Sri som dej

Page 1

ศรีสมเด็จ’ ๕๙

1 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


“ภัทรมหาราช” พระอติชาติราชสมัญญา กษัตริย์ชาติ ใดใด ในโลกล้ว สถิตถ้วน เหนือดวงใจล้น พ้นเกศา ด้วยทรงเป็น ขวัญแคว้น แผ่นสุธา พลีพลัง พระปัญญา หลั่งเลือดริน สยามสงบ ปราศรบรา จากข้าศึก ศิลปะ จารึก ภาษาศิลป์ ราษฎร์มาก่อน นอนสบาย ต้องยลยิน น�้ำพระทัย จอมธรณินทร์ เปี่ยมศีลทาน พระนางนาถ แห่งจอมราช ทรงปราดเปรื่อง พระเกียรติคุณ ธ ประเทือง ทุกถิ่นฐาน แววพระเนตร จงเจตน์จริง จิรกาล สุดประมาณ กว่าแม่ฟ้า ประชาไทย พระราชโอรส ราชธิดา สุดาสวรรค์ สนองภาระ พระทรงธรรม์ พิมลสมัย ทุกกิจกรณีย์ สนองเสน เสมอพระทัย พระทรงไชย พระนางนาถ แทบบาทยุคล สยามชาติ มิอาจขาด ขัตติยเจ้า พระเหนือเกล้า เหนือทุกสิ่ง ยิ่งอนุสนธิ์ กิตติศัพท์ ไท้เกริกหล้า กว่าสากล ด้วยทรงดล สรรพสุข ปัดทุกข์ภัย โอม… เดชะ พระสยาม เทวาธิราช คุ้มเหนือเกล้าฯ ให้ปราศ โรคาศัย “ภัทรมหาราช” อติชาติ สมัญญาภิไธย ธรรมิกราไชย คู่สยามมินทร์ คู่ปฐพินทร์...เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ผู้ภักดี

2 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

3 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


สานงาน “บ้านสมเด็จ ” สมเด็จ เจ้าพระยา สง่าศรี เอกอมาตย์ ผู้จงรัก และภักดี สมดังที่ กล่าวขาน กันนานมา มโนธรรม ท่านมั่นคง ด�ำรงรัฐ ยึดมั่นสัจ เชิดชูชาติ ศาสนา เทิดศักดิ์ศรี จักรีวงศ์ องค์ราชา เป็นเสนา ทรงคุณธรรม ค�้ำแผ่นดิน

รูปเจ้าพ่อ

รับสนอง พระราชโยบาย กอปรกิจการ ทั้งหลาย ในทั่วถิ่น บริหาร งานทั่ว ธรณินทร์ การทั้งสิ้น ท�ำเพื่อชาติ เป็นราชพลี บ้านสมเด็จ เจ้าพระยา มากันพร้อม ตั้งจิตน้อม พร้อมดอกไม้ หลากหลายสี จงบังเกิด พรพิพัฒน์ สวัสดี เจ้าพ่อผู้ ปราณี มีเมตตา จงโปรดช่วย อ�ำนวย อวยพรชัย ลูกสุริยะ ให้ก้าวไกล ในภายหน้า ให้มองเห็น แนวทาง สร้างปัญญา เพื่อฟันฝ่า สร้างคุณค่า สถาบัน พร้อมสร้างงาน บ้านสมเด็จ ให้ยิ่งใหญ่ สร้างมหา วิทยาลัย ด้วยใจมั่น บ้านสมเด็จ เตรียมพร้อม หลอมใจกัน เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนา ประชาไทย ผศ.ดร.โดม สว่างอารมย์ ประพันธ์

4 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

5 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


สารจากอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สา

รจากเลขาธิ ก ารสมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า บ้ า นสมเด็ จ เจ้ า พระยา ในพระบรม ราชู ป ถั ม ภ์ ใ นปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๘ นี้ นั บ เป็ น มหามงคลยิ่ ง ส� ำ หรั บ พวกเราลูกสุริยะ กล่าวคือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ รอง ศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกสภามหาวิยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ และ มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ แต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา ด�ำรงต�ำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ เป็นพระ มหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น ปกเกล้า ปกกระหม่อม ขณะเดียวกันที่ประชุมใหญ่ สามัญประจ�ำปี สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมราชูปถัมภ์ มีมติ เลือก ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ ด้วยความมุ่งมั่น และวิสัยทัศน์ ที่จะน�ำพามหาวิทยาลัย และสมาคมให้ก้าวหน้าและก้าวไกล รวมพลังลูกสุริยะ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคคล ากร ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ด้วยความรัก สามัคคี ดังปรากฎในงาน คืนสู่เหย้าสานสายใย รวมใจลูกสุรยิ ะ เมือ่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๘ เป็นทีป่ ระจักษ์แล้วว่าพลังลูกสุรยิ ะ ยิง่ ใหญ่ ด้วยความรักสามัคคี ที่ศูนย์รวมใจเป็นหนึ่งเดียว คือ “เจ้าพ่อ” �

• (ซ้าย) รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิ

น ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกสภามหาวิยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา • (ขวา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิ ก ารบดี มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ บ้ า นสมเด็ จ เจ้าพระยา และ นายกสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จ เจ้าพระยาฯ

6 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

7 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ด้วยความมุ่งมั่น และวิสัย ทัศน์ ทีจ่ ะน�ำพามหาวิทยาลัย และสมาคมให้ก้าวหน้าและ ก้าวไกล รวมพลังลูกสุริยะ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคคล ากร ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ด้วย ความรัก สามัคคี


สารบัญ

รามเกียรติ์ค�ำกลอน มหากาพย์ข้ามศตวรรษโดยคฤหัสถ์คีตกวี …………….....

ห้องรับแขก

ระเบียงบ้าน

/ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โดม สว่างอารมณ์

สุภาษิตพระร่วง ...........................................................................…………...........

/ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภาภรณ์ ทรรพนันทน์ ค�ำมั่นสัญญา ..........................................................................………………............ /อาจารย์ศรีพัท มีนะกนิษฐ์

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ภาษาไทย กับคนไทยในยุคปัจจุบัน ................................................................... /ประภัสสร เสวิกุล

เจ้าพ่อผู้ให้ตลอดกาล (ภาค ๔) …………………………………………………..... /ผู้ช่วยศาสตราจารย์กลอยใจ โสภณปาล

มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ สุนทรภู่ เป็นนักจินตนาการเท่านั้น รึ ?? ตอนที่สอง อาวุธของสินสมุทร …………………………………………………..... /ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต ผู้ภักดี

รอบรั้วบ้าน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา …….....

ห้องโถง

ปัจจัยพื้นฐานกับกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองและสังคมของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ...........………………..... /ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ (นิโครธา) บุนนาค

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับสังคมสยามใหม่ หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง……………………………………………………………..... /พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ

สมเด็จเจ้าพระยาฯ กับการดนตรีไทย ………………………………………….....

/ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล เล่าเท่าที่รู้ ……………………………………………………………………………..... /ส.พลายน้อย

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มหาบุรุษรัตโนดม เลิศจงรักภักดีจักรีวงศ์ บทบาทสะท้อนจากวรรณกรรม “ข้าบดินทร์” ……..... /อาจารย์สุพิชฌาย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา

การเสนอชื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก …………....………………………………………………. /ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิษณุ บางเขียว

/กองบรรณาธิการ

สถานการณ์ภัยแล้ง ปริมาณน�้ำ ๔ เขื่อนหลักของไทย ……………………..... /กองบรรณาธิการ

Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่ ………………………………………………………..... /กองบรรณาธิการ

เหตุระเบิดแยกราชประสงค์ ……………………………………………………..... /กองบรรณาธิการ

พิธีเปิดอุทยานราชภักดิ์ .......................................................................... /กองบรรณาธิการ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ร่วมการประชุม UN Summit ..……………………………………………………... /กองบรรณาธิการ

ฮีโร่ตัวจริง หนุ่มกระบี่ช่วยฝรั่งติดโคลนให้เหยียบหลังขึ้นฝั่ง …………....……. /กองบรรณาธิการ

คืนสู่เหย้าศิษย์เก่า “สานสายใย รวมใจลูกสุริยะ” ……………………………..... /กองบรรณาธิการ

คนบ้านเดียวกัน …………………………………………………………………….....

ห้องเกียรติยศ

มรภ.ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสมเด็จพระเทพฯ ………………………………..... /กองบรรณาธิการ

พิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ……………………………………………………………..... /กองบรรณาธิการ

8 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

9 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


สุภาษิตพระร่วง � โสภาภรณ์ ทรรพนันทน์

อารัมภบท

“เปิดบ้านเพื่อต้อนรับ รับรองผู้มาเยือนคนส�ำคัญ”

วามเป็นมาของการน�ำเรื่อง “สุภาษิตพระร่วง” ฉบับลายมือและแปลเป็นภาษา อังกฤษฉบับนี้ เนื่องมาจาก ผู้น�ำส่งในวารสารศรีสมเด็จฉบับปี ๕๙ ได้รับมา จาก ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์โสภาภรณ์ ทัพนันทน์ ซึง่ เนือ้ แท้แล้วท่านเป็นครูสอนภาษา อังกฤษตลอดอายุราชการ ก็ยังมีความสนใจในภาษาไทย และโดยเฉพาะ “สุภาษิต พระร่วง” ที่น่าจะถูกหลงลืมไปแล้ว แต่ท่านก็เสาะหามาสะสมและน�ำมาเรียบเรียง พร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแท้จริง และที่พิเศษยิ่ง ไปกว่านั้น สุภาษิตพระร่วงที่ปรากฎแก่สายตาของท่านผู้อ่านอยู่ขณะนี้เป็นลายมือ ของผู้รวบรวมและแปล ซึ่งผู้น�ำส่งคิดว่าน่าจะเป็นตัวอย่างแก่รุ่นลูกหลานไทยไปอีก ตราบนานเท่านาน ว่า นี่แหละ บุคคลที่ได้ชื่อว่าครู ที่มีความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ อย่างแท้จริง ไม่จ�ำเพาะว่าจะสอนหรือเชี่ยวชาญวิชาใดเท่านั้น แต่ภาษาไทยยังต้อง แสดงความเป็นวิญญาณของคนไทยชั่วกัปชั่วกัลป์ ตราบที่ยังมีประเทศไทยอยู่บน แผนที่โลก �

10 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

11 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

อ ย ่ า รั ก ถ�้ ำ ยิ่ ง ก ว ่ า เรื อ น อย่ า รั ก เดื อ นยิ่ ง กว่ า ตะวั น Don’t prefer the grotto to thy own dwelling. Don’t cherish the moon more than the sun.


12 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

13 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


14 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

15 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


16 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

17 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


18 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

19 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


20 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

21 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


22 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

23 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ค�ำมั่นสัญญา

� ศรีพัท มีนะกนิษฐ์ กลอยใจ โสภณปาล : ผู้น�ำเสนอ

แม้เป็นถ�้ำอ�ำไพ ใคร่เป็นหงส์ And May I be the swan if you’re the grotto’d nest,

เพ

ลง “ค�ำมัน่ สัญญา” เป็นค�ำกลอนทีป่ ระพันธ์โดยกวีเอกของโลก “สุนทรภู”่ ซึง่ ท่านผูอ้ า่ นรูจ้ กั ท่านเป็นอย่างดี ค�ำกลอนนีม้ คี วามหมาย ไพเราะและมีคณ ุ ค่า ยิ่ง แม้ท่านจะจากโลกนี้ไปนานแล้ว แต่ค�ำกลอนของท่านยังมีชีวิตยืนยาวตราบทุก วันนี้ กลายเป็นเพลงอมตะนิรันดร์กาล เมื่อได้ยินครั้งใด ก็ยังไพเราะอยู่เสมอ แต่จะ มีใครสักกี่คนทราบว่า มีบุคคลอัจฉริยะ แปลค�ำกลอนดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ ขอ แนะน�ำให้ผู้อ่านได้รู้จัก ท่านผู้นั้นคือ อาจารย์ศรีพัท มีนะกนิษฐ์ เพ็ชรเม็ดงามของ บ้านสมเด็จฯ อดีตครูเก่า (พ.ศ.๒๔๙๙) และอดีตครูใหญ่มธั ยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (พ.ศ.๒๕๐๒) ท่านเป็นครูภาษาไทย จบอักษรศาสตรบัณฑิต รักภาษาไทยเป็นชีวิต จิตใจ และเพลงค�ำมัน่ สัญญาเป็นเพลงประทับใจของท่าน ลูกศิษย์ของท่านจะต้องร้อง เพลงนีไ้ ด้ จึงขอคัดลอกค�ำกลอนเพลง “ค�ำมัน่ สัญญา” ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพือ่ เป็นการเผยแผ่ผลงานของครูรนุ่ เก่าของบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และระลึกถึงท่าน เพราะท่านได้จากพวกเราไปแล้ว เมื่อพฤษภาคม ๒๕๔๘ (อายุ ๙๒ ปี) ค�ำมั่นสัญญา (โดยสุนทรภู่) ถึงม้วยดินสิ้นฟ้า มหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรัก สมัครสมาน แม้นเกิดในใต้หล้า สุธาธาร ขอพบพานพิศวาส ไม่คลาดคลา

“MY WORD OF PROMISE” Though Death should claim the ocean, earth and sky My love for you will never, never die. And were I born beneath the earth or in the sea. My darling, it is there I’d pray you’d

24 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

dwell with me, แม้เนื้อเย็นเป็นห้วง มหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์ เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่ เป็นภุมรา เชยพกาโกสุม ปทุมทอง

Or, if perchance you were the ocean blue, I’d choose to be a fish and live with you Or, if the water lily’s form you world assume, The beetle I world be who help you bloom.

แม้เป็นถ�้ำอ�ำไพ ใคร่เป็นหงส์

And May I be the swan if you’re the grotto’d nest, จะร่อนลงสิงสู่ เป็นคู่สอง And dwell forever in your arms, close pressed. ขอติดตามทรามสงวน นวลละออง I pray to follow you beloved one, เป็นคู่ครองพิศวาส ทุกชาติไป In all re-incarnations yet to come.

นอกจากเพลงค�ำมั่นสัญญาแล้ว ยังมีคติเตือนใจ ขอน�ำมาฝาก สามารถน�ำไป ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ในการด�ำรงชีวิตอย่างมีความสุข

TOMORROW NEVER COMES (วัน “พรุ่งนี้” หามีไม่) ท่านเริ่มท�ำสิ่งใด แท้ไม่มีสมหวัง เหตุทุกเช้าตื่นมา “พรุ่งนี้” หาย

ใน “พรุ่งนี้” ดังใจหมาย น่าเสียดาย มีแต่ “วันนี้” เอย

“A KINDNESS IS NEVER LOST” (อันความดี ท�ำไว้...ย่อมไม่สูญ) “สิ่งใดดี ท�ำไว้ ดีไม่สูญ ดีต่อดี ดีเติม เสริมดีไป

25 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ดีเพิ่มพูน เพิ่มดี ดีโปร่งใส ดียิ่งใหญ่ ดีมั่น นิรันดร์ดี” �


ภาษาไทย กับคนไทยในยุคปัจจุบัน � ประภัสสร เสวิกุล

ว่า

กันว่ามีคนเพียงไม่กี่ชนเผ่าในโลกที่มีภาษาพูด และในกลุ่มชนเหล่านั้นก็ มีจ�ำนวนน้อยลงไปอีกที่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง ดังนั้นการที่คนไทยมี ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนจึงเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะภาษา นอกจากจะเป็นเครือ่ งแสดงถึงความเป็นอารยะอย่างยาวนานแล้ว ยังแสดงถึงความ เป็นชาติที่มีเอกราชและอธิปไตยอีกด้วย ภาษาก็ เ ป็ น เช่ น เดี ย วกั บ วั ฒ นธรรมแขนงอื่ น ที่ ย ่ อ มมี ก ารเกิ ด ใหม่ การ เปลี่ยนแปลง ความนิยม และ การเสื่อมความนิยม ซึ่งกว่าจะเป็นภาษาไทยที่ใช้กัน อยู่ในทุกวันนี้ ก็ต้องผ่านกระบวนการวิวัฒน์ดังกล่าวมาอย่างมากมาย ซึ่งแน่นอน ว่าภาษาทีเ่ ราพูดและเขียนกันในปัจจุบนั ย่อมมีความแตกต่างไปจากทีใ่ ช้กนั ในสมัย พ่อขุนรามค�ำแหง กรุงศรีอยุธยา หรือแม้กระทัง่ เมือ่ ๑๐๐ ปีทแี่ ล้ว และตามความเป็น จริงแล้ว ความบริสทุ ธิข์ องภาษาจะต้องถูกผสมกลมกลืนด้วยภาษาอืน่ หรือค�ำใหม่ ๆ เพือ่ ให้เพียงพอแก่การใช้ เมือ่ มีการติดต่อและแลกเปลีย่ นการค้าขายกับต่างประเทศ การศึกษา การศาสนา และศิลปะวิทยาการต่างๆ อย่างไรก็ตามคนไทยในสมัยก่อน นัน้ ได้ชอื่ ว่าเป็นคนทีฉ่ ลาดในการเลือกรับสิง่ แปลกใหม่เข้ามาใช้อย่างเหมาะสมตาม ความจ�ำเป็น ภาษาต่างประเทศจึงมิได้กอ่ ปัญหาต่อภาษาไทย และมีคำ� ในภาษาต่าง ประเทศจ�ำนวนมากทั้งจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน มลายู ฯลฯ ที่กลายเป็น ส่วนหนึ่งของภาษาไทยไปโดยปริยาย ในยุคก่อนสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง คนไทยมีความนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่อ ที่ยุโรปและสหรัฐฯ จนเกิดการหลั่งไหลของค�ำศัพท์ทางวิชาการสมัยใหม่เข้ามาใน ประเทศไทย รัฐบาลไทยในเวลานัน้ ซึง่ ก�ำลังรณรงค์ เรือ่ งวัฒนธรรมมีความกังวลเรือ่ ง

คนไทยในสมัยก่อนนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนที่ฉลาดในการเลือกรับ สิ่งแปลกใหม่เข้ามาใช้อย่างเหมาะสมตามความจ�ำเป็น ภาษา ต่างประเทศจึงมิได้กอ่ ปัญหาต่อภาษาไทย และมีคำ� ในภาษาต่าง ประเทศจ�ำนวนมากทั้งจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน มลายู ฯลฯ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยไปโดยปริยาย

26 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

27 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


การที่ไม่มีค�ำแปลศัพท์เหล่านั้นในภาษาไทย ซึ่งอาจท�ำให้เกิดการใช้ค�ำทับศัพท์ จน เป็นเหตุให้ภาษาไทยมีลักษณะครึ่งไทยครึ่งฝรั่ง จึงได้มอบหมายให้พลตรี พระเจ้าว รวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งทรงเชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ร่วมกับกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง บัญญัติศัพท์ค�ำใหม่ ๆ เหล่านั้นโดยผูกจาก ค�ำไทย หรือค�ำบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย ขึ้นไว้เป็นจ�ำนวนมาก อาทิ สหประชาชาติ สมัชชา โทรศัพท์ โทรคมนาคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อมาหลังจากการบัญญัติศัพท์ของพลตรี พระเจ้า วรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แล้ว ค�ำภาษาต่างประเทศที่เข้ามาส่วน ใหญ่ก็มิได้มีการบัญญัติศัพท์ เนื่องจากเหตุผลประการ ต่าง ๆ เช่น มีจ�ำนวนศัพท์ มากมายและแตกแขนงไปตาม ชาการต่าง ๆ ซึ่งหลาย หน้าที่ของผู้ใช้ภาษาที่นอกจากจะอนุรักษ์แล้วยังต้องมีความ สาขาวิ สาขาก็ เ ป็ น วิ ช าใหม่ ซึ่ ง ขาดผู ้ รู ้ คิดประดิษฐ์สร้างด้วย แต่การริเริ่มค�ำใหม่นั้น จะต้องค�ำนึงถึงที่ หรือเข้าใจในภาษาไทยเพียงพอ มาที่ไป รากศัพท์ ค�ำเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อน และความสัมพันธ์ หรือ หรือมีการบัญญัตศิ พั ท์จากหลาย ส�ำนัก จึงใช้ทบั ศัพท์ในภาษาเดิม บริบทของค�ำที่สร้างขึ้นกับค�ำอื่นๆ ที่แวดล้อมด้วย เพือ่ ป้องกันความเข้าใจไม่ตรงกัน หรือบัญญัตศิ พั ท์แล้วแต่ไม่เป็นที่ นิยมใช้ นอกจากนั้นก็อาจเป็นเรื่องที่เห็นว่าการใช้ค�ำศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่ง โก้เก๋ทนั สมัย เป็นต้น ดังนัน้ ภาษาไทยในปัจจุบนั จึงมีลกั ษณะเป็นภาษาลูกผสม ใน แทบทุกวงการ ทั้งวิชาการ วิชาชีพ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะวัยรุ่น ในส่วนของภาษาเขียนนั้น นอกจากมีการน�ำภาษาต่างประเทศมาใช้แล้ว ยัง นิยมน�ำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์มาใช้แทนค�ำบางค�ำ เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าภาษา อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น ซึ่งนับวันจะมีการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสอดคล้องกับอุปกรณ์ คือคอมพิวเตอร์ เวิรด์ โปรเซสเซอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต กับจริตของคน ในวัยหนุม่ สาวที่ชอบความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ปัญหาส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือการที่คนไทยในเวลานี้ ไม่มีความรู้เรื่องภาษา ของตัวเองดีพอ ซึง่ อาจจะเป็นด้วยระบบการเรียนการสอน ทีไ่ ม่ได้ให้ความส�ำคัญต่อ วิชาภาษาไทย ทั้งการอ่าน การเขียน การพูด เช่น ในสมัยก่อน จึงท�ำให้คนรุ่นใหม่ เขียนและพูดภาษาไทยไม่ค่อยถูก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง เพราะ หากปล่อยปละละเลยให้มีการพูดผิดๆ และเขียนผิดๆ กันมากๆ แล้ว อีกไม่นาน ภาษาไทยก็จะเกิด ความฟั่นเฟือน และอาจเห็นว่าสิ่งที่ผิดกลายเป็นสิ่งที่ถูกได้ด้วย กระแสของคนหมู่มาก ในฐานะนักเขียน ผมไม่ได้ต่อต้านการสร้างสรรค์ค�ำใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในภาษา ไทย ตรงกันข้ามกลับเห็นว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใช้ภาษาที่นอกจากจะอนุรักษ์แล้วยัง ต้องมีความคิดประดิษฐ์สร้างด้วย แต่การริเริ่มค�ำใหม่นั้น จะต้องค�ำนึงถึงที่มาที่ไป รากศัพท์ ค�ำเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อน และความสัมพันธ์ หรือบริบทของค�ำที่สร้างขึ้นกับ ค�ำอืน่ ๆ ทีแ่ วดล้อมด้วย เพราะการสร้างค�ำทีผ่ ดิ ๆ ไม่วา่ จะด้วยเจตนาหรือไม่ อาจจะ

28 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

เป็นการท�ำลายภาษาดีๆ ที่ปู่ย่าตายายได้สร้างสมมาแต่โบราณกาล และเป็นปัญหา ต่อการสืบค้นข้อเท็จจริงของค�ำๆ นัน้ ในอนาคต ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั เจน คือค�ำว่า “รัก สามเส้า” ซึง่ แต่เดิมน�ำมาจากลักษณะของการวางก้อนหิน ๓ ก้อน เป็นรูปสามเหลีย่ ม เพือ่ แทนเตาในการก่อไฟหุงต้ม เปรียบเทียบกับความรักซ้อนของคนสองคนต่อหญิง หรือชายคนเดียวกัน แต่เมื่อมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเล่นค�ำว่า “สามเส้า” เป็น “สาม เศร้า” ก็ท�ำให้เวลานี้ คนพากันใช้ค�ำว่า “รักสามเศร้า” กันทั่วไป โดยไม่ค้นคว้าถึงที่ มาที่ไป และคาดว่าภายในเวลาอีกไม่นาน ค�ำว่า “รักสามเส้า” คงเลือนหายไปจาก ภาษาไทย ถ้อยภาษาเป็นเรือ่ งละเอียดอ่อนและขึน้ อยูก่ บั ความนิยมของผูใ้ ช้ ค�ำบาง ค�ำที่เกิดขึ้นใหม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษา ไปในทีส่ ดุ แต่บางค�ำก็ใช้กนั เฉพาะภายในกลุม่ หรือเพียงชัว่ ครูช่ วั่ ยาม อย่างไรก็ตาม หากเราตระหนักว่าภาษาเป็นมรดกอันมีคา่ ยิง่ ของชาติ เป็นเครือ่ งแสดงถึงอารยธรรม ความเป็นเอกราช และอธิปไตยของชาติ เราก็ควรทีจ่ ะต้องพยายามใช้ภาษาไทยอย่าง ถูกต้องและสร้างสรรค์ เพื่อรักษามรดกชิ้นนี้ให้ตกถึงลูกหลานในสภาพที่ดี อย่าให้ เสื่อมโทรมหรือถูกท�ำลายลง ในยุคของเราเลยครับ �

หากเราตระหนั ก ว่ า ภาษา เป็ น มรดกอั น มี ค ่ า ยิ่ ง ของ ชาติ เป็ น เครื่ อ งแสดงถึ ง อารยธรรม ความเป็นเอกราช และอธิ ป ไตยของชาติ เรา ก็ ค วรที่ จ ะต้ อ งพยายามใช้ ภาษาไทยอย่างถูกต้องและ สร้างสรรค์

• โปสเตอร์ภาพยนตร์เรือ่ ง “รักสามเศร้า” ทีแ่ สดงให้

เห็นถึงการเล่นค�ำว่า ‘เส้า’ กลายเป็น ‘เศร้า’ ซึง่ ผูใ้ ช้ ภาษาไทยส่วนหนึ่งก็เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ว่าเป็นค�ำดั้งเดิมและถูกต้อง

29 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ปัจจัยพื้นฐานกับกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองและ สังคมของ

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) 1 � ปิยนาถ (นิโครธา) บุนนาค

ความน�ำ

โด

“ศูนย์กลางแห่งบ้าน ที่ซึ่งสมาชิกพบปะกันด้วยเรื่องส�ำคัญ”

ยทัว่ ไปภูมหิ ลังชาติกำ� เนิด ฐานะทางสังคม และการอบรมเลีย้ งดูของครอบครัว มีผลส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อการเรียนรูท้ างการเมืองของบุคคลในขัน้ พืน้ ฐาน ในกรณี ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ท่านเกิดใน พ.ศ. ๒๓๕๑ ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ ๑ ก่อนสิ้นรัชกาลเพียง ๑ ปี ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองกลับ เข้าสู่ภาวะปกติสุข หลังจากที่ต้องผ่านการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ และการท�ำ สงครามหลายครั้งเพื่อกู้อิสรภาพ เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร และ เพื่อป้องกันตนเอง ต่อมาเมื่อถึงรัชกาลที่ ๒ บ้านเมืองมีความสงบยิ่งขึ้น เพราะภัย สงครามจากประเทศใกล้เคียงลดน้อยลงมากเนือ่ งจากประเทศเพือ่ นบ้านโดยเฉพาะ พม่าก�ำลังเผชิญกับปัญหาทางการเมืองภายใน และปัญหาการเข้าแทรกแซงของ มหาอ�ำนาจตะวันตกซึ่งก�ำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งนับว่าเป็น ภัยทางการเมืองในรูปแบบใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ สยามและประเทศอื่นๆ ใน ทวีปเอเชียก�ำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ซึ่งต้องเผชิญกับ การคุกคามของมหาอ�ำนาจ ตะวันตกผู้มีความเหนือกว่าทั้งในด้านความเจริญทางศิลปวิทยาการและเทคโนโลยี ดังนั้นการเมืองในยุคนี้จึงไม่ใช่แต่เพียงการใช้สงครามด้วยอาวุธล้าสมัยเป็นการ แสดงออกซึ่งความขัดแย้งระหว่างประเทศใกล้เคียงกันดังแต่ก่อน แต่เป็นการเมือง 1 ปรับปรุงจาก ปิยนาถ บุนนาค,แนวความคิดและบทบาททางการเมือง ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ถึง สมัยรัชกาลที่ ๕. วิทยนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๒๓. หน้า ๙-๒๐.

