พุทธศักราช 2552 บั ต รรถไฟ JR Pass ของผมพิมพ์เ ลขปีแ บบญี่ ปุ่น ตั ว ใหญ่ เ ป้ ง ไว้ว่า 21 ปีนเี้ ป็นปีที่ 21 ในรัชสมัยขององค์จกั รพรรดิอะกิฮโิ ตะ ยุคนีม้ ชี อื่ ว่า เฮเซ หมายถึง สงบสุขทุกสารทิศ ปีนี้เป็นปีเฮเซที่ 21 เป็นปีทผี่ มได้ลองวิง่ รอบพระราชวังขององค์จกั รพรรดิเป็นครัง้ แรก มันเป็นเช้าวันอาทิตย์ที่อากาศเย็นสบาย ฝนไม่ตก แดดไม่แรง ร้านรวงในมหานครโตเกียวยังงัวเงียไม่ยอมลืมตา แต่ขาหลายข้างก็ขยัน ขยับแข้งแต่เช้า ย่ำ�ย้ำ�ๆ อยู่บนทางเดินรอบปราสาทโบราณอย่างกระปรี้กระเปร่า ทั้งนักวิ่งและนักท่องเที่ยว ผมน่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่กำ�ลังวิ่ง ไม่ก็นักวิ่งที่กำ�ลังเที่ยว แต่ ไ ม่ ว่ า จะเป็ น อะไร ผมก็ ยั ง เป็ น คนไทยผู้ ไ ม่ ป ระสี ป ระสากั บ ประเทศญี่ปุ่น ผมย่างเท้าเข้าญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ 2 ในชีวิต มาเพื่อทำ�นิตยสาร a day เหมือนครั้งแรก ต่างไปตรงรอบนี้ผมไม่ได้ปักหมุดอยู่แค่ในเมืองหลวง กลับคิดการใหญ่เดินทางไกลจากฟุกุโอะกะที่อยู่ทางตอนใต้ไล่มาจนถึง โตเกียวทีอ่ ยูก่ ลางประเทศ เพือ่ ทำ�ความรูจ้ กั ความเป็นญีป่ นุ่ ผ่านเมืองเล็กๆ ระหว่างทาง ท์ซึสุกิ เคียวอิชิ นักเขียนญี่ปุ่นผู้ชอบเดินทางไปตามหาสถานที่ แปลกๆ ทัว่ ญีป่ นุ่ เอามาเขียนเป็นหนังสือกว่า 100 เรือ่ ง บอกผมเมือ่ ปีกอ่ น ว่า “โตเกียวไม่ใช่ญี่ปุ่น ถ้าอยากรู้จักญี่ปุ่นต้องเดินทางไปให้ทั่วประเทศ” 2
ผมเห็นด้วยกับเขา ชีวิตเมืองอันล้ำ�สมัยในโตเกียวนั้นหอมหวาน แต่ฉากชุมชนเล็กๆ ในชนบทที่มีพี่ป้าน้าอาใช้ชีวิตอยู่กับวิถีเกษตรใน บ้านไม้เก่าๆ ก็หอมหวน ผมชอบอดีต ชอบร่องรอยของเรื่องราวที่ผ่าน กาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน อดีตเป็นช่วงเวลาประหลาด ถ้าเวลาผ่านไป นานพอ มันมักจะหลงเหลือแต่ความทรงจำ�อันงดงาม อาจเป็นด้วยเหตุผลนั้น เวลาดูหนังญี่ปุ่นที่มีฉากบ้านเก่าๆ ใน เมืองแก่ๆ ทีไร หัวใจของผมมักเต้นโครมคราม อยากเดินตามเข้าไปเดิน หายใจอยู่ในฉากนั้นด้วย การเดินทางคราวนี้ผมตั้งใจไปเยี่ยมชุมชนเล็กๆ ในชนบท เหมือนบางฉากของหนังญี่ปุ่นที่หนุ่มสาวลากกระเป๋าไปเยี่ยม บ้านคุณยายคุณตาที่ต่างจังหวัดช่วงปิดเทอมหน้าร้อน น่าแปลก ทุกเมืองที่เราไปล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสงครามโลก ครัง้ ที่ 2 ไม่กช็ ว่ งสร้างชาติในยุคปี 1960 หรือยุคโชวะ ยุคเดียวกับเรือ่ งราว ในหนังเรื่อง Always: Sunset on Third Street ยุคที่ญี่ปุ่นกำ�ลังสร้าง โตเกียวทาวเวอร์ รถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น และเตรียมจัดโตเกียว โอลิมปิก เป็นยุคทีเ่ ศรษฐกิจเริม่ ฟืน้ ตัว ผู้คนมีความหวัง และความสุขเริ่ม เบ่งบานแทนที่บาดแผลจากสงคราม เราผ่านยุคนั้นมา 50 ปีแล้ว การเดินทางคราวนี้คล้ายจะย้อนกลับไปหาตัวละครเหล่านั้น วันนี้ พวกเขาน่าจะมีอายุราว 70 ปี ผมอยากชวนพวกเขาคุยถึงเรื่องราวเมื่อ วันก่อนและวันต่อๆ มา คล้ายว่าจะเป็น Always: Sunset on Third Street ภาค 4 การเดินทางด้วยพาหนะย้อนยุคอย่างรถไฟและจักรยาน ความยาว 12 วัน ตั้งแต่ 25 กันยายน ถึง 6 ตุลาคม ผ่านไปแล้ว เพื่อนร่วมทางอย่าง ฮิ โรทะคะ คุ รุ ซุ หรื อ ฮิ โร่ กราฟิ ก ดี ไซเนอร์ ผู้ ก่ อ ตั้ ง นิ ต ยสาร po ใน ประเทศไทย ซึ่ ง รั บ หน้ า ที่ ล่ า มและประสานงานการเดิ น ทาง แยกตั ว กลับไปพักกับครอบครัวที่โตเกียว ส่วน ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ หรือ ตอง ช่างภาพของ อะเดย์ ซึ่งลางานมาเรียนภาษาที่โตเกียว ก็กลับไปใช้ชีวิต นักเรียนตามเดิม Japan Vintage Village | 3
