BON EN FRANCE (บอง ออง ฟรองซ์)

Page 1


“To France... the country I love to hate ... and hate to love.�


คำ�นำ� หากถามว่า ผมเชื่อในโชคชะตาหรือเปล่า ผมจะตอบว่าผมเชื่อสนิทใจ และผมก็เชื่อว่าหนังสือเล่มนี้ก็ได้ถูกโชคชะตากำ�หนดไว้แล้ว มันเป็นโชคชะตา ที่วันปฐมนิเทศของการทำ�งาน ผมเห็นฝ่ายบุคคล โชว์รายชื่อของ business school ระดับโลก 10 โรงเรียนที่บริษัทให้ทุนการศึกษา แล้วสายตาของผมก็ไปจดจ้องอยู่กับโรงเรียนสุดท้ายที่ชื่อ INSEAD เพียงเพราะ ว่ า มั น เป็ น โรงเรี ย นเดี ย วในรายชื่ อ นั้ น ที่ อ ยู่ ใ นประเทศฝรั่ ง เศส ถึ ง ตอนนั้ น ผมจะไม่ได้ตั้งใจจะขอทุน แต่ก็แอบทดไว้ในใจว่าถ้าจะขอ ก็จะขอไปฝรั่งเศส นี่แหละ มันแรดดี... มั น คงเป็ น โชคชะตา ที่ป ระเทศในยุโรปประเทศแรกที่ ผ มได้ เ ดิ น ทาง ไปทำ�งานคือประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถึงตอนนั้นจะยังคงไม่ได้คิดจริงจังเรื่องการ ขอทุนไปเรียน แต่การไปปารีสเพียงไม่กี่วัน กลายเป็นแรงบันดาลใจว่าชีวิตนี้ ผมจะต้องมาปารีสอีกให้ได้ และไม่ใช่แค่มาเที่ยว หรือมาเพื่อสักการะพระเจ้า หลุยส์วิตตงเท่านั้น แต่อยากจะลองมาอยู่ มาใช้ชีวิตที่นี่สักช่วงนึง มันคงเป็นโชคชะตา ทีผ่ มมีศษิ ย์เก่าของ INSEAD อยูใ่ กล้ตวั คอยเคีย่ วเข็ญ ให้คำ�แนะนำ� รวมถึงพี่น้องอีกหลายๆ คนที่คอยเป็นกำ�ลังใจผลักดัน รวมถึง โฆษณาหลอกล่ออยู่ตลอดเวลาว่า การเลือกไปเรียน INSEAD คือการตัดสินใจ ทีถ่ กู ต้องทีส่ ดุ ในชีวติ ของเขา และหนึง่ ปีที่ INSEAD จะกลายเป็นปีทดี่ ที สี่ ดุ ในชีวติ ด้วย 2


ถึงผมจะคิดว่าหนังสือเล่มนี้คือส่วนหนึ่งของโชคชะตาที่นำ�พาชีวิตผมไป แต่คนรอบข้างผมกลับไม่เห็นด้วย เพราะใครๆ ก็บอกว่า ฝรั่งเศสคือตัวเลือก ที่ ‘เหมาะ’ กับผมที่สุดแล้วต่างหาก เพราะคงไม่มีประเทศไหนบนโลกนี้ ที่ ‘แรด’ ได้เท่ากับประเทศฝรั่งเศส (จงนึกภาพพระนางมารีอังตัวเนตต์ในชุดคอร์เซตต์ รัดนมประกอบเพือ่ ให้เห็นภาพความแรดแบบฝรัง่ เศสชัดเจนขึน้ ) คนแรดๆ ก็ตอ้ ง เหมาะกับประเทศแรดๆ ดังนั้น การที่ผมเลือกจะไปเรียนที่ฝรั่งเศส ย่อมเป็น คำ�ตอบที่ถูกต้องได้คะแนนเต็มแบบไม่ต้องแสดงวิธีทำ� ถ้าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแนวโลกสวย ให้กำ�ลังใจ เธอต้องสู้ต่อไป ผมคงต้องพูดว่าในความจริงแล้ว โชคชะตาและความเหมาะสมเพียงสองอย่าง มันไม่เพียงพอที่จะพาผมไปฝรั่งเศสได้ มันยังต้องการส่วนผสมอีกมากมาย ทั้ ง ความทุ่ ม เทพยายาม ความตั้ ง ใจไม่ ย่ อ ท้ อ ฝ่ า ฟั น อุ ป สรรคด่ า นข้ อ สอบ การสัมภาษณ์ การเตรียมตัวเข้มข้นยิ่งกว่าเข้าค่ายประกวดนางงาม แต่สำ�หรับคนที่โลกไม่ค่อยสวย แถมออกจะกร้านโลกอย่างผม ผมเชื่อ เสมอว่า โชคชะตาย่อมเข้าข้างคนแรดเสมอครับ เจ็ดสิบสองบทต่อจากนีไ้ ป จะเป็นเครือ่ งพิสจู น์วา่ เมือ่ โชคชะตาพาคนทีม่ ี ไลฟ์สไตล์แรดๆ ไปอยูใ่ นประเทศแรดๆ หนึง่ ปี ทุกนาทียอ่ มไม่มคี �ำ ว่าธรรมดาครับ บองเต่า 3


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

4


บองเต่าเป็นคนที่ ถ้าเลือกได้ จะไม่อยากทำ�อะไรเรียบง่ายและธรรมดา สาเหตุเพราะมันไม่สามารถสนองจริตของเขาได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ บองเต่าจะไม่เลือกอาหารจานหนึง่ เพียงเพราะว่ากินแล้วอิม่ เพราะกินแล้วอร่อย ยังไม่ใช่เหตุผลเลยด้วยซ้ำ� แต่ต้องเป็น กินแล้วทั้งอร่อยที่ปาก และทั้งอิ่มที่ใจ ด้วยสาเหตุต่างๆ มากมาย ที่มักทำ�ให้ผู้อื่นทึ่ง หรืออิจฉา ไม่ก็หมั่นไส้ไปเลย เราจำ�กัดความลักษณะนิสัยอันนี้ของเขาง่ายๆ ว่า ‘แรด’ (จะว่าไป ที่จริง นี่เป็นคำ�ที่เขาใช้จำ�กัดความตัวเองมาโดยตลอด) มาคิดดูอีกที มันคือความใส่ใจในรายละเอียด และการให้ความสำ�คัญ กับสิ่งที่ตัวเองเลือกสรรมาเสพ พูดอีกอย่างคือ บองเต่าเป็นผู้ที่มีเงื่อนไขเยอะ ทางศิลปะในการใช้ชีวิต คนอย่างบองเต่า กับประเทศอย่างฝรั่งเศส จึงเป็นคู่ที่เข้ากันอย่างที่สุด สิ่งที่น่าติดตามในหนังสือเล่มนี้ คือมุมมองอื่นๆ ของฝรั่งเศสนอกเหนือ จากฐานะของแหล่งท่องเที่ยว ที่เราอาจจะได้รับรู้เป็นปกติจากหนังสือไกด์บุ๊ก หรือโปรแกรมเทีย่ วของบริษทั ทัวร์ตา่ งๆ บองเต่าใช้ชวี ติ หนึง่ ปีในฝรัง่ เศสในฐานะ นั ก เรี ย น เขาเล่ า เรื่ อ งได้ ทั้ ง สนุ ก และยาวเหยี ย ดต่ อ เนื่ อ งลงใน MONDAY นิตยสารดิจิทัลรายสัปดาห์ของอะบุ๊ก และนี่คือการรวมเล่ม บอง ออง ฟรองซ์ ลงกระดาษ และเราดีใจที่คุณจะไม่พลาดในการติดตาม (ภายใต้สมมติฐานว่า ถ้าลงอ่านคำ�นำ�จนถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณคงตัดสินใจอ่านต่อจนจบเล่มใช่ไหมครับ ;-) สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก

5


CONTENTS

11

23

29

/Ä•1 JN615 (-

8 1&Ä”า E & D )1 1

è JN6 า&า% Ä”า& .E )Ę =Ä• 9E &

41

47

53

Ma maison

Mon quartier

B +G Ä•า 5

+Ä”า 4E Ä•A Ä› า'èA 9& A H% 5+ }†~

59

65

71

77

+Ä”า 4E Ä•A Ä› า'èA 9& A H% 5+ }‡~

Manger Ă la maison

Manger comme les Français

8 1&Ä”า !'5I A,.

า&15 ( 5 า!'5I A,.

83

89

95

101

%;1 ;1!'5I A,.

g9I <Ä? D า'ĂŠ.

5+'Ę า'ĂŠ.B %9E)#Ä“.E )Ę D / :I +5 5 E ĘA Ä”า

A%C 'B/Ä” า'ĂŠ. }†~

Ä€ N6A 8 9+è 5 A'ĂŠ& 1

35 Bonjour Paris!

} Ä Ä– า'ĂŠ.~

6

17

Ä•า 1 5

8 D Ä•า


107

113

119

A%C 'B/Ä” า'ĂŠ. }‡~

La première neige

Les Parisiens

า+ า'èA 9&

INSEAD (1)

131

137

143

149

INSEAD (2)

'5J B' 9I

)<&A 9I&+A 9I&+ า'ĘA C) Ä”า }†~

)<&A 9I&+A 9I&+ า'ĘA C) Ä”า }‡~

)<&A 9I&+A 9I&+ า'ĘA C) Ä”า }ˆ~

155

161

165

171

; Ä•า% ÄŒ 5 B ) / Ä•า

Paris Je t’aime

า'Ê. %'5 <

A'èø% Ä• D/%Ä”19 '5J

9I# B C )

A"áI1 'Ä”+% Ä•า B' 1 %

/8%4B'

177

183

9% า $า 5 5

า' )5 %า 1 า'.1

201 A'ĂŤI1 1 ;I1

'5J B' 9I

189 195 Outward Bound

$า' 8 %80 / :I +5 !Ä?า Ä?า '

207 213 า&E & =Ä• 5 % ' A า/)9 Ä•+& Ä”า g9I <Ä? D !'5I A,.

125

UDJ: +า%'=Ä• =Ä” า'" 5

า'Ę 9J '5J B'

219 ,: B/Ä” า' '4%=)

7


225 231 237 243 <Ä– B '4 N6B Ä• Ä•า %B" Ä•า15 A%H

Ä•%&N6E & E E ) 5I+C)

า'C % 9 '5J .< Ä•า& 1 ( =/ า+

!'5I A,. !'5I B.

249 255 261 267 /5+/ Ä•า/Ä•1

+é Ä”า15 (D !'5I A,.

'า%Ä”า 5 OB1

RE: London (1)

273 279 285 291 RE: London (2)

+é' <'<& ' %Ä”+

.1 '4A.'è A'า % .1 IN6 %A'า Ä”า

")5 B/Ä”

1า 8 &Ę1< 5&

297 303 309

315

A%;I1 %%9 +า% Ä•1 า' า B" &Ę

4A/'éI& E & E 1'Ę%H1 9

POM

E & 1า/า'E & B)4+5 E &

321 327 333 339 4A/'éI& E & )5 า 1'Ę%H1 9

8

; "ôA,- 9I าC = +é+éA&Ä”'Ę

1'Ä”1& 8 า+

& C' A'é& < A , า)/ 5

A%;1 า .Ę


345 351 C% าC '+&A า1&=Ä” 5 &5 E

5 A'ĂŠ& C/ v

357 363 & C' A'Ê& < )8 5+A 9& }†~

369 375 381 < '5 !1& 1

%/ ''% 1า/า'E & B/Ä” า 8!'5I A,.

B) ĘA) 9J 9I'5

& C' A'Ê& < )8 5+A 9& }‡~

387 A Ä‹ +5

B Ę '4/ IN6 5%A%1'Ę 1)

393 399 405 409 า'Ę 9J %9A.Ä•

Bollywood Night

'า 'ĂŠ.Ä”า/'ĂŠE.+

Midnight in Paris

9% 9IE%Ä” <Ä•

415 419 423 431 'è .< Ä•า& 9I 1'Ę%H1 9

Au revoir

The Finale

/ :I ÄŒ Ä”า E

9


10


จุดกำ�เนิด ชีวิตนักเรียนนอก

​เกิดมาชีวิตนี้ผมไม่เคยคิดว่าจะมาเป็นนักเรียนนอกเลยแม้แต่ครั้งเดียว ยิ่งคิดว่าจะมาเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว ความเป็นไปได้ว่าสักวันตัวเองจะ ถูกหวยรัวๆ สามงวดซ้อนยังจะมีมากกว่าซะด้วยซ้ำ�ไป แต่ ก็ น ะ ใครจะรู้ ว่ า ในที่ สุ ด ผมตั ด สิ น ใจชิ ง ทุ น บริ ษั ท ไปเรี ย น MBA (ปริญญาโทสายบริหารธุรกิจ) เพราะเห็นตัวอย่างจากเพื่อนรอบตัวแล้วว่า ถ้าเรียนไปด้วยทำ�งานไปด้วย มันเหนือ่ ยแสนสาหัสพอๆ กับแข่งไตรกีฬา ใช้ชวี ติ ตรากตรำ�กลับบ้านดึกในสภาพร่างแหลก แล้วก็ตนื่ เช้าประกอบร่างไปทำ�งานใหม่ ทุกวัน ซึ่งผมบอกกับตัวเองว่ากูไม่เอาแบบนี้แน่ๆ แต่ถ้าจะให้ลาออกจากงาน มาเรียน แล้วจะเอาเงินทีไ่ หนมาซือ้ แกลบกิน ผมจึง...เอาวะ... เอาทุนบริษทั นีแ่ หละ นอกจากจะได้หยุดงานไปเรียนแล้วยังมีคนออกตังค์ให้เรียนอีก ฟังดูคุ้มยิ่งกว่า โชคทองจากซองมาม่า มันติดอยู่อย่างเดียวว่าถ้าจะเอาทุนบริษัท ก็ต้องสมัคร เข้าบิสิเนสสคูลระดับท็อปเท็นของโลกเท่านั้น เค้าถึงจะออกตังค์ให้ จะเป็น โรงเรียนไก่กาอาราเล่ไม่ได้ 11


พอมานัง่ กางรายชือ่ ดูวา่ โรงเรียนสิบทีท่ ใี่ ห้เลือกสมัครมันอยูท่ ไี่ หนกันบ้าง ก็พบว่าแปดโรงเรียนอยู่ในอเมริกา อีกสองอยู่ในยุโรป มีที่ไหนที่ผมจะเลือก โรงเรียนสัญชาติอเมริกันแบบเมนสตรีมที่ใครๆ เขาก็เลือกกัน ตอนนั้นเห็น ในมโนภาพว่า ถ้าไปอเมริกาคงได้กินแต่โดนัท สตาร์บัคส์ ฮอตด็อก แมคโดนัลด์ และคัพเค้กทั้งวัน กูต้องอ้วนตุ่มแตกแน่ๆ เมื่อเห็นดังนั้น ความกระแดะที่ซึมลึก อยู่ในทั้งกายหยาบและกายละเอียดของผมนั้นจึงเอียงเอนไปเห็นว่ามีโรงเรียน หนึ่งในรายชื่อนั้นตั้งอยู่ในป่าใกล้ๆ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แหม ถ้าได้ไปอยู่ ฝรัง่ เศส กูคงจะได้ละเลียดกินครัวซองต์กบั เอสเพรสโซ่ตอนเช้า ฟัวกราส์ตอนบ่าย จิบไวน์ตอนค่ำ� ฟังดูกระแดะสมกับจริตเรายิ่งนัก (เอ๊ะ สรุปกูเอาเรื่องกินเป็น เกณฑ์หลักในการตัดสินโรงเรียนเหรอวะเนี่ย อุบาทว์สิ้นดี) แต่ก็เอาวะ ตัดสินใจแล้ว เราจะสมัครเข้าโรงเรียนนี้ให้ได้ โรงเรียนนัน้ ชือ่ INSEAD อ่านเป็นสำ�เนียงไทยได้วา่ อิน-เสียด มีดกี รีระดับ โรงเรียน MBA คอร์สหนึ่งปีเป็นอันดับ 1 ของโลกเชียวแหละเธอ ถึ ง จะเรี ย นแค่ ปี เ ดี ย วจบ แต่ ผ มต้ อ งใช้ เวลาถึ ง สองปี เ ต็ ม ๆ ในการ เตรียมตัวสมัครเข้าเรียน ทัง้ การสอบ GMAT, TOEFL และ IELTS จากนัน้ ไปสมัคร เรี ย นภาษาญี่ ปุ่ น และภาษาฝรั่ ง เศส แล้ ว เขี ย นใบสมั ค ร สุ ด ท้ า ยก็ ต้ อ งสอบ สัมภาษณ์ฝา่ ฟันคูแ่ ข่งจากทัว่ โลกทีส่ ง่ ใบสมัครเข้าไปเป็นพันเป็นหมืน่ เพือ่ แย่งชิง ที่นั่งเป็นหนึ่งใน 500 คนในรุ่น แล้ววันหนึ่ง ผมก็ได้รับโทรศัพท์สายตรงจาก ฝรั่งเศส ปลายสายเป็นมาดามเสียงใสพูดเป็นภาษาอังกฤษสำ�เนียงฝรั่งเศส บอกผมว่า “ยินดีด้วยค่ะ! คุณได้รับเลือกเป็นนักเรียน MBA ประจำ�ปี 2011 ของ โรงเรียนเราค่ะ” โอ้เยส ครัวซองต์ บาแกตต์ ฟัวกราส์! ในที่สุดเราก็ได้ไปฝรั่งเศสแล้วเว้ย ผมใช้เวลาอีกสี่เดือนในการเตรียมตัวทั้งหมดก่อนออกเดินทาง ตั้งแต่ ซือ้ เสือ้ หนาว แพ็กกระเป๋า ทำ�วีซา่ หาบ้าน ซือ้ ตัว๋ เครือ่ งบิน ร่�ำ ลาญาติพนี่ อ้ งและ มิตรรักแฟนเพลง 12


