a day BULLETIN LIFE issue 68

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 68 I 26 JUN - 2 JUL 2015

BORN THIS WAY


ปีที่ 2 ฉบับที่ 68 วันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2558

NOTE ON LIFE

The Lost Art of Sending Postcard ทุกวันนี้ เมือ่ ต้องออกเดินทางท่องเทีย่ ว สมาร์ตโฟนได้กลายเป็นเครือ่ งมือสือ่ สารทีม่ ปี ระสิทธิภาพอย่างยิง่ ในการบอกกล่าวว่าเราไปไหน ท�าอะไรมา ขณะที่การส่งโปสต์การ์ดระหว่างไปเที่ยว ซึ่งท�าหน้าที่สื่อสารได้ไม่ต่างกัน กลับเป็นศิลปะที่หลายคนค่อยๆ ลืมเลือนไป บางคนบอกว่าไม่รู้จะส่งหาใคร และมันก็ช้ากว่าการโพสต์บอกในเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรมเป็นไหนๆ บางคนบอกว่า รูปถ่ายในโปสต์การ์ดมันสวยแบบประดิษฐ์เกินไป อยากถ่ายเองมากกว่า จบจากเรือ่ งรูป ก็มเี หตุผลอีกว่าลายมือไม่สวย ไม่มีเวลามานั่งเขียนอะไรยาวๆ ไม่รจู้ ะเล่าเรือ่ งอะไรทั้งๆ ที่โปสต์การ์ดนั้นมีพื้นที่ให้เขียนน้อยกว่าหน้าวอลล์ในเฟซบุ๊ก นั่นแปลว่า เราต้องเลือกใช้คา� ล�าดับความคิด เพื่อให้เขียนได้รู้เรื่องและกระชับที่สุด ขณะที่ในเฟซบุ๊กมีพื้นที่ให้ระบายความคิดมากมาย เราก็เขียนได้ยาวที่สุดเท่าในโปสต์การ์ดนั่นแหละ เพราะเราอยู่ในยุคที่รู้ๆ กันว่า ‘ยาวไปไม่อ่าน’ หลายคนพยายามเชิญชวนให้คนกลับมาเขียนโปสต์การ์ด เพื่อรักษาศิลปะในการเล่าเรื่องผ่านโปสต์การ์ดให้คงอยู่ แต่ก็มีแนวร่วมน้อยเหลือเกิน เหตุผลอาจไม่ใช่แค่ลายมือไม่สวย ส่งถึงผู้รับได้ช้า ไม่ทันใจ แต่เพราะเราไม่เหลือเวลาผ่อนพัก ครุ่นคิด และไต่ถามความรู้สึกตัวเองว่า ในการเดินทางนั้น เราค้นพบอะไรนอกจาก ‘ไปมาแล้ว’ เพราะเมื่อเราเห็นภาพสวยๆ เราก็ต้องรีบร้อนแชร์ ประหนึ่งได้เข้าเส้นชัยของนักท่องเที่ยว และรางวัลที่ได้ก็คือจ�านวนการกดไลค์ ที่เราสูญเสีย อาจไม่ใช่แค่การส่งโปสต์การ์ด แต่เราสูญเสียศิลปะในการเล่าเรื่องด้วย ไม่ใช่เพราะลายมือไม่สวย แต่เพราะเราเคยชินกับการใช้ตัวพิมพ์ที่สวยเหมือนกันหมด และไม่ใช่เพราะไม่มีคนอ่าน แต่เพราะเราโพสต์ทุกอย่างที่เห็นไปหมดแล้ว จนไม่เหลือเรื่องน่าสนใจให้คนรอคอยอ่านหรือเปล่า? วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin

CONTENTS

4 The Stuff

6 Feature

สารพัดสิ่งรอบตัวเรา ความรับผิดชอบและ ที่เล่าผ่านตัวเลข ความรักของคน 3 คน ที่สืบทอดกิจการของ ครอบครั ว มาแบบ รุ่นต่อรุ่น

12 Calendar

14 Supermarket

16 Make a Dish

ใคร ท�าอะไร ที่ไหน เช็กดูได้ สุดสัปดาห์นี้ จะได้ไม่พลาดเรือ่ งราว สนุกๆ

ฉวยตะกร้า คว้ารถเข็น หนึ่ ง จานอร่ อ ยจาก แล้วไปเดินเล่นจับจ่าย ร้ า นดั ง ที่ เ ราอ ย า ก กับเราใน Supermarket ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง แห่งนี้

18 HOME MADE

20 Selective

22 Out There

26 Everyday Story

เปิดบ้านที่แสนอบอุ่น และอบอวลไปด้ ว ย ต้ น ไม้ ด อกไม้ ข อง ภูวนาท ชุ่มศรีขรินทร์

ความรักและของสะสม ของ วชิ ร ทองหล่ อ ช่างไม้รนุ่ ใหม่ เจ้าของ สตูดโิ องานไม้ If I were a carpenter

เ พ ร า ะ เ ร า เ ชื่ อ ว ่ า โลกใบนี้ มี ส ถานที่ ทุกวันคือชีวิต ชีวิตคือ ม า ก ม า ย ร อ ใ ห ้ ไ ป ทุกวัน โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ค้นหา

LETTER ชอบ a day BULLETIN LIFE ตรงที่ทีมงานย่อยข้อมูลมาให้อ่านง่าย และภาพประกอบที่สวยงาม เราจะหยิบ a day BULLETIN LIFE ใส่กระเป๋าไว้อ่านฆ่าเวลาเพลินๆ เป็นประจ�า และคอลัมน์โปรดของเราคือ Supermarket ที่ชอบเพราะเป็นคอลัมน์ที่หยิบเอาสิ่งธรรมดาที่เห็นในชีวิตประจ�าวันมาจัดวางได้สวยมาก อย่างเล่มที่เป็นอาหารทะเล ดูแล้วอยากออกไปนั่งกินอาหารทะเลเลยค่ะ - กันต์กนิษฐ์ มิตรภักดี

ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife

A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน สราญรัตน์ ไว้เกียรติ ฝา่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝา่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผูจ้ ดั การฝา่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, วราพร วิทยารุง่ เรืองศรี 08-9169-9509, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412 นักศึกษาฝึกงาน ณัฐรดา โพธิราช พงศธร ทองยี่สุ่น


STUFF

BEAUTY CONTEST ถ้าความแข็งแกร่งคือสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ชาย ‘ความงาม’ ก็คงเป็นสิ่งที่คู่กับผู้หญิง จนเมื่อปี ค.ศ. 1839 ได้มีการประกวดนางงามเกิดขึ้นครั้งแรก การประชันความงามบนเวทีระดับโลกจึงกลายเป็นเหตุการณ์ส�าคัญในทุกๆ ปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และแม้ความงามจากภายนอกจะเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็อยากจะ ครอบครองไว้ให้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เราต้องอย่าลืมว่าความงามที่จะคงอยู่ตลอดกาลไม่ใช่หน้าตาและผิวพรรณอันสะสวย หากแต่เป็นสิ่งที่มาจากภายใน

วั ฒ นธรรมการจั ด ดอกไม้ เ ริ่ ม ขึ้ น ในประเทศอี ยิ ป ต์ เ มื่ อ 2,500 ปี ก ่ อ น คริสต์ศักราช โดยมีวัตถุประสงค์ ใช้ตกแต่งบ้านเรือนไปจนถึงการใช้เป็น เครื่องแสดงความยินดีอย่างหนึ่ง เช่น ในการประกวดนางงามทุกเวทีจะมอบ ช่อดอกไม้เป็นการแสดงความยินดีแก่ผู้เข้าประกวดที่ได้รับต�าแหน่ง

มี ก ารเริ่ ม ใช้ โ ลโก้ การประกวด นางงามจั ก รวาล เมื่อปี ค.ศ. 1998 เป็ น รู ป ผู ้ ห ญิ ง และ ดวงดาว ซึ่ ง เป็ น ตัวแทนของความงดงามและความรับผิดชอบของผู้หญิง ทั่วจักรวาลแห่งนี้

มงกุฎประจ�าต�าแหน่งนางงามจักรวาล (Miss Universe) ครั้ ง ที่ 63 มี มู ล ค่ า 300,000 เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ (หรือประมาณ 10 ล้านบาท) มีนา�้ หนักประมาณ 411 กรัม

สีของชุดราตรี 3 อันดับแรกที่ผู้เข้าประกวดนางงามสวมใส่ และได้รางวัลมากที่สุดคือ สีขาว สีแดง และสีด�า

สาวงามจากสหรัฐอเมริกาได้รับรางวัลชนะเลิศนางงามจักรวาลมากที่สุดถึง 8 ครั้ง รองลงมา เป็นประเทศเวเนซุเอลา 7 ครั้ง และประเทศเปอร์โตริโก 5 ครั้ง

ผู ้ ช น ะ เ ลิ ศ ก า ร ป ร ะ ก ว ด นางงามจักรวาลที่มีความสูง น้ อ ยที่ สุ ด ได้ แ ก่ อาภั ส รา หงสกุล จากประเทศไทย และ ลุซ มารีนา ซูลวั กา จากประเทศ โคลอมเบีย ทีม่ คี วามสูงเพียง 163 เซนติเมตรเท่านั้น

ในปี ค.ศ. 2012 กองประกวดนางงามจักรวาลอนุญาตให้ผู้หญิงข้ามเพศสามารถเข้าประกวดได้ หากประเทศของพวกเธออนุญาตให้ผู้หญิงข้ามเพศเข้าประกวดนางงามระดับชาติ และพวกเธอชนะเลิศการประกวดนั้นๆ


FEATURE

Born This Way เมื่อพูดถึงงานฝีมือเชิงช่าง หลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันเป็นทักษะเฉพาะบุคคล ที่ต้องผ่านการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน พรสวรรค์อาจมีส่วนบ้าง แต่คงเป็นแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการฝึกฝนอย่างหนัก งานฝีมือของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงล้วนผ่านการฝึกฝนพัฒนามามากกว่าหนึ่งรุ่น จนกลายเป็นชิ้นงานที่พิเศษและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และสิ่งที่ยากประการหนึ่งของการสืบทอดพัฒนางานฝีมือ ก็คือทัศนคติต่องานของผู้สืบทอด งานฝีมือดีๆ หลายแบรนด์หายไปเพราะขาดผู้สืบทอด แต่ในมุมกลับกัน ก็มีอีกหลายแบรนด์ที่เติบโตมีชื่อเสียงเพราะส่งต่อทัศนคติที่ดีต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น ฉบับนี้เราจึงขอน�าเสนอเรื่องราวของแบรนด์สามแบรนด์ กับคนรุ่นหลังที่พยายามรักษาและสานต่องานฝีมือของครอบครัวเอาไว้ให้คงอยู่ และพวกเขาก็ท�างานอย่างมีความสุขด้วย


SAIYART COLLECTION เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

การสานต่อกิจการของ Saiyart Collection อาจไม่ได้เป็นเรือ่ งทีน่ า่ หนักใจส�าหรับ ‘ต้น’ - ดุสติ เสมาเงิน สักเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ท�าให้เขากดดันเสมอมาก็คือ การได้ชื่อว่าเป็นทายาทคนโตของศิลปินผู้มีชื่อเสียง ระดับโลก แต่เขาก็ ได้พิสูจน์ตัวเองในฐานะของช่างภาพข่าว รวมถึงครีเอทีฟที่ฝากผลงานเด่นๆ เอาไว้ ม ากมาย และชายคนนี้ ก็ ไ ด้ ย อมรั บ อย่ า งเต็ ม ใจแล้ ว ว่ า เขาดี ใ จที่ ไ ด้ เ กิ ด มาเป็ น ลู ก ของ ไสยาสน์ เสมาเงิน และพร้อมที่จะสืบทอดกิจการที่ทรงคุณค่าของพ่อต่อไป MY STORY :

THE CHARM OF WOOD :

ในแง่ของการท�างาน ชีวติ ของผมก็ไม่ได้ เปลีย่ นแปลงไปสักเท่าไหร่ เพราะผมก็เข้ามา ช่วยงานคุณพ่อได้กว่า 10 ปีแล้ว เพราะจริงๆ แล้วงานของ Saiyart Collection คือการรวม ความคิดของพวกเราทุกคนไว้ในผลงาน แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ผมก็ มี อ าชี พ ส่ ว นตั ว ที่ผมท�ามานาน แต่หลังจากคุณพ่อท่าน จากไปแล้ว ผมก็ต้องพิสจู น์ตวั เองให้ทกุ คน ได้เห็นว่า ผมจะพา Saiyart Collection เดินต่อไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามผมมั่นใจ ว่าผมท�าได้ เพราะแบรนด์ Saiyart Collection มีแนวคิดทีช่ ดั เจน ดังนัน้ ผลงานจึงไม่มที าง ทีจ่ ะผิดเพีย้ นไป แต่จะเป็น Saiyart Collection ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งงานของ Saiyart Collection เองก็ มี ก ารพั ฒ นาอยู ่ ต ลอดเวลาอยู ่ แ ล้ ว แต่แนวคิดหลักทัง้ หมดนัน้ ยังคงอยูเ่ หมือนเดิม

ส�าหรับผมและคุณพ่อถือว่าไม้เป็นวัสดุ ทีม่ ชี วี ติ ดังนัน้ การท�างานของเราคือการส่งต่อ ช่วงชีวิตใหม่ให้กับไม้ จากต้นไม้หนึ่งต้น ที่เติบโตขึ้นมาจากเมล็ด นี่คือช่วงชีวิตแรก ของมั น ต่ อ มาเมื่ อ ถู ก ตั ด น� า ไปใช้ ง าน อาจจะเป็นเกวียน บ้าน หรือเรือ ก็ไม่ได้ หมายความว่าชีวิตของไม้จะสิ้นสุดไปเมื่อ ถูกโค่น แต่เป็นการเริ่มต้นชีวิตที่อยู่คู่กับ วิถชี วี ติ ของมนุษย์ ต่อมาเมือ่ เรามีวสั ดุใหม่ๆ มาแทนที่ไม้ ความส�าคัญของมันก็ค่อยๆ หมดลงไป ไม้ ที่ เ คยถู ก ใช้ ง านก็ ถู ก รื้ อ และอาจจะน�าไปใช้เป็นฟืนหรือเผาเป็นถ่าน ซึง่ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ เสียดาย นัน่ จึงเป็นจุดเริม่ ต้น ของ Saiyart Collection ที่จะต่อชีวิตช่วงที่ 3 ให้กับไม้ และท�าให้มันอยู่คู่กับมนุษย์ไปอีก ยาวนาน

THE SECOND generation :

ผมอยากให้ Saiyart Workshop เป็น สถานที่ที่ใครเข้ามาก็ได้ เพียงแค่คุณรัก งานไม้ สนใจเรือ่ งของงานไม้ สามารถเข้ามา ได้หมด มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และในอนาคตผมจะสร้างห้องท�างานไม้ เล็ ก ๆ ส� า หรั บ คนที่ อ ยากเข้ า มาเรี ย นรู ้ การท�างานไม้กั บ เรา ซึ่ ง ความคิ ด นี้ เ ป็ น การต่อยอดจากความคิดของคุณพ่อทีอ่ ยาก ให้ช่างไม้มีความเป็นศิลปินควบคู่ไปด้วย a BRILLIANT LEGACY :

คุ ณ พ่ อ มั ก พู ด เสมอว่ า ศิ ล ปิ น เป็ น ผูร้ บั ใช้สงั คม ท่านจึงท�างานเพียงเพือ่ ให้พอ อยูไ่ ด้ เลีย้ งครอบครัว เลีย้ งดูลกู น้องได้ และ มีความสุขกับการท�างาน นี่คือการใช้ชีวิต ในส่วนของคุณพ่อ แต่ในส่วนที่เป็นหน้าที่ ทีท่ า่ นบอกว่าต้องรับใช้สงั คม พ่อจะสอดแทรก แนวคิดของสังคมเอาไว้ในผลงานตลอด ทั้ ง เรื่ อ งในด้ า นบวกและเรื่ อ งในด้ า นลบ เพราะท่านต้องการให้คนเห็นชิน้ งานแล้วได้คดิ การที่ผลงานได้สะกิดความคิดบางอย่าง ของคนดูงานก็ถือว่าเป็นหน้าที่ที่อย่างน้อย ท่านได้ท�าเพื่อสังคมแล้ว


TAO HONG TAI เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

ภารกิจของ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ทายาทรุ่นที่ 3 ของโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ ไม่ใช่เพียงการสืบสานกิจการจากรุ่นพ่อ ชาญชัย สุพานิชวรภาชน์ และส่งต่อให้รุ่นต่อไปเพียงเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างงานเซรามิกที่แปลกใหม่อย่างที่ใจคนรักศิลปะอย่างเขาต้องการ และยังสืบสานงานดั้งเดิมจากรุ่นบรรพบุรุษ ให้คงอยู่ต่อไป เพราะเขาเชื่อว่างานที่เขาท�าจะสามารถขับเคลื่อนชุมชนเมืองราชบุรีให้กลายเป็นเมืองศิลปะได้ในอนาคต


MY STORY :

a BRILLIANT LEGACY :

ตอนเด็กๆ เราไม่เคยสนใจเรื่องเซรามิก หรือธุรกิจของครอบครัวเลย โรงงานเป็น สถานที่วิ่งเล่นของเรามากกว่า ตอนนั้นแม่ อยากให้เราเรียนเก่งๆ แล้วไปท�าอย่างอื่น ด้วยซ�้า เพราะการท�าเซรามิกมันเหนื่อย มีชว่ งหนึง่ ตอนทีเ่ ราอยูม่ ธั ยมต้น พ่อถามว่า อยากไปเรียนทีเ่ ยอรมนีไหม เราก็ตอบตกลง ไปถึงก็ไปเรียนภาษาก่อน 10 เดือน แต่ถงึ เวลา ที่ต้องต่อวีซ่าแล้วไม่รู้จะเรียนอะไร โชคดีที่ มีโรงเรียนเทคนิคอยูท่ หี่ นึง่ เขาเปิดรับสมัครอยู ่ และก็มีวิชาการปั้น เราก็ส่งพอร์ตโฟลิโอไป จากที่ไม่เคยจับดินปั้นเป็นอะไรจริงจังเลย ก็เป็นจุดเริ่มต้นในชีวิตที่ได้เรียนปั้นจริงจัง ปีแรกทีอ่ ยูต่ รงนัน้ คือไม่ชอบเลย กดดันมาก เบือ่ ทีจ่ ะต้องท�าตามทฤษฎีเป๊ะๆ มีจงั หวะหนึง่ ที่เราไปท�ากับข้าวที่บ้านเพื่อน แล้วเห็น งานปั้นของเพื่อน มันเปิดโลกของเรามาก คิดว่าท�าไมเราไม่ปน้ั อย่างอืน่ ทีม่ นั นอกกรอบ บ้าง เราก็ลองปั้นงานที่ไม่ได้อยู่ในทฤษฏี ท�าให้เรารู้สึกสนุกมากขึ้น เพราะมันไม่ได้ มาจากความคาดหวังที่ครูสั่งอย่างเดียว

ตลอดเวลา 3 รุน่ มันก็มกี ารเปลีย่ นแปลง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงงานอยู่เสมอ อย่างรุ่นพ่อ ความจ�าเป็นในการใช้ภาชนะ ของคนก็เริม่ ลดน้อยลง โรงงานทีเ่ ป็นลูกค้า หลักๆ ของเราอย่างโรงงานน�า้ ปลา ก็หนั ไปใช้ ถังพลาสติกแทน เราเลยคิดว่าการจะท�ากิจการ ของครอบครัวต่อมันต้องมีความแตกต่าง รุน่ พ่อก็คดิ ว่าจะท�าสีใส่เซรามิกด้วย ท�ายังไงดี พ่อก็เลยลองท�าดู ก็เลยเกิดเป็นเซรามิก ที่มีสีสันต่างๆ มากขึ้น แล้วก็เริ่มมีการท�า รูปแบบอื่นๆ นอกจากภาชนะ เป็นกระถาง กระเบือ้ งเพิม่ เติม รูปปัน้ หรือของลายคราม คือพ่อต่อยอดวิธีการท�ามาจากอากง และ ส่งต่อมาให้เราพัฒนาไปอีก THE CHARM OF CERAMICS :