30 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

31 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ทีต่ อ้ งเข้าไปเกีย่ วข้องกับมหาอ�ำนาจตะวันตก ซึง่ น�ำไปสูค่ วามจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องด�ำเนิน นโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และยอมรับวิถที างการทูตและกฏหมายระหว่าง ประเทศของมหาอ�ำนาจตะวันตก เพราะการใช้สงครามเพียงอย่างเดียวมีแต่จะน�ำ ความเสียเปรียบและพ่ายแพ้มาสู่ประเทศด้วยสภาพการณ์ดังกล่าว คุณสมบัติของ ความเป็นนักรบที่สามารถและเข้มแข็งเด็ดขาดแบบสมัยเดิม น่าจะเป็นสิ่งจ�ำเป็น น้อยกว่าคุณสมบัติของความเป็นนักการเมือง และนักการปกครองผู้สามารถทั้งใน ด้านการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศ ปั จ จั ย พื้ น ฐานกั บ กระบวนการเรี ย นรู ้ ท างการเมื อ งและสั ง คมของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ชาติก�ำเนิด ฐานะทางสังคม และการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์เกิดและเจริญวัยมาในช่วงเวลาทีต่ น้ ตระกูล ของท่านในสมัยรัตนโกสินทร์คอื เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา บุนนาค ซึง่ เป็นปูข่ อง ท่านมีคุณสมบัติของความเป็นนักรบ

คุ ณ สมบั ติ ข องความเป็ น นักรบที่สามารถและเข้มแข็ง เด็ ด ขาดแบบสมั ย เดิ ม น่ า จะเป็ น สิ่ ง จ� ำ เป็ น น้ อ ยกว่ า คุ ณ สมบั ติ ข องความเป็ น นักการเมือง

อันนับว่าเหมาะสมกับสภาพการณ์ในรัชกาลที่ ๑ มาก ได้ด�ำรงต�ำแหน่งสมุห พระกลาโหม อัครมหาเสนาบดี ฝ่ายทหารเป็นต�ำแหน่งสุดท้าย ก่อนถึงอสัญกรรม ใน พ.ศ. ๒๓๔๘ (ก่อนสมเด็จเจ้าพระยาฯ เกิดเพียง ๓ ปี) ส่วน ดิศ บิดาของ สมเด็จเจ้าพระยา ขณะทีท่ า่ นเกิดได้ดำ� รงต�ำแหน่งจมืน่ ไวยวรนาถ หัวหมืน่ มหาดเล็ก หัวหน้าของกลุ่มทหารมหาดเล็กของพระมหากษัตริย์นับว่าเป็นต�ำแหน่งที่มีความ ส�ำคัญมากต�ำแหน่งหนึง่ เพราะเป็นต�ำแหน่งทีม่ คี วามใกล้ชดิ กับพระเจ้าแผ่นดิน ต่อ มาเมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ เจริญวัยขึ้นในรัชกาลที่ ๒ บิดาของท่านก็มีความเจริญ ก้าวหน้าในหน้าที่ราชการโดยได้รับต�ำแหน่งเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี จางวางมหาดเล็กและเจ้าพระยาพระคลังตามล�ำดับ โดยที่บิดาของท่านไม่ได้ใช้ คุณสมบัติของความเป็นนักรบเป็นบันไดไปสู่ความเจริญในหน้าที่การงานเลย อาจ เป็นเพราะว่าในช่วงนั้นบ้านเมืองก�ำลังอยู่ในภาวะปกติสุข แม้ว่าต่อมาในรัชกาล ที่ ๓ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) บิดาต้องเป็นแม่ทัพไปปราบปรามเมืองประเทศราช และรักษาความสงบภายในหลายครั้ง แต่ท่านก็ไม่ได้ปรากฏชื่อเสียงและเกียรติคุณ ในด้านการเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพผู้สามารถในสมัยเดียวกัน อย่างไรก็ดีในทาง ปฏิบัติแล้วเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่งขึ้น เรือ่ ยๆ ในขณะเดียวกันอ�ำนาจและความมัน่ คงของตระกูลก็เพิม่ ขึน้ เป็นล�ำดับ เหตุที่ เป็นเช่นนีเ้ พราะท่านรูจ้ กั ใช้ทรัพยากรทางการเมืองทีม่ อี ยูม่ าช่วยให้ทา่ นประสบความ

32 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ส�ำเร็จดังกล่าวสมเด็จเจ้าพระยาฯ เองน่าจะได้รบั ผลกระทบจากการเรียนรูจ้ ากบิดาใน ส่วนนี้ ซึง่ ได้สะท้อนออกมาในบทบาททางการเมืองต่อมาว่าท่านไม่ใช่เป็นนักรบผูย้ งิ่ ใหญ่ แต่เป็นนักการเมืองและนักรบการปกครอง ผูม้ คี วามสามารถอย่างยิง่ มากกว่า ในด้านการฝึกฝนอบรมและการเรียนรูจ้ ากครอบครัวซึง่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ รับการถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้เป็นเบื้องแรกนั้นน่าจะเกี่ยวกับการตระหนักถึง ฐานะของท่านในครอบครัว กล่าวคือ ครอบครัวของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นครอบครัว ใหญ่ซึ่งมีบิดาเป็นผู้น�ำ บิดามีภริยาหลายสิบคน มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๖๑ คน เป็น ชาย ๓๐ คน หญิง ๓๑ คน2 ตัวสมเด็จเจ้าพระ ส�ำนึกและการตระหนักถึงภาระหน้าที่ดังกล่าวน่าจะเสริมสร้างบุคลิก ยาฯเป็ น บุ ต รชายคน โตเกิดจากท่านจันทร์ และทัศนคติในการเป็นผู้น�ำของครอบครัวให้แก่ท่านซึ่งจะเป็นพื้นฐาน ภริ ย าเอกซึ่ ง มี ฐ านะ เบื้องต้นต่อการก้าวไปสู่การเป็นผู้น�ำทางการเมืองต่อไป เป็ น ท่ า นผู ้ ห ญิ ง โดย นัยนี้ท่านน่าจะได้รับการสั่งสอนและเรียนรุ้ว่าท่านได้รับการยอมรับจากชาติก�ำเนิด ว่าจะต้องเป็นผู้น�ำของครอบครัวต่อจากบิดา ท่านจะต้องเป็นที่พึ่งของน้องๆ และ เครือญาติในวงศ์ตระกูลต่อไป ส�ำนึกและการตระหนักถึงภาระหน้าที่ดังกล่าวน่าจะ เสริมสร้างบุคลิกและทัศนคติในการเป็นผู้น�ำของครอบครัวให้แก่ท่านซึ่งจะเป็นพื้น ฐานเบื้องต้นต่อการก้าวไปสู่การเป็นผู้น�ำทางการเมืองต่อไป ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาฯ กับบรรดาน้องๆของท่าน สมเด็จเจ้าพระยาฯ มีน้อง ร่วมบิดาเดียวกันอีก ๘ คน ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังเยาว์ ๔ คน คงเหลือที่เติบโตมาด้วยกัน ๕ คน คือ สมเด็จเจ้าพระยาฯ น้องสาวอีก ๓ คน และน้องคนสุดท้องเป็นชายซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) ด้วยลักษณะนี้สมเด็จเจ้าพระยาฯ น่าจะไม่ค่อยได้ท�ำงานร่วมกับน้องๆ ร่วม มารดาเดียวกันนัก และคงไม่ค่อยมีความสนิทสนมคุ้นเคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กัน เพราะน้องสามคนต่อจากท่านล้วนเป็นหญิง ซึ่งย่อมมีความสนใจแตกต่างไป จากผู้ชายประกอบกับในสมัยนั้นผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับให้ออกมามีบทบาทใน สังคมภายนอกมากนัก ส่วนน้องสุดท้องแม้จะเป็นชายแต่ก็มีอายุห่างจากท่านถึง ๑๒ ปี (พระยามนตรี สุริยวงศ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓)3 จึงน่าจะเกิดปัญหา “ช่องว่าง ระหว่างวัย” ขึ้น ด้วยเหตุนี้ท่านน่าจะหันไปมีความสนิทสนมกับบุคคลอื่นซึ่งได้แก่ น้องชายต่างมารดา คือ ข�ำ4 ผู้มีวัยไม่ห่างจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ นัก (ข�ำ เกิดใน 2 ปิยนาถ นิโคณธา, บทบาทของเสนาบดีตระกูลบุนนาคในการปกครองประเทศสยาม ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ – พ.ศ. ๒๔๑๖) วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๔. หน้า ๘๑. 3 พระยามนตรีสุริยวงศ์ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๔๐๙ ก่อนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึง ๑๖ ปี. 4 ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เสนาบดีกรมพระคลัง ท่านถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๔๑๓.

33 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


พ.ศ. ๒๓๕๖) และมีรสนิยมใกล้เคียงกัน ปรากฏว่าต่อมาท่านทัง้ สองได้รว่ มกันรับใช้ ช่วยเหลือบิดาในกิจการทัง้ ปวงตัง้ แต่เริม่ รับราชการ5๓ และได้เป็นคูค่ ดิ ร่วมมือกันก่อ ให้เกิดบทบาททางการเมืองขึ้นหลายครั้งโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ส่วนความสัมพันธ์ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ กับบุตรคนอื่นๆ ของบิดาเป็นไปใน ท�ำนองที่บุตรทั้งหลายของบิดาต่างให้ความเคารพย�ำเกรงท่านรองมาจากบิดาใน ฐานะทายาทคนโตซึ่งจะเป็นผู้น�ำของครอบครัวคนต่อไป นอกจากนี้ท่านยังได้รับ ความเคารพย�ำเกรงจากบรรดาแม่เลี้ยงและบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวด้วย ลักษณะ เช่นนี้น่าจะก่อให้เกิดค่านิยมในเรื่องอ�ำนาจแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วย อาจกล่าวได้วา่ ทัศนคติของสมเด็จเจ้าพระยาฯในกระบวนการเรียนรูร้ ะยะแรกนี้ น่าจะเป็นทัศนคติของการมีครอบครัวใหญ่ ชายสามารถมีภริยาได้หลายคน ชายเป็น ผู้น�ำในการเลี้ยงดูครอบครัวและมีอ�ำนาจเหนือบุคคล ในครอบครัว หญิงมีบทบาท แต่ในครัวเรือน การปกครองในครอบครัวใช้ระบบอาวุโส และชาติกำ� เนิดเป็น เกณฑ์ ตัดสินบทบาทและล�ำดับความส�ำคัญของบุคคลโดยมีศาสนาพุทธเป็นแกนน�ำในการ ด�ำรงชีวิตซึ่งเป็นการเรียนรู้เช่นเดียวกับครอบครัวขุนนางอื่นๆ การเรียนรูต้ อ่ มาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ น่าจะเป็นการเรียนรูเ้ กีย่ วกับฐานะท่าน ในสังคม กล่าวคือ เมือ่ สมเด็จเจ้าพระยาฯได้รบั การเรียนรูใ้ นระยะแรกว่าท่านจะเป็น ผู้น�ำของครอบครัวคนต่อไปท่านก็จะได้รับการฝึกฝนอบรมทางด้านการศึกษาและ การด�ำเนินชีวติ เพือ่ เตรียมรับสภาพการเป็นผูน้ ำ� ในอนาคตโดยมีบดิ าเป็นแบบอย่าง ในขณะเดียวกันเมื่อท่านเจริญวัยขึ้น ท่านได้เรียนรู้ว่าครอบครัวของท่านไม่เพียง แต่เป็นครอบครัวใหญ่แบบครอบครัวขุนนางไทยทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นครอบครัวที่ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง6 ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศตั้งแต่ เริ่มแรก โดยเริ่มตั้งแต่ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ปู่ของท่านมีความสัมพันธ์กับรัชกาลที่ ๑ องค์ ปฐมวงศ์จกั รีอย่างแน่นแฟ้นในฐานะต่างๆ คือ ในฐานะ “เพือ่ นซึง่ มีมติ รภาพอันดีตอ่ กันมาตั้งแต่เยาว์วัย” ในฐานะ “ผู้รับใช้ใกล้ชิดรัชกาลที่ ๑ เป็นเวลา นานตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ยังเป็น สามัญชน” ในฐานะ “ข้าราชการ ซึ่งมีความจงรักภักดีต่อรัชกาลที่ ๑ และองค์รัชทายาท คือ รัชกาลที่ ๒” ใน ฐานะ “น้องเขย เพราะภริยาของท่านคือ เจ้าคุณนวลเป็นพระขนิษฐาร่วมพระราช บิดามารดาเดียวกันของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระอัครมเหสีของของรัชกาล ที่ ๑ ซึ่งเป็นสายตระกูล ณ บางช้าง” และในฐานะ “พ่อตาของรัชกาลที่ ๑ เพราะ 5 สมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, ประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์, (จากพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ ตอน ๔ ผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดิน) (พระนคร : โรง พิมพ์ดำ�รงธรรม, ๒๕๐๔), หน้า ๓ – ๔. 6 ดูรายละเอียดในปิยนาถ นิโครธา, “บทบาทของเสนาบดีตระกูลบุนนาค…” หน้า ๔๗ – ๑๔๓.

34 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ธิดาท่านหลายคนได้ถวายตัวเป็นพระสนมของรัชกาลที่ ๑ และบางท่านก็เป็นเจ้า จอมมารดาในพระโอรสพระธิดาของรัชกาลที่ ๑” ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ ระหว่างราชวงศ์จกั รีและตระกูลบุนนาคเป็นไปอย่างแน่นแฟ้นและใกล้ชดิ ตัง้ แต่กอ่ น สถาปนาราชวงศ์ ความสัมพันธ์นั้นเป็นไปอย่างดีซึ่งน่าจะก่อให้เกิดความได้เปรียบ ทางการเมืองแก่ทายาทของท่านให้เหนือกว่าเสนาบดีตระกูลอื่น แม้ว่าในรัชกาลที่ ๑ ตระกูลบุนนาคยังไม่มีอ�ำนาจทางการเมืองมากนักเนื่องจากอ�ำนาจทางการเมือง ได้กระจายไปยังตระกูลขุนนางต่างๆ ด้วย เช่น ตระกูลสิงหเสนี ณ นคร ณ บางช้าง รัตนกุล สนธิรตั น์ และบุณยรัตพันธุ์ เป็นต้น แต่ตอ่ มาในรัชกาลที่ ๒ พระมหากษัตริย์ ได้ทรงกระจายอ�ำนาจการปกครองและการบริหารบ้านเมืองไปยังพระบรมวงศา นุวงศ์นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ไป จนถึงบรรดาพระเจ้าลูก ยาเธอซึ่งทรงเจริญวัย ขึ้นที่จะปฏิบัติราชการ ดั ง นั้ น จะเห็ น ได้ ว ่ า ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งราชวงศ์ จั ก รี แ ละตระกู ล ได้ แ ล้ ว โดยเฉพาะ บุนนาคเป็นไปอย่างแน่นแฟ้นและใกล้ชิดตั้งแต่ก่อนสถาปนาราชวงศ์ อย่ า งยิ่ ง พระเจ้ า ลู ก ยาเธอพระองค์ ใ หญ่ ความสั ม พั น ธ์ นั้ น เป็ น ไปอย่ า งดี ซึ่ ง น่ า จะก่ อ ให้ เ กิ ด ความได้ เ ปรี ย บ คื อ กรมหมื่ น เจษฎา ทางการเมืองแก่ทายาทของท่านให้เหนือกว่าเสนาบดีตระกูลอื่น บดินทร์ นอกจากนี้ทรง สนับสนุนพระญาติวงศ์ทางฝ่าย พระราชมารดาให้มสี ว่ นร่วมในทางการเมืองด้วยโดย เฉพาะอย่างยิง่ ตระกูลบุนนาค เพราะนอกเหนือจากเป็น ราชนิกลุ แล้ว เจ้าคุณนวลซึง่ เป็นย่าของสมเด็จเจ้าพระยาฯยังเป็นผูอ้ ภิบาลดูแลรัชกาลที่ ๒ มาตัง้ แต่ทรงพระเยาว์ ด้วย ดังนั้นรัชกาลที่ ๒ ย่อมทรงรู้สึกกตัญญูต่อเจ้าคุณนวล ประกอบกับเจ้าพระยา อรรคมหาเสนาสามีของเจ้าคุณนวลมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมเด็จพระบรมชนก นาถในฐานะต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว จึงย่อมท�ำให้รัชกาลที่ ๒ ทรงรู้สึกว่าสายโลหิต ของท่านทัง้ สองมีความสัมพันธ์ในฐานะ “ญาติทสี่ นิทยิง่ ”ของพระองค์ ยิง่ กว่านัน้ การ ที่เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาถึงแก่กรรมไปตั้งแต่เมื่อ ดิศ บุตรชายคนโตของท่านกับ เจ้าคุณนวลอายุได้เพียง ๑๗ ปี (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ หรือ ดิศ เกิด ใน พ.ศ. ๒๓๓๑) ก็คงยิ่งท�ำให้รัชกาลที่ ๒ ทรงพระเมตตาเอ็นดูต่อบรรดาลูกๆ ของ ท่านทั้งสองมากยิ่งขึ้น อาจทรงถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องอุปถัมภ์สายโลหิต ของท่านทั้งสอง โดยเฉพาะทายาทคนโต คือ ดิศ ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับกรม หมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ ดังนั้นเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว รัชกาลที่ ๒ จึงทรงสนับสนุนดิศ และทัด ทายาท ของเจ้าคุณนวล เป็นพิเศษโดยเฉพาะดิศนั้น นอกจากมีความเจริญก้าวหน้าใน หน้าที่ราชการ ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆแล้ว ยังได้รับความไว้วางพระ ราชหฤทัยให้ท�ำงานส�ำคัญๆ ควบคู่กับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสผู้ทรง

35 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


มีขุนนางเพียงไม่กี่ตระกูลที่ ปรากฏทายาทผู้สืบตระกูล ถึ ง ขั้ น เจ้ า พระยาติ ด ต่ อ สื บ เนื่ อ งกั น ตั้ ง แต่ รั ช กาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ตระกูล เหล่านี้ตระกูลบุนนาคเจริญ เติบโตอย่างเต็มที่มาถึงต้น รัชกาลที่ ๕

โปรดปรานอยู่เสมอ7๑ ในที่สุดบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็น เสนาบดีกรมพระคลัง ซึ่งเป็นกรมที่มีความส�ำคัญยิ่งต่อการบริหารบ้านเมือง โดยเฉพาะด้านการ คลัง และการติดต่อกับต่างประเทศ กับทั้งยังได้บังคับบัญชาดูแลหัวเมืองชายทะเล ฝั่งตะวันออกโดยต�ำแหน่งด้วย การเรียนรู้ในชั้นนี้น่าจะท�ำให้สมเด็จเจ้าพระยาฯ ตระหนักว่าฐานะชาติก�ำเนิด และสกุลวงศ์เป็นเงื่อนไขส�ำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติราชการของบุคคลที่จะก้าวไป สู่ต�ำแหน่งหน้าที่การงานขั้นสูงต่อไปดังกรณีบิดาของท่าน และตัวท่านเองซึ่งได้รับ การยอมรับนับถือจากคนทัว่ ไปในฐานะบุตรชายคนโตซึง่ จะเป็นผูส้ บื ตระกูลของบิดา ส�ำนึกดังกล่าวก่อให้เกิดบุคลิกแห่งความเป็นผู้น�ำทั้งในระดับครอบครัวและระดับ สังคมในระยะแรกให้แก่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ นอกจากนี้ยังน่าจะท�ำให้สมเด็จเจ้าพระ ยาฯ มีทศั นคติในเรือ่ งความส�ำคัญของ “ระบบพวกพ้องและเครือญาติ” เบือ้ งต้นด้วย กระบวนการเรียนรู้แบบเดียวกันนี้น่าจะไม่ต่างไปจากบุตรคนโตของขุนนางตระกูล อื่นๆ เช่น นุช บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งเกิดเป็นสหชาติกับท่านและเป็นทายาทคนโตของ เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) ที่สมุหนายก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เป็นเจ้าพระยา ภูธราภัยทีส่ มุหนายกคูก่ บั สมเด็จเจ้าพระยาซึง่ เป็น ทีส่ มุหพระกลาโหม ทัง้ สองท่าน มีความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติกันด้วย ข้อที่น่าสังเกต คือ มีขุนนางเพียงไม่กี่ ตระกูลที่ปรากฏทายาทผู้สืบตระกูลถึงขั้นเจ้าพระยาติดต่อสืบเนื่องกันตั้งแต่รัชกาล ที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ตระกูลเหล่านี้ตระกูลบุนนาคเจริญเติบโตอย่างเต็มที่มา ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ 8 ในด้านการศึกษาเล่าเรียนของสมเด็จเจ้าพระยาฯตอนเยาว์วัย ท่านคง ได้รับการศึกษาจากวัดของตระกูล เมื่อส�ำเร็จแล้วคงได้รับการศึกษาอบรมเพื่อ การเรีนรู้ในการที่จะปฏิบัติราชการตามแบบอย่างของตระกูล อันเป็นลักษณะก่าร ศึกษาของกุลบุตรในสมัยนั้น9 คือเมื่อกุลบุตรจบการศึกษาจากวัดแล้ว ก็ศึกษาด้าน ปฏิบตั จิ ากในสกุลวงศ์ของตนเพือ่ ประกอบอาชีพเจริญรอยตามบรรพบุรษุ เมือ่ ศึกษา ในด้านปฏิบตั เิ สร็จแล้วจึงออกไปประกอบอาชีพตามแบบอย่างผูใ้ หญ่ในสกุลของตน ส�ำหรับผู้ที่จะรับราชการมักอาศัยคอยรับใช้ผู้ใหญ่ในราชการ ถ้ามีฐานะที่จะเข้าถึง ราชส�ำนักได้ก็ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เรียนและฝึกหัดกิจทางราชการไปจนมีความ สามารถเพียงพอ จึงเริ่มออกรับราชการอย่างแท้จริงเริ่มตั้งแต่ชั้นต�่ำ และเลื่อนสูง 7 ปิยนาถ นิโครธา, “บทบาทของเสนาบดีตระกูลบุนนาค....., หน้า ๑๘๑ – ๑๙๙. 8 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์, ตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์, (ฉบับมีรูป), (มหาอำ�มาตย์โท เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) พิมพ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพท่านน้อย เปาโรหิตย์ ผู้มารดา ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทรา วาส พ.ศ. ๒๔๗๔) (พระนคร : โรงพิมพ์ลหุโทษ, ๒๔๗๔), หน้า (๑) –(๗) 9 สมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, “ประวัติสมเด็จเจ้าพระยา, หน้า ๑ – ๒.

36 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ขึ้นไปตามความรู้ความสามารถ และปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ เช่นภูมิหลังในเรื่องชาติ ตระกูลซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็อยู่ในกรณีนี้ด้วย ภูมิหลังดังกล่าวของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ย่อมสร้างสิ่งที่เรียกว่า “บุคลิกภาพ” “ความสามารถ” และ “ความเฉลียวฉลาดปฏิภาณไหวพริบ” ให้แก่ทา่ นเป็นเบือ้ งแรก ซึง่ อาจไม่ตา่ งจากทายาทของขุนนางตระกูลส�ำคัญอืน่ ๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่สงิ่ ทีท่ ำ� ให้ ท่านได้เปรียบกว่าผู้อื่นคือ การที่ตระกูลของท่านมีความสัมพันธ์ อันลึกซึ้ง กับพระ ราชวงศ์จกั รี (โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับรัชกาลที่ ๒) ดังกล่าวมาแล้ว นอกจากนีบ้ ดิ าของ ท่านยังได้ทำ� งานในด้านการคลัง การต่างประเทศและการกลาโหมพร้อมๆ กัน ซึง่ ไม่ เคยปรากฏในขุนนางตระกูลอื่น กับทั้งสมเด็จเจ้าพระยาฯ ยังได้ท�ำงานร่วมกับท่าน บิดาอย่างใกล้ชดิ มาโดยตลอดตัง้ แต่เริม่ แรก ซึง่ ทายาทขุนนางตระกูลอืน่ น้อยคนนัก ทีจ่ ะมีโอกาสเช่นท่าน ทัง้ นีเ้ พราะไม่มหี ลักฐานบ่งชีใ้ ห้เห็นเด่นชัดเหมือนกรณีสมเด็จ เจ้าพระยาฯ ความได้เปรียบดังกล่าวนี้จะเห็นได้จากกระบวนการเรียนรู้ในขั้นต่อมา เมือ่ สมเด็จเจ้าพระยาฯได้เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๒ ปัจจัยส�ำคัญทีส่ ดุ ทีก่ อ่ ให้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ในระยะนี้ คือ การได้ท�ำงานร่วมกับบิดา

การได้ท�ำงานร่วมกับบิดา

ลังจากสมเด็จเจ้าพระยาฯได้รับการศึกษาจากในตระกูลแล้ว เมื่อย่างเข้าสู่วัย หนุ่ม เจ้าพระยาพระคลังบิดาได้น�ำท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาล ที่ ๒ และเป็นไปได้ว่าท่านรับราชการภายใต้เจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสองค์โตซึ่ง ประสูติจากมเหสีและทรงเป็นผู้อ�ำนวยการกองทหารมหาดเล็กอยู่ในขณะนั้น10 เจ้า ฟ้ามงกุฎมีพระชนมายุแก่กว่าสมเด็จเจ้าพระยา ๔ ปี 11 แต่อาจนับได้ว่าอยู่ในรุ่นราว คราวเดียวกัน เจ้าฟ้ามงกุฎฯ และสมเด็จเจ้าพระยาฯ คงมีความคุ้นเคยกันมาตั้งแต่ บัดนั้นซึ่งจะมีผลสะท้อนทางการเมืองต่อมาในภายหลัง เป็นที่น่าสังเกตว่าขณะที่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ผู้ลูกมีความคุ้นเคยกับเจ้าฟ้ามงกุฎตั้งแต่เมื่อแรกรับราชการ เจ้าพระยา พระคลังผูบ้ ดิ าก็ได้ทำ� งานและมีความคุน้ เคยกับกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ ซึง่ อยูใ่ นรุน่ เดียวกัน ทัง้ นีค้ งเป็นเพราะพระราชด�ำริของรัชกาลที่ ๒ ทีโ่ ปรดเกล้าฯให้ เสนาบดีตระกูลบุนนาคทัง้ สองได้ทำ� งานร่วมกับพระราชโอรสทัง้ สองของพระองค์ซงึ่ ในเวลาต่อมาทัง้ กรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์และเจ้าฟ้ามงกุฎต่างทรงได้รบั การอัญเชิญ ให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ตามล�ำดับด้วยการสนับสนุน 10 Constance Wilson, State and Society in the Reign of Mongkut, ๑๘๕๑ – ๑๘๖๘ : Thailand on the Eve of Modernization. (Ph.D.Thesis presented to Cornell University, Microfilms, ๑๙๗๐) p.๒๒๕. 11 เจ้าฟ้ามงกุฎ ประสูติ พ.ศ. ๒๓๔๗.

37 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ท่ า นได้ มี โ อกาสศึ ก ษาและ ฝึ ก งานกั บ บิ ด าผู ้ เ ปรี ย บ เสมื อ น “ครู ” ของท่ า นใน ด้ า นการบริ ห ารบ้ า นเมื อ ง โดยเฉพาะในด้ า นการคลั ง การต่ า งประเทศ และการ ปกครอง

อย่างเต็มที่ของเจ้าพระยาพระคลังและสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทั้งสองท่านได้เป็นก�ำลัง ส�ำคัญในการบริหารบ้านเมืองของรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ นอกจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ จะได้รับราชการใกล้ชิดกับเจ้าฟ้ามงกุฎในระยะ แรกแล้ว ท่านยังได้ ร่วมท�ำงานกับบิดาในกิจการด้านการคลังและกรมท่าซึ่งเป็น โอกาสให้ท่านได้ใกล้ชิดกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ผู้เป็นเจ้านายก�ำกับราชการ กรมพระคลังด้วย พร้อมกันนั้นท่านได้มีโอกาสศึกษาและฝึกงานกับบิดาผู้เปรียบ เสมือน “ครู” ของท่านในด้านการบริหารบ้านเมือง โดยเฉพาะในด้านการคลัง การต่าง ประเทศ และการปกครองหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออกก็ยอ่ มส่งผลให้ทา่ นซึง่ เป็น ผู้มีอุปนิสัยชอบศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองโดยพื้นฐานของฐานะและชาติ ตระกูลอยู่แล้วได้มีโอกาสทราบเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และ การต่างประเทศมากขึน้ โดยได้ลงมือปฏิบตั เิ องแทนทีจ่ ะรูแ้ ต่เพียงทฤษฎีดงั แต่กอ่ น ซึ่งน�ำไปสู่การเพิ่มพูนสติปัญญา ความเฉลียวฉลาดและปฏิภาณไหวพริบ เป็นการ สั่งสมบุคลิกภาพทางการเมืองให้เกิดขึ้นแก่ท่านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สรุป

อา

จกล่าวได้ว่าการที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้มีโอกาสศึกษาและฝึกงานกับบิดา ตลอดจนการได้เข้าใกล้ชิดคุ้นเคยกับเจ้าฟ้ามงกุฎและกรมหมื่นเจษฎา บดินทร์นั้นย่อมก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง ตลอดจนประสบการณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เอื้อต่อบทบาทและแนวความคิดทางการเมืองและสังคมของ ท่านในเวลาต่อมา �

38 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ กับสังคมสยามใหม่

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง � พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน ในรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุคคลที่มีคุณูปการหลากหลาย ประการเมื่อมีการจัดกิจกรรมตามรอย “๑๕๐ ปี ศรีสุริยวงศ์” ขึ้นตามความที่ปรากฏ ในเอกสารจดหมายเหตุทั่วไปแล้ว กลับพบว่ามีบางเรื่องนั้นมีความลึกซึ้งถึงการ สนอง พระราชกิจต่อพระเจ้าแผ่นดินอย่างน่าสนใจยิง่ เช่น การพบต้นฉบับลายเขียน พงศาวดารจีนในความอุปถัมภ์ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ นั้น แม้จะไม่ครบจ�ำนวนที่มี การจัดพิมพ์กต็ าม ได้พบว่าวรรณกรรมของจีนนัน้ ได้มบี ทบาทในการสอนให้รจู้ กั คน จีนและปรับทัศนคติของราษฎร์เข้าสู่โลกใหม่ในสังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน ครั้ น เมื่ อ บ้ า นเมื อ งมี ก ารพั ฒ นาบ้ า นเมื อ งให้ มี ค วามก้ า วหน้ า ทั น ประเทศ เพื่อนบ้านนั้นจึงความจ�ำเป็นต้องสร้างฝีมือช่างส�ำหรับใช้งานการก่อสร้างที่เป็น สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก การเป็นผู้มีความรู้ทางช่างก่อสร้างอย่างใหม่นั้นจึงอยู่ ในความรับผิดชอบของคนในตระกูล “บุนนาค” ผูร้ บั ผิดชอบกรมท่าและทหารฝ่ายใน ที่รับผิดชอบงานช่างหลวง ดังปรากฏผลงานการสร้างมหาเจดีย์ประยุรวงศาวาสวร วิหารและสิ่งก่อสร้างในที่ต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสังคมใหม่เพื่อให้บ้านเมืองมีความเจริญเท่าเทียม กับประเทศเพือ่ นบ้านซึง่ มีชาวต่างชาติเข้าไปมีอำ� นาจนัน้ ยิง่ ท�ำให้ตอ้ งระมัดระวังต่อ การทีช่ าติตะวันตกพยายามจะมีอำ� นาจในประเทศสยาม ด้วยมีเหตุการณ์สบื เนือ่ งมา แต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงส�ำคัญในเรื่อง การค้าขายจนเป็นเหตุที่น�ำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๙ ท�ำให้สยามสามารถเก็บภาษีสินค้าขาเข้าได้วาละ ๑,๕๐๐ บาท และ ๑,๗๐๐ บาท และขณะนั้นได้มีคนจีนพากันอพยพเข้ามาจ�ำนวนมาก ท�ำให้เกิดพ่อค้าคนกลาง ใน การน�ำสินค้าอุปโภคบริโภคไปแลกกับสินค้าและผลผลิตการเกษตร หรือท�ำงานให้กบั • สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง กรมพระคลังสินค้า ด้วยเหตุที่คนจีนนั้นเป็นอิสระจากการควบคุมก�ำลังคนในระบบ บุนนาค)

39 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


• เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง

ชาวตะวั น ตกนั้ น ต้ อ งการ ให้ ส ยามเปลี่ ย นระบบการ ค้าผูกขาดที่มีมาแต่เดิมนั้น เป็นการค้าแบบเสรี หากไม่ ยอมก็ จ ะมี เ หตุ ก ารณ์ เ ช่ น เดียวกับประเทศอื่น

ไพร่ของประเทศ จึงสามารถประกอบอาชีพการค้าและสะสมเงินทุนได้มากในขณะ ทีค่ นสยามท�ำไม่ได้เลยท�ำให้ตอ้ งเปลีย่ นแปลงการจัดเก็บภาษีอากร ให้เป็นระบบเจ้า ภาษีนายอากรแทน ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ท�ำให้มีการพิมพ์พงศาวดารจีนเผย แพร่เพื่อให้รู้จักคนจีนมากขึ้นเพื่อจะไปปรับทัศนคติในการท�ำงานร่วมกัน ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จขึ้นครอง ราชย์แล้วสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึน้ ด้วย เหตุทจี่ นี แพ้องั กฤษในสงครามฝิน่ และพม่าเสียดินแดนให้แก่องั กฤษ ท�ำให้พระองค์ ทรงตระหนักพระทัยเป็นอย่างดีว่า ชาวตะวันตกนั้นต้องการให้สยามเปลี่ยนระบบ การค้าผูกขาดทีม่ มี าแต่เดิมนัน้ เป็นการค้าแบบเสรี หากไม่ยอมก็จะมีเหตุการณ์เช่น เดียวกับประเทศอืน่ อีกทัง้ ได้พบว่ามีปญ ั หาถึงความยุง่ ยากในการติดต่อการค้าขาย ระหว่างชาวตะวันตกกับคนสยามทีไ่ ม่สนั ทัดในภาษาเจรจาความ จนท�ำให้การค้าขาย กับสยาม ซึง่ เป็นการค้าผูกขาดโดยพระคลังสินค้านัน้ ไม่สะดวกในการติดต่อซือ้ ขาย สินค้า เพราะต้องซือ้ ขายผ่านพระคลังสินค้าเท่านัน้ อีกทัง้ อัตราภาษีอากรขาเข้าและ ขาออกของไทยมีอตั ราไม่แน่นอนและใช้วธิ เี ลือกปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เท่าเทียมกัน โดยรัฐบาล สยามใช้สิทธิเลือกซื้อก่อน และบังคับซื้อในราคาต�่ำ หากเหลือความต้องการจึงน�ำ ออกไปขายได้ ขณะนั้นชนชั้นสูงของสยามเป็นกลุ่มคนที่ผูกขาดการค้าต่างประเทศ เอาไว้ ซึ่งมีการร่วมมือกับกับชาวจีนและต่างหวาดระแวงท่าทีของชาวตะวันตก ดังนั้นการที่ เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง เดินทางเข้ามาขอแก้สัญญาทางการค้านั้น ประเทศสยามจึงอยู่ในภาวะจ�ำยอมที่จะผ่อนปรน ทั้งที่สยามนั้นเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ในทุกข้อแต่เพื่อรักษาความอยู่รอดของชาติจากประเทศมหาอ�ำนาจในอนาคต จึงมี การเจรจาและมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ ซึ่งมีสาระส�ำคัญ ทีเ่ ป็นเหตุให้สงั คมสยามนัน้ มีการเปลีย่ นแปลงตามข้อเรียกร้องทีย่ ากจะขัดขืน กล่าว คือท�ำให้สยามต้องยกเลิกการค้าผูกขาดโดยพระคลังสินค้าเป็นการค้าเสรี ยกเลิก ภาษีปากเรือให้มีการเก็บภาษีขาเข้าสินค้า ในอัตราร้อยละ ๓ อีกทั้งต้องอนุญาต ให้ข้าวเป็นสินค้าส่งออกและอนุญาตให้น�ำฝิ่นเข้ามาจ�ำหน่ายแก่เจ้าภาษีฝิ่นอันเป็น สนธิสญ ั ญาทีท่ ำ� ให้สยามต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและไม่มกี ารก�ำหนดอายุ สิ้นสุดของสัญญา นอกจากนี้ยังระบุไว้อีกว่าหากมีการยกเลิกหรือแก้ไขสนธิสัญญาฉบับนี้จะ กระท�ำได้ต่อเมื่อคู่สัญญายินยอมและกระท�ำได้ภายหลังลงนามแล้ว ๑๐ ปี อันเป็น ผลให้สนธิสัญญาฉบับนี้กลายเป็นต้นแบบที่ท�ำให้ชาติอื่นต่างเข้ามาท�ำสัญญาใน ลักษณะเดียวกัน จนสร้างปัญหาเศรษฐกินระยะยาวแก่สยามประเทศ ด้วยท�ำให้ สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรม สมัยใหม่ในเวลาต่อมา ดังปรากฏว่ามีการใช้วิธีการค้าแบบเสรี กรมพระคลังสินค้า ได้ถกู ยกเลิก ท�ำให้การค้าและระบบเศรษฐกิจของสยามขยายตัวมากขึน้ และน�ำไปสู่ ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ท�ำให้มกี ารเปลีย่ นแปลงการผลิตและการใช้เงินตราเป็น ตัวกลางในการแลกเปลีย่ นซือ้ สินค้าและเปลีย่ นการผลิตต่างทีใ่ ช้เลีย้ งคนในสยามแต่

40 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

เดิมนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและยกให้เป็นสินค้าระหว่าง ประเทศ ได้แก่ ข้าว ไม้สัก ดีบุก น�้ำตาล ด้วยสินค้าดังกล่าวนั้นเป็นสินค้าที่ เป็น วัตถุดบิ ส่งป้อนเข้าแหล่งอุตสาหกรรมของโลก ท�ำให้เศรษฐกิจสยามนัน้ ถูกผนวกเข้า เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการผลิตเพือ่ บริโภคกันในประเทศได้เปลีย่ นมาเป็นการผลิตเพือ่ การ ค้า ซึ่งมีการน�ำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตด้วย อันเป็นผลต่อเนื่องให้หัตถกรรมใน ครัวเรือนนั้นล่มสลายลง ดังเห็นได้จากการตั้งเครื่องจักรในโรงสีข้าว จนท�ำให้การสี ข้าวแบบพื้นบ้านด้วยวิธีการง่ายๆด้วยครกไม้ การต�ำข้าว ฝัดข้าว หมดความส�ำคัญ ในทีส่ ดุ นอกจากนีย้ งั ต้องขยายพืน้ ทีก่ ารท�ำนาปลูกข้าวในพืน้ ทีร่ าบภาคกลางมีการ ขุดคลอง มหาสวัสดิ์ในรัชกาลที่ ๔ และขุดคลองรังสิต ในรัชกาลที่ ๕ เพื่อเปิดที่ดิน สองข้างนัน้ เป็นนาปลูกข้าวแห่งใหม่ ซึง่ มีการเดินสวนเดินนาวัดทีด่ นิ และการรับรอง กรรมสิทธิ์ที่ดินขึ้น ผู้เป็นเจ้าของทุ่งนาส่วนนั้นให้เป็นชนชั้นสูงกว่าชาวนา จึงเป็น ปัญหาระหว่างเจ้าของทีน่ าและชาวนาผูเ้ ช่า ด้วยชาวนาอาชีพส่วนใหญ่นนั้ ไม่มที ดี่ นิ เป็นของตนเอง จึงอยู่ในฐานะผู้เช่าที่นาท�ำกิน หากมีที่นาของตนก็มักเป็นทุ่งนาที่มี คุณภาพต�ำ่ และอยูไ่ กลแหล่งน�ำ้ จึงมีการท�ำสวนท�ำไร่ในพืน้ ทีอ่ นื่ มากขึน้ จนท�ำให้เกิด การขยายตัวของอุตสาหกรรมป่าไม้ และเหมืองแร่ขึ้นในหลายพื้นที่ ด้วยเหตุแห่งสนธิสัญญาเบาริ่งนั้นท�ำให้มีการปฏิรูปการคลังสมัยรัชกาลที่ ๕ • ค�ำบรรยายภาพ โดยตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์และกรมพระคลังมหาสมบัติ เพื่อควบคุมการรวบรวม และการจัดเก็บภาษีอากรเพื่อน�ำเข้าเป็นงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก ท�ำให้ ขุนนางส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่เคยได้ประโยชน์จากภาษีอากรแบบเก่านั้นต้อง ลดบทบาททางการค้าขายหรือเศรษฐกิจของตนลง ซึ่งมีการแยกทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ออกจากทรัพย์สินที่เป็นงบประมาณของประเทศท�ำให้มีการจัด ตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น เช่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคาร ชาร์เตอร์ และ บุคคลัภย์ หรือ สยามกัมมาจล อันเป็นธนาคารแห่งแรกของสยามประเทศ ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ การท�ำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งฉบับนี้สืบเนื่องจากอังกฤษทราบว่ากษัตริย์สยาม ประเทศพระองค์ใหม่ทรงแสดงความต้องการจะท�ำสนธิสัญญาด้วย ด้วยในรัชกาล • สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ก่ อ นนั้ น มี ป ั ญ หากั น อยู ่ รั ฐ บาลอั ง กฤษจึ ง ส่ ง จอห์น เบาว์ริงเข้ามาท�ำสนธิสัญญาฉบับใหม่ใน พ.ศ.๒๓๙๘ โดยยอมปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม สยาม ให้คนทูตเชิญพระราชสาส์นสมเด็จพระนาง เจ้าวิกตอเรียเข้ามาถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีกว่าทูตประเทศ ตะวันตกที่ผ่านมา จอห์น เบาว์ริง พักอยู่ในกรุง สยาม ๑ เดือนและใช้เวลาประมาณ ๑ สัปดาห์ใน การเจรจา บุคคลผูม้ บี ทบาทส�ำคัญต่อสนธิสญ ั ญา นีค้ อื เซอร์ จอห์น เบาว์รงิ ผูแ้ ทนประเทศอังกฤษ

41 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


การท�ำให้สยามประเทศรอด จากการตกเป็ น อาณานิ ค ม โ ด ย ต ร ง ไ ด ้ นั้ น ถื อ เ ป ็ น คุณูปการของเจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง) คนหนุ่มผู้ มองการณ์ ไ กลกั บ อนาคต ประเทศถึงกับยอมขัดใจกับ สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหา ประยุรวงศ์ (ดิศ)

• ค�ำบรรยายภาพ

ซึ่งถือเป็นต้นแบบของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ได้ผ่านการเจรจากับบุคคลส�ำคัญที่เป็น ผู้ส�ำเร็จราชการฝ่ายสยาม ๕ คน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) ผู้ ส�ำเร็จราชการทัว่ พระราชอาณาจักร ประธานผูแ้ ทนรัฐบาลสยาม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่, สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา พิไชยญาติ (ทัด) ผู้ส�ำเร็จราชการพระนคร , เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รักษาการสมุหพระกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝา่ ยตะวันตกและ เจ้าพระยารวิวงศ์ พระคลัง และผู้ส�ำเร็จราชการกรมท่า บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่าย ตะวันออก การเจรจาความสนธิสญ ั ญาครัง้ นัน้ จอห์น เบาว์รงิ ได้กล่าวยกย่องผูแ้ ทนรัฐบาล สยามสองท่าน ว่ามีความเห็นสอดคล้องกับตน คือ เจ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง) และ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และเห็นว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ประยุรวงศ์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ นั้นเป็นผู้มีความคิดในการค้า ผูกขาด และคัดค้านข้อเสนอของทูตอังกฤษอยู่เสมอ ซึ่งเบาว์ริงเห็นว่า ทั้งสองคนนี้ เองที่ท�ำให้การเจรจาขอแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในช่วงปลายรัชกาล ที่ ๓ นั้นไม่ประสบความส�ำเร็จ ดังนั้นในการเจรจาครั้งนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นั้น ได้มีความเห็นต่อระบบผูกขาดและการทุจริตของชนชั้นสูงอย่างตรงไปตรงมา และ ออกปากช่วยทูตอังกฤษในการแก้ไขสนธิสัญญา จนถึงกับท�ำให้เบาว์ริง สงสัยว่าจะ พูดไม่จริง แต่สุดท้าย เบาว์ริ่งยอมรับว่าเป็นคนพูดจริงท�ำจริง และได้สรรเสริญว่า เป็นบุคคลที่ฉลาดยิ่งกว่าคนอื่นที่พบปะมาแล้ว แม้ว่าผลการเจรจาสนธิสัญญานั้น จะท�ำให้สยามต้องเสียอ�ำนาจอธิปไตยทางการศาล จนมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เกิดขึ้น โดยจ�ำยอมให้เกิด “การค้าเสรี” จนท�ำให้การผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายตลอดจนขุนนางสยามสิ้นสุดลง แต่การ ท�ำให้สยามประเทศรอดจากการตกเป็นอาณานิคมโดยตรงได้นั้น ถือเป็นคุณูปการ ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) คนหนุ่มผู้มองการณ์ไกลกับอนาคตประเทศถึงกับ ยอมขัดใจกับ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) ผู้ส�ำเร็จราชการทั่วพระ ราชอาณาจักร ประธานผูแ้ ทนรัฐบาลสยาม ผูเ้ ป็นบิดากับสมเด็จเจ้าพระยาบรมไชย ญาติ (ทัด) ผู้ส�ำเร็จราชการพระนครฯ ผู้เป็นอา เพื่อรักษาอาณาจักรไม่ให้ต่างชาติ มีอ�ำนาจเช่นเดียวกับประเทศอื่นที่ตกเป็นเมืองของประเทศมหาอ�ำนาจไปสิ้นแล้ว ดั ง นั้ น การประคั บ ประคองประเทศสยามให้ อ ยู ่ ร อดปลอดภั ย จึ ง เป็ น บทบาทส� ำ คั ญ ของขุ น นางน้ อ ยใหญ่ ฯ โดยเฉพาะบุ ค คลส� ำ คั ญ ที่ มี ต� ำ แหน่ ง ถึง”สมเด็จเจ้าพระยา”นัน้ ก็มแี ต่คนในตระกูล”บุนนาค”เท่านัน้ ด้วยเหตุนสี้ งั คมสยาม ใหม่หลังสนธิสัญญาเบาริ่ง จึงท�ำให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูประบบงาน ต่างๆ ทุกด้าน ซึง่ ต้องมีการศึกษาและตามรอยสืบค้นข้อมูลต่อไปเพือ่ ให้เห็นคุณปู การ ของบุคคลส�ำคัญในตระกูลนี้ชัดเจนขึ้น

พระมหาธาตุเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส

42 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• (บน) ค�ำบรรยายภาพ ระบรมธาตุมหาเจดีย์ ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ฝั่งธนบุรีเชิง • (ล่าง) ค�ำบรรยาย สะพานพุทธยอดฟ้าฯ เป็นเจดีย์สูงที่มีรูปแบบโครงสร้างที่พิสดารแปลกกว่า เจดีย์องค์ใด กล่าวคือพระบรมธาตุมหาเจดีย์แห่งนี้ เป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว�่ำ สูง ๖๐.๕๒๕ เมตร ฐานล่างส่วนนอกวัดโดยรอบได้ ๑๖๒ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ เมตร มีช่องคูหาเรียงรายล้อมรอบชั้นล่างของเจดีย์ถึง ๕๔ คูหา ชัน้ บนถัดจากช่องคูหาขึน้ ไปนัน้ มีเจดียข์ นาดเล็ก ๑๘ องค์อยู่ เรียงรายโดยรอบ พระเจดีย์องค์ใหญ่ ครั้งแรกนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นผูเ้ ริม่ สร้างพระเจดียอ์ งค์นขี้ นึ้ เมือ่ สร้างวัดประยุรวงศาวาสฯ เสร็จแล้ว การสร้าง พระเจดีย์นี้ไม่ทันแล้วเสร็จ ผู้สร้างได้ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ท�ำให้ สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุญนาค) บุตรชายองค์ใหญ่ได้สร้างพระ เจดียต์ อ่ จนเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๔ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๑๔ พระเจดียอ์ งค์ใหญ่ถกู ฟ้าผ่าจนยอดพระเจดียห์ กั ลงและไม่ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมยอดเจดีย์ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เจ้า อาวาสรูปที่ ๑๐ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์องค์เล็กรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ และ ซ่อมก�ำแพงรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ เสร็จแล้วจัดงานฉลองพระเจดีย์และอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานไว้บนพระเจดีย์องค์ใหญ่

43 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


• ค�ำบรรยายภาพ

ส�ำหรับพระบรมสารีริกธาตุ ของประเทศศรีลังกานั้นได้ อัญเชิญตัง้ ไว้ในห้องพิพธิ ภัณฑ์ พร้ อ มกั บ พระพุ ท ธรู ป และ พระเครื่องใน กรุที่ ๑ และกรุ ที่ ๒ โดยจัดท�ำเป็นพิพธิ ภัณฑ์ ในอาคารตรงฐานพระเจดีย์ โดยให้ชอื่ ว่า “พิพธิ ภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร”

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๑ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อยู่ อุตฺตรภทฺโท) เจ้าอาวาสฯใน ขณะนั้น ได้จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดพระเจดีย์ขึ้นหลังจากที่ทิ้งไว้เป็นเวลานาน ถึง ๔๗ ปี ในโอกาสเดียวกันนี้ พระสมุห์ปุ่น (ต่อมาเป็นพระครูสาราณียคุณ) ได้ให้ จารึกข้อความลงในกระดานชนวน วางไว้หอ้ งบรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุวา่ “พระสมุห์ ปุ่น ได้จารึกพระธรรมประจุพระเจดีย์ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค�่ำ เดือน ๘ หลังปีมะแม ๑๒๖๙ พระพุทธศาสนา ๒๔๕๐ เป็นส่วนอดีต ๒๕๔๙ ส่วนอนาคต ขอให้เป็นปัจจัย แด่พระวิริยาธิกโพธิญาณ ในอนาคตกาลเทอญ” ครั้นเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๔๙ ตามจารึกนั้นเป็นอัศจรรย์ คือ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโฺ ต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร องค์ปจั จุบนั ต่อมาได้เป็น พระพรหมบัณฑิต นัน้ ได้ดำ� เนินการบูรณปฏิสงั ขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดียค์ รัง้ ใหญ่ ได้พบพระบรมสารีรกิ ธาตุและพระกรุจำ� นวนมากในกรุบนองค์พระเจดียใ์ หญ่เมือ่ วัน ที่ ๕ และ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ โดยเฉพาะพระเครื่องในบาตรนั้นพบแผ่นทอง ขนาดเท่าฝ่ามือ ๓ แผ่น ทุกแผ่นมีจารึกภาษาไทยข้อความเดียวกันว่า “วันพุธที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๔ ตรงกับ “วันมาฆบูชา” เพ็ญกลางเดือน ๔ ได้ท�ำการบรรจุพระบรม สารีริกธาตุที่พระเจดีย์นี้พร้อมด้วยพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษและพระเครื่อง ประเภทต่างๆ” ซึ่งบรรจุในภายหลังนั้นเป็นพระเครื่องจ�ำนวนนับพันองค์ เมื่อมีการ ค้นพบพระบรมสารีริธาตุองค์เดิมและวัตถุโบราณแล้ว เจ้าอาวาสได้อัญเชิญลงมา แล้วเททองเป็นรูปเจดีย์ทองค�ำ น�้ำหนักกิโลกับสองขีด แล้วน�ำพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุ แล้วอัญเชิญประดิษฐานที่เดิม ส�ำหรับพระบรมสารีริกธาตุของประเทศ ศรีลังกานั้นได้อัญเชิญตั้งไว้ในห้องพิพิธภัณฑ์ พร้อมกับพระพุทธรูปและพระเครื่อง ใน กรุที่ ๑ และกรุที่ ๒ โดยจัดท�ำเป็นพิพิธภัณฑ์ในอาคารตรงฐานพระเจดีย์โดยให้ ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พระประยูรภัณฑาคาร” ส�ำหรับพระมหาเจดีย์เมื่อปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว ในปีรุ่งขึ้นสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธี อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนองค์พระเจดีย์ใหญ่ในวาระสมโภช ๑๘๐ ปีวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๖.๕๕ น. พระบรมธาตุมหาเจดีย์แห่งนี้มีความส�ำคัญยิ่งด้วยเป็นฝีมือทางช่าง ก่อสร้างที่สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ด�ำเนินการต่อ จนส�ำเร็จคือเป็นเจดีย์ที่สามารถขึ้นไปถึงห้องภายในองค์เจดีย์ ซึ่งมีแกนกลางเจดีย์ ขนาดใหญ่คือ เสาครูตั้งอยู่แห่งเดียวซึ่งเป็นหลักฐานส�ำคัญถึงฝีมือช่างของคนสกุล บุนนาค แห่งเดียว �

44 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

กับการดนตรีไทย

� ถาวร สิกขโกศล : บรรยายพิเศษในงานเปิดบ้านวิทยาลัยการดนตรี สุดารัตน์ ชาญเลขา : เรียบเรียงจากแถบบันทึกเสียง

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรชายคนโตของ สมเด็จเจ้าพระยา มหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ดังนัน้ หลังจากทีบ่ ดิ าสิน้ ชีวติ ไป แล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์จงึ เป็นผูน้ ำ� ของครอบครัวมีขา้ ทาสบริวาร มากมายรวมทัง้ นักดนตรีและนักร้องทีเ่ ก่งกาจสามารถเสมือนรวมดาวทางการดนตรี ไทยมาไว้ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯท่านนี้ เริ่มจากครูทัด คนปี่พาทย์ที่เก่งที่สุดในต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้ประพันธ์เพลง บุหลัน สุรนิ ทราหู โครงสร้างเพลงของครูทดั เป็นกลบท เพราะครูทดั เป็นลูกกวี เพลง ของครูทัดจึงเป็นเพลงที่ยอดเยี่ยม ครูดนตรีที่เก่งมากอีกท่านหนึ่งคือครูมีแขกหรือ พระประดิษฐ์ไพเราะ ผมได้ทราบข้อมูลมาจากลูกหลานของท่านว่าจริงๆแล้วตระกูล ครูมแี ขกคือ ปีพ่ าทย์หลวงของเจ้าคุณ แต่เมือ่ มีการเปลีย่ นราชวงศ์ครูมแี ขกก็อยูอ่ ย่าง สงบเสงีย่ มจนกระทัง่ ได้ขนึ้ ทูลเกล้าเพลงเชิดจีนสมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั และยังมี เพลงอืน่ ๆอีกมากมาย จนกระทัง่ สิน้ พระบาทสมเด็จ พระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ครูมแี ขก ก็ได้มาอยูก่ บั สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์และได้ประพันธ์เพลงพระอาทิตย์ ชิงดวง ซึง่ เป็นเพลงลา ไว้ให้กบั วงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์และในบรรดา เพลงลาทัง้ หลายไม่วา่ จะเป็นเพลงอกทะเล หรือเพลงลาอืน่ ๆ เพลงพระอาทิตย์ชงิ ดวง ถือเป็นเพลงยอดฮิตเหนือกว่าเพลงลาทั้งปวง เพราะว่าเพลงเดียวนั้นจะมีทางร้อง ของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน แสดงว่า เพลงนี้ได้รับความนิยมมากจึงมีการแต่งทาง ร้องของใครของมัน ผมได้มโี อกาสไปดูหนังสือทีก่ รมไปรษณียท์ ำ� ว่าใครอยูท่ ไี่ หนบ้าง ก็ได้พบว่ามีชื่อวงปี่พาทย์สมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่ที่น่าขนลุกคือ นายช้อย วงปี่พาทย์ บ้านอยูช่ า่ งพลอย ครูชอ้ ยเดิมอยูถ่ นนช่างพลอย วัดบุปผาราม ครูชอ้ ยอยูก่ บั ตระกูล บุนนาค ครูแช่มก็คอื ขุนอินทร์ในภาพยนตร์เรือ่ งโหมโรง เป็นคนเก่งมากแต่ไม่ได้รา้ ย อย่างในเรื่องโหมโรง ท่านเก่งมากจนเจ้าพระยาเทเวศร์น�ำตัวไปให้ออกจากไพร่สม

45 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


• วงปี่พาทย์เครื่อง ๕ ในสมัย ร.๕

ส�ำนักดนตรีใหญ่ ๒ ส�ำนัก คือ ส�ำนักประดิษฐ์ไพเราะกับ ส�ำนักเสนาะดุรย ิ างค์ ล้วนมา จากบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ

มาเป็นไพร่หลวงเป็นคนของพระเจ้าอยู่หัว แต่ครูช้อยก็ยังคงเป็นไพร่สมขึ้นอยู่กับ ตระกูลบุนนาคตลอดมา เพราะฉะนั้นส�ำนักดนตรีใหญ่ ๒ ส�ำนักคือ ส�ำนักประดิษฐ์ ไพเราะกับส�ำนักเสนาะดุริยางค์ ล้วนมาจากบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทั้งหมด ซึ่งแต่ เดิมทางเพลงของพระประดิษฐ์ไพเราะจะมีลลี าเป็นแบบบ้านนอก เพราะฉะนัน้ เวลาที่ จะต้องขึน้ ประชันก็จะให้พระยาประสานดุรยิ ศัพท์ซงึ่ เป็นศิษย์เอกของครูชอ้ ยเป็นคน ปรับ ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะผู้นี้คือพระอภัยมณีตัวจริงของสุนทรภู่ ครูมี แขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะผู้นี้ได้ท�ำให้ปี่ของพระอภัยมณีหมดความนิยมไปเลย เพราะในยุคนั้นพระอภัยมณีจะเป่าปี่นอก แต่ครูมีแขกเริ่มใช้ปี่ในดังนั้นเมื่อปี่นอก ของพระอภัยมณีมาเจอปี่ในของครูมีแขกจึงท�ำให้หมดความนิยมไปเลย เมื่อเข้าสมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มให้ชาวบ้านแสดงละครผู้หญิงได้สมัยก่อนคน ร้องเป็นผู้ชายหมด เมื่อผู้หญิงมามีบทบาท ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะก็ได้ ประพันธ์เพลงทยอยเดี่ยวขึ้นเพื่อใช้ส�ำหรับปี่ในและปี่นอก พอขึ้นรัชกาลที่๕ ปี่นอก ก็เริ่มหมดความส�ำคัญลง แต่ครูแช่มนี่แหละเห็นว่าปี่นอกมีอยู่มากแต่ไม่ได้ใช้จึงใช้ ความสามารถที่มีอยู่มาเป่าปี่ในเลาเดียวให้เป็นทั้งปี่ในและปี่นอก คือท่านเป่าปี่ใน ให้เป็นเสียงปี่นอก ในภาพยนตร์เรื่องโหมโรง มีการประชันตีระนาดเอกระหว่าง นายศร กับ ขุน อินทร์ ตัวจริงเรือ่ งจริงคือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (นายศร) กับ พระยาเสนาะดุรยิ างค์ (นายแช่ม) ทีผ่ มรูม้ านัน้ ประชันตีระนาดครัง้ นัน้ ผลคือเสมอกัน แต่ภาพยนตร์มาสร้าง ก็ต้องให้เกิดรสชาติดุเดือดจึงท�ำให้มีแพ้มีชนะแต่เมื่อมีการประชันเป่าปี่เพลงแขก มอญออกท่อนตรงนีช้ ดั เจนภาพยนตร์ไม่ได้ทำ� ตรงนี้ พระยาเสนาะฯเป่าท่อน ๑ แบบ ธรรมดา หลวงประดิษฐ์ไพเราะก็รับได้ แก้ได้ แต่พอมาถึงท่อน ๒ พระยาเสนาะเป่า ทั้งท่อนเป็นเสียงต�่ำทั้งหวานทั้งเก็บ หลวงประดิษฐ์แก้ หลังจากนั้นพระยาเสนาะจึง ได้น�ำเอาลีลาของปี่นอกมาใช้จนเป็นทางปี่ของพระยาเสนาะดุริยางค์มาจนทุกวันนี้ นอกจากนีพ้ ระยาเสนาะฯ ยังแสดงให้เห็นถึงความเก่งทีส่ ามารถแต่งเพลงในลีลาการ ร้องได้ยอดเยีย่ ม เช่น เสียงครวญทีบ่ รรดานักร้องใช้ขบั กันทุกวันนี ้ การขับเสภาแต่ ดัง้ เดิมนัน้ มาจากการแหล่ พระยาเสนาะฯ พัฒนาขึน้ จนฟังไพเราะมีเสียงครวญทีน่ า่ ฟัง ทัง้ นีเ้ พราะตระกูลของท่านเริม่ จากคุณปูท่ ชี่ อื่ ท่านค�ำโด่ง เป็นคนขับเสภาทีท่ า่ น สุนทรภู่ได้บันทึกชื่อไว้ ครูช้อยผู้เป็นบิดาที่ขับเสภายอดเยี่ยม พระยาเสนาะฯ เอง ก็ขับเสภาด้วยเสียงที่ดีมาก อาจารย์เจริญใจ คุณครูเลื่อน บุตรสาวทั้ง ๒ คน ล้วน สืบทอดการขับร้องและขับเสภากันมาทั้งนั้น เรื่องราวเกี่ยวกับการขับร้องของสายพระยาเสนาะ ยังมีเรื่องหนึ่งที่น่ารู้ คือ ครัง้ หนึง่ ในการประชุมเกิดค�ำถามเกีย่ วกับชือ่ เพลงมโหรีในเรือ่ งกากี พระยาเสนาะฯ ตอบเลยว่า ฉิ่งกลาง สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงเรียกเพลงต้นเพลงฉิ่ง ว่า ฉิ่งกลาง ฉิ่ง กลางก็คือต้นเพลงฉิ่ง มีบันทึกเรื่องการขับร้องของกรมหมื่นสถิตด�ำรงสวัสดิ์ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้อง ท่านกล่าวไว้ว่า ฉิ่งกลางคือตันเพลงฉิ่ง ส่วนเรื่องเพลง พระอาทิตย์ชิงดวงทางเก่าซึ่งเป็นทางของบ้านพระยาเสนาะฯ จะร้องเอื้อนหักเสียง ลงตรงทีว่ า่ “พระอาทิตย์ชงิ ดวง…ช่วงเอือ้ นหักเสียงลงคล้ายหลบเสียง… พระจันทร์ เด่น” ทางของท่านเจตนาให้หลบเสียงลงเป็นเสียงต�่ำไม่ให้ขึ้นเสียงสูงเพราะมีนัย ทางการเมือง การที่ให้ร้องเสียงต�่ำเพราะพระจันทร์เด่นนั้นเป็นพระจันทร์ที่อับเสียง

46 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ต�่ำเจตนาให้เห็นว่า พระจันทร์นั้นอับแสง ถ้าใช้เอื้อนเสียงสูงจะท�ำให้พระจันทร์ แสงจ้าสว่าง เพราะตอนนั้นตระกูลบุนนาคซึ่งเป็นสายของสมเด็จเจ้าพระยามหา ประยุรวงศ์ คือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ใช้ตราสุริยมณฑล คือพระอาทิตย์ ส่วน สมเด็จเจ้าพระยาพิชัยญาติ คือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยใช้ตราจันทรมณฑล พอ สิ้นท่านแล้วสายของท่านไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ด้วยเหตุนี้จึงมีการร้องเสียงเอื้อนตรง หน้าค�ำว่า “พระจันทร์เด่น” เป็นเสียงต�ำ ่ จึงนับว่ามีนยั ส�ำคัญตรงนีค้ รับ นับว่าตระกูล ของพระยาเสนาะดุริยางค์เป็นคนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มาโดยตลอด สิง่ หนึง่ ทีเ่ ป็นหลักฐานให้ประจักษ์คอื บ้านของพระยาเสนาะฯ หลังดั้งเดิมจะตั้งอยู่ที่บริเวณข้างๆสระว่ายน�้ำ (ในปัจจุบัน) ภายในมหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะมีเรือน ๓ หลัง ส�ำนักพระยาเสนาะดุรยิ างค์จริงๆจะ อยู่ตรงนี้ ต่อมาเมื่อพื้นที่บริเวณนั้นถูกเปลี่ยนเป็นสถานศึกษา บ้านท่านจึงต้องย้าย ไปอยูบ่ ริเวณวัดประดิษฐารามนัน้ คือบ้านหลังปัจจุบนั นี้ เรือนหลังนีย้ าวมากเกินกว่า พืน้ ที่ จึงได้มกี ารรือ้ ไปถวายวัดหนึง่ หลัง อีกหลังหนึง่ อาจารย์เจริญใจอาศัยอยูท่ บี่ า้ น หลังนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯพระราชทานนามว่า เรือนมโหรี ก่อนถึงช่วงสุดท้าย ผมมีขา่ วจะแจ้งว่าปีหน้าปี ๒๕๕๙ จะครบอายุ ๑๕๐ ปีของ พระยาเสนาะดุริยางค์ บ้านสมเด็จฯ น่าจะจัดอะไรบ้าง เพราะว่า พระยาเสนาะฯคือ บุคคลส�ำคัญทางดนตรีไทยที่อยู่ในบ้านของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ด้านการดนตรีไทยของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั้นจึง นับว่าสุดยอดเพราะท่านให้ความส�ำคัญ แม้กระทั่งสามก๊กที่น�ำไปพิมพ์เผยแพร่ก็ ขอยืมต้นฉบับมาจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ บทขับร้องเพลงแสนค�ำนึงที่น�ำมาจากบท ละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนที่วันทองครวญนั้นส�ำนวนเดิมมันจะสั้นแต่ส�ำนวน ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นลูกคนโตของเจ้าคุณทหาร ท่านได้เอาสมุดไทยรวมทั้ง สมุดฝรั่งไปถวายไว้ที่วัดบุปผาราม ตามที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าส�ำนักบ้านของนักดนตรีที่มีชื่อเสียง และเป็นส�ำนักใหญ่ของเมืองไทยนั้น อยู่ที่บ้านของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์นั่นเอง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าสมเด็จเจ้าพระยานับว่าโชคดีที่ได้คุณครู เลื่อน สุนทรวาทิน บุตรสาวคนโตของพระยาเสนาะฯมาเป็นครูสอนขับร้องตั้งแต่ เป็นภาควิชาดนตรีในสมัยวิทยาลัยครูดนตรี คุณครูเลือ่ นถือได้วา่ เป็นจอมยุทธ ก่อน ที่คุณครูจะสิ้นชีวิตหนึ่งปี ท่านได้ถ่ายทอดเพลงให้ผมทางนึงเป็นเพลงสักวาแบบ โบราณซึ่งไม่มีใครได้เลย การดนตรีไทยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพราะเกิดจากบุญ บารมีของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ท่านยังได้ส่งให้คนไปต่อเพลงจาก นักดนตรีเจ้านโรดมอีกด้วย จะเห็นได้ว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ท่าน สุดยอดทั้งด้านดนตรีไทยและด้านวรรณคดี สมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะได้เป็นบุคคล ส�ำคัญของโลก �

47 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

คุ ณ ครู เ ลื่ อ นถื อ ได้ ว ่ า เป็ น จอมยุทธ ก่อนทีค่ ณ ุ ครูจะสิน ้ ชีวิตหนึ่งปี ท่านได้ถ่ายทอด เพลงให้ ผ มทางนึ ง เป็ น เพลงสั ก วาแบบโบราณซึ่ ง ไม่ มี ใ ครได้ เ ลย การดนตรี ไทยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็น เพราะเกิดจากบุญบารมีของ สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์


และเห็นว่าการท�ำหลังคาเป็นรูปกลมนั้นเป็นเรื่องผิดแบบแผน ท่านจึงให้คุณท้าวราชกิจฯ น�ำความขึ้นกราบบังคมทูลขอแก้หลังคาพระที่นั่ง ให้เป็นยอดปราสาทตามพระราชประเพณีโบราณ เรื่องนี้มีหลักฐานกล่าวไว้ใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๐ มีความว่า “ท้าว ราชกิจมาทูลด้วยสมเด็จเจ้าพระยาสั่งมาให้กราบทูลขอแก้หลังคาพระที่นั่งใหม่ให้ เป็นยอดปราสาท ๓ ยอด ทรงตอบไปว่าชอบแล้ว การเรื่องนี้ได้ทรงพระราชด�ำริไว้ ในพระทัยอยู่ว่า หากจะท�ำด้วยในพระองค์ ก็ยังไม่ได้ทรงสร้างปราสาทในกรุงเทพฯ เลย ประการหนึง่ ชือ่ เสียงสมเด็จเจ้าพระยา ทีเ่ ป็นผูข้ อก็จะได้ปรากฏ ในแผ่นดินเป็น ชื่อเสียงมาก ขอให้ท่านเรียกพระยาราชสงครามไปคิดเถิด”