ผมมาพักกับป๊อป เพือ่ นสนิททีร่ จู้ กั กันตัง้ แต่เรียนมหาวิทยาลัยปี 1 ป๊อปมาทำ�งานที่โตเกียว 2 ปีแล้ว ป๊อปใช้ชีวิตในมหานครแห่งนี้แบบ ‘ผู้มาอยู่’ ไม่ใช่ ‘ผู้มาเยือน’ เช้าวันอาทิตย์แบบนี้ เขาก็เลยชวนผมไป พระราชวัง แต่ไม่ได้ไปเดินดูแบบนักท่องเที่ยว เขาชวนผมไปวิ่งแบบ คนเมืองหลวง เขาว่านี่คือเส้นทางวิ่งออกกำ�ลังกายที่สวยที่สุดในโตเกียว โดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิ ดอกซากุระสีชมพูระเรื่อจะบานสะพรั่งรอบ ปราสาท แต่เป็นความงามทีม่ อี ายุราวสัปดาห์เดียวเท่านั้น เพราะเป็นความงามในช่วงเวลาแสนสั้น มันก็เลยมีค่า พุทธศักราช 2558 บัตร JR Pass เปลี่ยนมาพิมพ์เลขปีแบบสากลว่า 2015 เช่นเดียว กับตราประทับไปรษณีย์ที่ไม่ได้ใช้ปีเฮเซแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าปีนี้เป็นปีเฮเซที่เท่าไหร่ เวลาผ่านไป 6 ปี ผมกลับมาญี่ปุ่นอีกสิบกว่าครั้ง รู้จักและเข้าใจ ดินแดนอาทิตย์อุทัยมากขึ้นทีละนิด ตอนนี้ผมเพิ่งเสร็จภารกิจการเดินทางอันยาวไกลระยะเวลาเกือบ เดือน จากฟุกโุ อะกะทางตอนใต้ไปจนถึงเซนไดทางตอนเหนือ ผมมาเรียนรู้ เรื่องวัฒนธรรมจักรยาน สำ�หรับเขียนนิตยสาร HUMAN RIDE ทริปนี้ มีอะไรหลายอย่างคล้ายการเดินทางเมื่อ 6 ปีก่อน ผมยังคงไปเยือน เมืองเล็กๆ และใช้จักรยานพับกับรถไฟเป็นพาหนะเช่นเดิม ที่ต่างไปคือ ผมจัดการการเดินทางด้วยจักรยานได้ดีกว่าเดิม มองย้อนกลับไปก็ได้แต่ หัวเราะตัวเองที่ทำ�ทุกอย่างเกี่ยวกับการปั่นจักรยานผิดหมด มิน่าทริปนั้น ถึงได้เหนื่อยและล้าเหลือเกิน ผมออกมาวิ่งรอบพระราชวังในเย็นวันเสาร์ เวลาที่ผมได้กลับไป ที่ไหนสักแห่งเป็นครั้งที่ 2 ผมมักจะคิดถึงเหตุการณ์ครั้งแรกเสมอ แต่เมื่อ ได้กลับไปเป็นหนที่ 3 บางครั้งผมก็คิดถึงเหตุการณ์ครั้งแรก บางครั้งก็ คิดถึงเหตุการณ์ครั้งที่ 2 และบ่อยครั้งที่ไม่คิดถึงเหตุการณ์ไหนเลย 4
ป๊อปย้ายกลับมาทำ�งานที่ไทยหลายปีแล้ว คราวนี้ผมวิ่งรอบวัง คนเดียว น่าจะเป็นการวิ่งรอบวังครั้งที่สิบหรือเกินกว่านั้น การวิ่งวน รอบวังที่ต้องวิ่งวนกลับมา วนกลับมา วนกลับมา วนวังเป็นวังวน ชวนให้ ผมทบทวนถึงการเดินทางครัง้ ทีเ่ พิง่ ผ่านมา แต่จๆ ู่ การเดินทางเมือ่ 6 ปีกอ่ น ก็แทรกเข้ามาในความคิด ความทรงจำ�บางเรื่องก็แปลก เราไม่เคยรับรู้ถึงการมีอยู่ของมัน จนกระทั่งมีอะไรบางอย่างมาสะกิด เราถึงรู้ว่ามันยังอยู่ และยังคงแจ่มชัด เหลือเกิน คืนนั้นผมกลับมาเปิดไฟล์ต้นฉบับบันทึกการเดินทางเมื่อ 6 ปีก่อน ที่เขียนค้างไว้ และไม่ได้แตะต้องมาหลายปีแล้ว มันเป็นต้นฉบับที่ถูกรื้อ เขียนใหม่หลายรอบ ตามวันและวัยทีเ่ ปลีย่ นไป แต่ไม่วา่ จะแก้ยงั ไงผมก็ยงั ไม่ชอบ แต่รอบนี้ผมรู้แล้วว่าอยากเขียนอะไร ผมอ่านต้นฉบับที่ร่างไว้แล้วรู้สึกเหมือนได้นั่งยานย้อนเวลาไป คุยกับตัวเองเมื่อ 6 ปีก่อน ไปฟังว่าไอ้เด็กหนุ่มคนนั้นมันตื่นเต้นกับอะไร มันสงสัยอะไรนักหนา และชีวิตช่วงนั้นมันคิดอะไร ตัวผมในวันนี้รู้อะไรที่ดีกว่าก็เอาไปแบ่งปันให้มันฟัง จะปีโน้นหรือปีนี้ ทางวิ่งรอบวังของผมก็ยังไม่มีซากุระ แต่มีความทรงจำ�อันงดงามของการเดินทางช่วงสั้นๆ คุณค่าของช่วงเวลาดีๆ ไม่ได้ประเมินกันทีเ่ กิดขึน้ นานไหม แต่วดั กัน ที่มันประทับอยู่ในใจเราเนิ่นนานแค่ไหนต่างหาก ช่วงเวลาที่งดงาม แม้เกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ อาจคงอยู่ตลอดไป ผมเชื่อแบบนั้น
Japan Vintage Village | 5
JAPAN VINTAGE VILLAGE
6
Japan Vintage Village | 7
8
1 ซามูไรรับดาบ
พวกเราเหมือนซามูไรพเนจรที่เดินทางจากแดนใต้มุ่งหน้าไปยัง เมืองเอโดะ หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม โตเกียว ผมจินตนาการเรือ่ ยเปือ่ ยในระหว่างเดินแบกเป้พะรุงพะรังออกจาก สถานีรถไฟใต้ดินในเมืองฟุกุโอะกะไปเช็กอินที่โรงเตี๊ยมราคาประหยัด เมื่อ 122 ปีก่อน ซามูไรชื่อ ยะมะดะ นะงะมะสะ เดินทางออกจาก ญีป่ นุ่ ไปรับราชการทีก่ รุงศรีอยุธยา จนได้รบั ตำ�แหน่งเป็นออกญาเสนาภิมขุ อั น เป็ น จุ ด เร่ิ ม ต้ น ของความสั ม พั น ธ์ ท างการทู ต ระหว่ า งไทยกั บ ญี่ ปุ่ น ส่วนผมเป็นคนทำ�นิตยสารที่ออกเดินทางกลับด้านจากประเทศไทยมา ดินแดนอาทิตย์อทุ ยั เพือ่ เจริญสัมพันธไมตรีดว้ ยขบวนพยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ ฟุกุโอะกะเป็นจังหวัดที่คนไทยเดินทางไปน้อย เที่ยวบินจึงไม่ บริบรู ณ์เท่าเมืองอืน่ ซ้�ำ ร้ายก่อนเราออกเดินทางไม่กวี่ นั สายการบิน Japan Airlines เพิ่งประกาศล้มละลาย เที่ยวบินจึงหดหายไปอีก ผมกับฮิโร่เลย ต้องโดยสารสายการบินแห่งชาติไทยไปลงที่เมืองโอซาก้า แล้วนั่งรถไฟ ไปที่ฟุกุโอะกะ บนบันไดเลื่อนในสนามบิน ระหว่างที่ผมกำ�ลังสังเกตว่าควรต้อง ยืนชิดซ้ายหรือขวา ฮิโร่ก็ทักว่าเชือกรองเท้าของผมหลุด คนญี่ปุ่นเชื่อว่า ถ้าปล่อยให้เชือกรองเท้าหลุดจะไม่ได้แต่งงาน เพราะปลายสองข้างไม่ได้ ผูกกันไว้ 10
