โครงการ BRT ก้าวไกล สนับสนุนงานวิจัย แหล่งองค์ความรู้ ใหม่ เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ใส่ ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม
เขานั น ป่ า เมฆ ธรรมชาติ กั บ ภาวะโลกร้ อ น
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
หนังสือในชุดโครงการ BRT เขานัน-ป่าเมฆ ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กลุ่ม ปตท.
เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน จัดพิมพ์โดย โครงการ BRT 73/1 อาคาร สวทช. ถ.พระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพ 10400 http://brt.biotec.or.th รายชื่อหนังสือในชุดโครงการ BRT 1. สามสีเรื่องของฉันที่เกี่ยวพันกับพุ ถาวร สาริมานนท์ และคณะ (2548) 2. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ทองผาภูมิตะวันตก วิเชฏฐ์ คนซื่อ และคณะ (2549) 3. มวนน้ำที่ทองผาภูมิตะวันตก จริยา เล็กประยูร และคณะ (2549) 4. พรรณไม้ในป่าพุที่ทองผาภูมิตะวันตก ปริญญนุช ดรุมาศ และคณะ (2549) สงวนลิขสิทธิ์โดย โครงการ BRT ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือนอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2550 จำนวน 1,000 เล่ม ออกแบบรูปเล่ม : บริษัท หนึ่งเก้าสองเก้า จำกัด พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์ กรุงเทพฯ จำกัด โทร 0-2642-7272 ISBN : 978-974-229-383-3 บรรณาธิการ : วิสุทธิ์ ใบไม้ และรังสิมา ตัณฑเลขา กองบรรณาธิการ : เอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์ และ ปานกมล ศรสุวรรณ อ้างอิง : วิสุทธิ์ ใบไม้ และรังสิมา ตัณฑเลขา (บรรณาธิการ). 2550. เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT. โรงพิมพ์ กรุงเทพ จำกัด กรุงเทพฯ. 256 หน้า.
สารบัญ
คำนำ 5 รายนามผู้แต่งและภาพประกอบ 6 ภาคที่ 1 เขานัน บทนำ 13 ความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน 16 เขานัน มหัศจรรย์ธรรมชาติ 38 ภาคที่ 2 ป่าเมฆ บทนำ 171 ป่าเมฆกับภาวะโลกร้อน 174 ป่าเมฆ หลากชีวิต จิตวิญญาณ 186 บทสรุป 244 เอกสารอ่านประกอบ 246 ดัชนีชื่อไทย 251 ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์ 254
ป่าเมฆบนอุทยานแห่งชาติเขานัน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
คำนำ
หนังสือเรื่อง “เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน” ที่ท่านถืออยู่นี้ เป็นผลมา จากการจัดการงานวิจัยในชุดโครงการเชิงพื้นที่ (area-based) ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งในขณะนั้น “วาระป่าเมฆ (Cloud Forest Agenda)” ได้ เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในประเทศและในเวทีโลก เนื่องจากป่าเมฆรวมทั้งป่าชื้นเขตร้อนอื่นๆ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน โครงการ BRT จึงได้นำประเด็น วิจัยในพื้นที่ป่าเมฆมาเป็นกรอบสำหรับการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ในช่วงเวลานั้นเรื่องภาวะโลกร้อนยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในประเทศไทย แต่ หลังจากที่อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ ได้เขียนหนังสือเรื่อง “The Inconvenient Truth” และนำมาทำเป็นภาพยนตร์สารคดีภายใต้ชื่อเดียวกันที่นำออกฉายทั่วโลก ทำให้ภาวะโลกร้อน กลายเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและมีผู้คนพูดจาถึงเรื่องนี้มากมาย โครงการ BRT ซึ่งได้เตรียมทัพนักวิจัยศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเมฆไว้ตั้งแต่ปี 2548 จึงมีความภูมิใจที่สามารถผลิตผลงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับ ภาวะโลกร้อนและตีพิมพ์เผยแพร่ได้ทันเหตุการณ์ ดังปรากฏในหนังสือที่ท่านถืออยู่นี้ หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำเสนอความสวยงามของธรรมชาติที่ อุทยานแห่งชาติเขานัน ส่วนที่ 2 ผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าเมฆที่เต็มไปด้วย เมฆและหมอก ก่อให้เกิดสังคมพืชและสังคมสัตว์ที่มีความเฉพาะตัวสูง พบเพียงไม่กี่แห่งใน โลกรวมทั้งในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญที่มนุษย์น่าจะได้ เรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์ เพื่อให้ป่าเมฆอยู่ได้ในโลกใบนี้ต่อไป ผมขอขอบคุ ณ นั ก วิ จั ย ทุ ก ท่ า นที่ มี ส่ ว นร่ ว มทำวิ จั ย และให้ ข้ อ มู ล ทางวิ ช าการที่ มี ประโยชน์อย่างยิ่ง และกลุ่ม ปตท. ที่ได้ร่วมสนับสนุนการวิจัยในชุดโครงการ “ป่าเมฆ – เขา นัน” จนปรากฏเป็นหนังสือในชุดโครงการ BRT ที่มีคุณค่าทางวิชาการเล่มนี้ วิสุทธิ์ ใบไม้ กันยายน 2550 เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
รายนามผู้แต่งและภาพประกอบ
บทนำ : รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ1 เขานัน ความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน : ผศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี1, ผศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสิน1ี , รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ1, นายวัชรพงศ์ ศรีแสง1, นายวิทยา ภีระ1, น.ส. ศิริลักษณ์ ชุมเขียว1, นายอนันต์ เจริญสุข2, นายนันทวัฒน์ ทวีรัตน์2, นายมานพ แก้วชัด2, นายพัฒนพร รินทจักร์2, นายวิทยา พันดวง1, น.ส. วาทนี เกษราพงศ์1, นาย ปรัชญา บัวนาค1, นายระวี ถาวร3, ดร.วัลลภัคร์ พลทรัพย์4, น.ส. อัจลา รุ่งวงษ์2, นายรัง สรรค์ เกตุอ๊อด2 และนายณัฐดนัย สันธินันทน์2 ป่าเมฆกับภาวะโลกร้อน : ผศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี1, ผศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี1, นายวัชรพงศ์ ศรีแสง1, นายวิทยา ภีระ1, นายภาณุมาศ จันทร์สุวรรณ5, น.ส. ศิริลักษณ์ ชุมเขียว1, นายอนันต์ เจริญสุข2, นายนันทวัฒน์ ทวีรัตน์2, นายมานพ แก้วชัด2, นายพัฒนพร รินทจักร์2, นายวิทยา พันดวง1 และน.ส. วาทนี เกษราพงศ์1 บทสรุป : ผศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี1 สาหร่ า ย : ดร. อาภารั ต น์ มหาขั น ธ์ 6, น.ส. วั ช รี กั ล ยาลั ง 6 และน.ส. สุ ท ธิ นี เหลาแตว5 ไบรโอไฟต์ แ ละลิ เ วอร์ เ วิ ร์ ต : น.ส. เพี ย งพั ก ตร์ สุ ข รั ก ษ์ 7 และดร. ต่ อ ศั ก ดิ์
สีลานันท์7 เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น : รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด7, ดร.มานิต คิดอยู่7, นาย สหัช จันทนาอรพินท์9 และน.ส. วสินี ไขว้พันธุ์7 พืชมีท่อลำเลียง : ดร.ก่องกานดา ชยามฤต8, น.ส.ปาจรีย์ อินทะชุบ8 และนายมนตรี
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ธนรส8
มะเดื่อ-ไทร : นายภาณุมาศ จันทร์สุวรรณ5 ขิง-ข่า : นายณภัทร กิตติพนังกุล1, นายสมพร ขวัญหีด2 และ ดร. ฉัตรชัย งามเรียบสกุล1 กล้วยไม้ : ดร. ชุมพล คุณวาสี7, ดร.มานิต คิดอยู่7, รศ.ดร.อบฉันท์ ทองไทย7 และ นางปริญญนุช กลิ่นรัตน์7 หอยทากบก : ดร. จิรศักดิ์ สุจริต7 และ รศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา7 มด : รศ.ดร. ศุภฤกษ์ วัฒนสิทธิ์9 ผีเสื้อกลางวัน : นายวียะวัฒน์ ใจตรง5 นายทัศนัย จีนทอง5 และ ดร. จารุจินต์ นภีตะภัฏ5 ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก : ดร. นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว4 ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่และด้วง : นายนันทวัฒน์ ทวีรัตน์2, นายธีระ แซ่เลี้ยว2, นายสุรชัย ชลดำรงค์กลุ 8 และ ผศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี1 แมงมุม : น.ส. อะมีนา หะสะเล็ม10 และ รศ.ดร.เสาวภา สนธิไชย10 ปลาน้ำจืด : ผศ.สุภาพร สุทิน1 และ ผศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี1 สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก : นายธัญญา จั่นอาจ5, นายสัญชัย เมฆฉาย5 และน.ส.สุทธินี เหลาแตว5 1มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2อุทยานแห่งชาติเขานัน, 3RECOFTC, 4มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 5องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, 6สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 7จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช, 9มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ภาคที่ 1 : เขานัน
ป่าประแตกยอดอ่อนที่อุทยานแห่งชาติเขานัน ภาพ : นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
น้ำตกหินท่อในยามน้ำหลาก
10
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
“เขานัน” มหัศจรรย์ธรรมชาติ
ธรรมชาติสร้างสรรค์เขานันสวย ประกอบด้วยพืชพันธุ์อันหลากหลาย มากชีวิตจิตชีวีมีมากมาย สัตว์กรีดกรายอยู่ร่วมรวมเผ่าพันธุ์ ขนาดเล็กขนาดกลางรูปร่างใหญ่ ทั้งนกไก่กวางเสือเนื้อผายผัน หลากชีวิตจิตวิญญาณศาอนันต์ ที่เขานันจึงมีดีมากมาย ชื่อน้ำตกนันทามาต้องชื่อ ชนเล่าลือทุกหนชลสาย ได้ไปถึงซึ่งในทั้งใจกาย สุขสบายเย็นฉ่ำเลิศล้ำจริง สวยน้ำตกนันทาเทวาสร้าง สายน้ำพร่างเริงรื่นชื่นชายหญิง ลงว่ายเล่นเห็นปลามาแอบอิง ช่างสดสวยทุกสิ่งที่เขานัน ชื่อนันทาคือกัลยาที่สุดสวย บิดาขุนนันหนีม้วยจากเขตขัณฑ์ มาซ่อนตัวอยู่บนเขาเนานานวัน หนุ่มทั่วกันหมายปองน้องนันทา ขุนนันประกาศว่าถ้าประสงค์ ต้องปีนป่ายพาองค์ถึงหน้าผา ไม่มีใครได้ผ่านธารนันทา นางจึงอยู่จนชีวาลาโลกไป น้ำตกนันทางามตายิ่ง ประดุจมิ่งนันทาน้องผู้ผ่องใส งามยั่งยืนอยู่คู่เขานันอันวิไล บันทึกไว้ในโลกาคาอนันต์ ธรรมชาติสร้างสรรค์เขานันสวย เราต้องช่วยให้คงอยู่คู่เขตขัณฑ์ รักชีวิตรักชีวีที่เขานัน ช่วยป้องกันร่วมรักษาอย่าละเลย สืบพงศ์ ธรรมชาติ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
11
ทิวทัศน์งดงามบนอุทยานแห่งชาติเขานัน
12
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
“เขานัน” บทนำ เมืองนครศรีธรรมราชเป็นชื่อที่มีตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏในหลักฐานเอกสาร และศิลาจารึก ในกรณีของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฏชัดเจนคือ “สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุก จากเมืองศรีธรรมราชมา” ไม่มีคำ “นคร” อยู่คำเดียว ความเป็นเมืองเก่าโบราณของเมืองนี้ ทำให้เป็นที่น่าสนใจของผู้ศึกษาและวิจัย ทยอยงานศึกษาและวิจัยออกตามลำดับทั้งที่คน อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช คนไทยในต่างจังหวัด และชาวต่างประเทศมีความสนใจ เมื อ งนครศรี ธ รรมราชในส่ ว นที่ เ ป็ น พื้ น ที่ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชในปั จ จุ บั น (เมื อ ง นครศรีธรรมราช หมายถึง จังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน และจังหวัดอื่นๆ ที่รวมเรียก ว่า “เมืองสิบสองนักษัตร” ซึ่งมีอยู่ 12 เมือง) พื้นที่ที่เป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางในการปกครอง การได้เป็นศูนย์กลางน่าจะเป็นเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นทำเลที่เหมาะในการตั้งเมือง พร้อมด้วยทะเล แม่น้ำ ภูเขา และป่าไม้ ภูเขาสำคัญของเมืองนครศรีธรรมราชที่ทำให้เมืองนี้มีความอุดมสมบูรณ์นอกจาก ภูเขาหลวง หรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า “เขาหลวง” แล้ว ภูเขาที่สำคัญยิ่งอีกลูกหนึ่ง คือ ภูเขานัน หรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า “เขานัน” นั่นเอง เขานันเป็นภูเขาที่มีขนาด เล็กกว่าภูเขาหลวง อยู่ไม่ห่างกัน ถ้ามองจากระยะไกลจะเห็นเหมือนเป็นทิวเขาเทือก เดียวกันทอดยาวทางด้านตะวันตกของตัวเมืองนครศรีธรรมราช หรือเกือบขนานกับริมฝั่ง ทะเลอ่าวไทย ในส่วนพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช หากนั่งเรือจากอ่าวไทยออกไปไกล จากฝั่งไม่มากนักจะเห็นภูเขาหลวงกับภูเขานันอันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ของนครศรีธรรมราช เพราะที่ภูเขาทั้งสองลูกมีพืชพันธุ์มากมายทั้งพืชและสัตว์ หรือความ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
13
หลากหลายทางชีวภาพสูงมาก บางคนจึงขนานนาม ภูเขานันเหมือนภูเขาหลวงว่า คือ “ห้างสรรพสินค้า ของชาวนครศรีธรรมราช” หมายถึงว่าภายในเขา นั น มี ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งให้ แต่ ทั้ ง นี้ ไ ม่ ใ ช่ ว่ า ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่างจะเอามาจากเขานันได้ เพราะธรรมชาติบาง อย่างทางราชการสงวนไว้ เนื่องจากมีอยู่จำนวนน้อย หากปล่อยให้ขนออกไปอาจจะสูญพันธุ์ได้ จึงสงวน ไว้ มี ทั้ ง พื ช และสั ต ว์ สั ต ว์ ที่ เ ขานั น จึ ง ยั ง มี อ ยู่ พ อ สมควร เขานันจึงเป็นแหล่งธรรมชาติที่มีความอุดม น้ำตกสุนันทา สมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ธรรมชาติ แต่ละอย่างของเขานันรวมตัวกันกลายเป็นความงดงามตามธรรมชาติที่ทำให้ผู้ไปพบเห็นมี ความสุขกายสบายใจ หรือมีความอิ่มในความงาม ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ผู้คนมักไปเยือนและใช้เวลาอยู่กับธรรมชาตินี้นานคือน้ำตกเขา นัน น้ำตกแห่งนี้มีความสวยงาม ความสวยงามเริ่มจากทางเข้าที่มีลำธารน้ำใสแจ๋วมีปลาที่ สวยงามว่ายน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนไปถึงจุดน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดก็จะพบป้ายประวัติน้ำตก เขานันหรือน้ำตกสุนันทา มีว่า “นันทา” เป็นบุตรของขุนนัน เป็นที่หมายปองของหนุ่มๆ ใน บริเวณนั้น ขุนนันจึงออกอุบายว่าถ้าใครปีนหน้าผาเขานันได้ก็จะยกลูกสาวที่ชื่อนันทาให้ แต่ ไม่มีใครปีนหน้าผาน้ำตกนี้ได้เลย นันทาจึงอยู่ที่นี่จนเสียชีวิตไป น้ำตกแห่งนี้จึงเรียกว่า น้ำตกนันทา ต่อมามีการเรียกชื่อเปลี่ยนไปบ้างเป็นน้ำตกสุนันทา (บ้างก็เรียกน้ำตกนันทา) พื้นที่บริเวณรายรอบเขานันมีผู้คนที่เป็นลูกหลานชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็น ส่วนใหญ่ได้อาศัยความอุดมสมบูรณ์หรือความหลากหลายทางชีวภาพของเขานันในการ ดำรงชีวิตอยู่ อาหารการกินในชีวิตประจำวันส่วนหนึ่งได้มาจากเชิงเขาและบนเขา เมื่อเจ็บ ป่วยมียารักษา คือสมุนไพรจากพื้นที่เชิงเขาและบนเขา เขานันจึงให้ทั้งชีวิตและจิตใจของ ผู้คนบริเวณนี้ ชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนจึงมีความสัมพันธ์กับเขานันซึ่งเป็นธรรมชาติ อย่างกลมกลืน และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ธรรมชาติของเขานันต้องดำรงอยู่และผู้คน บริเวณนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของเขานัน ถ้าเขานันมีอันตรายหรือเปลี่ยนแปลงไป ในทางเสื่ อ มเสี ย ผู้ ค นที่ อ ยู่ บ ริ เ วณรายรอบจะเดื อ ดร้ อ นทั้ ง ในเรื่ อ งการดำรงชี วิ ต
14
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เกี่ ย วกั บ ปากท้ อ งและสุ ข ภาพ ตลอดจน
วั ฒ นธรรมที่ ป ฏิ บั ติ กั น อยู่ ทั้ ง นี้ เ พราะ วัฒนธรรมของชุมชนรายรอบเขานันหลาย อย่ า งมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ เขานั น แหล่ ง ธรรมชาติที่สมบูรณ์แห่งนี ้ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่เขานันยังอยู่ ทิวเขาที่สลับซับซ้อนของอุทยานแห่งชาติเขานัน น้ ำ ตกเขานั น ยั ง อยู่ แ ละไหลตกสวยงาม ถ่ า ยจากจุ ด ที่ ร ะดั บ ความสู ง ประมาณ 1,200 อย่างทุกวันนี้ ชีวิตของผู้คนที่รายรอบเขา เมตร นันและผู้คนที่เข้าไปจะมีความสุข ความชุ่ม ชื้นทั้งพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่เขานันมีน้อยหรือไม่มีอยู่ ถ้าน้ำตกเขานันไม่มีน้ำหรือหยุดไหล ตกลงมา ชีวิตผู้คนทั้งที่อยู่รายรอบและที่ไปเที่ยวก็จะเดือดร้อน และหาความสุขสดชื่นไม่ได้ เลย ดังนั้นการช่วยกันรักษาธรรมชาติหรือพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์และน้ำตกเขานันเอาไว้จึงเป็น สิ่งสำคัญที่คนไทยควรจะทำ ทั้งนี้เพื่อความสุขและความสำเร็จร่วมกัน เรื่องราวและภาพ จากหนั ง สื อ เขานั น -ป่ า เมฆเล่ ม นี้ คื อ ผลจากความรั ก และร่ ว มกั น รั ก ษาเขานั น แหล่ ง ธรรมชาติ อั น สมบู ร ณ์ ข องผู้ ค นกลุ่ ม หนึ่ ง ซึ่ ง มี โ ครงการ BRT และบริ ษั ท ปตท. จำกั ด (มหาชน) ให้การสนับสนุน
เส้นทางเข้า ) ะ ร ป น ้ (ต ี ) ป่าเปลี่ยนส นฯ (ห้วยเลข า ย ท ุ อ ์ ษ ก ั ท ิ หน่วยพ
สภาพพื้นที่ในเดือนมีนาคม 2549 แม้จะอยู่ในช่วงฤดู ร้อนแต่ลิเวอร์เวิร์ตยังขึ้นปกคลุมต้นไม้อย่างหนาแน่น เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
15
“เขานัน” ความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน
หนึ่งในสุดยอดของเทือกเขานครศรีธรรมราชคื อ เขานัน มีลักษณะภูมิประเทศเป็น เทือกเขาสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาใหญ่ เขานันใหญ่ เขานันเมีย เขาเหล็ก เขา ช่องลม และเขาใด เป็นต้น ยอดสูงที่สุด คือ ยอดเขาใหญ่ สูงประมาณ 1,438 เมตรจาก
ระดับน้ำทะเล สภาพป่าบนเขานันเป็นป่าดงดิบชื้นที่ยังอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งปกติมีเมฆปก คลุมเสมอๆ อันเป็นลักษณะเฉพาะของ “ป่าเมฆ” ทำให้มีความชื้นสูงตลอดเวลา ส่งผลให้มี พืชพันธุ์ที่สำคัญและมีคุณค่า ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด และอุดม สมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมาย เช่น ดีบุก แบไรต์ วุลแฟรม เขานันเป็นต้นน้ำของลุ่ม น้ำสำคัญๆ ของทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี บริเวณเขานันมีจุดเด่นที่ สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกสุนันทา (น้ำตกเขานัน) น้ำตกกรุงนาง น้ำตกคลองเพีียน ถ้ำ กรุงนาง น้ำตกเขาใด เป็นต้น พื้นที่อนุรักษ์ของเขานันมีเนื้อที่ประมาณ 406 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอนบพิตำ อำเภอท่าศาลา และอำเภอสิชล
การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขานัน
หลังเหตุการณ์โศกนาฏกรรมอุทกภัยภาคใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2531 ที่บ้านกระ ทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของ ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลโดยแกนนำของ ฯพณฯ พลเอกชาติ ชาย ชุณหะวัณ ในสมัยนั้นได้ออกพระราชกำหนดปิดป่าตามมาอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการ สร้างมาตรการในการดูแลรักษาควบคุมป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้โดยกอง อุทยานแห่งชาติ จึงได้มีการสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิง ป่าเขานันและป่าคลอง เพี ย น ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ใ นท้ อ งที่ อำเภอท่ า ศาลา กิ่ ง อำเภอนบพิ ต ำ และอำเภอสิ ช ล จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจนี้เป็นผืนเดียวติดต่อกันกับอุทยานแห่งชาติเขา หลวง อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น และอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด และเป็นส่วนหนึ่งของเทือก เขานครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 388,232 ไร่ หรือ 601 ตารางกิโลเมตร ตามคำสั่งกรม
16
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ป่าไม้ที่ 1627/2532 ให้นายลือสัก สักพันธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจราย ละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจในพื้นที่บริเวณดัง กล่าว พบมีการบุกรุกแผ้วถางป่าและทำไม้อยู่เป็นบางส่วน แต่ในอุทยานแห่งชาติเขานันมี กำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการที่จะออกตรวจป้องกันและปราบปราม ซึ่ง ในการดำเนินการในครั้งนี้ไม่เสร็จ เนื่องจากไม่ได้กำหนดบริเวณพื้นที่และไม่ได้จัดทำแผนที่ แสดงแนวเขตที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้นายปรีชา วิทยพันธุ์เจ้า หน้าที่กรมป่าไม้ 5 มาสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพิ่มเติมและกำหนดบริเวณพื้นที่พร้อมทั้งจัดทำ แผนที่แสดงแนวเขตให้ชัดเจน แต่การดำเนินการครั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้มีคำสั่งให้นายอนันต์ เจริญสุข เจ้า หน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 มาดำเนินการจัดทำแผนที่ต่อให้แล้วเสร็จเพื่อที่จะประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาติตามหนังสือของกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0713 (ขน.)/30 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตาม หนังสือของสำนักอนุรักษ์ธรรมชาติที่ กษ 0712.3/2822 ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 2/2535 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ตามระเบียบวาระที่ 4 เห็นชอบให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขานันในท้องที่ ตำบลกรุงชิง ตำบลนบพิตำ กิ่งอำเภอนบพิตำ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลาและตำบลเขาน้อย ตำบล ฉลอง ตำบลเทพราช ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชและดำเนินการร่าง พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อรอประกาศตามพระราชกฤษฎีกา เพื่อประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาติต่อไป
สถานที่ตั้ง
อุทยานแห่งชาติเขานันตั้งอยู่ในเขตตำบลกรุงชิง ตำบลนบพิตำ กิ่งอำเภอนบพิตำ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา และตำบลเปลี่ยน ตำบลฉลอง ตำบลเทพราช ตำบลเขาน้อย เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
17
อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเส้นรุ้งที่ 8 องศา 41 ลิปดา ถึง 8 องศา 58 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 30 ลิปดา ถึง 99 องศา 99 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ ประมาณ 406 ตารางกิโลเมตร หรือ 253,750 ไร่ (แผนที่ท้ายกฤษฎีกา 2548)
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดและพื้นที่เกษตรกรรม ของชาวบ้านในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศใต้ ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าปลายกระทูน และอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัด นครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก ติดพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านในอำเภอสิชลและอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตก ติดกับอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศิลปวัฒนธรรมรายรอบเขานัน
เขานันเป็นภูเขาที่มีพื้นที่รายรอบติดต่อสามอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ กิ่งอำเภอนบพิตำ อำเภอสิชล และอำเภอท่าศาลา ภูเขานันหรือเขานันมีธรรมชาติที่อุดม สมบูรณ์ทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่หลากหลาย มีน้ำตกที่สวยงามคือน้ำตกนันทา หรือน้ำตก สุนันทา เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ได้ไปท่องเที่ยว ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่ เขานันทำให้เขานันเป็นแหล่งสำคัญของการดำรงชีวิตของผู้คนที่อยู่รายรอบเขานัน เพราะ ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติที่เขานันและเชิงเขาในการมีชีวิตอยู่ตั้ง แต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมรายรอบเขานันแบ่งเป็น ชีวิตวัฒนธรรมกับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรม 2 ประการ จะคลุกเคล้ากันไป ทั้งเรื่องของประเพณี การรักษาสุขภาพ (การแพทย์พื้นบ้าน) ความเชื่อ อาหารการกิน สิ่งของเครื่องใช้ การประกอบอาชีพ ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน การ ละเล่ น และกี ฬ าพื้ น บ้ า น ภาษาและวรรณกรรม วั ฒ นธรรมเหล่ า นี้ ด ำรงอยู่ ท่ า มกลาง ธรรมชาติ อั น สวยงามของเขานั น ทำให้ชีวิตความเป็น อยู่ มี คุ ณค่ า นั่ น คื อ สุ ข ภาพกายดี สุขภาพจิตดี วัฒนธรรมทุกอย่างจะปรับเข้ากับสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ที่เขานันและ
18
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
บริเวณรอบเขานัน ประเพณีส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพชน เช่น ประเพณีทางพระพุทธศาสนา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเดือนสิบ ประเพณีลากพระ ประเพณีออกพรรษา และประเพณีลอยกระทง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับ การเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย รวมทั้งเรื่องการรักษาสุขภาพหรือแพทย์พื้น บ้านก็ยังมีอยู่ เช่น การรักษาโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง โรคข้อ โรคกระดูก และงู กัด อีกทั้งยังใช้การรักษาจิตใจควบคู่กันไปด้วย ในด้านความเชื่อพบว่ามีความเชื่อเกี่ยวกับพระศักดิ์สิทธิ์ ผีบรรพบุรุษ ผีเจ้าที่ ผีบ้าน ผีเรือน ผีป่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเครื่องรางของขลัง ในด้านอาหารการกินมีการสืบทอด วัฒนธรรมด้านนี้กันมา แบ่งเป็น 3 ด้านคือ อาหารคาว อาหารหวาน และอาหารขบเคี้ยว อาหารคาวที่นิยมกันเป็นจำพวกแกง เช่น แกงส้ม แกงกะทิ แกงพุงปลา แกงพริก ต้ม แกง เลียง และทอด เป็นต้น อาหารหวาน เช่น ขนมลา ขนมพอง ขนมจาก ขนมต้ม ขนมกวน และถั่วต้ม เป็นต้น สิ่งของเครื่องใช้แบ่งออกได้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ กับเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทอาวุธ มีการประกอบอาชีพ เช่น ทำกรงนกและเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ส่วนการทำงานราชการมีอยู่บ้าง มีศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งรับสืบทอดจากบรรพ ชน เช่น หนังตะลุง มโนห์รา และเพลงบอก เป็นต้น การละเล่นและกีฬาที่ยังนิยมกันอยู่ เช่น ชนไก่ กัดปลา และชนวัว เป็นต้น ด้านวัฒนธรรมทางภาษามีการพูดภาษาไทยสำเนียงไทย ภาคใต้ ใช้ ค ำไทยภาคใต้ คำส่ ว นหนึ่ ง จะตรงกั บ คำไทยในภาษาไทยภาคกลาง ส่ ว น วรรณกรรมจะมีวรรณกรรมมุขปาฐะจำพวกนิทาน เรื่องเล่า เพลงร้องเรือเด็ก (เพลงกล่อม เด็ก) ปริศนาคำทาย และเพลงประกอบการละเล่นของเด็ก ส่วนวรรณกรรมลายลักษณ์มีอยู่ น้อย ที่มีอยู่จะเป็นพวกตำรายาในลักษณะของสมุดข่อยหรือที่ชาวบ้านรายรอบเขานันเรียก ว่า “บุด” เช่นเดียวกับชาวนครศรีธรรมราชโดยทั่วไป ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนรายรอบเขานันที่ได้ศึกษาจากการลงพื้นที่ ด้ ว ยการสอบถาม พู ด คุ ย สนทนากลุ่ ม สั ง เกต และมี ส่ ว นร่ ว มพบว่ า ยั ง มี ค วามเป็ น วัฒนธรรมเดิมอยู่เป็นส่วนใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงมีอยู่บ้างในรายละเอียด วัฒนธรรม ชุมชนรอบเขานันมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของเขานันอย่างแยกกันมิได้ จึงเห็นได้ว่า ธรรมชาติกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องอยู่ร่วมกันเสมอ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมทำให้ไม่มีความ สมบูรณ์และขาดความสมดุล เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
19
วิถีชุมชนรายรอบเขานัน
ชุมชนดั้งเดิมในภูมิทัศน์เขานันเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบ มีวิถีชุมชนแบบ เกษตรและพึ่งพิงป่าเพื่อการยังชีพ ลักษณะการตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อมบ้านกระจายตาม พื้นที่ทำการเกษตรและการใช้ประโยชน์จากป่า เช่น ทำไร่ข้าวเพื่อการบริโภค ปลูกยาสูบ เจาะน้ำมันยาง หวาย และของป่าต่างๆ เพื่อใช้ในครัวเรือนและขายเป็นรายได้ ชุมชนดั้งเดิม ดังกล่าวเป็นชุมชนที่ขยายต่อเนื่องมาจากอำเภอท่าศาลาโดยมีอายุของชุมชนไม่ต่ำกว่า 100 ปี เช่น บ้านปากเจา ต.ตลิง่ ชัน อ.ท่าศาลา, บ้านโรงเหล็ก ต.นบพิตำ กิง่ อ.นบพิตำ ส่วนชุมชน ใหม่นั้นจะทยอยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงที่มีกิจกรรมสัมปทานเหมืองแร่เมื่อประมาณ 30 ปีที่ ผ่านมา และการสัมปทานป่าไม้เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ ที่ราบเชิงเขาถัดจากชุมชนที่ราบดั้งเดิม มีอายุของชุมชนประมาณ 30-40 ปี ปัจจุบันมีชุมชนที่ตั้งอยู่รอบอุทยานแห่งชาติเขานันจำนวน 27 หมู่บ้าน ใน 7 ตำบล ของ 3 อำเภอ คือ อ.ท่าศาลา (ต.ตลิ่งชัน) กิ่ง อ.นบพิตำ (ต.กรุงชิง ต.นบพิตำ) และ อ.สิชล (ต.เขาน้อย ต.ฉลอง ต.เทพราช ต.เปลี่ยน) จ.นครศรีธรรมราช โดยมีอาชีพเกษตรกรรมเป็น หลัก ประกอบด้วย สวนยางพาราประมาณร้อยละ 80 สวนผลไม้ผสม เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด กระท้อน ประมาณร้อยละ 20 แต่จะมีความแตกต่างในการใช้ ประโยชน์ที่ดินในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือทางด้านเหนือบริเวณคลองห้วยแก้วจะเป็นยางพารา และสวนผลไม้ ส่วนบริเวณคลองท่าควายในเขต ต.เทพราช และ ต.ฉลอง ซึ่งเป็นที่ตั้ง เหมืองแร่เก่า (ดีบุกและวุลแฟรม) เป็นยางพาราและปาล์มน้ำมัน ทางด้านตะวันออกบริเวณ คลองท่าทน เป็นพื้นที่นาข้าว ส่วนบริเวณที่ทำการอุทยานฯ ในเขต ต.ตลิ่งชัน เป็นยางพารา และสวนผลไม้ สำหรับทางด้านใต้ในเขต กิ่ง อ.นบพิตำ จะเป็นยางพารา ปาล์มน้ำมัน และ สวนผลไม้ นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป รับราชการ ปัจจุบันชุมชนรอบเขานันยังคงมีการพึ่งพิงป่าทั้งการใช้น้ำ เก็บหาของป่า สมุนไพร ต่างๆ เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ มีวิถีชุมชน วัฒนธรรม และประเพณีพื้นถิ่นดั้งเดิมของนครศรีธรรมราช
20
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ความสัมพันธ์ของชุมชนกับทรัพยากร
ชุมชนรอบเขานันพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม โดย เฉพาะทรัพยากรน้ำซึ่งมีต้นน้ำมาจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขานัน และเป็นต้นกำเนิดของ ลำน้ำธรรมชาติมากกว่า 100 สาย สายหลักประมาณ 30 สาย ได้แก่ คลองกลาย คลองท่า ทน คลองท่าควาย คลองห้วยแก้ว เป็นต้น มีน้ำไหลหล่อเลี้ยงชุมชนด้านล่างได้ตลอดทั้งปี เพื่อใช้ในการอุปโภค ทำการเกษตร และจับหาสัตว์น้ำ ทรัพยากรน้ำจึงมีความสำคัญต่อการ ประกอบอาชีพโดยเฉพาะการทำสวนผลไม้ต่างๆ เช่น ลองกอง เงาะ ทุเรียน มังคุด สะตอ จำปาดะ กระท้อน ขนุน และกล้วย ซึ่งต้องใช้น้ำในกิจกรรมทำสวนค่อนข้างมาก นอกจากนี้ชุมชนยังพึ่งพิงและใช้ประโยชน์จากป่าทั้งการเก็บหาของป่า พืช ผักป่า ต่างๆ ได้แก่ สะตอป่า ลูกเนียง ลูกเหรียง ลูกเนียงนก ลูกนาง ลูกก่อ ลูกประ หน่อไม้ ผัก กูด หวาย พืชสมุนไพร และน้ำผึ้ง เพื่อเป็นอาหาร ลดรายจ่าย และยังเป็นแหล่งรายได้เสริม ของชุมชน จากการศึกษาการเก็บหาของป่า 4 ชนิดหลักคือ ลูกนาง สะตอป่า ลูกเนียง และ ลูกประ ของชาวบ้านปากลง ต.กรุงชิง กิ่ง อ.นบพิตำ จำนวน 104 ครัวเรือน โดยกลุ่ม อนุรักษ์ต้นน้ำคลองกลาย (2547) พบว่ามีมูลค่ารวมถึง 2.6 ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะ ลูกประ (Elateriospermum tapos) ถือว่าเป็นแหล่งเก็บหาแหล่งใหญ่ที่สุดเพียงแห่ง
เดี ย วของประเทศไทย ที่ ก ระจายผลผลิ ต ไปสู่ ผู้ บ ริ โ ภคทั่ ว ภาคใต้ แ ละบางส่ ว นของ กรุงเทพมหานคร
ชุมชนป่าประ...แห่งเขานัน
ต้นประ (Elateriospermum tapos) เป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ใบของต้น ประจะร่วงพร้อมกันปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม เพื่อลดการสูญเสียน้ำอันเนื่องมาจาก การคายน้ำทางปากใบในช่วงฤดูร้อน และจะแตกยอดและออกช่อดอกใหม่พร้อมกันทั้งป่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี ในช่วงที่ประแตกยอดและออกช่อดอกใหม่นี้ ต้นประจะแตกยอดอ่อนใบสีแดงอมชมพูไปทั่วทั้งป่า โดยเฉพาะผืนป่าประขนาดใหญ่หลาย ร้อยไร่นี้ สร้างความสวยงามไม่แพ้ไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วงของป่าภาคเหนือ เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
21
ป่าประธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติเขานันเป็นป่าประผืนใหญ่ และผืนสุดท้ายของ ประเทศไทย และน่าจะเป็นป่าประผืนเดียวในโลก กระจายอยู่ใน 3 บริเวณหลัก บริเวณแรก ที่ บ้ า นทั บ น้ ำ เต้ า และบ้ า นห้ ว ยตง ต.กรุ ง ชิ ง ซึ่ ง มี พื้ น ที่ ก ว้ า งใหญ่ ที่ สุ ด ประมาณ 3,000-4,000 ไร่ บริเวณที่สองอยู่บริเวณน้ำตกคลองกัน และบริเวณที่สามอยู่บริเวณน้ำตก หินท่อ นอกจากนี้ยังมีป่าประของชุมชนที่สำนักสงฆ์บ้านทับน้ำเต้า มีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ ซึ่งเป็นป่าชุมชนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การเก็บหาลูกประจะเก็บหาได้เพียงปีละครั้งในช่วง เดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี ซึ่งสามารถนำไปขายได้กิโลกรัมละ 15-35 บาท ผู้เก็บ หาจากหลายพื้นที่ได้เข้ามาเก็บลูกประ และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงในพื้นที่ ปริมาณการ เก็บหาจึงสูงมากในปัจจุบัน จากการศึกษาการพึ่งพิงเก็บหาลูกประบริเวณบ้านทับน้ำเต้าและบ้านห้วยตงในเบื้อง ต้น ซึ่งเป็นป่าประผืนใหญ่ที่สุดในเขานัน บ้านทับน้ำเต้ามีจำนวนครัวเรือน 181 ครัวเรือน และบ้านห้วยตงมีจำนวนครัวเรือน 150 ครัวเรือน พบว่าทุกครัวเรือนมีการเก็บลูกประเพื่อ การบริโภค ส่วนการเก็บเพื่อขายทุกปีพบที่บ้านทับน้ำเต้า 100 ครัวเรือน (ร้อยละ 60) บ้าน ห้วยตง 75 ครัวเรือน (ร้อยละ 50) และมีจุดรับซื้อในหมู่บ้านทั้งสองรวม 7 จุด คิดเป็นมูลค่า รวมประมาณ 1,750,000 บาทต่อฤดูกาลเก็บหา นับว่าเป็นรายได้เสริมที่ดีอย่างหนึ่งของชาว บ้าน ชุมชนถือว่าลูกประเป็นทรัพยากรร่วมกันของทุกคนในท้องถิ่นที่สามารถเก็บหาได้ ก่อนที่จะมีการเก็บหานั้น ชาวบ้านจะร่วมกันทำพิธีเบิกป่าโดยนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญเบิก ป่าเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้านไม่ให้เกิดอันตรายระหว่างการเก็บหา นอกจากนี้ชาวบ้าน ยังนำต้นประมาปลูกในพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย (domestication) ซึ่งจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ ได้ 7 ปี ลูกประยังมีบทบาทต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ เป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่น เก้ง เม่น เม่นหางพวง หมูป่า กระจง กระรอก กระแต ฯลฯ ผลผลิตลูกประสามารถนำไปแปรรูปใน การประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอดฉาบน้ำตาล ทอดเค็ม ดอง แกง คั่ว หรือตำใส่น้ำ พริก ลูกประจึงมีความสำคัญต่อทั้งชุมชน สัตว์ป่า และระบบนิเวศ ดังนั้นจึงเป็นประเด็น สำคัญที่ท้าทายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อุทยานแห่งชาติ สถาบันวิชาการต่างๆ ในการร่วมกันอนุรักษ์ป่าประผืนสุดท้ายนี้ให้เกิดความยั่งยืนและอยู่คู่
