คำ� นำ� สำ� นัก พิมพ์
ในขณะที่คนส่วนใหญ่อย่างเราๆ มักเดินทางไปทำ�ความรู้จักญี่ปุ่น เป็นเวลาสัก 1 สัปดาห์ ผ่านพิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ห้างร้าน เดินสกิ๊ปๆ แกว่งไกวถุงช้อปปิ้ง นัท ศุภวาที ตัดสินใจลาออกจากงาน เดินทางไปใช้ เวลา 88 วันเพื่อทำ�ความรู้จักญี่ปุ่นผ่านจอบเสียม เครื่องตัดหญ้า และพลั่ว โกยหิมะ ตามวิถีชีวิตฟาร์มเมอร์ชาวญี่ปุ่น หนึง่ หมาป่าหนุม่ จากเมืองไทยพาเราเดินทางไปสัมผัสความเป็นญีป่ นุ่ ในแง่มุมที่น้อยคนนักจะได้เห็น แม้ญี่ปุ่นยังคงสุภาพ ถ่อมตัว แต่คราวนี้ กลับสลัดความเก๋ไก๋ท่ีคุ้นเคยทิ้งไป แล้วเปิดโอกาสให้เรารู้จักกันในระดับ ที่เปื้อนฝุ่นมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่รายละเอียดทางข้อมูลเท่านั้นที่หมาป่าตัวนี้เก็บมาเล่าให้ฟัง อย่างออกรส แต่รายละเอียดในเชิงความรูส้ กึ หมาป่านัทก็เก็บมาเล่าให้ผอู้ า่ น อย่างเราได้สัมผัสเหมือนนั่งดูเขาทำ�ฟาร์มไปคุยกับเพื่อนไปพลางอยู่ต่อหน้า นั่นทำ�ให้เรื่องราวตลอดเวลากว่าสามเดือนนี้มีทั้งสุข เศร้า เหงา ซึ้ง ผสมกลมกลืนกันอย่างน่าติดตาม สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
คำ� นำ� หมา ป่า
เคยมีสถานที่ที่ ‘อยู่แล้วสุขใจกว่าอยู่บ้าน’ ไหมครับ? ผมเชื่อว่าตอนนี้คงมีหลายคนแย้งว่า “จะบ้าเหรอ! เขามีแต่ ‘อยู่ที่ไหน ก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา’ ไปอยู่ที่อื่นจะสุขใจกว่าที่บ้านได้ยังไงกัน!” แลดูเหมือนจะเป็นประเด็นคำ�ถามที่อาจทำ�ให้บ้านแตกได้ แต่ ผ มแค่ คิ ด ว่ า ที่ จ ริ ง ความสุ ข มั น เกิ ด ขึ้ น ได้ ทุ ก ที่ หากเรารู้ ตั ว ว่ า เรากำ�ลังอยู่ที่ไหน เรากำ�ลังทำ�อะไร ที่สำ�คัญคือ เราจะอยู่ที่นั่นให้มีความสุข ได้อย่างไร ความสุขไม่ได้เกิดจากความสะดวกสบาย เพราะเราก็ยังเห็นคนใน ท้องที่กันดารที่ยังยิ้มและมีความสุข หรือคนบางกลุ่มที่ต้องทำ�งานหามรุ่ง หามค่�ำ จนไม่มเี วลาส่วนตัว (อย่างเช่น...เอ่อ...ชาวอะบุก๊ เป็นต้น) แต่พวกเขา ก็ยังมีความสุขเพราะเลือกจะอยู่กับสิ่งที่พวกเขารัก ผมมีโอกาสได้ไปญี่ปุ่นในแบบที่น้อยคนนักจะเคยได้ไป ไม่ได้แวะชม ย่านยอดฮิต ไม่มีความทันสมัย ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ มีแต่ไร่นา และหิมะ 88 วันที่ต้องอยู่ญี่ปุ่นอย่างหมาป่าในครั้งนี้จึงไม่ใช่การใช้ชีวิตแบบ เทีย่ วสนุกลุกนัง่ สบาย แต่เต็มไปด้วยความเหนือ่ ยกายจากการทำ�งานในฟาร์ม ทุกวัน แต่นี่กลับเป็นการอยู่ญี่ปุ่นที่ผมมีความสุขที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตเลย ทีเดียว เป็นความสุขที่อธิบายโดยสังเขปค่อนข้างยาก ผมจึงอยากชวนคุณ ผู้อ่านให้ไปลองอยู่ญี่ปุ่นอย่างหมาป่าด้วยกันสักครั้ง เผือ่ จะช่วยให้เรานึกออกได้วา่ ยังมีทไ่ี หนอีกบ้าง ทีเ่ ราอยูแ่ ล้วเป็นสุขใจ นัท ศุภวาที
