สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2

Page 1

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2557

<<< มากิ น ถั่ ว .... เพื่อสุขภาพที่ดี กันเถอะ

3

ไขปัญหา โรคหัวใจ

5

สัญญาณเตือนของ

ภาวะหัวใจวาย Heart attack

8

review

10

ภาวะเป็นลม

หมดสติ


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สยามบรมราชกุมารีอาศิรวาท

อัญเชิญไตรรัตน์เอื้อ จตุรพิธพรทวี เกษมสุขเปรื่องปราดปรี- ทั่วทุกแหล่งแล้วล้วน สรวมชีพบังคมบาท ลุสองเมษาศรี อัญเชิญพระตรัยรัตน์ อันตราย ณ ใดใด คุ้มครองนารีแก้ว สิ่งใด ธ ปรารถนา

อวยศรี สวัสดิ์เฮย ถ่องถ้วน ชายิ่ง นอบเกล้าอัญชุลี ฯ ถวายราชกุมารี ประจบคราเฉลิมชัย ช่วยเป่าปัดขจัดภัย ขออย่าได้มาบีฑา ให้คลาดแคล้วทุกข์โรคา ให้สัมฤทธิ์ประสิทธิ์เทอญ ฯ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้ามูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (นายวัฒนะ บุญจับ ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ประพันธ์)

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ถั่ว

มากิน .... เพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ <<<

ผศ. วันทนีย์ เกรียงสินยศ

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ถั่ว

เปลือกแข็งเป็นอาหารธรรมชาติ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีประโยชน์ ต่อสุขภาพมากมาย กินถั่วเป็นอาหารว่างแทนอาหารประเภทเบเกอรี่และขนมขบเคี้ยว ร่วมกับการกินอาหารอื่นที่หลากหลายและสมดุล ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี

รายพระนาม และรายนามคณะกรรมการบริหาร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงด�ำรงต�ำแหน่งประธานคณะกรรมการ

1. ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช 2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ปริญญา สากิยลักษณ์ 3. นายวัลลภ เจียรวนนท์ 4. ศาสตราจารย์นายแพทย์ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ 5. นางธัญญา สุรัสวดี 6. แพทย์หญิงคุณสวรรยา เดชอุดม 7. นายสนั่น อังอุบลกุล 8. นางเจียมจิตต์ จิราธิวัฒน์ 9. พลเอกนายแพทย์ประวิชช์ ตันประเสริฐ 10. นางนพมาศ ไวยรัชพานิช 11. นางสุพัฒนา อาทรไผท

กรรมการที่ปรึกษา รองประธานกรรมการคนที่ 1 รองประธานกรรมการคนที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก ประธานฝ่ายวิชาการ ประธานฝ่ายจัดหาทุน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

12. นางรัชดา บุลยเลิศ 13. พลเอกนายแพทย์ประสาท เหล่าถาวร 14. ภญ.วีรวรรณ เรืองนิวัติศัย 15. นายแพทย์ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี 16. พลอากาศตรีนายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล 17. นายมณฑป ผลาสินธุ์ 18. ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด 19. นายชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล 20. ดร.ธาริษา วัฒนเกส 21. นายแพทย์เกรียงไกร เฮงรัศมี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

วัตถุประสงค์ 1. น�ำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลวิชาการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดกิจกรรมผลงานของมูลนิธิหัวใจฯ ส�ำหรับประชาชนที่สนใจ 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและอัตราการตายของโรคหัวใจและหลอดเลือด 3. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษาและให้บริการข้อมูลทางการแพทย์แก่ประชาชนที่สนใจและนักวิชาการ 4. ศูนย์ประสานสร้างเครือข่าย สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ ก�ำหนดการออกปีละ 3 ฉบับ จ�ำนวนพิมพ์ 3,000 ฉบับ

2 : สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

ถั่วเป็นอาหารที่มีไขมันสูง จึงมักได้รับค�ำเตือนว่าให้กิน พอประมาณ มิเช่นนั้นจะท�ำให้อ้วนได้ง่าย ซึ่งเป็นความจริง อย่ า งไรก็ ต ามไขมั น ที่ อ ยู ่ ต ามธรรมชาติ ใ นถั่ ว เป็ น ไขมั น ที่ มี คุณภาพดี นัน่ คือเป็น “ไขมันไม่อมิ่ ตัว” เวลากล่าวถึงไขมัน ต้อง ท�ำความเข้าใจว่ามีแยกเป็นย่อยตามที่มีผลต่อสุขภาพต่างกัน ง่ายๆ คือ แบ่งเป็นไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวเป็น ไขมันทีไ่ ม่คอ่ ยดีกบั สุขภาพ เนือ่ งจากการกินมากเกินไปจะท�ำให้ คอเลสเตอรอลชนิดแอล-ดี-แอล สูงขึ้น ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล ที่ไปเกาะตามผนังหลอดเลือดต่างๆ ท�ำให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน ไขมันชนิดนี้มักเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง จึงพบมากในไขมัน จากสัตว์ เช่น ไขมันในหมูสามชั้น หนังไก่ เป็นต้น ไขมันที่อยู่ใน น�้ำนมวัวก็เป็นไขมันอิ่มตัวซึ่งมักจะแยกมาท�ำเป็นเนย หรือที่ เรียกว่าบัทเทอร์ ส�ำหรับมาร์การีน หรือไขมันที่มักใช้ในขนมปัง กรอบ ขนมอบเบเกอรีมักมีส่วนประกอบของไขมันทรานซ์อยู่ ซึ่งจัดว่าเป็นไขมันชนิดไม่ดีเช่นกัน ที่จริงไขมันทรานซ์มาจาก น�้ำมันพืชซึ่งไม่มีคอเลสเตอรอล แต่เมื่อผ่านกระบวนการผลิต

