ว่าด้วยความสร้างสรรค์ On Creativity
David Bohm
หมวดปรัชญา/ กระบวนทัศน์ใหม่
ว่าด้วยความสร้างสรรค์
On Cr eativity by D avi d B ohm
Authorised translation from the English language edition published by Routledge, a member of the Taylor & Francis Group through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai translation copyright © 2014 Suan Nguen Mee Ma., Co., Ltd. All rights reserved. ลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย © ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, ๒๕๕๗ เขียน เดวิด โบห์ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ แปล โตมร ศุขปรีชา National Library of Thailand Cataloging in Publication Data บรรณาธิการต้นฉบับ พจนา จันทรสันติ โบห์ม, เดวิด .
ว่าด้วยความสร้างสรรค์ = On Creativity. -- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา , ๒๕๕๗. ๒๓๒ หน้า. ชาคริต ศุภคุตตะ 1. ความคิดสร้างสรรค์. I. โตมร ศุขปรีชา, ผูเ้ แปล. II. ชือ่ เรือ่ ง. น�้ำส้ม สุภานันท์ 153.35 พิมพุทธ ISBN 978-616-7368-57-3
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ จัดรูปเล่ม ออกแบบปก พิสูจน์อักษร
ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการ ฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ ฝ่ายขาย ส�ำนักงาน โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โรงพิมพ์ จัดจ�ำหน่าย ราคา
ฮันส์ แวน วิลเลียนส์วาร์ด วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ ชาญธิภา คงถาวร, สมภพ บุญชุม บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด ๗๗, ๗๙ ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ ๐ ๒๖๒๒ ๒๔๙๕-๖, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๖๖ ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘ publishers@suan-spirit.com www.suan-spirit.com www.facebook.com/suan2001 หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๔๓๓ ๐๐๒๖-๗ สายส่งศึกษิต บริษัท เคล็ดไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๕ ๙๕๓๖-๔๐ ๒๓๐ บาท
ว่าด้วยความสร้างสรรค์ On Creativity
David Bohm
เดวิด โบห์ม เขียน
โตมร ศุขปรีชา แปล พจนา จันทรสันติ บรรณาธิการ
คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘.
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นายสัจจา รัตนโฉมศรี นายอนันต์ วิริยะพินิจ นายฮันส์ แวน วิลเลียนส์วาร์ด นางวัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด
ประธานกิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ
รายนามผู้ถือหุ้น ๑. นายธีรพล นิยม ๒. นายวินัย ชาติอนันต์ ๓. นายวิศิษฐ์ วังวิญญู ๔. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ๕. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ๖. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ ๗. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท ๘ นายมาซากิ ซาโต้ ๙. นายบารมี ชัยรัตน์ ๑๐. นายปรีดา เรืองวิชาธร
๑๑. นายศิโรช อังสุวัฒนะ ๑๒. นายเลิศ ตันติสุกฤต ๑๓. นางสาววรรณา ประยุกต์วงศ์ ๑๔. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ ๑๕. บริษทั แพรนด้า โฮลดิง้ จ�ำกัด ๑๖. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ๑๗. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา ๑๘. นางดารณี เรียนศรีวิไล ๑๙. นางสุวรรณา หลั่งน�้ำสังข์ ๒๐. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ
ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึง่ ของ บริษทั สวนเงินมีมา จ�ำกัด อันเป็นองค์กร ธุรกิจอย่างใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคม และนักธุรกิจที่ตระหนักถึงปัญหา สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมและศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้นเพื่อด�ำเนินงานทั้ง ด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน ด้วยค่านิยมอย่างใหม่ทมี่ ไิ ด้หวังก�ำไรเป็นทีต่ งั้ และ ผลก�ำไรทีม่ ขี นึ้ จะน�ำกลับไปส่งเสริมสนับสนุนองค์กรพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นหลัก
สารบัญ จากส�ำนักพิมพ์ อารัมภกถาสู่ชุดรูดเลดจ์คลาสสิก ค�ำน�ำ กิตติกรรมประกาศ 1. 2. 3. 4. 5.
