เสน่ ห์ของ อะไรทําให้ คุณไม่ ใช่ พุทธ อุษณี นุชอนงค์ สําหรับคนชอบอ่านหนังสื ออย่างฉัน เสน่ห์อย่างแรกของ อะไรทําให้ คุณไม่ เป็ นพุทธคือท่วงทํานองของภาษา ฉันมักตกหลุมรักคนที่เขียนภาษาสวยแต่เรี ยบ ง่าย ชัดเจนแต่เป็ นกันเอง เหมือนนัง่ คุยกันอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากจริ ต จะก้าน ก้าวข้ามความเยิน่ เย้อ รุ งรัง และสามารถสื่ อเนื้อหาหลักได้อย่างลึกซึ้ง ถึงแก่น หรื อมิฉะนั้น ก็ตอ้ งเป็ นสไตล์เล่นคํา จิกกัด ประชดประชัน แดกดันอย่างสนุกสนานเพื่อบอกกล่าวเรื่ องราวลึก ๆ ที่คนเขียนต้องการสื่ อ อะไรทําให้ คุณไม่ เป็ นพุทธ มีท้ งั หมดที่เพิ่งกล่าวไป ชองซาร์ จัมยัง เคียนเซ ผูเ้ ขียน ใช้ความสามารถในเชิงภาษา เขียน อธิบายสิ่ งที่เรี ยกว่า “พุทธ” ด้วยถ้อยคําง่าย ๆ ตรงไปตรงมา แต่ลึกซึ้งและกระแทกหัวใจ พร้อมตัวอย่างร่ วมสมัยที่ผคู ้ นใน ยุคนี้สามารถเข้าถึงและเข้าใจ บอกกล่าวความเป็ น “ชาวพุทธ” ในหนังสื อเล่มเล็ก ๆ ความยาวแค่200 หน้า ความสามารถในการ “เล่น” กับภาษาน่าจะเริ่ มตั้งแต่ชื่อเรื่ อง ผูเ้ ขียนฉลาดมากในการใช้คาํ ปฏิเสธเป็ นกระชอนคัดกรอง มี อะไรหลายอย่างเหลือจะนับ (!) ที่ทาํ ให้คุณ “ไม่ใช่” พุทธ แต่มีเพียง 4 อย่างเท่านั้นที่ทาํ ให้คุณ “เป็ น” พุทธ พูดในทาง กลับกันก็คือคุณจะถือว่าเป็ นพุทธหากสามารถ ”ยอมรับ” ความจริ ง 4 ข้อนี้ได้ ใช่แล้ว ความจริ งหรื อสัจธรรมแค่ 4 ข้อเท่านั้นเอง ไม่มีศพั ท์ธรรมะ ไม่มีการบอกให้ปฏิบตั ิหรื อละ ไม่มีบทสวดในภาษาที่ ยากจะเข้าใจ ง่าย ๆ แค่ 4 อย่าง นิยามอย่างนี้กไ็ ด้ใจคนอ่านยุคแดกด่วนอย่างฉันไปแล้วกว่าครึ่ งดวง มิไยว่าความจริ ง 4 ประการที่ผเู ้ ขียนยกมาตั้งแต่ตน้ (หน้า 16) ยากที่จะเข้าใจและดังนั้นจึงยังยากที่จะปฏิบตั ิตาม แต่สาํ หรับ ผูส้ นใจในความเป็ นพุทธที่ไม่ใช่แค่สวดมนต์ขา้ มปี หรื อทําบุญ 9 วัดการล่อหลอก (ที่ฉนั คิดเอาเอง) ด้วย “ตราธรรม” 4 ประการก็เริ่ มออกฤทธิ์ให้ตอ้ งติดตามว่าความจริ งดังกล่าวคืออะไร สําหรับเคียนเซ “ผูน้ ้ นั คือชาวพุทธ หากเขายอมรับความจริ ง 4 ประการต่อไปนี้ (1) สิ่ งอันประกอบด้วยเหตุปัจจัยทั้งหลายทั้ง ปวงล้วนไม่จีรังยัง่ ยืน (2) ทุกอารณ์ความรู ้สึกคือความทุกข์ (3) สรรพสิ่ งปราศจากตัวตนเที่ยงแท้ และ (4) นิพพานอยูเ่ หนือ ความคิด” ในทางกลับกัน “(1) หากคุณไม่สามารถยอมรับได้วา่ สิ่ งอันประกอบด้วยเหตุปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงไม่จีรังยัง่ ยืน (2) หากคุณไม่สามารถยอมรับได้วา่ ทุกอารมณ์ความรู ้สึกคือทุกข์ (3) หากคุณไม่สามารถยอมรับได้วา่ ทุกปรากฎการณ์ลว้ น ว่างเปล่า (ปราศจากตัวตนเที่ยงแท้) และ (4) หากคุณคิดว่าการรู ้แจ้ง (นิพพาน) อยูภ่ ายใต้ขอบข่ายของกาลเทศะและพลัง (ความคิด) คุณก็ไม่ใช่พุทธ” ชัดมัย๊ ง่ายป่ ะ แค่เริ่ มก็สนุกแล้ว ส่ วนที่เหลือทั้งหมดของเล่มอุทิศให้กบั การอธิบายความจริ ง 4 ข้อใน 4 บทที่เหลือ ด้วยภาษา ที่แสนจะประชดประชัน เคียนเซอธิบายพร้อมยกตัวอย่างในบทความไม่เที่ยงอย่างแดกดันผ่านนิยามของ “มิตร” และ “ศัตรู ” ครั้งหนึ่งที่อเมริ กาเคยไล่ตอ้ นศัตรู ที่ชื่อคอมมิวนิสต์ก่อนจะหันมาจูบปากกับจีนในฐานะมิตรสุ ดโปรด หรื อนิยาม “ความมี ศีลธรรม” ที่คน ๆ หนึ่งเคยคลัง่ ไคล้การเป็ นนักมังสวิรัตก่อนจะหันกลับมาทานเนื้อสัตว์อย่างเอาเป็ นเอาตายเพียงเพราะได้ กลายเป็ นพวกลดนํ้าหนักที่เลือกไม่รับประทานแป้ ง ลีลาภาษาที่ตรงไปตรงมาเช่นนี้กลายเป็ นโครงสร้างที่แข็งแกร่ งของหนังสื อทั้งเล่ม ใน“ความไม่เที่ยง” เคียนเซเริ่ มต้นด้วย การตั้งคําถามว่าพระพุทธเจ้าค้นพบสิ่ งใด ก่อนจะจบด้วยว่าคํากล่าวที่วา่ ความไม่เที่ยงคือข่าวดี ใน“อารมณ์และความทุกข์”
2
เขาเริ่ มสาธยายนิยามความสุ ขส่วนบุคคลก่อนจะลงลึกไปเจาะเรื่ องอัตตา สงครามกับตัวตน และไปจบเอาที่ความรัก ใน “สรรพสิ่ งแห่งความว่างเปล่า” เคียนเซเริ่ มที่เรื่ องเล่าของมิราเลปะหลบซ่อนพายุลูกเห็บในเขาจามรี ที่ตกอยูบ่ นพื้นโดยเขา จามรี กไ็ ม่ได้ขยายตัวใหญ่โตขึ้น (!?!) ก่อนจะโยงไปถึงตรรกะที่จาํ กัดของมนุษย์ ที่เราเองดูจะยอมรับตรรกะที่ไม่สมบูรณ์ นั้น ก่อนจะชวนให้เรารู ้จกั ความจริ ง “สัมพัทธ์” และบอกเราว่าความยึดติดต่างหากที่ผกู พันเราอยู่ ใน “นิพพานอยูเ่ หนือ ความคิด” สิ่ งที่น่าสนใจมากคือคําเตือนว่าความสุ ขไม่ใช่เป้ าหมาย และการชวนให้คิดอย่างเปิ ดเผย ดังๆ ว่าจะรู ้สึกอย่างไร หากหลุดพ้น เคียนเซอธิบายความว่างเปล่าไว้อย่างน่าแปลกใจผ่านตัวอย่างเรื่ องของการบินของมนุษย์ ในโลกแห่งความจริ ง หากมีใคร บอกให้เรากางแขนและออกบิน เราจะตอบว่า ฉันบินไม่ได้ แต่ในโลกแห่งความฝันขณะที่เรากําลังฝันว่าบินไปในท้องฟ้ า หากมีใครสักคนบอกว่ามนุษย์บินไม่ได้หรอก เราคงแย้งว่าไม่ใช่ นี่ไง เธอไม่เห็นหรื อว่าฉันกําลังบิน เคียนเซบอกว่า “สิ ทธัต ถะจะเห็นด้วยกับทั้งสองเรื่ อง คุณ ไม่ สามารถ บินได้ยามตื่น แต่ สามารถ บินได้ตอนหลับ เหตุผลคือเหตุและปัจจัยซึ่ง บางครั้งก็มาบรรจบหรื อไม่บรรจบกัน”ใช่หรื อไม่วา่ จริ งและไม่จริ ง ได้หรื อไม่ได้ คือสิ่ งที่เราแปะป้ าย และทุกอย่างอาจจริ ง หรื อไม่จริ งในคราวเดียวกัน เสน่ห์อย่างที่สองและดูจะเป็ นเสน่ห์ล้ ีลบั เย้ายวนให้อ่านซํ้าของ อะไรที่ ทาํ ให้ คุณไม่ ใช่ พทุ ธ คือการบอกกล่าวอย่างชัดเจนว่า การเป็ นพุทธที่แท้จริ งอยูท่ ี่ตวั เรา หากเรา “ยอมรับ” ความจริ ง 4 ประการที่เคียนเซเพียรพยายามอธิ บายตลอดทั้งเล่มได้ เมื่อ นั้น มันคือการลงไปจัดการกับรากเหง้าของปั ญหาด้วยตัวเราเอง“สารจากตราธรรมทั้ง 4 ไม่ใช่บทบัญญัติหรื อโองการ และ ไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรื อพิธีกรรม มิได้เอ่ยถึงการประพฤติดี ชัว่ หากแต่คือความจริ งของโลกที่ต้ งั อยูบ่ นพื้นฐานของ ปั ญญา…ปัญญานั้นเกิดจากจิตใจที่ประกอบด้วยสิ่ งซึ่งพระพุทธองค์เรี ยกว่า “ความเห็นชอบ” ถึงที่สุดแล้ว ทัศนคติที่ถกู ต้อง หรื อความเห็นชอบนี้เองที่จะเป็ นสิ่ งที่จะช่วยนําทางเราไปในมรรคาแห่งพระพุทธศาสนา”(หน้า 17) ในบรรยากาศของพุทธไทยที่วดั เต็มไปด้วยเสี ยงบอกบุญ เมื่อพระพุทธถูกลดทอนความหมายให้เหลือแค่รูปปั้นแทน พระพุทธเจ้า พระธรรมเป็ นเพียงคําสอนแห้งแล้ง และพระสงฆ์คือคนห่มจีวรสี เหลือง เมื่อความทุกข์สามารถขจัดได้ดว้ ย พิธีกรรมนานับประการนอกเหนือตัวเราการมีใครสักคนบอกสาระที่เป็ นแก่นกลางของหนังสื อทั้งเล่มดังๆ ด้วยภาษาที่ร่วม สมัยเข้าใจได้ทนั ทีวา่ เรานี้แหละทําได้ มันช่างเป็ นถ้อยคําที่ปลุกเร้าให้ลุกขึ้นมาปฏิบตั ิซะเหลือเกิน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “คุณคือครู ของตน” เคียนเซกล่าว แล้วเราเป็ น “ครู ” ของเราตรงไหน อย่างไร คนอ่านถาม เคียนเซ ตอบว่า “สิ ทธัตถะค้นพบว่าทุกชีวิตล้วนบริ สุทธิ์โดยธรรมชาติ ต่างจากผูค้ นร่ วมยุคสมัย (หรื อพวกเราหลายคนในสมัย ปั จจุบนั ) ซึ่งติดข้องอยูก่ บั การคิดว่าอิสรภาพของตนขึ้นอยูก่ บั ความกรุ ณาของคนอื่น ทุกชีวิตสามารถปลดปล่อยตัวเองให้ เป็ นอิสระด้วยการเข้าถึงความรู ้ประการนี้” แล้วจะให้ “ครู ” คนนี้ทาํ ไง คนอ่านตั้งคําถามต่อ เคียนเซตอบว่าธรรมชาติของเราเปรี ยบประดุจแก้วไวน์ ส่ วนมลทินมัว หมองเหมือนรอยนิ้วมือและฝุ่ นจับ ดังนั้น ธรรมชาติด้ งั เดิมไม่ได้แปดเปื้ อน แต่มนั คือแก้วที่มีรอยนิ้วมือและฝุ่ นละออง ความ สกปรกเหล่านี้สามารถกําจัดออกไปได้ ด้วยว่าฝุ่ นละออง รอยนิ้วมือ เกิดจากสิ่ งต่าง ๆ มากมายและดํารงอยูเ่ พียงชัว่ คราว ผูท้ ี่ อยูใ่ นหนทาง อาจปลุกความหวังใหม่ดว้ ยการคิดว่ าแก้ วไวน์ ของฉันสามารถทําความสะอาดได้ และแม้จะเป็ นความคิดที่ ออกจะไร้เดียงสาเพราะมลทินมัวหมองก็ติดตัวมานานแสนนาน แต่เคียนเซกล่าวว่าการเชื่อว่าสภาวะนั้นสามารถเข้าถึงได้ก็ จะเป็ นแรงผลักดันให้เราก้าวเดินต่อไป
3
