คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ผู้ ค นต่ า งวั ย จะมี เ หตุ ผ ลต่ า งไปในการออกเดิ น ทาง ไปหาประสบการณ์ในต่างแดน วัยรุ่นอาจแค่อยากออกจากบ้าน ไปให้ไกลหูไกลตาพ่อแม่ เพือ่ หนีออกจากกรอบของกฎเกณฑ์ ในขณะ ทีผ่ ใู้ หญ่จะอยากหนีจากชีวติ ทีจ่ �ำ เจ ไม่กา้ วหน้า หรือขาดความเร้าใจ ปัญหาคือไม่ใช่ทุกคนจะสามารถ อาจเพราะไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ผู้ปกครองด่า แฟนงอน สุขภาพไม่อำ�นวย หรือด้วยเงื่อนไขต่างๆ ผู้ ค นมากมายจึ ง เลื อ กที่ จ ะเสพประสบการณ์ ผ่ า นตั ว หนั ง สื อ ของคนอืน่ จุดนีจ้ งึ ทำ�ให้อะบุก๊ ตีพมิ พ์วรรณกรรมเดินทางซะบ่อยเลย เพราะอ่านทีไรก็สนุก และปลุกไฟฝันกันได้ดี รสชาติของเรื่องเล่าจากต่างแดนจะแตกต่างกันไปตามปัจจัย หลายอย่าง สามส่วนประกอบสำ�คัญได้แก่ สถานที่ ระยะเวลา และ เจ้าของเรื่อง ดังนั้น ‘เด็กน้อยผู้เรียบร้อยและนิสัยดี บินเฟิสต์คลาส ไปช้อปปิ้งกับคุณแม่ที่ฮ่องกงเป็นเวลาสามวัน ได้สินค้าคุณภาพ ลดราคากลับมามากมาย และได้รับประทานอาหารอิ่มอร่อยทุกมื้อ’ อาจเป็นชีวติ ทีเ่ ราอยากได้ แต่ไม่นา่ จะใช่เรือ่ งทีเ่ ราอยากอ่าน เพราะ นอกจากมันจะราบรืน่ จนไม่มอี ะไรให้ลนุ้ แล้ว พอย้อนกลับมาเปรียบ กับชีวิตของตนที่ห่างไกลเหลือเกินกับความดีงามเช่นนั้น เราจะรู้สึก อิจฉาเจ้าของเรื่องมากเกินไปจนหมั่นไส้ ไม่ไลค์ ไม่แชร์ แต่ถ้าเป็นเรื่องของคนธรรมดา (เหมือนเรา) ที่ต้องเผชิญกับ ความซวย (เหมือนเรา) และคอยผจญกับมนุษย์ห่วยๆ (เหมือนเรา)
โดยต้องกินอยู่อย่างประหยัด (เหมือนเรา) ในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรา อยากไป) อย่างนี้อาจเริ่มรักและอยากเอาใจช่วย เพราะรู้สึกว่าเป็น พวกเดียวกัน Walking on the Sun ทุกๆ วันบนดวงอาทิตย์ เป็นเรื่องของ ตอง-ชนพัฒน์ ช่างภาพหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งถ้ามองไกลๆ อาจเข้าใจว่า ฮิปสเตอร์และขรึม แต่ความจริงเป็นคนออกจะแก่นและเซี้ยวเปรี้ยว ความขัดแย้งในตัวตองเป็นหนึง่ ในปัจจัยทีท่ �ำ ให้หนังสือเล่มนีม้ เี สน่ห์ เนื่องจากคุณผู้อ่านจะได้ติดตามเรื่องราวที่บ้าบอ สลับกับภาพถ่าย ที่หล่อจนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นฝีมือของนักเขียนคนเดียวกัน เตรียมตัวพบกับตัวละครแปลกเพี้ยน ชีวิตในรั้วโรงเรียน อั น วุ่ น วาย ตลอดจนสั ง คมระทมขมไส้ ข องคนไทยในโตเกี ย ว แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ก็ ยั ง มี ค วามสนุ ก สนานและข้ อ คิ ด แทรกไป ตลอดระยะเวลาสองปี ที่ถูกย่อลงมาอยู่ในความหนาของกระดาษ ราวสีร่ อ้ ยกว่าหน้านี้ ขอเชิญทุกท่านเข้าสูว่ งโคจรของดวงอาทิตย์โดยพร้อมเพรียง สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก มีนาคม 2558