ว่าด้วยความสร้างสรรค์ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ ขอบข่ายแห่งจินตนาการ ศิลปะของการรับรู้การเคลื่อนไหว ศิลปะ สุนทรียสนทนา และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
บรรณานุกรม
๐๖ ๐๘ ๑๘ ๔๓ ๔๕ ๘๕ ๑๐๙ ๑๔๑ ๒๐๓ ๒๓๒
จากส�ำนักพิมพ์ หนังสือ ว่าด้วยความสร้างสรรค์ ที่เขียนโดยเดวิด โบห์ม (ค.ศ. ๑๙๑๗-๑๙๙๒) นักวิทยาศาสตร์ฟสิ กิ ส์ทมี่ ชี อื่ เสียงชาวอเมริกนั เล่มนี้ ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมาได้รว่ มจัดพิมพ์ กับส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) เหตุผลใด ‘ผู้ประกอบการสังคม’ จึงสัมพันธ์กับเรื่อง ‘ความสร้างสรรค์’ หรืออีกนัยหนึ่ง ความเป็นผู้ประกอบการสังคมกับ ความสร้างสรรค์นั้นเชื่อมโยงกันหรือไม่ อย่างไร ผู้ประกอบการสังคมค้นพบว่า เส้นทางสู่ ความสร้างสรรค์คือการลงมือท�ำและการลองผิดลองถูกไปบนเส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบ การสังคม เฉกเช่นเดียวกับการทดลองครัง้ แล้วครัง้ เล่าของนักวิทยาศาสตร์ ความสร้างสรรค์ ของนักวิทยาศาสตร์คอื การแสวงหาและค้นหาความจริงใหม่ๆ ทีเ่ ผยให้มนุษย์ได้เข้าใจความ สลับซับซ้อนของโลกธรรมชาติ เป็นความท้าทายที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์ ชั้นน�ำแสวงหาความเข้าใจในจักรวาลรอบตัวเขา ส�ำหรับเดวิด โบห์ม ผูไ้ ด้รบั การยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคิดและปัญญาชน คนส�ำคัญ เขาต้องใช้เส้นทางเดินทั้งชีวิตเพื่อจะแสวงหาค�ำตอบที่ว่า อะไรคือธรรมชาติแห่ง ความจริงหรือสัจจะสูงสุด ณ ช่วงขณะที่เผยให้เขาได้ตระหนักถึงความจริงหรือสัจจะที่เฝ้า ค้นหานี้มาจากการพัฒนาความรู้เชิงญาณทัสนะ โบห์มเรียกความจริงแท้หรือสัจจะที่เขา เข้าถึงนีว้ า่ ระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง (implicate order) ระเบียบทีม่ อี ยูใ่ นธรรมชาติอาจฟังดูคล้าย ความเชือ่ ในพลังแห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า หรือในพุทธศาสนาอาจเข้าใจระเบียบนีว้ า่ อิทปั ปัจจยตา คือ กฎสูงสุดของธรรมชาติ เป็นความจริงของธรรมชาติ ความจริงแห่งจักรวาลที่ว่า เพราะ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดไล่เรียงกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หนังสือเรือ่ งนีน้ บั ว่าท้าทายต่อการอ่านเพือ่ การแสวงหาความรู้ โบห์มเชือ่ ว่า ‘ความ สร้างสรรค์’ นี้มีอยู่ทั้งในปริมณฑลของศิลปะ วิทยาศาสตร์ และแม้แต่เรื่องจิตวิญญาณ ซึ่ง ต้องอาศัยทั้งจินตนาการและความสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง และเพื่อแสวงหาความเข้าใจกับ เรื่องนี้ หนังสือจึงได้จัดวางเนื้อหาออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้ ส่วนแรกคือบทน�ำหรืออารัมภกถาชุดคลาสสิก ซึ่งเขียนโดย ลีรอย ลิตเติล แบร์ นักปราชญ์อเมริกันอินเดียน เขาเขียนบทน�ำได้อย่างสวยงาม ท�ำให้เห็นความคิดอ่านของ ‘ภูมิปัญญาท้องถิ่น’ ซึ่งในชนบทหลายแห่งของสังคมไทยหรือแม้แต่ในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ยังพบความรูแ้ ละภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านได้อย่างมีชวี ติ ชีวา การค้นพบความจริงในโลกธรรมชาติ แห่งจักรวาลของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ บางครัง้ ก็เชือ่ มต่อถึงจักรวาลวิทยาของภูมปิ ญ ั ญา ชาวบ้านได้อย่างน่าพิศวง
