London Scene [Preview]

Page 1




คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

ผมรู้ จั ก โอ๊ ต มณเฑี ย ร ครั้ ง แรก ในฐานะนั ก ทำ � ภาพประกอบหน้าใหม่ที่มีฝีไม้ลายมือเตะตา หลังจากได้ดู นิ ท รรศการภาพวาดของเขา ผมก็ ช วนเขามาวาดปกให้ นิตยสาร a day นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ผมได้ร่วมงานกับโอ๊ต ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น a day เปิดรับคอลัมนิสต์ หน้าใหม่ สายตาของผมจึงขลุกอยูก่ บั ต้นฉบับหลายร้อยชิน้ ทีส่ ง่ เข้ามา อ่านไปอ่านมาก็สะดุดกับตัวหนังสือของคอลัมน์ ชื่อ ‘London Scene’ พอคลิกไปอ่านประวัติผู้เขียนถึงรู้ว่า คนที่ส่งมาไม่ใช่คนอื่นคนไกล โอ๊ต มณเฑียร นั่นเอง น่าแปลกที่ศิลปินผู้ชำ�นาญการวาดอย่างเขาเลือก เขียนคอลัมน์ด้วยตัวหนังสือ และสิ่งที่ทำ�ให้ผมประหลาดใจ ยิ่งขึ้นก็คือ โอ๊ตเขียนหนังสือได้ดีและมีเสน่ห์มาก เราคุยกันถึงทิศทางของคอลัมน์นี้หลายครั้ง เพราะ การเขียนถึงสถานทีห่ รือเรือ่ งราวในเมืองใหญ่อย่างลอนดอน นัน้ เสีย่ งทีจ่ ะซ้� ำ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วไหนๆ นักเดินทางชาวไทย ก็ไปมาทั่ว หรือแหล่งย่านต่างๆ นักเรียนไทยในลอนดอน ก็ไปมาจนปรุ ยังเหลือสถานที่ที่น่าสนใจให้โอ๊ตเขียนอีกหรือ โอ๊ตใช้ชีวิตในลอนดอนมาเนิ่นนาน ทั้งในบทบาท ของนั ก เรี ย นศิ ล ปะ อาจารย์ ศิ ล ปิ น ภั ณ ฑารั ก ษ์ และ นักใช้ชีวิต ด้วยสถานะการเป็นคนในแวดวงศิลปะทำ�ให้ โอ๊ตได้เข้าถึงสถานที่และผู้คนที่น่าสนใจตลอดเวลา แรกๆ ผมสนใจสถานที่ที่โอ๊ตเขียนถึง แม้ว่าหลายแห่งเป็นสถานที่ ซึ่งผมก็เคยไป แต่เหตุการณ์ที่เขาเขียนถึง ข้อมูลที่เขาเล่า และมุมที่เขามอง ทำ�ให้ทุกสถานที่กลายเป็นพื้นที่พิเศษ


พออ่านคอลัมน์ของโอ๊ตไปได้สกั พัก ผมชักสนใจผูค้ น ที่เขาเจอมากกว่า ผมสงสัยว่า โอ๊ตใช้ชีวิตยังไงถึงได้เจอ คนที่เหมือนว่าธรรมดาแต่ว่าพิเศษเหล่านี้ตลอดเวลา เสน่ห์อีกอย่างของงานเขียนของโอ๊ตคือ เขาเป็น คนคิดมาก ตามประสาคนทำ�งานศิลปะ ก่อนจะเล่าอะไร สักเรื่อง เขาต้องศึกษาเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ เรียบเรียง เรื่องราว แล้วหาทางบอกเล่าให้เราสนใจ เหมือนเขาเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตมาจัดแสดง ให้เราดู จัดแสดงผ่านตัวหนังสือ และภาพประกอบฝีมือของ เขา แค่เห็นภาพวาดและภาพคอลลาจที่โอ๊ตทุ่มเทพลัง ทำ�สำ�หรับหนังสือเล่มนี้แล้ว เราก็รู้แล้วว่าสายตาและฝีมือ ของเขาไม่ธรรมดา ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ทำ�ให้หนังสือเรื่องลอนดอน ของโอ๊ตแตกต่างจากลอนดอนเล่มอื่นๆ ดีกว่าหรือไม่ ผมไม่รู้ รูแ้ ต่ อ่าน London Scene จบแล้ว หลายคนคงอยาก ตีตั๋วไปลอนดอนเพื่อตามรอยเรื่องที่โอ๊ตเขียนถึงแน่ๆ ทรงกลด บางยี่ขัน



