หิมาลัยต้องใช้หูฟัง [Preview]

Page 1


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ​ไปหิมาลัย ต้องใช้อะไรบ้าง หากเราเป็นนักท่องเที่ยวทั่วไป แผนการเดินทาง ไฮไลต์ สถานที่ท่องเที่ยว กล้องถ่ายรูปไว้บันทึกความสวยงาม เสื้อผ้า เครื่องกันหนาวตามฤดูกาลและความอดทนส่วนตัว ครีมบำ�รุงผิว ชนิดเข้มข้นพร้อมครีมกันแดดเวอร์ชั่นหนาแน่น และออกซิเจน กระป๋องรับมือกับอากาศเบาบางบนดินแดนที่สูงเหนือกว่าระดับ น้ำ�ทะเลมากๆ ล้วนอยู่ในลิสต์ที่ไกด์บุ๊กบอกไว้ ​หากเราเป็นนักปีนเขา หมายมั่นปั้นมือจะพิชิตเอเวอเรสต์ หรือแม้แต่ชมิ ลางเบสแคมป์ตามเส้นทางเดินเขาทัว่ หิมาลัย นอกจาก เสบียงต่างๆ อุปกรณ์พิชิตยอดเขาครบครัน และซื้อประกันสุขภาพ รองรับความเสี่ยงแล้ว เรายังต้องมีแรงกายแรงใจเกินมนุษย์มนา พกไปด้วย ​แต่ถ้าเราเป็นหมอ และวางแผนจะเข้าร่วมโครงการแพทย์ อาสา เราต้องเอาอะไรไปล่ะ? ​คัมภีร์บอกว่า ‘หิมาลัยต้องใช้หูฟัง’ ​ เรารู้จักคัมภีร์จากต้นฉบับก้อนโตที่ส่งมา มันเป็นบันทึก การเดินทางของหมอห้องฉุกเฉินชาวไทยนายหนึง่ ทีต่ ดั สินใจลางาน หนึ่งเดือนเต็มเพื่อเข้าร่วม Himalayan Health Exchange (HHE) โครงการทีช่ กั ชวนบุคลากรทางการแพทย์และนักศึกษาแพทย์ทวั่ โลก


ออกค่ายอาสา เดินสายตรวจรักษาชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลในเขต หิมาลัย แน่นอนว่าเราไม่เคยรูจ้ กั โครงการทีว่ า่ นีม้ าก่อน จินตนาการ ไม่ออกถึงสิง่ ทีค่ มั ภีรจ์ ะเล่า และเดาไม่ได้วา่ ประสบการณ์การเดินทาง สุดเฉพาะทางนี้ จะพาเรา (ในฐานะคนอ่าน) ไปเจออะไรบ้าง แต่อะไร บางอย่างก็ทำ�ให้เชื่อได้ว่ามันจะสนุกแน่ๆ ​ และมันก็เป็นอย่างนั้น บันทึก 30 วันของคัมภีร์อัดแน่นไป ด้วยเรื่องราวหลากหลาย เราได้รู้จักกับอุปกรณ์วัดความอิ่มตัว ของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) ได้หวั่นกลัวโรค สมองบวมที่เกิดจากการขึ้นที่สูง (HACE) ทั้งๆ ที่นั่งอ่านต้นฉบับอยู่ บนตึกสูงแค่สี่ชั้น ได้สัมผัสลมแรงบนภูเขาที่พัดธงมนต์ปลิวไสว ได้เป็นกำ�ลังใจให้ทุกคนแบกเป้เดินเท้าวันละหลายกิโลฯ เข้าไป ในแต่ละหมู่บ้าน ได้ตะกละอยากกินอาหารอินเดียอย่างที่ชาวค่าย ได้ อิ่ ม หนำ � กั น ทุ ก วั น และได้ ก ลิ่ น ตุ ๆ จากส้ ว มหลุ ม และถุ ง เท้ า ที่หมักหมมของคนในค่าย! ​ คัมภีร์เขียนหนังสือสนุก มีจังหวะการเล่าเรื่องที่หลอกล่อ ให้เราอ่านหนังสือหนาๆ เล่มนี้จบได้อย่างง่ายดาย แถมยังชวนเรา คิดอะไรหลายอย่างโดยที่ไม่ได้ออกโรงถามสักคำ� ซึ่งนั่นอาจเป็น เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีเพียงเรื่องเล่าสำ�หรับอ่าน แต่ยังบรรจุ อะไรบางอย่างที่เราอาจได้ยินเมื่ออ่านในใจ หิมาลัยต้องใช้หูฟัง ​ ไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ สำ�หรับหนังสือเล่มนี้ แค่ฟังก็ได้ยินแล้ว ​ ​จิราภรณ์ วิหวา บรรณาธิการเล่ม


คำ�นำ� นอกจากอาชีพนักดนตรี ช่างทำ�เครือ่ งดนตรี ช่างตัดต่อเสียง นักสอดแนมคลืน่ วิทยุของศัตรู (นับเป็นอาชีพมัย้ ?) แล้ว ก็คงมีอาชีพ แพทย์นี่แหละครับที่ต้องใช้ ‘หู’ ในการทำ�งาน คนเป็นหมอถูกฝึกให้ฟังเสียงของผู้ป่วย ทั้งเสียงพูด เสียง หายใจ เสียงลำ�ไส้ เสียงเลือดในเส้นเลือด หรือเสียงหัวใจ และ อุปกรณ์ที่เราถูกฝึกให้ใช้ก็คือ ‘หูฟัง’ น่าแปลกที่ในการเรียนการสอนวิชาแพทย์ ไม่มีการสอน ให้เราฝึกฟังหัวใจของตัวเอง สำ�หรับผมแล้ว หัวใจไม่เคยทำ�เสียงอะไรนอกจาก ตุบ ตะ หลุบ ฟืด แล้วก็ฟู่ และผมก็นึกไม่ออกว่าไอ้เจ้า ‘เสียงข้างในจิตใจ’ ที่ คุ ณ นภ พรชำ � นิ พูดถึง ในเพลงมัน เป็น ยัง ไง พยายามเอามา ตัง้ เป็นริงโทนก็แล้ว แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ชว่ ยทำ�ให้ผมเข้าใจอยูด่ ี จนกระทั่งวันนั้นในประเทศไทย ที่ผมตัดสินใจเดินทางไป หิมาลัยในอินเดีย จำ�ได้เลือนรางว่าวันนัน้ เป็นวันทีช่ วี ติ อยูใ่ นช่วงตกต่� ำ ซึมเศร้า เหงาใจไม่มีใครดูแล แต่จะว่าไป วันนั้นน่าจะเป็นวันที่ผมได้ยิน เสียงหัวใจตัวเองชัดกว่าปกติ และมันได้บงการให้ผมทำ�อย่างที่ มันต้องการ ตกลงนี่แกเป็นหัวใจหรือสมองกันแน่วะ?


จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (เอ่อ…อีเมลก็ได้ครับ) ที่ถูกกดส่ง ไปฉบับนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่พาผมไปยังที่ที่ผมไม่เคยคิดว่าจะได้ไป ทำ�ในสิง่ ทีผ่ มไม่เคยคิดว่าจะได้ท� ำ พบคนทีผ่ มไม่เคยคิดว่าจะได้รจู้ กั และฝ่าฟันอุปสรรคที่จนบัดนี้ผมก็ยังไม่เชื่อว่าผมผ่านมันมาได้ สามสิบวันที่ผมได้อยู่กับตัวเองในอินเดียทำ�ให้ผมได้เรียนรู้ ที่จะฟังเสียงหัวใจของตัวเองมากขึ้น และหนังสือเล่มนี้ก็คงเกิดขึ้น ไม่ได้เลย ถ้าผมไม่ฟังหัวใจตัวเอง และเริ่มต้นลงมือเขียนในวันนั้น คุณเอพิคเททัส (Epictetus) เคยบอกไว้ว่า คนเรามีสองหู และหนึ่ ง ปาก เพื่ อ ให้ เ ราฟั ง ได้ ม ากเป็ น สองเท่ า ของที่ เ ราพู ด (We have two ears and one mouth so that we can listen twice as much as we speak.) ผมคิ ด ว่ า การที่ เ ราฟั ง ได้ ม ากขึ้ น เป็ น สองเท่ า อาจมี วัตถุประสงค์เพือ่ ให้เราได้ฟงั เสียงหัวใจของตัวเองบ้าง และลองเลือก ทำ�ตามที่เราต้องการดูสักครั้ง ถ้าหยิบหนังสือเล่มนีข้ นึ้ มาอ่านถึงตรงนีไ้ ด้แล้ว ก็ลองทำ�ตาม เสียงหัวใจด้วยการอ่านมันต่อไป

อ้อ…อย่าลืมเอาหูฟังไปด้วยนะครับ

คัมภีร์ สรวมศิริ สิงหาคม 2557


Contents บทนำ� P.010

สามสี่เหลี่ยม

DAY 1

DAY 2

P.024

P.044

P.030

P.050

ขอบคุณที่แซงคิว

คนต่างชาติที่ปลอมตัว เป็นคนท้องถิ่น (ได้สำ�เร็จ)

ราชรถ P.038

คุกติดแอร์

DAY 12

ทีวีสามร้อยหกสิบองศา

P.056

คนต่างชาติที่ปลอมตัว เป็นคนท้องถิ่น (แต่ไม่สำ�เร็จ) P.062 Holy Cow! P.068 ทีวีไดเร็กต์

DAY 11

DAY 10

ส้วมไม่ซึม

อาบน้ำ�กัน

P.218

P.206

P.248

P.224

P.212

P.242

แดดเดียว

อาย

P.254

P.230

หลงทาง(ไม่)เสียเวลา

เพลงที่ไม่คิดว่าจะได้ฟัง ธรรมชาติลงโทษ

รั้งท้าย P.236

แพะหุ่นยนต์ ป๊อปคอร์นไมโครเวฟ และเฮลิคอปเตอร์

6


DAY 3

DAY 4

DAY 5

P.074

P.104

P.126

P.082

P.108

P.134

P.114

P.140

สุขอยู่ที่ใด (1)

ฉายเดี่ยว (ครั้งแรก)

สุขอยู่ที่ใด (2)

ฉายเดี่ยว (ภาคต่อ)

P.090

เหนือฟ้า ยังมีคนอินเดีย

บุคคลลึกลับ ที่ (เกือบ) ไม่มีตัวตน

P.098

P.120

หน้าชา

DAY 9 P.186

การอาบน้ำ� ครั้งสุดท้าย P.192

น้ำ�ตก

ที่นี่, เลห์ ชื่อเล่น โรงเรียนอนุบาล HHE ประจำ�เลห์

ฉายเดี่ยว (ครั้งสุดท้าย) DAY 8

DAY 7

DAY 6

P.174

P.160

P.148

P.180

P.168

P.154

ไม่รีบ

ไม่-เหมือน-หมอ รสสะอาด

ทางที่ไม่มี ป้ายบอก

ไม้เท้า

P.200

ทางช้างเผือก

7

หอบ


DAY 13

DAY 14

DAY 15

DAY 16

P.262

P.276

P.294

P.314

P.268

P.282

P.300

P.320

P.288

P.306

ห้องยา ไม่เข้าใจ

เซเว่น-อีเลฟเว่น ผ้าขาวคล้องคอ

ยิ่งสูงยิ่งเหงา

เณรน้อยเจ้าปัญหา เด็กหญิงน้อยๆ

เสพติด

มาเฟีย

อาหารไทย ในอินเดีย DAY 26

DAY 25

DAY 24

DAY 23

P.454

P.442

P.430

P.418

P.448

P.436

ปิดทำ�การ P.460

เค้ก กองไฟ และคืนสุดท้าย ในเต็นท์สีเหลือง

เมื่อคืน เกิดอะไรขึ้น?

รถบรรทุก กับรถโฟร์วีล

น้ำ�ตก (ไปไหน?)

การเดินเท้า ครั้งสุดท้าย

DAY 27 P.466

น้ำ�มาก P.424

เดอะปาลาโมผับ

DAY 28 P.488

P.470

กระต่ายยักษ์ กัญชา และโอลด์มานาลี

P.474

รางวัล

สุดท้ายของสุดท้าย โรทังพาส

P.494

สวัสดีมานาลี P.480

โปสการ์ด 8


DAY 17 P.326

ไม่มีลูกค้า P.332

ไม่ทันท่วงที

DAY 18

DAY 19

P.338

ชีวิตไร้เทคโนโลยี P.344

น้ำ�เย็น ช็อกโกแลต และการเดินเท้าที่สั้นที่สุด

P.350

โรงเรียนของเราน่าอยู่

เปลี่ยนแผน เนื้อ

DAY 22

P356

P.362

DAY 21

DAY 20

P.398

P.380

P.406

P.386

อาบน้ำ�กัน อาบน้ำ�กัน

P.392

เอเดลไวส์

ชิงโกลาพาส

สองสะพาน P.412

,

จุดตั้งแคมป์ที่สูงที่สุด

เสริมสร้างกำ�ลังใจ (?)

P.368 P.374

เมื่อผมป่วย ในวันที่ไม่ควรป่วยอย่างยิ่ง

DAY 29

DAY 30

บทส่งท้าย

P.500

P.512

P.524

นาทีเดียว ในตอนสุดท้าย P.506

รถนั่งกึ่งนอน ปรับอากาศ

เดินลุยเดลี P.518

คำ�บอกลา ณ ที่ที่เรา กล่าวคำ�ทักทาย

9


บทนำ�

สามสี่เหลี่ยม

10


11


1 ผมกำ�ลังนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมห้องหนึ่ง เคยมีคนบอกว่า ประโยคขึ้นต้นเรื่องคือประโยคที่น่าสนใจ ที่ สุ ด เพราะเราจะดึ ง ดู ด คนอ่ า นให้ อ ยากอ่ า นต่ อ ได้ ห รื อ ไม่ นั้ น ก็ขนึ้ กับการเรียงร้อยคำ�ไม่กคี่ �ำ ในประโยคแรก บนบรรทัดแรกนีแ่ หละ อืม...รูแ้ ล้วก็ยงั จะขึน้ ต้นเรือ่ งด้วยประโยคน่าเบือ่ ประโยคนัน้ นะ พูดตรงๆ เลยคือผมเป็นคนเลือดกรุ๊ปบีครับ ตามตำ�ราแล้ว เขาว่าเป็นคนชอบทำ�อะไรสวนทางกับกระแสโดยสิ้นเชิง เขาแห่ ไปร้านไหนกันก็ไม่ไป (จริงๆ คือขี้เกียจไปเบียดคนเยอะ รอคน เลิกฮิตก่อนค่อยแอบเนียนๆ เดินผ่านไปดู) เขาเห่อซื้ออะไรกัน ก็ไม่ซื้อ (จริงๆ คือไม่มีเงิน) ไม่รู้ว่ากรุ๊ปเลือดมีส่วนเกี่ยวข้องอะไร หรือเปล่า แต่มันก็เป็นข้ออ้างที่ฟังดูลึกลับและมีพลังชอบกล ดังนั้น เมือ่ มีคนแนะนำ�ว่าเราควรเริม่ ต้นการเล่าเรือ่ งด้วยประโยคทีน่ า่ สนใจ น่าติดตาม น่าหมั่นไส้เป็นที่สุด ผมจะขอเริ่มต้นเรื่องด้วยประโยคที่ น่าเบื่อที่สุด 12


ครับ, ผมกำ�ลังนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมห้องหนึ่ง เอาล่ะ นึกภาพตามนะครับ ห้องสี่เหลี่ยมห้องที่ว่า มีเตียง วางเรียงกันอยู่หลายเตียง ข้างเตียงมีเครื่องมือหน้าตาประหลาด ทีค่ งเสียเวลามากถ้าจะมัวมาอธิบายว่าแต่ละชิน้ ใช้ท�ำ อะไร (สรุปว่า ขี้เกียจอธิบาย ว่างั้น) บางเตียงมีผู้ป่วยนอนอยู่ บางเตียงก็ไม่มี ในห้องมีหมอและพยาบาลในชุดสครับแบบทีเ่ ห็นในซีรสี ฝ์ รัง่ เดินกัน ขวักไขว่ พูดคุยกันด้วยภาษาอังกฤษ นีย่ งั ไม่นบั ญาติผปู้ ว่ ย เจ้าหน้าที่ รังสี พนักงานเข็นเปล พนักงานทำ�ความสะอาด แล้วก็ใครอีกไม่รู้ที่ ผมไม่ได้ถามหน้าทีอ่ กี สองสามคน อ้อ...แล้วก็อย่าลืมผูช้ ายหน้าไทย พูดภาษาอังกฤษสำ�เนียงพยายามฝรั่ง นั่งทำ�หน้าเบื่อโลกอยู่บน เก้าอี้กลม หมุนเก้าอี้ไปมา สายตามองไปอย่างไร้จุดหมายที่อยู่ตรง มุมห้องอีกคนนึงด้วยครับ คนนั้นน่ะแหละ ผมเอง ถูกต้องครับ ทีน่ คี่ อื โรงพยาบาล และถูกต้องอีกนัน่ แหละครับ ที่นี่ไม่ใช่สยามประเทศ สิ่งที่ผิดก็คือ ผมไม่ใช่วิญญาณ และผมไม่ได้มโนเอาเอง จากการดู Grey’s Anatomy หรือ ER นะครับ ผมเป็นหมอครับ...และหลังจากที่พิมพ์ประโยคนี้ไปก็รู้สึก ได้ว่า มันช่างเหมาะแก่การเป็นประโยคเริ่มต้นของเรื่องเสียจริงๆ มันฟังดูหล่อ มีพลัง และน่าติดตาม แต่ผมไม่ใช้มันหรอก ผมว่า มันฟังดูขี้อวดชะมัด ทีน่ คี่ อื ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลแห่งหนึง่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาครับ ผมเป็นแพทย์ประจำ�บ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ จับพลัดจับผลูได้โอกาส (แต่ไม่ได้ทนุ นะครับ เข้าเนือ้ ล้วนๆ โฮกกกก) เดินทางมาดูงานที่นี่เป็นเวลาสี่สัปดาห์

13


หลายคนอาจรูส้ กึ ว่า โห! ดูงานอเมริกา! หล่อและรวยมากอะ! แต่เดี๋ยวก่อนนะครับ กฎของการดูงานในฐานะแพทย์หรือนักศึกษา แพทย์มีอยู่ว่า คุณไม่ใช่หนึ่งในทีมรักษา และยิ่งคุณมาจากประเทศ กะเหรี่ยงไร้สังกัดที่เราไม่รู้มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยมาก่อน ด้ ว ยแล้ ว ล่ ะ ก็ ช่ ว ยกรุ ณ าอย่ า แตะต้ อ งตั ว ผู้ ป่ ว ยด้ ว ยนะครั บ อย่าแม้แต่จะพูดคุย ตรวจร่างกาย หรือค้นประวัติ ยิง่ ดูภาพเอ็กซเรย์ นี่ไม่ต้องพูดถึง สรุปได้ว่าการมาที่นี่เพื่อ ‘Observation’ ก็แปล ตรงๆ ตัวว่ามา ‘สังเกต’ เท่านั้นจริงๆ ผมก็เลยต้องกลับสู่โหมด การเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 4 ในห้องผ่าตัด นั่นคือการแปลงร่างเป็น จิง้ จกเกาะฝาผนัง กลอกตาไปมาสังเกตการเคลือ่ นไหวของสิง่ ต่างๆ รอบตัว แลบลิ้นตวัดแมลงเข้าปากเป็นพักๆ และฟังเสียงหญ้างอก ไปเรื่อยๆ โดยปริยาย ถ้านี่เป็นหนังโรแมนติกคอเมดี้ระดับฮอลลีวู้ด กำ�กับโดย แกร์รี่ มาร์แชลล์ หรือผู้กำ�กับดังๆ สักคน ผมคงได้เจอหมอฝรั่งหรือ พยาบาลสาวสวยสักคน...ไม่สิ พล็อตแบบนั้นเชยจะตาย ต้องเป็น ซี ไ อเอสาวที่ ป ลอมตั ว เป็ น พนั ก งานร้ า นสะดวกซื้ อ ที่ ห นี ก ารถู ก ตามล่าโดยมาเฟียชาวรัสเซียด้วยการแกล้งป่วยเข้ามาอยู่ในห้อง ฉุกเฉินน่าเบือ่ แห่งนี้ และทำ�ให้เราได้พบกัน แต่นคี่ งเป็นหนังสำ�หรับ สาววายเป็นแน่แท้ เพราะคนที่ทำ�ให้ชีวิตผมเปลี่ยนไป เป็นผู้ชาย ชื่อจัสตินครับ จั ส ติ น เป็ น แพทย์ ป ระจำ � บ้ า นสาขาเวชศาสตร์ ฉุ ก เฉิ น เหมือนกับผม แต่ตอนนี้เขาไปวนอยู่ที่แผนกศัลยกรรมอุบัติเหตุ และมาดู ผู้ ป่ ว ยในห้ อ งฉุกเฉิน แห่ง นี้ร่วมกับ ทีมแพทย์ ศัลยกรรม

14


อุบัติเหตุครับ เอ่อ...ผมไม่ได้รู้ข้อมูลพวกนี้หรอกนะ เอาตามตรง ผมไม่ได้สังเกตเห็นเขาด้วยซ้ำ� จนกระทั่งเขาเดินเข้ามาคุยกับผม “มาดูงานเหรอครับ” เขาเปิดประเด็นถามผม เข้าใจว่าเขา เห็นผมเริ่มสนใจอุปกรณ์ผ่าตัดที่วางอยู่ข้างตัว และเกรงว่าจะเป็น อันตรายต่อบุคลากรในห้องฉุกเฉินแห่งนั้น ถ้าปล่อยให้ผมหยิบมัน ออกมาแกะเล่น “ครับ ผมเป็นแพทย์ประจำ�บ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มาจาก เมืองไทย” ผมตอบแบบงงๆ ที่จู่ๆ วันนี้ก็มีคนมาชวนคุยด้วย หลังจากที่ผมต้องเป็นฝ่ายเอ่ยปากชวนคนอื่นคุยด้วยมาตลอด สัปดาห์ “ประเทศไทยเหรอ เจ๋งดี! ผมอยากไปประเทศไทยมานาน แล้ว” เขาตอบ และการสนทนาระหว่างเราก็เริ่มต้นขึ้น ผมจำ�ไม่ได้ว่าเราคุยเรื่องอะไรกัน แต่มันก็น่าจะหนีไม่พ้น มาทำ�อะไร มานานแค่ไหน พักที่ไหน กลับเมื่อไหร่ คำ�ถามปกติที่ เราคงจะใช้ ถ ามในกรณี ก ลั บ กั น ถ้ า เขามาดู ง านในห้ อ งฉุ ก เฉิ น ที่ ประเทศไทย และมันก็เป็นการคุยกันเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่ แต่ละคนจะแยกย้ายกันไปทำ�หน้าที่ของตัวเอง – เขาต้องกลับไปดู ผูป้ ว่ ย ส่วนผมต้องกลับไปนัง่ ทำ�หน้าเบือ่ อยูบ่ นเก้าอีต้ วั นัน้ (สาววาย ช่วยโปรดหยุดการจิ้นของคุณด้วยครับ ผมไหว้ล่ะ) แต่เศษเสี้ยวหนึ่ง ของบทสนทนาที่หลงเหลือคงค้างมาอยู่ในความทรงจำ�เหมือน รอยเปื้อนติดเสื้อผ้าที่ซักไม่ออก รอวันที่เราจะกลับมามองเห็นมัน เป็นโครงการหนึ่งที่จัสตินพูดถึงครับ “คุณรู้จัก Himalayan Health Exchange ไหม?” เขาถามผม

