ปที่ 10 ฉบับที่ 50 เมษายน - มิถุนายน 2560 ISSN: 1906-1935
หลักประกันสุขภาพ
“การมีส่วนร่วม”
สร้างเสริมหลักประกันสุขภาพยั่งยืน
www.nhso.go.th
กาวใหม สปสช.
6 9
2
1 2 6 9 10
12
สารบัญ
12
จากใจ สปสช.
14
ก้าวเด่นหลักประกัน “การมีส่วนร่วม” สร้างเสริมหลักประกันสุขภาพยั่งยืน
16
ก้าวพิเศษ SOLIDARITY เส้นชัยสู่ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ยั่งยืน 1330 มีค�ำตอบ ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการฯ ก้าวน�ำความคิด บทเรียนจาก OBAMA CARE
คณะที่ปรึกษา : นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา นพ.ชูชัย ศรช�ำนิ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ บรรณาธิการอ�ำนวยการ : ธีระพันธ์ ลิมป์พูน
กองบรรณาธิการ : นิภาพรรณ สุขศิริ ศิรประภาว์ ผลิสินเอี่ยม ปิยนุช โปร่งฟ้า ดวงกมล อิทธิสารนัย อุษา ชีวจ�ำเริญ ดวงนภา พิเชษฐ์กุล ธีระชัย เจนสมบูรณ์
18 20 21
ก้าวไปด้วยกัน สมัชชาพิจารณ์ 60 ก้าวแห่งคุณค่า การพัฒนาระบบบริการ ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอย่างยั่งยืน ก้าวกับมายาคติ จาก SCHINDLER’S ARK สู่ SCHINDLER’S LIST ก้าวทันโลก (โรค) คดีสุขภาพ ผลการรักษาไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง ก้าวทันสื่ิอ แวดวง
นักเขียนประจ�ำคอลัมน์ : พญ.ชัญวลี ศรีสุโข นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ออกแบบ/ จัดพิมพ์และเผยแพร่ : บริษทั หนึง่ เก้าสองเก้า จ�ำกัด
สถานที่ติดต่อ : ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ชั้น 2-4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2141 4000 โทรสาร 0 2143 9730
1
[ จากใจ สปสช. ] ตลอดระยะเวลา 14 ปี จาก กระบวนการมีสว่ นร่วมทัง ้ หมดนี้ ผลที่ ได้รบ ั ไม่เพียงแต่สร้างรากฐานมั่นคง ให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยังก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ร่วมกัน น�ำไปสูก ่ ารร่วมคิด ร่วมท�ำ และร่วมตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สวัสดีครับ... ท่านผู้อ่านก้าวใหม่ทุกท่าน ฉบับนี้เป็น ครัง้ แรกทีผ่ มได้พดู คุยกับท่านผูอ้ า่ นในฐานะเลขาธิการ สปสช. ต้อง บอกว่าผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะเป็นโอกาสอันดีที่ ผมจะได้บอกเล่าเรื่องราวภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาตินี้ นอกจากสร้างความเข้าใจกับท่านผู้อ่านแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่ง ช่องทางส�ำคัญน�ำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมด�ำเนินกองทุนหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกัน เมื่ อ พู ด ถึ ง “กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ” สิ่งแรกที่ผมนึกถึงคือ การมีส่วนร่วม เพราะเป็นหัวใจส�ำคัญ ไม่เพียงเป็นแรงผลักดันท�ำให้สามารถจัดตั้งกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติได้ แต่ยงั เป็นพลังขับเคลือ่ นระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติจนประสบผลส�ำเร็จตามเจตนารมณ์ เพือ่ ให้คนไทยทัง้ ประเทศ เข้าถึงการรักษาและบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยได้รับการยอมรับและชื่นชมทั้งในประเทศและนานาประเทศ “การสร้างการมีสว่ นร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ” เป็นกระบวนการทีม่ คี วามส�ำคัญอย่างยิง่ ถูกก�ำหนดทัง้ พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 4 ใน ปัจจุบัน และนโยบายต่างๆ ที่ด�ำเนินกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และจากที่ผมได้มีโอกาสร่วมบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติตลอดระยะเวลา 14 ปี ทัง้ ในระดับเขตและส่วนกลาง จนได้ทำ� หน้าทีเ่ ลขาธิการ สปสช. ได้เห็นกระบวนการและพัฒนาการ ในการมีส่วนร่วมทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากระดับนโยบาย โดย “บอร์ด สปสช.” ปัจจุบันมี ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน นับเป็น บอร์ดบริหารทีป่ ระกอบไปด้วยผูแ้ ทนทุกภาคส่วน ทัง้ ฝ่ายผูใ้ ห้บริการ ผู้รับบริการ ผู้แทนหน่วยงานบริหารกองทุนสุขภาพ และผู้แทน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ครอบคลุม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด จึงนับเป็นบอร์ดที่มีส่วนร่วมบริหาร มากที่สุด เช่นเดียวกับบอร์ดควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุข และบอร์ด สปสช. ระดับเขต ทั้ง 13 เขต ที่มี องค์ประกอบผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในพื้นที่ รวมถึงคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งได้ร่วมกันบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นอกจากการมีสว่ นร่วมภายใต้บอร์ดชุดต่างๆ ข้างต้นนีแ้ ล้ว การมีส่วนร่วมในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังถูกส่งผ่าน โดยกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ อาทิ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่ดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประชาชนในพืน้ ทีเ่ ข้ามามีสว่ นร่วมดูแลสุขภาพ ทัง้ ในด้านส่งเสริม สุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูผู้ป่วย ผู้พิการ รวมไปถึงการดูแล ผู้สูงอายุที่รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อจัดระบบ บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care-LTC) ท�ำให้เกิด การมีส่วนร่วมด้านสุขภาพในพื้นที่เพิ่มขึ้น ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ หน่วยรับเรื่อง ร้องเรียนตามมาตรา 50 (5) ซึ่งเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่ เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ด�ำเนินงานโดยภาคประชาชน ศูนย์ บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ด�ำเนินงานโดย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเอง ไม่เพียงแต่ช่วยดูแลคุ้มครองสิทธิ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เข้าถึงบริการ แต่ยังเป็น กลไกเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ช่วยลดความขัดแย้งในระบบ การรับฟังความคิดเห็นทั่วไปในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ มีการก�ำหนดจัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี เพื่อเปิดให้ ทุกภาคส่วนได้แสดงความเห็นและสะท้อนปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ใน ระบบ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย ในปี พ.ศ. 2560 นี้ที่อยู่ระหว่างด�ำเนินการ ซึ่งบอร์ด สปสช. ได้ให้ เน้นขยายการรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปยังกลุ่มต่างๆ มากขึ้น พร้อมเพิ่มเติมประเด็นเฉพาะที่เป็นปัญหาเพื่อน�ำไปสู่การ ปรับปรุง ตลอดระยะเวลา 14 ปี จากกระบวนการมีส่วนร่วม ทัง้ หมดนี้ ผลทีไ่ ด้รบั ไม่เพียงแต่สร้างรากฐานมัน่ คงให้กบั กองทุนหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยงั ก่อให้เกิดความรูส้ กึ เป็นเจ้าของร่วมกัน น�ำไปสูก่ ารร่วมคิด ร่วมท�ำ และร่วมตัดสินใจ ท�ำให้กองทุนหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติเกิดความยั่งยืน... ขอบคุณครับ
นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2
[ ก้าวเด่นหลักประกัน ]
“การมีส่วนร่วม” สร้างเสริมหลักประกันสุขภาพยั่งยืน
หัวใจหลักอย่างหนึง ่ ของการพัฒนาประเทศไทยก็คอ ื ความพยายามให้ประชาชนทุกคนมีสว ่ นร่วม หรือ การสร้าง Sense of Belonging ซึง ่ ก็ตรงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564) ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในยุทธศาสตร์ด้านการ สร้างความมั่นใจในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Ensure participation and ownership of all stakeholders) ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 ด้าน ที่ก�ำหนดกลยุทธ์ในด้านนี้ไว้ชัดเจนว่า
กลยุทธ์ 4 ด้าน 1. ขยายและเพิม่ ระดับการมีสว่ นร่วมเป็นเจ้าของระบบของ ภาคียทุ ธศาสตร์และผูม้ สี ว่ นได้เสียกลุม่ ต่างๆ (Expand participation & ownership) 2. จัดระบบ/กลไกในการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มี ส่วนได้เสีย/ภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมทัง้ การมีสว่ นร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder relation)
3. ปฏิรูปการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปฯ โดยเพิ่มความ ส�ำคัญของ stakeholders กลุ่มต่างๆ (Improve hearing process) และ 4. ร่วมกับกลไกนโยบายหลักประกันสุขภาพระดับโลก ช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพในประเทศ (UHC in Global Health)
3
การมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพมีใน หลายระดับ ตัง ้ แต่ในส่วนของกรรมการ กรรมการ ควบคุม ระดับเขต จังหวัด และท้องถิน ่ ซึ่งถือว่า ตัวแทนในระดับต่างๆ ทีม ่ อ ี ยูม ่ ส ี ว่ นช่วยสนับสนุน ระบบหลักประกันสุขภาพ และถือเป็นภาคตัวแทน ที่มีความเข้มแข็งและมีความส�ำคัญ
คุณสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนฯ ภายใต้คณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงการมีสว่ นร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพว่า “การมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพมีในหลาย ระดับ ตั้งแต่ในส่วนของกรรมการ กรรมการควบคุม ระดับเขต จังหวัด และท้องถิ่น ซึ่งถือว่าตัวแทนในระดับต่างๆ ที่มีอยู่มีส่วน ช่วยสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพ และถือเป็นภาคตัวแทนที่ มีความเข้มแข็งและมีความส�ำคัญ เพราะภาคประชาชนเองก็อยาก เห็นระบบหลักประกันสุขภาพมีความเข้มแข็งและมีการด�ำเนินงานที่ พัฒนาไปสู่ความยั่งยืน” พร้อมกับให้ความเห็นว่า เนื่องจากระบบหลักประกัน สุขภาพเกิดมาแล้วหลายปี จึงควรเริม่ ขยายการมีสว่ นร่วม หรือขยาย จากกลุ่มตัวแทนที่มีส่วนร่วมอยู่เดิมไปสู่คนรุ่นที่ 2 หรือรุ่นต่อๆ ไป อาจต้องหาวิธหี าตัวแทนคนรุน่ ใหม่เข้ามา ทีต่ อ้ งมีความเข้าใจระบบ หลักประกันสุขภาพ เพราะจะต้องเป็นตัวแทนทีเ่ ป็นกรรมการทัง้ ใน ระดับชาติและในทุกระดับ เพื่อจะท�ำให้ระบบหลักประกันสุขภาพ พัฒนาไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น ในระบบหลักประกันสุขภาพนั้นจะมีกระบวนการลงไป ท�ำงานในระดับพื้นที่ซึ่งมีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก จ�ำเป็นต้องอาศัย คนรุน่ ใหม่เข้ามาเพิม่ เพือ่ สานต่อการท�ำงาน เช่น ปัจจุบนั ระบบหลัก ประกันสุขภาพจะมีศนู ย์ประสานงานสุขภาพอยูไ่ ม่ถงึ ร้อยแห่ง แต่มี ตัวแทนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิน่ เป็นพัน จะมีวธิ ที ำ� อย่างไร ให้ศนู ย์ประสานงานฯ ขยายงานไปในระดับต�ำบลให้ได้ ก็ตอ้ งอาศัย การขยายสู่ตัวแทนรุ่นใหม่
“อาจไม่จำ� เป็นต้องขยายศูนย์ประสานงานฯ ลงไปทุกที่ แต่ต้องมีคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นตัวแทนเข้าไปขยายความร่วมมือ ในระดับท้องถิ่นให้ทั่วถึง เพื่อให้คนเข้าใจเรื่องระบบหลักประกันฯ ท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และพัฒนาได้สอดคล้อง กับท้องถิ่นจริงๆ จุดส�ำคัญของการมีส่วนร่วม ต้องท�ำให้เกิดความเข้าใจ ต่อข้อมูลที่ตรงกัน แต่ที่ผ่านมาจะเห็นข่าวที่แสดงให้เห็นว่ามีการ เข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพออกมาอยู่เสมอ เช่น การกล่าวว่า สปสช. ท�ำให้โรงพยาบาลขาดทุน ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูล มักจะมาจากผูป้ ระกอบวิชาชีพ อย่างนีเ้ ป็นต้น เพราะฉะนัน้ ทัง้ ตัวแทน และผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องท�ำงานภายใต้ฐานข้อมูลชุดเดียวกัน จะเถียงกันก็ได้ แต่ต้องเถียงกันภายใต้ข้อมูลเดียวกัน” คุณสารี จึงน�ำเสนอความเร่งด่วนใน 3 เรือ่ งทีค่ วรท�ำ เพือ่ พัฒนาการมีส่วนร่วมของระบบหลักประกันสุขภาพเข้มแข็งมากขึ้น ว่า คือ หนึ่ง สร้างตัวแทนรุน่ ใหม่ ทัง้ ตัวแทนฝัง่ ประชาชนและ ฝั่งผู้ประกอบวิชาชีพ สอง ตัวแทนทุกภาคส่วน ควรใช้ข้อมูลชุดเดียวในการ ถกเถียง เพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ร่วมกัน และ สาม พัฒนาให้กลุม่ ทีไ่ ม่เคยได้รบั บริการเข้ามาสูร่ ะบบ หลักประกันสุขภาพมากขึ้น เช่น กลุ่มเปราะบาง คนเร่ร่อน อาศัยใต้สะพาน ฯลฯ
4
[ ก้าวเด่นหลักประกัน ] การจะน�ำยาหรือวัคซีนเข้ามาสักตัว วิธีการ รั ก ษา หรื อ วิ ธี ต รวจโรค ต้ อ งมี ก ารศึ ก ษา อย่ า งเป็ น ระบบ ทั้ ง ความปลอดภั ย คุ ้ ม ค่ า ประสิทธิผล ภาระงบประมาณ และทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมเข้าไปพิจารณา ไม่มีชนิดที่บอกให้ นักวิชาการตัดสินไปเลย
นพ.วิชยั โชควิวฒ ั น ประธานอนุกรรมการคุม้ ครองสิทธิ และส่งเสริมการมีสว่ นร่วม ภายใต้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานบริการสาธารณสุข ซึง่ มีบทบาทส�ำคัญท่านหนึง่ ได้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมต่อการคุ้มครองสิทธิหลัก ประกันสุขภาพและความตื่นตัวต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนหลัก ประกันสุขภาพ ที่สะท้อนให้เห็นผลการด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ที่ก�ำหนดไว้อย่างน่าสนใจว่า ภายใต้เรื่องของหลักประกันสุขภาพ สปสช. ถือเป็น หน่วยงานที่มีการเปิดให้การมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนอย่าง เข้มแข็ง โดยเฉพาะจากภาคประชาชน ซึง่ หากลองเทียบกับกองทุน อืน่ ๆ เช่น ประกันสังคม หรือกองทุนต่างๆ ของราชการ ซึง่ ผูไ้ ด้รบั สิทธิเหล่านั้นเกือบไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใดๆ และมักปล่อยให้เป็น เรื่องระบบราชการที่จัดการให้ ท�ำให้การมีส่วนร่วมของประชาขน หรือประชาสังคมแทบไม่มีเลย “แต่ สปสช. แตกต่าง เพราะโครงสร้างคณะกรรมการ บริหารทัง้ 2 บอร์ด ท�ำให้มสี ว่ นร่วมของทุกภาคส่วนทีม่ บี ทบาท เช่น นอกจากส่วนราชการแล้ว ในคณะกรรมการฯ จะต้องมีผทู้ รงคุณวุฒิ ที่ไม่ได้เข้ามานั่งเฉยๆ แต่มีส่วนร่วมให้ความรู้ มีภาคสภาวิชาชีพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนโดยตรงที่มาจาก การคัดเลือกตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ เข้ามาตามที่กฎหมายก�ำหนด ถือได้ว่าการจัดองค์กรของ สปสช. มีส่วนร่วมตั้งแต่เชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ดีมาก เทียบกับหลายหน่วยงาน สปสช. ถือว่า ดีที่สุดแล้ว” นพ.วิชัย กล่าว ทั้งนี้ นพ.วิชัย ยืนยันว่า การมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ ไม่ได้ท�ำไปตามโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการปฏิบัติที่ได้ ประสิทธิภาพด้วย ทัง้ นีเ้ พราะตัวแทนของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาค ประชาชนและประกันสังคม ถือว่ามีบทบาทสูงมากในทุกระดับ คนที่ ได้รบั เลือกเข้ามาเป็นกรรมการก็ไม่ได้เข้ามาเป็นเพือ่ ให้เต็มทีว่ า่ ง แต่
มีความรูแ้ ละมีสว่ นแสดงความคิดเห็นข้อมูลในด้านทีเ่ กีย่ วข้องเสมอ ตัวอย่างเช่น การพิจารณาสิทธิประโยชน์ใดๆ จะมีการ ด�ำเนินงานตัง้ แต่กระบวนคัดเลือกว่าจะน�ำเรือ่ งอะไรมาพิจารณา มี หลักเกณฑ์การให้ความส�ำคัญมาจากการร่วมกันคิดอย่างมีเหตุมผี ล “เช่น การจะน�ำยาหรือวัคซีนเข้ามาสักตัว วิธีการรักษา หรือวิธตี รวจโรค ต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทัง้ ความปลอดภัย คุ้มค่า ประสิทธิผล ภาระงบประมาณ และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เข้าไปพิจารณา ไม่มีชนิดที่บอกให้นักวิชาการตัดสินไปเลย แต่ใน กระบวนการนักวิชาการต้องมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจก่อน เพื่อให้ ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจได้” ส�ำหรับการพัฒนาการมีส่วนร่วมต่อจากนี้ นพ.วิชัย เชือ่ ว่า อยูท่ วี่ า่ ทุกฝ่ายจะช่วยกันรักษาเสถียรภาพเดิมของโครงสร้าง การมีสว่ นร่วมทีท่ ำ� มาไว้ให้คงอยู่ พร้อมกับท�ำให้เข้มแข็งเพิม่ ขึน้ เพือ่ พัฒนาต่อยอดไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งปัจจัยส�ำคัญอย่างหนึ่งคือ ต้อง อาศัย Leadership ของผู้น�ำองค์กร ที่ต้อง synergy เพื่อหลอมใจ คนให้ได้ เพื่อฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคที่จะมีเข้ามาท้าทายอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นผู้น�ำที่ดีนอกจากมีความเป็นผู้น�ำ ก็ยังต้องมีจิตใจ เข้มแข็ง ทุ่มเท และกล้าหาญ เพื่อรับมือกับทุกเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นด้วย “วันนี้ สปสช. มีหลักธรรมาภิบาลทีด่ อี ยูแ่ ล้วในการบริหาร งาน ทีค่ ำ� นึงถึงประโยชน์สขุ ของประชาชนเป็นอันดับแรก ภายใต้การ ด�ำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และได้รางวัลที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง มีผลงานเป็นที่ ยอมรับของประชาชน อีกทั้งมีผลส�ำรวจจากเอแบคโพลที่ยืนยันว่า มีระดับความพอใจของประชาชนสูงเกิน 90% ขณะที่ความพอใจ ของบริการก็ปรับขึ้นจากที่เคยอยู่ที่ 40% ก็เพิม่ เป็น 70%” นพ.วิชยั ย�้ำถึงผลลัพธ์ที่ดีจากการมีส่วนร่วมที่ผ่านมา
5
SDGs นอกจาก S-Sustainable, D-big Data Utilization และ G-Governance ที่ก�ำหนดไว้ โดย s-synergy เป็นเหมือนหัวใจที่ท�ำหน้าที่ เป็นตัวประสานให้ทุกอย่างเกิดขึ้นจริง
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้การน�ำของ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. ได้ให้ความส�ำคัญ เรื่องการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะการขยายการมีส่วนร่วมและรับฟัง ความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ซึ่งถือเป็น synergy ที่ท�ำให้วิสัยทัศน์ SDGs เกิดความส�ำเร็จ เพราะการพัฒนาอะไรก็ตามต้องอาศัย ความร่วมมือร่วมใจ หรือการมีส่วนร่วม หรือการยอมรับจาก ภาคส่วนต่างๆ เป็นล�ำดับแรก และท�ำให้เกิดลดความเหลื่อมล�้ำที่ เป็นไปได้ (Inclusive Growth) ภายใต้นโยบายรัฐบาล “synergy คือ การเคารพศักดิศ์ รีซงึ่ กันและกัน เคารพกติกา ร่วมกัน ซึ่งจะท�ำให้คนแต่ละคนที่มีความแตกต่าง รวมทั้งมีจุดยืน
ที่แตกต่าง เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันได้ สิ่งส�ำคัญคือ จะต้องมี การพูดคุย เพื่อให้ได้ผลทวีคูณ แทนที่จะติดลบเพราะความขัดแย้ง เพราะไม่ได้พูดคุยกัน synergy จะเป็นคีย์ที่สร้าง Value chain และ มีความส�ำคัญทุกระดับ ซึง่ ผมจะใช้สงิ่ นีแ้ ปลงนโยบายและยุทธศาสตร์ ของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ” นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว ดังนั้น SDGs นอกจาก S-Sustainable, D-big Data Utilization และ G-Governance ที่ก�ำหนดไว้ โดย s-synergy เป็น เหมือนหัวใจทีท่ ำ� หน้าทีเ่ ป็นตัวประสานให้ทกุ อย่างเกิดขึน้ จริง และ ท�ำให้ทุกเรื่องที่ก�ำหนดไว้เดินไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
6
[ ก้าวพิเศษ ]
โดย: นพ.พีระมน นิงสานนท์ รอง ผอ.สปสช. เขต 1 เชียงใหม่