22
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กับภูมิทัศน์เขานันตลอดไป
เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขานัน
จากการติดเครื่องหมายบอกพิกัดโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานันเพื่ออำนวย ความสะดวกต่อนักวิจัยและนักท่องเที่ยวในการหาพิกัดละติจูด ลองจิจูด ความสูงจาก
ความสูงจากระดับน้ำทะเล (เมตร)
0 - 200 200 - 400 400 - 600 600 - 800 800 - 1,000 1,000 - 1,200 1,200 - 1,400 ยอดพันสี่ ยอดสันเย็น
แผนที่อุทยานแห่งชาติเขานัน
1. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (เริ่มต้นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่) 2. หน่วยพิทักษ์ป่าคลองกัน 3. หน่วยพิทักษ์ป่าคลองท่าทน (เริ่มต้นเส้นทางศึกษาธรรมชาติท่าทน-ยอดน้ำ และ ท่าทน-พันสี่ 4. หน่วยพิทักษ์ป่าคลองยอดน้ำ 5. หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแก้ว 6. หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยเลข (เริ่มต้นเส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยเลข-ป่าประ) 7. หน่วยพิทักษ์ป่าคลองกลาย (เริ่มต้นเส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองกลาย-สันเย็น) 8. หน่วยพิทักษ์ป่าคลองลำแพน เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
23
1.เส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ มีระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ทางศึกษาธรรมชาติประมาณ 3-4 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 22 สถานี เป็นเส้นทางวงรอบ ไม่เดินย้อนกลับในทางเดิม ลักษณะทั่วไปของเส้นทางเป็นทางขึ้นเขา มีความลาดชันสูงถึง ปานกลางในช่วงแรกของเส้นทาง จากนั้นจะเป็นเส้นทางที่เดินตามสันเขา โดยตลอดเส้นทาง จะพบความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าดิบเขาระดับต่ำและป่าดิบชื้น จุดชมวิวทะเล และ วิวอำเภอท่าศาลา รวมทั้งพบบริเวณที่เป็นจุดเด่นที่สุดของเส้นทางคือ ลานมอสและบัวแฉก ใหญ่ซึ่งเป็นเฟิร์นดึกดำบรรพ์ที่หาดูได้ยาก ในเส้นทางนี้มีจุดสื่อความหมาย 22 สถานี ดังนี้
สถานีที่ 1 นักกำจัดขยะที่มีคุณค่า
ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่มีกว่า 200 สกุลในโลกนี้ แบ่ง ออกเป็น 7 วงศ์ มีประมาณ 1,800 ชนิด ในประเทศไทยพบ ประมาณ 100 ชนิด มีทั้งปลวกใต้ดิน ปลวกกัดไม้แห้ง และ ปลวกกัดไม้เปียกที่อาศัยอยู่ในที่มีความชื้นสูง เป็นต้น ปลวกมี บทบาทสูงมากในเรื่องของการย่อยสลายเศษไม้ ซากพืชและ เศษวัสดุอื่นๆ ซึ่งจะทำให้แร่ธาตุอาหารหมุนเวียนกลับคืนสู่ระบบนิเวศเพื่อการดำรงชีวิตของ พืชพรรณไม้ปา่ หากขาดปลวกแล้วต้นไม้ทลี่ ม้ ตายจะต้องใช้เวลายาวนานในการย่อยสลาย
สถานีที่ 2 “พูพอน” ปรับตัวเพื่ออยู่รอด
ไม้ ยื น ต้ น ขนาดใหญ่ บ างชนิ ด ในป่ า ดงดิ บ มี ลั ก ษณะ พิเศษคือ มีส่วนที่ตีแผ่ออกจากโคนต้น เรียกว่า พูพอน พูพอน ทีเ่ กิดขึน้ เป็นเหมือนไม้คำ้ ยันให้ฐานรากและลำต้นแข็งแรงขึน้ เพือ่ ป้องกันการหักโค่นได้ง่าย หรือบางทีต้นไม้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการ ปรับตัวเองตามลักษณะดินที่อยู่ ที่สถานีนี้จะเห็นพูพอนของต้น มุจลินทร์ขนาดใหญ่ มีความสูงไม่นอ้ ยกว่า 20 เมตร
24
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สถานีที่ 3 เกาะเกี่ยวเสาะหาตะวัน
เถาวัลย์เป็นสัญลักษณ์ของป่าดงดิบชื้น เป็นไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยต้นไม้อื่นเป็นหลักยึด พันรอบต้นหรือกิ่งขึ้นไปหาแสงสว่าง ซึ่งเป็น ลักษณะของการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของ พืชในป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่แข่งขันกันเจริญ เติ บ โตเพื่ อ หาแสงอาทิตย์ และยังเป็นตัวบ่ง บอกถึ ง สภาพป่ า ดั้ ง เดิ ม ที่ มี ก ารทำลายน้ อ ย เพราะการเจริญเติบโตของเถาวัลย์ต้องใช้เวลา นาน ลักษณะการพันของเถาวัลย์กับต้นไม้ มี ความหมายกับนักเดินป่าเนื่องจากเถาวัลย์บอกทิศได้ โดยปกติเถาวัลย์จะพันต้นไม้โดย เวียนไปทางขวา เถาวัลย์ที่พบที่สถานีนี้มีหลายชนิด เช่น เถาสะบ้า เถาย่านาง เป็นต้น
สถานีที่ 4 กำเนิดน้ำตก
น้ำตกเกิดจากวิวัฒนาการของลำน้ำ เริ่ม จากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่ราบเรียบมีความลาดชัน สม่ำเสมอ เมื่อฝนตกลงมาสู่พื้นที่นั้นน้ำบาง ส่วนจะซึมลงสู่พื้นดิน และส่วนที่เหลือจะกลาย เป็นน้ำไหลบ่าหน้าดินหรือหิน น้ำที่ไหลไปตาม ผิ ว หน้ า ดิ น ที่ มี ค วามสม่ ำ เสมอ เกิ ด การ กั ด กร่ อ นและพั ด พาไปตามผิ ว หน้ า ดิ น ตาม ธรรมชาติสมบัติของหน้าดินและหินแต่ละแห่ง จะไม่เท่ากัน ทำให้การกัดกร่อนของน้ำต่อดิน และหินแตกต่างกันไป เมื่อเกิดการกัดเซาะมาก ขึ้น ทิศทางการไหลของน้ำจะเปลี่ยนไปทำให้กลายเป็นลำน้ำที่ใหญ่ขึ้น น้ำตกที่พบที่สถานีนี้ คือ น้ำตกสุนันทา ซึ่งมีความสูงประมาณ 76 เมตร เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
25
สถานีที่ 5 ไม้ล้มไม่ไร้ค่า
ไม้ล้มหรือตอไม้ มีความสำคัญต่อองค์ประกอบของสิ่ง แวดล้อมเนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของเห็ด รา มอส และพันธุ์พืช หลายชนิด ภายในลำต้นยังเป็นที่อยู่ของแมลงปีกแข็ง ด้านนอก จะพบแมลงหลายชนิดหากินอยู่บนตอไม้ ทั้งมด แมงมุม ตัว มวนและแมลงอื่นๆ สิ่งมีชีวิตมากมายได้ใช้ประโยชน์จากขอน ไม้ผุเพียงต้นเดียว เห็ดจำนวนมากขึ้นอยู่บนตอไม้ทำหน้าที่ ย่อยสลายไม้ให้กลายเป็นปุ๋ยชั้นดีแก่ดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน
สถานีที่ 6 มีดธรรมชาติ
คมบาง เป็นชื่อของหญ้าที่เป็นพืชพื้นล่าง เจริญเติบโต ได้ในที่ที่มีแสงน้อย มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือ มีขอบใบที่บาง และคม ซึ่งเป็นลักษณะที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้สัตว์ มาแทะกัดกิน คมบางหรือหญ้าชนิดต่างๆ นี้ มักขึ้นในบริเวณที่ มีปริมาณแสงส่องลงมาถึงพื้นป่า เป็นพืชที่ต้องรอให้มีต้นไม้ล้ม ตายแล้วเกิดช่องว่างในป่าขึ้น
สถานีที่ 7 ป่าดิบเขา
ป่าดิบเขาเป็นป่าไม่ผลัดใบ โดยทั่วไปป่าดิบเขาจะขึ้นอยู่ บนยอดเขาที่ มี อ ากาศหนาวเย็ น ตลอดปี มี ป ริ ม าณน้ ำ ฝน ระหว่าง 1,000-2,000 มม. การจำแนกป่าชนิดนี้ขึ้นกับการ ปรากฏของไม้ดัชนีคือ ไม้ในวงศ์ก่อ กำลังเสือโคร่ง เป็นต้น ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวกเฟิร์น กล้วยไม้ดิน มอสชนิดต่าง ๆ ป่าดิบเขาอาจพบในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง บริเวณใต้สุดที่จะพบ ป่าดิบเขาคือเทือกเขานครศรีธรรมราช
26
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สถานีที่ 8 ยักษ์ขาวแห่งป่า
ต้นยาง ไม้ยืนต้นที่มีลำต้นสีเทาปนขาว ลำต้ น สู ง เด่ น คนนิ ย มนำเนื้ อ ไม้ ม าใช้ ใ นการ ก่อสร้าง ชาวบ้านจะเจาะเอาน้ำมันยางมาใช้เป็น เชื้อเพลิง ทำขี้ใต้ น้ำมันตะเกียงให้แสงสว่างและ การตอกหมันเรือ สถานีนี้จะพบกับต้นยางนาที่มี ความสูงประมาณ 30 เมตร เวลายางนาออกลูก ลูกยางนามีปีก 2 ปีกบินร่อนจากระดับความสูง 30 เมตร ลงมาสู่ พื้ น ดิ น เป็ น วิ ธี ที่ ต้ น ยางนา กระจายเมล็ดพันธุ์ให้ไปไกล และตกห่างจากต้น แม่ ควรมาเยี่ยมชมลูกยางนาบินร่อนที่อุทยานแห่งชาติเขานันประมาณเดือนพฤษภาคมของ ทุกปี
สถานีที่ 9 ลายธรรมชาติ
ต้นไม้ในป่าดงดิบที่โตเต็มที่แล้วหลาย ชนิดเปลือกจะมีลวดลายเฉพาะในแต่ละชนิด ลวดลายบนเปลื อ กไม้ ส ามารถบอกเราได้ ว่ า ต้ น ไม้ แ ต่ ล ะต้ น เป็ น ชนิ ด อะไร เปลื อ กไม้ ที่ พบเห็นมีลักษณะ 2 แบบ คือ เปลือกแบบ วงแหวน มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ หรือเป็นวง เป็นแผ่นติดกันตลอด และเปลือกแบบตาราง มีลักษณะเปลือกเป็นเกล็ด เป็นเส้นเป็นสันติด กั น เป็ น ช่ ว งๆ การที่ ต้ น ไม้ ส ร้ า งเปลื อ กใน ลักษณะต่างๆ เป็นการป้องกันตนเองอีกทาง หนึ่ง ที่สถานีนี้จะมีเปลือกต้นไม้ชนิดต่างๆ เช่น เปลือกต้นตะเคียน และพืชวงศ์ก่อซึ่งมี เปลือกเป็นวงแหวนสวยงาม และเปลือกของต้นไข่เขียวซึ่งมีเปลือกแบบตาราง เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
27
สถานีที่ 10 ร่มธรรมชาติ
พืชตระกูลปาล์ม หวาย ไผ่ เป็นไม้พื้น ล่างของป่าดงดิบที่พบเห็นทั่วไป พืชเหล่านี้ส่วน ใหญ่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์ เช่น หน่ อ ของไผ่ ยอดและผลของหวาย ผลจาก ปาล์มเป็นอาหารของคนและสัตว์ ลำต้นไผ่ใช้ ในการทำภาชนะ ทำเครื่องเรือน ฝาบ้าน หวาย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น สถานีนี้มีพืชวงศ์ ปาล์มที่มีชื่อว่า ต้นเหรง มีลักษณะใบคล้ายร่ม ขนาดใหญ่ เวลาฝนตกคนเดินป่าสมัยโบราณ ใช้แทนร่มและใช้มุงหลังคาบ้าน
สถานีที่ 11 สัมผัสฟ้า (จุดชมวิวสุนันทา)
เมฆบนฟ้าแบ่งได้เป็นสามระดับใหญ่ๆ คือ เมฆระดับต่ำปรากฏบนชั้นบรรยากาศใน ระดับความสูงไม่เกิน 2 กิโลเมตร เป็นเมฆที่ มองเห็นทั่วไป มีลักษณะเป็นก้อน เมฆระดับ กลาง อยู่ที่ความสูงระหว่าง 2-5 กิโลเมตร มัก เป็นปุยบางๆ ไม่หนามาก เมฆระดับสูงอยู่สูง กว่า 5 กิโลเมตร เป็นเส้นสายพริ้วไหวเหมือน ขนนก จากจุดชมวิวที่เห็นอยู่ไกลๆ คือวิวทะเล สิชล ท่าศาลา มองเข้ามาใกล้ก็จะเห็นสวนยาง พาราและสวนผลไม้ของชาวบ้าน ถ้าได้มีโอกาส มาเดินป่าเวลากลางคืน ก็จะได้ชมดาวอย่างใกล้ชิด เห็นแสงไฟจากเรือประมงขนาดเล็ก สว่างไสว คล้ายแสงจากหิ่งห้อย
28
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สถานีที่ 12 แลนท้อหรือแลนบาน
“แลน” เป็นภาษาถิ่นที่ใช้เรียก ตะกวด ส่วนคำว่า “บาน” เป็นภาษาพื้นเมืองหมายถึง ไม่เอาแล้ว เลิกแล้ว สถานีนี้จะได้เรียนรู้จักกับ ต้น “แลนบาน” ซึ่งมีเปลือกของลำต้นแปลก ตากว่าต้นอื่น คือ มีเปลือกเป็นเกล็ดร่อนย้อน ขึ้ น จากโคนต้ น เหตุ ที่ ชื่ อ นี้ เ นื่ อ งจากตั ว แลน หรื อ ตะกวดไม่ ส ามารถปี น ขึ้ น ต้ น ไม้ นี้ ไ ด้ เนื่องจากจะถูกเปลือกต้นแลนบานที่ย้อนขึ้น คมตำหนังหน้าท้อง เปลือกที่เป็นแผ่นจะหลุด ล่อนออกมา ทำให้ตัวตะกวดหล่นลงมาจากต้นไม้ ต้นไม้มีเปลือกในลักษณะนี้เนื่องจาก ป้องกันตัวเองจากพืชชนิดอื่นไม่ให้มาเกาะลำต้น
สถานีที่ 13 มอส พรมธรรมชาติ
มอสมีประโยชน์มากมายคือป้องกันการ กั ด เซาะและให้ ค วามชุ่มชื้นกับดิน ซากมอส บำรุงดินและเป็นกรดยับยั้งแบคทีเรียเชื้อราที่ ทำให้เกิดโรคเน่าบนต้นไม้ ใช้ทำเชื้อเพลิงอัดทำ ถ่าน พีทและเป็นอาหารของสัตว์จำพวกกวาง สถานีนี้จะพบมอสซึ่งเขียวชอุ่มอยู่ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังพบต้นกุหลาบขาว ถ้าอยากมา ชื่นชมดอกกุหลาบขาว ควรจะมาเที่ยวในช่วง เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ต้นกุหลาบ ขาวที่เส้นทางบัวแฉกใหญ่นี้พบที่ระดับความ สูงจากน้ำทะเลที่ต่ำมาก คือที่ระดับความสูง 417 เมตรจากระดับน้ำทะเล เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
29
สถานีที่ 14 “บัวแฉกใหญ่” พืชโบราณ
บัวแฉกใหญ่เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่เกิด ขึ้นในโลกเมื่อ 230 ล้านปีที่แล้ว จะพบขึ้นเป็นก ลุ่มใหญ่บนดินที่ได้รับแสงเต็มที่หรือบริเวณกึ่ง ร่มตามไหล่เขาที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำ ทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ณ อุทยานแห่ง ชาติเขานันนี้พบบัวแฉกที่ระดับความสูง 400 เมตร ลำต้ น จะมี ลั ก ษณะทอดขนานยาว ปกคลุมด้วยขน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปคล้ายพัด และใบบั ว ขอบหยั ก เว้ า ลึ ก แผ่ น ใบเหนี ย ว เหมือนแผ่นหนัง เส้นใบจะแตกแขนงเป็น 2 แฉกต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “บัวแฉก” ถ้าเดินทางมาศึกษาเส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ ไม่ควรพลาดที่จะมองหาต้นบัว แฉก
สถานีที่ 15 ดงไม้หายาก
พันธุ์ไม้หายากที่จะพบในเส้นทางศึกษา ธรรมชาตินี้คือ ซางจิง หรือขุนไม้ เสม็ดแดง เถานาคราช และพญาไม้ ซึ่งเป็นไม้ประเภท เมล็ดเปลือย ไม้ชนิดนี้ถือว่าเป็นดัชนีบ่งบอก ถึ ง ป่ า ดิ บ เขา เนื่ อ งจากไม้ เ หล่ า นี้ จ ะพบใน บริ เ วณที่ มี ค วามสู ง จากระดั บ น้ ำ ทะเล 400 เมตร สถานีนี้จะได้รู้จักกับเถานาคราช จะเห็น ว่าเปลือกด้านนอกมีลายคล้ายเกล็ดงู ทำให้ได้ สมญานามว่า “นาคราช” ว่ากันว่า ถ้านักเดิน ทางพกพาเถานาคราชไว้กับตัว เถานาคราชนี้สามารถใช้แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และงูก็จะ ไม่เข้าใกล้
30
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สถานีที่ 16 ผู้ไร้ดอกและชีวิตสองร่าง
เฟิ ร์ น เป็ น กลุ่ ม พื ช ที่ ไ ม่ มี ด อกที่ มี จ ำนวนมากที่ สุ ด ประมาณ 10,000 ชนิด สืบพันธุ์โดยสปอร์เล็กๆ ซึ่งรวมกันใน อับสปอร์ที่อยู่ใต้ใบ พบขึ้นกระจายในสภาพถิ่นอาศัยหลาย แบบทัง้ บนดิน บนหิน ต้นไม้ ริมน้ำ และลอยตามผิวน้ำ ลักษณะ เด่นคือ ใบอ่อนจะม้วนงอ และสร้างอัปสปอร์ทผี่ วิ ใบด้านล่าง เฟิรน์ มีวงจรชีวติ แบบสลับ ประโยชน์ของเฟิรน์ มีมากมาย ทีส่ ำคัญคือ เป็นพืชคลุมดินเพือ่ ป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินและรักษาความชุม่ ชืน้ สถานีนจี้ ะได้พบกับ เฟิรน์ หลากหลายชนิด พร้อมกับยอดอ่อนทีม่ ว้ นตัวเหมือนเลขหนึง่ ไทย และอับสปอร์ใต้ใบทีม่ ี ลักษณะแตกต่างกัน
สถานีที่ 17 สีสันบนต้นไม้
ตามเส้นทางที่เราเดินผ่าน เมื่อแหงนหน้ามองบนต้นไม้ ใหญ่จะพบเฟิร์นข้าหลวงหลังลาย กระเช้าสีดา และกระแต ไต่ไม้ กล้วยไม้ในกลุ่มสิงโตและสกุลหวาย กูดฮอก ไลเคนที่ขึ้น บนเปลือกไม้ ซึ่งไม้เหล่านี้จะอยู่ด้วยกันแบบอิงอาศัยจะไม่ดูด น้ำเลี้ยงของต้นไม้เหมือนกาฝาก เพียงแต่รอใบไม้ที่ร่วงหล่น จากต้นไม้มาย่อยสลายเป็นอาหาร
สถานีที่ 18 เทียนขโมยหรือชันโจร เชื้อเพลิงในป่า
เที ย นขโมยหรื อ ชั น โจรเป็ น ไม้ ยื น ต้ น ขนาดกลางพบ ทั่วไปในป่าดิบชื้น เปลือกในของรากมีสีเหลืองอ่อน เปลือกใน ของรากนี้ เ ป็ น เชื้ อ เพลิ ง ที่ ติ ด ไฟได้ ดี เนื่ อ งจากจุ ด ไฟติ ด ได้ ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะที่แห้งหรือชื้น จึงเป็นประโยชน์ แก่ชาวบ้านหรือผู้เดินป่า ในกรณีที่ไม่สามารถหาเชื้อเพลิงในป่า ได้ เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
31
สถานีที่ 19 กุหลาบพันปี
ป่าดิบเขาเป็นป่าไม่ผลัดใบ โดยทั่วไป พบอยู่บนยอดเขาที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี พืชเด่นของสถานีนี้คือ พญาไม้และขุนไม้ ไม้ ทั้งสองชนิดนี้เป็นพรรณไม้หายาก เหลืออยู่ จำนวนน้ อ ยมากในป่ า เขตนี้ นอกจากนี้ ยั ง มี กุ ห ลาบพั น ปี ที่ จั ด ว่ า เป็ น ไม้ พุ่ ม ขนาดกลางที่ สวยงามมาก รวมทั้งพันธุ์สัตว์ ทั้งสัตว์บก สัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบก ที่หายากและพบเฉพาะถิ่น เช่น เม่นหางพวง หรือชาวบ้านเรียกกันว่า “อี แกะ” ป่ า ดิ บ เขาเป็ น แหล่ ง ต้ น น้ ำ ที่สำคัญหลายสาย เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง และเป็นห้องสมุดธรรมชาติ สำหรับค้นคว้า ศึกษา และวิจัย
สถานีที่ 20 ทำไมต้องมีติ่งใบ
ใบของพั น ธุ์ ไ ม้ ต่ า งๆ มี ลั ก ษณะ ภายนอกที่ แ ตกต่ า งกั น เช่ น ใบกลมมน ใบ แหลมยาว ใบมั น ใบมี ข น การที่ ใ บไม้ มี ลักษณะที่แตกต่างกันย่อมมีเหตุผล พรรณไม้ ในป่าดิบชื้นใบจะมีลักษณะพิเศษคือ ปลายใบ ยาวแหลมหรือมีติ่งใบ เนื่องจากในป่าดิบชื้นมี ความชื้นสูง การมีผิวใบแห้งเป็นเรื่องจำเป็น อย่างยิ่งมิฉะนั้นพวกเชื้อราและพืชเล็กๆ จะขึ้น บนผิวใบ ทำให้ใบได้รับแสงน้อยลงเกิดการ สังเคราะห์แสงได้น้อยลง ดังนั้นจึงพัฒนาใน ส่วนของติ่งใบขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการคายน้ำออกจากบริเวณผิวใบได้เร็วขึ้น สถานีนี้จะเห็น ติ่งใบ หรือขอบใบแหลมยาวของเฟิร์น มะปราง ชะมวง พญาไม้ หวาย เป็นต้น
32
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สถานีที่ 21 กำเนิดดิน
ดินในที่ต่างๆ เกิดขึ้นจากกระบวนการ สร้างดิน ประกอบด้วย การสลายตัวผุพังของ หินและแร่ การทับถมเพิ่มพูนของสิ่งที่สลายตัว และการผสมคลุกเคล้าของอินทรีย์วัตถุจากผิว ดิน ก่อให้เกิดลักษณะและชั้นดินต่างๆ การ เกิดดินต้องการเวลาในการสร้างตัวและสร้าง ชั้นดิน แต่ละชั้นของดินมีลักษณะแตกต่างไป ในด้ า นสี เนื้ อ ดิ น โครงสร้ า งและอื่ น ๆ ซึ่ ง สามารถทำให้แยกดินได้
สถานีที่ 22 ช่องว่าง
ช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างแนวต้นไม้มีทั้ง ขนาดเล็กและใหญ่ สาเหตุมาจากไม้ได้ล้มลง ตามอายุขัย และจากภัยธรรมชาติต่างๆ ทำให้ พื้นดินและเรือนยอดเกิดเป็นช่องว่าง แสงจึง สามารถส่ อ งผ่ า นมายั ง พื้ น ล่ า งทำให้ เ กิ ด พื ช ทดแทนขึ้นตามลำดับ เริ่มจากหญ้า ปุดช้าง ไม้ ยืนต้นขนาดเล็กที่โตเร็ว จากนั้นในเวลา 2-3 ปี จะเริ่มมีพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เกิดขึ้น สถานี นี้จะได้เรียนรู้ว่า เมื่อต้นไม้ล้มตาย และเกิด เป็นช่องว่างในป่าขึ้น ทำให้แสงส่องลงมาถึงพื้น ล่าง เมล็ดที่พักตัวอยู่มีโอกาสได้งอกออกมา ต้นไม้ที่ล้มก็จะกลายเป็นอาหารให้กับปลวก และเป็นที่วางไข่ให้กับด้วง ทำให้วัฏจักรสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
33
2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองกลาย-สันเย็น
เส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองกลาย-สันเย็น มีระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ใช้ เวลาเดินทางศึกษาธรรมชาติประมาณ 4 วัน เป็นเส้นทางวงรอบไม่เดินย้อนกลับในทางเดิม ลักษณะทั่วไปของเส้นทางเป็นทางขึ้นๆ ลงๆ สลับกัน เส้นทางโดยทั่วไปไม่ชันมาก ตลอด เส้นทางนั้นจะพบกับความหลากหลายของพรรณไม้ สัตว์ป่าและนกนานาชนิด จากการเดิน สำรวจของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน พบสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่น่าสนใจ เช่น ที่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 300-600 เมตร จะพบพืชพวกเถานาคราช พญาไม้ กล้วยไม้ ส่วนสัตว์จะพบหมูป่า สมเสร็จ เลียงผา เก้งหม้อ (ฟาน) ช้าง ค่าง และนกหว้า ที่ระดับความ สูง 600-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะพบพืชกลุ่มชมพู่สามใบ กุหลาบขาว เอื้องสายเส ริ ฐ เสม็ ด แดง กล้ ว ยไม้ สั ต ว์ ที่ พ บ เช่ น ไส้ เ ดื อ นยั ก ษ์ งู กบภู เ ขา นกกาฮั ง
นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีคอดำ นกกะรองทองแก้มขาว นกนิลตวาใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่ความสูง 1,080 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะพบลานเสือโคร่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ อุทยานฯ ท่านหนึ่งเล่าว่าคนสมัยก่อนใช้เส้นทางนี้ในการเดินทางจากนครศรีธรรมราช ไปยังสุราษฎร์ธานี เส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองกลาย-สันเย็น มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และมีสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้นป่าบนยอดเขา จะมีลักษณะเป็นป่าเมฆซึ่งมีความแตกต่างจากป่าดิบชื้นโดย ทั่ ว ไป โดยต้ น ไม้ ที่ ขึ้ น ในป่ า เมฆนั้ น จะมี พื ช พวก ไบรโอไฟต์ ขึ้ น ปกคลุ ม บริ เ วณลำต้ น ซึ่ ง น่ า สนใจเป็ น อย่ า งยิ่ ง สำหรั บ ผู้ ต้ อ งการ ศึ ก ษา ระหว่ า งทางเดิ น สำรวจยั ง สามารถทำกิ จ กรรมต่ า งๆ ได้ อย่างหลากหลาย เช่น ดูนก ดู ผีเสื้อ และดูกล้วยไม้ เป็นต้น
34
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
3.เส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยเลข-ป่าประ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยเลข-ป่าประ มีระยะทางประมาณ 4.3 กิโลเมตร ใช้เวลา เดินทางศึกษาธรรมชาติประมาณ 1-2 วัน เป็นเส้นทางวงรอบไม่เดินย้อนกลับในทางเดิม ลักษณะทั่วไปของเส้นทางเป็นทางขึ้นลงเขาสลับกัน เส้นทางโดยทั่วไปไม่ชันมาก ตลอดเส้น ทางพบความหลากหลายของพรรณไม้ สัตว์ป่าและนกนานาชนิด จากการสำรวจของเจ้า หน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน พบสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่น่าสนใจ เช่น ที่ความสูงจาก ระดั บ น้ ำ ทะเล 250-400 เมตร จะพบพื ช พวก ประ ไม้ ห ลุ ม พอ ไม้ จ ำปา ไม้ ไ ข่ เ ขี ย ว ไม้ตะเคียนสามพอน ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง สะตอ เงาะป่า มะปลิง มะไฟ เป็นต้น สัตว์ที่ พบ เช่น หมูป่าและซุ้มหมูป่า สมเสร็จ เก้งหม้อ (ฟาน) ช้าง ค่าง นกเงือกปากดำ นกเงือก กรามช้าง นกพญาไฟ นกเขียวก้านตองปีกสีฟา้ นกกางเขนดง นกขุนแผน นกกาฝากท้องสีสม้ นกปรอดทอง นกบั้งรอกใหญ่ เหยี่ยว เป็นต้น สัตว์และพืชส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้เคียงกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขานัน เช่น นกขุนแผน จะพบห่างหน่วยพิทักษ์ประมาณ 500 เมตร เป็นต้น เส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยเลข-ป่าประ นับว่าเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีระยะ ทางค่อนข้างสั้น ใช้เวลาในการเดินสำรวจน้อย เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมค่ายให้กับนักเรียน และนักศึกษาที่มีความสนใจ เช่น ค่ายดูนก เนื่องจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางนี้มี ความหลากหลายทางชีวภาพของนกอยู่ในระดับ ดี พ อสมควร หรื อ อาจจั ด กิ จ กรรม ส่ อ งสั ต ว์ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ทั ก ษะการ เฝ้าสังเกตให้กับนักเรียน ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ชาวบ้านห้วยเลขจะจัดงาน “ลูกประ แตก” เพื่ อ ขอพรต่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ ห้ คุ้มครองลูกหลานที่จะเข้าป่าไปเก็บลูกประ มาบริ โ ภคให้ แ คล้ ว คลาดปลอดภั ย จากภั ย อันตรายทั้งหลายทั้งปวง เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
35
4.เส้นทางศึกษาธรรมชาติท่าทน-ยอดน้ำ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติท่าทน-ยอดน้ำ มีระยะทางประมาณ 9.93 กิโลเมตร ใช้เวลา เดินทางศึกษาธรรมชาติประมาณ 2-3 วัน เป็นเส้นทางเดินย้อนกลับในทางเดิม เริ่มต้นเดิน จากหน่วยท่าทน ผ่านเขาเดือนหก ไปทะลุที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองยอดน้ำ ลักษณะทั่วไปของเส้นทางเป็นทางขึ้นลงเขาสลับกันโดยทั่วไปไม่ชันมาก แต่มีบางช่วงที่ต้อง ปีนหน้าผา เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้มีจุดศึกษาที่น่าสนใจคือจุดยอดเขาเดือนหก ซึ่งเป็นชื่อ ยอดเขาที่ชาวบ้านตั้งขึ้น เนื่องจากในเดือนหกไทย ยอดเขายอดนี้จะเป็นยอดเขายอดแรกที่ ชาวบ้านจะสามารถสังเกตเห็นเมฆปกคลุมตลอดทั้งวันได้อย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นที่ความ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร ป่าจะมีลักษณะเป็นป่าเมฆ ตลอดเส้นทางพบกับ ความหลากหลายของพรรณไม้ สัตว์ป่าและนกนานาชนิด จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขานั น พบสิ่ ง มี ชี วิ ต ทั้ ง พื ช และสั ต ว์ ที่ น่ า สนใจ เช่ น ที่ ค วามสู ง 100-700 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบพืชกลุ่ม ไม้ยอดเขียว ไม้หลุมพอ ไม้ตะเคียน สัตว์ที่ พบ เช่ น กระจง อี เ ห็ น เม่ น หางพวง ชะมด เก้ ง หม้ อ (ฟาน) นิ่ ม เลี ย งผา นกปรอด นกเงือกหัวหงอก นกเงือกกรามช้าง นกกาฮัง นกโพระดก ตั้งแต่ระดับความสูง 700-1,050 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะพบพืช เช่น เถานาคราช ต้นแพ ต้นหว้า กูดต้น สัตว์ที่พบ เช่น สมเสร็จ หมูป่า เสือ (ร่องรอย) และเต่าหกดำ เป็นต้น จุดที่น่าสนใจอีกจุดของเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นนี้คือ เหมือง ร้างของชาวฝรั่งเศส ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเหมืองเหล็ก และวุลแฟรม หากต้องการศึกษา หรือสำรวจเหมืองเก่า สามารถ ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่ง ชาติ เ ขานั น ให้ น ำทางได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังจัดค่าย ให้ นั ก เรี ย นที่ ส นใจได้ เ ดิ น สำรวจ เหมืองเก่าแห่งนี้ด้วย
36
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
5. เส้นทางศึกษาธรรมชาติท่าทน-พันสี่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติท่าทน-พันสี่ มีระยะทางประมาณ 14.28 กิโลเมตร ใช้เวลา เดินทางศึกษาธรรมชาติอย่างน้อย 3 วัน เป็นจุดศึกษาที่เป็นป่าเมฆชัดเจน คือ ต้นไม้ในป่า จะมีพืชพวกไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่ตามลำต้น เส้นทางนี้มีทางขึ้นลงสองเส้นทาง นักสำรวจ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ ตลอดเส้นทางจะพบความหลากหลายของ พรรณไม้ สัตว์ป่าและนกนานาชนิด จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน พบ สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่น่าสนใจ เช่น ที่ระดับความสูง 100-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะพบพืชพวก ไม้ยอดเขียว ไม้หลุมพอ ไม้ยาง ต้นสาย ไม้แดง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย ตะเคียนทอง และไม้วงศ์ก่อ สัตว์ที่พบ เช่น เม่นหางพวง กระจง กระรอก ชะมด นิ่ม หมี เก้งหม้อ (ฟาน) นกโพระดก ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 800-1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบ พญาไม้ ซางจิ ง (ขุ น ไม้ ) เถานาคราช เสม็ ด แดง มหาสดำ บั ว แฉกใหญ่ บั ว แฉกเล็ ก ต้นจูด สักเขา พบสัตว์บางชนิด เช่น หมูป่า เลียงผา เสือ สมเสร็จ เต่า กบภูเขา งู นก เงือกหัวหงอก นกเงือกกรามช้าง นกหว้า นกกาฮัง เป็นต้น นอกจากสภาพป่ า บนยอดเขามี ลั ก ษณะ แตกต่ า งจากป่ า ทั่ ว ไปแล้ ว ก่ อ นถึ ง ยอดพั น สี่ ที่ ค วามสู งจากระดั บ น้ ำ ทะเล 700-900 เมตร จะ พบน้ำตกขนาดเล็ก “น้ำตกผา ค่ า งดำ” ซึ่ ง มี น้ ำ ตลอดทั้ ง ปี และที่ สู ง จากระดั บ น้ ำ ทะเล ประมาณ 900-1,000 เมตร จะ พบน้ ำ ตกขนาดกลาง “น้ ำ ตกเขา ช่องลม” ที่มีความสวยงามมาก
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
37
ลิเวอร์เวิร์ต
“เขานัน” มหัศจรรย์ธรรมชาติ
“เขานัน” พื้นที่ธรรมชาติที่นอกจากจะสวยงาม มีประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรม ชุมชนรายรอบที่น่าสนใจแล้ว เขานันแห่งนี้ยังเป็นบ้านของสรรพชีวิตนานาชนิด ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ไปจนถึงที่มองไม่เห็น ร่วมกันแต่งแต้ม สีสนั ให้กบั เขานัน จนทำให้เขานันเต็มไปด้วยสิง่ มหัศจรรย์ธรรมชาติแห่งหนึง่ ในประเทศไทย ผลจากการศึกษาวิจัยของนักวิจัยใน “ชุดโครงการวิจัยป่าเมฆเขานัน” ซึ่งได้พัฒนา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการ ทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยองค์ความรู้พื้นฐานในอุทยานแห่งชาติเขานันมากมาย ดังนี้ ลิเวอร์เวิร์ต เป็นพืชในกลุ่มไบรโอไฟต์ ที่เป็นดัชนีบ่งชี้ความชุ่มชื้นของอากาศ พบที่ เขานัน 71 ชนิด 28 สกุล ใน 14 วงศ์ เป็นลิเวอร์เวิร์ตที่ขึ้นอยู่บนหิน บนดิน และอาศัยอยู่ บนเปลือกไม้ ลิเวอร์เวิร์ตที่มีความหลากหลายมากที่สุดได้แก่วงศ์ Lejeuneaceae พบ จำนวน 15 ชนิด ใน 9 สกุล นอกจากนี้ยังพบลิเวอร์เวิร์ตในสกุล Bazzania ปกคลุมอยู่ ทั่วไปที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรของเขานัน เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ค่อนข้างมาก จากการสำรวจเขานันพบตัวอย่างเฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น 27 วงศ์ 67 สกุล 205 ชนิด นับว่าเป็นการพบพืชกลุ่มนี้จำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจเฉพาะ พื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจครั้งนี้ยังพบเฟิร์นก้านดำต่างถิ่น 1 ชนิดคือ Adiantum latifolium Lam. ซึ่งได้กระจายพันธุ์เข้ามาอยู่ในพื้นที่เขานันหลายบริเวณ ควรที่จะต้อง เฝ้าระวังกันต่อไปว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมพืชป่าเขานันอย่างไร มะเดื่อ-ไทร ให้ร่มเงา เป็นอาหารประทังชีวิตให้แก่สัตว์น้อยใหญ่ รวมทั้งป้องกันการ พังทลายของหน้าดิน พบมะเดื่อและไทรที่เขานัน รวมทั้งสิ้น 50 ชนิด จัดเป็นจำพวกไทร
38
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลิเวอร์เวิร์ต
20 ชนิด จำพวกมะเดื่อ 30 ชนิด และในจำนวนนี้พบว่ามี 10 ชนิดที่นิยมนำมาเป็นอาหาร ยกตัวอย่างเช่น Ficus fistulosa Reinw. ex Blume และ Ficus obpyramidata King. ขิง-ข่า พืชที่ให้สีสันแก่ผืนป่าเขานัน จากการสำรวจพบพืชวงศ์ขิงทั้งสิ้นจำนวน 26 ชนิด ใน 10 สกุล พืชวงศ์ขิงที่พบส่วนใหญ่เจริญอยู่ในเขตป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 90– 300 เมตรจะพบพืชวงศ์ขิงมากที่สุด และจะลดน้อยลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มมากขึ้น กล้วยไม้ อัญมณีแห่งป่าเขาลำเนาไพร ให้ความสุขสดชื่นแก่สัตว์น้อยใหญ่ รวมทั้ง มนุษย์ จากการสำรวจเขานันพบกล้วยไม้ 5 วงศ์ย่อย 51 สกุล 103 ชนิด โดยกล้วยไม้ สกุล Dendrobium เป็นสกุลที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ที่คาดว่า จะเป็นชนิดใหม่ของประเทศไทยอีก 2 ชนิด หอยทากบก มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสองรองจากแมลง ผ่านกระบวนการทาง วิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงทำให้อาศัยอยู่ได้ทุกพื้นที่ตั้งแต่ก้นทะเลลึก แหล่ง น้ำจืด ป่าไม้ ภูเขาสูง จนถึงทะเลทราย พบหอยทากบกทั้งที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่เขา นันจำนวน 13 วงศ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบชนิดได้ประมาณ 30 ชนิด และมีที่ไม่ทราบชนิดที่ แน่นอนอีกประมาณ 10 ชนิด มด พบสัตว์ขยันชนิดนี้หลากหลายที่เขานัน ถึง 250 ชนิด 49 สกุล ใน 10 วงศ์ย่อย Myrmicinae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด โดยมีสกุลเด่นคือ สกุล Pheidole, Tetramorium, Pachycondyla, Polyrhachis และ Camponotus การศึกษาครัง้ นีย้ งั พบ มดน้ำผึง้ ซึง่ เป็นชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ซึง่ อยูใ่ นบัญชีชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ รุกรานทีร่ า้ ยแรงของโลก ตาม การจัดของ Global Invasive Species ทีเ่ ขานันอีกด้วย ผีเสื้อกลางวัน เรื่องราวความสวยงาม และวงจรชีวิตของผีเสื้อในเขานัน ยังเป็นที่ น่าสนใจอีกมาก จากการสำรวจพบผีเสื้อกลางวัน 304 ชนิด ใน 5 วงศ์ ในจำนวนนี้เป็น
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
39
ผีเสื้อชนิดที่หายากและพบเฉพาะที่ทางใต้ของประเทศไทย รวมทั้งผีเสื้อกลางวันซึ่งอยู่ใน รายชื่อแมลงคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง (Troides helena) ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ (Troides amphrysus) และผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว (Papilio palinurus) ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลุ่มผีเสื้อหนอนม้วนใบวงศ์ย่อย Olethreutinae เป็นผี เสื้อกลางคืนขนาดเล็กประมาณ 0.7-2.5 เซนติเมตร จากการสำรวจพบผีเสื้อหนอนม้วนใบ วงศ์ย่อย Olethreutinae ที่สามารถจำแนกชนิดได้แล้ว 27 ชนิดใน 22 สกุล โดยมีชนิด Cimeliomorpha egregiana พบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย มีสีสันโดดเด่นสะดุดตา และอีก 1 ชนิดคือ Fibuloides khaonanensis n.sp. ที่เตรียมตีพิมพ์เป็นชนิดใหม่ของ โลกโดยตั้งชื่อชนิดตามชื่อของเขานัน แมงมุม สัตว์นักล่าในระบบนิเวศที่มีประโยชน์มากมาย พบเห็นในเขานันค่อนข้าง มาก พบแมงมุมทั้งหมด 783 ตัว 30 วงศ์ 75 สกุล 80 ชนิด ที่พบมากที่สุดได้แก่แมงมุม วงศ์ Salticidae รองลงมาได้แก่ วงศ์ Zodariidae และ Linyphiidae ปลาน้ำจืด แหวกว่ายในธาราที่ไม่เคยขาดน้ำของเขานัน จากการศึกษาชนิดของปลา น้ำจืดที่บริเวณน้ำตกคลองผด น้ำตกคลองปาว และน้ำตกกรุงนาง พบปลาน้ำจืดทั้งหมด จำนวน 11 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีความสำคัญอย่างมากในระบบ นิเวศทั้งบนบกและในแหล่งน้ำ ในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการลดลงของประชากรใน หลายพื้นที่ทั่วโลก อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จากการสำรวจเขา นันพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 31 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ คางคกห้วย (Ansonia sp.), กบเขาหลวง (Ingerana sp.), กบเขานัน (Limnonectes sp.), และงูกินทาก (Pareas sp.) สัตว์เลื้อยคลาน พบมากมายหลากหลายที่เขานันเป็นจำนวน 67 ชนิด จำแนกเป็น 13 วงศ์ และอีก 4 วงศ์ย่อย ชนิดที่น่าสนใจ ได้แก่ จิ้งเหลนสองนิ้ว (Larutia sp.), งูดิน (Ramphotyhlops sp.)