เล่าเท่าที่รู้ � ส.พลายน้อย

กา

รเขียนเรือ่ งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นเรือ่ ง ยาก เพราะมี คนเขียนกันมาก มีผู้รู้ในสาขาวิชาต่างๆ เขียนกันแทบจะ หมดทุกเรื่อง เมื่อได้รับการขอร้องให้เขียนอีกสัก เรื่องหนึ่ง จึงเกรงว่าจะเขียนเรื่อง ที่ใครๆ ก็รู้ แต่เมื่อขัดไม่ได้ก็จะเขียนเล่าเท่าที่รู้หรือเรื่องที่ประทับใจ เป็นเรื่องสั้นๆ เพราะเพิ่งสร่างจากพิษไข้ สมองยังมึนตื้ออยู่ เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นคนทันสมัย ความคิดความอ่าน ทันฝรัง่ รูข้ นบธรรมเนียมของคนต่างชาติ เพราะหน้าทีก่ ารงานและคนในตระกูลของ ท่านเกี่ยวข้องกับพวกพ่อค้าวานิชนานาประเทศ แต่ท่านก็ไม่หลงตาม มีความเป็น อยู่แบบไทยตลอดมา ถ้าเห็นสิ่งใดไม่เหมาะไม่ควรก็กล้าที่จะคัดค้านออกความเห็น ชี้แจงว่าควรจะเป็นอย่างไร เรื่องที่ผู้เขียนยังรู้สึกนิยมชมชอบอยู่ก็คือเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้าง พระที่นั่งจักรี มหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสมัยที่ช่างฝรั่งเข้ามามี บทบาทในการก่อสร้าง โดยมีมิสเตอร์ ยอนคลูนิช สถาปนิกชาวอังกฤษเป็นนาย ช่าง ตามแบบแปลนเดิมก�ำหนดไว้ว่า หลังคาพระที่นั่งทั้งองศ์กลาง องค์ตะวันออก และองค์ตะวันตก จะท�ำเป็นหลังคากลม ตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปที่นิยมกันอยู่ ในสมัยนั้น ในการก่อสร้างครัง้ นีส้ มเด็จเจ้าพระยาฯ ไม่ได้ทรงเกีย่ วข้องด้วย แต่คงจะสนใจ ขอดูแบบแปลนและสอบถามเรื่องการก่อสร้างอยู่เสมอเพราะท่านไม่ได้เข้ามาเฝ้า เนือ่ งจากสุขภาพไม่ดี และอีกอย่างหนึง่ ท่านก็คงทราบเรือ่ งจากเจ้าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ซึ่งเป็นแม่กอง ดูแลการก่อสร้างอยู่ เวลานั้นหลานสาวของท่านคนหนึ่งมีต�ำแหน่งเป็นท้าวราชกิจวรภัตศรีสวัสดิ์ รสาหาร (แพ บุนนาค) เป็นพนักงานก�ำกับเครื่องเสวยอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ก็ คงจะได้เล่าถึงการสร้างพระมหาปราสาท ว่าท�ำไปถึงไหนอย่างไร สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็คงจะพิจารณาว่าการสร้างปราสาทที่นิยมท�ำกันมาแต่โบราณเขาท�ำกันมาอย่างไร

48 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

พระยาราชสงคราม เป็น ช่างไทยทีม่ คี วามรูใ้ นการก่อสร้าง ่ มาให้กราบทูลขอแก้ ตามแบบโบราณ ได้ เ ป็ น ผู ้ คิ ด “ท้าวราชกิจมาทูลด้วยสมเด็จเจ้าพระยาสัง แบบหลั ง คาและยอดปราสาท หลังคาพระที่นั่งใหม่ให้เป็นยอดปราสาท ๓ ยอด ทรงตอบไปว่า ๓ ยอด แทนหลั ง คารู ป กลมที่ คิ ด ไว้ เ ดิ ม ซึ่ ง ท� ำ ให้ พ ระที่ นั่ ง ชอบแล้ว การเรื่องนี้ได้ทรงพระราชด�ำริไว้ในพระทัยอยู่ว่า หาก จั ก รี ม หาปราสาทกลมกลื น กั บ จะท�ำด้วยในพระองค์ ก็ยังไม่ได้ทรงสร้างปราสาทในกรุงเทพฯ สถาปัตยกรรมอื่นๆ ในพระบรม เลย ประการหนึ่งชื่อเสียงสมเด็จเจ้าพระยา ที่เป็นผู้ขอก็จะได้ มหาราชวัง ถึงตัวอาคาร ๒ ชั้น จะดู เ ป็ น แบบฝรั่ ง ไปบ้ า งก็ ยั ง ดี ปรากฏ ในแผ่นดินเป็นชื่อเสียงมาก ขอให้ท่านเรียกพระยาราช กว่า เป็นอาคารหลังคารูปกลม สงครามไปคิดเถิด” ซึง่ ไม่มใี นต�ำราไทย คงจะดูขดั ตา เป็นอย่างยิ่ง มีเรื่องเกร็ดเล่าว่า เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เจ้าพระยามหิ นทรศักดิ์ธ�ำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ซึ่ง เป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๔ ได้ เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง พอ เห็ น พระที่ นั่ ง จั ก รี ม หาปราสาท ก็ ร ้ อ งอุ ท านว่ า “ฝรั่ ง ใส่ ช ฎา” หมายความว่า อาคารพระที่นั่ง เป็นแบบฝรั่ง แต่หลังคาเป็นยอด แหลมแบบชฎาไทย ผู ้ ใ หญ่ แ ต่ ก่ อ นชอบพู ด ถึ ง เรื่ อ งนี้ กั น มาก เพราะเป็ น การเปรี ย บเที ย บที่ คมคาย เรือ่ งแก้หลังคาพระทีน่ งั่ จักรี มหาปราสาท นับเป็นเรื่องส�ำคัญ • แบบร่างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

49 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


อีกเรื่องหนึ่งของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งแสดงถึงความรัก ความ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนประเพณีวัฒนธรรมของไทยที่มมี าแต่ โบราณกาล มิยอม ให้เปลีย่ นแปลงไปง่ายๆ และในปัจจุบนั ก็เป็นทีป่ ระจักษ์ชดั แล้วว่า พระทีน่ งั่ จักรีมหา ปราสาทเป็นสถาปัตยกรรมที่งามสง่า เป็นจุดเด่นของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ ชื่นชมของผู้ที่ได้มาพบเห็น ได้กล่าวยกย่องแพร่หลายไปในนานาประเทศ ตามความคิดส่วนตัวผู้เขียน เรื่องดังกล่าวแสดงถึงความจงรักภักดี มุ่งหมาย แต่จะเชิดชู พระเกียรติยศให้ปรากฎอยูช่ วั่ กาลนาน มากกว่าจะมุง่ หมายความดีความ ชอบส่วนตัว ซึ่งในปัจจุบันก็ดูเหมือนจะไม่มีคนพูดถึงเรื่องนี้มากนัก

• ผ้าสมปัก

นึกได้อกี เรือ่ งหนึง่ คือเมือ่ หลายปีมาแล้ว ผูเ้ ขียนได้รบั เชิญจากส�ำนักศิลปะและ วัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ให้มาร่วมสนทนาเรื่อง สมเด็จเจ้าพระยา จะในหัวข้ออะไรก็จ�ำไม่ได้ แต่หลังจากนั้น มีผู้ตามไปถามในภาย หลังถึงเรื่องการนุ่งผ้าสมปักของสมเด็จฯว่าท�ำไมท่านชอบนุ่งผ้าสมปักอยู่ผืนเดียว เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่า มีคนอ้างว่าคุณพุ่มกวีหญิงเป็นคนพูดว่า “ขออย่าให้เป็น สมปักของ พระนายไวย” มีคำ� อธิบายว่าเมือ่ ครัง้ ท่านเป็นหัวหมืน่ มหาดเล็ก เวลาเข้า เฝ้าท่านชอบนุง่ ผ้าสมปักพืน้ เขียว อยูผ่ นื เดียวไม่ยอมเปลีย่ น เรือ่ งนีเ้ ป็นการฟังความ ข้างเดียว คุณพุม่ เป็นคนปากจัดอาจแกล้งพูด เพราะคุณพุม่ ก็คงไม่ได้ไปนัง่ ดูอยูท่ กุ วัน และการนุ่งผ้าสมปักพื้นเขียวอยู่เสมอในเวลาเข้าเฝ้านั้น ก็คงมิได้หมายความว่า นุง่ ซ�ำ้ อยูผ่ นื เดียว น่าจะเป็นเพียงนุง่ สมปักพืน้ เขียวเหมือนๆกัน เพราะชอบสีนนั้ หรือ ถ้าจะมองในด้านดีก็แสดงถึงความจงรักภักดี เพราะตามประเพณีโบราณ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จะพระราชทานผ้านุง่ แก่ขนุ นาง ทีม่ คี วามดีความชอบ ผ้าสมปัก ถือเป็นผ้าพระราชทานอย่างหนึ่ง จะเรียกว่าเป็นเครื่องแบบข้าราชการก็ว่าได้ เมื่อ ใครเข้าเฝ้าก็ต้องนุ่งผ้าสมปัก ถ้าไม่นุ่งถือว่าผิด อีกอย่างหนึ่งก็เป็นความชอบส่วน ตัวไม่แปลกอะไร อ่ า นตามพงศาวดารจะพบว่ า เมื่ อ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง ขุ น นางบางต� ำ แหน่ ง จะ พระราชทานผ้าสมปัก ไม่เหมือนกัน (คือตามต�ำแหน่ง) ผูไ้ ด้รบั พระราชทานก็จะต้อง รักษาผ้าสมปักเป็นอย่างดี นุ่งเฉพาะเวลาเข้าเฝ้าเท่านั้น จึงมีธรรมเนียมขุนนางนุ่ง ผ้าอย่างอื่นมาจากบ้าน ก่อนจะเข้าวังเปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าสมปัก ทั้งนี้ เพื่อถนอมผ้าไม่ ให้เก่าเร็ว ถ้าใครท�ำหายหรือขาดก็ตอ้ งรีบซือ้ เปลีย่ น ปรากฏในจดหมายเหตุครัง้ กรุง ศรีอยุธยา ว่าที่ใกล้ท่าสิบเบี้ย (ท่าเรือจ้าง) ใกล้พระราชวังมีร้านขายผ้าสมปักไว้ขาย ขุนนางที่ไม่มีผ้าสมปักได้ซื้อนุ่งเข้าเฝ้า แสดงว่าเคร่งครัดมาแต่ครั้งอยุธยาโน้นแล้ว ตามที่กล่าวมาย่อๆข้างต้นก็เพื่อให้เห็นความส�ำคัญของผ้าสมปัก การที่พระ นายไวยนุ่งผ้าสมปัก อยู่เป็นประจ�ำนั้น อาจเป็นความสะดวกในการปฏิบัติราชการ ก็ได้ คือไม่ต้องเปลี่ยนอย่างขุนนางคนอื่นๆ ซึ่งก็คงไม่มีใครท�ำอย่างท่านได้ เพราะ ผ้าสมปักราคาแพง บางทีคนทีท่ ำ� อย่างนัน้ ไม่ได้ อาจนึกอิจฉาหาช่องต�ำหนิเป็นเรือ่ ง ธรรมดาของมนุษย์

50 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

อันที่จริง สมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านจะแต่งให้หรูหราอย่างไรก็ได้เพราะฐานะ ต�ำแหน่งของท่าน เป็นทีท่ ราบกันดีทงั้ ในประเทศและต่างประเทศว่าส�ำคัญทีส่ ดุ อย่าง ที่เซอร์ยอนเบาริงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “ท่านเป็นคนที่ส�ำคัญที่สุดของคฤหบดีสกุล มหาศาลในพระราชอาณาจักร เป็นคนส�ำคัญที่ยกย่อง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ (รัชกาลที่ ๕) ขึน้ ครองราชสมบัติ จึงได้ทรงพระกรุณาตัง้ แต่งให้เป็นอัครมหาเสนาบดี ท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าหลายครัง้ หลายหนว่า ถ้าการด�ำเนินการของข้าพเจ้าเป็นไป เพือ่ ช่วยราษฎรให้หลุดพ้นจากความกดขีบ่ บี คัน้ และให้ประเทศพ้นจากความผูกขาด ปิดประตูค้าแล้ว ท่านจะร่วมมือท�ำการด้วยข้าพเจ้า” ดังนี้ แสดว่าท่านคบกับชาวต่างประเทศอย่างตรงไปตรงมาและเห็นประโยชน์ ของประเทศ เป็นที่ตั้ง ครั้งหนึ่ง เซอร์ เจมส์บรุก ทูตอังกฤษเข้า ท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าหลายครั้งหลายหนว่า ถ้าการด�ำเนินการ มาและจะขอเอาก�ำปั่นไฟเข้ามา กรุงเทพฯ ท่านก็ค้านทันที ว่า ของข้าพเจ้าเป็นไป เพื่อช่วยราษฎรให้หลุดพ้นจากความกดขี่บีบ เรือก�ำปั่นไฟเป็นเรือรบ เอาขึ้น คั้น และให้ประเทศพ้นจากความผูกขาดปิดประตูค้าแล้ว ท่านจะ ไปไม่ได้ ไพร่บ้านพลเมืองไม่ เคยเห็นจะตื่นตกใจ ส่วนพวก ร่วมมือท�ำการด้วยข้าพเจ้า ขุนนางมีปัญญา มีความรู้เขา ก็ไม่กลัว เมื่อตั้งใจจะมาให้คนทั้งปวงเย็นใจแล้ว ก็ไม่ควรท�ำให้คนไม่มีปัญญาร้อน ใจ จึงไม่ควรเอาก�ำปั่นไฟขึ้นไป ท่านเป็นคนพูดตรงไปตรงมาอย่างนี้ ฝรั่งจึงนับถือ เรื่องดังกล่าวคงมีคนเขียนกันมากแล้ว และที่ยกมาเล่าก็เพื่อให้เห็นอัธยาศัย ของท่านว่าเป็นคนตรง เกิดเห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้น เห็นประโยชน์บ้านเมือง มากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นคนที่ควรสรรเสริญ ยกย่องอย่างยิ่ง ขอสดุดี �

51 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มหาบุรุษรัตโนดม เลิศจงรักภักดีจักรีวงศ์

บทบาทสะท้อนจาวรรณกรรม “ข้าบดินทร์” � สุพิชฌาย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา

“ถึงเจ้าจักเป็นเศษเสีย้ วธุลขี องแผ่นดิน เจ้าจงรูว้ า่ ตัวเองมีความหมายต่อแผ่นดินเพียง ใด จงท�ำตัวเป็นเศษธุลีที่มีค่าของแผ่นดิน เพื่อเจ้าจักได้ชื่อว่าเกิดมาเป็นข้าแผ่นดิน เป็นข้าบดินทร์”

นี่

คือค�ำโปรยปกของวรรณกรรมเรื่อง “ข้าบดินทร์”เล่มที่ ๑ ของ วรรณวรรธน์ ซึ่ง เป็นนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ชาติไทยในช่วงพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่ หัว ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาท�ำการค้าในเมืองไทยมากขึ้น เรื่องราวของ “ข้าบดินทร์” เริ่มจากตัวละครเอกฝ่ายชาย “เหม” บุตรชายแห่ง พระยาบริรกั ษ์ตอ้ งกลายเป็นตะพุน่ เลีย้ งช้าง เพราะบิดาถูกใส่รา้ ย พระยาบริรกั ษ์ถกู กล่าวหาว่าฆ่าวิลาศ (ฝรัง่ ) ตาย จึงต้องกลายเป็นนักโทษรอพิจารณาคดี สุดท้ายท่าน พระยาบริรักษ์ จึง ‘จ�ำใจ’ ต้องยอมรับสารภาพทั้งที่ไม่ได้ก่อความผิดนี้ขึ้นและต้อง โทษถูกโบย ๕๐ที แต่พระยาบริรักษ์ทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นชีวิตในที่สุด เจ้า เหมบุตรชายจึงกลายเป็นตะพุ่นเลี้ยงช้างตั้งแต่นั้นมา หลังจากที่กลายเป็นตะพุ่น ช้างและเรียนรู้วิชาคชศาสตร์จนได้เป็น เสดียง ต่อมาโชคชะตาท�ำให้เขาได้พบกับ ล�ำดวน นางละครสาวสวยที่รู้จักสนิทสนมกับเขามาแต่ในวัยเด็ก เหมยังจ�ำภาพของ ล�ำดวน ซึ่งเป็นคนเดียวที่กล้าช่วยเหลือเขาในยามเป็นนักโทษได้แม่นย�ำ จึงบังเกิด เป็นความรัก เหมพยายามท�ำทุกอย่างเพือ่ พิชติ ใจแม่ของล�ำดวน เมือ่ เหมกับล�ำดวน รักกัน เหมจึงไต่เต้าจากตะพุน่ ช้างเป็นนายทหารผูก้ ล้าจนมียศถาบรรดาศักดิ์ ท�ำให้ เขาได้แต่งงานกับล�ำดวนหญิงคนรักสมใจ จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า “เหม” เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความมุ่งมั่นจนสามารถ

ประสบความส�ำเร็จ ความส�ำเร็จของเหมมีบคุ คลหนึง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญอย่างมาก ท่านผู้ นัน้ คือ “คุณชายช่วง” เนือ่ งจากเหมเป็นถึงลูกชายเจ้าพระยาจึงมีโอกาสพบ “คุณชาย ช่วง”ในคราวที่เหมติดตามไปกับเจ้าคุณบิดาในงานแต่งงานของทับทิม พี่สาวของ ล�ำดวน เหมสนใจศึกษาภาษาวิลาศ (ฝรั่ง)ซึ่งตรงกับความสนใจของ “คุณชายช่วง” ที่สนใจภาษาวิลาศ (ฝรั่ง) เช่นกัน จึงท�ำให้คุณชายช่วงคิดจะสนับสนุนเหมด้านการ ศึกษาเพื่อรับใช้บ้านเมือง “ข้าบดินทร์” ได้กล่าวถึงคุณชายช่วงว่า “...คุณชายช่วง บุตรชายของท่าน เจ้าพระยาพระคลัง...คุณชายช่วงท่านเป็นคนหนุ่มที่สนใจในการศึกษาค้นคว้า เกี่ ย วกั บ ภาษาอั ง กฤษอยู ่ ไ ม่ น ้ อ ย จึงคบหาสหายที่สนใจภาษาวิลาศ คุณชายช่วงเป็นบุคคลกลุ่มหัวก้าวหน้าในสมัยนั้น และเป็น ด้วยกัน...” (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ่ ในขุนนางไม่กคี่ นทีพ ่ ดู ภาษาอังกฤษได้ นอกจากนีย ้ งั เป็น ๑๓๒-๑๓๓) “คุณชายช่วง”ที่กล่าว หนึง ถึงก็คือ สมเด็จเจ้าพระบรมมหาศรี ชาวสยามคนแรกที่สามารถต่อเรือรบฝรั่งส�ำเร็จ และมีความ สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นั่นเอง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สนใจวิ ท ยาการตะวั น ตกมากทั้ ง วิ ท ยาการการพิ ม พ์ การ สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นรัฐบุรุษ แพทย์ การทหารและการก่อสร้าง ส�ำคัญท่านหนึง่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญในการเมืองการปกครองของไทย โดยเริม่ เข้ารับราชการ เป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการ สถาปนาขึน้ เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และเป็นผูท้ ดี่ ำ� รงต�ำแหน่ง “สมเด็จเจ้าพระยา” เป็นคนสุดท้าย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ ๕ เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) หลานปู่เจ้าพระยาอรรค มหาเสนาบดี (บุนนาค) คุณชายช่วงเป็นพระญาติผู้น้องในพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว สกุลบุนนาคเป็นตระกูลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ คนในตระกูลนีด้ ำ� รงต�ำแหน่งเป็นสมุหพระกลาโหม ตัง้ แต่รชั กาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๕ คุณชายช่วงเป็นบุคคลกลุม่ หัวก้าวหน้าในสมัยนัน้ และเป็นหนึง่ ในขุนนางไม่กี่ คนทีพ่ ดู ภาษาอังกฤษได้ นอกจากนีย้ งั เป็นชาวสยามคนแรกทีส่ ามารถต่อเรือรบฝรัง่ ส�ำเร็จ และมีความสนใจวิทยาการตะวันตกมากทั้ง วิทยาการการพิมพ์ การแพทย์ การทหารและการก่อสร้าง เป็นต้น ช่วงยุคพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระยาศรีสุริย วงศ์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่สมุหพระกลาโหม พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตราศรพระขรรค์พระราชทานส�ำหรับ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ ๔๓ ปี นับเป็นข้าราชการที่มีอายุน้อย ที่สุดในต�ำแหน่งสมุหพระกลาโหม (อุ้มสม,๒๕๕๖ : ออนไลน์) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ ๕) ขึน้ เถลิงถวัล ยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ด้วยพระชันษาเพียง ๑๕ พระชันษา พระบรม • ตัวละครผู้รับบทคุณชายช่วง

จากละครเรื่อง ข้าบดินทร์

52 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

53 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


วงศานุวงศ์ พระสงฆ์ ราชาคณะ และที่ประชุมเสนาบดี จึงเห็นสมควรแต่งตั้งให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๖ มีอ�ำนาจอาญาสิทธิ์ที่จะปกครองประเทศ และประหารชีวิต ผู้กระท�ำความผิดขั้นอุกฤษฏ์ได้ ท่านปฏิบัติราชการโดยอาศัยเที่ยงธรรมซื่อตรง มิได้เห็นแก่ผู้ใด จะกล่าวตัดสินสิ่งใด จะให้เป็นคุณประโยชน์ทั่วกัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์พ้นจากต�ำแหน่งผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน รัชกาลที่ ๕ โปรดให้เลื่อนเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ถือศักดินา ๓๐,๐๐๐ (ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม , ๒๕๕๒ : ๙๗๙ – ๙๘๐) สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรม มหาศรี สุ ริ ย วงศ์ ถึ ง แก่ พิ ร าลั ย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. เวลา ๕ ทุ่มเศษ บนเรือ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๕ เวลา ๕ ทุ่มเศษ บนเรือที่ปากคลอง ๒๔๒๕ ทีป่ ากคลองกระทุม่ แบน สิรริ วม กระทุ่มแบน สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี ๒๗ วัน พระบาทสมเด็จพระ อายุได้ ๗๔ ปี ๒๗ วัน พระบาท จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ท�ำพิธีพระราชทานเพลิงศพของ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวโปรดให้ท�ำพิธีพระราชทาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์อย่างสมเกียรติ ณ วัด เพลิงศพของสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรี สุ ริ ย วงศ์ อ ย่ า งสม บุปผาราม ธนบุรี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ เกียรติ ณ วัดบุปผาราม ธนบุรี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ หากจะกล่าวว่า “ข้าบดินทร์”ได้เล่าเรื่องราวของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ตั้งแต่บิดาน�ำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เมื่ออายุราว ๑๖ ปี (บางต�ำราว่า ๑๕ ปี) ครั้นถึงแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้เป็นนายชัยขรรค์ มหาดเล็ก หุม้ แพร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ เลือ่ นนายชัยขรรค์ เป็นหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก (อายุราว ๒๕ ปี) ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ หลวงนาย สิทธิ์” ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็น จมื่นไวยวร-นาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และในตอนปลาย แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาศรี สุริยวงศ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวในวัยหนุ่มของท่านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)นั่นเอง “คุณชายช่วง” พบเหมครั้งแรกครั้งที่เหมแสดงความรู้ภาษาวิลาศ (ฝรั่ง) เนื่องจากมีขุนนางท่านหนึ่งเขียนภาษาวิลาศให้คุณชายช่วงดูแล้วเหมทราบว่าผิด เมื่อเหมทักท้วงจึงท�ำให้คุณชายช่วงสนใจในตัวเหมมาก ดังความว่า “อ้ายหนุ่ม เอาเรือมาส่งคืนข้าที” ชายคนทีด่ ทู า่ วางก้ามร้องบอกเด็กหนุม่ เหมถึงกลับจ้องมองดูตวั หนังสือบนใบไม้นนั่ ที เดียว ชายคนนั้นคงคิดว่าตัวสะกดที่ปรากฏอยู่บนใบไม้นี้หมายถึง “เรือ”ในภาษาวิลาศ

54 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

จริง ๆ อย่างนั้นหรือ ทุกตัวสะกดเหมือนค�ำว่า ship ที่แหม่มมาเรียเคยสอนไว้ แต่ตัว สุดท้ายกลับลงท้ายด้วยตัว b “รู้จักเรือไหม...นี่ไง” ชายคนนั้นชี้นิ้วกร่าง ๆ ไปบนตัวหนังสือบนใบไม้ “อ้ายหนุม่ ดูไว้เป็นบุญตา นีเ่ ป็นตัวหนังสือวิลาศค�ำว่า เรือ ข้าก�ำลังเขียนให้คณ ุ ชาย ช่วงดูว่าภาษาวิลาศ ค�ำว่า “เรือ” เขาเรียกว่า ‘ชิบ’ แบบนี้” เหมมองดูอย่างนึกขันเต็มทีพลายส่ายหน้า บุคคลที่ถูกเรียกว่า ‘คุณชายช่วง’รับ ใบไม้ในมือต่อจากชายท่ากร่างไปเพ่งพินจิ โดยไม่ปริปากพูดจาอะไร ดวงตาเป็นประกาย ของ ‘คุณชายช่วง’ แลดูเงียบขรึมนั้นคมกริบ จ้องดูใบไม้ในมือสลับกับใบหน้าเด็กหนุ่ม ที่ท�ำท่าอมยิ้มเหมือนเห็นเป็นเรื่องขบขัน “เรือแบบนี้กระผมไม่รู้จักหรอกขอรับ” …“ขอรับ เป็นเรือวิลาศครึ่งล�ำเช่นนั้นก็ได้” เหมตอบกลัน้ หัวเราะ แต่บรุ ษุ ทีถ่ กู เรียกว่าคุณชายช่วงหันมามองดูเด็กหนุม่ อย่างสงสัย …“อ้ายหนุ่มคนนี้มันพูดให้คิด...คุณหลวงจ�ำตัวที่แหม่มเขาเขียนมาได้ถูกต้องอยู่ นา” คุณชายช่วงมองดูตัวหนังสือภาษาอังกฤษบนใบไม้แล้วหันไปถาม หลวงมหาเทพหัวเราะกลบเกลื่อน รู้สึกถึงความไม่เชื่อใจที่คุณชายเอ่ยทักเช่นนั้น “จะไปใส่ใจท�ำไม กับเด็กรุ่นกระทงมันก็เป็นเช่นนี้ คงพูดอะไรเลอะเทอะไปตาม ประสา” หากคุณชายช่วงกลับมองตามแผ่นหลังเด็กหนุ่มคนนั้นอย่างสะดุดใจ (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๑๓๑ –๑๓๒, ๑๓๓)

จากข้อความข้างต้นท�ำให้ ‘คุณชายช่วง’สนใจ ‘เหม’ เรียกเหมว่า “อ้ายวิลาศครึง่ ล�ำ” จนท�ำให้เหมเกรงว่าเจ้าคุณบริรักษ์ ผู้เป็นบิดา ซึ่งไม่ชอบใจที่ตนไปเรียนภาษา วิลาศจับได้วา่ ตนใฝ่ใจกับพวกวิลาศ ถึงกระนัน้ ‘คุณชายช่วง’ ก็ชว่ ยแก้ไขสถานการณ์ ไม่ให้เหมถูกเจ้าคุณบริรักษ์ ผู้เป็นบิดาว่ากล่าว อีกทั้งออกปากชมเหมว่า “ท่านเจ้า คุณบริรกั ษ์ อ้ายหนุม่ คนนีฉ้ ลาดรอบรูเ้ ทียวนัก เจอตัวกันก็ดแี ล้ว กระผมยังใคร่อยาก เจรจาถามไถ่กับมันอยู่” (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๑๔๑) อีกทั้ง ‘คุณชายช่วง’ ยังใช้ ปฏิภาณไหวพริบคลีค่ ลายสถานการณ์ทหี่ ลวงสรอรรถไม่มสี มั มาคารวะต่อเจ้าพระยา บริรักษ์ได้อย่างทันท่วงที ความว่า

“ท่านเจ้าคุณบริรกั ษ์ขนึ้ เรือนเถิดขอรับ ขอเชิญท่านขึน้ ก่อน กระผมเป็นผูน้ อ้ ยขอ เดินตามหลังจึงเป็นการสมควร” นายชัยขรรค์หันไปเชิญพระยาบริรักษ์อย่างสุภาพ “ขอบใจนายชัยขรรค์” พระยาบริรักษ์รู้สึกถึงเหตุการณ์กลับกลาย บุตรชายคนใหญ่ของท่านเจ้าพระยา มาคลี่คลายเรื่องตึงเครียดได้ทันเวลา นายชัยขรรค์ผู้นี้ ไหวพริบเฉียบแหลมนักเทียว ยกย่องผู้สูงศักดิ์ต่อหน้าผู้คน เพื่อให้ใครอื่นรู้จักประมาณฐานะตน รู้ที่สูงที่ต�่ำ ว่าควร วางตัวไว้ ณ สถานใด “อ้ายเรือวิลาศครึง่ ล�ำ เอ็งก็ตามขึน้ ไปบนเรือนด้วย จะมาเดินเปะปะข้างล่างมีปาก เสียงกับใครอยู่ใย ข้าก�ำลังมีเรื่องอยากคุยกับเอ็งอยู่”

55 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


เหมยืนหัวใจคับพอง นายชัยขรรค์มหาดเล็กก�ำลังเรียกขานตนให้ตามขึ้นไปบน เรือนด้วยเช่นนั้นหรือ ท่านคงจะใส่ใจในเรื่องของชนชาววิลาศอยู่เช่นเดียวกัน (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๑๔๓)

“คุณชายช่วง หรือ นายชัยขรรค์” ถูกชะตาและต้องการจะส่งเสริมความก้าวหน้า ทางการศึกษาแก่เหม ถึงขนาดออกปากขอเหมจากพระบริรกั ษ์ดว้ ยตนเอง ความว่า “ท่านเจ้าคุณบริรักษ์ขอท่านอย่าได้รังเกียจ หากลูกชายคนนี้ของท่านบวชเรียน เมื่อใด วานส่งคนไปแจ้งข่าวกระผมที่พระมหานคร กระผมตั้งใจจักใคร่ขอร่วมเป็นโยม อุปัฏฐาก”... ...คุณชายช่วงบุตรชายคนโตของท่านเจ้าคุณหาบน** ถวายตัวรับราชการมาจนถึง ต�ำแหน่งนายชัยขรรค์หุ้มแพร เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าท่านเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ของสมเด็จพระพุทธเจ้าอยูห่ วั เพียงใด หากเจ้าเหมได้เข้าไปรับราชการอยูก่ บั ท่านก็นบั ว่าลูกชายของตนมีวาสนาจะได้ใกล้ชิดผู้ใหญ่ ได้ใช้ความรู้ความสามารถสนองพระเดช พระคุณ แม้ที่เจ้าเหมเกิดไปต้องอัธยาศัยบุตรชายของท่านเจ้าคุณหาบน ด้วย ‘สิ่ง’ ที่ ท่านมองไม่เห็นดีเห็นงามมาแต่ไหนแต่ไรก็ตาม แต่เมือ่ ได้ยนิ ว่าลูกชายถูกออกปากตาม นั้น อีกใจหนึ่งจึงอดปลาบปลื้มมิได้ (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๑๔๗ – ๑๔๘)

จากข้อความจะเห็นได้ว่า “คุณชายช่วง” หรือ “นายชัยขรรค์มหาดเล็ก” มี ความตั้งใจที่จะส่งเสริมเหมเพราะเห็นความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและความเฉลียวฉลาดของ เหมนั่นเอง แม้ยามทีเ่ หมต้องโทษจากการทีบ่ ดิ าถูกใส่รา้ ยทัง้ ๆ ทีไ่ ม่ได้ทำ� ความผิด คุณชาย ช่วงซึง่ ได้เลือ่ นบรรดาศักดิเ์ ป็น “หลวงสิทธิน์ ายเวร” ก็ให้ความสนใจและใส่ใจเหมและ มารดาเสมอ และท่านก็เมตตาอ้ายบุษย์ อดีตทาสหนุม่ ของเหมด้วย ดังตอนทีเ่ หมได้ พบกับบุษย์ และระลึกถึงความเมตตาจากคุณชายช่วง ความว่า

“ท่านมีน�้ำใจกับครอบครัวข้า จริง ยามข้าติดตะพุ่นอยู่ที่ พระมหานคร มีแต่ท่านที่ส่ง ข้าวส่งน�้ำไปเยี่ยมเยียนมิได้ ขาด…”

“หลวงสิทธิ์นายเวร คุณชายช่วงท่านนั่นหรือ” เหมถึงกับยกมือท่วมหัว “ท่านมี น�้ำใจกับครอบครัวข้าจริง ยามข้าติดตะพุ่นอยู่ที่พระมหานคร มีแต่ท่านที่ส่งข้าวส่งน�้ำ ไปเยี่ยมเยียนมิได้ขาด นี่ท่านยังมีน�้ำใจดูแลเอ็งอีก อ้ายบุษย์เอ๋ย อย่างไรก่อนตายข้า ก็ต้องกลับไปกราบเท้าท่านให้จงได้สักครั้งหนึ่ง” (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๕๒๔)

ต่อมาเมือ่ เหมอาสาสูร้ บกับญวนจนได้รบั พระราชทานอภัยโทษจากตะพุน่ หญ้า ช้าง แล้วเข้ารับราชการทหาร เหมได้มโี อกาสมาพักกับบุษย์ในเรือนแถวบ้านพักของ “คุณชายช่วง หรือ หลวงสิทธิ”์ ซึง่ หน้าบ้านของท่านแปลกกว่าคนอืน่ ๆเพราะได้เขียน ภาษาวิลาศ (ฝรั่ง)ไว้หน้าบ้านด้วย ความว่า

56 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

เมื่ อ เดิ น มาถึ ง หน้ า รั้ ว จึงอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นคนมองคนได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เป็น ไม้ร ะแนงบ้านพัก ของท่าน คนมองการณ์ไกล และพร้อมสนับสนุนคนให้ก้าวหน้า เพื่อรับใช้ มีแผ่นป้ายไม้หน้าบ้านตัวโต เป็นภาษาอังกฤษ เหมเดิน แผ่นดิน ตามทุกคนมาเรื่อย หยุดยืน มองป้ายแผ่นนั้น นิ่งเป็นนาน “อ่านอันใดอยู่หรือคุณเหม” จนบุษย์หันมาดู “ท่านหลวงสิทธิส์ งั่ ให้คนเขียนตัวหนังสือวิลาศไว้ ท่านว่าท�ำเช่นนีฝ้ รัง่ จะได้รวู้ า่ เรา ก็เข้าใจมารยาทและภาษาของเขาเช่นกัน... ‘ที่นี่บ้านหลวงสิทธิ์นายเวร ยินดีต้อนรับ’ หลายปีที่ผ่านมา หลวงสิทธิ์นายเวรคงได้ศึกษาภาษาวิลาศจนแตกฉาน สมกับที่ ท่านตัง้ ใจไว้ เหมนึกถึงท่านแล้วให้ตนื้ ตัน หากไม่รบั คราวเคราะห์ครัง้ นัน้ ป่านนีเ้ ขาเอง คงมีโอกาสรับความอนุเคราะห์จากท่าน ได้ร�่ำเรียนภาษาวิลาศแตกฉานสมใจ (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๕๖๖ - ๕๖๗)

ความช่วยเหลือเจือจุนจากคุณชายช่วงทีม่ มี าถึงเหมนัน้ เป็นความกรุณาอย่าง หาที่สุดมิได้ ตั้งแต่เหมเยาว์วัย ตกอับและรุ่งเรืองขึ้น “คุณชายช่วง” ก็แสดงถึงน�้ำใจ และความอาทรแก่เหมและมารดาของเหมเรือ่ ยมา จึงอาจกล่าวได้วา่ ท่านเป็นคนมอง คนได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เป็นคนมองการณ์ไกล และพร้อมสนับสนุนคนให้ก้าวหน้า เพื่อรับใช้แผ่นดิน เมื่อท่านเห็นว่าเหมเป็นคนเฉลียวฉลาด ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เมื่อต้อง ประสบเคราะห์กรรมทีต่ นไม่ได้กอ่ “คุณชายช่วง”ก็ยงั ช่วยเหลือเหมมิได้ขาด ดังตอน ที่เหมระลึกถึงพระคุณของ “คุณชายช่วง หรือ หลวงสิทธิ์นายเวร”ว่า

...เหมจ�ำได้แม่น เมือ่ ต้องเป็นตะพุน่ อยูท่ โี่ รงช้างต้นข้างวังท่าพระ สองคนแม่ลกู ได้ รับข้าวปลาอาหารจากคนของคุณชายช่วงอยูเ่ สมอ ท่านไม่ลมื ให้คนน�ำอาหารไปให้ทาน จนได้กินอิ่มกินเต็มขึ้นบ้าง ไม่ใช่เวียนแต่ขออาหารจากโรงทานหน้าพระบรมมหาราช วังกินประทังหิวทั้งยังมอบสินรางวัลให้แก่ขุนคชบาลที่ดูแลสองตะพุ่นแม่ลูก เพื่อเป็น สินน�้ำใจคอยดูแลช่วยเหลือไม่ใช้งานยากล�ำบาก เขาได้รับความช่วยเหลือจากคุณชายช่วงอยู่เป็นประจ�ำ กระทั่งถูกเกณฑ์ย้ายให้ ไปเป็นตะพุ่นตามหัวเมืองเพื่อเกี่ยวหญ้ามาเลี้ยงช้างในพระมหานคร นั่นเองที่ท�ำให้ เขาต้องออกเดินทางรอนแรมไปเรื่อย.... (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๕๖๗)

นอกจาก “คุณชายช่วง” จะเป็นคนสมัยใหม่สนใจภาษาวิลาศ (ฝรั่ง)แล้ว ท่าน ยังสนใจในวิทยาการใหม่ๆของฝรั่งด้วย เช่น ท่านมีโรงต่อเรือของท่านเอง ดังที่เหม ไปพบคุณชายช่วงที่โรงต่อเรือในบริเวณบ้านท่าน ดังนี้ เหมก้มมองผ่านละแวกระแนงรั้วไม้ที่เต็มไปด้วยพุ่มไม้ครึ้มตา เห็นด้าน

57 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


“ข้ า บดิ น ทร์ ” ที่ พ ร้ อ มจะ ท� ำ ทุ ก อย่ า งเพื่ อ แทนคุ ณ แผ่นดิน

หลังเรือนกลุ่มใหญ่ยังมีโรงไม้ขนาดมหึมาตั้งอยู่ หากเดาไม่ผิด นั่นคงเป็นเรือรบ ที่ท่านหลวงสิทธิ์นายเวรสนใจศึกษาวิชาต่อเรือมาแต่ไหนแต่ไรกระมัง ในกองทัพ เรือเจ้าพระยาพระคลังท่านก็มีเรือก�ำปั่นที่ดัดแปลงเป็นเรือรบอยู่หลายล�ำ แต่ที่ หลวงนายสิทธิ์ท่านขะมักเขม้นสนใจท�ำอยู่นี่ คงเป็นเรือรบดั่งเช่นฝรั่งวิลาศอังกฤษ หรือพุทธะเกศเป็นแน่...ร่างผอมบางของท่านนั่งอยู่บนแท่นไม้ดูบ่าวและฝรั่งสอง สามคนสนทนากัน...

และนอกประเทศ และกับชาวต่างประเทศ นอกจากภาษา ท่านยังสนใจในเรื่องการ เดินเรือกลไฟของวิลาศอยู่เช่นเคย ท�ำให้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญภาษาวิลาศตลอดจน ภาษาอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ทางทหารก็มีความเข้มแข็งขึ้น เมื่อไทยมีการพัฒนาเรือรบให้ ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศมากขึน้ ผูค้ นบนผืนแผ่นดินไทยล้วนมีความสุขกับการ ใช้ชีวิตของตน (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๗๑๒)

…หลายสิ่งหลายอย่างที่หลวงสิทธิ์เล่าให้เขาฟังวันนั้น ล้วนชักน�ำความสนใจแก่ เหมเป็นอย่างมาก ทัง้ ทีท่ า่ นยังรับราชการนายเวรมหาดเล็ก แต่ได้ให้ความสนใจกับสิง่ รอบตัวไม่ให้เล็ดลอดสายตา ระยะหลังฝรั่งวิลาศได้เข้ามาท�ำการค้าติดต่อยังกรุงเทพ พระมหานครเป็นจ�ำนวนมากขึ้น (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๕๖๗, ๕๖๙)

เรื่องราวของข้าบดินทร์ในช่วงสุดท้าย เมื่อเหมมีเหตุไม่สามารถกลับเข้ารับ ราชการได้ เนื่องจากทางวิลาศ (ฝรั่ง) ต้องการตัวไปเพื่อลงโทษ คราวที่นายห้างหัน แตร (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) ต้องการบังคับขายเรือกลไฟให้แก่ไทย แต่ด้วยราคาสูงเกิน ไปและเรือเก่ามาก ไทยจึงไม่ตกลง นายห้างขูว่ า่ จะใช้ปนื ยิงพระบรมมหาราชวัง โดย อ้างว่าจะยิงสลุตเนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดของกัปตันเรือบราวน์ เหมเป็นผู้แก้ไข สถานการณ์จนไทยไม่ต้องเสียเงินซื้อกลไฟจ�ำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความ แค้นใจให้แก่ฝั่งวิลาศมาก ถึงขนาดน�ำเรือรบมาปิดน่านน�้ำ เหมใช้สติปัญญาจนรอด มาได้ แต่กไ็ ม่สามารถกลับไปรับราชการได้อกี เมือ่ ไทยจะส่งราชทูตถวายเครือ่ งราช บรรณาการต่อสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย เจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (คุณชาย ช่วง) จึงได้เดินทางมาหาเหมเพื่อให้ช่วยราชการครั้งนี้ ความว่า

ต่อมาหลวงสิทธิ์นายเวร (คุณชายช่วง) ได้ขอให้เหมมาช่วยราชการท่าน ซึ่ง ในบทสนทนาได้กล่าวเน้นย�ำ้ ของการเป็น “ข้าบดินทร์” ที่พร้อมจะท�ำทุกอย่างเพื่อ แทนคุณแผ่นดิน ความว่า หลวงนายสิทธิ์รับฟังความเห็นเขาพลางพยักหน้าเห็นความ “มีเจ้ามาช่วยคิดแบบนี้ดีนัก คนแบบนี้สิที่ข้าอยากได้มาร่วมงาน เจ้าเหมอย่า กระนั้นเลย ข้าจะขอเจ้าคุณหาบนช่วยกราบเรียนเจ้าคุณผู้ใหญ่*** ให้เจ้ามาช่วยงาน ที่พระมหานครดู เจ้าเองก็มีความรู้ความสามารถเรื่องวิลาศอยู่ คงจะเป็นหูเป็นตาข้า ได้มากกว่านี้” “สุดแท้แต่ทา่ นจะเมตตาขอรับ กระผมเกิดเป็นข้าแผ่นดินผืนนีอ้ ยูแ่ ล้ว ไม่วา่ ได้อยู่ กับเจ้านายท่านใด หากได้ใช้ความสามารถรับใช้ต่อแผ่นดินดังเช่นเจ้าคุณพ่อผมเคย กระท�ำมา ก็ถือว่าได้ท�ำตามค�ำของท่าน กระผมไม่เสียชาติเกิดแล้วขอรับ” “เหม เจ้าคิดเช่นนี้ประเสริฐนัก เวลานี้เรามีปัญหาบ้านเมืองอยู่รอบด้าน เรื่องต่าง ชาตินแี้ ต่กอ่ นก็เคยมองเป็นความแปลกใหม่ แต่ระยะหลังทีผ่ า่ นมากลับมีเรือ่ งเกีย่ วกับ วิลาศให้ต้องคิดต้องไตร่ตรองมากขึ้น ข้าถึงต้องเอาใจใส่และเอาจริงเอาจังเรื่องราวที่ เกี่ยวข้องกับวิลาศมากขึ้น” เหมก้มกราบรับค�ำหลวงสิทธิ์นายเวร เขาก็คิดเห็นเช่นเดียวกัน (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๕๗๑ – ๕๗๒)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ ๔) จมืน่ ไวยวรนาถ (คุณชายช่วง) ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” ดังความว่า เจ้าพระยาพระคลังในแผ่นดินใหม่ ได้รับการเลื่อนยศเป็น ‘สมเด็จเจ้าพระยาศรี ประยูรวงศ์’ หรือทีเ่ รียกกันว่า ‘สมเด็จพระองค์ใหญ่’ ส่วนจมืน่ ไวยวรนาถได้รบั การแต่ง ตั้งขึ้นเป็น ‘เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์’ เป็นที่นับหน้าถือตากันเป็นอย่างมากทั้งในประเทศ

58 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

“มีคนมาถามหาคุณพ่อนะสิเจ้าคะ”... มีคนตามหาเขา ? เหมหั น ขวั บ มองไปตามนิ้ ว กลม คนกลุ ่ ม หนึ่ ง ยื น มองดู เ ขาอยู ่ ด ้ า นหลั ง นั้ น ท่ามกลางผู้คนขวักไขว่ ชายร่างผอมที่ยืนเด่นเป็นสง่าตรงนั้น เห็นเพียงแวบแรกแม้ จะอยู่ในผ้าลายพื้นปราศจากสมปัก แต่เขาย่อมจดจ�ำท่านได้เป็นอย่างดี เจ้าคุณไวย คุณชายช่วง...ร่างสูงใหญ่ ก้มลงกราบด้วยความดีใจ “ท่านเจ้าคุณไวย” “อันที่จริงต้องเป็นข้าที่ดีใจเห็นเอ็งยังมีชีวิต” ท่านเจ้าคุณไวยเอ่ยกับเขาเบาๆ หกปีทเี่ ขาหลบหายออกมาอยูท่ นี่ ี่ เป็นควาญช้าง ของเพนียดท่านขุนศรีไชยทิตย… “ข้าจะไปลพบุรี เห็นว่าเขามีงานคล้องช้างทีเ่ พนียดเลยแวะมาดู คิดอยูแ่ ล้วว่าต้อง เจอเจ้า” ฟังแล้วให้ตื้นตันนัก ท่านเจ้าคุณไวยยังไม่ลืมอ้ายเหมคนนี้ หลายปีที่ผ่านมา ท่าน เรียกเขาเข้าไปรับราชการกับท่าน แต่ดว้ ยความเกรงใจเรือ่ งทีก่ อ่ ไว้ ท�ำให้ไม่กล้ากลับไป รับราชการตามเดิม หากท่านเจ้าคุณไวยไม่เคยลดละความพยายามตลอดมาจนถึงวันนี้ “คราวนี้มีงานใหญ่ อยากให้เจ้าช่วยเหลือ” …เมือ่ สองปีกอ่ น สมเด็จพระราชินวี คิ ตอเรียนางพญาวิลาศ ส่งคนมาถวายเครือ่ ง ราชบรรณาการทีพ่ ระมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยูห่ วั จึงจักส่งคณะราชทูต จากไทยไปถวายเครื่องราชบรรณาการนางพญาวิลาศ เพื่อเป็นการตอบแทน “เจ้าคิดเอาเถิด ในเวลานี้คนของเราต้องไปต่างแดน แต่ถึงทุกวันนี้เราจะมีคนรู้ วิลาศมากขึ้น แต่หลายคนก็ไม่รู้วิธีศึกเอาตัวรอดอย่างนักดาบ คนที่ฝึกดาบเอาตัวรอด

59 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

นอกจากภาษา ท่านยังสนใจ ในเรือ่ งการเดินเรือกลไฟของ วิลาศอยู่เช่นเคย ท�ำให้มีคน ไทยที่เชี่ยวชาญภาษาวิลาศ ตลอดจนภาษาอื่ น ๆ เพิ่ ม มากขึ้น ทางทหารก็มีความ เข้มแข็งขึ้น


ได้กไ็ ม่เอาดีทางภาษา เราจึงมีคนรูว้ ลิ าศและเก่งดาบทันคนอยูแ่ ทบจะนับหัวได้ แต่ขา้ รู้ ว่ามีบางคนที่วิลาศเกรงกลัว แต่พวกนั้นไม่รู้ว่ายังมีชีวิตอยู่...หากแต่ได้คนคนนี้ไป ข้า จะวางใจว่าคณะทูตนี้จักปลอดภัยกลับมา” เขากล�้ำกลืนก้อนแข็งในคอ ท่านเจ้าคุณไวยเจาะจงมาที่ตน “ข้าจึงใคร่อยากให้เอ็งเดินทางไปในฐานะคนธรรมดา แสร้งว่าเป็นหมอนวด แต่ แท้จริงก็เพื่อดูแลทั้ง ๑๕ เพื่อท�ำให้ข้าอุ่นใจว่าทั้งหมดจะปลอดภัยจากเล่ห์กลของคน วิลาศ” ปกปิดอดีตหลวงสุรบดินทร์ให้รว่ มเดินทางในฐานะคนธรรมดา ท�ำหน้าทีด่ แู ลคณะ ทูตเช่นนั้นหรือ เพราะหากไปในฐานะหลวงสุรบดินทร์ จนวิลาศรับทราบคงจะขัดเคือง เป็นเรื่องใหญ่ แต่ท่านก็จ�ำเป็นหวังจักให้เขาไป เพื่อดูแลคณะทูตที่กล่าวมา ...ไม่ต้องห่วงดอก ข้าเคยรับปากจะดูแลลูกเมียเอ็งไว้ ข้าไม่เคยลืม ที่ส�ำคัญ เจ้า ล�ำดวนมันก็หลานข้า ลูกหลานเอ็งก็เหมือนลูกหลานข้าเช่นกัน ยิ่งหากเอ็งรับปาก ราชการคราวนี้ ข้าจะบ�ำรุงพวกมันยิ่งกว่าลูกหลานของข้าเสียด้วยซ�้ำไป” เหมได้แต่นั่งฟังนิ่งงัน ท่านจึงได้กล่าวค�ำสั้น ๆ ให้เขาตัดสินใจ “หากเอ็งยังคิดว่าตัวเองเป็นข้าแผ่นดิน คราวนี้ก็จงอย่าเลี่ยงข้า” (วรรณวรรธน์, ๒๕๕๕ : ๗๑๕ – ๗๑๖, ๗๑๗ – ๗๑๘)

จากทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดสามารถสรุปจาก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) มหาบุรุษรัตโนดม เลิศจงรักภักดีจักรีวงศ์ บทบาทสะท้อนจาก วรรณกรรม “ข้าบดินทร์”ว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลที่เก่งงาน เก่งคน และเก่งความรอบรู้ จึงท�ำให้ท่านเป็นบุคคลส�ำคัญใน ประวัตศิ าสตร์ชาติไทย และหากพินจิ ในเชิงวรรณกรรมแล้ว สมเด็จเจ้าพระบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ท�ำให้ตัวละครอย่าง “เหม” มีความเด่นชัดขึ้น ในเรื่องของ ความจงรักภักดีตอ่ แผ่นดินไทย เพราะท่านมีสว่ นส�ำคัญอย่างมากทีส่ นับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน จนเหม สามารถเป็น “ข้าบดินทร์” ได้อย่างแท้จริง � เอกสารอ้างอิง ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (๒๕๕๑). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค). (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค. วรรณวรรธน์. (๒๕๕๕). ข้าบดินทร์ เล่ม ๑. (พิมพ์ครั้งที่ ๖). กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ บ้านวรรณกรรม. -------------. (๒๕๕๕). ข้าบดินทร์ เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๖). กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ บ้านวรรณกรรม. -------------. (๒๕๕๖). ข้าบดินทร์. ค้นเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ จากhttp:// www.bloggang.com/mainblog.php?id=aumsom&month=๐๑-๐๒-๒๐๑๓&group=๑&gblog=๒๑.

60 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

การเสนอชื่อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก � พิษณุ บางเขียว

หาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ด�ำเนินการเรื่องการเสนอชื่อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก เพื่อให้องค์การศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Unesco) ประกาศยกย่อง ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ในวาระครบรอบ ๑๕๐ ปี การเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน การด�ำเนินการดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อด�ำเนิน การ เรียกว่า คณะกรรมการด�ำเนินงานเพื่อเสนอชื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคล ส�ำคัญของโลก พร้อมกับตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา ๓ คณะ ประกอบด้วย ๑. คณะอนุกรรมการด�ำเนินงานเสนอชื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริย วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก (ฝ่ายจัดท�ำเอกสารภาคภาษาไทย) มี ศาสตราจารย์ ดร.ปิยนาถ บุนนาค เป็นประธานกรรมการ ๒. คณะอนุกรรมการด�ำเนินงานเสนอชือ่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก (ฝ่ายจัดท�ำเอกสารภาคภาษาอังกฤษ) มี ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ เป็นประธานกรรมการ ๓. คณะอนุกรรมการด�ำเนินงานเสนอชือ่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก (ด้านประชาสัมพันธ์) มี นายพลาดิศัย สิทธิ ธัญกิจ เป็นประธานกรรมการ คณะอนุกรรมการทั้ง ๓ ชุด ได้จัดประชุมกันมาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ คณะ อนุกรรมการฝ่ายจัดท�ำเอกสารภาคภาษาไทย ได้ด�ำเนินการจัดท�ำข้อมูลเสร็จแล้ว และได้ส่งต่อให้คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดท�ำเอกสารภาคภาษาอังกฤษ ได้แปลและ เรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ ขณะที่คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ ได้มีการ ประชุมและจัดกิจกรรมตามรอย ๑๕๐ ปี ศรีสุริยวงศ์ เผยแพร่ตามสื่อช่องทางต่างๆ

61 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ เสนอชื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของ โลก อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม โดยขั้นตอนในการเสนอชื่อนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาผู้เป็นเจ้าภาพ จะส่งข้อมูลการเสนอชื่อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก ใน วาระครบ ๑๕๐ ปี การเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน ตามแบบการเสนอชื่อที่ยูเนสโก ได้กำ� หนดให้ โดยเสนอไปยัง กองสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการของ ไทย ภายในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ เพือ่ ประชุมพิจารณาและเสนอไปยังส�ำนักงาน ใหญ่ของยูเนสโกภายในเดือน มกราคม ๒๕๖๐ และหลังจากที่ประชุมใหญ่ยูเนสโก ได้จัดประชุมพิจารณาและประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก ในปี ๒๕๖๑ แล้วจะเป็นการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ �

• กิจกรรมการด�ำเนินงานของคณะอนุกรรมการ

ซึ่งในภาพนั้นเป็นคณะอนุกรรมการด�ำเนินงาน เสนอชื่ อ สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหาศรี สุ ริย วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก (ด้าน ประชาสั ม พั น ธ์ ) มี นายพลาดิ ศั ย สิ ท ธิ ธั ญ กิ จ เป็นประธานกรรมการ ได้มีการจัดประชุมด�ำเนิน งานกิจกรรมต่างๆ ภายใต้บทบาทงานด้านการ ประชาสัมพันธ์

62 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

63 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญา สมเด็จพระเทพฯ � กองบรรณาธิการ

“ความส�ำเร็จ เกียรติประวัตแิ ห่งบ้าน ทีจ่ ะเล่าขานสูผ ่ ม ู้ าเยือน”

เมื่

อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราช วโรกาสให้นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดี คณบดี ผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนผู้บริหาร และผู้แทนคณาจารย์ในสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ เฝ้าทูลละออง พระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พร้อมครุย วิทยฐานะ (เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ทปอ.มรภ. มีมติ ร่วมกันที่ มรภ. ทั้ง ๔๐ แห่ง ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ ด้านการศึกษา แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ด้วยทรงสร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งในและนอกระบบ โรงเรียน ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่า เทียมกัน ทรงมีพระราชด�ำริให้ด�ำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เพื่อช่วย นักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เพื่อไป ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้ พิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นนายก สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วันอังคารที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลินดา เกณฑ์มา ประกอบพิธีรับสนองพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยและ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีคณะผูบ้ ริหาร คณาจารย์

64 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

65 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


รามเกียรติ์ค�ำกลอนมหากาพย์ข้ามศตวรรษ

โดยคฤหัสถ์คีตกวี

� โดม สว่างอารมย์ � ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน : เรียบเรียง

วยศาสตราจารย์ ดร. โดม สว่างอารมย์ อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาดนตรีไทยเพื่อ ผู้ช่การอาชี พ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้

• ค�ำอธิบายภาพ

องค์การบริหารนิสิตนักศึกษาบุคลากรและแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ห้อง ประชุมชั้น ๑๕ อาคาร๑๐๐ ปี ศรีสุริยวงศ์ พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ เริ่มขึ้น ในเวลา ๑๑.๐๐ น. โดย รศ.ดร.วิโฬฎฐ์ วัฒนานิมิตกูล รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่ อาลักษณ์อา่ นประกาศ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เรือ่ งแต่งตัง้ นายกสภาฯ และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังจากนัน้ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผล พันธิน และ ผศ.ดร. ลินดา เกณฑ์มา ได้ถวายบังคมต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ถวายความเคารพ รับพระบรม ราชโองการแต่งตั้งนายกสภาฯ และอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยาอย่างเป็นทางการ พร้อมกล่าวส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และกล่าว ถึงแนวคิดและนโยบายการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยให้สตั ย์ปฏิญาณว่า “จะ ปฏิบัติหน้าที่ทุกภารกิจอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึด มั่นในหลักธรรมาภิบาล ค�ำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อน�ำความก้าวหน้า มาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สู่สังคม และประเทศชาติสืบไป” �

66 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ประพันธ์กวีนิพนธ์เรื่อง “รามเกียรติ์ค�ำกลอน” และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และผู้ประพันธ์ได้ส่ง วรรณกรรมเรือ่ งนี้เข้าประกวดรางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย หรือ TTF AWARD (Toyota Thailand Foundation Award) ประจ�ำปี ๒๕๕๗ และได้รับรางวัลผลงาน ทางวิชาการดีเด่น ด้านมนุษยศาสตร์ ได้รบั เงินรางวัล ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาท ถ้วน) พร้อมโล่เกียรติยศ ซึ่งรางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย หรือ TTF AWARD ตัง้ ขึน้ เพือ่ ประกาศเกียรติคณ ุ ผลงานทางวิชาการดีเด่นในด้านต่างๆ ๔ ด้าน คือ ด้าน สังคมศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ และ ด้านสิง่ แวดล้อมและ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนนักวิชาการไทยให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่ทรงคุณค่า เท่าทันยุคสมัย ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเอื้อประโยชน์ทาง ภูมปิ ญ ั ญาแก่สงั คมไทย ให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยัง่ ยืนสืบไป การด�ำเนินงาน รางวัล TTF AWARD เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิตส�ำนักศิลปกรรม ได้ กล่าวประกาศเกียรติคณ ุ หนังสือรามเกียรติค์ ำ� กลอนตอนหนึง่ ว่า “...เป็นงานกวีนพิ นธ์ ทีแ่ สดงปณิธาณแน่วแน่ของกวีทมี่ งุ่ สร้างผลงานเพือ่ ประโยชน์ของคนรุน่ ใหม่ซงึ่ นิยม เรือ่ งราวทีก่ ระชับ เดินเรือ่ งรวดเร็วทันใจผูอ้ า่ น...นอกจากนี้ ยังช่วยปลูกฝังค่านิยมใน การแต่งร้อยกรองแก่เยาวชนคนไทยเพื่อรักษาวัฒนธรรมด้านความเป็นเจ้าบทเจ้า กลอนให้คงอยูใ่ นสายเลือดคนไทยสืบไปชัว่ กาลนาน...เป็นหนังสือทีย่ กย่องสรรเสริญ ผู้ที่มีคุณความดีด้านต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูรู้คุณ ความเที่ยง ธรรม ความกล้าหาญอดทน...” รามเกียรติ์ค�ำกลอน ฉบับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โดม สว่างอารมย์ ประพันธ์ โดยใช้กลอนสุภาพในการเล่าเรื่อง ใช้ตัวอักษรแบ่งจังหวะในการอ่านแต่ละวรรค กลอนออกเป็นสามช่วง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน และสามารถท�ำความเข้าใจเนื้อ เรือ่ งพร้อมรับอรรถรสของบทกวีไปพร้อมกัน โดยมีเนือ้ หาตัง้ แต่ตน้ จนจบเรือ่ งอย่าง สมบูรณ์ในเล่มเดียว เริ่มจากบทสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

67 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โดม สว่างอารมย์ รางวัล

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย หรือ TTF AWARD (Toyota Thailand Foundation Award) ประจ�ำปี ๒๕๕๗ และได้รับรางวัลผลงานทางวิชาการดีเด่น ด้านมนุษยศาสตร์


และกล่าวถึงที่มารามเกียรติ์ จากนั้นจึงเริ่มเนื้อหา จ�ำแนกออกเป็น ๖๗ ตอน ดังนี้ • ก�ำเนิดราชวงศ์อโยธยาและราชวงศ์ลงกา • อสุรพักตร์และตรีบุรัมได้รับพรพระอิศวร • นนทกคิดแค้น • ก�ำเนิดทศกัณฐ์และพี่น้อง • ก�ำเนิดสวาหะ พาลี สุครีพ • ก�ำเนิดหนุมาน • พาลีเสียสัตย์ • ก�ำเนิดนางมณโฑ • ลัสเตียนยกทัพช่วยบาดาล • ทศกัณฐ์ยกเขาไกรลาส • ศึกชิงนางมณโฑ • ทศกัณฐ์ถอดดวงใจ • รณพักตร์ได้ชื่อว่าอินทรชิต • ก�ำเนิดทรพี • ไมยราพถอดดวงใจ • ทศรถครองพารา • พระฤษีกไลโกฏบ�ำเพ็ญตบะ • พระรารายณ์อวตาร • ก�ำเนิดสีดา • สี่กุมารเรียนศรศิลป์ • พระรามกับพระลักณ์รบกับกา • พิธีประลองศิลป์ • ทรพีก�ำเริบฤทธิ์ • นางไกยเกษีขอสมบัติให้ลูก • พระพรตตามพระรามให้ครองเมือง • พระรามบุกสวนพิราพ • ทศกัณฐ์ประพาสป่า ส�ำมนักขาหลงรักพระราม • พระรามตามกวาง สีดาถูกลักพา • พระรามพบหนุมาน • พาลีตาย • สุครีพ หนุมาน ถือสารมายังท้าวมหาชมพู • หนุมาน ชมพูพาน องคต ไปลงกา • หนุมานลองดีพระนารถฤษี • หนุมานถวายแหวน • หนุมานเผาลงกา • พิเภกออกจากลงกามาเป็นข้าพระราม • หนุมานจองถนน ก�ำเนิดมัจฉานุ • ภานุราชนิมิตป่า • องคตสื่อสาร สุครีพหักฉัตร • ศึกไมยราพ • ศึกกุมภกัณฐ์ • ศึกอินทรชิต • ศึกสหัสเดชะ • ศึกแสงอาทิตย์ สัตลุง ตรีเมฆ • ทศกัณฐ์ตั้งพิธีอุโมงค์ • ศึกสัทธาสูร วิรุญจ�ำบัง • ท้าวมาลีวราชว่าความ • ทศกัณฐ์ลับหอบกบิลพัท • ศึกทัพนาสูร • มณโฑปรุงน�้ำทิพย์ • หนุมานลวงเอากล่องดวงใจทัศกัณฐ์ • หนุมานลวงทศกัณฐ์ออกรบ-ทศกัณฐ์ตาย • สีดาลุยไฟ • ท้างอัศกรรณแก้แค้น • พระรามยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา • ท้างมหาบาลเยี่ยมลงกา • ไพนาสุริยวงศ์คิดขบถ • ตามล่าท้าวจักรวรรดิ • รบบรรลัยจักร • อวสานท้าวจักรวรรดิ • พระรามสั่งประหารนางสีดา • ปล่อยม้าอุปการ

68 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• พระรามท�ำศึกกับสองกุมาร • พระรามเดินดง • สงครามครั้งสุดท้าย

• แผนลวงของพระราม • พระรามคืนดีกับนางสีดา

นอกจากนีย้ งั มีภาพประกอบทีส่ วยงามตามขนบการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง อีกจ�ำนวน ๖๗ ภาพ รวมถึงการผนวกความรู้เกี่ยวกับการเขียน “กาพย์ : แนวทาง การสร้างสรรค์ฉันทลักษณ์ใหม่” ไว้ท้ายเล่ม จึงท�ำให้หนังสือ “รามเกียรติ์ค�ำกลอน” สมบูรณ์พร้อมด้วยขนาดความหนา ๖๑๖ หน้า ทรงคุณค่าดุจเป็นต�ำราส�ำหรับการ อ้างอิง (Reference Book) จึงนับได้วา่ มหากาพย์รามเกียรติไ์ ด้กอ่ ก�ำเนิดมาตัง้ แต่ยคุ บุรำ� ปรัมปรายืนหยัด ข้ามศตวรรษมาจนถึงยุคการสือ่ สารไร้พรมแดนรุน่ ที่ ๔ (4G-The fourth Generation) โดยมีการปรับเปลีย่ นลีลาการน�ำเสนอตามบริบทของยุคสมัยทีเ่ ปลีย่ นไป แต่ยงั คงไว้ ซึ่งแก่นสารส�ำคัญไว้อย่างครบครันนิรันดร �

69 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โดม สว่างอารมย์ เข้ารับ

รางวัล โดยมีนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิ โตโยต้าประเทศไทย พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ร่วมมอบรางวัล TTF Award (Toyota Thailand Foundation Award) เพื่อประกาศ เกียรติคุณ และสนับสนุนผลงานของนักวิชาการ ไทย วันศุกร์ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ หอ ประชุมศรีบรู พา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระ จันทร์ กรุงเทพมหานคร


เจ้าพ่อผู้ให้ตลอดกาล (ภาค ๔ ) � กลอยใจ โสภณปาล

ก่

อนเข้าสู่เรื่อง ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว “เสวิกุล” ที่สูญเสีย คุณ ประภัสสร เสวิกุล ไปอย่างกระทันหันด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เรื่อง “เจ้าพ่อผู้ ให้ตลอดกาล” ท่านศิลปินแห่งชาติท่านนี้ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ผู้เขียนจึงมีความอาลัยยิ่ง ต่อการจากไปของท่าน และจะขอร�ำลึกถึงพระคุณของท่านตราบนิรันดร์กาล และ จะเขียนเรื่องนี้ในแง่มุมต่างๆ มาเสนอท่านผู้อ่าน จนกว่าจะคลายความคิดถึงและ หมดพลัง “เจ้าพ่อ” ผูเ้ ปีย่ มล้นด้วยเมตตาธรรม มีอทิ ธิ บารมีและปาฏิหาริย์ เพราะเรือ่ งที่ จะน�ำมาเสนอใน “เจ้าพ่อผู้ให้ตลอดกาล” (ภาค ๔) เป็นเรื่องที่ท่านให้ความเมตตา ต่อคนทั่วไป แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะไม่ใช่ “ลูกสุริยะ” ท่านก็แผ่บารมีไปช่วยเหลือ ทุก คนจะประสบความสมหวังและปลอดภัย เพียงแต่ระลึกถึงท่านด้วยจิตศรัทธาแน่วแน่ และบริสุทธิ์ ก็จะได้รับความเมตตากันอย่างทั่วถึง เรื่ องที่ จ ะน� ำ เสนอใน ศรี สมเด็ จ ’๕๙ บางเรื่ องได้ เ คยน� ำ ลงใน สาราณี ยะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) จัดพิมพ์เนือ่ งในวันสมภพ ครบ ๑๙๑ ปี เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ (เล่ม ๑) และครบ ๑๙๒ ปี เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ (เล่ม ๒) บาง ท่านอาจจะเคยได้อ่านแล้ว บางท่านอาจยังไม่ได้อ่าน ในฉบับนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “บารมี” และ “ปาฏิหาริย์” ของ “เจ้าพ่อ” ซึ่งไม่ธรรมดา ทุกเรื่องเป็นเรื่องจริง มีหลัก ฐานตรวจสอบได้ มิใช่แต่งจากจินตนาการ ขอน�ำเสนอรวม ๖ เรื่อง ขอเชิญติดตาม

“ชานบ้าน เพื่อทอดสายผ่อนคลายพักผ่อน”

เรื่องที่ ๑ “ลูกหาย...ได้คืน”

70 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

71 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


(อาจารย์ประไพ จินต์แสวง (ถึงแก่กรรม) เขียนในสาราณียะ เล่ม ๑ ปี ๒๕๔๒)

เรื่

องนี้เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนตุลาคม ๒๕๑๘ ชายจีนคนหนึ่งมีอาชีพขายน�้ำอัดลม อยูใ่ นวิทยาลัยครูบา้ นสมเด็จเจ้าพระยา ได้เล่าให้อาจารย์วโิ รจน์ ศรีอรุณสว่าง ฟัง ถึงเรื่องลูกชายวัย ๓ ขวบ ก�ำลังน่ารัก ได้หายไปจากบ้านโดยไม่ทราบสาเหตุ ชาย จีนคนนั้นได้ไปแจ้งความไว้ที่สถานีต�ำรวจ ต่อมาเจ้าหน้าที่สืบทราบว่า มีหญิงจีนวัย ชราคนหนึ่งได้อุ้มเด็กไป ต�ำรวจตามจับหญิงชรามาได้ แต่หญิงนั้นปฏิเสธ เวลาผ่าน ไปหลายวัน ยังไร้วี่แววที่จะได้เด็กกลับคืนมา อาจารย์วิโรจน์ แนะน�ำให้ชายจีนผู้นั้นมาหาผู้เขียนและเล่าความทุกข์ใจเรื่อง ลูกที่หายไปให้ฟัง จึงได้แนะน�ำชายจีนผู้นั้นให้ไปขอบารมี “เจ้าพ่อ” ที่ศาล ขอให้ ได้ลูกชายกลับคืนภายใน ๗ วัน ชายจีนก็ท�ำตามค�ำแนะน�ำ ปรากฏว่าคนร้ายได้น�ำ เด็กไปทิ้งไว้ที่สถานีต�ำรวจอีก แห่งหนึ่ง ต�ำรวจจึงได้น�ำเด็กมา กระสุนปืนเกิดติดขัดยังไม่ออก คุณรัตนศรีเชื่อมั่นว่า เพราะ ส่งคืนสถานีตำ� รวจทีช่ ายจีนแจ้ง อ�ำนาจบารมีหรืออภินิหารของภาพรูปปั้นสเกตซ์สมเด็จเจ้าพระ ความไว้ และได้แจ้งให้ชายจีนไป รับลูกชายกลับคืนมา ยาฯ ทีถ่ อื อยูใ่ นมืออย่างแน่นอน เพราะก่อนหน้านีเ้ ธอก็ได้ประสบ “เจ้าพ่อ” เปี่ยมด้วยความ เมตตากรุ ณาต่อทุกคนโดยไม่ กับความอัศจรรย์จากเหรียญ “เจ้าพ่อ” มาแล้วครั้งหนึ่ง จ�ำกัดเชื้อชาติ ชายจีนคนนั้นได้ ลูกชายคืนภายใน ๗ วัน ตามที่ได้ขอบารมีจากท่าน เรือ่ งนีเ้ คยน�ำลงในหนังสือพิมพ์รายวัน “รวมไทย” ฉบับที่ ๖๓ ประจ�ำวันที่ ๑-๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ชื่อเรื่อง “วิญญาณผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน แสดงอภินิหารช่วย เด็กหายกลับคืน”

ในมืออย่างแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้เธอก็ได้ประสบกับความอัศจรรย์จากเหรียญ “เจ้าพ่อ” มาแล้วครั้งหนึ่ง (ภาพรูปปั้นสเกตซ์ ได้น�ำเข้าพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๑๙ ด้วย) ถ้ามีความเคารพศรัทธา “เจ้าพ่อ” อย่างแนบแน่น ก็สามารถผ่านพ้นวิกฤตกาล (เวลาที่มีเหตุร้ายแรง) แห่งชีวิตได้ด้วยบารมีของท่าน

เรื่องที่ ๓ “รถหาย...ได้คืน”

(อาจารย์ประไพ จินต์แสวง (ถึงแก่กรรม) เขียนในสาราณียะ เล่ม ๑ ปี ๒๕๔๒)

เป็

นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ชนิดกลม ขนาดใหญ่ กะไหล่ทอง สามารถบันดาลให้รถยนต์ที่ถูกขโมยไป ได้กลับคืน มาภายใน ๒ วัน กล่าวคือ คุณจั๊ว แซ่ลี้ นักธุรกิจผู้หนึ่งได้จอดรถยนต์ส่วนตัวไว้ที่ หน้าบริษัทของตนเอง รถได้หายไป คุณจั๊ว พยายามสืบหาอยู่หลายวันก็ไม่ได้ข่าว บังเอิญมีผู้ให้เหรียญ “เจ้าพ่อ” แก่คุณจั๊วไปบูชาและบอกว่า “ถ้าปรารถนาสิ่งใดก็ขอ ให้บอกท่านเถิด” คุณจัว๊ จึงอธิษฐานขอให้ได้ขา่ วและได้รถทีห่ ายกลับคืนมา ภายหลัง จากอธิษฐานแล้ว ๒ วัน เจ้าหน้าที่ต�ำรวจที่จังหวัดลพบุรีได้พบรถของคุณจั๊วทิ้งอยู่ • ส ม เ ด็ จ เ จ ้ า พ ร ะ ย า บ ร ม ม ห า ศ รี สุ ริ ย ว ง ศ ์ ในป่าทีจ่ งั หวัดลพบุรี จึงได้นำ� มาไว้ทโี่ รงพักเพือ่ ตรวจสอบและได้หลักฐานแน่ชดั แล้ว (ช่วง บุนนาค) จึงได้ติดต่อคุณจั๊วไปรับรถคืนที่จังหวัดลพบุรี แม้ว่าจะไม่คุ้นนาม “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์” แต่ถ้ามีความ เลือ่ มใสศรัทธาอย่างแน่วแน่และจริงใจ ย่อมประสบสัมฤทธิผ์ ลตามทีต่ งั้ จิตปรารถนา

เรื่องที่ ๔ “เหรียญคน”

(อาจารย์ประไพ จินต์แสวง (ถึงแก่กรรม) เขียนในสาราณียะ เล่ม ๑ ปี ๒๕๔๒)

เรื่องที่ ๒ “ภาพรูปปั้นสเกตซ์”

(อาจารย์ประไพ จินต์แสวง (ถึงแก่กรรม) เขียนในสาราณียะ เล่ม ๑ ปี ๒๕๔๒)

“ภา

พรูปปั้นสเกตซ์” เป็นภาพเจ้าพ่อที่รูปสเกตซ์หรือรูปปั้นด้วยดินน�้ำมัน เป็นภาพขนาดโปสการ์ดสีม่วงเข้ม ด้านหลังมียันต์เป็นภาพที่มีอิทธิ สามารถบันดาลให้แคล้วคลาดจากวิถกี ระสุนปืนได้เป็นอัศจรรย์ กล่าวคือ คุณรัตนศรี ลิม้ ตระกูล นักศึกษาภาคค�ำ่ วิทยาลัยครูบา้ นสมเด็จฯ ได้นำ� ภาพดังกล่าวจะไปให้ชา่ ง ใส่กรอบที่วงเวียนใหญ่ เพื่อไว้กราบไหว้บูชา บังเอิญเดินผ่านกลุ่มวัยรุ่น ๒ กลุ่ม ทะเลาะวิวาทกัน ฝ่ายหนึ่งเมาเอะอะ อีกฝ่ายหนึ่งชักปืนออกมาจะยิงวัยรุ่นกลุ่มที่ ก�ำลังเมา โดยหันปากกระบอกปืนมาทางคุณรัตนศรี ซึ่งก�ำลังเดินผ่านไปพอดี แต่ ปรากฏว่าปืนของวัยรุ่นผู้นั้น กระสุนปืนเกิดติดขัดยังไม่ออก คุณรัตนศรีเชื่อมั่นว่า เพราะอ�ำนาจบารมีหรืออภินิหารของภาพรูปปั้นสเกตซ์สมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่ถืออยู่

72 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

เห

รียญคน ในที่นี้หมายถึง “เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยา” หรือเหรียญ “เจ้าพ่อ” ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสร้างขึ้นเพื่อหาทุนสร้าง อนุสาวรีย์ เป็นเหรียญทีเ่ ลือ่ งลือมากในด้านความศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ งๆ กล่าวคือ มีพนักงาน ขับรถของบริษัทน�้ำอัดลมบริษัทหนึ่ง ได้ประสบอุบัติเหตุที่จังหวัดสมุทรสาคร รถ มอเตอร์ไซค์ที่ขับไปนั้นเกิดพลิกคว�่ำไปหลายตลบรถพังเสียหายยับเยินจนไม่ สามารถจะขับต่อไปได้อีก แต่ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักที่ร่างกายของพนักงานผู้นั้นไม่มี แม้แต่รอยถลอกหรือรอยฟกช�ำ ้ ปรากฏว่าในตัวของพนักงาน ผูน้ นั้ มีเหรียญ “เจ้าพ่อ” เนื้อเงินเพียงเหรียญเดียว โดยที่ตัวเองก็ไม่ทราบว่าเป็นเหรียญที่ใครสร้าง ภายใน เหรียญนั้นคือใคร พนักงานผู้นั้นจึงเรียกเหรียญนั้นว่า “เหรียญคน” (หมายความว่า ไม่ใช่เหรียญพระพุทธรูปหรือเหรียญพระเกจิอาจารย์ชอื่ ดัง) และพยายามสืบเสาะว่า ภาพในเหรียญนัน้ คือใคร จนได้มาพบอาจารย์วนิ ยั บางท่าไม้ ขณะนัน้ ด�ำรงต�ำแหน่งผู้

73 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


อ�ำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ซึง่ เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัย ครูบา้ นสมเด็จเจ้าพระยา จึงน�ำเหรียญไปให้ดแู ละถามว่า รูจ้ กั ไหมว่าเป็นเหรียญของ ใคร “เหรียญคน” ท�ำไมจึงเก่งนัก อาจารย์วินัยชี้แจงให้ฟังว่าเป็นเหรียญรูปเหมือน สมเด็จฯ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้สร้าง ตั้งแต่นั้นมาพนักงานผู้นั้นไม่ ยอมให้เหรียญ “เจ้าพ่อ” ออกจากตัวเลย “เหรียญคน” ศักดิส์ ทิ ธิเ์ พราะบุคคลในเหรียญนัน้ เป็นปูชนียบุคคลผูท้ รงคุณค่า ควรแก่การกราบไหว้เคารพบูชา

เรื่องที่ ๕ “เจ้าพ่อ...ช่วยด้วย”

(อาจารย์กลอยใจ โสภณปาล เขียนในสาราณียะ เล่ม ๑ ปี ๒๕๔๒)

ระมาณปี ๒๕๓๖ เกิดเหตุการณ์สยองขวัญ คือ นักศึกษาหญิงวิชาเอกภาษา ไทย ระดับปริญญาตรี (จ�ำชื่อไม่ได้) ประสบเคราะห์ร้ายแทบจะเอาชีวิตไม่รอด เนื่องจากขณะที่เดินทางกลับบ้าน โดยรถเมล์สาย ๕๖ เมื่อมาถึงบางขุนนนท์ มีวัย รุ่นยกพวกตีกันบนรถเมล์ใช้อาวุธมีดขนาดยาวแทงกัน และพลาดมาโดนนักศึกษา หญิงคนนั้น มีดปักคาหน้าท้องและมีผู้น�ำส่งโรงพยาบาลศิริราช คนเจ็บมีสติดีมารก ได้แจ้งให้ทางโรงพยาบาลบอกข่าวมายังสถาบันพวกเราอาจารย์ภาษาไทย มีอาจารย์ สายสมร รัชตกุล, อาจารย์ชวลิต ผู้ภักดี และอาจารย์กลอยใจ โสภณปาล รวมทั้ง เพื่อนนักศึกษาได้รีบไปโรงพยาบาลทันที ภาพที่เห็นน่าสยดสยองมากเพราะมีดยัง คงปักอยู่ แต่คนเจ็บยังคงมีสติ ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าจะต้องผ่าตัดด่วนเพื่อช่วย ชีวิตคนเจ็บ แต่โรงพยาบาลขาดเลือด พวกเราได้แจ้งให้สถาบันทราบเพื่อประกาศ ให้นักศึกษาช่วยกันบริจาคโลหิต ปรากฏว่าได้รับน�้ำใจอย่างท่วมท้น นักศึกษาพา กันไปบริจาคโลหิตเป็นจ�ำนวนมาก ผลการตรวจของแพทย์ทราบว่า คนเจ็บโชคดี มากเพราะมีดผ่านจุดส�ำคัญไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ นักศึกษาผูน้ นั้ รอดชีวติ อย่างปาฎิ หาริย์ วันต่อมาพวกเราได้ไปเยี่ยมนักศึกษา เธอบอกว่าพวกเราว่า “หนูเรียกเจ้าพ่อ ช่วย” และแจ้งว่ามีเหรียญของท่านติดตัวตลอดเวลา (ภาควิชาภาษาไทย จะรับขวัญ ลูก ๆ ที่เข้ามาใหม่ทุกปีด้วยเหรียญ “เจ้าพ่อ”) “เจ้าพ่อ” แผ่บารมีและปกปักรักษาลูกของท่าน ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใด ผ่าน พ้นวิกฤตกาลมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

74 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

เรื่องที่ ๖ ซ่อมคอ “เจ้าพ่อ” ได้ ๒ ขั้น

(นายทองม้วน ชื่นบานเย็น เจ้าของเรื่อง อาจารย์มณีรัตน์ อุดมวรรณนนท์ ผู้รวบรวม ในสาราณียะ เล่ม ๒ ปี ๒๕๔๓)

วิ

ทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสมัยหนึ่ง มีหอพักให้นักศึกษาพักอยู่ประจ�ำใน วิทยาลัย วันหนึ่ง (จ�ำปี พ.ศ.ไม่ได้) มีนักศึกษาเล่นฟุตบอลด้านข้างศาลเจ้าพ่อ เตะฟุตบอลกันไปมา ไม่ทราบเพราะเหตุใด ลูกฟุตบอลเข้าไปด้านหน้าศาลกระเด็นไป ถูกรูปปัน้ ตกลงมาจากแท่นและคอหัก นักศึกษาคนนัน้ เกิดอาการกลัวอย่างมาก กิน ไม่ได้ นอนไม่หลับ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเล่าให้ฟังว่า “มันจะบ้าแล้ว มันไปขอโทษ เจ้าพ่อใหญ่เลย” ขณะทีท่ กุ คนมุงดูรปู ปัน้ เจ้าพ่อตกลงมา ไม่มใี ครกล้าท�ำอะไร ในเวลา ต่อมา อาจารย์ประยูร ไพฑูรย์, อาจารย์จงกล ก�ำจัดโรค ให้นายทองม้วนไปอุม้ เจ้าพ่อ มา เพือ่ ซ่อมแซมส่วนทีแ่ ตกหัก อาจารย์ประยูรสัง่ ให้นายทองม้วนใช้สว่านโฉเฉเจาะ ไปทีบ่ ริเวณคอของรูปปัน้ เจ้าพ่อทัง้ ด้านบนและด้านล่าง นายทองม้วนบอกว่าขณะนัน้ กลัวมาก ไม่กล้าท�ำและคิดจะเดินหนี อาจารย์ประยูรเห็นและดูรู้ว่ากลัว บอกว่า “ไม่ ต้องกลัว อาจารย์ได้กราบเรียนให้ “เจ้าพ่อ” รับทราบและขอขมาแล้ว นายม้วนเจาะ ได้เลย” นายทองม้วนก้มลงกราบเจ้าพ่อและลงมือเจาะ แล้วใส่เหล็กระหว่างคอกับ ศีรษะ อาจารย์ทั้งสองท่านต่างช่วยกันตกแต่งรูปปั้นให้แข็งแรงสวยงามเหมือนเดิม ในปีนั้นเกิดสิ่งมหัศจรรย์กับนายทองม้วนและอาจารย์ทั้งสอง คือทั้ง ๓ คน ได้ ๒ ขั้น ทุกคน เป็นความภูมิใจและดีใจอย่างยิ่งในชีวิต (จบเรื่องที่นายทองม้วน เล่า) ผู้เขียนขอแทรกข้อมูลที่ควรรับรู้ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ บ้านสมเด็จ รุ่น ๑๐ (รุ่น รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน) จัดงานชงโคบาน ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ ผู้เขียนได้ รับเชิญไปร่วมงานด้วย และได้พบกับอาจารย์ประยูร ไพฑูรย์ (ผู้สั่งให้นายทองม้วน เจาะรูปปั้น) ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ท�ำงานที่บ้านสมเด็จมานานมาก ไม่เคยได้ ๒ ขั้น มาปีที่ซ่อมรูปปั้นเจ้าพ่อคอหัก จึงได้ ๒ ขั้น และได้เล่าถึงวิธีการซ่อม ซึ่งเป็นความ อัศจรรย์จริงๆ ว่า เมื่อสั่งให้นายทองม้วนใช้สว่านเจาะและใส่เหล็กแล้ว เอาคอที่หัก สวมลงไป กลอยใจ (ผู้เขียน) เชื่อไหม ไม่มีรอยร้าวให้เห็นเลย ทั้ง ๓ คน งงไปตามๆ กันว่าเป็นไปได้อย่างไร หลังจากนัน้ ก็ใช้ปนู ฉาบและทาสีเหมือนของเดิมทุกประการ ปีนั้นพวกเรา ๓ คน ได้ ๒ ขั้น ทุกคน (เป็นค�ำบอกเล่าของอาจารย์ประยูร ไพฑูรย์ ปัจจุบัน อายุ ๘๘ ปี เล่าเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๘) ผู้เขียนประหลาดใจมากที่ อยูๆ่ อาจารย์ประยูร ก็เล่าเรือ่ งราวในอดีตให้ฟงั ซึง่ เป็นความบังเอิญอย่างยิง่ เพราะ ผู้เขียนได้เลือกเรื่องนี้เตรียมมาเสนอท่านผู้อ่านไว้ก่อนแล้ว ท�ำให้ได้ข้อมูลที่ยังไม่มี ใครทราบมาก่อน มาเสริมได้พอดี ท่านผู้อ่านเชื่อหรือยังว่า “เจ้าพ่อ” ไม่ธรรมดา การใดก็ตามที่ผู้ใดกระท�ำเพื่อ ท่าน ด้วยส�ำนึกที่ดี มีความตั้งใจ เต็ ม ใจและร� ำ ลึ ก ถึ ง ท่ า นด้ ว ยจิ ต ท�ำงานทีบ ่ า้ นสมเด็จมานานมาก ไม่เคยได้ ๒ ขัน ้ มาปีทซี่ อ่ มรูป อันบริสุทธิ์ ผู้นั้นย่อมได้รับความ เมตตาจากท่าน ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น ปั้นเจ้าพ่อคอหัก จึงได้ ๒ ขั้น

75 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ใครก็ตาม ผูเ้ ขียนจึงขอฝากให้ “ลูกสุรยิ ะ” คลืน่ ใหม่ ทีไ่ ด้เข้ามาอยูร่ ว่ มกันในบ้านหลังนี้ สืบ รูค้ วามเป็นมาในอดีตของ “เจ้าพ่อ” ให้ลกึ ซึง้ แล้วท่านจะเกิดความภาคภูมใิ จทีไ่ ด้เข้า มาเป็น “ลูกเจ้าพ่อ” ขอจงช่วยกันพัฒนา สร้างสรรค์ จรรโลง “บ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ให้เจริญรุง่ เรือง เกรียงไกร ยิง่ ๆขึน้ ไป “เจ้าพ่อ” จะให้ความเมตตาแก่ลขู องท่านทุกคน ขอให้ทุกคนโชคดี มีชัย สุขภาพกายและสุขภาพจิต ดีเยี่ยมตลอดกาล พบกัน ใหม่ใน ศรีสมเด็จ ๖๐ �

มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์

สุนทรภู่ เป็นนักจินตนาการเท่านั้นรึ?? ตอนที่สอง อาวุธของสินสมุทร � ชวลิต ผู้ภักดี

สื

บเนือ่ งจาก “ศรีสมเด็จ’๕๘ ผูเ้ ขียนได้เปิดมุมมองให้เห็นว่าท่านมหากวีเอก “สุนทร ภู”่ ยืน่ ปีใ่ ห้พระอภัยมณี ใช้เป็นอาวุธคูก่ าย นัน้ แท้จริงท่านผูร้ จนาน่าจะมีเลศนัย ซ่อนไว้ทนี่ อกเหนือจากความสนุกอันเป็นความผิดประหลาดจากเจ้าชายทัง้ หลายใน นิทานที่มักจะต้องพกพาวิชาการใช้อาวุธเพื่อการรบพุ่งในการท�ำสงครามแผ่อ�ำนาจ หรือศึกษาด้านการปกครอง ในอันทีจ่ ะเป็นเจ้าผูค้ รองนครต่อไป แต่ทา่ นมหากวีกลับ พลิกความคาดหมายเอาง่ายๆ ให้สนุกนึกว่า พระอภัยฯ ไปเรียนวิชาดนตรี จนสร้าง ความเดือดดาลให้พระบิดาถึงกับขับไสไล่สง่ แต่ทงั้ หลายทัง้ ปวงแห่งความพิสดารนัน้ กลับเป็นเรือ่ งชวนให้ผอู้ า่ นสนุกสนานกับเรือ่ งราว และอรรถรสบทกลอน ติดกันง็อม แง็ม นั่งรอที่ท่าน�้ำหรือบันไดบ้านว่า เมื่อไร ท่านสุนทรภู่จะพายเรือมาร้องขายพระ อภัยฯ อย่างใจจดใจจ่อ ความในตอนที่ ๑ ก็ได้พยายามชี้ให้เห็นแล้วว่า แท้จริงนั้น ท่านมหากวีท่าน เจตนาจะให้ปี่เป็นอุปลักษณ์หนึ่งของอาวุธที่ คนทั้งหลายทั้งปวงไม่ทันได้ล้วงลึกถึง ความส�ำคัญของ “ปี่” และได้สรุปไว้แล้วว่า “ปี่ คือ อุปลักษณ์ที่สร้างรอยยิ้มที่สร้างรอยพิมพ์ใจทั้งผู้ถือ และผู้ท่ีพบเห็น หรือเพียงแค่นึกถึงค�ำว่า ปี่ ในวินาทีนั้น ซึ่งนับว่ายิ้มเป็นอาวุธที่พระอภัยฯ ใช้สยบ ทุกปัญหาได้โดยไม่ต้องซื้อหา” นั่นเอง ตามมาซีทา่ น ตอนทีส่ องนี้ จะชวนท่านให้ไขว้เขวออกนอกลูน่ อกทางกันต่อไป ว่า สินสมุทร บุตรชายทีเ่ กิดแต่นางมารผีเสือ้ สมุทรล่ะ ท่านผูร้ จนาให้อะไรเป็นอาวุธ ส�ำคัญ แน่ะ หลายท่านตอบแล้ว “โธ่เอ๊ย ก็ให้เขี้ยวมาเป็นอาวุธไงล่ะ ลูกยักษ์ลูกมาร ก็ต้องมีเขียวยาวโง้งงุ้ม ดุดันเหมือนแม่ ค�ำตอบนั้นดูเหมือนจะถูกต้องแล้ว แต่ท่าน ที่รัก ท่านต้องไม่ลืมว่า สินสมุทร เป็นลูกชายพระอภัยมณีผู้มีแต่รอยยิ้ม พระอภัยฯ

76 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

77 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ย่อมต้องให้อะไรต่อมิอะไรที่ส�ำคัญๆ ไว้ติดตัวบ้างซีนา ไม่ต้องห่วง เชื่อได้เลย “เชื้อ ไม่ทิ้งแถว” ยังไงยังงั้น อีกประการหนึ่ง ท่านสุนทรภู่ ท่านแต่งนิทานนะ และต้องเป็นนิทานแน่นอน (ไม่ใช่นิยาย) นิทานไม่มีพิษเจือปนและยังจัดว่าเป็น “วรรณคดีไทยแท้บริสุทธิ์เรื่อง หนึง่ ทีเดียว แล้วท่านให้อะไรมากับสินสมุทรล่ะ นีเ่ ป็นค�ำถามทีว่ เิ ศษสุด ค�ำตอบก็คอื ให้ “เขีย้ ว” มาอันเบ้อเร่อเบ้อเริม่ ฮึม่ ออกจากถ�ำ้ วันไหนก็วนั นัน้ ปลาน้อย ปลาใหญ่ “จุ๊กกรู๊” ตาถลนเป็นแถว หากค�ำตอบนั้นคือ “เขี้ยว” ย่อมหมายถึงความเหี้ยมโหด ดุดัน เมื่อเป็นเช่นนี้ สินสมุทร ก็เป็นพระเอกของเรื่องไม่ได้แน่นอน แล้วเจ้าเขี้ยว ของท่านผูร้ จนา แท้ขจริงนัน้ มันคืออะไร มาเร็วๆ ตามมาติดๆ นะอย่ากระพริบตาล่ะ เข้าเรื่องกันเลยน่าจะดีเป็นแน่ทีเดียว วันนี้จะอวดดีช�ำแหละสินสมุทรกันบ้าง ว่า “อาวุธของสินสมุทร” จะใหญ่โตมโหฬารสักแค่ไหน ว่ากันตามความจริงแล้ว ตัว ละครในเรื่องพระอภัยมณี ก็ไม่เห็นมีอะไรน่าตื่นเต้น ท่านบรมครูผู้ยิ่งยงท่านเริ่ม ต้นด้วยพี่น้องสองศรีไปเรียน ตี “เขี้ยว” ย่อมหมายถึงความเหี้ยมโหด ดุดัน เมื่อเป็นเช่นนี้ สิน ปี่ เป่ากระบอง แถมเจอะเจอ า งสถาบั น อี ก สาม สมุทร ก็เป็นพระเอกของเรือ่ งไม่ได้แน่นอน แล้วเจ้าเขีย ้ วของท่าน กัเพืบ่อเพืน ่ อหนึนต่​่งเพื ่อนเรียนวิชา รอ ผู้รจนา แท้ขจริงนั้นมันคืออะไร ดอ (รักษาดินแดน) ยิงธนู คน ที่สองตั้งใจจะไปเป็นอธิบดีกรม อุตุนิยมวิทยา คนที่สามเรียนช่างกล ก็มาหลับอยู่ใต้ต้นไทรที่ชายหาด แล้วในที่สุด ก็ชวนกันไปช่วยกันสร้างบ้านแปงเมือง นี่ก็ชวนคิดไปเปราะหนึ่ง ว่า“บ้านเมืองจะ ไปได้ ผู้คนจะไปรอดย่อมต้องอาศัยคนมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ไม่มี ใครเก่งกว่าใคร ไม่มีใครท�ำคนเดียวได้ส�ำเร็จหร็อก หากพิจารณาให้เข้าถึงแก่นก็จะ พบสัจธรรมที่ว่า คนที่คิดว่า อาตมานี้แหละเก่งกว่าใครรู้มากกว่าใคร นั่นแหละคนที่ ไม่มอี ะไรในตัวเลย หรืออาจจะไม่มตี วั ตนเสียด้วยซ�ำ้ ไป ดังค�ำทีว่ า่ “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” นั่นแลอย่างไรก็ตามนะ จะดีจะชั่วก็รวมกันได้ช่วยกันบ้านเมือง จะไปรอด ไม่เชื่ออ่านพระอภัยมณีให้จบซี ไม่ต้องถึงสามก๊กหร็อก บทวิเคราะห์ อันดับแรกที่ควรพิจารณาก็คือ กล่าวโดยทางพันธุศาสตร์แล้ว สัตว์ต่างเภทอาจผสมพันธุ์กันได้ และอาจมีลูกเต้าได้ หากแต่ว่า ลูกที่เกิดมานั้นแพร่ พันธุ์หรือสืบเชื้อสายต่อไปได้ เช่น ม้า ผสมกับ “ฬา” หรือ ที่ปัจจุบัน เขียนว่า “ลา” ลูกผสมนั้นเรียกว่า “ฬ่อ หรือ ล่อ” แต่ ล่อ กับ ล่อ ไม่อาจสืบทอดต่อได้ ยังต้องใช้ ม้า กับ ลา ต่อไป จึงจะได้ ล่อ ตัวใหม่ ดังนั้น นางผีเสื้อสมุทรก็ดี นางเงือก ก็ดี ที่ตก เป็นชายาของพระอภัยฯ ทีท่ า่ นสุนทรภูก่ ำ� หนดให้เป็นตัวละครในเรือ่ งนี้ โดยเจตนาก็ คือ ท่านต้องการให้เป็น สัญลักษณ์ของหญิงเท่านั้น และผู้วิเคราะห์เชื่อว่า ท่านบรม ครูกวีท่านต้องรู้ หรือศึกษามาอย่างถ่องแท้แน่นอน มิใช่ก�ำหนดขึ้นอย่างที่เรียกกัน ว่า กลอนพาไปเป็นแน่แท้ เอ้า กลับมาที่ตัวสินสมุทรกันต่อนะ ก่อนอื่นต้องก�ำหนดค�ำนิยามก่อน มาช่วย กันตอบซิวา่ “ท�ำไมพระอภัยมณีจงึ ตัง้ ชือ่ ให้ลกู ชายว่า “สินสมุทร”เอาอีกละถามไม่ได้

