ไล่คว้าแสง: ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแสงตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ถึงยุคไอสไตน์

Page 1

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั แสง ตัง้ แต่ยคุ ดึกดำบรรพ์ถงึ ยุคไอน์สไตน์

Catching the Light

The entwined history of light and mind

อาเธอร์ ซายองค์ เขียน นัยนา นาควัชระ แปล


จากสำนักพิมพ์

ความเข้าใจโลกธรรมชาติดั่งที่สถาปนาอยู่ในปัจจุบันนี้มักวางอยู่บนโลกทัศน์ ทางวิทยาศาสตร์ ที่ล้วนเป็นไปในทางตรรกะ โลกกายภาพ วัตถุที่จับต้องได้ จัดการได้ และวัดได้เป็นสำคัญ เพื่อจะเสนอมุมมองใหม่จากแง่มุมที่เรียกว่า ศาสตร์แห่งกระบวนทัศน์ใหม่ ผูเ้ ขียนจึงสืบค้นและย้อนไปศึกษาสำรวจงานของ นักคิด นักปรัชญาในอดีต ที่อรรถาธิบายธรรมชาติและจักรวาลรอบตัวมนุษย์ ผ่านปรากฏการณ์ธรรมชาติทสี่ ำคัญคือแสง นับแต่ยคุ บรรพกาลจนคลีค่ ลายมา จนถึงยุคสมัยปัจจุบนั การสืบค้นนีช้ ว่ ยยืนยันว่าการเห็นโลกภายนอกเกิดขึน้ จากการเห็นโลกภายใน ดั่งแสงที่สว่างทั้งภายในและภายนอก ด้วยการสร้าง สะพานเชื่อมระหว่างจิตวิญญาณและโลกธรรมชาตินำพาเรามาสู่ศาสตร์ใหม่ (New Science) ทีค่ วามเข้าใจในเรือ่ งจิตและวัตถุไม่ได้แยกขาดจากกัน อาเธอร์ ซายองค์เป็นนักวิทยาศาสตร์ชนั้ นำด้านควอนตัมฟิสกิ ส์ ทีส่ นใจ ด้านจิตวิญญาณทัง้ ทางตะวันตกและตะวันออก ความสนใจด้านมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ของเขามีไม่นอ้ ยไปกว่าความสนใจในพุทธศาสนา นอกจาก มีความสนใจแล้วยังลงมือฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนามาเป็นเวลานานหลายปี ปัจจุบนั เขาดำรงตำแหน่งประธานสถาบันจิตและชีวติ (Mind and Life Institute) ซึง่ จัดวงสนทนาวิสาสะระหว่างองค์ทะไลลามะกับนักวิทยาศาสตร์ชนั้ นำในสาขา ต่างๆ ทั้งที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย และในที่ต่างๆ ของมุมโลก เพื่อ แสดงถึงความเชื่อมร้อยระหว่างวิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณ ดั่งสาระของ

I

จากสำนักพิมพ์ 5


หนังสือนีท้ มี่ องหาความเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติทสี่ ำคัญอย่างยิง่ คือแสง ซายองค์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของแสงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เขาย้อนสำรวจ เข้าไปในอารยธรรมกรีกโบราณ ประวัตศิ าสตร์ยคุ กลางของยุโรปทีศ่ าสนาจักร บดบังการแสวงหาความจริง จนมาถึงยุคแสงสว่างทางปัญญาของตะวันตก จวบจนยุคสมัยของไอน์สไตน์ในทีส่ ดุ แต่ถงึ กระนัน้ มนุษย์กย็ งั ไม่มคี วามเข้าใจ อย่างถ่องแท้วา่ แสงคืออะไร ยังไล่จบั ไล่คว้าแสง เหมือนเด็กๆ ทีว่ งิ่ ไล่จบั ในสิง่ ที่ จับต้องไม่ได้ ความลีล้ บั ของแสงยังคงดำรงอยูเ่ ฉกเช่นเดียวกับความลีล้ บั ของ ชีวติ มนุษย์ นับเป็นโอกาสสำคัญทีส่ งั คมเริม่ ตืน่ ตัวต่อการแสวงหาความรูโ้ ลกภายนอก ทีเ่ ชือ่ มโยงถึงโลกภายใน ด้วยจิตสำนึกใหม่ทไี่ ม่แยกส่วนหรือลดทอน หากเห็น ข่ายใยแห่งความเชือ่ มโยงของสรรพสิง่ ไม่ได้แยกผูเ้ รียนกับสิง่ ทีเ่ รียน เป็นการ แสวงหาความรูท้ นี่ ำมาสูค่ วามรัก เป็นการศึกษาเรียนรูอ้ ย่างเป็นองค์รวม การ เคลื่อนไหวในหัวเรื่องเหล่านี้มีมากขึ้นในสังคมไทย สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ก็ได้รว่ มกับผูค้ นและสถาบันต่างๆ อาทิ ศูนย์จติ ตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีปาฐกถาของอาเธอร์ ซายองค์เมือ่ เดือนมกราคม ๒๕๕๖ เพือ่ เปิดตัวหนังสือเรือ่ ง เมือ่ ความรูแ้ ปรเป็น ความรัก ภาวนาในกระบวนการสืบค้นเชิงจิตตปัญญา (Meditation as Contemplative Inquiry: When Knowing Becomes Love) และเวทีในครัง้ นีไ้ ด้นำ มาสูก่ ารเริม่ ต้นโครงการจิตวิญญาณใหม่ หรือ New Spirit โดยได้รบั การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ไล่คว้าแสง เล่มนีจ้ งึ เป็นหนังสือทีส่ ำคัญมากเล่มหนึง่ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้โครงการจิตวิญญาณใหม่นี้ สำนักพิมพ์จงึ มีความยินดีเป็นอย่างมากทีม่ โี อกาสเผยแพร่หนังสือทีท่ รงคุณค่า และ ขอขอบคุณผูแ้ ปล คุณนัยนา นาควัชระ เป็นอย่างยิง่ ทีถ่ า่ ยทอดงานแปลได้อย่าง สมบูรณ์หมดจด และคงคุณค่าแห่งสาระหนังสือไว้อย่างหาที่ติมิได้ และขอ ขอบคุณบุคคลแวดล้อมทุกท่านที่มีส่วนช่วยกันผลักดัน ให้คำแนะนำ ความ คิดเห็น กระทัง่ หนังสือเล่มนีส้ ำเร็จลุลว่ งในทีส่ ดุ

I

6 ไล่คว้าแสง


โครงการจิตวิญญาณใหม่นมี้ งุ่ เน้นทีค่ นรุน่ ใหม่ทสี่ นใจแสวงหาด้านศาสตร์ ใหม่หรือวิทยาศาสตร์ใหม่ (New Science) จิตวิญญาณสมสมัยเพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณร่วมสมัย (New Spirit) นำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงด้านการศึกษาทีบ่ คุ ลากร ทางการศึกษา คือครูหรือนักการศึกษาควรต้องมีความกล้าหาญที่จะนำการ เปลีย่ นแปลงมาสูก่ ารศึกษา (Learning to Transform) และสูก่ ารสร้างสัมมาชีพ แบบใหม่ๆ อาทิ แนวทางเรือ่ งผูป้ ระกอบการสังคม ทีก่ ำลังเป็นทีส่ นใจของคน หนุ่มสาวมากขึ้น สร้างให้ระบบเศรษฐกิจของสังคมเป็นเศรษฐศาสตร์ใหม่ (New Economy) ทีเ่ อือ้ ต่อชีวติ นิเวศและธรรมชาติ โครงการจิตวิญญาณใหม่ จึงเอือ้ อำนวยให้เกิดทุนย่อย ทีค่ นรุน่ ใหม่หรือผูอ้ า่ นทีส่ ามารถนำเนือ้ หาสาระ หนังสือไปรังสรรค์ให้เกิดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพือ่ เป็นแสงสว่างให้แก่สงั คม

I

จากสำนักพิมพ์ 7


จากผูแ้ ปล

ไล่คว้าแสง เป็นเรือ่ งของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั แสง หนังสือเล่มนีไ้ ม่ใช่ หนังสือวิชาการด้านประวัตศิ าสตร์ และไม่ใช่หนังสือวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ หรือฟิสิกส์ แต่การจะเล่าเรื่องราวของแสงตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ เรื่อยมา จนถึงสมัยศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งมีการค้นพบควอนตัมแสงให้เข้าใจได้แจ่มแจ้ง ชัดเจนนั้น ผู้เขียนจำเป็นต้องอธิบายทฤษฎีปรัชญา ความเชื่อทางศาสนา- จิตวิญญาณ และทฤษฎีวทิ ยาศาสตร์ทเี่ กีย่ วกับแสงในยุคสมัยต่างๆ (แม้กระทัง่ “นิยาย” ทีผ่ เู้ ขียนคิดว่าน่าจะเล่า) อย่างไม่อาจเลีย่ งได้ ดังนัน้ หนังสือเล่มนีจ้ งึ เป็นหนังสือ “ประเทืองปัญญา” ทีค่ รอบคลุมมิตติ า่ งๆ อย่างกว้างขวาง ไม่วา่ จะ เป็นตำนานความเชือ่ ในยุคโบราณ ประวัตศิ าสตร์ กวีนพิ นธ์ วรรณคดี ปรัชญา จิตวิญญาณ วิทยาศาสตร์ และควอนตัมฟิสกิ ส์ เนื่องจาก ดร.อาเธอร์ ซายองค์เป็นผู้มีความรู้รอบด้าน หนังสือเล่มนี้จึง เต็มไปด้วยเรื่องราวและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมาย ซึ่งทำให้ประวัติความ เป็นมาของแสงเต็มไปด้วยรสชาติและสีสนั ผูแ้ ปลพยายามรักษาสำนวนของ ต้นฉบับไว้ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำได้ ด้วยการใช้โวหารภาษาไทยที่ใกล้เคียงกัน ซึง่ บางครัง้ อาจฟังขัดเขินสำหรับคนรุน่ ใหม่ แต่ทงั้ นี้ ก็เพือ่ คงลีลาทีม่ เี อกลักษณ์ ของผูเ้ ขียนเอาไว้ ความยากในการแปลหนังสือเล่มนี้ ก็คอื เบือ้ งแรก ผูแ้ ปลไม่ใช่นกั วิทยาศาสตร์ ยิง่ ไปกว่านัน้ สำนวนภาษาของผูเ้ ขียนมีความซับซ้อนมาก เต็มไปด้วย

I

8 ไล่คว้าแสง


อุปมาอุปมัย เสียดสี อีกทัง้ มีการอ้างอิงบทกวี บันทึกทางประวัตศิ าสตร์ วรรณกรรม จดหมายของบุคคลสำคัญ บทความ หรือข้อความสำคัญๆ มากมายซึง่ ผูเ้ ขียนไม่สามารถยกมาแสดงไว้ได้ทงั้ หมด แต่ได้ทำเชิงอรรถท้ายเล่มไว้ ซึง่ มี ถึง ๓๒๖ รายการ ส่วนใหญ่เป็นบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจไปค้นคว้า เพิม่ เติมได้ การอ้างอิงเหล่านีท้ ำให้ผแู้ ปลต้องตามไปอ่านเอกสารดังกล่าว เพือ่ ทีจ่ ะได้แปลข้อความ หรือบทกวีสนั้ ๆ ทีผ่ เู้ ขียนยกมาให้ได้ใจความครบถ้วนและ สอดคล้องกับเนือ้ หาในเอกสารทีอ่ า้ งอิงไว้ สำหรับบางจุดทีข่ อ้ ความในหนังสือ ยังไม่สมบูรณ์ เพือ่ ทีผ่ อู้ า่ นจะได้เข้าใจยิง่ ขึน้ ผูแ้ ปลจึงได้อธิบายรายละเอียดเพิม่ เติมไว้เท่าที่จะทำได้ในเชิงอรรถท้ายหน้า ทั้งหมดนี้ ด้วยเหตุผลบางประการ ผูแ้ ปลมีเวลาจำกัดเพียง ๔ เดือน ๑๖ วันในการแปลหนังสือเล่มนี้ ซึง่ ทำให้ตอ้ ง วางระบบการทำงานขึน้ มาใหม่และปฏิบตั ติ ามตารางการทำงานทีต่ นตัง้ ไว้อย่าง เคร่งครัด เพือ่ ให้เสร็จทันตามกำหนด หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใด ผูแ้ ปลขอ น้อมรับไว้ทงั้ หมด ความน่าเพลิดเพลินของหนังสือเล่มนี้ อยู่ที่เกร็ดและตำนานต่างๆ ที ่ ผูเ้ ขียนยกมาเพือ่ เปรียบเทียบและอธิบายประเด็นทีผ่ เู้ ขียนต้องการสือ่ บางครัง้ เรือ่ งราว บทกวี หรือตำนานเหล่านัน้ สนุกสนานและน่าเพลิดเพลินจนอาจทำให้ ผูอ้ า่ นเผลอลืมประเด็นหลัก และงุนงงเล็กน้อยเมือ่ ผูเ้ ขียนวกกลับมาหาเรือ่ งเดิม ซึง่ นีก่ ค็ อื ลีลาของอาเธอร์ ซายองค์ ผูแ้ ปลขอแนะนำว่า ผูอ้ า่ นควรปล่อยใจให้ เพลิดเพลินไปกับเรือ่ งราวทีผ่ เู้ ขียนนำเสนอ โดยไม่ตอ้ งพะวงว่าจะไม่เข้าใจราย ละเอียดในบางเรือ่ ง เช่น เรือ่ งควอนตัมฟิสกิ ส์ หรือบทกวีและปรัชญาทีเ่ ป็นนามธรรมมากๆ แต่ทงั้ นีท้ งั้ นัน้ ท้ายทีส่ ดุ แล้ว เราก็จะเข้าใจ “สาร” ทีผ่ เู้ ขียนต้องการ จะกระซิบบอก...เรามองข้ามแสง เราไม่เคยเห็นแสง และเราไม่เคยรูว้ ่าแสงมี ความเกีย่ วพันกับชีวติ และจิตวิญญาณเพียงใด ผูเ้ ขียน (และผูแ้ ปล) เชือ่ ว่า เมือ่ เราอ่าน ไล่คว้าแสง จบ ท่าทีทเี่ รามีตอ่ แสงและต่อตัวเราจะเปลีย่ นไปในทันที หนังสือเล่มนีอ้ า้ งถึงบุคคลสำคัญในประวัตศิ าสตร์มากมาย ไม่วา่ จะเป็น นักปรัชญา กวี หรือนักวิทยาศาสตร์ ในส่วนของชือ่ นักวิทยาศาสตร์ ผูแ้ ปลได้

