�คัญให้พุทธศาสนิกชน และพุทธบริษัทจักได้กราบ สักการะบูชา เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคง รุ่งเรือง และต่อเนื่องจวบจนครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา การ ก่อสร้างได้เริ่มขึ้นหลังจากการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ พระ มหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคล ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และทำ�พิธีบวงสรวงและเทเสาเอก ใน วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ขณะนี้การก่อสร้างยังไม่แล้ว เสร็จเนื่องจากยังขาดทุนทรัพย์เป็นจำ�นวนมาก ทั้งยังประสบ อุปสรรคด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในการก่อสร้างหลายส่วน อันประกอบด้วย ๑. กำ�ลังกระแสไฟฟ้าภายในวัดฯ ไม่เพียงพอ และ ขาดไฟฟ้าใช้ในบางพื้นที่ของวัด โดยเฉพาะบริเวณที่ก่อสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์ฯ จึงเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง และ สร้างความลำ�บากให้แก่หมู่สงฆ์และคณะญาติโยมที่มาปฏิบัติ ธรรม


๒. ถนนทางเข้าวัดฯ มีสภาพเป็นถนนดินลูกรัง ซึ่งชำ�รุดเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดทาง โดยเฉพาะในทุกฤดูฝน ทำ�ให้อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายและผู้ที่เดินทางไปมาเพื่อแสวงบุญหรือมาปฎิบัติธรรม ได้รับความลำ�บากเดือดร้อนจากน้ำ�ท่วม รถยนต์ติดหล่ม หรืออุบัติเหตุในบางครั้ง ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ฯ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช จะได้จัดการทอดมหากฐินสามัคคีในปี ๒๕๕๒ นี้ เพื่อนำ�ปัจจัยที่ได้ไปใช้ใน ๓ งานหลัก คือ ๑. ซ่อมแซมถนน ๒. เพิ่มกำ�ลังกระแสไฟฟ้าและติดตั้งไฟฟ้าในส่วนที่ยังขาดอยู่ และ ๓. ดำ�เนินการสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณเฉลิมราชชัยมงคลต่อไปให้สมบูรณ์ โดยจะจัดแบ่งจำ�นวนกองกฐินเป็น ๒,๕๕๒ กอง

การทำ�บุญทอดมหากฐินครั้งนี้ จึงบังเกิดประโยชน์สำ�คัญในการ ๑. ๒. ๓. ๔.

ร่วมสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา ร่วมสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ฯให้พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัททั้งหลาย ได้กราบไหว้สักการะบูชา ให้แสงสว่างแก่ พระภิกษุ สามเณร และผู้มาปฏิบัติธรรม อำ�นวยความสะดวกในการเดินทางมาปฏิบัติธรรมและร่วมในศาสนกิจต่าง ๆ แก่พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา


มหากฐินสามัคคี ปี ๒๕๕๓

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี วัด ป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช โดย พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺ ขปัญโญ (หลวงปู่ต้นบุญ) เจ้าอาวาส พร้อมด้วย พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัททั้งหลาย ได้ดำ�เนินการ สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณ (ทรงพระ ธาตุพนมจำ�ลอง) มีขนาดความสูง ๕๔ เมตร รอบฐาน ๑๘ เมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญ มาจากทั่วโลก ซึ่งคณะดำ�เนินงานสร้างทั้งฝ่ายสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศไทย ขอ น้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อ เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ (๘๔ พรรษา) เพื่อเป็น ศาสนสถานสำ�คัญให้พุทธศาสนิกชน และพุทธบริษัทจักได้กราบสักการะบูชา เป็นการ สืบสานพระพุทธศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง จวบจนครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นหลังจาก การประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ พระมหาธาตุเจดีย์ศรี


ทศพลญาณ ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และทำ�พิธีบวงสรวงและเทเสาเอก ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ จากงานมหากฐินปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ขณะนี้การก่อสร้างได้คืบหน้ามาพอสมควร ดังภาพที่ปรากฎ แล้ว แต่เนื่องจากยังขาดทุนทรัพย์เป็นจำ�นวนมาก จึงขอกราบเรียนเชิญสาธุชนทุกๆท่านร่วมเป็นเจ้าภาพ กฐินราษฎร์





จำ�นวน ๑๐๘ สายกองบุญ กองบุญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เจ้าภาพสายกองบุญละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท และกองบุญ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ สายกองบุญละ ๑,๐๐๐ บาท


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินราษฎร์

ทอดกฐินในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุล่าคม ๒๕๕๓ ณ. วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช บ้านโพนตูม ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

ขอกราบเรียนเชิญสาธุชนทุกๆท่านร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินราษฎร์ จำ�นวน ๑๐๘ สายกองบุญ กอง บุญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เจ้าภาพสายกองบุญละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท และกองบุญ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ สายกองบุญละ ๑,๐๐๐ บาท เพื่อสบทบทุนสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีทศพลญาณ เฉลิมราชชัยมงคล เพื่อทอดกฐิน ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓

ติดต่อจองเป็นเจ้าภาพสายกองบุญกฐินราษฎร์ หรือสอบถามรายละเอียดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ได้ที่

๑. หลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ ๒. พระธีรพงษ์ (ครูบาอ๊อด) ๓. คุณคมกริช (คุณเต้ง) ๔. คุณสุชญา ชาติสัมปันน์ (คุณทิพ) ๕. คุณปาณัสม์ อิสี (คุณบี) ๖. คุณพัชรี ภู่สุวรรณ ๗. คุณหิรันญา แก้วรัตน์ (คุณอ้อย)

๐๘๑ - ๗๕๑ ๗๕๓๘ ๐๘๔ - ๓๓๑ ๒๕๗๑ ๐๘๗ - ๙๐๖ ๓๗๘๙ ๐๘๑ - ๘๒๗ ๔๒๒๖ ๐๘๙ - ๑๗๒ ๑๔๘๘ ๐๘๑ – ๙๒๔ ๙๓๔๗ ๐๘๙ –๕๒๗ ๒๑๔๔


ใบรับจองเป็นเจ้าภาพกฐินราษฎร์

ทอดกฐินในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุล่าคม ๒๕๕๓ ณ. วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช บ้านโพนตูม ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ข้าพเจ้า (นาย,นางสาว,นาง).................................................................... นามสกุล...................................................................... (พร้อมครอบครัว) อยู่บ้านเลขที่...............................หมู่.................บ้าน..........................................ถนน..................................................... เขต/.ตำ�บล........................................................เขต/อำ�เภอ.........................................................จังหวัด......................................................... รหัสไปรษณีย์.....................................................โทรศัพท์.(บ้าน/มือถือ)..........................................................................

มีความประสงค์ขอจองเป็นเจ้าภาพกฐินราษฎร์ เพื่อเป็นเจ้าภาพสายกองบุญ ๑). กองบุญ ๑๐๘ กอง กองบุญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ กองบุญละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเจ้าภาพจำ�นวน................กอง จำ�นวนเงิน..............................................บาท ๒). กองบุญ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ สายบุญละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเจ้าภาพจำ�นวน..................กอง จำ�นวนเงิน....................................................บาท

ขออาราธนาเดชแห่งพระพุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ สังฆานุภาพ จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ สำ�เร็จมรรค บังเกิดผล ร่ำ�รวยเลิศล้น ด้วยเดชแห่งบุญนี้เทอญ ลงชื่อ.........................................................ผู้จองเป็นเจ้าภาพกองบุญกฐิน

สามารถถ่ายเอกสารใบรับจองเป็นเจ้าภาพกฐินนี้ได้ แล้วส่งไปรษณีย์มายังวัดตามที่อยู่ดังนี้

หลวงปู่ต้นบุญ ติกขปัญโญ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราชชัยมงคล บ้านโพนตูม ตำ�บลทุ่งทอง อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด


“ผลานิสงส์” หรือ อานิสงส์ หมายถึง ผลแห่งกุศลกรรม ผลบุญ ประโยชน์ที่เกิดจากการทำ�บุญ “บุญ” โดยทั่วไป หมายถึง การกระทำ�ความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำ�ระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็น เสมือนเครื่องกำ�จัดสิ่งเศร้าหมอง ที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิก ความโลภ ความ เห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระ พร้อมจะก้าวไปสู่การทำ�คุณงาม ความดี ในขั้นต่อๆ ไป อย่างไรก็ตาม การทำ�บุญก็ควรทำ�ด้วยจิตใจที่ต้องการทำ�บุญจริงๆ ไม่หวังผลตอบแทน จึงจะเกิดอานิสงส์อย่าง แท้จริง และหากกล่าวถึงหลักการทำ�บุญในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวถึง “บุญกิริยาวัตถุ” ไว้ ว่า หมายถึง หลักแห่งการบำ�เพ็ญบุญหรือหลักแห่งการทำ�บุญ

บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ อย่าง คือ ๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน ๒. ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา

หมายความว่า วิธีหรือหลักแห่งการทำ�บุญในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดโดยย่อแล้วก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา แต่หากขยายความให้กว้างออกไป บุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ คือ

๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน ๒. ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา ๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ๕. ไวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ ๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม ๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำ�ความเห็นให้ตรง การปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูก

การบรรยายถึง ผลานิสงส์จากการทำ�บุญ ในครั้งนี้ จะยกตัวอย่างพอสังเขป เพื่อให้เหล่าสาธุชนทั้งหลาย ได้เห็น ประโยชน์จากการทำ�บุญ โดยจะอ้างถึงพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรายละเอียดดังนี้


อานิสงส์สร้างศาลาโรงธรรม อนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้สร้างอารามเชตวันมหาวิหารถวายแก่ พระศาสดา และสาวกทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง พระสาวกก็ปรารภกันว่าอนาถปิณฑิกเศรษฐี มีจิตศรัทธาสร้างวัดวาอารามทั้งหลายถวายเป็นทานแก่พระพุทธเจ้า กับ ทั้งเป็นผู้เลี้ยงคุ้มครองรักษาพระศาสดาจะเป็นประโยชน์อย่างไรหนอ สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ทรงทราบโดยพระญาณ ของพระองค์แล้วเสด็จมา ในที่พระสงฆ์ประชุมนั้น แล้วทรงถาม

“...ดูกรภิกษุทั้งหลายได้ประชุมกันด้วยเรื่องอะไร...” ภิกษุมีพระอานนท์ เป็นต้น ก็กราบทูลว่า “...ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ได้ปรึกษากันด้วยเรื่องอนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้ก่อสร้างอารามถวายพระพุทธเจ้าจะเป็นประโยชน์ จะ ได้อานิสงส์แก่ท่านอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า…” องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนาว่า “...ในกาลครั้งหนึ่งมีพระเจ้าสุทัสน์ได้เสวยราชสมบัติเป็น กษัตริย์ในเมืองสุทัสน์นคร ในครั้งศาสนาของพระพุทธเจ้าปิยทัสสีได้สร้างอารามเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าปิยทัสสี แล้วตั้งปณิธาน ความปรารถนาว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด เมื่อสิ้นชีพตามอายุขัยแล้วก็ได้ บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต เสวยสมบัติทิพย์มีนางฟ้าเทพอัปสรแสนหนึ่งเป็นบริวาร มีวิมานทองสูง ๔๕ โยชน์ มีอายุ ยืนนานได้พันปีทิพย์ ครั้นจุติก็มาเกิดเป็นบุตรพยากาวิตะกษัตริย์ ในเมืองเสถะนคร ชื่อว่ารามวัตติกุมาร ครั้นเจริญวัย แล้วได้ดาบกายสิทธิ์ มีวชิราเพชรช้างแก้ว ม้าแก้ว วัวแก้ว ปราสาทแก้ว เกิดขึ้นด้วยบุญกุศลราศี ที่ได้ก่อสร้างอาราม ศาลาให้เป็นทาน ครั้นได้ละจากอัตตภาพนั้น ก็ได้เสริมสร้างบารมีจนมาเกิดเป็นองค์พระตถาคตในกาลบัดนี้…”


อานิสงส์สร้างกุฎีวิหาร ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม พระองค์เที่ยวโปรดเวไนย สัตว์ให้ได้มรรค ๔ ผล ๔ ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสาร ได้ครองราชสมบัติที่กรุงราชคฤห์ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า แล้วก่อสร้างกุฎีวิหารในพระราชอุทยานเวฬุวัน สวนป่าไม้ไผ่ ให้เป็นวัดแรกในพุทธศาสนาถวายแด่องค์ สมเด็จพระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พร้อมกับถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานสมเด็จพระบรมศาสดาพร้อม กับภิกษุสงฆ์

เสร็จภัตตากิจแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทูลถามว่า “...ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาธุชนทั้งหลายมีใจศรัทธา ปสันนาการ เลื่อมใสมาก่อสร้างกุฎีวิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น จะได้ผลานิสงส์เป็นประการใด ขอให้พระองค์ทรง แสดงพระธรรมเทศนาให้ข้าพุทธเจ้า พร้อมบริษัททั้งหลายให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า...” องค์สมเด็จ พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า “...ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร บุคคลผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสพระ รัตนตรัยแล้วก่อสร้างกุฎีวิหารศาลาคูหาน้อยใหญ่ ถวายเป็นทาน จะประกอบด้วยผลอานิสงส์มาก เป็นอเนกประการ นับได้ถึง ๔๐ กัลป์” พระองค์ทรงนำ�อดีตนิทานมาเทศนาต่อไปว่า ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว พระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติบังเกิดในโลกยังศูนย์เหล่าอยู่สิ้นกาลช้านานในระหว่างนั้น พระปัจเจกโพธิเจ้าทั้งหลายก็ได้บังเกิดตรัสรู้ในโลกนี้ เมื่อพระปัจเจกโพธิเจ้าก็อาศัยในป่าหิมพานต์ อยู่มาวันหนึ่งมี ความปรารถนาเพื่อจะมาใกล้หมู่บ้าน อันเป็นแคว้นกาสิกราชมาอาศัยอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง แถบใกล้บ้านนั้นมีนาย ช้างคนหนึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้น ก็ไปป่ากับลูกชายของตน เพื่อจะตัดไม้มาขายกินเลี้ยงชีพได้แลเห็นพระปัจเจกโพธิเจ้านั่ง อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ พ่อลูกสองคนก็เข้าไปใกล้น้อมกายถวายนมัสการแล้ว ทูลถามว่า “...ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าจะไปไหน จึง มาอยู่ในสถานที่นี้...” พระปัจเจกโพธิเจ้าจึงตอบว่า “…ดูกรอาวุโส บัดนี้จวนจะเข้าพรรษาแล้ว อาตมาเที่ยวแสวงหากุฏี วิหาร ที่จะจำ�พรรษา...” นายช่างก็อาราธนาให้อยู่จำ�พรรษาในที่นี้พระปัจเจกโพธิ ทรงรับด้วยการดุษณียภาพ สองคน พ่อลูกก็ดีใจ จึงขออาราธนา พระผู้เป็นเจ้าเข้าไปสู่เรือน ถวายบิณฑบาตทานแด่พระปัจเจกโพธิเจ้า สองคนพ่อลูกก็ เที่ยวตัดไม้แก่นมาทำ�สร้างกุฎีวิหารที่ริมสระโบกขรณีใหญ่ และทำ�ที่จงกรมเสร็จแล้วขออาราธนา “...พระผู้เป็นเจ้าจง อยู่ให้เป็นสุขเถิดพระเจ้าข้า...” ครั้นพระปัจเจกโพธิเจ้าได้รับนิมนต์แล้ว สองคนพ่อลูกตั้งปฏิธานความปรารถนา ขอให้ ...ข้าพเจ้าพ้นจากทุกข์ ยากไร้เข็ญใจ และขอให้ข้าพเจ้าทั้งสองนี้ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพผู้ประเสริฐองค์หนึ่งเถิด พระปัจเจกโพธิเจ้าก็รับ อนุโมทนาซึ่งบุญ นายช่างสองคนพ่อลูกอยู่จนสิ้นอายุขัยแล้วก็ทำ�กาลกริริยา ตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มี วิมานทองเป็นที่รองรับ และเทพอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร เสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์สิ้นกาลช้านานจุติจากสวรรค์ นั้นแล้วก็ไปบังเกิดเป็นราชบุตรของพระเจ้าสุโรธิบรมกษัตริย์ในเมืองมิถิลามหานคร ทรงพระนามว่ามหาปนาทกุมาร ๆ เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เสวยราชสมบัติ เป็นพระยาจักรพรรดิราช ด้วยอานิสงส์ที่ได้สร้างกุฎีวิหารถวายเป็นทานแด่พระ


