เปลี่ยนเมืองกรุงเป็นเมืองกรีน

Page 1

เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง www.thaigreenmarket.com

ISSUE 1 ก.ค. – ก.ย. 56 ------------------

▲ ตำ�รับผักนอกตำ�รา

/ ชวนกินผักมีรู

▲ PGS/

ตอนที่ 1 กว่าจะ เป็นการรับรองเกษตร อินทรีย์ชุมชนแบบ มีส่วนร่วม

▲ ในสวนของคนปลูก

ISSUE 1 พรรณไม้/ เชื้อบางชนิด ก.ค. – ก.ย. 56 ▲ น่ารัก ผักไร้สารพิษ -----------------/ ตอน ไม่รู้ ▲เปลี่ยนเมืองเป็นเมือง ▲เปลี่ยนเมืองเป็นเมือง ▲เปลี่ยนเมืองเป็นเมือง ▲เปลี่ยนเมืองเป็นเมือง ▲เปลี่ยนเมืองเป็นเมือง ▲เปลี่ยนเมืองเป็นเมือง

กรีน


contents

1

4

7

9

11

12

• ตำ�รับผักนอกตำ�รา/ชวนกินผักมีรู 1 • PGS/ตอนที่ 1 กว่าจะเป็นการรับรองเกษตรอินทรีย์ 4 ชุมชนแบบมีส่วนร่วม • แกะกล่องผัก/โครงการระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA 7 • ในสวนของคนปลูกพรรณไม้/เชื้อบางชนิด 9 • น่ารัก ผักไร้สารพิษ/ตอน ไม่รู้ 11 • ผักพื้นบ้านในดวงใจ/ผักเฮือด 12 • กิจกรรมกรีนกรีน 15

แนะนำ�นักเขียน

เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ตำ�รับผักนอกตำ�รา

ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กับคอลัมน์ “ต�ำรับผักนอกต�ำรา” จะมาบอกเล่าเกร็ดน่ารู้มากมายเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการ ปลูกผักไร้สารพิษ แมลง วัชพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงเริม่ ต้นหรือรอยต่อระยะปรับเปลีย่ นการผลิต แหละเชือ่ ว่าหลังจาก อ่านฉบับนี้ ทุกท่านจะรูจ้ กั และเข้าใจ ‘ผักมีร’ู กันมากขึน้ นคร ลิมปคุปตถาวร หรือเจ้าชายผัก ชายหนุ่มรอยยิ้มเบิกกว้าง ผู้หลงรักการปลูกและทานผักอินทรีย์เป็น ชีวิตจิตใจ กับคอลัมน์ “PGS ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม” เรามาดูกันว่าพลังของผู้ผลิตและผู้บริโภค จะร่วม กันสร้างระบบการันตีมาตรฐานผักอินทรีย์หรือออร์แกนิคกันได้อย่างไร โดยไม่ต้องง้อตรารับรองราคาแพง ๆ ปุม้ -มิม้ สองสาวรุน่ ใหม่ไฟแรง ผูแ้ ข็งขันขับเคลือ่ นเครือข่ายตลาดสีเขียวมาตลอดหลายปี ทัง้ ล่าสุดยังผลักดัน ให้เกิดระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างประสบความส�ำเร็จ จะมาสลับกันเขียนบอกเล่า เรือ่ งราวทีม่ าและความเป็นไปอย่างต่อเนือ่ งของระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA กับคอลัมน์ “แกะกล่องผัก” แก่คณ ุ ผู้ อ่านกันค่ะ พีต่ งิ่ หรือกวีสายเลือดใต้นามปากกา ปราชญ์ อันดามัน ผูบ้ กุ บัน่ มุง่ มัน่ เสริมแรงเกษตรกรกลุม่ เล็กๆ ในปริมณฑล ให้ปลูกผักอินทรียฝ์ า่ วงล้อมกระแสผักเคมีอนั เชีย่ วกราก ตลอดจนร่วมริเริม่ ก่อตัง้ ศูนย์เรียนรูก้ ารรับและกระจายผลผลิต เกษตรอินทรียช์ มุ ชน LDC และวิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ จะมาถ่ายทอดเรือ่ งราวชีวติ จริงทีเ่ กิดขึน้ ในแปลง กับคอลัมน์ “มีอะไรในพืน้ ที”่ คุณต้องการ พี่สาวอารมณ์ดีและนักเขียนการ์ตูนมือเอก โดยผลงานล่าสุดได้แก่หนังสทอภาพชื่อ “กล่อง ความทรงจ�ำ” ซึ่งดูแลรักษาสุขภาพของเธอเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาหลายปีภายหลังฟื้นฟูจากโรคร้าย เธอจะมา ขีดสายลายเส้นน่ารัก ๆ ด้วยสีสันจากไม้ดอกไม้ใบธรรมชาติ พร้อมแบ่งปันแง่มุมดี ๆ ของชีวิตแบบไม่พึ่งพาสารเคมี แก่คุณผู้อ่านในคอลัมน์ “น่ารัก ผักไร้สารพิษ” คุณรวิวาร โฉมเฉลา นักเขียนและนักแปลแห่งขุนเขาเชียงดาว ซึ่งก�ำเนิดและเติบโตมาในวิถีชีวิตพื้นบ้าน จะมาเล่าขานเรื่องราวผักพื้นบ้านในวานวัยของเธอ สลับแทรกภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมิให้เหล่าเราคนเมือง หลงลืม เสริมข้อมูลเชิงพฤกษศาสตร์และคุณประโยชน์เชิงโภชนาการของผักพืน้ บ้าน เชิญคุณผูอ้ า่ นในเมืองได้ซมึ ซับ ไปพร้อม ๆ กับเธอในคอลัมน์ “ผักพื้นบ้านในดวงใจ” และสุดท้าย หน้อยเอง คนเมืองผู้หลวมตัว หลงหายเข้ามาในวังวนแห่งวิถีชีวิตสีเขียว และกว่าจะรู้ตัวก็หลง รักจนถอนตัวไม่ขึ้นซะแล้ว จะมาร่วมแจมเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับกิจกรรมดี ๆ ที่ ‘โครงการพัฒนากลไกการเชื่อมโยงผัก ไร้สารพิษจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่านช่องทางตลาดสีเขียว’ ของเราจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกท่านไม่พลาดข้อมูล กิจกรรมสีเขียว กับคอลัมน์ “กิจกรรมกรีนกรีน” ค่ะ

ที่ปรึกษา นางวัลลภา แวนวิลเลี่ยนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข กองบรรณาธิการ ชญานี ศตะภัค จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก อธิพาพร เหลืองอ่อน ประเกียรติ ขุนพล สันติ ศรีรอดปาน ศิลปกรรม ชาคริต ศุภคุตตะ ภาพปก วลัยกร สมรรถกร ผู้จัดทำ� โครงการพัฒนากลไกการเชื่อมโยงผักไร้สารพิษ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่านช่องทางตลาดสีเขียว บริษัท สวนเงินมีมา จำ�กัด

กรีน

“ชวนกินผักมีรู” เรื่องและภาพ: ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์

ผู้สนับสนุน

จากใจทีมงาน สวัสดีคณ ุ ผูอ้ า่ นทุกท่านค่ะ ขอต้อนรับสูว่ ารสารออนไลน์ “เปลี่ยนเมืองกรุงเป็นเมืองกรีน” ฉบับปฐมฤกษ์ของ ‘โครงการ พัฒนากลไกการเชื่อมโยงผักไร้สารพิษจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่าน ช่องทางตลาดสีเขียว’ วารสารรูปแบบสือ่ อิเล็คทรอนิกส์ทนั สมัย ให้คุณผู้ทุกท่านเข้าถึงอย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วคลิก โดยเกิด จากความตั้งใจของทีมงานที่ต้องการผลักดันให้ผู้อ่านได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสารผักไร้สารพิษ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และช่องทางต่าง ๆ ในเครือข่ายตลาดสีเขียว ตลอดจนสอดแทรกเกร็ดความรูอ้ นั เป็น ประโยชน์เกี่ยวกับวิถีชีวิตการกินอยู่แบบไม่พึ่งพาสารเคมีค่ะ และธีมหลักของเนื้อหาในฉบับนี้คือ จุดเปลี่ยนสู่วิถีชีวิต สีเขียว หลากหลายเรื่องราวที่เลือกสรรน�ำมาเรียงร้อยให้ผู้อ่าน ได้รับสาระบันเทิงถ้วนทั่ว ล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากนัก วิชาการ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ทั้งคนเมืองและต่างจังหวัด ที่พลิกผัน หันชีวิตเข้าสู่วิถีแห่งธรรมชาติ ส�ำหรับทีมงาน ผู้เขียนคอลัมน์ รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกท่านที่ไม่ได้เอ่ยชื่อในการผลิตวารสารฉบับนี้ แม้เราจะเป็น คนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมแต่ก็มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งแรง กระเพื่อมสู่มหาชนให้รับรู้ถึงเรื่องราวผักไร้สารพิษและวิถีการ บริโภคสีเขียวอันเปีย่ มคุณค่า การจัดท�ำวารสารฉบับปฐมฤกษ์นี้ ท�ำให้พวกเรารูส้ กึ สดชืน่ มีพลัง และได้รบั แรงบันดาลใจมากเป็น พิเศษ ทั้งซาบซึ้งใจกับผู้อยู่เบื้องหลังและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ เสียสละเวลามาร่วมกันท�ำวารสารฉบับนีโ้ ดยไม่ลงั เลใจ หวังเป็น อย่างยิง่ ว่าผูอ้ า่ นทุกท่านจะชืน่ ชอบและได้รบั อรรถประโยชน์จาก การอ่านวารสารออนไลน์ “เปลีย่ นเมืองกรุงเป็นเมืองกรีน” ค่ะ สุดท้ายนี้ อยากกล่าวจากใจว่า ขอขอบคุณบรรดาคุณผู้ อ่านทีใ่ ห้โอกาสพวกเราค่ะ. หน้อยเอง