SOLIDARITY
เส้นชัยสู่ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ยั่งยืน ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม หรือ “Solidarity” เป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกับเรื่องความยั่งยืนของระบบ สุ ข ภาพทั้ ง หมด ไม่เฉพาะแค่เรื่อ งระบบหลักประกันสุขภาพถ้ว นหน้าเท่านั้น และเมื่อพูดเฉพาะเรื่อง ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ค�ำว่า “Solidarity” น่าจะเป็นพื้นฐานส�ำคัญหลักที่ท�ำให้การด�ำเนิน นโยบายนี้ประสบผลส�ำเร็จอย่างยั่งยืน
หากพูดถึง Solidarity ในระบบสุขภาพที่มีส่วนส�ำคัญใน การสนับสนุนการด�ำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว ใน ทางทฤษฎีประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. Horizontal Solidarity เป็นกระบวนการเฉลี่ย ความเสีย่ งในด้านการเจ็บป่วย เพือ่ ให้เกิดการกระจาย ทรัพยากร ตามหลักการ “ดีช่วยป่วย” ที่น�ำไปสู่การ ดูแลซึ่งกันและกันในสังคม ลดความเหลื่อมล�้ำ โดย ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วม 2. Vertical Solidarity การจ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุน หลักประกันสุขภาพ โดยค�ำนวณอัตราการจ่ายตาม รายได้ คือ “รายได้มาก ยิ่งต้องจ่ายมาก” หรือการ จัดท�ำระบบร่วมจ่าย (Co-payment) ที่มีการก�ำหนด เพดานการร่วมจ่ายส�ำหรับผู้มีรายได้น้อย และการ จ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพโดย ผ่านระบบภาษีต่างๆ ด้วยภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้า ที่ผู้มีรายได้มากต้องมีอัตราค�ำนวณการจ่ายภาษีที่ มากกว่าผู้มีรายได้น้อย 3. National Level Solidarity การอุดหนุนงบประมาณ กองทุนหลักประกันสุขภาพต่างๆ โดยรัฐบาล เพื่อ ท�ำให้แต่ละกองทุนฯ สามารถจัดสิทธิประโยชน์ พื้นฐานด้านสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลเพื่อ ดูแลผู้มีสิทธิได้ใกล้เคียงกัน
7
จากทฤษฎีข้างต้นนี้ ประเทศที่ด�ำเนินระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปตะวันตก การพัฒนา ระบบสาธารณสุขเพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนให้เข้าถึงการรักษา พยาบาล ล้วนแต่ผา่ นกระบวนการเพือ่ สร้างความเป็น Solidarity หรือ ความเป็นปึกแผ่นทางสังคมทัง้ สิน้ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านัน้ หากย้อนดูการจัดระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศ แถบยุโรปตะวันตก จะพบว่าประเทศเหล่านั้นต่างมีประวัติศาสตร์ ของกระบวนการจัดสร้างหลักประกันสุขภาพทีย่ าวนาน เริม่ ต้นตัง้ แต่ สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ต่อเนื่องถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกทีป่ ระเทศได้รบั ความเสียหายจาก สงครามอย่างหนัก ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนต่างได้รับผลกระทบกัน ทัว่ หน้า ซึง่ หากทุกคนไม่รว่ มมือกัน ผูค้ นไม่สร้างความเป็นปึกแผ่น ทางสังคมขึน้ ประเทศจะไปไม่รอด จึงน�ำมาสูจ่ ดุ เปลีย่ นด้านระบบ สุขภาพและระบบประกันสุขภาพ อาทิ ในช่วงหลังสงครามโลก โรงงานทั้งหลายที่ยังคง เหลืออยู่ มีคนรวยคือเจ้าของโรงงาน และคนจนคือคนงาน และ ในกลุ่มคนงานก็มีคนจนมากและจนน้อย เพื่อให้โรงงานอยู่รอด ทัง้ หมดจึงต้องพึง่ พาอาศัยกัน ดังนัน้ เจ้าของโรงงานจึงมีการจัดระบบ เพื่อดูแลทุกข์สุขของคนในโรงงานทั้งหมด ซึ่งการจัดระบบสุขภาพ จึงเป็นหนทางหนึ่งในการดูแลสวัสดิภาพคนงาน เพื่อให้โรงงาน อยู่รอดได้ ซึ่งทุกคนต่างเห็นด้วย
ส�ำหรับการจัดระบบสุขภาพที่เกิดขึ้นนี้ ได้เริ่มจากการ จัดระบบสุขภาพภายในโรงงานเพื่อดูแลสวัสดิภาพแรงงาน และ มีการขยายสู่การจัดระบบสุขภาพชุมชนเพื่อดูแลสวัสดิภาพคนใน ชุมชนด้วยกัน โดยรัฐบาลกลางมีบทบาทน้อยมาก เป็นระบบที่ ใช้เวลาพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งน�ำมาสู่การเป็น “สิทธิขนั้ พืน้ ฐานด้านสุขภาพ” เป็นค่านิยมทีค่ นในประเทศเห็นร่วมกัน ว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมเป็นสิทธิของบุคคล ก่อให้เกิดการจัดระบบสุขภาพระดับประเทศเพือ่ รองรับประชาชน ตามมา ท�ำให้ทกุ คนในประเทศสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและ บริการสาธารณสุขได้ ด้วยระบบที่เป็นมาตรฐานการรักษาเดียวกัน สิง่ เหล่านีไ้ ม่ได้สร้างกันได้ภายในหนึง่ หรือสองปี แต่ใช้เวลานานมาก ทั้งนี้หากพูดถึงประเทศที่เป็นตัวอย่างชัดเจนในเรื่อง ระบบสุขภาพนี้ คงต้องเอ่ยถึงประเทศเบลเยียมอันดับแรกๆ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นคนเบลเยียมเอง หรือแม้แต่ผู้อพยพ ต่างเข้าถึงระบบ สุขภาพขัน้ พืน้ ฐานได้เช่นเดียวกันหมด เนือ่ งด้วยคนในประเทศต่าง ยอมรับต่อสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพที่ทุกคนในประเทศสมควร ได้รับ ส่งผลให้มีการพัฒนาจนเกิดระบบหลักประกันสุขภาพของ เบลเยียมในปัจจุบัน จุดเปลี่ยนวิกฤตส�ำคัญคือ ช่วงสงครามโลกในยุโรป นับ เป็นปัจจัยที่ท�ำให้คนในสังคมรับรู้ว่า คุณไม่สามารถอยู่ได้ด้วย ตัวคนเดียว ไม่ว่าจะรวยแค่ไหน หรือเป็นคนจน คุณยังต้องพึ่งพา
8
[ ก้าวพิเศษ ]
ประเทศไทยมีระบบหลักประกัน สุขภาพ 3 กองทุนใหญ่ ซึ่งแต่ละ กองทุนต่างมีผู้สนับสนุนและสร้าง แนวร่วมของตน ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้ ความเป็นเอกภาพในระบบสุขภาพ ของประเทศเป็นไปได้ยาก
คนอืน่ ๆ ความรูส้ กึ ดังกล่าวทีผ่ คู้ นตระหนัก ส่งผลให้รฐั บาลประเทศ ต่างๆ เกิดระบบจัดเก็บภาษีอตั ราก้าวหน้าเพือ่ จัดสวัสดิการในระดับ ประเทศ รองรับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคล ทั้งการ ประกันรายได้ขนั้ ต�ำ่ การเข้าถึงการรักษาพยาบาล เบีย้ เลีย้ งชีพยาม ชราภาพ และอื่นๆ ที่ส่งผลให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข (ก่อนจะมีเรื่องก่อการร้ายจากต่างชาติในช่วงหลังๆ) โดยคนที่จ่าย ภาษีมากจะไม่หวังผลประโยชน์จากสวัสดิการที่รัฐจัดกลับมาว่า จะต้องได้มากกว่า หรือต้องได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างจากคนที่ ไม่ได้จ่ายภาษีหรือจ่ายในอัตราที่น้อยกว่า
ส่วนประเทศไทยนั้น นิยามของค�ำว่า Solidarity ยังมี ความหมายปนเปกับค�ำว่า “Generosity (ความเอือ้ เฟือ้ ) หรือ Charity (การกุศล)” ที่ยังเป็นมุมมองช่วยเหลือและสงเคราะห์เป็นหลัก จึงส่งผลให้แนวคิดในระบบสุขภาพยังไม่แรงพอที่จะท�ำให้เกิด ค่านิยมที่มองเรื่องสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนได้ เห็น ได้จากกรณีการร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและ การลดความเหลื่อมล�้ำสิทธิสุขภาพระหว่างกองทุนรักษาพยาบาล ที่มักมีปัญหาทุกครั้งเมื่อมีการน�ำเสนอ ขณะที่กระบวนการพัฒนา ระบบสุขภาพในประเทศไทย รัฐบาลกลางยังเป็นผูม้ บี ทบาทอย่างมาก ขณะที่ประชาชนเป็นผู้คอยรับประโยชน์จากระบบที่รัฐจัดให้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีระบบหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุนใหญ่ ที่มีท่ีมาต่างกันมาก และนับวันรอยแยกระหว่าง กองทุนจะเพิ่มมากขึ้น เพราะแต่ละกองทุนต่างมีผู้สนับสนุนและ สร้างแนวร่วมของตน ด้วยเหตุนจี้ งึ ท�ำให้ความเป็นเอกภาพในระบบ สุขภาพของประเทศเป็นไปได้ยาก ผมเล่ามานี้ไม่ได้มีความคิดว่าจะต้องน�ำกระบวนการ แบบยุโรปมาสร้างความเป็นปึกแผ่นทางสังคมในเรือ่ งระบบสุขภาพ บ้านเราทั้งหมด เพียงแต่จากประวัติศาสตร์การท�ำให้เกิดค่านิยม ในสิทธิและหน้าที่พื้นฐานด้านสุขภาพในประเทศอาจต้องใช้เวลา ยาวนาน และจ�ำเป็นต้องก้าวข้ามเรื่องค่านิยมการสงเคราะห์ เพื่อ ไปให้ถึงแนวคิดเรื่อง Solidarity ของสังคม ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญท�ำให้ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความยัง่ ยืนและเป็นมาตรฐาน เดียวกัน” อ้างอิง : SOLIDARITY IN HEALTH: REDUCING HEALTH INEQUALITIES IN THE EU
9
[ 1330 มีค�ำตอบ ]
ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการฯ
การฝากครรภ์และต้องเจาะน�ำ้ คร�ำ่ สามารถใช้สทิ ธิหลัก ประกันสุขภาพได้หรือไม่ จะต้องด�ำเนินการอย่างไร
การฝากครรภ์สามารถใช้สทิ ธิได้ไม่จำ� กัดจ�ำนวนครัง้ เนือ่ งจาก เป็นบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (บริการ PP) และหากแพทย์พิจารณาแล้วว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจ�ำเป็นต้องเจาะ น�ำ้ คร�ำ่ สามารถใช้สทิ ธิได้ ให้เข้ารับบริการทีห่ น่วยบริการ ตามสิทธิหรือหน่วยบริการทีเ่ ข้าร่วมโครงการหลักประกัน สุขภาพแห่งใดก็ได้ ภายในจังหวัดเดียวกัน
การใช้สทิ ธิประกันสุขภาพประเภทสิทธิทวั่ ไปและประเภทสิทธิยอ่ ยคนพิการแตกต่างกัน อย่างไร
เงื่อนไขการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจ�ำหรือเครือข่ายหน่วยบริการประจ�ำ 2. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่น กรณีที่หน่วยบริการประจ�ำส่งต่อ 3. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่น กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกหน่วยบริการประจ�ำ 4. กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่จ�ำกัดจ�ำนวนครั้ง 5. ผูม้ สี ทิ ธิหลักประกันสุขภาพทีม่ สี ทิ ธิยอ่ ยเป็นคนพิการให้เข้ารับบริการทีห่ น่วยบริการประจ�ำ ของตน หากจ�ำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะทางต้องผ่านระบบส่งต่อ ยกเว้นกรณีที่ไม่ สามารถกลับไปรับบริการทีห่ น่วยบริการประจ�ำได้ สามารถเข้ารับบริการในสถานพยาบาล ของรัฐได้ตามความจ�ำเป็น
โทรสอบถาม สายด่วน สปสช.
