a day BULLETIN LIFE issue 12

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 12 I 30 MAY - 5 JUN 2014

ON THE ROAD


ปีที่ 1 ฉบับที่ 12 วันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2557

NOTE ON LIFE 2

On the Longest Road

การเดินทางไกล เริ่มต้นด้วยก้าวแรกไม่ใช่ค�ากล่าวที่ผิด หากแต่ต้องกล่าวด้วยว่า เพื่อจะให้การเดินทางนั้นไม่สูญเปล่าทั้งหยาดเหงื่อและเวลาที่เสียไป จ�าเป็นไม่น้อยที่เราต้องเลือกพาหนะในการเดินทางให้เหมาะสม จะขับรถคู่ใจ ควบขี่มอเตอร์ไซค์โลดแล่นไปอย่างเสรี หรือจะเลือกขี่จักรยานเป็นเพื่อนร่วมทาง คงไม่มีใครเลือกให้เราได้นอกจากตัวเอง หักลบกลบหนี้กับเวลาที่เสียไป หากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างทางไว้ได้ และยังเหลือความสุขตกค้างในหัวใจ การเดินทางไกลนั้นก็ยังถือว่าคุ้ม พาหนะมีผลต่อการใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน แต่เหนือสิ่งอื่นใด หัวใจทั้งนั้นที่มีผลต่อจุดหมายปลายทาง หมดใจเมื่อไหร่ พาหนะใดๆ ก็พาไปไม่ถึงที่หมาย น่าเสียดายเกินไป... หากเรามัวแต่เลือกพาหนะที่ต้องใช้ แต่ไม่เลือกฝึกให้หัวใจแข็งแกร่งพอ น่าเศร้าเกินไป... ที่หลายคนครอบครองพาหนะมากมาย แต่ไม่มีเวลาเดินทางไปเจอโลก ไม่เจอสิ่งที่ควรเจอ เราก็ไม่มีความทรงจ�าในสิ่งที่ควรจ�า Jack Kerouac เจ้าของนวนิยาย On the Road เขียนไว้ว่า “The best teacher is experience and not through someone’s distorted point of view.” ใช่ ครูที่ดีที่สุดคือประสบการณ์ หากแต่ต้องมาจากสิ่งที่เราพบเจอและเรียนรู้เอง ไม่ใช่ผ่านจากมุมมองบิดเบี้ยวของคนอื่น เลือกพาหนะที่เหมาะสม เลือกเส้นทางที่อยากส�ารวจ แล้วออกเดินทางเพื่อน�ามุมมองที่บิดเบี้ยวไปทิ้งไว้ ณ ที่ที่เราจะไม่มีวันได้เจอกันอีก วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin

CONTENTS 20

24

06 4 The Stuff

6 Feature

15 Calendar

22

16 Superสารพัดสิ่งรอบตัว เรือ่ งราวของ 4 คน ใ ค ร ท� า อ ะ ไ ร market

เรา ที่ เ ล่ า ผ่ า น กับรถ 4 คัน ที่มี ที่ ไ หน เช็ ก ดู ไ ด้ ตัวเลข ความผูกพันกัน สุดสัปดาห์นจี้ ะได้ ไม่พลาดเรื่องราว สนุกๆ

20 21 Make a Dish Selective

30 Everyday หนึ่ ง จานอร่ อ ย ส า ร พั ด ข อ ง วรินทร์ และ ศุภมาส เพราะเราเชื่ อ ว่ า หนังสือ 5 เล่ม ของ พ ลิ ก มุ ม คิ ด Story

ฉวยตะกร้า คว้า จากร้ า นดั ง ที่ เ รา รถเข็ น แล้ ว ไป อ ย า ก ช ว น คุ ณ เดิ น เล่ น จั บ จ่ า ย ไปลิ้มลอง กับเราใน Supermarket แห่งนี้

กุ๊กกิ๊กของ พนิดา เอี่ ย มศิ ริ น พกุ ล ที่ อ ธิ บ ายตั ว ตน ของเธอได้ดี

22 24 Home Made Out There

28 The 5ive

29 THE WORD

บุ ญ ญานุ ส าสน์ โลกใบนีม้ สี ถานที่ สธน ตันตราภรณ์ ป รั บ มุ ม ม อ ง เปิ ด รั้ ว ต้ อ นรั บ มากมายรอให้ไป ทีเ่ ป็นแรงบันดาลใจ กับ ‘หนึง่ ถ้อยค�า... สู่บ้านแสนอบอุ่น ค้นหา ให้คนท�าหนังสือ ทีเ่ ปลีย่ นความคิด’ ของครอบครัว

ทุ ก วั น คื อ ชี วิ ต ชี วิ ต คื อ ทุ ก วั น โดย วงศ์ ท นง ชัยณรงค์สิงห์

LETTER เราชอบ a day BULLETIN LIFE เพราะถึงแม้ว่าจะดูเหมือนมีเนื้อหาเบาๆ ไม่หนักเท่า a day BULLETIN ฉบับวันจันทร์ แต่ก็เต็มไปด้วยสาระที่ทีมงานเลือกมาอย่างดี โดยเฉพาะในส่วนของกราฟิก รูปภาพ ภาพถ่าย และการจัดวางเลย์เอาต์ที่ดูแล้วสบายตา ส�าหรับเรา a day BULLETIN LIFE คือนิตยสารดีๆ ที่ช่วยเติมเต็มความน่าสนใจในเรื่องราวรอบตัว ได้ในทุกวันกับทุกคอลัมน์ ซึ่งตอนนี้พอรู้ตัวอีกทีเราก็มี a day BULLETIN LIFE ครบแล้วทุกฉบับ - Nitcha Fame

ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้ค�าแนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter/Instagram: a day BULLETIN

A TEAM ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นิติพัฒน์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา กองบรรณาธิการ เอกพล บรรลือ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ อาทิตยา อาศิรวาท ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม ล้ �าดวน สราญรัตน์ ไว เ้ กียรติ ฝ า่ ยผลิต วิทยา ภู ่ทอง ทศพล บุญคง ที่ปรึ กษาฝ า่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริ จรรยากุล ผู อ้ �านวยการกลุ ม่ โฆษณา อุบลวรรณ จรเจริญสุข ผู จ้ ัดการฝ า่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 08-6378-6037, วราพร สิทธิพรมงคล 08-9169-9509 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 08-1859-8851, พงศ์ธิดา อังศุวัฒนากุล 08-9170-6001, อังศุนิตยุ์ จรุงชัยฤทธิกุล 08-1303-5242 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-9662-7073, รวงรัชต์ ด้านเทาลา 08-1412-9478, ธัญชนก คงเทพ 08-4025-1015, อัมพิกา มณีวัฒน์ 08-5164-4896, วิชยุตม์ โชติวาณี 08-0776-6868 ผู้จัดการ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412 นักศึกษาฝึกงาน ภูวดี พฤษศิริสมบัติ พิมพลอย วิวัฒนาไพบูลย์ลาภ


STUFF 4

เก้าอีเ้ ป็นของส�าคัญในชีวติ ประจ�าวันของเรา ไม่วา่ จะเป็นเก้าอีพ ้ ลาสติกธรรมดาตามร้านก๋วยเตีย๋ ว หรือเก้าอีร้ าคาเป็นล้าน ทัง้ หมดล้วนผ่านการคิดค้น ออกแบบ แก้ไข มามากกว่าพันปี เป็นผลงานออกแบบชัน้ เลิศทีเ่ ราสามารถสัมผัส และเข้าถึงมันได้งา่ ยทีส่ ดุ เรือ่ งราวของเก้าอีจ้ งึ เป็นมากกว่าสิง่ ของ แต่มนั คืองานศิลปะทีผ่ กู พันกับชีวติ เรามาช้านาน

Chair

18,000 เหรียญสหรัฐฯ คือราคาประมูลของ ‘Tulip Chair’ เก้าอี้ ที่ปรากฏตัวในซีรีส์ Star Trek เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 เก้าอี้ รูปทรงอวกาศตัวนี้ออกแบบโดย Eero Saarinen นักออกแบบ ชาวฟินแลนด์-อเมริกัน ในปี ค.ศ. 1956

54

5 คือวัสดุ 5 ชนิด ที่น�ามาผลิตเก้าอี้ ‘Bertoia Diamond Lounge Chair’ ผลงานของ Harry Bertoia วัสดุเหล่านั้นประกอบด้วย สเตนเลสสตีล, พลาสติก, ไนลอน, หนัง และ โพลีเอสเตอร์ ผลที่ได้คือความทนทาน โครงสร้างอยู่ได้เป็นร้อยปี

1969

54 คือระยะห่างจ�านวนปีที่เก้าอี้ ‘Molded Plastic Eiffel Armchair’ ผลงานออกแบบของ ชาร์ลส์ และ เรย์ อีมส์ ผลิตขึ้น และเปลี่ยนวัสดุจาก ไฟเบอร์กลาสเป็นโพลีโพรพิลีน ซึ่งมีความยืดหยุ่นและทนทานมากกว่า ปัจจุบันเก้าอี้รุ่นนี้ยังได้รับความนิยมและมีการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่อง

1969 คือปี ค.ศ. ที่ ‘Easy Edges Chairs’ หนึ่งในซีรีส์ ผลงานออกแบบเก้าอี้โดยใช้ กระดาษแข็ ง ของสุ ด ยอด นั ก ออกแบบชาวแคนาดา แฟรงก์ โอเวน เกห์รี เริ่มต้น ขึ้น โดยมีเก้าอี้ที่ชื่อ ‘Easy Edges Wiggle Side Chair’ เป็นผลงานระดับต�านาน

1926

18,ooo

7 คือจ�านวนนักออกแบบที่ร่วมกันออกแบบเก้าอี้ ‘Cradle Chair’ ภายใต้แนวคิดที่ว่า อยากให้เป็นเก้าอี้ที่นั่งหรือนอนก็ ได้ ปลอดภัย ใช้วสั ดุทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โดยเก้าอีต้ วั นี้ได้รบั รางวัลการออกแบบ ระดับโลกหลายรางวัล

1926 คือปี ค.ศ. ที่เก้าอี้ ‘Wassily Chair’ ผลงาน ของ Marcel Breuer ผ ลิ ต ขึ้ น โ ด ย เ ก ้ า อี้ ต้นแบบผลิตขึ้นจากท่อ เหล็กดัดแฮนด์จกั รยาน

58 58 คือจ�านวนปีทเี่ ก้าอีส้ ดุ หรูอย่าง ‘Eames Lounge Chair’ ของสองคูร่ กั สถาปนิก ชาร์ลส์ และ เรย์ อีมส์ ได้รบั ความนิยมยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นต�านานของเก้าอี้ที่หรูหรา สวยงาม นั่งสบายที่สุด และยังเป็นเก้าอี้ที่ราคาแพงที่สุดอันดับต้นๆ ในยุคนี้

ในปี ค.ศ. 1905 มีการขุดค้นพบเก้าอี้ไม้ของเจ้าหญิงและราชินซี ติ อามุน ราชธิดาองค์โตของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 เก้าอีต้ วั นีเ้ ป็นของขวัญแทนใจให้กบั ตาและยายของพระนาง โดยสลักขึน้ จากไม้ปดิ ทองและหุม้ ด้วยแผ่นเงิน มีคา� จารึกว่า “ซิตอามุน พระธิดาผูเ้ ป็นทีร่ กั ของกษัตริย”์ นับเป็นเก้าอีท้ เี่ ก่าแก่ทสี่ ดุ ในโลก


