เรื่องชาวบ้าน [Preview]

Page 1


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

เราไม่รู้จะนิยามพิช วิชญ์วิสิฐ ว่าเป็นอะไร เริม่ แรก เรารูจ้ กั พิชในฐานะนักแสดงนำ�ของภาพยนตร์ รักสุดคลาสสิก รักแห่งสยาม ต่อมา เราก็รู้จักเขาในฐานะนักร้องนำ�ของวงดนตรี ที่น่าจะมีสมาชิกวงเยอะที่สุดในประเทศอย่าง ออกัส ได้ข่าวอีกที พิชก็ผันตัวไปเป็นนักแต่งเพลง ครีเอทีฟ ทำ�งานเบือ้ งหลังในวงการบันเทิง แต่กย็ งั ไม่ทงิ้ งานเบือ้ งหน้า ล่าสุดเราเห็นพิชไปเล่นละครเวที และยังคงปล่อยซิงเกิล ออกมาให้ฟังอยู่เนืองๆ จากการติ ด ตามสเตตั ส ในเฟซบุ๊ ก มานาน เราเชื่ อ สนิทใจว่าพิชเขียนหนังสือได้ และเขียนดีด้วย หลายๆ เรื่อง ที่เขาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังผ่านตัวหนังสือทำ�ให้เราหัวร่องอหาย สนุกจนสงสัยว่าทำ�ไมพิชไม่มผี ลงานพ็อกเก็ตบุก๊ ให้อา่ นเสียที และคำ�ตอบของความสงสัยนั้นก็คือหนังสือเล่มนี้ งานเขียนของพิชก็เหมือนสเตตัสของเขา ที่หยิบเอา เรื่องไม่ใกล้ไม่ไกลตัวมาเล่าให้เราฟัง นั่นคือเรื่องของเพื่อนบ้าน


เราคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างเราและเพื่อนบ้าน เป็นสิ่งที่แปลก กับเพื่อน เรารู้ว่าเราสนิทกัน กับแฟน เราก็ รู้ว่าเราใช้ชีวิตร่วมกัน กับครอบครัว เราก็รู้ว่าเราผูกพันกัน ด้วยสายเลือด แต่เพือ่ นบ้านเป็นอะไรทีซ่ บั ซ้อนและน่าสงสัยกว่านัน้ ยิ่งในยุคที่สังคมชุมชนเติบโตตามแนวดิ่ง ทุกๆ คน ต่างกดลิฟต์ขึ้นห้องคอนโดฯ แล้วมุดหัวหายเข้าไปในห้อง ของใครของมัน ในทีแ่ ห่งนีเ้ ราอาจไม่รจู้ กั กันอย่างเป็นทางการ แต่เรารูว้ า่ ข้างๆ ห้องเราชอบดูทวี ชี อ่ งไหน ชอบฟังเพลงอะไร เชียร์บอลทีมไหน จากเสียงที่เล็ดลอดผ่านกำ�แพงเข้ามา เรารู้กระทั่งว่าน้องห้องหัวมุมเพิ่งทะเลาะกับแฟนจากเสียง โวยวายที่ดังมาเข้าหู เรารูเ้ รือ่ งของเขาและเธอ ทัง้ ๆ ทีเ่ ราแทบไม่รจู้ กั กันเลย พิชเป็นคนช่างสังเกตและช่างเล่า เขาเล่าเรื่องของ ชาวบ้านรอบๆ ตัวได้อย่างน่าคิดและน่าอ่าน ไม่อยากเชือ่ ว่า เรื่องของป้าร้านซักรีด น้องยามหน้าตึก หรือฝรั่งเพื่อนบ้าน จะสร้างความครื้นเครงและครุ่นคิดให้เราได้ถึงเพียงนี้ ไม่น่าเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่แปลกประหลาดเช่นนี้ จะก่อร่างสร้างขึน้ มาจากกำ�แพงปูนทีห่ นาเพียงไม่กเี่ ซนติเมตร สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก


คำ�นำ�นักเขียน

จำ�ได้วา่ ตอนเรายังเด็ก แม่มกั จะหายตัวไปในเวลาเย็น ของวันอาทิตย์ พั ด ลมเปิ ด ส่ า ยเบอร์ ส อง เสี ย งรายการเกมโชว์ ในโทรทัศน์ และกองผักใบเขียวสดในฝาชีพลาสติกวางหงาย ทิง้ ไว้บนกระดาษโบรชัวร์ซเู ปอร์มาร์เก็ตเก่า ทีห่ น้ากลางถูกดึง ออกมาปูรองกันเศษผักที่เด็ดตกเลอะเทอะพื้น เราจะตื่นจากงีบกลางวันมาพบกับภาพนี้เสมอ ยันตัวลุกขึ้นจากฟูกนอน เดินอย่างเชื่องช้างัวเงีย เข้าไปในครัว แม่ไม่ได้อยูต่ รงนัน้ แต่เราเริม่ ได้ยนิ เสียงของแม่ ดังลอยมาจากข้างบ้าน ค่อยๆ เดินตามเสียงไป แม่กำ�ลังยืนเม้าท์กับน้าสุดา