คำ�นำ�ผู้เขียน

เมือ่ วันก่อนตอนไปเดินตลาด Camden town ผมสะดุดตากับกระเป๋า หนังสุภาพบุรุษสีน้ำ�ตาลทรงเหลี่ยมใบหนึ่ง พอเปิดดูปรากฏว่า ข้างในยังมี หลายสิ่งถูกทิ้งไว้จากเจ้าของคนเก่า ทั้งกระจกพับสามด้าน ขวดใส่น้ำ�หอม โบราณ หวี และอื่ น ๆ ทำ � เอาผมกั บ คุ ณ ลุ ง คนขายได้ เ ดาเล่ น กั น สนุ ก จากทรงกระเป๋ากับสิ่งของข้างใน ว่าเจ้าของกระเป๋าคนนี้น่าจะเป็นผู้ชาย ในยุค 30 เจ้าสำ�อาง มีฐานะพอสมควร อาจมีอาชีพที่หน้าตาเป็นเรื่อง สำ�คัญ ต้องเดินทางบ่อย ฯลฯ กระเป๋าใบนั้นจึงเป็นเหมือนแคปซูล ปิดล็อก เก็บช่วงเวลาในอดีตของผูช้ ายคนหนึง่ ไว้ บอกใบ้เรือ่ งราวของเขาผ่านสิง่ ของ ที่เหลืออยู่ รอวันที่จะถูกเปิดและนำ�ไปใช้งานต่ออีกครั้ง หนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน “ทำ�ไมลอนดอนถึงเป็นเมืองที่สร้างสรรค์ที่สุดในโลก?” คือโจทย์ที่ ผมตัง้ ไว้เพือ่ ตอบในบทความและรูปประกอบของคอลัมน์ ‘London Scene’ เป็นการเล่าถึงความขบถ ความสร้างสรรค์ และความเท่ ที่เป็นเสมือน ดีเอ็นเอของเมืองนี้ หลายๆ ครั้ง ‘London Scene’ จึงกลายเป็นแรงจูงใจ ให้ตวั เองกระโดดเข้าไปคลุกวงใน ใช้ชวี ติ เพือ่ สร้างนิยามความเป็นลอนดอนเนอร์แบบถึงที่สุด บทความเหล่านี้จึงเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ความทรงจำ� ส่วนตัวตลอด 6 ปีในลอนดอนของผม ที่มีทั้งเสียงหัวเราะ มิตรภาพ การ ค้นพบตัวเอง แรงฮึดสู้ น้ำ�ตา และรอยจูบ รวมไปถึงเรื่องราวอื่นๆ มากมาย ซ่อนอยู่หลังตัวอักษรและรูปภาพบนทุกๆ หน้ากระดาษ การรวมเล่มครั้งนี้จึงคล้ายกับกระเป๋าหนังใบเก่าใบนั้น ที่มีร่องรอย ของตัวตน เป็นลายเส้นของชีวติ จากช่วงเวลาหนึง่ รอทีจ่ ะส่งต่อมุมมองแบบ ‘ลอนดอนเนอร์’ ให้กบั ผูอ้ า่ น ไม่วา่ หนังสือเล่มนีจ้ ะถูกเปิดอยูท่ เี่ มืองไหนใน โลกก็ตาม ด้วยรักจากลอนดอน โอ๊ต มณเฑียร






