TODAY EXPRESS PRESENTS
ISSUE 41 I 19 - 25 DECEMBER 2014
HAPPY FARM, HAPPY FEELINGS
ปีที่ 1 ฉบับที่ 41 วันที่ 19 - 25 ธันวาคม 2557
NOTE ON LIFE
Why Not Eating Alone?
ช่วงนี้หลายคนพูดถึงหนังสือขายดีเล่มหนึ่งที่ชื่อ Never Eating Alone (Keith Ferrazzi, Tahl Raz) เหตุเพราะมันพูดถึง ความส�าคัญของการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นเรื่องถูกอกถูกใจของคนยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กเบ่งบาน และจะมีกิจกรรมอะไร ที่เหมาะสมไปกว่าการทานอาหารร่วมกัน เพราะเราเชื่อกันว่าโต๊ะอาหารคือพื้นที่แห่งการพบปะสังสรรค์ สร้างความคุ้นเคย สลายตัวตน ท้องอิ่ม หัวใจก็อิ่มตาม ยกเว้นว่าไปเจอนักท�าลายบรรยากาศ ที่สร้างความอึดอัดบนโต๊ะอาหารมากกว่าความอิ่มอกอิ่มใจ แต่ไม่ว่าใครจะพร�่าบอกถึงข้อดีของการทานอาหารกับผู้อื่นอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ยังเลือกทานอาหารคนเดียวอยู่บ่อยๆ ไม่ใช่ไม่เห็นความส�าคัญ ของการสร้างสัมพันธ์ แต่เพราะนิยมชมชอบการอยู่ลา� พังมากกว่า ที่ส�าคัญ ทุกวันนี้ก็มีพื้นที่ทางสังคมทั้งในโลกเสมือนและโลกจริงที่ใช้สร้าง สัมพันธ์ได้อยู่แล้ว จึงเลือกที่จะให้บนโต๊ะมีแค่อาหารที่ชอบ มีแค่ตัวเองที่ได้อยู่นิ่งๆ ไม่พูดคุยกับใคร และไม่คิดถึงเรื่องอื่นใดมากไปกว่า การทานอาหารที่อยู่ตรงหน้า ไม่แม้แต่กระทั่งบอกโลกในโซเชียลมีเดียว่า ‘อร่อยมาก’ ไม่มีอะไรดีหรือแย่ไปกว่ากัน ระหว่างการทานหลายคนกับทานคนเดียว จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องโน้มน้าว ชักชวน ให้ต้องท�าอะไรมากกว่าอะไร เหล่านี้เป็นแค่วิถีทางที่แล้วแต่ใครจะเลือก ทานข้าวคนเดียว แต่ได้อยู่กับตัวเองเต็มที่ จึงไม่ใช่ความเหงา ขณะที่การนั่งทานข้าวกับคนอื่นก็ไม่ได้รับประกันความสุข ถ้ายังต้องฝืนยิ้ม ฝืนสนุก ไปตามมารยาท การทานข้าวคนเดียว ถึงที่สุดก็เป็นแค่การเลือกที่จะรู้สึกเต็มอิ่มทั้งอาหารและเวลาส่วนตัวอันหาได้ยาก ในโลกที่เต็มไปด้วยสายสัมพันธ์และคนรู้จัก... ที่บางทีก็แค่รู้จัก แต่ไม่ได้รักกันจริง วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin
CONTENTS
The Stuff
Feature
สารพั ด สิ่ ง รอบตั ว สัมผัสนิยามความเ ร า ที่ เ ล ่ า ผ ่ า น สุ ข ท ่ า ม ก ล า ง ตัวเลข ธรรมชาติและฝูงสัตว์ จากชี วิ ต หนุ ่ ม สาว เจ้าของฟาร์ม 3 แห่ง
Calendar
Selective
Supermarket Make a Dish
The 5ive
Home MADE
Out There
ใคร ท�าอะไร ที่ไหน เช็กดูได้ สุดสัปดาห์ นี้ จ ะได้ ไ ม่ พ ลาด เรื่องราวสนุกๆ
ของสะสมแสนรั ก ที่เต็มไปด้วยความทรงจ�าของ พันทิพา ตันชูเกียรติ นักเย็บ สมุดจาก Likaybindery
ฉวยตะกร้ า คว้ า หนึ่งจานอร่อยจาก ร ถ เ ข็ น แ ล ้ ว ไ ป ร้ า นดัง ที่เ ราอยาก เดินเล่นจับจ่ายกับ ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง เราใน Supermarket แห่งนี้
รู ้ จั ก หนั ง สื อ ศิ ล ปะ ทีป่ ะติดปะต่อตัวตน ของ ทรงพล จั่นลา บ ร ร ณ า ธิก า ร ศิลปกรรม นิตยสาร a day ขึ้นมา
บุกบ้านแสนอบอุ่น ของของ ภั ท รี ด า และ นวลตอง ประสานทอง สองพี่น้องนักวาดภาพประกอบ
เพราะเราเชื่ อ ว่ า โลกใบนี้ มี ส ถานที่ มากมายรอให้ ไ ป ค้นหา
Everyday Story
ทุ ก วั น คื อ ชี วิ ต ชี วิ ต คื อ ทุ ก วั น โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
LETTER ผมอาจจะเป็นหน้าใหม่อยู่สักหน่อยส�าหรับการอ่าน a day BULLETIN LIFE เพราะได้ติดตามบ้างไม่ได้ติดตามบ้าง แต่ทุกครั้งที่มีเวลาจะเปิดไปอ่านคอลัมน์ Everyday Story เป็นอันดับแรก เพราะรู้สึกว่าเวลาอ่านคอลัมน์นี้เราเหมือนได้ทานอาหารเรียกน�้าย่อยทางความคิดออกมา ฉุกให้เราคิดถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วอมยิ้มไปกับมัน ส่วนคอลัมน์ที่อ่านตามมาติดๆ คือ Out There ที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก ท�าให้คนที่รักการเดินทางอย่างผมมีเป้าหมายในการเดินทางเพิ่มขึ้นเกือบทุกครั้ง - เจเจ จักรพงศ์
ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife
A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา กองบรรณาธิการ เอกพล บรรลือ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ อาทิตยา อาศิรวาท ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวิเชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม ล้ �าดวน สราญรัตน์ ไว เ้ กียรติ ฝ า่ ยผลิต วิทยา ภู ท่ อง ทศพล บุญคง ที่ปรึกษาฝ า่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผู จ้ ัดการฝ า่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, วราพร วิทยารุง่ เรืองศรี 08-9169-9509 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, อังศุนติ ยุ์ จรุงชัยฤทธิกลุ 08-1303-5242 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, รวงรัชต์ ด้านเทาลา 08-1412-9478, ธัญชนก คงเทพ 08-4025-1015, อัมพิกา มณีวัฒน์ 08-5164-4896 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้จัดการ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412
STUFF 6
CHRISTMAS DECORATIONS ถ้าพูดถึงเดือนธันวาคม สิ่งแรกที่เรานึกถึงคงต้องเป็นเทศกาลคริสต์มาสที่เต็มไปด้วยความรื่นรมย์ และสีสันสดใส รวมไปถึงประเพณีการประดับประดาของหลายบ้านที่ขุดเอาต้นคริสต์มาสและเครื่องตกแต่ง จากปีก่อนมาปัดฝุ่นและติดตั้งใหม่อีกครั้ง เทศกาลคริสต์มาสจึงไม่ได้เป็นแค่การเฉลิมฉลอง ตามประเพณีเท่านั้น แต่เป็นการฉลองให้กับชีวิตและการเริ่มต้นใหม่อีกด้วย
90
4
ต้นคริสต์มาสปลอม ที่ สู ง ที่ สุ ด ใ น โ ล ก มี ค ว า ม สู ง ถึ ง 90 เมตร หรือ 295 ฟุต ตั้ ง อยู ่ บ นรี ฟ อร์ ม า อเวนิ ว ในประเทศ เม็กซิโก ซึ่งท�าลาย สถิติโลกในปี 2009
วัฒนธรรมของโบสถ์บางแห่งในสหราชอาณาจักร คือการตีระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโบสถ์ 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนถึงเที่ยงคืนในคืนก่อนวันคริสต์มาส พอถึ ง เวลาเที่ ย งคื น จึ ง ตี ร ะฆั ง ทุ ก ใบเพื่ อ เป็ น การเฉลิมฉลอง
2 หลักฐานการใช้กระดาษห ่ อ ข อ ง ข วั ญ ค รั้ ง แ ร ก เ กิ ด ขึ้ น ใ น ป ร ะ เ ท ศ จี น ที่ ซึ่ ง มี ก า ร ป ร ะ ดิ ษ ฐ ์ กระดาษในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช
3 หนึ่งในที่มาของถุงเท้าคริสต์มาสที่ห้อยไว้ตามเตาผิง เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ครั้ ง ที่ เ ซนต์ นิ โ คลั ส เดิ น ผ่ า นบ้ า นของ ครอบครัวยากจนครอบครัวหนึ่ง และบังเอิญได้ยิน บทสนทนาเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเงินทอง เขาจึงแอบน�า ถุงที่เต็มไปด้วยทอง 3 ถุง ใส่ไว้ในถุงเท้าที่ครอบครัวนี้ ตากไว้ให้แห้งหน้าเตาผิง
1847 เครื่องประดับตกแต่งต้นคริสต์มาสที่เราคุ้นตากันดีนี้ เรี ย กกั น ว่ า bauble ซึ่ ง เป็ น เครื่ อ งตกแต่ ง ที่ นิ ย ม มากที่ สุ ด โดยมี ก ารผลิ ต มาตั้ ง แต่ ป ี ค.ศ. 1847 ในเมืองเล็กๆ ของประเทศเยอรมนี
1900 1895