แปรรูป ท�ำให้เกิดการเปลีย่ นโครงสร้างของไขมันให้เป็นของแข็ง และเกิดเป็นไขมันทรานซ์ซงึ่ มีผลด้านลบต่อสุขภาพร่างกายมาก คือท�ำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด เพิ่มการอักเสบ ซึ่งจะเพิ่ม ความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดตีบ น�ำไปสู่ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้งา่ ย ส�ำหรับไขมันไม่อมิ่ ตัวมักพบ ในพืชเมล็ด เช่น ถั่ว งา พืชบางชนิดมีไขมันเป็นส่วนประกอบ มาก สามารถน�ำมาสกัดเป็นน�้ำมันพืชได้ เช่นน�้ำมันถั่วเหลือง น�ำ้ มันดอกทานตะวัน เป็นต้น ไขมันไม่อมิ่ ตัว ท�ำหน้าทีต่ รงกันข้าม กับไขมันอิม่ ตัว คือ ช่วยขจัดคอเลสเตอรอลทีอ่ ยูต่ ามหลอดเลือด และน�ำไปท�ำลายที่ตับ มีงานวิจัยที่พบว่าการกินถั่วเป็นประจ�ำ แทนขนมกรุบกรอบ ขนมเบเกอรีต่างๆ จะสามารถลดคอเลสเตอรอล แอล-ดี-แอล ลงได้ถึงร้อยละ 5-14 แตกต่างกันไป ขึน้ อยูก่ บั ชนิดถัว่ ทีท่ ำ� การศึกษา ปริมาณการกิน ระยะเวลา และ ลักษณะของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษา นอกจากไขมัน ไม่อิ่มตัวแล้ว ในถั่วยังมีสัดส่วนของสารอาหารอื่นๆ ที่ท�ำหน้าที่ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจด้วยเช่นกัน กล่าวคือ: สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

:3


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องหลอดเลือด u โฟเลตและวิตามินบี ช่วยลดระดับโฮโมซิสเตอีน (Homocystiene) ที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือด u ไนอะซินหรือวิตามินบี 3 ที่มีมากในถั่วลิสง มีสว่ นช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ และเพิม่ คอเลสเตอรอล เอช-ดี-แอลที่ดีกับร่างกาย u กรดไขมันอัลฟาไลโนเลอิกที่มีมากในถั่ววอลนัต จะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดอุดตัน ช่วยควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ u แมกนีเซียม ช่วยลดควมดันโลหิต u ใยอาหาร ที่มีมากในผิวถั่วเกือบทุกชนิด ช่วยขจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีกับร่างกาย u ถั่วหลายชนิดมีสารพฤกษเคมี เช่น ฟลาวานอยด์ ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกับร่างกาย u

คนเป็นโรคหัวใจมักมีโรคหรือภาวะอืน่ ๆ พ่วงตามมาด้วย ทีเ่ ห็นได้ชดั คือ โรคเบาหวาน และภาวะการมีนำ�้ หนักตัวเกินหรือ โรคอ้วน พบว่าการกินถัว่ เป็นประจ�ำจะช่วยลดอัตราการเกิดโรค เหล่านีไ้ ด้ดว้ ย โดยเฉพาะการกินถัว่ เป็นของว่างแทนทีข่ นมหวาน เค้ก พาย และขนมขบเคี้ยวต่างๆ ด้วย ถั่วมีทั้งไขมันที่ดีและ เส้นใยอาหารในปริมาณที่มาก จึงเป็นอาหารธรรมชาติที่อร่อย ช่วยควบคุมระดับน�ำ้ ตาลในเลือดได้ดี จึงเหมาะกับผูท้ เี่ ป็นเบาหวาน และการกินถัว่ ท�ำให้รสู้ กึ อิม่ นาน จึงช่วยควบคุมน�ำ้ หนักได้ ถ้ากิน ในปริมาณที่เหมาะสม ในทางโภชนาการแนะน�ำให้กินถั่ววันละ 1 ก�ำมือ (30 กรัม) โดยควรกินถั่วแทนเนื้อสัตว์บ้างเป็นประจ�ำ

เพื่อให้ได้โปรตีนที่ดีจากพืช ช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ ต่างๆ มีการศึกษาที่ประเทศสเปน ในกลุ่มคน 1,200 คน อายุ ระหว่าง 55-80 ปี พบว่าผูท้ กี่ นิ อาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน คือ กินปลา ผัก ผลไม้ และถั่ววันละ 30 กรัม สามารถลดความดัน โลหิต ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดน�้ำหนักและ รอบเอวได้มากกว่าผู้ที่กินอาหารสไตล์เดียวกันแต่ไม่มีถั่ว และ ลดโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคน ไม่กินถั่ว ข้อควรระวังที่ส�ำคัญคือ อย่ากินถั่วเพลิน ลืมควบคุม ปริมาณ การกินถัว่ มากเกิน ท�ำให้ได้พลังงานเกินกว่าทีใ่ ช้ได้หมด มีการสะสม ส่งผลเสียได้ จึงขอย�้ำว่ากินถั่วแค่วันละ 30 กรัม หรือประมาณ 1 ก�ำมือก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นจึงขอแนะน�ำว่า เมื่อซื้อถั่วมาแล้วโดยเฉพาะที่เป็นถุงใหญ่ ให้แบ่งถั่ว ปริมาณ 1 ก�ำมือ ใส่ถุงหรือกล่องอาหารเล็กๆ เอาไว้เลย เพื่อป้องกัน การกินเกิน และยังพกติดตัวเวลาไปไหนมาไหนได้สะดวก ธรรมชาติทกุ วันนีม้ ถี วั่ หลากหลายชนิดให้เลือกกิน คุณค่า ทางอาหารและปริมาณที่แนะน�ำของถั่วแต่ละชนิด แสดงใน ตารางข้างล่างนี้ ถัว่ แต่ละชนิดล้วนแต่มปี ระโยชน์กบั ร่างกายทัง้ สิ้น เลือกตามที่ชอบ ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย เน้นให้หลากหลาย หมุนเวียนเปลีย่ นกันไป อาจกินถัว่ เป็นของว่างเวลาอยากกินขนม หรือจะกินเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารก็ได้ เช่นน�ำมาคั่วใส่ใน อาหารย�ำต่างๆ ส้มต�ำ สลัด เป็นต้น ขอแนะน�ำให้ใช้การคั่วถั่ว มากกว่าการทอดและไม่ต้องมีการเคลือบน�้ำตาลเพิ่ม เน้นความ เป็นธรรมชาติของถั่ว เพื่อที่จะได้ประโยชน์จากถั่วอย่างเต็มที่ อย่ารอช้า รีบน�ำถั่วมาอยู่ในมื้ออาหารของคุณบ้างนะ ค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

