a day BULLETIN LIFE issue 60

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 60 I 1 - 7 MAY 2015


ปีที่ 2 ฉบับที่ 60 วันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2558

NOTE ON LIFE

This is the Voice

The Voice ที่ว่านี้ไม่ใช่รายการประกวดร้องเพลง แต่มันคือเสียงที่อยู่ในหัวของเราเอง เป็นเสียงที่ผุดโผล่มาจากที่ไหนสักแห่ง ฟังดูคล้ายไม่ได้ส่งเสียง แต่เรากลับได้ยิน คล้ายจะเงียบ แต่เรากลับรู้สึกว่ามันดังกึกก้องเหลือเกิน บางคนเรียกเสียงนั้นว่าเสียงของความคิด แถวบ้านผู้เขียนมีผู้หญิงคนหนึ่งที่มักจะเดินพูดคนเดียวเหมือนทะเลาะกับใครสักคน แรกๆ นึกว่าเธอคุยโทรศัพท์ด้วยหูฟังแบบบลูทูธ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนยุคนี้ แต่เมื่อดูดีๆ เธอก�าลังพูดคนเดียว เป็นการทะเลาะเพียงเดียวดาย ไร้คนรับฟัง เชื่อว่าการได้ยินเสียงที่ดังในหัวตลอดเวลาเป็นความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่ง แต่การตอบโต้กับเสียงนั้น โดยเข้าใจว่ามีใครสักคนพูดด้วย เป็นความน่าเห็นใจอย่างยิ่ง ปนเปไปกับความเห็นใจ เราเชื่อว่ามีหลายคนร�าคาญ และอาจตัดสินไปแล้วว่าช่างเป็นเรื่องเสียมารยาทที่ทะเลาะเรื่องส่วนตัวจนคนได้ยินกันทั่ว พวกเราหลายคนก็ ‘ท�า’ แบบเดียวกับเธอ แต่ไม่ได้ ‘เป็น’ แบบเดียวกับเธอ เราทุกคนจึงล้วนเป็นคนปกติเพียงเพราะมีคนไว้ทะเลาะด้วย แม้หลายครั้งเราก็อยากให้คนคนนั้นไม่มีอยู่จริง และหวังว่าคงมีความสุขกว่านี้ถ้าค�าพูดร้ายๆ ที่เราได้ยิน เป็นเพียงจินตนาการ ต่อให้สิ่งนี้จะเป็นความไม่ปกติของใครทั้งโลกก็ตามที วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin

CONTENTS

4 The Stuff

6 Feature

16 Superสารพัดสิ่งรอบตัว แ ล ก เ ป ลี่ ย น ใ ค ร ท� า อ ะ ไ ร แง้ ม ดู บ ้ า นแห่ ง market

เรา ที่ เ ล่ า ผ่ า น เ รื่ อ ง เ ล ่ า แ ล ะ ตัวเลข ประสบการณ์จาก โครงการ WWOOF ผ่ า นมุ ม มองของ คน 3 กลุ่ม

12 Calendar

14 HOMEMADE

ที่ ไ หน เช็ ก ดู ไ ด้ สุดสัปดาห์นจี้ ะได้ ไม่พลาดเรื่องราว สนุกๆ

ค ว า ม สุ ข ข อ ง ศิ ว ะกร จู ง พล นักธุรกิจร้านอาหาร ทีเ่ ติมเต็มพลังกาย พลังใจได้ดี

ฉวยตะกร้า คว้า รถเข็ น แล้ ว ไป เดิ น เล่ น จั บ จ่ า ย กับเราใน Supermarket แห่งนี้

18 Selective

19 20 Make a Dish The 5ive

26 Everyday ข้าวของแห่งความ- หนึ่ ง จานอร่ อ ย เพลง หนังสือ และ พ ลิ ก มุ ม คิ ด เพราะเราเชื่ อ ว่ า Story

ทรงจ� า ที่ ตะวั น จากร้ า นดั ง ที่ เ รา อิ ท ธิ จ า รุ กุ ล อยากชวนคุณไป เล่าเรื่องราวให้ฟัง ลิ้มลอง ครั้ ง ไปเรี ย นไกล ถึงอังกฤษ

21 THE WORD

22 Out There

ภาพยนตร์ ที่ พัฒนะ ป รั บ มุ ม ม อ ง โลกใบนี้มีสถานที่ จิ ร วงศ์ ผู ้ ก� า กั บ กับ ‘หนึง่ ถ้อยค�า... มากมายรอให้ไป ภาพยนตร์สารคดี ทีเ่ ปลีย่ นความคิด’ ค้นหา เลือกมาเติมไฟใน การท�างาน

ทุ ก วั น คื อ ชี วิ ต ชี วิ ต คื อ ทุ ก วั น โดย วงศ์ ท นง ชัยณรงค์สิงห์

LETTER เราชอบรูปภาพใน a day BULLETIN LIFE มาก สวยทุกรูปเลย แต่ตอนนี้ย้ายกลับมาอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดแล้ว เลยต้องวานให้เพื่อนตามเก็บนิตยสารให้แทน เพราะเราชอบตัดรูปภาพในนิตยสารมาเก็บใส่ สมุดบันทึก ดูภาพพวกนี้เป็น reference ไว้ เมื่อมีโอกาสออกเดินทาง ก็อยากถ่ายภาพให้ได้แสงธรรมชาติอย่างใน a day BULLETIN LIFE บ้าง เรื่องราว Feature ใน a day BULLETIN LIFE แต่ละเล่มก็ก�าลังดี แตกต่างจากนิตยสารฉบับอื่นๆ ตรงที่บางทีคนในเล่มก็อาจจะไม่ใช่คนมีชื่อเสียงมาก ซึ่งเราชอบมาก มันให้ความรู้สึกว่าเรื่องนี้ใกล้ตัวขึ้น - PIM

ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife

A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน สราญรัตน์ ไว้เกียรติ ฝา่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝา่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผูจ้ ดั การฝา่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, วราพร วิทยารุง่ เรืองศรี 08-9169-9509, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, รวงรัชต์ ด้านเทาลา 08-1412-9478, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้จัดการ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412


STUFF

LAB EQUIPMENts ทุกครั้งที่มีคาบเรียนวิทยาศาสตร์สมัยเด็กๆ เรามักจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจเสมอกับอุปกรณ์หน้าตาแปลกๆ รวมไปถึงรูป รส กลิ่น เสียง ที่ได้มาจากการทดลองในบทเรียนแต่ละครั้ง ความสนุกสนานผสมกับความตื่นเต้นท�าให้วิชาวิทยาศาสตร์กลายเป็นวิชาโปรดของเด็กหลายๆ คน ที่แม้วันนี้อาจจะลืมไปแล้วว่า หลอดทดลองใช้ท�าอะไร หรือบีกเกอร์มีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ทุกครั้งที่นึกย้อนกลับไปสมัยนั้น เรายังคงจ�าความรู้สึกในห้องทดลองเล็กๆ ที่เราและเพื่อนๆ ก�าลังทดสอบความเป็นกรดเป็นเบสกันอย่างสนุกสนาน โดยไม่รู้เลยว่าที่จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่

เชื่อกันว่ากล้องจุลทรรศน์ เชิงประกอบเกิดขึ้นครั้งแรก ในยุ ค 1590s ที่ ป ระเทศ เนเธอร์แลนด์ โดยผู้คิดค้น แว่นตาสองท่านคือ Hans Lippershey และ Zacharias Janssen

บีกเกอร์ เครือ่ งมือทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้บรรจุของเหลว โดยมีขีดบอก ปริมาณ แต่ไม่สามารถตวงของเหลว ได้อย่างแม่นย�า ซึ่งบีกเกอร์ทั่วไปมี ความแม่นย�าเพียง 10% เท่านัน้

ขวดปริมาตรทรงกรวย หรือขวด รูปชมพู่ ทีม่ ชี อื่ ในภาษาอังกฤษว่า Erlenmeyer flask โดยตั้งชื่อ ตาม Emil Erlenmeyer นักเคมี ชาวเยอรมันผู้คิดค้นอุปกรณ์ ชนิดนีใ้ นสมัย 1860s

หลอดทดลองมีความสามารถทนทานต่ อ ความร้ อ นได้ ถึ ง 300 องศาเซลเซียส

แม้แว่นขยายจะเกิดขึน้ ในปี ค.ศ. 1250 โดย โรเจอร์ เบคอน แต่กลับได้รบั ความนิยมเมือ่ 750 ปีให้หลัง ซึง่ ผูค้ นน�ามันมาเป็นส่วนหนึง่ ของชี วิ ต ช่ ว ยให้ ก ารด�าเนินชีวิตของผู้มีปัญหา ทางด้านสายตาสะดวกขึน้ ไปจนถึงน�าไปใช้ประโยชน์ ทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย กระบอกตวงแบบแก้วทีใ่ ช้กนั อย่างแพร่หลายใน ห้องทดลองมีความจุตงั้ แต่ 5-2,000 มิลลิลติ ร และวิธีวัดปริมาณของเหลวที่บรรจุได้แม่นย�า ที่ สุ ด คื อ การตั้ ง กระบอกตวงไว้ บ นที่ ร าบ ห้ามยกขึน้ มาเพือ่ วัดปริมาณเด็ดขาด

ในปี ค.ศ. 1890 ขณะที่ William Stewart Halsted ศัลยแพทย์ชาวอเมริกนั ท�างานอยูท่ มี่ หาวิทยาลัย จอห์นส์ฮอปกินส์ เขาใช้กรดคาร์บอลิกเพื่อท�าความสะอาดมือก่อนจะท�าภารกิจทางการแพทย์ ทุกครัง้ แต่พยาบาลของเขากลับมีอาการแพ้กรดดังกล่าว เขาจึงขอให้บริษทั Goodyear Tire and Rubber ผลิตถุงมือทีส่ ามารถป้องกันกรดดังกล่าวได้ จึงเป็นทีม่ าของถุงมือแพทย์ทใี่ ช้ในการทดลองต่างๆ

ในสมัยก่อน คอนเซ็ปต์ดั้งเดิมของแผ่นสไลด์คือ การใช้กระดูกและงาช้างเป็นวัตถุดิบในการประดิษฐ์ และเป็นที่นิยมอย่างมากในยุควิกตอเรีย จนกระทั่งมีการน�าแก้วมาใช้ท�าแผ่นสไลด์จนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันในห้องทดลองอย่างที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน


FEATURE

Farm Venture หลายคนอาจจะเคยได้ยินโครงการเดินทางไปเป็นอาสาสมัครเรียนรู้การท�าเกษตรในต่างประเทศที่เรียกว่า WWOOF หรือย่อมาจาก World Wide Opportunities on Organic Farms มาบ้าง แต่คงมีไม่กี่คนที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วการเดินทางไปเรียนรู้ท�าการเกษตรในโครงการนี้ อาสาสมัครได้ประสบการณ์อะไร และมีความยากล�าบากแบบไหนที่ต้องพบเจอ ฉบับนี้เราจึงตั้งใจไปสัมภาษณ์เหล่าอาสาสมัครในโครงการ WWOOF เพื่อให้พวกเขาได้บอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ในมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างแดน และการท�าการเกษตรแบบออร์แกนิก ที่แตกต่างกันในสามประเทศ และเหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาบอกว่า ไม่ว่าจะเจอเรื่องที่ดีและร้ายแค่ไหน แต่การเดินทางครั้งนี้ก็เป็นประสบการณ์ที่พิเศษที่สุดในชีวิต เพราะนี่คือการไปใช้ชีวิตแบบเจาะลึก ได้เรียนรู้ผู้คนและธรรมชาติ รวมทั้งได้รู้จักชีวิตของคนในเมืองนั้นๆ แบบใกล้ชิดมากที่สุด


JAPAN เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

อาจเป็นเพราะโชคชะตาที่ท�าให้ นัท ศุภวาที พร้อมที่จะเดินออกจากเส้นทางชีวิตเดิมๆ แล้วเข้าร่วม โครงการ WWOOF Japan เป็นเวลาเกือบ 3 เดือน ซึ่งนั่นก็เปลี่ยนวิถีชีวิตของเขาไปอย่างสิ้นเชิง จากทีเ่ คยหยิบจับปากกาขีดเขียนออกไอเดียตามประสานักเขียนข้อความโฆษณา กลับกลายเป็นกวาดหิมะ เลีย้ งไก่ และท�านา แต่นนั่ ก็ทา� ให้เขาเรียนรูเ้ รือ่ งราวบางอย่างจนถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ อยูญ ่ ปี่ นุ่ อย่าง หมาป่า ของส�านักพิมพ์อะบุ๊ก ที่เขาตั้งใจจะบอกทุกคนว่า ประสบการณ์ครั้งนี้มันคุ้มค่าอย่างไร THE STARTING POINT :

เรารูจ้ กั โครงการ WWOOF มานานมากแล้ว ประมาณ 5-6 ปี จากเพื่อนของน้องบ้าง เพื่อน ตัวเองบ้าง อ่านในเว็บบอร์ดบ้าง แต่ยงั ไม่ได้รจู้ กั อย่างลึกซึง้ ว่ามันต้องสมัครหรือต้องท�าอะไรบ้าง จนเราได้อ่านหนังสือเรื่อง ปฏิบัติการบุกญี่ปุ่น ...WWOOF Japan ของ ดนัย วิทยานที เราก็ยงิ่ รูส้ กึ ว่ามันเป็นโครงการทีน่ า่ ไปมาก ประจวบเหมาะ กับเมือ่ ช่วงปีทแี่ ล้วบริษทั เก่าเกิดความเปลีย่ นแปลง ต้องย้ายออฟฟิศไปอยู่ในท�าเลที่ไกลขึ้น เราเลยรู้สึกว่าไปไม่ไหว ก็เลยตัดสินใจลาออก ซึ่ ง ตอนนั้ น เราก็ คิ ด ว่ า มั น เป็ น โอกาสดี ที่ เ รา จะเข้าร่วมโครงการ เพราะรู้สึกว่าการท�างาน มา 7 ปีตดิ ต่อกัน อยูแ่ ต่ในพืน้ ที ่ 4X4 ของตัวเอง มั น ท� า ให้ เ ราอยากจะไปเจอธรรมชาติ บ ้ า ง ซึง่ ประเทศญีป่ นุ่ ก็เป็นประเทศทีเ่ ราชอบอยูแ่ ล้ว นี่ ก็ เ ป็ น โอกาสอั น ดี ที่ จ ะได้ อ ยู ่ ญี่ ปุ ่ น นานๆ โดยที่เสียเงินไม่มากนัก GETTING PREPARED :

เรามีเวลาในการเตรียมตัวน้อยมาก และสิง่ ทีต่ อ้ งท�ามากกว่าคือการเตรียมใจว่าเราจะต้อง ท�าในสิง่ ทีไ่ ม่เคยท�า เตรียมรับมือกับสภาพสังคม หรือวัฒนธรรมญี่ปุ่นหรือโฮสต์ในแต่ละที่ที่เรา ต้องไปพักอาศัยด้วย ต้องปรับตัวให้ได้ คิดแค่วา่ จะท�ายังไงให้เราเข้ากับคนญีป่ นุ่ ให้ได้มากทีส่ ดุ เพื่อที่ว่าถ้ามีวูฟเฟอร์ชาวไทยไปที่ฟาร์มนี้อีก เจ้าของก็จะได้มีความสุข แล้วก็ยินดีต้อนรับ พวกเขาเหล่านั้น The Story of WWOOF :

ช่วงที่เราไปมันคาบเกี่ยว 2 ฤดูกาลพอดี นัน่ คือฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ ก็จะเป็นส่วนผสม ของความทรมานในหน้าหนาวและมีความสุข ในฤดูใบไม้ผลิ (หัวเราะ) อย่างช่วงแรกทีไ่ ปเจอ ฤดู ห นาวที่ญี่ปุ่ น ตอนเหนือ ก็จ ะหนาวมาก มีหิมะสูงประมาณ 3 เมตร ซึ่งความทรงจ�า ครั้งนั้นคือ เราต้องออกไปโกยหิมะในอุณหภูมิ ติดลบ แล้วพอดีโฮสต์ทเี่ ราไปเขารับอาสาสมัคร จาก WWOOF แค่คนเดียว ก็เลยท�าให้สนิทกับ โฮสต์มาก แต่เมือ่ เข้าฤดูใบไม้ผลิเราต้องเปลีย่ น ไปท�างานกับอีกโฮสต์หนึ่ง ก็เจอเพื่อนๆ ชาว WWOOF เยอะขึน้ เลยท�าให้เราสนิทกับเพือ่ นๆ

มากกว่า มันเป็นความสนุกในอีกแบบหนึ่ง เราว่ามันดีที่เราเจอคนที่มีความตั้งใจเดียวกัน คนที่ อ ยากจะเรี ย นรู ้ ก ารท� า ฟาร์ ม คนที่ มี ความตั้งใจอยากจะท�าไร่เล็กๆ เป็นของตัวเอง ในอนาคต LEARNING BY WWOOF-ING :

หลังจากทีก่ ลับมาเมืองไทยก็ทา� ให้เรากินผัก เป็น (หัวเราะ) เพราะก่อนไปเราไม่กินผักเลย แล้วดันเลือกโฮสต์ทเี่ ขาเป็นมังสวิรตั ิ ซึง่ เราก็ตอ้ ง กินเพื่อด�ารงชีวิตนะ สุดท้ายแล้วคือเราก็กินได้ เพียงแต่เราเลือกมากหรือไม่กนิ เอง เราได้เรียนรู้ ชีวิตในด้านนี้ว่าถ้าเราไม่มีให้เลือกมากอย่าง ตอนอยูเ่ มืองไทย อะไรๆ เราก็กนิ ได้ พอกลับมา ก็กินผักได้มากขึ้น ส่วนอีกเรื่องที่เปลี่ยนแปลง เราคือความมีวนิ ยั ในเรือ่ งการใช้ชวี ติ ก่อนเข้าร่วม โครงการเราก็จะท�างานบ้าง ขีเ้ กียจบ้าง แล้วแต่ อารมณ์ แต่ช่วงเวลาที่เราเข้าร่วมโครงการ WWOOF ทุกๆ โฮสต์เขาจะท�างานเป็นเวลามากๆ คือ ตื่นนอนตอน 6 โมง กินข้าวเช้า 7 โมง แล้ว ก็ท�างานในฟาร์ม 8 โมง เราก็เลยติดนิสัยนี้ มาด้ ว ย คื อ แม้ จ ะนอนดึ ก ยั ง ไงก็ ยั ง ตื่ น เช้ า ก็ทา� ให้เรามีเวลาในชีวติ มากขึน้ วินยั ในชีวติ เรา ก็เปลี่ยนไป


NEPAL เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง, วิภาวี ฉัตรอุทัย

จากความคิดที่อยากลองท�าฟาร์มเกษตรในประเทศแปลกๆ ที่ไม่เคยมีใครไปมาก่อน ท�าให้ ‘ตั่วตั่ว’ - วิภาวี ฉัตรอุทัย, ‘ดาว’ - ลลิตา ทิพย์ประชาบาล และ ‘มุก’ - เนตรนภา มุสิกพงศ์ สามสาวจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมตัวกันในนาม ‘ตาตุ่ม’ ออกเดินทางไปท�าฟาร์มเกษตรและท่องเที่ยวที่ประเทศเนปาลเกือบ 2 เดือน ทั้งสามเล่าว่าประสบการณ์เหล่านี้เกิดจากความกล้าที่จะพาตัวเองออกไปพบเจอ การมีเพื่อนที่พร้อมลุยไปด้วยกัน และการลดความคาดหวังถึงความสวยงาม และแม้จะเจอเรื่องราวล�าบาก แต่เมื่อผ่านไปได้ ก็จะกลายเป็นประสบการณ์สนุกๆ ที่แม้จะเล่าอีกกี่ครั้ง คนฟังก็ ไม่เบื่อ


THE STARTING POINT :

วิภาวี : เริ่มจากปีที่แล้วพวกเราปิดเทอม นานถึง 6 เดือน ก็อยากจะหาอะไรท�า โดยมีโจทย์ ว่าไปที่ที่ใช้เงินไม่มาก และไปได้นาน ก็พบว่า WWOOF นี่แหละคือค�าตอบ แต่แม่ไม่อนุญาต ให้ไปคนเดียว เลยชวนดาวและมุกไปด้วยกัน ที่มาลงเอยที่ประเทศเนปาล เพราะเรามองหา ทีท่ แี่ ปลกใหม่ และยังไม่เคยมีใครพูดถึง ซึง่ ก่อนไป เราเองก็ยังไม่รู้ด้วยซ�้าว่ามันดีหรือไม่ดี หรือมี อะไรรออยู่ ตอนที่ไปชวนดาวกับมุกก็บอกว่า ไปล�าบากนะ โชคดีทเี่ รามองภาพความล�าบาก คล้ายๆ กัน เข้าใจตรงกัน เลยท�าให้สนุกมาก wE LIKE TO WWOOF :

ลลิตา : พวกเราท�า action plan ของทั้ง 50 วันทีอ่ ยูเ่ นปาล เพราะว่าเรามีเงินจ�ากัดเพียง 30,000 บาทต่อคน ส�าหรับเวลา 2 เดือน ซึ่งหัก ค่าเครือ่ งบิน ค่าวีซา่ อินเดียและเนปาลแล้ว เหลือ คนละ 13,000 บาทตลอดทริป และเรายังวางแผน เทีย่ วระหว่างทางด้วย ทุกอย่างเลยท้าทายมาก ก็ชว่ ยยับยัง้ ชัง่ ใจกันและกันเวลาทีอ่ ยากซือ้ ของ ซึ่งของที่เนปาลราคาถูกมาก ชวนให้อยากซื้อ ไปหมดเลย วิภาวี : อย่าง WWOOF มันไม่เหมือน การไปเที่ยว เราไปใช้ชีวิต บางคนอาจไปเที่ยว แบบฉาบฉวย ถ่ายรูปกับแลนด์มาร์ก แต่เราไปอยู่ ในที่ที่บางคนอาจจะมองข้ามด้วยซ�้า มันไม่มี อะไรมากหรอก มีตน้ ไม้เขียวๆ ฟาร์มเขียวๆ มีวัว มีมา้ มีแค่นแี้ หละ และก็มเี ด็กเล็กๆ หน้าตาธรรมดา แต่เป็นทีท่ เี่ ราได้ผกู พันกับเขา เป็นความรูส้ กึ ทีซ่ อื่ และบริสุทธิ์มาก THE STORY OF WWOOF :