อยูร่ มิ รัว้ บ้าน ขณะทีอ่ กี ฝ่ายกำ�ลังนัง่ ซักผ้ากองยักษ์ของลูกค้า ในกะละมัง บทสนทนาออกรสออกชาติ แม่เห็นเราเดินงัวเงียมาก็อ้าแขนรับ แล้วเราก็จะนั่ง อยู่ใกล้ๆ แม่ นั่งฟังแม่และเพื่อนบ้านร้านซักรีดสนทนากัน ถึงเรื่องของผู้คนมากมายที่เราพอจะรู้จัก ป้ า บ้ า นนั้ น น้ า บ้ า นนี้ ยายบ้ า นโน้ น เรื่ อ งหนี้ สิ น ของบ้านตรงข้าม ชู้รักของบ้านท้ายซอย รถคันใหม่ของลุง ร้านซ่อมทีวี ตาโก๋สัปเหร่อขี้เหล้า งานแต่งของหลานสาว คุณยายบ้านถัดไป ฯลฯ วันอาทิตย์ของบ้านเราเป็นแบบนี้มาเสมอนับสิบปี “กิจกรรมวันอาทิตย์ของแม่นี่เอาจริงๆ เค้าเรียกว่า นินทาชาวบ้านป้ะ” เราถามแม่ขึ้นมาในวันหนึ่ง ขณะกำ�ลัง นั่งกินข้าวเย็นกันอยู่ในครัว แม่หัวเราะแหะๆ แล้วทำ�เฉไฉชี้ชวนดูนกดูต้นไม้ เรา กลอกตาแรง แม่เงียบไปครู่หนึ่ง มองออกไปนอกหน้าต่างไกลๆ เหมือนกำ�ลังคิดอะไรอยู่ “จำ�เรื่องที่ลูกร้านก๋วยเตี๋ยวมันไปตีกับลุงพรที่ซ่อมรถ ได้ไหม ที่เล่าให้ฟังวันนั้น” อยู่ๆ แม่ก็ถามขึ้นมา ลูกชายร้าน บะหมี่เกี๊ยวเปิดใหม่ต่อยกับคุณลุงบ้านข้างๆ ที่เปิดอู่ซ่อมรถ มานาน เรื่องวุ่นวายเกิดขึ้นเพราะกระถางต้นไม้ใบเดียว


ที่ถูกย้ายเพราะรถลูกค้าของลุงซ่อมรถจะถอยเข้า กลายเป็น เรือ่ งทะเลาะกันรุนแรงจนลุงโดนลูกร้านก๋วยเตีย๋ วต่อยคิว้ แตก ขึ้นโรงขึ้นศาลกลายเป็นเรื่องลุกลามใหญ่โต “ถ้าเป็นเธอ เธอจะทำ�ยังไง” แม่ถามเรา “ก็...คงหาวิธคี ยุ กันดีๆ มัง้ เรือ่ งมันก็นดิ เดียวเอง จะตี กันไปทำ�ไม เสียเวลา” เราตอบ ไม่แน่ใจว่าจุดประสงค์ของ คำ�ถามคืออะไร “เห็นไหมล่ะ อย่างน้อยฉันก็ไม่ได้นินทาเสียเปล่า” แม่พดู จบก็กม้ หน้าก้มตากินข้าวต่อ เราหัวเราะแล้วก้ม ตักผัดผักใบเขียวสดในจานที่วางอยู่ตรงหน้า เราสองคน แม่ลูกนั่งกินข้าวกันเงียบๆ ในบ้านที่มีลมเอื่อยของพัดลม เปิดส่ายเบอร์สอง และเสียงจากรายการเกมโชว์ในโทรทัศน์ ในเวลาเย็นของวันอาทิตย์ พิช วิชญ์วิสิฐ



อีกครั้งแล้วสินะ ที่ฉันต้องโยกย้าย

8


9


ก่อนที่ลุงคนขับจะสตาร์ทรถ เราแอบเหลือบมอง กระจกหลังอีกครั้งเพื่อเช็กให้แน่ใจว่าขนของมาครบถ้วนดี แต่กไ็ ม่ได้เห็นอะไรไปมากกว่าลังกระดาษและกล่องพลาสติก กองพะเนินอยู่บนกระบะรถ มันเยอะจนแทบจะมองไม่เห็น ทางข้างหลัง เยอะจนมีแวบนึงที่คิดว่าถ้าลืมอะไรไว้ ก็คง ไม่ได้ทำ�ให้ชีวิตเปลี่ยนไปมากนัก ถ้ามีใครให้ลิสต์รายชื่อกิจกรรมที่เกลียด มั่นใจว่า การย้ายทีอ่ ยูจ่ ะต้องเป็นหนึง่ ในนัน้ บอกเลยว่าสำ�หรับเราแล้ว มันเป็นอะไรทีเ่ หนือ่ ยชีวติ มาก โดยเฉพาะกับคนขีเ้ กียจ ซกมก และไม่มีระเบียบวินัยอย่างเรา ที่ซักผ้าแค่เดือนละครั้ง และ จะทำ�ความสะอาดห้องก็ตอ่ เมือ่ มีคนจะมาบ้าน ฉะนัน้ การที่ 10


ต้องจับของทั้งหมดที่อยู่ในห้องยัดใส่กล่อง ย้ายมันไปที่ใหม่ แกะกล่อง แล้วเอาของออกมาจัดใหม่อกี รอบ เราว่าเผาบ้าน ให้วอดไปเลยยังจะดีซะกว่า แต่ไอ้เรือ่ งเก็บๆ แกะๆ นีไ่ ม่ใช่ประเด็นสำ�คัญเท่าไหร่ เราเกลียดเวลาต้องมานัง่ พิจารณาข้าวของต่างๆ ว่ามันควรค่า พอจะเก็บไว้หรือไม่มากกว่า เพราะของทุกชิ้นก็มีเรื่องราว ของมัน พอหยิบขึ้นมาแล้วนึกไปถึงเหตุการณ์ต่างๆ ก็พาน ใจอ่อน เกิดอาการเสียดาย ตัดใจไม่ลงว่าจะทิง้ ดี ไม่ทงิ้ ดี ทิง้ ดี ไม่ทิ้งดี สุดท้ายก็ได้แต่นั่งชักเย่อกับความรู้สึกจนเหนื่อยและ หมดวันไป เป็นนิสัยเสียที่แก้ไม่หาย แล้วก็ไม่เข้าใจว่าทำ�ไม โชคชะตามักจะเล่นตลกให้ชีวิตเรามีอันต้องย้ายที่อยู่ร่ำ�ไป จำ�ได้ว่าครั้งแรกที่โยกย้ายคือการขนของเข้ามาอยู่ หอพักมหาวิทยาลัยตอนปี 1 ในตอนนั้นสมบัติที่ติดตัวมา ก็มีแต่ของใช้ที่จำ�เป็น อีกทั้งการต้องแชร์ห้องอยู่กับเพื่อน ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ อื้ อ ให้ เรามี ข องอะไรมากนั ก ชี วิ ต ในช่ ว งเวลานั้ น จึงไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าชุดนักศึกษา เสื้อผ้าลำ�ลอง จำ�นวนหนึ่ง ของใช้ส่วนตัว จานชามช้อนส้อม ซีดีเพลง และ หนังสือทั้งหลาย โดยเฉพาะหนังสือนี่กลายเป็นของที่ใช้งาน น้อยทีส่ ดุ เพราะชีวติ การเรียนของเรานัน้ บันเทิงมาก บันเทิง ขึ้นเรื่อยๆ จนไม่แน่ใจว่าไปมหา’ลัยนี่ไปเรียนหรือไปเปิด การแสดง 11


รูมเมตของเรามีสองคน มาจากโรงเรียนมัธยมเดียวกัน คนหนึ่งอยู่คณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมันก็จะมีวัฒนธรรมอะไร ของมันที่ต่างจากเด็กวารสารฯ อย่างเรา เวลาเลยไม่ค่อย ตรงกัน มันจะออกจากห้องไปแต่เช้าตรู่ ส่วนเราก็ตนื่ ไปเรียน ตอนสายๆ เที่ยวเล่นสนุกกับเพื่อนจนดึก พอกลับห้องมา มั น ก็ ห ลั บ ไปแล้ ว ส่ ว นรู ม เมตอี ก คนนั้ น อยู่ ค ณะเดี ย วกั น เราเคยเข้าชมรมโฟล์คซองตอนปี 1 แต่เพราะช่วงนัน้ เริม่ มีงาน เยอะขึน้ ทำ�ให้หลังๆ เราเริม่ เฟดจากชมรมไป แต่รมู เมตนาง ยังคงมุ่งมั่นทุ่มเทกายใจให้กับชมรม จนทุกวันนี้ได้ดิบได้ดี ทำ�วงดนตรีกับค่ายเพลงเด็กแนวไปเรียบร้อยแล้ว เป็นทีร่ กู้ นั ว่าเมือ่ เข้าสูป่ ี 2 อัตลักษณ์ของเด็กมหา’ลัย จะเริม่ เซ็ตตัว คือเริม่ หาแนวทางของตัวเองเจอ สไตล์การแต่งตัว จากที่เยินๆ งงๆ ก็จะเริ่มเข้ารูปเข้ารอย ใครสวยใครหล่อ ก็จะมาเริ่มเห็นเอาชัดๆ กันช่วงนี้ หรือแม้แต่วัฒนธรรมและ ไลฟ์สไตล์กจ็ ะชัดเจนตามไปด้วย วันหนึง่ รูมเมตเศรษฐศาสตร์ ก็เปรยๆ ออกมาว่าเทอมหน้าจะย้ายหอออกไปอยู่กับแก๊ง เพือ่ นชาวเศรษฐศาสตร์ ประกอบกับทีไ่ ม่นานนักเราก็พบว่า เรามีปญ ั หากับเวลาเข้าออกของหอใน (หอพักทีอ่ ยูใ่ นบริเวณ รั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย ) ที่ ไ ม่อ นุญ าตให้นักศึกษาเข้าหอได้หลั ง เที่ยงคืน เราและรูมเมตอีกคนที่อยู่วารสารฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน คณะทีม่ กี จิ กรรมยามดึกบ่อยครัง้ ก็เห็นพ้องว่าเป็นโอกาสอันดี 12


ทีจ่ ะย้ายออกจากหอในกันให้หมดเลย เราสองคนจึงตัดสินใจ เก็บข้าวของ ย้ายไปอยูห่ อพักนอกมหาวิทยาลัย และนัน่ เป็น การโยกย้ายครั้งที่สอง ที่ ห อใหม่ เราพบว่ า ไม่ ไ ด้ มี แ ค่ นั ก ศึ ก ษาเท่ า นั้ น ที่ อาศัยอยูท่ นี่ ี่ แต่ยงั มีทงั้ พ่อค้าแม่ขาย หนุม่ สาวโรงงาน พนักงาน ออฟฟิศ และคนอีกหลากหลายสาขาอาชีพ บางคืน เพือ่ นบ้าน ก็จัดปาร์ตี้เหล้ายาปลาปิ้งร้องคาราโอเกะกันสนั่นหวั่นไหว บางคื น ก็ ไ ด้ ยิ น เสี ย งผั ว เมี ย ห้ อ งข้ า งๆ ทะเลาะเขวี้ ย งปา ข้าวของกระจุยกระจาย พอเล่าให้ทบี่ า้ นฟัง แม่กเ็ ริม่ เป็นห่วง สวัสดิภาพชีวิตเรา พอดีช่วงนั้นมีข่าวว่ามหาวิทยาลัยกำ�ลัง สร้ า งหอพั ก แห่ ง ใหม่ สิ่ ง อำ � นวยความสะดวกครบครั น มีคอมเพล็กซ์อยู่ด้านล่าง มีร้านค้า มีร้านอาหาร คือเรียกว่า ไม่ต้องไปไหนละ อยู่แต่ที่หอก็มีทุกอย่างที่ต้องการ เราจึง ตัดสินใจบอกลารูมเมต แล้วเตรียมย้ายออกไปอยู่ที่หอใหม่ ของมหาวิทยาลัยที่มีกำ�หนดแล้วเสร็จในปีหน้า เราย้ายเข้ามาอยู่หอใหม่หลังจากนั้นไม่นาน และพบ ว่าสิ่งที่บรรยายไว้ในโฆษณานั้นไม่มีอะไรเสร็จเลยสักอย่าง โครงการก่ อ สร้ า งยื ด เยื้ อ ออกไป สภาพหอตอนนี้ คื อ ตึ ก ขนาดใหญ่ที่ถูกคลุมด้วยผ้าพลาสติก ทุกวันที่เดินเข้าหอ เหมือนเดินเข้าไปในไซต์กอ่ สร้าง มีเสียงตอก ทุบ เจาะ ดังอยู่ ตลอดเวลา ร้ายกว่านั้นคือผนังกั้นห้องแต่ละห้องนั้นบาง 13


จนสามารถได้ยินเสียงข้างห้องเปิดเพลง เล่นเกม หรือทำ� กิจกรรมอื่นที่มีเสียงแปลกๆ ได้ จุดแตกหักระหว่างเรากับหอแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อหัวค่ำ� วั น หนึ่ ง ในฤดู ฝ น เรากลับมาจากการเดิน ทางไปเทศกาล ภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นนานร่วมสองสัปดาห์ ระหว่างที่อยู่ที่นั่น ได้ยินข่าวว่ามีพายุฝนฟ้าคะนองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แอบหวั่นใจเล็กๆ ว่าจะมีน้ำ�รั่วซึมหรือเซอร์ไพรส์อะไรรอ เราอยู่ ผิดคาดเมือ่ มาถึง ทุกอย่างสงบเงียบ เรียบร้อยเหมือน วันที่ออกไป ห้องมีกลิ่นอับเล็กน้อยแต่เข้าใจได้ว่าคงเพราะ ปิดห้องไว้นาน เราจัดการเปิดประตูระเบียง ระบายอากาศ ให้ถ่ายเท ยังไม่ทันจะเปิดกระเป๋าเดินทาง ก็ล้มตัวลงที่เตียง ด้วยความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง เราตืน่ ขึน้ มาในกลางดึกด้วยความรูส้ กึ ประหลาด กลิน่ อับยังไม่หายไป เราลุกขึ้นนั่งสูดหายใจฟุดฟิด นึกในใจว่าถ้า พรุง่ นีแ้ ดดออกจะจัดการขนผ้าปูทนี่ อนออกไปซัก เราเอนตัว กลับไปนอนพร้อมกับสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติบางอย่าง รา!!! ปื้นราสีเขียวครึ้มปกคลุมไปทั่วทั้งหมอน ผ้าห่ม และผ้ า ปู ที่ น อน นี่ มั น สนามหญ้ า มอสหรื อ อะไรกั น เรา กระโดดหนี ขนลุกซู่ เริ่มสังเกตไปรอบๆ ห้อง ประตูทางเข้า ผนังรอบห้อง เต็มไปด้วยอับราเป็นปุย จุดสปอร์ลายพร้อย 14


ของมันดูเจริญพันธุ์พร้อมปลิดปลิวขยายพันธุ์ไปในอากาศ วันรุ่งขึ้นเราตัดสินใจติดต่อย้ายหอทันที ก่อนที่ราตามผนัง และข้าวของเครื่องใช้ มันจะเริ่มลุกลามมาเติบโตบนตัวเรา ไม่น่าเชื่อว่าภายในระยะเวลาเพียงสองสามปีในรั้ว มหาวิทยาลัย ชีวติ ของเราจะมีการโยกย้ายมากมายถึงขนาดนี้ เราย้ายไปอยู่หอใหม่ ภาวนาขอให้เป็นที่สุดท้ายแล้ว หอนี้ดี น่าอยู่ ผนังห้องแข็งแรง ไม่มีอับราเหม็นชื้นมาเซอร์ไพรส์ มีบา้ งทีเ่ วลาพายุเข้า ห้องเราจะโดนฝนสาดเข้าหน้าต่างเต็มๆ น้ำ�ไหลตามรางเลื่อนบานหน้าต่างทะลักเข้ามาให้เราวิดเล่น อยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายมาก อีกทั้งการที่เป็นหอพักที่มี แต่นักศึกษาเท่านั้น ทำ�ให้เราได้เจอเพื่อนใหม่ๆ มากมาย ไปมาหาสู่กันเป็นชุมชนเล็กๆ เราอยู่ที่หอนั้นจนกระทั่งเรียนจบ จึงได้เวลาที่จะย้าย ออกไปในตัวกรุงเทพฯ เพื่อเริ่มต้นชีวิตจริงเสียที หลั ง จากเสาะหาคอนโดใหม่ อ ยู่ ห ลายเดื อ น เรา บังเอิญไปเจอห้องเปล่าขนาดสองห้องนอน หนึ่งห้องน้ำ� ในคอนโดแห่งหนึ่งบนถนนลาดพร้าว จากคำ�แนะนำ�ของพี่ๆ ที่ รู้ จั ก กั น เจ้ า ของห้ อ งนี้ เ ป็ น ชายแก่ ใจดี ประกอบอาชี พ เปิดร้านขายสังฆทานอยู่แถวเยาวราช ซื้อไว้ให้น้องสาวอยู่ แต่ตอนหลังพอนางมีครอบครัวก็ย้ายออกไปอยู่บ้านเดี่ยว คงเพราะไม่รจู้ ะเก็บไว้ท�ำ ไมจึงปล่อยให้เช่าในราคาถูกแสนถูก 15


เราตกใจกับสภาพห้องในตอนแรกอยู่เหมือนกัน เพราะเป็น ห้องเปล่าๆ ไม่มีอะไรเลย แต่ก็ถือว่าเป็นข้อดีที่เราสามารถ จะเนรมิตห้องเป็นอย่างไรก็ได้ตามสไตล์ของเรา เป็นเสน่ห์ อย่างหนึง่ ของคอนโดเก่า แต่ขอ้ เสียก็มอี ยูไ่ ม่นอ้ ยเหมือนกัน ซึ่งจะบ่นให้ฟังในบทต่อๆ ไป เราใช้ ชี วิ ต อยู่ ที่ ค อนโดและซอยแห่ ง นี้ ม าเกื อ บสี่ ปี ได้พบเจอผู้คนและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทั้งประทับใจและไม่ ประทับใจแต่น่าเก็บมาเม้าท์ จนกระทั่งไม่นานมานี้เราได้ ที่อยู่ใหม่ ที่น่าจะดีงามและสะดวกสบายกว่า เราจึงตัดสินใจ โยกย้ายอีกครัง้ การโยกย้ายครัง้ นีย้ ากกว่าครัง้ ก่อนๆ เพราะ เวลาสี่ ปี นี้ เราได้ ส ะสมข้ า วของต่ า งๆ ไว้ เ สี ย มากมาย จึ ง เป็นการยากทีจ่ ะทิง้ อะไรไป หรือเก็บอะไรไว้เพือ่ ย้ายไปทีใ่ หม่ แต่สิ่งที่ยากกว่าและไม่สามารถที่จะคัดทิ้งได้ ก็คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในคอนโดและซอยแห่งนี้ และมันไม่ได้ถูก บรรจุเอาไว้ในกล่องลังใบไหนเลยสักใบบนกระบะหลัง แต่อยู่ ในความทรงจำ�ของเรา และก็เป็นความเต็มใจของเราที่จะขน มันไปให้หมด ตลอดการเดินทางข้างหน้านี้ ถ้าพร้อมแล้ว ขอออกสตาร์ทเลยก็แล้วกัน