ตารางแสดงคุณค่าทางอาหารของถั่วชนิดต่างๆ ในปริมาณ 1 ออนซ์ (28-30 กรัม) ถั่ว

แมคคาดาเมีย วอลนัต มะม่วงหิมพานต์ ฮาเซลนัต อัลมอนด์ ถั่วลิสง พิสตาชิโอ

ปริมาณเม็ด ต่อออนซ์

พลังงาน (กิโลแคลอรี)

โปรตีน (กรัม)

ไขมันทั้งหมด (กรัม)

ไขมันอิ่มตัว (กรัม)

10 - 12 14 - 15 16 - 18 18 - 20 20 - 24 28 - 30 45 - 47

200 190 160 180 160 170 160

2 4 4 4 6 7 6

22 18 13 17 14 14 13

3.0 1.5 3.0 1.5 1.0 2.0 1.5

4 : สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

ไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยว (กรัม)

17.0 2.5 8.0 13.0 9.0 7.0 7.0

ไขมันไม่อิ่มตัว เชิงซ้อน (กรัม)

0.5 13.0 2.0 2.0 3.0 4.0 4.0

ไขปัญหาโรคหัวใจ

<<<

พ.ต.อ.นพ.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลต�ำรวจ

1 ทานยาโรคหัวใจหลายๆ ชนิดมานานๆ จะท�ำให้ตับไตพังหรือไม่? สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคไตวายเรื้อรังมักเป็นสาเหตุจากโรคของผู้ป่วยเองโดยเฉพาะเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่คุมไม่ดีเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด นอกจากนี้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานๆ มักต้องใช้ยาในการควบคุม โรคหลายชนิดท�ำให้ผู้ป่วยบางรายเข้าใจผิดจึงไม่ยอมทานยาซึ่งท�ำให้ผลการรักษายิ่งแย่ลงไปอีก ส่วนสาเหตุการเกิดไตวายเรื้อรังที่ เกิดจากยามักเป็นจากสาเหตุจากยาอืน่ มากกว่ายาทีใ่ ช้ในการรักษาเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึง่ ส่วนใหญ่มกั พบในยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ สมุนไพร เป็นต้น ส่วนเรื่องตับเราพบว่าอาจมีตับอักเสบจากยาได้บ้างโดยเฉพาะยาลดไขมันแต่ก็มักไม่เกิน 1-3% ขึ้นกับชนิดและขนาดของยาอีกด้วยแต่ส่วนใหญ่แพทย์ผู้รักษามักระมัดระวังโดยการตรวจการท�ำงานของตับอยู่เสมออยู่แล้ว

2

ถ้าทานอาหารที่มี ไขมันต�่ำและออกก�ำลังสม�่ำเสมอยังต้องทานยาลดไขมันหรือไม่? ปัญหานีเ้ รามักพบในผูป้ ว่ ยทีม่ ไี ขมันในเลือดสูงแต่เป็นผูป้ ว่ ยทีม่ กี ารปฏิบตั ติ วั ทีด่ คี อื ระมัดระวังในการทานอาหารทีม่ ี ไขมันสูงและออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ จึงมักเข้าใจว่าไม่จ�ำเป็นต้องทานยาลดไขมันซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองทั้งนี้เนื่องจากโคเลสเตอรอลที่มีอยู่ในเลือด ส่วนใหญ่ประมาณ 75% สร้างจากร่างกายของเราเองโดยเฉพาะที่ตับ ส่วนโคเลสเตอรอลที่ได้จากอาหารเป็นเพียง 25% เท่านัน้ ฉะนัน้ ถึงแม้เราไม่ทานอาหารทีม่ ไี ขมันเลยร่างกายก็ยงั คงสร้างโคเลสเตอรอลอยู่ โดยส่วนใหญ่การควบคุม อาหารและออกก�ำลังกายมักช่วยลดโคเลสเตอรอลลงได้ประมาณไม่เกิน 15% ด้วยเหตุนี้ในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง จึงควรใช้ยาลดไขมันโดยเฉพาะกลุม่ statins ร่วมกับการควบคุมอาหารทีม่ ไี ขมันสูงและออกก�ำลังกายอย่างสม�ำ่ เสมอ