40
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลิเวอร์เวิร์ต
Aneura indica Stephani : ทัลลอยด์ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Aneuraceae
พบในที่ร่มบนหินริมแอ่งน้ำใกล้ที่พักลานบัวแฉกที่ระดับความสูง 1,205 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล เป็นทัลลอยด์ลิเวอร์เวิร์ต สีเขียวใส ทัลลัสเป็นแผ่นแบนยาว ขนาดกว้าง 5-6 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร สร้างสปอโรไฟต์ทางด้านข้างเป็นแท่งกลมยาวสีเขียว เมื่อแก่ เต็มที่ก้านชูจะยืดตัวยาวชูอับสปอร์รูปกลมรีสีดำขึ้นมา
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
41
ลิเวอร์เวิร์ต
Colura conica (Sande Lac.) K.I.Goebel : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Lejeuneaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนใบไม้ พบที่ระดับความสูง 1,385 เมตรจากระดับน้ำ ทะเล สีเขียวอ่อน ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 3-3.5 มิลลิเมตร มีโลบูลที่มีลักษณะเป็นส่วนของ ขอบใบที่พับ ปลายยอดเป็นถุง ใบเรียงตัวแบบ incubous
42
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลิเวอร์เวิร์ต
Frullania apiculata (Reinw. et al.) Nees : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Frullaniaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนเฟิร์นต้น เปลือกไม้ กิ่งไม้ ขอนไม้ผุ ใบไม้ พบที่ ระดับความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล สีเหลืองน้ำตาล ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 0.8-1.5 มิลลิเมตร ส่วนคล้ายใบแยกเป็น 2 ส่วน ด้านบนเรียก โลบ มีลักษณะแบน ปลาย โลบเป็ น ติ ่ ง หนาม-ติ ่ ง แหลม ด้ า นล่ า งเรี ย ก โลบู ล มี ล ั ก ษณะเป็ น ถุ ง ใบเรี ย งตั ว แบบ incubous
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
43
ลิเวอร์เวิร์ต
Marsupidium knightii Mitt. : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Acrobolbaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนไม้พุ่มโดยทอดนอนบนลิเวอร์เวิร์ตชนิดอื่น พบที่ ระดับความสูง 1,303 เมตรจากระดับน้ำทะเล สีเขียวเหลือง ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 2.5-3 มิลลิเมตร ส่วนคล้ายใบเรียงตัวอย่างอัดแน่นและแนบชิดกับส่วนคล้ายลำต้นจึงมีลักษณะ คล้ายหางกระรอก ใบเรียงตัวแบบ succubous คือ ขอบล่างของใบที่อยู่ด้านบนทับขอบ บนของใบที่อยู่ต่ำลงมา
44
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลิเวอร์เวิร์ต
Metzgeria furcata (L.) Dumort. : ทัลลอยด์ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ – วงศ์ Metzgeriaceae
เป็นทัลลอยด์ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนใบไม้ หิน รอบลำต้นไม้พุ่ม พบที่ระดับความสูง ตั้งแต่ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล สีเขียว ทัลลัสเป็นแผ่นแบนยาว ขนาดกว้าง 1-1.5 มิลลิเมตร ด้านล่างของทัลลัสมีขนสม่ำเสมอตามขอบแต่กระจัดกระจายบริเวณเส้นกลางใบ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
45
ลิเวอร์เวิร์ต
Plagiochila longispica Mitt. : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Plagiochilaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนเปลือกต้นไม้ โดยส่วนคล้ายลำต้นตั้งฉากกับต้นไม้ ที่ขึ้น พบที่ความสูง 1,326 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 0.8-1 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน ขอบของส่วนคล้ายใบหยักแหลมคล้ายหนาม ขอบบริเวณฐานของส่วนคล้าย ลำต้นด้านล่างมีลักษณะเป็นถุงรูปขอบขนาน ใบเรียงตัวแบบ succubous
46
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลิเวอร์เวิร์ต
Pleurozia gigantea (F.Weber) Lindb. : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ – วงศ์ Pleuroziaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนกิ่งไม้ เปลือกต้นไม้ ขอนไม้ล้ม พบที่ระดับความสูง 1,300 -1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล สีเขียวอ่อน ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 3-3.5 มิลลิเมตร ส่วนคล้ายใบแยกเป็น 2 ส่วน ด้านบนเรียก โลบ รูปไข่ ขอบด้านบนมีฟันรูปสามเหลี่ยม 2-3 อั น ด้ า นล่ า งเรี ย ก โลบู ล มี ล ั ก ษณะเป็ น ถุ ง รู ป ไข่ - รู ป ใบหอก ใบเรี ย งตั ว แบบ incubous
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
47
ลิเวอร์เวิร์ต
Schistochila integerrima Steph. : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Schistochilaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่อาศัยบนกิ่งไม้ พบที่ระดับความสูง 1,075 เมตรจากระดับน้ำ ทะเล สีเขียวอ่อน ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 4-5.2 มิลลิเมตร ส่วนคล้ายใบแบ่งเป็นโลบด้าน บนและด้านล่างโดยขอบของโลบทั้งสองด้านมีลักษณะเรียบ ใบเรียงตัวแบบ incubous
48
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลิเวอร์เวิร์ต
Schistochila monticola Schust. : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ - วงศ์ Schistochilaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่ทอดนอนบนเปลือกต้นไม้ พบที่ระดับความสูง 1,327 เมตร จากระดับน้ำทะเล สีเขียวอ่อน ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 2-3 มิลลิเมตร ส่วนคล้ายใบแบ่งเป็น โลบด้านบนและด้านล่างโดยขอบของโลบทั้งสองด้านมีลักษณะหยักซี่ฟัน ใบเรียงตัวแบบ incubous
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
49
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Adiantum latifolium Lam. : เฟิร์นก้านดำใบนวล ชื่อสามัญ Glaucous maidenhair fern วงศ์ Adiantaceae
เป็นเฟิร์นต่างถิ่น มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนชื้นของอเมริกากลาง เนื่องจากมี ผู้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับในประเทศมาเลเซีย จึงแพร่กระจายพันธุ์เข้ามาทางภาคใต้ของ ประเทศไทยทั้งในพื้นที่เกษตรกรรมและป่าธรรมชาติ เฟิร์นก้านใบนวลมีลำต้นทอดเลื้อย ยาวและสร้างสปอร์จำนวนมากจึงสามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้ดีกว่าเฟิร์นก้านดำชนิดอื่นๆ ที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทย จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นวัชพืช ทำให้มีความน่าสนใจที่จะ ติดตามดูประชากรเฟิร์นก้านดำชนิดนี้ว่าจะทำให้บริเวณพื้นที่เขานันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เฟิร์นก้านดำใบนวลเป็นเฟิร์นก้านดำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีเหง้าทอดเลื้อยยาว ใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น ก้านใบมีสีดำเป็นมัน แผ่นใบด้านล่างสีเขียว อ่อนออกนวล กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบทั้งสองด้าน มีหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มอับสปอร์มี ขอบใบพับลงมาปกคลุม
50
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. : ว่านกีบแรด, ดูกู ชื่อสามัญ Giant fern, King fern, Mule’s-foot fern วงศ์ Marattiaceae
เป็นเฟิร์นขนาดใหญ่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่า เบญจพรรณชื้น จนถึงป่าดิบเขาตอนล่าง มักพบบริเวณที่มีความชื้นในดินสูง เช่น บริเวณ ใกล้ลำธาร ที่ร่มหรือบริเวณที่ได้รับแสงบางเวลา ในบางท้องที่ใช้ส่วนเหง้าเป็นสมุนไพร ว่านกีบแรดมีเหง้าตั้งตรงสั้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบอาจ ยาวมากกว่า 3 เมตร ที่โคนก้านใบตรงตำแหน่งที่ติดกับเหง้ามีหูใบ หูใบมีรูปคล้ายกีบม้า หรือกีบแรดซึ่งเป็นที่มาของชื่อพื้นเมืองในภาษาไทย อับสปอร์เป็นกลุ่มรูปขอบขนานเรียง เป็นแนวใกล้ขอบใบ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
51
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Antrophyum callifolium Blume : กูดตาข่าย ชื่อสามัญ - วงศ์ Vittariaceae
พบขึ้นบนหินที่ชื้นหรือเป็นพืชอิงอาศัยในป่าดิบแล้ง หรือป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของ ประเทศ กูดตาข่ายเป็นเฟิร์นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีเหง้าทอดเลื้อยสั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดเป็นกระจุก ก้านใบสั้น แผ่นใบมีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น รูปใบหอกกลับหัว ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา อวบน้ำ เส้นใบสานกันเป็นร่างแห เห็นได้ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์เกิดตามเส้นใบ มักจะเกิดทั่วแผ่นใบยกเว้นบริเวณโคนใบ
52
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Belvisia mucronata (Fée) Copel. : กูดหาง ชื่อสามัญ – วงศ์ Polypodiaceae
มักพบเกาะตามกิ่งไม้หรือเปลือกต้นไม้ในป่าดิบชื้นในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ระดับต่ำถึงระดับกลาง ในภาคตะวันออกและภาคใต้ กูดหางเป็นเฟิร์นอิงอาศัยขนาดเล็กถึง ขนาดกลาง มีเหง้าทอดเลื้อยสั้นๆ ใบเดี่ยวเกิดเป็นกระจุก 3-4 ใบ ก้านใบสั้น ใบรูปขอบ ขนาน เส้นใบเห็นไม่ชัดเจน ขอบใบเรียบและค่อยๆ เรียวแคบที่ปลายทั้งสองด้าน ปลายใบ คอดเรียวยาวเป็นลักษณะเฉพาะของเฟิร์นในสกุลนี้ ส่วนที่คอดเรียวยาวนี้ยังเป็นที่เกิดของ กลุ่มอับสปอร์ซึ่งจะปกคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมด
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
53
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Cyathea contaminans (Wall. ex Hook.) : หัวอ้ายเป็ด ชื่อสามัญ - วงศ์ Cyatheaceae
เป็นเฟิร์นต้นขนาดใหญ่ พบทางภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศ มักพบตาม สันเขาที่ระดับต่ำจนถึงที่ความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในบริเวณที่มี ความชื้นสูงและได้รับแสงเต็มที่ ลำต้นอาจสูงได้กว่า 10 เมตร ใบเกิดเป็นกลุ่มใกล้ปลาย ยอด ก้านใบมีหนาม สีม่วงแดง ยังคงติดคาต้นเมื่อใบแก่ แผ่นใบเป็นใบประกอบแบบขน นกสองชั้น ใบย่อยคู่ล่างๆ ลดขนาดลง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบ เรียวแหลม ฐานใบตัดเกือบตรง ขอบใบหยักเว้าลึก แผ่นใบมีสีเขียวนวล ไม่มีก้านใบย่อย กลุ่มอับสปอร์กลม เกิดใกล้เส้นใบ ไม่มีเยื่อคลุม
54
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Helminthostachys zeylanica (L.) Hook. : ตีนนกยูง ชื่อสามัญ – วงศ์ Ophioglossaceae
เป็นเฟิร์นขนาดกลาง ขึ้นบนดิน พบทุกภาคของประเทศที่ระดับต่ำ บริเวณที่ได้ รับแสงบางเวลา จนถึงบนภูเขาที่สูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบมากใน พื้นที่สวนยางทางภาคใต้ เหง้าเกาะเลื้อยสั้น ใบส่วนที่ไม่สร้างอับสปอร์แยกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนมีลักษณะคล้ายใบย่อย 2-3 ใบ รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ เส้นใบแตกเป็นง่าม เห็นได้ชัดเจน อับสปอร์เกิดบนก้านพิเศษที่เกิดต่อเนื่องจากก้านใบ มีลักษณะคล้ายช่อดอก แบบช่อเชิงลด อับสปอร์ขนาดใหญ่ รูปกลม ไม่มีก้านชูอับสปอร์
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
55
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Humata heterophylla (J. Smith) Desv. : ปลายมน ชื่อสามัญ - วงศ์ Davalliaceae
เป็นเฟิร์นอิงอาศัยในป่าดิบชื้น พบเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเฟิร์น ขนาดเล็ก เหง้าเกาะเลื้อยยาว ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นใบแตกเป็นง่ามเห็นได้ชัดเจน ใบที่สร้าง อับสปอร์มีแผ่นใบแคบกว่าใบที่ไม่สร้างกลุ่มอับสปอร์ ก้านใบสั้น แผ่เป็นปีก ขอบใบหยัก ลึกประมาณกึ่งหนึ่งจากขอบใบ กลุ่มอับสปอร์รูปถ้วย มีเยื่อคลุม เกิดที่ปลายเส้นใบ
56
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Pyrrosia nummularifolia (Sw.) Ching : เกล็ดนาคราชปักษ์ ใต้ ชื่อสามัญ - วงศ์ Polypodiaceae
เป็นเฟิร์นอิงอาศัย หรือขึ้นบนหินในป่าดิบชื้นระดับต่ำ เป็นพืชหายากทางภาคตะวัน ตกแต่พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเฟิร์นขนาดเล็ก เหง้าเกาะเลื้อยยาว ปกคลุม ด้วยเกล็ดหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่น หนัง ใบที่ไม่สร้างกลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรี ปลายใบกลม เส้นใบสานกันเป็นร่างแห มอง ไม่เห็น ใบที่สร้างกลุ่มอับสปอร์รูปขอบขนานแคบ มีก้านใบสั้นๆ อับสปอร์เกิดต่อเนื่องบน แผ่นใบด้านล่าง ซึ่งมีขนรูปดาวปกคลุมอย่างหนาแน่น
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
57
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Selaginella willdenowii (Desv. ex Poir.) : รังไก่ ชื่อสามัญ - วงศ์ Selaginellaceae
เป็นพืชใกล้เคียงเฟิรน์ พบขึน้ ตามธรรมชาติในป่าดิบชืน้ ทีค่ วามสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำ ถึงระดับกลางหรือในพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม บริเวณทีไ่ ด้รบั แสง ในภาคตะวันออกและภาคใต้ รังไก่เป็นไม้รอเลื้อย มีเหง้าอยู่ในดิน และส่วนต้นที่เกาะเลื้อยหรือเกาะพันไม้พุ่ม
ใบมีขนาดเล็กมีสีเขียวอมฟ้าสวยงามและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเมื่อใบแก่ สร้าง อับสปอร์ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มี 1 อับสปอร์ต่อ 1 ใบ กลุ่มใบที่สร้างอับสปอร์รวมกัน เรียกว่าสตรอบิลัส
58
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Tectaria singaporeana (Wall. ex Hook. & Grev.) : ตานลอย ชื่อสามัญ - วงศ์ Dryopteridaceae
เป็นเฟิร์นท้องถิ่นทางภาคใต้ พบขึ้นบนดินร่วนซุยที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ตามสันเขา บริเวณที่มีร่มเงา ที่ความสูง 250-700 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีเหง้าสั้น ตั้งตรง ใบเป็นใบ เดี่ยว เกิดเป็นกระจุก ก้านใบสีน้ำตาลแดงเป็นมัน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางเหมือนแผ่น กระดาษ เมื่อใบแก่มีสีเขียวเข้ม เส้นใบเป็นร่างแหเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านของแผ่นใบ กลุ่มอับสปอร์รูปกลม เกิดบนเส้นใบที่สานเป็นร่างแห มีเยื่อคลุมขนาดเล็ก
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
59
มะเดื่อ - ไทร
Ficus albipila (Miq.) King : เลียงผึ้ง, ยวนผึ้ง ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อที่ต้นมีขนาดใหญ่ที่สุด สูงได้ถึง 40 เมตร เปลือกต้นสีขาว โคนต้นมัก เป็นพูพอน ใบรูปไข่ ผลขนาดเล็กออกตามซอกใบ พบขึ้นกระจายห่างๆ ตามป่าดิบชื้นใน อุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นไม้เนื้ออ่อนจึงไม่เป็นที่นิยมนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ เนื่องจาก ต้นสูงใหญ่และมีกิ่งก้านแผ่กว้างจึงมักมีผึ้งป่ามาทำรังบนต้นมะเดื่อชนิดนี้คราวละหลายๆ รัง จนเป็นที่มาของชื่อ ยวนผึ้ง
60
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มะเดื่อ - ไทร
Ficus auriculata Lour. : เดื่อหลวง ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อที่มีรายงานว่าผลมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผลมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางถึง 8 เซนติเมตร พบขึ้นทั่วไปตามป่ารุ่นสองบริเวณที่ชุ่มชื้นหรือตามริมน้ำใน ป่าดิบชื้นในอุทยานแห่งชาติเขานัน ต้นสูงไม่เกิน 10 เมตร ออกผลตามต้นและกิ่ง ผลสุกมี วุ้นใสอยู่ภายใน กลิ่นหอม รสหวาน กินได้ ผลแก่นำไปแกงกินได้
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
61
มะเดื่อ - ไทร
Ficus benjamina L. : ไทรย้อย, ไทรย้อยใบแหลม ชื่อสามัญ Golden fig วงศ์ Moraceae
เป็นไม้ที่นิยมปลูกประดับในเขตชุมชนเมือง ในป่าธรรมชาติต้นสูงได้ถึง 30 เมตร พบเป็นจำนวนมากที่น้ำตกสุนันทา หน่วยพิทักษ์ฯ คลองกลาย หน่วยพิทักษ์ฯ คลอง ยอดน้ำ ใบรูปรี ปลายใบแหลม ปลายกิ่งทิ้งห้อยย้อยลง และตามต้นมักมีรากย้อย จึงเป็น ที่มาของชื่อไทรย้อยใบแหลม ออกผลตลอดทั้งปี
62
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มะเดื่อ - ไทร
Ficus fistulosa Reinw. ex Blume : ชิ้ง ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อขนาดเล็ก พบขึ้นกระจายทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติเขานัน ตามเส้น ทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ น้ำตกสุนันทา และเส้นทางป่าประ ทั้งผลอ่อนและผลแก่ นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด จึงเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีของคนนครศรีธรรมราชและคน ภาคใต้จังหวัดอื่นๆ มีการนำมาปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเก็บผลกิน ออกผลเป็นกระจุกตาม ลำต้นและกิ่งตลอดทั้งปี ผลสีเขียวมีก้านผลยาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
63
มะเดื่อ - ไทร
Ficus hispida L.f. : มะเดื่อปล้อง ชื่อสามัญ Opposite-leaf fig วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 เมตร ใบเรียงตรงข้าม ผิวใบมีขนสากคาย พบ ขึ้นทั่วไปตามป่ารุ่นสองในอุทยานแห่งชาติเขานัน หรือตามสวนรกร้างรอบเขตอุทยานฯ เป็น พืชที่มีความสามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่รกร้าง สามารถขึ้นแข่งขันกับวัชพืชอื่นๆ โดยเฉพาะ หญ้ า คาได้ ด ี คนภาคใต้ น ิ ย มนำใบที ่ ส ากคายไปรู ด เอาเมื อ กของปลาไหลออกก่ อ นที ่ จะนำไปแกง
64
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มะเดื่อ - ไทร
Ficus microcarpa L.f. : ไทรย้อยใบทู่ ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นไทรอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบรูปรี ปลายใบทู่ และมักมี
รากย้อย ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบว่ามีทั้งที่ปลูกประดับตามเขตบริการท่องเที่ยวแถว น้ำตกสุนันทา และขึ้นในป่าธรรมชาติแถวคลองกลาย และน้ำตกหินท่อ ผลเริ่มสุกสีขาว และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมดำ ออกผลตลอดทั้งปี พบว่ามีนกหลายชนิดกินผล ของไทรชนิดนี้
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
65
มะเดื่อ - ไทร
Ficus obpyramidata King : โพะ ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อขนาดเล็กขึ้นเฉพาะริมน้ำ พบขึ้นกระจายตามริมห้วยและลำคลองในเขต อุทยานแห่งชาติเขานัน มีหลายสิบต้นตลอดคลองท่าทน และริมคลองที่หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยแก้ว ผลอ่อนและผลแก่นิยมนำมากินเป็นผักสดหรือแกงกับเนื้อ เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ของคนนครศรีธรรมราชและคนภาคใต้ ส่วนใหญ่ชาวบ้านเก็บตามธรรมชาติ ออกผลเป็น กระจุกตามลำต้นและกิ่ง ผลสีน้ำตาลแกมเขียวมีก้าน ขนาดโตเต็มที่ประมาณเท่าไข่ไก่ ออกผลตลอดทั้งปี
66
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มะเดื่อ - ไทร
Ficus ridleyana C.C. Berg & Chantarasuwan ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดือ่ ขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 5 เมตร พบขึน้ ทัว่ ไปตามป่ารุน่ สองในอุทยานแห่งชาติ เขานันหรือตามสวนยางพาราและสวนผลไม้รอบเขตอุทยานฯ มีความสามารถแข่งขันกับ วัชพืชอื่นได้ดี พบขึ้นหนาแน่นในบางพื้นที่จนกลายเป็นวัชพืชเสียเอง ใบไม่สมมาตร ผิวใบ มีขนสากคาย ออกผลตามไหลที่ทอดเลื้อยอยู่ตามพื้นดิน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
67
มะเดื่อ - ไทร
Ficus schwarzii Koord. : เดื่อเพาะ, โผก ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อขนาดเล็ก พบขึ้นกระจายทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติเขานัน โดยเฉพาะ ตามป่ารุ่นสอง (ป่าไส) มีหลายร้อยต้นตามเส้นทางป่าประ หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ผลอ่อน และผลแก่เป็นที่นิยมนำมากินเป็นผัก อาจกินสดหรือต้มให้สุกก่อนก็ได้ แม้รสชาติอาจจะสู้ ผลชิ้งไม่ได้แต่ก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ชาวบ้านเก็บตามธรรมชาติ ออกผลเป็น กระจุกตามลำต้นและกิ่ง ผลสีน้ำตาลแกมเขียวมีก้านผลยาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณเท่า เหรียญสิบ ออกผลตลอดทั้งปี
68
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มะเดื่อ - ไทร
Ficus scortechinii King : เดื่อดิน ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นมะเดื่อขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 เมตร มีความแตกต่างจากมะเดื่อชนิดอื่นตรงที่ ออกผลเป็นช่อกระจุกแน่นตามโคนต้นติดพื้นดิน และผลสุกสามารถรับประทานได้ พบขึ้น ทั่วไปในป่าดิบชื้นหรืออาจขึ้นตามริมลำธารในอุทยานแห่งชาติเขานัน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
69
ขิง - ข่า
ภาพ : สมพร ขวัญหีด
Amomum aculeatum Roxb. : คลำวาง, เร่วช้าง ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
เจริญเป็นกอขนาดใหญ่ 5–10 ต้น สูงได้ถึง 3 เมตร ส่วนมากจะพบตามแนวลำธาร ที่หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลขเท่านั้น และพบได้ค่อนข้างยาก ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึง กรกฎาคม ดอกออกมาจากเหง้าด้านข้าง ดอกบานที่ระดับผิวดิน ผลสุกเต็มที่ในเดือน สิงหาคม สามารถรับประทานได้
70
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
Amomum biflorum Jack : ว่านสาวหลง, เร่วหอม, ปุดหนู ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
จะพบเห็นเป็นดงขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่มีแดดรำไรตามหน่วยพิทักษ์ฯ เกือบทุกแห่ง บาง แห่งอาจขึ้นกระจายเต็มพื้นที่มากกว่า 100 ตารางเมตร ต้นสูงไม่เกิน 75 เซนติเมตร หลัง ใบมีขนอ่อนนุ่ม ดอกออกจากเหง้าค่อนข้างห่างจากต้น ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึง พฤษภาคม เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นำไปผสมกับยาลม หรือเป็นส่วนผสมในน้ำจิ้มข้าว มันไก่
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
71
ขิง - ข่า
Amomum uliginosum König in Retz. : คลำวางเล็ก, เร่ว ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
พบได้ค่อนข้างง่าย มักขึ้นเป็นดงขนาดใหญ่ อาจมากกว่า 100 ตารางเมตร พบตาม แนวห่างจากลำธารเล็กน้อย หรือพื้นที่เปิดโล่งทั่วไปตามหน่วยพิทักษ์ฯ ต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ดอกออกจากเหง้าด้านข้างลำต้น ผลสุกเต็มที่ใน เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ผลสุกสามารถรับประทานได้
72
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
Boesenbergia basispicata K. Larsen ex Sirirugsa : กระชายเขาหลวง ชื่อสามัญ – วงศ์ Zingiberaceae
เป็นพืชเฉพาะถิ่น หายาก พบได้ที่เทือกเขาหลวงฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะที่น้ำตก กรุงชิง หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลขและคลองกลาย ส่วนมากจะพบตามแนวลำธารเล็กๆ หรือที่ ชุ่มชื้น ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เจริญเป็นกอขนาดเล็ก 2–4 ต้น สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่แทงออกมาทางด้านข้างของต้น เหง้าและต้นนิยมนำไป ดองเหล้า ดื่มบำรุงกำลัง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
73
ขิง - ข่า
Curcuma aurantiaca van Zijp. : เพชรทักษิณ ชื่อสามัญ – วงศ์ Zingiberaceae
มีลักษณะคล้ายขมิ้นและกระเจียว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน หลังใบมีขนอ่อนนุ่ม พบได้ยาก มาก สามารถพบได้ในพื้นที่โล่งชื้น ใกล้หน่วยพิทักษ์ฯ คลองกลาย ดอกสีเหลืองส้มออก ตรงปลายยอด ปลายช่อดอกมีริ้วประดับสีชมพูอ่อน นิยมนำไปตกแต่งและปลูกเป็นไม้ ประดับ ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
74
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
ภาพ : สมพร ขวัญหีด
Curcuma rubescens Roxb. : ขมิ้นกาบแดง, ว่านมหาเมฆ ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
มีลักษณะคล้ายขมิ้นและกระเจียว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน พบได้ง่ายในพื้นที่โล่งชื้นทั่วไป ใกล้หน่วยพิทักษ์ฯ คลองกันและคลองกลาย ดอกสีเหลืองออกทางด้านข้างของต้น ปลาย ช่อดอกมีริ้วประดับสีชมพู ก้านใบและเส้นกลางใบมีสีแดงเลือดหมู นิยมนำไปตกแต่งและ ปลูกเป็นไม้ประดับ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
75
ขิง - ข่า
Etlingera elatior (Jack) R. M. Smith : ดาหลา ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
ขึ้นเป็นกอหนาแน่น สามารถพบได้ตามพื้นที่เปิดโล่ง ที่หน่วยพิทักษ์ฯ คลองกัน พบ ได้ยากมีจำนวนน้อย ออกดอกตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากช่วงเดือนพฤษภาคมถึง กรกฎาคม ดอกออกมาจากเหง้าด้านข้าง มีก้านดอกยาว ช่อดอกนิยมนำไปประดับตกแต่ง และปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงน้ำพริกหรือผสมใน ข้าวยำ และทำเป็นน้ำดอกดาหลา
76
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
ภาพ : สมพร ขวัญหีด
Etlingera fulgens (Ridl.) C. K. Lim : ดาหลาปากนกแก้ว ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
มีลักษณะต้นคล้ายดาหลาทั่วไป แต่จะขึ้นเป็นกอไม่หนาแน่นมากนัก พบได้ค่อน ข้างยาก มีจำนวนน้อย สามารถพบได้ในพื้นที่ชุ่มชื้นตามริมลำธาร ในเส้นทางของหน่วย พิทักษ์ฯ ห้วยเลขและคลองกัน ดอกออกมาจากเหง้าด้านข้าง มีก้านดอกยาว ออกดอกใน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ผลสุกเต็มที่ในเดือนสิงหาคม ดอกอ่อนนิยมนำมารับ ประทานเป็นผักเคียงน้ำพริกหรือทานสด
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
77
ขิง - ข่า
Kaempferia pulchra Ridl. : เปราะป่า ชื่อสามัญ – วงศ์ Zingiberaceae
พบขึ้นเป็นกลุ่มกอเตี้ยๆ 2–10 ต้น เป็นจำนวนมากตามแนวซอกหินปูนข้างลำธาร ที่ หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยแก้ว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม หน้าแล้งจะพักตัว
ทิ้งใบ สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี ดอกออกมาจากด้านยอดเป็นช่อบานครั้งละ 1–2 ดอก ใบมีลายสวยงาม
78
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
Zingiber ottensii Val. : ไพล, ไพลดำ ชื่อสามัญ – วงศ์ Zingiberaceae
ขึ้นเป็นกอขนาดกลาง 5–10 ต้น สูงได้ถึง 1.5 เมตร พบได้ง่ายส่วนมากจะพบตาม พื้นที่รกร้าง โล่งและชื้น ตามหน่วยพิทักษ์ฯ ทั่วไป อาจมีการปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน เรือน ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ดอกออกมาจากเหง้าด้านข้าง เหง้านำไป ทำเป็นยาสมุนไพร ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
79
กล้วยไม้
Apostasia nuda R.Brown : ตานโมย ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
เป็นกล้วยไม้ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของดอกค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ กล้วยไม้ชนิดอื่น เช่น ยังมีเกสรเพศผู้ 3 อัน ในขณะที่กล้วยไม้ส่วนใหญ่เกสรเพศผู้ลดรูป เหลือเพียง 1 อัน หรือลักษณะของกลีบปากที่ไม่เด่นชัดเหมือนกล้วยไม้อื่นๆ ในอุทยาน แห่งชาติเขานันพบตานโมยเป็นจำนวนมากตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ และ เส้นทางขึ้นเขาบริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยแก้ว ขึ้นอยู่ในที่กึ่งร่ม เป็นไม้พื้นล่างในป่าดิบเขา ตอนล่าง อาจพบในป่าดิบเขาที่ระดับต่ำไปจนถึงที่ความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล กล้ ว ยไม้ ด ิ น ชนิ ดนี้ต้นสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ใบคล้ายใบหญ้ากว้าง 7 มิลลิเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ดอกสีขาวนวลแกมเหลืองอ่อนหรือสีเหลือง ออกดอก เป็นช่อ โค้งห้อยลง ดอกขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีดอกใน ช่อ 15-20 ดอก ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม
80
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Arachnis flosaeris (L.) Rchb.f. : เอื้องแมงมุม, เอื้องแมลงปอ ชื่อสามัญ Scorpion Orchid, Spider Orchid วงศ์ Orchidaceae
ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบเอื้องแมงมุมเพียงครั้งเดียวทอดเลื้อยอยู่บนก้อนหินริม น้ำตกคลองยอดน้ำ บริเวณที่โล่งแจ้งแสงแดดจัด และเลื้อยพันไปเกาะอยู่บนต้นไม้เป็นซุ้ม ใหญ่ เป็นกล้วยไม้ที่พบน้อยในสภาพธรรมชาติ มีการกระจายพันธุ์ในแถบคาบสมุทรมลายู ชวา สุมาตรา และบอร์เนียว และจัดอยู่ในภาวะถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เอื้องแมงมุมเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นอ้วนกลมทอดยาว ใบกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 17 เซนติเมตร ช่อดอกยาวได้ถึง 1.50 เมตร ดอกมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเรียวผอมยาว แผ่กางออกลักษณะ คล้ายขาแมงมุม สีเขียวอมเหลืองอ่อน มีลวดลายสีน้ำตาลอมม่วงเข้มตามขวางทั่วทั้งกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
81
กล้วยไม้
Bulbophyllum biflorum Teijsm. & Binnend. : สิงโตนาคราชแฝด ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
มีรายงานว่าเป็นกล้วยไม้หายากในแถบคาบสมุทรมลายู ประเทศไทยพบเฉพาะภาค ใต้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุงเท่านั้น สิงโตนาคราชแฝดจัดอยู่ในภาวะถูก คุกคาม มีการซื้อขายเป็นการค้าจำนวนมาก จึงถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อพรรณไม้ไซเตส (CITES) ซึ่งต้องมีการควบคุมดูแลในเรื่องการซื้อขายให้เป็นไปตามกฎระเบียบอย่าง เคร่งครัด เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ไปในอนาคตอันใกล้นี้ ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบกล้วยไม้ ชนิดนี้ขึ้นอยู่บนก้อนหินที่กึ่งร่ม ใกล้จุดชมวิวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ ปริมาณค่อนข้างน้อยมาก สิงโตนาคราชแฝดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นสี่เหลี่ยม สีเหลือง มีใบ 1 ใบ กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งขึ้น มีดอกย่อย 2 ดอก ดอกยาว ประมาณ 7 เซนติเมตร สีเหลืองอมน้ำตาล มีจุดประสีม่วงกระจายทั่วไป ออกดอกช่วง เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม
82
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
ก้างปลา
ตานเสี้ยนไม้
Dendrobium indivisum (Blume) Miq. : ตานเสี้ยนไม้, ก้างปลา ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
ในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขานั น พบกล้ ว ยไม้ ช นิ ด นี ้ 2 พั น ธุ ์ (variety) คื อ var. indivisum (ตานเสี้ยนไม้) มีกลีบดอกกว้างประมาณ 1-1.2 มิลลิเมตร และมีขีดสีม่วงที่ กลีบดอก กระจายพันธุ์มาจากพม่า พบได้ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของ ไทย ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งคือ var. pallidum (ก้างปลา) จะไม่มีขีดสีม่วงที่กลีบดอก และดอก ขนาดเล็กกว่า ทั้งสองพันธุ์นี้พบเป็นจำนวนมาก ขึ้นปะปนกัน เกาะอยู่เป็นกลุ่มตามต้นไม้ โดยเฉพาะในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ ตานเสี้ยนไม้และก้างปลาเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ใบเล็กแหลม กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร เรียงสลับซ้ายขวาสองข้าง ของลำต้น แบนเป็นระนาบเดียว ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ตามข้อ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว อ่อน หรือสีเหลืองอมเขียว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงกรกฎาคม
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
83
กล้วยไม้
Dendrobium lampongense J.J. Sm. : หวายลำปง ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบเพียงครั้งเดียวขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีแสงรำไรและมีมอสปกคลุม ริมลำธาร ทางไปน้ำตกวังเหมือง บริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยแก้ว และมีรายงานว่าเคยพบที่ทะเลบัน จังหวัดสตูล เป็นชนิดที่กำลังถูกคุกคาม อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ การพบหวาย ลำปงที่อุทยานแห่งชาติเขานันจึงเป็นถิ่นอาศัยตามธรรมชาติแหล่งใหม่ และน่าจะเป็นเขต การกระจายพันธุ์สูงสุดของกล้วยไม้ชนิดนี้ หวายลำปงเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นทอดยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร ใบเรียงสลับ สองข้ า งของลำต้ น กว้ า ง 2.5-3 เซนติ เ มตร ยาว 10 เซนติ เ มตร ช่ อ ดอกยาว 4-5 เซนติเมตร ออกตามข้อหลังจากที่ใบร่วงหมดแล้ว ในแต่ละช่อมีดอกย่อย 3-7 ดอก ดอก ค่อนข้างใหญ่ สีเหลืองอมเขียวอ่อน ด้านนอกของกลีบมีแต้มสีม่วง ออกดอกช่วงเดือน มกราคมถึงกุมภาพันธ์
84
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Didymoplexiella ornata (Ridl.) Garay : กล้วยส้ม ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบขึ้นอยู่บนอินทรีย์วัตถุหรือซากใบไม้ที่ทับถมกัน เจริญเติบโตได้ต้องอาศัยราซึ่ง อยู่ในรากเป็นแหล่งอาหาร กล้วยไม้ชนิดนี้พบน้อยมากเพียงครั้งเดียว ขึ้นอยู่บนดินที่มี ฮิวมัสและซากใบไม้ผุที่ร่มครึ้มและชื้นแฉะ ในบริเวณห้วยเลข-ป่าประ เนื่องจากเป็น กล้วยไม้ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และมีสีกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม จึงมักมองเห็นได้ ยากในสภาพธรรมชาติ กล้วยส้มเป็นกล้วยไม้กินซาก ไม่มีคลอโรฟิลล์ สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียวผอมสีน้ำตาลดำ ไม่มีใบ ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกเรียงชิดกัน ทยอยบานทีละ 1-2 ดอก ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอก สีขาวหม่นอมน้ำตาลอ่อน กลีบปากสีขาวแต้มสีชมพูหรือม่วงตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือน เมษายน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
85
กล้วยไม้
Dienia ophrydis (Koen.) Ormerod & Seidenf. : สิกุนคล ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
กล้วยไม้ชนิดนี้เดิมเป็นกล้วยไม้ที่พบได้ทั่วไป กระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่อินเดีย จีน พม่า ญี่ปุ่น อินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ประเทศไทยพบกล้วยไม้สิกุนคลในป่าดิบเกือบทั่วทุกภาค ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบขึ้น อยู่บนหิน บริเวณที่กึ่งร่ม ริมน้ำตก ตามเส้นทางคลองยอดน้ำ สิกุนคลเป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นอวบ สูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบ 5-7 ใบ เรียงเวียนซ้อนกัน มีแนวพับจีบตามยาว ช่อดอกยาว 15-25 เซนติเมตร เกิดที่ยอด ตั้งขึ้น ดอกสีม่วงเข้มอมน้ำตาล ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 6-7 มิลลิเมตร ทยอยบานจาก โคนไปยังปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
86
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Habenaria rhodocheila Hance : ปัดแดง, ลิ้นมังกร, สังหิน ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบขึ้นอยู่บนหินหรือตามซอกหินที่ชื้นแฉะ ค่อนข้างโล่ง ได้รับแสงเต็มที่ ในอุทยาน แห่งชาติเขานันพบเป็นจำนวนมากขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปตามลานหินและซอกหินบริเวณ น้ำตกหนานช่องฟ้า หากขึ้นเป็นกลุ่มกอและออกดอกพร้อมกันจะมองเห็นสีแดงสดตัดกับ
สีเขียวของใบสวยงามมาก ปัดแดงเป็นกล้วยไม้ดินขึ้นเป็นกอเตี้ยๆ สูง 20-30 เซนติเมตร ใบเรียวผอม สีเขียว อ่อน กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 5-8 เซนติเมตร มีดอก ย่อยประมาณ 10 ดอก ดอกสีแดงอมส้มสด เด่นสะดุดตา บางครั้งอาจพบดอกสีเหลือง หรือสีเหลืองอมส้ม ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
87
กล้วยไม้
Hetaeria oblongifolia (Blume) Blume : เอื้องใบมรกต ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบขึ้นอยู่บนหินที่มีฮิวมัสในที่ร่มครึ้มและชื้นที่ความสูงประมาณ 255 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล ที่เขาหินปูน บริเวณถ้ำหลวง ในหน่วยพิทักษ์ฯ คลองกลาย เป็นกล้วยไม้ที่มี การซื้อขายทางการค้ากันมาก จึงถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อพรรณไม้ไซเตส (CITES) ซึ่งต้อง ควบคุมดูแลการซื้อขายให้เป็นไปตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่มีการ ควบคุมอย่างจริงจังแล้วอาจจะสูญพันธุ์ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ เอื้องใบมรกตเป็นกล้วยไม้ดินสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ลำต้นทอดนอนแล้วชูช่อ ดอกตั้งขึ้น ใบรูปไข่ กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร จำนวน 6-9 ใบ ใบสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ช่อดอกประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกสีขาวอม เขียวอ่อน กลีบปากสีขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม
88
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Paphiopedilum niveum (Rchb.f.) Stein : รองเท้านารีขาว สตูล, รองเท้านารีดอกขาว ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
ถิ่นที่พบกล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูลเป็นครั้งแรกคือเกาะลังกาวี ในประเทศไทยมี รายงานพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา ตรัง และสตูล ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบกล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูลเพียงครั้งเดียวและแห่งเดียวใน ปริมาณน้อยมาก ขึ้นอยู่บนภูเขาหินปูนบริเวณถ้ำหลวง ที่ค่อนข้างเปิดโล่ง ในหน่วย พิทักษ์ฯ คลองกลาย เป็นกล้วยไม้ที่พบเห็นได้ยากในสภาพธรรมชาติ และอยู่ในภาวะถูก คุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง รองเท้านารีขาวสตูลเป็นกล้วยไม้ดินขึ้นเป็นกอเตี้ยๆ มีใบ 4-5 ใบ รูปแถบยาว 8-19 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร แผ่นใบมีลวดลายด่างสีเขียวแก่และสีเขียวอ่อน ช่อดอกมี 1-2 ดอกย่อย ยาว 6-25 เซนติเมตร ก้านช่อดอกสีม่วง ดอกสีขาวมีจุดประสีม่วง กระจายทั่วไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 6 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือน มิถุนายนถึงกันยายน เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
89
หอยทากบก
Tortulosa tortuosa (Chemnitz, 1795) :
หอยเกลียวเชือกฝาสปริง ชื่อสามัญ Tortulose snail วงศ์ Pupinidae
พบที่แนวหินปูนใกล้ๆ ถ้ำหลวงและถ้ำหลอด มักอาศัยอยู่โคนต้นไม้ หรือขอนไม้ผุ ขนาดใหญ่ กินซากต้นไม้เป็นอาหาร เปลือกมีสีน้ำตาลส้มจนถึงน้ำตาลเข้ม สูง 20-25 มิลลิเมตร กว้าง 5-8 มิลลิเมตร รูปทรงกระบอกยาวเรียว ส่วนยอดมนแหลม 6-7 ชั้น ตัว เต็มวัยส่วนของวงสุดท้ายจะแยกออกจากชั้นรองสุดท้ายทำให้มีลักษณะคล้ายท่อ ปาก เปลือกเป็นรูปวงกลม ที่มุมล่างซ้ายมีร่องขนาดเล็กสำหรับนำอากาศเข้าด้านใน ขอบปาก เปลือกหนาขึ้นเล็กน้อย ฝาปิดเปลือกเป็นสารพวกไคติน ลักษณะเป็นเกลียวบางๆ เรียง ซ้อนกันอย่างหลวมๆ ทำให้มีความยืดหยุ่นคล้ายกับสปริง ช่องใต้เปลือกด้านล่างหรือสะดือ เปิดเล็กน้อย
90
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
หอยทากบก
Rhiostoma chupingense Tomlin, 1938 : หอยงวงท่อชูปิง ชื่อสามัญ Chuping snorkel snail วงศ์ Cyclophoridae
พบอาศัยอยู่ตามซากใบไม้ทับถมในป่าเขาหินปูนใกล้กับน้ำตกคลองแก้ว กินเศษ ซากพืชเป็นอาหาร เปลือกเป็นทรงแบนส่วนยอดโค้งนูนเล็กน้อย สีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาล อ่อน บางครั้งพบว่ามีลายสีน้ำตาลเข้ม สะดือกว้างมาก เปลือกวงสุดท้ายมักจะแยกจาก ส่วนของเปลือกในชั้นรองสุดท้าย และโค้งบิดลงด้านล่าง เรียกว่า “งวง” เมื่อวัยอ่อนงวงจะ สั้นและไม่ยาวออก ปากเปลือกบาง เมื่อโตเต็มวัยงวงจะยื่นยาว ปากเปลือกมักจะหนาและ ซ้อนกันหลายชั้น ขอบปากเปลือกมีร่องรอยของท่ออากาศเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ฝา ปิดเปลือกเป็นสารหินปูนแข็งและหนารูปครึ่งวงกลม ผิวด้านนอกเป็นรอยควั่นแบบเกลียว สกรู
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
91
หอยทากบก
Sarika diadema (Dall, 1897) : หอยขัดเปลือกลายมงกุฎเหลือง ชื่อสามัญ Yellowish crown snail วงศ์ Ariophantidae
พบอาศัยตามผนังหินปูน ไม้ล้มลุกขนาดเล็กในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูง บริเวณถ้ำ หลวง ถ้ำหงส์ ถ้ำหลอด และถ้ำขุนคลัง เปลือกทรงกลมแบน บางใส เวียนขวา 6-7 ชั้น
สีน้ำตาลอ่อน ส่วนยอดอาจสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อโตเต็มวัยเปลือกกว้าง 15-25 มิลลิเมตร มีส่วนแมนเทิลยื่นยาวออกมาถูเปลือกตลอดเวลาจึงทำให้เปลือกมันเงา เปลือกด้านบน ลักษณะเป็นสันขนาดใหญ่ ร่องระหว่างสันแต่ละอันลึกและแคบ ร่องระหว่างชั้นเปลือกลึก และกว้าง ด้านล่างเปลือกมักจะเรียบ ปากเปลือกเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ขอบปากเปลือก บาง สะดือเปิดเป็นรูขนาดเล็กและลึก
92
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
หอยทากบก
Chloritis malayana (Möllendorff, 1887) : หอยขนมาลายู ชื่อสามัญ Malayan chlorite snail วงศ์ Camaenidae
พบอาศัยเกาะอยู่ตามใบไม้ ลำต้นหรือกิ่งไม้ บริเวณถ้ำหลวง ถ้ำหงส์ ถ้ำหลอด น้ำตกคลองแก้ว น้ำตกคลองกลาย เปลือกค่อนข้างแบนราบ ส่วนยอดอาจโค้งนูน มีการ เวียน 5-6 ชั้น เปลือกกว้าง 15-20 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อน เปลือกค่อนข้างใสทำให้เห็น ลายสีดำของเนื้อด้านใน เปลือกชั้นสุดท้ายมีสันโดยรอบชัดเจน ด้านบนเปลือกมีขนขนาด เล็กสั้นๆ ด้านล่างเปลือกมักจะโค้งนูนกว่าด้านบนและอาจไม่มีขน ปากเปลือกเป็นรูปครึ่ง วงกลมหักลงเล็กน้อย ขอบปากเปลือกมีสีขาวและบานออกชัดเจน สะดือเปิดกว้างและลึก รอบช่องสะดือเห็นเป็นสันชัดเจน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
93
หอยทากบก
Amphidromus atricallosus (Gould, 1844) : หอยนกขมิ้นใหญ่ ชื่อสามัญ Black-callus Amphidromus snail วงศ์ Camaenidae
พบเกาะอยู่ตามกิ่ง ลำต้น หรือใบ ของต้นไม้ทั่วไปในป่ารวมถึงสวนไม้ผลต่างๆ กิน พวกราและสาหร่ายที่เกาะอยู่ตามใบหรือลำต้น หอยสกุลนีไ้ ม่เป็นศัตรูพชื ในอุทยานแห่งชาติ เขานันพบที่ถ้ำหลวง ถ้ำหงส์ วัดถ้ำภูเขาเหล็ก เปลือกเป็นรูปกรวยทรงสูง ส่วนยอดแหลม พบทั้งแบบเวียนซ้ายและเวียนขวา ผิวเปลือกเรียบเป็นมัน สูง 45-60 มิลลิเมตร กว้าง 25-35 มิ ล ลิ เ มตร เปลื อ กมี ท ั ้ ง สี เ หลื อ งซึ ่ ง พบได้ ม ากที ่ สุ ด สี ข าว และสี น ้ ำ ตาลลาย พบน้อยมาก ปากเปลือกเป็นรูปวงรีจนถึงรูปไข่ เมื่อโตเต็มวัยขอบปากเปลือกจะพอกหนา และบานออกชัดเจน ปากเปลือกด้านที่ติดกับเปลือกชั้นรองสุดท้ายมักมีสีน้ำตาลเข้มหรือ สีดำ ส่วนเนื้อหอยมีสีขาว ข้างลำตัวมีแถบสีส้มจางๆ
94
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
หอยทากบก
Amphidromus xiengensis Morlet, 1891 : หอยนกขมิ้นน้อยท้องแดง ชื่อสามัญ Reddish-umbilicus Amphidromus snail วงศ์ Camaenidae
หอยชนิดนี้มีถิ่นอาศัยและการกินอาหารแบบเดียวกับหอยนกขมิ้นใหญ่ และมักพบ หอยทั้งสองชนิดนี้อาศัยอยู่บนต้นไม้เดียวกัน ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบที่ถ้ำหลวง ถ้ำหงส์ ถ้ำหลอด วัดถ้ำภูเขาเหล็ก เปลือกเป็นทรงกรวยสูง แต่มีขนาดย่อมกว่าหอยนก ขมิ้นใหญ่และเวียนซ้ายเสมอ จึงถูกแยกไว้ในสกุลย่อย Syndromus หรือหอยนกขมิ้น น้อย เปลือกบาง ยอดแหลมและมีจุดสีดำ ผิวเปลือกเรียบ มีสีพื้นเป็นสีเหลือง มักมี ลวดลายสีน้ำตาลวนรอบเปลือกอยู่ 5 แถบ สะดือแคบหรือมีขนาดเล็กมาก รอบๆ มักมี แถบสีแดงสดหรือซีด เมื่อโตเต็มวัยเปลือกสูง 20-25 มิลลิเมตร ปากเปลือกเป็นรูปไข่ ขอบ ปากเปลือกบานออกเล็กน้อยและมีสีขาว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
95
หอยทากบก
Rhachistia sp. : หอยต้นไม้ลายจุด ชื่อสามัญ - วงศ์ Cerastusidae
พบอาศัยอยู่ใต้ใบไม้และกิ่งไม้บริเวณถ้ำหลอด เปลือกบาง ทรงกรวย ส่วนยอด แหลมและมีจุดสีดำ เปลือกมีขนาดเล็กสูง 10-15 มิลลิเมตร เวียนขวาเสมอจำนวน 5-7 ชั้น
ผิวเปลือกเรียบ มีสีพื้นเป็นสีขาวหรือสีครีม มักมีจุดสีน้ำตาลเรียงเป็นแถวอยู่ส่วนบนของ เปลือก ด้านล่างเปลือกมักเป็นแถบสีดำ 2 แถบวนรอบสะดือ ปากเปลือกเป็นรูปไข่ เมื่อโต เต็มวัยขอบปากเปลือกบางและไม่บานออก สะดือเปิดเล็กน้อย เนื่องจากเปลือกเป็นทรง กรวยและมีขนาดเล็กอาจทำให้สับสนกับหอยนกขมิ้นน้อยได้
96
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
หอยทากบก
Dyakia salangana (Martens, 1883) : หอยเวียนซ้ายถลาง ชื่อสามัญ Salanga left-handed snail วงศ์ Dyakiidae
พบที่น้ำตกสุนันทา ถ้ำหงส์ น้ำตกคลองแก้ว น้ำตกคลองกลาย มักอาศัยทั่วไปตาม ป่าที่มีความชื้นสูง อาจเป็นเขาหินปูนหรือที่อื่นๆ เปลือกเป็นทรงแบน เวียนซ้าย ส่วนยอด โค้งนูน เปลือกชั้นสุดท้ายมีขนาดใหญ่และมีสันที่สัมผัสได้โดยรอบ เปลือกกว้าง 40-60 มิลลิเมตร สูง 25-35 มิลลิเมตร หนาแข็ง มี 5-6 ชั้น สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง เปลือกเรียบ ไม่มีลาย ด้านบนเปลือกมักมีสีเข้มกว่าด้านล่าง ด้านข้างเปลือกมักมีแถบสีน้ำตาลเข้มวน รอบเปลือก ตัวเต็มวัยขอบปากเปลือกไม่บานออกแต่จะหนาขึ้นเล็กน้อย วัยอ่อนขอบปาก เปลือกจะบางและคม ปากเปลือกเป็นรูปรีหรือรูปไข่ สะดือเป็นหลุมลึกและแคบ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
97
หอยทากบก
Megaustenia siamensis (Haines, 1858) : หอยห่อเปลือกใหญ่สยาม ชื่อสามัญ Siamese Austen snail วงศ์ Helicarionidae
จัดเป็นพวกหอยทากลดเปลือกเนื่องจากเปลือกบางใสเพราะมีแคลเซียมเป็นองค์ ประกอบน้อย ส่วนมากพบอาศัยอยู่ตามป่าที่มีความชุ่มชื้น เกาะอยู่ใต้ใบไม้ขนาดใหญ่ เช่น กล้วยป่า กินซากใบไม้หรือกินใบไม้สดเป็นอาหารแต่ไม่เป็นศัตรูทางการเกษตร ในอุทยาน แห่งชาติเขานันพบที่น้ำตกสุนันทา ถ้ำหงส์ ถ้ำหลวง น้ำตกคลองแก้ว น้ำตกคลองกลาย โดยปกติหอยห่อเปลือกใหญ่สยามจะยื่นส่วนของแมนเทิลซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบางๆ ผิว ขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ จำนวนมากออกมาคลุมเปลือกจนมิด อาจทำให้ดูไม่ค่อยเหมือนหอย เท่าใดนัก แต่เมื่อหอยถูกรบกวนเนื้อเยื่อส่วนนี้สามารถหดเข้าในเปลือกได้ เปลือกเป็นรูป ไข่ เปลือกชั้นสุดท้ายมีขนาดใหญ่มาก ปากเปลือกกว้างมาก มีการเวียนน้อย 2-3 ชั้น เปลือกเรียบเป็นมันวาว สีน้ำตาลอมเหลืองจนถึงเข้ม ลำตัวหอยมีสีน้ำตาลเทาเหลืองหรือ อาจมีจุดสีดำขาวกระจายทั่วตัว
98
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
หอยทากบก
Discartemon roebeleni (Möllendorff, 1894) : หอยนักล่าเปลือกรูปโดม ชื่อสามัญ Roebelen’s Streptaxid snail วงศ์ Streptaxidae
มักพบอาศัยตามเขาหินปูนเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะเป็นหอยขนาดเล็ก แต่จัดเป็นสัตว์ ผู้ล่า โดยกินหอยชนิดอื่นเป็นอาหาร ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบที่ถ้ำหงส์ ถ้ำหลวง ถ้ำขุน คลัง และถ้ำหลอด เปลือกมีขนาดเล็กรูปโดมเตี้ย ส่วนยอดโค้งนูนเล็กน้อย เปลือกหนาใส แข็งแรง ผิวเปลือกด้านบนมีลายเป็นริ้วๆ ขนาดเล็กในแนวรัศมี ด้านล่างเปลือกมักจะเรียบ เมื่อโตเต็มวัยเปลือกสูง 4-7 มิลลิเมตร กว้าง 5-8 มิลลิเมตร ปากเปลือกเป็นรูปรี ขอบปาก เปลือกบานออกและหนาขึ้นเล็กน้อย ด้านในปากเปลือกมีฟันเปลือก 4-5 ฟัน อยู่ใน ตำแหน่งที่แตกต่างกัน สะดือค่อนข้างกว้างและลึก เนื่องจากเปลือกใสทำให้เห็นส่วนของ เนื้อสีเหลืองหรือสีส้มได้ชัดเจน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
99
มด
Acropyga acutiventris Roger, 1826 : มดหัวละม้ายท้ายใหญ่ ชื่อสามัญ - วงศ์ Formicidae
พบสร้างรังในดิน ขอนไม้ผุ ใต้ก้อนหินหรือขอนไม้ กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็กเป็น อาหาร ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบแพร่กระจายทั่วไปในพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เช่น ป่าประ มีขนาดค่อนข้างเล็ก ส่วนหัว ลำตัวและท้องสีส้ม ตารวมมีขนาดโต มีเอว 1 ปล้อง ส่วนท้องมีขนาดใกล้เคียงกับส่วนหัว มดงานมีรูปแบบเดียว
100
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มด
Anoplolepis gracilipes (Smith, 1857) : มดน้ำผึ้ง, มดน้ำหวาน ชื่อสามัญ - วงศ์ Formicidae
พบสร้างรังในดิน ขอนไม้ผุ ใต้ก้อนหินหรือขอนไม้ กินแมลง สัตว์ขนาดเล็กและน้ำ หวานเป็นอาหาร พบแพร่กระจายทั่วไปในทุกพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขานัน สามารถ เข้าไปอาศัยในอาคารบ้านเรือน ก่อให้เกิดความรำคาญกับมนุษย์ เป็นมดขนาดกลาง ส่วน หัวและลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนท้องสีดำ หนวดค่อนข้างยาว มีเอว 1 ปล้อง มดงานมีรูป แบบเดียว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
101
มด
Camponotus gigas (Latreille, 1802) : มดไม้ยักษ์, มดตะลานยักษ์ปักษ์ ใต้ ชื่อสามัญ Malasian giant ant วงศ์ Formicidae
เป็นมดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบสร้างรังในขอนไม้ผุ กินแมลงและสัตว์ ขนาดเล็กเป็นอาหาร มดงานมีขอบเขตการหาอาหารตั้งแต่บริเวณพื้นป่าจนถึงระดับไม้พื้น ล่างที่มีความสูงมากกว่า 1 เมตร ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบแพร่กระจายทั่วไปในพื้นที่ที่ มีความชื้นค่อนข้างสูง เช่น ป่าประ ประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานี และมีขอบเขตการแพร่กระจายไปถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย มดไม้ ยักษ์มีส่วนหัวและลำตัวสีดำ ส่วนท้องสีน้ำตาลแดง มีเอว 1 ปล้อง มดงานมีหลายรูปแบบ
102
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มด
Crematogaster sp.1 : มดก้นรูปหัวใจ, มดฮี้, มดสอด ชื่อสามัญ Valentine ant วงศ์ Formicidae
พบสร้างรังในรูกลวง กิ่งไม้ เปลือกไม้ ลำต้น และบนใบไม้ กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และน้ำหวานเป็นอาหาร มดงานมีขอบเขตการหาอาหารตั้งแต่บริเวณระดับไม้พื้นล่างที่มี ความสูงมากกว่า 1 เมตร จนถึงระดับเรือนยอดของต้นไม้ที่มีความสูงมากกว่า 10 เมตร พบแพร่กระจายทั่วไปในอุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นมดที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ส่วนหัวและ ท้องสีดำ ส่วนลำตัวสีน้ำตาลแดง มีเอว 2 ปล้อง ส่วนท้องเมื่อมองจากด้านบนมีรูปร่าง คล้ายหัวใจ มดงานมีหลายรูปแบบ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
103
มด
Polyrhachis (Myrmhopla) armata (Le Guillou, 1842) : มดหนามกระทิงดำ ชื่อสามัญ Spiny ant วงศ์ Formicidae
พบสร้างรังโดยนำเส้นใยที่สร้างจากตัวอ่อนมาเชื่อมต่อกับซากพืชเป็นองค์ประกอบ ของรัง มดงานมีขอบเขตการหาอาหารและสร้างรังได้ในหลากหลายพื้นที่ตั้งแต่บริเวณ พื้นป่า ในขอนไม้ผุ เปลือกไม้ จนถึงระดับเรือนยอดของต้นไม้ที่มีความสูงมากกว่า 10 เมตร กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และน้ำหวานเป็นอาหาร พบแพร่กระจายทั่วไปในทุกพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นมดขนาดกลาง ส่วนหัว ลำตัวสีดำ ส่วนท้องสีดำหรือน้ำตาล แดง ผิวลำตัวมีลักษณะเป็นหลุมหยาบ มีเอว 1 ปล้อง โดยเอวมีลักษณะเป็นหนามคล้าย เขาควาย มดงานมีรูปแบบเดียว
104
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มด
Tetraponera attenuata (Smith, 1877) : มดตะนอยดำใหญ่ ชื่อสามัญ Black tree ant วงศ์ Formicidae
พบสร้างรังในโพรงของต้นไม้ มดงานพบหาอาหารบริเวณลำต้นและใบไม้โดยกิน แมลง สัตว์ขนาดเล็ก และน้ำหวานเป็นอาหาร พบแพร่กระจายทั่วไปในอุทยานแห่งชาติเขา นัน มดชนิดนี้มีเหล็กในบริเวณส่วนปลายของท้อง สามารถต่อยทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เป็น มดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ส่วนหัว ลำตัวและท้องสีดำ มีเอว 2 ปล้อง โดยเอวมีลักษณะ ค่อนข้างยาว ตารวมมีขนาดใหญ่เป็นรูปวงรี มดงานมีรูปแบบเดียว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
105
ผีเสื้อกลางวัน
Choaspes subcaudatus crawfurdi (Distant, 1882) : ผีเสื้อหน้าเข็มยักษ์หางย้อย ชื่อสามัญ Lobe awlking วงศ์ Hesperiidae (ผีเสื้อบินเร็ว)
พบกระจายบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกหินท่อ และบริเวณสันเย็น พบได้ ไม่บ่อยนัก บินเร็วและแข็งแรงมาก มักพบเกาะตามพุ่มไม้ระดับต่ำในช่วงบ่าย อาศัยอยู่ใน ป่าดิบชื้นด้านล่างและกระจายขึ้นไปถึงป่าดิบเขาระดับต่ำ มีถิ่นการกระจายทางตอนใต้ของ พม่า ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ บอร์เนียว และเกาะสุมาตรา พบกระจายทั่วประเทศไทย ผีเสื้อหน้าเข็มยักษ์หางย้อยเป็นผีเสื้อบินเร็วขนาดใหญ่ ความกว้างของปีกประมาณ 4.5-5.5 เซนติเมตร ส่วนหัวด้านล่างมีสีเหลือง ด้านบนปกคลุมด้วยขนสีเขียวขี้ม้า ท้องมี ลายขวางสลับดำขาว ส่วนใต้ท้องมีขนสีเหลืองขึ้นกระจาย ปีกสีเขียวขี้ม้า มุมปลายปีกของ ปีกคู่หลังมีสีเหลืองอมส้ม และมีจุดสีดำแต้มอยู่
106
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางวัน
ภาพ : ชิน นาสำราญ
Losaria neptunus manasukkiti (Cotton, Racheli & Sukhumalind, 2005) : ผีเสื้อหางตุ้มก้นเหลือง ชื่อสามัญ Yellow-bodied clubtail วงศ์ Papilionidae (ผีเสื้อหางติ่ง)
พบกระจายในเส้นทางศึกษาธรรมชาติบวั แฉก น้ำตกสุนนั ทา และบริเวณน้ำตกหินท่อ มักพบบินและลงเกาะดูดกินน้ำหวานของดอกไม้ป่าในช่วงสาย โดยเฉพาะบริเวณริมลำธาร และทางเดิ น ในป่ า ช่ ว งบ่ า ยมั ก เกาะพั ก ตามพุ ่ ม ไม้ ใ ต้ เ รื อ นยอดร่ ม ครึ ้ ม ของไม้ ใ หญ่ พื ช อาหารของตั ว หนอน คื อ ต้ น หู ห มี (Thottea parviflora Ridley) วงศ์ Aristolochiaceae มีถิ่นการกระจายในภาคใต้ของพม่าถึงคาบสมุทรมลายู เกาะลังกาวี เกาะสุมาตรา บอร์เนียว (กาลิมันตัน) และพาลาวัน ประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ ผีเสื้อหางตุ้มก้นเหลืองเป็นผีเสื้อขนาดกลาง ปีกเรียวแคบ พื้นปีกสีดำ มีเหลือบ สีเงินที่ปีกคู่หน้า ปีกคู่หลังเป็นติ่งยื่นยาวคล้ายหาง และมีแถบสีแดงสั้นๆ 3-4 แถบ ตรง บริเวณริมขอบปีกด้านในเข้าไปจนเกือบกลางปีก ลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ บริเวณปลาย ท้องมีสีเหลืองเกือบครึ่งหนึ่งของลำตัว เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
107
ผีเสื้อกลางวัน
ภาพ : ชิน นาสำราญ
Neorina lowii neophyta Fruhstorfer, 1911 : ผีเสื้อดำข้างขาว ชื่อสามัญ Malayan owl วงศ์ Nymphalidae (ผีเสื้อขาหน้าพู่)
พบกระจายบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉก น้ำตกสุนันทา น้ำตกหินท่อ น้ำตกกรุงนาง และป่าประ มักพบเกาะบนใบไม้บริเวณข้างลำธารและใกล้น้ำตกในช่วงเช้า จนถึงบ่าย บางครั้งพบบินอยู่ตามที่โล่งและชายป่า ลงโป่งทรายที่ชื้นแฉะข้างลำธารและลง กินผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน บินไม่เร็วนักและมักอยู่ประจำที่ มีถิ่นการกระจายใน ภาคใต้ของประเทศไทย คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และพาลาวัน ผีเสื้อดำข้างขาวเป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ ความกว้างของปีกประมาณ 9-10 เซนติเมตร พื้นปีกสีดำ และมีแถบสีขาวบริเวณขอบปีกด้านข้าง มีจุดตาสีดำบริเวณใกล้มุมปีกของปีกคู่ หน้า 1 คู่และปีกคู่หลังอีก 1 คู่ และที่มุมปลายปีกคู่หลังจะยื่นแหลมออกไปคล้ายหางสั้นๆ
108
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางวัน
ภาพ : ชิน นาสำราญ
Odina hieroglyphica ortygia de Niceville, 1896 : ผีเสื้อลายตาราง ชื่อสามัญ Zigzag flat วงศ์ Hesperiidae (ผีเสื้อบินเร็ว)
พบกระจายบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกสุนันทา ออกบินในช่วงเช้าที่เริ่มมี แสงแดด และมักเกาะผึ่งปีกอาบแดดบนใบไม้ ช่วงบ่ายจะเกาะหลบตามใต้ใบไม้และพุ่มไม้ ตามทางเดินในป่า อาหารของผีเสื้อชนิดนี้ได้แก่ มูลสัตว์โดยเฉพาะมูลของนกป่าที่ถ่ายทิ้งไว้ บนใบไม้ ซากสัตว์ที่ตายและมีกลิ่นแรง มีถิ่นการกระจาย แคว้นอัสสัม พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาะสุลาเวสี ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคตะวันตกและภาคใต้ ผีเสื้อลายตารางเป็นผีเสื้อขนาดเล็ก ความกว้างของปีกประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ลำตัวหนาสีเหลือง ปีกคู่หน้าแคบกว่าปีกคู่หลัง มีเส้นสีดำพาดบนพื้นปีกสีเหลืองตัดกันเป็น รูปสี่เหลี่ยมลายตาราง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
109
ผีเสื้อกลางวัน
ภาพ : วีรวุฒิ กระจ่างเย่า
Troides (Troides) helena cerberus (C. & R. Felder, 1865) : ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ชื่อสามัญ Common birdwing วงศ์ Papilionidae (ผีเสื้อหางติ่ง)
พบตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติบัวแฉก น้ำตกสุนันทา และบริเวณน้ำตกหินท่อ บินอยู่ระดับสูงตามเรือนยอดไม้ ลงมาตอมดอกไม้เพื่อกินน้ำหวานหรือเกาะพักในบางเวลา เนื่องจากมีขนาดใหญ่และสีสันสวยงามจึงเป็นที่ต้องการของนักสะสมผีเสื้อ ถูกจัดเป็น แมลงคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เพื่อป้องกันการ สูญพันธุ์ มีถิ่นการกระจายทางตอนใต้ของประเทศจีน ฮ่องกง เกาะอันดามัน เกาะสุมาตรา บอร์เนียว บาหลี ซุมบาวา ลอมบอค และสุลาเวสี พบกระจายทั่วประเทศไทย ผี เ สื ้ อ ถุ ง ทองป่ า สู ง เป็ น ผี เ สื ้ อ ขนาดใหญ่ ความกว้ า งของปี ก ประมาณ 14-17 เซนติเมตร ปีกคู่หน้าสีดำคล้ายกำมะหยี่ รอบเส้นปีกมีสีขาวเป็นเงา ปีกคู่หลังสีเหลืองและมี แถบสีดำที่ขอบปีกด้านข้าง ตัวเมียจะมีจุดสีดำกระจายอยู่ตามช่องว่างของเส้นปีกเพิ่มขึ้นมา
110
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางวัน
ภาพ : ชิน นาสำราญ
Zeuxidia aurelius aurelius (Cramer, 1777) : ผีเสื้อพระเสาร์ ใหญ่ ชื่อสามัญ Great saturn วงศ์ Nymphalidae (ผีเสื้อขาหน้าพู่)
พบกระจายในบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกหินท่อ อาศัยอยู่ในป่าดิบรกทึบ มีช่องว่างแสงแดดส่องผ่านเล็กน้อย พบบินในช่วงเช้ามืดและเย็น ส่วนตอนบ่ายมักจะเกาะ นิ่งๆ ตามใบไม้และกิ่งไม้ในป่า ถ้าตกใจจะบินหนีเข้าไปในบริเวณที่ต้นไม้ขึ้นหนาแน่นและ เกาะหลบอยู่ที่สูง ตัวเต็มวัยมักดูดกินน้ำหรือยางที่ไหลออกมาจากต้นไม้ และผลไม้สุกใกล้ เน่าที่ร่วงหล่นตามพื้นป่า พบที่มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และบอร์เนียว ประเทศไทยพบ เฉพาะภาคใต้ ผีเสื้อพระเสาร์ใหญ่เป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ ความกว้างของปีกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ปีกใหญ่กว้าง ทั้งสองเพศมีลักษณะแตกต่างกัน โดยตัวผู้จะมีแถบสีน้ำเงินคาด ขวางจากบริเวณเหนือโคนปีกไปถึงขอบปีกด้านนอกเป็บแถบกว้างบนพื้นปีกสีดำ ด้านใต้ ปีกสีขาวครีม มีจุดตาใหญ่สองจุดที่ปีกคู่หลัง ส่วนตัวเมียมีพื้นปีกสีน้ำตาล มีแถบและจุดสี ขาวบริเวณขอบปีกทั้งสองคู่ เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน 111
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Ancylis sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบแถบทแยง ชื่อสามัญ- วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Enarmoniini
ผีเสื้อชนิดนี้คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก พบจำนวนน้อย ในป่าดิบชื้นบริเวณที่ทำ การอุทยานฯ ที่ระดับความสูง 93 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วงเวลา 20.00-23.00 น. ใน เดือนมกราคมและเมษายน เก็บได้ 3 ตัวและเป็นตัวผู้ทั้งหมด จัดเป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 15.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลปนส้ม มี แถบหนาสีน้ำตาลเข้มทแยงจากโคนปีกด้านล่างถึงมุมปลายปีกด้านบน ปีกหลังสีน้ำตาล
112
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Andrioplecta sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบตาดำ ชื่อสามัญ- วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Grapholitini
ในประเทศไทยพบเพียง 5 ชนิด และชนิดนี้คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก เก็บ ตัวอย่างได้เพียงตัวเดียวและเป็นตัวผู้ ในป่าดิบชื้นหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ที่ระดับความสูง 207 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วงเวลา 02.00 น. ในเดือนมกราคม เป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 14.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลและ ค่อยๆ เข้มขึ้นทางปลายปีก ขอบปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สีดำเรียงกันและปลายปีกมีขีดยาวสี ดำและสีขาว กลางขอบปีกด้านล่างมีแถบหนาสีน้ำตาลดำ ปีกหลังสีดำยกเว้นทางโคนปีก
มีสีขาว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
113
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Apsidophora purpurorbis Diakonoff : ผีเสื้อหนอนม้วนใบแถบโค้ง ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Olethreutini
เป็นผีเสื้อหายากชนิดหนึ่ง ตามรายงานพบเฉพาะที่ระดับความสูงมากกว่า 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ที่อุทยานแห่งชาติเขานันพบในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูงเพียง 93 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณที่ทำการอุทยานฯ เวลาประมาณ 22.00 น. ในเดือน กุมภาพันธ์ เก็บตัวอย่างได้เพียง 1 ตัวและเป็นตัวเมีย จัดเป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจาก ปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 18.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาล ขอบปีกด้านบน มีขีดสีดำเล็กๆ เรียงกัน ปลายปีกมีแถบโค้งสีดำจากกึ่งกลางของขอบปีกด้านล่างค่อยๆ แคบไปยังขอบปีกด้านนอก ปีกหลังสีน้ำตาลอ่อน
114
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Cimeliomorpha egregiana Felder & Rogenhofer : ผีเสื้อหนอนม้วนใบขมิ้นดิ้นเงิน ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Enarmoniini
เป็นผีเสื้อหายากชนิดหนึ่ง ตามรายงานพบเฉพาะตัวเมียที่ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น และการสำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขานันครั้งนี้นับเป็นการพบตัวผู้เป็นครั้งแรกใน โลก โดยพบที่หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 207 เมตรจากระดับน้ำ ทะเล ในช่วงเวลา 20.00-21.00 น. เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม เก็บได้ ทั้งหมด 3 ตัว เป็นตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว จัดเป็นผีเสื้อขนาดกลาง มีสีสันฉูดฉาด วัด จากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 17.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีครึ่งทางโคนปีกเป็นสีเหลือง ครึ่งทางปลายปีกมีสีส้มแดงมีลายและจุดสีดำ ปีกหลังมีพื้นปีกสีส้มและมีแถบหนาสีดำ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
115
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Fibuloides sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบแผงขนดำ ชื่อสามัญ- วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Eucosmini
เป็นผีเสื้อชนิดใหม่ของโลกและอยู่ในระหว่างขั้นตอนการตั้งชื่อ พบในป่าดิบชื้น หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ที่ระดับความสูง 207 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วงเวลา 02.00 น. ในเดือนธันวาคม เก็บได้เพียง 1 ตัวและเป็นตัวผู้ เป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึง ปลายปีกประมาณ 15.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง ขอบปีกด้าน บนสีน้ำตาลเข้มและมีแถบขีดตามยาวสีดำจากกลางปีกถึงปลายปีก ปีกหลังสีน้ำตาลอ่อน ขอบปีกด้านล่างมีแผงขนสีดำใกล้โคนปีก
116
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Fibuloides sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบเขานัน ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Eucosmini
เป็นชนิดใหม่ของโลกและเตรียมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่อุทยานแห่งชาติเขานันว่า Fibuloides khaonanensis n.sp. พบในป่าดิบชื้นเส้นทางบัวแฉกใหญ่ ที่ระดับความสูง 375 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วงเวลา 19.00-24.00 น. ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เก็บได้ทั้งหมด 4 ตัว เป็นตัวผู้ทั้งหมด จัดเป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลาย ปีกประมาณ 14.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลอ่อน ขอบปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สี ดำเรียงกัน พื้นที่ 3 ใน 4 ทางโคนปีกมีแถบสีน้ำตาลดำ ปีกหลังสีขาวเหลืองปนเทา
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
117
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Grapholita sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบลายขีด ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Grapholitini
ผีเสื้อชนิดนี้คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก พบในป่าดิบชื้นหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ที่ระดับความสูง 210 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในช่วงเวลา 23.00 น. เดือนกุมภาพันธ์ เก็บ ได้ทั้งหมด 1 ตัวและเป็นตัวผู้ จัดเป็นผีเสื้อขนาดเล็ก วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 10.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลอ่อนทางด้านโคนปีก ส่วนปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม มีแถบสีดำพาดตามยาวบริเวณกลางปีก ขอบปีกด้านบนมีขีดยาวสีเหลืองอ่อนเรียงกัน 6 เส้น ขอบปีกด้านล่างมีขีดยาวสีเหลืองอ่อน 1-2 เส้น ปีกหลังสีน้ำตาล
118
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Grapholita sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบตาแมว ชื่อสามัญ- วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Grapholitini
พบในป่าดิบชื้นบริเวณที่ทำการอุทยานฯ และหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ที่ระดับความ สูง 90-210 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบได้ตลอดทั้งคืนในเดือนมกราคม สิงหาคม กันยายน และธันวาคม เก็บได้ทั้งหมด 7 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัวและตัวเมีย 4 ตัว ยังไม่ สามารถจำแนกชนิดได้ และคาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก เป็นผีเสื้อขนาดเล็ก วัดจาก ปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 8.5 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีดำยกเว้นทางด้านโคนปีก มีสีเทาเข้ม ขอบปีกด้านบนมีขีดยาวสีขาวถึงเหลืองอ่อนเรียงกัน 6 เส้น ขอบปีกด้านล่างมี ขีดยาวหนาสีเหลืองอ่อน 1-2 เส้น ปีกหลังสีดำ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
119
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Rhopobota sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบปีกสองสี ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Eucosmini
พบในป่าดิบชื้นหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข ที่ระดับความสูง 200-245 เมตรจากระดับ น้ำทะเล ในช่วงเวลา 19.00-03.00 น. พบได้เกือบตลอดทั้งปี เก็บได้ 8 ตัว เป็นตัวผู้ 5 ตัว และตัวเมีย 3 ตัว ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้ เพราะผีเสื้อในกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายคลึง กันมาก แต่ลายบนปีกมีเอกลักษณ์ที่สามารถใช้จำแนกในระดับสกุลได้ดี เป็นผีเสื้อขนาด เล็กถึงขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 10.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีสีแบ่ง เป็น 2 ส่วน ทางด้านบนมีสีน้ำตาลเหลืองบริเวณรอยต่อมีสีน้ำตาลเข้ม ทางขอบด้านล่างมีสี เขียวอ่อนปนน้ำตาล ปีกคู่หลังสีน้ำตาลเทา
120
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Sorolopha sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบโคนเขียว ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Olethreutini
พบในป่าดิบชื้นหน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข และคลองกลาย ที่ระดับความสูง 150-210 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม พฤศจิกายน และธันวาคม พบได้ตลอดทั้งคืน เก็บได้ 16 ตัว เป็นตัวผู้ 15 ตัวและตัวเมีย 1 ตัว เป็นผีเสื้อที่พบได้ บ่อย แต่ในสกุลนี้มีรูปร่างและสีสันคล้ายกันทำให้ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้ จัดเป็นผี เสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 12.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีสีเขียว ทางด้านโคนปีก ปลายปีกมีพื้นสีน้ำตาล มีแถบกว้างสีน้ำตาลแดงพาดทแยงขวางปีก ด้าน ปลายปีกมีจุดแต้มใหญ่สีน้ำตาลแดง ปีกคู่หลังสีน้ำตาลเทา
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
121
ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่
Actias maenas Doubleday : ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก ชื่อสามัญ Moon moth, Maenas silkmoth วงศ์ Saturniidae
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบเห็นได้แต่ไม่ชุกชุมมากนัก เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ ขนาดปีกกางเต็มที่ 12 – 15 เซนติเมตร สีเหลืองอมเขียว จุด เด่นคือ ที่ปีกคู่หน้ามีจุดตารูปเคียวสีน้ำตาลแดง และมีเส้นซิกแซกสีน้ำตาลระบายขวางปีก คู่หน้า ที่ปีกคู่หลังมีติ่งหางที่ยาวมาก ปลายติ่งแผ่แบนรูปธงสีเหลือง เพศผู้และเพศเมียมี ความแตกต่างกันทั้งขนาด รูปร่าง และสีสัน
122
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่
Lyssa zampa Butler : ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว ชื่อสามัญ Giant uranid moth, Long-tailed moth วงศ์ Uranidae
จัดเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกตามประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบชุกชุมมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติเขานัน โดยเข้า มาเล่นแสงไฟ สามารถพบได้ทั่วประเทศไทย จุดเด่นของผีเสื้อชนิดนี้คือมีเส้นสีขาวพาด ขวางกลางปีก และที่ปีกคู่หลังมีติ่งปีก 2 ติ่ง ที่ปลายติ่งมีสีขาว เพศเมียมีสีจางกว่าเพศผู้ รวมทั้งเส้นสีขาวที่พาดกลางปีกจะกว้างกว่าด้วย ปีกกางเต็มที่จะมีขนาด 11-13 เซนติเมตร สีเทาถึงน้ำตาล
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
123
ด้วง
Chalcosoma atlas (Linnaeus) : กว่างสามเขาเขาใหญ่, กว่างสามเขาแอตลาส ชื่อสามัญ Atlas dynastid วงศ์ Scalabaeidae
จัดเป็นสัตว์ห้ามนำเข้าหรือส่งออกตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ในอุทยานแห่งชาติเขานันพบที่หน่วยพิทักษ์ฯ ห้วยเลข เพศผู้เป็นด้วงที่มีขนาด ใหญ่ ลำตัวยาว 6.0 - 9.5 เซนติเมตร สีดำเป็นมัน มีเขาปลายแหลมยื่นยาวไปข้างหน้า 3 เขา โดยเขาที่อกชี้ไปข้างหน้าในแนวขนานลำตัว 1 คู่ และเขาที่หัวมีหนามแหลม 1 คู่ ค่อน ไปทางปลายเขา หรือเป็นเหมือนฟันเลื่อยที่ปลายเขา ซึ่งชี้ขึ้นมาระหว่างเขาทั้งสอง และยังมี เขาสั้นๆ ที่อกอีก 1 อัน
124
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ด้วง
Chalcosoma caucasus (Fabricius) : กว่างสามเขาจันท์, กว่างสามเขาคอเคซัส ชื่อสามัญ Caucasus dynastid วงศ์ Scalabaeidae
จัดเป็นสัตว์ห้ามนำเข้าหรือส่งออกตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เพศผู้มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลำตัวยาว 6.5-12.0 เซนติเมตร สีดำเป็น มัน มีเขาปลายแหลมยื่นยาวไปข้างหน้า 3 เขา โดยเขาที่อกชี้ไปข้างหน้าในแนวขนานลำตัว 1 คู่ และเขาที่หัวมีหนามแหลม 1 อันที่ประมาณกึ่งกลาง ชี้ขึ้นมาระหว่างเขาทั้งสอง นอกจากนี้ยังมีเขาสั้นๆ ที่อกอีก 1 อัน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
125
ด้วง
Mormolyce castelnaudi Deyrolle : ด้วงดินปีกแผ่นคาสเทล ชื่อสามัญ Violin beetle วงศ์ Carabidae
พบเล่นแสงไฟที่อุทยานแห่งชาติเขานันในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นรายงานการพบ ครั้งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (อยู่ในระหว่างปรับปรุง) เป็นด้วง ที่มีลำตัวแบนคล้ายใบไม้แห้ง สีน้ำตาลดำ ส่วนหัวยื่นยาวออกไปข้างหน้า 1.5-1.8 เซนติเมตร ตาโปน หนวดยาวเกือบเท่าลำตัว ส่วนปีกแผ่กว้างออกสีน้ำตาล มีร่องรอย ขรุขระทั่วปีก รูปร่างโดยรวมเหมือนไวโอลิน จุดเด่นของด้วงดินปีกแผ่น คือ รูปร่างอกเป็น รูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ขอบหยักเป็นหนามแหลมสั้นๆ ชี้ไปข้างหน้า
126
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ด้วง
Prosopocoilus (cladognathus) giraffa Oliver : ด้วงคีมยีราฟ ชื่อสามัญ Giraffe stag beetle วงศ์ Lucanidae
พบอาศัยตามพื้นดินในอุทยานแห่งชาติเขานัน นับเป็นด้วงขนาดใหญ่ที่มีความ ชุกชุมมากที่สุด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำตัวแบน สีดำเป็นมัน เพศผู้มีเขี้ยวยื่นยาวไปข้าง หน้า 1 คู่ ความยาวของเขี้ยวประมาณ 4.0 เซนติเมตร ปลายเขี้ยวโค้งงอเข้าหากัน และมี หนามแหลมหลายอัน ส่วนเพศเมียเล็กกว่าเพศผู้มาก และไม่มีเขี้ยวยาวอย่างเพศผู้
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
127
แมงมุม
Anepsion maritatum (Thorell) 1877 : แมงมุมใยกลมแบนอะเนปสัน ชื่อสามัญ Flat anepsion วงศ์ Araneidae
พบได้ทั่วไป สร้างใยตามพุ่มไม้เตี้ยๆ ไม่ชอบแสงแดด ลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนท้อง ด้านบนจะแบนราบลักษณะคล้ายพิซซ่าและบางส่วนปกคลุมหัวและอก ด้านหน้าจะเชิด เหมือนพองออกเป็นที่ตั้งของตา 3 คู่ มีสีออกเหลืองหรือสีน้ำตาล ตัวเมียมีขนาด 4-5 มิลลิเมตร ตัวผู้มีขนาด 2 มิลลิเมตร
128
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
แมงมุม
Asceua spp. : แมงมุมดินแอสคัว ชื่อสามัญ - วงศ์ Zodariidae
เป็นแมงมุมที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่ม Zodariid ออกหากินในเวลากลางคืนตาม เศษซากใบไม้ พบได้ทั่วไป ตัวเมียขนาด 2-5 มิลลิเมตร ตัวผู้ขนาด 2-3 มิลลิเมตร ส่วนหัว และอกมีขนาดใหญ่และโค้งนูนเกือบกึ่งกลาง มีสีส้มเหลือง ด้านหน้ากลมมีดวงตา 4 คู่ เรียงเป็นรูปวงกลม ส่วนท้องเหมือนรูปไข่ มีสีเข้มมืด
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
129
แมงมุม
Colopea sp. : แมงมุมอกเปียกปูนเรียบ ชื่อสามัญ - วงศ์ Stenochilidae
พบได้ตามเศษซากใบไม้ ซากไม้ผุ ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ที่จุด ศึกษาป่าดงดิบ หัวอกมีสีแดงเป็นรูปเหลี่ยมคล้ายเพชร มีตา 4 คู่เรียงเป็นสองแถว มีสีดำ และสีขาวอย่างละ 2 คู่ ส่วนท้องกลมมีสีน้ำตาลไปจนถึงเหลือง ตัวเมียมีขนาด 3-8 มิลลิเมตร ตัวผู้ขนาด 3-5 มิลลิเมตร
130
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
แมงมุม
Cryptothele cf. sundaica (Thorell) 1890 : แมงมุมซ่อนหา ชื่อสามัญ Cryptic spider วงศ์ Cryptothilidae
