โลกจิต

Page 1




แด่ อาบัน และยายบรรณ



คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ เหตุทหี่ นังสือเล่มนีไ้ ด้รบั การคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 เล่มทีถ่ กู จัดพิมพ์ ในโครงการ a book: a decade นั้น เป็นเพราะว่า โลกจิต สามารถนิยาม ความเป็ น อะบุ๊ ก ในประการหนึ่ ง ได้ ดี ที่ สุ ด นั่ น คื อ เป็ น หนั ง สื อ ที่ ถ่ า ยทอด เรื่องราวความรู้ในเรื่องที่นักเขียนรักและหลงใหล ออกมาได้อย่างสนุกสนาน เข้าใจง่าย และจุดประกายให้เกิดการเริ่มต้นขวนขวายที่จะเรียนรู้ให้มากขึ้น แทนไท ประเสริฐกุล น่าจะเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์จำ�นวนไม่กี่คน ที่มีผลงานการเขียนออกมาสื่อสารกับคนอ่านที่ไม่ได้เป็นคอวิทยาศาสตร์ ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง โลกจิต ได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งตั้งแต่ ยังเป็นคอลัมน์อยู่ในนิตยสาร a day และยังคงขายดี เป็นที่ถูกกล่าวขวัญถึง เมื่อกลายร่างมาเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ก แม้จะได้รับการตีพิมพ์ซ้ำ�ไปแล้วหลายต่อ หลายครั้ง ก็ยังดูเหมือนยังมีเสียงเรียกร้องและความต้องการ ทั้งจากผู้อ่าน และจากร้านหนังสือ เราจึ ง ดี ใจ ที่ แ ทนไทยั ง ตกลงใจจะให้ อ ะบุ๊ ก พิ ม พ์ ซ้ำ � หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ตลอดจนยังอาสาช่วยเขียนเล่าเพิม่ เติมข้อมูลอัพเดตเรือ่ งราวของแต่ละบทตอน ถึ ง ความก้ า วหน้ า ของการศึ ก ษาและเทคโนโลยี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ แต่ ล ะเรื่ อ ง ในหนังสืออีกด้วย สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก ตุลาคม 2556


คำ�นิยม

หนังสือเรื่อง โลกนี้มันช่างยีสต์ คือเหตุที่ทำ�ให้ผมได้รู้จักกับตัวหนังสือ ของแทนไท ประเสริฐกุล และตัวจริงของเขาในเวลาไล่เลี่ยกัน หนังสือรวมงานเขียนจากบล็อกทีว่ า่ ด้วยเรือ่ งราวสัพเพเหระรอบๆ ตัว ของแทนไทเล่มนั้นทำ�ให้ชื่อของเขาถูกพูดและถามถึงในหมู่นักเขียนนักอ่าน ทำ�นองว่า ชายหนุม่ ผูน้ ชี้ า่ งเขียนหนังสือได้มนั สะดือดีแท้ สำ�นวนภาษาของเขา นั้นว่ากันตรงๆ แบบไม่ห่วงภาพลักษณ์ ทะลึ่งทะเล้นตามประสาคนหนุ่ม พอเสียงหัวเราะเริ่มจาง กล้ามเนื้อท้องเริ่มคลาย เราก็พบว่า ความคิดอ่าน ของแทนไทนั้นน่าสนใจ ตอนที่เขาเล่าเรื่องชีวิตการเป็นอาจารย์สอนวิชา ชี ว วิ ท ยาในโรงเรี ย นหญิ ง ล้ ว นแห่ ง หนึ่ ง เขาพยายามจะหาทางนำ � เสนอ วิชาชีววิทยาในรูปแบบใหม่ทคี่ ดิ นอกกรอบ สนุก สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่า เขาน่าจะได้ใจจากคนอ่าน (โดยเฉพาะเด็กนักเรียน) ไปเต็มๆ มันคงจะดีถ้าบ้านเมืองเราจะมีอาจารย์ที่ ‘เข้าใจ’ เด็กแบบแทนไท อีกเยอะๆ ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับแทนไทครั้งแรก ตอนที่ผมสัมภาษณ์เขาลงใน a day ทีแรกผมเดาว่าผมคงจะได้คุยกับผู้ชายคนหนึ่งซึ่งตลกมากและอุดม ไปด้วยความบ้าเต็มพิกัด แต่ไปๆ มาๆ รังสีความตลกของแทนไทนั้นกลับโดน


กลบด้วยคาแรกเตอร์อีกด้านของเขาซึ่งปรากฏให้เห็นเพียงลางๆ ในหนังสือ เล่มนั้น ผมรู้สึกว่าเขาเป็นคนที่รักวิทยาศาสตร์มาก ไม่ว่าจะคุยเรื่องอะไร สุดท้ายมันก็มักจะวกมาที่ความสนใจในด้าน วิทยาศาสตร์ของเขา โดยเฉพาะด้านชีววิทยา เมือ่ คุยเรือ่ งสิง่ ทีเ่ คยทำ� กำ�ลังทำ� และอยากจะทำ � มั น ก็ มั ก จะวนเวี ย นอยู่ กั บ ความพยายามที่ จ ะถ่ า ยทอด เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เขาถนัดออกไปสู่คนในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะ ทำ�ได้ วันนั้นผมไม่ได้ถามเขาว่าทำ�ไม จนถึงวันนี้ผมก็ยังไม่ได้ถาม หลังจากการสัมภาษณ์ในวันนั้น ผมเอ่ยปากชวนแทนไทว่า ถ้าอยาก ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสิงสาราสัตว์และชีววิทยาที่เขาถนัด a day ยินดี เป็ น เวที ใ ห้ เขาพยั ก หน้ า แล้ ว ตอบว่ า เพิ่ ง มี ค นมาชวนเขาเขี ย นคอลั ม น์ เกี่ยวกับสัตว์ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาด้านชีววิทยาทั้งหมด และเขาตอบตกลง ไปแล้ว ผมยิม้ รับคำ�ตอบด้วยความเสียดาย ผมไม่คดิ ว่า นอกจากชีววิทยาแล้ว แทนไทจะยังเหลือความสนใจในงานวิชาการด้านอื่นอีก ประมาณหนึ่งสัปดาห์ให้หลัง แทนไทโทรหาผม เขาบอกว่าคิดคอลัมน์ สำ � หรั บ a day ได้แ ล้ว เป็น เรื่อ งเกี่ยวกับ ‘สมอง’ เขาบอกว่ า ตอนเรี ย น ปริญญาตรี เขาเรียนเรื่องพวกนี้มาพอสมควร เขาไม่ได้เล่าอะไรละเอียดนัก ผมบอกให้เขาลองเขียนต้นฉบับส่งมาดู ผมคาดว่าเรื่องที่เขาส่งมาคงเป็นเรื่อง เกีย่ วกับการทำ�งานของสมองในเชิงจินตนาการ ความคิด ความฝัน อะไรทำ�นอง นั้น ซึ่งน่าจะสนุกดี แต่ต้นฉบับของแทนไทไม่ได้เป็นแบบนั้น เขาเล่าเรื่องเกี่ยวกับสมอง ในสิ่ ง ที่ ผ มนึ ก ไม่ ถึ ง เพราะผมไม่ เ คยรู้ ม าก่ อ นว่ า สมองของเรามั น มี เรื่ อ ง อะไรแบบนี้ ด้ ว ยหรือ ความรู้สึกของผมเวลาอ่านคอลั ม น์ ข องแทนไทเลย คล้ายๆ กับการเห็นอะไร ทำ�อะไรเป็นครั้งแรก มันจะมีความตื่นตา ตื่นใจ และ ตื่นเต้น มันมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในโลกของเราจริงๆ ด้วยหรือ!!!


ผู้ ค นในสายวิ ช าการหลายคนจากหลายด้ า นบอกผมว่ า เขาชอบ งานเขียนของแทนไทตรงที่มันเต็มไปด้วยข้อมูลแปลกใหม่ที่น่าสนใจ และ ยังไม่ค่อยมีใครหยิบมาเล่าผ่านสื่อสักเท่าไหร่ ผู้ อ่ า น a day หลายคนที่ ผ มได้ พู ด คุ ย ด้ ว ยทั้ ง แบบเห็ น หน้ า ค่ า ตา แบบเห็นทางหน้ากระดาษ และเห็นทางหน้าจอคอมพิวเตอร์บอกว่า คอลัมน์ ของแทนไทสนุกมากและขำ�ดี ผมว่านั่นคงเป็นจุดเด่นของแทนไท เขาถนัดที่จะหยิบเอาระบบคิด แบบนักวิชาการมาเล่าผ่านอารมณ์ขัน จริ ง อยู่ ผมไม่ คิ ด ว่ า ความรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ คื อ คำ � ตอบแบบเดี ย ว ของสังคม แต่ ใ นอี ก ด้ า นหนึ่ ง คำ � ตอบจากความรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ ก็ ไ ม่ ค วร ถูกละเลยอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ผมชอบที่แทนไทไม่เคยตัดพ้อออกมาดังๆ (ให้ผมได้ยิน) ว่าทำ�ไม คนส่วนใหญ่ในสังคมนี้ถึงไม่ค่อยสนใจในความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่เขา กลั บ ก้ ม หน้ า ก้ ม ตาทำ � วิ ท ยาศาสตร์ ใ ห้ เ ป็ น เรื่ อ งน่ า สนใจ ใกล้ ตั ว สนุ ก และหั ว เราะได้ แม้แ ต่เรื่อ งเกี่ยวกับสมองที่ดูเ หมือ นจะซั บซ้ อนเกิ น เข้ า ใจ เขาก็ยังเขียนให้เราเข้าใจ ยั่วให้เราอยากรู้ และซุ่มยิงมุขอยู่เป็นระยะ แล้วคุณจะเพลิดเพลินกับเรื่องในสมองของแทนไท ทรงกลด บางยี่ขัน 2550



คำ�นิยม

แทนไท…ยอดไกด์พาท่องโลกจิต เมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่นอยู่นั้น ผมสนใจเรื่องแปลกๆ หลายอย่าง ตั้งแต่ จานบิ น สามเหลี่ ย มเบอร์ มิ ว ดา ทฤษฎี พ ระเจ้ า จากอวกาศ การล่ อ งหน การย้อนเวลา สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ และ...แน่นอน...ปรากฏการณ์ทางจิต สุดแสนพิสดารทัง้ หลาย เรือ่ งต่างๆ เหล่านีผ้ มอ่านจากนิตยสารและพ็อกเก็ตบุก๊ แนวนี้ที่ดูเหมือนจะเติบโตอย่างดีในช่วงนั้น อย่างหนังสือที่ประทับจิตอย่าง ตราตรึงเล่มหนึ่งก็คือ มหัศจรรย์ทางจิต ของ หลวงวิจิตรวาทการ แต่พอแก่ขึ้น ก็ชักจะตื่นเต้นกับเรื่องประหลาดส่วนใหญ่น้อยลงไป อาจจะเป็นเพราะรูม้ ากขึน้ จับผิดเก่งขึน้ หรือไม่เจอข้อมูลแปลกใหม่ ก็เลยรูส้ กึ เฉยๆ อย่างไรก็ดี ความสนใจในความพิศวงของจิตแทบจะไม่ได้ลดลงเลย แถมยังอาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ� เพราะเมื่อใดก็ตามที่โชคดีมีโอกาสได้เจอะเจอ คนที่มีประสบการณ์ตรง ผมก็จะไม่รีรอที่จะขอความรู้ อย่างเช่น คนไทย คนหนึ่งฝึกสมาธิ และบอกผมว่าเขาสามารถมองเห็นเทพารักษ์ใต้ต้นไม้ได้ ผมก็เลยถามไปว่า แล้วแถวๆ ที่เราคุยกันอยู่นี่ คุณเห็นไหม? เขาก็ว่าไม่เห็น ผมถามว่าทำ�ไม? เขาก็ว่ากรุงเทพฯ มันอึกทึก เทพารักษ์ไม่ชอบอยู่


ลู ก ศิ ษ ย์ ข องผมอี ก คนบอกว่ า ที่ บ้ า นมั ก จะเจอะเจอกั บ เหตุ ก ารณ์ ผีหลอกวิญญาณหลอนเป็นประจำ� แถมของในบ้านบางทีก็เคลื่อนไหวเองได้ ผมฟังๆ ไปก็นึกถึงปรากฏการณ์ โพลเทอร์ไกสท์ (poltergeist) ที่เคยสร้าง เป็นภาพยนตร์นานมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นอีกคนหนึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย ชื่อดังในสหรัฐอเมริกา เก่งถึงขนาดทำ�งานวิจัยให้องค์การนาซา ท่านเชื่อว่า รอบตัวท่านมีแสงออราเปล่งปลั่ง แต่แสงนี่ท่านไม่ได้เห็นเอง เพราะคนที่เห็น เป็นเพื่อนศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นซึ่งค้นคว้าด้านจิตวิญญาณ เพื่อนคนนี้บอก ท่านว่า ตัวเขาเองก็มีแสงออรารอบกาย เพราะเขาสามารถเห็นได้ แต่เขารู้สึก ตื่นเต้น เพราะออราของท่านอาจารย์ญี่ปุ่น (คนที่อยู่อเมริกา) นั้นสุกสว่าง พ่างเพี้ยงกว่าก็ออราของตัวเขาเองซะอีก! ระหว่างที่ฟังเรื่องทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้โต้แย้งใดๆ แถมยังเชื่อว่าคนที่เล่า ‘ไม่โกหก’ นั่นคือ เขาพูดตามที่เขา (เชื่อว่า) เห็น จริงๆ เพราะดูจากลักษณะ การเล่าเรือ่ งและบริบทโดยรอบแล้ว ไม่มเี หตุผลอันใดเลยทีเ่ ขาจะมาหลอกผม หรือคนที่นั่งฟังอยู่ด้วย แต่ผมสงสัยอะไรบางอย่าง…และตั้งคำ�ถามว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ สามารถมองในมุมอื่นได้อีกไหม? เวลาเราฝัน ภาพและเสียง (หรือแม้แต่สัมผัส) ช่างแจ่มแจ๋วเจิดจรัส ชัดยิง่ กว่าทีวไี ฮเรโซลูชน่ั ฝันบางเรือ่ งอาจทำ�ให้บางคนละเมอเพ้อพก บางเรือ่ ง อาจถึงกับสะดุง้ ตืน่ ฉีร่ าด หรือ…ขออภัย…ขีแ้ ตก…ตามสำ�นวนของคุณแทนไท นี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ ว่าสมองของคนเราทรงพลังเพียงไรในการสร้างโลก ขึ้นมา โลกที่เหมือนจริงจนแยกจากความเป็นจริงแทบไม่ได้ (จะมียกเว้นก็เช่น กรณีที่คุณดันรู้สึกตัวว่ากำ�ลังฝัน ซึ่งเรียกว่า การฝันรู้ตัว หรือ lucid dreaming)


แต่แม้ว่าคุณจะไม่ได้นอนหลับ ทุกสิ่งที่คุณรับรู้และรู้สึก ก็เป็นโลกที่ สร้างขึ้นจากสมองก้อนน้อยๆ ของคุณเองเช่นกัน เอาตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น เคยไหมล่ะครับ ที่คุณเห็น เม็ดดำ �ๆ บนพื้นเป็นแมลงสาบชวนกรี๊ด (ของ อย่างหนึง่ แต่สมองดันไปตีความเป็นอีกอย่าง) หรือหาสิง่ ของบางอย่างไม่เจอ ตั้ ง นานสองนาน แต่ พ อหยุ ด หากลั บ พบว่ า ของสิ่ ง นั้ น อยู่ ใ กล้ ๆ ตั ว คุ ณ อย่างเหลือเชื่อ (ตาคุณมองเห็น แต่สมองทำ�เฉยซะอย่างงั้น) โลกที่สมองสร้างขึ้นนี้ก็คือ ‘โลกจิต’ ที่คุณแทนไทเป็นไกด์ชวนพาเที่ยว นั่นเอง แทนไทให้เกียรติแก่ผมอย่างสูงที่เลือกผมให้เขียนคำ�นิยมไว้ในหนังสือ เล่มนี้ ที่ว่าให้เกียรติเป็นเพราะเหตุว่า เราทั้งสองไม่เคยเจอกัน ไม่เคยแม้แต่ คุยกันผ่านโทรศัพท์ อีเมล-อีแมว หรือสื่อโลว์เทค-ไฮเทคใดๆ ทั้งสิ้น ที่สำ�คัญ ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกจิต หากแต่เป็น ‘ผู้ไม่เชี่ยวชาญ’ ที่สนใจ เรือ่ งทำ�นองนีอ้ ย่างทีว่ า่ ไปแล้ว ทำ�ให้เคยไปค้นคว้าและขีดเขียนเรือ่ งราวต่างๆ ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือรวมเล่ม แทนไทคงเคยผ่านตา บทความพวกนีม้ าบ้าง และอาจรูส้ กึ ว่า อ๊ะ! นีไ่ งคนสายพันธุใ์ กล้เคียงกับเรา… แม้จะไม่ยีสต์เท่าเราก็เถอะ! (หากเดาผิดก็ขออภัย) แทนไทใช้ภาษาสนุกสนาน เป็นกันเอง และดูเหมือนเจ้าตัวจะเคย ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า นี่เป็นหนังสือ “แนววิชาการ กึ่งๆ ปัญญาอ่อน กึ่งๆ บันเทิงมั้ง เป็นการเปิดโลกวิชาการแบบใหม่” ผมฟังแล้วถึงกับโอ้โห! ด้วยความรู้สึกอึ้ง + ทึ่ง (แต่ยังไม่ถึงกับ ‘เสียว’) นี่ขนาดปัญญาอ่อนยังมีข้อมูลแน่นปึ้กแบ็กอัพขนาดนี้ ลองกวาดสายตาดู ในส่วนแหล่งข้อมูลอ้างอิง + เพิ่มเติม ก็ตื่นตาตื่นใจ เพราะแทนไทให้ไว้มาก ถึงขนาดทีว่ า่ หากคุณสุม่ คว้าเอกสารปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโท (ปริญญา เอก?) ชัน้ ดีมาสักเล่มหนึง่ ก็ไม่แน่วา่ จะให้แหล่งข้อมูลอ้างอิงเท่าหนังสือเล่มนี้ หรือไม่