เราคิดว่าเสน่ห์ของเซรามิกคือ element ที่ 5 ที่เราไม่สามารถคอนโทรลได้ ทั้งเรื่อง อุณหภูม ิ บรรยากาศ ลม หรือเตา มันอาจจะ มี ค วามผิ ด พลาดเกิ ด ขึ้ น ได้ ทุ ก ขั้ น ตอน ซึง่ มันมีผลกับผลงานเซรามิกของเราทัง้ หมด ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งมั น เป็ น ความเซอร์ ไ พรส์ เมื่ อ เปิ ด เตาออกมาแล้ ว มั น จะได้ อ ะไร THE THIRD generation : ปี 2542 เราเรียนจบพอดี ก็เลยกลับมา หรือบิดเบี้ยวไหม เมืองไทย มาท�างานทีบ่ า้ น เราก็ทา� งานทีเ่ รา อยากท�าไปเรือ่ ยๆ แต่ไม่เคยเปลีย่ นสิง่ ทีอ่ ากง หรือสิง่ ทีพ่ อ่ ท�า แค่เพิม่ สิง่ ทีเ่ ราอยากท�าเข้าไป ช่วงแรกๆ เราก็ยงั ไม่รวู้ า่ จะท�าอะไร ก็มกี ารตัดทอนของเดิมหรือการเพิม่ สี หลังจากนัน้ เราก็พยายามท�าสิ่งที่ตัวเองชอบ สิ่งหนึ่งที่ ท�าให้คนอืน่ รูจ้ กั โรงงานในยุคของเรามากขึน้ คือเซรามิกสีแปร๋นๆ ซึง่ มันเกิดจากการทีเ่ รา ไปฟังสัมมนาเรือ่ งเทรนด์ทเี่ ขาเชิญนักออกแบบ ชาวอิตาลีมาเล่าเรื่องเทรนด์เกี่ยวกับสีสัน แนวเอิร์ธโทน ระหว่างที่ฟังก็คิดไปด้วยว่า เราไม่ท�าเอิร์ธโทน เพราะเราเชื่อว่าทุกคน ท�าสิง่ นัน้ แน่ๆ แต่มนั ก็ต้องมีสกั 1% ทีไ่ ม่ได้ อยากได้แบบนัน้ ก็เป็นจุดเริม่ ต้นของการท�า เซรามิกสีแปร๋นๆ อย่างเช่น แดง ส้ม เหลือง ฯลฯ ซึ่งก็มีคนสนใจเยอะจนกลายเป็นว่ามี โรงงานอืน่ มาเปิดแข่งด้วย แต่กแ็ ตกต่างกัน ในแง่ของคุณภาพ


AZZURRO เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ, ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

การท�างานอะไรก็ตามเราเชื่อว่าต้องใช้ทั้งทักษะและใจรักรวมไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานที่ทรงคุณค่า ทนทานต่อกาลเวลา ยิ่งกับงานเฉพาะด้านอย่างการตัดสูท ที่ต้องอาศัยความพิถีพิถันอย่างที่สุดแล้ว สิ่งที่ ‘เจ’ - จิรัฏฐ์ วีรวัชร์ภูวกุล ทายาทรุ่นที่ 2 แห่งร้าน AZZURRO ให้ความส�าคัญอย่างมาก ก็คือการสืบทอดชื่อเสียงที่ ธเนศ บวรเนาวรักษ์ ผู้เป็นพ่อ ได้สั่งสมมาอย่างยาวนาน และความภาคภูมิใจที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจในผลงานของเขานั่นเอง


MY STORY :

เราอยู่กับร้านตัดเสื้อมาตั้งแต่เด็ก ได้เห็น พ่อแม่เราท�าธุรกิจนี้ สัมผัสได้ว่าท่านได้รับ ความรู้สึกประทับใจจากลูกค้ามาโดยตลอด งานที่คุณพ่อท�าออกมาแล้วลูกค้าชอบ ชมว่า ตัวนี้สวย ตัวนี้เจ๋ง ใช้ตัวนี้ประจ�าเลย ส�าหรับ เราแล้วความรู้สึกเหล่านี้เป็นมากกว่าเงิน เป็น สิ่ ง ที่ ท� า แล้ ว มั น ได้ ค วามสุ ข ด้ ว ย สมั ย เรี ย น เราเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ พอเรียนจบ ก็เริ่มต้นท�างานด้วยการเป็นวิศวกรในโรงงาน เราก็สนุกกับการท�างาน แต่พอได้เปรียบเทียบ กันแล้ว เราก็ตอบตัวเองว่าเราอยากได้ความประทับใจจากสิ่งที่เราได้ท�า เลยตัดสินใจรับ ช่วงต่อกิจการที่บ้าน THE SECOND generation :

เราเริ่มจากท�างานทุกอย่างที่ร้าน ตั้งแต่ การตัด การเย็บ จัดผ้า กวาดพื้น ทุกอย่างเลย ต้องเรียนรู้ทุกอย่าง ทุกกระบวนการท�างาน เพื่อสอนงานต่อได้ สื่อสารได้ว่าเราต้องการ อะไร เป็นการเรียนรูผ้ า่ นการลงมือท�าจริง เราเชือ่ เรื่องประสบการณ์นะ ความรู้ก็จ�าเป็น แต่ ประสบการณ์กเ็ ป็นเรือ่ งทีส่ �าคัญ ส่วนใหญ่งาน สายนี้เราจะต้องเรียนรู้จากการสังเกตดู ไม่ว่า จะเป็นช่างรุ่นไหนก็ตาม เขาจะไม่มาสอนแบบ จับมือสอน คุณพ่อจะสอนพืน้ ฐาน อย่างวัดตัว ลูกค้าวัดอย่างไร วัดอะไรบ้าง ตรงไหน แต่ขนั้ ตอน การลองตัวมันจะสอนเป็นค�าพูดไม่ได้ เพราะ เป็นการปรับประยุกต์ ต้องรูจ้ กั สังเกตและเรียนรู้ ด้วยตัวเอง และเพราะทีบ่ า้ นค่อนข้างเปิดโอกาส ให้ได้ลอง ถูกผิดไม่เป็นไร ถ้าผิดก็ลองดูให้รู้ว่า มั น ผิ ด เราก็ เ ลยไม่ ค ่ อ ยมี ค วามกดดั น จาก การรับช่วงต่อกิจการนี้ THE CHARM OF TAILOR MADE :

หลังเรียนรูง้ านจากทีร่ า้ น เรามีโอกาสได้ไป เรียนวิธที า� สูทด้วยมือจากอิตาลี ซึง่ ปกติแล้วจะ สอนเฉพาะคนอิตาลีเท่านั้น จากสิ่งที่เรียนมา เราพบว่าส่วนใหญ่บา้ นเราจะใช้แพตเทิรน์ แบบ อังกฤษ ซึ่งเรารู้สึกว่าวิธีการท�าเสื้อแบบอิตาลี นั้นเหมาะกับคนไทยมากกว่า ทั้งขนาดรูปร่าง ที่ใกล้เคียงกัน และรายละเอียดการโค้งเข้ารูป ที่ยิ่งท�าให้ผู้สวมใส่ดูดีมากขึ้น และเรายังได้ ติ ด ต่ อ น� า เข้ า ผ้ า คุ ณ ภาพดี ที่ สุ ด ของอิ ต าลี อย่าง Loro Piana และ Zegna มาใช้ที่ร้านด้วย นอกจากนี ้ ความพิเศษอีกอย่างของการตัดเย็บ สไตล์อิตาลีก็คือ ผ้าหางม้า ที่เกิดจากการเอา

หางของม้ามาทอเป็นผ้า มาประกอบกับฝีมือ การเย็บของช่างต้องช�านาญ เพือ่ ให้เกิดรูปทรง โค้งที่ปก ท�าให้เสื้อสูทดูมีสปริงตัว ซึ่งปัจจุบัน หาคนท�างานตัดสูทด้วยมือแบบนีย้ ากขึน้ ทุกวัน แม้แต่ในอิตาลีเองก็ยงั ขาดแคลนช่างฝีมอื ชนิดนี้ a BRILLIANT LEGACY :

สิ่ง ที่คุณ พ่ อ สอนตลอดมาก็คือ เรื่อ งของ คุณภาพ เพราะก่อนทีเ่ ราจะส่งงานให้กบั ลูกค้า เราต้องรูส้ กึ ชอบงานชิน้ ทีเ่ ราท�าเสียก่อน ซึง่ ช่าง รุน่ เก่าๆ เขาจะเป็นอย่างนีก้ นั ทุกคน มีชา่ งคนหนึง่ ที่ท�างานกับผม แกมีอายุ 70 กว่าปีแล้ว แต่เรา ไม่ต้องไปบอกเขาเลยนะว่าเสื้อตัวนี้มีปัญหา หรือส่วนของเสื้อตรงไหนที่ยังไม่สวย เขาจะ บอกกับเราเองว่าตรงนีค้ วรปรับดีไหม ซึง่ ถ้าเป็น คนทีไ่ ม่รกั ในงานของตัวเอง เขาก็จะปล่อยผ่าน ไป แต่ส�าหรับคนที่คิดอย่างนี้ เขาพร้อมที่จะ แก้ไขงานทีเ่ ขาท�า แม้จะต้องเริม่ ต้นท�าขึน้ มาใหม่ ทัง้ หมดก็ตาม เราทุกคนถูกปลูกฝังด้วยแนวคิดนี้ ทิศทางต่อไปที่เราตั้งใจไว้ อย่างแรกคือเรื่อง การสร้างคน เนือ่ งจากคอนเซ็ปต์ของเราทีใ่ ส่ใจ ถึงคุณภาพของเสื้อต้องสวย ดังนั้น เราตั้งใจ พัฒนาคนของเราให้ได้คณ ุ ภาพ และอย่างทีส่ อง คือ ท�าให้คนที่ต้องการงานฝีมือแบบนี้ทั้งใน และต่างประเทศได้รู้จักเรามากขึ้น


CALENDAR FRI

MON

29

YIWARRA KUJU : THE CANNING STOCK ROUTE นิทรรศการ ‘Yiwarra Kuju: The Canning Stock Route’ น� า เสนอผลงาน จิตรกรรมทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราว ของเส้นทางขนย้ายปศุสตั ว์ ในนามแคนนิ ง สต็ อ ก ในออสเตรเลี ย ตะวั น ตก จ า ก มุ ม ม อ ง ข อ ง ช า ว อะบอริจนิ ทีอ่ าศัยในดินแดน ที่เส้นทางสายนี้ทอดผ่าน วันนีถ้ งึ 16 กรกฎาคม 2558 ณ ทวิบู แกลเลอรี (ชั้น 4 อาคารจิวเวลรีเทรดเซ็นเตอร์ สีลม) โทร. 0-2266-5454 (เว้นวันอาทิตย์)

TUE

30

SKEPTICAL นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Skeptical’ โดย อ๊อฟ สมิธ ถ่ายทอดเรื่องราวซ่อนเร้น ท า ง ค ว า ม คิ ด ผ ่ า น ประสบการณ์และ จิ น ตนาการที่ ส ะท้ อ น บริบททางสังคมในสไตส์ พ็ อ พ เ ซ อ ร ์ เ รี ย ล ลิ ซึ ม ที่ เ ต็ ม ไ ป ด ้ ว ย ค� า ถ า ม ความไร้เดียงสา ความสนุก ของชีวิต ที่บางเรื่องราว แฝงไปด้วยยาพิษ วันนี้ถึง 9 สิงหาคม 2558 ณ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซ็นเตอร์ (ซอย สุขุมวิท 39) โทร. 0-26620299 (เว้นวันจันทร์)

WED

1

GRAND CENTRAL เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เรื่ อ ง ‘Grand Central’ แกรี ต ้ อ งท� า งานใกล้ กั บ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใ น จุ ด ที่ มี ป ริ ม า ณ สารกั ม มั น ตรั ง สี สู ง สุ ด เขาตกหลุ ม รั ก การอล ภรรยาของโทนี ความรัก ต้องห้ามและการสัมผัสกับ รังสีปนเปือ้ นแทรกซึมเข้าสู่ แกรีอย่างช้าๆ จนกลายเป็น ภั ย คุ ก คามเขามากขึ้ น ทุกวัน ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคม ฝรั่ ง เศสกรุ ง เทพ โทร. 0-2670-4231

THU

26

SAT

27

SUN

28

2

จักรยานเร่ วาดทะเลสองฝัง่

นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘จั ก รยานเร่ วาดทะเล สองฝั ่ ง ’ โดย ประสาท นิรนั ดรประเสริฐ น�าเสนอถึง ทะเลและธรรมชาติทกี่ า� ลัง จะล่มสลายในอีกไม่นาน ผ่ า นผลงานภาพสี น�้ า ที่ น� า มาคอลลาจใหม่ โดยแสดงออกทางศิลปะ อย่างตรงไปตรงมา วันนี้ ถึง 12 กรกฎาคม 2558 ณ โถงชั้ น L หอศิ ล ปวั ฒ นธรรมแห่ ง กรุ ง เทพมหานคร โทร. 0-22146630-8 (เว้นวันจันทร์)

MONEY COACH ON STAGE ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ทอล์กโชว์ ‘Money Coach on Stage : ‘ชาตินไี้ ม่มวี นั จน’ ’ โดย หนุ ่ ม มั น นี่ โ ค้ ช ทีแ่ บกรับหนีส้ นิ 18 ล้านบาท จากครอบครัว หลังสนใจ ค ว า ม รู ้ ท า ง ก า ร เ งิ น แบบจริ ง จั ง หั น หน้ า ชน ปั ญ หาแบบมี วิ สั ย ทั ศ น์ จนสามารถมี อิ ส รภาพ ทางการเงิน วันนี้ เวลา 20.00 น. และ 27 มิถนุ ายน เวลา 14.00 น. และ 19.00 น. ณ โรงละครอักษรา จ�าหน่าย บัตรที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์

PARTY ARTIST #3 พบปะศิลปิน ชื่นชม ศิลปะ รื่นรมย์ดนตรี กวี พร้ อ มเพรีย ง ใน ‘Party Artist #3 ศิลปะสังสรรค์ กวีสโมสร’ ดืม่ ด�า่ กับบทกวี และศิ ล ปะแสดงสดจาก สุรพล ปัญญาวชิระ, จิตติมา ผลเสวก ฯลฯ และ นิ ท รรศการศิ ล ปะจาก ศิลปินรับเชิญ อาจารย์สุธี คุณาวิชยานนท์ วันนี้ เวลา 18.00 น. ณ ห้อง Friends of bacc ชัน้ 6 หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร โทร. 0-2214-6630-8

DANS LA JUNGLE DES ANGES นิทรรศการ ‘Dans la jungle des anges’ น�างาน ประติมากรรม ‘บ้านแห่งจิต’ ร่วมสมัยของ รัฐ เปลีย่ นสุข มาร่วมจัดแสดงกับภาพถ่าย ของ ฟิ ลิ ป ป์ มั ว ซองน์ ที่ จ ะน� า คุ ณ ไปสู ่ ใ จกลาง กรุงเทพมหานคร เมืองที่ ล้ อ มรอบไปด้ ว ยธารา และโอบอุ ้ ม โดยเหล่ า เ ท พ ย ด า วั น นี้ ถึ ง 19 กรกฎาคม 2558 ณ สมาคมฝรัง่ เศสกรุงเทพ โทร. 0-2670-4222


W I S U T

C H A IYA P O R N

K H O M

A N M O M

S O N GS I N

J AC K K R I T

O

T E R AWAT

J I R A N A RO N G

ในวาระครบรอบ 12 ป อะบุกชวน 12 นักวาดภาพประกอบที่มีลายเสนโดดเดนเปนเอกลักษณ และเคยฝากผลงานไวในหนังสือหลายตอหลายเลมของเรา มารวมสรางสรรคชิ้นงานระดับ MASTERPIECE หนึ่งเดียวในโลก

พบกันที่ a book Fair 2015 7-12 กรกฎาคมนี้ ณ Grand Hall ชั้น 1 ศูนยการคาเอสพลานาด OAT

M O N T I E N

YOS

N OT E

P I RU C K

LO L AY

facebook.com/polkadotbook ig : polkadotpublishing

Book

ถ้าจะมีอะไรดีไปกว่านอนคลุมโปง อ่านหนังสือ polkadot บนเตียงนอน ก็น่าจะเป็นการไม่ต้องลุกไปไหน เข้าเว็บ www.godaypoets.com สั่งหนังสือจากบนเตียงแล้ว นอนรออ่านสบายๆ นี่แหละ

fast in bed


SUPERMARKET

Good Morning, Vietnam ถ้าลองสังเกตเรื่องราวของอาหารการกิน เราจะพบว่ามีหลายสิ่งมากมายซ่อนอยู่ในนั้น อย่างเช่นความสัมพันธ์ของไทยกับเวียดนาม ที่เห็นได้ชัดจากอาหารเหล่านี้ ซึ่งผูกพันกับชาวไทยเรามาเป็นเวลาเนิ่นนาน

Lettuce

Basil

Spring Roll

Onion Soup

Baguette

Dragon Fruit

Chinese Sausage


Vietnamese Coriander

Culantro

Vietnamese Sausage

MINT

Spring Onion

Rice Vermicelli

Vietnamese Coriander ผั ก แพว ผั ก แกล้ ม ที่ มี ร สชาติ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ซึง่ บางคนบอกว่าแปลก แต่กป็ ฏิเสธไม่ได้วา่ เมือ่ น�ามา ทานคูก่ บั อาหารเวียดนาม ก็ทา� ให้ได้รสชาติทเี่ ข้ากัน ดี แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย Spring Roll เปาะเปีย๊ ะ อาหารเวียดนามทีค่ นไทยรูจ้ กั กันดี และได้ รับความนิยมไปทัว่ โลก ต้นก�าเนิดมาจากประเทศจีน ใครทีอ่ ยากหากิจกรรมท�ายามว่าง ลองชวนกันมาท�า ไส้เปาะเปีย๊ ะและห่อเก็บไว้ หิวเมือ่ ไหร่กเ็ อามาทอดกิน Culantro ผักชีฝรัง่ หรือทีบ่ างคนเรียกง่ายๆ ว่าผักชีใบเลือ่ ย ตามลักษณะของมัน เป็นหนึง่ ในผักแกล้มทีข่ าดไม่ได้ ไม่วา่ จะทานคูก่ บั แหนมเนือง เปาะเปีย๊ ะสด กุง้ พันอ้อย รสชาติซ่านิดๆ ท�าให้ทานอาหารได้อร่อยขึ้นอีก Chinese Sausage กุนเชียง ไส้กรอกแห้งแบบจีน และส�าหรับอาหาร เวียดนาม หลายคนก็คงไม่พลาดที่จะใส่กุนเชียง ชิน้ เล็กๆ ลงไปในไข่กระทะ หรือขนมปังฝรัง่ เศสใส่ไส้ กุนเชียงหมูยอ ทานคู่กับกาแฟร้อนๆ เป็นมื้อเช้า Vietnamese Sausage หมูยอ ของฝากขึน้ ชือ่ แถบจังหวัดภาคอีสาน ทีม่ ี ชาวญวนอพยพมาปักหลักสร้างถิน่ ฐานกันหนาแน่น สามารถน�ามาท�าอาหารได้หลากหลาย เช่น ใส่ใน ก๋วยจับ๊ ญวน ใส่เป็นไส้ขนมปัง หรือทานเปล่าๆ ก็อร่อย Spring Onion ต้นหอม ด้วยรูปร่างยาวแถมยังเหนียวนิดๆ ต้นหอมจึง ไม่ได้แค่นา� มาหัน่ ๆ ซอยๆ ใส่ในอาหารเท่านัน้ แต่ อาหารเวียดนามยังใช้ตน้ หอมมาพันสารพัดวัตถุดบิ จนกลายเป็นอาหารพอดีคา� น่าทาน Baguette ขนมปังฝรั่งเศส ด้วยอิทธิพลของชาติอาณานิคม ชาวเวียดนามจึงมีเมนูอาหารทีด่ ดั แปลงมาจากชาติ ตะวันตกอย่างฝรั่งเศส โดยเป็นการน�าขนมปังอบ ที่กรอบนอกนุ่มในมาผ่าใส่ไส้ ภาษาเวียดนาม เรียกว่า บั๊น หมี่ Dragon Fruit แก้วมังกร ผลไม้ที่โดดเด่นของประเทศเวียดนาม มีต้นก�าเนิดในแถบอเมริกากลาง และน�าเข้ามา โดยนักบวชชาวฝรั่งเศส เราคนไทยจึงได้อานิสงส์ ได้ทานผลไม้รสชาติดี แถมมีวติ ามินแร่ธาตุมากอีกด้วย Rice Vermicelli เส้นหมี่ นอกจากผักสดๆ ที่เสิร์ฟมากันอย่างจุใจ แล้ว อาหารเวียดนามก็ยงั มีแป้งเป็นส่วนประกอบ ซึง่ เส้นหมีก่ เ็ ป็นอีกหนึง่ วัตถุดบิ ทีเ่ รามักจะได้ทานกัน อย่างเช่น เส้นหมี่หมูย่าง (Thit Nuong) เส้นหมี่ หมูสามชั้นต้ม (Banh Hoi) ที่ใครทานก็ต้องติดใจ Lettuce ผักกาดหอม ผักใบใหญ่ทไี่ ม่ได้มดี แี ค่ประดับจาน เพราะถ้าคุณไปทานอาหารเวียดนามเมือ่ ไหร่ ก็ตอ้ ง ไม่พลาดหยิบผักกาดหอมมาแกล้มด้วยอย่างแน่นอน ยิ่งทานกับเมนูที่มีแป้งนิ่มๆ น�้าจิ้มหวานๆ เผ็ดๆ ความกรอบใหญ่จุใจของผักกาดหอมก็ช่วยให้เรา เคี้ยวได้สนุกขึ้น Mint สะระแหน่ ผักใบเล็กน่ารักที่อยู่คู่ตะกร้าผักแกล้ม นอกจากจะนิยมน�ามาใช้ดับคาวในอาหารอีสาน ก็ยงั เหมาะทีจ่ ะทานคูก่ บั อาหารเวียดนามจานอร่อย ด้วย และถ้าใครที่ยังมีสะระแหน่เหลือติดบ้าน ก็ลองน�ามาท�าเครือ่ งดืม่ สะระแหน่ปน่ั ผสมน�า้ มะนาว เพิ่มความสดชื่นได้ตลอดวัน Basil โหระพา ถ้านึกอยากทานอาหารเวียดนาม แต่เมือ่ ดูในตะกร้าผักไม่มใี บโหระพา อาหารมือ้ นัน้ ก็พลัน ไม่สดุ ขึน้ มาทันที เพราะใบโหระพาทีม่ กี ลิน่ หอมนัน้ ช่ า งเข้ า กั บ อาหารเวี ย ดนามหลากหลายเมนู ทานเปาะเปี๊ยะสักค�า แล้วเด็ดใบโหระพาแกล้ม ทีละหลายๆ ใบ แค่นี้ก็เป็นมื้อที่พิเศษแล้ว