3 เป็นความดันโลหิตสูงจะทานยาตัวไหนดี ทานยาตัวเดียวกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวได้หรือไม่? ผูป้ ว่ ยโรคความดันโลหิตสูงมักจะมีคำ� ถามว่าจะทานยาตัวไหนดี ในปัจจุบนั แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงมักไม่เน้นว่า ใช้ยากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นส�ำคัญแต่เน้นให้คุมความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายการรักษาคือระดับความดันโลหิตต�่ำกว่า 140/90 mmHg โดยอาจใช้ยามากกว่า 1 ชนิด แนวทางในการเลือกใช้ยาลดความดัน แพทย์มัก เลือกจากโรคประจ�ำตัวที่ผู้ป่วยเป็นเช่น เบาหวาน โรคไตเป็นต้น และภายหลังการเลือกใช้ยา ผูป้ ว่ ยแต่ละท่านอาจมีผลข้างเคียงจากยาไม่เหมือนกันในแต่ละคน ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ ที่พบได้แก่ ไอ ขาบวม หอบ เวียนศีรษะ เพราะฉะนั้นถ้าเราทานยาลดความดัน โลหิตแล้วคุมความดันได้ดี ไม่มีผลข้างเคียงก็ทานต่อไปเถอะครับ เพราะยา แต่ละตัวเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือค�ำถามเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถสอบถามได้ที่ E-mail : thaiheart_fd@hotmail.com หรือที่ เลขที่ 2 ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซ.ศูนย์วิจัย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 หรือที่ โทรสาร. 02-7165813 สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

:5


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภารกิจ 2557

ภารกิจร�ำลึก

โครงการ “ผ่าตัดหัวใจเฉลิมพระเกียรติ ๓๐๐ ราย”

กิจกรรมโครงการ

“กระโดดเชือก ทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ”

ร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูว์ส สาทร ในงาน “เซนต์ แอนดรูว์ส แฟร์ 2014” โดยร่วมโชว์การ กระโดดเชือกแบบสร้างสรรค์ พร้อมสาธิตวิธกี ารกระโดดเชือกแบบพืน้ ฐาน และฝึกกระโดดเชือกร่วมกันกับเด็กนักเรียน โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูวส์ สาทร จ�ำนวนกว่า 100 คน เมือ่ วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2557 เวลา 13.00 – 15.00 น.

กิจกรรมโครงการ “อาหารไทย หัวใจดี”

1. 2. 3.

วันที่ 13 ก.พ. 57 ลงบทความรณรงค์ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในคอลัมน์วาไรตี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เรื่อง เลือกอาหารจานด่วนแบบไทยๆ ห่างไกลหัวใจพิบัติและอัมพาต วันที่ 14 ก.พ. 57 โครงการมอบกระเช้าผลิตภัณฑ์รักษ์หัวใจ แทนค�ำขอบคุณสื่อมวลชนที่ สนับสนุนกิจกรรมของ HF และ TFGH วันที่ 27 มี.ค. 57 ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ ร่วมบันทึกเทปรายการหนี้แผ่นดิน หัวข้อ “กินอาหารไทยไม่เป็นโรคหัวใจ จริงหรือ” ทางช่อง TNN2

มู ล นิ ธิ หั ว ใจแห่ ง ประเทศไทย ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ และคณะสาธารณสุ ข ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล

บันทึกภารกิจ (พ.ค. – ก.ค. 2557) กิจกรรมของมูลนิธิหัวใจฯ 1. 2.

วันที่ 19 พ.ค. 57 ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2557 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสร็จพระราชด�ำเนินเป็นประธานในการประชุม ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ มูลนิธิหัวใจฯ ร่วมออกบูธนิทรรศการและจัดกิจกรรมภายในบูธ ช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. 57 งาน Money Expo 2014 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 – 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กิจกรรมโครงการ “กระโดดเชือกทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ” 1. 2.

อบรมทักษะกีฬากระโดดเชือกระดับพื้นฐาน (ภาคใต้) ครั้งที่ 1/2557 ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา อบรมทักษะกีฬากระโดดเชือกระดับพื้นฐาน (กรุงเทพมหานคร) ครั้งที่ 6/2557 ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 มิถุนายน 2557 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมโครงการ “อาหารไทย หัวใจดี”

1. 2.

วันที่ 21 – 25 พ.ค. 57 งาน THAIFEX World of Food Asia 2014 ครั้งที่ 11 – โครงการ TFGH ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” เพื่อหาสมาชิกใหม่ และร่วมประชาสัมพันธ์กับสมาชิก ที่ออกแสดงสินค้าในงาน วันที่ 29 - 30 พ.ค. 57 ชมรมโภชนวิทยามหิดล จัดประชุมวิชาการโภชนวิทยา ครั้งที่ 13 เรื่อง “โภชนาการทางเลือกเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและชะลอวัย” ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์

6 : สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

ในปี 2557 นี้ มูลนิธิฯ จัดกิจกรรม “โครงการผ่าตัดหัวใจเฉลิมพระเกียรติ ๓๐๐ ราย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจผู้ยากไร้ที่ต้องรอคิวการผ่าตัดให้ได้รับการผ่าตัดเร็วขึ้น โดยให้มีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ซึ่ง มูลนิธิฯ จะออกค่าใช้จ่ายให้แก่ทีมผ่าตัดเป็นเงิน 40,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมทั้งค่าใช้จ่าย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเป็นเงิน 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 50,000 บาทต่อราย รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 15 ล้านบาท โดยมีโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการทั้งหมดกว่า 20 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งมูลนิธิฯ ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจร่วมบริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรมได้โดยโอนเงินเข้าบัญชี “โครงการผ่าตัด หัวใจเฉลิมพระเกียรติ - มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ” ผ่านธนาคาร: • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ประเภทออมทรัพย์ เลขที่ 043-272076-3 • ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ประเภทออมทรัพย์ เลขที่ 041-0-10697-6 • ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ประเภทออมทรัพย์ เลขที่ 153-4-18982-2 • ธนาคารทหารไทย สาขาโรงพยาบาลกรุงเทพ อาคารศูนย์ทันตกรรม ประเภทออมทรัพย์ เลขที่ 196-2-12335-0 สอบถามรายละเอียดการบริจาคได้ที่ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ โทร 02-7166843 หรือ 02-7166658 โทรสาร 02-7165813