ในปี ค.ศ. 1895 พนักงานต่อสายโทรศัพท์ชื่อ ราล์ฟ มอริส ประดิษฐ์ ไฟคริสต์มาสที่ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรก เพราะเขาค�านึงถึงอันตราย จากไฟไหม้ ซึ่งไฟคริสต์มาสแบบดังกล่าวยังนิยมใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1900 ‘แคนดี้เคน’ ทอฟฟี่รูปร่าง คล้ายไม้เท้า มีสขี าวล้วน จนกระทัง่ ในช่วงต้นศตวรรษ ที่ 20 ได้เพิ่มลายทางสีแดงเข้ามา จึงเกิดเป็นแคนดี้เคน ที่เราคุ้นตากันในปัจจุบัน
สายรุ้งสีสันสดใสที่เรามักใช้ตกแต่งงานปาร์ตี้รวมไปถึงเทศกาลคริสต์มาส แท้จริงแล้วเริ่มต้นมาจากการน�าเครื่องเงินแท้มาท�าเป็นเส้นเล็กๆ แต่เนื่องจากเครื่องเงินมักมีปัญหาความหมอง จึงมีการคิดค้นการท�าสายรุ้งปลอมขึ้น โดยไม่มีใครเคยทราบว่าจริงๆ แล้วใครเป็นผู้ริเริ่มสิ่งประดิษฐ์นี้
FEATURE
Happy Farm, Happy Feelings จะดีแค่ไหนถ้าเราได้ใช้ชีวิตอยู่กับพืชและสัตว์บนพื้นที่ของฟาร์มที่สวยงามดั่งความฝัน แนวคิดเหล่านี้อาจจะเป็นเพียงภาพฝันรางเลือนส�าหรับใครหลายๆ คน แต่เชื่อไหมว่าฝันเหล่านี้เป็นจริงได้ ดังเช่นฟาร์มสามแห่งที่เราน�าเสนอในหน้าต่อไปนี้ เจ้าของฟาร์มทั้งสามเริ่มต้นจากความฝัน และลงมือท�าฝันนั้นอย่างไม่กังวลต่ออุปสรรคและปัญหา จนวันหนึ่งพวกเขาพูดได้เต็มปากว่า ฟาร์มที่พวกเขาท�าเป็นทางเลือกที่น�ามาสู่ความสุขในชีวิต นอกจากนั้นฟาร์มทั้งสามแห่งยังเป็นตัวแทนของการท�าปศุสัตว์ ในแบบที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ใช้สารเคมีน้อยที่สุด และสัตว์ในฟาร์มมีความสุขมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มควายนมมูราห์ ฟาร์มแพะ และฟาร์มไก่ จะท�าให้คุณได้เห็นเรื่องราวชีวิตการท�าฟาร์มอันแตกต่างที่หยิบยื่นความสุขให้ทั้งเจ้าของจนถึงผู้บริโภค ภายใต้พื้นฐานการมีคุณภาพชีวิตที่ดีร่วมกัน
KHUN SUK FARM เรื่อง : พิมพ์อร นทกุล ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
“ใจต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก” เป็นสิง่ ที่ ‘เป้ง’ - เชาวรัตน์ อ�า่ โพธิ์ ตอบเมือ่ เราถามถึงเคล็ดลับในการท�าฟาร์ม เขาอาศัยทีด่ นิ ทีล่ อ้ มรอบไปด้วยภูเขาแห่งหนึง่ ในต�าบลล�าสมพุง จังหวัดสระบุรี สร้างฟาร์มแพะและแกะ ‘คุณสุขฟาร์ม’ บนพื้นฐานของความรักและการเอาใจใส่ เพราะมองเห็นโอกาสที่จะน�าความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยไปสู่ การเป็นครัวโลก ซึง่ ทัง้ หมดนีเ้ กิดจากจุดเริม่ ต้นเล็กๆ ทีเ่ ขาเพียงแค่อยากจะหนีออกจากชีวติ วุน่ วายในเมืองกรุงเท่านัน้ THE BEGINNING :
ก่อนจะมาท�าฟาร์ม ผมจบเทคนิคมีนบุร ี พอจบมา ก็ทา� งานนิคมอุตสาหกรรม สังคมในนัน้ เป็นสังคมเทีย่ ว ใช้แต่เงิน กินเหล้า ดูดบุหรี ่ เงินเดือนนี่ไม่เคยเหลือ ความรู้สึกเหมือนผมอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ต้อง ตื่นไปท�างานตอน 6 โมงเช้า กลับ 6 โมงเย็น วันไหน ไปเที่ยวต่อก็แทบจะไม่ได้นอน แล้วเช้าก็ต้องตื่นมา ท�างานอีก ผมเลยลองกลับมาตัง้ ค�าถามกับตัวเองว่า เราจะใช้ชวี ติ แบบนีต้ อ่ ไปเหรอ ไม่อยากออกไปอยูใ่ น โลกกว้าง ในทีท่ มี่ แี ดด มีอากาศสดชืน่ เหรอ แล้วพอดี มีโอกาสมาเจอที่นี่ สมัยนั้นรถยังเข้ามาไม่ถึงเลย ผมชอบที่ดินตรงนี้ เลยตัดสินใจซื้อไว้ ราคาไร่ละ ประมาณ 4,000 บาท อย่าไปบอกใครนะ (หัวเราะ) BUILDING A FARM :
“ผมผ่านสังคม ทีย่ กย่องคุณค่า ภายนอกมาแล้ว ได้รู้ ว่านัน่ ไม่ใช่ความหมาย ทีแ่ ท้จริงของชีวติ ”
ตอนแรกที่ซื้อที่ดินมาผมยังไม่ได้ออกจากงาน มาท�าตรงนี้เต็มตัว เลยใช้ที่ดินท�าพืชไร่ก่อน ตอนท�า พืชไร่เราใช้ยาฆ่าหญ้าเยอะมาก เพราะที่นี่กว้าง หญ้าเยอะ เดินผ่านนีด่ อกหญ้าติดกางเกงมาเต็มเลย ซึ่งถ้าเราปลูกพืชไร่ เราก็ต้องก�าจัดวัชพืช ต้องจ้าง แรงงานและใช้สารเคมี ค่าใช้จ่ายเดือนหนึ่งก็เป็น หมื่นแล้ว ผมเลยนึกไปตอนสมัยเรียนเพื่อนผมเป็น มุสลิมกว่าครึ่งห้อง ครอบครัวเขาจะมีแพะเลี้ยงตาม บ้าน เอาไว้รดี นมกินในครอบครัว ผมก็เก็บเอามาคิดว่า น่าจะดีกว่าไปซือ้ ยาฆ่าหญ้านะ เลยเอาไปปรึกษาเพือ่ น เขาก็เสนอให้ลองเอาไปเลี้ยงดู เลยเป็นที่มาของ แนวคิด ‘ใบไม้แลกเงิน’ โดยการน�าใบไม้ใบหญ้าทีม่ นั รกๆ แทนที่ จ ะก� า จั ด ก็ เ อามารวบรวมให้ แ พะกิ น ซึ่งตอนที่เริ่มเลี้ยงใหม่ๆ ผมยังไม่ค่อยมีความรู้เลย อาศัยเรียนรูจ้ ากคนทีม่ ปี ระสบการณ์ทงั้ นัน้ ซึง่ การเลีย้ ง แพะมันถูกและไม่ยงุ่ ยาก เลีย้ งในร่มก็ได้ กลางแจ้งก็ได้ แถมแพะยังมีลูกดก ที่ส�าคัญกินง่ายด้วย ตั้งแต่นั้น ฟาร์มแพะ-แกะของเราก็ค่อยๆ ขยายขึ้นมาเรื่อยๆ จนตอนนีก้ เ็ ลีย้ งให้ได้ทงั้ เนือ้ และนม รวมไปถึงการน�า ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ครีมและสบู่ จากนมแพะ ฯลฯ LIFE IN A FARM :
การท� า ฟาร์ ม ต้ อ งอาศั ย องค์ ค วามรู ้ ซึ่ ง มี อ ยู ่ หลากหลาย แต่คนไม่ค่อยรู้เท่านั้นเอง อย่างที่ฟาร์ม มี ค นงานทั้ ง หมด 4 คน ช่ ว ยกั น เลี้ ย งแพะ-แกะ หลายร้อยตัว เราให้รวั้ เป็นคนเลีย้ ง เพราะเราได้เรียนรู้
ว่าสัตว์จะมีความสุขขึน้ ถ้าได้อยูอ่ สิ ระ และรัว้ ยังช่วย กันไม่ให้แพะ-แกะไปกินพืชของไร่ขา้ งๆ เพราะสิง่ หนึง่ ที่จะท�าให้การท�าปศุสัตว์ประสบความส�าเร็จได้คือ ต้องสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ด้วย ส่วนตัวผมเอง จะท�าหน้าทีเ่ หมือนสัตวแพทย์ประจ�าฟาร์ม ผมจะคอย ช่วยดูอยู่ตลอด ซึ่งการท�าฟาร์มมีแค่ความรู้อาจจะ ไม่พอ ต้องอาศัยประสบการณ์ และใจด้วย HAPPY FARM, HAPPY FEELINGS :
ผมดี ใ จมากที่ วั น นั้ น ตั ด สิ น ใจย้ า ยมาอยู ่ ที่ น ี่ ความรูส้ กึ ทีเ่ รามีตอ่ สังคมมันเปลีย่ นไปในทางทีด่ ขี นึ้ เดีย๋ วนีเ้ วลาเข้ากรุงเทพฯ เห็นคนยืนรอรถเมล์ ไม่มใี คร มีความสุขเลย รถเยอะ รถติด บ้านผมวันหนึง่ รถวิง่ ผ่าน 5 คันเท่านั้น ผมผ่านสังคมที่ยกย่องคุณค่าภายนอก มาแล้ว ได้ร้วู ่านัน่ ไม่ใช่ความหมายทีแ่ ท้จริงของชีวติ พอได้มาอยู่ตรงนีท้ กุ อย่างมันค่อยเป็นค่อยไป ซึง่ ถือ เป็นโชคดีของผมที่คิดได้เมื่อ 30 ปีก่อน ถึงได้มีบ้าน มีที่ดิน มีงานที่เราชอบ และได้เรียนรู้ว่าธรรมชาติ ให้สงิ่ หนึง่ ทีห่ ลายคนมองไม่เห็น คือความสุข ทุกวันนี้ ผมกับภรรยาอยูไ่ ด้อย่างสบายเลย แต่เราก็ไม่ลมื ทีจ่ ะ แบ่งปันคนอื่น
www.khunsukfarm.com
HAPPY CHICK FARM เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
หากคิดจะเลีย้ งอะไรสักอย่าง สิง่ แรกทีผ่ ดุ ขึน้ มาในหัวของคนยุคนีค้ งไม่ใช่ ‘ไก่’ แน่ๆ แตกต่างจาก ‘บาส’ - สุพชั รกิตติ์ สังข์ยก หนุม่ เมืองกรุงทีม่ บี า้ นเกิดอยูก่ า� แพงเพชรผูน้ ี้ ทีเ่ ลือก ‘ไก่’ เป็นค�าตอบแรก ซึง่ บอกเลยว่าไก่ของเขาไม่ได้ไก่กาอาราเล่เหมือนทีค่ นส่วนใหญ่เคยเห็น แต่เป็นไก่ไข่ตวั อวบอ้วนและอารมณ์ดสี มชือ่ ‘ฟาร์มไก่ไข่อารมณ์ด’ี (Happy Chick Farm) ทีเ่ ขาเป็นผูต้ งั้ ไข่ฟาร์มไก่แห่งนีม้ ากับมือ ส่วนเรือ่ งราวหลังรัว้ ของฟาร์มแห่งนีจ้ ะเป็นอย่างไร ไล่สายตาไปอ่านหน้าถัดไปกันได้เลย
THE BEGINNING :
จริงๆ แล้วผมจบมาทางด้าน Medical Science ไม่เกีย่ วกับการเกษตรเลย แต่การท�าฟาร์มไก่มนั เป็น ความชอบตั้งแต่เด็ก เพราะเราเป็นลูกหลานชาวไร่ ชาวนา พอเรียนจบก็เลยอยากลองเลี้ยงแบบจริงจัง ดูสกั ครัง้ ตอนแรกก็เลีย้ งลูกไก่พนั ธุโ์ รดไอส์แลนด์แดง จ�านวน 100 ตัว ใช้ทนุ 3,500 บาท กะจะเลีย้ งไว้ขายไข่ แต่เลี้ยงไปสักพักก็เห็นว่าคนในอินเทอร์เน็ตสนใจ เลีย้ งไก่พนั ธุน์ เี้ ยอะ เราก็เลยสนใจทีจ่ ะเพาะพันธุข์ าย จึงไปศึกษาวิธีการท�าไข่มีเชื้อที่กรมปศุสัตว์ จังหวัด ก�าแพงเพชร แล้วน�าความรู้มาใช้ที่ฟาร์มของเรา BUILDING A FARM :