คำ�นำ� ตอนแรกหนังสือเล่มนี้จะใช้ชื่อว่า Pluto ครับ ตามคอนเซปต์ หล่อๆ ที่ว่า ญี่ปุ่นก็เป็นเหมือนดวงอาทิตย์ที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันอยาก เข้าไปโคจรอยู่ใกล้ๆ แม้จะเป็นแค่ดาวหางพุ่งผ่านไปมาให้หวิวหัวใจ ก็ยงั ดี แต่ผมคิดว่าถ้าจะเข้าไปวนเวียนในประเทศเขาให้ถงึ แก่น ก็ตอ้ ง ทำ�ตัวเป็นดวงดาวในวงโคจรของเขา วนไปเวียนมาอยูใ่ นระบบสุรยิ ะ เป็นประชากรแฝงอยู่ที่นั่น อยู่กันไปยาวๆ จนวันนึงก็ถึงเวลาที่ต้องอำ�ลาจากการเป็นดาวบริวารเพราะ ยังไงๆ เราก็ไม่ใช่คนของประเทศเขา เราเลยต้องกลายเป็นดาวพลูโต ที่ถูกถอดออกจากระบบเพราะขาดคุณสมบัติของการเป็นดวงดาว แต่ถึงกระนั้นพลูโตก็ไม่เคยหายไปไหน ยังคงโคจรอยู่วงนอกสุด อย่ า งสม่ำ � เสมอ เหมื อ นผมที่ ยั ง แวะไปเยี่ ย มเยี ย นดวงอาทิ ต ย์ บนดาวเคราะห์ที่ช่ือว่าโลกอยู่เป็นประจำ� นั่นแหละ คอนเซปต์ประมาณนั้น แต่พอเขียนหนังสือเล่มนี้ เสร็จ กลับพบว่า เฮ่ยยยยยย มันไม่เศร้าขนาดนั้นว่ะแกรรรรรรร โนวววว เปลี่ยนชื่อเถอะ ขอที่มันร่าเริงโดดเขย่งเกร็งขาร้องเพลง ประกอบเดอะซาวนด์ออฟมิวสิกหน่อยก็ดีนะ แล้วชื่อมันก็เลยมา ลงเอยที่ Walkin’ On The Sun ที่เป็นชื่อเดียวกับเพลงแรดๆ ของวง
Smash Mouth ที่ยังให้ความรู้สึกของการเดินเล่นลั้นลาอยู่ แถมได้ เดินบนดวงอาทิตย์ด้วยนะแก๊ เลิฟยู ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ ๓๐ ก.ค. ๒๕๕๗ ป.ล. ตอนแรกมีชื่อเข้าชิงอีกชื่อคือ ‘Seasons in the Sun’ แบบเพลงของ Westlife แต่คิดไปคิดมาชื่อยังกะหนังสือสารคดี ป่าแอมะซอน โดยมีพี่อ้วนพี่อวบวงบอยแบนด์ทั้ง ๕ ชี้ชวนกันดู ควายป่า ป.ล. อีกที ตอนต้นฉบับกำ�ลังจะเสร็จ ไปเจออีกเพลงของ Travis วงสุดรักชื่อ ‘Walking in the Sun’ เนื้อเพลงก็น่ารัก ดีงาม รีบเอาไปเสนอทันที แต่สดุ ท้ายไม่ผา่ น เค้าว่าชือ่ ปัจจุบนั ดีงามกว่า ฮึ เลิฟยูอะเกน ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ ๒ ก.พ. ๒๕๕๘
sun
10
一
จึงเอ่ยปากขออพยพไปญี่ปุ่น เขียนหนังสือบทแรกนีม่ นั ยากจริงๆ จะเขียนยังไงถึงจะบอกทีม่ าทีไ่ ป ให้น่าประทับใจได้นะ แก้แล้วแก้อีกสิบกว่ารอบ มันก็ไม่สนุกซะที (ก็ ถ้ า ชี วิ ต มั น สนุ ก นั ก คงไม่ ล าออกจากงานหนี ไ ปเมื อ งนอกร้ อ ก) สรุปว่าเอาเวอร์ชั่นนี้ละกัน ดูขี้เก๊กน้อยที่สุดละ ตั้งแต่เรียนจบก็ยิงยาวทำ�งานมา ๖ ปีรวด ไม่เคยมีเวลาให้ หยุดพักหรือไปเทีย่ วไหนเลย ถึงจะเปลีย่ นทีท่ �ำ งานสองสามรอบแล้ว ก็เหอะ น่าจะได้มีเวลาทำ�ตัวเรี่ยราดไปนอนเล่นริมหาดบ้าง แต่ชีวิต จริงคือพอออกจากที่เก่าปุ๊บก็เข้าที่ใหม่ปั๊บ เพราะกลัวว่าบริษัทใหม่ จะเปลี่ยนใจไม่รับถ้าเราเอ่ยปากไปว่าขอเริ่มงานเดือนหน้า จนพอ แก่ตัวเข้าเลยแอบคิดเล็กๆ ว่าน่าจะมีช่วงเวลาตกงานบ้างสักเดือน สองเดือน ให้ได้ไปพักผ่อนนั่งๆ นอนๆ คิดอะไรนั่นนี่บ้างเสะ ทำ�ไม มันเนือ้ ยเหนือ่ ย ทัง้ ๆ ทีก่ ท็ �ำ งานเหมือนเดิมมาตลอด แต่ท�ำ ไม้ท�ำ ไม ตอนนี้ มั น ดู ไ ม่ ส ดใสราบรื่ น เหมื อ นเมื่ อ ก่ อ น คิ ด ว่ า มั น คงต้ อ งมี 11