FEATURE 6

On the Road เส้นทางนับร้อยนับพันกิโลเมตรของการเดินทาง เราต่างพบพานเพื่อนร่วมทางกับยานพาหนะที่หลากหลาย บ้างขี่ บ้างขับ บ้างปั่น เพื่อไปให้ถึงจุดหมายดังที่ตั้งใจ แต่จุดหมายปลายทางอาจไม่ใช่เหตุผลส�าคัญส�าหรับคนทุกคน เพราะบางคนเลือกที่จะสนใจเรื่องราวระหว่างการเดินทางมากกว่าจุดหมายที่จะไปถึง ประสบการณ์การเดินทางเพื่อสุขภาพ ความสุขจากการได้อยู่กับพาหนะที่รัก หรือแม้กระทั่งการได้เห็นความทรงจ�าผ่านพาหนะคู่ใจ คือเรื่องราวสุดพิเศษมุมหนึ่งของการเดินทางที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน


PAT SASIVIMOLKUL เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี

ส�าหรับ ภัทร ศศิวิมลกุล จุดร่วมของชีวิตกับมอเตอร์ ไซค์อาจจะแปลกไปจากใครหลายๆ คน เขาไม่ได้สนใจมอเตอร์ ไซค์มาตั้งแต่เด็ก เหตุผลส�าคัญที่ท�าให้เขาหันมาขี่มอเตอร์ ไซค์มาจากเสี้ยว ความทรงจ�าของคุณพ่อสมัยวัยหนุม่ แต่เมือ่ วันหนึง่ ที่ได้มาขีม่ อเตอร์ ไซค์อย่างจริงจัง มันเหมือนเปิดโลก ของการเดินทางในอีกแบบให้กับชีวิต เป็นโลกหนึ่งใบที่ท�าให้ทั้งเขาและพ่อมีความสุขในทุกวันนี้ ระยะเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่กับรถ : 12 ปี REASONS TO LOVE :

คุณพ่อชอบมอเตอร์ไซค์ BMW ท่านฝันอยากมี มอเตอร์ไซค์แบบนี้ช่วงวัยหนุ่มที่เรียนแพทย์อยู่ที่ เยอรมนี ซึง่ ก่อนหน้านีผ้ มก็ไม่ได้สนใจมอเตอร์ไซค์ ไม่เคยคิดจะขี ่ จนวันหนึง่ มีเพือ่ นสนิทข้างบ้านซือ้ มอเตอร์ไซค์ BMW มา เขาก็ขมี่ าให้ผมกับคุณพ่อดู ตอนนัน้ รูส้ กึ ได้เลยว่าคุณพ่อรูส้ กึ ชอบ และมีความสุข ทีไ่ ด้เห็นรถคันนี ้ ผมก็คดิ ว่าเดีย๋ วจะซือ้ ให้พอ่ เพราะ ตอนนั้นเราก็ประสบความส�าเร็จในการท�างาน พอสมควร เก็ บ เงิ น พอที่ จ ะซื้ อ ได้ ก็ เ ลยซื้ อ รถมอเตอร์ไซค์คนั แรกเป็น BMW รุน่ R50 ปี 1957 ตัง้ ใจว่าจะซือ้ มาให้คณ ุ พ่อขี ่ ซึง่ ท่านก็ขอี่ ยูแ่ ถวบ้าน ไม่ได้ไปไหนไกล ส่วนผมก็ยงั ไม่คดิ จะขี ่ ก็จอดเอาไว้ จนวันหนึง่ รูส้ กึ ว่าไหนๆ ซือ้ มาแล้ว ลองขีด่ สู กั หน่อย ก็ศึกษาเรื่องมอเตอร์ไซค์อย่างดี เรียนรู้ทุกอย่าง แล้วเริม่ ขี ่ ความรูส้ กึ ตอนนัน้ เป็นมากกว่าของสะสม แล้ว เพราะเรารูส้ กึ ว่าการขีม่ อเตอร์ไซค์มนั ให้ความรูส้ กึ ทีอ่ สิ ระ ท้าทาย แต่ผมไม่ใช่คนขีเ่ ร็วนะ หลังจากมี คันแรกก็เริม่ สะสมเรือ่ ยมา จนวันนีม้ หี ลายคัน แต่ คันทีร่ กั ทีส่ ดุ คือ BMW รุน่ R69S ปี 1969 เพราะคันนี้ มีเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ทนี่ า่ สนใจ อะไหล่กข็ องเดิม สีก็สีเดิมที่ออกจากโรงงาน และเป็นรุ่นที่ดีที่สุด ส�าหรับมอเตอร์ไซค์ BMW ขีแ่ ล้วภูมใิ จครับ LIFE ON THE ROAD :

ช่วงชีวิตหนึ่งผมเคยมีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตอนนัน้ ก็มผี า่ ตัดดามไทเทเนียมทีห่ น้าเต็มไปหมด มันท�าให้เรารูส้ กึ ว่าขนาดรถยนต์เจออุบตั เิ หตุยงั เจ็บ ขนาดนี ้ แล้วมอเตอร์ไซค์จะขนาดไหน ดังนัน้ เวลาผม ขีม่ อเตอร์ไซค์กจ็ ะมีลมิ ติ อยูแ่ ค่ไม่เกิน 120 กิโลเมตร ต่อชัว่ โมง เคยขีเ่ กินกว่านีส้ มัยขีฮ่ าร์เลย์ พยายาม จะไล่ตามรถซูเปอร์ไบค์ แต่กม็ าถามตัวเองว่าท�าไม เราต้องไล่เขาให้ทนั เกิดอะไรขึน้ มามันจะคุม้ ไหม ตอนนี้ใครจะแซงจะทิ้งไปไกลก็ตามสบายครับ ผมขีอ่ ย่างมีความสุขในแบบของผมก็พอ A LIFE LESSON :

ผมเรียนรูห้ ลายอย่างจากมอเตอร์ไซค์ ทัง้ เรือ่ ง การมีสติในการขี ่ หรือแม้กระทัง่ มีสติในการใช้ชวี ติ รู้จักดูแลรักษารถ แต่สิ่งที่รู้สึกได้คือ ผมได้ทา� ให้

7

คุณพ่อของผมมีความสุขกับความฝันในอดีตของเขา พ่อผมเขาฝันมาตลอดว่าอยากมีมอเตอร์ไซค์รนุ่ นี้ แม้วา่ ตอนหนุม่ ความฝันท่านจะไม่เป็นจริง แต่ตอนนี้ ผมก็ได้ทา� ตามฝันของท่านแล้ว ท่านอาจจะไม่ได้ข ี่ คนขี่ อ าจจะเป็ น ผม แต่ เ วลาผมเห็ น ท่ า นมอง รถมอเตอร์ไซค์ที่จอดอยู่ในโรงเก็บ ผมว่าท่านมี ความสุข และเป็นความสุขทีผ่ มก็สมั ผัสได้ดว้ ย คือ สุดท้ายแล้วผมกลับมาคิดว่า ผมคิดไม่ผดิ เลยทีซ่ อื้ มอเตอร์ไซค์คนั แรกมา และเริม่ สนใจมอเตอร์ไซค์ THE ROUTE TO HAPPINESS :

ผมขีไ่ ปท�าบุญวัดพระบาทน�า้ พุทลี่ พบุรกี บั คณะ หลายๆ คัน มีเรื่องราวระหว่างเดินทางมากมาย ทัง้ ความรูส้ กึ ทีว่ า่ ท�าไมต้องขีเ่ ร็วแข่งกับใคร เพราะ ระหว่างทางผมก็ปล่อยให้คนั อืน่ เขาแซงไป ไม่เร่งตาม หรือความรู้สึกพิเศษที่ได้พารถที่รักเดินทางไกล ได้พาแฟนนัง่ ซ้อนท้ายไปไกลๆ ซึง่ ตอนหลังผมก็มา คิดว่า จริงๆ คนซ้อนนี่ลา� บากกว่าคนขี่ เพราะไม่รู้ จะท�าอะไร นัง่ นานๆ ก็เบือ่ อันตรายด้วย เพราะ สามารถเกิ ด เหตุ ก ารณ์ ไ ม่ ค าดฝั น เวลาเผลอ ได้เสมอ หลังๆ ผมไม่ให้แฟนซ้อนท้ายเท่าไหร่เพราะ เป็นห่วงในเรื่องนี้ แต่ทริปนั้นได้หลายความรู้สึก เป็นความทรงจ�าทีด่ สี า� หรับการขีร่ ถทางไกลในชีวติ



WASU SAENGSINGKAEW เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

แม้ยานพาหนะจะไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของปัจจัย 4 แต่ส�าหรับบางคน ‘รถยนต์’ กลับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและท�าหน้าที่ หล่อเลี้ยงชีวติ จิตใจได้ดยี งิ่ กว่าสิง่ ไหนๆ ซึง่ เราเชือ่ เหลือเกินว่า ‘จีป๊ ’ - วสุ แสงสิงแก้ว กรรมาธิการต่างประเทศวุฒสิ ภา พิธกี ร และนักแสดงหนุ่มมาดเข้มผู้นี้ ก็คงจะเป็นคนหนึ่งที่คิดเช่นนั้น ความรักและความฝันอันผูกพันกับพาหนะสี่ล้อสุดคลาสสิกของเขา จึงแปรเปลี่ยนมาเป็นรถคันงามและประสบการณ์อันน่าอิจฉาดังต่อไปนี้ ระยะเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่กับรถ : 15 ปี ME AND MY CAR :

วันหนึง่ มันก็ตอ้ งไปจากเรา แต่ในขณะทีเ่ ขาอยูก่ บั เรา ก็ตอ้ งดูแลมันให้ด ี บางคนอาจจะมองว่าสิง่ ทีเ่ ราท�า เป็นงานอดิเรกทีไ่ ม่มสี าระ แต่กบั เรือ่ งความชอบ บางทีเหตุผลมันก็อธิบายล�าบาก

ผู้ชายกับเครื่องยนต์กลไกมันเป็นเรื่องที่มา ด้วยกัน คนส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบก็มักจะมาจาก ความประทับใจวัยเด็ก บางคนรักรถมอเตอร์ไซค์ รักรถยนต์ รักเรือ แต่สา� หรับเรา รถยนต์มนั ใกล้ตวั ทีส่ ดุ แรงบันดาลใจแรกเริม่ มาจากคุณพ่อ ท่านก็เป็น คนรักรถเหมือนกัน เวลาว่างก็จะชอบชวนนัง่ รถสปอร์ต เปิดประทุนขับเล่นแถวบ้าน พอโตขึน้ มาเรามีไอดอล คือ เอลวิส เพรสลีย ์ ราชาร็อกแอนด์โรล ติดตาม ผลงานของเขามาตลอด ในหนังทีเ่ ขาแสดงก็จะมี รถยนต์คลาสสิกปรากฏอยูใ่ นฉากเสมอ เราก็ได้แต่เก็บ ความชอบไว้ในใจ แต่เมือ่ โตขึน้ มาอยูใ่ นวัยท�างาน หาเงินได้ดว้ ยตนเอง เราก็ไปเสาะหามาเป็นเจ้าของ เริม่ จากหนึง่ คันแล้วเพิม่ มาเรือ่ ยๆ จนตอนนีม้ ที งั้ หมด 12 คัน

REASONS TO LOVE :