ส่วนที่สองคือค�ำน�ำที่เขียนโดย ลี นิโคล บรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ ที่สรุปย่องาน เขียนของเดวิด โบห์มไว้ทงั้ ๕ บท โดยย่อยเนือ้ หาแต่ละบทเพือ่ ให้เข้าใจง่ายขึน้ เป็นการช่วย เตรียมความเข้าใจของผูอ้ า่ นก่อนจะเข้าสูก่ ารอ่านงานเขียนของโบห์มในล�ำดับถัดไปทัง้ ๕ บท ส่วนทีส่ ามคืองานเขียนของโบห์ม เขาได้เขียนงานเหล่านีต้ า่ งกรรมต่างวาระในช่วง กว่า ๒๐ ปี เนือ้ หาในแต่ละบทถูกน�ำเสนอและช่วยอธิบายกระบวนการทางความคิดของเขา อย่างเป็นขัน้ เป็นตอน เสมือนผูอ้ า่ นได้รว่ มนัง่ อยูใ่ นวงสนทนากับเขา โบห์มเชือ่ ว่าวงสนทนา นี่แหละคือหนทางที่จะช่วยให้เราเข้าถึงปัญญาญาณร่วมกันได้ ก่อนหน้านี้ ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมาได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง ว่าด้วยสุนทรียสนทนา ซึ่งนับเป็นงานเขียนเรื่องส�ำคัญของเดวิด โบห์ม ที่ชี้ให้เห็นว่าความสร้างสรรค์มากมาย มักเกิดขึ้นในศิลปะแห่งการสนทนาที่ดีที่ก่อพลังทางปัญญา เขายังกล่าวถึงความงามใน วาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ ในขั้นตอนส�ำคัญที่การค้นหาและน�ำมาสู่การค้นพบความจริง จุดที่ทุกสิ่งลงตัวและชี้ให้เห็นค�ำตอบต่อความจริงในธรรมชาติก็นับว่าเป็นความงามอย่าง ยิ่งยวดเช่นกัน ความจริงหรือสัจจะนี้นับว่ามีความส�ำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการสังคม เพราะ การสร้าง ‘แบรนด์’ ที่แท้ไม่ได้อาศัยเพียงการออกแบบที่สวยงามเท่านั้น หากคือสัจจะและ ความจริงทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลัง รวมทัง้ การแสวงหาความหมายทีต่ อ้ งใช้ทง้ั เวลาและความผิดพลาด มากมายเพื่อค้นหาจนกว่าจะค้นพบว่า ‘เพื่อใครกันที่เราเลือกท�ำสิ่งนี้’ และ ‘อะไรคือสิ่งที่ เราต้องการที่จะไปให้ถึง’ ส่วนที่สี่คือบทสัมภาษณ์โดย ลูเรียน ไวเยอร์ส ศิลปินชาวดัทช์ ที่หนังสือหรือ บรรณาธิการเข้าใจว่ามาจากเดนมาร์ก ที่แท้เธอมาจากเนเธอร์แลนด์ บทสัมภาษณ์นี้นับว่า เป็นส่วนที่มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง ด้วยค�ำถามอย่างตรงไปตรงมาและสอดคล้องกับสถานการณ์ ร่วมสมัย การเชือ่ มโยงความคิดอ่านในเรือ่ งยากๆ ทีโ่ บห์มพูดถึงในทางปรัชญา วิทยาศาสตร์ จิตวิญญาณ และความสร้างสรรค์ ถูกน�ำมาสู่หัวเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น เศรษฐศาสตร์ และการด� ำ รงชี พ ในสภาวการณ์ ป ั จ จุ บั น ท� ำ ให้ เ ห็ น ความสั ม พั น ธ์ ข องสิ่ ง นามธรรม เช่ น ความคิ ด เชิ ง ปรั ช ญากั บ สิ่ ง ที่ เ ป็ น รู ป ธรรม เช่ น ผู ้ ป ระกอบการสั ง คม เพราะ ผู ้ ป ระกอบการสั ง คมที่ แ ท้ คื อ ผู ้ ที่ ท ้ า ทายต่ อ เศรษฐกิ จ กระแสหลั ก ที่ มั ก วางอยู ่ บ น ความจริงเพียงมิติเดียว เพื่อไปให้ถึงซึ่งความจริง ความงามและความดีอันจะน�ำไปสู่ ‘เศรษฐกิจใหม่’ ผู้ประกอบการสังคมคือผู้ที่มีบทบาทอย่างส�ำคัญในการรังสรรค์หนทาง ดังกล่าวนี้
จากส�ำนักพิมพ์
7
อารัมภกถาสู่ชุด รูดเลดจ์คลาสสิก เป็นเวลาหลายปีที่ข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกันพื้น เมืองกลุม่ เล็กๆ ทีม่ หาวิทยาลัยเลธบริดจ์ ผูเ้ คยถกเถียงเรือ่ งความเหมือน และความต่างระหว่างมโนทัศน์ วิถีแห่งการรู้ และกระบวนการคิดของ ชาวอเมริกันพื้นเมืองกับกลศาสตร์ควอนตัม ในช่วงกลางถึงปลายยุค ๘๐ ที่ข้าพเจ้าได้รับการแนะน�ำให้รู้จักกับหนังสือของเดวิด โบห์ม ชื่อ Wholeness and the Implicate Order โดยเพื่อนนักฟิสิกส์ แซม คูโนซู หากจะกล่าวไปแล้ว ข้าพเจ้ารูส้ กึ ตืน่ ตะลึงกับสิง่ ทีไ่ ด้อา่ นในหนังสือ เล่มนั้น จากความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียน และจากความเหมือนในวิธี คิดของเผ่าแบล็กฟุตของเรา แนวคิดของโบห์มสอดคล้องในระดับลึกกับ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากอ่านหนังสือเล่มอื่นๆ ของเขาต่อ และฝันอยากจะ มีโอกาสได้พบกับเขา ข้าพเจ้ารูส้ กึ โชคดียงิ่ เมือ่ โอกาสนัน้ มาถึง ข้าพเจ้าได้ พบกับเดวิด โบห์ม ในปี ๑๙๘๙ ที่เดอะฟาร์ม ทางเหนือของนิวยอร์ก ที่ ซึ่งเขาแวะพักระหว่างเดินทางจากลอนดอนมายังสหรัฐอเมริกา
ในการพบกันครัง้ แรก ข้าพเจ้าจดจ�ำได้ชดั เจนว่ามีสนุ ทรียสนทนา อย่างลึกซึง้ กับเขาในเรือ่ งของภาษา และการทีภ่ าษาบางภาษาโน้มน�ำให้ผู้ พูดเข้าสูว่ ธิ คี ดิ เฉพาะบางอย่าง เราคุยกันดึกดืน่ เกีย่ วกับภาษาอังกฤษและ ภาษาแบล็กฟุตซึ่งเป็นภาษาพื้นถิ่นและภาษาแรกของข้าพเจ้า ในการพบ กันครั้งนั้น ดูเหมือนเราจะเข้ากันได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลเป็นการฟูมฟัก ทางปัญญาส�ำหรับเราทั้งสอง โชคครั้งที่สองของข้าพเจ้าอยู่ใน “สุนทรียสนทนาทางวิทยาศาสตร์” ทีจ่ ดั ขึน้ โดย “ตัวเดวิด โบห์มเอง” เป็น “สุนทรียสนทนา” ในคาลามาซู มิชิแกน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนและจัดขึ้นโดย สถาบันเฟตเซอร์ในเดือนเมษายน ๑๙๙๒ เพือ่ ท�ำการส�ำรวจเจาะลึกกับชาว อเมริกันพื้นเมืองและนักวิทยาศาสตร์ตะวันตกกลุ่มใหญ่ ถึงสิ่งที่เราได้ ริเริ่มถกเถียงพูดคุยกันในการประชุมครั้งแรก นี่เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ รูจ้ กั กับสุนทรียสนทนาแบบโบห์ม และเป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีข่ า้ พเจ้ารูส้ กึ จับใจ กับความละม้ายเหมือนระหว่างแนวคิดของโบห์มเรื่อง “สุนทรียสนทนา” ซึ่งเราจ�ำเป็นต้องสลัดโครงสร้างทางวัฒนธรรมและกรอบความคิดเห็น ส่วนตัวที่แฝงฝังอยู่ภายใน เพื่อที่เราจะได้เข้าสู่การ “สนทนา” เกี่ยวกับ แนวคิด มโนทัศน์ ประเด็น ข้อกังวล ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยปราศจากความ กลัวและวาระซ่อนเร้น ดังที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่าเป็น “การล้อมวง คุย” ของชาวอเมริกันพื้นเมือง แม้เป็นการพูดคุยระหว่างคนสองคน ก็ สามารถใช้หลักการดังกล่าวได้ นับตัง้ แต่มสี นุ ทรียสนทนากับเดวิด โบห์ม กลุ่มของเราก็ได้สนทนาด้วยวิธีนั้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการร�ำลึกถึงเขา ขณะนี้ ข ้ า พเจ้ า รู ้ สึ ก โชคดี เ ป็ น สามเท่ า เมื่ อ มี โ อกาสได้ เ ขี ย น อารัมกถาให้กบั หนังสือ ว่าด้วยความสร้างสรรค์ ของเขา เป็นการรวบรวม บทความว่าด้วยความสร้างสรรค์ที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน บรรณาธิกรโดย ลี นิโคล มีคนไม่มากนักที่จะเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เข้ากับศิลปะและ อารัมภกถาสู่ชุดรูดเลดจ์คลาสสิก
9
ความสร้างสรรค์ และยิ่งมีคนน้อยกว่าที่จะเชื่อมโยงสุนทรียศาสตร์เข้า กับวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลาหลายปีนับจากข้าพเจ้าได้อ่าน Wholeness and the Implicate Order เป็นครั้งแรก ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมใหญ่หลวง ต่อความเปิดกว้างของเดวิด โบห์ม กับ “สิ่งใหม่” กับ “ความแตกต่าง” และ “ความเป็นไปได้” ที่ผุดขึ้นมาจากการก้าวข้ามพรมแดนเข้าสู่ศาสตร์ ต่างแขนง วัฒนธรรม และวิถแี ห่งการรูท้ แี่ ตกต่าง รวมถึงความชืน่ ชมของ เขาที่มีต่อวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับศิลปะและความงาม ในที่นี้ ข้าพเจ้า ใคร่ขออธิบายว่าเหตุใดแนวคิดว่าด้วย “ความสร้างสรรค์” ของเขา จึงค้น พบผืนดินอันอุดมในวิถีแห่งความรู้ของชนเผ่าแบล็กฟุต ปรัชญาของแบล็กฟุตรวมถึงแนวคิดเรือ่ งการเคลือ่ นไหวแปรเปลีย่ น อย่างต่อเนือ่ ง ของทุกสรรพสิง่ ทีป่ ระกอบไปด้วยคลืน่ พลังงานและเอิบอาบ ไปด้วยวิญญาณ ของทุกชีวติ และสรรพสิง่ ทีโ่ ยงใยกันอยู่ ของสัจจะแห่งการ หวนคืนกลับ และของพื้นที่ว่างในฐานะสิ่งอ้างอิงหลัก1 เหล่านี้คือความ ละม้ายเหมือนระหว่างชนเผ่าแบล็กฟุตและชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือ อื่นๆ เช่นเผ่านาวาโฮ ดังที่แกรี วิทเธอร์สปูน นักศึกษาภาษาและศิลปะ นาวาโฮ ได้กล่าวถึงความละม้ายเหมือนเหล่านี้ไว้อย่างน่าฟังว่า ...สมมุตฐิ านทีเ่ ชือ่ มโยงร้อยรัดทวิลกั ษณ์แห่งสรรพชีวติ และสรรพสิง่ นีก้ ็ คือ โลกเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สรรพสิ่งล้วนแปรเปลี่ยน แตกดับสูญสลาย และพลิกฟื้นขึ้นใหม่ และสารัตถะของชีวิตกับการด�ำรงอยู่ก็คือการเคลื่อนไหว 1 ค� ำ กล่ า วของปรั ช ญาชาวอเมริ กั น พื้ น เมื อ งนี้ พั ฒ นาร่ ว มกั บ ภรรยาของผม และ
ถูกน�ำไปใช้ในวิทยานิพนธ์ MFA ของเธอ เรื่อง Sweet Grass Visions: The combination of Trickster and Theatre for the Transmission of Culture โดย Amethyst First Rider, University of Calgary ๑๙๙๔ หน้า ๑๔
ว่าด้วยความสร้างสรรค์
10
แปรเปลี่ยน2
ขอกล่าวย�ำ้ ถึงค�ำน�ำอีกชิน้ หนึง่ ทีข่ า้ พเจ้าเคยเขียนให้กบั หนังสือว่า ด้วยศาสตร์ของชาวอเมริกนั พืน้ เมือง แนวคิดทีป่ รากฏในนัน้ สอดคล้องกับ ข้อความข้อนี้ “แนวคิดเรื่องความผันแปรอย่างต่อเนื่องส่งผลอยู่ในเครือ ข่าย ‘ใยแมงมุม’ ของความสัมพันธ์ พูดอีกอย่างหนึ่ง ทุกสิ่งล้วนเชื่อมโยง สัมพันธ์กัน ถ้าทุกสิ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ทุกสรรพสิ่งก็สัมพันธ์กันด้วย ถ้ามนุษย์มีชีวิตและมีจิตวิญญาณ ดังนั้น ‘ทุกความสัมพันธ์ของฉัน’ ก็จะ ต้องมีชีวิตและมีจิตวิญญาณด้วยเช่นกัน สิ่งที่ชาวแบล็กฟุตกล่าวถึงว่า เป็น ‘วิญญาณ’ และคลื่นพลังงานนั้นคือสิ่งเดียวกัน สรรพสิ่งทั้งมวลคือ จิตวิญญาณ ทุกๆ สิง่ ล้วนประกอบขึน้ ด้วยคลืน่ พลังงาน พูดอีกอย่างหนึง่ สิง่ ทีด่ เู หมือนเป็นวัตถุสสารในพืน้ ทีว่ า่ งนัน้ เป็นเพียงการแสดงออกขององค์ ประกอบเฉพาะของคลื่นพลังงาน โดยนัยกลับกัน ทุกองค์ประกอบของ คลื่นพลังงานไม่จ�ำเป็นต้องแสดงตัวออกมาในรูปของวัตถุสสาร”3 “วัฏจักรแห่งการหวนคืนกลับคือแง่มุมส�ำคัญในกระบวนทัศน์ของ ชาวอเมริกันพื้นเมือง จากความผันแปรอย่างต่อเนื่อง ชาวอเมริกันพื้น เมืองได้สังเกตเห็นรูปแบบบางอย่างที่สม�่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาล การ อพยพของนก หรือการเคลื่อนที่ของจักรวาล สิ่งนี้ก่อให้เกิดมุมมองที่ว่า สรรพสิง่ ทัง้ หลายเป็นกระบวนการอันต่อเนือ่ ง ทว่าจังหวะลีลาบางอย่างที่ เป็นรากฐานให้กบั การด�ำรงอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งของเรานัน้ จะต้องถูกธ�ำรงไว้ 2 Witherspoon, Gary, Language and Art in the Navajo Universe (Ann Arbor :
University of Michigan Press, ๑๙๗๗) หน้า ๔๘
3 Little Bear, Leroy, เกริน่ น�ำใน Gregory Cajete’s Native Science: Natural Laws of
Interdependence (Santa Fe, New Mexico: Clear Light Publishers, ๒๐๐๒), หน้า. x-xi.
อารัมภกถาสู่ชุดรูดเลดจ์คลาสสิก
11