012


013


014


015


016


ผมเป็นเด็กเซนต์มาร์ติน

ผมยังจำ�วันแรกที่มหา’ลัยได้ดี วันนั้นผมสวมรองเท้า Paul Smith สีขาว แจ็กเก็ต ลายดอกคลุมตัวชุ่มเหงื่อ แม้อากาศข้างนอกแค่ 5 องศาฯ มันอาจเป็นความตื่นเต้นจากสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือจาก ความโกลาหลวุน่ วายของนักเรียนเกือบพันคนทีอ่ ดั แน่นกัน อยู่ในทางเดินแคบๆ ของตึกเก่าบน Southampton Row หลายคนถือแฟ้มผลงานอันใหญ่ มีสีผมแสนเปรี้ยวแสบตา ไปจนถึงเสื้อผ้าอันแปลกประหลาด คุยกันเสียงดังถึงไอเดีย และแรงบันดาลใจของตน สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมรวมกันกลายเป็นบรรยากาศที่ ทำ�ให้รู้สึกว่า ‘อะไรก็เกิดขึ้นได้’ หรือนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นความเป็น ‘ขบถ’ ของเด็ก เซนต์มาร์ติน? ผมสอบติดมหาวิทยาลัยด้านศิลปะและการออกแบบ Central Saint Martins ในลอนดอนไม่กี่ปีที่แล้ว แต่ถ้าจะ ย้อนไปพูดเรื่องจุดเริ่มความเป็นขบถของสถาบันนี้ ต้อง เท้าความไปกว่าสองร้อยปี เมื่อศิลปินและนักสังคมนิยม วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) ผู้ริเริ่ม Arts & Crafts movement ปลุกระดมให้นักออกแบบหันกลับมาใช้รูปทรง จากธรรมชาติและงานฝีมือ สวนกระแสยุคสมัยการปฏิวัติ อุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในช่วงต้นถึงกลาง ศตวรรษที่ 19 ประกอบกับการปฏิรูปแนวคิดที่ต้องการให้ คนทุกชนชั้นเข้าถึงงานศิลปะได้ ผลักดันรัฐให้เปิด ‘สถาบัน ชนชั้นแรงงาน’ ที่สอดแทรกสุนทรียศาสตร์เข้าไปในงาน ออกแบบทุกชนิด เกิดเป็น The Central School of Arts and Crafts ในปี 1896 และรวมตัวกับ Saint Martin’s School of Arts กลายเป็น Central Saint Martins ในปี 1989

017


018

นับจากวันนัน้ ถึงปัจจุบนั มหาวิทยาลัยนีย้ งั คงความ สวนกระแสและผ่าเหล่ามาตลอด เห็นได้จากศิษย์เก่าชื่อดัง ที่จบออกมา ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบแฟชั่น Alexander McQueen ศิลปินคู่ Gilbert and George รวมทั้ง Malcolm McLaren บิดาแห่งพังก์ในยุค 80 ผู้ก่อตั้งวงขวางโลกอย่าง Sex Pistols จะเห็นได้ว่าไอเดียของพวกเขาล้วนแปลก ประหลาดท้าขนบ แต่ก็ประสบความสำ�เร็จและกลายเป็น ผลงานพลิกเปลี่ยนโฉมหน้าของวัฒนธรรมอังกฤษทั้งสิ้น แปลว่ า ความเป็ น ‘ขบถ’ คื อ สิ่ ง สำ � คั ญ ในการ สร้างสรรค์? ในประสบการณ์ของผม ความเปิดกว้างของเซนต์มาร์ตินทำ�ให้ผมกล้าลองผิดลองถูก กล้าแหกคอก ทำ�งาน แบบห่ามๆ ตั้งแต่เทสีแดงลงบนตัวแล้วเกลือกกลิ้งเป็น รูปภาพมือเปื้อนเลือดของหมอตำ�แย ไปจนถึงวาดภาพที่มี นัยทางเพศระหว่างคนกับช้างเผือก แทนที่จะโดนเซ็นเซอร์ หรือดุด่า เพื่อนๆ และอาจารย์กลับสนับสนุนการตีความ ของผมอย่างเต็มที่ วิสัยทัศน์ของพวกเราไม่ถูกตัดสินว่า ถูกหรือผิด ขอเพียงให้นักเรียนซื่อสัตย์และกล้าตั้งคำ�ถาม กั บ เรื่ อ งที่ เ คยถู ก สอนมา ซึ่ ง บางครั้ ง ต้ อ งโยงไปถึ ง เรื่ อ ง ส่วนตัวมากๆ และยากที่จะพูดออกมา แต่อาจารย์ผู้สอน ก็มีวิธีเค้นออกมาจนได้ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่ง อาจารย์เลือก จัดวิชาเรียนในบาร์ แถมซื้อเบียร์เลี้ยงเด็กทุกคนคนละแก้ว ตอนเริ่มคาบก็ยังเงียบๆ อายๆ กัน แต่พอหมดแก้วปรากฏ ว่าทุกคนล้วนแสดงความคิดตัวเอง แถมวิพากษ์วิจารณ์กัน อย่างออกรสเต็มที่ อีกกรณีที่น่าสนใจคือ มีนักวาดภาพชื่อ Jasiminne Yip เขี ย นสโลแกนเสี ย ดสี ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ป์ ห ลายแห่ ง


