Paris Souvenir ด้วยรักจากปารีส [Preview]

Page 1


คำ�นำ�สำ�นักพ มิ พ หลังจากออกหนังสือเรื่อง London Scene ไม่นาน ศิลปิน นักวาดฝีมือดีอย่างโอ๊ต มณเฑียร ก็ได้รับบทบาทใหม่เป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยสอนวิชาทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับศิลปะ บ่ายวันหนึง่ เขาแวะ เข้ามาที่สำ�นักพิมพ์ หลังจากคุยกันเรื่องผลตอบรับที่ค่อนข้างดี ของหนังสือเล่มแรก โอ๊ตก็เปรยขึ้นมาว่า อยากลองเขียนหนังสือ เล่มใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ เขาคิดการใหญ่ ถึงขนาดอยากทำ�ให้มันเป็นหนังสือที่ใช้อ่านประกอบการเรียน คุยกันอยู่นานก็ยังไม่ได้ทิศทางของหนังสือที่น่าพอใจ โอ๊ตเลย เปลี่ยนเรื่องมาเล่าว่า เขากำ�ลังจะไปปารีส เพื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ศิลปะหลายแห่งที่ใฝ่ฝันมานาน ผมตัดบทบอกเขาว่า อย่าเพิ่งเขียน ตำ�ราประวัติศาสตร์ศิลป์เลย เขียนบันทึกการเดินทางของทริปนี้ ดีกว่า ผมอยากรู้ว่า ศิลปินอย่างเขาจะพาเราไปเปิดหูเปิดตาที่ ซอกมุมไหนในปารีสบ้าง เรื่องราวในหนังสือเรื่อง London Scene บอกผมว่า โอ๊ตมัก พาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางงานศิลปะดีๆ และไม่ว่างานนั้นจะเป็น งานเล็ก งานใหญ่ งานดัง หรืองานอินดี้ โอ๊ตก็มกั มีมมุ มองทีน่ า่ สนใจ เกีย่ วกับงานนั้นมาเล่าสู่กันฟัง ผมคาดหวั ง ว่ า จะได้ อ่ า นสิ่ ง นั้ น จากบั น ทึ ก การเดิ น ทาง ในปารีสเล่มนี้ หลายเดือนถัดมา โอ๊ตส่งต้นฉบับมาให้อ่าน โดยไม่มีคำ� อธิบายใดๆ แนบมาด้วย ผมค่อยๆ พลิกอ่านไปทีละหน้า แล้วลุน้ ว่า


จะเจออะไรในปารีสบ้าง แล้วผมก็พบว่า นี่ไม่ใช่บันทึกการเดินทาง ในปารีสอย่างที่ผมคาดเดานี่นา โอ๊ตเป็นศิลปินนักวาด แต่เขาก็เป็นนักเขียนทีม่ สี �ำ นวนภาษา และลีลาการเล่าที่แพรวพราว ตัวหนังสือของเขาพาเราเดินเที่ยว ปารีสไปพร้อมๆ กับชวนคุยเรือ่ งประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์แสนสนุก แค่รวู้ า่ เขากำ�ลังพาเราไปดูอะไร เพราะอะไร ก็สนุกแล้ว เพราะมันช่าง ต่างกับคู่มือท่องเที่ยวไม่ว่าจะเล่มไหนก็ตามอย่างลิบลับเรื่องนี้ ครืน้ เครงขึน้ เมือ่ โอ๊ตมีเพือ่ นร่วมคณะเป็นคณะลุงป้าน้าอาทีเ่ ดินทาง ไปร่วมงานแต่งงานของพี่สาวโอ๊ตที่ฝรั่งเศส เรื่องเล่าเคล้าเสียง หัวเราะในงานแต่งก็ยังบอกเล่าเรื่องราวความเป็นฝรั่งเศสได้อย่าง สนุกสนาน แล้วเรื่องนี้ก็เข้มข้นขึ้นไปอีกเมื่อแฟนของโอ๊ตเดินทาง มาสมทบจากลอนดอน เป็นการเดินทางในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีความหมายกับชีวิต มากมายเหลือเกิน เรือ่ งราวทีด่ �ำ เนินไปอย่างยากจะคาดเดาทัง้ หมดนีม้ งี านศิลปะ ชิ้นสำ�คัญของโลกและความโรแมนติกของปารีสเป็นฉากหลัง ฟุ้งไป ด้วยจริตแบบชาวปารีส แล้วตัวหนังสือเหล่านี้ก็ถูกคลุกเคล้าเข้ากับ ภาพประกอบสวยสะกดสายตาฝีมือของโอ๊ต Paris Souvenir ก็เลยไม่ได้เป็นแค่หนังสือบันทึกการเดินทาง ธรรมดา แต่ถือว่าตำ�ราประวัติศาสตร์ศิลป์ที่มีสีสันจัดจ้าน และ อีโรติกดีทีเดียว ทรงกลด บางยี่ขัน สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก


ค�ำน�ำผูเขียน ในร้ า นหนั ง สื อ Shakespeare and Company (เปิ ด เพลง: Ces Petites Choses ขับร้องโดย Jula De Palma) ผมกำ�ลังต้องตอบคำ�ถามในงานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ “หนังสือเล่มนี้เป็นอัตชีวประวัติของคุณรึเปล่า” “คู่รักในเล่มได้กลับมาเจอกันอีกไหม” ขณะที่ผมพยายามบรรยายไอเดียการเขียนหนังสือเกี่ยวกับ เพลงป๊อป การเต้นรำ�ที่ทำ�ให้ห้วงรักในอดีตและความว่างเปล่าใน ปัจจุบันมาทับซ้อนกัน แสดงให้เห็นถึงการไม่มีอยู่จริงของกาลเวลา ตาของผมเหลือบไปเห็นเขาทีเ่ พิง่ เดินเข้ามาในร้าน ยืนฟังผมพล่าม อยูเ่ งียบๆ รอยยิม้ มุมปากของเขายังเหมือนเดิมไม่มผี ดิ ผมเบียดตัว ผ่านชัน้ หนังสือเข้าไปจูบทักทายทีแ่ ก้มของเขาอย่างกระอักกระอ่วน เราตกลงไปดื่มกาแฟด้วยกันก่อนที่ผมจะขึ้นเครื่องกลับ สอบถาม สารทุกข์สกุ ดิบของกันและกันในช่วงปีทผ่ี า่ นมา ขณะทีห่ ัวใจของเรา ทั้งคู่ค่อยๆ พองโตกับโอกาสที่จะตกหลุมรักกันและกันอีกครั้ง เสียดายที่ชีวิตจริงผมไม่ใช่ภาพยนตร์ Before Sunset ฉาก ดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับหลายๆ ซีนทีเ่ คยมโนไว้ในปารีส ‘เมืองทีโ่ รแมนติก ที่สุดในโลก’


พอไปถึงจริงๆ ผมไม่แปลกใจเลยทีค่ นมากมาย (โดยเฉพาะ คนญี่ปุ่น) เกิดอาการช็อกที่เรียกว่า ปารีสซินโดรม เนื่องจากโดน ตบหน้าด้วยปารีสในความเป็นจริงทีต่ า่ งจากปารีสสีชมพูในมโนภาพ ยิ่งนัก ว่าแต่จะโทษใครดี โทษปารีส หรือความคาดหวังของเราเอง จะบอกว่าหนังสือเล่มนีถ้ กู เขียนขึน้ เพือ่ บำ�บัดปารีสซินโดรม ของผมเองก็คงไม่ผดิ นัก ด้วยความทีเ่ ป็นทัง้ อาจารย์วชิ าประวัตศิ าสตร์ ศิลป์ เป็นศิลปิน และเป็นคนโรแมนติกขัน้ ร้ายแรง ทำ�ให้เมืองแห่งแสง ในหัวของผมนั้นเลอค่ายิ่งนัก “มันจะต้องเต็มปรี่ไปด้วยงานศิลปะ วัฒนธรรมโก้เก๋ และกลิ่นอายความรักที่จะต้องทำ�ให้เราฟิน!” แต่สุดท้ายก็พบว่า ปารีสไม่ได้มีแค่ด้านเดียว (ความรักก็ เช่นกัน) สามร้อยกว่าหน้าในมือคุณตอนนีจ้ งึ อัดแน่นไปด้วยเรือ่ งราว และลายเส้ น เรี ย บเรี ย งเพื่ อ ชู นิ้ ว กลางให้ กั บ หนั ง สื อ ท่ อ งเที่ ย ว ทัง้ หลายทีม่ กั จะเป็นต้นเหตุของความคาดหวังลมๆ แล้งๆ ทีเ่ รามัก จะพกติดตัวไปด้วยในแต่ละทริป แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นพื้นที่ สำ�หรับผู้เขียน (และผู้อ่าน?) ให้ได้หลีกหนีปัจจุบันและย้อนกลับไป กลัน่ กรองทบทวนแต่ละความสัมพันธ์ ได้วาดภาพผูค้ นทีเ่ ดินย่องอยู่ บนเส้นบางๆ ระหว่างอดีตและความฝัน เป็นกรอบหน้าต่างให้สอ่ ง เข้าไปในความทรงจำ�สีจางๆ อาจจะเพือ่ ทำ�ความเข้าใจ หรือแค่ให้มี ความรูส้ กึ นัน้ อีกครัง้ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างบรรทัดก็ตาม Souvenir เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ‘ความทรงจำ�’ จึงดู เหมาะสมกับหนังสือเล่มนี้ที่สุด โอ๊ต มณเฑียร


11

75

19

89

29

103

39

117

47

129

61

143


163

231

173

241

185

251

195

263

211

279

219





01

กาวแรกในปารีส

ไม่อยากจะเชือ่ ว่าในทีส่ ดุ เท้าของผมกำ�ลังเหยียบลงบนพืน้ ถนน ของปารีส ถนนเก่ า ที่ ปู ด้ ว ยหิ น ขนาดเท่ า ฝ่ า มื อ เรี ย งกั น เป็ น ทรง ครึ่งวงกลม ซ้อนต่อกันไปอย่างไม่สิ้นสุด บูเลอวาร์ด เดอ กูร์แซล (Boulevard de Courcelles) ปกคลุมไปด้วยร่มเงาจากต้นไม้ใบเขียว ที่ชะโงกอยู่สองข้างทาง ปล่อยให้เพียงแสงแดดอ่อนของยามบ่าย ไม่มากนัก พอจะเล็ดลอดมาสะท้อนกับผิวถนนและเส้นแบ่งจราจร สีขาวด้านของมัน แสงแดดยังลามไปถึงหินปูนบนอาคารสไตล์ เฟรนช์ ค ลาสสิ ก (French Classicism) ที่ ยั ง คงยื น ยงอยู่ อ ย่ า ง สง่างาม แม้ว่ากาลเวลาจะไหลผ่านหน้าของมันไปแล้วหลายร้อยปี ผู้ ค นจากหลากทางเดิ น ชี วิ ต ต่ า งได้ ย่ำ � ผ่ า นมั น ไปนั บ คนไม่ ถ้ ว น ทั้ ง ศิ ล ปิ น ชื่ อ ก้ อ งโลก นั ก ประพั น ธ์ ไ ส้ แ ห้ ง พ่ อ ครั ว มิ ช ลิ น สตาร์ โสเภณีเบอร์ตอง นักปั่นน่องโป่ง นักการเมืองผู้สร้างประวัติศาสตร์ ยาจกที่ไม่มีใครจดจำ� ฯลฯ 11


พวกเขาจะสั ง เกตไหมว่ า สี ข องแสงแดดช่ า งอบอุ่ น เมื่ อ สะท้อนบนหินปูนสีครีมหม่นบนอาคารเก่าเหล่านี้ หินปูนนี้เป็นหินพิเศษ มีชื่อเรียกเดิมตั้งแต่สมัยโรมันว่า Lutetian Limestone มาจาก Lutetia ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองนี้ มี ลั ก ษณะสี เ นื้ อ ละเอี ย ดนวล ทำ � ให้ ส ะท้ อ นแสงแดดสี ท องเป็ น เอกลักษณ์ ยิ่งกลางคืนพอกระทบแสงรำ�ไรจากตะเกียงไฟก็จะให้สี โรแมนติกไม่เหมือนเมืองอื่นๆ จนถูกตั้งชื่อว่า ‘Paris Stone’ ว่ากัน ว่าเจ้าหินชนิดนี้แหละ สร้างมนต์ขลังให้เมืองนี้จนได้รับฉายา ‘City of Lights’ ถือเป็นวัสดุเลอค่า และถูกส่งออกไปใช้สร้างสถานทีส่ �ำ คัญ มากมายทั่ ว โลกในฐานะสั ญ ลั ก ษณ์ ข องความงามชั้ น ดี มี ร ะดั บ เหมือนกับหลายๆ สิ่ง ที่หากขึ้นชื่อว่ามาจากปารีสก็การันตีความ เลอค่าได้อย่างอัตโนมัติ ทั้งไวน์ ชีส น้ำ�หอม เสื้อผ้ากูตูร์ เบเกอรี หรือแม้กระทั่งความรัก ผมเคยสาบานกั บ ตั ว เองไว้ ว่ า จะไม่ ไ ปปารี ส จนกว่ า จะ In Love! ไม่รู้ว่าเป็นเพราะดูหนัง Paris, je’taime วนไปวนมามากเกิน ไปหรือเปล่า แต่ที่รู้ๆ คือคำ�ว่า ‘ปารีส’ ในหัวสมองผม ถูกผูกติดกับ คำ�ว่า ‘ความรัก’ ไปแล้วอย่างเหนียวหนึบ ถึงขัน้ เกิดอาการกลัวทีจ่ ะ ไปปารีสคนเดียว ประมาณว่าถ้ามึงไปเที่ยวเมืองนี้ในสถานะโสด มึงจะต้องเฉาตายยยยย มึงจะถูกสมเพชโดยคูร่ กั นับล้านนนนน ไม่มี ใครเขาไปเดินจับมือตัวเองในเมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกหรอก ไม่มใี ครเขาไปล็อกแม่กญ ุ แจตรงสะพานและอธิษฐานให้อยูค่ นเดียว ไปตลอดกาล ไม่มีใครเขาไปยืนจูบตัวเองพร้อมถ่ายเซลฟีหน้า หอไอเฟล ฯลฯ 12


เรียกได้วา่ ประสบการณ์ทพี่ งึ ประสบในเมืองปารีสนัน้ ถูกวาด ขึน้ อย่างละเมียดและละเอียดยิบในจิตใต้ส�ำ นึกของผมเสียแล้วตัง้ แต่ ก่อนออกเดินทาง แต่มันก็เป็นเหมือนธรรมชาติของคนเราละมั้ง อดไม่ได้ที่จะมโนไปก่อนว่า ‘พอถึงที่นั้นต้องทำ�แบบนี้ๆ ไม่งั้นเดี๋ยว เสียเที่ยว’ รายการกิจกรรมดังกล่าวของแต่ละคนนั้นก็ต่างกันไป บางคนต้องกินเมนูนั้นเมนูนี้ บางคนต้องซื้อไอเท็มสุดฮิตชิ้นนั้น ชิ้นนี้ หรือบางคนต้องถ่ายรูปตรงนั้นตรงนี้ ทริปนั้นจึงจะตอบโจทย์ ตามความควาดหวังของเรา ส่วนรายการของผม (อย่างที่พอจะเดา ได้จากย่อหน้าทีผ่ า่ นมา) ล้วนหมกมุน่ อยูก่ บั กิจกรรมเติมความหวาน ให้ หั ว ใจรั ว ๆ เป็ น เหตุ จำ � เป็ น ให้ ผ มต้ อ งรอจนกว่ า จะได้ เ จอกั บ คนพิเศษคนนั้นเสียก่อน คนที่จะทำ�ให้ปารีสของผม ‘ฟิน’ ครบ จบข่าว และแล้วหลังจากที่บอกผลัดฤกษ์ไปปารีสอยู่หลายปี วันนี้ ก็มาถึง! “ตอนนี้เขาคงกำ�ลังบินอยู่เหนือลอนดอน” ผมคิดในใจขณะ ทีส่ าวเท้าผ่านคาเฟ่แมวดำ�ตรงมุมถนน พลางสบตากับคุณลุงทีก่ �ำ ลัง กินขนมปังบาแก็ตชิ้นใหญ่ บนเก้าอี้ตรงกันข้ามเขามีหญิงสาวใส่ชุด รัดรูปกำ�ลังพ่นควันบุหรี่อย่างนวยนาดใต้กันสาดสีแดงส้มของคาเฟ่ นั้นที่ทำ�ให้พวกเขาดูเป็นสีแดงส้มไปหมด มองซ้ายมองขวาทำ�ให้ คิดถึงข้อเขียนในหนังสือ How to Be Parisian Wherever You Are: Love, Style, and Bad Habits (2014) ผู้เขียนได้นิยามความเป็น ชาวปารีเซียงด้วย ‘ออร่าความโก้เก๋’ (ต้นกำ�เนิดของคำ�นีใ้ นภาษาไทย มาจากคำ�ว่า coquet ซึ่งแปลว่าสวยงาม ในภาษาฝรั่งเศสด้วยล่ะ) ไม่ว่าจะหน้าตาออกฝรั่ง แขก หรือเอเชีย เขาบอกว่าชาวปารีเซียง 13


จะต้องสูบบุหรี่ ปารีเซียงจะไม่มีวันพึงพอใจกับสิ่งใดๆ ที่สำ�คัญคือ ต้ อ งมี ค วาม ‘ชิ ค ’ ซึ่ ง มาจากความมั่ น หน้ า มั่ น ใจระดั บ หนึ่ ง ยกตัวอย่างเช่น ถึงแม้พวกเขาจะมีสงิ่ ทีค่ นอืน่ ๆ อาจมองเป็นจุดด้อย เช่น ไฝ กระ จมูกใหญ่ ฯลฯ ปารีเซียงมักจะภาคภูมิใจกับสิ่งเหล่านี้ เพราะมันสร้างเสริมลักษณะเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ส่วนเรื่องการแต่งตัวก็ต้อง Less Is More คือแต่งน้อยแต่ได้เยอะ ไม่ต้องซื้อเสื้อผ้าราคาแพง แต่ต้องมีไอเท็มที่แสดงออกถึงตัวตน อย่างชัดเจน มีความเรียบเท่ ทะมัดทะแมง (ห้ามมีโลโก้แบรนด์ยหี่ อ้ ให้เห็นเด็ดขาด) เป็นต้น เขาจะใส่ชดุ อะไรมานะ? คงจะต้องเท่แบบชาวปารีเซียงแน่ๆ’ ผมมาถึงทีป่ ารีสก่อนเขา 10 ชัว่ โมง สิง่ ทีผ่ มตัดสินใจทำ�อันดับ แรกหลังเช็กอินโรงแรมเสร็จคือ เดิน “จะเดินไปจากนี่จริงๆ หรือครับ” พนักงานที่ล็อบบี้ถาม อย่ า งเป็ น ห่ ว ง อาจเพราะระยะทางจากโรงแรมแถบประตู ชั ย อาร์ก เดอ ทรียงฟ์ เดอ เลตวล (Arc de Triomphe de I’Étoile) ไปถึงย่านมงมาร์ท (Montmartre) ไม่ใช่ใกล้ๆ หรืออาจเป็นเพราะ เขาเล็งเห็นความโทรมจากเที่ยวบิน 15 ชั่วโมงของผมก็ได้ “เดินครับ คิดว่าเป็นวิธีที่น่าจะทำ�ความรู้จักเมืองๆ นี้ได้ดี ที่สุด” “โอเคครับเมอร์ซิเออร์ นี่คือแผนที่นะครับ เดินไปตามถนน ใหญ่นี้ประมาณ 45 นาทีก็น่าจะถึง ถ้าคุณเดินเร็ว” ปรากฏว่าผมเดินเร็วไม่ได้… จะเร่ ง ฝี เ ท้ า ได้ยัง ไง ในเมื่อ สองข้างทางถนนเต็ ม ไปด้ ว ย 14


สิ่งแวดล้อมที่เพลิดเพลินเจริญตา แค่ดูประตูไม้บานยักษ์ หรือแม้ กระทั่งเหล็กดัดบนระเบียงของแต่ละตึกก็สวยงามชวนฝันมากๆ หลายๆ จุ ด ยั ง มี อ นุ ส าวรี ย์ สวนหย่ อ ม เหล่ า ร้ า นหนั ง สื อ เก่ า สถาปัตยกรรมที่ขลังจนเหมือนกำ�ลังเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์ แต่ละหัว มุมถนนก็มีคาเฟ่มากมาย แย่งกันส่งกลิ่นหอมของเบเกอรีอบใหม่ และกลิ่นกาแฟมาให้ดมเพลินๆ แล้วไหนจะคนท้องถิ่นที่แต่งตัว ประหนึ่งว่าเพิ่งออกมาจากร้าน FCUK หรือ Chanel ไปอีก มันช่าง เลอค่าเท่าเทียมกับจินตนาการและความคาดหวังที่มีไว้ยิ่งนัก หรือมันคือมนต์สะกดของ Paris Stone ในช่ ว งเวลาชั่ ว โมงกว่ า ที่ ค่ อ ยๆ เดิ น ซึ ม ซั บ รายละเอี ย ด รอบกายบนถนนหิ น เส้ น นั้ น ผมตั้ ง คำ � ถามกั บ สิ่ ง ต่ า งๆ ไปอี ก เรื่อยเปื่อย ความฟุ้งเฟ้อแบบนี้เองหรือที่ทำ�ให้ลายเส้นที่พลิ้วไหวของ ศิลปะอาร์ตนูโว (Art Nouveau) โด่งดังไปทั่วโลก แสงแบบนี้เองหรือที่เป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าศิลปินลัทธิ อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) หันมาฉีกกรอบประเพณีศิลปะ บทสนทนาในคาเฟ่เ หล่านี้เ องหรือ ที่ผ ลักดัน ความฝั น ของเหล่า นักเขียนและนักวาดจนก่อเกิดลัทธิศลิ ปะเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ว่าแล้วก็นึกสนุก ตั้งปณิธานว่าจะไปตามรอยลัทธิศิลปะ ทัง้ สามนีต้ ามพิกดั สำ�คัญต่างๆ ในปารีส เริม่ จากพิกดั แรกทีอ่ ยูเ่ หนือ ใบพัดของกังหันแดงชื่อดังมูแลงรูจ (The Moulin Rouge) ขึ้นไป ไม่มากนัก

15





02

ความฝ ันของดาลี

วิวของปารีสจากด้านหน้าวิหารหินอ่อนซาเคร-เกอร์ (SacréCœur) ถือเป็นรางวัลอันคุ้มค่ากับความเหนื่อยนรกในการหอบร่าง ขึ้นมาบนทางเดินที่ทั้งสูงทั้งชันของมงมาร์ทได้สำ�เร็จ ในขณะที่ หลายๆ คนควักมือถือและกล้องหลากขนาดออกมาเพื่อถ่ายเซลฟี กับจุดดังกล่าว ผมพยายามแหวกตัวทะลุกลุ่มพวกเขาออกไปอย่าง เนือยๆ เพราะที่หมายของผมไม่ใช่ตรงนี้ มันอยู่ในซอกหลืบเล็กๆ ห่างไปจากวิหารและจัตุรัสศิลปินข้างๆ ไม่ไกลนักต่างหาก เป็นแกลเลอรีเล็กๆ ที่ชื่อพิพิธภัณฑ์ดาลี เอสเพซ (Espace DalÍ) ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าไปในนั้น ผมได้เข้าไปสู่ความฝัน เริ่มจาก ฝันร้ายของเด็กหนุ่มอายุยี่สิบต้นๆ ชื่อ อ็องเดร เบรอตง (André 19


Breton) นักเรียนแพทย์ผู้ถูกส่งไปประจำ�โรงพยาบาลทหารในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่นั่นเขาได้พบทหารผ่านศึกมากมายที่ทุกข์ ทรมานในฝันร้ายเกีย่ วกับสงครามคืนแล้วคืนเล่า เสียงโหยหวนของ ทหารเหล่านั้นทำ�ให้เบรอตงฉุกคิดขึ้นมาว่า จริงๆ แล้วมันอาจมีจุด เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเราเจอในชีวิตยามตื่นกับความฝันยาม หลับก็เป็นได้ ความคิดของเขายังเผอิญสอดคล้องกับทฤษฎีการตีความ ความฝันอันโด่งดังของนักจิตวิเคราะห์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ในช่วงนั้นพอดี จนในที่สุดในปี 1924 เบรอตงจึงได้ตีพิมพ์ คำ�แถลงแห่งเซอร์เรียลิสต์ (Surrealist Manifesto / Manifeste du Surréalisme) ว่ า ด้ ว ยการสร้ า งงานศิ ล ปะ ไม่ ว่ า จะเป็ น บทกวี ภาพยนตร์ ไปจนถึงภาพวาดจิตรกรรม ในห้วงของจิตใต้สำ�นึกเพื่อ ให้เกิดผลงานที่ ‘บริสุทธิ์’ ปลอดจากการแปดเปื้อนจากอิทธิพลของ ตรรกะ กรอบศีลธรรม และกฎเกณฑ์ใดๆ สิ่งนี้ถือเป็นจุดกำ�เนิดวิถี ใหม่ของศิลปะทีน่ า่ ตืน่ เต้นขึน้ อีกครัง้ ในฝรัง่ เศส หลังจากการเจือจาง ไปของลัทธิดาดา (Dadaism) ก่อนหน้านั้น แน่นอนว่าผูค้ นในยุคนัน้ ทีก่ �ำ ลังเอือมระอากับความเสียหาย ของสงคราม และกำ�ลังมองหาหลักการใหม่ๆ เพือ่ ทำ�ความเข้าใจกับ ความผุพังที่เกิดขึ้น ย่อมยินดีไปกับการหลบหนีเข้าไปในความฝัน ทำ�ให้ลทั ธิศลิ ปะของเบรอตงได้รบั การพูดถึงเป็นอย่างมาก จนไปถึง หูของ ซาลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dalí) ศิลปินสุดโต่ง ผู้กำ�ลัง ตัดสินใจย้ายถิ่นจากสเปนมาปารีสพอดี เขาจึงได้มาร่วมขบวนการ พร้อมกับศิลปินแนวหน้าคนอืน่ ๆ ในยุคนัน้ อย่าง จอร์จโิ อ เดอ คิรโิ ก 20


(Giorgio de Chirico), มักซ์ แอนสท์ (Max Ernst), อ็องเดร มาซซง (André Masson), แมน เรย์ (Man Ray) ฯลฯ แต่ความฝันของดาลีไม่เหมือนกับคนอื่นๆ อาจเป็นเพราะส่วนผสมของเลือดชาวคาตาลัน บวกกับความ ทะเยอทะยานจากพื้นเพสังคมชนชั้นกลางของเขา ทำ�ให้ฝันของ ดาลีมีความบ้าล้ำ�หน้าเพื่อนๆ ไปหลายขุม! จุดเด่นของเขาคือความเป็นอัจฉริยะในการสอดใส่นยั ยะด้วย สัญลักษณ์นิยม แต่วาดด้วยสไตล์เรียลิสติก โดยเขาให้คำ�นิยามงาน ของตัวเองว่าเป็นเหมือน ‘Hand Painted Dream Photographs’ คมชัดเหมือนภาพถ่าย หากแต่เป็นภาพฝันที่วาดด้วยมือ เขาเน้นรายละเอียดและความสมจริงของแลนด์สเคปและ รูปร่างที่เกิดจากจินตนาการ เพื่อที่ว่ายิ่งเน้นรายละเอียดของความ เหมือนจริงเท่าไร ความขัดแย้งของภาพที่เป็นเรื่องราวเหนือจริง เหมือนฝัน ก็จะยิ่งชัดขึ้นเท่านั้น เริ่มจากงานชิ้นเอกของเขาที่คาดว่าหลายๆ คนอาจจะเคย ผ่านตามาบ้าง ชิ้นที่เป็นนาฬิกาไหลเยิ้มลงพื้นนั่นแหละ มันบ่งบอก ถึงการสูญสลายของกาลเวลา สิง่ ทีเ่ รายึดมัน่ ถือมัน่ เป็นพืน้ ฐานของ ตรรกะและความจริง สำ�หรับดาลีแล้วเขามองว่ามนุษย์นั้นจะไม่ สามารถเอาชนะกาลเวลาได้ ถึงแม้เราจะพยายามเอามันมาใส่อยู่ ในกรอบของนาฬิกา แต่สุดท้ายเวลาต่างหากที่เป็นเจ้าเหนือมนุษย์ ดูดีๆ สิ เราจะเห็นว่าส่วนที่ละลายของหน้าปัดนาฬิกานั้น ย้อยหยดลงมาเป็นหน้ายิ้ม มันกำ�ลังเยาะเย้ยความทะเยอทะยาน ของพวกเราหรือเปล่านะ บางครั้งดาลีก็วาดนาฬิกาไหลเยิ้มนี้ไว้บน 21


ต้นไม้ เป็นบัลลังก์แห่งธรรมชาติทเี่ ชิดชูเวลาเอาไว้ รากของต้นไม้ใน ภาพนี้ ก็ มั ก ชอนไชอยู่ ใ นตึ ก ร้ า ง สื่ อ ถึ ง ซากความพ่ า ยแพ้ ข อง อารยธรรมที่ถูกสร้างโดยมนุษย์นั่นเอง นอกจากนีด้ าลียงั มีสญ ั ลักษณ์ทใี่ ช้เป็นประจำ�อีกหลายอย่าง เช่น มดไต่ออกมาจากมือ ไข่ที่ลอยอยู่ กระเป๋าถือ ทะเลทราย เส้นขอบฟ้า ผีเสื้อ กุญแจ ม้าบิน ดวงตา ประตู ฯลฯ ดาลีใช้เทคนิค การจ้องมองของสิ่งหนึ่งนานๆ จนสมองละทิ้งตรรกะแล้วเริ่มเห็น รายละเอียด หรือรูปทรงที่ซ้อนอยู่ในของนั้นๆ เป็นเทคนิคที่เรียก ว่า ปารานัวก์-ครีทิก (Paranoïaque-Critique) บางครั้งเขาจ้องอยู่ นานจนเข้าฌาน เห็นภาพซ้อนหรือภาพหลอนกันไปเลย จากนัน้ เขา จึงนำ�รูปทรงและสิ่งของที่มโนเห็นมาวาดในภาพของเขา “ความต่างระหว่างคนบ้ากับฉัน คือฉันไม่ได้บ้า” ดาลีได้ กล่าวไว้ ฝีแปรงของดาลีดงึ เอกลักษณ์ของลัทธิเซอร์เรียลิสม์เหนือจริง ในการจับแพะชนแกะ หรือนำ�สิง่ ทีไ่ ม่คาดคิดมาเทียบเคียงกันให้เกิด ความหมายใหม่ได้อย่างน่าตื่นเต้น อีกทั้งการสอดใส่สัญลักษณ์ให้ คนตีความไปได้ต่างๆ นานา บนเส้นบางๆ ระหว่างความตื้นเขิน และลึกซึ้ง โรแมนติกและบูดเบี้ยว มันผสมให้เกิดความรู้สึกที่ทั้ง แปลก เละเทะ และวิจิตรสวยงามในรูปเดียวกัน อนึ่ง คาแรกเตอร์ ตัวตนของดาลีเองก็เป็นคนเพี้ยนหลุดโลกมากๆ ถ้าใครเคยดูหนัง Midnight in Paris อาจจะพอนึกความเพี้ยนของเขาได้จากการเล่น ใหญ่ของ เอเดรียน โบรดี้ (Adrien Brody) ที่เล่นเป็นดาลี กล่าวคือ ตาของเขาจะเบิกโพลงอยู่ตลอดเวลา กับหนวดที่แหลมเฟี้ยวเป็น 22