15


“ไม่เคยได้ยินเลยครับ” ผมตอบ พลางคิดในใจว่า ฝรั่งนี่จะ ขายตรงอะไรกูหรือเปล่าวะ “มันเป็นโครงการอาสานะ ผมเพิ่งไปร่วมมาเมื่อปีที่แล้ว ก่อนที่จะเริ่มเรียนแพทย์ประจำ�บ้านนี่เอง มันเยี่ยมมากเลยนะ คุณจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง” เขาพยายามอธิบาย แต่ผม ก็ไม่เห็นภาพอยู่ดี “เหรอครับ เอ้อ...เอาไว้ผมจะไปกูเกิ้ลดูเย็นนี้แล้วกันนะ” ผมตอบ ก่อนที่บทสนทนาจะถูกเปลี่ยนเรื่องไปเป็นเรื่องอื่น น่าแปลกที่ผมไม่ได้จดชื่อที่ว่านั้นไว้ในกระดาษแผ่นไหน นอกจากรอยหยักบางๆ ในสมอง และถึงแม้ผมจะบอกไว้ว่าผมจะ กลับไปเสิร์ชกูเกิ้ลดูก็เถอะ ผมไม่ได้ทำ�หรอกครับ ยังไม่ทันกลับถึงห้องพัก ผมก็ลืมมันไปแล้วล่ะ 2 ผมกำ�ลังนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมห้องหนึ่ง ห้ อ งสี่ เ หลี่ ย มที่ว่า มีเ ตียง มีผู้ป่วยบนเตียงบางเตี ย ง มี เครือ่ งมือหน้าตาประหลาดวางอยูป่ ระปราย แต่หอ้ งสีเ่ หลีย่ มห้องนี้ เป็นคนละห้องกับห้องสีเ่ หลีย่ มห้องแรกครับ ตอนนีเ้ วลาผ่านไปแล้ว ประมาณ 1 ปี ผมเรียนจบเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินแล้ว และกำ�ลังทำ�งานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลบ้าน หมอเป็นอาชีพที่ไม่ตกงานครับ ถ้าคุณไม่เลือกงานมาก จนเกินไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผมหลังเรียนจบก็คือมีงานให้เลือก มากเกินไป – อนุญาตให้หมัน่ ไส้ได้สามวินาทีครับ หนึง่ ...สอง...สาม

16


เอาล่ะ ถ้าเลิกหมั่นไส้ผมแล้ว ลองอ่านต่อนะครับ – ตอนนั้นสิ่งที่ ผมพบก็ คื อ งานที่ มี ใ นทุ ก ตั ว เลื อ กมี ข้ อ เสี ย ของมั น งานสบาย แต่ค่าตอบแทนดีอยู่ไกลบ้านและต้องเปลี่ยนที่ทำ�งานไปเรื่อยๆ แบบไม่มีที่สิ้นสุด งานที่อยู่ใกล้บ้าน แม้จะอยู่กับที่แต่เป็นงานหนัก และค่าตอบแทนน้อยกว่างานแรกเกือบสามเท่าตัว ถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกอะไรครับ? ผมตกลงรับงานใกล้บ้าน แม้จะเป็นงานที่ไม่ชอบแต่ค่าตอบแทนค่อนข้างดี (อ้าวเฮ้ย! ไม่มใี นตัวเลือกนีห่ ว่า) เพราะจูๆ ่ งาน ที่ตกลงกันไว้นี้ก็ถูกยกเลิกต่อหน้าต่อตา ทิ้งผมให้ถูกลอยแพ ปล่อย มรสุมชีวติ พัดไปรับงานสบายไกลบ้านทีว่ า่ ซึง่ ก็คอื กรุงเทพมหานคร และลงเอยด้วยการมานั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมห้องนี้ หลายคนอาจจะมองว่า มันไม่ดียังไง? ไกลบ้านแล้วไง? มันสบาย และรายได้ดี ไม่ใช่เหรอวะ? แล้วเอ็งจะบ่นหาพระแสง ของ้าวอะไร? ตอนนั้นเป็นเดือนตุลาคม ปี 2554 ครับ และถ้าคุณยังจำ�ได้ มั น เป็ น ช่ ว งเวลามหาอุ ท กภั ย ถล่ ม กรุ ง เทพฯ ที่ ร้ า ยแรงเป็ น ประวัติการณ์ ทางโรงพยาบาลไม่มีบ้านพักให้ และผมต้องย้าย สำ � มะโนครั ว เข้ า ไปอยู่ กั บ ป้ า ซึ่ ง อยู่ แ ถวถนนจรั ญ สนิ ท วงศ์ ค รั บ จากเดิ ม ที่ ต้ อ งผจญรถติ ด และหลงเพราะลงทางด่ ว นผิ ด ทุ ก วั น ผมต้ อ งจอดรถทิ้ ง ไว้ บ นตึ ก จอดรถของโรงพยาบาลและเปลี่ ย น มาเป็นการเดินทางสามต่อ รถเมล์-รถไฟฟ้า-มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไป-กลับโรงพยาบาลแทน หลายคนอาจมองว่ามันก็เป็นเรื่องปกติ ของการดำ�รงชีวติ ในเมืองกรุง บางคนเขาเดินทางไกลกว่าแกตัง้ เยอะ

17


แต่ สำ � หรั บ เด็ ก บ้ า นนอกที่ ไ ม่ คุ้ น ชิ น ชี วิ ต แบบนี้ มั น เป็ น การ เปลี่ยนแปลงที่ทรมานสังขารและจิตใจอย่างหนักหน่วงครับ คุณผูอ้ า่ นคงเดาได้จากตำ�แหน่งบ้านป้าของผม ว่าไม่รอดแน่ มึงเอ๊ย! ถูกต้องแล้วครับ! ไม่รอดครับ! บ้านป้าผมถูกน้ำ�ท่วมในที่สุด และผมต้องลุยน้ำ�ระดับเอวเข้าไปขนของย้ายออกมาอยู่กับเพื่อน เพราะโรงพยาบาลไม่ถกู น้�ำ ท่วม มันก็เลยยังคงเปิดทำ�การตามปกติ ต่ อไป อาห์ . ..นี่ สิ น ะ การเป็น คนบ้านนอกที่ประสบภั ย น้ำ � ท่ ว ม แบบเต็มตัว อี ก เรื่ อ งที่ เ ป็ น ปั ญ หาสำ � หรั บ ผมคื อ การทำ � งานครั บ เปล่าครับ... ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์อะไรนั่นหรอกนะครับ มีบ้าง ที่รู้สึกว่าการทำ�งานในโรงพยาบาลเอกชนมีบรรยากาศทางวิชาการ ค่อนข้างน้อย ซึ่งถ้าเราไม่ขยันพัฒนาตัวเองเลย ความรู้ก็จะหยุด อยู่กับที่ และผมก็โหยหาบรรยากาศเดิมๆ ที่เคยมีตอนสมัยอยู่ใน โรงเรียนแพทย์อยู่พอสมควร แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่รบกวนจิตใจผม อยู่เป็นครั้งคราวแต่คราวละมากคือสิ่งที่เพื่อนๆ หมอของผมชอบ เรียกกันเล่นๆ ว่า ‘กลุ่มอาการกตัญญูเฉียบพลัน (Acute กตัญญู Syndrome)’ ครับ กลุม่ อาการกตัญญูเฉียบพลัน แปลตรงๆ ตัวก็คอื กลุม่ อาการ ของญาติผู้ป่วยที่แสดงอาการกตัญญูขึ้นฉับพลันเมื่อญาติของตน กำ�ลังจะเสียชีวิตครับ (ก็บอกแล้วว่าแปลตรงๆ ตัว) อาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นกับญาติที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิด ร้อยวันพันปีไม่เคยดูแล แต่พอถึงหัวโค้งสุดท้ายที่ญาติกำ�ลังจะเสียชีวิต พวกเขาเหล่านั้นจะ เป็นกลุ่มคนที่วิ่งเข้ามาบอกหมอว่า “เต็มที่เลยหมอ” ทั้งๆ ที่ญาติ ที่ ดู แ ลใกล้ ชิ ด มาตลอดสรุ ป กั น ว่ า จะรั ก ษาแบบประคั บ ประคอง