CONTENTS หัวใจไม่ใช่ขี้ไก่ เหยียบลงไปบางทีก็ฝ่อ ไม่เคยไม่พร้อม เพื่อนไม่เก่า คิดไม่ผิด สิบสองชั่วโมงที่แสนยาวนาน สิบสองชั่วโมงก็ยังไม่พอ แล้วการเดินทางก็เริ่มต้น น้ำ�ใจยังมีทุกพื้นที่ญี่ปุ่น หิมะท่วมหัว เอาตัวให้รอด มหันตภัยของคนเมืองร้อน ของขวัญ Let it go, Let it go, Can’t hold it back anymore. หมาป่าบุกสวนผัก กุกกักตึกตึกกึกกึกตึกตัก ถูกชะตา หนักเกินไปแล้ว เกินจะแบก ชายผู้มองอะไรก็เป็นโน้ตดนตรี ด้วยความนับถือ SNOW WAR สั่น (ไม่) สู้ เด็กสาวที่จากไป และคนใหม่ที่ก้าวเข้ามา
10 16 20 24 28 34 40 44 50 54 58 62 66 70 74 78 82 86 90 94 100
สายน้ำ�ไม่ไหลกลับ มาหาสึนามิ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโรงเรียนธรรมชาติคุริโคมะ แกงเขียวหวานสานสัมพันธ์ ถูกชะตาและไม่ถูกชะตา ไต่ภูเขาหิมะ ค่ำ�คืนแห่งน้ำ�ตา ดูแลความฝันกันให้ดี ผิดแผน ฟาร์มเอ๋ยฟาร์มหนาว ยินดีต้อนรับสู่ฟาร์มของครอบครัวชิราโทริ ไก่จ๋า ได้ยินไหมว่าเสียงใคร กินดีอยู่ดี วันเว้นวัน ต้มข่าไก่ใส่คำ�ขอบคุณ วันที่เขาป่วย กลับเมืองไทยในหนึ่งชั่วโมง คุณมีความสุขกับสิ่งที่ทำ�ไหม สุขสงบที่อาโอโมริ ก่อนวันสุดท้ายจะมาถึง จนกว่าจะพบกันใหม่
104 110 116 120 124 130 134 140 144 148 154 160 164 168 172 178 182 188 192 200 204
ฝากชีวิตไว้กับเบาะนั่งและพนักพิง หมาป่าเข้าฝูง บ้านเล็กในป่าใหญ่ แค่ครึ่งเท่านั้น โลกใหญ่พอให้เราได้ออกไปเรียนรู้ วูฟเฟอร์เนิร์สเซอรี ดนตรี เบเกอรี่ ธรรมชาติ เดชไอ้ด้วน Everything is gonna be all ride อร่อยเพลินเกินห้ามใจ ชายผู้ออกเดินทางมาตลอดชีวิต สภาวะไร้น้ำ�หนัก แอฟริกาพาเพลิน ดื่มด่ำ�อย่างล้ำ�ลึก สุขย้อนแสง รถไฟฟรี (ไม่ได้มาจากภาษีประชาชน) บ้านพักมีดาวเท่าไก่ย่าง ไทยแลนด์สแตนดาร์ด ดุจดั่งเตรียมการ
208 214 218 222 226 232 238 244 250 256 262 266 270 274 280 284 290 294 298
ตัดหญ้าท้าดวงอาทิตย์ วิวสวยไม่ช่วยอะไร ขยันหมั่นเที่ยว ราชรถมาเกย จากสองสาวเป็นสองหนุ่ม หน่วง ไม่คาดหวังคือคาดหวัง จากหมาป่าเป็นหมาป่วย สุขสนานในสวนสนุก เพื่อน ก่อนความอดทนจะขาดสะบั้น มื้อพิเศษกับคนพิเศษ ก้าวหนึ่ง อยู่ญี่ปุ่น อย่างหมาป่า
304 310 316 322 326 330 336 342 348 354 360 366 370 374
หัวใจไม่ใช่ขี้ไก่ เหยียบลงไปบางทีก็ฝ่อ
11
“หนาวฉิบ!” คำ�พูดแรกเมือ่ ก้าวเท้าออกจากสนามบินนานาชาตินาริตะ ไม่ใช่ค�ำ ว่า “สวัสดีญี่ปุ่น เรามาถึงแล้ว งุงิ” แต่เป็นคำ�นี้ – หนาวฉิบ ผม เพื่อนสาวหนึ่งคน และเพื่อนสาวหล่ออีกหนึ่งคน ต่างอุทาน ออกมาเป็นเสียงเดียวกัน อาจดูเหมือนว่าเราทั้งสามคนแค่เดินทางมาเที่ยวเฉยๆ จะว่าไป ก็ใช่ครับ (อ้าว) แต่ผมเองมีจุดหมายมากกว่านั้น คือหลังจากล่องทั่วญี่ปุ่น ครบ 10 วันแล้ว เพื่อนทั้งคู่ก็จะโบกมือสวยๆ ลากลับประเทศไทย ส่วนผม จะยังอยู่ต่ออีก 78 วัน …เพื่อจะไปเป็นหมาป่า ครับ หมาป่าทีว่ า่ หมายถึง วูฟเฟอร์ (WWOOFer) ในโครงการ WWOOF ที่ประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง
12
WWOOF ย่อมาจาก World Wide Opportunities on Organic Farms เป็นโครงการที่ต้อนรับอาสาสมัครจากทั่วโลก ที่ต้องการช่วยเหลือ เรียนรู้ และศึกษาวิธีการทำ�ฟาร์มออร์แกนิกกับเจ้าของฟาร์มจริงๆ ในแต่ละประเทศ มีจุดเด่นที่เราสามารถพักอยู่กับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของฟาร์ม (Host) ได้เลย นั่นแปลว่า ตลอดเวลาที่ทำ�งานกับโฮสต์ เราจะไม่ต้องเสียค่ากินอยูใ่ ดๆ อีก และนอกจากญี่ป่นุ แล้ว ตอนนี้วูฟยังมีสมาชิกมากกว่าห้าสิบประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย … พวกผมมาถึงนาริตะตัง้ แต่บา่ ยสอง แต่กว่าจะถึงทีพ่ กั ก็ปาเข้าไปเกือบ หกโมงเย็น แม้ว่าตามหลักเดือนมีนาคมจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว แต่ด้วยปีนี้ ความกดอากาศต่ำ�ยาวนานเป็นพิเศษ ทำ�ให้อากาศทั่วโลกหนาวเย็นอย่าง ต่อเนือ่ ง ทีโ่ ตเกียวตอนนีจ้ งึ มีอณ ุ หภูมติ �ำ่ กว่าสิบองศาเซลเซียส และดวงอาทิตย์ ก็ลับขอบฟ้าตั้งแต่ห้าโมงเย็น การเที่ยวญี่ปุ่นของเราสามคนในวันแรกจึงไม่ได้ไปไหน นอกจาก ละแวกอาซากุสะ (Asakusa) และอิเคะบุคุโระ (Ikebukuro) ซึ่งไม่ไกลจากที่พัก มากนัก ก่อนจะแวะหามื้อเย็นกิน เราเลือกหาซูชิลงท้องเพื่อให้เหมาะสมกับ มื้อแรกในดินแดนอาทิตย์อุทัย ผมกลั บ มาที่ ห้ อ งพร้ อ มกั บ ความรู้ สึ ก หนึ่ ง อยู่ ๆ ก็ รู้ สึ ก ว่ า ตั ว เอง ยังไม่พร้อมจะไปวูฟเสียอย่างนั้น ในใจเริ่มวิตกกังวลต่างๆ นานาว่าจะเกิด อะไรขึ้นในวันข้างหน้าบ้าง เริ่มไม่มั่นใจในศักยภาพที่ตัวเองมี เริ่มเป็นห่วง ที่บ้าน ทั้งๆ ที่เพิ่งมาอยู่ที่นี่ได้แค่วันเดียว เรียกว่าใจฝ่อตั้งแต่ยังไม่เริ่ม “จะว่าไปมึงก็ใจเด็ดเนอะ ได้เป็นเมเนเจอร์แล้วแท้ๆ ลาออกซะงั้น” เพื่อนทอมตัวดีหันมายกย่องแกมเหน็บเบาๆ “ตอนนั้นมึงคิดอะไรอยู่วะ” “…ไม่รเู้ หมือนกันว่ะ รูต้ วั อีกทีกกู ย็ น่ื ใบลาออก ซือ้ ตัว๋ เครือ่ งบิน ทำ�วีซา่ วางแผนวูฟแล้วก็ชวนพวกมึงมาเลยเนี่ย”
13
พูดไป ผมก็คิดตามไปด้วย และมันก็ยิ่งทำ�ให้ตัวเองรู้สึกว่า เราเลือก เดินทางถูกแล้วใช่ไหมวะเนี่ย เหมือนคนนิสัยเสียที่ชอบคิดสร้างสถานการณ์เลวร้ายที่สุดเอาไว้ ล่วงหน้า ทีแ่ ย่กว่านัน้ คือ เวลาเจอเรือ่ งร้ายหรือเกิดเหตุผดิ พลาดอะไรเข้าจริงๆ ก็มักจะโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง ทั้งๆ ที่บางครั้งไม่ใช่ความผิดใครเลย แต่ก็หยิบเรื่องนั้นมาปวดหัวปวดใจแบกเอาไว้ให้หนักไหล่เล่นอยู่คนเดียว ก่อนเข้านอน เหมือนเพือ่ นร่วมทริปทัง้ สองคนจะจับสังเกตความเครียด บนใบหน้ า ที่ แ สดงผ่ า นรอยย่ น บนหน้ า ผากได้ จึ ง เอ่ ย ปากถามกั น ตรงๆ ตามประสาเพื่อน “มึงเป็นอะไรเปล่าวะ อยู่ดีๆ ก็เงียบ” “อยู่ๆ ก็รู้สึกไม่พร้อมไปวูฟว่ะ” “ไม่ทนั ละ จะมาไม่พร้อมอะไรตอนนี”้ เป็นคำ�ปลอบใจทีฮ่ าร์ดคอร์มาก “หรือมึงจะกลับพร้อมพวกกูล่ะ เดี๋ยวกูเป็นธุระเลื่อนตั๋วให้ก็ได้นะ” อีกคำ�ปลอบใจแบบหักดิบของเพื่อนทอมปากร้าย “ก็ไม่ใช่ว่าอยากกลับเว้ย แต่มันเหมือนกูไม่มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจ สักเท่าไหร่เลย ยังไม่ได้ศึกษาอย่างถี่ถ้วนก็มาอยู่ญี่ปุ่นซะแล้ว” ใช่ครับ ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ หลังออกจากงาน ผมมีเวลาว่างแค่ ห้าวันก่อนเดินทาง ในห้าวันนั้นผมยังคงต้องเคลียร์งานบางส่วนที่ยังไม่จบ ด้วย และนั่นทำ�ให้ผมใช้เวลาทั้งหมดที่มีไปกับการทำ�งาน ไม่ได้เรียนรู้เรื่อง WWOOF Japan มาอย่ า งเพี ย งพอ เหมื อ นคนขั บ สิ บ ล้ อ ตอนกลางคื น ที่ขนสัมภาระมามากมาย แต่ไฟส่องทางดันเสีย รู้แค่ว่ากำ�ลังวิ่งอยู่บนถนน แต่ไม่เห็นว่าข้างหน้าจะเจออะไรบ้าง “เพิ่งมาถึงวันแรกจะคิดอะไรมากมายว้า เดี๋ยวเที่ยวๆ ไปก็ชินบ้าน ชินเมืองไปเองแหละ จะมากลัวอะไรเอาตอนนี้” “ชีวิตในญี่ปุ่น 88 วันของมึงจะต้องสนุกที่สุดๆ แน่ ถ้าลาออกจาก งานได้ กูไปกับมึงแล้วเนี่ย”
14
นัน่ สินะ จะคิดมากไปทำ�ไม มีโอกาสมาวูฟถึงญีป่ นุ่ ทัง้ ที ก็ควรเก็บเกีย่ ว ประสบการณ์จากโอกาสนี้ให้มากๆ ไม่ใช่หรือ ไม่นา่ เชือ่ แค่ค�ำ พูดง่ายๆ ไม่ตอ้ งประดิดประดอยใดๆ กลับทำ�ให้หวั ใจ ชุ่มชื่นแข็งแรงขึ้นมาได้ เมื่อออกมาจากปากของคนที่ได้ชื่อว่า ‘เพื่อน’
สามารถศึกษาข้อมูลการไป WWOOF ที่ญี่ปุ่นได้ที่ wwoofjapan.com
ไม่เคยไม่พร้อม
17
ห ากมี ร ายการเรี ย ลิ ตี้ แ ข่ ง เที่ ย วญี่ ปุ่ น เกิ ด ขึ้ น คาดว่ า เราสามคน คงได้เป็นแชมป์ สิบวันของการท่องเที่ยว เราทั้งสามคนเที่ยวราวกับชีวิตของพวกเรา จะไม่มวี นั ทีส่ บิ เอ็ด เราตืน่ นอนก่อนพระอาทิตย์ขน้ึ และไม่กลับทีพ่ กั หากนาฬิกา ของซินเดอเรลล่ายังไม่ดัง เดินทางไปหลากหลายเมืองที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ โตเกียว เกียวโต โอซาก้า โยโกฮาม่า คามาคุระ นิกโก ฮาโกเนะ ทาคายามะ ชิราคาวาโกะ ผมคิดว่าต้องมีกลุ่มเพื่อนอีกหลายแก๊งที่อยากมาเที่ยวร้อยกิโล พันลี้แบบนี้แน่ๆ เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสทำ�แบบนี้ด้วยกันอีกครั้ง เมื่อไหร่ พวกเราเคยคุยกันบ่อยๆ ว่าพลังในการเที่ยวของเรามันจะหมดไป เมื่อไหร่ เพราะในวัยที่เปรียบดั่งมะพร้าวเนื้อตัน น้องเอยมามันเอาเมื่อตอน สามสิบอย่างพวกเราก็ไม่ใช่วยั รุน่ เด็กสยามทีม่ พี ลังงานล้นเหลือ บางทีแค่เดิน ขึ้นบันไดบ้านยังหอบเลย แต่เมื่อไหร่ที่ได้เดินทางไกลไปยังสถานที่ใหม่ๆ
18
อันน่าค้นหา กำ�ลังวังชาที่เคยหายไปก็กลับมาใหม่ราวกับไปเทคฮอร์โมนมา ยังไงยังงั้น บางทีพลังงานทีเ่ กิดขึน้ ก็ไม่ได้มาจากอาหารการกินหรือฮอร์โมนทีไ่ หน แต่มาจากภาพที่เรามองเห็นตรงหน้าต่างหาก การออกไปพบโลกกว้างจึงถือเป็นแบตเตอรี่ชั้นดีของมนุษย์ วันสุดท้ายของการเทีย่ ว เราทัง้ สามคนใช้บริการชินคันเซ็นเพือ่ เดินทาง กลับมายังโตเกียวอีกครั้ง ตอนเที่ยวกับเพื่อนๆ ผมลืมความวิตกกังวลในการ ไปวูฟหลังจากนี้เสียสนิท แต่พอมีโอกาสได้นั่งรถไฟยาวๆ เงียบๆ คนเดียว ความคิดเรื่องวูฟก็กลับมาอีกครั้ง เพียงแต่คราวนี้ความรู้สึกที่มีนั้นแตกต่าง ออกไป ระหว่างทางที่ชินคันเซ็นเคลื่อนผ่าน สองข้างทางเต็มไปด้วยท้องนา สวนผลไม้ ไร่ชา และพื้นที่การเกษตรมากมาย เมื่อลองเพ่งเข้าไปใกล้ๆ ก็จะ เห็นชาวไร่ชาวนาญี่ปุ่นกำ�ลังขมีขมันเตรียมดินในแปลงนา เก็บเกี่ยวผลผลิต เท่าที่มี นั่งพักอยู่ใต้ต้นไม้ในไร่ของพวกเขาเอง ผมกำ�ลังจะได้ไปเห็นรอยยิ้มของพวกเขาใกล้ๆ ในเร็ววันนี้แล้ว รอยยิ้มของพี่ๆ น้าๆ ลุงๆ ป้าๆ ผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาวญี่ปุน ทั้งหลายกำ�ลังทำ�ผมตื่นเต้นกับโปรเจกต์วูฟที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วัน ข้างหน้า ค วามรูส้ กึ ‘ไม่พร้อม’ ในวันแรกได้สลายหายไปสิน้ เหลือเพียงแต่เสียง หั ว ใจที่ เ ต้ น ดั ง ขึ้ น ทุ ก ที และเริ่ ม อยากให้ เ วลาเดิ น ไวๆ เพื่ อ จะได้ ไ ปวู ฟ ให้คุ้มกับชีวิต 88 วันในญี่ปุ่นนี่สักที นอกหน้าต่างรถไฟ ไร่นาที่มองเห็นถูกบดบังด้วยทิวเขาอยู่สักพัก ก่อนที่ชินคันเซ็นจะเคลื่อนผ่านไปด้วยความเร็วสูง เผยให้เห็นภูเขาไฟฟูจิ ตั้ ง ตระหง่ า นท้ า สายตาอยู่ เ บื้ อ งหน้ า ไร้ ก ารปกคลุ ม จากเมฆหมอกใดๆ เจ้ า ยั ก ษ์ ใ หญ่ สี ฟ้ า หั ว ขาวโพลนกำ � ลั ง จ้ อ งมองมาทางผมที่ กำ � ลั ง ตกอยู่ ใ น มนตร์สะกดของมัน
19
เหมือนมันอยากจะบอกอะไรผมบางอย่าง แต่เราคงอยูไ่ กลกันเกินไป ผมจึงไม่ได้ยิน ไม่เป็นไร รออยู่ตรงนั้นแหละเจ้ายักษ์ เดี๋ยวจะไปฟังต่อหน้าเลย!
เพื่อนไม่เก่า
21
วันที่สิบของการท่องเที่ยว วันสุดท้ายของเพื่อนทั้งสองคนของผม วันแรกของการอยู่ตัวคนเดียวในญี่ปุ่นกับ 78 วันที่เหลือ เราทั้งสามคนเก็บกระเป๋าตั้งแต่เช้า ก่อนจะแยกกันเดินทาง เพื่อน ทั้งสองคนนำ�หน้าไปก่อนเพื่อเอากระเป๋าเดินทางไปฝากไว้กับล็อกเกอร์ ที่สถานีเคย์เซย์อุเอะโนะ (Keisei Ueno) ส่วนผมจับรถไฟมุ่งหน้าไปยัง ที่พักใหม่ที่ราคาถูกกว่าสำ�หรับพักคนเดียวในคืนสุดท้ายที่โตเกียว ก่อนออก เดินทางไปวูฟในวันรุ่งขึ้น เมื่อผมจัดการธุระของตัวเองเรียบร้อยก็เดินทาง มาหาเพื่อนที่อุเอะโนะ เพื่อส่งเพื่อนกลับบ้าน ผมร่ำ�ลาเพื่อนๆ ต่างฝ่ายต่างอวยพรให้เดินทางปลอดภัย ก่อนจะ ปล่อยให้เพื่อนเดินเข้าสถานี ผมยืนโบกมือหย็อยๆ อยู่ด้านนอกจนมอง ไม่เห็นเพื่อนทั้งสองอีกต่อไป จากนี้ อี ก เกื อ บสามเดื อ น คื อ ช่ ว งเวลาสั ม ผั ส ประสบการณ์ ใ หม่ ด้วยตัวเองผ่านสองขาสองตาหนึ่งใจอย่างแท้จริง แต่ก่อนจะไปถึงการเดินทางในวันพรุ่งนี้ วันนี้ผมทำ�อะไรดีล่ะ?
22
ไม่ต้องห่วง ผมเตรียมการไว้แล้วเรียบร้อย เย็นนี้ผมมีนัดกับเพื่อนสนิทชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งครับ สงสัยล่ะสิว่าเพิ่งมาญี่ปุ่นได้แค่สิบวัน ริอ่านคบค้าสมาคมกับคนญี่ปุ่น แล้วเหรอ แถมยังกล้าเรียกว่าเป็นเพื่อนสนิทอีกต่างหาก ต้องสนิทสิครับ ก็เรารู้จักกันมาตั้งเจ็ดปีแล้วนี่! และเราก็รู้จักกันที่ประเทศไทยนี่แหละ ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมกราคม เจ็ดปีก่อน อากาศกรุงเทพฯ ตอนนั้น ยังพอมีลมเย็นๆ ให้ชื่นใจกันบ้าง (ส่วนตอนนี้น่ะเหรอ... หึหึ) คนเพื่อนน้อย ขี้ชิลล์อย่างผม เลยใช้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ออกมานั่งอ่านหนังสือรับลม นอกบ้าน ผมไม่กินกาแฟครับ มันขม เลยขอจิบเบียร์ไปอ่านหนังสือไปแล้วกัน (เอ่อ... โหดกว่ากาแฟอีก) ผมมานั่งร้านหนึ่งย่านถนนข้าวสารตั้งแต่บ่ายสาม สั่งเบียร์เขียวหนึ่งขวด พลางอ่านหนังสือไปด้วย ฮ่าห์ โคตรมีความสุข “Excuse me, can I sit here?” ผมละสายตาจากหนังสือตรงหน้า เอี้ยวคอหันไปมองต้นตอของเสียง พบกับบุรุษหนุ่มนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งยืนจังก้าอยู่ ก่อนจะกวาด สายตาไปรอบๆ ร้าน... อ่อ โต๊ะเต็มหมดนี่เอง มีเพียงโต๊ะผมที่นั่งอยู่แค่ คนเดียว ก็เอาเลยครับ นั่งได้ครับ ยินดี ต่างคนต่างทำ�ภารกิจของตนไป ผมก้มหน้าอ่านหนังสือต่อ หนุ่มยุ่น คนนั้นก็จิบเบียร์ของพี่แกไป ผ่านไปสักพัก ผมคิดว่าหมอนีค่ งเริม่ รูส้ กึ เกรงใจ (หรืออึดอัดก็ไม่ทราบ ได้) เลยเริ่มเปิดประเด็นคุย “นั่นหนังสืออะไรน่ะ” “หนังสือสร้างแรงบันดาลใจ ของนักเขียนไทย ดังอยู่เหมือนกัน” พี่เอ๋ นิ้วกลมครับ ถ้าพี่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ขอบอกด้วยความปลาบปลื้มว่า ไอ้หนังสือที่ว่าเนี่ย คือหนังสือของพี่นะครับ
23
“ชอบอ่านหนังสือเหรอ ผมก็ชอบเหมือนกัน ดีนะ หนังสือที่ไทยถูกดี ที่ญี่ปุ่นหนังสือแพง เช่าเอาดีกว่า” และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการสนทนาระหว่างเราในวันนั้นครับ ทันทีที่ ต่างฝ่ายต่างรู้ว่าชอบหนังสือเหมือนกัน ก็เหมือนอะลาดินเจอตะเกียงวิเศษ เหมือนช้อนที่เจอส้อม เหมือนช็อกโกแลตเจออัลมอนด์ เหมือนรอน วีสลีย์ เจอแฮร์รี่ พอตเตอร์ เราคุ ย กั น ไปเรื่ อ ยๆ จนแดดเริ่ ม คล้ อ ย พระจั น ทร์ อ อกทำ � งาน เขาเอ่ยปากชวนผมไปต่อร้านอื่น แน่นอนว่าผมตอบตกลง ตอนนั้นรู้สึกว่า ตัวเองแรดมากเลยทีเดียว หมอนี่ชื่อยูตะครับ ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาปี 3 อยู่มหาวิทยาลัย เกียวโต ช่วงนี้ปิดเทอมเลยนำ�เงินจากการทำ�อะรุไบท์ (งานพิเศษ) มาเที่ยว ประเทศไทยและอีกหลายประเทศหนึ่งเดือน ก่อนกลับเราแลกอีเมลกัน แลกหนังสือกันด้วยครับ ยูตะให้หนังสือ After the Quake ของ ฮารูกิ มูราคามิ มา นับแต่นั้นผมก็กลายเป็นแฟนตัวยงของมูราคามิไปอีกคนหนึ่ง จากวันนั้นเราก็คุยเมลกันถี่มาก คุยกันมุ้งมิ้งแทบทุกวันราวกับคู่จิ้น ในโซเชี ย ลแคม เราเจอกั น เกื อ บทุ ก ปี โดยยู ต ะคุ ง จะเป็ น ฝ่ า ยบิ น มาหา (เพราะผมเองยังไม่มีปัญญาไป) มาถึงก็ไปเที่ยวต่างจังหวัดกันบ้าง มาค้าง ที่บ้านผมบ้าง จนเรียกได้ว่าเป็นเพื่อนสนิทคนหนึ่ง (ที่อยู่ไกลมาก) ของชีวิต ผมเลย แต่พอเรียนจบ เริ่มทำ�งาน ยูตะคุงก็ไม่ได้มาหากันอีก จนกระทั่งเดือนเมษายน 2013 ผมและยูตะคุงก็ได้พบกันที่ญี่ปุ่นเป็น ครั้งแรก เมื่อผมเดินทางไปแสดงความยินดีในงานแต่งงานของเขา และครั้งนี้ จะเป็นครั้งที่สองของเรา
คิดไม่ผิด
25
