สารจาก
นายกสภา มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เริ่มจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ จากคณะวิชาที่เริ่ม ก่อตั้งขึ้นใหม่ชื่อเสียงยังไม่เป็นทีร่ จู้ กั ด้วยความทุม่ เททัง้ กำ�ลังกาย กำ�ลัง ความคิดของผูบ้ ริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าทีท่ กุ คนทีช่ ว่ ยกันปฏิบตั งิ าน ด้วยความเข้มแข็ง และเสียสละ เป็นผลให้คณะฯ มีการพัฒนามาอย่าง ต่อเนื่อง และเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ปี พ.ศ. 2550 คณะฯ ได้เปิดรับ นักศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตรในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ถึงแม้จะเป็น หลักสูตรที่เปิดใหม่ แต่นักศึกษาของคณะฯ ก็ได้สร้างชื่อเสียงด้วยการได้ รับรางวัล และได้รับการยกย่องจากการเข้าแข่งขัน และประกวดผลงานใน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ และเอกชน จนปัจจุบันคณะเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับความนิยมอย่าง สูงในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งคณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ดิฉันขอแสดงความยินดี และขอส่งความ ปรารถนาดีมายังคณะผู้บริหารของคณะฯ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และ นักศึกษาทุกท่าน และขอให้การดำ�เนินงานของคณะฯ ก้าวหน้ายิ่ง ขึ้นตลอดไป และขอให้คณาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ และมีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาเพื่อร่วมกันเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ เจริญรุ่งเรืองต่อไป
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
สารบัญ
5...................................เกริ่นนำ� 12.................................บ้านหลังนี้ของไอซีที ศิลปากร 18.................................พิธีไหว้ครูและครอบครูช่าง 24................................นานาทัศนะถึงไอซีที 40................................วาสารศาสตรยังจำ�เป็นอยู่อีกหรือ 45................................Arte di communicazione 61.................................ผลงานนักศึกษา 76.................................ดาวเด่นไอซีที 90................................จริยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพ วารสารศาสตร์ ในการนำ�เสนอ ข่าวบนทวิตเตอร์ 93.................................Arte e informazione 110................................การใช้เฟซบุ๊กเพื่อสร้างการมี ส่วนร่วมทางการเมือง 112................................กิจกรรมนักศึกษา
“ARS LONGA VITA BREVIS”
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
สารจาก
อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามี บทบาท และมีความสำ�คัญในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มากขึ้น มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เล็งเห็นความสำ�คัญในเรื่องนี้ และมีแนวคิดที่ จะผลิตบัณฑิตที่มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะ และการออกแบบประยุกต์เข้า กับวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม จึงเริ่มก่อตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารขึ้นใน พ.ศ. 2546 ซึ่งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ได้ปฏิบัติพันธกิจที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยอย่าง ต่อเนื่องทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ แก่สังคม และการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะฯ จน ย่างเข้าสู่ปีที่ 10 ในปัจจุบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ผลิตบัณฑิตในสาขา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
การออกแบบ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ ด้านศิลปะและการออกแบบอยู่ในระดับแนวหน้าเข้ารับใช้สังคม ปัจจุบันมีบัณฑิตที่สำ�เร็จการศึกษาแล้วจำ�นวน 6 รุ่น รวมทั้งสิ้น 1,152 คน บัณฑิตเหล่านี้ นอกจากจะประสบความสำ�เร็จในการประกอบ วิชาชีพแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาความเจริญทางวิชาการใหม่ ๆ ด้านเทคโนโลยีให้แก่ประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย การจัดงานฉลองครบรอบ 10 ปี ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสือ่ สารในครัง้ นี ้ จึงมีความหมายต่อบุคลากรทุกระดับทั้งคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างยิ่ง ในนามของมหาวิทยาลัย ศิลปากร ผมขอแสดงความยินดี และชื่นชมในความสำ�เร็จของการ ดำ�เนินงานทีผ่ า่ นมาของคณะฯ และหวังว่าความเข้มแข็ง และความมุง่ มัน่ ของบุคลากรคณะฯ จะช่วยให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความเจริญ ก้าวหน้า และโดดเด่นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
นายภราเดช พยัฆวิเชียร
รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
10 ปี ไอซีที
มหาวิทยาลัยศิลปากร
10 ปีแห่งความมุ่งมั่นเพื่อสังคม
ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช
ผู้ก่อตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
“ไอที ศิลปะ และ เนื้อหาที่เข้มข้น จึงเป็นจุดเด่นของ หลักสูตรคณะฯ ในการผลิต บัณฑิตรุ่นใหม่”
นับตั้งแต่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ไอซีที) มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มก่อตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2546 ทาง คณะฯ ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ และ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา นิเทศศาสตร์ อีก 1 สาขาวิชา ทัง้ 3 สาขา เป็นหลักสูตรทีเ่ น้นการประยุกต์ ใช้ศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ บูรณาการเข้ากับศาสตร์ทางด้านธุรกิจ การออกแบบ และนิเทศศาสตร์ และด้วยความที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็น มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์งานศิลปะ ทาง
คณะฯ จึงเน้นมิติในเรื่องของการออกแบบ รูปลักษณ์ที่เน้นความสวยงามประกอบเข้ากัน ด้วยในการเรียนการสอนก่อนที่ผลงานของ นักศึกษาแต่ละชิ้นจะปรากฏออกมาสู่สายตา สาธารณะ ไอที ศิลปะ และเนื้อหาที่เข้มข้น จึงเป็น จุดเด่นของหลักสูตรคณะฯ ในการผลิตบัณฑิต รุ่นใหม่ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของ ตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่คณะไอซีที เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการที่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทุกคนได้ ทุ่มเทกำ�ลังกาย กำ�ลังความคิด ในการพัฒนา และดำ�เนินงานด้วยความเสียสละ เข้มแข็ง อดทน บนปรัชญาของคณะฯ ที่ว่า
ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช ผู้ก่อตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร “สรรค์สร้างนวัตกรรม ผูน้ �ำ การสือ่ สาร บูรณาการ เทคโนโลยี” จะเห็นได้วา่ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ด้วยความเข้มแข็งในการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาทัง้ 3 หลักสูตรของคณะฯ เป็นผลให้ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การออกแบบ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้รบั รางวัล ชนะเลิศจากการประกวดและการแข่งขัน จาก หน่วยงานต่างๆ ทัง้ ภาครัฐและเอกชนจำ�นวน หลายรายการ ขณะเดียวกัน บัณฑิตทีส่ �ำ เร็จการศึกษาจาก คณะฯ ทุกหลักสูตรได้รับการตอบสนองความ ต้องการของตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี ทุกปี ทำ�ให้ชื่อเสียงของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ รูจ้ กั กันแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จากคณะวิชาทีเ่ ปิดใหม่ใน พ.ศ. 2546 ซึง่ ยังไม่เป็นทีร่ จู้ กั ของนักเรียนทีส่ มัครเข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัย แต่เมือ่ ระยะเวลา 10 ปี ผ่านไป ปัจจุบันนี้หลักสูตรนิเทศศาสตร์ของ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นทีร่ จู้ กั กันอย่างแพร่ หลาย มีนกั เรียนทัว่ ประเทศสนใจทีจ่ ะเข้าศึกษาใน หลักสูตรนิเทศศาสตร์ของคณะฯ เป็นจำ�นวนมาก ดังปรากฏว่า ในปีการศึกษา 2554 และ 2555 มีจ�ำ นวนผูท้ ส่ี นใจสมัครเข้าเรียนมากเป็น อันดับ 7 และอันดับ 5 ของประเทศตามลำ�ดับ 10 ปีทผ่ี า่ นมาจากการทำ�การบ้านอย่าง หนักของคณาจารย์ประจำ�และอาจารย์พเิ ศษ
ตลอดจนเจ้าหน้าทีข่ องคณะ 10 ปีทผ่ี า่ นมาแห่งความร่วมแรงร่วมใจของ ชาวไอซีที 10 ปีทผ่ี า่ นมาจาก การความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ จากสังคม ในโอกาสทีท่ างคณะฯ จะครบรอบ 10 ปี แห่งการก่อตัง้ ใน พ.ศ. 2556 ผมขออาราธนา คุณพระศรีรตั นตรัย และอำ�นาจสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิใ์ น สากลทีท่ กุ ท่านเคารพนับถือ โปรดดลบันดาล ให้คณาจารย์ทง้ั ประจำ� และพิเศษเจ้าหน้าที่ นักศึกษาและศิษย์เก่าทุกคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีพลังความคิดทีจ่ ะพัฒนาคณะฯ ให้เจริญก้าวหน้ายิง่ ขึน้ และพร้อมทีจ่ ะดำ�เนิน การสร้างสิง่ ดี ๆ และเป็นประโยชน์แก่สงั คมต่อ ไปตราบนานเท่านาน
10
ครบ
0
เมื่อไอซีที ศิลปากร โคจรรอบดวงอาทิตย์
รอบ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า กลายเป็นส่วนขับเคลื่อนและย่อส่วนโลกให้ เชื่อมโยงกันอย่างง่ายดายมากขึ้น ในปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการดำ�เนินการ ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำ�วันของบุคคล ไปจนถึง ระดับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งทำ�ให้การดำ�เนินการ ต่าง ๆ รวดเร็ว สะดวกและประหยัดมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลและสื่อสาร กลายเป็นเครื่องมือสำ�คัญของโลกสมัยปัจจุบัน ด้วยความสำ�คัญดังกล่าว สายงานและวิชาชีพ
ปัจจุบันต่างมีนโยบายที่สอดคล้องกับการ พัฒนาของโลก รวมทั้งได้มีการนำ�เอาวิทยาการ ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการดำ�เนินงานทั้งทางตรง และทางอ้อม จึงไม่อาจปฏิเสธบุคลากรและผู้ เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ประเทศไทยหันมาพัฒนาบุคลากรในด้าน เทคโนโลยีเพื่อย่างก้าวให้ทันกับยุคสมัยที่ปรับ เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพื่อสอดคล้องกับภาครัฐ และธุรกิจที่ต้องการทรัพยากรบุคคลในด้าน ไอซีที
“ศิลปากร” มหาวิทยาลัยที่มีความ โดดเด่นทางด้านศิลปะ มองเห็นความสำ�คัญ ของบุคลากรทางด้านนี้ที่จะเข้ามามีบทบาทใน โลกสมัยใหม่มากขึ้น จึงมีแผนงานที่จะดำ�เนิน การก่อตั้งคณะที่สร้างสรรค์งานเทคโนโลยีและ ธุรกิจรวมทั้งพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการ ศึกษา สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานและพัฒนา 10
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ความเจริญแก่ชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนความก้าวหน้าทางธุรกิจได้ โดยผนวกรวมเอาสมองสองซีก ผสม ผสานแนวคิดเชิงศิลป์ที่เป็นจุดเด่นของศิลปากร มาแต่เดิม ร่วมเข้ากับวิทยาการและเทคโนโลยี ใหม่ ๆ
14 พฤษภาคม 2546 ปุ่มพาวเวอร์ ของคณะไอซีที ถูกกด และเปิดขึ้นอย่าง เป็นทางการ การเรียนการสอนในภาคการ ออกแบบ และธุรกิจเริ่มเปิดการเรียนการสอน ขึ้นที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี พร้อมๆ กับ การประกาศตัวตนเป็นคณะคณะที่ 13 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผลงานการออกแบบ แอนิเมชั่น และงานออกแบบเว็บไซต์ที่สร้างชื่อ ให้กับคณะเสมอมา
พันธกิจ
1 ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถควบคู่กับ คุณธรรมจริยธรรม 2 ส่งเสริมพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อรองรับการบริหารจัดการ ในทุกภาคส่วนของคณะ 3 ส่งเสริม สนับสนุน ดำ�เนินการกำ�กับดูแล ติดตามและประเมินผลแผนงานโครงการต่าง ๆ ของคณะฯ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำ�หนด ในพ.ศ. 2550 คณะได้มีการเพิ่มการเรียน ไว้ การสอนในสาขานิเทศศาสตร์ขึ้น โดยผนวกการ 4 ส่งเสริม สนับสนุนการให้บริการวิชาการ สอนเชิงนิเทศศาสตร์เข้ากับเทคโนโลยี และแต่ง ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือทางด้าน เติมให้นักศึกษาได้มีความรู้ในด้านศิลปะอันเป็น วิชาการทั้งในและต่างประเทศ 5 ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรผลิตงานวิจัย จุดเด่นของมหาวิทยาลัย และสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร เฉพาะด้าน 6 ทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมด้วยองค์ความรู้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดินทาง และมุง่ มัน่ ทีจ่ ะ สร้างบัณฑิตทีเ่ ปีย่ มไปด้วยความรู้ และศักยภาพ ทางด้าน ไอซีที ในการใช้ชีวิต เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายเหล่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี พลังงานจากปุ่ม นั้น คณะได้สร้างวิสัยทัศน์ในการบริหารงาน พาวเวอร์ ที่ถูกกด และขับเคลื่อน เป็นพลังงาน รวมทั้งพันธกิจเป้าหมายดังต่อไปนี้ ที่มุ่งสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง และไม่ หยุดนิ่ง โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ เป้าหมายทางวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ได้ เป็นคณะวิชาชั้นนำ�โดยผลิตบัณฑิตที่มี ความเป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่คุณธรรม และ กำ�หนดไว้อย่างมั่นคง เป็นองค์กรรแบบ Smart Faculty
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 11
“ท่าพระ สนามจันทร์ ตลิ่งชัน เมืองเพชรบุรี”
นำ�เที่ยว วิทยาเขต
บ้านหลังนี้ ของไอซีทีศิลปากร 12
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
เมือ่ เอ่ยถึงคณะใดคณะหนึง่ โดยขาดการพูด ถึงสถานทีซ่ ง่ึ เป็นทีต่ ง้ั ของคณะ ก็เปรียบเสมือน พูดถึงครอบครัว แต่ไม่ได้พดู ถึงตัวบ้านอันเป็นที่ อยูอ่ าศัยของครอบครัว บ้านของชาวไอซีที มีสอง หลัง หลังหนึง่ อยูใ่ จกลางธรรมชาติ และอีกหลัง หนึ่งอยู่ใจกลางเมือง ในพื้นที่ต่อไปนี้ จะพาคุณ ไปรู้จักกับบ้านของชาวไอซีทีทั้งสองหลังกันครับ บ้านหลังแรก ตั้งอยู่ใจกลางธรรมชาติ บนถนนชะอำ�-ปราณบุรี อำ�เภอสามพระยา
ตำ�บลชะอำ� จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งพวก เราไอซีทีธุรกิจ และไอซีทีออกแบบใช้ชีวิต 3 ปี อยู่ที่นี่ เมื่อเข้ามาในมหาวิทยาลัย ทางด้านประตู หลัก ซ้ายมือจะเป็นลานประติมากรรม ซึ่งเป็น พื้นที่กว้าง แต่ไม่ราบเรียบ เพราะมีเนินน้อย ใหญ่ประกอบในพื้น ส่งให้พื้นที่นี้เหมาะแกการ นั่งชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นอยู่มากเลยทีเดียว
ในพื้นที่จะประกอบด้วยงานศิลปะ หลาย ชิ้น หลายรูปร่าง ซึ่งถูกจัดวางไว้อย่างมีสไตล์ ส่วนตรงกลางมีรูปปั้นพระพิฆเนศขนาด ใหญ่ เป็นปูนปั้น สีเขียวน้ำ�ทะเล หันหน้าไป ทางตะวันออก เหมือนมองไปยังเนินใหญ่น้อย ของลานประติมากรรม และจะมีคนมาทำ�การ สักการะองค์พระพิฆเนศอยู่ไม่ขาดระยะ ลานกว้างแห่งนี้ มีชื่อเล่นอีกชื่อหนึ่งว่า ลานเทเลทับบี้ หรือ ลานเทเลฯ ซึ่งนักศึกษา 10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 13
ไอซีทีฝั่งเพชรบุรีชอบเรียกกันตามความ คล้ายคลึงของเนินดินในทีวีซีรีส์ชุดเทเลทับบี้ นั่นเอง ถัดจากลานเทเลฯมาราว 5-10 นาทีโดย การปัน่ จักรยาน พาหนะยอดฮิตของชาวไอซีที ก็ จะมาถึงพื้นที่ที่เรียกว่า อาคารยานยนต์ 1 และ 2 มีลักษณะ เป็นอาคารแฝด หน้าตาเหมือนกัน ตั้งในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ตัวอาคารแต่ละหลังมีลักษณะเป็นอาคาร หลังคาโค้ง สีขาว ด้านหน้าข้างบนของอาคาร ติดตราสัญลักษณ์คณะไอซีที สีเงินขนาดใหญ่ ไว้อย่างชัดเจน ภายในอาคารมีสองชั้น ชั้น ล่างเป็นโถงกว้าง และชั้นบนสามารถปรับเป็น อาคารเรียนได้ ธิติพงศ์ ทั่งทอง นักศึกษาไอซีที ออกแบบ ซึ่งรับหน้าที่เป็นไกด์จำ�เป็น บอกว่า พื้นที่ที่ อาคารยานยนต์ 1 ถือเป็นพื้นที่หลักๆในการ ทำ�กิจกรรมของ ไอซีที ฝั่งเพชรบุรี และค่อน ข้างเป็นพื้นที่ที่ถูกหวงแหน เมื่อคณะอื่นขอใช้ งานมักได้รับคำ�ปฎิเสธเสมอๆ เสมือนว่าพื้นที่ อาคารยานยนต์นี้ เป็นพื้นที่เฉพาะสำ�หรับชาว 14
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ไอซีทีเลยทีเดียว “มันเป็นมากกว่าบ้าน ถ้าเกิดทำ�งาน ข้ามคืน เป็นหอ เป็นโรงอาหาร เป็นสถานที่ กิจกรรม บางทีมีเหล้าซุกซ่อน บางทีใช้ชีวิตกับ ยานยนต์มากกว่าอยูก่ บั หอด้วยซ้�ำ ” ชนม์ณภัทร เอี่ยมศรีทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 แสดงให้เห็น ความผูกพันระหว่างตึกยานยนต์ กับ ไอซีที
เพชรบุรี อย่างชัดเจน “ปกติตึกเรียนคือตึกเรียนอย่างเดียว แต่ อาคารยานยนต์ของพวกเรา มันให้ความรู้สึกว่า เราจะทำ�อะไรกับตึกนี้ก็ได้ ไม่ว่าจะระบายสี จะ ทา จะทำ�อะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่ทำ�ลายก็พอ” คำ�กล่าวติดตลก แต่แฝงไว้ด้วยความรู้สึกแนบ แน่นกับสถานที่แห่งนี้ของ เชิดศักดิ์ จารุรัตนา นนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ไอซีที ออกแบบ “มันให้ความรู้สึกเหมือนผืนผ้าใบผืนหนึ่ง” เด็กไอซีทีหลายคนที่เราไปคุย พูดเป็นเสียง เดียวกัน ในยามเย็นย่ำ�จวนเจียนจะค่ำ�เต็มที หลัง จากทิ้งตึกยานยนต์ไว้ด้านหลังและปั่นจักรยาน มาตามทางราว 5 นาที นับจากนั่งลงบนอาน และลุกขึ้นอีกครั้ง ก็มาถึงสถานที่อีกที่หนึ่งซึ่ง มีบทบาทกับชาวไอซีที เพชรบุรีไม่น้อยคือ “ตลาดปลอม” ที่นี่เขาเรียกว่า “ปลอมมาเช่” ด้วยครับพี่ น้องคนหนึ่งที่จอดจักรยานข้างๆ บอก นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่นๆ อีก อาทิ ตลาด น้ำ� ตลาดจิ๋มมด เป็นต้น แต่ละชื่อล้วนมีที่มา คล้ายๆ กัน เนื่องจาก ขนาดของตลาดมีขนาด ค่อนข้างเล็ก ทำ�ให้เหมือนตลาดปลอมนั่นเอง และในเวลาฝนตก ก็อาจจะมีน้ำ�ท่วมขังในบาง ครั้ง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อตลาดน้ำ�
ถึงจะเรียกชื่อจากปมด้อยของตลาด แต่ ปลอมมาเช่ ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำ�หรับเด็ก ไอซีที และเด็กฝัง่ เพชรบุรเี กือบทุกคน เนือ่ งจาก เป็นแหล่งขายอาหารราคาย่อมเยา และมีให้ เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารตามสั่ง ไก่ย่าง ส้มตำ� ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ หลังจากพิสูจน์ แล้วก็กล้าการันตีว่า ถึงราคาจะย่อมเยา แต่ รสชาติไม่ได้ย่อมเยาตามราคาลงไปเลย พื้นที่อีกส่วนที่อดจะกล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ พื้นที่โซนเล่นกีฬา ตั้งอยู่ไม่ห่างจากปลอมมาเช่ เท่าไหร่นัก พื้นที่ตรงนี้ มีทั้งลานอเนกประสงค์ สนามแบดมินตัน สนามเซปักตะกร้อ สนาม บาสเกตบอล และสนามฟุตซอลอีก 2 สนาม นักศึกษาคณะไอซีที จำ�นวนไม่น้อยทีเดียว ที่นิยมมาออกกำ�ลังกายในตอนเย็น ณ พื้นที่ แห่งนี้ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่กลางแจ้ง แต่ในตอน หัวค่ำ� ก็มีการเปิดไฟสปอร์ตไลท์ เพื่อให้ความ สะดวกแก่นักศึกษาที่มาออกกำ�ลังกายด้วย แม้วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจะอยู่ ท่ามกลางธรรมชาติ แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำ�ในนักเรียน นักศึกษาที่นี่มีสมาธิเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ความสงบซึ่งหาไม่ได้จากในเมือง ทำ�ให้บ้าน หลังนี้ เหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็น สถานที่สำ�หรับ ใช้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 15
ส่วนบ้านหลังที่สอง ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ย่านบางรัก บน อาคาร กสท.โทรคมนาคม (CAT Tower) หลังไปรษณีย์กลาง หรือ “ตึกแคท” ที่เรียกกันติดปากในหมู่เด็กไอซีที นิเทศศาสตร์ หลายคนเมื่อได้ยินแล้วอาจสงสัยว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร มีพื้นที่ในวิทยาเขต บางรักด้วยหรือ คำ�ตอบคือมีครับ ถึงแม้จะสังกัดกับวิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี แต่ ไอซีที ศิลปากร ก็ยังมีพื้นที่อีกแห่ง อยู่ที่ชั้น 8 อาคาร แคท ทาวเวอร์ เพื่อเปิดเป็น อาคารเรียนสำ�หรับไอซีที สาขานิเทศศาสตร์ โดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่จำ�กัด แต่พื้นที่ทั้งหมด ก็ถูกปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ห้องบรรยายรวม ห้องคอมพิวเตอร์ (PC) ห้องคอมพิวเตอร์ (Macintosh) ห้องสตูดิโอ ห้องอัดเสียง ห้องสมุด และพื้นที่อเนกประสงค์ ด้านห้องเรียน เป็นห้องบรรยายรวมหลาย ขนาด รวม 8 ห้อง (ไม่นับชั้น 9 อีกบางส่วน) ซึ่งแต่ละห้องจะมีขนาดที่ต่างกันไปเพื่อรองรับ กับนักศึกษาที่แตกต่างกันในแต่ละเอกวิชา ห้องคอมพิวเตอร์ มีทั้ง PC และ Mac เพื่อรองรับกับสายงานที่แตกต่างกันของสาย วิชานิเทศศาสตร์ ทำ�ให้มีการแบ่งส่วนเกิดขึ้น
16
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
โดยจะแบ่งเป็นห้อง PC 2 ห้อง (1 ห้องใหญ่ และ 1 ห้องเล็ก) และห้อง Mac อีก 1 ห้อง ด้านห้องสตูดิโอ มีทั้งสตูดิโอถ่ายภาพ สตูดิโอทำ�รายการวิทยุ ซึ่งมีอุปกรณ์ครบครัน และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก รวมทั้งมี ห้องอัดเสียงอีกสองห้องอีกด้วย ห้องสมุด เป็นสถานที่รวบรวมหนังสือ ทางด้านดีไชน์ไว้เป็นจำ�นวนมาก อีกทั้งหนังสือ เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ และหนังสือพิมพ์นิตยสาร
ทั่วไป ถึงแม้จะมีขนาดไม่ใหญ่ แต่ก็มีคลังความ รู้ครบครัน รวมถึงภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลของ ต่างชาติ มีมุมพักผ่อนหย่อนใจด้านหน้า ร้านคาร่า ขายกาแฟและอาหารว่างประจำ�สำ�หรับชาว ไอซีที นิเทศศาสตร์ ทั้งยังเป็นจุดนัดพบ และ เป็นฉากสวยๆ ของงานนักศึกษามาแล้วหลาย ต่อหลายชิ้น พิมพกานต์ จำ�รัสโรมรัน นักศึกษาชัน้ ปีท่ี 2 สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสารฯ พูดคุยเกีย่ วกับ พืน้ ทีว่ ทิ ยาเขตบางรักไว้อย่างน่าสนใจทีเดียวว่า พืน้ ทีต่ รงนี้ แม้จะมีขนาดเล็ก แต่กค็ ดิ ว่าเหมาะกับ คนเรียนทางด้านนี้ไม่น้อยตึกแคททาวเวอร์ เป็นสถานทีท่ ม่ี กี ารถ่ายทำ�ละครบ่อย มีโปรดักชัน่ ให้เห็นเด่นชัด ทำ�ให้นักศึกษาที่นี่สามารถเรียนรู้ ได้จากการทำ�งานจริง เธอยังบอกว่า ถึงแม้พื้นที่จะเล็ก แต่ก็ถือ เป็นข้อดี เนื่องจากทำ�ให้คนที่นี่รู้จักกันหมด ทำ�ให้ติดต่อกันง่าย ตรงกับคำ�พูดของ วรนาท ประทุมมณี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขา นิเทศศาสตร์ เอกภาพยนตร์ ที่ว่า ที่นี่ความไม่ ใหญ่ของมันทำ�ให้มีประโยชน์ การเรียนด้าน นิเทศศาสตร์ มักมีการทำ�โปรดักชั่นเกิดขึ้น และ
การถ่ายทำ�โพรดักชั่นแต่ละชิ้น ก็ต้องใช้คนมาก แต่การที่พื้นที่ไม่ใหญ่ ทำ�ให้เราสามารถเรียกหา เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มาช่วยกันได้ไม่ยาก “ถึงแม้จะดูไม่ค่อยเหมือนมหาวิทยาลัย ที่ไหนซักเท่าไหร่ แต่หนูก็ชอบที่นี่นะ” สองสาว ประสานเสียง แม้บ้านทั้งสองหลังของชาวไอซีที ศิลปากร จะค่อนข้างมีความแตกต่างกันมาก แต่หน้าที่ของบ้านทั้งสองหลังกลับเหมือนกัน มาตลอด นั่นคือ การสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผลิตสู่ตลาดแรงงานของประเทศไทย และ 10 ปีที่ผ่านมาบ้านของชาวไอซีทีก็ได้ทำ�หน้าที่ อย่างดีมาตลอด ไม่มีขาดตกบกพร่องเลย
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 17
“โอ้น้องเอ๋ย เข้ามาใช่เพียงร่างกาย ต่างมีจุดมุ่งหมายก้าวไปให้ถึงฝั่งฝัน”
18
พิธีไหว้ครู และครอบครูช่าง
จากพิธีครอบครูช่างของโรงเรียนเพาะช่าง มา ถึงพิธีครอบครูของศิลปากร ที่เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 ศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าต้องผ่านการไหว้ครู และครอบครูช่าง พิธีกรรมที่จำ�เป็นสำ�หรับ นักศึกษาที่เรียนศิลปะถูกสืบทอดมาอย่าง ยาวนานจากช่างโบราณซึ่งเป็นพิธีกรรมที่นิยม ทำ�กันในราชสำ�นัก นับได้ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ อย่างมาก
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากรก็เป็นอีกคณะหนึ่งที่ทำ� หน้าที่สอนศิลปะให้กับนักศึกษา ลูกศิษย์ที่เข้า มาเรียนที่นี่ในทุกๆ ปีจึงต้องเข้าร่วมพิธีไหว้ครู และครอบครูช่าง เพื่อเป็นการแสดงตนว่าเป็น ศิษย์มีครู และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องดูแล
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 19
น้องใหม่
เช้าตรู่ของวันทำ�พิธีครอบครูช่าง น้องใหม่ไอซีทีมารวมตัวกันโดยพร้อมเพรียง เพื่อไหว้สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่คณะ และร่วมกัน ทำ�บุญตักบาตรอย่างชื่นมื่น โดยนักศึกษา ทุกคนพร้อมใจกันแต่งตัวอย่างถูกระเบียบ ผู้หญิงเกล้าผมเปิดหน้าผากเพื่อแสดงถึงความ 20
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ผุดผาดผ่องใส ส่วนผู้ชายใส่กางเกงสแล็คและ รองเท้าหุ้มข้อดูเป็นสุภาพบุรุษ นับแต่จบกิจกรรมรับน้องไป เหล่า น้องใหม่ได้รับการยอมรับจากรุ่นพี่ให้เข้าร่วม เป็นส่วนหนึ่งของไอซีที แต่พิธีกรรมครอบครู ช่างถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำ�คัญ
ไม่แพ้กัน เพื่อเป็นการแสดงว่า นักศึกษาใหม่ ทุกคนได้เป็นลูกศิษย์ของศิลปากรอย่างแท้จริง โดยได้รับการคุ้มครองจากพระพิฆเนศสิ่งศักดิ์ ประจำ�มหาวิทยาลัยด้วย
เทพแห่งศิลปะ
พระพิฆเนศมีกายเป็นมนุษย์ มีเศียร เป็นช้าง เป็นโอรสของพระอิศวรกับพระอุ มา ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ด้วยลักษณะนิสัยที่มีความเมตตา กตัญญู ปรีชาญาณ เฉลียวฉลาด และรักการสร้างสรรค์ ถือเป็นเทพเจ้าองค์สำ�คัญในศาสนาพราหมณ์ฮินดู สำ�หรับเมืองไทย ผู้คนนิยมบูชาเมื่อจะทำ� กิจการหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในพิธีครอบครูช่าง สิ่งที่สำ�คัญที่สุดใน งานจึงหนีไม่พ้นพระพิฆเนศ เทพผู้เป็นเจ้าแห่ง ศิลปะ โดยในพิธีครอบครูช่างจะมีการอัญเชิญ พระพิฆเนศลงมาเพื่อทำ�การกราบไหว้ เพื่อ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองลูกศิษย์ผู้เรียนศิลปะ ทั้งหลาย เป็นศิริมงคลและให้พิธีดำ�เนินไปได้ โดยไม่มีอุปสรรค
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 21
พิธีไหว้ครู เพื่อแสดงถึงความศรัทธาครูบาอาจารย์ ศิษย์จึงต้องทำ�พิธีไหว้ ครู โดยมีตัวแทนนักศึกษาของแต่ละเอกถือพานเพื่อนำ�มาบูชาครู พิธีในตอนเช้าจะแบ่งเป็น พิธีพุทธคือการสวดเจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระปริศต่างๆ ตามคำ�สอนของพระพุทธเจ้า ก่อนจะทำ� พิธีพราหมณ์ โดยการเชิญเทพมาเป็นประธานในพิธี ประกอบด้วย พระตรีมูรติ พระอุมาเทวี และพระพิฆเนศ มาประสิทธิประสาทพร ให้เหล่าศิษย์ให้อธิษฐานขอพรต่อเทพ และนับจากที่ไหว้ครูตอนเช้า ก็ถือว่าผู้ร่วมพิธีได้เป็นลูกศิษย์ที่มีครูบาอาจารย์รักษาคุ้มครองแล้ว
22
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
caption:
ครอบครู เจิมศีรษะ ช่วงที่สำ�คัญที่สุด
ช่วงที่สำ�คัญที่สุดของพิธีกรรมคือตอนที่ครูจับ มือให้ศิษย์วาดวงหน้าของพระตรีมูรติ พร้อมๆ กับการท่องคาถาสิทธิกิจจัง ต่อจากนั้นจะ เป็นการจับมือลูกศิษย์ตามประเภทของงาน ช่างศิลป์ ไม่ว่าจะเป็น ช่างวาด ช่างปั้น และที่ มีความโดดเด่นที่สุดของไอซีทีศิลปากรคือ มี การจับมือลูกศิษย์ให้วาดบนไอแพด ซึ่งเป็นการ แสดงถึงศิลปะยุคใหม่ที่เน้นทางด้านเทคโนโลยี นอกจากการจับมือวาด การครอบครูช่าง
และเจิมศีรษะ ถือเป็นพิธีสำ�คัญในการเสริม ศิริมงคลให้แก่เหล่าศิษย์ สามารถบันดาลให้ เป็นบุคคลสมบูรณ์พร้อม มีสติสัมปชัญญะครบ ถ้วน และที่สำ�คัญที่สุดเพื่อเป็นการแสดงให้รู้ ว่า เราเป็นศิษย์ที่มีครู ลูกศิลปะทั้งหลายเมื่อ สร้างสรรค์ผลงานอะไรขึ้นมา ย่อมได้รับการส่ง เสริมจากครูอย่างแน่นอน
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 23
“ศิลปากร สถาบันแห่งการศาสตร์ศิลป์
24
ผู้ใดได้ยินชื่อเสียงระบือลือไกล”
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้นำ� Tarad.com เว็บไซต์อีคอม เมอร์สอันดับหนึ่งของไทย กับฐานะ อาจารย์พิเศษ ICT ศิลปากร
ใหม่
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ในด้าน Internet & E-commerce ภาวุธก้าวขึ้นมาเป็น อุปนายกสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย สร้างสรรค์เว็บไซต์ www.thaisecondhand.com และ Tarad.com เขากลายเป็นมืออาชีพที่ได้ รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้กับ ผู้คนและองค์กรต่าง ๆ มากมาย รวมถึงเป็น อาจารย์พิเศษที่คณะ ไอซีทีศิลปากรด้วย ภาวุธ ร่วมเดินทางกับคณะไอซีทีมาหลาย ปี ทั้งสอน เป็นที่ปรึกษาหลักสูตร ตลอดจนเป็น กรรมการจุลนิพนธ์นักศึกษา ตั้งแต่อาคารเรียน ยังเป็นโถงโล่งๆ “สำ�หรับการสอน ผมสอนแบบไม่มีการ สอบ ถ้าคุณทำ�เว็บให้คนเข้าเว็บได้ 1 หมื่นคน ภายในช่วงเวลา 2 เดือน เอา A ไปเลย” เขา เล่าถึงการปั้นเด็กไอซีทีศิลปากร วิชาการตลาดที่ภาวุธ สอน ครึ่งแรกจะ เป็นภาควิธีคิด ครึ่งหลังเป็นภาคลงมือทำ� เป้าหมายคือ ทำ�อย่างไรก็ได้ให้คนเข้าเว็บไซต์ ถ้านักศึกษาสามารถทำ�ได้ ก็ถือว่า การเรียนรู้ สำ�เร็จแล้ว และไม่จำ�เป็นต้องสอนเรื่องเทคนิค อีก ซึ่งเด็กไอซีที สาขาออกแบบเว็บไซต์ ก็ สามารถทำ�ได้อย่างที่เขาต้องการ “ผมเน้นไปที่การลงมือทำ� แล้ววัดผล ทันทีที่คุณพิมพ์คำ�ว่า “ตลาดดอทคอม” ใน แข่งกันในห้องเลย ขึ้นเป็นกราฟ ให้เห็นว่า Google และคลิก “ค้นหา” คุณจะพบคำ�ค้น ใครสูงใครต่ำ� มันก็จะแข่งกัน ซึ่งก็โอเค เด็กก็ 28,400,000 คำ� นั่นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ไปหาวิธีการกัน ซึ่งผมพบว่า เด็กไอซีทีฮึดใน นัก เพราะนี่คือเว็บไซต์ตลาดการค้าพาณิชย์ การแสวงหาความรู้ คิดทางเลือกของกลยุทธ์ อิเล็กทรอนิกส์อันดับ 1 ของประเทศไทย หลายๆ แบบ” ที่สำ�คัญ คำ�ค้นเหล่านั้นมักจะพ่วงชื่อของ ภาวุธ ยังบอกว่า แม้อายุของคณะไอซีที “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” ชายหนุ่มผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ศิลปากรจะไม่ได้ยาวนาน แต่ความที่ศิลปากร และพัฒนาบริหารงานอย่างมั่นคงมากว่า 14 ปี เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะที่หาตัวจับยาก ซึ่ง ด้วยดีกรีปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นจุดเด่น เมื่อรวมกับการสอนด้านไอซีทีที่ จากมหาวิทยาลัยรังสิต และปริญญาโทนักศึกษาต้องรู้จัก และปรับตัวกับเทคโนโลยี
ของโลกอยู่ตลอดเวลา จึงนำ�ไปสู่การที่พวก เขาสามารถทำ�งานออกมาแล้วมีมิติทั้งความ สวยงาม และการใช้งานได้ดี ตอบโจทย์ของ ตลาดแรงงานยุคปัจจุบัน จากประสบการณ์การทำ�งานด้านเว็บไซต์ มายาวนา ภาวุธ เห็นว่า ช่วงเวลา 10 ปี ของ คณะไอซีทีศิลปากรมีการพัฒนาขึ้นมาก แต่สิ่ง ที่สำ�คัญที่สุดคือ ไม่ใช่แค่คุณภาพของนักศึกษา แต่รุ่นพี่ที่จบไปแล้วคือ ตัวแปรสำ�คัญด้วยที่ ทำ�ให้คณะมีชื่อเสียง และมีรากฐานที่มั่นคง แข็งแรง “เนื่องจากเราเป็นคณะใหม่ และรุ่นพี่เรา ยังไม่มีแก่นของคณะ มันยังไม่ถูกสร้าง มันยัง ไม่เข้มข้นเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นมันต้องใช้เวลา ระยะหนึ่งกว่าที่รุ่นพี่ๆ ที่ออกไปจะสร้างชื่อ ไป สร้างให้เขาเห็นว่า คณะนี้มันเก่ง เพราะบางที มันไม่ได้เกิดจากเด็กที่เรียนอยู่ แต่มันเกิดจาก รุ่นพี่ที่จบไปแล้ว ให้เขาสร้างผลงาน ซึ่งตอนนี้ เรากำ�ลังอยู่ในช่วงที่รุ่นแรกๆ ที่ออกไปสร้างผล งาน” ภาวุธ กล่าว ภาวุธทิ้งท้ายว่า การทำ�เว็บมาร์เก็ตติ้ง พื้นฐานที่สำ�คัญคือต้องมีตรรกะ และเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นการทำ�งานอะไรก็ตาม นักการ ตลาดหรือเว็บดีไซเนอร์จะไม่มองเฉพาะสิ่งที่ เห็นอยู่ข้างหน้าเท่านั้น แต่ต้องมองย้อนกลับไป ข้างหลังว่าทำ�ไมจึงต้องทำ�แบบนี้ เพราะเมื่อคน ผลิตงานเข้าใจในเนื้องานแล้ว ก็จะสามารถผลิต งานที่ตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ ไป จนถึงการการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาด้วย ถามว่าเด็กไอซีทีไปถึงไหม เขาตอบว่า “กำ�ลังเดินไปถึงจุดนั้น”
25
ผศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้ร่วมก่อตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มหาวิทยาลัยศิลปากร “ผู้ปรุงศาสตร์และศิลป์ให้เข้ากันอย่างกลมกล่อม” 26
“ทีศ่ ลิ ปากร เรามีสมองทัง้ สองซีกอยู่ ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน” ผศ.ดร.ปานใจ เล่า ถึงความทรงจำ�ในตอนแรกตัง้ คณะไอซีทดี ว้ ย น้�ำ เสียงภาคภูมใิ จ 10 ปีทแ่ี ล้ว เมือ่ อาจารย์ประจำ� คณะวิทยาศาสตร์ อย่าง ผศ.ดร.ปานใจ มาเจอ กับ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช คณบดีคณะไอซีทคี น แรกและคนปัจจุบนั ทีส่ มัยนัน้ เป็นรองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ลูกหม้อจากคณะ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร การ บูรณาการศาสตร์และศิลป์กเ็ ริม่ ต้นขึน้ หลังจากทีม่ กี ารระดมสมอง พูดคุย แลกเปลีย่ นความคิดเห็นของ 2 โต้โผ สุดท้ายได้ ร่างหลักสูตรไอซีทที ไ่ี ม่เหมือนใคร ซึง่ กลายเป็น จุดเด่นของคณะไอซีที มหาวิทยาลัยศิลปากร “เรามองว่า ฝัง่ คณะวิทยาศาสตร์ เองก็มสี าขาทางด้านคอมพิวเตอร์อยู่ คือสาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ส่วนฝัง่ ของวังท่าพระ คณะมัณฑนศิลป์กจ็ ะมีนเิ ทศศิลป์ ซึง่ ก็ท�ำ เรือ่ ง แอนิเมชัน่ เหมือนกัน เราก็เลยมาคิดว่า จะต้อง ทำ�อย่างไรให้หลักสูตรทีเ่ ราจะทำ�ออกมามันไม่ ไปซ้�ำ ซ้อนกับทีม่ นั มีอยู่ มันก็เลยออกมาเป็น ลักษณะของการออกแบบทีแ่ ตกต่าง” ผศ.ดร.ปานใจ ยกตัวอย่างให้ฟงั ว่า ทางด้านไอซีทเี พือ่ การออกแบบก็จะเป็นการ รวมเอาศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์มารวมกับ ศาสตร์ทางด้านของการออกแบบ เช่น เรือ่ งของ การวาดรูปหรือการสร้างสรรค์ ส่วนทางด้านไอซีทธี รุ กิจก็เป็นการ ประยุกต์การใช้งานและการออกแบบควบคูก่ นั เช่น การทำ�โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องเน้น ทัง้ คุณสมบัตขิ องโปรแกรมและความสวยงาม ของหน้าตาโปรแกรมด้วย ความเชีย่ วชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ของ ผศ.ดร.ปานใจ ก่อให้เกิดผลดีกบั นักศึกษา ไอซีทสี าขาออกแบบ และสาขาธุรกิจอย่าง ชัดเจน เพราะทัศนคติในเรือ่ งของการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์นน้ั เปิดกว้าง และดัดแปลง วิทยาศาสตร์เข้ากับความสวยงามได้อย่างลงตัว
“ฟิสกิ ส์ของไอซีทกี บั คณะวิทยาศาสตร์ ไม่เหมือนกัน ฟิสกิ ส์ของคณะวิทย์ฯ อาจจะ เน้นเรือ่ งดินน้�ำ ลมไฟ แต่ฟสิ กิ ส์ของเราเน้น ไปทีก่ ารใช้ประโยชน์ เช่น สำ�หรับคนจะทีท่ �ำ การออกแบบแอนิเมชัน่ น้�ำ หยดลงไปทีโ่ ต๊ะ ถ้าเราไม่มหี ลักการทางฟิสกิ ส์ เราก็จะไม่รวู้ า่ น้�ำ จะกระจายอย่างไร หรือรถมันชนกันมันจะ ชนกันอย่างไร เกิดแรงขึน้ แค่ไหน” จากวิธคี ดิ ดังกล่าวทำ�ให้จดุ เด่นทีส่ ดุ ของไอซีทอี อกแบบและไอซีทธี รุ กิจคือ ความ สามารถในการสร้างสรรค์งานทีล่ งตัวระหว่าง การออกแบบและการใช้งานจริง “เรามองในฟากของกระบวนการ ทำ�งานและมองถึงการใช้งานว่า ทำ�อย่างไร ให้งา่ ยต่อการใช้งาน เพราะฉะนัน้ ในส่วนของ การออกแบบทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้องกับโครงงาน ต่างๆ ของนักศึกษา เช่น จุลนิพนธ์ของไอซีที ธุรกิจ พอนักศึกษาสร้างหน้าเว็บหรือโปรแกรมที่ ต้องไปเกีย่ วข้องกับผูใ้ ช้งานก็พบว่า มันจะออก มาดูดกี ว่าในศาสตร์ทเ่ี ป็นคอมพิวเตอร์ลว้ นๆ เพราะว่าเขาได้เรียนทักษะทางด้านการออกแบบ มาผสมผสาน” หรืออย่างไอซีทอี อกแบบ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ คณะไอซีทชี ใ้ี ห้เห็นความแตกต่างของคนทีจ่ บ จากคณะไอซีทกี บั คนทีจ่ บมาด้านคอมพิวเตอร์ โดยตรง หรือด้านนิเทศศิลป์ ว่า นักออกแบบ เว็บไซต์ หรือกราฟิกดีไซน์แบบเพียวๆ เขา จะเน้นการออกแบบ ความสวยงาม แต่ไม่ได้ เน้นถึงกระบวนการใช้ประโยชน์นกั แต่ของเรา ทัง้ สวยและใช้งา่ ย สำ�หรับนักศึกษาสาขาไอซีทธี รุ กิจ ผูป้ ระกอบการก็ให้การยอมรับเป็นอันมาก ด้วยการฝึกหัดทีเ่ ข้มข้นระหว่างเรียนทีศ่ ลิ ปากรที่ มีปรัชญาการสอนว่า ธุรกิจไม่ใช่แค่ขายของเป็น แต่ตอ้ งเข้าใจในทุกกระบวนการ ตัง้ แต่การสร้าง โปรแกรม การทำ�เว็บไซต์ การวางแผนการตลาด การติดต่องานกับลูกค้า ซึง่ ทุกสิง่ เหล่านีอ้ าจารย์ ได้บม่ เพาะนักศึกษาจนได้ท่ี เพือ่ เข้าสูต่ ลาด ภายนอก
ผศ.ดร.ปานใจ เล่าว่า ระหว่างเรียน นักศึกษาต้องออกไปเจอผูป้ ระกอบการ ไปนัง่ พูดคุยหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ ซึง่ ถือเป็น การฝึกซ้อมก่อนทีจ่ ะออกไปทำ�งานจริง เพราะ ฉะนัน้ โดยภาพรวม เขามองว่าเป็นกระบวน การทีด่ ที ค่ี ณะจัดให้กบั นักศึกษาและเป็นการ เตรียมความพร้อมให้เด็กได้ดี และสิง่ เหล่านี้ นีเ่ องทีท่ �ำ ให้จลุ นิพนธ์ของเด็กไอซีทธี รุ กิจนัน้ ออกมามีคณ ุ ภาพ และสามารถเป็นตัวช่วยใน การสมัครงานได้เป็นอย่างดี “จุลนิพนธ์ของไอซีทธี รุ กิจมัน ไม่ได้เป็นเรือ่ งของคอมพิวเตอร์ลว้ นๆ มัน เป็น การผสมผสานกันระหว่างคอมพิวเตอร์ ธุรกิจและการออกแบบ เพราะฉะนัน้ มูลค่าใน เชิงวิชาการมันมีในตัวเองอยูแ่ ล้ว รวมกับมูลค่า ในเชิงผลกระทบต่อสังคม แล้วถ้าเกิดทำ�มาแล้ว ผูป้ ระกอบการชอบ เขาก็เอาไปต่อยอดได้ มัน ก็เป็นการจุดประกายให้ในการทำ�ธุรกิจทันสมัย มากขึน้ และมีการใช้ในเรือ่ งของเทคโนโลยี ซึง่ คุณภาพของเด็กเราก็ดี เราดูจากการสำ�รวจผูใ้ ช้ บัณฑิต ผลออกมาดี อัตราการมีงานทำ�ก็ด”ี แม้วา่ เทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากแค่ ไหน แต่สง่ิ ที่ ผศ.ดร.ปานใจ ยังคงเป็นห่วงคือ ทรัพยากรมนุษย์ทจ่ี ะออกไปสร้างสรรค์ผลงาน “ตอนนีเ้ ทคโนโลยีมนั มีเยอะแยะ ไปหมดแล้ว แต่ทม่ี นั มีปญ ั หาอยูต่ อนนี้ คือ การเอาเทคโนโลยีไปใช้ไม่ถกู ทาง เราจะ ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรมสอดใส่เข้าไปใน กระบวนการทีจ่ ะผลิตคนออกมาให้มคี ณ ุ ธรรม” ผูร้ ว่ มก่อตัง้ คณะไอซีที กล่าว พร้อมกับบอกว่า นัน่ เป็นหัวใจที่ เรา ไอซีทศี ลิ ปากร ยึดถือเป็น ปรัชญาในการเรียนการสอนควบคูก่ บั วิชาการ ตลอดเวลา 10 ปีทผ่ี า่ นมาของคณะ
27
Customer Relationship Management (CRM) หรือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คือ การสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยการใช้เทคโนโลยี และบุคลากรอย่างมีหลักการ โดยในปัจจุบันยัง ไม่มีสาขานี้โดยตรงไม่ว่าสถาบันการศึกษาแห่ง ไหนในประเทศไทย ยกเว้นที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นที่แรกและที่เดียว ที่มีสาขานี้ สุปรียา กณิกนันต์ ผู้บริหารสาวสวย ดีกรีปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ สาขาโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Master of Science, Integrated Marketing Communications, Direct Marketing Major Northwestern University, Evanston, Illinois, U.S.A. ซึ่ง ประจำ�ตำ�แหน่งผู้บริหารสูงสุด ธุรกิจลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท Dreambase Interactive ซึ่ง เป็นวิทยากรพิเศษให้ไอซีที และรับนักศึกษา สาขา CRM ของไอซีทีไปทำ�งาน การันตีว่า ขอให้คะแนน 80 % กับเด็กไอซีทีสาย CRM ที่มาทำ�งานที่นี่ เพราะมีความเข้าใจในเนื้องาน มากกว่าคนที่เรียนสายอื่น “ดิฉันมีโอกาสไปสอนในมหาวิทยาลัยอื่น หลายแห่ง แต่รู้สึกว่า เด็กที่คณะไอซีทีนี้ เป็น เด็กดี มีความตั้งใจ เอาใจใส่และแน่วแน่ รู้ว่า อะไรที่ดี และที่มีประโยชน์กับตนเอง แล้วก็ ตั้งใจทำ� ที่อื่นบางคนก็ไม่ตั้งใจ ไม่สนใจ แต่ที่นี่ จะตั้งใจและมีความรับผิดชอบ มอบหมายงาน อะไรให้ก็จะทำ�สำ�เร็จทุกครั้ง” ที่สำ�คัญ เธอยังบอกว่า เด็กไอซีที มีความ รู้ ความเข้าใจในธุรกิจในระดับหนึ่ง ทำ�ให้นำ�มา จับกับ CRM ได้อย่างสบายๆ และจากประสบการณ์ที่ได้คัดเลือกบุคคล หน้าใหม่เพื่อเข้าวงการ สุปรียา เห็นว่า บัณฑิต สาขานี้ของไอซีที มีความแตกต่างกับที่อื่น และ พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ�ว่าตัดสินใจไม่ผิดที่ เลือกให้โอกาสเด็กที่นี่
28
“ดิฉันตัดสินใจเลือกเด็กไอซีทีเพราะ หลักสูตรของทางมหาลัยตรงกับรูปแบบการ ทำ�งานของบริษัท รวมทั้งดิฉันมีความมั่นใจใน อาจารย์ประจำ�ภาควิชา เพราะต่างล้วนเป็น บุคคลากรที่มีความสามารถทั้งสิ้น และหลังจาก ได้ร่วมงานดิฉันก็รู้ว่าตัดสินใจไม่ผิดเลยที่เลือก น้องคณะนี้ เพราะเด็กที่นี่มีความรับผิดชอบ สูงเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานที่มาจากที่อื่น และมีความเข้าใจในเนื้องานเป็นอย่างดี” ทั้งนี้ สิ่งที่เธอชื่นชอบเป็นพิเศษคือ เด็ก ไอซีทีสาขานิเทศศาสตร์ของศิลปากร มีความ เข้าใจในความงามของศิลปะ และมีทักษะใน การใช้คอมพิวเตอร์ดีอีกด้วย เธอกล่าวว่า ข้อได้เปรียบของบัณฑิต คณะไอซีทีคือ การมีการเรียนการสอน CRM เป็นวิชาเอกโดยตรง ซึ่งถ้าคนจบ นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอื่นซึ่งไม่มีสาขานี้ เขาก็จะไม่เข้าใจ หลักการทั้งหมดของ CRM “ดิฉันจะสบายใจทุกครั้งเวลาที่คุยกับทีม ที่มาจากคณะไอซีที ศิลปากร เพราะเขามีพื้น ฐานอยู่แล้ว ดิฉันไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องรู้หมด ทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยก็ไม่ต้องเล่าใหม่ตั้งแต่ 1-5 เพราะเขามีพื้นฐานมาแล้ว เราก็ต่อยอดให้ เขาตั้งแต่ 6-10 ได้เลย ซึ่งจะทำ�ให้การทำ�งาน ง่ายขึ้น” สำ�หรับการต่อยอดนั้น สุปรียา กล่าวว่า CRM เป็นอีกแขนงหนึ่งของการตลาด คนที่ ประสบความสำ�เร็จด้านการตลาดในเชิง CRM ด้วยคือ ต้องรู้จักการผสมผสานสมองด้านซ้าย
และขวา การตลาดเป็นสิ่งที่เรียนไม่ได้ ต้องใช้ ประสบการณ์ ความรู้สึก สัญชาตญาณ และ การลองผิดลองถูก และไม่ใช่สูตรสำ�เร็จ การ วิเคราะห์และการคำ�นวณหรือสถิติที่วัดผลได้จึง เป็นเรื่องสำ�คัญ “บางอย่างเราอ่านในตำ�ราแล้วมันดี เห็น กรณีศึกษาจากหลายๆ งานแล้วมันเวิร์ค ใช้ วิธีนี้ในอเมริกาแล้วดี แต่พอนำ�มาใช้ใน ประเทศไทยกลับไม่ได้ผล ไม่เป็นอย่างที่เรา คิดไว้ เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจหลักการ แล้ว นำ�มาวิเคราะห์ให้ได้ เราต้องทำ�ให้ลูกค้า ผู้ บริหาร หรือเจ้านายเราเห็นให้ได้ว่ามันสามารถ วัดผลได้จริงๆ ถ้าเราทำ�ได้ เราก็จะเป็นนัก CRM ที่ดี แต่สำ�หรับบางคนก็ไม่จำ�เป็นต้องมี ประสบการณ์นะ แต่ต้องเป็นคนที่เข้าใจการใช้ ชีวิต” “แต่เด็กๆ ไอซีที ศิลปากร รู้หลักการแล้ว ส่วนความรู้เรื่องการวัดผล ตรงนี้เขากำ�ลังเดิน ตามแนวที่นี้มาเรื่อยๆ ซึ่งถือว่ามาถูกทางแล้ว” เธอกล่าวทิ้งท้าย
สุปรียา กณิกนันต์
ตำ�แหน่ง CEO CRM Business บริษัท Dreambase Interactive ชื่อเรื่อง ไอซีที ศิลปากร CRM แห่งเดียวในไทย
29
ภัทราพร สังข์พวงทอง
ผู้ดำ�เนินรายการโทรทัศน์ “กบนอกกะลา” นักนิเทศศาสตร์ต้องมีความรู้รอบตัว และเหตุผล 30
“ภัทราพร สังข์พวงทอง” หรือ “ต่อ” ครีเอทีฟและผู้ดำ�เนินรายการโทรทัศน์ชื่อดัง อย่าง “กบนอกกะลา” จบปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต จากรั้วมหาวิทยาลัย ศิลปากร และจบปริญญาโท วารสารศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาบริหารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขานิเทศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มี ความโชคดีและถือเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ ผู้มากความรู้และประสบการณ์ในด้านสื่อสาร มวลชนมาเป็นอาจารย์พิเศษที่เต็มไปด้วย มุมมองต่างๆ มากมาย ภัทราพร บอกว่า เด็กนิเทศฯ ของไอซีที สู้ กับข้างนอกได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ในการ บ่มเพาะ ทางคณะฯ จะค้นพบพลังจากตัว นักศึกษาเอง หรือนักศึกษาค้นพบพลังในตัวเอง ถ้าเราเอาออกมาได้ คณะเอาออกมาได้ ตัวเด็ก เอาออกมาได้ด้วย นี่เหมือนมันคลิกกัน เด็ก ก็ได้ปล่อยของ “เหมือนกับถ้าเราเจอว่า เราขับ มอเตอร์ไซค์เก่งเราก็ไปเป็นนักบิด หมายความ ว่า มันต้องเกิดจากตนเองค้นพบสิ่งที่เราอยาก จะมุ่งไปและทางสถาบันการศึกษาต้องมีส่วน ร่วมในการดึงศักยภาพออกมา ซึ่งดิฉันเห็นว่า ทางคณะไอซีที เน้นตรงนี้มากๆ” นอกจากนี้ เธอยังได้มีโอกาสตรวจ จุลนิพนธ์ของนักศึกษาเอกวิทยุและโทรทัศน์ ชั้นปีที่ 4 ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า ชื่นชมผลงานของ นักศึกษาที่นี่ไม่ว่าเกรดที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะแต่ละผลงานล้วนเป็นงานที่มีเหตุผลใน ตัวมัน “จุลนิพนธ์ไม่ใช่แค่เป็นการประเมินผลทาง วิชาการ แต่เป็นบทเรียนที่นักศึกษาต้องได้นำ�
ไปใช้ในชีวิตการทำ�งานจริง ไม่ว่าเจ้าของผลงาน นั้น จะทำ�มันออกมาดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะสำ�เร็จ หรือล้มเหลว เพราะสิ่งสำ�คัญที่สุดคือ นักศึกษา ต้องเรียนรู้ ทำ�ความเข้าใจมันอย่างมีเหตุผล แล้วนำ�ไปใช้” ครีเอทีฟรายการชื่อดังบอก เธอยังเห็นว่า ประสบการณ์ที่ได้มากมาย จากการที่คณะฯ ให้ทำ�จุลนิพนธ์ก่อนเรียนจบ นักศึกษาจะต้องได้ใช้จริงในชีวิตแน่ๆ “เวลาคนดูรายการโทรทัศน์แล้วบอกว่า ชอบ เพราะว่ามันน่าสนใจ เราก็มาตีความว่า คำ�ว่า ‘น่าสนใจ’ ของคนดูมีอะไรบ้าง เราสนใจเรื่อง อะไร เพราะอะไร” นี่คือ สิ่งที่นักศึกษาทุกคน ต้องผ่านมันในปีสุดท้าย ภัทราพร ผู้คว่ำ�หวอดในวงการโทรทัศน์ แนะนักศึกษารุ่นใหม่ว่า รายการโทรทัศน์ที่ น่าสนใจ ต้องมีลักษณะเป็นเรื่องใกล้ตัวของ มนุษย์ เช่น เรื่องบันเทิง เรื่องเพื่อน เรื่องสัตว์ คิดอะไรง่ายๆ ให้มันน่าสนใจ บางทีเข้าใจว่า อยากทำ�เรื่องไกลตัว แต่ถ้าเริ่มจากเรื่องใกล้ ตัว หลอกคนดูไปก่อน ทำ�อะไรที่ใกล้ความเป็น มนุษย์ มันจะมีความใกล้ชิด ความน่าสนใจนี่ แหละ ทำ�ยังไงก็มีคนดู สิ่งสำ�คัญที่อาจารย์ต่อฝากไว้ให้นัก นิเทศศาสตร์ แห่งรั้วศิลปากร คือต้องเป็นคน ขยันหาความรู้ใส่ตัว “การเป็นนักนิเทศศาสตร์ ที่ดี ตำ�ราอย่างเดียวมันเป็นแค่พื้นฐานความ สำ�เร็จ แต่ความสำ�เร็จมัน คือ ความรู้รอบตัว ซึ่งเริ่มจากการเป็นผู้เสพก่อน ก่อนที่จะเป็น ผู้สื่อได้ เพราะฉะนั้นคนที่มีความรู้รอบตัวจะ สามารถผลิตสื่อได้ดีกว่า” ได้ข้อคิดและอาจารย์ที่ดีเช่นนี้ นักนิเทศศาสตร์ แห่งรั้วศิลปากรอย่าลืมลืมตา มองโลกให้กว้าง เพื่อการทำ�งานสื่อสารมวลชนที่ดีในอนาคต 31
กิ่งรัก อิงคะวัต เอ็กเซกคิวทีฟ ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ หรือผู้อำ�นวยการฝ่ายสร้างสรรค์ 32
จุลนิพนธ์จุดเริ่มต้นของอนาคตวงการโฆษณา กิ่งรัก อิงคะวัต นักโฆษณาชื่อดังในวงการ ได้เป็นผู้ใหญ่ขึ้นในงานจุลนิพนธ์ชิ้นนี้ แห่งบริษัท ดราฟท์เอฟซีบี (ประเทศไทย) จำ�กัด “นักศึกษาถือว่ามีคุณภาพดี ผมยังพบว่า ซึ่งเน้นโฆษณาผลิตภัณฑ์ของบริษัทนีเวียเป็น ที่น้องๆ ไปฝึกงานกัน เขาก็ทำ�งานเก่งและมี หลัก ความรับผิดชอบ ทุกปีจะมีเด็กมาฝึกงานกับผม เขาดำ�รงตำ�แหน่งเอ็กเซกคิวทีฟ ครีเอทีฟ 3-4 คน เราได้อยู่กับพวกเขามากกว่าตอนเรียน ก็จะเห็นเลยว่า เด็กพวกนี้มีอะไร มีความตั้งใจ ไดเร็กเตอร์ หรือผู้อำ�นวยการฝ่ายสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นตำ�แหน่งที่มีเพียงบริษัทโฆษณาใหญ่ ๆ มีความคิดใหม่ๆ ที่สำ�คัญคือรับผิดชอบดี” เท่านั้น และน้อยคนที่จะนั่งเก้าอี้นี้ นอกจากเป็นอาจารย์สอนวิชาการ ออกแบบโฆษณาเบื้องต้นแล้ว เขาได้เป็น นี่คือความโชคดีของคณะเทคโนโลยี คณะกรรมการในการตรวจจุลนิพนธ์ของสาขา สารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โฆษณาของที่นี้ด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ กิ่งรัก ให้เกียรติมา เป็นอาจารย์ ในวิชาการออกแบบโฆษณา “คุณภาพของจุลนิพนธ์ที่นี่ หัวข้อที่ เบื้องต้น เด็กหลายๆ คนเสนอมา มีไอเดียที่ชัดเจน มีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน” ด้วยความรู้และประสบการณ์ในการ ทำ�งาน อีกทั้งยังรับหน้าที่อาจารย์พิเศษให้กับ เขาบอกว่า งานชิ้นสุดท้ายของปี 4 ขั้น มหาวิทยาลัยชื่อดังต่าง ๆ นั้น ทำ�ให้เขามีมุม ที่ 1 ต้องเป็นผลงานที่สามารถเป็นประโยชน์ มองเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาโฆษณาอย่างกว้าง และสามารถนำ�ไปใช้จริง ถ้างานบางอย่าง ขวางและน่าสนใจ ที่เกินความจริง พวกเราที่เป็นกรรมการจาก หลากหลายสาขาก็ช่วยตบให้มันมาใกล้กับโลก กิ่งรัก ได้พูดถึงจุดเด่นของคณะไอซีที ของความจริง ให้มันใช้งานได้จริง ซึ่งสุดท้าย ของมหาวิทยาลัยศิลปากรว่า คณะไอซีที มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการเตรียมความพร้อม นักศึกษาทำ�ออกมาอย่างมีคุณภาพดีเยี่ยม กิ่งรัก กล่าวเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาโฆษณาของที่ เด็กได้เร็วกว่ามหาวิทยาลัยอื่น มีการฝึกให้ นักเรียนคิดคอนเซ็ปต์ การทำ�สตอรี่บอร์ดตั้งแต่ นี่ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาหลักสูตรว่า ปี 2 ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นกว่าจะได้เรียน เรื่องนี้ก็ต้องรอถึงปี 3 ทำ�ให้มีพื้นฐานที่ดีกว่า ที่อื่น
หลักสูตรของที่นี่ เน้นเรื่องครีเอทีฟ เป็นหลัก ซึ่งเป็นผลดีแก่นักศึกษาอยู่แล้ว สิ่งที่อยากจะให้เสริมความแข็งแกร่งด้าน วิชาการให้กับนักศึกษาคือเรื่อง นิวมีเดีย หรือ สื่อใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น เนื่องจาก ปัจจุบันเรื่องการวางแผนมีเดียเป็นอีกหน่วย งานที่มีบทบาทมากและอนาคตเชื่อว่าจะมี ความสำ�คัญมาก จึงต้องสร้างความรู้ให้กับ ผลผลิตที่กำ�ลังจะออกไปเป็นอนาคตของวงการ โฆษณา “สายโฆษณาที่ผมสอน เด็กๆ ของไอซีที ศิลปากร กำ�ลังเดินก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆ ด้าน ไอเดียมาแล้ว ส่วนด้านเทคนิค และศิลปะกำ�ลัง เดินตามมาติดๆ ผมกำ�ลังลุ้นให้ทั้ง 3 อย่าง ไปถึงจุดที่เดินไปพร้อมกัน นั่นคือ สุดยอด ความใฝ่ฝันเลย” กิ่งรัก กล่าวทิ้งท้ายไว้กับนักศึกษาที่เรียน สาขานิเทศศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตอนนี้การแข่งขันสูงมาก เราจบมาไม่ได้ แข่งแค่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เราแข่งกับนักศึกษา ที่จบจากต่างประเทศด้วย เราต้องทำ�ตัวเอง ให้พร้อมที่สุด พยายามเข้าร่วมการประกวด รายการต่างๆ ที่เปิดอยู่จำ�เป็นมาก เวลาจบ ออกมาเราสามารถจะมีสิ่งที่เหนือกว่าเพื่อน เมื่อจบไปไม่จำ�เป็นต้องไปสมัครงาน สร้างงาน ก็ได้ การค้นหาตัวเองให้เจอก็สำ�คัญ ยิ่งเราได้ รู้ตัวเองเร็วเท่าไหร่ จะได้เปรียบกว่าคนอื่น”
จุดเด่นที่สำ�คัญที่สุดของที่นี่คือ การได้ทำ� จุลนิพนธ์เพราะยังไม่เคยเห็นเด็กที่เรียนสาขา นิเทศศาสตร์ ต้องมาทำ�โปรเจ็คใหญ่ส่งเป็น ครั้งสุดท้าย เหมือนเป็นการจำ�ลองงานจริง เด็ก
33
ไอซีที ศิลปากร ชื่อนี้ การันตีคุณภาพ ที่ The Monk Studio The Monk Studio สตูดิโอ แอนิเมชั่นชื่อดัง ของเมืองไทย ซึ่งทำ�งานในระดับโลกมาแล้วหลาย ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นล้วนแต่เป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้งใน ไทย และในระดับโลก เป็นเรื่องแปลกที่ The Monk Studio นิยม ใช้งานศิษย์เก่าในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ไอซีที) มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยที่ ปัจจุบัน บริษัทนี้มีศิษย์เก่าของไอซีที ศิลปากรถึง 24 คน ซึ่งถือว่าเยอะมากเลยทีเดียว คุณนิธิพัฒน์ สมสมาน และ คุณสุภณวิชญ์ สมสมาน กรรมการผู้จัดการ และ ผู้ก่อตั้ง The Monk Studio ได้พูดถึงเหตุผลว่า ทำ�ไมถึง ถูกใจ บัณฑิตของ ไอซีที ศิลปากร สุภณวิชญ์ เล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่มีศิษย์เก่าที่ ทำ�งานที่นี่เยอะว่า เป็นการชวนกัน รุ่นต่อรุ่น เริ่ม จากรุ่นที่ 1 แนะนำ�รุ่นน้องมา จึงมีรุ่นที่ 2 มา ทำ�งาน และรุ่นที่สอง ก็แนะนำ�รุ่นที่ 3 มาอีก เป็น แบบนี้มาเรื่อยๆ จนถึงรุ่นที่ 6 ในปัจจุบัน พร้อมกับ ไล่ชื่อพนักงานของ The Monk Studio ที่เป็น ศิษย์เก่า ไอซีที ศิลปากร มาให้เราฟังครับทุกคน “เราเปิดปีแรก ก็มีรุ่นแรกเข้ามา ตอนนั้น ประมาณปี 2007 ตอนนั้นก็มี พี่พร ถิรมงคล, พี่นู ธนู ก็เป็นรุ่นแรกที่เราได้รู้จัก ไอซีที ศิลปากร ถัดจากนั้นก็ได้รับการแนะนำ�จากพี่พรเนี่ยแหละ เราก็เลยรับรุ่นต่อมา ต่อมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ก็ 6 รุ่นแล้ว” แต่นิธิพัฒน์ ก็ชีแจงว่า ไม่ได้เป็นเพราะการ แนะนำ�กันอย่างเดียว การเลือกคนเข้าทำ�งาน ที่นี่ จะต้องมีคุณสมบัติหลายข้อ ซึ่งอย่างแรกที่ต้อง ดู คือมีผลงานดี ถ้าเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ไอซีที ศิลปากร ถือเป็นแนวหน้า จากนั้น ก็เรียกมา สัมภาษณ์ แล้วถึงดูนิสัย ซึ่งง่ายมาก เพราะเพียงแค่ ถามรุ่นพี่ รุ่นก่อนหน้านั้น เมื่อพูดถึงจุดเด่น สุภณวิชญ์ และ นิธิพัฒน์ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ศิษย์เก่า ไอซีที ศิลปากร มีความอึดถึงอึดมาก เหมือนถูกฝึกมา อาจจะเป็น เพราะว่าผ่านการทำ�งานมาเยอะ และไม่มีการบ่น
34
หรือเกี่ยงงาน แม้ว่าจะต้องอยู่ที่ออฟฟิสดึกขนาด ไหน ก็จะเห็นงานมาก่อน พูดง่ายๆก็คือ ไม่เสร็จไม่ กลับ นี่ถือเป็นจุดเด่นสำ�คัญ นอกจากเรื่องความอึดแล้ว สุภณวิชญ์ยัง เสริมว่า เด็กไอซีที ศิลปากร มีความสมัครสมาน สามัคคีกันดี มีการดูแลกันเองระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง มีการแนะนำ�กันมา ซึ่งสาเหตุที่ The Monk Studio มีศิษย์เก่า ไอซีที ศิลปากรมาก ก็เป็นเพราะความ สามัคคีตรงนี้ด้วย การทำ�งานในที่ที่มีรุ่นพี่เยอะ จะดูอบอุ่น เป็นธรรมดา “เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ 25 มหาวิทยาลัย แม้ว่าจะมีการเปิดสอนเกี่ยวกับด้าน แอนิเมชั่นเพิ่มขึ้นอีกมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เท่าที่เห็น แล้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ยังถือว่าเป็นแนวหน้า ในด้านนี้อยู่ เหมือนนำ�คนอื่นๆ อยู่อีกก้าวหนึ่ง” ในส่วนของข้อที่ต้องการจะปรับปรุงของ เด็ก ไอซีที ศิลปากร ในฐานะตลาดแรงงาน นิธิพัฒน์ตอบเราว่า ภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นแทบ ทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งในส่วนของ ไอ ซีที ศิลปากร ก็ด้วย แต่ในด้านอื่นๆ ทางไอซีที ศิลปากร ถือว่าดีกว่ามากทีเดียว สุภณวิชญ์ ทิ้งท้ายไว้ว่า ตอนนี้ในอาเซียน สิงคโปร์ นำ�เราอยู่ในตลาดแอนิเมชั่น เขามีแรงงาน เยอะกว่าเรา ประเทศเราแรงงานด้านนี้ก็มีผลิต เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ใช่ว่า จะมีคุณภาพดีพร้อมทุก มหาวิทยาลัย ที่ไอซีที ศิลปากร ถือว่าผลิตบัณฑิต ในด้านนี้ออกมาได้มีคุณภาพมากแห่งหนึ่งเลย
นิธิพัฒน์ สมสมาน สุภณวิชญ์ สมสมาน กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง The Monk Studio
35
บรรยงค์ สุวรรณผ่อง
บก.ที่ปรึกษา Econ News วารสารศาสตร์บนโลกของความเปลี่ยนแปลง
36
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศในปัจจุบัน ได้พลิกโฉมการสื่อสาร ของมนุษย์ วันนี้โทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ ทำ�ให้ ผู้คนมีอำ�นาจในการสร้างวาระข่าวสารด้วย ตัวเอง และเราได้รับข่าวสารอย่างรวดเร็ว ไม่ว่า จะอยู่ที่ใดในโลก ขอเพียงมีสัญญาณโทรศัพท์ มือถือ วิทยาการใหม่ๆเหล่านี้ ทำ�ให้นักศึกษา นิเทศศาสตร์ทุกสายงานต้องเรียนรู้เพื่อที่จะ ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมการสื่อสารของ มนุษย์ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (ไอซีที) สาขา นิเทศศาสตร์ ตั้งขึ้นเพื่อตอบโจทย์นี้
โปรแกรม Photoshop, Illustrator, InDesign, Premiere Pro และ Joomla ได้คล่องแคล่ว ที่ เราพูดถึงกันนี่คือเฉพาะเครื่องมือนะ ไม่รวม ถึงเนื้อหาอะไรต่างๆ ที่เราก็เรียนกันอยู่แล้ว จากคณาจารย์ประจำ�และอาจารย์พิเศษที่เป็น มืออาชีพข้างนอก” บก.อีคอนนิวส์ อธิบายถึง ลักษณะของนักศึกษาที่ตอบโจทย์ตลาดงานใน ยุคสมัยที่สื่อใหม่เข้ามามีอิทธิพลกับงานในสาย วิชาวารสารศาสตร์มากขึ้น บรรยงค์ มองว่า เมื่อทางคณะฯ มีทั้งขาที่ เป็นศิลปะ มีทั้งขาที่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ คนที่เรียนสาขาวารสารฯ ก็จะได้เปรียบคน อื่นอีกต่อหนึ่งในเรื่องข่าว เรื่องความเป็น วารสารศาสตร์ เพราะได้เรียนเรื่องการเขียน มากกว่าหนึ่งตัว ในขณะที่คนอื่นได้เรียนวิชา พื้นฐานการเขียนข่าวเพียงตัวเดียว แต่คนเรียน วารสารศาสตร์ได้เรียนเขียนข่าวขั้นสูง การ บรรยงค์ สุวรรณผ่อง บรรณาธิการที่ ปรึกษาอีคอนนิวส์ หนังสือพิมพ์ธุรกิจในรูปโฉม รายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน “พอมารวมกันทั้ง 3 ขา นักศึกษาเอกเรา E-newspaper ซึ่งให้บริการออนไลน์ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ได้มาเป็นกรรมการตรวจจุลนิพนธ์ ขายได้เลย” ของนักศึกษาไอซีทีศิลปากร สาขานิเทศศาสตร์ บก.อีคอนนิวส์ ยังได้แสดงความเห็นถึง สายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์มาแล้ว 2 รุ่น งานจุลนิพนธ์ของนักศึกษาในสองปีที่ผ่านมาว่า เพราะเป็นคณะที่เพิ่งเริ่มต้น ทำ�ให้อะไรต่างๆ มองถึงหลักสูตรนิเทศศาสตร์ของคณะฯ ว่า จุลนิพนธ์เป็นจุดเด่นมากๆ ที่ทำ�ให้บัณฑิตจาก ในช่วงเริ่มแรกยังมีปัญหาที่ติดขัดอยู่มาก แต่ นักศึกษาศิลปากรก็ยังมีจุดแข็งและความ คณะนี้ ลงสนามจริงแล้วทำ�งานได้อย่างทันที โดดเด่นในเรื่องงานออกแบบที่งดงาม และคล่องแคล่ว เพราะจุลนิพนธ์เป็นการนำ� องค์ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด ออกมาใช้ในการ “ที่นี่มีจุดแข็งที่สุดยอดในด้านของ แสดงผลงานชิ้นสุดท้ายก่อนจบการศึกษาตั้งแต่ ศิลปกรรมทางด้านออกแบบ แต่เรื่องทฤษฎี และเนื้อหายังมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็จะมีบางคน ขั้นการคิด การพัฒนาแนวคิดจนก่อรูปมาชิ้น ที่สนใจชอบ แล้วแนะนำ�หน่อยบอกซ้ายบอก งานที่สมบูรณ์ ขวาแล้วก็ไปได้” “บัณฑิตในอุดมคติของผมในวันนี้ควรใช้
บรรยงค์ กล่าวว่า ศิลปะของนิเทศศาสตร์ ไม่ใช่แค่ที่มองคุณค่าแค่ความสวยของงาน ศิลปะของนิเทศศาสตร์ต้องรู้ว่าผู้รับสารนั้น เป็นคนอย่างไร แล้วสร้างสาร พร้อมทั้งใช้ ศิลปะเข้ามาช่วยในการสื่อสาร นี่คือความต่าง ของนิเทศศาสตร์ แต่เมื่อนิเทศศาสตร์ไปกับ ศิลปากร ซึ่งไม่เคยมีคณะทางนี้มาก่อน ก็ต้อง หมุนความถี่เข้ามา นี่คือจุดที่เรากำ�ลังเดินไปให้ ถึง “ถ้าเข้าใจเรื่องการสื่อสารแล้ว พอมาบวก กับเรื่องศิลปะ นี่คือสิ่งที่เรามีและใครก็สู้ไม่ได้” เขายังถามกลับว่า มีใครบ้างไม่ชอบอะไร ที่มันสวยงามบ้างล่ะ? ใครไม่ชอบอะไรที่ดู ง่าย ดูรู้เรื่อง ดูเข้าใจ แต่แน่นอน เนื้อหา กับ นิเทศศาสตร์นั้น เป็นเรื่องที่สำ�คัญที่สุด “ผมคิดว่า 2 ปีที่ผ่านมาจากการตรวจ จุลนิพนธ์ของสาขาวารสารและหนังสือพิมพ์ มันมีพัฒนาการอย่างดี เพราะมันเข้มข้นมาก ที่สุดเท่าที่ผมเคยสัมผัสมา สิ่งต่างๆ เหล่า นี้ล้วนทำ�ให้นักศึกษาศิลปากรคุ้นชินกับ กระบวนการต่างๆ ในงานวิจัย และเป็นข้อได้ เปรียบ” บรรยงค์ ทิ้งท้ายว่า ผลพวงต่างๆ จาก จุลนิพนธ์กลายเป็นคุณูประการสำ�คัญอย่าง ยิ่งยวดที่จะทำ�ให้นักศึกษาศิลปากรสามารถ เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้อย่างสบาย รวมทั้งสอดรับกับวิชาชีพสื่อ ที่เปลี่ยนแปลงไป ทุกวัน...
37
วิชชพัชร์ โกจิ๋ว
ตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท Play Channel อนาคตอันใกล้ ไอซีที ศิลปากร “คณะในฝัน”
38
วิชชพัชร์ โกจิ๋ว ผู้กำ�กับมือทองจาก ภาพยนตร์เรื่องดัง ‘แฟนฉัน’ แห่งค่ายหนังยักษ์ ใหญ่ของประเทศไทยอย่าง GTH หรือที่รู้จักกัน ในนาม เดียว แฟนฉัน ปัจจุบันเขาดำ�รงตำ�แหน่งเป็นผู้บริหาร ของช่องแซทเทลไลท์ทีวี รูปแบบใหม่ “Play Channel” ในเครือของ GMM Grammy ซึ่ง เปลี่ยนภาพลักษณ์ของเขาไปไม่น้อยทีเดียว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เชิญเขามา สอนที่คณะแทบจะตั้งแต่แรกที่มีการเรียนการ สอนในเอกวิชาภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี ไม่น้อย ที่ได้ผู้กำ�กับมือทองคนนี้มาทำ�การสอน นักศึกษาโดยตรง ปัจจุบัน เขาสอนนักศึกษาของคณะไอซีที ศิลปากร ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาตัดต่อภาพยนตร์ และเขาก็ได้พูดถึง คณะไอซีที ศิลปากร ที่เขา กำ�ลังสอนอยู่ วิชชพัชร์ เล่าว่า เขาได้สอนที่นี่มาตั้งแต่ รุ่นแรกของเอกวิชาภาพยนตร์ โดยเริ่มจากการ มาแนะแนว ซึ่งโดยส่วนตัวเขามองว่าเด็กที่นี่ มี ทิศทางที่ดี แม้ว่าในรุ่นแรกๆ จะดูเหมือนว่า หลักสูตรจะยังไม่เข้าที่ แต่ทางผู้บริหารก็มีการ พยายามที่จะพัฒนาคณะ จนในปัจจุบัน ถือเป็นหลักสูตรภาพยนตร์ที่ค่อนข้างแข็งแรง มาก และนักศึกษาเองก็ดูมีความกระตือรือร้นที่ จะเข้าเรียน และมีศักยภาพ ทำ�ให้ทุกอย่างค่อน ข้างจะลงตัว “ถ้าให้เทียบๆกัน ผมว่าเด็กนิเทศที่อื่น อาจจะสู้เด็กที่นี่ไม่ได้ด้วยซ้ำ�นะ ผมว่าเด็กที่นี่ ค่อนข้างมีคุณภาพ” ในส่วนบรรยากาศของคณะ ผู้บริหาร Play Channel กล่าวว่า ตอนที่เห็นครั้งแรกโดยส่วน ตัวดูเหมือนจะอึดอัด แต่พออยู่ๆไปก็ทำ�ให้รู้ว่า บรรยากาศที่นี่ ทำ�ให้เด็กที่นี่อยู่รวมตัวกันอย่าง เหนียวแน่น จับกลุ่มทำ�กิจกรรมกัน และส่งผลที่ ดีต่องานที่ออกมา เพราะการที่อยู่เป็นคณะปิด
ทำ�ให้โฟกัสของนักศึกษามีมากขึ้นตามไปด้วย “นักศึกษาที่นี่มีทิศทางดี ผมว่ากิจกรรม มีส่วน ผมเห็นในสิ่งที่คณะพยายามจะทำ� ไม่ ว่าจะเป็น กิจกรรมละครเวที หรือว่าจะเป็น กิจกรรมฉายหนังสั้น อีกหน่อยอาจจะมีจัด ทริป หรืออะไรก็ตาม ของคณะ เพราะผมไม่ได้ เชื่อในเรื่องหลักสูตรอย่างเดียว ผมเชื่อในเรื่อง กิจกรรมด้วย ผมเชื่อว่า คณะที่มีกิจกรรมที่ดี นักศึกษาก็จะมีโอกาสพัฒนาทางความคิดได้ดี กว่า” มีนักศึกษาบางส่วนได้ไปฝึกงานกับ ผู้กำ�กับมือทองคนนี้ ซึ่งเขาได้มีความเห็นเกี่ยว กับศักยภาพการทำ�งานของนักศึกษาฝึกงาน จากคณะไอซีที ศิลปากรด้วย ว่า ค่อนข้าง ประทับใจกับนักศึกษาที่ไปฝึกงาน เพราะค่อน ข้างขยัน และมีทัศนคติที่ดี ในส่วนของจุลนิพนธ์ที่นี่ ‘อาจารย์เดียว’ บอกว่า จุลนิพนธ์ที่นี่ค่อนข้างเข้มข้น ตัวเขาเอง ก็มีการยิงคำ�ถามนักศึกษาเหมือนปฏิบัติงาน จริง จนบางครั้ง ถึงกับมีนักศึกษาร้องไห้ในห้อง ตรวจจุลนิพนธ์เลยทีเดียว และจุลนิพนธ์ก็เข้ม ข้นขึ้นทุกๆ ปี และยังหวังว่าจุลนิพนธ์ปีนี้จะ ออกมาดีกว่าปีก่อนๆ ภาพรวมของคณะไอซีที ศิลปากร ก็เป็น อีกเรื่องที่ผู้บริหาร Play Channel คนนี้พูดถึง เขาพูดว่า ภาพรวมคณะ เป็นสิ่งที่เขาค่อนข้าง พอใจมาก เนื่องจากท่านอาจารย์ที่นี่ พยายาม หาทางที่จะพัฒนาคณะ เพราะคำ�นึงถึงว่างาน ด้านนิเทศศาสตร์เป็นงานที่เปลี่ยนแปลงตลอด เวลา และหลักสูตรก็มีการประเมินผลตลอด เวลา จึงเชื่อว่าทั้งอาจารย์ และนักศึกษา ค่อน ข้างแฮปปี้เลยทีเดียว วิชชพัชร์กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมว่าคณะนี้มีทิศทางที่ดี ผมว่าในอนาคต อันใกล้วันหนึ่ง จะเป็นคณะในฝันของนักศึกษา นิเทศศาสตร์เลย เพราะผมเชื่อว่ามันมาถูกทาง แล้ว” 39
วารสารศาสตร์
ยังจำ�เป็นอยู่อีกหรือ?
อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร อดีตผู้สื่อข่าวการเมืองหนังสือพิมพ์มติชน
ปัจจุบันการเข้ามาของสื่อใหม่ (New Media) ทำ�ให้วารสารศาสตร์ต้องปรับตัวกัน ยกใหญ่ นักวิชาชีพก็ต้องหัดใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ นักวิชาการก็พยายามปรับหลักสูตรการเรียน การสอนให้ทนั ต่อความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ เพราะวันนี้ ไม่มีเส้นมาขีดคั่นระหว่างคน ทำ�ข่าวและคนอ่านข่าวให้แยกจากกันอีกต่อ ไป ทั้งสองฝ่ายต่างไหลเลื่อนกันไปมาไปพร้อม กันๆ อยู่ตลอดเวลา ใครๆ ก็ทำ�ข่าวได้ด้วยโทรศัพท์มือถือของ ตนเอง ขอเพียงแต่อยู่ถูกที่ถูกเวลาเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่ไม่ใช่นักข่าวได้ถ่ายทอด มุมมองต่อเหตุการณ์ได้อย่างแหลมคม ลึกซึ้ง และรวดเร็ว ซึ่งสามารถหาได้มากมายจากสื่อที่ ไม่ใช่สื่อหลักอย่างหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ด้วยซ้ำ� “เราจะอยู่กันอย่างไรต่อไป” “วารสารศาสตร์ยังจำ�เป็นอยู่อีกหรือ” 40
คนในวงการพูดกัน มีทั้งน้ำ�เสียงที่ท้าทาย และน้ำ�เสียงที่หวั่นไหว สำ�หรับผู้เขียนคิดว่า การทำ�ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเป็นเรื่อง สำ�คัญที่จะทำ�ให้เราเดินไปข้างหน้าได้อย่าง มั่นคง ถ้าเราไล่ดูในอดีต เวลาที่มีสื่อใหม่ๆ เข้า มา มันได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสังคมอย่าง พลิกโฉมไม่ต่างจากปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้ 1. ก่อนจะมีการพิมพ์ อำ�นาจในสังคมอยู่ ในมือของผู้ที่อ่านออกเขียนได้อย่างดี เพราะใช้ การคัดลอกด้วยลายมือ และมักใช้ภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาของศาสนจักรชนชั้นสูง ซึ่งต้อง เรียนเป็นภาษาที่ 2 สิ่งที่เขียนก็คือคัมภีร์ไบเบิ้ล ความรู้ทั้งหลายก็อ้างอิงจากไบเบิ้ล การคัด ลอกเอกสารทุกชนิดก็ต้องทำ�ด้วยตนเองเพื่อให้ แน่ใจว่า เอกสารทุกฉบับจะเหมือนกัน ศาสนจักรที่ผูกขาดเรื่องการผลิตความรู้
และการตีความความรู้จึงมีอำ�นาจ แต่เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในช่วงกลาง ศตวรรษที่ 15 ก็หมายความว่า มันผลิตหนังสือ ได้มากขึ้น การจะขยายตลาดก็ต้องปรับภาษา ให้เป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อให้คนทั่วไปสามารถ อ่านได้ การพิมพ์ตอนแรกๆ เป็นการพิมพ์ไบเบิ้ล อย่างไรก็ดี เมื่อคนทั่วไปหาอ่านได้ง่ายขึ้น การ คิดตีความโต้แย้งกับฝ่ายศาสนจักรก็มากขึ้น ในยุคนั้นยังเริ่มมีการพัฒนาวิธีการ ศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบอย่างเป็น วิทยาศาสตร์ การพิมพ์ก็ทำ�ให้มีการแพร่ กระจายความรู้ เพราะคนสามารถมีหนังสือ เป็นของตัวเองได้มากขึ้น ไม่ต้องไปนั่งคัดลอก นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็มีเพิ่มขึ้น ขยาย ความรู้ไปกว้างขวาง เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นมาใน สังคม และพัฒนาต่อยอดทางความรู้กันอย่าง รวดเร็ว อำ�นาจที่อยู่ในมือของสถาบันศาสนาก็ ลดถอยลงเรื่อยๆ
2. ต่อมาอีกราว 200 ปีให้หลัง (ศตวรรษที่ 17) มีการพิมพ์หนังสือพิมพ์ ซึ่งเสนอ เรื่องราวที่เกี่ยวกับสังคมผู้คน การเมือง สิ่งที่ เรียกว่า ข่าว ก็เกิดขึ้น คนก็รับรู้เรื่องราวของ สังคมตนเองและโลกภายนอกมากขึ้น และแน่นอนว่า ย่อมมีผลต่ออำ�นาจของ ผู้ปกครองที่มีอยู่เดิมที่ถูกท้าทาย เพราะ การอ่านไม่สามารถมีใครมาควบคุมการตีความ ได้ แต่ทำ�ให้คนอ่านครุ่นคิดเอง นอกจากนี้การที่คนเป็นเจ้าของหนังสือได้ มากขึ้น หลายประเภทขึ้น มันก็สนับสนุนการ อ่านอย่างเป็นส่วนตัว ซึ่งตรงนี้ก็ส่งเสริมสำ�นึก แบบปัจเจกบุคคล 3. หนังสือพิมพ์เป็นสื่อมวลชนชนิดแรกที่ รองรับกับสภาวะที่สังคมเปลี่ยนแปลง โดยเป็น พื้นที่ที่ไว้พูดแสดงความคิดเห็น เป็นช่องทางที่ จะได้รับข่าวสารข้อมูลที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต และการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ นักปรัชญาการเมืองที่พูดถึงความคิด ประชาธิปไตยก็เกิดขึ้นช่วงนั้น อย่างจอห์นล็อก ที่พูดถึงเรื่องสัญญาประชาคมว่า มนุษย์มาทำ� สัญญารวมตัวกันเป็นสังคม จึงยอมสละสิทธิ อำ�นาจบางส่วน ที่แต่ละคนได้มาโดยธรรมชาติ เท่าที่จำ�เป็นแก่การให้สังคมอันเป็นองค์กร ส่วนรวม มีสิทธิอำ�นาจช่วยดูแลปกปักรักษา สิทธิเหนือร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน รัฐบาลที่ ได้ทำ�สัญญากับสังคมก็อยู่ภายใต้ขอบเขตของ อำ�นาจที่สังคมให้ไปเท่านั้น หรือนั่นก็คือ เราเป็นเจ้าของอำ�นาจ อธิปไตย เป็นเจ้าของชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน มีสิทธิในการกำ�หนดวิถีชีวิตตนเองและร่วม กำ�หนดอนาคตของสังคมได้ ไม่ใช่จะปล่อยให้ อำ�นาจการกำ�หนดชะตากรรมอยู่ในมือใคร เพียงกลุ่มเล็กๆ ทุกคนแม้จะเกิดมาไม่เท่ากัน แต่ต้องได้รับสิทธิในการมีอำ�นาจต่อรองที่เท่า เทียมกับคนอื่นๆ ในการณ์นี้เราจึงต้องสามารถ รับรู้ข่าวสาร และสามารถส่งเสียง มีส่วนร่วม ตรวจสอบ กำ�กับตัวแทนของเรา ให้ดำ�เนินการ ให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น
วารสารศาสตร์ (แม้ขณะนั้นจะยังไม่ ได้มีการสถาปนาศาสตร์นี้ขึ้นอย่างเป็น ทางการ) อันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสนอ ข่าวและสถานการณ์ให้ผู้อ่านได้รับรู้อย่าง รวดเร็ว ถูกต้อง เที่ยงตรงเพื่อตอบสนอง ความอยากรู้ด้านข่าวสารของผู้อ่าน ปรัชญา ของมันจึงยึดโยงกับสิ่งที่อธิบายมาข้างต้น ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า มันเป็นสิ่งที่มาควบคู่กับ การเรียกร้องในการปกครองตนเองหรือ ประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือในการ พัฒนาประชาธิปไตยไปพร้อมกัน 4. เมื่อเราสามารถกำ�หนดชะตาชีวิต ของตนเองนั้น ก็จำ�เป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อการตัดสินใจ จึงต้องมีระบบการสื่อสาร เสรี (สิทธิเข้าถึง สิทธิในการรับรู้และสิทธิใน การใช้) ซึ่งสังคมก็ได้ให้หลักประกันเสรีภาพ ในการทำ�งานของสื่อ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนเอง หลักการสำ�คัญของสื่อคือ ต้องเป็นตลาด เสรีแห่งการแสดงความคิด (Free Market Place of Idea) ซึง่ สามารถเปิดโอกาสให้ทกุ คน ทุกรสนิยมเข้าถึงได้ และยอมรับความคิดที่ หลากหลายโดยความคิดเห็นที่แย้งกันนั้นจะ ต้องนำ�มาตีแผ่บนสื่อ และประกันให้ทุกกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องได้ใช้สื่อเป็นเวทีในการแสดงจุดยืน และทัศนะความเห็นให้ปรากฎแก่สาธารณะ และญัตติสาธารณะตรงนี้ก็จะมีพลังทางสังคม รองรับ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ไปกำ�กับ ตัวแทนที่เราเลือกเข้าไปใช้อำ�นาจแทนเรา หรือจะเรียกว่า ประชาชนมีอำ�นาจอีก ทางหนึ่งโดยใช้สื่อเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ ของตนเองนั่นเองก็ได้ ฉะนั้น ใครก็ไปปิดปาก ประชาชนไม่ได้ และไปปิดปากสื่อไม่ได้เช่นกัน เพราะเท่ากับไปปิดปากประชาชน มันจึงเป็นที่มาของคำ�ว่า เสรีภาพสื่อ คือ เสรีภาพของประชาชน (และเสรีภาพจึงเป็น ดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ ตามไปด้วย) อย่างไรก็ดี ในทางกลับกัน คนที่มีอำ�นาจ
อยู่แต่เดิมย่อมไม่พอใจเป็นธรรมดา จึง พยายามเข้าไปควบคุมสื่อมวลชนด้วยวิธีการ ต่างๆ การใช้กำ�ลัง การใช้กฎหมาย บีบโดย การเงิน เพราะมองเห็นว่า ช่องทางการสื่อสาร มวลชนมีพลังอำ�นาจในการรวมพลังสังคม 5. ต่อมายุคที่มีสื่อกระจายเสียงและภาพ เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ก็ทำ�ให้คนเข้าถึงได้ อย่างกว้างขวางมากขึ้นอีก เพราะไม่ต้องอ่าน ออกเขียนได้ก็สามารถทราบข้อมูลข่าวสารได้ นอกจากนี้ มันยังส่งสัญญาณได้เร็ว มองเห็น และได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน เสมือนตนเอง ได้เห็นเหตุการณ์จริงๆ แต่อีกด้านหนึ่งโทรทัศน์ก็เป็นส่วนที่ ส่งเสริมการกระจายและบริโภคสินค้าด้วย การโฆษณาต่างๆ และมีแบบแผนการกระจายที่มา จากส่วนกลาง จึงมีการควบคุมอย่างเข้มงวด จากผู้มีอำ�นาจ จากนั้นเมื่อสื่อมวลชนเข้าสู่การผลิตแบบ อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบภายใต้ทุนนิยมที่หล่อ เลี้ยงด้วยการลงทุนและกำ�ไร ความ หลากหลาย และสิทธิเสรีภาพจึงมีน้อยลง เพราะการผลิตแบบนี้มองคนเหมือนเป็น “ลูกค้า” มากกว่า “พลเมือง” มีการประหยัด การลงทุนด้วยการขยายกิจการข้ามสื่อ โทนของ เนื้อหาแบบเดียวกันก็จะใช้ไปในทุกช่องทาง ที่ตนเป็นเจ้าของ หรือเนื้อหาสำ�เร็จรูป เข้าใจ ง่ายๆ ในมุมมองแบบขาวกับดำ� นักบุญกับ ปีศาจ ทั้งที่สังคมมันซับซ้อน คนมันมีความ แตกต่างหลากหลาย แต่สุดท้ายอะไรยากๆ ก็ จะโดนคัดออกหมด เพราะคนทำ�ก็ต้องใช้เวลา ขณะที่สายพานการผลิตข่าวสารมันไวขึ้นทุกที 6. เมื่อสื่อในตัวของมันเองมีอำ�นาจทั้ง ทางการเมือง (ข้อมูลข่าวสาร กลไกการสร้าง อำ�นาจนำ�) และเศรษฐกิจ (ทำ�กำ�ไรทั้งตัวมันเอง และกับสินค้าอย่างอื่น) เช่นนี้แล้ว ทั้งรัฐและทุน ต่างก็ยึดกุมพื้นที่นี้อย่างมั่นคง ผลคือ ระบบการสื่อสารของสังคมมีปัญหา เพราะมันไม่มีพื้นที่รองรับคนทุกกลุ่ม ซึ่งเป็นมา ตั้งแต่ยุคหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์แล้ว 41
และคนที่จบมาด้านวารสารศาสตร์มาทำ� อาชีพนี้ก็ถูกตั้งคำ�ถามถึงการทำ�หน้าที่ตาม ปรัชญาแห่งวิชาชีพอยู่เสมอ คนทำ�สื่ออาจจะให้เหตุผลว่า มันมีปัจจัย อะไรจำ�กัดไปหมด ข่าวเจาะ ข่าวยากๆ คนไม่ อ่าน คนอ่านแต่เรื่องบันเทิง ผู้เขียนก็เห็นด้วย ว่ามันมีปัจจัยเยอะ แต่ผู้เขียนโต้แย้งว่า เราต้องพยายามมอง เหตุการณ์ให้เชื่อมโยงกับคนให้ได้ และทำ�ให้ เรื่องนั้นๆ เสมือนว่า มันพร้อมจะมา “เคาะ ประตูบ้านของคุณทุกคนได้ทุกเมื่อ” ซึ่งอันนี้ก็ คิดตามปรัชญาวารสารศาสตร์นั่นเอง เช่น บ้านเรามีข่าวเรื่องครูตีเด็กในหน้า หนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ อาจารย์ท่านหนึ่ง บอกว่า ลองเชือ่ มโยงกับแนวคิดการกระจาย อำ�นาจสิ เรามีสิทธิที่จะได้รับโอกาสในการ พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น เราก็ต้องสามารถมีส่วน ร่วมในการจัดหลักสูตรและกำ�หนดวิธีการเรียน การสอน การจะผลักดันได้คือการรวมกลุ่มเพื่อ ต่อรอง ถามว่า พวกสมาคมผู้ปกครอง นักเรียน ครูศิษย์เก่า บ้านเรามีไหม มันก็มี แต่ก็มีไว้เพื่อ ฝากเด็กเข้าโรงเรียนเพียงเท่านั้น แต่เรื่องอื่นๆ กฎหมายไม่ได้ให้อำ�นาจไว้ แล้วเราจะผลักดัน อย่างไร ก็ผลักดันผ่านสื่อ เพราะที่ต่างๆ ก็เจอ ปัญหานี้เหมือนกัน มันรวมเสียงของสังคมได้ หรืออย่างข่าวแก้รัฐธรรมนูญมีคนค้าน อยู่พอสมควร เพื่อนนักข่าวที่นับถือท่านหนึ่ง บอกว่า เมื่อกฎกติกาขั้นต่ำ�ที่สุดคือ การเลือก ตั้งที่ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากัน เพื่อให้ตัวแทน ของเรามีความชอบธรรมในการตัดสินใจใน เรื่องสาธารณะ แต่ปรากฏว่า กติกาที่มีอยู่ สามารถให้ใครก็ไม่รู้มาจัดการตัวแทนของคุณ ได้ (เท่ากับตัดอำ�นาจของคุณ) แล้วคุณจะไปมี อำ�นาจอะไรเหลืออีก เพราะตัวแทนย่อมไม่แคร์ คุณ แต่ไปแคร์คนที่ให้คุณให้โทษกับเขาได้ เราจึงต้องมีกติกาที่เป็นประชาธิปไตยก่อน สองเรื่องนี้ก็คิดจากฐานที่ว่า ประชาชน เป็นเจ้าของอำ�นาจ และสื่อเป็นเครื่องมือของ ประชาชนในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของ 42 42
ตัวเขาเอง เรื่องพวกนี้ หลักสูตรการสอนของ วารสารศาสตร์ก็มีวิชาของแขนงต่างๆ ให้ เรียน ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ ที่เป็นหลักการเบื้องต้นในการที่ จะเป็นหลักยึดในการมองประเด็นต่างๆ ในการ ทำ�ข่าว แต่ที่เราควรจะมาเน้นเป็นพิเศษคือ การ ทำ�ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงหลักคิดเหล่านั้นกับคนซึ่ง เป็นเจ้าของอำ�นาจให้ได้ นอกจากนี้ ต้องเน้นการฟังเสียงคนตัวเล็ก และมุ่งมั่นในความยุติธรรม รวมถึงการเน้นให้ เปิดกว้างให้แนวคิดใหม่ๆ แม้ว่าจะไม่ตรงกับ แนวทางที่อ้างว่าเป็นมาตรฐานก็ตาม อย่างไร ก็ดี ที่ผ่านมาเราเน้นตรงนี้หรือไม่ ท่านก็ลองดู ตอนขึ้นค่าแรง 300 บาท ก็แล้วกัน นักวิชาการ ก็ตำ�หนิว่า สื่อไม่ค่อยได้รายงานเสียงของฝ่าย แรงงาน แทนทีจ่ ะหางานศึกษาเกณฑ์คา่ ครองชีพ ขั้นต่ำ� ที่จะทำ�ให้แรงงานในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลมีชีวิตอย่างปกติสุขมาสนับสนุนการ ขึ้นค่าแรง พร้อมกับเปิดพื้นที่ถกเถียงถึงชุด นโยบายมาตรการที่รัฐสามารถช่วยให้สินค้า ไม่เพิ่มราคาขึ้นมากนักด้วยการเข้าไปช่วยกลไก การผลิตในส่วนอื่นๆ เช่น การลดภาษีนำ�เข้า เครื่องจักร การลดภาษีวัตถุดิบที่จะมาช่วย ผู้ประกอบการขนาดเล็ก คิดถึงบรรดาสิ่งที่ต้อง ทำ�ควบคู่ไปกับการขึ้นค่าแรง การแก้ปัญหาคน ภาคเกษตรที่ไหลเข้าสู่ภาคแรงงาน เป็นต้น แต่กลับยืนกรานในจุดที่ว่า สินค้าจะแพงขึ้น เพราะต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นเท่านั้น 7. อย่างไรก็ดี เมื่อเรายังเชื่อมโยงกันได้ไม่ ดีพอ ไม่มีพื้นที่ให้เขา อีกด้านหนึ่งก็มีการเกิด ขึ้นของแนวคิดและการดำ�เนินการที่ท้าทายสื่อ หลัก เช่น สื่อทางเลือก สื่อพลเมือง สื่อชุมชน สื่อสาธารณะ ฯลฯ ที่เฟื่องฟูในต่างประเทศ และประเทศไทย ผ่านช่องทางต่างๆ ที่เป็นสิ่ง พิมพ์ วิทยุเล็กๆ โทรทัศน์เล็กๆ เว็บไซต์ที่มี เนื้อหาเป็นทางเลือก เพราะคนรู้สึกว่า สื่อที่มีอยู่ไม่ตอบโจทย์ของตัวเขา มันสร้างญัตติ
สาธารณะของเขาขึ้นไม่ได้ เมื่อสร้างไม่ได้ มัน ก็เชื่อมโยงพลังของสังคมได้ไม่มากพอที่จะไป ผลักดันแก้ไขอะไรได้ กรณีสื่อทางเลือกนี้ อาจารย์นธิ ิ เอียวศรีวงศ์ (มติชนรายวัน 16 ส.ค. 2553 หน้า 6) เคยยก ตัวอย่างว่า สำ�นักข่าวอัลจาห์ซีราเป็นตัวอย่าง ที่ดีที่ประสบความสำ�เร็จในการสร้างสมดุลของ ข่าว จากที่เคยถูกครอบงำ�โดยสำ�นักข่าว ตะวันตกเพียงฝ่ายเดียว และความสำ�เร็จที่ สำ�คัญไม่แพ้กัน คือสามารถเชื่อมโยงกับสื่อ กระแสหลักได้ เพราะกลายเป็นแหล่งข่าวที่ สื่อกระแสหลักในหลายสังคมต้องรวมไว้ใน การรายงานข่าวของตนด้วย ส่วนในเมืองไทย เว็บไซต์ เช่น ประชาไท เป็นต้น ผู้เขียนคิดว่า การที่สื่อหลักต้องดึงเอาข่าว จากสื่อทางเลือกมารายงาน ก็ถือเป็นการสะกิด แรงๆ ถึงการทำ�หน้าที่ของสื่อหลักจากสังคม ด้วยว่า คุณไม่สามารถเพิกเฉยเรื่องราวหรือมุม มองอื่นๆ ที่ตนเองไม่เคยมอง (หรือมองแล้ว เห็นว่ามันขายไม่ได้ หรือมองแล้วไม่เห็นความ เชื่อมโยงกับคนทุกคน เห็นแต่เป็นเคสเล็กๆ เป็นกรณีๆ ไปเลยคิดว่าขายไม่ได้ ฯลฯ ได้อีก ต่อไป ถ้าคุณไม่ปรับตัว คนก็ไม่อ่านของคุณ 8. ปัจจุบันที่มีสื่อใหม่ที่หลอมรวมทุกสื่อ เข้ามาอย่างเต็มที่ซึ่งใครๆ ก็สามารถสื่อสารสู่ สาธารณะได้ และไม่มีใครควบคุมช่องทางการ สื่อสารอันใหม่นี้ได้ มันจึงยิ่ง “สั่นคลอน” สื่อมวลชนที่เป็นผู้รักษาช่องทางการสื่อสาร (Gatekeeper) ซึ่งถูกตั้งคำ�ถามมาตลอดในยุค หลังด้วย เพราะอำ�นาจของคุณจะลดลงฮวบฮาบ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ได้ เปลี่ยนวัฒนธรรมการสื่อสารของเราอย่าง สิ้นเชิงและส่งผลในเรื่องของข่าว ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงระบบการสื่อสารที่ สัมพันธ์กับโครงสร้างอำ�นาจ จากตารางดังกล่าว จะพบว่า
Ê×่Í´Ñ้§à´ÔÁ
- คนทำ�ข่าว ไม่ได้ผูกขาดการเป็น Gatekeeper อีกต่อไป ใครๆ ก็สามารถทำ�ข่าวได้ - เนื้อหาสาระ ที่ไม่มีใครผูกขาดการนิยาม ความเป็นจริงอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น เรา จะเห็นว่า ช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2553 ก็จะ มีชุดคำ�อธิบายในเหตุการณ์ชุมนุมหลากหลาย แบบ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ทีวีดาวเทียม เพื่อคัดง้างวาทกรรมจากสื่อหลักจำ�นวนมาก (ทั้งองค์กรสื่อหลักที่ใช้ช่องทางดั้งเดิมหรือใช้ ช่องทางใหม่) ที่ทั้งกีดกัน เยาะเย้ย ลดคุณค่า ความเป็นมนุษย์ของผู้ที่มีรสนิยมทางการเมือง ต่างจากตนเอง กระทั่งยอมให้มีการพราก
เสรีภาพในร่างกาย ชีวิต การแสดงความคิดเห็น ของคน โดยไม่มีการตั้งคำ�ถาม หรือเจาะลึก ตรงนี้สื่อหลักก็ถูกวิจารณ์มากว่า ไม่ได้ตั้งอยู่บน หลักของการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน - ช่องทางสื่อ มีการควบคุมจากรัฐทำ�ได้ ยาก มันมีเคเบิลทีวีเป็นร้อยเจ้า ทีวีดาวเทียม เว็บไซต์เป็นแสน - ผู้อ่านเปลี่ยนโฉม กล่าวคือ เมือ่ ไวยากรณ์ ของสื่อใหม่มีลักษณะผสมผสานเชื่อมโยงตัว อักษร ภาพ เสียง การไม่มลี �ำ ดับขัน้ แตกต่าง จากสื่อดั้งเดิม ก็สร้างผลกระทบให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงกับประสบการณ์ของมนุษย์
เพราะคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไม่ว่า รูปแบบใด (Multi platforms) ตามแต่ที่ตนเอง เลือก มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) มีลักษณะ เชิงรุก (Active) มีการคลิกลิงก์ไปยังข้อความ ต่างๆ (Hypertext) ย้ายข้ามตัวบทไปเรื่อยๆ พฤติกรรมการอ่านจะกวาดสายตาหาข้อมูลที่ น่าสนใจมากกว่าที่จะอ่านอย่างละเอียด และ มักไม่อ่านข่าวใดข่าวหนึ่งอย่างลงลึกมาก เท่ากับข่าวจากสื่อหนังสือพิมพ์นอกจากจะ สนใจประเด็นข่าวนั้นจริงๆ (Segmentation หรือ ดูเฉพาะความสนใจเป็นพิเศษของเขาเอง) เรียกว่า ผู้เขียนไม่สามารถกำ�หนดว่า 43 43
คนอ่านจะต้องอ่านอย่างไร อ่านอะไร และ คิดอย่างไร (อันเป็นคนละเรื่องกันเลยกับกลุ่ม ทฤษฎีพวกการกำ�หนดวาระข่าวสารของสถาบัน สื่อมวลชน) จากที่กล่าวมาทั้งหมด ผู้เขียนคิดว่า สื่อหลักโดนท้าทายมาตั้งนานแล้วตั้งแต่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ มาจนถึงยุคสื่อ ใหม่ มันเป็นเรื่องดีที่ว่า สื่อทางเลือกทั้งหลาย จะเชื่อมต่อกับสื่อหลักที่มีอยู่ หรือถ้าจะพูด ในแบบเทคโนโลยี สื่อใหม่ มันก็สร้างบทบาท การมีส่วนร่วมจากคนมากขึ้น ทำ�ให้มุมมอง แหลมคมขึ้น แต่ในทางกลับกัน ความสำ�เร็จของสื่อ ทางเลือกและการมีส่วนร่วมของคนทั่วๆ ไป ด้วยสื่อใหม่ มันก็ตอกย้ำ�ถึงความไม่สำ�เร็จ ของสื่อที่มีอยู่แต่เดิมนั่นเอง สื่อทางเลือกที่ขึ้นมาอยู่บนเว็บไซต์ หรือ คนธรรมดาๆ ที่ผลิตเนื้อหาที่ต่างจากกระแส หลักและเผยแพร่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เขาไม่ได้เดือดร้อน แต่เขาชอบเสียด้วยซ้ำ� เพราะสามารถทำ�ให้เขาส่งเนื้อหาออกไปอย่าง กว้างขวางมากขึ้น การที่ใครๆ ก็พูดได้ ไม่ต้องแคร์สื่อ มีช่อง ทางมีกลุ่มของตนเอง มันสะท้อนว่า ที่ผ่านมา สื่อไม่ค่อยจะแคร์เขาเท่าไหร่ และตรงนี้ก็ย้อนกลับไปถึงการทำ�งานภาย ใต้ปรัชญาแห่งวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์เอง ผู้เขียนมองว่า การจะอยู่ได้นั้น นักวารสารศาสตร์ต้องยึดมันไว้ให้แน่น เปรียบ 44 44
เทียบกับการเรียนกฎหมาย ทำ�ไมถึงต้องเรียน เรื่องรัฐธรรมนูญอย่างเข้มข้น ทำ�ไมถึงต้องพูด ถึงเรื่องสัญญาประชาคม เพราะมันเป็นแก่น ที่จะต้องยึดให้มั่นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของ มนุษย์ เช่นเดียวกัน แก่นทางวารสารศาสตร์ก็เพื่อ เป็นเครื่องมือและวิธีการในการปกป้องเสรีภาพ และสิทธิของมนุษย์ แน่นอนว่า เมื่อมีสื่อใหม่ คนทำ�สื่อใน ยุคปัจจุบันต้องเรียนรู้วิธีการสื่อแบบใหม่ ด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ต้องยึดหลักการทาง วารสารศาสตร์อยู่ดี เพราะบางครั้งพลเมือง ก็ไม่มีเวลา ไม่มีทักษะ แต่นักวิชาชีพถูกฝึก มาให้มีทักษะที่จะเข้าไปช่วยประชาชนใช้ เครื่องมือช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ นี้อย่างมี ประสิทธิภาพ และการตรวจสอบว่า ข้อมูลทั้ง หลายนั้นเที่ยงตรงหรือไม่ เพื่อให้คนสามารถ รู้ทันมัน วารสารศาสตร์ต้องช่วยเป็นอาวุธให้ สาธารณะ ให้พลเมืองกระตือรือร้นมากขึ้น สุดท้าย ผู้เขียนคิดว่า การทำ�งานข่าวที่ เจาะลึกและเชื่อมโยงกับคนให้ได้ และสร้าง พื้นที่สื่อให้เป็นเวทีเสรีแห่งความคิดเห็น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะ สื่อสารผ่านช่องทางใดก็ตาม จะเป็นเส้นทางที่ ทำ�ให้เราเดินไปได้อย่างมั่นคง ในยุคการเปลี่ยน ผ่านที่พลิกโฉมวัฒนธรรมของมนุษย์ในครั้งนี้
Arte di communicazione{
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช
อาจารย์นฤชร สังขจันทร์
48
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิญญา อิงอาจ
อาจารย์นิสาชล รัตนสาชล
อาจารย์ชาญชัย อรรคผาติ
อาจารย์ศาสวัต บุญศรี
อาจารย์รักชนก สุขะกาลนันท์
อาจารย์สังกมา สารวัตร
อาจารย์ฐิติยา พจนาพิทักษ์
อาจารย์สุนันทา พรายมี อาจารย์ภัทรศรียรรยงค์ สังข์รุ่ง
อาจารย์สมศักดิ์ ชาติน้ำ�เพชร
อาจารย์วรฐ กายูรวัฒน์
อาจารย์ถิรจิต แสนพล
ประนอม ทิพย์กระโทก
อาจารย์ภัทราพันธ์ หรุ่นรักวิทย์
อาจารย์พรพรรณ เชยจิตร
54
อาจารย์ณฐวร ตันเจริญ อาจารย์พรยศ มณีโชติปิติ
อาจารย์ยุวบูรณ์ ธำ�รงสมบัติสกุล
อาจารย์ณัฐพร กาญจนภูมิ
ยุวดี มนทิรมาโนชญ์
ชลทิชา ทองศิริ
อภิชัย ศิริสวัสดิ์
อาจารย์ณัฐสรวงพร ทองเนื้อนวล
อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์
58
อาจารย์ธนวันต์ ไทวัชญานุวัฒน์
อาจารย์อรวรรณ ประพฤติดี
อาจารย์โกวิท มีบุญ
สิทธิชัย คำ�คง
60
“วาดเขียนปั้นเรานั้นให้ความใส่ใจ ทั้งกราฟิกมากมายพวกเราไม่ท้อไม่หวั่น”
61 สิ่งหนึ่งที่ชาวไอซีที ศิลปากร ภาคภูมิใจ นอกจากความสามารถทางด้านเทคโนโลยีแล้ว เรายังมีศักยภาพทางด้านศิลปะที่ได้รับการถ่ายทอด วิชาตั้งแต่การออกแบบขั้นพื้นฐาน ซึ่งนักศึกษาของคณะไอซีทีทุกสาขาต้องเรียนรู้ แม้ช่วงแรก งานออกแบบจะยากสำ�หรับคนที่ไม่มี พื้นฐานมาก่อน แต่การทดลองปฏิบัติอย่างเข้มข้น ก็ทำ�ให้เรามีผลงานอันน่าภาคภูมิใจ ที่พอจะส่งต่อ แรงบันดาลใจ สู่รุ่นต่อรุ่นต่อๆ ไป
62
ได้รับรางวัลจากการันตีคุณภาพผลงานจากหลายสถาบัน อาทิ เช่น TBS Digicon6 Thailand 2010, Degree Shows 2010, SIPA Animation Contest 2010 และรางวัลอื่นๆ รวมทั้งสิ้นถึง 6 รางวัล
ชื่อผลงาน เส้นใยที่ถูกลืม (Online) สิบปนนท์ รอดคำ�ทุย ID 13490073
ผลงานการออกแบบ และสร้างเกม Himmahpan Chains of Literature ได้รับรางวัลชนะเลิศ SIPA Game Contest and Award 2010 จัดโดย สำ�นักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟ์ทแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) : SIPA
ติณณภพ สรพรหม ID 13500169 ชานนท์ พรหมแก้ว ID 13500157
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
พิชญะ ชูเทียร ID 13500206 สุภชัย ชูสิทธิ์ ID 13500256
ผลงานการออกแบบ และจัดทำ�เว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ ในหัวข้อ “ล้นเกล้าฯ...แผ่นดินไทย” พิสิฐพงษ์ สืบพิลา ID 13500212
ชื่อผลงาน ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “In my mine” ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ของสมาคมธุรกิจถ่ายภาพ ณัฏฐ์ เผือกโสมณ ID 13520318 รัชชานนท์ วัฒนบูรณ์ ID 13520437 นิธิพล มหัทธนะพงศธร ID 13520371 วรรณวนัช พุทธรักษา ID 13520450 กนกพรรณ เหล็งขยัน ID 13520257
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 63
ชื่อผลงาน Freedom of Being ได้รับรางวัล Popular Vote การประกวดออกแบบปกสมุด ZEQUENZ “ชีวิตมีดีไซน์ ออกแบบได้ 360 องศา” สุพิชญา ดุษฎีวงษ์กำ�จร ID 13520506
ชื่อผลงาน เปลี่ยนใจคนด้วยผลงาน รางวัล B.A.D. AWARDS 2010 ทรงวุฒิ รัฐกิจวิจารณ์ ณ นคร ID 13500304
ชื่อผลงาน ภาพยนตร์โฆษณาในโครงการ ประกวดธรรมโฆษณา หัวข้อ “ยิ้มของลูก คือ รอยยิ้มของพ่อ” (Share Smiles For His Magesty) ตรัย ภูอภิรมย์ ID 13520337 ทรงวุฒิ มาโนชญังกูร ID 13520338 พลวัต คัณฑานันท์ ID 13520402 กริชศิวา เชยชม ID 13520264 ชินวัฒน์ ธนติพุกนนท์ ID 13520311 ชนะเลิศระดับอุดมศึกษา งานธรรมโฆษณาตาราอวอร์ด โดยเสถียรธรรมสถานและ สสส.
ชื่อผลงาน ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Night Blind ทาง-ไหน รางวัลขุนวิจิตรมาตรา เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 15 ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต ID 13510319
64
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ชื่อผลงาน รายการโทรทัศน์ – รู้จริงป่ะ อภิสิทธิ์ แผ่เกียรติวงศ์ ID 13530605 ปูชิตา เย็นทรวง ID 13530460 รามิล แจ้งเกษม ID 13530526 พัสกร พรจรูญ ID 13530487 รางวัลชนะเลิศ โครงการประกวดการผลิตรายการโทรทัศน์ระดับอุดมศึกษา ในรูปแบบสื่อสาธารณะครั้งที่2 ในหัวข้อ แฉ+ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ชื่อผลงาน โปรแกรมบันทึกข้อมูลเสื้อผ้าส่วนบุคคลบนโทรศัพท์ไอโฟน ชัทชาคร ตั้งสินมั่นคง ID 13500155 ชื่อผลงาน delight in DELICIOUS รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 Canon U Challenge ภัทริศ ภิญโญพิพัฒน์ ID 13510420
ชื่อผลงาน โปรแกรมค้นหาตำ�แหน่งและสร้างจุดนัดพบบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย ในระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ ณัฐนันท์ รัตนคุณาวงศ์ ID 13510163
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 65
ชื่อผลงาน จ่าเฉย…ไม่เฉย เรื่องราวสะท้อนสังคม ชีวิตของคนในเมืองคนในสังคมเมือง ภาพยนต์สั้นVFX เรื่องนี้ อยากให้หลายๆคนคิดถึง จ่าเฉย ของเมืองไทยอีกครั้งถึงแม้ว่าวันนี้เราอาจ จะเห็นจ่าเขายืนยิ้ม บริเวณสี่แยกน้อยลงไปมากแล้ว แต่ก็หวังว่าคนไทยอีกหลายๆคน คงจะยังจำ�จ่า ที่ยืนยิ้มเป็นมิตรกับประชนชน และทำ�งานหนักตลอดเวลา ไม่ลืมเลือนไปโดยไร้ค่า และไร้ประโยชน์ เมธา สมบูรณ์พันธ์ ID 13500225
ชื่อผลงาน ทศวรรษมืด เรื่องราวสะท้อนสังคมของคนในสังคมเมืองที่คอยทำ�ลายสภาพแวดล้อม โดยการทิ้งขยะลงพื้น นำ�เทคโนโลยีมาใช้ประกอบอุตสาหรรม หรือใช้เพื่อความบันเทิง และ ตอบสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ได้สนใจว่าสิ่งที่ทำ�นั้นส่งผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อม ในสังคมปัจจุบันอย่างไร ณัฐพรรษ นรเศรษฐกมล ID 13510164
ชื่อผลงาน SEED เนื้อเรื่องนำ�เสนอเกี่ยวกับปัญหาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการนำ�เอาการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์พืชมาใช้ในการนำ�เสนอ เป็นสื่อแทน การเติบโตของชีวิตที่กำ�ลังเกิด และมีวิวัฒนาการไปตามธรรมชาติ แต่เมื่อโตมา แทนที่จะผลิดอกบานสะพรั่งสวยงาม สมบูรณ์แบบ แต่กลับต้องประสบกับโรคร้าย ด้วยมลพิษจากอุตสาหกรรม ศิวพงษ์ มงคลเปี่ยม ID 13510244
ชื่อผลงาน TiNY เนื้อเรื่องนำ�เสนอเกี่ยวกับปัญหาธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษความสุขเดียวที่เหลืออยู่ให้กับของ บรรดาเด็กๆ ก็คือการได้เข้าชมสวนสัตว์ขนาดจิ๋วซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียว และแห่งสุดท้ายในเมืองที่ยังคงมี ธรรมชาติสีเขียวหลงเหลืออยู่ ภัทร ถิรมงคล ID 13510216
ชื่อผลงาน Blue Seed Red Planet เรื่องราวสะท้อนถึงปัญหาของความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งอำ�นวยความสะดวก ให้กับมนุษย์ ทำ�ให้เกิดปัญหาการทำ�ลาย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องมาร่วมกันต่อสู้เพื่อโลกของเรา ศภัททชาติ ศรรค์โชติ ID 1348157
66
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ชื่อผลงาน สะพ้าน เนื้อเรื่องนำ�เสนอเกี่ยวกับปัญหาการฆ่าช้างเพื่อเอางาไปขาย โดยมีตัวละครนำ�เป็นนายพรานชื่อ สะพ้าน มีอาชีพการรับจ้างฆ่าช้างเอางาไปขายให้ กับเศรษฐี วันหนึ่งเขาและเพื่อนได้เผลอไปฆ่าช้างที่เคยมีบุญคุณกับเขา แล้วสะพ้าน จะทำ�เช่นไร... เอรีกา ลี ID 13510273
ชื่อผลงาน ประเทศไทยที่รัก ผลงานกราฟิกเคลื่อนไหวชิ้นนี้ จะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความ จริง เป็นการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ ผ่านแง่มุมต่างๆ ทั้งในอดีต และในสถานการณ์ ปัจจุบัน ปัญหาที่หลายคนกำ�ลังมองข้าม และกำ�ลังถูกละเลย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบางคนคิด ว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือยังไม่เกิดขึ้น ผมหวังว่าปัญหาที่ถูกนำ�เสนอผ่านงานชิ้นนี้ จะถูกแก้ไข หรือได้รับการดูแลจากทุกฝ่ายโดยเร็ว เพื่อดำ�รงไว้ซื้งประเทศไทย อันเป็นที่รักของทุกคน ดำ�รงเกียรติ แก่นใจเด็ด ID 13500167
ชื่อผลงาน อัศวินขี่ม้า เรื่องราวของเด็กที่ชอบเล่นเป็นฮีโร่และชอบวิ่งไล่ ต่อสู้เหมือนเด็กผู้ชายทั่วไป แล้ววันหนึ่งในขณะที่เขาเล่นต่อสู้อยู่ ได้เกิด เหตุการณืที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ใครจะคิดว่าการเล่นต่อสู้เป็นฮีโร่ของเด็ก คนนั้นกลับสามารถช่วยจับผู้ร้ายวิ่งราวกระเป๋าได้ ภานุพันธ์ จึงตระการ ID 13500218
ชื่อผลงาน Times เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนบ้างานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงาน โดย ไม่เคยสนใจคนรอบข้างและสิ่งที่อยู่รอบตัว วันหนึ่ง ขณะที่เขากำ�ลังเดินทางไปยัง สถานีรถไฟเพื่อที่จะกลับบ้าน แต่วันนี้ดูแปลกไปสถานีรถไฟไม่มีคน อีกทั้งนาฬิกาก็ หยุดเดิน ทุกอย่างเหมือนถูกหยุดนิ่งไว้หมด เขาตัดสินใจก้าวเท้าเข้าไปในขบวนรถที่ เงียบเชียบ รถไฟขบวนนี้ได้นำ�เขาไปพบกับ ความทรงจำ�ที่สวยงามในอดีต และทำ�ให้ เขาได้นึกถึงคนคนหนึ่งที่อยู่เคียงข้างเขามาตลอด ปิฎก หมู่หมื่นศรี ID 13510204
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 67
ชื่อผลงาน The Little Pilot เรื่องราวเกี่ยวกับการใช้สิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ยิ่งถ้าหากเราใส่ จินตนาการเข้าไปด้วย คุณจะได้ของเล่นที่ไม่เหมือนใครเลย ผลงานแอนิเมชัน 3 มิติ นำ�เรื่องโดยเด็กชายคนหนึ่งที่มีความฝันว่าจะเป็นนักบิน เค้าสามารถนำ� สิ่งของเหลือใช้มาประกอบเป็นเครื่องบิน พร้อมใช้จินตนาการควบคู่ไปด้วย ทำ�ให้ ของเล่นที่ประกอบขึ้นสนุกมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า พรหมสร ศรีปลั่ง ID 13510213
ชื่อผลงาน หมากพร้าว เรื่องราวเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ภาพยนตร์แอนิเมชัน มิติเรื่องนี้ที่แสดงให้เห็น ถึงความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีของสัตว์เลี้ยงที่มีต่อคนเลี้ยง โดยไม่ต้องการสิ่ง ตอบแทน ไม่ว่าคนเลี้ยงจะโหดร้าย รวย จน เป็นเด็ก หรือเป็นผู้ใหญ่ พวกมันไม่ เลือกที่จะแสดงความรัก เพื่อให้คนดูได้สะท้อนเห็นตัวเองถึงการปฏิบัติต่อผู้อื่น ไม่ใช่แค่กับสัตว์เลี้ยง แต่หมายถึง ต่อเจ้านาย ต่อลูกน้อง ต่อเพื่อน และต่อสังคม ซึ่งต้องการเหลือเกินกับความรู้สึกนี้ “การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” สริดา เผ่าอรุณ ID 13500250
ชื่อผลงาน สื่อปฎิสัมพันธ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กมลชนก หาญประสพ 13500002
68
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ชื่อผลงาน คืนที่โหดร้าย แนวคิด ความแค้นในจิตใจที่จ้องจะล้างแค้น จะครอบงำ�ความคิด ครอบงำ�สมองให้หมกมุ่นอยู่กับการชำ�ระล้างความแค้นนั้น และ แต่ละวันแต่ละคืนก็จะไม่มีวันพบความสงบและความสุขได้เลย เทคนิค ดินสอ EE บนกระดาษขาว นางสาวชลธิชา มาศชาย ID 13540138 วิชา Drawing II
ชื่อผลงาน เปลือกโมหะ แนวคิด แสดงถึงความโลภหลงที่อยู่รอบตัว จิตที่นิ่งและเป็นหนึ่ง จะสยบความวุ่นวาย การปรุงแต่งที่ทำ�ให้เกิดความหลง เทคนิค ดินสอดำ�บนกระดาษขาว และสีอะคริลิค นายวีร์สิริ จรัสสิริวดี ID 13540241 วิชา Drawing II
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 69
ชื่อผลงาน คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว แนวคิด แสดงถึงจินตนาการของมนุษย์ เมื่อเกิดอารมณ์เหงา ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว มีแต่ความเศร้า เทคนิค ดินสอดำ�บนกระดาษขาว นายปัญจวัตร์ ก๊กมาศ ID 13540193 วิชา Drawing II
70
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ชื่อผลงาน Monochrome เทคนิค ใช้สีน้ำ� DOT บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวปรางค์วลัย ยิ่งยงเมธี ID 13480191 วิชา VISUAL ART I
ชื่อผลงาน Contrast color เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวณัฐนิชาช์ ลิ้มสุขนิรันดร์ ID 13480235 วิชา VISUAL ART I
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 71
ชื่อผลงาน สีรุกราน เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นายปวิตร พูลสวัสดิ์ ID 13480193 วิชา VISUAL ART I
72
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ชื่อผลงาน Monochrome เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวนิรชา ชินะรัตนกุล ID 13480182 วิชา VISUAL ART I
ชื่อผลงาน สรุปหุ่นนิ่ง เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวปรางค์วลัย ยิ่งยงเมธี ID 13480191 วิชา VISUAL ART I
ชื่อผลงาน Portrait เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวศุภัจจารีย์ คำ�นวน ID 13480112 วิชา VISUAL ART I ชื่อผลงาน Landscap ในมหาวิทยาลัย เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวณัฐนิชาช์ ลิ้มสุขนิรันดร์ ID 13480235 วิชา VISUAL ART I
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 73
ชื่อผลงาน Dot เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นายปวิตร พูลสวัสดิ์ ID 13480193 วิชา VISUAL ART I
ชื่อผลงาน Dot เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวนิรชา ชินะรัตนกุล ID 13480182 วิชา VISUAL ART I
74
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ชื่อผลงาน Wonderland เทคนิค ใช้สีน้ำ� DOT บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวปรางค์วลัย ยิ่งยงเมธี ID 13480191 วิชา VISUAL ART I ชื่อผลงาน Wonderland เทคนิค ใช้สีน้ำ� DOT บนกระดาษ 100 ปอนด์ นางสาวปรางค์วลัย ยิ่งยงเมธี ID 13480191 วิชา VISUAL ART I
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 75
“พี่น้องร่วมใจ รักใคร่เราสามัคคี อยู่กันมาหลายปีพวกเราไม่เคยทิ้งกัน”
วสันต์ ปาริสุทธิกมล ปิ่นทิพย์ ถาวรวัฒน์สกุล
ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร รุ่น 5 (สาขานิเทศศาสตร์ เอกโฆษณา รุ่นแรก) สานต่อความภูมิใจ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
ล่าสุดผมได้มีโอกาสจัดงานงานหนึ่ง ภายในงาน ก็จะมีเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับการถ่ายภาพ ซึ่ง เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ก็จะไม่ค่อยเข้าใจ แต่เราก็ จะพอรู้ในส่วนพื้นฐานมาบ้าง เพราะที่คณะฯ เทรนด์ความรอบรู้ด้านสื่อแขนงอื่นๆ ด้วย “ผมกะว่า จะมีปิดเทอมสุดท้ายในชีวิตสัก เมื่อมองย้อนดูเส้นทางชีวิตของตนเอง เดือนนึง แต่นี่ยังเรียนไม่ทันจบเขาก็โทรมาตาม วสันต์ บอกว่า คิดถูกที่ตัดสินใจเรียนที่ ไอซีที ไปทำ�งานแล้ว” ศิลปากร เพราะทำ�ให้ได้ทั้ง 3 ขา มาเป็นส่วน วสันต์ ปาริสุทธิกมล ศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ ผสม นั่นคือ ไอที ดีไซน์ และการคิดเนื้อหาของ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขา ชิ้นงาน นิเทศศาสตร์ เอกโฆษณา มหาวิทยาลัยศิลปากร “ผมเลือกที่นี่เพราะผมรู้สึกว่า ถึงแม้จะ เล่าเป็นคนแรก เรียนเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์ แต่ว่ามีคำ�ว่าไอซีทีอยู่ ปัจจุบันเขาทำ�งานที่บริษัท เอวี โปรเจคส์ ฉะนั้นคณะนี้ต้องแตกต่างจากนิเทศศาสตร์ทั่วไป 1 ใน บริษัท อีเว้นท์ ออแกไนเซอร์รายใหญ่ ที่ผมเคยรู้จักแน่นอน ซึ่งพอเข้ามาสัมผัสจริงๆ ของเมืองไทย ซึ่งเป็นบริษัทที่เขาได้ไปฝึกงานและ ก็เป็นอย่างที่เราคิด ได้เรียนทั้งคอมพิวเตอร์ เรียกตัวเขาให้ไปทำ�งานในเวลาต่อมา กราฟิก ได้ฝึกปฏิบัติจริง ไม่ใช่เรียนแต่ทฤษฎี ถือเป็น 1 ในหลายสิบรายของเด็กไอซีที อาจารย์ผู้สอนก็เป็นมืออาชีพ” นิเทศศาสตร์ ศิลปากร ที่ถูกจองตัวตั้งแต่ยังเรียน เขาสรุปว่า การเรียนการสอนของคณะฯที่ ไม่จบ ยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการทำ�งาน มาสวม “ผมคิดว่า สิ่งที่ผมแตกต่างจากเด็กฝึกงาน กับหลักการ เวลาเจอของจริงเราก็จะเข้าใจ และ คนอื่นๆ คือ การมีความสามารถหลายด้าน เห็นทางที่จะต่อยอด ซึ่งถึงแม้งานที่ผมทำ�อาจ เบื้องต้นถ้าเราเข้าไปฝึกงานแล้วทำ�งานได้หลากหลาย ไม่ตรงสายโฆษณาโดยตรง แต่มันก็ทำ�ให้เราเห็น รอบรู้ พี่ๆ ในออฟฟิซเขาก็พอใจ เราอาจจะไม่ ภาพรวมของการทำ�งานได้ดีขึ้น ต้องเก่งที่สุด แต่ต้องรู้ให้ครอบคลุมกับสายงาน ส่วนอีกหนึ่งสาว ดีกรีเกียรตินิยมอันดับสอง ก่อน แล้วเราค่อยศึกษาดูอีกทีว่าด้านไหนที่เรา ปิ่นทิพย์ ถาวรวัฒน์สกุล เพื่อนร่วมรุ่น และร่วม ถนัดที่สุด ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทางคณะฯ ฝึกฝนเรา สาขาของวสันต์ เป็นอีกหนึ่งคนที่พูดเหมือนกัน มาจากชิ้นงานต่างๆที่ต้องทำ�เป็นทีมส่งอาจารย์” ว่า ตัดสินใจไม่ผิดที่เรียนที่นี่ วสันต์ ยังบอกว่า เรื่องความรอบรู้ในงาน เธอบอกว่า แม้เป็นคณะใหม่ หลายคนอาจ นิเทศศาสตร์หลายๆ สาขา ก็ยังช่วยเราได้ เช่น กังวลว่า อะไรๆ อาจจะยังไม่ลงตัว แต่ในอีกมุม
76
หนึง่ ก็มแี ง่บวก คือ การบุกเบิกให้รนุ่ ถัดๆ มา และการบุกเบิกอันนี้ ก็เป็นปัจจัยสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ปิ่นทิพย์ ได้ทำ�งานที่เธอรักในปัจจุบัน ซึ่งเธอรับตำ�แหน่งแอคเคาท์ เอ็กเซกคิวทีฟ ที่บริษัท Wunderman Thailand ซึ่งเกี่ยวกับ Digital Advertising Agency “งานที่ดิฉันทำ�ต้องมีความเข้าใจในเรื่อง งานออกแบบ ทั้งออฟไลน์ และ ออนไลน์ ซึ่ง ความรู้ที่ได้จากไอซีทีถือว่า มีส่วนช่วยในการ ทำ�งานมาก เพราะเราวาดรูปได้ เราคิดงาน ได้ เราเข้าใจงานออกแบบ เรารู้เรื่องดิจิตอล และออฟไลน์ ได้ดีกว่านิเทศศาสตร์ที่อื่นๆ เนื่องจากพื้นฐานของเรามาจากความรู้ด้าน นิเทศศาสตร์รวมกับศิลปะ และยังมีไอที เพิ่มเติมเข้ามา” เธอบอกว่า สิ่งที่ได้รับจากหลักสูตรของ คณะ เข้ากับโลกยุคปัจจุบันที่การสื่อสารเป็น แกนหลักของสังคมมาก เรียกว่า เรามีอนาคตที่ ดีรออยู่ ทั้งนี้ ทั้งคู่ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ทางคณะฯ ได้ทำ�ให้พวกเขาได้เดินตามความฝันที่วาง เอาไว้ ซึ่งเขามั่นใจว่า รุ่นน้องๆ จะมาสานต่อ ด้วยความภาคภูมิใจว่า พวกเราคือ คณะไอซีที นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
77
ณัฐกฤษณ์ จอมเกตุ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มิตรแท้-ชุมพรยานยนต์ จำ�กัด ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร รุ่น 5 (สาขานิเทศศาสตร์ เอกลูกค้าสัมพันธ์ รุ่นแรก)
“ถ้าตอนนัน้ ผมไปเรียนทีอ่ น่ื ก็ไม่รวู้ า่ วันนี้ ผมจะมีโอกาสที่ดีเท่ากับการที่ได้เรียนจบจาก ที่นี่หรือไม่” ณัฐกฤษณ์ จอมเกตุ หรือ ปอนด์ ศิษย์เก่าไอซีที นิเทศศาสตร์รุ่นแรกบอกเล่าด้วย น้ำ�เสียงภาคภูมิใจ สำ�หรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร แม้จะเปิดสาขานิเทศศาสตร์เป็น ปีแรก เมื่อ พ.ศ. 2552 และปอนด์ก็เป็น 1 ใน 300 คนของรุ่นนั้น แต่ตัวเขาไม่รู้สึกว่า เป็นหนู ลองยา แต่กลับได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่มากกว่า และเท่าทันกับกระแสสังคมภายนอก หลังจากประธานนักศึกษาหนุ่มคนนี้เรียน จบ เขาเข้าไปสืบทอดกิจการของทางบ้าน ใน นามบริษัท มิตรแท้-ชุมพรยานยนต์ จำ�กัด หรือตัวแทนจำ�หน่ายรถยนต์ฟอร์ด ประจำ� จังหวัดชุมพร ในตำ�แหน่งผู้จัดการทั่วไป ณ ที่นี้ เองที่เขานำ�ความรู้ที่ได้จากเอกลูกค้าสัมพันธ์ไป ประยุกต์ใช้ ปอนด์ บอกว่า แม้เขาจะไม่ได้นำ�สิ่งที่ได้ จากห้องเรียนของไอซีทีไปใช้ 100 % แต่แก่น ของวิชาเรื่องการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าใน ระยะยาว ก็เป็นตัวหลักในการบริหารธุรกิจ ซึ่ง เขาค่อยๆ นำ�ไปสอนให้กับพนักงานในองค์กร 78
“จากประธานนักศึกษา สู่ผู้บริหารยุคใหม่”
เพราะที่ผ่านมา พนักงานไม่เคยมีแนวคิดเรื่อง ลูกค้าสัมพันธ์มาก่อนเลย “ตอนนี้ผมเริ่มทำ�ลูกค้าสัมพันธ์ในองค์กร ไปแล้วประมาณ 50% เพื่อให้คนในองค์กร อยากทำ�งานกับเรา ให้เขาได้รับการดูแลในเรื่อง รายได้ที่ดี แล้วก็มีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายใน พอคนภายในเขาภักดีกับเรา เราก็รู้ว่า เขาชอบอะไร เขาก็รู้ว่า เราชอบอะไร พอเรารู้ ใจกันและกันแล้ว เราก็ทำ�งานร่วมกันได้ บริษัท ก็จะเติบโตได้” ปอนด์ ขยายความ อีกสิ่งหนึ่งที่ปอนด์นำ�ไปถ่ายทอดให้คนใน องค์กร ก็คือเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งเป็นจุดเด่นของ คณะไอซีที แม้ว่าการใช้อีเมล์ จะเป็นเรื่องปกติ ของคนในเมืองหลวง แต่สำ�หรับต่างจังหวัด ก็ ไม่เป็นที่นิยมนัก ซึ่งปอนด์ให้พนักงานทุกคนส่ง รายงานทางอีเมล์ทุกอาทิตย์ ส่วนคนที่ทำ�งาน ใกล้ชิดกับปอนด์ ก็ต้องส่งงานทุกวัน ปอนด์ บอกว่า แม้ช่วงแรกจะขลุกขลัก เพราะบริษัทต้องปรับความเข้าใจกับพนักงาน พนักงานเก่าๆ อาจจะปรับตัวช้า ไม่ทำ�ตาม ในช่วงแรก แต่เมื่อคนส่วนใหญ่ใช้ ทุกคนก็ต้อง ปรับตัวตาม แต่เราก็ต้องสร้างความเข้าใจ นี่คือการสื่อสารที่เราได้จากลูกค้าสัมพันธ์ของ
ศิลปากร นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ปอนด์นำ�มาใช้ คือ การให้ใช้โปรแกรมสไกป์ (โปรแกรมสำ�หรับ คุยโทรศัพท์ คุยแบบวีดีโอ หรือส่งข้อความผ่าน อินเทอร์เน็ต) โดยปอนด์ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ ให้ทุกแผนก ซึ่งการคุยแบบเห็นหน้าก็ทำ�ให้ พนักงานใกล้ชิดกันมากขึ้น และผลคือตัวเลข รายจ่ายการใช้โทรศัพท์ลดลง ถือเป็นการลด ต้นทุนโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วย บริษัทของปอนด์นอกจากดูแลจังหวัด ชุมพรทั้งจังหวัด ตอนนี้ก็กำ�ลังจะขยายบริษัท ไปจังหวัดระยอง โดยตัวเขาเชื่อมั่นว่า การมี ลูกค้าสัมพันธ์ในองค์กร ไม่ว่าบริษัทจะขยายตัว มากขึ้นแค่ไหน แต่ถ้าพนักงานทุกคนมีความ เข้าใจกันและมีความภักดีกับองค์กร ก็ทำ�ให้ บริษัทเติบโตได้อย่างไม่สะดุด ปอนด์กระซิบส่งท้ายว่า เขาไม่ได้มองแค่ ความสำ�เร็จของการขาย แต่หัวใจสำ�คัญคือ บริการหลังการขาย ที่ต้องทำ�ให้ลูกค้าถูกใจ และให้บริษัทดูแลอย่างต่อเนื่องต่างหาก ที่จะ เป็นการรักษาเอาไว้ได้ นี่คือ สิ่งที่เราได้รับการ ปลูกฝังจากคณะมาตลอด 4 ปี
ม่”
ภัทริศ ภิญโญพิพัฒน์
ศิษย์เก่า สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสาร และหนังสือพิมพ์ รุ่น 2
“ไอซีทีทำ�ให้ผมได้ฝึกฝน” เด็กหนุ่มผู้กวาดรางวัลการประกวดถ่าย รูปมามากมายตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาที่ไอซีที ศิลปากร ปัจจุบันเขาได้รับการยอมรับว่า เป็นช่าง ภาพฝีมือฉมังคนหนึ่งจากผลงานภาพถ่ายที่ มีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยเฉพาะการถ่ายภาพ บุคคล (Portrait) และล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ภัทริศ เพิ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการ ประกวด Canon U Challenge Season 3 ภาย ใต้หัวข้อ “โดนใจอย่างแรง” ในสาขาการถ่าย ภาพแฟชั่น จากผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ กว่า 834 ผลงาน โดยส่งผลงานเข้าไปในชื่อ “Delight in Delicious” “คณะไอซีทีสอนให้เรารู้จักคิด และฝึกฝน ให้หนัก” ภัทริศ พูดคำ�แรกซึ่งไปพ้องกับปรัชญา ของมหาวิทยาลัยศิลปากรพอดี เขาอธิบายต่อว่า ข้อดีของการ ฝึก..ฝึก.. และก็ฝึก คือ เราสามารถหาจุดที่ผสมความเป็น ศิลปะกับมวลชนได้ งานเราจะขายได้ จะอยู่ใน การตลาดได้ งานล่าสุดที่ภัทริศได้รางวัลนั้น เป็นการ แฝงเรื่องสี ใส่สีแดงเข้าไปในงานเยอะหน่อย แฝงคอนเซปต์ของงานเข้าไป โดยไม่ลืมความ สวยงาม ซึ่งปรากฏว่า ผู้จัดประกวดชอบ
โดยให้เหตุผลว่า งานมันขายได้จริง “เราเรียนนิเทศศาสตร์ งานฝีมืออาจจะ ไม่ได้โดดเด่นมาก แต่ถ้าเทียบกับที่อื่นเขาเรียน อาร์ตมาเต็มที่ งานเขาดีจริง แต่ถ้าถามว่าอยู่ ในสื่อบางทีงานเขาขายไม่ออก เพราะมันไม่มี ความคอมเมอร์เชียล แต่ถ้าเราเรียนสื่อ ก็จะ แฝงเรื่องเชิงพาณิชย์เข้าไปด้วย มันก็จะอยู่ใน สื่อได้” ภัทริศ ยังยกตัวอย่างอีกว่า ที่นี่ยังเน้น เรื่องการจัดอาร์ตเวิร์ค ซึ่งที่อื่นไม่มี ที่อื่นก็คือ เน้นงานเขียน เน้นอ่าน แต่ที่ศิลปากรมีการ สอนในเรื่องของอาร์ตอย่างโปรแกรม InDesign (โปรแกรมออกแบบทำ�สิ่งพิมพ์) จริงๆ มีคนใช้ เป็นน้อย ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ “คณะให้พื้นฐานผมมาแน่นมาก ต่อไปก็อยู่ที่ ว่าใครจะไปต่อยอดได้แค่ไหน เท่านั้นเอง แต่ เบสิค มันทำ�ให้เราต่อยอดได้อย่างมีทิศทาง” ภัทริศ ทิ้งท้าย
ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต กตัณณ์ ธรรมวิจิตเดช ไอซีทีรุ่น 6 ชื่อตอน หนังสั้นเรื่อง
“ไอซีที ศิลปากร” ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต เจ้าของผลงาน ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “บุษบา” ได้รับรางวัลบท ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงาน Movie Mania ครั้งที่ 11 และเจ้าของผลงานภาพยนตร์เรื่อง “Night Blind : ทาง-ไหน” ได้รับรางวัลขุนวิจิตร มาตรา จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 15 กตัณณ์ ธรรมวิจิตเดช เจ้าของผลงาน ภาพยนตร์เรื่อง “Touch Screen” ได้รับรางวัล หนังสั้นรองชนะเลิศ และรางวัลนักแสดงหญิง ยอดเยี่ยม จากมหกรรมประกวดหนังสั้น Bangkok Post 9FilmFest 2011 ทัง้ คูเ่ ป็นบัณฑิตทีจ่ บจากคณะเทคโนโลยี สารสนเทศเพือ่ การสือ่ สาร (ไอซีท)ี สาขา นิเทศศาสตร์ เอกภาพยนตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ตลอดระยะเวลา 4 ปี ทั้งสองคนสร้างชื่อ เสียงให้กับคณะและมหาวิทยาลัยไว้มากมาย ทำ�ไม และอะไร ทำ�ให้พวกเขามีชื่อเสียง ตั้งแต่ตอนที่ยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ พวกเขาบอกว่า การนำ�หลักการใน ห้องเรียนมาคิดต่อยอดมีความสำ�คัญ ชลสิทธิ์ พูดถึงเรื่องการสอนของอาจารย์ ในคณะนี้ว่า ที่ไอซีที ศิลปากร จะเน้นอาจารย์ 80
พิเศษเป็นหลักซึ่งแต่ละคนก็มีความถนัด เฉพาะด้าน ทำ�ให้นักศึกษาได้ความรู้จากผู้มี ประสบการณ์โดยตรง จุดนี้ทำ�ให้มีการเน้นเรื่อง การพลิกแพลงที่ ต่อยอดการเรียนในตำ�รา ส่วนกตัณณ์ บอกว่า ทางคณะฯ นี้มีวิสัย ทัศน์กว้างไกล มีมุมมองในการเลือกอาจารย์ ที่ดี หลักการที่เรายึดถือคือ การปฏิบัติจริงเป็น หลัก การเลือกคนที่อยู่ในวงการมาประกบผู้ เรียน ทำ�ให้พวกเราเห็นวิสัยทัศน์จากคนทำ�งาน จริง ส่วนเรื่องความหลากหลายนั้น ไม่เพียง ด้านใดด้านหนึ่ง อาจารย์แต่ละท่านจะมีวิธีคิดที่ ต่างกันตามชิ้นงาน ทั้งคู่ยังพูดถึงจุดเด่นของคณะไอซีที ศิลปากร 2 เรื่องว่า เรื่องแรกคือ ทางคณะฯ เน้นการสร้างงาน เยอะซึ่งมีข้อดีคือ เราจะได้ผลงานเยอะตามไป ด้วย อีกเรื่องหนึ่งคือ เน้นการสร้างงานที่ไม่ เหมือนใคร ซึ่งทางคณะฯ เปิดกว้าง ยอมรับ ความคิดเห็นของนักศึกษา ทำ�ให้งานของแต่ละ คนมีเอกลักษณ์ ส่วนเรื่องการประกวดที่เป็นบันไดการ
ทดสอบในการออกไปสู่โลกกว้างนั้น ชลสิทธิ์ บอกว่า บรรดางานประกวดนั้น ทางคณะฯ ไม่ เคยบังคับนักศึกษาให้ส่ง แต่จะสนับสนุนการ คิดที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อทางคณะฯ ไม่บังคับ นักศึกษาก็คิดงานโดยไร้แรงกดดันว่า ต้องชนะ แบบนั้นแบบนี้ มันจึงได้งานที่เป็นเอกลักษณ์ ติดตัวไปเวลาที่สุดท้ายแล้วอยากจะส่ง ซึ่งเป็นกุศโลบายที่ดี และส่วนตัวก็ไม่สนับสนุน ให้มหาวิทยาลัยบังคับนักศึกษาส่งผลงานเข้า ประกวด เพราะจะจำ�กัดความคิดของเด็กมาก เกินไป ส่วนกตัณณ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงเรื่อง การกระตุ้นรุ่นน้องในคณะให้สร้างผลงานว่า “เรามีระบบปลูกฝังกันเองซึ่งเป็นเรื่อง ดีมาก เพราะการที่รุ่นพี่ประกวดชนะด้วยตัวเอง จะเป็นแรงกระตุ้นให้รุ่นน้องอยาก เจริญรอยตาม เพราะเขาก็จะเห็นว่า ขนาดรุ่น พี่มือเปล่ายังชนะมาได้ มันจึงสร้างแรงบันดาล ใจ ซึ่งหลักการประกวดคือ การสร้างสรรค์สิ่ง ที่มันใหม่ เรื่องการให้อิสระในการคิดงานส่ง ผลต่อความคิดของนักศึกษามาก เพราะการ สร้างสรรค์ ไม่ใช่นำ�สิ่งที่มีอยู่แล้วมาประกวด”
เสียงรองเท้านับร้อยคู่กระทบพื้นปูนบน ชั้น 7 ตึก กสท.โทรคมนาคม บางรัก ประสาน เข้ากับการให้จังหวะของกลองหนังใบเก่า และท่วงทำ�นองเพลงทีส่ บื ต่อกันมานับสิบปี เป็นสัญญาณเปิดฤดูกาลใหม่ ๆ ของไอซีที ศิลปากร เบื้องหลังของการให้กำ�เนิดประเพณีต่างๆ เหล่านี้คือไอซีทีรุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่คนที่คอยขับเคลื่อนกิจกรรมของคณะ ด้วยความทุ่มเทมาโดยตลอดคือ สาวน้อย ใบหน้าคมเข้ม “ต้นฝน ภูมิลา” คณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สาขาออกแบบ แอนิเมชั่น “เป็นประธานรุ่นมาตั้งแต่ปีหนึ่ง แล้วก็พอ ปีสามก็เป็นประธานคณะ” ต้นฝน เริ่มต้นด้วย การเล่าถึงดีกรีของเธอ และพูดถึงบทบาทและ หน้าที่ที่เธอต้องทำ�ว่า ... “บทบาทประธานคณะคือ เราดูแลทุก อย่างที่เป็นเกี่ยวกับกิจกรรมของคณะ ตั้งแต่ เริ่มรับงาน อะไรที่เป็นส่วนของนักศึกษาเราก็ ต้องเป็นคนจัดการในเรื่องของโครงการ เขียน โครงการส่ง คุยกับอาจารย์ ประชุมนักศึกษา เตรียมโครงการ ดำ�เนินเรื่อง ประสานงาน พูดง่าย ๆ คือเราเป็นคนดูแล คอยจัดการ ทุกอย่างให้มัน แล้วก็แบ่งงานไปตามตำ�แหน่ง หน้าที่ของคนนู้นคนนี้” ต้นฝน ประสานงานคณะทั้งฝ่ายบางรัก และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เธอเล่าว่า โครงการต่างๆ ในคณะหลายโครงการเป็น โครงการที่ดำ�เนินการมาตั้งแต่รุ่นก่อนๆ แล้ว เมื่อเธอและคณะมองว่ามันสำ�คัญก็ทำ�ต่อเพื่อ ให้โครงการดีๆ ที่มีได้คงอยู่ ต้นฝนและเพื่อน ยังได้สร้างโครงการ ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงเวลาปัจจุบัน
ทั้งในด้าน กีฬา นันทนาการ และวิชาการ ซึ่งมีความสนุกสนาน และสาระในตัวมันเอง โดย มีคณะคอยสนับสนุนดูแล และให้คำ�ปรึกษา ในแต่ละด้านเพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่นักศึกษา สร้างสรรค์เป็นไปได้อย่างราบรื่น ICT บ้านของ “ฝั่งนิเทศฯ (บางรัก) ก็มกี จิ กรรมเหมือนกัน ต้นฝน ภูมิลา แต่ทางเพชรบุรีจะสะดวกเรื่องสถานที่ในการ จัดกิจกรรมมากกว่า เรามีกิจกรรมเด่นๆ เช่น การรับน้อง รูปแบบของกิจกรรมเนี่ยจะปรับ เปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อม ไปตามแบบความ สะดวก ที่นี่ก็มีรับน้องรวม มีนู่นนี่นั่น ในเรื่อง ของกิจกรรมคณะก็จะมีพวกกีฬา มีจัดไอซีทีคัพ แข่งฟุตบอลกันในคณะชิงรางวัล มีจัดรวมรุ่น มีรุ่นพี่กลับมา” หญิงสาวอธิบาย เธอยังพูดเสมอว่า ไอซีทีเป็นเหมือนบ้าน ของเธอ และกิจกรรมต่างๆ นั้นเป็นส่วนสำ�คัญ ที่ทำ�ให้คนในบ้านมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ข้อดีของกิจกรรมอีก อย่างคือ คนที่ได้มาลงมือลงแรงร่วมกันจะรู้สึก เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจถึงความเหนื่อยยากที่ ต้องผ่านมาด้วยกัน นั่นทำ�ให้เธอผ่านบางเวลา ที่รู้สึกท้อถอยมาได้ “เราพูดกันเสมอว่า ไอซีทีเป็นบ้าน สิ่งที่ เราพูดบ่อยๆ กับน้องคือ บ้านไม่ได้สำ�คัญที่ ตัวบ้าน แต่มันสำ�คัญที่คนในบ้าน ถ้าคนในบ้าน มีความสุข มันก็ทำ�ให้ผลงานที่ออกมาดี” ต้น ฝน แย้มความทรงจำ�ที่ผุดพรายด้วยสีหน้ามี ความสุข “คณะเราก็เพิ่งเปิดมาได้ปีนี้ปีที่ 10 เอง แต่เราก็ตื่นเต้นกับคำ�ว่าปีที่ 10 มาก ถ้าเอา ในกรอบของคำ�ว่า 10 ปี สิ่งที่เราทำ�มา มัน มากกว่าสิบปี มันคือ พวกเราสามารถที่จะ ทำ�ได้มากกว่าที่พวกเราเองคิดด้วยซ้ำ�” เธอ กล่าวทิ้งท้าย
สิปปนนท์ รอดคำ�ทุย และ ปิฎก หมู่หมื่นศรี ศิษย์เก่า ไอซีที ออกแบบ (แอนิเมชั่น) รุ่น 4 และรุ่น 6
สิ่งที่ได้เรียนรู้ “Less is More”
82
สิปปนนท์ รอดคำ�ทุย และ ปิฎก หมูห่ มืน่ ศรี ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ไอซีที) สาขาออกแบบ ต่างรุน่ ต่างสไตล์ แต่สิ่งที่ทั้งคู่มีเหมือนกันคือ ผลงานที่ ได้รับความนิยมและการยอมรับในวงกว้าง ด้วยความสามารถระดับรางวัลรองชนะ เลิศ Digicon 6 Thailand และเป็นตัวแทนของ ประเทศไทยไปประกวดกับประเทศอื่นๆ อีก 11 ประเทศ ที่โตเกียว เมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2553 สิปปนนท์ และผลงาน “เส้นใยทีถ่ กู ลืม” ส่งให้เขากลายเป็นนักศึกษาที่มีชื่อเสียงในงาน ออกแบบมากที่สุดคนนึงในรุ่น 4 ของไอซีที ศิลปากร ปิฎกเองก็เช่นเดียวกัน ศิษย์เก่าไอซีที ออกแบบ (แอนิเมชั่น) รุ่นที่ 6 นั้นการันตีรางวัล คุณภาพชนะเลิศ โครงการ TK Animation Training ตอน ขบวนการขัดเงา (Polishing Process) TK PoP 2010 เขาและเพื่อน ๆ อีกสี่คน ร่วมกันทำ�ผลงาน “ปูป้า แอนิเมชั่น” ทั้งยังเป็น เจ้าของรางวัลปยุต เงากระจ่าง ในงานเทศกาล หนังสั้นครั้งที่ 16 ร่วมด้วยผลงาน อื่นๆ อีกมากมาย การเรียนการสอนของไอซีที ศิลปากร ทำ�ใหสิิปนนท์รู้จักตัวเองมากขึ้น เขาถูกสอนให้ อยู่กับตัวเอง ซึ่งในตอนแรกก็ไม่แน่ใจนักว่าที่ เลือกมาอยู่ในคณะนี้ เป็นเรื่องที่ถูกหรือไม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสิปนนท์ก็มั่นใจได้ว่า เขา เลือกทางที่ถูกต้องแล้ว นอกจากนั้สิปนนท์ ยังได้เล่าว่า ไอซีทีสอนให้เรียนรู้ในเรื่องความ อดทน การทำ�งานหนัก ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์
ในการใช้ชีวิตหลังเรียนจบกับเขาอย่างมาก “การทำ�งานในคณะจะสอนให้ใส่ความเป็น ตัวของตัวเองลงไป ใส่สิ่งที่ชอบลงไปในงาน ทำ�ให้งานออกเป็นสไตล์ของตัวเอง” ปิฎกเล่า เสริมถึงสิ่งที่ถูกปลูกฝังมา ทั้งคู่ก็มีความเห็นตรงกันว่าการที่จะ ทำ�งานให้เป็นที่นิยมและยอมรับในวงกว้าง เป็นเพราะการแสดงตัวตนของพวกเขาลงไป ในงาน แต่ถึงอย่างนั้นพวกเขาก็ไม่ลืมว่าเวลา ทำ�งานต้องคิดถึงคนที่จะมารับชมผลงานด้วย ปิฎกบอกว่า งานของเขานั้น ในตอนแรก ไม่คิดว่าจะเป็นที่นิยม แต่การคิดงานของเขา นั้น คณะเองก็สอนว่า ให้คิดอะไรที่เข้าใจง่ายๆ เอาเรื่องรอบข้างที่เข้าถึงผู้ชมได้ออกมานำ� เสนอ หลายๆ เรื่อง หลายๆงานของเขานั้น จึง นำ�เสนอแต่เรื่องที่ออกมาจากตัวเองก่อน น่าจะ ทำ�ให้คนดูเข้าใจและพอใจได้ ทั้งคู่เล่าว่า สาเหตุที่งานของทั้งคู่พยายาม ทำ�ให้มันดูง่ายๆ และเข้าใจง่ายๆ มาจากวัน ที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก กับคณบดี อาจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช ซึ่งอาจารย์ชัยชาญ มักสอนว่า Less is More นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ ทั้งคู่ทำ�งานจากเรื่องง่ายๆ “คิดให้เยอะๆ จะได้ทำ�น้อยๆ แล้วงานก็ จะออกมาเป็นคุณภาพที่เราต้องการเอง นี่คือ สิ่งที่อาจารย์ชัยชาญสอน” ปิฏกกล่าวทิ้งท้าย
83
โกวิท มีบุญ อาจารย์ประจำ�คณะ เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารสาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิษย์เก่าไอซีที รุ่น 4 (สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การออกแบบ เอกเว็บและสื่อ โต้ตอบ)
“พี่สอนน้อง”
84
“หน้าตาใจดีแต่โหดชะมัด” เป็นคำ�จำ�กัด ความที่บรรดาน้องใหม่ไอซีที นิเทศศาสตร์ ให้ ไว้เมื่อพูดถึง “อาจารย์ก้าน” โกวิท มีบุญ ลูกหม้อแท้ๆ ของไอซีที รุ่น 4 ที่ก้าวขึ้นมาเป็น อาจารย์ประจำ�ของคณะ นักศึกษาน้องใหม่หลายคนล้วนหลั่งน้ำ�ตา หลังจากอาจารย์ไม่ตรวจงานให้ เพราะส่งงาน ไม่ทันตามกำ�หนด ทั้งหมดล้วนกริ่งเกรงการ เรียนการสอนของอาจารย์ก้าน กันหัวหด แม้จะรู้ว่าอาจารย์ผู้มีรอยยิ้มละไม เป็นรุ่นพี่ ของพวกเขาเอง อาจารย์ก้าน เล่าว่า ช่วงที่มาสอน แรกๆ ก็มองนักศึกษาเหมือนเป็นรุ่นน้อง แต่เราก็เป็น อาจารย์ที่ต้องสอนด้วย มันจะมีความโหดเข้า มา “ผมอยากให้เขาได้ อย่างที่เราอยากให้ ได้ แรกๆ อาจจะจ้ำ�ชี้จ้ำ�ไชมาก แต่หลังๆ ก็ ผ่อนลง แล้วไปเข้มเรื่องการส่งงานแทน ความ โหดยังต้องคงไว้” อาจารย์ก้านพูดด้วยน้ำ�เสียง จริงจังถึงรุ่นน้องๆ ที่ผ่านเขาไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า ในชีวิตคนล้วนต้องสวมหมวกหลายใบ อาจารย์ก้านก็เช่นกัน แม้ว่านอกห้องเรียนเขา จะเป็นรุ่นพี่ที่มีความเอื้ออาทรน้องๆ เป็นที่ 1 แต่ถ้าเป็นเรื่องเรียน ด้วยความเป็นอาจารย์ ถ้าลูกศิษย์มาอ้อนขอส่งงาน เขาก็ไม่ให้เลย เพราะถือว่า การตรงต่อเวลาเป็น สิ่งสำ�คัญที่สุดในการทำ�งานจริงใน อนาคต อาจารย์ก้านบอกว่า แรกๆ นักศึกษาจะไม่รู้ว่า คนที่บรรยาย หน้าห้องให้พวกเขาฟังเป็นรุ่นพี่ แต่พอเด็กทราบ สิ่งที่ตามมาคือ ความผูกพันที่เพิ่มขึ้น และกล้า
เข้ามาปรึกษาเรื่องต่างๆ จากที่ไม่เคยกล้าเลย เพราะกลัวโดนดุ ย้อนไปในช่วงก่อนที่ อาจารย์ก้าน จะกลับ คืนถิ่นเก่าในนามอาจารย์นั้น เขาเคยออกไป ทำ�งานตามวิชาที่ได้ร่ำ�เรียนอยู่ 1 ปี ในตำ�แหน่ง เว็บและอินเทอร์แอคทีฟ และกราฟิกดีไซเนอร์ พอทำ�งานไปได้สักระยะ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช คณบดีคณะไอซีที ก็ชวนเขามาเป็น อาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาปี 1 ของสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ หลังจากนั้นก็เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำ�เต็มตัว แม้การเป็นอาจารย์จะเงินเดือนน้อยกว่างานที่ เขาทำ�อยู่หลายเท่า แต่เขาคิดว่า ถ้ามีโอกาสได้ ทำ�สิ่งดีๆ ให้กับคณะ ให้กับมหาวิทยาลัยที่เคย ฟูมฟักเรามา ก็ถือเป็นสุดยอดของชีวิต “มันเหมือนกับว่า ถ้าไม่มีใครเสียสละเข้า มาสอน การศึกษาก็คงไม่ดีขึ้น ที่พูดแบบนี้ไม่ได้ หมายความว่าตัวเองเก่ง แต่เหมือนกับว่า เรา เป็นคนรุ่นใหม่คนหนึ่งที่ค่อนข้างจะมีความรู้ กำ�ลังมีไฟ เราอยากเป็นกำ�ลังหนึ่งที่จะช่วยได้” เขายังบอกว่า ความสุข ณ ตอนนี้ คือการสอน คนที่ไม่รู้ ให้รู้ ทำ�ให้คนที่ไม่เก่ง ได้เก่งขึ้น และ ทำ�ให้นักศึกษาที่ติด F รอดพ้น F ในที่สุด ซึ่งถ้า ไม่ได้มาเป็นอาจารย์ ก็อาจไม่ได้รับความรู้สึก ดีๆ เช่นนี้ “ส่วนใหญ่ที่ผมภูมิใจคือ จะมีเด็กปี 1 ขึ้นปี 2 บางคนที่มันเกเรมากๆ แล้วเราดุมันไปเยอะ มันดีขึ้น ส่วนปี 4 ที่จบไป มีงานและเงินเดือนที่ ดี เราก็ดีใจ” อาจารย์ก้าน เล่าด้วยความภูมิใจ ความสุขของลูกหม้อไอซีทีแท้ๆ คือการ เห็นนักศึกษารุ่นน้องๆ รู้จักพัฒนาตัวเองและ ประสบความสำ�เร็จในการทำ�สิ่งที่ชอบนั่นเอง
นวพร รุ่งศรี พนักงานรายเดือน สถานีวิทยุแฟตเรดิโอ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 6 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สาขานิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุและโทรทัศน์ “ทุกวันนี้ไปทำ�งาน ก็เหมือนไปเรียน ทำ�งานส่งเจ้านาย ก็เหมือนส่งงานอาจารย์ ยังใช้ความรู้ที่เรียนมา ทำ�มาหากินอยู่ทุกวัน” นวพร รุ่งศรี หรือ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ใน ขณะเรียกกันคุ้นปากว่ากุ้ง คนหนุ่มท่าทางร่าเริง ชอบยิ้มแย้มกับทุกคน มีความมัน่ ใจในตัวเองสูง ในตอนที่เขายังศึกษาอยู่ เราสามารถพบเจอ เขาเป็นประจำ�ที่ห้องสมุดเล็กๆประจำ�วิทยาเขต บางรัก การเข้าห้องสมุด คือสิ่งที่กุ้งชอบทำ�มาก ที่สุด ถึงแม้ว่าเขาจะถ่อมตัวว่าเป็นคนไม่ชอบ อ่านหนังสือสักเท่าไรก็ตาม “เราชอบไปนั่งในห้องสมุด เราไม่ใช่ พวกชอบอ่านหนังสือมาก เราชอบคุยกับ บรรณารักษ์ เราคุยกันเรื่องในคณะ เรื่องนอก คณะ เรื่องส่วนตัว ห้องสมุดเราอาจมีหนังสือไม่ มาก มีหนังให้ยืมกลับบ้านไม่มาก แต่เราก็มัก จะไปยืนหยิบๆ จับๆ ตามชั้นต่างๆ
ทุกครั้งที่เราเข้าห้องสมุด ทุกวันนี้ลองมาดูอีกที มีหนังสือบางเล่ม และดีวีดีบางแผ่นที่ยัง ไม่ได้คืนและยังอยู่ในห้องนอนรอบตัวเรา ณ ขณะนี้ เรายังคิดถึงกลิ่นของห้องสมุดและแอร์ เย็นๆ” กุ้งย้อนนึกถึงวันเวลาสมัยที่ยังเป็น นักศึกษา เหมือนเรื่องตลกที่คณะไอซีทีศิลปากรเป็น ตัวเลือกอันดับสุดท้าย ที่กุ้งเลือกตอนสอบ แอดมิชชั่น และกุ้งเองก็ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับ คณะนี้มากนัก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อได้เข้ามา สัมผัสกับบรรยากาศ บวกกับความเป็นคนที่มี เอกลักษณ์โดดเด่น ทำ�ให้กุ้งกลายเป็นคนที่มี ชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของบรรดาเพื่อน พี่น้อง และครูอาจารย์ในคณะอย่างรวดเร็ว มากไปกว่านั้นกุ้งพบเจอกับอาจารย์พิเศษ
ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ ทั้งในด้านวิชาชีพ และวิชาการ ส่งผลให้กุ้งเมื่อจบออกจากรั้ว ศิลปากรเขารู้สึกว่าบรรยากาศการทำ�งานไม่ ต่างจากการเรียน “เราชอบอาจารย์ที่มาสอนที่คณะมากๆ เราเห็นวิธีคิดของเขา เราสนุกกับการคัดลอก ความรู้จากครู มันทำ�ให้เราเข้าใจได้ว่าเรานี่ แหละ เด็กเมื่อวานซืน” “พอจบออกมาเราคิดว่าคณะนี้มันคือ อนาคตของเราจริงๆนั่นแหละ ทุกวันนี้ไป ทำ�งานก็เหมือนไปเรียน ทำ�งานส่งเจ้านายก็ เหมือนส่งงานอาจารย์ ยังใช้ความรู้ที่เรียนมา ทำ�มาหากินอยู่ทุกวัน” ในฐานะที่กุ้งเรียนและทำ�งานทางด้านวิทยุ และโทรทัศน์ เขาได้ฝากมุมมองไปให้น้องๆที่ กำ�ลังศึกษาอยู่และกำ�ลังอยากเข้าศึกษาและ ทำ�งานด้านนี้ “คณะเราสามารถผลิตบุคลากรในวงการ วิทยุและโทรทัศน์ได้ จงมั่นใจได้ว่าเราทำ�ได้ เรา ก็จะทำ�ได้ แม้ในความเป็นจริงจะทำ�ไม่ได้ก็ตาม วงการนี้อยากได้แค่เด็กเชื่อมั่นสักคนที่อยาก ได้ยินรายการวิทยุดีๆ ได้ดูรายการโทรทัศน์ดีๆ” “สิ่งที่ดีที่สุดยังอยู่ในตัวของทุกคน ตัวของ เราทุกคนคือจุดเด่นของคณะ ไปฝึกงาน ทำ�งาน ก็เอาตัวเองไป” 85
พร – ภัทร ถิรมงคล
ศิษย์เก่า สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ เฉพาะทางไปเลย ทำ�ไมต้องเรียนเต็มไปหมดเลย แต่ว่าถึงวันนี้เข้าใจแล้ว ว่าแบบนี้ดีที่สุดแล้ว คือ การออกแบบ เอกออกแบบแอนิเมชั่น
“ศิลปากร สอนให้เรา ทำ�เป็นทุกอย่าง” พี่น้อง พร – ภัทร ถิรมงคล สองหนุ่มจาก เมืองราชบุรีผู้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะไอซีที และถือ เป็นศิษย์เก่าทีไ่ ด้รบั การการันตีในด้านแอนิเมชัน่ ว่า ‘ฝีมือขั้นเทพ’ หลังจากพร คว้ารางวัลแอนิเมชั่นระดับโลก Siggraph ใน ปีพ.ศ. 2552 ศิษย์เก่ารุ่นแรกคนนี้ก็ได้ เรียนรู้วิธีการทำ�งาน และได้แนวคิดจากการออกสู่ โลกกว้าง ทำ�ให้เขาพัฒนา และฝึกฝนตนเองอย่าง ไม่หยุดยั้ง พร้อมทั้งสนับสนุนให้น้องชาย ภัทร ถิร มงคล ให้เข้ามาศึกษาที่คณะไอซีที ศิลปากร เพราะ เล็งเห็นแล้วว่า ไอซีทีสามารถพัฒนา “คน” ให้ กลายเป็นยอดคนได้ ด้วยการสอนที่ครอบคลุม เนื้อหาในทุกด้าน “ตอนที่เรียนอยู่ เรารู้สึกว่าที่เราเรียนมามัน หลายอย่างมากเลย มีทั้งบัญชี วิชาการ กฎหมาย มันไกลตัวเรา เรายังนึกอยู่ว่าทำ�ไมเขาไม่สอน
86
เรียนในด้านอื่นด้วย เพราะสุดท้ายมันได้ใช้หมดเลย บัญชี การเงิน การตลาด ได้ใช้หมดทุกอย่าง” พร แสดงมุมมองที่มีต่อการเรียนการสอนของไอซีที ด้านภัทร รู้ตัวว่าหลงรักการวาดรูป และ ออกแบบตั้งแต่สมัยมัธยม จึงก้าวเข้ามาในเส้นทาง เดียวกันกับพี่ชาย แน่นอนว่าทำ�ได้ดีไม่แพ้กัน ภัทร ได้รับการยอมรับจากคณาจารย์ว่ามีฝีมือโดดเด่นไม่ แพ้ใคร ปัจจุบันรับงานฟรีแลนซ์ และเปิดโรงเรียน สอนทำ�กราฟิกร่วมกับพี่ชาย ย่านลาดพร้าว นอกจากสองพี่น้องจะมีความเห็นตรงกันใน เรื่องประโยชน์ของวิชาเรียนที่หลากหลายแล้ว ภัทร ยังเล่าว่า “จุลนิพนธ์” ทำ�ให้นักศึกษาแข็งแกร่ง และ เป็นประโยชน์ต่อการทำ�งานในอนาคต “คณะเราได้เปรียบตรงที่เขาเห็นความสำ�คัญ ของจุลนิพนธ์ เขาเลยให้อาจารย์พิเศษที่มาตรวจ เป็นเจ้าของบริษัท เป็นคนที่ดังๆ ในวงการ ซึง่ คณะอืน่ มหาวิทยาลัยอืน่ ไม่มแี บบนีน้ ะ เขาใช้เป็น อาจารย์ภายในหมดเลย และมันเป็นงานสุดท้ายทีเ่ รา ทำ� ใช้เวลากับมันเต็มๆ หนึง่ ปี มันเป็นผลงานของ เราเต็มๆ เราได้ใช้ความสามารถที่เรามีทั้งหมดที่ เรียนมา แล้วคนที่รับสมัครงานเขาก็จะดูจุลนิพนธ์
เป็นหลัก เพราะมันจะบอกทุกอย่างที่เกี่ยว กับตัวเรา” ในขณะที่ภัทรเพิ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่แสดง ความคิดเห็นในเรื่องจุลนิพนธ์ พรผู้เป็นพี่ชาย ศิษย์เก่ารุ่นแรกเล่าถึงการทำ�งานในโลกแห่งความ เป็นจริงว่าการจะเอาตัวรอดได้ต้องทำ�เป็นทุกอย่าง เพราะไม่อย่างนั้นอาจต้องเป็นลูกน้องตลอดไป “เวลาที่เราจบมาใหม่ๆ เราเป็นลูกจ้างเขา เรา ทำ�งานบริษัท เขาอาจจะต้องการความเชี่ยวชาญ จากเราเพียงอย่างเดียว แต่พอเราโตขึ้น เราไม่ อยากทำ�งานบริษัทแล้ว เราอยากทำ�บริษัทของ ตัวเอง เราต้องใช้เรื่องบัญชี เราต้องทำ�บัญชีเป็น เราจะโปรโมทอย่างไร เราต้องทำ�การตลาดเป็น เราจะต้องไปจดทะเบียน ก็ได้ใช้เรื่องกฎหมายอีก ซึ่งไอซีทีสอนเรามาหมด ที่เรียนมาได้ใช้ทุกอย่าง” สองพี่น้องพร-ภัทร ถิรมงคล ยังคงโลดแล่น อยู่ในสายงานแอนิเมชั่น และจะเติบโตต่อไป อย่างมีคุณภาพ ถือเป็นหนึ่งความภูมิใจของไอซีที ศิลปากร ที่ผลิตบุคลากรชั้นเยี่ยมออกมา ทั้งสองไม่ เพียงเก่งเฉพาะงานฝีมือเท่านั้น แต่ยังมีแนวคิดที่ เฉียบแหลมไม่แพ้ใครอีกด้วย
87
พิสิฐพงษ์ สืบพิลา
ศิษย์เก่าไอซีที สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการออกแบบ เอกเว็บและสื่อโต้ตอบ รุ่น 5
“คนหนีงานมักเป็นคนเขลา” “คนหนีงานมักเป็นคนเขลา” คติประจำ�ใจของ พิสิฐพงษ์ สืบพิลา หรืออาร์ม ศิษย์เก่าไอซีที สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการออกแบบ เอกเว็บและสื่อโต้ตอบ รุ่น 5 ปัจจุบนั เขาทำ�งานอยูท่ ธ่ี นาคาร กรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ในตำ�แหน่งสนับสนุน ผลิตภัณฑ์บัตร ฝ่ายผลิตภัณฑ์บัตร สังกัด กลุ่มพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ ผลิตภัณฑ์จัดการทางการเงินสายงานธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และบริการจัดการทางการเงิน ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการทำ�ธุรกรรมผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นอกจากนี้เขายังได้ความไว้วางใจ ให้ดูแลงานด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ออกแบบ เว็บไซต์ ออกแบบอินเทอร์เฟสของแอปพลิเคชัน NetBank บน iOS และ Android เรียกได้ว่า งานออกแบบต่างๆ ของสายงานอาร์มจะเป็น ผู้รับชอบเกือบทั้งหมด พิสิฐพงษ์ บอกว่า การทำ�งานหนัก ทำ�ให้เกิดความชำ�นาญ และทักษะทั้งหลายก็ จะพัฒนาขึ้นไปเอง ซึ่งที่คณะไอซีที ทั้งจี้และ คอมเมนต์งานตลอดเวลาทำ�ให้เขาต้องรีดฝีมือ ตนเองออกมาให้ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำ�ให้เขาประสบ ความสำ�เร็จในวิชาชีพตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศโครงการประกวด เว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ “ล้นเกล้าฯ ...แผ่นดิน ไทย” ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร และสำ�นักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม 88
ซอร์ฟแวร์แห่งชาติ (SIPA) ในพ.ศ.2553 “โครงการนี้จัดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ ผมต้องทำ�จุลนิพนธ์ ตอนแรกคิดว่าจะไม่มีเวลา พอ แต่ในที่สุดผมก็สามารถจัดสรรเวลาได้อย่าง ลงตัว ผมคิดว่าเราต้องเป็นคนสู้งานไม่หนีงาน เพราะคนหนีงานมักเป็นคนเขลา หนีความรู้ ความชำ�นาญที่ตนควรมีควรได้” ไม่เพียงแต่การคว้ารางวัลชนะเลิศใน การประกวดเท่านั้น อาร์มยังพิสูจน์ให้คนอื่น เห็นอีกว่าการร่วมกิจกรรมต่างๆ นั้นไม่ได้ส่ง ผลกระทบต่อการเรียนของเขาแต่อย่างใด ด้วย การคว้าเกียรตินิยมอันดับสองมาครอง “ผมว่าการแบ่งเวลาในการเรียนและ การทำ�กิจกรรมให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่ทุกคนควร กระทำ� ผมไม่อยากปล่อยให้โอกาสดีๆ ท่ีจะ ทำ�ให้เราได้ฝึกฝนตนเองหลุดมือไป” อาร์ม บอกอีกว่า ตอนเรียนที่คณะ การฝึกฝนตนเองด้วยการช่วยงานต่างๆ ของ คณะที่ไม่ใช่แค่การเรียน ทำ�ให้เขามีทักษะและ ประสบการณ์มากกว่าคนอื่น “การเรียนและการปฏิบัติงานจริงมี ความต่างกัน การทำ�งานจริง มีข้อจำ�กัดต่าง ๆ มากมาย อาจจะไม่สะดวกง่ายดายเหมือนตอน เรียน มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกหลาย อย่าง การช่วยงานคณะทำ�ให้ได้รู้จักอาจารย์ หลาย ๆ ท่านที่มีความรู้ความสามารถ และ ที่สำ�คัญคือทำ�ให้ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ ได้พบ เจอเพื่อนมากมาย ได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และได้ทำ�งานในหน้าที่ที่ถนัด ในทุกวันนี้”
ปิยนุช มะภิโกสิ และอัครพล ชิโนกุล
1หนุ่ม 1 สาว เอกธุรกิจต่างรุ่นจากรั้วศิลปากร คลื่นลูกใหม่ของธนาคารกรุงไทย ตำ�แหน่งเว็บมาสเตอร์ของธนาคารกรุงไทย ผู้ดูแลโซเชียลเน็ตเวิร์คและโซเชี่ยลมีเดียเป็นการ การันตีคุณภาพของสาวไฟแรง ปิยนุช มะภิโกสิ หรือ จอย บัณฑิตสาวรุ่นแรกจากไอซีทีศิลปากร ได้เป็นอย่างดี
นั้นของเขาก็กลายเป็นความจริง เมื่อประตูรั้วสี ซีเปียเปิดออกต้อนรับเขาในฐานะนักศึกษาใหม่ ของไอซีที
เธอบอกว่า หลายคนอาจมองว่าการเรียน หลายวิชาจะทำ�ให้เรามีลักษณะเหมือน “เป็ด” ไม่มีความเก่งโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง แต่เธอ กลับมองว่าการเรียนทีห่ ลากหลายของคณะ ไอซีที ทำ�ให้เธอมองภาพรวมของงานที่ต้อง ทำ�ได้ชัดเจนขึ้น และประสานงานกับทุก ๆ ฝ่าย ได้ง่ายยิ่งกว่า ขณะที่ อัครพล ชิโนกุล หรือ โก้ เข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของคณะไอซีทีธุรกิจของมหาวิทยาลัย ศิลปากรในรุน่ ที่ 5 ด้วยความมุง่ มัน่ และชืน่ ชอบ ในคณะนี้ อันดับแรกของการแอดมิชชั่นสำ�หรับ โก้จึงเป็นการเลือกไอซีทีเอกธุรกิจ และความฝัน
ความรู้จากการเรียน และความรับผิดชอบ ในงานทำ�ให้ปัจจุบันโก้ได้รับความพอใจจาก หัวหน้างาน ในสายงานของการเขียนโปรแกรม ทั้ง Monitor Application Server Support Agent Call Center และ Customer Authen การยืนยันตัวตนของลูกค้า ให้กับธนาคาร กรุงไทย
“สำ�หรับผมคณะไอซีทีให้ประสบการณ์ มากมาย กิจกรรมที่ได้ทำ�มันไม่ได้มีสอนใน ย้อนกลับไปในวันที่เธอเลือกคณะ ไอซีที ตำ�รา การเข้าสังคม การได้รู้จักคนในคณะต่างๆ ยังเป็นคณะเปล่า ๆ ที่ไร้บัณฑิตรุ่นพี่ แต่ด้วย ทำ�ให้เราได้เอามาใช้ในการทำ�งาน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เนื้อหาวิชาที่นำ�การใช้งานคอมพิวเตอร์มารวม ช่วยเหลือกัน ปริญญาตรีสำ�หรับผมคือ พื้นฐาน กับการเรียนธุรกิจ และความเป็นมหาวิทยาลัย ของการดำ�เนินชีวิตที่เราต้องเรียนรู้และใช้มันใน ศิลปะทำ�ให้จอยตัดสินใจเลือกที่จะเข้ามาเป็น การทำ�งานที่ต้องอยู่กับสังคม” โก้เล่าถึงชีวิต ส่วนหนึ่งของไอซีที วัยเรียน พร้อมกับกล่าวเสริมว่าความโดดเด่น ของไอซีที อยู่ที่การมีวิชาหลากหลายให้เรียน “ความอดทน การสร้างสรรค์งาน และการคิด ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน และถึงแม้ว่า อย่างเป็นระบบเป็นจุดเด่นของเด็กศิลปากร เรา จะไม่ได้เก่งในทุก ๆ อย่าง แต่การเรียนรู้เหล่า ได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ การ นั้นก็สามารถนำ�ไปปรับใช้กับงานในอนาคตได้ บริหารธุรกิจ มันปลูกฝังให้เราเป็นคนตามเทรนด์ อย่างสบาย ของเทคโนโลยี” จอยเล่า
เขายังได้ฝากถึงรุ่นน้องที่กำ�ลังเรียนอยู่ให้ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อย่าทำ�กิจกรรมจนละเลย การเรียน เพราะเมื่อผ่านเวลาไปแล้ว จะย้อน กลับไปศึกษาเล่าเรียนไม่ได้อีก 89
ในปัจจุบันสื่อใหม่ (New Media) อย่าง เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) โดยเฉพาะ “เฟซบุ๊ก” (Facebook) และ “ทวิต เตอร์” (Twitter) เป็นช่องทางการสื่อสารที่มีผู้ใช้ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยจากสถิติ ล่าสุดเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค กว่า 800 ล้านคน และทวิตเตอร์กว่า 200 ล้าน คนทั่วโลก ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อ ผู้คนได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างง่าย ๆ ผ่านโทรศัพท์ มือถือ ทำ�ให้ผู้ใช้สามารถบริโภคข้อมูลข่าวสาร
ณัฏฐ์นรี กระกรกุล ศิษย์เก่าสาขานิเทศศาสตร์ รุ่นที่ 1 (พ.ศ.2553) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำ�เนินการใดๆของรัฐบาลอันอาจจะส่งผลต่อ ขวดวิ่งหนีไปหลังแนวทหาร แต่กลับถูกทหาร ผู้คนในสังคม เอาปืนจ่อหัว บอกไม่ต้องตามต่อไป” อย่างไรก็ดี ในการรายงานข่าวด้วย การทวีตดังกล่าวทำ�ให้เกิดความเข้าใจผิด ช่องทางใหม่นี้ก็มีเสียงสะท้อนจากสังคม นัก โดยเฉพาะฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากข่าวนี้ ได้นำ� วิชาการ และในหมู่นักวิชาชีพเองว่า จะส่งผลก ไปเผยแพร่ต่อบนเวทีชุมนุม และมีคำ�ถามต่อ ระทบต่อจริยธรรม จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มาว่า นักข่าวผู้นี้ต้องการสื่ออะไร สุดท้ายเจ้า หรือไม่ ตัวต้องออกมาแก้ข่าวว่า ไม่เคยรายงานข่าวว่า เพราะการที่ผู้สื่อข่าวสามารถส่งข่าวสู่ ทหารเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้เกิดระเบิด M79 สาธารณะได้ทันที ไม่ต้องผ่านการส่งข่าวเข้า บริเวณย่านสีลมเมื่อคืนวันที่ 23 เมษายน 2553 มายังกองบรรณาธิการเพื่อตรวจสอบความถูก ที่ผ่านมา และไม่เคยรายงานกล่าวหาประชาชน
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพวารสารศาสตร์ ในการเสนอข่าวบนทวิตเตอร์ ได้สด และทันต่อสถานการณ์แทบจะเป็นเวลา เดียวกับขณะที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปัน (Share) ข่าวสารในทำ�นอง “การบอกต่อๆ กันไป” หรือ เรียกว่า ผู้รับสารสามารถเป็นผู้ส่งสารได้ในขณะ เดียวกัน การที่ใครๆ ก็สามารถส่งข่าวสารอย่าง ง่ายดายด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กบนฝ่ามือถึงผู้รับ ข่าวสารในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และกระจาย ข่าวสารต่อๆ กันได้ทันทีในลักษณะเป็น เครือข่าย ทำ�ให้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ ก้าวหน้านี้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การสือ่ สารของมนุษย์แบบพลิกโลก และท้าทาย การทำ�งานของสื่อดั้งเดิมอย่าง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นอย่างมาก แม้นักวิชาชีพที่ทำ�งานในสื่อดั้งเดิมเองจะ ปรับ ตัวในการทำ�งานโดยใช้ช่องทางใหม่ๆนี้ มารายงานข่าว เช่น การรายงานเรื่องราวที่เกิด ขึ้นจากที่เกิดเหตุโดยทันทีทัน อาทิ เมื่อเวลา เกิดภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ การตัดสินใจในการ 90 10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
ต้อง ความสมดุล และรอบด้านของข้อมูล หรือเรียกว่า เป็นการลดทอนขั้นตอนของ “กระบวนข่าว” ยังไม่รวมไปถึงการแยกแยะเนื้อหา ระหว่าง “ข่าว” กับ “ความเห็น” บนสื่อใหม่ อันนำ�ไปสู่การรายงานข่าวสารที่คลาดเคลื่อน บิดเบือน ไม่รอบด้าน และอ่อนไหวต่อการ เสนอข้อมูลที่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง หรือไปเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการรับรู้ ข่าวสาร และความเป็นจริงของเหตุการณ์ของ สาธารณชนทั้งสิ้น ตัวอย่างกรณีของการนำ�เสนอข่าวสารทาง ทวิตเตอร์ที่อ่อนไหวเชิงจริยธรรมวิชาชีพที่เป็น ประเด็นครึกโครม เช่น กรณีการทวีต (Tweet) ข่าวของผู้สื่อข่าวสาวชื่อดังในทวิตเตอร์ส่วน ตัวในช่วงการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า “นี่คือข้อเท็จจริงจากปากคำ�ตำ�รวจ ยอมรับไล่กลุ่มชายฉกรรจ์ 20 คน ที่ปาระเบิด
ชาวสีลมหรือประชาชนกลุ่มเสื้อหลากสีว่า ยั่วยุ ให้เกิดความรุนแรงโดยใช้ระเบิดขวด หรือการทีน่ กั ข่าวอิสระรายหนึง่ ได้ใช้ ทวิตเตอร์รายงานข่าวการชุมนุมทางการเมือง ในกรณีเดียวกันโดยสอดแทรกความคิดเห็น และอารมณ์ลงไปในเนื้อหาที่รายงานเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 ในช่วงเวลาต่างๆ ว่า 19:17:59 “เราจะเอาคนดีกลับมา ดูแล ประเทศของเราให้เจริญ กี้ไม่ใช่แดงเทียม แต่ เป็นแดงจากใจ ทำ�เพราะรักชาติ…ถุย!!!” 21:48:52 “มีกองกำ�ลังที่หลังเวทีกำ�ลัง ประชุมอะไรบางอย่าง วันนี้แตกหักแน่ ๆ บน เวทีก็พูดแรงขึ้น…” นอกจากนี้ ด้วยเทคนิคของทวิตเตอร์ที่ ส่งข้อความคราวละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ส่วน หนึ่งก็อาจทำ�ให้ไม่สามารถรายงานรายละเอียด ได้ครบถ้วน ขาดที่มาที่ไป และไม่ได้ตรวจสอบ เพราะแค่รายงานในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและได้ยิน มากับหูเท่านั้น
ผูเ้ ขียนจึงได้ศกึ ษาเรือ่ ง ปัญหาเชิงจริยธรรม ในการนำ�เสนอข่าวสารของสือ่ มวลชนบนทวิต เตอร์ อันเป็นจุลนิพนธ์กอ่ นจบการศึกษา โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจปัญหาการนำ�เสนอ ข่าวสารของสื่อมวลชนบนทวิตเตอร์ในเชิง จริยธรรม ด้วยระเบียบวิธกี ารเชิงคุณภาพ ควบคู่ กับการวิเคราะห์เอกสาร โดยศึกษาเฉพาะข่าวที่ สือ่ มวลชนนำ�เสนอบน ‘ทวิตเตอร์’ เป็นระยะเวลา ทัง้ สิน้ 1 เดือน ระหว่าง 23 กันยายน - 23 ตุลาคม 2553 แล้วนำ�มาวิเคราะห์ในประเด็นการ พิจารณาเชิงจริยธรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) โดยใช้วิธีดำ�เนินการศึกษา ดังนี้
1) วิเคราะห์เนื้อหา ข่าวสารที่ได้คัดเลือกมาแล้วใน เชิงจริยธรรมโดยอาศัยตารางการบันทึกข้อมูล (Coding Sheet) จากกลุ่มตัวอย่างรวม 15 คน แบ่งเป็น - ผู้สื่อข่าวการเมืองของสื่อสำ�นักต่างๆ ประจำ�รัฐสภา 5 คน สำ�รอง 1 คน - ผู้สื่อข่าวการเมืองของสื่อสำ�นักต่างๆ ประจำ�ทำ�เนียบรัฐบาล 5 คน สำ�รอง 5 คน 2) สร้างเครื่องมือตามแนวคิด Potter Box ของ B. Potter, Jr. ใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ นิยามปัญหา (Definition/Facts) คุณค่า ของทางเลือก (Values) หลักในการตัดสินใจ (Principles) และการเคารพต่อสาธารณชน (Loyalties) เพื่อนำ�มาสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สื่อข่าว
ในสังกัดองค์กรสื่อมวลชนที่ใช้ ทวิตเตอร์ในการนำ�เสนอข่าวสาร 3) นำ�ผลการประมวลจากการสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวไปรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ได้แก่ - ผู้เชี่ยวชาญสายวิชาการ: คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการโครงการศึกษา และเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) - ผู้เชี่ยวชาญสายวิชาชีพ: คุณจักรกฤษ เพิ่มพูล บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ 4) นำ�มาวิเคราะห์ นำ�เสนอปัญหา เพื่อ สรุปและอภิปรายผล ในการศึกษา พบข้อความทวิตเตอร์ทต่ี รง กับประเด็นเชิงจริยธรรมทัง้ สิน้ 76 ข้อความ ทั้ง การทวีตและรีทวีต จากการเก็บรวบรวม การนำ�เสนอข่าวสารของสือ่ มวลชนทีป่ รากฏบน ทวิตเตอร์ในระหว่างวันที่ 23 กันยายน – 23 ตุลาคม 2553 ทั้งนี้ประเด็นเชิงจริยธรรมที่พบข้อความ ซึ่งตรงกับประเด็นดังกล่าวคือ 10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
91
1. ประเด็นด้านความถูกต้องของ ข่าวสารพบ 37 ข้อความ 2. ประเด็นด้านการแยกข่าวออกจาก ความเห็นอย่างชัดเจนพบ 14 ข้อความ 3. การย่อความที่ทำ�ให้ข้อมูลบิดเบือน ไปจากข้อเท็จจริงพบ 10 ข้อความ 4. ความเหมาะสมในการใช้ภาษาพบ 8 ข้อความ 5. การอ้างถึงที่มาของข้อความ และ แหล่งข่าวเมื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือ การรายงานข่าวในฐานะสื่อมวลชนพบ 7 ข้อความ 6.ประเด็นด้านการตระหนักในสิทธิ
ส่วนบุคคล สิทธิเด็กสิทธิสตรี และศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์พบ 5 ข้อความ เมื่อนำ�ผลสรุปไปรับฟังความเห็นจาก ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นตรงกันว่า ข้อความกรณีศึกษาทั้งหมดมีปัญหาใน 5 ด้าน คือ (1) ด้านการอ้างถึงที่มาของข้อความและ แหล่งข่าวเมื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (2) ด้านความถูกต้องของข่าวสาร (3) ด้านแยกข่าวออกจากความเห็น อย่างชัดเจน (4) ด้านการย่อความที่ทำ�ให้ข้อมูล บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำ�มาซึ่งข้อสังเกต 3 ประการ ที่วงการ วิชาชีพน่าจะช่วยกันขบคิดต่อไป ได้แก่ 1. ปัจจุบันได้มีข้อปฏิบัติสำ�หรับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ สื่อมวลชนจากสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย เพื่อเป็นเครื่องกำ�กับควบคู่กับเสรีภาพในการนำ�เสนอ ข่าวสาร แต่จรรยาบรรณ (Code of Ethics) ที่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ อาจหยุดยั้งประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรมได้เท่ากับมโนธรรม (Conscience) โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ต้องตัดสินใจระหว่างโอกาสของ ข่าวสารที่ตนได้ แล้วเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่มีผู้ร่วมวิชาชีพอื่นใดได้ กับ ประเด็นที่คาบเกี่ยวกับจริยธรรม นักข่าวจะรู้สึกลำ�บากใจ ประการสำ�คัญ เมื่อมีช่องว่างหรือข้ออ้างที่จะนำ�เสนอข่าวที่ตนเห็นว่า “เด่น” นั้น 2. จุดเด่นทางเทคนิคของทวิตเตอร์คือความรวดเร็วในการสื่อสาร แต่ตรงกันข้ามก็เป็นเรื่องท้าทายนักข่าวที่ต้องเลือกความถูกต้องก่อน ความรวดเร็ว ถ้านักข่าวเห็นว่าความเร็วมาก่อนความถูกต้อง เพราะเห็น ว่าเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ ถ้าเรื่องหรือข่าวนั้นหากเกิดข้อผิดพลาดจะส่งผล 92
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
(5) ด้านการตระหนักในสิทธิส่วนบุคคล สิทธิเด็กสิทธิสตรี และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นแตกต่าง กันในด้านความเหมาะสมในการใช้ภาษา โดย ผู้เชี่ยวชาญในสายวิชาการเห็นว่า เป็นการใช้ ภาษาไม่เหมาะสม ไม่ใช่ภาษาปกติ เป็นภาษา สวิงสวาย เร้าอารมณ์ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ สายวิชาชีพเห็นว่า เป็นเสน่ห์ของการใช้ ถ้อยคำ� เป็นภาษาพาดหัวเฉพาะกลุ่มอาชีพ ในการดึงดูดผู้อ่าน จึงไม่ถือว่าเป็นภาษาที่ไม่ เหมาะสมประการใด
กระทบต่อความเข้าใจหรือความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมค่อนข้างสูง อะไรจะหยุดยั้งความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ของนักข่าว ซึ่งคำ�ตอบอาจไม่ต่าง จากข้อ 1 คือ “มโนธรรม” อันเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า มโนธรรมเช่นนี้จะ เกิดขึ้นในตัวนักข่าวได้อย่างไร 3. กรณีผู้สื่อข่าวใช้ชื่อบัญชีทวิตเตอร์เดียวกันในการนำ�เสนอ ข่าวสารพร้อมกับการทวีตเรื่องส่วนตัว หรือบางคนใช้ในการแสดงความ รู้สึกส่วนตัว แสดงความคิดเห็นลงไปด้วยนั้น ข้อปฏิบัติการใช้สื่อสังคม ออนไลน์ของสื่อมวลชน มีข้อกำ�หนดในเรื่องนี้ไว้ชัดเจนแล้ว จึงขึ้นอยู่กับ แต่ละองค์กรสื่อที่จะมีโนบายในการกำ�กับดูแลบุคลากรในสังกัดอย่างไร สื่อสังคมออนไลน์ที่นับวันยิ่งจะมีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะวงการ สื่อสารมวลชน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นต่อไปเรื่อยๆในอนาคต ซึ่งนอกจากข้อปฏิบัติที่ออกมาแล้วนั้น ไม่ว่าทางองค์กรสื่อหรือตัวบุคคล ผู้มีหน้าที่เป็นสื่อเองจะต้องมีจิตสำ�นึก ให้ความสำ�คัญในการคำ�นึงถึง ความถูกต้องและจริยธรรมมากกว่าที่จะอาศัยเพียงความเร็วในการนำ� เสนออย่างเดียวเท่านั้น
TEXT
Arte e informazione
อาจารย์เชิดชัย ศิริโภคา อาจารย์อนุสรณ์ ศิริปิ่น
อาจารย์ธำ�รงค์ศักดิ์ นิ่มอนุสสรณ์กุล
96
อาจารย์ขจรพล เชิญขวัญศรี
อาจารย์ชวนพ ชีวรัศมี
อาจารย์มาย ยินชัย
อาจารย์มานพ เอี่ยมสะอาด
อาจารย์สุภาพร หนูก้าน
อาจารย์ชญานิศ ต้นเทียน
อาจารย์วิชชากร สวนทรง
อาจารย์บรรหาร แก้วลือ
อาจารย์ณัฐวัชร บุญเทียมทัด
อาจารย์พอสิทธิ์ ชัยมณี
104
อาจารย์ตติยา ซีบังเกิด
อาจารย์ฉายสิริ พัฒนถาวร
กำ�พล กรนานันท์
ววรรณภาพร สีแดง
อภิสิทธิ์ ปุ่มเพชร
ยุวดี เพ็ชรประไพ
บุญช่วย จันทร์เฮ้า
107
อาจารย์วิทยา ทานะมัย
อาจารย์สาวิน สืบสหการ
และ... อาจารย์เครือแข โพธิ์ทอง อาจารย์นัสยา ปาติยเสวี อาจารย์ปฐมวรรณ จันทรารมย์ อาจารย์บริภัทร กิจจาบัญชา *ลาศึกษาต่อ
109
ICT SU Home
การใช้เฟซบุ๊ก
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง วรินทร์
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนเป็นสิ่งสำ�คัญที่ ขาดไปไม่ได้สำ�หรับการปกครองระบบประชาธิปไตย ด้วยแนวคิดหลัก ของประชาธิปไตยคือการปกครองที่มาจากประชาชน แต่ละยุคสมัยที่ ผ่านมาประชาชนเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ทว่าบางครั้งระบบสภาก็ไม่ สามารถตอบสนอง หรือมองเห็นปัญหาที่แท้จริงของประชาชนทุกกลุ่ม ได้ กลุ่มเรียกร้องทางการเมืองจึงเกิดขึ้นด้วยบุคคลผู้มีแนวคิด ความต้องการแบบเดียวกันและกระทำ�การใดๆ อันมีจุดมุ่งหมายให้ เสียงของปัญหาไปถึงผู้ที่มีอำ�นาจการตัดสินใจ สิ่งหนึ่งที่มีผลอย่างมากต่อพลังในการเรียกร้องทางการเมืองเหล่า นี้คือพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิด และสิ่งที่ต้องการเรียกร้อง แต่สื่อมวลชนซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถสื่อข้อมูลไปยังผู้รับได้เป็น จำ�นวนมาก ไม่สามารถนำ�เสนอได้ทุกสิ่ง จากการถูกปิดกั้นด้วยปัจจัย ทางด้านทุน หรือถูกควบคุมโดนผู้มีอำ�นาจทางการเมือง การเข้ามาของสื่อใหม่ได้ตอบสนองความต้องการดังกล่าว เนือ่ งด้วย การมีพื้นที่อันไม่จำ�กัด และสามารถเข้าถึงผู้คนได้ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใด ของโลกด้วยการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พื้นที่ดังกล่าว เช่น เว็บไซต์ อีเมล บล็อก ชุมชนเสมือน เป็นต้น เป็นพื้นที่เปิดกว้าง 110 10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN
และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รับสารได้โดย ทันที ทั้งยังเชื่อมโยงผู้คนได้จำ�นวนมาก ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ก่อให้ เกิดเป็น ชุมชนเสมือนขึ้น ซึ่งมีลักษณะเหมือนชุมชนหนึ่ง ที่รวมกลุ่ม ของคนที่มีแนวคิด จุดมุ่งหมายเดียวกันมารวมตัวกัน กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เป็นกลุ่มแนวคิดอีกกลุ่มหนึ่งที่แยกย่อย มาจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ซึ่งมีแนวคิดจุด ประเด็นทางการเมืองให้กับสังคม โดยใช้การจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ แทนการปราศรัย และการชุมนุมประท้วงเพียงอย่างเดียว โดยใช้ พื้นที่ชุมชนเสมือนอย่าง เว็บไซต์เฟซบุ๊ก เพื่อสร้างบทบาทให้ตนเอง ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีลักษณะคือ เมือ่ ผูด้ แู ลแฟนเพจซึง่ ในทีน่ ค้ี อื นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำ�กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ได้โพสข้อความที่แสดงถึงแนวคิด การขอความเห็น หรือการนัดหมายใดๆ ลงไป ผู้ที่ติดตามแฟนเพจ สามารถที่จะแสดงปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยการตอบโต้แสดงความคิดเห็น หรือกด ถูกใจ ข้อความใดๆ ซึ่งกระบวนการของการใช้เฟซบุ๊ก มีทั้งกระบวนการที่เกิดขึ้น บนเฟซบุ๊ก และที่ออกไปสู่สาธารณะ โดยจากการศึกษาวิจัยได้ข้อสรุป ออกมาดังนี้
จุดเริ่มต้นของกระบวนการอยู่ที่แกนนำ�ของกลุ่มจะเป็นผู้หยิบ ประเด็นขึ้นมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้นๆ หรือประเด็นอันเป็นข้อถกเถียงต่างๆ แล้วจึงแสดงความคิดเห็น หรือ ให้ข้อมูลของประเด็นนั้นๆ ลงบนแฟนเพจ ซึ่งเป็นการเปิดประเด็นให้ ผู้ที่ติดตามแฟนเพจอยู่ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น จากนั้นวาทกรรม ทางเลือก หรือวาทกรรมที่ต่อต้านวาทกรรมกระแสหลักจะถูกสร้างขึ้น เป็นเสมือนแกนของกิจกรรมในครั้งนั้นๆ แสดงออกถึงสิ่งที่ต้องการ เรียกร้อง และสะท้อนภาพของกิจกรรมที่จะจัดขึ้น ซึ่งวาทกรรมอาจจะ เกิดขึ้นจากตัวแกนนำ�เอง หรืออาจจะมาจากกระแสการพูดคุยในสังคม ทั่วไป หรือบนหน้าแฟนเพจก็ได้ หลังจากที่แนวทางของกิจกรรมเป็นรูปร่างมากขึ้น ก็เข้าสู่ขั้นตอน การสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการระบุถึงรายละเอียดของกิจกรรมว่า จะทำ�อะไร อย่างไร โดยจะได้ผลมาจากการแสดงความคิดเห็นต่างๆ และข้อสรุปจากตัวแกนนำ�กลุ่มเอง และผลสรุปที่ได้จากขั้นตอนนี้จะ กลายเป็นมติกลุ่ม หรือมติของมหาชน
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการระดมมวลชนด้วยการสรุป รวมกิจกรรมครั้งนั้นๆ และประกาศออกไปบนแฟนเพจ เพื่อเป็นการ เชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม หลังจากนี้ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่อยู่นอกเหนือแฟนเพจนั่นคือการขยาย กิจกรรมนี้ไปสู่สาธารณะ แม้จะจบกระบวนการไปแล้ว แต่แท้จริงยังคง มีประเด็นเหลือต่อให้กลับไปขบคิดเป็นประเด็นทางการเมืองอีกครั้ง ขั้นตอนที่น่าสนใจที่สุดคือขั้นตอนการสร้างข้อถกเถียง การสร้าง การมีส่วนร่วม และการระดมมวลชน เนื่องจากทั้งสามขั้นตอนเป็นขั้น ตอนที่ใช้ใช้ลักษณะของเฟซบุ๊กอย่างชัดเจน ผลสรุปคือ ขั้นตอนการ
สร้างข้อถกเถียง ผู้เข้าชมกดแสดงความถูกใจ และแสดงความคิดเห็น ต่อข้อความลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ ขั้นตอนการสร้างการมีส่วนร่วม ผู้เข้าชมกดแสดงความถูกใจต่อข้อความลักษณะการปลุกระดม และ แสดงความคิดเห็นต่อข้อความลักษณะบอกเล่ามากที่สุด และในขั้น ตอนการระดมมวลชน ผู้เข้าชมให้กดแสดงความถูกใจ และแสดงความ คิดเห็นต่อต่อข้อความลักษณะบอกเล่ามากที่สุด จากการศึกษาจนได้ออกมาเป็นแบบจำ�ลองของการใช้เฟซบุ๊ก เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พบว่า แม้ไม่ครบถ้วนกระบวนการก็ยังสามารถสำ�เร็จออกมาเป็นกิจกรรมได้ โดย หากขาดขั้นตอนใดไปจะถูกเติมด้วยตัวแกนนำ�เองเป็นผู้คิด ซึ่ง ผลของกิจกรรมที่ขาดการมีส่วนร่วมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปทำ�ให้ กระบวนการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมเป็นไปได้ไม่เต็มที่ เพราะการมี ส่วนร่วมของผู้เข้าชมในเฟซบุ๊กมีน้อยลง
ภาพรวมของงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงแนวทางในการ มีส่วนร่วมทางการเมืองแบบใหม่ในปัจจุบัน ที่สามารถช่วยผลักดัน ให้ประเด็นเล็กๆ หรือประเด็นที่ไม่ใช่เรื่องกระแสหลักเป็นที่สนใจของ สังคมใหญ่ได้
10th ANNIVERSARY ICT SILPAKORN 111
ล่า-ท้า-ฝัน
A Midsummer Night’s Dream
112
วิไลเลือกคู่
หลังจากประสบความสำ�เร็จกับละครเวทีมาแล้ว 2 เรื่องคือ “ล่า ท้า ฝัน” ปี 2009 และ “วิไลเลือกคู่” ปี 2010 ที่ต้องเพิ่มรอบการแสดงเพื่อให้พอกับความต้องการของ ผู้ชม ปีนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร กลับ มาอีกครั้งในวาระพิเศษ 10 ปีคณะ กับละครเวที เรื่อง “A Midsummer Night’s Dream” ซึ่งเป็นบทประพันธ์คลาสสิคของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ (William Shakespear) ซึ่งเพิ่งเปิดม่านการแสดงไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จากแนวคิดหลักของละครเวที ปีนี้ ต้องสื่อสารถึงวาระพิเศษ จัดอย่างยิ่งใหญ่ให้สมกับไอซีทีมีอายุครบ 10 ปี จะ สวยงามแค่ไหน เรามีประมวลภาพของละครเวทีทั้ง 3 เรื่องมาให้ชมกัน
113
ภาพกิจกรรม
กิจกรรมรับน้องใหม่
บรรยากาศการเรียนการสอน Visual Art II
114
งานพิธีไหว้ครูและครอบครูช่าง เพชรบุรี
งานวันศิลป์ พีระศรี และแสดงศิลปกรรมคณาจารย์
115
116