a day BULLETIN LIFE issue 30

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 30 I 3 - 9 OCTOBER 2014

THINK OUTSIDE THE TRASH


ปีที่ 1 ฉบับที่ 30 วันที่ 3 - 9 ตุลาคม 2557

NOTE ON LIFE

Life in a Shoe

เมื่อต้องจัดบ้าน ก็ต้องตามมาด้วยการเก็บทิ้งและเก็บไว้ แต่เดาว่า ตู้รองเท้าคือพื้นที่หนึ่งที่หลายๆ คน ไม่พร้อมจะจัดและตัดไป คนเรามีเท้าเพียงสองเท้า แต่มีรองเท้าล้นตู้ได้อย่างไรก็ไม่ทราบ ที่แน่ๆ มีคนจ�านวนมาก เรียกตัวเองว่าคนบ้ารองเท้า เพราะมีความคลั่งไคล้ในการซื้อและสะสมรองเท้าในระดับที่ไม่อาจห้ามใจตัวเองให้หยุดซื้อได้ ซื้อรองเท้าใหม่ๆ ไม่น่าแปลกใจ แต่การไม่ทิ้งรองเท้าเก่าๆ ที่ไม่เคยหยิบมาใส่เลยเป็นเรื่องเหลือที่จะเข้าใจ ไม่ใส่รองเท้าเก่าก็ไม่ได้แปลว่าไม่เอาแล้ว -- พวกเขาบอกสั้นๆ -- คนรักรองเท้าไม่ทิ้งรองเท้า เพราะวันหนึ่งอาจจะหยิบมาใส่อีกครั้ง ทั้งๆ ที่ก็รู้ดีว่าวันนั้นไม่เคยมีมาถึง เพราะสายตาของเขามองหาแต่รองเท้าคู่ใหม่ ทั้งที่ใช้ชีวิตเหมือนเดิมบนเส้นทางสายเก่า รักแสดงออกด้วยการไม่ทงิ้ แต่การทอดทิง้ สิง่ หนึง่ สิง่ ใดวางนิง่ อยูท่ เี่ ดิม ก็อาจพูดไม่ได้เต็มปากว่านัน่ คือความรัก ขณะทีบ่ างคนชอบรองเท้าอยูค่ เู่ ดียว และเลือกให้เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก ไปไหนไปกัน ก็แปลว่ามีรักเดียวได้ ขอแค่ให้ได้พารองเท้าลุยบนถนนหนทาง เลอะฝุ่น เลอะโคลน ก็แค่หยิบมาซักล้าง แต่การร่วมทางกันมาตลอดต่างหากที่ท�าให้ผูกพันจนทิ้งกันไม่ลง เป็นความผูกพันคนละแบบกับคนมีรองเท้ากองเต็มตู้แต่ไม่เคยหยิบใช้ ไม่นบั ว่าบางคนยังเชือ่ ว่า รองเท้าบอกถึงรสนิยมและสถานภาพทางสังคม เพราะบางสังคมเขานิยมมองกันตัง้ แต่หวั จรดเท้า หลายคนจึงต้องหมดเงิน ไปมากมายกับการซือ้ หารองเท้าเพือ่ รักษาหน้าตา... เอาจริงๆ ชีวติ เราจะมีรองเท้ากีค่ กู่ ไ็ ด้ แต่เราพามันเดินทางไปกับเราได้ครัง้ ละคู่ เลือกสักคูแ่ ล้วพามัน ออกเดินให้คมุ้ ค่า เพราะมีอกี หลายคนทีไ่ ม่มที างเลือกแม้กระทัง่ จะเกิดมามีเท้าครบถ้วน... เส้นทางชีวติ มีหลายทางให้เลือกเดิน อย่ามัวแต่คดิ เปลีย่ นรองเท้า ให้เข้ากับเส้นทาง จนลืมเปลีย่ นเส้นทางให้เข้ากับตัวตน แล้วจะพบว่าบางเส้นทางไม่จา� เป็นต้องใช้รองเท้าหรูเลิศ และบางแห่งไม่ตอ้ งใช้รองเท้าเลยก็ไปได้ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin

CONTENTS 22

06

12 12 Make a Dish

16

4 The Stuff

6 Feature

13 Calendar

ที่เล่าผ่านตัวเลข

ที่ ชุ บ ชี วิ ต ข้ า วของ ร้ านดังที่เราอยาก เช็กดูได้ สุดสัปดาห์ ทีค่ ณ ุ คิดว่าเป็นขยะ ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง นี้ จ ะได้ ไ ม่ พ ลาด สร้างสรรค์จนเปลีย่ น เรื่องราวสนุกๆ สถานะเป็นของใหม่ ได้น่าสนใจ

14 16 Supermarket Home Made

18 Selective

20 The 5ive

26 Everyday สารพัดสิง่ รอบตัวเรา หนุ ่ ม สาว 3 คน หนึ่งจานอร่อยจาก ใคร ท�าอะไร ที่ไหน ฉวยตะกร้ า คว้ า แง้มดูบ้านของคู่รัก ข้าวของติดตัว ผศ. หนั ง เพลง ซี รี ส ์ เพราะเราเชื่ อ ว่ า Story

ร ถ เ ข็ น แ ล ้ ว ไ ป เดินเล่นจับจ่ายกับ เราใน Supermarket แห่งนี้

ดร. สิงห์ อินทรชูโต มีหลายสิ่งที่ท�าจาก วัสดุรีไซเคิล คงเป็น เพราะเขาใช้ หั ว ใจ เลือกใช้มัน

หนังสือ ของ เจนสุดา โลกใบนี้ มี ส ถานที่ ปานโต ที่ เ ป็ น ทั้ ง มากมายรอให้ ไ ป แ ห ล ่ ง บั น เ ทิ ง ใ จ ค้นหา สร้างแรงบันดาลใจ และชุ่มชื่นหัวใจ

สิทธิชยั กิตยายุคกะ และ พัทธา พลาวุธ ที่ มี ก ารแบ่ ง สเปซ ของสองคนได้อย่าง ลงตัว

22 Out There

ทุ ก วั น คื อ ชี วิ ต ชี วิ ต คื อ ทุ ก วั น โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

LETTER เราติดตาม a day BULLETIN มาตลอด พอได้พบกับ a day BULLETIN LIFE ก็เหมือนเป็นรสชาติใหม่ที่ทีมงานท�ามาเสิร์ฟให้กับเรา โดยเฉพาะเรื่องของไลฟ์สไตล์ ที่อยู่ในสังคมของประเทศไทยให้เราได้เข้าใจและรู้จักตัวตนของคนที่ทาง a day BULLETIN LIFE น�ามาเสนอมากยิ่งขึ้น ขอบคุณที่ให้เราไปร่วมงานเปิดตัว a day BULLETIN LIFE ด้วย และขอบคุณทีมงานทุกคนที่ท�าเนื้อหาสาระดีๆ ให้ได้อ่านฟรีๆ แต่มีคุณค่าต่อความรู้สึก และได้อะไรหลายๆ อย่างจากนิตยสารบางๆ สองฉบับนี้ - บุษกร อ่อนประดิษฐ์

ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้ค�าแนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter/Instagram: a day BULLETIN

A TEAM ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นิติพัฒน์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา กองบรรณาธิการ เอกพล บรรลือ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ อาทิตยา อาศิรวาท ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวิเชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม ล้ �าดวน สราญรัตน์ ไว เ้ กียรติ ฝ า่ ยผลิต วิทยา ภู ท่ อง ทศพล บุญคง ที่ปรึกษาฝ า่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผู จ้ ัดการฝ า่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, วราพร วิทยารุง่ เรืองศรี 08-9169-9509 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, อังศุนติ ยุ์ จรุงชัยฤทธิกลุ 08-1303-5242 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, รวงรัชต์ ด้านเทาลา 08-1412-9478, ธัญชนก คงเทพ 08-4025-1015, อัมพิกา มณีวัฒน์ 08-5164-4896 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้จัดการ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412


STUFF 4

PORTABLE PLAYER หากคุณเกิดหลังยุค 90’s อาจจะคุ้นเคยกับการฟังเพลงบนโทรศัพท์มือถือหรือไอพอด แต่ส�าหรับพวกเราที่เกิดก่อนหน้านั้น คงจ�ากันได้ว่ากว่าจะมาเป็นเครื่องเล่นเพลงขนาดพกพาที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เราต้องผ่านกระบวนการการกรอเทป การเปลี่ยนแผ่นซีดี และการครอบครองเครื่องเล่นเพลงทรงสี่เหลี่ยมขนาดประมาณฝ่ามือที่มีชื่อสั้นๆ เท่ๆ ว่า ซาวนด์อะเบาต์

442,000,000

1999

442 ล้านตลับ คือจ�านวนเทปคาสเซ็ตที่ขายในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1990 หลังจากนั้น ยอดขายเริ่มถดถอยลงตามความนิยมของเครื่องเล่น ตัวเลขยอดขายในปี ค.ศ. 2009 เหลือเพียง 34,000 ตลับเท่านั้น

ปี ค.ศ. 1999 Samsung ผลิตโทรศัพท์มอื ถือทีส่ ามารถ เล่น MP3 ได้ในตัวเครื่องแรก โทรศัพท์มือถือดังกล่าว เปิดตัวครั้งแรกในประเทศเกาหลีใต้ ก่อนจะเปิดตัว ที่สหรัฐอเมริกาในปีถัดมา

250,000 เครือ่ ง คือจ�านวนเครือ่ งเล่นเทปคาสเซ็ต ที่ขายได้ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1966 ซึ่งอีกสองปี ใ ห้ ห ลั ง จาก Philips ออกจ� า หน่ า ย เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ตตัวแรกมียอดขายพุ่งขึ้น ไปถึง 2.4 ล้านเครื่อง

1984 เครื่องเล่นซีดีขนาดพกพาเครื่องแรกออกวางจ�าหน่ายในปี ค.ศ. 1984 ในตอนแรก Sony เจ้าของผลิตภัณฑ์ ให้ชื่อว่า Discman หลายปีตอ่ มา เครื่องเล่นชนิดนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Walkman

750

750 เหรียญสหรัฐฯ คือราคาของเครื่องเล่นมินิดิสก์ขนาดพกพา รุ่นแรกที่ Sony น�าออกวางจ�าหน่าย ด้วยราคาตั้งต้นที่สูงมาก อุปกรณ์เล่นเพลงดังกล่าวจึงไม่เป็นที่นิยมในตลาด

250,000

3

3% คือยอดขายไอพอด เ ที ย บ กั บ ย อ ด ข า ย ทัง้ หมดของปี ค.ศ. 2013 ของ Apple ซึ่งนับได้ว่า เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่ อ เที ย บกั บ สิ น ค้ า อย่างไอโฟน หรือไอแพด และเมื่ อ ไม่ น านมานี้ Apple ได้ ป ระกาศ หยุ ด จ� า หน่ า ยไอพอด รุ่น Classic แล้ว

1,000

1,000 คือจ�านวนเพลงที่สามารถบรรจุได้ในไอพอด รุ่นแรกที่ Apple ผลิตออกจ�าหน่ายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2001 โดยมี สตีฟ จ๊อบส์ ด�ารงต�าแหน่ง CEO ในขณะนั้น