เอกลักษณ์ พูดจาโผงผาง อยู่ระหว่างโลกความจริงและความฝัน เสมอ มันยิ่งทำ�ให้เขาเป็นที่จดจำ�ได้ง่าย นอกจากนี้ความบ้าของเขายังเป็นพลังที่ถูกส่งเข้าไปอยู่ใน งานแทบทุกรูปแบบ ตัง้ แต่ภาพวาดสีน�้ำ มัน ยันภาพประกอบหนังสือ เด็ก ไพ่ทาโรต์ ไปจนถึงโฆษณายาระบายในทีวี ทำ�ให้ดาลีมีชื่อเสียง โด่งดังไปทั่วโลก ว่ากันว่าความสำ�เร็จของเขา (บวกกับการที่เขาเริ่ม ยอมให้คนตีความงานของเขาอ้างอิงกับการเมือง) ทำ�ให้ดาลีแตกหัก กั บ เบรอตงผู้ ก่ อ ตั้ ง ลั ท ธิ ศิ ล ปะเซอร์ เ รี ย ลิ ส ม์ ใ นปี 1934 จนได้ แต่ชา่ งมันปะไร เพราะตอนนัน้ ดาลีได้กลายเป็นหนึง่ ในศิลปินตัวท็อป ระดับโลกไปแล้ว หลังจากนัน้ เขายังคงทำ�งานศิลปะต่อไปเรือ่ ยๆ จน เสียชีวิตในปี 1989 ปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้เขามากมาย หลายแห่งทั่วโลก รวมถึงดาลีสเปซบนมงมาร์ทนี้ด้วย ความรู้สึกที่ได้จากการเข้าไปเดินในแกลเลอรีนี้คือ เหมือน หลุดเข้าไปอยู่ในความฝันเพี้ยนๆ ของดาลี ทั้งประติมากรรมทรง ประหลาดทีต่ ง้ั กันอยูเ่ กลือ่ นกลาด รูปทรงอัศวินไร้ใบหน้ากำ�ลังปราบ มังกรที่ท�ำ ด้วยทองแดงชิน้ ใหญ่โต เรือนร่างของวีนัสที่ถกู ดาลีนำ�มา ผสมกับลิ้นชักแก้วสีทอง ช้างผอมที่มีขาสูงยาวกำ�ลังแบกพีระมิด บุษราคัม เดินย่างก้าวไปในทะเลทราย สื่อถึงการถูกมารผจญของ นักบุญแอนโทนีแห่งคริสต์ศาสนา อีกทัง้ งานเฟอร์นเิ จอร์บา้ ๆ บอๆ อย่ า งโซฟาที่ ไ ด้ แ รงบั น ดาลใจมาจากริ ม ฝี ป ากของ เม เวสต์ (Mae West) (ดาลีบอกว่าสร้างไว้ให้คนได้นั่งคุยกัน ก็ทำ�เป็นรูปปาก ซะเลย) ซึ่งวางไว้กับอีกงานชื่อดังคือ ‘โทรศัพท์ล็อบสเตอร์’ ซึ่งตัว งานก็มีลักษณะตามชื่อ นั่นคือ กุ้งล็อบสเตอร์ตัวใหญ่วางไว้บน 23


โทรศัพท์ เป็นอีกหนึง่ ตัวอย่างของการจับแพะชนแกะของศิลปิน โดย เขาบอกว่าเวลาพูดถึงล็อบสเตอร์ก็นึกถึงโทรศัพท์ นึกถึงเซ็กซ์ เขา จึงจัดเอาส่วนหาง (ใกล้ส่วนสืบพันธุ์ของกุ้ง) คร่อมอยู่บนส่วนปาก พูดของหูโทรศัพท์พอดี ใช่แล้ว สำ�หรับเซอร์เรียลิสม์ ทุกอย่างคือเซ็กซ์ พวกเขาเชือ่ ในทฤษฎีของฟรอยด์ทเี่ ขียนไว้วา่ ทุกการกระทำ� ของมนุษย์เรานั้นมีแรงผลักดันมาจากความต้องการสืบพันธุ์ทั้งสิ้น เขตของปารีสถูกเรียงเป็นเปลือกหอยทรงอวัยวะเพศหญิง ส่วนหอ ไอเฟลก็คอื องคชาต ยิง่ มองลึกๆ รอบตัวก็ยงิ่ ดูเหมือนงานทุกชิน้ จะ ซ่อนความอีโรติกอยูไ่ ม่มากก็นอ้ ย ทัง้ ภาพหยดน้�ำ ทีเ่ ยิม้ ออกมาจาก ดอกกุหลาบสีแดงสดลอยอยู่กลางทะเลสาบ รูปปั้นไข่ที่วางอยู่บน ร่างเปลือยของผู้หญิง ภาพประกอบหนังสือ Alice in Wonderland ทีด่ าลีวาดอลิซให้แหกแข้งขามัว่ ไปหมด รวมไปถึงภาพยนตร์การ์ตนู ที่เขาเคยร่วมทำ�กับดิสนีย์ในปี 1945 ชื่อ Destino ซึ่งดาลีทำ�อยู่ หลายปีแต่ไม่เสร็จสักที บวกกับเนือ้ เรือ่ งทีเ่ พีย้ นเกินความเข้าใจ มัน จึงไม่เคยถูกฉายอย่างเป็นทางการ (ในปี 2003 มันถูกจับมาเคาะ ตัดตอนและปล่อยฉายใน YouTube ลองไปเสิร์ชดูกันได้) ทั้งหมดนี้ ปะติดปะต่อกันในดาลีสเปซอย่างไร้เหตุผล แต่แน่นอนว่าในฝันเรา ไม่เคยคิดเรือ่ งเหตุผลหรือความสมจริงอยูแ่ ล้ว มันคือพืน้ ทีป่ ลดปล่อย จิตใต้สำ�นึกและความต้องการที่รุมเร้าของเราออกมาเท่านั้น มันคือฝันร้ายหรือฝันดีไม่มีใครรู้ แต่ทร่ี คู้ อื ฝันของดาลีได้กลับกลายมาเป็นฝันของผมในคืนนัน้ นาฬิกาทีไ่ หลเยิม้ ผูห้ ญิงเปลือยทีก่ ลายเป็นลิน้ ชัก ใบหน้าดาลีสขี าว 24