เป็นฉากเปิดตัวการเดินทางทีล่ ะเมียดละไม คล้ายจะเป็นสัญญาณ ว่าต่อแต่นี้จะมีเรื่องราวความรู้และความเชื่อแบบญี่ปุ่นโปรยปรายเข้าใส่ อย่างงดงามตลอดเวลา น่าเสียดายที่บรรยากาศอุ่นอวลแบบนั้นช่างสั้นนัก ตอนนีเ้ ป้ใบใหญ่บนหลังผมหนักอึง้ เพราะมีทงั้ เสือ้ ผ้า คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และ อะเดย์ 5 เล่ม ส่วนเป้ใบเล็กที่สะพายอยู่ด้านหน้ามีไกด์บุ๊ก เล่มหนา เอกสารข้อมูลปึกใหญ่ และกล้องถ่ายรูป หนักน้อยกว่าเป้บนหลัง นิดเดียว แค่เดินไม่กกี่ า้ วก็รแู้ ล้วว่า ทริปนีห้ นักแน่ เหมือนกำ�ลังแบกน้�ำ หนัก ไปชกข้ามรุ่น โรงแรมที่เราพักคืนนี้เรียกว่า Business Hotel แต่ความหรูหราอยู่ ตรงข้าม Business Class ของเครือ่ งบินแบบคนละขัว้ การเดินทางมาติดต่อ ธุรกิจต่างเมืองของพนักงานบริษทั เป็นการมาทำ�งานไม่ได้มาเทีย่ ว ทีพ่ กั จึง เอาไว้ใช้แค่ซกุ หัวนอนคืนเดียว สิง่ อำ�นวยความสะดวกทัง้ หลายจึงย่อส่วน ให้มีขนาดกะทัดรัด จะได้ใช้พื้นที่แบบมัธยัสถ์ได้ ด้วยราคาที่จ่ายไป ถ้าเป็นบ้านเรา น่าจะได้ห้องใหญ่ขนาดตีแบด เล่นในห้องได้ แต่ทนี่ แี่ ค่หาทีว่ างกระเป๋าเสือ้ ผ้า 2 ใบยังยาก คนญีป่ นุ่ ทัว่ ไป คงไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหา เพราะห้องพักของพวกเขาไม่ได้ใหญ่กว่านี้ สักเท่าไหร่ คนญี่ปุ่นใช้สอยพื้นที่อย่างประหยัดมาแต่ไหนแต่ไร เพราะรู้ว่า ประเทศตัวเองมีที่ดินน้อย เนื่องจากเป็นภูเขาเยอะ คนอเมริกันมีพื้นที่ อยู่อาศัยเฉลี่ยคนละ 180 x 180 เมตร แต่พน้ื ทีแ่ ปลงนีค้ นญีป่ นุ่ ต้องอยูก่ นั ถึง 11 คน ประเทศนีก้ เ็ ลยขึน้ ชือ่ เรือ่ งการจัดบ้านด้วยวิธคี ดิ และเฟอร์นเิ จอร์ ที่จัดวางอย่างชาญฉลาด รวมไปถึงการทำ�สวนขนาดจิ๋วในกระถางต้นไม้ หน้าบ้าน และการย่อส่วนสวนให้เหลือเพียงกระถางบอนไซ พอปลดเป้จากหลังวางไว้ในห้องเรียบร้อย เราก็เดินกลับมาที่ รีเซปชันเพื่อรับของชิ้นสำ�คัญ ทริปนี้เราเลือกแวะเฉพาะเมืองเล็กๆ การเดินทางเลยไม่สะดวก สบายนัก บางเมืองแค่สอดบัตรออกจากสถานีรถไฟก็ถึงปลายทาง แต่ บางเมืองออกมาแล้วยังต้องเดินทางต่ออีกหลายกิโลเมตร แท็กซี่น่ะมี Japan Vintage Village | 11
12
Japan Vintage Village | 13
แต่ที่ไม่มีคือค่าแท็กซี่ ฮิโร่เสนอว่าเราควรพกจักรยานพับติดตัว มันคือวิธี ที่ง่ายที่สุดที่จะพาเราไปถึงได้ทุกที่โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ฮิโร่คนุ้ กับพาหนะชนิดนีด้ อี ยูแ่ ล้ว เพราะเขาขีจ่ กั รยานพับไปทำ�งาน ที่ย่านสุขุมวิททุกวัน เขาเลยช่วยเลือกซื้อจักรยานให้เราอย่างคล่องแคล่ว เป็นจักรยานพับราคาประหยัด คันละ 4,000 บาท พร้อมด้วยอุปกรณ์เสริม ทั้งหลาย กดซื้อออนไลน์แล้วให้ไปส่งที่โรงแรม ถ้าพวกเราเป็นซามูไร การรับจักรยานคงเหมือนรับดาบ พนักงานโรงแรมยกกล่องกระดาษสีน้ำ�ตาลทรงลูกบาศก์ขนาด 1 เมตรมาให้ 3 กล่อง เราช่วยกันขนลงมาแกะที่ลานจอดรถชั้นล่าง ฮิโร่ คลีจ่ กั รยานทีพ่ บั ให้กลับคืนเป็นคันอย่างง่ายดาย แล้วประกอบบางชิน้ ส่วน เข้าไปอย่างคุ้นมือ เป็นการลับดาบหลังจากรับดาบที่ดูปราดเปรียวมาก ผมลองขี่จักรยานวนในลานจอดรถ ราวกับซามูไรลองดาบใหม่ ให้คุ้นมือ จักรยานและดาบซามูไรมีอะไรบางอย่างที่เชื่อมโยงถึงกัน ไม่ห่างจากโอซาก้ามีเมืองชื่อ ซะไก ซึ่งมีสุสานโบราณขนาดใหญ่ มากมาย ในศตวรรษที่ 4 ช่างเหล็กฝีมือดีจากทั้งในและนอกประเทศ จำ�นวนมากมารวมตัวกันที่นี่เพื่อสร้างสุสาน ฝีมือและเทคนิคการตีเหล็ก ของเมืองนี้จึงพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเมืองที่โด่งดังเรื่องการตีดาบ ซามูไร เมือ่ ถึงยุคทีช่ าวโปรตุเกสเข้ามาค้าขาย ญี่ปุ่นก็รู้จักปืนเป็นครั้งแรก ทักษะการตีดาบของเมืองซะไกจึงถูกปรับมาใช้ขึ้นรูปเหล็กให้เป็นท่อเพื่อ ทำ�ลำ�กล้องปืน เมืองซะไกจึงกลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตปืน เมื่อถึง ยุคเอโดะ ชาวต่างชาติมากมายเดินทางเข้ามาญีป่ นุ่ พร้อมจักรยาน เทคนิค การขึน้ รูปเหล็กให้เป็นลำ�กล้องปืนจึงถูกปรับมาทำ�เฟรมจักรยาน แล้วซะไก ก็กลายมาเป็นเมืองศูนย์กลางของการผลิตจักรยาน ดาบซามูไรกับจักรยานสัมพันธ์กันเช่นนี้ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เขียนเรื่องดาบซามูไรไว้ในหนังสือเรื่อง ปัญญาญี่ปุ่น ว่า