น่าชื่นชมจริงๆ ที่ได้เห็นนักค้นคว้าชั้นยอดที่ให้เกียรติแก่ต้นสายธาร แห่งความรู้ และยังให้โอกาสแก่แฟนๆ ตัวหนังสือของเขาได้ไปเสาะหาความรู้ เพิม่ เติมเอาเอง เท่าไรก็ได้ตามอำ�เภอใจ ส่วนผมนัน้ นอกจากจะน้�ำ ลายหกแล้ว ยังรำ�พึงในใจว่า นีป่ ระหยัดเวลาคุย้ หาข้อมูลดีๆ ในกองขยะข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ได้เยอะเลย (วุ้ย) และแม้ว่านี่จะเป็นหนังสือกึ่งๆ บันเทิง แต่ผมยังแอบเห็นแทนไท เผลอปล่อยความคิดที่แสดงจิตสาธารณะหลุดออกมาให้เห็นวับๆ แวมๆ ไม่วา่ จะเป็นแนวคิดเรือ่ งการศึกษาของชาติ ไปจนถึงประเด็นช้างก็มหี วั ใจนะ… จะบอกให้ หากเปรียบหนังสือเล่มนีเ้ ป็นอาหาร ก็คงเป็นอาหารจานเด็ดทีใ่ ช้วตั ถุดบิ จากนอก (ข้อมูลจากต่างประเทศ) ผสมผสานกับวัตถุดบิ ของไทย (ประสบการณ์ ตรง และกรณีศกึ ษาในบ้านเรา) ปรุงด้วยลีลาสำ�นวนยียวนทีใ่ ห้รสกลมกล่อม... อาจจะมีแสบๆ ลิ้นบ้าง หากตัวอย่างที่ยกมาทำ�ให้นึกถึงประสบการณ์…. (เติมเอาเอง)… ของตัวคนอ่านเอง นี่ คื อ หนึ่ ง ในหนั ง สื อ วิ ท ยาศาสตร์ ชั้ น เยี่ ย มที่ ผ มเคยอ่ า น อ่ า นจบ ผมก็ดันเผลอฝันกลางวันไปว่า รมต.กระทรวงวิทย์อ่านแล้วเกิดแรงบันดาลใจ นำ�ไปแนะนำ�ให้กบั ท่านนายกฯ และรัฐมนตรีทา่ นอืน่ ๆ ทีเ่ หลือ สัปดาห์ถดั มา ครม.ก็ประชุมกันและมีมติบรรจุหนังสือเล่มนี้เป็นแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษา หลังจากนัน้ เพียงไม่กปี่ ี เด็กไทยและคนไทยมีฐานการคิด และมีวจิ ารณญาณในการตัดสินใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึน้ จน UNESCO ตกใจว่าประเทศไทยทำ�ได้ยังไง? พอตกใจตื่นขึ้นก็มาคิดได้ว่า ถ้าอยากให้ความฝันเป็นจริง ผมคงต้อง ชวนคนรอบๆ ตัวให้อ่านหนังสือเล่มนี้ก่อน


สำ�หรับคนที่ชอบเรื่องแนววิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ระหว่างท่องโลกจิตอยู่ ก็อย่ารอช้า รีบไปหาหนังสือ MIMIC เลียนแบบทำ�ไม? (สำ�นักพิมพ์ openbooks) ของแทนไท มาพร้อมลุยต่อทันที ความมันจะได้ไม่ขาดตอน นั ก เขี ย นระดั บ เทพคนนี้ จ ะได้ มี แรงฮึ ด เพิ่ ม ขึ้ น อี ก นิ ด (และมี เ งิ น ในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีกหน่อย) ในการเสาะหาเรื่องหนุกๆ มาย่อยให้พวกเรา ได้ลิ้มรสกันอีกยังไงครับ ;-) บัญชา ธนบุญสมบัติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พุธที่ 12 กันยายน 2550



คำ�นิยม เหตุผลของ หัวนม ตูด และขี้ “นี่ เขียนหนังสือให้มันดีๆ หน่อยได้ไหม ทำ�ไมต้องมีคำ�ว่า ตูด ตด ขี้ อะไรพวกนี้ด้วย มันไม่ได้สร้างสรรค์เลยนะ แล้วมันจำ�เป็นตรงไหน อ่านแล้ว เหม็น อี๋! แหวะ” ผมถูกพี่สาวดุเรื่องนี้เป็นประจำ� ทั้งที่คำ�เหล่านั้นก็ไม่ได้โผล่มาบน หน้ากระดาษบ่อยสักเท่าไหร่ (อย่างน้อยก็นอ้ ยกว่าแทนไทหลายเท่า) แต่พสี่ าว เห็นเข้าทีไรก็หงุดหงิดใจ บางทียื่นหนังสือส่งคอลัมน์ให้อ่าน แรกๆ ก็ดูเคลิ้มๆ ดีอยู่ แต่พอสายตาส่ายเข้าไปเจอ ‘ตูด’ เท่านัน้ แหละ อารมณ์กเ็ ปลีย่ น ทำ�หน้า บูดบี้เหมือนปวดขี้ขึ้นมาทันที หลังจากสำ�เร็จการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัย ความคิดระหว่างผม กับพี่สาวก็เหมือนจะถูกถ่างให้ห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อยๆ ผม (ซึ่งเรียน ’ถาปัด) กลายเป็นเด็กหัวศิลป์ ส่วนพี่สาว (ซึ่งเรียนเภสัชฯ) กลายเป็นผู้ใหญ่ หัววิทย์ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล ทำ�อะไรเป็นขั้นเป็นตอน ดำ�เนินชีวิตอย่างมี กฎมีระเบียบ ทุกวันนี้ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่า พี่สาวผมแอบไปเรียนนายร้อยภาค ค่ำ�มาด้วยหรือเปล่า วิทยาศาสตร์มันทำ�ให้คนเรามีกรอบและชอบเหตุผลได้ ขนาดนี้เลยเชียวหรือ?


พีส่ าวของผมทำ�ให้ผมคิดไปว่า พวกนักเรียนแขนงวิทยาศาสตร์เป็นพวก รักเหตุผล และชอบยืนกรานในความคิดความเชื่อ (อันมีเหตุผล) ของตัวเอง ค่อนข้างแข็งแรงในความเชื่อแบบนั้น และมักรับไม่ได้กับอะไรนอกลู่นอกทาง (ในความคิดของเขา) หรืออะไรก็ตามที่มันไร้สาระ และไร้เหตุผล ซึ่งผมมักให้เหตุผลกับสิ่งไร้เหตุผลพวกนั้นว่า มันเกิดขึ้นจาก ‘อารมณ์’ และเกิดขึ้นเพื่อ ‘อารมณ์’ คำ�แผลงๆ บางคำ�นั้นเกิดขึ้นจากอารมณ์ขันเพื่อ อารมณ์ขัน และบางที ก็มีมันไว้ ‘เล่นๆ’ เท่านั้นเอง เมื่อเราเดินออกมาจากห้องแล็บ เราก็จะได้เห็นว่าโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่ สารเคมี บีกเกอร์ และหลอดทดลอง โลกมีกอ้ นเมฆ ต้นไม้ ใบหญ้า ผีเสือ้ สีสวย และก้อนขี้สีน้ำ�ตาล (ที่เราต้องเห็นทุกครั้งตอนเอื้อมมือไปกดชักโครก) วิทยาศาสตร์พยายามอธิบายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของสิ่งเหล่านั้น พยายามแยกแยะและวิจัยมันออกมาถึงที่มาและเหตุผลของมันอย่างจริงจัง สำ�หรับวิทยาศาสตร์ เมฆจึงไม่ได้หมายถึงอารมณ์นุ่มละมุนหรือความฝัน อันฟูฟอ่ ง แต่หมายถึงก้อนไอน้�ำ ก้อนหนึง่ เท่านัน้ อาจแยกออกเป็นธาตุตา่ งๆ ได้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ แต่นั่นก็เป็นวิทยาศาสตร์แข็งๆ แบบวิทยาศ้าสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่มักมีสารเคมี ฮอร์โมน และต่อมชื่อเรียกยากๆ อ่านไม่ออกกองอยูเ่ ต็มหน้ากระดาษ ชวนให้รสู้ กึ ว่า มันเป็นโลกอีกใบทีย่ ากจะ เข้าใจ ยากจะสัมผัส และสูงจนต้องปีนกระไดเรียน วิทยาศาสตร์จึงดูเป็น ‘ของสูง’ หากความสามารถของสมองไม่ถึง ก็อย่าทะลึ่งใฝ่รู้ จงมองก้อนเมฆแล้วรู้สึกนุ่มละมุน มองมันเป็นลูกแกะ ลูกไก่ และลูกพะยูนต่อไปเถิด แต่จริงๆ แล้ววิทยาศาสตร์สูงส่งถึงเพียงนั้นหรือ? วิทยาศาสตร์ไม่ว่าแขนงไหน ยิ่งชีววิทยาด้วยแล้ว ต่างก็สนใจศึกษา ในเรื่องใกล้ตัวคนเราทั้งนั้น ใกล้มากๆ กระทั่งบางทีก็เป็นเรื่อง ‘ในตัว’ เราเลย ด้วยซ้ำ�ไป


แล้วทำ�ไมเราจึงต้องทำ�ให้มันดูไกล ดูสูงเกินเอื้อมด้วยเล่า วิทยาศาสตร์ศึกษาร่างกาย ซึ่งมี ‘ตูด’ เป็นหนึ่งในอวัยวะ วิทยาศาสตร์ศึกษาระบบขับถ่าย นั่นไม่ใช่ ‘ขี้’ หรอกหรือ? และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำ�ให้ผมชอบอ่านตัวหนังสือของแทนไท ก็เพราะ มันเป็น ‘วิทยาศาสตร์เปื้อนขี้’ และเป็น ‘วิทยาศาสตร์มีหัวนม’ เห็นแล้ว อยากจิ้มอยากเขี่ยเล่น เฮ้ย! ผมหมายถึงจิ้มหัวนมนะครับ ไม่ใช่จิ้มขี้! และผมว่ามันมีเหตุผลของมัน-เหตุผลของหัวนม ตูด และขี้ อย่างน้อย มันก็ ทำ� ให้ผ มรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์สนุกขึ้น เป็น กันเอง ใกล้ ตัว ล้อเล่นได้ เปื้อนได้ เหม็นได้ และสัมผัสได้ เมื่อสัมผัสได้ ก็เข้าใจได้ไม่ยาก แทนไทเปลี่ยนท่าทีของวิทยาศาสตร์ให้ดูน่ารักน่าเล่น ด้วยการเอา ของที่ชาวบ้านชอบมองว่า ‘ต่ำ�’ ไปยำ�ใส่ของที่ชาวบ้านชอบมองว่า ‘สูง’ ซึ่งเมื่อผสมกันแล้วมันก็ ‘พอดี’ ไม่ต่ำ�และไม่สูงจนเกินไป กำ�ลังได้ความรู้ แบบเหม็นๆ เวลาอ่ า นหนั ง สื อ ของแทนไท เหมื อ นได้ นั่ ง ฟั ง เพื่ อ นหรื อ อาจารย์ ที่เก่งมากๆ สักคนมานั่งเล่าเรื่องราวที่อยากรู้ให้ฟัง ซึ่งการเล่าสู่กันฟังนั้น มักจะทำ�ให้เข้าใจง่ายกว่าอ่านเอง แต่เพื่อนหรืออาจารย์ท่านนั้นก็ไม่ใช่แค่ เล่าเฉยๆ ยังหยอดมุกขำ� แถมผสมคำ�ภาษาพูดทีเ่ ป็นธรรมชาติเข้ามาจนบางที คนฟังอย่างผมก็ลืมไปเลยว่ากำ�ลังนั่งฟังเรื่องราวความรู้ทางชีววิทยาอยู่ นับว่าถ้าเป็นเพื่อนก็ดิบใช้ได้ เป็นอาจารย์นี่ก็ทะลึ่งใช่เล่น นั่นเป็นความรู้สึกของผมตอนที่ได้อ่านตัวหนังสือเชิงความรู้แบบตุ่ยๆ ของแทนไท ผมรูส้ กึ อยากเป็นเพือ่ นกับเขา รูส้ กึ ว่าเขาน่าจะเป็นคนทีพ่ ดู คุยกัน ได้ง่ายๆ ไม่ขี้เก๊ก ไม่พูดคำ�ฉลาดๆ จนทำ�ให้ผมรู้สึกว่าตัวเองโง่ และไม่แข็งทื่อ ตรงแหน่วเหมือนหลอดทดลอง เพราะดูเขาช่างรูส้ กึ รูส้ า บางทีกม็ แี อบโรแมนติก เอ่อ...แต่ดุ้นหลังนี่ไม่ต้องหยิบยื่นให้ผมก็ได้ กลัวหนวดมาทิ่มแก้ม! เมือ่ รูส้ กึ อยากเป็นเพือ่ นกับเขา ก็ท�ำ ให้รสู้ กึ อยากเป็นเพือ่ นกับชีววิทยา ไปด้วย เพราะเขาทำ�ให้ชีววิทยามีบุคลิกแบบนั้นไปเสียได้ ช่างต่างจากสมัย


ที่ผมเรียนในห้องเรียนอย่างสิ้นเชิง ตอนนั้นชีวะฯ เป็นวิชาที่ผมโดดเรียน ไปเตะตะกร้อเป็นประจำ� เพราะมันชวนง่วงเป็นที่สุด ระหว่ า งอ่ า นตั ว หนั ง สื อ ของแทนไท ผมก็ ไ ด้ คำ � ตอบให้ ผู้ ใ หญ่ วิ ท ย์ อย่างพี่สาวของผมที่ถามถึงเหตุผลของหัวนม ตูด และขี้ ที่จำ�เป็นต้องปรากฏ ขึ้นบนหน้ากระดาษอาบความรู้ เหตุผลแรก ผมว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน วิทยาศาสตร์กับคำ�เหล่านั้น มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่คนทั่วไปก็พูดๆ กันอยู่ หรือต่อให้ไม่พูดถึงเรา ก็พบเห็น ใช้สอยมันอยู่ทุกวัน อ้อ บางอย่างก็อาจจะวันเว้นวัน อย่างหัวนมนี่ คงใช้น้อยกว่าตูด (หรือแทนไทใช้บ่อยกว่า?!) เหตุผลข้อที่สอง ผมว่า ‘สาระ’ ของถ้อยคำ�เหล่านี้อยู่ตรงที่ความ ‘ไร้สาระ’ ของมันนั่นเอง เป็นความไร้สาระที่ทำ�ให้สาระสนุกขึ้นตั้งเยอะ

นิ้วกลม กันยายน 2550


คำ�นิยม

วันหนึ่งของกลางเดือนกันยายนผมได้รับข้อความสั้นๆ ว่า “พี่ครับ หนังสือ โลกจิต จะพิมพ์ใหม่ฉบับปรับปรุง” ประโยคเปิดของข้อความสั้นๆ นี้มีความหมายกับผมมากเป็นพิเศษ เพราะอาจพูดได้ว่า ถ้าผมไม่ได้อ่านหนังสือ โลกจิต ผมอาจจะเขียนหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย ไม่จบ ในช่วงแรกของการเขียนหนังสือ เรือ่ งเล่าจากร่างกาย ผมเกิดความลังเล ว่าความพยายามและเวลาที่ทุ่มเทไปนั้นจะสูญเปล่าหรือไม่ จะมีคนสนใจ อ่านหนังสือแนววิทยาศาสตร์มากน้อยแค่ไหน และด้วยความสงสัยนีเ้ องทีท่ �ำ ให้ ผมได้พบกับหนังสือ โลกจิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 เป็นครั้งแรก เมื่อได้เริ่มอ่าน ผมก็ เข้ า ใจได้ ว่ า ทำ � ไมหนั ง สื อ วิ ท ยาศาสตร์ เ กี่ ย วกั บ สมองเล่ ม นี้ จึ ง ขายดี จนพิ มพ์ ซ้ำ� หลายครั้ง ด้วยลีล าการเขียนที่ยียวน การยกตัว อย่า งอธิ บาย จนเห็นเป็นภาพ แทนไททำ�ให้วิทยาศาสตร์ด้านสมองที่ซับซ้อนกลายเป็น หนังสือที่อ่านง่ายและสนุกจนวางไม่ลง แต่ส่วนที่มีอิทธิพลกับผมโดยตรง มากที่สุดนั้น กลับอยู่ในหน้าคำ�นำ� แทนไท เขียนไว้ว่า “อยากให้หนังสือ โลกจิต เป็นสาส์นเชื้อเชิญให้คนที่คลุกคลีในวงการวิทยาศาสตร์มาช่วยกัน ปลดปล่อยความรู้ไม่ให้ถูกขังอยู่แต่ในแวดวงวิชาการ แต่ให้มาช่วยกันเขียน เพื่ อ ให้ ค วามรู้ เ พ่ น พ่านอยู่ทั่วไปในสัง คมไทยกัน ดี ก ว่ า ” ผมโดนสาส์นนั้น


กระแทกเข้าอย่างจัง ความสนุกและความสำ�เร็จของหนังสือ โลกจิต จึงเป็น หนึ่งในแรงบันดาลใจสำ�คัญที่ทำ�ให้ผมเขียนหนังสือเล่มแรกจนจบและเขียน ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าจะ เรียนมาทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ก็ตาม เขาจะรักและสนุกกับวิทยาศาสตร์ มากขึ้น หรืออาจจะถึงขั้นอยากเขียนหนังสือให้ความรู้เพ่นพ่านอยู่ทั่วไป ในสังคมอย่างที่เกิดขึ้นกับผมมาแล้วก็ได้ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ Seven Book Awards ประเภทสารคดี ผู้เขียน เรื่องเล่าจากร่างกาย, เหตุผลของธรรมชาติ และ 500 ล้านปีของความรัก


คำ�นิยม ผมอ่าน โลกจิต ตั้งแต่เป็นคอลัมน์ในนิตยสาร a day พอ a day เล่มใหม่ออกผมต้องพลิกไปอ่าน โลกจิต ก่อน อ่านแล้วต้องวางทิ้งไว้หลายวัน เพือ่ ให้สมองผมประมวลผล ทีเ่ ป็นแบบนีเ้ พราะทุกครัง้ ทีผ่ มอ่าน ผมรูส้ กึ เหมือน หัวผมค่อยๆ แยกออกแล้วมีเรื่องราวสารพัดที่สุดแสนจะพิลึกพิลั่นราวกับ เทพนิ ย ายกริ ม ม์ ใ นแดนหิ ม พานต์ ไ หลจากหนั ง สื อ เข้ า มาในหั ว ผมอย่ า ง ทะลักทลายราวกับน้ำ�ป่า แต่ด้วยภาษาและวิธีเล่าเรื่องที่ชวนติดตามทำ�ให้ สมองผมกลายสภาพเป็นเหมือนเม็ดดินที่ถูกบดละเอียดแล้วโดนความร้อน เผาจนกลายสภาพเป็นเหมือนฟองน้ำ�ที่พร้อมจะดูดซับน้ำ�ทั้งมหาสมุทรแห่ง ความรู้มาไว้ได้โดยไม่กระฉอกออกมาสักละออง พออ่านจบแล้วหัวผมค่อยๆ บีบตัวแล้วขดกลายสภาพเป็นเหมือนเขาวงกตที่แข็งแกร่งและซับซ้อนจน เรื่องราวที่อ่านถูกตรึงติดอยู่ในหัวจนยากจะลืมเลือน ถ้าคุณอยู่ร้านหนังสือ ลองยืนอ่านดูสักบทก็ได้แล้วค่อยตัดสินใจว่า ผมพูดจริงไหม ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ (Mister Tompkin) แฟนพันธุ์แท้นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก 2012 ผู้เขียน จริงตนาการ และ Descience



ความนำ� ความหลัง – กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีเด็กน้อยอยู่คนหนึ่ง... ฟาสต์ฟอร์เวิร์ดไป 20 ปี เด็กน้อยได้เติบใหญ่เป็นเด็กอ้วน และได้เดินทางไป ศึกษาต่อที่ Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นั่นเอง เด็กอ้วนได้มี โอกาสรู้จักท่องเที่ยวไปในดินแดนโลกจิตเป็นครั้งแรก เพราะเขาเลือกเรียน ในสาขาชีววิทยาพฤติกรรม และจิตประสาทวิทยา (ก็คือเรื่องเกี่ยวกับสมอง บวกจิ ต วิ ท ยานั่ น เอง) เด็ ก อ้ ว นติ ด ใจในความลึ ก ซึ้ ง ของหั ว ข้ อ ตรงนี้ ม าก ถึงแม้เมือ่ กลับมาเมืองไทย ชะตาชีวติ จะหันเหไปต่อโททีภ่ าควิชาวิทยาศาสตร์ ทางทะเลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเหหันไปทำ�วิจยั เรือ่ งเกีย่ วกับทีม่ า ของพฤติกรรมทางเพศของสัตว์ แต่เด็กอ้วนก็ยังคงหลงใหลใฝ่รู้ในเรื่องของ สมองและพฤติกรรมคนมาโดยตลอด ในยามว่าง เด็กอ้วนจะชอบหาหนังสือและบทความต่างๆ มาอ่าน ติดตามข่าวคราวการค้นพบใหม่ๆ และพยายามขบคิดทำ�ความเข้าใจเรื่อง พวกนี้ด้วยตนเองอยู่เสมอ เด็กอ้วนฝันมานานแล้ว ว่าสักวันหนึ่งอยากจะแชร์ ความสนใจตรงนี้กับชาวบ้าน รู้คนเดียวอร่อยอยู่คนเดียวมันเหงา เด็กอ้วน อยากให้คนไทยหมู่ใหญ่ได้มีโอกาสมาลิ้มรสเรื่องราวตรงนี้ด้วย... กระทั่ง เมือ่ ไม่นานมานีเ้ อง โชคชะตาเด็กอ้วนเกิดพลิกผันอีกรอบ อยูด่ ๆ ี เด็กอ้วนก็ได้ กลายมาเป็นนักเขียน ความฝันของเด็กอ้วนจึงกลายเป็นจริงขึ้นมา a day เป็นสำ�นักหนึ่งที่ใจดีเปิดโอกาสตรงนี้ให้ เมื่อเค้าอุตส่าห์จัดเวที แจกผืนผ้าใบ เด็กอ้วนก็เลยเล่นละเลงซะเต็มที่ จนเกือบสองปีผ่านไป จึงได้ กลายมาเป็นหนังสือ โลกจิต รวมเล่ม ดั่งที่ท่านเห็น


ความหูวว - จากเท่าที่เด็กอ้วนศึกษามา โลกจิต เป็นโลกที่มหัศพรึงลึงเพริศเกินไปกว่าที่จะไม่นำ�มาเล่าได้ อารมณ์ ความคิด ความรับรู้ และ พฤติกรรมของคนเรา มีแง่มุมปริศนาแปลกประหลาดพิสดาร อันล้วนน่าสนใจ อยู่มากมายเต็มไปหมด... คนบางคน ไม่สามารถสัมผัสได้ถึงสิ่งที่คนทั่วไปรับรู้ กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางคนตาบอด บางคนสูญเสียคอนเซ็ปต์ของคำ�ว่าซ้าย บ้างส่องกระจกแล้วไม่เข้าใจว่าเป็นเงาของตัวเอง โลกจิตของคนเหล่านี้จะ แตกต่างกับของพวกเราอย่างไร? ในทางกลับกัน คนบางคนสามารถสัมผัสได้ ในสิง่ ทีค่ นทัว่ ไปรับรูไ้ ม่ได้ กรณีเช่นนี้ สิง่ ทีพ่ วกเขาเห็น หรือได้ยนิ เป็นภาพจริง หรือมายา กันแน่? แล้วสิ่งที่พวกเรารับรู้กันอยู่ทุกวันนี่ล่ะ? อะไรคือคำ�นิยาม ของความจริง? กระทั่งเรื่องราวของปรากฏการณ์ธรรมดาๆ ที่ทุกคนต่างก็ คุน้ เคยกันดี อย่างการกิน การนอน การขำ� การฉลาด การรัก การเกย์ การทำ�ดี การทำ�ชั่ว เหล่านี้ก็ยังประกอบไปด้วยแง่มุมซ่อนเร้นหลากหลายระดับ เช่น เวลาคุณหงุดหงิดทะเลาะกับใครซักคน เหตุนำ�อันมีส่วนร่วมให้คุณและเค้า ต้องโกรธกัน อาจเป็นได้ตั้งแต่ ระดับสารเคมี พันธุกรรม การทำ�งานของสมอง วั ย เพศ สั ญ ชาตญาณ ที่ ม าทางวิ วั ฒ นาการของเผ่ า พั น ธุ์ ความทรงจำ � ความเชื่อ วิธีคิด จิตใต้สำ�นึก สิ่งเร้าภายใน ภายนอก สถานการณ์ แรงกดดัน ทางสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ไปจนกระทั่งถึงปมในวัยเยาว์ ฯลฯ ทั้งหมด เหล่านีล้ ว้ นเป็นปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อพฤติกรรมของคุณ โดยทีต่ วั คุณเองอาจไม่เคย คิดถึงมาก่อนเลย พอได้มารู้ ถึงกับต้องร้องว่า หูวว! จริงด้วยว่ะ! หรือ หูวว! จริงดิ! มันมีเรื่องแบบนี้อยู่ด้วยเรอะ! ช่างน่าสนใจศึกษาจริงๆ เพราะมันช่วย ทำ�ให้เราเข้าใจเงื่อนไขของตนเอง และของเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ได้อย่าง กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความกลั ว – ในการออกหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เด็ ก อ้ ว นมี ค วามกลั ว อยู่ สองอย่าง หนึง่ กลัวคนทีไ่ ม่รอู้ ะไรพอมาอ่านแล้วจะเข้าใจผิดคิดว่าเด็กอ้วนเก่ง จริงๆ แล้วเด็กอ้วนไม่ได้เก่ง แล้วก็ไม่ได้อา้ งตนว่าเชีย่ วชาญ เด็กอ้วนเป็นเพียง แค่คนที่มีใจรักมักสงสัยในหัวข้อ รู้จักค้นคว้าหาข้อมูลเป็น แล้วก็สามารถ นำ�มาเล่าถ่ายทอดเป็น เท่านั้น... คนที่เก่งจริง รู้จริง เชี่ยวชาญจริง และ


มีประสบการณ์จริง ในเมืองไทยยังมีอยูอ่ กี มากมายเยอะแยะ เพียงแต่พวกเขา เหล่านั้นอาจจะไม่ค่อยมีเวลา แล้วก็ไม่ได้มีแรงบันดาลใจอะไรให้มานั่งเขียน หนังสือให้คนทั่วไปอ่านเหมือนอย่างเด็กอ้วนเท่านั้นเอง ประการต่ อ มา เด็ ก อ้ ว นกลั ว คนที่ ป กติ คุ้ น เคยกั บ งานเขี ย นแนว วิทยาศาสตร์ซึ่งเขียนโดยเหล่าอาจารย์ด็อกเตอร์ท่าทางซีเรียสจริงจังแลดูมี ความรู้เป็นเรื่องเป็นราวทั้งหลาย จะมาอ่านแล้วก็หาว่าเด็กอ้วนเนี่ย มั่ว... จริงๆ แล้ว การทีเ่ ด็กอ้วนจะมัว่ หรือไม่มวั่ มันไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั ว่าเด็กอ้วนจะต้อง เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญเองโดยตรงในเรือ่ งทีเ่ ขียนถึงหรือเปล่า ในทีน่ ี้ เด็กอ้วนทำ�หน้าที่ เป็ น เพี ย งผู้ นำ � เรื่ อ งมาเล่ า สิ่ ง ที่ เ ด็ ก อ้ ว นเขี ย นถึ ง ล้ ว นนำ � มาจากผลงาน การค้นพบของคนอื่นทั้งหมด เด็กอ้วนแค่นำ�ความรู้ที่มีอยู่แล้วมาเรียบเรียง ทำ�นองใหม่เท่านั้น ส่วนตัวข้อมูลจะน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือ ย่อมสามารถ ตามไปเช็กดูตามแหล่งที่มาของมันได้ (มีให้ไว้ท้ายเล่ม) ความอยากหมายเลข 1 - หากมาตรฐานแบบที่ว่าเป็นที่ยอมรับได้ เด็กอ้วนก็รู้สึกดีใจ เพราะเด็กอ้วนอยากสนับสนุนให้คนที่มีความสนใจจริง ในหัวข้อต่างๆ ออกมาเขียนหนังสือกันเยอะๆ โดยไม่ต้องมัวคำ�นึงอยู่ว่า ตัวเองจะไม่ได้จบด็อกเตอร์ทางด้านนั้นมา หรือไม่ได้มีประสบการณ์โดยตรง มาเป็นสิบๆ ปี หรืออะไรก็แล้วแต่ ขอเพียงแค่มีมุมมองพื้นฐานที่ถูกต้อง คัดเลือกค้นหาข้อมูลเป็น โยงร้อยเป็นเรื่องราวให้น่าสนใจได้ เท่านี้ ไม่ว่าใคร ก็สามารถออกมาเขียนหนังสือได้แล้ว ขณะเดียวกัน เด็กอ้วนก็อยากให้ โลกจิต เล่มนี้ เป็นสาส์นเชื้อเชิญไป ยั ง บรรดาผู้ เชี่ ย วชาญตั ว จริ ง ที่ ค ลุ ก คลี อ ยู่ ว งในทั้ ง หลายด้ ว ยว่ า ท่ า นครั บ พวกเรามาช่วยกันปลดปล่อยความรู้กันเถอะ อย่าขังมันไว้อยู่แต่ในแวดวง วิชาการเลย เอามันมาเขียนเล่าให้เพ่นพ่านอยู่ทั่วไปตามสังคมไทยกันดีกว่า ถ้าขนาดเด็กอ้วนยังเขียน โลกจิต เล่มนี้ออกมาแล้วมีคนอ่านได้ ก็เท่ากับ เป็นข้อพิสูจน์ว่า คนธรรมดาทั่วไป ใครๆ ก็สามารถดื่มด่ำ�ไปกับความจริง อันมหัศจรรย์ของธรรมชาติได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับผู้ที่ฟังเพลง ไม่จำ�เป็น ต้ อ งรู้ ท ฤษฎี ด นตรี หรื อ เล่ น เครื่ อ งดนตรี เ ป็ น ก็ ส ามารถฟั ง เพลงเพราะได้


เรามาร่วมกันทำ�ให้วิทยาศาสตร์เป็นเสมือนเสียงดนตรีที่ก้องสุนทรีย์อยู่ใน หัวคน ให้คนไทยได้มีทางเลือกในการพัฒนาปัญญาตนเองโดยการหาความรู้ จากนอกระบบกันให้มากขึ้น... มาช่วยกันนะครับ เด็กอ้วนขอร้อง ความอยากหมายเลข 2 - เด็กอ้วนอยากให้ผู้อ่านบริโภคหนังสือ เล่มนี้ เหมือนคนป่ารับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์นานาชาติ... หากท่านชิมแล้ว ชอบเมนูจานใดที่ชีวิตนี้ไม่เคยพบเจอมาก่อน โปรดตระหนักว่า นั่นเป็นเพียง ส่วนหนึ่งที่คัดเลือกมาจากเมนูอาหารชาตินั้นเท่านั้น เช่นถ้ากินซูชิแซลมอน แล้วติดใจ ท่านก็ต้องตามไปกินต่อที่ร้านญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ถึงจะเข้าใจว่าเมนู อาหารญี่ปุ่นที่สมบูรณ์ แท้จริงแล้วมันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เอาแค่ซูชิ อย่างเดียวก็มใี ห้เลือกเป็นสิบๆ อย่างแล้ว แต่ละบทของหนังสือเล่มนีก้ เ็ ช่นกัน แต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อ เปรียบเสมือนเมนูตัวแทนของอาหารชาตินึง ซึ่งถ้าจะ เอากันจริงๆ ล้วนสามารถแยกไปเขียนเป็นหนังสือของตัวเองออกมาได้อีก เป็นเล่มๆ โลกจิตกว้างใหญ่ไพศาล เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอันวิจิตรพิสดาร มากมาย หนังสือเล่มนี้เป็นแค่แพ็กเกจโปรแกรมทัวร์ที่พาไปดูทั่วๆ จอดแวะ แค่ที่ละไม่กี่นาที พอให้ลงไปถ่ายรูปเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อทัวร์จบลงแล้ว เด็กอ้วนก็หวังว่ามันจะน่าตื่นตาตื่นใจพอ ที่จะทำ�ให้หลายคนอยากย้อนกลับ ไปเทีย่ วเองใหม่อกี รอบ คราวนีเ้ อาให้เต็มอิม่ ใช้เวลาชืน่ ชมศึกษาแต่ละแห่งให้ เต็มที่ ยิ่งถ้าวันหลัง ชวนญาติชวนเพื่อนไปดูด้วย ก็จะยิ่งดีมากๆ

อยากให้นเ่ี ป็นจุดเริม่ ต้นในการเดินทางรอบโลก (จิต) ของใครหลายๆ คน แทนไท ประเสริฐกุล 26 สิงหาคม 2550


สารบัญ

โลกจิต ฮิปโปน้อยกับความทรงจำ�ของคุณยาย โรคจิต ตาบอดทำ�ให้คนเห็นความรัก ไอ้อ้วน! ดอกไม้หลากสี ขำ�ๆ หลับเถิดชาวไทย แว่ว อ่านออก เขียนได้ จับช้างส่องกระจก ชะโงกดูเงา

31 43 65 75 85 93 115 131 145 163 187


คนเห็นสี ไซบอร์ก ใครบอก ไซ-ไฟ ที่มา ที่ไป นอกใจ นอกกาย 10 อันดับอาการบาดเจ็บทางสมองยอดเยี่ยม (ตอน 1) 10 อันดับอาการบาดเจ็บทางสมองยอดเยี่ยม (ตอน 2) อัจฉริยะ ปัญญาอ่อน ทำ�ดีด้วยดี ทำ�ชั่วด้วยชั่ว? ความจริงต่างระดับ อ้างอิง + เพิ่มเติม

187 213 237 251 261 273 289 303 318


42 —โลกจิต


ฮิปโปน้อย กับความทรงจำ�ของคุณยาย

พวกคุณเคยมียายกันมั้ยครับ? ตัวผมเองเคยมียาย 3 คน แต่ตอนนี้เหลืออยู่แค่ 2 แล้ว เรือ่ งของคุณยายคนทีผ่ มจะเล่าให้ฟงั ในวันนี้ เป็นเรือ่ งของคุณยายบรรณ แม่ของแม่ผมเอง ยายบรรณอายุประมาณ 80 กว่าแล้ว ปกติแกอาศัยอยู่ที่ตรัง เดือนนึง จะขึ้นมากรุงเทพฯ สักครั้งเพื่อตรวจสุขภาพ แกขึ้นมาทีไร พวกเราลูกหลาน ก็จะพากันยกโขยงชวนแกไปกินข้าวเย็นนอกบ้าน ช่วงหลังๆ มา บทสนทนา บนโต๊ะอาหารเวลาคุยกับแก จะไม่หลุดจากประมาณนี้มากนัก “เอ้ ร้านนี้เราเคยมาหนิ” “ใช่สิยาย คราวที่แล้วก็มากินร้านนี้แหละ” “อ้าว แทน แล้วทำ�ไมแม่ไม่มาด้วยล่ะ” “อ๋อ แม่ติดงานอยู่ครับ” “อืมๆ แล้วนีย่ ายมาเทีย่ วนีย้ งั ไม่ได้ให้ตงั ค์แทนเลยนี่ เอ้ามาเร็วมาเอา... สองหมื่นพอมั้ย” “โอ้ ขอบคุณมากครับท่านยาย” โลกจิต— 43


5 นาทีต่อมา... “เอ้ ร้านนี้เราเคยมานี่หว่า! ...อ้าว แทน แล้วแม่ไม่มาด้วยเหรอ” “อ๋อ แม่ติดงานอยู่ครับ” “อ้าว แล้วนี่ยายมาเที่ยวนี้ยังไม่ได้ให้ตังค์แทนเลยนี่ เอ้ามาเอาเร็ว...” “ยีสต์จริงยายนิ ตะกี้ยายให้มาแล้ว นี่ไงครับ”

5 นาทีต่อมา... “เอ้ ร้านนี้มันคุ้นๆ นะ... อ้าว แทน แล้วแม่ไม่ได้มาเหรอ” “อ๋อ แม่ไปจับปลาที่เปรูยังไม่กลับครับ” “หา ไปไหนนะ...” “เปรูครับ” “ไปทำ�ไมเปรู! แล้วนี่ยายได้ให้ตังค์รึยัง” “ยังเลยครับ” “เอ้า งั้นมาเอาเร็ว สองหมื่นพอมั้ย...” แกค้นกระเป๋าซักพัก แล้วก็ ตกอกตกใจเป็นการใหญ่ “เฮ้ย! ตังค์ยายหายไปไหนเนี่ย!” ญาติๆ ก็ขำ�กันไปเวลาผมหยอกล้อยาย แต่คิดไปคิดมาบางทีผมก็ห่วง แกมากกว่าขำ�นะครับ มีบางวันแกตื่นเช้าขึ้นมา แปรงฟันเสร็จ แล้วก็ไปนอน ต่อ เพราะแกจำ�ไม่ได้ว่าเพิ่งตื่น บางวันกินข้าวไปห้ามื้อ เพราะกินแล้วก็กินอีก จำ�ไม่ได้ว่าเพิ่งกินไปหยกๆ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้แกจะจดจำ�เรื่องราวในชีวิตประจำ�วันไม่ได้เลย แต่ถ้าเกิดใครไปถามถึงเรื่องราวสมัยเด็กของแกล่ะก็...“โอ้ย สมัยก่อนนะ ยายเรียนที่เขมะฯ เสาร์-อาทิตย์นี่เค้าให้อยู่ในหอ แต่ยายก็ชอบแอบโดดไป เที่ยวกับเพื่อนบ่อยๆ บางทีข้นึ เรือไปถึงอยุธยาโน่นแหนะ แล้วมีอยู่วันนึงนะ ไปเที่ยวเล่นกระโดดข้ามจากเรือลำ�นึงไปอีกลำ�นึง ปรากฏว่า โดดไปโดดมา ลื่นตกน้ำ�ไปเลย! เกือบตายแน่ะรู้มั้ย ว่ายน้ำ�ก็ไม่เป็นด้วย... ” 44 —โลกจิต


ความทรงจำ�วัยเด็กนี่เป็นอะไรที่ฝังรากลึกอย่างน่าประหลาดมาก หลายสิง่ ทีเ่ ค้าให้ทอ่ งจำ�ตัง้ แต่เด็กนี่ จำ�ได้ขนึ้ ใจดีนกั ... อย่างไอ้ ‘บ้าใบ้ถอื ใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง’ นี่ คอยตามหลอกหลอนผมมาตลอดชีวิต อยากจะลืม ก็ลืมไม่ได้ บางวันถึงกับฝันร้ายว่า โดนคนบ้าใบ้หูตามัวไล่ข่มขืน มันขืนใจ อย่างเดียวไม่พอ ยังซาดิสม์เอาใยบัวฟาดๆๆ กระหน่ำ�ลงมาอีก... คนแต่งเค้า คิดได้ยังไง ไม่กลัวเด็กท่องแล้วร้องไห้มั่งหรือ จะแต่งให้น่ารักกว่านี้หน่อย ก็ไม่ได้ อย่างเช่น เปลี่ยนเป็น ‘อ้วนใบ้แต่ห่วงใย อยากได้ใจมาใกล้เคียง’ เอ้อ...อย่างงี้ ยังจะฟังดูดีขึ้นมาหน่อย ทัง้ หมดทีเ่ ล่ามานี่ ประเด็นของเรือ่ งก็คอื คุณว่ามัย้ ครับว่า สมองคนเรา นี่มันก็ทำ�งานไม่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์สักเท่าไหร่ มีความจำ�แบบ RAM คือเป็นความจำ�ระยะสัน้ เช่น ท่องเบอร์โทรศัพท์ประเดีย๋ วประด๋าว พอกดเมมฯ ไว้เสร็จแล้วก็ลมื ไป ขณะเดียวกันก็มคี วามจำ�แบบระยะยาว เหมือนกับเป็นไฟล์ ที่เซฟเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ เปิดเครื่องมากี่ครั้งๆ ก็ยังคงเอาออกมาอ่านได้อยู่ ตัวอย่างเช่น ชื่อ-นามสกุลของเรา ใบหน้าของพ่อแม่เรา เนื้อร้องเพลงชาติ เรื่องราวประทับใจที่เกิดขึ้นเมื่อสงกรานต์ปีที่แล้ว อะไรประเภทนั้น เวลาสมองทำ�งานตามปกติ มันจะมีระบบออโต้เซฟ (Autosave) ให้เรา โดยอัตโนมัติ คือจะมีส่วนที่เป็นเหมือนตัวไรต์ข้อมูลจาก RAM ลงสู่ฮาร์ดดิสก์ เป็นระยะๆ ทำ�ให้ข้อมูลที่เข้ามาแบบประเดี๋ยวประด๋าวถูกเซฟเปลี่ยนมาเก็บ เอาไว้เป็นไฟล์แบบถาวร ซึ่งจะถาวรมากถาวรน้อยอันนี้ก็ต้องมาว่ากันอีกที ไฟล์บางไฟล์ไม่ถึงกับถาวรมาก หากเราไม่ไปยุ่งอะไรกับมันสักพัก มันก็จะถูกลบทิง้ ไปเอง ก็เหมือนกับเวลาเราท่องจำ�ไปสอบ ความรูก้ อ็ าจจะอยู่ ได้ซักอาทิตย์นึง สอบเสร็จแล้วก็ลืม หรืออย่างวันเกิดแฟน ก็อาจจะจำ�อยู่ได้ เฉพาะตอนที่คบกัน พอเลิกกันไปก็ลืม อย่างไรก็ตาม ไฟล์ที่ถูกดึงมาใช้บ่อยๆ หรือไฟล์ที่สำ�คัญมากๆ ก็จะยิ่งมีระบบการเซฟที่คงทนถาวรมากขึ้นเรื่อยๆ จนหลายๆ เรือ่ ง เราสามารถจดจำ�ไปได้ตลอดชีวติ อย่างเช่น เมือ่ สิบกว่าปีกอ่ น ผมเคยเผลอโชว์ไข่ให้น้องๆ ดูตอนเล่นน้ำ�ด้วยกันหลังบ้าน คือตอนแรก โลกจิต— 45


กะจะถอดแค่ ก างเกงที่ เ ปี ย ก แต่ ดั น พลาดดึ ง ลงมาหมดเลยทั้ ง กางเกงใน กางเกงนอก ก็เลยกลายเป็นความทรงจำ�อันน่าอับอายที่มิอาจลืมเลือนได้ แถมพวกญาติๆ ผู้ใหญ่เวลาผมพาแฟนไปหาก็มักจะหมั่นแฉเรื่องนี้ให้ฟัง ตลอดเวลาอีก ยิ่งเป็นการตอกย้ำ�ให้เซฟถาวรยิ่งขึ้นไปใหญ่ ยวนใจดีจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้นครับ หากตัวออโต้เซฟที่ว่านี้ มันเกิดเจ๊งขึ้นมา? สมอง เราก็จะกลายเป็นเหมือนคอมที่เดี๋ยวๆ ก็รีสตาร์ทอยู่ตลอดเวลา โดยที่ไม่มี การเซฟไฟล์เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เลย สมมติพิมพ์งานอยู่ ก็จะเป็นแบบ พิมพ์ๆ ไปหาย พิมพ์ๆ ไปหาย ต้องพิมพ์ใหม่ตลอด อย่างกรณีของยายผมนี่ เหมือน แกรีสตาร์ททุกๆ ห้านาที ตัวออโต้เซฟแกเริ่มเจ๊ง ทำ�ให้แกไม่สามารถบันทึก สิ่งใหม่ๆ ลงฮาร์ดดิสก์ได้ เมมโมรีแกค้างอยู่ได้แค่ใน RAM พอเกินห้านาทีแล้ว ก็ถูกลบทิ้งไปโดยอัตโนมัติ จำ�อะไรใหม่ๆ ไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นเรื่องเก่าๆ น่ะ แกจะยังจำ�ได้อยู่ นัน่ เป็นเพราะไฟล์เหล่านัน้ ได้ถกู เซฟไว้อย่างถาวรแล้ว ตัง้ แต่ ก่อนหน้าที่เข็มไรต์แกจะเริ่มรวน ตั ว เข็ มไรต์ ประกอบกับ ตัวฟัง ก์ชั่น ออโต้เซฟนี้ จริ งๆ แล้ ว ในทาง วิทยาศาสตร์มีชื่อเรียกว่า Hippocampus (ฮิปโปแคมปัส) มีโครงสร้างเป็น เหมื อ นแท่ ง โค้ ง ๆ ยาวๆ สองแท่ ง อยู่ ลึ ก เข้ า ไปกลางสมองของคนเรา (เกร็ดน่าสนใจ : มีงานวิจยั ทีอ่ งั กฤษพบว่าฮิปโปฯ ของคนขับแท็กซีจ่ ะใหญ่กว่า คนปกติ เพราะต้องจำ�ทางเยอะ)

46 —โลกจิต


ในคนสูงอายุที่เป็นโรคความจำ�เสื่อม สมองส่วนฮิปโปแคมปัสจะเป็น ส่ ว นที่ เริ่ ม เจ๊ ง ก่ อ นเพื่ อ น อย่ า งกรณี ย ายผมก็ จ ะมี อ าการคื อ เริ่ ม ประสบ ความยากลำ�บากในการบันทึกไฟล์ใหม่ๆ แต่ไฟล์เก่าๆ ไม่เป็นไร ถึงกระนั้น ก็ตาม ฮิปโปแคมปัสของยายผมไม่ได้อยู่ดีๆ ก็เจ๊งไปเลย เพียงแต่ค่อยๆ เริม่ เสือ่ มเริม่ รวนไปเรือ่ ยๆ เท่านัน้ ถ้าให้แกท่องจำ�อะไรจริงๆ แกก็ยงั สามารถ จำ�ได้ อย่างผมพาแฟนใหม่ไปแนะนำ�ให้แกรูจ้ กั เมือ่ แปดเดือนก่อน ตอนนีแ้ กก็ ยังจำ�ได้อยู่ คือไม่ใช่ว่าจำ�อะไรไม่ได้เลย เพียงแต่จำ�ได้ยากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้มีบุคคลที่อยู่ดีๆ ฮิปโปแคมปัสก็เจ๊งไปเลย โดยสมบูรณ์ อย่างเช่น ตัวละครของ คุณดรูว์ แบร์รมี่ อร์ ในเรือ่ ง 50 First Dates เธอตื่นมาทุกเช้า เป็นเช้าวันใหม่จริงๆ เพราะคอมเจ๊แกรีสตาร์ททุกๆ หนึ่งวัน เรื่องอะไรก็ตามที่เกิดเมื่อวานจะจำ�ไม่ได้เลย ในความเป็นจริง คนที่เป็นโรคนี้ จะมีอัตราการรีสตาร์ทถี่กว่านั้นมาก อาจจะทุกๆ สองสามนาทีด้วยซ้ำ�ไป (หนั ง ที่ ทำ � เกี่ ย วกั บ คนเป็ น โรคนี้ ไ ด้ ใ กล้ เ คี ย งของจริ ง มากกว่ า เห็ น จะได้ แ ก่ Memento เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับพ่อหนุม่ ทีฮ่ ปิ โปแคมปัสเจ๊ง แต่ยงั อุตส่าห์พยายาม สืบสวนคดีฆาตกรรมหาตัวคนร้ายที่ฆ่าเมียตัวเอง) คนเหล่านี้พอเริ่มแก่ตัว จะประหลาดใจทุกครั้งที่ส่องกระจก เพราะความทรงจำ�อาจจะค้างอยู่แค่เมื่อ 30 ปีก่อน คือยังคิดว่าตัวเองเป็นหนุ่มอยู่ บางคนอุตส่าห์ไปถามหมอว่า ผมเป็นอะไรเนี่ย? หมอก็อุตส่าห์อธิบายจนเข้าใจแล้ว แต่ในที่สุด สามนาที ต่อมาเขาก็ลืมอีก น่าสงสารมาก ชื่อฮิปโปแคมปัสได้มาจากรูปร่างที่เหมือนกับม้าน้ำ� (รากศัพท์ hippos=ม้า kampos=สัตว์ทะเล) ซ้าย: ให้ดูตำ�แหน่งของฮิปโปแคมปัสในสมอง ขวา: ให้ดูรูปร่างฮิปโปแคมปัสเทียบกับม้าน้ำ�ตัวจริง ดูสิช่างเหมือนจริงๆ ด้วย เข้าใจตั้งชื่อดีจริง

โลกจิต— 47


ฮิปโปแคมปัสเป็นหนึง่ ในส่วนของสมองทีต่ อ้ งการใช้ออกซิเจนมากทีส่ ดุ และจะเริ่มตายหลังจากขาดออกซิเจนได้แค่แป๊บเดียว เวลาอยู่ในสภาวะ ขาดอากาศ (หัวใจวาย จมน้ำ� สำ�ลักข้าว รมควันพิษ นอนกรน ฯลฯ) สมอง ส่วนอืน่ ๆ อาจจะทนได้นานหน่อย แต่สว่ นทีจ่ ะเจ๊งก่อนเพือ่ นก็คอื ฮิปโปแคมปัส นี่เอง คนที่เป็นโรคความจำ�เสื่อมแบบใน Memento ส่วนใหญ่ก็มักมีสาเหตุ มาจากเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้แล้วก็จงจำ�ไว้ว่า เวลามีคนตดในลิฟต์ ห้ามกลั้นหายใจโดยเด็ดขาด ให้ทนสูดเข้าไปเถอะ ไม่เช่นนั้นฮิปโปแคมปัส ของคุณอาจตายได้ ในบางกรณีของคนแก่ทเี่ ป็นความจำ�เสือ่ ม เป็นไปได้วา่ ยิง่ แก่เส้นเลือด ก็ยิ่งอุดตัน ทำ�ให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ ฮิปโปแคมปัสก็เริ่มฝ่อตาย ไปเรือ่ ยๆ ทางป้องกันทีด่ ที สี่ ดุ ทางหนึง่ อาจเป็นการบริหารร่างกายบวกบริหาร สมองอย่ า งสม่ำ � เสมอ ทุ ก ครั้ ง ที่ เราคิ ด นู่ น คิ ด นี่ คิ ด แก้ ปั ญ หา คิ ด มุ ข ตลก คิ ด เรี ย นรู้ สิ่ ง ใหม่ ๆ เลื อ ดจะสู บ ฉี ด ไปเลี้ ย งสมองมากขึ้ น ทำ � ให้ เ ส้ น เลื อ ด มีการไหลเวียนที่ดี ไม่อุดตันง่ายตอนแก่ แต่ขณะเดียวกัน ถ้าคิดๆๆ เท่าไร ก็คดิ ไม่ตกซักที วกไปวนมามากมายจนปวดหัว เป็นแบบนีน้ านๆ ร่างกายอาจ หลั่งฮอร์โมนเครียดออกมา ซึ่งเจ้าตัวนี้แหละจะไปทำ�ให้ระบบความจำ�แย่ เส้นเลือดหด ยิง่ เครียดยิง่ ลืมนูน่ ลืมนีง่ า่ ย ท่องอะไรไปก็ไม่เข้าหัว เพราะฉะนัน้ ต้องระมัดระวัง ‘คิดเยอะๆ’ น่ะดี แต่ต้องอย่า ‘คิดมาก’ นะ หลายคนอาจสงสัยว่า คนเราเซฟสิ่งต่างๆ ใส่หน่วยความจำ�ไปตั้งไม่รู้ กี่อย่าง มันไม่มีการเมมโมรีเต็มมั่งเหรอ? คำ�ตอบก็คือ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ครับ... รู้แต่ว่า ตัวฮิปโปแคมปัสเอง ก็มีระบบเซฟแบบประหยัดเนื้อที่อยู่ เหมือนกัน คือมันไม่ได้ไรต์ทุกอย่างลงฮาร์ดดิสก์หมด เอาแค่สิ่งที่สำ�คัญๆ เท่ า นั้ น ของบางอย่ า งเราเห็ น มั น อยู่ ทุ ก วั น แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ จ ดจำ � รายละเอี ย ด ได้ทั้งหมด อย่างเวลาหยิบแบงก์นี่ ดูแค่สีให้ออกก็พอแล้ว สมองเราไม่จำ�เป็น ต้องไปจดจำ�ไอ้พวกรายละเอียดลวดลายต่างๆ ให้เปลืองเมมโมรี ว่าแล้วก็ นึกถึงสมัยเรียนอยู่อเมริกา ผมเคยเถียงกับเพื่อนคนหนึ่งเรื่องลายข้างหลัง 48 —โลกจิต


แบงก์ยี่สิบ ครั้นจะควักของจริงมาดูพิสูจน์ก็ไม่มีอีก เพราะไม่ได้พกเงินไทย ไอ้อวบเพื่อนผมมันบอกว่า “เฮ้ย กูว่ามันเป็นรูปควายว่ะ” “เฮ้ย กูว่าไม่ใช่ว่ะ” ผมเถียง “อ่าว... ก็ควายชาวบ้านบางระจันไง อันนี้กูชัวร์เลย” “ควาย? กู ว่ า มึ ง แหละควาย... รู ป ช้ า งต่ า งหากเล่ า เว้ ย ! ยุ ท ธหั ต ถี พระนเรศวรนั่นไง” (ใครอยากพิสูจน์ด้วยตนเองก็ลองเอาแบงก์ยี่สิบรุ่นเก่าออกมาคลี่ดูนะ ครับ) แล้วทำ�ไมเรื่องบางเรื่องท่องเท่าไหร่ก็ไม่จำ� แต่พอบางเรื่องไม่ได้ท่อง เลยกลับจำ�ได้ไม่ลืม? ประเด็นนี้ ผมมีเกร็ดนิดนึง เค้าบอกว่า สิ่งที่ผ่านเข้ามา ตอนที่เรากำ�ลังตื่นเต้นอยู่ จะถูกบันทึกจดจำ�ได้ดีกว่าตอนปกติ ทั้งนี้เพราะ สารอะดรีนาลิน (ฮอร์โมนทีเ่ ราหลัง่ ออกมาเวลาตืน่ เต้น) มีฤทธิเ์ พิม่ ประสิทธิภาพ การเขียนข้อมูลของฮิปโปแคมปัส... ผมนั่งทบทวนดู เออจริงว่ะ เมื่อวาน ก่อนนอนคุยอะไรกับแฟนนี่ยังนึกไม่ออกเลย แต่ไอ้ทีตอนบอกรักตั้งนาน มาแล้วนู่น กลับจำ�ได้ทุกรายละเอียด ไอ้ตอนสมัยประถมที่ออกไปเล่นตลก หน้าชั้นแล้วเพื่อนไม่ขำ�นั่นก็เหมือนกัน ทำ�ไงก็ไม่ลืมซักที (นี่ยังไม่นับเรื่อง โชว์ไข่นะ) สงสัยอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นตอนหัวใจเต้นรัว มันจะจำ�ฝังใจไปเอง โดยอัตโนมัติ... โอววว... ถ้าเป็นแบบนี้ ทางการครับ ผมขอร้องเรียนว่า อย่าเพิ่งปราบสื่อลามกให้เรียบเลยครับ เอามาให้เด็กนั่งดูไปท่องหนังสือไป อาจจะช่วยให้การศึกษาไทยดีกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้นะครับ ซี เรี ย สจริ ง จั ง ขึ้ น มาอี ก นิ ด ทุ ก วั น นี้ มี นั ก วิ จั ย กำ � ลั ง พยายามพั ฒ นา ยาตั ว ใหม่ ซึ่ ง สามารถออกฤทธิ์ เข้ า ไปบล็ อ กการทำ � งานของอะดรี น าลิ น ประโยชน์ของมันทีเ่ ค้ากะจะนำ�ไปประยุกต์ใช้ฟงั แล้วแยบยลเหลือเชือ่ นัน่ ก็คอื เอาไว้ให้ผู้ประสบเคราะห์กินในทันทีหลังจากเกิดเหตุ อย่างเช่น พอโดน ข่มขืนปุ๊บ ให้รีบกินเลยครับ หรือ ไฟไหม้ปุ๊บ รถชนปุ๊บ เครื่องบินตกปุ๊บ โลกจิต— 49


โดนพ่อถีบปุ๊บ เปิดประตูเข้าไปเจอยายกำ�ลังอาบน้ำ�อยู่ปุ๊บ จะอะไรก็แล้วแต่ ให้รีบกินยาตัวนี้ทันทีเลยครับ แล้วมันจะสามารถเข้าไปช่วยป้องกันไม่ให้ภาพ ของเหตุการณ์เลวร้ายอันนั้นน่ะ เปลี่ยนกลายไปเป็นความทรงจำ�อันฝังใจ ที่จะคอยกลับมาหลอกหลอนในภายหลังได้... โอวว คอนเซ็ปต์เยี่ยมมากๆ และเท่าทีท่ ดลองมาก็ปรากฏว่าได้ผลดีจริงๆ ซะด้วย น่าเสียดายอยูอ่ ย่างเดียว ตรงที่ มั น ไม่ มี เวอร์ ช่ั น สำ � หรั บ ให้ กิ น ตามไปลบความทรงจำ � แบบย้ อ นหลั ง ไกลๆ ได้ ถ้าไม่อย่างนั้นละก็นะ บรรดาพวกที่มีอดีตอัปรีย์ อับอาย เคียดแค้น ปวดร้ า ว ผิ ด หวั ง ทั้ ง หลาย คงจะยกโขยงมาเข้ า คิ ว ขอซื้ อ กั น ถล่ ม ทลาย ยาวตั้งแต่เมืองหลวงของเปรูไปจนถึงนครศรีธรรมราช จริงๆ จะว่าไป ขี้ลืมแบบยายบรรณนี่ก็ดีเหมือนกัน... เพราะเกิดเรื่อง ร้ายๆ อะไรขึ้นมา แกก็จำ�ไม่ได้ ไม่ต้องคอยหนักสมอง แต่ในทางกลับกัน ไอ้พวกเรื่องดีๆ ต่างๆ แกก็พลอยจำ�ไม่ได้ไปด้วย เนีย่ สิ... อย่างวันก่อนพาแกไปดูปลาดูนกเพนกวินทีส่ ยามโอเชียนเวิลด์ ไอ้ตอน ดูอยู่แกก็สนุกสนานตื่นเต้นเหมือนเด็กๆ แต่พอดูเสร็จ กินข้าวเย็น ถามแกว่า เป็นไง ปลาสวยมั้ย สนุกมั้ย ปรากฏแกจำ�อะไรไม่ได้เลย ลืมไปหมดแล้วว่า ไปเที่ยวไหนมาบ้าง แรกๆ ไอ้หลานก็น้อยใจนะ อุตส่าห์พาไปเที่ยว แต่พอนั่ง ตรึกตรอง นั่งมองยายบรรณยิ้มสักพัก ก็พลันบังเกิดเป็นอุทาหรณ์... เออ ชีวิต คนเรานีม่ นั ก็เท่านีจ้ ริงๆ ว่ะ ความงาม ความสุข จะจริงแท้อยูไ่ ด้ก็ ณ ห้วงขณะ ที่เราสัมผัสมันเท่านั้น... จงดื่มด่ำ�กับปัจจุบันให้เต็มที่ เพราะที่เหลือล้วนไม่มี อันใดจีรงั ... ผ่านไป ไม่หวนคืน ยึดติดมากไป ก็กอ่ ให้เกิดมายาความยุง่ ยากขึน้ โดยไม่จำ�เป็น... ‘ผ่านพบไม่ผูกพัน’ วลีที่คุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล บิดาข้าพเจ้าเคย ใช้เป็นชื่อหนังสือ ไม่แน่ ยายบรรณนี่แหละ อาจเป็นผู้หนึ่งที่สามารถใช้ชีวิต แบบนั้นได้อย่างแท้จริง

50 —โลกจิต



ท้ายบท กันยายน 2013…

7 ปีหลังจากเขียน ‘ฮิปโปน้อยกับความทรงจำ�ของคุณยาย’ ตอนนี้ยายบรรณอายุ 90 แล้วครับ ผมจิ น ตนาการว่ า ยั ง ไงก็ ต้ อ งมี สั ก วั น ที่ ผ มหยิ บ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ขึ้ น มา ย้อนอ่าน และวันนั้นเป็นวันที่ยายบรรณไม่อยู่แล้ว

ผมอยากเขียนอะไรเพิ่มเติมเพื่อระลึกถึงแกสักหน่อย

ช่วงหลังนี้อาการอัลไซเมอร์ของยายบรรณพัฒนาไปไกล คือเลยฮิปโปไปจนน่าจะถึงขั้นยีราฟแล้ว แกไม่ ใช่ แ ค่ จำ � เรื่ อ งใหม่ ไ ม่ ไ ด้ อ ย่ า งเดี ย ว แต่ ค วามทรงจำ � วั ย เยาว์ ก็หายไปด้วย นอกนี้ คำ�ถาม “อ้าว แทน แม่ไม่มาด้วยเหรอ” เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีอีกแล้ว เพราะแกจำ�ชื่อผมไม่ได้ และจำ�พวกตำ�แหน่งความสัมพันธ์ระหว่างคนใกล้ชิด เช่น ใครเป็นแม่ใครอะไรแบบนี้ไม่ได้เลย เอาจริ ง ๆ ใช้ คำ � ว่ า ‘จำ � ไม่ ไ ด้ เ ลย’ อาจไม่ ถู ก นั ก เพราะผมเดาว่ า อย่ า งน้ อ ยๆ แกก็ ยั ง รู้ อ ยู่ ว่ า เออ คนนี้ รู้ จั ก นะ คนนี้ ห น้ า คุ้ น นะ แต่ แ ก แค่เรียกชื่อไม่ถูก บอกไม่ได้เท่านั้นเองว่าใครเป็นใคร 52 —โลกจิต


บ่อยครัง้ พวกญาติๆ จะชอบแกล้งทดสอบแกโดยการชีไ้ ปทีค่ นนัน้ คนนี้ แล้วถาม “เอ้า ยาย รู้มั้ยนี่ใคร?” บ่อยครั้งแกก็จะตอบกลับแบบแกล้งทำ�เป็นเฉไฉ “เอ้า แล้วตัวเองไม่รู้ รึไง มาถามเราทำ�ไม โง่นี่!” ซึ่งพวกเราก็มักจะเฮฮากันไป เวลาโดนตอกกลับแบบนี้ แต่ก็มีบางครั้ง เช่น ตอนที่ผมกับน้าจ้อนลูกชายคนเล็กของยายบรรณ พาแกไปหาหมอ แล้วหมอถาม “คุณป้า รู้มั้ยครับคนที่พามาวันนี้เป็นใคร” หมอว่าพลางชี้ไปที่น้าจ้อน ยายบรรณคงไม่กล้าสวนหมอกลับแบบโหดๆ อย่างที่พูดกับพวกเรา แกจึ ง ได้ แ ต่ ป ระหม่ า แล้ ว ก็ หั น มายิ้ ม สบตากั บ ผมเพื่ อ ขอความช่ ว ยเหลื อ ผมไม่ทนั พูดอะไร แกก็หนั ไปกระซิบถามแม่ครัวคนสนิททีต่ ดิ ตามมาด้วยอีกคน “ใครอะ ลูกเธอเหรอ?” วินาทีนั้น น้าจ้อนนั่งหน้านิ่งๆ ไม่แสดงออกอะไร แต่ผมรู้สึกปวดร้าว แทน ทุกวันนี้ หลายคนโดยเฉพาะที่รู้จักห่างๆ พอเจอแกก็ยังชอบเข้าไป ถามอยู่ได้ว่า “เป็นไงคะคุณย่าวันนี้ไปเที่ยวมาสนุกมั้ย เมื่อเช้ากินอะไรมาคะ คนนี้ใครจำ�ได้มั้ยคะ บลา บลา...” ซึ่งสำ�หรับผม ผมไม่เอาแล้ว ผมเลือกที่จะ ไม่ถาม การชวนแกคุยเป็นเรื่องเป็นราวหรือแม้แต่คุยสัพเพเหระเป็นสิ่งที่ ซับซ้อนเกินไป แถมชวนให้หงุดหงิดกันเปล่าๆ เดี๋ยวนี้ผมมีวิธีสื่อสารกับแก แบบใหม่ ผมใช้วิธีเต้นอย่างเดียว ไม่กี่สัปดาห์ก่อน ยายบรรณขึ้นกรุงเทพฯ มาหาหมอและพักค้างคืน ทีบ่ า้ นน้าจ้อน วันนัน้ ผมได้รบั มอบหมายให้ดแู ลแกตลอดบ่าย หลังกินข้าวเทีย่ ง เสร็จ แทนที่จะพาแกเดินเที่ยวห้างเหมือนเมื่อก่อน ผมแบกลำ�โพงไปตั้งใน ห้องนอน เสียบไอโฟน เปิดเพลงของศิลปินโปรด Daft Punk อัลบั้ม Random Access Memories แล้วลุกขึ้นเต้นให้แกดู โลกจิต— 53


ผมเต้นอย่างจริงจังมาก ยายบรรณหัวเราะชอบใจไม่ยอมหยุด แกร่วม ปรบมือ โยกหัว ส่ายคอ กระทั่งบางเพลงผมก็ชวนให้แกเต้นด้วยได้สำ�เร็จ (ลีลายายบรรณพลิ้วไหวใช้ได้ทีเดียว) ผมเอนเตอร์เทนยายบรรณผสมเบิร์นนิ่ง แคลอรี่ตัวเองไปเรื่อยๆ เลือกเพลงมันๆ มาเต้นจนใกล้หมดอัลบั้ม พอขึ้น ท่ า ใหม่ เ พลงใหม่ ที ไรยายบรรณก็ จ ะหั ว เราะ “อ๊ า ก ฮ่ า ๆๆ โอ้ ดู มั น ทำ � สิ ฮ่าๆๆๆ” จนกระทั่งหลังๆ แกเริ่มเห็นผมเหงื่อท่วม หน้าแดง หายใจหอบ คอมเมนต์ต่างๆ ของแกจึงเริ่มเปลี่ยนไป “พอได้แล้ว หยุดเถอะ บ้าแล้ว” ซึ่งในที่สุด ผมก็เชื่อฟังยายและลงไปนอนแผ่พังพาบกับพื้น

54 —โลกจิต


ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้ยินคุณโอลิเวอร์ แซ็กส์ หมอสมองและนักเขียน ชื่อดังเล่าว่า ดนตรีบำ�บัด เป็นอะไรที่ได้ผลดีมากในคนไข้อัลไซเมอร์ ในแง่ ความจำ� บางคนแม้จะจำ�ตัวเองไม่ได้แล้ว แต่ถ้าสมัยก่อนเคยเล่นเปียโน ดีดกีตาร์หรืออะไรซักอย่าง ทุกวันนีก้ จ็ ะยังเล่นได้อยู่ เนือ้ ร้องทำ�นองเพลงต่างๆ จำ�ได้หมด ความทรงจำ�พวกนีด้ เู หมือนจะไม่เสือ่ ม หรือถ้าเสือ่ มก็เสือ่ มช้าทีส่ ดุ แม้ในคนที่ไม่เคยเล่นดนตรี หากได้ฟังเพลงเก่าๆ จากสมัยหนุ่มสาว บางครั้ง ก็จะช่วยฟื้นความทรงจำ�ได้เป็นช็อตๆ หรือไม่อย่างน้อยๆ ก็อาจจะยังจำ� เนื้อเพลงและร้องตามได้ กรณียายบรรณผมไม่มีเวลาได้ทำ�การศึกษาวิจัยว่า สมัยก่อนแกชอบฟังเพลงอะไรบ้าง แต่เท่าที่ดู แค่เอาเพลงอะไรก็ได้สนุกๆ มาเปิด แกก็สนุกตามได้แล้ว ผมคิดว่าเพราะดนตรีนอกจากจะเป็นเครื่อง ช่วยจำ�แล้ว บางครั้งก็ยังช่วยให้ลืมได้ด้วย เช่น ลืมหงุดหงิดกับสิ่งรอบตัว ลืมงงว่าตัวเองอยู่ที่ไหน ฯลฯ หลังจากนอนพักฟืน้ เสร็จ ผมดีดตัวลุกขึน้ จากพืน้ แล้วคว้าอูคเู ลเล่หมับ เล่นตีคอร์ด C F G แล้วก็แต่งเนื้อร้องสดมั่วๆ ให้ยายบรรณฟังไปเรื่อย “โอ ยายบรรณ... ไปทำ�ฟัน ด้วยกันมั้ยจ๊ะ” ท่อนไหนพอผมแกล้งเร่งเสียงสูงๆ โหยหวน ใส่เนื้อฮาๆ เข้าไปแกก็จะยิ่งหัวเราะชอบใจ อูคูเลเล่เสร็จ ต่อด้วย ละครหุ่น (นี่มันอีเวนต์ไตรกีฬาบันเทิงยายชัดๆ) ใครไม่รู้ซื้อตุ๊กตาหุ่นมือ มาวางไว้ในห้อง ผมสวมอันที่เป็นนกกระตั้วน้อยน่ารักมาเชิดเล่นกับแก ร้อง “ตั๊ว ตั๊ว” พลางตีปีกผงกหัว แกก็ชอบใจใหญ่ ถึงขั้นมีการยื่นแก้มมาให้น้องตั้ว หอมด้วย จากนั้นพอหมดมุข ผมก็ลุกไปเปิดเพลงต่อ แต่คราวนี้เต้นเองไม่ไหว แล้ว หมดแรง ผมก็เลยใช้เจ้าหุน่ น้องตัว้ นัน่ แหละ ขยับเต้นให้ยายบรรณดูแทน แกก็หัวเราะเริงร่าอีกรอบ วันนั้นผมได้ค้นพบว่า นอกเหนือจากการพูดคุย หรือสอบถามเรื่องราวชีวิตประจำ�วันของกันและกันแล้ว มนุษย์เรายังมีวิธีอื่น ที่จะสื่อกันได้อีกมากมายจริงๆ

โลกจิต— 55


ตัดฉากไปที่จังหวัดตรัง หลายคนอาจจะสงสัยว่าชื่อ ‘ยายบรรณ’ มาจากไหน คำ�ตอบก็คือผมเป็นคนตั้งให้แกเองครับ สมัยเด็กๆ ผมมียายเยอะแยะ (ยายนิด ยายน้อย ยายทวด ฯลฯ) ญาติผใู้ หญ่เล่าให้ฟงั ว่าผมสับสน ผมก็เลยตัง้ ฉายาให้ยายคนหลักว่ายายบรรณ ตามร้านหนังสือของแกซึ่งชื่อร้าน ‘สิริบรรณ’ ญาติๆ ชอบชื่อนี้กันมาก ทุกคน ก็เลยเรียกยายบรรณๆ ตามผมไปด้วย แฟนยายบรรณมีชื่อว่าตาหยุน หรือที่คนในตลาดรู้จักติดปากกันทั่วไป ว่า โกยุ่น ตอนหนุ่ ม สาวยายบรรณกั บ ตาหยุ น จะรั ก หรื อ ไม่ รั ก กั น ยั ง ไงไม่ รู้ แต่ช่วงวัยชรานี้ผมว่าฟ้าดินได้ส่งตาหยุนมาอยู่คู่กับยายบรรณโดยแท้ ยายบรรณเป็นคนความจำ�เสื่อม ชอบถามย้ำ�ซ้ำ�เดิมไม่หยุดหย่อน

56 —โลกจิต


ส่วนตาหยุนเป็นตาหยุน เวลาแกจะสัง่ หรือบอกอะไรใคร แกต้องพูดย้�ำ ซ้ำ�เดิมประมาณร้อยรอบ ถ้าเป็นคนอื่นคงรำ�คาญที่ยายบรรณถามบ่อย แต่ตาหยุนไม่ เพราะแก ชอบพูดซ้ำ�อยู่แล้ว ถ้าเป็นคนอื่นคงรำ�คาญที่ตาหยุนพูดซ้ำ� แต่ยายบรรณไม่ เพราะแก จำ�ไม่ได้อยู่แล้ว ตาหยุนมีสิ่งที่ชอบพูดถึงอยู่สามเรื่อง คือรถ เงิน แล้วก็เรื่องใครเป็น ญาติใคร ทำ�กิจการอะไร ได้ตังค์เท่าไหร่ ฯลฯ ทุกเย็น หลังปิดร้านสิริบรรณ ตาหยุนจะพายายบรรณขับรถเที่ยว วนรอบตลาด ยายบรรณจะตืน่ เต้นแล้วก็ทกั “โอ้ ดูสิ วันนีร้ ถเยอะนะ โอ้ ดูสิ ไอ้นรี่ า้ น ใครเนี่ย คนเยอะพรรค์นี้มันขายดีแล สงสัยได้ตังค์มากนิ” ตาหยุนก็จะคอยบรรยายเหมือนไกด์นำ�เที่ยวต่างประเทศ “ไอนี้มัน ช่วงเลิกงานแล คนเลยมาก นี่ ไอนี้ ร้านจีชุ้น ที่เป็นน้องโกฉ้ายแล เห็นมั้ย แล้วก็ไอนั้นร้านของเมียโกหย่วน ช่วงเย็นพรรค์นี้มันขายดีแล” “โอ แล้วนี่ตึกไอไรนิ ทำ�ไมค่ำ�แล้วยังเปิดไฟสว่างอยู่เลย” “ไอ้นี้ โรบินสันแล ห้างใหม่ มันเพิ่งมาเปิดแล” ผมเคยนั่ ง ติ ด รถไปกั บ ทั้ ง สองด้ ว ย และก็ สั ง เกตว่ า ยายบรรณจะ คอมเมนต์ทำ�นองนี้เหมือนเดิมทุกวัน ส่วนตาหยุนก็จะขับวนตามเส้นทางเดิม ตอบเหมือนเดิม และก็ชใี้ ห้ดสู งิ่ ต่างๆ เหมือนเดิมทุกวัน จนโรบินสันกลายเป็น ห้างเก่าไปแล้ว แกก็ยังขับพายายบรรณวนไปดูไฟอยู่อย่างเคย ตัดฉากกลับมากรุงเทพฯ ในห้ อ งนอนของยายบรรณที่ บ้ า นน้ า จ้ อ น มี รู ป ถ่ า ยขาว-ดำ � เก่ า ๆ แขวนติดผนังไว้รูปหนึ่ง เป็นรูปคู่บ่าวสาวในชุดแต่งงาน โลกจิต— 57


ยายบรรณมักหันไปมองดูรูปนี้อย่างเพ่งพินิจ แล้วก็ถามขึ้น “คนใน รูปนี้ไม่อยู่เหรอ?” “หมายถึงใครอะยายบรรณ” บางครั้งผมก็อดไม่ได้ที่จะถามกลับไป เพื่อทดสอบว่าแกจำ�ได้จริงหรือเปล่า “เอ้า ก็แฟนเราไง โกยุ่นแล” “ฮ่าๆๆ จำ�ได้จริงด้วย โกยุ่นไม่อยู่แล ยายบรรณ โกยุ่นอยู่ตรัง ตอนนี้ เราอยู่กรุงเทพฯ อยู่บ้านน้าจ้อน” “หา...” พอพยายามจะอธิบาย แกก็จะเริ่มงงและหงุดหงิด จนบางครั้งผมต้อง แกล้งบอกไปว่า “โกยุ่นอยู่ข้างบน” “โอ้ เหรอ ถ้างั้นเราก็นั่งรอเค้าตรงนี้นะ” แกตอบพร้อมรอยยิ้ม “ได้ๆ” นั่งสักพัก แกก็จะโวยวายขึ้นมาอีก “เอ้า คนในรูปนี้ไม่อยู่เหรอ” หลายรอบเข้าพอผมจนมุมก็ต้องสารภาพไป “โกยุ่นไม่อยู่นะยาย” ซึ่งแกก็จะตอบกลับมา 58 —โลกจิต


“เอ้า งั้นเราก็กลับสิ เจ้าของบ้านไม่อยู่แล้วเราจะมารอทำ�ไม ไว้พรุ่งนี้ มาใหม่ ไปๆๆๆ” ว่าแล้วก็ลุกขึ้นทำ�ท่าจะเก็บของเดินออกจากบ้าน ทั้งที่ ตอนนั้นอาจเป็นเวลาดึกดื่นสามทุ่มสี่ทุ่ม พอเราจะเข้าไปห้ามก็โมโห จะกลับ ร้ า นสิ ริ บ รรณให้ ไ ด้ ปั ญ หานี้ มั ก เกิ ด ขึ้ น บ่ อ ยครั้ ง เวลาแกมาค้ า งกรุ ง เทพฯ จนบางที ผ มต้ อ งแก้ ปั ญ หาโดยการเก็ บ รู ป นั้ น ไปซ่ อ นไว้ ที่ อื่ น ก่ อ น พอแก หลับไปค่อยเอากลับออกมาแขวนใหม่ เหตุการณ์คล้ายกันเกือบเกิดอีกในค่�ำ วันทีผ่ มไปเต้นให้แกดู แต่โชคดีวา่ วันนั้นมีสิ่งอื่นมาเบนความสนใจแกจากภาพถ่ายบนผนังเสียก่อน สิง่ นัน้ คืออัลบัม้ ภาพเล่มใหญ่จากตอนทีพ่ วกเรายกโขยงไปเทีย่ วเกาหลี กันเมื่อซักสี่ปีก่อน แกเปิดดูอัลบั้มนี้ซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีก ดึงเฉพาะรูปตัวเองออกมา แล้วก็หันมา ถามผมว่า “ขอนะ อันนี้รูปเรา เราขอเอากลับบ้านละกันนะ” ผมก็ไม่ขัดใจแก ปล่อยให้แกค่อยๆ เลือกดึงรูปตัวเองซักประมาณ ยี่สิบกว่ารูปออกมาทีละใบๆ แล้วซักประเดี๋ยวแกก็เปิดย้อนกลับไปหน้าแรก ค่อยๆ เอารูปพวกนั้นเสียบกลับเข้าไปในอัลบั้มทีละใบๆ ทำ�ซ้ำ�ไปซ้ำ�มา อยู่อย่างนี้ไม่รู้กี่รอบ ผมนั่งดูแก ผมกระเถิบเข้าไปใกล้ขึ้น ทริ ป เกาหลี ปี นั้ น ผมก็ ไ ปด้ ว ย ผมเหลื อ บไปเห็ น รู ป ตั ว เอง และรู ป ของเธอคนนั้น... ทั้งที่ถ่ายเดี่ยว และที่เราถ่ายคู่กัน ผมแกล้ ง ประชดชี วิ ต เล่ น ๆ โดยการชี้ รู ป ให้ ย ายบรรณดู “ยายดู สิ นี่แฟนแทนเอง สวยมะ แต่เค้าเพิ่งบอกเลิกแทนไปนะ” บ่อยครั้ง ยายบรรณมักจะทำ�หน้าเบ้เหมือนเหม็นขี้แล้วด่ากลับมาว่า “อ้าว อะไรกัน ก็เธอโง่เองน่ะสิ ถึงปล่อยให้เค้าทิง้ ได้ ไม่ไหว โง่จริงๆ ไม่ได้เรือ่ ง เลย” ซึ่งผมก็มักจะฮาแตกกับความแรงของแก จากนั้นก็เดินไปทำ�อย่างอื่น โลกจิต— 59


สักพักกลับมาเห็นแกยังง่วนกับการจัดรูปเข้า-ออกจากอัลบัม้ ก็แกล้งเข้าไปถาม เหมือนเดิมอีก ซักประมาณรอบที่สาม ผมชี้รูปเดิม “ยายดูสิ คนนี้แฟนผมเอง แต่เค้า เลิกกับผมไปแล้ว” ตอนแรกก็นึกว่าจะเอาคำ�ตอบฮาเหมือนเคย แต่สิ่งที่รอบนี้ต่างจาก รอบก่อนๆ คือผมดันเงยหน้าขึ้นสบตาแก ยายบรรณจ้องมองมาทีผ่ ม แล้วเอ่ยถามขึน้ ด้วยน้�ำ เสียงห่วงใย “เสียใจ มากเหรอ...” ผมเริ่มน้ำ�ตาปริ่มแบบไม่รู้ตัว “ทำ�ไมล่ะ มีเรื่องทะเลาะกันงั้นเหรอ… เพราะอะไรอยู่ดีๆ เค้าถึง หันหลังล่ะ... ไม่เอาใจเค้ามั้ง ไปพูดไม่เพราะกับเค้ารึเปล่า” “มั น ก็ ห ลายอย่ า งนะ... แต่ เ ค้ า บอก เดี๋ ย วนี้ เ ค้ า ไม่ รั ก แทนเหมื อ น ก่อนแล้ว” ผมตอบด้วยน้ำ�เสียงสั่นเครือ แกจ้องลึกเข้ามาในแววตาผม แล้วพูดว่า “โอย เราเห็นเธอเศร้าแบบนีแ้ ล้ว เรารู้สึกเจ็บไปด้วยจริงๆ... สงสารเธอจังเลยนะ… ดูสิ... เฮ่อ…” แกเอื้อมมือ มากุมมือผมไว้

“แล้วทำ�ไงดีล่ะเนี่ย... ตัดใจไหวมั้ย” “ก็พยายามอยู่ แต่มันยาก...”

แกเงียบไปสักพัก ก่อนจะกล่าวขึ้น “ก็ไปง้อเค้าสิ... ไปหาเค้าสิ นะ” ผมพูดอะไรไม่ออก ได้แต่พยักหน้าตามที่แกว่า “เค้าโกรธอยูก่ ไ็ ม่เป็นไรหรอก ก็แกล้งทำ�เป็นเหมือนไม่ได้ทะเลาะกันไง แอบเข้าไปพูดดีๆ ไปคืนดีกับเค้าสิ” “ครับ” 60 —โลกจิต


นะ”

“แล้วถ้าคืนดีได้ คราวนี้ก็รีบขอแต่งงานเลย อย่าปล่อยให้พลาดอีกล่ะ “ครับ…” ผมเริ่มยิ้มออกนิดหน่อย กับคำ�แนะนำ�ที่ชัดเจนของแก . . . ยายบรรณคงจำ�วันนั้นไม่ได้แล้ว แต่ผมจะจำ�ไว้เอง

และแม้ยายบรรณจะจำ�ชื่อผมไม่ได้ จำ�วัยเด็กของผมและของตัวเอง ไม่ ไ ด้ แต่ นั่ น ก็ ไ ม่ ใช่ เรื่ อ งสำ � คั ญ หรอก เพราะผมเองก็ จำ � วั ย เด็ ก ตั ว เองกั บ ยายบรรณเวอร์ชั่นความจำ�ดีไม่ค่อยได้แล้วเหมือนกัน ฉะนั้นถือว่าเจ๊ากันไป สักวัน ตอนอายุ 80 ผมก็คงความจำ�เสื่อมด้วยเช่นกัน แต่กว่าจะถึง วันนั้นผมจะขอจำ�ยายบรรณเวอร์ชั่นขี้ลืมเอาไว้แบบนี้แหละ

ขอบคุณมากครับยายบรรณ สำ�หรับทุกสิ่งทุกอย่าง

โลกจิต— 61




ข้อชี้แจง 10 ประการ

1. ไปคุยกันต่อออนไลน์: เชิญติดตามผลงานและความเคลื่อนไหว ของผมได้ผ่าน facebook.com/yeebudnom หรือเพจของรายการ วิทย์แคสต์ facebook.com/witcastthailand ทวิ ต เตอร์ @yeebud, @twitcast3 อินสตาแกรม @yeebud มีคำ�ถามหรือเรื่องราวอะไรส่งมาแลกเปลี่ยนกัน ได้เสมอครับ ยินดีมากครับ 2. ภาษาอังกฤษ: แหล่งข้อมูลความรู้ที่นำ�มาอ้างอิงและแนะนำ�ให้ ไปอ่ า นเพิ่ ม เติ ม ในที่ นี้ ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น ภาษาอั ง กฤษนะครั บ ตั ว ผมเอง ต้องขออภัยที่ไม่ค่อยมีเวลาค้นหาแหล่งข้อมูลภาษาไทยเอามาใส่ไว้ให้ด้วย (ส่วนหนึ่งก็เพราะมันไม่ค่อยจะมีด้วยแหละ) แต่ก็คิดในแง่ดีนะครับ สำ�หรับ คนที่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็ง นี่อาจเป็นโอกาสเหมาะที่จะบริหารให้มันแข็ง ขึ้นมาก็ได้ ลองดูนะครับ ไม่แน่ท่านอาจได้เปิดโลกทัศน์ใหม่อีกเยอะ เพราะ ถ้าเกิดสนใจเรือ่ งพวกนีล้ ะก็ สือ่ ภาษาอังกฤษมีอะไรให้อา่ น ให้ฟงั ให้ดู ให้ศกึ ษา อีกเยอะมากๆ บ้านเรากว่าจะตามทันคงยังอีกนานล่ะครับ 312 —โลกจิต


3. อินเทอร์เน็ต: ส่วนมาก แหล่งข้อมูลทีผ่ มเอามาแนะนำ� จะเป็นอะไร ทีส่ ามารถเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ตนะครับ มีความน่าเชือ่ ถือมากน้อยแค่ไหน ก็ขอให้ใช้วิจารนมยานดูกันเอาเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านจะไม่รู้จักไม่ได้เลยก็คือ กูเกิล้ (www.google.com) เว็บไซต์นเี้ ป็นเว็บไซต์ส�ำ หรับเสิรช์ ค้นหาข้อมูลต่างๆ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากทีส่ ดุ ทุกสิง่ ทุกอย่างทีผ่ มแนะนำ�ไว้ในส่วนนี้ สามารถเอา ไปเคาะหาบน google ได้หมด รับรองว่าน่าจะเจอแน่นอน และนอกเหนือจาก แหล่งข้อมูลเฉพาะเจาะจงที่ได้ให้ไว้แล้ว ด้านท้ายสุดของ ‘อ้างอิง + เพิ่มเติม’ ของแต่ละบท ก็ยงั มีรายการ keywords คือเป็นลิสต์ค�ำ สัน้ ๆ ศัพท์เฉพาะต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับเนือ้ เรือ่ งทีพ่ ดู ถึงในบทนัน้ ๆ สำ�หรับเผือ่ ให้คนทีส่ นใจเอาไปพิมพ์ หาข้อมูล หารูปเพิ่มเติมจากในกูเกิ้ลได้ เช่น สมมติว่า บทแรก มีการพูดถึงการ ผ่ า ตั ด สมองแบบไม่ ว างยาสลบ แต่ ไ ม่ ไ ด้ บ อกว่ า ไอ้ ก ารผ่ า ตั ด แบบนี้ มั น เรียกว่าอะไร ครัน้ จะไปเสิรช์ ก็ไม่รจู้ ะใช้ค�ำ ว่าอะไรดี คุณก็ลองเปิดไปดูดา้ นหลัง จะพบว่าผมลิสต์ไว้ให้แล้ว ว่าศัพท์เฉพาะของการผ่าตัดแบบนี้เนี่ย เรียกว่า Awake Craniotomy หรือ Cortical Mapping คุณก็ลองเอาคำ�คีย์เวิร์ดส์พวกนี้ ไปเสิร์ชดู ก็จะเจอรูปเจอลิงค์ที่เกี่ยวข้องมากมาย อะไรทำ�นองนี้เป็นต้น หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็นุ้ยนะครับ 4. วันเดือนปี: การระบุตวั เลขวันเดือนปีทเี่ ผยแพร่ ในส่วนนี้ จะใช้ระบบ วันที่ขึ้นก่อน แล้วก็เดือน แล้วก็ปี ค.ศ.ของฝรั่ง (วันที่/เดือน/ปีค.ศ.) เช่น ถ้าวงเล็บว่า (05/06/07) ก็จะหมายถึง วันที่ 5 เดือน มิถนุ ายน ค.ศ.2007 (ไม่ใช่ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2507) แบบนี้เป็นต้น 5. หนังสือ: พวกหนังสือต่างๆ ที่แนะนำ� คาดว่าบ้านเราบางเล่ม ก็น่าจะหาซื้อได้ ตามพวกร้านต่างๆ ที่ขายหนังสือภาษาอังกฤษ (อย่างเช่น Kinokuniya) ถ้าไปหาแล้วไม่มี ลองถามพนักงานดูก็ได้ครับ บางร้านเค้าจะ มีบริการรับสั่งซื้อเอาไว้ เสร็จแล้วค่อยมาเอาวันหลังได้ ส่วนถ้าอยากหาข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ หรือผลงานอื่นๆ ของคนเขียนคนนั้นๆ โลกจิต— 313


หรืออยากจะสั่งซื้อทางออนไลน์ มือหนึ่ง มือสอง ก็ขอแนะนำ�ให้ไปที่เว็บไซต์ www.amazon.com พิมพ์ชื่อหนังสือลงไป รับรองมีข้อมูลให้ดูทุกเล่มแน่นอน 6. บทความ: คำ�ว่า บทความ ในที่นี้อาจจะหมายถึงรายงานข่าว รายงานพิเศษ ข้อเขียนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ ในเว็บไซต์ ในนิตยสาร ในจดหมายข่าว หรือในบล็อก ฯลฯ อะไรก็แล้วแต่ ผู้ที่เขียนขึ้นมา บางที ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญบ้าง ผู้ไม่เชี่ยวชาญบ้าง แต่ที่แน่ๆ คือมีเป้าหมายเหมือนกัน คื อ ต้ อ งการเขี ย นสื่ อ ให้ ค นทั่ ว ไปอ่ า นรู้ เรื่ อ ง สำ � หรั บ บรรดาบทความที่ ผ ม นำ�มาอ้างอิงแนะนำ�ไว้นั้น ส่วนใหญ่จะสามารถหาอ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ท่านสามารถเอาชื่อบทความไปพิมพ์เสิร์ชในกูเกิ้ลได้เลย (ถ้าจะให้บอกเป็น URL เต็มๆ เกรงว่ามันจะยาวเกินไป อีกทั้งเปลี่ยนแปลงบ่อย จึงบอกแค่ แหล่งที่มาหลัก เช่นว่าเอามาจากเว็บไซต์ news.bbc.co.uk ประมาณนั้น เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอให้เสิร์ชเจอได้) 7. บทความวิชาการ: บทความวิชาการ ในที่นี้หมายถึง ตัวรายงาน ผลการวิจัยที่นักวิทยาศาสตร์ผู้ไปศึกษามาเป็นคนเขียนเองเลย (แต่บางที ก็จะมีไอ้ที่เค้าเรียกว่า review คือ คนเขียนเป็นเพียงผู้สรุปรวบรวมวิจารณ์ ผลงานวิจัยของคนอื่นๆ เท่าที่ผ่านมา แบบนี้ก็มี) พวกบทความวิชาการ มีความน่าเชื่อถือสูง เพราะผ่านการตรวจสอบมาแล้วจากคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ พูดง่ายๆ คือเปอร์เซ็นต์ความมั่วค่อนข้างต่ำ� หรือแทบจะไม่มี เลย โดยทั่วไป บทความพวกนี้ จะได้รับการตีพิมพ์ไว้ในวารสารวิชาการต่างๆ ซึ่งปกติก็มีแต่คนในแวดวงวิชาการด้วยกัน อ่านกันเอง ในที่นี้ แนะนำ�ไว้ให้ สำ�หรับผู้อ่านที่มีพื้นฐานความรู้มาแล้วในระดับหนึ่ง หรือเป็นนักศึกษาหรือ อาจารย์ที่คุ้นเคยอยู่ในแวดวงวิชาการอยู่แล้ว ท่านสามารถไปหาอ่านวารสาร พวกนี้แบบเป็นเล่มจริงๆ ได้ตามห้องสมุด หรือไม่ก็อ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพียงแต่มนั จะต้องมีรหัสผ่านสำ�หรับผูเ้ ป็นสมาชิกวารสารนัน้ เท่านัน้ ถึงจะเข้าไป อ่านได้ อย่างไรก็ตาม โดยมากพวกคอมพิวเตอร์ที่อยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ 314 —โลกจิต


ก็มักจะมีสมัครเป็นสมาชิกเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นท่านสามารถไปนั่งอ่าน หรือดาวน์โหลดกลับมาอ่านได้เลย ไม่มปี ญ ั หา... แต่กอ่ นทีจ่ ะลำ�บากถึงขัน้ นัน้ แนะนำ�ว่าให้ลองเสิร์ชชื่อบทความที่ต้องการในกูเกิ้ลดูก่อนก็ดี เพราะบางอัน มันจะสามารถเข้าไปอ่านฟรีได้เลย จากที่ไหนก็ได้ หรือบางทีตามเว็บไซต์ ส่วนตัวของพวกอาจารย์ที่เป็นคนทำ�วิจัยเรื่องนั้นด้วยตัวเอง เค้าก็มักจะมี ก๊อบปี้เอาไว้ให้ดาวน์โหลดอ่านฟรีได้เช่นกัน 8. Wikipedia: เว็บไซต์ en.wikipedia.org เป็นสารานุกรมออนไลน์ ที่สามารถเข้าไปเสิร์ชหาความรู้ได้ในทุกๆ เรื่อง มีทุกหัวข้อเท่าที่จะมันจะมีได้ จริงๆ ตั้งแต่ชีววิทยาของยีสต์ ไปจนกระทั่งถึงชีวประวัติของ บริทนีย์ สเปียร์ส อย่างเรื่องทุกเรื่องที่ผมพูดถึงในหนังสือ โลกจิต นี่ก็รับรองว่ามีอยู่ในวิกิพีเดีย อย่างแน่นอน ที่สำ�คัญมากๆ เลยสองประการ คือ ประการแรก ความรู้ ในเว็ บ ไซต์ นี้ มี ก ารแก้ ไขอั พ เดตอยู่ ต ลอดเวลา โดยผู้ รู้ จ ริ ง จากทุ ก มุ ม โลก และสอง วิกิพีเดียมีระบบลิงค์เชื่อมโยงจากหัวข้อนึงไปอีกหัวข้อนึง ที่ทำ�ไว้ได้ อย่างทั่วถึงดีมากๆ เช่นสมมติว่า ถ้าผมอ่านเรื่อง ‘การนอน’ อยู่ เสร็จแล้วพอ อ่านๆ ไปเจอคำ�ว่า ‘ความอ้วน’ ผมก็จะสามารถกดคลิกที่คำ�นั้น แล้วมันก็จะ นำ�ไปสูอ่ กี หน้านึงทีเ่ ป็นหัวข้อเกีย่ วกับ ’ความอ้วน’ โดยเฉพาะได้เลย บูรณาการ ความรู้กันได้ไม่รู้จักจบสิ้น 9. Podcast: สิ่งที่เรียกว่า podcast อธิบายง่ายๆ ก็คือรายการวิทยุ ทีส่ ามารถไปดาวน์โหลดมาฟังได้นนั่ เอง จุดดีคอื ในรายการหนึง่ ๆ เราสามารถ ดาวน์โหลดย้อนหลังเอาตอนเก่าๆ มาฟังก็ได้ ดาวน์โหลดมาแล้ว จะฟัง จากบนคอมก็ได้ หรือโหลดใส่มือถือใส่เครื่องเล่น MP3 ไปฟังในรถ ฟังตอน เข้าส้วม ตอนวิ่งจ๊อกกิ้ง หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น นอกนี้ยังมีผู้ผลิตรายการให้เลือก จากทั่ ว โลกมากมายเต็มไปหมด จะฟังรายการเกี่ ย วกั บวิ ทยาศาสตร์ ก็ ได้ หรือจะฟังวิจารณ์หนัง สอนทำ�ครัว สอนภาษา อะไรมีหมด ที่สำ�คัญที่สุดคือ ฟรีครับ! วิธีการโหลด podcast ท่านอาจจะเริ่มต้นจากการไปโหลดโปรแกรม โลกจิต— 315