เรานั ด กั นตอนห้าโมงเย็น ที่ส ถานีชิน ะงะวะ (Shinagawa) แม้ ว่ า ผมจะเผื่ อ เวลาเดิน ทางมาถึง สถานีล่วงหน้า เพื่ อไม่ ให้ เ สี ย ชื่ อว่ า คนไทย ชอบไปไม่ตรงตามเวลานัด แต่ดว้ ยความทีส่ ถานีรถไฟแทบทุกสถานีในโตเกียว โดยเฉพาะสถานีหลักๆ อย่างที่นี่ มักจะมีร้านรวงน่าสนใจและซอกมุมต่างๆ ภายในสถานีให้เดินชมอยูเ่ ยอะแยะจนลืมเวลา มารูต้ วั อีกทีกเ็ มือ่ เดินทอดน่อง ถึงห้าโมงเย็น แต่ผมยังไม่อยู่ที่จุดนัดพบเลย... ภารกิจรักษาภาพลักษณ์แทนคนไทยทั้งประเทศสุดท้ายก็ล้มเหลว จนได้ (อื้อหือ คนไทยทั้งประเทศเชียว) ผมจ้�ำ อ้าวระดับสีค่ ณ ู ร้อยไปยังทางออกสถานีทนี่ ดั กันไว้ แต่ค�ำ โบราณ ‘ยิ่งรีบยิ่งช้า’ นี่ก็จริงอย่างเขาว่า อาจเป็นเพราะเผลอเดินซอกซอนทั่วสถานี อย่างกับตัวตุ่นชอนไชโลกใต้ดินจนจำ�ทางเดินไปจุดนัดพบไม่ได้ ทำ�ให้มั่ว งง หลงทิศในนัน้ อยูเ่ กือบสิบนาทีกว่าจะหลุดพ้นออกมาได้ ในทีส่ ดุ ผมก็มาถึง จุดนัดพบตอนห้าโมงสิบนาที แต่ไม่เห็นจะมีใครยืนอยู่ตรงนั้น ไม่มีแม้แต่เงา!
26
หรือว่าเรามาช้าไป ยูตะคุงกลับไปแล้ว? หรือว่าเรามาผิดที่ ความจริงไม่ได้นัดที่ทางออกนี้? หรือว่า หรือว่า หรือว่า ในหัวมีแต่คำ�ว่า ‘หรือว่า’ เต็มไปหมด เพราะ ได้ยินกิตติศัพท์เรื่องความตรงต่อเวลาของคนญี่ปุ่นมาเยอะ เลยคิดว่าครั้งนี้ เราคงเป็นฝ่ายผิดเต็มๆ จะโทรหาก็ไม่มีโทรศัพท์เสียอีก ผมยืนอยูห่ น้าทางออก ลมหนาวปะทะจนหน้าชา มือแข็ง แต่พดู ตรงๆ ตอนนั้นกลับรู้สึกร้อนรุ่มมาก เม็ดเหงื่อเริ่มผุดออกตามรูขุมขนทั่วร่างกาย ท่ามกลางอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส “เฮ้” เอ๊ะ เสียงคุ้นๆ หันไปทีต่ น้ ตอของเสียง ยูตะคุงกับเอรินะจัง ภรรยาของเขากำ�ลังเดินมา “เป็นยังไงบ้าง ไม่ได้เจอกันตั้งนาน โทษทีว่ะมาช้าไปหน่อย พอดี ออกผิดทางน่ะ เลยต้องเดินอ้อมสถานีมาตรงนี้” เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือคนมาช้ายังมีคนหลง แถมมันยังเป็นคนญี่ปุ่นผู้เคร่งเรื่องเวลาเสียด้วยสิพับผ่า! เรายืนคุยกันตรงนั้นเล็กน้อย ก่อนที่ลมหนาวจะพัดแรงขึ้นเรื่อยๆ จน เราสามคนต้องเข้าไปหลบหนาวและนั่งคุยกันให้ฉ่ำ�น้ำ�ลายที่ร้านเบอร์เกอร์ สัญชาติญี่ปุ่นละแวกนั้น เราแลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างกัน อัพเดตความเป็นไปของชีวิต ในช่วงเวลาที่ไม่ได้พบหน้ากันว่าเป็นอย่างไรบ้าง ชีวิตคู่หลังแต่งงานมาเกือบ หนึ่ ง ปี ข องยู ต ะมี ค วามสุ ข ดี ไ หม ชี วิ ต การทำ � งานและการศึ ก ษาของผม เป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรือ่ งการมาวูฟทีญ ่ ปี่ นุ่ ของผมซึง่ ดูเหมือนยูตะจะสนใจ เป็นพิเศษ “คนไทยนิยมมาทำ�วูฟเหรอ” ยูตะคุงถามด้วยความสงสัย “เปล่าเลย ที่จริงน้อยคนจะรู้จักด้วยซ้ำ�” “แต่นายก็รู้จัก”
27
ผมยิ้มแทนคำ�ตอบ “แล้วทำ�ไมนายถึงมาวูฟล่ะ” “ก็ชอบญี่ปุ่น นายก็รู้นี่ มันคือเหตุผลใหญ่เหตุผลเดียว พอชอบแล้วก็ รู้ สึ ก อยากลงลึ ก อยากรู้ วิ ถี ชี วิ ต วั ฒ นธรรม ความเป็ น อยู่ การมาเป็ น อาสาสมัครวูฟนี่แหละ เป็นหนทางที่ดีที่จะได้เข้าถึงชีวิตของคนญี่ปุ่นจริงๆ แบบที่ไม่ต้องเสียเงินมากมายอะไร” “เจ๋ ง ว่ ะ ขนาดเราเป็ น คนญี่ ปุ่ น เรายั ง ไม่ เ คยไปเป็ น อาสาสมั ค ร ที่ไหนเลย” เราคุ ย กั น อย่ า งออกรสจนย่ำ � ค่ำ � ยู ต ะคุ ง กั บ เอริ น ะจั ง ชวนผมไป ทานอาหารเย็นด้วยกัน บริเวณใกล้ๆ สถานีชนิ ะงะวะเป็นแหล่งรวมร้านราเมน อร่อยๆ ยูตะคุงพามาร้านสึเคเมนอันโด่งดัง (Tsukemen – ราเมนแบบแห้ง) เวลาทานต้องคีบเส้นลงไปจุ่มในถ้วยซุปแล้วซู้ดเข้าไปให้ดังไกลถึงอ่างทอง (ทำ�ไมต้องอ่างทองวะ) เราสามคนดูดเส้นเข้าปากไปพลางคุยกันไป น้ำ�ลายใครจะกระเด็นลง ชามใครก็ไม่วา่ กันแล้วเพราะกำ�ลังเม้าท์ตดิ ลมบน เวลานัน้ ผมรูส้ กึ ว่าเราโชคดี ขนาดไหนที่มีคนแบบนี้เป็นเพื่อน ถ้าวันนั้นผมไม่ได้ออกไปนั่งอ่านหนังสือ นอกบ้าน ถ้าวันนั้นเขาไม่เดินมาขอนั่งที่โต๊ะ หรือถ้าวันนั้นผมไม่อนุญาต ให้เขานั่ง ผมคงไม่มีเพื่อนดีๆ อย่างยูตะคุงในวันนี้ เขาเป็นเพื่อนที่ทำ�ให้รู้ว่า สายสัมพันธ์ยาวกว่าระยะทาง คิดไม่ผิดจริงๆ ที่รู้จักกัน