อี ช่ ว งเตรี ย มตั ว เนี่ ย โคตรยุ่ ง และโคตรยากเลยนะครั บ คุ ณ กะเหรี่ ย ง เมืองร้อนอย่างผมไม่เคยไปอยู่เมืองหนาวมาก่อน ก็เลยไม่รู้ว่าไอ้เสื้อหนาว ที่จะเอาไปมันต้องหนาวขนาดไหนวะ ถึงจะเอาไปต้านฤดูหนาวที่ยุโรปไหว อีเสื้อหนาวที่มีอยู่ก็สีสันสเปคตรัมม่วงครามน้ำ�เงินเขียวเหลืองแสดแดงมาก (ซื้อใส่ตอนไปเที่ยวเกาหลีก็งี้แหละ) ได้ข่าวว่าที่ลอนดอน ปารีส เค้าใส่แต่สีดำ� ขื น ใส่ สี เขี ย วมะนาวไปเดิน ซื้อ ของคงโดนตำ�รวจแฟชั่ น จั บเอาไฟช็ อตหั ว นม เป็นการลงโทษ จนสุดท้ายตัดสินใจว่า เอาแจ็กเก็ตดำ�ไปตัวเดียว แล้วที่เหลือ ไปซื้อที่นั่นเอาแล้วกัน เรื่องของที่จะขนไปก็ลำ�บากใจ รักพี่เสียดายน้อง แบบขาดเธอก็เหงา ขาดเขาก็เสียใจ เพราะโควต้าที่การบินไทยให้ก็แค่ 30 กิโลฯ เท่านั้น ทั้งๆ ที่เรา อยากจะแงะห้องนอนใส่เข้าไปในกระเป๋าเดินทางซะด้วยซ้� ำ เราเลยต้องพิจารณา อย่างถี่ถ้วนว่าจะเลือกขนอะไรไปบ้าง ซึ่งแน่นอนว่ากว่าครึ่งของกระเป๋าเป็น อาหารแห้ง ผมไปเหมาโลโบ้และมาม่ามาจนแทบขาดตลาด ตั้งแต่ผงทำ�แหนม (ซึ่งสุดท้ายไม่ได้ใช้) พริกแกงสารพัดสีทั้งเขียวหวาน พะแนง มัสมั่นแกงแก้วตา หมูแผ่น หมูหย็อง กะว่าตลอดทั้งปีนี้กูไม่อดตายแน่นอน เรื่องที่ใช้เวลานานที่สุด คือ การหาบ้าน เพราะผมต้องย้ายบ้านทั้งหมด สามเมื อ งในระยะสามเดื อ น บ้ า นที่ ล อนดอนผมตั ด ช่ อ งน้ อ ยด้ ว ยการให้ โรงเรียนภาษาจัดโฮมสเตย์ให้ เป็นอันจบไป แต่บ้านที่ปารีสที่ผมจะอยู่คนเดียว เพื่อเรียนภาษาฝรั่งเศสเนี่ย อันนี้เลือกกันเป็นเดือน กว่าจะหาบ้านที่ถูกใจได้ ในงบประมาณ ซึง่ จริงๆ ก็ไม่ได้เรือ่ งมากเลย ผมก็แค่อยากได้อพาร์ตเมนต์ทใี่ หญ่ กว่า 30 ตร.ม. พร้อมเฟอร์นิเจอร์ มีครัวแยก ห้องน้ำ�เป็นสัดส่วน ฮีตเตอร์ทำ�งาน 24 ชั่วโมง ทำ�เลอยู่ใจกลางเมือง ใกล้รถไฟใต้ดิน ใกล้ป้ายรถเมล์ ใกล้โรงเรียน ภาษา แถวบ้านมีซูเปอร์ฯ มีไปรษณีย์ มีร้านขนมปัง มีร้านของชำ� อืม... ผมเป็นคนไม่เรื่องมากเลยจริงๆ ครับ ภารกิจสุดท้ายคือ การร่ำ�ลาญาติพี่น้อง เจ้านาย และเพื่อนฝูงครับ ซึ่งผม ก็ซาบซึ้งใจทุกคนมากจริงๆ ที่พอบอกว่าจะไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสปีนึง ทุกคน 13


ก็ล้วนแล้วแต่อวยพรให้เรียนจบไวๆ เพราะขากลับจะได้ฝากซื้อกระเป๋าหลุยส์ และ Longchamp (หลังจากร่ำ�ลาเสร็จก็เริ่มเปิดเว็บไซต์ดูรุ่นกระเป๋าและพรินต์ รุน่ ทีอ่ ยากได้เตรียมไว้ทนั ที) นีถ่ า้ ฉันไปเรียนทีญ ่ ปี่ นุ่ พวกแกคงสัง่ ซือ้ โมเดลกันดัม้ ขนาดเท่าตัวจริง และถุงยางเรืองแสงกันเลยสินะ ตอนนั้นทุกอย่างผ่านไปไวมาก โดยเฉพาะเดือนสุดท้ายก่อนวันเดินทาง เหมือนชีวิตถูกกดปุ่มฟาสต์ฟอร์เวิร์ดรัวๆ ทุกวัน รู้ตัวอีกที ผมก็อยู่บนเครื่องบิน มุ่งหน้าสู่กรุงลอนดอนแล้ว ชะตากรรมของกะเหรี่ยงไทยในภาคพื้นยุโรปจะเป็นเช่นไร หลังจากผ่าน ตม. ที่สนามบินฮีทโธรว์นี่ เดี๋ยวก็ได้รู้กันแล้ว

14


15


40


Ma maison

บ้านของฉัน

น้องผึ้งบอกว่า ขั้นแรกสุดของการปฐมนิเทศ ‘การใช้ชีวิตเยี่ยงปาริเซียง อย่างสงบสุข’ ก็คือ ทำ�ความรู้จักบ้านของเราเองให้รู้ที่รู้ทางก่อน อนึ่ง, จริงๆ แล้วในปารีสมันไม่มีบ้านหรอกครับ เพราะปารีสเป็นเมือง ที่เล็กมาก ชาวปารีเซียงเขาจึงต้องอาศัยแออัดกันอยู่ในที่อาคาร low-rise ที่เรียกว่า อะปาร์เตอมองต์ (Apartement) ซึ่งก็เหมือนห้องแถวบ้านเรานี่แหละ แต่มันหน้าตาสวยวิจิตรดูมีจริตกว่าบ้านเรามาก และอะปาร์เตอมองต์ในปารีส ดูภายนอกแล้วมันหน้าตาเหมือนกันหมดทัง้ เมือง ซึง่ บ้านหนึง่ หลัง ก็คอื หนึง่ เลขที่ ซึง่ จะมีหลายห้องหลายชัน้ ทีใ่ ช้ประตูทางเข้าหลักร่วมกัน และใช้บา้ นเลขทีเ่ ดียวกัน อย่างเช่น บ้านผมเลขที่ 7 พอเปิดประตูหลักชั้นล่างเข้าไป ก็จะพบว่าจริงๆ อาคารนี้มันมีถึงห้าชั้น ชั้นละสี่ห้องที่เราพอจะนับญาติได้ว่าเป็นเพื่อนบ้านกัน น้องผึ้งเริ่มปฏิบัติการ ‘เช็กอิน’ บ้านของผมไปทีละขั้นๆ อย่างแรกคือ ต้องเอาชื่อเราไปติดที่ตู้ไปรษณีย์ เพราะในเมื่อบ้านเลขที่ 7 มันมีถึง 20 ห้องที่ใช้ บ้านเลขที่เดียวกัน พอเปิดประตูเข้ามาก็จะเห็นตู้ไปรษณีย์เรียงเป็นตับอยู่ 20 ตู้ อ้าว... แล้วไหนล่ะตู้กู อีเจ๊นั่นก็ไม่ได้บอกไว้ด้วย ผมก็เลยเอากุญแจที่ได้มา 41


ไล่ไขแม่งทีละตู้จนเจอ จากนั้นก็เอากระดาษที่มีชื่อเราแปะ เวลาบุรุษไปรษณีย์ เอาจดหมายมาส่ง จะได้หย่อนถูกตู้ ตอนแรกผมเอาสก็อตเทปแปะแค่สี่มุม กระดาษ น้องผึ้งบอก เฮ้ย ไม่ได้นะพี่เต่า ต้องเอาสก็อตเทปแปะทับซ้ำ�ๆ ทั้งใบเลย แปะแน่นๆ ให้แกะยากๆ ผมงง ถามว่าทำ�ไมวะ นี่มาอยู่แค่สามเดือน นะ ไม่ใช่จะมาตั้งรกราก น้องผึ้งบอกว่า ถ้าแปะไม่แน่น มันจะมีเด็กเปรตมาฉีก ชื่อเราทิ้งเล่น... โห นี่มันเมืองเถื่อนอะไรวะเนี่ย อะ แปะก็แปะ... อย่างที่สอง น้องผึ้งถามผมว่าได้กุญแจห้องมากี่ดอก ก็พบว่าเค้าให้มา สองดอก น้องผึ้งบอกว่าให้รักษายิ่งชีพ เพราะการทำ�กุญแจหายในฝรั่งเศส เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศพอๆ กับแพนด้าแท้งลูก ไม่ใช่ว่าพอกุญแจหายแล้ว จะเดินไปปั๊มใหม่หน้าปากซอยได้ง่ายๆ เพราะการจะทำ�กุญแจขึ้นมาอีกอัน ต้องมีเอกสารราชการเป็นลายลักษณ์อักษร และค่าทำ�กุญแจแบบที่บ้านเราปั๊ม ดอกละ 50 บาท ที่ปารีสมันดอกละหมื่นกว่าบาท! โอเคครับ ทุกวันตอนออก จากบ้าน เราจะเอากุญแจดอกนึงใส่กางเกง อีกดอกใส่กางเกงในไว้นะ ถ้ามี โจรหื่นจะขืนใจ แกจะเอาพรหมจรรย์ก็เอาไป (ฮะ!) แต่ห้ามเอากุญแจบ้านกูไป นะมึง อย่างที่สาม อันนี้สำ�คัญต่อกะเหรี่ยงเมืองร้อนอย่างเรามาก นั่นคือ ฮีตเตอร์ น้องผึง้ บอกว่าทีบ่ า้ นเค้าใช้ระบบฮีตเตอร์รวมส่วนกลางทัง้ อาคาร ถึงเรา จะสามารถปรับระดับความร้อนทีต่ วั เครือ่ งเองได้ แต่ทเี่ ปรตคือ เราเปิด-ปิดไม่ได้ แต่ จ ะมี บุ ค คลลึ ก ลั บ ผู้ กุ ม ชะตากรรมของคนหมู่ ม าก เป็ น คนตั ด สิ น ว่ า อ้ ะ หนาวละ เริ่มใช้ฮีตเตอร์ได้ละ ซึ่งน้องผึ้งบอกว่าบางปีแม่งหนาวฉิบหายจนแทบ จะติดลบ อีฮีตเตอร์ก็ไม่ยอมเปิดซะที น้องผึ้งบอกว่าตอนนี้ยังฤดูใบไม้ร่วงอยู่ อีพวกฝรั่งมันอยู่กันได้สบายมาก ดังนั้นคงอีกสักพักกว่าฮีตเตอร์จะเริ่มทำ�งาน ถ้าหนาวก็ใส่เสื้อหนาๆ นอนไปก่อน ...แต่ความเปรตที่ผมไม่รู้ และน้องผึ้งก็ไม่รู้คือ ระบบฮีตเตอร์ในปารีส มันไม่ได้มีแบบเดียว! และที่บ้านผมมันไม่ได้เป็นแบบบ้านน้องผึ้งว้อยยยย ​คือผมก็นอนหนาวขดในห้องอยู่หลายวัน รอว่าเมื่อไรอีบุคคลลึกลับ 42