14
ช่างตีดาบจะตะไบเหล็กให้เป็นผง จากนั้นนำ�ผงตะไบเหล็กไปคลุก กั บ เนื้อ วั ว แล้ ว ป้ อ นให้ น กกระเรี ย นกิ น ปฏิ กิริย าเคมี ร ะหว่ า งน้ำ�ย่ อ ย ในกระเพาะของนกกระเรียนกับผงเหล็กจะช่วยทำ�ให้เหล็กแกร่งกล้าขึ้น เมือ่ นกกระเรียนถ่ายออกมา ช่างจะนำ�มูลนกมาชำ�ระล้างเช่นเดียวกับการ ร่อนแร่ จากนั้นนำ�เอาผงเหล็กมาหลอมเป็นแท่งอีกครั้ง เหล็กที่ได้จะมี ความแข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กธรรมดา และวิธีที่ว่านี้ต้องทำ�ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่าอยู่ หลายครั้ง ใช้เวลานานนับปีจึงจะได้เหล็กสำ�หรับตีดาบซามูไรชั้นเลิศ… ในหนึ่งช่วงชีวิตของนักตีดาบจึงอาจจะผลิตดาบซามูไรเช่นที่ว่าได้เพียง 4 เล่มเท่านั้น จักรยานของพวกเราอยู่ห่างไกลจากสถานะดาบชั้นเลิศ เพราะมัน เป็นดาบเกรดต่ำ�ที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นดาบอะไรก็ต้องมีปลอก ประกอบจักรยานเสร็จ ฮิโร่ก็สอนให้ผมหัดพับจักรยานใส่กระเป๋า จักรยาน เขาบอกว่า จักรยานที่จะเอาขึ้นรถไฟได้ต้องเป็นรถที่พับเพียบ เรียบร้อยอยูใ่ นกระเป๋าเท่านัน้ เหมือนเป็นสัมภาระชิน้ หนึง่ จะได้ไม่รบกวน ผู้โดยสารคนอื่น ถุงจักรยานจึงสำ�คัญมาก ไม่ต่างจากปลอกดาบ การ์ตูนเรื่อง Vagabond บอกว่า เวลาซามูไรออกรบต้องเอาปลอก ไปด้วย เพราะมีแต่คนตายเท่านั้นที่ไม่จำ�เป็นต้องเก็บดาบกลับคืนปลอก ถ้าเราไม่ได้เอาถุงจักรยานไปด้วย ก็จะขึ้นรถไฟไม่ได้ นั่นหมายถึง เราต้องปั่นจักรยานอย่างเดียวตลอดทริป ตายแน่นอน
Japan Vintage Village | 15
16
2 หอคอยความฝัน
ฮิโร่หยิบรีโมตมากดเปิดโทรทัศน์ท�ำ ลายความเงียบในห้องพักขนาด เล็กจิว๋ ค่ำ�คืนนี้ผมไม่มีธุระใดให้สะสาง เพราะตอนนี้ภาระหนักอึ้งวางอยู่ บนบ่าของฮิโร่ เขาหยิบเอกสารและแผนทีม่ ากมายออกมาอ่านเพือ่ เตรียมตัว สำ�หรับการเดินทางในเช้าวันพรุ่งนี้ ฮิโร่เงยหน้าขึ้นดูข่าวในโทรทัศน์ แล้วทำ�หน้าที่เล่าข่าวให้ผมฟัง อีกทอด เขาว่าวงการโทรทัศน์ของญีป่ นุ่ กำ�ลังจะมีการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ ในอีก 2 ปีขา้ งหน้า สถานีโทรทัศน์ทกุ ช่องจะเปลีย่ นไปออกอากาศในระบบ ดิจิทัล ช่วงนี้หลายสถานีเลยอยู่ในระหว่างทดลองปรับเปลี่ยนระบบ จุดส่งสัญญาณก็จะย้ายจากโตเกียวทาวเวอร์ไปสู่โตเกียวสกายทรี หรือที่หลายคนเรียกเล่นๆ ว่า โตเกียวทาวเวอร์ 2 ซึ่งตอนนี้กำ�ลังก่อสร้าง ผมอินกับโตเกียวทาวเวอร์เพราะหนังญี่ปุ่นหลายเรื่อง มันเป็น หนึ่งในสัญลักษณ์การฟื้นตัวของประเทศหลังสงคราม เป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ยักษ์ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาแห่งความยากลำ�บาก เพื่อประกาศ กับชาวโลกว่า ชาวญี่ปุ่นไม่ได้สิ้นหวังและพังพาบไปกับสงคราม พวกเขา กำ�ลังลุกขึ้นยืนหยัดอย่างสง่างามอีกครั้ง มันคือความภูมใิ จของชาติ และเป็นตำ�นานทีส่ งู ส่ง ความสูง 333 เมตร ของมันเมือ่ ตอนเปิดตัวในปี 1958 ถือว่าเหนือกว่าทุกสิง่ ในเมือง มันจึงเป็น จุดส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุ แต่เวลาผ่านไป คนญี่ปุ่นยุคใหม่สูงใหญ่ กว่าคนรุน่ ก่อน โตเกียวทาวเวอร์ในวันนีด้ เู หมือนคนรุน่ ปูย่ า่ ทีต่ อ้ งแหงนคอ 18
คุยกับตึกรุน่ หลาน จึงต้องวานให้ตกึ รุน่ ต่อไปช่วยรับภาระส่งสัญญาณแทน ปีทแี่ ล้ว ผมสัมภาษณ์ยะมะสะกิ ทะคะฌิ ผูก้ �ำ กับหนังเรือ่ ง Always: Sunset on Third Street ทีโ่ ตเกียว เราคุยกันหลายเรือ่ ง ประเด็นทีผ่ มสนใจ มากเป็นพิเศษคือโตเกียวทาวเวอร์และชีวิตของผู้คนในยุคนั้น ยะมะสะกิ บอกว่าสิ่งที่เขาประทับใจมากที่สุดในยุคโชวะคือ กำ�ลังใจ “ยุคนัน้ สงครามเพิง่ สิน้ สุด ผูค้ นคิดแต่จะก้าวไปข้างหน้า เหมือนคน แขนหัก จะรักษาบาดแผลให้หายต้องใช้พลังกายพลังใจมาก ผมประทับใจ พลังนั้น” เขาว่า บรรยากาศของยุคนั้นยิ่งดูสวยงามขึ้นไปอีกเมื่อเปรียบเทียบกับ สังคมญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน “ตอนนี้สังคมญี่ปุ่นเต็มไปด้วยความไม่มั่นคงหลายอย่าง เราอยู่ใน สภาพทีเ่ หมือนถอยหลังไม่ได้แล้ว เป็นสังคมผูส้ งู อายุทมี่ เี งินแต่ไม่มอี นาคต เพราะเดี๋ยวก็ต้องตายแล้ว เรื่องในหนังเป็นยุคที่ทุกคนจนมาก แต่ทุกคน เห็นว่ามีอนาคตที่ดีรออยู่ ทุกอย่างกำ�ลังจะดีขึ้นแน่ๆ ซึ่งน่าอิจฉา” ยุคนั้นหอคอยโตเกียวคงกำ�ลังรอคอยอนาคตอันสดใสที่กำ�ลังจะ มาถึง ผมถามยะมะสะกิวา่ ยุคนีเ้ ราควรใช้อะไรเป็นสัญลักษณ์ของโตเกียว แทนโตเกียวทาวเวอร์ดี เขาตอบว่า “เป็นไปไม่ได้ทจี่ ะใช้สงิ่ อืน่ แทนโตเกียว ทาวเวอร์ ถึงจะมีสง่ิ ทีด่ กี ว่าหรือใหญ่กว่าสักแค่ไหน แต่สญ ั ลักษณ์ในจิตใจคน ก็ยังเป็นโตเกียวทาวเวอร์ เพราะมันสร้างในช่วงที่ประเทศยากจนมาก เวลาทีเ่ ราจนมากๆ แล้วซือ้ ของสำ�คัญสักชิน้ มันจะกลายเป็นของทีม่ คี า่ มาก หลังจากนัน้ เมือ่ เรารวยแล้วซือ้ อะไรอย่างอืน่ แม้วา่ จะแพงกว่า แต่กไ็ ม่มที าง สำ�คัญเท่าของที่เราซื้อในวันที่เรายังจนอยู่” ผมรูส้ กึ ร่วมไปกับคำ�ตอบของเขา นัน่ อาจจะเป็นเหตุผลทีท่ �ำ ให้ไม่มี อะไรมาแทนที่ช่วงเวลาดีๆ บางช่วงในอดีตได้ สมบัติ 3 อย่างของชาวญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามคือ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และโทรทัศน์ พอมาถึงยุคโตเกียวทาวเวอร์ กลายเป็นรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ และโทรทัศน์สี ถ้าไล่มาถึงยุคปี 80-90 สมบัติของ คนญี่ปุ่นก็อาจกลายเป็นสิ่งของมีราคามากกว่าความจำ�เป็น Japan Vintage Village | 19
20
Japan Vintage Village | 21
ผมชอบเรื่องราวของผู้คนในหนังเรื่องนั้น เพราะทุกคนยังอยู่ใน ช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่มีใครเอาฐานะความรวยจนมาข่มกัน จะยอมรับ นับถือใครก็อยู่ที่ความดีชั่วซึ่งเป็นแก่นแท้ของแต่ละคน ถ้าหนังเรื่องนี้มี ภาค 4 ซึ่งเป็นยุคที่ทุกคนร่ำ�รวยแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของ ผู้คนบนถนนหมายเลข 3 จะยังน่าเอ็นดูอยู่ไหม เรียวตะ ซูซูกิ คอลัมนิสต์ของนิตยสาร อะเดย์ เคยพูดถึง Always: Sunset on Third Street ว่า “หนังเรื่องนี้บรรยายถึงสมัยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น ที่ยังไม่เจริญทางด้านวัตถุ แต่เจริญทางด้านจิตใจ เต็มไปด้วยความหวังต่ออนาคต” ความฝันของคนเล็กๆ งดงามเสมอ เพราะเป็นฝันที่มีความหมายกับชีวิตของเขาจริงๆ จึงเป็นฝันที่ น่าเอาใจช่วยมากกว่าน่าอิจฉา คนญี่ปุ่นในยุคแอนะล็อกมีความเชื่อน่ารักๆ เกี่ยวกับความฝัน หลายเรือ่ ง เช่น ถ้าฝันดีหา้ มเอาไปเล่าให้ใครฟังเพราะจะโดนขโมยความฝัน แทนทีเ่ รือ่ งดีๆ จะเกิดขึน้ กับเจ้าของความฝันก็จะไปเป็นจริงกับคนอืน่ แทน ถ้าฝันร้ายให้เขียนชื่อหรือเขียนรูปตัวบะกุ (ตัวกินฝัน) เอาไว้ใต้หมอน มันมีตวั เหมือนหมี หัวแหลมเล็ก ตาเหมือนแรด จมูกเหมือนช้าง ขาเหมือน เสือ หางเหมือนวัว ขนแวววาว เป็นสัตว์ดุ กินได้ทุกอย่าง แต่ความฝัน บางอย่างตัวบะกุก็ไม่แตะ เวลาใครเล่าความฝันโง่ๆ ให้เพื่อนฟัง มักจะ โดนแซวว่า ฝันอย่างนี้ตัวบะกุก็ไม่กิน การเดินทางครั้งนี้ผมตั้งใจว่าจะไปตามหาความฝันของผู้คนใน ยุคแอนะล็อก อยากรู้ว่าในช่วงเวลาแห่งความหวังนั้น ผู้คนฝันว่าอะไรกัน ผมถามยะมะสะกิว่า ตอนนี้ความฝันของคนโตเกียวคืออะไร เขาตอบทันทีแบบไม่ลังเลว่า “ออกไปอยู่ต่างจังหวัด” พรุ่งนี้ผมก็จะได้อยู่ในฝันของคนโตเกียวแล้วสินะ
22
24
3 พาหนะแห่งพันธนาการ