I

จากผูแ้ ปล 9


สะกดชื่อตามวิธีสะกดของราชบัณฑิตยสถาน หากชื่อใดไม่มีในรายชื่อของ ราชบัณฑิตยสถาน ผูแ้ ปลก็จะสะกดตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา ผูแ้ ปลขอกราบขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ณ ลำพูน อย่างทีส่ ดุ ทีไ่ ด้กรุณาอาสาตรวจทานต้นฉบับ และให้คำแนะนำทีเ่ ป็นประโยชน์มากในส่วน ทีเ่ ป็นรายละเอียดด้านวิทยาศาสตร์และควอนตัมฟิสกิ ส์ ขอกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ ทีไ่ ด้กรุณาอธิบายปรัชญาของเกอเธ่ผา่ นทาง อีเมลขณะที่ท่านกำลังยุ่งอยู่กับการทำวิจัยที่กรุงเบอร์ลิน ขอขอบพระคุณ คุณริชาร์ด คุนเคลอร์ (Richard Kuenkler) ที่ได้กรุณาอธิบายปรัชญาของ สไตเนอร์ และขอบคุณคุณกมลพชร โทสินธิติ ที่ให้คำแนะนำในการถอดชื่อ ฝรัง่ เศสเป็นภาษาไทย ท้ายทีส่ ดุ ผูแ้ ปลขอกราบขอบพระคุณบิดาของผูแ้ ปล (พจนา นาควัชระ) ที่ได้สละเวลาการดูแลสวนกุหลาบและดูแลภรรยา ตรวจทานต้นฉบับให้โดยไม่ อิดเอือ้ น อีกทัง้ ยังให้กำลังใจผูแ้ ปลว่า “เรือ่ งนีอ้ า่ นสนุก ขอบคุณที่ให้พอ่ ได้อา่ น ก่อนใคร” นัยนา นาควัชระ เชียงใหม่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

I

10 ไล่คว้าแสง


สารบัญ

จากสำนักพิมพ์ จากผูแ้ ปล บทที่ ๑ แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต : สองแสงทีผ่ สานเป็นหนึง่ บทที่ ๒ แสงนีค้ อื พร บทที่ ๓ แสงสองมิติ : แสงแห่งเทพ และทัศนศาสตร์ บทที่ ๔ กายวิภาคของแสง บทที่ ๕ เปลวเพลิงทีข่ บั ขาน : แสงทีเ่ ดินทางในคลืน่ อีเธอร์ บทที่ ๖ สนามพลังทีส่ ว่างไสว: การมองเห็นด้วยแสงไฟฟ้า บทที่ ๗ ประตูสายรุง้ บทที่ ๘ มองเห็นแสง - เกอเธ่และสไตเนอร์: ผูท้ ำให้วทิ ยาศาสตร์มจี ติ วิญญาณ บทที่ ๙ ทฤษฎีควอนตัมใต้แสงเทียน บทที่ ๑๐ สัมพัทธภาพและสิง่ ทีง่ ดงาม บทที่ ๑๑ แสงส่วนทีเ่ ล็กทีส่ ดุ : แสงในทัศนะร่วมสมัย บทที่ ๑๒ เมือ่ เรามองเห็นแสง อ้างอิง คำขอบคุณ

๕ ๘ ๑๕ ๒๗ ๖๓ ๘๙ ๑๓๑ ๑๗๑ ๒๑๙ ๒๕๕ ๓๐๑ ๓๓๗ ๓๘๙ ๔๔๑ ๔๖๑ ๔๘๑


แด่ ไฮดี้ ภรรยาของผม


ยามทีพ่ ระอาทิตย์ขนึ้ แสงสีจะค่อยๆ ปรากฏขึน้ มาทีละแถบ - เอมิลี ดิกคินสัน -

ตัวข้านีเ้ องคือผูท้ ลี่ มื ตา และแล้วจึงมีแสงสว่าง เมือ่ ดวงเนตรของข้าปิดลง ความมืดก็เข้ามาปกคลุม - สุรยิ เทพรา ๑๓๐๐ ก่อนคริสตกาล -

หากแสงส่องสว่างขึน้ ในห้วงหาวแห่งดวงจิต...ภายในดวงจิตของผูบ้ ริสทุ ธิห์ มดจด แสงนัน้ จะส่องสว่างประดุจดวงอาทิตย์หนึง่ ดวง หรือหลายดวงพร้อมๆ กัน... เมือ่ นัน้ ดวงจิตของเขาย่อมมิใช่อะไรอืน่ ทว่าเป็นแสง กายละเอียดของเขาก็คอื แสง เนือ้ หนังมังสาทีห่ อ่ หุม้ เขาอยูก่ ค็ อื แสง โสต สายตา มือ กายภายนอก และกายภายในของเขาทัง้ หมดทัง้ มวล ย่อมเป็นแสงทัง้ สิน้ - นาจัม ราซี ค.ศ. ๑๒๕๖ -

“แม้วา่ ข้าพเจ้านัง่ ใคร่ครวญอย่างมีสติมาแล้วห้าสิบปีกต็ าม แต่มนั ไม่ได้ชว่ ยให้ ข้าพเจ้าตอบได้วา่ ควอนตาแสงคืออะไร แน่นอนว่าทุกวันนี้ มีพวกสูร่ ทู้ งั้ หลายทีค่ ดิ ว่าตนรูค้ ำตอบ แต่นนั่ ก็เป็นการหลอกตัวเองทัง้ เพ” - แอลเบิรต์ ไอนสไตน์ ค.ศ.๑๙๕๑ -



แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต สองแสงทีผ ่ สานเป็นหนึง่

จงใช้แสงในตัวเธอ แล้วสายตาอันคมชัดซึง่ เป็นธรรมชาติแต่เดิมจะกลับคืนมา1 - เล่าจือ่ -


ในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ ศัลยแพทย์ชอื่ โมโรและเลอแปรงซ์ได้เขียนเล่าถึงความสำเร็จ

ในการผ่าตัดต้อกระจกให้เด็กชายวัยแปดขวบซึง่ นัยน์ตามองไม่เห็นมาแต่กำเนิด2 เมือ่ การผ่าตัดเสร็จสิน้ ลง นายแพทย์ทงั้ สองอยากรูม้ ากว่าหนูนอ้ ยจะมองเห็น

ได้ดสี กั เพียงใด เมือ่ ดวงตาของหนูนอ้ ยหายดีแล้ว พวกเขาก็แก้ผา้ ปิดตาออก แล้วโบกมือตรงหน้าเด็ก (ซึ่งบัดนี้มีดวงตาที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกประการ) พลางถามเด็กว่าเห็นอะไรบ้าง หนูนอ้ ยตอบอย่างไม่เต็มปากเต็มคำว่า “ผมไม่ ทราบครับ” “หนูไม่เห็นมันขยับหรอกหรือ?” พวกเขาถาม “ผมไม่ทราบครับ” เขาตอบแต่เพียงเท่านัน้ เป็นทีแ่ น่ชดั ว่าสายตาของเด็กไม่สามารถจับภาพมือที่ กำลังเคลือ่ นไหวอย่างช้าๆ อยูต่ รงหน้าได้เลย สิง่ ทีเ่ ขาเห็นอยูเ่ บือ้ งหน้าเป็นเพียง ความสว่างทีแ่ ปรเปลีย่ นไปมา เมือ่ เป็นเช่นนี้ หมอจึงให้เด็กจับมือ แล้วจึงค่อยๆ ขยับมัน แล้วหนูนอ้ ยก็รอ้ งขึน้ อย่างผูช้ นะว่า “มันขยับแล้ว!” เขารูส้ กึ ได้วา่ มัน เคลือ่ นไหว และยิง่ ไปกว่านัน้ เขายังบอกว่าเขา “ได้ยนิ มันเคลือ่ นไหว” ด้วยซ้ำ ถึงกระนัน้ เขาต้องใช้ความพยายามอย่างหนักเพือ่ ทีจ่ ะได้ เห็น มันขยับ ลำพัง แสงและนัยน์ตาไม่สามารถทำให้เขาเห็นภาพได้ แสงแรกทีผ่ า่ นเข้าไปในแก้วตา ดำของหนูนอ้ ย (ทีบ่ ดั นี้ไม่มตี อ้ มาบัง) ไม่สามารถทำให้เกิดภาพใดๆ ขึน้ ในจิต ของเขาได้เลย สงิ่ แรกทีเ่ ขาเห็นเป็นเพียงความมืดดำ ว่างเปล่า และเงียบงันอย่าง น่ากลัว แม้แสงธรรมชาติจากภายนอกจะพยักพเยิดกวักมือเรียกแล้วก็ตาม แต่ แสงในจิตก็มไิ ด้ขานรับนัยน์ตาทีเ่ บิกกว้างและกระหายใคร่เห็นของหนูนอ้ ยผูน้ ี้ เลย

I

16 ไล่คว้าแสง


เมือ่ แสงธรรมชาติและแสงแห่งจิตประสานกันเป็นหนึง่ เดียว เมือ่ นัน้ เราจึง จะมองเห็นภาพ แต่หากมันแยกกันอยู่ แสงทัง้ สองจะเป็นเพียงสิง่ ทีล่ กึ ลับและ

ดำมืด ตอ่ ให้มแี สงสว่างทีส่ ดุ เราก็ยงั มองไม่เห็นมันอยูด่ ี มีงานทดลองชิน้ หนึง่ ทีผ่ มเรียกว่า “โครงการยูเรกา” ผมกับเพือ่ นช่วยกันออกแบบ และประดิษฐ์เครือ่ งมือทางวิทยาศาสตร์ขนึ้ มาชิน้ หนึง่ ภายในเครือ่ งมือชิน้ นีค้ อื พืน้ ทีท่ เี่ ต็มไปด้วยแสง และเราสามารถมองเข้าไปในพืน้ ทีด่ งั กล่าวได้ มันเป็น

การสาธิตง่ายๆ แต่นา่ ตืน่ เต้น ใช้เพียงกล่องใบเดียวซึง่ เราทำขึน้ เป็นพิเศษและ เครือ่ งฉายแสงกำลังแรงทีจ่ ะสาดแสงเข้าไปในกล่องนัน้ เราระมัดระวังมากทีจ่ ะ ไม่ให้มแี สงสะท้อนเกิดขึน้ กับชิน้ ส่วนหรือพืน้ ผิวด้านในของกล่อง ในกล่องนัน้ จะมีเพียงแสงล้วนๆ (และมีในปริมาณมากเสียด้วย) คำถามก็คอื เราเห็นอะไรใน กล่องนัน้ ? ลำพังตัวแสง มีหน้าตาอย่างไรกันแน่? ผมเดินไปที่กล่องนั้นแล้วเปิดเครื่องฉาย เราสามารถมองเห็นหลอดไฟ และเลนส์ของเครือ่ งฉายผ่านแผ่นอะคริลคิ เครือ่ งฉายจะสาดแสงจ้าผ่านเลนส์ เข้าไปในกล่องทีอ่ ยูต่ ดิ กัน ผมขยับไปทีช่ อ่ งส่องแล้วมองเข้าไปในกล่อง เมือ่ ผม มองไปทีแ่ สงซึง่ อยูภ่ ายใน...ทายสิวา่ ผมเห็นอะไร? มันมืดไปหมด! ผมไม่เห็น อะไรเลยนอกจากพืน้ ทีด่ ำมืดอันว่างเปล่า ด้านนอกของกล่องมีดา้ มทีช่ กั เข้าชักออกได้ ปลายด้ามอีกข้างหนึง่ ทีอ่ ยู่ ในกล่องมีไม้ชนิ้ เล็กๆ ติดอยู ่ หากดึงด้าม ไม้เล็กๆ นัน้ จะไหววับในความมืดตรง หน้าผม และผมก็จะเห็นไม้ชนิ้ นัน้ สว่างวาบขึน้ มา แน่นอนว่าพืน้ ทีน่ นั้ มิได้วา่ ง เปล่า ทว่าเต็มไปด้วยแสง แต่หากไม่มีวัตถุให้แสงส่องกระทบ เราก็จะเห็นแต่ เพียงความมืด ลำพังตัวแสงเป็นสิง่ ทีเ่ รามองไม่เห็น เราจะเห็นได้กแ็ ต่เพียงวัตถุ ทีแ่ สงส่องกระทบเท่านัน้ แต่เราจะไม่เห็นตัวแสงแท้ๆ เครือ่ งมือชิน้ นีท้ ำให้ผมนึกย้อนไปถึงเมือ่ ครัง้ ทีผ่ มคุยกับรัสตี้ ชไวค์คาร์ด ซึง่ เป็นนักบินอวกาศประจำยานอพอลโล ผมถามถึงประสบการณ์ทเี่ ขาออกไป ท่องอยู่ในอวกาศ โดยเฉพาะเรือ่ งทีว่ า่ เขาเห็นอะไรบ้างเวลาทีม่ องออกไปในห้วง

I

แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต 17


อวกาศอันว่างเปล่าซึง่ เต็มไปด้วยแสงอาทิตย์ เขาตอบว่า แม้จะเป็นเรือ่ งยากที่ จะมองหลบยานอวกาศและอุปกรณ์ตา่ งๆ ซึง่ ส่องสะท้อนจ้าอยูต่ รงหน้า (ซึง่ เขาก็ ทำไม่คอ่ ยจะได้) สิง่ เดียวทีเ่ ขาเห็นก็คอื ห้วงอวกาศอันมืดสนิททีก่ ลาดเกลือ่ นไป ด้วยแสงดาวนับไม่ถ้วน แม้มีแสงอาทิตย์อยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่แสงนั้นก็มิได้ ตกกระทบอะไรเลย และด้วยเหตุนเี้ ราจึงมองไม่เห็นอะไรเลยนอกจากความมืด

ความมืดในตัวเรา

มีแสงอยูส่ องชนิดทีส่ อ่ งให้โลกของเราสว่างไสว แสงแรกมาจากดวงอาทิตย์ ใน ขณะทีอ่ กี แสงหนึง่ ซึง่ เป็นแสงจากภายใน จะเป็นตัวขานรับแสงจากภายนอก แสงภายในดังกล่าวคือแสงแห่งดวงตาของเรา เรามองเห็นสิง่ ต่างๆ ได้กต็ อ่ เมือ่ แสงจากภายในและแสงจากภายนอกมาผสานกันเป็นหนึง่ หากขาดแสงใดแสง หนึง่ เสียแล้ว เราจะมองไม่เห็นอะไรเลย มีการวิจยั เรือ่ งการรักษาอาการตาบอดแต่กำเนิด (ซึง่ ผมไม่แน่วา่ เป็นการ วิจยั ทีด่ ที สี่ ดุ แล้วหรือไม่) คือกรณีคนไข้ชอื่ เอส.บี. ผูท้ ำการวิจยั เป็นนักจิตวิทยา ชือ่ เกรกอรีแ่ ละวอลเลซ3 คนไข้ผนู้ เี้ ป็นชายชาวอังกฤษ อายุหา้ สิบปีซงึ่ ตาบอด มาแต่กำเนิด เขาได้รบั การผ่าตัดเปลีย่ นแก้วตาเมือ่ วันที่ ๙ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๕๘ และวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๑๙๕๙ นัน่ เป็นครัง้ แรกนับตัง้ แต่อายุสบิ เดือนทีเ่ ขามี นัยน์ตาทีท่ ำงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมือ่ ผ่าตัดแล้วเขามองเห็นอะไรบ้าง? สมัยทีเ่ อส. บี.ยังเป็นเด็ก ผูป้ กครองพาเขาไปเข้าโรงเรียนคนตาบอดเบอร์มิงแฮมเมือ่ อายุเก้าขวบ ทางโรงเรียนได้สอนวิชาซ่อมรองเท้าให้ ซึง่ เขาก็ได้ใช้ วิชานีห้ าเลีย้ งชีพเรือ่ ยมา และสำหรับคนตาบอดทีโ่ ตเป็นผู้ใหญ่แล้ว นับว่าเขามี ชีวิตที่ค่อนข้างเป็นอิสระกว่าคนอื่นๆ เช่น สามารถออกไปขี่จักรยานได้ไกลๆ โดยทีม่ อื ข้างหนึง่ จับบ่าเพือ่ นอีกคนเอาไว้ เขาชอบทำสวน และโดยเฉพาะงาน อะไรก็ได้ทตี่ อ้ งใช้มอื เขาเป็นคนทีม่ คี วามมัน่ ใจในตนเอง มีอปุ นิสยั รืน่ เริง และ เป็นคนฉลาดอย่างเห็นได้ชดั

I

18 ไล่คว้าแสง


หนึง่ เดือนหลังการผ่าตัด เกรกอรีแ่ ละวอลเลซถามเอส.บี.ว่า ครัง้ แรกทีเ่ ขา เริม่ มองเห็น เขารูส้ กึ อย่างไรบ้าง เอส.บี.ตอบว่าเขาได้ยนิ เสียง เป็นเสียงของ หมอผ่าตัดดังอยูต่ รงหน้าและมาจากด้านข้าง เขาหันหน้าไปทางเสียงนัน้ และ เห็นภาพที่ “พร่ามัว” เขาไม่แน่ใจว่าภาพนั้นคืออะไร แต่คิดเอาด้วยเหตุผลว่า

ถ้าเสียงทีเ่ ขาได้ยนิ เป็นเสียงของหมอ และรูว้ า่ เสียงจะต้องดังมาจากใบหน้า ถ้า เช่นนัน้ ภาพรางเลือนซึง่ อยูต่ รงหน้าเขา จะต้องเป็นภาพใบหน้าของหมออย่าง แน่นอน เอส.บี. บอกว่าแม้เขาได้รบั การผ่าตัดมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การมองเห็นใบหน้านัน้ “ไม่งา่ ยเลย” และเขาก็มไิ ด้มปี ญั หาเฉพาะแต่กบั การ มองเห็นใบหน้าเท่านัน้ งานวิจยั กรณี เอส.บี.ของเกรกอรีแ่ ละวอลเลซ (รวมทัง้ งานวิจยั อืน่ ๆ ในทำนองเดียวกันทัง้ ก่อนหน้าและหลังจากนัน้ ) สรุปได้วา่ ไม่ใช่ เรือ่ งง่ายเลย ทีจ่ ะให้คนซึง่ โตเป็นผู้ใหญ่แล้วเริม่ หัดมองกันใหม่หมด เมือ่ เอส.บี.ได้รบั อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้ เกรกอรีแ่ ละวอลเลซ พาเขาไปที่พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เอส.บี.มีความสนใจเรื่อง เครือ่ งไม้เครือ่ งมือเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว และเห็นได้ชดั ว่าเขาตืน่ เต้นทีจ่ ะได้เห็นสิง่ ซึง่ ในอดีตเขาเพียงแต่ใช้สอยมัน แต่ไม่เคยมองเห็นมัน หรืออย่างมากก็แค่มคี น บรรยายภาพของมันให้เขาฟังด้วยวาจา ทัง้ สองคนพาเอส.บี.ไปทีเ่ ครือ่ งคว้าน เกลียวโลหะ แล้วถามเขาว่า เขารูห้ รือไม่วา่ สิง่ ทีอ่ ยูต่ รงหน้าเขาคืออะไร เอส.บี. แสดงอาการหงุดหงิดอย่างเห็นได้ชดั และตอบไม่ได้เลย เขาบ่นว่าเขามองไม่ เห็นแท่งโลหะทีก่ ำลังถูกคว้านเกลียวอยู่ พวกนัน้ จึงพาเขาเข้าไปใกล้ยงิ่ ขึน้ และ ให้เขาสัมผัสเครือ่ งคว้าน เอส.บี.เอามือลูบคลำเครือ่ งมือนัน้ อย่างกระตือรือร้น พร้อมทั้งหลับตาแน่น จากนั้นจึงถอยออกมานิดหนึ่ง ลืมตาขึ้น แล้วกล่าวว่า “พอผมได้สมั ผัสมัน ตอนนีผ้ มเห็นมันแล้วครับ” ในกรณีของเอส.บี. การมองเห็นของเขาพัฒนาไปอย่างช้าๆ ตลอดระยะ เวลาสองปีหลังจากการผ่าตัดไปจนถึงวันทีเ่ ขาถึงแก่กรรม การทีเ่ ขาก้าวหน้าไป ได้ชา้ และประสบความสำเร็จน้อยมากเช่นนี้ ทำให้เขาผิดหวังมาก ซึง่ ไม่ตา่ ง จากคนไข้คนอืน่ ๆ ในกรณีเดียวกัน บ่อยครัง้ ทีเ่ อส.บี. และคนไข้คนอืน่ ๆ เลิกใช้

I

แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต 19


สายตาโดยสิ้นเชิง เช่น ไม่ยอมเปิดไฟในบ้าน และเดินไปมาโดยอาศัยความ เคยชินเหมือนคนตาบอดทัว่ ไป ส่วนใหญ่แล้วเขาต้องพยายามอย่างแสนสาหัส เพื่อที่จะมองเห็น ผู้ที่เพิ่งมีโอกาสมองเห็นเป็นครั้งแรกในชีวิต ในที่สุดก็อาจ ยอมแพ้ไปโดยปริยาย น่าสลดใจทีบ่ างคนถึงกับฆ่าตัวตายเพือ่ ทีจ่ ะได้ไม่ตอ้ ง ดิน้ รนให้ตนเองมองเห็นอีกต่อไป เอ็ม. ฟอน เซ็นเดน ได้ศกึ ษากรณีการรักษาผูท้ ตี่ าบอดแต่กำเนิดรวมทัง้ สิน้ ๖๖ รายอย่างเป็นระบบ และสรุปว่าการเรียนรู้ที่จะมองเห็น จะต้องเอาชนะ อุปสรรคที่หนักหนาสาหัสมากมาย โลกนี้มิได้มีแสง สี และรูปทรงที่คนไข้จะ เข้าใจได้ในทันทีภายหลังได้รบั การผ่าตัด ด้วยเหตุนี้ กระบวนการการเรียนรูท้ จี่ ะ มองเห็นจึงทำให้ชวี ติ ของคนไข้ตอ้ งประสบวิกฤตทางจิตอย่างเลีย่ งไม่ได้ และใน ทีส่ ดุ อาจทำให้พวกเขาไม่ตอ้ งการทีจ่ ะมองเห็นเลยด้วยซ้ำ การรับรูแ้ บบใหม่ได้ สัน่ คลอนโลกเดิมๆ ทีเ่ ขาเคยรับรูโ้ ดยอาศัยมือลูบคลำและใช้หฟู งั คนไข้บางคน ถึงกับตัดสินใจว่า สู้เป็นคนตาบอดและอยู่ในโลกของเขา จะดีเสียกว่าเป็นคน

ตาดีแต่ตอ้ งอยู่ในโลกทีเ่ ขารูส้ กึ แปลกแยก4 ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา การวิจัยเรื่องการฟื้นตัวจากอาการ ตาบอดโดยกำเนิดได้รบั การยืนยันด้วยการใช้วธิ ที ดลองกับสัตว์ ซึง่ ผลออกมา เป็นทีแ่ น่ชดั ว่าหากลูกแมวไม่ได้เห็น “รูปทรง” อะไรเลยในช่วงทีม่ นั อายุสสี่ ปั ดาห์ ไปจนถึงสีเ่ ดือน (ซึง่ เป็นช่วงสำคัญทีส่ ดุ ) ต่อให้มนั ได้อยู่ในทีๆ่ มีแสงสว่าง แมว ตัวนัน้ ก็จะตาบอดไปชัว่ ชีวติ ลำพังดวงตาทีม่ สี ภาพสมบูรณ์ยงั ไม่เพียงพอทีจ่ ะ ทำให้มองเห็น ในช่วงเดือนแรกๆ ของชีวติ ข้อมูลและรูปแบบต่างๆ ทีไ่ ด้จากการ มองเห็น จะถูกประทับเข้าไว้ในดวงตาหรือในสมองของลูกแมว หากไร้ซงึ่ การ มองเห็นทีเ่ ปรียบเสมือนอาหารหล่อเลีย้ งในช่วงเดือนแรกๆ ของชีวติ โครงสร้าง ของระบบเหล่านี้ก็จะเสื่อมสลายไปหรือไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเลย และเมื่อ

สีเ่ ดือนผ่านไป ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ก็จะเกินเยียวยา5 การเห็นของมนุษย์ก็มีพัฒนาการทางธรรมชาติในลักษณะเดียวกัน ใน ช่วงปีแรกๆ ของชีวิตมนุษย์ ทักษะในการมองเห็น ประสาทสัมผัส และความ

I

20 ไล่คว้าแสง


เคลือ่ นไหวอืน่ ๆ เช่น การพูดและการเดินจะพัฒนาขึน้ หากพลาดโอกาสนี้ไป เสียแต่แรก การจะกลับมาฟืน้ ฟูในภายหลังเป็นเรือ่ งยากมาก และส่วนใหญ่มกั ทำไม่สำเร็จ ในกรณีคนไข้วยั แปดขวบของคุณหมอโมโร หลังจากทีแ่ พทย์ได้ดแู ลเด็ก เป็นเวลาหลายเดือน ในทีส่ ดุ ผูป้ กครองก็บงั คับให้หมอยกเด็กให้อยู่ในความดูแล ของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ และหนึง่ ปีหลังจากนัน้ สิง่ ทีเ่ ด็กได้เรียนรูภ้ ายใต้ การดูแลของคุณหมอโมโรก็สูญเปล่า บันทึกของโมโรแสดงให้เห็นถึงความ เหนือ่ ยล้าและความเศร้าเสียดายทีแ่ ม้เขาจะได้พยายามอย่างเต็มกำลังแล้ว แต่ ก็ยงั ไม่สามารถหาข้อสรุปทีถ่ าวรได้ ความจริงทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื การมองเห็นต้อง อาศัยปัจจัยอืน่ ๆ อีกมากมายนอกเหนือไปจากอวัยวะทางกายภาพที่ใช้การได้ หากปราศจากแสงจากภายใน และหากไร้ซงึ่ จินตนาการเรือ่ งรูปทรง เราจะมอง ไม่เห็นอะไรเลย โมโรบันทึกไว้วา่ เป็นการเข้าใจผิดทีค่ ดิ ว่าคนไข้ซงึ่ ได้รบั มอบ สายตา ด้วยการผ่าตัดดวงตา จะสามารถมองเห็นโลกภายนอกได้หลังการผ่าตัด แน่นอนว่าดวงตามี ศักยภาพในการมองเห็น แต่ปจั จัยทีท่ ำให้เกิดกระบวนการการมองเห็นโดย รวมคือการนำศักยภาพนีม้ าใช้ — ซึง่ จะต้องมีมาตัง้ แต่แรกเริม่ การผ่าตัด มิได้มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าเป็นเพียงการเตรียมนัยน์ตาให้คนไข้ สามารถมองเห็นได้ แต่การให้ความรูก้ บั คนไข้ตา่ งหากทีเ่ ป็นปัจจัยสำคัญ ทีส่ ดุ ...การจะทำให้คนทีต่ าบอดมาแต่กำเนิดมองเห็นได้ จึงเป็นงานของ

ผู้ให้ความรู้ มากกว่าทีจ่ ะเป็นงานของหมอผ่าตัด”6

คนไข้ของหมอโมโรยังยึดติดอยูก่ บั วิธกี ารเรียนรูท้ เี่ ขาคุน้ เคยและมัน่ ใจ ซึง่ ได้แก่ การสัมผัส การได้ยนิ เสียงและการได้กลิน่ การจะให้เขาเปลีย่ นไปใช้วธิ อี นื่ (ให้เขามองเห็นด้วยตา) ย่อมต้องใช้ความพยายามในระดับเหนือมนุษย์ พวก เราทัง้ หลายต่างก็ประพฤติตนคล้ายกับเด็กน้อยคนไข้ของหมอโมโรในหลายๆ เรือ่ ง ศักยภาพในการรับรูท้ เี่ รามีอยูเ่ ป็นตัวกำหนดโลกของเรา และทำให้โลกนีม้ ี

I

แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต 21


เนือ้ หาสาระและมีความหมาย โอกาสทีจ่ ะได้มา ย่อมมีมากพอๆ กับโอกาสทีจ่ ะ เสียไป หรือรูส้ กึ ไม่ปลอดภัย เราต้องตายเสียก่อนจึงจะได้เกิดใหม่ เวลาทีเ่ รามี ศักยภาพใหม่ๆ จิตของเรามักสับสนอย่างทีไ่ ม่เคยเป็นมาก่อน แล้วเราก็จะทำตัว เหมือนโอเดสเซอุสทีเ่ รือแตกอยู่ในทะเลซึง่ มีพายุโหมกระหน่ำ ได้แต่เกาะขอบ เรือซึง่ กำลังจะอับปางไว้แน่น มันคือเรือทีพ่ าเราออกเดินทางมา เป็นสายใยเส้น สุดท้ายและเป็นสิง่ เดียวทีเ่ กีย่ วร้อยเราไว้กบั ความเป็นจริงทีเ่ ราคุน้ เคย ก็แล้ว

เหตุใดเราจึงจะผละไปเสียจากมัน? เรามีแรงพอทีจ่ ะทิง้ มันไปและเผชิญกับความ เปลีย่ นแปลงหรือไม่? หรือว่าเสียงเรียกร้องจากภายในที่ให้เราออกไปเสีย่ งภัย โดยลำพังเป็นเพียงเสียงโหดร้ายของเหล่านางพราย๑ ที่ล่อลวงนักเดินเรือให้ หลงกล? ด้วยเหตุนเี้ ราจึงหลับตาเสีย แล้วยึดสิง่ ทีเ่ ราคุน้ เคยเอาไว้แน่น นอกจากแสงสว่างทีอ่ ยูภ่ ายนอกและดวงตาของเรา การมองเห็นยังต้อง อาศัย “แสงจากภายใน” ช่วยเสริมกับแสงภายนอกที่เราคุ้นเคย มันจะเปลี่ยน ผัสสะดิบๆ ให้กลายไปเป็นภาพทีม่ คี วามหมาย แสงแห่งจิตทีอ่ ยูภ่ ายในจะต้อง หลัง่ ไหลเข้าไปประสานสนิทกับแสงแห่งธรรมชาติจากภายนอก แล้วทำให้โลกนี้ ปรากฏขึน้ ดังนัน้ เมือ่ เราได้เกริน่ เรือ่ งแสงแห่งจิตไปบ้างแล้ว เราจึงต้องตอบ คำถามข้อทีส่ องทีว่ า่ ถ้าเช่นนัน้ แท้ทจี่ ริงแล้ว “แสงแห่งธรรมชาติ” คืออะไร?