และหมุนเวียนเริม่ ต้นใหม่ หากรูปแบบอันเป็นรากฐานเหล่านีไ้ ม่ได้ถกู คงไว้ และหมุนเวียนเริ่มต้นใหม่ เราจะเป็นเฉกเช่นไดโนเสาร์ เราจะถูกกลืนกิน โดยความผันแปรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีการเฉลิมฉลองการหมุนเวียน หวนคืนในสังคมอเมริกันพื้นเมืองมากมาย”4 ในจิตใจของแบล็กฟุต สิ่งที่ เรารูเ้ ป็นเพียงหลักหมายชัว่ คราวในท่ามกลางความผันแปร ซึง่ ถูกน�ำมาใช้ เป็นจุดอ้างอิง เราอาจกล่าวได้ว่า จุดอ้างอิงชั่วคราวคือสิ่งที่ก่อรูปขึ้นเป็น ความจริงของเรา หากความจริงนั้นไม่ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นใหม่ ความจริง ที่ต่างออกไปจะอุบัติขึ้น ความจริงใหม่นี้อาจมิได้หมายรวมถึงความจริง ในปัจจุบันของเรา ดังนั้นจึงจ�ำเป็นต้องมีการหมุนเวียนหวนคืนอยู่เสมอ จิตใจของแบล็กฟุตคือแหล่งรวมของความสร้างสรรค์เพราะแนวคิด เรื่องความผันแปรต่อเนื่อง หากเราต้องจินตนาการถึงความผันแปรนี้ใน ระดับจักรวาล หรือในระดับจิตใจที่ประกอบไปด้วยคลื่นพลังงาน เรา สามารถจินตนาการว่าตัวเขาหรือเธอเป็นเหมือนนักโต้คลื่น เป็นการโต้ คลื่นไปในกระแสแห่งความผันแปร ขณะโต้คลื่น เราจะด�ำเนินร่วมไปกับ กระแสของคลื่น กลายเป็นหนึ่งเดียวกับคลื่น เราไม่ได้จดจ่ออยู่เพียงสิ่ง แวดล้อมรอบตัวเท่านัน้ แต่รบั รูถ้ งึ ทุกสิง่ ตัง้ แต่สงิ่ แวดล้อมใกล้ตวั ไปจนถึง เส้นขอบฟ้าห่างไกล ในกระบวนการโต้คลืน่ ไปในความผันแปร เราจะรับรู้ ถึงทุกองค์ประกอบของคลืน่ พลังงานอันแตกต่างหลากหลาย ในตอนแรก มันอาจดูเป็นนามธรรม แต่ไม่เหมือนกับศิลปะนามธรรม ทว่าเต็มไปด้วย ลีลาความเคลือ่ นไหวซึง่ เมือ่ มองดูแล้ว นาฏกรรมของคลืน่ พลังงานนัน้ ช่าง สง่างาม เหมือนกับการเริงร�ำของแสงเหนือ ความผันแปรต่อเนือ่ งก่อให้เกิดมโนทัศน์ของความแปรเปลีย่ นกลับ 4 อ้างแล้วหน้า XI ว่าด้วยความสร้างสรรค์
12
กลาย แง่มุมแบบบุคลาธิษฐานในการส�ำแดงออกแห่งองค์ประกอบของ พลังงานนั้นไม่ใช่ปัจจัยส�ำคัญในจิตใจของแบล็กฟุต ทว่าจิตวิญญาณคือ สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ดังนัน้ จึงเชือ่ ว่าลักษณะแบบบุคลาธิษฐานของมนุษย์ สัตว์ พืช และสสารอนินทรีย์ เป็นเพียงการเผยแสดงชั่วคราวของความผันแปร สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยงแท้ถาวร พวกมันจะเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดแน่นอน ความแน่นอนเดียวก็คือความแปรเปลี่ยน จิตใจของแบล็กฟุตเป็นแหล่งรวมของความสร้างสรรค์ เพราะ มันเชื่อมโยงกับความจริงจากมิติทัศน์ของความมีระเบียบเหนือความ ไร้ระเบียบ ระเบียบเหนือความไร้ระเบียบบ่งเป็นนัยว่าจักรวาลกว้างใหญ่ เกินกว่าจิตมนุษย์จะซึมซับได้ จากมุมมองที่จ�ำกัดจ�ำเขี่ยของมนุษย์ ภาพ ใหญ่นั้นดูปั่นป่วนไร้ระเบียบ มันอาจมีระเบียบซ่อนอยู่ แต่มันกว้างใหญ่ เกินกว่าทีเ่ ราจะเห็น ผลก็คอื สิง่ เดียวทีเ่ ราอาจวางเค้าโครงและจัดระเบียบ ได้ ผ่านหน้าต่างวัฒนธรรมของเรา ก็คอื สิง่ แวดล้อมทีเ่ รามีชวี ติ อยู่ มุมมอง ทีว่ า่ จักรวาลไร้ระเบียบนัน้ เผยให้เห็นถึงแนวคิดเรือ่ งร่างจ�ำแลงในปกรณัม ของแบล็กฟุต กล่าวโดยสรุป อมนุษย์จ�ำแลงเหล่านี้ก็คือความยุ่งเหยิง ไร้ระเบียบ จากมุมมองตะวันตก เรือ่ งของอมนุษย์จำ� แลงเหล่านีด้ เู ป็นเรือ่ ง ประหลาดล�ำ้ เกินจินตนาการ แต่จากมุมมองของแบล็กฟุต อมนุษย์จำ� แลง คือการเผยแสดงของความผันแปร ซึ่งเฟิร์สต์ ไรเดอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ จากมุมมองแบบอะบอริจิน เราสามารถเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่ อมนุษย์เหล่านี้สามารถจ�ำแลงเป็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างไม่มีขอบเขต ด้วยมันมี พลังอ�ำนาจยิ่งใหญ่ มันเป็นอย่างที่เป็น ทว่าเมื่อมองจากแง่มุมของมโนทัศน์ เรือ่ งการเคลือ่ นไหวแปรเปลีย่ นอย่างต่อเนือ่ ง เราย่อมเห็นได้ถงึ มิตทิ ศั น์ของชาว อะบอริจินที่ว่าทุกสรรพสิ่งนั้นเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีสิ่ง อารัมภกถาสู่ชุดรูดเลดจ์คลาสสิก
13
ใดคงที่ ไม่มีบทสรุป มนุษย์อาจเป็นมนุษย์ในวันนี้ หรือดูเหมือนมนุษย์ในวันนี้ แต่อาจกลายเป็นสิ่งอื่นได้ในวันพรุ่ง หินอาจเปลี่ยนเป็นสัตว์ และสัตว์กลาย เป็นต้นไม้ กล่าวคือ วิธีคิดแบบอะบอริจินนั้น ถือว่ามีศักยภาพแห่งชีวิตอยู่ใน ทุกสิง่ แต่ศกั ยภาพนี้ จากแง่มมุ ของความผันแปร สามารถเปลีย่ นได้ตลอดเวลา แล้วกลายเป็นสิง่ อืน่ ความแน่นอนหนึง่ เดียวคือความไม่แน่นอน ทุกสิง่ ทุกอย่าง อาจเป็นไปได้ นั่นคืออมนุษย์จ�ำแลง อมนุษย์เหล่านี้คือวีรบุรุษทางวัฒนธรรม อาจเป็นตัวร้าย เป็นตัวโง่ทมึ่ เป็นนักแปลงร่าง เป็นผูใ้ ห้ของขวัญ และเป็นศัตรู ของขอบเขตอันจ�ำกัด เขาคือผูส้ ร้างและครู เขาคือความผันแปรอย่างต่อเนือ่ ง5
จิตใจของแบล็กฟุตคือแหล่งรวมของความสร้างสรรค์เพราะมันท�ำลาย ขอบเขตอันจ�ำกัดลง เพราะทีใ่ ดก็ตามทีม่ ขี อบเขต มันพร้อมจะก้าวข้ามไป จิตใจแบบแบล็กฟุตไม่ได้ขีดเส้นแบ่งระหว่างการตื่นกับการหลับฝัน สิ่งที่ เกิดขึน้ ในความฝันคือส่วนหนึง่ ของประสบการณ์ทงั้ หมด และดังนัน้ จึงเป็น ส่วนหนึ่งของความเป็นจริงของคนผู้นั้นด้วย ดอน เปปิออน ชาวอินเดียน แบล็กฟุตจากเขตสงวนแบล็กฟีตในมอนทานาเขียนว่า “ความส�ำคัญของ ฝันถูกกล่าวไว้โดยเวอร์จลิ บูลชอร์ ‘ความฝันก�ำลังบอกบางอย่างกับคุณ’”6 เปปิออนอ้างถึงบูลชอร์เกีย่ วกับการเรียนรูถ้ งึ บทเพลงพิธกี รรมจากความฝัน ดังต่อไปนี้: บางสิ่งที่น่าสนใจก็คือตอนที่เหล่าบรรพชนใส่บทเพลงเข้ามาในตัวข้า ดังนัน้ จึงเรียนรูไ้ ด้งา่ ยขึน้ เพราะเป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ขณะหลับในระหว่างช่วงเปลีย่ น 5 ดูเชิงอรรถ ๑ หน้า ๓๐ 6 Pepion, Donald Duane, Blackfoot Ceremony: A Qualitative Study of Learning
(ส่วนหนึ่งของงานเขียนที่เสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้าน ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอนทานา สเต็ต, Bozeman, Montana, 1999), หน้า ๗๕
ว่าด้วยความสร้างสรรค์
14
ผ่าน เพราะบรรพชนรับฟังข้าอยู่ ข้านอนหลับอยู่ข้างเพลงมากมาย ข้าร้อง ทุกเพลงในความหลับฝันแต่ขา้ ไม่รจู้ กั มัน ลุงของข้าเป็นเจ้าของปีส่ ก็อตก่อนข้า เขาไม่รจู้ กั บทเพลงใดๆ ยกเว้นในความฝัน ไม้งา่ มสอนบทเพลงทัง้ หมดแก่เขา เพราะไม่มใี ครทีน่ นั่ อาจขับขาน ดังนัน้ ในวันถัดมา ผูค้ นจึงสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึน้ ในระหว่างพิธี พวกเขาเป็นกังวลว่าจะร้องเพลงได้อย่างไร แต่บรรพชนได้สอนลุง ในความฝันคืนนัน้ ดังนัน้ ในวันถัดมาลุงก็ไม่ได้คดิ ถึงบทเพลงเหล่านัน้ เขาเพียง แต่เริม่ ต้นร้องออกมา นัน่ คือสิง่ ทีพ่ วกเขาพูด ว่าบทเพลงเหล่านัน้ ได้ถกู ใส่เข้าไป ในตัวเจ้า มันจะเผยออกมาเมื่อจ�ำเป็น เมื่อข้าเรียนรู้เพลงเหล่านี้ ข้าใช้ความ ทรงจ�ำเพียงเล็กน้อยเพราะหากข้าคิดถึงมันข้าจะจ�ำมันไม่ได้ แต่หากข้าแค่ เริม่ ต้นร้องออกมา ข้าก็จะร้องได้ถกู ต้อง นัน่ คือสิง่ ทีเ่ หล่าบรรพชนช่วยเหลือข้า พวกเขาจะไม่ปล่อยให้ข้าผิด ดังนั้นเมื่อข้าไม่อาจจดจ�ำบทเพลงได้ ข้าก็ท�ำ เช่นนั้น หลังจากข้าเริ่มร้อง มันก็กลับมาอยู่กับข้า จากนั้นข้าก็จะเริ่มขับขาน7
ความฝันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ความรู้อาจได้รับมาจาก ความฝัน ไม่ว่าความรู้นั้นมาจากมนุษย์ สัตว์ พืช หรือวัตถุอนินทรีย์ อย่างเช่นก้อนหิน พูดอีกอย่างหนึ่ง ความฝันคือการเข้าสู่ความรู้จาก ความผันแปร สุดท้าย จิตใจของแบล็กฟุตคือแหล่งรวมของความสร้างสรรค์ เพราะภาษาที่แบล็กฟุตใช้ในการสื่อสาร ภาษาแบล็กฟุตก็เหมือนภาษา ของชาวอินเดียนในอเมริกาเหนืออื่นๆ มันเข้ากันไม่ได้กับแบบแผนของ โครงสร้างทางภาษาของภาษาในยุโรป ภาษายุโรปนัน้ เน้นทีว่ ากยสัมพันธ์ ซึง่ คือการจัดระเบียบของค�ำในประโยค ทว่าแบล็กฟุตเน้นทีส่ ณ ั ฐานวิทยา ซึ่งคือวิธีท่ีค�ำแต่ละค�ำถูกสร้างขึ้น ประโยคทั่วไปของชาวยุโรปประกอบ ด้วยค�ำนามและกริยา วิเศษณ์และกรรม คุณไม่สามารถสร้างประโยคโดย 7 อ้างแล้ว อารัมภกถาสู่ชุดรูดเลดจ์คลาสสิก
15
ไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วท�ำให้ความคิดสมบูรณ์ได้ มันค่อนข้างยากส�ำหรับผู้ใช้ ภาษาอังกฤษทีจ่ ะชืน่ ชมข้อเท็จจริงทีว่ า่ ภาษาอย่างแบล็กฟุตนัน้ เกีย่ วข้อง กับกระบวนการและการกระท�ำ ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดเรื่องความผันแปร อย่างต่อเนือ่ ง ภาษาของยุโรปอย่างภาษาอังกฤษจะน�ำทางผูพ้ ดู สูค่ วามคิด ในแบบสองขั้ว คือดีและเลว นักบุญและคนบาป วันและคืน ด�ำและขาว และอืน่ ๆ แมทธิว บรอนสัน นักภาษาศาสตร์เพือ่ นของผมกล่าวว่าสิง่ นีค้ อื “ทวิลกั ษณ์” แบล็กฟุตจะไม่นำ� ผูพ้ ดู เข้าสูก่ ารแบ่งแยกอย่างสิน้ เชิงระหว่าง สิง่ สารพัน สิง่ ต่างๆ อาจจะมีเส้นแบ่งอยู่ แต่ไม่ใช่เส้นแบ่งแบบเดียวกับใน ภาษาอังกฤษ และเส้นแบ่งเหล่านี้อาจพร่าเลือนได้ง่ายๆ ด้วย ความต่าง อีกอย่างหนึ่งคือ คนพูดภาษาอังกฤษจะถูกพิจารณาว่าเป็น “ผู้ใช้ภาษา อังกฤษทีด่ ”ี ถ้าเขาหรือเธอมีคลังค�ำขนาดใหญ่ทใี่ ช้เก็บประสบการณ์ตา่ งๆ ไว้ในนั้น แต่นักพูดแบล็กฟุตนั้นกลับกัน จะไม่มีคลังค�ำมากมายนัก สิ่งที่ เขาพาไปด้วยคือคลังเสียง หากเราสามารถหยิบยืม “ตารางธาตุ” จาก วิชาเคมีได้ เราอาจจินตนาการถึงตารางธาตุของเสียงที่ถูกน�ำมาใช้สร้าง ค�ำ พูดง่ายๆ ก็คือ ประสบการณ์หมายถึงการวิ่งไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บรรยายมันออกมา กล่าวคือ นักพูดแบล็กฟุตที่ดีคือคนที่มีทักษะในการ สร้างส่วนผสมจาก “ตารางธาตุเสียง” วิทเธอร์สปูนค�ำนวณว่ามี ๓๕๖‚๒๐๐ วิธีที่แตกต่างกันในการผันกริยา “ไป” ในภาษานาวาโฮ8 ลองดูความเป็น ไปได้สิ! ดูการสร้างสรรค์สิ! แนวคิดเรื่องความผันแปรอย่างต่อเนื่อง ระเบียบที่เกิดขึ้นจาก ความไร้ระเบียบ การข้ามพ้นเส้นแบ่งและขอบเขต และการบอกเล่าถึง 8 ดูเชิงอรรถ ๒ หน้า ๒๑
ว่าด้วยความสร้างสรรค์
16
ความจริงผ่านกระบวนการและการกระท�ำ สิง่ เหล่านีช้ ว่ ยเสริมแนวคิดของ เดวิด โบห์มเกี่ยวกับความสร้างสรรค์ เมื่อเรามองดูความจริงผ่านสายตา แบล็กฟุต เราคงอดไม่ได้ที่จะคิดถึงความสง่างาม คงอดไม่ได้ที่เราจะ คิดถึงการรังสฤษดิ์ของพระผู้สร้างในฐานะงานศิลปะ คงอดไม่ได้ที่เรา จะตื่นตะลึงพิศวงต่อความเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยน เราคงจะต้องสรุปว่า ทั้งหมดเหล่านี้คือความเป็นไปได้อันสร้างสรรค์ คงไม่น่าแปลกใจที่เดวิด โบห์ม สอดคล้องกลมกลืนอย่างล�ำ้ ลึกกับแบล็กฟุต ว่าด้วยความสร้างสรรค์ คือการบอกเล่าในภาษาอังกฤษ เหมือนกับสิ่งที่ผมรู้และรู้สึกเสมอมาว่า เป็นธรรมชาติและรากฐานของโลกแห่งแบล็กฟุต ว่าด้วยความสร้างสรรค์ คือการบอกเล่าถึงความเป็นไปได้ของดวงจิตที่สร้างสรรค์ ลีรอย ลิตเติล แบร์ ๒๐๐๔
ค�ำน�ำ
17