เป็นแมงมุมที่พบเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบเพียงสกุลเดียว ใน อุทยานแห่งชาติเขานันพบได้ตลอดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามซากใบไม้ที่ ค่อนข้างลึกลงไปด้านล่างเหมือนหมกตัวอยู่ในโคลน เคลื่อนที่ช้า ส่วนหัวอกมีรูปร่างคล้าย ลูกแพร์ ด้านหน้าจะแคบมีตารวมเป็นกระจุก 4 คู่ ด้านท้องรูปร่างคล้ายกับส่วนหัวและอก แต่จะกว้างและยาวกว่า ตัวเมียมีขนาด 9-11 มิลลิเมตร ส่วนตัวผู้ไม่ทราบแน่ชัด มีสี น้ำตาล มีลักษณะเป็นขนรุงรังหยาบๆ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
131
แมงมุม
Gamasomorpha spp. : แมงมุมแคระท้องแผ่นแข็งใหญ่ ชื่อสามัญ - วงศ์ Oonopidae
พบอาศัยตามเศษซากใบไม้ หรือชั้นเรือนยอดสูงๆ ในป่าดงดิบ บริเวณเส้นทางเดิน ศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ มีขนาดเล็ก 1-3 มิลลิเมตร มีแผ่นแข็งปิดส่วนท้องด้านบนทั้ง แผ่นและด้านล่างเป็นแผ่นเล็กๆ สีน้ำตาลเหลือง ระหว่างแผ่นแข็งด้านบนและล่างเห็นท้อง สีขาวเหมือนเป็นสายเข็มขัด รูปร่างท้องกลม ส่วนหัวและอกมีสีตั้งแต่แดง ส้ม ไปจนถึง น้ำตาลเหลือง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ กึ่งกลางด้านบนจะนูนสูง ด้านหน้าแคบมีตาเรียงอยู่ 2 แถว 3 คู่ สีดำ
132
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
แมงมุม
Gasteracantha arcuata (Fabricius) 1793 : แมงมุมใยกลมเขายาวโค้ง ชื่อสามัญ Curved spiny spider วงศ์ Araneidae
แพร่กระจายค่อนข้างกว้าง สร้างใยในแนวดิ่งระหว่างกิ่งไม้ ส่วนท้องรูปร่างแบนและ หนา มีหนามอยู่ทางด้านท้ายโค้งยาว 1 คู่ เพื่อป้องกันอันตราย มีสีส้มไปจนถึงสีแดง มีจุด สีดำด้านบน หัวอกมีขนาดเล็กกลม ตัวเมียมีขนาด 10 มิลลิเมตร
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
133
แมงมุม
Herennia ornatissima (Doleschall) 1859 : แมงมุมท้องแบนลวดลาย ชื่อสามัญ Ornamental tree-trunk spider วงศ์ Tetrangathidae
พบได้ทั่วไปตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหรือบริเวณใกล้น้ำตกที่มีไม้ใหญ่ ตัว เมียมีขนาด 12-15 มิลลิเมตร ตัวผู้มีขนาด 5-6 มิลลิเมตร ส่วนหัวและอกแบนมีสีสันพราง ตาคล้ายกับพื้นหลังที่เป็นไม้ยืนต้น มีความกว้างมากกว่ายาว และส่วนท้องจะกว้างมาก โดยจะสร้างใยเหมือนถ้วยติดกับต้นไม้และอยู่กึ่งกลางของใย ตัวผู้จะอยู่ใกล้กับตัวเมีย มีสี แดงและอวัยวะสืบพันธุ์มีสีดำ
134
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
แมงมุม
Ischnothyreus sp. : แมงมุมแคระท้องแผ่นแข็งเล็ก ชื่อสามัญ - วงศ์ Oonopidae
พบตามเศษซากใบไม้และพุ่มไม้เตี้ยๆ ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ตัวผู้มีขนาด เล็กกว่าตัวเมีย คือ 1.5 และ 2.5 มิลลิเมตร แผ่นแข็งบริเวณท้องมีขนาดเล็กมากทางด้าน หน้า มีสีซีดเหมือนสีท้อง ส่วนหัวและอกจะสว่างกว่ารูปร่างเหมือน Gamasomorpha ตา รวมเป็นกระจุกด้านหน้าติดขอบ 3 คู่ มีสีน้ำตาลเหลือง ขอบมีสีเข้มกว่า
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
135
แมงมุม
Mallinella sp. : แมงมุมดินเมลาเนลลา ชื่อสามัญ - วงศ์ Zodariidae
พบได้ทั่วไปในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ออกหากินในเวลากลางคืน มีรายงานว่า กินปลวกเป็นอาหาร เป็นแมงมุมขนาดใหญ่และสีค่อนข้างดำ ตัวเมียขนาด 5-11 มิลลิเมตร ตัวผู้ขนาด 6-8 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายกับ Asceua ส่วนท้องมีสีดำออกม่วงเข้ม มีจุดขาว อย่างน้อย 3 คู่เรียงกันเหมือนรูปตัว V
136
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
แมงมุม
Moneta mirabilis (Bösenberg & Strand) 1906 : แมงมุมขาหวีตาแดง ชื่อสามัญ - วงศ์ Theridiidae
พบได้ทั่วไปตามพุ่มไม้เตี้ยๆ หรือกิ่งไม้ที่ไม่มีใบ กินมดเป็นอาหาร พบได้ทั่วไปตาม เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบัวแฉกใหญ่ เป็นแมงมุมขนาดเล็กเพียง 3-4 มิลลิเมตร สีสัน ออกน้ำตาลแดง ช่วงท้องมีสีขาวเหลื่อม บริเวณปลายท้องจะมีส่วนยื่นออกคล้ายยอดเจดีย์ ส่วนหัวและอกจะกลมโค้งยาวมากกว่ากว้าง ด้านหน้าแคบกว่าส่วนหลังมีดวงตา 4 คู่เรียง เป็นสองแถวมีสีแดง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
137
ปลาน้ำจืด
Amblypharyngodon chulabhorne : ปลาซิวเจ้าฟ้า, ปลาซิว ดอกแก้ว, ปลาซิวแคระ ชื่อสามัญ Chulabhorn rasbora วงศ์ Cyprinidae
ลำตัวเรียวและแบนข้างเหมือนปลาซิวทั่วไปแต่ส่วนหัวจะใหญ่และป้อมสั้นกว่าเล็ก น้อย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง พบตามแหล่งน้ำตื้น ในธรรมชาติมักลอยตัวอยู่ใกล้ผิวน้ำเพื่อ คอยดักจับแมลงและตัวอ่อนของแมลงกินเป็นอาหาร ลำตัวค่อนข้างโปร่งใสสีเหลืองอม น้ำตาล มีแถบสีทองและสีเทาจางๆ คาดขนานกลางลำตัวตามความยาวจากหลังเหงือกจรด โคนหาง มีดวงตาขนาดใหญ่ เหงือกและท้องสีเงินแวววาว ส่วนหัวด้านบนเป็นสีเหลืองทอง มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึกตรงกลาง ปลาตัวเมียท้องจะกลมและอูมเป่ง กว่าตัวผู้ ปลาตัวผู้รูปร่างจะเพรียวบางและเล็กกว่าตัวเมีย มีความว่องไวปราดเปรียว
138
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ปลาน้ำจืด
Dermogenys pusillus : ปลาเข็มหม้อ ชื่อสามัญ Freshwater halfbeak, Wrestling fish วงศ์ Hemiramphidae
รูปร่างเรียวยาวคอดคล้ายเข็มเย็บผ้า ออกลูกเป็นตัว ปลาเข็มหม้อจะพองตัวเข้าหา กัน อ้าปากงับกันและใช้กำลังปล้ำกัน จึงมีผู้ตั้งให้เป็น “ปลานักมวยปล้ำ” ลำตัวเกือบกลมมี ส่วนแบนตรงโคนหาง ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน หางแคบสีเหลือง ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อน ไปทางหาง ปากเป็นจะงอยแหลมยื่นยาวออกไปทางส่วนหน้าของส่วนหัวและมีปลาย ท้องสี ขาวเหลืองฟ้า
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
139
ปลาน้ำจืด
Neolissochilus stracheyi : ปลาพลวง, ปลามุง, ปลาจาด ชื่อสามัญ Brook carp วงศ์ Cyprinidae
อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ประมาณ 100 ตัว พบตามแหล่งน้ำเชิงภูเขา กิน สาหร่าย เมล็ดพืช แมลง พืช ลูกผลไม้ป่าที่ร่วงหล่นลงสู่แหล่งน้ำ ลำตัวยาว 60-150 เซนติเมตร ด้านข้างแบนและเรียวมีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ที่ปากบนขา กรรไกรบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูง มีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว ไปถึงสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง
140
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ปลาน้ำจืด
Puntius binotatus : ปลาตะเพียนน้ำตก ชื่อสามัญ Spotted barb วงศ์ Cyprinidae
เป็นปลาที่มีความว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้ กิน ตะไคร่น้ำเป็นอาหาร ปลาตัวผู้จะเพรียวบางและเล็กกว่าตัวเมีย ค่อนข้างรักสงบ มักจะ ก้าวร้าวและกัดทำร้ายปลาชนิดเดียวกันแต่ไม่รุนแรงนัก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงและว่ายน้ำ ตลอดเวลา มีจุดดำบริเวณกลางลำตัวโคนครีบหลัง และครีบก้น ครีบทุกครีบสีส้มแดง ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ปลายครีบหลังและครีบก้นเป็นแถบดำ ครึ่งตัวล่างเป็นสีเงินวาว ครึ่งตัวบนสีออกเขียวคล้ำ ปลายหางแฉกเว้า
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
141
ปลาน้ำจืด
Puntius partipentazona : ปลาเสือสุมาตรา, ปลาเสือข้างลาย ชื่อสามัญ Sumatran tiger barb วงศ์ Cyprinidae
กินอาหารได้แทบทุกชนิด เช่น ลูกกุ้ง ลูกน้ำ ลูกไร แมลง สาหร่าย แพลงก์ตอน และซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย มีลักษณะลำตัวป้อมแบนข้าง ข้างลำตัวมีสีเหลืองอ่อนและมี ลายพาดขวางอยู่ 5 แถบ 2 แถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่ 3 พาดผ่านโคน ครีบหลังและสันหลัง แถบที่ 4 พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ 5 พาดผ่านคู่ โคนหาง ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลือง ปากอยู่ด้านหน้า มีหนวดที่ริมฝีปากบน 1 คู่ เกล็ดมีขนาดเล็ก ปลาตัวผู้มีลักษณะแบนข้างมากกว่าตัวเมีย ปากและครีบจะมีสีแดงเข้ม ปลาตัวเมียมีลำตัวใหญ่และป้อมกว่า ปากและครีบสีไม่เข้ม
142
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ปลาน้ำจืด
Parambassis siamensis : ปลาแป้นแก้ว, ปลาข้าวเม่า ชื่อสามัญ Siamese glass fish วงศ์ Ambassidae
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง รักสงบ อาศัยอยู่บริเวณลำธารและ น้ำตก กินอาหารโดยใช้ริมฝีปากเล็มจำพวกจุลินทรีย์และแมลงน้ำที่อยู่บนผิวน้ำ ตัวใสหรือ ขาวคล้ายสีข้าวเม่า ครีบหลัง 2 อัน อันแรกมีก้านครีบแข็งมีหนามแหลมอยู่ 7 ก้าน อันที่ สองมีเฉพาะก้านฝอย ครีบก้นมีก้านครีบที่เป็นหนามแหลมอยู่ 3 ก้าน มีเกล็ดกลมบางใส และหลุดง่าย ลักษณะเนื้อโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน ตามลำตัวมีจุดสีดำอยู่ทั่วไป
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
143
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Aquixalus verrugosus : ปาดลายเลอะตะวันตก ชื่อสามัญ Boulenger’s treefrog วงศ์ Rhacophoridae
พบอาศัยในป่าดิบชื้นตามไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ขึ้นอยู่ริมลำธาร จัดเป็น ปาดขนาดกลาง ความยาววัดจากปลายปากถึงก้น 45-50 มิลลิเมตร หัวรูปสามเหลี่ยม ยาว กว่าด้านข้าง ปลายปากมีส่วนยื่นออกไปเป็นติ่งสั้นๆ แผ่นหูเห็นชัด ปลายนิ้วตีนแผ่ขยาย เป็นแผ่นใหญ่ ตีนหน้าและหลังมีพังผืดยึดระหว่างนิ้วไม่เต็มถึงปลายนิ้ว ขอบนอกของนิ้ว ตีนหลังมีชายครุยหยักแบบคลื่นไปถึงส้น เช่นเดียวกันกับขอบนอกของนิ้วตีนหน้าซึ่งยาว ไปถึงศอก นอกจากนี้ยังมีแผ่นติ่งเล็กๆ ที่ส้น และใต้ก้น ส่วนผิวหนังทั่วไปเรียบ ท้อง หยาบ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเทา ประด้วยแต้มเล็กๆ สีน้ำตาล ขามีลายพาด ต้นขาสีส้ม อมชมพู ใต้คางและอกสีออกครีมมีจุดใหญ่สีน้ำตาลกระจายอย่างหนาแน่นปานกลาง ท้องสีครีม
144
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Brachytarsophrys carinense : อึ่งกรายข้างแถบ ชื่อสามัญ Burmese horned toad ชื่ออื่น Megophrys carinensis วงศ์ Megophryidae
พบตามลำธารช่วงฤดูฝนในเดือนตุลาคม ลำตัวขนาดใหญ่ วัดจากปลายจมูกถึงก้น ยาวได้ถึง 150 มิลลิเมตร หัวด้านบนสีน้ำตาลอมเทา บริเวณขอบหลังสีน้ำตาลอ่อน บริเวณ ใต้ตาและด้านล่างตาเข้ม ขอบตาบนมีหนามแหลมแบนๆ ยื่นออกมา 3 อัน แผ่นหูมองไม่ เห็นจากภายนอก ใต้คางดำ อกแต้มด้วยสีเทา บริเวณท้องด้านใต้ของขาหน้าและหลังสี น้ำตาลขุ่น ฝ่าตีนหน้าและหลังสีคล้ำ ผิวหนังมีสันนูนพาดจากตามาที่เหนือซอกขาหน้า หลัง ค่อนข้างเรียบ แต่มีสันนูน โดยสันนูนคู่ที่ 1 พาดโค้งจากหัวมาที่ไหล่ และสันนูนคู่ที่ 2 พาด ยาวมาตามขอบหลัง และสันนูนคู่ที่ 3 ไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนอยู่เหนือซอกขาหลัง
ขาหน้าและหลังสั้น นิ้วตีนมีพังผืดขึงระหว่างนิ้วประมาณ 1 ใน 3 ด้านใต้ของข้อนิ้วไม่มีตุ่ม
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
145
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Ichthyophis suphachaii : เขียดงูศุภชัย ชื่อสามัญ Suphachai’s caecilian วงศ์ Ichthyophiidae
พบอาศัยทั่วไปในป่าดิบชื้น ปกติจะพบใต้ท่อนไม้ผุ หรือใต้กองใบไม้ผุที่ทับถมกัน อยู่ตามพื้นป่า โดยเฉพาะบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำ ในช่วงเวลาฝนตกอาจจะพบตัวออกมา บนผิวดินหรือบนถนน ลำตัวด้านบนสีออกม่วง ด้านท้องสีออกเทา ทางด้านข้างมีจุดสีครีม ใกล้กับมุมปาก 1 จุด และด้านข้างของคออีก 1 จุด เส้นยาวสีครีมเริ่มจากร่องที่ 3 บริเวณ คอยาวไปตามด้านข้างลำตัวโดยตลอด รอบตามีวงรอบแต่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีจุดสี ครีมที่บริเวณหนวด ท้ายทอย และก้น ที่ละ 1 จุด ตัวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
146
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Ingerophrynus parvus : คางคกแคระ ชื่อสามัญ Dwarf toad ชื่ออื่น Bufo parvus วงศ์ Bufonidae
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พบอาศัยอยู่ตามริมลำธารหรือแอ่งบนลานน้ำตกขนาดใหญ่ ตัวสีน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีเทาอ่อนหรือสีครีม ลำตัวป้อม สันกระดูกแข็งบนหัวเรียงตัว เป็นรูปวงเล็บ แผ่นหูเห็นชัด ปลายนิ้วตีนมนกลม ตีนหลังมีพังผืดขึงระหว่างนิ้วประมาณ 1 ใน 2 ผิวหนังขรุขระ มีตุ่มแหลม ด้านท้องมีตุ่มหยาบหนาแน่น ต่อมพิษใหญ่หลังแผ่นหูรูป กลมหรือใกล้จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวยาว 52 มิลลิเมตร
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
147
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Limnonectes blythii : กบทูด ชื่อสามัญ Blyth’s frog วงศ์ Dicroglossidae
พบอาศัยอยู่ตามลำธาร โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นวังลึก และมีตลิ่งด้านหนึ่งสูงชัน
ในฤดูฝนซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวและแรงมักจะพบตัวอยู่บนพื้นป่าในบริเวณใกล้เคียง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองแต่มีการล่าเพื่อบริโภคเป็นอาหาร เป็นกบขนาดใหญ่ วัดจากปลาย จมูกถึงก้นมีความยาวมากกว่า 100 มิลลิเมตร หัวใหญ่กว้าง ขากรรไกรล่างในเพศผู้มี โครงสร้างเป็นกระดูกเขี้ยวอยู่ที่ด้านหน้า 1 คู่ เรียกว่า odontoid ปลายนิ้วตีนแบนเล็ก น้อย ขยายออกเป็นแผ่นเล็กๆ ไม่ชัดเจน ตีนหลังมีพังผืดยึดระหว่างนิ้วเต็มถึงปลายนิ้ว ฝ่า ตีนไม่มีตุ่มที่ขอบด้านนอก ผิวของลำตัวด้านบนมีตุ่มเล็กๆ และสันนูนปกคลุม ครึ่งท้าย ของหนังตาบนปกคลุมด้วยตุ่มกลมเล็กๆ มีสันนูนที่เหนือแผ่นหูแต่ไม่มีสันนูนที่ขอบหลัง ผิวด้านท้องเรียบ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมแดงหรือเทา
148
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Microhyla butleri : อึ่งลายเลอะ ชื่อสามัญ Noisy frog วงศ์ Microhylidae
พบอาศัยตามพื้นป่าดงดิบที่มีการสะสมของซากอินทรีย์ ผสมพันธุ์และวางไข่ตาม แอ่งน้ำชั่วคราวในฤดูฝน เป็นอึ่งขนาดเล็ก ลำตัวยาว 22-26 มิลลิเมตร ปลายปากกลม แผ่นหูเห็นไม่ชัดเจน ปลายนิ้วตีนแบนออกเป็นแผ่นขนาดเล็ก ตีนหลังมีพังผืดระหว่างนิ้ว เห็นเพียงติ่งเล็กๆ ผิวหนังเรียบ หรืออาจมีต่อมแบนเล็กๆ ผิวเรียบอยู่บนหลังบ้าง ลำตัว ด้านบนสีเทา สีข้างและขาสีแดงอ่อน ลวดลายน้ำเต้าจีนบนหลังมีขอบหนาสีครีมหยักไปมา แบบคลื่น ขามีลายพาดตามขวาง ที่หน้ามีขีดขาวพาดขวางจากใต้ตามาที่โคนขาหน้า ท้องสี ขาว ใต้คางและอกมีแต้มสีน้ำตาลเข้ม
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
149
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Sylvirana cubitalis : กบหูดำ ชื่อสามัญ Dark-eared frog ชื่ออื่น Rana cubitalis วงศ์ Ranidae
พบอาศัยอยู่ตามริมลำธารในป่าดิบชื้นถึงป่าดิบเขา เป็นกบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความยาวทั้งตัว 75 มิลลิเมตร ปลายปากแหลมมน แผ่นหูเห็นชัด ปลายนิ้วตีนขยายออก เป็นแผ่น ตีนหลังมีพังผืดขึงระหว่างนิ้วประมาณ 4 ใน 5 ตุ่มฝ่าตีน 2 ตุ่ม ผิวหนังค่อนข้าง หยาบทางด้านเอวลงไป สันนูนที่ขอบหลังเห็นชัดเจน ท้องเรียบ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นจางๆ พาดเฉียงระหว่างสันนูนที่ขอบหลังทั้งสองข้าง ด้านข้างของหัวจากตาวนรอบ ปลายปากเป็นเส้นยาวสีดำ บริเวณแผ่นหูเป็นแต้มดำรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โคนขาหน้า ของตัวผู้มีต่อมใหญ่สีดำ
150
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Xenophrys aceras : อึ่งกรายหัวมน ชื่อสามัญ Malayan horned toad ชื่ออื่น Megophrys aceras วงศ์ Megophryidae
พบในลำธารที่สายน้ำขาดเป็นช่วงๆ และลำธารที่น้ำไหลตลอดปี ลำตัวสีน้ำตาลอม เขียวมะกอก มีลวดลายเป็นรูปสามเหลี่ยมหัวกลับขนาดใหญ่อยู่ระหว่างตา ใต้ตามีแถบ เฉียง ขาหน้าและหลังมีลายพาดขวาง ใต้คางสีน้ำตาลแดง ท้องสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มเป็น ลายหินอ่อนสีดำ ต่อมคู่ที่หน้าอกสีขาว หัวกว้าง ปลายปากตัดหรือมนน้อยๆ แผ่นหูเห็นได้ ชัดเจน ปลายนิ้วตีนมน ตีนหลังมีพังผืดเล็กมากไม่เกิน 1 ใน 4 ผิวหนังด้านบนเรียบหรือ อาจมีตุ่มยอดแหลมกระจายประปราย ตัวที่อายุมากจะพบแผ่นกระดูกแทรกอยู่ใต้หัวและ แผ่นหลังทางด้านหน้า ขอบตาบนมีหนาม 1 คู่ มีสันนูนที่เหนือแผ่นหูข้างละ 1 เส้น ขนาด ตัววัดจากปลายจมูกถึงก้น 50-88 มิลลิเมตร
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
151
สัตว์เลื้อยคลาน
Dogania subplana : ตะพาบแก้มแดง ชื่อสามัญ Malayan softshell วงศ์ Trionychidae
เป็นเต่าน้ำขนาดกลางและจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาใน ป่าดิบชื้น มีการล่าเพื่อบริโภคเป็นอาหาร ตะพาบแก้มแดงไม่มีกระดองแข็ง มีหนังหุ้มลำตัว ยาว 17-20 เซนติเมตร หัวโต ปลายจมูกยาวเป็นงวงสั้นๆ ด้านบนของกระดองสีเขียว มะกอกอมน้ำตาลหรือดำ มีเส้นดำตามแนวสันหลัง 1 เส้น ขนาบด้วยจุดกลมใหญ่สีดำ 2 คู่ จุดกลมนี้จะเลือนหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เหลือเพียงจุดเข้มๆ กระจายเต็มแผ่น กระดอง ท้องสีขาวหรือขาวอมเทา หัวและคอสีดำ ด้านข้างคอในวัยอ่อนเป็นปื้นยาวสีแดง และจะเลือนหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
152
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Cyclemys oldhami : เต่าใบไม้พม่า ชื่อสามัญ Oldham’s turtle วงศ์ Geoemydidae
เป็นเต่าขนาดกลาง พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาในป่าดิบชื้น กระดองแบนรูปไข่ ยาว 20 เซนติเมตร ขอบกระดองเป็นจักทางด้านท้ายๆ กระดองด้านบนสีน้ำตาลเข้มหรือ ดำอมเขียว กระดองท้องสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลอ่อนๆ มีเส้นรัศมีเข้ม ด้านข้างของคอมี แถบยาวสีเข้มพาดยาวผ่านหูและตาไปจรดกันที่ปลายจมูก
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
153
สัตว์เลื้อยคลาน
Cyrtodactylus brevipalmatus : ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด ชื่อสามัญ Short-webbed gecko วงศ์ Gekkonidae
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พบตามลำต้นของไม้ใหญ่และกิ่งไม้พุ่ม หากินเวลากลางคืน ขนาดความยาว วัดจากปลายปากถึงก้นประมาณ 60-70 มิลลิเมตร หางวัดจากก้นถึงปลาย หาง 65-75 มิลลิเมตร ตุ๊กแกชนิดนี้คล้ายกับจิ้งจกนิ้วยาวบางส่วน กล่าวคือไม่มีแผ่นยึด เกาะใต้นิ้วตีน (lamellae) รูม่านตารูปรีในแนวดิ่ง โคนนิ้วตีนมีแผ่นพังผืดเห็นเพียงติ่ง เล็กๆ หางยาว ขอบด้านข้างเรียงรายด้วยขนสั้นๆ เป็นชายครุย เวลาพักจะเห็นปลายหาง ขดเหมือนลานนาฬิกา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง บางครั้งอาจเห็น ลายพาดตามขวางจางๆ ด้านข้างของหัวมีเส้นสีน้ำตาลเข้มพาดผ่านตา หางมีลายพาดเป็น ปล้อง ท้องสีน้ำตาล
154
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Bronchocela cristatella : กิ้งก่าเขียวใต้ ชื่อสามัญ Green crested lizard ชื่ออื่น Calotes cristatellus วงศ์ Agamidae
พบอาศัยบนเรือนยอดไม้ใหญ่ หากินเวลากลางวัน กลางคืนพบนอนบนกิ่งไม้สูงห่าง จากพื้นดิน 5-10 เมตร ลำตัวแบนทางด้านข้าง มีแผงหนามยาวบนสันคอเชื่อมต่อกับแผง หนามที่สันหลัง หางยาวกว่าลำตัว 2-3 เท่าความยาววัดจากปลายปากถึงก้นประมาณ 110-120 มิลลิเมตร หางวัดจากก้นถึงปลายหาง 370-450 มิลลิเมตร มีเกล็ดที่สีข้าง ปลาย ชี้ไปทางด้านหลังและด้านล่าง ไม่มีรอยพับของหนังที่บริเวณไหล่ แผงหนามที่สันคอสูงกว่า แผงหนามบนหลัง ลำตัวด้านบนสีเขียวตลอด แผ่นหูดำ ท้องสีเขียวอมเหลือง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
155
สัตว์เลื้อยคลาน
Riopa herberti : จิ้งเหลนเรียวใต้ ชื่อสามัญ Herbert’s slender skink วงศ์ Scincidae
เป็นจิ้งเหลนขนาดกลาง พบอาศัยตามพื้นป่าดิบชื้น มักหลบซ่อนอยู่ใต้ขอนไม้ผุ ความยาววัดจากปลายปากถึงก้น 55-65 มิลลิเมตร หางยาว 70 มิลลิเมตร ขาสั้น ลำตัวยาว เกล็ดลำตัวส่วนใหญ่มีสัน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ขอบเกล็ดสีเข้ม ทำให้เห็นเป็นลายแบบ ตาข่าย ท้องสีน้ำตาลอ่อนหรือเหลือง
156
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Takydromus sexlineatus : กิ้งก่าน้อยหางยาว ชื่อสามัญ Long-tailed lizard วงศ์ Lacertidae
เป็นกิ้งก่าขนาดกลาง พบอาศัยตามป่าโปร่ง ยอดหญ้าและพื้นป่า วัดจากปลายปาก ถึงหาง 55 มิลลิเมตร จากก้นถึงปลายหาง 200 มิลลิเมตร หัวสีเขียวมะกอกเข้ม ลำตัวสี น้ำตาลอมเขียวแต่จางลงทางด้านข้างลำตัว มีเส้นดำแคบๆ 1 เส้นพาดยาวจากด้านหน้าของ ตาต่อเนื่องไปเหนือหูจนถึงระยะระหว่างคอและไหล่ ท้องสีขาวอมเขียว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
157
สัตว์เลื้อยคลาน
Varanus dumerilii : ตุ๊ดตู่, เห่าช้างขาว ชื่อสามัญ Dumeril’s monitor วงศ์ Varanidae
เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบอาศัยตามโพรงต้นไม้ หรือนอนเล่นตามแอ่งน้ำข้างลำธาร ในป่าดิบและเขาหินปูน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง อาจมีการลักลอบนำไปขายในตลาดสัตว์ เลี้ยง วัดจากปลายปากถึงก้น 500 มิลลิเมตร จากก้นถึงปลายหาง 750 มิลลิเมตร เกล็ด บนคอใหญ่กว่าเกล็ดบนหลัง รูปกลม ผิวเรียบ รูจมูกเฉียง อยู่ใกล้มาทางตามากกว่าปลาย ปาก 2 เท่า หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำตาลหรือดำอมน้ำตาล มีแถบพาดขวางสีครีมหรือ เหลือง 5 แถบ เป็นระเบียบมากบ้างน้อยบ้าง ด้านท้องมีลายพาดสีดำและจุดกลมสีเหลือง เรียงเป็นแถว วัยอ่อนบริเวณคอสีส้มสด
158
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Aplopeltura boa : งูกินทากหัวโหนก ชื่อสามัญ Blunt-headed tree snake วงศ์ Colubridae
เป็นงูขนาดเล็ก พบตามต้นไม้ ลำตัวแบนทางข้างมากกว่า ความยาวทั้งตัวประมาณ 75 เซนติเมตร ปลายปากสั้น หัวหนา เกล็ดท้ายทอยใหญ่ มี 2-3 เกล็ด เกล็ดรอบตัว 13 แถว ลำตัวด้านบนสีเทาอมน้ำตาล ประกอบด้วยลวดลายและแต้มสีเข้ม สีข้างต่ำลงมาทาง ด้านท้องประด้วยแต้มสีเข้มไม่เป็นระเบียบ ท้องสีเทา มีรอยด่างสีครีม หัวมีจุดสีขาวออก ครีม คลุมบริเวณแก้มไปถึงด้านหน้าของตา ปลายปากมีแต้มดำ ท้ายทอยมีจุดดำใหญ่
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
159
สัตว์เลื้อยคลาน
Boiga jaspedia : งูกระ ชื่อสามัญ Jasper cat snake วงศ์ Colubridae
พบหากินเวลากลางคืน ตามไม้พุ่มริมลำธาร มักเคลื่อนที่เข้าหาแสงไฟเวลาที่ส่องไฟ ไปพบ ความยาวทั้งตัว 1.5 เมตร ลำตัวสีน้ำตาลอมเขียวมะกอก มีแต้มหรือจุดดำเรียงเป็น แถวตามแนวสันหลังตลอดตัวขนาบด้วยบริเวณที่สีอ่อนกว่า ด้านข้างลำตัวมีจุดหรือแถบใน แนวดิ่งแตะกับจุดเล็กๆ สีครีมทางบริเวณที่ต่ำสุดของสีข้าง เรียงเป็นแนวยาวตลอดตัว บน หัวมีจุดดำขอบจางมากบ้างน้อยบ้าง แถบดำที่คอและขอบปากขาว ร่องเกล็ดขอบปากดำ เกล็ดตามตัวเรียบ ที่กึ่งกลางตัวมี 23 แถว หัวโต รูม่านตารีในแนวดิ่ง
160
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Bungarus candidus : งูทับสมิงคลา ชื่อสามัญ Blue krait วงศ์ Elapidae
เป็นงูพิษอันตราย มักพบริมลำธาร กินงูชนิดอื่นเป็นอาหาร งูวัยอ่อนกินเขียดงู ผู้ ป่วยที่ถูกงูพิษชนิดนี้กัดปัจจุบันมีเซรุ่มเฉพาะสำหรับการรักษา ผลิตโดยสถานเสาวภา สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ จัดเป็นงูขนาดใหญ่ ความยาวทั้งตัวประมาณ 1.3 เมตร สันหลัง คม หน้าตัดลำตัวรูปสามเหลี่ยม เกล็ดสันหลังใหญ่กว่าเกล็ดข้างเคียง หัวสีดำอมเทา ในวัย อ่อนจะมีลวดลายรูปบั้งสีจาง ลำตัวเป็นลายปล้องดำสลับขาว โดยปล้องดำลงไปไม่ถึงท้อง ลักษณะเป็นรูปอานม้า ส่วนบริเวณที่เป็นสีขาวจะมีเกล็ดสีดำแทรกอยู่ประปราย ท้องสีขาว งาช้าง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
161
สัตว์เลื้อยคลาน
Bungarus flaviceps : งูสามเหลี่ยมหัวแดง ชื่อสามัญ Red-headed krait วงศ์ Elapidae
เป็นงูพิษอันตรายขนาดใหญ่และหายาก มักพบริมลำธาร กินงูชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยเฉพาะงูน้ำ ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษชนิดนี้กัดปัจจุบันยังไม่มีเซรุ่มเฉพาะสำหรับการรักษา อาจ ใช้เซรุ่มสำหรับงูสามเหลี่ยมแทนกันได้ ความยาวทั้งตัวประมาณ 1.8 เมตร สันหลังคม หน้าตัดลำตัวรูปสามเหลี่ยม เกล็ดสันหลังใหญ่กว่าเกล็ดข้างเคียง ลำตัวสีดำ หัวและหาง แดง แนวสันหลังมีจุดสีแดงเรียงเป็นเส้นยาวโดยตลอด เช่นเดียวกับสีข้าง ท้องสีน้ำตาล
162
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Popeia fugatus : งูเขียวหางไหม้ท้องเขียวใต้ ชื่อสามัญ Southern green-bellied pitviper วงศ์ Crotalidae
งูพิษอันตรายขนาดกลาง ความยาวทั้งตัวประมาณ 70 เซนติเมตร หัวโต รูป สามเหลี่ยมค่อนข้างยาว ตาสีเขียวอมน้ำตาล เกล็ดบนหัวขนาดเล็ก เกล็ดตัวมีสัน กึ่งกลาง ตัวมีเกล็ด 21 แถว หัวสีเขียว ขอบปากบนสีเขียวอมเหลือง ลำตัวสีเขียว มีลายพาดสีคล้ำ ไม่ชัดเจน ตัวผู้มีลวดลายเป็นเส้นยาวสีแดงติดกับขอบบนของเกล็ดท้องตลอดสีข้าง ด้าน บนเป็นเส้นยาวสีขาวขนานกันไป ท้องสีเขียว หางสีเขียวอมเทา มีจุดใหญ่สีน้ำตาลแดงที่ ด้านข้างเรียงห่างกันโดยตลอด
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
163
สัตว์เลื้อยคลาน
Typhlops muelleri : งูดินใหญ่มลายู ชื่อสามัญ Mueller’s blind snake วงศ์ Typhlopidae
งูดินขนาดใหญ่ พบอาศัยอยู่ในขอนไม้ผุ ความยาวทั้งตัว 35.5 เซนติเมตร หางสั้น วัดจากรูก้นถึงปลายหางยาวเพียง 4 มิลลิเมตร ตัวสีดำโดยตลอดตัดกับสีขาวอมครีมของ สีข้างและท้องเป็นแนวตรง ปลายหางขาว ลักษณะคล้ายหนามแหลม เกล็ดรอบตัวมี 28 แถว
164
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Xenopeltis unicolor : งูแสงอาทิตย์ ชื่อสามัญ Sunbeam snake วงศ์ Xenopeltidae
พบอาศัยตามพื้นที่เกษตรกรรมและป่าดิบ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง หัวค่อนข้างแบน ลำตัวสีดำอมม่วงเป็นเงามันเหลือบสีรุ้ง คาง คอ และท้องสีขาว ขอบปากสีจางมีแต้มแบบ ลายเมฆสีน้ำตาลอ่อน เกล็ดรอบตัว 15 แถว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
165
166
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ภาคที่ 2 : ป่าเมฆ
เมฆหมอกลอยปกคลุมเขานัน ภาพ : ณภัทร กิตติพนังกุล เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
167
ป่าเมฆบนยอดสันเย็น ภาพ : ณภัทร กิตติพนังกุล
168
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
หลากชีวิต จิตวิญญาณ ที่ป่าเมฆ
หลากชีวิตจิตวิญญาณที่ป่าเมฆ ดั่งสวรรค์สรรเสกให้งามสม ทั้งสัตว์พืชหรีดหริ่งกริ่งระงม เมฆล้อลมไล้พฤกษาลดาวัลย์ ให้งามตางามใจในป่าเมฆ เป็นป่าเอกป่างามดุจความฝัน มวลชีวิตจิตรวมอยู่ร่วมกัน บอกแบ่งปันพื้นที่ไมตรีครอง กระจงจดชะมดจ้องร้องเรียกคู่ เม่นหมีหมูลิงค่างต่างสมสอง แมงผีเสื้อเหลืองสวยด้วยปีกทอง แมลงทับบินท่องล่องไปมา มองลงพื้นชื่นใจในพรรณพฤกษ์ มอสผนึกติดแน่นที่แผ่นผา เฟิร์นมีมากหลากชนิดสวยติดตา ต้นเพกาต้นประสวยด้วยสีแดง เมื่อประแตกแบกประพาขึ้นบ่า สิ่งมีค่ามากมายมิหน่ายแหนง จะคั่วต้มหรือดองของไม่แพง ประแสดงความเด่นได้เห็นงาม สวยเนินเขาขาวงามนามป่าเมฆ บนเขานันสรรค์เสกให้วาบหวาม ได้ไปเห็นเย็นตาสง่างาม สมนิยามป่าเมฆเอกไพรวัลย์ ภาพป่าเมฆจูงใจให้ใฝ่ถึง ยังซาบซึ้งในธรรมชาติที่วาดฝัน งามป่าเมฆเฉกแม้นแดนเทวัน จิตผูกพันมิอยากลาป่าเมฆเอย สืบพงศ์ ธรรมชาติ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
169
น้ำตกขนาดเล็กระหว่างเส้นทางสู่สันเย็น
170
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
“ป่าเมฆ” บทนำ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีการสร้างมา หากจะถามว่าใครเป็นผู้สร้าง คำตอบที่มักจะได้ยิน อยู่บ่อยคือพระเจ้าสร้าง รองลงมาคือธรรมชาติสร้างและเกิดขึ้นมาเอง สองคำตอบหลัง พิจารณาความหมายแล้วไปด้วยกัน เกิดขึ้นมาเองก็น่าจะหมายถึงธรรมชาติ ส่วนคำตอบว่า พระเจ้าสร้างก็จะมีคำถามตามมาว่า “พระเจ้า คือใคร อยู่ที่ไหน” ผู้ที่พยายามจะตอบ ตอบ ได้ว่าพระเจ้าคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และอยู่ในทุกที่ มีบางคนที่บอกพระเจ้าเป็นตัวตนและ มีชื่อด้วย ดังนั้น คำว่า “ธรรมชาติ” คำว่า “พระเจ้า” เมื่อไตร่ตรองและคิดต่อก็น่าจะลงที่ เดียวกัน คือ มีการสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาด้วยพลังอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น พลังแห่ง ธรรมชาติ แรกเริ่มก็คงเกิดจากการรวมตัวของสิ่งที่ลอยเคว้งคว้างอยู่กลายเป็นลูกกลมๆ ขนาดใหญ่ ต่อมาเกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น ด้วยความเหมาะสมของการรวมตัวต่างๆ เช่น น้ำ ภูเขา สัตว์และพืช เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ก็จะมีการวิวัฒนาการตามเวลาทั้งรูปร่างขนาด และพฤติกรรม โดยเฉพาะสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ประเภทมีลมหายใจ คนหรือมนุษย์ก็รวมอยู่ ในระบบนี้ด้วย ในที่สุดมีการหาคำมาเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดังกล่าวว่า ธรรมชาติ ส่วนใน ภาษาต่างประเทศออกเสียงเป็นอย่างอื่นแต่ก็หมายถึงอย่างเดียวกัน “ป่าเมฆ-เขานัน” เป็นหนึ่งในธรรมชาติในโลกนี้ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มาก ที่สุดแห่งหนึ่ง อยู่บนเขานันซึ่งมีพื้นที่รายรอบติดอำเภอท่าศาลา อำเภอสิชลและกิ่งอำเภอ นบพิตำ เขานันเป็นเขาแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่ชาวบ้านเข้าไปเก็บเกี่ยวอาหารและยารักษา โรคมาเป็ น เวลานานมากแล้วเหมือนกับเขาหลวงที่บางคนเรียกว่า “ศูนย์การค้าแห่ง ธรรมชาติ” นอกจากจะมีอาหารทางกายและช่วยเยียวยารักษากายแล้ว ศูนย์การค้า เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
171
ธรรมชาติแห่งนี้ยังเป็นที่รักษาใจคนได้ด้วย เพราะมีความงดงามของธรรมชาติและอากาศที่ สดใสบริสุทธิ์เหมาะกับการเจริญเติบโตของมวลธรรมชาติต่างๆ “ป่าเมฆ” แม้จะชื่อประหนึ่ง ว่าเป็นสถานที่มีเฉพาะเมฆอย่างที่เห็นในท้องฟ้าแต่ในความเป็นจริงมิใช่ ที่ป่าเมฆจะมีเมฆสวยงามและลอยครอบคลุมต้นไม้พืชพันธุ์นานาชนิดและแหล่ง สัตว์ที่อยู่สูงบนต้นไม้และอยู่ต่ำบนดินและใต้ดิน สิ่งมีชีวิตหรือธรรมชาติจำนวนมากมายนี้ อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลายาวนานแล้วและปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ บางอย่างมีประชากร ของตนมากกว่าประชากรของชนิดอื่น และดูเหมือนว่าจะรุกรานชนิดอื่นจนกระทั่งมีปริมาณ ลดน้อยลงไป สิ่งธรรมชาติบางอย่างอาจลดน้อยลงไปและหมดไปก็มีเหตุจากความไม่เข้ม แข็งพอ ถูกรุกรานจากชนิดอื่นหรือปรับตัวเข้ากับสภาพธรรมชาติของอากาศไม่ได้ บางอย่าง อาจถูกธรรมชาติที่เรียกว่า “คน” หรือ “มนุษย์” ไปทำให้หมดไปจากป่าเมฆอันอุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ ป่าเมฆมีความสวยงามเพราะมีเมฆสวยปกแผ่ไปในพื้นที่กว้างใหญ่บนเขานัน ต้นไม้ มีลักษณะเฉพาะถิ่นทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กเรียกชื่อต่างๆ กันไป พืชขนาด เล็กมีจำนวนมากมายนับร้อยพัน ตั้งแต่เฟิร์นลงไปจนกระทั่งถึงมอสและรา ต้องการดู พืชพันธุ์เกี่ยวกับต้นไม้และพืชขนาดต่างๆ ที่ป่าเมฆมีให้เห็นเปรียบเป็นบ้านพันธุ์ไม้ขนาด ใหญ่ในโลก บ้านแห่งนี้ไม่มีขายพันธุ์ไม้เพียงแต่ให้ผู้ที่ไปเห็นได้รับความอิ่มตาอิ่มใจและมี สุขภาพดีเท่านั้น ใครจะถอนหรือเก็บเกี่ยวอะไรออกไปโดยไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องถือว่าเป็น ผู้ทำลายความดีงามและทำลายธรรมชาติ ต้นไม้ทุกต้นพืชเล็กพืชน้อยทั้งหมดเป็นของทุก ท่าน คนไทยเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของมากที่สุด ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของรองลงมา ในฐานะของ คนในโลกที่เกิดขึ้นมาในฐานเดียวกัน นอกจากพืชพันธุ์ดังกล่าวแล้วสัตว์นานาชนิดก็น่าสนใจมาก มีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นทั้ง สัตว์ขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดกลาง สัตว์ขนาดเล็ก และสัตว์ขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่ เห็น สัตว์เหล่านี้อยู่รวมกันและอยู่ร่วมกับพืชภายในป่าเมฆอันงดงาม ด้วยความพอเหมาะ พอดีของสิ่งต่างๆ ที่เป็นปัจจัยของความเจริญของธรรมชาติเหล่านี้จึงทำให้หลากชีวิตหลาย ชีวีที่ป่าเมฆดำเนินไปอย่างไม่ชะงัก นักชีววิทยาบางคนกล่าวว่าชีวิตเคลื่อนที่จากที่อื่นก็มีที่ ป่าเมฆ เช่น มดบางชนิดนั่งเครื่องบิน นั่งรถมากับคนแล้วมาขยายพันธุ์ของตนที่นี่จนมีลูกมี หลานมากมาย นี่คือ ความหลากหลายทางชีวภาพที่ป่าเมฆ ความหลากหลายภายใน
172
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ประเทศก็มีอยู่แล้ว ความหลากหลายจากต่างประเทศก็เข้ามาผสมด้วยและมิใช่สัตว์เท่านั้น ที่เคลื่อนย้าย นักชีววิทยาที่ดำเนินการวิจัยยังได้คำตอบว่าพืชพันธุ์จากต่างประเทศก็เข้ามา อยู่ร่วมกับพืชพันธุ์ที่มีอยู่ที่ป่าเมฆที่มีอยู่เดิม ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) จึงน่าสนใจ “ป่าเมฆ” จึงเป็นความกลมกลืนของธรรมชาติทั้งที่มีลมหายใจและไม่มีลม หายใจ ส่วนที่ไม่มีลมหายใจ เช่น เมฆ ดิน หิน และขอนไม้ เป็นต้น ในความเป็นจริงไม่มี ลมหายใจแต่ผู้คนส่วนใหญ่มองภาพรวมของสรรพสิ่งแล้วว่ามีความเคลื่อนไหวจึงพูดกันว่า “ป่าเมฆมีลมหายใจ” บางคนกล่าวเป็นกลอนเกี่ยวกับป่าเมฆว่า “หลากชีวิตจิตวิญญาณที่ป่า เมฆ” ในขณะนี้บางคนที่รักและห่วงใยป่าเมฆเริ่มออกมาแสดงออกว่า อากาศนับวันจะร้อน ขึ้นทุกที “หลากชีวิตหลากจิตชีวี” ที่ป่าเมฆจะดำรงอยู่ได้หรือไม่ จึงพยายามจะหาคำตอบ เกี่ยวกับความร้อนที่เกิดขึ้นและพยายามหาทางแก้ไขเพื่อช่วยหลากชีวิตหลายชีวีที่ป่าเมฆ ขณะนี้การวิจัยเกี่ยวกับป่าเมฆด้วยทุนวิจัยของโครงการ BRT และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินไปพอสมควร ด้วยจุดประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ทางชีวภาพ และเอื้อไปถึงวัฒนธรรมด้วยเพราะพิจารณาเห็นว่าแท้จริงวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่อยู่กับคนและ คนเป็นผู้คิดทำขึ้นมา คนคือสิ่งมีชีวิตอยู่ในความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมจึงมี ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและ วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งในการศึกษาของคน และมีผลต่อความมั่นคงยั่งยืน ของป่าเมฆอันงดงาม สิ่งที่มีในหนังสือ “เขานัน-ป่าเมฆ” เล่มนี้คือสิ่งที่เป็นผลพวงของนัก วิจัยภายใต้การดูแลของโครงการ BRT ดังกล่าว มีสัตว์สวยงาม มีพืชพันธุ์สวยงาม และมี บรรยากาศที่สวยงามที่มีคนเข้าไปร่วมด้วย สิ่งเหล่านี้เกิดจากความพยายาม ความอดทน และสติปัญญาของนักวิจัยรุ่นใหญ่และรุ่นเล็กที่ทำงานกันอย่างจริงจังบางคนขึ้นไปนอนกับ มด สัตว์ และพืชในป่าเมฆที่สันเย็นข้ามวันข้ามคืน เพื่อความยั่งยืนของ “ป่าเมฆ” และ “หลากชีวิตจิตวิญญาณที่ป่าเมฆ” จะได้ ดำเนินต่อไป ทุกคนที่เป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทยจะต้องช่วยกันรักษาดูแลมิให้ใครเข้าไป ทำให้สิ่งที่มีอยู่ที่ป่าเมฆเดือดร้อนหรือได้รับอันตรายและช่วยกันใช้เครื่องปรับอากาศแบบ ต่างๆ ให้น้อยลง ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ป่าเมฆที่เขานันอยู่กับคนให้ความชุ่ม ชื้นและรักษาสุขภาพคนได้อีกนานแสนนานชั่วลูกชั่วหลานของพวกเรา เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
173
ป่าเมฆกับภาวะโลกร้อน ป่าเมฆคืออะไร
ป่าเมฆ (cloud forest) เป็นบริเวณพิเศษทางภูมิศาสตร์ที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิ ต่ำ ทำให้ไอน้ำมีการควบแน่นเป็นละอองตลอดวัน เมื่อมองจากที่ต่ำจะเห็นเป็นเมฆปกคลุม อั น เป็ น ที ่ ม าของชื ่ อ (Stadm ü ller, 1987) โดยปกติ ห ลายคนคิ ด ว่ า ป่ า เมฆ ต้องปรากฏบนภูเขาหรือเทือกเขาสูงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วป่าเมฆสามารถพบได้บนเขา บริเวณเส้นศูนย์สูตรที่มีความสูงเพียง 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น ป่าเมฆ (cloud forest) เป็นป่าที่มีลักษณะสังคมพืช ลักษณะของพืช สภาพภูมิ อากาศ และลักษณะดินที่พิเศษ (ตารางที่ 1) พืชที่พบบริเวณป่าเมฆจะมีลักษณะลำต้นเตี้ย แคระแกร็น มีการหงิกงอของกิ่งมากขึ้น ใบจะมีขนาดเล็กลง ใบแข็งและหนามากขึ้น เรียก ลักษณะใบแบบนี้ว่าใบแบบซีโรมอร์ฟิก (Xeromorphic leave) ทรงพุ่มของต้นไม้จะเตี้ย ลง (Whitmore, 1989) (ตารางที่ 1, ภาพที่ 1) นอกจากนี้บริเวณลำต้นและกิ่งของต้นไม้ที่ พบในป่าเมฆจะมีพืชอิงอาศัย (Epiphyte) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น (Foster, 2001) และ มักเป็นพืชเฉพาะถิ่น (León and Young, 1996) ดินที่ป่าเมฆจะมีความชื้นและปริมาณ อินทรีย์วัตถุสูง (Grubb, 1977; Kitayama, 1995; Bruijnzeel and Veneklaas, 1998; Werner, 1998) จากลักษณะอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงและมีอุณหภูมิต่ำ ทำให้เกิด สภาวะความสมดุลทางธรรมชาติมายาวนาน มีพรรณไม้นานาชนิด เป็นแหล่งกำเนิดของ ต้นน้ำลำธาร สภาพอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการทำลายพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นเหล่านี้ ซึ่งมีความ ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อน การศึ ก ษาสภาพอากาศ ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ย อุ ณ หภู ม ิ ความดั น บรรยากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณหมอก ปริมาณฝน และความเร็วลม ตามลักษณะความสัมพันธ์ ของปริมาณดังกล่าว จะเป็นพื้นฐานของการคาดคะเนสภาพของป่าเมฆในอนาคต รวมถึง การเปลี่ยนแปลงของพรรณไม้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเฉพาะถิ่นที่ไวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งอาจสูญหายไป และทำให้ระบบนิเวศของป่าเมฆเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิจัยและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติไว้ต่อไป
174