ปิดเทอมบ้างแล้วนะ ไม่ได้ปิดเทอมมานานเท่าไหร่แล้วเนี่ย นี่ถ้านับ เวลาทำ�งานเป็นเวลาเรียน ๖ ปีกน็ า่ จะได้หยุดรวมๆ แล้วเกือบสองปี เลยนะ เออ ถ้าได้ปดิ เทอมจริงๆ จะเอาเวลาสองปีไปทำ�อะไรดีหว่า? (เริ่มพูดกับตัวเอง) สงสัยต้องไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ เปลี่ยน ที่นอน เปลี่ยนอาหาร เปลี่ยนเพื่อนฝูง สนทนากับคนไกลๆ ตัว หาไอเดียจากคนใหม่ๆ ที่จะได้เจอ แล้วดูดพลังชีวิตพวกมันมา อยากลองไปพิสจู น์ดว้ ยว่าไอ้ทอี่ า่ นๆ มาว่าการเดินทางจะทำ�ให้ชวี ติ เราเปลีย่ นแปลงน่ะมันจริงมัย้ เราจะได้เจอตัวเองจริงมัย้ งัน้ ถ้าจะไป นานๆ แบบไม่ได้ไปทำ�งาน ก็แปลว่าต้องไปเรียนสินะ งั้นถ้้าไปเรียน อะไรทีจ่ ะช่วยอัพเลเวลเราได้ดว้ ยก็ดี ในเมือ่ ชอบถ่ายรูป แถมทีผ่ า่ นๆ นี่แทบไม่เคยเรียนอะไรจริงจังเกี่ยวกับการถ่ายรูปเลย ลองไปเรียน จริงจังสักทีดีกว่า กลับมาจะได้อัพเงินเดือนในฐานะเด็กนอกได้ด้วย หึหึ (ยังไม่จบ ยังพูดกับตัวเองอยู่) อะ ถ้างั้นจะเรียนที่ไหน ภาษาอังกฤษก็อนุบาล จะไปเรียน ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมตอนนี้ก็ไม่อยากแล้ว คือรู้สึกมาตั้งแต่เด็กแล้ว ว่าภาษาอังกฤษคือความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม เรียนชั้น ประถมในโรงเรียนประจำ�จังหวัดในสมัยทีก่ ว่าจะได้เรียนภาษาอังกฤษ ก็ปาเข้าไป ป.๕ แล้ว พอเข้ามัธยมก็เลยรูว้ า่ ภาษาอังกฤษเราง่อยมาก เพื่อนๆ ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนเอกชนที่เริ่มเรียนเอบีซีตั้งแต่ อนุบาล เวลาสอบทีก็เป็นฐานให้เพื่อนเหยียบย่ำ� เลยแอบแอนตี้ ภาษาอังกฤษ ลากันที ถ้าตายก็ไม่ไปงานศพนะ (พูดคนเดียวต่อไป ยังกะละครไทย) งั้นก็เรียนภาษาอื่นดิ เรียนภาษาของชาติที่ภาษาอังกฤษ 12
ไม่สามารถเข้ามากดขี่เราได้ ‘ญี่ปุ่น’ เลยเป็นชื่อแรก (และชื่อเดียว) ที่ลอยเข้ามาในหัว ประเทศนี้แหละที่ต่อให้เก่งอังกฤษยังไงก็ต้อง เหวอ ได้เล้ย ไปญี่ปุ่นนี่แหละ ประเทศเดียวที่คนไม่รู้ภาษาอังกฤษ ไม่ถูกมองว่าด้อยพัฒนา (แถมดูน่ารักซะอีก) จะคอยนั่งดูคนเก่ง อังกฤษทำ�ตัวเงอะงะมั่ง หึหึ (จบการพูดพร่ำ�รำ�พึงรำ�พัน - เก็บกด มาจากไหนแก) คราวนี้ก็มาถึงงานยากละ เพราะกลายเป็นว่าภาษาญี่ปุ่นนั้น ช่างว่างเปล่ากว่าภาษาอังกฤษอีก แต่ไม่รู้ทำ�ไมถึงรู้สึกอยากเรียน พิเศษภาษาญีป่ นุ่ จัง หรืออาจจะเป็นเพราะนีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราเป็นคนเลือก เองก็ได้ คือรู้ตัวว่าตอนนี้เราโง่นะ อย่าเถียง โง่มาก ไม่เหมือนตอน ช็อกกับภาษาอังกฤษที่รู้สึกว่าตัวเองเก๊งเก่งตอนเรียนชั้นประถม แต่ พ อเข้ า มั ธ ยมปุ๊ บ ตายปั๊ บ เลย พอยอมรั บ โดยดี ว่ า โง่ ชี วิ ต ก็ สบายขึ้น ไปเรียนที่สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นที่สีลมทุกวันอังคาร กับพฤหัสฯ ตอนห้าโมงเย็นถึงสองทุ่มอย่างเมามัน แปลกดีที่ไม่รู้สึก เบื่อเลย แถมรู้สึกท้าทายด้วยซ้ำ� อยากรู้ว่าวันนี้จะได้เรียนอะไรอีก มีไรจัดมาเลย ’จารย์ นั่งท่องนั่งเขียนอะอิอุเอะโอะในที่สาธารณะ แบบไม่อายใคร แต่นอกจากไม่อายแล้ว กลับรูส้ กึ ดีดว้ ยซ้�ำ ว่าเรารูม้ าก กว่าคนทั่วๆ ไป รอบๆ ตัวจะมีสักกี่คนที่อ่านภาษาญี่ปุ่นออก เฮ่ย นีฉ่ นั อ่านเขียนอะอิอเุ อะโอะได้แล้วนะเว้ย หวายๆ รูแ้ ต่ภาษาอังกฤษ สินะ พอยิ่งเรียนมากขึ้น ยิ่งผ่านไปหลายบท ก็เริ่มอ่านได้พูดได้ คราวนี้นะ แทบจะยืนอ่านออกเสียงในรถไฟฟ้า คงจะเก็บกดจาก ภาษาอังกฤษมากไปจริงๆ กะว่าถ้าเก่งญี่ปุ่นแล้วจะไปสมัครพวกโรงเรียนเฉพาะทาง ด้านอาชีพที่เรียกว่า เซนมง ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในเหล่าเด็กญี่ปุ่น 13