78 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• พระอภัยมณี ผีเสื้อสุมทรและสินสมุทรขี่ม้านิล

มั ง กร ภาพวาดตั ว ละครจากเรื่ อ งพระอภั ย มณี ประพันธ์โดย สุนทรภู่

เรื่อง ชื่อน่ะส�ำคัญนักเรอะ ตั้งไว้ส�ำหรับเรียกก็เท่านั้น ที่พระอภัยฯ มีลูกได้เพราะ สถานการณ์บังคับไง ท่านสุนทรภู่เขียนไว้ออกชัดว่า “ต้องรักใคร่ไปยามตามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย”

คิดเอาเล่นๆ คุณบิดา คงจะเห็นว่า แม่เจ้าหนูเนีย่ ะ คือ “ผีเสือ้ สมุทร”สุดสวยรึไง ไม่ร ู้ แถมเป็น ผีเสือ้ บินไปบินมา คงอรชรอ้อนแอ้นน่าดูน๊ า่ ดู โฉบไปฉายมาอยูก่ ลาง ทะเล ก็เลยเลือกเอาค�ำว่า“สมุทร”ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความรักครั้งแรกงั้นซี ที่แอบ เติม “สิน” ให้คล้องจอง ก็เพื่อรอน้องที่จะตามมาว่า “สุดสาครมั้ง คงวางแผนให้เป็น

79 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


“ซีรี่” แบบคุณชาย ธราธร ปวรรุจน์ พุฒิภัทร รัชชานนท์ รณพีร์ เออแนะคิดได้ไงเนี่ ยะ อย่ารีรออยูเ่ ลย ลองไปอ่านพระอภัยมณีดซู แี ล้วจะคลีค่ ลายไปเรือ่ ยๆ ท่านผูร้ จนา ท่านมีวิธีนะ ชื่อนั้นส�ำคัญไฉน ท่านจินตกวีของโลกท่านต้องซ่อนนัยไว้อีกแน่นอน

บุคลิกของ ”สินสมุทร” นั่น แหละคื อ อาวุ ธ ประจ� ำ กายที่ ท่ า นสุ น ทรภู ่ บ รรจงให้ ม า เชียวละ

“พระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ก็รักไคร่ ด้วยเนื้อไขมิได้คิดริษยา เฝ้าเลี้ยงลูกผูกเปลแล้วเห่ช้า จนใหญ่กล้าอายุได้แปดปี จึงให้นามตามอย่างข้างมนุษย์ ชือ่ สินสมุทร กุมารชาญไชยศรี” (๒๕๐๕ : ๑๓๐)

อย่า อย่าไปคิดให้หนักสมองแบบนั้น เห็นใจเถอะ พระอภัยฯ เองก็คงไม่รู้ว่า เมียคนต่อไปจะ ครึ่งคนครึ่งปลา หรือขนาดพระสุธน ที่เป็นรุ่นพี่ ได้เมีย คนครึ่ง นกครึ่ง ท่านก็ไม่รู้มาก่อน อย่างไงก็ตามทั้งกินนรี ผีเสื้อสมุทร เงือก หรือแม้แต่ต้น กุหลาบ ล้วนแต่ เป็นความฉลาดล�้ำลึกของผู้จินตนาการทั้งสิ้น อ่านนะ อ่านให้หน�ำ น�ำให้นึก อย่าว่าเป็นนิทานลวงโลกเลย “สินสมุทร” มาจาก สิน กับ สมุทร “สิน” หมายความว่า ทรัพย์ สมบัติ ของมี ค่าส่วนค�ำว่า“สมุทร”คือ พื้นน�้ำหรือท้องทะเลอันกว้างกว่ากว้าง ถ้าแปลกันตามตัว อักษรก็ต้องแปลว่า ทรัพย์ที่ได้มาแต่มหาสมุทร หรือจะแปลเรี่ยราดตามชายหาด ก็ ต้องแปลว่า สมบัตทิ พี่ ระอภัยฯ ค้นได้จากนางผีเสือ้ สมุทร เออ ง่ายดีเนาะ แต่อนั ทีจ่ ริง เรื่องชื่อนี่ไม่ง่าย หรือ ตื้นๆ แน่นอน ที่แน่ๆ อย่าไปเปลี่ยนชื่อลูกชายพระอภัยฯ ทั้ง คู่ เป็น คุณ “สายชล” กับ คุณ “จนมุม” ก็แล้วกัน แค่เปลี่ยนจาก “นิทานค�ำกลอน” เป็น “นิยายค�ำกลอน หรือ กลอนนิยาย” ก็ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหนแล้ว พ่อคุณ แม่คุณ จ�ำไม่ได้จริงๆ พูดแล้วเศร้า เขลาแล้วกลุ้ม น่าจะอยู่ในต�ำราชั้นประถมมั้ง มี หลายโรงเรียนเอาไปใช้เป็นแบบเรียนด้วย “สมุทร” ค�ำนี้นี่แหละที่จะน�ำไปสู่การตีความ เพราะสื่อความได้หลากหลายขึ้น อยู่กับบริบท ต้องอ่านๆๆๆ ดังนั้น “สมุทร” ย่อมหมายถึง ความกว้างใหญ่ไพศาล ความลึกล�้ำ ความไม่มั่นคง ในความสงบอาจมีความรุนแรงแฝงอยู่ แต่นั่นมิใช่ หมายความว่า สินสมุทรจะมีบคุ ลิกทีไ่ ม่มนั่ คงนะ อย่าเพ่อด่วนสรุปล่ะ ข่าวบอกมาว่า มหาสมุทรแปซิฟิกเนี่ยะไม่ได้เป็น มหาสมุทรแห่งความสงบนะ แต่เป็นมหาสมุทรที่ โหดสุดๆ ทั้งคลื่นใหญ่ ลมแรง ทั้งเชี่ยววนเอาทีเดียว เขาว่ามานะ อยากรู้ให้ไปถาม นักสมุทรศาสตร์ดู ไปต่อกันเถอะ ไปคล�ำหาอาวุธของสินสมุทร ตามที่ต้ังธงเอาไว้ เสียก่อนจะดีกว่า ที่แน่ๆ ก็บุคลิกของ ”สินสมุทร” นั่นแหละคืออาวุธประจ�ำกายที่ท่านสุนทรภู่ บรรจงให้มาเชียวละ แต่ก็อย่าเพ่อด่วนสรุปนะว่าทั้งหมดนี้ อ่านบทวิเคราะห์ต่อไป แล้วจะพบว่า อาวุธส�ำคัญนั้น คืออะไร ลองมาอ่านบทนี้ บทที่จะน�ำเข้าสู่ภวังค์แห่ง ความงงงวย บทน�ำเพื่อการวิเคราะห์ ประกอบกับพฤติกรรมของตัวละครตัวนี้ ที่ ชื่อ “สินสมุทร”

80 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

“ต้องรักใคร่ไปยามตามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย(๑) ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช(๒) แต่ดวงเนตรแดงดังสุรีย์ฉาย(๓) ทรงก�ำลังดังพระยาคชาพลาย(๔) มีเขี้ยวคล้ายชนนีมศี ักดา(๕)” (๒๕๐๕ : ๑๓๐ )

บทนี้ หากมองเพียงผิวเผิน แน่นอนลูกชายคนนี้ เป็นสมบัตขิ องทัง้ พ่อและแม่ได้ มาโดยไม่ตงั้ ใจ แต่อย่าลืมว่าในค�ำกลอนไขค�ำว่า “ต้องรักใคร่กนั ไปยามตามกันดาร” ค�ำว่า “กันดาร” นั่นแหละเป็นกุญแจไข (ภาษาฝรั่งเรียกว่า คีย์เวิร์ด) ความชัดๆ ต้อง หมายความว่าปฏิบัติต่อกันอย่างแล้งๆ นั่นเอง ใจเย็นๆ คนเก่งอย่างมหากวีเอก คงไม่ ให้อะไร ตื้นๆ ต้องมาวิเคราะห์ต่อจากบทประพันธ์ที่คัดมาเป็นท่อนเป็นตอน บทวิเคราะห์ “ต้องรักใคร่ไปยามตามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย” (๑) บุตรบุรุษชาย กล่าวคือ บุตรนั้น เป็นชาย ย่อมเป็นความหวังในอนาคต สืบ สกุล ความเป็นเด็กผู้ชายย่อมเลี้ยงง่ายซุกซน เข้มแข็ง นับว่าเหมาะแก่สภาพการณ์ ในยามนั้น และปรากฏในบทต่อๆ มา เช่น เด็กเลี้ยงง่าย

“พระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ก็รักไข้ ด้วยเนื้อไขมิได้คิดริษยา เฝ้าเลี้ยงลูกผูกเปลแล้วเห่ช้า จนใหญ่กล้าอายุได้แปดปี (๒๕๐๕ : ๑๓๐)

ซุกซนตามประสาเด็ก

“หนักหรือเบาเยาว์อยู่ไม่รู้จัก เข้าลองผลักด้วย ก�ำลัง ก็พังผาง เห็นหาดทรายพรายงามเป็นเงินราง ทะเลกว้างข้างขวาล้วนป่าดง ไม่เคยเห็นเป็นน่าสนุกสนาน พระกุมารเพลินจิตพิศวง ออกวิ่งเต้นเล่นทรายสบายองค์ แล้วโดดลงเล่นมหาชลาไลย” (๒๕๐๕ : ๑๓๒)

มีความอยากรู้อยากเห็นโดยเฉพาะสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ สิ่งที่ผิดแผกจากที่เคยรู้ เคยเห็นก็พยายามจะเข้าไปเล่น ไปซักถาม เพราะความเป็นเด็ก นี่เป็นข้อยืนยันว่า สุนทรภูไ่ ม่มเี จตนจะให้สนิ สมุทรเป็นยักษ์แม้สกั นิดเดียว สินสมุทรเป็นเด็ก ซุกซน ไร้ เดียงสา แต่อยากรูอ้ ยากเห็น ลองผิดลองถูก ท่านผูร้ จนาไม่ละเลยทีม่ ขี อ้ ยืนยันอีก คือ “เห็นฝูงเงือกเกลือกลิ้งมากลางชล คิดว่าคนมีหางเหมือนอย่างปลา ครั้นไต่ถามไม่พูดก็โผนจับ ดูกลอกกลับกลางน�้ำปล�้ำมัจฉา ครั้นจับได้ให้ระแวงแคลงวิญญา เช่นนี้ปลาหรืออะไรจะใคร่รู้” (๒๕๐๕ : ๑๓๒)

ท่านที่รัก นี่เป็นผลพวงจากการที่นางผีเสื้อฯ พยายามจะปิดหูปิดตาของสอง

81 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• ค�ำอธิบายภาพ


พ่อลูกด้วย ด้วยการกักบริเวณ (Ground age) แต่ก็ไม่พอที่จะปิดกั้นได้ ด้วยความ เด็กผู้ชาย กับความซุกซนเป็นของคู่กัน สินสมุทรจึงใช้ การลองผิดลองถูกเปิดปาก ถ�้ำ จนได้เห็นโลกกว้าง สินสมุทรมิได้ประพฤติตนเยี่ยงยักษ์แม้แต่สักนิด ที่มีก�ำลัง มากมายเป็นเพราะเลือดทางฝ่ายแม่ และหรือเพราะพลังที่เกิดแต่การถูกกักบริเวณ แรงแห่งความอยากรู้อยากเห็นอยากลอง

“ขอษะมาตาปู่อย่าดูเบา

พฤติกรรมอันเป็นคุณสมบัติประจ�ำตัวของสินสมุทรที่ได้รับการอบรมจากองค์ พระอภัยฯ จนแสดงออกได้อย่างที่โบราณเรียกว่า “สันดานดี” พร้อมที่จะปฏิบัติโดย ไม่ขัดเขิน

บทวิเคราะห์ “ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรง เดช”(๒)

ที่

ว่า เหมือนองค์พระอภัยฯ อย่าไปแปลว่า เป็นผู้ชายเหมือนกัน หากแต่ว่าต้อง มองให้ลึก ดังที่ท่านผู้รจนาได้แทรกเสริมไว้อีกหลากหลาย “ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช” วรรคนี้ต้องจับความให้แม่นว่า สง่า งาม สมกับที่เป็นโอรสของพระอภัยฯ ที่จะสืบเผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์ต่อไป นับว่าท่าน ผู้รจนาได้เปิดทางไว้เป็นปฐมแล้ว ความสนับสนุนในประการนี้ คือ ตอนสินสมุทร พบกับศรีสุวรรณผู้เป็นอา “ฝ่ายพระองค์ทรงเดชเกศกษัตริย์ นึกประหวัดหวั่นจิตต์คิดสงไสย กุมาราว่าพ่อชื่อพระอภัย จะเป็นใครหนอคนนี้หรือพี่ยา แล้วพิศดูกุมารก็ “แม้นเหมือน ไม่คลาดเคลื่อนทรงเดชพระเชษฐา แต่ผมหยิกอย่างยักษ์ลักขณา กับสองตาดูแดงยังแคลงใจ” (๒๕๐๕ : ๒๓๓)

บทนี้ชี้ชัดว่าบุคลิกโดยรวมที่เหมือนพ่อ จึงท�ำให้ ศรีสุวรรณซึ่งเป็น “อา” หมด ความสงสัย ส่วนในสองวรรคสุดท้ายนั้นเป็นเจตนาที่ครูท่านคงต้องการให้เห็น ลักษณะเป็นบุคลิกเสริมที่มีบางส่วนที่ได้จากแม่ เช่น ผมหยิก นัยน์ตาเป็นสีแดง ซึ่ง จะวิเคราห์ะต่อไป ด้านความฉลาด และความจ�ำทีพ่ อ่ สอนให้รทู้ สี่ งู ทีต่ ำ �่ ก็ทำ� ได้อย่างไม่ขดั ไม่เขิน มาตั้งแต่เด็ก “จึงบัญชาว่าเจ้าสินสมุทร ขอษะมาตาปู่อย่าดูเบา

ไปช่วยฉุดศิลาใหญ่ขึ้นให้เขา ช่วยอุ้มเอาแกออกไปให้สบาย” (๒๕๐๕ : ๑๓๕)

เมือ่ ฉุดกระชากลากเงือกเฒ่ามาหาพ่อเพราะสงสัยว่าตัวอะไรทีแ่ ปลกประหลาด จนกระทัง่ ตกลงรับปากว่าจะพาหนี ซึง่ พระอภัยฯ ก็สงั่ ให้กราบขอโทษเงือก สินสมุทร ท�ำตามค�ำสั่งได้โดยดี

82 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ช่วยอุ้มเอาแกออกไปให้สบาย”

“สินสมุทรซุดองค์ลงอภิวาท เข้ากอดบาทพระเจ้าอาน�้ำตาไหล สอื้นอ้อนวอนว่าขออไภย พระอย่าได้ถือโทษจงโปรดปราน (๒๕๐๕ : ๒๓๕)

เมื่อพบปะศรีสุวรรณ ผู้เป็นอาครั้งแรกไม่เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน จนตนเอง ได้ทำ� อาการล่วงเกินถึงสูร้ บกันแล้ว ทันทีทสี่ นิ สมุทรรูว้ า่ เป็นอา ก็ฉลาดรูท้ นั ทีวา่ ควร ปฏิบัติอย่างไร นี่เพราะเหตุอันเนื่องมาแต่การอบรมบ่มนิสัย

พฤติกรรมอันเป็นคุณสมบัติประจ�ำตัวของสินสมุทรที่ได้รับการ บทวิเคราะห์ “แต่ อบรมจากองค์พระอภัยฯ จนแสดงออกได้อย่างทีโ่ บราณเรียกว่า ด ว ง เ น ต ร แ ด ง ดั ง “สันดานดี” พร้อมที่จะปฏิบัติโดยไม่ขัดเขิน สุรีย์ฉาย” (๓)

วงเนตรแดง หรือนัยน์ตาสีแดง ค�ำนี้ส่วนใหญ่จะเกิดความคิดขึ้นทันทีทันใดว่า โอ้โฮ ตาสีแดงต้องดุดัน สนุกแน่ๆ ท�ำให้อยากติดตาม” ดวงตาแดงดังแสงสุรีย์ ฉาย” ความจริงแล้วเป็นอุปลักษณ์ กล่าวคือ ท่านผู้สร้างตัวละครตัวนี้ ให้มีลักษณะ ของดวงตาเป็น “สีแดง” ซึ่งต้องใช้ความรู้เรื่องของสีที่ใช้ในชิวิตประจ�ำวันมาเป็น เครื่องมือในการวิเคราะห์ สีแดง คือ อ�ำนาจ ความกล้า มีพลังสูง ไม่ใช่ความโหดเหี้ยม หากแต่เป็นความ กระตือรือร้น มุง่ มัน่ และในทางจิตวิทยาสีแดงคือความอ่อนเยาว์ และความปรารถนา ที่มั่นคง หรือความรักอันแรงกล้าด้วย การใช้เครื่องเล่นในเด็กทารกนั้นจะพบว่า แพทย์จะแนะน�ำให้ใช้สแี ดง ซึง่ ไม่ได้หมายความเพียง สีแดงล่อตาเด็กทารก เห็นง่าย กว่าสีอื่น เท่านั้น หากเป็นความเชื่อว่า เด็กทารกสนใจสีแดงมากกว่าสีอื่นๆ ต่อเมื่อ โตขึน้ สีสนั ต่างๆ ก็ยงั เป็นเครือ่ งล่อตาล่อใจอยูเ่ ช่นเดียวกัน ลองพิจารณาบทต่อไปนี้ “สินสมุทรมุนีฤๅษีเล็ก แล้วตอบว่าฉันจะใคร่ได้เครื่องทรง

ประสาเด็กดูของที่ต้องประสงค์” เหมือนที่องค์พระธิดาสาระพัน (๒๕๐๕ : ๑๗๒)

บทที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า สินสมุทรมีความเป็นเด็กที่น่ารัก สีสันและอลังการ

83 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ที่ตนเองอาจไม่โอกาสได้พบเห็นมากนักเมื่อครั้งยังอยู่กับแม่ผีเสื้อสมุทร เด็กย่อม แสดงออกถึงความต้องการได้โดยไม่น่ารังเกียจพูดจาตามประสาเด็ก แต่กลายเป็น น่าเอ็นดู อีกบทหนึง่ ทีน่ า่ สนใจ ลองอ่านดู จะเห็นว่า รูจ้ กั เปรียบเทียบตามประสาเด็ก “กุมาราว่าที่นี่ไม่มีเท่า โตกว่าล�ำส�ำเภาเป็นไหนไหน ชื่อผีเสื้อเนื้อหนังรังขี้ไคล ทั้งสูงใหญ่เขี้ยวยาวราวสักวา ไม่นึกรักสักนิดจึงคิดหนี(๑) แม่เดี๋ยวนี้แลรักเป็นนักหนา(๒) สมกับองค์ทรงฤทธ์พระบิดา ได้งามหน้าลูกแก้วแล้วคราวนี้(๓)” (๒๕๐๕ : ๑๗๓)

ดังได้กล่าวแล้วว่า “สีแดง” ที่แสดงความอ่อนเยาว์ไร้เดียงสา สินสมุทรเล่า ความไปตามที่คิดไม่ปิดบัง ไม่เสแสร้ง ซึ่งผู้ฟังย่อมเข้าใจและให้อภัยได้ พิเคราะห์ ตาม (๑) – (๓) ดังนี้ • รูปร่างหน้าตาของแม่ผีเสื้อฯ น่าเกลียด ไม่น่ารัก ส่วนค�ำว่าร่างกายใหญ่โต เท่าล�ำส�ำเภาก็ดี เขีย้ วยาวเป็นวาก็ดี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบเชิงกระทบกระเทียบ • รักก็บอกว่ารักเมื่อปักใจที่จะรัก สมัครใจที่ยกนางสุวรรณมาลีเป็นแม่ • นับเป็นความจริงใจตามวัยของเด็ก หรือที่เรียกว่า ประสาซื่อ ต้องการให้ ครองคู่กับบิดาของตน “สีแดง” ที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นเมื่อตั้งใจจะท�ำอะไรก็ท�ำจริง กุมาราว่าการจะราญรบ ลูกรู้จบการศึกได้ฝึกฝน พระโยคีวิเศษให้เวทมนต์ ทั้งคงทนแทงฟันไม่บรรไลย แม่ผีเสื้อเมื่ออยู่คูหา ให้มนต์ข้าที่มนุษย์หยุดไม่ไหว สิ้นทั้งล�ำก�ำปั่นไม่พรั่นใคร ลูกจะไปถองทุบให้ยุบยับ (๒๕๐๕ : ๒๑๓)

เจตนาของท่านกวีเอก “สุนทรภู่” คือ ก�ำหนดบุคลิกพิเศษ ให้ สินสมุทรมีดวงตาสีแดงเป็นส่วนหนึ่งของอาวุธที่ใช้สยบผู้คน ทั้งหลายด้วยการแสดงออกทางแววตา ที่ฉายออกมาอย่างชัด แจ้งทั้งการแสดงพลั บ�ำเพ็ญพรตเมือ่ อยูบ่ นเกาะแก้วพิสดาร การอาสาออกรบ เป็นความตัง้ ใจ มุง่ มัน่ อย่าง แท้จริง และปฏิบัติได้อย่างทะมัดทะแมง ส่วนความทีข่ ยายสีแดงว่า “ดังแสงสุรยี ฉ์ าย”จะตัดทิง้ หรือรวมพันกันไปนัน้ ย่อม ไม่ได้ ค�ำว่า “แสงสุรีย์ฉาย” พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า ค�ำนี้ใช้ขยายลักษณะของแววตา ที่มีประกายแวววาว ฉายแสงเจิดจ้าประดุจแสงแห่งดวงอาทิตย์ กล่าวคือ ความสว่างไสว ความอาจหาญช่วยคนทัง้ โลก กับยังเผือ่ แผ่ไปถึงดาว และเดือนในอีกฟากฝัง่ ฟ้าด้วย พระอาทิตย์จงึ มีชอื่ เรียกทัว่ ไปว่า “ตาวัน” ซึง่ หมายถึง ดวงตาของวัน เพราะเมื่อใดที่พระอาทิตย์สาดแสงลงมายังโลก ตาของสัตว์โลกย่อม เห็นสรรพสิง่ ได้ชดั เจน รวมทัง้ ต้นไม้ใบหญ้าก็มชี วี ติ ชีวาขึน้ เช่นเดียวกัน ดังนีย้ อ่ มมุง่ ความไปทีม่ ี “แววตาแห่งอ�ำนาจยิง่ เป็นแสงทีใ่ ห้ความอบอุน่ แก่สรรพสัตว์ทงั้ ปวง” ที่ หนุนให้มีบุคลิกเด่น เช่น “นางร�ำภาว่าเมื่อรบได้พบเห็น พราหมณ์นี้เป็นตัวนายปีกซ้ายขวา ที่รูปร่างอย่างยักษ์ลักขณา ทั้งสองตาช่วงแดงดังแสงไฟ มีเขี้ยวคมผมย่นเหมือนขนแกะ คนนั้นแหละแทงฟันมันไม่ไหว นางยุพาว่าพี่กลับไปฉับไว จับให้ได้ตัวนายคนนั้นมา” (๒๕๐๕ : ๕๗๘)

นัยของสีแดง ยังหมายถึงความเป็นเด็ก “กุมาราว่าที่นี่ไม่มีเท่า โตกว่าล�ำส�ำเภาเป็นไหนไหน ชื่อผีเสื้อเนื้อหนังรังขี้ไคล ทั้งสูงใหญ่เขี้ยวยาวราวสักวา ไม่นึกรักสักนิดจึงคิดหนี แม่เดี๋ยวนี้แลลูกรักเป็นนักหนา สมกับองค์ทรงฤทธ์พระบิดา ได้งามหน้าลูกแก้วแล้วคราวนี้” (๒๕๐๕ : ๑๗๗)

พฤติกรรมที่สนับสนุนสีแดงตือความมุ่งมั่นความตั้งใจของสินสมุทร “สินสมุทรผุดลุกขึ้นแลเห็น สิงห์โตเผ่นโผนไล่ไวหนักหนา มิทันเปลื้องเครื่องทรงอลังการ์ โลดถลาลงน�้ำปล�้ำสิงห์โต มันรับรบขบกัดพระฟัดฟาด พระฉวยพลาดพริ้วโจนขึ้นโผนโผ ขี่หลังนั่งยองยองร้องโยโย อ้ายสิงห์โตตัวฉลาดขึ้นหาดทราย” (๒๕๐๕ : ๔๗๓)

นอกจากนี้ยังปรากฏอีกหลายตอน เช่น พ่อให้เรียนเป่าปี่ เมื่ออยู่ถ�้ำคูหา การ

84 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ย่อมแสดงว่า เจตนาของท่านกวีเอก “สุนทรภู”่ คือ ก�ำหนด บุคลิกพิเศษ ให้สนิ สมุทรมีดวงตาสีแดงเป็นส่วนหนึง่ ของอาวุธทีใ่ ช้สยบผูค้ นทัง้ หลาย ด้วยการแสดงออกทางแววตา ที่ฉายออกมาอย่างชัดแจ้งทั้งการแสดงพลัง ความ รัก ความเมตตาปรานี และความปรารถนา ดังค�ำกล่าวที่ว่า “ดวงตาคือหน้าต่าง

85 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


แห่งดวงใจ”

บทวิเคาระห์ “ทรงก�ำลังดังพระยาคชาพลาย” (๔)

บทวิเคราะห์ “มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา” (๕)

ค�ำ

ว่า “ก�ำลัง”ไม่ยาก ด้วยความเป็นลูกนางผีเสื้อฯ ถ้าผอมแห้งแรงน้อยก็ผิดไป ละไม่ต้องคิดมาก แม่ยังขนาดนั้นแล้วลูกจะขนาดไหน “ก�ำลังดังพระยาคชา พลาย” ทั้งวรรคเจตนาชี้ว่าเป็นทารกที่ แข็งแรงบึกบึนกว่าเด็กทั่วๆไป เลี้ยงง่าย จะเห็นว่าตั้งแต่เด็ก พระอภัยฯ เป็นฝ่ายดูแลใกล้ชิด เพราะ นางผีเสื้อสมุทรจะต้อง ออกไปหาอาหาร เมื่อโตขึ้นก็ซนตามประสาเด็ก ลองผลักหินที่ปิดปากถ�้ำก็เปิดออก อย่างง่ายดาย “แล้วเผ่นโผนโจนลงทะเลลม เที่ยวด�ำน�้ำค้นหามัจฉาใหญ่ เสียงโผงผางกลางน�้ำแต่ล�ำพัง “สินสมุทรสุดสนุกลุกขึ้นโลด ให้โบกธงลงข้างขวามาข้างซ้าย พอลมกล้าฝรั่งข้างอุศเรน สินสมุทรสุดคนองร้องว่ารับ

พระปรารมภ์เรียกไว้ก็ไม่ฟัง พอจับได้ปลาอินทรีขึ้นขี่หลัง ค่อยลอยรั้งรอมาในวาริน”(๑๔๒) แกว่งดาบโดดลงก�ำปั่นแล้วผันผาย สัญญาณนายเรือรบสมทบทัพ ล้วนจัดเจนจ้องชุดจุดปืนตับ ประทะทัพอุศเรนเจนประจน” (๒๙๕)

มี

เขี้ยว ค�ำตอบนี้ไม่รับรองโดยกระทรวงศึกษาฯ นะ อ่านแต่อย่าเอาเป็นเรื่องล่ะจ๊ะ “เขี้ยว” ของสินมุทร ท่านสุนทรภู่ท่านใส่เขี้ยวมากับสินสมุทรเพียงเพราะเป็นลูก ยักษ์เท่านั้นรึ หรือว่ามีไว้ขบกัดศัตรู ฉีกเนื้อปลาใหญ่ๆ เป็นอาหาร อย่า อย่าเพ่อ ด่วนสรุป เขี้ยว คือ “อาวุธในปาก”ตรงนี้มี สองค�ำ สองความหมายใหญ่ๆ คือ “ปาก ในทีน่ ใี้ ห้หมายถึงค�ำพูดค�ำจา ส่วนทีต่ ดิ มาในปากคือ “เขีย้ ว” ลองพิจารณาให้ถอ่ งแท้ มนุษย์ทกุ รูปทุกนามมีเขียวด้วยกันทัง้ สิน้ ในด้านสรีรถือว่า เขีย้ วมีไว้สำ� หรับฉีก ต่าง จากฟันหน้าซึ่งใช้ตัด ส่วนกรามใช้บด อ่านให้ดี แล้วจะเห็นว่า ท่านสุนทรภู่ต้องการให้ “เขี้ยว” เป็น ความคมของค�ำ พูด และความจริงใจ เขีย้ วทีป่ รากฏชัดเจนจะสร้างเสน่หใ์ ห้กบั บุคคลนัน้ ได้มาก เพราะ จะเป็นจุดเด่นเวลายิ้ม หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ประโยคใจความ หรือที่เรียกว่า น�้ำหนักของประโยค จะอยู่ที่ “มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา”

ค�ำว่า “มีศกั ดา” ทีใ่ ช้ขยายความของค�ำว่าเขีย้ วนัน้ ต้องมีเหตุผลทีค่ วรพิจารณา น่าจะเป็นนัยส�ำคัญ เช่น

“สินสมุทรหยุดคิดพินิจนึก พวกข้าศึกมั่นคงไม่สงสัย ให้หาพราหมณ์สามนายก็หายไป ต่างตกใจวุ่นวิ่งเป็นสิงคลี พอแสงแดดแผดต้องอ้ายย่องตอด ลมตลอดดวงจิตต์เพราะฤทธิ์ผี โดดถลาถาโถมเข้าโจมตี ชาวบุรีแตกตื่นเสียงครื้นเครง” (๕๗๙)

การใช้ความคิดความมีสติมั่นคงย่อมน�ำมาใช้ให้เหมาะแก่สถานการณ์และ บุคคล

“สินสมุทรสุดโกรธพิโรธร้อง เข้ารบย่องตอดตีไม่หนีหาย แกว่งพระขรรค์ฟันฟาดปราดประกาย มันไม่ตายแต่ว่าล้มลงซมซาน ครั้นรุมจับกลับรบไม่หลบหลีก กระชากฉีกแขนขาธาหาญ สิงห์โตเห็นเผ่นโผนโจนทะยาน ช่วยทหารโฮกกัดทั้งฟัดยี”(๕๗๙)

ดังนัน้ ทีก่ ำ� หนดบุคลิกพิเศษให้สนิ สมุทรมีตาสีแดง สีแดงหมายถึงความร้อนแรง ไฟ อ�ำนาจ ดวงตาของสินสมุทรย่อมหมายถึง อาวุธในกายที่จะสยบผู้คนทั้งหลาย ได้ด้วยอ�ำนาจแห่งแววตา นอกจากนี้ สีแดงยังหมายถึงความเป็นเด็ก ดังปรากฏ อยู่หลายๆ ตอนที่แสดงถึงพฤติกรรมของเด็กชายสินสมุทร แต่ที่ส�ำคัญคือ สุนทรภู่ ก�ำหนดให้ตัวละครตัวนี้ แสดงออกทางวาทะเป็นพฤติกรรมหลัก

86 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

“สินสมุทรสุดฉลาดไม่อาจบอก มิใช่การมารดาจะคลาไคล ซึ่งจะให้ไปบอกออกมาหา พระแม่อย่าทาระก�ำให้ร�ำคาญ

ยังซ�้ำหลอกลวงแม่พูดแก้ไข ขอเชิญไปอยู่ถ�้ำให้ส�ำราญ(๑) บิดาข้าขี้ขลาดไม่อาจหาญ(๒) ไม่ช้านานบิตุรงค์คงจะมา(๓)” (๑๔๔-๑๔๕)

บทวิเคราะห์ค�ำประพันธ์ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ท่านสุนทรภู่มุ่งสิ่งใดกับค�ำว่า “เขี้ยว” โดยพฤติกรรมของสินสมุทร ที่นอกเหนือจากการใช้ก�ำลัง และอาวุธอื่น ก็คือ “วาทะ หรือ คารม” นั่นเอง ความเฉลียวฉลาดของสินสมุทรต่อการใช้การพูดจูงใจ หว่านล้อม เป็นหลัก เมื่อต่อรองกับแม่ผีเสื้อยามคับขัน ก็มีวิธีบอก วิธีพูดอย่างบัว ไม่ช�้ำน�้ำไม่ขุ่น โดย • ขอร้อง (๒) แนะน�ำ และ (๓) ให้ความหวัง “สินสมุทรพุดจาประสาซื่อ ลูกนี้หรือจะไม่รักอย่าพักถาม อยากจะใคร่ได้แม่ที่รูปงาม พึง่ สมความปรารถนาเวลานี้(๑) จะหาไหนได้เหมือนพระรูปโฉม งามประโลมล�้ำฟ้าในราศี(๒)

87 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


แม้นหาคู่สู้ได้ฉันให้ตี

จริงนะจ๋าฟ้าผี่เถิดมารดา(๓)”(๑๗๖-๑๗๗)

คารมเป็นเอก นี่คือความฉลาดในการพูด ชนิดที่มีลูกหยอด หรือที่กล่าวกันว่า เจ้าคารีส้ คี ารมเล่นเอานางสุวรรณมาลีหลงใหลได้ปลืม้ รักและยอมรับการเป็นแม่ลกู • ยกย่อง โดยใช้การเปรียบเที่ยบกับแม่ผีเสื้อสมุทร • ยกยอ ชมโฉมซึ่งๆ หน้า (๓) ยืนยัน ความจริง วาทะที่ใช้การจูงใจโจรสุหรั่งท�ำให้ โจรทั้งหลายยอมสยบซึ่งวิเคราะห์ตามหลัก การจูงใจได้ดังนี้ สินสมุทรหยุดยั้งตั้งสง่า ใครไม่สู้กูไม่ล้างให้วางวาย ประมาทเล่นเห็นว่าเป็นทารก แม้นมึงยอมพร้อมใจไปกับกู

ตวาดว่าเหวยทมิฬสิ้นทั้งหลาย แค้นแต่นายเองดอกบอกให้รู้(๑) จึงฉีกอกออกให้หายอายอดสู(๒) จะเลี้ยงดูโดยดีไม่ตีรัน(๓) (หน้า ๒๑๔)

สุนทรภู่ท่านแสดงให้เห็นว่าปัญญาที่มีติดตัวมาก็ดี จากการได้เรียนรู้ใหม่ๆ ก็ ดี ย่อมใช้แก้สถานการณ์คับขันได้เสมอ อสุรีผีเสื้อเหลือจะอด แค้นโอรสราวไฟไหม้มังสา ช่างหลอกหลอนผ่อนผันจ�ำนรรจา แม้นจะว่าโดยดีเห็นมิฟัง จะจับไว้ให้พาไปหาพ่อ แล้วหักคอเสียให้ตายเมื่อภายหลัง(๑๔๕)

วิชาความรูข้ องสินสมุทรได้รำ�่ เรียนวิชาสารพัดโดยเฉพาะวิชาเป่าปีก่ ไ็ ด้จากพระบิดา กรุงกษัตริย์สรวลสันต์ว่าฉันชอบ ช่างสนใจได้วิชาบิดาดี

การวิเคราะห์โดยอาศัยหลักการจูงใจของ อริสโตเติล (Aristotle) (๑) การอ้างอิง (Ethos) คือใช้อ้างอิงที่เด่นชัดว่า มุ่งเฉพาะต้องการเฉพาะผู้ เป็นนายเท่านั้น (๒) การใช้เหตุผล (Logos) เหตุผลหรือตรรก เพราะถูกสบประมาทอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดความโกรธ (๓) การใช้อารมณ์ (Pathos) การใช้สถานการณ์หรือภาวการณ์ทอี่ ารมณ์ความ ตกใจในท่าทางทีแ่ สดงว่าเอาจริงเอาจัง และความทุกข์ยากทีร่ อนแรมมากลางทะเล กับทั้งตัวผู้ก่อเหตุไม่ออกมาเผชิญหน้า นอกจากวาจาทีแ่ สดงความเมตตาแล้ว สินสมุทรยังแสดงความกรุณาประกอบ ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย ทัง้ นีเ้ พือ่ ยืนยันความจริงใจได้อย่างแนบเนียนซึง่ วิเคราะห์ได้ ด้วยบทประพันธ์ทเี่ ป็นเอกลักษณ์ของท่านบรมครู นัน่ คือท่านไม่ปล่อยให้ความขาด ไป หรือเลื่อนลอยดังนี้ หน่อนรินทร์สินสมุทรก็พูดจา แล้วว่าเราเยาว์อยู่ไม่รู้ถ้อย ใครรู้แห่งแขวงแควกระแสชล

นางผีเสื้อเหลือแค้นแสนสาหัส แต่ฉวยพลัดแพลงคลื่นลื่นไถล อุตลุดผุดปล�้ำด�ำกันไป เหมือนเล่นไล่ตามละเมาะทุกเกาะเกียน ถึงเขาใหญ่ในน�้ำง�้ำชะเงื้อม พระหลบเหลื่อมเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน (๑๔๕)

ภิปรายปราไสยทั่วทุกตัวคน จะได้พลอยไต่ถามตามฉงน พวกต้นหนล้าต้าบรรดานาย (๒๑๔)

แล้วตรัสตอบสินสมุทรบุตรฤๅษี ช่วยเป่าปี่ให้ฉันฟังบ้างเป็นไร

รู้กาลเทศะ กุมาราลาลุกลงจากแท่น จึงลาศีลทรงภูษาผ้าสะไบ

ออกโลดแล่นมากุฎีที่อาไศรย ถือปี่ไปยังศาลาหน้าคิรี

รู้ท�ำเนียม ภาวนาอาคมให้ลมดี แล้วเป่าปี่แปลงเพลงวังเวงใจ ท�ำแหบหวนครวญว่าสาริกาแก้ว ค�่ำลงแล้วขวัญอ่อนจะนอนไหน มนต์เพลงปี่ที่สินสมุทร์เป่า หนาวน�้ำค้างพร่างพรมพนมไพร จะหนาวใจสาริกาทุกราตรี กรุงกษัตริย์ฟังปี่ให้วิเวก เอกเขนกนั่งหาวทั้งสามศรี ให้วาบวับหลับล้มไม่สมประดี ทั้งโยคีผู้เฒ่าพลอยหาวนอน(๑๗๓)

การศึกษาหาได้จากทุกสภาพการณ์

ความสนุกสนานผสานกับการแฝงนัย ทีแ่ นบเนียน นับเป็น “อัจฉริยะ” ของท่าน มหากวีเอก ทีต่ อ้ งยกนิว้ ให้ นิทานของท่าน ถ้าอ่านเอาเล่นก็เป็นสนุก น่าติดตาม และ ถ้าอ่านเอาเรื่อง ก็ประเทืองปัญญาสมกับที่เป็นนิทานอย่างแท้จริง

88 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

จะกล่าวถึงพระอภัยมณีนาถ หัดภาษาฝรั่งทั้งจีนจาม

กับองค์ราชกุมารชาญสนาม ราวกับล่ามพูดคล่องทั้งสององค์(๑๖๘)

การบวชเรียนตามขนบประเพณี

89 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ชวนลูกยามายังท่านโยคี จะขอบวชบรรพชารักษากิจ

อัญชลีเล่าความตามค�ำนึง อยู่เป็นศิษย์ในส�ำนักสักพักพึ่ง

รมครูผู้รจนาท่านมีเจตน์จ�ำนงที่จะแสดงให้เห็นว่า “เขี้ยว” ที่ท่านฝากไว้กับสิน สมุทรนั้น หากอ่านผ่านก็จะเห็นตามบทกลอนว่าเขี้ยวนั้น ยาวโง้งเหมือนยักษ์ มารเพราะเป็นบุตรอันเกิดแต่นางผีเสื้อสมุทร แต่ถ้าผู้อ่านนิทานต้อง “อ่านพิจณ์” หรือที่ปัจจุบันนิยมใช้ว่า “วรรณวิจักษ์” แล้วย่อมประจักษ์ชัดว่า เขี้ยวนั้นคือ “เขี้ยว เสน่ห์” ซึ่งหลายตอนที่ท�ำให้มองข้ามไปเสียมิได้ว่า “เขี้ยว” แท้จริงแล้ว คือ ความ คมแห่งคารม หรือค�ำพูดทีม่ แี ต่ความจริงใจนัน่ เอง ทีย่ งั ประโยชน์ในอันทีจ่ ะสยบศัตรู ฝูงชนที่เกรี้ยวกราด และแม้แต่สตรีเพศ อย่างชาญฉลาด สังเกตได้จากการพูดของ คนทีอ่ อ้ มแอ้ม หรือไม่มสี จั จะจะพูดอยูใ่ นล�ำคอ ไม่เปิดปากไม่เห็นแม้แต่ไรฟัน ดังนัน้ เขี้ยวที่โผล่มาอย่างชัดเจน จึงนับว่าเป็นภาพพจน์เชิงอุปลักษณ์อย่างแท้จริง

วาทะในการสยบศึก กุมาราว่าการจะราญรบ พระโยคีวิเศษให้เวทมนต์ แม่ผีเสื้อเมื่ออยู่คูหา สิ้นทั้งล�ำก�ำปั่นไม่พรั่นใคร สินสมุทรหยุดยั้งตั้งสง่า ใครไม่สู้กูไม่ล้างให้วางวาย ประมาทเล่นเห็นว่าเป็นทารก แม้นมึงยอมพร้อมใจไปกับกู

บทสรุป

ลูกรู้จบการศึกได้ฝึกฝน ทั้งคงทนแทงฟันไม่บรรไลย ให้มนต์ข้าที่มนุษย์หยุดไม่ไหว ลูกจะไปถองทุบให้ยุบยับ(หน้า ๒๑๓) ตวาดว่าเหวยทมิฬสิ้นทั้งหลาย แค้นแต่นายเองดอกบอกให้รู้ จึงฉีกอกออกให้หายอายอดสู จะเลี้ยงดูโดยดีไม่ตีรัน(หน้า ๒๑๔)

“เขี้ยว คืออาวุธอันคมกริบแห่งวาทะของสินสมุทร” �

ความเมตตาและวาทะเป็นเครื่องมือ หน่อนรินทร์สินสมุทรก็พูดจา แล้วว่าเราเยาว์อยู่ไม่รู้ถ้อย ใครรู้แห่งแขวงแควกระแสชล

ภิปรายปราไสยทั่วทุกตัวคน จะได้พลอยไต่ถามตามฉงน พวกต้นหนล้าต้าบรรดานาย(หน้า ๒๑๔)

ความแน่วแน่ มั่นคงและมั่นใจ

• ค�ำอธิบายภาพ

กุมาราว่าการจะราญรบ พระโยคีวิเศษให้เวทมนต์ แม่ผีเสื้อเมื่ออยู่คูหา สิ้นทั้งล�ำก�ำปั่นไม่พรั่นใคร

ลูกรู้จบการศึกได้ฝึกฝน ทั้งคงทนแทงฟันไม่บรรไลย ให้มนต์ข้าที่มนุษย์หยุดไม่ไหว ลูกจะไปถองทุบให้ยุบยับ (หน้า ๒๑๓)

บทประพันธ์ที่น�ำมาอ้างล้วนเป็นบทประกอบการวิเคราะห์ที่จะสนับสนุนว่า อะไรในกายทัง้ หมดทีป่ ระกอบขึน้ เป็นบุคลิกของสินสมุทรนัน้ มี ค�ำทีเ่ ป็นกุญแจส�ำคัญ ที่ใช้ในการไขความว่า อาวุธของสินสมุทร ที่ท่านบรมครูกวีแห่งยุครัตนโกสินทร์ให้ นั้นคือ เขี้ยว อันเป็น อาภรณ์ประดับเด่นให้ประทับใจของผู้พบเห็นนั่นเอง ดังในค�ำ ประพันธ์ที่แสดงให้เห็นว่า “มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา”

90 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

91 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา

พ “เยี่ยมหน้ามองรอบบ้าน เพื่อรู้เท่าทันสถานการณ์ เพื่อการพัฒนาบ้านของเรา”

สกนิกรชาวไทยร่วมกับพีน่ อ้ งชาวน่านจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ “วันนี้วันดี สักการะราชกุมารี ในนันท บุรี ลานนา” มีการแสดงทางวัฒนธรรมล้านนาและจุดพลุเฉลิมพระเกียรติฯ สวยงาม ตระการตา เมือ่ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเป็นประธานงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระ ชนมายุ ๕ รอบ “วันนี้วันดี สักการะราชกุมารี ในนันทบุรีลานนา” โดยพสกนิกร ชาว ไทยและชาวจังหวัดน่าน ต่างร่วมใจจัดขึน้ ณ ข่วงเมืองน่าน อ�ำเภอเมืองน่าน จังหวัด น่าน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรี ผูน้ ำ� เหล่า ทัพ และประชาชน ร่วมเข้าเฝ้าฯ ในงานเลี้ยงเฉลิมพระเกียรติ (ส่วนพระองค์) เนื่อง ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ที่หน้าวัดภูมินทร์ อ�ำเภอเมือง น่าน จังหวัดน่าน �

• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช

กุมารี ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘

92 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

93 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


สถานการณ์ภัยแล้ง

ปริมาณน�้ำ ๔ เขื่อนหลักของไทย

• สภาพน�้ำที่แห้งขอดในแม่น�้ำหลายสาย

ถานการณ์ภัยแล้งยังน่าเป็นห่วงหลังปริมาณน�้ำใน ๔ เขื่อนหลักยังลดลงต่อ เนื่อง หากไม่มีน�้ำมาสะสมเพิ่มเติม คาดว่าจะเหลือน�้ำใช้เพียง ๒๐ วัน วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ มีการรายงาน ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการ์นำ �้ กรมชลประทาน เปิดเผยข้อมูลถึงปริมาณน�ำ้ ในเขือ่ นหลักทัว่ ประเทศ ซึง่ ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด โดย สถานการณ์น�้ำ ๔ เขื่อนหลัก ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ มี ปริมาณน�้ำ ดังนี้ • เขื่อนภูมิพล ใช้งานได้จริงร้อยละ ๒ • เขื่อนสิริกิติ์ ใช้งานได้จริงร้อยละ ๕ • เขื่อนแควน้อย ใช้งานได้จริงร้อยละ ๔ • เขื่อนป่าสัก ใช้งานได้จริงร้อยละ ๖

• (บน) ข้อมูลเชิงภาพแสดงปริมาณน�้ำในแต่ละ เขื่อนส�ำคัญๆ • (ล่าง) ร่องรอยความเสียหายบนพระพรหมฯ จาก เหตุระเบิด

เหตุระเบิดแยกราชประสงค์

เมื่

อเวลา ๑๙.๐๗ น. ของวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เกิดเหตุระเบิดขึน้ บริเวณหน้า ศาลพระพรหม แยกราชประสงค์ เบื้องต้นมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ ๑๓๐ ราย เสียชีวิต ๒๐ ราย เป็นคนไทย ๖ ราย ชาวต่างชาติ ๑๔ ราย ขณะเดียวกัน เวลาประมาณ ๑๙.๔๐ น. เจ้าหน้าที่ได้กั้น พืน้ ทีห่ น้าห้างแล้ว พร้อมกับไล่ประชาชนออก จากพืน้ ที่ เนือ่ งจากคิดว่ามีระเบิดอีกลูกอยูใ่ น พื้นที่ โดยระเบิดทั้งหมดที่พบมี ๓ ลูก ได้แก่ จักรยานบอมบ์ที่ราชประสงค์ ลูกที่สองเป็น ระเบิดทีเอ็นที บริเวณศาลพระพรหม และจุด ที่สาม พบที่บริเวณห้างเกษรพลาซ่า ซึ่งลูกที่ ๒ และ ๓ นั้น ยังไม่มีการระเบิด �

Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่

กุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัช รกิติยาภา ทรงจักรยานน�ำพสกนิกรกว่า ๔๐,๐๐๐ อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช คน ร่ ว มปั ่ น จั ก รยานเฉลิ ม พระเกี ย รติ สมเด็ จ กุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงจักรยานน�ำ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ

เมื ่ พสกนิกรกว่า ๔๐,๐๐๐ คน ร่วมปัน่ จักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ิ

ติ์ พระบรมราชินีนารถ “Bike For MoM ปั่นเพื่อแม่” ในเส้นทางไปและกลับจากลาน พระราชวังดุสติ พระบรมรูปทรงม้า ถึงกรมทหาราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ เขตบางเขน ลุล่วงตามพระราชปณิธาน ๔๓ กม. เข้าสู่เส้นชัยเวลา ๑๙.๑๐ น. โดยตลอดเส้นทาง ทรงจักรยานเหล่าพสกนิกรรอรับเสด็จ ต่างเปล่งเสียงถวายพระพรทรงพระเจริญ กึกก้อง ทัง้ นี้ มีพสกนิกรเข้าร่วมปัน่ จักรยานเพือ่ แม่ทวั่ ประเทศทัง้ สิน้ ๒๙๔,๘๖๓ คน ด้าน กินเนสส์บุ๊ค เวิลด์ เรคคอร์ดส บันทึกสถิติโลกกิจกรรม “Bike for Mom ปั่นเพื่อ แม่” เป็นการขี่จักรยานพร้อมกันมากที่สุดในโลกจ�ำนวน ๑๔๖,๒๖๖ คัน �

พิธีเปิดอุทยานราชภักดิ์

94 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช

95 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ร่วมการประชุม UN Summit อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๔๕ น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ส�ำนักงาน เมื ่ ใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าร่วมประชุม

• สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช

เต็มคณะของ สมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๐ (UN Summit) ระหว่าง วันที่ ๒๓ กันยายน - ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วม ประชุม เพื่อรับรองร่างเอกสารที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้มีฉันทามติที่เน้น การเปลี่ยนแปลงโลก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี ๒๐๓๐ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อ ที่ประชุมว่า การเข้ามาบริหารประเทศในช่วงแรก ได้มุ่งเน้นในการพลิกฟื้นสันติสุข สร้างความสามัคคี ลดความเหลื่อมล�้ำ แก้ปัญหาเร่งด่วนทางสังคม วางแผนการ ปฏิรูปอย่างครบวงจร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศเปิด โอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยได้ก�ำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศ ในระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๒๐ ว่า ประเทศมัน่ คง ประชาชนมัง่ คง ประชาคมยัง่ ยืน นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสยั ทัศน์ หรือกล่าวถ้อยแถลงในหลายประเด็น อาทิ มติขจัดความเหลื่อมล�่ำ ความไม่เท่าเทียมในสังคม การบริหารจัดการน�้ำ และการมี ส่วนร่วมของทุกกลุ่มเน้นเพิ่มบทบาทสตรี โดยเตรียมถ้อยแถลงที่ส�ำคัญ ในเวทีนี้ ๑๐ นาที จะพูดถึงบทบาทความร่วมมือไทยกับสหประชาชาติ และสิ่งที่ไทยเรียนรู้ จากยูเอ็น รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล�้ำ ความยากจน ความไม่เท่า เทียม ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง �

เมื่

อเวลา ๑๘.๐๐ น.วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ พร้อม ด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อทรงประกอบพิธีเปิดอุทยานราชภักดิ์ เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติ

ยาภา เพือ่ ทรงประกอบพิธเี ปิดอุทยานราชภักดิ์ อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และ รมว. กลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก คณะ นายทหาร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และประชาชน ราว ๔ พันคน เฝ้ารับเสด็จ �

96 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้า ร่วมประชุมเต็มคณะของ สมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๐ (UN Summit)

ฮีโร่ตัวจริง!

หนุ่มกระบี่ช่วยฝรั่งติดโคลนให้เหยียบหลังขึ้นฝั่ง

เมื่

อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ ทีผ่ า่ นมา โลกออนไลน์ได้แชร์ภาพสุดประทับใจ ชาย หนุ่มชาวกระบี่ คือ นายชัช อุบลจินดา อายุ ๔๔ ปี มีอาชีพเป็นช่างตอกเสาเข็ม และใช้เวลาว่างน�ำเรือออกไปหาปลา ขับเรือหางยาวล�ำเล็กมาช่วยเหลือนักท่องเทีย่ ว ชาวต่างชาติชาวนอร์เวย์ชายหญิงคูห่ นึง่ ทีล่ งไปริมแม่นำ�้ กระบี่ ต�ำบลปากน�ำ ้ อ�ำเภอ เมืองกระบี่ บริเวณหน้าเมืองเพือ่ ถ่ายภาพแต่ทงั้ คูก่ ลับติดโคลนลึกถึงเข่าไม่สามารถ ขึน้ ได้ ทางชายคนดังกล่าว จึงได้เข้ามาช่วยน�ำกล้องและกระเป๋าไปไว้ทฝี่ ง่ั แล้วกลับ มาช่วยแต่ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ จึงได้นอนคว�่ำให้นักท่องเที่ยวทั้ง ๒ คน เหยียบ • นายชัช อุบลจินดา ผู้ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติชาวนอร์เวย์ชายหญิงคู่หนึ่ง หลังจนสามารถขึ้นฝั่งส�ำเร็จ �

97 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


รวมรุ่น ป.กศ.ต้น รวมรุน่ ป.กศ.ต้น จบปีการศึกษา ๒๕๑๓ และ ป.กศ.สูง จบปีการศึกษา ๒๕๑๕ ทีเ่ พชรริมธารรีสอร์ท จ.เพชรบุรี ของท่านประธานหอการค้า อาจารย์จำ� นง ตันติรตั น โอภาส (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย) � ศิษย์เก่ารุ่น ๑๐ ศิษย์เก่ารุ่น ๑๐ จัดงานวันชงโคบาน ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรม รอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ � หลังจากนั้นได้จัดงานสังสรรค์สัญจร ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ จังหวัดเชียงราย - เชียงใหม่ �

• รูปงานคืนสู่เหย้า……

คืนสู่เหย้าศิษย์เก่า

“สานสายใย รวมใจลูกสุริยะ”

หาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จ เจ้ า พระยา ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ได้ ร ่ ว มกั น จั ด งานคื น สู ่ เ หย้ า ศิ ษ ย์ เ ก่ า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา “สานสายใย รวมใจลูกสุริยะ “ ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๕๘ ในวันเสาร์ท ี่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมชัน้ ๔ อาคาร ๑ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพือ่ พบปะสังสรรค์และสร้างความผูกพันระหว่างศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าให้แน่นแฟ้น พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายศิษย์เก่าร่วมพัฒนาวิชาการหรือวิชาชีพ รวมทั้งเปิดโอกาส ให้ศิษย์เก่าได้มีโอกาสสนับสนุนทรัพยากร และ/หรือ ทุนการศึกษา ตลอดจนการ คัดเลือกศิษย์เก่าดีเด่นที่บ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เพื่อน�ำมาเชิดชูเกียรติประวัติ ให้เป็นที่รู้จักแก่สังคมภายนอก การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นปฐมฤกษ์ และประสบความส�ำเร็จอย่างงดงาม โดย ผู้ ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา ในฐานะอธิการบดีและนายกสมาคมศิษย์เก่าฯ กล่าวว่า มีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจทีจ่ ะด�ำเนินงานนีอ้ ย่างต่อเนือ่ งเป็นประจ�ำทุกปี เพือ่ การ หลอมรวมและผนึกก�ำลังกันระหว่างมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่าทุกรุน่ ทีเ่ ป็นลูกสุรยิ ะ ทุกคน จะได้ชว่ ยกันผลักดันและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีความเจริญก้าวหน้า และ ร่วมกันธ�ำรงรักษาเกียรติประวัติอันดีงามของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไว้ตลอดไป �

98 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

• (ซ้าย) ศิษย์เก่ารุ่น ๑๐ จัดงานสังสรรค์สัญจร “ชงโคบาน รดน�้ำขอพร” รวมรุ่น ป.กศ.ต้น นักศึกษาครุศาสตร์ ๔ ปี รุ่นที่ ๑ จัดกิจกรรม “ชงโคบาน รดน�้ำขอพร” รุ่น • • (บน) (ล่าง) ชงโคบาน รุ่น ๑๐ ๒๕๒๒-๒๕๒๕ รวม ๕๑ คน ณ ห้องประชุมแก้วมรกต มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา �

“ร้อยรักผ่านใจรวมเอกไทย...สายใยผูกพัน ๕๘” นักศึกษาครุศาสตร์ รุ่น ๒๕๓๙-๒๕๓๒ รวม ๕๓ คน จัดงาน “ร้อยรักผ่านใจ รวมเอกไทย...สายใยผูกพัน ๕๘” มีอาจารย์อาวุโสร่วมงาน ๖ ท่าน โดยมีอธิการบดี ในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่าฯ ให้เกียรติเปิดงานและให้โอวาท ณ ห้องประชุมแก้ว มรกต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา � ครูอาสาสมัคร “โครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ” คณะ อาจารย์เดินทางไปประชุมและประเมินผล ครูอาสาสมัครฯ รุ่นที่ ๒๐ ที่หน่วยจัด ๔ แห่ง ณ ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ ๔-๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ �

99 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


แนะน�ำผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “สมเด็จเจ้าพระยาฯ กับการดนตรีไทย” ประวัติโดยสังเขป • (กศ.บ.) สาขาภาษาไทย เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร • (กศ.ม.) สาขาภาษาและวรรณคดีไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร • รับราชการครู ณ โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาโอนมาประจ�ำ ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็น ข้าราชการบ�ำนาญและนักวิชาการอิสระ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต ผู้ภักดี

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “องคบิดาภาษาไทย” “มหาบุรุษแห่งยุทธกล” “มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ สุนทรภู่ เป็นนักจินตนาการเท่านั้น รึ?? ตอนที่สอง อาวุธของสินสมุทร” ประวัติโดยสังเขป • ข้าราชการบ�ำนาญมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ • ศิษย์เก่าโรงเรียนบางมูลนาก “ภูมิวิทยาคม” จังหวัดพิจิตร • ศิษย์เก่าวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ป.กศ.ต้น พ.ศ.๒๕๐๕ • เริ่มเป็นอาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๑๖ สอนวิชาภาษาไทย

อาจารย์สมบัติ พลายน้อย

อาจารย์ศรีพัท มีนะกนิษฐ์ (ถึงแก่กรรม) งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “ค�ำมั่นสัญญา” ประวัติโดยสังเขป • อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนมัธยมสาธิต

อาจารย์สุพิชฌาย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “มหาบุรุษรัตโนดม เลิศจงรักภักดีจักรีวงศ์ บทบาทสะท้อนจากวรรณกรรม “ข้าบดินทร์” ” ประวัติโดยสังเขป • อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม • การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • อาจารย์ประจ�ำคณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา • ประธานผู้ประสานงานรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศ • รองประธานสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภาภรณ์ ทรรพนันทน์

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “สุภาษิตพระร่วง” ประวัติโดยสังเขป • อดีตอาจารย์สอนภาคภาษาอังกฤษ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

100 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “เล่าเท่าที่รู้” ประวัติและผลงานโดยสังเขป • ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี ๒๕๕๓ • พ.ศ.๒๕๑๗ หนังสือเรื่อง “พฤกษนิยาย” ได้รับรางวัลจากสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทย • พ.ศ.๒๕๓๒ หนังสือเรื่อง “ยาขอบ ชีวิตและงานของผู้แต่งอมตะนิยายผู้ชนะสิบทิศ” ได้ รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ • พ.ศ.๒๕๓๖ หนังสือเรื่อง “สัตว์หิมพานต์” ได้รับรางวัลของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ • พ.ศ.๒๕๓๕ หนังสือเรื่อง “พฤกษนิยาย” ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ • พ.ศ.๒๕๓๘ หนังสือเรื่อง “เกิดในเรือ” ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ • พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับประกาศเกียรติคุณจากส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (สารคดี) ประจ�ำปี พ.ศ.๒๕๓๙ • พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับประกาศเกียรติคุณจากส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจ�ำปี พ.ศ.๒๕๕๑ • พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” คนที่ ๔ ประจ�ำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิษณุ บางเขียว

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “การเสนอชื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก” ประวัติและผลงานโดยสังเขป • อ.ม. ภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ศศ.บ. ภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร (เกียรตินิยมอันดับ ๒) • ปัจจุบันรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา • อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

101 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โดม สว่างอารมณ์

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “รามเกียรติ์ค�ำกลอน มหากาพย์ข้ามศตวรรษโดยคฤหัสถ์คีตกวี” ประวัติและผลงานโดยสังเขป • ครุศาสตร์บัณฑิต (ดนตรี) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา • มานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (ประสานมิตร) • ดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผลงานด้านการประพันธ์เพลง • เพลงโหมโรงศรีสุริยวงศ์ เพลงผู้ชนะ เถา เพลงชนะชัย เถา เพลงประสานเสนาะ เถา บุเรงนอง สามชั้น ผลงานวิชาการด้านดนตรี • หนังสือการประพันธ์เพลงไทย และหนังสือเทคนิคการปฏิบัติซอด้วง หนังสือหลายรสกลบทกลอนรามเกียรติ์ค�ำกลอน

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค (สกุลเดิมนิโครธา)

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “ ปัจจัยพื้นฐานกับกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองและสังคม ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ” ประวัติโดยสังเขป • ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ภาคีสมาชิกสาขาประวัติศาสตร์ไทย ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน • บรรณาธิการสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตยสถาน • เจ้าของผลงานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง มากมาย ต�ำแหน่งในอดีต อาทิ • หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อ�ำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • กรรมการสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การศึกษา • อักษรศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาฯ (๒๕๑๑) อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาฯ (๒๕๑๓) รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาฯ (๒๕๒๓) และรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาฯ (๒๕๓๓)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กลอยใจ โสภณปาล

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “เจ้าพ่อผู้ให้ตลอดกาล (ภาค ๔)” ประวัติโดยสังเขป • ข้าราชการบ�ำนาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา • ประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) • อดีตเลขาธิการสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๖) • อดีตรองคณบดีฝ่ายบริหาร, อาจารย์ประจ�ำโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ

102 ศรีสมเด็จ’ ๕๙

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา • ศิษย์เก่าวิทยาลัยครูบา้ นสมเด็จเจ้าพระยา ครุศาสตรบัณฑิต รุน่ ๑ (ภาษาไทย) พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙

นายประภัสสร เสวิกุล (ถึงแก่กรรม)

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “ภาษาไทย กับคนไทยในยุคปัจจุบัน” ประวัติโดยสังเขป • ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจ�ำปี ๒๕๕๔ • นักคิด นักเขียน นักการทูต • คนกรุงเทพมหานคร โดยก�ำเนิด • อดีตอัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันดิอาโก ประเทศชิลี เกษียณอายุ ราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ • มีผลงานด้านวรรณกรรมมากมาย ทัง้ บทกวี เรือ่ งสัน้ และนวนิยาย มีผลงานได้รบั รางวัลหลาย รางวัล นวนิยายที่ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง • ปัจจุบันยังมีผลงานด้านวรรณกรรมอย่างสม�่ำเสมอ ยังเขียนคอลัมน์ จัดรายการวิทยุ และเป็น วิทยากรให้หน่วยงานต่างๆ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณกรรมและศิลปวัฒนธรรม กระทรวง วัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษามูลนิธิอมตะ • ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ป.๑-ป.๖)

อาจารย์พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ

งานเขียนในศรีสมเด็จ’ ๕๙ “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ กับสังคมสยามใหม่หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง” ประวัติและผลงานโดยสังเขป • นักวิชาการอิสระ ศึกษาและค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย • นักวิชาการด้านการประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์ การสื่อสารมวลชน การถ่ายภาพ ประสบการณ์การท�ำงาน • บรรณาธิการนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ครู ประชาสัมพันธ์จังหวัด หัวหน้าฝ่ายการศึกษา มวลชน ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้จัดรายการวิทยุ • ผลงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องสมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ ๑ ก�ำเนิดที่ บ้านสะแกกรัง • ผลงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องเมืองอุทัยธานี : เอกสารส�ำคัญทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดี • เรียบเรียงและจัดพิมพ์หนังสือด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมกว่า ๒๕๐ เรื่อง • ผลงานการแสดงแสงเสียงในงานส�ำคัญๆ อาทิ เรื่องพระเจ้าตากสินกู้ชาติ เรื่องมหา พุทธาภินิหาร เรื่องพระพุทธบารมีศรีนครน่าน เป็นต้น • คติพจน์การท�ำงาน “คิดและท�ำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและบ้านเมืองก่อน”

103 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


104 ศรีสมเด็จ’ ๕๙


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.