1330
10
[ ก้าวน�ำความคิด ] โดย: นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ
บทเรียนจาก OBAMA CARE ในช่วงที่ผมเขียนบทความเรื่องนี้ (พฤษภาคม พ.ศ. 2560) เป็นช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก�ำลังร้อน ระอุ ด้วยลีลาการเมืองที่ใช้นโยบาย “America Come First” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ท่ี หนักที่สุดคือ นโยบายทางการทหารที่ดุดันถึงลูกถึงคน ล่าสุดเพิ่งถล่มระเบิดโทมาฮอว์กและระเบิด ขนาดใหญ่ในซีเรียและอัฟกานิสถาน รวมทั้งการส่งเรือรบเข้าในคาบสมุทรเกาหลี จนผู้น�ำเกาหลีเหนือ ออกมาสวนหมั ด กลั บ ด้ ว ยการทดสอบขี ป นาวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ จนท� ำ ให้ ผู ้ ค นทั่ ว โลกหวาดผวากั บ คลื่ น สงครามโลกที่สูงปรี๊ดในขณะนี้
อีกเรือ่ งหนึง่ ทีอ่ าจจะร้อนแรงน้อยกว่า แต่กเ็ ขย่าการเมือง สหรัฐอเมริกาให้ระอุกอ่ นหน้านัน้ คือ การประกาศยกเลิก Affordable Care Act (ACA) ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ในรัฐบาล ประธานาธิบดีโอบามา (จึงมีชื่อเล่นว่า Obama Care) ซึ่งถือเป็น กฎหมายฉบับแรกที่รัฐบาลทรัมป์ยกเลิก (หลังเข้ารับต�ำแหน่ง) และ พยายามจะประกาศใช้กฎหมายใหม่ที่เรียกว่า American Health Care Act (AHCA) ซึง่ ก็มคี นตัง้ ชือ่ เล่นว่า Trump Care แต่กย็ งั ไม่สำ� เร็จ เพราะถูก สส. หลายฝ่าย แม้กระทั่ง สส. จากพรรครีพับลิกันของ นายทรัมป์เองหลายคนก็ไม่เอาด้วย ดังนั้นในขณะนี้สหรัฐอเมริกาเลยมีระบบประกันสุขภาพ ถอยหลังกลับไปอยู่ที่ระบบเก่าก่อนปี ค.ศ. 2010 (ระบบ Obama Care แม้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2010 แต่วางแผนด�ำเนินการอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปถึง 12 ปี คนอเมริกันจึงได้อานิสงส์จากกฎหมาย นี้แค่ 6 ปี เท่านั้นเอง) คนอเมริกันก่อนมี Obama Care นั้นไม่ได้ ท�ำประกันสุขภาพไว้กับระบบใดระบบหนึ่งไว้สูงถึง 20% หรือกว่า 40 ล้านคน คนเหล่านี้ต้องเดือดร้อนกับความพลิกแพลงของธุรกิจ สุขภาพ ที่ก�ำหนดโดยบริษัทประกัน บริษัทยา และกลุ่มทุนสุขภาพ มาโดยตลอด จนมีคนอเมริกนั เองเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์เสียดสี ระบบบริการสุขภาพของสหรัฐอเมริกา ในชือ่ เรือ่ งว่า Sicko ซึง่ ท่าน ทีส่ นใจสามารถดาวน์โหลดดูได้ใน Website ของมูลนิธเิ พือ่ ผูบ้ ริโภค ปัญหาทีป่ ลีกย่อยไปกว่าการไม่มหี ลักประกันสุขภาพของ คน 40 ล้านคน คือ แม้กระทั่งคนที่มีประกันสุขภาพอยู่ ก็อาจถูก ปฏิเสธการต่อประกันสุขภาพ เพราะมีโรคเก่าหรือเจ็บป่วยมาก่อน การถูกปฏิเสธการรักษากลางคันเพราะกรอกเอกสารไม่ถกู ต้อง การ ถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเพราะความเป็นผู้หญิง และอื่นๆ
11
เรียกได้วา่ ชาวบ้านแทบไม่มอี ำ� นาจต่อรองกับบริษทั ประกัน ได้เลย บางคนถึงขั้นล้มละลายเพราะความเจ็บป่วย (Catastrophic Illness) ก็มี คนเมืองลุงแซมนั้นปกติจะพึ่งพาอาศัยกลไกอยู่ 3 อย่าง ในการเข้าถึงบริการสุขภาพ กล่าวคือ 1. Medicaid เป็นระบบสงเคราะห์สำ� หรับผูม้ รี ายได้นอ้ ย ซึ่งละม้ายคล้ายกับโครงการ สปร. ของประเทศไทย สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช 2. Medicare เป็นระบบช่วยเหลือผูส้ งู อายุ ซึง่ มีพนื้ ฐาน อยู่บนปรัชญาที่ว่าจ่ายภาษีมานานแล้ว ซึ่งระบบนี้ ไม่ได้ดแู ลเฉพาะเรือ่ งความเจ็บป่วย แต่ยงั ครอบคลุม ไปถึง Nursing Care Home เบี้ยยังชีพ และปัญหา ทางสังคมอื่นๆ 3. Health Management Organization (HMO) เป็น ระบบคล้ายๆ กองทุนประกันสังคม (ซึง่ มีทงั้ ของเอกชน และของรัฐ) เป็นกลไกที่ถูกก�ำหนดให้มีทั่วประเทศ บางรัฐมีเป็นร้อยกองทุน บางรัฐทีใ่ หญ่หน่อยมีเป็นพันๆ แห่ง โดยประชาชนมีหน้าที่ (Mandate) ที่จะต้อง ลงทะเบียนเป็นรายปี คนอเมริกันส่วนใหญ่จะซื้อ ประกันสุขภาพในระบบนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกานี้แปลกอยู่ตรงที่ว่าในรัฐธรรมนูญ ก�ำหนดไว้ว่า รัฐบาลกลางมีหน้าที่แค่ออกกฎหมายและก�ำหนด ยุทธศาสตร์การท�ำงานของประเทศในเรือ่ งส�ำคัญๆ เช่น ความมัน่ คง หรือเรื่องทางการทหาร แต่การไปท�ำระบบบริการเอง เช่น ด้าน สุขภาพ ด้านการศึกษานัน้ ห้ามไว้ เป็นเรือ่ งของรัฐบาลท้องถิน่ (State Garment) รัฐบาลกลางจึงไม่มสี ทิ ธิไ์ ปท�ำอะไรแบบส�ำนักงานประกัน สังคม หรือ สปสช. ของไทยได้ อ�ำนาจการจัดการในเชิง Delivery Service ตกไปอยู่กับรัฐบาลระดับรัฐและท้องถิ่น ซึ่งมีอิสระในทาง นิติบัญญัติและการบริหารสูง ถึงขั้นสามารถออกกฎหมายอาญา ได้ เช่น กฎหมายการก�ำหนดอายุการขายเหล้า การเก็บภาษีเหล้า การพกพาอาวุธปืน หรือกฎหมายการท�ำแท้ง ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่าง กันไปไม่เหมือนกันในแต่ละรัฐ สิ่งที่กฎหมาย ACA ของ Obama พยายามท�ำที่ผ่านมา มีหลายเรื่องนับตั้งแต่ 1. ให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพมากขึน้ โดยเฉพาะ ในระบบ Medicaid 2. พัฒนาระบบให้มงี บประมาณไปดูแลคนสูงอายุมากขึน้ 3. ลดค่าใช้จ่ายบางด้าน เช่น การตั้งเงื่อนไขเก็บเบี้ย ประกันแพงในกลุ่มผู้หญิงบางโรคที่ผ่านมา 4. ควบคุมก�ำกับ (Regulate) บริษัทประกันสุขภาพ ไม่ให้เอาเปรียบชาวบ้านมากเกินไป 5. พัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุขให้ดีขึ้น
ที่ผ่านมา 5-6 ปี บางด้านก็เริ่มเห็นผล แต่บางด้านก็ยังไม่ ชัดเจน สิง่ ทีป่ ระธานาธิบดี Trump พยายามรือ้ กฎหมาย Obama Care นั้น มีคนวงในวิเคราะห์ว่า Trump ยังคงอาศัยเค้าโครงเดิม (Frame) ของ Obama Care ในกฎหมายฉบับใหม่ แต่มีการเปลี่ยนแปลง หลักการและแนวทางปฏิบตั ใิ หม่ ซึง่ ดูเหมือนจะเอือ้ ประโยชน์ตอ่ นายจ้าง กลุม่ คนรายได้สงู และภาคอุตสาหกรรม ยกเลิกการขยาย กองทุน Medicaid ไปจนถึงใช้ระบบภาษี (Tax Credit) ตาม เกณฑ์อายุ (ของเดิมใช้เกณฑ์รายได้) ซึ่งดูเผินๆ โดยสรุปคือ Trump พยายามลดภาระงบประมาณรายจ่ายของประเทศทีต่ อ้ งไป แบกรับค่ารักษาพยาบาล แต่วิธีการดังกล่าวกลับสวนทางกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับ ตอนหาเสียง Trump เคยสัญญาไว้วา่ “จะท�ำให้คนอเมริกนั มีความครอบคลุมด้านหลักประกันสุขภาพมากขึ้น และไม่ปล่อย ให้ชาวบ้านต้องไปตกระก�ำล�ำบากอยู่บนท้องถนน” แต่ถ้าดูสาระ อย่างที่กฎหมายใหม่ของ Trump เสนอมา มีหลายสิ่งหลายอย่าง ทีส่ วนทางกับที่ Trump พูดไว้ ตัวอย่างง่ายๆ คือ จะมีคนหลายล้านคน ที่หลุดจากระบบ Medicaid ดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Obama Care แล้ว ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า แล้วหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของไทยเรา จะโดนหางเลขอะไรบ้างหรือเปล่า ในช่วงอนาคตใกล้ๆ ที่จะถึงนี้ ขอขอบพระคุณ นพ.สุรจิต สุนทรธรรม กรรมการ แพทยสภา ทีเ่ อือ้ เฟือ้ และให้คำ� ปรึกษาเกีย่ วกับระบบบริการสุขภาพ ของสหรัฐอเมริกา
12
[ ก้าวไปด้วยกัน ]
โดย: วันรพี สมณช้างเผือก ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี
สมัชชาพิจารณ์ 60
จากพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้ก�ำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการ และผูร้ บั บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 18 (13) เป็นประจ�ำทุกปี ดังนั้นส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี จึงได้รว่ มกับคณะท�ำงานสมัชชาพิจารณ์หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยคณะอนุกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี (อปสข.) อนุกรรมการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขฯ เขต 8 อุดรธานี (อคม.) นักวิชาการสาธารณสุขและสถาบันการศึกษา ได้แก่ ส�ำนักงาน เขตสุขภาพที่ 8 ส�ำนักงานสาธารณสุข 7 จังหวัด มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีสาขาบึงกาฬ วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ตัวแทนผูใ้ ห้ บริการจากโรงพยาบาลทัว่ ไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) ตัวแทนภาคประชาชน จากภาคีเครือข่าย 9 ด้าน ตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หน่วย รับเรื่องร้องเรียนอิสระฯ 50 (5) และตัวแทนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นทัว่ ไปจากผูใ้ ห้บริการและ ผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจ�ำปี 2560 โดยใช้กระบวนการสมัชชาพิจารณ์ในการร่วมกันแสดงความเห็น ร่วมกันรับฟัง และร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อการพัฒนาระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ
ในกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นฯ ใช้ระยะเวลากว่า 5 เดือน ตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2559-เมษายน พ.ศ. 2560 โดย เริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเพื่อก�ำหนดประเด็นรับฟัง ความเห็น ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 มีประเด็นรับฟังความเห็น 4 ประเด็น คือ 7 ประเด็นตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และประเด็นปัญหาเฉพาะของพื้นที่ จ�ำนวน 3 เรื่อง คือ 1. ไตวาย ตายไว ป้องกันดีกว่า ไม่จน ไม่ต้องรอคิวยาว 2. คลอดต่างพื้นที่ ท�ำไมต้องจ่าย? 3. การพัฒนาระบบบริการคนพิการและจัดตั้งกองทุน ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จ�ำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด ส่วนการด�ำเนินการประชุมพัฒนาร่างข้อเสนอนโยบาย พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการจัดเวทีรับฟัง ความเห็นและพิจารณาต่อร่างข้อเสนอนโยบายในระดับจังหวัดทั้ง 7 จังหวัด ซึง่ ข้อเสนอนโยบายเพือ่ พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 85 ข้อเสนอ จ�ำแนกออกเป็นด้านต่างๆ 7 ประเด็น ตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จ�ำนวน 16 ข้อเสนอ อาทิ ควรศึกษาการพัฒนาระบบให้บริการทั่วไทย โดย ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว การเรียกเก็บบริการทางการแพทย์ในกรณี ค่าธรรมเนียม 30 บาท การจัดตั้งศูนย์พึ่งพิงผู้สูงอายุที่อยู่ใน ภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตให้ครบทุกต�ำบล
13
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย (palliative care unit) ให้ครอบคลุม การปรับปรุงระบบลงทะเบียนสิทธิและ การขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจ�ำ ปัจจุบัน 4 ครั้งต่อปี ให้ สามารถใช้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพได้ทนั ที การเข้าถึงบริการอุปกรณ์ เครื่องช่วยคนพิการ การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดตัง้ สปสช. สาขาจังหวัด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีประเด็นส�ำคัญเฉพาะพื้นที่ เช่น ปัญหาไตวาย ให้เน้นพัฒนาระบบการป้องกันโรค สร้างความร่วมมือ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปัญหาการคลอดต่างพื้นที่ การปรับปรุง ระบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ป้องกันการร้องเรียน จากการถูกเรียกเก็บเงิน และการสูญเสียจากกรณีคลอดบุตร จ�ำนวนข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตามมาตรา 18 (13) ประจ�ำปี 2560 ส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี ล�ำดับ
1 2 3 4 5
กรอบการรับฟังตามข้อบังคับ
ประเภทและขอบเขตการบริการสาธารณสุข มาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข การบริหารจัดการส�ำนักงาน การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 6 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 7 การรับรู้และการคุ้มครองสิทธิ รวม
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
7 ประเด็นตาม พรบ. หลักประกัน สุขภาพฯ
ไตวาย ตายไว ป้องกันดีกว่า ไม่จน ไม่ต้องรอคิวยาว
คลอดต่างพื้นที่ ท�ำไมต้องจ่าย?
การพัฒนาระบบ บริการคนพิการ และจัดตั้งกองทุน ฟื้นฟู
4 2 1 1 5
2 4 3 2 3
7 4 2 4 6
4 5 2 2 3
17 15 8 9 17
1 2 16
5 4 23
3 2 28
1 1 18
10 9 85
ผลของการรับฟังความคิดเห็นของส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี และคณะท�ำงานสมัชชาพิจารณ์หลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 ได้มขี อ้ เสนอเพือ่ พัฒนาใน 4 เรือ่ ง คือ 1. สปสช. ควรให้ความส�ำคัญในการปฏิรปู กระบวนการ รับฟังความเห็นฯ ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุก ภาคส่วนอย่างแท้จริง ควบคูก่ บั การสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแก่ ผูเ้ ข้าร่วมกระบวนการ ทัง้ ในระดับเขตพืน้ ทีแ่ ละระดับ ชาติ เช่น รูปแบบ “สมัชชาพิจารณ์” ที่ด�ำเนินการ ในพื้นที่ สปสช. เขต 8 อุดรธานี 2. ควรพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบาย น�ำผลจากการรับฟังไปสูก่ ารแก้ไขปัญหาในพืน้ ที่ โดย กระบวนการมีสว่ นร่วม เช่น ธรรมนูญสุขภาพมุง่ สร้าง
รวม
กลไกการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชนร่วมกันระหว่าง ภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และภาคเอกชน สู่การสร้างสังคมสุขภาวะ แบบองค์รวมในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 3. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางด้าน วิชาการ องค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ด้านสุขภาพ ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง กฎระเบียบหรือข้อบังคับให้เอื้อต่อการขับเคลื่อน ข้อเสนอไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 4 ควรพัฒนาระบบการติดตาม การรายงานผลการ ขับเคลื่อนข้อเสนอจากการรับฟังไปสู่การแก้ไข ปัญหาในทุกระดับแบบมีส่วนร่วมจากองค์กรภาคี
14
[ ก้าวแห่งคุณค่า ]
การพัฒนาระบบบริการ
ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอย่างยั่งยืน นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก มาจากการค�ำนึงถึงผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่เข้าไม่ถึงการรักษา ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงการเข้าสู่ครัวเรือนล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งท�ำอย่างไรให้ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ต้องเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงบริการบ�ำบัดทดแทนไต จึงได้ด�ำเนิน นโยบายควบคูก ่ บ ั สิทธิประโยชน์การดูแลผูป ้ ว ่ ยไตวายเรือ ้ รังระยะสุดท้ายทีค ่ รอบคลุมถึงการฟอกไตด้วย เครือ ่ งไตเทียม สนับสนุนยาเพิม ่ ระดับเม็ดเลือดแดง และปลูกถ่ายไต รวมถึงการให้ยากดภูมใิ นผูป ้ ว ่ ยภาย หลังปลูกถ่ายไต
นพ.ชูชัย ศรช�ำนิ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาการด�ำเนิน นโยบายในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา หลังเริม่ ต้นในปี พ.ศ. 2551 ไม่เพียง ท�ำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทัว่ ประเทศเข้าถึงการรักษา โดยมีการจัดตัง้ ศูนย์ลา้ งไตผ่าช่องท้องกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ยังท�ำให้เกิดองค์ความรู้ที่น�ำไปสู่การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วย ล้างไตผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลดอัตราติดเชื้อ ทางช่องท้องในผูป้ ว่ ยล้างไตผ่านช่องท้อง ซึง่ จากข้อมูลโดย รศ.พญ. สิรภิ า ช้างศิริกุลชัย ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพบว่าในปี พ.ศ. 2554 อัตราการติดเชื้อทาง ช่องท้องของผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องอยู่ที่ 28.2 เดือนต่อครั้ง แต่ในปี พ.ศ. 2559 มีอตั ราการติดเชือ้ อยูท่ ี่ 31.2 เดือนต่อครัง้ โดยที่ มาตรฐานการดูแลภาวะอัตราการติดเชือ้ ทางช่องท้องของผูป้ ว่ ยล้างไต
ผ่านช่องท้องมีคา่ มากกว่า 24 เดือนต่อครัง้ ในขณะทีผ่ ลการรักษาเมือ่ เปรียบเทียบอัตรารอดชีวิตในผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องและผู้ป่วย ฟอกไต โดยดูข้อมูลผู้ป่วยภายหลัง 90 วัน ที่เริ่มรับการรักษา และ ไม่นบั รวมผูป้ ว่ ยทีร่ กั ษาต่อเนือ่ งน้อยกว่า 90 วัน จากข้อมูลรับบริการ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2551-2559 พบว่าอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้อง มีอัตราเฉลี่ยรอดชีวิตร้อยละ 86.4 ส่วนผู้ป่วยฟอกไตผ่านเครื่อง มีอัตราเฉลี่ยรอดชีวิตร้อยละ 91.6 ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องมีอัตราเฉลี่ยรอดชีวิตร้อยละ 77.5 ส่วนผู้ป่วยฟอกไตมีอัตราเฉลี่ยรอดชีวิตร้อยละ 85.4 ข้อมูลส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นการ ใช้ข้อมูลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
15
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา ได้หารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ โดยมีข้อเสนอ ให้ท�ำวิจัยบนหลักวิชาการ เพื่อรองรับ การพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างยั่งยืนต่อไป
นพ.ชูชัย ศรช�ำนิ ข้อมูลการรับบริการ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2551-2559
ที่มา: จากส�ำนักงานกองทุนไต สปสช.