คนนัน้ มันจะเปิดฮีตเตอร์ให้กไู ด้ใช้ซะที นีก่ เู ป็นเด็กขาดความอบอุน่ จนจะแข็งตาย แล้วนะมึง ยิ่งฤดูหนาวค่อยๆ คืบคลานเข้ามา อุณหภูมิค่อยๆ ลดใกล้เลขศูนย์ เข้ า ไปทุ ก วั น ก็ ยั ง ไม่ มี วี่ แว่ ว ว่ า อี ฮี ต เตอร์ ที่ บ้ า นมั น จะพ่ น ไออุ่ น ให้ สั ก แอะ จนวันนึงน้องผึ้งบอกว่าฮีตเตอร์บ้านเค้าเปิดได้แล้วนะ แล้วทำ�ไมบ้านกูยังเปิด ไม่ได้! ​จนกระทั่งวันนึง ขณะต้มมาม่าอยู่ในครัว เหลือบไปมองกล่องเหล็ก บนกำ�แพง เอ๊ะ ทำ�ไมมันมีรูกลมๆ วะ มองเข้าไปเห็นเปลวไฟ เฮ้ย! นี่มันเหมือน เตาแก๊สบ้านเราเลย แถมมีที่บิดเร่งไฟด้วย ผมเลยลองบิดเร่งไฟเพิ่ม แล้ววิ่งไป แตะมือที่เครื่องฮีตเตอร์ในห้องนอน ​เย้ดดดดดด มันร้อนแล้วว้อยยยย! ความรู้สึกตอนนั้นเข้าใจแล้วครับว่า บรรพบุรุษดึกดำ�บรรพ์ของมนุษย์ตอนค้นพบวิธีการจุดไฟมันตื่นเต้นขนาดไหน แทบจะรำ�บูชาฟ้าดินไปรอบทวีปยุโรป คือจริงๆ บ้านผมแม่งไม่ตอ้ งรอใครมาเปิด ระบบฮีตเตอร์เลย เพราะแต่ละห้องใช้แก๊สทำ�ความร้อนระบบฮีตเตอร์ของตัวเอง ไอ้เราก็ไม่รู้ นอนรอความอบอุ่นมาเป็นอาทิตย์ ฮือออ บ้าที่สุด ไม่รู้จะโทษใคร สรุปกูโง่เอง ​หลังจากวันนั้นล่ะคุณเอ๊ย รักบ้านตัวเองขึ้นเยอะมาก เวลาบ้านอุ่นๆ นี่มันมีความสุขจริงๆ ​ และสิ่งสุดท้ายในบ้านที่ผมต้องสู้รบปรบมือด้วยคือ เครื่องซักผ้าสัญชาติ ฝรั่งเศสครับ นอกจากคนฝรั่งเศสมันจะไม่พูดภาษาอังกฤษกันแล้ว เครื่องซักผ้า ฝรั่งเศสมันก็ไม่พูดภาษาอังกฤษด้วยครับ! คือทุกคำ�ที่ปรากฏบนเครื่องนี่เป็น ภาษาฝรัง่ เศสล้วนๆ แถมแต่ละคำ�ก็ไม่เคยพบเจอมาก่อน ตอนนัน้ รูส้ กึ อยากโทร กลับไปโรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศสที่เมืองไทย ให้บรรจุเรื่องคำ�สั่งเครื่องซักผ้า ลงไปในบทเรียนโดยด่วน ถามน้องผึ้งว่ามันใช้ยังไง (คือตอนนั้น ทำ�อะไรไม่เป็น ขึน้ มา กูถามน้องผึง้ ก่อนเลย) น้องผึง้ บอก หนูกไ็ ม่รคู้ ะ่ พอดีทบี่ า้ นมันตัง้ โปรแกรม แบบกดปุ่มเดียวจบ ที่พึ่งสุดท้ายของผมที่พอนึกได้ในตอนนั้น คือ อากู๋ กูเกิ้ล 43


ผมก็ไล่จดคำ�ใส่กระดาษทีละคำ�ๆ แล้วเอาไปกรอกใส่กูเกิ้ลทรานสเลต ซึ่งก็แปลรู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่องมั่ง แต่ก็พอถูไถว่า เออ โหมดนี้คือปั่นผ้า ปุ่มนี้สำ�หรับ ผ้าคอตตอนละมั้ง พอจะหย่อนผ้าลงไป ก็เห็นอีกว่า แล้วทำ�ไมมันถึงต้องมีปรับ อุณหภูมนิ �้ำ ด้วยวะ มึงจะเยอะเกินไปแล้วนะอีเครือ่ งซักผ้า กูจะรูม้ ยั้ ว่ากางเกงใน มันต้องใช้น�้ำ กีอ่ งศา กางเกงยีนส์กอี่ งศา ตอนกูอยูไ่ ทยก็โยนๆ ลงไปซักพร้อมกัน แบบสมานฉันท์ ไม่เห็นต้องแบ่งแยกอะไรขนาดนี้เลย ด้วยความไม่แน่ใจว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นยังไง การซักผ้าครั้งแรกสุด ในประเทศฝรั่งเศสของผม จึงต้องส่งหน่วยกล้าตายเป็นทัพหน้าไปลงถังซะก่อน นัน่ คือ กางเกงในสามตัวทีก่ �ำ ลังจะเกษียณปลดประจำ�การหลังผ่านการใช้งานมา สมบุกสมบัน ถ้าเกิดมีเหตุผิดพลาดประการใด อย่างน้อยกางเกงในเหล่านั้น จะได้ตายในหน้าที่อย่างภาคภูมิใจ แถมยังได้มาตายไกลถึงฝรั่งเศสซะด้วย ซึ่งผลที่ออกมาก็ สะอาดเอี่ยมอ่องหอมสดชื่นดีครับ จากนั้นจึงค่อยส่งทัพหลัง อันได้แก่เสื้อ กางเกง ถุงเท้าตามลงไปเป็นระลอกสอง นีแ่ ค่บทแรกสุดของปฐมนิเทศนะครับ ยังไม่ได้กระดิกตีนออกไปนอกบ้าน เลย บทเรียนบทต่อไปของน้องผึง้ คือ จะไปเดินทำ�ความรูจ้ กั ย่านใกล้เคียงกันครับ

44


45


124


ครั้งแรกที่

INSEAD (1)

มันคงเป็นความรู้สึกที่แปลกดี ที่อยู่ดีๆ วันนึง เราก็มีเพื่อนเป็นคน ต่างประเทศจากทั่วทุกมุมโลก ​6 พฤศจิกายน 2010 เป็นวันที่ยิ่งใหญ่มากสำ�หรับผม เพราะมันจะเป็น วันแรกของการไปโรงเรียนที่ผมใช้ความพยายามถึงสี่ปีเต็มกว่าจะได้เข้ามาเรียน มันคือวันแรกที่ผมจะได้ย่างก้าวเข้าไปในแคมปัสของอินเสียด (INSEAD) ที่เมือง ฟงแตนโบล ​ยังครับ ยังไม่ได้เริ่มเรียน แต่วันนี้เป็นวัน Open Day หรือเป็นวันเปิดบ้าน ให้นักเรียนรุ่นถัดไปที่กำ�ลังจะเปิดเทอมในเดือนมกราคม ได้มาทำ�ความรู้จัก โรงเรียนกันซะก่อน และแน่นอนว่านี่จะเป็นโอกาสแรกที่ผมจะได้เห็นหน้าค่าตา ของเพือ่ นร่วมรุน่ ของผมทีล่ งทะเบียนมาร่วมงานเกือบ 300 คนจากทัว่ ทุกมุมโลก เล่นเอาคืนก่อนหน้านัน้ นอนไม่หลับ เพราะคิดตัง้ แต่วา่ กูจะแต่งตัวยังไงไม่ให้ดเู ห่ย แถมยังต้องซ้อมแนะนำ�ตัวเป็นภาษาอังกฤษให้คล่องด้วย ​เช้าวันนั้น แทนที่จะนั่งเมโทรไปเรียนภาษาฝรั่งเศสตามปกติ ผมเปลี่ยน เส้นทางนั่งไปที่สถานีการ์ เดอ ลียง (Gare de Lyon) ซื้อตั๋วรถไฟมุ่งหน้าสู่สถานี 125