ไม่แพ้มหาวิทยาลัย จำ�เพาะเจาะจงไปเลยว่าจะเรียนสาขาอะไร ทำ�อาหาร ซ่อมรถ แอนิเมชั่น หรือถ่ายรูปก็ว่ากันไป ส่วนใหญ่จะใช้ เวลาเรียนแค่สองปี แล้วออกมาทำ�งานได้เลย แต่หลังจากพยายาม เรียนอยู่เกือบสองปี ระดับภาษาก็ยังไม่ดีพอ เพราะเซนมงส่วนใหญ่ สอนเป็นภาษาญี่ปุ่น ต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นมาก่อนระดับนึงถึงจะ สมัครได้ คอร์สอินเตอร์สอนด้วยภาษาอังกฤษก็มี แต่คา่ เรียนแพงมาก แล้วถ้าต้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษเนี่ย จะไปเรียนที่ญี่ปุ่นทำ�ไมเล่า แต่มันก็นานแล้วนะที่เรียนภาษาอยู่อย่างนี้ รู้สึกว่ามันเก่งช้า คงเพราะต้องทำ�งานด้วยมั้ง เลยไม่ได้จดจ่อกับบทเรียน ไม่ได้อ่าน ทบทวนเท่ า ที่ ค วร พอออกจากห้ อ งเรี ย นปุ๊ บ ก็ จ บมั น แค่ ต รงนั้ น กว่าจะได้มาต่ออีกทีก็อีกตั้งหลายวัน เลยคิดว่า ถ้างั้นคงต้องจริงจัง กับเรื่องนี้ซะแล้ว ต้องไปเรียนภาษาที่ต้นกำ�เนิดรากเหง้าของมันที่ ประเทศจีน ไม่ใช่! ว่าแล้วก็เลยตัดสินใจขอพ่อขอแม่หนีไปเรียนญีป่ นุ่ สักพัก ขอกลับไปเป็นนักเรียนอีกทีก่อนที่จะแก่ไปกว่านี้ ก่อนที่จะ หมดแรงลั้นลา แล้วจะเอาตังค์ทไี่ หนไป? นีถ่ า้ เป็นหนังสือท่องเทีย่ วเรียนต่อ ต่างแดนหล่อๆ ก็ต้องแบบว่า ได้ทุนโครงการนั้นนี้ ไม่ก็บริษัทส่งไป ฝึกทักษะไรงี้ โอ๊ย แก่ขนาดนี้แล้ว หลุดจากห่วงโซ่มหา’ลัยมาจะสิบปี แล้ว จะไปหวังขอทุนอะไรจากเค้าได้อีกเล่า มีทางเดียวเท่านั้นแหละนะ (หัวเราะหึหึ) ปรายตามองไปยัง สองบุพการีที่กำ�ลังนั่งดูละครกันอย่างเพลิดเพลิน ทำ�สายตาจริงจัง แกมน่าสงสาร แล้วเอ่ยปากขออพยพไปอยู่ญี่ปุ่น พร้อมขอยืมเงิน จำ�นวนหนึ่งมาโปะรวมกับเงินเก็บของตัวเองสำ�หรับใช้ดำ�รงชีพ ๒ ปี (เรียกว่าเอาเงินเก็บไปโปะรวมกับเงินขอพ่อแม่จะดีกว่า) กะว่าต้อง 14
โดนรีเจ็กต์โครงการเละเทะแน่ แต่… “โอเค ต้องใช้เท่าไหร่?” พ่อถามแล้วหันหน้ากลับไปดูทวี ตี อ่ เอ่อ ตกใจฮะ ตัง้ ตัวไม่ตดิ ฮะ กะว่ารอบนีจ้ ะขอลองเชิง แล้วจะตือ๊ ไปเรือ่ ยๆ แต่ท�ำ ไมง่ายงีอ้ ะ? ถ้าเป็นเมื่อก่อน อยู่ๆ จะมาขอไปเมืองนอกแบบนี้ คงโดนไล่ให้ไป เก็บเงินเองไปแล้ว (ซึ่งถ้าต้องเก็บตังค์เองจริงๆ ชาตินี้คงไม่มีวัน ได้ไป) แต่โชคดีที่ปีสองปีที่ผ่านมา ดันสนุกกับการเรียนจนออกนอก หน้า พ่อแม่คงเห็นว่า เฮ่ย ไอ้นี่มันเอาจริงนะคะคุณ ไม่เลิกกลางคัน เหมือนตอนเรียนว่ายน้ำ� เรียนกีตาร์ หรือเรียนขับรถ เลยเตรียมใจ กันมาแล้วว่า ไอ้นี่มันไปญี่ปุ่นแน่ แล้วพอขอไปจริงๆ ก็เลยอนุมัติ อย่างง่ายดายจนเราตกใจ นี่จะไม่ค้านเลยเหรอ จริงดิ ค้านหน่อยดิ ไม่มันเลย วู้! เมือ่ พ่อแม่พร้อม ผมก็เดินหน้าหาโรงเรียนสอนภาษาทีญ ่ ปี่ นุ่ เพราะกะว่าจะเรียนภาษาให้เก่งก่อนแล้วค่อยสมัครเซนมง โชคดีที่มี พีป่ นุ่ คนไทยทีอ่ าศัยอยูใ่ นโตเกียวมาหลายปี และรูจ้ กั กันมานาน (แต่ ไม่เคยเจอกัน เพราะรู้จักกันผ่านเว็บบอร์ด) ที่ไปช่วยสืบมาให้ว่ามี โรงเรียนภาษาทีไ่ หนเวิรก์ ๆ บ้าง พีป่ นุ่ ไปถามเพือ่ นๆ ทีเ่ คยเรียนแล้ว แนะนำ�มาให้ที่นึง อยู่ในโตเกียวเสียด้วย ตรงตามที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่า ถ้าจะไปญีป่ นุ่ ทัง้ ทีกต็ อ้ งเอาให้สดุ มันต้องพีค ต้องอยูก่ ลางเมืองหลวง จะไปแอบๆ ซ่อนๆ เรียนเหงาๆ ตามชายป่ามันจะไปสนุกอะไร กะว่าไปคราวนี้จะเรียนให้เต็มที่ จะเล่นจะเที่ยวให้สนุกจนหมดแรง กันไปข้าง จะไม่คิดเรื่องงานให้ปวดหัว นี่คือการพักผ่อน จงพักผ่อน จงพักผ่อน จงพักผ่อน 15
และเนื่องจากโรงเรียนนี้มีสาขาไทยแลนด์อยู่แถวอโศกด้วย ก็ลุยไปติดต่อเลย หาหลักฐานมายื่นสมัครอย่างเร่งด่วน เพราะเพิ่งรู้ ว่าเค้ารับสมัครนักเรียนของเทอมต่อไปมาสักพักจนจะหมดเขตแล้ว ในขณะที่คนอื่นๆ ยื่นเรื่องขอวีซ่าไปชาตินึงละ แต่ผมยังติดๆ ขัดๆ เรื่องเอกสารค้ำ�ประกันนั่นนี่อยู่ ต้องไปขอเอกสารตัวจริง พอขอมา ได้ก็ต้องเสียเวลาไปขอใหม่เป็นภาษาอังกฤษอีก แถมคนค้ำ�ประกัน ที่มีเงินคงคลังในบัญชีมหาศาลดูน่าเชื่อถือก็อยู่ต่างจังหวัด แล้วเค้า ต้องทำ�งานทำ�การ ใครจะมีเวลาไปทำ�เอกสารให้บ่อยๆ จะส่งไฟล์ มาพรินต์ก็ไม่ได้เพราะต้องให้เจ้าหน้าที่เซ็นมาให้สดๆ อีก นับถอย หลังกันให้ลุ้นระทึกยังกะทีมกู้ระเบิดในหนัง ในที่สุดก็ยื่นเอกสารขอวีซ่าทันเวลา แต่ก็ยังไม่รู้อีกแหละว่า จะผ่านมั้ย ต้องรอลุ้นอีกอยู่ดี
16
17
18
19
20
二
ต่อไปนี้พวกแกคือเพื่อนกัน ในขณะที่รอลุ้นผลวีซ่าก็มีเรื่องให้ลำ�บากใจ คือถ้าผลออกปุ๊บก็ต้อง เดินทางอาทิตย์ถัดไปทันที เพราะโรงเรียนใกล้เปิดแล้ว ตอนนี้เลย จำ�เป็นต้องลาออกจากทีท่ �ำ งาน ตามกฎทีต่ อ้ งแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย หนึ่งเดือนเพื่อที่เค้าจะได้หาคนใหม่มาแทน ช่วงนี้แหละที่มันเครียด เพราะมันยังไม่รผู้ ลไง ถ้าเกิดลาออกมาแล้วแต่ผลคือไม่ผา่ น ไม่ได้ไป ญี่ปุ่นขึ้นมา ก็เท่ากับตกงานเลยนะ ได้ไปนอนเล่นริมหาดตามความ ตัง้ ใจแรกเลยนะ ม่ายยยย ฉันไม่อยากไปทะเลแล้ว ตัว๋ เครือ่ งบินก็ซอื้ แล้ว ค่ามัดจำ�หอพักก็จา่ ยแล้ว (ทางโรงเรียนจะเอาแคตตาล็อกหอพัก มาให้ ดู ว่ า สนใจประมาณไหน โรงเรี ย นจะติ ด ต่ อ กั บ ทางหอให้ ) ถ้าพลาดก็เสียหมดเลย ตอนจะเซ็ น ใบลาออกนี่ มั น หวิ ว ๆ รู้ สึ ก เหมื อ นกำ � ลั ง จะ ฆ่าตัวตายชัดๆ แต่อกี ใจก็คดิ ว่า เฮ่ย ไม่เอาน่า อย่าป๊อด ชีวติ แบบนี้ มันน่าเบื่อนะ คอมฟอร์ตโซนก็จริง แต่จะอยู่อย่างนี้ทั้งชีวิตเรอะ 21
ออกไปดูโลกไป๊ ไปเลือกก่อนว่าชอบอะไร ไปคิดดูว่าที่ทำ�ๆ อยู่ ทุกวันนี้มันใช่มั้ย อยู่แค่บ้านกับที่ทำ�งานมันไม่ได้เห็นอะไรหรอกแก บางทีเราอาจจะยังไม่รู้ว่าต้องการอะไร ตอนนี้อาจจะกำ�ลังหลอก ตัวเองอยูก่ ไ็ ด้ ไปเถอะแก ออกนอกลูน่ อกทางไปซะก่อนจะหมดเวลา เลือกเองบ้าง (พูดกับตัวเองอีกแล้ว) เหมือนมีตัวมารตัวเล็กๆ ยุแยง อยู่ข้างหู ขณะที่จรดปากกาเซ็นชื่อในช่องสุดท้าย เห็นทางเดินแยก ออกเป็นสองทางข้างหน้า ต้องเลือกจริงจังแล้วเว้ย ไม่ซ้ายก็ขวา ยึกยักยึกยืออยูไ่ ม่ได้แล้ว ฮว้ากกกก! จะบอกว่าเป็นการเซ็นชือ่ ทีร่ สู้ กึ ว่าปากกามันหนักทีส่ ดุ ก็ดเู ว่อร์ไป แต่แค่เซ็นชือ่ นีม่ นั ทำ�ให้รสู้ กึ เหนือ่ ย ได้จริงๆ นะ เหมือนต้องใช้แรงใจโคตรเยอะเลย วั น เสาร์ ถั ด มาทางโรงเรี ย นก็ นั ด นั ก เรี ย นที่ จ ะไปเรี ย น รอบต่อไปมาปฐมนิเทศทีอ่ อฟฟิศสาขาอโศกก่อนไปญีป่ นุ่ (แม้จะยัง ไม่รู้ผลวีซ่าก็ตาม) ให้มาเจอหน้ากัน ก็ดี จะได้เจอว่าที่รูมเมตซะที เพราะหอที่จองไปถึงจะเล็กแต่ก็แพงเหลือเกิน ต้องหาคนหารด้วย เจ้าหน้าที่เล่าว่าเมื่อก่อนทางโรงเรียนก็เคยมีหอให้นักเรียน เช่าพักนะ แต่กิจการมันวุ่นวาย ก็เลยปิดไป แล้วให้นักเรียนมาใช้ บริการหอพักของบริษทั นีแ้ ทน แล้วก็โชคดีโ๊ ชคดี มีอยูห่ นึง่ คนทีก่ �ำ ลัง หาเพื่อนหารค่าห้องอยู่พอดี ส่วนคนอื่นๆ เค้ามีพ่อแม่ญาติพี่น้อง ที่ญี่ปุ่นกันอยู่แล้ว ก็ไปอยู่กินกับเค้าได้เลย ลองพยายามเปิดประวัติ พงศาวดารดูว่ามีคนญี่ปุ่นหลงเข้ามาในตระกูลบ้างมั้ย เผื่อจะได้เอา ผลตรวจดีเอ็นเอไปแสดงความเป็นเทือกเถาเหล่ากอขออาศัยอยูด่ ว้ ย แต่ก็ไม่ช่วยอะไรเลย ต้นตระกูลขึ้นเรือสำ�เภามาจากเมืองจีนกัน ทั้งนั้น ก็เลยเหลือผมกับว่าที่รูมเมตนี่แหละที่หัวเดียวกระเทียมลีบ ไปแบบไร้ญาติขาดมิตร ซึ่งมารู้ทีหลังว่ารูมเมตผมก็มีแม่อยู่ที่ญี่ปุ่น 22
แต่บ้านอยู่ไกลจากโตเกียว ใช้เวลาเดินทางไปโรงเรียนค่อนข้างนาน เช่าหออยูส่ ะดวกกว่า เลยกลายเป็นว่ามีผมคนเดียวนีแ่ หละทีไ่ ม่รจู้ กั ใครในญี่ปุ่นเลย ฮือๆๆ เศร้า ผมชอบพวกวันแรกพบ วันปฐมนิเทศมาก รู้สึกว่านี่คือการ ถูกลิขิตจากอะไรสักอย่าง เป็นช่วงที่สวรรค์ขี้เกียจเขียนเรื่องผูกโยง ให้คนมาเจอกัน แบบ คนโน้นเป็นเพื่อนคนนู้น ก็เลยมารู้จักกับคนนี้ คนนีเ้ ป็นพีข่ องคนนัน้ เลยรูจ้ กั กัน ไรงี้ อันนีม้ นั ไม่ใช่ มันเป็นใครก็ไม่รู้ ที่อยู่ๆ ก็ถูกจับมาเจอกัน แล้วบอกว่า ต่อไปนี้พวกแกคือเพื่อนกัน แกต้องรู้จักกันเดี๋ยวนี้! เออ สนุก ชอบการได้เจอคนแปลกหน้า ชอบการเรียนรู้กัน จากศูนย์ เป็นเพื่อนที่เราสร้างเองกับมือ ได้เห็นมิตรภาพปฏิสนธิ ตั้งแต่วันแรก แล้วก็ได้ลุ้นว่าเมื่อหมดเวลา เพื่อนคนไหนที่จะอยู่ กับเราเป็นคนสุดท้าย (สังเกตแมะว่าเพื่อนที่เราเจอแรกๆ ในวัน ปฐมนิเทศ แล้วสนิทสนมคุยกันถูกคอ มักจะไม่ใช่คนเดียวกับเพื่อน ที่เราสนิทด้วยในวันปัจฉิมนิเทศ) วันนีก้ ด็ ว้ ย สวรรค์คงขีเ้ กียจ จัดให้คนสามสิบคนทีอ่ ยูใ่ นห้องนี้ ได้เจอกันไปอย่างน้อยหนึ่งปี ใครเป็นใครยังไงบ้างเดี๋ยวเราคงได้ไป เรียนรู้กันที่นู่น วันนี้มาดูๆ หน้ากันไว้ก่อน เหมือนถูกจับไปปล่อย เกาะเหมือนกันแฮะ จะทำ�ตัวเหมือนตอนมหา’ลัยที่พอเซ็งเพื่อน ที่คณะ ก็หนีไปเที่ยวกับเพื่อนสมัยมัธยมยังงี้ไม่ได้แล้วสินะ แต่วันนี้คนสำ�คัญที่อยากเจอมากที่สุดคือรูมเมต เพราะคง ต้องอยู่ด้วยกันมากที่สุด ต่อให้เกลียดก็คงหนีกันยาก พอเจ้าหน้าที่ แนะนำ�ผมกับรูมเมตให้รจู้ กั กัน และได้เห็นหน้าครัง้ แรกเท่านัน้ แหละ ความรู้สึกแรกคือ กลัวคนคนนี้มาก! 23