ก่อนจะมาเป็นเครื่องเล่นเพลงขนาดพกพาแบบดิจิตอลที่เราเห็นกันในปัจจุบัน เคน เครเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ออกแบบเครื่องเล่นเพลงรูปแบบดังกล่าว แต่เครื่องเล่นต้นแบบที่เขาออกแบบไม่ได้เข้าสู่กระบวนการผลิตแต่อย่างใด ต่อมาเกือบ 2 ทศวรรษให้หลัง Apple Inc. ถึงจ้างเครเมอร์ ไปเป็นที่ปรึกษา


FEATURE

Think Outside the Trash เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ถึงปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าแต่ละปีคนไทยทิ้งขยะรวมกันมากถึง 26.77 ล้านตัน หรือเพียงพอที่จะน�ามากองทับกัน จนสูงเท่าตึก 100 ชั้น เรียงต่อกัน 100 ตึกเลยทีเดียว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนไทย ‘ใช้เร็วและทิ้งเร็ว’ เกินไป ข้าวของจ�านวนมากจึงเปลี่ยนสถานะเป็นขยะ อย่างรวดเร็ว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเช่นนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับหนุ่มสาวสามคนที่เราขอชวนคุณมารู้จักในวันนี้ ผู้ ไม่เพียงแต่ชุบชีวิตข้าวของที่คนทั่วไปมองว่าเป็นขยะ หรือของเหลือใช้เท่านั้น แต่ยังบอกเล่าวิธีคิดต่อการมองโลกได้อย่างน่าสนใจและแปรเปลี่ยนสิ่งของที่คนมองผ่านเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าได้อย่างน่าทึ่ง


TANAWAT MANEENAWA เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

‘เป๋’ - ธนวัต ิ มณีนาวา เจ้าของสตูดโิ อ TAM:DA (ท�าดะ) คือชายหนุม่ ทีเ่ ราเชือ้ เชิญมาพูดคุยเพือ่ ค้นหา แนวคิดที่แฝงอยู่ในผลงานของเขาที่เพียงแค่เห็นก็ยิ้มได้... ‘ยิ้ม’ เพราะหน้าตาแสนทะเล้นของสิ่งประดิษฐ์ ทีเ่ ต็มไปด้วยอารมณ์ขนั และ ‘ยิม้ ’ เพราะทึง่ ในความคาดไม่ถงึ กับไอเดียแปลงร่างของใกล้ตวั สุดๆ ให้ออกมา เป็นสิง่ ใหม่ทเี่ จ๋งสุดๆ ดังนัน้ ขอเตือนไว้กอ่ นเลยว่า บทสนทนาต่อไปนี้ นอกจากจะท�าให้คณ ุ ได้ยมิ้ ไปพร้อมกับ ซึมซับไอเดียดีๆ กลับไปแล้ว ยังอาจท�าให้คณ ุ ต้องหัวเราะเบาๆ อยูค่ นเดียวกับเรือ่ งราวสนุกๆ ทีเ่ ขาเล่าให้ฟงั อีกด้วย คุณเริม่ น�ำข้ำวของรอบตัวมำท�ำเป็นผลิตภัณฑ์ ต่ำงๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่... มันเริม่ มาจากเมือ่ ก่อนผมไม่คอ่ ยมีสตางค์ครับ (หัวเราะ) มีพี่น้อง 4 คน กว่าของเล่นจะมาถึงเรา มันก็จะหักไปบ้าง เราเลยสร้างของเล่นขึน้ มาเสีย เลย เช่น อยากได้อลุ ตร้าแมนก็เอามะม่วงมาแปะ ชมพูเ่ ข้าไปเป็นตา หาอะไรมาติดเป็นปาก (หัวเราะ) อุลตร้าแมนของเราเล่นเสมือนจริงด้วยนะ ชกเข้าไป ปัง! ก็มนี า�้ ไหลออกมา จริงๆ เป็นยางมะม่วง เราก็ จินตนาการว่าชกแล้วเลือดไหล คือเพีย้ นตัง้ แต่เด็ก น่ะ (หัวเราะ) พอโตขึน้ มาก็ชอบของมีดไี ซน์ แต่จะ สั่งโรงงานผลิตมันก็ดูยาก เราก็เลยคิดง่ายๆ ว่า เอาของที่มันคล้ายๆ มาประดิษฐ์แล้วกัน พอจัด ปาร์ตที้ บี่ ้านเราก็เอามาโชว์ จนวันหนึง่ เพือ่ นยุว่า ท�าไมไม่ทา� ขายไปเลย ถ้าขายไม่ได้กท็ า� เพจเฟซบุก๊ ไปก่อน อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์กับคนอื่น เราก็ โอเค ท�าเพจแล้วก็โพสต์งานลงไป ไม่ได้หวังอะไร ท�าเอาสนุก เฮฮา กำรสร้ำงผลิตภัณฑ์จำกของใกล้ตัวมันยำก หรือง่ำยกว่ำกำรท�ำสิ่งใหม่โดยไม่มีข้อจ�ำกัด เรื่องนี้... เราคิดว่ามันแล้วแต่คนนะ แต่สว่ นตัวถนัดใช้ ของรอบตัวมากกว่า เราชอบดูของแล้วปรับเปลีย่ น ฟังก์ชันของมัน งานของเราจึงออกมาแบบซื่อๆ มันคงไม่ได้เรียกว่ารีไซเคิลอย่างแท้จริงหรอก แต่ บางทีการรีไซเคิลทีต่ อ้ งน�าวัสดุไปผ่านกระบวนการ หลายอย่างเพือ่ ให้ได้วสั ดุใหม่มนั อาจเปลืองกว่า ท�าของใหม่ขนึ้ มาหนึง่ ชิน้ อีกนะ เช่น เอาถุงพลาสติก มาท�าเฟอร์นเิ จอร์ มันต้องใช้พลังงานเท่าไหร่เพือ่ จะ หลอมถุงเก่ามาเป็นเก้าอีใ้ หม่หนึง่ ตัว พอคิดแบบนัน้ เราจึงเลือกทีจ่ ะเอาของเดิมๆ มาเปลีย่ นหน้าทีใ่ หม่ เพือ่ ไม่ทา� ให้สนิ้ เปลืองพลังงานไปกว่าเดิม มีของชิ้นไหนที่คุณไม่คิดว่ำสิ่งที่เห็นตอนแรก จะมำจบทีโ่ ปรดักต์สดุ ท้ำยได้อย่ำงคำดไม่ถงึ ... มันก็มหี ลายอย่าง เช่น โคมไฟพุดเดิล้ เกิดจาก ตอนทีเ่ ราท�างานอีเวนต์แล้วลูกบอลต้นคริสต์มาส เหลือเยอะ ก็เกิดไอเดียว่าถ้าใส่ยางเข้าไปตรงกลาง ให้มันเป็นสายติดกันหลายลูก แล้วเอาสองเส้น มาขัดกัน มันก็จะเปลีย่ นรูปร่างกลายเป็นหมาพุดเดิล้ ได้ ถ้าเป็นโคมไฟก็แปลกดี สุดท้ายพอมันออกมาดี

เกินคาดก็เลยคิดว่าท�าขายเลยแล้วกัน (หัวเราะ) เป็นผลิตภัณฑ์ตวั แรกที ่ TAM:DA ท�า มีอกี ชิน้ ทีเ่ รา ท�า คือไปเจอพลาสติกไฟท้ายรถยนต์ มองไปมองมา ก็ลองประกบกันดู เฮ้ย! มันเหมือนกระเป๋าคลัตช์ เลยว่ะ (หัวเราะ) งั้นท�าให้มันเป็นกระเป๋าดีกว่า ไหนๆ จะท�าแล้วก็ตดิ ไฟเข้าไปด้วย ถ้าหาของไม่เจอ ก็เปิดไฟได้ ถือไปปาร์ตกี้ เ็ ด่น มีไฟตืด๊ ๆ เป็นของตัวเอง (หัวเราะ) ทุกอย่างที่เราท�าเริ่มต้นจากความสนุก ถ้าจัดล�าดับเป็นรูปพีระมิด ยอดสูงสุดคือความสนุก ที่มำของไอเดียคุณมักจะมำจำกไหน... บางทีกเ็ กิดจากเราไปเจอวัสดุชนิ้ หนึง่ แล้วเกิด ไอเดีย หรือบางครัง้ มันก็เกิดจากโจทย์ เช่น องค์กร Design for Disaster ให้เราช่วยออกแบบสิ่งของ ช่วยชีวิตในยามเกิดภัยพิบัติโดยใช้ของใกล้ตัว เราก็ทา� เสือ้ ชูชพี จากขวดน�า้ ท�าเรือจากถังขยะ กทม. และทีส่ า� คัญทีส่ ดุ คือการออกไปเจอโลกภายนอก หรือไม่ก็ไปดูงานของศิลปินคนอื่นบ้าง ไม่ได้ดู เพือ่ ลอก แต่ดไู อเดียว่าเขามีวธิ คี ดิ ยังไง ส่วนใหญ่ ผมก็จะดูแต่ภาพแล้วตีความเอาเอง เหมือนเด็ก อ่านการ์ตูน ฉะนั้น อย่าถามว่าเราดูงานของใคร มาบ้าง เราไม่เคยจ�าชื่อ (หัวเราะ) คุณคิดว่ำคนแบบไหนถึงจะท�ำโปรดักต์ดี ไซน์ แปลกใหม่ออกมำได้... บ้าๆ บอๆ มัง้ ครับ (หัวเราะ) บวกกับการมีเวลา และความช่างสังเกต เผือ่ ว่าวันไหนต้องใช้งานจะได้ หยิบมาใช้ได้ แต่ตอ้ งบอกก่อนนะว่าเราก็ไม่ได้ทา� ส�าเร็จ ทุกครัง้ ที่กองไว้เต็มบ้านคือมีหลายอย่างที่ยังท�า ไม่สา� เร็จ จนแม่บน่ มาถึงทุกวันนี ้ (หัวเราะ) แต่เราก็ ต้องเก็บไว้กอ่ นเพือ่ รอวัสดุทจี่ ะไปเติมให้มนั ไปต่อได้

www.facebook.com/ TamdaDesign


YUTTANA ANOTHAISINTAWEE เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

นักสร้างสรรค์อย่าง ‘ยุทธ’ - ยุทธนา อโนทัยสินทวี ก่อตัง้ แบรนด์ The ReMaker เมือ่ 10 ปีทแี่ ล้ว เขาเลือกทีจ่ ะผลิตสินค้าจากวัสดุเหลือใช้ทอี่ าจดูเป็นขยะ ในสายตาคนอืน่ แต่มนั กลับเป็นวัสดุทมี่ คี ณ ุ ค่าในสายตาของเขา ไม่วา่ จะเป็นยางรถยนต์ ป้ายไวนิล กางเกงยีนส์เก่าๆ สามารถน�ามาสร้างสรรค์และเพิม่ มูลค่า ให้กลายเป็นสิง่ ของทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างสวยงาม แม้วา่ มันจะไม่ได้ทา� ก�าไรให้รา�่ รวยเงินทอง แต่เขากลับร�า่ รวยความสุขอย่างมหาศาล