โครงการ “ฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน” โครงการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ในมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดรับฝึกอบรม BLS ( Basic Life Support ) ปี 2557 ให้กับ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ตั้งแต่ 40 คนขึ้นไป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธหิ วั ใจฯ สอบถาม รายละเอียดขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย 02-7165661 หรือ 02- 7166658 ในวันและเวลาราชการ “เพื่อคนที่คุณรักจะอยู่กับคุณได้นาน” หากครอบครัวของคุณมีผู้สูงอายุ มีคนเป็นโรคหัวใจ หอบหืด ความดันโลหิตสูง ฯลฯ มีโอกาสเสี่ยงกับการเกิดหัวใจ หยุดเต้นกะทันหัน สิ่งที่คุณควรมีที่สุดคือความรู้ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อ ประวิงเวลารอรถพยาบาล “หุ่นสมชาย” ส�ำหรับสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ช่วย คุณได้ ในชุด “หุ่นสมชาย” จะมีคู่มือ มีวีดีทัศน์ที่ให้ท่าน ท�ำตามได้โดยง่ายที่บ้าน มีไว้เพื่อสอนคนในครอบครัว เพื่อช่วยให้เค้าอยู่กับคุณได้นานๆ “หุ่นสมชาย” มีมูลค่า 1,200 บาท สามารถบริจาคได้ที่ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย 02-7165661 หรือ 02- 7166658 ในวันและเวลาราชการ

สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

:7


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สั ญ ญาณเตื อ นของ

ภาวะหัวใจวาย Heart attack

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

<<<

พญ. รัชนี แซ่ลี้ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ก่อนอื่น

ต้องขอขยายความค�ำว่า “หัวใจวาย” ในความหมาย ทางการแพทย์กับความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ ซึ่งอาจท�ำให้สื่อสารกัน ผิดพลาดอยู่บ่อยๆ ค�ำว่าหัวใจวายในความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ มักแปล ความหมายทางการแพทย์ได้ 2 ภาวะ คือ หัวใจล้มเหลวซึ่งหมายถึงการที่หัวใจ ท�ำงานไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย กับหลอดเลือดหัวใจ อุดตันฉับพลัน หรือที่ชอบเรียกสั้นๆ ว่า heart attack ซึ่งทั้งสองภาวะเป็นภาวะฉุกเฉินรีบด่วน ที่ผู้ป่วยต้องได้รับ การรักษาโดยเร็ว การทราบอาการเตือน อาการเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้เราไปพบแพทย์ได้อย่าง รวดเร็วและได้รับการรักษาทันเวลา ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงอาการเตือนของ Heart attack หรือ หลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน

อาการเตือนทีส่ ำ� คัญคือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกทีเ่ ป็นสัญญาณเตือนให้รบี ไปพบแพทย์ ได้แก่ 1. อาการเจ็บแน่น จุกเหมือนโดนทับ หนักๆ บีบรัดทั่วๆ บริเวณหน้าอกไม่สามารถชี้จุดได้ชัดเจน (คนไข้โรคนี้มักบอกว่า เจ็บที่สุดในชีวิต เจ็บจนทนไม่ได้ เจ็บเหมือนจะตาย เป็นต้น) หรือบางคนอาจมีอาการจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ คล้ายอาการของ โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน 2. อาการเจ็บร่วมกับ ปวดร้าวไปกรามทั้งสองข้าง หรือ ไหล่ซ้ายแต่มักจะไม่ร้าวลงมาจนถึงปลายมือ ผู้ป่วยบางรายอาจ มีเฉพาะอาการปวดร้าวโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยก็ได้ หากเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น สูบบุหรี่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน เครียด ขาดการออกก�ำลังกาย ควรไปพบแพทย์เพื่อให้ประเมิน ว่าเป็นอาการที่สัมพันธ์กับหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่

8 : สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

3. ช่วงเวลาทีเ่ กิดอาการเจ็บหน้าอก สามารถเป็นได้ ขณะพัก หากเส้นเลือดอุดตันรุนแรงฉับพลัน อาจมีอาการตลอดเวลา หรือ มีช่วงหายก็ได้ แต่ถ้าอาการเจ็บเป็นอย่างต่อเนื่องเกิน 20 นาที หยุดพักไม่ดีขึ้น เจ็บหน้าอกเกิดขึ้นใหม่แบบไม่เคยเป็นมาก่อน เจ็บหน้าอกถี่มากขึ้นรุนแรงขึ้น หรือต้องอมยาใต้ลิ้น 2 เม็ด เป็น สัญญาณบ่งชี้ว่าต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน นอกจากนี้อาการ มักสัมพันธ์กับการออกแรงคือยิ่งออกแรงมากยิ่งเจ็บมาก โดย มักมีเหนื่อยร่วมด้วย 4. อาจมีอาการร่วมเช่นใจสั่น เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่จ�ำเพาะ กับโรคหลอดเลือด หัวใจตีบ แต่มักเป็นสัญญาณเตือนที่ท�ำให้ผู้ป่วย ตกใจและไป พบแพทย์ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดี แต่อาการที่มีความส�ำคัญมากคือ อาการของภาวะแทรกซ้อน ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลัน ที่ส�ำคัญได้แก่ ภาวะช็อก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น หัวใจล้มเหลว