เนตรนภา : เราประทับใจโฮสต์ทสี่ องมาก มีความเป็นครอบครัวสูง ท�าให้เรารูส้ กึ เป็นส่วน หนึ่งของที่นั่น เขาท�าอะไร เราท�า เขากินอะไร เรากิน อาหารการกินดีมาก เนปาลเป็นประเทศ ที่คนกินข้าวเยอะมาก คนหนึ่งกินมากกว่าเรา กินโดยปกติ 3 เท่า แรกๆ เราก็แบ่งกันกินหนึง่ จาน สามคน แต่พอเจอฟาร์มทีส่ องทีอ่ าหารถูกปาก มาก เราก็กนิ ได้เท่าเขา เผลอๆ จะมากกว่าเขาด้วย (หัวเราะ) เรากินอาหารเนปาลกันเก่งมาก จนโฮสต์ สงสารกลัวกลับไปแล้วไม่ได้กินอีก เลยต้อง สอนวิธที า� อาหารให้พวกเรา แต่ลองท�าแล้วมัน ไม่อร่อยเหมือนตอนกินทีน่ นั่ เลย อย่างเวลาเรา อยู่กับครอบครัวเขา ก็พยายามสื่อสารภาษา

อังกฤษกัน แม้พูดได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เราจะ ไม่พูดภาษาไทยกันเองให้เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่ เราพูด เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องมารยาท ด้วย จะดูเหมือนเรานินทาเขาอยู่หรือเปล่า LEARNING BY WWOOF-ING :

ลลิตา : ในตอนแรกพวกเราท�าตาม action plan เป๊ะนะ แต่พอผ่านไปครึ่งทาง เราก็คิดว่า ถ้าอยากท�าอะไร ท�าให้เต็มทีเ่ ลย ก็เลยปรับแผน ที่วางไว้ ยืดหยุ่นกันไป ได้เรียนรู้ว่าบางเรื่อง เราควรปล่อยๆ ไปบ้าง วิภาวี : นี่เป็นครั้งแรกที่การเดินทางมี ข้อจ�ากัดเยอะมาก เช่น งบการเดินทาง และ เวลา เราไม่รู้ว่าเนปาลคืออะไรมาก่อน รีววิ ที่ เกีย่ วกับเนปาลมีนอ้ ยมาก ดังนัน้ การทีเ่ ราไปอยู่ กับชาวบ้ า น ท� า ให้ เ ราได้ เ จอความล�า บาก ของจริง เราก้าวผ่านข้อจ�ากัดของตัวเราที่เคย คิดว่า ไม่เอา ไม่ทา� ไม่อยู ่ ไม่ทน ทีผ่ า่ นมาก็ไม่ใช่ ว่าเราต้องทนนะ มันอยูไ่ ด้ พอผ่านมาเรารูส้ กึ ว่า เออ มันดีนหี่ ว่า สิง่ ทีค่ ดิ ว่าจะท�าไม่ได้ เราก็ทา� ได้ เนตรนภา : เหมือนเป็นการเอาตัวไปอยู่ ที่นั่นแบบยอมละลายโลกของตัวเอง แล้วเป็น ส่วนหนึง่ ของทีน่ นั่ เรียนรูท้ จี่ ะมีความสุข โลกของ เราจึงไม่ใช่แค่กว้างขึน้ อย่างเดียว แต่พร้อมทีจ่ ะ ขยายขึ้นเรื่อยๆ เปิดรับอะไรใหม่ๆ มากขึ้น


NEW ZEALAND เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา, นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

เพราะจิตใจเรียกร้องให้ออกเดินทาง จึงท�าให้ ‘แบมบู’ - ปวรา บุญใจ และ ‘มาย’ - ฐานพัทธ์ ทรัพย์วัฒนะ สองเพื่อนรัก ตัดสินใจออกเดินทางไปท่องโลกก่อนที่จะเรียนจบ แต่การท่องโลกของเธอสองคนอยูบ่ นเงือ่ นไขทีอ่ ยากจะได้เรียนรูอ้ ะไรมากกว่าการท่องเทีย่ ว และนัน่ จึงเป็นทีม่ าของการเดินทางไปโครงการ WWOOF เพื่อเรียนรู้การท�าเกษตรแบบออร์แกนิก ถึงประเทศนิวซีแลนด์ ช่วงเวลาสามเดือนที่นั่นท�าให้ทั้งสองคนได้เรียนรู้การเกษตรและชีวิตในแบบที่ทั้งคู่ไม่เคยพบเจอมาก่อน


THE STARTING POINT :

เริ่มจากที่แบมได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ โครงการ WWOOF แล้ ว ก็ เ กิ ด ความสนใจ แล้วช่วงนั้นเป็นช่วงที่เพื่อนๆ เขาไปโครงการ Work and Travel กัน เราก็อยากออกเดินทาง บ้าง แต่เราไม่อยากไปโครงการ Work and Travel เหมือนคนอืน่ ก็เลยตัดสินใจไปโครงการ WWOOF ทัง้ ๆ ทีต่ อนนัน้ เราท�าเกษตรไม่เป็นเลย แต่จะไป คนเดียวก็ดูเหงาเกินไป ก็เลยชวนมายมาเป็น เพือ่ นร่วมอุดมการณ์อกี คน สุดท้ายเราทัง้ คูก่ ็ได้ เดินทางไปนิวซีแลนด์โดยทีย่ งั ไม่รวู้ า่ จะต้องเจอ อะไรบ้าง GETTING PREPARED :

เราเตรี ย มตั ว ก่ อ นไประดั บ หนึ่ ง เท่ า นั้ น เพราะเรือ่ งการท�าสวนเราสองคนไม่ได้ถนัดเลย ท�าเป็นแค่ปลูกต้นไม้หรือรดน�า้ ต้นไม้ แต่เพราะ อยากไปเที่ยวก็เลยไม่ค่อยได้กังวลเท่าไหร่ ก็ มี อ ่ า นหนั ง สื อ ที่ เ กี่ ย วกั บ การเป็ น วู ฟ เฟอร์ ก่อนไปบ้าง ที่เหลือก็แค่รอให้ไปเจอตรงหน้า แต่ อุ ่ น ใจได้ อ ย่ า งหนึ่ ง เพราะนิ ว ซี แ ลนด์ พู ด ภาษาอังกฤษ ก็น่าจะพูดคุยกันได้รู้เรื่อง ส่วน เรื่องงานจะหนักแค่ไหน เราก็ไม่กังวลเท่าไหร่ THE STORY OF WWOOF :

เราไปอยูบ่ า้ นโฮสต์ทงั้ หมด 8 บ้าน แต่ละบ้าน ก็ไม่เหมือนกันเลย บ้านหลังแรกเป็นคุณตา คุณยายอยูบ่ นภูเขา เมือ่ ไปถึงเขาก็จะถามว่าเรา ท�าอะไรเป็นบ้าง อันไหนท�าไม่เป็นก็จะสอนเรา บ้านหลังนีเ้ ขาปลูกพืชเกษตรไว้กนิ เอง มีเลีย้ งไก่ เขาให้เราดูแลสวนที่บ้านด้วยการถอนวัชพืช และรดน�า้ ต้นไม้ แต่การรดน�า้ ต้นไม้ของทีน่ กี่ จ็ ะ ใส่ถงั เดินรดทีละต้น ซึง่ เป็นงานทีเ่ หนือ่ ยพอสมควร แต่จะท�าแค่ครึ่งวันเช้าเท่านั้น บ้านหลังที่สอง เราก็ต้องไปรดน�้าต้นเกาลัดซึ่งอยู่บนเนิน ซึ่ง เหนื่อยกว่าบ้านหลังแรก แล้วความเป็นอยูข่ อง ทีน่ กี่ จ็ ะเน้นใกล้ชดิ กับธรรมชาติมาก แม้แต่ของเสีย ของเราเขาก็เก็บไว้ท�าปุ๋ย บ้านหลังต่อๆ มาก็จะ แนวเดียวกัน คือมีกฎระเบียบบางอย่างทีเ่ ราต้อง ค�านึงถึง โดยเฉพาะเรือ่ งการใช้ทกุ อย่างให้คมุ้ ค่า แล้วพืชทุกอย่างทีป่ ลูกก็จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเลย เป็นออร์แกนิกจริงๆ บ้านบางหลังก็ลา� บากมาก เช่น ก�าหนดเรื่องการอาบน�้า บางทีก็ก�าหนด เรื่องการใช้ไฟ อย่างหลังทีเ่ จ็ดก็เป็นบ้านทีอ่ ยู่ กลางหุบเขา ใกล้ลา� ธาร สวยมาก เขาเลี้ยงไก่ ไว้กินไข่สองตัว หน้าที่เราคือถอนวัชพืช และ

เดินข้ามล�าธารไปเก็บไข่จากคอกที่เขาสร้าง ไว้ เป็นเรือ่ งทีล่ �าบากมาก แต่สงิ่ ทีไ่ ด้กลับมาคือ ความสวยงามของสถานที ่ แล้วครึง่ วันบ่ายทีเ่ รา ไม่ได้ทา� งานก็ออกไปเทีย่ วในเมือง ได้เห็นวิถชี วี ติ ผูค้ น ซึง่ เป็นประสบการณ์พเิ ศษทีเ่ ราไม่สามารถ หาได้จากการเดินทางท่องเที่ยวแบบธรรมดา LEARNING BY WWOOF-ING :

สิง่ ทีเ่ ราพบคือจากทีเ่ ราไม่รเู้ รือ่ งการเกษตร เลยก่อนไป แต่เมื่อครบสามเดือนแล้วเราได้ เรียนรู้การท� าเกษตรแบบออร์แกนิกมากขึ้น อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าพืชบางชนิดปลูกอย่างไร ชอบอากาศแบบไหน และท�าอย่างไรจะให้พืช เจริญเติบโตได้โดยไม่ใช้สารพิษ ซึง่ ทุกทีท่ เี่ ราไป เขาท�ากันจริงจังมาก เราก็เก็บเกี่ยวสิ่งเหล่านี้ มาเป็นความรู้ให้กับตัวเอง อีกเรื่องหนึ่งคือ การได้ ป ระสบการณ์ ใ นชี วิ ต ที่ ห าไม่ ไ ด้ จ าก การเดินทางท่องเที่ยวธรรมดา เพราะการไป แบบนีเ้ ราก็ตอ้ งเผชิญกับอารมณ์หลายรูปแบบ เช่น ความเหงา ความเหนื่อยยาก บางครั้งก็ อยากกลับบ้าน แต่สดุ ท้ายแล้วเราก็ได้พบสิง่ ดีๆ มากมาย อย่างบ้านหลังสุดท้ายที่เราไปอยู่ เจ้าของบ้านใจดี เมืองก็สวย เป็นช่วงเวลาก่อน กลับทีป่ ระทับใจ ถ้าถามว่าตอนนีอ้ ยากกลับไป เป็นวูฟเฟอร์อกี ไหม ถ้ามีโอกาสก็อยากไปอีกครัง้ เพราะเราเชือ่ ว่าแต่ละประเทศจะมีประสบการณ์ ใหม่ๆ ให้เราได้สมั ผัส เป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ การท�าเกษตรแบบที่เราอาจไม่ได้พบเจอใน เมืองไทย