16



ตามสั่งเจ๊แหวว

18


19


มันไม่เคยปรานีใครหรอกความหิว เกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ก็มีความหิวที่แหละเป็นหนึ่งในแรงขับของการดำ�รงชีพ เรา ทำ�งานหาเงินก็เอามาซื้อข้าวกิน ปัจจัยในชีวิตวันนี้นอกจาก ที่อยู่ เสื้อผ้า ยารักษาโรค เงิน โทรศัพท์ และแบตโทรศัพท์ แล้ว เหนือสิง่ อืน่ ใดทีม่ นุษย์ตอ้ งการก็คงหนีไม่พน้ อาหารไปได้ คอนโดที่เราอยู่มีครัวเล็กๆ อยู่ในซอกห้อง ออกแนว ครัวสไตล์ฝรั่งที่พบได้ทั่วไปตามคอนโดที่มีพื้นที่จำ�กัด เข้าใจ ว่าคงมีไว้สำ�หรับอุ่นอาหาร หรือเตรียมอาหารง่ายๆ จำ�พวก แซนด์วิช ซุป สลัดผัก อะไรทำ�นองนั้น แต่ดว้ ยความทีเ่ ราเป็นคนไทยแท้ กินแซนด์วชิ กินสลัด ทุกวันมันก็คงไม่ไหว เราจึงไปห้างซือ้ กระทะและหม้อกลับมา 20


เพื่อทำ�กับข้าว ต้มผัดแกงทอดให้สะใจ คือเป็นคนประเภท ที่ว่า ถ้านึกอยากจะทำ�อะไรขึ้นมาก็จะเล่นใหญ่จัดเต็มมาก ถ้าจะทำ�อาหารทัง้ ทีกต็ อ้ งเอาให้เป็นครัวไทย (ไม่ดสู ภาพครัว ตัวเองเอาเสียเลย) แต่ชวี ติ ก็ไม่ยนิ ยอมให้เราทำ�อาหารได้ทกุ วันขนาดนัน้ ด้วยตารางงานที่แน่น งานที่กองพรึ่บ บวกกับสกิลอาหาร งูๆ ปลาๆ เอาแค่พอทำ�ป้อนตัวเองให้มีชีวิตรอดไปวันๆ ไหนจะควันและกลิ่นที่ตลบอบอวลไปทั่วห้องไม่น่ารื่นรมย์ แล้วพอทำ�เสร็จก็ตอ้ งมาล้างทำ�ความสะอาดอีก ทำ�ให้นานๆ เข้าก็ชักเริ่มขี้เกียจจะทำ�กับข้าวกินเอง จนกระทั่งในเช้าวันหนึ่งที่ตะหลิวเทฟล่อนละลาย เป็นเมือกเหลวสีด�ำ แปดเปือ้ นไข่ดาว เบคอน ฯลฯ อาหารเช้า แสนเก๋มลายสิ้นไปต่อหน้าต่อตา เราจึงมาคิดได้ว่าบางทีเรา ควรจะยอมเดินออกไปกินข้าวข้างนอกบ้าง หลังจากใช้เวลาเป็นอาทิตย์เดินสำ�รวจดูกจิ การอาหาร ในซอยบ้านเรา ก็ทำ�ให้พบว่าซอยของเราไม่ได้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหารมากนัก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลยเสียทีเดียว อย่างในตอนเช้าหน้าปากซอยจะมีหมูทอดเจียงฮาย ซึ่งถือเป็นไอเท็มหายาก เพราะป้าคนขายจะขายประมาณ หกโมงเช้าถึงเก้าโมงเท่านั้น ดูทรงแล้วทาร์เก็ตน่าจะเป็น พนักงานออฟฟิศที่มายืนรอรถเมล์รถตู้ไปทำ�งาน ซื้อใส่ถุง 21


พร้อมข้าวเหนียวพกไปกินที่ทำ�งานได้ อะไรประมาณนั้น ดังนั้นการจะได้ลิ้มรสหมูทอดติดมันกรอบๆ สีเหลืองทอง พร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆ (ป้าแกมีให้เลือกทัง้ ข้าวเหนียวขาว และข้าวเหนียวดำ� เก๋ป้ะล่ะ) นั่นคือเราต้องตื่นมาให้ทันช่วง เวลาไพรม์ไทม์นน้ั ซึง่ เราจะตืน่ ไม่ทนั เสมอ หลายต่อหลายครัง้ ทีว่ ง่ิ จนตาเหลือกเพือ่ จะมาเจอภาพป้าและผัวกำ�ลังกลิง้ ถังแก๊ส ขึน้ รถกระบะ แม้ในบางวันทีต่ งั้ นาฬิกาปลุกตืน่ มาตอนแปดโมง แล้วแท้ๆ แต่พอไปถึงป้าก็ได้แต่พูดด้วยน้ำ�เสียงเรียบๆ ว่า “หมดแล้วจ้ะ” ...หมูทอดของป้าขายดีเกินไป ความหิวทีร่ กั ยังคงสัง่ ให้เราย่�ำ เท้าเดินต่อไป เราเดินไป จนถึงตลาดที่อยู่ไม่ไกลนัก ไปเจอรถเข็นขายกวยจั๊บญวน ไข่กระทะแสนอร่อย คือจริงๆ ก็ไม่ได้อร่อยขั้นพีคขนาดนั้น แต่การแงะตัวเองจากทีน่ อนแล้วออกเดินจากคอนโดมาตลาด ในสภาพหิวโซ มันก็ทำ�ให้กวยจั๊บญวนเส้นอ้วนปุย จัดเต็ม ด้วยหมูยอนครพนมเนือ้ แน่น น้�ำ ซุปกระดูกรสเข้ม ตอกไข่ลวก โรยหอมเจียวกรอบหนักๆ ราวกับจะไม่มีวันพรุ่งนี้ พร้อม พริกไทยป่นเหยาะจนจาม กลายเป็นขุมทรัพย์ล้ำ�ค่าในราคา สามสิบกว่าบาท เรียกว่าเช้านัน้ อิม่ แล้วก็ปากเหม็นหอมเจียว ไปทั้งเช้า แต่แล้ววันหนึ่งนางก็จากเราไป ตรงทีเ่ ดิมทีเ่ คยมีรถเข็นกวยจับ๊ ถูกแทนทีด่ ว้ ยข้าวแกง 22