จะดีแค่ไหนถ้าผู้บริโภคอย่างเรา ๆ หันกลับมาปรับความคิด ความเชื่อ ให้อยู่บนเกณฑ์ของความเป็นจริง ตามธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เลือกซือ้ เลือกทานผักสดตามฤดูกาล ของแต่ละท้องถิ่น

> 1


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

< 2

ผัก

สดมี ป ระโยชน์ ม ากมาย เนื่องจากมีทั้งวิตามินและ เกลือแร่ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายมีความ สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนช่วยระบบย่อย อาหารและระบบขับถ่ายให้ท�ำงานเป็น ไปตามปกติ ไม่เสีย่ งต่อการเป็นโรคมะเร็ง ในระบบทางเดินอาหาร แต่ผักสดที่เรา เห็นนั้นไม่ว่าสภาพจะอวบสวยสมบูรณ์ หรือมีรจู ากรอยกัดกินของแมลงนัน้ อาจ แอบแฝงไปด้วยสารเคมีและจุลนิ ทรียก์ อ่ โรคต่าง ๆ ซึ่งผักสดทั้งที่มีรูและไม่มีรูจะ ดีหรือไม่ดีนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตาม การปฏิบตั ขิ องผูป้ ลูก โดยทีม่ าของผักมีรู หรื อ รู บ นใบผั ก นั้ น จะมาจากการถู ก รบกวนและกัดกินจากหนอนและแมลง ต่างๆ ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนกระทูผ้ กั หนอนกระทู้หอม ด้วงหมัดกระโดด เต่า แตง เป็ น ต้ น แมลงเหล่ า นี้ มั ก กั ด กิ น ท�ำลายผัดสดตัง้ แต่ยงั เล็ก และเมือ่ พืชถูก แมลงหรือหนอนกัดใบเป็นแผลแล้ว จะ ท�ำให้เห็นรอยแผลนั้นไปตลอดอายุของ

พืช ซึง่ ไม่วา่ ผูป้ ลูกจะควบคุมแมลงสาเหตุ ของรูดังกล่าวด้วยวิธีการใดก็ตาม ไม่ว่า จะใช้สารเคมีป้องกันก�ำจัดแมลงหรือใช้ สารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ ตามแนวทางเกษตร อินทรีย์ เราก็จะยังคงเห็นร่องรอยการถูก กัดกินบนใบผักอยู่เสมอ ขณะเดียวกันภาพลักษณ์ของผักมี รูก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการรับฟังจาก สือ่ ประชาสัมพันธ์ตา่ ง ๆ ของแต่ละบุคคล ในสมัยเด็กเรามักจะเคยได้รบั การสัง่ สอน จากคุณครูและผู้ปกครอง รวมทั้งได้ยิน กันอยูเ่ สมอว่า “ถ้าจะเลือกซือ้ ผักสดก็ให้ เลือกผักที่เป็นรูเล็กน้อย เพราะว่าจะ ปลอดภัยกว่าผักทีด่ สู วยงาม ไม่มรี อ่ งรอย จากการกัดกินของหนอนและแมลง” แต่ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป สิ่งต่าง ๆ ย่อม เปลีย่ นแปลงไปตามกัน ท�ำให้ปจั จุบนั เรา มักจะได้ยนิ กันว่า “เกษตรกรพ่นสารเคมี ป้องกันก�ำจัดแมลง เพราะมีแมลงมากัด กิน” ท�ำให้ผบู้ ริโภคเกิดความสับสน และ เกิดค�ำถามในใจว่าอะไรจะมาเป็นบท พิสูจน์ว่า ผักมีรูนั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภค

อย่างพวกเรา จากพฤติกรรมผู้บริโภคโดยทั่วไป มักต้องการของดีและของถูก แต่ถ้าเรา หันกลับมามองในมุมของเกษตรกรแล้ว นั้น ของที่ดี และถูกในเวลาเดียวกัน ไม่ สามารถท�ำได้โดยง่าย เพราะการผลิตพืช ผักทีด่ ปี ราศจากสารเคมีหรือสิง่ ปนเปือ้ น ต้องอาศัยปัจจัยทางการผลิตมากมาย เช่น ระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสม ดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ และน�้ำที่ปราศจากการปนเปื้อน เป็นต้น สิง่ เหล่านีเ้ ราต่างก็ทราบกันดีวา่ ต้องใช้ระ ยะวลาในการสร้างสมดุลและบ�ำรุงรักษา อย่างสม�่ำเสมอ หากพื้นที่นั้น ๆ ขาดการ ดูแลเอาใจใส่ ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะ สามารถปลูกพืชผักที่ดีให้แก่ผู้บริโภคได้ หากจะมองในมุมของความต้องการของ ผู้บริโภค (ตลาด) และความสามารถใน การผลิตหรือปลูกผักแล้ว ความต้องการ ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความต้องการนั้น ๆ ก็ยังตั้งอยู่บนเกณฑ์ ของของดีและถูก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่

จะเกิดความสมดุลระหว่างความต้องการ ของผู้บริโภค และความสามารถในการ ผลิต เมือ่ เกิดความต้องการมาก เกษตรกร ก็ยอ่ มมีความต้องการผลิตพืชผักให้เพียง พอและรวดเร็ ว เพื่ อ ส่ ง ออกสู ่ ต ลาดผู ้ บริโภค โดยอาศัยตัวช่วยอย่างสารเคมี หรือฮอร์โมนเร่งผลผลิตต่าง ๆ มาเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต ให้พืชผักมีขนาด ใหญ่ ผิวเรียบ สวยงาม และได้ปริมาณ มากๆ จนลืมค�ำนึงไปถึงผลกระทบทาง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม การเดินซ�้ำ รอยเดิม คิดแบบเดิม เลือกกิน เลือกใช้ ในแบบเดิมๆ ย่อมท�ำให้ทั้งตัวผู้บริโภค และเกษตรกรต้องวนเวียนอยู่กับปัญหา เดิมๆ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่จะมารบกวน ท�ำให้เจ็บป่วยแล้ว ผู้บริโภคยังต้องวิตก กังวลกับการปนเปือ้ นของสารเคมีตกค้าง และเชื้อโรคต่าง ๆ จากพืชผัก ในขณะที่ เกษตรกรก็ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ จากการใช้สารเคมีและการฟืน้ ฟูบ�ำรุงดิน รวมไปถึงต้นทุนทางการผลิตที่มักจะสูง ขึน้ ทุกปีและสารเคมีใช้ไม่ได้ผล เนือ่ งจาก

การดือ้ สารเคมีของแมลงศัตรูพชื แล้ว จะ ดีแค่ไหนถ้าผู้บริโภคอย่างเรา ๆ หันกลับ มาปรั บ ความคิ ด ความเชื่ อ ให้ อ ยู ่ บ น เกณฑ์ของความเป็นจริงตามธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม เลือกซือ้ เลือกทานผักสด ตามฤดูกาลของแต่ละท้องถิ่น ไม่ยึดติด กั บ รู ป ลั ก ษณ์ ภ ายนอกมากเกิ น ไปจน พัฒนาไปเป็นเกณฑ์ที่สูง และผูกมัดผู้ ปลู ก ที่ จ ะหั น ไปเลื อ กใช้ ส ารเคมี แ ละ ฮอร์โมนสังเคราะห์ต่างๆ อีก เมื่อเกิด ความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ปลูกและผู้ กินเช่นนี้แล้ว เกษตรกรผู้ปลูกก็จะมีการ ปรับ ตัวในการปลูกพืชผักที่ต้องพึ่งพา ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและงด การใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อไป ทั้งนี้การ ปลู ก พื ช ผั ก ตามฤดู ก าลจะช่ ว ยให้ ก าร เพาะปลูกเป็นไปอย่างธรรมชาติ สิง่ มีชวี ติ ต่างๆ ในพื้นที่การเพาะปลูกได้ท�ำหน้าที่ ของกันและกันอย่างเต็มที่ ถึงแม้วา่ พืชผัก ที่ เจริ ญ เติ บ โตขึ้ น นั้ น อาจจะมี รู ป ร่ า ง หน้าตาที่ไม่สวยงามไปบ้าง มีรูพรุนบ้าง มีการกัดแทะของหนอนหรือแมลงบ้าง

กรีน

แต่สงิ่ เหล่านีจ้ ะช่วยเป็น ตัวบ่งบอกให้เรา เชื่อและไว้วางใจได้ว่า พืชผักที่เราเลือก นั้นปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสาร เคมีได้ทางหนึง่ และนัน้ ย่อมเป็นผลดีทงั้ ต่อผู้บริโภคและเกษตรกรอย่างดีเยี่ยม ในวั น นี้ ถ้ า ถามว่ า ผั ก มี รู นั้ น ปลอดภัยหรือไม่ ผู้เขียนก็ยังคงมั่นใจว่า ผักมีรูนั้นยังคงปลอดภัยต่อการบริโภค มากกว่า ผักที่มีใบเรียบสวย ไม่มีรอยกัด กินของแมลง ภายใต้เงื่อนไขของการ เลื อ กซื้ อ ผั ก ตามฤดู ก าล และการล้ า ง ท�ำความสะอาดพืชผักอย่างถูกต้องก่อน น�ำไปประกอบอาหาร รวมถึงการเลือก ซือ้ ผักสดจากแหล่งผลิตหรือแหล่งปลูกที่ ไว้วางใจได้ หากเราทราบอย่างนีแ้ ล้ว การ ทานผักที่มีรูหรือไม่มีรูนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่เรา ต้องวิตกกังวลกันอีกต่อไป