ปัจเจกโพธิเจ้า ครั้นตายจากชาติเป็นพระยามหาปนาทแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดในมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ แล้วก็มา เกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฎิอยู่ในภัททิยนคร ชื่อว่า ภัททชิ ก็ได้ปราสาท ๓ หลัง อยู่ใน ๓ ฤดู ครั้นเจริญวัยได้บวช ในศาสนาสำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ ในศาสนาของตถาคตดังนี้แล ส่วนเทพบุตรองค์พ่อนั้น ยังเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์ช้านานจนถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย ลงมา ตรัสสัพพัญญู เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมนุษย์โลก ได้จุติลงมาปฏิสนธิในครรภ์ พระอัครมเหสีสมเด็จพระเจ้ากรุง เกตุมวดี ทรงพระนามว่าสังขกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้วก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าสังขจักร บรมกษัตริย์ มีทวีปน้อยใหญ่เป็นบริวาร พระองค์จึงได้สละราชสมบัติบ้านเมืองออกไปบรรพชา ในสำ�นักพระศรีอริย เมตไตรย กับทั้งบริวาร ๑ โกฎิ ก็ได้ถึงอรหันต์ได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงพระนามอโสกเถระ ก็ด้วยอานิสงส์ได้ สร้างกุฎีให้เป็นทานนั้นแล อันเป็นบุญให้ถึงความสุข ๓ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ


อานิสงส์สร้างเวจกุฏี (ห้องนำ�้) ในครั้งนั้น พระศาสดาได้เสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร แห่งกรุงสาวัตถี มีมาณพคนหนึ่งเป็นช่าง ทองทำ�การขายทองรูปพรรณอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น จนมั่งมีโภคทรัพย์สมบัติมาก อยู่มาวันหนึ่งมาณพนั้นมาคิดว่า เรา ค้าขายทองก็มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำ�ดับ ทรัพย์ที่หามาได้โดยยาก ก็ไม่อยากจะให้สูญหายไปโดยเร็ว ตริตรอง หาวิธีที่จะเก็บทรัพย์ให้ได้อยู่นาน ก็ไม่พบวิธีที่จะป้องกันความเสื่อมเสียของทรัพย์ได้ เพราะว่าทรัพย์เป็นของกลาง เป็นเครื่องอาศัยของคนทุกคน สุดแล้วแต่ใครจะขยันหมั่นเพียรหามาได้เท่านั้น ถึงแม้จะหามาได้มากก็ดี ถ้าขาด ปัญญาเป็นเครื่องรักษาทรัพย์แล้วทรัพย์นั้นก็ไม่คงทนอยู่ได้ แม้จะอยู่ได้ตลอดไปตนเองก็มีชีวิตยืนนานที่จะบริโภคต่อ ไปไม่ได้เพราะความตายย่อมมาพรากตนให้หนีไปเสียจากทรัพย์เมื่อสิ้นชีพแล้วทรัพย์เหล่านั้น ก็ไม่ติดตามตนไปปล่อย ไว้ให้คนอื่นเขาใช้สอยอย่างสบาย เห็นมีอยู่แต่อย่างเดียวเท่านั้น ที่จะติดตามตัวไปในอนาคต คือ ฝังทรัพย์ไว้ในพุทธ ศาสนาเมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ก็คิดดูว่าจะทำ�อะไร สิ่งอื่น ๆ ก็มีผู้ทำ�ไว้หมดแล้ว ก็เห็นแต่เวจกุฎีเท่านั้นที่ยังไม่มีใครทำ�เลย เมื่อคิดเช่นนี้ จึงได้สร้างเวจกุฎีขึ้น เมื่อสำ�เร็จแล้วยังได้สร้างโรงไฟ และที่สำ�หรับอาบน้ำ�อีกด้วย เมื่อเสร็จ สรรพดีแล้ว ได้ทำ�การฉลองอย่างมโหฬารและมอบถวายแก่ ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็น ประธานแล้วตั้งปฏิธานความปรารถนาว่า “…ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพานตราบใด ขึ้นชื่อว่า ความทุกข์อันเกิดแต่โรคต่าง ๆ อย่าได้มาแผ้วพานต่อข้าพเจ้าเลย...อิมินาทาเนน...” ด้วยอำ�นาจผลทานนี้พระสารีบุตร ก็อนุโมทนาว่า “...ขอให้ความปรารถนาจงเป็นผลสำ�เร็จเถิด...” มาณพนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทผลทาน ให้สมาทานศีลครั้น ทำ�กาลกิริยาตายไปแล้วไปเกิดบนสวรรค์เทวโลก มีสมบัติวิมานทอง มีเทพอัปสรเป็นยศบริวาร อยู่มาวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนา ถึงมาณพผู้นั้นอยู่พระศาสดาเสด็จมาถึงในที่นั้นแล้วตรัสถามว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า “...ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรชนทั้งหลายเกิดมาได้พบพระพุทธเจ้าและในขณะที่พุทธศาสนา ยังประดิษฐานอยู่จะเป็นผู้เศร้าโศกในอบายภูมิ เป็นจำ�นวนมากมาณพที่เป็นช่างทองนี้ได้พบทั้งสองประการแล้วไม่ เป็นผู้ประมาท ได้สร้างเวจกุฎีถวายบูชาพระรัตนตรัยด้วยศรัทธาเลื่อมใส ได้เสวยสุขในสุคติโลกสวรรค์ และเป็น ปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าตัณหังกร เราตถาคตก็เคยสร้างเวจกุฎี และที่สำ�หรับอาบแก่พระภิกษุสามเณรได้ตั้งสัตยธิษฐานว่า ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง ใน อนาคตกาล ด้วยผลแห่งอานิงส์ที่ข้าพระองค์ได้สร้างเวจกุฎีให้เป็นสาธารณะทานนี้ ตถาคตครั้นทำ�ลายขันธ์แล้วก็ไป บังเกิดสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติอยู่ชั้นดุสิตครั้นจุติจากชาตินั้นแล้ว ได้ท่องเที่ยงอยู่สังสารวัฎฎ์จนบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตถาคตนี้เอง ก็สมดังคำ�ปรารถนาในกาลครั้งโน้นทุกประการ...”


อานิสงส์สังฆทาน การถวายอาหารบิณฑบาตแก่ภิกษุสงฆ์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ได้พร้อมใจกันนำ�อาหารบิณฑบาต พร้อม ด้วยเครื่องบริวารทั้งหลายมาถวาย ในท่ามกลางสงฆ์มิได้จำ�เพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ อย่าง นี้เรียกว่า “สังฆทาน” อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าถวายทานเจาะจงบุคลิก รูปนั้น รูปนี้ อย่างนี้เรียกว่า “ปาฏิบุคลิกทาน” จึงจัดเป็น ๒ ประเภท ดังที่ได้แสดงมาแล้ว การถวายทานนั้น ถ้าถวายเป็นสังฆทานมีผลานิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน ดังจะเห็นจากพระสิวลีเถระผู้มีลาภมาก จนได้รับเป็นเอตทัคคะจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศด้วยลาภ จะไปทางไหน ก็มีแต่อดิเรกลาภ เหลือหลาย บริบูรณ์ ก็เพราะท่านได้ถวายทานมาแต่ในชาติปางก่อน ชาตินี้ท่านก็มีความสุขกาย สบายใจไม่เดือดร้อนอดอยาก

ความพิสดารว่าในสมัยหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าสิวลีได้เกิดเป็นบุตรของเศรษฐี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาก็มีจิตศรัทธา เลื่อมใสได้ให้ทานแก่พระปัจเจกโพธิวันละองค์ ๆ ครั้นต่อมาได้รับสมบัติแทนบิดา เป็นเศรษฐีก็ถวายทานแก่พระ ปัจเจกโพธิขึ้นอีกรวมเป็น ๗ องค์ ต่อวัน ตลอดมากระทำ�อยู่ดังนี้จนสิ้นชีพ ก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นยามามีวิมานสูง ๓๐ โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร เสวยสุขทิพย์สมบัติในชั้นยามาประมาณโกฏิปีในเมืองมนุษย์ ครั้น ถึงศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงจุติมาถือกำ�เนิดในตระกูลเจ้าศากยะ บริบูรณ์โภคสมบัติยิ่งนัก ครั้น เจริญวัยขึ้นมาก็ออกบวชต่อพระพุทธเจ้า ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ มีชื่อว่า “พระสิวลีเถระ” เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายที่มีลาภมาก พระเถระจะไปสู่สถานที่ใด เทวดามนุษย์ทั้งหลายย่อมสักการบูชาด้วยเครื่องไทยทานอย่าง มากมาย แม้บริวารของท่านก็พลอยบริบูรณ์พูนสุขไปด้วยดังนี้ ก็เพราะอานิสงส์แห่งการถวายทานให้เป็นสังฆทาน


ผลานิสงส์จากการถวายสัพพทาน • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • •

สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวนำ�้ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำ�ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


• • • • • • • • • • • • • • • • •

ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดถวายผ้าอาบนำ�้ฝน และผ้าจำ�นำ�พรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมานำ�้ได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ� และส้วมอาบน้ำ� และครุตักน้ำ�ก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้ บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญ สละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมา นี้ มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า อานิสงส์ที่ได้ในปัจจุบัน คือ ไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตาไม่ได้เป็นที่ รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้าม เกรงกลัวต่ออำ�นาจผู้ใด การทำ�มาหากินก็สม ความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสายามาตุสิตาโดย ลำ�ดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิด ในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งมั่งมี


ผลานิสงส์ของการไม่กินเนื้อสัตว์

๑. เป็นที่รักของบรรดา เทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ๒. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น ๓. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์เหี้ยมโหดเครียดแค้นในใจลงได้ ๔. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย ๕. มีอายุมั่นขวัญยืน ๖. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจาก เทพ ทั้งปวง ๗. ยามหลับ นิมิต เห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล ๘. ย่อมระงับการ จองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน ๙. สามารถดำ�รงอยู่ในกระแส พระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสู่ อบายภูมิ ๑๐. ทันทีที่ละ สังขาร จากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่ สุคติภพ

ผลานิสงส์การจัดสร้างพระพุทธรูป หรือสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับ พระธรรม คำ�สอน ๑. อกุศลกรรม ใน อดีตชาติ แต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ ๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ปวงภัยไม่มีคนคิดร้ายไม่สำ�เร็จ ๓. เจ้ากรรมนายเวร ใน อดีตชาติ แต่ปางก่อน เมื่อได้รับ ส่วนบุญ ไปแล้วก็จะเลิก จองเวร จองกรรม ๔. เหล่า ยักษ์ ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัยอยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย ๕. จิตใจสงบ ราศี ผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้าผู้คนนับถือ ๖. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน ๗. คำ�กล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพ ยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป ๘. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้ เกิด เป็นชายเพื่อ บวช ๙. พ้นจากมวล อกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาลำ�้เลิศ บุญกุศลเรืองรอง ๑๐. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็น กุศลจิต แก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้สร้างที่ เกิดจะได้ฟัง ธรรม จาก พระอริยเจ้า ปัญญาในธรรมแก่กล้า สามารถได้ อภิญญาหก สำ�เร็จ โพธิญาณ


ผลานิสงส์ของการบวชพระ บวชชีพราหมณ์ ๑. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ตามปรารถนา ๒. เจ้ากรรมนายเวร จะ อโหสิกรรม หนี้กรรม ในอดีตจะคลี่คลาย ๓. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย ๔. เป็นปัจจัยสู่ พระนิพพาน ในภพต่อๆไป ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา ๖. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็น สัจธรรม แห่งชีวิต ๗. เป็นที่รักที่ เมตตามหานิยม ของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่า เทวดา ๘. ทำ�มาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงิน ไม่ขาดสายไม่ขาดมือ ๙. โรคภัย ของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและ รักษาหาย ๑๐. ตอบแทน พระคุณ ของ พ่อแม่ ได้เต็มที่สำ�หรับผู้ที่ บวช ไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่าง ๆ ก็สามารถได้รับ อานิสงส์ เหล่านี้ ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้ บวช สนับสนุนส่งเสริม อาสาการให้คนได้บวช


ผลานิสงส์อื่น ๆ • ถวายฉัตรยอดพระเจดีย์ ได้รับการเคารพยกย่อง เกิดในชาติตระกูลสูง มีสง่าราศี • ถวายทองคำ� ผิวพรรณงาม เปล่งปลั่ง อุดมมั่งคั่ง • ถวายเงิน ใจสว่างไสว อยู่เย็นเป็นสุข • ถวายอัญมณี รัศมีกายทิพย์สว่าง มีราศี มักประสบโชคดี • ถวาย บรรจุพระเครื่อง มีกำ�ลังใจต่อสู้กับอุปสรรค มักมีคนช่วยเหลือเวลามีปัญหา • ถวายแผ่นทองคำ�เปลวปิด องค์พระเจดีย์ มีราศีผิวพรรณงาม ใจสว่าง อบอุ่นใจ • ถวาย อิฐ หิน ปูน ทราย มีแต่ความมั่นคงในชีวิต ใจคอหนักแน่น ไม่โลเล • สร้างองค์พระเจดีย์ มักได้สิ่งอันพึงปรารถนา สุขภาพดี ไม่มีวันอดตาย • ถวายธงหลากสีประดับองค์พระธาตุ มีสง่าราศี กายทิพย์สว่าง • ถวายโคมไฟ ให้แสงสว่าง ,เทียน ใจสว่าง ชีวิตสะดวกสบาย มีอุปสรรคน้อยลง มีปัญญา ธรรมสูงขึ้น เบิกทางสู่ทิพยเนตร • ถวายดอกไม้ อันบริสุทธิ์ต่างๆ สุขสงบใจ ใจสะอาดสดชื่นผ่องแผ้ว • ถวายธูป เครื่องหอม ต่างๆ อบอุ่นมั่นคงในใจ ใจสว่างมีอุปสรรคน้อยลง มีกลิ่นกายสะอาด รู้สึก สดชื่นเสมอ • ถวายแผ่นหินปูพื้นพระเจดีย์ มีบริวารดี มีสมาธิดีขึ้น มีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้น • ถวายกระจกสีประดับองค์พระเจดีย์ กายทิพย์สว่าง มีสง่าราศี มีคนศรัทธา เห็นความดีในตัว • ถวายผ้าเหลืองครอง(หุ้ม)องค์พระเจดีย์ เพิ่มเนกขัมมบารมี ใจสงบขึ้น มีโอกาสได้วิมุตติธรมเร็วขึ้น • สรงนำ�้พระธาตุ ใจสะอาดสงบสว่างขึ้น กายและใจชุ่มชื่นแจ่มใส สุขภาพดี • ถวายข้าว อาหาร เวรข้าวบูชาพระธาตุ อุดมสมบูรณ์ อิ่มอกอิ่มใจ สุขภาพดี • เวียนเทียนรอบองค์พระเจดีย์ เพิ่มวิสัยปัจจัยแห่งกุศลธรรม เป็นสิริมงคล ช่วยยกระดับจิตใจให้ สูงขึ้น สะอาดขึ้น • แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระธาตุจากใจจริง เป็นที่เคารพยกย่อง มักไม่มีใครเข้าใจผิด หรือมองอะไรผิดๆ ได้บารมีวิมุตติรรมจากพระบรมธาตุ พาไปสู่วิสุทธิมรรค ผล นิพพานได้เร็วยิ่งขึ้น • เป็นเจ้าภาพ หรือมีส่วนช่วยจัดงานฉลองพระธาตุ ประสบสุขในชีวิตโดยทั่ว ไปแทบทุกด้าน อุดมมั่งคั่ง มีคนเคารพยกย่องช่วยเหลือเสมอ • บูรณะซ่อมแซมเจดีย์พระธาตุ สุขภาพดี อายุยืน รูปร่างหน้าตาผิวพรรณดี มีฐานะมั่นคง • สร้างเจดีย์ บรรจุ พระบรมธาตุ ชีวิตมั่นคงสุขสมปารถนาทุกด้าน เป็นที่เคารพยกย่อง ได้มรรคผล นิพพาน เร็วขึ้น


ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง บุญ ที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึง “ผลานิสงส์” ที่สาธุชนทั้งหลายพึงจะ ได้รับ เพื่อความไม่ประมาท เราท่านทั้งหลาย จงเร่ง ทำ�บุญ เสียแต่วันนี้ เพราะหากล่วงลับไปแล้ว ท่านจะไม่ สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง และหากไม่มีบุญมาหนุนนำ� แรงกรรมอาจดึงให้ท่านไป สู่ภพเดรัจฉาน เปรต สัตว์นรก ที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ ต่อให้ญาติโยมทำ�บุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ ดัง นั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสม บุญบารมี ซึ่ง เป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำ�ติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ ด้วยเทอญ