แรกเริม่ ผมเลีย้ งไก่ในป่าไผ่ มุงสังกะสีแบบบ้านๆ พอได้ลองเพาะพันธุก์ เ็ ลยเปลีย่ นจากขายไข่ทเี่ อาไว้กนิ เป็นขายไข่ไก่พนั ธุแ์ ท้หรือไข่มเี ชือ้ ทีล่ กู ค้าสามารถซือ้ ไปฟักแล้วเลี้ยงเพื่อเก็บไข่กินหรือขยายพันธุ์ต่อได้ ซึ่งผลตอบรับมันดีกว่าเดิม เมื่อก่อนขายไข่ไก่ได้ ใบละ 1.50 บาท แต่ถา้ ขายไข่ไก่มเี ชือ้ ราคาอยูท่ ใี่ บละ 15 บาท พอได้เงินมาเราก็เก็บสะสมมาท� าคอก และขยายสายพันธุม์ ากขึน้ ปัจจุบนั มีผลผลิตแบบไข่ และลูกไก่เกือบสิบสายพันธุ ์ เราเลีย้ งตามหลักออร์แกนิก แบบสากลเลย มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ หนึง่ มีพนื้ ที่ ให้สัตว์ได้เดิน วิ่ง กิน นอน เล่น สอง มี ‘คอน’ หรือ ไม้เป็นซีๆ่ ไว้ให้ไก่เดินขึน้ ไปนอน และสาม มีหญ้าสีเขียว ให้กิน ถ้าเป็นภาษาไทยจะเรียกว่าไก่อินทรีย์ LIFE IN A FARM :
“ได้ยนิ เสียงไก่ขนั เราก็ ชืน่ ใจ มีความสุข ต่างจาก อยูใ่ นกรุงเทพฯ เห็นแต่ตกึ เดินอยูบ่ นพืน้ ซีเมนต์ พืน้ ดินพืน้ หญ้า นีแ่ ทบจะไม่ได้เหยียบเลย”
ผมท�าฟาร์มไก่มาได้ 3 ปีแล้วครับ ควบคู่ไปกับ อาชีพประจ�า คือเป็นข้าราชการในสถาบันสุขภาพสัตว์ แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ก็ไปๆ มาๆ ระหว่างส�านักงาน ทีก่ รุงเทพฯ กับฟาร์มทีก่ า� แพงเพชรตลอด ชีวติ ประจ�าวัน ตอนอยูท่ ฟี่ าร์มก็คอื ตืน่ เช้ามาให้อาหารไก่ ตอนเทีย่ ง ก็เก็บไข่ แพ็กใส่กล่อง เตรียมจัดส่งให้ลกู ค้า พอตกเย็น เราก็จะผสมเทียม รีดน�้าเชื้อ ท�าวันเว้นวัน กิจกรรม หลักๆ ก็มแี ค่นเี้ อง เลีย้ งไก่ไม่ยากเลย แค่จดั ระบบของ ฟาร์มดีๆ แบ่งหน้าทีว่ า่ ใครท�าอะไรก็ไม่ยงุ่ ยาก มีทดี่ นิ ไม่ใหญ่มากก็ท�าได้ มันเริ่มง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ลูกค้าของฟาร์มไก่ก็มีกระจายทั่วประเทศ ตั้งแต่
ข้าราชการ เกษตรกร หรือคนทั่วไปที่มีบ้านมีพื้นที่ เขาก็ซื้อไปเลี้ยง บางทีเราก็เจอค�าถามแปลกๆ จาก ลูกค้าทีอ่ ยูใ่ นเมือง เช่น ไก่ขนั เสียงดังไหม อึเหม็นไหม (หัวเราะ) เราก็จะตอบว่า ไก่กจ็ ะเสียงดังตามธรรมชาติ ของมัน แต่จะร้องกะต๊ากเสียงดังหน่อยตอนทีอ่ อกไข่ แต่อยู่ไปเดี๋ยวก็ชิน (หัวเราะ) HAPPY FARM, HAPPY FEELINGS :
ชีวติ ทีน่ ี่ พอตืน่ เช้ามาเราก็ได้เห็นสีเขียวสบายตา ได้เห็นต้นไม้ เห็นสัตว์ที่เราเลี้ยง ได้ยินเสียงไก่ขัน เราก็ ชื่ น ใจ มี ค วามสุ ข ต่ า งจากอยู ่ ใ นกรุ ง เทพฯ เห็นแต่ตึก เดินอยู่บนพื้นซีเมนต์ พื้นดินพื้นหญ้านี่ แทบจะไม่ได้เหยียบเลย แต่การอยูใ่ นเมืองก็ไม่ได้ผดิ อะไร เพียงแต่เราชอบชีวติ ทีน่ เี่ พราะคลุกคลีมาตัง้ แต่เด็ก พ่อแม่กเ็ ป็นชาวนา การท�าการเกษตรมันจึงเป็นสิง่ ที่ ปลูกฝังกันมา อีกอย่างทีผ่ มภูมใิ จคือ เมือ่ ก่อนพ่อแม่ ต้องท�างานรับจ้างควบคู่ไปกับการท�านา แต่พอเรา ท�าฟาร์มไก่ขึ้นมา ท่านก็ไม่ต้องออกไปท�างานหนัก นอกบ้าน ท�าของครอบครัวกันเองดีกว่า อย่างคุณแม่ อยากเพาะเห็ด พอมีทนุ เราก็ทา� โรงเรือนเพาะเห็ดขาย พ่ออยากเลีย้ งกบ ก็ทา� บ่อกบด้วยหลังบ้าน เป็นเกษตร ผสมผสาน อยู่แบบพอเพียง มีความสุขดีครับ
www.facebook.com/ layerchickens
MURRAH FARM เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
เหตุผลของใครบางคนในการผันตัวเองจากชีวิตการท�างานในเมืองใหญ่เข้าสู่ชีวิตการท�าปศุสัตว์เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ดังเรือ่ งราวของ ‘พิง้ ค์’ - ชาริณี ชัยยศลาภ และ ‘โอส’ - วรัญญู โทณะวณิก สองเพือ่ นสนิททีใ่ นอดีตเคยท�าธุรกิจบริษทั ออร์แกไนเซอร์ และบริษัทโฆษณามาก่อน แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงในชีวิตบางประการ วันหนึ่งทั้งคู่จึงหันเหชีวิตมาท�าฟาร์มควายนมพันธุ์มูราห์ จนเกิดเป็น ‘Murrah Farm’ และ ‘Mini Murrah Farm’ ฟาร์มควายนมที่เขาว่ากันว่าควายมีความสุขที่สุดในเมืองไทย
“อยูก่ บั สัตว์ อยูก่ บั ธรรมชาติ ความเหนือ่ ยมันแตกต่าง จากอยูใ่ นออฟฟิศ ในกล่องสีเ่ หลีย่ ม อยูใ่ นฟาร์ม เรามีสเี ขียวให้มอง มีสตั ว์ให้ดู ซึง่ ในระยะยาว ผมคิดว่ามันคือชีวติ ทีด่ ”ี
THE BEGINNING :
LIFE ON THE FARM :
ชาริณี : เมือ่ ก่อนครอบครัวท�าธุรกิจเครือ่ งหนัง แต่ประสบปัญหาเรื่องวัตถุดิบ ก็เลยคิดว่าท�า อย่างไรจะผลิตวัตถุดิบได้เอง ตอนแรกที่บ้าน เลือกจะเลี้ยงวัวเพื่อเอาหนัง แต่พอไปคุยกับผู้รู้ เขาก็แนะน�าเรือ่ งการเลีย้ งควายนม เพราะตอนนัน้ เมืองไทยยังไม่มีฟาร์มควาย เราก็เลยสนใจที่จะ ท�า แต่ก่อนเริ่มท�าเราก็ไปเรียนเรื่องการท�าฟาร์ม ที่ออสเตรเลียแล้วจึงกลับมาช่วยงานที่บ้าน วรัญญู : ผมเข้ามาช่วยพิง้ ค์ทา� Murrah Farm เพราะอยากหางานที่ไม่ต้องผูกชีวิตอยู่กับเมือง ตลอดเวลา บางครั้งเรามองไปถึงอนาคตว่า ถ้า แก่ตัวไปเราอยากอยู่กับต้นไม้ กับสัตว์ มากกว่า ตึก ส�าหรับหน้าทีข่ องผมคือ ช่วยดูแล Mini Murrah Farm ซึ่งเป็นฟาร์มสาธิตที่เปิดให้คนภายนอก เข้ามาชมวิธีการเลี้ยงควาย ชิมนมควายซึ่งเรา น�ามาท�าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชีสมอสซาเรลลา นม โยเกิร์ต ซึ่งตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา มีคนสนใจมาเยี่ยมชมฟาร์มของเราโดยตลอด
ชาริณี : ชีวิตในฟาร์มเป็นชีวิตที่แตกต่าง จากการท�างานในเมือง ท�าฟาร์มจะมีงานให้ท�า ทุกวัน ไม่มีเวลาได้อยู่กับที่นิ่งๆ แต่ก็มีความสุข เพราะเราได้อยูก่ บั สัตว์ อยูก่ บั ธรรมชาติ โดยเฉพาะ ควายซึง่ เป็นสัตว์ทฉี่ ลาดและขีอ้ อ้ น เขาจ�าคนเลีย้ ง ได้ บางครัง้ ก็มกี ารเอาหัวมาซบคนเลีย้ ง ซึง่ ควาย แต่ละตัวก็มบี คุ ลิกทีแ่ ตกต่างกันไป อาจจะเกเรบ้าง ใจดีบ้าง ขี้กลัวบ้าง แต่สิ่งที่ควายมีเหมือนกันคือ ความฉลาด อยูก่ บั เขาไปนานๆ ก็เริม่ ผูกพันกับเขา HAPPY FARM, HAPPY FEELINGS
ชาริณี : การท�าฟาร์มถือว่าเป็นอาชีพทีย่ งั่ ยืน เรามีความสุขทุกครั้งที่คนชอบในผลผลิตจาก ฟาร์มของเรา และการอยูก่ บั ธรรมชาติมนั ก็ทา� ให้ เราสงบ มีความสุข แม้ว่าจะมีเหนื่อยบ้างก็ตาม วรั ญ ญู : ผมมาที่ Mini Murrah Farm ทุกเสาร์-อาทิตย์ เวลามีคนเข้าชมเยอะก็เหนื่อย แต่เราอยู่กับสัตว์ อยู่กับธรรมชาติ ความเหนื่อย มันแตกต่างจากอยู่ในออฟฟิศในกล่องสี่เหลี่ยม อยู ่ ใ นฟาร์ ม เรามี สี เ ขี ย วให้ ม อง มี สั ต ว์ ใ ห้ ด ู BUILDING A FARM : ชาริณี : เราเริ่มท�าฟาร์มจากไม่รู้อะไรเลย ซึ่งในระยะยาวผมคิดว่ามันคือชีวิตที่ดี เพราะในครอบครัวไม่มีใครเคยท�าฟาร์มมาก่อน การไปเรียนต่อเรื่องการท�าฟาร์มที่ออสเตรเลีย ก็ช่วยเราได้บ้าง แต่ไม่เยอะ เพราะสุดท้ายแล้ว สภาพภูมิประเทศต่างกัน อากาศก็ต่างกัน สิ่งที่ เราต้องพยายามรู้ให้มากที่สุดคือ ต้องรู้เกี่ยวกับ ควายพันธุน์ มว่าเป็นอย่างไร นิสยั เขาเป็นอย่างไร กินอะไรได้ ท�าอย่างไรจะให้ได้นมเยอะ ทีเ่ หลือคือ การจัดการฟาร์ม ซึง่ ตลอดเวลา 5 ปี เป็นช่วงเวลา ที่เรียนรู้ไม่มีวันจบ วรัญญู : หน้าที่ผมคือการสนับสนุนในแง่ ของการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของฟาร์ม ท�าฟาร์มสาธิตให้มีความน่าสนใจ คือเราอยาก ให้คนทีม่ าเยีย่ มชมฟาร์มนอกจากจะมาพักผ่อนแล้ว ยังได้ความรูเ้ กีย่ วกับการท�าเกษตรด้วย ได้รวู้ า่ ควาย เป็นอย่างไร ปลูกพืชแบบออร์แกนิกท�าอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการท�าฟาร์มแบบไม่ใช้สารเคมี เราจะเน้นมากเป็นพิเศษ
www.murrahfarm.com www.facebook.com/ MiniMurrahFarm
CALENDAR FRI
MON
22
KAMAISHI THAT I LOVE นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘คามาอิ ชิ ที่ ฉั น รั ก ’ โดย เคียวโกะ อาเบะ ศิลปิน ชาวญีป่ น่ ุ น�าเสนอภาพวาด ผู้คนและสถานทีต่ ่างๆ ใน เมื อ งคามาอิ ชิ ประเทศ ญี่ปุ่น ที่ศิลปินเคยได้ใช้ ช่วงเวลาหนึ่งสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะทีน่ นั่ หลังเกิด สึนามิ วันนีถ้ งึ 27 ธันวาคม 2557 ณ อักโกะ อาร์ต แกลเลอรี ถ.สุขุมวิท โทร. 0-2259-1436
TUE
23
MYTHICAL REALITY นิ ท รรศการศิ ล ปะ ‘Mythical Reality’ โดย วิทวัส ทองเขียว น�าเสนอ ผลงานจิตรกรรมสีน�้ามัน ที่ใช้สัญลักษณ์อันคุ้นชิน รอบๆ ตัวมาจัดวางใหม่ ประกอบรูป และเปลี่ยน มุมมอง เพื่อสร้างบทบาท ให้ สั ญ ญะเหล่ า นั้ น ท� า หน้าทีป่ ระหนึง่ เครือ่ งหมาย ค�าถามถึงความบกพร่อง วันนีถ้ งึ 18 มกราคม 2558 ณ หอศิลป์ศภุ โชค ดิ อาร์ต เซ็ น เตอร์ โทร. 0-26620299 (เว้นวันจันทร์)
24
WED
BRENDAN ET LE SECRET DE KELLS เชิ ญ ชมภาพยนตร์ แอนิเมชันเรือ่ ง ‘Brendan et le Secret de Kells’ เบรนดัน พระสงฆ์วยั 12 ปี อาศัยอยู่ ในป้อมปราการส�านักสงฆ์ เคลส์ ได้พบกับบาทหลวง ไอดั น ที่ เ ชี่ ย วชาญและ มี ชื่ อ เสี ย งด้ า นการวาด ภาพประกอบ การพบกัน ครัง้ นีไ้ ด้พาเบรนดันท่องไป ในการผจญภัยทีม่ หัศจรรย์ ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.30 น. ณ สถาบั น เกอเธ่ โทร. 0-2108-8231
THU
19
SAT
20
SUN
21
25
THE MAGIC FLUTE จากโอเปราแสนสนุก ของโมสาร์ต สู่การแสดง ในรู ป แบบ Thai-Sci-Ffi i fi ‘ขลุย่ วิเศษ’ พบกับโปรดักชัน ระดั บ สากล พรั่ ง พร้ อ ม ด้วยดาราโอเปราระดั บ ซูเปอร์สตาร์ของไทยและ ต่างประเทศ อ�านวยเพลง โดย ทฤษฎี ณ พั ท ลุ ง วันนีถ้ งึ 27 ธันวาคม 2557 ณ ห อ ป ร ะ ชุ ม ใ ห ญ ่ ศู น ย ์ วั ฒ น ธ ร ร ม แ ห ่ ง ประเทศไทย ติดตามรอบ การแสดงและจ� า หน่ า ย บัตรที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์
WONDERFRUIT FESTIVAL เทศกาลดนตรี-ศิลปะธรรมชาติ ‘Wonderfruit Festival’ สนุกสนานกับ การแสดงสดจากศิ ล ปิ น มากมาย อาทิ Little Dragon, Woodkid, De La Soul ฯลฯ เพลิด เพลิน กับ ตลาดนัด ชาวสวนทีย่ กเอาผักผลไม้สด ส่งตรงจากไร่มาให้เลือกช้อป ฯลฯ วันนี้ถึง 21 ธันวาคม 2557 ณ Fields at Siam Country จ.ชลบุรี จ�าหน่าย บัตรที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์
NIGHT AT THE MUSEUM เ ท ศ ก า ล เ ที่ ย ว พิพิธภัณฑ์ตอนกลางคืน ‘Night at the Museum ๕ ตอนปลุ ก ยั ก ษ์ ’ พาคุ ณ ไขคติความเชื่อเรื่องยักษ์ ที่ สื บ ท อ ด กั น ม า ผ ่ า น กิจกรรมในรูปแบบต่างๆ สนุ ก สนานกั บ บู ธ เกม นานาชนิด ตลาดอาหาร และสิ น ค้ า แนวคิ ด ยั ก ษ์ เ ต็ ม อิ่ ม กั บ ก า ร แ ส ด ง กลางแจ้งสุดอลังการ ฯลฯ วันนีถ้ งึ 21 ธันวาคม 2557 ณ มิวเซียมสยาม โทร. 0-2225-2777
THE CITY. BECOMING AND DECAYING นิทรรศการภาพถ่าย ‘เมื อ งกั บ ความผั น แปร และเสือ่ มถอย’ โดยศิลปิน นักถ่ายภาพกว่า 18 ชีวติ รวบรวมภาพถ่ า ยจาก เมืองต่างๆ ทัว่ โลกทีศ่ ลิ ปิน อ อ ก เ ดิ น ท า ง ต า ม ห า แก่นรากความจริงของชีวติ ในเมือง วันนีถ้ งึ 4 มกราคม 2558 ณ ผนังโค้งชั้น 3-5 หอศิ ล ปวั ฒ นธรรมแห่ ง กรุ ง เทพมหานคร โทร. 0-2214-6630-8 (เว้นวันจันทร์)
ที่สุดแห่งปีของ ซันนี่, ไอซ์ ปรีชญา, ตู่ ภพธร, เก้า จิรายุ, สล็อตแมชชีน, สายป่าน อภิญญา, ฝน ศนันธฉัตร, แจน ใบบุญ และ Vickteerut
THE BEST & WORST OF 2014
LIfEStYLE fEAtURE
80 BAHT DECEMBER 2014
NO.198
LIFE, STYLE & ENTERAINMENT
THE BEST & WORST 2014
แกลเลอรี่ภาพถ่ายขาว-ด�า ส่งตรงจากญี่ปุ่นของ ผ้าป่าน–สิริมา ไชยปรีชาวิทย์
IN MEMORY CAPSULE
สรุปเรือ ่ งบันเทิงตลอดปี ใครอยู่ใครไป, ชื่อหนัง อ่านไม่ออกแห่งปี, ที่สุด แห่งความซบเซาของ วงการภาพยนตร์, วิเคราะห์โมเดลแหล่งข่าว อินสตาแกรม, รายการ ทีวีครองใจมหาชน, อัลบั้มแห่งปี, วงดนตรี ผู้สร้างปรากฏการณ์ อย่างที่สุด ฯลฯ
• REFLECTION บทสรุปเรือ่ งบันเทิงไทยตลอดปี 2014 ทั้ ง หนั ง เพลง ที วี ข่ า ว พร้ อ มกั บ บทสั ม ภาษณ์ ค นดั ง ที่ เ รา ยกให้เป็นทีส ่ ด ุ ของปี 2014 เก้า จิรายุ, สล๊อต แมชชีน, ตู่ ภพธร, สายป่าน อภิญญา, Vickteerut ฯลฯ • LIFESTYLE FEATURE ภาพถ่ า ยขาว-ดำ า พร้ อ ม เรื่อ งเล่ า สองข้ า งทางระหว่ า งเดิ น ทางไปญี่ปุ่น ของผ้ า ป่ า นสิรม ิ า ไชยปรีชาวิทย์ • PEOPLE อัพเดทเรื่องราวล่าสุดของคนดังในวงการ บันเทิง อาทิ แดน วรเวช, ฌอห์ณ จินดาโชติ, Triumph Kingdom, Polycat ฯลฯ • GIVEAWAYS พลาดไม่ได้!! กับของขวัญส่งท้ายปี 2014 ทีเ่ ราตัง ้ ใจนำามาแจกให้แฟนๆ HAMBURGER โดยเฉพาะ
ISSUE 198 DECEMBER 2014
AV A I L A B L
W E NO
www.twitter.com/hamburger_mag www.facebook.com/hamburgermag instagram.com/hamburgermagazine
SELECTIVE 28
Collect Memories Not Things เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
‘เก๋’ - พันทิพา ตันชูเกียรติ นักเย็บสมุดจาก Likaybindery เล่าให้เราฟังว่า เรื่องสามัญธรรมดาอย่างการจัดเก็บสิ่งของ สามารถบอกเล่า ตัวตนของผู้นั้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็ต้องอาศัยการตัดสินใจว่าจะเลือกเก็บหรือทิ้งไปเช่นเดียวกับสิ่งส�าคัญในชีวิต ของเธอทั้ง 8 ชิ้นนี้ ที่ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลของการเก็บไว้ซึ่งผูกพันกับเรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตของเธอ
3
4 5
1
2
6 8
7
1. ชิ้นงาน An Archaeology of Memories 2005-2009 “เราเคยเอาไปแสดงที่หอศิลปฯ เป็นเศษกระดาษจากการเย็บสมุด มีเป็นเซต 40 กว่ากล่อง” 2. รูปถ่าย “เป็นรูปเราตอนอายุ 4 ขวบ เอามาจากรถคุณพ่อ ท่านจะชอบเอารูปลูกแปะไว้ทรี่ ถ พอเปลีย่ นคันก็เลยขอมา” 3. เหล็กทับกระดาษ “มันเป็นเหล็กทีน่ กั กีฬาใส่เพือ่ ถ่วงน�า้ หนักเวลาฝึกซ้อม แต่เราน�ามาทับกระดาษ มีประโยชน์มาก ขนาดพอดิบพอดี” 4. Irma Boom : Biography in Books “เป็นหนังสือรวมผลงานของ book designer ชือ่ Irma Boom ความเจ๋งคือ ถึงจะเป็นหนังสือเล่มจิว๋ แต่เขาก็ยงั ท�าให้มนั สามารถอ่านได้ ดีไซน์สวยงาม” 5. กระเป๋าเครือ่ งเขียน “เวลาพกสมุดบันทึก ไปทีไ่ หนก็ตอ้ งมีกระเป๋าใบนีต้ ดิ ตามไปด้วย” 6. หนังสือ Mr. Bean’s Diary “เราชอบมิสเตอร์บนี มาก เขาเป็นคนตลก สามารถท�าทุกอย่างให้เป็นเรือ่ งใหญ่ได้ (หัวเราะ) พอมาเจอหนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วยิง่ ทึง่ ไปอีก เช่น เขียนวิธีก�าจัดเพือ่ นบ้าน พล็อตเรื่องแบบมิสเตอร์บนี มาก” 7. Hand Letterpress Finishing Tool “เป็นอุปกรณ์ใช้ท�าตัวหนังสือ คือเรียงตัวอักษรเข้าไปแล้วน�าไปอังกับเตาไฟให้ร้อน จากนัน้ ก็ปั๊มลงบนหนังสือ ก็จะได้เป็นค�าทีต่ อ้ งการ” 8. สมุดบันทึก “เวลาเราไปเรียนเย็บสมุดทีต่ า่ งๆ พอกลับมาก็จะเอารูปทีถ่ า่ ยไว้มาพรินต์ แล้วเขียนค�าอธิบายลงไป จะได้รวู้ า่ เราไปท�าอะไรมาแล้วบ้าง อย่างทริปล่าสุดทีไ่ ปมาคือปารีส”
SUPERMARKET
One More Scoop ถึงแม้ในความเป็นจริงแล้วประเทศเมืองหนาวน่าจะเป็นผู้คิดค้นไอศกรีมมาตั้งแต่โบราณ แต่ด้วยฟังก์ชันการใช้งาน อาหารหวานๆ เย็นๆ แบบนี้น่าจะเหมาะกับเมืองร้อนเสียมากกว่า ยิ่งถ้าพกพาความเครียดจากการท�างานมาด้วยแล้วละก็ ไอศกรีมสักถ้วย พร้อมด้วยท็อปปิ้งเด็ดๆ ก็น่าจะท�าให้ความเหนื่อยล้าหายไปเป็นปลิดทิ้ง
Ice Cream on a Stick Maraschino Cherry
Rolled Wafer
Whipped Cream
Strawberry Ice Cream
BANANA
Rolled Wafer เวเฟอร์ โ รล ขนมที่ เ หมำะกั บ ไอศกรีม ส่วนใหญ่จะสอดไส้ ช็ อ กโกแลต หรื อ รสชำติ อื่ น ๆ เช่ น วำนิ ล ลำ สตรอเบอรี ควำมอร่ อ ยเข้ ม ข้ น ขึ้ น อยู ่ กั บ ส่วนผสมของแต่ละแบรนด์วำ่ ใช้ วัตถุดบิ คุณภำพดีแค่ไหน ใครชอบ แบบไหนก็ตำมแต่กำ� ลังทรัพย์เลย
Banana กล้วยหอม ผลไม้ที่เข้ำกันได้ดี กับไอศกรีม โดยเฉพำะไอศกรีมนม เนื้อเนียน จะเป็นรสช็อกโกแลต วำนิลลำ สตรอเบอรี ก็เข้ำกัน ได้หมด จึงไม่นำ่ แปลกใจเลยว่ำ ร้ ำ นไอศกรี ม ทุ ก ที่ จ ะต้ อ งมี กล้ ว ยเป็ น ส่ ว นประกอบแบบ ขำดไม่ได้
Whipped Cream วิปครีมก็คอื ครีมทีน่ ำ� มำตีจนขึน้ ฟู ใช้ส�ำหรับตกแต่งหน้ำไอศกรีม เครื่องดื่ม ขนมหวำน หลำยคน เวลำทำนไอศกรีมก็คงไม่พลำด ที่ จ ะหยอดวิ ป ครี ม ไว้ ด ้ ำ นบน จะได้มีรสมันๆ ของครีมช่วยตัด ควำมเลี่ ย น แถมยั ง ท� ำ ให้ ไอศกรีมดูน่ำทำนอีกด้วย
Ice Cream on a Stick ไอศกรีมแท่งหลำกหลำยรส แต่ ที่สดชื่นที่สุดก็ต้องเป็นไอศกรีม รสผลไม้สสี นั สดใส หรือใครทีช่ อบ เดิ น เที่ ย วงำนวั ด ก็ น ่ ำ จะชอบ ไอศกรี ม เสี ย บไม้ แ บบไทยๆ ทีอ่ ยูใ่ นถังหมุนๆ ท�ำจำกน�ำ้ ผลไม้ หรือน�้ำอัดลม
Maraschino Cherry เชอรีเชื่อมที่หลำยคนคุ้นเคยดี เพรำะใช้ตกแต่งไอศกรีมและ ขนมเค้ก โดยเชอรีเชื่อมเหล่ำนี้ ผลิตจำกเชอรีสดที่ผ่ำนกรรมวิธี ฟอกสีแล้วน�ำมำเชือ่ ม และแต่งสี จนกลำยเป็นสีแดงสด จึงมีรสชำติ หวำนแบบสังเครำะห์
Strawberry Ice Cream ไอศกรีมสตรอเบอรี สีชมพูสวย รสชำติหวำนละมุน หลำยคน อำจคิดว่ำไอศกรีมรสนี้เหมำะ กับหญิงสำวเท่ำนัน้ แต่เรำแอบรู้ มำว่ำหนุ่มๆ บำงคนก็ชอบสั่ง เหมือนกัน โดยเฉพำะสตรอเบอรี มิลค์เชคที่อร่อยสุดๆ
Chocolate DiP Ice Cream
Chocolate Ice Cream
Ice Cream Cone
Vanilla Ice Cream
Chocolate Dip Ice Cream ไอศกรี ม เคลื อ บช็ อ กโกแลต เนื้อในเป็นรสวำนิลลำ ด้ำนนอก เคลื อ บด้ ว ยช็ อ กโกแลตแข็ ง มีทั้งแบบผสมถั่วเพื่อเพิ่มควำมกรุบกรอบ ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะมี สูตรเฉพำะ อย่ำงเช่น ไอศกรีม แม็กนั่ม จำกค่ำยยูนิลีเวอร์
Chocolate Ice Cream ไอศกรี ม ช็ อ กโกแลตที่ ห ลำยคน คงไม่ พ ลำดสั่ ง เวลำอยู ่ ห น้ ำ ตู ้ ไ อศกรี ม ด้ ว ยรสชำติ ห วำน กลมกล่ อ ม ผสมผสำนกับรสขม นิดๆ ของช็อกโกแลต จะทำนคูก่ บั โคนกรอบๆ หรือใส่ในถ้วยรำดด้วย ช็อกโกแลตไซรัปเพิม่ ควำมเข้มข้น ก็ได้ทั้งนั้น
Vanilla Ice Cream ไอศกรีมวำนิลลำน่ำจะถือว่ำเป็น ไอศกรีมรสยอดนิย มอันดับ หนึ่ง ของโลกก็ว่ำได้ เพรำะถ้ำให้นึกถึง ไอศกรี ม รสชำติ พื้ น ฐำนแล้ ว วำนิลลำก็ต้องมำก่อน ไม่ว่ำจะใช้ ทำนคูก่ บั ของหวำนอืน่ ๆ เช่น เครป วำฟเฟิ ล หรื อ จะดั ด แปลงเป็ น รสช็อกโกแลตชิป
Ice Cream Cone ไอศกรีมโคน ท�ำจำกวำฟเฟิลกรอบ ม้วนเป็นกรวย ถือว่ำเป็นภำชนะ ที่สุดยอดมำกๆ เพรำะทั้งทำนได้ อร่ อ ย และไม่ เ หลื อ ทิ้ ง เป็ น ขยะ อี ก ด้ ว ย สั่ ง ไอศกรี ม ครั้ ง ต่ อ ไป ลองเปลี่ ย นจำกใส่ ถ ้ ว ยแล้ ว ใช้ ช้ อ นพลำสติ ก มำใส่ โ คนแทน ก็ดีเหมือนกันนะ
MAKE A DISH 22
Khua Kling Beef Sirloin เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ
หากคุณมีโอกาสได้ ไปเยือนดินแดนฟ้าสวยน�้าทะเลใสอย่างเกาะสมุย ลองแวะไปทานอาหารที่ BEYOND THE SEA, Siamese Brasserie ณ โรงแรม ShaSa Resort & Residences บริเวณแหลมเส็ด ที่นอกจากคุณจะได้เพลิดเพลินไปกับอาหารนานาชาติแล้ว อาหารไทยของที่นี่ก็อร่อยไม่แพ้กัน ลองสัง่ คัว่ กลิง้ เนือ้ เซอร์ลอยน์ รสจัดจ้านทีค่ งความเป็นอาหารใต้ไว้ได้อย่างดี เมือ่ รวมกับวัตถุดบิ ชัน้ เลิศ คงท�าให้คณ ุ ประทับใจจนอยากจะลองสัง่ ทุกเมนูเลยก็ ได้
Chef บรรณ บริบูรณ์
Khua Kling Beef Sirloin ราคา : 750 บาท
INGREDIENTS เนื้ อ เซอร์ ล อยน์ สั บ / เครือ่ งแกงใต้ / ผักสด / ใบมะกรูด / น�้าปลา / พริกชีฟ ้ า้ แดง / กะปิ / พริกไทยอ่อน / นา�้ ตาลทราย
CHEF's Inspiration เราต้องการน�าเสนออาหารไทยในท้องถิ่นสมุยแบบ ชาวใต้ที่มีรสชาติแท้ดั้งเดิม แต่ต้องไม่ซับซ้อนเข้าใจยาก จนชาวต่างชาติทานไม่ ได้ ดังนั้น การใช้เนื้อคุณภาพดี จึ ง เป็ น ส่ ว นส� า คั ญ ที่ ท� า ให้ อ าหารจานนี้ มี ร สเยี่ ย ม บวกกับรสชาติจัดจ้านของอาหารใต้ยิ่งช่วยท�าให้เมนูนี้ มีความพิเศษโดดเด่นขึ้นมา
TIPS การใส่น�้ามันพืชลงไปเล็กน้อยจะท�าให้เวลาทาน เนื้ อ คั่ ว กลิ้ ง มี ร สชาติ นุ ่ ม นวล และคั่ ว กลิ้ ง ยิ่ ง อุ ่ น หลายครัง้ ยิง่ อร่อย แต่อย่าคัว่ เนือ้ บนกระทะนานเกินไป เอาแค่พอสุก ไม่เช่นนั้นเนื้อจะเหนียวเกินไป รวมกับ การเลือกวัตถุที่ดี มีคุณภาพ ก็จะท�าให้อาหารจานนี้ อร่อยมากยิ่งขึ้น
THE 5IVE
The Art of Reading เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ
ศิลปะกับชีวิตคนมีแง่มุมเชื่อมโยงให้คนเราค้นหาอยู่เสมอ อยู่ที่ว่าใครจะหยิบเรื่องราวที่พบเจอนั้นมาปะติดปะต่อได้น่าสนใจและน่าสนุกเพียงใด แต่ส�าหรับ ทรงพล จั่นลา บรรณาธิการศิลปกรรม นิตยสาร a day และโปรดิวเซอร์ a day TV คนนี้ นอกจากจะพาเราไปพบกับมหานครนิวยอร์กผ่าน NEW YORK COLLAGE CITY หนังสือเล่มแรกของเขา ด้วยการคลุกเคล้าข้อมูล และภาพถ่ายออกมาได้อย่างทรงพลังแล้ว เขายังหยิบหนังสือศิลปะดีๆ อีกหลายเล่มมาแนะน�าให้เราได้รู้จักอีกด้วย 01 MoMA Highlights “เล่มนีไ้ ด้ตดิ ไม้ตดิ มือมาจาก The Museum of Modern Art (MoMA) ทีน่ วิ ยอร์ก ซึ่ ง เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศิ ล ปะสมั ย ใหม่ ที่ ดี ที่ สุ ด ในโลก MoMA Highlights เล่าประวัตศิ าสตร์ของศิลปะ 350 ชิน้ ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์จดั แสดงไว้ อย่าง The Starry Night (ฟาน ก็อกฮ์), Les Demoiselles d’ Avignon (ปิกสั โซ), Water Lilies (โมเนต์), Campbell’s Soup Cans (วอร์ฮอล) ที่ต้องซื้อกลับมาอ่านทบทวนเพราะอยากรู้ ว่างานเหล่านีม้ คี วามเป็นมาอย่างไรถึงได้ทา� ให้ผมกระจ่างเรือ่ งศิลปะได้ วันนัน้ ผมเดินออกจาก MoMA พร้อมกับนิยามใหม่ทมี่ ตี อ่ ศิลปะ... ศิลปะคือศิลปะ” 02 PAGE UNLIMITED 2 “รวมงานเลย์เอาต์แปลกตาจากหนังสือแปลกหน้า ออกมาเป็นเล่มที่ 2 แล้ว ทีจ่ ริงหนังสือเทือกๆ นีก้ ม็ เี จ๋งๆ อยูห่ ลายเล่ม โดยเฉพาะหัวหอกอย่าง The Society of Publication Designers (SPD) ทีท่ า� Publication Design Annual ประจ�าปีออกมา อย่างต่อเนื่อง ส่วน Page Unlimited ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าข้างในมันต้องไม่ปกติ แน่นอน เป็นงานออกแบบสิง่ พิมพ์ทเี่ ราไม่คอ่ ยได้เห็นทัว่ ไป ทัง้ การจัดวางตัวอักษร ภาพถ่าย ภาพประกอบ กราฟิก และอาร์ตไดเร็กชันที่ไร้ขีดจ�ากัดจริงๆ” "Laying out a printed page is all about telling a story." PAGE UNLIMITED 2