กรุงเทพมหานครในเต็นท์สีฟ้า เข้าไปสำ�รวจใกล้ๆ ก็ดูไม่น่า อร่อย น้ำ�ตารื้นด้วยความเสียดาย รู้สึกเหมือนคนอกหัก เดินคอตกเข้าไปในตลาด ทำ�ไมชีวิตมันยากขนาดนี้ คิดถึง ความอุดมสมบูรณ์ทเี่ ชียงใหม่ อยูท่ บี่ า้ นอยากกินอะไรก็ได้กนิ ขณะที่กำ�ลังเดินดราม่าอยู่ สายตาก็เหลือบไปเห็นขดไส้อั่ว นอนยั่วอยู่บนตะแกรงเหล็กพักน้ำ�มัน ในร้านอาหารเหนือ ตรงเข้ า ไปอย่ า งไม่ รี ร อ ขุ ม ทรั พ ย์ แ ห่ ง ใหม่ ห รื อ นี่ ความหิวที่รักส่งเสียงร้องดีใจดังโครกครากอยู่ในท้อง ป้าคนขายพูดกับใครไม่รู้ในโทรศัพท์เป็นภาษาเหนือ สำ�เนียงโทนเชียงราย ไม่งา่ ยเลยทีจ่ ะหาอาหารเหนือต้นตำ�รับ ได้ในมหานครอย่างกรุงเทพฯ ปกติแล้วไม่วา่ จะเหลียวไปทาง ไหนก็จะเจอแต่ร้านอาหารอีสาน นี่เป็นโอกาสดีที่จะลอง ไม่นานนักน้�ำ พริกอ่องสีแดงฉานก็ลอยมาวางตรงหน้า พร้อม ด้วยไส้อั่ว จอผักกาด และข้าวเหนียวจานหนึ่ง ไม่อร่อย...ไม่อร่อยอย่างที่สุด บอกเลยว่ากระเดือก ไม่ลง แต่ตอนสัง่ กระแดะสัง่ ไปด้วยภาษาเหนือ ป้าคนขายดีใจ เจอคนบ้านเดียวกัน ยัดเยียดอาหารให้อีกหลายอย่าง ฝืนใจ กินจนเลิกคิดถึงบ้านไปเลย และเราก็ไม่ได้กลับไปที่นั่นอีก เรากลับมาค้นหาร้านตามสัง่ ง่ายๆ ในซอยบ้าน ในวัน 23


ฝนตกหนักที่เปียกม่อลอกม่อแลกจนต้องเข้าไปหลบในเพิง สังกะสี วันนั้นเองที่ทำ�ให้เราได้พบกับพี่เก๋ พี่เก๋ หรือ อีพี่เก๋ สาวใหญ่วัยสามสิบปลาย เปิดร้าน อาหารตามสั่งในซอยนี้มานาน แต่อาจเพราะมันหลบอยู่ใน หลืบทีเ่ ราไม่คอ่ ยได้เข้าไป เลยไม่มโี อกาสได้เยือ้ งกรายเข้ามา กิน พีเ่ ก๋เป็นคนอัธยาศัยดี นางช่างพูดช่างคุย ชอบชวนเราคุย สัพเพเหระ ทำ�ให้นางทำ�อาหารช้า บางทีกำ�ตะหลิวผัดข้าว อยู่แท้ๆ ก็ยังหันมาคุยกับเรา สุดท้ายข้าวเกือบไหม้ หลังๆ เลยไม่ค่อยอยากคุยด้วยเท่าไหร่ อาหารของพี่เก๋จัดว่าอยู่ใน ระดับปกติ ไม่ดีไม่แย่ กินเพื่อหยุดความหิวเป็นมื้อๆ ไป แต่ พักหลังๆ มานี่พบว่านางทำ�กับข้าวช้าขึ้นเรื่อยๆ ตั ว การสำ � คั ญ คื อ พี่ ค นส่ ง น้ำ � อั ด ลม ชอบมาหยอด คำ�หวาน ขายขนมจีบให้อีพี่เก๋ แล้วไม่รู้ทำ�ไม ชอบมาเวลา ที่เรากินข้าว ไม่เข้าใจ พี่น้ำ�อัดลมนี่ก็ไม่รู้ไปสรรหามุกควาย มาจากไหน จำ�มาแซวพี่เก๋จนไม่เป็นอันทำ�กับข้าวกับปลา แล้วอีพเี่ ก๋นกี่ บ็ า้ จี้ เขาชมทีกข็ วยเขิน อายม้วนเป็นสาวแรกรุน่ มีทีนึงแซวอะไรไม่รู้ อีพี่เก๋เขินคว้ากำ�ถั่วฝักยาวไปบิดจนเละ หมดกันผัดพริกแกงฉัน... หนักเข้าพี่คนส่งน้ำ�อัดลมเริ่มหัน มาแซวลูกค้าในร้าน รวมทัง้ เราทีก่ �ำ ลังนัง่ เอาส้อมหมุนวุน้ เส้น ในสุกี้น้ำ�เล่น เบะปากหมั่นไส้ “น้อง รู้ไหมว่าร้านเก๋เค้าไม่ได้ใช้เนื้อหมูนะ สุกี้น้ำ�ที่ 24


น้องกินก็ไม่ได้ใช้หมู” เราวางส้อม ทำ�หน้าสงสัย “ที่น้องกินอยู่น่ะ มันเป็นเนื้อช้าง” บ้าาาหราาา พี่อะ พูดอะไรก็ไม่รู้ อีพี่เก๋ตอบ ฉีกผักชีกระจุยด้วยความเขิน “แหม ก็ไม่เห็นเหรอน่ะ มันมีแต่งาเต็มไปหมดเลย” แล้วก็หัวเราะร่วน อืม ไม่ตลก... เหตุ ก ารณ์ แ บบนี้ เ กิ ด ขึ้ น จนเราเลิ ก กิ น ร้ า นพี่ เ ก๋ ไ ป พักใหญ่ หันไปกินร้านตามสั่งเจ๊แหวว ซึ่งถือว่าพอจะฝาก ท้องได้มากที่สุดในย่านนี้ ร้านเจ๊แหววเป็นร้านในตึกแถว ริมถนนเปิดเป็นกิจจะลักษณะ อาหารมีหลายอย่างตั้งแต่ ตามสั่งไปจนถึงก๋วยเตี๋ยวที่เจ๊แหววเป็นคนลงมือปรุงเอง อร่ อ ย สะอาด มี อ นามั ย เจ๊ แ หววมี ลู ก มื อ ช่ ว ยงานเป็ น เด็กหนุ่มหน้าตาดีสี่ห้าคน มีไว้รับมือกับช่วงเวลาเที่ยงๆ ที่จะมีสาวๆ พนักงานออฟฟิศมากินจนแน่นร้าน เด็กที่ร้าน จัดว่ามารยาทดี ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ดีต่อไดอะล็อก การสั่งอาหารจำ�พวก “ข้าวกะเพราหมู...ไข่ดาว...เอ้ย ไข่เจียวดีกว่า แล้วก็ ...อุ๊ย! เปลี่ยนๆ เอาไข่ดาวเหมือนเดิมนะ...อ๊ะ ไข่ดาวเอาไม่ สุก...อ้อ! แต่กรอบนะ ไม่สกุ แต่กรอบ...กรอบนอกนุม่ ใน แล้ว ก็ชามะนาว...(หันไปหาเพื่อน) สอง?…สาม?…สี่? ชาเย็น 25


เท่าไหร่? สอง?...สาม? อ้าว งัน้ ชามะนาวสองพอ ชาเย็นสาม แล้วก็บะหมี่ ไม่งอก ไม่ผกั เอาเปรีย้ วๆ นะ เปรีย้ วๆ หวานๆ ขอแซ่บๆ” ตกลงมึงจะเอายังไง (ไม่ได้พูด ด่าในใจ) ลูกชายของเจ๊แหววมีหน้าที่ช่วยคิดเงิน เก็บเงิน เขา เป็นหนุม่ ใหญ่วยั สีส่ บิ ทีจ่ ากท่าทางและสำ�เนียงการพูดเข้าใจ ว่าน่าจะไม่ใช่ชายแท้ และมัน่ ใจว่าเด็กหนุม่ ทีม่ าเสิรฟ์ ๆ อยูน่ ี้ น่าจะมาจากการคัดเลือกของบุตรชายเจ๊แหวว เรากับเจ๊แหววจะมีโค้ดลับทีร่ กู้ นั สองคน เนือ่ งจากเรา มากินบ่อย เมนูประจำ�คือก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย สั่งกันจนจำ�ได้ ทุกครัง้ ทีม่ าถึงเจ๊แหววจะพเยิดหน้าขึน้ รูเ้ ลยว่าเราจะสัง่ อะไร เราเพียงแค่พยักหน้าช้าๆ ไม่ถึงสองนาทีก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย หนักเครื่องก็พร้อมเสิร์ฟ วันหนึ่ง เราเข้ามาในร้านสั่งเมนูเดิม แต่แปลกตรงที่ วันนี้เจ๊แหววไม่ได้ยืนประจำ�อยู่หลังหม้อก๋วยเตี๋ยวอย่างเคย ลูกชายเขาเป็นคนทำ�แทน เรากินตามปกติแล้วเรียกเก็บตังค์ ลูกชายเจ๊แหววเดินมาที่โต๊ะ “เจ๊แหววไม่อยู่เหรอครับวันนี้” เราถามด้วยไมตรี “อยู่สิจ๊ะ” “อยู่ในครัวเหรอ”

26


“อยู่นี่” สิ้นคำ�นั้น เราวางตะเกียบ เงยหน้าขึ้นมอง เมื่ อ เห็ น ใบหน้ากระหยิ่มของเขา เรารู้ทัน ที ว่ า เขา จะพูดอะไร “ก็พี่นี่แหละฮ่ะ...เจ๊แหวว”

27


เรื่องขอบคุณ

ให้ตายสิ เขียนค�ำขอบคุณนี่ใช้เวลาคิดนานกว่าเขียน หนังสือแต่ละบทอีกแน่ะ! ก่อนอืน่ ต้องขอขอบคุณพีโ่ จ้ โฟล์กซอง บองโก้ อลาร์ม ไนน์ (Alarm9) ที่มองเห็นบางอย่างในความไร้สาระของเรา จนชวนให้มาร่วมโปรเจกต์ abooklet รวมทั้งพี่ๆ ทีมงาน a book ทุกคนทีเ่ กีย่ วข้อง ทีช่ ว่ ยกันผลักดัน (เข็น? เคีย่ วเข็ญ?) ให้เราปัน้ (ปัน่ ?) จนเกิดเป็นหนังสือเล่มนีอ้ อกมาได้ เวลาบอก คนอืน่ ว่าฉันเขียนหนังสือนีพ่ ราวมากนะ พูดเลย ขอบคุณมาก จริงๆ ฮะที่มองเห็นอะไรในตัวเรา งานชิ้นนี้สันดาปพลังไฟ ในตัวเราให้อยากเขียนอะไรต่ออีก เชื่อว่าจะไม่หยุดแค่เล่มนี้ แน่นอน!


