2
3
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ สารภาพตามตรง ในทีแรกที่เปิดดูไฟล์ต้นฉบับหนังสือ เล่มนี้ของหมอคุ – คุณากร เรากลับไม่แน่ใจว่าจะหยิบมาทำ� ดีหรือไม่ ถึงแม้ว่าจะแอบรออ่านต้นฉบับใหม่ของหมอคุอยู่ก็ ตามที หลังจาก 3 ปีเต็มๆ ทีห่ มอว่างเว้นจากการออกพ็อกเก็ตบุก๊ นับจาก มองโรคในแง่ดี เมื่อปี 2556 จะให้แน่ใจได้ยังไง ก็เราเพิ่งทำ�หนังสือเกี่ยวกับเส้นทาง อันนาปุรณะเซอร์กิตไปเล่มนึงเมื่อไม่นานมานี้เอง จู่ๆ จะออก หนังสือเดินทางที่เล่าเรื่องราวบนเส้นทางเดียวกันอีกเล่ม ก็ดู แปลกๆ แต่เมื่อเปิดอ่านจากหน้าแรกไปหน้าสอง จากหน้าสอง ไปหน้าสาม หน้าสามไปหน้าสี่ ตามด้วยหน้าห้า หก เจ็ด แปด... แล้วสองชั่วโมงต่อมาต้นฉบับทั้งหมดกว่า 60 บท ความยาวร่วม 200 หน้าเอสี่ก็ไหลผ่านสายตาเราไปอย่างรวดเร็ว และเมื่อละสายตาจากตัวอักษรสุดท้าย เราก็ตัดสินใจ ได้ทันทีว่าต้องตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ของหมอคุให้ได้
คุณอาจเดาได้จากชือ่ หนังสือ การเดินทางในหนังสือเล่มนี้ มีองค์ประกอบหลักๆ อยู่สองประการ นั่นคือ เขาและเธอ ‘เขา’ นั้นไม่ใช่คน – แต่คือเทือกเขาอันนาปุรณะ ที่นอน ทอดตัวอวดโฉมอันงดงามน่ามองของมันแก่สายตานักเดินทาง ทุกคนที่มาเยือนอันนาปุรณะเซอร์กิต หนึ่งในเส้นทางเดินเขา ที่สวยที่สุดในโลก
ส่วน ‘เธอ’ นัน้ เป็นคน – สาวใส่แว่น ท่าทางร่าเริงทีแ่ ต่งแต้ม สีสันการเดินทางไกลกว่าสามร้อยกิโลเมตร บนความสูงมากกว่า ห้าพันเมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเล ในระยะเวลายาวนานสามสิบวันนี้ ให้มชี วี ติ ชีวา เธอสวยทีส่ ดุ ในโลกหรือเปล่าเราไม่แน่ใจ แต่อนุมาน เอาจากตัวหนังสือของหมอคุ รอยยิม้ ของเธอน่าจะสวยมากแน่ๆ เดินข้างเขา หนาวข้างเธอ ทำ�ให้เราพบว่าการเดินทาง จะน่าจดจำ�ก็ดว้ ยองค์ประกอบสองประการ นัน่ คือ ‘ทางข้างหน้า’ และ ‘คนข้างๆ’ จุดมุง่ หมายนัน้ เป็นสิง่ สำ�คัญ แต่มนั คงเหงาเกินไปหากไม่มี ใครร่วมแชร์ประสบการณ์ เพื่อนร่วมทางก็สำ�คัญ แต่จะเพลิดเพลินกันอย่างเดียว ก็คงไปไม่ถึงไหน การเดินทางที่ดีอาจต้องมองหาสมดุลระหว่างเส้นทาง ตรงหน้าและคนข้างๆ ให้เจอ ท่ามกลางเส้นทางที่สูงและหนาว หมอคุบอกกับเราว่า การมีใครสักคนเดินไปด้วยกันข้างๆ อาจไม่ได้ท�ำ ให้ความหนาวเย็น กลายเป็นความอบอุ่นไปได้ แต่อย่างน้อยมันก็ทำ�ให้ความหนาวนั้นไม่เหงาจนเกิน ไปนัก สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
บทนำ�
ลองเท้าในกล่องรองเท้า
ณ ร้านขายอุปกรณ์เดินเขา พี่ผู้ชายท่าทางทะมัดทะแมงน�ำผมไปยืนท่ามกลาง รองเท้าเดินเขาหลากยี่ห้อ “คู่นี้ก็ดีนะ” เขามองๆ ก่อนเลือกหยิบคู่หนึ่งยื่นให้ “ว่าแต่จะไปที่ไหนล่ะน้อง” “อันนาปุรณะเซอร์กิต ครับ” ผมตอบ พีค่ นขายวางรองเท้าคูน่ นั้ กลับทีเ่ ดิมทันที ก่อนจะหยิบ อีกคู่ขึ้นมา “งั้นพี่ว่าเอานี่ดีกว่า” เขาหงายรองเท้าขึ้นและใช้ ฝ่ามือตบๆ ที่พื้นยางหนาๆ ของมัน “ต้องคู่นี้ถึงจะสมน�้ำสมเนื้อกันหน่อย”
8
เขา
ผมแอบมองเขามานานแล้ว ผมได้ยินใครหลายคนพูดถึงเขาตั้งแต่คราวไปเนปาล ครั้ ง แรกเมื่ อ หลายปี ก ่ อ น ตอนนั้ น ผมมี โ อกาสมองเขา แค่เพียงห่างๆ ไม่ไกลเกินสายตา แต่ไกลเกินกว่าจะยื่นมือ เอื้อมไปถึง เขามีรูปร่างสูงใหญ่ ไหล่หนาบึกบึน การได้ซบ ไหล่เขาเป็นความฝันของผูค้ นมากมาย รวมทัง้ ผูช้ ายอย่างผม เขาชื่อ อันนาปุรณะ เทือกเขาเหล่ากอของเขาคือกลุ่มขุนเขาสูงตระหง่าน มากมายที่กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเทือก เขาหิมาลัย การพิชิตยอดเขาสูงกว่า 7,000 เมตรเหล่านี้คือ ชัยชนะยิ่งใหญ่ แต่ในฐานะนักเดินทางมือใหม่ ผมขอแค่ได้ เดินไปกระทบไหล่เขาเบาๆ ก็คงพอ อันนาปุรณะเซอร์กติ (Annapurna Circuit) ตอบโจทย์ ที่ต้องการ มันคือเส้นทางเดินเท้ารอบเทือกเขาอันนาปุรณะ เป็นเส้นทางค้าขายโบราณทีย่ งั คงถูกใช้งานอยูก่ ระทัง่ ปัจจุบนั หลายคนบอกว่ามันคือลิฟวิ่งเทรล (living trail) - เส้นทาง ที่ยังมีชีวิต เส้นทางคลาสสิกสายนี้มีชื่อเสียงด้วยภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างหลากหลาย ตัง้ แต่เดินเลียบโตรกธารไปจนถึงลัดเลาะผ่านภูเขาหิมะ ตัง้ แต่ ร้ อ นชื้ น ไปจนถึ ง หนาวเหน็ บ ระดั บ อุ ณ หภู มิ ติ ด ลบ ตั้ ง แต่ วัฒนธรรมฮินดูไปจนถึงพุทธวัชรยานของทิเบต ที่ร่ายมาทั้งหมดผมแทบไม่ได้สนใจมันเลย สิ่งเดียว ที่ผมสนใจคือนิยามสั้นๆ ที่ใครต่อใครต่างพูดถึงมันในฐานะ หนึ่งในเส้นทางเดินเขาที่สวยที่สุดในโลก 9
แม้อยากเจอเขาแค่ไหน แต่ที่ผ่านมา ผมกลับท�ำได้ เพียงแอบมองอยู่ไกลๆ อันนาปุรณะเซอร์กิตมีระยะทาง ทั้งสิ้นราวสามร้อยกิโลเมตร ค�ำนวณคร่าวๆ ถ้าจะเดินเท้า ผมคงต้องใช้เวลาอย่างน้อยสามสัปดาห์ แต่ปญ ั หาใหญ่ไม่ใช่ เรื่องเวลา เวลานานขนาดนั้น – แม้จะยาก – แต่ผมรู้ตัวว่า ผมพอหามันได้ ปัญหาหนักใจคือผมยังไม่กล้าเดินทางนาน และไกลขนาดนี้เพียงล�ำพัง กลัวช่วงเวลาที่ยากล�ำบากก็ส่วน หนึ่ง แต่ที่น่ากลัวจริงๆ กลับเป็นช่วงเวลาที่สวยงามมากกว่า การพบสิง่ สวยงามอยูต่ รงหน้าแล้วไม่รจู้ ะหันไปยิม้ ดีใจกับใคร นี่มันเลวร้ายเกินจะทน ก่อนหน้านี้ พอผมบอกตัวเลขสามสัปดาห์ออกไป ใครต่อใครก็พากันส่ายหน้า หลายคนช่วยให้ความเห็นส�ำทับ ว่า “แกจะบ้ารึไง!” ผมอกหัก ต้องแอบรักเขาข้างเดียวต่อไป ผมปล่อย ให้เวลาไหลผ่าน หวังว่ามันจะช่วยเยียวยาหัวใจ ผมหวังว่า จะค่อยๆ ลืมเขาได้ หวังว่าวันหนึ่งจะตัดใจจากเขาได้เสียที ผมเกือบจะลืมเขาได้อยู่แล้ว ตอนที่ประโยคสั้นๆ ประโยคนี้ดังขึ้น “ไปอันนาปุรณะเซอร์กิตกันมั้ย” อยูๆ ่ นัท – รุน่ น้องทีเ่ พิง่ รูจ้ กั กันได้ไม่นาน – ก็เอ่ยปาก ชวนผมในวันหนึ่ง ผมเริม่ คิดว่าจะจัดกระเป๋ายังไงก่อนทีจ่ ะเอ่ยปากตอบ ตกลงเสียอีก! แล้วปัญหาการเดินทางคนเดียวก็เป็นอันหมดไป แต่ 10
ผมกลับต้องมาเจอปัญหาใหม่ ปัญหาของการเดินทางสองคน เพือ่ จะไปหา ‘เขา’ ซึง่ อยูใ่ นใจมาเนิน่ นาน ผมอาจต้อง ไปกับ ‘เธอ’ ซึ่งเพิ่งรู้จักกันได้ไม่กี่เดือน เธอ
ครับ, นัทเป็นผู้หญิง สามเดือนก่อนหน้านัน้ ผมใช้เวลาช่วงหยุดยาวห้าวัน ด้วยการไปเป็นอาสาสมัครสร้างห้องสมุดให้น้องๆ นักเรียน แถบ อ.อุม้ ผาง จ.ตาก ห้องสมุดถูกก�ำหนดให้สร้างเป็นอาคาร ดิน ด้วยมันเป็นเทคนิคที่ไม่ยากและแพงจนเกินไป คนทั่วไป สามารถเรียนรู้และสร้างมันได้ด้วยตัวเอง เช้านั้น ผมและอาสาสมัครหลายสิบชีวิตกระจายตัว ช่วยกันก่อก�ำแพงสีด่ า้ นของอาคารซึง่ ในอนาคตจะกลายเป็น ห้องสมุดของโรงเรียน ฝ่ายก่อยืนกันอยู่รอบก�ำแพง ฝ่าย ผสมดินก่อก็ผสมแกลบ ดิน และนำ�้ อยูท่ บี่ อ่ ข้างๆ ฝ่ายขนส่ง จะมีหน้าที่ตักดินก่อเหล่านั้นใส่ถังและล�ำเลียงมันไปตลอด แนวก�ำแพงดิน ตอนที่ พ บเธอครั้ ง แรก ก�ำแพงที่ ผ มก่ อ มี ค วามสู ง ประมาณเข่า “หนูวางดินไว้นี่นะคะ” ผมเงยหน้าจากอิฐดินในมือ มองเห็นรอยยิ้มของเธอก่อนสิ่งอื่นใดบนใบหน้า ที่ยังจ�ำได้ ติดตาคือตาหยีๆ หลังแว่นหนาๆ และใบหน้าเปรอะเปือ้ นดิน ตลอดระยะเวลาห้าวัน อาสาสมัครมากหน้าหลายตา จะสลับสับเปลี่ยนเข้าออกกันทุกวัน ตามเวลาที่แต่ละคน 11
สะดวกมาช่วยลงแรง ผมไม่เคยเห็นเธอมาก่อน ดังนั้นเธอ คงเพิ่งจะมาถึงเมื่อเช้า “ขอบคุณครับ” ผมยิ้มตอบสั้นๆ รับถังดินมา ก่อนจะ ก้ ม หน้ า ก้ ม ตาวางอิ ฐ ดิ น ซ้ อ นบนก�ำแพงต่ อ ไป “ดิ น หมด หรือยังคะ” ผมได้ยนิ เสียงแจ้วๆ ของเธอเดินถามคนอืน่ ตลอด แนวก�ำแพง เธอเวียนมาอีกครั้งตอนที่ก�ำแพงสูงประมาณเอว “ลองก่อดูบา้ งมัย้ ” ผมเสนอ ในฐานะผูม้ าก่อนหนึง่ วัน เธอนิ่งคิดครู่หนึ่งก่อนพยักหน้า ผมให้เธอยืนนอกก�ำแพง ผมยืนด้านใน เธอท�ำหน้าที่เทดินก่อให้ ส่วนผมก็วางอิฐดิน ซ้อนลงไป ไม่ตา่ งกันนักกับการสร้างบ้านด้วยการก่ออิฐถือปูน “ชื่อนัทนะคะ” หลังก่อไปได้แถวหนึ่ง เราถึงเพิ่งรู้จัก ชื่อของกันและกัน หลั ง กลั บ จากอุ ้ ม ผางคราวนั้ น ผมก็ ไ ม่ ไ ด้ เ จอเธอ อีกเลย จนกระทั่งสามเดือนต่อมา เมื่ออยู่ๆ นัทก็โทรมาหา แล้วประโยคที่ไหลผ่านสายโทรศัพท์นั้นมาก็คือจุดเริ่มต้น ของการเดินทางครั้งนี้ – ไปอันนาปุรณะเซอร์กิตกันมั้ยคะ ในทุกการเดินทาง ผมให้ความส�ำคัญกับเพือ่ นร่วมทาง มากเป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆ บางที อ าจมากกว่ า สถานที่ ที่ จ ะไป เสียอีก ส�ำหรับผม การเดินทางกับคนไม่รู้จักถือเป็นความ เสี่ยงใหญ่หลวง ได้เพื่อนร่วมทางที่ดีการเดินทางนั้นก็มีชัย ไปกว่าครึ่ง ตรงกันข้าม ถ้าได้เพื่อนร่วมทางที่คุยกันไม่รู้เรื่อง เป้าหมายในการเดินทางต่างกัน การเดินทางนัน้ ก็อาจพังพิณ ลงได้ในพริบตา เพื่อนร่วมทางนั้นส�ำคัญ ยิ่งถ้าต้องเดินทาง 12
ด้วยกันนานวัน ใครคนนั้นดูจะยิ่งส�ำคัญเข้าไปใหญ่ ผมไม่รู้นัทคิดยังไงถึงตัดสินใจมาชวนผม มองย้อน กลับไป ผมรูเ้ พียงว่าเหตุผลทัง้ หมดทีผ่ มใช้ประกอบการตัดสิน ใจ ผมได้มาจากอุ้มผาง ณ วันแรกที่เราพบกัน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่เวลาที่เราใช้ไปในเช้า วันนัน้ กลับสร้างอะไรขึน้ มามากมาย ผมและเธอ เรายืนกันอยู่ คนละฟากก�ำแพง ทีละน้อยๆ เราค่อยๆ ก่อมันให้สงู ขึน้ จาก ระดับเอว ก�ำแพงค่อยๆ สูงขึ้นเสมอไหล่ และในที่สุดมันก็สูง พ้นศีรษะของเรา อิฐดินก้อนสุดท้าย ผมต้องเหยียดเกือบสุด แขนถึงจะยกมันขึ้นวางบนก�ำแพงได้ บทสนทนาท้ายๆ ที่คุยกัน เรามองไม่เห็นหน้ากัน ด้วยซ�้ำ ขณะก�ำแพงหนึง่ ค่อยๆ สูงขึน้ อีกหนึง่ ก�ำแพงก็คอ่ ยๆ พังทลายลงมา “ไปอันนาปุรณะเซอร์กิตกันมั้ยคะ” “ไปสิ” ผม
การลางานไปเที่ยวไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การลางาน หนึง่ เดือนเพือ่ ไปเดินเท้าเป็นระยะทางร่วมสามร้อยกิโลเมตร ที่เนปาลคงเป็นเรื่องไม่ปกติเท่าไหร่ส�ำหรับคนทั่วไป “เอาบุญมาเผื่อพี่บ้างนะ” พี่พยาบาลคนหนึ่งบอก เมื่อรู้ว่าผมจะไปเนปาล ผมแก้ตัวแทบไม่ทันว่าไม่ได้จะไป สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า 13
“สามสิบวันเลยเหรอ!?” แม่ผมถามย�้ำหลังจากผม บอกว่าจะไปนานแค่ไหน “เดินเท้าอย่างเดียวเนี่ยนะ!” เพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ถามอีกทีเพื่อความแน่ใจ “จะไปท�ำไมเนี่ย?!” ทุกคนถามทิ้งท้าย หลังจากผม อธิบายรายละเอียดการเดินทางให้ฟัง จริงอยู่ ค�ำถามจากทุกสารทิศท�ำให้การเดินทางครัง้ นี้ ยากล�ำบากตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม อย่างไรก็ตามค�ำถามเหล่านี้ ก็ท�ำให้ผมต้องย้อนถามตัวเองอีกครั้ง – ตกลงผมจะไปท�ำไม ค�ำตอบที่ได้คือ ผมไปเพื่อรีสตาร์ทตัวเอง อาชีพแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนท�ำให้ผมมีตาราง ชีวติ ค่อนข้างแน่นอน กิจวัตรในแต่ละวันซำ�้ ไปซำ�้ มา กิจกรรม ในแต่ละสัปดาห์แทบไม่ต่างกัน เช้าตรวจคนไข้ เที่ยงกินข้าว บ่ายตรวจต่อ วันจันทร์ตรวจคนไข้ทั่วไป พุธบ่ายตรวจคนไข้ เฉพาะโรค วันอังคารคนไข้จะมากมายมหาศาลเพราะที่ ตัวอ�ำเภอมีตลาดนัด ขณะทีว่ นั พฤหัสฯ จะเต็มไปด้วยคนท้อง ทีม่ ารับบริการในคลินกิ ฝากครรภ์ สิง่ ทีผ่ มท�ำแต่ละวันเรียกว่า กิจวัตร-ประจ�ำ-วัน ได้โดยไม่เคอะเขิน ผมแทบจะรู้ตอนจบ ของแต่ละวันได้ตั้งแต่ลืมตาตื่น ชีวิตชินๆ น�ำมาซึ่งความรู้สึกชาๆ มันดีตรงที่ไม่เจ็บ ไม่ปวด แต่ก็แย่ตรงที่มันไม่รู้สึกอะไรอย่างอื่นด้วยเช่นกัน คุณค่าและความหมายของชีวิตจมหายไปในความคุ้นตา ของชีวิตประจ�ำวัน ความเคยชินท�ำให้ผมเริ่มใช้ชีวิตไปวันๆ ไหลเรือ่ ยไปกับมันโดยไม่สามารถวิพากษ์วจิ ารณ์และตรวจสอบ 14
ตัวเองได้อย่างทีช่ วี ติ ทีด่ คี วรจะเป็น ความรูส้ กึ คล้ายตอนต้อง นั่งเขียนนั่งแก้บทความชิ้นหนึ่งซ�้ำไปซ�้ำมา หลังอ่านทวนมัน จนช�้ำ ผมไม่ได้อะไรนอกจากความรู้สึกมึนๆ ชาๆ ก่อนที่ สุดท้ายจะพบว่า ผมไม่สามารถมองมันด้วยสายตาของผู้ที่ อ่านมันครั้งแรกได้อีกต่อไป ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกแบบนี้ ผมจะท�ำการรีสตาร์ทตัวเองใหม่ เพือ่ จะมองเห็นข้อผิดพลาด และแก้ไขบทความนั้นได้ ผมต้องการความรู้สึกที่สดใหม่ ราวกับไม่เคยอ่านมันมาก่อน กับการเขียนบทความ ผมมักรีสตาร์ทตัวเองด้วยการ ปิดโน้ตบุก๊ ลุกจากเก้าอี้ เปิดประตูห้อง แล้วออกไปเดินเล่น สักพัก, กับการใช้ชวี ติ ผมคิดว่ามันคงได้ผลด้วยวิธคี ล้ายๆ กัน ออกไปเดินเล่นสักพัก แล้วกลับมาพร้อมสายตาใหม่ๆ เพื่อใช้มองชีวิตของตัวเอง ณ ร้านขายอุปกรณ์เดินเขา ผมลองสวมรองเท้าคู่นั้นเดินไปเดินมาอยู่หลายรอบ ในที่สุด ผมยื่นมันส่งให้พี่คนขาย “ตกลงเอาคู่นี้ครับ” ขณะ มองเขาบรรจุรองเท้าลงในกล่องกระดาษ ผมนึกถึงเหตุการณ์ ต่างๆ ที่น�ำผมมายืนอยู่ ณ ร้านขายอุปกรณ์เดินเขาแห่งนี้ ทั้งหมดที่ผ่านมาไม่ต่างจากการลองเท้าในกล่อง ทั้งหมดจากนี้ไปคือการลองเท้าบนเส้นทางจริง ผมอยู่ตรงนี้ เขาอยู่ตรงหน้า เธออยู่ข้างๆ ทุกอย่างพร้อมแล้วส�ำหรับการเดินทางครั้งนี้
วันที่ 1
16
17
เหตุผลของคนเดินทาง Bangkok – Kathmandu
กาฐมาณฑุมคี วามหนาแน่นของประชากรราว 19,000 คนต่อตารางกิโลเมตร ผมไม่รู้สึกอะไรนักกับตัวเลขนี้ จนกระทั่งได้มาเห็น ด้วยตาตัวเอง กาฐมาณฑุยามบ่ายฉายภาพของมันผ่านหน้าต่าง แท็กซี่ รถราแน่นถนน ผู้คนล้นทางเท้า ค�ำว่าแออัดดูจะเบา เกินไปส�ำหรับสิ่งที่เห็นตรงหน้า ร้านรวงแคบๆ เบียดตัว แน่นขนัดสองฟากทาง ผนังอิฐเปลือยให้ความรู้สึกเก่าแก่ โบราณ มันดูเก่ายิง่ ขึน้ เมือ่ มองผ่านม่านฝุน่ ควันทีล่ อยคลุง้ ฟุง้ สายตา 18
เราข้ามน�้ำข้ามฟ้ามาถึงกาฐมาณฑุเมื่อไม่ถึงชั่วโมง ก่อนหน้า ที่สนามบินตรีภูวัน เราจัดแจงแลกเงินห้าสิบดอลลาร์ เป็นเงินรูปี จากข้อมูลที่มี เงินเกือบๆ ห้าพันเนปาลรูปี ที่แลกมาได้น่าจะพอส�ำหรับค่าแท็กซี่ในวันนี้ เงินดอลลาร์ ส่วนทีเ่ หลือเราวางแผนจะไปแลกทีท่ าเมล (Thamel) – ย่าน นักท่องเที่ยวส�ำคัญของกาฐมาณฑุ ที่นั่นมีร้านรับแลกเงิน มากมาย ทีส่ �ำคัญ อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าที่สนามบินมาก หลังเจรจาหักเหลี่ยมเฉือนคมกับพี่แท็กซี่จนได้ราคา ที่พอใจ ผมกับนัทก็ยัดตัวเองเข้าไปในรถ แท็กซี่ที่นี่คันเล็ก มากถ้าเทียบกับบ้านเรา ผมนั่งตัวลีบอยู่เบาะหน้า ส่วนนัท แม้จะตัวเล็กกว่าก็ยังต้องนั่งตัวลีบอยู่เบาะหลัง เพราะต้อง ปันพื้นที่เบาะส่วนใหญ่ให้เป้ใบใหญ่ของเราสองคน ฝุ ่ น ที่ นี่ เ ยอะพอๆ กั บ รถราและผู ้ ค น เราสั ม ผั ส ความจริงนี้อย่างใกล้ชิด เพราะแท็กซี่ – รวมถึงรถราทุกชนิด ที่นี่ – ไม่มีคันไหนคิดจะไขกระจกปิด หน้าต่างที่ควรช่วย ระบายอากาศออกไปเลยกลายเป็นช่องให้ฝุ่นควันทะลัก เข้ามา ควันเทาทึมฝากร่องรอยของมันไว้บนทุกระนาบ ของตัวรถและตัวเรา ผมรู้สึกได้ตอนที่มันซอกซอนเข้าไป ในรูจมูก ก่อนจะยูเทิร์นพาน�้ำมูกสีด�ำๆ ไหลออกมา ไม่ว่าจะติดขัดอย่างไร ชีวิตมีทางไปเสมอ – นี่คือ บทเรียนแรกที่ผมได้จากการเดินทางครั้งนี้ โดยมีพี่คนขับ แท็กซีเ่ ป็นอาจารย์ผสู้ อน ด้วยการปฏิบตั ใิ ห้เห็นแบบจะจะตา 19
ไม่วา่ การจราจรจะจลาจลแค่ไหน ไม่วา่ ช่องว่างระหว่าง รถแต่ละคันจะตีบแคบเพียงใด พีแ่ ท็กซี่กส็ ามารถพาเราแทรก เสียดเบียดตัวผ่านไปได้เสมอ ขณะทีค่ นไทยอย่างผมและนัท มองเห็นเพียงสภาพการจราจรอันติดขัด แท็กซี่เนปาลีคนนี้ กลับมองเห็นความเป็นไปได้มากมาย ถ้าแทรกระหว่างรถ ไม่ได้ พี่เขาก็ปีนขึ้นทางเท้า และถ้าขึ้นทางเท้ายังไม่ได้ พี่เขา ก็ขับข้ามเลนไปอีกฝั่งถนน (เส้นแบ่งเลนถนนที่นี่แทบไม่มี ประโยชน์อะไรนอกจากใช้บอกให้รู้ว่าถนนเส้นนี้มีกี่เลน) ค�ำว่า ‘ไม่มที าง’ ไม่มใี นพจนานุกรมของแท็กซีเ่ นปาล เพราะแม้สดุ ท้ายจะมองไม่เห็นสักทาง พีแ่ ท็กซีก่ ย็ งั สร้างทาง ได้ด้วยเสียงแตร เสียงแตรคือดนตรีประกอบชีวติ บนท้องถนนของผูค้ น ทีน่ ี่ แตรรถในกาฐมาณฑุได้รบั การพัฒนาไปถึงขีดสุดสมรรถนะ มันไม่ได้มีแค่เสียงพื้นๆ อย่าง – ปี๊นๆ แต่ยังมี – แป๊นๆ ป๊านๆ ปู๊นๆ มีตั้งแต่เสียงเดียวซ�้ำๆ ไปจนถึงแบบร้อยเรียง เป็นเมโลดี แผดระงมกันจนไม่รู้ว่าเสียงไหนมาจากคันไหน และเอาเข้าจริง ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีรถคันไหนสนใจเสียงแตร ทันทีที่แท็กซี่หย่อนเราลงที่หน้า NTB ผมรู้สึกโล่งใจ อย่างบอกไม่ถูก การจะเดินเขาในเนปาล – ไม่วา่ เส้นทางไหน – เราจะ ต้องมีใบอนุญาตเดินเขา (trekking permit) มันท�ำหน้าที่ คล้ายๆ บัตรผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติของบ้านเรา ตั้งแต่ จุดเริม่ ต้นถึงจุดสิน้ สุดเส้นทางเดินเขาจะมีเจ้าหน้าทีค่ อยตรวจ 20
ใบอนุญาตนี้ตลอดเส้นทาง ส�ำหรับอันนาปุรณะเซอร์กิต เราต้องใช้ใบอนุญาต 2 ใบคือ TIMP Card และ ACAP Permit ทั้งสองใบสามารถท�ำได้ที่ National Tourism Board (NTB) อาคารส�ำนักงานเอ็นทีบอี อกจะดูผดิ ทีผ่ ดิ ทางส�ำหรับ นครหลวงอันวุ่นวายแห่งนี้ เพียงก้าวผ่านประตูรั้วฝุ่นควัน ทั้ ง หลายก็ จ างหายไปกั บ ตา ตั ว อาคารดู ส ะอาดสะอ้ า น รอบอาคารร่มครึ้มด้วยหลากหลายต้นไม้ใหญ่ ภายในรั้ว แห่งนีค้ วามหนาแน่นของประชากรลดลงจนน่าตกใจ ส�ำหรับ ผม นี่คือหลุมหลบภัยชั้นดีท่ามกลางฝุ่นควันและเสียงแตร ของมหานครกาฐมาณฑุ ในอาคารมีแบ็กแพ็กเกอร์สิบกว่าราย เท่าที่เห็น ไม่มี ใครผมด�ำอย่างเรา การขอเทร็กกิง้ เพอร์มติ มีขนั้ ตอนไม่ตา่ งจากการติดต่อ ราชการบ้ า นเรา จั บ บั ต รคิ ว รั บ เอกสารมากรอกข้ อ มู ล รอเรียก ยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่พร้อมรูปถ่ายสองนิ้ว (ที่ เตรียมมา) กลับมานั่งอีกที รอเรียก เซ็นชื่อตรงนั้นตรงนี้ น�ำทั้งหมดไปยืน่ ช่องถัดไป กลับมานัง่ รออีกที ฯลฯ เราผ่าน ขัน้ ตอนเหล่านีด้ ว้ ยดี กระทัง่ มาถึงช่องสุดท้าย – ช่องจ่ายเงิน เรายื่นแบงก์ดอลลาร์ให้ เจ้าหน้าที่หลังเคาน์เตอร์ ส่ายหน้า เธอบอกว่าที่นี่รับแต่เงินรูปี! ผมกับนัทมองหน้ากัน เหรอหรา เงินรูปีที่แลกมาเราจ่ายค่าแท็กซี่ไปเกือบหมด ใบอนุญาตวางอยู่ตรงหน้า แต่เรา – พร้อมเงินดอลลาร์ เต็มกระเป๋า – กลับไม่สามารถหยิบมันมาได้ 21
เราถามเจ้ า หน้ า ที่ ว ่ า มี ที่ รั บ แลกเงิ น แถวนี้ ห รื อ ไม่ เจ้าหน้าที่บอกทางไปธนาคารที่ใกล้ที่สุดให้กับเรา “ไม่เกิน ห้านาที” เธอทิง้ ท้ายก่อนหันไปเรียกแบ็กแพ็กเกอร์รายต่อไป ผมปลดเป้หลังส่งให้นัท แผนของเราคือผมเดินไป ธนาคาร ส่วนนัทเฝ้าสัมภาระรออยู่ที่นี่ วิธีนี้น่าจะดีกว่า สะพายเป้หนักๆ เดินไปกันสองคน ป้ายที่ติดหน้าเคาน์เตอร์ให้ข้อมูลว่าที่นี่ปิดท�ำการ สี่ โ มงเย็ น ผมแหงนมองนาฬิ ก าบนผนั ง เมื่ อ มาย้ อ นคิ ด ภายหลัง ผมถึงรูต้ วั ว่า ณ ตอนทีม่ องนาฬิกาเรือนนัน้ ผมไม่ได้ รับรู้เลยว่าเข็มสั้นเข็มยาวบอกเวลาเท่าไหร่ อาจเพราะรู้สึก ว่าห้านาทีเป็นเวลาสัน้ ๆ และธนาคารแห่งนัน้ น่าจะอยูใ่ กล้ๆ ผมเลยคิดว่าถึงอย่างไรผมคงจะกลับมาทัน นี่คือข้อผิดพลาดอุกฉกรรจ์ และผมจะต้องจ�ำมัน ไปอีกนานแสนนาน จากเอ็นทีบผี มเดินไปตามเส้นทางที่พนักงานบอกไว้ แรกเริ่ม ผมเดินชมวิถีชีวิตของชาวเนปาลสองฟาก ทางเท้าอย่างสบายอกสบายใจ ราวห้านาทีต่อมา ใจเริ่มรู้สึก ไม่ค่อยสบายเท่าไหร่ มันร้อนขึ้นมานิดๆ เมื่อยังมองไม่เห็น ธนาคารสักแห่งตลอดทางทีผ่ า่ นมา สิบนาทีตอ่ มาสถานการณ์ ยั ง คงเดิ ม ผมจึ ง หยุ ด เดิ น มั น ต้ อ งมี อ ะไรผิ ด พลาดแน่ ๆ ไม่เจ้าหน้าที่บอกทางผิด ผมก็เดินมาผิดทาง (แต่ดูท่าจะเป็น อย่างหลัง) ผมหยิบมือถือขึน้ มา อันทีจ่ ริงมือถือนีค้ วรถูกเรียกว่า 22
นาฬิกา ผมไม่ได้ใส่ซมิ มา เพราะตัง้ ใจแค่น�ำมาใช้เป็นนาฬิกา ปลุ ก ระหว่ า งการเดิ น ทาง ผมเปิ ด หน้ า จอมื อ ถื อ ตั ว เลข บนหน้าจอท�ำหัวใจผมไหลลงตาตุ่ม 15:40 น. อีกยี่สิบนาทีจะสีโ่ มงเย็น! ผมตรงเข้าหากลุม่ คนทีอ่ ยูใ่ กล้ทสี่ ดุ ทันที พวกเขาบอก ผมว่าธนาคารอยู่ไม่ไกล เลี้ยวซ้ายข้างหน้าแล้วเดินไปอีก ห้านาที (เอาอีกแล้ว อยู่ๆ ผมก็รู้สึกกลัวตัวเลขนี้อย่างไม่มี เหตุผล) หลังขอบคุณพวกเขา ผมออกวิ่งไม่คิดชีวิต วิ่ง วิ่ง วิ่ง และวิ่ง ยี่สิบนาทีที่เหลือส�ำคัญมากกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก ยี่สิบเก้าวันข้างหน้า ถ้าเราท�ำเทร็กกิ้งเพอร์มิตไม่ทันในวันนี้ พรุง่ นีเ้ ราจะต้องเสียเวลาฟรีๆ ไปอีกวัน แล้วโปรแกรมการ เดินทาง – ที่วางไว้อย่างแน่นเอี้ยดตลอดสามสิบวัน – ก็คง เป็นอันต้องขยับเลื่อนตามๆ กัน และสุดท้ายเราอาจกลับมา ไม่ทันเครื่องบินเที่ยวกลับที่จองเอาไว้แล้ว ในที่สุด ผมก็เห็นป้ายธนาคารอยู่ตรงหน้า ขณะยืน หายใจหอบอยู ่ ที่ ห น้ า เคาน์ เ ตอร์ พ นั ก งาน ผมกดดู เ วลา – 15:46 น. ผมถามพนักงานว่าทีน่ รี่ บั แลกดอลลาร์เป็นรูปหี รือไม่ ตอนที่เขาพยักหน้า ผมแทบกลั้นน�้ำตาไว้ไม่อยู่ ผมรีบนับ ดอลลาร์ยื่นส่งไป แต่แทนที่จะส่งรูปีกลับมาให้ เขากลับยื่น เอกสารแผ่นหนึง่ ให้ผมแทน “กรอกแบบฟอร์มนีก้ อ่ นนะครับ” ผมอ้าปากจะพูดอะไรสักอย่าง แต่สุดท้ายก็ท�ำได้เพียงหยิบ ปากกาและส่ายหน้ากับตัวเองขณะรีบกรอกข้อมูลต่างๆ ลงไป เงินดอลลาร์ไม่กี่ใบกลับกลายเป็นเงินรูปีปึกใหญ่ 23
พนักงานคนเดิมเดินถือเงินปึกนัน้ นวยนาดกลับมา ผมพยายาม สบตาและแสดงทีทา่ ร้อนรน ได้ผล เขายิม้ ตอบผมก่อนจะยืน่ เงินปึกนั้น...ส่งเข้าเครื่องนับธนบัตร! ผมถึงกับหลุดอุทาน ถ้อยค�ำหยาบคายในใจ! หลังถอนหายใจผมกดมือถือดูเวลา – 15:52 น. หลั ง นั บ ซ�้ ำ เป็ น จ�ำนวนสองรอบถ้ ว น เขาก็ ยื่ น เงิ น ปึกนั้นส่งให้ผม ทันทีที่ยัดเงินใส่กระเป๋าโดยไม่เสียเวลานับ ผมเผ่นออกจากธนาคารด้วยท่วงท่าไม่ตา่ งจากโจรปล้นธนาคาร วิ่งเร็วที่สุดเท่าที่เคยวิ่งมาในชีวิต เร็วที่สุดเท่าที่อากาศที่เต็ม ไปด้วยฝุ่นควันพิษ และกางเกงขายาวฟิตๆ จะยอมให้วิ่งได้ ทุกก้าวมีความหมาย ช้าไปแค่นาที เราอาจต้องเสีย เวลาฟรีๆ ไปอีกวัน! หายใจหอบสั้น เหงื่อกาฬท่วมร่าง ผมวิ่งผ่านผู้คนมากมายที่ออกมาใช้ชีวิตยามบ่าย ริมถนน สัมผัสได้ถึงสายตาใครหลายคนที่จับจ้องด้วยความ สงสัย ผมไม่รู้สึกอะไร ขณะสับเท้าวิ่ง ความคิดของผมจดจ่อ อยู่กับค�ำเพียงสองค�ำ – ทัน / ไม่ทัน เอ็นทีบปี รากฏลิบๆ ตรงหน้า ผมเริ่มสงสัยว่าตอนนี้ นัทเป็นอย่างไร เธอคงร้อนใจไม่ตา่ งจากผม อาจก�ำลังเดินไป มา อาจก�ำลังมองนาฬิกาด้วยความร้อนรน ผมไม่รู้ว่าตอนนี้ เวลาเท่าไหร่ ผมรู้แค่ว่ามันเสียเวลาเกินไปที่จะหยิบมือถือ ขึ้นมากดดูเวลา ถึงหน้าเอ็นทีบเี ชือกรองเท้าทัง้ สองข้างหลุดลุย่ อย่างไร 24
ก็ตามการก้มลงผูกเชือกรองเท้าเป็นสิ่งสุดท้ายที่ผมคิดจะท�ำ ในตอนนี้ ผมสับขาพาตัวเองวิ่งไปตามแนวรั้วเอ็นทีบีโดยไม่ ผ่อนความเร็วลง ผมเลีย้ วผ่านประตูทางเข้า และพุง่ ตรงเข้าสู่ ตัวอาคาร ความรู้สึกแรกไม่ใช่ความโล่งใจแต่คือความแปลกใจ จากที่ จิ น ตนาการไว้ นั ท ควรจะก�ำลั ง ร้ อ นใจและมายื น กระวนกระวายคอยผมตัง้ แต่หน้าประตู แต่ภาพแรกทีผ่ มเห็น ตอนวิ่งกระหืดกระหอบเข้าไป คืิอนัทก�ำลังนั่งอ่านหนังสือ อย่างสบายใจอยู่ตรงโซฟา “มาแล้วเหรอคะ” เธอยิ้มร่า ทักทาย ก่อนบรรจงวางหนังสือลง ผมพยายามมองหาแต่ก็ ไม่เห็นความรีบร้อนในทีทา่ ของเธอ “เอ๊ะ แล้วนี.่ ..(หายใจหอบ) ...ตกลงพีม่ าทันมัย้ ” ผมถามออกไป อย่างงงๆ นัทก็เริ่มจะ ดูงงๆ เช่นกัน “ทันสิคะ ที่นี่ปิดตั้งสี่โมงเย็น” ความงงถูกโยนกลับมาที่ผมอีกครั้ง ผมแหงนมอง นาฬิกาบนฝาผนัง “อ้าว ก็ตอนนี้...” ปลายเสียงหายไปทันที ทีผ่ มสบตาหน้าปัดนาฬิกา เข็มยาวเข็มสัน้ บอกเวลา 15:05 น. เฮ้ย!?! ความสับสนเกิดขึน้ แค่ชว่ งสัน้ ๆ หลังจากนัน้ ความจริง ทุกอย่างก็พรั่งพรูออกมา รู้สึกหมดเรี่ยวแรง ผมทรุดตัว ลงนั่งที่โซฟา เปิดมือถือดูหน้าจอพลางส่ายหน้า จ�ำได้ชัด ถึงข้อความที่เคยอ่านผ่านตา – เวลาที่กาฐมาณฑุช้ากว่า ประเทศไทยหนึ่งชั่วโมง
เราออกเดินทางเพื่ออะไร ผมถามค�ำถามนี้กับตัวเองตั้งแต่ก่อนเดินทางมาที่นี่ 25
ถามอีกครัง้ ตอนนัง่ ลุน้ กับความฉวัดเฉวียนของพีค่ นขับแท็กซี่ ถามอีกทีตอนที่เห็นน�้ำมูกตัวเองเป็นสีด�ำ และถามเป็นครั้ง สุดท้าย –และได้ค�ำตอบ– ขณะนั่งหมดเรี่ยวแรงบนโซฟา ตัวนั้น ผมรู้ว่ากาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงของเนปาลตั้งแต่ สมัยเรียนวิชาสังคมในชั้นมัธยม รู้จักแง่มุมต่างๆ ของมัน มากขึ้นผ่านเรื่องราวที่อ่านจากหนังสือท่องเที่ยวหลายเล่ม อย่างไรก็ตาม การศึกษาจากต�ำราแตกต่างกับการได้มาเห็น กับตาด้วยตัวเอง การท่องเทีย่ วเป็นคนละเรือ่ งกับการเทีย่ ว-ท่อง-ข้อมูล ตามต�ำรา การท่องด้วยปากอาจท�ำให้เราจ�ำได้ยาว แต่การท่อง ด้วยเท้าจะท�ำให้เราไม่มีวันลืม ถ้าเหตุการณ์ทั้งหมดที่ผมประสบมาในวันนี้กลายไป เป็นข้อมูลในต�ำรา มันคงถูกเขียนไว้สั้นๆ ว่า ‘กาฐมาณฑุ มีความหนาแน่นประชากร 19,000 คน / ตร.กม. และเวลา ที่กาฐมาณฑุช้ากว่าที่ประเทศไทยหนึ่งชั่วโมง’ การนั่ ง ท่ อ งโลกจากต�ำราแตกต่ า งกั บ การก้ า วขา ออกไปท่องโลก ส�ำหรับผม นี่คือเหตุผลที่ทุกคนควรออกเดินทาง ภารกิจส�ำคัญวันแรกลุล่วงไปด้วยดี เอ่อ อาจตะกุกตะกักบ้างนิดหน่อย แต่สุดท้ายเราก็ได้เทร็กกิ้งเพอร์มิตมาไว้ ในครอบครอง 26
เราเดินออกจากเอ็นทีบีราวสี่โมงเย็น ทันทีที่พ้นรั้ว ออกมา นัทก็หยุดยืนและชี้ไปที่ถนนสายยาวตรงหน้า “นี่คือ ทางที่พี่คุวิ่งมาเหรอคะ” แล้วเธอก็ยิ้มตาหยี หัวเราะอย่างมี ความสุข – อยู่คนเดียว
27
28
ชิงช้าสวรรค์ Kathmandu
ผมหัวเราะไม่ออก ขณะที่เธอหัวเราะไม่หยุด เดินออกมาถึงถนนหน้าเอ็นทีบนี ทั ก็ยงั ไม่หยุดหัวเราะ เรือ่ งทีผ่ มวิง่ แบบ ‘ไม่รจู้ กั เวล�ำ่ เวลา’ ผมหยิบมือถือเจ้าปัญหา ขึ้นมา จัดการปรับนาฬิกาให้ตรงกับเวลาท้องถิ่นของเนปาล ผมไม่มีวันยอมได้ยินเสียงหัวเราะนั้นซ�้ำสองแน่ๆ ขณะกดปุม่ ตัง้ ค่าชัว่ โมงและนาที อยูด่ ๆ ี ผมก็นกึ สงสัย การเดินทางจากนีไ้ ป ผมจะต้องปรับตัวอะไรอีกมัย้ นอกจาก ปรับตัวเลขนาฬิกา
29
เพียงวันแรก เนปาลก็ดูเหมือนจะซัดความแตกต่าง / แปลกใหม่ / ยากจะเข้าใจใส่ผมแบบไม่ยั้ง ถ้าเป็นมวยผมก็ โดนนับแปดตั้งแต่เริ่มยกแรก ความแปลกแตกต่างที่เคยรู้สึก ตื่นตากลับท�ำให้ผมรู้สึกเหนื่อยล้าขึ้นมาเสียเฉยๆ ทั้งภาษา อัตราแลกเปลีย่ นเงินตรา รถราและสภาพการจราจรอันสับสน ทุกสิง่ เรียกร้องความพยายามในการท�ำความเข้าใจ ทัง้ ทีต่ งั้ ใจ เดินทางเพื่อค้นพบประสบการณ์แปลกใหม่ แต่ไม่ทันไร สิ่งที่ ผมต้องการที่สุดตอนนี้กลับเป็นอะไรก็ได้ที่รู้สึกคุ้นเคย เหมือนสวรรค์รู้ใจ คิดได้ไม่ทันไร สวรรค์ก็ประทาน สิ่งนั้นลงมา ไม่ไกลเกินสายตา ชิงช้าสวรรค์วงใหญ่โผล่พ้นทิวไม้ ลิบๆ ตรงหน้า ท่ามกลางหลายสิ่งที่ไม่คุ้นตา อย่างน้อยที่นี่ ก็ยังพอมีอะไรที่ผมรู้สึกคุ้นเคย ชิงช้าสวรรค์ครองต�ำแหน่งเครื่องเล่นแสนโรแมนติก มาช้านาน การได้นงั่ มันในต่างเมืองต่างบ้านน่าจะยิง่ ให้ความ รู้สึกที่ดีเข้าไปใหญ่ ยามเย็นเช่นนี้ อาทิตย์ตกที่ได้ชมจาก บนนั้นคงสวยดี บางทีแสงตะวันรอนๆ คงท�ำให้ลืมเรื่องราว ร้อนๆ ยามบ่ายไปได้บ้าง ผมสะกิดนัทให้ดชู งิ ช้าสวรรค์ เธอตืน่ เต้นใหญ่ และยัง ไม่ทันที่ผมจะพูดอะไรออกไป เธอก็ชิงพูดมันก่อน “ไปนั่งกัน มั้ยคะ” เทียบกับบ้านเรา สวนสนุกแห่งนี้ดูกะทัดรัดกว่า ทั้ง ขนาดของพืน้ ทีแ่ ละขนาดของเครือ่ งเล่น ชิงช้าสวรรค์ทเี่ ราเห็น 30
ตั้งเด่นเป็นประธาน ส่วนเครื่องเล่นบริวารก็กระจายกันอยู่ รอบบริเวณ มีตั้งแต่ม้าหมุน ปลาหมึกยักษ์ รถไฟ ไปจนถึง เรือไวกิ้ง ทุกอย่างตั้งอยู่ในพื้นที่รั้วรอบขอบชิด แต่กลับไม่มี ป้ายติดบอกว่าเราควรเรียกมันว่าอะไร บรรยากาศโดยรวม ให้อารมณ์เหมือนสวนสนุกเพิง่ เปิดใหม่ ไม่ใช่เพราะทุกอย่าง ดูเหมือนใหม่ แต่เพราะอะไรๆ ก็ดจู ะยังไม่เสร็จดี หน้าประตูรวั้ มีซมุ้ ขายตัว๋ ทีย่ งั ไม่ได้ทาสี เราจ่ายค่าตัว๋ คนละยีส่ บิ รูปแี ล้วเดิน เข้าไป ภายในสวนสนุกผู้คนค่อนข้างบางตา ส่วนมากเป็น วัยรุ่น และทุกคนเป็นชาวเนปาล เราคือชนต่างด้าวเพียง สองคนในสวนสนุกแห่งนี้ เด่นสะดุดตาด้วยเป้หลังใบใหญ่ เราเดินตรงเข้าไปหาชิงช้าสวรรค์ พนักงานทีซ่ มุ้ ด้านหน้าบอก ว่าเราต้องจ่ายเพิ่มอีกคนละสามสิบรูปี จากที่กะด้วยสายตา ชิงช้ามีขนาดประมาณสามสิบกระเช้า จริงๆ เรียก กระเช้า คงไม่ถูกต้องนัก ส�ำหรับผม ค�ำที่เหมาะสมกว่าคือ กะลา กระเช้าที่นี่ไม่มีหลังคา และมี ผนังด้านข้างสูงขึ้นมาแค่ระดับเอว ความกลัวริ้วแรกของวัน ผุดขึ้นเมื่อผมหย่อนก้นนั่งลงในกะลา เอ๊ย! กระเช้าอันนั้น ทันทีที่นั่งประจ�ำที่ ผมก็ส�ำรวจความแข็งแรง – และ ความอ่อนแอ – ของกระเช้า ตัง้ แต่วสั ดุอปุ กรณ์ทใี่ ช้รวมไปถึง บรรดาข้อต่อทีย่ ดึ โยงมันเข้ากับโครงเหล็ก ก่อนสรุปกับตัวเอง ว่าทุกอย่างต�่ำกว่ามาตรฐาน แม้เมื่อเทียบกับชิงช้าสวรรค์ ตามงานวัดบ้านเรา อย่างไรก็ตามนีค่ อื ขัน้ ตอนทีค่ วรท�ำก่อน ตัดสินใจก้าวเท้าขึน้ กระเช้า ซึง่ ผมว่าเราเลยจุดนัน้ กันมาแล้ว 31
เบื้องล่างพนักงานทยอยโหลดคนเข้ากระเช้าอื่นๆ กระเช้าของเราค่อยๆ ขยับสูงขึ้นทีละนิด ความกลัวเมื่อครู่ ค่อยๆ จางหายไปพร้อมๆ กับมุมมองเหนือนครกาฐมาณฑุ ที่ค่อยๆ สูงขึ้นและกว้างไกลออกไปเรื่อยๆ ตอนที่ ก ระเช้ า ของเราขยั บ เคลื่ อ นจนถึ ง จุ ด สู ง สุ ด ตอนที่ผมกับนัทเริ่มหยิบกล้องถ่ายรูปออกมา ตอนที่เรา ต่างรัวกล้องเก็บภาพตะวันที่ใกล้จะลับขอบฟ้า ตอนนั้น เราไม่ได้นึกเฉลียวใจเลยว่าชิงช้าสวรรค์แบบเนปาลีแท้ๆ ยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยซ�้ำ เมื่อผู้โดยสารเต็มทุกกระเช้า ชิงช้าก็เริ่มหมุนเร็วขึ้น เร็วขึ้น แรกเริ่มผมรู้สึกเพียงว่า เออ มันเร็วดี ก่อนจะค่อยๆ รู้สึกว่า มันจะเร็วเกินไปมั้ย กระทั่งสุดท้าย ผมแทบจะร้อง ตะโกนออกไป มันจะรีบไปไหนของมานนน...! ความรู้สึกเหมือนก�ำลังนั่งรถไฟเหาะตีลังกามากกว่า ชิงช้าสวรรค์ ความเร็วของมันท�ำเอากะลาทีเ่ รานัง่ เอียงกระเท่เร่ ในองศาที่พร้อมจะเททุกอย่างออกไป สองมือผมเกร็งแน่น จับขอบกะลา ดีนะที่ตัดสินใจเก็บกล้องเข้ากระเป๋าตั้งแต่ช่วง ‘มันจะเร็วเกินไปมั้ย’ แต่น่ันก็ไม่ได้ท�ำให้สิ่งต่างๆ คลี่คลาย แต่อย่างใด เสียงกรีดร้องดังระงมมาจากทุกกระเช้า แต่เท่าที่ สังเกตได้ ไม่มีกระเช้าไหนร้องดังเท่ากระเช้าเรา ชาวเนปาล คงรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเจอกับอะไร แต่ไหนแต่ไร ชิงช้าสวรรค์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องเล่น เพื่อการผ่อนคลายกายใจ แต่นับจากนี้ ผมคงต้องย้ายมันไป 32
ไว้ในกลุ่มใหม่ – กลุ่มเดียวกับเรือไวกิ้งและรถไฟเหาะตีลังกา เสียงกรีดร้องจากแต่ละกระเช้าราวกับจะเร่งเร้าให้ ผู้คุมชิงช้าเพิ่มความเร็วมากขึ้น กะลาเอียงจนน่าสงสัยว่า ท�ำไมผมถึงยังไม่รว่ งลงไป ผมไม่รวู้ า่ เราหมุนอยูอ่ ย่างนัน้ นาน แค่ไหน ไม่รดู้ ว้ ยซำ�้ ว่าพระอาทิตย์ลบั ฟ้าไปตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ รูต้ วั อีกทีผมก็เดินตุปดั ตุเป๋ลงจากกระเช้า ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง รู้สึกได้ถึงพื้นดินที่ยังโคลงเคลงอยู่ใต้เท้าทุกก้าวที่เดิน หลังพาตัวเองมานั่งม้านั่งตัวใกล้ที่สุด ผมหันกลับไป มองชิงช้านรก เอ๊ย! ชิงช้าสวรรค์นั้นอีกครั้ง นี่ขนาดชิงช้า สวรรค์ธรรมดาเนปาลยังสามารถท�ำให้ไม่ธรรมดาได้ขนาดนี้ แล้วอะไรอืน่ ๆ ทีผ่ มต้องเจอต่อจากนีม้ นั จะไม่ธรรมดาขนาด ไหน “พี่คุกรี๊ดดังกว่าหนูอีกนะคะ” เสียงของนัทดึงผมจาก ภวังค์ ผมหันมองเธอ เธอดูอ่อนล้า แต่จากแววตาผมบอกได้ เลยว่าเธอก�ำลังมีความสุข นอกจากเรือ่ งวิง่ แบบไม่รเู้ วลำ�่ เวลา ตอนนีด้ เู หมือนนัท จะหาเรื่องใหม่มาหัวเราะผมได้อีกแล้ว เราเดินมาถึงทาเมลตอนฟ้ามืดพอดี ทาเมลคือถนนข้าวสารของนครกาฐมาณฑุ มันคือ สวรรค์ของนักเดินทางแบกเป้ นอกจากความสงบ มันมีทกุ สิง่ ที่นักเดินทางอย่างเราต้องการ ที่พัก อาหาร ของที่ระลึก เสื้อผ้า อุปกรณ์เดินเขา บริษัทน�ำเที่ยว และร้านรับแลกเงิน เห็นร้านแลกร้านแรก ผมก็ชงิ แลกดอลลาร์สว่ นทีเ่ หลือ 33
เป็นรูปีทันที (โศกนาฏกรรมยามบ่ายยังคงติดตาตรึงใจ) ทาเมลเต็มไปด้วยที่พักมากมาย แต่ในชั่วโมงท้ายๆ ของวันเช่นนี้ที่พักส่วนใหญ่แทบจะถูกจับจองไปหมดแล้ว ทีย่ งั พอเหลืออยูบ่ า้ ง ราคาก็ดจู ะสูงเกินไปส�ำหรับนักท่องเทีย่ ว เป้หนักแต่กระเป๋าเบาอย่างเรา หลังเดินเข้าออกหลายที่ ในที่สุดเราก็พบที่พักที่ให้ราคาน่าพอใจซุกตัวอยู่ในซอกซอย เล็กๆ ของทาเมล เจ้าของ Hana Hotel เป็นหนุ่มเนปาลอัธยาศัยดี เขาเดินน�ำเราขึน้ บันไดสีช่ นั้ เพือ่ ไปดูหอ้ งพัก ทันทีทเี่ ห็นห้องพัก เราก็ตอบตกลงทันที ผมไม่รู้ว่านัทเลือกห้องนี้เพราะอะไร แต่ ส�ำหรั บ ผม ผมเลื อ กเพราะมั น เป็ น ห้ อ งที่ มี เ ตี ย งเดี่ ย ว สองเตียง แต่ละเตียงแยกกันอยู่คนละฟากผนัง ถ้าต้องเดินทางกับเพือ่ นต่างเพศนานสามสิบวัน ‘นอน ยังไง’ ควรจะเป็นเรือ่ งแรกๆ ทีท่ งั้ สองฝ่ายควรพูดคุยตกลงกัน ทางทฤษฎีเป็นอย่างนัน้ แต่เอาเข้าจริง ผมและนัทกลับไม่เคย คุ ย เรื่ อ งนี้ กั น เลย มาคิ ด ดู ดี ๆ สิ่ ง ที่ ผ มหวั่ น ใจอาจไม่ ใ ช่ ความแตกต่างของสถานที่แปลกตา แต่เป็นความไม่คุ้นเคย ของคนแปลกหน้าทีโ่ ชคชะตาชักพาให้ตอ้ งมาเดินทางด้วยกัน ความไม่รู้จักท�ำให้ไม่รู้จะเริ่มต้นพูดกันยังไง การเจอห้ อ งที่ จั ด เตี ย งแยกกั น อย่ า งนี้ จึ ง นั บ เป็ น ทางออกที่ดี ในกรณีของเรา ทันทีที่เข้าห้อง เราต่างปลดเป้หลังวางจองเตียงที่ดูดี กว่า โชคดี – และแปลกดี – เตียงที่เราคิดว่าดีนั้นเป็นคนละ เตียงกัน 34
ภารกิจสุดท้ายของวันคือการชาร์จแบตมือถือและ กล้องถ่ายรูป แม้จะเป็นคืนแรก แต่นกี่ เ็ ป็นคืนสุดท้ายทีเ่ ราจะใช้ชวี ติ อยู่ในเมือง ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด คืนพรุ่งนี้เราคงจะพักอยู่ กลางหุบเขาในหมู่บ้านอันห่างไกลที่ไหนสักแห่ง ผมเชื่อว่า คนเราไม่ควรหวังน�ำ้ บ่อหน้า ดังนัน้ กับไฟฟ้า เราจึงไม่ควรหวัง ไฟปลั๊กหน้าเช่นเดียวกัน สายชาร์จที่ผมเตรียมมาเป็นปลั๊กชนิดขาแบน ขณะที่ เต้ารับของเนปาลเป็นชนิดรูกลม ผมไม่เคยเห็นเต้ารับแบบนี้ มาก่อน ขาปลั๊กแบนๆ ของสายชาร์จก็คงไม่เคยเห็นมัน เช่นเดียวกัน ขาปลั๊กและเต้ารับต่างนิ่งงันอยู่อย่างนั้น สภาพ ไม่ต่างจากผมเมื่อกลางวัน พวกมันคงก�ำลังตกใจกับความ แตกต่างทางวัฒนธรรมทีเ่ ราเรียกกันว่าคัลเจอร์ชอ็ ก (culture shock) โชคยังดี ผมมีอะแดปเตอร์มาด้วย อะแดปเตอร์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทั้งน่ารักและน่าทึ่ง ด้วยหลักการง่ายๆ และกลไกที่แทบไม่มีอะไรซับซ้อน มัน สามารถเชือ่ มต่อปลัก๊ และเต้ารับหลากชนิดทีด่ เู หมือน เข้ากัน ไม่ได้ ให้ เข้ากันได้ อย่างง่ายดาย ไม่ว่าสิ่งที่อยู่สองฝั่งของ อะแดปเตอร์จะแตกต่างขนาดไหน มันสามารถท�ำให้สองสิ่ง นั้นปรับตัวเข้าหากันได้เสมอ เช่นเดียวกับอะแดปเตอร์ การปรับตัว คือสิ่งที่นัก เดินทางควรพกมาด้วยเสมอ ทุกครั้งที่เดินทาง
35
ขณะผมนั่งต่อสายชาร์จเข้ากับอะแดปเตอร์ นัทก็ นั่งจดอะไรบางอย่างลงในไดอารี่ของเธอ เรานั่งอยู่บนเตียง คนละเตียง หลังพิงผนังห้องคนละด้าน ชั่วขณะนั้น ผมนึก สงสัยว่าเธอเขียนอะไรลงไปในสมุดบันทึกเล่มนัน้ วันแรกของ เธอทีน่ เี่ ป็นอย่างไร และเธอคิดอย่างไรทีต่ อ้ งมานอนร่วมห้อง กับผู้ชายที่เธอแทบไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมคงรู้สึกประดักประเดิด เขินอาย จนไม่กล้าถามเธอ แต่หลังจากมีอะแดปเตอร์ ผมก็เอ่ยปาก ถามเธอออกไปตรงๆ ถึงจะเคยพูดกันก่อนหน้านี้ แต่ส�ำหรับผม นี่คือการ คุยกันครั้งแรกของเรา ต้องขอบคุณชิงช้าสวรรค์วงนัน้ บนชิงช้าสวรรค์ ความ เขินอายของคนทีเ่ พิง่ รูจ้ กั กันถูกพัดหายไปพร้อมสายลมทีพ่ งุ่ ปะทะใบหน้า ภาพลักษณ์ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อเรียกความ ประทับใจจากอีกฝ่ายสลายไปพร้อมเสียงร้องไม่เป็นภาษา ความเป็นคนแปลกหน้าถูกทิ้งไว้เบื้องล่างขณะกระเช้าชิงช้า เหวีย่ งพาเราขึน้ สูงเหนือพืน้ โลก มันหายไปตัง้ แต่ตอนนัน้ และ ผมไม่เคยพบมันอีกเลยตลอดการเดินทาง ชิงช้าสวรรค์วงนั้น, มันคืออะแดปเตอร์ของเรา คืนแรกในเนปาล ผมนอนหลับสนิท ทุกสิ่งรอบตัว มืดมิด นอกจากไฟสีเขียวดวงเล็กๆ ที่แสดงว่าอะแดปเตอร์ ก�ำลังท�ำงาน
ขอบคุณ
ชมรมพัฒนาอนามัยและชนบทคณะแพทย์ (พอช.) ที่ชักชวนให้ลองเดินข้างเขาและท�ำให้หลงรักเขาตั้งแต่นั้น, พี่บิ๊ก โจ้ โบ และทีมอะบุ๊ก ที่ช่วยปลุกปั้นและส่งการเดินทาง ครั้งนี้จนถึงจุดหมายปลายทางของมัน, เด้นท์ น้องสาม อี๊ โกวิ แม่ อาปา ถ้าชีวิตคือการเดินทาง การเดินทางครั้งนี้ ก็ไม่เคยอ้างว้างเพราะหันมองทุกครั้งก็ยังเห็นทุกคนเสมอ, นัท แม้หนังสือเล่มนี้จะมีค�ำว่า ผม มากกว่า เธอ แต่ถ้า ไม่มีเธอ ผมคงไม่มีโอกาสเขียนค�ำว่า ผม ในหนังสือเล่มนี้ ขอบคุณจริงๆ ที่สละสามสิบวันในชีวิตมาหนาวข้างๆ กัน, และ ผู้อ่านทุกท่าน ที่ร่วมเดินทางยาวไกลด้วยกันมาจนถึง บรรทัดนี้.
เกี่ยวกับผู้เขียน
คุณากร วรวรรณธนะชัย / เกิด ธันวาคม 2522 / เติบโตในจังหวัดที่โอบล้อมด้วยขุนเขา / ชอบฤดูหนาว / เลยชอบเที่ ย วภู เขามากกว่ า ทะเล / จบการศึ ก ษาจาก คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / เจอเชียงใหม่ เข้าไปเลยยิง่ หลงรักภูเขาเข้าไปอีก / ปัจจุบนั ท�ำงานเป็นแพทย์ ทัว่ ไปในโรงพยาบาลอ�ำเภอแห่งหนึง่ / งานหลักคือตรวจคนไข้ / งานรองคือนั่งมองรายชื่อภูเขาที่ยังไม่เคยไป / ถ้าฟ้าฝน เป็นใจ / หวังว่าจะได้เดินเขาด้วยกันอีกครั้ง. ผลงานที่ผ่านมา • หนังสือ มองโรคในแง่ดี : ส�ำนักพิมพ์ a book • คอลัมน์ โลกประจ�ำตัว : นิตยสาร a day ติดต่อผู้เขียน kunakuki@yahoo.com
คุณากร วรวรรณธนะชัย หนังสือในชุด Journey พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2559 ราคา 395 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-178-5 ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ คุณากร วรวรรณธนะชัย. เดินข้างเขา หนาวข้างเธอ.-- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2559. 572 หน้า. 1.เนปาล--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. I. ชื่อเรื่อง. 915.496 ISBN 978-616-327-178-5 จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษทั เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 309 โทรสาร 0-2718-0690
แยกสีและพิมพ์
บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พรินท์ จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0-2675-5600
จัดจำ�หน่าย
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999
สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้ช่วยผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ บรรณาธิการ ออกแบบปกและรูปเล่ม ศิลปกรรม กองบรรณาธิการ พิสูจน์อักษร ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ เลขานุการ
บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
ที่ปรึกษา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธุรการ ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ศิลปกรรมสื่อออนไลน์ ลูกค้าสัมพันธ์ เว็บมาสเตอร์ ฝ่ายสมาชิก
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ภูมิชาย บุญสินสุข สุรเกตุ เรืองแสงระวี วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ นทธัญ แสงไชย พิชญ์สินี บุญมั่นพิพัฒน์ ชลธิชา จารุสุวรรณวงค์, นันธิยา ฤทธาภัย พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์ นภาพร พักตร์เพียงจันทร์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ชลธร จารุสุวรรณวงค์ ปวริศา ตั้งตุลานนท์ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย, นิติพัฒน์ สุขสวย ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ณัฐรดา ตระกูลสม พิมพ์นารา มีฤทธิ์, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ วิมลพร รัชตกนก เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ นริศรา ธาระพุฒ
ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น