ดังนั้น การ “คิดว่าแก้วไวน์ของฉันสามารถทําความสะอาดได้” ในคําอธิบายของเคียนเซคือการที่ “เรา” ตระหนักได้ถึงความ ไม่เที่ยง ซึ่งย่อมทําให้ “เรา” เข้าใจในอํานาจของ “ตัวเรา” ที่จะเปลี่ยนแปลงอุปสรรคต่าง ๆ และทําให้สิ่งที่เป็ นไปไม่ได้ เป็ น จริ งขึ้นมา เช่น หากอยากจะอายุยนื ก็สามารถเลือกเลิกสูบบุหรี่ และออกกําลังกายเพิม่ ขึ้น และหาก “เรา” มีศรัทธาว่าเหตุ ปั จจัยอันเชื่อมโยงกันทําให้เป็ นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะมัน่ คงถาวร “เรา”ก็จะพบว่า “เรา” พร้อมยอมรับสิ่ งเลวร้ายอย่างที่สุด ขณะรอคอยสิ่ งที่ดีที่สุด การ “คิดว่าแก้วไวน์ของฉันสามารถทําความสะอาดได้” คือการตระหนักได้ว่าอารมณ์หาได้เป็ นส่ วนหนึ่งของ “ตัวเรา” กล่าวคือ มันไม่ได้มีอยูต่ ้ งั แต่ตน้ อารมณ์เกิดขึ้นเมื่อเหตุและปัจจัยมาบรรจบและหนทางแก้ที่สิทธัตถะพบคือการมีสติรู้ตวั การ “คิดว่าแก้วไวน์ของฉันสามารถทําความสะอาดได้” คือเมื่อ “เรา” เข้าใจในความว่าง “เรา” ก็จะสามารถรักษาความพึงใจ ในทุกสิ่ งที่ปรากฎโดยปราศจากอุปาทานยึดติดอยูก่ บั มายา “เรา” จะคลายความสนใจต่อกับดักและความเชื่อทุกชนิดที่สงั คม สร้างขึ้นและฉี กมันทิ้งไป แต่นี่ไม่ได้หมายถึงการละทิง้ สังคม ในทางตรงกันข้าม การเข้าใจความว่างจะบ่มเพาะความรู ้สึก รับผิดชอบและความกรุ ณา “เรา” พร้อมจะต่อสู ้เพื่อสิ ทธิของตน แต่หากสถานการณ์เปลี่ยน ไม่วา่ จะเข้าข้างหรื อเป็ นปฏิปักษ์ กับ”เรา”เอง “เรา” จะพร้อมรับมือและไม่เชื่ออย่างผิด ๆ ว่าทุกอย่างที่คาดต้องเป็ นจริ ง และประการสุดท้ายการ “คิดว่าแก้วไวน์ของฉันสามารถทําความสะอาดได้” คือหาก”เรา” เข้าใจสัจธรรมความจริ ง “เรา” ก็ สามารถพัฒนาไปสู่ข้ นั ตอนของการรู ้แจ้ง หาก”เรา”สามารถมองเห็นที่มาของปรากฎการณ์ต่างๆ “เรา” ก็จะเป็ นอิสระ กล่าวโดยสรุ ปอะไรที่ทาํ ให้ คุณไม่ ใช่ พทุ ธ สามารถอธิบายแก่นพุทธธรรมที่ลึกซึ้ งได้อย่างกระชับน่าสนใจ ด้วยท่วงทํานองที่ ง่ายและงดงามพร้อมตัวอย่างร่ วมสมัย เข้าถึงหัวใจคนธรรมดาที่อยูส่ ูโ้ ลกทุกวัน รวมทั้งเปิ ดเผยความจริ งแท้ซ้ าํ แล้วซํ้าเล่า แทบทุกหน้ากระดาษว่าการเข้าถึงพุทธธรรมไม่มีตรงไหนที่บอกว่าต้องขึ้นกับปั จจัยภาย “นอก”ตัวเรา ซึ่งเป็ นการปลุกเร้า พลังของปัจเจกบุคคลให้เกิดความกล้า ท้าทายความเชื่อเดิมอย่างไม่กา้ วร้าวได้อย่างประหลาด ลึกซึ้ง และมีทีท่าว่าจะยัง่ ยืน กว่าหนทางอื่น เพราะสําหรับเคียนเซและผูอ้ ่านที่เริ่ มจะเข้าใจ ความเป็ นพุทธไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจาก “ตราบใดที่คุณยอมรับ และฝึ กฝนสัจจธรรมทั้ง 4 คุณก็คือ “พุทธศาสนิกชนผูป้ ฏิบตั ิภาวนา”