ในลอนดอนอย่างเจ็บแสบ สำ�หรับเซนต์มาร์ตนิ เธอเขียนไว้ 2 อัน คือ CSM: Pretentious Little Shits และ CSM: Lifestyle not Education คำ�ขวัญเหล่านี้ทั้งๆ ที่มีความหมายรุนแรง แต่ก็ถูกใส่ไปในแพ็กรับน้องใหม่หลายพันชิ้นในปีการศึกษา 2009 และสุดท้ายทางมหาวิทยาลัยก็ออกมาชื่นชมความ ห้าวหาญของเธอ แถมซื้องานทั้งชุดไว้แสดงที่พิพิธภัณฑ์ ของสถาบัน ทำ�ให้นกั เรียนทุกคนเห็นว่า ในทีแ่ ห่งนี้ ความคิด สร้างสรรค์ของพวกเขาจะได้รับการตอบรับเสมอ แม้จะเป็น ความคิดสุดโต่งขนาดไหนก็ตาม ในวันรับปริญญาของผม บัณฑิตกิตติมศักดิ์ Jarvis Cocker (นักร้องนำ�วง Pulp) กล่าวสุนทรพจน์ของเขาว่า “สิ่งที่ผมยังคงพกติดตัวจากเซนต์มาร์ตินมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ใช่ความรู้จากหนังสือ แต่เป็นมุมมองอันบ้าบิ่นต่างหาก” อย่างไรก็ดี ไม่ช้าก็เร็ว เหล่าความคิดชายขอบมักจะ ถูกผลักดันจนเป็นกระแสหลัก เหล่าขบถก็ต่อสู้จนได้รับ การยอมรับและกลายเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันในที่สุด เหมือนผมในวันนี้ที่กลับมาโรงเรียนอีกครั้ง สวม Paul Smith สีขาวคู่เดิม แจ็กเก็ตลายดอกตัวเดิม แต่เปลี่ยน บทบาทจากนักศึกษาหัวดื้อกลายมาเป็นครูผู้สอนเสียเอง หลังเรียนจบไม่กี่วัน พอเปิดประตูกพ็ บกับเหล่าเด็กวัยรุน่ เกือบสามสิบคน มองผมด้วยสายตาขวางๆ คราวนี้ต้องรอลุ้นกันว่าจะลงเอยอย่างไร เมื่อขบถ (รุ่นเก่า) เจอขบถ (รุ่นใหม่) เสียเอง

019


020


021


022


023


3... 2... 1... วาด!!! 024

เมือ่ สิน้ เสียงของผม ผูเ้ ข้าแข่งขัน 10 คน ทัง้ เด็กตัวเล็ก จวบจนผูใ้ หญ่ตวั โต พร้อมใจกันคว้าดินสอ สีไม้ ปากกา และ แท่งชาโคล ขึน้ ละเลงบนกระดาษขาวทีถ่ กู เตรียมไว้บนขาตัง้ กระดานวาดรูปของแต่ละคนอย่างตืน่ เต้น บางคนขะมักเขม้น ใส่ใจอยูก่ บั ผลงานของตัวเอง อีกหลายคนแอบชำ�เลืองมอง รูปของคนข้างๆ พลางหัวเราะติชมกันไปมาอย่างสนุกสนาน ท่ามกลางสายตาของคนที่ผ่านไปมาในห้องโถงใหญ่ของ พิพิธภัณฑ์ Victoria & Albert หรือ the V&A ทำ�เอาตัวผม ที่ ยื น อยู่ บ นเวที แทบไม่ อ ยากจะเชื่ อ สายตาตั ว เอง ว่ า บรรยากาศเจี๊ยวจ๊าวและมีชีวิต ชีวาขนาดนี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น ใน พิพิธภัณฑ์ระดับชาติที่มีประวัติยาวนานย้อนไปถึงปี 1851 ความเด็ดของพิพธิ ภัณฑ์แห่งนีเ้ ริม่ กันตัง้ แต่ชอื่ ซึง่ ตัง้ เพื่อเป็นเกียรติกับเจ้าชาย Albert และพระราชินี Victoria ผู้สนับสนุนอุดมการณ์ให้ศิลปะและงานออกแบบเป็นสิ่งที่ เข้าถึงได้ในชนชั้นคนทำ�งาน และใช้ความรู้เป็นแรงผลักดัน วงการอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีคอลเล็กชั่น ศิลปะและงานออกแบบอันมโหฬารกว่า 4,500 ล้านชิ้น ครอบคลุมช่วงเวลาในประวัติศาสตร์กว่า 5,000 ปี และ ที่เจ๋งที่สุดคือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ดีๆ ให้เข้าร่วมเพียบ ฟรีตลอดปี จึงไม่แปลกที่สถานที่แห่งนี้จะถูกจัดอยู่ในลำ�ดับ ต้นๆ ของ ‘100 พิพิธภัณฑ์ที่ต้องไปดูก่อนตาย’* และทำ�ให้ ผมรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งนักที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรช่วยจัด อบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับศิลปินสาวไฟแรง Alexa Galea เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม the V&A Summer Camp ที่จะ มีขึ้นในฤดูร้อนของทุกๆ ปี ปีนี้มีการแบ่งกิจกรรมเป็น 3 ประเภท คือ ‘Idea’ * จัดลำ�ดับโดยนิตยสาร Complex


เป็นรายการสัมมนาหลากหลาย, ‘Make’ เป็นกิจกรรม ประกอบนิทรรศการ ว่าด้วยพลังของการประดิษฐ์ และ สุดท้าย ‘Design’ มีเวิร์กช็อปสนุกๆ ให้ผู้เยี่ยมชมได้ลงมือ ออกแบบ ใช้ประติมากรรมและจิตรกรรมจากในพิพิธภัณฑ์ เป็นแรงบันดาลใจ ซึง่ หนึง่ ในนัน้ คือกิจกรรม Speed Drawing ของพวกเรานัน่ เอง กติกาง่ายๆ คือ ให้ผเู้ ข้าแข่งขันทัง้ 10 คน วาดรูปด้วยอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ให้ ภายในเวลาแค่ 2 นาที! ส่วนสิง่ ทีน่ �ำ มาเป็นแบบให้วาดคือ ถ้วย โถ รูปปัน้ และสิง่ ของ ต่างๆ ในคอลเล็กชัน่ ใครที่ ‘เล่าเรือ่ ง’ ด้วยรูปสิง่ ของเหล่านี้ ได้ดีที่สุด (ไม่จำ�เป็นต้องสวย) จะได้รับรางวัลเป็นตั๋วเข้าชม นิทรรศการหมุนเวียนฟรี แต่เอาเข้าจริงๆ คนส่วนมากที่ มาต่อคิว ก็ไม่ได้หวังเรื่องแพ้ชนะ แค่อยากมาเล่นเพราะว่า มันดูสนุกเท่านั้นเอง บรรยากาศโดยรวมจึงไม่เครียดและ เป็นกันเองตลอดวัน เริ่มตั้งแต่ตอนเช้า เราประกอบเวที เล็กๆ และจอฉายขึ้นในห้องโถงใหญ่ ภายใต้การดูแลของ ภัณฑารักษ์ทม่ี าชีแ้ นะบริเวณกิจกรรม เพือ่ ไม่ให้เสีย่ งต่อการ ทำ�งานศิลปะเสียหาย จนสุดท้ายได้วางขาตั้งวาดรูป 10 ชิ้น เคียงข้างอนุสาวรีย์แด่ Emily Georgiana และรูปแกะสลัก Charles Pelham ทั้งคู่เป็นรูปปั้นหินอ่อนอายุกว่า 160 ปี เราสองคนจึงต้องแบ่งหน้าที่กันดูแลเหล่าผู้คนและเหล่า รูปปั้นไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ บางช่วงผมก็จะขึ้นไปยืน บนเวที ป่าวประกาศเชิญชวนคนให้มาร่วมสนุก ส่วน Alexa เป็นผู้รับผิดชอบการจัดคิวและพาผู้เข้าแข่งในแต่ละรอบ ประจำ�ที่ ในบางรอบนอกจากสิ่งของในคอลเล็กชั่นแล้ว เรา ยังมี ‘นางแบบจำ�เป็น’ คือพ่อแม่ผปู้ กครองหรือเพือ่ นๆ ของ ผูแ้ ข่งขันทีอ่ าสาขึน้ มาโพสท่าเคียงคูส่ ง่ิ ของ เรียกเสียงหัวเราะ และรอยยิม้ ได้อกี เยอะ

025


กิจกรรมนีถ้ งึ จะดูธรรมดาๆ แต่มไี อเดียจากหลักการ ที่ว่า การจะ ‘วาด’ สิ่งของชิ้นหนึ่งนั้นต้องสังเกตสิ่งที่อยู่ ตรงหน้าอย่างมีสมาธิ เป็นการทำ�ความเข้าใจองค์ประกอบ การออกแบบของวัตถุนน้ั ไปในตัว (คำ�ว่า ‘Design’ มีรากศัพท์ มาจากภาษาอิตาลี ‘Disegno’ แปลว่า Drawing) ดังนั้น เวิร์กช็อปนี้จึงเป็นเหมือนการแนะนำ�วัตถุใน the V&A แบบ เข้าใจง่าย และเกริ่นให้หลายๆ คนอยากไปค้นคว้าประวัติ ของแต่ละชิน้ ต่อในพิพธิ ภัณฑ์ นีเ่ ป็นเพียงหนึง่ ในหลายร้อย กลวิธสี ร้างความสนุกที่ the V&A นำ�มาใช้ดงึ ดูดผูค้ นอยูเ่ สมอ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทางพิพิธภัณฑ์เริ่มโครงการพัฒนาทีใ่ ช้ งบกว่า 150 ล้านปอนด์ เพื่อบูรณะสิ่งของที่มีอยู่ สร้างสวน สาธารณะ รวมไปถึงห้องจัดแสดงใหม่ๆ อย่าง Furniture Galleries นอกจากนี้ยังมีส่วนค้นคว้าและวิจัยข้อมูลของ วัตถุในพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งหน่วยการศึกษาที่ ประสานงานกับโรงเรียนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทั้งในและ นอกสถานที่ให้​้ใช้ประโยชน์จากคอลเล็กชั่นที่มีอยู่มากที่สุด เรียกได้ว่า แนวคิดของโบราณสถานแห่งนี้ไม่แก่ตามอายุ สักนิดเดียว ระหว่างทางกลับบ้าน ผมสังเกตเห็นป้ายผ้าขนาดยักษ์ ใกล้ทางออก พิมพ์สโลแกนของทีน่ ไี่ ว้ใหญ่โตว่า ‘พิพธิ ภัณฑ์ ศิลปะและการออกแบบที่ดีที่สุดของโลก’ (The World’s Greatest Museum of Art and Design) ไม่ทราบเหมือนกัน ว่า ใครเป็นกรรมการและตัดสินมอบตำ�แหน่งดังกล่าวให้ ตั้งแต่เมื่อไร… แต่ทั้งเก่าทั้งเก๋าขนาดนี้ ผมคงต้องยอมยกให้เขา โดยปริยาย 026