แสงทีม่ ดื มิด

ผู้ที่ได้มีโอกาสมองเข้าไปใน “กล่องแสง” ของผมได้ตั้งคำถามด้วยความฉงน ฉงายว่า สิง่ ทีม่ องไม่เห็นซึง่ เราเรียกว่า “แสง” (ทีส่ อ่ งให้เราเห็นทุกสิง่ ยกเว้นเห็น ตัวมัน) มีธรรมชาติอย่างไรกันแน่ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อารยธรรมของ ๑

ผูเ้ ขียนหมายถึง พราย Sirens ในปกรณัมกรีก พรายเหล่านีจ้ ะแปลงร่างเป็นหญิงงามนัง่ อยู่ บนโขดหินริมทะเล แล้วร้องเพลงซึง่ ไพเราะจับใจ ดึงดูดให้นกั เดินเรือเข้าไปใกล้ ใครที่ได้ยนิ เสียงเพลงของพรายเหล่านีจ้ ะเกิดอาการคลุม้ คลัง่ ร่างกายและดวงวิญญาณเย็นชาจนถึงแก่ ความตายในทีส่ ดุ - ผูแ้ ปล

I

22 ไล่คว้าแสง


มนุษย์มคี ำตอบสารพัด เราเรียกแสงด้วยนามแห่งเทพ หรือทำให้มนั กลายเป็น ผลงานของเทพ หรือเป็นคุณลักษณ์แห่งเทพ แม้วิทยาศาสตร์ตะวันตกจะ อธิบายธรรมชาติของแสงให้ดูจับต้องได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน กระนั้นเราก็ยัง

ไม่วายสงสัยและจินตนาการแสงไปต่างๆ นานา ในช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๗

ฟรานซิส เบคอน แสดงความประหลาดใจว่าเหตุใดจึงมีผศู้ กึ ษาเรือ่ ง “รูปทรงและ ต้นกำเนิดของแสง” น้อยมาก7 เหตุใดจึงยังไม่มีใครค้นพบธรรมชาติทแี่ ท้จริง ของสิง่ ทีแ่ สนสำคัญเยีย่ งแสง? เกือบสีร่ อ้ ยปีให้หลัง เราก็ยงั ไม่ตา่ งจากฟรานซิส เบคอน ทีจ่ นทุกวันนีก้ ย็ งั อดสงสัยไม่ได้วา่ แสงทำมาจากอะไร มีขนาดใหญ่แค่ ไหน เคลือ่ นทีอ่ ย่างไร ฯลฯ หรืออีกนัยหนึง่ เราอยากรูว้ า่ ธรรมชาติทางกายภาพ ของมันเป็นอย่างไรกันแน่ ในชีวติ การทำงานของผม แรกทีเดียวผมพยายามหาวิธที จี่ ะเข้าใจธรรมชาติของแสงด้วยการทำวิจยั ทัศนศาสตร์ควอนตัมในห้องทดลอง ผมได้ทำการ ทดลองแสงเลเซอร์ทสี่ ถาบันในเมืองโบลเดอร์, แอมเฮิรส์ ต์, ปารีส, ฮาโนเวอร์ และมิวนิค เพือ่ ศึกษาแสงและดูวา่ มันสัมผัสสสารด้วยท่าทีเช่นไร ยิง่ ผมเรียนรู้ ทฤษฎีควอนตัมเกีย่ วกับแสงทัง้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั มิ ากขึน้ เท่าใด แสงก็ ยิง่ ดูมหัศจรรย์มากขึน้ เท่านัน้ ถึงแม้ผมจะรูท้ ฤษฎีทสี่ ลับซับซ้อนอยูเ่ ต็มอัตรา ถึงกระนัน้ ผมก็ไม่เคยรูส้ กึ ว่าความรูเ้ รือ่ งแสงจะยุตลิ งแต่เพียงเท่านี ้ ยิง่ ไปกว่า นัน้ ผมรูส้ กึ ว่าแสงก็ยงั คงเป็นสิง่ ลึกลับอยูเ่ ช่นเดิมไม่เปลีย่ นแปลง อันทีจ่ ริงแล้ว ทฤษฎีควอนตัมได้มกี ารทดลองทีพ่ สิ จู น์ให้เห็นว่าแนวคิดของวิทยาศาสตร์ในยุค ก่อนๆ ทีม่ องแสงไปในเชิงกลศาสตร์ที่ไม่ซบั ซ้อนนัน้ ใช้ไม่ได้เสียแล้ว ทฤษฎี

ควอนตัมได้เข้ามาแทนทีแ่ นวคิดเดิมๆ และวางกรอบทฤษฎีแสงขึน้ ใหม่ ทีแ่ ม้แต่ นักฟิสกิ ส์รว่ มสมัยทีย่ งิ่ ใหญ่ทกุ คน ตัง้ แต่แอลเบิรต์ ไอน์สไตน์ไปจนถึงริชาร์ด ไฟยน์แมน๒ ยังต้องพยายามอย่างสาหัสทีจ่ ะทำความเข้าใจมัน แล้วก็ทำไม่สำเร็จ ซึง่ พวกเขาเองก็รอู้ ยูแ่ ก่ใจ ๒

Albert Einstein (ค.ศ. ๑๘๗๙-๑๙๕๕) นักฟิสกิ ส์ชาวเยอรมัน Richard Feynman (ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๘๘) นักฟิสกิ ส์ชาวอเมริกนั - ผูแ้ ปล

I

แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต 23


ผมรู้สึกตื่นเต้นขึ้นมาทันทีที่พบว่า แม้เราจะมีความรู้ทางทัศนศาสตร์

ควอนตัมทีส่ ามารถอธิบายเรือ่ งแสงได้อย่างน่าทึง่ มีความแม่นยำ และงดงาม สักเพียงใด แต่จนแล้วจนรอด เราก็ยงั ไม่รอู้ ยูด่ วี า่ แสงคืออะไร ทฤษฎีแสงเก่าๆ ทีเ่ ปรียบเสมือนเทวรูปทีค่ นเคยบูชา บัดนีไ้ ด้กลายไปเป็นเพียงรูปปัน้ ตลกล้าสมัย ทีถ่ กู ทุบทิง้ ไปหมดแล้ว และไม่วา่ ใครจะพยายามคิดค้นทฤษฎีใหม่ขนึ้ มา ก็ไม่ เคยทำสำเร็จ บัดนีเ้ รามีความรูเ้ ชิงวิชาการเรือ่ งแสงซึง่ เปิดประตูทกุ บาน ทีค่ รัง้ หนึง่ เคยถูกปิดตายโดยทฤษฎีวทิ ยาศาสตร์ทอี่ หังการและด่วนสรุป ผมอดไม่ได้

ทีจ่ ะลองเดินผ่านประตูทกุ บาน (ไม่วา่ เก่าหรือใหม่) เข้าไปในคฤหาสน์แห่งแสงที่ มีหอ้ งหับมากมาย หนังสือเล่มนีจ้ ะเล่าถึงสิง่ ทีผ่ มได้ประสบในคฤหาสน์หลังนัน้ สิง่ แรกทีผ่ มพบก็คอื แสงมีความสัมพันธ์ทแี่ สนงดงามกับศิลปะและศาสนา นักฟิสกิ ส์พยายามศึกษามันในเชิงวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาศาสนาพยายามมอง มันในเชิงสัญลักษณ์ ส่วนบรรดาศิลปินและนายช่างก็นำมันมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างเป็นเรือ่ งเป็นราว ทัง้ หมดนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของประสบการณ์ทเี่ รามีเกีย่ วกับ แสง และโดยรวมแล้ว ทุกคนต่างกล่าวขานถึงสิง่ ๆ เดียวกัน แสงและธรรมชาติ ของแสงมีความหมายต่อมนุษย์มาก และเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจและ เคารพนับถือมานับพันปี ในช่วงสามศตวรรษทีผ่ า่ นมา มิตเิ ชิงศิลปะและศาสนา ทีเ่ กีย่ วข้องกับแสงถูกจับให้แยกขาดจากมิตทิ างวิทยาศาสตร์โดยสิน้ เชิง ผมคิด ว่าบัดนีถ้ งึ เวลาแล้วทีเ่ ราจะต้องนำมิตเิ หล่านัน้ กลับมา และเสกสรรภาพแห่งแสง ทีส่ มบูรณ์กว่าเดิม อย่างที่ไม่มแี นวคิดใดเพียงแนวคิดเดียวสามารถทำได้โดย ลำพัง แสงได้เข้ามาสัมผัสตัวตนของเราในทุกแง่มมุ มันเผยบางส่วนของมันให้ เราเห็นทุกครัง้ ทีเ่ ราได้พบมัน เรือ่ งราวของการพบปะกับแสงในอดีตจะสามารถ พาเราเข้าถึงธรรมชาติทแี่ ท้จริงของมันได้ ก่อนทีม่ นั จะกลายมาเป็นสิง่ ทีเ่ ราศึกษา กันในเชิงวิทยาศาสตร์ แสง (และโดยเฉพาะ กำเนิดของแสง) เป็นสิง่ ทีม่ นุษย์ให้ ความเคารพประหนึง่ เทพในฐานะทีเ่ ป็นภาพแห่งเทวภาวะ ปกรณัมของทุกอารยธรรมมักเต็มไปด้วยเรือ่ งราวเกีย่ วกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ไฟ รุง้ กินน้ำ

I

24 ไล่คว้าแสง


และแสงเงินแสงทอง (ออโรรา) ปรากฏการณ์เหล่านีม้ คี วามเกีย่ วข้องกับแสง เช่นกัน เพราะมันคือส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่มนุษย์มีเกี่ยวกับแสง ใน หนังสือเล่มนี้ ผมจะกล่าวถึงทฤษฎีควอนตัมแสงมากพอๆ กับเรือ่ งพระอหุระ-

มาซดะ ซึง่ เป็นเทพแห่งแสงในศาสนาโซโรอัสเตอร์ ผมจะพูดถึงเรือ่ งแสงจาก หลายแง่มุม ทั้งในเชิงตำนาน จิตวิญญาณ ประวัติศาสตร์ และในเชิงวิชาการ ผูค้ นในยุคสมัยต่างๆ ล้วนมีความเกีย่ วโยงกับแสงไม่แง่มมุ ใดก็แง่มมุ หนึง่ ยิง่ ผม ศึกษามากขึน้ ก็ยงิ่ ดูเหมือนว่าเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมหนึง่ ๆ จะสะท้อนอยูใ่ น ความเข้าใจเรือ่ งแสงของวัฒนธรรมนัน้ ๆ แต่ละวัฒนธรรมพยายามค้นหาความ จริงเกีย่ วกับธรรมชาติและความหมายของแสงด้วยวิธที มี่ เี อกลักษณ์เฉพาะตน และด้วยเหตุนี้ แต่ละวัฒนธรรมจึงมีตำนานเกีย่ วกับแสงเป็นของตน ซึง่ นอกจาก มันจะเผยให้เห็นความเป็นมาและเรือ่ งราวของวัฒนธรรมนัน้ ๆ ตำนานเหล่านีย้ งั เผยให้เห็นแสงแห่งจิตใจของผูค้ น และแสงแห่งธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน ประเด็น หลักของหนังสือเล่มนีค้ อื ประวัตคิ วามเป็นมาของแสงทัง้ สองประเภท ทีเ่ กีย่ ว กระหวัดร้อยรัดกัน ประหนึ่งงูซึ่งร้อยรัดอยู่รอบคทาของเทพแอร์มีส (หรือ เฮอร์มสี ) ซึง่ เป็นเทพแห่งการสือ่ สารของกรีกโบราณ ผมจะบรรยายถึงธรรมชาติของแสงทัง้ สองทีแ่ ปรเปลีย่ นไปตามกาลเวลา ซึง่ ได้แก่แสงธรรมชาติทอี่ ยู่ ภายนอกและแสงแห่งจิตทีอ่ ยูภ่ ายใน ผมเริม่ มัน่ ใจว่าแสงทัง้ สองเป็นแสงหนึง่ เดียว ทีแ่ ยกกันไม่ออก ดังนั้น ขณะที่เรากำลังเดินไปตามเส้นทางประวัติความเป็นมาของแสง เราจะพิจารณาถึงทัศนะเรือ่ งแสงทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปเรือ่ ยๆ และในขณะเดียวกันก็ จะพิจารณาถึงความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ กับจิตของมนุษย์ผทู้ ำการศึกษาแสง เราได้เฝ้าดูโฉมหน้าของแสงแห่งธรรมชาติมาเป็นเวลาหลายต่อหลายปี และได้ แต่สงสัยว่ามันคืออะไรและเป็นใครกันแน่ ตลอดระยะเวลานับพันปีทเี่ ราเฝ้าจ้อง มองมัน แสงได้แก่ตวั ลงไปและมีอายุมากขึน้ เรือ่ ยๆ หน้าตาของมันแปรเปลีย่ น ไปมาก สีหน้าอ่อนโยนเหมือนเด็กของมันได้ถูกอำพรางจนเกือบหมด บัดนี้ แสงมีสีหน้าเคร่งเครียดมากขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น และมีลักษณะเป็นคณิต-

I

แสงแห่งธรรมชาติและแสงแห่งจิต 25


ศาสตร์มากขึ้น แต่ทุกวันนี้ วงการศิลปะ วิทยาศาสตร์ และจิตวิญญาณก็ยัง ชืน่ ชมแสงในอดีตทีเ่ คยมีสหี น้าอ่อนโยน แสงจะมีหน้าตาอย่างไรในวันพรุง่ นี?้ ตลอดระยะเวลาและเหตุการณ์ตา่ งๆ ทีผ่ า่ นมา พระอาทิตย์ดวงเดิมก็ยงั คงส่อง โลกใบนีใ้ ห้อบอุน่ และสว่างไสว นับตัง้ แต่ทแี่ นวคิดเรือ่ งแสงถือกำเนิดขึน้ เป็น ครัง้ แรกมาจนถึงปัจจุบนั นีท้ แี่ นวคิดเริม่ สุกงอม ไปจนถึงโฉมหน้าสุดท้ายเมือ่ กาลเวลาสิน้ สุดลง แสงก็จะยังช่วยส่องอาณาจักรทัง้ มวลให้สว่างไสว มันจะช่วย หล่อเลีย้ งทุง่ หญ้า ต้นไม้ และดอกไม้ แสงแห่งจิตของเราได้นำความเปลีย่ นแปลง มาสูแ่ สงแห่งธรรมชาติอย่างไรบ้าง? เราจะเข้าใจแสงได้ ก็ตอ่ เมือ่ ธรรมชาติและ จิตของเราผสานเข้าด้วยกันเป็นหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเสมือน ชีวประวัติของเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขที่เรามองไม่เห็น เขาอยู่กับเราทั้งข้างใน และข้างนอกมากเท่าๆ กัน — เพือ่ นของเราคนนีค้ อื แสง นัน่ เอง

I

26 ไล่คว้าแสง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.