อาวง-ฟงแตนโบล (Avon-Fontainebleau) ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 40 นาที ซึ่งผมก็ไม่ได้นัดใครครับ กะไปคนเดียว เดี๋ยวก็คงไปเจอเพื่อน ที่โรงเรียนเอง ตอนนั้นความรู้สึกเหมือนแฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาคหนึ่ง ตอนกำ�ลัง นั่งรถไฟไปโรงเรียนครั้งแรกอะครับ มองไปรอบๆ เห็นคนหน้าตาที่มองยังไง ก็ไม่ใช่คนฝรั่งเศสแน่ๆ อยู่หลายคน บางคนมาเป็นกลุ่ม บางคนมาคนเดียว บางคนมาเป็ น คู่ แต่ ด้ ว ยความตื่ น เต้ น และกลั ว หน้ า แตก เลยนั่ ง ฟั ง เพลง สงบสติอารมณ์ไปคนเดียวก่อน ​40 นาทีผ่านไป รถไฟจอดที่สถานีอาวง-ฟงแตนโบล มีคนถือป้ายสีเขียว เขียนคำ�ว่า INSEAD พร้อมรถบัสรอรับเราอยู่ พอได้ขึ้นไปบนรถบัสก็รู้ละว่า นี่แหละ คือเพื่อนๆ ที่ผมจะเรียนด้วยไปตลอดหนึ่งปีหลังจากนี้ แน่นอนว่า การแนะนำ�ตัวเริ่มต้นขึ้นทันที ก็เดินคุยกันในรถบัสไปตลอดทางจนถึงโรงเรียน นั่นแหละครับ เมื่อถึงโรงเรียน การแนะนำ�ตัวก็หยุดลง เพราะได้เวลากินครับ แทบ ทุกคนไม่ได้กินอาหารเช้ามาก่อน ก็เลยพุ่งตัวเข้าซุ้มอาหารเช้า หยิบครัวซองต์ ชา กาแฟ แล้วก็มายืนเม้าท์กันต่อว่าเป็นใครมาจากไหน ทำ�งานที่ไหนมาก่อน ซึ่งต้องขอบคุณทางโรงเรียนมากครับ ที่มีป้ายชื่อติดอกให้ เพราะผมเป็นมนุษย์ ที่มีทักษะการจำ�ชื่อคนขั้นเลวร้ายมาก คือแค่เพื่อนคนไทย ชื่อไทยๆ ด้วยกัน นี่กูก็ลืมเร็วเหมือนอีปลาสีฟ้าเพื่อนนีโมแล้วนะ นี่วันนี้เป็นเพื่อนจากทั่วโลก ชื่อก็ไม่คุ้น แถมยังต้องจำ�อีกว่ามาจากประเทศไหน นับว่าเป็นการใช้สมอง ที่ท้าทายมนุษย์ความจำ�สั้นอย่างผมมาก ​ยั ง แค่ นั้ น มั น ยั ง ยากไม่ พ อ คนที่ ม าเรี ย น MBA นี่ แ บ่ ง ด้ ว ยสถานะ ได้ ส องแบบครั บ อย่ า งแรกก็ คื อ แบบผม มาคนเดี ย วหั ว โด่ ทิ้ ง ทุ ก สิ่ ง อย่ า ง ทั้งครอบครัว เพื่อน แฟนไว้เบื้องหลัง และแบบที่สองคือ คนที่มีพันธะแล้ว และคนทีม่ างานโอเพ่นเดย์วนั นีไ้ ม่ได้มแี ต่นกั เรียนครับ แต่บางคนพาแฟน คูห่ มัน้ หรือภรรยามาด้วย ซึ่งโรงเรียนผมเรียกบุคคลผู้มีพันธะผูกพันกับนักเรียนว่า พาร์ตเนอร์ (แต่บิสิเนสสคูลแห่งอื่นในอเมริกา จะมีคำ�อื่นๆ ให้เรียกใช้ต่างกันไป 126


บางที่เรียกว่า JV หรือ joint venture ซึ่งจริงๆ เป็นคำ�ทางธุรกิจของการร่วม กิจการกัน หรือบางที่ก็มีศัพท์แฟนซีว่า significant other คือเป็นคนอื่น คนนอก อะนะ แต่สำ�คัญมาก หรือบางที่ก็เรียกว่า plus one หรือ +1 ครับ) ผมก็เลย ต้องจำ�อีกว่า คนนี้นักเรียนนะ คนนี้ผัวนักเรียนนะ ส่วนคนนี้คู่หมั้นนะ ซับซ้อน ท้าทายรอยหยักสมองจริงๆ ฮะ ​คือการเป็นนักเรียน MBA โดยเฉพาะของโรงเรียนผมที่เป็นหลักสูตร ปีเดียว เนื้อหาจะเข้มข้นยิ่งกว่าพรุนสกัด มันทำ�ให้นักเรียนหลายๆ คนที่มี ครอบครัว มีลูกเมียแล้วต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ ว่าจะย้ายมาอยู่ด้วยกันเลยมั้ย ชั้นเรียนไป เธอก็เลี้ยงลูก นั่งจิบน้ำ�ชากับเพื่อนพาร์ตเนอร์ด้วยกันไป แต่สิ่งนึงที่ ผมพบในตัวพาร์ตเนอร์ที่คุยด้วยคือ เกือบทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ INSEAD และมีคาแรกเตอร์คล้ายกับคนที่เป็นนักเรียนจริงๆ มาก ซึ่งส่วนมากก็เป็นเพราะ ขั้นตอนการสมัครที่โหดหิน จนฝ่ายพาร์ตเนอร์ต้องเข้ามาให้กำ�ลังใจและเรียนรู้ ไปในตัวว่าโรงเรียนนี้มันเป็นยังไง จนบางคนคุยกันไปตั้งนาน นึกว่าเป็นนักเรียน สุดท้ายมาเฉลยว่าเป็นพาร์ตเนอร์ก็มี ​แ ต่ สิ่ ง นึ ง ที่ ผ มไม่ คิ ด ว่ า จะเจอในวั น โอเพ่ น เดย์ ก็ คื อ นั ก เรี ย นที่ กำ � ลั ง ตั้ ง ท้ อ งแก่ ค รั บ อั น นี้ ย อมรั บ ว่ า ถ้ า เดิ น ไปเจออู ฐ ในสนามหญ้ า ที่ โรงเรี ย น อาจจะตกใจน้อยกว่านี้ เธอเป็นคุณน้าอายุ 32 ลูกครึ่งฝรั่งเศส-โมร็อกกัน กำ�ลังตัง้ ท้องแก่แปดเดือน ตอนแรกทุกคนมัน่ ใจว่าคุณน้าต้องเป็นพาร์ตเนอร์แน่ๆ เพราะจะให้เรียนไปตั้งท้องไปคงไม่ไหวแน่ แต่พอได้คุยแล้วถึงรู้ว่า เค้าเป็น นักเรียนจริงๆ และจะมีกำ�หนดคลอดก่อนเปิดเทอมสองอาทิตย์ และเธอบอกว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นความผิดพลาด แต่วางแผนไว้หมดแล้ว ทั้งรุ่นถึงขั้นปรบมือให้ ในความมุ่งมั่นในการเป็นนักเรียนและแม่ในเวลาเดียวกัน ทุกคนบอกว่า ลูกสาว เธอน่าอิจฉามาก เพราะคลอดออกมาปับ๊ ก็จะมีลงุ ป้าน้าอาถึง 500 คนเลยทีเดียว ส​ งิ่ ทีผ่ มได้เรียนรูจ้ ากการเจอเพือ่ นๆ ในวันโอเพ่นเดย์คงจะเป็นการได้มา เห็นของจริงว่า ความหลากหลายของนักเรียนโรงเรียนนี้มันเทียบเท่าองค์การ สหประชาชาติแล้วครับ ที่เคยได้ยินโฆษณา ได้คุยกับรุ่นพี่ศิษย์เก่าว่าโรงเรียนนี้ 127


มันคือโคตรของคำ�ว่า international นั้นไม่ได้เป็นคำ�อวดอ้างเกินจริงแม้แต่น้อย แค่ วั น นี้ วั น เดี ย วได้ รู้ จั ก กั บ คนจาก 50-60 ประเทศ แต่ ล ะคนผ่ า นอะไรมา โชกโชนมาก ตอนเขียนใบสมัคร ผมบอกว่าผมทำ�งานที่เขมร เคยบินไปขายของ ทีแ่ องโกล่า อันนีก้ น็ า่ จะโดดเด่นแล้ว แต่พอมาเจอของจริง ผมเจอคนทีอ่ ายุนอ้ ย กว่าผม แต่เดินทางมาแล้ว 60 ประเทศ เจอคนที่ปั่นจักรยานเพื่อการกุศลจาก เคปทาวน์ไปจนถึงไนโรบี เจอคู่สามีภรรยา ผู้ชายเป็นคนบราซิล ผู้หญิงเป็น คนไต้หวัน พบรักกันที่เยอรมนี และทำ�งานอยู่ที่ลอนดอน หรือหนุ่มญี่ปุ่นที่ พูดได้ 7 ภาษา ย้ายบ้านมา 14 ครั้งทั่วโลก ​ส่วนผม กะเหรี่ยงไทย เกิดในไทย เรียนในไทย โตในไทย ทำ�งานในไทย และเขมร สวัสดีครับ แฮ่... ​...อย่าลืมว่าวันนี้แค่โอเพ่นเดย์มากันยังไม่ถึงครึ่งรุ่น แล้วถ้าเปิดเทอม จะจริงจังขนาดไหน จะได้เห็นคนที่มีโปรไฟล์โดดเด่นอลังการกว่าวันนี้อีกเพียบ แหงๆ แค่นี้ก็ตื่นเต้นจนเลือดกำ�เดาไหลแล้วครับ ​และที่เขียนเล่ามาทั้งหมดนี้ งานยังไม่ได้เริ่มเลยครับ แค่ยืนกินมื้อเช้า กับแนะนำ�ตัวกันเท่านั้น ​...โปรดติดตามภาคบ่ายในตอนต่อไป