378
นัท
ศุภ วา ที
379
• เป็นคนครั้งแรกเมื่อ 30 ธันวาคม 2526 • เป็นคนที่มักได้ข้อความอวยพรปีใหม่มากกว่าข้อความอวยพรวันเกิด • เป็นคนที่สอบได้ที่ 1 ของโรงเรียนเมื่อตอนอนุบาล เลยได้เข้าโรงเรียน อัสสัมชัญธนบุรีโดยไม่ต้องแข่งกับใคร • เป็นคนท่ีย้ายจากอัสสัมชัญธนบุรีมาต่อที่โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตอนมัธยมปลาย • เป็นคนที่เอนทรานซ์ติดศิลปากร แต่ต้องไปเรียนวิทยาเขตหัวหิน เลยสละสิทธิ์มาเรียน ม.หอการค้าแทน • เป็นคนที่มี น้ำ�พุ-วงศ์เมือง นันทขว้าง เป็นไอดอล • เป็นคนที่ไม่เคยได้ทำ�งานสิ่งพิมพ์เลย แม้จะรักการเขียนมากแค่ไหนก็ตาม • เป็นคนที่เพิ่งมารู้เอาเมื่อได้ทำ�งานว่าตัวเองชอบงานครีเอทีฟ • เป็นคนที่มีงานอดิเรกคือทำ�หนังสั้น • เป็นคนทีม่ อี คติกบั จุฬาฯ แต่สดุ ท้ายกลายมาเป็นลูกพระเกีย้ วทีน่ เิ ทศฯ จุฬาฯ เมื่อเรียนปริญญาโท (และรักมาก) • เป็นคนที่ชอบท่องเที่ยวแบบไม่ฉาบฉวย • เป็นคนง่ายๆ ใช้ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และอีเมลด้วยชื่อเดียวกัน คือ natnampu ส่วนเฟซบุ๊กก็คล้ายกันคือ Nampu Nat • เป็นหมาป่า.
นัท ศุภวาที หนังสือในชุด Journey เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-099-3 พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2558 ราคา 325 บาท ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ นัท ศุภวาที. อยู่ญี่ปุ่นอย่างหมาป่า.-- กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2558. 382 หน้า. 1. ญี่ปุ่น--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. 2.ญี่ปุ่น--ความเป็นอยู่และประเพณี. I. ชื่อเรื่อง 915.2 ISBN 978-616-327-099-3
ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ สุรเกตุ เรืองแสงระวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล บรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย บรรณาธิการศิลปกรรม บพิตร วิเศษน้อย บรรณาธิการศิลปกรรมเล่ม เพกา เจริญภักดิ์ ศิลปกรรม เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพถ่าย นัท ศุภวาที พิสูจน์อักษร ชลธร จารุสุวรรณวงค์ ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ สื่อสารการตลาด เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย, นิติพัฒน์ สุขสวย ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้จัดการฝ่ายขายออนไลน์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลคอนเทนต์ วิมลพร รัชตกนก ลูกค้าสัมพันธ์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ ออกแบบฟอนต์ชื่อเรื่องและชื่อบท (DRdeco) โดย DR Design Freelancer facebook.com/DRdesignfreelancer mailtodamrong@gmail.com
จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-0690 แยกสีและพิมพ์ บริษัท กู๊ดเฮด ครีเอทีฟ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2718-2951 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999