ผมรู้จัก Little Thoughts ครั้งแรกจากหนังสือเรื่อง Cool Japanเหมือนใครหลายคน ผมชอบตั ว หนั ง สื อ ของเธอมาก-คงเหมื อ นใครหลายคนอี ก เช่นเดียวกัน ตัวหนังสือของเธอสนุก ซึ่งเป็นความสนุกที่ต่างจากตัวหนังสือของ นักเขียนคนอืน่ ๆ เพราะไม่ได้สนุกจากสำ�บัดสำ�นวนภาษา เรือ่ งราวซับซ้อน ซ่อนปม หรือเนื้อหาชวนหัวเราะ แต่เป็นความสนุกสนานที่มาจากความเข้มข้นของเนื้อหา หนังสือของ Little Thoughts แต่ละเล่ม เหมือนงานวิจัยที่เปี่ยม ไปด้วยข้อมูลทีแ่ น่นและลึก แต่เธอจัดการย่อยจนหอมหวาน และเรียบเรียง มาเล่าอย่างมีชั้นเชิง น่าติดตาม และสนุก ดัตช์แลนด์ แดนมหัศจรรย์ ก็เช่นกัน ผมเคยค้นคว้าหาข้อมูลและเขียนเรือ่ งเกีย่ วกับเนเธอร์แลนด์มาก่อน เลยเข้าใจดีวา่ การบอกเล่าเรือ่ งราวของประเทศนีม้ เี นือ้ หาสำ�คัญหลายส่วน ทีย่ าก หนัก และไกลตัวคนอ่าน จนทำ�ให้ผมตัดใจตัดเนือ้ หาเหล่านีอ้ อกไป แต่ Little Thoughts กลับหยิบยาขมพวกนีม้ าเล่าได้อย่างน่าติดตาม หนังสือเล่มนี้จึงกลมกล่อมไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับชาวดัตช์ ตั้งแต่เรื่องที่ เคร่งขรึมอย่างประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา เศรษฐกิจ ไปจนถึงเรื่อง ที่มีสีสันอย่างศิลปะ งานออกแบบ กาแฟ ดอกไม้ และจักรยาน หนังสือเล่มนี้จึงให้รสชาติเหมือนได้เข้าไปนั่งในตึกแถวโบราณ ริมคลองในอัมสเตอร์ดัม แล้วพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนพ้องชาวดัตช์ตั้งแต่ วัยคุณปู่จนถึงคุณหลาน ซึ่งกิจกรรมนี้ตรงกับภาษาดัตช์ว่า Gezellig เป็นความเป็นดัตช์อกี แบบทีแ่ ปลเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่รสู้ กึ ได้ ทรงกลด บางยี่ขัน
4
ดัตช์คือทุกอย่างที่ตรงข้ามกับญี่ปุ่น หากญี่ปุ่นมีระเบียบแบบแผนในการทำ�ทุกอย่าง ดัตช์ก็ไม่เป็น ทางการที่สุด หากญี่ปุ่นคือความอ้อมค้อม ดัตช์ก็เรียกได้ว่าตรงขึ้นชื่อ หากญี่ปุ่นเข้าคิวอย่างเคร่งครัด คิวแบบดัตช์ถ้ามีก็ดูไม่ค่อยออก และการมั่วคิวเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นเรื่องที่พบเห็นได้เป็นปกติ ที่ไม่ปกติคือ คนก็ยอมกัน หากญี่ปุ่นเป็นชนชาติทำ�งานหนัก ดัตช์ก็เป็นชนชาติทำ�งานน้อย เริ่มสาย เลิกเร็ว หากญี่ป่นุ คลั่งไคล้ความสะอาดหมดจด ดัตช์ก็ทนอยู่กับความรกหู รกตาได้อย่างไม่นา่ เชือ่ หากญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของสังคม ‘รวมกันเราอยู่’ สำ�หรับดัตช์แมน มันคือ ‘รวมกันฉันอยู่’ ‘ฉั น ’ ที่ เ มื่ อ สาวไปยั ง ประวั ติ ศ าสตร์ นอกจากจะมี บ รรพบุ รุ ษ เป็นนักเก็งกำ�ไร พ่อค้าหัวใส จอมเล่นแร่แปรธาตุ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เป็นนักเจ๊ง! กระนัน้ ก็เป็นนักเจ๊งทีเ่ ชือ่ ในเสรีภาพ ความต่าง และความเปิดกว้าง เหนือสิ่งอื่นใด แต่หากเราลองถามดัตช์สักคนว่าพวกเขาเก่งด้านไหน คำ�ตอบที่ได้ อาจน่าแปลกใจไม่น้อย พวกเขาอาจตอบเราว่าสิ่งที่ถนัดที่สุดก็คือ ‘การเล่าเรื่อง’ นี่จึงเป็นเรื่องราวของดัตช์...
5
Part I ดัตช์แลนด์ แดนประวัติศาสตร์ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.
นักเจ๊ง! 11 นักเก็งกำ�ไร 19 จอมผูกขาด 29 นักลงทุน 41 ผู้บันทึก 49 นักล่าอาณานิคม 59 นักสะสม 67 ผู้เปี่ยมรสนิยม 75 ผู้รอบรู้ 83 นักฝัน 93
Part II ดัตช์แลนด์ แดนเสรี 11. 12. 13. 14.
6
นักเล่าเรื่อง นักสันติภาพ ผู้ปกครอง พลเมือง
105 115 125 133
15. 16. 17. 18. 19. 20.
ผู้เคารพความต่าง จอมหยวน นักต่อต้าน เสรีชน จอมคอนเซปต์ พ่อค้าคนกลาง
143 155 163 169 175 183
195 201 209 217 223 229 237 243 249 257
Part III ดัตช์แลนด์ แดนอนาคต 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30.
นักต่อยอด นักธุรกิจ นักทดลอง จอมตลก นักออกแบบ ผู้สร้างนวัตกรรม นักเรียน นักอ่าน ผู้ประกอบการ นักคิด
7
PART
I
ดัตช์แลนด์ แดนประวัติศาสตร์
01
นักเจ๊ง!
มันคือเรือ่ งราวของดอกไม้อย่างทิวลิป ซึง่ อาจจบแบบหักหลัง คนดูนิดหน่อย เราจะเริ่มต้นความมหัศจรรย์ของดัตช์แลนด์กันที่นี่ สถานที่ ท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้สำ�คัญ ด้วยจำ�นวนผู้เยี่ยมชมใกล้ หลักล้านคนในแต่ละปี กับช่วงเวลาเปิดม่านให้เข้าชมเพียงปีละ ไม่กี่สัปดาห์ แน่นอนว่ามันคือทุ่งทิวลิป ‘เคอเคนฮอฟ’ ที่เปลี่ยนผืนดิน ดัตช์ให้เป็นพรมทิวลิปหลากสีสุดลูกหูลูกตา ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่มี อากาศดี ไม่ตา่ งจากความมีชวี ติ ชีวาของดินแดนทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งอิสระเสรี เหนืออื่นใด เมือ่ ม่านปิดลง และนักท่องเทีย่ วรายสุดท้ายของปีคล้อยหลัง ไปไม่นาน ภาพที่เห็นกลับทำ�ใจยากไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ที่มองว่าดอกไม้คือสัญลักษณ์ของความงาม และดอกไม้ทุกดอกควรมีสิทธิ์ท่ีจะเดินทางไปถึงบ้านของใครสักคน เพื่อทำ�หน้าที่ยิ่งใหญ่ในแจกันสวยๆ สักใบ ในความเป็นจริง ดอกทิวลิปจำ�นวนมากไม่เคยได้ออกเดินทาง จากสวนด้วยซ้ำ� แต่ถูกไถกลบโดยรถแทร็กเตอร์รูปร่างน่าเกลียด 12
น่ากลัว ที่เห็น ‘ดอก’ ทิวลิปเป็นสิ่งไร้ค่า และกลับเป็น ‘หัว’ ของมัน ต่างหากที่มีค่าพอจะใส่ใจ หัวทิวลิปที่มีรูปร่างไม่ต่างจากหอมแดงในครัวหรือลูกเกาลัด สักเท่าไร กลับเป็นสิ่งที่มีราคามากพอจะได้ไปต่อ ทั้งยังตอบคำ�ถามว่าทำ�ไมประเทศที่มีพื้นที่เพียงน้อยนิด (ราว 2 เท่าของโคราช) จึงแบ่งผืนดินของพวกเขามาปลูกดอกไม้ ไม่ใช่ เพียงเพราะดอกไม้คอื ความหรูหราและมีมลู ค่าเท่านัน้ แต่เป็นเพราะ หัวของมันคือ ‘ใจความ’ ของการสร้างมูลค่าเลยต่างหาก แม้จะบอกว่าเป็นการหักหลังคนดู แต่หากลองคิดดีๆ การไป เยี่ยมชมทุ่งทิวลิปในวันที่มันยังอวดดอกสวยก็อาจเป็นความคิด ที่ถูกต้องที่สุดแล้ว อย่างน้อย ดอกไม้สีสวยสดก็ควรได้ทำ�หน้าที่ สร้างความชุม่ ชืน่ ทางจิตใจ หรือได้จารึกความงามไว้บนภาพของใคร สักคน ก่อนจะจบลงด้วยการย่ำ�ยีของรถแทร็กเตอร์ ทีส่ �ำ คัญ สำ�หรับดัตช์ ทิวลิปไม่ได้เป็นเพียงดอกไม้ แต่มนั เป็น สิ่งยิ่งใหญ่ไม่ต่างจากประวัติศาสตร์หน้าสำ�คัญที่บ่งบอกตัวตนของ พวกเขา การไปไม่ถึงทิวลิป ก็อาจไม่ต่างกับการไปไม่ถึงดัตช์ เพราะเป็นดอกไม้ที่ขยายพันธุ์ยากและต้องอาศัยระยะเวลา รอคอยหลายปี หัวทิวลิปที่นำ�ไปปลูกได้จึงมีมูลค่ามากกว่าตัวดอก ของมันอย่างไม่ตอ้ งสงสัย แต่หากย้อนหลังไปราว 400 ปี มันไม่เพียง แต่ เ ป็ น สิ่ ง มีมูล ค่า แต่หัวทิวลิป 1 หัวอาจมี ค่า มากกว่ า บ้ า นดี ๆ สักหลัง นี่จึงเป็นเรื่องราวของดอกไม้แบบดัตช์ ว่าด้วยหัวทิวลิปที่ ทำ�ให้พวกเขาเกือบล้มละลายในศตวรรษที่ 17 13
มันคือเรื่องราวที่บันทึกไว้ในชื่อ ‘ทิวลิปเมเนีย’ ซึ่งหลายคน อาจเคยได้ยนิ มาก่อน ในฐานะประวัตศิ าสตร์การเก็งกำ�ไรครัง้ สำ�คัญ ที่กลายเป็นภาพจำ�ของความบ้าคลั่ง ความโลภ และหายนะ แน่นอนว่าสิง่ ทีพ่ วกเขาเก็งกำ�ไรกันก็คอื หัวทิวลิป ซึง่ ในความ เป็นจริงไม่ได้มตี น้ กำ�เนิดในดัตช์แลนด์ เช่นเดียวกับอะไรอีกหลายอย่าง หรืออาจจะทุกอย่าง ประวั ติ ศ าสตร์ ย่ อ ของทิ ว ลิ ป บอกกั บ เราว่ า ทิ ว ลิ ป หั ว แรก เดินทางออกจากจักรวรรดิออตโตมันซึ่งในปัจจุบันคือประเทศตุรกี สู่กรุงเวียนนาในศตวรรษที่ 16 จากเวียนนา หัวทิวลิปแพร่ต่อมายัง ออสบวร์ก แอนท์เวิร์ป จนมาถึงอัมสเตอร์ดัม ทิวลิปแตกต่างจากดอกไม้ซงึ่ พบเห็นได้ทวั่ ไปในยุโรปเวลานัน้ อย่างสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่รูปทรงที่แตกต่าง แต่ยังมีกลีบดอกที่ให้สีจัด แจ่มชัด และสัมผัสมันวาว เพียงเวลาไม่นานหลังจากดอกไม้รูปร่าง คล้ายผ้าโพกศีรษะนี้เดินทางมาถึงอัมสเตอร์ดัม มันก็ทำ�ให้ชาวดัตช์ หลงใหลอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ดอกไม้คอื สัญลักษณ์ของความหรูหรา บอบบาง และไม่คงทน และการได้ครอบครองมันไม่ต่างจากการแสดงออกถึงอำ�นาจ แต่ ทิวลิปเป็นมากกว่านั้นสำ�หรับสังคมดัตช์ในวันนั้น ดอกไม้ที่พวกเขา รู้สึกว่าโดดเด่นไม่เหมือนใครนี้ ไม่ต่างจากภาพสะท้อนสังคมดัตช์ ในเวลานั้น ซึ่งความเฟื่องฟูกำ�ลังเริ่มต้น ด้วยหนทางที่ไม่เหมือนใคร เช่นกัน เมื่อมีความต้องการ มีหรือที่จะไม่มีการสนองตอบ ชาวดัตช์ เริ่มทดลองขยายพันธุ์ทิวลิปสายพันธุ์ต่างๆ และก่อนสิ้นศตวรรษ ที่ 16 ดัตช์แลนด์ก็กลายเป็นดินแดนที่ปลูกทิวลิปอย่างจริงจัง 14
ทิวลิปกลายเป็นสินค้าทีไ่ ด้รบั ความนิยมอย่างสูง และหัวทิวลิป พันธุ์ใหม่ก็กลายเป็นที่ต้องการของตลาด ทิวลิปที่ได้รับความนิยม สูงสุดคือพันธุ์สีผสมซึ่งมีลวดลายเป็นเส้นแปลกตา ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว คือการติดเชื้อไวรัสที่ในปัจจุบันรู้จักกันในนามไวรัสทิวลิปแตกสี ด้วยความเป็นพ่อค้าและนักเก็งกำ�ไรแบบดัตช์ ผสมกับบรรยากาศ การค้าในวันนั้นที่เงินทองเดินสะพัด เมื่อถึงวันที่สินค้าขาดตลาด มหกรรมเก็งกำ�ไรบนหัวทิวลิปจึงเริ่มต้นขึ้น มันคือการซือ้ ขายหัวทิวลิปล่วงหน้าบนกระดาษ และมีการนำ� สัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปขายกันต่อเป็นทอดๆ ไม่สิ้นสุด จุดพีกของเรื่องอยู่ในเดือนมีนาคม ปี 1637 เมื่อหัวทิวลิป บางสายพันธุถ์ กู ซือ้ ขายกันในราคา 3,000 - 4,000 กิลเดอร์ นัน่ คือ มูลค่าราว 10 เท่าของค่าแรงทั้งปีที่แรงงานมีทักษะได้รับในสมัยนั้น เลยทีเดียว แม้ เ หตุ ก ารณ์ ที่ ทำ � ให้ โ ลกรู้ จั ก ฟองสบู่ จ ากการเก็ ง กำ � ไร เป็นครัง้ แรกนีจ้ ะเป็นเรือ่ งราวของดัตช์ในศตวรรษที่ 17 แต่ผทู้ นี่ �ำ มัน มาเล่าหรือบันทึกไว้กลับเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ลส์ แม็คเคย์ ในหนังสือ Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1841 หรือราว 200 ปี นับจากเหตุการณ์จริง แม็คเคย์ได้อา้ งถึงความบ้าคลัง่ นีว้ า่ ณ จุดหนึง่ มีการเสนอทีด่ นิ ถึง 12 เอเคอร์เพือ่ แลกกับหัวทิวลิปสายพันธุห์ ายาก เพียงหัวเดียว และการเข้าร่วมมหกรรมเก็งกำ�ไรทิวลิปนั้นเรียกได้ว่า แพร่กระจายในระดับชาวเมืองทัว่ ไป ไม่ใช่แค่ในหมูน่ กั เก็งกำ�ไรอาชีพ เท่านั้น และเมื่อราคาลดฮวบฉับพลัน ตลาดทิวลิปจึงพังพินาศ 15
อย่างไรก็ดี เพราะเป็นหนังสือทีเ่ ล่าเรือ่ งทีม่ กี ารเล่าต่อกันมา อีกที ความบ้าคลั่งที่ไต่ไปถึงจุดไคลแม็กซ์และบทอวสานของมัน จึงเป็นที่โต้เถียงของคนในยุคปัจจุบันถึงความเป็นไปได้ท่ีข้อมูลซึ่ง แม็คเคย์ได้มาจะถูกเล่าขานแบบมีอคติ (เช่น จากกลุม่ เคร่งศาสนาซึง่ เชือ่ ว่าการค้าคือบาป) รวมไปถึงคำ�ถามทีว่ า่ การเก็งกำ�ไรหัวทิวลิปนัน้ เป็นสภาวการณ์ทไี่ ร้เหตุผลจริงหรือไม่ในแง่ของตลาด และเหตุการณ์ นั้นนำ�ไปสู่ฟองสบู่ขนาดใหญ่จริงหรือ แต่จะจริงหรือไม่จริงก็ตาม ปัจจุบัน ทิวลิปเมเนียคือคำ�ที่ถูก หยิบยกขึ้นมาเสมอเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจฟองสบู่ที่รอวันแตก หรือ สภาวการณ์ที่ราคาสินทรัพย์ไม่สะท้อนความเป็นจริงอีกต่อไป กลายเป็ น รหั ส ส่ ง สั ญ ญาณที่ ชั ด และง่ า ยที่ สุ ด ในการบอก นักลงทุนถึง ‘ความไม่เป็นเหตุเป็นผล’ ของตลาดในขณะใดขณะหนึง่ โดยไม่ต้องเสียเวลาอธิบาย นอกเหนือจากสัจธรรมทีว่ า่ เก็งได้กเ็ จ๊งได้ สิง่ สำ�คัญทีช่ าวดัตช์ เก็บเกีย่ วได้จากเรือ่ งเล่าชือ่ ทิวลิปเมเนีย ก็นา่ จะเป็นบทเรียนทีเ่ ตือนใจ ให้พวกเขาไม่เดินเข้าสู่ความบ้าคลั่งเช่นนั้นอีก แต่ ก็ ไ ม่ แ น่อีกเช่น กัน ด้วยธรรมชาติข องการเก็ งกำ � ไรนั้ น จะเกิดขึน้ เสมอเมือ่ ผูแ้ สวงหากำ�ไรจำ�นวนมากต่างเกิดจินตนาการถึง ระดับความต้องการของตลาดพร้อมกัน โดยเฉพาะความต้องการใน สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน และสิ่ ง ที่ ไ ม่ เ คยมี ม าก่ อ นนั้ น ก็ มี อ ยู่ เ ต็ ม ไปหมดสำ � หรั บ ดัตช์แลนด์ในศตวรรษที่ 17
16
สวนพฤกษศาสตร์ Keukenhof เปิดให้เข้าชมแค่ 8 สัปดาห์ ในแต่ละปี ระหว่าง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เช็กวันเวลาในแต่ละปีได้ที่ www.keukenhof.com เพราะเป็นแหล่งท่องเทีย่ วสำ�คัญ จึงมีรถทัวร์สาย Keukenhof Express ให้บริการ ทั้งจากเมืองอัมสเตอร์ดัม เมืองไลเดิน และจากสนามบิน Schiphol หรือจะเลือก พักค้างคืนในเมืองใกล้ๆ แล้วขี่จักรยานก็ได้
17
02 นักเก็ง กำ�ไร
ทิวลิปเมเนีย ไม่ใช่ความบ้าคลัง่ เดียวในประวัตศิ าสตร์ชาติดตั ช์ เช่นเดียวกับที่สัญญาซื้อขายหัวทิวลิปล่วงหน้า ไม่ใช่ ‘นวัตกรรม ทางการเงิน’ ชนิดเดียวในยุคนั้น ในความเป็นจริง หากปราศจากซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลที่เชื่อม โลกทั้งใบเข้าด้วยกันแบบเรียลไทม์ ก็อาจเรียกได้ว่าไม่มีอะไรใหม่ โดยเฉพาะเมือ่ เทียบกับสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ณ ศูนย์กลางของดัตช์แลนด์อย่าง เมืองอัมสเตอร์ดัมเมื่อ 400 ปีที่แล้ว วรรณกรรมเชิงประวัติศาสตร์ The Coffee Trader โดยเดวิด ลิส บอกเล่าเรื่องราวการเก็งกำ�ไรของสินค้าที่ยังไม่มีใคร ‘รู้’ อย่าง กาแฟ โดยมีตัวเอกเป็นเทรดเดอร์ชาวยิวที่อพยพมาจากโปรตุเกส และได้รบั โอกาสให้ท�ำ มาหากินในอัมสเตอร์ดมั มันอาจไม่ใช่หนังสือ 20
ที่อ่านแล้วสนุกจนวางไม่ลง โดยเฉพาะเมื่อดูจากพล็อตเรื่องที่จงใจ เขียนให้เป็นวรรณกรรมหักเหลีย่ มเฉือนมุมของเหล่านักลงทุน แต่สง่ิ ที่ หนังสือเล่มนี้มีอยู่ครบก็คือ การฉายภาพอัมสเตอร์ดัมในวันเฟื่องฟู ให้คนรุ่นหลังได้เห็นตาม ถึงแม้จะใช้เมล็ดกาแฟเป็นตัวดำ�เนินเรื่อง แต่ก็มีพล็อตย่อย เป็นการเจรจาซื้อขายไปจนถึงการประมูลสินค้าชนิดอื่นแทรกอยู่ ตลอดเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบรั่นดี ไขปลาวาฬ น้ำ�ตาล และเกลือ มันคือบรรยากาศแบบใครใคร่ค้าค้า ใครใคร่ขายขาย อัน หมายรวมถึงการเก็งกำ�ไรข้าวของทีม่ าจากอีกฟากโลก ความขวักไขว่ ของนักค้าที่ลงทุนเพื่อสร้างผลกำ�ไรเมื่อสิ้นวัน (หรือตัดใจขายเมื่อ ขาดทุน) การครอบงำ�ตลาด ไปจนถึงทัศนคติและนโยบายของเมือง ที่มีต่อศาสนา และการเบ่งบานของวัฒนธรรมชนชั้นกลางที่สะท้อน ผ่านตัวละครหลายหลาก ตั้งแต่มาเฟียตลาดทุน เศรษฐินีนักลงทุน ไปจนถึงหญิงทำ�งานบ้านชาวดัตช์ แน่นอนว่าโลกของนักเสี่ยงโชค มีทั้งผู้ชนะและผู้ที่ต้องพ่ายแพ้ มันคือวันทีอ่ มั สเตอร์ดมั มีฐานะเป็นศูนย์กลางการเงินของโลก และผลิตภัณฑ์ทางการเงินไม่วา่ จะเป็นพันธบัตรรัฐบาล ระบบสินเชือ่ ประกันภัย หลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ ไปจนถึงการลงทุนใน ตลาดต่างประเทศ คือสิ่งที่พวกเขาใช้เพื่อทำ�ให้ตลาดการเงินเติบโต เพื่ อ สนับสนุนเรือดัตช์ท่ีแล่นออกไปทำ�การค้าในทุกที่ท่ีนำ้�ทะเล พาพวกเขาไปถึง เมื่อตลาดทุนยิ่งขยายใหญ่ เรือก็แล่นไปได้ไกลขึ้น ตลาดในวันสดใสจะสร้างกำ�ไรให้กับคนที่เห็นโอกาส และ โอกาสมีอยู่ทุกที่ในอัมสเตอร์ดัมยุคนั้น 21
ไม่ต่างจากทิวลิป เป็นพ่อค้าดัตช์อีกเช่นกันที่เห็นโอกาสจาก กาแฟ พืชที่มีอิทธิฤทธิ์สร้างความกระปรี้กระเปร่า ว่ากันว่ากาแฟ ถูกค้นพบโดยคนเลีย้ งแกะในเอธิโอเปีย และเป็นเครือ่ งดืม่ ทีช่ าวอาหรับ ดื่มกินกันมาหลายศตวรรษแล้ว ก่อนที่พ่อค้าชาวเวนิซซึ่งทำ�การค้า อยู่กับจักรวรรดิออตโตมันจะนำ�มาเผยแพร่ จนเกิดเป็นวัฒนธรรม สภากาแฟหรื อ คอฟฟี่ เ ฮาส์ ที่ เ บ่ ง บานโดยเฉพาะในฝรั่ ง เศสและ อังกฤษในเวลาต่อมา แล้วอะไรคือบทบาทของพ่อค้าดัตช์ ในขณะทีเ่ มืองอืน่ ในยุโรปกำ�ลังตืน่ เต้นกับความกระปรีก้ ระเปร่า จากคาเฟอีน สำ�หรับพ่อค้าดัตช์ มันคือความกระปรี้กระเปร่าของ การค้าในอัมสเตอร์ดมั พวกเขาไม่ได้ตน่ื เต้นกับกาแฟในฐานะเครือ่ งดืม่ แต่มองเมล็ดกาแฟเป็นเม็ดเงิน และถามตัวเองว่าจะทำ�เงินจากเมล็ด มหัศจรรย์นี้อย่างไร พวกเขาไม่ได้คิดเพียงแค่จะหาเมล็ดกาแฟจากที่ไหน ขาย ให้ กั บ ใคร หรื อ บริ ห ารจั ด การต้ น ทุ น หรื อ ราคาอย่ า งไร สำ � หรั บ พ่อค้าดัตช์ กาแฟไม่ต่างอะไรจากทิวลิปที่หัวมีค่ากว่าดอก และการ ทดลองขยายพันธุ์ทิวลิปคือคำ�ตอบสำ�หรับความมั่งคั่งที่จะตามมา ไม่รจู้ บ พวกเขาตัง้ คำ�ถามทีว่ า่ เราจะปลูกกาแฟเพือ่ สร้างผลผลิตเอง ได้อย่างไร และเมื่ อ พ่ อ ค้ า ดั ต ช์ ลั ก ลอบนำ � กาแฟออกจากอาหรั บ ได้สำ�เร็จ มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เล็กๆ ที่จะเปลี่ยนโลก อีกครั้ง ราวกับรู้ว่ามันคือสินค้าที่จะครองโลก อาหรับจึงมีข้อห้าม ไม่ให้มีการส่งออกลำ�ต้นและเมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้คั่ว ดังนั้นเมื่อ 22
ต้นกาแฟทีไ่ ด้รบั การคุม้ กันอย่างดีกลับเล็ดลอดออกมาได้ มันจึงมีคา่ ไม่ต่างจากการขโมยภาพโมนาลิซ่าออกจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และมี ความสำ�คัญในระดับที่จะเปลี่ยนหน้าตาอุตสาหกรรมกาแฟของโลก มาจนถึงปัจจุบัน มันไม่ใช่เรื่องเล่าว่าด้วยการเสี่ยงโชคในชั่วข้ามคืน แม้ว่า การลักลอบ ‘นำ�ออก’ ต้นกาแฟในปี 1616 จะถือเป็นจุดเริ่มต้น แต่ดอกผลอันหอมหวานกลับต้องใช้เวลาหลายสิบปี กว่าที่กาแฟ ซึง่ ถูกลักลอบนำ�ออกจากเมืองมอคคาซึง่ ปัจจุบนั อยูใ่ นประเทศเยเมน และถูกประคบประหงมเป็นอย่างดีในกรีนเฮาส์ของสวนพฤกษศาสตร์ อัมสเตอร์ดัม จะให้ผลลัพธ์เป็นเมล็ดกาแฟที่ขยายพันธุ์ได้ ก็ต้องใช้ เวลาหลายสิบปี และพร้อมที่จะออกเดินทางอีกครั้ง มันคือการเดินทางย้อนกลับไปทางทิศตะวันออก เพื่อจะไป เติบโตบนดินแดนในอาณัติของดัตช์ เริ่มจากเกาะซีลอนและพื้นที่ ทางตอนใต้ของอินเดีย จนไปลงเอยบนผืนดินซึ่งรู้จักกันในนาม ‘ปัตตาเวีย’ บนเกาะชวา ซึง่ ก็คอื เมืองจาการ์ตาในปัจจุบนั กับอีกส่วน ที่ มุ่ ง หน้ า ไปทางทิ ศ ตะวั น ตกยั ง พื้ น ที่ ที่ เ ป็ น ประเทศซู ริ - นามใน อเมริกาใต้ ซึง่ ในเวลาต่อมาทัง้ สองแห่งได้กลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟ หลักๆ ที่ขายให้ยุโรปทั้งหมด กว่าผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาจะส่ง กลับไปถึงดินแดนดัตช์กป็ าเข้าไปปี 1711 นัน่ คือเกือบร้อยปีหลังจาก พวกเขานำ�กาแฟต้นแรกออกจากมอคคาได้สำ�เร็จ แต่ ด อกผลของการรอคอยนั้ น ยิ่ ง กว่ า หอมหวาน กาแฟ ทำ�รายได้ให้กับพ่อค้าดัตช์อย่างงดงาม เช่นเดียวกับที่เราอาจเล่าเรื่องสินค้าชนิดอื่นๆ ได้อีกแบบ ไม่รู้จบ หากอยากหาหลักฐานมายืนยันว่าพ่อค้าดัตช์นั้นมี ‘ส่วน’ 23
ในการสร้างโลกที่เราทุกคนอาศัยอยู่ในวันนี้เพียงใด คงง่ายกว่า หากเราลองถอดการเดินทางของประวัติศาสตร์จากภาษา คำ�ว่า Coffee ในภาษาอังกฤษนั้นถอดมาจากภาษาดัตช์ที่ เรียกกาแฟว่า Koffie ซึ่งพ่อค้าดัตช์เรียกตามน้ำ�มาจากคำ�ว่ากาแฟ ในภาษาตุรกีคือ Kahve หรือ Qahwah ในภาษาอาหรับ ส่วนคำ�ว่า Tulip นัน้ มาจากคำ�ทีช่ าวเปอร์เซียเรียกดอกทิวลิป ว่า Dulband หรือ Turban ซึ่งหมายถึงผ้าโพกศีรษะ (ตามรูปร่างของ ดอกทิวลิปทีค่ ล้ายผ้าโพกศีรษะ) ชือ่ เรียกนีเ้ พีย้ นเป็น Tulp เมือ่ มาถึง ดัตช์แลนด์ ก่อนจะเพี้ยนมาเป็นคำ�ว่า Tulip ในภาษาอังกฤษ พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าก่อนเวลาของอังกฤษจะมาถึง มันเคยเป็นเวลาของพ่อค้าดัตช์มาก่อน เมือ่ กาแฟเดินทางมาถึงยุโรปในช่วงแรก มันยังถูกมองเป็นยา มากกว่าเป็นเครื่องดื่ม จนเมื่อเข้าสู่กลางศตวรรษที่ 17 นั่นเองที่เริ่ม มีการสร้างคอฟฟีเ่ ฮาส์หรือโรงกาแฟในหลายเมือง ส่วนในอัมสเตอร์ดมั โรงกาแฟจะตกแต่ ง ด้ ว ยสไตล์ ห รู ห ราตามรสนิ ย มดั ต ช์ ใ นวั น นั้ น โดยส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในบริเวณที่พ่อค้าดัตช์พบปะพูดคุยธุรกิจกัน ไม่ไกลจากทีท่ �ำ การของพวกเขาทีเ่ รียกว่า The Exchange ซึง่ ทำ�หน้าที่ คล้ายๆ ตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ อาจเป็นเพราะเหตุนี้ เมื่อสตาร์บัคส์คิดจะทำ�ร้านกาแฟใหม่ ให้เป็นร้านคอนเซปต์ คำ�ตอบสำ�หรับสาขาอัมสเตอร์ดมั จึงหนีไม่พน้ ‘โรงกาแฟ’ และบรรยากาศการค้าอันเบ่งบานในอดีต การย้อนภาพไปสมัยทีก่ าแฟเข้ามาในยุโรปใหม่ๆ และพุง่ เป้า ไปทีอ่ มั สเตอร์ดมั ก่อนใครในฐานะพ่อค้าทีท่ �ำ ให้กาแฟในยุโรปเบ่งบาน ในอีกทางหนึ่งก็อาจเป็นความจงใจในการสลายภาพวัฒนธรรม 24
เอสเปรสโซ่จากอิตาลี ที่เอาเข้าจริงเป็นต้นกำ�เนิดความคิดให้กับ สตาร์บัคส์ มันอาจถึงเวลาที่กาแฟจะถูกทำ�ให้กลายเป็นวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ที่มีสตาร์บัคส์เป็นเจ้าของมากกว่า ไม่ว่าจะอย่างไร สตาร์บัคส์ ‘เดอะแบงค์’ แห่งนี้ก็ตอบโจทย์ ‘การทดลอง’ ของสตาร์บคั ส์ได้อย่างพอเหมาะพอดี สตาร์บคั ส์ไม่ได้ เลือกทำ�เลดังกล่าวให้เป็นร้านคอนเซปต์แห่งแรกในยุโรปเท่านั้น แต่ยังเลือกให้เป็นห้องทดลองสิ่งใหม่อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ระบบการชงกาแฟทีเ่ ป็นนวัตกรรมของสตาร์บคั ส์ รวมไปถึงการแนะนำ� ‘กาแฟเนิบช้า’ ซึง่ ไม่ใช่ของใหม่ของโลก แต่เป็นของใหม่ของสตาร์บคั ส์ ให้โลกได้รู้จัก ไม่เพียงเท่านัน้ มันยังเป็นการเปลีย่ นพืน้ ทีซ่ งึ่ เคยเป็นธนาคาร ในบริเวณจัตุรัสเรมบรันต์ให้เป็นโรงกาแฟดัตช์ในศตวรรษที่ 17 ด้วยแนวคิดการสร้างธีมใหม่ บนความเคารพในสถาปัตยกรรมเก่า การเฉลิมฉลองวัฒนธรรมและช่างฝีมือท้องถิ่น รวมถึงการยึดหลัก ปฏิบัติเรือ่ งความยัง่ ยืนอย่างเคร่งครัด ซึง่ สะท้อนผ่านการนำ�วัสดุเก่า มาใช้ใหม่ทั้งหมด นอกเหนือ จากพื้น หิน อ่อ นของตัวอาคารเดิ ม วั สดุ ที่ เ น้ น ในการตกแต่งภายในก็คือไม้โอ๊กของดัตช์ ตั้งแต่โต๊ะใหญ่ตรงกลาง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของสถานที่ เหนือขึ้นไปเป็นเพดานที่ประกอบขึ้น จากไม้เก่าจำ�นวนเกือบ 2,000 ชิน้ ไปจนถึงโต๊ะและเก้าอีห้ ลากสไตล์ ที่ผลิตโดยช่างฝีมือท้องถิ่น ผนังถูกประดับประดาด้วยสัญลักษณ์ ความรุ่งเรืองอย่างกระเบื้องเคลือบเดลฟต์บลูสีน้ำ�เงินขาวซึ่งเป็น ของเก่ า พื้ น ที่ ภ ายในตกแต่ ง ด้ ว ยแม่ พิ ม พ์ ข นมปั ง ขิ ง ที่ ทำ� จากไม้ ก๊อกน้ำ�ทองแดง ไปจนถึงกระสอบกาแฟที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ทั้ง ของกาแฟ ของอัมสเตอร์ดัม และของโลก 25
เมื่อรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน โรงกาแฟของสตาร์บัคส์ที่มี หัวหน้าทีมสร้างสรรค์เป็นชาวดัตช์ก็ทำ�ให้ลืมภาพบาร์เอสเปรสโซ่ใน อิตาลีได้ไม่ยาก ลืมบอกไปว่า ดัตช์แมนนั้นนอกจากจะเป็นนักเล่าเรื่องตัวยง พวกเขายังเป็นจอมคอนเซปต์อีกด้วย
26
เนือ่ งจากจัตรุ สั เรมบรันต์ (Rembrandtplein) อันเป็นทำ�เลของ Starbucks The Bank นี้อุทิศให้แก่ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของดัตช์อย่างเรมบรันต์ จึงมีรูปปั้น เรมบรันต์ตั้งอยู่ ความน่ารักอยู่ตรงที่ด้านหน้ารูปปั้นเรมบรันต์ซึ่งยกสูง มีรูปปั้นของเหล่ากองกำ�ลังอาสาเหมือนกับที่อยู่ในภาพ The Night Watch ซึ่งถือเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของเรมบรันต์เฝ้าระวังภัยให้เขาอยู่ด้วย โดยรูปปั้นกองกำ�ลังอาสานี้เป็นผลงานของศิลปินชาวรัสเซียที่ทำ�ขึ้นเพื่อ ฉลองอายุ 400 ปีของเรมบรันต์เมื่อปี 2006 ส่วนพิพิธภัณฑ์บ้านเรมบรันต์ ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ จัตุรัสนี้ แต่อยู่ในระยะเดินถึง โดยข้ามแม่น้ำ�อัมสเทลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่จุดเด่นของ จัตุรัสเรมบรันต์ก็คือการเป็นย่านไนท์ ไลฟ์ของชาวเมืองอัมสเตอร์ดัม
27
เกีย่ วกับผูเ้ ขียน
Little Thoughts นามปากกาของอดี ต นั ก การเงิ น และ บรรณาธิการนิตยสาร 'คิด' Creative Thailand รุ่นก่อตั้ง ปัจจุบัน เป็นบรรณาธิการและนักเขียนอิสระ ผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านมารวมถึง Cool Japan, เยอรมันซันเดย์, ความเป็นโลก x ความเป็นเรา, หญิงหรือชาย ซ้ายหรือขวา หมาหรือแมว, ชนชั้นกลางในนิยามใหม่ และ Love to Share 'รัก' คือการแบ่งปัน ร่วมกันเราอยู่ พูดคุยกับเธอ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก 'Little Thoughts ลิทเทิลธอทส์'
เกีย่ วกับผูว้ าด
อดีต a team junior 8 และกองบรรณาธิการนิตยสาร a day ที่เบนเข็มทิศชีวิตมาเอาจริงกับการวาดภาพจนมีคอลัมน์เล็กๆ ใน นิตยสาร a day ชื่อ before sunrise ตอนนี้กำ�ลังมุ่งมั่นเรียนต่อ ด้านภาพประกอบที่ประเทศอังกฤษ นอกจากการสร้างงานศิลปะ ปีติชายังเอนจอยกับการเต้นสวิง การแอบงีบหลับระหว่างเดินทาง และการเสพของฟรีทุกประเภทในกรุงลอนดอน Facebook | faan.peeti Instagram | faanpeeti
DUTCHLAND
ดัตช์แลนด์ แดนมหัศจรรย์ บรรณาธิการเล่ม ทรงกลด บางยี่ขัน ออกแบบปกและรูปเล่ม ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข ภาพประกอบ ปีติชา คงฤทธิ์ พิสูจน์อักษร วาริณี วรวิทยานนท์ หนังสือในชุด Knowledge พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2559 พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2559 ราคา 295 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-170-9 ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ Little Thoughts. ดัตช์แลนด์ แดนมหัศจรรย์.-- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2559. 272 หน้า. 1. เนเธอร์แลนด์--ความเป็นอยู่และประเพณี. I. ปีติชา คงฤทธิ์, ผู้วาดภาพประกอบ II. ชื่อเรื่อง. 306.492 ISBN 978-616-327-170-9 จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 309 โทรสาร 0-2718-0690
แยกสีและพิมพ์
บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2718-2951
จัดจำ�หน่าย
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999
สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ บรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย ศิลปกรรม พิชญ์สินี บุญมั่นพิพัฒน์ ชลธิชา จารุสุวรรณวงค์ นันทิยา ฤทธาภัย กองบรรณาธิการ พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์ ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ ชลธร จารุสุวรรณวงค์ เลขานุการ ปวริศา ตั้งตุลานนท์
บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย นิติพัฒน์ สุขสวย ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ วิมลพร รัชตกนก ศิลปกรรมสื่อออนไลน์ เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล ลูกค้าสัมพันธ์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่
ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น