580 หน่วยบริการ ใช้ขอ้ มูลผูป้ ว่ ยภายหลัง 90 วัน ทีเ่ ริม่ รับการรักษา และไม่นบั รวมผูป้ ว่ ยทีร่ กั ษาต่อเนือ่ งน้อยกว่า 90 วัน เนือ่ งจากผูป้ ว่ ย ทีร่ บั การบ�ำบัดทดแทนไตส่วนหนึง่ เป็นผูป้ ว่ ยกลุม่ เสีย่ งต่อการเสียชีวติ อยูแ่ ล้ว ทัง้ จากภาวะโรคทีเ่ จ็บป่วยและปัจจัยต่างๆ จึงใช้ขอ้ มูลหลัง 90 วัน ที่ผู้ป่วยเริ่มบ�ำบัดทดแทนไต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นผลจาก การบ�ำบัดทดแทนไตในการเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง นพ.ชูชัย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการการ สาธารณสุข สภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ (สนช.) ทีม่ ี นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นประธาน ตระหนักต่อปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดประชุมพิจารณา แนวทางการด�ำเนินนโยบายเพื่อดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้าย โดยเชิญแพทย์และนักวิชาการที่คัดค้าน สปสช. ในฐานะ ผู้ด�ำเนินนโยบาย อายุรแพทย์โรคไตดูแลผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้อง และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เพื่อรับฟังความเห็นรอบด้าน ขณะเดียวกันในการประชุมสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยทีผ่ า่ นมา ได้หารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ โดยมีข้อเสนอให้ท�ำวิจัยบนหลัก วิชาการ เพือ่ รองรับการพัฒนาระบบบริการดูแลผูป้ ว่ ยไตวายเรือ้ รัง อย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตามจากทีม่ กี ารน�ำเสนอข้อมูลผลกระทบจาก CAPD First Policy รวมถึงการศึกษาวิจยั เปรียบเทียบอัตรารอด ชีวติ ในผูป้ ่วยล้างไตผ่านช่องท้องและผู้ป่วยฟอกไต คณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน ได้ตระหนักถึงข้อมูล ที่มีการน�ำเสนอขณะนี้ รวมถึง CAPD First Policy ที่ด�ำเนินมาถึง 10 ปี เห็นควรให้ทบทวนสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ เพื่อน�ำมา ปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอย่างเหมาะสม บนหลักวิชาการทางการแพทย์ การค�ำนึงถึงผู้ป่วยและบริบทที่ เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมอบให้ นพ.ชาตรี บานชื่น ประธาน กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข รวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตผ่านช่องท้อง อย่างต่อเนื่อง เพื่อน�ำเสนอในการประชุมบอร์ด สปสช. ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560
16
[ ก้าวกับมายาคติ ]
โดย: นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จาก SCHINDLER’S ARK สู่ SCHINDLER’S LIST
HE WHO SAVES A SINGLE LIFE, SAVES THE ENTIRE WORLD
คนใดช่วยหนึ่งชีวิต คนนั้นช่วยโลกทั้งใบ จากคัมภีร์ Talmud ของยิว
หนัง 7 รางวัลออสการ์ ปี ค.ศ. 1993 ซึ่งรวมถึงรางวัลหนังยอดเยี่ยมและผู้ก�ำกับการแสดงยอดเยี่ยม Schindler’s List ก�ำกับโดยสตีเวน สปิลเบิร์ก เลียม นีสัน รับบท ออสการ์ ชินด์เลอร์ และราล์ฟ ไฟนส์ รับบท อาโมน เกอธ เป็นหนังขาวด�ำ ยกเว้นฉากที่หนูน้อยเสื้อแดงเดินอยู่ท่ามกลางนายทหารนาซี ที่ก�ำลังกวาดล้างชาวยิว
ส�ำหรับคนที่เคยดูหนังเรื่องนี้มาก่อนแล้ว จะเห็นภาพ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างออสการ์ ชินด์เลอร์ และอาโมน เกอธ ผู้บัญชาการค่ายกักกันชาวยิว เพียงที่ปรากฏภายนอก อาจจะเคย คิดสงสัยว่า ออสการ์ ชินด์เลอร์ เป็นคนอย่างไรกันแน่ จึงสามารถ เดินเหินเป็นสง่าอยูท่ า่ มกลางนายทหาร SS ได้ตลอดช่วงสงครามโลก ครั้งที่สอง Schindler’s Ark เป็นหนังสือปี ค.ศ. 1982 เขียนโดย นักเขียนชาวออสเตรีย Thomas Keneally ให้รายละเอียดมากกว่า ที่เห็นในหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครึ่งหลังของเรื่อง รายละเอียด ของเหตุการณ์ ตัวละครที่ถูกละเลยมิได้พูดถึงในหนัง สภาพจิตและ ความคิดค�ำนึงของตัวละครแต่ละคน ดีที่สุดคือ ความยากล�ำบาก ของการเขียน “บัญชีชีวิต” มิได้ง่ายและตรงไปตรงมา เนือ้ หาตอนท้ายส่วนทีเ่ ล่าเรือ่ ง “คนงานหญิง” และ “เด็กๆ” ที่ถูกขนส่งไปยังค่ายกักกันเอาชวิตซ์ ซึ่งเป็นสถานที่ล้างเผ่าพันธุ์ ด้วยการรมแก๊ส ในตอนท้ายหนังสือได้แสดงให้เห็นความหวาดกลัว ระยะเวลาที่ทุกชีวิตเข้าใกล้มัจจุราช และความตระหนักอย่าง แรงกล้าว่าเราไม่ควรปล่อยให้มีการกระท�ำเยี่ยงนี้อีก
ออสการ์ ชินด์เลอร์ เป็นเพลย์บอย สูบบุหรี่ กินเหล้า เคล้า นารี มีภรรยาหลวงทีบ่ า้ นเกิด มีภรรยาคนทีส่ องทีอ่ กี เมืองหนึง่ และมี เลขานุการทีท่ ที่ ำ� งาน เขาคบหานายทหารเยอรมัน รวมทัง้ นายทหาร SS โดยเปิดเผย ติดเครื่องหมายนาซีไว้บนปกเสื้อ เลี้ยงเหล้าและ ให้สินบนทุกคนที่สามารถอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจของเขา คนเช่นนี้แหละที่เสี่ยงอันตรายช่วยชีวิตชาวยิวอย่างน้อยที่สุด 1,100 คน ในตอนท้ายของสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ไม่นบั ทีเ่ ขาช่วยไว้ ทางอ้อมอีกหลายร้อยคนช่วงสงคราม แม้เขาจะถูกนาซีจบั ไปคุมขัง ถึง 3 ครั้ง เขาก็ยังคงท�ำสิ่งที่ควรท�ำต่อไป จนกระทั่งก�ำไรมหาศาล ที่ท�ำได้ตลอดช่วงสงครามหมดสิ้น กลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัว มิหน�ำซ�้ำตนเองต้องพาภรรยาหนีการจับกุมของฝ่ายสัมพันธมิตร ในตอนเริ่มต้น ออสการ์ ชินด์เลอร์ เป็นเพียงเด็กหนุ่ม ที่เข้ากันกับบิดาไม่ได้ และจากบ้านเกิดมาแสวงโชค เขาเกลียดนาซี และนายทหารเยอรมัน แม้ว่าจะร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์กับบุคคล เหล่านีไ้ ด้ทกุ คืน เขาไม่เคยแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่าเขานิยมชาวยิว ในทางตรงข้ามเขาระเบิดอารมณ์อย่างหัวเสียทุกครั้งที่ชาวยิว บางคนเรียกร้องเอากับเขามากจนเกินไป เขาพยายามบอกทุกคน ไม่วา่ จะเป็นเยอรมันหรือยิวว่า เขาท�ำธุรกิจ เขาต้องการคนงานทีม่ ี สมรรถนะที่ดีมาท�ำงานในโรงงานเท่านั้น เขาอาจจะหลอกตนเอง จนกระทั่งแม้แต่ตนเองก็ไม่รู้ว่า ถูกหลอก นั่นท�ำให้เขาสามารถเข้าใกล้อาโมน เกอธ และนายทหาร SS คนอืน่ ๆ ได้อย่างสนิทใจ และไม่ได้แสดงอาการใกล้ชดิ กับชาวยิว ออกนอกหน้า หนังสือเล่าเรื่องราวหลายครั้งที่เขาควรเพลี่ยงพล�้ำ เปิดเผยความในใจมากเสียจนถูกนาซีจับได้ แต่เขาก็ไม่เคยพลาด ไปจนถึงจุดนั้นเสียที เหตุการณ์ตอนที่เขาชวนอาโมน เกอธ ตัดไพ่ เพื่อเอาชื่อสาวใช้ชาวยิวของเกอธเข้าสู่บัญชีชีวิต เป็นเหตุการณ์ที่ พิสูจน์ความสามารถในการหลอกตนเองจนหลงเชื่อค�ำที่ตนเองพูด ได้เป็นอย่างดี หนังสือบรรยายเหตุการณ์ตอนนีไ้ ด้ลมุ่ ลึก แม้วา่ ตอน ดูหนังจะให้ความรู้สึกใจหายใจคว�่ำได้มากกว่า
17
อย่างไรก็ตามเราอาจจะตัง้ ข้อสงสัยได้วา่ นาซีบางคนทีเ่ ขา เข้าไปเกีย่ วข้องด้วยก็แกล้งหลับหูหลับตาบ้าง ด้วยเหตุผลส่วนบุคคล บางคนมีมนุษยธรรมหลงเหลือ และหลายคนเริ่มคิดถึงอนาคตของ ตนเองเมื่อเยอรมันแพ้สงคราม หากต้องการรู้จัก “หนูน้อยเสื้อแดง” ที่เดินอยู่คนเดียว ในวันกวาดล้างเกตโตของวอร์ซอว์ คือหนูนอ้ ยเสือ้ แดงทีอ่ อสการ์และ สตรีทขี่ มี่ า้ เคียงข้างเขาสังเกตเห็นจากเนินเขาชานเมือง (ซึง่ ในหนังสือ และในหนังมิใช่สตรีคนเดียวกัน) มีแต่อา่ นหนังสือจึงจะรูจ้ กั หนูนอ้ ย ว่าเป็นใคร มาจากไหน และมีชะตากรรมอย่างไร หนูน้อยเสื้อแดง มิใช่หนูนอ้ ยหมวกแดงทีเ่ ติบใหญ่จนกระทัง่ ไม่เชือ่ ฟังมารดา ออกนอก เส้นทางไปจนพบหมาป่า เธออาศัยอยูท่ า่ มกลางฝูงหมาป่าตัง้ แต่แรก บัญชีชีวิต 1,100 คน เป็นเสมือนทูตสวรรค์ที่ลงมาช่วย ชาวยิวจ�ำนวนหนึ่งให้รอดพ้น น�ำไปสู่ค�ำถาม “ถ้าชายคนนี้กับ เมียเขามีค่าพอจะช่วย ท�ำไมคนอื่นไม่มี?” ซึ่งใครก็ตั้งค�ำถามนี้ได้ รวมทั้งออสการ์เองที่สงสัยว่า ตนเองท�ำดีพอหรือยัง เงินที่ออสการ์ ชินด์เลอร์ จ่ายไปเพื่อสร้างค่ายใหม่และ โรงงานใหม่ให้ชาวยิว 1,100 คน “ท�ำงาน” นี้มหาศาล อ่านหนังสือ จึงเห็นภาพปริมาณเงินที่เขาต้องจ่ายออกไป “เขาถูกเรียกร้องให้สร้างรั้วไฟฟ้าแรงดันสูง ห้องส้วม โรงนอนส�ำหรับเจ้าหน้าที่ SS 100 คน ส�ำนักงาน SS ห้อง คนป่วย ห้องครัว” รวมทั้งสินบนแก่เจ้าหน้าที่ “คอนญักกับเครื่อง กระเบื้องเคลือบ และสิ่งที่ออสการ์เรียกว่า ใบชาเป็นกิโล” จาก ส�ำนวนแปล วิภาดา กิตติโกวิท ความสัมพันธ์ระหว่างออสการ์และภรรยาหลวง มิสซิส เอมิลี ไม่ได้แสดงรายละเอียดในหนังมากนัก ท�ำให้ผู้ชมอาจจะ จับต้นชนปลายไม่ถูกว่า เพราะอะไรเธอจึงได้รับการยกย่องจาก อิสราเอลเพียงนัน้ ในเวลาต่อมา รายละเอียดนีจ้ งึ มีปรากฏในหนังสือ “มองแวบแรกเธออาจดูเหมือนคู่สมรสที่ไม่มีตัวตน เป็น ภรรยาที่ถูกท�ำทารุณกรรมที่ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร ระยะ แรกมีบางคนสงสัยว่าเธอจะคิดอย่างไร เมื่อรู้ว่าออสการ์ท�ำโรงงาน ประเภทไหน เป็นค่ายประเภทหนึง่ พวกเขายังไม่รวู้ า่ เอมิลที ำ� ในส่วน ของเธอด้วยตัวเอง ไม่ได้ตงั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของการเชือ่ ฟังเพราะเป็น ภรรยา แต่เป็นความคิดของเธอเอง” และ “บนผนังห้องอพาร์ตเมนต์ ของเธอแขวนภาพของพระเยซูที่เผยดวงใจของพระองค์ในเปลวไฟ สแตร์นเคยเห็นภาพเดียวกันในบ้านของคาทอลิกชาวโปล แต่ไม่มี ภาพลักษณะนี้ในอพาร์ตเมนต์ของออสการ์ที่คราคูฟทั้งสองแห่ง ภาพพระเยซูเผยพระหทัยทีเ่ ห็นตามห้องครัวของชาวโปลนัน้ ไม่ได้ ให้การรับรองเสมอไป แต่อย่างไรก็ตามในอพาร์ตเมนต์ของเอมิลี มันแขวนอยูเ่ หมือนเป็นค�ำสัญญา ค�ำสัญญาโดยส่วนตัวของเอมิล”ี จากส�ำนวนแปล วิภาดา กิตติโกวิท หากจะมีอะไรที่หนังสือเล่มนี้สร้างความเจ็บปวดให้แก่ นักอ่านมากที่สุด อาจจะเป็นข้อความที่บรรยายถึงสภาพของ “คนงานหญิง” ในค่ายเอาชวิตซ์
“คนที่ติดต่อชินด์เลอร์พูดถูกที่ว่ากลุ่มผู้หญิงได้สูญเสีย มูลค่าทางอุตสาหกรรมไปเกือบหมดแล้ว ในการตรวจร่างกายอย่าง ละเอียด หญิงสาว เช่น มิลา เฟฟเฟอร์แบร์ก, เฮเลน เฮียร์ช และ น้องสาวเธอไม่สามารถป้องกันอาการตัวงอจากโรคบิด การ ถ่ายท้องจนอิดโรย มิสซิสเดรสเนอร์สูญเสียความอยากอาหาร ไปหมด แม้กระทั่งต่อซุป แอร์ซัตสฺ ดังคา ไม่สามารถบังคับให้แม่ กลืนซุปอุ่นๆ ลงคอได้ มันหมายความว่า ในไม่ช้าเธอจะกลายเป็น มุสซุลมัน-มุสลิม ค�ำนี้เป็นสแลงของค่าย มาจากความทรงจ�ำของ คนต่อภาพยนตร์ข่าวเกี่ยวกับความอดอยากในประเทศมุสลิม ใช้ ส�ำหรับนักโทษที่ข้ามเส้นแบ่งที่แยกระหว่างชีวิตที่หิวโซกับการตาย เสียให้รู้แล้วรู้รอดนั้นไปแล้ว” จากส�ำนวนแปล วิภาดา กิตติโกวิท เมื่อกองทัพรัสเซียใกล้เข้ามา ก่อนประกาศหยุดยิง อันเป็นการสิน้ สุดสงครามโลกครัง้ ทีส่ องในยุโรป ด้านหนึง่ เป็นนักโทษ ชาวยิวทีร่ อดชีวติ มาได้จนเกือบถึงนาทีสดุ ท้ายแล้ว อีกด้านหนึง่ เป็น หน่วยทหาร SS จ�ำนวนหยิบมือพร้อมอาวุธทีส่ ามารถยิงคนทัง้ หมด ตายได้ก่อนประกาศหยุดยิง เมื่อคิดถึงเรื่องราวทั้งหมด ใครควร ฆ่าใครส่งท้ายกันแน่ เป็นออสการ์อีกเช่นกันที่หยุดการนองเลือดไว้ “ความจริงที่คนนับล้านๆ ในหมู่พวกคุณ พ่อแม่ของคุณ ลูกหลาน และพีน่ อ้ งถูกท�ำลายนัน้ ไม่เป็นทีย่ อมรับของคนเยอรมัน เรือนพัน และแม้จนกระทั่งวันนี้ พวกเขานับล้านๆ ยังไม่รู้ขอบเขต ของความน่ากลัวเหล่านี้” ออสการ์บอกว่าเอกสารและบันทึกต่างๆ ที่พบในดาเชากับบูเคนวัลด์เมื่อต้นปี ซึ่งบีบีซีเอารายละเอียดมา ออกอากาศนัน้ เป็นครัง้ แรกทีค่ นเยอรมันได้ยนิ เกีย่ วกับ “ความหายนะ ที่เลวร้ายที่สุดนี้” ดังนั้นเขาจึงขอร้องพวกเขาอีกครั้งให้กระท�ำ ในวิถีที่มีมนุษยธรรมและเที่ยงธรรม ปล่อยเรื่องความยุติธรรม ให้เป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ “ถ้าคุณต้องกล่าวหาคนคนหนึ่ง ท�ำมัน ในสถานอันเหมาะสม เพราะในยุโรปใหม่จะมีผพู้ พิ ากษา ผูพ้ พิ ากษา ที่ไม่ฉ้อฉล ผู้จะรับฟังคุณ” จากส�ำนวนแปล วิภาดา กิตติโกวิท คนใดช่วยหนึ่งชีวิต คนนั้นช่วยโลกทั้งใบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วยชีวิตคนไว้มากมาย
18
[ ก้าวทันโลก (โรค) ]
โดย: พญ.ชัญวลี ศรีสุโข (chanwalee@srisukho.com)
คดีสุขภาพ
ผลการรักษาไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง
คดีเกิดในปี พ.ศ. 2555 นาย ก. (ชือ่ สมมุต)ิ ได้เขียนหนังสือ ร้องเรียนมาที่แพทยสภาดังนี้
เรื่อง ร้องเรียนจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เรียน เลขาธิการแพทยสภา ด้วยข้าพเจ้านาย ก. ปัจจุบันอายุ 77 ปี มีความประสงค์ จะร้องเรียนนายแพทย์ ข. (ชื่อสมมุติ) ดังนี้ เมือ่ ประมาณ 2 ปีทแี่ ล้ว ข้าพเจ้ามีอาการเป็นเส้นเลือดขอด บริเวณขาและมีแผลเรื้อรัง ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ค. (ชื่อ สมมุต)ิ ซึง่ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ข้าพเจ้ามีปญ ั หาปัสสาวะล�ำบาก ต้องเบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ได้รับการรักษาจากนายแพทย์ ข. โดยการ ตรวจส่องกล้องและผ่าตัดขยายท่อปัสสาวะถึง 2 ครั้ง แต่อาการ ไม่ดขี นึ้ หนึง่ ปีตอ่ มาข้าพเจ้าย้ายไปรักษาทีโ่ รงพยาบาล ง. (ชือ่ สมมุต)ิ นายแพทย์ ข. ผู้เคยรักษาข้าพเจ้าที่โรงพยาบาล ค. ก็ท�ำงานที่ โรงพยาบาล ง. ซึง่ เป็นโรงพยาบาลของรัฐด้วย คราวนีน้ ายแพทย์ ข. จ่ายยารักษานานถึง 6 เดือน หลังจากกินยาไปนานกว่า 10 วัน อาการ ไม่ดีขึ้น จึงขอร้องเรียนว่า นายแพทย์ ข. ให้การรักษาไม่เหมาะสม
ค�ำให้การของนายแพทย์ ข. ผู้ถูกร้องเรียน ข้าพเจ้านายแพทย์ ข. ผู้ถูกร้องเรียน ได้รักษานาย ก. ผู้ร้องเรียน ซึ่งเป็นผู้ป่วยมีเส้นเลือดขอดบริเวณขาและมีแผลเรื้อรัง ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ค. เนื่องจากมีปัญหาปัสสาวะ ล�ำบาก ต้องเบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง เมื่อได้รับค�ำปรึกษา ข้าพเจ้าซึ่งเป็น แพทย์ศลั ยศาสตร์ระบบปัสสาวะ นอกเวลาของโรงพยาบาล ค. จึงได้ เข้าไปให้ค�ำปรึกษา พบว่าผู้ร้องเรียนเคยมีปัญหาท่อปัสสาวะตีบ มาก่อน ได้แนะน�ำให้สอ่ งกล้องเพือ่ ตรวจหาต�ำแหน่งของท่อปัสสาวะ ที่ตีบและความรุนแรงของการตีบ ผลตรวจจากการส่องกล้อง (Cystoscope) พบท่อปัสสาวะ ส่วนกลาง (Membranous urethra) มีการตีบเล็กน้อย พบต่อม ลูกหมากโต และส่วนของกระเพาะปัสสาวะมีการหนาตัว จึงให้การ รักษาด้วยยาขยายทางเดินปัสสาวะที่ผ่านต่อมลูกหมากและท่อ ปัสสาวะ (Alpha 1 blocker) แต่อาการผู้ร้องเรียนยังไม่ดีขึ้น จึง แนะน�ำผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก หลังผ่าตัด อาการของผู้ร้องเรียน ปัสสาวะออกพุ่งดีขึ้น แต่บางครัง้ มีปสั สาวะบ่อย กลัน้ ไม่อยู่ ได้มารักษาตัวและรับยาอย่าง ต่อเนื่อง แต่อาการไม่ดีขึ้น 3-4 เดือนต่อมา ผู้ถูกร้องเรียนได้ ส่องกล้องเพือ่ ตรวจประเมินต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะอีกครัง้ หนึง่ ตามค�ำขอของผู้ร้องเรียน ผลพบว่าท่อปัสสาวะยังตีบแคบอยู่ เล็กน้อย จึงรักษาด้วยการขยายท่อปัสสาวะเป็นระยะๆ แต่อาการ
19
ปัสสาวะก็ไม่ดีขึ้น เวลาปัสสาวะยังต้องเบ่ง ผู้ร้องเรียนขอให้ผู้ถูก ร้องเรียนส่องกล้องประเมินอีกครั้ง ผลการส่องกล้อง พบว่าท่อปัสสาวะยังคงตีบแคบ จึงแนะน�ำ ให้ผรู้ อ้ งเรียนผ่าตัด กรีดขยายท่อปัสสาวะให้กว้างขึน้ (TUI-BN) หลัง ผ่าตัดผู้ร้องเรียนปัสสาวะพุ่งดีขึ้น แต่ยังไม่มากนัก จึงให้ยารักษา ต่อมลูกหมาก แนะน�ำให้ผรู้ อ้ งเรียนมารักษาตัวต่อทีโ่ รงพยาบาล ง. เพือ่ ประเมินกล้ามเนือ้ กระเพาะปัสสาวะว่าอาจมีปญ ั หาบีบตัวไม่ดี ท�ำให้ปัสสาวะไม่พุ่ง หลังจากนัน้ ผูร้ อ้ งเรียนก็ไม่ได้มารักษากับผูถ้ กู ร้องเรียนที่ โรงพยาบาล ค. อีกเลยนาน 2 ปี จึงพบกับผู้ร้องเรียนที่มารักษา ทีโ่ รงพยาบาล ง. ด้วยเรือ่ งปัสสาวะไม่พงุ่ บางครัง้ กลัน้ ปัสสาวะไม่อยู่ เนือ่ งจากผูร้ อ้ งเรียนได้รกั ษากับแพทย์ทา่ นอืน่ ทีโ่ รงพยาบาล ค. ต่อ มีการขยายท่อปัสสาวะเป็นระยะๆ ผลการตรวจส่องกล้องครัง้ ล่าสุด ไม่พบการตีบแคบของท่อปัสสาวะแล้ว ผู้ถูกร้องเรียนจึงสั่งยา ช่วยรักษากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ คือ Urecholine 5 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด สามเวลาหลังอาหาร จ�ำนวน 180 เม็ด และได้นัดส่องกล้องหลังยาหมด คืออีก 2 เดือน (ไม่ได้จ่ายยารักษา นานถึง 6 เดือน ดังผู้ร้องเรียนกล่าวอ้าง) ความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรม แพทยสภา ได้เชิญผู้ร้องเรียนมาให้ถ้อยค�ำเพิ่มเติม และติดต่อขอ เวชระเบียนของนาย ก. พร้อมเอกสารสรุปขั้นตอนการรักษาจาก ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาล ค. และโรงพยาบาล ง. ติดต่อขอความเห็นจาก ราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ความว่า การดูแลรักษานาย ก. ของ ผู้ถูกร้องเรียน ถือว่าถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานการประกอบ วิชาชีพเวชกรรม เนือ่ งจากภาวะท่อปัสสาวะตีบหลังการผ่าตัดคว้าน ต่อมลูกหมาก การรักษาด้วยยาขยายท่อปัสสาวะ ต่อมาอาการไม่ ดีขึ้น จึงได้ผ่าตัดกรีดขยายบริเวณคอปัสสาวะ (Bladder neck) เพื่อ ให้กว้างขึน้ แต่ผรู้ อ้ งเรียนก็ยงั คงมีอาการปัสสาวะล�ำบาก การรักษา ด้วยการขยายท่อปัสสาวะและยาไม่ท�ำให้อาการดีขึ้น การแนะน�ำ ไปตรวจรักษาเพิ่มเติมในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า จึง เป็นสิ่งที่ท�ำถูกต้องแล้ว พฤติกรรมดังกล่าวของผู้ถูกร้องเรียนถือว่าได้ให้การดูแล รักษาผู้ป่วยรายนี้ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานของการประกอบ วิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ภายใต้ความ สามารถและข้อจ�ำกัดตามภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่มีอยู่แล้ว โดยสรุป คณะอนุกรรมการจริยธรรม แพทยสภา มี ความเห็นว่า ผู้ถูกร้องเรียนมิได้ประพฤติผิดข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 หมวด 4 ข้อ 15 กรณีมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงได้มีมติคดี ไม่มีมูล
ความเห็นของผู้เขียน 1. เมื่อผู้เขียนอ่านรายละเอียดของคดีนี้ รู้สึกว่าไม่น่าจะ เกิดเรือ่ งร้องเรียน เพราะผูถ้ กู ร้องเรียนก็ดแู ลเอาใจใส่ตามมาตรฐาน แต่คดีแบบนี้ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร กลับเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น จนมีผู้ใช้ ค�ำว่า เอะอะอะไร ไม่พอใจอะไร ก็ฟ้องไว้ก่อน จึงน�ำมาเสนอเพื่อ เป็นบทเรียนแก่บุคลากรทางการแพทย์ 2. สาเหตุการฟ้องร้อง นอกจากผลการรักษาไม่เป็น ไปตามความต้องการของคนไข้แล้ว ยังคาดว่าน่าจะมีปัญหาการ สื่อสาร ปัจจุบันแพทย์จะต้องให้ข้อมูลคนไข้ก่อนการผ่าตัดรักษา ถึงการพยากรณ์ของโรคหลังการผ่าตัดรักษา ภาวะแทรกซ้อนทีอ่ าจ เกิดขึ้น และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นควรแจ้งให้คนไข้เข้าใจ ธรรมชาติของโรคก่อนรักษา ว่าบางโรครักษาแล้วอาจไม่หายขาด หากอธิบายหลังจากรักษาแล้วไม่ดขี นึ้ คนไข้มกั จะไม่ฟงั และคิดว่า แก้ตัว เมื่อคาดหวังว่าจะหาย แต่ไม่เป็นไปตามคาด มักลงเอย ด้วยการร้องเรียน 3. แพทย์ผู้ท�ำงานในเวลาที่โรงพยาบาลรัฐ นอกเวลา ที่โรงพยาบาลเอกชน ควรมีมาตรฐานการรักษาเดียว ในรายนี้ ที่เกิดปัญหา คาดว่าคนไข้เข้าใจผิดว่า ไปโรงพยาบาลรัฐแล้วไม่ ส่องกล้อง ให้แต่ยากิน
20
[ ก้าวทันสื่อ ] สื่อสิ่งพิมพ์ • หนังสือผลการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผูใ้ ห้บริการ และ องค์กรภาคีทเี่ กีย่ วข้อง ต่อการด�ำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ปี 2559 * สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้จาก URL : http://e-library.nhso.go.th ในหมวด e-Newsletter
• หนังสือรายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจ�ำปี งบประมาณ 2559 เป็นการรายงานผลการด�ำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจ�ำปี 2559 ** สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ทาง www.nhso.go.th คลิกค้นหา รายงานประจ�ำปี 2559
สื่อโทรทัศน์ ติดตามชมสกู๊ปหลักประกันสุขภาพ ออกอากาศทุกวันเสาร์ ช่วงข่าวภาคค�่ำ เวลาประมาณ 18.20 น. เป็นต้นไป ทางสถานี โทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)
สื่อวิทยุ อัปเดตเรื่องราวที่สดใหม่ ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับหลักประกัน สุขภาพ ได้ทุกวันอังคาร ทางรายการ “คลื่นความคิด” FM 96.5 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป
หรือฟังย้อนหลังได้ทาง www.youtube.com/สปสช.
21
[ แวดวง ] บอร์ด สปสช. รับทราบความก้าวหน้านโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ (สปสช.) เป็นประธานการประชุมบอร์ด สปสช. เพือ่ รับทราบความก้าวหน้า การพัฒนาระบบบริการอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ตามนโยบาย “เจ็บป่วย ฉุกเฉินวิกฤติ มีสทิ ธิทกุ ที”่ ทีค่ ณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบเมือ่ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 ในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการก�ำหนดค่าใช้จ่ายในการ ด�ำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ และให้สถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่งปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ พร้อมรับย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติหลัง 72 ชั่วโมง ขณะเดียวกันให้ กองทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพ ด�ำเนินการจ่าย ชดเชยค่ารักษาพยาบาลแบบ Fee Schedule ตามหลักเกณฑ์แนบท้ายทีส่ ถาบัน การแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ก�ำหนด เลขาธิการ สปสช. น�ำคณะผู้บริหารรดน�้ำ ขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ อาคารรัฐสภา 2 (ตึกวุฒิสภา) นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการส�ำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) น�ำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สปสช. รดน�้ำขอพร นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการ การสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องในเทศกาล เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ กรมการแพทย์ สงกรานต์ปี พ.ศ. 2560 เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมทั้งหารือ แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศักดิช์ ยั ประเด็นการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย กาญจนวัฒนา เลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) น�ำคณะผูบ้ ริหารและเจ้าหน้าที่ สปสช. รดน�ำ้ ขอพร นพ.อุทยั สุดสุข อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2560 เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมทั้งหารือประเด็นความ ร่วมมือการพัฒนาโครงการสุขภาพดีวิถีไทย ร่วมกับกองทุนหลัก ประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (กองทุนสุขภาพต�ำบล) เพื่อร่วมกับ ท้องถิน่ ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของประชาชนในระดับชุมชน สปสช. จับมือพันธมิตรลงนาม ‘ชัวร์ก่อนแชร์’ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สปสช. ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” ร่วมกับบริษัท อสมท จ�ำกัด (มหาชน) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ หน่วยงานองค์กรพันธมิตร เพือ่ สนับสนุนการเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารทีเ่ ชือ่ ถือได้ และเป็นประโยชน์สู่ประชาชนอย่างถูกต้อง ได้เดินหน้าเรื่องสิทธิประโยชน์ ต่างๆ ทั้งการป้องกัน การรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วย ล้วนแต่มีความส�ำคัญต่อ ชีวิตของประชาชนอย่างยิ่ง แต่ปัจจุบันโดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์มีการ ให้ขอ้ มูลทีไ่ ม่ถกู ต้องเกีย่ วกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการท�ำงาน ของ สปสช. เช่น นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก การจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์รวมระดับประเทศ และการจัดงบประมาณต่างๆ ภายใต้กองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ
การเปลี่ยน*หนวยบริการประจำ ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) สามารถลงทะเบียนเปลี่ยน หนวยบริการประจำได
4 ครั้ง/ป
ะชาชน
ัวปร ประจำต
บัตร
Thai
nal ID
Natio
Card
170 160
170 160 150
150 140
140
กรณีพักอาศัยไมตรงกับที่อยูในบัตร ประจำตัวประชาชน ตองใชหลักฐานอยางหนึ่งอยางใดเพิ่มเติมดังนี้
• หนังสือรับรองการพักอาศัยอยูจริงของเจาบาน พรอมสำเนาทะเบียนบานและบัตรประจำตัว ประชาชนของเจาบาน • หนังสือรับรองของผูนำชุมชน พรอมสำเนาบัตร ประจำตัวประชาชนของผูนำชุมชน
กรณีพักอาศัยอยูตามบัตร ประจำตัวประชาชน
นำหลักฐาน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรหรือเอกสารที่ทางราชการ ออกใหที่มีรูปถาย มีเลขประจำตัว ประชาชน หากเปนเด็กอายุต่ำกวา 15 ป ที่ยังไมไดทำบัตรประจำตัวประชาชน ใหใชสูติบัตรแทน (ใบเกิด)
• หนังสือรับรองจากผูวาจางหรือนายจาง พรอมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ ผูวาจาง/ผูรับจาง
• เอกสารหรือหลักฐานอื่น เชน ใบเสร็จรับเงินคา สาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินคาเชาที่พักฯ ที่แสดงวาตนเองมีถิ่นที่อยูหรือพักอาศัย อยูในพื้นที่นั้นๆ • สำเนาทะเบียนบานของผูลงทะเบียน
(กรณีใหผูอื่นไปลงทะเบียนแทน ตองเพิ่มหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผูรับมอบอำนาจดวย)
ตอบขอสงสัย คลี่คลายปญหา สิทธิหลักประกันสุขภาพ โทรสายดวน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
สถานที่ติดตอลงทะเบียน
กทม. สำนักงานเขต 27 เขต ในวัน-เวลาราชการ ตางจังหวัด รพ. สงเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.รัฐบาลใกลบาน ในวัน-เวลาราชการ
* หนวยบริการ หมายถึง โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนยบริการสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเปนหนวยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแหงชาติ