ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โครงการ BRT ก้าวไกล สนับสนุนงานวิจัย แหล่งองค์ความรู้ ใหม่ เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ใส่ ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
หนังสือในชุดโครงการ BRT ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) TOTAL E&P Thailand TOTAL Foundation
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้ จัดพิมพ์โดย
โครงการ BRT 73/1 อาคาร สวทช. ถ.พระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพ 10400 http://brt.biotec.or.th รายชื่อหนังสือในชุดโครงการ BRT 1. สามสีเรื่องของฉันที่เกี่ยวพันกับพุ ถาวร สาริมานนท์ และคณะ (2548) 2. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ทองผาภูมิตะวันตก วิเชฏฐ์ คนซื่อ และคณะ (2549) 3. มวนน้ำที่ทองผาภูมิตะวันตก จริยา เล็กประยูร และคณะ (2549) 4. พรรณไม้ในป่าพุที่ทองผาภูมิตะวันตก ปริญญนุช ดรุมาศ และคณะ (2549) สงวนลิขสิทธิ์โดยโครงการ BRT ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต ออกแบบรูปเล่ม : บริษัท หนึ่งเก้าสองเก้า จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2550 จำนวน 1,000 เล่ม พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์ กรุงเทพฯ จำกัด โทร 0-2642-7272 ISBN : 978-974-229-388-8 บรรณาธิการ : วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา กองบรรณาธิการ : เอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์ และ ปานกมล ศรสุวรรณ อ้างอิง : วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา (บรรณาธิการ). 2550. ลมหายใจหมู่เกาะ ทะเลใต้. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT. โรงพิมพ์กรุงเทพ จำกัด กรุงเทพฯ. 208 หน้า.
สารบัญ คำนำ รายนามผู้แต่งและภาพประกอบ เปิดโลกหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล เอกสารอ่านประกอบ ดัชนีชื่อไทย ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์
5 7 10 21 184 194 200 203
ทิวทัศน์หาดขนอม ภาพ : เรืองฤทธิ์ พรหมดำ
คำนำ “หมู่เกาะทะเลใต้” ชื่อนี้มีมนต์เสน่ห์ชวนให้นึกถึงหาดทรายขาวสะอาดตัดกับน้ำ ทะเลสีฟ้าใสขนานกับทิวไม้ต้นมะพร้าวเป็นแนวยาว สถานที่ธรรมชาติเช่นนี้คงมีหลายคน คาดเดาว่าไม่น่าจะอยู่ในประเทศไทย เพราะคนรุ่นเก่าคงนึกถึงภาพของภาพยนตร์เรื่อง “มนต์รักทะเลใต้” (South Pacific) ที่สะท้อนถึงความรักอันหวานชื่นกลมกลืนกับความ งามและกลิ่นอายของธรรมชาติในหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ แต่แท้ที่จริงแล้ว หมู่เกาะทะเลใต้อยู่ในอุทยานแห่งชาติหาดขนอม - หมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช ใน ฝั่งอ่าวไทยของเรานี้เอง พื้นที่หมู่เกาะทะเลใต้ประกอบด้วยเกาะหลัก 5 เกาะ ได้แก่ เกาะแตน เกาะราบ เกาะวังนอก เกาะวังใน และเกาะมัดสุ่ม พื้นที่ดังกล่าวนอกจากจะมีธรรมชาติที่สวยสด งดงามและมีนักท่องเที่ยวต่างชื่นชอบมาเยี่ยมเยียนอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังเป็นแหล่งที่อยู่ อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลมากมายหลากหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดระบบนิเวศทางทะเลที่ อุดมสมบูรณ์และสวยงาม มีทั้งปะการังน้ำตื้นและปะการังน้ำลึก เป็นที่อยู่อาศัยประจำถิ่น ของโลมาสีชมพูที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอขนอม และยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลผืน ใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้จึงเป็นแหล่งศึกษาวิจัยความ หลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของประเทศไทย อีกทั้งชุมชนบริเวณนี้ ยังมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอันยาวนานหลายร้อยปีและมีวิถีชีวิตที่อิงอยู่กับทรัพยากร ชีวภาพดังจะเห็นได้ว่าชาวบ้านมีฝีมือที่เลื่องลือในการทำกะปิเคยซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง ระดับโอท็อปของจังหวัดทีเดียว โครงการ BRT ได้พัฒนาชุดโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเชิงพื้นที่ (area-based) ทางทะเลเป็นแห่งแรกที่หมู่เกาะทะเลใต้ในต้นปี 2549 และดำเนินการต่อ เนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลงานวิจัยที่น่าสนใจอย่างยิ่งในพื้นที่ดังกล่าวทั้งในด้าน พืชและสัตว์ทะเลที่เป็นปริศนาหลายชนิดที่ได้นำมารวบรวมไว้ในหนังสือ “ลมหายใจหมู่ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เกาะทะเลใต้” ที่ท่านถืออยู่นี้ ผู้อ่านจะได้รับความรู้ด้านชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดใน ทะเล ซึ่งมีทั้งชนิดที่เคยรู้จักมักคุ้นและมีข้อมูลเผยแพร่อยู่บ้างแล้ว เช่น ปะการัง ปลาทะเล และฟองน้ ำ เป็ น ต้ น และชนิ ดที ่ ยั ง มี ข ้ อมูลน้ อยและเป็ น เอกลักษณ์ประจำถิ่น เช่น ทากเปลือย กัลปังหา เพรียงหัวหอม ปูน้ำเค็ม และเอคไคโนเดิร์ม เป็นต้น หนังสือเล่มนี้ยัง มีภาพสีที่สวยงามของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่น่าประทับใจและยังไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ผลงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่เปี่ยมไปด้วยความรู้และภาพ สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่บรรจุไว้ในหนังสือเล่มนี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดความร่วมมือร่วมใจ และความพยายามของนักวิจัยที่ต้องฝึกฝนทักษะเฉพาะทางทั้งการดำน้ำ การถ่ายภาพและ การบันทึกข้อมูลใต้น้ำท่ามกลางอันตรายจากคลื่นลมทะเลที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเลย ผมขอขอบคุณนักวิจัยทุกท่านที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการดังที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ และขอขอบคุณบริษัทโททาล อีแอนด์พี ประเทศไทย และมูลนิธิโททาล สาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ให้ความร่วมมือและร่วมสนับสนุน ทุนวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในชุดโครงการ BRT ณ หมู่เกาะทะเลใต้ แห่งนี้
วิสุทธิ์ ใบไม้ กันยายน 2550
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
รายนามผู้แต่งและภาพประกอบ
เปิดโลกหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ : ผศ.ดร.อัญชนา ประเทพ1, ดร.สุปิยนิตย์ ไม้แพ1 และ ดร.ศรีสกุล ภิรมย์วรากร1 ราทะเล : ดร.จริยา สากยโรจน์2 และ Prof. E.B.G. Jones2 แพลงก์ตอน : ดร.สุปิยนิตย์ ไม้แพ1 สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล : ผศ.ดร.อัญชนา ประเทพ1 ฟองน้ำทะเล : ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ3 ปะการังแข็ง : ดร.ศรีสกุล ภิรมย์วรากร1 กัลปังหา : ดร.วรณพ วิยกาญจน์4, น.ส.เทพสุดา ลอยจิว้ 4 และ น.ส. ชโลทร รักษาทรัพย์4 ปูน้ำเค็ม : นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ5 และ ผศ.ดร.ปิติวงษ์ ตันติโชดก5 ทากเปลือย : ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์4 เพรียงหัวหอม : นายสุชา มั่นคงสมบูรณ์3 เอคไคโนเดิร์ม : น.ส.อารมณ์ มุจรินทร์6 ปลาในแนวปะการัง : นายจิระพงศ์ จีวรงคกุล7 และ ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง1 โลมา : นายอติชาติ อินทองคำ8 และ นางธันยภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์8 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล : ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง1
1มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ,
3มหาวิทยาลัยบูรพา, 4จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6องค์การ
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, 7นักวิจัยอิสระ, 8ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยตอนกลาง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เปิดโลกหาดขนอม หมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เปิดโลกหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ห าดขนอม-หมู ่ เ กาะทะเลใต้ (กำลั ง ประกาศ) มี อ าณาเขต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล ตำบลท้องเนียน ตำบลควนทอง ตำบลขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และตำบลปากแพรก ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก ตำบลตลิ่งงาม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ 197,500 ไร่ หรือ 316 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 199.26 ตารางกิโลเมตร หรือ 63.06 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย ทั้งระบบนิเวศป่าไม้ เขาหินปูน ป่าชายหาด ป่าชาย เลน ไปจนถึงระบบนิเวศทางทะเลในบริเวณเกาะน้อยใหญ่จำนวน 11 เกาะ ซึ่งเรียกรวมกัน ว่า หมู่เกาะทะเลใต้ ได้แก่ เกาะแตน เกาะราบ เกาะมัดโกง เกาะมัดแตง เกาะวังนอก เกาะ วังใน เกาะมัดสุ่ม เกาะราใหญ่ เกาะท่าไร่ เกาะผี และเกาะน้อย เกาะต่างๆ เหล่านี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวต่าง ชื่นชอบธรรมชาติที่เกาะราบ เกาะมัดโกง และเกาะมัดสุ่ม ซึ่งมีหาดทรายขาวทอดยาวกับทิว มะพร้าว เกาะแตนมีแนวปะการังสวยงาม และยังคงความอุดมสมบูรณ์ ทั้งปะการังสมอง ปะการังจาน ปะการังเขากวาง เป็นต้น น้ำใส เหมาะกับการดำน้ำดูปะการังและเล่นน้ำ นอกจากนั้น อ่าวต่างๆ เช่น อ่าวท้องหยี อ่าวท้องยาง อ่าวคอเขา อ่าวหน้าด่าน อ่าวแฝงเภา อ่าวท้องชิง อ่าวในเพลา ล้วนแต่มีชายหาดทรายขาว สะอาด น้ำทะเลใส รวมทั้งแนว ปะการังน้ำตื้น หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่แตกต่างกันออกไป ก่อให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทางทะเล และทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นแหล่งศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลที่น่าสนใจ พร้อมกับเป็นสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและชุมชนในพื้นที่
10
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แผนที่ขยายหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
11
ระบบนิเวศในพื้นที่หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
ชายฝั่งทะเลเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ในทางนิเวศวิทยาชายฝั่งทะเลถือ เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด รวมไปถึงเป็นที่หลบภัย วางไข่ และผลิตอาหารให้ กับสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายในทะเล ยิ่งไปกว่านั้นชายฝั่งทะเลยังให้คุณค่าทาง เศรษฐกิจ เช่น เป็นแหล่งทำการประมง แหล่งอาหาร และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น แต่ทุกคนรู้จักชายฝั่งทะเลดีหรือไม่ มีขอบเขตแค่ไหน อย่างไร ในทางวิชาการชายฝั่งทะเล ได้รับการจำกัดความว่า เป็นเขตชายฝั่งเหนือระดับน้ำขึ้นสูงสุด และน้ำลงต่ำสุดไปจนถึง บริเวณไหล่ทวีป (Continental shelf) โดยบริเวณนี้จะรวมเขตน้ำขึ้นน้ำลง (Littoral zone) และเขตใต้ระดับน้ำขึ้นน้ำลง (Sublittoral zone) เข้าไปด้วย ชายฝั่งทะเลในพื้นที่หาดขนอม – หมู่เกาะทะเลใต้ ประกอบด้วยระบบนิเวศที่ หลากหลาย แบ่งอย่างกว้างๆ ได้เป็น ระบบนิเวศหาดหิน (Rocky shore) ระบบนิเวศหาด ทราย (Sandy beach) ระบบนิเวศแนวปะการัง (Coral reef) รวมไปถึงทะเลเปิด (Opensea)
ระบบนิเวศหาดหิน (Rocky shore)
หาดหินมักพบเห็นตามเกาะ ตามชายฝั่งทะเลที่เชื่อมติดกับภูเขา หรือรวมอยู่กัน กับหาดทราย ลักษณะที่สำคัญของหาดหินประกอบด้วยหินน้อยใหญ่ อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ระบบนิเวศหาดหินได้รับอิทธิพลโดยตรงจากคลื่น ทำให้เกิดการกัดเซาะของน้ำทะเล ก่อให้ เกิดซอกเล็กซอกน้อยตามโขดหินต่างๆ มากมาย จึงทำให้มีสิ่งมีชีวิตมากมายเข้ามาอาศัย อยู่ และหลบซ่อนตัว หาดขนอม – หมู่เกาะทะเลใต้ ตั้งอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย ซึ่งเป็นเขตที่มีน้ำขึ้นน้ำลงวัน ละหนึ่งครั้ง อิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลมส่งผลต่ออุณหภูมิ และความแห้งแล้งใน ระบบนิเวศหาดหิน ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถ
12
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ สิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็น พวกยึดเกาะกับพื้นผิว ชนิดที่พบมากบริเวณที่มีน้ำขึ้นสูงสุดและเขตน้ำซัดถึง ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ไลเคน (Lichens) และหอยฝาเดียวต่างๆ หลายชนิด เช่น หอยน้ำพริก ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกนี้จะได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำเฉพาะตอนน้ำ ขึ้นสูงสุดเท่านั้น จึงพบสาหร่ายหลายชนิดที่มีการปรับตัวเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ส่วนบริเวณที่อยู่ถัดลงมาเป็นเขตน้ำขึ้นน้ำลง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณนี้ ได้แก่ ปูใบ้ ปูแสมหิน ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ไปหลบซ่อนอยู่ตามซอกหิน หรือคืบคลานไปตามระดับ น้ำเมื่อน้ำลดได้ ส่วนอีกพวกที่เป็นพวกยึดเกาะ ได้แก่ เพรียงหิน หอยนางรม หอยแมลงภู่ ลิ้นทะเล สัตว์พวกนี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้จึงต้องมีเปลือกหนาปิดได้สนิท เพื่อป้องกันการ สูญเสียน้ำในร่างกายเมื่อเวลาน้ำลง อีกทั้งยังต้องปรับตัวให้โครงสร้างแบนราบ เพื่อลดแรง ปะทะจากคลื่นลม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายทะเลที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิและความเค็มได้ดี เช่น สาหร่ายสีน้ำตาลสกุล Padina sp. เป็นต้น บริเวณนี้ ยังมีซอกหรือแอ่งที่เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นลม เมื่อเวลาน้ำลงจะมีน้ำขังอยู่ตามซอก หรือแอ่งต่างๆ เรียกว่า แอ่งน้ำขึ้นน้ำลง (Tide pool) พืชและสัตว์ทะเลที่ชอบอาศัยอยู่ใน แอ่งน้ำนี้ ได้แก่ ดอกไม้ทะเล หอยขี้นก สาหร่ายบางชนิด และเพรียงหิน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ปรับตัวได้ดีมากในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงขึ้น ออกซิเจนลดน้อยลงและความเค็มเพิ่ม ขึ้น บริเวณสุดท้ายของหาดหิน คือเขตน้ำลงต่ำสุด บริเวณนี้มีแสงน้อยมาก จึงพบสาหร่าย สีแดงเป็นส่วนใหญ่
ระบบนิเวศหาดทราย (Sandy beach)
หาดขนอม – หมู่เกาะทะเลใต้ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแต่มี หาดทรายที่สวยงามโดดเด่น นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่น่าดึงดูดใจ และ เป็นแหล่งทำการประมงที่ดีแห่งหนึ่งในภาคใต้แล้ว หาดทรายที่นี่ยังมีความน่าสนใจทาง ระบบนิเวศอีกด้วย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพค่อนข้าง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
13
รุนแรงจากอิทธิพลของคลื่น การ ขึ้นลงของน้ำทะเล อุณหภูมิ และ ความเข้มของแสงแดด เป็นต้น คลื่นมีผลต่อขนาดของ ดินตะกอน ลักษณะของพื้นทะเล ความคงที่อยู่ตัวของหาด ปริมาณ ออกซิเจนและอินทรีย์สาร ดังเช่น หาดทรายจะประกอบด้วยขนาด ของเม็ดทรายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ กับคลื่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และฤดูกาล โดยในบริเวณที่เปิดรับคลื่นลม หรือช่วงฤดู มรสุม ตะกอนทรายจะมีขนาดใหญ่ ความลาดชันของหาดมาก ปริมาณออกซิเจนละลายใน น้ำมาก ปริมาณอินทรีย์สารน้อย ส่วนในบริเวณที่อับคลื่นลม หรือในช่วงฤดูที่คลื่นลมสงบ ตะกอนทรายจะมีขนาดเล็ก ความลาดชันของหาดน้อย ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำน้อย ปริมาณอินทรีย์สารมาก หากเดินเล่นไปตามหาดทราย จะสังเกตเห็นว่าบริเวณดังกล่าวพบชนิดของสิ่งมี ชีวิตไม่มากนัก แต่จะพบในปริมาณมาก สัตว์พวกที่สามารถฝังตัว หรือขุดรูอยู่ในทรายเพื่อ หลีกเลี่ยงความแห้งแล้งในช่วงเวลาน้ำลงได้ ได้แก่ หอยเสียบ หอยทับทิม ปูหนุมาน เป็นต้น นอกจากนี้จะพบปูลม ซึ่งปรับตัวให้มีขนาดเล็กเพื่อต้านกับทรายที่ถูกคลื่นซัดเป็น ประจำ ปรับตัวให้ช่องเหงือกมีขนาดใหญ่เพื่อถ่ายเทอากาศได้อีกด้วย บริเวณหาดทรายจะ พบสาหร่ายไม่มากนัก เนื่องจากมีพื้นผิวให้ยึดเกาะน้อย และทนต่อความแห้งแล้งในช่วง น้ำลงตอนกลางวันไม่ได้
ระบบนิเวศปะการัง (Coral ecosystem)
แนวปะการังเป็นเหมือนเมืองใต้น้ำ มีสีสันสดใสสวยงาม และยังเป็นบ้านของพืช และสัตว์ทะเลมากมายหลากหลายชนิด ในแนวปะการังสามารถพบสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ เกือบครบทุกกลุ่ม ตั้งแต่ปลา กุ้ง ปู หมึก หอย ทาก หนอน ปลิง ปลาดาว หรือแม้แต่เต่า
14
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
และงูทะเล แต่กลุ่มที่มีความสำคัญในแนวปะการัง คือ สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังที่ยึด ติดอยู่กับพื้นทะเลอย่าง ปะการังแข็ง ปะการังอ่อน กัลปังหา ฟองน้ำ ไปจนถึงพวกสาหร่าย ราทะเลและแบคทีเรีย จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบนิเวศแนวปะการังจะเป็นระบบนิเวศที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพและมีความสลับซับซ้อนมากที่สุดระบบนิเวศหนึ่งในโลกที เดียว แนวปะการังในประเทศไทยพบตามชายฝั่งทะเลและชายฝั่งของเกาะต่างๆ ทั้งใน ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน แนวปะการังของหมู่เกาะทะเลใต้เป็นลักษณะแนวปะการัง ริมฝั่ง (Fringing reef) เหมือนกับแนวปะการังอื่นในอ่าวไทย คือ มีลักษณะการเกิดแนว ปะการังจากการที่ปะการังแข็ง (Scleractinian) เจริญเติบโตทับถมสร้างเป็นโครงสร้างของ แนวปะการังอยู่ริมชายฝั่งหรือรอบเกาะ ตามชายฝั่งเกาะทุกเกาะในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้จะพบแนวปะการังไม่มากก็ น้อย นอกจากนั้นยังพบปะการังเจริญเติบโตอยู่บริเวณกองหินใต้น้ำ ได้แก่ หินร้านเป็ด และหินน้ำลาย แนวปะการังของหมู่เกาะทะเลใต้ก่อตัวลงไปในทะเลตามชายฝั่ง มีความลึกสูงสุด เฉลี่ยประมาณ 5 เมตร แนวตื้นด้านบนที่ต่อลงมาจากชายหาด หรือที่เรียกว่าเขตตอนใน (Reef flat) นั้นมีความกว้างแตกต่างกันไปในแต่ละเกาะ ในเขตนี้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นซาก ปะการัง สาหร่าย และพื้นทราย มีปะการังมีชีวิตเติบโตอยู่บ้างกระจัดกระจาย แต่ก็ยังเป็น ลักษณะที่เหมาะสมกับสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด เช่น กลุ่มปลาบู่ที่ขุดรูอยู่ในพื้นทราย ปลิง ดำที่ชอบอยู่กับพื้นทรายในบริเวณตื้นๆ เมื่อขยับลงไปในช่วงความลึกมากขึ้นประมาณ 3 เมตร จะเริ่มเห็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแนวปะการังมากขึ้น เป็น เพราะมี ซ อกหลื บ และลั ก ษณะที ่ ซ ั บ ซ้ อ นมากขึ ้ น ทำให้ เ กิ ด เป็ น แหล่ ง ที ่ อ ยู่ อ าศั ย ย่ อ ย (Microhabitat) มากมาย กลายเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตจำนวนมหาศาล ระบบนิเวศแนวปะการังริมฝั่งในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้อาจไม่เหมือนกับแนว ปะการังที่อ่านพบตามหนังสือหรือสารานุกรมทั่วไป ที่มักกล่าวว่า แนวปะการังพบอยู่ใน บริเวณที่มีธาตุอาหารน้อยมากและน้ำใสสีคราม เนื่องจากแนวปะการังของหมู่เกาะทะเลใต้ ได้รับอิทธิพลจากแผ่นดินใหญ่และจากเกาะใหญ่ใกล้เคียงต่างๆ ทั้งจากน้ำจืด ตะกอน ธาตุ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
อาหารที่ไหลตามน้ำจากแผ่นดินลงสู่ทะเล ทำให้น้ำทะเลบริเวณแนวปะการังของหมู่เกาะ ทะเลใต้มีสีค่อนไปทางสีเขียว และมีความขุ่นค่อนข้างสูง แม้ว่าจะลดความสวยงามไปบ้าง แต่ทำให้ทะเลแถบนี้มีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก เห็นได้จากการเป็นที่รวมของระบบนิเวศ ชายฝั่งเกือบทุกประเภท ทั้งหญ้าทะเล ป่าชายเลน หาดทราย หาดเลน ซึ่งระบบนิเวศต่างๆ เหล่านี้จะเชื่อมโยงถึงกัน เช่น ปลาบางชนิดมีอาศัยอยู่ในแนวหญ้าทะเลหรือป่าชายเลน เมื่อ โตเต็มวัยก็ย้ายมาอาศัยอยู่ในแนวขอบปะการังเพื่อหาอาหาร จะเห็นว่าระบบนิเวศแนวปะการังไม่ได้มีความสลับซับซ้อนเพียงแค่ในระบบของ มันเองเท่านั้น แต่มีความซับซ้อนต่อเนื่องเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ในท้องทะเลหมู่เกาะทะเล ใต้ นักวิจัยทุกคนกำลังช่วยกันต่อเติมความรู้ความเข้าใจจากมุมต่างๆ เพื่อให้องค์ความรู้ รวมของหมู่เกาะทะเลใต้สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทะเลเปิด (Open sea)
เมื่อพูดถึงทะเล มักนึกถึงภาพหาดทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีฟ้าใส สวยงาม แนวปะการังอันอุดมสมบูรณ์ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตแปลกใหม่นานาชนิด น้อยคนนักที่จะ นึกถึงท้องทะเลเปิดที่ดูสงบนิ่ง ไกลออกไปจากชายฝั่ง ทั้งๆ ที่ท้องทะเลส่วนนี้มีความ สำคัญและน่าสนใจไม่แพ้ชายหาดหรือแนวปะการัง ทะเลเปิดคือพื้นที่ของท้องทะเลหรือ มหาสมุทรส่วนที่ไม่รวมชายฝั่งและเขตน่านน้ำเศรษฐกิจ จึงเป็นบริเวณที่เรียกว่าน่านน้ำ สากล ซึ่งเปิดให้ทุกคนทุกประเทศได้ใช้ประโยชน์ ห้วงน้ำของท้องทะเลเปิดนั้นเปรียบ เสมือนที่ประลองความแข็งแกร่งของสิ่งมีชีวิต เพราะพื้นที่แห่งนี้จะไม่มีซอกเล็กซอกน้อย ให้หลบพักพิงเหมือนในแนวปะการัง ไม่มีเกราะกำบังเหมือนบ้านแสนสบายภายใต้สุมราก ไม้เหมือนในป่าชายเลน แต่จะมีแค่ความว่างเปล่าเท่านั้นที่คั่นระหว่างศัตรูกับตัวเอง ดังนั้น สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอดในพื้นท้องน้ำนี้ได้จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ในการดำรงชีวิต บางชนิดจึง เลือกที่จะอยู่กันเป็นฝูงเพื่อลดโอกาสถูกจับกินลง บางชนิดเลือกที่จะสร้างเกราะขึ้นมา เช่น เต่า หรือ ปลาที่มีหนังหนาๆ เช่น ปลาพระอาทิตย์ Mola mola (Ocean sunfish) ซึ่งมี หนังหนาถึง 3 นิ้ว อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่ได้เลือกที่จะมาอยู่ในทะเลเปิด เพียง แต่ว่าไม่มีความสามารถในการว่ายทวนกระแสน้ำ จึงได้แต่ล่องลอยไปมา เช่น แพลงก์ตอน
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กะพรุน เป็นต้น สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ดูเสมือน ว่ า ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองไม่ ไ ด้ ดั ง เช่ น แพลงก์ตอน กลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้ท้องทะเลดำรงอยู่ได้ เพราะเป็น ต้นกำเนิดอาหารให้กับสัตว์น้อยใหญ่ ที ่ ด ำรงชี ว ิ ต อยู่ ใ นท้ อ งทะเล จาก แพลงก์ตอนพืชขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ บริเวณผิวน้ำ ถูกแพลงก์ตอนสัตว์ล่า จับกิน แพลงก์ตอนสัตว์ถูกปลาหรือสัตว์ทะเลเล็กๆ จับกินเช่นกัน แล้วปลาเล็กก็กลายเป็น อาหารของปลาขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ กลายเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้นมา จากการที่แสงไม่ สามารถส่องผ่านท้องทะเลลงไปได้ลึก เราจึงมักจะพบแพลงก์ตอนพืชอยู่ใกล้ๆ กับผิวน้ำ ดังนั้นสิ่งมีชิวิตอื่นๆ ที่กินกันเป็นห่วงโซ่ก็มักเลือกอยู่ใกล้ๆ แหล่งอาหารในบริเวณนั้นด้วย แต่ใช่ว่าในส่วนทะเลลึกที่มืดมิดจะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ เลย จากการที่ทุกสิ่งทุกอย่างเสมือน ว่าถูกชะล้างลงสู่ทะเล นั่นหมายความว่า ธาตุอาหารต่างๆ รวมทั้งซากสัตว์น้ำที่ตายก็จะ ค่อยๆ ร่วงหล่นและสะสมอยู่ที่พื้นก้นมหาสมุทรในท้องทะเลลึก ในบางครั้งแพลงก์ตอน ขนาดเล็กที่ตายตกลงมานั้นมีจำนวนมหาศาลมาก จึงทำให้เห็นปรากฏการณ์คล้ายกับหิมะ ตกใต้ท้องทะเล ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าภายใต้ท้องทะเลลึกก้นมหาสมุทรจะมีธาตุอาหาร อยู่มากเพียงพอที่จะทำให้มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน ส่วนทะเลลึกนี่เองที่มนุษย์มีความรู้น้อยมาก เนื่องจากมหาสมุทรมีพื้นที่ถึง 360 ล้านตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 กิโลเมตร ดังนั้นบริเวณที่จะต้องทำการสำรวจ รวมกันแล้วจึงมีปริมาณมาก ประกอบกับความยากลำบากที่จะลงไปตรวจสอบเนื่องจาก แรงดันของน้ำอันมหาศาลถึง 16,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือทุกๆ 1 ตารางนิ้ว จะมีน้ำ หนักของช้างตัวโตๆ กดลงมานั่นเอง จากความที่ไม่ค่อยรู้นี่เองทำให้มนุษย์รู้สึกว่าทะเลเก็บงำความลับ และรอคอยให้ แปลกใจได้เสมอ ดังเช่น ปลาซีลาแคนธ์ ซึ่งเคยคิดว่าสูญพันธุ์ไป 65 ล้านปีแล้ว ภายหลัง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
พบว่ายังมีชีวิตอยู่ในท้องทะเลลึก ทะเลเปิ ด ในความรู ้ ส ึ ก ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยนั้น ค่อนข้างสงบ ซึ่งจะขัดกับคำเปรียบ เปรยทะเลที่ผันแปรตลอดเวลา ไม่ ว่ า จะเป็ น คลื ่ น ลม ฝนฟ้ า คะนอง หรือพายุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่พายุที่รุนแรงที่สุดก็ไม่ค่อยมี ผลอะไรมากนักกับสิ่งมีชีวิตในทะเล เปิด ยิ่งเปรียบเทียบพื้นที่กับจำนวนสิ่งมีชีวิตอันมหาศาลแล้วยิ่งรู้สึกว่าผลกระทบนั้นยิ่ง น้อยลงไปอีก ประกอบกับทะเลเปิดนั้นส่วนใหญ่มีความลึกมากเฉลี่ยประมาณ 3,700 เมตร ดังนั้น เมื่อเทียบความลึกกับคลื่นพายุนั้นเปรียบได้กับการสั่นสะเทือนเล็กๆ บนผิวเท่านั้น แม้แต่คลื่นสึนามิเวลาวิ่งผ่านทะเลเปิด เรือที่แล่นอยู่แทบจะไม่มีความรู้สึกแตกต่างจาก คลื่นปกติ อย่างไรก็ตามใช่ว่าพายุจะไม่มีผลกับทะเลเสียเลย เพียงแต่ว่าจะมีผลมากกับ ระบบนิเวศชายฝั่งหรือแนวปะการังมากกว่า และมักจะสร้างความเสียหายอย่างมากทีเดียว อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยล่าสุด นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อพายุพัดผ่านแนวปะการัง พายุ จะช่วยทำให้อุณหภูมิของน้ำลดลง ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาปัญหาปะการังฟอกขาว จาก อุณหภูมิของน้ำสูงเกินไป ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปะการังตายเป็นจำนวนมากและ สามารถสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศแนวปะการังได้มากกว่าพายุเสียอีก นอกจากนี้ ปัจจัยความอุดมสมบูรณ์ของทะเลเปิดถูกควบคุมด้วยกระแสน้ำเป็น หลั ก มั ก แบ่ ง กระแสน้ ำ เป็ น กระแสน้ ำ อุ ่ น และกระแสน้ ำ เย็ น ซึ ่ ง หลายๆ คน คงมี ประสบการณ์ตอนไปเล่นน้ำทะเล แล้วบางครั้งจะรู้สึกได้ว่าขณะเล่นน้ำอยู่บางช่วงจะเสมือน มีกระแสความเย็นผ่านบริเวณขา นั่นคือ ความแตกต่างของอุณหภูมิก่อให้เกิดเป็นกระแส น้ำเล็กๆ นั่นเอง กระแสน้ำนั้นมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีทั้งที่เกิดขึ้นแล้วก็หายไป มีทั้งที่ พยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้ ทั้งที่อยู่ประจำหรือมาประจำและพยากรณ์ล่วงหน้าได้ กระแสน้ำ เกิดได้จากแรงหลายแรง ได้แก่ แรงลม แรงที่เกิดจากโลกหมุนตัว แรงดึงดูดจากดวง
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
จันทร์ ความต่างกันของอุณหภูมิ และความเข้มข้นของน้ำทะเล เหล่านี้รวมกันทำให้เกิด เป็นกระแสน้ำใหญ่น้อยทั่วมหาสมุทร ดังนั้น การที่จะเข้าใจความเป็นไปของระบบนิเวศ และการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในท้องทะเลนั้น จำเป็นจะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงและ การดำรงอยู่ของกระแสน้ำเหล่านี้ มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำมานานแล้ว โดยเฉพาะในการเดินเรือ ตั้งแต่ ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เพราะการที่วิ่งเรือตามกระแสน้ำนั้นจะช่วยประหยัดเชื้อ เพลิงได้เป็นอย่างดี นอกจากกระแสน้ำจะมีประโยชน์ในแง่การเดินทางแล้วก็ยังมีประโยชน์ ในแง่การประมง โดยเฉพาะกระแสน้ำเย็นที่มักจะพัดพาสารอาหารอันมหาศาลจากทะเลลึก ขึ้นมายังบริเวณผิวน้ำ หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์น้ำผุด (Upwelling) จากปริมาณสาร อาหารนี้เอง ทำให้บริเวณที่มีน้ำผุดอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสิ่งมีชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปลา หมึกทะเล และสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกับกระแสน้ำ เย็นพบกันก็ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสารอาหารมากมายเช่นกัน เมื่อกล่าวถึงทะเล สิ่งแรกๆ ที่นึกถึง คือ ภาพของชายหาดสีขาวกับน้ำทะเลสีฟ้า ใสสวยงาม รวมถึงแนวปะการังและสรรพชีวิตนานาชนิด แต่บัดนี้หลายท่านคงมีภาพของ ทะเลเปิดที่ดูสงบเงียบ ทว่าคงความลึกลับให้แสวงหาไปอีกแสนนาน
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
20
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจ หมู่เกาะทะเลใต้
ระบบนิเวศหาดหิน ภาพ : เรืองฤทธิ์ พรหมดำ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
21
ราทะเล
ราทะเล ราทะเล โดยทั่วไปหมายถึงราชั้นสูงที่เส้นใยมีผนังกั้น มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ สามารถเจริญเติบโต สร้างเส้นใยและสืบพันธุ์ภายใต้สภาวะที่มีความเค็มได้ตลอดเวลา รา ทะเลจึงถูกจัดกลุ่มโดยยึดหลักของการปรับตัวอยู่ในระบบนิเวศทางทะเล และสรีรวิทยา ของการทนสภาวะความเค็มสูง ราทะเลเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่นกว่า รากลุ่มอื่นๆ คือมีแวคคิวโอลที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่า มีการสังเคราะห์สารประกอบบาง อย่างขึ้นเพื่อป้องกันเอนไซม์ถูกทำลายในสภาวะความเค็มสูงๆ ราทะเลประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของการสืบพันธุ์ คือ กลุ่มแอสโคไมโคตา (Ascomycota) กลุ่ม เบสิดิโอไมโคตา (Basidiomycota) ที่สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ และกลุ่มที่สืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศ (Anamorphic fungi) โดยพบราแอสโคไมโคตาในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ ประมาณร้อยละ 80 สปอร์ที่ใช้ในการแพร่พันธุ์ส่วนใหญ่มีรูปร่างแปลกตาสวยงาม อาจ มีรยางค์หรือเมือกหุ้มรอบตัว เพื่อช่วยในการยึดเกาะกับพื้นผิวในแหล่งน้ำเค็มได้ดียิ่งขึ้น มี รายงานว่าราทะเลทั่วโลกมีอยู่ประมาณกว่า 550 ชนิด ขณะที่การสำรวจราทะเลในประเทศ ไทยพบว่ามีอยู่ประมาณ 160 ชนิด ประเทศไทยมีความหลากหลายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติของระบบนิเวศทาง ทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าชายเลน ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร แหล่ง อนุบาลของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การเสียสมดุลของ ระบบนิเวศจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังคุกคามทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ตลอดระยะ เวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยได้สำรวจป่าชายเลน บริเวณคลองขนอม ที่ทำการ อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ และอ่าวตกที่เกาะแตน พบว่าป่าชายเลนใน บริเวณนี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า ป่าโกงกาง แต่จริงๆ
22
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ราทะเล
แล้วมีพันธุ์ไม้ปกคลุมอยู่หลายชนิด ไม่ใช่เฉพาะเพียงต้นโกงกางเท่านั้น มีทั้งโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ แสมขาว ลำพู จาก แต่ที่เป็นชนิดเด่นคือ ต้นตะบูน ครั้งแรกที่ไปสำรวจ บังเอิญสะดุดตากับลักษณะผิดปรกติบางอย่างบนต้นตะบูนเข้าโดยบังเอิญ คือ เกือบทุกต้น มีร่องรอยผุพังคล้ายอาการเน่าสีดำขนาดใหญ่บริเวณโคนและแกนลำต้น สอบถามชาวบ้าน ก็ได้ความว่าต้นตะบูนเหล่านี้ มักมีอาการเช่นนี้เมื่อโตเต็มที่และมักตายไปในที่สุด โดยชาว บ้านเองไม่ทราบว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญจึงทราบว่าอาการเช่น นี้น่าจะเป็นโรคโคนหรือแกนลำต้นเน่า (butt/heart rot) ซึ่งไม่ได้เกิดจากราทะเลแต่อย่าง ใด แต่เป็นกลุ่มราบนบกจำพวกเห็ดหรือกลุ่มเบสิดิโอไมโคตาสกุล Phellinus sp. ที่น่าจะ เป็นสาเหตุของโรค ซึ่งราสกุลนี้เป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากยังไม่เคยมีใครพบและมี รายงานทางวิชาการอีกเลยหลังจากการรายงานครั้งแรกเมื่อกว่า 70 ปีก่อน อีกทั้งปัจจุบันก็ ยังไม่มีข้อมูลการบันทึกลักษณะสัณฐานวิทยา ภาพวาด ภาพถ่าย หรือแม้กระทั่งข้อมูลทาง ชีวโมเลกุลที่จะบ่งบอกสายสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการใดๆ ดังนั้นนี่ก็อาจเป็นอีกโจทย์หนึ่งที่ เกิดจากความบังเอิญ และน่าสนใจที่จะนำมาวิจัย การสำรวจราทะเลที่หมู่เกาะทะเลใต้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งจำนวนและความ หลากหลายของชนิด ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปี พบราทะเลทั้งสิ้น 106 สายพันธุ์ โดยจัด จำแนกเป็นกลุ่มแอสโคไมโคตาได้มากที่สุด 84 สายพันธุ์ กลุ่มเบสิดิโอไมโคตา 2 สายพันธุ์ และกลุ่มที่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 20 สายพันธุ์ โดยยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่กำลังอยู่ใน ระหว่างการระบุบ่งชี้ชนิด อีกทั้งพบราที่จัดว่าพบครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย 3 สกุล ได้แก่ Swampomyces aegyptiacus, Lindra thallasiae และ Varicosporina prolifica โดย 2 ชนิดหลังนี้พบจำนวนมากและบ่อยบนซากหญ้าทะเลที่เกาะแตน ในแง่ ความหลากหลายของชนิดราทะเล ที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวตกของเกาะแตนมีความหลาก หลายสูงกว่าแหล่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ถึงแม้จะเป็นการสำรวจเพียงแค่ 4 จุด แต่นี่ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น หากได้เก็บตัวอย่างในครั้งต่อไปซ้ำอีก และอาจเพิ่มพื้นที่วิจัยจุดอื่นๆ ให้มากขึ้น น่าจะพบชนิดของราทะเลมากขึ้นเช่นกัน ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
23
ราทะเล
การนำทรัพยากรที่สำรวจได้ไปใช้ประโยชน์นับเป็นสิ่งสำคัญที่ควรแก่การต่อยอด เป็นอย่างยิ่ง จากพื้นฐานองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คณะผู้วิจัยได้แยก และเก็บรักษาราต่างๆ เหล่านี้ไว้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ ณ ห้องปฏิบัติการเก็บรักษาสายพันธุ์ จุลินทรีย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จำนวนทั้งสิ้นกว่า 120 ไอโซเลท จากประมาณ 54 สายพันธุ์ และกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบเบื้องต้น เพื่อ ค้นหาราที่อาจมีคุณสมบัติสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ เนื่องจากปัจจุบันทางการ แพทย์ทั่วโลกประสบปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการรักษาเป็นอย่างมาก จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องแสวงหายาต้านจุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆ มาใช้ทดแทนยาเดิมที่ใช้รักษาไม่ ได้ผล ราทะเลมีความสามารถพิเศษในการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและสารที่มี โครงสร้างทางเคมีใหม่ๆ มากมาย ที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำไปพัฒนาเป็นยาต้าน จุลินทรีย์ในอนาคตได้ จากรายงานการวิจัยหลายชิ้นมีการพบสารโครงสร้างใหม่ๆ และสาร ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากราทะเลประมาณกว่า 150 ชนิด ตัวอย่างการค้นพบของนักวิจัย ไบโอเทค ที่ค้นคว้าหาสารโครงสร้างใหม่ๆ จากราทะเลที่ชื่อ Aigialus parvus ผลิตสารที่ มีคุณสมบัติต้านเชื้อมาลาเรียได้ และราที่ชื่อ Halorosellinia oceanicum ที่มีคุณสมบัติ ต้านเชื้อวัณโรค ปัจจุบันปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์มีมากขึ้น เป็นปัญหา ใหญ่ที่กำลังคุกคามทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล คณะผู้วิจัยจึงเร่งสำรวจและค้นหาราทะเล สายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศ อัน จะนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ด้านการตรวจหาการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อาจมี ประโยชน์ อีกทั้งองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับราวิทยาอาจนำไปสู่การติดตามการตรวจสอบ ระบบนิเวศระยะยาว เพื่อเป็นฐานข้อมูลการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่ง ยืน ความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล เกี่ยวพันกับอนาคตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การหาความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับระบบนิเวศนี้ (รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตอย่างราทะเล) จึงเป็น หนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างกลม กลืนและยั่งยืน
24
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ราทะเล
Aigialus grandis Kohlm. & S. Schatz : ชื่อสามัญ – วงศ์ Pleosporaceae, Pleosporales พบทั่วไปบนซากไม้โกงกางและแสม ในบริเวณเกาะแตนและที่ทำการอุทยานฯ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีสปอร์ยาวประมาณ 60-70 ไมครอน มีรายงานว่าราในสกุล เดียวกันแต่คนละชนิดที่ชื่อ Aigialus parvus สามารถผลิตสารโครงสร้างใหม่ที่มีฤทธิ์ ต้านเชื้อมาลาเรียได้ ราชนิดนี้จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะตรวจสอบหาสารชนิดดังกล่าวด้วยเช่น กัน
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
2
ราทะเล
Cucullosporella mangrovei (K.D. Hyde & E.B.G. Jones) K.D. Hyde & E.B.G. Jones : ชื่อสามัญ วงศ์ Halosphaeriaceae, Halosphaeriales พบทั ่ ว ไปบนซากไม้ โ กงกางและแสมที ่ เ กาะแตน น่ า สนใจในแง่ ข องการหา ตำแหน่งทางอนุกรมวิธานโดยใช้ลำดับเบสดีเอ็นเอ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สปอร์ยาว 5060 ไมครอน สปอร์ยาวรี มีลักษณะพิเศษตรงที่มีรยางค์คล้ายเส้นด้ายปล่อยออกมาจาก ปลายทั้งสองข้างของสปอร์ ช่วยให้สามารถยึดเกาะและแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำได้ดี
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ราทะเล
Halocyphina villosa Kohlm. & E. Kohlm. : ชื่อสามัญ วงศ์ Cyphellaceae, Basidiomycota เป็นกลุ่มเบสิดิโอไมโคตาหรือกลุ่มเห็ดนั่นเอง พบบนซากไม้ในป่าชายเลนทุก ชนิด ทั้งที่เกาะแตนและที่ทำการอุทยานฯ ราชนิดนี้น่าสนใจมากเนื่องจากมีรายงานว่า สามารถผลิตสารเคมีโครงสร้างใหม่ที่ชื่อ Siccayne ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นสารปฏิชีวนะ
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
2
ราทะเล
Helicascus kanaloanus Kohlm. : ชื่อสามัญ – วงศ์ Pleosporaceae, Pleosporales พบทั่วไปบนซากไม้โกงกาง แสม และตะบูน ในบริเวณเกาะแตนและที่ทำการ อุทยานฯ ราชนิดนี้น่าสนใจมาก เนื่องจากมีรายงานว่าผลิตสารเคมีโครงสร้างใหม่ที่ชื่อ Helicascolides มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สปอร์ยาวประมาณ 90 ไมครอน
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ราทะเล
Lindra thallasiae Orpurt, Meyers, Boral & Simms ชื่อสามัญ วงศ์ Lulworthiaceae, Lulworthiales พบบ่อยบนสาหร่ายและหญ้าทะเลโดยเฉพาะที่เกาะแตน ถือเป็นรายงานครั้งแรก ในประเทศไทย ราชนิดนี้น่าสนใจในแง่การใช้ลำดับเบสดีเอ็นเอหาตำแหน่งทางอนุกรม วิธานอีกด้วย มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สปอร์รูปร่างยาวรีคล้ายเส้นด้ายยาว 80-100 ไมครอน แพร่พันธุ์โดยปล่อยสปอร์จำนวนมากออกมาจากถุงเก็บสปอร์
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
2
ราทะเล
Massarina velatospora K.D. Hyde & Borse ชื่อสามัญ – วงศ์ Pleosporaceae, Pleosporales พบทั่วไปบนซากไม้โกงกาง แสม และตะบูน ทั้งที่เกาะแตนและที่ทำการอุทยานฯ น่าสนใจในแง่ของการหาตำแหน่งทางอนุกรมวิธานและทดสอบหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และสารโครงสร้างใหม่ๆ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สปอร์ยาว 40-50 ไมครอน สปอร์มี ลักษณะพิเศษตรงที่มีเมือกเหนียวหุ้มรอบเซล ช่วยให้สามารถยึดเกาะและแพร่พันธุ์ใน แหล่งน้ำได้
30
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ราทะเล
Saagaromyces glitra (J.L. Crane & Shearer) K.L. Pang & E.B.G. Jones ชื่อสามัญ วงศ์ Halosphaeriaceae, Halosphaeriales พบทั่วไปบนซากไม้โกงกางและแสม ในบริเวณเกาะแตนและที่ทำการอุทยานฯ น่าสนใจในแง่ของการหาตำแหน่งทางอนุกรมวิธานด้วยลำดับเบสดีเอ็นเอ ราสกุลนี้สืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ สปอร์ยาว 35-45 ไมครอน สปอร์มีเม็ดไขมันสะสมบริเวณตรงกลางเซล เป็นจำนวนมาก และสามารถใช้ลักษณะนี้ในการระบุชนิดได้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
31
ราทะเล
Swampomyces aegyptiacus Abdel-Wahab, El-Shar. & E.B.G. Jones : ชื่อสามัญ – วงศ์ Hypocreomycetidae พบครั้งแรกบนไม้ในทะเลที่ประเทศอียิปต์ และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพบบนซากไม้แสมที่เกาะแตน อีกทั้งยัง เป็นที่สนใจศึกษาในแง่ของการหาตำแหน่งทางอนุกรมวิธานด้วยลำดับเบสดีเอ็นเอ ราสกุลนี้ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีสปอร์ขนาดยาวประมาณ 20 ไมครอน
32
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ราทะเล
Torpedospora radiata Meyers : ชื่อสามัญ วงศ์ Hypocreomycetidae พบทั่วไปบนซากไม้ สาหร่าย และหญ้าทะเลที่เกาะแตน น่าสนใจในแง่ของการหา ตำแหน่งทางอนุกรมวิธานโดยใช้ลำดับเบสดีเอ็นเอ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สปอร์ยาว 30 ไมครอน สปอร์ยาวรี มีลักษณะพิเศษตรงที่มีรยางค์ที่ปลายด้านหนึ่งของสปอร์ ช่วยให้ สามารถยึดเกาะและแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำได้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
33
แพลงก์ตอน
แพลงก์ตอน Plankton เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก πλανκτοζ (Planktons) มีความหมายว่า ผู้พเนจร (Wanderers) หรือ ผู้ล่องลอย (Drifters) ถึงแม้ว่าแพลงก์ตอน หลายชนิดจะสามารถเคลื่อนไหวได้บ้างในมวลน้ำและสามารถเคลื่อนที่ในแนวดิ่งได้หลาย ร้อยเมตร แต่นั่นไม่ใช่การเคลื่อนไหวโดยอิสระ เพราะเป็นการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำเป็น หลัก สิ่งมีชีวิตที่ถูกจัดให้มีการดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนจึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีแรง ต้านกระแสน้ำหรือมีแรงต้านกระแสน้ำได้น้อย แต่ใช่ว่าแพลงก์ตอนทั้งหมดจะดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนไปตลอดชีวิต มีแพลงก์ ตอนบางส่วนที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนแค่บางช่วงของชีวิตเท่านั้น (Meroplankton) เช่น ดาวทะเล ไส้เดือนทะเล และพวกกุ้ง ปู ปลา ที่ตอนเล็กๆ ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอน แต่ พอโตขึ้น มีอวัยวะแข็งแรงขึ้น ว่ายน้ำได้แล้วไม่ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนอีกต่อไป ส่วน พวกที่เกิดมาเพื่อที่จะเป็นแพลงก์ตอนไปตลอดชีวิต (Haloplankton) ที่รู้จักกันดี เช่น พวกสาหร่ายขนาดเล็ก กะพรุน กุ้ง เคย และที่ชื่อไม่ค่อยคุ้น เช่น โคพีพอด แอมฟิพอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งแพลงก์ตอนได้อีกหลายแบบ เช่น อาจจัดแบ่งเป็น แพลงก์ตอนพืชกับแพลงก์ตอนสัตว์ หรือแพลงก์ตอนน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม เป็นต้น การที่แพลงก์ตอนส่วนใหญ่มักมีขนาดเล็กมากทำให้มีโอกาสที่จะมองเห็นสิ่งมี ชีวิตกลุ่มนี้ได้น้อย แต่นั่นเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ หากไม่ใส่ความตั้งใจที่จะ มองหา จะไม่สามารถมองเห็นได้
34
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แพลงก์ตอน
หากบนแผ่นดินมีต้นไม้เป็นแม่ครัวใหญ่ ในท้องทะเลจะมีแพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน แพลงก์ตอนกลุ่มนี้สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เหมือนกับพืช คือมีคลอโรฟิลล์ที่ช่วยดูดจับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาช่วยในการเปลี่ยน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารอาหารอื่นๆ ให้ไปอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ สามารถนำไปใช้ได้ 2 ใน 3 ของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เกิดจากแม่ครัวใหญ่แห่งท้องทะเล ซึ่งสามารถผลิตอาหารได้มากถึง 80160 ล้านล้านตัน แพลงก์ตอนบางกลุ่มไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ แต่ได้พลังงานจากการกิน แพลงก์ตอนพืชหรือแพลงก์ตอนสัตว์อื่นๆ การกินแพลงก์ตอนพืชจะทำให้แพลงก์ตอนตัว นั้นช่วยเป็นตัวกลางในการนำพลังงานที่แพลงก์ตอนพืชผลิตขึ้นเข้าสู่ตัวเขาแล้วพอมีสัตว์น้ำ อื่นๆ มากิน พลังงานนั้นก็จะถูกถ่ายทอดไปเรื่อยๆ เป็นห่วงโซ่ ดังนั้นลองคิดดูว่า ถ้าห่วงโซ่ นี้ถูกทำลาย ไม่มีแม่ครัว ไม่มีตัวกลางนำพาพลังงานมาให้ อะไรจะเกิดขึ้นกับนักกิน (ที่ สร้างอาหารเองไม่ได้) ในลำดับต่อๆ มา นอกจากนี้น้อยคนนักจะทราบว่าแหล่งคาร์บอนมากมายในทะเลเกิดจากแพลงก์ ตอนโดยกระบวนการสั ง เคราะห์ แ สงของแม่ ค รั ว ใหญ่ ท ี ่ ก ล่ า วไปแล้ ว คาร์ บ อนจาก กระบวนการสังเคราะห์แสงจะผ่านเข้าสู่สายใยอาหารโดยนักกินและผู้ช่วยในการหมุนเวียน สารอาหารชั้นดีอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ หลังจากนั้นคาร์บอนจะถูกส่งผ่านไปสู่กระบวนการ หายใจหรือสะสมในรูปของมวลชีวภาพหรือผ่านกระบวนการย่อยสลาย ซึ่งไม่ว่าคาร์บอน จะถูกสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตหรืออยู่ในรูปที่ถูกย่อยสลายเป็นอินทรีย์สาร ท้ายสุดมันก็จะจม ลง สะสมวันแล้ววันเล่าอยูใ่ นก้นมหาสมุทร นัน่ เป็นอีกเหตุผลหนึง่ ว่าทำไมมหาสมุทรจึงเป็น แหล่งคาร์บอนทีใ่ หญ่ทส่ี ุดอีกแหล่งหนึง่ ในโลกทีน่ ำมาซึง่ พลังงานทีน่ ำมาใช้กนั อยูใ่ นปัจจุบนั ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
แพลงก์ตอน
บางเวลาแพลงก์ตอนจะรวมตัวกันปริมาณมาก ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ การเจริญเติบโต อย่างเช่น ความเข้มแสงเพิ่มขึ้นสูง ความเค็ม และสารอาหารสูงก็จะเกิด ภาวะที่พวกนี้เพิ่มจำนวนเร็วมากกว่าปกติ (Bloom) ซึ่งตอนนั้นจะสามารถเพิ่มจำนวนได้ เป็นล้านๆ เท่าภายในสองสามสัปดาห์เท่านั้น ทำให้สีของน้ำทะเลเริ่มเปลี่ยนไปตามเม็ดสีที่ ใช้ในการดูดจับแสงในตัวแพลงก์ตอนแต่ละชนิด ถ้าเป็นกลุ่มแพลงก์ตอนที่มีเม็ดสีสีเขียว อยู่เยอะก็จะทำให้น้ำดูมีสีเขียวจัดขึ้นกว่าปกติ ถ้าเป็นกลุ่มแพลงก์ตอนที่มีเม็ดสีสีแดงเพิ่ม จำนวนมากๆ ก็จะทำให้น้ำสีครามของทะเลกลายเป็นสีแดงหรืออาจจะเป็นสีอื่นๆ เช่น ชมพู ม่วง ส้ม เหลือง น้ำตาล เป็นต้น แต่เพราะว่าแพลงก์ตอนที่มีเม็ดสีสีแดงพบมากที่สุด จึง เรียกชื่อปรากฏการณ์ที่น้ำเกิดการเปลี่ยนสีนี้ว่า Red Tide นอกจากแพลงก์ตอนจะไปทำให้น้ำเปลี่ยนสีแล้ว ยังมีแพลงก์ตอนหลายชนิดที่ สร้างพิษและทำให้เป็นอันตรายต่อสัตว์ที่มากินมันด้วย ไม่ว่าจะกินโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เช่น พวกกรองกิน (Filter feeders) หรือพวกกินสัตว์ (Carnivores) ในลำดับต่อๆ มา โดยเฉพาะมนุษย์เจอพิษจากแพลงก์ตอนบางชนิดอาจเกิดอาการท้องเสีย (Diarrhetic Shellfish Poisoning, DSP) บ้างก็มีผลต่อระบบประสาท (Neurotoxic Shellfish Poisoning, NSP; Amnesic Shellfish Poisoning, ASP; Ciguatera Fish Poisoning, CFP) หรือถึงกับเป็นอัมพาต (Paralytic Shellfish Poisoning, PSP) แม้ว่าเราจะสามารถพบแพลงก์ตอนได้แทบทุกที่ที่มีน้ำ ทั้งในมหาสมุทร ทะเล และแหล่งน้ำอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะพบแพลงก์ตอนทุกชนิดในทุกที่ การกระจายของแพลงก์ ตอนมีข้อจำกัดเหมือนกัน นอกจากกระแสน้ำแล้ว แสงและปริมาณอาหารยังเป็นปัจจัยอัน ดับต้นๆ ที่ทำให้การกระจายของแพลงก์ตอนในช่วงวันหรือแต่ละฤดูกาลมีความแตกต่าง กัน ที่หมู่เกาะทะเลใต้พบแพลงก์ตอน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
3
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แพลงก์ตอน
(Division Cyanophyta) สาหร่ายสีเขียว (Division Chlorophyta) และกลุ่มไดอะตอม ไดโนแฟลกเจลเลต (Division Chromophyta) โดยกลุ่มหลังพบกระจายอยู่ทั่วไป ที่พบ มากที่สุด มีชนิดและปริมาณมากที่สุด เช่น สกุล Navicula, Nitzchia และ Oscillatoria ซึ่งพบได้บ่อยตลอดทั้งปีในทุกบริเวณ สกุลที่พบหนาแน่น ได้แก่ Chaetoceros หนาแน่น เฉลี่ยถึงกว่า 4 หมื่นเซลต่อลิตร นอกจากนี้ยังพบไดโนแฟลกเจลเลตหลายชนิดที่เคยมีรายงานการทำให้เกิด ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีที่ทะเลอื่นด้วย เช่น Ceratium furca, Ceratium fusus, Ceratium tripos, Gonyaulax spinifera, Lingulodinium polyedrum, Peridiniun quinquecorne และ Prorocentrum micans และยังพบไดโนแฟลกเจลเลตชนิดที่เคยมี รายงานแสดงความเป็ น พิ ษ ที ่ ท ะเลอื ่ น ด้ ว ยเหมื อ นกั น เช่ น Prorocentrum lima, Dinophysis miles และ Dinophysis caudata แต่ที่หมู่เกาะทะเลใต้พบไดโนแฟลกเจล เลตกลุ่มนี้ในความหนาแน่นน้อย อยู่ในช่วง 7-350 เซลต่อลิตรเท่านั้น ยังไม่มากพอจะ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีและยังไม่มากพอที่จะทำให้แสดงความเป็นพิษได้ ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์มีมากมายหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่แพลงก์ตอนชั่วคราว อย่าง ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา และแพลงก์ตอนถาวร โดยที่หมู่เกาะทะเลใต้พบมากถึง 11 ไฟ ลัม โดยไฟลัมที่พบได้บ่อยที่สุด และมีจำนวนชนิดมากที่สุดคือไฟลัมอาร์โทรโพดา พบ แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มนี้มากถึง 24 สกุล จัดอยู่ในกลุ่มโคพีพอดมากที่สุดคือ 19 สกุล เช่น สกุล Oithona และ Euterpina เป็นต้น จัดได้ว่าโคพีพอดเป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มใหญ่ ที่สุดที่หมู่เกาะทะเลใต้ นอกจากนี้ยังพบแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มโปรโตซัวและระยะตัวอ่อน (Nauplius) ของพวกครัสตาเชียนในปริมาณมากตลอดทั้งปีในทุกบริเวณอีกด้วย นับได้ว่า หมู่เกาะทะเลใต้เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของสัตว์น้ำนานาชนิด ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Ceratium furca (Ehrenberg) Claparéde et Lachmann 1858 ชื่อสามัญ กลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลต (Division Chromophyta Class Dinophyceae) เป็นแพลงก์ตอนพืชที่มีรายงานว่าเคยเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีใน แถบฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมากถึง 10 ครั้ง โดยมีความหนาแน่นเซลในขณะ ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีมากกว่า 50,000 เซลต่อลิตร แต่ที่หมู่เกาะทะเลใต้ตรวจนับ ความหนาแน่นเซลของ Ceratium furca ได้เพียง 200-500 เซลต่อลิตรเท่านั้น จึงถือว่ายัง ไม่หนาแน่นมากพอที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ มีรูปร่างเป็นทรงตรงเรียว ยาว ด้านหนึ่งมีลักษณะคล้ายเขา
3
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Ceratium fusus (Ehrenberg) Dujardin 1841 ชื่อสามัญ กลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลต (Division Chromophyta Class Dinophyceae) เป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตที่เป็นสาเหตุหนึ่งของปรากฏการณ์น้ำ ทะเลเปลี่ยนสี พบที่หมู่เกาะทะเลใต้ในช่วงความหนาแน่นเฉลี่ย 100-300 เซลต่อลิตร จึง ยังไม่สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีได้ มีลักษณะยาวเรียว โดยทั่วไปยาว 200-540 ไมโครเมตร กว้าง 5-30 ไมโครเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Chaetoceros lorenzianus Grunow ชื่อสามัญ กลุ่ม ไดอะตอม (Division Chromophyta Class Bacillariophyceae) พบกระจายบริเวณใกล้ชายฝั่งและพบน้อยลงในทะเลลึก เป็นแพลงก์ตอนพืช สกุลที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุดตลอดทั้งปีในทุกบริเวณที่หมู่เกาะทะเลใต้ ความหนา แน่นเซลเฉลี่ยอยู่ในช่วง 30,000-65,000 เซลต่อลิตร เมื่อมองเซลด้านหนึ่งจะเห็น Chaetoceros เป็นรูปสี่เหลี่ยม หากมองอีกด้านก็จะเห็นเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โดยเซล จะมีเส้นขนยาวมุมละ 1 เส้น บางชนิดต่อกันเป็นเส้นสาย บางชนิดไม่มี
40
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Dynophysis caudata Saville-Kent, 1881 ชื่อสามัญ กลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลต (Division Chromophyta Class Dinophyceae) เป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตที่มีเปลือก พบกระจายในเขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน เคยมีรายงานทำให้เกิดความเป็นพิษที่ทะเลบริเวณอื่นเนื่องจากมีความหนา แน่นสูงมาก แต่ที่หมู่เกาะทะเลใต้มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 20-35 เซลต่อลิตร เท่านั้น ซึ่งยังไม่มากพอจะทำให้เกิดความเป็นพิษได้ ลักษณะโดยทั่วไปจะแบนด้านข้าง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
41
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Navicula sp. ชื่อสามัญ กลุ่ม ไดอะตอม (Division Chromophyta Class Bacillariophyceae) เป็นแพลงก์ตอนพืชพบได้ทั่วทุกบริเวณในหมู่เกาะทะเลใต้ตลอดทั้งปี มีความ หนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 800-1,700 เซลต่อลิตร ในภาษาละติน Navicula มีความหมาย ว่า small ship สาเหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะรูปร่างของแพลงก์ตอนพืชสกุลนี้ที่มีลักษณะ คล้ายเรือ Navicula อาจอยู่เป็นเซลเดี่ยวๆ หรือต่อกันเป็นสายก็ได้ นอกจากนี้ลักษณะ ของเปลือกยังสมมาตรทั้งในแนวตั้งและแนวขวา โดยปลายทั้งสองด้านอาจกลมมนหรือ แหลมขึ้นอยู่กับชนิด
42
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Nitzschia longissima (Brébisson) Ralfs, 1861 ชื่อสามัญ กลุ่ม ไดอะตอม (Division Chromophyta Class Bacillariophyceae) สามารถพบได้ทั่วทุกบริเวณในหมู่เกาะทะเลใต้ตลอดทั้งปี มีความหนาแน่นเฉลี่ย อยู่ในช่วง 750-1,300 เซลต่อลิตร เป็นแพลงก์ตอนพืชที่มีลักษณะเซลเรียวยาว โดยปลาย ทั้งสองด้านเรียวแหลมและยาวอย่างชัดเจน ขนาดเซลยาวประมาณ 100-450 ไมโครเมตร กว้างประมาณ 6-7 ไมโครเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
43
แพลงก์ตอน
Oithona sp.
Euterpina acutifrons bar = 200 ไมโครเมตร
Oithona sp. และ Euterpina acutifrons (Brian, 1921) กลุ่ม โคพีพอด เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ถาวรที่พบชนิดและปริมาณมากที่สุดในหมู่เกาะทะเลใต้ มี ความหนาแน่นประมาณ 600-800 ตัวต่อลิตร โคพีพอดที่มีความหนาแน่นสูงสุดอยู่ในระยะ ตัวอ่อน หนาแน่นถึง 5,000 ตัวต่อลิตร Oithona sp. อยู่ในอันดับไซโคลพอยด์ดา (Order Cyclopoida) ส่วน Euterpina acutifrons จัดอยู่ในอันดับฮาร์แพคทิคอยด์ดา (Order Harpacticoida)
44
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
แพลงก์ตอน
bar = 20 ไมโครเมตร ภาพ : สุวณิชย์ บุญรอด
Oscillatoria sp. ชื่อสามัญ กลุ่ม สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Division Cyanobacteria Order Oscillatoriales) ที่หมู่เกาะทะเลใต้สามารถพบแพลงก์ตอนพืชสกุลนี้ได้ทั่วทุกบริเวณตลอดทั้งปี ความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-1,000 เซลต่อลิตร ลักษณะเป็นทรงกระบอก ส่วน ปลายของเซลกลมมน เซลต่อกันเป็นเส้นสายที่ไม่แตกแขนง ชื่อ Oscillatoria มีที่มาจาก ลั ก ษณะการเคลื ่ อ นที ่ ท ี ่ แ กว่ ง ไปแกว่ ง มา โดยใช้ เ วลาในการเคลื ่ อ นที ่ ป ระมาณ 11 ไมโครเมตรต่อวินาที
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
4
สาหร่ายทะเล
สาหร่ายทะเล สาหร่ายทะเล (Seaweeds) เป็นแหล่งอาหารและแหล่งหลบภัยของสัตว์ทะเล หลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากสาหร่ายทะเลอีกหลายด้าน เช่น นำมา ปรุงอาหาร สกัดทำวุ้น สกัดสารเคมีเพื่อใช้เป็นยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น สาหร่ายทะเลแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ตามรงควัตถุ ได้แก่ สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สาหร่ายทะเลดำรงชีวิต คล้ายกับพืชบนบกทั่วๆ ไป ประกอบด้วยส่วนที่คล้ายราก (Holdfast) ลำต้น (Strip) และ ใบ (Frond) แต่ไม่มีระบบท่อลำเลียงอาหารจากรากสู่ลำต้นและใบแบบพืชชั้นสูงเช่น หญ้า ทะเล แต่จะใช้วิธีดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากน้ำทะเลสู่เซลต่างๆ โดยตรง ไม่มีดอกและผล แต่แพร่กระจายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์และแบ่งตัว สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกลุ่มนี้สามารถสร้าง อาหารได้เองโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้สาหร่ายแพร่กระจายอยู่ในเขตที่แสงส่อง ถึงเท่านั้น หาดขนอม – หมู่เกาะทะเลใต้ เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของสาหร่ายทะเล โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีสาหร่ายทะเลทั้งหมด 41 ชนิด ประกอบด้วย สาหร่ายสี เขียว 15 ชนิด สีน้ำตาล 9 ชนิด สีแดง 15 ชนิด และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 2 ชนิด สาหร่ า ยที ่ พ บมากในบริ เ วณนี ้ ได้ แ ก่ สาหร่ า ยสี น ้ ำ ตาล สกุล Sargassum และ Turbinaria สาหร่ายสีเขียวสกุล Halimeda
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Bryopsis pennata Lamouroux ชื่อสามัญ วงศ์ Bryopsidaceae พบเจริญบนก้อนหิน ซากปะการัง หรือแม้แต่บนสาหร่ายชนิดอื่น ในเขตน้ำขึ้น น้ำลงจนถึงระดับ 5 เมตร บริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะราบ และเกาะวังใน ทัลลัส เป็นเส้นใยที่แตกแขนงในทิศทางตรงกันข้าม คล้ายขนนก สีเขียวเข้ม จนบางครั้งเกือบเป็น สีน้ำเงิน
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
4
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Caulerpa racemosa (Forsskål) J. Agardh : สาหร่ายพวงองุ่น, สาหร่ายช่อพริกไทย ชื่อสามัญ วงศ์ Caulerpaceae
พบได้ในแนวปะการัง บริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะราบ และเกาะวังใน เจริญบนก้อนหินหรือซากปะการัง ทัลลัสสีเขียว มีรากฝอยยึดเกาะพื้นเป็นระยะๆ ส่วนที่ ตั้งตรงอยู่เหนือพื้นดินมีลักษณะคล้ายช่อพริกไทยหรือพวงองุ่น
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Caulerpa taxifolia (vahl) C. Agardh : สาหร่ายขนนก ชื่อสามัญ วงศ์ Caulerpaceae เจริญบนพื้นทราย หรือสภาพพื้นผิวที่มีอนุภาคตะกอนละเอียด พบได้ทั้งแนว ปะการัง พื้นทรายและป่าชายเลนบริเวณเกาะแตน เกาะราบ และเกาะวังใน ทัลลัสสีเขียว มี รากฝอยยึดเกาะพื้น
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
4
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Ceratodictyon spongiosum Zanardini ชื่อสามัญ วงศ์ Lomentariaceae เป็นสาหร่ายสีแดงที่เจริญอยู่ร่วมกับฟองน้ำ มักพบบนก้อนหินหรือปะการังตาย ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง บริเวณเกาะท่าไร่ เกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะวังใน และเกาะราบ รูปร่าง ไม่แน่นอน ทัลลัสมีสีเขียวอ่อนหรือสีม่วง ส่วนล่างของทัลลัสจะยึดติดอยู่กับก้อนหินหรือ ปะการังตาย
0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Dictyota sp. : สาหร่ายเฟิร์นเขากวาง ชี่อสามัญ วงศ์ Dictyotaceae เจริญบนก้อนหินหรือพื้นทรายที่มีเศษหิน เปลือกหอย และซากปะการังปะปนใน บริเวณเกาะท่าไร่ เกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะราบ และเกาะวังใน ทัลลัสสีน้ำตาลอ่อนหรือ น้ำตาลอมเหลือง ลักษณะเป็นแถบแบนบาง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Halimeda macroloba Decaisne : สาหร่ายใบมะกรูด ชื่อสามัญ วงศ์ Halimedaceae พบได้ในพื้นที่โคลนปนทราย พื้นทราย ในบริเวณเกาะท่าไร่ เกาะแตน เกาะมัด สุ่ม เกาะราบ และเกาะวังใน เป็นสาหร่ายสีเขียว ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 23 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ สีเขียวเรียงต่อกัน หรือบางครั้งมีลักษณะคล้ายพุ่ม
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Lobophora variegate (Lamouroux) : สาหร่ายเห็ดหูหนูแข็ง ชื่อสามัญ Womersley วงศ์ Dictyotaceae
แพร่กระจายตั้งแต่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงต่ำกว่าระดับเขตน้ำลงต่ำสุด และใน แนวปะการัง บริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะราบ และเกาะวังใน เป็นสาหร่ายสีน้ำตาล ทัลลัสเป็นแผ่นแบน ลักษณะคล้ายพัด ขอบเรียบ บางครั้งอาจมีรอยเว้าเล็กน้อย มักขึ้นบน หินหรือปะการัง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Padina australis Hauck : สาหร่ายเห็ดหูหนู, สาหร่ายพัด ชื่อสามัญ วงศ์ Dictyotaceae เจริญบนก้อนหินหรือปะการังตายในเขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณเกาะท่าไร่ เกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะราบ และเกาะวังใน ทัลลัสสีน้ำตาล บางใส แผ่เป็นรูปพัด ขอบทัลลัสม้วน มีรอยฉีกขาดบริเวณขอบ เนื่องจากบริเวณขอบมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าบริเวณโคน ทัลลัสมีการสะสมหินปูน
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
สาหร่ายทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Rhipidosiphon javensis Montagne : สาหร่ายใบแปะก๊วย ชื่อสามัญ วงศ์ Udoteaceae เจริญได้บนสภาพพื้นที่แข็ง เช่น ก้อนหิน หรือ ปะการัง ตั้งแต่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ไปจนถึงระดับน้ำประมาณ 4-5 เมตร บริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะราบ และเกาะวัง ใน ทัลลัสเป็นแผ่นแบนบางคล้ายรูปพัด สีเขียวซีดไปจนถึงสีเขียวเข้ม สูงประมาณ 2 เซนติเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
หญ้าทะเล
หญ้าทะเล หญ้าทะเล (Seagrasses) เป็นกลุ่มพืชดอกเพียงกลุ่มเดียวที่ ได้วิวัฒนาการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในทะเลได้ มีลักษณะ โครงสร้ า งภายนอกคล้ า ยหญ้ า บก คื อ มี ราก ใบและลำต้ น ใต้ ด ิ น (Rhizome) หญ้าทะเลมีวงจรชีวิตสมบูรณ์ใต้น้ำ โดยสามารถสืบพันธุ์ทั้ง แบบอาศัยเพศ ด้วยการสร้างดอก ผล และเมล็ด และแบบไม่อาศัยเพศ ด้วยการแตกแขนงของลำต้นใต้ดิน หญ้าทะเลได้มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ แตกต่างกันได้ดี เช่น พัฒนาให้ดำรงชีวิตอยู่ใต้น้ำ ทนทานต่อความแห้ง แล้งและอุณหภูมิที่สูงในขณะน้ำลง รวมถึงทนต่อการเปลี่ยนแปลงความ เค็ม และการมีระบบรากที่แข็งแรงทำให้ทนต่อคลื่นลม รวมถึงการขึ้นลง ของกระแสน้ำ อย่างไรก็ตามมักพบหญ้าทะเลตามชายฝั่งที่มีคลื่นลม ค่อนข้างสงบ หญ้าทะเลเป็นผู้ผลิตเบื้องต้นที่มีความสำคัญในระบบนิเวศทาง ทะเล โดยเป็นแหล่งอาหารโดยตรงของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น พะยูนและเต่าทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ นอกจากนี้หญ้าทะเลยังเป็นแหล่งหลบภัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ความซับซ้อนของแหล่งอาศัยในแนวหญ้าทะเลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่ง เสริมให้เกิดความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้ท้อง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
หญ้าทะเล
ทะเล อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ซึ่งจะลดการ กัดเซาะและพังทลายบริเวณชายฝั่งได้ จากการสำรวจหญ้าทะเลในอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะ ทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบหญ้าทะเลทั้งสิ้น 4 ชนิด คือ หญ้า คาทะเล Enhalus acoroides (Linnaeus f.) Royle, หญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii (Ehrenberg) Ascherson, หญ้าใบมะกรูด Halophila ovalis (R. Brown) Hooker f. และหญ้ากุยช่ายทะเล Halodule uninervis (Forsskål) Ascherson โดยพบแพร่กระจาย ตามชายฝั่งของเกาะท่าไร่ เกาะแตน เกาะราบและเกาะมัดสุ่ม โดยใน บริเวณเกาะท่าไร่สามารถพบหญ้าทะเลได้ครบทั้ง 4 ชนิดครอบคลุม พื้นที่ประมาณ 0.1 ตารางกิโลเมตร อีกทั้งแนวหญ้าทะเลในบริเวณดัง กล่าวถือว่าเป็นแหล่งการทำประมงพื้นบ้านที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวบ้าน ในบริเวณใกล้เคียง อันเนื่องมาจากความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศ หญ้าทะเลนั่นเองที่เป็นตัวส่งเสริมให้สัตว์น้ำนานาชนิดเข้ามาอาศัยและ หากิน ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ที่ควรให้ความสนใจ และร่วมมือกันดูแลหญ้า ทะเลกันอย่างจริงจังเพื่อให้คงความสมดุลของระบบนิเวศ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
หญ้าทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Enhalus acoroides (Linnaeus f.) Royle : หญ้าคาทะเล, หญ้าชะเงาใบยาว ชื่อสามัญ Tropical eelgrass, Tape grass วงศ์ Hydrocharitaceae
เป็นหญ้าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ความยาวใบประมาณ 30 – 120 เซนติเมตร พบบริเวณเกาะท่าไร่ เกาะแตน และเกาะราบ ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และบริเวณที่น้ำท่วมถึง ซึ่งมีพื้นเป็นทรายปนโคลน และโคลน มักพบอยู่บริเวณขอบนอกของแนวหญ้าทะเล มี ขนาดใหญ่และฝังลึกใต้ดิน มีใบ 2-5 ใบ
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
หญ้าทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Halophila ovalis (R. Brown) Hooker f. : หญ้าใบมะกรูด, หญ้าใบกลม ชื่อสามัญ Spoon-grass วงศ์ Hydrocharitaceae
เป็นหญ้าทะเลขนาดเล็ก พบบริเวณชายฝั่งของเกาะท่าไร่ เกาะแตน และเกาะมัด สุ่ม ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ที่มีพื้นเป็นทราย ทรายปนโคลนและซากปะการัง มักเจริญร่วมกับ หญ้าทะเลชนิดอื่น เช่น หญ้ากุยช่ายทะเล และหญ้าคาทะเล
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
หญ้าทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Halodule uninervis (Forsskål) Ascherson : หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้าชะเงาใบแคบ ชื่อสามัญ Fiber-strand grass วงศ์ Cymodoceaceae
เป็นหญ้าทะเลขนาดเล็ก พบบริเวณเกาะท่าไร่ และเกาะแตน ในบริเวณที่มีพื้น เป็นทรายปนโคลน และทรายปนซากปะการัง พบเจริญเติบโตเพียงชนิดเดียว และเติบโต ร่วมกับหญ้าทะเลชนิดอื่น เช่น หญ้าใบมะกรูด
0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
หญ้าทะเล
ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส
Thalassia hemprichii (Ehrenberg) Ascherson : หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าเต่า ชื่อสามัญ Dugong grass วงศ์ Hydrocharitaceae เป็นหญ้าทะเลที่กระจายเป็นผืนกว้างในบริเวณเกาะท่าไร่ พบได้ตั้งแต่เขตรอยต่อ ของชายหาดเรื่อยไปจนถึงเขตที่มีน้ำท่วมถึง เจริญเติบโตเพียงชนิดเดียว และเติบโตร่วม กับหญ้าทะเลชนิดอื่นโดยเฉพาะหญ้าคาทะเล จัดเป็นหญ้าทะเลขนาดกลาง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ฟองน้ำทะเล
ฟองน้ำทะเล ฟองน้ำทะเล (Marine sponges) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ถือกำเนิดมาเมื่อ ประมาณ 600 ล้านปีมาแล้ว เชื่อกันว่าฟองน้ำทะเลถือกำเนิดมาจากบรรพบุรุษสัตว์เซล เดียวพวกโพรโทซัวพวก Choanoflagellata ที่อยู่ร่วมกันเป็นแบบโคโลนี ซึ่งเป็นโพรโทซัว ที่มีปลอกคอ (Collar) คล้ายกับเซลของฟองน้ำ ในอดีตเคยครอบครองอาณาจักรพื้นท้อง ทะเลควบคู่กับปะการัง แต่ปัจจุบันฟองน้ำได้ลดจำนวนลงไป ทำให้ปะการังก่อตัวขึ้นเป็น แนวปะการังกระจายอยู่ในเขตร้อนตามส่วนต่างๆ ของโลก กระนั้นก็ตาม ยังพบฟองน้ำเป็น สัตว์ชนิดเด่นรองลงมาจากปะการังในเขตร้อน และพบฟองน้ำขึ้นเป็นชนิดเด่นตามระบบ นิเวศชายฝั่งทะเลในเขตอบอุ่นและเขตหนาว R. E. Grant ได้จัดหมวดหมู่ของฟองน้ำไว้เป็น Phylum Porifera แปลว่า ผู้มี ลำตัวเป็นรูพรุน ฟองน้ำเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโบราณที่มีโครงสร้างร่างกายแบบง่ายๆ เนื่องจากการเรียงตัวของเซลแบบหลวมๆ และไม่มีลักษณะของเนื้อเยื่อที่แท้จริง เซลของ ฟองน้ำมีลักษณะพิเศษที่ไม่พบในสัตว์ชนิดอื่นคือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ ของเซลจากหน้าที่หนึ่งไปเป็นหน้าที่อีกอย่างหนึ่งได้ (Totipotency) ลำตัวเป็นรูพรุนและมี ท่อน้ำกระจายอยู่ทั่วตัว โดยมีระบบท่อน้ำ (Water canal system) ที่ประกอบด้วยท่อ เล็กๆ ตามลำตัวเป็นท่อน้ำเข้า (Ostium) และเป็นทางผ่านของน้ำทะเลเข้าสู่ตัวโดยอาศัย การพัดโบกของเซลพิเศษ (Choanocytes) ที่มีปลอกคอและแส้ทำให้เกิดกระแสน้ำไหลเข้า
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
สู่ตัว เซลพิเศษเหล่านี้ทำหน้าที่จับอาหารและออกซิเจนไว้หายใจ ส่วนน้ำที่ผ่านการกรอง แล้วจะไหลออกมาทางท่อน้ำออก (Osculum) ซึ่งส่วนมากมีขนาดใหญ่ท่อเดียว โครงร่าง ของร่างกาย (Skeleton) ประกอบด้วยหนามฟองน้ำ (Spicules)และ/หรือเส้นใยฟองน้ำ (Spongin fibers) ฟองน้ำเป็นสัตว์เกาะติดอยู่กับที่ตามพื้นทะเล (Sessile animals) สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ บางชนิดมีการเลี้ยงตัวอ่อนไว้ใน ระบบท่อน้ำของตัวเอง นอกจากนี้ฟองน้ำยังจัดเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนที่สุดในโลก เช่น ฟองน้ำ ที่อาศัยอยู่ในถ้ำใต้ทะเลบางชนิดอาจจะมีอายุยืนได้ถึง 5,000 ปี นักวิชาการคาดว่าฟองน้ำในโลกนี้มีอยู่ประมาณ 15,000 ชนิด แต่มีการตรวจสอบ แล้วพบว่า มีฟองน้ำที่ได้รับการจำแนกชนิดแล้วเพียง 7,000 กว่าชนิด ฟองน้ำสามารถ อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด แต่จะพบในทะเลมากกว่าร้อยละ 98 ความหลากหลาย ทางชนิดของฟองน้ำในคาบสมุทรมลายูและทะเลจีนใต้คาดว่ามีอยู่ประมาณ 1,200 ชนิด ในประเทศไทยคาดว่าจะมีสมาชิกอยู่ไม่น้อยกว่า 500 ชนิดทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเล อันดามัน แต่รายงานการศึกษาในประเทศไทยในขณะนี้พบฟองน้ำประมาณ 150 ชนิด นับ ว่าฟองน้ำเป็นทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางทะเลของไทยที่รอการค้นพบเป็นจำนวนมาก ตัวอย่าง เช่น เมื่อเร็วๆ นี้เราค้นพบฟองน้ำหูช้าง (Elephant’s ear sponge, Cliona patera (Hardwicke)) บริเวณเกาะล้าน เมืองพัทยา ฟองน้ำหูช้างนี้ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเข้า ใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากไม่มีผู้รายงานการค้นพบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455 หรือ เกือบร้อยปีมาแล้วและเป็นฟองน้ำที่หายากมากชนิดหนึ่งของโลก เดิมพบว่ามีการแพร่ กระจายอยู่เฉพาะในประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียเท่านั้น การค้นพบฟองน้ำชนิดนี้ที่ อ่าวไทยนับว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
ฟองน้ำทะเล
ฟองน้ำทะเลเป็นสัตว์กินอาหารด้วยการกรอง (Filter feeder) โดยกรองน้ำผ่าน ตัวซึ่งสามารถกรองน้ำทะเลได้มากกว่าสิบเท่าของปริมาตรตัวเองภายในหนึ่งชั่วโมงและ ทำงานต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ฟองน้ำทะเลจึงมีบทบาทสำคัญต่อ ระบบนิเวศทางทะเลในแง่การปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเลให้ใสสะอาดขึ้น ช่วยกำจัดตะกอน ขนาดเล็กและลดปริมาณตะกอนสารอินทรีย์ในน้ำทะเล เปรียบเสมือนกับเครื่องกรองน้ำ ทางชีวภาพที่สำคัญ ฟองน้ำทะเลยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยย่อย (Microhabitat) ให้กับสิ่งมี ชีวิตขนาดเล็กอื่นๆ มากมายหลายชนิด เช่น กุ้ง ปู หอย และไส้เดือนทะเลใช้ท่อน้ำของ ฟองน้ำเป็นแหล่งหลบซ่อนภัยจากศัตรู ดาวเปราะบางชนิดจะเปลี่ยนแปลงหนามใต้แขน เป็นตะขอไว้สำหรับเกาะฟองน้ำและอาศัยกระแสน้ำจากระบบท่อน้ำของฟองน้ำพัดพา อาหารมาให้ด้วย ปลิงสร้อยไข่มุกมักจะมาเก็บกินตะกอนที่ตกค้างอยู่บนลำตัวฟองน้ำเป็น อาหาร เป็นต้น ฟองน้ำบางชนิดสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางสภาวะแวดล้อมทางทะเลได้ เช่น ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง Oceanpia sagittaria สร้างท่อน้ำออกเป็นท่อสูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง การตกตะกอนของตะกอนแขวนลอยในน้ำทะเล บริเวณที่มีฟองน้ำทะเลชนิดนี้อยู่เป็น จำนวนมากสามารถบอกได้ว่า สภาวะแวดล้อมบริเวณนี้มีการตกตะกอนสูง และฟองน้ำฝัง ตัว Cliona sp. สามารถสร้างกรดที่ย่อยสลายหินปูนและสร้างโพรงอาศัยอยู่ในซากหินปูน มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายซากปะการังหรือซากเปลือกหอยที่เป็นหินปูน เป็นการ หมุนเวียนธาตุคาร์บอนกลับคืนสู่วัฏจักรคาร์บอนในทะเล ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อดีต ฟองน้ำทะเลถูกแปรรูปมาใช้ในการทำความสะอาดร่างกายและของใช้ครัวเรือน ใช้ซับเลือด จากบาดแผล ใส่ไว้ในถุงกระเพาะอูฐเพื่อลดการสูญเสียน้ำระหว่างการเดินทางไกล ทำ
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
เครื่องสำอาง ใช้เผาไฟประกอบเครื่องยารักษาโรค ซับประจำเดือนสตรี และงานศิลปะ แขนงต่างๆ แต่ในปัจจุบันฟองน้ำจากธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยฟองน้ำสังเคราะห์เกือบหมด แล้ว เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและมีกรรมวิธีในการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก แต่ฟองน้ำจากธรรมชาติ ก็ยังมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและการแพทย์ ปัจจุบันฟองน้ำเป็นสัตว์ที่นักวิชาการให้ความสนใจมาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ พบว่าฟองน้ำเป็นสัตว์ที่เกาะติดอยู่กับที่และเจริญขึ้นมาบนพื้นแต่แทบจะไม่มีศัตรูมา รบกวนเลย จึงสันนิษฐานกันว่าฟองน้ำน่าจะสร้างอาวุธทางเคมีที่ไม่พึงปรารถนากับสัตว์น้ำ ชนิดอื่นๆ อาวุธทางเคมีเหล่านี้คือ สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทะเล (Marine natural products) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาวิจัยการแพทย์และเภสัช นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบอีกด้วยว่า ฟองน้ำบางชนิดทำการเลี้ยงแบคทีเรียไว้เป็นอาหาร ของตนเองในระบบท่อน้ำแล้วสร้างสารต้านจุลชีพขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารของตนถูก ทำร้ายหรือถูกแก่งแย่งแข่งขันจากแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่พึงประสงค์ ความสามารถนี้จึงถูก ยกย่องว่าเป็น “นักเกษตรกรรมยุคแรกของโลก” จากการสำรวจฟองน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ พบฟองน้ำ ทะเลทั้งหมด 45 ชนิด ฟองน้ำที่พบเป็นชนิดเด่นและมีความชุกชุมมากที่สุดคือ ฟองน้ำท่อ พุ่มสีแดง Oceanapia sagittaria, ฟองน้ำสีน้ำเงิน Neopetrosia sp. “blue”, ฟองน้ำ ครกXestospongia testudinaria และฟองน้ำเคลือบสีเขียว Haliclona (Gellius) cymaeformis นอกจากนี้ยังพบฟองน้ำอีกหลากหลายชนิดที่น่าสนใจที่จะนำเสนอใน หนังสือเล่มนี้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Aka mucosa (Bergquist, 1965) : ฟองน้ำฝังตัวสีดำ ชื่อสามัญ Black burrowing sponge วงศ์ Phloeodictyidae Carter, 1882 แพร่กระจายอยู่ในแนวปะการังบริเวณเกาะแตนและเกาะวังใน จัดเป็นพวก ฟองน้ำฝังตัวในหินปูน และมีส่วนสำคัญในการผุพังสลายหินปูนและนำเอาแคลเซียมและ คาร์บอเนตกลับคืนสู่วัฏจักรธาตุอาหารในระบบนิเวศ ส่วนที่เป็นลำตัวจะอยู่ในโพรงหินปูน ที่ฟองน้ำสร้างขึ้นโดยการหลั่งกรดฟอสเฟตออกมาละลายหินปูนเป็นโพรงภายในและยื่นท่อ น้ำออกมา
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Callyspongia (Toxochalina) pseudofibrosa Desqueyroux-Faúndez, 1984 : ฟองน้ำหนามสีขาว ชื่อสามัญ Branching vase sponge วงศ์ Callyspongiidae De Laubenfels, 1936 มักพบขึ้นปกคลุมตามซอกของปะการังดอกจอก (Pavona sp.) ที่ยังมีชีวิตใน เขตปะการังลาดชันของเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ปะการังดอกจอกตาย บางส่วน ฟองน้ำหนามสีขาวมีรูปร่างแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ แต่ละกิ่งยกตัวสูงขึ้นและมีท่อ น้ำออกขนาดใหญ่อยู่ตรงปลาย ที่ผิวของแต่ละกิ่งมีหนามแตกออกมาทางด้านข้างอันเกิด จากการเจริญของเส้นใยฟองน้ำที่ภายในเป็นมัดของหนามฟองน้ำ เมื่อใช้นิ้วมือกดลงบนตัว ฟองน้ำ ฟองน้ำจะยุบตัวตามแรงกดและสามารถดีดตัวกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้อย่าง รวดเร็ว ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Cervicornia cuspidifera (Lamarck, 1815) : ฟองน้ำสีน้ำตาลเหลือง ชื่อสามัญ Brown burrowing sponge วงศ์ Clionaidae D’Orbigny, 1851 พบได้ทั่วไปบนพื้นทรายในเขตปะการังพื้นราบ มักขึ้นอยู่ร่วมกับหญ้าทะเลใน บริเวณเกาะแตนและเกาะราบ จัดเป็นฟองน้ำฝังตัวขนาดใหญ่ที่มีหนามเป็นรูปเข็มหมุด มี รูปร่างเป็นก้อนหรือเป็นแท่ง ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ใต้ดินและส่วนที่ โผล่พ้นดิน ส่วนที่อยู่ในดินฟองน้ำมักจะนำเอาก้อนกรวดหินหรือเม็ดทรายมาแทรกในเนื้อ ฟองน้ำเพื่อยึดฝังลงไปในพื้นดิน ส่วนที่โผล่พ้นดินมีลักษณะแข็งคล้ายก้อนหินเนื่องจากมี การเรียงตัวของหนามฟองน้ำหนาแน่น ท่อน้ำออกมีขนาดใหญ่เห็นชัดเจน
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Clathria (Thalysias) toxifera (Hentschel, 1912) : ฟองน้ำเคลือบบางสีแดงลายขาว ชื่อสามัญ Red and white encrusting sponge วงศ์ Microcionidae Carter, 1875 พบเกาะอยู่บนเปลือกหอยฝาคู่ที่มีชีวิตหรือซากสิ่งมีชีวิตที่เป็นหินปูน เช่น ซาก ปะการัง ไม่ค่อยชอบแสงสว่างมากนัก จึงมักพบในบริเวณที่เป็นร่มเงา เช่น ถ้ำใต้ปะการัง ขนาดใหญ่ และซอกปะการังที่อับแสง พบฟองน้ำชนิดนี้บริเวณเกาะแตนและเกาะวังใน จัด เป็นฟองน้ำชนิดเคลือบบางเกาะติดวัตถุใต้น้ำที่มีความหนา 0.3 - 1 เซนติเมตร แต่หากนำ ฟองน้ำขึ้นพ้นน้ำมันจะยุบตัวลงและมีความหนาไม่ถึงหนึ่งมิลลิเมตร ท่อน้ำออกมีขนาด ใหญ่และยกตัวสูงขึ้น ฟองน้ำชนิดนี้มีสีส้มแดงและสีขาวบนระบบท่อน้ำทำให้มีสีสัน ลวดลายที่สวยงามและสะดุดตา
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Haliclona (Gellius) cymaeformis Esper, 1794 : ฟองน้ำเคลือบหนาสีเขียว ชื่อสามัญ Creeping green sponge วงศ์ Chalinidae Carter, 1875 ฟองน้ำชนิดนี้มีสาหร่ายสีแดง (Ceratodictyon spongiosum) อาศัยแทรกอยู่ ใต้ผิวฟองน้ำทำให้เนื้อฟองน้ำมีความยืดหยุ่นและเหนียวเพิ่มมากขึ้น มักพบฟองน้ำชนิดนี้ ตามชายฝั่งทะเลน้ำตื้นที่มีแสงสว่างส่องไปถึงและพบได้ทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในหมู่เกาะทะเลใต้พบฟองน้ำชนิดนี้มีการแพร่กระจายอยู่ในเขตปะการังพื้นราบของเกาะ แตน เกาะวังใน และเกาะราบ ฟองน้ำเคลือบหนาสีเขียวจัดเป็นฟองน้ำทะเลที่เคลือบหนา อยู่บนวัตถุใต้น้ำ ร่างกายแตกแขนงแผ่ขยายคลุมพื้นที่ออกไปทางแนวนอน ท่อน้ำออก ขนาดเล็กอยู่ทางด้านบนและกระจายอยู่ทั่วตัว
0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Lamellodysidea herbacea (Keller, 1889) : ฟองน้ำเคลือบสีเขียว ชื่อสามัญ Green encrusting sponge วงศ์ Dysideidae Gray, 1867 พบแพร่กระจายอยู่ในเขตปะการังพื้นราบของเกาะแตนและเกาะราบ มีเฉพาะ เส้นใยฟองน้ำเป็นโครงร่างค้ำจุนร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำเอาหนามของ ฟองน้ำชนิดอื่นมาผนวกเข้ากับเส้นใยฟองน้ำทำให้เนื้อฟองน้ำมีความแข็งแรงมากขึ้น มีรูป ร่างแบบเคลือบตามวัตถุใต้น้ำและแตกกิ่งสั้นๆ คล้ายนิ้วมือตามผิวลำตัว ลำตัวของฟองน้ำ มีสาหร่ายทะเลสีเขียวเซลเดียวอาศัยอยู่ด้วยทำให้มีสีเขียว ฟองน้ำในสกุลนี้เป็นแหล่งของ สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่น่าสนใจมากมาย เช่น สารต้านไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกัน บกพร่องหรือโรคเอดส์ สารต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ฟองน้ำทะเล
Neopetrosia sp. : ฟองน้ำสีน้ำเงิน ชื่อสามัญ Blue sponge วงศ์ Petrosiidae Van Soest, 1980 พบแพร่กระจายอยู่ทุกเกาะในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ มีสีสันสวยงามสามารถ พัฒนาเป็นสัตว์น้ำสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นอาหารของทากทะเลสีขาวลายดำ (Jorunna funebris) และพบสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหลายชนิด ฟองน้ำสีน้ำเงินมีลักษณะเป็นก้อน เคลือบอยู่บนวัตถุใต้น้ำ ท่อน้ำออกยกตัวสูงขึ้นมีลักษณะคล้ายภูเขาไฟขนาดเล็กกระจาย อยู่ทั่วตัวและเปิดออกตรงปลาย เนื้อฟองน้ำค่อนข้างแข็งแต่เปราะสามารถหักออกเป็นชิ้น เล็กๆ ได้ง่าย มักพบอาศัยอยู่บนปะการังที่มีชีวิตและกระจายทั่วไปในแนวปะการังของอ่าว ไทย
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Oceanapia sagittaria (Sollas, 1902) : ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง ชื่อสามัญ Red burrowing sponge วงศ์ Phloeodictyidae Carter, 1882
แพร่กระจายอยู่ทุกเกาะในหมู่เกาะทะเลใต้ สามารถใช้เป็นดัชนีการตกตะกอน ของดินตะกอนในแนวปะการังได้ ถ้าพบฟองน้ำชนิดนี้เป็นจำนวนมากแสดงว่าบริเวณนั้นมี การตกทับถมของดินตะกอนสูง ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดงจัดอยู่ในกลุ่มฟองน้ำฝังตัวที่มีร่างกาย ฝังตัวลงไปในพื้นดิน มีท่อน้ำออกยกตัวสูงขึ้นโผล่พ้นดิน มีลักษณะเด่นของฟองน้ำคือ อวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งมีลักษณะเป็นพุ่มทรงกลมติดอยู่บนปลายท่อน้ำออก เมื่อพุ่มนี้เจริญเต็ม ที่จะหลุดออกและล่องลอยหรือกลิ้งไปตามพื้น เมื่อสามารถยึดติดกับวัตถุใต้น้ำได้จะเจริญ ขึ้นเป็นฟองน้ำตัวใหม่
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
ฟองน้ำทะเล
Paratetilla bacca (Selenka, 1867) : ฟองน้ำลูกกอล์ฟ ชื่อสามัญ Golf-balled sponge วงศ์ Tetillidae Sollas, 1886 มีรูปทรงกลม ไม่ชอบแสงสว่างจึงพบเกาะอยู่ซอกหินหรือที่อับแสง กระจายตัว อยู่ค่อนข้างจำกัดโดยพบเฉพาะในแนวปะการังบริเวณเกาะแตนเท่านั้น มักพบตะกอน ปกคลุมร่างกายอยู่เสมอเนื่องจากฟองน้ำลูกกอล์ฟอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลน้ำตื้นที่มีการ ตกตะกอนสูง มีสีน้ำตาลเข้ม ผิวหนังมีหลุมรูปครึ่งวงกลมกระจายอยู่ทั่วตัวมองดูคล้ายลูก กอล์ฟ ลักษณะเฉพาะนี้จึงใช้เป็นชื่อเรียกของฟองน้ำกลุ่มนี้ หลุมต่างๆ เหล่านี้แท้จริงแล้ว คือ ที่รวมของท่อน้ำเข้าในระบบท่อน้ำที่ใช้ในการดำรงชีวิต ส่วนท่อน้ำออกอยู่ใต้ของก้อน ฟองน้ำซึ่งจะมีเพียงหนึ่งหรือสองท่อเท่านั้น
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ฟองน้ำทะเล
Xestospongia testudinaria (Lamarck, 1814) : ฟองน้ำครก ชื่อสามัญ Giant barrel sponge วงศ์ Petrosiidae Van Soest, 1980 เป็นฟองน้ำชนิดเด่นในแนวปะการังทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน บางตัว พบปลิงสร้อยไข่มุกอาศัยร่วมอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยปลิงสร้อยไข่มุกจะเก็บกินตะกอน ที่ตกปกคลุมอยู่บนตัวฟองน้ำเป็นอาหาร ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำความสะอาดผิวลำตัว และช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำเข้าของฟองน้ำ พบฟองน้ำครกแพร่กระจายอยู่ทั่วไปใน แนวปะการังของทุกเกาะในหมู่เกาะทะเลใต้ จัดเป็นฟองน้ำขนาดใหญ่ บางตัวอาจมีเส้นผ่าน ศูนย์กลางตัวมากกว่า 1 เมตร ร่างกายเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายถังน้ำมันหรือฐานกว้าง คล้ายภูเขาไฟ ผิวลำตัวเป็นสันเรียงในแนวรัศมีรอบตัว ท่อน้ำออกมีเพียงท่อเดียวและ ขนาดใหญ่
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
ปะการังแข็ง ปะการังแข็ง (Coral) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญ เพราะนอกจาก จะทำให้แนวปะการังมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามแล้ว ยังเป็นกลุ่มหลักที่สร้างโครงสร้างของแนว ปะการัง (Reef) และให้ที่หลบภัยแก่สัตว์ทะเลที่เคลื่อนที่ได้อื่นๆ มากมาย รูปร่างลักษณะ ของปะการังแข็งมีทั้งลักษณะที่แข็งหรืออ่อนนุ่ม แต่ยังยึดติดกับพื้นแนวปะการัง และมีรูป แบบเป็นก้อน กิ่ง แผ่นจานและแผ่นเคลือบ ซึ่งมองเผินๆ เหมือนหินหรือพืชมากกว่าจะ เป็นสัตว์ ปะการั ง แข็ ง มี ค วามพิ เ ศษหลายประการ ประการแรกคื อ พวกมั น มี ส าย วิ ว ั ฒ นาการระหว่ า งฟองน้ ำ และสั ต ว์ ล ั ก ษณะคล้ า ยหนอน จั ด อยู่ ใ นไฟลั ม ไนดาเรี ย (Cnidaria) ไฟลัมเดียวกับพวกกะพรุน ดอกไม้ทะเลและกัลปังหา สัตว์ต่างๆ ในไฟลัมนี้มี เซลพิเศษเหมือนเข็มพิษไว้จับเหยื่อ และมีลักษณะโครงสร้างร่างกายแบบง่ายๆ คือมีช่อง เปิดหนึ่งช่องเพื่อให้สารอาหารและสิ่งต่างๆ ผ่านเข้าและออกจากร่างกาย ลักษณะสำคัญประการต่อมา คือ พวกมันส่วนใหญ่อยู่ร่วมกับสาหร่ายเซลเดียว เล็กๆ ที่เรียกว่าซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) สาหร่ายเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อภายใน ตัวปะการัง จึงเป็นอีกสาเหตุที่ว่าทำไมปะการังจึงต้องการแสงสว่าง แท้จริงแล้วสาหร่ายซู แซนเทลลีที่ต้องการแสงสว่างในการสังเคราะห์แสง ปะการังจะได้สารอาหารจากการ สังเคราะห์แสงของสาหร่ายไปเป็นพลังงานในการสร้างโครงสร้างหินปูนซึ่งเป็นองค์ประกอบ หลักของแนวปะการัง ปะการังแข็งบางชนิดที่ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีอยู่ในเนื้อเยื่อมักจะไม่ สร้างโคโลนีใหญ่หรือไม่มีโครงสร้างหินปูนมากนัก ปะการังแข็งที่ไม่มีสาหร่ายอยู่ร่วมกันจึง ไม่จัดเป็นปะการังกลุ่มที่สร้างแนวปะการัง เคยมีการศึกษาพบว่าสาหร่ายซูแซนเทลลีปรุง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
อาหารแบ่งพลังงานให้กับปะการังถึง 90% ของที่มันสร้างได้ทั้งหมด แต่การศึกษาเหล่านั้น ทำในบริเวณแนวปะการังที่ค่อนข้างเป็นทะเลเปิด ซึ่งมีธาตุอาหารปริมาณน้อยมาก จึงยังไม่ ทราบแน่นอนว่าปะการังในแนวปะการังน้ำตื้นริมฝั่ง ซึ่งน้ำทะเลมักจะมีสารอาหารค่อนข้าง สูงนั้น ปะการังเหล่านี้หาอาหารและจับแพลงก์ตอนกินเองมากน้อยเท่าไร หรือยังจำเป็น ต้องรอรับพลังงานจากสาหร่ายมากเท่าไร ลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ปะการังแข็งเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่รวมกัน เป็นกลุ่ม (Modular organisms) เรียกว่า “โคโลนี” ปะการังหนึ่งโคโลนีไม่ใช่กลุ่มของ ปะการังหลายตัวที่มาอยู่รวมกันทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปันอาหาร แท้จริงแล้วโคโลนีเป็น ผลิตภัณฑ์ของปะการังเริ่มต้นเพียงหนึ่งตัว คือปะการังจะแบ่งตัวเองสร้างตัวปะการังใหม่ ออกไปด้านข้าง จนกลายเป็นก้อนโคโลนีขนาดใหญ่ที่มีปะการังหลายชีวิตอยู่รวมกัน ปะการังจำนวนหลายร้อยชีวิตนี้เรียกหน่วยย่อยแต่ละตัวของพวกมันว่า “โพลิป” ปะการัง แต่ละโพลิปในโคโลนีเดียวกันมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน และเชื่อมต่อกันด้วย เนื้อเยื่อภายใน ทำให้สามารถแบ่งปันสารอาหารและมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ทั้งโคโลนี แม้ว่าจะเริ่มต้นจากปะการังตัวเดียวกันแต่ปะการังตัวที่เกิดขึ้นใหม่เป็นแต่ละส่วน ของโคโลนีอาจมีลักษณะแตกต่างเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ของส่วนโคโลนีส่วนนั้นๆ เช่น ส่วนฐานโคโลนีที่ยึดติดกับแนวปะการัง หรือส่วนขอบโคโลนีที่ต้องเติบโตให้เร็วเพื่อยึด ครองพื้นที่ ลักษณะโคโลนีที่มีความเฉพาะกับชนิดเป็นวิวัฒนาการในการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ดังนั้นการรู้ว่าแนวปะการังใดมีปะการังลักษณะโคโลนีแบบใดอยู่บ้าง มาก น้อยเท่าไร จะสามารถช่วยประเมินเบื้องต้นได้ว่าสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเป็นอย่างไร ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
กระแสน้ำแรงเชี่ยวหรือตะกอนมากน้อยแค่ไหน จนกระทั่งไปถึงความสมบูรณ์หรือความ เสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชาคมปะการังแข็งในแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะ ทะเลใต้พบว่า แนวปะการังในบริเวณนี้มีความหลากหลายของชนิดปะการังแข็งไม่แพ้ บริเวณอื่นๆ ในอ่าวไทย หรือบริเวณเกาะสมุยซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำที่มีคนรู้จักมาก กว่าห่างขึ้นไปไม่ไกลทางทิศเหนือ แม้ว่าแนวปะการังบริเวณนี้อาจจะได้รับอิทธิพลจากแผ่น ดินมาก ทั้งจากน้ำจืด และตะกอน ที่ไหลมาตามน้ำออกสู่ทะเล จากฝั่งแผ่นดินใหญ่และ เกาะสมุย ปะการังแข็งหลากหลายชนิดก็ยังสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตสร้างแนว ปะการังกระจายอยู่ทุกเกาะในแถบนี้ ปะการังแข็งส่วนใหญ่ที่พบเป็นชนิดที่พบได้ทั่วไปในแนวปะการังน้ำตื้นริมฝั่งของ อ่าวไทย ซึ่งมีความทนทานต่ออิทธิพลจากชายฝั่ง เช่น ปริมาณตะกอนหรือความขุ่นสูงได้ ปะการังแข็งชนิดเด่นและพบจำนวนมากในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังลายดอกไม้ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังดอกไม้ทะเล ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังสมอง และปะการังจาน นอกจากนั้นยังพบกลุ่มปะการังเขากวางพุ่ม ปะการังลูกโป่ง ปะการังถ้วยส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มปะการังที่มีความสวยงามและเป็นจุดดึงดูดความสนใจของนัก ดำน้ำ
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
ภาพ : ศรีสกุล ภิรมย์วรากร
Acropora millepora (Ehrenberg, 1834) : ปะการังเขากวางพุ่ม ชื่อสามัญ - วงศ์ Acroporidae สร้างโคโลนีเป็นแบบพุ่มกึ่งโต๊ะ อาจมีฐานยึดพื้นด้านใต้ตรงกลางหรือด้านข้าง ด้านบนแผ่ออกเป็นฐานให้กิ่งก้านเติบโตสูงขึ้น แต่ละช่องตัวปะการังมีลักษณะเป็นเหมือน กลีบดอกไม้เรียงสลับกันอย่างสวยงาม ปะการังเขากวางพุ่มในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้มีฤดู สืบพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน หรืออาจบวกลบหนึ่งเดือนขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมของแต่ละปี โดยโคโลนีจะสร้างและปล่อยเซลสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมียออกไปในมวลน้ำเพื่อผสม พันธุ์กับเซลสืบพันธุ์จากปะการังโคโลนีอื่น
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
ภาพ : ลลิตา ปัจฉิม
Fungia sp. : ปะการังเห็ด ชื่อสามัญ Mushroom coral วงศ์ Fungiidae เป็นปะการังพวกที่อยู่อาศัยตัวเดียว ไม่อยู่ร่วมกันเป็นโคโลนีเหมือนปะการังแข็ง ส่วนใหญ่ ลักษณะโครงสร้างหินปูนเหมือนเห็ดหงายขึ้น เมื่ออายุน้อยขนาดเล็กจะมีก้าน หินปูนด้านใต้ยึดแผ่นเห็ดนี้กับพื้นแนวปะการัง ก้านเห็ดนี้จะหลุดออกไปเมื่อปะการังโต และมีขนาดใหญ่ขึ้น ปะการังเห็ดไม่เป็นกะเทยเหมือนปะการังแข็งส่วนใหญ่ แต่ละโคโลนี แต่ละตัวมีเพศเดียว ตัวเมียจะสร้างไข่ ตัวผู้ก็จะสร้างสเปิร์มปล่อยออกไปผสมพันธุ์กันใน มวลน้ำ
0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
ภาพ : ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง
Pavona cactus (Forskal, 1775) : ปะการังลายดอกไม้ ชื่อสามัญ Leaf coral วงศ์ Agariciidae เป็นปะการังแข็งที่พบได้ทั่วไปในบริเวณตื้นๆ ของแนวปะการังในหมู่เกาะทะเลใต้ ลักษณะโครงสร้างหินปูนของปะการังชนิดนี้เป็นใบบางตั้ง ใบขนาดเล็กบิดงอและเชื่อมต่อ กันหลายใบ ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเหลืองและปลายใบมักเป็นสีขาว ลักษณะแผ่นตั้งบางนี้ ทำให้แตกหักได้ง่าย ชิ้นส่วนที่แตกออกมาสามารถเจริญเติบโตยึดเกาะกับพื้นผิวแนว ปะการังและเจริญต่อไปเป็นปะการังโคโลนีใหม่ ปะการังลายดอกไม้ใช้สมบัตินี้แพร่พันธุ์
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ปะการัง
ภาพ : ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง
Pocillopora damicornis (Linnaeus, 1758) : ปะการังดอกกะหล่ำ ชื่อสามัญ Cauliflower coral วงศ์ Pocilloporidae เป็นปะการังแข็งขนาดไม่ใหญ่นัก มีโครงสร้างหินปูนเป็นลักษณะกึ่งก้อนหรือพุ่ม คือมีฐานเหมือนต้นไม้ยึดติดกับพื้นแนวปะการังและส่วนบนแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม โพลิป ปะการังสีน้ำตาลมักจะออกมาให้เห็นชัดตัดกับสีอ่อนกว่าของโครงหินปูน บ้านพุ่มของ ปะการังดอกกะหล่ำยังเป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย และหาอาหารของสัตว์เล็กอื่นๆ อย่างปู ดาว เปราะ ปลาบู่ทะเล และหนอนทะเลบางชนิด ในขณะเดียวกันช่วยปกป้องปะการังจากศัตรู ด้วย
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
ภาพ : ลลิตา ปัจฉิม
Porites lutea (Edwards & Haine, 1860) : ปะการังโขด ชื่อสามัญ Kidney coral วงศ์ Poritidae พบได้ทั่วไปและพบจำนวนมากที่สุดชนิดหนึ่งในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ ทั้งนี้น่า จะมาจากความสามารถในการกำจัดตะกอนของปะการังโขด โดยจะสร้างเมือกมาปกคลุม ตัวเองเพื่อดักตะกอนแล้วจึงขับแผ่นเมือกพร้อมตะกอนออกไป ปะการังโขดยังทนทานต่อ ภัยธรรมชาติต่างๆ ทั้งแรงกระแทกจากคลื่นลมมรสุม หรือแม้แต่ปรากฏการณ์การฟอกขาว ปะการังโขดสามารถเติบโตจนมีโคโลนีขนาดใหญ่สูงและกว้างหลายเมตร อาจมีอายุหลาย ร้อยปี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
ปะการัง
ภาพ : ลลิตา ปัจฉิม
Symphyllia radians (Edwards & Haine, 1849) : ปะการังสมองร่องใหญ่ ชื่อสามัญ Brain coral วงศ์ Mussidae มีลักษณะโคโลนีเป็นก้อน หลายสี เช่น แดง เขียว และเทา ลักษณะเด่นคือมี โครงสร้างหินปูน แหลมคมกว่าปะการังกลุ่มอื่น ถ้านักดำน้ำไปจับอาจถูกบาดได้ง่าย ปะการังสมองร่องใหญ่มีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ มีเส้นใยภายในช่องกลางลำตัวมากกว่า ปะการังขนาดเล็กชนิดอื่น เส้นใยเหล่านี้มีหน้าที่หลักในการย่อยอาหารภายในลำตัว แต่ยัง มีหน้าที่พิเศษช่วยป้องกันไม่ให้ปะการังหรือสัตว์ชนิดอื่นขยายอาณาเขตเข้ามาใกล้ โดยจะ ยื่นเส้นใยออกมารอบโคโลนีในตอนกลางคืนเพื่อย่อยเนื้อเยื่อของผู้บุกรุก
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปะการัง
ภาพ : ลลิตา ปัจฉิม
Tubastraea coccinea (Lesson, 1829) : ปะการังถ้วยส้ม ชื่อสามัญ Orange cup coral วงศ์ Dendrophylliidae เป็นปะการังแข็งที่มีสีสันสวยงาม มีส่วนท่อลำตัวสีส้มและหนวดสีเหลือง ต่างกับ ปะการังชนิดอื่นตรงที่ไม่มีสาหร่ายเซลเดียวอาศัยร่วมอยู่ในเนื้อเยื่อด้วยกัน จึงไม่ต้องการ แสงเหมือนปะการังชนิดอื่น ปะการังถ้วยส้มจึงไม่ต้องแย่งพื้นที่ที่มีจำกัดในแนวปะการัง และสามารถอาศัยอยู่ตามผาหิน บริเวณแนวตั้งหรือด้านใต้แง่งหินที่ค่อนข้างมืดได้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
กัลปังหา กัลปังหา (Gorgonians) เป็นสัตว์ทะเลที่พบได้บ่อย แต่บริเวณที่พบเป็นจำนวน มากและมีความหลากหลายสูงอยู่บริเวณแนวปะการังน้ำลึก (Deep reef) โดยเฉพาะ บริเวณที่ค่อนข้างมืดหรือใต้ร่มเงาของสภาพแวดล้อมอื่น ยกเว้นกัลปังหาบางชนิดที่อาศัย อยู่ร่วมกับสาหร่าย Zooxanthellae ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยแสงในการดำรงชีวิต ทำให้ กัลปังหาเหล่านี้พบในที่ตื้นและบริเวณที่มีแสงส่องถึง อย่างไรก็ตามการที่กัลปังหาได้ชื่อว่า เป็นตัวแทนของสัตว์ในทะเลลึกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ สีสันสวยสดใส ความงดงาม ตระการตา แผ่กิ่งก้านสาขาโบกสะบัดไปมาตามกระแสน้ำคล้ายพัดที่มหึมา จึงเป็นสิ่งที่ ดึงดูดตาให้นักดำน้ำหรือนักถ่ายภาพใต้น้ำพยายามหาโอกาสที่จะได้ลงไปสัมผัสด้วยสายตา กัลปังหาเป็นสัตว์ในกลุ่ม (Phylum) Cnidaria ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีเข็มพิษ (Nematocysts) เช่ น เดี ยวกั บ กะพรุน (Jelly fish) โดยจัดอยู่ในระดับ (Class) Anthozoa เช่นเดียวกับปะการังแข็ง (Stony coral) ปะการังอ่อน (Soft coral) ดอกไม้ ทะเล (Sea anemone) ปากกาทะเล (Sea pen) พรมทะเล (Zoanthid) เป็นต้น และอยู่ ในระดับย่อย (Subclass) Octocorallia ลำดับ (Order) Alcyonacea เช่นเดียวกับ ปะการังอ่อน ซึ่งเป็นพวกที่มีโครงสร้างหินปูน (Calcareous skeleton) ซึ่งเรียกว่า Sclerite อยู่ภายในเนื้อเยื่อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย และมีจำนวนของ หนวด (Tentacle) 8 เส้น หรือทวีคูณของแปด ซึ่งแตกต่างจากปะการังแข็งที่มีจำนวนของ หนวด 6 เส้น หรือทวีคูณของหกเท่านั้น ทั้งนี้กัลปังหามีแกนแข็งภายใน (Axial rod) ซึ่ง เป็นสารกอร์โกนิน (Gorgonin) ที่เป็นโปรตีนเพื่อช่วยค้ำจุนลำตัว ในขณะที่ปะการังอ่อน ไม่มีแกนกลางดังกล่าว
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
กัลปังหาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่าโคโลนี (Colony) ซึ่งประกอบด้วยตัว กัลปังหาจำนวนมากอยู่รวมกัน แต่ละตัวของกัลปังหาเรียกว่าโพลิป (Polyp) ซึ่งมีสมมาตร ร่างกายแบบรัศมี โดยบริเวณปลายสุดของโพลิปเป็นปาก (Mouth) ที่เป็นส่วนเปิดสู่ ภายนอกส่วนเดียวของร่างกาย ล้อมรอบด้วยหนวดที่มีลักษณะคล้ายขนนก (Pinnate tentacle) กัลปังหาเป็นสัตว์ในกลุ่มที่กรองกิน (Filter feeders) โดยใช้หนวดที่อยู่ล้อม รอบปากช่วยดักจับแพลงก์ตอนและตะกอนที่แขวนลอยในมวลน้ำเป็นอาหาร บางครั้งจะใช้ เข็มพิษช่วยในการจับเหยื่อที่มีการเคลื่อนไหวด้วย ลักษณะของโคโลนีกัลปังหาแบ่งออก เป็น โคโลนีที่มีลักษณะการแตกขยายกิ่งออกไปเป็นสาขา เป็นพุ่ม สานเป็นร่างแห หรือ คล้ายพัด และโคโลนีไม่มีการแตกขยายกิ่งเป็นเส้นเดี่ยวคล้ายแส้ ซึ่งลักษณะของโคโลนีที่ พบมากที่สุด มีรูปร่างคล้ายพัดที่ขยายสาขาในระนาบเดียว ส่วนที่ขยายของกิ่งก้านสาขาจะ ตั้งฉากกับกระแสน้ำหลัก ช่วยทำหน้าที่ต้านกระแสน้ำให้ม้วนกลับเข้ามาเพื่อนำพาอาหาร ทีม่ ากับกระแสน้ำเข้าสูป่ ากของโพลิป ทัง้ นีร้ ศั มีของโคโลนีอาจกว้างถึง 3 เมตร หรือมากกว่า กัลปังหาส่วนใหญ่มีเพศผู้และเพศเมียแยกอยู่คนละโคโลนี มีกัลปังหาไม่กี่ชนิดที่ มีการปฏิสนธิภายนอก (External fertilization) โดยโคโลนีแม่และโคโลนีพ่อจะปล่อยไข่ และสเปิร์มออกมาผสมพร้อมกันในมวลน้ำ สเปิร์มที่ถูกปล่อยออกมาจากโคโลนีพ่อจะเข้า มาผสมกับไข่ในโคโลนีแม่ ไข่จึงมีพัฒนาการภายในตัวแม่ และจะถูกปล่อยเป็นตัวอ่อน ระยะว่ายน้ำ (Planula larva) ออกสู่มวลน้ำต่อไป เมื่อถึงระยะ Metamorphosis ตัวอ่อน ระยะว่ายน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นกัลปังหาตัวน้อย กลายเป็นโพลิปเริ่มต้น (Founder polyp) ลงเกาะบนพื้นผิวแข็งในทะเล หลังจากนั้นกัลปังหาจะเจริญเติบโตโดยการแตก หน่อ (Budding) ต่อไป ทั้งนี้ยังไม่เป็นที่ยืนยันอย่างแน่ชัดว่ากัลปังหาสามารถขยายพันธุ์ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
แบบไม่อาศัยเพศด้วยวิธีหักกิ่งโคโลนี (Colony fragmentation) เหมือนกับปะการังได้ หรือไม่ อย่างไรก็ตามกัลปังหา Junceella fragilis ซึ่งเป็นแส้ทะเลชนิดหนึ่ง สามารถขยาย พันธุ์เป็นโคโลนีใหม่ต่อไปได้เมื่อส่วนปลายสุดของกิ่ง (แส้) หลุดหรือหักตกลงมาและ สามารถยึดติดกับพื้นผิวแข็งที่เหมาะสม กัลปังหามีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลและการท่องเที่ยวอย่างมาก การที่ กัลปังหาชอบอาศัยบริเวณที่มีกระแสน้ำค่อนข้างแรง มีตะกอนแขวนลอยสูง กัลปังหาจึง เป็นตัวกรองตะกอนในมวลน้ำที่ดีอย่างยิ่ง นอกจากนั้นกัลปังหายังเปรียบเสมือนบ้านให้สิ่ง มีชีวิตหลากหลายชนิดเข้ามาพักพิงอาศัย หากสังเกตด้วยการพินิจพิเคราะห์อย่างดี อาจสามารถมองเห็นสัตว์ตัวน้อยๆ ไม่ว่าจะเป็น กุ้งกัลปังหา ดาวเปราะ ทากเปลือย เกาะ อยู่ตามกิ่งก้านสาขาเหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายกัลปังหานอกเหนือจากหอยมุก กัลปังหา ม้าน้ำ หรือสัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า นอกจากนั้นการที่กัลปังหามีสีสันหลาก หลาย มีลักษณะคล้ายต้นไม้แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปในมวลน้ำ ทำให้นักดำน้ำนิยมใช้เป็นทิว ทัศน์ประกอบการบันทึกภาพป่าใต้ทะเลที่สวยงาม ที่สำคัญมีกัลปังหาหลายชนิดที่สามารถ นำไปสกัดสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารกลุ่ม Diterpenoids, Steroids หรือ Esters ซึ่งใช้ในทางเภสัชกรรม หรือนำไปสกัดเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่มีสรรพคุณช่วยต้าน การอักเสบของผิวหนังได้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกัลปังหาในประเทศมีไม่มากนัก จากตัวอย่างกัลปังหาใน พิพิธภัณฑ์สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัด ภูเก็ต รวมถึงการศึกษาความหลากหลายและการกระจายของกัลปังหาในฝั่งอ่าวไทยและ ทะเลอันดามัน สามารถสรุปจำนวนสกุลของกัลปังหาที่พบบริเวณฝั่งอ่าวไทยได้ 16 สกุล และฝั่งทะเลอันดามัน 22 สกุล ในจำนวนนี้มี 3 สกุล ที่พบเฉพาะฝั่งอ่าวไทย และ 8 สกุล พบเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน จากการสำรวจกัลปังหาที่บริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการ ทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) สนับสนุนโดยโททาล อีแอนด์พี ประเทศไทย และมูลนิธิโททาล สาธารณรัฐฝรั่งเศส สามารถจำแนกสกุลกัลปังหาที่พบได้ 10 สกุล จาก 5 วงศ์ (เกาะแตน 9 สกุล และเกาะมัดสุ่ม 10 สกุล) และยังไม่สามารถ จำแนกสกุลได้อีก 4 สกุล (เกาะแตน 4 สกุล และเกาะมัดสุ่ม 1 สกุล) โดยพบที่ระดับ ความลึกตั้งแต่ 3 เมตร เป็นต้นไป และพบกระจายมากที่สุดที่ระดับความลึก 6–14 เมตร ตั้งแต่สันแนวปะการัง (Reef edge) แนวลาดชัน (Reef slope) จนถึงบริเวณพื้นตะกอน ทรายกึ่งโคลนที่มีหินหรือก้อนปะการังตายให้กัลปังหาได้ยึดเกาะ กัลปังหาที่พบเป็นสกุล เด่น ได้แก่ Subergorgia ในขณะที่กัลปังหา Melithaea, Echinomuricea, Menella และ Ctenocella พบกระจายทั่วไป นอกจากนั้นกัลปังหาที่เป็นรายงานการพบครั้งแรกใน อ่าวไทยมี 1 สกุล ได้แก่ กัลปังหา Astrogorgia และที่เป็นรายงานการพบครั้งแรกในน่าน น้ำไทยมี 2 สกุล ได้แก่ กัลปังหา Pseudopterogorgia และ Verrucella
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Astrogorgia sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Plexauridae พบที่ระดับความลึก 8 - 13 เมตร ความชุกชุมระดับปานกลางทั้งบริเวณเกาะ แตนและเกาะมัดสุ่ม ชนิดนี้เป็นรายงานการพบครั้งแรกในอ่าวไทย โคโลนีมีสีเหลืองหรือสี ครีม ขนาดของโคโลนีกว้าง 12 – 50 เซนติเมตร ลักษณะการแตกกิ่งไม่เป็นระเบียบ ปลาย เปิดไม่เชื่อมติดกัน แบนคล้ายพัด จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Ctenocella sp. : กัลปังหาพิณ ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Ellisellidae พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม มีความชุกชุมสูง พบที่ ระดับความลึก 4 - 13 เมตร โคโลนีมีสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง โพลิปมีสีขาว ขนาดของโค โลนีมีความกว้าง 30 - 80 เซนติเมตร โคโลนีมีลักษณะการแตกกิ่งออกเป็นซี่คล้ายพิณหรือ หวี มีกิ่งหลักที่เป็นกิ่งโค้ง 2 กิ่ง นอกนั้นเป็นกิ่งเล็กที่แตกขนานกันขึ้นไปในระนาบเดียว จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
กัลปังหา
Dichotella sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Ellisellidae พบระดับความลึก 4 - 13 เมตร ความชุกชุมระดับปานกลางทั้งบริเวณเกาะแตน และเกาะมัดสุ่ม โคโลนีมีสีน้ำตาล หรือสีส้มแก่ โพลิปมีสีขาว ขนาดของโคโลนีมีความกว้าง 70 – 80 เซนติเมตร มีลักษณะการแตกกิ่งออกเป็นสองทางจำนวนมาก แต่ไม่แน่น ทรงพุ่ม หรือระนาบ แต่ละกิ่งมีขนาดสั้น จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Echinomuricea sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Plexauridae พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม มีความชุกชุมสูง พบที่ ระดับความลึก 6-13 เมตร โคโลนีมีสีน้ำตาล สีเหลือง สีน้ำตาลแดงหรือม่วงแดง มี ลักษณะการแตกกิ่งไม่เป็นระเบียบ ค่อนข้างยาว ในระนาบเดียว มีตะกอนหนาปกคลุมตาม กิ่งคล้ายกับกัลปังหาตาย โพลิปมีสีเหลืองหรือม่วง ขนาดของโคโลนีที่เกาะแตนกว้าง 15-20 เซนติเมตร ขณะทีเ่ กาะมัดสุม่ กว้างถึง 70 เซนติเมตร จัดอยูใ่ นกลุม่ ไม่มสี าหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
3
กัลปังหา
Junceella sp. : แส้ทะเล ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea whip วงศ์ Ellisellidae มีความชุกชุมระดับปานกลางทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม พบที่ระดับ ความลึก 9 – 12 เมตร โคโลนีมีลักษณะเป็นเส้นเดียว ยาว ไม่แตกกิ่ง คล้ายแส้ โพลิปมีสี ขาว ขนาดของโคโลนีที่เกาะแตนและเกาะมัดสุ่มมีความยาวสูงสุดประมาณ 30 และ 70 เซนติเมตร ตามลำดับ จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Melithaea sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Melithaeidae พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม มีความชุกชุมสูง พบที่ ระดับความลึก 3 – 11 เมตร โดยยึดติดหรือแขวนอยู่กับขอบหรือสันหินขนาดใหญ่ที่มี กระแสน้ำผ่าน โคโลนีมีสีแดง สีเหลือง สีส้ม และสีน้ำตาลแดง โพลิปมีสีขาวหรือสีเหลือง ขนาดของโคโลนีมีความกว้าง 10 – 60 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปพัดในระนาบเดียว หรือ เป็นพุ่มที่มีส่วนของระนาบซ้อนกัน ส่วนของกิ่งอาจเชื่อมติดกันคล้ายร่างแห จัดอยู่ในกลุ่ม ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Menella sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Plexauridae พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม มีความชุกชุมสูง พบที่ ระดับความลึก 3 – 11 เมตร โคโลนีที่พบมีสีแดง สีน้ำตาลแดง สีส้ม สีม่วง โพลิปมีสีขาว หรือสีม่วง ขนาดของโคโลนีมีความกว้าง 15 – 60 เซนติเมตร โคโลนีมีลักษณะการแตกกิ่ง เป็นพุ่ม ยาว และมีขนาดใหญ่ ไม่สานตัวเป็นร่างแห โพลิปมีขนาดยาว ยื่นออกมาหนาแน่น รอบกิ่ง เห็นสีของโพลิปชัดเจน จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Pseudopterogorgia sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Gorgoniidae พบน้อยมาก เพียงบริเวณเดียวของเกาะมัดสุ่มที่ระดับความลึกประมาณ 10 เมตร นับเป็นรายงานการพบกัลปังหาชนิดนี้เป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทย บริเวณที่พบค่อน ข้างขุ่นมีตะกอนสูง โคโลนีมีสีแดงอมม่วง ลักษณะแตกกิ่งหนาแน่นเป็นพุ่ม คล้ายขนนก หรือทางมะพร้าว ขนาดความกว้างประมาณ 17 เซนติเมตร โพลิปมีสีแดงอมม่วงเช่นกัน จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Subergorgia sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Subergorgiidae พบกระจายทั่วไปทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม มีความชุกชุมสูง พบที่ ระดับความลึก 4 - 13 เมตร ในบริเวณที่ค่อนข้างขุ่นมีตะกอนปกคลุมโคโลนีมาก จัดเป็น สกุลเด่นของทั้งสองพื้นที่ โคโลนีมีสีแดง สีแดงเข้ม สีน้ำตาล หรือสีม่วงอมแดง ขณะที่ โพลิปมีสีขาว ขนาดของโคโลนีมีความกว้าง 34 – 70 เซนติเมตร มีลักษณะแตกกิ่งหนา แน่นเป็นพุ่มในระนาบเดียว แต่ไม่ติดกันเป็นร่างแห มีร่องแคบๆ ด้านหลังของกิ่ง จัดอยู่ใน กลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Verrucella sp. : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Ellisellidae เป็นรายงานการพบกัลปังหา Verrucella ครั้งแรกในน่านน้ำไทย พบที่ระดับ ความลึก 8 - 12 เมตร โดยมีความชุกชุมระดับปานกลางในบริเวณเกาะแตนและเกาะมัด สุ่ม โคโลนีมีลักษณะการแตกกิ่งออกเป็นตาข่าย สานเป็นร่างแหหนาแน่น มีสีแดง สีน้ำตาล แดงหรือสีม่วงแดง โพลิปมีสีขาว สีส้มหรือสีส้มอ่อน ขนาดของโคโลนีที่เกาะแตนและเกาะ มัดสุ่มมีความกว้างสูงสุดที่ 20 และ 60 เซนติเมตร ตามลำดับ จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซู แซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Genus-A : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Unknown พบที่ระดับความลึกประมาณ 9 เมตร แพร่กระจายระดับปานกลาง แต่มีความ ชุกชุมต่ำ ทั้งบริเวณเกาะแตนและเกาะมัดสุ่ม โคโลนีมีสีขาวหรือสีครีม โพลิปมีสีเหลือง ขนาดของโคโลนีกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร มีลักษณะการแตกกิ่งออกเป็นพุ่มขนาดเล็ก ไม่เป็นระเบียบ ขนาดของกิ่งค่อนข้างหนา จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
100
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Genus-B : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Unknown พบน้อยมาก โดยพบเพียงบริเวณเดียวของเกาะแตนที่ระดับความลึกประมาณ 9 เมตร โคโลนีมีสีน้ำตาลแดง โพลิปมีสีขาว ขนาดของโคโลนีมีความกว้างประมาณ 12 เซนติเมตร โคโลนีมีลักษณะการแตกกิ่งออกเป็นตาข่ายในระนาบเดียว จัดอยู่ในกลุ่มไม่มี สาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
101
กัลปังหา
Genus-F : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Unknown พบน้อยมาก โดยพบเพียงบริเวณเดียวของเกาะแตน ที่ระดับความลึกประมาณ 8 เมตร โคโลนีมีสีแดง โพลิปมีสีม่วง ขนาดของโคโลนีมีความกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร มีลักษณะการแตกกิ่งแบบหลวมๆ ไม่สานกัน จัดอยู่ในกลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
102
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
กัลปังหา
Genus-G : กัลปังหา ชื่อสามัญ Gorgonian, Sea fan วงศ์ Unknown พบน้อยมาก โดยพบเพียงบริเวณเดียวของเกาะแตน ที่ระดับความลึกประมาณ 9 เมตร โคโลนีมีสีครีม โพลิปมีสีขาว หรือสีน้ำตาลแดง ขนาดของโคโลนีมีความกว้าง ประมาณ 12 เซนติเมตร โคโลนีมีลักษณะการแตกกิ่งแยกออกไม่เป็นระเบียบ จัดอยู่ใน กลุ่มไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
103
ปูน้ำเค็ม
ปูน้ำเค็ม ปู เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีเปลือกห่อหุ้มร่างกาย และมีขาเป็นข้อปล้อง เช่นเดียวกับ แมลง แมง และกิ้งกือที่อาศัยบนบก รวมทั้งสัตว์น้ำอีกหลากชนิดหลายสาย พันธุ์ญาติใกล้ชิดของปูที่เราเรียกด้วยคำว่าปูด้วย ได้แก่ ปูเสฉวน ปูมะพร้าว และปูตัวแบน สัตว์ทะเลกลุ่มนี้จัดเป็นปูไม่แท้จริง (Talse crab) ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ลักษณะทั่วไปของปูที่แตกต่างจากสัตว์น้ำที่มีขาเป็นข้อปล้องกลุ่มอื่นๆ คือ มีขา ทั้งหมด 5 คู่ แต่ในคู่แรก สองปล้องสุดท้ายของปลายขาได้ดัดแปลงไปเป็นก้ามหนีบ ทำให้ เหลือเป็นขาเดิน 4 คู่ ที่ส่วนท้องของปูจะลดรูป (เมื่อเปรียบเทียบกับกุ้ง หรือปูเสฉวน) แล้ว งอพับไว้ใต้อก ไม่มีแพนหาง และไม่ได้ใช้ในการว่ายน้ำ บริเวณดังกล่าวนี้เราเรียกว่า “จับปิ้ง” ปูหายใจได้ด้วยเหงือก ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “นมปู” เป็นบริเวณที่เลือดถูกสูบฉีด เข้ามาฟอก เลือดของปูประกอบด้วยฮีโมไซยานิน เมื่อออกจากตัวปูมาสัมผัสกับอากาศจะ กลายเป็นสีฟ้า อวัยวะที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งสูบฉีดไปยังเหงือก ดังกล่าว คือ หัวใจ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางภายใต้กระดองของปู โดยทั่วไปปูเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ และกินเศษซาก เป็นอาหาร ปูชนิดหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องกินเฉพาะอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะขึ้นอยู่กับ โอกาสในการพบอาหาร ยกเว้นปูบางกลุ่มที่กินอาหารแบบเลือกอินทรีย์สารจากตะกอน เช่น ปูก้ามดาบ ปูทหาร และปูปั้นทราย จะเป็นกลุ่มที่ไม่ล่าเหยื่อ ไม่กินเศษซากโดยตรง และไม่ ขูดกินตะไคร่ แต่จะตักดินเข้าปากแล้วใช้รยางค์ปากคัดแยกอินทรีย์สาร
104
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
อวัยวะที่ปูใช้ในการหาอาหาร และล่าเหยื่อประกอบด้วยอวัยวะรับสัมผัส ได้แก่ ตา ซึ่งเป็นแบบตาประกอบเหมือนของแมลง สามารถรับภาพได้ดี ใช้ทั้งในการมองหาเหยื่อ และระวังภัย แต่สำหรับในน้ำการได้รับกลิ่นรสจะไวกว่าภาพ ปูมีอวัยวะรับกลิ่นที่มี ประสิทธิภาพเพื่อการหาอาหาร อวัยวะนี้คือหนวด หนวดปูมีอยู่ 2 คู่ อยู่ที่บริเวณเหนือปาก หนึ่งคู่ และอยู่ใกล้กับเบ้าตาอีกข้างละ 1 อัน ซึ่งจะโบกไปมาเพื่อตรวจสอบกลิ่นอยู่ตลอด เวลา เมื่อพบเศษซากปูจะเคลื่อนที่เข้าไปโดยใช้ขาเดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินไปในทางด้านข้าง แล้วใช้ขาคู่ที่ติดกับก้ามเขี่ยวัตถุต้องสงสัยว่านิ่มหรือแข็งก่อนจะดึงเข้ามาหาตัว แล้วใช้ก้าม จับอาหารฉีกเป็นชิ้นเล็กส่งเข้าสู่ปาก ซึ่งประกอบด้วยรยางค์ปากและขากรรไกร คอยรับ อาหารมาหั่น บด หรือคัดแยกส่วนที่กินไม่ได้ออก ก่อนจะส่งไปยังระบบทางเดินอาหาร จากหลอดอาหารส่งถึงกระเพาะ ซึ่งทำหน้าที่บดให้อาหารละเอียด พร้อมสำหรับการย่อย แล้วตับอ่อนก็จะหลังน้ำย่อยเข้าไปย่อยอาหารในกระเพาะ ส่วนตับอ่อนนี่เองที่มีรสชาติดี เยี่ยมที่เราเรียกว่า “มันปู” หลังจากนี้อาหารจะเข้าสู่ลำไส้ ผ่านการดูดซึมสารอาหารและน้ำ ก่อนเป็นกากอาหาร และขับถ่ายออกไปทางปลายจับปิ้ง การเจริญเติบโตของปูจะเหมือนกับแมลงที่มีการลอกคราบ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูป ร่างและขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น แต่ในกรณีของปูจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหลังลอกคราบ เฉพาะช่วงต้นของชีวิตเท่านั้น เมื่อปูเจริญเติบโตและสะสมสารอาหารกับพลังงานในร่างกาย ได้มากพอ จะเริ่มสร้างกระดองขึ้นมาใหม่ภายใต้กระดองเก่า แต่จะยังนิ่มอยู่ ในช่วงนี้ถ้าจับ มาทำอาหาร มักจะเรียกกันว่า “ปูสองกระดอง” เพราะกระดองที่สร้างใหม่นี้จะเริ่มแยกตัว กับกระดอง ไม่ประกบติดกันแนบแน่น จนเมื่อถึงเวลาลอกคราบ กระดองจะเริ่มปริตรง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
10
ปูน้ำเค็ม
รอยประสานจากการบวมขึ้นของตัวปู แล้วปูจะสลัดคราบออกมาโดยดันส่วนหลังขึ้นมาให้ กระดองเปิด ก่อนดันตัวออกมาทีละน้อย เพื่อเอาขาและก้ามออกมาจากคราบเก่าจนครบ ปู ที่ออกมาจะยังขยับเขยื้อนได้ไม่สะดวก กระดองจะยังไม่แข็งตัว เราเรียกช่วงนี้ว่า “ปูนิ่ม” ซึ่งคนจำนวนหนึ่งชอบกิน เพราะสามารถกินได้ทั้งตัวโดยไม่ต้องแกะเปลือก แต่รสชาติจะสู้ ปูที่เนื้อแน่นไม่ได้ หลังจากนี้ไปปูจะดูดซึมเกลือแร่และน้ำเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กระดองเริ่ม เต่งตึง และเปลือกค่อยๆ แข็งขึ้น จนกลับสู่สภาพปกติ แต่ถ้าจับปูที่เพิ่งลอกคราบไปได้ไม่ นานจะพบว่ารสชาติไม่อร่อย และมีเนื้อน้อย เราเรียกปูช่วงนี้ว่า “ปูโพรก” ซึ่งจะต้องเร่ง สะสมอาหารเพื่อกลายเป็นปูเนื้อแน่นต่อไป ในทะเลมี “ปูน้ำเค็ม” อาจจะมีผู้สงสัยว่า อยู่ในทะเลทำไมไม่เรียกเหมือนกุ้ง, หอย หรือปลา ที่เรียกว่า กุ้งทะเล, หอยทะเล หรือปลาทะเล เหตุผลก็เพราะคำ “ปูทะเล” มี การนำไปใช้อย่างเป็นทางการกับปูกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักกันทั่วไปว่า ปูดำ ปูขาว และปูเขียว ไป เสียแล้ว ปูน้ำเค็มมีแหล่งอาศัยอยู่หลากหลายระบบนิเวศ ทั้งบริเวณชายฝั่งริมน้ำ เรื่อยไป จนถึงบริเวณทะเลลึก ทั้งที่เป็นพื้นทราย ดินเลน โขดหิน แนวปะการัง หรือดำรงชีวิตร่วม กับสิ่งชีวิตชนิดอื่น ในระบบนิเวศหรือห่วงโซ่อาหารปูมีบทบาทเป็นทั้งผู้บริโภคและเป็น อาหารให้กับผู้ล่า เช่น หมึกสาย ปลาทะเล เต่าทะเล นกชายฝั่ง และลิงแสม เป็นต้น ปูเป็น ผู้บริโภคที่มีประโยชน์ ช่วยกำจัดซากสิ่งมีชีวิตให้กับทะเล เปรียบดังเทศบาลช่วยกำจัดขยะ ต่อจากนั้นก็ขับถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยให้กับมวลน้ำ ซึ่งมีแพลงก์ตอนพืชอันเป็นผู้ผลิตขั้นต้น ในห่วงโซ่อาหารนำไปใช้ต่อไป ในกรณีของป่าชายเลน กิจกรรมของปูในการกินใบไม้ ขับ ถ่าย และขุดรู ล้วนเป็นส่วนจำเป็นในการหมุนเวียนแร่ธาตุสารอาหาร และนำพาออกซิเจน ไปสู่ชั้นดินเบื้องล่าง ช่วยให้ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความสมดุลและสมบูรณ์แข็งแรง
10
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าทั่วทั้ง โลกมีปูอยู่ทั้งสิ้น 5,000–6,000 ชนิด ส่วนในแถบแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง มีปูอยู่ถึง 1,500–2,000 ชนิด (นับรวมทั้งปูน้ำจืดและน้ำเค็ม) นับว่าบริเวณที่ประเทศไทยตั้งอยู่นี้ มี ความหลากหลายของชนิดปูน้ำเค็มอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก ส่วนข้อมูลจำนวนชนิดปูน้ำเค็ม ในประเทศไทยที่เคยมีการรวบรวมไว้เมื่อปี พ.ศ. 2541 โดย ศ.ดร.ไพบูลย์ นัยเนตร มีอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 502 ชนิด เฉพาะอ่าวไทยมี 332 ชนิด แต่จำนวนดังกล่าวนี้ไม่ถือเป็นสิ้นสุด เพราะการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ยิ่งทำยิ่งมีข้อมูลเพิ่มเติม ยังมีปูน้ำเค็ม อีกหลายชนิดหลบรอดจากสายตาของนักวิจัยไปได้ แต่เพียงเท่านี้ก็แสดงถึงความหลาก หลายทางชีวภาพของปูน้ำเค็มแล้ว บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้พบความหลากชนิดของปูน้ำ เค็มแล้ว 49 ชนิด ซึ่งยังเป็นจำนวนในเบื้องต้น เพราะปัจจุบันยังดำเนินการศึกษาต่อไป อย่างไรก็ตามปูน้ำเค็มในพื้นที่แห่งนี้จะต้องมีความหลากหลายสูงอย่างแน่นอน
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
10
ปูน้ำเค็ม
Epixanthus frontalis (H. Milne Edwards, 1834) : ปูใบ้ก้ามเรียว ชื่อสามัญ Peeler crab วงศ์ Eriphiidae พบได้ไม่ยากในหมู่เกาะทะเลใต้ เพราะจะหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหินของหาดหิน เมื่อถูกจับได้จะเกร็งตัวนิ่ง พบที่เกาะวังในและเกาะวังนอก เป็นปูขนาดเล็ก กระดองรูปไข่ ค่อนข้างแบน ร่องบนกระดองตื้น มองเห็นไม่ชัดเจน ก้ามทั้งสองข้างขนาดต่างกันชัดเจน ก้ามหนีบเรียวยาวปลายแหลม โดยรวมทั้งกระดอง ก้าม และขามีสีเหลืองปนน้ำตาล ก้าม หนีบมีสีน้ำตาล
10
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Leptodius nigromaculatus Seréne, 1962 : ปูใบ้ ชื่อสามัญ Black-spotted rubble crab วงศ์ Xanthidae พบได้ไม่ยากในหมู่เกาะทะเลใต้ทั้งที่เกาะวังใน เกาะวังนอก และเกาะแตน หลบ ซ่อนอยู่ใต้ก้อนหินของหาดหิน ออกหากินเวลาน้ำลง จัดเป็นปูขนาดเล็ก กระดองรูปไข่ ก้ามหนีบมีขนาดใหญ่ กระดอง ก้าม และขา มีหลายเฉดสี แตกต่างไปตามสภาพแหล่งที่ อยู่ ตั้งแต่สีขาว เทา เทาอมน้ำตาล ถึงสีน้ำตาล
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
10
ปูน้ำเค็ม
Macrophthalmus pacificus Dana, 1851 : ปูก้ามหักก้ามฟ้า ชื่อสามัญ Sentinel crab วงศ์ Ocypodidae พบในบริเวณชายขอบ และพื้นที่เปิดโล่งภายในป่าชายเลนริมคลองขนอม โดย ขุดรูเพื่อใช้หลบภัยและเป็นที่อาศัยในช่วงน้ำขึ้น เป็นปูขนาดเล็ก กินอาหารแบบเลือก อินทรีย์สารจากตะกอน และกินหนอนขนาดเล็กที่อาศัยในดิน ปูในกลุ่มปูก้ามหักเพศผู้มี พฤติกรรมที่น่าสนใจในการยกชูก้ามแบบเฉพาะของแต่ละชนิด ก้ามเพศผู้ขนาดใหญ่กว่าขา เดิน และเท่ากันทั้งสองข้าง ก้ามและขาเดินตัวผู้มีสีฟ้า
110
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Metaplax detipes (Heller, 1830) : ปูแสมก้ามยาว ชื่อสามัญ Signaller crab วงศ์ Varunidae พบที่ป่าชายเลนริมคลองขนอม อาศัยบนพื้นเลนบริเวณที่เปิดโล่งริมคลองป่าชาย เลนในบริเวณเดียวกับปูก้ามดาบ โดยทั่วไปปูแสมก้ามยาวเพศผู้จะมีพฤติกรรมที่น่าสนใจ ในการยกชูก้าม ออกหากินในช่วงน้ำลง กินหนอนขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในพื้นดินเลน กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก้ามยาวและมีขนาดใหญ่กว่าขาเดินมาก ขนาดเท่ากันทั้ง สองข้าง ในตัวผู้จะมีก้ามใหญ่กว่าตัวเมียมาก กระดองมีสีส้มหรือน้ำตาลอมเทา ก้ามสีส้ม หรือเหลืองอมเทา หรือจางกว่าสีกระดอง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
111
ปูน้ำเค็ม
Metaplax elegans De Man, 1888 : ปูแสมก้ามยาว ชื่อสามัญ Orange signaller crab วงศ์ Varunidae พบอาศัยบนพื้นเลนบริเวณป่าชายเลนริมคลองขนอมที่เปิดโล่งในบริเวณเดียวกับ ปูก้ามดาบและปูก้ามหัก ออกหากินในช่วงน้ำลง กินหนอนขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในพื้นดิน เลนเป็นหลัก กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวค่อนข้างโค้งนูน มีตุ่มขนาดเล็กและขนแข็ง อยู่ประปราย ก้ามมีขนาดใหญ่กว่าขาเดินมาก และมีขนาดต่างกัน ในตัวผู้จะมีก้ามใหญ่กว่า ตัวเมียมาก กระดองมีสีม่วงเทา ก้ามสีส้ม
112
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Metopograpsus frontalis Miers, 1880 : ปูแสมหินก้ามม่วง ชื่อสามัญ Purple climber crab วงศ์ Grapsidae พบได้ง่ายบนหาดหินของเกาะวังนอก และเกาะแตน เป็นปูขนาดเล็ก ขูดกิน สาหร่ายและกินซากตามโอกาส กระดองรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีความกว้างมากกว่าความยาว ก้ามสองข้างมีขนาดต่างกันเล็กน้อย กระดองมีลวดลายสีน้ำเงินหรือม่วงเข้มบนพื้นสีเขียว อมเทา ก้ามมีสีม่วงแต่ค่อยๆ ไล่เป็นสีขาวไปทางปลายก้ามหนีบ
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
113
ปูน้ำเค็ม
Ocypode ceratophthalmus (Pallus, 1772) : ปูลม, ปูลมใหญ่, ปูลมตายาว ชื่อสามัญ Horned ghost crab วงศ์ Ocypodidae พบอาศัยบนหาดทราย ออกหากินในเวลากลางคืน และหลบอยู่ในรูในเวลากลาง วัน แต่บนหาดทรายที่เงียบสงบอย่างเกาะราบ พบปูออกหากินในเวลากลางวันด้วย จัดเป็น ปูขนาดกลาง กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตาเป็นรูปทรงรีขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยจะมีก้าน ทรงกระบอกยาวต่อจากปลาย กระดองมีสีเทา และมีลวดลายสีน้ำตาลเข้มบริเวณท้าย กระดอง ส่วนใต้กระดองลงมามีสีแดงเลือดหมู มือและก้ามหนีบสีขาว
114
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Ozius guttatus H. Milne Edwards, 1834 : ปูใบ้ ชื่อสามัญ Spottedbelly rock crab วงศ์ Eriphiidae พบที่เกาะวังใน เกาะวังนอก และเกาะแตน เป็นปูขนาดใหญ่ กระดองรูปไข่ ผิว ค่อนข้างเรียบ ก้ามทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ก้ามข้างเล็กเรียวยาวปลายแหลม ส่วนก้ามข้าง ใหญ่มีฟันบดขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลเข้ม ก้ามหนีบมีสีส้ม ส่วนตัวที่มีขนาดเล็ก กระดองจะมีจุดกลมสีน้ำตาลเข้มถึงดำบนพื้นสีเหลืองครีม จากลักษณะก้ามที่บ่งบอกถึง ความสามารถในการบดตัดจึงน่าจะกินหอยสองฝา เป็นปูใบ้ที่กินได้ตามรายงานของ FAO
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
11
ปูน้ำเค็ม
Uca perplexa (H. Milne Edwards, 1837) : ปูก้ามดาบก้ามขาว, เปี้ยวโนรา ชื่อสามัญ White-palm fiddler crab วงศ์ Ocypodidae พบในบริเวณเปิดโล่งริมคลองของป่าชายเลน ที่เป็นดินโคลนปนทราย ที่เกาะแตน และบนฝั่งขนอม โดยขุดรูเพื่อใช้หลบภัย และลงไปซับหรือเปลี่ยนน้ำในเหงือกภายในแอ่ง น้ำก้นรู ออกหากินในช่วงน้ำลง ปูก้ามดาบมีพฤติกรรมที่น่าสนใจ คือ การโบกก้ามข้างใหญ่ ขึ้นลงเป็นจังหวะ ซึ่งมีรูปแบบลีลาในการโบกต่างกันในแต่ละชนิด เพื่อให้เพศเมียทราบว่า เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ เป็นปูที่กินอาหารแบบเลือกอินทรีย์สารจากตะกอน (ดิน) จัดเป็น ปูขนาดเล็ก ตัวผู้มีจุดเด่นที่ก้ามข้างหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอีกข้างมาก ในขณะที่ตัวเมียมีก้าม ขนาดเล็กเท่ากันสองข้าง สีบนกระดองเป็นสีดำหรือเทา ในตัวผู้ก้ามข้างใหญ่มีสีชมพูหรือ ส้มอ่อน และมีสีขาวไล่มาทางปลายก้าม
11
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Uca vocans (Linnaeus, 1758) : ปูก้ามดาบก้ามแบน, ปูเปี้ยวโนรา ชื่อสามัญ Fiddler crab วงศ์ Ocypodidae พบบริเวณดินทรายปนโคลนริมฝั่งทะเลของเกาะแตน ปูขนาดเล็ก ขอบกระดอง ด้านข้างเกือบจะตั้งฉากกับขอบท้ายกระดอง ก้ามข้างใหญ่ของตัวผู้มีตุ่มปกคลุมบนผิวด้าน นอกชัดเจน ก้ามหนีบมีลักษณะแบนและกว้างมาก ก้ามข้างใหญ่มีสีส้มหรือเทาอ่อน ยกเว้น ครึ่งล่างจะมีสีแสดหรือส้มเข้ม ก้ามเล็กมีสีเทาหรือสีเขียวขี้ม้า ปลายก้ามหนีบมีสีขาว
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
11
ปูน้ำเค็ม
Parasesarma pictum (De Haan,1835) : ปูแสมกรวด ชื่อสามัญ Gravel mangrove crab วงศ์ Sesarmidae พบหลบซ่อนอยู่ตามใต้ก้อนหินบนหาดหิน หรือหาดทรายที่มีก้อนหินขนาดใหญ่ บนเกาะแตน เป็นปูขนาดเล็ก ขูดกินสาหร่าย และกินซากตามโอกาส กระดองรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัส ขอบด้านข้างของกระดองเรียบเป็นแนวตรงขนานกัน บนผิวกระดองมีริ้วเฉียงบน บริเวณด้านข้าง ก้ามขนาดใหญ่กว่าขาเดิน กระดองมีสีเหลืองอ่อนและลวดลายสีม่วงแดง ส่วนก้ามเป็นสีเหลืองอ่อนปนส้ม
11
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Parasesarma plicatum (Latreille, 1806) : ปูแสมก้ามส้ม ชื่อสามัญ Orange-claw mangrove crab วงศ์ Sesarmidae พบที่ป่าชายเลนริมคลองขนอม บริเวณค่อนข้างเปิดโล่ง หรือมีพรรณไม้ขนาดเล็ก ปกคลุมหน้าดิน ขุดรู ออกหากินในช่วงน้ำลง กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งพืช สัตว์ ซาก และตะกอนดิน เป็นปูขนาดเล็ก บนผิวกระดองมีริ้วเฉียงบนบริเวณด้านข้าง ก้ามมีขนาด ใหญ่ ปกคลุมด้วยตุ่มทั่วไป กระดองและมีสีน้ำตาลอ่อนและลายจุดน้ำตาลเข้ม, ดำ และ ขาวหม่น ก้ามมีสีส้มและมีลายจุดเล็กๆ สีขาวหม่น น้ำตาลเข้ม และดำประปราย
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
11
ปูน้ำเค็ม
Perisesarma eumolpe (De Man, 1895) : ปูแสมก้ามแดง ชื่อสามัญ Common face-banded mangrove crab วงศ์ Sesarmidae เป็นปูที่มีสีสันฉูดฉาดสวยงาม พบได้ง่ายภายในป่าชายเลนริมคลองขนอมที่ร่ม ครึ้ม ขุดรูอาศัยอยู่ตามรากไม้ โดยจะไม่ออกไปไกลจากรูมากนัก กินอาหารได้หลากหลาย เป็นปูขนาดเล็ก กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก้ามขนาดใหญ่มีปุ่มปกคลุมทั่วไป สี กระดองมีสีพื้นเป็นสีดำและมีลายประสีเขียวอมเหลือง ขอบด้านหน้ามีสีเขียว หรือฟ้า ปาก เป็นสีดำทึบ บนขามีลายเป็นสีขาว ส่วนท้องจะเป็นสีม่วงชัดเจน
120
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Perisesarma indiarum (De Man, 1902) : ปูแสมก้ามแดง ชื่อสามัญ Face-banded mangrove crab วงศ์ Sesarmidae พบอาศัยปะปนอยู่ในบริเวณเดียวกับ Perisesarma eumolpe มีพฤติกรรมและ อาหารไม่แตกต่างกัน พบที่ป่าชายเลนริมคลองขนอม กระดองเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีกระดองมีสีพื้นเป็นสีดำ ก้ามขนาดใหญ่ ขนาดเท่ากันหรือต่างกันเล็กน้อย มีปุ่มปกคลุม ทั่วไป และมีลวดลายสีฟ้าสว่าง ขอบด้านหน้ามีสีเขียว หรือฟ้าแบบสีสะท้อนแสง ปากมี สีสันต่างๆ เช่นสีฟ้า หรือสีส้ม ก้านตามีสีส้ม หรืออาจมีลายสีน้ำตาลด้วย ลายบนขาเดิน เป็นสีฟ้า ส่วนท้องมีสีเทาธรรมดาไม่โดดเด่น
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
121
ปูน้ำเค็ม
Thlamita crenata (Latreille, 1829) : ปูหิน ชื่อสามัญ Cranate swimming crab วงศ์ Portunidae พบเกือบทุกเกาะในหมู่เกาะทะเลใต้ และเกาะท่าไร่ พบออกหากินชุกชุมในช่วง น้ำลงในบริเวณชายฝั่งทั่วไป มีการนำมาบริโภคโดยชาวประมงและแกะเนื้อขายหรือขายใน รูปแบบปูต้มพร้อมรับประทานในตลาดท้องถิ่น จัดเป็นปูขนาดกลาง กระดองรูปไข่ สีเทา เข้มจนถึงสีเขียวอมเหลือง ก้ามผิวเรียบเป็นมัน มีสีฟ้าแซม ก้ามหนีบอันล่างและขอบล่าง ของก้ามหนีบอันบนมีสีน้ำตาล หนามบนส่วนต่างๆ มีสีฟ้า และปลายสีน้ำตาล
122
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปูน้ำเค็ม
Thlamita danae Stimpson, 1858 : ปูหิน ชื่อสามัญ Swimming crab วงศ์ Portunidae พบออกหากิ น ชุ ก ชุ ม ในช่ ว งน้ ำ ลงบริ เ วณชายฝั ่ ง ทั ่ ว ไปปะปนกั บ ปูห ิ น ชนิ ด Thlamita crenata ในเกาะแตน และเกาะวังนอก เป็นปูขนาดกลาง กระดองกว้างมาก กระดองโดยทั่วไปเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ขนบริเวณต่างๆ เป็นสีน้ำตาล บริเวณหนามใน ตำแหน่งต่างๆ มีสีขาวปลายสีน้ำตาล ก้ามหนีบมีสีน้ำตาลเข้ม
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
123
ทากเปลือย
ทากเปลือย ทากเปลือย (Nudibranch) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มเดียวกับหอย (Mollusc) แต่จะไม่มีเปลือก (Shell) ห่อหุ้มร่างกายที่อ่อนนุ่ม ทางอนุกรมวิธาน ทาก เปลือยถูกจำแนกอยู่ใน Subclass Opisthobranchia Order Nudibranchia ซึ่งพบเป็น จำนวนมากกว่า 900 ชนิด ทั่วโลก ทากเปลือยส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร จนถึงประมาณ 5 เซนติเมตร แต่มีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ถึงประมาณ 30 เซนติเมตร เช่น ทากเปลือยที่มีชื่อว่า Spanish dancer (Hexabranchus sanguineus) จากรูปร่าง ลักษณะที่หลากหลาย สีสันที่สวยสดงดงาม รวมถึงขนาดที่เล็กและพบหาได้ยาก จึงเป็นสิ่ง ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงในการดึงดูดผู้ที่สนใจหรือนักถ่ายภาพใต้น้ำมืออาชีพให้เฝ้าค้นหา และติดตาม ทากเปลื อ ยปราศจากเปลื อ กแข็ ง ห่ อ หุ้ ม ร่ า งกายและมี ส ี ส ั น ที ่ ส วยสดงดงาม ธรรมชาติจึงสร้างให้ทากเปลือยส่วนใหญ่สามารถผลิตสารพิษหรือสารทุติยภูมิขึ้นมาสะสม ไว้ภายในร่างกาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือปกป้องจากการถูกกินหรือการถูกล่าของสัตว์อื่น ซึ่ง สารเหล่านี้ได้รับมาจากอาหารโดยตรง แต่สีสันที่สวยงามซึ่งเป็นตัวบ่งบอกความเป็นพิษ ของทากเปลือยนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เหล่าผู้ล่าเกิดการเรียนรู้และหลีกเลี่ยงในการล่าทาก เปลือยเป็นอาหารด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ทากเปลือยบางชนิดพรางตัวให้กลมกลืนกับ ธรรมชาติ โดยเฉพาะการพรางตัวให้เข้ากับแหล่งอาหาร เพื่อให้ศัตรูมองเห็นได้ยาก ถึงแม้ ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ให้ทากเปลือยมีระบบป้องกันตนเองที่หลากหลาย แต่ทากเปลือยยัง คงมีผู้ล่าอีกหลายชนิด เช่น ดาวทะเลหรือปูบางชนิดที่สามารถกินทากเปลือยได้โดยปราศ จากอันตรายจากสารพิษที่สะสมในร่างกายของทากเปลือย หรือแม้กระทั่งดอกไม้ทะเล หนอนตัวแบน หรือทากเปลือยด้วยกันเองก็กินทากเปลือยชนิดอื่นเป็นอาหาร รวมถึง ปลา บางชนิดที่จัดเป็นผู้ล่าที่สำคัญของทากเปลือยด้วย ในทางตรงข้ามยังมีสัตว์ทะเล เช่น หมึก
124
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
ทะเลหรือหนอนตัวแบนบางชนิด ที่แสวงหาผลประโยชน์จากการเลียนแบบโดยการพรางตัว ให้มีสีสันเหมือนกับทากเปลือย เพื่อให้ศัตรูเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทากเปลือยที่มีพิษสะสมอยู่ ด้วยเช่นกัน ทากเปลือยพบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว โดยอาศัยอยู่ตาม แนวปะการัง พื้นทราย พื้นโคลน ป่าชายเลน รวมถึง กลางมหาสมุทร หรือตั้งแต่เขตน้ำขึ้น น้ำลงจนถึงระดับความลึกประมาณ 1,000 เมตร การที่ทากเปลือยส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มี ถิ่นอาศัยที่หลากหลาย มีอายุสั้นเพียงไม่กี่เดือนหรือไม่เกินหนึ่งปี หรือมีบางชนิดที่มีวงจร ชีวิตสั้นที่สามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เพียงครั้งเดียวนั้น ทำให้การเสาะแสวงหาทากเปลือยใน ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ท้าทายและไม่เป็นงานที่ง่ายนัก เช่นเดียวกับการที่ทากเปลือยหลายชนิด ออกหากินในเวลากลางคืน และมีหลายชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน ก็เป็นข้อจำกัดใน การสำรวจทากเปลือยเช่นกัน การเคลื่อนที่ของทากเปลือยส่วนใหญ่อาศัยการหดและยืดตัว ของกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า ทากเปลือยหลายชนิดสามารถว่ายน้ำโดยการดีดตัว ออกจากพื้นเข้าสู่มวลน้ำ ซึ่งการว่ายน้ำนี้นับเป็นการหนีผู้ล่าอีกวิธีหนึ่งของทากเปลือยด้วย ทากเปลือยแต่ละชนิดกินอาหารที่แตกต่างกัน อาหารของทากเปลือยเช่น ฟองน้ำ ไฮดรอยด์ เพรียงหัวหอม หอย ปูและกุ้งขนาดเล็ก รวมถึงปะการัง ดอกไม้ทะเล สาหร่าย ทะเล หรือหญ้าทะเล เป็นต้น โดยมีอวัยวะที่เรียกว่า Radula ทำหน้าที่เป็นฟันที่ใช้ในการ ขูดกินอาหาร ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกัน ทากเปลือยบางชนิดกินเหยื่อทั้งตัว มีบางชนิดที่กิน เฉพาะส่วนข้างในของเหยื่อ หรือบางชนิดจะทำการเจาะและดูดของเหลวจากเหยื่อเป็น อาหาร ทั้งนี้ Radula ของทากเปลือยมีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารนั้น อวัยวะที่ สำคัญอีกอย่างหนึ่งของทากเปลือยคือ Cerata ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหงือก ลักษณะที่แตกต่าง กันของ Cerata ที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนโดยการชูช่ออยู่บริเวณส่วนหลังของลำ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
12
ทากเปลือย
ตัว จึงสามารถนำไปใช้ในการจำแนกชนิดของทากเปลือยได้ นอกจากนั้น บริเวณส่วนหัว ของลำตัวทากเปลือยยังมีอวัยวะรับสัมผัสที่เรียกว่า Rhinophores ซึ่งทำหน้าที่เป็น ประสาทสัมผัสกลิ่นและรสในน้ำทะเลเพื่อใช้ในการหาอาหาร Rhinophores นี้มีรูปร่างที่ หลากหลายเช่นกัน ทากเปลือยเป็นสัตว์ที่เป็นกะเทย โดยมีเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทากเปลือยไม่สามารถผสมพันธุ์ภายในตัวเองได้ ทากเปลือยส่วนใหญ่เป็น กะเทยตลอดชีวิต มีเพียงบางชนิดที่เป็นเพศผู้เมื่ออยู่ในระยะวัยรุ่น และเปลี่ยนเป็นเพศ เมียเมื่อถึงระยะโตเต็มวัย ระยะเวลาการผสมพันธุ์อาจนานนับชั่วโมงหรือเป็นวัน ทั้งนี้ ทาก เปลือยทำการหาคู่โดยใช้ประสาทรับสัมผัสสารเคมี หรือใช้การสัมผัสร่างกายโดยตรงเพื่อ แยกกลุ่มหรือชนิด ทากเปลือยทำการวางไข่ทันทีหลังการผสมพันธุ์ โดยวางไข่บนแหล่ง อาหารหรือวางในบริเวณที่ใกล้เคียงกับแหล่งอาหารนั้น จำนวนไข่ที่วางแต่ละครั้งอาจสูงนับ ล้านฟอง ทากเปลือยส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมการดูแลไข่ ยกเว้นบางชนิด เช่น ทากเปลือย Pteraeolidia ianthina ที่มีการปกป้องดูแลไข่จนถึงระยะฟักออกมาเป็นตัว ตัวอ่อนที่ฟัก ออกมาจากไข่ส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนในระยะแรก ซึ่งใช้เวลาอยู่ในมวลน้ำประมาณ 1–2 สัปดาห์ ก่อนถึงระยะเปลี่ยนแปลง (Metamorphosis) เป็นระยะวัยรุ่นที่มีลักษณะคล้าย พ่อแม่ ถึงแม้ว่าทากเปลือยมีขนาดเล็ก แต่มีสัตว์หรือพืชบางชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกับทาก เปลือย เช่น กุ้งหรือปูขนาดเล็ก สาหร่ายซูแซนเทลลี เป็นต้น สัตว์ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกับทาก เปลือยนี้ส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากทากเปลือยด้านความปลอดภัยจากผู้ล่า เนื่องจาก ทากเปลือยมีการสะสมพิษในร่างกายนั่นเอง ปัจจุบันทากเปลือยหลายชนิดได้รับความสนใจอย่างมาก จากการที่สารพิษหรือ
12
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
สารทุติยภูมิที่สะสมในร่างกายของทากเปลือยนั้นมีฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยแสดงความเป็นพิษ ต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด ทำให้มีการสกัดสารทุติยภูมิมากกว่า 300 ชนิด จากทากเปลือย เช่น ทากเปลือย Jorunna funebris ที่พบกระจายทั่วไปในน่านน้ำไทย สามารถผลิตสาร ในกลุ่ม Renieramycins ที่แสดงความเป็นพิษต่อเซลมะเร็ง โดยทากเปลือย Jorunna funebris ได้รับสารทุติยภูมิกลุ่มนี้จากการกินฟองน้ำสีน้ำเงิน Xestospongia sp. เป็น อาหาร ปัจจุบัน ภาควิชาเภสัชเวช คณะเภสัชศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมดำเนินการศึกษาสารที่มีฤทธิ์ทาง ชีวภาพในทากเปลือย รวมถึงหาวิธีการผลิตสิ่งมีชีวิตที่นำมาสกัดสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยปราศจากการรบกวนระบบนิเวศในธรรมชาติ ถึงแม้ว่าทากเปลือยเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ทะเลกลุ่มอื่นใน แนวปะการัง แต่ทากเปลือยได้แสดงความสำคัญทั้งต่อระบบนิเวศและมีประโยชน์ต่อมวล มนุษย์ โดยเฉพาะความสำคัญในการนำมาสกัดสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในด้านเภสัชกรรม รวมถึง เป็นสัตว์ที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาด้านสรีรวิทยาของสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง เนื่องจากความอ่อนนุ่มของลำตัวที่ทำให้สามารถสังเกตอวัยวะภายในได้โดยง่าย ทากเปลือยทั่วโลกมีประมาณ 900 ชนิด แต่มีเพียงประมาณ 88 ชนิดเท่านั้นที่มี รายงานในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ที่พบจัดอยู่ในกลุ่มทากเปลือยที่พบยาก จากการ ศึกษาความหลากหลายของทากเปลือยบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ พบทากเปลือยทั้งหมด 15 ชนิด จาก 8 วงศ์ ทากเปลือยกลุ่มเด่นที่พบได้แก่ กลุ่ม Phyllidiidae หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าทากเปลือยปุ่ม นอกจากนี้ ทากเปลือย Jorunna funebris ที่สามารถผลิตสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพได้นั้นสามารถพบกระจายทั่วไปเช่นเดียว กับพื้นที่อื่นในอ่าวไทย ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
12
ทากเปลือย
Armina sp. : ทากเปลือยอินเดีย ชื่อสามัญ Indian armina วงศ์ Arminidae พบตามพื้นท้องทราย ส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน กินพวกปากกา ทะเลเป็นอาหาร ไข่มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายเจลลี่ ทากเปลือยนี้จะวางไข่บนพื้นทราย ซึ่งต่าง จากทากเปลือยชนิดอื่นที่ส่วนมากจะวางไข่เป็นแบบริบบินและวางไข่บนพื้นที่แข็ง ลำตัวมี เส้นสีขาวดำพาดตามยาวของลำตัว มีเท้าสีดำ และมีเส้นที่ขอบเท้าเป็นสีส้ม
12
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Bornella sp. : ทากเปลือยบอนเนลล่า ชื่อสามัญ Rowland’s bornella วงศ์ Bornellidae ทากเปลือยชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทย มักอยู่ตามก้อนหิน ซอกหิน หรือบนไฮดรอยด์ กินไฮดรอยด์เป็นอาหาร พบได้ไม่ค่อยบ่อยนัก เหงือกจะมีลักษณะหนา และแตกเป็นกิ่ง มีวงแดงอยู่ตรงปลาย และมีเส้นสีแดงคาดอยู่ตามตัว สามารถว่ายน้ำได้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
12
ทากเปลือย
Chromodoris preciosa (Kelaart, 1858) : ทากเปลือยขาว ชื่อสามัญ Precious chromodoris วงศ์ Chromodorididae พบตามก้อนปะการังที่ตายแล้ว หรือหิน ทากเปลือยชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกในน่าน น้ำไทย ลำตัวสีขาว และมีขอบสีแดงเหลืองรอบลำตัว ส่วนของเหงือกที่อยู่ด้านท้ายของลำ ตัวและอวัยวะรับสัมผัสที่อยู่ด้านหน้าจะเป็นสีแดงหรือสีม่วงอ่อน
130
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Dendrodoris denisoni (Angas, 1864) : ทากเปลือยปุ่มใส ชื่อสามัญ Tuberculose dendrodoris วงศ์ Dendrodorididae ทากเปลือยชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทย พบตามพื้นทราย ออกหากินใน เวลากลางวัน กินฟองน้ำเป็นอาหาร ลำตัวจะมีปุ่มใสคล้ายกับคนที่ป็นโรคอีสุกอีใส และมี จุดสีน้ำเงินปรากฏอยู่ตามลำตัว มีเหงือกที่เป็นพุ่มอยู่ด้านท้ายของลำตัว
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
131
ทากเปลือย
Flabellina rubrolineata (O’Donoghue, 1929) : ทากเปลือยฟราเบลลิน่า ชื่อสามัญ Red-lined flabellina วงศ์ Flabellinidae พบได้ ทั ่ วไปตามก้ อนหิ นหรื อปะการั งที ่ ตายแล้ วที่มีไฮดรอยด์ปกคลุม กิน ไฮดรอยด์เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางวัน สีของเหงือกอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ ชนิดของไฮดรอยด์ที่กินและปริมาณที่กิน พวกนี้จะมีฟันที่แข็งแรงเพื่อใช้ในการกัดอาหาร ปลายของเหงือกแต่ละอันจะมีถุงสำหรับเก็บเซลที่มีพิษเพื่อใช้ในการต่อยผู้ล่า ซึ่งเซลพิษ เหล่านั้นได้มาจากอาหารที่กินเข้าไป
132
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Fryeria picta (Pruvot-Fol, 1957) : ทากเปลือยปุ่มน้ำเงิน ชื่อสามัญ Black-rayed fryeria วงศ์ Phyllidiidae พบตามแนวปะการัง ออกหากินในเวลากลางวันและกินฟองน้ำเป็นอาหาร สีของ ลำตัวจะเป็นสีน้ำเงิน มีลายดำพาดตามลำตัวและมีปุ่มสีเหลืองที่ยกตัวขึ้นสูง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
133
ทากเปลือย
Glossodoris atromarginata (Cuvier, 1804) : ทากเปลือยทองหยิบ ชื่อสามัญ Black-margined glossodoris วงศ์ Chromodorididae พบได้ทั่วไปตามแนวปะการัง กินฟองน้ำเป็นอาหาร ขอบของลำตัวหรือ mantle จะพับขึ้นมา และมีเส้นสีดำอยู่ที่ขอบ วางไข่แบบเป็นริบบิน ลักษณะคล้ายกับดอกกุหลาบสี ขาว
134
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Glossodoris cincta (Bergh, 1888) : ทากเปลือยลิ้นแดง ชื่อสามัญ Girdled glossodoris วงศ์ Chromodorididae ทากเปลือยชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทย พบได้ค่อนข้างยาก อาศัยอยู่ ตามแนวปะการัง กินพวกฟองน้ำเป็นอาหาร ลำตัวจะออกสีแดงอ่อนจนถึงสีแดงเข้ม ลำตัว จะหนาและนิ่มคล้ายลิ้น ขอบของลำตัวมีสีขาวและน้ำเงิน วางไข่เหมือนริบบิน สีของไข่ที่ เป็นริบบินจะเป็นสีขาว
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
13
ทากเปลือย
Jorunna funebris (Kelaart, 1858) : ทากเปลือยโจลันนา ชื่อสามัญ Funeral jorunna วงศ์ Dorididae พบได้ทั่วไปบนก้อนฟองน้ำสีน้ำเงิน Xestospongia sp. และกินฟองน้ำสีน้ำเงิน เป็นอาหาร ทากเปลือยชนิดนี้สร้างสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพกลุ่ม Renieramycins ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลมะเร็ง ลำตัวมีพื้นขาวและมีจุดดำกระจายอยู่บนลำตัว
13
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Phyllidia coelestis Bergh, 1905 : ทากเปลือยปุ่มเหลือง ชื่อสามัญ Celestial phyllidia วงศ์ Phyllidiidae พบทั่วไปตามแนวปะการัง ออกหากินในเวลากลางวันโดยจะกินฟองน้ำเป็น อาหาร ลำตัวจะมีเส้นสีดำพาดยาวขนานกันในแต่ละเส้น และมีปุ่มเป็นสีเหลือง
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
13
ทากเปลือย
Phyllidia cf. elegans Bergh, 1869 : ทากเปลือยปุ่มขาวเหลือง ชื่อสามัญ Elegant phyllidia วงศ์ Phyllidiidae พบได้ทั่วไปตอนกลางวันบริเวณแนวปะการัง กินฟองน้ำเป็นอาหาร ลำตัวมีปุ่มสี เหลืองที่ยกตัวสูงขึ้นมาจากตัวมาก และพื้นลำตัวเป็นสีขาว มีลายดำพาดตามตัวไม่มากนัก
13
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Phyllidiella nigra (van Hasselt, 1824) : ทากเปลือยปุ่มดำ ชื่อสามัญ Black phyllidiella วงศ์ Phyllidiidae พบได้ทั่วไปในเวลากลางวันตามแนวปะการัง บนก้อนหิน มีสีดำทั้งตัวและมีปุ่ม เป็นสีชมพู ขาว หรือแดง เรียงกระจายตามลำตัว กินฟองน้ำเป็นอาหาร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
13
ทากเปลือย
Phyllidiella pustulosa (Cuvier, 1804) : ทากเปลือยปุ่มดำขาว ชื่อสามัญ Pustulose phyllidiella วงศ์ Phyllidiidae พบตามแนวปะการัง และบนหิน กินฟองน้ำเป็นอาหาร ออกหาอาหารในเวลากลาง วัน ตามลำตัวมีลายดำพาด และมีปุ่มสีขาวที่เรียงอยู่กันเป็นกลุ่ม บางตัวอาจมีปุ่มสีชมพูขึ้น อยู่กับสิ่งแวดล้อม
140
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือย
Phyllodesmium magnum Rudman, 1991 : ทากเปลือยแม็คนัม ชื่อสามัญ Great phyllodesmium วงศ์ Facelinidae พบได้ไม่ค่อยบ่อยนัก เนื่องจากทากเปลือยชนิดนี้กินปะการังอ่อนเป็นอาหาร มัน จึงมีต่อมหลั่งเมือกขนาดใหญ่อยู่ที่เท้าและปาก เพื่อป้องกันการถูกต่อยจากปะการังอ่อนใน ขณะที่กำลังกินอาหาร มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร ลำตัวเป็นสีชมพูอ่อนถึงเข้ม
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
141
เพรียงหัวหอม
เพรียงหัวหอม เพรียงหัวหอม (Ascidians) หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับสัตว์ทะเลชนิดนี้ แต่เพรียง หัวหอมมีความน่าสนใจใคร่รู้เนื่องจากเป็นสัตว์ทะเลชนิดเดียวที่สามารถบอกถึงเรื่องราว ของสายวิวัฒนาการของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลิง ดาวทะเล หอย ทากทะเล จน กลายมาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา วาฬ โลมา หรือก่อนที่จะมีมนุษย์ เป็นเสมือน รอยต่อระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังด้วยสาเหตุที่ว่า ในระยะ วัยอ่อนเพรียงหัวหอมมีรูปร่างคล้ายกับลูกอ๊อดและมีแกนค้ำจุนร่างกาย เช่นเดียวกับ มนุษย์ แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นเพรียงหัวหอมจะลงเกาะกับพื้นซึ่งอาจเป็นก้อนหินใต้น้ำ หรือ ซากปะการัง และเจริญเติบโตขึ้น ระยะนี้เองที่แกนค้ำจุนร่างกายได้ลดรูปลง จนไม่สามารถ พบได้อีก ทำให้มีข้อสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่า เพรียงหัวหอมจัดอยู่ในสัตว์กลุ่มไหนกัน แน่ แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าเพรียงหัวหอมจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง เพรียงหัวหอมมีรูปร่างได้หลากหลายแบบ เช่นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่เพียง ตัวเดียว การมีรูปร่างหลากหลายแบบนี่เองทำให้ยากต่อการศึกษา เช่น เพรียงหัวหอมที่อยู่ เพียงตัวเดียวและส่วนใหญ่มีขนาดตั้งแต่ 2-10 เซนติเมตร ดำรงชีวิตแบบเกาะติดทำให้ ผิวหนังชั้นนอกมีการเกาะติดของสาหร่ายหรือตะกอนดิน หรือแม้แต่เพรียงหัวหอมแบบอยู่ รวมกันเป็นกลุ่มก็มาเกาะติดอยู่ ทำให้มองเห็นได้ยาก เพรียงหัวหอมแบบอยู่รวมกันเป็น กลุ่มมีสีสันหลากหลาย บางชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้ตามแหล่งที่อยู่อาศัย จากลักษณะ ภายนอกซึ่งมีขนาดเล็กและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำให้อาจมองเห็นเหมือนฟองน้ำหรือ สาหร่ายที่เกาะอยู่ตามซากปะการังหรือก้อนหินใต้น้ำ ทำให้ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
142
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เพรียงหัวหอม
เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ทะเลกลุ่มอื่น ข้อมูลของเพรียงหัวหอมในประเทศไทยมี อยู่น้อย การค้นพบเพรียงหัวหอมส่วนใหญ่จะเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย และ อาจพบเพรียงหัวหอมชนิดใหม่ของโลกก็เป็นไปได้ จากการสำรวจความหลากหลายของชนิดเพรียงหัวหอมทะเล ที่อาศัยอยู่ในแนว ปะการังหมู่เกาะทะเลใต้ อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ พบเพรียงหัวหอม 10 ชนิด และคาดว่าจะเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย 1 ชนิดได้แก่ เพรียงหัวหอม กลุ่มใสดำฝักข้าวโพด Eudistoma sp. วงศ์ Polycitoridae
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
143
เพรียงหัวหอม
Ascidia sp. : เพรียงหัวหอมเดียวใสงวงช้าง ชื่อสามัญ - วงศ์ Ascidiidae ดำรงชี ว ิ ต แบบเดี ่ ย วเกาะติ ด ใต้ ซ ากปะการั ง ขนาดใหญ่ ป ระมาณ 4 – 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่บริเวณใต้ซากปะการัง ใต้ก้อนหินใต้น้ำ ความลึกประมาณ 3 - 5 เมตร ผิวหนังภายนอกใส สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน กินอาหารโดยการกรอง ตะกอนแขวนลอยในน้ำเป็นอาหาร ลักษณะเด่นของเพรียงหัวหอมกลุ่มนี้คือระยะห่าง ระหว่างท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออกจะห่างกันมาก นอกจากนี้ท่อน้ำเข้ายังสามารถยื่นยาวออก ไปได้ตามแหล่งที่อยู่อาศัย คล้ายต้นไม้แย่งกันหาแสง ส่วนใหญ่พบบริเวณน้ำใส สามารถ พบได้ทั่วไปทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
144
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เพรียงหัวหอม
Didemnum psammatode Sluiter, 1895 : เพรียงหัวหอมกลุ่มสี โคลน ชื่อสามัญ - วงศ์ Didemnidae
สามารถพบเห็นได้ตั้งแต่ความลึก 3 – 5 เมตร สามารถบอกถึงคุณภาพน้ำได้ เช่นเมื่อพบเพรียงหัวหอมกลุ่มสีโคลนอาศัยอยู่จำนวนมาก ทั้งใต้ซากก้อนหิน ซากปะการัง หรือแม้แต่เกาะติดเชือกอวน หรือเกาะติดด้านบนของก้อนปะการัง แสดงว่าบริเวณดังกล่าว มีปริมาณตะกอนสูง (น้ำขุ่น) เกือบทั้งปี ในกรณีกลับกันถ้าพบเห็นเพรียงหัวหอมกลุ่มสี โคลนเฉพาะใต้ซากปะการัง ปริมาณไม่มาก แสดงว่าบริเวณดังกล่าวมีปริมาณตะกอนต่ำ (น้ำใส) ดำรงชีวิตแบบเกาะติด บริเวณภายในผิวหนังมีการนำตะกอนดินมาปั้นเป็นก้อน กลม อยู่ภายในผิวหนังเป็นจำนวนมาก ทำให้มีสีคล้ายตะกอนดินสีน้ำตาล ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
14
เพรียงหัวหอม
Eudistoma sp. : เพรียงหัวหอมกลุ่มใสดำฝักข้าวโพด ชื่อสามัญ - วงศ์ Polycitoridae เพรียงหัวหอมชนิดนี้ยังไม่เคยพบที่อื่นมาก่อน พบได้เฉพาะบริเวณเกาะราบ เท่านั้น ดำรงชีวิตแบบอยู่รวมกัน เกาะติดด้านบนซากปะการัง ขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในน้ำ ทะเลความลึกประมาณ 1.2 - 2 เมตร ผิวหนังภายนอกใส ลักษณะเด่นของเพรียงหัวหอม กลุ่มนี้คือการมีผิวหนังร่วมกัน กินอาหารโดยการกรองตะกอนแขวนลอยในน้ำเป็นอาหาร
14
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เพรียงหัวหอม
Pseudodistoma sp. : เพรียงหัวหอมช่อเห็ด ชื่อสามัญ - วงศ์ Pseudodistomidae จัดเป็นเพรียงหัวหอมดำรงชีวิตแบบกลุ่ม มักพบได้บริเวณชายหาดเกาะติดด้าน บนปะการัง ขนาดใหญ่ ประมาณ 2 - 5 เซนติเมตร ความลึกประมาณ 0.5 - 3 เมตร ลักษณะพิเศษของเพรียงหัวหอมกลุ่มนี้คือ การมีอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายลำต้นของต้นไม้ สามารถยืดและหดได้ เมื่อยืดออกจะมีลักษณะคล้ายดอกเห็ด
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
14
เอคไคโนเดิร์ม
เอคไคโนเดิร์ม เอคไคโนเดิร์ม (Echinoderms) เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตเป็นสัตว์หน้าดิน ทั้งหมด สามารถพบได้ทั่วไปบริเวณชายฝั่งน้ำตื้นจนถึงทะเลลึก ปัจจุบันคาดว่ามี อยู่ประมาณ 6,500 ชนิดทั่วโลก และเป็นซากดึกดำบรรพ์อีกประมาณ 20,000 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 381 ชนิด เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจค่อนข้างมาก ที่เห็นเด่นชัดก็คือ ปลิงทะเล และไข่เม่นทะเลที่มีการ ค้าขายกันในราคาแพง ส่วนกลุ่มดาวทะเลและเม่นทะเลถูกนำไปใช้เป็น Food additive ในอาหารสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เอคไคโนเดิ ร ์ ม จั ด อยู่ ใ นไฟลั ม เอคไคโนเดอร์ ม าทา (Phylum Echinodermata) แบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นดาวขนนก (Crinoidea) ชั้นดาวทะเล (Asteroidea) ชั้นดาวเปราะ (Ophiuroidea) ชั้นเม่นทะเล (Echinoidea) และ ชั้นปลิงทะเล (Holothuroidea) มีลักษณะพิเศษคือ โครงสร้างภายในร่างกาย เป็นสารหินปูนชิ้นเล็ก (Ossicle) ฝังอยู่ ทำหน้าที่ค้ำจุนร่างกาย นอกจากนี้เอคไค โนเดิร์มยังเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นสูงเพียงชนิดเดียวที่มีสมมาตรแบบ รัศมี การสืบพันธุ์ของเอคไคโนเดิร์มส่วนใหญ่เป็นการปฏิสนธิภายนอกลำตัว (External fertilization) โดยที่เพศผู้และเพศเมียจะปล่อยสเปิร์มและไข่ออกมา ผสมกันในมวลน้ำ จากนั้นไข่ที่ได้รับการผสมจะพัฒนาเป็นตัวอ่อน 3 - 4 ระยะ
14
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
ก่อนจะลงเกาะกับพื้นเพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป อาหารของเอคไคโน เดิร์มจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรืออาจเป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตกอยู่ตามพื้นท้อง ทะเลก็ได้ การศึกษาสัตว์ลำตัวผิวหนามเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดย Dr. Th. Mortensen ชาวเดนมาร์ค ได้เข้ามาเก็บตัวอย่างระหว่างปี พ.ศ. 2442-2443 บริเวณหมู่เกาะสีชัง หมู่เกาะคราม หมู่เกาะแสมสาร หมู่เกาะเสม็ด และหมู่เกาะ ช้าง แต่ได้เขียนรายงานเฉพาะกลุ่มของเม่นทะเลจำนวน 16 ชนิด ในกลุ่มดาว เปราะ Dr. Rene’ Koehler ได้รายงานในปี พ.ศ. 2473 จำนวน 29 ชนิด และ กลุ่มปลิงทะเลครอบครัว Synaptidae Heding ได้รายงานไว้ในปี พ.ศ. 2471 จำนวน 6 ชนิด จากการสำรวจเอคไคโนเดิร์มบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ ในพื้นที่เกาะแตน และเกาะมัดสุ่ม เกาะวังใน เกาะวังนอก และ เกาะราบ จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถจำแนกชนิดของเอคไคโนเดิร์มที่พบ ได้ 13 ชนิด 10 สกุล 8 วงศ์ แต่ยังไม่สามารถจำแนกชนิดที่แน่นอนได้ 2 ชนิด โดยมีปลิงทะเล Holohturia (Mertensiothuria) leucospilota Brandt, 1835 พบเป็นชนิดเด่น สามารถพบได้ทุกเกาะที่ทำการสำรวจ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
14
เอคไคโนเดิร์ม
Lamprometra palmata J.Müller, 1841 : ดาวขนนกหลากสี ชื่อสามัญ Variated feather star วงศ์ Mariametridae เป็นชนิดที่มีความหลากหลายของสีสันมาก ทั้งดำ ขาว ดำสลับขาว น้ำตาลสลับ ขาว เขียวสลับเหลือง ม่วงสลับส้ม เป็นต้น พบบริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม และเกาะวังใน อาศัยอยู่ในแนวปะการังที่มีกระแสน้ำไหลเบาๆ ในเวลากลางวันจะเกาะอยู่ใต้ปะการังโต๊ะ หรือซ่อนตัวตามซอกของปะการัง โดยรวมกลุ่มกันอยู่ 5-7 ตัว แต่เมื่อถึงช่วงเย็นหมดแสง อาทิตย์ ดาวขนนกก็จะทยอยออกจากที่ซ่อนเพื่อหาอาหาร ใช้แขนจำนวนมากโบกจับสัตว์ ทะเลขนาดเล็กแล้วส่งไปยังปากที่อยู่ตรงกลางลำตัวกินเป็นอาหาร ลักษณะรูปร่างคล้ายดาว แตกแขนงในแนวรัศมี มีแขน 30-40 แขน
1 0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
Liparometra regalis P.H. Carpenter, 1888 : ดาวขนนกจักรพรรดิ ชื่อสามัญ Royal feather star วงศ์ Mariametridae มีการแพร่กระจายค่อนข้างจำกัดโดยพบเฉพาะที่เกาะวังใน ซ่อนตัวรวมอยู่กับ ดาวขนนกหลากสี ใต้ก้อนปะการัง ดาวขนนกจักรพรรดิมีลักษณะคล้ายกับดาวขนนกหลาก สี จะแตกต่างกันตรงที่กิ่งของแขนที่อยู่ใกล้ปากมีการเรียงลำดับของขนาดกิ่งของแขนที่ แตกต่างกัน ดาวขนนกได้ชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่ (Living fossil) เนื่องมา จากว่าดาวขนนกยังคงรูปร่างลักษณะเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่จุดกำเนิดเมื่อหลาย ร้อยล้านปีก่อนจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของชีวิตที่ทรหดอดทนคู่โลกนี้ มาตั้งแต่อดีต ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 1
เอคไคโนเดิร์ม
Diadema setosum (Lesk, 1778) : เม่นดำหนามยาว ชื่อสามัญ Long - spined sea urchin วงศ์ Diadematidae เป็นสัตว์ทะเลชายฝั่งที่พบเห็นได้ง่ายมากในประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตร้อนอย่าง เช่นประเทศไทย แต่พบกระจายบริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะวังใน และเกาะวังนอก ไม่มากนัก มักพบในแหล่งที่อยู่อาศัยได้หลายแบบ เช่น พื้นทราย โขดหิน หญ้าทะเล และ แนวปะการัง เม่นดำหนามยาวมีขากรรไกรขนาดใหญ่และแข็งแรงอยู่ด้านล่างของลำตัว จึง ทำให้ขูดกินสาหร่ายที่เกาะบนพื้นผิวแข็งๆ อย่างก้อนหิน ซากปะการังหรือชิ้นส่วนของสัตว์ ที่ตายแล้วได้ จากนั้นจึงขับถ่ายของเสียออกทางช่องทวารที่อยู่ด้านบนของลำตัวหรือตรงจุด ที่เราเห็นเป็นลูกโป่งวงแหวนสีส้ม
1 2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
Holothuria (Halodeima) atra Jaeger, 1833 : ปลิงดำตัวแข็ง ชื่อสามัญ Lollyfish วงศ์ Holothuriidae พบบริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม และเกาะวังใน อาศัยอยู่บนพื้นทรายบริเวณ ชายฝั่งทะเลน้ำตื้น ชอบนำเม็ดทรายมาปกคลุมผิวลำตัวสำหรับพรางตัวจากนักล่า ถ้าปัด เม็ดทรายออกจะพบกับผิวสีดำสนิท และเมื่อใช้นิ้วกดเบาๆ จะรู้สึกว่าผนังลำตัวแข็งเป็นมัน ลื่น กินเศษซากที่ปะปนอยู่ในพื้นทรายเข้าไปพร้อมกัน จากนั้นระบบทางเดินอาหารจะคัด เฉพาะเศษซากที่เป็นอาหารเท่านั้น และขับถ่ายทรายที่สะอาดออกมา หรืออาจพูดได้ว่า “ทรายที่ขับถ่ายออกมาสะอาดกว่าทรายก่อนกินเสียอีก”
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 3
เอคไคโนเดิร์ม
Holothuria (Metensiothuria) leucospilota Brandt, 1835 : ปลิงดำตัวนิ่ม ชื่อสามัญ Black sea cucumber วงศ์ Holothuriidae พบบริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะวังใน เกาะวังนอก และเกาะราบ ปัจจุบัน ปลิงชนิดนี้ลดปริมาณลงอย่างมาก เพราะมีการนำไปแปรรูปโดยวิธีการรมควัน ส่งขายเป็น วัตถุดิบในส่วนผสมของยาประเภทบำรุงกำลังตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ ปลิงดำตัว นิ ่ ม เป็ น สั ต ว์ ท ี ่ ม ี รู ป ร่ า งคล้ า ยตั ว หนอนตั ว มหึ ม า โตเต็ ม ที ่ ม ี ค วามยาวลำตั ว กว่ า 30 เซนติเมตร เมื่อใช้มือลูบผิวลำตัวจะรู้สึกขรุขระแต่อ่อนนุ่ม ชอบหลบอยู่ในซอกปะการัง และยื่นเฉพาะส่วนหัวออกมาหาอาหารบนพื้นทะเล ในยามถูกรบกวนจะพ่นใยเหนียวสีขาว ออกทางก้น สร้างความรำคาญให้แก่ผู้บุกรุกได้
1 4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
Holothuria (Semperothuria) flavomaculata Semper, 1868 : ปลิงทะเลจุดเหลือง ชื่อสามัญ Yellow-spot sea cucumber วงศ์ Holothuriidae ในพื้นที่หมู่เกาะทะเลใต้พบที่เกาะวังในเท่านั้น มีอุปนิสัยชอบหลบซ่อนอยู่ในแนว ปะการังกลุ่มปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จึงทำให้พวกมัน เป็นปลิงทะเลที่ลึกลับและพบได้ค่อนข้างยาก แต่ในเวลากลางคืนพวกมันจะยื่นส่วน หัวออกจากที่ซ่อน และใช้หนวดเก็บตะกอนซากสิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่บนพื้นที่ใกล้ๆ กินเป็น อาหาร ปลายหนวดและปุ่มเล็กๆ บนลำตัวมีสีเหลืองสดใส นับเป็นลักษณะเด่นของปลิง ทะเลชนิดนี้ ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
เอคไคโนเดิร์ม
Stichopus cf. horrens Selenks, 1867 : ปลิงหินปีศาจ ชื่อสามัญ Demon sea cucumber วงศ์ Stichopodidae พบนอนอยู่ข้างๆ ก้อนปะการัง ในพื้นที่แนวปะการังบริเวณเกาะแตน และเกาะ มัดสุ่ม ในธรรมชาติปลิงหินปีศาจจะมีรูปทรงและสีสันที่ใกล้เคียงกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทำให้ยากต่อการสังเกต ลักษณะเด่นคือลำตัวเป็นทรงกระบอกสี่เหลี่ยมยาวซึ่งต่างจากกลุ่ม อื่นๆ ที่เป็นทรงกระบอกกลมยาว ผิวลำตัวจะเป็นปุ่มปมขนาดใหญ่มองดูน่าเกลียดน่ากลัว อย่างมาก และเมื่อใดที่มีผู้ที่ประสงค์จะกินมัน เจ้าปลิงปีศาจจะแตกผนังลำตัวออกเพื่อให้ เป็นอาหารแก่ศัตรู โดยส่วนลำตัวจะสามารถสร้างผนังขึ้นใหม่มาปกคลุมลำตัวได้อีกครั้ง เรียกว่า “ยอมเสียอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต” นั่นเอง
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
Synaptula sp. : ปลิงสร้อยไข่มุกสีน้ำตาล ชื่อสามัญ Brown - pearl cucumber วงศ์ Synaptidae พบที่เกาะแตนและเกาะวังใน ปลิงสร้อยไข่มุกมักอาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำทะเล โดยปลิงจะใช้หนวดแตะตะกอนที่ปกคลุมอยู่บนฟองน้ำกินเป็นอาหาร ปลิงสร้อยไข่มุกจัด อยู่ในกลุ่มปลิงทะเลที่ไม่มีเท้าท่อ มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ส่วนหัวมีหนวดเรียงกัน เป็นแนวรัศมีรอบปาก หนวดแตกแขนงคล้ายขนนก ผนังลำตัวบางมากจนสามารถเห็น อวัยวะภายในได้ เวลาเคลื่อนที่จะอาศัยการยืดหดตัวของผนังลำตัวคลานไปตามพื้น
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
เอคไคโนเดิร์ม
Synaptula sp. : ปลิงสร้อยไข่มุกสีขาว ชื่อสามัญ White-pearl sea cucumber วงศ์ Synaptidae พบบริเวณขอบของแนวปะการังด้านทะเลเปิดในพื้นที่เกาะแตน เกาะมัดสุ่ม เกาะ วังใน และเกาะวังนอก ในบรรดาปลิงทะเล ปลิงสร้อยไข่มุกสีขาวนับเป็นปลิงที่มีขนาดเล็ก และรูปร่างหน้าตาแปลกกว่าปลิงทะเลกลุ่มอื่น ลักษณะเด่นคือ มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายงู และไม่มีเท้าท่อ ดำรงชีวิตบนตัวของฟองน้ำได้หลายชนิด เช่น ฟองน้ำครก และฟองน้ำ เมือกสีดำ ตะกอนที่ติดตัวฟองน้ำหลังจากกระบวนการกรองเป็นอาหารที่ปลิงทะเลชนิดนี้ โปรดปราน
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
Ophiactis savignyi (Müller & Troschel, 1842) : ดาวเปราะหนามเหลี่ยม ชื่อสามัญ Truncated-spined brittle stars วงศ์ Ophiactidae พบบริเวณเกาะแตนและเกาะวังใน อาศัยร่วมกับฟองน้ำชนิดต่างๆ เช่น ฟองน้ำ สีน้ำเงิน ฟองน้ำเคลือบสีม่วงแข็ง ฟองน้ำเคลือบสีส้ม และฟองน้ำหนามสีขาว มักอยู่เป็น กลุ่มอย่างแออัดในก้อนฟองน้ำ จึงทำให้รูปร่างของลำตัวบิดเบี้ยว ดาวเปราะจะอาศัยหลบ ภัยและหากินในก้อนฟองน้ำ ดาวเปราะหนามเหลี่ยมมีลักษณะคล้ายดาวทะเล แต่ไม่มีร่อง ใต้แขนและแผ่นกลางตัวไม่เชื่อมติดกับแขน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแผ่นกลางตัว 0.5 - 5.0 มิลลิเมตร ลำตัวสีเขียวสลับขาว โดยปกติจะมีจำนวน 6 แขน บ่อยครั้งที่พบดาวเปราะ ชนิดนี้ไม่สมบูรณ์ เหลือเพียง 2-3 แขน เนื่องจากถูกกัดกินจากสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะปลา ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
เอคไคโนเดิร์ม
Ophiothela danae Verrill, 1869 : ดาวเปราะกัลปังหา ชื่อสามัญ Sea fan brittle stars วงศ์ Ophiotrichidae พบที่บริเวณเกาะแตน และเกาะมัดสุ่ม อาศัยเกาะนิ่งอยู่กับกิ่งกัลปังหาสีแดง เนื่องจากดาวเปราะชนิดนี้ใช้แขนพันเกี่ยวแนบแน่นไปกับกิ่งก้านกัลปังหาจนแทบมองไม่ ออกว่ามีดาวเปราะเกาะอยู่ มีสีสดใสและหลากหลายสี เช่น สีแดง สีส้ม สีเหลือง และ สีชมพู แผ่นกลางตัวรูปห้าเหลี่ยมขนาด 0.5 - 5.0 มิลลิเมตร มีจำนวน 5 แขน แผ่นกลาง ลำตัวและแขนมีเม็ดหินปูนเล็กๆ กระจายทั่วไปทางด้านบน หนามของแขนสั้นมากและม้วน บิดงอเป็นวงกลม
1 0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เอคไคโนเดิร์ม
Ophiothrix exigua Lyman, 1874 : ดาวเปราะหนามหยัก ชื่อสามัญ Sawtoothed-spined brittle stars วงศ์ Ophiotrichidae พบบริเวณเกาะแตน เกาะมัดสุ่ม และเกาะวังใน มักอาศัยอยู่บนลำตัวของฟองน้ำ เช่น ฟองน้ำสีเงิน ฟองน้ำเคลือบสีม่วงแข็ง ฟองน้ำเคลือบสีส้ม ฟองน้ำหนามสีขาว และ ฟองน้ำยืดหยุ่นหนามดำ กินอาหารโดยใช้หนามบนแขนเป็นที่ดักจับตะกอนที่ลอยเข้ามา แล้วใช้เท้าท่อที่มีขนาดใหญ่และยืดยาวออกมารูดตะกอนที่ติดบนหนามเข้าสู่ปาก ดาว เปราะชนิดนี้มีหลายสีแต่ส่วนใหญ่จะพบสีเทาและสีม่วง ลำตัวมีขนาด 1.0 - 9.0 มิลลิเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 1
ปลาในแนวปะการัง
ปลาในแนวปะการัง “ปลาในแนวปะการัง” หมายถึง ปลาที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากแนว ปะการังในด้านต่างๆ เช่น เป็นที่อาศัยหลบภัย เป็นแหล่งเลี้ยงตัวในช่วงวัยอ่อน เป็นแหล่งอาหาร เป็นพื้นที่ผสมพันธุ์วางไข่ เป็นต้น ปลาที่ถือว่าเป็นปลาในแนว ปะการังจะต้องมีช่วงชีวิตช่วงใดช่วงหนึ่งของวงชีวิตที่เข้ามาใช้ชีวิตหรือใช้ ประโยชน์จากแนวปะการัง หรือเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังตลอดชีวิต สามารถแบ่งลักษณะการใช้ประโยชน์ในแนวปะการังของปลาออกได้เป็น 4 ลักษณะคือ 1. ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังตลอดชีวิต (Permanent Resident species) เป็นปลาที่ใช้เวลาตลอดทั้งวงจรชีวิตตั้งแต่เกิด โต ผสมพันธุ์วางไข่ อยู่ ในแนวปะการั ง ได้ แ ก่ ปลาสลิ ด หิ น (Pomacentridae) ปลานกขุ น ทอง (Labridae) 2. ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังเพียงบางช่วงของชีวิต (Temporal Resident species) เป็นปลาที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแนวปะการังเพียงบางช่วงของ ชีวิต มีการเคลื่อนย้ายออกจากแนวปะการังไปยังแหล่งอาศัยอื่น เช่น ปลากะพง (Lutjanidae) บางชนิด หรือปลาหางแข็ง (Carangidae) บางชนิด เป็นต้น 3. ปลาที ่ เ ข้ า มาอาศั ย หากิ น ในแนวปะการั ง เพี ย งบางช่ ว งเวลา (Transients species) เป็นปลาที่โดยปกติมักอาศัยอยู่ในแหล่งอาศัยอื่นๆ และ เข้ามาอาศัยหากินในแนวปะการังเป็นบางช่วงเช่นในเวลาน้ำขึ้น ในช่วงกลางวัน หรือกลางคืน ปลากลุ่มนี้มักได้แก่ ปลาทรายขาว (Nemipteridae)
1 2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
4. ปลาที่ผ่านเข้ามาในแนวปะการังโดยบังเอิญ (Casual species) เป็น ปลาที่โดยปกติไม่ได้มีกิจกรรมการดำรงชีวิตในแนวปะการัง แต่อาจมีการพบได้ โดยบั ง เอิ ญ ขณะที ่ ป ลาว่ า ยผ่ า นเข้ า มาในแนวปะการั ง นั ้ น เช่ น ปลาวั ว (Monacanthidae) บางชนิด หรือ ปลาจิม้ ฟันจระเข้ (Syngnathidae) บางชนิด
ความน่าสนใจของปลาในแนวปะการัง ปลาในแนวปะการั ง มี ค วามหลากหลายทั ้ ง ในด้ า นของชนิ ด และ พฤติกรรม ที่น่าสนใจและพบเห็นได้ง่าย ได้แก่ การกินอาหาร สามารถจำแนก ปลาที่มีพฤติกรรมการกินอาหารแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร (Planktivorous fishes) โดยส่วน มากพบว่ายหากินอยู่ในมวลน้ำมักจะว่ายรวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในฝูงหนึ่งๆ อาจจะ มีปลาหลายชนิดว่ายปะปนกันอยู่ บางชนิดอาจว่ายรวมฝูงอยู่นิ่งๆ ในพื้นที่ใด พื ้ น ที ่ ห นึ ่ ง โดยไม่ เ คลื ่ อ นฝู ง ไปไหน เช่ น ปลาสลิ ด หิ น ขนาดเล็ ก (Pomacentridae) บางชนิดอพยพเคลื่อนฝูงไปเรื่อยๆ เช่น ปลากล้วยชนิด ต่างๆ (Caesionidae) 2. ปลาที่กินพืชเป็นอาหาร (Herbivorous fishes) พบเห็นได้ง่ายใน บริเวณที่น้ำตื้นแสงส่องถึงพื้น เช่น แนวราบตอนบนของแนวปะการัง เนื่องจากมี ความสมบูรณ์ของสาหร่ายที่เป็นอาหาร ปลาในกลุ่มนี้จะตอดกินสาหร่ายเส้นใยที่ เกาะกั บ พื ้ น ผิ ว เช่ น ปลาสลิ ด หิ น (Pomacentridae) ปลาสลิ ด ทะเล (Siganidae) และกลุ่มที่ครูดกินทั้งสาหร่ายและผิวปะการัง เช่น ปลานกแก้ว (Scaridae) ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 3
ปลาในแนวปะการัง
3. ปลาที ่ ก ิ น สั ต ว์ ไ ม่ ม ี ก ระดู ก สั น หลั ง ขนาดเล็ ก เป็ น อาหาร (Carnivorous fishes) มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในแนวปะการัง พบแพร่ กระจายอยู่ในทุกพื้นที่ มักกินสัตว์จำพวกกุ้ง ปู หอย หนอน ไข่และตัวอ่อนสัตว์ น้ำอื่นๆ ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ ได้แก่ ปลานกขุนทอง (Labridae) ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) และปลาทราย (Nemipteridae) 4. ปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous fishes) สามารถกินอาหาร ได้ ท ุก ประเภทที ่ พ บ มั ก จะพบได้ บ นแนวราบตอนบน เช่ น ปลาสลิ ด หิ น (Pomacentridae) 5. ปลาที่กินปลาเป็นอาหาร (Piscivorous fishes) เป็นปลาที่ควบคุม และรักษาคุณภาพของประชากรปลาในแนวปะการัง โดยเป็นผู้คัดเลือกประชากร ปลาเหยื่อที่อ่อนแอออกจากธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีคุณค่าทาง เศรษฐกิจ เช่น ปลากะพง (Lutjanidae) ปลาเก๋า (Serranidae) ปลาหางแข็ง (Carangidae) เป็นต้น บทบาทที่มีผลต่อความสมดุลและการพัฒนาของแนวปะการังอันเกิด จากพฤติกรรมการกินอาหารของปลาในแนวปะการังที่สำคัญๆ ได้แก่ - การเป็นผู้ควบคุมสมดุลของประชากรสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เป็น บทบาทที่สำคัญมาก เนื่องจากมีผลต่อกระบวนการสร้างและสลาย อันเป็น กระบวนการที่สำคัญต่อการพัฒนาของแนวปะการัง ปลาจะทำหน้าที่ควบคุมสิ่งมี ชีวิตอื่นที่อาจสร้างความเสียหายต่อแนวปะการัง และควบคุมประชากรปลาด้วย กันให้อยู่ในภาวะสมดุล - การเป็นผู้ถ่ายทอดพลังงานจากระบบนิเวศหนึ่งสู่ระบบนิเวศอื่นๆ จากการกินอาหารที่หลากหลาย และมีการเคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยจากแหล่ง อาศัยหนึ่งไปสู่แหล่งอาศัยอื่น ทำให้ปลาเป็นผู้ทำให้เกิดการถ่ายเทของพลังงาน จากแนวปะการังไปยังแหล่งอาศัยอื่น
1 4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
- ปลาบางชนิดสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง เช่นปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) ที่กินโพลิปปะการังเป็นอาหาร สามารถชี้วัด ถึงความสมบูรณ์ของปะการังมีชีวิต และชนิดของปะการังที่ปลาเลือกกินได้ ปลา ที่กินปลาเป็นอาหาร เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง เป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ ของปลาที่เป็นเหยื่อได้ จากการดำน้ำสำรวจไปทั่วบริเวณแนวปะการังในพื้นที่ศึกษา เพื่อจัดทำ บัญชีรายชื่อปลาในแนวปะการัง พบว่ามีปลาในแนวปะการังรวมทั้งสิ้น 95 ชนิด จาก 57 สกุล และ 30 วงศ์ ปลาวงศ์ เ ด่ น ที ่ พ บ ได้ แ ก่ ปลาสลิ ด หิ น (Pomacentridae) ที่มีความเด่นทั้งด้านจำนวนตัว และจำนวนสมาชิกในวงศ์ (21 ชนิด) ส่วนปลาที่พบเด่นรองลงมา ได้แก่ ปลานกขุนทอง (Labridae) ซึ่งมี ความเด่นในด้านจำนวนสมาชิกในวงศ์ (14 ชนิด) ปลาที่พบมากที่สุดในแนวปะการังของทุกเกาะในบริเวณหมู่เกาะทะเล ใต้ ได้แก่ ปลาสลิดหินเล็กสีเทา (Neopomacentrus filamentosus) ซึ่งมี ความเด่นทั้งในแง่จำนวนตัวและความถี่ที่พบ ปลาชนิดนี้พบมากในบริเวณที่มี ก้อนปะการังขนาดใหญ่ และเป็นปลาที่หากินอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่โดยว่ายหากิน อาหารในมวลน้ำเหนือแนวปะการัง ปลาชนิดนี้พบได้มากในแนวปะการังทั่วไป ของอ่าวไทย บริเวณเกาะราบเป็นพื้นที่ที่มีความชุกชุมของปลามากที่สุดในการ สำรวจครั้งนี้ ปลาที่พบมากในพื้นที่เกาะราบ ได้แก่ ปลาสลิดหินเล็กสีเทา (Neopomacentrus filamentosus) ซึ ่ ง มี จ ำนวนตั ว มากกว่ า พื ้ น ที ่ อ ื ่ น ๆ เนื่องจากเกาะราบประกอบด้วยปะการังโขด (Porites sp.) ขนาดใหญ่จำนวน มาก ซึ่งเป็นลักษณะที่มักพบปลาชนิดนี้ว่ายน้ำรวมฝูงขนาดใหญ่อยู่โดยรอบ เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบว่ายรวมกลุ่มรอบก้อนหินหรือปะการังก้อน ในขณะที่ แนวปะการังของเกาะวังในฝั่งตะวันออกมีความชุกชุม และจำนวนชนิดของปลา น้อยกว่าทุกสถานีสำรวจ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นด้านที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำขุ่น แนวปะการังจึงพัฒนาได้ไม่ดีนัก ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ปลาในแนวปะการัง
Abudefduf bengalensis (Bloch,1787) : ปลาสลิดหินบั้งหางมน ชื่อสามัญ Bengal sergeant วงศ์ Pomacentridae พบง่ายในบริเวณขอบแนวปะการังภายในหมู่เกาะทะเลใต้ โดยจะอยู่เป็นตัว เดี่ยวๆ หรือรวมกลุ่มกันหลวมๆ ประมาณ 6-7 ตัว ปลาชนิดนี้มีอาณาเขตชัดเจน เป็นปลา ที่ค่อนข้างหวงพื้นที่ ในช่วงผสมพันธุ์อาจเปลี่ยนสีสันเพื่อประกาศเขตแดน และมีความ ก้าวร้าวมากขึ้น มักขับไล่ปลาชนิดอื่นที่ผ่านเข้ามาในอาณาเขต กินสาหร่ายเส้นใย หอย และปูตัวเล็กๆ โดยมักขึ้นมาหากินในแนวราบในช่วงที่น้ำขึ้น ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาว ประมาณ 17 เซนติเมตร
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
Abudefduf vaigiensis (Quoy & Gaimard, 1825) : ปลาสลิดหินบั้งท้องขาว ชื่อสามัญ Indo-pacific sergeant วงศ์ Pomacentridae พบได้บ่อยที่สุดเนื่องจากเป็นปลาที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่เคยหา อาหารกินเองในธรรมชาติมาเป็นปลาที่รอกินอาหารจากนักท่องเที่ยว โดยปกติพบเป็นฝูง ขนาดใหญ่ในบริเวณแนวขอบปะการัง กินแพลงก์ตอนสัตว์ สาหร่ายเส้นใย และสัตว์ไม่มี กระดูกสันหลังขนาดเล็ก ปลาขนาดเล็กมักหลบซ่อนอยู่ในดงสาหร่ายทะเล ในจุดดำน้ำตื้น ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ปลาในแนวปะการัง
Archamia fucata (Cantor, 1849) : ปลาอมไข่แถบเหลือง ชื่อสามัญ Orangelined cardinalfish วงศ์ Apogonidae พบได้ไม่บ่อยนักในแนวปะการังของหมู่เกาะทะเลใต้ เนื่องจากมีนิสัยชอบหลบ ซ่อนอยู่ในซอกโพรงของแนวปะการังในเวลากลางวัน ปลาตัวผู้มีพฤติกรรมการอมไข่ไว้ใน ปากภายหลังการผสมพันธุ์จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัวจึงปล่อยลูกออกจากปากจึงเป็นที่มาของ ชื่อ “ปลาอมไข่” โตเต็มที่ขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร ตามีขนาดใหญ่เนื่องจากเป็นปลาที่ มีพฤติกรรมชอบออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ลูกปลาและสัตว์ใม่มีกระดูกสัน หลังจำพวกกุ้งปูขนาดเล็ก
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
Caesio cuning (Bloch,1791) : ปลาเหลืองปล้องหม้อ ชื่อสามัญ Redbellied yellowtail fusilier วงศ์ Caesionidae ในหมู่เกาะทะเลใต้สามารถพบปลาชนิดนี้ที่มีขนาดใหญ่ได้ในแนวปะการังบริเวณ เกาะแตน และพบมากบริเวณที่เป็นกองหินใต้น้ำ แนวปะการังในระดับน้ำลึกเกิน 6 เมตร ขึ้นไป มักจะว่ายรวมฝูงขนาดใหญ่ 20- 50 ตัว หากินบริเวณกลางน้ำ ส่วนปลาขนาดเล็ก มักเข้ามาหากินใกล้แนวปะการัง กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นปลา เศรษฐกิจที่มีราคาแพงจึงมักถูกจับโดยชาวประมงอยู่เสมอ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ปลาในแนวปะการัง
Cephalopholis boenak (Bloch, 1970) : ปลากะรังบั้ง ชื่อสามัญ Chocolate hind วงศ์ Serranidae เป็นปลากะรังที่พบได้บ่อยที่สุดในแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ อาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีปะการังไม่ค่อยสมบูรณ์นัก มักพบนอนอยู่บนก้อนปะการังหรือกอปะการังเขา กวาง เป็นปลาที่มีนิสัยขี้สงสัย ไม่ค่อยกลัวนักดำน้ำที่เข้าใกล้ เมื่อตกใจจะว่ายหลบเข้าซอก ปะการัง อาหารได้แก่ปลาขนาดเล็ก กุ้ง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอื่นๆ เป็น ปลาในวงศ์ปลากะรังขนาดเล็ก บางท้องที่เรียกว่า “ไอ้ป๊อด” ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร
1 0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
Chaetodon octofasciatus Bloch, 1787 : ปลาผีเสื้อลายแปดเส้น ชื่อสามัญ Eightband butterflyfish วงศ์ Chaetodontidae เป็นปลาผีเสื้อชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ มักจะพบอยู่เป็นคู่ หรือฝูงขนาดเล็กไม่เกิน 3-4 ตัว ในบริเวณที่มีปะการังสมบูรณ์ ปลาขนาดเล็กมักอาศัยอยู่ ร่วมกับปะการังเขากวาง อาหารได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก และตัวปะการัง ปลาผีเสื้อเป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของแนวปะการัง เนื่องจากปลาผีเสื้อกินตัวปะการัง เป็นอาหาร เป็นปลาขนาดเล็กขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 1
ปลาในแนวปะการัง
Chelmon rostratus (Linnaeus, 1758) : ปลาผีเสื้อปากยาว ชื่อสามัญ Copperband butterflyfish วงศ์ Chaetodontidae ในหมู่เกาะทะเลใต้พบได้ง่ายในบริเวณโซนลาดชันของแนวปะการังที่มีความ สมบูรณ์ปานกลาง มักว่ายอยู่เป็นคู่ๆ หรือบางครั้งพบว่ายอยู่ 3 - 4 ตัว เป็นปลาที่มี อาณาเขตของตัวเองในการหาอาหาร อาหารได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่ อาศัยอยู่ตามหน้าดินและซอกปะการัง ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
1 2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
Choerodon schoenleinii : ปลาแก้วกู่ ชื่อสามัญ Blackspot tuskfish วงศ์ Labridae ในบริเวณหมู่เกาะทะเลใต้มักพบปลาชนิดนี้ว่ายน้ำหากินอยู่เดี่ยวๆ หรือรวมฝูง ปะปนกับปลากะพงแดง ในพื้นที่ที่เป็นพื้นทรายหรือซากปะการังที่มีสาหร่ายปกคลุม สามารถพลิกซากปะการังหรือก้อนหินขนาดใหญ่เพื่อกินอาหารที่อยู่ด้านใต้ ได้แก่ ไส้เดือน ทะเล หอย กุ้ง ปู เม่นทะเล ปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจที่หายากในปัจจุบัน เนื่องจากมี ความสามารถในการเพิ่มจำนวนของประชากรต่ำมาก มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ ยาวประมาณ 1 เมตร หนักประมาณ 15 กิโลกรัม
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 3
ปลาในแนวปะการัง
Lutjanus carponotatus (Richardson, 1842) : ปลากะพงหลังโสด ชื่อสามัญ Spanish flag snapper วงศ์ Lutjanidae พบได้มากเป็นพิเศษในแนวปะการังรอบๆ เกาะแตน ปลาขนาดใหญ่มักอาศัยอยู่ ในโซนลาดชันของแนวปะการัง ส่วนปลาขนาดกลางมักพบว่ายรวมฝูงกัน ประมาณ 15-20 ตัว ส่วนปลาวัยรุ่นและขนาดเล็กมักว่ายอยู่ตอนบนของโซนลาดชัน อาหารได้แก่ ปลาขนาด เล็ก กุ้ง ปู จัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่พบ ได้ในแนวปะการังภายในหมู่เกาะทะเลใต้ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร
1 4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ปลาในแนวปะการัง
Neopomacentrus filamentosus (Macleay, 1882) : ปลาสลิดหินเล็กสีน้ำตาล ชื่อสามัญ Brown demoiselle วงศ์ Pomacentridae เป็นปลาขนาดเล็กที่พบได้มากที่สุดในแนวปะการังของหมู่เกาะทะเลใต้โดยเฉพาะ ในโซนลาดชันในแนวปะการังของทุกเกาะ มีพฤติกรรมอยู่รวมฝูงกัน บางฝูงมีจำนวนมาก 100-300 ตัว มักจะพบว่ายน้ำหากินแพลงก์ตอนและสัตว์ขนาดเล็กอยู่เหนือก้อนปะการัง โขด บางครั้งอาจพบปะปนกับปลาสลิดหินเล็กชนิดอื่นๆ ด้วย และสามารถพบลูกปลาวัย อ่อนได้ตลอดทั้งปี เมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 11 เซนติเมตร
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
โลมา
โลมา โลมาเป็ น สั ต ว์ เ ลี ้ ย งลูก ด้ ว ยนมที ่ อ าศั ย อยู่ ใ นน้ ำ ซึ ่ ง มี ห ลั ก ฐานว่ า วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก จำพวก Mesonyx ซึ่งมีรูปร่าง คล้ายหมาผสมหนู เมื่อประมาณ 45 ล้านปีมาแล้ว โลมาจัดอยู่ใน Phylum Chordata Class Mammalia Order Cetacea ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 อันดับย่อย คือ Suborder Mysticeti เป็นชนิดที่ไม่มีฟัน (Baleen whale) ซึ่งจะมีแผง กรองทำหน้าที่กรองอาหาร และ Suborder Odontoceti เป็นชนิดที่มีฟัน (Toothed whale) ปัจจุบันในประเทศไทยพบโลมาและวาฬ จำนวน 23 ชนิด จาก 6 ครอบครัว เป็นตัวอย่างที่พบทางฝั่งอ่าวไทย 17 ชนิด และฝั่งทะเล อันดามัน 19 ชนิด โลมาสามารถปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใน น้ำ ในด้านรูปร่างมีวิวัฒนาการรูปร่างให้เพรียวคล้ายตอร์ปิโด ผิวหนังเรียบไม่มี ขน มีหางที่เคลื่อนขึ้นลงในแนวบนล่าง ทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็วลดแรงเสียด ทานกับน้ำ การเพิ่มชั้นไขมัน (Blubber) ใต้ผิวหนังเป็นฉนวนกันความร้อน ระบบเส้นเลือดดำจะถูกล้อมรอบด้วยเส้นเลือดแดงซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า การปรับ ลดอัตราการหายใจลงเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนที่ปล่อยออกมากับ อากาศทำให้สามารถดำน้ำได้นาน จมูกหรือช่องหายใจอยู่ด้านบนของหัวเพื่อ สะดวกในการหายใจเมื่อโผล่พ้นเหนือน้ำ ท่อหายใจกับช่องปากจะแยกกันเพื่อ สะดวกในการกินอาหารใต้น้ำ มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้ อบอุ่น ทดแทนขนซึ่งลดรูปไปเนื่องจากไม่เหมาะสมในการใช้งานใต้น้ำ
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โลมา
โดยทั่วไปสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจะมีปอดเล็กเมื่อเทียบกับคน แต่มี การใช้ออกซิเจนในการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ อัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซใน การหายใจแต่ละครั้งมีปริมาณสูงถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ และมีความทนทานสูง ต่อความกดอากาศในที่ลึก มีการขับเกลือที่มากเกินไปออกโดยขบวนการของไต เพื่อรักษาน้ำ (Water conservation) สายตาของโลมาและวาฬสามารถรับภาพ ได้ดีทั้งในน้ำและบนบก การฝึกโลมาเพื่อการแสดง โลมาจะทำตามลักษณะการ เคลื่อนไหวหรือโบกมือของผู้ฝึก โดยเฉพาะขณะที่โลมากระโดดขึ้นมารับอาหาร จากมือผู้ฝึกบนผิวน้ำได้อย่างแม่นยำ แสดงให้เห็นว่าสายตาของโลมาสามารถ มองเห็นภาพบนบกได้ชัดเจน ลูกของโลมาแรกเกิดจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสัตว์ชนิดอื่นเมื่อเทียบ กับตัวแม่ โดยมีขนาดใหญ่ประมาณ 40% ของแม่ ลูกโลมาบางชนิดมีขนอยู่ 2 ข้างของแนวปากบน (Snout) และจะหดหายไปเมื่อโตขึ้น เมื่อถึงเวลาคลอดลูก แม่โลมาจะหาที่เงียบสงบในการออกลูก และมักพบว่ามีผู้ช่วยอีกตัวหนึ่งเสมอ โลมาจะคลอดลูกโดยส่วนหางออกมาก่อน เพื่อให้ส่วนของช่องหายใจเป็นส่วน สุดท้ายที่ออกมาสัมผัสน้ำทะเล ตัวแม่จะบิดตัวเพื่อให้สายรกขาด และจะพาลูก ขึ้นสู่ผิวน้ำให้เร็วที่สุดเพื่อหายใจ โดยการว่ายเข้าไปอยู่ข้างใต้แล้วดันตัวลูกของ มั น ให้ ข ึ ้ น สู่ ผ ิ ว น้ ำ ลูก โลมาจะว่ า ยไปกั บ แม่ แ ละรั บ อาหารจากต่ อ มน้ ำ นม (Mammary slit) ซึ่งอยู่สองข้างของช่องเพศ โดยหัวนมมีกล้ามเนื้อยึดรอบ สำหรับบีบตัวให้หัวนมโผล่ออกมาขณะให้นมลูก และดึงหัวนมกลับซ่อนในลำตัว เมื่อเสร็จจากการให้นม โลมาจะมีระยะเวลาหย่านมนานมาก ทั่วไปจะมีระยะ หย่านมนานประมาณ 2 ปี ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
โลมา
โลมาจัดเป็นสัตว์สังคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการสื่อสารระหว่างกันได้ โดยใช้เสียง โดยเฉพาะในกลุ่มของโลมาที่มีฟัน (Toothed whales) สามารถใช้ ระบบส่งและรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับมา (Echo) ซึ่งใช้ในการรับรู้สภาพ แวดล้อมรอบๆ ตัว และหาอาหาร สมองส่วนใหญ่จะไม่มีประสาทในการรับกลิ่น แต่จะมีประสิทธิภาพดีในการฟัง ไม่มีใบหูส่วนนอกแต่มีช่องเปิดภายในด้านข้าง ของหัวซึ่งเป็นทางนำไปสู่อวัยวะรับเสียง ช่องสืบพันธุ์เพศผู้จะอยู่ห่างจากช่อง ทวารมากกว่าเพศเมีย โลมาในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่มีแนว โน้มลดลง สังเกตจากการที่ชาวประมงและประชาชนทั่วไปพบเห็นน้อยลง และ สถิติการเกยตื้นของโลมา ปัจจัยที่มีผลทำให้โลมาและวาฬเกยตื้นนั้นมีหลาย สาเหตุ เช่นการติดเครื่องมือประมงทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ จากโรค และการเจ็บ ป่วย มลภาวะของสิ่งแวดล้อมทางทะเล การปรากฏตัวของโลมาถือเป็นการ ยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งนั้นๆ โดยที่หลายแห่งยังคงมีป่าชายเลนที่ คงความสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอนุบาลและเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำชายฝั่งที่สำคัญของประเทศไทย รวมถึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของ โลมา กลุ่มของโลมาหลายพื้นที่สามารถพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และ ดูสัตว์ทะเลหายากในธรรมชาติ เนื่องจากโลมาไม่ได้แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในท้อง ทะเล แต่ละชนิดจะมีที่อยู่ค่อนข้างแน่นอน การแพร่กระจายในแต่ละวันและ ฤดูกาลสัมพันธ์กับแหล่งอาหาร
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โลมา
Neophocaena phocaenoides (Cuvier,1829) : โลมาหัวบาตรหลังเรียบ ชื่อสามัญ Finless porpoise วงศ์ Phocoenidae พบได้บริเวณชายฝั่งหรือตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลในเขต อินโดแปซิฟิก โดยทั่วไปจะกินปลาขนาดเล็ก กุ้ง และหมึก ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 70-80 เซนติเมตร พฤติกรรมโดยทั่วไปมักอยู่เดี่ยวหรือ รวมฝูงเล็กๆ ประมาณ 10 ตัว สถานภาพปัจจุบันพบทั้งบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและฝั่ง อันดามัน เป็นโลมาในครอบครัวที่มีฟันสมบูรณ์
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
โลมา
Orcaella brevirostris (Gray, 1866) : โลมาอิรวดี, โลมาหัวบาตร ชื่อสามัญ Irrawaddy dolphin วงศ์ Delphinidae สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีที่ 1 ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ในบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ พบได้บริเวณอ่าวท้องปอ อ่าวท้องท่าคว่ำ และอ่าวท้องเนียน จำนวน 5-7 ตัว กินปลาขนาด เล็ก กุ้ง และหมึก เป็นอาหาร ขนาดตัวเต็มวัยยาวประมาณ 2-2.75 เมตร ลูกแรกเกิดยาว ประมาณ 1 เมตร มีพฤติกรรมการรวมกลุ่มตั้งแต่ 2-10 ตัว พบในหลายพื้นที่ของประเทศ ไทย พบทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด เช่น ทะเลสาบสงขลา เป็นโลมาในครอบครัวที่มี ฟันสมบูรณ์
1 0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โลมา
Sousa chinensis (Osbeck, 1765) : โลมาหลังโหนก, โลมาเผือก, โลมาสีชมพู ชื่อสามัญ Indo-Pacific hump-backed dolphin วงศ์ Delphinidae เป็นกลุ่มของโลมาประจำถิ่นบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ โดยพบบ่อยบริเวณใกล้ชายฝั่ง เกาะท่าไร่ เกาะวังใน แหลมประทับ อ่าวแขวงเภา และอ่าว ท้องเนียน จำนวน 7-19 ตัว ควรส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นโลมาใน ครอบครัวที่มีฟันสมบูรณ์ ลูกโลมาจะมีสีจาง เมื่อโตเต็มวัยจะมีสีขาวเผือกหรือขาวชมพู ครีบหลังมีขนาดเล็กสั้น ลักษณะเด่นคือส่วนของฐานรองรับครีบหลัง เป็นสันโหนกนูนเป็น แนวยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว โลมาเพศผู้มีความยาวลำตัวประมาณ 3.2 เมตร เพศเมียยาวประมาณ 2.5 เมตร ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 1
1 2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
การท่องเที่ยว เชิงนิเวศทางทะเล
ปะการังเห็ด ภาพ : ลลิตา ปัจฉิม ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 3
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล การท่องเที่ยวในรูปแบบ Ecotourism หรือ Ecological tourism นี้มีหลายท่าน ให้คำจำกัดความเป็นภาษาไทยหลายคำ เช่น นิเวศทัศนา นิเวศสัญจร นิเวศท่องเที่ยว ถ้า เป็นการท่องเที่ยวในทะเลก็อาจเรียก สมุทรสัญจร ภายหลังมีชื่อที่ใช้เรียกกันอย่างแพร่ หลายว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งไม่ว่าจะเรียกแบบไหนก็ตาม หัวใจสำคัญดั้งเดิมของการ ท่องเที่ยวแบบนี้คือ การท่องเที่ยวธรรมชาติในรูปแบบที่ได้รับความรู้ความเข้าใจในระบบ นิเวศไปด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจความสลับซับซ้อน ความสำคัญ และความ เปราะบางของระบบนิเวศ ซึ่งอาจจะเสื่อมโทรมได้ง่าย เพื่อลดผลกระทบจากกิจกรรมการ ท่องเที่ยวต่อสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ถ้าพิจารณาถึงรากศัพท์ดั้งเดิม และความหมายของนิยามการท่องเที่ยว จะพบว่า การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable tourism) คือ เป้าหมายสูงสุดของการจัดการการ ท่องเที่ยว นั่นคือ การดำเนินการเพื่อให้สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร วัฒนธรรม และสังคม คง อยู่ในสภาพที่ดีในขณะที่สามารถใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยวไปได้ตลอดไป ส่วนคำว่าการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ (Conservation tourism) เป็นแนวทางการ บริหารการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยว (Sustainable tourism) ซึ่ง ประกอบไปด้วยการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม (Cultural tourism) และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecological tourism หรือ Ecotourism) เป็นรูปแบบ หนึ่งของการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ หรือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว เมื่อพิจารณาถึงพื้นฐานที่มาจากรากศัพท์ของคำว่า Ecotourism ก็จะหมายถึงการท่องเที่ยวโดยได้ความรู้ทางธรรมชาติในแง่นิเวศวิทยาไป
1 4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทิวทัศน์ใต้ทะเลหมู่เกาะทะเลใต้ ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
ด้ ว ย ซึ ่ ง แปลตามตั ว อั ก ษร คื อ Eco มาจาก Ecological (adj) หรื อ Ecology (n) คื อ วิชานิเวศวิทยาซึ่งเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ส่วน Tourism ก็คือ การท่องเที่ยว รวมแล้วก็คือ การท่องเที่ยว อย่างผู้ที่รู้จัก และเข้าใจระบบนิเวศ ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ที่จะ ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของที่มาจากรากศัพท์แล้ว ย่อมไม่ใช่การพานักท่อง เที่ยวไปในธรรมชาติ แล้วนำเสนอให้นักท่องเที่ยวรู้แต่เพียง นั่นคือตัวอะไร ชื่ออะไรเท่านั้น แต่เป้าหมายคือ การปลูกฝังความคิด หรือพฤติกรรมในการท่องเที่ยว ด้วยการทำให้นัก ท่องเที่ยวเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ นอกจากจะเรียนรู้ว่าธรรมชาติดำรงอยู่ อย่างไรแล้ว ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจด้วยว่ามนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธรรมชาติอย่างไรบ้าง เริ่มจากกิจกรรมที่ตัวนักท่องเที่ยวทำอยู่ คือ การที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในธรรมชาติ จะส่ง ผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะมีเป้าหมายสูงสุดก็คือ ผู้มา เที่ยวเข้าใจวิถีของธรรมชาติมากขึ้น วันข้างหน้าเมื่อนักท่องเที่ยวจะทำกิจกรรมอะไรที่ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะได้คิดถึงความรู้ที่ควรได้รับในระหว่างการท่องเที่ยว ในโปรแกรมการให้ความรู้แบบเชิงนิเวศ จะต้องสร้างความรู้สึกให้กับนักท่อง เที่ยวว่า นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องคิดอยู่เสมอว่ากิจกรรมใดส่งผลอะไรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง เช่น เรือที่พาไปมีระบบห้องน้ำอย่างไร ระบบการทิ้งขยะอย่างไร ขยะที่ทิ้งลงถุงแพ็คไว้อย่าง ดี แล้วปล่อยทิ้งไว้บนเรือ หลังจากนักท่องเที่ยวขึ้นฝั่งหมด เจ้าของเรือก็อาจจะโยนถุงขยะ ลงน้ำ กลายเป็นผลกระทบจากกิจกรรมท่องเที่ยวที่เขาไม่รู้ตัว นอกจากนี้นักท่องเที่ยวก็จะ ต้องใส่ใจว่าระบบการให้การศึกษา การจัดการการท่องเที่ยวของบริษัททัวร์ที่ไปด้วยนั้น ได้ ดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไปท่องเที่ยวหรือไม่ ที่กล่าวมาข้างต้น คือ ที่มาของความคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเริ่มมาจาก ความคิดว่าความเสื่อมโทรมของธรรมชาติในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เกิดขึ้นมาจากรูปแบบ
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ของกิจกรรม และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเอง ฝ่ายจัดการทรัพยากรก็เลยคิดกันว่าการ ท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์จะไปด้วยกันได้อย่างไร คือ ต่างฝ่ายต่างเอื้อประโยชน์ต่อกัน นั่น คือ การท่องเที่ยวสามารถปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ให้กับคนที่มาท่องเที่ยว ขณะ เดียวกันที่หลักการของการอนุรักษ์ได้ถูกเอามาใช้กับการท่องเที่ยว เพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยว นั้นสามารถใช้ประโยชน์ไปได้อย่างยั่งยืน (Sustainable tourism) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคิดกันว่าถ้าให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้เข้าใจในความ เกี่ยวพันของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย นักท่องเที่ยวก็จะทำอะไรที่ไม่ส่ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก จะกล่าวว่าไม่ส่งผลกระทบเลยก็ไม่ได้ เพราะถ้าจะ พิจารณากันอย่างเข้มงวดกันแล้ว เพียงแค่นักท่องเที่ยวคนหนึ่งปัสสาวะขณะดำน้ำ แล้วคิด ว่าปัสสาวะมีปริมาณไนโตรเจนสูง จะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณสารอาหารในน้ำได้ ก็ จัดว่าเป็นผลกระทบอย่างหนึ่ง เพราะปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นจะเป็นสาเหตุของการเพิ่ม ขึ้นของสาหร่ายในแนวปะการัง ส่วนการอนุรักษ์จะถูกใช้เป็นบรรทัดฐานของรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นั่นคือเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร พนักงาน และมัคคุเทศก์ของบริษัทท่องเที่ยวว่าเข้าใจถึงความ เป็นระบบนิเวศหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบกิจกรรมที่บริษัททัวร์จัด และรูปแบบของการ ให้ข้อมูลที่อยู่ในรูปของการให้การศึกษา และความรู้สึกที่ดีต่อธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีแต่เรื่องความรู้หนักๆ ตลอดเวลา นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว แทนที่จะได้รับการผ่อนคลายจากการทำงานหนัก กลับต้องมาเจอเรื่องเครียดๆ อีก คราว หน้าไม่มาอีก จึงได้มีการคิดค้นเทคนิคต่างๆ ในการให้ข้อมูลขึ้นมามากมาย มีการวิจัยกัน อย่างมากมายในออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป โดยมีทั้งกลุ่มสังคมศาสตร์ ศึกษา พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ สร้างระบบการให้ข้อมูลขึ้นมา และมี การเผยแพร่เทคนิคการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมขึ้นมา สำหรับการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปัจจุบัน ถ้ามีการพานักท่องเที่ยวไปในที่ ธรรมชาติ บุกตะลุยเหยียบย่ำไปตามป่าเขา ลำเนาไพร แล้วมีป้ายให้ความรู้ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เรียกว่าอะไร ก็มักจะเรียกการท่องเที่ยวแบบนี้ว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างไรก็ตาม รูป แบบการท่องเที่ยวที่พานักท่องเที่ยวไปในธรรมชาติ ควรจะเรียกว่าเป็นการท่องเที่ยวที่ต้อง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
พึ่งพาธรรมชาติ (Nature-based tourism) หรือการท่องเที่ยวไปในระบบนิเวศ (Tourism in ecosystem) ซึ่งมีความหมายที่ต่างไปจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ในความเป็นจริงแล้ว ความหมายของนิเวศวิทยานั้นกว้างกว่าที่จะพาไปรู้จักว่า นี่ คือปลาผีเสื้อ นั่นคือปลาการ์ตูน หรือการพานักท่องเที่ยวเข้าไปชื่นชมความสวยงามของ ธรรมชาติ ลักษณะนี้ไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่เหมือนกับการท่องเที่ยวธรรมชาติ ธรรมดาๆ นั่นเอง ถ้าจะยกตัวอย่างอื่นอีกก็ได้แก่ การให้อาหารปลาเพื่อดึงดูดให้ปลาเข้ามา ให้นักท่องเที่ยวดู สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยว บางคนอาจจะเรียกรูปแบบนี้คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่ถ้าลองคิดโดยอาศัยพื้นฐานทางนิเวศวิทยา จริงๆ แล้ว ก็ต้องตั้ง คำถามให้คิดกันว่า การให้อาหารปลาในธรรมชาติถูกต้องตามหลักนิเวศวิทยาหรือเปล่า ถ้า พิจารณาว่าการให้อาหารเกี่ยวพันกับห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นอย่างไร ศึกษา ว่าผลกระทบของการให้อาหารปลาว่ามีอะไรบ้าง เท่านี้ก็ผิดหลักนิเวศวิทยาแล้ว ดังนั้นการ ให้อาหารปลาในธรรมชาติ เป็นเพียงรูปแบบของการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การให้อาหารปลาจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ จะต้องมีการ ควบคุมที่ดี จะต้องศึกษาว่ามีปลาอะไรจะเข้ามากิน ต้องให้อาหารประเภทไหน ให้กินเท่าไร ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารอย่างไร เปลี่ยนพฤติกรรมของปลาอย่างไร กระบวนการ ศึกษาเหล่านี้ จะต้องให้นักท่องเที่ยวรู้และเข้าใจด้วยว่า กินอาหารเหลือ ไม่ควรทิ้งให้ปลา กิน ถ้าทำได้อย่างนี้ก็คือ ช่วยในการปรับเปลี่ยนความคิด หรือพฤติกรรมนักท่องเที่ยวได้ ด้วย คือ คราวหน้าถ้าเขาไปเที่ยวที่อื่น เขาจะไม่ทิ้งเศษอาหารลงทะเลอย่างพร่ำเพรื่อ นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในการประชาสัมพันธ์การท่อง เที่ยวที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น การท่องเที่ยวแบบบุก ป่าฝ่าดง การปีนป่ายไปตามภูมิประเทศ การล่องแพแบบผจญภัย การเก็บหาของป่ามารับ ประทานในระหว่างการท่องเที่ยว การตกปลา ยิงปลาในแนวปะการัง หรือการแข่งขันเก็บ หอยตามชายหาด แท้ที่จริงแล้ว การท่องเที่ยวแบบนี้เป็นการท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure tourism) หรือการท่องเที่ยวที่พึ่งพาธรรมชาติ (Nature-based tourism) แบบธรรมดา ไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทิวทัศน์ใต้ทะเลหมู่เกาะทะเลใต้ ภาพ : ปิยะลาภ ตันติประภาส ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
กล่ า วโดยสรุ ป รู ป แบบของการท่ อ ง เที่ยวเชิงนิเวศ คือ กระบวนการจัดการการท่อง เที่ยวในระบบนิเวศ ที่มีกระบวนการในการให้ ความรู้ (Learning process) ที่จะทำให้นักท่อง เที ่ ย วมี ค วามรู ้ (Knowledge) ความเข้ า ใจ (Understanding) (Understanding) ฝึกฝนทักษะในการสังเกต (Observational (Observational skills) และเพิ ่ ม พู น ประสบการณ์ (Experiences) ที่เต็มไปด้วยความ ส นุ ก ส น า น ( E n j o y m e n t ) ผ ่ อ น ค ล า ย (Relaxation) ไปพร้อมๆ กับความประทับใจ (Appreciation) และเข้าใจในคุณค่าของ ระบบนิเวศ (Ecological values) และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะ นำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เรื่องที่เกี่ยวพันกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศยังมีเรื่องขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) อีกเรื่องหนึ่ง คือการหาว่าปริมาณนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมในสถานที่ ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ควรจะเป็นเท่าไร กล่าวโดยสรุป คือ คำนี้มีหลักการทางนิเวศวิทยากับ หลักการทางสังคมและเศรษฐศาสตร์ ทางนิ เ วศวิ ท ยา ก็ จ ะค้ น หาปริ ม าณนั ก ท่ อ งเที ่ ย วที ่ จ ะไม่ ท ำให้ ธ รรมชาติ เสื่อมโทรม ส่วนทางสังคม จะคำนวณว่าปริมาณนักท่องเที่ยวเท่าไร ถึงจะสร้างความ ประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว มีที่พัก ห้องน้ำ น้ำจืด พาหนะ อาหาร เพียงพอหรือไม่ การ เดินทางเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร พฤติกรรมนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร ความ ความหวัง และความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวของคนแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร สองกลุ่มนี้ไม่มีทางเข้ากันได้ ถ้าแต่ละฝ่ายยึดถือแต่หลักการของแต่ละฝ่ายเป็น หลักไม่มีการร่วมมือกัน เพื่อหาจุดที่เหมาะสม แต่ถ้าร่วมมือกันได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการ จัดการพื้นที่สำหรับการอนุรักษ์และการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ ใน พื้นที่หนึ่งอาจจะพบว่า นักท่องเที่ยวแค่ 2,000 คนต่อปี ก็สร้างความเสียหายให้กับแนว ปะการังแล้ว แต่ถ้ามีระบบการจัดการที่ดีที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างความรู้ความ
1 0
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
เข้าใจทางพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับหลักการทางนิเวศวิทยา สถานที่เดียวกันอาจจะรับนัก ท่องเที่ยวได้ถึง 5,000 คน โดยสร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติน้อยกว่าช่วงที่มีนักท่อง เที่ยว 2,000 คนก็ได้ หลักการที่สำคัญ คือ ผู้บริหารและจัดการแหล่งท่องเที่ยวจะต้องเข้าใจว่านัก ท่องเที่ยวแต่ละคนมีความคาดหวังกับสถานที่ท่องเที่ยวไม่เหมือนกัน บางคนพึงพอใจกับ การมีความสะดวกสบายเรื่องที่พัก อาหาร น้ำสะอาด เป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่รู้สึกพึงพอใจ กับสภาพแนวปะการังที่สวยระดับปานกลาง นักท่องเที่ยวที่เพิ่งเคยดำน้ำครั้งแรก สภาพ แนวปะการังที่เป็นก้อนก็สร้างความประทับใจมากแล้ว ในขณะที่นักดำน้ำที่ดำน้ำมามาก ชอบบริเวณที่มีปะการังกิ่ง หรือมีกัลปังหา นักท่องเที่ยวบางคนพึงพอใจกับสภาพที่เป็น ธรรมชาติ ไม่ต้องการความสะดวกสบายเรื่องที่พัก อาหาร น้ำสะอาด มากนัก กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุกับกลุ่มที่เป็นวัยกลางคน วัยรุ่น มีความคาด หวังกับความพึงพอใจในสถานที่ท่องเที่ยวแตกต่างกัน นี่คืองานวิจัยทางสังคมที่จะมาสนับ สนุนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาไปสู่รูปแบบการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะ สมของแต่ละแห่ง ถ้าทราบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม จะสามารถจัดสรรนัก ท่องเที่ยวไปตามจุดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ไม่จำเป็นที่เราจะต้องพานักดำน้ำทุกคนไปยัง จุดที่สวยที่สุด แต่บอบบางที่สุด เราอาจพานักท่องเที่ยวที่เพิ่งหัดดำน้ำแบบ Skin diving เป็นครั้งแรก ไปยังบริเวณที่มีปะการังกิ่งน้อย ระดับน้ำลึกกว่าสองเมตร ในขณะที่พานัก ท่องเที่ยวที่ดำน้ำ SCUBA ที่มีประสบการณ์น้อยไปดำน้ำตรงที่มีปะการังกิ่งน้อย แล้วพา นักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์มากไปยังจุดที่มีปะการังกิ่งมากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถทำให้นักท่องเที่ยวมีความประทับใจในบริเวณที่มีความอุดม สมบูรณ์น้อยกว่า ได้มากกว่าบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์มากก็ได้ โดยอาศัยกระบวนการ ของการสร้างกิจกรรมที่น่าสนใจขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเรื่องของเทคนิคการนำเสนอ หรือการ จัดการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น เส้นทางเดินชมปะการัง (Reef walking trail่) เส้นทางดำ น้ำ (Underwater trails) ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางสำหรับดำน้ำที่ผิว (Snorkelling trails) หรือ เส้นทางสำหรับดำน้ำลึก (Scuba diving trails) นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการพานักท่อง ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 1
เที่ยวที่สนใจในการศึกษาหาความรู้ในระดับสูงขึ้นไป เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้เฉพาะ เรื่อง เช่น การเรียนรู้จักปลาชนิดต่างๆ ปะการังชนิดต่างๆ หรือสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ซึ่งจะ จำเพาะกับนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม นอกจากการจัดการในด้านสถานที่แล้ว ยังสามารถจัดการทางด้านพฤติกรรมนัก ท่องเที่ยวได้อีก เช่น เมื่อทราบว่านักท่องเที่ยวกลุ่มไหนมีแนวโน้มจะสร้างความเสียหายให้ กับแนวปะการังมาก ก็ให้ความรู้ที่เหมาะสม หรือเมื่อทราบว่าปัญหาของนักดำน้ำที่เพิ่งจะดำ น้ำเป็นครั้งแรก คือ เรื่องน้ำเข้าหน้ากาก ก็ควรให้ความรู้เรื่องนี้ก่อนที่จะพาไปดำน้ำ ตลอด จนบรรดาสายอุปกรณ์ต่างๆ ของนักดำน้ำแบบ SCUBA สร้างความเสียหายให้กับแนว ปะการัง ก็หาทางเก็บสายเหล่านี้ให้เข้าที่เข้าทาง ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นตัวอย่างของการจัดการการดำน้ำในรูปแบบการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ จากมุมมองหนึ่งของผู้ที่ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ศึกษาถึงผลกระทบ จากการท่องเที่ยวต่อแนวปะการัง เพื่อวางรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวในระบบ นิเวศอย่างยั่งยืน “การศึกษาผลกระทบของนักท่องเที่ยวต่อแนวปะการังไม่ได้ดำเนินการเพื่อจะ จับผิดการท่องเที่ยว แต่เป็นการแสวงหาข้อมูลพื้นฐาน ค้นหาต้นตอของปัญหา และเสนอ แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวในแนวปะการัง” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ นักดำน้ำ ผู้ประกอบกิจการดำน้ำ ตลอดจนผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการใช้ ประโยชน์ทางการท่องเที่ยวในบริเวณแนวปะการังในพื้นที่หมู่เกาะทะเลใต้ ผลประโยชน์ของการจัดการและการประสานผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยทั่วไป คือ ความสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้ตลอด ไป
1 2
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1 3
• เอกสารอ่านประกอบ • กาญจนา อดุลยานุโกศล และก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์. 2547. คู่มือการจำแนกชนิดโลมาและ วาฬในประเทศไทย. สถาบันวิจยั และพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ ภูเก็ต. 62 หน้า. ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2544. การศึกษาชนิดและการแพร่กระจายของทากเปลือยในแนว ปะการังของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 250 หน้า. เทพสุดา ลอยจิ้ว, สุชนา ชวนิชย์ และวรณพ วิยกาญจน์. 2549. สิ่งมีชีวิตในแนวปะการังบริเวณ หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี – 2: ความหลากหลายของกัลปังหา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการทรัพยากรไทย : สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 3 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 20–22 ตุลาคม 2549, ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ คลอง ไผ่ จังหวัดนครราชสีมา, หน้า 117-123. นำพร อินสิน, พงศ์พโยม พหุลรัต และลัดดา เตชะวิริยะทวีสิน. 2548. การวิเคราะห์ชนิดและ ปริมาณของสารกลุ่ม บิสเตตราไฮโดรไอโซควิโนลีนแอลคาลอยด์จากทากเปลือย Jorunna funebris ด้วย HPLC. โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 36 หน้า. สุชาย วรชนะนันท์. 2543. การศึกษาการกระจายของปะการังอ่อนและกัลปังหาในน่านน้ำไทย. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 210 หน้า. สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์, กาญจนา อดุลยานุโกศล และก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์. 2539. โลมา และวาฬในน่านน้ำไทย. วารสารการประมง 49 (3): 229-247. Babcock, R.C., A.H. Baird, S. Piromvaragorn, D.P. Thomson and B.L. Willis. 2003. Identification of scleractinian coral recruits from Indo-Pacific reefs. Zoological Studies 42(1): 211-226. Bak, R.P.M. and M.S. Engel. 1979. Distribution, abundance and survival of juvenile hermatypic corals (Scleractinia) and the importance of life history strategies in the parent coral community. Mar. Biol. 54: 341-352. Bayer, F.M., M. Grasshoff and J. Verseveldt. 1983. Illustrated Trilingual Glossary of Morphological and Anatomical Terms Applied to Octocorallia. Brill, E.J. and Backhuys, W., Leiden, Netherlands. 75 p. Chaitanawisuti, N., S. Kritsanapuntu, T. Yeemin, S. Putchakarn and J. Fromont. 2002. Biodiversity of marine sponges associated with coral reef habitats in
1 4
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
the Eastern Gulf of Thailand (Chonburi to Trad Province). In V. Baimai & R. Tantalakha (eds.), BRT Research Reports 2002, pp. 148-155. BRT Program, Chuan Printing, Bangkok. Changsang, H. and S. Poovachiranon. 1994. The distribution and species composition of seagrass beds along the Andaman Sea coast of Thailand. Phuket Mar. Biol. Cent. Res. Bull. 59: 43-52. Chinworrungsee, M., P. Kittakoop, M. Isaka, A. Rungrod, M. Tanticharoen and Y. Thebtaranonth. 2001. Antimalarial Halorosellinic acid from the marine fungus Halorosellinia oceanica. Bioorg. Med. Chem. Lett. 11: 1965-1969. Coleman, N. 2001. 1001 Nudibranchs: Catalogue of Indo-Pacific Sea Slugs. Agency Limited. 144 p. Dai, A.-Y. and S.-L. Yang. 1991. Crabs of China Seas. China Ocean Press, Beijing and Springer-Verlag, Berlin. 682 p. Davie, P.J.F., P.K.L. Ng, A. Kaenphet and C. Aungtonya. 2002. Annoted checklist of Brachyura (Crustacea: Decapod) principally obtained during the BIOCHELF survey off western Thailand from 1996-1998. Phuket Mar. Biol. Cent. Special Pub. 23(2): 313-339. Fabricius, K. and P. Alderslade. 2001. Soft Corals and Sea Fans: A Comprehensive Guide to the Tropical Shallow Water Genera of the Central-West Pacific, the Indian Ocean and the Red Sea. The Australian Institute of Marine Science, Queenland, Australia. 264 p. Fell, J.W., R.C. Cefalu, I.M. Master and A.S. Tallman. 1975. Microbial activities in the mangrove leaf detrital system. In G. Walsh, S. Snedaker and H. Teas (eds.), The Biology and Management of Mangroves Vol. 2, pp. 661-679. University of Florida, Gainsville. Hooper, J.N.A. 1991. Revision of the family Raspailiidae (Porifera: Demospongiae), with description of Australian species. Invertebrate Taxonomy 5(6): 11791418. Hooper, J.N.A. 1996. Revision of Microcionidae (Porifera: Poecilosclerida: ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
Demospongiae), with description of Australian species. Memoirs of the Queensland Museum 40: 1-626. Isaka, M., C. Suyarnsestakorn, M. Tanticharoen, P. Kongsaeree and Y. Thebtaranonth. 2002. Aigialomycins A-E, new resorcyclic macrolides from the marine mangrove fungus Aigialus parvus. J. Org. Chem. 67: 1561-1566. Jones, E.B.G. and L.L.P. Vrijmoed. 2003. Biodiversity of marine fungi in Hong Kong coastal waters. In B. Morton (ed.), Perspectives on Marine Environment Change in Hong Kong and Southern China 1977-2001, Proceedings of an International Workshop Reunion Conference, pp. 75-92. Hong Kong University Press, Hong Kong. Jones, E.B.G., A. Pilantanapak, I. Chatmala, J. Sakayaroj, S. Phongpaichit and R. Choeyklin. 2006. Thai marine fungal diversity. Songklanakarin J. Sci. Technol. 28(4): 687-708. Keenan, C.P., P.J.F. Davie and D.L. Mann. 1998. A revision of the genus Scylla de Haan (Crustacea: Decapod: Brachyura: Portunidae). Raffle Bull. Zool. 46(1): 217-245. Klinasal, L. 1965. Some echinoderms collected in the Gulf of Thailand. Senior Project, Faculty of Science, Chulalongkorn University. 67 p. Kott, P. 1972a. The ascidians of South Australia I: Spencer Gulf, Gulf St Vincent and Encounter Bay. Trans. R. Soc. Aust. 96(1): 1-52. Kott, P. 1972b. The ascidians of South Australia II: Eastern Sector of the Great Australian Bight and Invertigator Strait. Trans. R. Soc. S. Aust. 96(4):165196. Kott, P. 1985. The Australian Ascidiacea. Part 1, Phlebobranchia and Stolidobranchia. Mem. Qd Mus. 23: 1-440. Kott, P. 1990. The Australian Ascidiacea. Part 2, Aplousobranchia(1). Mem. Qd Mus. 29(1): 1-266. Kuiter, R.H. and Tonozuka. 2001 Pictorial guide to Indonesian reef fishes. Part 2. Fusiliers - Dragonets, Caesionidae - Callionymidae. Zoonetics, Australia. pp. 304-622. Lewmanomont, K. and H. Ogawa. 1995. Common Seaweeds and Seagrasses of
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
Thailand. ntegrated Promotion Technology Co.Ltd., Bangkok. Lewmanomont, K., S. Deetae and V. Srimanobhas. 1996. Seagrasses of Thailand. Proc. 2nd Seagrass Biology Workshop, Rottnest Island, Western Australia, pp. 21-26. Maiphae, S. and P. Sa-ardrit. 2007. Plankton community in the relation to environmental factors along Khanom canal, Khanom beach, Mo Ko Thaletai, South Sea Islands, Nakhon Si Thammarat Province. First year progress report, BRT. 17 pages. Manthachitra, V. and S. Sudara. 2002. Community structure of coral reef fishes at sink reef in the Inner Gulf of Thailand. Science Asia 28: 327-337. Marshall, J.G. and R.C. Willan. 1999. Nudibranchs of Heron Island, Great Barrier Reef. Backhuys Publishers Leiden, Netherlands. 257 p. Martin, J.W. and G.E. Davis. 2001. An Updated Classification of the Recent Crustacea. Science series. No. 39. Natural History Museum of Los Angeles County Los Angeles, California. Mayakun, J. and A. Prathep. 2005. Seasonal variations in diversity and abundance of macroalgae at Samui Island, Suratthani province, Thailand. Songklanakarin J. Sci. Technol. 27: 653-663. Meesawat, U., C. Purintavarangul, S. Mayakul and R. Hirunpun. 1999. Diversity and seasonal anatomical changes of seagrasses at Hat Chao Mai National Park, Trang Province. Songklanakarin J. Sci. Technol. 21: 65-81. Monkolprasit, S. and T. Songsirikul. 1988. Systematic studies of fishes from Ko Samet and adjacent areas, Gulf of Thailand, with some new record species. Fisheries magazine 41(1): 45-53. Mortensen, T. 1904. The Danish Expedition to Siam, 1899-1900. II. Echinoidea. K danske Vidensk Selsk Skr (7)1(I): 1-124. Mucharin, A., S. Putchakarn and P. Sonchaeng. 2005. Holothurians (Holothuroidea: Echinodermata) of the Eastern Coast of Thailand. The Thailand Natural History Museum Journal 1(2): 97-136. Nishikawa, T. 1991. Publication of the Seto Marine Biologocal Laboratory Vol. 35, No. 1/3. ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
Nishikawa, T. 1992. Publication of the Seto Marine Biologocal Laboratory Vol. 35, No. 6. Nishiwaki, M. and H. Marsh. 1985. Dugong. Handbook of Marine Mammals Vol. 3. Academic Press Inc. (London) Ltd. pp. 1-31. Phillips, R.C. and E.G. Menez. 1988. Seagrasses. Smithsonian Institution Press, Washington D.C., U.S.A. Prathep, A. 2005. Spatial and temporal variations in diversity and percentage cover of macroalgae at Sirinart Marine National Park, Phuket Province, Thailand. Science Asia 31: 225-233. Prathep, A., A. Darakrai, P. Tuntiprapas, P. Thongroy and B. Wichachucherd. 2005. Biodiversity study of marine macroalgae at Taen Island, Had Khanom-Mu Ko Ta Le Tai National Park, Nakhon Si Thammarat province, Thailand. Biology department, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Songkla province, Thailand. 37 p. Price, I.R. and F.J. Scott. 1992. The Turf Algal Flora of the Great Barrier Reef, Part I, hodophyta. James Cook University, Townsville, Australia. 266 p. Putchakarn, S. 1998. Taxonomic study on echinoderms from the eastern coast of Thailand. Report submitted to the National Research Council Thailand. 109 p. Putchakarn, S. 2006. Biodiversity of sponges (Demonspongiae, Porifera) in the Gulf of Thailand. Ph.D. Thesis in Biological Science, Graduate School, Burapha University. 200 p. Putchakarn, S. and P. Sonchaeng. 2004. Echinoderm Fauna of Thailand: History and Inventory Reviews. Science Asia 30: 417-428. Putchakarn, S., S. Monkongsomboon, T. Noiraksa and P. Sonchaeng. 2004. Biodiversity of Marine Animals in Coral Reefs along the Eastern Coast of Thailand (Chonburi Province). Institute of Marine Science, Burapha University. 131 p. (In Thai with English Abstract). Rodriguez, A.D. 1995. The natural products chemistry of Western Indian gorgonian octocorals. Tetrahedron 51: 4571-4618. Rodriguez, A.D., J. Rivera and A. Boulanger. 1998. New polyhydroxydiostane sterols from the Caribbean gorgonian octocoral Pseudopterogorgia
1
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
americana. Tetrahedron Letters 39: 7645-7648. Santisuk, T. and K. Larsen. 2001. Flora of Thailand. Vol. 7(3). The Forest Herbarium, Royal Department, Bangkok. Satapoomin, U. 1993. Update list of reef fish and their distribution along the west coast of Thailand, Andaman Sea. Phuket Mar. Biol. Cent. Spec. Pub. 12: 67-91. Satapoomin, U. 2000. A preliminary checklist of coral reef fish of the Gulf of Thailand, South China Sea. Raffles Bull. Zoo. 48(1): 31-53. Suwanborirux, K. and S. Amnuoypol. 2003. Chemistry of renieramycins Part 3: Isolation and structure of stabilized renieramycin type derivatives possessing antitumor activity from Thai sponge Xestospongis sp., pretreated with potassium cyanide. Journal of Natural Product 66: 1441-1446. Tan, S., J. Huang and P.K. Ng. 1999. Crabs of the family Parthenopidae (Crustacea: Decapod: Brachyura) from Taiwan. Zool. Stud. 38(2): 196-206. Tanaka, J., A. Trianto, M. Musman, H.H. Issa, I.I. Ohtani, T. Ichiba, T. Higa, W.Y. Yoshida and P.J. Scheuer. 2002. New polyoxygenated steroids exhibiting reversal of multidrug resistance from gorgonian Isis hippuris. Tetrahedron 58: 6259-6266. Thompson, T. E. 1976. Biology of Opisthobranch Molluscs Vol. 1. The Ray Society, London. 207 p. Trono, G.C. Jr. and E.T. Ganzon-Fortes. 1980. An illustrated seaweed flora of Calatagan, atongas, Philippines. A Bantista Press Co., Philippines. Ulken, A. M. 1984. The fungi of the mangle ecosystem. In F.D and I. Dor (eds.), Hydrobiology of the Mangle, pp. 27-33. W. Junk, The Hague. Van den Hoek, C., D.G. Mann and M.M. Jahns. 1995. Algae: an Introduction to Phycology, Cambridge University Press.
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
1
• ดัชนีชื่อไทย • กัลปังหา, 90, 92, 93, 95, 96, 97, 98, 99, ทากเปลือยปุ่มใส, 131 100, 101, 102, 103 ทากเปลือยปุ่มเหลือง, 137 กัลปังหาพิณ, 91 ทากเปลือยฟราเบลลิน่า, 132 โคพีพอด, 44
ดาวขนนกจักรพรรดิ, 151 ดาวขนนกหลากสี, 150 ดาวเปราะกัลปังหา, 160 ดาวเปราะหนามหยัก, 161 ดาวเปราะหนามเหลี่ยม, 159 ไดโนแฟลกเจลเลต, 38 ไดอะตอม, 40 ทากเปลือยขาว, 130 ทากเปลือยโจลันนา, 136 ทากเปลือยทองหยิบ, 134 ทากเปลือยบอนเนลล่า, 129 ทากเปลือยปุ่มขาวเหลือง, 138 ทากเปลือยปุ่มดำ, 139 ทากเปลือยปุ่มดำขาว, 140 ทากเปลือยปุ่มน้ำเงิน, 133
200
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ทากเปลือยแม็คนัม, 141 ทากเปลือยลิ้นแดง, 135 ทากเปลือยอินเดีย, 128 ปลากะพงหลังโสด, 174 ปลากะรังบั้ง, 170 ปลาแก้วกู่, 173 ปลาผีเสื้อปากยาว, 172 ปลาผีเสื้อลายแปดเส้น, 171 ปลาสลิดหินบั้งท้องขาว, 167 ปลาสลิดหินบั้งหางมน, 166 ปลาสลิดหินเล็กสีน้ำตาล, 175 ปลาเหลืองปล้องหม้อ, 169 ปลาอมไข่แถบเหลือง, 168 ปลิงดำตัวแข็ง, 153 ปลิงดำตัวนิ่ม, 154 ปลิงทะเลจุดเหลือง, 155
ปลิงสร้อยไข่มุกสีขาว, 158
ปูแสมกรวด, 118
ปลิงสร้อยไข่มุกสีน้ำตาล, 157
ปูแสมก้ามแดง, 120, 121
ปลิงหินปีศาจ, 156
ปูแสมก้ามยาว, 111, 112
ปะการังเขากวางพุ่ม, 79
ปูแสมก้ามส้ม, 119
ปะการังโขด, 83
ปูแสมหินก้ามม่วง, 113
ปะการังดอกกะหล่ำ, 82
ปูหิน, 122, 123
ปะการังถ้วยส้ม, 85
เปี้ยวโนรา, 116
ปะการังลายดอกไม้, 81
เพรียงหัวหอมกลุ่มสีโคลน, 145
ปะการังสมองร่องใหญ่, 84
เพรียงหัวหอมกลุ่มใสดำฝักข้าวโพด, 146
ปะการังเห็ด, 80
เพรียงหัวหอมช่อเห็ด, 147
ปูก้ามดาบก้ามขาว, 116
เพรียงหัวหอมเดียวใสงวงช้าง, 144
ปูก้ามดาบก้ามแบน, 117
ฟองน้ำครก, 75
ปูก้ามหักก้ามฟ้า, 110
ฟองน้ำเคลือบบางสีแดงลายขาว, 69
ปูใบ้, 109, 115
ฟองน้ำเคลือบสีเขียว, 71
ปูใบ้ก้ามเรียว, 108
ฟองน้ำเคลือบหนาสีเขียว, 70
ปูเปี้ยวโนรา, 117
ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง, 73
ปูลม, 114
ฟองน้ำฝังตัวสีดำ, 66
ปูลมตายาว, 114
ฟองน้ำลูกกอล์ฟ, 74
ปูลมใหญ่, 114
ฟองน้ำสีน้ำเงิน, 72 ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
201
ฟองน้ำสีน้ำตาลเหลือง, 68
สาหร่ายเห็ดหูหนูแข็ง, 53
ฟองน้ำหนามสีขาว, 67
แส้ทะเล, 94
เม่นดำหนามยาว, 152
หญ้ากุยช่ายทะเล, 60
ราทะเล, 25
หญ้าคาทะเล, 58
โลมาเผือก, 181
หญ้าชะเงาเต่า, 61
โลมาสีชมพู, 181
หญ้าชะเงาใบแคบ, 60
โลมาหลังโหนก, 181
หญ้าชะเงาใบยาว, 58
โลมาหัวบาตร, 180
หญ้าเต่า, 61
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ, 179
หญ้าใบกลม, 59
โลมาอิรวดี, 180
หญ้าใบมะกรูด, 59
สาหร่ายขนนก, 49
สาหร่ายช่อพริกไทย, 48
สาหร่ายใบแปะก๊วย, 55 สาหร่ายใบมะกรูด, 52 สาหร่ายพวงองุ่น, 48 สาหร่ายพัด, 54 สาหร่ายเฟิร์นเขากวาง, 51 สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน, 45 สาหร่ายเห็ดหูหนู, 54
202
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
• ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์ • Abudefduf bengalensis, 166
Ceratium fusus, 39
Abudefduf vaigiensis, 167
Ceratodictyon spongiosum, 50
Acropora millepora, 79
Cervicornia cuspidifera, 68
Aigialus grandis, 25
Chaetoceros lorenzianus, 40
Aigialus parvus, 25
Chaetodon octofasciatus, 171
Aka mucosa, 66
Chelmon rostratus, 172
Archamia fucata, 168
Choerodon schoenleinii, 173
Armina sp., 128
Chromodoris preciosa, 130
Ascidia sp., 144
Clathria (Thalysias) toxifera, 69
Astrogorgia sp., 90
Ctenocella sp., 91
Bornella sp., 129
Cucullosporella mangrovei, 26
Bryopsis pennata, 47
Dendrodoris denisoni, 131
Caesio cuning, 169
Diadema setosum, 152
Callyspongia (Toxochalina) pseudofibrosa, 67
Dichotella sp., 92
Caulerpa racemosa, 48
Didemnum psammatode, 145
Caulerpa taxifolia, 49 Cephalopholis boenak, 170 Ceratium furca, 38
Dictyota sp., 51 Dynophysis caudata, 41 Echinomuricea sp., 93 Enhalus acoroides, 58 ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
203
Epixanthus frontalis, 108
Lamellodysidea herbacea, 71
Eudistoma sp., 146
Lamprometra palmata, 150
Euterpina acutifrons, 44
Leptodius nigromaculatus, 109
Flabellina rubrolineata, 132
Lindra thallasiae, 29
Fryeria picta, 133
Liparometra regalis, 151
Fungia sp., 80
Lobophora variegate, 53
Glossodoris atromarginata, 134
Lutjanus carponotatus, 174
Glossodoris cincta, 135
Macrophthalmus pacificus, 110
Haliclona (Gellius) cymaeformis, 70
Massarina velatospora, 30
Halimeda macroloba, 52
Melithaea sp., 95
Halocyphina villosa, 27
Menella sp., 96
Halodule uninervis, 60
Metaplax detipes, 111
Halophila ovalis, 59
Metaplax elegans, 112
Helicascus kanaloanus, 28
Metopograpsus frontalis, 113
Holothuria (Metensiothuria) leucospilota, 154
Navicula sp., 42
Holothuria (Halodeima) atra, 153
Neophocaena phocaenoides, 179
Holothuria (Semperothuria) flavomaculata, 155 Jorunna funebris, 136 Junceella sp., 94
204
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
Neopetrosia sp., 72 Neopomacentrus filamentosus, 175 Nitzschia longissima, 43 Oceanapia sagittaria, 73 Ocypode ceratophthalmus, 114
Oithona sp., 44
Pseudodistoma sp., 147
Ophiactis savignyi, 159
Pseudopterogorgia sp., 97
Ophiothela danae, 160
Rhipidosiphon javensis, 55
Ophiothrix exigua, 161
Saagaromyces glitra, 31
Orcaella brevirostris, 180
Sousa chinensis, 181
Oscillatoria sp., 45
Stichopus cf. horrens, 156
Ozius guttatus, 115
Subergorgia sp., 98
Padina australis, 54
Swampomyces aegyptiacus, 32
Parasesarma pictum, 118
Symphyllia radians, 84
Parasesarma plicatum, 119
Synaptula sp., 157, 158
Paratetilla bacca, 74
Thalassia hemprichii, 61
Pavona cactus, 81
Thlamita crenata, 122
Perisesarma eumolpe, 120
Thlamita danae, 123
Perisesarma indiarum, 121
Torpedospora radiata, 33
Phyllidia cf. elegans, 138
Tubastraea coccinea, 85
Phyllidia coelestis, 137
Uca perplexa, 116
Phyllidiella nigra, 139
Uca vocans, 117
Phyllidiella pustulosa, 140
Verrucella sp., 99
Phyllodesmium magnum, 141
Xestospongia testudinaria, 75
Pocillopora damicornis, 82 Porites lutea, 83 ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
20
ดอกไม้ทะเล
20
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
20
โลมาสีชมพู ภาพ : อติชาติ อินทองคำ
20
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โครงการ BRT ก้าวไกล สนับสนุนงานวิจัย แหล่งองค์ความรู้ ใหม่ เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ใส่ ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม
ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย