วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
2
ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มงานสวัสดิการสังคมและประกัน สุขภาพ และ คุณสุกัลยา เขื่อนแก้ว เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ชํานาญงาน ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลดีเด่น ที่ขับเคลื่อนผลักดัน และให้การสนับสนุนการใช้ระบบ e - claim อย่างเต็มรูปแบบ และได้ เข้ารับรางวัล e - claim Awards ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ส วั ส ดี ค รั บ ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง มา ณ โอกาสนี้. คุ ณ ผู้ อ่ า น ว า ร ส า ร รพ . น่าน ที่เคารพทุกท่าน ผมห่างหายจากการมา ทักทายกันที่หน้าบ.ก.นี่นานพอสมควร แน่นอน ว่าออกจะคิดถึงคุณผู้อ่านมาก ๆ ทีเดียว ไม่ได้ อ้อนนะครับ นี่เรื่องจริง วารสาร ฯ ที่คุณผู้อ่านถืออยู่นี้ เป็นฉบับที่ 61 แล้วนะครับ เรี ย กว่ า ฉบั บ ขึ้ น ปี ที่ 6 ก็ ไ ด้ เห็ น ตั ว เลขมาก ๆ อย่ า งนี้ แ ล้ ว โดย ส่วนตัวก็แล้วก็รู้สึกดีใจและ(แอบ)ภูมิใจมาก ๆ ที่ได้ดั้นด้นมาจนถึง ฉบับนี้ได้ หากวารสารเป็นดั่งชีวิตมนุษย์ ตัวเลข 6 ปี คงไม่มากนัก เพราะกําลังอยู่ในชั้นอนุบาล ยังไม่เข้าชั้นประถมศึกษาเลยด้วยซ้ํา หากแต่เป็นอายุการทํางานของคนที่ทํางานมาแล้วหกปี ก็ไม่ใช่น้อย แล้ว ผ่านประสบการณ์มาพอสมควร เริ่มมีน้องใหม่ ๆ มายกมือไหว้ แต่...ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่าเก่งกล้าอะไรมากมายนัก ยังต้องมีข้อปรับปรุง พัฒนาและรับคําชี้แนะจากผู้มีประสบการณ์มากกว่าอีกเยอะ ซึ่ง แน่ น อนว่ า ผมพร้ อ มที่ จ ะน้ อ มรั บ ทุ ก คํ า ชี้ แ นะ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง วารสาร รพ.น่านเรา ให้ตรงใจกับคุณผู้อ่านให้มากที่สุด เดือนนี้ มีกิจกรรมมากมายที่รพ.น่านของเรา งานที่ยิ่งใหญ่ อบอุ่น น่าประทับใจและทรงคุณค่ามากที่สุด ก็คือ งานแสดงมุทิตา จิตในวาระอายุครบ 80 ปี อ.นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ในธีมงานที่ มี ชื่ อ ว่ า “สอนให้ จํ า ทํ า ให้ ดู อยู่ ใ ห้ เ ห็ น “ เมื่ อ วั น ที่ 9-10 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของ คณะกรรมการจัดงานในครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในงานนั้น เต็มไปด้วย ความรัก ความศรัทธา ความผูกพันของคนครอบครัวเดียวกัน ของ อาจารย์ ลู กศิษย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจ จุบัน ที่ไ ด้มารวมตัว มาคืน สู่ เหย้าของรพ.น่าน ครอบครัวใหญ่อันอบอุ่น ซึ่งเป็นภาพบรรยากาศ ที่งดงามเป็นที่สุด ผมได้เห็นรอยยิ้ม เห็นภาพการสวมกอดกัน ได้ยิน เสียงหัวเราะและน้ําตาแห่งความปีติที่เกิดขึ้นในงานครั้งนี้ สุดท้ายของการพบกัน ก็อยากฝากข้อคิด คําสอนของอ.ที่ พวกเราคุ้นเคย ให้พวกเราตระหนักทุกขณะจิตและน้อมนํามา ปฏิบัติให้เป็นปกติวิสัยดั่งคําสอนของอ.ด้านบนครับ/ คีย์ กิติศักดิ์
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
3
"เวลาติดปีก" คํากล่าวนี้ไม่เกินความจริงเลย ในวันที่ 28 พ.ย. ก็ครบปีที่ผมได้มาดํารงตําแหน่งผอ.โฮงบาล น่าน มีความรู้สึกเหมือนเพิ่งมาได้ไม่นาน แต่พอนึกย้อนหลังก็รู้สึกว่าได้เรียนรู้และทําอะไรมากมายในช่วงเวลาที่ผ่าน มา ต้องขอขอบคุณปลัดกระทรวงสธ. ที่ให้โอกาสได้มาอยู่ที่นี่และขอบคุณพวกเราทุกคน ที่ให้โอกาสผมได้ทํางานร่วม ด้วย แม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ แต่มีความรู้สึกผูกพันอย่างมาก ดังที่ผมได้ไปเป็นวิทยากรให้ศูนย์คุณภาพภาคเหนือเรื่อง "engagement" ซึ่งหมายถึงความผูกพันที่มีกับองค์กร แต่เป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งมากกว่าผูกพันทั่วไป ที่มีโดยการ ทุ่มเททํางานสร้างสิ่งดีงาม พัฒนาองค์กร ยอมที่จะทํางานหนักขึ้น เหนื่อยขึ้น เพื่อองค์กร ให้ได้ความภูมิใจในการเป็น ส่วนหนึ่งขององค์กร ผมได้ยกตัวอย่างโฮงบาลน่านของเราที่บุคลากรมีความผูกพันอย่าง มาก จนเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามจากรุ่นสู่รุ่นโดยมี อ.นพ.บุญยงค์ วงค์รักมิตร เป็นตัวอย่างที่ดีงามให้เราได้เห็นได้สัมผัสในการกระทํามาโดยตลอด ตามคํา สอนของอ.ที่ว่า "สอนให้จํา ทําให้ดู อยู่ให้เห็น" ผมจึงขอให้พวกเราช่วยกัน รักษาวัฒนธรรมที่ดีงามนี้ไว้ ให้คงอยู่คู่โฮงบาลน่านของเราตลอดไป ผมต้องขอขอบคุณทีมงานทุกคน ที่ได้ช่วยกันจัดงานมุทิตาจิต 80 ปี อ.บุญยงค์ ในวันที่ 9-10 พ.ย.ที่ผ่านมา เราจะเห็นได้เลยว่าความผูกพันของ บรรดาศิษย์เก่าที่เคยอยู่โฮงบาลน่านนั้นมีมากขนาดไหน มีการรวมตัวกันกับ ศิษย์ปัจจุบันเตรียมงานกันเป็นอย่างดี พี่ ๆ รุ่นเกษียณไปแล้วมาร่วมด้วย มากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น พี่ ส มสิ ท ธิ์ (ปั จ จุ บั น ยั ง ปฏิ บั ติ ง านอยู่ ร พ.บํ า ราศฯ) พี่ อุ ทั ย (อดี ต ผอ.รพ.ชลประทาน) พี่ ด าวฤกษ์ (อดี ต ผอ.รพ. พระปกเกล้าจันทบุรี ปัจจุบันช่วยงานอยู่ที่สธ.) พี่เทียม (อดีตผอ.รพ.สระบุรี ปัจจุบันช่วยงานอยู่ที่ สธ.) พี่อนุวัฒน์ (ผู้อํานวยการสรพ.) ฯลฯ ในช่วงบ่ายวันเสาร์มีการพูดคุยกันถึงงานที่อ.ได้ทํานอกเหนือจากงานสธ. โดยตรงหลังลาออกจากราชการ เช่น งานอนุรักษ์เมืองเก่า งานสืบสานโครงการพระราชดําริ (โครงการปิดทองหลังพระ) งานวิทยาลัยชุมชน ซึ่งแขกรับเชิญแต่ละท่าน ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ ร่วมทํางานกับ อ.บุญยงค์ ทําให้เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ อ.ได้ทําอย่างจริงจัง ไม่ใช่ว่ามีแต่เพียงชื่อเป็นที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการเท่านั้น อ.ไปนั่งเรียนร่วมด้วยในเรื่องต่าง ๆ ที่ยังไม่รู้จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถนํามาปฏิบัติได้เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้พวกเราได้รู้ว่ายังมีเรื่อง ต่าง ๆ ภายนอกรพ.ที่มีความสําคัญต่อชีวิต สภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในที่สุด ผมคิดว่าคงจะมีพวกเรา หลาย ๆ คนสนใจและคิดที่จะมีส่วนร่วมในงานที่ อ.ได้ทําไว้ หลังการเสวนาเรามีโอกาสได้ฟังข้อคิดต่าง ๆ จากอ.ซึ่งผมถือว่าเป็น "ตํานานที่มี ชีวิต" มีการถ่ายภาพร่วมกันเป็นภาพที่สวยงามมาก คงจะเป็นภาพประวัติศาสตร์อีกภาพหนึ่งของชาวโฮงบาลน่าน
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
4
หลังจากนั้น เราได้จัดให้ศิษย์เก่านั่งรถรางชมเมืองโดยมี อ.สมเจตน์ วิมลเกษม ทําหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ บรรยายคําเมืองให้ ได้อรรถรส ทําให้เกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ในภาคกลางคืนนั้นเป็นบรรยากาศที่เป็นกันเองระหว่างพี่ ๆ น้อง ๆ โดยมี อ.บุญยงค์ เป็น พี่ใหญ่ ทุกคนพร้อมใจกันมีการถ่ายภาพอ.ร่วมกับศิษย์เก่า ขณะรับหนังสือ 80 ปี พร้อมขอให้ อ.เซ็นชื่อในหนังสือ มีการเลือกรับประทาน อาหารที่จัดเป็นซุ้ม ๆ จากกลุ่มงานต่าง ๆ และมีหมูย่างโอ่งของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกน่าน พลตรีวิจักขฐ์ สิริบรรสพ ที่เลื่องชื่อใน ความอร่อยและหาซื้อไม่ได้ ท่านผบ.มาแนะนําด้วยตัวเองด้วย ระหว่างนั้นดนตรี "คนลายเมือง" บรรเลงเพลงสไตล์คันทรี่เบา ๆ พร้อมไฮไลท์ เพลง"หมอบุญยงค์" ที่บรรจงแต่งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ อ. แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณที่ยิ่งใหญ่ที่ อ.ได้ทําไว้ให้เมืองน่าน จากนั้น มี ก ารฉายวิดิทั ศ น์ป ระวั ติผ ลงานของอ. ที่พ วกเราได้ จัดทํ า ขึ้น รวมถึง เพลง "พรานทะเล" ที่ อ.เคยร้ อ งในงานหนึ่ ง ได้ บันทึกเสียงร้องด้วย หลังจากนั้นพิธีกร (หน่อยกับคีย์) ได้เชิญ อ. กล่าวเปิดงาน ซึ่ง อ.ไม่กล่าว แต่ร้อง เพลงให้พวกเราฟังหลาย ๆ เพลง บางเพลงมีการหยอกเย้า อ.พนิดาด้วยเป็นบรรยากาศที่เปี่ยม ไปด้วยความสุขอย่างแท้จริง เสร็จแล้วมีการทําเซอร์ไพรส์โดยการร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ดเดย์และให้ อ. เป่าเค็ก จากนั้นผมในฐานะเจ้าบ้านเป็นตัวแทนศิษย์ปัจจุบันกล่าวถึง อ. ก่อนกล่าวผมขออนุญาตเป่า ขลุ่ยที่ไม่ได้เป่ามานานมากแล้วให้ อ.ฟังเป็นกรณีพิเศษในเพลง "กลิ่นโคลนสาบควาย" ที่ผมเคยเล่นใน วงกรรมาชน วงแรกของเชียงใหม่ตั้งแต่เมื่อ 14 ต.ค.2516 ที่ประตู ท่าแพขณะมีการชุมนุมของนศ. และเป่าเม้าท์ออร์แกนประกอบการร้องเพลง"น่านนะซิ" ให้บรรดาศิษย์เก่าที่มาจากต่างแดนฟัง ก่อนที่ จะกล่าวอวยพรให้ อ.อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรพวกเราให้นาน..น้าน..น่าน จากนั้นได้เชิญบรรดาศิษย์เก่า กล่าวถึงความทรงจําความประทับใจที่มีต่อ อ. แต่ละ ท่านกล่าวโดยไม่ต้องเตรียมตัวมาแต่อย่างใด เพราะเป็นการกล่าวจากใจ ทําให้ค่ําคืนนั้นมีความหมาย มาก ๆ เสร็จแล้วมีการถ่ายภาพร่วมกันอีกครั้ง แสดงถึงความรักความผูกพันที่มีต่อกันเป็น วัฒนธรรมอันดีงาม ที่ควรแก่การรักษาให้คงไว้ตลอดไป ผมขอขอบคุณทีมงาน ที่ช่วยกัน ทําหนังสือมุทิตาจิต 80 ปี อ.บุญยงค์ ที่นําทีมโดยหมอปุ้ย (พรชัย) ซึ่งจะมีการพิมพ์เพิ่ม เพื่อแจกให้กับรพ.ทุกแห่ง สสจ.ทุกแห่ง และเพิ่มข้อเขียนของผู้เกี่ยวข้องกับทาง ชมรมรพ ศ./รพท. พร้อมภาพและข้อคิดดี ๆ ที่ได้จากงานมุทิตาจิตครั้งนี้ด้วย จะได้เป็นหนังสือที่มี คุณค่าเป็นอย่างยิ่ง ที่สําคัญจัดทําขึ้นโดยทีมงานรพ.น่าน ผมมีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากบอกกล่าวให้พวกเราทราบ เนื่องจากมีจนท.ของเราคนหนึ่ง ทํา ผิดโดยไม่ได้เจตนาทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องร้ายแรง โดยจนท.ท่านนั้นได้ปลอมแปลงเอกสาร ราชการ (ใบรับรองเงินเดือน) พร้อมกับแก้ไขตัวเลขเงินเดือนที่รับจริง (แก้ไขเปลี่ยนแปลง เอกสารราชการ) ด้วย ซึ่งถือเป็นความผิดทางวินัยที่ร้ายแรง โชคดีที่เราตรวจพบก่อน จึง ได้เรียกมาตักเตือนพบว่าเหตุผลที่ทําเช่นนั้น เพียงเพื่อนําไปเป็นเอกสารในการกู้เงินธนาคารให้พี่สาวที่กทม. จะทําให้กู้เงินในวงเงินได้มากขึ้น จากคําแนะนําของพนักงานธนาคาร ผมจึงอยากขอเตือน ทุก ๆ คนว่า ก่อนที่จะทําอะไรที่ต้องมีการบิดเบือน แต่งเติมหรือแก้ไขเอกสาร จะอ้างว่าไม่รู้นั้นไม่ได้ ถ้ามีอะไรที่ไม่แน่ใจขอให้ปรึกษาหัวหน้างานหรือผมได้ทุก ราชการ ต้องสํานึกอยู่เสมอว่าเป็นการกระทําผิด เวลา อย่าทําให้เกิดปัญหาก่อนแล้วจะให้ช่วยตามแก้ไข จะเป็นการสายเกินแก้ ผมขอให้ทุกคนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางใน การดําเนินชีวิต จะทําให้มีความสุขได้โดยไม่จําเป็นต้องสร้างหนี้ให้เป็นภาระต่อไปในอนาคต ผมขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันทํางานเพื่อบริการคนไข้ ให้เหมือนกับเป็นบ้านหลังใหญ่สําหรับทุกคนที่ระทมทุกข์จากการเจ็บป่วย ขอให้ ถือเสียว่าเราเป็นพี่น้องที่เกิดมาร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน สักวันหนึ่งเราก็คงต้องเจ็บป่วย ถึงเวลานั้นจะได้มีคนดูแลเราเหมือนเมื่อเราดูแลคนไข้ให้ดีที่สุด. มาโดยตลอด.
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
5
การดู แ ลรั ก ษาคนไข้ ที่ ดี นั้ น ต้ อ งมี ก ารทบทวนอยู่ เ สมอเพื่ อ หาแนวทางการแก้ ไ ข ข้อผิดพลาดหรือข้อจํา กั ดต่า ง ๆ โดยเฉพาะในรายที่ผ ลการรัก ษาไม่เป็ น ดัง ที่หวัง หรือในกรณี เสียชีวิตที่อธิบายไม่ได้ ในการทบทวนนั้นต้องประกอบไปด้วยทีมผู้รักษาทั้งหมด (แพทย์ พยาบาล เภสัชกรและ บุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) และฝ่ายสนับสนุนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามหลักการต้องถือว่าเป็นขบวนการ ทางวิชาการเเบบสร้างสรรค์ ทุกคนควรให้ความสําคัญเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกันและสามารถแสดงความ คิดเห็นได้บนพื้นฐานของความรู้ มีการถกเถียงกันได้ทางวิชาการ เมื่อออกนอกห้องประชุมก็ยังคงเป็นเพื่อนร่วมงาน ที่ดีต่อกันเหมือนเดิม บรรยากาศในการประชุมจึงควรเป็นไปแบบผ่อนคลายไม่ใช่ตึงเครียด ส่วนใหญ่มักต้องการเพื่อ จะหาว่าใครผิด ซึ่งโดยความเป็นจริงนั้นควรเป็นการประชุมวิชาการ โดยยึดหลักเอาคนไข้เป็นศูนย์กลาง ทําเพื่อหา แนวทางแก้ไขในเชิงระบบ กรณีพบสาเหตุที่เกิดควรมีแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ําและมีการ ติดตามประเมินผลต่อไป มีอยู่ครั้งหนึ่งผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม เพื่อทบทวนการดูแลรักษาคนไข้ ของกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรมและกุมารเวชกรรม เนื่องจากมีปัญหาทารกแรกเกิดเสียชีวิต ทั้งที่หลังคลอดอาการเป็นปกติ เพื่อเป็นผู้ตัดสินกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ผมได้ปล่อยให้ที่ ประชุมพูดคุยกันไปจนใกล้จะหมดเวลาจึงค่อยเข้า ร่วมประชุม ตอนเข้าไปทีแรกนั้น เหมือนที่คาดคิดไว้ บรรยากาศค่อนข้างตึงเครียด ทุกคนมีทีท่าอึดอัด ผมฟังดูแล้วรู้ว่า ปัญหาอยู่ที่แพทย์เวรมาดูคนไข้ช้า ไม่เห็นความสําคัญที่พยาบาลรายงาน ผมจึงเล่า ให้ฟังว่าระบบการรายงานแพทย์นั้น มีปัญหามาตลอดทุกแห่ง แพทย์ไม่ได้ทํางานเป็น กะต้องทํางานทั้งในและนอกเวลาราชการ ไม่ได้หยุดหลังอยู่เวรเหมือนพยาบาล เวลา ตามจึงอาจช้าบ้าง ในบางกรณีที่ไม่ได้ด่วนนัก ซึ่งตรงนี้แหล่ะที่เป็นปัญหา เพราะใน บางครั้งที่คนไข้และญาติเห็นว่าด่วน แต่แพทย์ว่าไม่ด่วน ผมจึงแนะนําให้พยาบาลซึ่งอยู่ ใกล้ชิดคนไข้เมื่อรายงานครั้งแรกแล้วแพทย์รับทราบแล้ว ให้สังเกตอาการหรือสั่งการ รักษาทางโทรศัพท์ เมื่อเห็นว่ายังไม่ดีขึ้นให้รายงานซ้ําด้วยถ้อยคําที่นุ่มนวลกว่าเดิม เพื่อเชิญแพทย์ให้มาดูคนไข้ ครั้งที่สามถ้าแพทย์ยังไม่มาดู ผมขอให้รายงานด้วยน้ําเสียงที่อ่อนหวานที่สุด บอกด้วยว่ามีผ้าเย็นหรือน้ําเย็นบริการอยู่ ทั้งนี้ผมถือว่าเราทํางานเป็นทีม แพทย์อาจทําผ่าตัด หรือตรวจคนไข้ในเวลาจนเหนื่อยล้ามาก แล้วต้องอยู่เวรต่อบางเวรก็ยุ่งมากทําให้ไม่ได้ไปดูคนไข้แต่แรก พวกเราทํางานร่วมกันเพื่อคนไข้ สิ่งที่ คนไข้ต้องการขณะนั้นคือให้แพทย์มาตรวจรักษา แต่ถ้ารายงานสามครั้งแล้วยังไม่มา ครั้งที่ 4 ให้ขู่ได้เลยว่า ถ้าคนคนไข้เป็นอะไรไปอาจ ฟ้องร้องแพทย์ได้ โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่จะมาไม่เกินครั้งที่ 3 ผมขอให้ทั้งแพทย์และพยาบาล ถือว่าคนไข้เป็นคนที่สําคัญที่สุด เหมือนเป็นญาติพี่น้องเราเอง โดยเฉพาะคนไข้เด็ก มีการ เปลี่ยนแปลงเร็วมาก บางครั้งทําให้เสียโอกาสในการรักษาให้ทันท่วงทีได้ ผมไม่ต้องการว่าถ้าเป็นคนไข้ส่วนตัวหรือคนรู้จักต้องได้รับบริการ ดีกว่า ผมขอให้พยายามบริการให้เท่าเทียมกัน เพราะคนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ต้นทุน ชีวิตแตกต่างกันไม่มีใครอยากเกิดมาจน ด้อยการศึกษาหรือไม่มีสัญชาติ หลังจากที่ผม ได้ให้ความเห็นแล้ว คุณหมอที่ร่วมประชุมด้วยได้พูดขึ้นมาว่าจะพยายามมาดูคนไข้ให้ เร็วและบ่อยขึ้น ผมสังเกตดูบรรยากาศที่ประชุมดีขึ้นทันที เหมือนกับที่ผมได้พูดบ่อย ๆ ว่าไม่มีใครหรอกที่จะคิดทําร้ายหรือไม่ปรารถนาดีต่อคนไข้ และขอฝากข้อคิดให้คุณ หมอทุกคนว่า เมื่อถู กตามไปดูค นไข้ถ้า ไปดูไ ด้ขอให้ก รุณาไปเลย อย่า ลัง เลเพราะมี บ่อยครั้งที่เราต้องรู้สึกเสียใจในภายหลัง ที่ไม่ได้ไปดูคนไข้ตั้งแต่แรก ขณะเดียวกันต้องมี ระบบในการรายงานแพทย์ที่ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการปฏิบัติ ในกรณีที่ตามแพทย์เวรไม่ได้ หรือ แพทย์ติดภารกิจดูแลคนไข้รายอื่น ต้องมี แนวปฏิบัติให้ชัดเจนว่าจะตามใครต่อถ้าไม่ได้ ท้ายที่สุดก็ตามรองผอก.ฝ่ายการแพทย์และผอก.เอง จะเห็นได้ว่าการทํางานเป็นทีมนั้นมี ความสําคัญอย่างมากจะสําเร็จได้ต้องอาศัยความสามัคคีภายในกลุ่มงานและระหว่างวิชาชีพเป็นสําคัญ เราไม่ควรเอาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือ กลุ่มวิชาชีพ มาทําให้เกิดความบาดหมางหรือความไม่เข้าใจกัน
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
6
ความไม่ เข้า ใจกัน จะทํา ให้ การดูแ ลรัก ษาคนไข้ไ ม่มีประสิทธิภ าพ เท่าที่ควร จึงควรมีการพูดคุยกันบ่อย ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อ กันและการประชุมวิชาการนั้น มีความสําคัญในการพัฒนางานจะต้อง ทําอย่างสม่ําเสมอและทําในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อทบทวนแนวทางการ ดูแลรักษาคนไข้ให้ทันสมัยและเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด การ เรียนรู้จากความผิดพลาดจะเกิดประโยชน์ที่สุด ถ้าทุกคนเปิดใจ ยอมรับความผิดพลาดแล้ว หาแนวทางปฏิบัติเพื่ออุดรอยรั่วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดซ้ําอีก ผมต้องขอชื่นชมและยกย่องพยาบาลเพื่อนร่วมวิชาชีพของ เรา เพราะเป็ น คนที่ อยู่ใกล้ชิดคนไข้แ ละ ญ า ติ ต ล อ ด เ ว ล า แพทย์ นั้ น พบคนไข้ ครั้งละไม่กี่นาที การ รั ก ษาจะสํ า เร็ จ ไป ไม่ ไ ด้ ถ้ า ปราศจาก พ ย า บ า ล ทั้ ง นี้ ยั ง รวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีเทคนิค นักเวช ศาสตร์ฟื้นฟูฯลฯ และฝ่ายสนับสนุนอีกทุกระดับ ผมจึงพูดอยู่เสมอ ๆ ว่าทุกหน้าที่นั้นสําคัญ ถ้าขาดคนใดคนหนึ่งในทีมแล้วจะทําให้งาน สําเร็จสมบูรณ์ไม่ได้ จึงขอให้ทุกคนมีความภูมิใจในงานที่ทํา งานทุกงานนั้นมีเกียรติเสมอ ขอเพียงให้เราทําด้วยใจรัก และทุ่มเทกับงานในหน้าที่ให้ดีท่ีสุด เพียงเท่านี้ก็สามารถยืดอกเดิน ได้อย่างสง่าผ่าเผยในโรงพยาบาลของเรา ขอขอบคุณ แทนคนไข้ แ ละญาติ สํ า หรั บ ทีม งานทุ ก คนที่ พยายามทํางานเพื่อดูแลรักษาคนไข้อย่างดีที่สุด.
ในเดือนที่ผ่านมา มีกิจกรรมดี ๆ ที่เกิดขึ้น คือทางกลุ่มฮัก สิ่งแวดล้อม ได้ร่วมสบทบทุนกับมูลนิธิศัลยแพทย์ข้อสะโพกข้อเข่า (ประเทศไทย) ในการ ม อ บ ส น า ม เ ล่ น แ ก่ โรงพยาบาลน่ า น โดย ตั้ ง อ ยู่ ภ า ย ใ น อ า ค า ร สิริเวชรักษ์ ชั้น 2 และยัง มี อี ก หลายกิ จ กรรมดี ๆ ที่จะเกิดขึ้น ความเหนื่ อ ยล้ า ของทุกคนจากงาน 5 ส. และการเตรียมงาน HA คงจะบรรเทาไปบ้างแล้ว หลาย ๆ คนก็เริ่ม เตรี ย มงานตามแผนปี ง บใหม่ แ ล้ ว ทางกลุ่ ม ฮั ก สิ่ ง แวดล้ อ ม และ ธนาคารขยะก็เช่นเดียวกัน เราได้เริ่มงานร่วมกับงานสนาม สวนดอก และโภชนาการเตรียมทําบ่อหมักปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในโรงพยาบาล โดยหมักจากเศษอาหาร ใบไม้ใบหญ้า และเรายังได้ร่วมกับกลุ่มงาน บริ ห าร และงานพั ส ดุ เตรี ย มก่ อ ตั้ ง ธนาคารวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ เ พื่ อ ให้บริการแก่ทุก หน่วยงาน รอติดตามผลงานของพวกเรานะครับ เนื่องในโอกาสที่วันปีใหม่ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ทางทีมงานของเราได้ เตรียมของขวัญเพื่อมอบเป็นแก่หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือใน การคัดแยกขยะเป็นอย่างดี 20 อันดับแรก ต้องรอลุ้นกันว่าใครจะ ได้ไปครอบครองบ้าง ในฉบับนี้ ผมเองก็ขอมอบของขวัญปีใหม่ล่วงหน้าแก่ ทุกท่าน โดยการพา ทุ ก คนไปเที่ ย วผ่ า น ตั ว หนั ง สื อ ขอเอา เรื่องที่ได้เดินทางไป อิ น เดี ย เมื่ อ เดื อ น กั น ยามาเล่ า ให้ ฟั ง กันนะครับ (ไม่ได้ไป แสวงบุ ญ หรื อ ตาม ร อ ย อ ะ ไ ร ทั้ ง สิ้ น ) เมืองที่ผมไป คือ "เมืองเลห์" ตั้งอยู่ในแคว้นลาดัคห์ ทางตอนเหนือ ของอินเดีย มีพรมแดนด้านหนึ่งกับประเทศจีน เป็นเมืองที่ ๆ หลาย คนเคยบอกว่าธรรมชาติที่น่ีงดงามและยิ่งใหญ่ วันแรกที่เรามาถึงที่นี่ ก็อวดโฉมให้ได้เห็น ท้องฟ้าสีฟ้าเข้มตัดกับสีน้ําตาลของขุนเขาที่เป็น ทะเลทรายบนที่สูง และสีขาวบนยอดเขาที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ มี บ้านเรือน และวัดแทรกตัวเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ตอกย้ําถึงความ ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า ของธรรมชาติ แต่ อี ก นั ย หนึ่ ง ก็ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสามารถและความพยายามของคนเราที่จะเอาชนะธรรมชาติให้ ได้
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
7
คนที่มาชื่นชมความงดงามของที่นี่ คนที่มากับการท่องเที่ยว คนที่นําพาความเจริญเข้ามา มิใช่ทุกคนที่จะเคารพต่อความยิ่งใหญ่ ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นี่ เราจึงได้พบเห็นฝุ่นบนพื้นถนนคู่ไป กับขยะที่ถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาดทุกพื้นที่ หรือแม้แต่ในแม่น้ําสายสําคัญ ก็ยังไม่ได้รับการยกเว้น อีกทั้งปัญหาการกําจัดขยะอย่างไม่ถูกวิธี ด้วย วิธีการเผา ยังคงพบเห็นได้ทั่วไป สร้างปัญหาเรื่องฝุ่น เรื่องควันใน อากาศต่อไป อีกเรื่องที่คอยซ้ําเติมอากาศของเมืองนี้ก็คือ รถยนต์เก่าจาก พื้นที่อื่น ๆ ที่ยังคงใช้งานอยู่ และรถมอเตอร์ไซค์พวกบิ๊กไบค์สภาพเก่า ไม่แพ้กันวิ่งกันอย่างขวักไขว่ ยวดยานทั้งสองประเภทใช้เครื่องยนต์ที่ ยั ง กิ น น้ํา มัน ค่ อ นข้ า งมากและเผาไหม้ไ ด้ไ ม่ค่ อยดี ซ้ํา ร้ายยัง ต้องใช้ น้ํามันคุณภาพต่ํา ซ้ําเติมปัญหาเดิมเข้าไปอีก ถ้ า มองเรื่ อ งนี้ ลึก ลงไปอย่ า งใคร่ ค รวญ แสดงให้ เ ห็น ถึ ง ความไม่เท่าเทียมกันของการจัดสรรทรัพยากรบนโลกใบนี้ ประเทศ อย่างอินเดีย หรือแม้กระทั่งบ้านเราเอง ไม่สามารถได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดคิดค้นได้ในปัจจุบัน ความก้าวหน้ากลับกระจุกตัวอยู่แต่ในประเทศ ผู้ผลิต หรือกว่าจะมาถึงพวกเรา ก็ต้องรอเป็นสิบ ๆ ปี หรือไม่ก็มีราคาสูงมาก จนคนส่วนใหญ่ไม่สามารถจับต้องได้ ทําให้พวกเราต้องทนอยู่กับ เทคโนโลยีเก่า ๆ ที่สร้างปัญหา แต่เราก็ไม่สามารถเลือกได้ อย่างน้อยก็มีเรื่องดี ที่นี่มีกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติก ภาพที่ได้พบเห็นคือถุงกระดาษ หรือถุงผ้าที่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่เช่นนั้นเราคงได้เห็นขยะถุงพลาสติกเต็มเมือง อีกเรื่องที่น่ายินดีที่กลุ่มคนคนที่ทําธุรกิจท่องเที่ยว และองค์กรที่ดูแลการท่องเที่ยว เล็งเห็น ความสําคัญของปัญหา เป็นกังวลเรื่องผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม ได้คิดหาวิธีการจัดการกับเรื่องขยะที่เกิดขึ้น ได้จัดให้มีการรณรงค์ต่าง ๆ มีป้ายเชิญชวนให้ทิ้งขยะให้ถูกที่เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม จัดหาถังขยะไปวางตามสถานที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งใส่คําว่า "use me" เพื่อกระตุ้นให้มีการทิ้งขยะให้ถูกที่ ลงไปให้เห็นอย่างเด่นชัด ให้ได้เห็นจนชินตา ตามที่พัก ร้านค้า โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็พร้อมใจกันจัดหาภาชนะ เพื่อสําหรับกระตุ้นให้เกิดการทิ้งขยะให้ถูกที่ คนที่สร้างขยะอาจเป็นกลุ่มคนที่มากับการท่องเที่ยว ซึ่งนําพาวัตถุ เงินตรา ความเจริญหลั่งไหลเข้ามา แต่ภาพที่เห็นคือคนที่น่ีเองก็ ยังทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ใส่ใจกับการจัดการขยะของตนเอง ตามสองข้างถนนยังพบเห็นขวดน้ําพลาสติก ขวดแก้วได้ตลอด
แน่นอนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ยากที่สุด คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ตัวคน การที่จะทําให้คนคนนึงเข้าใจเหตุผล เข้าใจถึงผลกระทบของการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง คนที่อยู่ในพื้นที่ยังไม่เข้าใจ ไม่รักและหวงแหนบ้าน และสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ บ้านแล้ว การ รณรงค์ที่เกิดขึ้นคงจะไม่ประสบผลสําเร็จ ดังที่ว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้องเริ่มต้นตัวเราก่อน ยังไม่จบนะครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า...ขอบคุณครับ / ณัฐธร.
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
8
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมพุทธมนต์โชติคุณ โรงพยาบาล น่าน ได้มีพิธีถวายองค์ผ้าป่าสามัคคี ที่จัดตั้งโดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด และผู้มีจิตศรัทธา เพื่อหาทุนทรัพย์ในการ จัดซื้อตู้เย็นเก็บศพให้แก่ “อาคารสุขาวดี โรงพยาบาลน่าน” ทดแทนของเดิมที่ชํารุด โดยมีท่านพระครูสิริธรรมภาณี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน (เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง) เป็นองค์ประกอบพิธีทางศาสนา การทําบุญทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อหาทุนทรัพย์ในการจัดซื้อตู้เย็นเก็บศพครั้งนี้ โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด มีนายสมมาตร วิมลรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฯ เป็นประธาน และมีนายชัชวาล คํานิล ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ภาคเหนือ ตอนล่าง เป็นประธานดําเนินงาน ซึ่งมียอดรวมจาการถวายองค์ผ้าป่าในครั้งนี้ทั้งสิ้น 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน) และรับมอบ ทุนทรัพย์โดย นพ.พิษณุ ขันติพงษ์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลน่าน เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของการทําบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้ต่อไป วารสาร ฯ ในนามโรงพยาบาลน่าน ขออํานาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดลบันดาลให้ผู้มีจิตศรัทธาและ ครอบครัวทุกท่าน ที่ได้ร่วมบริจาคในครั้งนี้ จงประสบแต่ความสุขความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติทุกประการเทอญ.
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
9
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
ก่อนเขียนบทความ ขอสูดหายใจยาว ๆ เข้าออกลึก 3-4 รอบ เพื่ อ บอกว่ า โล่ ง อกไปกั บ งานใหญ่ ข ององค์ ก รและคน โรงพยาบาลน่านในการประเมิน Hospital Accreditation จาก สรพ.หรือสถาบั นรั บรองคุณภาพสถานพยาบาล ก็ขอชื่นชมคน โรงพยาบาลทุกท่านและทีมงานคุณภาพโรงพยาบาลน่านของเราค่ะ และพวกเราก็จะต้องทํางานคุณภาพควบคู่ไปกับชีวิตการทํางานของ เราตลอดไป อย่าลืมหา Highlight ของงานเราให้ได้ ฮา..ฮา ผู้เขียน จําได้ขึ้นใจเลยที่เดียว ไม่ใช่ Routine แต่เป็น Highlight ค่ะ ก็จดจํา มาจากการให้ข้อคิดดี ๆ ของอาจารย์ผู้ประเมินในห้องประชุมค่ะ พูดถึงเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วนะ วารสารเราก็มีอายุครบ 6 ปี 1 เดือน ถ้าจะเป็นนักเรียนก็คงอยู่ชั้นอนุบาล 3 ค่ะ ผู้เขียน เองนึกย้อนหลังว่า เราเริ่มเขียนตั้งแต่วารสารฉบับแรก จนจนถึง ปัจจุบันทั้งหมด 60 เรื่อง คงต้องย้อนกลับไปทบทวนรวบรวมผลงาน การเขี ย นของเราเข้ า เล่ ม คงจะดี ซิ น ะ (คิ ด ว่ า จะทํ า อยู่ ค่ ะ ) ฉบับนี้คงเขียนซะป๊ะเรื่องราวจริง ๆ ค่ะ เริ่มต้นเรื่องเล่าวัน ออกพรรษาที่ผ่านมา หลายท่านงดเหล้าเข้าพรรษา ก็เป็นสิ่งดี ๆ ที่ ให้ ร างวั ล กั บ ชี วิ ต หลายท่ า นบอกว่ า ถื อ เอากิ จ กรรมงดเหล้ า เข้าพรรษาตั้งต้นเพื่องดดื่มเหล้าตลอดชีวิตค่ะ ก็ขอชื่นชมกับความ ตั้งใจ แต่ผู้เขียนเองก็ได้ยินว่าหลายคนที่ก็รอวันนี้ เพื่อที่จะกลับมา ดื่มต่อ ก็ไม่แสดงข้อคิดเห็นอะไรเราก็ยิ้ม ต่างคน ต่างความคิด อย่าง น้อยเค้าก็ทําได้ในช่วงเข้าพรรษาก็ไม่เป็นไรค่ะ ก็ขอชื่นชมเช่นกัน ในเดื อ นกั น ยายนที่ ผ่ า นมา ผู้ เ ขี ย นได้ จั ด การอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารแกนนํ า คนรั ก หั ว ใจเทศบาลเมื อ งน่ า นโดยได้ รั บ การ สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง
น่าน ประกอบไปด้วยผู้นําชุมชน แกนนําครอบครัว เข้าร่วมประชุม ครั้ง 70 คน โดยมีท่านผู้อํานวยการโรงพยาบาลน่านเป็นประธาน เปิดการอบรมครั้งนี้ และในช่วงเช้าบรรยายความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ โดยนายแพทย์นิวัตชัย สุจริตจันทร์ และเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแล ตน เองตามฐา นต่ า ง ๆ กิ น อาหารอย่ า งไรหั ว ใจแข็ ง แรง ออกกําลังกายอย่างไรหัวใจแข็งแรง การเพิ่มพลังจิตพิชิตโรคหัวใจ
10
ภาคบ่ า ยเรี ย นรู้ เ ชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร อาการเจ็ บ หน้ าอก การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น การใช้บ ริก าร ฉุกเฉิน 1669
จากการประเมินผลความพึงพอใจ ในระดับดีมากร้อยละ96 ค่ ะ ก็ เ ป็ น ความพยาบาลของที ม วิ ท ยากร ที่ จ ะให้ ก ลุ่ ม เป้ า หมายได้ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ การดูแลตนเองและอาการเจ็บหน้าอกและ การช่วยเหลือเบื้องต้น การเรียกใช้บริการฉุกเฉิน1669 ค่ะ
เดือนตุลาคมเป็นเดือนเริ่มมีงบประมาณใหม่ หลายคนก็จะยุ่ง กับการประชุมจัดทําแผนยุทธศาสตร์ การกําหนดตัวชี้วัดตลอดจนการ ทํา แผนงาน โครงการต่า ง ๆ เพื่อที่จะให้สอดคล้อ งกับ ตัวชี้วัด และ ยุทธศาสตร์ ผู้เขียนเองก็จะเข้าประชุมร่วมกับทางสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ปัจจัยด้านอาหาร ซึ่งรวมไป ถึงด้านคุณค่าทางโภชนาการ มีหลายท่านบอกว่าอาหารเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าสําเร็จก็สามารถแก้ปัญหาได้หลายเรื่องเลยทีเดียว โดยเฉพาะเรื่อง สุขภาพ ซึ่งการดําเนินงานเรื่องอาหารก็ต้องอาศัยการทํางานที่มี ส่ ว นร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยหลายภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ตั้ ง แต่ ต้ น น้ํ า กลางน้ํา ปลายน้ํา ง่าย ๆ ตั้งแต่ผลิตการจัดหาวัตถุดิบ จนถึงสําเร็จรูป พร้อมบริโภค เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของเราค่ะ ก็เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง ปิ ด ท้ า ยวารสาร ฯ ฉบั บ ก้ า วขึ้ น ปี ที่ 6 ค่ ะ ... ก็พบกันอีกนะคะ..ในฉบับหน้า..สวัสดีค่ะ
11
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
Pharmacy letter
ศูนย์บริการข้อมูลยา (DIS) กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.น่าน ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ.2556
เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี? เนื่องจากกลุ่มงานเภสัชกรรมร่วมกับโรงพยาบาลน่านได้จัดกิจกรรม “งานเบาหวานโลก จังหวัดน่าน” เมื่อวันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับ วิธีการปฏิบัติตัวว่าเมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วควรจะรับประทานอาหารและดูแลตัวเองอย่างไรให้ เหมาะสม อีกทั้งมีกิจกรรมสนุกสนานมากมายให้ทุกคนได้ร่วมกิจกรรม โดยทางกลุ่มงานเภสัชกรรม ก็ได้จัดกิจกรรม “มัจฉาเฮฮา ยาน่ารู้” ให้ผู้ป่วยได้ร่วมกิจกรรมอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วย โรคเบาหวานได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ําตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้มากมาย แต่เราสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้โดยปรับเรื่อง อาหาร การออกกําลังกาย และใช้ยาให้เหมาะสม เราก็จะสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้
ยารักษาโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง ? ประเภทยาเม็ด 1. กลุ่มที่กระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพิ่มขึ้น ยากลุ่มนี้ให้กิน ก่อนอาหาร เช่น ไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide), ไกลพิไซด์ (glipizide)หรือยาหลังอาหาร เช่น ซิตากลิปติน (sitagliptin) 2. กลุ่มที่ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยากลุ่มนี้ให้กินหลังอาหาร เช่น เมทฟอร์มิน (metformin), ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone) 3. กลุ่มที่ลดการดูดซึมกลูโคสที่ย่อยมาจากอาหารจําพวกแป้ง ทําให้การย่อยและดูดซึมน้ําตาลช้าลง ยานี้ให้กินพร้อมอาหารคําแรกทันที เช่น อะคาร์โบส (acarbose) ประเภทยาฉีดอินซูลิน 1. ชนิดออกฤทธิ์เร็ว เช่น Aspart insulin ให้ฉีดก่อนอาหารทันที หรือก่อนอาหาร 5 นาที 2. ชนิดออกฤทธิ์สั้น เช่น Regular insulin ให้ฉีดก่อนอาหาร 15-30 นาที 3. ชนิดออกฤทธิ์นานปานกลาง เช่น NPH insulin ให้ฉีดก่อนอาหาร 15-30 นาที หรือตามเวลา ที่แพทย์สั่ง 4. ชนิดออกฤทธิ์ยาว เช่น Detemir insulin ให้ฉีดตามเวลาที่แพทย์สั่ง 5. อินซูลินผสมสําเร็จรูป เช่น Mixtard® ชนิดที่ฉีดก่อนอาหารทันที หรือก่อนอาหาร 5 นาที, ชนิดที่ฉีดก่อนอาหาร 15-30 นาที
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
12
เมื่อลืมกินยาจะทําอย่างไรดี ? 1. ยาที่กระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพิ่มขึ้น กรณีใช้ยาวันละครั้ง : หากลืมกินยาก่อนอาหารเช้า สามารถกินหลังอาหารทันที หรือก่อน อาหารกลางวันได้ โดยไม่เพิ่มยาเป็น 2 เม็ดในวัดถัดไป กรณีใช้ยาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น : ถ้าลืมกินยามื้อเช้า และนึกได้เมื่อมื้อเย็น ให้กินเฉพาะ มื้อเย็น โดยไม่เพิ่มยาเป็น 2 เท่า 2. ยาที่ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ให้กินทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลากินยามื้อถัดไป ให้ข้ามไปกิน มื้อถัดไปได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า 3. ยาที่ลดการดูดซึมกลูโคสที่ย่อยมาจากอาหารจําพวกแป้ง ถ้าลืม ให้กินระหว่างกินอาหารหรือ หลังอาหารมื้อนั้นทันที มิฉะนั้นให้เลื่อนไปกินพร้อมอาหารมื้อถัดไป 4. ยาฉีดอินซูลิน กรณีฉีดวันละครั้ง : ถ้าลืมฉีดก่อนอาหารเช้า ให้ฉีดก่อนอาหารกลางวันแทน กรณีฉีดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น : ถ้าลืมฉีดก่อนอาหารเช้า ให้งดยามื้อเช้าแล้วฉีดมื้อเย็นตามปกติ โดยไม่เพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
หลักการใช้ยาลดน้ําตาล และโรคเรื้อรัง 3 ต้อง + 6 ไม่ 3 ต้อง 1. ต้อง กินยาต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด การกินยาเพื่อให้การรักษาเป็นไปตามเป้าหมาย 2. ต้อง กินยาตามแพทย์ จะต้องอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนกินยา 3. ต้อง แสดงยาทุกชนิดที่กินอยู่ให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะเมื่อไปรักษาที่คลินิกหรือโรงพยาบาลอื่น 6 ไม่ 1. ไม่ ปรับขนาดยาเอง เพราะการเพิ่มขนาดยาอาจทําให้เกิดผลข้างเคียง ส่วนการลดขนาดยาจะทําให้ ผลการรักษาไม่อยู่ในระดับเป้าหมายได้ 2. ไม่ หยุดใช้ยาเอง หากสงสัยว่าจะเกิดอาการแพ้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน 3. ไม่ ลืมกินยาบ่อยๆ ผู้ป่วยต้องทราบวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อลืมกินยา และควรพกยาติดตัวเสมอเมื่อต้อง เดินทางหรือไปทํางานที่อื่น 4. ไม่ สะสมยาไว้ที่บ้าน เพราะยาอาจเสื่อมสภาพ และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของชาติ 5. ไม่ นํายาของคนอื่นมาใช้ 6. ไม่ หลงเชื่อโฆษณาอาหารเสริม สุมนไพรต่างๆ ที่อวดอ้างว่าสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้
โรคเบาหวาน แม้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่...หากเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร รวมถึงการ ออกกําลังกายที่เหมาะสม และใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เราก็จะสามารถควบคุมและอยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุขค่ะ เอกสารอ้างอิง : American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes--2013. Diabetes Care. 2013 Jan;36 Suppl 1:S11-66.
ด้วยความปรารถนาดีจาก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลน่าน จัดทําโดย: นสภ.ชาลิณี แพงจีน นิสิตฝึกปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ปรึกษา: ภญ.วลัยลักษณ์ อัศวพุทธิ งานสารสนเทศทางยา ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารทางด้านยา (DIS) โทร. 054-771620 ต่อ 3316
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
13
ในระหว่างวันที่ 11 -15 พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา โรงพยาบาลน่าน ร่วมกับ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้ร่วมกันจัด กิจกรรมรณรงค์เนื่องในสัปดาห์วันเบาหวานโลก ภายใต้คําขวัญรณรงค์ที่ว่า “พิทักษ์อนาคตไทย พ้นภัยเบาหวาน” เริ่มจากการเปิด กิจกรรม ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00 น. ณ ลานหน้าตึกสิริเวชรักษ์ โรงพยาบาลน่าน โดยมี นพ.นิวัตชัย สุจริตจันทร์ อดีตผู้อํานวยการโรงพยาบาลน่าน เป็นประธานเปิดกิจกรรม และได้เน้นย้ําหลักสําคัญ ๓ ประการ ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ อาหาร ออกกําลังกาย การพบแพทย์และการรับประทานยาอย่างสม่ําเสมอ กิจกรรมการรณรงค์ครั้งนี้ นําทีมโดย นพ.มนัส วงศ์ทะเนตร หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรม มีกิจกรรมพิเศษ คือ การเจาะเลือดเพื่อ ตรวจหาระดับน้ําตาลในเลือด การจัดตัวอย่างอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน บอร์ดนิทรรศการความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การดูแลตา การดูแลเท้า และการดูแลฟัน รวมทั้งการให้คําปรึกษาด้านสุขภาพแก่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมกว่า ๑๐๐ คน นอกจากนี้ ยังได้รับคําแนะนําพิเศษในการดูแล สุขภาพตนเองจาก นพ.คณิต ตันติริวิทย์ อดีตผู้อํานวยการโรงพยาบาลน่าน ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย โดยนพ.คณิต กล่าวเสริมถึง ความสําคัญของญาติผู้ป่วย ที่ต้องช่วยดูแลสุขภาพ เข้าใจ ใส่ใจผู้ป่วยในครอบครัวด้วย และในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ได้มีการจัดกิจกรรมใหญ่ ณ ห้องประชุมพุทธมนต์โชติคุณและลานเอนกประสงค์ชั้น 5 อาคาร สิริเวชรักษ์ โรงพยาบาลน่าน โดยมีคุณเยาวลักษณ์ อนุรักษ์ รอง ฯ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธี มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมจากทุกอําเภอในจังหวัดน่านกว่า 500 คน กิจกรรมประกอบด้วย การฟื้นฟูความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การดูแลเท้า ตา ฟัน อาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวานและการใช้ยาน่ารู้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีทั้งสาระความรู้และนันทนาการควบคู่กัน นอกจากนี้ ยังมีการประกาศและนําเสนอผลงานของชมรมผู้ป่วยเบาหวานที่มีผลงานดีเด่นในรอบปี รวมทั้งมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชมรมผู้ป่วย เบาหวานระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนงานของชมรม ฯ จังหวัดน่านให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
14
กลุ่ ม งานโภชนศาสตร์ (โภชนาการ) โรงพยาบาลน่ า น ขอแจ้ ง ให้ ห น่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งทราบเกี่ ย วกั บ อาหารปั่ น ผสม (Blenderized Diet, BD) และการสั่งอาหารผู้ป่วย ดังนี้ 1. อาหารปั่นผสม (Blenderized Diet, BD) หรือ อาหารสายยาง 1.1 การเก็บรักษา เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายโภชนาการได้นําส่งให้แก่หอผู้ป่วยแล้ว ควรนําเก็บเข้าตู้เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศา เซลเซียส ทันที 1.2 การอุ่นอาหารสายยางที่ถูกวิธี ก. ต้มน้ําให้เดือด แล้วปิดไฟ ข. นําถุงอาหารสายยางที่นําออกจากตู้เย็น ลงแช่ในน้ําร้อนให้น้ําท่วมถุง นาน 10 นาที ค. นําถุงอาหารสายยางออกจากน้ําร้อน พักให้อุ่น แล้วนําไปให้ผู้ป่วยตามวิธีการ 1.3 การสังเกตและทดสอบอาหารสายยางเสียหรือบูด ภายหลังการอุ่นอาหารสายยางตามข้อ 1.2 ควรทดสอบโดยวิธีการชิม ถ้าบูดจะมีรสเปรี้ยว ไม่ควรสังเกตเฉพาะลักษณะที่ข้นหนืดขึ้นและการดมกลิ่นเท่านั้น เพราะอาหารสายยางที่เก็บไว้ในตู้เย็น(อุณหภูมิไม่เกิน 5°c.) เป็นระยะเวลานานทําให้อาหารสายยางมีเนื้อสัมผัสข้นหนืดจากเนื้อปลา กล้วยน้ําว้า ฟักทอง และมีกลิ่นคาวจากเนื้อปลาและไข่ 1.4 การส่งญาติผู้ป่วยไปเรียนทําอาหารสายยางที่กลุ่มงานโภชนศาสตร์ (โภชนาการ) ส่งได้ จันทร์ – ศุกร์ ภาคเช้า เวลา 08.30 น. และ ภาคบ่าย เวลา 14.00 น. งดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และขอความกรุณาทางหอผู้ป่วย ได้โทรศัพท์แจ้งให้ ทราบล่วงหน้าก่อนส่งญาติไปเรียนทําอาหารสายยาง 2. การสั่ ง อาหารผู้ป่ ว ย กลุ่ ม งานโภชนศาสตร์ (โภชนาการ) ทํ า การพิ มพ์ ใ บสั่ง อาหาร 2 ครั้ ง/วั น คือ ภาคเช้ า เวลา 08.00 น. และ ภาคบ่ายเวลา 13.00 น. กรณีที่หอผู้ป่วยต้องการสั่งเพิ่ม/งดอาหาร หรือเปลี่ยนแปลงคําสั่งเดิมหลังจากเวลาดังกล่าว ขอความกรุณาโทรศัพท์แจ้งให้ ทราบก่อนเวลา 11.00 น.และก่อนเวลา 16.00 น. พร้อมทั้งขอให้เพิ่มเติม / แก้ไขคําสั่ง ในโปรแกรมสั่งอาหารของหอผู้ป่วยให้เป็น ปัจจุบันด้วย ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแนวทาง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด กลุ่มงานโภชนศาสตร์ (โภชนาการ) โรงพยาบาลน่าน
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
15
สวัสดีค่ะ บทความตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้เขียนถึงแรงบันดาลใจในการ ออกกําลังกายและประสบการณ์การเริ่มออกกําลังกายของตนเอง ด้วยการวิ่งรอบสนามฟุตบอลในช่วงเย็น ซึ่งเมื่อ เราออกกําลังกายไปแล้วในระยะหนึ่ง สิ่งที่ตามมานอกจากร่างกายที่แข็งแรงขึ้นแล้ว ยังมีสิ่งยิ่งใหญ่ที่สําคัญมากที่ ผู้เขียนค้นพบคือ การรักษาความต่อเนื่องของการออกกําลังกายให้คงอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายที่ทํายากมากกว่าการเริ่มต้นออกกําลังกายเสียอีก เมื่อเราเริ่มออกกําลังกายแรก ๆ ด้วยความเห่อและความตื่นตัวจะทําให้เรามีความขยัน ที่จะไปออกกําลังกาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปมันจะเริ่มมีความรู้สึกว่า เฮ้อ ! วันนี้ทํางานมาเหนื่อย จัง ขอพักสักวันก่อน วันนี้รู้สึกปวดหลังขอพักดีกว่า วันนี้ต้องไปซื้อของคงไปวิ่งไม่ทันหรอก สรุปแล้ว...ไม่ไปดีกว่าฯลฯ กับอีกสารพัดเหตุผลที่ยกมาอ้างกับตัวเองที่จะไม่ไปออกกําลังกาย นี่ล่ะๆ มันยากตรงนี้ ตรงที่เราจะมีแรงใจฮึดสู้กับสารพัดเหตุผลคําอ้างต่าง ๆ ที่ว่ามา ผู้เขียนจึงมีวิธีส่วนตัวนิดหน่อย ที่จะยกเป็นประสบการณ์สําหรับผู้ที่มีอารมณ์ขี้เกียจ ออกกําลังกายว่า หลังเลิกงานกลับถึงบ้านเราต้องไม่ปล่อยเวลาเอ้อระเหยให้ชีวิตมีเวลาว่าง เช่น นั่งจมกับโซฟาหนานุ่ม (ผู้เขียนเรียกว่าโซฟาดูดพลัง) เหยียดแข้งขาสบายใจ กินขนม หรือ เปิดทีวีดู เพราะมันจะทําให้เรารู้สึกไม่อยากลุกไปไหน แล้วเจ้าตัวขี้เกียจจะเข้าจู่โจมเราทันที ดังนั้น เมื่อกลับถึงบ้าน ต้องรีบเปลี่ยนชุดเพื่อไปออกกําลังกายทันที ผู้เขียนจะบอก ตัวเองว่าต้องไม่นั่ง ๆๆ แล้วเราจะสามารถดึงตัวเองไปออกกําลังกายได้ (ขอบอกว่าต้องใช้ พลังใจสุด ๆ 555) นอกจากเจ้าตัวขี้เกียจแล้ว ยังมีอุปสรรคหนึ่งที่ทําให้เราต้องหยุดออกกําลังกาย คือ อาการป่วยไข้ของเรานี่เอง ช่วงก่อนผู้เขียนป่วย เป็นหลอดลมอักเสบ มีอาการไอมากจนปวดร้าวกล้ามเนื้ออก ทําให้ไม่สามารถไปออกกําลังกายได้ ต้องหยุดออกกําลังกายไปแรมเดือน เมื่อ อาการป่วยหาย ก็..อีกละ..ต้องปลุกเร้าพลังใจเพื่อเริ่มออกกําลังกายอีกครั้ง ตอนแรกกังวลว่าต้องเริ่มวิ่งใหม่ในระยะทางน้อย ๆ แต่เมื่อไปวิ่ง จริง ๆ ก็พบว่าเรายังสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าเดิมเหมือนตอนก่อนป่วย นั่นทําให้รู้ว่า กําลังที่เราสะสมมามันยังคงอยู่ มันยังคงต่อติด เหมือนเดิม...ทําให้มีพลังใจในการออกกําลังกายต่อไป จากการอ่านตํารา พบว่าผลดีท่เี กิดจากการออกกําลังกายจะไม่คงอยู่ตลอดไป หากหยุดออกกําลังกาย การออกกําลังกายสม่ําเสมอ เป็นสิ่งสําคัญที่สุดที่จะสามารถทําให้ผลดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการออกกําลังกายยังคงอยู่ได้ต่อไป โดยทั่วไปความแข็งแรงของปอดและหัวใจที่ เกิดขึ้นจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง หากงดออกกําลังกายไป 1 – 3 เดือน นี่เป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟัง ถึงแม้ว่าเราจะมีข้ออ้าง มากมาย มีธุระเยอะที่ต้องทําหลังเลิกงาน แต่สิ่งสําคัญที่เราควรต้องมีคือ “ใจ” ที่เข้มแข็ง ที่จะคอยบอกตัวเองว่าเราต้องเอาชนะอุปสรรคให้ ได้ เพื่อตัวของเราเอง เพื่อสุขภาพของเราเอง ก็ขอเป็นกําลังใจให้ผู้ที่กําลังจะเริ่มต้นออกกําลังกาย (มันไม่ยากเท่าไรที่คิดจะเริ่ม) และผู้ที่ออก กําลังกายอยู่สม่ําเสมอ (มันยากที่จะทําอย่างต่อเนื่องจริงจัง) การออกกําลังกายที่เหมาะสมไม่จําเป็นต้องเป็นการออกกําลังกายที่หนักมาก และไม่จําเป็นที่ต้องเป็นแบบแผน ไม่จําเป็นต้องออก กําลังกายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ การออกกําลังกายที่ดีที่สุด เป็นการออกกําลังกายที่มีความหนักปานกลาง แบบไหนก็ได้ค่ะที่เราชอบ ที่ทํา แล้วเรามีความสุข ทําให้สม่ําเสมอ แล้วเราจะพบว่าความสุขจากการออกกําลังกายมันมีอยู่จริง....สุดท้ายขอฝากคําคมที่โดนใจผู้เขียนสุดๆ ให้ เป็นกําลังใจทุกท่านนะคะ (แปลเอาเองนะ จะเข้าสู่ AEC แล้ว)...สวัสดีค่ะ The more I run The more I love my body, Not because it’s perfect, Far from it, But because with every mile It is proving to me that I am capable of more than I ever thought possible. -Unknown-
วารสารโรงพยาบาลน่าน ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 เดือนพฤศจิกายน 2556
16
Time and tide wait for no man. เวลาและวารีมิมีที่จะคอย ใคร เผลอแป๊บเดียวก็วันที่ 22 แล้ว อีก 1 เดือนก็จะอําลาปี 56 ในแต่ ละวัน เดือน ปีมีเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายเข้ามาในชีวิต บางอย่างเรา ไม่คาดคิด บางทีชีวิตก็เกินความคาดหมาย มีทั้งสิ่งที่ดีและเลวร้าย แม้ว่า จะบวกหรือลบ เราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยง ไม่ว่าร้อนหรือเย็นเป็นธรรมดาโลก มีคนบอกว่า ภายนอกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ภายในยังต้องนิ่งให้สมดุล และ Albert Einstein ก็ก ล่า วไว้ ว่า Life is like riding a bicycle. To keep your balance you must keep moving. ถ้ า เรามี ส ติ รู้เท่าทันโลก และเกมส์ชีวิต เราก็จะไม่มีทางที่จะเสียศูนย์…...........ใจสู้ หรือเปล่า ไหวไหมบอกมา….........…… แต่ถ้าเจอผู้ป่วยแบบนี้บ่อย ๆ ก็ค่อยจะไหวนะ ลองอ่านดูเถอะ !!!!! N: Hello, my name is Kaesorn and I will be your nurse tonight until 8.30 in the morning. P: I really need my pain shot, it is past the time that it is due. N: Your MO (Morphine) is every 4 hours. You received it at 6:45 is it 7:30. I can not give you another shot for 3 hours P: 3 hours. I could not wait that long you need to call the doctor. This wound I have in my arm is killing me. I also need my Fenac, I take 2 tabs four times a day at home and Brufen 400 mg six times a day. I have not had any of my medicine for today and I need to have that as soon as possible. N: I will try to contact the doctor about your home medicine. Is there anything else I can get for you? P: I need my MO. I was in a car accident last month that crushed my spine and I have horrible back pain. And if I don't get my MO I will start having seizures. See, they are starting up again because I have not had my MO and now I am having problems breathing and I am getting chest pain. N: I'm not sure what that was, but I know it wasn't a seizure. If you are having chest pain I need to get an EKG, vital signs, and give you some Nitro. P: I can’t take Nitro, I am allergic. The only thing that helps my chest pain is MO N: Oh you huge pain, I can not give you anything until I talk to the doctor. You might as well lay down and relax while I contact him. P: This is ridiculous. I can not lay in this bed, it is so uncomfortable. I am going downstairs to smoke. N: You can not smoke anywhere on hospital grounds