โมทนาสาธุการ ศุภฤกษ์เจ็ดมีนามาบรรจบ ปีนี้ครบสามสิบชันษาพาถวิล คิดสิ่งใดขอให้ได้เป็นอาจินต์ พร้อมทั้งสินทรัพย์โภคาประดามี ขอให้อดทนบำ�เพ็ญพรตภาวนา เจริญธรรมาค้นหาเพื่อมรรคผล ให้ได้พ้นเกิดตายในบัดดล ศาสนิกชนแซ่ซ้องสาธุการ อนุโมทนาบุญกุศลที่ท่านสร้าง สุดแต่ปางก่อนนำ�มาพาสดใส วัดบ้านน้อยหนองขาสิวิไลซ์ อำ�นวยให้มาประชุมมุ่งทำ�ดี ปีสี่ห้าสร้างเจดีย์ศรีจำ�ปาฯ น้อมบูชาองค์พระผู้มไหศวรรย์ เฉลิมฉลองพระธาตุมาพร้อมกัน ให้สุขสันต์อิ่มอุราหาใดปาน ผลงานนี้กึกก้องไปทุกที่ จึงได้มีผู้อาราธนามาที่ใหม่ สร้างเจดีย์อีกองค์จะเป็นไร ร้อยเอ็ดไซร้จงสัมฤทธิ์ประสิทธิ์เทอญ

ปทุมมณีพรรณวดี ศรีโสภาค ประพันธ์


บุคคลพึงละสุขได้ ย่อมได้รับสุขที่ยิ่งกว่า โดย หลวงปู่ต้นบุญ ติกฺขปัญโญ เทศน์วันเสาร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ.วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

ตั้งใจฟังนะ ตั้งใจฟัง วัดเป็นแดนสงบ วัดเป็นสถานที่คัดกรองจิตใจคน วัดเป็นสถานที่ที่มีความสงบ เยือกเย็น ต่อให้วัดเป็นสถานที่ที่มีความสงบเยือกเย็นแค่ไหน แต่ถ้าหัวใจของท่านทั้งหลาย เร่าร้อนไปด้วย กิเลสตัณหา เร่าร้อนไปด้วยความอยากได้ เร่าร้อนไปด้วยความอยากมี เร่าร้อนไปด้วยกองกิเลสทั้งปวง จะ มีประโยชน์อะไรเล่า ที่ท่านจะอยู่ในสถานที่จะเยือกเย็น ความสงบเยือกเย็นนั้นมันต้องเป็นความสงบเยือกเย็น จากภายในออกมาภายนอก หัวใจจึงจะเข้าสู่ความบริบูรณ์อย่างแท้จริง ต่อจากนี้ไป ขอให้ท่านทั้งหลายกำ�หนดลมหายใจ ทำ�ความสงบเยือกเย็นให้เกิดขึ้นในหัวใจ ผู้ใดทำ�ความ สงบเยือกเย็นให้เกิดขึ้นในหัวใจได้มากเท่าใด ผู้นั้นก็จะทำ�ให้หัวใจ อันเปรียบเสมือนภาชนะที่รองรับว่างได้มาก เท่านั้น เมื่อหัวใจนั้น ภาชนะนั้นว่างแล้วก็พร้อมที่จะรองรับเอาพระสัทธรรมอันประเสริฐ และสามารถนำ�เอา พระสัทธรรมอันประเสริฐนี้ไปขัดเกลาจิตใจ ไปขัดเกลาจิตวิญญาณ ที่ถูกร้อยรัดไว้ด้วยความทุกข์โศกทั้งปวง ในการประพฤติปฏิบัตินั้น เมื่อประพฤติปฏิบัติได้สำ�เร็จแล้ว ความสำ�เร็จนั้นหาได้มีประโยชน์ไม่ แต่ กระบวนในการทำ�ให้เกิดความสำ�เร็จนั้นต่างหาก ที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งยวด เหมือนกับที่เราท่านทั้งหลาย ขวนขวายหาทรัพย์สินเงินทอง เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยทั้งสี่ความทุกข์ยากลำ�บากมิได้เกิดขึ้นเมื่อท่านได้รับปัจจัย ทั้งสี่นั้น แต่ความทุกข์ยากลำ�บากเกิดขึ้นในกระบวนการและขั้นตอนในการหาปัจจัยทั้งสี่นั้นมาต่างหาก ฉะนั้น คนที่ประพฤติปฏิบัติ ที่แสวงหาหนทางในการหลุดพ้น ค้นหาว่าไปพระนิพพานนั้นไปยังไง ขั้นตอนนี้เป็นขั้น ตอนที่สำ�คัญ แต่คนที่ไปถึงพระนิพพานแล้วจะเห็นว่า “ก็เพียงแค่นี้” เหมือนคนที่รู้วิชาการต่าง ๆ ก็จะคิดว่า เรื่องที่เขารู้นั้นเป็นเรื่องง่าย แต่กว่าจะรู้ได้นั้น เขาต้องเสียเวลาในการเล่าเรียนศึกษามากมายแค่ไหน กว่าที่เขา จะรู้ในเรื่องนั้นได้ ตอนนี้เราท่านทั้งหลาย ก็กำ�ลังศึกษาหาหนทางหลุดพ้นไปจากกองแห่งทุกข์ อดทนอีกนิดนึง ก็จะสำ�เร็จ มันอาจดูยุ่งยาก มันดูน่าเบื่อหน่ายบ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สำ�เร็จ พวกเราสามารถที่จะสละ สละเสีย จากความสุขเบื้องหน้านี้ เพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่าได้หรือไม่ เมื่อสามารถสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เสีย จึงได้รับความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า


มีนิทานจะเล่าให้ฟัง เรื่องมีอยู่ว่า มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นโรคห่า คนตายกันเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม จนคนตายกันหมดทั้งหมู่บ้าน คนหมู่บ้านใกล้เคียงจึงปรึกษากันว่า เราไปที่หมู่บ้านที่เป็นโรคห่านี้กันเถอะ เพื่อเก็บเอาสิ่งของที่มีค่าต่าง ๆ ที่คนเหล่านี้ตายแล้วทิ้งเอาไว้ เพื่อประโยชน์ของพวกเรา เมื่อชักชวนกันได้ แล้ว ก็ตกลงกันว่าจะไป มีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อนายมี มีอาชีพทำ�กระสอบ ก็ได้แบ่งกระสอบให้กับเพื่อนแล้ว ก็พากันไปที่หมู่บ้านนั้น ขณะที่ไปถึงหมู่บ้านนั้น ก็ไปเจอกองปอ กองใหญ่ (ปอสำ�หรับฝั่นด้ายทำ�กระสอบ) นายมีก็ดีใจว่าวันนี้ เราได้พบของประเสริฐแล้ว นี่คืออาชีพของเรา นี่คืองานของเรา และนี่คือเงินของเรา นายมีก็คุ้ยเอาปอ ใส่ไว้ในกระสอบของตัวเองจนเต็มแล้วก็เดินลัดเลาะไปอีก หมู่เพื่อนของเขาก็ได้เอาปอนั้น ใส่กระสอบไปเหมือนกัน พอไปถึงบ้านอีกหลังหนึ่ง ก็มีเงินทองที่คนตายทิ้งเอาไว้ หมู่เพื่อนทั้งหลายเห็นเงิน ทองนั้น ก็เทปอในกระสอบของตนทิ้งเสีย แล้วเก็บเอาเงินทองนั้นยัดใส่ลงกระสอบแทน เมื่อเห็นของที่มีค่า มากกว่า ก็เทเอาของที่มีอยู่เดิมในกระสอบทิ้ง ทำ�อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ด้วยคิดว่า สิ่งที่ตัวเองได้นี้มีประโยชน์ และมีคุณค่ามากกว่า ดังนั้นเมื่อเห็นสิ่งหนึ่งที่มีค่ามากกว่าก็ทิ้งสิ่งหนึ่งที่มีค่าน้อยกว่าไปเสีย แต่นายมีไม่ ยอมทิ้งปอที่อยู่ในกระสอบนั้นเพราะเห็นว่า เราแบกปอนี้มานานแล้ว เกิดความเสียดาย จะทิ้งก็เสียดาย ก็ได้แต่เอานั่น เอานี่ เอาแก้วแหวนเงินทองยัดใส่เพิ่มลงไปในกระสอบ คิดว่าไม่เป็นไรหรอก เราก็ได้แก้ว แหวนเงินทองนั้นไปบ้างเหมือนกัน แล้วคนทั้งหมดก็พากันกลับหมู่บ้านของตน เมื่อกลับมาถึงหมู่บ้าน คน อื่นนั้นก็มีเงินมีทองมากมาย เป็นเศรษฐีมีทรัพย์ แต่นายมีก็ยังต้องมานั่งฝั่นปอทำ�กระสอบเหมือนเดิม นิทานอีกเรื่องหนึ่ง มีเศรษฐีผู้หนึ่ง กว่าเขาจะได้เป็นเศรษฐีนั้น ต้องใช้ระยะเวลาอุตสาหะมามาก พอสมควร ในครั้งที่เขาทำ�ธุรกิจนั้น เขาอดทน อดออม ประหยัด เขาหาทรัพย์สมบัติได้แล้ว ก็ทำ�ทรัพย์ สมบัตินั้นมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อไปถึงระดับหนึ่งนั้น เขาจึงคิดว่าบัดนี้เรามีทรัพย์มากแล้ว ทำ�อย่างไร หนอ เราจึงจะมีทรัพย์อยู่ตลอด โดยทรัพย์นั้นไม่พร่องอีก เมื่อเขาคิดอย่างนั้น ก็เที่ยวถามกับผู้อื่นอยู่เรื่อย ๆ ว่าทำ�อย่างไรหนอ ทรัพย์นี้จะคงอยู่กับเขาไปตลอด ท้ายที่สุดก็ไปกราบถามพระอรหันต์องค์หนึ่ง พระ อรหันต์องค์นั้นบอกว่า คนที่สามารถหาทรัพย์สินเงินทองมาได้นั้น ก็ถือว่าเก่ง แต่ยังไม่เก่งมาก เมื่อบุคคล สามารถรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ได้ ถือว่าเก่งกว่า แต่คนที่สามารถรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ได้ก็ยังถือว่าไม่เก่งจริง ต้องสามารถหาดอก หาผล เพิ่มพูนบริบูรณ์ ให้ทรัพย์สินนั้นมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จึงจะถือว่าเก่ง แต่คนที่ สามารถหาดอก หาผล ให้เงินนั้นเพิ่มพูนบริบูรณ์ มากมายมหาศาลนั้น ก็ถือว่า ยังไม่เก่งจริง แต่เมื่อใดก็ตามที่บุคคลผู้นั้นสามารถละออกจากสมบัติที่ เขาหามาได้นั้น จึงถือว่าเก่งจริง เศรษฐีนั้นก็ถามว่าเพราะอะไร พระอรหันต์จึงตอบว่า เมื่อใดก็ตามที่บุคคลใดคลายความยึด มั่นถือมั่นได้ เขาย่อมได้ผลที่ดีเลิศประเสริฐกว่า เพราะ การยึดมั่นถือมั่นนั้น เป็นสมบัติอันแคบ เป็นของที่แคบ เมื่อใดที่เขาสามารถ ละ ปล่อย วางออกจากสิ่งที่เขา ยึดมั่นถือมั่นได้ ถือว่าเขาได้ปลดเปลื้องเครื่องร้อยรัด พันธนาการทั้งปวงออกจากตัวเขา


ฉันใดก็ฉันนั้น ก็เหมือนกันกับเช่นที่นายมีคิดว่า เขาจะเก็บปอนี้ไว้ เพราะเขาเห็นเพียงแค่ความสุข เล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่เบื้องหน้า จนลืมความสุขที่แท้จริง ไม่ยอมละความสุขในขณะนี้เพื่อรับความสุขที่ยิ่งกว่า เหมือนกับหมู่เพื่อน ที่เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีค่า บุคคลพึงละสุขได้ ย่อมได้รับสุขที่ยิ่งกว่า เมื่อบุคคลใดที่ละ โลกนี้ได้ บุคคลนั้นย่อมได้โลกกุตรธรรม เราท่านทั้งหลายทำ�เช่นนั้นได้หรือ คนที่จะเข้ามาประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เนื่องด้วยสถานภาพ เนื่องด้วยกำ�ลัง เนื่องด้วยการดำ�รงวิถีชีวิต และความคิดที่แตกต่างกัน มันจึงทำ�ให้ขั้นตอนในการใช้วิถีชิวิต ไม่เหมือนกัน มีทัศนคติแนวความคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือ โง่เหมือนกัน โง่ที่ทุ่มเท โง่ที่เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสิ่งที่ไร้ค่าเหล่านี้ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ จีรังยั่งยืนอย่างที่เราคิดไว้ มันเพียง แค่หล่อเลี้ยงให้กิเลสตัณหาเกิดขึ้นอยู่ไม่หยุดไม่หย่อน สร้างภาระและความผูกพันให้เกิดขึ้นอยู่ไม่หยุดไม่ หย่อน ชีวิตเป็นฉันใด เกิดมาเพียงแค่หลับตา แล้วก็ฝันไป ตั้งแต่เกิด จนแก่ จนเจ็บ จนตาย ผ่านวัตถุเรื่องราวมากมายมหาศาล ในครั้งที่ตื่นลืมตามา ชีวิตก็ผ่านไปหนึ่งชีวิต ในขณะที่เพียงแค่ ฝันไปตื่นหนึ่งเท่านั้น ชีวิตหนึ่งก็ผ่านไป แล้วเรายังจะยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งของเหล่านี้ไปเพื่อประโยชน์อะไร ถ้าสมมติว่าเราท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ในที่นี้ กำ�ลังเพียงแค่นอนหลับฝันไปเท่านั้น เมื่อเราท่านทั้งหลายตื่นขึ้น มา จะมีความรู้สึกว่า ก็เพียงแค่นี้ ก็เพียงแค่นี้ มีเรื่องมากมายที่ทำ�ให้เราทุกข์ แต่ทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากการ เกาะกุม หรือยึดมั่นถือมั่นเอาไว้เท่านั้น ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมัดพันธนาการตัวเองมากขึ้น เท่านั้น จนท้ายที่สุด เรื่องทุกเรื่องกลายเป็นเรื่องของเรา ทุกข์ทุกอย่างในโลกนี้กลายเป็นทุกข์ของเรา แล้วเราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ คนบางคนทุกข์เพราะว่าไม่พอ คนบางคนทุกข์เพราะแสวงหา คนบางคนทุกข์เพราะร่างกาย สังขาร คนบางคนทุกข์เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ เมื่อความทุกข์นี้ ตั้งเกิดขึ้นแล้ว มีอยู่แล้วในจิตวิญญาณนี้ เราก็อับจนปัญญาว่าหาทางออกไม่มี ท้ายที่สุดก็มีข้ออ้างแต่ว่า นั่งสมาธิ แล้วจัก หลุดพ้นไปจากปัญหานี้ เราจักไม่กลับมาทุกข์อีก แท้ที่จริงทุกข์นั้นเราเป็นคนสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด เปรียบ เสมือนคนที่ขุดหลุมเพื่อฝังตัวเองไว้ และท้ายที่สุดตัวเองก็กลบหลุมนั้นด้วยมือของตัวเอง เช่นเดียวกันกับ คนที่มีครอบครัว ไม่มีใครบอกให้พวกคุณแต่งงานกันนะ มีครอบครัวนะ พวกคุณซื้อบ้านหลังใหญ่ ๆ นะ มี รถคันงาม ๆ นะ แต่พวกคุณก็เลือกที่จะทำ�เอง เลือกที่จะทุกข์เอง แล้วพวกคุณก็มานั่งตัดพ้อต่อว่าในสิ่งที่ พวกคุณกระทำ� ว่าทำ�ไมถึงทุกข์อย่างนี้ ทำ�ไมถึงลำ�บากอย่างนี้ ทำ�ไมถึงต้องเป็นอย่างนี้ ชีวิตที่เกิดมาครั้ง หนึ่ง ต้องมาทำ�เรื่องอย่างนี้ หรือทำ�ได้เพียงแค่นี้เท่านั้นหรือ เราเห็นประโยชน์ของชีวิตมีค่าเพียงแค่นี้หรือ ถ้าประโยชน์ของชีวิตมีค่าเพียงแค่นี้ แล้วเราจะเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อเป็น กรรมกรก่อสร้างคนหนึ่ง เป็นคนรับจ้างในโรงงาน หรือเป็นคนที่ทำ�งานในออฟฟิศ ไปวัน ๆ หรือเป็นคนที่มาทุกข์เพราะเรื่องจิปาถะ มากมายมหาศาลเท่านั้นรึ และท้ายที่สุดก็หาทางออกจากทุกข์ที่เราสร้างไว้ไม่ได้ ก็ขวนขวาย หาหนทางใน การบำ�เพ็ญสมณธรรม เพื่อหลุดพ้นไปจากปัญหาทั้งปวง แต่ นั่นใช่ทางออกที่แท้จริงรึเปล่า


คนที่มีทุกข์มันปฏิบัติธรรมแล้วไม่เห็นผล เพราะเปรียบเสมือนกับคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บเต็มตัวแล้วไป หาหมอ ไม่ว่าจะบำ�บัดอย่างไร รักษาอย่างไร ก็แล้วแต่ อาการแห่งโรคนั้นก็กำ�เริบขึ้นอยู่เสมอ กำ�เริบขึ้นอยู่ เสมออย่างนั้น คนเราควรประพฤติปฏิบัติธรรม ในขณะที่ตัวเองไม่ทุกข์ หรือไม่ตกอยู่ในห้วงของความทุกข์ ปฏิบัติในขณะที่เราเข้าใจทุกข์ ปฏิบัติในขณะที่เรารู้แจ้งทุกข์ ปฏิบัติในขณะที่เราปลดเปลื้องทุกข์ จึงเห็นผล ของการปฏิบัติ คนบางคนทุกข์ ลำ�บาก แล้วหันหน้าเข้าหาการประพฤติปฏิบัติ โดยหวังพึ่งพาว่า เมื่อนั่ง สมาธิแล้ว สวดมนต์แล้ว ไหว้พระแล้ว เราจะหลุดพ้น เสียซึ่งปัญหาทั้งปวงนี้ แท้ที่จริง ยิ่งเงียบเท่าไร ยิ่ง สงบสงัดเท่าไร ความทุกข์นั้นก็ยิ่งแจ่มชัดและชัดเจนขึ้นเท่านั้น ฉะนั้น หมู่เพื่อน ผู้ประพฤติปฏิบัติญาติธรรมทั้งหลาย เราท่านทั้งหลาย ควรพึงพิจารณาว่า เรา จะปฏิบัติโดยที่เห็นทุกข์ เข้าใจทุกข์และสามารถปลดเปลื้องทุกข์ ไม่ใช่ปฏิบัติไปพร้อมกับทุกข์ที่มันตั้งอยู่ และยึดมั่นถือมั่นทุกข์นั้นไว้ในหัวใจ เราพึงพิจารณาโดยปัญญาอันแจ่มแจ้ง โดยสติอันบริบูรณ์สมบูรณ์นั้น ว่า ทุกข์นี้มิใช่ของเรา ทุกข์นี้สักแต่ว่าเกิดขึ้น ทุกข์นี้สักแต่ว่าตั้งอยู่ ทุกข์นี้สักแต่ว่าดับไป ทุกข์นี้เกิดขึ้นที่ใจ ของเรา ทุกข์นี้ตั้งอยู่ในใจของเรา และท้ายที่สุดทุกข์นี้จักดับได้ก็ด้วยที่ใจของเรา ฉะนั้นเงื่อนปมที่สำ�คัญคือ หัวใจของเรานี่เอง เมื่อใด บุคคลใด ที่คลายเงื่อนตายที่อยู่ในหัวใจได้ เมื่อนั้น บุคคลนั้น ก็จักเข้าใจทุกข์ รู้ แจ้งทุกข์และปลดเปลื้องทุกข์ได้ บัดนี้เราจักประพฤติปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง ไม่ใช่ประพฤติปฏิบัติเพื่อหนี จากทุกข์ อย่าเป็นคนที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บแล้วไปหาหมอ แต่เป็นคนที่พึงสำ�รวม ระมัดระวังว่า เราจะ ป่วย เราจะป่วย และเราควรปฏิบัติตัวเช่นใด เราจึงจะไม่ป่วย ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลที่ทำ�อย่างนี้ได้ เขาจักไม่ กลับมาทุกข์อีก ไม่ทุกข์ด้วยภพ ไม่ทุกข์ด้วยชาติ ไม่ทุกข์ด้วยชรา ไม่ทุกข์ด้วยมรณะ เพราะเขาเหล่านี้ เข้าสู่ หนทางแห่งความเป็นพระอริยบุคคลแล้วนั่นเอง ในท้ายที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ที่ได้สดับรับฟังมา ขอจิตปัญญาใดที่มืดมน ขอจิตปัญญาใดที่ถูก ร้อยรัดไว้ ถูกผูกมัดไว้ จากทุกข์เวทนา กิเลสตัณหาทั้งปวง ขอเดชเดชะอำ�นาจ ผลานิสงค์ทั้งหลายที่พวก เราที่ได้กระทำ�ร่วมกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับได้ร้อยชาติพันภพ ร้อยภพพันชาติ จงมาเป็นผลานิ สงค์ปลดเปลื้องทุกข์ทั้งปวง กิเลสตัณหาทั้งปวงออกจาก ดวงจิตดวงใจของพวกเราทุกผู้ทุกคน ให้พวกเรา ทุกผู้ทุกคนนั้น เป็นผู้สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยสติปัญญา ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง แห่งปัญญา เพื่อจักนำ�พาจิตวิญญาณของเราท่านทั้งหลายนี้ หลุดพ้นไปสู่พระนิพพาน ด้วยเทอญ


ทำ�ใจให้ได้บุญ

ไม่มีอะไรจะวิเศษมากกว่าความสงบ อะไรในโลกนี้ก็ไม่มีค่าเทียบเท่าปัญญา แสงสว่างเสมอ เท่าปัญญาก็ไม่มี คนบางคน ยอมเสียเงินเสียทองเยอะแยะมากมาย คนบางคนยอมเสียเวลาตลอดชั่วชีวิต เพื่อศึกษา และหาทางทำ�ความเข้าใจกับวิถีชีวิตในเชิงลึก ทั้งเสียสละเวลา ทั้งเสียสละวิถีชีวิตทั้งชีวิต เพื่อ ศึกษาค้นหา ความเร้นลับของชีวิตอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสว่า ชีวิตของเรามันไม่มีความเที่ยง เมื่อ ไม่มีความเที่ยงแล้ว ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า มันสั้น มันกระชั้นสั้น จนไม่สามารถ คาดเดาได้ว่า นาทีต่อไป วินาทีต่อไป หรือ ชั่วโมงต่อไป ความตายจะเกิดขึ้นแก่เราหรือไม่ ในขณะที่ชีวิต กระชั้นสั้นถึงขนาดนั้น มิหนำ�ซ้ำ�มันยังแปรปรวนเสียอีก ขนาดว่ามันสั้นยังไม่พอ ยังแปรปรวนและบิดเบี้ยว ผิดรูป เราสามารถเห็นได้จากวิถีชีวิตประจำ�วันของเราในแต่ละวัน ๆ มีเรื่องมากมาย ที่เปลี่ยนแปลง และ แปรผันอยู่ตลอด ในขณะที่ตอนกลางคืน เรานอนหลับ ฝันอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา เราก็มีเรื่องใหม่ให้ คิดอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่เราเตรียมตัวจะทำ�อีกเรื่องหนึ่ง พอเวลาผ่านไปเพียงแค่ไม่กี่นาทีสิ่งที่เราเตรียมตัวจะทำ�นั้นก็ยังเปลี่ยนผันได้ เห็นรึยังว่า ในขณะที่ ชีวิตกระชั้นสั้นนั้น ยังมีความแปรปรวนและยังมีความแปรผันอยู่เรื่อยๆพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าชีวิตนี้เป็น ของไม่เที่ยง เป็นของที่เข้าใจได้ยาก มันเข้าใจได้ยากเพราะเราไม่เคยตั้งใจทำ�ความเข้าใจกับมันจริง ๆ สัก ครั้ง และโอกาสในการที่จะทำ�ความเข้าใจกับชีวิตอย่างจดจ่อ ก็น้อยเกินไป หลายคนต่อหลายคน ที่ใช้ชีวิต อยู่ในปัจจุบันนี้ ต่างมีวัตถุเรื่องราวที่ร้อยรัดตัวเองไว้ ในขณะเดียวกันเราเรียกสิ่งที่ร้อยรัดนั้นไว้ว่า ภาระ หน้าที่ หรือ สิ่งที่เราต้องรับผิดชอบ เคยสังเกตบ้างไหม ไม่ว่าเราจะพยายามรับผิดชอบต่อหน้าที่นั้นมาก น้อยแค่ไหนก็ตาม แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็จะได้บทสรุปเหมือนๆ กันว่า “ยังทำ�ได้ไม่ดีพอ” ในขณะเดียวกัน ความตั้งใจที่จะศึกษาและทำ�ความเข้าใจกับชีวิตในเชิงลึกนี้ก็ผ่านพ้นไปแล้ว

สำ�หรับผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ในพระศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า อาศัยการจดจ่อกับวิถีชีวิต อาศัยความเพียร อาศัยความอดทน อาศัยความตั้งมั่น อาศัยทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะทำ�ความ เข้าใจกับชีวิตในเชิงลึก เพื่อที่จะหลุดพ้น ออกจากความไม่แน่นอน ออกจากความไม่เที่ยงของสังสารวัฎ พระภิกษุสามเณรและนักปฏิบัติส่วนมาก จึงหวงแหน ความสงัด ความวิเวก หรือสภาวะที่ทำ�ให้จิตเกิด ความสงบ สภาวะที่ทำ�ให้จิตวิญญาณเข้าถึงความสงบสงัด เหมือนกันกับที่พวกเราจากบ้าน จากครอบครัว จากหน้าที่การงาน จากหลายสิ่งหลายอย่างมา แต่แท้ที่จริงเมื่อคิดในเชิงลึกแล้ว เราก็เพียงจากความ วุ่นวายที่เราเป็นอยู่ซำ�้ๆซากๆจำ�เจอยู่แต่ละวัน มาเพื่อค้นหาความสงบ ความสงัด ความวิเวก มาเพื่อค้นหา ปรมัตถ์ ความจริงในพระสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ในหลักการที่ว่า




คนประกอบกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเชื่อว่าย่อมได้รับผลตอบแทนแห่งกรรมนั้น ๆ หลายคนก็มัก มีข้ออ้างว่า เรามาทำ�บุญ ก็หวังว่า ประกอบบุญจะได้บุญเป็นเครื่องตอบแทน แต่แท้ที่จริงเราท่านทุกคน ก็เข้าใจกันอยู่แล้วว่าบุญคืออะไร ในขณะที่ทุกคนมา และในขณะที่ทุกคนกลับไป ก็ไม่เห็นใครจะหาภาชนะ หรือถุงกระสอบ มาเอาบุญกลับบ้านไปสักคน และก็ไม่เห็นใครจะขนบุญ ขนบารมีที่ไหนไปฝากใครต่อใคร ได้ เพราะบุญและบารมีนั้น เนื้อแท้ก็คือสิ่งที่เราเข้าใจโดยตัวของเราเอง เข้าใจในสิ่งที่เราเป็น เข้าใจในสิ่ง ที่เราแสวงหา เนื้อแท้ของมันก็คือ ความสงบ ความสงัด วิเวก เราแสวงหาช่วงจังหวะหนึ่งของชีวิต เพื่อ ที่จะทำ�การศึกษา ทำ�ความเข้าใจกับชีวิตในเชิงลึก แม้จะเป็นช่วงเวลากระชั้นสั้นเท่าไรก็แล้วแต่ แต่เราก็ไม่ อยากพลาดโอกาสในการที่จะทำ�ความเข้าใจกับวิถีชีวิตในเชิงลึกนี้ เหมือนกับที่อาตมากำ�ลังศึกษา ทำ�ความ เข้าใจกับชีวิตของตัวเอง แม้จะมีระยะเวลาไม่มากเท่าไร แต่นั่นก็ถือว่าเพียงพอที่ได้เกิดมาครั้งหนึ่ง และได้ ทำ�ความเข้าใจกับวิถีชีวิต อย่างน้อยเราก็ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น อย่างน้อยเราก็ยังได้ทำ�ความเข้าใจกับความ สงบ ความสงัด ความวิเวก ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ความสงบเกิดขึ้น ความสับสน ความว้าวุ่น ความหวาดกลัว ความหวาดระแวง ที่จู่โจม โถมทับหัวใจของเรา ก็หมดไป สิ้นไป ในขณะที่ความสงบ ความสงัด ความวิเวกเกิดขึ้น เราได้รับความผ่อน คลาย หัวใจของเราหลุดออกจากเครื่องร้อยรัดที่แบกรับไว้ตลอดชั่วชีวิตที่เกิดมา ก็เหมือนกับการที่เราได้ หลุดพ้นออกจากพันธนาการทั้งปวง บังเกิดความเป็นอิสระของจิตวิญญาณขึ้น เน้นให้รู้ถึงเนื้อแท้ว่า มีแต่ ความสงบ ความสงัด เท่านั้น ที่จะสามารถค้นหาความเร้นลับของวิถีชีวิต พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สังสารวัฏเป็นของที่หมุนวน เป็นของที่แปรผัน เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน บุคคล ใดเมื่อเข้าถึงธรรมที่ตถาคตได้ตรัสไว้แล้ว ตั้งใจโดยชอบ ทำ�ความเพียรอยู่ ไม่ย่อท้อ ศึกษาทำ�ความเข้าใจ ในวิถีแห่งจิต แห่งวิญญาณ เมื่อถึงเวลา จักหลุดพ้นออกไปจากห้วงสังสารวัฏ วัฏสงสารนี้ มีแต่ความสงบ เท่านั้นที่จะทำ�ให้สามารถหลุดพ้นออกไปจากห้วงสังสารวัฏทั้งปวงได้ หลายคนเวลามางานใส่บาตรออกนิโรธมักตั้งคำ�ถามอยู่เรื่อย ว่า “ทำ�บุญกับพระที่ออกนิโรธแล้วจะ ได้บุญเกิดขึ้นเป็นผลสำ�เร็จภายใน ๗ วัน หรือไม่” คนส่วนใหญ่มักมองจากผลของการประพฤติปฏิบัติของ ครูบาอาจารย์ หรือพระเถราจารย์ที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ จนลืมมองถึงศักยภาพของคนที่ทำ� ฉะนั้น ถ้าเราอยากประกอบบุญ ประกอบกุศล สั่งสมบุญญาบารมี เราต้องคำ�นึงถึงตัวของเราเองด้วย ว่าตัว เรามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะคนที่ได้รับก็ต้องเป็นคนที่ควรได้รับ มิใช่ว่าทุก ๆ คนจะได้รับ หากตั้ง ตนไว้ชอบแล้ว ทำ�ตนไว้ชอบแล้ว เหตุเป็นอย่างไร ผลก็เป็นเช่นนั้น เมื่อคนเตรียมภาชนะได้ดี ทำ�ภาชนะให้ สะอาด สำ�รวจดูภาชนะของตนว่าไม่รั่ว ไม่ซึม ก็สามารถรองรับซึ่งบุญกุศลบารมีได้ หากเราหันหลังกลับไป มองดู ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บุคคลผู้ได้กระทำ�กรรมอันดีงามไว้แล้ว ก็ได้ประสบพบเจอ ครูบาอาจารย์ พระเถราจารย์ ที่เข้านิโรธสมาบัติ ด้วยอาศัยบุญกุศลของเขาเหล่านั้นจึงยังให้ประสบพบเจอเนื้อนาบุญ ใน ขณะเดียวกัน ขั้นตอนในการที่เขาสั่งสมบุญ หรือ ประกอบบุญนั้นๆ ก็เป็นขั้นตอนที่น่านิยมยินดี เป็นขั้นตอน งดงาม


มีครั้งหนึ่ง หลวงปู่มหากัสสปะ เข้านิโรธ อยู่ในปัจจตชนบท ขณะออกนิโรธ ท่านก็รำ�พึงว่าบุญอัน นี้ กุศลอันนี้ จะเกิดขึ้นกับใครหนอ ในขณะเดียวกัน ศุภนิมิต อันเป็นมงคลก็บังเกิดขึ้น ท่านเห็นแสงโอภาส สว่างไสวบังเกิดขึ้นในเบื้องทิศตะวันออก ในขณะที่แสงโอภาสบังเกิดขึ้น ชั่วขณะหนึ่งก็หรี่ลง ชั่วขณะหนึ่ง ก็สว่างขึ้น ชั่วขณะหนึ่งก็หรี่ลง หลวงปู่มหากัสสปะก็อาศัยนิมิตที่เกิดขึ้นนั้น เที่ยวภิกขาจารไปในทิศตะวัน ออก ในขณะนั้นมีนางทาสีคนหนึ่ง นำ�แกะไปเลี้ยงอยู่ที่ริมตลิ่งแม่นำ�้ นางเป็นคนจน มีความทุกข์ยากลำ�บาก จึงได้มารับจ้างเลี้ยงแกะให้กับเศรษฐี โดยได้รับค่าจ้างเป็นเพียงแค่เศษข้าวฟ่างไม่กี่กำ� มือ สิ่งที่นางได้กระทำ�มาตลอดคือ เมื่อนางพบเจอผู้ใดก็แบ่งปันในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ เพียงน้อยนิดนั้น ให้แก่ผู้อื่นอยู่สมำ�่ เสมอด้วยจิตใจที่ เอื้อเฟื้อ แต่ด้วยกรรมที่เกิดขึ้น จึงยังให้บุญที่ สั่งสมเอาไว้นั้นยังไม่สุกงอมดี เมื่อวันหนึ่ง นางทาสีผู้นี้ ได้อาศัยข้าวฟ่างที่ตัวเองได้ รับเป็นค่าจ้างในการเลี้ยงแกะนั้น นำ�เอา ไปทำ�เป็นข้าวจี่ มัดไว้ในชายผ้าสำ�หรับไว้ กิน เมื่อยามไปเลี้ยงแกะ ขณะนั้นหลวงปู่


มหากัสสปะ ท่านก็เที่ยวภิกขาจารไป นางทาสีผู้นั้นมีความรู้สึกว่า “โอ้ นักบวชผู้นี้ เป็นผู้เที่ยวภิกขาจาร มี ศีลาจริยวัตร เหมาะสมแก่การให้ทาน ดูลักษณะ สงบ ระงับ จากอกุศลบาปทั้งปวง” เมื่อระลึกได้เพียงแค่ นั้น ก็ได้เอา ปั้นข้าวจี่ที่มีอยู่เพียงปั้นเดียวนั้น ถวายใส่บาตรให้กับพระมหากัสสปะ ด้วยอาศัยว่าบุญที่เกิดขึ้น นี้จะเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนไม่ให้ต้องทนทุกข์ต่อไปอีก นางมีความเชื่อว่า แม้เราทานข้าวจี่ปั้นนี้ลงไป ก็หาได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตนเป็นอยู่ไม่ แม้กินอีก ๑๐ วัน แม้กินอีก ๑๐ เดือน แม้กินอีก ๑๐ ปี ก็หาได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพที่เป็นอยู่นี้ไม่ แต่ด้วยจิตอันเป็น มงคล ด้วยใจอันเป็นกุศล ในการเอื้อเฟื้อสมณะ ผู้เที่ยวภิกขาจาร ได้ประกอบวัตรเช้าอันเหมาะสม ยังให้ ภารกิจนั้นลุล่วง เพียงหวังบุญอันน้อยนิด ไม่ได้คาดหวังบุญอันยิ่งใหญ่ใด ก็ด้วยวางจิตวางใจเหมาะสม วาง จิตวางใจเป็นกลาง ไม่ได้ทะเยอทะยานในบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ เกินไปกว่าสิ่งที่ตนกระทำ� เค้าเรียกว่า ดินดี นาดี ก็ต้องอาศัย เมล็ดข้าว พันธุ์ข้าวที่ดีเช่นเดียวกัน นานั้นจึงจะได้รวงข้าวหรือกอข้าวที่งดงาม ทั้งเหตุ และผลมันพ้องกัน บุญกุศลเมื่อเกิดขึ้น บารมีเมื่อเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ บริบูรณ์ ไม่มากเกินไป ไม่ น้อยเกินไป นั่นเป็นสิ่งที่เห็นชัดเจนได้ว่า ความสำ�คัญไม่ได้อยู่ที่ว่าพระท่านเข้านิโรธ ออกนิโรธแล้วใส่บาตร บุญกุศลจึงเกิด ก็หาเป็นเช่น นั้นไม่ ต้องอาศัยเราท่านทั้งหลายด้วย เป็นข้าวกล้า หวังหว่านลงในเนื้อนาบุญของครูบาอาจารย์ ฝากฝัง บารมีทานเอาไว้ เป็นเสบียง เมื่อยามที่ประพฤติ ปฏิบัติ บำ�เพ็ญ ก่อนที่ก้าวย่างเข้าสู่พระนฤพาน หวังได้ เสบียงเหล่านั้นเลี้ยงตัว หวังได้เสบียงเหล่านั้นเจือจุน สั่งสม บุญกุศลต่อไป ไม่ได้คาดหวังว่าสิ่งที่ตนกระทำ� จะมีพลานิสงส์มากน้อยเพียงใด ฉะนั้นเราท่านทั้งหลายจงพากันยังใจ ยังจิตของเราเปรียบเป็นเหมือนกับ นางทาสีผู้นั้น คือ หวังบุญจากสิ่งที่ตัวเองทำ� หวังบารมีในสิ่งที่ตัวเองสร้าง มองเห็นสิ่งที่ตัวเองกระทำ� ให้พอดีกับสิ่งที่ตนควรได้รับ จึงจะเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า “สมดุล” ภาษา วิทยาศาสตร์เรียกว่า “เสถียร”


ฉะนั้นขั้วบวกก็ต้องเป็นขั้วบวกที่เสถียร จึงประกอบบุญกุศลเป็นมรรคเป็นผลได้ เราทุกคนเดิน ทางไกลมาประกอบบุญกุศล อาศัยแค่ความอยากอย่างเดียวมันไม่พอ ต้องอาศัยความจริงด้วย ความจริงที่แท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราอาศัยความสงบ ความสงัด วิเวก ของกาย ของวาจา ของใจ เป็นเครื่องรองรับซึ่งบุญกุศล เราทั้งหลายได้เสียเวลาเดินทางไกล เสียสละทรัพย์ เสียสละเวลา เสีย สละหน้าที่ เสียสละสิ่งที่ตนรับผิดชอบมากมาย มาถึงที่นี่ ต้องอาศัยการสำ�รวมระมัดระวังของกาย ของวาจา ของใจ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณให้เข้าถึงซึ่งบุญกุศลบารมี ฉะนั้นท่านทั้งหลาย โปรด ตั้งจิตตั้งใจ และทำ�ความเข้าใจว่า การประกอบบุญ หรือ การสั่งสมบุญญาบารมี ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่ต้องหวังถึงขนาดว่าต้องได้มรรคหรือผล อย่าหวังในสิ่งที่เยอะ เกินจากสิ่งที่ตนเป็น ทำ�ความเข้าใจกับสิ่งที่ตนเป็น อธิษฐานในสิ่งที่ตัวเอง ควรจะได้ เพื่อให้บุญกุศลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ เพียงพอ และพอเพียงสำ�หรับทั้งเราและ ทั้งท่าน อย่าเป็นเหมือนคนอื่น ที่เที่ยว แสวงหาในสิ่งที่ตนไม่มี ในสิ่งที่ตนไม่ ได้กระทำ�ไว้ เพราะนั่นก็ไม่ต่างอะไร


จากคนที่มีสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว แต่เที่ยวไปเสาะแสวงหา ถามว่า สิ่งนั้น สิ่งนั้นมีมั้ย สิ่งนี้ สิ่งนี้มีมั้ยในที่อื่น เพราะแต่ละท่าน แต่ละคนที่มา ณ สถานที่แห่งนี้ ล้วนแล้วแต่ประกอบไปด้วยจิตวิญญาณอันใสสะอาด เป็นจิตวิญญาณที่พอเหมาะในการที่จะประกอบบุญกุศล ไม่ได้ขาดหรือไม่ได้เกินมากเกินไป แม้ว่าคนบางคน หรือ หลายคนที่ยังทำ�ไม่ได้ ซึ่งเป็นส่วนน้อย ต้องพยายาม คนเราต้องสั่งสม บุญกุศล ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ของชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือในช่วงระยะเวลานี้ ขณะนี้ ให้ได้มากที่สุด ประ คับประคองตัวตน จิตวิญญาณของตนเพื่อเป็นเครื่องรองรับบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ อย่าได้สูญเสียเวลา โอกาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งๆ ที่เรารู้อยู่แล้วว่า ชีวิตนั้นกระชั้นสั้นแค่ไหน ให้ระลึกเพียงแค่ว่า ใน ยามนี้ ในยามนี้ ขณะนี้ ขณะนี้ เป็นช่วงหนึ่งของชีวิตที่เราสามารถจะได้ทำ�ทุกสิ่งทุกอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะ เป็นการสั่งสมบุญกุศลใด ๆ ก็แล้วแต่ ตั้งแต่เริ่มจากการสวดมนต์ ไหว้พระ แผ่เมตตา ตั้งสัจจะอธิษฐาน กำ�หนดสมาธิ ล้วนแล้วแต่เป็นการประกอบบุญกุศลของเรา จะเกิดผลานุภาพมากน้อยแค่ไหน เกิด ผลานิสงส์มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับพวกเรา ในการที่จะต่อเติมเสริมแต่งให้สมบูรณ์ บริบูรณ์พร้อม มูลได้ เพราะไม่รู้ว่า วันพรุ่งนี้จะมีอยู่สำ�หรับเราหรือไม่ และไม่มีใครมั่นใจว่า ในวันต่อ ๆ ไป เราจะได้ใช้ ชีวิตอย่างนี้ต่อไป แต่ละคนก็ไม่มั่นใจว่าจะตายเมื่อไหร่ ก็ได้อาศัยแต่เวลายามนี้ขณะนี้เท่านั้น ที่ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ตน กระทำ� ในเป้าหมายที่ตนกระทำ� เหมือนกับที่อาตมา ตั้งใจที่จะประพฤติ ปฏิบัติ รักษาขอบเขต สมาธิ จิตวิญญาณของตน ตั้งมั่น ดำ�รงสภาวะ เพื่อค้นหาแนวทางในการหลุดพ้นไป จากเครื่องร้อยรัดทั้ง ปวง แม้จะรู้ว่า ช่วงระยะเวลาในการประพฤติปฏิบัติจะไม่มาก แต่อย่างน้อย เราก็รู้ว่าสิ่งที่เรากระทำ� นั้น มีค่ามากน้อยแค่ไหน และเราก็ได้ทุ่มเท เสียสละอย่างเต็มที่ในการที่จะทำ�สิ่งนั้น ฉะนั้นพวกเราทั้ง หลายที่มาร่วมบุญกุศล สั่งสมบุญญาบารมีร่วมกัน ณ สถานที่แห่งนี้ พึงระลึกอยู่เสมอว่า ควรเตรียมตัว เตรียมใจ ในการประกอบบุญกุศลอย่างเต็มที่ ไม่เสียโอกาส ในการที่เรา เสียสละเวลา มาจากบ้าน จาก เรือน สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือความตั้งใจจริง เพราะว่าความตั้งใจจริงเท่านั้นที่ทำ�ให้เกิดบุญกุศล ที่ทำ�ให้เกิด การสั่งสม ก็สามารถอาศัยการสั่งสมนั้นเกิดเป็นผลสำ�เร็จของการบรรลุ มรรคผลนิพพานได้


เตือนตน เกิดมาครั้งหนึ่ง เราไม่ได้มีเวลามากมายเยอะแยะหรอก ชีวิตของคนบางคน ถ้าเขารู้จุดจบของชีวิต ว่าเป็นยังไง เชื่อว่าหลายคนจะลุกมาทำ�อะไรดี ๆ เยอะแยะเลย แต่ปัญหาก็คือ เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น บ้าง และเมื่อเราลองมาคิดดูแล้ว ตลอดระยะเวลาหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา เราทำ�อะไรดี ๆ เยอะ แต่เราก็ทำ� อะไรไม่ดีเยอะเหมือนกัน จนกระทั่งในตอนนี้เราก็ยังไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตของเราได้ ถ้าเรารู้แล้วไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แก้ไข นั่นก็ไม่ต่างอะไรกับการนอนหลับ ตื่นมา ก็เป็นแค่ฝันไป แล้วชีวิตหนึ่ง ที่ผ่านไป เป็นเพียงแค่การเพิ่มปริมาณน้ำ�ตาแห่งความทุกข์ในโลก ก็เท่านั้นเอง การมองคนให้เป็นคนนั้น ค่อนข้างจะลำ�บาก แต่ต้องทำ�ความเข้าใจกับสภาพของเขา สถานการณ์ ของเขา บางเรื่องก็ขึ้นอยู่กับความคิด หรือ สำ�นึกของเราเหมือนกัน การมองผลประโยชน์ เรามักจะมองผู้ อื่นในแง่ลบ หรือเรียกว่า การมองแบบเข้าข้างตนเอง นี่เป็นสิ่งที่ทำ�ให้เรามองเห็นเลยว่า สังคมปัจจุบัน บีบ บังคับคน จึงทำ�ให้ไร้จิตสำ�นึก อาจจะเป็นเพราะ สภาวะที่สังคมเจริญเร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น จึงทำ�ให้คน รีบ คร่ำ�เคร่งกับเวลา จนลืมทำ�ความเข้าใจกับตนเองว่า ตอนที่เราคิดเป็นใหม่ ๆ นั้น เราคิดอย่างไร เริ่ม ต้นอย่างไร เราลืมจุดยืนของเรา คือทำ�ตามที่สังคมตั้งกติกา ฉะนั้นคนจึงมองไม่เห็นตัวเอง จนในที่สุดอาจ กลายเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งก็ได้ สัตว์หรือเดรัจฉานหรือคนที่เรียกว่าอยู่ในสังคมชั้นสูงคอยตั้งกติกา หรือเรียก ง่าย ๆ ว่ามาบังคับเรา ดั้งนั้นเราเกิดมาเป็นคนแล้ว เราต้องหาจุดยืนให้พบว่า เราอยู่ตรงไหนของโลก เรา อยู่ตรงไหนของใจ สิ่งที่ทำ�ลงไปแล้ว ไม่สามารถเรียกคืนมาได้ ในขณะนี้อาจจะไม่หลวมตัวเข้าไปมาก ใน ตอนต้ น ความคิดเป็นอย่างไร ในท่ามกลางความคิดเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อใกล้ ถึงที่สุดแล้ว ควรพิจารณาให้ถึงที่สุด ไม่เช่นนั้นแล้วจะ เรียกคนว่าอะไร หรือจะเป็นเพียงแค่คำ�สมมติขึ้น มา จงทำ�คนให้เป็นคนโดยจิตสำ�นึก เกิดมาแล้ว อย่าให้เสียประโยชน์โดยเปล่า




โง่ โง่ โง่เป็นปกติ ในโลกนี้ ไม่มีใครที่เกิดมาแล้ว ฉลาดทันที เพราะ ความฉลาดของคนเกิดจากความ สามารถในการเรียนรู้ และทำ�ความเข้าใจกับสภาพแวด ล้อม หากคนใดสามารถเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจ กับสภาพแวดล้อมได้มาก ก็จะฉลาดมาก ถ้าเราเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจกับสภาพแวด ล้อมได้เร็ว ก็จะ ฉลาดมากขึ้นไปอีก แต่คนเราถูกจำ�กัดด้วยอายุ ทำ�ให้เรามีเวลาในการเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจกับสภาพ แวดล้อมที่จำ�กัด

คนทุกคนอยากเป็นคนฉลาด ไม่มีใครอยากเป็นคนโง่ แต่เรื่องโง่ ๆ ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ ต้องการจะหลีกเลี่ยงเท่าใด ก็ยังยากที่จะหลีกหนีให้พ้น เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะว่า “ยิ่งเรารู้มากขึ้น ยิ่งเรา เข้าใจมากขึ้น เราก็จะพบความโง่เขลาของตัวเองมากขึ้น” จนรู้สึกว่า เราหลงทำ�อะไรโง่ ๆ อย่างนั้นมานาน แค่ไหน ทำ�ไมเราจึงเพิ่งจะรู้สึกตัว บางครั้งก็คิดว่า เราน่าจะทำ�อย่างโน้น น่าจะทำ�อย่างนี้ ไม่น่าทำ�เรื่อง โง่ๆ แบบนั้นเลย เราน่าจะคิดได้เร็วกว่านี้ ความโง่จึงเกิดขึ้นอย่างปกติ เป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติ ของมนุษย์ทุกผู้ทุกคน สิ่งที่สำ�คัญ ไม่ใช่การที่เรารู้ตัวว่าโง่ แต่คือ การเข้าใจว่าความโง่นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งนี้ต่างหากที่เป็นสิ่งที่สำ�คัญ เป็นทางออกไปสู่การรู้แจ้ง เป็นการยากอย่างยิ่งยวด ที่จะมีใครยอมรับพฤติกรรมของตัวเองว่า มีความโง่เกิดขึ้นเป็นปกติ เห็นว่าตัว เองนั้นได้ทำ�เรื่องโง่ ๆ อยู่เสมอ เพราะเมื่อเราหยุด แล้วคิดโดยใช้ปัญญา เราจึงจะเข้าใจ เมื่อเราทำ�ความ เข้าใจ โดยอาศัยความคิดที่เกิดจากปัญญานั้นเป็นพื้นฐานความกระจ่างแจ้งของจิตจักเกิดขึ้นเองและ เปลี่ยนแปลงจากปัญญาที่ต่ำ�ที่สุด ไปสู่ปัญญาที่สูงที่สุด คือความหลุดพ้น


ธรรมะบทพิเศษ : ธรรมจิตตาเซนจุล

ก่อนนอน ต้องทำ�อะไร ก่อนนอน ต้องนั่ง ก่อนนั่ง ต้องยืน ก่อนยืน ต้องเดิน ก่อนเดิน ต้องทำ�อะไร มีสติ มีสติ มีสติหน่อยสิ

ปลาอยู่ในนำ�้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าจะไปทางไหน แล้วคุณจะเป็นเหมือนปลา มองนาน ๆ จึงจะเห็น


จงพยายามทำ�จิตให้ปรกติ พยายามเห็นตัวเอง และทำ�ตัวเองให้เป็นปรกติ

การทำ�โดยคิดอย่างเดียว การทำ�โดยพูดอย่างเดียว การทำ�โดยมองดูอย่างเดียว การทำ�โดยฟังอย่างเดียว การทำ�โดยทำ�อย่างเดียว ทำ�อย่างไร จึงจะพอ

ของหนักควรวาง ทุกวันนี้ก็แบกอยู่แล้ว อย่าเพิ่มเลย ถ้าวาง จงวางให้หมด อย่าเสียดายเลย

คงไม่พอ คงไม่พอ คงไม่พอ คงไม่พอ คงไม่พอ


ธรรมะบทพิเศษ : ธรรมจิตตาเซนจุล กรรมของคนดี มีมาก กรรมของพระอริยสงฆ์ ยิ่งมีมาก แม้กรรมของพระพุทธเจ้า ก็มาก เหตุใดท่านทั้งหลายยังตำ�หนิตัวเองว่ามีกรรมมาก ปลงซะ

ประโยชน์อะไร เมื่อนกมองมนุษย์เดิน ประโยชน์อะไร เมื่อมนุษย์มองนกบิน จิตบิน หรือจิตเดิน ปฏิบัติให้ถึง จะรู้ซึ้งถึงคำ�ว่า “จิตว่าง”

รูปกับนามอะไรดีกว่า คิดดูสิ รูปกับนามอะไรสำ�คัญ คิดไม่ออก อย่าคิด เมื่อไม่คิด ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ ไม่แจ้ง เมื่อไม่แจ้ง ไม่ทุกข์ เมื่อไม่ทุกข์ ก็ไม่สุข


ระฆังกาย ระฆังวาจา ระฆังใจ ถ้าตี ระฆังไหนก็ดัง เมื่อดังก็เป็นทุกข์

จิตของเราเหมือนภาชนะใส่นำ�้ เราจะใส่นำ�้อะไรก็ได้ สีอะไรก็ได้ ต้องพิจารณา ถ้าไม่อยากให้ใส่ จงทุบมันให้แตก


ธรรมะบทพิเศษ : ธรรมจิตตาเซนจุล

การบวชใช่ที่บุญถึง หรือบุญไม่ถึง แต่อยู่ที่ใจ ใคร ๆ ก็พูดอย่างนี้ ใจถึง หรือใจไม่ถึง แล้วถ้าไม่มีใจก็ไม่ได้บวชนะสิ

การทำ�จิตให้ปกตินี้ ไม่ยาก เพียงแค่ทำ�ให้ทุกอย่างปกติ โดยปกติ ก็จะปกติเอง


การที่องค์แห่งจิตของเราจะเกิดขึ้นนั้น เรามองอยู่ที่ไหน มองที่จิต หรือมองที่องค์แห่งจิต ละซะ ละซะ ละซะ ไม่ใช่คาถาแต่เป็นคาถา การทำ�ให้ว่าง ต้องเปล่า ต้องไม่มี เสียงอะไรไม่เพราะเท่า เสียงของแม่ เสียงเพราะแท้ต้อง เสียงแห่งธรรมะ เสียงเพราะจริงจะต้อง เสียงแห่งจิตตะ เสียงเงียบสนิทจะต้อง เสียงแห่งพระนิพพาน

การสัมผัสรู้ถึงเหตุทั้งหลาย การสัมผัสรู้ถึงผลทั้งหลาย ต้องมองดูสภาวะ ความเที่ยงตรง ของความสมดุลของโลก และของจักรวาลด้วย จิตก็จะถึงคำ�ว่ามรรคาธรรมอย่างแท้จริง


ธรรมะบทพิเศษ : ธรรมจิตตาเซนจุล

บทแห่งจิต ผูกสติ บทแห่งสติ ผูกขันธ์ บทแห่งขันธ์ ผูกธาตุ บทแห่งธาตุ ผูกปัญญา บทแห่งปัญญา ผูกสมาธิ บทแห่งสมาธิ ผูกจิต ล้อรถจะไปทางไหน


ลมในอากาศ เอาใจยาก จะไปทางไหน จะอยู่นานสักแค่ไหน สักพัก กลับพัดไปทางอื่น โลกก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน เข้าใจหรือยัง

คนคิดมาก มากคิดคน คิดมากคน แล้วจะจนใจเอง ฉะนั้นแล้ว อย่าคิดมาก

พื้นของจิตเป็นพื้นสกปรก เมื่อรู้ควรชะล้างให้สะอาด อย่าหมักหมม เพิ่มเติม


ธรรมะบทพิเศษ : ธรรมจิตตาเซนจุล

ระฆังรูป ระฆังนาม ระฆังอวิชชา ระฆังนิวรณ์ ระฆังกิเลส ระฆังนี้สิต้องตี ถ้าตี ต้องตีให้ดัง ถ้าตี ต้องตีจนแตก การประพฤติปฏิบัตินั้น ผู้ปฏิบัติปรารถนาสิ่งใด รู้ชอบสิ่งใด มีใจอย่างไร เมื่อค้นพบตัวเองว่าคืออะไร เมื่อนั้นการปฏิบัติจึงจะเห็นผล

จิตของเราเป็นเช่นเดียวกับเปลวแสงแห่ง เทียน ลมพัดก็ปลิว ลมแรงก็ดับ ไม่มีลม มีแสงสว่าง ควรพิจารณาว่าจะให้สว่างหรือดับ


ลูก คือความรัก พ่อ คือความรัก แม่ คือความรัก ใครบ้าง ไม่เคยผ่าน ไม่เคยเป็น ชีวิตเป็นอย่างนี้ จงหยุดมัน


ขอเชิญติดตามข่าวสารของหลวงปู่ต้นบุญ กิจกรรมบุญต่างๆ ตารางกิจนิมนต์ และความคืบหน้าในการสร้าง พระพุทธปฎิมากร พระมหาธาตุเจดีย์ และถาวรวัตถุต่างๆ ได้จากเวป

http://www.watpatungkulachalermraj.com



นิทาน “อิติปิโส” มีพระอยู่ผู้หนึ่ง ท่านไปเดินธุดงค์ ท่านเก่งกัมมัฏฐาน ท่านศึกษาเล่าเรียนมา เก่งมาก ๆ เลย เป็นมหา อายุได้ ๓๐ กว่าปี จะเข้าไปปฏิบัติธรรมในป่า อยากจะเดินเที่ยวทำ�สมาธิในป่าดู อยากจะไปเดินธุดงค์ ก็เข้า ป่าไป เข้าไปลึก จนถึงกลางป่า ห่างไป ๆ ๆ ไม่มีบ้านเรือนคน ท่านคิดในใจ เราจะไปพักที่ไหนหนอ จากนั้นท่าน ก็เดินไป เดินไป ไปเจอถำ�้แห่งหนึ่ง ในถำ�้มีพระรูปหนึ่งอยู่ พระผู้เฒ่าอายุประมาณ ๗๐ ปี พระหนุ่มรูปนี้เอา ของไปวางไว้ข้าง ๆ แล้วเข้าไปกราบ ถามพระผู้เฒ่าว่า

พระหนุ่ม : หลวงพ่ออยู่ผู้เดียวหรือครับ พระผู้เฒ่า : อยู่ผู้เดียว อยู่นี่มา ๑๐ ปีแล้ว พระหนุ่ม : ผมอยากจะขอพักด้วย ผมไม่มีที่พัก พระผู้เฒ่า : ได้ ๆ ถำ�้ออกจะกว้างอยู่ เลือกเอา จะพักตรงไหน

กลางคืนก็ไม่ได้คุยกัน เร่งความเพียรของใครของมัน ทำ�สมาธิภาวนาไป พอเช้าตี ๕ พระหนุ่มก็ เตรียมตัวจะไปบิณฑบาต พระผู้เฒ่าเห็นเข้าก็พูดกับพระหนุ่ม พระผู้เฒ่า : ท่านจะไปไหน พระหนุ่ม : ผมว่าจะไปบิณฑบาตครับหลวงพ่อ พระผู้เฒ่า : โอย ผมมาอยู่นี่ ผมไม่ได้บิณฑบาตสักครั้ง พระหนุ่ม : แล้วหลวงพ่อเอาอะไรที่ไหนฉัน เมื่อไม่ได้บิณฑบาต พระผู้เฒ่า : ท่านรู้ไหม บ้านคนที่ใกล้ที่สุดน่ะ เดินจากนี่ไป จนเช้าอีกวันถึงจะเจอ มันไกล บิณฑบาตยังไง ถึงไปได้ จะไปยังไง พระหนุ่ม : หลวงพ่ออยู่ได้ยังไง พระผู้เฒ่า : ผมก็อยู่นี่ กินเผือก กินมันไป พระหนุ่ม : ไหนครับ ผมยังไม่เห็นมีสวนเผือก สวนมัน ปลูกไว้หรือครับ พระผู้เฒ่า : เปล่า ๆ ไม่ได้ปลูกไว้ พระหนุ่ม : แล้วทำ�ยังไงครับหลวงพ่อ พระผู้เฒ่า : มา ๆ ๆ ท่านก็ฉันเผือกมัน ด้วยกัน ฉันได้รึหรือเปล่า พระหนุ่ม : อะไรก็ได้ ขอให้มีฉัน

พระหนุ่มและพระผู้เฒ่า ก็เดินออกไป หน้าถำ�้พร้อมกัน


พระผู้เฒ่า : เอ้า เลือกเอา ชอบก้อนหินก้อนไหน เก็บมา ๆ ๆ

พระหนุ่มก็เก็บก้อนหินได้มา ๓-๔ ก้อน

พระหนุ่ม : เอ้า หลวงพ่อ นี่ครับก้อนหิน พระผู้เฒ่า : ผมจะเสกให้ เดี๋ยวมันก็จะเป็นเผือก เป็นมัน

พระผู้เฒ่าก็ท่องมนต์คาถา เป่าเพี้ยง

พระผู้เฒ่า : เอาไปท่าน ได้แล้ว ใช้ได้แล้ว

พระหนุ่มเกิดความอัศจรรย์ใจ เกิดมาไม่เคยเห็นสักครั้ง พระหนุ่ม : หลวงพ่อทำ�ยังไง ถึงทำ�ได้ พระผู้เฒ่า : อย่าถาม ๆ ผมก็มีแต่อันนี้ พอได้อยู่ ได้กินไป กินซะก่อน ฉันซะก่อน พระหนุ่มก็ฉันมันไป หัวนี้ก็หวาน หัวนั้นก็อร่อย กินนำ�้กินท่าไป ฉันเสร็จพอมีแรง ก็มานั่งคุยกัน พระหนุ่ม : หลวงพ่อ ผมถามจริง ๆ หลวงพ่อทำ�ได้ยังไง พระผู้เฒ่า : มันก็มีวิธีของมัน พระหนุ่ม : บอกผมหน่อยเถอะครับ ให้ผมได้เป็นลูกศิษย์หน่อยเถอะครับ บอกผมเถอะ เผื่อผมไปเดิน ธุดงค์ อยู่กลางดง กลางป่า ผมจะได้มีอะไรพอประทังชีวิต หลวงพ่อสอนผมหน่อยเถอะครับ พระผู้เฒ่า : เอาจริงหรือเปล่า ท่านมหา พระหนุ่ม : เอาจริงสิครับ พระผู้เฒ่า : อยากได้จริง ๆ ผมก็จะให้ เอ้า ตั้งใจฟัง ผมจะพูดให้ฟัง แล้วจำ�ให้ได้ พระหนุ่ม : ครับ ๆ ๆ เอาเลยครับ พระผู้เฒ่า : ให้พูด ๓ ครั้ง ตั้งจิตให้ดี ๆ ให้พูด ๓ ครั้งแล้วเป่าลงไป ถ้ามันใช้ได้ มันจะกลายเป็นเผือก เป็นมันเลย ฟังดี ๆ นะท่านมหา พระหนุ่ม : ว่ายังไงครับ หลวงพ่อ พระผู้เฒ่า : เอ้าฟัง “อิติปิโส ภควือ อิติปิโส ภควือ อิติปิโส ภควือ”


พระหนุ่ม : แค่นี้หรือครับ ใช้ได้อยู่จริงหรือครับ พระผู้เฒ่า : แค่นี้ละครับ ตั้งแต่ผมเรียนมา ก็ได้มาแค่นี้ อิติปิโส ภควือ พระหนุ่ม : มันใช่หรือครับ หลวงพ่อ ผมเรียนมาได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค มันไม่ใช่ “อิติปิโส ภควือ” ผมท่องหรือเจริญพระพุทธมนต์ ใช้แต่ “อิติปิโส ภควา” พระผู้เฒ่า : ผมเรียนมา ได้มาอย่างนี้ท่าน พระหนุ่ม : มันไม่ใช่ อิติปิโส ภควือ หลวงพ่อ มันต้องเป็น อิติปิโส ภควา เถียงกันไป เถียงกันมา จนหลวงพ่อเชื่อ พระผู้เฒ่า : จริงหรือท่านมหา ผมไม่ได้เรียนมา ช่วยบอกผมหน่อย ผมก็ว่า อิติปิโส ภควา มันไม่ใช่ อิ ติปิโส ภควือ พระหนุ่ม : ผมว่าอยู่ หลวงพ่อพูดไม่ถูก ตกกลางคืน ต่างคนก็ต่างพักจำ�วัด พอเช้ามา ก็เก็บหินมาพอเท่าที่จะฉัน พระผู้เฒ่า : เอ้า ท่านคอยดู พระหนุ่ม : อิติปิโส ภควา อิติปิโส ภควา อิติปิโส ภควา เพี้ยง ครานี้ ไม่เป็นเผือก เป็นมัน เป่ายังไงก็เป็นหินเหมือนเดิม พระผู้เฒ่าก็ทำ�ให้ดู พระผู้เฒ่า : อิติปิโส ภควา อิติปิโส ภควา อิติปิโส ภควา เพี้ยง ทำ�ยังไงก็ไม่เป็น ทำ�กี่ครั้งก็ไม่เป็น ตั้งแต่นั้นมาหลวงพ่อกับพระหนุ่มก็ไม่ลงรอยกันสักครั้ง ต่างคนก็ ต่างแยกหนีออกจากกัน ต่างคนต่างไป หนีออกจากกัน หลวงพ่อไปไหนต่อไหน มนต์ อิติปิโส ภควือ ก็ใช้ไม่ได้ อีก เสกก็ไม่ได้เป็นเผือก เป็นมัน ก็เป็นหินอยู่เหมือนเดิม มันเป็นคาถา มันเป็นแนวจิต มันไม่ผิด ไม่มีถูก มันจะเป็นภควือ ภควา ภควี อะไรก็ช่างหัวมันเถอะ ถ้ามันสวดแล้วเป็นเผือกเป็นมัน แต่ถ้าสวดแล้ว ไม่เป็นเผือก ไม่เป็นมันก็อย่าไปสวดมัน นี่แหละคือความเชื่อ ของคน มหาท่านเรียนมาได้มาอย่างหนึ่ง เรียนได้แต่ตัวหนังสือ แต่ยังไม่ได้เรียนรู้ปัญญาแห่งความเป็นจริง จิต สมาธิ ก็เลยยังไม่ได้เข้าถึงอย่างแท้จริง สวดไป เสกไป มันก็เลยเสกไม่ได้ นี่ล่ะ การถือ การยึดมั่นถือ มั่นในความเป็นจริง และการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เชื่อ ในสิ่งที่ศรัทธา ไม่เหมือนกัน ความเป็นจริงที่ปรากฏใน หนังสือก็คือ “อิติปิโส ภควา” แต่สิ่งที่ศรัทธาเลื่อมใส และสิ่งที่ทำ�ให้เชื่อ เชื่อมั่น ถือมั่น ตั้งมั่น ว่าสิ่งนี้เป็น สรณะ สิ่งนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐแล้ว ท่องออกมา มันก็เป็นเผือก เป็นมัน แน่แล้ว “อิติปิโส ภควือ” ได้ทันที มันไม่ได้เกี่ยวกันกับตัวหนังสือ แต่มันเกี่ยวกับความศรัทธา และความตั้งมั่นอย่างแท้จริง ให้ เราจำ�ไว้ การยึดมั่นถือมั่นในตัว ในตน สิ่งที่มันเป็นจริง เป็นจริงอยู่ แต่สิ่งที่ทำ�ให้เชื่อ และศรัทธาไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราเชื่อ และศรัทธา เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง บริสุทธิ์ที่สุด แต่ความเป็นจริงที่ตั้งอยู่ มั่นอยู่ ถืออยู่นั้น เราศรัทธาแค่ไหน เราเห็นอะไร เราได้อะไร และเป็นมรรค เป็นผลอย่างแท้จริงหรือเปล่านั่น ต้องใช้เวลาเป็น เครื่องพิสูจน์ และใช้การประพฤติ ปฏิบัติต่อไปเป็นเครื่องยืนยัน


นิทาน จากปู่ใหญ่ มีผู้ชายอยู่คนหนึ่ง เขาตั้งข้อสังเกตกับตัวเองทุก ๆ ครั้ง เวลาที่เขาเดินไปที่ไหน เวลาเขานั่งอยู่ที่ใด เขามักจะเห็นเงาของตัวเองอยู่เสมอ และทุก ๆ ครั้งก็เป็นอย่างนี้ เขามักจะเห็นเงาของตัวเองอยู่เสมอ วัน หนึ่งเขามาถามครูบาอาจารย์ว่าทำ�อย่างไรจึงจะทำ�ให้ไม่มีเงา เพราะแม้คนตายก็ยังมีเงา ถึงแม้เราจะไม่ดู เงาก็ยังมีอยู่ เพราะมันเป็นของที่มีอยู่ นอกจากจะอยู่ในที่มืดเท่านั้นเราจึงจะไม่เห็นเงา ยิ่งมืดเท่าไหร่ ก็ยิ่งไม่ เห็นเท่านั้น

คนเราต้องรู้จักที่จะมองผลให้เป็น เหมือนกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไร มากมาย เพียงให้เอาผลของความทุกข์นั้นมาเป็นเครื่องพิจารณา เอาความทุกข์นั้นมาทำ�ความเข้าใจ เมื่อถึง เวลาก็ไม่จำ�เป็นต้องเดินหนีมัน เพียงสักแต่ว่าทำ�ความเข้าใจกับมัน อยู่กับมันให้เป็น แค่นั้นก็เพียงพอ ซึ่งแตก ต่างกับคนที่แสวงหาความสุขอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มีชีวิตอยู่เพียงเพื่อแสวงหาความสุข ความสมบูรณ์พร้อม เพราะเข้าใจว่าความสมบูรณ์พร้อมนั้นคือความพอเพียง ความพอดีของชีวิต รู้มั้ยว่า ตลอดระยะเวลาของ คนแต่ละคนตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยรู้จักคำ�ว่าพอเพียงสักครั้งเลย ไม่ว่าเราแสวงหา ความพอดี ความพอเพียง มากสักเท่าไรก็แล้วแต่ เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง เรามักคิดอยู่เสมอว่า สิ่งที่ตนมีนั้นยังไม่พอเพียงอยู่รำ�่ ไป ไม่ว่าเรา จะมีมากสักเพียงไร ไม่ว่าเราจะมีน้อยแค่ไหน แต่ความพอเพียงนั้น ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ฉะนั้นความพอดี และ ความพอเพียงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราทำ�ความเข้าใจกับชีวิตอย่างจดจ่อ ทำ�ความเข้าใจว่าสิ่งที่เราแสวงหาใน ชีวิตนี้คืออะไรกันแน่ เปรียบเสมือนกับที่เราแสวงหาความสมดุลของชีวิต หาวิธีว่าทำ�อย่างไรจึงจะไม่ทุกข์ เรามักจะตอบ ว่า ต้องมีความสุขเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมุ่งแสวงหาความสุขอยู่ ทำ�ไมลึก ๆ ในใจความทุกข์จึงมี มากขึ้น มากขึ้น เป็นเพราะว่าเราแสวงหาความสุขน้อยเกินไปหรือเปล่า ความทุกข์จึงมีมากขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แท้จริงแล้วก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเราไม่ได้ทำ�ความเข้าใจกับความสมดุลนั้นอย่างจริงจัง ในขณะที่เราเพียร แสวงหาความสุขได้ ทำ�ไมเราไม่แสวงหาความสมดุล และหวังว่า สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ ทุกข์ก็ได้ สุขก็ได้ หรือให้ เราทำ�ความเข้าใจกับทุกข์ให้เป็น หรือ ให้เราทำ�ความเข้าใจกับสุขให้เป็น

ในการที่เราทำ�ความเข้าใจกับทุกข์หรือสุขให้เป็นได้ ต้องอาศัยจิตปัญญาเท่านั้น

คนแต่ละคนขาดความเพียรในการที่จะค้นหา เพราะรังเกียจการรอคอย เหมือนเวลาที่เรานั่งสมาธิ เหมือนเวลาที่เราตั้งใจที่จะค้นหาอะไรบางสิ่งบางอย่าง เรามักเจออุปสรรคสำ�คัญเสมอ อุปสรรคต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นจากการจดจ่อ ในการที่จะทำ�ความเข้าใจกับตัวตนของเราคืออะไร รู้มั้ย สังเกตมั้ยเวลาที่เราจะทำ� อะไรจริง ๆ จัง ๆ มักมีอุปสรรคเสมอ เวลาที่จะประกอบบุญกุศลอะไรพอที่จะเป็นมรรคเป็นผล ก็มักมี อุปสรรคเสมอ เวลาที่จะตั้งใจทำ�ความเข้าใจกับชีวิตนี้อย่างจริงจังก็มักมีอุปสรรคเสมอ รู้มั้ยว่าอุปสรรคนั้นคืออะไร สิ่งที่ทำ�ให้ไม่ประสบความสำ�เร็จ ในการที่จะประกอบบุญกุศลอะไรก็แล้ว แต่ อุปสรรคส่วนมากคือการ “คิดคำ�นึงมากเกินไป” คนมักคิดคำ�นึงระหว่างผลได้กับผลเสียว่า คุ้มหรือไม่คุ้ม จากสิ่งที่ตนกระทำ� บางคนบอกว่าเป็นเพราะความขี้เกียจ ถ้าเป็นเพราะความขี้เกียจ แล้วทำ�ไมให้ไปแบกกระสอบข้าวยังแบกได้ทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่หนัก เหนื่อย ทำ�ไมสามารถที่จะทำ�นา เกี่ยวข้าว ดำ�นา ทำ�งานหามรุ่งหามคำ�่ หรือทำ�อะไรต่าง ๆ นานา ทำ�ในสิ่งที่ตัวเอง อยากทำ� ทำ�ไมยังสามารถทำ�ได้


ฉะนั้นอุปสรรคที่ทำ�ให้ไม่ประสบความสำ�เร็จในการที่จะทำ�อะไรก็คือการครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสีย เพราะผลได้กับผลเสียมักอยู่กำ�้กึ่ง เหมือนทางแยก ขณะที่คนเราตั้งใจทำ�อะไรบางสิ่งบางอย่าง มักครุ่นคิด คำ�นึงถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่ตนกระทำ� จนท้ายที่สุดไม่ว่าจะได้หรือเสีย ก็เปล่าประโยชน์ ไม่ว่า จะกระทำ�หรือไม่กระทำ� เพียงแค่ครุ่นคิดเฉย ๆ ก็ถือว่าเปล่าประโยชน์ เพราะเราได้เอาเวลาที่มีค่าของเรา มาใช้ในการครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสีย เหมือนกับหลาย ๆ คนที่คิดว่าอยากจะมาที่นี่ ถ้าเมื่อไหร่ตั้งใจจะมา ก็มักคิดเสมอว่า คุ้ม หรือ ไม่คุ้มที่จะมา เพราะครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่ตนกระทำ� เมื่อไรที่เรายืนอยู่ระหว่างผลได้กับผลเสียที่จะเกิดขึ้น สภาวะจิตก็จะเพิ่มความซับซ้อน และก็ถูกการครุ่นคิด คำ�นึงถึงผลได้ผลเสียถมทับจนเต็ม เป็นการสร้างพันธนาการจิตวิญญาณเอาไว้ จนไม่สามารถที่จะปลดปล่อย จิตวิญญาณ ออกจากเครื่องร้อยรัดทั้งหลายได้ เปรียบเสมือนกับวัตถุที่ถูกเติมเต็ม ไม่สามารถยัดเยียดเอา สิ่งอื่นเข้าไปได้ เราไม่จำ�เป็นต้องคิดอะไรมากมาย ไม่ต้องคิดว่าได้ หรือคิดว่าเสีย แต่คิดว่าให้เราทำ�ให้ได้มากที่สุด เท่าที่เราจะทำ�ได้ แค่นี้อุปสรรคทั้งหมดทั้งปวง ก็จะไม่เกิดขึ้น เขาเรียกว่า “ได้ แต่ต้องลงมือทำ�” ลงมือ ทำ�โดยไม่ต้องครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้น บุญเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ บารมีเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะเป็นบารมีที่ยิ่งใหญ่ แม้แต่การลงมือในการนั่งสมาธิ ภาวนาเพียงแค่นาที หรือ สองนาที ก็อาจจะเกินคุ้ม ถ้าเราไม่จำ�เป็นต้องเสียเวลาไปนั่งครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสีย เอาเวลาทั้งหมดที่ จะไปครุ่นคิดว่าเป็นผลได้ผลเสีย เอามาทุ่มเทและเสียสละกับช่วงเวลาสั้น ๆ ในการที่จะประกอบบุญกุศลจะ ไม่ดีกว่าหรือ ฉะนั้นวันนี้ขอให้พวกเราตั้งใจให้ดี ตั้งใจให้มั่น ทำ�ความเข้าใจกับหลักการเบื้องต้นในการที่จะประกอบ บุญ ให้ได้บุญ ประกอบกุศล ให้ได้กุศล วางจิตวางใจเป็น วางจิตวางใจได้ มรรคผลก็เกิดขึ้น อย่าเสียเวลา กับการครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประกอบบุญกุศลเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึง การสั่งสมบุญขนาดใหญ่แค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นห่วงโซ่ที่สำ�คัญที่สุดที่จะเป็นอุปสรรค เป็นเครื่องกั้น ทำ�ให้เรา ไม่สามารถที่จะได้บุญได้กุศล หรือทำ�ให้เราไม่สามารถประกอบบุญกุศลอะไรได้ ห่วงโซ่ที่สำ�คัญนั้นก็คือ การ ครุ่นคิดคำ�นึงมากเกินไป ถ้าเมื่อไหร่ที่เราสามารถปลดวิถีชีวิตของเราออกจากการครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผล เสียแล้ว จากนั้นเพียงแค่ตั้งใจ เหมือนกับอินทรียสังวรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อินทรีย์ทั้ง ๕ อย่าง นั่นก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็คือความตั้งมั่น หรือ ความแน่วแน่ที่จะมุ่งไปข้างหน้า โดยไม่เสียเวลากับ การครุ่นคิดคำ�นึงถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้น ศรัทธาก็เป็นศรัทธาที่มุ่งไป โดยไม่จำ�แนกแยกแยะว่าเป็นผลที่ จะได้หรือว่าเป็นผลที่จะเสีย เช่นเดียวกัน ความเพียรที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทุกเมื่อเชื่อวัน ในการที่ประคับ ประคอง ให้เราได้สั่งสมบุญกุศลบารมี โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปครุ่นคิดว่า สิ่งที่เราเพียรทำ�อยู่นี้เป็นผลได้ หรือผลเสีย เพียงแค่มุ่งที่จะกระทำ� เหมือนกันกับสติ สมาธิ ในท้ายที่สุด จบลงที่ปัญญา เมื่อเราสามารถปลด ห่วงโซ่เหล่านี้ออกจากจิตวิญญาณของเราได้แล้ว จิตวิญญาณของเราจะเกิดความเป็นอิสระ ไม่ถูกถาโถม ไม่ ถูกถมทับด้วยเครื่องร้อยรัดใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่ได้คำ�นึงถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้น เพียงแค่มุ่งที่จะกระทำ� โดยมีเป้าหมาย โดยมีอุดมการณ์ที่วางไว้เฉพาะข้างหน้า เมื่อนั้น ไม่มีอะไรที่จะไม่สำ�เร็จ และผลสำ�เร็จที่เกิด ขึ้น ไม่ใช่ผลได้หรือผลเสีย แต่เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ�นั้นเอง


สำ�หรับวันนี้ก็ถือว่า พอดีและก็เพียงพอสำ�หรับการฟังเทศน์เพื่อเป็นเครื่องบำ�รุงจิต บำ�รุงใจ ประกอบ คุณลักษณะของจิตของใจให้สามารถเข้าถึงซึ่งพระสัจธรรมขอพระพุทธเจ้าได้โดยง่าย ได้โดยเร็ว เพียงแค่ พวกเราทั้งหลายทั้งปวง ตั้งเป้าหมาย วางอุดมการณ์ของตัวเอง ภาษาพระ เรียกว่า “สร้างสภาวะ เน้นวิถี ปรมัตถ์ ก็เกิดขึ้น” สร้างสภาวะ ก็คือมุ่งเป้าโดยไม่จำ�เป็นต้องครุ่นคิดถึงเหตุปัจจัย มุ่งไปที่วิถีการประพฤติ ปฏิบัติอย่างเดียว เมื่อมุ่งไปสู่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ “กระทำ�ตนเป็นคนดี ทำ�จิตใจให้ผ่องใส ทำ�จิตใจให้ เบิกบาน” เมื่อมุ่งไปสู่วิถีแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้แล้ว ความสำ�เร็จก็เกิดขึ้น นั่นก็คือ ปรมัตถ์ ซึ่งเป็น ความ จริงที่แท้ ไม่ว่า ภพ หรือ ชาติ ก็ไม่สามารถซ่อนความจริงไว้ได้ เพราะ ปรมัตถ์อันนั้น เป็นเครื่องที่ยังให้เรา เข้าถึง ทะลุทะลวงให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้ ท้ายที่สุด ขออำ�นวยอวยพรให้ พวกเราทั้งหลายทุกผู้ทุกคนที่ได้มาร่วมสั่งสมบุญกุศลด้วยกันในวันนี้ จงเป็นผู้ที่ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เจริญในหลักธรรมคำ�สั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า เข้าถึงซึ่งพระสัจธรรม หลักธรรมอันดีงามที่ทำ�ให้เราหลุดพ้น ไปจากบ่วงแห่งสังสารวัฏนี้ ประสบแต่ ความเจริญในสติ และปัญญา เข้าถึงซึ่งความเป็นอนุตตระ เช่นเดียวกันกับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าได้เข้าถึงแล้ว ด้วยเดชแห่งบุญนี้เทอญ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ


เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๑๑-๑๓ ตลอดวัน ๑๓-๑๔ - ๑๕ ๑๙.๓๙น. ๑๖-๑๗ ตลอดวัน ๑๙ ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐น. ๒๕ ๑๐.๐๐น ๒๖ ตลอดวัน ๒๗ ๑๓.๐๐น. ๒๘ ๐๘.๓๐น.

อบรมนักเรียนโรงเรียนลำ�พลับพลาวิทยาคาร ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช เดินทางไปงานนิมนต์ผูกพัทสีมาพระอุโบสถ วัดศรีสว่างรัตนาราม บ.โนนม่วงโคกใหญ่ ต.จำ�ปี อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี นั่งอธิษฐานจิตวัดคลองมะเดื่อ ต.คลองมะเดื่อ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร รับสังฆทานญาติโยมร่วมทำ�บุญ ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. แสดงธรรม บ.โพนหิน ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ฉันเพล แสดงธรรม บ้านเลขที่ ๑๓ ซ.ลาซาน๓๒ บางนา กทม. แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. ประชุมมหาวิทยาลัยจันทร์เกษม ถ.รัชดา กทม. แสดงธรรมพุทธมณฑลสาย ๔ กทม.


เดือนมีนาคม ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๓-๔ ตลอดวัน ๖-๗ - ๙ ๐๙.๐๐น. ๑๐ ๐๘.๐๐น. ๑๑ ๑๙.๐๐น. ๑๒-๑๔ ตลอดวัน ๑๖ ตลอดวัน ๑๘-๒๓ ตลอดวัน ๒๐ - ๒๔-๒๗ - ๒๘ ๐๙.๐๐น.

ยกเครื่องขันบูชาธรรม วัดพระธาตุศรีจำ�ปามหารัตนาราม บ.คำ�นำ�้เย็น ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร ร่วมนั่งอธิฐานจิต งานปฏิบัติธรรมบูชาคุณแผ่นดิน ณ วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี แสดงธรรม วัดบ้านโพน ต.โพน อ.คำ�ม่วง จ.กาฬสินธุ์ ร่วมงานมุทิตาสักการะ ดร.พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธ) ณ วัดบึงพระลานชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด แสดงธรรม บ้านเลขที่ ๗๐ ม.๑ บ.ดงแคนใหญ่ ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำ�เขื่อนแก้ว จ.ยโสธร อบรมปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช งานทอดผ้าป่าเพื่อซื้อเครื่องปั่นไฟฟ้าถวายวัด ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ทำ�พิธีตัดกรรมประจำ�ปี ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช งานบวชชีพราหมณ์สวดพุทธาภิเษกพระสีวลี ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. แสดงธรรมบ้านเลขที่ ๕๖๐/๕ หมู่บ้านพิมายเมืองใหม่ หมู่๑๔ ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

เดือนเมษายน ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๕-๙ - ๒๓-๒๕ - ๓๐ -

งานทอดผ้าป่ามหาบารมีสามัคคีรวมใจ และถวายมุทิตาจิต หลวงปู่ต้นบุญ ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช อบรมปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐาน ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม.


เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๑-๔ - ๑๒-๑๖ - ๑๘-๒๕ -

แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. งานปฏิบัติธรรมเดินธุดงค์กัมมัฏฐานประจำ�ปี อบรมปฏิบัติธรรมญาติโยมหาดใหญ่และยะลา

เดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๕-๑๑ - ๑๘-๒๐ -

แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. อบรมปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐาน ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช

เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๓ ๐๙.๐๐น. ๑๓-๑๔ - ๑๕-๒๐ - ๒๓-๒๕ -

แสดงธรรมบ้านโยมแม่สุพิณ คุ้มปัว เคหะชุมชนนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เดินทางไปงานมุทิตาสักการะ พระอาจารย์กัณหา อ.วิหารแดง จ.สระบุรี แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. อบรมปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐาน ณ วัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช

เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๑๐-๑๒ - ๑๓ ๐๔.๐๐น. ๑๙-๒๓ - ๒๑ ๐๗.๐๐น.

งานปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน หลวงปู่เข้านิโรธ หลวงปู่ออกนิโรธ ออกรับบิณฑบาต แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. ฉันเช้าและแสดงธรรม ณ บ้านลานเสียงธรรม ถ.ลาดพร้าว ๗๑ ซอยนาคนิวาส ๔๐ กทม.


เดือนกันยายน ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๑๐-๑๒ - ๑๓ ๐๔.๐๐น. ๑๗-๒๑ -

งานปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน หลวงปู่เข้านิโรธ หลวงปู่ออกนิโรธ ออกรับบิณฑบาต แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม.

เดือนตุลาคม ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๗-๙ - ๑๐ ๐๔.๐๐น. ๑๔-๑๘ - ๓๐-๓๑ -

งานปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน หลวงปู่เข้านิโรธ หลวงปู่ออกนิโรธ ออกรับบิณฑบาต แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. งานกฐินประจำ�ปี ๒๕๕๓ ของวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช

เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๑๑-๑๕ - ๑๙-๒๑ -

แสดงธรรมโปรดญาติโยม ณ บ้านสาธุเจ้าต้นบุญ รามคำ�แหงซอย ๔ กทม. งานปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน

เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ วันที่ เวลา

กิจกรรมและสถานที่

๑-๕ ๑๐-๑๒ ๑๓-๒๐

งานบุญประทายข้าวเปลือกแข่งขันขับร้องสรภัญญะประจำ�ปี ๒๕๕๓ งานปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน อบรมปฏิบัติธรรมญาติโยมหาดใหญ่และยะลา

- - -


คณะผู้ดำ�เนินการฝ่ายสงฆ์ ประธานอำ�นวยการ

พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธ.) วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด รองประธานอำ�นวยการ

พระสุทธิสารโสภณ (ธ.) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด วัดมิ่งเมืองเสลภูมิ พระครูศรีวิริยโสภณ เจ้าคณะอำ�เภอเมืองร้อยเอ็ด วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ปรึกษาฝ่ายอำ�นวยการ

พระครูสิริรัตน์รักษ์ เจ้าคณะอำ�เภอเกษตรวิสัย วัดป่าบ้านสังข์ จังหวัดร้อยเอ็ด ประธานดำ�เนินงาน

พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกฺขปัญโญ (หลวงปู่ต้นบุญ) เจ้าอาวาสวัดป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช ที่ปรึกษาฝ่ายดำ�เนินงาน

พระครูวินัยธรสุริยันต์ โฆษปัญโญ วัดบูรพาเทพนิมิต จังหวัดกาฬสินธุ์ พระอาจารย์นิภา นิพาธโร วัดหนองพวงน้อย จังหวัดนครราชสีมา พระมหาภักดี มหัพพโล วัดสว่างวารี จังหวัดมหาสารคาม พระมหาสัญญาศรณ์ โสตถิวังโส วัดโพนทอง จังหวัด บุรีรัมย์

คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ต้นบุญร่วมจัดพิมพ์หนังสือ ประธานอำ�นวยการจัดพิมพ์หนังสือ

ม.ล. สุนทรานี ทองใหญ่ ดร.ประภา ภักดิ์โพธิ์ รศ. ดร. ศิวะศิษย์ ชำ�ชอง ที่ปรึกษาฝ่ายอำ�นวยการจัดพิมพ์หนังสือ

น.อ. พิเศษ อิทธิพล - คุณชุติมา เพ็ชรราม คุณธิตินันท์ - บุษบา ปาริฉัตรานนท์ คุณมีสันต์ – คุณกรรณิการ์ ทองตัน คุณนพเก้า โพธิ์พัฒนชัย คุณวิไล เพ็ชรตระกูล คุณย่าสุดใจ มากคช คุณมาลี สุวรรณรัชตมณี คุณอัญชลี มนาปี คุณปรีชา - คุณนุชนาฎ จันทร์พุ่ม คุณอภิญญา เวชพงศา คุณธาราดล โตศุกลวรรณ คุณวิรัช – คุณนิสา มังกรทอง ห.จ.ก. ชัยโทรทัศน์ (จังหวัดสุรินทร์) คุณฉัตรชนก ฤกษ์ปราณี ที่ปรึกษาฝ่ายดำ�เนินการจัดพิมพ์หนังสือ

คุณสมเกียรติ อุตมะ ดร. เทวุษย์ บริรักษ์สันติกุล คุณปริญญา นิยมศิลป์ คุณอรรถพล สำ�ราญพิศ คุณกรพชร - เสาวนีย์ สุขเสริม คุณอรุณพิมล บริบูรณ์ชัยศิริ คุณชิตนวัฒน์ ธวัชชัยนันท์ คุณกุลกนิษฐ์ คุณาธิกรกิจ เหรัญญิกในการจัดพิมพ์หนังสือ

คุณสุชญา ขาติสัมปันน์


ผู้รวบรวมเรียบเรียง

พระธีระพงษ์ ธีรปัญโญ ่ พระมหาภักดี มหัพพโล พระมหาสัญญาศรณ์ โสตถิวังโส คุณสิริวิมล จำ�ปาหล้า ว่าที่ร.ต.ศุภโชค ลิ่วสกุลรุ่งโรจน์ คุณหิรันญา แก้วรัตน์ คุณสุชญา ชาติสัมปันน์ กิตติยา เตชวิวรรธน์ พรเทพ วงศ์กระแสมงคล รัชสุรางค์ วงศ์กระแสมงคล พิสูจน์อักษร

สุชญา ชาติสัมปันน์ หิรันญา แก้วรัตน์ ศิลปกรรม

คุณเชิดวุฒิ สกลยา คุณปาณัสม์ อิสี

คุณงามทิพย์ ธาระพุธธิ คุณเมธี สอนวงษ์แก้ว คุณณัฐพรรษ ธนพลไพศาล คุณวสุ ฝันเซียน ออกแบบปกจัดทำ�รูปเล่ม คุณธนาวุฒิ เหลืองอ่อ


คณะกรรมการในการจัดพิมพ์หนังสือ คุณอัยเรศ มนาปี คุณสมเกียรติ สุขกำ�เนิด คุณสิริชัย สังวรชาติ คุณดาราภา ชูเชิด คุณพงศักดิ์ อารีมา คุณธาดา ภักดีเศรษฐกุล คุณบัญชา นำ�ศรีรัตน์ คุณวีระ – คุณธีวรา รัยสุวรรณสกุล คุณกฤษณ์ ประธานราษฎร์นิกร คุณสายไหม ตรังคานนท์ คุณณัฏฐา อึงสุวรรณชาติ คุณจินตนา จริงจิตร พ.ต.ท. อัคคภาคย์ จิตต์ประยูร พ.ต.ต.อำ�นาจ แก้วน่าน คุณนนทวรรณ โชติช่วง คุณศิวะโรจน์ ฬิลหาเวสส คุณจักรภพ เนื่องจำ�นงค์ คุณศุภวรรธ ทัพมานนท์ คุณสุรศักดิ์ โคตะมี คุณพรรทิภา โคตะมี คุณจันทร์เพ็ญ ศรีปทุมวงศ์ คุณสมพร ตากองแก้ว คุณปริญญา นุ่มนวล คุณศรัณย์ ตัณฑลีลา คุณพรภัสสร ทัพมานนท์ คุณสิริวิมล จำ�ปาหล้า คุณบุญพรหม พรหมสาขา ณ สกลนคร คุณมณีรัตน์ ชำ�นาญเอื้อ คุณอัญชลี พรหมสาขา ณ สกลนคร คุณทองยุ่น ดีรัตนพร คุณมุจรินทร์ ค้าผลดี คุณมัลลิกา พรหมสาขา ณ สกลนคร คุณทองปูน เดชวิทย์ คุณประเสริฐ ศุภชลานนท์ คุณสุวรรณา ศุภชลานนท์ คุณนาถน้อย มนัสไพบูลย์ คุณนพดล ศิริภูวณิชย์ คุณพจนีย์ สุขสถิต คุณนภารัตน์ สุนทรธรรมกุล ว่าที่ร.ต.ศุภโชค ลิ่วสกุลรุ่งโรจน์ คุณสันติรัฐ หาญกุล คุณเหมือนทอง ทาบุดา คุณนฤชา มหาเพชร คุณอัญญมณี ชัยสังข์ คุณสราวุธ พูลทรัพย์ คุณอ่อนจันทร์ วงศ์อินทร์อยู่ คุณธาสินันท์ ธาระพุทธิ คุณฉมามาศ ชัยสุวรรณ คุณพรพรหม ไชยพงษ์ คุณอุทัย เชี่ยวพานิชชยากุล คุณบุษกร วัฒนไวฑูรย์ชัย คุณสมหมาย เริงสำ�ราญ คุณพรเทพ วงศ์กระแสมงคล คุณกิตติยา เตชะวิวรรธน์ คุณนรุตม์ สินเจริญ คุณอิสราวดี สินเจริญ คุณนงนุช เวลลิ่ง คุณสมศักดิ์ ศรีธีรเดชสกุล คุณพีรพงศ์ มดยงค์ คุณเกศรินทร์ อินทร์กลับ คุณจิรภัทร ศรีไชยยันต์ คุณชนิกา รัสธรรม คุณอัครภาส์ ตาแก้ว คุณพรเอม กุลถาวรากร คุณกัญญาภัทร กุลถาวรากร คุณณรรถกฤษ จันทสังข์ คุณอัคภัทร์ ไชยยอง คุณภารดี สายสมบัติ คุณพรสุจิต ทรัพย์สมบูรณ์ คุณไมตรี, คุณพรทิพย์ นักธรรม คุณนุชชดา พูลทวี คุณอรทัย โม่มาลา คุณสมจิตร มณีวงศ์ คุณสะราวุธ บุญสุข คุณศุภวัลย์ ศรีสำ�ราญ คุณพ่อไพรินทร์คุณแม่สมจิตต์ แก้วรัตน์ คุณนัฐพร แก้วรัตน์ คุณสุพิชฌาย์ ผลประเสริฐ คุณเอื้อการย์ ผลประเสริฐ คุณปติมา แก้วรัตน์ คุณชาติศักดิ์ พัฒน์เผ่าพันธุ์ คุณชัยเดช แก้วรัตน์ คุณอุษา พิศิษฏพงศ์ คุณวรพงษ์ สอนสะอาด คุณพิจิตรา วิริยะเศวตกุล คุณจิรวุฒิ–คุณจงกชกร ชาติสัมปันน์ คุณพรชัย – คุณยุรีภรณ์ ชาติสัมปันน์ คุณจรัญญา อิสี คุณภัทรพล อิสี คุณอภิเชษฐ พันไพศาล ม.ล. จริยา สุขสวัสดิ์ คุณสาคร ก่อเกื้อ คุณบุญวิภา วงศา คุณทวี - คุณพัชรี ภู่สุวรรณ ร้านนำ�้พุ เพชรบ้านนา คุณโรจนินท์ - คุณณสิกาญจน์ กุลศิริธนวัฒน์ คุณบัญชา เทพฉิม คุณอรัญญา ปัตถา คุณคำ�กอง ตรีภพ คุณนงนภัส พรมกัณฑ์ คุณพงษ์เทพ พรมกัณฑ์ คุณลำ�พูน พรมกัณฑ์ คุณหนึ่งฤทัย พรมกัณฑ์ ด.ต.ไสว นางบุญเงิน ถิ่นแสนดี อาจารย์ษรชม เกษกรรณ์(หมอทีน) คุณชนัญญา เพียรเลี้ยง และ ชาวบ้านโพนตูมทุกคน คุณไพโรจน์ ดวงแจ่มกาญจน์



กราบขอขมาอย่างสูงมา ณ ที่นี้ ที่มีคำ�สกดผิด แก้ไขคำ�ผิด หน้า คำ�นำ� ๑๐ ๑๑ ๓๓ ๓๖ ๔๕ ๕๓ ๕๘ ๘๖ ๑๐๑ ๑๐๑ ๑๐๔ ๑๒๕ ๑๔๘ ๑๗๔ ๑๗๕ ๒๔๒ ๑๓๒

คำ�ผิด พลานิสงฆ์ พระพุทธศานา พระพุทธศานา ประดิษฐ์พระอุรังคธาตุ พาชนะ สภาวธรรม ชาตพันธ์ ก่อนประวัตศาสตร์ กัมมัฎฐาน พละวะ ธรรมะ ร่วมกัสร้าง สมุหทัย เครื่องยึดเหนียว พ.ศ.๒๕๕๑ พ.ศ.๒๕๕๑ ตุล่าคม ตุล่าคม

คำ�ที่ถูกต้อง ผลานิสงฆ์ พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา ประดิษฐ์ฐานพระอุรังคธาตุ ภาชนะ สภาวะธรรม ชาติพันธุ์ ก่อนประวัติศาสตร์ กรรมฐาน พลวะ ธรรมมะ ร่วมกันสร้าง สมุทัย เครื่องยึดเหนี่ยว พ.ศ.๒๕๕๓ พ.ศ.๒๕๕๓ ตุลาคม ตุลาคม

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ๑. บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาเกษตรวิสัย ชื่อบัญชี พระครูวินัยธรปริพัฒน์ ติกขปัญโญ หมายเลขบัญชี ๔๘๒ - ๐๕๘ – ๔๔๕ – ๘ ประเภทสะสมทรัพย์ ๒. บัญชีธนาคารออมสิน สาขาเกษตรวิสัย ชื่อบัญชี พระครูวินัยธรปริพัฒน์ หมายเลขบัญชี ๕๒๘ ๗๐๘ – ๓๙๙๘๓ ประเภทออมทรัพย์ ๓. บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนรามคำ�แหง ชื่อบัญชี พระปริพัฒน์ วงศ์ดวงผา หมายเลขบัญชี ๐๗๙ – ๒๓๔๑๐๖ – ๓ ประเภทออมทรัพย์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองเลขานุการ ๐๘๔ – ๓๓๑ – ๒๕๗๑ พระธีระพงษ์ ธีรปัญโญ (ครูบาอ๊อด) ๐๘๗ – ๙๐๖ – ๓๗๘๙ คุณคมกริช (เต้ง)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.