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ลักษณะภูมิอากาศ เมฆปกคลุมตลอดเวลา ความชื้นสัมพัทธ์สูง การแผ่รังสีตกกระทบต่อหน่วยพื้นที่ (Irradiance) ต่ำ ลักษณะพืช พืชอิงอาศัยปกคลุมหนาแน่น พืชแคระแกร็น ใบไม้มีขนาดเล็ก หนาและแข็ง พบพืชเฉพาะถิ่นสูง ผลผลิต ค่าผลผลิตปฐมภูมิสุทธิ (Net primary production, NPP) ต่ำ ดัชนีพื้นที่ใบ (Leaf Area Index, LAI) ต่ำ การดูดธาตุอาหาร กระบวนการหายใจต่ำ อัตราการสังเคราะห์แสงต่ำ ดินและซากใบไม้ ดินมีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง ดินเปียกชื้น ดินมีปริมาณโพลีฟีนอลสูงในซากใบไม้ร่วง สมดุลของน้ำ มีความชื้นอันเนื่องมาจากการกลั่นตัวของเมฆ ที่เรียกว่า Cloud stripping ปริมาณฝนตกชุก การสูญเสียน้ำจากดินโดยการระเหยและคายน้ำ (evapotranspiration) ต่ำและการระเหยของน้ำผิวดิน (evaporation) ต่ำ ตารางที่ 1 ลักษณะของป่าเมฆ เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
175
แถบการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ (Ecotones)
ในเขตร้อนชื้นเมื่อเดินขึ้นเขาจะพบป่าดงดิบเขาชื้นพื้นราบ (lowland rainforest LRF) สูงขึ้นเป็นป่าดงดิบเขาชื้นระดับล่าง (lower montane rainforest - LMRF) ต่อ เนื ่ อ งไปถึ ง ป่ า ดงดิ บ เขาชื ้ น ระดั บ สู ง Elfin Forest (upper montane rainforest - UMRF) Upper Cloud Forest ในส่ ว นของปริ ม าณเมฆปกคลุ ม Montane Rainforest พบว่า ป่าดงดิบเขาชื้นพื้นราบจะไม่มีเมฆ Cloud Forest Lowland ปกคลุม แต่บริเวณป่าดงดิบเขาชื้นระดับ Montane Rainforest ล่ า งจะมี เ มฆปกคลุ ม บ่ อ ย และมี เ มฆ ปกคลุมตลอดเวลาและเป็นระยะเวลานาน Lowland Rainforest ส่วนที่ป่าดงดิบเขาชื้นระดับสูง (ภาพที่ 1) ป่าเมฆจะเกิดขึ้นเป็นแถบแคบๆ และมัก ภาพที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของพืชตามระดับ ความสูงจากน้ำทะเล (Foster, 2001) อยู่บนสันเขาหรือยอดเขา ระดับความสูงจากน้ำทะเลที่พบป่าเมฆและลักษณะของป่าเมฆมีความแตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความชื้นในอากาศ ความเร็วและทิศทางลม ระยะห่าง จากทะเล เป็นต้น ถ้าเป็นพื้นที่ที่อยู่เข้ามาในแผ่นดินจะพบป่าเมฆที่ระดับความสูง 2,0003,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถ้าเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล สามารถพบป่าเมฆได้ที่ระดับ ความสูงต่ำประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น ที่ฮาวาย หรือป่าเมฆอาจเกิดขึ้น ที่ระดับความสูงต่ำมากเพียง 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น เช่น ที่ไมโครนีเซียและฟิจิ และเกาะสมุย ประเทศไทย
ลักษณะพืชที่ป่าเมฆ
เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ชนิดพืชจะเปลี่ยนจากพืชพื้นราบเป็นพืชที่พบบนภูเขา นอกจากชนิดพืชจะเปลี่ยนไปแล้ว ต้นไม้จะมีลักษณะลำต้นเตี้ย แคระ มีการหงิกงอของกิ่ง มากขึ้น ใบไม้จะมีขนาดเล็กลง ใบแข็งและหนามากขึ้น เรียกลักษณะใบแบบนี้ว่าใบแบบ ซีโรมอร์ฟิก (Xeromorphic leave) ทรงพุ่มของต้นไม้จะเตี้ยลงมีลักษณะคล้ายร่ม (Whitmore, 1989) (ภาพที่ 1) นอกจากนี้บริเวณลำต้นและกิ่งของต้นไม้บริเวณป่าเมฆจะมี
176
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
พืชอิงอาศัย (Epiphyte) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น (Foster, 2001) และมักเป็นพืชเฉพาะ ถิ่น (León and Young, 1996)
พืชอิงอาศัย
พืชอิงอาศัยมีความสำคัญและเป็นดัชนีชี้วัดของป่าเมฆ มักพบพืชอิงอาศัยสูงถึง 25% ของชนิดพืชที่พบในป่าเมฆทั้งหมด พืชอิงอาศัยที่พบในป่าเมฆนี้มักเป็นพืชเฉพาะถิ่น ที่พบเฉพาะในป่าเมฆเท่านั้น จึงมีส่วนสำคัญมากสำหรับป่าเมฆ โดยเฉพาะผลกระทบของ พืชอิงอาศัยต่อวัฏจักร 3 วัฏจักร ดังนี้ วัฏจักรแสงสว่าง (Light cycle) พบว่าดัชนีพื้นที่ใบ (Leaf Area Index, LAI) มี ค่าต่ำกว่า 20 ในป่าเขตร้อนชื้น แต่ดัชนีพื้นที่ใบอาจมีค่าสูงถึง 150 ถ้ามีพืชอิงอาศัย ปกคลุมกิ่งหนาแน่น ผลผลิตของพืชอิงอาศัยอาจมีค่าสูงกว่าพืชกลุ่มอื่นๆ วัฏจักรน้ำ (Water cycle) พืชอิงอาศัยจับน้ำที่เกิดจากความชื้นในอากาศ เมฆและ หมอกทำให้เกิดฝนในแนวขวาง (Horizontal precipitation) ประมาณ 5-20% ของ ปริมาณฝนที่ตกตลอดทั้งปี พืชอิงอาศัยสามารถสะสมน้ำไว้สูงถึง 50,000 ลิตร/แฮกแตร์ จึงเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับสัตว์ที่อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้ วัฏจักรธาตุอาหาร (Nutrient cycle) ประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของไนเตรท และธาตุ อาหารที่สำคัญจากป่ามาจากเมฆที่กลั่นตัวเป็นฝนเมื่อมากระทบกับพืชอิงอาศัย จะเห็นได้ว่าการมีพืชอิงอาศัยที่สุขภาพดี ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดวัฏจักรต่างๆ ในป่า เมฆ แต่ยังทำให้ระบบนิเวศป่าเมฆสมบูรณ์อีกด้วย ยิ่งกว่านั้นพืชอิงอาศัยยังเป็นเหมือน บ้านให้กับสัตว์หลากหลายชนิดในป่าเมฆ ตั้งแต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กบ นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ความสามารถในการอุ้มน้ำและเก็บสะสมน้ำของพืชอิงอาศัย ทำให้พืช อิงอาศัยทำหน้าที่ป้องกันการพังทลายและน้ำท่วมฉับพลันได้ด้วย
ผลของอุณหภูมิต่อป่าเมฆ
ปั จ จุ บ ั น แบบจำลองทางคณิ ต ศาสตร์ เ กี ่ ย วกั บ การเคลื ่ อ นตั ว ของแถบการ เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ (Ecotones) ขึ้นกับค่าเฉลี่ยอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน ผลจาก การสังเกตพบว่า แถบการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอย่างมาก ใน บริเวณที่ไม่มีการขาดน้ำพบว่าแถบการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าเมฆเป็นผลมาจาก เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
177
อุณหภูมิโดยตรง (Ohsawa, 1995)
ผลของเมฆต่อป่าเมฆ
เมฆที่ปกคลุมป่าเมฆเป็นปัจจัยควบคุมลักษณะของพืช โดยเฉพาะพืชที่อาศัยอยู่ ตามเรือนยอด ลักษณะเฉพาะของพืชที่พบบริเวณป่าเมฆจะมีลักษณะลำต้นเตี้ย แคระ มี การหงิกงอของกิ่งมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้มีความสัมพันธ์กับเมฆปกคลุม ทำไมเมฆปกคลุม ทำให้พืชมีลักษณะดังกล่าวนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีหลาย สมมติฐานที่พยายามอธิบายเรื่องนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในบริเวณป่าเมฆมีเมฆปกคลุมบ่อยและเป็นระยะเวลา นาน ลมก็มักจะพัดเอาเมฆมาปกคลุมป่าเมฆ เมื่อเมฆมาปกคลุมป่าเมฆ ทำให้บริเวณนี้มี ปริมาณน้ำมาก มีสารเคมีบางชนิดเข้ามาสู่ระบบป่าเมฆ ปริมาณแสงที่พืชในป่าเมฆได้รับลด ลงประมาณ 10-50% ใบไม้ที่พบในป่าเมฆจะเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้พืชสามารถ สังเคราะห์ด้วยแสงลดลง ปัจจัยที่กล่าวมา อาจทำให้พืชในป่าเมฆมีลักษณะดังที่เห็น
ปริมาณโพลีฟีนอลและรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตบี
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองโดยให้พืชได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตบีปริมาณสูง พบว่าพืชที่ได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตบีปริมาณสูง มีลักษณะเหมือนพืชที่ป่าเมฆ พืชป้องกัน ตัวเองโดยการสร้างสารประกอบฟีโนลิค ฟลาโวนอยด์และอัลคาลอยด์มากขึ้น สารดังกล่าว สามารถดูดกลืนรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตได้ แต่สารโพลีฟีนอลนี้จะไปขัดขวางกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง กระบวนการแบ่งเซลล์ราก การคายน้ำและการดูดซึมอิออนของพืช ค่า ผลผลิตปฐมภูมิสุทธิ (Net primary production, NPP) ต่ำลง การวัดค่าผลผลิตสามารถ วัดได้ 2 วิธีคือ ค่าผลผลิตปฐมภูมิสุทธิ และค่าดัชนีพื้นที่ใบ ค่าทั้งสองค่านี้มีค่าต่ำในป่า เมฆเมื ่ อ เที ย บกั บ ป่ า อื ่ น ๆ ที ่ ค วามสู ง จากระดั บ น้ ำ ทะเลเดี ย วกั น จะเห็ น ได้ ว ่ า สาร โพลีฟีนอลนี้น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดความแคระแกร็นของพืชที่พบที่ป่าเมฆ
สมมติฐานอื่นๆ
นอกจากปริมาณโพลีฟีนอลและรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตบีที่น่าจะทำให้พืชที่ป่าเมฆมี ลักษณะลำต้นเตี้ย แคระ มีการหงิกงอของกิ่งแล้ว ยังมีอีกหลายสมมติฐานที่น่าจะอธิบาย ลักษณะพืชที่พบในป่าเมฆได้อีก เช่น ความชื้นในอากาศและในดินที่มีปริมาณสูง ทำให้พืช
178
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
คายน้ำได้น้อย รากหายใจได้ยาก อาจทำให้พืชมีรูปร่างผิดปกติได้ ลมอาจทำให้พืชยิ่ง
แคระแกร็นมากขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณสันเขาและยอดเขา อุณหภูมิที่ใบต่ำอาจจะเป็นอีก สาเหตุหนึ่งทำให้พืชแคระแกร็นได้ เมื่ออุณหภูมิลดลงที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้น
ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบต่อป่าเมฆ
ปัจจุบันภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของโลก เห็นได้จากผลกระทบ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่อุณหภูมิสูงขึ้น การละลายของน้ำ แข็งบริเวณขั้วโลก ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น ปรากฏการณ์ เอลนิญโญ่ และปรากฏการณ์ลานิญญ่า หรือแม้กระทั่งความถี่และความรุนแรงของภัย พิบัติต่างๆ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว พายุทอร์นาโด รวมถึงการเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันที่ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (Emanuel, 1987; Hulme and Viner, 1998) ภัยพิบัติเหล่านี้ ล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลก ป่าเมฆเป็นหนึ่งในระบบนิเวศป่า (forest ecosystem) ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากภาวะโลกร้ อ นทั ้ ง ทางตรงและทางอ้ อ ม ในทางตรง อุ ณ หภู ม ิ ท ี ่ สู ง ขึ ้ น และการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ ทั้งความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางและ ความเร็วลม ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดภาวะโลกร้อน ล้วนแต่ส่งผลต่อการก่อตัวของเมฆ และหมอก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเกิดขึ้นของป่าเมฆ ในส่วนของผลกระทบทาง อ้อมนั้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อปัจจัยที่ใช้ในการดำรงชีวิต วิถีการ ดำเนินชีวิต การโยกย้ายแหล่งที่อยู่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต ต่างๆ ทั้งพืชและสัตว์ที่อยู่ในป่าเมฆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชอิงอาศัย (epiphytes) ชนิด ต่างๆ เช่น มอส ลิเวอร์เวิร์ต เฟิร์น กล้วยไม้ เป็นต้น รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตประจำถิ่น (endemic species) ซึ่งมีอยู่เป็นอย่างมากในป่าเมฆ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ อาจจะส่งผลให้ป่าเมฆตายไปในที่สุด (Foster, 2001)
ยิ่งสูงยิ่งร้อน
บริเวณที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอาจได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนรุนแรงกว่า บริเวณที่อยู่ต่ำกว่า เพราะเมื่ออากาศร้อนมากขึ้น น้ำจะถูกดูดไปสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้ บริเวณที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลร้อนกว่าบริเวณที่ต่ำกว่า จากข้อมูลอุณหภูมิป่าดงดิบเขา เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
179
ชืน้ ธารน้ำแข็งเขตร้อนค่อยๆ ละลาย และอุณหภูมขิ องแท่งน้ำแข็ง (ice core temperature) ทีส่ งู ขึน้ ต่างก็เป็นหลักฐานสำคัญทีแ่ สดงให้เห็นว่ายิง่ สูงจากระดับน้ำทะเลยิง่ ร้อน
ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง
ความชื้นมีผลกระทบต่อชนิดและจำนวนต้นพืชที่จะงอก ดินเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่ สำคัญในระบบนิเวศบกในช่วงที่ฝนไม่ตก การเปลี่ยนแปลงของอากาศทำให้ระดับน้ำใต้ดิน เปลี่ยน น้ำระเหยมากขึ้น ได้มีการศึกษาถึงปริมาณน้ำฝนพบว่าวันที่ฝนแล้งยาวนานขึ้น และฤดูร้อนยาวนานขึ้น เป็นผลให้ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ลดลง ความเครียดเนื่องจาก ขาดน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้พืชและพืชอิงอาศัยตายไป เกิดไฟป่าเพิ่มมากขึ้นและเกิดความแห้ง แล้ง ทำให้นิเวศป่าดงดิบชื้นถูกเปลี่ยนไปเป็นนิเวศทุ่งหญ้า ไม้พุ่มและไม้ทนไฟ ในภาวะโลกร้อน ปริมาณใต้ฝุ่นและเฮอริเคนอาจเกิดเพิ่มขึ้น ถ้าปริมาณใต้ฝุ่นและ เฮอริเคนเพิ่มขึ้นจริง ลมที่แรงของพายุนี้จะพัดทำลายต้นไม้และเกิดการพังทลายของผิวดิน มากขึ้น การเกิดการพังทลายของดินทำให้เกิดผลกระทบตามมาอีกหลายอย่าง เช่น ความ แห้งแล้ง การสูญเสียธาตุอาหารในดิน การพังทลายของความชัน ทำให้เกิดการสูญเสีย ความชื้นในดิน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อป่าดงดิบชื้น แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคง สงสัยว่า อากาศจะต้องแล้งแค่ไหน ความชื้นในดินควรจะต่ำเท่าไรถึงจะได้รับผลกระทบ จากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงนี้ คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับป่าแต่ละชนิดแต่ละพื้นที่ แต่ที่ มั่นใจได้คือป่าเมฆจะไม่สามารถอยู่รอดได้จากภาวะโลกร้อน การลดลงของปริมาณเมฆ ปกคลุมที่ป่าเมฆ ย่อมเพิ่มความเครียดอันเนื่องมาจากน้ำที่ลดลงและการสูญเสียน้ำที่เพิ่ม ขึ้นอย่างแน่นอน
พืชอิงอาศัยในป่าเมฆกับภาวะโลกร้อน
พืชอิงอาศัยตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพืช อิงอาศัยไม่ได้รับน้ำจากพื้นดิน แต่พืชอิงอาศัยอยู่รอดได้โดยการอาศัยความชื้นจากอากาศ เพียงอย่างเดียว จากการสังเกตพบว่าพืชอิงอาศัยเหี่ยวในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง และตายใน ช่วงที่แล้งจัด เนื่องจากพืชอิงอาศัยมีความสำคัญต่อวัฏจักรหลายวัฏจักรในป่าเมฆ ดังที่ได้ กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นการตายของพืชอิงอาศัยย่อมมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพืชและ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่าเมฆ
180
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์ในป่าเมฆกับภาวะโลกร้อน
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดและสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำได้รับความชื้นหรือ สารอาหารที่พืชอิงอาศัยสร้างและสะสม เช่น เมล็ด ผล น้ำหวาน และละอองเกสร บางครั้ง พืชอิงอาศัยเป็นวัสดุที่นกใช้สร้างรัง ทำให้นกและแมลงอาจมีวิวัฒนาการร่วมกันกับพืชบาง ชนิด ดังนั้นการที่พืชอิงอาศัยตายหรือสูญพันธุ์ไปอาจทำให้สัตว์ตายหรือสูญพันธุ์ไปด้วย เช่นเดียวกัน ถ้าสัตว์ชนิดหนึ่งชนิดใดตายไป ย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศด้วย กลุ่ม สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate change) โดยตรง คือ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ คางคก ซาลามานเดอร์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมี ผิวหนังและไข่ที่สามารถให้สารซึมผ่านได้ ทำให้สัตว์กลุ่มนี้ไวต่ออุณหภูมิ ความชื้นและ มลพิษที่เปลี่ยนแปลงไป การที่ปริมาณน้ำที่ป่าเมฆลดลงนี้อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบกลดลง เพราะสัตว์เหล่านี้จะหาที่วางไข่ได้ยาก แหล่งน้ำที่มีอยู่น้อยนี้จะ หนาแน่นไปด้วยสัตว์เหล่านี้ แหล่งน้ำอาจจะแห้งเหือดไปก่อนที่ลูกอ๊อดจะเจริญเติบโต กลายเป็นกบ มาถึงจุดนี้สามารถสรุปได้ว่า สัตว์ที่มีความจำเพาะสูงจะได้รับผลกระทบอัน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate change) ที่รุนแรงกว่าสัตว์ที่ไม่มี ความจำเพาะสูง นกที่เคยอาศัยอยู่ที่ระดับความสูงต่ำกว่าป่าเมฆ ปัจจุบันนี้ได้เข้ามาผสม พันธุ์และอาศัยอยู่ที่ป่าเมฆ กิ้งก่าที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของป่าเมฆ 2 ชนิดได้หายไปจาก ป่าเมฆ การเปลี่ยนแปลงของสัตว์ 3 คลาส คือ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก และสัตว์เลื้อย คลานนี้สัมพันธ์กับจำนวนวันที่ฝนแล้งในฤดูร้อน ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในหลายๆ หลักฐานที่ สนับสนุนการเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate change)
ป่าเมฆ อุทยานแห่งชาติเขานัน
โครงการ BRT ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนให้คณะนักวิจัย ศึกษาลักษณะของป่าเมฆที่สันเย็น อุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย แบ่งการศึกษาลักษณะของป่าเมฆออกเป็น 5 ส่วนคือ โครงสร้างสังคมพืชในป่าเมฆ ลักษณะพรรณพืช อากาศ ดิน และน้ำ จากการสำรวจพบว่าป่าเมฆที่สันเย็นมีลักษณะ เฉพาะหลายประการ ดังนี้
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
181
โครงสร้างสังคมพืชบนป่าเมฆ อุทยานแห่งชาติเขานัน
สังคมพืชส่วนใหญ่ในอุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นป่าดิบชื้น แต่สำหรับพื้นที่ตามยอด เขาที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป สังคมพืชจะเปลี่ยนเป็นอีก ชนิดหนึ่ง พรรณพืชก็มีความแตกต่างออกไป มีเมฆปกคลุมบ่อยครั้งและยาวนาน สังคม พืชในป่าเมฆบนยอดสันเย็น ประกอบด้วยพรรณไม้หลากหลายชนิด ต้นไม้ในระดับชั้น เรือนยอดสูงไม่เกิน 15 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ จากการวางแปลงเพื่อ ศึกษาโครงสร้างของสังคมพืช พบว่าในระดับชั้นเรือนยอด ประกอบด้วยพรรณไม้ในวงศ์ ไม้ก่อ (Fagaceae) เป็นไม้เด่น ในชั้นเรือนยอดรอง มีพรรณไม้วงศ์ชา (Theaceae) วงศ์ ชมพู่ (Myrtaceae) และวงศ์อบเชย (Lauraceae) เป็นพรรณไม้เด่น ระดับพื้นล่าง มี พรรณไม้วงศ์เข็ม (Rubiaceae) เป็นพรรณไม้เด่น ตามต้นไม้ก็มีพืชอิงอาศัยพวก ไลเคน มอส เฟิร์น และกล้วยไม้หลากหลายชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น
ลักษณะของป่าเมฆ-สันเย็น อุทยานแห่งชาติเขานัน
ความสูงของทรงพุ่มและความสูงของต้นไม้จะลดลงเมื่อระดับความสูงจากระดับน้ำ ทะเลเพิ่มขึ้น ส่วนความกว้างของทรงพุ่มและอัตราส่วนของทรงพุ่มไม่มีความสัมพันธ์กับ ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังพบว่าเปอร์เซ็นต์ปริมาณพืชอิงอาศัยปกคลุม เพิ่มขึ้นเมื่อระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอีกด้วย (ภาพที่ 2a,b,c) อุณหภูมิอากาศที่ป่าเมฆสันเย็นที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,270 เมตร ระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2550 วัดโดยใช้เครื่องมือวัดอากาศแบบอัตโนมัติ HOBO Data Logger พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด และอุณหภูมิต่ำสุดที่สันเย็นมีค่าดังนี้ อุณหภูมิเฉลี่ย: = 20.12 0.89 oC; อุณหภูมิสูงสุด: = 24.15 o o 2.79 C; อุณหภูมิต่ำสุด: = 17.45 1.74 C ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นอุณหภูมิที่ ค่อนข้างเย็นสบาย แม้นักวิจัยจะทำการศึกษาลักษณะภูมิอากาศในเดือนเมษายนก็ตาม เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับความชื้นสัมพัทธ์ พบว่าเมื่ออุณหภูมิอากาศเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลง (ภาพที่ 2d) ความเข้มแสงที่ป่าเมฆสันเย็นมีค่า ระหว่าง 0-19 w/m2 (ภาพที่ 2e) ซึ่งเป็นค่าความเข้มแสงที่ต่ำมาก เมื่อศึกษาลักษณะดินที่ป่าเมฆ พบว่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นในดินเพิ่มขึ้นเมื่อระดับ
182
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 2f) แสดงว่าดินที่ป่าเมฆสันเย็นนี้มีความเปียก ชื้นสูงกว่าดินในระดับที่ต่ำกว่า หากพิจารณาความชื้นในดินและปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน จะสามารถแบ่งดินเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 คือที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล และอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่มีความสูงมากกว่า 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล นี่ อาจเป็นข้อมูลที่ทำให้คาดเดาว่า ป่าเมฆสันเย็นน่าจะมีขอบเขตอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 900 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปลงไปอย่างแน่ชัด เพราะการ ศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น ยังคงต้องรอผลการศึกษาอย่างละเอียด ประกอบกับการศึกษาสิ่งมีชีวิตตามระดับความสูง ทำให้ทราบว่าขอบเขตของป่าเมฆสันเย็น เริ่มต้นที่ระดับความสูงเท่าไร และมีการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตมากน้อยเท่าไรระหว่างฤดู ร้อนและฤดูฝน จากการศึกษาคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำทุกแหล่งที่พบในเส้นทางคลองกลาย-สันเย็น พบว่าเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณออกซิเจนที่ละลาย ในน้ำลดลง (ภาพที่ 2g,h,i) ในกรณีของอุณหภูมิน้ำที่ลดลงสอดคล้องกับอุณหภูมิอากาศที่ ต่ำลงในบริเวณป่าเมฆ-สันเย็น ค่าการนำไฟฟ้าที่ลดลงในบริเวณป่าเมฆแสดงว่า แหล่งน้ำ บริเวณป่าเมฆมีอิออนที่นำไฟฟ้าได้ละลายอยู่ในปริมาณน้อย นี่เป็นลักษณะที่พบได้โดย ทั่วไปตามแหล่งน้ำที่เป็นต้นน้ำของน้ำตกต่างๆ ค่าการนำไฟฟ้าในน้ำจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีเศษดิน หิน แร่ธาตุในกลุ่มคาร์บอเนตละลายลงสู่แหล่งน้ำมากขึ้น โดยปกติแล้วจะมี ค่าสูงมากบริเวณที่เป็นปากน้ำ หรือ น้ำทะเล หรือแม่น้ำที่มีดินพังทลายลงมาในแหล่งน้ำสูง ส่วนค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำในบริเวณที่เป็นป่าเมฆ-สันเย็นมีค่าลดลงกว่าแหล่ง น้ำอื่นๆ ที่พบในละติจูดที่ต่ำกว่า นี่อาจเป็นเพราะที่ป่าเมฆจะมีปริมาณเมฆปกคลุมบ่อยครั้ง และเป็นระยะเวลานาน ทำให้ปริมาณแสงลงมาถึงแหล่งน้ำน้อยกว่าที่อื่นๆ สาหร่ายและ แพลงก์ตอนพืชที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจึงสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อย อาจทำให้ค่า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในแหล่งน้ำที่ป่าเมฆมีค่าน้อยกว่าแหล่งน้ำอื่นที่พบในละติจูดที่ ต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องการนักวิทยาศาสตร์มาศึกษาถึงปริมาณพืชน้ำ สาหร่ายและ แพลงก์ตอนในแหล่งน้ำบริเวณป่าเมฆ-สันเย็นเพื่อยืนยันสมมติฐานที่วางไว้ เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
183
(a)
(c)
(b)
(d)
(f) (e)
(h) (g)
(i)
184
ภาพที่ 2 ลักษณะภูมิอากาศ เส้นทางคลองกลาย-สันเย็นระหว่าง วันที่ 18 – 20 เมษายน 2550 (a) ความสูงของทรงพุ่มกับระดับ ความสูงจากน้ำทะเล (m), (b) ความสูงของต้นไม้ (m) กับระดับ ความสูงจากน้ำทะเล (m), (c) %ปริมาณพืชอิงอาศัยปกคลุมกับ ระดับความสูงจากน้ำทะเล (m), (d) % ความชื้นสัมพัทธ์กับ o อุณหภูมิ ( C) (e) ปริมาณความเข้มแสง (w/m2), (f)% o ความชื้นในดิน, (g) อุณหภูมิน้ำ ( C) กับระดับความสูงจากน้ำ ทะเล (m), (h) ค่าการนำไฟฟ้า (µS/cm) กับระดับความสูงจาก น้ำทะเล (m) และ (i) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำได้ (mg/l) กับระดับความสูงจากน้ำทะเล (m)
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เอกสารอ้างอิง Bruijnzeel, L. A. and Veneklaas, E. J.1998. Climatic conditions and tropical
montane forest productivities: the fog has not lifted yet. Ecology 79: 3-9. Emanuel, K.A. 1987. The dependence of hurricane intensity on climate. Nature,
326: 483-485. Foster, P. 2001. The potential negative impacts of global climate change on
tropical montane cloud forests. Earth-Science Reviews 55: 73-106. Grubb, P. J. 1977. Control of forest growth and distribution on wet tropical
mountains with special reference to mineral nutrition. Annual Review
on Ecology and Systematics 8: 83-107. Grubb, P. J. and Whitmore, T. C. 1966. A comparison of montane and lowland
rain forest in Ecuador. II. The climate and its effects on the distribution
and physiology of the forests. Journal of Ecology 54: 303-333. Hulme, M. and Viner, D. 1998. A climatic change scenario for the tropics. Clim.
Change, 39: 145-176. Kitayama, K. 1995. Biophysical conditions of the montane cloud forests of Mount
Kinabalu, Sabah, Malaysia. In: Hamilton, L. S., Juvik, J. O., Scatena, F.N. (Eds),
Tropical Montane Cloud Forests: Proceedings of an International
Symposium. Springer-Verlag, New York, pp. 183-197. León, B. and Young, K. R. 1996. Distribution of pteridophyte diversity and endemism
in Peru. In: Camus, J. M., Gibby, M., Johns, R. J. (Eds), Pteridology in
Perspective. Royal Botanic Gardens, Kew, pp. 77-91. Ohsawa, M. 1995. Latitudinal comparison of altitudinal changes in forest
structure, leaf-type and species richness in humid monsoon asia.
Vegetation123: 3-10. Stadmüller, T. 1987. Cloud forests in the humid tropics: a bibliographic review.
The United Nations University, Tokyo. Werner, W. L. 1998. The mountain forests of Sri Lanka-a world of its own. In:
Domroes, M. H. R. (Ed), Sri Lanka: Past and Present; Archaeology,
Geography, Economics. Bohler Verlag, Weikersheim, pp. 118-130. Whitmore, T. C. 1989. Tropical forest nutrients, where do we stand? A tour de
horizon. In: Proctor, J. (ed.), Mineral Nutrients in Tropical Forest and
Savanna Ecosystems. Blackwell Scientific, Oxford, pp. 1-13.
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
185
“ป่าเมฆ” หลากชีวิต จิตวิญญาณ “ป่าเมฆ” เป็นป่าที่มีหมู่เมฆหมอกสีขาวโพลนปกคลุมพื้นที่สีเขียวขจีของผืนป่าอยู่ ทั่วบริเวณ ต้นไม้ใหญ่ถูกห่มคลุมไปด้วยมอสและเฟิร์น และพรรณไม้อิงอาศัยนานาชนิด พื้นที่ป่ายังเต็มไปด้วยไอเย็นเฉียบของละอองน้ำที่พร่างพรมผืนป่าสร้างความชุ่มชื้นให้ สรรพชีวิตนานาชนิดที่มีทั้งพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นมากมาย เหนือจากระดับน้ำทะเล 1,300 เมตรของเขานัน “ยอดสันเย็น” ยอดเขาสูงอีกแห่ง หนึ่งที่ท้าท้ายนักวิจัยของโครงการ BRT ให้ดั้นด้นไปเพื่อสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นและ เมฆหมอกที ่ โ อบอุ ้ ม พื ้ น ที ่ ป ่ า เป็ น แนวยาวรอบรั ศ มี เป็ น ยอดหนึ ่ ง ของเทื อ กเขา นครศรีธรรมราช ที่มีเมฆหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี จนเป็นที่มาของชื่อ ในอดีต ผกค. ได้ ใช้ เ ป็ น เส้ น ทางสั ญ จรไปมาระหว่ า งค่ า ยที ่ จ ั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี กั บ ค่ า ยที ่ จ ั ง หวั ด นครศรีธรรมราช จากที่ตั้งคาดว่าน่าจะมีพืชพรรณและลักษณะทางนิเวศวิทยาที่ใกล้เคียง กับอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางอุทยานแห่งชาติเขานันได้จัด พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการลักลอบล่าสัตว์ แต่ไม่เคยมีข้อมูลการศึกษาความหลาก หลายทางชีวภาพมาก่อน จากที่ตั้งซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,300 เมตร ทำให้คาด การณ์ว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนยอดสันเย็นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปรับตัวให้อยู่ได้ในที่ ที่มีความชื้นสูง โครงการ BRT ได้ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และอุทยานแห่งชาติเขานัน จัดการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพที่ป่าเมฆ โดยได้กำหนดให้บริเวณสันเย็นเป็นที่ ศึกษาระหว่างวันที่ 16-20 เมษายน 2550 มีนักวิจัยที่เป็นผู้ชำนาญการหลายท่านจากหลาย หน่วยงาน เข้าร่วมสัมผัสยอดสันเย็นในครั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า ที่ป่าเมฆสันเย็นเป็นบริเวณที่มีความงดงามอันเป็นผลพวงของ ป่าที่มีวิวัฒนาการมานานปีโดยไม่ถูกรบกวน มีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่อย่างหลากหลาย การดูแลรักษาป่าเมฆเท่ากับดูแลรักษาหลากชีวิต หลายวิญญาณที่อยู่ในป่าเมฆ ทำให้ระบบ
186
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ต่างๆ อยู่สมดุลที่ควรจะเป็น เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพที่ น่าสนใจ ดังนี้ สาหร่าย ผู้ผลิตเบื้องต้นของห่วงโซ่อาหาร หรือผู้สร้าง “ลมหายใจ” ให้กับโลก และ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาสมดุลต่างๆ ในระบบนิเวศ การสำรวจสาหร่ายในป่า เมฆพบสิ ่ ง ที ่ น ่ า สนใจ คื อ พบสาหร่ า ยที ่ บ ่ ง บอกถึ ง คุ ณ ภาพน้ ำ ที ่ ไ ม่ ค ่ อ ยดี น ั ก เช่ น Oscillatoria, Chlamydomonas, Euglena, Trachelomonas และ Cryptomonas ทั้งนี้เนื่องจากแหล่งน้ำในบริเวณป่าเมฆมีธาตุอาหารซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสาร อินทรีย์ที่ทับถมในท้องน้ำและพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนมาก ไบรโอไฟต์ พืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มักขึ้นเป็นกลุ่มในที่ร่มและชุ่มชื้น แบ่งได้ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ฮอร์นเวิร์ต ลิเวอร์เวิร์ต และมอส ตามเส้นทางของเขานันจนถึงยอดสัน เย็นพบไบรโอไฟต์ 82 ชนิด 46 สกุล ใน 30 วงศ์ เป็นฮอร์นเวิร์ต 1 ชนิด 1 สกุล 1 วงศ์ ลิเวอร์เวิร์ต 58 ชนิด 28 สกุล 14 วงศ์ และมอส 23 ชนิด 17 สกุล 15 วงศ์ โดยเฉพาะ มอสวงศ์ Metroriaceae พบจำนวนชนิดมากที่สุด เนื่องจากเจริญเติบโตได้ดีเฉพาะใน พื้นที่ที่มีความชื้นสูงเท่านั้น เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น ในป่าเมฆมีเอกลักษณ์แตกต่างจากเฟิร์นและพืชใกล้ เคียงเฟิร์นที่พบในระดับล่างของเขานัน เพราะบางชนิดจำเป็นต้องอยู่เฉพาะบริเวณที่มี ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง จึงสามารถใช้เป็นดัชนีเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพ อากาศได้ เช่น เฟิร์นใบมะขามปักษ์ใต้ หรือ Nephrolepis davallioides (Sw.) Kunze เป็นเฟิร์นอิงอาศัยที่พบตามต้นไม้ใหญ่หรือตามซอกหินในป่าเมฆ ที่มีความสูงจากระดับน้ำ ทะเลประมาณ 1,000 เมตร และจะพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น มะเดื่อ-ไทร พรรณไม้ที่ถูกจัดให้เป็น keystone food เนื่องจากสามารถออกดอก ออกผลได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูกาลที่ขาดแคลนที่ไม้ผลชนิดอื่นไม่สามารถออกผลได้ แต่สัตว์น้อยใหญ่ก็ยังสามารถเก็บผลมะเดื่อ-ไทรเป็นอาหารเลี้ยงชีพได้ มะเดื่อ-ไทรที่พบ ตามเส้นทางไปจนถึงป่าเมฆที่ยอดสันเย็นพบทั้งสิ้นจำนวน 25 ชนิด เป็นไม้เถา 4 ชนิด ไม้ พุ่ม 3 ชนิด และไม้ต้น 18 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 25 ของทั้งประเทศ และในจำนวนนี้มี 11 ชนิดที่เป็นการรายงานครั้งแรกของพื้นที่แห่งนี้ด้วย พืชมีท่อลำเลียง พืชกลุ่มใหญ่ของระบบนิเวศ จากการสำรวจบริเวณป่าเมฆ ยอดสัน เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
187
เย็น พบพืชมีท่อลำเลียงทั้งสิ้นจำนวน 43 ชนิด ใน 30 วงศ์ เป็นไม้ต้น 14 ชนิด ไม้พุ่ม 5 ชนิด ไม้พุ่มรอเลื้อย 2 ชนิด ไม้ล้มลุก 12 ชนิด ไม้เถา 4 ชนิด ไม้เถาเนื้อแข็ง 2 ชนิด และ พืชอิงอาศัย 4 ชนิด นอกจากนี้ยังพบพืชในสกุล Argostemmma Wall. พรรณไม้ใน วงศ์เข็ม (Rubiaceae) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี 3 ชนิด ขิง-ข่า ผลัดกันออกดอกสีสันสดใสตลอดทั้งปี จนหลายคนต้องนำพันธุ์จากป่าไป ปรับปรุงพันธุ์เป็นไม้ประดับสวยๆ หลายชนิด จากการสำรวจพืชวงศ์ขิงตลอดระยะทางไป จนถึงป่าเมฆที่ยอดสันเย็นตั้งแต่ระดับความสูง 467 ไปจนถึง 1,300 เมตรจากระดับ
น้ำทะเล พบพืชวงศ์ขิงอย่างน้อย 7 ชนิด ใน 5 สกุล และมีเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้นที่เจริญได้ ในบริเวณป่าเมฆ และหนึ่งในจำนวนนี้สามารถพบได้ตลอดระยะทางการสำรวจ คือ Amomum aculeatum Roxb. กล้วยไม้ หลากสีสันที่คอยผลิบานแต่งแต้มสีเขียวของผืนป่า ช่วยให้ป่ามีชีวิตชีวาขึ้น จากการสำรวจบริเวณป่าเมฆ ยอดสันเย็นพบกล้วยไม้ประมาณ 30 ชนิด 13 สกุล ส่วน ใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยในสกุล Bulbophyllum หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อกล้วยไม้กลุ่ม สิงโตจำนวน 5 ชนิด และกล้วยไม้ในสกุลนี้อีกหนึ่งชนิดที่ดอกมีกลิ่นเหม็นคล้ายเนื้อเน่า และมีลักษณะดูคล้ายคลึงกับเอื้องขยุกขยุย (B. dayanum Rchb.f.) แต่มีลักษณะบาง ประการของกลีบปากและสีที่ต่างไปจากเอื้องขยุกขยุย จึงคาดว่าน่าจะเป็นกล้วยไม้ชนิด ใหม่ของโลก หรือชนิดใหม่ของประเทศไทย มด สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่อยู่รอดได้ในป่าใหญ่ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ การสำรวจมดบน ยอดสันเย็นล้วนแล้วแต่เป็นชนิดที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกของพื้นที่แห่งนี้ พบมดทั้งสิ้น
72 ชนิด 35 สกุล จาก 8 วงศ์ย่อย ในจำนวนนี้ ร้อยละ 55.56 ของมดที่พบทั้งหมดเป็นมด ทีส่ ร้างรังในขอนไม้ผุ เนือ่ งจากพืน้ ป่าของป่าเมฆเต็มไปด้วยขอนไม้ผอุ นั เป็นแหล่งสร้างรังทีด่ ี
ของมดจำนวนมาก ในจำนวนนี้ 2 ชนิดยังเป็นมดทีม่ กี ารรายงานเป็นครัง้ แรกในประเทศไทย ผีเสื้อกลางวัน แมลงสวยงามที่มีอยู่มากมายหลากหลายชนิด มีวงจรชีวิตที่น่า ศึกษาและมีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศเช่นเดียวกับสัตว์ประเภทอื่น จากการสำรวจผีเสื้อ กลางวันบนยอดสันเย็น พบผีเสื้อกลางวัน 56 ชนิด ใน 5 วงศ์ ในจำนวนนี้มีผีเสื้อที่ รายงานใหม่เป็นครั้งแรกทางภาคใต้ของประเทศไทยจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อขมิ้นกับ ปูนแถบแคบ (Heliophorus ila nolus) และ ผีเสื้อดาราไพรธรรมดา (Thaumantis
188
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
diores splendens) ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลุ่มผีเสื้อหนอนม้วนใบวงศ์ย่อย Olethreutinae เป็น
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กประมาณ 0.7-2.5 เซนติเมตร สำรวจพบในป่าเมฆจำนวน 141 ตัวอย่าง 63 รูปแบบสัณฐาน จำแนกถึงระดับชนิดได้ 13 ชนิดใน 12 สกุล ในจำนวนนี้มี 1 ชนิดคือ Spilonota melanacta ที่พบเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นการค้นพบ เพศเมียครั้งแรกของโลกด้วย สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดเย็นที่อุณหภูมิภายในร่างกาย จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม ทำให้ถูกจัดเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างพบได้ยาก จากการ สำรวจบริเวณป่าเมฆ ยอดสันเย็น พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 15 ชนิด และใน จำนวนนี้พบชนิดที่มีลักษณะแตกต่างจากที่พบในบริเวณอื่นจำนวน 4 ชนิด ซึ่งคาดว่าจะ เป็นชนิดใหม่ของโลก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่มีเกล็ดบนผิวหนังเหมือนปลา แต่จะหายใจโดยใช้ปอด เหมือนมนุษย์ออกไข่บนบกและมีเปลือกหุ้ม ลูกอ่อนที่ฟักออกจากไข่จะมีรูปร่างเหมือนพ่อ แม่เลยทีเดียว จากการสำรวจในบริเวณป่าเมฆ ยอดสันเย็น พบสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด จำนวน 17 ชนิด และในจำนวนนี้มี 2 ชนิดที่คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก นก สิ่งมีชีวิตที่คอยเติมเสน่ห์ให้กับป่า ด้วยเสียงร้องอันไพเราะ ที่ทำให้สุมทุมพุ่มไม้ ที่เงียบสงบเริ่มมีชีวิตชีวา การสำรวจพบนกทั้งสิ้น 123 ชนิด มีเพียง 25 ชนิดเท่านั้นที่พบ เฉพาะยอดสันเย็นในที่ระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 900 เมตรขึ้นไป นกที่น่าสนใจและพบเห็น ได้บ่อยมาก เช่น นกกระรองทองแก้มขาว (Silver-eared Mesia) ชนิดย่อย Leiothrix argentauris tahanensis นกศิวะปีกสีฟ้า (Blue-winged Minla) ชนิดย่อย Minla cyanouroptera sordidior และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird) ชนิ ด ย่ อ ย Aethopyga nipalensis australis ที ่ พ บเฉพาะเทื อ กเขา นครศรีธรรมราช ซึ่งมีอยู่บนยอดเขาหลวงและเขานัน ในระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไปเท่านั้นในโลกนี้ นอกจากนั้นยังมีนกในกลุ่มนกจับแมลง (Flycatcher) ที่อพยพ ย้ายถิ่นในเวลากลางคืนและพักหาอาหารเติมพลังในเวลากลางวันที่หายากมากในประเทศ ไทย คือ นกจับแมลงหลังเขียว (Narsissus Flycatcher)
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
189
สาหร่าย
Cryptomonas sp. : สาหร่ายคริปโตโมแนส ชื่อสามัญ Cryptomonas วงศ์ Cryptomonaceae
เป็นสาหร่ายที่พบได้ทั่วไปในน้ำจืด มักพบในแหล่งน้ำที่มีธาตุอาหารสูง ในรูปของ แพลงก์ตอนพืช สาหร่ายชนิดนี้เป็นแหล่งอาหารสำคัญของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์ไม่มี กระดูกสันหลังขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเซลเดี่ยวรูปไข่ เคลื่อนที่ได้ด้วยหนวด (flagellum) 2 เส้นที่ยาวไม่เท่ากัน มีสีตั้งแต่เหลือง-น้ำตาล หรือสีน้ำตาลแดง นอกจากเจริญเติบโตโดย การสังเคราะห์แสงแล้วยังกินแบคทีเรียเป็นอาหาร (bacterivory) มีการใช้ Cryptomonas ในการศึกษาการเกิดพลาสติดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันภายในเซล Cryptomonas นอกจากจะมี ค ลอโรฟิ ล ล์ เอ เช่ น เดี ย วกั บ สาหร่ า ยชนิ ด อื ่ น แล้ ว ยั ง มี ไ ฟโคอิ ร ิ ท ริ น (phycoerythrin) เป็นรงควัตถุสีแดงที่สำคัญ จึงมีศักยภาพการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ใช้ชีวมวลเป็นอาหารสัตว์น้ำตั้งแต่แพลงก์ตอนสัตว์ถึงลูกปลาวัยอ่อนในฟาร์ม นอกจากนี้ไฟโคอิริทรินยังเป็นสารมูลค่าสูงที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร เครื่อง สำอาง และเครื่องหมาย (label) ในการติดตามทางการแพทย์
190
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สาหร่าย
Trachelomonas sp. : สาหร่ายทราคี โลโมแนส ชื่อสามัญ Trachelomonas วงศ์ Euglenaceae