คุ ณ เริ่ ม น� ำ วั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ม ำสร้ ำ งคุ ณ ค่ ำ เป็ น ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เมื่อไหร่... จริงๆ เราเอาวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิลเป็นของเล่น ของใช้ตั้งแต่เด็กๆ แล้ว แต่ก็ไม่เคยคิดว่าจะเป็น อาชีพได้ พอช่วงที่ทา� งานบริษัท เรามีโอกาสเจอ เพือ่ นทีเ่ ป็นดีไซเนอร์ชาวญีป่ นุ่ เราก็โชว์ไอเดียว่าเรา อยากเอาวัสดุเหลือใช้มาสร้างอะไรบ้าง แล้วเพือ่ น คนนั้นก็สนใจ เราก็เลยได้ออกแบบเสื้อผ้ากับ บริษทั ญีป่ นุ่ พอเริม่ ท�าไป 2-3 ปี บริษทั ทีญ ่ ปี่ นุ่ ก็เลิก ท�า แต่เราคิดว่าเราลงมาทัง้ ตัวทัง้ ใจแล้ว ไม่อยาก เลิกงานด้านนี ้ แต่กค็ ดิ ว่าจะต้องสร้างอะไรทีท่ า� ให้ ตัวเราอยูร่ อดในเส้นทางแบบนีด้ ว้ ย ก็เลยเปลีย่ น จากออกแบบเสือ้ ผ้ามาเป็นการออกแบบกระเป๋า เพราะว่ากระเป๋ามันไม่มไี ซซ์ ใช้ได้ทกุ คน มีความเป็นสากลมากกว่า แล้วก็คิดแบรนด์ของเราเอง ให้มันสื่อความหมายชัดที่สุด เกิดเป็นแบรนด์ The ReMaker ขึ้นมา ผลตอบรับของกระเป๋ำใบแรกเป็นอย่ำงไร... กระเป๋าทีอ่ อกมาใบแรกขายไม่ได้เลย เพราะว่า ตอนนัน้ คนไทยยังไม่เข้าใจงานประเภทนี ้ เราเคย ไปออกบูธ ก็มีคนสนใจจะซื้อ แต่เราก็บอกว่า ขอเล่าเรื่องราวของกระเป๋านี้ก่อนว่ามันท�าจาก วัสดุเหลือใช้และมีกระบวนการท�าอย่างไร พอรูท้ มี่ า เขาก็วางกระเป๋าแล้วก็เดินไปเลย อาจเพราะเขา คิดว่ามันเป็นของเหลือใช้ ไม่ใช่ของใหม่ ก็เลย ไม่อยากซื้อ ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศ อย่าง คนญี่ปุ่ นหรือคนยุโรปตอนเหนือ เขาจะเข้า ใจ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุทงิ้ แล้วอยูแ่ ล้ว เขาเข้าใจเรือ่ ง ผลกระทบจากการท�าลายสิ่งแวดล้อมหรือเรื่อง โลกร้อนมากกว่าเรา ลูกค้าส่วนมากของเราก็คือ คนต่างชาติ แต่เมือ่ 5 ปีทแี่ ล้วเริม่ มีลกู ค้าคนไทยซือ้ งานของเรา มันท�าให้เราเริม่ มองเห็นความเป็นไปได้ แม้วา่ มันจะไม่ได้เยอะ แต่มนั มีสญ ั ญาณทีบ่ อกว่า คนไทยยอมรับแล้วนะ เราก็คอ่ ยๆ ขยับไปทีละนิด ท� ำ ไมสิ น ค้ ำ ที่ เ กิ ด จำกเศษวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ จึ ง มี รำคำแพง... แม้วา่ วัสดุหรือวัตถุดบิ อาจจะไม่แพง บางอย่าง

ก็ไม่มมี ลู ค่าเลย แต่มขี นั้ ตอนเยอะมากกว่าจะสร้าง สินค้าสักอย่างได้ อย่างยางรถยนต์ เราต้องไป ตามร้านปะยางหลายๆ ที ่ มันก็มคี า่ เดินทางทีเ่ รา ต้องเสีย หลังจากนัน้ เราก็ตอ้ งเอามาท�าความสะอาด เพราะมันไม่ใช่ของใหม่ มีทงั้ คราบสนิม คราบน�า้ มัน คราบดินโคลน เราก็ต้องเช็ดล้างด้วยมือทั้งหมด ต้องล้างอย่างน้อย 5 รอบ จนกว่ามันจะถูกบั เสือ้ ผ้า แล้วไม่เลอะ แล้วก็ต้องเอามาตัดเพื่อแผ่ให้มัน เป็นแผ่นถึงจะสามารถตัดเย็บได้ จากนั้นก็ต้อง มาตัดตามแพตเทิร์นที่เราเตรียมไว้ด้วยมือ แล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการเย็บ ซึ่งก็ต้องพัฒนาโมดิฟาย จั ก รให้ มั น แข็ ง แรงขึ้ น เพื่ อ ที่ จ ะได้ เ ย็ บ ยางได้ ทุกขั้นตอนมันแฮนด์เมดหมด กว่าจะได้ใบหนึ่ง ต้องใช้เวลา 2-3 วัน ในขณะทีข่ องใหม่บางทีวนั เดียว ก็อาจจะท�าได้เป็น 100 ใบ มันก็เลยแพงกว่า กำรรี ไซเคิลมีควำมส�ำคัญไหม... ทรัพยากรธรรมชาติทเี่ ราใช้ผลิตสินค้ามีเยอะ มาก แต่เราใช้มนั ไม่ได้คมุ้ ค่าเลย คืออายุการใช้งาน สั้นมาก อย่างเช่น ป้ายไวนิล ป้ายโฆษณา มัน ก็ถกู ใช้แค่ 2 เดือนเท่านัน้ เอง แต่จริงๆ แล้วมัน ใช้ได้เป็นปี ดังนั้น การรีไซเคิล หรือการ upcycle เพิ่ม มู ล ค่ า ให้ กับ มัน จึง มีค วามส�า คัญ เพราะ ทรัพยากรมันเกิดขึ้นไม่ทันการใช้ของคน ดังนั้น การรีไซเคิลก็จะเป็นการประวิงเวลาให้เรามีโอกาส ใช้ทรัพยากรได้นานมากขึ้น ควำมสุขของกำรสร้ำงผลิตภัณฑ์จำกวัสดุ เหลือใช้แบบนี้คืออะไร... เราได้เห็นงานทีอ่ อกมาแล้วมันมีความแตกต่าง กันในแต่ละใบ แต่ละชิน้ เราสามารถคิดงานใหม่ๆ ทีไ่ ม่จา� เจได้เรือ่ ยๆ ส�าหรับเรา เราคิดว่างานทีห่ น้าตา เหมือนเดิมทุกอันมันน่าเบื่อ เราอยากให้ทุกคน เปิดใจให้กว้าง อย่ามองว่าวัสดุเหล่านี้เป็นขยะ เพราะมันมีอายุการใช้งานอีกนานมาก เรายัง สามารถเอาไปสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ได้อีกเยอะ อีกอย่างคือการได้เห็นคนอืน่ ๆ ยอมรับในงานของเรา เห็นคนถือกระเป๋าเราตามท้องถนน เท่านี้ก็สุข มากแล้ว

www.facebook.com/ TheReMaker


SARUTA KIATPARKPOOM เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

จากนักออกแบบผู้ค้นหาแนวทางของตัวเอง สุดท้าย ‘ปิ่น’ - ศรุตา เกียรติภาคภูมิ เจ้าของแบรนด์ PIN ก็ค้นพบว่าเรื่องราวใกล้ตัวที่อยู่ใกล้ชิดกับเธอมาตั้งแต่เด็ก อย่างโรงงานเหล็กของพ่อ มีความน่าสนใจและดึงดูดให้เธอก่อสร้างแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานรีไซเคิลที่สวยงาม มีความหมาย และสะท้อนตัวตนในสิ่งที่เธอเป็น ได้อย่างดีที่สุด วันนี้ผลงานของเธอได้รับการยอมรับและได้รับการจัดแสดงไกลถึงปารีส นอกจากความภาคภูมิใจที่เธอได้รับแล้ว สิ่งหนึ่งที่เธอบอกกับตัวเองคือ นี่คือชิ้นงานที่ได้บอกเล่าเรื่องราวของเธอและครอบครัว และยังท�าให้คุณพ่อของเธอมั่นใจว่า เธอจะก้าวต่อไปในเส้นทางนี้ได้อย่างมั่นคง


คุ ณ เริ่ ม น� ำ วั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ม ำสร้ ำ งคุ ณ ค่ ำ เป็ น ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เมื่อไหร่... จุดเริม่ ต้นจริงๆ เกิดขึน้ ช่วงท�างานส่งอาจารย์ ตอนปี 2 คนอืน่ ๆ เขาก็ทา� งานวาด งานปัน้ แต่เรา เลือกงานเหล็ก เพราะว่าที่บ้านเป็นโรงงานเหล็ก ซึง่ เป็นธุรกิจของครอบครัวมาตัง้ แต่เราเกิด ตอนนัน้ ท�าชิน้ งานเหล็กไปส่งอาจารย์ เพราะคิดว่ามันเป็น ของที่เรามีอยู่แล้ว และไม่อยากซ�้ากับคนอื่น สุดท้ายก็ได้ A ซึ่งมันท�าให้เรารู้สึกว่างานวัสดุ จากเหล็กนี่มีความน่าสนใจ พอตอนใกล้จะจบ ต้องท�าวิทยานิพนธ์ เราก็เลือกท�าเรือ่ งวิถชี วี ติ ของ คนท�างานในโรงงานเหล็ก ซึ่งก็คือโรงงานตัวเอง ตอนนัน้ มันได้ลงลึกในรายละเอียดของการท�างาน กับวัสดุนอี้ ย่างมาก ลึกไปถึงชีวติ คนท�างาน ได้เห็น ว่าโรงงานที่เราเห็นตั้งแต่เกิดมีเรื่องราวอย่างไร ผ่านอะไรมาบ้าง จากที่เคยไม่ชอบโรงงานเลย เพราะเสียงดัง ไม่ชอบเหล็ก เรากลับเห็นคุณค่า ของมัน หลังจากเรียนจบก็ค้นหาตัวเองอยู่ระยะ หนึ่ง ก็เลยคิดว่าถ้าจะผลิตชิ้นงานศิลปะขึ้นมา สักชิ้น จะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากเหล็ก หลังจำกเริ่มคิดถึงวัสดุที่มีอยู่แล้วอย่ำงเหล็ก คุณเริ่มต้นให้เป็นชิ้นงำนอย่ำงไร... พอเราคิดอยากจะท�า ก็เลยตัดสินใจไปขอ เศษเหล็กจากคุณพ่อ และขอคนงาน 1 คน โดย ไม่ได้ขอเงินลงทุนเลย เพราะเราอยากเริม่ จากศูนย์ ก็มาดูว่าเศษเหล็กที่เหลือจากโรงงานมีรูปร่าง แบบไหน ท�าอะไรได้บ้าง ก็ทดลองออกแบบแล้ว น�ามาขึน้ รูปดู ปรากฏว่าเมือ่ ขึน้ รูปแล้วทรงทีส่ วยงาม ที่สุดคือทรงแบบเจดีย์ ก็เลยพัฒนาดัดแปลงจน ออกมาเป็นโคมไฟทีม่ รี ปู ทรงเจดียซ์ อ้ นบนกระทง ซึ่งให้ความรู้สึกสองอย่างที่ผสมผสานกัน คือ ความอ่อนไหวของศิลปะไทย กับความแข็งแกร่ง ของเหล็ก หลังจากนั้นก็ทดลองท�าทรงดอกบัว แต่ ง านที่ ไ ด้ ร างวั ล คื อ ผลงานชื่ อ ‘ผั ก กาด’ ความพิเศษของชิ้นงานนี้คือเราได้ความคิดจาก การไปเที่ย วเชีย งใหม่ แล้ ว ไปเห็น ทุ่ ง ผัก กาด ที่สวยงาม รูปทรงของผักกาดก็สวยงาม คือมัน ท�าให้เรารูส้ กึ เติมเต็มบางสิง่ บางอย่าง พอกลับมา ทีโ่ รงงานเราก็เลยเอาเศษเหล็กทีม่ มี าขึน้ รูปให้เป็น รูปทรงผักกาด ซึ่งก็กลายเป็นชิ้นงานที่สวยงาม มีเสน่ห์ชิ้นหนึ่ง และยังได้รางวัล DEMark ด้วย