027


028


029



โอ๊ต มณเฑียร

เกี่ยวกับผู้เขียน

ชอบวาดรูปตัง้ แต่เด็ก ขีดๆ เขียนๆ บนหนังสือเรียน ยันกำ�แพงบ้าน จนพ่อแม่ให้ไปเรียนปริญญาตรีสาขา Visual Communication ที่ Raffles College of Design and Commerce เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เริ่มเป็น ‘ลอนดอนเนอร์ ’ ตอนย้ า ยไปเรี ย นปริ ญ ญาโทใบแรกที่ Central Saint Martins เรียนจบก็ไม่ยอมกลับ อยู่ไปอยู่มา ถึง 6 ปี มีโอกาสวาดรูปให้นติ ยสาร เช่น Granta, Auditorium, Elle, Attitude, Computer Arts ได้เป็นวิทยากรรับเชิญตาม สถาบันต่างๆ เช่น University of the Arts London, Chester Beatty Library, Cardiff Metropolitan University, The Courtauld Gallery ได้แสดงผลงานในนิทรรศการเดี่ยวของ ตัวเองที่ The Book Club จนเบนเข็มไปตกหลุมรักงาน พิพิธภัณฑ์ และเลือกที่จะเรียนต่อปริญญาโทด้านการเรียน การสอนในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ UCL Institute of Education อีกใบหนึ่ง และได้ทำ�งานสอนวาดรูปใน V&A Museum of Childhood ระหว่างทีอ่ ยูก่ ว็ าดๆ เขียนๆ บันทึกประสบการณ์ สุดพีคที่ได้เจอ กลายมาเป็นคอลัมน์ ‘London Scene’ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร a day เมื่อเขียนจบจึงตัดสินใจย้ายร่างกลับประเทศไทย แต่หัวใจยังทิ้งไว้ที่ลอนดอน E-mail : oatmontien@hotmail.com Facebook : facebook.com/oatmontien Instagram : oatmontien Website : www.oatmontien.com


เรื่องและภาพ โอ๊ต มณเฑียร

พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2558 ราคา 395 บาท

สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก

บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล บรรณาธิการเล่ม ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย บรรณาธิการศิลปกรรม บพิตร วิเศษน้อย ศิลปกรรม เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ พิสูจน์อักษร ชลธร จารุสุวรรณวงค์ ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ สื่อสารการตลาด เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย, นิติพัฒน์ สุขสวย ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ วิมลพร รัชตกนก ลูกค้าสัมพันธ์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ โอ๊ต มณเฑียร. London Scene.-- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2558. 224 หน้า. 1. ศิลปะ--อังกฤษ. I. โอ๊ต มณเฑียร, ผู้วาดภาพประกอบ. ชื่อเรื่อง. 709.942 ISBN 978-616-327-106-8 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-106-8

จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-0690

แยกสีและพิมพ์ บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นต์ จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0-2675-5600 จัดจำ�หน่าย บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 โทรสาร 0-2718-0690




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.