จักรยานคันแรกเกิดขึ้นในโลกเมื่อปี 1817 พอถึงกลางยุค 1880 จักรยานก็พฒ ั นาจนกลายเป็นพาหนะทีค่ อ่ นข้างปลอดภัย นัน่ คือจุดเปลีย่ น สำ�คัญครั้งหนึ่งบนหน้าประวัติศาสตร์โลก เพราะทำ�ให้ผู้หญิงในอังกฤษ และอเมริกาเริ่มหันมาขี่จักรยาน เดินทางไปไหนมาไหนได้ดั่งใจปรารถนา ไม่ต้องพึ่งพาพ่อ พี่ และสามี อีกต่อไป จักรยานได้ชื่อว่าเป็น ‘เครื่องจักรแห่งอิสรภาพ’ ของสตรียุคนั้น ตอนนี้บุรุษอย่างผมกำ�ลังรู้สึกแบบเดียวกัน การเที่ยวต่างประเทศด้วยการขี่จักรยานให้ความรู้สึกที่ดีอย่าง ประหลาด เพราะจักรยานพาเราไปได้ทุกตรอกซอกซอย ไปได้กว้างและ ไกลกว่าแหล่งท่องเที่ยว เราเลยได้เข้าถึงความเป็นเมืองนั้นๆ มากกว่าที่ นักท่องเที่ยวทั่วไปได้สัมผัส การปั่นจักรยานบนทางเท้าขนาดใหญ่ในเมืองฟุกุโอะกะเป็นการ เปิดหูเปิดตาที่รื่นรมย์มาก ผมชอบความถ้อยทีถ้อยอาศัยของจักรยาน และคนเดินเท้า ไม่ต้องมีกฎกติกาใดๆ เพราะมารยาททำ�ให้จักรยานและ คนเดินเท้าร่วมทางกันได้อย่างไม่มีปัญหา พอมองในภาพที่ใหญ่ข้ึนมาอีกนิด คนเดินเท้าและคนขี่จักรยาน ในญี่ ปุ่ น ก็ อ ยู่ ร่ ว มกั บ รถยนต์อ ย่างเท่าเทียม ในเขตเมื องรถยนต์ ไม่ ได้ เป็นใหญ่ เพราะเมืองเป็นที่ของคน มีผู้คนใช้ชีวิตอยู่มากมาย รถยนต์ที่วิ่ง ในเขตเมืองต้องไม่สร้างอันตรายให้คน การข้ามถนนที่นี่จึงเป็นไปอย่าง สง่าผ่าเผย มีไฟแดงให้รถทุกแยกหยุดพร้อมกัน เพื่อให้คนเดินข้ามถนน 26
อย่างอิสระ จะเดินข้ามตรงหรือข้ามทแยงก็ได้ เป็นวิธีการข้ามที่อังกฤษ ชอบใจจนขอยืมไปใช้บ้างในบางแยก เมือ่ ก่อนผมเข้าใจว่าความพิเศษของภาพการข้ามถนนทีแ่ ยกชิบยุ ะ ในโตเกียว คือคลื่นคนจำ�นวนมหาศาลอย่างที่ไม่มีแยกไหนในประเทศอื่น เหมือน แต่ตอนนีผ้ มเข้าใจว่า ถ้าว่ากันทีจ่ �ำ นวนคน อาจมีหลายแยกในโลก ที่พลุกพล่านกว่า เพียงแต่ไม่มีแยกไหนที่ตั้งใจหยุดรถยนต์ทุกด้านเพื่อให้ พื้นที่และเวลากับคนได้เดินข้ามถนนเหมือนที่นี่ ภาพคลื่นคนข้ามถนนพร้อมกันทุกแยก คือความงดงามของการ อยู่ร่วมกันระหว่างคนกับรถยนต์ ส่วนภาพที่น่ารังเกียจคงเป็นรถยนต์ที่ไม่ยอมหยุดให้คนข้าม ด้วย เหตุผลว่ารีบ ซึง่ เป็นแค่ขอ้ อ้างสวยๆ เพือ่ ให้ตวั เองมีสทิ ธิใ์ ช้ถนนเป็นคนแรก เท่านั้นเอง ความงามอีกอย่างทีผ่ มเห็นบนทางเท้าก็คอื นักเรียนในเครือ่ งแบบ นิตยสาร Esquire UK เคยจะทำ�สกู๊ปรวม 108 สิ่งที่ทำ�ให้ผู้ชาย มีความสุข หนึง่ ในนัน้ คือการเห็นผูห้ ญิงขีจ่ กั รยานผ่าน แต่การเห็นนักเรียน ในเครื่องแบบของผมไม่ใช่เรื่องที่ชวนยิ้มกรุ้มกริ่มอะไรแบบนั้น นักเรียนกลุ่มแรกที่ผมสนใจคือ เด็กประถมตัวจิ๋วสวมหมวกแก๊ป สีเหลืองสด สะพายเป้หนังใบใหญ่บนหลัง เดินกลับบ้านเป็นกลุม่ เห็นแล้ว รู้สึกถึงความปลอดภัยของบ้านเมือง และชีวิตน้อยๆ ที่ไม่ได้ถูกประคบประหงมจนเกินไป นักเรียนกลุม่ ที่ 2 เป็นเด็กมัธยมในเครือ่ งแบบเสือ้ เชิต้ สีขาว ทัง้ ชาย และหญิง เครื่องแบบของนักเรียนมัธยมก็คล้ายใบไม้ที่เปลี่ยนสีไปตาม ฤดูกาล อีกไม่กี่วันพอถึง 1 ตุลาคม ทั้งนักเรียนและมนุษย์เงินเดือนก็จะ เปลีย่ นมาใส่ชดุ สีด�ำ ทีม่ เี นือ้ ผ้าหนาขึน้ เพือ่ ต้อนรับฤดูใบไม้รว่ งและฤดูหนาว จะเปลี่ยนชุดกลับมาใส่สีอ่อนอีกทีก็ตอนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิวันที่ 1 มีนาคม บนทางเท้าตอนนีใ้ บไม้สเี ขียว ชุดนักเรียนสีขาว แต่อกี ไม่กวี่ นั ใบไม้ ก็จะกลายเป็นสีแดง ชุดนักเรียนเปลี่ยนเป็นสีดำ� ทุกอย่างล้วนเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรจีรัง Japan Vintage Village | 27
28
Japan Vintage Village | 29
ความสุขก็เช่นกัน ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องราวของความสุขจากการปั่นจักรยานเมื่อวาน แต่เช้านีเ้ ราไม่ได้ขจ่ี กั รยาน เพราะผมกับฮิโร่ตอ้ งขนจักรยาน 3 คันใส่แท็กซี่ ไปเจอตองที่สถานีรถไฟฮะกะตะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงแรม ฮิโร่แนะนำ�ว่า ถ้าเราเดินแบกของข้ามถนนฝัง่ ละ 3 เลนไปเรียกรถทีฝ่ ง่ั ตรงข้าม จะประหยัด เวลาและเงินได้พอสมควร ผมยกกระเป๋าจักรยานหนัก 16 กิโลกรัมขึ้นสะพายบ่า คล้าย นักยกน้ำ�หนักที่กำ�ลังแบกน้ำ�หนักของตุ้มเหล็ก ตอนนี้น่ะยกไหว แต่ถ้า ต้องยกนานไปคงไม่ดี ผมเลยรีบเรียกน้ำ�หนักเพิ่ม เอาเป้อีก 2 ใบสะพาย ขึ้นหลัง เดินโงนเงนข้ามถนน เดินแค่นี้ยังหนักแทบตาย เดาได้เลยว่า ทริปนี้ผมเจอปัญหาหนักแน่ ฮิโร่ก็มีทีท่าว่าหนัก แต่อาการไม่หนักเท่าผม มันต้องมีอะไรสักอย่างที่ผิดพลาด อาจจะเป็นวิธีกระจายน้ำ�หนัก ของสัมภาระในกระเป๋า วิธีสะพายกระเป๋า รูปทรงของกระเป๋าจักรยานที่ ไม่กระชับรับร่างกาย หรือไม่ก็อาจจะเป็นความแข็งแรงของผมเองที่เป็น ปัญหา เรื่องนี้ต้องคิดหนัก