ทางช้างเผือกและเรื่องชื่นใจ

Page 1


1


จากใจผู้เขียน อะเดย์เติบโตอย่างงดงามมาได้สิบปีเศษแล้ว เป็นความยินดีอย่าง ที่สุดของผู้เขียนซึ่งเฝ้าคอยมองความเติบโตนี้อย่างชื่นชม เพราะอะเดย์ มีความหมายต่อผู้เขียนมาก ได้ให้โอกาส ให้ความสำ�เร็จ และความสุขที่ ยิ่งใหญ่แก่ผู้เขียน แรกเริ่ม อะเดย์ฉบับที่ ๕ ประจำ�เดือนมกราคม ๒๕๔๔ ได้น�ำ เรือ่ งราวของมานะ มานี และผองเพือ่ น ในหนังสือเรียนภาษาไทยระดับ ประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ชั้น ป.๑-๖ ที่ใช้เรียนทั่วประเทศ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๓๗ มาตีพมิ พ์ในคอลัมน์ ‘เรือ่ งเล่าจากหนังสือเรียน อันสุดแสนประทับใจในวัยเยาว์’ เพื่อนๆ ของมานะ มานี ทั่วประเทศ ที่เคยเรียนและเติบโตมาด้วยกัน ยังจำ�ได้ และต้อนรับอย่างอบอุ่นยิ่ง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้มี ทางช้างเผือก ซึ่งเป็นเรื่องราวของตัวละครชุดนี้ ในช่วงหนึ่งของวัยเด็กในอะเดย์ ตั้งแต่ฉบับที่ ๒๖ ประจำ�เดือนตุลาคม ๒๕๔๕ จนจบเรื่ อ งสิ บ สองตอน แล้ ว อะบุ๊ ก ก็ ไ ด้ ร วบรวมพิ ม พ์ เ ป็ น เล่ ม มีภาพประกอบทีส่ วยงาม เพือ่ นๆ ของมานะ มานี และท่านผูส้ นใจ ก็ตอ้ นรับ อย่างดียิ่ง จนมียอดพิมพ์ถึง ๑๖ ครั้ง มาคราวนี้ อะบุ๊กจะฉลองวาระ ครบสิบปี ก็ยังนำ� ทางช้างเผือก มาจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๑๗ ด้วย ทั้งยังผนวก

2


เรื่ อ งชื่ น ใจ เรื่ อ งสั้ น กว่ า ยี่ สิ บ เรื่ อ ง ที่ ผู้ เขี ย นได้ เขี ย นในหนั ง สื อ วั น เด็ ก และเยาวชนแห่งชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๔๐ ซึ่ ง อะบุ๊ ก ได้ ร วบรวมจั ด พิ ม พ์ เ ป็ น เล่ ม จำ � หน่ า ยแล้ ว มาตี พิ ม พ์ ร่ ว มกั บ ทางช้างเผือก ด้วย จะไม่ให้ผู้เขียนซาบซึ้งยินดีเป็นล้นพ้นได้อย่างไร ขอขอบคุณอะบุก๊ เป็นอย่างยิง่ ขอให้อะบุก๊ เติบโตก้าวหน้าต่อไปอย่าง สง่างามไม่หยุดยัง้ เพือ่ ให้ความรู้ ความคิด ความบันเทิงสร้างสรรค์จรรโลงใจ อันทรงคุณค่าแก่ผู้ที่รักอะบุ๊กทั้งหลาย รวมทั้งผู้เขียนด้วย และขอขอบคุณ เพื่อนๆ ของมานะ มานี และท่านผู้สนใจที่ยังต้อนรับหนังสือทั้งสองเล่มนี้ อย่างที่สุด ขอบคุณจากใจ รัชนี ศรีไพรวรรณ มีนาคม ๒๕๕๖

3


คำ�นำ�พิมพ์ครั้งแรก นิตยสารอะเดย์ ฉบับที่ ๕ ประจำ�เดือนมกราคม ๒๕๔๔ ได้นำ�เรื่อง ของ มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ เพชร และจันทร ฯลฯ ตัวละครจากหนังสือ เรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ทีใ่ ช้กบั หลักสูตร ประถมศึกษา พ.ศ.๒๕๒๑ มาลงตีพมิ พ์ในรายการ ‘เรือ่ งเล่าจากหนังสือเรียน อันสุดแสนประทับใจในวัยเยาว์’ เพื่อนๆ ของมานีที่เคยเรียน ป.๑-ป.๖ และเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๑-พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้การต้อนรับอย่าง อบอุ่นยิ่ง ทำ�ให้ผู้เขียนชื่นใจเหลือที่จะกล่าว คุณโหน่ง-วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ แห่งอะเดย์ ได้ให้โอกาสผู้เขียน มีความสุขกับจินตนาการเรื่องราวและเหตุการณ์ในชีวิตของมานี มานะ และผองเพื่อนตอนเดียวกันนี้ในช่วงวันหยุด ด้วยเรื่อง ทางช้างเผือก และ ได้เริ่มลงตีพิมพ์ตอนแรกในอะเดย์ ฉบับที่ ๒๖ ประจำ�เดือนตุลาคม ๒๕๔๕ ติดต่อกันจนจบสิบสองตอน ผู้เขียนตั้งใจให้ ทางช้างเผือก เป็นเสมือน ทางชีวติ ของเด็กดี มีชวี ติ ทีง่ ดงามของเด็กกลุม่ นีแ้ ละเพือ่ นๆ ทีเ่ คยร่วมเรียน มาด้วยกัน และอีกนัยหนึ่ง หมายถึงกลุ่มแสงดาวที่แผ่ให้แสงสว่างเป็น ทางยาวในท้ อ งฟ้ า ซึ่ ง ตั ว ละครถื อ เป็ น สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ เ มื่ อ ตั้ ง จิ ต บริ สุ ท ธิ์

4


ปรารถนาสิ่งใดแล้วจะได้ดังปรารถนา ผู้เขียนพยายามเขียนให้สนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ ผจญภัย และมีเรื่องลึกลับชวนติดตาม ไม่แพ้เรื่องราวและ เหตุการณ์ในหนังสือเรียน ขอขอบคุณ คุณวงศ์ทนง ด้วยความรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่ง ที่หล่อเลี้ยง จินตนาการของผูเ้ ขียนมิให้เหือดแห้งโรยราไปตามวัย ขอขอบคุณสำ�นักพิมพ์ อะบุ๊ก และทุกคนที่ทำ�ให้ ทางช้างเผือก เป็นรูปเล่มงดงามสมบูรณ์ อันเป็น ความสุข ความแช่มชื่น เบิกบานสำ�หรับผู้เขียนสุดประมาณ ขอบคุณผู้อ่านและเพื่อนๆ ของมานี มานะ และผองเพื่อนทุกท่าน ที่ให้การต้อนรับ ทางช้างเผือก ด้วยดี รัชนี ศรีไพรวรรณ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗

5


สารบัญ ๙ พบเพื่อน ๒๑ ตำ�นานคนดี ๓๓ ทอฟฟี่เลิศรส ๔๕ คนที่หายไป ๕๕ คำ�ทำ�นาย ๖๗ ที่เนคต้าวิลล์

6


๗๙ หมู่บ้านภูพร้า ๙๑ ถ้ำ�แก้ว ๑๐๑ วันแห่งความปีติ ๑๑๑ เพื่อนจากแดนไกล ๑๑๙ ใบไม้ไม่เปลี่ยนสี ๑๒๙ สวัสดีวัยเยาว์ ๑๓๗ แล้ว...เราก็ได้พบกัน

7



พบเพื่อน

“โฮ่ ง ! โฮ่ ง !” เจ้ า โตเห่ า เสี ย งกระโชก จนมานี ต้ อ งเงยหน้ า ขึ้ น จากหนังสือการ์ตูน ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายแก่ๆ มานีปูเสื่อนั่งดูหนังสืออยู่ ใต้ต้นจำ�ปีข้างบ้าน เจ้าโตนอนอยู่ข้างๆ เธอมองไปทางเสียงที่เจ้าโตเห่า ก็เห็นแมวสีเทาตัวจ้อย ทำ�ตัวโก่ง ขนฟู ชูหาง ขู่แฟ่ๆ อยู่ในรั้วเสาไม้ ที่ปักห่างๆ เป็นเขตกั้นของบ้านหลังถัดไป แต่มองไม่เห็นตัวบ้านเพราะเป็น สวนทึบ เจ้าโตทำ�ท่าจะกระโจนเข้าไปไล่แมว แต่มานีคว้าตัวมันไว้ทัน “จุ๊! จุ๊! ไม่เอาโต นั่นแมวตัวนิดเดียว แล้วมันก็ไม่ได้เข้ามาทำ�อะไรสักหน่อย” เจ้าโต มองหน้ามานีนิดหนึ่ง แล้วมันก็หันไปคำ�รามอย่างดุดัน แมวตัวนั้นยังยืนขู่ อย่างไม่เกรงกลัว “สีเทา สีเทา... อ้าว มาอยู่นี่เอง ตามหาเสียทั่วไปหมด” แล้ว เจ้าของเสียงก็โผล่ออกมาจากพุ่มไม้ เป็นเด็กหญิงตัวเล็กๆ เท่ากับมานี สวมเสื้ อ คอกระเช้ า สี เ หลื อ งซี ด นุ่ ง กางเกงขาสั้ น สี น้ำ � เงิ น ค่ อ นข้ า งเก่ า 9


ผมหยักศกสลวยดำ�ขลับตัดสัน้ แค่ตงิ่ หู เธอก้มลงอุม้ แมวไว้แนบอก ยังไม่เห็น มานีกับเจ้าโต เพราะขณะนั้นเจ้าโตหยุดเห่า “แมวของเธอหรือจ๊ะ” มานีร้องถามด้วยความดีใจที่ได้เห็นเด็กหญิง ตัวเล็กๆ เท่าเธอ เด็กหญิงเงยหน้าขึน้ มองมานี แล้วดวงตากลมโตคูน่ นั้ ก็เบิกกว้างด้วย ความตื่นเต้นดีใจอย่างสุดขีด เธอยืนตะลึงงัน ปล่อยให้แมวสีเทากระโดด แผล็ว วิ่งหายเข้าไปในสวน มานี รู้ สึ ก แปลกใจในท่ า ทางของเด็ ก หญิ ง คนนั้ น เธอจึ ง ยิ้ ม ให้ ด้วยไมตรีจิต “ฉั น ชื่ อ มานี จ้ ะ เพิ่ ง ย้ า ยมาอยู่ บ้ า นหลั ง นี้ เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ นี่ เ อง เข้ามานั่งคุยกันก่อนซีจ๊ะ บ้านของเธออยู่ในสวนนี้หรือ” เด็กหญิงลอดรั้วเข้ามา เจ้าโตเห่าคำ�ราม มานีกอดมันและห้าม ไม่ให้มันเห่า “เจ้าโตหมาของฉันใจดีจ้ะ มันเห่าแมวของเธอ เห่าเธอเพราะยัง ไม่คุ้นกัน เข้ามานั่งที่เสื่อนี่สิจ๊ะ เธอชื่ออะไร” เด็กหญิงเดินช้าๆ เข้ามานั่งลงที่ริมเสื่อ สายตายังจ้องมองมานี ดวงตายังมีแววตื่นเต้นดีใจไม่จาง “ฉันชื่อชูใจจ้ะ ฉันดีใจมากจริงๆ ที่ได้พบเธอ” มานี รู้ สึ ก สะดุ ด ใจในคำ � พู ด ของชู ใ จ แต่ เ จ้ า โตเห่ า คำ � รามอย่ า ง ดุเดือด เธอจึงหันไปดุเจ้าโต “โต ไม่เห่าชูใจนะจ๊ะ เราจะเป็นเพื่อนกัน เป็นเพื่อนของโตด้วย โตไม่ดใี จหรือทีฉ่ นั จะมีเพือ่ น” มานีหยิบขนมคุกกีเ้ นยในจานข้างตัวส่งให้ชใู จ ชิ้นหนึ่ง “เธอเอาขนมนี่ให้มันซีจ๊ะ มันจะได้คุ้นกับเธอ” ชูใจรับขนมมาถือไว้ พลางบอกโต “นี่ชูใจนะโต ชูใจจะเป็นเพื่อนมานี เป็นเพื่อนโต สีเทาแมว ของฉันก็จะเป็นเพื่อนโตด้วย” แล้วเธอค่อยๆ ส่งขนมให้เจ้าโต โตยื่นหน้า เข้ามาดมมือชูใจครู่หนึ่ง จึงงับเอาขนมไปเคี้ยวกิน 10


มานีคลายแขนกอดเจ้าโต ปล่อยให้มันนั่งมองชูใจ เธอหยิบขนม ส่งให้ชูใจอีกชิ้นหนึ่ง ชูใจยิ้มรับมาส่งให้เจ้าโต โตก็รับไปกินโดยดี คราวนี้ มันกระดิกหางด้วย “แมวของเธอชือ่ สีเทาหรือจ๊ะ สวยจังเลย” มานีพดู พลางพิศดูใบหน้า เพื่อนใหม่ด้วยความรู้สึกอบอุ่นและเป็นสุข ดวงตาของชูใจ ขณะนี้แวว ตื่นเต้นจางหายไปแล้ว เหลือแต่ความปีติยินดี “ขนมันเป็นสีเทาทั้งตัว ย่าก็เลยตั้งชื่อมันว่าสีเทา นี่เจ้าโต มีด่าง วงกลมโตสีดำ�รอบตานี่เองจึงชื่อโต ใช่ไหมจ๊ะมานี” มานีหัวเราะ “ใช่จ้ะ เธออยู่กับคุณย่าหรือจ๊ะ” เธอถาม รู้สึกคุ้นเคย กับชูใจราวกับว่ารู้จักกันมานานแล้ว “ฉันอยู่กับย่ากับอา แล้วก็สีเทาจ้ะ อาของฉันทำ�นา ย่าของฉัน ทำ�ข้าวต้มมัดส่งขายที่ตลาด” “ฉั น อยู่ กั บ พ่ อ แม่ และพี่ ช ายชื่ อ มานะ ตอนนี้ พี่ ม านะไม่ อ ยู่ ไปซื้อของที่ตลาดกับพ่อ แม่จัดข้าวของอยู่บนบ้านจ้ะ” “วันที่เธอย้ายมา ฉันเห็นแล้วล่ะ แต่ไม่เห็นเธอ” ชูใจบอก “ฉันคงมัววุ่นวายช่วยแม่จัดของอยู่บนบ้าน เธอจึงไม่เห็น” เจ้ า โตลุ ก พรวดพราดขึ้ น เห่ า เสี ย งดั ง ขนบนหลั ง ของมั น ตั้ ง ชั น เตรียมต่อสู้เต็มที่ ทันใดนั้นมีเสียงดังกุบกับๆ ที่ข้างรั้ว แล้วหน้ายาวๆ ของ ม้าตัวหนึ่งก็โผล่ออกมา พร้อมกับใบหน้าของเด็กชายคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่บน หลังม้าตัวนั้น “อยู่นี่เองชูใจ ย่าบอกว่าเธออยู่ในสวน” แล้วเขาก็หันไปดุเจ้าโต “เฮ้! เจ้าหมาตาขนมครก หยุดเห่าเสียทีซีวะ หนวกหูชิบ...” “ปิ ติ ” ชู ใ จทำ � เสี ย งปราม “เธอลงจากหลั ง เจ้ า แก่ แล้ ว เข้ า มานี่ มารู้จักเพื่อนใหม่ เขาชื่อมานี หมาของเขาชื่อโต ไม่ใช่เจ้าตาขนมครก” ปิตสิ นั่ หน้า มานีมองดูปติ กิ บั ม้าของเขาด้วยความรูส้ กึ ขัน ปิตหิ น้าตา ดูตลก ใบหน้าของเขายาว คางแหลม ผมตั้งเหมือนขนเม่น ตัวผอมโกงโก้ 11



สวมเสื้อยืดสีแดงแปร๊ด นุ่งกางเกงขาสั้นสีดำ� ส่วนม้าของเขาก็ดูแก่มาก สมกับที่ชูใจเรียกมันว่าเจ้าแก่ ขนสีน้ำ�ตาลของมันที่หน้ามีขนหงอกขาวแซม อยู่เต็ม ทำ�จมูกขยุกขยิก จ้องดูเจ้าโตพลางส่ายหัวไปมา “ลงมาซีจ๊ะปิติ มากินขนมคุกกี้ด้วยกัน เจ้าโตไม่กัดหรอก” มานีชวน ปิติทำ�ปากเบะ “เชอะ! ขนมคุกกี้มีอยู่สามอัน” มานี หั ว เราะ “เดี๋ ย วฉั น จะไปเอามาเพิ่ ม ให้ ” ว่ า แล้ ว เธอก็ ลุ ก ขึ้ น ฉวยจานขนมจะวิ่งขึ้นบ้าน พอดีแม่ของมานีถือจานขนมลงบันไดมา “ลงมาซีปิติ” ชูใจเรียก พลางลุกขึ้นเดินเข้าไปหาแม่ของมานีอย่าง นอบน้อม แล้วกราบลงที่แขนด้วยท่าทางน่ารัก “เพื่อนของมานีค่ะแม่ ชื่อชูใจ บ้านของเขาอยู่ในสวนนี่เอง อยู่กับ คุณย่า คุณอา กับแมวสีเทา” “สวัสดีจ้ะชูใจ” แม่ของมานีทักทาย “แม่ดีใจที่หนูกับมานีจะได้เป็น เพื่อนกัน แม่เองก็จะได้มีคุณย่ากับคุณอาของหนูเป็นเพื่อนบ้านด้วย” ชูใจเงยหน้าขึ้น ดวงตาของเธอมีน้ำ�ตาคลออยู่เต็มตา มานีตกใจ รีบกอดชูใจไว้ เธอไม่เข้าใจว่าเหตุใดชูใจจึงมีท่าทางแปลกๆ ตั้งแต่เห็นเธอ ครั้งแรก และเห็นแม่ของเธอ ชูใจใช้หลังมือป้ายน้ำ�ตาพลางหัวเราะเบาๆ “ฉันไม่มีแม่จ้ะมานี เห็นใครมีแม่แล้วฉันอดร้องไห้ไม่ได้อย่างนี้ทุกที” แม่ของมานีใช้แขนข้างหนึ่งโอบตัวชูใจไว้ด้วยความสงสาร “เรียกแม่ว่าแม่ก็ได้นะจ๊ะ แม่จะได้มีลูกสาวที่น่ารักเพิ่มขึ้นอีกคน” “ชู้ว์! ชู้ว์! มากไปแล้วนะชูใจ เที่ยวตู่เอาแม่ใครต่อใครเต็มบ้าน เต็มเมืองไปหมดแล้ว แม่ของฉันเธอก็เรียกว่าแม่” ปิติร้องขัดขึ้น แม่ ข องมานี ม องดู ปิ ติ แ ล้ ว ยิ้ ม ขั น ๆ “ลงมาซี พ่ อ หนุ่ ม เห็ น บ่ น ว่ า ขนมมีน้อย นี่ไง ฉันเอามาเพิ่มให้แล้ว ลงมาซีจ๊ะ” ปิติรู้สึกเขิน เสมองไปทางอื่น เจ้าโตหยุดเห่า มันจ้องมองดูม้า ด้วยความสนใจ

13


แม่ส่งจานขนมให้มานี พลางบอกว่า “ชวนเพื่อนๆ ทานขนมนะ ลูกนะ ไม่พอก็ขึ้นไปเอาอีก แม่ทำ�ไว้เยอะ แม่จะขึ้นไปจัดบ้านต่อ” “ชูใจไปช่วยได้ไหมคะ” ชูใจอาสาอย่างเต็มใจ แม่ของมานียิ้มให้ชูใจ ด้วยความเอ็นดู “ขอบใจจ้ ะ เอาไว้ วั น หลั ง ค่ อ ยมาช่ ว ยแม่ วั น นี้ คุ ย กั บ มานี ก่ อ น นะจ๊ะ” หันไปบอกปิติพลางหัวเราะว่า “ฉันจะไปแล้วล่ะ ลงมาเถอะจ้ะ พ่อหนุ่ม” พูดจบก็เดินกลับขึ้นบ้านไป “คุณแม่ของมานีใจดีจัง แล้วก็สวยด้วย” ชูใจพูดพลางหยิบขนม ใส่ปาก “โอ้โฮ อร่อยจัง” เธอหันไปมองปิติ “อย่าทำ�ชักช้านะปิติ เดี๋ยวฉันกิน คนเดียวหมด ไม่รู้ด้วย” “มาซีจ๊ะปิติ เจ้าโตไม่กัดหรอก” มานีพูด ปิติลงจากหลังม้าอย่างอ้อยอิ่ง เขาขี่ม้าโดยไม่มีอานและบังเหียน “นี่ เ พราะทนพวกเธอเซ้ า ซี้ ไ ม่ ไ หวนะเนี่ ย เจ้ า หมาตาขนมครก น่ะเรอะ ฉันไม่กลัวหรอก ตัวแค่เนี้ย ลองเข้ามากัดซี จะเตะให้ชักเลย” “ปิตินี่พูดจาไม่น่าฟังเลย” ชูใจบ่นพลางค้อนให้ปิติ “ไปโรงเรียน ขืนพูดอย่างนี้ คุณครูตีนะ จะบอกให้” ปิติปล่อยให้เจ้าแก่กินหญ้าอยู่ริมรั้ว เจ้าโตไม่เห่าปิติ ดูเหมือนมันจะ สนใจเจ้าแก่มากกว่า มันทำ�หางตกเดินเข้าไปดูเจ้าแก่ใกล้ๆ เจ้าแก่เงยหน้า ขึ้นมองนิดหนึ่ง แล้วก้มหน้าก้มตากินใบไม้ใบหญ้า เจ้าโตเลยนั่งดูเจ้าแก่ อยู่เงียบๆ “โตคงไม่เคยเห็นม้า” ชูใจพูด พลางขยับที่ให้ปิตินั่ง ปิตินั่งลงด้วย ท่าทางเก้อเขิน “จ้ะ เจ้าโตไม่เคยเห็นม้า...เออ...พวกเธอเข้าโรงเรียนกันแล้วหรือจ๊ะ” มานีถามพลางเลื่อนจานขนมให้ ปิติ เขาทำ�อิดเอื้อนอยู่นิดหนึ่งจึงหยิบ ขนมขึ้นมากัดกิน แล้วก็ทำ�สีหน้าพอใจ “จะเข้า ป.๑ เปิดเทอมนี้แหละจ้ะ มานีล่ะ เรียนหรือยังจ๊ะ” ชูใจถาม มานีดีใจมาก “ดีจัง งั้นเราก็จะได้เข้าโรงเรียนพร้อมกันนะซี” 14


“เธอมาจากรุงเทพฯ หรือ” ปิติถามเบาๆ “จ้ะ ฉันมาจากกรุงเทพฯ บ้านอยู่ในซอยวัดเวตวัน เป็นบ้านในสวน เหมือนกันจ้ะ ลุงของฉันทำ�สวน บ้านของฉัน ของลุงกับของอา อยูใ่ นบริเวณ เดียวกัน ฉันก็มีย่าเหมือนชูใจ แต่ย่าของฉันอยู่กับอา ไม่ได้มาอยู่กับฉันจ้ะ” “ฉั น เห็ น แล้ ว วั น ที่ เ ธอย้ า ยมา แอบดู กั บ ชู ใ จอยู่ ข้ า งรั้ ว โอ้ โ ฮ... ขนของมาหลายคันรถ น่ากลัวรวยพิลึก” ปิติพูดยิ้มๆ “ไม่รวยหรอกจ้ะ เราขนของใช้ที่จำ�เป็นมา จะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ พ่อของฉันทำ�งานที่โรงไฟฟ้า” “เป็นผู้จัดการหรือจ๊ะ” ชูใจถาม “จ้ะ แม่ของฉันทำ�งานบ้าน ไม่ได้ทำ�งานนอกบ้าน” “พ่อแม่ของฉันทำ�นา” ปิติพูด แล้วตะโกนร้องเพลงขึ้นดังๆ ทั้งที่ขนม ยังเต็มปาก “ชาวนาทำ�นา วันยังค่� ำ หน้าดำ� โว้ย หน้าดำ� เพราะทำ�นา...” “ปิต!ิ เธอร้องตะโกนดังลัน่ อย่างนีไ้ ด้ไง...เออ...เธอนี่ ช่างไม่รจู้ กั อาย” ชูใจโกรธ “อายใคร เป็ น ชาวนาอายใครฮึ คุ ณ นายชู ใ จ เธอได้ กิ น ข้ า ว เพราะใคร เพราะชาวนาไม่ใช่รึ?” ปิติเถียง มานีรู้สึกอ่อนใจในกิริยามารยาทของเพื่อนคนใหม่ มองหน้าชูใจ ก็เห็นว่าเธอโกรธปิติจริงๆ มานีจึงลุกขึ้น พลางพูดว่า “ฉันจะขึ้นไปเอาน้ำ� มาให้เธอสองคน กินน้ำ�แล้วปิติจะได้ร้องเพลงเพราะๆ ให้ฟัง” ว่าแล้ว เธอก็วงิ่ ตื๋อไป เจ้าโตวิ่งตามไปด้วย มานีไปแล้ว ชูใจก็หนั มาเล่นงานปิติทนั ที “ฉั น ไม่ อ ายที่ เ พื่ อ นมี พ่ อ แม่ เ ป็ น ชาวนา เพราะฉั น ก็ เ ป็ น ชาวนา แต่ฉันอายที่เพื่อนของฉันไม่มีมารยาท เราเพิ่งรู้จักมานี เธอก็มากิริยา อย่างนี้ เขาจะคิดยังไง ฮึ ปิติ ทำ�ไมเธอไม่รู้จักคิดบ้าง” ปิติหัวเราะแหะๆ “ขอโทษ ขอโทษ เอาล่ะ ฉันจะเรียบร้อยละ ฮือ... ขนมนี่อร่อยชะมัดเลย เธอกินช้าๆ ทำ�ท่าเรียบร้อยอย่างนี้ไม่ทันฉันนะชูใจ คุณแม่ของมานีใจดีจังเนอะ เอามาให้ตั้งจานเบ้อเริ่มเลย เอ๊ะ...ขอเอากลับ ไปกินที่บ้านบ้างได้ไหมเนี่ย” 15


ชูใจตีขาปิติเต็มแรง “นี่แน่ เธออย่าพูดอย่างนี้กับมานีนะ” มานีเดินลงมาจากบ้าน มีขวดน้�ำ พร้อมแก้วสามใบใส่ถาดมาด้วย ชูใจ รีบวิ่งไปช่วยถือ ปิติชำ�เลืองดูหนังสือการ์ตูนที่มานีดูแล้ววางไว้ พอมานีกับ ชูใจมานั่งบนเสื่อ เขาจึงพูด “ฉันขอยืมดูบ้างได้ไหมจ๊ะ การ์ตูน โดราเอมอน เนี่ย” ชูใจรินน้ำ�แจกทุกคน “เธออ่านหนังสือออกแล้วหรือจ๊ะ ปิติ” “ไม่ร้อก ดูรูปก็พอรู้เรื่อง เดาๆ เอา มันก็เหมือนในทีวีนั่นแหละ” ปิติตอบ “ฉันให้ปิติยืมไปดูได้จ้ะ” มานีพูด “หนังสือของพี่ชายฉัน ชื่อพี่มานะ เขาก็ดูจบแล้วเหมือนกัน” “พี่มานะเรียนชั้นไหนจ๊ะ” ชูใจถาม “ขึ้นชั้น ป.๒ เปิดเทอมนี้เหมือนกันจ้ะ” “งั้นก็เรียนชั้นเดียวกับวีระซีนะ” ปิติหันมาพูดกับชูใจ ชูใจบอกมานี “พี่วีระหลานคุณลุงชม กับคุณป้านวล บ้านอยู่เชิงเขา ทางโน้นจ้ะ” ชูใจชี้มือไปทางภูเขาที่มองดูเขียวครึ้มไปด้วยต้นไม้ “เขาเป็น เพื่อนของเราเหมือนกัน นิสัยดี เรียนหนังสือก็เก่งจ้ะ แล้วก็ไม่มีพ่อแม่ เหมือนฉัน” “พ่อเขาเป็นทหาร ถูกพวกโจรเขมรยิงตายทีช่ ายแดน แม่กเ็ สียใจตาย ลุ ง กั บ ป้ า เลยเอามาเลี้ ย งไว้ ” ปิ ติ เ สริ ม ทำ � สี ห น้ า ภาคภู มิ ที่ ต นรู้ เ รื่ อ ง เพื่อนดี “ชูใจ ไม่มีพ่อแม่ เพราะ...” ชูใจพูดสวนขึ้นทันที “ไม่เอา! ปิติ ฉันจะเล่าให้มานีฟังเอง” พูดจบ เธอก็คอ้ นให้ ปิตชิ �ำ เลืองดูชใู จอย่างเกรงใจนิดๆ เคีย้ วขนมไม่หยุดปาก พึมพำ� ว่า “คุณแม่ของมานีทำ�ขนมอร่อยจัง” “จ้ะ แม่ทำ�ขนมเก่ง นี่ แม่เตรียมใส่ถุงไว้ให้เธอทั้งสองคนแล้วนะ” ชูใจกับปิติยิ้มแป้น “ฉันจะเอาไปให้ย่าทาน ย่าไม่ค่อยได้ทานขนม อร่อยๆ ย่าก็ทำ�ข้าวต้มมัดอร่อยจ้ะ วันหลังฉันจะเอามาให้เธอ มานี...ที่จริง 16


ฉันเกรงใจคุณแม่จังเลย ให้เราทานแล้วยังใส่ถุงให้อีก” “ไม่เป็นไรจ้ะ เราเป็นเพื่อนกัน แม่ดีใจมากที่ฉันมีเพื่อน” “ฉันจะทำ�ตัวเรียบร้อยให้คุณแม่ชอบ” ปิติพูดยิ้มๆ “ฉันไม่อยากให้ ยายขาเป๋มาเป็นเพื่อนมานีเลยนะ” “ใครกัน ยายขาเป๋” มานีสงสัย “อ๋อ จันทรน่ะ” ชูใจตอบ หันไปค้อนปิติ “เธอไปเรียกเขา ยาย ขาเป๋ จันทรเป็นคนดี แล้วก็น่าสงสารที่เขาพิการ” “เขาเป็นอะไรจ๊ะชูใจ...เออ...ชื่อจันทร ชื่อเพราะดีนะ” มานีพูด “จันทรตกต้นไม้จ้ะ เขาพิการขาลีบ เดินกะโผลกกะเผลก อยู่กับน้า น่าสงสารมาก น้าก็ไม่รกั ดีทเ่ี ขาเป็นเด็กดี ขยัน ช่วยน้าทำ�มาหากิน เลยอยูไ่ ด้ เขาคงเข้าเรียน ป.๑ พร้อมพวกเรานี่แหละ” มานีนึกสงสารจันทร ตั้งใจว่าวันหลังจะชวนชูใจไปเยี่ยมจันทรบ้าง “บ้านของจันทรอยู่ไหนจ๊ะชูใจ” “ร้านของน้าของเขา ขายพวกเครื่องจักสานอยู่ในตลาดจ้ะ วันหลัง เราไปตลาดไปเยี่ยมเขาก็ได้นี่จ๊ะ” พอดีเสียงแม่ของมานีเรียกอยู่ที่บันไดบ้าน ชูใจรีบลุกขึ้นวิ่งไปหา กลับมาพร้อมกับขนมคุกกี้สองถุง ปิติรีบแบมือขอรับไปถุงหนึ่ง “เธอควรไปกราบขอบคุณคุณแม่นะปิติ” ชูใจพูด ปิติวางถุงขนมกำ�ลังจะลุกไป พอดีเจ้าแก่ร้องฮี้ ฮี้ พลางวิ่งห้อกลับ เข้าไปในสวน “ไอ้แก่...ไอ้แก่...โว้ย จะไปไหนน่ะ เดีย๋ วเหยียบต้นไม้โดนย่าดุตายห่า โอ้ย! ขอโทษมานี ฉันต้องตามไปดูเจ้าแก่ วันหลังจะมากราบขอบคุณคุณแม่ นะ” ปิ ติ ฉ วยถุ ง ขนมวิ่ ง ลอดรั้ ว ไปโดยเร็ ว มานี หั ว เราะชอบใจ ชู ใ จ ทำ�จมูกย่นด้วยความไม่พอใจ พลางลุกขึ้น “มานี ฉั น ต้ อ งไปดู ปิ ติ กั บ เจ้ า แก่ แ ล้ ว ล่ ะ แหม...เป็ น ตั ว ยุ่ ง จริ ง ๆ วันหลังฉันจะมาคุยกับเธอใหม่ และจะมาช่วยคุณแม่จัดของด้วย” 17


“จ้ะ วันหลังฉันก็จะไปหาเธอ ไปกราบคุณย่า และคุณอาของเธอด้วย” มานีส่งถุงขนมให้แล้วเดินมาส่งชูใจที่รั้ว พยายามมองหาบ้านของชูใจ แต่ ต้นไม้ใหญ่น้อยบังทำ�ให้มองไม่เห็น ก่อนจะลอดรั้วกลับไป ชูใจหันมามองมานีด้วยความรัก จับมือมานี บีบเบาๆ “มานี ในที่สุด ทางช้างเผือกก็ส่งเธอมาให้เป็นเพื่อนของฉันจริงๆ เราจะเป็นเพื่อนรักกันตลอดไป”

18


144



1


หนังสือในชุด The Fiction ลำ�ดับที่ 008 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-012-2 พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2556 (Limited Edition)

(‘ทางช้างเผือก’ พิมพ์ครั้งที่ 17 / ‘เรื่องชื่นใจ’ พิมพ์ครั้งที่ 3)

ราคา 395 บาท

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ

รัชนี ศรีไพรวรรณ. ทางช้างเผือก และ เรื่องชื่นใจ. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 352 หน้า. 1. นวนิยายไทย. I. ชื่อเรื่อง. 895.913 ISBN 978-616-327-012-2

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2428-7500 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์ หรือเข้าเล่มสลับหน้า สามารถส่งกลับมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

2


วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ภูมิชาย บุญสินสุข สุรเกตุ เรืองแสงระวี บพิตร วิเศษน้อย เพกา เจริญภักดิ์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ Jung Sakura พิมพ์นารา มีฤทธิ์ นทธัญ แสงไชย เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล วิศรุต วิสิทธิ์ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ณัฐรดา ตระกูลสม นริศรา เปยะกัง จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร ผู้ช่วยบรรณาธิการ อาร์ตไดเร็กเตอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ ภาพประกอบ/ภาพปก เลขานุการ/เรียงพิมพ์ กองบรรณาธิการ พิสูจน์อักษร การตลาด/ประสานงานการผลิต ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ ผู้จัดการทั่วไป ผู้ช่วยผู้จัดการ ธุรการ ลูกค้าสัมพันธ์ เว็บมาสเตอร์

3


จากใจสำ�นักพิมพ์

ยังจำ�วัยเยาว์ของเราได้ไหม?

เรื่องราวที่น่าชื่นใจ และอบอุ่นหัวใจ จากจินตนาการและตัวหนังสือ ของ อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ เกิดมาจากบทเรียนสอนอ่านระดับประถม หนึง่ ถึงหก ทีถ่ กู แต่งขึน้ ให้อา่ นสนุกจนเด็กๆ ติดใจ และอยากเรียนภาษาไทย จากนั้น นิตยสารอะเดย์ โดยวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ (บรรณาธิการ ในเวลานั้น) ได้เชิญชวน อาจารย์รัชนี กลับมาเล่าเรื่องราวของ ‘ตำ�นาน เด็กดี’ ในซีรีส์ใหม่ที่ยังใช้ตัวละครเดิมดำ�เนินเรื่อง ช่วยสานต่อจินตนาการ กับความรู้สึกหวนคิดถึงอดีตของเราอีกครั้ง โดยเพิ่มการผจญภัยครั้งใหม่ ของแก๊งเด็กดีให้สนุกสนานยิ่งขึ้น คอลัมน์ ทางช้างเผือก ถูกรวมเล่มต่อมา ในภายหลัง ซึ่งกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งของสำ�นักพิมพ์อะบุ๊กที่ขายดีที่สุด จนต้องพิมพ์ซ้ำ�มากที่สุด และนั่นก็เป็นผลจากความรู้สึกผูกพัน เพราะมานี มานะ ปิติ ชูใจ และผองเพื่อน ทุกคนเป็นเพื่อนของเรา เข้าโรงเรียนพร้อมๆ กัน หัดอ่านเขียนมาด้วยกัน และเราเติบโตมาด้วยกัน

4


อาจารย์รัชนีเคยกล่าวไว้ เมื่อส่งต้นฉบับ ทางช้างเผือก ตอน ‘แล้ว... เราก็ได้พบกัน’ ให้นิตยสารอะเดย์ เมื่อปี ๒๕๔๔ ว่า “นี่คือ ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ ตอนใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครได้อ่าน พวกหนูไม่อยากรู้เรื่องเพื่อนเก่า เลยเหรอ ว่าตอนนี้พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง?” ในเวลาต่อมา อาจารย์รชั นีกรุณาให้เราตีพมิ พ์รวมเรือ่ งสัน้ ทีถ่ า้ ได้อา่ น แล้ว คงไม่มีใครสงสัยว่าทำ�ไมถึงตั้งชื่อหนังสือรวมเล่มชุดนี้ว่า เรื่องชื่นใจ ในโอกาสที่สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กอายุครบ ๑๐ ปีในปีนี้ เราดีใจอย่างยิ่ง ทีอ่ าจารย์อนุญาตให้เราตีพมิ พ์ทงั้ สองเล่มนีร้ วมกันออกมาเป็นเวอร์ชนั่ พิเศษ เพื่อให้คุณผู้อ่านที่อยากระลึกถึงวัยเยาว์ ได้หวนอดีตที่สวยงามกันอีกครั้ง สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก กรกฎาคม 2556

5


6


คำ�นำ�ผู้เขียน เรือ่ งชืน่ ใจ เป็นงานเขียนรวมเรือ่ งสัน้ ของผูเ้ ขียน ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๑พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเขียนขึ้นด้วยปรารถนาจะให้เด็กๆ ได้อ่านเรื่องสนุกสนาน หลายๆ แนวที่เหมาะแก่ความสนใจ เพื่อให้รักการอ่านจนติดเป็นนิสัย ทุกเรือ่ งมีเนือ้ หาโน้มนำ�ให้เป็นคนมีส�ำ นึกทีม่ ตี อ่ ตนเอง ต่อครอบครัว สังคม และมีความจงรักภักดีต่อสถาบันของชาติ ขอบคุณอย่างสุดซึง้ ในความปรารถนาดี มีน�้ำ ใจของสำ�นักพิมพ์อะบุก๊ ทีไ่ ด้รวบรวมเรือ่ งสัน้ ชุดนีจ้ ดั พิมพ์เป็นรูปเล่ม ด้วยเห็นว่าแม้จะเป็นงานเขียน ที่เขียนไว้นานแล้ว แต่ยังมีคุณค่าสำ�หรับเด็กๆ และสังคมไทย และยังเป็น เรื่องน่า ‘ชื่นใจ’ อยู่เสมอ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่รับ เรื่องชื่นใจ ไว้ชื่นใจด้วยดี รัชนี ศรีไพรวรรณ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗

7


สารบัญ ๑๑ ไอ้ตุ่น ๑๙ เพื่อน ๓๑ หยินกับพลอย ๓๙ โลกของน้อย ๔๗ ผมชื่อก้อง ๕๕ ป้อมคนดี

8


๖๑ บทเรียนของสีดา ๖๙ แสงทองส่องฟ้า ๗๕ แก้วคืนเรือน ๘๕ ร่มไทรทอง ๙๓ บันทึกของอุ๋ย ๑๐๑ ในหลวงของผม

9


๑๐๙ ถั่วแดงหลวง ๑๑๗ น้ำ�ทิพย์ ๑๒๕ ฉัตรแก้ว ๑๓๓ วีรบุรุษลูกเสือยง ๑๔๓ มุ้งเปื้อนเลือด ๑๕๑ บ้านผีสิง

10


๑๖๕ ฝัน...ที่เป็นจริง ๑๗๕ บันทึกเก็บตก ๑๘๓ ควาเฮริ! เอ็นจิรุ ๑๙๑ สันตะวาที่รัก

11



เพื่อน

โครม! รถยนต์กระบะคันใหญ่ตกจากแม่แรงกระทบพื้น บานประตู เปิดออกทับหน้าอกของปาน ซึ่งช่วยช่างทำ�งานอยู่ใกล้ๆ ท่ามกลางความ ตื่นตะลึงของคนงานทุกคน เรืองร้องสุดเสียง วิ่งเข้าไปหาปานก่อนใคร “ช่วยด้วย ช่วยปานด้วยครับ” เขาละล่ำ�ละลัก สองมือพยายาม ยกบานประตูรถด้วยแรงทั้งหมดที่มี ปานนอนแน่นิ่ง เลือดทะลักออกทาง ปากและจมูกของเขา ชิด-หัวหน้าช่าง พอได้สติจึงรีบบอกให้คนงานช่วยกัน ยกรถยนต์ออกจากปาน รถยนต์พน้ ตัวไปแล้ว ปานยังไม่ไหวติง เลือดยังไหล เรืองร่�ำ ไห้สะอึกสะอืน้ ช้อนหัวของปานขึน้ พร่�ำ เรียกชือ่ เพือ่ นรักไม่ขาดปาก หัวใจของเขาเจ็บปวดเหลือจะกล่าว “พี่ชิดครับ ทำ�ยังไงดี ปานเป็นอะไรไปหรือเปล่า ปาน...ปาน...โธ่... ปาน” 21


“เลือดไหลไม่หยุดเลย แย่จริง เถ้าแก่ก็ไม่อยู่ พาปานไปโรงพยาบาล เร็ว ไปโรงพยาบาลที่หมอสุดาทำ�งานอยู่นี่แหละ เร็วเข้าช่วยกัน ค่อยๆ ยก” ชิดสั่งการ โรงพยาบาลที่หมอสุดาทำ�งานอยู่เป็นโรงพยาบาลเอกชน ห่างจาก ปั๊มและอู่ซ่อมรถ ‘ซวงบริการ’ ของเถ้าแก่ซวงไปสองช่วงตึก หมอสุดา แพทย์หญิงโสดเช่าห้องชุดอยู่คนละฝั่งถนนกับปั๊ม เธอเช่าที่จอดรถยนต์ ส่วนตัวไว้ที่อู่ เรืองกับปานเป็นผู้ดูแลทำ�ความสะอาดให้ “โรงพยาบาลเอกชนแพงตายเลย เอาเงินที่ไหนให้เขาล่ะ” คนงาน คนหนึ่งติง “ช่วยพาปานไปเร็วๆ ผมมีเงิน ช่วยพาปานไปทีเถอะครับ ปาน จะแย่แล้ว โธ่ เลือดไหลนองเลย” เรืองยกมือไหว้วงิ วอน ใบหน้าของเด็กชาย วัยสิบสี่นองไปด้วยน้ำ�ตา ไม่มีใครสะดุดใจกับคำ�ว่า ผมมีเงิน ของเรืองเลย ชิดเร่งให้ลกู น้องสามคนหามปานไปโรงพยาบาล เรืองวิง่ นำ�หน้า ผูค้ นทีผ่ า่ น ไปมาหยุดมองด้วยความสงสาร เมือ่ ถึงโรงพยาบาล เรืองถลาเข้าไปบอกเจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาล “คนไข้ ของหมอสุดาครับ กรุณาตามหมอด้วยครับ คนไข้อาการหนัก รถยนต์หล่น ทับครับ” หมอสุดาตกใจเมื่อเห็นอาการของปาน รีบนำ�เข้าห้องฉุกเฉินทันที คนงานของปัม๊ กลับไปแล้ว เรืองนัง่ คอยอยูห่ น้าห้องฉุกเฉิน หัวใจของ เขาสั่นระริกเหมือนจะขาด น้ำ�ตายังไหลไม่ขาดสาย เขาพนมมือไหว้วิงวอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้ช่วยปานปลอดภัย เรื อ งกั บ ปานเป็น เพื่อ นกัน เรียนจบชั้น ประถมศึ ก ษาปี ที่ หกจาก โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึง่ ทีต่ า่ งจังหวัด ทัง้ สองเป็นเด็กกำ�พร้า เรืองนัน้ ภิกษุชรารูปหนึง่ นำ�มาเลีย้ งดูอยูใ่ นวัดตัง้ แต่ยงั เล็ก เมือ่ เขาเรียนอยูช่ น้ั ประถมศึกษาปีที่ห้า ภิกษุรูปนั้นก็มรณภาพ เรืองเป็นเด็กดี ขยันขันแข็ง ช่วยงาน ของวัดมาตลอด เจ้าอาวาสจึงให้อาศัยอยู่ในวัดจนเรียนจบ แล้วเขาจึงขอ อนุญาตเข้ามาหางานทำ�ในกรุงเทพฯ ส่วนปานนั้น ลุงกับป้าซึ่งมีลูกเจ็ดคน 22


นำ�มาเลี้ยงตั้งแต่เล็กเหมือนกัน เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่หก จึงขอ อนุญาตตามเรืองเข้ามาหางานทำ�ที่กรุงเทพฯ ด้วย เรืองจึงมีปาน และ ปานก็มีเรือง เด็กทั้งสองเพิ่งมาถึงกรุงเทพฯ และสมัครเข้าเป็นคนงานที่ปั๊มของ เถ้าแก่ซวงตามประกาศรับสมัครเมื่อสามเดือนเศษๆ มานี่เอง เขาทั้งสอง ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน วันละห้าสิบบาท พักรวมอยู่กับคนงานอื่นๆ ที่ ห้องแถวหลังอู่ ช่วยกันจ่ายค่าอาหารทำ�กินกันเองอย่างประหยัด เรืองกับ ปานเป็นเด็กขยัน อดทน สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะเรืองพูดจาไพเราะ และมีมารยาทดี ทุกคนจึงรักและเอ็นดูพวกเขา แม้แต่เถ้าแก่ซวงผู้เข้มงวด ก็พอใจ รถยนต์คันงามของหมอสุดาก็สะอาดสะอ้าน เธอรักเด็กทั้งสอง และให้รางวัลเสมอ เรืองกับปานช่วยกันเก็บเงินฝากธนาคารออมสินที่อยู่ ใกล้ๆ ปั๊ม ไม่เคยออกไปเที่ยวเตร่เสเพล เวลาว่างก็อ่านหนังสือที่หมอสุดา นำ�มาให้ เวลาผ่ า นไปสองชั่ ว โมงเศษ ตั้ ง แต่ บ่ า ยสองโมงจนห้ า โมงเย็ น หมอสุดามาหาเขาด้วยสีหน้าวิตกกังวล “ปานเป็นอย่างไรบ้างครับคุณหมอ” เรืองถลาเข้าไปคุกเข่าถาม อย่างร้อนรน น้ำ�ตาซึมออกมาอีก หมอสุดาดึงตัวเขาให้ลุกขึ้น “โชคดี ที่ พ ามาเร็ ว ไม่ เ ช่ น นั้ น ก็ แ ย่ เ หมื อ นกั น กระดู ก ซี่ โ ครงหั ก สองซี่ ปอดเป็นแผลนิดหน่อย หมอเขาผ่าตัดดามกระดูกไว้ เย็บแผลที่ปอด ต้องพักอีกนานกว่าจะหายเป็นปกติ เรือง ค่าใช้จ่ายมากเหมือนกันนะ จะเอาเงินที่ไหนล่ะ” เรื อ งก้ ม หน้ า “เถ้ า แก่ ค งช่ ว ยครั บ คุ ณ หมอ ผมจะทำ � งานใช้ ห นี้ ผมเข้าไปเยี่ยมปานได้ไหมครับ” “ยังไม่ได้หรอก เขายังไม่ฟื้น ต้องอยู่ห้องไอซียูไปก่อน แล้วจึงจะ ย้ายห้องพัก เออ...เรือง เอาอย่างนี้ดีไหม ที่นี่น่ะเป็นโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายแต่ละวันค่อนข้างจะสูง ฉันว่าพอปานพ้นขีดอันตรายแล้ว ย้ายเขา 23


ไปอยู่โรงพยาบาลของรัฐดีไหม ฉันมีเพื่อนพอช่วยได้ ไปอยู่ เอ้อ ห้องรวม ราคาไม่แพง ดีไหมจ๊ะ” “แล้วแต่คุณหมอจะกรุณาครับ” เรืองยกมือไหว้ “แล้วปานจะไปได้ เมื่อไรครับ” “อีกสามวันคงจะพอไปได้ แต่ก่อนจะไปต้องจ่ายเงินให้ที่นี่ก่อนนะ” “เท่าไรครับ” เสียงของเรืองแหบแห้ง “ผมจะไปขอเถ้าแก่มาจ่ายให้” “ฉันบอกเจ้าหน้าที่การเงินว่า ปานเป็นเด็กของฉัน มีสิทธิ์ได้ลด ยีส่ บิ เปอร์เซ็นต์ หมอผ่าตัดก็สนิทกัน เขายินดีลดให้สบิ เปอร์เซ็นต์ ถึงอย่างนัน้ ก็เป็นหมื่นแหละเรือง” เงิ น เป็ น หมื่ น ! เรื อ งร้ อ งอยู่ ใ นใจ เถ้ า แก่ ซ วงจะช่ ว ยไหมหนอ เขาลาหมอสุดากลับไปทีป่ ม๊ั เมือ่ เขาเข้าไปเล่าเรือ่ งให้เถ้าแก่ซวงฟัง พร้อมกับ กราบขอความกรุณาจ่ายเงินค่ารักษาปานให้ก่อนแล้วเขาจะทำ�งานใช้หนี้ เถ้าแก่ซวงโกรธเกรี้ยวตะโกนใส่หน้าเรือง “ทำ � ไมอั๊ ว จะต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบ อั๊ ว จ้ า งไอ้ ป านมาขายน้ำ � มั น ไม่ ไ ด้ จ้างมาช่วยซ่อมรถที่อู่ มันเสือกไปทำ�เอง ความผิดของมันเอง หนอย จะทำ�งานใช้หนี้ตลอดชีวิตของลื้อก็ใช้ไม่หมด ไปให้พ้น! อั๊วไม่อยากฟัง อย่ามาอ้อนวอนให้ยากเลย” ชิ ด ช่ ว ยขอร้ อ งแต่ ก็ ถู ก เถ้ า แก่ ซ วงไล่ ต ะเพิ ด ไป คนงานต่ า งมอง เรืองด้วยความสงสารและเห็นใจ เรืองร้องไห้เบาๆ กราบเท้าเถ้าแก่ซวง อีกครั้งแล้วถอยออกมา เขาพยายามคุมสติ ทำ�งานตามหน้าที่บริการน้ำ�มัน ให้แก่รถยนต์ของลูกค้าจนถึงเวลาปิดบริการ อาหารเย็นมือ้ นีเ้ ขากินไม่ลงเลย เพื่อนๆ คนงานปลอบโยนเรืองตลอดเวลา เมื่อเสร็จธุระแล้ว เขากลับมา ที่ โ รงพยาบาลอี ก คื น นี้ ห มอสุ ด าอยู่ เ วร เรื อ งนั่ ง ที่ ม้ า นั่ ง ในสวนหย่ อ ม หน้ า โรงพยาบาล ใบหน้าของเขาหม่น หมองด้ว ยความทุ ก ข์ แสนสาหั ส ป่านนีป้ านเป็นอย่างไรบ้างหนอ อีกสองวันเขาจะหาเงินเป็นหมืน่ มาจากไหน เพื่ อ จ่ า ยเป็ น ค่ า รั ก ษาปาน เรื อ งทอดถอนหายใจ เงิ น ของเขากั บ ปาน 24


ในธนาคารมีเพียงสามพันบาท เด็กอย่างเขาจะไปรับจ้างทำ�อะไรจึงจะ ได้เงินมากๆ ในเวลาอันรวดเร็ว สมองเรืองตื้อตันไปหมด เขาคิดจะส่งข่าว ไปถึงลุงของปาน แต่คิดอีกทีลุงก็จน รู้เรื่องแล้วช่วยหลานไม่ได้ก็ยิ่งจะ เป็นทุกข์ จึงตัดสินใจไม่บอกไป เขาแหงนมองดูท้องฟ้า หัวใจจมดิ่งอยู่ใน ห้วงแห่งความทุกข์ ไม่ได้ยินสรรพสำ�เนียงของยวดยานและผู้คนที่สัญจร ไปบนถนน มีความรู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในโลก ใต้โค้งฟ้าที่กว้างใหญ่ และเงียบเหงา เรืองว้าเหว่เหลือประมาณ คืนนั้นเขากลับไปนอน เมื่อยาม ของโรงพยาบาลมาเตือน เขาฝันถึงหลวงตาภิกษุชราผู้เลี้ยงดูเขามาตลอด ทั้งคืน ตอนเช้าหมอสุดามาบอกว่าปานมีอาการดีขึ้น รู้สึกตัว และออกไป พักทีห่ อ้ งคนไข้แล้ว เรืองไปเยีย่ มได้ เรืองจึงไปขออนุญาตเถ้าแก่ซวง ก็ได้ฟงั เสียงตวาดว่า “จะไปก็ไป! อั๊วจะตัดค่าจ้างตามเวลาที่ลื้อไม่อยู่ ชิด! จดเวลาไว้นะ มันไปกี่ชั่วโมง กี่นาที” เถ้าแก่ซวงหันไปสั่งชิด ชิดมองเรืองด้วยความเห็นใจ เมื่ อ เรื อ งเข้ า ไปในห้ อ งคนไข้ ที่ ส ะอาด หรู ห รา สวยงามของ โรงพยาบาล ปานกำ�ลังมองจ้องอยู่ที่ประตู มีสายระโยงระยางติดกับตัวเขา อยู่รุงรัง ปานดีใจจนน้ำ�ตาไหลพราก เรืองกลั้นสะอื้นกอดเพื่อนอย่างเบาๆ “ไม่ตอ้ งพูด หมอห้ามพูดนะ นายไม่เป็นไรแล้ว เราดีใจเหลือเกินปาน” น้�ำ ตา ของเขาหยดลงบนใบหน้าของปาน “เถ้าแก่ใจดีออกค่าใช้จ่ายให้ แต่ที่นี่ แพงไป มะรืนนี้ต้องย้ายนายไปอยู่ที่โรงพยาบาลหลวง หมอสุดาบอกนาย แล้วใช่ไหม” ปานพยักหน้า น้ำ�ตายังไหลไม่ขาดสาย เขาจับมือเรืองไว้แน่น พยายามจะบอกว่า เขาซาบซึ้งในน้ำ�ใจของเถ้าแก่มาก เรืองเข้าใจท่าทาง ของเพื่อน จึงบอกว่า “เถ้าแก่ไม่ว่างเลย ย้ายไปอยู่โรงพยาบาลหลวงแล้ว เถ้าแก่กับพวกพี่ชิดคงไปเยี่ยมได้” เรืองดึงเก้าอี้มานั่งหน้าเตียง เด็กทั้งสองมองหน้ากันนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง ปานยังร้องไห้เบาๆ เรืองถอนใจยาว “ปาน นายอย่าเป็นทุกข์เลย หยุดร้องไห้ 25


เสียเถอะ” เขาเช็ดน้ำ�ตาให้เพื่อน พลางยิ้มปลอบใจ “เรายังโชคดีที่มีเถ้าแก่ มีพี่ชิด และพี่คนอื่นๆ มีหมอสุดาที่เมตตาเรา ทุกคนเป็นเพื่อนของเรา นายทำ�ใจให้สบายจะได้หายเร็วๆ หมอบอกไม่มีอันตรายแล้ว ขอให้นาย นอนพักรักษาตัวเท่านัน้ ไม่ชา้ ก็หาย แล้วนายกับเราก็จะได้ไปทำ�งานด้วยกัน ที่ปั๊มเถ้าแก่ซวงไงล่ะ” ปานยิ้มทั้งน้ำ�ตา เขาอยากจะพูดว่า เขาโชคดีที่มีเพื่อนอย่างเรือง เรืองนั่งอยู่กับปานครู่หนึ่ง จึงลุกขึ้นบอกว่า “เราจะไปหาหมอสุดาสักหน่อย วันนี้เราอาจจะไม่มาเยี่ยมนายอีก นอนให้หลับพักผ่อนให้มากๆ” ปาน พยักหน้ารับ เรืองจึงไปพบหมอสุดาที่ห้องทำ�งาน เธอกำ�ลังง่วนอยู่กับแฟ้ม บนโต๊ะ พอเห็นเรืองก็ยิ้มให้ “ไปเยี่ยมปานมาแล้วหรือ ดีนะเขาเป็นคนแข็งแรง ฟื้นเร็ว ไม่ช้า ก็หายเป็นปกติ ทำ�ไมหน้าตาของเรืองยังเศร้าอยู่ล่ะจ๊ะ เพื่อนจะหายแล้วนี่ อย่าวิตกไปเลยน่า” หมอสุดาปลอบเรือง “ครับคุณหมอ เอ้อ ผมอยากจะทราบค่ารักษาครับ จะได้ไปบอก เถ้าแก่ พรุ่งนี้เถ้าแก่จะได้มาชำ�ระครับ” หมอสุ ด ายิ้ ม ยกหู โ ทรศั พ ท์ ห มุ น ไปถามค่ า รั ก ษาปานที่ แ ผนก การเงิน ครู่เดียวเสียงตอบดังมาอย่างชัดเจนจนเรืองก็ได้ยิน “ค่าห้อง ค่ายา ค่าบริการ ค่าผ่าตัด รวมทั้งสิ้น สี่หมื่นสองพันห้าร้อยบาท ส่วนลดของหมอ ยี่สิบเปอร์เซ็นต์ หมอผ่าตัดลดให้สิบเปอร์เซ็นต์ คงจ่ายสองหมื่นเก้าพัน ห้าร้อยบาทค่ะ” หมอสุดาจดจำ�นวนเงินลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ ส่งให้เรือง “สองหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาท มากโขเหมือนกันนะเรือง อ้าว เรือง หน้าซีดเชียว นั่งลงก่อน ตกใจมากหรือ อย่าตกใจเลย เถ้าแก่ซวงน่ะรวย มีทั้งปั๊ม มีทั้งอู่ ครอบครัวก็ไม่มี เงินแค่นี้สำ�หรับเขาน่ะไม่มากหรอก ว่าแต่ พวกเธอซี จะต้องทำ�งานใช้หนี้เขานานหน่อย” เรืองคอแห้งผาก หูอื้อเกือบไม่ได้ยินที่หมอสุดาพูด รับแผ่นกระดาษ มาใส่ ก ระเป๋ า กางเกง รี บ ไหว้ ล าหมอสุ ด า ก่ อ นน้ำ � ตาจะร่ ว งพรู ล งมา 26


สมองของเขาอึงอลด้วยเสียงบอกจำ�นวนเงิน สองหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาท! มันดังก้องสะท้อนไปมา เรืองกลับมาถึงปั๊มเกือบไม่รู้สึกตัว เขายืนพิงเสา หลบสายตาเพื่อนคนงานอยู่ครู่หนึ่ง จึงรวบรวมสติเข้าไปทำ�งาน ทำ�เหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่หัวใจร้อนรุ่มด้วยความวิตกกังวลเป็นที่ยิ่ง บ่ายสามโมงเศษ เขาบอกชิดว่าจะไปเยี่ยมปาน แล้วเรืองก็เดิน เรื่อยไปตามฟุตบาท ผ่านโรงพยาบาลไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีจุดหมาย สุดแต่ เท้าจะพาไป เพราะขณะนั้นสมองของเขานิ่งงัน ไม่สนใจผู้คนที่เดินสวน ไปมา เขาเดินไปไกลมากจนตะวันลับอาคารที่ปลูกหนาแน่นเหมือนกำ�แพง ใหญ่ริมถนน เรืองมาถึงตลาดใหญ่แห่งหนึ่ง เขาไม่เคยมาแถวนี้เลย จึงหยุด ยืนมองฝูงผู้คนที่เดินเข้าออกและซื้อข้าวของกันอยู่วุ่นวายในตลาด เขาเดิน เรื่อยปะปนกับคนอื่นเข้าไปภายใน กวาดสายตามองไปจนทั่ว ที่แผงร้านค้า ค่อนข้างใหญ่อยูร่ มิ ทางด้านหลัง เขาแลเห็นชายคนหนึง่ กำ�ลังพูดจากับแม่คา้ วัยกลางคนเจ้าของแผง พลางส่งธนบัตรสีมว่ งมัดเป็นปึกใหญ่ให้แม่คา้ คนนัน้ แม่ค้ารับมา พอดีมีลูกค้าหญิงสองคนเข้าไปซื้อของ แม่ค้าจึงเอาธนบัตรใส่ ถุงกระดาษวางไว้ขา้ งตัว แล้วสาละวนหยิบของขาย เรืองยืนนิง่ เขาตัดสินใจ แน่ ว แน่ แ ล้ ว ว่าจะทำ�อะไร เขากำ�หนดทางชี วิ ต ของเขาในวิ น าที นั้ น เอง จะชั่วช้าอย่างไร เขาก็ต้องทำ� หลวงตาโปรดอภัยให้เรืองด้วย เขาสาวเท้า เข้ า ไปอย่ า งรวดเร็ ว โดยไม่ มี ใ ครสั ง เกตเห็ น เรื อ งฉกถุ ง ใส่ เ งิ น แล้ ว วิ่ ง เข้าซอยเล็ก หนีจนสุดชีวติ ! ค่ารักษาปาน เขามีคา่ รักษาปานแล้ว! เสียงทีเ่ ขา ได้ยินก่อนจะวิ่งลับไป “เร็ว! จับไอ้คนขโมยเงินป้าแม้นไว้ที มันวิ่งเข้าซอย ไปทางโน้น” ไม่มีใครตามเขาทัน เรืองกลับมาถึงปัม๊ เกือบสองทุม่ เขานับเงินก่อนจะซ่อนไว้ในทีล่ บั ตา เงินมีถงึ สามหมืน่ ห้าพันบาท ก่อนนอนคืนนัน้ เขากระซิบกับตัวเองว่า “ขอยืม ป้าแม้นก่อน หลวงพ่อช่วยให้เรืองเข้มแข็งด้วย!” เช้าวันรุ่งขึ้น เรืองอาบน้ำ�แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ เขาหาถุงใหม่ใส่เงินพับให้แบน หยิบสมุดเงินฝากธนาคารใส่กระเป๋าเสื้อ 27


เดินมาหาชิด “พี่ชิดครับ ผมจะกลับบ้านไปบอกลุงของปาน พรุ่งนี้คุณหมอ สุดาจะย้ายปานไปอยู่โรงพยาบาลหลวง ค่าใช้จ่ายจะได้น้อยลง ถ้าพี่ชิดว่าง ก็ไปเยี่ยมปานด้วยนะครับ ถ้าปานหาย พี่ชิดช่วยให้ทำ�งานที่นี่เหมือนเดิม นะครับ ผมเสร็จธุระแล้วผมจะกลับมา” ชิดรับปากอย่างเต็มใจ เรืองตรงไปพบหมอสุดาที่โรงพยาบาลทันที นักข่าวหนังสือพิมพ์ คนหนึ่งกำ�ลังสัมภาษณ์เธออยู่เกี่ยวกับคนไข้หญิงผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ ในความดูแลของหมอสุดา พอเธอมองเห็นเรืองก็กวักมือเรียกให้เข้าไปหา เรืองส่งเงินสองหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทให้ พลางบอกว่าเถ้าแก่ซวงไม่ว่าง ขอความกรุณาให้หมอสุดาช่วยชำ�ระค่ารักษาปานแทนด้วย หมอสุดาหัวเราะเบาๆ “เห็นไหมเงินแค่นี้ไม่กระเทือนเถ้าแก่ซวง หรอก ใครนะช่างว่าเถ้าแก่ขี้เหนียว ใจไม้ไส้ระกำ�” เธอหันไปทางนักข่าว “เด็กที่อยู่ในอู่ของเถ้าแก่ซวง ที่ปั๊มซวงบริการเกิดอุบัติเหตุมาป่วยอยู่ที่นี่ นี่เถ้าแก่จ่ายค่ารักษาทันทีเลย คุณไม่สนใจไปทำ�ข่าวหรือ นายจ้างใจดี อย่างนี้หายากเหมือนกันนะ” แล้วบอกกับเรืองว่า “ฉันจะชำ�ระให้ เย็นนี้ จะเอาใบเสร็จไปให้เถ้าแก่นะ เรืองจะไปเยีย่ มปานก็ไปซี วันนีเ้ ขาพูดได้แล้ว” เรืองเงยหน้ามองหมอสุดานิ่งอยู่ครู่หนึ่งจึงพูดว่า “คุณหมอครับ ผมจะกลับบ้านไปบอกลุงของปาน ไปวันนี้ครับ ผมฝากสมุดเงินฝากไว้ให้ ปานด้วย กับเงินค่าแรงอีกห้าร้อยบาท พรุ่งนี้ถ้าผมกลับมาไม่ทัน ผมขอ ความกรุณาคุณหมอพาไปโรงพยาบาลด้วย” เสียงของเรืองแหบหาย เขากลัน้ สะอื้น “เขาหายแล้วถ้าเขาไม่ได้กลับไปทำ�งานที่ปั๊ม คุณหมอกรุณาหางาน ให้เขาด้วยนะครับ ผมฝากปานด้วยนะครับคุณหมอ” เรืองทรุดลงกราบเท้า หมอสุดา น้ำ�ตาหยดลงบนรองเท้าของเธอ หมอสุดาตกใจก้มลงดึงตัวเรืองขึ้นมา “เรืองเธอพูดเหมือนเธอจะ ไม่กลับมา” เธอเองก็ตื้นตันน้ำ�ตาไหล “มีอะไรหรือเปล่าเรือง ฉันเป็น เพื่อนเธอนะ บอกฉันได้ ฉันยินดีช่วยเธอ” “ช่วยผม ก็กรุณาช่วยปานนะครับคุณหมอ ผมลาครับ” เรืองยกมือ ไหว้ แล้วผลุนผลันออกจากห้องไป 28


เมื่อเรืองเปิดประตูเข้าไป ปานกำ�ลังจ้องอยู่พอดี ปานยิ้มอย่างดีใจ อ้าแขนออกกอดเพื่อน “เราคอยนายอยู่” ปานพูดเบาๆ “คิ ด ถึ ง แต่ อ ย่ า คอย” เรื อ งบอกเสี ย งกลั้ น สะอื้ น “ถ้ า นายคอย นายจะกระวนกระวายใจ ทำ�ให้เป็นทุกข์” ปานยิ้ม “พูดเหมือนหลวงตาเลย โอ้โฮ วันนี้นายแต่งชุดเก่ง จะไปไหนหรือ” “เถ้าแก่ให้เอาเงินมาชำ�ระค่ารักษานายแล้ว ปานเราจะกลับบ้าน ไปบอกลุงกับป้าให้รู้ พรุ่งนี้ถ้าเรากลับมาไม่ทัน หมอสุดาจะพานายไป โรงพยาบาล นายไม่ต้องห่วงอะไรทั้งสิ้น” เสียงเรืองแผ่วเบา “ถ้านาย หายแล้ ว กลั บ ไปทำ � งานกั บ พี่ ชิ ด นะ หรื อ ถ้ า ขั ด ข้ อ งอย่ า งไร ก็ ป รึ ก ษา คุณหมอสุดานะปานนะ” ปานขมวดคิ้ว “นายพูดเหมือนนายจะไม่กลับมา เรือง เราไม่มีนาย เราอยูไ่ ม่ได้นะ รีบกลับมานะ” น้�ำ ตาปานไหลเป็นทาง เรืองตบมือเพือ่ นเบาๆ พลางยิ้มปลอบใจ “กลับมาซี เมื่อถึงเวลา เมื่อถึงเวลา...เรากลับมาแน่นอน กลับมาหา นาย นายทำ�ใจให้เข้มแข็งนะ คิดถึงเราได้ แต่อย่ารอ อย่าคอย ถึงเวลาเรา มาเอง” เรืองลุกขึ้น “เราต้องรีบไปละ จะได้ถึงบ้านเร็วๆ ...ไปนะปานนะ...” เรืองบีบมือเพื่อนแน่น เขาจ้องมองเพื่อนเหมือนจะจำ�ไว้ให้เต็มตา ปานมิได้ ล่วงรู้ในสายตานั้น ได้แต่รู้สึกอบอุ่นที่เพื่อนมองอย่างรักและห่วงใย “ป้าครับ ป้าแม้นครับผมเอาเงินมาคืนให้ป้าครับ” นางแม้นหันขวับ มาจ้องหน้าเรือง แล้วแกก็เบิกตากว้างด้วยความแปลกใจ เรืองยื่นเงิน ห้าพันบาทให้ “ผมมารับโทษจากป้าแล้วครับ ผมขอโทษที่เอาเงินป้าไป เมื่อวานนี้ ผมจำ�เป็นมาก ผมยืมป้าก่อนสามหมื่น ผมมารับใช้ป้าแทนเงิน ที่ยืมไป” นางแม้นร้องตะโกนสุดเสียง “ไอ้ขี้ขโมยเร็ว! ช่วยจับตัวมันไว้ ไอ้คนที่ขโมยเงินข้าไปเมื่อวานนี้” ผู้คนในตลาดฮือกันเข้ามาดู หลายคนตรง เข้าจับตัวเรืองไว้ “ผมไม่หนีหรอกครับ ผมมารับโทษจากป้าแม้น” เรืองบอก 29


“ไปตามตำ�รวจมาลากคอมันเข้าคุก! ไอ้ถ่อย ยังเด็กอยู่แท้ๆ ริอ่าน เป็นหัวขโมย” นางแม้นแผดเสียง ตำ�รวจมาถึง พอรู้เรื่องก็รู้สึกแปลกใจที่คนร้ายกลับมาให้เจ้าทรัพย์ ลงโทษ จึงซักไซ้ไล่เลียงเรือง เขาเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง โดยไม่ได้เอ่ยถึง เถ้าแก่ซวง หลายคนฟังเรือ่ งทีเ่ รืองพูด แต่นางแม้นและอีกหลายคนก็แคลงใจ เสียงวิพากษ์วิจารณ์กันเซ็งแซ่ ตำ�รวจจึงให้เรืองพาไปดูปาน เรืองจำ�ใจ พานางแม้นกับตำ�รวจไปโรงพยาบาล เมื่อเปิดประตูห้องปานเข้าไป ปานดีใจสุดขีด “เรือง...เรือง กลับมา แล้วหรือ พาใครมาด้วยล่ะ ตำ�รวจมาทำ�ไม” เรืองเข้าไปกอดเพื่อน “ปาน เพื่อนรัก ไม่ต้องตกใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น นายไม่ต้องตกใจ เราคือเรือง เพื่อนของนาย เรารับผิดชอบเองทุกอย่าง ไม่เกี่ยวกับนาย” นางพยาบาลตามหมอสุดาเข้ามาอย่างรีบเร่ง เรืองเล่าเรื่องทั้งหมด ให้หมอสุดาฟังด้วยใบหน้าหม่นหมอง น้ำ�ตาไหลไม่ขาดสาย ปานร้องไห้โฮ เรืองก้มลงกราบเท้าหมอสุดา “ผมขอโทษคุณหมอ ผมเลวมาก ผมไม่รจู้ ะทำ� อย่ า งไร ผมรบกวนคุ ณ หมอมากแล้ ว จึ ง ไม่ ก ล้ า เล่ า ความจริ ง ให้ ฟั ง ว่ า เถ้าแก่ซวงไม่ให้เงินค่ารักษา” หมอสุดาน้ำ�ตาคลอ “โธ่ เรือง ทำ�ไมไม่บอก ฉันช่วยเธอได้...” เธอหันไปทางตำ�รวจ และนางแม้นซึ่งยืนตะลึงเมื่อรู้ความจริง “ฉันจะใช้เงิน คืนป้าแม้นเองค่ะ ป้าอย่าเอาเรือ่ งเด็กเลยนะคะ นะคะคุณตำ�รวจ” นางแม้น น้ำ�ตาคลอ “ฉันจะเอาเรื่องกับเด็กดีๆ อย่างนี้ได้อย่างไรคุณหมอ เขาไม่ใช่ คนชั่ว คนเลวโดยสันดานเลย ทำ�ด้วยความจำ�เป็นแท้ๆ อุตส่าห์กลับไป ขอรับโทษ โถ พ่อคุณ ไปอยู่กับป้าเถอะ อย่าอยู่กับไอ้เถ้าแก่ใจร้ายเลย” ประตูเปิดออกอีกครัง้ หนึง่ เถ้าแก่ซวงกับนักข่าวเดินเข้ามาด้วยใบหน้า ยิ้มแย้ม “โอ้โฮ” เถ้าแก่ซวงร้องทัก “ทำ�อะไรกันอยู่เยอะแยะ นี่ครับคุณหมอ ผมเอาค่ารักษาพยาบาลเจ้าปานมาชำ�ระแล้ว เฮ้ เรืองลือ้ ไปเอาเงินจากไหน 30


มาให้หมอวะ อั๊วยังไม่ทันให้เลย” นางแม้นชี้หน้าเถ้าแก่ซวง “ไอ้เถ้าแก่ใจดำ� เพราะแกไม่ให้เด็กมัน น่ ะ ซี มั น จึ ง ต้ อ งไปขโมยเงิ น ฉั น แกเอาเงิ น ของแกคื น ไป ฉั น จะเอา เด็กสองคนนี้ไปเลี้ยงเอง” เมื่อเถ้าแก่ซวงรู้เรื่องทั้งหมด รู้สึกเสียใจมาก เขาส่งเงินให้นางแม้น พลางยกมือไหว้ “ผมใช้เงินคืนให้ป้า ผมแพ้น้ำ�ใจเรืองครับ ผมด่ามันสารพัด และไม่ยอมรับผิดชอบเรื่องปาน มันยังยกความดีให้ผม นักข่าวไปสัมภาษณ์ ผม ยกย่องให้เป็นนายจ้างตัวอย่าง ไม่มีใครให้เกียรติผมอย่างนี้เลยในชีวิต” เถ้าแก่ซวงหันไปทางนักข่าว “เรื่องมันเป็นอย่างนี้ คุณนักข่าวจะว่าอย่างไร ผมไม่ใช่นายจ้างตัวอย่าง ผมเป็นนายจ้างอำ�มหิต พอได้รับยกย่องจึงวิ่งมา ทำ�ดี” น้�ำ เสียงของเขาบอกความเสียใจเป็นทีส่ ดุ “ถึงอย่างไรผมก็จะดูแลปาน กับเรือง เรืองมันรักปาน ทำ�ให้ผมได้คิดว่าความรักของเพื่อนนั้นช่างอบอุ่น เสียจริงๆ” เขาหันไปทางเรือง “ฉันเป็นเพื่อนของเรืองด้วยคนนะ” นั ก ข่ า วยิ้ ม อย่ า งพอใจ “เถ้ า แก่ คุ ณ เป็ น นายจ้ า งตั ว อย่ า งจริ ง ๆ ผมจะเขียนข่าวให้ดีที่สุด” ทุกคนมีความสุข เรืองกับปานมีเพือ่ นเพิม่ ขึน้ มีปา้ แม้น มีนายตำ�รวจ โดยเฉพาะเถ้าแก่ซวงเพื่อนผู้จะเมตตาช่วยเหลือเขาตลอดไปเช่นเดียวกับ หมอสุดา

31



แสงทองส่องฟ้า

“จุ๊ จุ๊ เด็กๆ รถมาแล้ว เร็วเข้า” ผู้ที่เอ่ยประโยคนี้อย่างร้อนรนยังไม่พ้นวัยเด็ก มือหนึ่งหิ้วกระเป๋า นักเรียนสีด�ำ ใบโตกว่าเจ้าของ อีกมือหนึง่ สาละวนฉุดคนโน้นคนนีใ้ ห้เลิกเล่น ลูกป๊อกแป๊ก ไปยืนคอยเข้าแถวเตรียมขึ้นรถเมล์ซึ่งกำ�ลังแล่นมาแต่ไกล เด็กกลุ่มนั้นมีสิบเอ็ดคน ทั้งหญิงและชาย บ้านใกล้เรือนเคียงกัน ทั้งนั้นและอยู่โรงเรียนเดียวกัน สริตา ทำ�หน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม เพราะ เพื่อนๆ และน้องๆ ชั้นเล็กกว่าเชื่อถือ เธอยืนอยู่ข้างหน้า โบกมือหยอยๆ ให้รถหยุด พวกผู้ใหญ่ที่ยืนรอรถอยู่ที่นั่นต่างมองด้วยความเอ็นดู แต่พอรถมาจอด ความชุลมุนวุ่นวายก็เกิดขึ้น เหมือนทุกๆ แห่ง คนจะลงก็ เ บี ย ดเสี ย ดกั น ลงมา คนจะขึ้ น ก็ ชิ ง เอาตั ว รอดให้ ขึ้ น รถให้ ไ ด้ ดูเหมือนทุกคนจะลืมเด็กทั้งสิบเอ็ดเสียสิ้น 71


ต่างคนต่างบุกเบียดเข้าไปเพื่อให้ถึงบันไดรถ มือซ้ายหิ้วกระเป๋า มือขวาพยายามไขว่คว้าราวบันไดรถ ตัวก็เล็ก น้ำ�หนักก็น้อย บุกเข้าไปทีไร ก็กระเด็นกลับออกมาทุกที สริตาส่งเสียงแจ้วๆ อยูห่ ลังกลุม่ ช่วยผลักช่วยดันให้เพือ่ นๆ ได้ขน้ึ รถ “เมตตาเด็กๆ ด้วยค่ะ ให้เด็กนักเรียนขึ้นรถด้วยค่ะ” เปล่า...ไม่มีใครฟังสักคน พอพวกผู้ใหญ่ขึ้นรถได้หมด กระเป๋ารถเมล์ใจร้ายก็ร้องขึ้นว่า “ไปได้...ออกเร็ว เหลือแต่พวกเด็กนักเรียนเกะกะทั้งนั้น” แล้วก็ ทำ�ปากจู๋เป่าเป็นเสียงนกหวีด ปรี๊ด...ปรี๊ด เร่งเร้าให้ลูกพี่เคลื่อนรถโดยเร็ว สริตาถอนใจยาวมองดูเพื่อนๆ ที่ขึ้นไม่ได้ เหลืออยู่เจ็ดคน ขึ้นไปได้สี่คน เฮ้อ! ก็ยังดี รถมาอีกแล้ว สริตากางแขนออกป้องเพื่อนๆ ให้อยู่ข้างหน้ากลุ่มคน รถเฉี่ ย วฉิ ว เข้ า มาจอด กระเป๋ า รถเมล์ ที่ เ กาะห้ อ ยอยู่ บั น ไดรถ ตวาดขึ้น “ไปให้พ้น หลีกไป ไอ้พวกเด็กๆ นี่ ให้ผู้ใหญ่เขาขึ้นก่อน พวกเรามัน ขึ้นฟรี ต้องขึ้นทีหลังว้อยพวก!” “ฉั น มี ส ตางค์ ใ ห้ ค่ า รถ” เด็ ก ในกลุ่ ม คนหนึ่ ง พู ด สวนออกไป แต่ เจ้ากระเป๋าฯ ทำ�ไม่ได้ยนิ แถมยืน่ มืออันแข็งแรงมาคอยกันไว้ไม่ให้ขนึ้ เสียอีก สริตาขบฟันแน่น พอเขาขึ้นลงกันเสร็จ รถก็กระชากออกทันที “เจ็บใจนัก” ทศเพือ่ นชัน้ เดียวกับสริตา ร้องขึน้ อย่างโกรธแค้น “ระวัง เรือใบเถอะพรุ่งนี้” “อะไร เรือใบ” เพื่อนตัวเล็กๆ สงสัย “ฮึ ก็ตะปูน่ะซี ตะปูตอกติดกับไม้ วางไว้ให้มันเหยียบน่ะซี” ทศพูด อย่างเข่นเขี้ยว 72


“ดีๆ” อีกคนเสริมอย่างนึกสนุกระคนโกรธแค้น “เอาให้มันแบน แต๊ดแต๋เลย” สริตาฟังด้วยความไม่สบายใจ แต่ขณะนี้ เธอคิดอยู่แต่เพียงว่า ทำ�อย่างไรเพื่อนๆ และตัวของเธอจะไปถึงโรงเรียนได้ก่อนโรงเรียนเข้า เหตุ ก ารณ์ เ ช่ น นี้ เ กิ ด ขึ้ น ทุ ก เช้ า ทุ ก เย็ น ตั้ ง แต่ โ รงเรี ย นเปิ ด เทอม คุณพ่อของสริตาไม่มีรถนั่ง เด็กๆ ทั้งสิบเอ็ดคนไม่มีใครที่มีผู้ปกครอง มีรถส่วนตัวขับไปส่งลูกเลยสักคนเดียว พวกเธอขึ้นรถได้ทุกเช้าด้วยอาการสะบักสะบอม บางคนโบว์ที่ติด เสือ้ หลุด บางคนรองเท้าหลุด บางคนรองเท้าหลุด ขึน้ ไปได้แล้วก็ตอ้ งยืนโซเซ ตัวลีบเบียดพนักเก้าอี้ มือหนึ่งคอยยื่นสตางค์ส่งให้กระเป๋ารถเมล์เพราะ ไม่ได้อยากขึ้นฟรี บางครั้งเขาก็เก็บ บางครั้งก็ไม่เก็บ เป็นอย่างนี้อยู่ทุกวัน จนรูส้ กึ ชินชา และในความรูส้ กึ ชินชานัน้ มีความโกรธแค้นชิงชังระคนอยูด่ ว้ ย มันค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อยในหัวใจดวงเล็กๆ เหล่านั้น และกำ�ลังจะฝังแน่น เป็นความอาฆาตมาดร้าย ความรู้สึก ความสำ�นึกที่จะต้องทำ�ตัวให้เป็นระเบียบและจะต้อง เชื่อฟัง ความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว ที่คุณครูอุตส่าห์ปลูกฝัง ชี้แจง พร่ำ�พูดสั่งสอนกำ�ลังจะสูญสลายไป เพราะความเคียดแค้น ชิงชัง และขมขื่น เช้าวันนี้สริตาและเพื่อนอีกหกคนถึงโรงเรียนเมื่อโรงเรียนเข้าแล้ว สิบห้านาที “ทำ�ไมมาสายล่ะ สริตา” คุณครูชอบถามแบบนี้ “รถแน่นค่ะ ขึ้นรถไม่ได้ เขาไม่ยอมให้พวกหนูขึ้นด้วยค่ะ” คุณครู นิ่งมองด้วยความเห็นใจ คุณครูเองก็ต้องโหนรถเมล์เหมือนกัน “ต้องตืน่ เช้านะคะ” คุณครูบอก “เช้าๆ รถไม่แน่น คนยังไม่มาก บางที กระเป๋ารถเมล์เขาจะเห็นใจให้เราขึ้น” “พวกหนูออกมาจากซอย มาขึ้นรถตอนเจ็ดโมงค่ะ” 73


“พรุ่งนี้ลองดู คนดีของครู ออกมาสักหกโมงครึ่ง อดทนหน่อยนะจ๊ะ ครูเองไปยืนคอยรถตั้งแต่หกโมงทุกวัน หนูนอนกี่ทุ่มจ๊ะ สริตา” “สามทุ่มครึ่งค่ะ” “ทีนี้ นอนสักสามทุ่ม ทำ�อะไรๆ ให้มันเร็วขึ้นกว่าเดิม อ่านหนังสือ ให้เร็วขึ้น ทำ�การบ้านให้เร็วขึ้น เตรียมจัดหนังสือสำ�หรับเรียนวันต่อไป ให้เร็วขึ้น ตื่นสักหกโมง อาบน้ำ� แต่งตัว รับประทานข้าวให้เร็วขึ้น เดินออก ไปปากซอยให้เร็วๆ ให้ได้ ขึ้นรถเวลาหกโมงยี่สิบนาทีหรือหกโมงครึ่ง ลองดู นะสริตา” สริตาหัวเราะเบิกบานใจ คุณครูพูดน่าสนุก น่าลองทำ� หัดเป็นคนทำ� อะไรๆ ให้กระฉับกระเฉง ไม่เฉื่อยช้าอืดอาด คงจะดีขึ้น พรุ่งนี้สริตาจะนัด ให้เพื่อนลองทำ�ดู แล้ววันรุ่งขึ้น สริตาและเพื่อนๆ ทั้งสิบคนก็ทำ�ได้จริงๆ เดินออกมาปากซอยอย่างกระฉับกระเฉง ไม่มัวหยอกล้อเล่นกัน ไม่มัวเล่นลูกป๊อกแป๊ก ไม่มัวยืนดูหมากัดกัน ผู้ใหญ่ในซอยหลายคนชมว่า “โอ้โฮ เข้มแข็งทะมัดทะแมงดีจริง! เด็กไทย เป็นอย่างนี้ล่ะก็ โอ๊ย เมืองไทยเจริญแน่!” เด็กทั้งสิบเอ็ดคนหันมายิ้มให้กัน เร่งฝีเท้าจนไปถึงป้ายจอดรถเมล์ วันนี้นอกจากกระเป๋าหนังสือแล้ว ทศยังถือถุงกระดาษใส่ของตุงๆ มาด้วย หนึ่งถุง “อะไรน่ะ ทศ” สริตาถาม “เรือใบ” ทศตอบอย่างเหี้ยมเกรียม “หือ” “ก็ลองดู...คันไหนไม่ให้เราขึ้น ก็เจ็บตัวล่ะ” ที่ป้ายรถเมล์เช้าวันนี้ มีผู้ใหญ่ยืนคอยอยู่เพียงสองคน สริตาเฝ้าชำ�เลืองดูท่าทีของทศอยู่อย่างเงียบๆ รถมาแล้ว คนในรถไม่เบียดแน่นเพราะยังเช้าอยู่ หกโมงยีส่ บิ ห้านาที 74


เท่านั้น รถจอดสนิทแล้ว เสียงห้าวกังวานของคนขับก็ดังขึ้น “เอ้า เด็กๆ ขึ้นมาเร็วๆ” ทศกำ � ลั ง คลี่ ป ากถุ ง พอได้ ยิ น ดั ง นั้ น เขารี บ ปิ ด ถุ ง หน้ า บานเป็ น จานเชิง เด็กๆ ทั้งสิบเอ็ดขึ้นรถอย่างรวดเร็ว เป็นระเบียบ มีที่นั่งเหลืออยู่ สองสามที่ เด็กที่ตัวเล็กเข้านั่งเก้าอี้ละสามคน คนขับเป็นชายหนุ่มใหญ่ เขาหันมายิ้มขณะเคลื่อนรถออกจากที่ “ตื่นแต่เช้าดีจริง มาขึ้นกันอย่างนี้ทุกวันสินะ จะคอยรับ” เสียงนั้นให้ความอบอุ่นแก่หัวใจดวงเล็กๆ ทั้งสิบเอ็ดดวง ยิ้มของเขาทำ�ให้ศรัทธาที่กำ�ลังจะสูญสลายเพราะความขมขื่นชิงชัง หมดไป สริตาหันไปสบตากับทศ เธอยิ้มให้ เขาก็ยิ้มตอบ ดวงอาทิตย์ก�ำ ลังทอแสงลอดก้อนเมฆลงมาสูพ่ นื้ ดินเรือ่ เรือง ฉาบผิว อาคารบ้านเรือนสองข้างถนนอร่าม แลดูเหมือนสีทองทาบ ลมพัดฉิว เย็นระรื่น ชื่นใจขณะที่รถแล่น เด็กทัง้ สิบเอ็ดคนต่างรูส้ กึ ว่า เช้าวันนีช้ า่ งสดใสและเบิกบานเสียจริงๆ ในโลกนี้ยังมีความเมตตา มีไมตรีจิต ไว้ให้อบอุ่นหัวใจอยู่เสมอ ความอดทน ความพยายาม ย่อมมีรางวัลตอบแทน ถ้าเราอดทน ถ้าเราพยายาม ถ้าเราใฝ่หา... เด็กๆ ทั้งสิบเอ็ดคนถึงโรงเรียนก่อนโรงเรียนเข้า มีคุณครูยืนยิ้มคอยอยู่ ทำ�ให้เด็กๆ ขวัญดี ยิม้ ทีไ่ ด้รบั ในเช้าวันนี้ ทำ�ให้โลกแจ่มใส เหมือนแสงทองส่องฟ้า ทำ�ให้ หัวใจอบอุ่นสุดประมาณ

75


204


เกี่ยวกับผู้เขียน รัชนี ศรีไพรวรรณ สกุลเดิม อัมพานนท์

• ถิ่นกำ�เนิด อำ�เภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม • การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนประชาบาล ‘พินิจราษฎรบำ�รุง’ อำ�เภอยางตลาด จังหวัดมหาสารคาม มัธยมศึกษา • ม.๑-ม.๓ โรงเรียนสตรี ‘อนุกูลนารี’ จังหวัดกาฬสินธุ์ • ม.๔-ม.๖ โรงเรียนสตรี ‘ผดุงนารี’ จังหวัดมหาสารคาม อุดมศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูสวนสุนันทาวิทยาลัย โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมวังจันทรเกษม (หลังกระทรวงศึกษาธิการ) วิทยาลัยวิชาการศึกษา ถนนประสานมิตร • ปัจจุบัน ข้าราชการบำ�นาญ กระทรวงศึกษาธิการ • ผลงาน หลายเรื่ อ ง ที่ ภู มิ ใจที่ สุ ด คื อ หนั ง สื อ เรี ย นภาษาไทยระดั บ ประถมศึกษา (ป.๑-ป.๖ ชุด มานี มานะ) เป็นหนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๓๗

205


206


เกี่ยวกับ นักวาดภาพประกอบ Jung Sakura

• เคยเป็น บ.ก.การ์ตูนเฟรช บ.สยามอินเตอร์คอมิกส์ • ทำ�ปกนิยายรัก • ทำ�หนังสือ How to Paint เทคนิคการลงสีด้วยคอมพิวเตอร์ สำ�นักพิมพ์ วิจิตรศิลป์ • ทำ�คอมพิวเตอร์ดิจิทัลแมตต์เพนต์ ให้ภาพยนตร์เรื่อง นเรศวร • ทำ�สตอรี่บอร์ดงานโฆษณา • ทำ�สตอรี่บอร์ดภาพยนตร์ Belly of the Beast ของ Steven Segal • ทำ � โปรเจ็ ก ต์ ส่ ว นตั ว แอนิ เ มชั่ น เรื่ อ งมานะมานี ค วามทรงจำ � ในวัยเยาว์ • เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ด้านคาแรกเตอร์ดีไซน์ • ปัจจุบันทำ�งานด้านคาแรกเตอร์ดีไซน์ บริษัท Imagimax • Facebook Page: มานะมานีความทรงจำ�ในวัยเยาว์

207


208


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.