ซึ่งมักเกิดรวดเร็วและรุนแรง จ�ำเป็นต้องได้รับการรักษารีบด่วน คนส่วนใหญ่มักจะไปโรงพยาบาลใหญ่แต่ไกล ท�ำให้ผู้ป่วยเสีย ชีวิตได้เพราะช่วยเหลือไม่ทัน ดังนั้นหากมีอาการของภาวะ แทรกซ้อนดังกล่าว ต้องรีบไปพบแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์ช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนที่จะส่งต่อไป โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ 5. ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ตามที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจาก ระบบประสาทรับรู้ความเจ็บ ปวด ท�ำงานได้ไม่ดี ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงทีจ่ ะเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจสูง อาจมีเพียงอาการเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิม อาการเจ็บจี้ด จุกลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย หายใจไม่อิ่ม เหงื่อออก หรืออาการของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว หากสงสัย จ�ำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อท�ำการตรวจ เพิม่ เติม จึงจะทราบได้วา่ ผูป้ ว่ ยมีภาวะ หลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่

การปฏิบตั ติ วั เบือ้ งต้น หากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะ heart attack 1. รีบพัก อยู่นิ่งๆ สังเกตุอาการว่าดีขึ้นหรือไม่ หากไม่ดี ขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาล 2. หากมียาอมใต้ลิ้น ให้นั่งหรือนอนก่อนจึงอมยาใต้ลิ้น เนือ่ งจากยาอาจท�ำให้ความดันต�ำ่ ลงได้ และถ้าอมยา 10-15 นาที อาการไม่ดีขึ้นให้อมยาเม็ดที่ 2 แล้วรีบไปพบแพทย์ หรือเรียก รถพยาบาล นอกจากยาอมใต้ลิ้น อาจมีในรูปแบบสเปรย์ ก็ สามารถใช้ได้เช่นกัน พ่นครั้งละ 1 สเปรย์ ข้อควรระวังส�ำหรับ การใช้ยาอมใต้ลนิ้ คือห้ามใช้รว่ มกับยารักษาโรคเสือ่ มสมรรถภาพ ทางเพศ เช่น ไวอะกร้า เนื่องจากเป็นยาขยายหลอดเลือด เหมือนกัน อาจท�ำให้ความดันต�่ำจนช็อกได้ หากผู้ป่วยใช้ยา กลุ ่ ม ดั ง กล่ า วมาก่ อ นภายในเวลา48 ชั่ ว โมงควรหลี ก เลี่ ย ง การอมยาใต้ลิ้น 3. หากมียา aspirin สามารถทานยาได้ แต่ต้องแน่ใจว่า ไม่มีประวัติแพ้ยา aspirin หรือประวัติเลือดออกทางเดินอาหาร แผลในกระเพาะ เลือดออกในสมอง

4. หากผู ้ ป ่ ว ยมี ภ าวะหั ว ใจหยุ ด เต้ น ซึ่ ง ถื อ ว่ า รุ น แรง ญาติต้องช่วยกดหน้าอกเพื่อรอความช่วยเหลืออื่นมาถึง โดย หลักการกดทีจ่ ำ� ง่ายๆ คือกดตรงกึง่ กลางหน้าอก ให้ลกึ ประมาณ 5 เซนติเมตร ด้วยความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที โดยกด อย่างเดียวไม่ตอ้ งหยุด จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง และหากเกิด เหตุในสถานที่ ที่มีเครื่องช็อคไฟฟ้าอัตโนมัต หรือ AED ( Automated external defibrillator) สังเกตุว่าจะมีเครื่องหมาย สายฟ้าแลบ ตามสถานที่สาธารณะ ก็ต้องน�ำมาใช้เพื่อช่วยชีวิต เบือ้ งต้นด้วย (ในประเทศไทยยังไม่มกี ารใช้เครือ่ งนีอ้ ย่างแพร่หลาย ซึ่ง ในอนาคต หวังว่าจะมีการเริ่มใช้อย่างแพร่หลายเพื่อลด อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยหัวใจ หยุดเต้น

การตรวจวินจิ ฉัยยืนยัน ส�ำหรับภาวะ heart attack ท�ำโดยการตรวจคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจ มักได้การวินจิ ฉัย แต่หาก ผลไม่ชัดเจนแพทย์จะต้องเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีการท�ำลายของ กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา ต่อไปได้ โดยสรุป อาการเตือนของภาวะ heart attack มีได้ ตัง้ แต่อาการทีช่ ดั เจน ไม่ชดั เจน จนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อน ฉับพลัน เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ที่มีความ เสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคดังกล่าวควรไปพบแพทย์สม�่ำเสมอ เพื่อรับยาและปรับเปลี่ยนการด�ำเนินชีวิตเพื่อลดโอกาส เกิดปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ และหากเกิดอาการที่ สงสัยในผูท้ มี่ คี วามเสีย่ งสูงควรไปพบแพทย์เพือ่ วินจิ ฉัยว่า มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่

สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

:9


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาวะเป็นลมหมดสติ

<<<

นพ.ธรณิศ จันทรารัตน์ ศูนย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

ภาวะ

เป็นลมหมดสติ หรือเป็นลมนัน้ ในทางการแพทย์หมายถึงภาวะทีผ่ ปู้ ว่ ยไม่รสู้ กึ ตัว หรือหมดสติ โดยที่ไม่ใช่หมายถึงอาการของการวิงเวียนศีรษะทั่วไป อาการเห็นภาพซ้อน หรือ อาการแน่นท้อง ลมจุกเสียด หรือเรอเปรีย้ วแบบทีเ่ ข้าใจกันทัว่ ไป ซึง่ อาการทีเ่ กิดขึน้ นัน้ เกิดจาก การที่มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และไม่ใช่ภาวะหมดสติที่ผู้ป่วยมีอาการโคม่า ร่วมด้วย หรือกล่าวโดยสรุปคือ ต้องเกิดอาการเร็วเป็นช่วงสั้นๆ ไม่กี่วินาที ต้องฟื้นคืนสติเร็ว และไม่มอี าการอ่อนแรงของกล้ามเนือ้ ของแขนขา หรืออาการผิดปกติทางการรับรูห้ ลงเหลืออยู่

สาเหตุของการหมดสติ 1. ภาวการณ์ทำ� งานของระบบประสาทอัตโนมัตทิ คี่ วบคุม การท�ำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งท�ำให้เกิดการ ขยายตัวของหลอดเลือดทีม่ ากกว่าปกติ แล้วท�ำให้ความดันโลหิต ลดลง หรือท�ำให้ชีพจรช้าลงอย่างมาก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่พบได้ บ่อยที่สุด ซึ่งพบว่าโรคในกลุ่มนี้ท�ำให้เกิดอาการได้ถึง 60% ซึ่ง ยังแบ่งย่อยตามลักษณะอาการอีกดังนี้ u ภาวะเป็ น ลมหมดสติ ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ สถานการณ์ บางอย่าง เช่น ขณะออกก�ำลังกาย การขับถ่าย อุจจาระ หรือปัสสาวะ การกลืนอาหาร และการไอ หรือจาม u ภาวะเป็ น ลมหมดสติ ที่ ห ลอดเลื อ ดบริ เ วณคอเกิ ด การกระตุ ้ น โดยที่ อ าจมี ห รื อ ไม่ มี ป ั จ จั ย กระตุ ้ น ที่ ชัดเจน เช่น การหันศีรษะ หรือคออย่างรวดเร็ว หรือ การใส่เสื้อรัดกระดุมคอแน่นมาก 2. ภาวะเป็นลมหมดสติที่เกิดจากการลดลงของความ ดันโลหิตอย่างมากเมื่อเกิดการเปลี่ยนท่า เช่น จากท่านั่งเป็น ลุกยืน หรือการนอนแล้วลุกนั่ง โดยที่อาจเกิดอาการเร็วทันที หรือ 1 – 2 นาที โดยที่มีโรคหลายกลุ่มที่ท�ำให้เกิดอาการเหล่านี้ เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคทางระบบประสาท โรคในกลุ่มนี้พบเป็นสาเหตุได้ประมาณ 15-20%

10 : สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

3. ภาวะเป็นลมหมดสติที่เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเกิดจากการที่มีชีพจรเต้นช้ามาก เช่น ต�่ำกว่า 40-50 ครั้ง ต่อนาที หรือเร็วมาก เช่น เร็วกว่า 150 ครั้งต่อนาที เป็นเวลา ต่อเนื่องกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการน�ำกระแสไฟฟ้าใน หัวใจที่ผิดปกติและมักจะไม่ได้เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 4. ภาวะเป็นลมหมดสติที่เกิดจากมีโครงสร้างของหัวใจ ผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ ลิ้นหัวใจตีบ หรือ หลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตก หรือภาวะที่มีแรงดันในหลอดเลือด ทีป่ อดทีต่ อ่ กับหัวใจสูงขึน้ ปกติ ในกลุม่ นีพ้ บเป็นสาเหตุทำ� ให้เกิด ภาวะเป็นลมหมดสติประมาณ 5%

แนวทางในการวินจิ ฉัยและการรักษาการเกิดภาวะเป็นลมหมดสตินนั้ จ�ำเป็นต้องอาศัย การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างมาก เพราะในขณะที่ผู้ป่วยมาพบเรานั้นไม่ได้มีอาการ ผิดปกติแล้ว และบางครั้งผู้ป่วยก็อาจจ�ำเหตุการณ์ไม่ได้ทั้งหมด จึงจ�ำเป็นต้องซักถามญาติ และผูเ้ ห็นเหตุการณ์รว่ มด้วย และข้อมูลพืน้ ฐานของผูป้ ว่ ยทัว่ ๆ ไป ได้แก่ ประวัตกิ ารเป็นโรค ในครอบครัว ประวัตกิ ารใช้ยาประจ�ำ หรือแม้แต่สารเสพติดต่างๆ ส�ำหรับการตรวจพิเศษ อื่นๆ ได้แก่ 1. เอคโค่คาร์ดโิ อแกรม (Echocardiogram) อาจพิจารณาท�ำในผูป้ ่วยทุกราย ที่โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว 2. การวิง่ ทดสอบสายพาน (Stress Test) ท�ำในรายทีส่ งสัยโรคหลอดเลือด หัวใจตีบ 3. การติดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. (Holter or Loop recorder) ท�ำ ในรายที่สงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ 4. การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology study) ท�ำใน รายที่สงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะที่สัมพันธ์กับภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากโรค หลอดเลือดหัวใจตีบ 5. การวัดการตอบสนองของหลอดเลือดและหัวใจต่อการเปลี่ยนท่า (Tilt Test)

แนวทางการรักษา การรักษาภาวะเป็นลมหมดสตินั้น แพทย์จะพิจารณา การรักษาที่สาเหตุ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามที่กล่าวมา 4 กลุ่ม ข้างต้น และควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกาย แต่ในที่นี้ จะขอกล่าวแนวทางการดูแลตัวเองเบื้องต้นในกรณีที่เกิดจาก ภาวะการท�ำงานของระบบประสาทอัตโนมัตทิ คี่ วบคุมการท�ำงาน ของหัวใจและหลอดเลือดทีผ่ ดิ ปกติซงึ่ ท�ำให้เกิดการขยายตัวของ หลอดเลือดทีม่ ากกว่าปกติแล้วท�ำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงภาวะที่ร่างกายขาดน�้ำ โดยดื่มน�้ำให้เพียง พอ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เวลาทีย่ นื นานๆ หรืออยูใ่ นทีม่ อี ากาศร้อน หรือเสียเหงื่อมากๆ