18


ไม่ ปั๊ ม หั ว ใจ ไม่ ใ ส่ ท่ อ ช่ ว ยหายใจ และให้ ผู้ ป่ ว ยจากไปโดยสงบ ผมไม่ได้ว่ามันเป็นสิ่งที่แย่หรือผิดปกติหรอกนะครับ มันเป็นแค่ คำ�พูดที่มักจะได้ยินบุคลากรทางการแพทย์พูดกัน และผมไม่อยาก ให้มนั เกิดขึน้ กับตัวเอง นัน่ เพราะสิง่ ทีต่ อ้ งแลกมากับการอยูไ่ กลบ้าน คือการอยู่ไกลครอบครัว และไม่ได้ดูแลครอบครัวใกล้ชิดนั่นเอง มองย้อนกลับไปแล้วช่วงเวลานัน้ เหมือนชีวติ โดนมรสุมครับ มันพัดผมไปอยู่ที่นั่นที่นี่ พัดพาเอาน้ำ�มาท่วมบ้านที่ผมอยู่ บางครั้ง มี ฟ้ า ผ่ า ลงตรงกลางหั ว เหมื อ นเป็ น สั ญ ญาณกระตุ้ น ให้ ผ มต้ อ ง กลับมาฉุกคิดเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำ�งาน การเงิน ครอบครัว และอนาคตของผมอยูเ่ ป็นระยะๆ พูดตรงๆ คือผมสับสน มากครับตอนนั้น ผมเรียกมันว่าช่วง สับสนทางแพทย์ ครับ (อ่านอีกครั้ง นะครับ สับสนทางแพทย์ครับ สับสนทางแพทย์) ผมพบตัวเองเหม่อลอยและคิดฟุง้ ซ่านเป็นพักๆ จึงพยายาม หลบเลี่ยงความคิดไร้สาระของตัวเองด้วยการอ่านหนังสืออ่านเล่น บ้าง เล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ไล่ดูรูปเก่าๆ ในคอมพิวเตอร์บ้าง และ นั่นเองที่ทำ�ให้ผมกลับไปค้นเจอแฟ้มเก่าๆ สีเหลืองซีดที่ซ่อนอยู่ใต้ ชื่อ ‘USA 2010’ ผมเอาเม้าส์ไปคลิกปัดฝุ่นออกจากมันสองที แล้วภาพของการไปศึกษาดูงานครั้งนั้นก็กลับมาฟุ้งกระจายอยู่ใน ความทรงจำ�อีกครั้ง เช่นเดียวกับบทสนทนาระหว่างผมกับจัสติน ในห้องสี่เหลี่ยมห้องแรก น่ า แปลกที่ ผ มยั ง จำ � ชื่ อ นั้ น ได้ ทั้ ง ๆ ที่ ไ ม่ ไ ด้ จ ดไว้ ผมเปิ ด เว็บบราวเซอร์ไปที่หน้ากูเกิ้ล แล้วพิมพ์คำ�ว่า Himalayan Health Exchange ลงไปในกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวตรงกลาง – สิ่งที่ผมควรจะ

19


ทำ�ตั้งแต่เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว ผลการค้นหาพาผมไปยัง himalayan health.com และทำ�ให้ผมรูค้ ร่าวๆ ว่า Himalayan Health Exchange หรือที่อีกหลายเว็บเรียกชื่อย่อว่า HHE เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้ง ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ�แพทย์จากประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก าเข้ า ไปให้ บ ริ ก ารทางการแพทย์ แ ก่ ผู้ ป่ ว ยในพื้ น ที่ ห่างไกลในเขตตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึง่ เป็นส่วนปลายของ เทือกเขาหิมาลัยตามชื่อองค์กร (ไม่แปลกครับ ผมก็เพิ่งรู้ตอนนั้น แหละว่า ปลายเทือกเขาหิมาลัยเลยมาถึงในเขตประเทศอินเดีย) จะว่าไปก็เหมือนออกค่ายอาสา แต่ไม่ได้ไปทำ�แท็งก์ (และไม่ท�ำ แท้ง) เหมือนออกตรวจ พอ.สว.* แต่ไปออกตรวจไกลถึงประเทศอินเดีย เว็บไซต์ himalayanhealth.com ยังกระซิบบอกกับผมอีกว่า ในหนึ่งปีมีการออกค่าย 6-7 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะออกเดินทางไป ในคนละพื้นที่กัน ก่อนที่จะบรรจงยื่นบทความที่เขียนโดยนักศึกษา แพทย์ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมภาพประกอบอันน่าตื่นตาตื่นใจ จากค่ายที่ใช้ชื่อว่าคาร์กิอัค (Kargiakh) วางลงบนจอคอมพิวเตอร์ ของผมอย่างนิ่มนวล A picture’s worth a thousand words. (รูปภาพเพียงหนึ่ง แทนคำ�เรือนพัน) ใครบางคนเคยบอกไว้ ไม่นา่ เชือ่ ว่าภาพ (ทีถ่ งึ แม้วา่ องค์ประกอบภาพจะไม่ได้เรื่อง) เพียงภาพเดียวบนหน้าจอนั้น มันจะกระตุ้นต่อมอยากเดินทางของผมได้ขนาดนี้ ตอนนั้น แรงใจ พลังไฟ ลมปราณ มาจากไหนก็ไม่รู้มากมาย ผมรู้แค่ผมไม่สนแล้วว่าจะต้องลาป่วย ลากิจ ลางาน ลาออก หรือ อะไรก็ช่าง ผมอยากออกไปเป็นหมอของประชาชนที่ต้องการผม *พอ.สว. ย่อมาจากมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นหน่วยแพทย์อาสาที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำ�ริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ออกปฏิบัติการในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยครับ 20


จริงๆ สักครั้ง ถึงแม้ประชาชนที่ว่านั้นจะพูดไทยไม่ได้เลยก็ตาม อย่างน้อยก็ดีกว่ามานั่งเฉยๆ ปล่อยเวลาไปกับการนั่งคิดฟุ้งซ่าน ไร้สาระอะไรแบบนี้ มือขวาของผมจับเม้าส์คลิกเปิดบราวเซอร์อกี หน้าหนึง่ ขึน้ มา สองมือบรรจงพิมพ์อีเมลสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการสมัคร ร่วมเดินทางออกค่ายกับ HHE พิมพ์จ่าหน้าซองตามอีเมลที่เขียน อยู่บนเว็บไซต์ และกดส่ง 3 ผมกำ�ลังนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมห้องหนึ่ง คือนี่มึงกะจะไม่ยืน เดิน หรือนอนเลยใช่ไหม? ก็ผมนั่งอยู่จริงๆ นี่นา และนี่ก็เป็นห้องสี่เหลี่ยมอีกห้องหนึ่ง ที่เป็นคนละห้องกับห้องสี่เหลี่ยมสองห้องแรกด้วย ห้องนี้มีเตียง มีผู้ป่วยบนเตียง มีเครื่องมือหน้าตาประหลาด อยู่ข้างเตียงก็จริง แต่จำ�นวนของทุกๆ อย่างอยู่ในปริมาณที่เยอะ มาก ความวุ่นวายอยู่ในขั้นสุดเมื่อเทียบกับห้องสี่เหลี่ยมห้องที่สอง ผมลาออกจากที่ทำ�งานเดิมแล้วครับ ตอนนี้ผมย้ายกลับมาอยู่ ใกล้บ้าน ที่ถึงแม้งานจะหนัก เงินจะไม่มาก แต่คำ�คมที่ผมพร่ำ�บอก กับตัวเองและทุกคนตอนนี้ก็คือ “บางอย่าง...เงินก็ซื้อไม่ได้หรอกเว้ย” ผมนัง่ มองไปรอบๆ ตัว ถึงมันจะวุน่ วายอยูบ่ า้ ง แต่มนั ก็เป็น ความวุ่ น วายที่ ผ มคุ้ ย เคยมาตลอดสามปี ต อนเรี ย นเป็ น แพทย์

21


ประจำ�บ้าน และความท้าทายอีกอย่างที่ผมกำ�ลังสนุกกับมันคือ การสอนนักศึกษาแพทย์ครับ อยูท่ นี่ ผี่ มต้องสอนนักศึกษาแพทย์ปที ี่ 5 และ 6 ด้วย ทัง้ สอน ภาคทฤษฎี แ ละควบคุ ม ในภาคปฏิ บั ติ ใครจะเชื่ อ ว่ า คนที่ เ รี ย น ปานกลางถึงไม่เอาไหน เพราะวันๆ เอาแต่ทำ�กิจกรรมอย่างผม จะเป็นอาจารย์ได้ (อาจารย์หมอนะครับ ไม่ใช่อาจารย์ใหญ่) แต่ก็ อย่างทีบ่ อก ผมว่ามันก็เป็นความท้าทายอีกอย่างในชีวติ ทีเ่ ราน่าจะ เติบโตไปกับมันได้ นักศึกษาแพทย์ปี 6 ทีอ่ ยูต่ รงหน้ากำ�ลังรายงานประวัตผิ ปู้ ว่ ย ที่ไปซักถามมาให้ผมฟัง แต่ตอนนี้มันแทบไม่เข้าหูข้างไหนของผม เลย เพราะผมมัวแต่คิดถึงการเดินทางที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ วันนี้เป็นเวรสุดท้ายก่อนการไปใช้ชีวิตในประเทศอินเดีย เป็นเวลาร่วมหนึ่งเดือนของผมครับ ตอนนี้ในหัวผมมีแต่คำ�ถามมากมาย แข่งกันส่งเสียงระงม เต็มพื้นที่ไปหมด ลืมอะไรรึเปล่าวะ? กระดาษเช็ดมือน้อยไปไหมวะ? จะมี คนมารับที่สนามบินจริงรึเปล่า? แล้วถ้าไม่มีจะทำ�ยังไง? จะหนาว มากแค่ไหน? จะคุยกับเขารู้เรื่องไหมเนี่ย? แลกเงินน้อยไปรึเปล่า? ร่างกายเราฟิตพอจริงเหรอ? แบตเตอรี่สำ�รองสำ�หรับกล้องมีแค่ ก้อนเดียวมันพอจริงเหรอวะ? แล้วก็วนกลับมาที่ ลืมอะไรรึเปล่าวะ? ทาง HHE ส่งอีเมลแนะนำ�การเตรียมตัวมาให้ทุกคนในทีม แล้วหลายฉบับ (ถึงขั้นแนบรายชื่อของทุกคนที่จะร่วมในทีมมาให้ พร้อมอีเมลของแต่ละคนด้วยซ้�ำ ) เนือ้ หาในนัน้ พูดถึงสภาพภูมอิ ากาศ