iTunes มาก่อนจากเว็บไซต์ www.apple.com/itunes ทีนี้พอเปิด iTunes ขึ้น มาแล้ว มันจะมีเมนู iTunes Store ซึ่งภายในนั้นจะมีหัวข้อ podcast ให้เลือก อีกที ท่านก็ลองเข้าไปดู จากในนัน้ ท่านสามารถเสิรช์ หาชือ่ รายการทีผ่ มแนะนำ� ไว้ให้ได้ ทีนี้พอเจอแล้วก็สามารถคลิกเข้าไป สมัครเป็นสมาชิกฟรี (กดปุ่ม subscribe) แล้วก็เลือกดาวน์โหลดได้เลยว่าจะเอาตอนไหนบ้าง นอกจากนี้ ถ้ า ท่ า นเป็ น สมาชิ ก ของรายการไหนแล้ ว ตั้ ง แต่ นั้ น ไปพอท่ า นเปิ ด คอม เปิด iTunes ขึ้นมา มันก็จะเช็กให้เองว่ารายการนั้นมีตอนใหม่ๆ ออกมาบ้าง แล้วหรือยัง ถ้ามีมันก็จะอัพเดตดาวน์โหลดให้เองเสร็จสรรพ ที่ว่ามานี่ก็เป็น วิธหี นึง่ นะครับ หรือท่านอาจจะลองแวะเข้าไปดูตามเว็บไซต์ของแต่ละรายการ ตามที่ให้มา มันก็จะมีรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น มีปุ่มสำ�หรับให้กดดาวน์โหลด แต่ละตอนได้โดยตรง มีบทสรุป บทถอดความให้อา่ น หรือไม่กอ็ าจจะมีให้สมัคร เป็นสมาชิกผ่านทางเว็บไซต์นั้นเลยก็ได้ ช่วงหลังๆ พวกสมาร์ตโฟนก็มีแอพฯ ที่สามารถเข้าถึง podcast ได้ง่ายมากมายหลายตัว แถมไม่ต้องเสียเวลาโหลด ใช้ stream เอาได้เลย ต้องลองศึกษากันดูนะครับ จริงๆ แล้ว podcast เป็นสื่อใหม่และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นอย่างยิ่ง เสียดายที่เมืองไทยยังไม่ค่อยมีใครทำ�กันเท่าไหร่ ตัวผมเอง คิดอยากทำ�มานาน และในที่สุดก็เริ่มจัดรายการ WiTcast ขึ้นในปี 2012 เป็นรายการที่ผมกับเพื่อนนั่งคุยเรื่องวิทย์ๆ กันแบบเน้นฮา ขอชักชวนให้ ทุกท่านติดตามกันนะครับ ลองเสิร์ชกูเก้ิลคำ�ว่า witcast น่าจะขึ้นแหล่งมา ให้หมด ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ 10. วิดโี อ: สมัยนีม้ คี ลิปวิดโี อให้หาดูได้หลากหลายผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะว่าไปคงมีนอ้ ยคนมากทีไ่ ม่รจู้ กั เว็บไซต์ยทู บู และเนือ่ งจากทุกคนคุน้ เคยดีอยู่ แล้ว ผมจึงไม่ขอชีแ้ จงอะไรมากก็แล้วกัน นอกจากจะบอกว่าอย่าลืมเอาคียเ์ วิรด์ หรือชื่อคนที่ผมให้ไว้ไปลองเสิร์ชดูในยูทูบด้วยนะครับ แต่ละหัวข้อ น่าจะเจอ คลิปมากมาย ทั้งจากรายการสารคดี ทอล์ก เลคเชอร์ สัมภาษณ์ คลิปดิบ จากทางบ้าน ฯลฯ คือสามารถดูต่อยอดความรู้กันได้อีกเยอะเลยครับ 316 —โลกจิต


เอาล่ะ ที่ต้องการจะชี้แจงก็คงมีเพียงเท่านี้แหละครับ หวังว่าส่วน ‘อ้างอิง + เพิ่มเติม’ ในหน้าถัดๆ ไปจะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านบ้างนะครับ ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ ขอบคุณมากครับ ด้วยความสวัสดีอย่างสูง แทนไท ประเสริฐกุล

โลกจิต— 317


อ้างอิง + เพิ่มเติม

ฮิปโปน้อยกับความทรงจำ�ของคุณยาย • โรคเซฟความจำ�ใหม่ไม่ได้ เปลี่ยนความจำ�ระยะสั้นไปเก็บเป็นระยะยาวไม่ได้ จริงๆ แล้วมีชื่อทางวิชาการว่าโรค Anterograde Amnesia สามารถหาอ่าน เรื่องราวชีวิตจริงๆ ของคนที่เป็นโรคแบบนี้ได้ในตอน The Lost Mariner ของหนังสือชื่อ The Man Who Mistook His Wife for a Hat (ปี 1998) เขียนโดย Dr.Oliver Sacks • บทความ Taxi drivers’ brains ‘grow’ on the job (14/03/00) จากเว็บไซต์ news.bbc.co.uk รายงานข่าวเกี่ยวกับงานวิจัยที่บอกว่า คนขับแท็กซี่ในลอนดอนมีสมองส่วนฮิปโปแคมปัสใหญ่กว่าคนทั่วไป • บทความวิชาการ Long-term memory for a common object (ปี 1979) โดย Nickerson, R.S. และ Adams, M. ตีพิมพ์ในวารสาร Cognitive Psychology ฉบับ 11 หน้า 287-307 อันนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่โชว์ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่จำ�รายละเอียดของของที่เห็นอยู่ทุกวันไม่ค่อยได้ (อย่างเช่น หัวที่อยู่บนเหรียญหันหน้าไปทางด้านไหน)

เรื่องผลกระทบของอะดรีนาลินในการช่วยเสริมความจำ� โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพวกความทรงจำ�ที่ไม่ดีทั้งหลาย (ถูกข่มขืน ถูกทุบตี เกิดอุบัติเหตุ ร้ายแรง ฯลฯ) และเรื่องการวิจัยยาตัวใหม่ที่จะเข้าไปบล็อกอะดรีนาลิน ป้องกันไม่ให้ประสบการณ์เลวร้ายกลายไปเป็นความทรงจำ�ฝังใจที่จะ กลับมาหลอกหลอนภายหลัง เอามาจาก: • บทความ Common drug, administered promptly, reduces incidence of post-traumatic stress disorder (ptsd) (22/10/03) จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย UC San Francisco (ucsf.edu) • บทความ Pill to calm traumatic memories (18/03/04) จากเว็บไซต์ สำ�นักข่าว Gazette ของมหาวิทยาลัย Harvard (news.harvard.edu)

โลกจิต— 321


• บทความ Traversing the mystery of memory (30/12/03) จากเว็บไซต์ nytimes.com • บทความ To sleep, perchance to forget fears (17/10/12) จากเว็บไซต์ http://blogs.nature.com/

• Podcast ชื่อ Futures in Biotech ตอน Dr.Eric Kandel’s insights into the science of mind (04/08/07) สัมภาษณ์ ดร.อีริค แคนเดล นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ผุ้บุกเบิกการศึกษาเรื่องความจำ�และการทำ�งาน ของเซลล์ในฮิปโปแคมปัส

Keywords สำ�หรับเสิร์ชกูเกิ้ล: memory, short term memory, long term memory, working memory, memory storage, memory retrieval, false memory, memory loss, memory test, selective attention, hippocampus, amnesia, anterograde amnesia, aging brain, alzheimer, dementia, vascular dementia

เฉลยข้อ 1 จากบท ‘อ่านออก เขียนได้’ คำ�ตอบ: สี่เหลี่ยมกับวงกลม อันนึงสีแดง อันนึงสีน้ำ�เงิน ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง

322 —โลกจิต



ขอบคุณครอบครัว ขอบคุณยายบรรณ ขอบคุณอาบัน ขอบคุณพี่ก้อง และทีมงานอะเดย์ ขอบคุณพี่บิ๊ก คุณโบ และทีมงานอะบุ๊ก ขอบคุณอินเทอร์เน็ต ขอบคุณเจ้าของเรื่องราว และผู้ค้นพบความรู้ต่างๆ ที่ผมนำ�มาเขียนถึง ขอบคุณคนอ่าน ขอบคุณมนุษยชาติ ขอบคุณเพื่อนร่วมโลกจิตทุกคน


เกี่ยวกับผู้เขียน

วันเกิด เพศ ส่วนสูง น้ำ�หนัก สัดส่วน จำ�นวนไส้ติ่ง อาหารที่ชอบ

16 กรกฎาคม 2522 ชาย 175 เซนติเมตร 75-90 กิโลกรัม 38-42-46 1 กะเพราไก่ไข่ดาว ข้าวราดแกงกะหรี่หมูทอด


งานอดิเรกสมัยเด็ก เลี้ยงด้วงกว่าง อ่านไซอิ๋ว ท่องชื่อสัตว์ทะเล ฟังคาราบาว ดูรายการ เพชฌฆาตความเครียด (ซูโม่สำ�อาง) สะสมแสตมป์ สะสมสติ๊กเกอร์ที่แถมมา กับขนมโดราเอมอน เขี่ยไพ่โอเดงยา แกล้งน้อง (เช่น ปิดประตูขังมันไว้ในห้อง ใต้บนั ได แล้วตะโกนด่าไอ้อว้ น ไอ้นมบอด จนมันร้องไห้) จัดบ้านเป็นด่านต่างๆ ตามสไตล์โหดมันฮาให้น้องเล่น เล่นโบราณเรียกชื่อ อีกาฟักไข่ ปิดตาลักซ่อน วิดีโอเกมแฟมิคอม มาริโอ ทวินบี คอนทรา บนบน ล่างล่าง ซ้ายขวา ซ้ายขวา บีเอ ซีเล็กต์สตาร์ท งานอดิเรกสมัยปัจจุบัน ดูหนัง ดูอะนิเมะ อ่านการ์ตนู ฟังเพลงเทคโน ฟัง podcast ดูนทิ รรศการ ศิลปะ ดูคอนเสิร์ต ดูซีรีส์ ตัดต่อวิดีโอ ทำ�เว็บไซต์ เล่นเกม เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว ปลู ก หม้ อ ข้ า วหม้ อ แกงลิ ง อ่ า นข่ า ว อ่ า นหนั ง สื อ ที่ เ กี่ ย วกั บ วิ ท ยาศาสตร์ พยายามค้นหาความจริงว่า โลก ชีวิต สรรพสิ่ง จักรวาล ทั้งหมดนี้มันก่อเกิด เป็นมา เป็นอยู่ เป็นไป และเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอยู่อย่างไรแน่ WiTcast ตอนนี้มีสิ่งที่กำ�ลังริเริ่มทำ�อย่างจริงจังขึ้นเรื่อยๆ คือรายการทางเน็ต แบบมีแต่เสียงไม่เห็นหน้าไม่ทรมานสายตาผู้ฟัง ชื่อรายการ WiTcast (วิทย์ แคสต์) คำ�ว่า wit ออกเสียงภาษาไทยก็คือวิทย์ มาจากวิทยาศาสตร์ ส่วน wit ในภาษาอังกฤษแปลว่าคมๆ ฮาๆ ซึง่ ก็เข้ากับคอนเซ็ปต์ เป็นรายการชวนเพือ่ น มานั่งตั้งวงคุยวิทย์ๆ กันอย่างคมๆ ฮาๆ และเป็นกันเอง ส่วนแคสต์ก็มาจาก podcast ซึ่งเป็นรูปแบบรายการที่สามารถพกติดตัวไปฟังที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไรก็ได้ เชิญชวนให้ตดิ ตามกันได้ที่ witcast.wordpress.com หน้าแฟนเพจ facebook.com/witcastthailand หรือเสิร์ชกูเกิ้ลว่า witcast ดูนะครับ


การศึกษา ประถมศึกษา: โรงเรียนบูรณะรำ�ลึก จังหวัดตรัง (ป.1-ป.5), โรงเรียนอนุบาลสามเสน จังหวัดกรุงเทพฯ (ป.6) มัธยมศึกษา: โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ (ม.1-ม.6), Tabor Academy ประเทศสหรัฐอเมริกา (grade 12) ปริญญาตรี: มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาชีววิทยา เน้นด้านประสาทวิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมสัตว์ (Neuroscience & Animal Behavior) ปริญญาโท: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทำ�วิทยานิพนธ์เกีย่ วกับ พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของปลาหมึก ปริญญาเอก: มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยาและการอนุรักษ์ ทำ�วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพฤติกรรมหิ่งห้อย ขณะนี้ยังไม่จบ แต่คาดว่าว่าอีกไม่นานก็คงจะจบ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เกียรติประวัติทางการศึกษา • ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิก ระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 • เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลในโครงการ พสวท. (โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ตั้งแต่ พ.ศ.2537 จนถึงปัจจุบัน


หน้าที่การงานในอดีต • เป็นอาจารย์พาร์ตไทม์สอนชีววิทยาระดับมัธยมปลาย อยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ.2546-2549 • เป็นนักเขียนนมดำ�ไส้แห้ง มาตั้งแต่ พ.ศ.2548 หน้าที่การงานในอนาคต • ฝันอยากเป็นอาจารย์ นักวิชาการ สอนหนังสือเด็กนักศึกษาสาวๆ และเผยแพร่ความรู้วิทย์ๆ ออกมาสู่มหาชนชาวไทยอย่างมีลีลา โดยใช้สื่อรูปแบบต่างๆ เท่าที่จะคิดออก และทำ�ได้ ผลงานเขียนที่ผ่านมา • โลกนี้มันช่างยีสต์ (พ.ศ.2548) สำ�นักพิมพ์ระหว่างบรรทัด • MIMIC เลียนแบบทำ�ไม? (พ.ศ.2549) สำ�นักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์ • โลกจิต (พ.ศ.2550) สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก • โลกนี้มันช่างยุสต์ (พ.ศ.2554) สำ�นักพิมพ์ระหว่างบรรทัด


ผลงานแปลที่ผ่านมา • แกะรอยวิวัฒนาการ (Introducing Evolution) พ.ศ.2552 สำ�นักพิมพ์มูลนิธิเด็ก • คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก (The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy) พ.ศ.2553 สำ�นักพิมพ์ Pearl • ในคนมีปลา ในขามีครีบ (Your Inner Fish) พ.ศ.2553 สำ�นักพิมพ์ We Learn • ภัตตาคารสุดปลายทางจักรวาล (The Restaurant at the End of the Universe) พ.ศ.2554 สำ�นักพิมพ์ Pearl • ชีวติ จักรวาล และทุกสรรพสิง่ (Life, the Universe, and Everything) พ.ศ.2555 สำ�นักพิมพ์ Pearl ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์

ละแวกซอยอารีย์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท จังหวัดกรุงเทพฯ ประเทศไทย ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผ่นทวีปยูเรเซีย ดาวเคราะห์โลก ระบสุริยะ กาแลกซีทางช้างเผือก ซูเปอร์คลัสเตอร์เวอร์โก 10400 yeebud@gmail.com ไม่บอก


ช่องทางติดต่อออนไลน์ • facebook.com/yeebud หน้าส่วนตัว แต่อันนี้ friends เต็มแล้ว • facebook.com/yeebudnom แฟนเพจ ปกติจะอัพเดตข่าวคราวทางนี้เป็นหลัก ชอบผลงานก็กดไลค์ได้เลยจ้า • facebook.com/witcastthailand อันนี้แฟนเพจรายการ WiTcast ไว้เผยแพร่วิทย์ เชิญชวนช่วยกันสนับสนุนด้วยจ้า • ทวิตเตอร์ @yeebud ส่วนตัว • ทวิตเตอร์ @twitcast3 ของรายการ WiTcast • อินสตาแกรม @yeebud



เกี่ยวกับนักวาดภาพประกอบ จักรกฤษณ์ อนันตกุล (เหนือ) นักออกแบบผู้ก่อตั้ง Design Reform Council ในปี 2006 ทำ�งานแนวทดลอง ออกแบบตัวอักษร งานสิ่งพิมพ์ และวาดภาพ ประกอบ ปี 2009 - 2013 รับตำ�แหน่งอาร์ตไดเร็กเตอร์ บริษทั YouWorkForThem บริษัทสัญชาติ US ที่ทำ�งานออกแบบ stock art และตัวอักษรแนวทดลอง ปัจจุบัน จักรกฤษณ์ กลับมาทำ�งานในนามของตัวเองแบบเต็มตัว และเป็นอาจารย์พิเศษ สอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยรังสิต มีผลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่นิตยสาร monocle (อังกฤษ), Tiger Translate, Teelocker (ฮ่องกง), Desktop Magazine (ออสเตรเลีย), Uniqle (ญี่ปุ่น), Curioos (ฝรั่งเศส) และอื่นๆ อีกมากมาย

ติดตามผลงานได้ที่ www.designreformcouncil.com www.facebook.com/iamjackkrit


หนังสือในชุด Knowledge & Creativity ลำ�ดับที่ 004 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-031-3 พิมพ์ครั้งที่ 1-6 : ตุลาคม 2550-มีนาคม 2553 พิมพ์ครั้งที่ 7 : ตุลาคม 2556 (Limited Edition) ราคา 395 บาท ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แทนไท ประเสริฐกุล. โลกจิต. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 416 หน้า. 1. วิทยาศาสตร์. I. จักรกฤษณ์ อนันตกุล, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 500 ISBN 978-616-327-031-3

ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นกลับมา ตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com


บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพประกอบ/ภาพปก จักรกฤษณ์ อนันตกุล เลขานุการ/พิสูจน์อักษร พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ/เรียงพิมพ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสี/พิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2428-7500 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.