128


129


176


ทีมงานภาคบังคับ

สิ่งหนึ่งที่นักเรียน INSEAD จะต้องลุ้นกันตั้งแต่วันแรกของการเรียนคือ ลุ้นว่าใครจะมาเป็นเพื่อนในทีมของเรา ​อธิบายกันคร่าวๆ ก่อนว่า ที่ INSEAD นี่เราเรียนกันหนึ่งปีจบ แบ่งเป็น ห้าเทอม (เรียกว่า period หรือเรียกกันเล่นๆ ว่า P1 ไปจนถึง P5) ซึ่งเทอมนึง จะเรียนประมาณเจ็ดสัปดาห์ ปิดเทอมสักสี่ห้าวัน แล้วก็เปิดเทอมใหม่เรียนต่อ กันเลย ไม่มีการปิดทีละสองสามเดือนให้นวยนาดขนาดนั้น ​ในห้าเทอมที่ว่าเนี่ย สองเทอมแรกจะเป็นการเรียนวิชาหลักล้วนๆ ซึ่งจะ แบ่งนักเรียนเป็นเซ็กชั่น เซ็กชั่นละประมาณ 70 คน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีที่นั่ง ของตัวเอง จะย้ายไปไหนไม่ได้ แล้วก็จะเรียนที่ห้องเดิมตลอด ไม่ต้องย้าย ห้องเรียนไปตามวิชา การเรียนช่วงสองเทอมแรกที่นี่เลยให้อารมณ์เหมือน ตอนเรียนประถมเป๊ะเลยครับ แต่ตอนทีผ่ มเรียนประถมนีผ่ มจำ�ได้วา่ ผมยังมีสทิ ธิ์ เลือกนะ ว่าจะนั่งกับเพื่อนคนไหน แต่นี่นอกจากจะเลือกที่นั่งไม่ได้แล้ว ยังเลือก คนที่นั่งข้างๆ เราก็ไม่ได้อีก! โหดอ้ะ! ​แล้วใครล่ะ ที่จะมานั่งข้างเรา? 177


​คำ�ตอบคือ คนที่นั่งข้างเราทั้งหมดจะเป็นเพื่อนร่วมทีมของเรา ที่จะต้อง เรียน ทำ�งาน ส่งการบ้าน หรือแม้แต่สอบด้วยกันไปทุกวิชาตลอดสองเทอมแรก ครับ หนึ่งทีมจะมีประมาณ 5-6 คน โดยทางโรงเรียนจะจัดทีมให้เอง ซึ่งการ จัดทีมนี่ไม่ได้มาจากการคัดหน้าตา โหงวเฮ้ง หรือสุ่มจับฉลากใบดำ�ใบแดงแน่ๆ แต่มันเป็นการจัดที่วางแผนไว้เป็นอย่างดี ​ต อนวั น โอเพ่น เดย์มีเ พื่อ นผมคนนึง ยกมือ ถามว่ า “โรงเรี ย นใช้ อะไร เป็นเกณฑ์ในการจัดทีมให้นักเรียนคะ” ซึ่งโปรเฟสเซอร์ก็ตอบคำ�ถามนี้ได้ง่าย กระชับ และได้ใจความว่า “The only criteria we used is to maximize the pain in every group.” แปลว่า หลักเกณฑ์เดียวที่ใช้คือ จัดยังไงก็ได้ให้มันทะเลาะตบตีดราม่า เยอะที่สุด... ​เป็นคำ�ตอบที่ทำ�ให้ทั้งห้องหัวเราะ แต่โปรเฟสเซอร์เค้าไม่ได้โกหกครับ ​หลักการของ INSEAD คือ จัดทีมให้เกิดความหลากหลายของสมาชิก มากที่สุด หลากหลายทั้งเพศ (มีทั้งชายและหญิง) อายุ ประสบการณ์ทำ�งาน เชือ้ ชาติ สีผวิ บุคลิก ทัศนคติ คือลองนึกถึงตอนเราจับกลุม่ ทำ�รายงานตอนมัธยม เราก็จะจับกลุ่มกับเพื่อนที่เราสนิทด้วยใช่มั้ยครับ แต่นี่เราจะได้กลุ่มของคนที่ เราแทบไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แถมไม่มีอะไรเหมือนเราสักอย่าง ดังนั้น โอกาส ทีจ่ ะดราม่าตบตีกนั นัน้ มีสงู มากครับ แต่เราก็ไม่มสี ทิ ธิเ์ ลือกหรือเปลีย่ นแปลงใดๆ ทัง้ สิน้ เมือ่ เรารูแ้ ล้วว่าใครอยูใ่ นกลุม่ เรา ก็จะต้องนัง่ ข้างกันในห้องเรียนไปทุกวิชา ทำ�งาน ทำ�การบ้าน และสอบด้วยกันไปจนกว่าจะจบเทอมสอง ​ดังนั้น เพื่อนในทีมของเรา มันอาจจะทำ�ให้หนึ่งปีที่ INSEAD เป็น ประสบการณ์ที่ดีมาก หรือดราม่าเว่อร์ไปเลยก็ได้เช่นกัน ​เขาว่ากันว่า ในบรรดาทีมที่โรงเรียนจัดให้ บางทีมเป็น ‘การทดลอง’ ที่จับ คนที่มีอะไรขัดแย้งหรือแตกต่างกันแบบสุดเหวี่ยงสุดตีนไปอยู่กลุ่มเดียวกัน แล้วดูว่ากลุ่มนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กันยังไง อย่างเช่น เพื่อนชาวอิรักหนึ่งเดียว ของรุ่น ถูกจับให้ไปอยู่กลุ่มเดียวกันกับคนอเมริกัน ทุกคนในรุ่นลงความเห็นว่า 178


นีไ่ ม่ใช่เรือ่ งบังเอิญแน่ๆ (แอบสปอยล์ให้ครับว่ากลุม่ นีน้ ดี่ ราม่าบ้านแตกสาแหรก ขาดกันตั้งแต่วันแรกๆ จนไม่มองหน้ากันอีกเลย แต่สาเหตุจริงๆ ไม่ได้มาจาก เชื้อชาติหรอก มาจากบุคลิกซะมากกว่า) ซึ่งเรื่องแนวเชื้อชาตินี่ก็เกิดกับอีกกลุ่ม คือเพื่อนชาวมาเลเซีย ถูกจัดให้ไปอยู่กลุ่มเดียวกับชาวอิสราเอล (สองประเทศนี้ เค้าแบนไม่ให้คนของอีกฝั่งเข้าประเทศของตัวเองนะครับ ส่วนเรื่องสาเหตุไปหา อ่านในกูเกิ้ลนะครับ เดี๋ยวจะอธิบายสามตอนไม่จบ) แต่อีกลุ่มนี้ก็เห็นรักกัน จูบปากจูบคอกันดี ไม่มีดราม่านะ แ​ ต่บางที ดราม่ามันก็ไม่ได้เกิดจากความแตกต่างอย่างเดียวนะครับ เพราะ ความเหมือนกันเกินไปก็ทำ�ให้ดราม่าได้ไม่แพ้กัน อย่างเช่น มีกลุ่มนึงที่สมาชิก ทุกคนเป็นวิศวกรทัง้ หมด (แน่นอนว่าไม่บงั เอิญแน่ๆ เพราะส่วนใหญ่สมาชิกกลุม่ จะมีประสบการณ์ทำ�งานหลากหลายมาก) อีกลุ่มนี้นี่ทำ�การบ้านด้วยกันทีไร ทะเลาะกันโรงเรียนแทบบึ้ม ​สรุปแล้ว กลุ่มที่จะดราม่าหรือรักกัน มันไม่มีอะไรกำ�หนดได้ตายตัว เลยครับ เป็นเรื่องของทักษะการปรับตัวเข้าหากัน เข้าใจในความแตกต่าง (หรือ ความเหมือน) ผสมกับดวงอีกเล็กน้อย ซึ่งก็ต้องลุ้นเอาแล้วล่ะครับว่าโรงเรียน เค้าจะจัดทีมเรายังไง ​และนี่คือทีมของผมครับ ​ไชยณัฐ (26) ตัวแทนจากประเทศไทย เป็นคนไทยแท้ๆ ไม่เคยเรียน หรือโตเมืองนอก ทำ�งานด้านการตลาด มีประสบการณ์ทำ�งานที่กัมพูชา 2 ปี พูดได้ 5 ภาษา (แต่ไม่คล่องซักกะภาษา) งานอดิเรกคือ การตระเวนกินข้าวหมูแดง ร้านอร่อยทั่วราชอาณาจักร ​วิเวียน (29) สาวหมวยหนึ่งเดียวของทีม สัญชาติอเมริกัน พ่อแม่เป็น คนสัญชาติจีนที่อพยพมาอยู่ที่พม่า ก่อนจะย้ายรกรากไปอยู่ที่ลอสแอนเจลิส เป็นคนเดียวในทีมที่ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจมาก่อนเลย เพราะทำ�งานเป็น ผูช้ ว่ ยผูก้ �ำ กับภาพยนตร์ และอยูใ่ นวงการสือ่ มาตลอด วิเวียนเป็นเพือ่ นทีผ่ มสนิท ด้วยที่สุดตลอดหนึ่งปีที่ INSEAD ครับ 179


​บรูโน่ (30) ไม่ใช่นักร้องเพลงป๊อปที่ร้องเพลง Just The Way You Are แต่เป็นหนุ่มโปรตุเกสหน้าคม ที่ปากหมาและเลือดร้อน พร้อมจะต่อยเด็ก เตะหมา ด่าพระได้ทกุ วินาที มีเรือ่ งกับเพือ่ นร่วมรุน่ และคนรอบข้างมานับไม่ถว้ น รวมถึงข้าพเจ้าด้วย เป็นคนฉลาด หัวไว มีประสบการณ์ท�ำ งานในสำ�นัก business consulting มาหลายปี ทุกคนในทีมเชื่อว่าจริงๆ แล้วบรูโน่มันเป็นคนจิตใจดี แต่ก็นั่นแหละ ย้ำ�อีกครั้ง มันพร้อมจะต่อยเด็ก เตะหมา ด่าพระได้ทุกวินาที ​ดันแคน (34) หนุ่มใหญ่ลูกครึ่งอังกฤษ-แคนาดา ทำ�งานด้านการตลาด สินค้าอุปโภคบริโภคให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในลอนดอนมาหลายปี พูดได้สามภาษา แต่งงานมีครอบครัวแล้ว พาลูกเมียมาอยู่ด้วย เมียสวยมาก และลูกก็น่ารักมาก ด้วย เป็นคนใจเย็นมาก และเป็นพี่ใหญ่ในกลุ่ม คอยห้ามมวยไม่ให้ผมกับบรูโน่ ลุกขึ้นมาชกปากกัน ​แม็กซิม (26) หนุ่มหัวหยอยผู้มากับแว่นกรอบดำ�ทรงแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชาวบัลแกเรีย อายุเท่าผมแต่ดันแต่งงานมีลูกไปแล้ว เมียสวยมากและ ลูกน่ารักมาก (อีกแล้ว) ทำ�งานด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์มาก่อน เป็น คนใจเย็น ชิลล์ได้ตลอดเวลา พูดน้อย สุภาพบุรุษมาก เป็นกรรมการเบอร์สอง ในการห้ามมวยระหว่างข้าพเจ้ากับไอ้บรูโน่ ​ร ายชื่ อ ของทุ ก กลุ่ ม ประกาศออกมาทางเว็ บ ของโรงเรี ย นแค่ ส องวั น ก่อนเปิดเทอม และทุกคนมีหน้าที่ไปตามล่าหาเพื่อนร่วมทีมกันเองในงาน ค็อกเทลดินเนอร์วนั เปิดเทอมวันแรก แน่นอนว่าทุกคนต่างก็แนะนำ�ตัว ฝากเนือ้ ฝากตัวยิ้มแย้มเบิกบานกันทุกกลุ่ม ยิ่งมีไวน์แดงและแชมเปญให้แบบไม่อั้น บรรยากาศตอนนั้นเหมือนอยู่ในโรงเรียนโลกสวยเลยฮะ ​โดยที่บางกลุ่มไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่า ตลอดสี่เดือนต่อจากนี้ไป อาจจะเป็น สี่เดือนที่ดราม่าที่สุดในชีวิต...

180


181


314


กะเหรี่ยงไทยไปนอร์ม็องดี

​จำ�นวนโดยเฉลี่ยของประชากรชาวไทยในหนึ่งรุ่นของ INSEAD จะอยู่ที่ ประมาณ 2-4 คน เมื่อรวมสองรุ่นที่อยู่ในโรงเรียนแล้วก็จะมีคนไทยอยู่ประมาณ 5-6 คน แบ่งกันอยู่ในแคมปัสสิงคโปร์ และฝรั่งเศส ซึ่งนับได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อย ของโรงเรียน เมื่อเทียบกับชาติเอเชียอื่นๆ อย่างสิงคโปร์หรือญี่ปุ่น ที่แห่กันมา มืดฟ้ามัวดินถึงรุ่นละเป็นหลักสิบ ​สำ � หรั บ ผม การเป็ น คนไทยคนเดี ย วในรุ่ น ในแคมปั ส ฝรั่ ง เศสช่ ว ง สองเทอมแรกไม่ได้เป็นปัญหาในการดำ�รงชีวิตที่นี่ และจะว่าไป มันเป็นหนึ่ง ในสาเหตุทผี่ มเลือกมาเรียนทีน่ อี่ ยูแ่ ล้ว คือไม่อยากใช้ชวี ติ กับคนไทยด้วยกันมาก เกินไป แต่ช่วงเทอมสองเป็นช่วงที่ผมดี๊ด๊าเป็นพิเศษ เพราะหลังจากที่ใช้ชีวิต เป็นคนไทยแบบโมเลกุลอิสระในฝรั่งเศสมาราวๆ ครึ่งปี ตอนอยู่ปารีสก็มีแค่ น้องผึ้ง พอเข้าเทอมสองที่นี่ เรามีสมาชิกคนไทยรวมกันถึงสี่คน คือ ผม บอล แก้ ว สา ทั้ ง สามคนเป็ น รุ่ น พี่ ผ มหนึ่ ง รุ่ น สาเริ่ ม เรี ย นที่ สิ ง คโปร์ แ ล้ ว ย้ า ยมา ที่ฝรั่งเศสตอนผมอยู่เทอมสองพอดี 315


​ด้วยจำ�นวนสี่คนเป็นตัวเลขที่เหมาะแก่การไปเที่ยวด้วยกันมาก ยิ่งเป็น ชายสองหญิงสองยิ่งเวิร์กสุดๆ เราเลยตกลงกันว่า น่าจะจัดโร้ดทริปขับรถไป เที่ยวกัน พอกางแผนที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วเลือกแคว้นที่อยู่ในระยะขับรถ ไม่เกินสี่ชั่วโมง และยังไม่เคยมีใครไปเที่ยวมาก่อน ตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดก็คือ เบรอตาญ (Bretagne) หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Brittany โดยระหว่างทาง ขากลับเราจะผ่านแคว้นนอร์ม็องดี (Normandie) เป็นของแถมอีกแคว้นด้วย ​ถึงเราทั้งสี่จะมีแบ็กกราวนด์ต่างกันคนละโลก แต่พอเป็นคนไทยด้วยกัน พูดภาษาเดียวกัน ทุกอย่างจึงง่ายและลงตัว ทำ�ให้แบ่งหน้าที่และเตรียมตัวกัน เร็วมาก คือ บอลจะขับรถ (อาห์... การมีเพื่อนที่มีรถเป็นความประเสริฐเช่นนี้ นี่เอง) ส่วนผมจะวางแผนร้านกินและจองโรงแรม ส่วนแก้วกับสา สองสาว จะทำ�ตัวสวยๆ นั่งทาเล็บที่เบาะหลังไปตลอดทาง ​สิ่งนึงที่ผมเรียนรู้จากโร้ดทริปครั้งนี้คือ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีหมู่บ้าน เล็กๆ น่ารักๆ เยอะมาก ซึ่งคนที่จะเที่ยวอะไรแบบนี้ได้ ต้องมีเวลาเหลือเฟือ ขับรถเที่ยวเองได้ อ่าน-พูดภาษาฝรั่งเศสได้ในระดับนึง แน่นอนว่าถ้ามากับทัวร์ ก็ไม่ต้องพูดกัน ในกรณีของสี่กะเหรี่ยงไทย ขับรถเที่ยวเอง พูดฝรั่งเศสกันได้ คนละนิ ด คนละหน่ อ ย ถึ ง จะมี เวลาแค่ เ สาร์ - อาทิ ต ย์ แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ รี บ ไปไหน เลยค่อยๆ เปิดไกด์บุ๊กหาเมืองเล็กๆ แวะกินข้าวระหว่างทาง และเราก็พบเมือง ดินอง (Dinan) เป็นเมืองเล็กๆ ทีเ่ ดินครึง่ ชัว่ โมงก็หมดแล้ว แต่รา้ นอาหารฝรัง่ เศส ตรงจัตุรัสกลางเมืองอร่อยแสงพุ่งรุ้งเจ็ดแฉก และเมื่อเดินอ้อมไปด้านหลังโบสถ์ จะเป็นหน้าผาชมวิวอลังการมาก มองลงไปเห็นแม่น้ำ�จากมุมสูง แค่นี้ก็ถือว่า โคตรคุ้มแล้วที่แวะมาเมืองนี้ ห​ ลังจากแวะทีด่ นิ อง เราก็ยงิ ตรงไปถึงเมืองจุดหมายหลักของทริป นัน่ คือ เมืองแซงต์ มาโล (St.Malo) ซึง่ เป็นเมืองท่าริมทะเล และใจกลางเมืองถูกล้อมด้วย กำ�แพงป้อมปราการทั้งสี่ด้าน ถ้ามองจากด้านบนจะเหมือนเมืองนี้ถูกบรรจุ อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยม แต่ด้วยความเบี้ยน้อยหอยเล็กของเราเลยเลือกอยู่โรงแรม นอกป้อมปราการ แล้วขับรถไปแทน เพราะราคาถูกกว่าเยอะมาก เหมาะกับ 316


ชาวรากหญ้าอย่างพวกเรามากกว่า ​เ มื อ งในป้ อ มปราการ หน้ า ตาก็ เ หมื อ นเมื อ งฝรั่ ง เศสทั่ ว ไป คื อ เป็ น ถนนแคบๆ ลัดเลาะตัดกันอย่างเป็นระเบียบ พอเดินในเมืองเสร็จก็สามารถ ไปเดินรอบกำ�แพงเมืองได้ ข้างนอกเป็นชายหาดกว้าง และมีเกาะสองเกาะที่มี ทางให้เดินข้ามไปได้ช่วงน้ำ�ลด คือเกาะกรองด์ เบ (Grand Bé) และเปอตี เบ (Petit Bé) แน่ น อนว่ า มากั น ถึ ง ขนาดนี้ ก็ ไ ม่ มี พ ลาด ต้ อ งขอไปเดิ น กะเค้ า ด้ ว ย ระยะทางที่ดูจากกำ�แพงเมือง มันก็ดูใกล้นะครับ แต่เดินเข้าจริงก็ไกลประมาณ สามเมื่อย แถมบนเกาะก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย นอกจากวัชพืช และซากปราการ เก่า แต่สำ�หรับผมที่อยู่ฝรั่งเศสมาครึ่งปี นี่เป็นครั้งแรกที่ตีนได้เหยียบทราย และสัมผัสน้ำ�ทะเล ก็ฟินใช้ได้ทีเดียวนะครับ ​แต่ฟินได้ไม่นาน ก็ต้องเดินกลับเข้ากำ�แพงเมือง เพราะเริ่มสังเกตว่า น้ำ�สูงขึ้นเรื่อยๆ หาดทรายที่เคยกว้างตอนเดินมาที่เกาะ ตอนนี้ค่อยๆ โดน น้ำ � ทะเลกลื น ไปเรื่ อ ยๆ จนขากลั บ นี่ แ ทบจะต้ อ งวิ่ ง เพราะเดิ น มาครึ่ ง ทาง น้ำ�ก็ปริ่มเสมอทางเดินพอดี พวกคนที่อยู่บนกำ�แพงเมืองมองลงมาคงหัวเราะ เจ้าหัวดำ�สี่คนนี้ว่า ดูซิว่าพวกมันจะวิ่งกลับมาถึงฝั่งก่อนทางเดินจมน้ำ�มั้ย ​หลังจากเดินเล่นชมวิวในเมืองจนมืด คำ�ถามสำ�คัญก็ผุดขึ้นมา “คืนนี้ กินอะไรดี” ...แน่นอนครับ ผมศึกษามาเรียบร้อยว่า เบรอตาญเป็นแคว้นติดทะเล มีซีฟู้ดสดใหม่อลังการในราคาไม่แพง ประหนึ่งมาเยือนหัวหินแห่งฝรั่งเศส ดังนั้น คืนนี้จะไปกินซีฟู้ดกัน ซึ่งระดับเราแล้ว จะไม่เลือกทางง่ายๆ ด้วยการหา ร้านอาหารในเมือง แต่จะขับรถออกไปที่หมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ กองกาล (Cancale) ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่โด่งดังมากเรื่องหอยนางรม อืม...ฟังดูดีมาก ดูมี ไลฟ์สไตล์ น่าไปๆ ​เราขับรถออกจากเมืองไปยี่สิบนาทีก็ถึงเมืองกองกาล มันให้อารมณ์ เหมือนไปชะอำ�มากครับ คือมีร้านอาหารริมทะเลติดๆ กันให้เลือกเต็มไปหมด เราก็เลือกร้านที่ได้เรตติ้งใน Tripadvisor ดีที่สุด ถึงจะต้องรอคิวหน่อยก็เถอะ 317