> 3


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

PGS ตอนที่ 1

กว่าจะเป็นการรับรอง

เกษตรอินทรียช์ มุ ชน แบบมีส่วนร่วม เรื่องและภาพ: เจ้าชายผัก

< 4

กรีน

้ ผมอยากจะเล่าถึง บทความนี ความเป็ น มาเป็ น ไปว่ า

ท�ำไมเพื่อน ๆ พี่น้องชาวเครือข่ายตลาด สีเขียวต้องมาสนใจและส่งเสริมเกษตร อินทรียช์ มุ ชน และระบบการรับรองแบบ มีส่วนร่วม จากที่ได้รู้จักกันมามากกว่า 5 ปี เต็ม ๆ ผมก็ได้เห็นความตัง้ ใจและการผุด บั ง เกิ ด ทั้ ง แนวทาง “เกษตรอิ น ทรี ย ์ ชุมชน” และ “ระบบการรับรองแบบมี ส่วนร่วม” ที่เพื่อน ๆ พี่น้องเครือข่าย ตลาดสีเขียวทุกท่านได้ปลุกปัน้ มาด้วยกัน ในมุมมองและประสบการณ์ของ ผม ผมเห็นว่าพวกเราเริม่ ต้นจากการทีไ่ ด้ เริ่มท�ำงานรณรงค์ให้เกิด “ตลาดนัดสี เขียว” ในเมืองฟ้าอมรกับเขาบ้าง ซึ่งนั่น ก็เป็นเหตุการณ์แรกที่ท�ำให้เราได้พาน พบมาเจอกันในเมื่อครั้งที่ผมยังเป็นนัก วิจัยเรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ขณะ ที่ ยั ง เป็ น นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทอยู ่ ที่ ธรรมศาสตร์ ท�ำให้ได้เจอกับเหล่าผู้คนที่ กรุยทางเกษตรอินทรีย์ชุมชนไว้หลาย ท่าน ทัง้ ป้าหน่อย Health Me พีต่ มั้ จาก Dairy Home พี่ทิพย์ อุดมชัยฟาร์ม รวม ไปถึง พี่ห่วนจากสวนเงินมีมา พร้อมทั้ง น้อง ๆ ทีมงานทั้ง น้องมิ้ม น้องโจ๊ก ที่ยัง คงเป็นก�ำลังส�ำคัญในทุกวันนี้ ก่ อ เกิ ด จากการเยี่ ย มฟาร์ ม สู ่ ต้นแบบระบบการรับรองแบบมีสว่ นร่วม นอกไปจากการส่งเสริมตลาดของผู้ ผลิตและผู้บริโภคอย่างตลาดสีเขียวแล้ว กิ จ กรรมการเยี่ ย มฟาร์ ม ก็ นั บ เป็ น กิจกรรมหนึง่ ทีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้นทีส่ �ำคัญของ การเรี ย นรู ้ เ กษตรอิ น ทรี ย ์ ใ นวิ ถี ชุ ม ชน เพราะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ผ่าน การได้รู้จักกันและเรียนรู้วิถีชีวิต วิถีการ ผลิตของเกษตรกรอินทรีย์ ท�ำให้เกิด ความสัมพันธ์ระหว่า งกันและกันทั้งผู้ ผลิตและผู้บริโภค และได้เป็นต้นแบบ

ของการรับรองแบบมีสว่ นร่วมในเวลาต่อ มา เพราะเมื่อได้มาร่วมหัวจมท้ายใน ตลาดสีเขียวแห่งแรกในเมืองกรุง ที่เรา เรี ย กกั น ติ ด ปากว่ า “ตลาดสี เ ขี ย ว รีเจนท์” ก็ได้มีโอกาสร่วมพัฒนาตลาด แห่งนี้ร่วมกัน ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรม การประชุมหลังตลาด ที่มีไว้เพื่อแลก เปลีย่ นสารทุกข์สขุ ดิบ ไปพร้อม ๆ กันกับ การดูแลกันและกัน กิจกรรมที่ผมได้มี โอกาสมีส่วนร่วมออกแบบและพัฒนา คือ ระบบการรับรองผู้ผลิตของตลาดที่ น�ำเอากิจกรรมการเยี่ยมฟาร์มมาผสาน กั บ การประชุ ม หลั ง ตลาด ท�ำให้ เ กิ ด แนวทางการคัดเลือก “เพื่อน” ที่จะมา เข้าร่วมตลาดนัดเล็ก ๆ ของเรา เราเริม่ จากก�ำหนดมาตรฐานง่าย ๆ ที่ ย อมรั บ ร่ ว มกั น ได้ ว ่ า ผลผลิ ต และ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ต่ ล ะประเภทนั้ น ต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ อ ย่ า งไร ซึ่ ง หั ว ใจอยู ่ ที่ ก าร สนับสนุนการผลิตแบบเกษตรอินทรียใ์ ห้ ได้มากที่สุดเท่าที่ชุมชนของเราจะท�ำได้ นัน่ เอง ไม่วา่ เกษตรกรหรือผูผ้ ลิตจะได้รบั การรับรองมาจากมาตรฐานใดหรือหน่วย งานใด หรือไม่มีการรับรองจากหน่วยใด เลยก็ตาม ในตลาดที่มีวิธีการเยี่ยมเยือน ถึงแหล่งและกระบวนการผลิตตลอดจน ข้อก�ำหนดมาตรฐานร่วมกันนี้ เราก็จะ ยึ ด ถื อ เกณฑ์ ที่ ย อมรั บ ร่ ว มกั น นี้ เ ป็ น มาตรฐานเดียวกัน สร้ า งความสั ม พั น ธ์ แ ละเรี ย นรู ้ ศั ก ยภาพของเกษตรกร สู ่ โรงเรี ย น ชาวสวนและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ชุมชน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงได้รับค�ำเชิญจาก ทีมงานสวนเงินมีมา ให้มาร่วมพัฒนา โครงการตลาดนัดสีเขียวในโรงพยาบาล ในระยะต่อมา ซึ่งก็เป็นช่วงที่ได้พบกับ แนวคิดเรือ่ ง ระบบการรับรองแบบมีสว่ น

ร่วม จากบทเรียนจากพื้นที่อื่น ๆ ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ที่เป็นข้อค้น พบและข้อเสนอในงานที่ผมท�ำอยู่ด้วย นัน่ เอง ท�ำให้เห็นว่าความเคลือ่ นไหวเรือ่ ง นี้ก็ตรงกันกับประสบการณ์ที่เราก�ำลัง ด�ำเนินร่วมกันอยู่ในเครือข่ายตลาดสี เขี ย ว จึ ง ท�ำให้ ผ มไม่ ลั ง เลใจที่ จ ะน�ำ แนวคิดเรื่อง “ระบบการรับรองแบบมี ส่วนร่วม” มาเป็นแนวทางและกิจกรรม หนึง่ ของโครงการ ซึง่ ก็ท�ำให้เราได้เรียนรู้ และพบเจอผู้คนที่มีหัวใจอินทรีย์ ที่เร้น กายแฝงตัวอยูใ่ นชุมชนอย่าง ลุงเทพ สวน ชะเอมทิพ และมูลนิธิเอ็มโอเอไทย ที่ยัง คงเป็นพันธมิตรของเราเสมอมา ตลอด จนได้มารู้จักเกษตรกรในเขตชานเมือง หลาย ๆ ท่านที่เริ่มจะหันมาท�ำเกษตร แบบปลอดภัยหรือปลอดสารพิษอย่างลุง บ�ำเพ็ญผู้วายชนม์ พี่ด�ำรง พี่ปุ๊ พี่เรียม พี่ เชิด พี่บุญมา พี่เป้า แม่เกษร ในช่ ว งเวลาถั ด มาทางเครื อ ข่ า ย ตลาดสี เขี ย วก็ ไ ด้ พั ฒ นาโครงการน�ำ ผลผลิตไร้สารพิษเข้าสู่ครัวโรงพยาบาล ตลอดจนการรณรงค์การบริโภคผักไร้สาร พิษให้กับสังคมไทย จึงเป็นจังหวะให้ เครือข่ายฯ ได้ท�ำงานอย่างแนบชิดกับ เกษตรกรเหล่านี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จนก่อ เกิดกลายเป็นกิจการร่วมกันหลายอย่าง ทั้ง วิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ โครงการกล่ อ งผั ก หรื อ ระบบ CSA (Community Supported Agriculture) จ า ก ก า ร ท�ำ ง า น ร ่ ว ม กั น กั บ เกษตรกรนี้เอง ท�ำให้เราได้เรียนรู้ว่าการ รับรองร่วมกันเพื่อดูแลคุณภาพการผลิต นั้ น ไม่ อ าจแยกออกจากการพั ฒ นา ศั ก ยภาพการผลิ ต ของเกษตรกรได้ เพราะหากผู้ผลิตไม่มีใจยอมรับแนวทาง การผลิตแบบอินทรีย์ ก็ไม่ต่างอะไรจาก การปฏิเสธแนวทางแบบเดิมที่เคยท�ำมา ซึ่งท�ำให้เกิดกิจกรรมการอบรมผู้ผลิต

> 5


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

แกะกล่องผัก

กรีน

โครงการระบบสมาชิกผัก ไร้ ส ารพิ ษ CSA จากผู้ผลิตตลาดนัดสีเขียวศูนย์สุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เรื่องและภาพ: อธิพาพร เหลืองอ่อน