ดำ�หัวเราะออกมาโดยที่ไม่ได้ขยับปาก ตาของเขาจ้องเขม็งมาที่ผม ผมตืน่ ขึน้ กลางดึกเพราะได้ยนิ เสียงฝีเท้ากำ�ลังเดินใกล้เข้ามา จากห้องโถง แสงอาทิตย์หายไปแล้ว เหลือไว้แต่ความมืดสลัวในห้อง โรงแรมเล็กๆ และตัวของผมที่เปลือยเปล่าอยู่บนเตียง มีเพียงแค่ ผ้าไหมสีน้ำ�ทะเลบางๆ หนึ่งชิ้นพันอยู่เป็นโบว์รอบคอ เข็มของ นาฬิกาข้างเตียงกำ�ลังเดินบอกเวลาห้าทุ่มกว่าๆ (มันไม่ได้ไหลเยิ้ม อีกต่อไป) ผมสูดหายใจเข้าลึก ขณะที่เงี่ยหูฟัง เสียงฝีเท้านั้นกำ�ลังใกล้ เข้ามาเรื่อยๆ ตึก ตึก ตึก สุดท้ายมันก็มาหยุดอยู่ที่หน้าประตูห้องของผม และแล้วบานประตูนั้นก็ถูกเปิดแง้มเข้ามาอย่างช้าๆ

25





เกี่ยวกับผูเขียน โอ๊ต มณเฑียร ตอนเด็กๆ อ้วนมากไม่มีเพื่อนคบ พูดไม่เก่ง พอจะชวนใคร คุยด้วยเลยใช้การวาดรูปเรียกร้องความสนใจ โตมาก็ยังใช้วิธีนี้ หาแฟน ลายเส้ น กั บ ความสั ม พั น ธ์ จึ ง เป็ น สองสิ่ ง ที่ แ ยกกั น ไม่ค่อยออกเท่าไรในชีวิต จบการศึกษาปริญญาตรีสาขา Visual Communication จาก Raffles College of Design and Commerce เมืองซิดนีย์ ประเทศ ออสเตรเลีย ปริญญาโทสาขา Communication Design (Illustration) จาก Central Saint Martins และ ปริญญาโทสาขา Education in Museums and Galleries จาก Institute of Education เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบนั เป็นนักเล่าเรือ่ งผ่านงานเขียนคอลัมน์นติ ยสาร a day และเป็นอาจารย์สอนวิชา Art Appreciation มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, Storytelling Illustration คณะ CommDe จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งเปิดเวิร์กช็อปสอนวาดรูปนู้ดผู้ชายในสตูดิโอย่านดอนเมือง สนใจลงชื่อสมัครเรียนได้ที่ Email: oatmontien@hotmail.com Facebook: facebook.com/oatmontien Instragram: @oatmontien Website: www.oatmontien.com


ผู้เขียน โอ๊ต มณเฑียร บรรณาธิการเล่ม ทรงกลด บางยี่ขัน ภาพปกและภาพประกอบ โอ๊ต มณเฑียร ออกแบบปกและรูปเล่ม บพิตร วิเศษน้อย ตรวจทานข้อมูล กิตสิรินทร์ กิติสกล พิสูจน์อักษร สราญรัตน์ ไว้เกียรติ

หนังสือในชุด Journey พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2559 ราคา 320 บาท

เลขมาตรฐานสากล ประจำ�หนังสือ 978-616-327-180-8

ข้อมูลบรรณานุกรม ของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ

โอ๊ต มณเฑียร. Paris Souvenir ด้วยรัก, จากปารีส. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2559. 296 หน้า. 1.ปารีส--ภูมิประเทศและ การท่องเที่ยว. 2.ฝรั่งเศส--ภูมิประเทศ และการท่องเที่ยว. 3.ปารีส--ศิลปะ 4.ฝรั่งเศส--ศิลปะ. I. ชื่อเรื่อง 614.436 ISBN 978-616-327-180-8

จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 309 โทรสาร 0-2718-0690

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น


สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ บรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย ศิลปกรรม พิชญ์สินี บุญมั่นพิพัฒน์ ชลธิชา จารุสุวรรณวงค์ นันทิยา ฤทธาภัย กองบรรณาธิการ พีรพิชญ์ ฉั่วสมบูรณ์ ส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ ชลธร จารุสุวรรณวงค์ เลขานุการ ปวริศา ตั้งตุลานนท์

บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย นิติพัฒน์ สุขสวย ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ วิมลพร รัชตกนก ศิลปกรรมสื่อออนไลน์ เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล ลูกค้าสัมพันธ์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

แยกสีและพิมพ์ บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0-2675-5600

จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.