CALENDAR FRI

MON

4

LIVING ROOM, LIVING MORE DESIGN CONTEST 2015 BY INDEX LIVING MALL ขอเชิญนักศึกษาร่วม ส่งผลงานออกแบบ Interior Design และ Product Design เข้ า ประกวดในโครงการ ‘Living Room, Living More Design Contest 2015 by Index Living Mall’ ชิงรางวัลไปดูงาน Maison& Objet Paris ที่ ป ระเทศ ฝรั่งเศส พร้อมเงินรางวัล ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2558 ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.indexlivingmall.com

TUE

5

GOLDEN RULE นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Golden Rule’ โดย ลูอี้ คอร์เดโร ศิลปินชาวฟิลปิ ปินส์ ในระหว่างพ�านักในเมืองไทย ศิ ล ปิ น ได้ เ ดิ น ทางไปยั ง ส ถ า น ที่ วั ฒ น ธ ร ร ม ใ น กรุงเทพฯ เก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจจากการซึมซับ ภาพต่างๆ และสร้างสรรค์ จิต รกรรมที่ด�า เนิน ไปบน เนื้อหาของท้องถิ่น วันนี้ ถึง 30 พฤษภาคม 2558 ณ หอศิลปมหาวิทยาลัย ก รุ ง เ ท พ วิ ท ย า เ ข ต กล้วยน�า้ ไท โทร. 0-23503626 (เว้นวันอาทิตย์และ จันทร์)

WED

6

TIREZ LA LANGUE, MADEMOISELLE เชิ ญ ชมภาพยนตร์ ฝรั่ ง เศสเรื่ อ ง ‘Tirez la langue,mademoiselle’ โบริสและดิมิทรีเป็นหมอ ในย่านคนจีนที่ปารีส ทั้งคู่ ทุม่ เทเวลาไปกับการรักษา คนป่วย คืนหนึ่งพวกเขา ได้รกั ษาเด็กผูห้ ญิงคนหนึง่ ทั้ ง คู ่ ต ก ห ลุ ม รั ก จู ดิ ธ แม่ของเด็กหญิง ไม่นาน หลั ง จากนั้ น ทุ ก อย่ า งก็ เปลี่ ย นจากหน้ า มื อ เป็ น หลังมือ ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคม ฝรั่ ง เศสกรุ ง เทพ โทร. 0-2670-4231

THU

1

SAT

2

SUN

3

7

HOME APPLIANCES นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Home Appliances’ โดย อัมรินทร์ บุพศิริ น�าเสนอ ภาพลักษณ์ของเด็กน้อย ผู ้ เ ปลี่ ย วเหงาภายใต้ รู ป ลั ก ษณ์ ข องเครื่ อ งใช้ ไม้สอยในครัวเรือน เมื่อ จิตวิญญาณอันเปราะบาง ของเด็ ก ๆ ที่ ข าดไร้ ซึ่ ง ความรัก ความห่วงใยใส่ใจ ถูกละเลยและมองข้ามไป อย่างไร้ความหมาย วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2558 ณ ARDEL Gallery of Modern Art โทร. 0-24222092 (เว้นวันจันทร์)

AFATH 2015 : I LOVE ANISONG CONCERT คอนเสิรต์ เพลงอนิเมะ สุดยิง่ ใหญ่สง่ ตรงจากญีป่ นุ่ ‘AFATH 2015 : I Love Anisong Concert’ พบกับ ศิลปินเพลงอนิเมะระดับ แนวหน้าของญี่ปุ่น พร้อม กิจกรรมอีกมากมาย อาทิ คอสเพลย์จากเหล่า คอสเพลเยอร์ชื่อดัง AFA Cafe คาเฟ่ ส าวเมดและ พ่อบ้านสุดเท่ ฯลฯ วันนี้ ถึง 2 พฤษภาคม 2558 ณ ไบเทค บางนา Grand Hall 201-203 จ�าหน่ายบัตร ที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์

cAT TO THE FUTURE คอนเสิ ร ์ ต วงเทป... เทพ ส�าหรับคนไม่ลืมอดีต ‘Cat to the Future’ พบกับ ฟูตอง, พราว, 2 Days Ago Kids, Kidnappers, สีเ่ ต่าเธอ, ธีร์ ไชยเดช, อรอรีย์ และ Siam Secret Service วันนี้ เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ อิ ม แพ็ ก เอ็ ก ซิ บิ ชั น ฮอลล์ 2 เมื อ งทองธานี รายละเอียดการจ�าหน่าย บัตรที่ www.thisiscat.com

SSMS ORCHESTRA เชิ ญ ชมคอนเสิ ร ์ ต ‘SSMS Orchestra’ ของ กลุ ่ ม เยาวชนค่ า ยดนตรี ฤดู ร ้ อ นจากโครงการ เรี ย นดนตรี วิ ธีศิ ล ปากร (SSMS) โดยได้รับเกียรติ จาก ฮิ โ คทาโร ยาซากิ วาทยากรชาวญี่ ปุ ่ น ผู ้ มี ชื่ อ เสี ย งระดั บ โลก เป็ น ผู้ฝึกซ้อมและอ�านวยเพลง วั น นี้ เวลา 17.00 น. ณ ห อ ป ร ะ ชุ ม ม หิ ศ ร ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ ส�านักงานใหญ่ จ�าหน่าย บัตรที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์


MAKE A DISH

Australian Bone In เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ, นวพร ญาณสิทธิ์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง, กานต์กมล เกิดพูล

หลังจากท�างานติดๆ กันมาหลายสัปดาห์ คงจะดีถ้าให้รางวัลตัวเองด้วยอาหารอร่อยๆ สักมื้อ หากใครยังไม่มีร้านอาหารในดวงใจ เราขอแนะน�าร้านเปิดใหม่ The Capital by Water Library ที่ชั้น 3 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ลองมองหาที่นั่งส่วนตัวท่ามกลางบรรยากาศย้อนยุคของเมืองชิคาโก และสั่งสเต๊ก Australian Bone In จานเด็ดของทางร้าน ที่จะท�าให้คุณติดใจตั้งแต่ค�าแรกที่ได้ทาน

Chef

เซบาสเตียน เชเฟอร์

AUSTRALIAN BONE IN ราคา :1,100 บาท

INGREDIENTS เนื้อสันใน / พริกไทย / เกลือ

CHEF's Inspiration เพราะสเต๊กเป็นเมนูหลักของร้าน เราจึงย้อนกลับไปถาม ตัวเองในฐานะผูบ้ ริโภคก่อนว่าเราอยากจะทานเมนูในลักษณะไหน ซึง่ เราก็พถิ พ ี ถิ นั ในการคิดค้นและท�าเมนูนใี้ ห้ออกมาอย่างดีทสี่ ดุ โดยคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เลือกเฉพาะสเต๊กสันในส่วนที่ ติดมันและกระดูกมาปรุงอาหาร เพราะเนื้อส่วนนี้เป็นเนื้อที่มี รสชาติจัดจ้านและชุ่มฉ�่าที่สุด

TIPS เราจะหมักเนื้อทิ้งไว้ และเก็บเนื้อในรูปแบบ สุญญากาศเพื่อให้น�้าซึมเข้าเนื้อได้อย่างเต็มที่ สักระยะหนึง่ ซึง่ เป็นขัน้ ตอนทีส่ า� คัญทีส่ ดุ ของเมนูนี้ เลย นอกจากนีเ้ รายังใช้เทคนิคการย่างบนเตาถ่าน บินโจตันของญีป่ นุ่ กับไม้ฮกิ คอรี เพือ่ ให้ได้อณ ุ หภูมิ ทีพ ่ อเหมาะ จนกลายเป็นสเต๊กทีม่ รี สชาติเยีย่ ม


HOME MADE

Love Makes a Family เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ครอบครัวที่อบอุ่น นอกจากสมาชิกในบ้านจะมีความรักใคร่กลมเกลียวกันแล้ว บ้านก็เป็นตัวแปรที่ส�าคัญที่จะช่วยโอบกอดให้ทุกๆ คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ส�าหรับใครที่อยากรู้วิธีสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นภายในบ้านอย่างง่ายๆ ก็ลองใช้เทคนิคของ ‘ต้อม’ - ศิวะกร จูงพล นักธุรกิจด้านร้านอาหารคนนี้ ที่ใช้บ้านเป็นเครื่องมือ ในการรวมทุกความต้องการของทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยพลังของความรัก และความผูกพัน อบอวลอยู่ในทุกตารางนิ้วของบ้านหลังนี้

“บ้านทีม่ สี ว่ นผสมของทุกๆ คน ในบ้านอยูด่ ว้ ยกัน”


พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร

จุดเริ่มต้นของบ้านสามพี่น้อง “พวกเราเพิง่ ย้าย เข้ามาอยูท่ นี่ ไี่ ด้ประมาณ 6 เดือนกว่าๆ ก่อนหน้านี้ ผมมาดูโลเกชันของบ้านหลังนี้ในแต่ละช่วงเวลา เพือ่ ดูบรรยากาศในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร สุดท้าย ก็ตกลงเลือกที่นี่ เพราะรอบๆ ตัวบ้านมีความเป็น สวนอยู ่ ร ายล้ อ ม เหมื อ นกั บ เป็ น ตั ว ช่ ว ยกั้ น ให้ความเป็นเมืองเข้ามาไม่ถึงบ้านเรา ท�าให้บ้าน หลังนี้เป็นบ้านแบบที่เราต้องการมากที่สุด” การปรับเปลี่ยนบ้านให้ ได้ตรงใจ “คุณแม่ท่าน บอกว่าอะไรก็ได้ ขอเพียงให้บา้ นหลังนีม้ คี วามเป็น ผูห้ ญิงเข้าไปด้วย เราจึงออกแบบบ้านหลังนีใ้ หม่หมด โดยเหลือแค่โครงสร้างของบ้านหลังเก่าไว้ ส่วนที่ เป็นก�าแพงก็ทบุ ออกหมด เพราะไม่อยากให้อยูแ่ ล้ว รู้สึกอึดอัด และใช้กระจกใสมาแทนที่เพื่อให้ได้ ความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย สามารถมองทะลุไปยัง ห้องอืน่ ๆ ของบ้านได้ มีชนั้ วางหนังสือและตูเ้ ก็บของ ขนาดใหญ่ในพืน้ ทีส่ ว่ นกลาง เพือ่ ให้สมาชิกในบ้าน สามารถใช้งานร่วมกันได้ การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน “พวกเราพีน่ อ้ ง รวมถึงคุณแม่ มานั่งคุยกันก่อนว่าอยากได้บ้าน แบบไหน แต่ละคนมีความต้องการอะไร ในที่สุด เราก็ได้จุดที่ลงตัว นั่นคือความเป็นโมเดิร์นที่ผสม ความเนีย้ บหรูเข้าไว้ดว้ ยกัน โดยมีสว่ นทีเ่ ราสามารถ สนุกไปกับบ้านได้ อย่างห้องรับแขกที่อยู่อีกฟาก ก็ใช้สงั สรรค์เวลาทีเ่ พือ่ นๆ ของเรามา แต่ถา้ อยากได้ มุมทีน่ งั่ ท�างานอย่างจริงจัง หรืออยูใ่ นห้องทีม่ บี คุ ลิก

ที่เข้มขรึมสักหน่อย ก็ย้ายมาที่ห้องโถงใหญ่” คอนเซ็ปต์ ในการตกแต่งห้องนอนของคุณ “ห้องนอนเก่าของผมจะเป็นโทนสีทึบ ท�าให้ เวลานอนแล้วรู้สึกไม่อยากตื่นนอน (หัวเราะ) พอมาครัง้ นีผ้ มจึงออกแบบให้หอ้ งนอนของผม มีโทนสีทสี่ ว่างขึน้ ทางนักออกแบบจึงใช้ไม้มาเป็น ส่วนประกอบหลักของห้อง แต่เติมความเรียบ และดูดีด้วยโต๊ะหินอ่อน ส่วนห้องน�า้ เป็นแบบ เปิดโล่ง เพราะผมไม่ชอบอยูใ่ นพืน้ ทีท่ รี่ สู้ กึ อึดอัด และใส่ลกู เล่นต่างๆ เข้าไป เช่น หลอดไฟสีมว่ ง ใต้ตู้ หรือฝักบัวก็จะมีไฟส่องออกมา ผมว่าลูกเล่น พวกนีท้ า� ให้เราสนุกกับการใช้งานของใช้ตา่ งๆ มากขึ้น” ความสุขที่ ได้รับจากบ้านหลังนี้ “เราท�าบ้าน เพื่ อ ตอบโจทย์ ทุ ก คนในครอบครั ว มี พื้ น ที่ ทีย่ ดื หยุ่นในการปรับเปลีย่ นรูปแบบต่างๆ เช่น โต๊ะกินข้าว แค่เอาผ้ารองจานออก เอาแจกัน ดอกไม้มาตัง้ ก็กลายเป็นโต๊ะประชุมทีม่ คี วามเป็นกันเองได้ทนั ที และคุณแม่กส็ ามารถเข้ามา ใช้งานพืน้ ทีท่ กุ ส่วนของบ้านได้หมดเหมือนกัน การทีบ่ า้ นมีมมุ ทีห่ ลากหลาย นอกจากจะท�าให้ เราอยู่บ้านแล้วไม่รู้สึกเบื่อ ทุกครั้งที่มองไปยัง ห้ องต่ า งๆ บางครั้งผมก็จ ะได้ ไ อเดีย ใหม่ ๆ ในการท�างานกลับมาด้วยเช่นกัน”

• พื้ น ที่ ที่ ใ ช้ ง านเยอะที่ สุ ด ...

ห้องนั่งเล่น

• หนั ง สื อ ที่ เ พิ่ ง อ่ า นจบ... 50 Brand Impression

• จุดแวะพักสายตา... ตู้เลี้ยง-

ปลาทะเล

1. เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 2. เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 3. สยามพารากอน ชั้น 1 4. สยามพารากอน ชั้น 3 5. สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 6. เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A 7. Big C เอกมัย 8. เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ 9. เอ็มโพเรียม ชั้น 5 10. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี เพลส 11. ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซอย 11 และ 13) 12. มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ (ทองหล่อ ซอย 4) 13. เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 14. ออล ซีซัน เพลส 15. อาคารอื้อจือเหลียง 16. หลังสวน 17. สีลมคอมเพล็กซ์ 18. ไทมส์ สแควร์ ซอยสุขุมวิท 12 19. ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า 20. จามจุรีสแควร์ 21. อาคารเดอะสิบเก้า ชิดลม 22. อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ 23. IDEO พญาไท 24. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 25. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 26. โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 27. โรงพยาบาลกรุงเทพ 28. โรงพยาบาลรามาธิบดี 29. โรงพยาบาลพระราม 9 30. The Crystal 31. CDC

32. RCA ์ซิตี้อเวนิว 33. นวมินทร าวน์เซ็นเตอร์ ์ท 34. นวมินทร Center e in 35. The N 21 l 36. Termina เกษตร-นวมินทร์ lk a 37. The W enade m 38. The Pro e ทาวน์อินทาวน์ n e c 39. The S ailand ถนนบา� รงุ เมอื ง h 40. SOHO T


SUPERMARKET

The Italian Taste ควันหลงวันหยุดยาวยังไม่จางหาย เราเลยถือโอกาสพาคุณท่องเที่ยวต่อไปกับสารพัดวัตถุดิบจากประเทศอิตาลี ที่ไม่ว่าไปที่ไหนของโลกก็คงหนีไม่พ้นอาหารที่มีต้นก�าเนิดจากประเทศที่แสนอุดมสมบูรณ์ประเทศนี้ ถ้าใครมีโอกาสไปเยือนถึงถิ่น ก็ขออย่าให้พลาดอาหารจานอร่อย หรือใครที่อยู่บ้านก็ลองแสดงฝีมือกันได้เลย

Salami tomato

Sweet Basil

Ravioli

Olive Oil

Prosciutto


Risotto

Mascarpone Cheese

LEMON

Gnocchi

Balsamic Vinegar

Mozzarella Cheese

Balsamic Vinegar น�ำ้ ส้มสำยชูบลั ซำมิก คือน�ำ้ ส้มสำยชูทนี่ ำ� น�ำ้ องุน่ มำหมักในถังไม้โอ๊ก ถือเป็นเครื่องปรุงอันเป็น เอกลักษณ์เก่ำแก่ของอิตำลี น�ำมำผสมเป็น น�้ำสลัด หรือทำนคู่กับขนมปังเรียกน�้ำย่อย Gnocchi ญ็อกกิ อำหำรอิตำเลียนท�ำจำกแป้งผสมมันฝรัง่ ปั้นเป็นก้อนอ้วนๆ ยำวๆ แล้วน�ำมำตัดเป็น ชิน้ เล็กๆ หลังจำกนัน้ ก็นำ� มำต้มในน�ำ้ แล้วผัด กับส่วนผสมต่ำงๆ Lemon เลมอน หรือมะนำวเหลือง ผลไม้ขึ้นชื่อของ เกำะคำปรี ใ นอิ ต ำลี ซึ่ ง อำหำรอิ ต ำเลี ย น โดยเฉพำะอำหำรทะเล ก็ ต ้ อ งมี เ ลมอน คอยช่วยปรุงรส รวมถึงเครื่องดื่มประจ�ำชำติ อย่ำงลิมอนเชลโลก็มเี ลมอนเป็นส่วนผสมหลัก Mascarpone Cheese ชีสมำสคำโปเนเป็นชีสของอิตำลี หน้ำตำเหมือน ครีมข้นๆ นิยมใช้ท�ำขนมหวำน อย่ำงเช่น ทีรำมิสุ พำนำคอตตำ ชีสเค้ก ส่วนอำหำรคำว ก็อย่ำงเช่น พำสต้ำอบ หรือซุปมะเขือเทศก็ได้ Mozzarella Cheese ชีสมอสซำเรลลำ มีต้นก�ำเนิดจำกทำงตอนใต้ ของอิตำลี เป็นกำรน�ำนมควำยมำผ่ำนกรรมวิธี จนได้ก้อนชีสสีขำว เป็นชีสแบบสดที่โดดเด่น ที่ควำมนุ่มเหนียว นิยมน�ำมำโรยหน้ำพิซซ่ำ หรือสลัดคำปรีเซคูก่ บั มะเขือเทศและใบโหระพำ Olive Oil น�้ำมันมะกอก เครื่องปรุงที่แพร่หลำยแถบ เมดิเตอร์เรเนียน นอกจำกใช้ปรุงอำหำรแล้ว ยั ง สำมำรถน� ำ มำใช้ ป ระโยชน์ อื่ น ๆ ได้ อี ก มำกมำย Prosciutto โปรชูตโต คือแฮมชนิดหนึง่ ทีผ่ ำ่ นกำรหมักแบบ แห้ง ซึง่ แฮมโปรชูตโตทีม่ ชี อื่ เสียงมำกนัน้ มำจำก เมืองพำร์มำ วิธีกำรทำนก็สำมำรถทำนเล่น พร้อมไวน์ ชีส หรือวำงบนหน้ำพิซซ่ำก็ได้เช่นกัน Ravioli รำวิโอลี พำสต้ำชนิดหนึง่ ทีเ่ ป็นแผ่นแป้งประกบ ปิดไส้ขำ้ งใน มีทงั้ รูปทรงสีเ่ หลีย่ ม และครึง่ วงกลม ส่วนไส้ด้ำนในก็มีทั้งไส้ผัก และไส้เนื้อสัตว์ วิ ธีก ำรทำนก็ น� ำ ไปลวกให้ สุ ก และรำด ซอสปรุงรสอีกนิด เท่ำนี้ก็เรียบร้อย Risotto ริ ซ อตโต ใครที่ ช อบทำนอำหำรอิ ต ำเลี ย น ก็คงไม่พลำดเมนูข้ำวอิตำเลียนอย่ำงริซอตโต ข้ำวที่น�ำมำใช้ก็จะเป็นข้ำวเมล็ดสั้น น�ำมำผัด และเคีย่ วกับน�ำ้ สต็อกจนสุก แล้วผสมด้วยเห็ด เนือ้ สัตว์ตำ่ งๆ เช่น อำหำรทะเลหรือไก่ และชีส Salami ซำลำมี ไส้กรอกชนิดหนึง่ ของอิตำลี โดยนับเป็น ไส้กรอกหมักชนิดแห้ง เป็นกำรน�ำเนื้อสัตว์ มำถนอมอำหำรด้วยกำรหมักและน�ำไปตำก หรื อ อบจนแห้ ง สำมำรถหั่ น เป็ น ชิ้ น บำงๆ ทำนเล่นกับชีส ไวน์ หรีือขนมปัง Sweet Basil โหระพำ วัตถุดิบที่อยู่คู่กับอำหำรอิตำเลียน มำช้ำนำน ไม่วำ่ จะน�ำมำโขลกเป็นซอสเพสโต้ ผสมในสลัดคำปรีเซ วำงบนหน้ำพิซซ่ำมำกำริตำ ซึ่งโหระพำของฝรั่งจะแตกต่ำงจำกของไทย ตรงที่ ใ บจะมี ข นำดใหญ่ ก ว่ ำ และรสชำติ จะอ่อนกว่ำ Tomato มะเขือเทศ วัตถุดบิ พืน้ ฐำนของอำหำรอิตำเลียน ซึง่ ค�ำศัพท์ทใี่ ช้เรียกมะเขือเทศในภำษำอิตำเลียน ก็คอื pomodoro ส�ำหรับมะเขือเทศหนึง่ ลูก และ pomodori ส�ำหรับมะเขือเทศหลำยลูก


SELECTIVE

Collect All the Things เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

เพราะการเดินทางทุกครั้งมีเรื่องราวที่น่าจดจ�าเต็มไปหมด ทั้งการถ่ายรูป จดบันทึก หรือแม้กระทั่งฟังเพลงที่เคยชอบฟังในวันวาน เช่นเดียวกันกับ ตะวัน อิทธิจารุกุล กราฟิกดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่สร้างสรรค์ผลงานจากกระดาษมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งเธอก็เลือกที่จะเก็บความทรงจ�าเก่าๆ ผ่านสิ่งของหลากหลายชิ้น เผื่อวันหนึ่งเมื่อได้กลับมาหยิบจับดูอีกครั้ง ความทรงจ�าในอดีตก็จะกลับมาให้ระลึกถึงเสมอ

2 1 4 3 10

5 8 6 9 7

1. เครือ่ งพิมพ์ดดี “เราเห็นเครือ่ งพิมพ์ดดี สไตล์นคี้ รัง้ แรกในพิพธิ ภัณฑ์ทอี่ งั กฤษ ก็เลยลองเสิรช์ ๆ หาของมือสองสภาพดี แล้วก็เจอร้านหนึง่ มีเครือ่ งพิมพ์ดดี สีแดงทีเ่ ราถูกใจ ก็เลยสัง่ ซือ้ ก่อนกลับมาเมืองไทย” 2. อัลบัม้ Where You Stand ของ Travis “เป็นซีดที เี่ ราเปิดฟังตลอดตอนทีเ่ ราไปเรียนต่อทีอ่ งั กฤษ พอกลับมาเมืองไทย ทุกครัง้ ทีห่ ยิบซีดนี ขี้ นึ้ มาฟัง เราก็จะนึกถึงบรรยากาศตอนทีเ่ ราอยูอ่ งั กฤษอีกครัง้ ” 3. แว่นตา “แว่นตากลายเป็น สิง่ ส�าคัญไปโดยปริยาย เพราะเราต้องใช้ทกุ วัน” 4. ชัน้ ใส่ตวั พิมพ์ “เราซือ้ มาจากตลาดของมือสองทีอ่ งั กฤษ ซึง่ ตอนนัน้ ก็เป็นช่วงทีเ่ ราชอบตัวพิมพ์แบบ letter press พอดี ก็เลยซือ้ เก็บไว้เป็นทีร่ ะลึก” 5. ปากกาคอแร้ง “ปากกาคอแร้งยี่ห้อนี้เป็นยี่ห้อที่เราชอบมาก” 6. คัตเตอร์ “เวลาที่เราท�างานกระดาษ ก็จะใช้คัตเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายปากกาแท่งนี้ตลอดเลย เพราะว่ามันสามารถเปลี่ยนใบมีดได้ แล้วก็จับถนัดมือมากกว่า” 7. นาฬิกา BRAUN “เราชอบนาฬิกายีห่ อ้ นีอ้ ยูแ่ ล้ว ซึง่ เรือนนีม้ รี าคาทีเ่ ราสามารถเป็นเจ้าของได้” 8. กล้องโลโม “เราพกกล้องตัวนีไ้ ปไหนมาไหนด้วยตลอด เพราะรูส้ กึ ว่ามันเป็นกล้องทีม่ ขี นาดก�าลังพอดี แล้วก็ เปลีย่ นถ่ายภาพได้หลายแบบหลายเฟรม” 9. คลิปหนีบกระดาษ “คลิปนีเ้ ป็นงานออกแบบของ ทอม ดิกซัน ศิลปินทีช่ นื่ ชอบ ซือ้ มาก็ไม่ได้เอามาใช้งานจริงๆ สักเท่าไหร่ ตัง้ ใจเก็บเอาไว้เป็นทีร่ ะลึก เป็นของสะสม มากกว่า” 10. หนังสือ Tree of Codes “หนังสือเล่มนีส้ นุกแล้วก็แปลกมาก เพราะมันถูกตัดบางส่วน บางประโยค บางค�าของทุกหน้าตลอดทัง้ เล่ม เพือ่ ให้เราค้นหาค�าตอบของโค้ดลับเพือ่ ใช้ในการอ่าน”



THE 5IVE

The Ingredients of Documentary เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ

วัตถุดิบชั้นดีในการท�างานและการใช้ชีวิตล้วนผสมผสานมาจากความสนใจในอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจากหนังสือ ดนตรี ภาพยนตร์ จนเกิดการตั้งค�าถาม กับสิ่งที่ติดอยู่ในใจ ซึ่งน�าไปสู่การตกผลึกของความคิดบางอย่าง เหมือนกับที่ ‘ตั้ม’ - พัฒนะ จิรวงศ์ ผู้ก�ากับภาพยนตร์สารคดี ค้นพบวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานจากการตั้งค�าถาม จากความหลงใหลเรื่องราวเชิงกวี ชีวิตและปรัชญา และความเรียบง่ายอย่างการมองโลกให้ช้าลง 01 THE MIRROR “ได้ดูเรื่องนี้จากการแนะน�าของรุ่นพี่ที่ชอบดูหนังอาร์ต แม้ว่าจะเคยดู หนังอาร์ตมาบ้าง แต่เรือ่ งนีใ้ ห้อกี ความรูส้ กึ หนึง่ เลย เพราะในความไม่รเู้ รือ่ งนัน้ ก็เหมือนมีอะไรที่ติดค้างอยู่ในใจ ซึ่ง Andrei Tarkovsky ผู้กา� กับของเรื่อง สร้างเรื่องนี้จากความทรงจ�าที่มีต่อพ่อแม่ของตัวเอง เป็นหนังเล่าเรื่องที่ ไม่มีตรรกะ มีเพียงบทหลวมๆ ที่ร้อยด้วยบทกวีของพ่อ ยิ่งประกอบกับ ภาพทุ่ งนา ภาพชนบทที่ผู ้ ก� า กับ ถ่ า ยทอดออกมาได้ ส วยงามชวนฝั น เป็นเรื่องที่ดูแล้วชวนให้คิดถึงตัวเอง คิดถึงครอบครัว ท�าให้เห็นว่าหนัง เป็นบันทึกส่วนตัวได้ ไม่ใช่แค่ตลก แอ็กชัน ดราม่า แล้วจบกันไป” 02 NOSTALGIA FOR THE LIGHT “หนังสารคดีสญ ั ชาติชลิ ี ผลงานของ Patricio Guzman เรือ่ งราวเกีย่ วกับ หอดูดาวทีส่ ร้างอยูใ่ นพืน้ ทีท่ ะเลทรายทีใ่ ช้เป็นทีฝ่ งั ศพผูเ้ สียชีวติ จากการปราบ จลาจลของรัฐบาลเผด็จการชิลี หอดูดาวนี้ใช้ตรวจหาความเชื่อมโยงของ มนุษย์และจักรวาล ในขณะเดียวกันหนังก็เล่าถึงคนแก่กลุม่ หนึง่ ทีพ่ ยายามหา ศพญาติทถี่ กู ฝังในทะเลทรายแห่งนี้ เป็นสารคดีทแี่ ม้จะเล่าเรือ่ งไม่หวือหวา แต่ตัวเนื้อหามีความเป็นเชิงกวีนิพนธ์ เป็นปรัชญาอยู่มาก ท�าให้คิดอะไร ได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องชีวิต การเมือง วิทยาศาสตร์ มองเชิงศาสนาก็ยังได้ และภาพที่ถ่ายมาสวยมาก แค่โลเกชันทะเลทรายก็สวยแล้ว จ� าได้ว่า ตอนที่ดูเรื่องนี้ก็เกิดความสนใจเรื่องชีวิตกับจักรวาลขึ้นมา” "IT'S A MATTER OF DISCOVERING THE ORIGINALS OF MANKIND, OF OUR PLANET, THE SOLAR SYSTEM." NOSTALGIA FOR THE LIGHT

“นักท่องเที่ยวจะถ่ายภาพด้วยกล้อง นักจาริกจะเก็บภาพด้วยหัวใจ” จาริกบนผืนโลก

จาริ ก บนผื น โลก โดย สาทิศ กุมาร

04

“หนั ง สื อ ที่ ผู ้ เ ขี ย นเล่ า เรื่ อ ง การเดิ น เท้ า จากอิ น เดี ย ไปอเมริ ก า ใช้เวลา 2 ปี โดยไม่พกเงินหรืออะไร ติ ด ตั ว เลย และเล่ า ถึ ง เรื่ อ งที่ เ ขา ได้ เ รีย นรู ้ จ ากการเดิน ทั้ง เจอเรื่อ ง แปลกๆ ขณะเดียวกันก็ได้เห็นเรื่อง ปรัชญาชีวติ และเรือ่ งมนุษย์ตลอดทาง ส� า หรั บ ผมแล้ ว หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ช ่ ว ย เปิ ด โลกทั ศ น์ แ ละเป็ น แรงกระตุ ้ น ให้ออกไปเดิน ท้าทายดีเหมือนกัน ว่าจะเจออะไรเหมือนเขาไหม (เป็น แรงบันดาลใจให้เขาท�าสารคดีเรื่อง ละออง) การเดินมันดีตรงที่ได้สมาธิ และการมองโลกทีพ่ อมันช้าเราก็ได้เห็น อะไรเยอะขึ้น เป็นการออกก�าลังกาย และก�าลังใจด้วย”

03 WHITE ALBUM : THE BEATLES “หนึ่งในอัลบั้มของ The Beatles ที่มีเพลง เยอะมาก เทียบได้กบั ซีดเี พลง 2 แผ่น และแนวเพลง ก็ มี ค วามหลากหลายมาก มี ตั้ ง แต่ เ พลงพ็ อ พ หวานๆ เพลงร็ อ กหนั ก ๆ เพลงที่ ฟ ั ง ไม่ รู ้ เ รื่ อ ง เหมือนเป็นอัลบั้มที่รวมการทดลองค้นหาตัวเอง ของสมาชิ ก แต่ ล ะคน ความชั ด เจนในตั ว ตน และแนวเพลงนี้ส่งผลต่อผลงานเดี่ยวในยุคหลังๆ ด้วย อย่าง จอห์น เลนนอน ก็มีเพลงที่บ่นๆ ว่า ชีวิตมันเหนื่อย หรือเพลงที่เขียนถึงแม่” Recommended Tracks : VCR, Islands และ Heart Skipped a Beat 05 Physical Graffiti : Led Zeppelin “วงเฮฟวี อั น ดั บ หนึ่ ง ของโลกตลอดกาลเลย คื อ ฟั ง แล้ ว มั น เร้ า ใจ ยิง่ ได้ดแู สดงสดนะ ฝีมอื ล้วนๆ ผมยาว ถอดเสือ้ เล่นคอนเสิรต์ ด้วย มันเท่มาก เคยเห็นการแสดงนักดนตรีที่ท�าเพลงด้วยการกวนเสาอากาศในผับใต้ดิน ที่เกาหลี ก็รู้สึกว่าฉลาดมากแล้ว มีวันหนึ่งนั่งดูคอนเสิร์ตของวงนี้อยู่ เป็นการแสดงยุค 70s เลยนะ แล้วเห็นว่าวงนี้ใช้วิธีนี้อยู่ด้วย ท�ามาตั้งนาน แล้ว เลยรูส้ กึ ว่าวงนีล้ า�้ มาก (หัวเราะ) และเพลงก็ไม่ได้หนักหน่วง แหกปาก อย่างเดียว ยังมีเรื่องของเมโลดี้ที่ไพเราะ ฟังง่าย ติดหูง่าย” Recommended Tracks : Kashmir และ Trampled Under Foot


THE WORD

เพียงเพราะว่าคุณถูกสอนมาว่า บางสิ่งเป็นเรื่องถูก และทุกๆ คนก็เชื่อว่ามันถูกต้อง ก็ ไม่ได้ท�าให้มันถูกต้องได้หรอก

- Mark Twain -


OUT THERE

Capri คาปรี เกาะแสนสวยแห่งหนึง่ ของประเทศอิตาลี ทีน่ คี่ งความเป็นเมืองตากอากาศมาตัง้ แต่สมัยโรมัน ด้วยภูมปิ ระเทศทีต่ ดิ ทะเล มีพชื พรรณทีส่ มบูรณ์ และมีอากาศดี ไม่หนาวไม่รอ้ นจนเกินไป ท�าให้เมืองนี้ ดึงดูดผู้คนให้มาเยือน ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าผู้มั่งคั่ง ไปจนถึงชนชั้นกษัตริย์ที่ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่พักผ่อนหลังเสร็จศึกสงคราม ทุกวันนี้คาปรีก็ยังเป็นเช่นในอดีตไม่เปลี่ยนแปลง ธรรมชาติส่วนใหญ่ไม่ว่าจะ แนวปะการัง น�้าทะเลใส หรือสิ่งก่อสร้างในยุคโบราณ ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม นักกวีผู้มาเยือนที่นี่หลายต่อหลายคนกล่าวว่า คาปรีเป็นดั่งเช่นสวรรค์ และเป็นสวรรค์ที่ยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้


The City Facts เกาะคาปรีตงั้ อยูใ่ นอ่าวเนเปิลส์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิตาลี เป็นเกาะหินปูนขนาดใหญ่ ที่แยกตัวออกจากแหลมซอร์เรนโตเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว ท� าให้ภูมิประเทศโดยส่วนใหญ่ มีลกั ษณะเป็นภูเขาหินและเกาะแก่งยืน่ ออกไปในทะเล เกาะคาปรีมหี มูบ่ า้ นใหญ่ๆ อยูส่ องหมูบ่ า้ น คือส่วนทีอ่ ยูต่ ดิ ทะเล เรียกว่าคาปรี และส่วนทีอ่ ยูบ่ นเขา ชือ่ อนาคาปรี สามารถเดินทางไปมาหากัน ได้สะดวกด้วยรถราง เนื่องจากเป็นเกาะที่สวยงาม ท�าให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมา ไม่ขาด ไม่ว่าจะเป็นดาราฮอลลีวูด นักการเมือง หรือแม้กระทั่งเจ้าชายจากเมืองต่างๆ

วิธีเดินทางมายังเกาะคาปรีคือการนั่งเรือเฟอร์รีจากเมืองเนเปิลส์ ซอร์เรนโต หรือโพซิตาโน ระหว่างทางจะพบเห็นทิวทัศน์ท้องทะเลที่งดงามเกินบรรยาย มีนกหลากชนิดบินวนไปมา น�้าทะเลที่ใสจนบางช่วงสามารถมองเห็นปะการังและฝูงปลามากมาย นอกจากนั้นยังสามารถ มองเห็นภูเขาไฟวิสุเวียส ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ถล่มเมืองปอมเปอีได้อย่างชัดเจน และเมื่อมาถึงเกาะ ก็จะพบเขาหินปูนทีม่ ชี อ่ งตรงกลางให้เรือลอดผ่าน ลักษณะหินจะเหมือนคิงคอง ชือ่ ว่า Faraglioni การลอดผ่านที่นี่เป็นสัญลักษณ์ว่าได้มาถึงเมืองคาปรีแล้ว


"WE WERE MARRIED I N CA P R I A L M O S T TWO YEARS AGO AND WE HAVE MADE A PACT WITH EACH OTHER TO VISIT THE BEAUTIFUL ISLAND AND THE CHURCH WHERE WE WERE MARRIED EVERY YEAR FOR THE REST OF OUR LIVES." GIULIANA RANCIC, AN ITALIAN-AMERICAN TELEVISION PERSONALITY

ซากเมืองโรมันในคาปรีเป็นเครือ่ งยืนยันความรุง่ เรืองของเมืองในอดีตได้เป็นอย่างดี เพราะทีน่ เี่ คยมีพระราชวังตากอากาศ ของกษัตริยโ์ รมัน มีคฤหาสน์ของพ่อค้านักเดินเรือในอดีต จักรพรรดิโรมันทีเ่ คยมาพักผ่อนทีเ่ มืองแห่งนีก้ ไ็ ด้แก่ จักรพรรดิออกัสตัส และจักรพรรดิไทบีเรียส หากอยากสัมผัสบรรยากาศเรื่องราวของชาวโรมันในอดีต การเดินเล่นชมเมืองเป็นสิ่งที่ควรท�า ที่นี่รถไม่เยอะ เพราะถนนแคบ และการใช้ยานพาหนะที่จา� กัดให้ใช้เฉพาะชาวเมืองสัญจรเท่านั้น


สถานทีท่ ่องเทีย่ วอีกแห่งทีถ่ อื ว่าต้องไปคือ ถ�้าเรืองแสงบลูกร็อตโต ทีอ่ ยู่รมิ ชายฝั่งของเมือง เป็นถ�้าลอดทีม่ คี วามงดงามมาก เมื่อระดับน�้าทะเลลดได้ระดับ สามารถนั่งเรือขนาดเล็กเข้าไปชมความงามของถ�้าที่สะท้อนแสงจากผนังส่องลงมาในผืนน�้า เป็นสีฟ้าประกายสดใส ความงามที่แปลกตาเช่นนี้หาชมได้ที่นี่ที่เดียว เป็นความงดงามทางธรรมชาติที่ต้องไปเยี่ยมชมดูสักครั้ง นอกจากนั้นภายนอกถ�า้ ยังสามารถด�าน�้าดูปะการังได้

สวนออกัสตัสเป็นอีกมุมสงบของเกาะ ทีน่ คี่ อื สวนริ ม หน้ า ผาที่ ส ามารถชมวิ ว ทิ ว ทั ศ น์ ริ ม ฝั ่ ง เมดิเตอร์เรเนียนได้ มีพรรณไม้ท้องถิ่นมากมาย เป็นสถานทีพ่ กั ผ่อนของทัง้ ชาวเมืองและนักท่องเทีย่ ว ที่ในแต่ละวันจะมีผู้คนจากในเมืองเดินทางมาใช้ บริการเป็นจ�านวนมาก นอกจากพันธุไ์ ม้ดอกแล้ว คุณจะต้องได้กลิ่นเลมอนลอยแตะจมูก เพราะ ตลอดเส้นทางในเมืองมีต้นเลมอนอยู่มากมาย จะเรียกว่าเลมอนเป็นพันธุไ์ ม้ตวั แทนของเมืองคาปรี ก็คงไม่ผิดนัก หากคุณเป็นคนช่างสังเกต ระหว่างที่อยู่ใน เกาะแห่งนี้ คุณสามารถพบรูปปั้นเทพเจ้าหรือ นั ก เดิ น เรื อ ขนาดเท่ า คนจริ ง อยู ่ เ หนื อ โขดหิ น ขนาดใหญ่ตา่ งๆ และถ้าคุณรักงานศิลปะ ต้องไม่ลมื ที่จะแวะไปยัง The Charterhouse of St. Giacomo อดีตศาสนสถานทีส่ ร้างขึน้ มาตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษ ที่ 14 ปัจจุบันอาคารบางส่วนเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงงานศิลป์หลากสไตล์ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม สุดท้ายถ้าอยากเจาะลึกรายละเอียด อาหารทะเล พิซซ่า และไวน์ คือสิ่งที่เป็นสุดยอดของเมืองนี้ หากคุณลิ้มลองทุกอย่างได้ครบ นั่นหมายถึงว่า คุณได้เข้าถึงเมืองคาปรีแบบถึงแก่นจริงๆ WHAT YOU NEED TO KNOW ศูนย์รับค�าร้องขอวีซ่าประเทศอิตาลี ตึกสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 15 ยูนิต C สีลมคอมเพล็กซ์ 191 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0-2118-7001 http://vfsglobal.com/italy/thailand/thai การเดินทาง สายการบินลุฟต์ฮันซา www.lufthansa.com สายการบินแอโรฟลอต www.aeroffllflot.ru สายการบินบริติชแอร์เวย์ www.britishairways.com ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 18 ชั่วโมง


