2
3
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์
“History became legend. Legend became myth.” ค�ำพูดของราชินีเอลฟ์กาลาเดรียล จากภาพยนตร์ The Lord of the Rings พูดถึงการก�ำเนิดนิทานได้อย่าง เห็นภาพ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นเพียง ต�ำนานเล่าขาน และสักวันหนึ่งก็กลายเป็นนิทานปรัมปรา เหมือนกับเรือ่ งราวจากอดีตสูป่ จั จุบนั ของรัฐราชาสถาน รัฐที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียนี้เคยเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักร หลายแห่ง รุ่งเรืองถึงขีดสุดทั้งด้านเศรษฐกิจที่เติบโตจากการ เก็บภาษีนักเดินทางที่ต่างต้องผ่านอาณาจักรเหล่านี้เพื่อไป ค้าขายยังต่างแดน รวมถึงร�่ำรวยทางวัฒนธรรม จากสถา- ปัตยกรรมที่โอ่อ่าใหญ่โตเหมือนในนิทาน แต่ ไ ม่ เ ชื่ อ ก็ ต ้ อ งเชื่ อ ปั จ จุ บั น ราชาสถานเป็ น รั ฐ ที่ ยากจนและแห้งแล้งมากที่สุดรัฐหนึ่งของอินเดีย กาลเวลายังคงท�ำหน้าที่ของมันอย่างเที่ยงตรง ซี-ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข ช่างภาพและอาร์ตไดเรกเตอร์ จากนิตยสาร HUMAN RIDE ชวนเราให้ทิ้งจักรยานไว้ที่บ้าน
แล้วออกไปผจญภัยในดินแดนแห่งราชาทีเ่ หมือนหลุดมาจาก นิทานแห่งนี้ ภาพถ่ายและเรื่องราวของซี ตอกย�้ำสถานะ ดินแดนนิทานตื่นนอนได้เป็นอย่างดี เราว่าราชาสถานก�ำลังเปลี่ยนผ่านจาก history สู่ legend จากความจริงไปสู่ความเป็นต�ำนาน และสักวันอีก ไม่นานนัก มันคงเปลี่ยนสถานะไปสู่นิทานปรัมปรา ไม่ต่าง จากเรื่องราวต�ำนานของอัศวินโต๊ะกลม อาหรับราตรี หรือ เทพปกรณัม ได้โดยไม่ยากเย็น เพราะกาลเวลายังคงท�ำหน้าทีข่ องมันอย่างเทีย่ งตรง ส�ำนักพิมพ์อะบุ๊ก
คำ�นำ�ผู้เขียน
ค�ำเตือน : แม้จะมีชื่อว่านิทาน แต่หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นิทาน ส�ำหรับเด็ก และการเอามาอ่านให้ลกู น้อยฟังก่อนนอนน่าจะ ไม่ใช่ความคิดที่ดีสักเท่าไหร่ “กาลครั้ ง หนึ่ ง นานมาแล้ ว ในดิ น แดนทะเลทราย แสนไกลโพ้น...” โดยปกติ หนั ง สื อ นิ ท านทั่ ว ๆ ไปคงเริ่ ม เรื่ อ งด้ ว ย ประโยคแบบนี้ แต่ ราชาสถาน นิทานตื่นนอน เล่มนี้นั้น ไม่เหมือนกับนิทานที่เราคุ้นชินสักเท่าไหร่ แม้ว่าจะมีชื่อเป็น นิทานก็ตาม แต่ไหนแต่ไรผมก็ไม่เคยคิดอยากจะไปอินเดียหรอก ครับ แต่ไอ้สิ่งที่กระตุ้นให้ผมเกิดอยากจะไปนั้น มันกลับเป็น เพราะหนังเรื่อง The Fall ที่มีโลเคชันถ่ายท�ำเป็นเมืองและ สิ่งก่อสร้างหน้าตาแปลกประหลาดมหัศจรรย์ราวกับอยู่ใน นิทาน ด้วยความอยากไปเห็นด้วยตาตัวเอง ผมจึงได้ยอม กลัน้ ใจ (รวมไปถึงกลัน้ ลมหายใจ) ออกเดินทางไปยังรัฐราชาสถานเพื่อตามหาดินแดนที่เห็นมาจากหนังเรื่องนี้ ซึ่งพอไปถึงที่ก็ท�ำให้ผมรู้ว่าเมืองและสิ่งก่อสร้างที่ เหมือนอยู่ในนิทานเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่แค่ในหนังอย่างเดียว
ผมได้พบเจอทั้งเมืองสีชมพู เมืองสีฟ้า เมืองสีทอง บ่อน�้ำ อิ น เซปชั น เขาวงกตยั ก ษ์ สี เ หลื อ ง ทะเลสาบศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ไปจนถึงโอเอซิสกลางทะเลทราย ซึ่งแค่สถานที่เหล่านี้ก็ว่า น่ามหัศจรรย์แล้ว แต่เหล่าผู้คนที่พบเจอตลอดทางนั้นก็สนุก และมหัศจรรย์ไม่แพ้สถานที่สักเท่าไหร่ ซึง่ ถ้าการเดินทางไปราชาสถานเพือ่ ไปเห็นด้วยตานัน้ มั น ยากเกิ น ไปส� ำ หรั บ คุ ณ ทางที่ ง ่ า ยกว่ า นั้ น ก็ คื อ พลิ ก หน้ากระดาษต่อจากนี้ไปได้เลยครับ ก็คงถึงเวลาแล้วทีผ่ มจะต้องขอกล่าวเปิดสักหน่อยว่า “กาลครั้ ง หนึ่ ง นานมาแล้ ว ในดิ น แดนทะเลทราย แสนไกลโพ้น...” ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข
01 ไปทำ�อะไร
“จะไปท�ำห่าอะไร ไม่มีที่อื่นจะไปแล้วหรือไงวะ” ผมมักจะพูดเล่นแบบนี้เสมอ เวลาเพื่อนสักคนบอก ว่าจะไปเที่ยวอินเดีย ก็อย่างที่เราได้ยินได้เห็นกันมา อินเดีย เป็นประเทศที่ดูไร้ระบบ สกปรก และน่าสะพรึงกลัว ถ้ามีใคร สักคนบอกว่าจะไปอินเดีย มันก็ชวนให้ผมต้องถามจริงๆ อันทีจ่ ริงตัวผมนัน้ ค่อนข้างใกล้ชดิ กับอินเดียและแขก เพราะเกิ ด และเติ บโตมาในย่านวัดแขกแถวสีล ม ซึ่ งเป็ น แหล่งที่รวมเอาแขกหลากหลายชาติพันธุ์มาไว้ด้วยกัน ทั้ง แขกอินเดีย แขกซิกข์โพกหัว แขกศรีลังกา แขกพม่าและ โรฮีนจา แขกอัฟกันทีม่ าเปิดร้านขายหินสีและลูกปัดหินในยุค ที่หินสีไม่เคยให้โชคลาภอย่างทุกวันนี้ และมีอีกมากมาย หลายเผ่าพันธุ์แขกที่ไม่เคยเชื้อเชิญผมให้ไปเป็นแขกในร้าน หรือบ้านของเขา ตอนเด็กๆ เพื่อนที่ขี่จักรยานเล่นด้วยกันก็ เป็นแขกในซอยข้างบ้านนั่นเอง 10
ผมก็ไม่รู้ว่าไอ้ประโยคคลาสสิกที่ว่าเจองูกับเจอแขก ให้ตีแขกก่อนเนี่ย มันมีประเด็นอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า เพราะผมก็ เ ห็ น แขกมาตั้ ง แต่ เ ด็ ก ๆ แย่ ง ขนมมั น กิ น บ้ า ง โดนมันแย่งขนมกลับบ้าง ถ้าไม่นับกลิ่นตัวที่ท�ำร้ายเราโดย ไม่ได้ตั้งใจแล้ว ผมก็ไม่เห็นว่าแขกจะน่ากลัวกว่างูตรงไหน ผมเคยชินกับการเห็นพี่แขกเหล่านี้วนเวียนอยู่ใน ชีวิตประจ�ำวันมาตลอดตั้งแต่เด็กจนโต แน่นอนว่ามันท�ำให้ ผมไม่รู้สึกอยากไปเที่ยวอินเดียเลยสักครั้ง ก็จะไปท�ำไมล่ะ เดิ น ไปกิ น ข้ า วแถวบ้ า นก็ เ หมื อ นหลุ ด ไปอยู ่ อิ น เดี ย แล้ ว จะเปลืองเงินเดินทางไปดูของที่เห็นได้ใกล้ๆ บ้านท�ำไม เวลาผ่านมาจนถึงสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ผมเข้าเรียน คณะที่เกี่ยวกับการออกแบบ สิ่งที่ต้องท�ำอยู่เป็นประจ�ำ นอกจากการท� ำ งานส่ ง ถึ ง ดึ ก ดื่ น ก็ คื อ การเปิ ด หนั ง สื อ ใน ห้ อ งสมุ ด ดู รู ป อาคาร สถาปั ต ยกรรมสวยๆ จ� ำ พวกการ ออกแบบพืน้ ทีห่ รือสเปซล�ำ้ ๆ น่าตืน่ ตาตืน่ ใจ หรือแม้แต่เมือง ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากที่ที่เราอยู่ เพื่อเอาไอเดียมาใช้ ในการท�ำงาน ซึ่งพอศึกษามากเข้ามันก็ท�ำให้ผมใฝ่ฝันว่า วันนึงจะไปดูสถานที่สวยล�้ำแบบนั้นด้วยตาของตัวเองให้ได้ ตัดภาพมา พอเรียนจบและเริ่มต้นท�ำงาน ผมก็เริ่ม ท�ำตามความฝันสมัยเรียนของตัวเอง ด้วยการออกเดินทาง ไปดูบ้านเมืองและสถาปัตยกรรมของโลกภายนอกบ้างเท่าที่ สายการบินโลว์คอสต์จะอ�ำนวยจัดตัว๋ โปรฯ มาให้ ซึง่ ส่วนมาก ก็เป็นประเทศเพือ่ นบ้านแถบเออีซขี องเราเป็นส่วนใหญ่ แหม เงินเดือนเด็กจบใหม่น่ะคุณ มันจะไปได้ไกลแค่ไหนกันเชียว 11
พอยิ่งไปเห็นมากๆ เข้าก็ยิ่งชอบและรักการได้เห็น เมืองที่ก�ำลังพัฒนา ผมมองว่าประเทศเจริญแล้วทั้งหลาย เนี่ย มันไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่หรอก ผมเคยดูรายการ สารคดีที่พาเราเดินทางย้อนรอยการเสด็จประภาสยุโรปของ รัชกาลที่ 5 แล้วเอาภาพเมืองยุโรปในปัจจุบันมาเทียบกับ เมืองยุโรปสมัยก่อน ปรากฏว่าหน้าตามันแทบจะเหมือนเดิม เลย ในขณะที่เมืองก�ำลังพัฒนานี่แหละที่เปลี่ยนแปลงกัน รวดเร็วและตลอดเวลา ราวกับเป็นเข็มวินาทีบนหน้าปัดนาฬิกา ที่เดินอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เรียกว่าผมชอบและเสพติดการเที่ยวในเมืองก�ำลัง พัฒนาก็คงพอได้ แม้จะท�ำงานเก็บเงินสลับกับไปเที่ยวอยู่นานหลายปี จากที่เป็นเด็กจบใหม่ทุกวันนี้เริ่มไม่ได้เรียกใครในออฟฟิศ ว่าพี่แล้ว แต่อินเดียก็ยังไม่เคยเป็นจุดหมายของผม ก็อย่าง ที่ว่า จะเสียเงินไปดูของที่มีให้ดูแถวบ้านท�ำไมกัน แต่ดวงคนมันจะได้ไปอินเดีย อะไรก็คงมาหยุดไม่ได้ ตอนหัวค�่ำของวันหนึ่ง หลังจากกินข้าวเย็นเสร็จ ผมก็มา นัง่ เล่นดูทวี เี รือ่ ยเปือ่ ยฆ่าเวลา มือทีห่ ยิบรีโมตก็กดเปลีย่ นช่อง วนไปเรื่อยๆ เพราะจ�ำช่องทีวีไม่ได้ ตอนนั้นคิดว่าถ้าเปิดไป เจอสารคดีสกั เรือ่ งก็คงจะโอเค แต่ปรากฏว่านิว้ ทีก่ ำ� ลังกดรีโมต กลับหยุดชะงักเมื่อเปิดผ่านไปเจอหนังเรื่องหนึ่ง ภาพในที วี ต รงหน้ า ช่ า งชวนให้ ต กตะลึ ง มั น เป็ น สถานที่ ที่ ผ มไม่ คิ ด ว่ า จะมี อ ยู ่ บ นโลกนี้ มั น ช่ า งแฟนตาซี หลุดโลก โคตรล�้ำจินตนาการ จากที่หยุดดูแค่ไม่กี่วิฯ ผมวาง 12
รีโมตลง ดูไปเรื่อยๆ คอยเอาใจช่วยเหล่าพรรคพวกของ จอมโจรหน้ า กากที่ต ่างก็ต กเป็น เหยื่อ ความโหดร้ า ยของ ข้าหลวงโอเดียส ตัวร้ายของเรือ่ ง ทัง้ หมดรวมตัวกันเพือ่ ออก ตามหาโอเดียสหมายจะล้างแค้น ซึ่งเหตุการณ์การตามหา ตัวข้าหลวงผู้โหดร้ายนั้น ถ่ายทอดผ่านโลเคชันที่งดงาม เหมือนหลุดมาจากนิทาน เช่น เขาวงกตสีเหลืองใหญ่ยักษ์ ป้อมปราการขัน้ บันไดทีเ่ รียงกันไปไม่รจู้ บ ป้อมปราการกลาง เมืองสีฟ้า มหาวิหารในเมืองสีชมพู ทะเลทรายกว้างใหญ่ ทะเลสาบสี เ ข้ ม ท่ า มกลางทะเลทราย และอี ก มากมาย หลายโลเคชัน รู้สึกตัวอีกทีผมก็นั่งนิ่งดูเอนด์เครดิตเลื่อนขึ้นมาบน ฉากหลังสีด�ำเป็นที่เรียบร้อย มันคือ The Fall ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดของผู้ก�ำกับ ชาวอินเดีย ทาร์เซม สิงห์ (Tarsem Singh) มีผลงานก�ำกับ อยู่หลายเรื่องทั้งเรื่องนี้และหนังที่มีภาพใกล้เคียงกันอย่าง The Cell ซึ่งจริงๆ ก็เป็นหนังที่ผมเคยดูมาแล้วตั้งแต่สมัย ยังเรียนมหา’ลัย นานมากซะจนลืมไปแล้วว่าเคยดู หนั ง จบ แต่ ค นดู ดั น ไม่ ย อมจบ คื น นั้ น กลั บ กลาย เป็นว่าผมไม่ยอมนอน เพราะภาพในหนังมันค้างคาในหัว อยู่ตลอด มันมีสถานที่แบบนี้อยู่บนโลกจริงๆ เหรอวะ ด้วยความสงสัย ผมรีบเข้ากูเกิลหาข้อมูลสถานที ่ ถ่ายท�ำของหนังเรื่องนี้ซะ ในใจภาวนาให้พบว่าผู้ก�ำกับใช้ เทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกใส่ไปในฉากเยอะๆ จะได้สบายใจ 13
ว่าภาพมันสวยเพราะสร้างขึ้นมา ผมจะได้เข้านอนอย่าง สงบสุข แต่พอค้นไปค้นมาก็พบว่าสถานที่หลักที่ใช้ถ่ายท�ำ นั้นอยู่ในรัฐราชาสถาน ประเทศอินเดีย โดยแต่ละโลเคชัน นั้นแทบไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกตกแต่งอะไรเพิ่มเลย แค่กนั คนออกจากพืน้ ที่ หรือถ้าท�ำซีจกี ใ็ ส่นดิ เดียวเท่านัน้ เอง ภาพในหนังไม่วา่ จะเป็นบ่อน�ำ้ ทีม่ บี นั ไดเรียงกันไม่จบ ไม่สิ้น ตึกโค้งรูปครึ่งวงกลมขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล เมืองสีฟ้า เมืองสีชมพู เมืองสีทอง ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์กลาง ทะเลทราย ป้อมปราการบนยอดเขากลางเมือง สถานที่จาก เรื่องเล่าของนิทานในหนัง The Fall เหล่านี้มันมีอยู่จริงๆ และอยู่ที่อินเดีย! สิง่ ทีโ่ ผล่ขนึ้ มาในหัวผมทันทีกค็ อื เห้ย ท�ำไมมันไม่เห็น จะเหมือนย่านแขกแถวๆ บ้านกูเลยวะ ผมนึกว่าหน้าตา และสถาปั ต ยกรรมแบบวั ด แขกคื อ ทุ ก สิ่ ง ของอิ น เดี ย แล้ ว ทั้งประเทศคงหน้าตาประมาณนี้แหละ อ้อ มีหน้าตาแบบ ทัชมาฮาลอีกอย่างไม่เกินนี้ แต่กลายเป็นว่าบ้านเมืองอินเดีย แบบราชาสถานมันช่างต่างกับภาพอินเดียในหัวผมราวฟ้า กับเหว ผมรู้สึกเลยว่าอยากไปเห็นด้วยตาตัวเองให้ได้ ติดก็ ตรงที่มันเป็นอินเดียนี่แหละที่ท�ำให้ความอยากมันฝ่อไป หลังจากคืนนัน้ เป็นต้นมา ราชาสถานก็วนเวียนตกค้าง อยู่ในหัวของผมตลอดเวลาไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน แม้ผ่านไปหลายวันหลายสัปดาห์ก็ยังไม่ยอมจางหาย 14
อะ ไหนๆ ก็ไม่ยอมออกจากหัวแล้ว ประกอบกับอายุ ทีเ่ ริม่ ขึน้ เลขสาม ผมกลัวว่าถ้าไม่ไปตอนนีอ้ กี เดีย๋ วเราอาจจะ เริ่มแก่ เริ่มเสพติดความสบาย และอาจจะไม่คิดไปอีกเลย ก็ได้ มันอาจจะถึงเวลาต้องออกไปผจญภัยตามหาสถานที ่ เซอร์ เ รี ย ลในโลกนิทานเหล่านี้ใ ห้เ ห็น ด้วยตาตั ว เองสั ก ที แล้วล่ะ ผมคิดเข้าข้างตัวเองว่าอย่างน้อยเราก็โตมาแถววัดแขก มีภมู คิ มุ้ กันมาตัง้ แต่เด็กๆ เราคงเอาชนะภัยอันตรายทีอ่ นิ เดีย ได้ไม่ยากนัก ผมอยากไปอินเดียแล้วครับ และไม่ได้จะไปท�ำห่าอะไร ด้วย แค่จะไปผจญภัยตามหาสถานที่เซอร์เรียลในโลกนิทาน ที่รัฐราชาสถาน รัฐที่ยากจนและแห้งแล้งที่สุดในอินเดีย
15
16
17
02 ครบขา
18
19
ผมว่าความยากที่สุดของการจะก้าวเท้าไปผจญภัย ทีอ่ นิ เดียมันไม่ได้อยูท่ กี่ ารสร้างแรงบันดาลใจให้ตวั เองหรอก มันอยู่ที่การสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่เราจะชวนไปด้วย มากกว่า ซึง่ ถ้าเราแข็งแกร่งพอจะลุยเดีย่ ว ขัน้ ตอนนีก้ ไ็ ม่จำ� เป็น และตัดทิ้งไปได้ แต่ผมตัดไม่ได้ไง เพราะเหยื่ อ คนแรกที่ โ ผล่ เ ข้ า มาในหั ว ก็ ไ ม่ ใ ช่ ใ คร ที่ไหน-โบว์ แฟนผมเอง การจะชวนผู้หญิงสักคนไปเที่ยวอินเดียนี่มันเหมือน ภารกิจจารชนมิสชันอิมพอสซิเบิลเลยนะ ทั้งเรื่องห้องน�้ำ การเดินทางขึ้นรถลงเรือ อาหารการกิน กลิ่นตัวคน ไม่มีท่ี ช้อปปิ้ง โอ๊ย สารพัด แล้วยิ่งเป็นแฟนกันด้วยอีก มันน่าจะ ยากมากๆ 20
แต่ คื น นั้ น โบว์ ก็ นั่ ง ดู ห นั ง อยู ่ ด ้ ว ยกั น (พู ด ตามตรง ผมไปนั่ ง ดู ที วี อ ยู ่ ที่ บ ้ า นโบว์ นี่ แ หละ เพราะบ้ า นผมไม่ ม ี เคเบิ ล ที วี แหม่ . ..โชว์ จ น) แถมอิ น กั บ หนั ง ไม่ แ พ้ ผ มเลย ท�ำให้การหลอกเหยื่อรายแรกไปร่วมตกระก�ำล�ำบากด้วยกัน ที่ ร าชาสถานนั้ น เป็ น ไปด้ ว ยดี โบว์ ต กปากรั บ ค� ำ ไปด้ ว ย เรียบร้อย และเพือ่ ป้องกันไม่ให้บพุ การีเครียดด้วยความเป็นห่วง ผมเลยตัดสินใจบอกทั้งคู่ว่าจะไปอินเดียเอาตอนคืนก่อน ออกเดินทาง แกจะได้ไม่เครียดกัน (เพราะไม่รู้) หรือถ้า เครียดก็จะได้เครียดแค่ชว่ งสัน้ ๆ แหม่ ผมนีป่ ระทับใจในความ ชวนป๋วยปี่แปกอของตัวเองซะจริง หลั ง จากที่ โ บว์ ต กลงไปด้ ว ย ผมก็ เ ริ่ ม หาข้ อ มู ล การเดินทางในราชาสถาน หาสถานที่ที่ถ่ายท�ำหนังแต่ละซีน เอามาติดดาวบนกูเกิลแมพส์จนครบ ก่อนจะพบว่าแต่ละแห่ง ไกลกันมาก เดินทางก็ยาก เพราะราชาสถานเป็นรัฐทีย่ ากจน ห่างไกลค�ำว่าเจริญอยู่หลายล้านปีแสง การคมนาคมเลย ไม่คอ่ ยครอบคลุม รถไฟทีด่ ไู ว้ใจได้มากทีส่ ดุ ยังดีเลย์หนักกว่า รถไฟไทยอีก คนเดินทางก็เยอะ ตั๋วก็หาซื้อยาก ถ้าคิดจะนั่ง แต่รถไฟอย่างเดียว สงสัยต้องลางานไม่ตำ�่ กว่า 1 เดือนถึงจะ ไปครบ หรือจะใช้รถบัสมันก็ไปได้ไม่ครบทุกที่เช่นกัน ท�ำให้ นักท่องเที่ยวส่วนมากมักจะใช้บริการรถแท็กซี่แทน ผมเลย คิดการใหญ่วา่ ถ้าเหมารถแท็กซีซ่ ะเลยน่าจะง่ายและสมฐานะ เศรษฐีใหญ่จากบางขุนนนท์อย่างเรามากกว่า 21
และด้วยความที่แท็กซี่นั้นนั่งได้ 4 คนสบายๆ ผม เลยเกิดความคิดขึน้ มาว่า ถ้าเราหาเหยือ่ ...เอ้ย! คนมาร่วมทริป ได้อีก 2 คน เราก็จะใช้แท็กซี่เดินทางได้สบายตัว แถมยัง สบายกระเป๋าตังค์อีกด้วย แต่เอาจริงๆ มันไม่ง่ายเลยในยุคที่ชวนคนไปญี่ปุ่น ง่ายกว่าไปเชียงใหม่นี้ ผมเริ่มต้นด้วยการถามเพื่อนที่สนิทๆ ก่อน เล็งเอาจากคนที่เคยเปรยๆ ว่าอยากไปเที่ยวด้วยกัน และพวกที่ดูลุยๆ หน่อย มีแววว่าน่าจะชอบไปผจญภัย ค�ำตอบที่ได้คือ... “อะไรของมึง” (ก็ไหนเคยบอกให้ชวน...) “ไม่มีที่อื่นที่ดีกว่านี้ไปแล้วเรอะ” (ก็ไม่เคยไป รู้ได้ไง ว่ามันไม่ดี) “อยากไปญี่ปุ่นมากกว่า” (นั่น...) และที่คลาสสิกสุดคือถามกลับมาว่า “มึงไปท�ำห่าอะไรที่อินเดีย” (ไปผจญภัยครับ...สัส) พอโดนปฏิเสธหลายครั้งเข้า จนสถานะทางสังคม แทบลดลงไปอยูร่ ะดับเดียวกับเซลส์แมนขายตรง ผมเลยลอง หาเหยื่อด้วยวิธีอื่นมั่ง โดยการไปหารูปราชาสถานสวยๆ มา โพสต์ล่อในโซเชียลทุกวัน รอให้มีเหยื่อสนใจหลงมากินเบ็ด แล้วค่อยเข้าไปจูโ่ จมสาธยายความพิเศษของราชาสถานและ จบด้วยการชวนไปร่วมทริป หลังจากวางเหยือ่ อยูเ่ กือบเดือน ทุกอย่างกลับเงียบมากจนเราแทบจะถอดใจ แต่เหมือนฟ้าจะยังมีตา เพราะจูๆ ่ ก็มขี า่ วดีวา ่ พีส่ าม และรณ เพื่อนร่วมงานที่ออฟฟิศของโบว์โทรมาหา บอกว่า 22
อยากไปอินเดียอยูเ่ หมือนกันแต่ไม่กล้าไปกันแค่สองคน และ ที่โทรมาก็ไม่ได้เกี่ยวกับรูปเหยื่อของเราเลยแม้แต่นิดเดียว (อ้าว...) เรียกว่าเป็นเหยื่อที่วิ่งมาชนปังตอเองเลยโดยที่เรา ไม่ตอ้ งท�ำอะไรทัง้ นัน้ เราเลยนัดคุยกันเล่ารายละเอียดให้ฟงั คร่าวๆ และตัดสินใจกันว่าจะไปช่วงปลายปี เพราะอากาศดี เย็นสบาย กลิ่นตัวพี่แขกบางเบา แค่มคี นไปร่วมทริปครบขา แม้จะยังไม่ได้เตรียมตัวซือ้ ตั๋วเครื่องบิน ขอวีซ่า แต่ก็ท�ำให้รู้สึกว่าราชาสถานอยู่ใกล้ตัว เรามากแล้วล่ะ
23
03 ก้าวแรกสู่ราชาสถาน
24
25
และแล้วก็ถึงวันเดินทาง เราเริ่มทริปกันตอนหัวค�่ำ หลังเลิกงาน ด้วยความที่เป็นไฟลต์ราคาถูกเราเลยต้องบิน ตอนหัวค�่ำไปถึงนิวเดลีตอนเที่ยงคืน ผมนัดเจอพี่สามกับรณ ทีส่ นามบิน และนัดโบว์ทแี่ อร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพือ่ ขึน้ รถไฟฟ้า ไปสนามบินด้วยกัน ซึง่ ก็ตอ้ งขอบคุณแอร์พอร์ต เรล ลิงก์มาก ที่มอบประสบการณ์เบียดเสียดยัดเยียดในรถไฟให้เราได้ ซ้อมใหญ่กันก่อนจะไปเจอของจริงที่อินเดีย รู้สึกเหมือน ตัวเราเป็นแขกทีต่ อ้ งหนีความแน่นของรถไฟชัน้ สามขึน้ ไปนัง่ บนหลังคายังไงยังงั้น แออัดจนพลังหายไปเกือบหมดหลอด ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ก้าวเท้าออกนอกประเทศเลยด้วยซ�้ำ เมือ่ ถึงสนามบิน ผมกับโบว์กร็ วมตัวกับพีส่ ามและรณ แล้วไปยืนรอต่อคิวที่เคาน์เตอร์เช็กอิน เราสงสัยเล็กๆ ว่า ไอ้ตั๋วเศษกระดาษที่อยู่ในมือนี่มันใช้ขึ้นเครื่องได้จริงเหรอวะ 26
ที่มาของไอ้ตั๋วเศษกระดาษอันนี้ก็คือ หลังจากเรา หาเหยื่ อ มาร่ ว มทริ ป และร่ ว มหารค่ า ใช้ จ ่ า ยได้ แ ล้ ว สิ่ ง ที่ สนุกที่สุดในการท่องเที่ยวก็เริ่มต้นขึ้น นั่นคือการวางแผน การเดินทาง ปกติเวลาไปเที่ยวเราก็แค่ตั้งเป้าหมายว่าจะไปไหน แล้วค่อยเลือกวิธีไป ที่พักที่นอน ที่แวะที่เที่ยว แล้วค่อย วางเส้นทางไป แต่คราวนี้ด้วยความที่เราอยากไปดูเมือง ตามที่เห็นในหนัง ผมกับโบว์เลยไปหาซื้อแผ่นหนัง The Fall มาเทียบดูโลเคชันแบบฉากต่อฉาก แล้วค่อยมาดูว่ามันอยู่ ตรงไหนในแผนที่ นับว่าเป็นการหาสถานที่เที่ยวที่เสียเวลา มาก (ฮ่าๆ) เราพบว่ามีหลายเมืองในราชาสถานที่น่าสนใจ แต่ ด้วยวันลาที่จ�ำกัดท�ำให้เราต้องหั่นบางที่ทิ้งไป จนได้ข้อสรุป ว่าเราจะเริ่มการเดินทางที่นิวเดลี ก่อนจะนั่งรถตระเวนไป ตามเมืองต่างๆ เริ่มด้วยชัยปุระ (หรือจัยปูร์ - Jaipur) เมือง สีชมพู, พุชการ์ (Pushkar) เมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งทะเลทราย, อุทยั ปุระ (หรืออุดยั ปูร์ - Udaipur) เมืองทะเลสาบ, ชัยสัลเมระ (หรือจัยซัลแมร์ - Jaisalmer) เมืองสีทอง ก่อนไปจบทริปที่ โยธปุระ (หรือจ๊อดปูร์ - Jodhpur) เมืองสีฟ้า และเราจะนั่ง เครื่องภายในประเทศกลับมานิวเดลีก่อนต่อเครื่องกลับไทย ในวันสุดท้าย หลังจากได้แผนการเดินทางคร่าวๆ แล้ว ก็มาถึงเรื่อง ที่ท้าทายที่สุดในการเดินทางของยุคสมัยนี้ เพราะล�ำพัง แค่การได้ไปเที่ยวหรือการเที่ยวที่แปลกๆ ไม่เหมือนคนอื่น 27
มันยังไม่สามารถสร้างทีย่ นื ในสังคมโซเชียลได้มากเท่ากับการ ได้ตั๋วเครื่องบินราคาถูก ในยุคทีส่ ายการบินโลว์คอสต์เบ่งบานยิง่ กว่าดอกเห็ดนี้ การซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูกสุดได้ทันถือเป็นเกียรติยศสูงสุด ในชีวิต ยิ่งถ้าซื้อได้ราคาถูกระดับเดียวกับรถทัวร์หรือรถไฟ ชั้นสามนี่ยิ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจที่คุยไปได้อีกหลายปี จนกว่าจะมีโปรฯ ที่ถูกกว่าออกมา แต่การวางแผนล่วงหน้าหลายเดือนท�ำให้การจอง ตั๋วเครื่องบินเป็นเรื่องล�ำบาก เพราะไฟลต์ของสายการบิน โลว์คอสต์หลายแห่งยังไม่มี ยิ่งเราปิดทริปด้วยการนั่งเครื่อง ในประเทศกลับมานิวเดลี ยิ่งท�ำให้ต้องจองตั๋วอย่างละเอียด รอบคอบที่สุด การหาไฟลต์บนิ ในเว็บไซต์หาสายการบินราคาถูกนัน้ เรียกได้ว่าเก่งมาจากไหน ก็แพ้หัวใจอย่างเธอไปเลย เพราะ มันหาได้แค่ไฟลต์จากกรุงเทพฯ ไปนิวเดลีเท่านั้น ส่วนไฟลต์ ภายในประเทศของอินเดียนั้นหาแทบไม่ได้ หรือหาได้ก็แพง พอๆ กับไฟลต์ระหว่างประเทศเลย แม้จะเปลี่ยนไปหากี่เว็บ ก็ประสบชะตากรรมเดียวกันหมด ข้อมูลในเว็บไซต์หลายแห่งบอกเราว่า ถ้าอยากได้ตั๋ว ภายในประเทศถูกๆ เราต้องซือ้ พร้อมไฟลต์บนิ จากกรุงเทพฯ ไปด้วยสายการบินเดียวกัน เพราะแทบทุกสายการบินใน อินเดียจะมีโปรโมชันลดครึ่งราคาให้กับผู้โดยสารที่ซื้อไฟลต์ อินเตอร์เนชันแนล โอเค รู้แบบนี้ก็ง่ายขึ้น เราเลยมุ่งตรงไปที่เว็บของสายการบินอินเดียมันเลย 28
ไม่ต้องผ่านไอ้เว็บนายหน้าหาตั๋วถูกแล้ว ผมคิดในใจว่า ก็แค่นเี้ อง เที่ยวอินเดียเองนั้นแสนง่ายดาย ภาพตัดมา ผมนั่งช็อกหน้าซีดอยู่หน้าคอมที่บ้าน ไฟลต์มี เวลาก็โอเค แต่ราคาที่แสดงขึ้นมาบนหน้าจอนั้นคือ หลายหมื่นบาทต่อคน... เชีย่ นีก่ พู มิ พ์ชอื่ ปลายทางผิดเป็นอเมริกาเหรอ เลือ่ น ขึน้ ไปดูกพ็ บว่าพิมพ์ถกู แล้วนีห่ ว่า เลยลองเช็กเส้นทางดู ก็พบ ว่าที่แพงขนาดนี้เพราะเราสามารถแวะพักได้ 3 ที่ก่อนจะถึง นิวเดลี ผมลองค้นหาใหม่อีกหลายครั้งก็ล้มเหลวทุกครั้งไป ไม่ว่าจะกดแบบไหน ผ่านบราวเซอร์อะไร หรือกดด้วยท่า พิสดารแค่ไหนมันก็กลับมาทีร่ าคาเดิมพร้อมกับสามสีท่ รานซิต นี่แหละ ความภาคภูมิใจเรื่องการเดินทางด้วยตัวเองมลาย หายสิ้นไป เราควรให้แขกจัดการเรื่องภายในของแขกเอง ดีกว่า ผมเลยหันหน้าไปพึ่งเอเจนซี่ตั๋วเครื่องบินอินเดียที ่ ตั้งอยู่แถวบ้านดู ผมเดินเข้ามาในร้านเจอพี่มโนฮาร์ แขกหน้าตาดี เจ้าของร้านส่ายหน้าให้ก่อนส่งยิ้มพิมพ์ใจมา เราทักทายแก ก่ อ นจะบอกความต้ อ งการของเราไป รวมถึ ง เงื่ อ นไขว่ า ต้องการตัว๋ ในประเทศด้วย แกส่ายหน้าหนึง่ ทีกอ่ นจะบอกเรา ว่าโอเคไม่มีปัญหา (อืม ไม่ว่ายังไงก็ไม่ชินกับภาษากายที ่ ส่ายหน้าแปลว่าโอเคของชาวอินเดียจริงๆ) หลังจากพี่มโนฮาร์ใช้นิ้วบรรจงละเลงไปบนคีย์บอร์ด สักพัก แกก็หนั มาบอกเราว่า ได้ตวั๋ แล้ว ตรงตามทีเ่ ราต้องการ 29
ทุกอย่าง ทั้งตั๋วจากกรุงเทพฯ ไปนิวเดลี ตั๋วในประเทศจาก โยธปุระกลับมานิวเดลี และตั๋วจากนิวเดลีกลับมากรุงเทพฯ เราได้ทงั้ หมดนีใ้ นราคาทีถ่ กู กว่าตัว๋ เทีย่ วเดียวทีห่ ากันแทบตาย ในอินเทอร์เน็ตซะอีก แค่นเี้ ราก็นบั ว่าเจ๋งแล้ว แต่ความเจ๋งของพีแ่ กยังไม่จบ คือแกหันมาบอกเราอีกว่า ตอนนี้แกสามารถจองตั๋วให้เรา ได้เลยนะ เอ่อ แต่ตอนนี้เรายังไม่มีเงินนะครับ คือกะจะมา ดู ร าคาก่ อ น รอเงิ น เดื อ นออกค่ อ ยมาจ่ า ยเงิ น จองจริ ง ๆ อีกที แกฟังเราพูดแล้วก็ส่ายหัว ยิ้มหนึ่งที ก่อนบอกเราว่า ทีน่ สี่ ามารถรอยืนยันใบจองได้ 2 สัปดาห์ ภายใน 2 สัปดาห์นี้ แม้ยงั ไม่ได้จา่ ยเงินแต่ทนี่ งั่ บนไฟลต์กเ็ ป็นของเราแล้ว ถ้าเลย จาก 2 สัปดาห์นี้ไปการจองถึงจะถูกยกเลิก ส่วนเราก็ต้องมา จองใหม่ ซึ่งค่าตั๋วก็อาจจะปรับตัวสูงขึ้นนิดหน่อยนะ พอได้ยินแบบนั้นผมก็เข้าใจทุกอย่าง ว่าท�ำไมตั๋ว เครื่องบินในเว็บมันถึงเต็ม หรือไม่ก็โดนทรานซิต 3 เที่ยว แบบนัน้ กันหมด เพราะตัว๋ เหล่านัน้ น่าจะถูกจองไว้ให้เอเจนซี่ พวกนีก้ อ่ น คือต่อให้เก่งยังไงก็ไม่มที างหาตัว๋ เครือ่ งบินทีเ่ ต็ม อยู่ตลอดเวลาแบบนี้ได้หรอก วันนั้นเราก็ได้ใบจองที่เป็นเศษกระดาษยับเหลือง เปื่อยยุ่ยขนาดเอสี่พร้อมรายละเอียดที่เหมือนเป็นโค้ดลับ ดาวินชีอะไรสักอย่างติดมือกลับบ้านไปด้วย 2 สัปดาห์ต่อมาเราก็กลับมาหาพี่แกอีกทีพร้อมกับ เงินเดือนที่เพิ่งออกในมือ 30
หลังจากจ่ายเงินไปให้พี่มโนฮาร์ แกไม่ลืมส่ายหน้า และยิ้มให้เราอีกทีก่อนจะพิมพ์ตั๋วเครื่องบินออกมาให้เรา ซึ่งสภาพแม่งก็ไม่ได้ต่างกับใบจองเลย คือเป็นกระดาษเอสี่ บางๆ ยุ่ยๆ มีรอยเปื้อนหมึกจางๆ พิมพ์เป็นชื่อเรา และ ตัวหนังสืออีกมากมายทีเ่ หมือนภาษาต่างดาวมากกว่าข้อมูล ตั๋วเครื่องบิน ไม่มีแม้แต่โลโก้สายการบินอะไรทั้งนั้น สิ่งที่พอ อ่านออกได้บนเศษกระดาษนัน้ ก็คอื ค�ำว่า BKK- NEWDELHI และวันเวลาออกเดินทางแค่นั้น เราได้แต่มองสภาพตั๋วยับๆ ด้วยความไม่มั่นใจ และตอนนี้ก็ได้เวลาลองใช้แล้วว่าไอ้ตั๋วนี่ใช้ข้ึนเครื่อง ได้จริงหรือเปล่า พอถึงคิว ผมก็เดินไปยื่นตั๋วเครื่องบินแสนยู่ยี่และ พาสปอร์ ต ให้ พ นั ก งานที่ เ คาน์ เ ตอร์ พร้ อ มกั บ ใจที่ เ ต้ น ตุ๊มๆ ต่อมๆ พนักงานรับเอกสารไปพิมพ์ๆ กดๆ ลงในคอม ตรงหน้า มันใช้ขนึ้ เครือ่ งได้จริงๆ! บอร์ดงิ้ พาสของเราถูกทยอย พรินต์ออกมาจนครบ เย้ ทริปเริ่มต้นอย่างเป็นทางการแล้ว บรรยากาศแถวเกตนั้ น ท� ำ ให้ เ รารู ้ สึ ก เหมื อ นอยู ่ ที่ อินเดียอย่างเป็นทางการแล้ว ผูโ้ ดยสารทีน่ งั่ อยูแ่ ถวนัน้ เกือบ ทั้งหมดเป็นคนอินเดีย ซึ่งนั่นท�ำให้เราไม่อยากจะสูดอากาศ หายใจเลย ผมควั ก ยาดมไม้ ต ายขึ้ น มาใช้ ตั้ ง แต่ ยั ง อยู ่ ใ น พรมแดนประเทศตัวเอง นับเป็นความพ่ายแพ้อย่างแท้จริง ในใจก็คดิ ว่าเอาแล้วไง แค่รอขึน้ เครือ่ งยังขนาดนี้ ถ้าไปถึงที่ จะขนาดไหน ต้องเสียบยาดมไว้สองรูจมูกเลยหรือเปล่า 31
นั่ ง นอยด์ รับ ประทานสูดยาดมไปสักพักก็มีป ระกาศเรี ย ก ขึ้นเครื่อง ไอ้การอยู่ด้วยกันในพื้นที่เปิดอย่างตรงหน้าเกตก็ นับว่าสาหัสแล้ว แต่พอมาอยู่ในพื้นที่ปิดอย่างบนเครื่องเนี่ย มันเหมือนหนังคนละม้วนเลย กลิ่นตัวของแขกแต่ละคน ฟุ ้ ง กระจายควบรวมอยู ่ ภ ายใต้ ฝ ้ า เตี้ ย ๆ แถมแอร์ ก็ ช ่ ว ย พั ด กลิ่ น ให้ ค ลุ ้ ง กระจายหมุ น วนไปในห้ อ งโดยสารอย่ า ง เท่าเทียม ไม่น่าเชื่อว่าแค่กลิ่นตัวก็สามารถท�ำให้เราเวียนหัว ได้แล้ว ฉิบหายละ ยาดมไม้ตายก็ใช้ไปแล้ว ไม่เหลืออะไร ให้ใช้แล้ว! ผมพยายามข่ ม ตาหลั บ เพื่ อ หนี จ ากสถานการณ์ ท ี่ เป็นอยู่ จนเกือบจะหลับอยูแ่ ล้วเชียว ก็ดนั มีมอื ของแอร์โฮสเตส สะกิดเรียกให้ตื่นขึ้นมารับอาหารเย็นอย่างไม่ไยดี ผมปฏิเสธ ก็แล้ว แต่เธอไม่สนใจ วันที่ไม่ใช่วันของเรานี่มันไม่ใช่วันของ เราจริงๆ “ชิกเก้น ออร์ เวจเทเบิล?” แอร์โฮสเตสสาวร่างท้วม ถามผมที่ก�ำลังงัวเงีย ผมเลือกไก่ ส่วนโบว์เลือกผัก ก็ไม่รู้จะถามไปท�ำไม ในเมื่อหน้าตาของในถาดมันก็ เหมือนกัน อาหารทีเ่ สิรฟ์ มาทัง้ สองจานเป็นแกงเขละๆ สีเขียวๆ พร้อมโรตี 1 แผ่น และข้าวอินเดียเม็ดเรียวที่ร่วนแสนร่วน 1 จาน ส่วนรสชาตินั้นเรียกได้ว่าไม่เหมือนอะไรที่ผมเคยกิน มาก่อนเลย และนึกไม่ออกด้วยว่าองค์ประกอบอาหารใน 32
จานนี้มีอะไรบ้าง แต่ที่พีกกว่านั้นคือกลิ่นอาหารได้ลอยไป หลอมรวมเข้ากับกลิน่ ตัวพีแ่ ขกทีต่ กค้างอยูก่ อ่ นหน้า เกิดเป็น สารเคมีอนั ตรายทีพ่ ร้อมคร่าชีวติ ในห้องโดยสาร อย่างน้อยๆ ก็ผมคนนึงล่ะ สิ่งที่เราพอท�ำได้คือ กินอาหารตรงหน้าตาม มารยาท (คือสองสามค�ำ) ควักยาดมมาโปะอัดให้เต็มรูจมูก ก่อนจะเอาผ้าห่มคลุมหัวและพยายามข่มตาให้หลับไปซะ ภายใต้ความมืดของผ้าห่มนัน้ มีนำ�้ ตาบางๆ ของผม ไหลออกมาด้วยความคิดว่า นี่กูมาท�ำอะไรที่นี่... ผมหลับไปตอนไหนไม่รู้ มารู้สึกตัวตื่นอีกทีก็ได้ยิน เสียงสัญญาณให้รดั เข็มขัด ในทีส่ ดุ ของจริงก็มาแล้วสินะ ทันที ที่กัปตันเอาเครื่องลงจอดเทียบท่าฯ พริบตาเดียวผู้โดยสาร เกือบทั้งล�ำก็หายไป เหลือทิ้งไว้เพียงพวกเรา นักท่องเที่ยว ชาวไทยและชาติอื่นๆ อีกไม่กี่คน พวกเราค่อยๆ ลุกหยิบ กระเป๋ า ลงจากเครื่ อ ง กว่ า ทุ ก คนจะผ่ า นศุ ล กากรมาถึ ง ทางออกสนามบินได้ก็ปาเข้าไปเที่ยงคืนกว่าๆ แล้ว สภาพหน้าทางออกสนามบินนิวเดลีตอนนีเ้ รียกได้วา่ เหมือนอยู่ในหนังซอมบี้ แม้อาคารจะใหญ่โต แต่เวลาก็ ดึกมากแล้ว เราเลยไม่เห็นสิ่งมีชีวิตอยู่ด้านนอกเลยแม้แต่ คนเดียว ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะที่นี่มีกฎว่าคนที่จะเข้ามา ในสนามบินได้ต้องเป็นผู้โดยสารที่จะเดินทางเท่านั้น เหล่า ญาติพี่น้องห้ามมาส่งข้างใน เลยท�ำให้รอบๆ สนามบินมีแค่ คนที่จะออกเดินทาง คนที่เพิ่งเดินทางมาถึง และแท็กซี่ที่มา ยืนรอรับคน หลังจากท�ำธุระส่วนตัว แลกเงิน ซื้อซิมกัน เรียบร้อย เราก็เดินออกมาหารถไปโรงแรมที่จองไว้ 33
สารภาพอย่างไม่อายเลยว่าผมโคตรตื่นเต้น ความ ตืน่ เต้นทีไ่ ด้เดินทางไปยังดินแดนทีไ่ ม่เคยไปแบบนีม้ นั เหมือน สารเสพติดที่จะพาเราออกไปเสพมันอีกเสมอ แต่ส�ำหรับ ที่อินเดียนี่นอกจากความตื่นเต้นแล้วก็มีความหวาดกลัว ปนอยู่ด้วย ทั น ที ที่ เ ราก้ า วพ้ น ประตู ส นามบิ น ปุ ๊ บ แท็ ก ซี่ ที่ ร อ ผู ้ โ ดยสารอยู ่ ก็เ ปลี่ยนร่างเป็น ซอมบี้พุ่ง เข้ามาประชิ ด ตั ว ล้อมเราไว้ ใกล้ชิดจนจมูกได้กลิ่นตัวพี่ๆ เขาชัดเจน นี่ถ้าเป็น ซอมบี้กันจริงๆ กูก็เชื่อนะ กลิ่นเน่าขนาดนี้... และเหล่าซอมบี้ก็เริ่มแย่งกันพูด “แวร์ อาร์ ยู โกอิ้ง เซอร์ เทลมีๆ” สาบานได้ว่าไม่ว่าคุณจะเคยดูหนังในโรง หรูหราไฮโซทรีดีโฟร์ดีขนาดไหน ก็ไม่มีทางได้ยินระบบเสียง เซอร์ราวนด์รอบตัวขนาดนี้ ผมหันมาบอกคนอื่นๆ ว่าให้ท�ำ จิตแข็งๆ ไม่ต้องไปตอบมัน ไอ้พวกนี้มันแท็กซี่เถื่อน เผลอ ไปขึน้ รถมันนีโ่ ดนฟันหัวแบะแน่นอน เราต้องเดินไปขึน้ แท็กซี่ จากบูทของทางสนามบินเท่านั้น ผมมองไปไกลๆ ด้านซ้ายมือก็เห็นบูทโทรมๆ สีส้มๆ เขียนว่าแท็กซี่ พร้อมเหล่าคนขับแท็กซีจ่ ำ� นวนหลักสิบคนยืน ดูดบุหรีก่ องๆ กันอยูร่ อบบูท ซึง่ ถ้ามองดีๆ ก็จะเห็นพนักงาน ในบูทมายืนดูดบุหรี่ปะปนกับคนขับด้วย ดูจากสภาพแล้ว พูดได้เลยว่าไอ้บูทนี่แม่งโคตรจะไม่น่าไว้ใจ ดูของปลอม มากๆ ขณะนั้นเองโบว์ก็เหลือบไปเห็นอุโมงค์ลอดใต้ถนน ตรงด้านหน้า ทีม่ ปี า้ ยบอกทางเขียนว่าไป Taxi Stand เราเลย 34
ตั ด สิ น ใจเดิ น ลงอุ โ มงค์ ล อดใต้ ถ นนนี้ ไ ปหาแท็ ก ซี่ ส แตนด์ ของจริงกันโดยที่มีคนขับซอมบี้เดินตามมาด้วยเป็นพรวน ยิ่งเราเดินลงอุโมงค์ไปลึกเท่าไหร่ ไอ้แท็กซี่ซอมบี้ก็ค่อยๆ หายไปทีละคนสองคน จนเหลือคนสุดท้ายที่ยังคงวนเวียน อยู่กับเรา มันหันไปพูดกับผมที หันไปหารณที พูดกับโบว์ที พี่สามที ด้วยไอ้ประโยคเดิมว่า “แวร์ อาร์ ยู โกอิ้ง เซอร์ เทลมีๆ” บางทีก็มีเพิ่มเติม “โชว์ มี ดิ แอดเดรส” แต่เรา จิตแข็งมาก ท�ำอะไรไม่ได้หรอก ไอ้อโุ มงค์นกี่ ล็ กึ และไกลมาก เดิ น เป็ น สิ บ นาที ก็ ยั ง ไม่ โ ผล่ ขึ้ น มาเจอแท็ ก ซี่ ส แตนด์ สั ก ที ช่วงกลางๆ อุโมงค์กม็ ดื น่ากลัว ไอ้คนขับนีก่ ต็ อื๊ ไม่เลิก ยังเดิน ตามเรามาอย่างไม่ทอ้ ถอย ปากก็พดู ประโยคเดียวซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มา คละกับเสียงฝีเท้าของเราสี่คน จนในที่สุดเราก็ขึ้นมาจาก อุโมงค์ซะที มองไปเห็นป้ายชีบ้ อกทางไปแท็กซีส่ แตนด์ พอเรา หันไปตามป้าย ภาพที่เห็นคือ บูทแท็กซี่สีส้มอันเดิม... นี่กูเสียเวลาเดินลงอุโมงค์ลอดใต้ถนนมาแสนไกล เพื่อกลับมาเจอบูทแท็กซี่อันแรกที่เจอ... สรุปว่าไอ้บูทส้มนี่แหละคือบูทแท็กซี่ของสนามบิน พอเราเดินมาใกล้เข้าไอ้แท็กซีท่ ยี่ นื อยูต่ รงบูทก็พงุ่ เข้ามาล้อม เราอย่างไม่แคร์อะไร ไอ้ตวั แรกทีเ่ ดินตามเรามาก็ยงิ่ พูดใส่เรา รัวขึ้นเพราะกลัวคนขับคนอื่นจะแย่งตัวเราไป ถึงจะบอกให้ คนอื่นจิตแข็ง แต่ผมเองนี่แหละที่อยากจะร้องไห้ ท�ำไมมัน ยากขนาดนี้วะ แค่อยากขึ้นแท็กซี่แล้วไม่โดนฟันแค่เนี้ย ใจนี่ อยากร้องไห้หนีกลับไทยแล้ว 35
และแม้ว่าเราจะเดินฝ่าฝูงซอมบี้มาจนถึงบูทแล้ว แต่ ไอ้คนขับทัง้ หลายที่ตามมาก็ยังคงถามพวกเราอย่างไม่ลดละ จนเสียงแทรกเข้ามาในบูทดังไปหมด ผมยื่นที่อยู่โรงแรมที่พรินต์ออกมาให้พนักงานในบูท ไปอย่างมีความหวัง แกเอื้อมมือมารับไปดูแวบนึงและเขียน อะไรสักอย่างลงในกระดาษทีค่ ล้ายๆ ใบเปิดจ๊อบ ก่อนจะยืน่ คืนมาแล้วบอกว่า 300 รูปี ยืน่ ให้คนขับคนไหนก็ได้ แค่นแี้ หละ แค่นเี้ หรอ? ไม่ได้มกี ารจัดคิวอะไรจริงจังหน่อยเหรอ? ผมหันมาหาพีแ่ ท็กซีค่ นแรกทีเ่ ดินลงอุโมงค์มาด้วยกัน อย่างยาวนาน กูจะตอบแทนความตื๊อสัสๆ ของมึงด้วยการ นั่งรถมึงไปนี่ล่ะ เลยยื่นที่อยู่ให้มันดูพร้อมกับเอกสารที่เพิ่ง ได้มา ทันใดนั้นคนขับก็ท�ำหน้าเหมือนโดนไฟช็อตกับโดน ผีหลอกพร้อมกัน แล้วรีบส่งเอกสารให้คนขับแท็กซีค่ นอืน่ ต่อ และเดินหนีออกไปทันที... เฮ้ย อะไรกันวะ ตามมาไกลเป็นกิโลไม่มีท้อ อยู่ดีๆ ก็ ยอมแพ้เดินหนีไปดื้อๆ ซะงั้น ส่วนคนขับคนอื่นพอหยิบ ใบที่อยู่มาดูก็มูนวอร์กหนีไปทีละคนๆ เพียงพริบตาเดียว รอบตัวเราก็ไม่มแี ท็กซีล่ อ้ มอยูเ่ ลยสักคน...ไอ้เอกสารนีเ่ หมือน เป็นบัญญัติโมเสสผ่าทะเลแดง คนขับแท็กซี่แหวกให้เรา เป็นทางเลยทีเดียว เรียกว่าเป็นช่วงเวลาแรกที่ไม่โดนแท็กซี่ ล้อมไว้เลยสักคนตั้งแต่เหยียบแผ่นดินที่นี่มาเกือบๆ ชั่วโมง นาทีนั้นผมข�ำออกมาเลย อุตส่าห์มาถึงสนามบิน อินเดียยังเจอแท็กซีไ่ ม่ไปส่ง ก็สบั สนเหมือนกันว่านีย่ นื อยูแ่ ถว นานาหรืออินเดีย 36