เริ่ม

< 6 ตามมาอีกหลายครัง้ จนพัฒนากลายเป็น กิจกรรม “โรงเรียนชาวสวน” หรือ การ จัดกระบวนการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ทีเ่ รียน รู้ร่วมกันในการผลิตแบบอินทรีย์ เปรียบ เทียบกับการผลิตแบบเคมี ด้วยแปลง ทดลองสาธิตร่วมกัน ไปจนสู่การพัฒนา แนวทางการผลิตแบบอินทรียท์ เี่ หมาะสม และยั่ ง ยื น ส�ำหรั บ ชุ ม ชนให้ กั บ กลุ ่ ม เกษตรกรจนถึงทุกวันนี้ ท่ า มกลางกิ จ กรรมโรงเรี ย น ชาวสวนนี้เอง เราจึงได้พัฒนามาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ชุมชน ที่ในระยะแรกเรา เรียกว่ามาตรฐานการผลิตผักไร้สารพิษ ของวิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ ขึ้นมา ซึ่งก็เป็นทั้งเป้าหมายและความ ท้าทายที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่กับเกษตรกรผู้ ผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้บริโภค ทั้ง ผู้บริโภคในเชิงปัจเจก และผู้บริโภคเชิง

สถาบัน ก็ตาม วันนี้ แม้ระบบการรับรองเกษตร อินทรีย์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของทาง เครือข่ายตลาดสีเขียวจะยังอยู่ในระยะ ผลิใบ แต่ก็งอกเงยได้อย่างมั่นคง ผ่าน ร้อนผ่านหนาวมาหลายเพลา ท่ามกลาง พืน้ ทีเ่ กษตรกรรมทีเ่ ชือ่ ว่า เกษตรอินทรีย์ ไม่สามารถเป็นไปได้ แต่กเ็ ป็นไปแล้วและ รอการออกดอกออกผลให้ได้สัมผัสและ ชื่นชมกันต่อไป วันนี้หน้ากระดาษหมด แล้ ว คราวหน้ า จะขอมาเล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า มาตรฐานเกษตรอินทรียช์ มุ ชนและระบบ การรับรองแบบมีสว่ นร่วมทีไ่ ด้พฒ ั นาขึน้ นั้ น มี ห น้ า ตาเป็ น อย่ า งไร และส�ำคั ญ อย่างไรกับเรา วันนี้ขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ

ต้นจากการต่อยอดช่อง ทางตลาดจากรูปแบบ ต ล า ด นั ด สี เขี ย ว ที่ มี อ ยู ่ ส อ ง ค รั้ ง / สัปดาห์(วันจันทร์และวันพฤหัส) และ เกษตรกรยังคงมีปริมาณผลผลิตผัก ผล ไม้ จากสวนเหลืออยู่นอกเหนือจากการ มาจ�ำหน่ายที่ตลาดนัด จึงรวมกลุ่มกัน เพื่อจัดส่งผักในรูปแบบการตลาด ระบบ สมาชิกผัก โดยมีผู้ผลิตในตลาดอาสามา เป็นผูร้ วบรวมผลผลิตจากเกษตรกรกลุม่ ต่าง ๆ ในตลาดนัดสีเขียว ดูแลประสาน งานกับผูบ้ ริโภค ซึง่ ปัจจุบนั ด�ำเนินการอยู่ 2 ลักษณะดังนี้ 1. ระบบที่กลุ่มเกษตรกร หมู่ 5 และ หมู่ 6 ต.บึงช�ำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เป็นผูร้ วบรวมส่งผลผลิตจาก พื้นที่ให้สมาชิกโดยตรง โดยมีผู้ประสาน งานกลุ่มหรือหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรคอย รวบรวมผลผลิตและดูแลการจัดส่ง รวม ทั้ ง บริ ห ารจั ด การข้ อ มู ล ให้ กั บ สมาชิ ก ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ติดต่อ คุณเล็ก โทร 081 927 4865 2. ระบบทีม่ ผี ปู้ ระกอบการในตลาด นั ด สี เขี ย วเป็ น ผู ้ ร วบรวมผลผลิ ต จาก เกษตรกรทั้งแบบกลุ่มและรายย่อยซึ่ง เป็นสมาชิกภายในตลาดนัดสีเขียว น�ำส่ง

ให้ ส มาชิ ก ผู ้ บ ริ โ ภคในเขตพื้ น ที่ อื่ น ๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น เขตรามอินทรา มีนบุรี ล�ำสาลี บึงกุ่ม ล�ำลูกกา รังสิต เป็นต้นค่ะ (จ�ำกัดพื้นที่ เนื่องจากศักยภาพด้านการขนส่งและ เน้นการบริโภคในท้องถิ่นที่ไม่ไกลจาก แหล่งผลิต) ติดต่อ คุณน้อย 089 449 0488 สนใจสมัครสมาชิก รายละเอียด ดังนี้ค่ะ เงื่อนไขการเป็นสมาชิก 1. สมาชิกจะได้รับผักไร้สารพิษทุก วั น พฤหั ส ของสั ป ดาห์ เวลาประมาณ 17.00 น. เป็นต้นไป ณ จุดนัดรับผักตาม ที่ตกลงไว้ (อาจเป็นที่บ้าน ที่ท�ำงาน จุด นั ด รั บ ที่ ส ะดวก) หากสนใจช่ ว ยกั น ชักชวนเพือ่ นบ้านรับรวมกันทีจ่ ดุ ส่งเดียว ก็ได้ค่ะ เรื่องการส่งผักติดต่อ คุณน้อย (กันธิมา ราชชุมพล) 089 449 0488 อี เ มล์ kantima803@gmail.com, facebook : Kantima Rachchumpol 2. ผูบ้ ริโภคสามารถรวมตัวกันอย่าง น้อย 5 คนหรือครอบครัว เพือ่ ก�ำหนดจุด รับผักในเส้นทางที่ต่าง ๆ ที่สะดวกกแก่ สมาชิกและโครงการในการจัดส่ง เมื่อ รวมตัวแล้วสามารถโทรติดต่อที่คุณน้อย ได้เลยค่ะ

3. ผู้บริโภค (สมาชิก) ยินดีรับผัก สม�่ ำ เสมอทุ ก สั ป ดาห์ โดยจ่ า ยเงิ น สนับสนุนระบบสมาชิกผักล่วงหน้าเพื่อ ส่งเสริมกระบวนการวางแผนการผลิตแก่ เกษตรกร โดยจ่ายล่วงหน้าในระยะ 3 เดือน ตามราคาชุดผักแต่ละขนาด เช่น รับชุดเล็ก 2.5 กิโลกรัม เดือนละ 1,000 บาท จ่าย 3,000 บาท (3 เดือนคิดจาก รอบระยะการเจริญเติบโตของผัก 2 รอบ การผลิตประมาณ 90 วันเพือ่ ให้เกษตรกร วางแผนการผลิตผักได้) กรณี ชุ ด ผั ก พร้ อ มปรุ ง ขนาด 1 กิโลกรัมราคาชุดละ 120 บาท จ่ายตาม จ�ำนวนชุดทีส่ งั่ ต่อครัง้ ต่อสัปดาห์โดยจ่าย รายสามเดือนเช่นกัน สามารถเลือกว่า สัปดาห์ไหนต้องการชุดพร้อมปรุงใดได้ เช่น สั่ง 1 ชุด/สัปดาห์ คือ 120 บาท/ สัปดาห์ (เดือนละ 480 บาท) จ่ายล่วง หน้า 3 เดือน 1,440 บาท เกษตรกรจะจัดส่งผักให้ท่านเป็น ประจ�ำทุกสัปดาห์อย่างต่อเนือ่ ง ผูบ้ ริโภค จะได้รบั ผักไร้สารพิษตามฤดูกาลทีม่ ี โดย มีทั้งผักทั่วไป(ผักเศรษฐกิจ) ผักพิ้นบ้าน และผลไม้ท้องถิ่นตามฤดูกาล ทางโครงการจะมีจดหมายข่าวเพือ่ บอกให้ทราบถึงกระบวนการผลิต หรือ

> 7


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ในสวนของคนปลูกพรรณไม้

กรีน

เชื้อบางชนิด เรื่องและภาพ: ปราชญ์ อันดามัน

< 8

เกร็ดความรู้วิธีการปรุงอาหารเมนูเด็ด จากผักพื้นบ้านให้ด้วย รวมถึงสรรพคุณ และประโยชน์ของผักที่ท่านได้รับอย่าง น้อย 1 ฉบับ/เดือน มีกจิ กรรมเยีย่ มฟาร์ม (Farm visit) ส�ำหรับสมาชิก เพือ่ การตรวจสอบรับรอง อย่างมีสว่ นร่วมในความปลอดภัยของผัก ไร้สารพิษที่ท่านรับ ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสาธิต ท�ำอาหารเพื่อสุขภาพ กิจกรรมเสวนา เรื่องการดูแลสุขภาพในมิติต่าง ๆ โดยผู้ ช�ำนาญการ และกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ที่ โครงการจัดให้สมาชิกค่ะ ราคาดังต่อไปนี้ เป็นราคารวมค่า ต้นทุนการผลิต การจัดการหลังการเก็บ เกี่ยว การขนส่ง และการประสานงาน ของเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มไว้แล้ว หากสนใจติ ด ต่ อ ได้ ที่ คุ ณ น้ อ ย (กันธิมา ราชชุมพล) โทร 089 449 0488 อี เ มล์ kantima803@gmail.com, facebook : Kantima Rachchumpol

ราคาผักชุด โครงการระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA จัดส่งทุกวันพฤหัสบดี ชุดที่ 1 ผักชุดพิเศษส�ำหรับครอบครัว 4-6 คน ชุดละ 1,000 บาท/สัปดาห์ เดือนละ 4,000 บาท (ได้รับ 4 ครั้ง/เดือน) จ�ำนวนผักผลไม้ที่จะได้ประมาณ 10 – 12 ก.ก. ผักทั่วไป 5 ก.ก. รายการที่จะได้รับ 3-4 ชนิด/สัปดาห์ ผักพื้นบ้าน+ผักสวนครัว 3 ก.ก. รายการที่จะได้รับ 4-5 ชนิด/สัปดาห์ ผลไม้ 2-4 ก.ก. รายการที่จะได้รับ 2-3 ชนิด/สัปดาห์ ชุดที่ 2 ผักชุดใหญ่ส�ำหรับครอบครัว 1-4 คน ชุดละ 500 บาท/สัปดาห์ เดือนละ 2,000 บาท (ได้รับ 4 ครั้ง/เดือน) จ�ำนวนผักผลไม้ที่จะได้ประมาณ 5 - 6 ก.ก. ผักทั่วไป 3 ก.ก. รายการที่จะได้รับ 3-4 ชนิด/สัปดาห์ ผักพื้นบ้าน+ผักสวนครัว 1 ก.ก. รายการที่จะได้รับ 2-3 ชนิด/สัปดาห์ ผลไม้ 1-2 ก.ก. รายการที่จะได้รับ 1-2 ชนิด/สัปดาห์ ชุ ด ที่ 3 ผั ก ชุ ด เล็ ก ส�ำหรั บ ครอบครั ว 1-3 คน ชุ ด ละ 250 บาท/ สัปดาห์(1,000บาท/เดือน) จ�ำนวนผักผลไม้ที่จะได้ประมาณ 2.5 ก.ก.(คละปริมาณเหมือนชุดที่ 1และ2) ชุดที่ 4 ชุดผักพร้อมปรุง ราคาชุดละ 120 บาทพร้อมเครื่องแกง (ได้รับผัก 1 กิโลกรัม) มี 9 ชุด ได้แก่ ชุดแกงจืด ชุดต้มย�ำพร้อมเครื่องต้มย�ำ ชุดผัดผัก ชุดผักน�้ำพริก ชุดแกงเลียงพร้อมพริกแกง ชุดส้มต�ำสมุนไพร ชุดแกงส้มพร้อมพริกแกง ชุดผักสลัดพร้อมน�้ำสลัดโฮมเมด ชุดแกงเผ็ดพร้อมพริกแกง ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.thaigreenmarket.com/greenconsumerpage

ข้าพ

เจ้าเพิง่ เดินทางมาถึงแปลงผักทีไ่ ทรน้อยช่วง บ่ายคล้อยไปแล้ว หลังรับรูข้ า่ วจากพีบ่ ญ ุ มา ว่า แปลงผักคะน้าทัง้ แปลงโดนเชือ้ รากวาดซัดจนไม่อาจต้านทาน แม่เกษร และเป้าแฟนพี่บุญมาสาละวนอยู่บนแปลงคะน้า คะน้า ที่คาดว่าจะได้สักสองร้อยกิโลเพื่อส่งสู่ครัวโรงพยาบาลต่าง ๆ เกลือ่ นกองอยูบ่ นแปลง นีเ่ ป็นผักคะน้าเกือบรอบแรก ๆ ทีห่ ว่าน เพาะลงบนแปลงหลังผ่านการทดลองมาแล้วหนึ่งฤดูกาล และ เปลีย่ นปรับมาปลูกแบบอินทรียเ์ ต็มตัว ข้าพเจ้าเดินไปเดินมาบน แปลงเปล่าโล่งข้าง ๆ ที่แต่เดิมเคยมีคะน้าเขียวสด เมฆครึ้มปก อยู่ที่ขอบฟ้าตะวันตก ข้าพเจ้าคิดว่าไม่กี่นานฝนห่าใหญ่คงจะ กระหน�่ำลง ดินบนแปลงยังแฉะฉ�่ำขณะย�่ำเท้าผ่านกองคะน้าที่ ถูกถอนทิ้ง หลายเดือนก่อนหน้าผักกวางตุง้ ฮ่องเต้ถกู หอยเจดียก์ นิ เรียบ จนไม่เหลือร่องรอย นั่นเป็นช่วงฤดูร้อนและน�้ำในล�ำคลองแห้ง เหือด อากาศอ้าวอบ แรงแดดร้อนแผดผลาญลามเลียผักไปทุก แปลง จนแม้กระทั่งถั่วฝักยาวแปลงใกล้ ๆ ออกดอกเต็มต้นก่อน ที่จะกรอบเกรียมแล้วร่วงผล็อย แม่เกษรถึงกับเปรยบ่น “นี่เรา ปลูกถั่วฝักยาวหรือปลูกต้นดอกถั่ว” ข้าพเจ้าแค่นยิ้ม กว่าจะพ้นผ่านวิกฤติหว้ งยามแห่งความท้าทายทางความคิด

> 9 ความเชื่อว่า ปลูกแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีคงจะไปไม่รอด ทั้งหลาก สายตาของผูค้ นในชุมชนต่างเฝ้าแลมองมายังครอบครัวพีบ่ ญ ุ มา ข้าพเจ้าไม่อาจรู้ว่าสายตาแห่งความคาดหวังใดบ้างที่มอง จับจ้องไปยังครอบครัวนี้ แต่ครอบครัวพี่บุญมาก็ฝ่าด่านการ ทดสอบหลายด่านไปได้ หลายปี ก ่ อ นหน้ า ครอบครั ว พี่ บุ ญ มาเป็ น เหมื อ น เกษตรกรทั่วไปที่ปลูกแบบเคมี ยิ่งเมื่อสิบปีก่อนไม่ต้องพูดถึง พี่บุญมา บอกว่า “เมื่อก่อนร่องผักแถบนี้จัดเต็มครบเต็มสูบ ทัง้ ปุย๋ เคมี ยาแลนแนท พ่นฉีดยาฆ่าหญ้าอย่างคาม็อกโซนหรือ แบบชนิดดูดซึม ก่อนน�ำผักไปส่งขายทีต่ ลาดสีม่ มุ เมือง...” นัน่ สิบกว่าปีมาแล้ว ก่อนที่จะมาท�ำเกษตรแบบไร้สารที่ยังใช้ปุ๋ย เคมีอยูบ่ า้ ง เทียวขายส่งไปตลาดสีม่ มุ เมือง เป้าแฟนพีบ่ ญ ุ มาบ อกข้าพเจ้าว่า “แทบจะไม่มีเวลา ตัดผักเสร็จต้องรีบไปขายที่ ตลาดสี่มุมเมือง บางครั้งกลับมาถึงตีสาม ยังไม่ทันเช้าผักรอบ ใหม่กต็ อ้ งออกจากแปลง ขายได้ไม่ได้บา้ ง บางครัง้ พอเวียนรถ รอบใหม่ในตลาดสี่มุมเมืองแอบท�ำเข่งผักตก จนรถที่ตามมา คันหลังจอดเก็บให้ บอกคนทีเ่ ก็บเข่งผักว่า เอาไปกินเถอะ ก็ ผักมันถูกเกินกว่าจะเอากลับบ้านเหลือกิโลสองบาท ...” ข้าพเจ้าได้แต่นึกภาพตาม หลังจากนั้นดูเหมือนว่าครอบครัว


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

น่ารัก ผักไร้สารพิษ

กรีน

ตอน ไม่รู้ เรื่องและภาพ: ต้องการ

นี่

< 10 พี่บุญมาได้หันมาท�ำปลูกแบบไร้สารเต็มที่ ทั้งกลัวว่าจะไม่มีเวลา ให้กบั ลูกชายทัง้ สอง ด้วยเพราะชุมชนแถบนัน้ เกลือ่ นกลายไปด้วย ยาร้ายระบาดลามมาถึง ปีก่อนข้าพเจ้าเชื้อเชิญดอกเตอร์หนุ่มจากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ด้วยถูกอัธยาศัยทั้งใจคอความคิดเห็น จับพลัดจับผลูจนได้มาท�ำงานร่วมกับครอบครัวพี่บุญมา หวนทวนกระแสบริโภคนิยมอันบ้าระหำ�่ นีเ่ ป็นอีกวันทีบ่ ททดสอบ บางบทจากเชือ้ ราทีม่ ากับสายฝน แม่เกษรและเป้าผละจากแปลง คะน้าทีม่ เี หลือหรอให้เก็บบ้างไม่กสี่ บิ กิโล ใกล้กนั พีบ่ ญ ุ มานัง่ ถอน หญ้าใส่เข่ง ก่อนจะแบกใส่บ่าข้ามร่องน�้ำผ่านแปลงผักกาดขาว เพื่ อ เอาไปท�ำปุ ๋ ย หมั ก ข้ า พเจ้ า หั น ไปแลลู ก ชายทั้ ง สองของ ครอบครัวพี่บุญมา เงินเกือบหมื่นหายไปพริบตา กระวนกระวาย ใจ เหมือนอะไรแล่นปราดเข้าไปในล�ำคอ อึ้งนิ่งเมื่อยามแม่เกษร และเป้าหอบหิ้วตะกร้าใส่ผักผ่าน พี่บุญมาเดินมาใกล้ข้าพเจ้าก่อนบอก “แปลงคนอื่นก็เป็น แบบนีแ้ หละ ฝนหนักแบบนีม้ าเจ็ดแปดวัน ผักชำ�้ ง่าย ท�ำไงได้ ผัก เป็นแผลเปิดทางให้เชื้อราซ�้ำเติม...” พี่บุญมาเปิดรอยยิ้ม ท�ำให้ ข้าพเจ้าหายกังวลลงไปได้บ้าง พี่บุญมาบอกว่าพรุ่งนี้ก็จะเริ่มท�ำ ดินที่ร่องคะน้าหากฝนแล้งหยุดตก ด้วยเพราะกลัวไม่มีผักส่งเข้า