EVERYDAY STORY

ขึ้นอยู่กับมุมมองความคิด วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

หนังบางเรื่องมันก็เข้าไปท�างานกับความรู้สึกนึกคิดลึกๆ ในใจเราอย่างประหลาดนะครับ ผมเพิง่ ดูหนังญีป่ นุ่ เรือ่ ง ‘Little Forest’ ชือ่ หนังฟังดูนา่ รักรืน่ รมย์ อารมณ์คล้ายบ้านเล็กในป่าใหญ่ หนังเรื่องนี้ดัดแปลงจากมังงะชื่อเดียวกันของ ไดสุเกะ อิงาราชิ ก�ากับโดย จุนอิจิ โมริ ด้วยมารยาท ผมขอไม่เล่าลงลึกถึงเนือ้ เรือ่ งหรือรายละเอียดของภาพยนตร์ บอกได้ยน่ ย่อแค่วา่ เป็นเรือ่ งของเด็กสาว ต่างจังหวัดในญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ไปใช้ชีวิตในเมืองอยู่นาน วันหนึ่งเธอก็ตัดสินใจกลับไปบ้านเกิด ด้วยเหตุผลบางอย่าง จะว่าไปเรือ่ งราวในหนังมีอยูแ่ ค่นจี้ ริงๆ นะครับ แต่รายละเอียดต่างๆ ทีถ่ า่ ยทอดผ่านชีวติ ประจ�าวัน อันเรียบง่ายของนางเอก ทั้งการปลูกผัก ท�านา การกิน การอยู่ โดยเฉพาะการลงมือท�าอาหาร คื อ เสน่ ห ์ ส� า คั ญ ที่ ท� า ให้ ห นั ง เรื่ อ งนี้ ทั้ ง ดู น ่ า กิ น และน่ า ติ ด ตามไปในตั ว เมื่ อ ประกอบเข้ า กั บ ภาพธรรมชาติในชนบทญี่ปุ่นอันสวยงามที่หมุนเวียนเปลี่ยนผันไปตามฤดูกาลและเพลงประกอบ ไพเราะเพราะพริ้ง หนังจึงสามารถมัดใจคนดูจ�านวนมากรวมทั้งผู้ชมชาวไทย ขนาดรอบบ่าย ในโรงหนังเฮาส์ที่ผมไปตีตั๋วดู ปกติคนจะเงียบๆ น้อยๆ แต่วันนั้นคนดูกลับเกือบเต็มโรง เพราะอะไรหนังเล็กๆ เรือ่ งนีถ้ งึ กลายเป็นทีน่ ยิ มในหมูค่ นดูกลุม่ หนึง่ ในบ้านเราไปได้ ผมลองนึก ไล่เหตุผลดู เหตุผลแรกน่าจะเป็นเพราะคนไทยชอบญี่ปุ่นเป็นทุนอยู่แล้ว การแห่ไปเที่ยวญี่ปุ่น หลังจากเปิดฟรีวซี า่ คือตัวบ่งบอกว่าญีป่ นุ่ คือประเทศในฝันอันดับต้นๆ ทีค่ นไทยปรารถนาจะไปเทีย่ ว บ้านเมืองสวยงาม สะอาดสะอ้าน ปลอดภัย สถานที่น่าตื่นตาตื่นใจ อาหารอร่อย ผู้คนเป็นมิตร ค่าใช้จ่ายพอไหว คือองค์ประกอบด้านบวกที่ดึงดูดใจให้ใครๆ ก็อยากไปญี่ปุ่น นักท่องเทีย่ วหน้าใหม่ทเี่ พิง่ เริม่ หัดไปญีป่ นุ่ ส่วนใหญ่จะเริม่ ต้นเทีย่ วทีเ่ มืองหลวงและเมืองใหญ่ อย่างโตเกียว โอซากา เกียวโต แต่นักเดินทางชนิดแอดวานซ์ที่เริ่มเพิ่มจ�านวนมากขึ้นๆ ผมทราบ มาว่าหลายคนเบนเข็มทิศออกนอกเส้นทาง ไปตระเวนเทีย่ วตามต่างจังหวัดไกลๆ ของญีป่ นุ่ กันแล้ว สังเกตได้จากไกด์บุ๊กหรือหนังสือที่เขียนเล่าประสบการณ์การไปเที่ยวในเมืองเล็กๆ หรือบางคน ก็ไปใช้ชีวิตท�าฟาร์มในชนบทญี่ปุ่นนั่นเลยก็มีให้เห็นหลายเล่ม ถ้าจะหาความเชือ่ มโยงว่า เพราะอะไรคนไทยถึงโปรดปรานญีป่ นุ่ ก็ตอ้ งลากย้อนกลับไปไม่ตา�่ กว่า 30-40 ปี หลังพ่ายแพ้ยบั เยินในสงครามโลก ญีป่ นุ่ หันมาพลิกฟืน้ ประเทศด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันในอีกทางก็ผลิตวัฒนธรรมในรูปแบบของความบันเทิง ทั้งภาพยนตร์ ดนตรี แฟชั่น และการ์ตนู ส่งออกไปทัว่ โลก คนไทยรุน่ หนึง่ จึงเติบโตมากับการดูรายการโทรทัศน์ไอ้มดแดง ยอดมนุษย์ หุน่ ยนต์ญปี่ นุ่ อ่านหนังสือการ์ตนู ญีป่ นุ่ ดูหนังฟังเพลงญีป่ นุ่ จนซึมลึกเข้ามาในชีวติ ไม่นบั สินค้าญีป่ นุ่ ในชีวติ ประจ�าวันตัง้ แต่รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เครือ่ งใช้ไฟฟ้า เสือ้ ผ้าหน้าผม และขนมนมเนยทีเ่ รากิน เราใช้กันตลอดเวลานั่นอีก แล้วอย่างนี้จะไม่ให้รู้สึกสนิทสนมและผูกพันกับประเทศนี้ได้อย่างไร เพื่อนคนหนึ่งบอกผมว่า เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจมากที่ตอนเป็นเด็กเขาโตมากับการ์ตูนญี่ปุ่น พอมาถึงรุน่ ลูก ลูกชายวัยมัธยมต้นของเขาก็ตดิ การ์ตนู ญีป่ นุ่ เหมือนกัน “ทุกวันนีเ้ ราซือ้ หนังสือการ์ตนู แบ่งกันอ่าน กลายเป็นว่าพ่อกับลูกอ่านการ์ตูนเรื่องเดียวกัน ก็ดีนะ ประหยัดดี” เขาเล่าให้ผมฟัง แล้วหัวเราะสนุก ผมเดาว่าคนทีช่ อบหนัง Little Forest มากๆ ส่วนใหญ่จะเป็น ‘คนเมือง’ ทีแ่ น่นอนว่าชีวติ ประจ�าวัน ของพวกเขาคือความแน่นขนัดและรีบเร่งวุ่นวายอันเป็นบริบทหลักของเมืองใหญ่ การได้เฝ้าดู ความเรียบง่าย ประณีต เนิบช้า ท้องนาสีเขียว ท้องฟ้าสีฟา้ กว้างไกลสุดสายตา จึงเกิดเป็นความรืน่ รมย์ ซึง่ ช่วยบ�าบัดความรูส้ กึ เหน็ดเหนือ่ ยทีพ่ วกเขาต้องเผชิญอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วันได้ ซึง่ ตัวหนังก็ดเู หมือนว่า จะท�าหน้าที่นี้อย่างจงใจ แม้จะพยายามสอดแทรกภาพให้เห็นอยู่บ้างว่า ชนบทหรือชีวิตการท�า

เกษตรกรรมไม่ได้สวยงามไปทัง้ หมดนะ มันเหนือ่ ย มันร้อน มันต้องถูกแมลงกัด แต่ผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ กับความรู้สึกของคนที่ได้ดู ผมเชื่อว่าหลายคนคงเกิดความคิดว่า อยากไปใช้ชีวิตในชนบทแบบ นางเอกในหนังเรื่องนี้บ้างจัง ผมเองเป็นคนเมือง เคยไปเรียนหนังสือที่ต่างจังหวัดอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ก็เป็นต่างจังหวัดในเมือง ชีวิต ชนบทที่เ คยสัม ผัส มากที่สุด ก็แ ค่ ไ ปออกค่ า ยค้ า งคืน ในชนบทกับ ชมรมอาสาพัฒ นาของ มหาวิทยาลัยไม่กี่วัน แต่ระยะหลังงานที่ท�าอยู่ท�าให้ผมได้พูดคุยกับคนรุ่นใหม่ที่ท�างานเกี่ยวกับ เกษตรกรรมทางเลือกหลายคน ข้อมูลจากพวกเขาท�าให้ได้รบั รู้เรือ่ งจริงว่า ชีวติ การท�าเกษตรกรรม ในความหมายว่าท�าเป็นอาชีพจริงจัง ไม่ได้สวยงามรื่นรมย์อย่างที่บางคนนึกฝันหรอก มันต้อง เผชิญกับปัญหาต่างๆ นานา ทั้งการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ผลิตรายใหญ่ การถูกกดราคาจาก พ่อค้าคนกลาง การขาดแคลนเงินทุน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ข้อสุดท้ายฟังดูไม่น่าเชื่อแต่เป็น เรื่องจริงคือเกษตรกรรมจ�านวนมากสร้างวิกฤตให้สิ่งแวดล้อมมายาวนาน น้องคนหนึ่งที่ท�าเกษตรอินทรีย์อยู่ในจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสานเล่าให้ผมฟังว่า ชาวนาชาวไร่ ในบางพื้นที่เจ็บป่วยกันบ่อยมาก สาเหตุมาจากยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรโหมใช้กันอย่างมหาศาล เพือ่ ให้ได้ปริมาณผลผลิตและรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ทสี่ วยสมบูรณ์ตามทีต่ ลาดต้องการ “บางคนตอนเช้าออกไปพ่นยาฆ่าแมลงในแปลงผักในไร่ผลไม้เสร็จ กลับบ้านมาตอนเย็นต้องพาไป ส่งโรงพยาบาลเลยค่ะ” เธอเล่าว่าดินในหลายพื้นที่หากจะน�ามาท�าเกษตรอินทรีย์ ต้องพักไว้ ไม่ต�่ากว่าสิบปี เนื่องจากเนื้อดินถูกสะสมเจือปนด้วยยาฆ่าแมลงมานานแสนนาน ผมฟังแล้ว พานนึกไปถึงผักผลไม้ที่ซื้อกินทุกวัน มีประโยคหนึ่งในหนัง Little Forest ที่สะกิดใจผม ตัวละครชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเรารับรู้ว่า เขามาชนบทเพื่อค้นหาความหมายอะไรบางอย่างของชีวิต กล่าวว่า “ค�าพูดของคนเรามาจาก ประสบการณ์ชีวิต” ผมฟังแล้วออกจะเห็นด้วย ประสบการณ์เป็นเรื่องเฉพาะของบุคคลคนนั้น การบอกเล่าเหตุการณ์อะไรสักอย่างมักเกิดจากสถานการณ์ที่แต่ละคนพบเจอแล้วตัดสินมันด้วย ความรูส้ กึ นึกคิด ซึง่ อาจเจือปนด้วยทัศนคติและอคติสว่ นตน ระยะหลังผมเจอบ่อยคนทีช่ อบบอกว่า อย่าไปท�าอย่างนี้อย่างนั้นเลย อย่าไปที่โน่นที่นั่นเลย ไม่ดีหรอก แต่พอผมได้ไปเจอไปท�าเองแล้ว กลับกลายเป็นว่าไม่เห็นมีอะไรย�่าแย่อย่างที่เขาว่าเลยสักนิด ความจริงก็คอื ไม่ว่าชนบทหรือเมือง ต่างก็มดี ้านทีร่ นื่ รมย์และด้านทีห่ ม่นมืด นัน่ เป็นเรือ่ งทีเ่ รา ควรมองให้ขาดและคิดให้ละเอียด ไม่รีบสรุปและเหมารวม หรือแม้แต่ประเทศในฝันของหลายคน อย่างญีป่ นุ่ ถ้าใครได้รบั รูข้ อ้ มูลอีกด้านก็จะรูว้ า่ เขามีปญ ั หาสังคมหลายด้านและคนของเขาก็กดดัน ไม่นอ้ ยหรืออาจจะมากกว่าเราเสียอีก บางครัง้ ความฝันกับความจริงอาจไม่ใช่สงิ่ เดียวกัน ได้ดหู นัง ชนบทสวยงามมันก็รู้สึกเคลิ้มๆ ดี แต่ถ้าให้ไปอยู่จริงๆ ล่ะอยู่ได้ไหม ยอมแลกกับอะไรที่ต้อง สูญเสียไปเพื่อให้ได้มาหรือเปล่า ลองถามตัวเองผมก็คิดว่าผมคงยังใช้ชีวิตเป็นคนเมืองอย่างนี้ ต่อไปอีกนาน แม้จะต้องเผชิญกับเรื่องน่าเบื่อแบบเมืองใหญ่อยู่บ้าง แต่เปรียบเทียบดูทุกด้านแล้ว เมืองยังตอบโจทย์ชีวิตและการท�างานของผมได้มากกว่าการโยกย้ายไปอยู่ชนบท หลายวันก่อน ตัวล็อกม่านบังแสงทีค่ อนโดมิเนียมของผมเกิดหักขึน้ มาเพราะผมดึงแรงไปหน่อย กลายเป็นว่าหน้าต่างบานกระจกสูงใหญ่ขนาดกว่า 6 ฟุตของห้องผมไม่มอี ะไรปิดบัง แรกๆ ผมก็รสู้ กึ ไม่ชินกับแสงสว่างและการเปิดโล่ง แต่ผ่านไปสี่ห้าวัน ตอนนี้ผมชักรู้สึกชินและชอบขึ้นมาแล้ว ทุกวันนี้ผมตื่นนอนตามแสงตะวัน เมื่อคืนผมก็นอนมองพระจันทร์ผ่านหน้าต่างบานใหญ่ ที่ไม่มีอะไรบังทั้งคืนเลย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.