ขอบคุณเพื่อนร่วมทางชีวิตมากมายที่ฝากเรื่องราว สนุกๆ และได้แง่คิด (ที่ค่อยๆ มานึกได้หลังจากนั้นอาจจะ หลายปี) เพื่อนโรงเรียน เพื่อนมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงาน ทุกที่ ที่แม้จะไม่ได้เอ่ยถึงเป็นหลักในหนังสือเล่มนี้ แต่เวลาที่ นั่งแบล๊งก์ๆ ใจลอยๆ หน้าคอม ตอนที่นึกหาเรื่องราวมา ประกอบสร้างเป็นงานเขียนชิน้ นี้ พวกเธอโผล่มาให้เราคิดถึง อยู่เรื่อยๆ ขอบคุ ณ เพื่อ นบ้านคอนโดหรรษาแห่ง ซอยอลเวง ที่เราได้มีโอกาสได้อาศัยอยู่ เรื่องราวที่หยิบมาเล่าอาจจะ เป็นเรือ่ งทีพ่ วกคุณไม่รตู้ วั หรือแทบจ�ำไม่ได้แล้วว่าเคยเกิดขึน้ (เพราะจริ ง ๆ แล้ ว ทุ ก คนก็ ด�ำเนิ น ชี วิ ต ของตั ว เองไปตาม ปกติ) แต่ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม นี่เป็นโมเมนต์เล็กๆ ที่มี ความหมายกับเรามาก จนเอามาเขียนหนังสือเป็นเล่มได้ เธอก็คิดดูเอาเองแล้วกัน ขอบคุณแม่ที่อยู่ข้างลูกเสมอ ท้ายสุดขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ไม่ว่าจะหลงหยิบ หนังสือเล่มนี้มาด้วยเหตุผลใดก็ตาม ขอบคุณมากๆ จริงๆ ฮะ ไม่แน่นะ บางทีอาจจะไม่ใช่คุณหรอกที่เลือกหนังสือ เล่มนี้ แต่เป็นหนังสือเล่มนี้เองต่างหากที่เลือกคุณ อิอิ พิช วิชญ์วิสิฐ


เรื่องนักเขียน


พิช วิชญ์วิสิฐ หรือ พิช ออกัส หรือ ววส. พื้ น เพเป็ น คนจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ก่ อ นจะเดิ น ทาง เข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อในคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ เป็ น ที่ รู้ จั ก ครั้ ง แรกจากบทบาทในภาพยนตร์ เรื่ อ ง รักแห่งสยาม และการเป็นนักร้องนำ�วงออกัส ก่อนจะผันตัวเอง สูง่ านเบือ้ งหลังในฐานะครีเอทีฟ โปรดิวเซอร์ และนักแต่งเพลง ล่าสุดก็ดอดไปเป็นคอลัมนิสต์ เขียนบทความลงนิตยสาร เป็นก๊อบปี้ไรเตอร์ บางครั้งก็แอบไปทำ�ละครเวที และล่าสุด ไปเป็นนักเขียน เป็นบุคคลทีม่ อี าชีพไม่แน่นอน มักจะตอบไม่ได้เสมอ เมื่อถูกถามว่าทำ�งานทำ�การอะไร จึงมักจะบอกใครๆ ว่าเป็นนักฝัน มีทั้งฝันที่ล่องลอยไปเรื่อยๆ และฝันที่ได้ลงมือทำ�จน ออกมาเป็นรูปเป็นร่างจริงๆ และหนึง่ ในนัน้ ก็คอื หนังสือทีท่ า่ นกำ�ลังถืออยูน่ นี้ นั่ เอง


เรื่องนักวาดภาพประกอบ


เราชือ่ kanith เราเป็นนักวาดภาพประกอบ พลิกแพลง ตัวเองมาจากสายโมชันกราฟิก แต่วาดรูปมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่เคยนึกเลยว่าจะมีประโยชน์ จนกระทั่งโตมาดันกลายมา เป็นอาชีพหลัก ทุกวันนีก้ เ็ ลยซือ้ คอมพิวเตอร์มาเพือ่ เล่นเกม ชอบทานเนื้อสัตว์ กับข้าวเซเว่น khunkanith


เรื่องชาวบ้าน พิช วิชญ์วิสิฐ

ภาพประกอบ kanith พิสูจน์อักษร pretty donkey หนังสือในชุด Life & Inspiration พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2558 พิมพ์ครั้งที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ราคา 200 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-183-9

ข้อมูลบรรณานุกรม ของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ พิช วิชญ์วิสิฐ. เรื่องชาวบ้าน. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2560. 172 หน้า. 1. ความเรียง. I. kanith, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 895.914 ISBN 978-616-327-183-9

จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 309 โทรสาร 0-2718-0690

แยกสีและพิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2428-7500

จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999


สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก

บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการอำ�นวยการ ภูมิชาย บุญสินสุข บรรณาธิการบริหาร นทธัญ แสงไชย บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ศิลปกรรม พิชญ์สินี บุญมั่นพิพัฒน์ นันทิยา ฤทธาภัย ออกแบบปกและรูปเล่ม ชลธิชา จารุสุวรรณวงค์ โซเชียลมีเดีย และกิจกรรมพิเศษ พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์ เลขานุการ ปวริศา ตั้งตุลานนท์

ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย นิติพัฒน์ สุขสวย ผู้จัดการทั่วไป ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ วิมลพร รัชตกนก ประสานงานโครงการ ฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ นิรชา กิจรักษา จัดทำ�คลังข้อมูล ฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ รุจิรา จำ�ปาวัน ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ส่งเสริมการตลาด ชลธร จารุสุวรรณวงค์ ศิลปกรรมสื่อออนไลน์ เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล ลูกค้าสัมพันธ์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่, อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.