อยากให้นึกภาพตาม เขาเป็นชายสูงประมาณ ๑๘๐ ผิวสี ดำ�แดงเหมือนพี่ๆ คนงานก่อสร้างที่ตากแดดทำ�งานทั้งวันแล้วกลับ บ้านไปกินเหล้าจนตัวแดงไรงี้ ผมฟูแบบสิงโต แถมทำ�สีทองทั้งหัว ใส่คอนแท็กเลนส์สีฟ้า เสื้อยืดข้างในสีขาว เสื้อนอกและกางเกงหนัง สีด�ำ ใส่เข็มขัดตอกหมุดสีเงิน รองเท้าหนังจระเข้สดี �ำ ปลายโง้งแหลม เจาะหูใส่ตมุ้ หูทอง แหวนทองเต็มทัง้ สิบนิว้ สร้อยทองห้อยพญาครุฑ อันใหญ่มาก และกันคิ้ว โอ้ พระเจ้าาาาา ตุ๊ดยักษ์ที่ไหนวะเนี่ย! แต่เปล่า พอคุยแล้วมันไม่ได้เป็นตุ๊ด มันชื่อดาฟ มันบอกว่า แต่งตัวแบบนี้เพราะชอบสไตล์ของพวกหนุ่มโฮสต์ (พวกที่เชียร์แขก สาวๆ กินเหล้าตามย่านบันเทิง) อือ ถ้าแกแต่งแบบนี้ที่ญี่ปุ่นมันคง ไม่แปลกหรอก แต่แต่งแบบนีไ้ ปไหนต่อไหนในเมืองไทยนีแ่ กแม่งเป็น จุดเด่นไปนะ เซลฟ์เกิน๊ แต่คยุ ไปคุยมาชักสนุก เหมือนได้คยุ กับเพือ่ น บ้าๆ แต่ซื่อๆ ขัดกับภาพที่เห็นโดยสิ้นเชิง ตอนเลิกประชุม ดาฟชวนติดรถไปด้วยเพราะไปทางเดียวกัน พอเดินไปถึงที่จอดรถ มันกดสัญญาณปลดล็อก ปี๊บปี๊บ ไอ้คันที่ กะพริบไฟสีส้มตอบสนองสัญญาณรีโมตคือรถเบนซ์รุ่นใหม่เอี่ยม แวววาวสีเงินตรงหน้า! งั้นไอ้ทองที่ใส่ๆ ตามคอตามนิ้วมันนี่ก็ของ จริ ง น่ ะ สิ ! ม่ า ยยยยย ในขณะที่ ยั ง ตกใจไม่ ห าย ดาฟก็ บ อกว่ า มีอะไรจะสารภาพเพราะต้องอยู่ด้วยกันอีกนาน ไม่อยากมีความลับ ดาฟบอกว่าทีจ่ ริงแล้วมันชือ่ อาร์ต “แต่ถา้ ไปอยูท่ ญ ี่ ปี่ นุ่ ให้เรียกผมว่า ดาฟนะ ถ้ามีใครมาถามหาอาร์ตให้บอกไปว่าไม่รู้จักนะ” แกเป็น ลูกเต้าเหล่าใครกันไอ้ดาฟฟฟฟ ล...แล้วที่มาเช่าหอรูหนูอยู่กะกูเนี่ย ที่จริงตบรถตบทองชาวบ้านมาแล้วจะหนีไปกบดานที่ญี่ปุ่นใช่ป้ะ? กูรู้นะ อย่าเพิ่งออกรถ! ขอโทรหาตำ�รวจแป๊บ! 24
ป.ล. วันนี้กว่าจะถึงบ้านได้หลงทางไปสองสามชั่วโมง จะไป เกษตร ดาฟพาหลงขึ้นทางด่วนไปออกมอเตอร์เวย์ ป.ล. อีกที หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ได้รับข่าวดีว่าวีซ่าผ่านแล้ว ตื่นเต้นชะมัด
25
26
27
458
ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ เป็นช่างภาพนิตยสาร a day / ชอบเล่นเลโก้ / หลงรักวิทยาศาสตร์ มีความสุขเวลาที่ได้เดินข้ามห้าแยกชิบุยะ มีแมวสองตัว ชื่อ เรืองศักดิ์กอนซาเลซ กับ มิซาเอะโนซอรัส มี ‘ทัศน | ศึกษา’ เป็นพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มแรก มีแฟนเพจเฟซบุ๊กชื่อ aberabbit ที่เป็นชื่อเดียวกับใน instagram
459
460
ขอบคุณ • พ่อกับแม่ที่สนับสนุนอย่างดี ทั้งแรงเงินและแรงใจเสมอๆๆ มา และ น้าตาที่เป็นธุระเรื่องหลักฐานการเงินให้ • พี่ โ หน่ ง พี่ ปิ ง ปอง พี่ ก้ อ ง และชาว a day ที่ ใ ห้ โ อกาสได้ ไ ปญี่ ปุ่ น ทำ�ให้ตกหลุมรักจนต้องออกเดินทาง แต่บางทีกอ็ ยากไปทีอ่ น่ื บ้าง อยากตกหลุม รักที่อื่นบ้างอะฮะ ไม่เห็นได้ไปที่อื่นมั่งเลย • พี่บิ๊กและชาว a book ที่ดูแลการผลิตและเข้าใจผม ฮ่าๆ • อาจารย์ทากาโกะ อิโนะอุเอะ อาจารย์ภาษาญี่ปุ่นคนแรก ที่สดใส ยิ้มแย้ม และอารมณ์เย็น ทำ�ให้ผมไม่กลัวที่จะพูดคุยโต้ตอบและอยากไปเรียน เสมอๆ ขอบคุณอาจารย์ที่ญี่ปุ่นทุกๆ ท่าน และเจ๊เมีย ผอ. ที่อดทนเคี่ยวเข็ญ เหล่านักเรียนไทยที่สอนโคตรยากให้รู้ภาษา และเชียร์จนผมได้ทุนการศึกษา • พี่อาทิตย์ที่ไปรอรับผมในวันแรกที่มาถึงโตเกียว และคอยดูแลเรื่อง ความเป็นอยู่ต่างๆ อย่างดีมาตลอด ถ้าไม่มีพี่ ญี่ปุ่นคงอยู่ยากกว่านี้มาก • พี่ปุ่น แอน หน่อไม้ ดาฟ ชางชาง ตี๋ หรั่ง เป้ แม็กกี้ ฟ็อกซ์ ลูกน้ำ� เจี๊ยบ หลิน รุ้ง พี่ปอ นัย กิฟท์ นาเดียร์ ต้อม แนน แบล็ค เจ นาวีน อัลเบอร์โต้ อุ๊กกี้ มินฮี คาฮี มิจิน เซฮยอง อาหล่าง สุจิตรา เซปตี้ ดารา โอเด็ต ลีเอ็น คุณนาย พี่เอี้ยง พี่เบิร์ด วีน ฮิโตะเดะ อาร์ม โล่ห์ พี่แก้ว หนึ่ง พี่อั๋น แพรว แพน บุ๋ม ที่ผลัดกันมาสนุก มาเรื้อน มาเกรียน ออกไปเที่ยวกันบ่อยๆ แล้วเจอกันอีกนะ (ใครก็ได้ช่วยแปลเป็นภาษาอินเดีย อิตาลี เกาหลี อินโดนีเซีย และจีนให้ที) • เบส และ ก้อง ที่ร่วมลื่นแล้วลื่นอีกในฮอกไกโดด้วยกัน ยัม และ ซิน ที่อดมาลื่นด้วยกัน หวายๆๆ • ผูอ้ า่ น ทัศน | ศึกษา แล้วตามมาอ่านเล่มนี้ ขอบคุณครับ กราบบบบบบ • ผู้ที่กำ�ลังอ่านเล่มนี้ แม้จะไม่เคยอ่าน ทัศน | ศึกษา หวังว่าจะชอบครับ • และขอบคุ ณ ประเทศญี่ ปุ่ น ที่ ส อนให้ ผ มเติ บ โตด้ ว ยตั ว เอง ได้ เปลี่ยนแปลงตัวเอง และที่สำ�คัญคือขอบคุณที่ไม่มีระบบทิป ฮ่าๆ เลิฟนะ
461
ウォーキングオンザサン walking on the sun
ทุกๆ วันบนดวงอาทิตย์ ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ
หนังสือในชุด Journey พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2558 ราคา 325 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-105-1 ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ. Walking on the sun ทุกๆ วันบนดวงอาทิตย์. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2558. 464 หน้า. 1. ญี่ปุ่น--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. 2. ญี่ปุ่น--ความเป็นอยู่และประเพณี I. ชื่อเรื่อง. 915.2 ISBN 978-616-327-105-1 ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล บรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย บรรณาธิการศิลปกรรม บพิตร วิเศษน้อย ภาพถ่าย ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ ศิลปกรรม เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ พิสูจน์อักษร ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ สื่อสารการตลาด เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ที่ปรึกษา นิติพัฒน์ สุขสวย ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ วิมลพร รัชตกนก ลูกค้าสัมพันธ์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-0690 แยกสีและพิมพ์ บริษัท ทีเอส อินเทอร์พริ้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2174-6060 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999