เป็นสาหร่ายที่พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำที่มีอินทรีย์วัตถุสูง โดยจะพบมากในบริเวณที่ มีซากพืช ซากสัตว์ เน่าเปื่อย เซลรูปร่างกลมหรือเป็นรูปไข่ อยู่ภายในลอริกา (lorica) สี น้ำตาลซึ่งเกิดจากการสะสมของเหล็กและแมงกานีสไฮดรอกไซด์ ลอริกาที่หุ้มเซลอาจมี ลักษณะเรียบ มีหนามเป็นซี่ๆ หรือมีปุ่มเล็กๆ โดยรอบ เซลมีอายสปอต (eye spot) สีแดง 1 อัน มีหนวด (flagellum) 1 เส้น ช่วยในการเคลื่อนที่ นอกจากคลอโรฟิลล์ เอ Trachelomonas ยังมีรงควัตถุแอสตาแซนทิน (astaxanthin) สีแดงส้มช่วยในการ สังเคราะห์แสง Trachelomonas เป็นแหล่งอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำต่างๆ การมีเหล็ก แมงกานีส และแอสตาแซนทินเป็นองค์ประกอบ จึงทำให้มีศักยภาพการใช้ ประโยชน์ทั้งด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการผลิตแอสตาแซนทิน ซึ่งเป็นรงควัตถุที่ใช้เป็น อาหารเสริมสุขภาพในมนุษย์ และเป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์น้ำเพื่อเร่งสี เร่งโต และ ในสัตว์ปีกเพื่อให้เนื้อมีสีสันชวนบริโภค เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
191
ไบรโอไฟต์
Arthrocormus schimperii Doz. & Molk. : มอส ชื่อสามัญ - วงศ์ Leucobryaceae
สามารถเจริญตั้งแต่พื้นที่สูง 750 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ในพื้นที่สันเย็นพบบน ขอนไม้ที่ระดับความสูงเพียง 280 และ 461 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นมอสที่โครงสร้าง คล้ายลำต้นตั้งตรงขึ้นหรือเกือบตรง สูง 0.5-1 เซนติเมตร สีเขียวขาว ปลายของส่วนคล้าย ใบหักง่ายและส่วนที่หักนั้นสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ มีเขตการกระจายทั่วเขต ร้อนชื้นของทวีปเอเชีย ตั้งแต่ศรีลังกาไปจนถึงปาปัวนิวกินี โพลีนีเซียและตอนเหนือของ ออสเตรเลีย
192
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ไบรโอไฟต์
Dendroceros subplanus Steph. : ฮอร์นเวิร์ต ชื่อสามัญ – วงศ์ Anthocerotae
เป็นฮอร์นเวิร์ตที่พบบนกิ่งไม้บริเวณที่พักลานบัวแฉกที่ระดับความสูง 1,301 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทัลลัสกว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน ขอบของทัลลัสเป็นคลื่น มี เกล็ดแบนบนโครงสร้างที่ห่อหุ้มสปอโรไฟต์ซึ่งเป็นแท่งกลมสีเขียวสูงถึง 2.6 เซนติเมตร
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
193
ไบรโอไฟต์
Meteorium miquelianum (Card & Ther.) Nog. : มอส ชื่อสามัญ – วงศ์ Metroriaceae
พบบนใบไม้และกิ่งไม้ที่ระดับความสูง 1,272 และ 1,275 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงปริมาณความชื้นในอากาศสูงได้ดี เนื่องจากเป็นมอสที่พบและ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือมีละอองไอน้ำในอากาศมาก มีโครงสร้างคล้าย ลำต้นทอดขนานไปตามที่ขึ้นอาศัย มีกิ่งก้านสาขามากมาย ยาว 1.8-2 เซนติเมตร สีเขียว อ่อนถึงเขียวเข้ม ส่วนคล้ายใบเรียบยาว แผ่นใบพับจีบ
194
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ไบรโอไฟต์
Trichocolea tomentella (Ehrh.) Dumort. : ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต ชื่อสามัญ – วงศ์ Trichocoleaceae
เป็นลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ตที่พบบริเวณฐานของต้นไม้ใหญ่ที่ระดับความสูง 280 และ 865 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนคล้ายลำต้นกว้าง 0.6-0.8 มิลลิเมตร ส่วนคล้ายกิ่งกว้าง 5-6 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อนถึงเขียวขาว ส่วนคล้ายลำต้นแบน แตกกิ่งแบบขนนกสองชั้นถึงสาม ชั้น มีพาราไฟเลียซึ่งเป็นเส้นเซลล์ที่แตกแขนงอยู่บริเวณส่วนคล้ายลำต้นด้านใน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
195
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Aglaomorpha coronans (Wall. ex Mett.) Copel. : กูดอ้อม ชื่อสามัญ - วงศ์ Polypodiaceae
เป็นเฟิร์นอิงอาศัยขนาดใหญ่ พบมากที่ความสูงประมาณ 1,200 เมตรจากระดับน้ำ ทะเล เมื่อเจริญเต็มที่เหง้าจะเจริญโอบรอบลำต้นของต้นไม้ที่เกาะอยู่ โคนใบที่แผ่ประกบ ต้นไม้จะสะสมอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่ตกลงมาและเป็นปุ๋ยให้กับต้นของมันเอง เหง้าเกาะเลื้อย ขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก อวบน้ำ ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ยาวได้กว่า 1.5 เมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ยกเว้นส่วนฐานใบจะแผ่ออก ประกบกับเหง้า เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้ม เป็นมัน เส้นใบสานกันเป็นร่างแห มองเห็นได้ชัด กลุ่มอับสปอร์รูปกลมถึงรูปขอบขนานสั้น ไม่มีเยื่อคลุม พบบนภูเขาทุกภาค ของประเทศบริเวณที่ได้รับแสง
196
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Didymochlaena truncatula (Sw.) J. Smith : กูดขาบ ชื่อสามัญ Mahogany fern, Tree maidenhair fern วงศ์ Dryopteridaceae
เป็นเฟิร์นที่มีลักษณะสวยงาม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ตามธรรมชาติพบขึ้นบนดิน ตามสันเขาบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุสูง อาจจะพบบนภูเขาบริเวณที่ร่มหรือบริเวณที่ได้รับแสง บางเวลา ทางภาคใต้พบกูดขาบในช่วงความสูงระหว่าง 600-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล กูดขาบเป็นเฟิร์นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เหง้าตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลหนาแน่น ใบเกิดเป็นกระจุกที่ปลายยอด ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเมื่อเจริญ เต็มที่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น รูปขอบขนาน ก้านใบปกคลุมด้วยเกล็ดเช่น เดียวกับเหง้าและแกนกลางใบประกอบ ใบย่อยรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ หรือจักฟัน เลื่อยเล็กน้อย กลุ่มอับสปอร์กลมถึงรูปขอบขนาน มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
197
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Histiopteris incisa (Thunb.) J. Smith : กูดเกี๊ยะใบนวล, กูดเกี๊ยะใบบาง ชื่อสามัญ Bat’s wing fern วงศ์ Dennstaedtiaceae
เป็นเฟิร์นภูเขาขึ้นบนดินตามชายป่าเมฆ หรือบนสันเขาบริเวณที่ได้รับแสงแดด เต็มที่ ที่ความสูงประมาณ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทั่วไปคล้ายกูดเกี๊ยะแต่ แผ่นใบบางกว่า และมีเส้นใบสานกันเป็นร่างแห เหง้าทอดเลื้อยยาวใต้ระดับผิวดิน ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น ก้านใบยาวได้มากกว่า 1 เมตร มีสีน้ำตาลแดงเป็น มัน ใบย่อยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เกิดเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านล่าง ของแผ่นใบสีเขียวมีนวล เส้นใบสานกันเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์เกิดขนานกับขอบใบย่อย โดยมีขอบใบพับมาคลุมกลุ่มอับสปอร์
198
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น
Nephrolepis davallioides (Sw.) Kunze : เฟิร์นใบมะขามปักษ์ ใต้ ชื่อสามัญ - วงศ์ Oleandraceae
เป็นพืชอิงอาศัยหรือขึ้นตามซอกหินบนภูเขาในป่าเมฆ ที่ความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบเฉพาะทางภาคใต้ มีเหง้าตั้งตรงสั้นๆ ปกคลุมด้วยเกล็ดหนา แน่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เกิดรวมเป็นกระจุกที่ปลายยอด แผ่นใบรูปใบ หอก อาจยาวได้กว่า 1 เมตร ใบย่อยอาจมีได้ถึง 50 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายเป็นรูป เคียว ใบย่อยที่ไม่สร้างกลุ่มอับสปอร์ มีขอบใบเรียบ มักจะเกิดบริเวณตอนล่างของแผ่นใบ ใบย่อยที่สร้างกลุ่มอับสปอร์จะเกิดตอนบนของแผ่นใบ ขอบหยักเป็นพู เส้นใบแตกเป็นง่าม แผ่นใบบางเหมือนแผ่นกระดาษ กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบที่ยื่นเข้าไปในแต่ละพู (1 พูมี 1 กลุ่มอับสปอร์) เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์กลมหรือเป็นรูปไต
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
199
พืชมีท่อลำเลียง
Aristolochia sp. : ไก่ฟ้า ชื่อสามัญ - วงศ์ Aristolochiaceae
เป็นพืชกินแมลง ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง พบอยู่บริเวณยอดสันเย็นที่ความสูง 1,277 เมตร จากระดับน้ำทะเล Aristolochia บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยใช้ราก หัวใต้ดิน และ ลำต้น มีรสขมหรือรสพริกไทย มีน้ำยางใส ใบ เดี่ยว มีเส้นใบออกจากจุดโคนใบและออก จากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก โคนใบรูปหัวใจ ดอก สมมาตรด้านข้าง กลีบรวม เชื่อมติดกัน ที่โคนเป็นกระเปาะมีรูปร่างแตกต่างกัน รูปร่างคล้ายไก่ฟ้า ดอกสีเหลืองข้างใน สีแดงเข้มถึงเลือดหมู ก้านเกสรเพศเมียและเกสรเพศผู้มักเชื่อมกันเป็นเส้าเกสร รังไข่อยู่ ใต้วงกลีบ มี 6 ช่อง บางชนิดจะบิดเป็นเกลียวขณะที่เจริญขึ้น ผลเป็นแบบผลแห้งแตก แตกตามรอยตะเข็บ มีรูปร่างคล้ายกระเช้า
200
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
พืชมีท่อลำเลียง
Begonia lowiana King : ส้มกุ้ง ชื่อสามัญ - วงศ์ Begoniaceae
บริเวณสันเย็นพบขึ้นอยู่บนก้อนหินที่ความสูง 1,277 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบ ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในป่าดิบชื้น ในประเทศไทยพบเพียง 1 สกุล เป็นไม้ ล้มลุกอายุหลายปี ตั้งตรง อวบน้ำ มีเหง้าหรือหัวใต้ดิน ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ขอบเรียบ หรือจักฟันเลื่อย โคนเบี้ยว เส้นใบมักออกจากโคนใบ มีเนื้อใบ หูใบใหญ่ เนื้อแห้งบางติด แน่น ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ สมมาตรด้านข้าง เป็นดอกแยกเพศ มีทั้งดอกเพศผู้และ เพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน กลีบรวมคล้ายกลีบดอก ลักษณะไม่เหมือนกันในดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย ผลแก่แตกมีปีก เมล็ดเล็กมีจำนวนมาก ก้านดอกนำมาใช้ประกอบอาหาร ได้ มีรสเปรี้ยว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
201
พืชมีท่อลำเลียง
Celastrus monospermoides Loes. : กระทงลาย ชื่อสามัญ - วงศ์ Celastraceae
พบขึ้นตามชายป่าหรือที่เปิดโล่งในป่าดิบเขาต่ำ บริเวณสันเย็นพบที่ความสูง 1,270 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นไม้พุ่มเลื้อย กิ่งอ่อนมีรูหายใจ ใบเดี่ยวออกสลับ ขอบใบจักซี่ ฟัน มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงใหญ่ที่ปลายยอด ห้อยลง ดอกแยกเพศ (ดอก เพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน) มีขนาดเล็ก สีเขียวอมขาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบ ดอกอย่างละ 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ติดอยู่ที่ขอบของจานฐาน ดอกรูปโดม ดอกเพศเมียมีรังไข่ติดเหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียเป็นแท่ง ยอดเกสรเพศ เมียมีอันเดียว มีอับเรณูที่ลดรูปและเป็นหมัน ผลแก่แตกออกเป็นเสี่ยง แต่ละเสี่ยงจะโค้ง ไปด้านหลังและเป็นคลื่น มีเมล็ดสีเข้มล้อมรอบด้วยสีแดงโผล่ออกมา ออกดอกติดผลใน ช่วงหน้าฝน
202
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
พืชมีท่อลำเลียง
Glochidion rubrum Bl. : ชุมเส็ด ชื่อสามัญ - วงศ์ Euphorbiaceae
ขึ้นตามชายป่าพรุและป่าที่ลุ่มน้ำขัง บริเวณสันเย็นพบที่ความสูง 1,267 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้ใช้ทำฟืน มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย เรือนยอดค่อนข้างกลมถึง แผ่กระจาย ออกดอกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เปลือกสีน้ำตาลเทาเรียบหรือ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีชมพู ใบเดี่ยวเรียงสลับสองข้างของกิ่ง แผ่นใบรูปรี รูปไข่ถึง รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายใบมนเป็นติ่งแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบถึงมน เส้นแขนงใบ 4-6 เส้น ใบแห้งด้านบนสีน้ำตาลคล้ำ ด้านล่างสีน้ำตาลแดง ดอกเล็ก สีเหลืองแสด แยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
203
พืชมีท่อลำเลียง
Hedyotis sp. : ตองแห้ง ชื่อสามัญ - วงศ์ Rubiaceae
บริเวณสันเย็นพบที่ความสูง 1,266 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นไม้ล้มลุก ใบออก ตรงข้ามแต่ละคู่ตั้งฉากกัน หูใบขอบเรียบ เป็นซี่ฟันหรือชายครุย อาจแยกจากกัน เชื่อมติด กับโคนก้านใบหรือเป็นกาบใบ ช่อดอกออกปลายยอดหรือตามง่ามใบ คล้ายช่อกระจุกแยก แขนง ดอกจำนวนมากเรียงหลวมๆ หรือเป็นช่อกระจุกแน่นที่ปลายหรือตามง่ามใบ มีก้าน ช่อหรือไม่มี ดอกสมบูรณ์เพศ เกสรเพศเมียยาวไม่เท่ากัน พูกลีบเลี้ยงเล็ก กลีบดอกสีขาว ทรงดอกเข็ม ทรงกระบอก หรือรูประฆัง ภายในคอท่อดอกมีขน พูกลีบบิดเวียนในตาดอก กางออกหรือโค้งพับลงเมื่อบาน ก้านเกสรเพศผู้ติดในท่อกลีบดอกกึ่งสั้นหรือค่อนข้างยาว อับเรณูติดอยู่ในดอกหรือโผล่พ้นดอก ยอดเกสรเพศเมีย 2 พูหรือเป็นตุ่ม อยู่ในดอกหรือ โผล่พ้นดอก รังไข่มี 2 ช่อง ผลแก่แตกกลางพู ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปมีประมาณ 35 ชนิด
204
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
พืชมีท่อลำเลียง
Hypobathrum sp. : คันแหลมใบยาว ชื่อสามัญ - วงศ์ Rubiaceae
บริเวณสันเย็นพบที่ความสูง 1,254 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไม้ต้นขนาดเล็ก ต้นมัก ตรง มีกิ่งออกตรงข้าม และแต่ละคู่ตั้งฉากกัน โดยกิ่งอาจตั้งตรงหรือกางออกไปทางด้าน ข้าง ใบออกตรงข้าม มีก้านใบ เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง หูใบร่วม รูปสามเหลี่ยม หลุดร่วงง่าย ช่อดอกออกตามง่ามใบและตรงข้ามกัน คล้ายช่อดอกกระจะ (ช่อดอกมีก้าน ช่อ) เป็นดอกสมบูรณ์เพศ โคนกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายเป็นพูกลีบเล็กๆ กลีบดอกสี ขาวอมเหลือง เป็นรูปทรงดอกเข็ม โคนเป็นท่อสั้นมีขนที่คอดอก พูกลีบบิดเวียนในตาดอก โค้งลงเมื่อดอกบาน เกสรเพศผู้ติดที่คอดอก อับเรณูมีก้านสั้น โผล่พ้นดอกบางส่วน ก้าน เกสรเพศเมียมียอดเกสรเพศเมีย 2 พู ยอดเกสรเพศเมียโผล่พ้นดอกเล็กน้อย รังไข่มี 2 ช่อง ผลกลมรีหรือรูปกระบอง (รูปไข่กลับ) มีเนื้อหลายเมล็ด ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ ภาคใต้มีประมาณ 3-4 ชนิด เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
205
พืชมีท่อลำเลียง
Pavetta glaciliflora Wall. ex Ridl. : เข็มเกลี้ยง ชื่อสามัญ - วงศ์ Rubiaceae
บริเวณสันเย็นพบที่ความสูง 1,281 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นไม้พุ่ม ใบออกตรง ข้าม ตัวใบมีปมแบคทีเรียคล้ายเป็นปุ่มสีเข้ม หูใบร่วม โคนใบเชื่อมติดกัน รูปสามเหลี่ยม ปลายเรียวแหลมเป็นหาง ช่อดอกออกที่ปลายยอดของกิ่งที่มีใบทั่วไป ทำให้ดูคล้าย ออกดอกตามง่ามใบ ดอกหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงโคนเป็นท่อปลายเป็นพู กลีบดอกสีขาว ทรงดอกเข็ม โคนเป็นท่อทรงกระบอกแคบ พูกลีบบิดเวียนในตาดอก กาง ออกเมื่อดอกบาน ผลค่อนข้างกลมสีดำเป็นมัน พบทั่วไปในประเทศไทยทั้งในป่าดิบและป่า ผลัดใบ
206
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
พืชมีท่อลำเลียง
Sacaranda glaba (Thunb.) Nakai subsp. brachystachys (Blume) Verdc. : กระดูกเกลี้ยง ชื่อสามัญ - วงศ์ Chloranthaceae
พบในป่าดิบเขาต่ำและป่าดิบเขาสูง ขึ้นในหุบเขา ชอบที่ชื้น บริเวณสันเย็นพบที่ ความสูง 1,298 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นไม้พุ่ม ตั้งตรง กิ่งก้านมีข้อบวมพอง ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามและแต่ละคู่ตั้งฉากกัน และมีแบบที่ติดข้อเดียวกันหลายใบ ขอบใบจักซี่ฟัน เส้นใบออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก ระหว่างโคนก้านใบมีสันหรือมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีเกสรเพศผู้อันเดียว ดอกลดรูปไม่มีกลีบ รังไข่ติดใต้วงกลีบ ผลกลม มีเนื้อ เมล็ดเดียวแข็ง ผลเมื่อสุกจะมีสีแดง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
207
พืชมีท่อลำเลียง
Rubus alceifolius Poir. : ไข่ปูใหญ่ ชื่อสามัญ - วงศ์ Rosaceae
บริเวณสันเย็นพบที่ความสูง 1,301 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นไม้พุ่ม เลื้อยพัน ต้นไม้อื่น พบได้ทั่วไป มีหนามหรือขนแข็ง ใบเดี่ยว ขอบจักแบบฝ่ามือ 5 พู ขอบพูจักตื้นมี ก้านใบและหูใบ กลีบเลี้ยงรูปถ้วย พูนอกจักแบบฝ่ามือหรือเป็นครุยแบบขนนก พูในขอบ เรียบปลายแหลม กลีบดอกสีขาวค่อนข้างกลม 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดแน่น กลีบดอกแยก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก มีหลายคาร์เพลแยกติดบนแกนดอกรูปกรวย แต่ละคาร์เพลมี ก้านเกสรเพศเมียเป็นเส้นด้าย และยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ผลกลุ่มอยู่ติดกันบนแกนรูป ทรงกระบอก สีแดงกลม ออกดอกติดผลในหน้าฝน
208
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
พืชมีท่อลำเลียง
Tetrasigma matabite (Blume) Planch. : องุ่นป่า ชื่อสามัญ - วงศ์ Vitaceae
พบบริเวณยอดสันเย็นที่ความสูง 1,280 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นไม้เถาขนาด ใหญ่ ตามส่วนต่างๆ มีขนประปราย แต่จะค่อยๆ หลุดร่วงไป ตามผิวเปลือกมักเป็นคราบ ขาว ใบเป็นช่อกางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน แต่ละช่อมีใบย่อย 3-5 ใบ รูปขอบขนานหรือรูป หอกกลับ ปลายใบเรียวหรือคอดเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบหรือป้านแต่เบี้ยว ขอบใบหยัก เป็นซี่ฟันหรือฟันเลื่อยห่างๆ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ก้านช่อใบยาวถึง 10 เซนติเมตร มักจะมี ขนประปราย ช่อดอกเป็นรูปช่อกระจุกหลายๆ ช่อมารวมกัน ออกตามง่ามใบ ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 แฉก โคนกลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยเป็น ติ่งแหลมเล็กๆ 4 ติ่ง กลีบดอกเป็นอิสระกัน ผลกลม อุ้มน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ภายในมี 2-4 เมล็ด
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
209
มะเดื่อ - ไทร
Ficus cucurbitina King : ไทรคัน ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นไทรที่พบขึ้นในป่าดิบชื้น ต้นสูงได้ถึง 30 เมตร พบค่อนข้างน้อยในอุทยานแห่ง ชาติเขานัน ออกผลดกมากและออกตลอดทั้งปี ผลรูปรียาวคล้ายผลแตง ที่ผิวมีขนแข็ง ปกคลุม เวลาสัมผัสจะตำมือและคัน แต่สัตว์ป่าหลายชนิดชอบกินผลสุกของมันมาก
210
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มะเดื่อ - ไทร
Ficus glaberrima Blume : เดื่อไทร ชื่อสามัญ - วงศ์ Moraceae
เป็นไทรเพียงต้นเดียวที่พบขึ้นอยู่บนสันเย็น ที่ระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ต้นสูงประมาณ 15 เมตร กิ่งก้านแผ่กว้าง ผลกลม มีก้าน ผลสุกสี เหลืองแกมส้ม สามารถออกผลได้ทั้งปี
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
211
ขิง - ข่า
Amomum sp. : เร่วช้างเหลือง ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
คาดว่าเป็นกระวานชนิดใหม่ หรือไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อน มีดอกสีเหลือง สดและบอบบางช้ำง่าย เจริญเป็นกอขนาดใหญ่ 5–10 ต้น สูงได้ถึง 3 เมตร พบได้ตั้งแต่ ระดับความสูง 500 - 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึง เมษายน และพบผลสุกในเดือนเมษายนเป็นต้นไป ผลมีหนามแข็ง เป็นอาหารของสัตว์ ต่างๆ
212
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
Geostachys sp. : ข่าเขย่ง ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
ข่าเขย่ง เรียกตามลักษณะของรากที่ค้ำเหง้าให้ลอยเหนือผิวดิน ชอบขึ้นตามพื้นดิน ที่มีใบไม้หรือมอสทับถมเป็นจำนวนมาก ต้นสูงประมาณ 40–50 เซนติเมตร ดอกออกทาง ด้านข้างของเหง้า ดอกมีขนาดเล็กมาก
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
213
ขิง - ข่า
Globba leucantha Miq. : หงส์เหินขาว ชื่อสามัญ – วงศ์ Zingiberaceae
พบได้ค่อนข้างยาก เจริญเป็นกอ 5–15 ต้น ตามซอกหินริมน้ำตก บางครั้งเจริญบน ก้อนหินที่มีมอสขึ้นอยู่ ที่ความสูงตั้งแต่ 500–1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกดอกเป็น เวลานาน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม
214
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ขิง - ข่า
Hedychium sp. : มหาหงส์ ชื่อสามัญ - วงศ์ Zingiberaceae
มหาหงส์ชนิดนี้เป็นชนิดที่มีการเจริญบนต้นไม้ ขึ้นเป็นกอ 4-8 ต้น ตามคาคบไม้ที่มี มอสขึ้นอยู่ พบได้ยากมาก พบเฉพาะบนยอดสันเย็นเท่านั้น ที่ความสูงมากกว่า 1,1001,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล คาดว่าบนยอดสันเย็นจะมีอยู่ไม่เกิน 20 กอเท่านั้น ออกดอกช่วงปลายฤดูฝนเหมือนชนิดอื่นๆ
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
215
กล้วยไม้
Anoectochilus brevistylus (Hook.f.) Ridl. : สีอาน ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบจำนวนน้อยบริเวณใกล้ลำธารบนยอดสันเย็น ออกดอกช่วงหน้าร้อน ช่วงที่ยังไม่ ออกดอกจะเห็นเป็นสีเขียวกลืนไปกับพื้นป่าเหมือนไม้ล้มลุกขนาดเล็กอื่นๆ มีเขตการ กระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม และมาเลเซีย ประเทศไทยพบได้ในป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ และภาคใต้ที่ความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปัจจุบันมีจำนวนประชากรลด น้อยลงมาก สีอานเป็นกล้วยไม้ดินขนาดเล็ก ส่วนลำต้นที่อยู่เหนือดินอวบน้ำและเปราะหักง่าย ชูตั้งขึ้น มีใบ 3-4 ใบ เรียงสลับเวียนรอบต้น โคนแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเกิดที่ ปลายยอด ก้านช่อดอกมีขนปกคลุมหนาแน่น มี 3-7 ดอก ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงขนาดใหญ่สีเขียว ผิวด้านนอกมีขนจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวรูปเคียวขนาดเล็ก ปลายกลีบปากแยกเป็นสองแฉกและบิดเล็กน้อย ด้านข้างของก้านกลีบปากมีรยางค์สีเขียว เหมือนก้างปลา
216
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Bulbophyllum salaccense Rchb.f : สิงโตช่อม่วง ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบจำนวนน้อยขึ้นบนต้นไม้ที่อยู่ใกล้ไหล่เขาที่แสงสามารถส่องถึงบนยอดสันเย็น เป็นกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งที่หายาก มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาเลเซีย สุมาตรา และ บอร์เนียว การพบสิงโตช่อม่วงในประเทศไทยถือว่าเป็นแหล่งการกระจายพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะ พบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล แสดงให้เห็น ว่าเทือกเขานครศรีธรรมราชน่าจะเป็นแนวการกระจายพันธุ์ที่ขึ้นมาสูงสุดของสิงโตช่อม่วง สิงโตช่อม่วงเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก ลำต้นมีเยื่อกาบใบสีน้ำตาลเป็นปลอก หุ้มตลอด ใบเป็นแผ่นบางรูปไข่ ช่อดอกออกที่ซอกใบ เป็นช่อแบบกระจุกขนาดเล็ก ก้าน ช่อดอกโค้งงอขึ้น ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก 10-15 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีม่วง แกมดำตัดกับสีขาวของกลีบปาก เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบจะกางออกแค่เล็กน้อย ออกดอก ช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
217
กล้วยไม้
Bulbophyllum sigaldiae Guill. : เอื้องขยุกขยุยถิ่นใต้ ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
การสำรวจพบเอื้องขยุกขยุยถิ่นใต้บนยอดสันเย็นเกิดจากการได้ยินเสียงแมลงวัน จำนวนมากกำลังบินตอมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่กำลังบานเต็มที่และส่งกลิ่นเหม็นเหมือนซากสัตว์ ตาย ซึ่งเป็นการล่อแมลงวันให้มาช่วยผสมเกสร เอื้องขยุกขยุยถิ่นใต้เป็นกล้วยไม้หายาก พบครั้งแรกที่เวียดนาม การสำรวจพบในประเทศไทยถือว่าเป็นแหล่งการกระจายพันธุ์ใหม่ และพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณ เทือกเขานครศรีธรรมราชจึงน่าจะเป็นแนวการกระจายพันธุ์ที่ลงมาต่ำสุดของเอื้องขยุกขยุย ถิ่นใต้ เอื้องขยุกขยุยเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นทอดขนานไปกับต้นไม้หรือกิ่งไม้ ช่อดอก สั้น ขนาดใหญ่ มี 7-10 ดอก สีแดงเข้ม ปลายกลีบม้วนงอไปด้านหลัง ขอบกลีบมีขนยาวสี แดง กลีบปากรูปไข่หนา ด้านบนมีตุ่มเล็กๆ จำนวนมาก ดอกจะบานพร้อมกัน ออกดอก ช่วงหน้าร้อน กล้วยไม้ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับสิงโตขยุกขยุย (B. dayanum) มาก แต่ ช่อดอกของสิงโตขยุกขยุยมีแค่ 3-5 ดอก ดอกจะใหญ่กว่า และใบด้านล่างมักมีสีม่วง
218
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Calanthe triplicata (Willemet) Ames : อั้ว, อั้วดอกขาว, ข้าวตอกฤาษี, พุ่มข้าวตอก ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบขึ้นเป็นกอจำนวนมากจะเห็นพื้นป่าเป็นสีขาวพร่างไปตลอดเส้นทางตั้งแต่ความ สูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลจนถึงยอดสันเย็น กล้วยไม้ชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ ทั่วไปในอินเดีย ญี่ปุ่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และออสเตรเลีย ประเทศไทยสามารถ พบได้ในป่าดิบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง ชอบขึ้นบริเวณที่โล่งหรือมีแสงรำไร อั้วเป็นกล้วยไม้ดินขนาดใหญ่ ใบรูปขอบขนานแกมรูปรีขนาดใหญ่ ใบอ่อนจะพับจีบ ตามแนวยาวเป็นที่มาของชื่อ triplicata ซึ่งมีรากศัพท์เป็นภาษาละติน แปลว่า ใบพับจีบ สามครั้ง ออกดอกเป็นช่อตั้งขึ้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ออกเป็นพุ่มสีขาวตรงปลายช่อ ดอกจะมีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวรองรับ กลีบปากแยก ออกเป็น 4 แฉก ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
219
กล้วยไม้
Celogyne xyrekes Ridl. : เอื้องผาหมอก ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบเกาะอยู่บนต้นไม้ทั่วไปที่ยอดสันเย็น ดอกมีขนาดใหญ่สะดุดตา มีเขตการ กระจายพันธุ์ในมาเลเซียและทางภาคใต้ของประเทศไทย มักจะพบในป่าที่เป็นภูเขาสูงที่ ความสูง 700-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล เอื้องผาหมอกเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดใหญ่ ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปรีขนาดใหญ่ 1 ใบ แผ่นใบบางและมีรอยพับจีบตามแนวยาว ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายยอดของ หน่อใหม่จำนวน 1-2 ดอก สีขาวนวล ดอกมีขนาดใหญ่มากและมักคว่ำหน้าลง บานครั้งละ หนึ่งดอก ที่โคนก้านช่อดอกจะมีใบประดับซ้อนคลุมอยู่ กลีบเลี้ยงรูปแถบหรือขอบขนาน ขนาดใหญ่ แต่กลีบดอกเป็นเส้นเล็กเรียวยาว กลีบปากขนาดใหญ่ ขอบด้านข้างทั้งสองพับ ตั้งขึ้นคลุมส่วนของเส้าเกสรสีเหลืองไว้ ด้านบนของกลีบปากมีแนวสันนูนหยักเป็นคลื่น 2 แนวเรี ย งขนานกั น ตามยาว และแต้ ม ด้ ว ยสี น ้ ำ ตาล ออกดอกช่ ว งเดื อ นมี น าคมถึ ง พฤษภาคม
220
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Coelogyne tomentosa Lindl. : เอื้องสายเสริฐสันเย็น ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
เมื่อเดินขึ้นถึงจุดที่เป็นยอดสันเย็นจะเห็นบนต้นไม้มีพวงสีขาวห้อยลงมาเป็นสาย ยาวทั่วทั้งป่า ชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า เอื้องสายเสริฐ แต่ชนิดนี้เป็นคนละชนิดกับเอื้อง สายเสริฐ (Coelogyne rochussenii) ที่ตั้งเป็นเกียรติกับคุณเสริฐ โดยเอื้องสายเสริฐที่พบ ที่สันเย็นจะมีช่อดอกที่ใหญ่กว่า จึงขอเรียกว่า เอื้องสายเสริฐสันเย็น มีเขตการกระจายพันธุ์ ในมาเลเซีย ชวา และบอร์เนียว ในประเทศไทยมีรายงานพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น โดย เฉพาะในเขตเทือกเขานครศรีธรรมราชที่ความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล เอื้องสายเสริฐสันเย็นเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดใหญ่ ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปรี ขนาดใหญ่จำนวน 2 ใบ แผ่นใบบางและมีรอยพับจีบตามแนวยาว ช่อดอกออกที่ปลาย ยอดของหน่อใหม่ มีลักษณะเป็นพวงยาว 30-50 เซนติเมตร ห้อยลง มี 15-25 ดอกย่อย และมักบานพร้อมกัน โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดใหญ่สีน้ำตาลคลุมอยู่ กลีบปากสี น้ำตาลแต้มด้วยสีขาวและสีเหลืองตัดกับสีขาวของกลีบดอก ทำให้กลีบปากดูเด่นชัด เหมือนกำลังลอยอยู่ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
221
กล้วยไม้
Dendrobium arcuatum J.J. Sm. : เอื้องนกกระเรียน ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบจำนวนน้อยบนยอดสันเย็น ที่น่าสนใจคือกล้วยไม้ชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ เฉพาะทางตะวันออกของชวาเท่านั้น ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ความสูง มากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลถือว่าเป็นแหล่งการกระจายพันธุ์ใหม่ที่ข้ามมาไกล มาก โดยยังไม่มีรายงานพบในมาเลเซีย ทำให้มีข้อสงสัยว่าเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวกับที่พบ ที่ชวาหรือจะเป็นคนละชนิดกัน เอื้องนกกระเรียนเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นแท่งกลมยาว 20-40 เซนติเมตร ใบรูปรีแกมขอบขนานออกสลับในระนาบเดียวกัน ช่อดอกสั้นมี 1-3 ดอก มัก ออกจากลำลูกกล้วยที่ไม่มีใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบสีขาวกางออกเหมือนปีกผีเสื้อ กลีบ ปากมีแต้มสีเหลือง ขอบกลีบพับจีบเป็นคลื่น
222
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
กล้วยไม้
Eria pachystachya Lindl. : เอื้องพวงมาลัย ชื่อสามัญ - วงศ์ Orchidaceae
พบจำนวนน้อยที่ยอดสันเย็น มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาเลเซีย สุมาตรา และชวา ที่ความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยมีรายงานพบเฉพาะทางภาคใต้ เท่านั้นที่ความสูงตั้งแต่ 700–1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล กล้วยไม้ชนิดนี้มีลักษณะใกล้ เคียงมากกับกล้วยไม้อีกสองชนิด คือ E. floribunda Lindl. และ E. densa Ridl. แต่ แตกต่างกันเล็กน้อยตรงลักษณะของกลีบปาก เอื้องพวงมาลัยเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นเป็นกอ ลำลูกกล้วยเป็นแท่งค่อนข้างกลม ใบรูปแถบหรือรูปขอบขนานมี 3-6 ใบ แผ่นใบค่อนข้างหนาแต่ไม่แข็ง โคนก้านใบแผ่เป็น กาบหุ้ม ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ยอด 2-5 ช่อ ดอกมีขนาดเล็กจำนวนมากอัดแน่นคล้าย กับพวงมาลัย ส่วนปลายช่อจะโค้งเล็กน้อย ดอกสีขาวแกมชมพู ฝาปิดอับเรณูมีสีม่วงเข้ม ตัดกับสีขาวของกลีบดอก มองเห็นเป็นจุดสีม่วงตลอดทั้งช่อ ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึง พฤษภาคม เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
223
ผีเสื้อกลางวัน
Hasora myra funebris Evans, 1932 : ผีเสื้อหน้าเข็มหางจาง ชื่อสามัญ Pale-tailed awl วงศ์ Hesperiidae (ผีเสื้อบินเร็ว)
พบกระจายบริเวณยอดสันเย็นตั้งแต่ระดับความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกบินในช่วงเช้ามืด โดยพบบินวนไปมาในบริเวณที่ตั้งแคมป์ ลงเกาะดูดกินน้ำจากเสื้อผ้า ที่แขวนตากไว้ และหายไปในช่วงสาย พบอีกครั้งในช่วงพลบค่ำ บินเร็วและปราดเปรียว เวลาบินจะได้ยินเสียงกระพือปีกชัดเจนมาก มีถิ่นกระจายในภาคใต้ของประเทศไทย และ คาบสมุทรมลายู ผีเสื้อหน้าเข็มหางจางเป็นผีเสื้อบินเร็วขนาดใหญ่ ความกว้างของปีกประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ลำตัวและปีกสีน้ำตาล ปีกด้านบนบริเวณขอบปีกด้านข้างมีสีน้ำตาลคล้ำกว่า โคนปีก
224
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางวัน
Heliophorus ila nolus Eliot, 1963 : ผีเสื้อขมิ้นกับปูนแถบแคบ ชื่อสามัญ Restricted purple sapphire วงศ์ Lycaenidae (ผีเสื้อสีน้ำเงิน)
พบกระจายบริเวณสันเย็นที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบ มากบนยอดสันเย็น มักจะบินออกมาผึ่งแดดบนใบไม้ตามที่โล่งในช่วงเช้า ยามบ่ายจะเกาะ พักตามพุ่มไม้เตี้ยๆ ดูดกินน้ำหวานจากดอกของไม้ต้นที่ค่อนข้างสูง มีถิ่นการกระจายใน ประเทศจีน ตอนใต้ของยูนาน ไต้หวัน ตอนใต้ของพม่า คาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยมีรายงานเฉพาะภาคเหนือ นับเป็นการสำรวจพบเป็นครั้งแรกในภาคใต้ ผีเสื้อขมิ้นกับปูนแถบแคบเป็นผีเสื้อขนาดเล็ก ความกว้างของปีกประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ตัวผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม กลางปีกคู่หน้ามีเหลือบสีน้ำเงิน ส่วนตัวเมียมีพื้นปีก สีดำ บริเวณกลางปีกคู่หน้ามีแถบสีส้มสั้นๆ คาดขวาง ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังมีแถบ สีส้ม ส่วนด้านใต้ปีกของทั้งสองเพศเหมือนกัน คือมีพื้นปีกสีเหลือง และมีแถบสีส้มคาดที่ ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลัง เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
225
ผีเสื้อกลางวัน
Papilio (Menelaides) iswara iswara White, 1842 : ผีเสื้อหางติ่งอิศวร ชื่อสามัญ Great helen วงศ์ Papilionidae (ผีเสื้อหางติ่ง)
พบได้ง่ายในบริเวณสันเย็นตั้งแต่ป่าระดับต่ำขึ้นไปจนถึงป่าดิบเขาระดับสูง มักจะ บินไปมาตามทางเดินในป่าและตามที่โล่ง หุบเขาและช่องว่างในป่า ไม่ค่อยพบลงเกาะตาม พุ่มไม้ ดูดกินน้ำหวานของดอกไม้ป่า เช่น พนมสวรรค์ บางครั้งพบลงกินโป่งบริเวณข้าง ลำธารหรือน้ำตก มีถิ่นกระจายทางตอนใต้ของพม่า สิงคโปร์ เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันตก ผี เ สื ้ อ หางติ ่ ง อิ ศ วรเป็ น ผี เ สื ้ อ ขนาดใหญ่ ความกว้ า งของปี ก ประมาณ 13-14 เซนติเมตร ลำตัวสีดำ พื้นปีกสีดำ มีแถบสีขาว 4 แถบบริเวณใกล้ๆ ขอบปีกด้านข้างของ ปีกคู่หลัง ปรากฏทั้งสองด้านของปีก ที่มุมล่างของปีกคู่หลังมีจุดตาสีแดง ด้านในมีจุดดำ แต้มอยู่ตรงกลาง 2 จุด
226
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางวัน
ภาพ : วีรวุฒิ กระจ่างเย่า
Prothoe franck uniformis Butler, 1885 : ผีเสื้อเจ้าหญิงฟ้า ชื่อสามัญ Blue begum วงศ์ Nymphalidae (ผีเสื้อขาหน้าพู่)
พบกระจายในป่าดิบระดับต่ำขึ้นไปจนถึงป่าดิบเขาระดับสูงของสันเย็น มักพบลงกิน ผลไม้สุกที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน และน้ำเลี้ยงหรือยางที่ไหลออกมาจากต้นไม้ พืชอาหารของ ตัวหนอนได้แก่ ต้นส่าเหล้า (Desmos cochinchinensis) ในวงศ์ Annonaceae ซึ่งเป็น ไม้เถาชนิดหนึ่ง ลักษณะพิเศษของผีเสื้อชนิดนี้ คือเวลาเกาะพักจะหุบปีกและจะเอาด้านหัว ลงพื้นดิน ตัวผู้จะหวงอาณาเขตของตัวเอง ถ้ามีผีเสื้อตัวอื่นบินหลงเข้ามาก็จะถูกขับไล่ออก ไป พบกระจายทางแคว้นอัสสัม พม่า มาเลเซีย เกาะชวา บาหลี เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และฟิลิปปินส์ ประเทศไทยพบได้ทั่วไป ผี เ สื ้ อ เจ้ า หญิ ง ฟ้ า เป็ น ผี เ สื ้ อ ขนาดกลาง ความกว้ า งของปี ก ประมาณ 5.5-7.5 เซนติเมตร ด้านบนของปีกคู่หน้ามีแถบสีฟ้าเหลือบขาว พาดจากกลางขอบปีกหน้าลงมาถึง มุมปีกด้านข้าง พื้นปีกสีดำเหลือบ ส่วนโคนปีกมีสีเหลือบน้ำตาล ด้านใต้ปีกมีสีน้ำตาลอ่อน และมีจุดน้ำตาลเข้มกระจายบนพื้นปีก และขอบปีกด้านนอกของปีกคู่หลังมีแถบรูป สามเหลี่ยมสีเขียวและแดง เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน 227
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Grapholita sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบสันเย็น ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Grapholitini
คาดว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก พบในป่าดิบเขาที่สันเย็นระดับความสูง 1,260-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในเวลา 19.00-03.30 น. ช่วงเดือนเมษายน เก็บได้ทั้งหมด 4 ตัว เป็นตัวผู้ 2 ตัวและตัวเมีย 2 ตัว เป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีก ประมาณ 15.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลและมีแถบสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลทางโคน ปีก ด้านบนมีแต้มสีดำยาวลงมาถึงกลางปีก ขอบปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อนเรียง กัน ปีกหลังสีน้ำตาลเข้ม ขอบนอกมีรอยเว้าลึก
228
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Grapholita sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบลายซิกแซก ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Grapholitini
พบในป่าดิบเขาที่สันเย็นระดับความสูง 760-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบได้ ตลอดทั้งคืนในเดือนเมษายน มีปริมาณมาก เก็บได้ทั้งหมด 13 ตัว เป็นตัวผู้ 8 ตัวและตัว เมีย 5 ตัว คาดว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก เป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีก ประมาณ 15.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลและมีลายขวางปีกเป็นเส้นเล็กๆ สีดำ กระจายทั่วไป ขอบปีกด้านนอกมีลายเส้นซิกแซกตามขวางสีดำ ขอบปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อนเรียงกัน ปีกหลังสีน้ำตาลเข้มยกเว้นโคนปีกสีน้ำตาลอ่อนขอบนอกมีรอยเว้า ตื้น
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
229
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Neohermenias thalassitis (Meyrick) : ผีเสื้อหนอนม้วนใบไฮแลนด์ ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Olethreutini
พบในป่าดิบเขาที่สันเย็นระดับความสูง 1,260-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใน เวลา 19.00-21.30 น. ช่วงเดือนเมษายน เก็บได้ทั้งหมด 3 ตัวและเป็นตัวผู้ทั้งหมด ผีเสื้อ ชนิดนี้พบครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซียและพบเฉพาะบนที่สูงมากกว่า 800 เมตรจากระดับ น้ำทะเล ทำให้เป็นผีเสื้อที่หายากชนิดหนึ่ง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 13.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีขาว ขอบปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สีดำเรียงกันทางปลายปีก ทางโคนปีกมีแถบขนาดใหญ่สีดำ ขอบปีกด้านล่างมีจุดแต้มสีดำ 3 จุดเรียงห่างกัน ปีก หลังสีเทา
230
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Sorolopha sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบปีกตะไคร่น้ำ ชื่อสามัญ – วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Olethreutini
คาดว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก พบในป่าดิบเขาที่สันเย็นระดับความสูง 1,260 - 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในเวลา 21.30-01.00 น. ช่วงเดือนเมษายน เก็บได้ทั้งหมด 4 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัวและตัวเมีย 1 ตัว ลักษณะเด่นของผีเสื้อในสกุลนี้คือส่วนใหญ่มีปีกสีเขียว เหมือนตะไคร่น้ำ เป็นผีเสื้อขนาดกลาง วัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 18.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีเขียวอ่อน และมีลายพาดทแยงตามขวางสีเขียวเข้ม ขอบปีก ด้านนอกมีจุดแต้มใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ขอบปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สีเขียวเข้มเรียงกัน ปีกหลัง สีน้ำตาล
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
231
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Sorolopha sp. : ผีเสื้อหนอนม้วนใบแต้มวงรี ชื่อสามัญ – วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Olethreutini
พบในป่าดิบเขาที่สันเย็นระดับความสูง 760-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วง เวลา 19.00-23.00 น.ในเดือนเมษายน เก็บได้ทั้งหมด 12 ตัว เป็นตัวผู้ 1 ตัวและตัวเมีย 11 ตัว เป็นผีเสื้อที่พบเป็นจำนวนมากชนิดหนึ่ง มีจุดเด่นที่แต้มวงรีสีน้ำตาลเหลืองทาง ปลายปีก คาดว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก เป็นผีเสื้อขนาดเล็ก วัดจากปลายปีกถึงปลายปีก ประมาณ 10.5 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีพื้นปีกสีน้ำตาลปนเหลืองและมีลายแถบขวางปีก ขนาดใหญ่สีดำที่โคน กลางและปลาย ขอบปีกด้านบนมีแต้มวงรีสีน้ำตาลปนเหลือง ขอบ ปีกด้านบนมีขีดเล็กๆ สีน้ำตาลเหลืองเรียงกัน ปีกหลังสีน้ำตาลเข้มยกเว้นโคนปีกสีน้ำตาล อ่อน
232
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
Spilonota melanacta (Meyrick) : ผีเสือ้ หนอนม้วนใบลายหลุยส์ ชื่อสามัญ - วงศ์ Tortricidae วงศ์ย่อย Olethreutinae เผ่า Eucosmini
ผีเสื้อชนิดนี้ถือได้ว่าพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พบในป่าดิบเขาที่สันเย็นระดับ ความสูง 1,260-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบได้ตลอดทั้งคืน ในเดือนเมษายน เก็บ ได้ทั้งหมด 8 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัวและตัวเมีย 5 ตัว มีรายงานการพบครั้งแรกที่ประเทศ อินเดีย เป็นผีเสื้อขนาดกลางวัดจากปลายปีกถึงปลายปีกประมาณ 14.0 มิลลิเมตร ปีกคู่ หน้ามีพื้นปีกสีขาวและมีลายแถบซิกแซกหนาสีดำจากโคนปีกถึงปลายปีก ขอบปีกด้านบนมี ขีดเล็กๆ สีดำเรียงกัน ขอบปีกด้านล่างมีจุดแต้มสามเหลี่ยมสีดำ 2 จุด ปีกหลังสีเทา
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
233
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Leptolalax solus : อึ่งกรายบาลา ชื่อสามัญ Bala litter toad วงศ์ Megophryidae
พบอาศัยอยู่ตามพื้นป่าบริเวณลำธารที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับ น้ำทะเล ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเทาหรือน้ำตาลเข้ม สีข้างมีจุดดำใหญ่เรียงเป็นแนว 3-4 จุด ท้องขาวมีลายขีดเล็กๆ กระจายทั่วไป ขนาดตัวยาว 23-28 มิลลิเมตร
234
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Ansonia sp. : คางคกห้วยเขานัน ชื่อสามัญ Stream toad วงศ์ Bufonidae
อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณลำธารในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับ น้ำทะเล ขนาดลำตัว วัดจากปลายปากถึงก้นยาว 19.5 มิลลิเมตร ผิวหนังมีตุ่มหยาบ ยอด ออกสีแดง แผ่นหูเห็นชัด ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องมีลายแต้มขาวดำแบบลายหิน อ่อน ใต้ฝ่ามือ ฝ่าตีนแดง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน
235
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Ingerana sp. : กบเขาหลวง ชื่อสามัญ Khao Luang frog วงศ์ Ceratobrachidae
พบอาศัยบนใบไม้สูงจากพื้นดินประมาณ 20-30 มิลลิเมตร บริเวณลำธารในเวลา กลางคืน ที่ระดับความสูง 1,100-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขนาดลำตัววัดจากปลาย ปากถึงก้นยาว 23 เซนติเมตร หัวกว้าง ผิวหนังด้านบนเรียบ มีสันต่อมเป็นแนวยาว สัน ต่อมยาวที่ขอบหลังเห็นชัด แผ่นพังผืดที่ยึดระหว่างนิ้วตีนเล็ก เป็นเพียงติ่งที่ซอกนิ้ว ปลาย นิ้วแผ่ออกเป็นแผ่น
236
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Limnonectes sp. : กบเขานัน ชื่อสามัญ Khao Nan frog วงศ์ Dicroglossidae
พบอาศัยโดยรอบในบริเวณลำธารบนพื้นทรายในเวลากลางคืนที่ระดับความสูง 1,100-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขนาดลำตัววัดจากปลายปากถึงก้นยาว 40.5 มิลลิเมตร แผ่นหูมองเห็นไม่ชัด แต่ถ้ามองใต้กล้องขยายจะมองเห็นแผ่นหูแต่ไม่เห็นขอบ แผ่นหู ผิวหนังค่อนข้างเรียบ เพศผู้หัวโต กรามขยายกว้าง ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง มีจุดเข้มขนาดใหญ่กระจาย ปลายปากสีเหลือง ใต้ท้องเหลือง
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน
237
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Rhacophorus bipunctatus : ปาดตีนเหลือง ชื่อสามัญ Twin-spotted treefrog วงศ์ Rhacophoridae
ขนาดลำตัววัดจากปลายปากถึงก้น 35-65 มิลลิเมตร หัวค่อนข้างกว้าง ปลายปาก แหลม แผ่นหูเห็นชัด ตีนหน้ามีแผ่นพังผืดประมาณ 3 ใน 4 ปลายนิ้วแผ่ขยายใหญ่เป็น แผ่น ตีนหลังมีแผ่นพังผืดยึดระหว่างนิ้วเต็มถึงโคนแผ่นปลายนิ้ว ตุ่มฝ่าตีนมีเพียงตุ่มที่ ขอบด้านใน 1 ตุ่ม ผิวหนังด้านบนเรียบ ด้านท้องหยาบ ขอบด้านนอกนิ้วตีนหน้ามีชายครุย ของแผ่นหนังยาวถึงศอก และชายครุยแบบเดียวกันที่ขอบนอกของนิ้วตีนที่ตีนหลังยาวถึง ส้น นอกจากนี้ยังมีแผ่นหนังแผ่นเล็กๆ ตามขวางยื่นออกมาจากด้านล่างของก้น
238
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Larutia sp. : จิ้งเหลนสองนิ้ว ชื่อสามัญ Two-toed skink วงศ์ Scincidae
พบใต้ขอนไม้ที่ระดับความสูง 1,200-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขนาดลำตัววัด จากปลายปากถึงก้นยาว 90-115 มิลลิเมตร หางยาว 78-112 มิลลิเมตร ลำตัวแบนทาง ด้านราบ ขาสั้น ทั้งขาหน้าและขาหลังมีนิ้วที่สมบูรณ์เพียง 2 นิ้ว ช่องหูมองไม่เห็นจาก ภายนอก ท้องขาวอมเหลืองอ่อน
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
239
สัตว์เลื้อยคลาน
Pseudocalotes sp. : กิ้งก่าหัวยาว ชื่อสามัญ Flower’s lizard วงศ์ Agamidae
พบอาศัยในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขนาดลำตัววัด จากปลายปากถึงก้นยาว 106 มิลลิเมตร หางยาว 221 มิลลิเมตร ลำตัวแบนทางด้านข้าง ตัวผู้มีแผงหนามที่สันคอยาว ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายพาดสี เข้มที่ด้านข้างลำตัวและหาง ถุงใต้คอเห็นชัด ปลายถุงเป็นแต้มสีน้ำเงินขนาดใหญ่
240
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Ramphotyphlops sp. : งูดิน ชื่อสามัญ Blind snake วงศ์ Typhlopidae
พบใต้ขอนไม้ที่ระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขนาดลำตัววัดจาก ปลายปากถึงก้นยาว 215 มิลลิเมตร หางยาว 10 มิลลิเมตร ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมดำ ด้านท้องสีน้ำตาลอ่อน บริเวณปลายปากขาว และปลายหางขาว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
241
สัตว์เลื้อยคลาน
Amphiesma inas : งูลายสาบมลายู ชื่อสามัญ Malayan mountain keelback วงศ์ Colubridae
พบในลำธารที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความยาวทั้ง ตัวประมาณ 50 เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบทางด้านหน้าประมาณ 8 แถวมีสันอ่อนๆ ส่วน ทางด้านท้ายมีถึง 15-17 แถวที่มีสัน เกล็ดรอบตัวที่กึ่งกลางตัว 19 แถว ลำตัวสีน้ำตาลอม เขียวมะกอก มีจุดสีเหลืองเรียงเป็นเส้นแนวเดียวกันที่บริเวณด้านบนเฉียงมาทางด้านข้าง บนหลังมีจุดเล็กสีเข้มเรียงเป็นแถวคู่โดยตลอด เกล็ดท้องสีดำที่ขอบ ส่วนที่เหลือสีเหลือง อ่อนเช่นเดียวกับเกล็ดใต้หาง
242
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
สัตว์เลื้อยคลาน
Pareas sp. : งูกินทาก ชื่อสามัญ Slug snake วงศ์ Colubridae
ขนาดลำตัววัดจากปลายปากถึงก้นยาว 318 มิลลิเมตร หางยาว 68 มิลลิเมตร ตัว สีออกเหลือง เกล็ดมีจุดดำและขาวติดกัน ด้านข้างของหัวมีแถบขวางสีดำ ลักษณะคล้าย กับงูกินทากจุดขาว (Pareas macularius) แต่ไม่มีเกล็ดหน้าตา (loreal) อย่างงูกินทากจุด ขาว
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
243
บทสรุป ชุดโครงการป่าเมฆเขานัน เริ่มต้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 เป็นชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ (Area-based project) ยุคใหม่ของโครงการ BRT ที่ได้ออกแบบให้นักวิจัยร่วมกันวางแผน วาง รูปแบบตารางบันทึกผลการทดลอง มีทิศทางการวิจัยที่ชัดเจน มีหุ้นส่วน รวมทั้งมีระบบฐาน ข้อมูล (NBIDS-BRT) ที่คอยรวบรวมและจัดการข้อมูลให้กับนักวิจัยในชุดโครงการ ที่สำคัญ ชุดโครงการป่าเมฆเขานัน เน้นการศึกษาทางนิเวศวิทยาอย่างจริงจัง มีการ ติดตามสถานภาพ (Monitoring) ของพืชและสัตว์หลายชนิดโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นผู้ทำวิจัย เช่น การศึกษาสถานภาพของกล้วยไม้และขิงตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การเฝ้า ติดตามสถานภาพของผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่และด้วงบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้ ชุดโครงการป่าเมฆเขานัน ยังเป็นชุดโครงการแรกที่ได้สนใจในการศึกษา สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) โดยเน้นการศึกษาที่บริเวณระบบนิเวศที่ เรียกว่า ป่าเมฆ และที่อุทยานแห่งชาติเขานัน โดยได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติที่ บริเวณป่าประและที่ป่าเมฆ ในขณะเดียวกันได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศตามหน่วยพิทักษ์ 8 สถานีของอุทยานแห่งชาติเขานัน โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เป็นผู้เก็บบันทึกข้อมูลสภาพอากาศทุก วัน ขณะนี้ได้วางแผนที่จะนำ Data logger ไปติดตั้งตามระดับความสูงต่างๆ ที่เขานันเพื่อศึกษา การเปลี่ยนแปลงของอากาศตามระดับชั้นความสูงจากระดับ 200 เมตร ไปจนกระทั่งถึง 1,400 เมตร จะทำให้สามารถเข้าใจแถบการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ (Ecotone) ที่เขานันได้ เพราะถ้า ทราบข้อมูลเบื้องต้นของลักษณะภูมิอากาศตามระดับความสูงแล้ว จะทำให้มีข้อมูลเปรียบเทียบ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน สภาวะภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) ย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทาง ชีวภาพของป่าเมฆเขานันอย่างแน่นอน พร้อมกันนั้น ชุดโครงการป่าเมฆเขานัน ยังได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านชีพลักษณ์ (Phenology) ของป่าประ ซึ่งเป็นพืชดัชนีชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ภูมิอากาศ โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน ทำการเฝ้าสังเกตการแตกยอดของประ และการ ออกช่อดอกของประ ซึ่งถ้าสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ย่อมมีผลกระทบต่อเวลาที่ประแตก ยอด และระยะเวลาที่แตกยอดของประ
244
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
จากการทำวิจัยของนักวิจัยในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา พบสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นหลาย ชนิด เช่น เฟิร์นก้านดำ Adiantum latifolium Lam. ซึ่งเป็นเฟิร์นจากอเมริกากลาง และมด ฟาร์โรห์ Monomorium pharaonis เป็นมดต่างถิ่นจากอาฟริกาที่ประสบความสำเร็จในการ ปรับตัวเข้ารุกรานเกือบทุกทวีป มีถิ่นอาศัยตามบ้านเรือน และสร้างความรำคาญ นักวิจัย ประหลาดใจที่พบมดชนิดนี้ที่ป่าเมฆสันเย็น ซึ่งคาดว่าน่าจะติดสัมภาระจากนักวิจัยหรือนักท่อง เที่ยวขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีมดต่างถิ่นที่อุทยานแห่งชาติเขานันที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ มดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes) ซึ่งอยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานที่ร้ายแรงของโลกจำนวน 100 ชนิด ตามการจัดของ Global Invasive Species นอกจากนี้ยังพบมดต่างถิ่นชนิดอื่นๆ เช่น มด คันไฟ (Solenopsis geminata) และมดละเอียดหัวท้ายดำ (Monomorium floricola) เป็นต้น ป่าเมฆเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ชุดโครงการป่าเมฆเขานันได้จัดการ สำรวจแบบทีม (Expedition) ในเดือนเมษายน 2550 ได้มีนักวิจัยที่มีความชำนาญเฉพาะทางสูง หลายท่านเข้าร่วม ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะป่าเมฆ สภาวะ แวดล้อม และสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ ป่าเมฆอันเปราะบางอย่างแน่นอน เนื่องจากพืชที่อยู่ในป่าเมฆมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ทำให้พืช ที่เป็นพืชเฉพาะถิ่นไม่สามารถปรับตัว และแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นได้ เมื่อนำมาผนวกกับ สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นรุกรานจากพื้นที่ ระดับต่ำขึ้นสู่ป่าเมฆ อาจทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ซึ่งอาจเป็นที่ที่ไม่เหมาะสม กับสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นป่าเมฆก็ได้ ชุดโครงการป่าเมฆเขานันยังเน้นการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ประโยชน์จากป่าของ ชุมชนและการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากป่าประ ซึ่ง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขานัน บริเวณดังกล่าวมีลูกประเป็น ผลผลิตสำคัญของป่า สามารถแปลงเป็นอาหารพื้นบ้านหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีพืชอาหารและ สมุนไพรหลายชนิด ซึ่งยังรอการศึกษาทั้งด้านเศรษฐกิจ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม การศึกษาธรรมชาติในป่าเปรียบเสมือนการค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุดธรรมชาติขนาด ใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขานัน และป่าเมฆสันเย็นมีสิ่งมีชีวิตที่น่าค้นคว้าสนใจใคร่รู้อีกมากมาย การ สั ง เกตและการตั ้ ง คำถาม การได้มาถึงคำตอบเป็นหัวใจสำคั ญ ในการศึ ก ษาธรรมชาติ แ ละ วิทยาศาสตร์ ดังนั้นเราควรสร้างจิตสำนึก หวงแหนทรัพยากรทางชีวภาพที่มีอยู่ ทำการศึกษา ค้นคว้าเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
245
• เอกสารอ่านประกอบ •
กลุ ่ ม อนุ ร ั ก ษ์ ต ้ น น้ ำ คลองกลาย. 2547. สื บ ชะตาแม่ น ้ ำ คลองกลาย. เอกสารประกอบงาน สืบชะตาแม่น้ำคลองกลาย ในวันที่ 22-24 เมษายน 2547 ณ บ้านปากลง ต.กรุงชิง กิ่ง อ.นบพิ ตำ จ.นครศรีธรรมราช. เอกสารอัดสำเนา 65 หน้า. ปรีชา วิทยพันธุ์. 2543. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ จุดชมวิวสุนันทา. ใน : หนังสืออุทยานแห่งชาติเขานัน, สุรีพัฒน์ โปซู้ (บรรณาธิการ). หน้า 68-171. สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว นนทบุรี. แผนงานสนับสนุนความร่วมมือในประเทศไทย. 2550. รายงานการลงพื้นที่ภาคสนามเบื้องต้นในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่เขตกันชนของอุทยานฯ ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2550. เอกสารอัดสำเนา. ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กรุงเทพฯ. อบฉันท์ ไทยทอง. 2543. กล้วยไม้เมืองไทย. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ. Bae, Y.S. 1995. The Thai species of Lobesia (Lepidoptera: Tortricidae). Microlepidoptera of Thailand 3: 33-48. Berg, C.C. 2003a. Flora Malesiana precursor for the treatment of Moraceae 2: Ficus subgenus Pharmacosycea section Oreosycea. Blumea 48: 289-301. Berg, C.C. 2003b. Flora Malesiana precursor for the treatment of Moraceae 3: Ficus subgenus Ficus. Blumea 48: 529-550. Berg, C.C. 2003c. Flora Malesiana precursor for the treatment of Moraceae 4: Ficus subgenus Synoecia. Blumea 48: 551-571. Berg, C.C. 2003d. Flora Malesiana precursor for the treatment of Moraceae 5: Ficus subgenus Sycidium. Blumea 48: 573-597. Berg, C.C. 2004. Flora Malesiana precursor for the treatment of Moraceae 6: Ficus subgenus Sycomorus. Blumea 49: 155-200. Berg, C.C., E.J.H. Corner. 2005. Ficus (Moraceae). Flora Malesiana, Serie 1 - Seed Plants. Vol. 17, Part 2: 1-730. Bolton, B. 1994. Identification Guide to the Ant Genera of the World. Harvard University Press, Cambridge. Bolton, B. 1995. A New General Catalogue of Ants of the World. Harvard University Press, Cambridge.
246
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
Boonkerd, T. and R. Pollawatn. 2000. Pteridophytes in Thailand. Office of Environmental Policy and Planning, Bangkok, Thailand. 312 p. Boulenger, G.A. 1912. A Vertebrate Fauna of the Malay Peninsula from Isthmus of Kra to Singapore Including the Adjacent Islands. Taylor and Francis, London. 294 p. Brandâo, C.R.F., J.L.M. Diniz, D. Agosti and J.H. Delabie. 1999. Revision of the Neotropical ant subfamily Leptanillinae. Systematic Entomology 24: 17-36. Brown, J.W. 2005. Tortricidae (Lepidoptera). World Catalogue of Insects 5: 1-741. Bubb, P., I. May, L. Miles and J. Sayer. 2004. Cloud Forest Agenda. UNEP-World Conservation Monitoring Centre, Cambridge, United Kingdom. Burch, J.B., S. Panha and P. Tongkerd. 2003. New taxa of Pupillidae (Pulmonata: Stylommatophora) from Thailand. Walkerana 13: 129-187. Cameron, R.A.D., M. Mylonas, K. Triantis, A. Parmakelis and K. Vardinoyannis. 2003. Land snail diversity in a square kilometer of Cretan maquis: Modest species richness, high density and local homogeneity. Journal of Molluscan Studies 69: 93-99. Chayamarit, K. 2002. Plant Taxonomy Hand Book (in Thai). The Forest Herbarium, Royal Forest Department of Thailand. Coddington, J.A., C.E. Grisworld, D.S. Davila, E. Penaranda and S.F. Larcher. 1991. Designing and testing sampling protocols to estimate biodiversity in tropical ecosystems. In Dudley, E.C. (ed.), The Unity of Evolutionary Biology: Proceedings of the Fourth International Congress of Systematic and Evolutionary Biology, pp. 44-60. Dioscorides Press, Porland, Oregon. Dankittipakul, P. 2002. Diversity, distribution and occurrence of spider in Doi Inthanon National Park, Chiang Mai Province. M.S. Thesis. Chiangmai University, Thailand. David, P. and O.S.G. Pauwels. 2004. A re-evaluation of the taxonomy of Macrocalamus lateralis Gunther, 1864 (Serpentes, Colubridae), with the descriptions of two new species. Raffles Bull. Zool. 52(2): 635-645. De Winter, A.J. and E. Gittenberger. 1998. The land snail fauna of a square kilometer
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
247
patch of rainforest in southwestern Cameroon: high species richness low abundance and seasonal fluctuation. Malacologia 40: 231-250. Deeleman-Reinhold, C.L. 2001. Forest spider of South East Asia: with a revision of the sac and ground spiders (Araneae: Clubionidae, Corinnidae, Liocranidae, Gnaphosidae, Prodidomidae and Trochanteriidae [sic]). Brill, Leiden. 591 p. Gerson, U. 1982. Bryophytes and invertebrates. In A.J.E. Smith (ed.), Bryophyte Ecology, pp. 291-332. Chapman and Hall, New York. He, S. 1998. The floristic composition and phytogeographical connections of Thai mosses. Journal of Hattori Botanical Laboratory 84: 121-134. Hölldobler, B. and E.O. Wilson. 1990. Ants. Springer Verlag, Berlin. Jaitrong, W. and J. Nabhitabhata. 2005. A list of known ant species of Thailand (Formicidae: Hymenoptera). The Thailand Natural History Museum Journal 1(1): 9-54. Kawabe, A. 1987. Records and descriptions of the subtribe Sycacanthae (Lepidoptera: Tortricidae) from Thailand. Microlepidoptera of Thailand 1: 61-68. Kawabe, A. 1989. Records and descriptions of the subfamily Olethreutinae (Lepidoptera: Tortricidae) from Thailand. Microlepidoptera of Thailand 2: 23-82. Kawabe, A. 1995. Records and descriptions of the family Tortricidae (Lepidoptera) from Thailand, IV. Microlepidoptera of Thailand 3: 49-62. Kittipanangkul, N. 2007. Zingiberaceae diversity in Khao Nan and Khao Luang National Parks. Master of Science Thesis in Science Studies (Biology), Walailak University. Larsen, K. and S.S. Larsen. 2006. Gingers of Thailand. Queen Sirikit Botanic Garden. Thailand. Mabberley, D.J. 1987. The Plant-Book. (Reprinted with corrections 1989.) Cambridge University Press, Cambridge. Merrill, G.L.S. 1995. Bryophyte. In LaRoe, E.T., G.S. Farris, C.E. Puckett, P.D. Doran and M.J. Mac (eds.), Our living resources: a report to the nation on the distribution, abundance, and health of U.S. plants, animals, and ecosystems, pp. 197-198. U.S. Department of the Interior, National Biological Service, Washington, DC. Murphy, F. and J. Murphy. 2000. An Introduction to the Spider of South East Asia.
248
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
Malaysia Arthur Nature Society, Kuala Lumpur. Mutsui, M. 2006. Three new species of Leptolalax from Thailand (Amphibia, Anura, Megophryidae). Zool. Sci. 23: 821-830. Panha, S. 1996. A checklist and classification of the land pulmonate snails in Thailand. Walkerana 8: 31-40. Panha, S., P. Tongkerd, C. Sutcharit and J.B. Burch. 2004. New pupillid from Thailand (Pulmonata: Pupillidae). The Natural History Journal of Chulalongkorn University 4: 57-82. Pinratana, A. 1981. Butterflies in Thailand. Vol. 4 Lycaenidae. The Viratham Press, Bangkok. Pinratana, A. 1983. Butterflies in Thailand. Vol. 2 Pieridae and Amathusiidae. The Viratham Press, Bangkok. Pinratana, A. 1985. Butterflies in Thailand. Vol. 5 Hesperiidae. The Viratham Press, Bangkok. Pinratana, A. 1988. Butterflies in Thailand. Vol. 6 Satyridae, Libytheidae and Riodinidae. The Viratham Press, Bangkok. Pinratana, A. and L.N. Eliot. 1992. Butterflies in Thailand. Vol. 1 Papilionidae and Danaidae. The Viratham Press, Bangkok. Pinratana, A. and L.N. Eliot. 1996. Butterflies in Thailand. Vol. 3 Nymphalidae (Second and revised edition). The Viratham Press, Bangkok. Pooma, R. 2005. A Preliminary Check-list of Threatened Plants in Thailand. The Agricultural Cooperate Federation of Thailand, Ltd., Bangkok, Thailand. Roxburg, W. 1824. Flora Indica; or descriptions of Indian plants 2. Mission Press, Serampore. Seidenfaden, G. and J.J. Wood. 1992. The Orchids of Peninsular Malaysia and Singapore, A Revision of R.E. Holttum : Orchids of Malaya. Olsen & Olsen, Fredensborg, Denmark. Shaw, J. and K. Renzaglia. 2004. Phylogeny and diversification of bryophytes. American Journal of Botany 91: 1557-1581. Sirirugsa, P. and C. Maknoi. 2003. Zingiberaceae in Southern Thailand. In Proceedings of the 3rd Symposium on the family Zingiberaceae. 7-12 July 2002. The Hotel เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
249
Sofitel, Khon Kaen, Thailand. pp. 6-15. Song, X., J.X. Zhang and L. Daiqin. 2002. Checklist of spiders from Singapore (Arachnida: Araneae). Journal Raffles Bulletin of Zoology 50(2): 359-388. Sornsamran, R. and O. Thaithong. 1995. Bryophytes in Thailand. Office of Environmental Policy and Planning, Bangkok. Sridith, K. 1999. A synopsis of the genus Argostemma Wall. (Rubiaceae) in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 27: 86-137. Sridith, K. and C. Puff. 2000. Distribution of Argostemma Wall. (Rubiaceae), with special reference to Thailand and surrounding areas. Thai Forest Bulletin (Botany) 28: 123-138. Sridith, K. and C. Puff. 2001. Floral diversity in Argostemma (Rubiaceae). In Saw, L.G. et al. (eds.), Taxonomy: the cornerstone of Cambridge, New York. Sukumaran, J. 2002. The amphibian fauna of a forest area in Temengor, Perak, Malaysia, with the first record of Philantus parvulus (Boulenger, 1893) in the Malay Peninsula. Hamadryad 27(1): 1-10. Tagawa, M. and K. Iwatsuki. 1979. Pteridophytes. In Smitinand, T. and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand, Vol. 3 part 1. The Tistr Press, Bangkok. Tagawa, M. and K. Iwatsuki. 1985. Pteridophytes. In Smitinand, T. and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand, Vol. 3 part 2. Phonphan Printing Company, Ltd., Bangkok. Tagawa, M. and K. Iwatsuki. 1988. Pteridophytes. In Smitinand, T. and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand, Vol. 3 part 3. Chutima Press, Bangkok. Tagawa, M. and K. Iwatsuki. 1989. Pteridophytes. In Smitinand, T. and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand, Vol. 3 part 4. Phonphan Printing Company, Ltd., Bangkok. Taylor, E.H. 1962. The amphibian fauna of Thailand. Univ. Kansas Sci. Bull. 43(8): 265599. Taylor, E.H. 1963. The lizards of Thailand and adjacent waters. Univ. Kansas Sci. Bull. 44(14): 687-1077. Taylor, E.H. 1965. The serpents of Thailand and adjacent waters. Univ. Kansas Sci. Bull. 45(9): 609-1096. Thaithong, O. 1999. Orchids of Thailand. Office of the Environmental Policy and Planning, Bangkok, Thailand, 239 p.
250
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
• ดัชนีชื่อภาษาไทย • กบเขานัน, 237 กบเขาหลวง, 236 กบทูด, 148 กบหูดำ, 150 กระชายเขาหลวง, 73 กระดูกเกลี้ยง, 207 กระทงลาย, 202 กล้วยส้ม, 85 กว่างสามเขาเขาใหญ่, 124 กว่างสามเขาคอเคซัส, 125 กว่างสามเขาจันท์, 125 กว่างสามเขาแอตลาส, 124 ก้างปลา, 83 กิ้งก่าเขียวใต้, 155 กิ้งก่าน้อยหางยาว, 157 กิ้งก่าหัวยาว, 240 กูดเกี๊ยะใบนวล, 198 กูดเกี๊ยะใบบาง, 198 กูดขาบ, 197 กูดตาข่าย, 52 กูดหาง, 53 กูดอ้อม, 196 เกล็ดนาคราชปักษ์ใต้, 57 ไก่ฟ้า, 200 ขมิ้นกาบแดง, 75 ข่าเขย่ง, 213 ข้าวตอกฤาษี, 219 เข็มเกลี้ยง, 206 เขียดงูศุภชัย, 146 ไข่ปูใหญ่, 208 คลำวาง, 70 คลำวางเล็ก, 72
คันแหลมใบยาว, 205 คางคกแคระ, 147 คางคกห้วยเขานัน, 235 งูกระ, 160 งูกินทาก, 243 งูกินทากหัวโหนก, 159 งูเขียวหางไหม้ท้องเขียวใต้, 163 งูดิน, 241 งูดินใหญ่มลายู, 164 งูทับสมิงคลา, 161 งูลายสาบมลายู, 242 งูสามเหลี่ยมหัวแดง, 162 งูแสงอาทิตย์, 165 จิ้งเหลนเรียวใต้, 156 จิ้งเหลนสองนิ้ว, 239 ชิ้ง, 63 ชุมเส็ด, 203 ด้วงคีมยีราฟ, 127 ด้วงดินปีกแผ่นคาสเทล, 126 ดาหลา, 76 ดาหลาปากนกแก้ว, 77 ดูกู, 51 เดื่อดิน, 69 เดื่อไทร, 211 เดื่อเพาะ, 68 เดื่อหลวง, 61 ตองแห้ง, 204 ตะพาบแก้มแดง, 152 ตานโมย, 80 ตานลอย, 59 ตานเสี้ยนไม้, 83 ตีนนกยูง, 55 ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด, 154
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
251
ตุ๊ดตู่, 158 เต่าใบไม้พม่า, 153 ทัลลอยด์ลิเวอร์เวิร์ต, 41, 45 ไทรคัน, 210 ไทรย้อย, 62 ไทรย้อยใบทู่, 65 ไทรย้อยใบแหลม, 62 ปลาข้าวเม่า, 143 ปลาเข็มหม้อ, 139 ปลาจาด, 140 ปลาซิวแคระ, 138 ปลาซิวเจ้าฟ้า, 138 ปลาซิวดอกแก้ว, 138 ปลาตะเพียนน้ำตก, 141 ปลาแป้นแก้ว, 143 ปลาพลวง, 140 ปลามุง, 140 ปลายมน, 56 ปลาเสือข้างลาย, 142 ปลาเสือสุมาตรา, 142 ปัดแดง, 87 ปาดตีนเหลือง, 238 ปาดลายเลอะตะวันตก, 144 ปุดหนู, 71 เปราะป่า, 78 ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว, 123 ผีเสื้อขมิ้นกับปูนแถบแคบ, 225 ผีเสื้อเจ้าหญิงฟ้า, 227 ผีเสื้อดำข้างขาว, 108 ผีเสื้อถุงทองป่าสูง, 110 ผีเสื้อพระเสาร์ใหญ่, 111 ผีเสื้อลายตาราง, 109 ผีเสื้อหนอนม้วนตาแมว, 119 ผีเสื้อหนอนม้วนใบเขานัน, 117 ผีเสื้อหนอนม้วนใบโคนเขียว, 121
252
ผีเสื้อหนอนม้วนใบตาดำ, 113 ผีเสื้อหนอนม้วนใบแต้มวงรี, 232 ผีเสื้อหนอนม้วนใบแถบโค้ง, 114 ผีเสื้อหนอนม้วนใบแถบทแยง, 112 ผีเสื้อหนอนม้วนใบปีกตะไคร่น้ำ, 231 ผีเสื้อหนอนม้วนใบปีกสองสี, 120 ผีเสื้อหนอนม้วนใบแผงขนดำ, 116 ผีเสื้อหนอนม้วนใบลายขีด, 118 ผีเสื้อหนอนม้วนใบลายซิกแซก, 229 ผีเสื้อหนอนม้วนใบลายหลุยส์, 233 ผีเสื้อหนอนม้วนใบสันเย็น, 228 ผีเสื้อหนอนม้วนใบไฮแลนด์, 230 ผีเสื้อหน้าเข็มยักษ์หางย้อย, 106 ผีเสื้อหน้าเข็มหางจาง, 224 ผีเสื้อหางติ่งอิศวร, 226 ผีเสื้อหางตุ้มก้นเหลือง, 107 ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก, 122 โผก, 68 พุ่มข้าวตอก, 219 เพชรทักษิณ, 74 โพะ, 66 ไพล, 79 ไพลดำ, 79 เฟิร์นก้านดำใบนวล, 50 เฟิร์นใบมะขามปักษ์ใต้, 199 มดก้นรูปหัวใจ, 103 มดตะนอยดำใหญ่, 105 มดตะลานยักษ์ปักษ์ใต้, 102 มดน้ำผึ้ง, 101 มดน้ำหวาน, 101 มดไม้ยักษ์, 102 มดสอด, 103 มดหนามกระทิงดำ, 104 มดหัวละม้ายท้ายใหญ่, 100 มดฮี้, 103
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
มหาหงส์, 215 มอส, 192, 194 มะเดื่อปล้อง, 64 แมงมุมขาหวีตาแดง, 137 แมงมุมแคระท้องแผ่นแข็งเล็ก, 135 แมงมุมแคระท้องแผ่นแข็งใหญ่, 132 แมงมุมซ่อนหา, 131 แมงมุมดินเมลาเนลลา, 136 แมงมุมดินแอสคัว, 129 แมงมุมท้องแบนลวดลาย, 134 แมงมุมใยกลมเขายาวโค้ง, 133 แมงมุมใยกลมแบนอะเนปสัน, 128 แมงมุมอกเปียกปูนเรียบ, 130 ยวนผึ้ง, 60 รองเท้านารีขาวสตูล, 89 รองเท้านารีดอกขาว, 89 รังไก่, 58 เร่ว, 72 เร่วช้าง, 70 เร่วช้างเหลือง, 212 เร่วหอม, 71 ลิ้นมังกร, 87 ลิฟฟี่ลิเวอร์เวิร์ต, 42, 43, 44, 46, 47, 48, 49, 195 เลียงผึ้ง, 60 ว่านกีบแรด, 51 ว่านมหาเมฆ, 75 ว่านร่อนทอง, 71 ว่านสาวหลง, 71 ส้มกุ้ง, 201 สังหิน, 87 สาหร่ายคริปโตโมแนส, 190 สาหร่ายทราคีโลโมแนส, 191 สิกุนคล, 86 สิงโตช่อม่วง, 217 สิงโตนาคราชแฝด, 82
สีอาน, 216 เสน่ห์มหาพรหม, 71 หงส์เหินขาว, 214 หวายลำปง, 84 หอยเกลียวเชือกฝาสปริง, 90 หอยขนมาลายู, 93 หอยขัดเปลือกลายมงกุฎ 92 หอยงวงท่อชูปิง, 91 หอยต้นไม้ลายจุด, 96 หอยนกขมิ้นน้อยท้องแดง, 95 หอยนกขมิ้นใหญ่, 94 หอยนักล่าเปลือกรูปโดม, 99 หอยเวียนซ้ายถลาง, 97 หอยห่อเปลือกใหญ่สยาม, 98 หัวอ้ายเป็ด, 54 เห่าช้างขาว, 158 องุ่นป่า, 209 อั้ว, 219 อั้วดอกขาว, 219 อึ่งกรายข้างแถบ, 145 อึ่งกรายบาลา, 234 อึ่งกรายหัวมน, 151 อึ่งลายเลอะ, 149 เอื้องขยุกขยุยถิ่นใต้, 218 เอื้องนกกระเรียน, 222 เอื้องใบมรกต, 88 เอื้องผาหมอก, 220 เอื้องพวงมาลัย, 223 เอื้องแมงมุม, 81 เอื้องแมลงปอ, 81 เอื้องสายเสริฐสันเย็น, 221 ฮอร์นเวิร์ต, 193
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
253
• ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์ • Acropyga acutiventris, 100 Actias maenas, 122 Adiantum latifolium, 50 Aglaomorpha coronans, 196 Amblypharyngodon chulabhorne, 138 Amomum aculeatum., 70 Amomum biflorum 71 Amomum sp., 212 Amomum uliginosum, 72 Amphidromus atricallosus, 94 Amphidromus xiengensis, 95 Amphiesma inas, 242 Ancylis sp., 112 Andrioplecta sp., 113 Anepsion maritatum, 128 Aneura indica, 41 Angiopteris evecta, 51 Anoectochilus brevistylus, 216 Anoplolepis gracilipes, 101 Ansonia sp., 235 Antrophyum callifolium, 52 Aplopeltura boa, 159 Apostasia nuda, 80 Apsidophora purpurorbis, 114 Aquixalus verrugosus, 144 Arachnis flosaeris, 81 Aristolochia sp., 200 Arthrocormus schimperii, 192 Asceua sp., 129 Begonia lowiana, 201 Belvisia mucronata, 53
254
Boesenbergia basispicata, 73 Boiga jaspedia, 160 Brachytarsophrys carinense, 145 Bronchocela cristatella, 155 Bulbophyllum salaccense, 217 Bulbophyllum biflorum, 82 Bulbophyllum sigaldiae, 218 Bungarus candidus, 161 Bungarus flaviceps, 162 Calanthe triplicata, 219 Camponotus gigas, 102 Celastrus monospermoides, 202 Celogyne xyrekes, 220 Chalcosoma atlas, 124 Chalcosoma caucasus, 125 Chloritis malayana, 93 Choaspes subcaudatus crawfurdi, 106 Coelogyne tomentosa, 221 Colopea sp., 130 Colura conica, 42 Crematogaster sp.1, 103 Cryptomonas sp., 190 Cryptothele cf. sundaica, 131 Curcuma aurantiaca, 74 Curcuma rubescens, 75 Cyathea contaminans, 54 Cyclemys oldhami, 153 Cyrtodactylus brevipalmatus, 154 Dendrobium arcuatum, 222 Dendrobium indivisum, 83 Dendrobium lampongense, 84
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
Dendroceros subplanus, 193 Dermogenys pusillus, 139 Didymochlaena truncatula, 197 Didymoplexiella ornata, 85 Dienia ophrydis, 86 Discartemon roebeleni, 99 Dogania subplana, 152 Dyakia salangana, 97 Eria pachystachya, 223 Etlingera elatior, 76 Etlingera fulgens, 77 Fibuloides sp., 116, 117 Ficus albipila, 60 Ficus auriculata, 61 Ficus benjamina, 62 Ficus cucurbitina, 210 Ficus fistulosa, 63 Ficus glaberrima, 211 Ficus hispida, 64 Ficus microcarpa, 65 Ficus obpyramidata, 66 Ficus ridleyana, 67 Ficus schwarzii, 68 Ficus scortechinii, 69 Frullania apiculata, 43 Gamasomorpha spp., 132 Gasteracantha arcuata, 133 Geostachys sp., 213 Globba leucantha, 214 Glochidion rubrum, 203 Grapholita sp., 118, 119, 228, 229
Habenaria rhodocheila, 87 Hasora myra funebris, 224 Hedychium sp., 215 Hedyotis sp., 204 Heliophorus ila nolus, 225 Helminthostachys zeylanica, 55 Herennia ornatissima, 134 Hetaeria oblongifolia, 88 Histiopteris incisa, 198 Humata heterophylla, 56 Hypobathrum sp., 205 Ichthyophis suphachaii, 146 Ingerana sp., 236 Ingerophrynus parvus, 147 Ischnothyreus sp., 135 Kaempferia pulchra, 78 Larutia sp., 239 Leptolalax solus, 234 Limnonectes blythii, 148 Limnonectes sp., 237 Losaria neptunus manasukkiti, 107 Lyssa zampa Butler, 123 Mallinella spp., 136 Marsupidium knightii, 44 Megaustenia siamensis, 98 Meteorium miquelianum, 194 Metzgeria furcata, 45 Microhyla butleri, 149 Moneta mirabilis, 137 Mormolyce castelnaudi, 126 Neohermenias thalassitis, 230 เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
255
Neolissochilus stracheyi, 140 Neorina lowii neophyta, 108 Nephrolepis davallioides, 199 Odina hieroglyphica ortygia, 109 Paphiopedilum niveum, 89 Papilio (Menelaides) iswara iswara, 226 Parambassis siamensis, 143 Pareas sp., 243 Pavetta glaciliflora, 206 Plagiochila longispica, 46 Pleurozia gigantea, 47 Polyrhachis (Myrmhopla) armata, 104 Popeia fugatus, 163 Prosopocoilus (cladognathus) giraffa , 127 Prothoe franck uniformis, 227 Pseudocalotes sp., 240 Puntius partipentazona, 142 Puntius binotatus, 141 Pyrrosia nummularifolia, 57 Ramphotyphlops sp., 241 Rhachistia sp, 96 Rhacophorus bipunctatus, 238 Rhiostoma chupingense, 91 Rhopobota sp., 120 Riopa herberti, 156 Rubus alceifolius, 208 Sacaranda glaba subsp. brachystachys, 207 Sarika diadema, 92 Schistochila integerrima, 48 Schistochila monticola, 49 Selaginella willdenowii, 58 Sorolopha sp., 121, 231, 232 Spilonota melanacta, 233 Sylvirana cubitalis, 150 Takydromus sexlineatus, 157
256
Tectaria singaporeana, 59 Tetraponera attenuata, 105 Tetrasigma matabite, 209 Tortulosa tortuosa, 90 Trachelomonas sp., 191 Trichocolea tomentella, 195 Troides (Troides) helena cerberus, 110 Typhlops muelleri, 164 Varanus dumerilii, 158 Xenopeltis unicolor, 165 Xenophrys aceras, 151 Zeuxidia aurelius aurelius, 111 Zingiber ottensii, 79
เขานัน - ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน
โครงการ BRT ก้าวไกล สนับสนุนงานวิจัย แหล่งองค์ความรู้ ใหม่ เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ใส่ ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม
เขานั น ป่ า เมฆ ธรรมชาติ กั บ ภาวะโลกร้ อ น
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย