a day BULLETIN LIFE issue 65

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 65 I 5 - 11 JUNE 2015


ปีที่ 2 ฉบับที่ 65 วันที่ 5 - 11 มิถุนายน 2558

NOTE ON LIFE

The Nature of Things

ทั้งที่ธรรมชาติคือต้นก�าเนิดของทุกสิ่ง คือค�าตอบของทุกอย่าง แต่คนเราก็ยังแสวงหาสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เพียงเพราะมันดูเหนือจริง มหัศจรรย์ สร้างความรู้สึกเหลือเชื่อให้กับมนุษย์ธรรมดาอย่างเรา ท้ายที่สุดเราก็ตกหลุมพรางแห่งการแสวงหา หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ทา� ความเข้าใจได้ยาก ทั้งที่มีสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายกว่ารออยู่แท้ๆ ธรรมชาติไม่ได้มีกฎอะไรซับซ้อน เช่นเดียวกับความจริงก็ย่อมเป็นความจริง ทั้งสองเรื่องนี้จึงมักถูกผูกโยงเข้าด้วยกัน กลายเป็นธรรมชาติก็คือความจริง เพียงแต่หลายๆ ครั้งเราก็ไม่อยากยอมรับความจริง เพราะมันเสียดแทงหัวใจจนเกินทน การหนีไปอยู่กับเรื่องไม่จริงจึงเป็นเรื่องง่ายกว่า เช่น คนสองคนอยู่ด้วยกันไม่ได้เพราะธรรมชาติแตกต่างกัน นั่นคือเรื่องจริง และบทสรุปของมันก็คือ ต่างคนต่างก็ต้องแยกย้ายไปใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง แต่บางคนไม่ยอมรับความจริงข้อนี้ แล้วหันหน้าไปพึ่งพาสารพัดสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เพื่อดลใจให้อีกฝ่ายไม่จากไป หรือต้นไม้ต้นหนึ่งกว่าจะผลิดอกออกผล ต้องใช้เวลารอคอยกันเป็นเดือนเป็นปี แต่คนเราไม่มองว่านี่คือเรื่องธรรมดา กลับคิดว่าถ้าอยากเก็บเกี่ยวดอกผล ก็ต้องหาทางลัดที่เร็วที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด ถ้าเรายอมรับธรรมชาติได้ เราจะไม่รอ้ นรนกับความเปลีย่ นแปลง และไม่เร่งเร้าให้มนั เปลีย่ นไป แต่จะปล่อยให้ทกุ อย่างเป็นไปตามธรรมชาติ เราอาจนิยมชมชอบสิ่งที่เหนือธรรมชาติ แต่ถึงจุดหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรอยู่เหนือกว่ากฎธรรมชาติไปได้ ชีวิตไม่มีเรื่องอะไรเหลือเชื่อ มีแต่เรื่องไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะเชื่อ... ว่าทุกอย่างมีธรรมชาติของมันอยู่จริงๆ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin

CONTENTS

4 The Stuff

6 Feature

12 Calendar

14 Superสารพัดสิ่งรอบตัว เปิดดูสมุดโน้ตของ ใ ค ร ท� า อ ะ ไ ร market

เรา ที่ เ ล่ า ผ่ า น คนทัง้ 6 คน ทีอ่ าจ ตัวเลข เพิม่ แรงบันดาลใจ ก า ร ขี ด เ ขี ย น ให้กับคุณบ้าง

ที่ ไ หน เช็ ก ดู ไ ด้ สุดสัปดาห์นจี้ ะได้ ไม่พลาดเรื่องราว สนุกๆ

ฉวยตะกร้ า คว้า รถเข็ น แล้ ว ไป เดิ น เล่ น จั บ จ่ า ย กับเราใน Supermarket แห่งนี้

16 HOMEMADE

18 19 Make a Dish The 5ive

26 Everyday เยี่ยมบ้านที่ตั้งอยู่ หนึ่ ง จานอร่ อ ย หนัง 5 เรื่อง ที่ติด ดู ข อ ง ส ะ ส ม พ ลิ ก มุ ม คิ ด เพราะเราเชื่ อ ว่ า Story

ใ น ธ ร ร ม ช า ติ ที่ จากร้ า นดั ง ที่ เ รา คุ ้ ง บางกระเจ้ า อยากชวนคุณไป ข อ ง อ ลิ ศ า ลิ้มลอง ตัง้ ชีวนิ ศิรกิ ลุ และ Landry Dunand

20 Selective

21 THE WORD

22 Out There

อยูใ่ นความทรงจ�า แ ส น กุ ๊ ก กิ๊ ก ป รั บ มุ ม ม อ ง โลกใบนี้มีสถานที่ และให้คดิ วิเคราะห์ และวิ น เทจของ กับ ‘หนึง่ ถ้อยค�า... มากมายรอให้ไป เรื่ อ งราวในชี วิ ต จิราภรณ์ วิหวา ทีเ่ ปลีย่ นความคิด’ ค้นหา ข อ ง ท วี ศั ก ดิ์ ศรีทองดี

ทุ ก วั น คื อ ชี วิ ต ชี วิ ต คื อ ทุ ก วั น โดย วงศ์ ท นง ชัยณรงค์สิงห์

LETTER ชอบคอลัมน์ใน a day BULLETIN LIFE หลายคอลัมน์มาก โดยเฉพาะคอลัมน์ Out There กับ Everyday Story และขอชื่นชมว่าทีมงานถ่ายรูปได้สวยมาก ได้เล่มจริงมาแล้วก็อยากเก็บเอาไว้ โดยเฉพาะฉบับที่พูดถึงเรื่องคู่รักระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ เราชอบมากเป็นพิเศษ อ่านแล้วรู้สึกละมุนในอารมณ์ และอยากให้มีความรักดีๆ เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างนี้บ้าง - Montiya Yanapan

ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife

A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน สราญรัตน์ ไว้เกียรติ ฝา่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝา่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผูจ้ ดั การฝา่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, วราพร วิทยารุง่ เรืองศรี 08-9169-9509, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412


STUFF

CLOTHES HANGERS ปัญหาใหญ่ของการซักผ้าในเมืองหลวงคือ ไม่มีที่ตากผ้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพื้นที่ของที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ๆ มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับการน�าลวดมาขึงเพื่อตากผ้าทีละตัวๆ แต่เพราะมีตัวช่วย อย่างไม้แขวนเสื้อ ไม้หนีบผ้า และราวตากผ้าที่สามารถพับเก็บได้ ที่ท�าให้การตากผ้าของเหล่าคนเมืองง่ายขึ้นกว่าที่เคยเป็น และการซักผ้าก็ ไม่ใช่กิจวัตรประจ�าสุดสัปดาห์ที่น่าเบื่ออีกต่อไป

Clothes horse คือชื่อเรียกราวตากผ้าในภาษาอังกฤษ มีการใช้มาตั้งแต่สมัยตอนต้นของศตวรรษที่ 19

นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าผู้คิดค้นไม้แขวนเสื้อ ที่ท�าจากไม้คือ โทมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีแห่ง สหรัฐอเมริกาคนที่ 3 ในขณะที่ ไม้แขวนเสื้อที่ท�าจาก ลวดที่ ใ ช้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลายในปั จ จุ บั น ได้ รั บ แรงบันดาลใจมาจากตะขอแขวนเสือ้ โค้ตที่ O. A. North แห่งรัฐคอนเนตทิคัต คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1869

นอกจากวันที่ 6 พฤษภาคม ของทุกปีจะเป็น Bank Holiday วันหยุดประจ�าชาติของสหราชอาณาจักรแล้ว ยังเป็นวันทีค่ น จ�านวนหนึง่ ออกมาเฉลิมฉลอง ให้กบั ไม้หนีบผ้าอีกด้วย เพราะ สภาพอากาศทีแ่ จ่มใสเป็นพิเศษ

ในปี ค.ศ. 1995 บนเครื่องบินโดยสารที่ระดับความสูง 35,000 ฟุ ต แองกั ส วอลเลซ ศั ล ยแพทย์ ก ระดู ก และนายแพทย์ Tom Wong น�าไม้แขวนเสื้อที่ท�าจาก ลวดมาฆ่าเชื้อด้วยบรั่นดี และเจาะหน้าอกผู้โดยสาร หญิ ง คนหนึ่ ง ที่ มี ภ าวะโพรงเยื่ อ หุ ้ ม ปอดมี อ ากาศ แล้วจึงสอดท่อเพื่อช่วยชีวิตของเธอ

C47 คือชื่อเรียกของไม้หนีบผ้าที่ท�ามาจากไม้และ ลวดสปริง ซึ่งนอกเหนือจากการใช้หนีบผ้าแล้ว ยังใช้ในแวดวงการแสดงอีกด้วย ในกรณีทนี่ กั แสดง แต่งหน้าเรียบร้อยแล้วและไม่สามารถดืม่ น�า้ จากแก้ว ได้ พวกเขาต้องใช้หลอดเพื่อไม่ให้หน้าที่แต่งมา เลอะเทอะ และใช้ไม้หนีบชนิดดังกล่าวหนีบไว้บริเวณ ปลายหลอดเพือ่ ไม่ให้หลอดจมลงไปในแก้วหรือขวด

Collecticus นิตยสารเกี่ยวกับของสะสมสัญชาติ อังกฤษ ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ได้ระบุว่า ไม้ แ ขวนเสื้ อ ได้ ก ลายมาเป็ น หนึ่ ง ในของสะสม โดยเฉพาะที่มีตราโฆษณาของบริษัทหรืออีเวนต์ดังๆ

ข้อดีของการตากผ้าให้แห้งบนราวคือ ผ้าที่ตากจะมีความนุ่มกว่าผ้าที่ใช้เครื่องปั่นแห้ง นอกจากนี้ยังมีรอยยับน้อยกว่า จึงท�าให้รีดง่ายขึ้นอีกด้วย


FEATURE

The Stuff of Thought ไม่วา่ คุณจะมีอาชีพอะไร เราเชือ่ ว่าคุณต้องมีสมุดโน้ตอย่างน้อยหนึง่ เล่มที่ไว้คอยขีดเขียน จดบันทึก แถมยังเป็นเครือ่ งเตือนความทรงจ�าชัน้ ยอด ที่ไม่วา่ เมือ่ ไหร่คณ ุ ก็สามารถย้อนกลับมาอ่านเรือ่ งราวเหล่านัน้ ได้ ในแง่มมุ ของการท�างาน สมุดโน้ตจึงกลายเป็นพืน้ ทีจ่ ดไอเดียขนาดใหญ่ทอี่ าจแปลงร่างเป็นผลงานทีน่ า่ จดจ�า ซึง่ คนทีเ่ ราเลือกมานีม้ คี วามแตกต่างในสาขาอาชีพ ไม่วา่ จะเป็นสถาปนิก ดีไซเนอร์ สไตลิสต์ นักแต่งเพลง นักวาดภาพประกอบ และผูก้ า� กับ ซึง่ นัน่ ก็ทา� ให้สมุดโน้ตของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปด้วย เราเชือ่ ว่าน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คณ ุ หยิบสมุดโน้ตของตัวเองขึน้ มาขีดเขียนอย่างสนุกสนานอีกครัง้

JACKKRIT ANANTAKUL ARTIST เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

คุณคงเคยเห็นผลงานลายเส้นที่แสนจะน่ารักของ ‘เหนือ’ - จักรกฤษณ์ อนันตกุล มาบ้างไม่มากก็น้อยผ่านทางนิตยสารของไทยและเทศ รวมถึงแบรนด์ชั้นน�ามากมาย ทั้งนิตยสาร Monocle ประเทศอังกฤษ, นิตยสาร Desktop ประเทศออสเตรเลีย, Ubies และ Uniqlo ประเทศญี่ปุ่น the ARTIST'S NOTE :

DRAW AND WRITE :

เวลาทีไ่ ด้ขอ้ มูลจากลูกค้า เราก็จะอ่านให้เข้าใจก่อนว่าเขา ต้องการเรือ่ งอะไรเป็นหลัก แล้วก็วเิ คราะห์ขอ้ มูลตัวอักษรเหล่านัน้ ให้กลายเป็นภาพ ซึ่งเวลาที่เราคิดก็จะมีการจดโน้ตไว้ว่าอะไร คือใจความส�าคัญ สมุดโน้ตเล่มเล็กก็จะเอาไว้สเก็ตช์ไอเดีย คร่าวๆ รวมถึงวาดรูปบางส่วนลงไปเลย หลังจากนัน้ เราก็จะมา วาดงานลงบนสมุดเล่มใหญ่ ซึง่ เราก็จะวาดด้วยปากกาไปเลย เพือ่ ทีจ่ ะได้สแกนลงคอมพิวเตอร์ แต่อกี เหตุผลหนึง่ คือการวาด ด้วยปากกาช่วยท�าให้เราใจเย็นลง แล้วลายเส้นก็จะมีเอกลักษณ์ ตอนทีเ่ ราวาดรูปมันคือส่วนผสมของความตัง้ ใจและโชคชะตา ทีเ่ ส้นสายจะพาไป ซึง่ ก็ทา� ให้เราได้งานตัง้ แต่ครัง้ แรกทีว่ าดเลย ส่วนบางอันที่ไม่ได้ใช้ก็เก็บเป็นไอเดียต่อไปได้

เราชอบจดมาก เวลาอ่านอะไรก็จะบันทึกลงสมุด เพื่อ เป็นการจดใจความส�าคัญในเนื้อหานั้นๆ เพราะเมื่อเราจดเอง มันก็จะมีสมาธิมากขึ้น หรือแม้แต่เวลาที่วาดรูปลงสมุดก่อน ก็จะท�าให้เรามีสมาธิมากขึ้น เพราะเราต้องค่อยๆ ร่างให้มัน เป็นรูปเป็นร่าง เราว่าถ้าใครได้ลองเขียนหรือวาดรูปบนกระดาษ ก็จะรู้สึกดีและชอบ ถึงแม้ว่าเราจะสเก็ตช์ภาพในไอแพดหรือ คอมพิวเตอร์ได้ แต่การเขียนหรือวาดในกระดาษจะมีเสน่ห์ บางอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ แล้วอีกอย่างถ้าวาดด้วยดินสอ หรือปากกาก่อน มันท�าให้จินตนาการเรากว้างกว่าไปนั่งที่ หน้าจอคอมฯ ด้วย


SOMBUN KRINGKRAI STYLIST เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

เราคงไม่สามารถระบุอาชีพของ ‘แกละ’ - สมบุญ กริ่งไกร ได้อย่างแน่ชัด เพราะเขามีความถนัดหลายสิบอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนักจัดดอกไม้, ฟู้ดสไตลิสต์, นักจัดพร็อพ, อาจารย์สอนพิเศษ รวมถึงคอลัมนิสต์ในนิตยสาร ELLE Decoration สิ่งเดียวที่แน่ใจได้คือแค่ดูภาพสเก็ตช์ของเขาก็เพลินแล้ว the STYLIST'S NOTE :

เวลาที่ มี ง านสไตลิ ส ต์ เ กี่ ย วกั บ ตกแต่ ง ห้ อ ง ด้วยต้นไม้หรือดอกไม้ เราจะเริม่ จากวาด flflfl oor plan ของห้องก่อน แล้วก็เลือกว่าจะจัดวางต้นไม้ดอกไม้ ตรงไหนบ้าง หลังจากนัน้ เราก็ชลี้ กู ศรหรือมาร์กจุดไว้ และลิสต์ออกมาว่าต้องมีอะไรบ้าง เช่น ดอกไม้ แจกัน ของตกแต่งต่างๆ ซึง่ มันก็ชว่ ยให้เราไม่ลมื ว่าต้องท�า อะไรบ้าง เหมือนเราเห็นภาพรวมแล้ว ที่เหลือก็ เขียนโน้ตรายละเอียดต่างๆ เช่น จะซื้อของที่ไหน หรือต้องใช้ดอกไม้ชนิดใดบ้าง ซึ่งพอเราสเก็ตช์ เสร็จแล้วก็สามารถเอาไปให้ลูกค้าดูได้ จะช่วยให้ เห็นภาพมากขึ้น หรืออาจมีการระบายสีน�้าลงไป เพื่อให้ดูมีมิติของความลึกมากขึ้น แล้วเราก็ไม่ได้ ใช้สมุดโน้ตเพื่อการท�างานอย่างเดียว เราจะจด ทุ ก อย่ า งเพื่ อ เป็ น การย�้ า เตื อ น มี ทั้ ง สเก็ ต ช์ รู ป แตกไอเดีย หรือบางครัง้ ก็จะเป็นการวาดรูปเรือ่ ยเปือ่ ย ท�าให้สมุดของเราเป็นแหล่งรวบรวมความรู้สึก ส่วนตัวของเราในแต่ละช่วงเวลาด้วย เราจึงมีสมุด

หลายๆ เล่มเก็บไว้ คุยงานก็เล่มหนึ่ง เวลาสเก็ตช์ ก็อีกเล่มหนึ่ง เราก็เลยมีสมุดหลายเล่ม DRAW AND WRITE :

การได้ขดี เขียนในสมุดมันท�าให้เราไม่ต้องจ�า เอง เราไม่ใช่คนทีช่ อบใช้คอมพิวเตอร์หรือไอแพด เพราะเราอาจจะไม่คอ่ ยเก่ง แต่จริงๆ แล้วก็ยงั เป็น คนที่ชอบระบบแมนวลอยู่ การจดยังเป็นสิ่งที่เรา ถนัดที่สุด สมุดโน้ตของเราจึงเป็นเหมือนเลขาฯ ส่วนตัว ทัง้ นัดคิว นัดงาน หรือออกแบบงาน ดังนัน้ ทุกเช้าก็จะเปิดดูนดั หมายต่างๆ ก่อนออกจากบ้าน อีกอย่างหนึ่งคือการเขียนใส่สมุดมันไม่ต้องใช้ ไฟฟ้า ไม่ต้องใช้ถ่าน เราจะหยิบขึน้ มาจดเมือ่ ไหร่ ก็ได้


NARONGVIT TECHATANAWAT SONGWRITER เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

แม้คุณจะไม่ใช่แฟนละครเรื่อง สุภาพบุรุษจุฑาเทพ, เวียงร้อยดาว และ ทองเนื้อเก้า แต่เชื่อว่าคุณน่าจะเคยได้ยินหรือร้องเพลงประกอบละครเหล่านั้นได้แน่ๆ ซึ่งความดัง และความโดนของเนื้อเพลงต้องยกความดีให้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังอย่าง ‘หนึ่ง’ - ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ นักแต่งเพลงเจ้าของบทเพลงเพราะๆ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา the SONGWRITER'S NOTE :

ถ้าเป็นการแต่งเพลงละคร ขัน้ แรกเราก็จะอ่าน เรื่องย่อก่อนแล้วค่อยท�าความเข้าใจ แต่ถ้าเรายัง ไม่เข้าใจก็ตอ้ งขอบทละครหรือขอละครบางตอนที่ ถ่ายท�าแล้วมาดู หลังจากนั้นก็จะขีดเขียนไอเดีย ต่างๆ แล้วก็แต่งเนือ้ เพลงเลย มีทงั้ ทีใ่ ช้ได้บา้ ง ไม่ได้ บ้าง ซึ่งถ้าหายไปก็คงไม่มีใครอ่านออก (หัวเราะ) เพราะเวลาทีเ่ ราแต่งเพลง เนือ้ เพลงก็พรัง่ พรูออกมา เลย ดังนั้น เราก็ต้องเขียนเร็วตามไปด้วย พอแต่ง เสร็จ เราก็อ่านเนื้อเพลงดราฟต์แรกนี้อีกครั้ง แล้ว ก็อาจจะมีการขีดฆ่าเปลีย่ นค�าบ้าง หรือเวลาทีไ่ ด้อา่ น อีกรอบอาจจะไม่ชอบเลย ใช้ไม่ได้เลยก็ม ี (หัวเราะ) เราจะจดใส่กระดาษหรือสมุดบันทึกไว้ แต่กค็ วบคู่ ไปกับการจดบันทึกในโทรศัพท์มือถือบ้างแล้วแต่ สถานการณ์ ซึง่ เราจะถนัดกับการเขียนด้วยดินสอ เพราะมันสามารถลบได้ ถ้าใช้ปากกาขีดฆ่าเยอะๆ มันก็ยุ่งเหยิง ไม่สบายตา

DRAW AND WRITE :

การวิ เ คราะห์ แ ล้ ว จดก็ คื อ การจั ด ระเบี ย บ ความคิด ซึ่งพวกเราก็เคยท�ามาแล้วตั้งแต่สมัย เรียน แต่ไม่เคยเอามาใช้ในชีวติ ประจ�าวัน ถ้าเป็น การสอบข้ อ เขี ย น เราก็ ต ้ อ งล� า ดั บ ความคิ ด เพือ่ เขียนลงไป ครูถงึ จะอ่านข้อสอบของเรารูเ้ รือ่ ง การแต่งเพลงก็เหมือนกัน เราต้องล�าดับความคิด เพือ่ ทีจ่ ะเขียนออกมาเพือ่ ให้คนอืน่ เข้าใจตรงกับเรา เพราะว่าสมองเราก็มลี นิ้ ชักหลายอัน เราต้องเลือก ว่าจะหยิบอันไหนมาใช้ จะเรียงแบบไหนให้ถกู ต้อง เราต้องคิดอย่างเป็นระบบให้เป็น อีกอย่างการจดไว้ ก็ช่วยไม่ให้เราลืมไปง่ายๆ เราเคยได้ยินคนอื่น พูดว่า สมองของเราจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเอาไว้คิด สร้างสรรค์ ดังนั้น ก็ไม่ตอ้ งไปจดไปจ�าอะไรเยอะๆ เอาสมองไว้คิดดีกว่า ในส่วนที่เราต้องจ�าจริงๆ ก็แค่จดมันเอาไว้


SUPHAWAT HIRANTHANAWIWAT ARCHITECT เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

‘เซฟ’ - อาจารย์ ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปินสีน�้าอิสระ และพิธีกรรายการ Magic Numbers เลขมหัศจรรย์ ทางช่องไทยพีบีเอส งานสเก็ตช์ส�าหรับเขาคือส่วนหนึ่งของชีวิต และเป็นการบันทึกเรื่องราวที่ให้รายละเอียดได้มากกว่าภาพถ่าย the ARCHITECT'S NOTE :

draw AND write :

ส�าหรับตัวผมเองเริ่มสเก็ตช์งานก็ตอน สมัยเรียนสถาปัตยกรรม เพราะวิชาสเก็ตช์ เป็นวิชาที่ทุกคนต้องเรียนอยู่แล้ว ซึ่งมันก็ เป็นประโยชน์ในการท�างานมาจนถึงปัจจุบนั ส�าหรับผมแล้ว สไตล์การสเก็ตช์กจ็ ะมี 3 แบบ คือ สเก็ตช์เพื่อบันทึกจากแบบจริง ซึ่งจะใช้ เวลาไม่นาน บางรูปสองสามนาทีก็เสร็จ แบบทีส่ องคือ สเก็ตช์จากในจินตนาการเพือ่ สร้างให้เป็นจริง แบบสุดท้ายคือการสเก็ตช์ เพื่อผ่อนคลาย บางครั้งระหว่างเดินทาง ผมก็เอาสมุดขึ้นมาสเก็ตช์สิ่งที่เห็นตรงหน้า เริม่ จากลายเส้นแล้วก็เติมสีเข้าไป การสเก็ตช์ ภาพจากสิ่งที่เห็นมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชี วิ ต เราไปแล้ ว ยิ่ ง คนเป็ น สถาปนิ ก งานสเก็ตช์เพื่อบันทึกมันคือหนึ่งในทักษะ ที่ควรต้องมี

จริงๆ ปัจจุบนั เด็กรุน่ ใหม่บางคนก็อาจจะ มีทกั ษะการสเก็ตช์ดว้ ยคอมพิวเตอร์ แต่สว่ นตัว คิดว่าการสเก็ตช์ดว้ ยมือก็ยงั เป็นสิง่ ทีจ่ �าเป็น เพราะมั น สามารถท� า ได้ ร วดเร็ ว มากกว่ า มีแค่สมุดเล่มหนึ่งกับปากกา เห็นอะไรก็จด ก็วาดลงไปได้เลย ไม่ต้องมารอเปิดเครื่อง หรือบางครั้งมีไอเดียในหัวก็สามารถ่ายทอด ออกมาได้ทันที ในที่สุดแล้วผมคิดว่าทักษะ การวาดและการจดเป็นทักษะทีท่ กุ คนควรจะมี เพิ่มเติมเอาไว้ เพราะมันเป็นพื้นฐานส�าคัญ ในการบันทึกของมนุษย์ การสเก็ตช์อาจจะ ยากในช่วงแรก แต่ถา้ ฝึกฝนไปเรือ่ ยๆ ในทีส่ ดุ ก็จะเป็นความสนุกซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ กับผู้บันทึกเองในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความจ�า การน�าเสนอความคิดออกมา เป็นภาพ หรืออย่างน้อยเมื่อกลับมาอ่านดู มันก็ช่วยเตือนความทรงจ�าได้ดี 9


PATANA CHIRAWONG DIRECTOR เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

‘ตั้ม’ - พัฒนะ จิรวงศ์ คือผู้ก�ากับภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์สารคดี และนักเขียนบทภาพยนตร์ ไทยที่คนทั่วไปรู้จัก อาทิ พุ่มพวง, แรงดึงดูด ฯลฯ งานหลายชิ้นที่ออกสู่สายตาประชาชนส่วนใหญ่เริ่มจากการจดบันทึกลงในสมุดมากว่า 20 ปีแล้ว the DIRECTOR'S NOTE :

Draw AND write :

ผมเริ่มเขียนบันทึกก็ตอนสมัยเรียน โดยเริ่ม จากการจดอะไรเล่นๆ หลังจากนั้นมันก็เริ่มเป็น การบันทึกเรื่องของงานที่เราท�า เช่น การบันทึก โครงเรื่องที่เราคิดได้ หรือการบันทึกเกี่ยวกับ แนวทางการท�าหนังในแต่ละเรือ่ ง ซึง่ ถ้าเปิดสมุด ผมจะพบสองสิ่งที่จะต้องมี คือค�าว่า What if... มันคือการตัง้ หัวข้อสมมุตฐิ านในการสร้างเรือ่ งขึน้ มา เช่น ถ้าสมมติว่าพรุ่งนี้โลกแตกจะเป็นอย่างไร ค�าพวกนีจ้ ะเป็นหัวเรือ่ งในการจดเพือ่ ต่อประเด็น ไปเรื่อยๆ อีกเรื่องหนึ่งคือการวาดเส้นโยงไปมา ซึ่งมันเป็นโครงสร้างของบทในหนังที่เราเขียนอยู่ เช่น เรื่องมันจะเริ่มจากตรงนี้แล้วไปต่ออย่างไร ซึ่งการจดแบบนี้นอกจากจะช่วยเก็บบันทึกแล้ว มันท�าให้เราจ�าในสมองโดยอัตโนมัต ิ เชื่อไหมว่า บางครั้งจดลงไปในสมุดก็ไม่ได้กลับมาเปิดดู เพราะเราจ�าได้ตั้งแต่ตอนจดก็ม ี

ผมเชื่อว่าผู้ก�ากับหรือคนเขียนบทหลายคน จะจดบันทึก แต่จะจดเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือ นั้นก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ผมถนัด ที่จะจดเป็นตัวหนังสือมากกว่า ถ้าวาดก็จะวาด รู ป หมาของตัว เอง สมุด บัน ทึก ที่ผ มจดก็จ ะมี สองแบบ คือ แบบแรกจดเรือ่ งงาน ข้อมูลการท�า หนัง แบบทีส่ องคือบันทึกส่วนตัว ล่าสุดคือบันทึก การเดินเท้าจากระนองไปภูเก็ตของตัวผมเอง ซึ่งเราบันทึกตั้งแต่ออกเดินวันแรก บันทึกทุกวัน ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้าย จนวันนี้ได้ย้อนกลับ มาอ่านเราก็พบว่าในบันทึกเล่มนี้มันท�าให้เรา ได้ ฟ ื ้ น ความทรงจ� า ตลอดเส้ น ทางการเดิ น ที่ผ่านมา นี่คือประโยชน์ของการบันทึกที่ใครๆ ก็ท�าได้ และเป็นทักษะง่ายๆ ที่ถ้าลองท�าแล้ว จะพบว่ามันเกิดประโยชน์จริงๆ


CHAVANON CAISIRI DESIGNER เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

หากพูดถึงสมุดสเก็ตช์ของคนท�างานทีเ่ กีย่ วกับการออกแบบเครือ่ งแต่งกาย นึกตามได้ไม่ยากว่าเราจะเจอกับภาพสเก็ตช์แบบไหน แต่สมุดของ ‘ณอน’ - ชวนล ไคสิริ ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ POEM นั้นแตกต่างจากของดีไซเนอร์ทั่วไป ชวนให้สงสัยว่าชุดกระโปรงสไตล์โมเดิร์นแกรมที่ใครๆ ต่างขนานนามว่าเป็นชุด Bride Killer Dress นี้มีกระบวนการคิดงานอย่างไร the DESIGNER'S NOTE :

draw AND write :

เราเป็นคนที่จดเยอะตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว มีสมุดสเก็ตช์เล่มใหญ่มาก ทุกวันนีเ้ ราก็ยงั กลับไป ดูงานสเก็ตช์ทที่ า� ตอนเด็กๆ อยู ่ เพราะเก็บไว้หมด เราชอบสเก็ตช์บนกระดาษเปล่า แล้ววาดซ้อนทับๆ กันไป เหมือนกับว่าเราเอาไอเดียในหัวออกมาเป็น เส้นคร่าวๆ ไว้กอ่ น พอเราเจอวัสดุอะไรทีส่ ามารถ น�ามาสร้างรูปทรงนั้นได้ก็จะกลับไปดู ในเรื่อง กระบวนการท�างาน หลังจากร่างแบบเรียบร้อย ก่อนท�าเราก็จะปรึกษากับแม่ ซึ่งท่านจะช่วย เรือ่ งแพตเทิรน์ ทัง้ หมด เมือ่ ลงตัวก็จะลงมือตัดผ้า จริ ง เลย เพื่ อ ที่ เ ราจะได้ เ ห็ น น�้ า หนั ก ของผ้ า แสงและเงา การเคลือ่ นไหวต่างๆ ทีเ่ ป็นรายละเอียด ที่ ส เก็ ต ช์ ไ ม่ ไ ด้ และเมื่ อ งานชิ้ น นั้ น ออกมา หากเราอยากจะแก้ไขในบางจุดก็สามารถท�าได้ ท�าให้การตัดเสื้อตัวต่อๆ มาด้วยผ้าจริงออกมา สมบูรณ์แบบขึ้น

เราเป็นคนที่ชอบวาดรูปรองเท้าส้นสูงมาก เราชอบฟอร์มของมัน ชอบก่อนที่จะท�าเสื้อผ้า ด้วยซ�้า (หัวเราะ) จนเมื่อต้นปีได้เจอช่างรองเท้า คนหนึ่ง ซึ่งคุยกันรู้เรื่องมาก เลยได้ไปรื้อสเก็ตช์ เก่าๆ เอาออกมาคุยกับเขาว่าท�าแบบนี้ได้ไหม จะเห็นว่าทุกอย่างที่เราขีดๆ ไว้มันได้ใช้หมดเลย หรืออย่างน้อยก็เป็นไอเดียทีจ่ ดุ ประกายเราต่อไป ได้ สมุดโน้ตที่ใช้จริงๆ มี 2 เล่ม คือสมุดสเก็ตช์ และสมุดจดแบบปฏิทินที่เราแพลนทุกอย่างไว้ เนือ่ งจากเราไม่ได้เป็นดีไซเนอร์ทที่ า� งานออกแบบ อย่างเดียว เราต้องบริหารจัดการทุกอย่างด้วย ทั้ ง เรื่ อ งการนั ด ส่ ง งานของช่ า ง นั ด กั บ ลู ก ค้ า กั บ ซั พ พลายเออร์ กั บ โรงงานที่ ผ ลิ ต สิ น ค้ า หรือแม้กระทั่งเรื่องการท�าบัญชี เราจดหมดเลย ในสมาร์ตโฟนก็มีจดไว้บ้างนะ แต่เป็นในเชิง ให้แจ้งเตือนกันลืมมากกว่า


CALENDAR FRI

MON

8

SO FAR SO GOOD 3 นิทรรศการแสดงผลงาน ศิลปะ ‘So Far So Good 3’ โดยนั ก ศึ ก ษาภาควิ ช า ประติ ม ากรรมชั้ น ปี ที่ 3 คณะจิตรกรรมประติมาก ร ร ม แ ล ะ ภ า พ พิ ม พ ์ ม . ศิ ล ป า ก ร วั น นี้ ถึ ง 3 0 มิ ถุ น า ย น 2 5 5 8 ณ HOF Art Space @W District (BTS พระโขนง) โทร. 0-2178-0095 (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

TUE

9

THE BUTTERFLY'S SPIRIT CHARITY CONCERT คอนเสิ ร ์ ต การกุ ศ ล ‘The Butterfly’s Spirit Charity Concert’ พบกับแขกรับเชิญ พิเศษมากมาย อาทิ เมญ่า นนธวรรณ, โรส ศิรินทิพย์, เพียว KPN ฯลฯ วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ หอประชุม ใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย จ�าหน่ายบัตร ที่ ไ ท ย ทิ ก เ ก็ ต เ ม เ จ อ ร ์ (รายได้ น� า ไปช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ร ะ ส บ ภั ย พิ บั ติ แผ่ น ดิ น ไหวครั้ ง ใหญ่ ในประเทศเนปาล)

WED

10

TRADITIONAL JAPANESE PAINTING นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Traditional Japanese Painting’ โดย 3 ศิลปินชาว ญี่ ปุ ่ น น� า เสนอผลงาน ภาพวาดบอกเล่ า ความงด งา มของธรรมชาติ ทิ ว ทั ศ น์ ที่ ส วยงามของ ป ร ะ เ ท ศ ญี่ ปุ ่ น แ ล ะ ประเทศไทย ผ่านเทคนิค การผสมสี โ ดยใช้ แ ร่ จ าก ธรรมชาติ หิน และเปลือกหอย น�ามาสกัดเป็นผงสี วันนี้ถึง 16 มิถุนายน 2558 ณ มิ ต รไนซ์ แกลเลอรี โชคชัย 4 ซอย 18 โทร. 08-6282-0282

THU

5

SAT

6

SUN

7

11

FLY WITH ME, FREE BREAKFAST เชิญชมละครเวทีเรือ่ ง ‘รักเธอเท่าฟ้า (บินมาหา นะเทอว์ ) ’ ที่ ดั ด แปลง มาจาก Boeing Boeing ล ะ ค ร ต ล ก ชื่ อ ดั ง ข อ ง ฝรั่งเศส น�าแสดงโดย พล ตั ณ ฑเสถี ย ร, วิ ช ญ์ วิ สิ ฐ หิ รั ญ วงษ์ กุ ล ร่ ว มด้ ว ย นั ก แ ส ด ง ล ะ ค ร เ ว ที มืออาชีพอีกมากมาย วันนี้ ถึ ง 18 มิ ถุ น ายน 2558 ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ เวลา 19.30 น. จ�าหน่ายบัตร ที่ โ ทร. 09-5924-4555 (งดการแสดงวันพุธ)

WONDERFUL THAI FRIENDSHIP II นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Wonderful Thai Friendship ภาค 2’ โดยการเชิญชวน บุ ค คลที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น ศิ ล ปิ น อาทิ จีน กษิดิศ (นักร้อง), เกรกกวาร์ กลาฉานท์ (บรรณาธิ ก ารนิ ต ยสาร) ฯลฯ มาร่ ว มสร้ า งสรรค์ ง า น ศิ ล ป ะ ใ น รู ป แ บ บ ข อ ง ศิ ล ป ะ จั ด ว า ง งานภาพถ่าย งานวิดีโอจั ด วาง เเละภาพวาด วันนี้ถึง 28 มิถุนายน 2558 ณ WTF Gallery ซอย สุขุมวิท 51 โทร. 0-26626246 (เว้นวันจันทร์)

เห็ดสด #2

เชิญชมการแสดงสด แบบเต็มพิกดั จาก Part Time Musicians, Yellow Fang, Summer Dress, DCNXTR, ศรี ร าชาร็ อ กเกอร์ และ การกลั บ มาอี ก ครั้ ง ของ Goose ใน ‘เห็ดสด ครัง้ ที่ 2’ พร้อมพบกับสินค้าพิเศษ ที่แต่ละวงน�ามาจ�าหน่าย เฉพาะในงานแบบจ�านวน จ�ากัด วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ Voice Space ถ.วิภาวดีรังสิต จ�าหน่าย บัตรที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์

TYPE MATTER นิทรรศการขนาดย่อม ‘เรื่องอักษร’ เพราะเรื่อง อักษรไม่ได้มีแค่ตัวอักษร ร ่ ว ม ท� า ค ว า ม รู ้ จั ก กั บ อุตสาหกรรมการออกแบบ ตัวอักษร จากบทบาทผูอ้ ยู่ เบื้องหลัง สู่อุตสาหกรรม ที่ ทั้ ง ท� า เงิ น และท� า ให้ การออกแบบ ‘ง่ า ยขึ้ น ’ วันนี้ถึง 28 มิถุนายน 2558 ณ ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ TCDC ดิ เอ็มโพเรียม (เว้นวันจันทร์) โทร. 0-2664-8448


State of the Arts

Peaceful Light No. ว่ากันว่า กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนัน้ เกิดมาจากความรูส้ กึ เอ่อท้นทีอ่ ยากจะบอกเล่าเรือ่ งราวอะไรสักอย่างของศิลปิน และส�าหรับ สิทธิวธุ ยาวิชยั ศิลปินผูท้ ี่ได้รบั รางวัลเหรียญเงิน ประเภทศิลปินอาชีพ การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครัง้ ที่ 5 (UOB Painting of the Year 2014) ศิลปะของเขานัน้ เป็นตะกอนความรูส้ กึ ทีเ่ อ่อล้นในตัวเขามาตัง้ แต่วยั เด็ก ก่อนทีจ่ ะหยิบจับมาผสมผสานกับธรรมชาติรอบกาย กลายเป็นผลงานศิลปะทีน่ า่ ประทับใจ

Sittivut Yavichai Mixed Media Art 180 x 150 cm

Behind the Picture : “ผมเติบโตมาท่ามกลางธรรมชาติ จึงซึมซับความประทับใจเหล่านัน้ มา ผลงานศิลปะชิน้ นีเ้ ลยมีนา�้ เป็นแม่แบบ ในการท� า งาน วั ง วนของน�้ า ก็ เ หมื อ นชี วิ ต ของคนเรา บอกเล่าผ่านแสงที่กระทบบนผิวน�้ายามค�่าคืน แสดงถึง บรรยากาศอันเงียบสงบ แสงกระจกที่สะท้อนระยิบระยับ สื่อถึงสัญลักษณ์แห่งความดี เพื่อชี้ทางสว่างในความมืด น�ามาซึ่งความสุขสงบในชีวิตดั่งสายน�้าที่ชุ่มฉ�า่ ”

THE ARTIST : “ผมชอบฟุตบอลมาตัง้ แต่เด็กๆ ซึง่ ผม มักแสดงออกด้วยการวาดรูปนักฟุตบอล อยูเ่ ป็นประจ�า ผมวาดจนเกิดความช�านาญ จนบางครั้งผมแทบไม่ต้องดูต้นแบบเลย ด้วยซ�า้ ศิลปะค่อยๆ แทรกซึมอยูใ่ นตัวผม ตั้งแต่ตอนนั้น อีกทั้งผมเป็นเด็กบ้านนอก เวลาอยากได้ ข องเล่ น อะไรสั ก อย่ า ง ก็ไม่ได้หาง่ายอย่างเช่นปัจจุบัน ศิลปะ และการสร้ า งสรรค์ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ เ ข้ า มา ตอบสนองความต้องการในชีวิตของผม”

การประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) คือการประกวดผลงานจิตรกรรมระดับภูมิภาคที่จัดโดยกลุ่มธนาคารยูโอบีในประเทศสิงคโปร์อย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินในแต่ละประเทศได้แสดงศักยภาพด้านศิลปะบนเวทีระดับอาเซียน ด้วยเจตนารมณ์ของธนาคารยูโอบีที่พร้อมสนับสนุนผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการท�า สิง่ ทีต่ นเองรักให้เป็นจริง ไม่วา่ จะเป็นการเติบโตทางธุรกิจหรือการพัฒนาอาชีพในฐานะศิลปิน เปิดรับผลงานประกวดช่วงเดือนกันยายนของทุกปี รายละเอียดเพิม่ เติม www.uobpoy.com 13

Reflections : “การสร้ า งสรรค์ ผ ลงานของผมแต่ ล ะครั้ ง เป็ น การแสดงออกทางเทคนิคและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใน ตัวผลงาน ซึ่งสร้างสรรค์ออกมาด้วยความคิดแบบ ฉับพลัน ผลงานแต่ละชิน้ จึงมีความงามและความสมบูรณ์ อยูใ่ นตัวเอง มีคณ ุ ค่าและความหมายต่อผมเป็นอย่างยิง่ เพราะผมคิดว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวคือศิลปะ อยู่ที่เราจะ หยิบจับศิลปะที่อยู่รอบตัวนั้นมาใช้ในชีวิตประจ�าวัน อย่างไร”


SUPERMARKET

Into the Blue

โลกนี้ประกอบไปด้วยน�้ำกว่ำ 75% จึงไม่น่ำแปลกใจที่ควำมอุดมสมบูรณ์ต่ำงๆ นั้นต่ำงก่อก�ำเนิดมำจำกน�้ำทั้งสิ้น ไม่ว่ำจะเป็นทะเล แม่น�้ำ ล�ำคลอง ต่ำงก็เป็นแหล่งอำหำรชั้นดีให้กับทุกชุมชน ขึ้นอยู่กับว่ำใครจะรู้ค่ำของผืนน�้ำสีฟ้ำเหล่ำนี้แค่ไหน

EEL

Scallop

CLAM

Shishamo

Salmon Roe

Barracuda


SakurA Shrimp Tentacles of octopus

Pomfret

Sea Urchin Roe

Sole Fish

Small Octopus

Barracuda ปลาสาก ปลาทะเลที่สามารถน�ามาท�าอาหาร ได้ ห ลากหลายและอร่ อ ยไม่ แ พ้ ป ลาชนิ ด อื่ น ๆ หากเป็นอาหารไทยก็จะนิยมน� ามาท�าห่อหมก ทอดมัน หรือหั่นเป็นชิ้นทอด นึ่ง ต้มย�า ก็ได้ Clam หอยตลับ วัตถุดบิ ทีส่ ามารถน�ามาท�าซุปหอยตลับ ทัง้ แบบครีมข้น แบบใส่มะเขือเทศเป็นน�า้ ซุปสีแดง หรือเป็นซุปใสสไตล์ญี่ปุ่น ถ้าอยากได้รสจัดจ้าน แบบไทยๆ ก็มีหลายทางเลือก เช่น ต้มย�าน�้าใส ใส่หอยตลับ หอยตลับผัดฉ่า หรือผัดน�้าพริกเผา Eel ปลาไหล ทีห่ ลายคนมักจะนึกถึงข้าวหน้าปลาไหล ซึง่ ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นของดีมรี าคา แต่สา� หรับอาหารไทย เราก็มกั จะน�าปลาไหลมาผัดหรือแกงคูก่ บั เครือ่ งเทศ แรงๆ เพื่อดับกลิ่นคาว เช่น ผัดเผ็ดปลาไหล แกงเผ็ดปลาไหล Pomfret ปลาจะละเม็ด มีทั้งแบบขาวและด�า เป็นปลา ที่ตัวไม่ใหญ่มาก จึงนิยมน�ามาท�าอาหารทั้งตัว เช่ น ทอด นึ่ ง ซึ่ ง สามารถพลิ ก แพลงสู ต รได้ หลากหลาย ทัง้ ทอดกระเทียม ราดน�า้ ปลา นึง่ บ๊วย Sakura Shrimp กุ้งซากุระ หรืออีกชื่อคือกุ้งเชอรี เป็นกุ้งตัวเล็กๆ ที่ ค นญี่ ปุ ่ น นิ ย มน� า มาท� า อาหารทานเล่ น เช่ น กุ ้ ง ทอดกรอบ และน� า ไปท� า ขนมข้ า วเกรี ย บ ที่เรียกว่าเอบิเซมเบ้ Salmon Roe ไข่ปลาแซลมอน อีกส่วนหนึ่งของปลาแซลมอน ที่มีรสชาติอร่อย แถมยังดูสีสวยน่าทาน ถ้าเป็น อาหารฝรัง่ ก็มกั จะน�ามาใส่ในอาหารประเภทคานาเป้ ค�าเล็กๆ ส่วนอาหารญี่ปุ่นก็ไม่ควรพลาดทั้งซูชิ และข้าวหน้าปลาดิบต่างๆ Scallop หอยเชลล์ มี เ ปลื อ กที่ ดู ส วยงามและมี เ นื้ อ ที่ ดู เป็นชิ้นเป็นอัน ยิ่งได้หอยเชลล์ตัวใหญ่ก็สามารถ น� า เนื้ อ ไปจี่ กั บ กระทะพอให้ เ กรี ย ม ทานคู ่ กั บ สลั ด แบบฝรั่ ง หรื อ น� า มาอบเนย ย่ า งบนเตา ใส่กระเทียมสับ ก็อร่อยง่ายๆ ท�าเองได้ไม่ยาก Sea Urchin Roe ไข่หอยเม่นนิยมน�ามาใช้กบั อาหารญีป่ นุ่ มากทีส่ ดุ ส่วนใหญ่กจ็ ะน�ามาวางบนหน้าซูชทิ หี่ อ่ ด้วยสาหร่าย ซึ่งจริงๆ แล้วไข่หอยเม่นนั้นคือส่วนของอัณฑะ และรังไข่ของหอยเม่นตัวผู้และตัวเมีย Shishamo ปลาไข่ ซึ่งชื่อภาษาอังกฤษก็คือปลา Capelin โดย ปกติแล้วเรามักจะได้ทานปลาไข่ชบุ แป้งทอดทีเ่ ป็น ปลาตัวเล็กๆ ขนาดพอดีค�า และมีไข่อยู่เต็มท้อง นอกจากนี้ไข่ของมันยังน�ามาท�าเป็นไข่กุ้งสีส้มๆ ที่ขายกันทั่วไปอีกด้วย Small Octopus ปลาหมึกตัวเล็ก สามารถน�ามาปรุงอาหารได้ หลายแบบ ซึ่งจุดเด่นก็คือสามารถทานได้ทั้งตัว ส่วนใหญ่เราจะเห็นปลาหมึกตัวเล็กๆ พวกนีอ้ ยูใ่ น เมนูอาหารญี่ปุ่น เช่น น�ามาหมักดอง ปรุงรส เป็นอาหารทานเล่นแกล้มเบียร์ Sole Fish ปลาตาเดียว ถึงแม้ว่าจะหน้าตาประหลาด แต่ ปลาตาเดียวก็มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ปลาชนิดอื่น เหมาะส� า หรั บ น� า ไปทอดทั้ ง ตั ว น� า มาเสิ ร ์ ฟ พร้อมก้างและหัวที่เหลือก็ดูน่าทานเช่นกัน Tentacles of Octopus หนวดปลาหมึก ใครทีช่ อบทานอาหารญีป่ นุ่ คงจะ เคยเห็นเจ้าหนวดปลาหมึกยักษ์ทวี่ างอยูใ่ นตูซ้ ชู ิ ซึง่ การน�าหนวดปลาหมึกมาปรุงอาหารนัน้ ก็ไม่ใช่เรือ่ งง่าย นัก เพราะต้องน�ามาต้มเพือ่ ให้เนือ้ เหนียวนุม่ โดย พ่อครัวทีเ่ ก่งๆ ก็จะมีเคล็ดลับทีแ่ ตกต่างกันไป


HOME MADE

Living with Nature เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ, นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

“เมืองใหญ่ในประเทศไหนๆ ก็ให้ความรู้สึกเหมือนกันหมด” นี่คือค�าพูดที่เห็นพ้องต้องกันของ อลิศา ตั้งชีวินศิริกุล บรรณาธิการจากส�านักข่าวรอยเตอร์ส และ Landry Dunand ช่างภาพชาวฝรัง่ เศส ทีท่ า� งานอยูใ่ นเมืองใหญ่มานานหลายปี และถึงคราวลงหลักปักฐานสร้างบ้านเพือ่ ลูกสาวตัวน้อย พวกเขาจึงเลือกสร้างชีวติ และความสุข ด้วยการอยู่ในแหล่งธรรมชาติอย่างบางกระเจ้าที่รายล้อมไปด้วยเพื่อนบ้านอัธยาศัยดี และที่ส�าคัญ พวกเขาได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบไทยมากขึ้นทุกๆ วัน

“พืน้ ทีท่ ปี่ ลอดภัย”


พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร

การเลือกท�าเลการสร้างบ้าน “ช่วงทีเ่ ราเป็นนักข่าว ฟรีแลนซ์เมือ่ ช่วงปี ค.ศ. 2006 เราอยากจะซือ้ บ้าน สักหลังทีเ่ มืองไทย ซึง่ ก็ดทู า� เลแถวสุขมุ วิทมาก่อน เป็นตึกแถวเล็กๆ ด้วยความบังเอิญก็มเี พือ่ นแนะน�า ว่าเราสามารถปัน่ จักรยานจากสุขมุ วิทไปบางขุนเทียน ได้ เราทัง้ คูก่ เ็ ลยลองปัน่ จักรยานไปกัน ระหว่างทาง เราก็เจอพืน้ ทีบ่ างกระเจ้าแถวนี้ ซึง่ เราก็ไม่เคยรูว้ า่ มีพื้นที่แบบนี้อยู่เลย เป็นพื้นที่ที่อยู่ในธรรมชาติ แต่ก็ยังใกล้เมือง ไปมาไม่ลา� บากมากนัก เราคุย กับชาวบ้านละแวกนี้ว่ามีพื้นที่ไหนขายบ้างไหม พอเจอพืน้ ทีต่ รงนีก้ ต็ กลงซือ้ เลย เพราะราคาไม่แพง เพื่อนบ้านก็น่ารัก” โจทย์ของการสร้างบ้านหลังนี้ “ตอนที่ซื้อที่ดินของ บ้านหลังนี้ เราไปพักร้อนที่เวียดนามแล้วก็ได้ พัดลมแขวนเพดานกลับมา ซึ่งโจทย์ที่เราตั้งใจ ออกแบบกันคืออยากให้พดั ลมเป็นจุดกึง่ กลางของ บ้าน แล้วก็อยากจะให้บา้ นมีพนื้ ทีโ่ ล่งๆ ซึง่ เราทัง้ คู่ ก็ออกแบบบ้านด้วยกัน ช่วยกันอ่านจากนิตยสาร หรือเว็บไซต์ตา่ งๆ เพือ่ ทีจ่ ะดูวา่ เราอยากจะอยูใ่ นบ้าน แบบไหน แล้วก็เอาไอเดียต่างๆ ไปปรึกษาเพือ่ นทีเ่ ป็น สถาปนิก ให้ช่วยดูเพิ่มเติมในด้านของมาตรฐาน การสร้างหรือทางด้านสถาปัตยกรรม บ้านหลังนี้ จะไม่มโี ซนใดโซนหนึง่ เป็นพิเศษ เพราะเราอยากให้ เปิดโล่งเป็นห้องห้องเดียวไปเลย และพยายามท�าให้ ในหนึง่ พืน้ ทีส่ ามารถใช้งานได้หลายฟังก์ชนั อย่าง เตียงนอนของน้องหิง่ ห้อย (ลูกสาว) ก็สามารถเป็น โซฟาในเวลากลางวันได้ดว้ ย แต่กจ็ ะแยกโซนห้องครัว และห้องท�างานที่เป็นห้องมืดส�าหรับล้างฟิล์ม ไว้ดา้ นล่าง ทุกวันนีก้ ย็ งั แต่งบ้านและปรับปรุงบ้าน

อยู่ การท�าบ้านก็เป็นเหมือนงานอดิเรก เป็น art project ของเราทั้งคู่” ของตกแต่งทีอ่ ยู่ในบ้าน “ตอนแรกทีย่ า้ ยเข้ามา ก็มขี องเยอะมาก แต่เราก็คอ่ ยๆ เก็บทิง้ หรือให้ ชาวบ้านไป สิ่งที่เหลืออยู่ก็จะเป็นของตกแต่ง ที่เราชอบกันจริงๆ พรมต่างๆ ก็ซื้อมาจาก อัฟกานิสถาน หรือเฟอร์นเิ จอร์บางชิน้ ก็มาจาก เมืองจีน แล้วก็จะซื้อของที่เราชอบจากทริป ทีไ่ ปท�างานหรือไปเทีย่ วอยูเ่ สมอๆ อย่างปีทแี่ ล้ว เราไปเที่ยวญี่ปุ่น ก็ได้ถ้วยชามเซรามิกต่างๆ มาใช้ แต่กห็ กั ไปหลายชิน้ แล้วเพราะน้องหิง่ ห้อย (หัวเราะ)” บ้านที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สมบูรณ์ “It’s like a paradise. การได้อยู่ที่นี่มันท�าให้เรา ไม่อยากจะเข้าไปในเมืองแล้ว เพราะอากาศก็ดี ได้สมั ผัสกับธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม น้องหิง่ ห้อย ก็สามารถออกไปวิง่ เล่นข้างนอกได้ ไม่ตอ้ งกลัว รถหรือกลัวคน เพราะเรารู้จกั เพือ่ นบ้านทุกคน แล้วที่ส�าคัญ เราได้สัมผัสกับสังคมไทยแบบ ชนบท มันท�าให้เรารูจ้ กั วัฒนธรรมไทยมากขึน้ อย่างพวกความเชื่อต่างๆ มันท�าให้เรารู้สึกว่า การได้อยูต่ รงนีท้ า� ให้เวลาทีอ่ าศัยอยูใ่ นเมืองไทย มันคุ้มค่ามากขึ้น”

• เมนูอาหารทีช่ อบท�า... พาสต้า ซุป หรือเครปฝรั่งเศส แต่ก็จะท�าเวลา ทีว่ า่ งจริงๆ เพราะเราต่างก็ตอ้ งท�างาน • ลู ก สาววั ย ก� า ลั ง น่ า รั ก ...

น้องหิ่งห้อย อายุ 2 ขวบ 8 เดือน หรือ ภาษาฝรั่งเศสคือ Luciole ที่แปลว่า หิ่งห้อยเหมือนกัน

• สิ่ ง ที่ เ รี ย นรู ้ เ มื่ อ อยู ่ ใกล้ ธรรมชาติ... เรียนรู้ฤดูกาลจาก ดอกไม้หรือสวนโดยรอบ

1. เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 2. เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 3. สยามพารากอน ชั้น 1 4. สยามพารากอน ชั้น 3 5. สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 6. เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A 7. Big C เอกมัย 8. เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ 9. เอ็มโพเรียม ชั้น 5 10. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี เพลส 11. ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซอย 11 และ 13) 12. มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ (ทองหล่อ ซอย 4) 13. เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 14. ออล ซีซัน เพลส 15. อาคารอื้อจือเหลียง 16. หลังสวน 17. สีลมคอมเพล็กซ์ 18. ไทมส์ สแควร์ ซอยสุขุมวิท 12 19. ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า 20. จามจุรีสแควร์ 21. อาคารเดอะสิบเก้า ชิดลม 22. อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ 23. IDEO พญาไท 24. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 25. โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 26. โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 27. โรงพยาบาลกรุงเทพ 28. โรงพยาบาลรามาธิบดี 29. โรงพยาบาลพระราม 9 30. The Crystal 31. CDC

32. RCA ์ซิตี้อเวนิว 33. นวมินทร าวน์เซ็นเตอร์ ์ท 34. นวมินทร Center e 35. The Nin 21 l a 36. Termin เกษตร-นวมินทร์ lk 37. The Wa enade m ro 38. The P e ทาวน์อินทาวน์ n 39. The Sce ailand ถนนบา� รงุ เมอื ง h 40. SOHO T


MAKE A DISH

Duck Confit & Crispy Waffle เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ, ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

คงยากจะเชื่อว่าในย่านที่หันไปทางไหนก็เจอตึกสูงหลายสิบชั้นอย่างถนนสุขุมวิท จะมีสวนสวยบรรยากาศดีของร้าน The Gardens of Dinsor Palace ซ่อนตัวอยู่ระหว่าง ซอยสุขุมวิท 59 และ 61 นอกจากจะได้สัมผัสความรื่นรมย์ราวกับอยู่ในสวนส่วนตัวแล้ว ยังได้กลิ่นอายวังเก่าสุดคลาสสิกอีกด้วย และทันทีที่ Duck Confit & Crispy Waffle มาเสิร์ฟถึงโต๊ะ กลิ่นหอมหวานนั้นชวนให้เรารีบถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ก่อนลิ้มชิมรสชาติที่เข้ากันพอดีของเป็ดที่กรอบนุ่มและวาฟเฟิลที่เนื้อบางเบาแสนละมุน

Owner ณัฐวดี เกตุเหมือน

DUCK CONFIT & CRISPY WAFFLE ราคา : 370 บาท

INGREDIENTS ขาเป็ด / เห็ดออรินจิ / อบเชย / ใบกระวาน / กระเทียม / จูนิเปอร์เบอรี / โป๊ยกั้ก / กานพลู / ใบไทม์ / เกลือทะเล / ออลสไปซ์ / เมล็ดเฟนเนล / น�้าตาลทรายแดง

OWNER's Inspiration เริ่ ม จากอยากได้ เ มนู ที่ เ ป็ น ทั้ ง อาหารคาวและหวาน เลยออกมาเป็นเมนูนี้ ส�าหรับขาเป็ดที่ใช้ เราหมักด้วยซอส สูตรเฉพาะ ก่อนน�าไปทอดจนหนังกรอบ จัดวางบนวาฟเฟิล สู ต รพิ เ ศษ แล้ ว ราดด้ ว ยเมเปิ ล ไซรั ป วาฟเฟิ ล ที่ เ ราใช้ จะกรอบนอก และเนื้อด้านในจะเบามาก เพราะเป็นสูตรที่หมัก แป้งทิ้งไว้ข้ามคืน ท�าให้รสชาติจะออกเปรี้ยวนิดๆ

TIPS ขัน้ ตอนการทอดเป็ดต้องใช้นา�้ มันทีร่ อ้ น พอดี เพราะจะท�าให้หนังเป็ดที่ทอดออกมา กรอบก�าลังดี ไม่อมน�้ามันหรือว่าแห้งจน เกินไป และเนือ้ เป็ดที่ได้กย็ งั นุม่ อยู ่ ส่วนการผัด หัวหอมก็ต้องให้สุกพอดีจนเปลี่ยนเป็นสีใส ท�าให้ ได้รสชาติที่หวานอร่อย


THE 5IVE

Into the Mind เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ

ภาพยนตร์หลายเรื่องเราอาจจะดูแล้วผ่านเลยไป แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายเรื่องเช่นกันที่สามารถแทรกตัวเข้ามาขอพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งในความทรงจ�าของเราได้ และถ้าถามถึง ภาพยนตร์ 5 เรื่อง ที่อยู่ในห้วงค�านึงของศิลปินมากฝีมืออย่าง ‘โลเล’ - ทวีศักดิ์ ศรีทองดี เขาก็ออกตัวกับเราว่า เนื้อหาของภาพยนตร์บางเรื่องอาจพร่าเลือนในความทรงจ�า แต่สิ่งที่ยังตกตะกอนอยู่ในความคิดตลอดมาคือ ประเด็นต่างๆ ที่ภาพยนตร์เหล่านี้ตั้งค�าถามให้เขาขบคิดอยู่เสมอนั่นเอง 01 Match Point “การตีเทนนิสจะมีช่วงที่เรียกว่า ‘แมตช์พอยต์’ อยู่ ซึ่งเป็นการตัดสิน ครัง้ ส�าคัญว่าลูกเทนนิสนัน้ จะลงไปในเขตของใคร แล้วฝัง่ ตรงข้ามจะเป็นผูช้ นะ เกมนัน้ ทันที ซึง่ ผูก้ า� กับ วูดดี้ อัลเลน เอาแนวคิดนีม้ าใช้ในหนัง เพือ่ เล่าเรือ่ งราว ที่พลิกผันของชีวิตคน ผมชอบวิธีการคิดแบบนี้ของเขา หนังของ วูดดี้ อัลเลน ไม่มีค�าว่าฉาบฉวย ทุกค�าพูดของตัวละครมักจะแฝงถึงความลึกซึ้งบางอย่าง เอาไว้ รวมถึงมิตขิ องตัวละคร ความโลภของมนุษย์ ซึง่ สุดท้ายแล้วตัวละครชาย ก็เดินทางมาถึงจุดที่เรียกว่าแมตช์พอยต์ของตัวเอง และนั่นคือสิ่งที่ท�าให้คนดู ต้องลุ้นไม่แพ้กับเกมการแข่งขันเทนนิสกันเลย”

02 Breaking the Waves “ผลงานของผูก้ า� กับชาวเดนมาร์กชือ่ ลาร์ส วอน เทียร์ ผมดูหนังเรือ่ งนีส้ มัยที่ ชัน้ ล่างของห้างมาบุญครองยังมีโรงภาพยนตร์ไว้บริการ ซึง่ ถือว่าเป็นโรงหนังอาร์ต แห่งแรกๆ ในบ้านเราด้วย หนังเรือ่ งนีท้ า� ให้เราสัมผัสได้ถงึ ความรูส้ กึ ของตัวละคร จริงๆ เราจ�าเรือ่ งราวของหนังแบบเป๊ะๆ ไม่คอ่ ยได้แล้ว แต่สงิ่ ทีเ่ ราจ�าได้ดจี ากหนัง เรื่องนี้คือ ความรู้สึกของผู้หญิงซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง มีทั้งความกดดัน หรือความวิตกกังวลต่างๆ ทีอ่ ยูภ่ ายในตัวละครตัวนี้ รวมถึงตัวละครฝ่ายชายด้วย ซึ่งความรู้สึกของตัวละครจะส่งผลให้บรรยากาศในหนังเต็มไปด้วยความอึดอัด แต่ทงั้ คนดูและตัวละครก็ถกู ขังไว้ดว้ ยกันในความอึดอัดทีเ่ กิดขึน้ นี”้

"It's when two people are joined in God." Breaking the Waves

03 Dogville “หนังทีเ่ ซตฉากเหมือนกับก�าลังแสดงอยูใ่ นโรงละคร ผู้ก�ากับ ลาร์ส วอน เทียร์ ใช้วิธีการสร้างหนังเรื่องนี้ ออกมาได้เจ๋งมาก ด้วยการใช้เส้นขีดแบ่งเป็นพืน้ ทีต่ า่ งๆ เหมือนกับการมาร์กจุดไว้ว่า ถ้าเดินเข้ามาตรงนี้คือ ห้องครัว หรือข้ามเส้นตรงนี้มาก็จะเป็นห้องนอน และ ก็ ใ ห้ นั ก แสดงแสดงเหมื อ นกั บ อยู ่ ใ นโลเกชั น จริ ง ๆ ดูตอนแรกก็รสู้ กึ อึดอัดอยูเ่ หมือนกัน เพราะเรารูว้ า่ นีค่ อื การแสดง แต่พอดูไปสักพักเราก็เริ่มอินกับเรื่องราว และการแสดงของนักแสดงที่เต็มไปด้วยความเศร้า และการตั้งค�าถามหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นภายในหนัง เรื่องนี้”

"God... Sorry, but it just doesn't seem like a fair trade." Match Point

04 The Shawshank Redemption “หนั ง ที่ ใ ครๆ ก็ ช อบ (หั ว เราะ) ส�าหรับผม หนังเรือ่ งนีบ้ อกว่า การทีเ่ รา ถู ก ควบคุ ม หรื อ ถู ก จองจ� า นั้ น ท� า ให้ เราเข้าใจว่าอิสระคืออะไร และท�าให้ คิดว่าทุกวันนี้ที่เรามีชีวิตอยู่ เราไม่ได้ ถู ก อะไรมาบี บ หรื อ กั ก ขั ง ไว้ ชี วิ ต ของเราโคตรอิ ส ระมากๆ แต่ ค น กลับคิดว่าชีวิตของตัวเองในทุกวันนี้ ไม่ มี อิ ส ระเลย ทั้ ง จากการงานหรื อ เรื่องส่วนตัว แต่หารู้ไม่ว่าคุณมีสิ่งที่ พวกนักโทษไม่มีเยอะมาก และท�าให้ เรานึกถึงนักโทษที่เรารู้จักซึ่งบางคน อาจจะท�าผิดจริง แต่ถ้าบางคนที่เขา ไม่ ไ ด้ ท� า ผิ ด จริ ง ๆ ล่ ะ เขาจะเป็ น อย่างไร”

05 Funny Games “ผมชอบเวอร์ชนั ต้นฉบับทีเ่ ป็นหนังเยอรมัน ถึงแม้ฉบับรีเมก จะก�ากับโดย มิคาเอล ฮาเนเก คนเดิม แต่ต้นฉบับมีความสด ดิบ และความประหลาดใจอย่างไม่น่าเชื่อ คือหลายๆ ครั้ง เวลาพูดถึงหนังครอบครัว เราจะนึกถึงแต่เรื่องความเบิกบาน ความอบอุ ่ น แต่ ห นั ง เรื่ อ งนี้ ก ลั บ เต็ ม ไปด้ ว ยบรรยากาศของ ความน่ากลัว ซึ่ง มาจากความไว้ใจที่เ รามีต่อ คนแปลกหน้ า ทีด่ เู หมือนจะไม่มอี ะไร แต่กลับกลายเป็นความน่ากลัวทีต่ รึงเราไว้ จนกระทั่งหนังจบ”


SELECTIVE

Finding Memo เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

ความชื่นชอบและความหลงใหลในเรื่องราวเก่าๆ และข้าวของหลงยุค ท�าให้ ‘เต้’ - จิราภรณ์ วิหวา นักเขียนอิสระ มีความสุขทุกครั้งที่ได้ตระเวน ตามย่านที่มีร้านเก่าๆ เธอเล่าให้ฟังถึงความท้าทายในการซื้อของเก่าแต่ละชิ้นว่า มันเหมือนการได้ย้อนกลับไปเจอกับสถานที่จริงของมัน และรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เจอของค้างสต็อก หรือคุ้ยของพิเศษบางชิ้น ที่ถ้าเพียงมองผ่านแล้วก็คงผ่านไป แต่เธอกลับไม่เคยมองผ่านและซื้อมาครอบครอง

9 1

7 4

10

8

6

5 2 3

11

12

1. กระดานซิลค์สกรีน “ตอนท�ำคอลัมน์ memoryville ใน a day เรำได้ไปตำมร้ำนเก่ำหลงยุค ของชิน้ นีเ้ จอทีร่ ำ้ นเครือ่ งเขียนมูฮมั หมัด แต่ยงั ไม่เคยได้ลองใช้ เพรำะกลัวพัง (หัวเรำะ)” 2. กระเป๋า “เริม่ จำกแม่ชอบท�ำ กระเป๋ำให้ใช้ เลยคุยกับแม่วำ่ งัน้ ท�ำขำยกัน แต่ละใบจะออกมำไม่ซำ�้ กันเลย ขำยในเฟซบุก๊ ชือ่ ว่ำ ม้ำว” 3. ป้ายฉลาก “เรำชอบอะไรทีม่ นั อยูบ่ นกระดำษ สีมนั เถิดเทิงสวยดี” 4. ป้ายไม้นบั แต้ม “คนขำยเขำก็ไม่รวู้ ำ่ ใช้ ท�ำอะไร ตลกดี เลยซือ้ มำตัง้ ไว้บนโต๊ะ” 5. ส.ค.ส. “ตอนเด็กๆ ส.ค.ส. กำกเพชร มันให้ควำมรูส้ กึ เลอค่ำ พอได้เจอเลยซือ้ ไว้” 6. กิบ๊ ติดผม “ชิน้ นีเ้ จอในร้ำนกิฟต์ชอ็ ปเก่ำแถวเทเวศร์ เหมือนเป็นร้ำนขำยของซำนริโอ ในยุคทีเ่ รำยังไม่เกิด ก็คยุ้ ๆ ไป ได้กบิ๊ มำ ดีใจมำก ซือ้ เขำมำหมดเลย” 7. สีสมนึก “ซือ้ มำย้อมผ้ำเล่น เรำชอบกล่องแพ็กเกจ มันสะดิง้ ดี” 8. กระเป๋า “ใบนีเ้ จอทีเ่ กียวโต ในร้ำนขำยของทีร่ ะลึก” 9. ยางลบ “เรำชอบทรงยำงลบ รุน่ เก่ำ มันใช้จริงไม่ได้หรอก แต่กซ็ อื้ มำเก็บ” 10. หนังสือ Goodbye Tsugumi “เป็นงำนของ บำนำนำ โยชิโมโต เจอในร้ำนหนังสือเก่ำ พอดีชอบเรือ่ งนีอ้ ยูแ่ ล้วด้วย” 11. นาฬิกาทราย “ชอบมำตัง้ แต่เด็กๆ แล้ว เวลำเรำ มองมันรูส้ กึ เปลืองเวลำดี มีชว่ งหนึง่ เรำเอำมำใช้ตงั้ เวลำชงชำด้วย” 12. กระติกน�า้ ของเด็ก “ได้มโี อกำสไปเกำะแมวในญีป่ นุ่ เกำะนีม้ แี ต่คนแก่อยูป่ ระมำณ 20 คน ของทีย่ ำยเคยขำยเลยกลำยเป็นของค้ำงสต็อก”


THE WORD

จ�ำไว้ว่ำที่ไหนก็ตำมที่หัวใจของคุณสิงสถิตอยู่ ที่นั่นคุณจะพบกับสมบัติล�้ำค่ำ

- Paulo Coelho -


OUT THERE

Jerusalem เยรูซาเล็มคือดินแดนเก่าแก่ดนิ แดนหนึง่ ของโลก เป็นดินแดนศักดิส์ ทิ ธิท์ มี่ คี วามส�าคัญต่อสามศาสนาหลัก นัน่ คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ในแต่ละปีจะมีผศู้ รัทธาเดินทางมายังดินแดน แห่งนีม้ ากมาย และถึงแม้ประเทศจะมีสงครามความขัดแย้งกับดินแดนข้างเคียงมาโดยตลอด แต่เยรูซาเล็มก็ยงั คงความเป็นเมืองทีเ่ จริญรุง่ เรือง ทัง้ ทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานแห่งศรัทธาของทีน่ กี่ ย็ งั คงสวยงามและได้รบั การดูแลเป็นอย่างดี หากอยากสัมผัสดินแดนแห่งศรัทธาทีอ่ ยูม่ ากว่าสองพันปี เยรูซาเล็มคือจุดหมายแรกทีค่ วรนึกถึง


The city Facts เยรูซาเล็มตัง้ อยูบ่ นทีร่ าบสูงทางตอนใต้ของเทือกเขาจูเดียน มีอาณาเขตติดกับทะเลเดดซีทางด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ติดกับทีร่ าบชายฝัง่ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตัง้ แต่อดีตกาลเมืองนี้ เป็นที่กล่าวขานว่าเป็นเมืองที่พระเจ้าเลือกสรรไว้ และยังเป็น เมืองที่เกิดเหตุการณ์ส�าคัญๆ ต่อศาสนาคริสต์ อิสลาม และยิว โดยพระเยซูคริสต์และพระนบีมฮู มั หมัดเสด็จขึน้ สูส่ รวงสวรรค์ทนี่ ี่ และยั ง เป็ น เมื อ งหลวงเก่ า ของชาวยิ ว มาตั้ ง แต่ ยุ ค อี ยิ ป ต์ และบาบิโลน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1949 เยรูซาเล็มได้กลายเป็นเมืองหลวงส�าคัญของประเทศอิสราเอล สิง่ หนึง่ ทีจ่ ะพบและสัมผัสได้หากมาเยือนเมืองนีค้ อื การอยูร่ ว่ มกัน ของแต่ละศาสนาในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ไม่เหมือน เมืองใดในโลก

โบราณสถานส�าคัญทีเ่ ราจะถูกสะกดให้ตอ้ งหันไปมองเมือ่ ไปเยือนคือ โดมทองแห่งเยรูซาเล็ม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวและอิสลาม โดมแห่งนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยครอบหิน ทีเ่ ชือ่ กันว่าเป็นหินทีอ่ บั ราฮัมเตรียมการบูชายัญบุตรชาย และเป็นสถานทีพ่ ระนบีมฮู มั หมัดเสด็จ ขึน้ สวรรค์ และถึงแม้วา่ ทีน่ จี่ ะมีประวัตศิ าสตร์ทางศาสนาทีซ่ อ้ นทับและยังหาข้อสรุปบางประการ ไม่ได้ แต่สิ่งที่ผู้มาเยือนพบเห็นได้ดีตลอดกว่าสองพันปีที่ผ่านมาคือความยิ่งใหญ่และสวยงาม สมกับเป็นสถานที่สา� คัญทางศาสนาอันยิ่งใหญ่ของโลก


"THE VIEW OF JERUSALEM IS THE HISTORY OF THE WORLD; IT IS MORE, IT IS THE HISTORY OF EARTH AND OF HEAVEN." BENJAMIN DISRAELI, A BRITISH CONSERVATIVE POLITICIAN AND WRITER

บริ เ วณใกล้ กั บ โดมทองแห่ ง เยรู ซ าเล็ ม เป็นทีต่ งั้ ของก�าแพงร้องไห้ หนึง่ ในสถานทีส่ า� คัญ ของชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารแห่งใหม่ ที่กษัตริย์เฮโรดสร้างขึ้น แต่ถูกท� าลายลงโดย จักรวรรดิตีตัสใน ค.ศ. 70 จึงท�าให้คงเหลือไว้แต่ ก�าแพงล้อมรอบวิหาร และต่อมาบริเวณแห่งนี้ ก็อยูใ่ นเขตแดนของประเทศจอร์แดน หลังสงคราม อิสราเอลและอาหรับสิ้นสุดลง ที่นี่จึงกลับมาเป็น ของชาวยิวอีกครั้ง ปัจจุบันเป็นสถานที่ที่ชาวยิว ทุ ก คนจะมาสั ก การะขอพร และร่ ว มร� า ลึ ก ถึ ง ความเป็นมาชนชาติของตัวเอง


ส�าหรับชาวคริสต์แล้ว วัดพระคูหาศักดิส์ ทิ ธิค์ อื หนึง่ ในสถานทีส่ า� คัญยิง่ เพราะทีน่ คี่ อื สถานทีท่ เี่ ชือ่ ว่าพระเยชูคริสต์ถกู ตรึงกางเขน หลังจากทรงแบก ไม้ ก างเขนขึ้ น มายั ง เนิ น แห่ ง นี้ แม้ ใ นช่ ว งแรก สถานที่ นี้ จ ะถู ก ปกปิ ด ไว้ โ ดยกษั ต ริ ย ์ เ อเดรี ย น แต่ภายหลังจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ก็ทรงสร้าง มหาวิหารแห่งนีข้ นึ้ มาในปี ค.ศ. 324 และถึงแม้ในเวลา ต่อมาจะถูกท�าลายลงถึงสองครัง้ แต่กม็ กี ารบูรณะ ซ่อมแซมขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นสถานที่ส�าคัญ ทางศาสนาคริสต์ หากมาเยรูซาเล็ม ทีน่ คี่ อื หนึง่ ใน เป้าหมายของนักเดินทางทีร่ กั ในประวัตศิ าสตร์โลก

แม้เยรูซาเล็มจะเป็นเมืองขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ที่นี่ก็ถือว่าเป็นเมืองที่มีพิพิธภัณฑ์เยอะที่สุดแห่งหนึ่ง พิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ พิพธิ ภัณฑ์อสิ ราเอล ซึง่ จัดแสดงเรือ่ งราวของประเทศอิสราเอล ประวัตศิ าสตร์ และบุคคลส�าคัญของชาติ พิพธิ ภัณฑ์ไบเบิล พิพิธภัณฑ์หอคอยเดวิด นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วยังมีสถานที่ราชการส�าคัญๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาคารรัฐสภา มหาวิทยาลัย โดยสถานที่เหล่านี้จะอยู่ใกล้ๆ กันทั้งหมด หากคุณยังไม่รู้จะเริ่มต้นการท่องเที่ยว ณ จุดใด ให้มาบริเวณนี้ก่อนเป็นที่แรก แล้วจะเข้าใจประวัติศาสตร์อิสราเอลมากขึ้น นอกจากสถานทีส่ า� คัญต่างๆ แล้ว เยรูซาเล็ม ยังมีธรรมชาติที่สวยงามน่าค้นหา ไม่ว่าจะเป็น สวนเกทเสมนี ภูเขามะกอก และสวนสาธารณะ อีกหลายแห่งในเมือง และทีพ่ ลาดไม่ได้คอื การลอง ชิมอาหารท้องถิ่น และจ�าไว้ว่าวันเสาร์ของที่นี่ ผู้คนจะไม่ท�างาน แม้แต่ร้านอาหารก็ไม่เปิดขาย ควรเตรียมของกินติดตัวไว้ตงั้ แต่เช้าๆ วันศุกร์ แม้วา่ การอยู่ในเยรูซาเล็มจะท�าให้คุณต้องปรับตัวบ้าง แต่เมื่ออยู่จนชินแล้วคุณจะพบความน่าทึ่งของ เมืองเก่าแก่แห่งนี้ ยามเย็นของเยรูซาเล็มสวยงาม น่าจดจ�า ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ตรงหน้า คือสิ่งที่มีมนต์ตรึงใจไม่รู้ลืม WHAT YOU NEED TO KNOW สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจ�าประเทศไทย ชั้น 25 อาคารโอเชียน ทาวเวอร์ II เลขที่ 75 ถนนสุขุมวิท ซอย 19 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2204-9200 การเดินทาง สายการบินรอยัล จอร์แดเนียน แอร์ไลน์ www.rj.com สายการบินเตอร์กชิ แอร์ไลน์ www.turkishairlines.com สายการบินไทย www.thaiairways.co.th ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 17 ชั่วโมง


EVERYDAY STORY

ความสุข ความฝัน ความจริง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

ผมไปนั่งรถไฟเที่ยวเกาะคิวชูในประเทศญี่ปุ่นมาสิบสองวัน พอกลับถึงเมืองไทยวันรุ่งขึ้น ก็มีงานถ่ายรายการโทรทัศน์ (รายการ ‘SME ตีแตก The Final 2015’) ตั้งแต่เที่ยงวันยันเที่ยงคืน วันถัดมามีประชุมต่อที่บริษัทอีกสามนัด เมื่อวานต้องตื่นแต่ตีห้าเดินทางไปบางแสนเพื่อพูด ให้นักศึกษาฟังในงาน ‘Kubota Smart Farmer Camp 2015 The Transfarmer วัยมันส์ พันธุ์เปลี่ยนโลก’ ซึ่งจัดโดยบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จ�ากัด จะว่าเหนื่อยมันก็เหนื่อยนะครับ แต่รู้สึกว่าชีวิตเราสนุกดี มีนสิ ติ นักศึกษาจากทัว่ ประเทศสมัครขอเข้าร่วมโครงการนีข้ องคูโบต้ามากมาย สุดท้ายคัด เข้ารอบมาร่วมแคมป์ได้รอ้ ยกว่าคน ผมพบว่าไม่เฉพาะนักศึกษาด้านเกษตรหรือวิศวกรรมศาสตร์ เท่านัน้ ทีส่ นใจอยากเรียนรู้เรือ่ งการท�าเกษตรกรรม แต่ร้อยกว่าคนทีน่ งั่ อยู่ในห้องมีทงั้ นักศึกษา ที่ก�าลังเรียนอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ บัญชี การตลาด นิเทศศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ กราฟิกดีไซน์ มีแม้กระทัง่ นักศึกษาแพทย์ นิตศิ าสตร์ และนักศึกษาไทยจากมิชแิ กนสเตทยูนเิ วอร์ซติ ี้ มาเข้าร่วม แสดงว่าเกษตรกรรมก�าลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่อย่างมีนัยส�าคัญ จะว่าไปเทรนด์เกษตรเริ่มก่อตัวขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่มาเด่นชัดก็เมื่อราว 5 ปีที่ผ่านมา กระแสนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ที่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ซึ่งจ�านวนมากเป็นคนเมืองท�างานบริษัท หันเหความสนใจมาท�ากิจการเกษตรขนาดเล็ก ประกอบกับตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์เริ่มเปิดกว้างก่อตัวใหญ่ขึ้น อันเนื่องมาจากผู้บริโภค เริ่มหวาดกลัวการกินผักผลไม้จากการท�าเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่รับรู้มาว่าขั้นตอน การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีมากมายเพื่อให้ได้ผลิตผลจ�านวนมาก จึงหันมาอุดหนุนสินค้า ออร์แกนิกปลอดสารพิษมากขึ้น แม้จะต้องจ่ายเงินซื้อแพงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปก็ยอม เมื่อเทรนด์และช่องทางมาบรรจบกัน วิถีชีวิตทางเลือกก็เกิดขึ้น ในงานซึง่ เต็มไปด้วยคนรุน่ ใหม่ทสี่ นใจเรือ่ งการท�าเกษตร ผมยกตัวอย่างสามี-ภรรยาวัยหนุม่ สาว คูห่ นึง่ ทีผ่ มเคยสัมภาษณ์ออกรายการ ‘The Idol คนบันดาลใจ’ ซึง่ ผมเป็นพิธกี รเมือ่ 2-3 ปีทแี่ ล้ว มาเล่าให้พวกเขาฟัง เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ ทั้งสองเรียนมาทางด้านการเงินการธนาคาร เรียนจบได้งานท�าในบริษัทการเงินชั้นน�า ไต่เต้าในหน้าที่การงานมาเรื่อยๆ จนได้รับคัดเลือก จากบริษทั ส่งไปท�างานในบริษทั สาขาทีส่ งิ คโปร์ ท�าอยูเ่ กือบสามปี งานดี เงินดี ชีวติ ดูเหมือนจะดี แต่แล้ววันหนึง่ ขณะนัง่ กินข้าวตอนพักเทีย่ งอยูใ่ นฟูด้ คอร์ตซึง่ แออัดคับคัง่ ไปด้วยมนุษย์เงินเดือน นั่งมองฝูงคนที่รีบเร่งรีบร้อนเหนื่อยหนัก ผู้เป็นสามีเกิดความคิดขึ้นมาฉับพลันว่านี่เป็นวิถีชีวิต ที่เขาต้องการอยู่กับมันไปนานๆ จริงๆ หรือ “เงินเท่ากับความสุขรึเปล่า แล้วถ้าชีวิตให้เลือกจะเลือกอะไร ผมตอบว่าเลือกอย่างหลัง” เขาเล่าถึงความรูส้ กึ ในเวลานัน้ ให้ผมฟัง “ท�าไมเราต้องมาวิง่ แข่งเพือ่ โตในองค์กร แล้วก็คาดหวัง ว่าวันหนึ่งพอเรามีตา� แหน่งใหญ่โตแล้วเราค่อยเริ่มใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ท�าไมเราไม่ใช้ชีวิต ทุกวัน ทุกนาทีของวันนีใ้ ห้มคี วามสุขล่ะ ก็เลยคุยกับภรรยาว่า ถ้าอย่างนัน้ เรากลับบ้านกันเถอะ” สองสามีภรรยากลับเมืองไทยมาโดยยังไม่รู้ว่าจะท�าอะไร ตอนนั้นความคิดง่ายๆ ในหัวคือ เปิดร้านกาแฟไม่ก็ร้านเบเกอรี่เล็กๆ แต่พอคิดทบทวนไปมา สามีก็นึกถึงสิ่งที่อยู่กับเขามา ตั้งแต่ลืมตาดูโลก เป็นอาชีพที่ท�ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ย่าเขาเป็นชาวนา ถ้าอย่างนั้นกลับไป ท�านาดีกว่า

“พอไปบอกกับพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ ทุกคนเครียดเลย พ่อพูดว่า เราจะถอยหลังเข้าคลอง ท�าไม” ฝ่ายหญิงบอกเล่าแล้วหัวเราะ “แต่เราท�างานบริษัท เห็นการเกิดดับของเพื่อนร่วมงาน ตลอดเวลา ยิ่งเป็นบริษัทข้ามชาติใหญ่ๆ การเปลี่ยนแปลงของนโยบายเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรมั่นคงอย่างที่คิดหรอก” ทั้งสองตัดสินใจเอาเงินเก็บไปซื้อที่นาที่อ�าเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี บ้านเกิดของ ฝ่ายชาย แล้วลงมือศึกษาหาความรู้เรื่องการท�านา (ซึ่งฝ่ายชายบอกว่า รู้สึกตลกดีเหมือนกัน บ้านเป็นชาวนาแท้ๆ) เรียกว่าเริ่มต้นนับหนึ่งในอาชีพชาวนาเลย ไม่รู้ทั้งเรื่องน�้า เรื่องดิน เรื่องพันธุ์ข้าว เรื่องวิธีการเพาะปลูก “ชาวนามือใหม่ แยกข้าวกับหญ้ายังไม่ออกเลยค่ะ โง่มาก” หญิงสาวเล่าให้เราได้หัวเราะ กันสนุก พอรู้ว่ามีความรู้น้อยไป เธอจึงชวนสามีไปสมัครอบรมการท�านาแบบปลอดสารพิษ ทีท่ างเกษตรจังหวัดจัดขึน้ พร้อมกับหาข้อมูลความรูท้ างอินเทอร์เน็ตควบคูไ่ ปด้วย ลองผิดลองถูก ไปเรือ่ ย ฤดูกาลแรกได้ขา้ วมาจ�านวนหนึง่ ลองขนไปขายทีท่ า่ ข้าว รูส้ กึ แย่ทรี่ าคาข้าวถูกก�าหนด จากพ่อค้าคนกลางอย่างไม่ยุติธรรม จึงตัดสินใจว่าต่อไปนี้จะปลูกเอง ขายเอง สองสามีภรรยา จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายชาวนาปลูกข้าวปลอดสารพิษ ชักชวนชาวนาในละแวกบ้านให้เปลี่ยน มาท�านาข้าวออร์แกนิก เริ่มจากนาไม่กี่ไร่จนทุกวันนี้งอกเงยเป็นหลายร้อยไร่ ได้ผลผลิตเป็น ข้าวออร์แกนิกส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผมนึกถึงวันที่ผมนั่งคุยกับสามีภรรยาคู่นี้อยู่ที่นาข้าวของพวกเขาที่หนองแซง บรรยากาศ รอบด้านดีเหลือเกิน ด้านหลังเป็นทุง่ นาสีเขียวผืนใหญ่ ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส สายลมอ่อนๆ พัดเย็นสบาย “บางคนเขาอาจจะกล้า แต่ไม่บ้าที่จะท�า” ฝ่ายชายตอบค�าถามของผมว่า ท�าไมคนอื่นๆ คิดฝันประมาณนี้แล้วท�าไม่ได้ แต่เขากับภรรยาท�าได้ “ความฝัน ความจริง ความสุข ต้องเดินไปด้วยกัน ผมเชือ่ ว่าคนทุกคนมีความฝัน แต่หลายๆ ครัง้ เขาแค่คิดว่ามีฝันไว้คุยเอาสนุก แต่ผมคิดว่าแล้วท�าไมคุณไม่ท�าล่ะ มันไม่ใช่ท�าไม่ได้หรอก แต่คุณยังไม่ได้เริ่มท�าต่างหาก ที่เราท�าได้ไม่ใช่เพราะเรามีต้นทุนมากกว่าคนอื่น แต่สิ่งที่เรามี คือความพร้อม อย่าใช้ความไม่พร้อมเป็นข้ออ้างที่จะไม่ท�า ถ้าบอกว่าไม่พร้อมเพราะไม่มีเงิน ผมว่าคุณไม่มีวันพร้อมหรอก 5 ล้านก็ไม่พอ 10 ล้านก็ไม่พอ แต่ถ้าคุณเริ่มท�าเลย คุณก็ได้เริ่ม นับหนึ่ง ถ้าไม่มีปัญญาท�าใหญ่ๆ ก็ท�าเล็กๆ ไปก่อน ถ้าไม่มีเวลาท�ามาก ก็ให้ท�าน้อยๆ เริ่มจากข้าวไร่เดียวเหมือนเราสองคนก็ได้ เราก็เริ่มจากเล็กๆ ก่อน แต่เราเริ่มท�าเลย เพราะเรา รู้ว่าถ้าเรารอ เราจะไม่ได้ท�า” เขาคิดเหมือนที่ผมคิด คิดแล้วไม่ทา� ที่สุดแล้วอาจมีค่าเท่ากับไม่คิด วิธีจัดการกับความฝัน คือลงมือท�าให้มันเป็นจริง ความฝันที่มีความหมายไม่ควรจะง่ายเกินไป “ความสุข ความฝัน ความจริง คงไม่มใี ครตอบได้ดกี ว่าตัวคุณเองว่ามันไปด้วยกันได้รเึ ปล่า” ชายหนุ ่ ม อดี ต มนุ ษ ย์ เ งิ น เดื อ นที่ หั น เหชี วิ ต มาเป็ น ชาวนาเต็ ม เวลาในวั น นี้ บ อกกั บ ผม “จงซื่อสัตย์กับตัวเอง เราคือคนที่ตอบค�าถามนี้ได้ดีที่สุด เสียงของหัวใจเราดังไม่น้อยกว่า เสียงคนอื่นหรอก”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.