HOME MADE

Waltz of the Flowers เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ, ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

แค่นึกภาพตามว่าได้ตื่นขึ้นมาเริ่มต้นวันท�างานท่ามกลางบรรยากาศตลาดดอกไม้ที่คึกคักอย่างปากคลองตลาดนั้นจะรู้สึกสดชื่นเพียงไหน เราก็รู้สึกอิจฉา ‘เอี๋ยว’ - ภูวนาท ชุ่มศรีขรินทร์ เจ้าของร้านดอกไม้นภสร ขึ้นมาทันที และเมื่อถามถึงดอกไม้ที่ชอบที่สุด เขาตอบว่า ไม่เคยจ�ากัดว่าต้องชอบดอกไม้ชนิดไหน “ธรรมชาติของดอกไม้มันสวยของมันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเอาไปวางในที่ที่เขาควรอยู่ มันก็จะท�าให้เขาสวยขึ้น” บ้านและคนในบ้านก็เช่นกัน

“สถานที่ที่เราไว้วางใจ”


พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร

จุดเริม่ ต้นของบ้านหลังนี้ “เราเป็นคนชอบดอกไม้ มาตั้งแต่เด็กๆ รู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เห็นดอกไม้ เห็นคนจัดดอกไม้ เดิมบ้านเราอยูท่ ดี่ าวคะนอง ทุกครัง้ ที่ผ่านถนนเส้นปากคลองตลาดนี้จะมีความสุข มากเลย พอโตขึ้น ในช่วงก่อนที่จะเข้าไปเรียนที่ เพาะช่าง เรามีโอกาสได้ท�างานที่ร้านดอกไม้ใน สีลมคอมเพล็กซ์ ท�าให้ได้ประสบการณ์จากที่นี่ เยอะมาก และในวันหนึง่ ทีเ่ พือ่ นขอให้ชว่ ยจัดดอกไม้ รับปริญญาให้พี่สาว ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้ได้พบกับ ทีน่ ี่ ได้เจอกับหม่าม้า (เจ้าของบ้านเดิม) ซึง่ ภายหลัง ได้เปิดร้านจัดดอกไม้ร่วมกัน ตอนนั้นที่นี่ยังเป็น ร้านขายริบบิ้นและอุปกรณ์ห่อช่ออยู่เลย ซึ่งเราก็ คิดว่าคงเป็นเพราะชะตาทีอ่ ยูๆ่ ก็เดินมาขอใช้สถานที่ แห่งนี้ แล้ววันหนึง่ ก็ได้มาอยูบ่ า้ นหลังนี้ ด้วยความที่ ตัวเราเองก็ไม่ได้คาดหวัง ได้มาด้วยน�้าพักน�า้ แรง ของเราจริงๆ กับทีผ่ ใู้ หญ่เห็นถึงความตัง้ ใจในสิง่ ทีเ่ รา ท�าและเชื่อมั่นในเรา เขาก็เลยวางใจ” การจัดสรรพืน้ ที่ในบ้าน “เราอยู่ที่นี่มา 20 ปีแล้ว ข้างล่างเป็นหน้าร้าน ส่วนข้างบนไว้เป็นทีพ่ กั อาศัย ซึ่งบ้านนี้มีทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ท�างาน ชั้ น ลอยท� า เป็ น ออฟฟิ ศ เล็ ก ๆ ชั้ น สองเป็ น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องครัว มีโต๊ะกินข้าว ชั้นสามมีห้องอ่านหนังสือเล็กๆ และห้องนอน ชั้นสี่ท�าเป็นห้องเล็กๆ ให้เด็กที่ร้านอยู่ และเป็น ที่ส�าหรับซักรีด เพราะใกล้แดดดี” ของตกแต่งที่อยู่ ในบ้าน “เรื่ อ งการแต่ ง บ้ า น เราเป็นคนชอบเก็บสะสมของมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ยิง่ ในวัยทีเ่ ราพอหาเงินได้กย็ งิ่ เก็บเยอะขึน้ จนตอนนี้ ขนไปเก็บที่โกดังบ้านที่นครชัยศรีเยอะมาก และ นานๆ ทีเราก็จะเปลีย่ นของตกแต่งบ้านบ้างให้รสู้ กึ ไม่เบื่อ ท�าให้เราได้ฝึกคิดอะไรหลายอย่างด้วย