2. หลีกเลีย่ งการดืม่ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ เพราะจะท�ำให้ เกิดอาการได้ง่ายขึ้น 3. ถ้ามีอาการเตือนว่ารู้สึกเหมือนจะเป็นลมให้รีบนั่งลง ทันที และเข้าไปอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก 4. ออกก�ำลังกายให้สม�่ำเสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ บริเวณขา และฝึกกายบริหารสม�่ำเสมอ 5. ในรายที่ไม่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไต ร่วมด้วย อาจรับประทานอาหารที่มีความเค็มหรือเกลือเพิ่มขึ้น เล็กน้อย 6. อาจใส่ทรี่ ดั บริเวณขาและน่อง เพือ่ ลดการขยายตัวของ หลอดเลือดที่ขามากกว่าปกติ

สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน

: 11


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

บท บรรณาธิการ <<<

พ.ต.อ.นพ.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่านสารหัวใจฉบับนี้เป็น ฉบับแรกของปี พ.ศ. 2557 ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณ พล.อ.ต.นพ.บรรหาร กออนันตกูล ที่ได้ให้ความไว้วางใจให้ผม และคณะบรรณาธิการได้มีโอกาสในการด�ำเนินงานสารหัวใจ ต่อจากท่าน ซึ่งพวกเราสัญญาจะมุ่งมั่นท�ำงานอย่างเต็มความ สามารถครับ พวกเราซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพทย์โรคหัวใจได้คุยกัน และพบว่าในปัจจุบนั แม้วา่ เทคโนโลยีในการรักษาโรคจะก้าวหน้า ไปมากแต่ในความเป็นจริงเรากลับพบว่าผู้ป่วย โดยเฉพาะ โรคหัวใจกลับเป็นในอายุน้อยลงและความรุนแรงมากขึ้นแสดง ให้เห็นว่าการดูแลตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคกลับแย่ลง พวกเราจึงมีความเห็นว่าประชาชนยังมีความเข้าใจในการดูแล รักษาสุขภาพค่อนข้างน้อยและผูป้ ว่ ยหรือประชาชนก็ไม่มโี อกาส ที่จะได้รับข้อมูลทางด้านสุขภาพที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญจึง ท�ำให้ประชาชนได้รับข้อมูลจากเพื่อน หรือจากสื่อโฆษณา ชวนเชื่อซึ่งเป็นผลเสียอย่างมาก พวกเราจึงมีความมุ่งหวังที่จะ ให้ความรู้ที่ถูกต้อง เข้าใจง่ายแก่ประชาชนรวมทั้งมีการสื่อสาร ระหว่างคณะบรรณาธิการกับผูอ้ า่ นจึงได้มกี ารเพิม่ เนือ้ หาในส่วน ที่เป็นค�ำถามจากท่านผู้อ่านโดยท่านสามารถส่งค�ำถามมายัง มูลนิธิหัวใจฯ ได้ครับ โดยเราจะคัดค�ำถามที่น่าสนใจมาตอบ ในฉบับถัดไปครับ ส่วนในฉบับนี้ผมได้เลือกค�ำถามที่ถูกผู้ป่วย ถามบ่อยๆ มาตอบครับ

ในช่วงหลายเดือนทีผ่ า่ นมาผมเห็นโครงการทีน่ า่ สนใจมาก คื อ โครงการ “ลดเค็ ม ครึ่ ง หนึ่ ง คนไทยห่ า งไกลโรค” โดย เครือข่ายลดบริโภคเค็มซึง่ ประธานโครงการคือ ผ.ศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ผมพบว่าคนไทยทานอาหารเค็มมากอาจเพราะ อาหารบ้านเรามีรสจัด ซึง่ การทานเค็มอาจน�ำไปสูโ่ รคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไตวาย หัวใจล้มเหลว ส่วนใหญ่แพทย์ที่ดูแล ผู้ป่วยเหล่านี้มักแนะน�ำให้ลดอาหารเค็มแต่ผมพบว่าผู้ป่วย ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าการลดเค็มควรท�ำอย่างไร ผมจึงขอ แนะน�ำการทานอาหารเพื่อลดเค็มมาฝากท่านผู้อ่านครับ 1. หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารเพิ่มรวมทั้งน�้ำจิ้ม เช่น ทาน ก๋วยเตีย๋ วไม่ตอ้ งเติมน�ำ้ ปลาหรือซีอวิ๊ หรือการทานน�ำ้ จิม้ แต่นอ้ ย 2. บริโภคอาหารสดมากกว่าอาหารส�ำเร็จรูป อาหาร หมักดอง เช่น ทานเนื้อหมูสดมีเกลือน้อยกว่าหมูแผ่น หมูหยอง แฮม 3. หลีกเลีย่ งการทานอาหารจานด่วน เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซา ซึ่งมักมีเกลือสูง 4. อ่านสลากโภชนาการของอาหารถ้าท�ำได้และเลือก ทานที่มีปริมาณโซเดียมต�่ำ 5. หลีกเลีย่ งการบริโภคขนมกรุบกรอบ เช่น ข้าวเกรียบ มันฝรั่งทอด เป็นต้น ผมหวังว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้ท่าน ผู้อ่านมีแนวทางในการบริโภคอาหารเพื่อลดเค็มครับ ขอให้มี สุขภาพดีครับ

กองบรรณาธิการวารสาร “สารหัวใจ” 1. พล.อ.ต.นพ.บรรหาร กออนันตกูล 2. พ.ต.อ.นพ.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล 3. พญ.รัชนี แซ่ลี้ 4. พ.ท.นพ.ธรณิศ จันทรารัตน์

บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ กรรมการ กรรมการ

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 2 ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซ.ศูนย์วิจัย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 02-716-6658 02-716-6843 แฟกซ์ 02-716-5813 www.thaiheartfound.org 12 : สารหัวใจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เดือนเมษายน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.