ผมเดาว่าคงเพราะเราจองโรงแรมทีใ่ กล้สนามบินมาก ด้วยความที่ลงเครื่องมาก็ดึกแล้ว ค่าโดยสารคงถูกมากจน ไม่คุ้ม แท็กซี่เลยหนีกันหมดไม่มีใครอยากรับงาน (นึกภาพ เวลาขึ้นแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิแล้วเราให้ไปส่งแถว ประเวศหรืออ่อนนุชสิ) ตอนนี้สถานการณ์เลยกลายเป็นเราที่ต้องเดินเอา ทีอ่ ยูไ่ ปเร่ถามแท็กซีแ่ ทน แต่หายังไงก็ไม่มใี ครยอมไปจนต้อง เดินกลับไปฟ้องบูท แล้วเราก็ได้คนขับดวงซวยทีด่ อู ายุนอ้ ยสุด มาคนนึงที่จะขับไปส่งเราที่โรงแรม สรุปส�ำหรับการมาถึงอินเดียในวันแรก ถ้าจะมีอะไร ทีเ่ ราแข็งแกร่งกว่าคนอินเดีย ก็คงเป็นความอดทนในการเรียก รถแท็กซี่นี่แหละที่เราชนะขาดลอย
37
เกี่ยวกับผู้เขียน
ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข อดีตนักศึกษาสถาปัตย์ ลาดกระบัง ทีไ่ ม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า จะมาท�ำหนังสือ แต่ก็จับพลัดจับผลูกลายมาเป็นช่างภาพ อาร์ตไดเรกเตอร์ และกราฟิกดีไซเนอร์ โดยมีงานหลักคือไป ปั่นจักรยานต่างแดนกับนิตยสาร HUMAN RIDE ปีละ 3 ครั้ง www.facebook.com/cteerapan/ www.instagram.com/cteerapan cteerapan@gmail.com
ขอบคุณ
• โบว์ ที่อยู่ด้วยกันมาตลอดและช่วยท�ำให้หนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นมา • ป๊ากับม้า ที่เก็บหนังสือ ต่วย’ตูน มากมายไว้ในบ้าน ท�ำให้ผมรักการอ่านมาตั้งแต่ในวัยเด็ก • พี่สามและรณ ที่โดนหลอกไปช่วยออกค่ารถ หวังว่า จะได้ไปอินเดียด้วยกันอีกสักรอบนะครับ ^^ • พี่โหน่ง พี่ปิงปอง ที่ให้โอกาสผมมาท�ำงานที่อะเดย์ • เบ๊นเซ่ ทีช่ วนให้เขียนออกมาเป็นเล่ม ค�ำชวนวันนัน้ มัน มีพลังสูงมาก • พีก่ อ้ ง ทรงกลด ทีช่ ว่ ยแนะน�ำวิธกี ารเขียนมาตัง้ แต่ตอน ท�ำ HUMAN RIDE เล่มแรกซึง่ ยังเขียนไม่คอ่ ยจะเป็น แม้ถงึ ตอนนี้ จะผ่านมานานแล้วแต่ก็ยังคงเขียนไม่ค่อยจะเป็นอยู่เหมือนเดิม • ปูและเอี่ยว ที่คอยช่วยปรู๊ฟค�ำผิดและประโยคแปลกๆ บ้าบอมากมายมหาศาลตั้งแต่ดราฟต์แรก • ชาวห้องอะเดย์ทคี่ อยช่วยเหลือการท�ำงานมาโดยตลอด และช่วยตั้งชื่อหนังสือมาให้หลายชื่อ ซึ่งโชคดีมากที่ชื่อเหล่านั้น ไม่ได้ถูกน�ำมาใช้จริง... • พี่บิ๊ก, โจ้, เจ๊โบ, ทราย, ฝัน, น้องนัท, จอม, ป๊อกกี้ และ เหล่าชาวอะบุ๊กที่คอยช่วยดูแลต้นฉบับให้เป็นอย่างดี • ชาวอินเดียแห่งวัดแขกและพาหุรดั ทีท่ ำ� ให้ผมมีภมู คิ มุ้ กัน ในการไปเยือนอินเดีย • ทุกๆ คนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ยินดีที่ได้รู้จักกันครับ
ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข หนังสือในชุด Journey พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2560 ราคา 325 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-185-3 ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข. ราชาสถาน นิทานตื่นนอน.-- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2560. 352 หน้า. 1. อินเดีย--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. I. ชื่อเรื่อง. 915.4 ISBN 978-616-327-185-3 ในเครือ บริษทั เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 309 โทรสาร 0-2718-0690
แยกสีและพิมพ์
บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2718-2951
จัดจำ�หน่าย
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999
สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการอำ�นวยการ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้ช่วยผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ ออกแบบปกและรูปเล่ม ศิลปกรรม พิสูจน์อักษร โซเชียลมีเดียและกิจกรรมพิเศษ เลขานุการ
บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
ที่ปรึกษา ผู้จัดการทั่วไป ธุรการ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์
โกเดย์โพเอทส์
ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ ศิลปกรรมสื่อออนไลน์ ส่งเสริมการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ภูมิชาย บุญสินสุข นทธัญ แสงไชย เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข พิชญ์สินี บุญมั่นพิพัฒน์ ชลธิชา จารุสุวรรณวงค์ นันธิยา ฤทธาภัย วาริณี วรวิทยานนท์ พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์ ปวริศา ตั้งตุลานนท์ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย นิติพัฒน์ สุขสวย ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ณัฐรดา ตระกูลสม วิมลพร รัชตกนก
พิมพ์นารา มีฤทธิ์ ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล ชลธร จารุสุวรรณวงค์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
ในกรณีทห่ี นังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งมาตามทีอ่ ยูส่ ำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น