ครัวโรงพยาบาล อย่างเช่นโรงพยาบาลเกษมราษฎร์บางแค โรงพยาบาลบางโพ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ได้ ส่งข่าวบอกผ่านให้โรงพยาบาลรับรู้สถานการณ์บนแปลงผัก โชคดีที่โรงพยาบาลเหล่านั้นเข้าอกเข้าใจความเป็นไปของ เกษตรกรผู้ผลิต พี่บุญมาบอก “มีอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้ ท�ำไปจนเชีย่ วก็คงจะท�ำให้รวู้ งจรและวิธกี าร เดินมาไกลขนาด นี้จะให้หันกลับไปท�ำแบบเดิมคงไม่...” วาวแห่งนัยน์ตาของ พี่บุญมาคุโชน มองเห็นความมุ่งมาดปรารถนาที่เรืองฉายอยู่ ภายใน สะท้อนจนรู้สึกรับรู้ได้ด้วยหัวใจ เราต่างผละออกมาจากร่องแปลงผัก หลังสายฝนโปรย ปรอยฟ้าลั่นร้องไปทั่วทุ่งหนองเพรางาย ไทรน้อย หายจาก เครียดเคร่งไปบ้างเมือ่ ได้พดู คุยสารทุกข์สกุ ดิบ ยามเผชิญหน้า เหล่าความทุกข์ที่ปลุกให้หัวใจกระวนกระวาย คนปลูกหว่าน ผักอินทรีย์อย่างครอบครัวพี่บุญมา ยังคงรอปลายทางความ ส�ำเร็จไม่เคยท้อหมดหวัง หัวใจยังคงชุ่มโชกไปด้วยหยดเหงื่อ ของการงาน ข้าพเจ้ามั่นใจว่าพรุ่งนี้ยังคงมีผักอินทรีย์ส่งตรง เข้าสู่ครัวโรงพยาบาลและเหล่าตะกร้าปันผักแน่นอน...

เป็นยุคทีค่ นรูท้ กุ เรือ่ งทีไ่ กลตัว แต่ไม่รเู้ รือ่ งทีใ่ กล้ตวั จริง ๆ ค่ะ เรารู้จัก Big Bang รู้จักทฤษฎีการเมือง ค�ำพูดสวยหรู รู้จักภาษาหุ้นยาก ๆ แต่ ข้าวราดกะเพราไข่ดาวที่กินไปมื้อกลาง วัน เรากลับไม่รู้จักอาหารจานนี้เลย เมื่อ เช้าเราซือ้ มันฝรัง่ ถุงในร้านสะดวกซือ้ เรา ยิง่ ไม่รจู้ กั เข้าไปใหญ่ แล้วท�ำไมเราจะต้อง รู้จักมันน่ะเหรอ? ฉันว่ามันส�ำคัญกว่า ภาษาหุน้ หรือทฤษฎีการเมืองใด ๆ อีกนะ คะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตของเรามาก ที่สุดที่ถูกมองข้ามมากที่สุดเหมือนกัน เมือ่ เราทัง้ หลายมองข้ามเรือ่ งอาหารของ เราไป ผลก็คอื ก็เป็นอย่างทีเ่ ป็นอยูท่ กุ วัน นี้แหละค่ะ คนป่วย โลกป่วย สังคมป่วย แต่ไม่รู้ตอนนี้ก็ยังไม่สายนะคะ เรา ลองเริม่ มาท�ำความรูจ้ กั อาหารของตัวเอง กั น ดี ไ หม แล้ ว ชี วิ ต เราจะเปลี่ ย น ท่ามกลางสังคมทุนนิยม วัตถุนิยมเลยที เดียว ฉันยืนยันได้เต็มปากเพราะเมื่อฉัน เริม่ รูจ้ กั อาหารทีร่ ายล้อมตัวอยูท่ กุ วัน ฉัน ก็เปลี่ยนชีวิตตัวเองในทันที เพราะเมื่อ ฉันรับรู้ว่ารอบตัวของเราที่เคยกิน ๆ มา มันเป็นอาหารที่เต็มไปด้วยสารพิษและ สารเคมีที่ถูกโฆษณาว่าเป็นอาหารเพื่อ เป้าหมายการตลาด ฉันก็หันกลับมาหา อาหารธรรมชาติ อาหารทีแ่ ท้จริงค่ะ บาง

คนอาจงงและเครี ย ดกั บ การรั บ รู ้ ว ่ า อาหารของเราทุกวันนีป้ นไปด้วยสารพิษ ที่ท�ำร้ายคนในครอบครัวเราให้ป่วยและ ท�ำลายสิ่งแวดล้อมโลกด้วย อย่าเครียด จนเกินไปค่ะ เพราะค�ำตอบของปัญหามี อยู่ และนั่นคือเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ปฏิวัติเขียวที่ท�ำให้เรามอง การเกษตรและอาหารเป็นอุตสาหกรรม มากกว่าเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและ จิตวิญญาณ เราก็ท�ำให้สุขภาพของเรา และโลกเปือ้ นเปรอะไปหมดด้วยสารเคมี ต่าง ๆ ลองสังเกตดูนะคะ คุณ ๆ คงเคย ได้ยินมาบ้างว่าเกษตรกรทั่วไปเขาปลูก ผักที่เขากินเองไว้อีกแปลงหนึ่ง ชาวนา บางรายไม่ ก ล้ า กิ น ข้ า วที่ ตั ว เองปลู ก เกษตรกรเป็นหนี้เพราะค่าปุ๋ยและยาฆ่า แมลง และข่าวคราวอื่น ๆ อีกมากมาย พูดออกสื่อได้บ้าง แต่บางเรื่องต้องแอบ พูดกันเองกับคนวงการเดียวกัน โลกเป็น ถึงขั้นนี้แล้วเรายังวางใจอาหารของเรา โดยไม่ท�ำความรู้จักได้หรือคะ อาหารที่ เราและลูก ๆ กิน อาหารทีเ่ ลีย้ งดูรา่ งกาย และจิตใจของเรา เซลล์ทุกเซลล์ของเรา เป็นธรรมชาติแล้ว อาหารที่น�ำไปสร้าง และเสริ ม ร่ า งกายของเราไม่ ค วรเป็ น อาหารธรรมชาติหรือคะ เกษตรอินทรีย์ เป็นการผลิตอาหารธรรมชาติทใี่ กล้เคียง

ทีส่ ดุ กับอาหารบริสทุ ธิจ์ ากป่าเขา เพราะ เกษตรอินทรียไ์ ม่ใช้สารเคมีในทุกขัน้ ตอน และหัวใจของเกษตรอินทรียค์ อื การบ�ำรุง ดินด้วย ดังนั้นได้ประโยชน์ทั้งคนปลูก คนกิน และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะอุดหนุน เกษตรกรอินทรีย์หรือหาทางปลูกผักผล ไม้กินเองก็ดีทั้งนั้นค่ะ ดั ง นั้ น เริ่ ม จากท�ำความรู ้ จั ก กั บ อาหารในจานทีเ่ ราก�ำลังจะกินเข้าไปก่อน ดีไหมคะ เชือ่ ไหมว่ายิง่ รูจ้ กั อาหารของเรา แต่ละอย่างลึกซึ้งเท่าไหน ก็ยิ่งเป็นผลดี ต่อสุขภาพเรามากขึน้ เท่านัน้ ลองถามตัว เองดูว่าส่วนผสมแต่ละอย่างในจานข้าง หน้า เราสามารถบอกที่มาและเชื่อใจมัน ได้ไหม ไม่ยากเท่าที่คิดหรอกนะคะ เรา สามารถสนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์จาก แหล่ ง ที่ เชื่ อ ถื อ ได้ เราอาจจะรั บ ผั ก โครงการ CSA หรือไปซื้อผลผลิตจาก ตลาดสีเขียวทุกอาทิตย์ ได้พูดคุยกับคน ปลู ก จริ ง ๆ เราก็ จ ะไม่ ต ้ อ งกั ง วลกั บ อาหารของเรา และถ้ายิ่งเราปลูกมันขึ้น มาด้วยมือของตัวเองแล้ว อาหารนั้นมัน ยิง่ ปลอดภัยและอบอุน่ หล่อเลีย้ งร่างกาย และจิตใจของเราได้จริงๆค่ะ ยังไงก็ you are what you eat เรามารู้จักสิ่งที่จะ กลายมาเป็นตัวเรากันดีไหมคะ

> 11


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ผักพื้นบ้านในดวงใจ

กรีน

ผักเฮือด เรื่องและภาพ: รวิวาร โฉมเฉลา

เมื่อ

< 12

ฉันเป็นเด็กหญิงเล็กๆ เกาะผ้านุง่ ยายแจ ห่าง นิดห่างหน่อย สายตาก็เฝ้าติดตามหาว่า แม่อุ๊ย ผมมุ่นมวยผู้เป็นที่รักจะเยื้องย่าง ไปทางไหน ฉันมักง่วนเล่นแถวกระได หลังบ้าน สลับกับมองตามหลังยาย ร่าง ผอมบางเดินผ่านบ่อน�้ำที่อิฐมอญปูพรม มอสเย็นฉ�่ำแผ่เป็นวงรอบ ยายจะแวะที่ กอไผ่ ก้มดูหน่อไม้ แล้วเลยไปทางต้นไม้ ประหลาดต้นหนึ่ง สวนหลังบ้านของเรามีแปลงพืชผัก ที่ยายลงแรงก่อเกื้อชีวิต ไผ่กอใหญ่ที่ตา ยายช่วยกันปลูกเรียงรายข้างแนวรั้ว มี ชะอมใหญ่ทยี่ ายคอยรานกิง่ เสมอ ๆ และ ต้นไม้ประหลาดสีขาวเทาที่โคนต้นอวบ ใหญ่กว่าท่อนขาของฉัน ซึง่ ยายและใคร ๆ ไม่เคยยอมให้มันโต เขาคอยฟันกิ่งก้าน ของมัน ยอมให้สูงพอเอื้อมถึงแค่นั้น นัน่ คือต้นไม้สชี มพูตน้ แรกทีฉ่ นั รูจ้ กั หลังจากนั้นก็ได้เห็นต้นอื่นที่สูงใหญ่กว่า แตกยอดผลิใบเต็มต้นในฤดูฝนอันชื่นฉ�่ำ ยอดอ่อนสีชมพูฝาดค่อย ๆ คลีบ่ าน อ่อน หวาน ดึงดูดสายตา มันดูเป็นไม้ป่า ไม้ ใหญ่ ปลูกให้ร่มเงาหรือ ให้ดอกสีสวย หรือก็ไม่ใช่ ดอกมันเล็กจิ๋ว ต้นก็หวงจน ไม่ค่อยให้ใครได้มีโอกาสชมดอก เย็นวัน นั้น ยายเด็ดยอดใบสีชมพูเข้มก�ำใหญ่ บอกจะแกงผักเฮือด มาช่วยยายเด็ดผัก เถิด ยายท�ำไม่เผ็ด หลานน้อยจะได้กนิ ได้ รอบใบอ่อนสีชมพูเข้มนั้นมีกาบใบ

โปร่งบางเฉดสีอ่อนกว่า ยายบอกเบา ๆ ว่า ลอกออกด้วยนะลูก เดี๋ยวจะเปรี้ยว เกิน ส่วนก้าน อย่าให้เหลือทีแ่ ก่ ๆ แข็ง ๆ นะ นี่ท�ำอย่างนี้ เด็ดเสร็จแล้ว ยายรีบให้ ฉันล้างมือ เอาน�้ำมันหมูที่ยายเจียวกาก หมูทิ้งไว้ในตู้กับข้าว เดี๋ยวเดียวยางสี น�้ำนมจากก้านที่ติดมือเป็นปื้นด�ำก็หลุด ยายติดเตาถ่านอย่างคล่องแคล่ว หอมสนเกี๊ยะที่ใช้เป็นเชื้อไฟฟุ้งทั่วครัว ครู่เดียวถ่านด�ำ ๆ ก็ลุกแดง ฉันตักน�้ำใส่ หม้อส่งให้ ยายใช้ต้มกระดูกหมูจนเปื่อย พอส�ำหรับผู้เฒ่าและเด็กน้อย ระหว่าง นัน้ มือยับย่นโยนพริกแห้งเม็ดหนึง่ ลงครก โขลกรวมกับกระเทียม กะปิ หอมแดง พอ เคี่ยวกระดูกได้ที่ ยายก็ใส่พริกแกงลง ละลาย ตามด้วยผักเฮือดก�ำใหญ่ สักพัก จึงหย่อนมะเขือเทศลูกเล็กที่ฉันเป็นคน เก็บลงไป ได้แกงผักเฮือดรสเปรีย้ วหน่อย ๆ ฝาดนิด ๆ ซดน�้ำแกงได้คล่องคอเพราะ ไม่เผ็ดเลย โพล้เพล้แล้ว ฉันกินข้าวใต้แสง ตะเกียงน�้ำมันก๊าดกับยายสองคน โลก เก่าช่างดูเนิ่นนานและราวกับความฝัน ทุกเช้า เราจะตื่นขึ้นพร้อม ๆ กัน ยายหลานจูงมือเดินช้า ๆ ไปตลาด กลับ มาถึงบ้าน ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้ก็สุกพอดี หลังจากคดข้าวถวายพระบนหิ้งพระเจ้า ตักบาตรด้วยข้าวจากยุ้งหอมสุกใหม่กับ พระอาจารย์ที่ตายายเคารพนับถือ เรา สองคนก็ลงมือรับประทานอาหารเช้า บางวันเป็นข้าวเหนียวสังขยา ถั่วต้ม ฤดู

หนาว มีเกาลัดคั่วที่ยายคอยทุบเปลือก ส่งให้ บางวันมีน�้ำเมี่ยง บางวันมีย�ำหนัง อาหารแปลก ๆ จากชาวไทยใหญ่ที่อยู่ หมู่บ้านเดียวกับเรา เช้านั้น ยายซื้อย�ำผักเฮือดมาจาก ตลาด เธออาจสงสัยหากเห็นหน้าตา ที่ จริงจะเรียกว่าย�ำก็ไม่เชิงคนเหนือเขา เรียกคั่วผักนึ่งกับพริกแกงว่าย�ำอย่างนั้น เอง ที่ตลาดจะมีแม่บ้านวนเวียนน�ำผัก จากในสวนมาขายสลั บ สั บ เปลี่ ย นกั น แม่ค้าชั่วคราวบางคนน�ำกระด้งใส่ผักนึ่ง สีเหลืองวางเรียงเต็ม ยายบอกนั่นล่ะ ผัก เฮือด นึ่งสุกเรียบร้อยแล้ว พร้อมย�ำได้ เลย สมัยนั้นคงก�ำละบาท ตอนนี้อาจถึง สิบบาทแล้วกระมัง อันที่จริง ยายจะท�ำ เองก็ได้ เด็ดจากต้นหลังบ้านมานึ่ง สุก แล้วก็หั่นซอย คั่วกับพริกแกง ใส่น�้ำมัน เล็กน้อยพอไม่ให้ติดกระทะ บางบ้าน ชอบใส่หมูสับหรือไม่ก็โรยด้วยแคบหมู ซอย ล่อเด็กให้ยอมกินข้าว แต่ส่วนใหญ่ จะโรยกระเทียมเจียว ต้นหอมผักชีหั่น ฝอยแค่นั้น วันนั้น ยายปอกเปลือกหอมแดง วางเคียงในโตก ฉันจ้องมองยายเคี้ยว หอมสดแกล้มย�ำผักเฮือด อย่างพิศวง ตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา ถ้าสบโอกาส ฉันเป็น ต้องลุกหาหัวหอมมาแกล้มอาหารจานนี้ ทุกครั้ง ฟุ้งฉุนแกมเผ็ดแต่เจือรสหวาน ของหอมแดงเข้ากันได้ดเี หลือเกินกับเค็ม เผ็ ด นิ ด ๆ และเปรี้ ย วอมฝาดของย�ำ

ผักเฮือดนึ่งขายเป็นมัด

ย�ำผักเฮือด

> 13 ผักเฮือดหรือผักฮี้ (ว่ากันว่า อย่างหลัง เป็นภาษาไทยใหญ่) แถมท�ำให้รู้สึกแสน อร่อย ฤดูฝนมาถึงอีกครั้งแล้วล่ะจ้ะยาย หลานออกไปขอกิ่ ง ผั ก เฮื อ ดจากใน หมู่บ้านมาลองปักช�ำแล้ว...ป้าใจดีบอก ว่า ถ้าช�ำไม่ติดก็มาตัดไปใหม่ ต้นนี้ป้าก็ ช�ำเอง ฉันฝัน ฉันรอมาหลายปี สงสัยมา นานแล้วว่า จะหากล้าพันธุ์จากไหน มัน เป็นไม้ป่า ไม่มีขายหรอกที่ตลาดต้นไม้ ทว่า ตราบใดที่พวกผู้หญิงมุ่นมวยยังอยู่ แม้ จ ะในร่ า งที่ ดั ด ผมเป็ น ลอน สวม กางเกงแทนผ้าถุงก็ตาม พวกนางจะยังคง เฝ้ารักษาแหล่งอาหารบนผืนดินน้อย ๆ รอบเรือนไว้ นอกเสียจากว่าลูกหลาน มนุษย์สมัยใหม่ของพวกนางอยากจะเท ลานคอนกรีตปิดตายผืนดิน หรือเนรมิต สวนหย่อม โค่นต้นผักเฮือดไม่เจริญหู เจริญตานี้ทิ้งไปเสีย

นี่ล่ะ ไม้หนึ่งในดวงใจที่หล่อเลี้ยง ชีวิตฉันมา หาไม่ยากเลยในตลาดเมือง เหนือทุกจังหวัด แต่ฉันได้ยินมาว่า ภาค กลางหรือทางใต้กม็ นี ะ เพียงแต่ทอี่ นื่ เขา แค่เก็บมาลวกจิ้มน�้ำพริกเท่านั้น เจ้าผัก เฮือด ผักฮี้ หรือเลียบ ผักพื้นบ้านปลอด สาร พร้อมพรั่งด้วยคุณค่าต่อร่างกาย ที่ อยูใ่ นเพลงเมนูอาหารล้านนา ของกิน๋ คน เมือง โดยอ้ายจรัล มโนเพ็ชร นี้ แต่ระวัง อย่าเข้าใจผิด ตามหาผักเฮือดลอเหมือน คนใกล้ตัวฉันล่ะ ‘ลอ’ น่ะ เป็นสร้อยค�ำ เหมือน ‘ไง’ ผักเฮือดไง อะไรแบบนี้ ...แกงผักเฮือดลอ อ๋อ ย�ำหน่อไม้... ของกิ๋นบ้านเฮา เลือกเอาเต๊อะนาย... แล้ ว พบกั บ ผั ก แห่ ง หั ว ใจ ผู ้ ห ล่ อ เลี้ยงชีวิตเพื่อนเธอคนนี้ใหม่จ้ะ