22


ศาสนา วั ฒ นธรรมของผู้ค น การแต่ง กาย การเตรี ย มร่ า งกาย ก่อนการเดินเขา การเตรียมตัวก่อนขึ้นที่สูง การจัดกระเป๋า การซื้อ ประกันสุขภาพแบบที่รวมการลำ�เลียงผู้ป่วยทางอากาศในกรณี ฉุ ก เฉิ น และอี ก หลายเรื่ อ ง แต่ ผ มพบว่ า ทุ ก อย่ า งเป็ น การ ประมาณการ เป็นการคาดเดา เป็นข้อมูลที่เรานึกภาพจริงไม่ออก และสุดท้ายแล้วมันก็ไม่ได้ชว่ ยให้ผมคลายความกังวลเลย ทุกคำ�ถาม ยังคงไม่มีคำ�ตอบ ทุกคำ�ตอบก็อยู่ในอนาคตข้างหน้าซึ่งต้องรอเรา เดินทางไปถึงที่นั่นก่อนจึงจะพบมัน ตั้งคำ�ถามไปก็เท่านั้น ผมส่ายหัว ไล่คำ�ถามทั้งหมดนั้นออกไป แล้วหันกลับไปมอง นักศึกษาแพทย์คนเดิมที่มองกลับมาที่ผมด้วยความสงสัย “ต้องถามอะไรเพิ่มอีกรึเปล่าคะ?” น้องนักศึกษาแพทย์ถาม “ไม่ครับ” ผมตอบ และส่ายหัว

23


ขอบคุณ

528


• พ่อ แม่ เจ๊ ที่ปล่อยให้หายหัวไปเวิ่นเว้อที่อินเดียแบบติดต่อ ไม่ได้อยู่เดือนนึงเต็มๆ ขอโทษที่ทำ�ให้เป็นห่วงอยู่บ่อยๆ นะครับ • Thanks to all HHE Kargiakh 2013 team. You guys are the best! • มิ้ ว โอ๊ ต หนึ่ ง ที่ ยุ ใ ห้ เขี ย น เขี ย น เขี ย น และคอยอ่ า นบ้ า ง ไม่อ่าน บ้างจนเขียนเสร็จเป็นเล่ม • อ.บริบูรณ์ พี่กอล์ฟ พี่นุ่น น้องออม ที่ดูแลเรื่องงานให้ตอนที่ หนีไปอินเดีย (และที่อื่นๆ) • พี่เอ๋ (ที่คงไม่รู้ตัว ฮ่าฮ่า) ผู้ชายนิ้วกลมๆ ที่เคยพาผมไปนอน ในกล่องที่โตเกียวผ่านหนังสือ พี่ทำ�ให้ผมอยากเขียนหนังสือ ดูสักเล่ม...และวันนี้มันก็เป็นจริง • พบี่ กิ๊ พีเ่ ต้ น้องตาล น้องแป้ง พีโ่ บลด์ ทีมงานอะบุก๊ ทุกคน สำ�หรับ โอกาสในการทดลองเป็นนักเขียนสักครั้งของผม • คุณผูอ้ า่ นทุกคนทีท่ นอ่านมาจนถึงบรรทัดนีไ้ ด้ ขอบคุณทีใ่ ห้โอกาส ตัวหนังสือของผมได้เดินเล่นผ่านสายตาของคุณครับ


หมอนี่เป็นใคร?

530


• แม่ตั้งชื่อจริงให้ว่า คัมภีร์ เพื่อนสมัยประถมเรียกไอ่คำ� คู่รหัส เรียกคัมคัม...​ แต่อยากถูกใครสักคนเรียกว่า ที่รัก (ฮิ้วววววว) • พ่อตัง้ ชือ่ เล่นให้วา่ เก๋อ ไม่คอ่ ยชอบอธิบายว่าชือ่ เล่นแปลว่าอะไร เพราะอธิบายแล้วก็ไม่เข้าใจอยู่ดี • ครูฝกึ สอนสมัยมัธยมตัง้ ชือ่ ให้วา่ เก๋อศักดิ์ และมักใช้ชอื่ นีอ้ ยูเ่ สมอ จนคนเข้าใจว่านี่คือชื่อจริง • เป็นน้องชายของพี่สาวหนึ่งคน ที่อายุห่างกันหนึ่งปีสามเดือน เลยเหมือนเป็นเพื่อนกันมากกว่า • เกิดแถวๆ ฝัง่ ธนฯ ในกรุงเทพฯ แต่สถาปนาตัวเองเป็นคนเชียงใหม่ เพราะย้ายมาตั้งแต่อายุสองเดือน ถึงแม้จะอู้เมืองได้ปะแล้ด (ทองแดง) มากก็ตาม • สอบติดคณะแพทย์ ด้วยคะแนนวิชาภาษาอังกฤษเป็นหลัก เคมี เป็นรอง ส่วนชีววิทยานั้นดูไม่ได้เลย • เรียนจบหกปีมาด้วยเกรดพอใช้ ด้วยความมั่นใจว่า ‘ยังไงคนไข้ ก็ไม่ถามเกรดกู’ • เป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินรุ่นที่ 5 ของประเทศไทย ปัจจุบัน รับจ้างเฝ้าห้องฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร • สอนนักศึกษาแพทย์ในบางโอกาส นินทานักศึกษาแพทย์เป็น บางครั้ง มั่นใจว่าถูกนักศึกษาแพทย์นินทาอยู่บ่อยๆ • ออกเดินทางท่องเที่ยวเมื่อมีเงินและมีเวลา พยายามถ่ายรูป อยู่เสมอ เผื่อว่าฝีมือจะพัฒนาขึ้นบ้าง • และไม่เคยขายประกัน...​ ถึงแม้ว่าจะโดนทักอยู่บ่อยๆ ก็ตาม • facebook.com/guaresak | instagram @guaresak




หิมาลัยต้องใช้หูฟัง คัมภีร์ สรวมศิริ หนังสือในชุด Journey เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-076-4 พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2557 ราคา 325 บาท ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ คัมภีร์ สรวมศิริ. หิมาลัยต้องใช้หูฟัง. -- กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2557. 536 หน้า. 1. การเดินทาง. I. ชื่อเรื่อง 910.4 ISBN 978-616-327-076-4

จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-0690 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing

แยกสีและพิมพ์ บริษัท ฐานการพิมพ์ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2954-2799 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609


ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข บรรณาธิการเล่ม จิราภรณ์ วิหวา ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ภาพปก/ภาพถ่าย คัมภีร์ สรวมศิริ อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย ออกแบบปก/รูปเล่ม เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ เลขานุการ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ/พิสูจน์อักษร เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ฝ่ายขายออนไลน์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุด หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือนั้น มาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางสำ�นักพิมพ์ยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.