03 FOOD PLAYER “หนังสือทีล่ งท้ายด้วย play มักจะดึงดูดผมได้เสมอ เพราะหนังสือชื่อแบบนี้จะมีงานทดลองมากมายอยู่ ข้างใน เล่มอืน่ ทีอ่ ยูใ่ นชัน้ หนังสือของผมก็อย่าง Type Player, Design Play ทีท่ งั้ สนุกและแปลกใหม่อย่างคาด ไม่ถึง Food Player ก็เช่นกัน เพราะเป็นการใส่ลูกเล่น ให้อาหารจริงๆ รวมถึงงานออกแบบสือ่ เกีย่ วกับอาหาร อย่างไอศกรีมโคนทรงประหลาดที่ไม่ใช่กรวยปกติ ภาพโฆษณาอาหารทีท่ า� ให้ดเู ป็นเครือ่ งประดับ เป็นต้น หนังสือทีล่ งท้ายด้วย play แบบนีม้ กั มีความผิดๆ ถูกๆ ปะปนกันเต็มไปหมด ถ้าวัดกันในเชิงกราฟิกบางชิ้น ก็ ดู ไ ม่ ล งตั ว และฉาบฉวย แต่ ก็ ไ ม่ ใ ช่ ส าระส�า คั ญ เพราะขึ้นชื่อว่า ‘เล่น’ มันต้องสนุกและสร้างสรรค์”
"Although the word 'modern' will always spark some debate over its definition" MoMA Highlights
04 MAKING A SPLASH “ผมคิดว่าต่อไปหนังสือกราฟิก จะเน้ นหนัก ไปทางงานที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น หนังสือกราฟิก ชนิ ด แบ่ ง หมวดชั ด เจนจึ ง ออกมา ถี่มากจากส�านักพิมพ์ Victionary เช่น Illustrative Branding งานภาพประกอบส�าหรับแบรนด์, I Love Helvetica งานออกแบบที่ใช้ฟอนต์ Helvetica, Gold&Silver งานกราฟิก ที่ ใ ช้ สี ท องและเงิ น ส่ ว นเล่ ม นี้ เป็นเรื่องของงานออกแบบเลอะๆ เทอะๆ ทั้งการสาด ป้าย หยด แปะ ฉีกๆ ขาดๆ สิง่ ทีผ่ มชอบทีส่ ดุ ในเล่มนี้ คือการท�างานร่วมกันระหว่างงานมือ กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมือที่ว่านี้เป็น พวกมือบอนซะด้วย”
0 5 lo n ely p la n et : B O O K O F EVERYTHING “เป็นเรือ่ งน่าดีใจมากทีส่ า� นักพิมพ์ไกด์บกุ๊ ระดับโลก หันมารุกคืบท�าหนังสือแนว visual guide ที่เล่าเรื่อง ด้วยภาพมากกว่าตัวหนังสือ เป็น information graphic ทีด่ แู ล้วเข้าใจง่าย อ่านสนุก เนือ้ หาเกีย่ วกับการเดินทาง และความรู ้ ร อบโลก ซึ่ ง เนื้ อ หาแบบนี้ โ คตรจะใช่ ส�าหรับ Lonely Planet ในเล่มมีเนือ้ หาตัง้ แต่เมฆชนิดต่างๆ แบบของปลั๊กไฟทั่วโลก การเอาตัวรอดจากทรายดูด การอ่านภาษาภาพของอียิปต์ จนถึงวิธีบังคับเครื่องบิน ลงจอด” 23
HOME MADE
A Tale of Two Sisters เรื่อง : อาทิตยา อาศิรวาท ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
ตอนเด็กๆ เรามักถูกสอนมาเสมอว่าเป็นพี่น้องกันต้องรักกัน แต่จะให้อยู่ด้วยกันตลอดตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ก็ดูเหมือนจะมีไม่กี่ครอบครัวที่สามารถท�าได้ ด้วยเหตุผลขององค์ประกอบในโลกส่วนตัวของแต่ละคนที่อาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่กับ ‘แป้ง’ - ภัทรีดา และ ‘นวล’ - นวลตอง ประสานทอง พี่น้องนักวาดภาพประกอบจาก Pangnual Studio แล้ว ทั้งสองยังเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความชอบ และไลฟ์สไตล์ที่คล้ายๆ กัน แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือความรักความผูกพันของทั้งคู่ที่เป็นทั้งพี่น้องและเพื่อนกันมาจนถึงทุกวันนี้
“ตัวเราสองคน”
พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร
จุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ “เราท� า บ้ า นหลั ง นี้ เพราะห้องท�างานเดิมของเราเล็กมาก ซึง่ ช่วงหลังๆ พอเรามีการจัดนิทรรศการก็จะชอบวาดภาพ ขนาดใหญ่ กว่าจะเอาเฟรมเข้าออกก็ล�าบาก คุณพ่อ ก็ เลยให้ ส ร้ างบ้ า นใหม่ ใ นรั้ ว เดี ย วกัน ท� า แบบครบเซตเลย ไม่ ไ ด้ มี แ ค่ ห ้ อ งท�า งาน แต่ ต ้ อ งมี ห ้ อ งนอน มี ห ้ อ งน�้ า ห้ อ งครั ว ด้ ว ย จะได้เป็นที่อยู่อาศัยของเราสองคนไปเลย” บรรยากาศตอนสร้างบ้านหลังนี้เป็นอย่างไร “เราใช้เวลาสร้างมันมา 5 ปี มีทงั้ ความสนุกผสม กับร้องไห้ เพราะกว่าจะเสร็จมันต้องเกี่ยวข้อง กับคนตัง้ สามฝ่าย คือ เรา สถาปนิก และผูร้ บั เหมา กว่าจะลงตัวคือเหนือ่ ยมาก จนไม่อยากจะเชือ่ เลย ว่าจะมีวนั นีไ้ ด้ (หัวเราะ) อย่างตอนน�้าท่วมใหญ่ เราก็เปลีย่ นแผนมาปูกระเบือ้ ง เพราะถ้าน�า้ มันท่วม จริงๆ จะได้ท�าความสะอาดง่าย ความพรีเมียม ของบ้านจะเพิ่มขึ้นตามจ�านวนชั้น (หัวเราะ) ส่วนทีด่ จี ะเอาไว้ชนั้ บน ซึง่ เมือ่ สร้างเสร็จแล้วเรา รู้สึกว่ามันดีมาก เข้าใจเลยว่าบ้านที่สบายเป็น อย่างไร ความรูส้ กึ ของการอยูใ่ นบ้านรกๆ กับบ้าน โล่งๆ มันต่างกันมาก อย่างบ้านหลังนีพ้ อเข้ามาปุบ๊ จะรู้สึกเย็นสบาย ทุกอย่างมีที่ทางของมัน” การสร้างบ้านส�าหรับสองคนพี่น้องมีความยากง่ายอย่างไร “ถ้าเปรียบความชอบโดยรวม ของเราสองคนเหมื อ นร่ ม ใหญ่ มั น คื อ ร่ ม คันเดียวกัน แต่ถ้าดูรายละเอียดร่มเล็กๆ ก็จะมี ความแตกต่ า งกันอยู ่ บ ้ า ง สัง เกตได้ จ ากมุม โต๊ะท�างานของแต่ละคน ซึง่ เป็นความโชคดีทเี่ รา
สร้างบ้านในโมเมนต์ที่เห็นความสวยงาม แบบเดียวกัน เช่น จะเลือกเก้าอีส้ วยๆ เข้ามา ในบ้าน เราก็ยงั เห็นตัวเดียวกันอยู่ มันเลยง่าย เพราะบางทีเราก็คิดต่างกับช่างแล้ว ถ้าต้อง มานั่งเถียงกันเองอีกคงปวดหัวน่าดู” ความรู้สึกตอนที่บ้านสร้างเสร็จสมบูรณ์ เป็นอย่างไร “การสร้างบ้านมันเหมือนการสร้างหนังเรือ่ งหนึง่ เลยนะ เพราะเราจะมีผคู้ น ต่างๆ มาเกีย่ วข้องเยอะมาก ก่อนหน้านีก้ ็จะ มีคนบอกกับเราบ่อยๆ ว่าการสร้างบ้านมันเป็น เรือ่ งหนักหนามาก แต่เราก็ไม่กลัว จนมาเจอ กับตัวเองทีนี้รู้ซึ้งเลย (หัวเราะ) บทจะเจอซีน หนักๆ นีถ่ งึ กับร้องไห้ แต่จๆู่ ก็มอี ศั วินขีม่ า้ ขาว เป็นผูร้ บั เหมารายใหม่มาช่วยทันเวลา งานทีค่ า้ ง เป็นปีก็เคลียร์ได้เสร็จสรรพ มันก็แปลกดี แต่ ถึ ง จะเหนื่ อ ยอย่ า งไร พอได้ ดั่ ง ใจเรา มันเป็นความรูส้ กึ ทีส่ ดุ ยอดเลยนะ จนเราต้อง ขอบคุณความผิดพลาดต่างๆ ทีท่ า� ให้บา้ นเรา เป็นแบบนี้ ทัง้ ทีต่ อนเจอปัญหาเราจะเป็นจะตาย หงุดหงิด โมโห แต่พอผ่านมันมาได้ กลายเป็น ว่าเราได้บ้านที่ดีเกินคาด มองออกไปก็เห็น สวนในมุมทีเ่ ราไม่เคยเห็นมาก่อน ได้ชอ่ งลม ทีท่ า� ให้บา้ นเย็น อยูแ่ ล้วมีความสุข สบายตัว สบายใจ ซึ่งแค่นั้นมันก็เพียงพอแล้ว”
• แหล่งช้อปปิง้ เฟอร์นเิ จอร์... เชียงใหม่ ค่ะ ตู้หลายใบในบ้านก็มาจากที่นั่น • ตัวการ์ตนู ทีช่ อบ... ไจโกะ น้องสาว ไจแอนท์ เพราะไจโกะอยากเป็ น นักวาดการ์ตนู เหมือนเราตอนเด็กๆ เลย • ศิลปินไทยคนโปรด... ‘โอ่ง’ - กงพัฒน์ ศักดาพิทกั ษ์ เราชอบการใช้สแี บบจัดๆ ของเขา
1. เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 2. เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 3. สยามพารากอน ชั้น 1 4. สยามพารากอน ชั้น 3 5. สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 6. เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A 7. Big C เอกมัย 8. เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ 9. เอ็มโพเรียม ชั้น 5 10. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี เพลส 11. ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซอย 11 และ 13) 12. มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ (ทองหล่อ ซอย 4) 13. เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 14. ออล ซีซัน เพลส 15. อาคารอื้อจือเหลียง 16. หลังสวน 17. สีลมคอมเพล็กซ์ 18. ไทมส์ สแควร์ ซอยสุขุมวิท 12 19. ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า 20. จามจุรีสแควร์ 21. อาคารเดอะสิบเก้า ชิดลม 22. อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ 23. IDEO พญาไท 24. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 25. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 26. โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 27. โรงพยาบาลกรุงเทพ 28. โรงพยาบาลรามาธิบดี 29. โรงพยาบาลพระราม 9 30. The Crystal 31. CDC
32. RCA ์ซิตี้อเวนิว 33. นวมินทร าวน์เซ็นเตอร์ ์ท 34. นวมินทร Center e in 35. The N 21 l 36. Termina เกษตร-นวมินทร์ lk a 37. The W enade m 38. The Pro e ทาวน์อินทาวน์ n e c 39. The S ailand ถนนบา� รงุ เมอื ง h 40. SOHO T
OUT THERE
Tel Aviv
เทลอาวีฟ เมืองชายทะเลที่เป็นจุดหมายส�าคัญของนักท่องเที่ยว ที่นี่มีชายหาดสวยงาม มีบ้านพักตากอากาศและโรงแรมสุดหรูมากมาย และถึงแม้ว่าไฟแห่งความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอลและปาเลสไตน์จะร้อนแรงมากแค่ไหน แต่เทลอาวีฟก็ยังเป็นจุดหมายในใจของนักท่องเที่ยวเสมอมา นครสีขาวแห่งเทลอาวีฟคือชื่อที่ผู้คนใช้เรียกเมืองนี้ ชายหาดแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของเทลอาวีฟมีมนต์ขลังจนยากจะลืมเลือน หากคุณรักชายหาดไมอามีในอเมริกา คุณก็จะรักชายหาดแสนสวยในเทลอาวีฟเช่นกัน
The City Facts กรุงเทลอาวีฟเป็นเมืองใหญ่อนั ดับสองของประเทศ อิสราเอล ได้ชื่อว่าเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของโลก แต่อีกด้านหนึ่งเทลอาวีฟก็ติดอันดับเมืองที่ทันสมัย ทีส่ ดุ ในโลก นักเดินทางนิยมเดินทางมาทีน่ ดี่ ว้ ยหลาย เหตุผล อย่างแรก เทลอาวีฟเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มี สิง่ อ�านวยความสะดวกครบครัน มีชายหาดทีส่ วยงาม และเป็นสวรรค์ของนักเดินทางทีช่ อบกิจกรรมกลางแจ้ง สุ ด ท้ า ยคื อ การผสมผสานวั ฒ นธรรมเก่ า และใหม่ ได้อย่างลงตัว เป็นเสน่ห์ที่ไม่มีเมืองใดเหมือน
ส�าหรับคนที่ชอบดูเมืองเก่าและชมงานศิลปะ ต้องแวะเวียนไปที่ย่านจัฟฟา ย่านเก่าแก่ที่มีอายุ ยาวนานนับพันปี ในอดีตเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลีย่ นทางการค้าและวัฒนธรรม มีพอ่ ค้า ศิลปิน นักเดินทาง นักส�ารวจ หรือแม้กระทั่งผู้เผยแผ่ศาสนา แวะเวียนมาไม่ขาดสาย ปัจจุบันย่านนี้เป็นเหมือน มรดกทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ส� า คั ญ ของเทลอาวี ฟ มีรา้ นกาแฟ มีแกลเลอรีมากมายให้เลือกเสพงานศิลปะ ของศิลปินจากทั่วโลก จุดสังเกตที่ส�าคัญของที่นี่คือ หอระฆังของโบสถ์เซนต์ปเี ตอร์ โบสถ์สา� คัญของเมือง ที่สร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1654
"TEL AVIV APPEALS TO ME." TAYLOR CALDWELL, AN ANGLO-AMERICAN NOVELIST
นอกจากบ้านเมืองเก่าแก่ที่ดึงดูดใจ แล้ว เทลอาวีฟยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย เทคโนโลยีทที่ นั สมัย มีตกึ ส�านักงานทีส่ งู ติ ด อั น ดั บ โลกอย่ า งตึ ก Moshe Aviv Tower และตึก Electra Tower ที่เป็นที่ตั้ง ของส� า นั ก งานแห่ ง ใหม่ ข องกู เ กิ ล นักประดิษฐ์ของโลกหลายคนถือก�าเนิด จากทีน่ ี่ ทัง้ เทคโนโลยีดา้ นไอที การทหาร หรื อ แม้ แ ต่ ก ารเกษตร เรี ย กได้ ว ่ า อิสราเอลถือเป็นชนชาติมันสมองของ โลกเลยทีเดียว
เทลอาวีฟเป็นหนึ่งเมืองที่มีงานพาเหรดเกย์ อันเลื่องชื่อ และเป็นเมืองที่เปิดกว้างในเรื่องของ เพศสภาพพอสมควร กิจกรรมของชาวเกย์อย่าง Gay Pride Parade ก็เป็นที่นิยมจากนักท่องเที่ยว และมีการจัดขึน้ ทุกปี ในปี ค.ศ. 2011 เมืองนีไ้ ด้รบั ยกย่องให้เป็น The Best Gay City นอกจากนั้น เทลอาวีฟยังได้รางวัลอืน่ ๆ อีกมากมาย ไม่วา่ จะเป็น การเป็ น หนึ่ ง ในเมื อ งที่ ช ายหาดดี ที่ สุ ด ในโลก เมื อ งที่ มี เ ทคโนโลยี ทั น สมั ย เมื อ งหนึ่ ง ของโลก ถึงแม้ปัญหาทางการเมืองและสงครามความเชื่อ ศาสนาจะยังไม่ยตุ ิ แต่เมืองเทลอาวีฟก็ไม่เคยหยุด ทีจ่ ะพัฒนา สิง่ หนึง่ ทีน่ กั เดินทางจะพบและรูส้ กึ ได้ คือ เทลอาวีฟได้ผสมผสานวัฒนธรรมเก่าและ เทคโนโลยีแห่งอนาคตได้อย่างลงตัว ซึ่งแสดง ให้เห็นถึงความเป็นชาติทเี่ ข้มข้นของชาวยิวทีม่ มี า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กีฬาทางน�้าคือหนึ่งในกิจกรรมหลักที่ ส� า คั ญ ไม่ แ พ้ ก ารอาบแดดของสาวๆ ชายหาดของเทลอาวีฟแม้จะมีคลื่นไม่สูง เท่าหาดอื่น แต่ก็สามารถเล่นเซิร์ฟได้ดี นักเซิร์ฟทั้งมือใหม่และมือเก่ามักเดินทาง มาเยือนที่นี่ การแล่นเรือใบก็เป็นกิจกรรม ที่นิยมกัน เพราะชายหาดของเทลอาวีฟ มี ทิ ว ทั ศ น์ ข องทะเลเมดิ เ ตอร์ เ รเนี ย น ที่สวยงามจับใจเมื่อได้สัมผัส จึงไม่แปลก ถ้ า เราจะพบเห็ น เรื อ ยอชต์ ห รู ห ราของ มหาเศรษฐีจอดเรียงรายอยู่ตามท่าเรือ ของเมือง
ปั ่ น จั ก รยานเป็ น ทางเลื อ กที่ ดี ใ น การท่ อ งเที่ ย วแบบเจาะลึ ก เทลอาวี ฟ มีจักรยานสาธารณะให้เช่าอยู่หลายจุด การปั่นจักรยานเลียบหาดเป็นกิจกรรม ที่นักเดินทางนิยมท�ากัน เส้นทางจักรยาน ของเมืองนีม้ ตี งั้ แต่ถนนเลียบหาดไปจนถึง ปั ่ น ขึ้ น ภู เ ขาที่ ส ามารถมองลงมาเห็ น ทัศนียภาพที่สวยงามของเมือง เป็นหนึ่ง กิจกรรมทีท่ า้ ทายส�าหรับคนรักการเดินทาง จริงๆ
WHAT YOU NEED TO KNOW สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจ�าประเทศไทย ชั้น 25 อาคารโอเชียน ทาวเวอร์ II เลขที่ 75 ถนนสุขุมวิท ซอย 19 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2204-9200 การเดินทาง สายการบินรอยัล จอร์แดเนียน แอร์ไลน์ www.rj.com สายการบินเตอร์กิช แอร์ไลน์ www.turkishairlines.com สายการบินไทย www.thaiairways.co.th ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 17 ชัว่ โมง
EVERYDAY STORY
Life is short, love each other. วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
เสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้นในเวลาเช้าผิดปกติมักไม่ใช่ข่าวดี ลางสังหรณ์บอกกับผมอย่างนั้น แล้วก็เป็นจริงดังคาด… รุ่นพี่คนหนึ่งที่สนิทและนับถือกันมาสิบกว่าปี โทรศัพท์มาขอความช่วยเหลือ อยากให้ผมช่วย เป็นธุระหาโรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกในงานศพให้กับลูกชายคนใหม่ของเขาที่เพิ่งเสียชีวิต เมื่อเวลาตีสาม ไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง ผมอุทานด้วยความตกใจที่ได้รับรู้เรื่องไม่คาดฝัน เอ่ยปากแสดงความเสียใจกับพี่ แล้วรับปากว่า จะเป็นธุระให้ วางโทรศัพท์แล้วผมก็รบี กดโทรศัพท์หาเพือ่ นทีร่ จู้ กั กับโรงพิมพ์ให้ชว่ ยประสานงานเรือ่ งนี้ เพื่อนผมซึ่งก็รู้จักกับรุ่นพี่ได้ฟังข่าวร้ายแล้วรู้สึกเช่นเดียวกับผม คือไม่อยากจะเชื่อเลย บางเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้มันโหดร้ายกับคนบางคนเกินไปจริงๆ สองวันต่อมา ผมนั่งอยู่ในงานศพซึ่งจัดขึ้นที่วัดใหญ่แห่งหนึ่งย่านฝั่งธนบุรี แม้จะเป็นวันธรรมดา ยามบ่ายแต่ก็มีคนมาร่วมงานคับคั่ง คงเพราะรุ่นพี่คนนี้นอกจากจะเป็นผู้ก�ากับภาพยนตร์ฝีมือดี เขายังเป็นคนนิสยั ดี มีอธั ยาศัยไมตรีนา่ นับถือคบหา ส่วนภรรยาของเขาก็เป็นสาวในวงสังคมทีม่ เี พือ่ นฝูง มากมาย ส�าคัญกว่านัน้ ผมคิดว่าทุกคนทีม่ างานนีค้ งอยากมาเพือ่ ให้กา� ลังใจพ่อแม่ทเี่ พิง่ สูญเสียลูกน้อย ไปอย่างไม่คาดฝัน ผมไม่เคยมางานศพทีผ่ เู้ สียชีวติ เป็นเด็กเลย ยิง่ เป็นเด็กทารกทีเ่ พิง่ เกิดมาลืมตาดูโลกได้เพียงสามวัน ก็ต้องจากไปเช่นนี้ นับเป็นครั้งแรก และผมหวังว่ามันจะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต ผมเคยได้ยนิ ว่า ความโศกเศร้าแสนสาหัสสถานการณ์หนึง่ คือการทีค่ นเป็นพ่อแม่ตอ้ งเห็นลูกเสียชีวติ ก่อนเวลา และต้องเป็นผูล้ งมือจัดงานศพให้กบั ลูกของตัวเอง เรามักคิดกันว่าคนทีเ่ กิดก่อนก็ตอ้ งตายก่อน คนอายุมากต้องจากไปเร็วกว่าคนอายุน้อย หากความจริงคือชะตาชีวติ มันไม่ได้เป็นสิง่ ทีถ่ กู เรียงล�าดับ ไว้ก่อนหลังอย่างนั้น ในงาน ผมนั่งติดกับนักแสดงสาวซึ่งเคยเป็นนางเอกในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่รุ่นพี่เป็นผู้ก�ากับ สีหน้าของเธอหมองเศร้าและนัยน์ตาก็แดงช�้าเหมือนเพิ่งผ่านการร้องไห้มา เธอรับว่าเธอรู้สึกหดหู่ใจ ไม่น้อย อย่างหนึ่งคือเพราะเธอรู้จักกับพี่ผู้ก�ากับและภรรยา อีกเหตุผลคือเพราะเธอเองก็เป็นแม่ ทีม่ ลี กู เล็ก เธอคิดว่าเธอพอจะเข้าใจความรูส้ กึ ของพ่อแม่ทเี่ พิง่ สูญเสียลูกว่าทุกข์ตรมสุดแสนขนาดไหน “อะไรคือความสุขความทุกข์ของการมีลูก” ระหว่างที่พูดคุยกัน ผมเอ่ยถามนักแสดงสาวที่เป็น คุณแม่ของลูกสาวอายุสองขวบถึงเรื่องที่ผมไม่ค่อยเข้าใจเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ “จะเรียกว่าความทุกข์กค็ งไม่ขนาดนัน้ ค่ะ” เธอตอบ “เพราะความทีพ่ อ่ แม่ทกุ คนรักลูกมาก ลูกเลย ท�าให้เราต้องเป็นห่วง ต้องเป็นกังวลเสมอ ซึง่ บางทีความห่วงความกังวลมันก็กระทบกับอารมณ์ความรูส้ กึ ของเราเหมือนกัน แต่ถ้าพูดถึงความสุขนี่เยอะมาก บรรยายได้ไม่หมด แต่ละวันลูกจะมีอะไรให้เรายิ้ม ให้หวั เราะตลอด แค่ตนื่ เช้ามาเห็นหน้าลูกทุกวันก็ชนื่ ใจ มีความสุขแล้ว” เธอพูดพร้อมรอยยิม้ แล้วบอก กับผมต่อว่า “ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดกับเราอีกอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั คือ พอมีลกู แล้วเราจะอยากเป็นคนทีด่ ขี นึ้ กว่าเดิม อะไรต่างๆ ทีไ่ ม่ดที เี่ ราเคยท�าตอนทีเ่ รายังใช้ชวี ติ อิสระ ยังไม่มเี ขา พอเป็นแม่คนแล้วเราจะอยากเลิกท�า ทัง้ หมดเพือ่ เขา จะพูดว่าลูกท�าให้เราอยากเป็นคนทีส่ มบูรณ์แบบกว่าทีเ่ คยเป็นก็ได้คะ่ ” หญิงสาวตอบค�าถาม ของผมแล้วบอกกับผมว่า ผมควรจะลองมีลูก มันเป็นชีวิตที่ดีมากชนิดที่ใครไม่เคยเป็นพ่อแม่ยากจะ เข้าใจ ฟังค�าแนะน�าของนักแสดงสาวแล้วผมได้แต่ยมิ้ รับ ผมรูต้ วั ดีวา่ ผมเป็นคนรักเด็กและเข้ากับเด็กๆ ได้ด ี แต่การรักเด็กกับการมีลูกของตัวเองน่าจะเป็นคนละเรื่องกัน ไม่ใช่เรื่องภาระความรับผิดชอบมหาศาล ที่ต้องแบกรับอีกหนึ่งชีวิตที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเราหรอก เรื่องนี้ผมเข้าใจและเชื่อว่าผมรับได้
เพียงแต่ผมคงเป็นคนประเภททีช่ อบจินตนาการไปในทางเลวร้ายว่า ถ้ามีลกู ด้วยความทีร่ กั มากห่วงมาก หากลูกเกิดเป็นอะไรขึ้นมาผมคงเป็นทุกข์อย่างหนักหนาสาหัสชนิดที่ไม่สามารถทนอยู่ต่อไปได้ เพราะฉะนั้น เลยขอตัดไฟมันเสียตั้งแต่ต้นลมด้วยมือของตัวเราเองเลยดีกว่า พิธศี พในบ่ายวันนีเ้ รียบง่ายและด�าเนินไปอย่างกระชับ ไม่มแี ม้กระทัง่ พระสงฆ์สวดมนต์ เมือ่ ได้เวลา ตามก�าหนด แขกทุกคนที่มางานก็ทยอยกันเดินน�าดอกไม้จันทน์ขึ้นไปวางที่บริเวณเมรุหน้าเตาเผา ผมวางดอกไม้จันทน์เบื้องหน้าโลงศพขนาดเล็กที่สุดที่เคยเห็น พนมมือไหว้แล้วกล่าวภาวนาในใจ ขอให้เด็กน้อยไปสูส่ คุ ติ จากนัน้ ก็เดินลงบันไดมารับหนังสือทีร่ ะลึกงานศพทีเ่ พิง่ เร่งจัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อย ในเช้าวันนั้น ผมเห็นรุ่นพีย่ นื อยู่จงึ เดินเข้าไปหาเขา ก่อนหน้านีเ้ มือ่ เดินทางมาถึงงานผมได้แต่เพียงสวมกอดเขา แล้วกล่าวแสดงความเสียใจ ไม่ได้พดู อะไรมากกว่านัน้ เพราะคิดว่าไม่ควรไต่ถามอะไรมากมายกับคนที่ ก�าลังโศกเศร้า แต่เห็นเขายืนอยู่คนเดียวจึงชวนเขาพูดคุย “พี่ดูเข้มแข็งดีนะครับ” ผมพูดไปตามที่เห็น เขายิ้มรับแล้วตอบว่า “มันไม่เข้มแข็งไม่ได้น่ะ เพราะมีคนที่หนักกว่าเราเยอะ” เขามองไปทางภรรยาของเขาที่ยืนอยู่ อีกมุมหนึ่ง ผมถือโอกาสถามถึงสาเหตุของการเสียชีวิตของเด็ก พี่เล่าว่าเกิดจากอาการปอดติดเชื้อ ซึ่งเป็น เรื่องที่เขาเองก็ไม่เข้าใจเอาเสียเลยว่า เด็กแรกเกิดอยู่ในตู้อบมิดชิดขนาดนั้นจะติดเชื้อได้อย่างไร เมื่อลงมือรักษาอย่างเร่งด่วนแล้วอาการของทารกน้อยเริ่มวิกฤต เขาจึงตัดสินใจย้ายโรงพยาบาล แต่ถึงตอนนั้นก็ไม่ทันการแล้ว “ไม่เคยมีความคิดว่าลูกเราจะตาย” เขาเผยความในใจ “พี่ว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนคิดว่าจะเจอกับ เรือ่ งอย่างนีห้ รอก อธิบายความรูส้ กึ ไม่ถกู นะ แต่ยอมรับว่าหนักมากเลย หนักทีส่ ดุ ในชีวติ เสียศูนย์เลยล่ะ ตอนทีห่ มอก�าลังปัม๊ หัวใจให้ลกู ตอนนัน้ เราคิดอย่างเดียวว่าให้เอาอะไรไปแลกเรายอมหมด จะให้ถอื ศีล ตลอดชีวิตก็ได้ ขอแค่ให้ลูกกลับมา” ฟังรุ่นพี่เล่าถึงตอนนี้แล้วผมรู้สึกเหมือนมีอะไรสักอย่างจุกอยู่ใน ล�าคอ “หลายคนพูดปลอบใจว่าลูกบุญน้อย เลยได้อยูก่ บั เราแค่น ี้ แต่พกี่ ลับคิดว่าเราเองต่างหากทีค่ งท�าบุญ มาน้อย เลยได้อยูก่ บั เขาไม่นานเท่าทีใ่ จอยาก สิง่ ทีพ่ วี่ า่ พีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากเหตุการณ์นคี้ อื ไม่มอี ะไรสักอย่าง ทีแ่ น่นอน ชีวติ มันสามารถเกิดเรือ่ งไม่คาดคิดได้เสมอ แต่พอเกิดขึน้ แล้วเราก็ตอ้ งเข้มแข็งพอทีจ่ ะยอมรับ ความจริงให้ได้ ถ้าจะมีเรือ่ งดีสกั อย่างทีเ่ ป็นเรือ่ งทีพ่ กี่ แ็ ปลกใจตัวเองคือ พีก่ ไ็ ม่คดิ เหมือนกันนะว่าชีวติ นี้ เราสามารถรักคนคนหนึง่ ได้ขนาดนีเ้ ชียวหรือ นาทีทลี่ กู ก�าลังจะจากไปเรารูเ้ ลยว่าการทีเ่ รารักคนคนหนึง่ มากกว่าที่รักตัวเองมันเป็นยังไง” หลังพิธศี พเสร็จสิน้ ผมขับรถออกจากวัดด้วยความรู้สกึ ทีห่ ม่นหมองไปตลอดทาง เมือ่ กลับถึงบ้าน ผมหยิบหนังสือที่ระลึกงานศพเล่มเล็กที่ได้รับออกมาดู ภาพบนหน้าปกเป็นภาพถ่ายขาวด�าทารกน้อย ที่เพิ่งหมดลมหายใจในอ้อมกอดของแม่ที่ยังคงตระกองกอดลูกน้อยที่จากไปแล้วไว้อีกนานนับชั่วโมง เด็กน้อยในภาพหลับตาพริ้มเหมือนก�าลังนอนหลับสบาย บนปกหนังสือมีถ้อยค�าเขียนไว้ว่า “Life is short, love each other.” ชีวิตนั้นอาจไม่ยืนยาวอย่างที่คิด จงเผื่อแผ่ความรักความปรารถนาดีแก่คนรอบข้าง ชีวิตมันสั้น รักกันไว้ให้มาก ไว้อาลัยแด่ เด็กชายคเตชิณ สิปปภาค 28 พฤศจิกายน 2557-1 ธันวาคม 2557