สิง่ ทีท่ า� ให้เรายังคงคลุกคลีอยูก่ บั รถเหล่านีค้ อื หนึ่ง การอยู่กับเรื่องเครื่องยนต์กลไกมันท�าให้เรา มีความสุข มันคือความฝันในวัยเยาว์ สอง มันท�าให้ เราระลึกอยูเ่ สมอว่ารถทีม่ อี ยูม่ นั ไม่ใช่สมบัตสิ ว่ นตัว เพราะรถแบบนีต้ อ้ งใช้แรงกาย แรงใจ และเวลากับมัน มาก ผูใ้ หญ่หลายคนทีร่ กั รถ พอถึงเวลาทีเ่ ขาดูแล ไม่ไหวก็จา� เป็นต้องส่งต่อให้คนอืน่ ซึง่ ต้องเป็นคนที่ เขาไว้วางใจจริงๆ มีรถทีเ่ ราได้มาอยูค่ นั หนึง่ เจ้าของ หวงมาก เราก็ไปตือ๊ อยูน่ านจนเขายอมขาย วันทีเ่ รา ไปรับรถ เขาไม่ลงมาดูเลยนะ ท�าใจไม่ได้ เพราะรถ อยูก่ บั เขามา 40 กว่าปี แต่เนือ่ งจากป่วยเป็นอัมพฤกษ์ THE CLASSIC : ค�าว่า ‘คลาสสิก’ ความหมายมันคือการข้าม เขาก็ดแู ลไม่ไหว จ�าใจต้องขายให้คนทีม่ กี า� ลังช่วย ุ ค่า กาลเวลา เวลาได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่ว่าจะผ่านไป ดูแลต่อ มันเป็นความผูกพันต่อสิง่ ของทีใ่ ห้คณ นานแค่ไหน มันก็ยงั ได้รบั ความนิยมจากคนบนโลก แบบ sentimental value อาจไม่ใช่ของราคาสูง เหมือนดนตรีของบีโธเฟนหรือโชแปงทีผ่ า่ นไปเป็น สุดขอบฟ้า แต่มคี วามผูกพันทางใจ sentimental value ุ ค่ามากกว่า commercial value ร้อยปีแต่คนก็ยงั ฟังอยู ่ หรือธรรมะของพระพุทธเจ้า จึงมีคณ ที่มีอายุเป็นพันปีแต่ก็ยังคงอยู่และไม่เคยล้าสมัย อย่างเราเองที่ชอบรถก็ค่อนข้างตกผลึกแล้วว่า LIFE ON THE ROAD : เวลาขับรถโบราณ เราจะนึกถึงค�านี้เลยนะ ‘only you and your engine’ มันให้ความรู้สึกถึง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับรถของเราจริงๆ เราแทบจะรู้สึกได้หมดเลยว่าเวลาเหยียบคลัตช์ เปลีย่ นเกียร์ สาวพวงมาลัย เครือ่ งยนต์ทา� งานยังไง ซึง่ มันก็ไม่ได้สบายเหมือนรถสมัยใหม่ เวลาจะแซง แต่ละทีตอ้ งเว้นระยะห่างจากคันหลังสัก 500 เมตร ต้องใจรักจริงๆ ถึงจะขับได้ (หัวเราะ) เพราะคน ออกแบบรถเขาก็ท�ามาเพื่อวิ่งบนท้องถนนเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มันจึงไม่เหมาะเท่าไหร่กับการใช้ชีวิต ในกรุงเทพฯ ทุก วัน นี้ เว้ นแต่ จ ะขับ ในวัน หยุด มีการวางแผนก�าหนดเส้นทางไว้แล้ว MY DREAM CAR :

Chevrolet Corvette C1 เป็นรถในฝันของเรา รุน่ นี้ จะมีไฟหน้าสีด่ วง เป็นรถอเมริกนั คลาสสิก สีทโู ทน แต่คดิ ว่าคงไม่ได้ออกไปตามหามันแล้ว เพราะตอนนี้ ยอมรับว่าความพยายามหารถคันใหม่ๆ ลดลง ความสุขมันก็เริม่ ง่ายขึน้ อีกอย่างรถทีม่ อี ยูก่ น็ า่ จะ เพียงพอแล้ว ถ้ามีมากกว่านีก้ อ็ าจดูแลไม่ไหว 9


10

NONLANEE UNGWIWATKUL เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

พาหนะสองล้อทีม่ ชี อื่ ว่าจักรยานกลายเป็นพาหนะที่ ‘แนน’ - นนลนีย์ อึง้ วิวฒ ั น์กลุ เลือกใช้แทนเครือ่ งยนต์สมรรถนะสูง เธอท�าให้จกั รยานไม่ใช่เพียงของเล่น ในวัยเด็กเท่านัน้ หลังจากที่ได้ปน่ั อีกครัง้ เมือ่ หลายปีกอ่ น ท�าให้เธอหลงใหลในพาหนะสองล้อจนเคยไปปัน่ ทัว่ ประเทศไทยมาแล้ว แถมยังก่อตัง้ ไบค์คาเฟ่แห่งแรก ในประเทศขึน้ ด้วย ถึงแม้วา่ จักรยานจะเป็นพาหนะที่ไปไม่เร็วเท่าแรงเครือ่ งยนต์ แต่เราก็เชือ่ ว่าจักรยานก็พาไปได้ไกลมากตามแรงใจของเธอ ระยะเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่กับรถ : 7 ปี REASONS TO LOVE :

ENJOY THE RIDE :

ส�าหรับเรา จักรยานเหมือนของเล่นทีม่ นั ไม่ถกู เติมเต็มในวัยเด็ก พอโตขึน้ เราก็อยากจะปัน่ จักรยาน อีกครั้ง และเราก็สามารถเดินทางไปไหนมาไหน ด้วยจักรยานได้ เคยได้อ่านหนังสือว่ามีคนใช้ จักรยานปัน่ ไปทีต่ า่ งๆ เราอิจฉามาก และเริม่ รูส้ กึ ว่าเวลาขับรถไปท�างานแล้วรถติดมาก น่าเบื่อ แล้วก็เสียดายค่าน�้ามันด้วย เหมือนเราหาเงินมา เติมน�้ามันมากกว่า แถมยังต้องอยู่บนรถแบบนี้ โดยไม่ได้ทา� อะไรเลยเหรอ เลยรูส้ กึ ว่าเราน่าจะหา วิธกี ารเดินทางแบบอืน่ เรามาคิดถึงจักรยานอีกครัง้ ตอนที่มีโอกาสได้ไปกาญจนบุร ี เวลาเราไปเที่ยว แล้วได้เช่าจักรยานมาปัน่ มันรูส้ กึ สนุกมาก เหมือน กับว่าเราได้กลับไปเป็นเด็กอีกครัง้ ไม่ตอ้ งเมารถด้วย เราอยากขึน้ ไปบนเขา แต่ขนึ้ รถก็เมารถ จะเดินขึน้ ก็โหดไป ปัน่ จักรยานไปได้กค็ งดี เราก็เลยเริม่ ซือ้ จักรยานปัน่ ทีก่ าญจนบุร ี แล้วก็เอามาปัน่ ทีก่ รุงเทพฯ ตัง้ แต่นนั้ มา

จักรยานมันตอบโจทย์ชีวิตของเรา มันสนุก แล้วก็ไม่ตอ้ งหาทีจ่ อดรถ เหมือนเป็นอวัยวะชิน้ ใหม่ ของร่างกายเราไปแล้ว มันให้ความรู้สึกว่าเรา จะไปไหนก็ได้ เหมือนเรามีปกี ถ้าเราอยูใ่ นน�า้ ก็เหมือน เราเป็นปลา อาจเพราะว่าเราหลงใหลมันเข้าไป แล้วด้วย จะเห็นว่าในโลกนี้มีคนปั่นจักรยานไป ทุกๆ ที่ เราเลยรู้สึกว่าที่ไหนที่คนเดินได้ จักรยาน ก็ ไ ปได้ มั น กลายเป็ น พาหนะหลั ก ในชี วิ ต เรา เราใช้จนรู้สึกว่าไม่ต้องมีรถยนต์แล้ว เพราะปั่น จั ก รยานก็ เ หมื อ นได้ เ ที่ ย วทุ ก วั น ใครจะขั บ รถ ให้ไปติด 3 ชั่วโมงบนถนนอีก

LIFE ON THE ROAD :

แม้ จั ก รยานจะเป็ น พาหนะที่ ดู อั น ตราย แต่จริงๆ แล้วทุกพาหนะก็อนั ตรายเหมือนกันหมด นั่นแหละ เราต้องขี่อย่างระมัดระวัง ‘ช้าสักนิด’ ปลอดภัยกว่า เวลาจะข้ามถนนเราก็หยุดรถขอทาง ไปเลย ใครใจดีจอดให้เราก็คอ่ ยไป มันเรือ่ งแค่นเี้ อง ไม่ ต ้ อ งรี บ ขนาดนั้ น ก็ ไ ด้ อี ก อย่ า งคื อ เวลาปั ่ น จักรยานเรารูส้ กึ ว่ามันไม่มปี ระตูกนั้ จะคุยกับใครก็ได้ โบกไม้โบกมือให้คนทีเ่ ดินผ่านไปมา คือไม่รจู้ กั กัน แต่กท็ กั ทายกันได้ หรือร้านขายของข้างทางเราก็ รูจ้ กั หมด ยิง่ เวลาไปปัน่ บ่อยๆ ก็มเี พือ่ นเพิม่ มากขึน้ ME AND MY BIKE :

เรามีจกั รยานอยูห่ ลายคันเพือ่ เลือกใช้ให้เหมาะ กับสถานการณ์ ใช้จกั รยานให้ถกู กับเส้นทาง อย่าง ตอนนีเ้ ราจะปัน่ จักรยานเสือหมอบก็ไม่ใช่ท ี่ เพราะ มันอยูใ่ นเมือง ไม่ใช่จดุ ทีต่ อ้ งเร่งความเร็วขนาดนัน้ ส่วนตัวของเรา เราชอบฟูลซัส (full suspension) คือต้ องมีโ ช้ ก นิ่ม ๆ ปั ่ นๆ ไปถ้ า มีแ รงกระแทก ก็จะได้มีตัวรองรับที่ดี จะเลือกใช้จักรยานที่นุ่ม เพราะว่าสบายมากกว่า คนอาจจะงงว่าท�าไมมาใช้ ฟูลซัสในเมือง เพราะมันไว้ส�าหรับลงแข่งแทร็ก มากกว่า แต่เรารูส้ กึ ว่าถนนในกรุงเทพฯ ท�าให้เรา รูส้ กึ เหมือนอยูใ่ นแทร็กมากกว่า

MY DREAM ROUTE :

ทุกเมืองที่เป็นเมืองจักรยานเราอยากไปหมด เลย หลังๆ ก็เริ่มถามตัวเองว่าถ้าไปต่างประเทศ แล้วมีคนถามว่าประเทศไทยเป็นอย่างไร เราก็ไม่รู้ จะตอบว่าอะไร เราเลยรู้สึกว่าเราปั่นในเมืองไทย ให้ทั่วก่อนแล้วกัน เริ่มจากปั่นในกรุงเทพฯ ก่อน เราตัง้ กฎเล่นๆ ว่าเราจะปัน่ ไปทุกชุมชนที ่ ส.ส. เดิน ไปหาเสียง ลองไปเสิรช์ มา พบว่ามี 2,000 กว่าชุมชน เราอาจใช้วธิ ตี ามคนอืน่ ๆ ไป เช่น รถขายปลาหมึก ขายลูกชิน้ ทะลุทางโน้นทางนี ้ ไปดูเจ้าถิน่ ว่าเขาไป กันยังไง เราก็จะค้นพบเส้นทางใหม่ๆ ได้ทกุ วัน


11



TADA VARICH เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี

หากถามถึงรถคันแรกของคนทั่วไป ค�าตอบมากกว่าครึ่งก็คงหนีไม่พ้นรถญี่ปุ่นที่เราคุ้นตากันดี แต่กับ ธาดา วาริช ช่างภาพแฟชั่น แห่งนิตยสาร Vogue Thailand ด้วยรสนิยมทางศิลปะและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง ‘รถยนต์วินเทจ’ จึงเป็นค�าตอบเดียวที่เขาเลือก ไม่ว่าจะเป็นคันแรกหรือคันที่เท่าไหร่ก็ตาม หลายคนมักบอกว่าพาหนะสะท้อนตัวตนของคนขับ ซึ่งจะเป็นจริงแค่ไหน เราอยากให้คุณลองพิสูจน์จากเรื่องราวในบรรทัดต่อไปของผู้ชายคนนี้ ระยะเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่กับรถ : 18 ปี REASONS TO LOVE :

ไม่ใช่ เราไม่ฝืน เคยมีรถคันหนึ่ง ดีไซน์มากับมือ การมีรถหลายคันก็คงไม่ตา่ งกับการมีกระเป๋า ท�ามาหกปี ทุกอย่างเนีย้ บมาก แต่ขบั แล้วความรูส้ กึ หลายใบ รองเท้าหลายคู่ เพียงแต่รถมันเป็นของ มันไม่ใช่ก็เลยต้องตัดใจขาย แม้ว่าจะขับมาแค่ ชิน้ ใหญ่ ซึง่ รถคลาสสิกบางคันก็มรี าคาเริม่ ต้นราว เดือนเดียวเท่านั้น แสนกว่าบาท จะมองว่าฟุ่มเฟือยหรือเปล่ามันก็ ขึ้นอยู่กับมุมมอง กับของบางอย่างเราคงไม่มี A LIFE LESSON : เหตุผลมากมายว่าท�าไมถึงซือ้ มันมา เวลาจ่ายเงิน โชคดีทเี่ ราชอบรถวินเทจ ความชอบมันท�าให้ ยังเร็วกว่าตอนหาค�าอธิบายด้วยซ�้า (หัวเราะ) เราฝึกตัวเอง เพราะการใช้ชวี ติ อยูก่ บั รถแบบนีต้ อ้ ง บอกตามตรง ทีเ่ รารักรถแบบนีม้ นั น่าจะเป็นเรือ่ งหลง อดทนกว่าจะได้มา ต้องมีความพยายามในการหา รูป สารภาพเลย (หัวเราะ) ทัง้ ทีค่ วามจริงตอนเด็กๆ ช่าง ต้องละเอียดเรือ่ งการจัดระบบการท�ารถว่าจะท�า เราเป็นคนเกลียดรถเลยนะ เคยมีอคติเพราะพี่ชาย ส่วนไหนก่อน ส่วนไหนหลัง เพราะถ้าวางระบบผิด ก็เป็นคนเล่นรถ เราก็ไม่คอ่ ยเข้าใจเขา แต่พอโตขึน้ มา ค่าใช้จา่ ยสูง ท�าซ�า้ ท�าซ้อนรถอาจจะพังได้ บางคน แล้วได้เรียนศิลปะ ก็เลยชอบทุกอย่างทีเ่ ป็นศิลปะ ท�าเครือ่ งยนต์สามอูย่ งั ไม่จบ ซึง่ ความจริงเรือ่ งพวกนี้ อย่างเราท�างานถ่ายภาพ กล้องไม่สวยก็ไม่ค่อย มันคือเรื่องเดียวกันกับการใช้ชีวิตประจ�าวันของ ชอบใช้ อีกส่วนหนึง่ ก็นา่ จะมาจากตอนท�างานใหม่ๆ คนเรานะ เช่น ของฟรีไม่มใี นโลก ของดีไม่มรี าคาถูก รุน่ พีเ่ ขาก็จะเล่นรถโบราณกันเยอะ พออยูๆ่ ไปเราก็ การอดทนเพือ่ รอสิง่ ทีใ่ ช่ เริ่มเห็นความงามของมัน และเริ่มมีกับเขาบ้าง คันแรกของเราคือ Volkswagen Karmann Ghia แต่ THE ROUTE TO HAPPINESS : ตอนนีไ้ ม่อยูแ่ ล้ว ขายไปเพราะตอนนัน้ จะไปอเมริกา ความสุขของการมีรถแบบนีม้ าเกือบ 20 ปี คือ แล้วไม่มีเงิน มีรถคันเดียว พอขายได้ถึงมีเงิน การบอกกับตัวเองได้วา่ เราตัดสินใจถูก มันตอบโจทย์ ก้อนหนึ่งไปซื้อตั๋วเครื่องบินและคอร์สเรียน ทัง้ เรือ่ งความชอบส่วนตัว และเรือ่ งการรักษามูลค่า ของสิง่ ทีเ่ รามี ส่วนตัวไม่ได้เป็นคนชอบการลงทุน เราซือ้ มาเพือ่ ใช้ เพียงแต่ในยามฉุกเฉินถ้าจ�าเป็น LIFE ON THE ROAD : เราไม่เคยมองว่ารถของเราเป็นรถเก่าหรือรถ ต้องใช้เงินจริงๆ มันก็ชว่ ยเราได้ อย่างน้อยมูลค่า โบราณเลย มันไม่เคยเชยในความรูส้ กึ เรา รถจะเป็น ของรถพวกนีไ้ ม่เคยหายไป เราก็เลยสบายใจทีจ่ ะมี อย่างไรมันขึน้ อยูก่ บั เจ้าของ เวลาคนบอกว่าใช้รถเก่า มันอยู ่ และคงอยูก่ บั มันไปตลอดจนถึงวันทีข่ บั รถ ไม่ด ี ทุกวันนีเ้ ราก็เถียง เพราะเราขับรถแบบนีใ้ น ไม่ไหวจริงๆ กรุงเทพฯ มา 20 ปี ไม่เห็นมีปญ ั หาอะไร มันกลับเป็น ข้อดีเสียอีกทีข่ บั รถแบบนี ้ เพราะเราจะใช้อย่างถนอม ขับระวังมากขึน้ 3 เท่าตัว ส่วนเรือ่ งการถูกคนมอง เวลาใช้รถแบบนีม้ นั เกิดขึน้ นานมาแล้ว แต่เราเป็น คนสร้างโลกส่วนตัวง่าย พออยูใ่ นรถเราก็สามารถ ชัตดาวน์โลกภายนอกได้เลย แต่ชว่ งแรกๆ ยอมรับว่า เวลาขับเปิดประทุนจะเขินนิดหน่อย แต่ถา้ รูว้ า่ วันนัน้ การจราจรไม่ดี เช่น นัดงาน 9 โมง แถวสุขุมวิท แบบนีเ้ ราไม่เอาไปแน่ๆ จะไม่แรดจนทุเรศ ไม่อยาก ให้คนหมัน่ ไส้เหมือนกัน MY DREAM CAR :

เรามาจากชนชัน้ ล่างแล้วขยับมาชนชัน้ กลาง รถในฝันจึงไม่ได้อยู่ในระดับทีไ่ กลเกินเอือ้ มขนาด Rolls-Royce Ferrari พอมันไม่ได้อยูใ่ นสารบบนี ้ มัน ก็ดสี า� หรับเรา เพราะเรายังพอเอือ้ มถึง รถหลายคัน ทีเ่ คยฝันไว้ทผี่ า่ นมาก็มโี อกาสได้เป็นเจ้าของ บางคัน ก็ยงั อยู ่ บางคันก็ขายไป เพราะรถทีไ่ ม่ใช่มนั ก็คอื 13


CALENDAR 15

FRI

MON

2

สีน�้ำแบบบุญกว้ำง

นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘สีน�้าแบบบุญกว้าง’ โดย บุ ญ กว้ า ง นนท์ เ จริ ญ น�าเสนอภาพวาดทิวทัศน์ และภาพเหมื อ นบุ ค คล ในสไตล์ จิ ต รกรรมสี น�้ า จ� า นวน 52 ชิ้ น วั น นี้ ถึ ง 8 มิ ถุ น า ย น 2 5 5 7 ณ ห้องนิทรรศการ 1 หอศิลป์ จามจุ รี จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โทร. 0-22183709

TUE

3

3rd BANGKOK CREATIVE EXHIBITION นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘ผลงานสร้างสรรค์กรุงเทพ ครั้งที่ 3’ รวบรวมผลงาน ทางวิ ช าการจากสาขา ศิล ปะและการออกแบบ ของอาจารย์จาก ม.กรุงเทพ เพื่ อ สื่ อ องค์ ค วามรู ้ ต ่ อ สาธารณชนด้วยตัวผลงาน สร้ า งสรรค์ ที่ ผ ลิ ต ผ่ า น ค ว า ม คิ ด ส ร ้ า ง ส ร ร ค ์ โดยตรงอย่างเป็นรูปธรรม วันนี้ถึง 5 มิถุนายน 2557 ณ หอศิลปมหาวิทยาลัย กรุงเทพ โทร. 0-2350-3626 (เว้นวันอาทิตย์และจันทร์)

WED

4

WALL นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘ก�าแพง’ โดยหลากศิลปิน อาทิ เกรียงไกร เมืองมูล, ถวั ล ย์ ประมาณ ฯลฯ น�าเสนอความหมายของ ‘ก� า แพง’ ที่ เ หนื อ จาก การเป็ น สิ่ ง ก่ อ สร้ า งเพื่ อ ประโยชน์ในการใช้สอยแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ทเี่ ล่าถึง เรื่ อ งราว สภาพสั ง คม ความเชื่ อ ของศาสนา และรูปแบบวัฒนธรรม วันนี้ ถึง 31 กรกฎาคม 2557 ณ สมบัตเิ พิม่ พูน แกลเลอรี สุขมุ วิท ซอย 1 โทร. 0-22546040

THU

30

SAT

31

SUN

1

5

THE FACE การแสดงร่ ว มสมั ย ผสมผสานการออกแบบ ชุด ‘The Face’ ตามกฎของ เหตุและผล ทุกๆ การกระท�า ย่ อ มก่ อ ให้ เ กิ ด ปฏิ กิ ริ ย า และการกระท�าจากสิง่ หนึง่ ไปสู่อีกสิ่งต่อไปเป็นลูกโซ่ แล้วปฏิกริ ยิ าของเราทุกคน ก่อให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง วันนี้ถึง 6, 9-10, 26-27, 29-30 มิ ถุ น ายน และ 3-4, 6-7 กรกฎาคม 2557 ณ โรงละครบี ฟ ลอร์ เธียเตอร์ จ�าหน่ายบัตรที่ โทร. 08-9167-4039

WATER COLOR ME นิทรรศการภาพวาด ‘Water Color Me’ โดย ยศ ยศวดี ถ่ายทอดรูปลักษณ์ และมุมมองสนุกๆ ในแบบ ของศิลปินผ่านเทคนิคสีนา�้ สะท้ อ นสิ่ ง ที่ เ ห็ น ผ่ า น คาแร็ ก เตอร์ เ ติ ม แต่ ง จินตนาการสร้างสีสนั และ เพิม่ เรือ่ งราวให้กบั ตัวละคร วันนีถ้ งึ 15 กรกฎาคม 2557 ณ ร้าน INK & LION Cafe เอกมัย ซอย 2 โทร. 09-15590994 (เว้นวันพุธ) (พิธีเปิด วันนี้ เวลา 19.00 น.)

YOU2PLAY TOGETHER FESTIVAL รั บ รู ้ ป ระสบการณ์ ค ว า ม มั น เ ต็ ม ขั้ น ข อ ง เทศกาลดนตรีอเิ ล็กทรอนิกส์ คุณภาพ ‘You2Play Together Festival 2014’ พบกั บ กองทัพดีเจชือ่ ดังระดับโลก อาทิ Afrojack, DJ Bl3nd ฯลฯ ทีจ่ ะมาจัดเต็มให้ขาปาร์ตี้ ได้ มั น กั น ตลอดทั้ ง คื น พร้อมระบบแสง สี เสียง เต็มรูปแบบ วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ ไบเทค บางนา จ�าหน่ายบัตรทีไ่ ทยทิกเก็ต เมเจอร์

PET EXPO THAILAND 2014 พบกับงานแฟร์ทดี่ ที สี่ ดุ เพือ่ เพือ่ นทีด่ ที สี่ ดุ ของคุณ ‘Pet Expo Thailand 2014’ พบกับสินค้าและบริการ โปรโมชันสุดพิเศษเพือ่ ผูร้ กั สั ต ว์ เ ลี้ ย งและสั ต ว์ เ ลี้ ย ง แสนรัก, เพลิดเพลินกับ สัตว์หลากสายพันธุท์ นี่ า� มา จัดแสดงใน Pet Village, ชมการประกวดรอบชิ ง ชนะเลิศ Dog & Cat Super Model Search ฯลฯ วันนี้ วันสุดท้าย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


LONELY ME, LONELY YOU

CALENDAR 15

ว�ไลรัตน เอมเอี่ยม / 235.เรื่องใกล้ตัวที่เราต่างต้องพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ความสัมพันธ์ ความใฝ่ฝัน การทํางาน และการใช้ชีวิต หากแต่เรื่องเดิมๆ เหล่านี้ กลับมีแง่มุมให้เราเลือกเรียนรู้ และเข้าใจได้ ไม่เคยซ้ํา ผลงานรวมบทบรรณาธิการคัดสรรลําดับที่ 3 จากนิตยสาร a day BULLETIN ต่อเนื่องจากสองเล่มขายดี อย่าง If You Care Enough และ Everybody Hurts วางจําหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือชั้นนําทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อกับเราโดยตรงในราคาลดพิเศษ 15% โทร. 02-716-6900-4 ต่อ 308,309

facebook.com/polkadotbook, daypoets.com, polkadotbook.net

พับรมหลบฝน ไปพบวันดีๆ ที่กรุงโซล

250.-

Available now! ที่รานนายอินทรทุกสาขา และรานหนังสือชั้นนําทั่วประเทศ หรือสัง่ ซือ้ โดยตรงในราคาพิเศษ โทร. 0-2718-0690 ตอ 412 member@daypoets.com


SUPERMARKET 16

Say Cheese

คนไทยกับชีสอาจจะไม่ใช่ของคู่กัน แต่ถ้าได้ลองสักครั้งแล้วคุณจะติดใจ เพราะชีสที่ผลิตจากนมเหล่านี้ ต่างมีดีกันไปคนละแบบ เหมาะกับอาหารหลากหลายประเภท เพียงแค่ถูกใจรูปร่างหน้าตา ก็ลองหยิบใส่ตะกร้ากลับบ้าน ก็ ได้ลองเมนูสร้างสรรค์ใหม่ๆ กันแล้ว

DORSTONE ซอฟต์ชีสชนิดหนึ่ง ผลิตจาก นมแพะ มี ต ้ น ก� า เนิ ด จาก ประเทศอั ง กฤษ โดยได้ ชื่ อ มาจากหมูบ่ า้ นทีเ่ ป็นต้นก�าเนิด เหมาะส�าหรับทานคูก่ บั ไวน์ขาว

Brie ซอฟต์ชสี เนือ้ ขาวทีโ่ ด่งดังชนิด หนึ่ง มีต้นก�าเนิดจากประเทศ ฝรั่งเศสเมื่อหลายร้อยปีก่อน ปัจจุบนั มีการผลิตขายทัว่ โลก ใช้วัตถุดิบจากนมวัว มีเนื้อ เข้มข้น ละลายได้เร็ว จึงนิยม น�ามาท�าอาหารทั้งคาวหวาน

Parmesan เป็นชีสที่ผ่านกระบวนการแยกโปรตีนออกจาก น�า้ นมเป็นก้อนโปรตีน แล้วน�ามาบ่มกับแบคทีเรีย อีกครั้งจนได้เป็นชีสมีโปรตีนสูง เพราะใช้เวลา บ่ ม นาน เปลื อ กนอกจึ ง หนาและมี เ นื้ อ แข็ ง เป็นชีสที่คนรู้จักมากที่สุด เพราะอยู่ในอาหาร ยอดฮิตอย่างซีซาร์สลัด พาสต้า พิซซ่า

Gouda ชีสแข็งอีกชนิดที่มีต้นก�าเนิดจากประเทศ เนเธอร์แลนด์ ผลิตจากนมวัว ให้รสสัมผัส ที่เหนียว ปัจจุบันมีการผลิตแพร่หลาย ทัว่ โลก เหมาะกับอาหารจานร้อน อย่างเช่น กราแตง หรือพาสต้า

Feta = ใครที่ ช อบทานอาหารกรี ก อย่ า งเช่ น สลัดกรีก ก็คงจะคุน้ หน้าคุน้ ตากับชีสชนิดนี้ ชี ส เฟตาเป็ น ชี ส สด ผลิ ต จากนมแพะ บางเจ้ า อาจจะใช้ น มแกะ หรื อ นมวั ว ผิวสัมผัสคล้ายเต้าหู้ เหมาะกับการน�ามา คลุกกับผักโขม และอบเป็นพาย


RAGSTONE ชี ส นมแพะแบบหนึ่ ง ซึ่ ง มั ก ใช้ ท านกั บ สลั ด หรื อ แซนด์ วิ ช เป็นชีสที่เหมาะกับการทานสดกับไวน์ มะเดื่อ ถั่ว และวอลนัต หากน�าไปใส่ในแซนด์วิชแล้วเข้าเตาอบอุณหภูมิอ่อนๆ ก็จะได้ เนื้อชีสที่เหนียวเยิ้มน่ากินเป็นอย่างยิ่ง

Mozzarella ชีสนมควายที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยๆ มีตน้ ก�าเนิดนจากอิตาลี รูปร่างหน้าตา เป็นก้อนกลมๆ เป็นชีสสดทีแ่ ช่อยูใ่ นน�า้ เหมาะกับการใส่ในอาหารอิตาลี เช่น พิซซ่า ลาซานญา

Gorgonzola คือบลูชีสชนิดหนึ่ง ว่ากันว่าเป็นบลูชีส ชนิดแรก มีต้นก�าเนิดที่อิตาลี ใครที่เคย สัมผัสกับชีสชนิดนี้ แรกๆ อาจจะไม่ชอบ เพราะกลิ่นฉุนรุนแรง แต่สักพักก็ติดใจ สามารถทานเล่นหรือน�ามาใส่ซอสดิปปิ้ง ต่างๆ ได้

Gruyere ชี ส แข็ ง ที่ มี ชื่ อ เสี ย งจาก สวิต เซอร์ แ ลนด์ สามารถ น�ามาท�าอาหารได้หลายอย่าง ที่ใช้ชีส แต่เหมาะที่สุดก็คือ เมนูชสี ฟองดูว์ ทีม่ ตี น้ ก�าเนิด แถบสวิตเซอร์แลนด์เช่นกัน

Cheddar ชีสชนิดแข็ง มีต้นก�าเนิด จ า ก ป ร ะ เ ท ศ อั ง ก ฤ ษ คุน้ หน้าคุน้ ตากันดีในแบบ แผ่นบางตามซูเปอร์มาร์เก็ต เหมาะจะน�ามาใส่ประกบ ในแซนด์ วิ ช เบอร์ เ กอร์ หรื อ เมนู อ บย่ า งสไตล์ อเมริกัน


MAKE A DISH 20

Fish and Chips เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี

หากใครเริ่มเบื่อกับการแฮงก์เอาต์ย่านทองหล่อ-เอกมัย ลองชวนเพื่อนขับรถกินลมข้ามสะพานไปยังฝั่งธนบุรี หยุดรถที่ซอยบางขุนนนท์ 27 แล้วคุณจะได้พบกับ Oldman Cafe คาเฟ่สุดเท่สไตล์อเมริกัน-อินดัสเทรียล ซึ่งนอกจากจะเสิร์ฟกาแฟและเค้กรสละมุนในช่วงกลางวันแล้ว กลางคืนก็ยังมีอาหารและเครื่องดื่มรสชาติเข้มข้นพร้อมให้บริการอีกด้วย ส่วนเมนูเด็ดที่ต้องสั่งมาชิมให้ได้เลยก็คือ Fish and Chips แม้ชื่อจะฟังดูธรรมดา แต่ถ้าพูดถึงรสชาติแล้วละก็ บอกเลยว่าหาทานได้ที่นี่ที่เดียวจริงๆ

Owner ภารดี อาภาธร

FISH AND CHIPS ราคา : 140 บาท

INGREDIENTS ปลาดอรี / แป้งสาลี / เกล็ดขนมปัง / มันฝรั่ง / น�้าเกรวีสูตรพิเศษ ของ Oldman Cafe / น�้าสลัด / ผั ก กาดหอมบั ต เตอร์ เ ฮด / ผักเรดโอ๊ก

OWNER's Inspiration “ร้านของเราจะมีสองอารมณ์ ช่วงเช้าถึงบ่ายจะเป็น ร้านกาแฟและเบเกอรี ส่ว นตอนเย็นจะเป็นร้ า นอาหาร และเครื่องดื่ม ให้คนมานั่งชิลเอาต์สบายๆ กับเพื่อนฝูง เราจึงออกแบบเมนูมาให้เหมาะกับการดื่มในบรรยากาศ ของร้านที่เป็นสไตล์เวสเทิร์น อย่างเช่นเมนูนี้ ฟิชแอนด์ชิปส์ เป็นอาหารที่ทานง่าย อร่อย และไม่หนักท้องจนเกินไป”

TIPS การท� าฟิชแอนด์ชิปส์ ให้อร่อยอยู่ที่ การเลือกปลา ทางร้านจะใช้ปลาดอรีทสี่ ดใหม่ ก่อนจะเอาลงไปทอดก็จะหมักด้วยส่วนผสม พิเศษของทางร้าน แล้วคลุกกับแป้งสาลีและ เกล็ดขนมปัง แล้วน�าไปทอดในน�า้ มันร้อนๆ ซึ่งเราจะใช้น�้ามันพืชใหม่เท่านั้น


SELECTIVE

Sweet Little Things เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ใครที่บอกว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของผู้หญิงนั้นไม่ส�าคัญ เราขอค้านแบบหัวชนฝา เพราะองค์ประกอบเหล่านี้คือสิ่งที่ท�าให้ผู้หญิงมีเสน่ห์ น่าหลงใหล การันตีได้จากของใช้เก๋ๆ ของ ‘ตุ๊กตา’ - พนิดา เอี่ยมศิรินพกุล บรรณาธิการบริหาร ส�านักพิมพ์ polka DOT ทีน่ อกจากจะแสดงให้เห็นถึงความน่ารักแบบน้อยนิดมหาศาลแล้ว ยังมีความหมายดีๆ แฝงตัวไว้อย่างแนบเนียนกับสิง่ ของกุก๊ กิก๊ แต่ละชิน้ นีด้ ว้ ย

6

2

3 5

8 1

10

9

11

4

7

1. กล้องถ่ายรูป Fuji Natura Classica 35mm “กล้องฟิล์มตัวนี้เวลาถ่ายรูปออกมา ภาพที่ได้จะมีความนุ่มนวลแบบที่เราอยากได้มานานแล้ว และเพื่อนที่เป็นคนญี่ปุ่นก็ช่วยตามหาให้จนเจอ” 2. มาสกิ้งเทป mt “เรารู้สึกว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงโลกของสกอตเทป (หัวเราะ) เพราะเอาไว้ติดก็ได้ หรือใช้ส�าหรับตกแต่งสิ่งของก็ได้เช่นกัน” 3. ปากกาเน้นข้อความ MILDLINER “สีของปากกายี่ห้อนี้จะไม่เหมือนยี่ห้ออื่น และถนอมสายตาด้วยค่ะ” 4. โพสต์อิต coco fusen “เป็นโพสต์อิตที่ช่างน่ารักจังเลย” 5. ปากกา uni-ball Signo DX “ปากกาส�าหรับเราต้องเป็นขนาด 0.38 เท่านั้น เพื่อให้ตัวเองและผู้ช่วยมองตัวหนังสือได้ง่าย” 6. แผนทีเ่ มืองนิวยอร์ก “เราไม่ถนัดการดูแผนทีบ่ นโทรศัพท์ และแผนทีแ่ บบนีท้ า� ให้เราสนุกในการเดินทางมากกว่า” 7. สมุดโน้ต “เราชอบข้อความ ‘Make it Happen’ ทีอ่ ยูบ่ นหน้าปก” 8. แก้วสโนว์แมน “แก้วประจ�าตัว ใบนีไ้ ด้มาจาก ‘บอย’ - ตรัย ภูมริ ตั น ในวันคริสต์มาสเมือ่ 12 ปีทแี่ ล้ว” 9. นาฬิกา Chanel “นาฬิกาเรือนนีท้ า� ให้เรานึกถึงช่วงเวลาดีๆ ทีผ่ า่ นมาทุกครัง้ ทีย่ กขึน้ มาดูเวลา” 10. แหวนแต่งงาน “แหวนแต่งงานของเรา จะสลักค�าว่าคู่รัก ส่วนของพี่บอยจะเป็นค�าว่าหวานใจ เราคิดว่ามันเป็นค�าเชยๆ แต่น่ารัก” 11. ต่างหูคลาสสิก “ต่างหูของคุณแม่ และเป็นเหมือนของที่ระลึกจากท่านด้วย” 21


HOME MADE 22

Happiness Begins at Home เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ใครจะเชื่อว่าบ้านสไตล์โมเดิร์นกับสวนสวยๆ จะแฝงตัวอยู่อย่างแนบเนียนในเมืองที่วุ่นวายเช่นนี้ได้ เมื่อเราแง้มประตูเปิดบ้าน ของ วรินทร์ และ ศุภมาส บุญญานุสาสน์ แล้ว ก็เหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในอีกโลกอันแสนสงบ เพราะสวนและต้นไม้ทรงสูง จากฝีมือการออกแบบของสถาปนิก เสริมด้วยบรรยากาศในบ้านที่อบอุ่นและมีชีวิตชีวาจากฝีมือของคนในครอบครัว

“สถานทีท่ เี่ ป็นแหล่งสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัว และท�าให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุข”


รวม 100 บทสั ม ภาษณ์ คั ด สรร เข้ ม ข้ น ที่ เ คยตี พิ ม พ์ ใ นนิ ต ยสารแจกฟรี ร ายสั ป ดาห์ a day BULLETIN มาตลอดระยะเวลา 5 ปี เนื้อหาแบ่งเป็น 4 เล่ม ครอบคลุมทุกประเด็นจากปากคำาของบุคคลหลากหลายวงการ ที่ เ คยขึ้ น ปกและสร้ า งความฮื อฮาจากบทสัมภาษณ์หลักประจำาเล่มของ a day BULLETIN ที่ต รงไปตรงมา ทั้งคำาถามและคำาตอบ พร้อมต่อยอดการตั้งคำาถามให้กับสังคมในมุมมองที่แตกต่าง หลากหลาย พร้อมให้คุณ เลือกอ่านแบบเต็มอิ่มแล้ววันนี้ In Talk, We Trust เพราะเราเชื่อในการพูดคุยอย่างมีเหตุผล

THE INFLUENCER

ที่มาของบ้านหลังนี้ “ตอนแรกเราอยู่คอนโดฯ พอมีลกู แล้วลูกเริม่ โต เลยหาทีป่ ลูกบ้าน ก็พยายาม จะหาทีใ่ นเมืองเพราะว่าไม่อยากจะเดินทางไกล สุดท้ายก็มาเจอทีน่ ซี่ งึ่ เป็นทีด่ นิ ขนาด 140 ตารางวา แล้วก็เริ่มปลูกบ้านเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คิดไว้แต่แรก ว่าอยากจะท�าสไตล์โมเดิรน์ เลยปรึกษากับสถาปนิก คือ คุณอยุทธ์ มหาโสม ว่าเราต้องการอะไรบ้าง มีห้องนอน 3 ห้อง มีพื้นที่ห้องนั่งเล่นกว้างๆ มีพื้นที่จอดรถ สระว่ายน�้า และท�าสวนให้กว้าง ที่สุดเท่าที่จะท�าได้ จากนั้นคุณอยุทธ์ก็ให้แบบ มาดู 2-3 แบบ เราก็เลือกสไตล์แบบนี้ แล้วก็ ปรับปรุงต่ออีกนิดหน่อย” สีสันและการตกแต่งเป็นอย่างไร “โทนสีของ บ้าน เราอยากให้เป็นสีขาว เพราะอยากให้บ้าน ดูสว่างขึ้นและกว้างขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่บ้าน มีกระจกเยอะ ทัง้ กระจกใส กระจกเงาด�า เพือ่ ให้ เข้ากับสไตล์โมเดิร์น แล้วมันก็ช่วยเสริมให้บ้าน กว้ า งขึ้ น ได้ จ ริ ง ๆ ส่ ว นเรื่ อ งของตกแต่ ง หรื อ เฟอร์นิเจอร์ เราก็จะบอกสถาปนิกว่าเราชอบ แบบไหน แล้วเขาก็จะหาสไตล์ที่เราชอบมาให้ ลองเลือกดู เหตุผลที่อยากมีสระว่ายน�้าและสวนกว้างๆ “คิดไว้แต่แรกแล้วว่าอยากมี เพราะรู้สึกว่าบ้าน ทีม่ สี ระว่ายน�า้ จะดูสวยขึน้ แล้วอีกอย่างเรามีลกู ก็อยากให้ลูกๆ มีพื้นที่วิ่งเล่น อย่างน้อยเด็กๆ ก็ได้ใช้พื้นที่เหล่านี้แน่ๆ ให้ลูกๆ เล่น ไม่ใช่สร้าง ขึ้นมาก็ไม่ได้ใช้เลย ซึ่งตอนนี้เราก็ได้ใช้จริงๆ ให้ลูกเรียนว่ายน�้าที่บ้าน ส�าหรับสวน เราคิดว่า

บ้านที่ไม่มีต้นไม้เลยมันดูแข็งไปนิด และ อยากมีพนื้ ทีส่ เี ขียวเอาไว้ให้ลกู วิง่ เล่นด้วย ซึง่ ก็ไม่ได้ดแู ลรักษายากอย่างทีค่ ดิ เพราะว่า สถาปนิกเขาท�าระบบมาให้หมดแล้ว ความแตกต่างเมือ่ ต้องย้ายจากคอนโดมิเนียมมาอยูบ่ า้ น “แตกต่างในด้านการดูแล รักษา บ้านมีเรื่องจุกจิกเยอะกว่า เพราะ ขนาดมันใหญ่ขนึ้ เยอะ ส่วนความแตกต่าง ด้านการอยู่อาศัยก็คือ ทุกอย่างดีมาก เพราะว่ า เรามี พื้ น ที่ ใ ห้ เ ด็ ก ๆ ได้ วิ่ ง เล่ น เมือ่ มีกจิ กรรมท�าเยอะขึน้ เขาก็จะมีความสุข บ้านหลังนี้ช่วยเติมเต็มให้ครอบครัวเรา สมบูรณ์ขึ้นจริงๆ”

บทสัมภาษณ์บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ ขับไล่ความว้าวุ่น เกื้อหนุนความฝัน

THE MASTER

บทสัมภาษณ์นักธุรกิจนักบริหารองค์กร ที่มีวิสัยทัศน์สร้างสรรค์ ไม่เหมือนใคร

THE OBSERVER

บทสัมภาษณ์บุคคลที่เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ หลากหลายในสังคมอุดมปัญหาเพื่อค้นหาปัญญาและคำาตอบร่วมกัน

• ช่วงเวลาและบรรยากาศดีๆ ของ บ้าน... แสงจะเข้ามาทางทิศตะวันออก ห้องนัง่ เล่น แล้วบ่ายก็จะลงสระว่ายน�า้ • ลูกๆ ทีเ่ ติมเต็มครอบครัว... น้องวิน 7 ขวบ และน้องเบลลา 4 ขวบ • ห้องทีช่ อบเป็นพิเศษ... ห้องนัง่ เล่น เพราะเป็นพื้นที่ที่ใช้บ่อย ตอนเย็นๆ ลมจะพัดมาแรงมาก • กิจกรรมในวันว่าง... ดูหนังหรือ ท�าขนมกับลูกๆ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรม ที่ท�ากับเด็กๆ • สิ่งที่เพิ่มเข้ามาบนชั้นวางของ... รูปลูกๆ

THE THINKER

บทสัมภาษณ์นักคิดที่มีบทบาท ต่อสังคมในทุกแง่มุม


OUT THERE 24

Havana

ฮาวานา หรือลาอาบานา เมืองหลวงของประเทศคิวบา จุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต่างข้ามน�้าข้ามทะเลไปเยือน ด้วยบรรยากาศอันงดงามของหมู่เกาะแคริบเบียน และประวัติศาสตร์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจากการต่อสู้ทางการเมืองมาอย่างยาวนาน ภาพของที่นี่จึงอยู่ในใจ ของหลายคนในฐานะเมืองหลวงแห่งการปฏิวัติ พร้อมกับใบหน้าของผู้น�าคนดังอย่าง ฟิเดล คาสโตร รวมไปถึง เช กูวารา และด้วยจุดยืนทางการเมือง ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสหรัฐอเมริกา นาฬิกาของที่นี่จึงเดินช้าและยังคงต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยกลิ่นอายเก่าๆ อยู่เสมอ


The City Facts เช่นเดียวกับประเทศแถบหมู่เกาะแคริบเบียนและละตินอเมริกาที่ต่างตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของจักรวรรดิสเปน ดังนั้น ภาษา อาคารบ้านเรือน ไปจนถึงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ของที่นี่จึงมีสเปน เป็นต้นแบบ ผนวกกับวัฒนธรรมแบบแอฟริกนั ทีม่ าจากแรงงานทาสทีถ่ กู น�ามาใช้แรงงานในการปลูกอ้อย ผลิตน�้าตาล เสียงดนตรีเพราะๆ สไตล์แอฟริกัน-คิวบาจึงอยู่คู่กับเมืองหลวงแห่งนี้อยู่เสมอ

สถาปัตยกรรมทีง่ ดงามของทีน่ เี่ ริม่ ต้นทีย่ า่ นเมืองฮาวานาเก่า สร้างขึน้ ในช่วงปี ค.ศ. 1500 ปัจจุบนั ได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ในแถบนีน้ กั ท่องเทีย่ วสามารถเดินเล่นไปตาม ถนนที่ปูด้วยแผ่นหิน ถ่ายรูปไปพลางยิ้มทักทายชาวเมือง โดยอาคารที่โดดเด่นของที่นี่ก็คือ อาคารเอล คาปิโตลิโอ อดีตที่ท�าการรัฐสภา ที่เปรียบเสมือนตึกคู่แฝดของอาคารรัฐสภา ที่สหรัฐอเมริกา แต่มีรายละเอียดที่วิจิตรตระการตากว่า ปัจจุบันใช้เป็นที่ท�าการของสถาบัน และห้องสมุดทางด้านวิทยาศาสตร์


"ANYTHING IS POSSIBLE IN HAVANA." GRAHAM GREENE, A BRITISH NOVELIST

ภาพทีค่ นุ้ เคยของชาวคิวบาก็คงหนีไม่พน้ ซิการ์ มวนใหญ่ ซึง่ เป็นสินค้าส่งออกส�าคัญ และเครือ่ งดืม่ ประจ�าชาติอย่างเหล้ารัมทีผ่ ลิตจากอ้อย พืชเศรษฐกิจ ของแถบแคริบเบียน หากคุณอยากลองเครื่องดื่ม เจ๋งๆ เราแนะน�าให้ลองสั่งโมฮิโต้ หรือ Cuba Libre ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้ารัม เรียกได้ว่ามาชิมกัน ถึงต้นก�าเนิดเลยทีเดียว และถ้าคุณอยากจะไปให้ถงึ แก่น นีค่ อื ประโยคทีน่ กั เขียนชือ่ ก้องโลก เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ เคยกล่าวไว้ “My mojito in La Bodeguita, My daiquiri in El Floridita” หมายถึงบาร์ที่เขา โปรดปราน ได้แก่ La Bodeguita del Medio และ El Floridita ณ เมืองฮาวานาแห่งนี้ เมื่อแวะบาร์ เงียบๆ แล้ว ก็อย่าลืมไปเปิดหูเปิดตาทีท่ รอปิคานา คลับคาบาเรต์ที่มีชื่อเสียงของที่นี่

หากคุณเป็นคอวรรณกรรมต้องไม่พลาดตามรอย เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ นักเขียนชาวอเมริกันผู้ใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในคิวบา โดยบ้านที่เขาเคยอาศัย ปัจจุบันจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์เฮมิงเวย์ ฟินซา วิเกีย ตั้งอยู่ชานเมืองฮาวานา เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมทุกวัน


นอกจากอดีตอาคารรัฐสภาแล้ว ในย่านเมืองเก่าก็ยงั มีพพิ ธิ ภัณฑ์แห่งการปฏิวตั ิ อดีตท�าเนียบประธานาธิบดีทปี่ จั จุบนั กลายเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทจี่ ดั แสดง ข้าวของเกี่ยวกับการปฏิวัติคิวบาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น เอกสาร รูปถ่าย ชุดเครื่องแบบของกองทัพ และถ้าใครที่ติดใจเรื่องราวการปฏิวัติ ยังสามารถไปเยี่ยมชมจัตุรัสแห่งการปฏิวัติ จัตุรัสขนาดใหญ่ที่เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ โฮเซ มาร์ติ ผู้นา� ในการเรียกร้องเอกราชคิวบาจากสเปน

เมือ่ เดินเยีย่ มชมพิพธิ ภัณฑ์ อาคารบ้านเมือง และป้อมปราการเก่าแก่จนหน�าใจแล้ว ก็ต้องเดิน ต่อมาที่ El Malecóon ถนนเลียบชายทะเลความยาว ประมาณ 8 กิโลเมตร ซึง่ ฝัง่ ตรงข้ามจะเป็นชายหาด ไมอามี รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บริเวณนี้ จะเป็นที่ชุมนุมของผู้คนที่ออกมาพบปะสังสรรค์ ชื่ น ชมทิ ว ทั ศ น์ ส วยๆ ยามพระอาทิ ต ย์ อั ส ดง บ้างก็เล่นน�้าทะเล บ้างก็นั่งตกปลา เนื่องจากคิวบาถูกคว�่าบาตรจากประเทศมหาอ�านาจ อย่างสหรัฐอเมริกา ประชาชนจึงมีวถิ ชี วี ติ เรียบง่ายตามแบบ ประเทศคอมมิวนิสต์ เราจึงเห็นภาพของรถยนต์รุ่นเก่า สีสนั สดใสคันใหญ่โตวิง่ ขวักไขว่ผา่ นตึกรามบ้านช่องในแบบ ย้ อ นยุ ค เปรี ย บเสมื อ นสั ญ ลั ก ษณ์ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ของที่ นี่ เพียงแค่ได้เดินชมเมือง เก็บภาพ ก็คุ้มค่าที่เดินทางมาแล้ว

What You Need to Know นักท่องเทีย่ วจากทุกประเทศสามารถติดต่อขอวีซา่ และช�าระเงิน ได้ที่เคาน์เตอร์ของสายการบินที่จะเดินทางไปคิวบาได้เลย (ไม่มีเที่ยวบินจากสหรัฐอเมริกาไปคิวบา ประเทศใกล้เคียง ที่สามารถเดินทางต่อไปได้คือ แคนาดา หรือเม็กซิโก) การเดินทาง สายการบินเคแอลเอ็ม www.klm.com สายการบินแอร์ฟรานซ์ www.airfrance.com ระยะเวลาเดินทางประมาณ 25-40 ชัว่ โมง ขึน้ อยูก่ บั ระยะเวลา ระหว่างเปลี่ยนเครื่อง 27


THE 5IVE 28

The Books of Life เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา

เหตุผลของการรักการอ่านของ ‘ปืน’ - สธน ตันตราภรณ์ บรรรณาธิการบริหาร นิตยสาร L’Optimum Thailand ไม่ได้มาจากงานที่ท�า เพียงอย่างเดียว แต่มาจากเรื่องราวในวัยเด็กที่เขาผูกพันกับหนังสือในช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่ได้เป็นของขวัญ จนถึงหนังสือที่เป็นแรงใจส�าคัญในการท�างาน หนังสือ 5 เล่มต่อไปนี้ บ่งบอกเรื่องราวแต่ละช่วงเวลาของเขาได้เป็นอย่างดี 01 WUTHERING HEIGHTS BY EMILY BRONTE

02 Dear Me :

ด้ ว ยรั ก จาก อนาคต โดย สธน ตันตราภรณ์

“เวลาใครก็ตามถามว่าหนังสือเล่มไหน คือเล่มที่ชอบที่สุด จะตอบได้ง่ายมากว่าคือ Wuthering Heights เพราะนวนิยายอังกฤษ เล่มนีไ้ ด้ชอื่ ว่าเป็นหนึง่ ในวรรณคดีทยี่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์งานเขียนของโลก โดยส่วนตัว ชอบทีม่ นั มีพลังบางอย่าง มีความสลับซับซ้อน เต็มไปด้วยความรุนแรงและความรู้สึกสับสน มากมาย ไม่น่าเชือ่ ว่าจะประพันธ์โดยลูกสาว ของบาทหลวงซึง่ ชอบเก็บตัวอยูเ่ งียบๆ ในบ้าน ทุกวันนี้มีนวนิยายเล่มนี้เก็บไว้หลายเวอร์ชัน ตัง้ แต่หน้าปกแบบคลาสสิก แบบแฟชัน่ แบบ ออดิโอ เป็นเทปคาสเซ็ต 4 ม้วน หรือแม้แต่ ฉบับแปลเป็นไทยโดย พิมพา จันทพิมพะ”

“หนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ ผลงานพ็อกเก็ตบุก๊ เล่มแรก ของตัวเอง เป็นการรวบรวม จดหมายจากบุ ค คลที่ มี ชอื่ เสียงต่างสาขาอาชีพ จ�านวน 38 คน โดยมีโจทย์ ให้แต่ละคนเขียนจดหมาย เพีย ง 1 ฉบับ ส่ ง ตรงถึง ‘ตนเองในอดีต’ เพือ่ บอกเล่า เรือ่ งราวและส่งผ่านความรูส้ กึ และก�าลังใจในการใช้ ชีวิตในแง่มุมต่างๆ”

"I WISH I WERE A GIRL AGAIN, HALF SAVAGE AND HARDY, AND FREE ; ..." EMILY BRONTE

"IN MEMORY, EVERYTHING SEEMS TO HAPPEN TO MUSIC." TENNESSEE WILLIAMS

04 THE GLASS MENAGERIE BY TENNESSEE WILLIAMS “The Glass Menagerie เป็นบทละครอเมริกันระดับคลาสสิก ประพันธ์โดย เทนเนสซี วิลเลียมส์ ซึง่ เป็นนักเขียนบทละครทีช่ อบทีส่ ดุ บทละครเรื่องนี้มีเค้าความจริงมาจากเรื่องราวในครอบครัวของเขา เนือ้ เรือ่ งเกีย่ วกับครอบครัวชาวใต้ทผี่ เู้ ป็นแม่หลงติดอยูก่ บั ความหลัง และพยายามทุกทางเพือ่ สร้างอนาคตดีๆ ให้กบั ลูกสาว ซึง่ พิการเดินไม่ได้ ในขณะที่ลูกชายนั้นมีค�าใบ้ในบทละครอยู่เนืองๆ ว่าเป็นรักร่วมเพศ และฝันจะเป็นนักเขียนบทละคร ซึง่ จริงๆ แล้วก็คอื ตัวผูป้ ระพันธ์นนั่ เอง”

ศ ศิ วิ ม ล ท่องเที่ยว โดย ‘ศศิวิมล’

03

“ทุกวันนีท้ กี่ ลายมาเป็น นักเขียนและคนท�าหนังสือ ส่ ว นหนึ่ ง น่ า จะมาจาก การตามอ่ า นและคลุ ก คลี กับงานเขียนของ ‘ศศิวมิ ล’ ซึ่ ง เป็ น นามปากกาของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปิน แห่งชาติ หนังสือรวบรวม บทความท่องเทีย่ วเล่มนีเ้ ป็น ผลงานชิ้นแรกของศศิวิมล ด้ า นในมี ล ายมื อ พร้ อ ม ลายเซ็ น เขี ย นถึ ง คุ ณ ป้ า ของผม ส�านวนเขียนสนุก และเร้าใจมาก อีกทัง้ ในทุกๆ บทยังมีภาพวาดประกอบ ซึ่งเป็นลายเส้นแนวการ์ตูน ตลกล้อเลียน”

05 PRIDE AND PREJUDICE AUSTEN

: สาวทรงเสน่ห์ BY JANE

“นิยายฉบับแปลเป็นภาษาไทยตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกของ Pride and Prejudice วรรณคดีองั กฤษชัน้ ยอด ส�านวนแปลนีเ้ ป็นฉบับดัง้ เดิมของ ‘จูเลียต’ ซึง่ เป็นนามปากกาของ ชนิด สายประดิษฐ์ ภรรยาของศรีบรู พา ตอน 5-6 ขวบไปเกาะตูห้ นังสือของคุณย่าทีเ่ ก็บนิยาย และวรรณคดีเก่าๆ ไว้เป็นร้อยเล่ม จ�าได้ว่าชอบเล่มนี้เป็นพิเศษ เพราะสวยและดูขลัง แต่ไม่กล้าขอ จนท่านเสียชีวติ ครอบครัวจึงยกหนังสือทัง้ หมดให้ดแู ลต่อ เล่มนีถ้ อื เป็นหนึง่ ในงานเขียนที่ท�าให้เริ่มหันมาสนใจอ่านวรรณคดีคลาสสิกอย่างจริงจัง”