ชินคันเซ็นพาตองเดินทางจากโตเกียวมาถึงสถานที่นัดตรงเวลา หลังคำ�ทักทาย เราส่งมอบกระเป๋าจักรยานให้ไหล่ของตองรับไว้ดูแล นั่นหมายความว่า การเดินทางได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เป็นการเดินทางที่เริ่มต้นด้วยการเดินไปตามทาง เมื่อเข้าเขตอาคารของสถานีรถไฟทุกแห่ง นักปั่นทั้งหลายต้อง เปลี่ยนกิริยาจากขี่มาเป็นเข็น จะได้ไม่สร้างปัญหาให้ผู้คนที่เดินขวักไขว่ และเมื่ อ เราเข้ า สู่ พื้ นที่ต รวจตั๋ว ก็ต้อ งเปลี่ยนกิริยาจากเข็ น มาเป็ น ขน จักรยานที่จะผ่านด่านนี้เข้าไปได้ต้องพับใส่ถุงอย่างมิดชิดเท่านั้น สถานีรถไฟในเมืองใหญ่ช่างใหญ่จนน่าใจหาย พวกเราต้องเดินแบกเป้และจักรยานเป็นระยะทางไกลแสนไกล กว่าจะถึงชานชาลา สัมภาระหนัก 25 กิโลกรัมที่ห้อยต่องแต่งอยู่ทั่วตัวผม 30
เด้งไปเด้งมาอย่างไม่ลงตัว เดินทางราบเรียบยังเป็นปัญหา พอต้องก้าวขา ขึ้นบันไดน้ำ�ตาก็แทบไหล และที่เศร้าก็คือ ตอนเดินลงบันไดความทรมาน ก็ไม่ได้ลดลง ก่อนมาผมจินตนาการภาพการขนจักรยานขึน้ รถไฟไว้อย่างสวยงาม พอมาถึงสถานีรถไฟก็เดินขึ้นรถไฟอย่างร่าเริง เมื่อถึงปลายทางก็ยก จักรยานลงแล้วกางรถออกมาขี่ตัวปลิว เสร็จภารกิจก็ขี่จักรยานกลับมา พับรถใส่ถุงขึ้นรถไฟไปยังเมืองต่อไป ไม่มีภาพความเจ็บปวดจากการแบกจักรยานเลยแม้แต่น้อย ประสบการณ์การเดินทางในญี่ปุ่นเมื่อปีก่อนที่ต้องวิ่งขึ้นลงบันได ชานชาลาแข่งกับเวลาเพื่อเปลี่ยนเที่ยวรถไฟครั้งแล้วครั้งเล่า เตือนผมว่า คงได้แบกจักรยานวิ่งในอีกในไม่ช้า เมื่อความสุขจากการปั่นเมื่อวานกลายเป็นความเศร้าจากการ แบกจักรยานในวันนี้ บทเรียนแรกที่พาหนะสองล้อสอนผมก็คือ เราต้อง ขี่จักรยาน อย่าให้จักรยานขี่เรา ไม่อย่างนั้นเครื่องจักรแห่งอิสระ อาจกลายมาเป็นพาหนะแห่ง พันธนาการ
Japan Vintage Village | 31
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ กับคนน่ารัก เราก็คงอยากทำ�ความรู้จัก ครั้นพอได้รู้จักแล้วก็ชักอยากจะใกล้ชิดสนิทสนม ญี่ปุ่นก็คงเหมือนคนน่ารัก ที่รู้จักสักกี่รอบก็ไม่เคยพอ การันตีได้ จากไกด์บุ๊กและวรรณกรรมท่องเที่ยวจำ�นวนมาก ที่ชวนให้เราไปรู้จักกับ ญี่ปุ่นแทบทุกส่วนสัด ตั้งแต่เหนือจดใต้ ชือ่ เมืองในญีป่ นุ่ หลายเมืองกลายเป็นชือ่ คุน้ หู ไม่วา่ จะเป็นโตเกียว เกียวโต โอซาก้า ไปจนถึงฟุกุโอะกะ โอกินาวะ ที่หลายคนน่าจะเคย ผ่านตาสักครั้ง อย่างน้อยก็ตามหน้าเพจโปรโมชันตั๋วเครื่องบินลดราคา ที่พร้อมจะพาเราไปสนิทสนมกับญี่ปุ่นทุกสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ถ้าเวลาและ งบประมาณถึง แต่เหมือน Japan Vintage Village ของก้อง ทรงกลด กำ�ลังจะ บอกเราว่า ญี่ปุ่นผู้น่ารักยังมีเรื่องให้ทำ�ความรู้จักอีกเยอะ ด้ ว ยพาหนะพื้น ฐานอย่างจักรยานและรถไฟ ทรงกลดใช้ เวลา 12 วันเดินทางอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไล่จากฟุกุโอะกะขึ้นมาถึงโตเกียว เล่าเรือ่ งราวทีไ่ ด้ยนิ มาผ่านหมูบ่ า้ นชือ่ ไม่คนุ้ เป็นต้นว่า โมะจิโก นะโอะฌิมะ คะงะวะ อะริมะ ฯลฯ ให้เราค่อยๆ เพิ่มความสนิทสนมกับประเทศญี่ปุ่น แห่งนี้มากยิ่งขึ้นเป็นลำ�ดับ กับเพือ่ นบางคนทีเ่ ราคิดว่ารูจ้ กั ดีแล้วก็ยงั มีแง่มมุ ใหม่ๆ ให้เซอร์ไพรส์ ได้ตลอดเวลา กับเพื่อนผู้น่ารักอย่างญี่ปุ่นก็เช่นกัน แล้วยิ่งรู้จัก เราก็จะยิ่งรักญี่ปุ่น สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
ถ้อยค�ำภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เขียนด้วยอักษรไทยโดยพยายามคงเสียงดั้งเดิมไว้ ตามหลักของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย* คนไทยที่ชินกับการอ่านค�ำญี่ปุ่นผ่านตัวหนังสือภาษาอังกฤษ จะได้ทราบถึงการออกเสียงที่แท้ ยกเว้นบางค�ำที่คนไทยคุ้นตา เช่น เกียวโต ซามูไร โคบายาชิ โชยุ ชื่อบุคคลทั้งหมดเรียงนามสกุลก่อนชื่อ ตามแบบญี่ปุ่น ยกเว้นบางคนที่ชาวไทยเรียกจนสนิทปากแล้ว เช่น ฮิเดโตชิ นากะตะ หรือ ยะมะดะ นะงะมะสะ อาจจะอ่านไม่คล่องตาไปบ้าง แต่น่าจะได้รสชาติเหมือนดูหนังเสียงในฟิล์ม * ใช้ระบบถอดอักษรภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์สาขาภาษาญี่ปุ่น (ผศ. ดร.กัลยาณี สีตสุวรรณ, ผศ.สุชาดา สัตยพงศ์, ผศ. ดร.เสาวลักษณ์ สุริยะวงศ์ไพศาล) อาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ (ผศ. ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน) และอดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย (ผศ.ดุษฎีพร ช�ำนิโรคศาสนต์) แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอบคุณ Japan National Tourism Organization อาจารย์ผุสดี นาวาวิจิต Izumi Amano (JNTO) แจน ณิชมน ป๊อป กฤษณะ ปอง ปองทิพย์ ยุ้ย อัจฉรา แฮม วันวิสข์ กร ณัฏฐกร หมี จิรณรงค์ โอ ธีรวัฒน์ ปู วาริณี ตอง ชนพัฒน์ ชาว a book ปาล์ม ชลณัฏฐ์
ผลงานอื่นของ ทรงกลด บางยี่ขัน นายเท้าซ้าย เด็กชายเท้าขวา / ความเรียง / 2547 นั่งฝั่งตะวันตื่น ยืนฝั่งตะวันตก / ความเรียง / 2548 สองเงาในเกาหลี / บันทึกการเดินทาง / 2548 wake up! (ร่วมกับ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ และ วชิรา) / รวมบทบรรณาธิการ / 2550 ต้นไม้ใต้โลก / สารคดี / 2550 หน่อไม้ (ร่วมกับ นิ้วกลม และ ทรงศีล ทิวสมบุญ) / บันทึกการเดินทาง / 2551 เมฆ / บทสัมภาษณ์ / 2551 หมอก / บทสัมภาษณ์ / 2551 ดอกไม้ใต้โลก / สารคดี / 2552 ดาวหางเหนือทางรถไฟ / บันทึกการเดินทาง / 2552 ต้นไม้ใต้ดวงอาทิตย์ / สารคดี / 2554 ที่นี่ที่รัก / บันทึกการเดินทาง / 2555 When the Writer Loves the Readers / หนังสือท�ำมือ / 2555 โปรดอ่านใต้แสงเทียน เพราะผมเขียนใต้แสงดาว / ความเรียง / 2556 ดินแดนแสนดอกไม้ / สารคดี / 2556 ทางรถไฟสายดาวตก / บันทึกการเดินทาง / 2557
JAPAN VINTAGE VILLAGE ทรงกลด บางยี่ขัน ออกแบบปกและรูปเล่ม จิรณรงค์ วงษ์สุนทร ภาพปก ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ บรรณาธิการภาพ ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ ภาพถ่าย ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ, ทรงกลด บางยี่ขัน พิสูจน์อักษร ชลธร จารุสุวรรณวงค์ หนังสือในชุด Journey พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2559 ราคา 295 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-174-7 ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ทรงกลด บางยี่ขัน. Japan Vintage Village.--กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2559. 328 หน้า. 1. ญี่ปุ่น--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. I. ชื่อเรื่อง. 915.2 ISBN 978-616-327-174-7 จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 309 โทรสาร 0-2718-0690
แยกสีและพิมพ์
บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2718-2951
จัดจำ�หน่าย
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999
สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้ช่วยผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ บรรณาธิการ ศิลปกรรม กองบรรณาธิการ ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ เลขานุการ
บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
ที่ปรึกษา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธุรการ ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ศิลปกรรมสื่อออนไลน์ ลูกค้าสัมพันธ์ เว็บมาสเตอร์
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ภูมิชาย บุญสินสุข สุรเกตุ เรืองแสงระวี วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ นทธัญ แสงไชย พิชญ์สินี บุญมั่นพิพัฒน์, นันทิยา ฤทธาภัย, ชลธิชา จารุสุวรรณวงค์ พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ชลธร จารุสุวรรณวงค์ ปวริศา ตั้งตุลานนท์
สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย, นิติพัฒน์ สุขสวย ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ณัฐรดา ตระกูลสม พิมพ์นารา มีฤทธิ์, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ วิมลพร รัชตกนก เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค จุฬชาติ รักษ์ใหญ่
ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น