แน่นอนว่ามาถึงเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของหอยนางรมแห่งเบรอตาญ (อืม...เมืองหลวงของหอยนางรม ฟังดูหยึยๆ นะ) ก็ต้องสั่งมาลองซะหน่อย เขาจะมีให้เลือกเป็นเบอร์เหมือนไข่ไก่เลยนะฮะ ว่าไซส์นี้ตัวละกี่ยูโร อะไรงี้ อันทีจ่ ริง ในสีค่ นนี้ มีบอลแค่คนเดียวทีห่ ลงใหลรสชาติของหอยนางรมสด ผมกินไปตัวเดียวก็พอแล้ว เพราะเรายังมี seafood platter ที่เป็นอาหารทะเล ทั้งกุ้งหอยปูนึ่งใส่ถาดน้ำ�แข็งขนาดบิ๊กบึ้ม อันนี้ถือเป็นไฮไลต์ออฟเดอะเดย์ คือไอ้ถาดซีฟู้ดยักษ์แบบนี้เนี่ย ในปารีสก็มีนะครับ ไปเดินตามย่านช้อปปิ้ง อย่างชองป์เซลิเซ่ จะได้เห็นคนกินซีฟู้ดพวกนี้ในร้านหรูๆ ริมถนน แต่ราคา ก็แพงเกินเอื้อมมาก วันนี้มาถึงแหล่ง สดกว่า ถูกกว่า จึงต้องจัดไปอย่าให้เสีย ตอนที่ถาดซีฟู้ดมาวางประดิษฐานตระหง่านกลางโต๊ะนี่มันอลังการมาก เลยฮะ คือถ้าเป็นคนไทยคงต้องถ่ายรูปพาโนรามา วนรอบถาด อัพอินสตาแกรม กันเอิกเกริก แต่พอได้ลงมือกินจริงๆ แล้ว... ผมว่าซีฟู้ดไทยอร่อยกว่าอะ คือมันสดใหม่ เนื้อกรอบเด้งเหมือนกัน แต่มันไม่มีน้ำ�จิ้มซีฟู้ดแซบๆ แล้วมัน ก็เย็นเจี๊ยบ กินกับน้ำ�จิ้มแบบฝรั่ง ทาบาสโก้ ซึ่งมันไม่ได้จริตคนไทยซักเท่าไรน่ะ ระหว่างขับรถกลับโรงแรม อิ่มมันก็อิ่มนะ อร่อยมันก็อร่อยนะ แต่ถ้า ถามว่าฟินมั้ย... มันแค่เกือบฟินน่ะ มันอารมณ์ค้างนิดนึง จึงหมายมั่นกันว่า เดี๋ยวพอเรียนจบกันทุกคนแล้ว กลับไทยไปต้องจัดนัดล้างตาด้วยอาหารทะเล สดๆ แซบๆ กันอีกซักมื้อให้ถึงใจ!

318


319


Merci beaucoup

442


• ขอบคุณตัวผมเอง ที่ไม่เคยย่อท้อยอมแพ้กับความโหดร้ายของการสมัคร เข้าเรียน INSEAD ถึงจะต้องเอาหลายอย่างในชีวิตเข้าแลก แต่ก็ยังคุ้ม เหลือเกิน • ขอบคุณป๊ากับม้า และครอบครัว ป๊ากับม้าคือทุกสิ่งทุกอย่างของผม • ขอบคุณเพือ่ นพีน่ อ้ งทุกคนสำ�หรับแรงเชียร์ และสำ�หรับการติดตามความแรด ของผมในทวีปยุโรปตลอดหนึ่งปีเต็ม • ขอบคุณคนสำ�คัญของผม ขอบคุณสำ�หรับความเข้าใจกัน และความพยายาม ทุกอย่างที่ทำ�ให้เราผ่านหนึ่งปีที่เราห่างกันไปด้วยกันได้จนถึงวันนี้ • ขอบคุณบริษทั SCG สำ�หรับโอกาส และการสนับสนุนทีท่ �ำ ให้ความพยายาม ก่อตัวขึ้นเป็นความจริง • ขอบคุณเพือ่ นร่วมรุน่ นักเรียนทุนทุกคน ทีใ่ ห้ก�ำ ลังใจกันตัง้ แต่วนั แรกจนวันที่ ทุกคนแยกย้ายไปเรียน • ขอบคุณน้องผึ้ง และน้องรุจิ ที่ดูแลพี่คนนี้ตลอดเวลาที่อยู่ปารีส ถ้าไม่มีน้อง คอยดูแลช่วยเหลือ พี่ก็ไม่รู้จะเอาตัวรอดในปารีสได้ยังไง • ขอบคุณพี่บิ๊ก และทีมอะบุ๊กสำ�หรับโอกาสที่หยิบยื่นให้ • ขอบคุณคนฝรั่งเศส ที่ทำ�ให้ชีวิตผมแกร่งขึ้นเยอะเหลือเกินในช่วงสามเดือน ที่ปารีส • ขอบคุณปารีส สำ�หรับความทรงจำ�ทุกอย่าง • ขอบคุณแก้ว บอล สา หลิง ทีท่ �ำ ให้เราได้มโี อกาสใช้ภาษาไทยบ้างในต่างแดน • ขอบคุณเพื่อนๆ รุ่น 11D ทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของหนึ่งปีที่ดีที่สุดในชีวิต • ขอบคุณ INSEAD... สำ�หรับทุกอย่าง

443


About Bongtao

444


• บองเต่า ชื่อเล่นชื่อเต่า แต่ได้คำ�ว่า ‘บอง’ มาจากตอนทำ�งานที่เขมร เพราะคนในออฟฟิศเรียกว่า ‘บองเต่า’ ที่แปลว่า ‘พี่เต่า’ • เป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำ�เนิด เรียนที่เมืองไทยมาตลอดทั้งชีวิต และจริงๆ ไม่เคยมีความคิดจะเรียนปริญญาโท หรือไปเรียนเมืองนอกเลย • อาชีพหลัก คือเป็นนักวางแผนกลยุทธ์ธรุ กิจของบริษทั SCG ส่วนอาชีพเสริม (ซึ่งวางแผนไว้ว่าในอนาคตอยากจะให้กลายเป็นอาชีพหลัก) คือเป็นหุ้นส่วน ของร้านของหวานฝรั่งเศส Let Them Eat Cake ที่ได้แรงบันดาลใจหลักๆ มาจากการตระเวนกินขนมช่วงอยู่ปารีสนี่แหละ • ปัจจุบันใช้ชีวิตแบบชีพจรลงเท้า เดินทางเป็นประจำ�ทั้งในงาน และส่วนตัว ถึงจะเหนือ่ ยแต่กม็ คี วามสุขดี และคิดว่าจะเดินทางแบบนีต้ อ่ ไปเรือ่ ยๆ จนกว่า จะไม่ไหว • พูดได้ห้าภาษา คือไทย อังกฤษ เขมร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น... แต่เป็ดทุกภาษา ไม่มีดีสักอย่าง • มี ค นบอกว่ า บองเต่ า แรดขึ้ น ทุ ก ปี เ ป็ น กราฟเอ็ ก ซ์ โ ปเนนเชี ย ล ซึ่ ง จริ ง ๆ อยากบอกว่า ไม่ได้แรด ขอให้เรียกว่าเป็นคนมีไลฟ์สไตล์เป็นของตัวเอง • จนถึงตอนนี้ บองเต่ามีความคิดว่าอยากจะกลับไปปารีสสักปีละครั้ง เพื่อไป พักผ่อนและกินขนมร้านที่เคยกินเป็นประจำ� • ...เออว่ะ กูแรดจริงๆ ด้วย

445


บองเต่า หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 008 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-025-2 พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2556 ราคา 275 บาท

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บองเต่า. Bon En France. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 448 หน้า. 1. ฝรั่งเศส--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. 2. ฝรั่งเศส--ความเป็นอยู่และประเทศ I. ชื่อเรื่อง. 914.4 ISBN 978-616-327-025-2

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุด หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือนั้น มาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางสำ�นักพิมพ์ยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

446


บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพถ่าย บองเต่า, วนาลี กล่อมใจ ภาพประกอบ สมัญญา เรืองจรูญ ครีเอทีฟ ห้าทาเคชิแห่งมันเดย์ เลขานุการ/พิสูจน์อักษร พิมพ์นารา มีฤทธิ์ เรียงพิมพ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2174-6060 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com

447


448



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.