ต้นผักเฮือด ใบสีเขียว-ชมพู แกงใช้ยอดสด


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กิจกรรมกรีนกรีน

กรีน

กิจกรรมกรีนกรีน วันศุกร์ที่ 28 มิ.ย. 56

วันศุกร์ที่ 23 ส.ค. 56

วันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 56

ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ก ารรั บ และกระจาย ผลผลิ ต สี เขี ย ว (LDC) ชวนผู ้ บ ริ โ ภคเชิ ง สถาบั น ได้ แ ก่ กลุ ่ ม ผู ้ ป กครองโรงเรี ย น ปัญโญทัย บุคลากรจากโรงพยาบาลปิยะเวท และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์ เยี่ยมชมแหล่งผลิต ณ โรงเรียนชาวสวน แปลงเกษตรนนท์ ต.หนองเพรางาย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากเป็นการพบปะเยี่ยมเยียน ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเชิงสถาบันแล้ว ยังมีการท�ำข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อเป็นหลัก ประกันแก่ทั้งสองฝ่ายในการยอมรับความ เสี่ยงต่าง ๆ จากการผลิต รับ และกระจาย ผลผลิตผักไร้สารพิษร่วมกัน

ที ม งานลงประเมิ น สภาพพื้ น ที่ และผลผลิตของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร หมู่ 5 ต.บึงช�ำอ้อ กลุ่มพี่เรียม ผู้ผลิตใน เครือข่ายตลาดสีเขียว โดยมีคุณอุ-คุณ เอ Green Made ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการ ปลูกผักสลัด มาช่วยดูเเลเรือ่ งมาตรฐาน เเละคุณภาพผลผลิตของพื้นที่ในปีนี้ค่ะ

วันเสาร์ที่ 24 ส.ค. 56

ชวนกันมา ร่วมรังสรรค์เมนูจาก ผักตามฤดูกาล แล้วล้อมวงคุย “ผัก ไร้ ส ารพิ ษ ปลู ก ตามผื น ถิ่ น กิ น ตาม ฤดูกาล” พร้อมประกวดแต่งกายในคอน เซ็ปต์พื้นบ้าน ณ ร้านใส่ใจ วิภาวดี 22 งานนี้ คุณศักดิส์ ริ ิ มีสมสืบ กวีซไี รต์ ปี 2535 มาร่ ว มเป็ น วิ ท ยากรและ ขับกล่อมเพลงพื้นบ้านให้พวกเราฟัง ด้วยค่ะ

เปิดบูธรับสมัครสมาชิกผักกล่อง ไร้สารพิษ CSA และตะกร้าปันผัก ใน งาน Green Consumer Act นะ Thai PBS ซึ่งมีผู้บริโภคให้ความสนใจและลง ทะเบียนจ�ำนวนมากค่ะ

***

---------------

< 14

ผักเฮือด

วงศ์ Moraceae มี 2 ชนิดคือ ผักเฮือดธรรมดา ( Ficus lacor Buch) และผักเฮือดขาว ( Ficus Virens Ait) ชื่ออื่น ภาคเหนือ ผักเฮือดยอดขาว ,ผักเฮือด,ผักฮี้ ภาคกลาง เลียบ นิโครธขาว ภาคใต้ ผักเลือด ไทรเลียบ ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นผลัดใบ ล�ำต้น สูง 9-14 เมตร ขนาดเดียวกับไทรและมะเดื่อ มีรากอากาศ ใบ เป็นใบเดี่ยวกว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร กาบใบสีขาว ใบอ่อนมีสีชมพูและเขียว อ่อน เมื่อแก่มีสีเขียว ทิ้งใบพร้อมกันทั้งต้นในช่วงฤดูหนาว หรือฤดูร้อน หลังจากนั้นจะแตกยอดอ่อน ผล สีเขียวอ่อนออกขาว ผลสุกสีเหลือง ออกตามกิ่งหรือล�ำต้นคล้ายลูกมะเดื่อ แต่ผลเล็กกว่า ดอก สีชมพู ออกเป็นช่อเล็กๆ ออกตามล�ำต้นและกิ่ง การขยายพันธุ์ ปักช�ำ นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบตามป่าโปร่งค่อนข้างแห้งแล้ง และหมู่บ้านในชนบท ชาวบ้าน ปลูกใช้เพื่อรับประทานเป็นผัก ประโยชน์และความส�ำคัญ ทางอาหาร ยอดอ่อน กินสดกับพริกหรือลวกก่อนหรือน�ำไปแกงกับ กระดูกหมู หรือย�ำ ทางสมุนไพร เปลือก ต้น ต้มดื่มแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ยาง ใช้ดักนกหรือแมลง ข้อควรระวัง หญิงแม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามรับประทาน เพราะจะท�ำให้โรคก�ำเริบ *ข้อมูลจาก www.ethnobotany.maelanoi.net, eherb.hrdi.or.th, thaiherb-tip108.blogspot.com

เรื่องและภาพ: หน้อยเอง

วันเสาร์ที่ 10 ส.ค. 56

---------------

---------------

---------------

กิจกรรมเด็กรักผัก (ไร้สารพิษ) ครั้งที่ 1 ณ ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า และตลาด สุขใจ จัดขึ้นเพื่อให้เด็กๆ และผู้ปกครองได้ มีโอกาสไปเยีย่ มเยือนแหล่งผลิตข้าวนาโยน และผักผลไม้ไร้สารพิษจากอู่ข้าวอู่น�้ำใกล้ๆ เมืองหลวงของเราคือ จ.นครปฐม นอกจากเด็กๆ และผู้ปกครองจะได้ สนุกสนานกับการโยนข้าวแล้ว ยังได้ร่วม กันลงมือปรุงอาหาร รังสรรค์เมนูผใู้ หญ่ทาน ได้เด็กทานดี อาทิ ข้าวกล้องผัดห้าสีสุขภา พดี๊ดี ไก่กู้อีจู้และดอกไม้ทอด ซุปใสไก่ยัดไส้ แตง และขนมปั ง ทายาพอกหั ว เด็ ก สู ต ร สมเด็จพระเทพฯ จากนานาวัตถุดิบเพื่อ สุขภาพที่เราคัดสรรมาให้ ทัง้ นี้ ขอขอบคุณรายการทุง่ แสงตะวัน ที่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ของเด็กๆ ที่มาร่วมกิจกรรมแก่คุณผู้ชมทางบ้านค่ะ

วันที่ 19-22 ก.ย. 56 ---------------

อบรมหลั ก สู ต รการท�ำเกษตร อินทรีย์ ณ มูลนิธเิ อ็มโอเอไทย จ.ลพบุรี เพื่อขยายฐานการผลิตผักไร้สารพิษใน ระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA และ ตะกร้ า ปั น ผั ก โดยส่ ว ยใหญ่ เ ป็ น เกษตรกรรุ่นใหม่อายุระหว่าง 25-40 ปี มี พื้ น ที่ ก ารผลิ ต กระจายตั ว ทั้ ง ใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดค่ะ

---------------

---------------

ส�ำหรับเดือนหน้า ขอเชิญทุกท่าน มาร่วม “กิจกรรมเด็กรักผัก (ไร้สารพิษ) ครัง้ ทีส่ อง” เสาร์ที่ 26 ต.ค. 56 กันนะคะ ภาคต่อนี้นอกจากจะไปดูผลงาน ความภาคภูมใิ จทีพ่ วกเราได้โยนข้าวกัน ไว้แล้ว (หากท่านไหนไม่ได้ไปครัง้ ทีแ่ ล้ว ขอเชิญมาชื่นชมครั้งนี้พร้อมกันได้เลย ค่ะ) พวกเราจะแปลงกายเป็นเกษตรกร เต็มตัว ลงแปลงเรียนรู้เรื่องผัก แมลง และวัชพืช พร้อมกับทานอาหารพื้นถิ่น เต็มรูปแบบทุกเมนูแน่นอนค่ะ นับถอย หลังรอได้เลยนะคะ แล้วพบกันค่ะ

โครงการพัฒนากลไกการเชื่อมโยงผักไร้สารพิษ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่านช่องทางตลาดสีเขียว โทรศัพท์ 02-622-2495-6, 02-622-0955, 02-622-0966 โทรสาร 02-622-3228 เว็บไซต์ : www.thaigreenmarket.com เฟซบุ๊ค : www.facebook.com/ตลาดสีเขียว GreenMarket


บริษัท สวนเงินมีมา ผูประกอบการสังคม Garden of Fruition

องค กรธุรกิจอยางใหม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และคุณภาพดานใน

สำนักพิมพสวนเงินมีมา Suan Nguen Mee Ma Publishing House

สวนหนังสือแหงความรู ปญญา และแรงบันดาลใจ

รานสวนเงินมีมา

Suan Nguen Mee Ma Shop

เต็มอิ่มกับอาหารกาย อาหารสมอง อาหารใจ

เครือขาย เกษตรอินทรียเอเชีย

Toward Organic Asia

ภายใต School for Wellbeing กรีนแฟร Green Fair Studies and Research งานแสดงผลิตภัณฑ อินทรีย เชื่อมโยงพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย และผลผลิตตลาดสีเขียวชุมชน ในเรื่องเกษตรอินทรียท  องถิ่น และ เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน เรียนรู ชุมชน รวมขับเคลื่อนการพัฒนา ระหวางผูผลิต เกษตรกรรายยอย ที่ยั่งยืน ผูประกอบการสังคมและ ผูบริโภคสีเขียว

การรณรงค ขับเคลื่อนสังคม ในดานตางๆ ที่สำคัญไดแก

• เรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ

แรงบันดาลใจจากภูฐาน มุงสูการพัฒนาที่ไป พนจีดีพี คำนึงถึงความสุขและคุณภาพชีวิตเปนสำคัญ

• การสรางเครือขายตลาดสีเขียว (ในพื้นที่ กรุงเทพฯ และจังหวัดใกลเคียง)

เครือข่าย ตลาดสีเขียว

บริษทั สวนเงินมีมา จ�ำกัด

รวมกับผูผลิต ผูประกอบการและผูบริโภค สงเสริมชองทาง และสรางความตระหนักเรื่องการบริโภคอยางยั่งยืนและเปนธรรม

• การขับเคลื่อนและเชื่อมโยงในภูมิภาค


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.