เป็นความส�าเร็จครั้งใหญ่ในชีวิต แนวคิ ด กำรผลิ ต งำนรี ไ ซเคิ ล ของคุ ณ เป็ น แบบไหน... ส�าหรับชิ้นงานของตัวเอง มันเริ่มต้นจาก การน�าสิ่งที่เหลือจากในโรงงานของตัวเองมาใช้ คือเราไม่ได้คดิ เรือ่ งรีไซเคิลเป็นโจทย์แรกในการท�า ชิ้นงาน แต่มันเกิดจากความคิดที่ว่าเรามีของที่ เหลือใช้อยูแ่ ล้ว เราสามารถท�าอะไรกับมันได้บา้ ง และวัสดุที่เรารู้จักดีที่สุดคือเหล็ก การน�าเหล็ก มาท� า งานมั น เป็ น สิ่ ง ที่ เ ราคิ ด ว่ า เหมาะสมกั บ นักออกแบบหน้าใหม่อย่างเราในตอนนั้น เพราะ มีตน้ ทุนต�า่ และเรารูจ้ กั มันดีทสี่ ดุ ในงานต่อๆ ไป ก็ยงั คงใช้เศษเหล็กจากโรงงานในการท�าชิน้ งานอยู่ เพราะมันกลายเป็นสิ่งที่สร้างให้คนรู้จักเรา และ มันลงตัวในแง่การท�างานหลายๆ ด้านด้วย คุณคิดว่ำอะไรคืออุปสรรคของกำรท�ำชิ้นงำน รี ไซเคิล... ช่วงทีไ่ ปแสดงงานทีป่ ารีส ได้คยุ กับนักออกแบบ ชาวต่างชาติคนหนึ่ง เขาบอกว่าปัญหาของงาน รีไซเคิลคือการท�าชิ้นงานที่ออกมาดูแล้วยังเป็น ขยะอยู่ ท�าให้มูลค่าถูกลดลง ซึ่งถ้าพูดถึงในแง่ การขายแล้ว เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็มี หลายแบรนด์ที่ข้ามจุดนี้ไปได้ เพราะมีการใส่ รายละเอียดและแปรรูปชิ้นงานได้อย่างสวยงาม เรื่องนี้เป็นปัญหาของแบรนด์ส่วนใหญ่ที่ท�าจาก วัสดุรีไซเคิล ซึ่งแบรนด์ไทยหลายแบรนด์ก็ข้าม ผ่านจุดนี้ไปได้แล้ว กำรท�ำชิ้นงำนรี ไซเคิลได้ ให้อะไรแก่ชีวิตคุณ บ้ำง... อย่างแรกคือมันเป็นจุดที่ท�าให้เราหันมาดู ตัวเองว่าเราเกิดมาจากอะไร อะไรคือสิ่งที่เรา ผูกพัน ซึง่ ในทีน่ คี้ อื เหล็ก มันท�าให้เราเริม่ ต้นท�างาน ออกแบบได้อย่างมั่นคง ได้เห็นศักยภาพของ ตัวเองว่าเราสามารถสร้างงานจากข้อจ�ากัดได้ อย่างสุดท้ายคืองานทีเ่ ราท�ามันเชือ่ มโยงกับสิง่ ที่ ครอบครั ว ท�า อยู ่ และเราก็ คิ ด ว่ า มั น ไม่ ใ ช่ แ ค่ การท�าชิ้นงานรีไซเคิลของเท่านั้น แต่มันช่วย ให้เราเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ และก่อให้เกิด การพัฒนาในตัวเองได้มากมาย

www.facebook.com/ Pin.metal.life


MAKE A DISH 12

Pan Fried Snow Fish เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

สร้างวันพิเศษของคุณและคนรักให้พิเศษยิ่งขึ้นด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศการดินเนอร์ให้โรแมนติกกว่าที่เคย ที่ห้องอาหาร La VIE - Creative French Cuisine ณ โรงแรมบูติก VIE Hotel Bangkok ย่านราชเทวีที่ตั้งอยู่บนชั้น 11 ของโรงแรม ลองสั่ง Pan Fried Snow Fish ปลาหิมะที่มีรสสัมผัสกรอบนอกนุ่มในชุ่มด้วยน�้าซอสแสนกลมกล่อม และระหว่างที่คุณก�าลังลิ้มรสจานอร่อยอยู่นั้น อย่าลืมมองสีสวยๆ บนท้องฟ้าของตะวันก่อนที่ก�าลังจะลาลับหายไปด้วย

Pan Fried Snow Fish ราคา : 950 บาท

Chef

สุพัฒก์ ชินแสงทิพย์

INGREDIENTS ปลาหิมะ / เบบีส้ ปิแนช / เห็ดออรินจิ / ไวน์ขาว / เห็ดหอมสด / ใบไธม์ / เห็ดนางฟ้า / ครีมสด / เห็ดเป๋าฮื้อ / มันฝรั่ง / น�้ามันมะกอก

CHEF'S INSPIRATION “ปลาหิมะเป็นปลาทีท่ า� อะไรก็อร่อย ไม่วา่ จะเป็นอาหารไทย จนี ยโุ รป ผมก็เลยอยากใช้เนื้อปลาหิมะเป็นพระเอกของจาน เนื้อปลาหิมะ จะมีความมัน เราก็เลยเอามาทอดให้กรอบด้านเดียว แล้วก็เอาเข้า เตาอบให้สุก เสิร์ฟคู่กับมันบดสดๆ เบบี้สปิแนชจากออสเตรเลีย และเห็ดหลายๆ ชนิดมาผัดรวมกัน ส่วนซอสก็ใช้ ไวน์ขาวต้มกับครีม และเนื้อปลา พอทานคู่กันทั้งหมดจะได้รสชาติที่กลมกล่อมมาก”

TIPS เวลาทอดปลาก็ทอดให้กรอบแค่ด้าน เดียว โดยตั้งกระทะให้ร้อนแล้วนาบเนื้อปลา ลงบนกระทะ รอจนกรอบ จากนั้นก็เอาเข้า เตาอบโดยที่ ไม่ต้องกลับเนื้อปลา มันก็จะ สุกเหลืองพอดี เทคนิคนี้จะช่วยให้เนื้อปลา ทั้งกรอบและนุ่ม


CALENDAR 13

FRI

MON

6

TUE

ZURICH CHAMBER ORCHESTRA ร ่ ว ม ดื่ ม ด�่ า ด น ต รี คลาสสิกจากการบรรเลง ของวง ‘Zurich Chamber Orchestra’ วงแชมเบอร์ ออร์เคสตราจากประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ทมี่ ชี อื่ เสียง เป็ น ที่ ย อมรั บ ไปทั่ ว โลก วั น นี้ เวลา 19.30 น. ณ ห อ ป ร ะ ชุ ม ใ ห ญ ่ ศู น ย ์ วั ฒ น ธ ร ร ม แ ห ่ ง ประเทศไทย จ�าหน่ายบัตร ที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์

7

DIALOGUE IN MY MIND นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘บทสนทนาในจิตใจฉัน’ โดย สมชาย วัชระสมบัติ น�าเสนอผลงานจิตรกรรม และวาดเส้นอันเกิดจาก จิ น ตนาการของศิ ล ปิ น เมื่ อ ทุ ก ที่ ที่ ม องไปกลั บ พบเจอแต่สัตว์ประหลาด ทั้ ง แบบที่ ดู น ่ า ยกย่ อ ง แบบที่ดูน่าสะอิดสะเอียน แบบทีด่ นู า่ กลัว และแบบที่ ดูปกติ วันนีถ้ งึ 19 ตุลาคม 2557 ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3709

WED

8

LE SALAIRE DE LA PEUR เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เรื่อง ‘Le Salaire de la Peur’ ในเมื อ งแห่ ง หนึ่ ง กลางทะเลทรายแถบ อเมริกากลาง สีน่ กั ผจญภัย ขับรถบรรทุกที่ขนไนโตรกลี เ ซอรี น เป็ น ระยะทาง 500 กิโลเมตร เพื่อดับไฟ ที่ไหม้บ่อน�้ามัน การเดินทางนี้ กิ น เวลานานและ เ ต็ ม ไ ป ด ้ ว ย อั น ต ร า ย ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคมฝรัง่ เศสกรุงเทพ โทร. 0-2670-4231

THU

3

SAT

4

SUN

5

9

มหกรรมบ้​้านและ คอนโดฯ ครั้งที่ 31

ง า น แ ส ด ง สิ น ค ้ า ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ‘มหกรรมบ้านและคอนโดฯ ครัง้ ที่ 31’ พบกับผูป้ ระกอบการด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทพี่ ร้อมให้คา� แนะน�า ใ น ก า ร ซื้ อ ที่ อ ยู ่ อ า ศั ย พร้ อ มเลื อ กชมโครงการ ในท�าเลต่างๆ มากมาย วันนี้ถึง 12 ตุลาคม 2557 ณ โซน C1, C2 และ พลาซ่​่า ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์

THE DAY BEFORE TOMORROW เชิญชมละครเวทีเรือ่ ง ‘วันดีคืนดี’ ละครดราม่า ตลกร้ายที่จะชวนให้คุณ ตั้งค�าถามเกี่ยวกับตัวเอง และสั ง คมไทย และหา ค� า ตอบไปพร้ อ มๆ กั น กั บ ตั ว ละครทุ ก ตั ว วั น นี้ ถึ ง 1 2 ตุ ล า ค ม 2 5 5 7 รอบการแสดง 19.30 น. เสาร์ - อาทิ ต ย์ เพิ่ ม รอบ 14.00 น. ณ โรงละคร Creative Industries เอ็มเธียเตอร์ (เฉพาะวัน พฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์)

สุขสิบสาม อพาร์ตเมนต์ คุณป้า

ร่ ว มฉลองครบรอบ 13 ปี วงอพาร์ตเมนต์คณ ุ ป้า บนถนนร็ อ กแอนด์ โ รล ในคอนเสิร์ต ‘สุขสิบสาม อพาร์ ต เมนต์ คุ ณ ป้ า ’ มาปลดปล่อยตัวตนด้วย จังหวะกลองที่เร้าอารมณ์ กั บ เสี ย งเบสไลน์ เ เละ กี ต าร์ เ เสบทรวงในเเนว ร็อกแอนด์โรล วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ เซ็นเตอร์พอยต์ สตู ดิ โ อ จ� า หน่ า ยบั ต รที่ ไทยทิกเก็ตเมเจอร์

FOREST - TREAD - BREATH นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘ป่า - ก้าวย่าง - ลมหายใจ’ โดย สุรศักดิ์ สอนเสนา น�าเสนอผลงานภาพพิมพ์ แกะไม้ที่ ง ดงามด้วย กระบวนการภาพพิ ม พ์ ผิวนูนอันละเอียดประณีต ลุ่มลึกด้วยแนวความคิด เกีย่ วกับการให้ความเคารพ ต่ อ ความยิ่ ง ใหญ่ แ ละ สง่ า งามแห่ ง ธรรมชาติ วั น นี้ ถึ ง 2 พฤศจิ ก ายน 2557 ณ ดีโอบี หัวล�าโพง แกลเลอรี ถ.พระราม 4 โทร. 0-2422-2092 (เว้นวันจันทร์)

LET US ENTERTAIN YOU

ISSUE 195 SEPTEMBER 2014

FASHION อัพเดทเทรนด์ซีซั่นใหม่ไปกับแฟชั่นเซ็ตหลากสไตล์ โดย เวียร์ ศุกลวัฒน์, โฟร์ ศกลรัตน์, มด ณปภัช, ไมค์ พิรัชต์, ออม สุชาร์ ฯลฯ • REFLECTION ลูกไม้ใต้ต้นของคนบันเทิง เพลง ชนม์ทิดา, เจสซี่ เมฆวัฒนา, แนท ณัฐชา, แม็กกี้ ภาวิไล, ปันปัน เต็มฟ้า, ป้อน สุนทรวิเนตร์ และม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล • THE INTERVIEW บ้านเกิด ตัวตน และเรือ่ งราวในความทรงจำาของมะเดีย่ ว-ชูเกียรติ ศักดิว์ รี ะกุล • SPECIAL เซี่ยงไฮ้ในคืนที่รู้ใจ เรื่องราวกว่าจะมาถึงวันนี้ของไมค์-ออม

W E NO AVAI LABL

www.twitter.com/hamburger_mag

www.facebook.com/hamburgermag

instagram.com/hamburgermagazine


SUPERMARKET

Have a Nice Breakfast มื้อเช้าเป็นมื้อส�าคัญ เพราะคนเราตื่นมาก็ต้องเริ่มกิจวัตรประจ�าวัน เริ่มตั้งแต่ฝ่าการจราจร เพื่อเดินทางไปท�างานหรือพบปะลูกค้า ดังนั้น อย่าท�าร้ายตัวเองด้วยการปล่อยให้ท้องหิวเด็ดขาด หากใครคิดอะไรไม่ออก ลองหาวัตถุดิบง่ายๆ ติดบ้านไว้ แล้วลงมือท�าเองเลย

english MUFFIN

Soft-Boiled Egg

MILK

MAPLE SYRUP

Hash Brown

Boiled Egg Scrambled Egg


Soft-boiled Egg ไข่ลวก อาหารเช้าทีแ่ พร่หลาย ไม่วา่ จะเป็นมือ้ เช้า แบบตะวันตก หรือร้านกาแฟ ปาท่องโก๋แบบไทยๆ ต่างก็เสิรฟ์ ไข่ลวกให้ทกุ คนได้เพิม่ พลังคูก่ บั เครือ่ งดืม่ ร้อนๆ ยามเช้า HONEY YOGURT

Boiled Egg Matcha ไข่ต้ม อาหารที่พึ่งพาได้เสมอ ไม่ว่าจะยามอับจน ไอเดีย หรือยามอับจนเงิน แค่ได้ไข่ต้มสักฟอง แค่นี้ก็ทั้งอิ่มและอร่อยไปได้อีกหนึ่งมื้อ Fried Egg ไข่ดาว อาหารทีเ่ ปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของมือ้ เช้า ไม่วา่ จะด้วยสารอาหารอย่างโปรตีนทีม่ าแบบเต็มๆ หรื อ ด้ ว ยหน้ า ตาที่ ดู ส ดใสเหมื อ นพระอาทิ ต ย์ ที่ฉายแสง ก็ท�าให้ทั้งวันของคุณเต็มเปี่ยมไปด้วย พลังอย่างแน่นอน Scrambled egg ไข่กวน เมนูไข่แบบง่ายๆ ไม่ว่าใครก็ท�าได้ โดยใช้ ไข่ไก่สด ใส่ครีมหรือนม ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย เทใส่กระทะ ค่อยๆ กวนๆ คนๆ จนไข่สกุ ทานคูก่ บั ไส้กรอก เบคอน หรือพวกผักต่างๆ

PANCAKE

Pancake แพนเค้ก อาหารง่ายๆ ทีไ่ ม่วา่ จะท�าเป็นอาหารคาว ทานกั บ ไส้ ก รอก เบคอน หรื อ เป็ น ของหวาน ทานกับผลไม้ ไอศกรีม ซึง่ ตามซูเปอร์มาร์เก็ตจะมี แป้งแพนเค้กส�าเร็จรูปขาย พร้อมวิธีท�าข้างกล่อง Waffle วาฟเฟิล ขนมเนื้อหนานุ่มที่ส่งกลิ่นหอมเตะจมูก เราได้ทกุ ครัง้ สามารถสร้างสรรค์ใส่เนือ้ ผลไม้ เช่น ลูกเกด แฮม ก็อร่อยได้ง่ายๆ โดยเฉพาะวาฟเฟิล กับไอศกรีม ราดด้วยแยม หรือน�้าเชื่อมเยิ้มๆ English Muffin อิงลิชมัฟฟิน ขนมปังอีกชนิดที่มักจะอยู่ในเมนู อาหารเช้า โดยจะน�ามาผ่าเป็น 2 ส่วน คล้าย ขนมปังเบอร์เกอร์ น�าไปย่าง ทาเนย ประกบกับ ไข่ดาว ไข่กวน เบคอน หรือทานกับแยมก็ได้

Fried Egg

Milk นม เครื่องดื่มแสนอร่อยที่ให้คุณค่าทางอาหาร เช่น แคลเซียมช่วยบ�ารุงกระดูก เหมาะส�าหรับ เริม่ เช้าวันใหม่ ไม่วา่ จะดืม่ จากแก้วสดๆ หรือทาน กับคอร์นเฟล็กก็ได้ทั้งนั้น Yogurt โยเกิรต์ ผลิตภัณฑ์อกี ชนิดทีแ่ ปรรูปจากนม ซึง่ เรา คงคุ้นเคยกันดีกับโยเกิร์ตรสชาติต่างๆ หรือใครที่ ชอบโยเกิร์ตรสธรรมชาติ ก็สามารถผสมน�้ าผึ้ง หรือเนื้อผลไม้สด จะช่วยให้ทานง่ายขึ้น Honey น�า้ ผึง้ สิง่ ทีน่ า่ ทึง่ ของธรรมชาติ ซึง่ ความหวานของ น�า้ ผึง้ นัน้ สามารถน�ามาใช้แทนน�้าตาลได้เลย เช่น ใส่ในนม โยเกิรต์ ราดบนแพนเค้ก ก็อร่อยกลมกล่อม

WAFFLE

Maple Syrup เมเปิลไซรัป น�า้ เชือ่ มทีผ่ ลิตจากน�า้ เลีย้ งของต้นเมเปิล พืชที่มีชื่อเสียงของประเทศแคนาดา ซึ่งการผลิต เมเปิลไซรัปของแท้นั้นมีต้นทุนที่สูงมาก ดังนั้น จึงมีทงั้ เมเปิลไซรัปแบบราคาถูกทีแ่ ต่งกลิน่ เลียนแบบ และของแท้ที่ราคาแพงไปเลย Hash Brown แฮชบราวน์ ส�าหรับผู้ที่ชื่นชอบมันฝรั่ง โดยเมนูนี้ จะเป็นการน�ามันฝรัง่ ไปหัน่ เป็นชิน้ เล็กๆ ผสมแป้ง ปรุงรส และน�าไปทอดให้พอเหลืองกรอบ นิยมทาน เป็นอาหารเช้าคู่กับไข่ ชีส เบคอน


HOME MADE

Home is Our Life เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

เพราะกว่าหมื่นวันในชีวิตของคู่รักช่างภาพ-สไตลิสต์ สิทธิชัย กิตยายุคกะ และ พัทธา พลาวุธ นั้นมีรายละเอียดมากเกินกว่าจะสร้างที่อยู่อาศัยออกมาใน สไตล์ใดสไตล์หนึ่ง ทั้งสองจึงเลือกที่จะปะติดปะต่อ passion ของกันและกัน ออกมาเป็นบ้านที่มิกซ์แอนด์แมตช์ข้าวของจากการใช้ชีวิตและการท�างานออกมาได้อย่าง ลงตัว และไม่เพียงแค่จ�านวนสิ่งของเท่านั้นที่เยอะ หากแต่เรื่องราวที่ติดมากับของแต่ละชิ้นก็บอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตของทั้งสองได้อย่างมากมายเช่นกัน

“ชีวิตของเราสองคน และยังเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิต ที่เจริญเติบโตไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังดูแลและใส่ใจ”


พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร

คุณมาพบบ้านหลังนี้ได้อย่างไร “เมือ่ ก่อนผมเป็น คนฝัง่ ธนฯ บ้านเก่าอยูแ่ ถวจรัญสนิทวงศ์ ช่วงทีม่ องหา บ้าน เพือ่ นของพีส่ าวผมเขาอยูล่ ะแวกนี้ ก็เลยแนะน�า ให้มาดูหมูบ่ า้ นนี้ พอมาดูแล้วก็ชอบ เพราะหน้าตา ของโครงสร้างมันประหลาดดี วิธคี ดิ เรือ่ งสเปซของ บ้านไม่เหมือนใคร เราก็เลยตกลงซื้อบ้านเก่ามา ท�าใหม่ มาจนถึงวันนีก้ อ็ ยูม่ าประมาณ 12 ปีแล้ว” ย้ อ นกลั บ ไปตอนรี โ นเวตบ้ า น คุ ณ ได้ ล งมื อ เปลีย่ นแปลงมันอย่างไร “แรกเริม่ สเปซในบ้านถูก กัน้ เป็นห้องๆ เราก็รอื้ ฝ้าและผนังออกให้พนื้ ทีม่ นั ทะลุ ถึงกัน ส่วนตูบ้ ลิ ต์อนิ ต่างๆ ทีต่ ดิ มากับบ้าน เราก็เก็บ ไว้ ไม่รอื้ ทิง้ เพราะรูว้ า่ ตัวเองของเยอะ ส่วนหนึง่ มาจาก งานที่เราสองคนท�า ก็คือถ่ายภาพ และสไตลิสต์ ความชอบเก็บสะสมจึงเยอะและหลากหลายกว่า คนทั่วไป เราไม่ได้ชอบสไตล์ใดสไตล์หนึ่ง เพราะ รูส้ กึ ว่ามันสวยไปหมดทุกอย่าง บางคนจะบอกว่า บ้านเราเป็นสไตล์มิกซ์แอนด์แมตช์ แต่เราคิดว่า มันคือความมั่วให้ลงตัวมากกว่า (หัวเราะ)” ความชอบแต่งบ้านของคุณสองคนเริ่มขึ้นมา ตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ “คงเริม่ จากงานทีท่ �า เพราะการท�า สไตลิสต์ เราต้องท�าการบ้าน ยิง่ ดูเยอะก็ยงิ่ ฉลาด มันก็เลยซึมซับเข้ามาเองโดยอัตโนมัติ เราคิดว่า น้อยคนนะทีจ่ ะแต่งบ้านสไตล์เดียว ขนาดมีสถาปนิก ออกแบบบ้านให้เขาก็อาจไม่ได้ชอบ 100% หลายคน จึงมีของทีไ่ ม่เข้ากับบ้านแอบซ่อนอยู่ ไม่กล้าเอามา วางให้เห็นชัดเพราะมันจะเขินๆ ดูไม่เข้ากัน แต่เรา จะคิดว่าบ้านมันเป็นของเรา เสียเงินสร้างแล้วก็เป็น ตัวเราให้มากทีส่ ดุ ดีกว่า อย่างเราชอบวอลเปเปอร์ ก็ตดิ ไปเลยสิบลายในบ้าน (หัวเราะ) ไม่ตอ้ งกลัวว่า จะไม่เข้ากัน เพราะบางทีความกลัวไปเองมากเกินไป ก็ท�าให้บ้านที่ออกมาไม่ใช่สิ่งที่เราชอบจริงๆ” อยากให้คณ ุ ช่วยบอกเทคนิคส่วนตัวในการแต่งบ้าน

สักหน่อย “เรามักจะไปช้อปของแต่งบ้านตอนที่ ร้านเฟอร์นเิ จอร์ลดราคา ตอนยังไม่ลดเราก็จะ เล็งไว้กอ่ น รอให้ลดแล้วค่อยซือ้ บางชิน้ รอ 4 ปี กว่าจะลดราคามาในระดับทีเ่ ราซือ้ ได้ เราสองคน จะถื อ คติ เ หมื อ นกั น ว่ า ถ้ า มั น เป็ น ของเรา เดี๋ยววันหนึ่งมันก็จะเป็นของเราอยู่วันยังค�า่ ” บ้านหลังนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ คุณสองคน อย่างไร “ใช่ มันเป็นชีวิตของเราเลยล่ะ เราใช้ บ้านหลังนีเ้ ป็นทีท่ า� งาน ทีน่ อน ทีก่ นิ ทีพ่ กั ผ่อน เราไม่ค่อยไปไหนเลยนะ อยากอยู่บ้านทุกวัน เพราะมันมีบรรยากาศในแบบทีส่ ถานทีอ่ นื่ ไม่มี ช่วงไหนมีเวลาก็จะเปลีย่ นบรรยากาศในบ้านบ้าง เพราะบ้านมันก็มหี วั ใจนะ ถ้าอยูไ่ ปแบบละเลย มันก็จะดูเศร้าและเสือ่ มโทรมตามกาลเวลา แต่ ถ้าเราดูแลเหมือนเป็นสิง่ มีชวี ติ มันก็จะอยูก่ บั เรา ได้นาน ซึ่งในที่สุดแล้วไม่ว่าเราลงทุนท�าอะไร กับบ้าน ผลสุดท้ายคนที่ได้รับก็คือตัวเราเอง มันไม่มีประโยชน์เลยที่เราจะแต่งตัวสวยหล่อ ออกไปข้างนอกทุกวัน แต่กลับมาอยูบ่ า้ นโทรมๆ ทุกคืน บางคนมีเงินล้าน ซือ้ รถได้แบบไม่คดิ มาก แต่จะซือ้ ก๊อกมาเปลีย่ นทีบ่ า้ นสักตัวคิดแล้วคิดอีก ทัง้ ๆ ทีเ่ ราใช้เวลาส่วนใหญ่อยูก่ บั บ้านมากกว่า ที่อื่นๆ มันก็แปลกดีเหมือนกัน”

• ตลาดต้นไม้ที่คนชอบจัดสวนต้อง หลงรัก... ตลาดต้นไม้นนิ จา จ.ชลบุรี เป็นตลาดที่ใหญ่และมีต้นไม้ให้เลือก เยอะมาก • งานอดิเรกวันหยุดสุดสัปดาห์... เย็บผ้า ช่วงนี้ชอบชุบชีวิตยีนส์เก่า ด้วยการปะติดผ้าและปักลาย ท�าแล้ว เพลินดี มีความสุข • เพลินทีส่ ดุ กับเว็บไซต์น... ี้ Ebay.com เข้าไปดูของใหม่ๆ เกือบทุกวัน • ทริปประจ�าปี... ฮ่องกง เราชอบไปช้อป ทีน่ นั่ เพราะของเก่าทีฮ่ อ่ งกงคือของใหม่ ที่ไทย

1. เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 2. เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 3. สยามพารากอน ชั้น 1 4. สยามพารากอน ชั้น 3 5. สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 6. เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A 7. Big C เอกมัย 8. เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ 9. เอ็มโพเรียม ชั้น 5 10. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี เพลส 11. ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซอย 11 และ 13) 12. มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ (ทองหล่อ ซอย 4) 13. เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 14. ออล ซีซัน เพลส 15. อาคารอื้อจือเหลียง 16. หลังสวน 17. สีลมคอมเพล็กซ์ 18. ไทมส์ สแควร์ ซอยสุขุมวิท 12 19. ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า 20. จามจุรีสแควร์ 21. อาคารเดอะสิบเก้า ชิดลม 22. อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ 23. IDEO พญาไท 24. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 25. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 26. โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 27. โรงพยาบาลกรุงเทพ 28. โรงพยาบาลรามาธิบดี 29. โรงพยาบาลพระราม 9 30. The Crystal 31. CDC

32. RCA ์ซิตี้อเวนิว 33. นวมินทร าวน์เซ็นเตอร์ ์ท 34. นวมินทร Center e 35. The Nin 21 l a in ร์ 36. Term ษตร-นวมินท เก lk a W e h 37. T menade 38. The Pro e ทาวน์อินทาวน์ n 39. The Sce ailand ถนนบา� รงุ เมอื ง h 40. SOHO T


SELECTIVE 18

The Story of Stuff เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร

เศษขยะที่มาจากเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงพยาบาลอาจท�าให้เรารู้สึกว่าเป็นขยะอันตราย และต้องก�าจัดทิ้งเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ สิงห์ อินทรชูโต ผู้ก่อตั้งแบรนด์ OSISU ได้บอกกับเราว่า ขยะเหล่านั้นนอกจากจะสะอาดมากพอที่จะน�ากลับมา รีไซเคิลใหม่ได้แล้ว ยังท�าจากวัสดุเกรด A+ ที่สามารถน�ามาผลิตเป็นของใช้ที่มีคุณภาพ และช่วยลดปัญหาขยะล้นเมืองได้อีกทางด้วย

1

3

2

5

4 6

8 7

9

1. แว่นกันแดด “ผมไปท�ำเลสิกมำ ซึ่งแสงแดดในประเทศไทยค่อนข้ำงแรง เลยต้องมีแว่นกันแดดติดตัวเสมอ” 2. เหรียญรางวัล “ได้มำจำกกำรเข้ำร่วมแข่งขันวิ่งมำรำธอนรำยกำรบอสตัน มำรำธอน” 3. กระเป๋า Freitag “เป็นกระเป๋ำทีท่ ำ� จำกวัสดุรไี ซเคิลทีม่ คี วำมแข็งแรงทนทำนมำก สำมำรถใส่ขอ้ สอบและหนังสือเล่มโตๆ ได้สบำยๆ” 4. สมุดบันทึก “เล่มนีเ้ พือ่ นให้มำเป็นของขวัญ และเป็นสมุดจดงำนประจ�ำตัว ของผม” 5. Toiletries Bag “กระเป๋ำส�ำหรับใส่ของใช้เวลำเดินทำง ท�ำมำจำกถุงน�ำ้ ยำล้ำงไต” 6. กระเป๋าสตางค์ “ท�ำมำจำกกระดำษห่อเครือ่ งมือแพทย์ ซึง่ กระดำษประเภทนีจ้ ะมีเส้นใยทีแ่ ข็งแรงมำก สำมำรถใช้งำน ได้เป็นปีๆ โดยที่สภำพยังคงเดิม” 7. รองเท้าวิ่ง “ผมจะวิ่งออกก�ำลังกำยทุกเช้ำก่อนไปท�ำงำน” 8. กล้องดิจิตอล “กล้องขนำดเล็กที่ใช้มือเดียวก็ถ่ำยรูปได้ ซึ่งสะดวกกว่ำใช้โทรศัพท์มือถือซะอีก ผมใช้ถ่ำยรูป เวลำที่ไปตรวจโรงงำนต่ำงๆ ของตัวเอง” 9. กระเป๋าสะพายหลัง “ส�ำหรับใช้เก็บแว่นตำ กล้องถ่ำยรูป ปำกกำ ผมใช้ใบนี้ตั้งแต่กลับมำอยู่เมืองไทย”


THE 5IVE 20

It’s Called Love เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ

หลายคนคงได้ชมภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของคน 4 คน ที่แสนเหงาและเคว้งคว้าง ผ่านบรรยากาศความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ของกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2540 จากเรื่อง ภวังค์รัก (Concrete Clouds) กันมาแล้ว และส่วนหนึ่งของความประทับใจที่เกิดขึ้น หลังจากชมภาพยนตร์นั้นก็มาจากการแสดงอันเข้มข้นของ เจนสุดา ปานโต หนึ่งในทีมนักแสดงนั่นเอง 01 Leon : The Professional “เราชอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กผูห้ ญิงทีแ่ สดงโดย นาตาลี พอร์ตแมน และนักฆ่าลีออง ซึ่งแสดงโดย ฌอง เรโน ทั้งคู่มีความสัมพันธ์ที่พิเศษ และหา ได้ยากส�าหรับคนทีม่ ชี วี ติ ต่างกันอย่างสุดขัว้ แบบนี้ ซึง่ มีเด็กผูห้ ญิงน้อยคนมาก ที่จะได้รับโอกาสให้แสดงบทแบบนี้ และตัวลีอองเองก็มีการพัฒนาทางด้าน คาแร็กเตอร์ สื่อให้เห็นว่าเขารักเด็กผู้หญิงคนนี้ในแบบที่ไม่ใช่เรื่องชู้สาว และทั้งคู่ต่างก็มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน” 02 Spirited Away “แอนิเมชันของทางเอเชียส�าหรับเรานั้น รู้สึกว่ามีจิตวิญญาณอยู่ข้างใน อาจจะเป็นเพราะคนเอเชียนั้นใส่ใจกับเรื่องของจิตวิญญาณข้างใน เอเชีย มีเรื่องของเซน ความเป็นปรัชญา แฝงอยู่ในชีวิตประจ�าวัน และคาแร็กเตอร์ ของสตูดิโอจิบลิมองเผินๆ อาจจะดูง่ายๆ ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรจาก ภายนอก แต่คาแร็กเตอร์ของเขากลับมีความรู้สึกซ่อนอยู่ข้างใน ซึ่งต่อให้คุณ วาดตัวละครออกมาได้เหมือนมนุษย์แค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าคุณไม่เติมวิญญาณ เข้าไปในตัวละคร ตัวละครนั้นก็ดูไร้ชีวิตชีวาเหมือนเดิม” "Something you wouldn't recognize. It's called love." Spirited Away