THE WORD

- Robert Baden-Powell เราไม่ล้มเหลวหรอกถ้าเราพยายามท�าไปตามหน้าที่ของเรา แต่เราจะล้มเหลวเสมอถ้าเราละเลยที่จะท�าหน้าที่นั้น

29


EVERYDAY STORY 30

ในความเป็นคน เรื่อง : วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

พนักงานตรวจคนเข้าเมืองอิตาลีซงึ่ เป็นชายหัวล้านเลีย่ นตอกแสตมเปอร์อนุญาตให้เข้าประเทศ แล้วโยนหนังสือเดินทางกลับให้ผม ที่ใช้ค�าว่า ‘โยน’ นี่ไม่ได้พูดเกินเลย ผมเห็นพาสปอร์ตของผม หมุนคว้างกลางอากาศครึ่งรอบก่อนจะวางแหมะตรงหน้าให้ผมยื่นมือมารับมันกลับไป “กราเซีย” ผมเอ่ยขอบคุณเป็นภาษาอิตาเลียนที่เตรียมมา แต่เขาหันไปคุยกับเพื่อน ตม. เคาน์เตอร์ข้างๆ ไม่แม้แต่จะเหลือบตามอง รับกระเป๋าจากสายพานแล้วผมกับหญิงสาวของผมก็เดินหารถไฟเข้าเมือง หาไม่เจอเลยแวะถาม พนักงานสาวทีเ่ คาน์เตอร์รถเช่า หญิงร่างอวบพอรูว้ า่ เราแค่มาถามทาง ไม่ได้มาเช่ารถ เธอก็เมินหน้าใส่ แล้วโบกมือไล่ ขณะเดินลงบันไดเลื่อนเพื่อไปขึ้นรถไฟ เราก็เห็นเหตุการณ์คล้ายๆ กัน นักท่องเที่ยวต่างชาติ คนหนึ่งพยายามจะถามทางกับหญิงอิตาเลียนที่เดินผ่านมา หญิงคนนั้นโบกมือโบกไม้แล้วเดินหนี เขาไปอย่างไม่ไยดี ที่พักของเราอยู่แถวโรมา แตร์มินี ผมเลือกจองโรงแรมย่านนี้เพราะเช็กจากเว็บไซต์ Agoda ที่ใช้ประจ�าแล้วพบว่ามันใกล้กับสถานีรถไฟกลางและสถานีรถไฟใต้ดินแค่เดินห้านาที ที่คาดไม่ถึง คือนึกว่าโรงแรมจะหาง่าย ปรากฏว่ายากกว่าที่คิดแม้จะพรินต์แผนที่ถือติดมือมาแล้ว เนื่องจาก เลขที่อาคารย่านนี้ไม่ได้เรียงเลขกัน จะว่าไปมันผิดตั้งแต่คุณพี่ที่ป้อมประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว หน้าแตร์มนิ บี อกทางเราผิด ซึง่ ท�าให้เราเดินเลยถนนเป้าหมายไปไกลหลายร้อยเมตร ก่อนจะลากกระเป๋า ย้อนกลับมาไล่ถามคนอีก 3-4 คนทีบ่ อกทางเราไปคนละทาง ท�าเอามึนงงกันไปหมด คุณลุงคุณป้า บางคนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้กย็ งั อุตส่าห์อธิบายเราเป็นภาษาอิตาเลียนยืดยาว ซึง่ แม้ไม่ได้ให้ขอ้ มูล อะไรเพิ่มแต่เราก็รู้สึกซึ้งในน�้าใจ สุดท้ายเราก็คล�าทางมาถึงโรงแรมจนได้ มันเป็นอพาร์ตเมนต์ในอาคารเก่าแก่ขนาดสี่ชั้น ประตูหน้าอพาร์ตเมนต์ปดิ ล็อกอยู ่ ผมกดกริง่ ขึน้ ไปทีโ่ รงแรมหลายครัง้ ก็ไม่มคี นรับ เดาว่าเจ้าหน้าที่ ยังไม่มาเราเลยนั่งรออยู่ตรงนั้น รอแล้วรอเล่าจนเกือบชั่วโมงผ่านไปก็มีหญิงอิตาเลียนนางหนึ่ง เดินหน้าบึง้ ตรงมาหาเรา บอกว่าเป็นเจ้าหน้าทีโ่ รงแรมรอเราอยูน่ านแล้ว ผมพูดกลับไปว่าเราต่างหาก ทีร่ อคุณอยูเ่ ป็นชัว่ โมง เธอพูดเสียงหงุดหงิดว่าโรงแรมอยูอ่ กี ทางให้เดินตามมา แล้วสาวเท้าตัวปลิว ไปโดยไม่สนใจแขกต่างชาติสองคนที่ลากกระเป๋าทุลักทุเล มาถึงโรงแรมซึง่ อยูเ่ ยือ้ งไปบนถนนอีกสาย ผมยังข้องใจว่าจะผิดได้ไงในเมือ่ ชือ่ โรงแรมและทีอ่ ยู่ ซึ่ง Agoda แจ้งมาตรงกับโรงแรมแรกที่เราไปรอ เธอบอกโรงแรมย้ายมาแล้ว คุณไม่ดูอีเมลเหรอว่า หัวจดหมายเป็นอีกทีอ่ ยู ่ ผมแย้งว่าคุณต้องจัดการแก้ไขข้อมูลกับเอเจนซีสวิ า่ โรงแรมเปลีย่ นสถานที่ ไม่ใช่ให้แขกซึง่ เชือ่ ได้เลยว่าไม่ใช่เราคนแรกเข้าใจผิด เธอแสดงสีหน้าไม่รไู้ ม่ช ี้ ไม่มแี ม้คา� ขอโทษสักค�า จนผมทนไม่ไหว ต้องพูดให้ได้ยินกันไปเลยว่า “ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายส�าหรับที่นี่” ก่อนมาอิตาลี ผมได้ยินค�าพูดเปรียบเปรยว่า “คนอิตาลีคือคนจีนของยุโรปดีๆ นี่เอง” ฟังแล้ว

ผมพอจะเข้าใจความหมาย สิบกว่าปีทแี่ ล้วผมเคยไปกรุงปักกิง่ ตามค�าชวนของเพือ่ นทีท่ า� งานอยูท่ นี่ นั่ แค่ไปถึงวันแรกๆ เพื่อนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองนี้มาสามปีก็พูดกับผมว่า “คนปักกิ่งแม่งเลว คุณต้อง ท�าใจไว้เลย” ตอนนั้นผมนึกแปลกใจที่เขาพูดแรงขนาดนั้น แต่แล้วผมก็เจอเข้ากับตัว วันที่ไปเที่ยว สวนสัตว์ปักกิ่ง ผมเห็นชาวจีนกลุ่มหนึ่งก�าลังหัวเราะเฮฮาเสียงดังเลยเดินเข้าไปดู ภาพที่เห็นคือ พวกเขาก�าลังแข่งกันขว้างกระป๋องน�้าอัดลมให้โดนหมีสองตัวในบ่อ อีกวันผมยืนรอรถเมล์ที่ป้าย พอรถแล่นมาจอด ชาวจีนพากันแย่งวิ่งขึ้นรถถึงขั้นผลักกระแทกกันพัลวัน เมื่อแทรกตัวขึ้นไปบน รถเมล์ได้ สิง่ ทีผ่ มเห็นคือคนทีน่ งั่ บนเก้าอีล้ ว้ นแล้วแต่เป็นเหล่าสุภาพบุรษุ ส่วนคนทีย่ นื เกาะพนักเก้าอี้ ได้แก่ เด็ก สตรี และคนชรา การด่วนสรุปและคิดเหมารวมลวกๆ ว่าคนประเทศนัน้ ประเทศนีน้ สิ ยั ไม่ด ี ทัง้ ทีไ่ ด้คลุกคลีกบั เขา แค่นดิ ๆ หน่อยๆ ออกจะเป็นความคิดทีไ่ ม่ยตุ ธิ รรมกับคนประเทศนัน้ สักเท่าไหร่ มีองค์ประกอบมากมาย ที่ก�าหนดนิสัยใจคอไปจนถึงการแสดงออกของผู้คนแต่ละชาติ อาทิ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม แน่นอนว่าในประเทศหนึง่ ๆ ย่อมมีทั้งคนดี คนไม่ดี คนนิสัยน่ารัก และคนนิสัยห่วยแตก หนึ่งเดือนเต็มที่กรุงปักกิ่งคราวนั้น ผมเจอชาวจีนทีน่ า่ รักมากกว่าทีไ่ ม่นา่ รักอย่างชนิดเทียบจ�านวนกันไม่ได้ ทีอ่ เมริกา อังกฤษ ฝรัง่ เศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ลาว ผมก็เคย มีประสบการณ์พบเจอทั้งคนท้องถิ่นที่ดีและไม่ดี ซึ่งผมก็เชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทาง มาเมืองไทยก็จะได้พบเจอกับคนไทยทั้งสองประเภท เพียงแต่ที่อิตาลีนี่รสชาตินิสัยใจคอของผู้คน ออกจะจัดจ้านกว่าที่อื่นสักหน่อย รักเป็นรัก เกลียดเป็นเกลียด ชอบไม่ชอบเห็นกันชัดๆ ไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาคาดเดา ใครเคยดูหนังอิตาลีหรือดูการแข่งขันฟุตบอลกัลโช เซเรีย อา คงพอจะนึกภาพสีหน้าท่าทาง และการเปิดเผยอารมณ์แบบสุดๆ ของชาวอิตาเลียนออก สองสัปดาห์ทปี่ ระเทศอิตาลี ผมกับหญิงสาวของผมได้พบเจอทัง้ เรือ่ งราวทีช่ วนหงุดหงิดอารมณ์เสีย และเรือ่ งราวน่ารักเรียกรอยยิม้ ไปจนถึงชวนประทับใจจากคนอิตาเลียนทุกวัน ราวกับได้ดหู นังดราม่า ทีม่ คี รบทุกรส มีอยูว่ นั ทีโ่ รมา แตร์มนิ ี ขณะทีเ่ ราก�าลังต่อแถวซือ้ ตัว๋ รถไฟไปฟลอเรนซ์ ก็มสี าววัยรุน่ คนหนึง่ ท�าทีคล้ายอาสาสมัครช่วยเหลือนักท่องเทีย่ ว เข้ามาเสนอตัวว่าจะช่วยกดซือ้ ตัว๋ จากตูอ้ ตั โนมัติ ให้จนเราสองคนซึง้ ใจ แต่พอจัดการให้เสร็จกลับกลายเป็นว่าเธอเรียกร้องขอเงินค่าช่วยเหลือจากเรา ผมยื่นเงินให้ไปอย่างเสียความรู้สึก ก่อนจะเสียความรู้สึกซ�้าเข้าไปอีกเพราะเธอบ่นว่าเงินที่ผมให้ มันน้อยไป จนผมเริ่มโมโหขึ้นมาต้องส่ายหน้าโบกมือและพูดเสียงแข็งใส่ไปบ้าง “เมือ่ กีท้ า� สีหน้าท่าทางอย่างกับคนอิตาเลียนเลย” หญิงสาวของผมพูดแซวเมือ่ เราเดินจากมา ฟังค�าพูดของเธอแล้วผมรู้สึกสะดุ้งในใจยังไงชอบกล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.