"Where your treasure is, there also will be your heart." The Alchemist

04 The Alchemist “เป็นหนังสือที่อ่านได้ทั้งเด็ก และผู ้ ใ หญ่ มี ก ารแฝงปรั ช ญา ที่ลึกซึ้งไว้ในเนื้อเรื่อง แต่อ่านแล้ว เราก็ยังสนุกไปกับหนังสือเรื่องนี้ได้ เรี ย กว่ า เป็ น หนั ง สื อ ที่ อ ่ า นง่ า ย แต่ได้สิ่งที่ยิ่งใหญ่กลับไป แตกต่าง จากหนั ง สื อ ปรั ช ญาเล่ ม อื่ น ๆ ที่ เ ราต้ อ งใช้ เ วลาขบคิ ด และ ตีความหมายของเนื้อหา ซึ่งกว่า จ ะ ไ ป ถึ ง เ ป ้ า ห ม า ย ที่ ห นั ง สื อ ต้ อ งการจะบอกกั บ เรา บางที ก็ ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ส� าหรับ The Alchemist นอกจากจะอ่านสนุก แล้ ว ในตอนจบเนื้ อ หาทั้ ง หมด ก็จะกลายเป็นข้อความที่ยิ่งใหญ่ ที่ส่งไปยังคนอ่าน”

03 Grace : Jeff Buckley “ศิลปินทีอ่ ยูใ่ นยุค 90’s เพลงของเขาผสมผสานความเป็ น ร็ อ กแอนด์ โ รลและบั ล ลาด เข้าไว้ดว้ ยกัน เราชอบเสียงของเขา และนักดนตรี คนอืน่ ๆ ของเขาก็เล่นได้เก่งมาก บางครัง้ เราจะ พบว่า นักร้องบางคนมีนกั ดนตรีเก่งๆ ร่วมงานด้วย มากมาย แต่เสียงของเขากลับไม่สอดประสาน กับดนตรีที่ท�าออกมาดีได้ก็บ่อย แต่เจฟฟ์เป็น คนที่สามารถคอนโทรลเสียงตัวเองให้เข้ากับ เสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ ได้อย่างลงตัว” Recommended Tracks : Last Goodbye, Hallelujah และ Lover, You Should’ve Come Over

05 Homeland “เรานับถือคนเขียนบทซีรสี เ์ รือ่ งนีม้ าก พอเนือ้ เรือ่ งดี นักแสดงเก่ง ทุกอย่างเลยลงตัวไปหมด และท�าให้เรา อินไปกับแต่ละตอนของซีรีส์เรื่องนี้มาก แคลร์ เดนส์ เล่นเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลในหน่วยซีไอเอที่ถูก กลุ ่ ม ผู ้ ก ่ อ การร้ า ยจั บ ตั ว ไปล้ า งสมองนานถึ ง 8 ปี แล้วส่งเธอกลับเข้ามาเป็นสปายในซีไอเอ พร้อมกับ อาการป่วยทางจิตของเธอที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แถมยังถูก ล้างสมองส่งกลับไปอยู่กับฝ่ายตรงข้ามอีก เนื้อเรื่อง มีการหักมุม และซับซ้อนมาก เราชอบตัวละครที่ไม่ได้ มีความเปอร์เฟ็กต์ในชีวิตแบบนี้ และตัวนางเอกเอง ก็มีความรักที่ต้องห้าม ซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตของคนจริงๆ ทีไ่ ม่สามารถเลือกหรือสัง่ ตัวเองได้วา่ เรารักคนคนนีไ้ ม่ได้ ให้ตัดใจเสียดีกว่า”


OUT THERE

Melbourne เมลเบิร์นเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศออสเตรเลีย รองจากเมืองซิดนีย์ ซึ่งนอกจากเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ส�าคัญแล้ว เมลเบิร์นยังเต็มไปด้วยวัฒนธรรม ศิลปะ และคาเฟ่น้อยใหญ่ ที่เชื้อเชิญให้นักท่องเที่ยวมาค้นหาในอีกมุมหนึ่ง ด้วยสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ท�าให้เมลเบิร์นได้รับเลือกให้เป็น ‘The World’s Most Liveable Cities’ มาแล้วหลายครั้ง จึงไม่น่าแปลกใจที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกต่างพากันไปเยี่ยมชมและตกหลุมรักเมืองที่ฉลองเทศกาลปีใหม่ในฤดูร้อนแห่งนี้


The City Facts เมลเบิรน์ คือเมืองหลวงของรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย มีพนื้ ทีร่ าวๆ 38 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน จัดเป็นเมืองทีม่ ปี ระชากรหนาแน่นทีส่ ดุ ในรัฐวิกตอเรีย และเป็น อันดับสองของประเทศออสเตรเลีย รองจากเมืองซิดนีย์ ใจกลางเมลเบิร์นเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจของออสเตรเลียและภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก หรือที่เรียกกันว่า Melbourne City Centre

เมลเบิร์นเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยร้านกาแฟและร้านอาหารมากมาย หากได้ไปท่องเที่ยว ทุกที่ตามไกด์บุ๊กแล้ว การหาหนังสือสักเล่มไปนั่งอ่านในคาเฟ่เล็กๆ จิบกาแฟร้อนๆ น่าจะเป็น อีกตัวเลือกหนึ่งที่ท�าให้การท่องเที่ยวในเมลเบิร์นน่าจดจ�ามากยิ่งขึ้น แม้จะไม่ใช่แหล่งผลิต กาแฟอย่างบราซิล หรือขึ้นชื่อเรื่องกาแฟอย่างอิตาลี แต่เมืองเมลเบิร์นก็ได้รับการโหวตจาก นักท่องเที่ยว 1,000 คน ให้เป็นประเทศที่มีกาแฟที่ดีที่สุด


จุดนัดพบของชาวเมลเบิร์นที่นิยมมากที่สุดในยุคนี้เห็นจะต้องเป็นจัตุรัส Federation จัตุรัสรูปร่างหน้าตาประหลาดที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนสแวนสตันและ ถนนฟลินเดอร์ส ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1997 Lab Architecture Studio ของ โดนัลด์ เบตส์ และ ปีเตอร์ เดวิดสัน ได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบจัตุรัสดังกล่าว ภายใต้ความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่อันแสดงออกถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวเมืองได้อย่างดีที่สุด

หากเปรียบเมืองเมลเบิรน์ เป็นร่างกายคนเรา ปอดของเมืองแห่งนีก้ น็ า่ จะหนีไม่พน้ สวนพฤกษศาสตร์ Royal Botanic Gardens พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองขนาดเกือบ 4 แสนตารางเมตร ที่ซึ่งชาวเมลเบิร์น และนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจในช่วงบ่ายวันหยุดของพวกเขา สวนแห่งนี้ประกอบไปด้วย พืชพรรณกว่าหมื่นชนิด เติบโตอยู่ในสวนหลายแห่งที่ล้อมรอบด้วยทะเลสาบอีกมากมาย

เมืองเมลเบิร์นนับว่าเป็นปลายทางอีกหนึ่งแห่งของศิลปิน นักเขียน และนักดนตรี ในการหาแรงบันดาลใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ไม่เพียงแต่ศูนย์ศิลปะร่วมสมัย ออสเตรเลีย แหล่งรวมศิลปะร่วมสมัยจากทั่วทุกมุมโลก เมลเบิร์นยังมีศิลปะอยู่ตามสถานที่ สาธารณะต่างๆ จนได้สมญานามว่าเป็นเมืองหลวงแห่งสตรีทอาร์ต การเดินเล่นซึมซับ บรรยากาศบนถนน ACDC หรือ Hosier พร้อมทั้งชื่นชมศิลปะข้างถนนระหว่างทางจึงเป็น กิจกรรมที่ไม่ควรพลาดหากได้มีโอกาสไปเหยียบดินแดนจิงโจ้แห่งนี้


"I LOVE COMING HOME TO MELBOURNE. THE FIRST THING I DO IS HAVE A COFFEE. IT'S JUST SO MUCH BETTER HERE THAN ANYWHERE ELSE..." CURTIS STONE, AN AUSTRALIAN CHEF

อีกวิธีหนึ่งที่จะท�าให้เราเข้าถึงเมลเบิร์นได้อย่าง แท้จริง คือการนัง่ รถรางไปรอบๆ เมือง สายทีน่ กั ท่องเทีย่ ว นิยมคือ City Circle Tram ที่วิ่งผ่านสถานที่ส�าคัญๆ ในแต่ละย่านของแหล่งท่องเทีย่ ว อาทิเช่น อาคารเก่า ธนารั ก ษ์ , อาคารรั ฐ สภา และโรงละครปริ๊ น เซส รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าและร้านรวงต่างๆ ซึ่งรถราง สายที่ว่านี้มีไว้ส�าหรับบริการนักท่องเที่ยวฟรี WHAT YOU NEED TO KNOW ศูนย์ยื่นวีซ่าประเทศออสเตรเลีย อาคารเดอะเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น 28 สุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2118-7100 http://vfs-au.net/Thai/ การเดินทาง สายการบินคาเธย์แปซิฟิก www.cathaypaciffiific.com สายการบินไทย www.thaiairways.co.th สายการบินแอร์เอเชีย www.airasia.com ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง


EVERYDAY STORY

มากกว่าประสบความส�าเร็จคือประสบความพอใจ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

บางครั้งผมก็รู้สึกว่าความสุขกับความทุกข์เป็นเรื่องประหลาด ความสุขส�าหรับบางคนดูยากเย็นเข็ญใจเหลือเกินกว่าจะท�าให้มนั เกิดขึน้ ได้ ขณะทีข่ องบางคน ก็ง่ายแสนง่ายจับต้องได้เลยเดี๋ยวนั้น ในทางกลับกัน บางคนก็ไม่ยอมทุกข์ทนกับเรื่องอะไรง่ายๆ ขณะทีบ่ างคนแค่มอี ะไรนิดเดียวมากระทบชีวติ ก็เป็นทุกข์แล้ว ทีน่ า่ ขันคือความทุกข์ของคนบางคน เป็นเรื่องไร้สาระแทบไม่น่าเชื่อ ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์นักธุรกิจร�่ารวยคนหนึ่งในนิตยสาร คนสัมภาษณ์ถามค�าถามว่า เรื่องอะไรบ้างในชีวิตเวลานี้ที่ทา� ให้คุณรู้สึกเป็นทุกข์ เขาตอบว่ายังไง รู้ไหมครับ เขาตอบว่า ทุกเช้าที่ตื่นมา สิ่งแรกที่ท�าคือเขาจะเดินส�ารวจดูรถซูเปอร์คาร์สามคัน ของเขาทีจ่ อดอยู่ ถ้าเห็นว่ารถคันไหนมีรอยขีดข่วนแม้เพียงเล็กน้อยเท่าขนแมวเขาจะรู้สกึ หงุดหงิด ไม่สบายใจไปทั้งวัน ผมไม่แน่ใจนะครับว่านักธุรกิจคนนั้นพูดเล่นหรือตอบค�าถามนั้นจริง ถ้าจริงผมว่าเขาเป็นคน มีกรรมแล้วล่ะ และกรรมของเขาเกิดจากความคิดเบียดเบียนตัวเองล้วนๆ ลองประเมินดูคร่าวๆ คนทีส่ ามารถซือ้ รถหรูราคาคันละสิบกว่าล้านบาทได้ เขาน่าจะมีเงินสดในธนาคารหลักหลายสิบล้าน หรือเป็นร้อยล้านบาท รวยล้นฟ้าขนาดนี้แต่กลับกลายเป็นว่าความทุกข์ของเขามันเป็นเรื่องขี้ผง เอามากๆ ไม่เรียกเบียดเบียนตัวเองแล้วจะเรียกอะไร วันดีคนื ดีเพือ่ นสองคนก็โทรศัพท์มาหาผมในเวลาไล่ๆ กันจนน่าแปลกใจ คนหนึง่ เป็นเพือ่ นผูห้ ญิง รุน่ น้อง อีกคนเป็นเพือ่ นผูช้ ายทีส่ นิทกันมาสิบกว่าปี ทัง้ สองคนเป็นคนดังในวงการบันเทิงทีเ่ อ่ยชือ่ ไป ใครก็รู้จัก สองคนเกริ่นถามว่าผมพอจะมีเวลาฟังเรื่องที่พวกเขาก�าลังกลุ้มใจอยู่ไหม เขาไม่รู้ว่า จะไปปรึกษาใคร นึกไปนึกมาคนเดียวที่คิดว่าน่าจะให้คา� ตอบได้ก็คือผม ผมตอบไปทันทีว่าได้เลย มันเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของคนเป็นพี่เป็นเพื่อนอยู่แล้ว จากนั้นเราก็เริ่มต้นคุยกัน เพื่อนทั้งสองคนเริ่มพูดระบายความทุกข์เศร้าที่ก�าลังเกิดขึ้นกับชีวิต ขณะฟังผมพยายาม จับสาเหตุให้ได้ว่ามันเกิดจากอะไร เพราะเท่าที่รู้เท่าที่เห็น ดูจากภายนอกชีวิตพวกเขาสองคน น่าอิจฉาจะตายไป จากคนท�างานตัวเล็กๆ อดทนมุง่ มัน่ ตัง้ ใจท�างาน จนกระทัง่ กลายเป็นคนมีชอื่ เสียง ระดับประเทศ งานการไหลมาเทมาจนท�าแทบไม่ทัน ส่วนเรื่องเงินทองรายได้ไม่ต้องพูดถึง เรียกว่าเลยจุดเหลือกินเหลือใช้ไปไกลแล้ว แต่ความทุกข์ความเศร้าส่วนใหญ่ในชีวติ คนเราก็เป็นเช่นนีน้ ะครับ มันมักแอบซ่อนฝังตัวอยูล่ กึ ๆ ข้างใน ดูจากข้างนอกยากที่จะรู้ เพื่อนทั้งสองคนก�าลังตกอยู่ในภาวะสับสนเหมือนกัน จากที่เคยเป็นคนไฮเปอร์แอ็กทีฟ ตลอดเวลา ตอนนี้พวกเขากลับรู้สึกว่าตัวเองเฉื่อยๆ เนือยๆ ไม่รู้ว่าพลังและความกระตือรือร้น ที่เคยมีมันหดหายไปไหน บางครั้งก็รู้สึกเบื่องานที่ท�าอยู่ ทั้งที่เมื่อก่อนมันเป็นงานที่สนุกและ อยากท�ามาก บ่อยครั้งที่พวกเขารู้สึกว่าตื่นเช้ามาแล้วเคว้งคว้างราวกับอยู่ตัวคนเดียวในโลก ไม่อยากเจอหน้าพูดคุยกับใคร “บางทีกกู ท็ า� นิสยั ไม่ดอี อกไปด้วย กูร้ตู วั ...” เพือ่ นผมเล่า “หลังๆ กูจะเข้มงวดกับลูกน้องกูมาก ใครท�างานอะไรผิดพลาดหรือท�าไม่ถกู ใจโดนกูดา่ แหลกเลย ตอนนีล้ กู น้องทุกคนในบริษทั กลัวกูหมด

ไม่ได้รู้สึกว่ากูเป็นพี่ใจดีคนเดิมแล้ว หรือบางครั้งออกไปข้างนอกถ้าเหนื่อยๆ มีคนมาขอถ่ายรูป กูจะบอกเขาว่า ขอโทษนะผมไม่อยากถ่าย ทัง้ ทีเ่ มือ่ ก่อนไม่เคยท�าอย่างนีเ้ ลย” เขาเล่าด้วยน�้าเสียง ที่ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเขา “กูก็รู้ตัวนะว่าสภาพอย่างนี้มันไม่ด ี เคยพยายามหาทางออกให้ตัวเอง ลองไปเที่ยว ลองใช้เงิน ซื้อความสบายใจ ซึ่งปกติกูเป็นคนที่ไม่ค่อยใช้เงินอยู่แล้วมึงก็รู้ ไปญี่ปุ่นแค่อาทิตย์เดียวกูใช้เงิน เป็นล้านเลย อยากกินอะไรแพงๆ กิน อยากได้อะไรซื้อ นี่มึงดูนี่...” เขาควักปากกาด้ามหนึ่งมาให้ ผมดู เป็นปากกายี่ห้อ Mont Blanc สวยทีเดียว “ด้ามนี้แสนห้า ชื่นชมอยู่ได้แค่สองวันก็คิดว่า นี่กูซื้อมาท�าไมวะ…” ส�าหรับเพือ่ นสาวรุน่ น้อง นอกจากความรูส้ กึ ว่าหมดพลัง สิน้ ไร้แรงบันดาลใจ เธอยังเกิดค�าถาม ที่ให้คา� ตอบกับตัวเองไม่ได้ว่า “หนูไม่รู้ว่าถึงจุดนี้แล้วเราจะไปไหนต่อ” ถึงคราวที่ผมจะพูดบ้างแล้ว ก่อนอืน่ ผมบอกกับเพือ่ นทัง้ สองคนว่า พวกเขาไม่ลมื ใช่ไหม ว่าย้อนกลับไปเมือ่ สิบกว่าปีทแี่ ล้ว เขาและเธอเป็นเด็กหนุ่มสาวที่มีความฝันอยากท�างานที่รัก สองคนไม่ได้มีแต้มต่ออะไรเลย เป็นเพียงเด็กหนุ่มสาวธรรมดาๆ ที่เริ่มต้นจากการเป็นเด็กฝึกงานเหมือนเด็กเพิ่งจบมหาวิทยาลัย ทัว่ ๆ ไป แต่สงิ่ ทีท่ งั้ สองคนมีคอื พลังและความมุง่ มัน่ พวกเขาอยากเป็นคนท�างานทีป่ ระสบความส�าเร็จ กับอาชีพในฝัน จึงทุ่มเทท�าทุกอย่างด้วยความตั้งอกตั้งใจ อดทนท�างานหนัก และแสวงหาโอกาส อยู่เสมอ จนกระทั่งในที่สุดความพยายามของพวกเขาก็ถูกตอบแทนด้วยการได้เลื่อนขึ้นมาท�างาน ที่ดีขึ้น สร้างสมผลงานและชื่อเสียงมากขึ้น จนกลายเป็นคนมีชื่อเสียงในจอโทรทัศน์ ผมถามกลับเพือ่ นทัง้ สองคนว่า ทีพ่ วกเขาท�างานหนักตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมาก็เพือ่ ทีจ่ ะมาถึง จุดนี้ไม่ใช่หรือ เพียงแต่เรื่องที่ไม่ได้อยู่ในแผนการคือ ความส�าเร็จที่พวกเขาได้รับมันเผอิญมาเร็ว กว่าที่คาดคิด เปรียบไปก็เหมือนพวกเขาตั้งใจที่จะปีนภูเขาสูงไปให้ถึงยอดเขา แต่เกิดพิชิตมันได้ ก่อนเวลา เลยเคว้งคว้างไม่รจู้ ะไปไหนต่อ ผมบอกทัง้ สองคนว่าพวกเขาควรจะชืน่ ชมตัวเองให้มากๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาท�าได้ไม่ใช่เรื่องง่าย มันเป็นจุดหมายที่คนจ�านวนมากใฝ่ฝันแต่ไม่สามารถไปถึง ทีส่ า� คัญ ความส�าเร็จทัง้ หมดมันเกิดขึน้ ด้วยน�า้ พักน�า้ แรงของพวกเขาล้วนๆ ซึง่ นีค่ อื สิง่ ทีน่ า่ ภาคภูมใิ จ เข้าไปใหญ่ ส่วนค�าถามทีว่ า่ พอมาถึงเป้าหมายทีว่ างไว้แล้วจากนีไ้ ปต้องท�าอะไรต่อ ผมว่ายังไม่ตอ้ ง รีบร้อนคิดก็ได้ สิ่งที่ควรท�าคือพวกเขาควรจะนั่งลงแล้วซึมซับกับความสวยงามของทิวทัศน์ แห่งความส�าเร็จนี้ให้พอใจ จากนั้นค่อยคิดว่าจะเดินลงจากภูเขา พอแค่น ี้ ไม่เอาแล้ว หรือจะหา ยอดเขาที่สูงกว่าลูกต่อไปป่ายปีนเพื่อท้าทายตัวเองก็แล้วแต่เลย “การประสบความส�าเร็จเป็นเรือ่ งสวยงามและมีความหมาย แต่เหนือกว่าการประสบความส�าเร็จ คือการประสบความพอใจ” ผมพูดส่งท้ายกับเพื่อนทั้งสองคนอย่างนี้ หลังจากวันนั้นผมเองก็ไม่แน่ใจว่าค�าแนะน�าของผมจะเป็นค�าตอบให้พวกเขาทั้งสองคน ได้หรือเปล่า แต่เชือ่ ว่าน่าจะพอเป็นประโยชน์อยูบ่ า้ ง เพราะเปิดโทรทัศน์ลา่ สุดดูรายการทีท่ งั้ สองคน เป็นพิธกี ร ผมเห็นประกายตาสดใสเปีย่ มพลังคูเ่ ดิมกลับมาอยูก่ บั เธอและเขา คนทีผ่ มเคยรูจ้ กั แล้ว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.