ทัง้ เรือ่ งของมุมมอง รสนิยม เรือ่ งของการจัดวาง ท�าให้เราสดชืน่ อยูต่ ลอด ตอนนีก้ ย็ งั ขนไปขนมา กันอยู่เลยนะ สนุกดี (หัวเราะ) มียุคหนึ่งชอบ สัตว์สตัฟฟ์ ซึ่งในตอนแรกก็ไม่ได้ชอบนะ ไม่ได้ มองว่าต้องมี แต่พอเริม่ เปลีย่ นสไตล์มาเป็นแบบนี้ เราก็เริม่ จากชิน้ ทีห่ นึง่ ก่อน พอมีชนิ้ ทีห่ นึง่ ปุบ๊ ก็รสู้ กึ ว่าใช่ ก็ตามมาอีกเรือ่ ยๆ เราเชือ่ เรือ่ งเวลาเปลีย่ น คนเราก็เปลีย่ น มุมมองก็เปลีย่ น เราไม่ได้ยึดติด ว่าของที่ซื้อต้องมีราคานะ เราคิดถึงแค่ว่าอะไร เป็นสิง่ ทีโ่ อเคมากกว่า บางชิน้ ก็ราคาไม่สงู มาก บางชิ้นก็แพงหน่อยแต่ว่ามันใช่ เราก็ต้องยอม เฉลี่ยๆ กันไป (หัวเราะ)” ความสุขที่ได้จากบ้านหลังนี้ “ความสุขของบ้าน หลังนี้ คือชีวติ ทีเ่ ป็นจริงของเรา ชีวติ ทีไ่ ด้เริม่ จาก น�้าพักน�้าแรงมาถึงปัจจุบัน เป็นสถานที่ที่เรา ไว้วางใจ สามารถนอนหลับตรงไหนก็ได้ จะอยู่ อย่างไรก็ได้ มันท�าให้เราสบายใจทีส่ ดุ วางใจทีส่ ดุ ส�าหรับตัวเองแล้วไม่เคยคิดหรือตัดสินว่าบ้านใคร จะสวยหรือไม่สวย เรือ่ งการจัดวางเป็นเรือ่ งของ รสนิยม การเลือกซื้อและการใช้ของเป็นความจ�าเป็นในการด�ารงชีวิตที่ต่างกันในแต่ละคน แค่เข้าไปแล้วรู้สึกว่าบ้านนี้สะอาดก็น่าอยู่แล้ว มันจะอย่างไรก็ได้ แต่ที่เราต้องท�าให้มันสวย เป็นเพราะนิสัยของเรามากกว่า มันสะท้อน บุ ค ลิ ก และตั ว ตนของเจ้ า ของบ้ า นด้ ว ยนะ และส�าหรับเรา เรามีความสุขแบบนี้”

HOME STAY

• แหล่งซื้อของแต่งบ้านแหล่งโปรด... จตุจักร • เพลงที่ เ ปิ ด บ่ อ ยมากที่ สุ ด ... เพลง ฉันจะฝันถึงเธอ (สุภัทรา อินทรภักดี) • ในวันที่ทีมงานมาสัมภาษณ์อย่างนี้ นึกถึงดอกไม้ชนิดไหน... นึกถึงดอกไม้ สีสดใส สีพาสเทลหวานๆ

• เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 • เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 3 • สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 • เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A • Big C เอกมัย • เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ • เอ็มโพเรียม มอลล์ ชั้น 5 • จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส • ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซ.11 และ 13) • มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ ซ.4 • เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น G • ออล ซีซัน เพลส • อาคารอือ้ จือเหลียง ชัน้ G • หลังสวน • สีลมคอมเพล็กซ์ • ไทมส์ สแควร์ ซ.สุขมุ วิท 12 • ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า ชั้น 1 • จามจุรีสแควร์ • The 19th. ชิดลม • อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ • IDEO พญาไท • โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 • โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 • โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 • โรงพยาบาลกรุงเทพ ชั้น 1 • โรงพยาบาลรามาธิบดี • โรงพยาบาลพระราม 9 •The Crystal • CDC • RCA • นวมินทร์ซิตี้อเวนิว • นวมินทร์ทาวน์เซ็นเตอร์ • The Nine Center • Terminal 21 • The Walk เกษตร-นวมินทร์ • The Promenade • The Scene ทาวน์อินทาวน์

ailand • SOHO Th ง ถนนบ�ารุงเมือ n ถนนจนั ทน์ • Vanilla Mooare 1 • Siam Squ ามย่าน • I’m Park ส Mall วัชรพล • Plearnary ังหิน • The JAS ว • ท่ามหาราช าวเวอร์ • อาคารซันท ุลราฮิมเพลส • อาคารอับด รทาวเวอร์ • อาคารสินธลพญาไท 2 • โรงพยาบา r • EmQuartieรซิตี้ทาวเวอร์ • อาคารสาธ River Walk • Yodpiman ระราม 9 • U-Place พ


MAKE A DISH

Japanese Sake Steamed Clams เรื่อง : เอกพล บรรลือ, ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

ใครบอกว่าการทานอาหารญี่ปุ่นแบบต้นต�ารับต้องไปถึงประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ลองแวะเข้ามาลิ้มลองอาหารญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ร้าน Daiki Sushi Bar & Restaurant ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ณ ซอยทองหล่อ กับบรรยากาศสบายๆ ภายในร้านที่ตกแต่งด้วยวัสดุแบบไม้ แฝงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว และสั่ง หอยตลับญี่ปุ่นนึ่งสาเก ชิมหอยตลับญี่ปุ่นรสหวานกับน�้าซุปที่ช่วยให้สดชื่นและชุ่มคอ

Chef สัญญา ชฎามนต์

JAPANESE SAKE STEAMED CLAMS ราคา : 250 บาท

INGREDIENTS สาเก / หอยตลับ / เกลือ / น�้ า ซุ ป ปลาแห้ ง / เห็ ด / ต้นหอมญีป่ นุ่ / ผิวส้มญีป่ นุ่

CHEF's Inspiration หอยตลับของญี่ปุ่นจะมีความนุ่มกว่าหอยตลับที่หาได้จาก เมืองไทยมาก แล้วก็มีรสชาติเข้มข้นกว่าด้วย จึงใช้หอยตลับญี่ปุ่น มาเป็นวัตถุดิบหลักของการคิดเมนูนี้ ยิ่ ง เมื่ อ น� า มาต้ ม กั บ น�้ า ซุ ป สไตล์ญปี่ นุ่ ก็จะชูรสชาติหวานๆ ของเนือ้ หอยให้ออกมามากยิง่ ขึน้ ด้วย

TIPS การใส่ผิวส้มญี่ปุ่นลงไปจะท�าให้ น�า้ ซุปมีกลิน่ หอมมากขึน้ โดยที่ไม่กระทบ รสชาติอาหาร


SELECTIVE

The Carpenter’s Heart เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ความรักความชอบของช่างไม้หนุ่มเจ้าของสตูดิโองานไม้ท�ามือ If I were a Carpenter อย่าง ‘น็อต’ - วชิร ทองหล่อ ไม่ได้มีแต่เรื่องไม้ๆ เพียงเท่านั้น เพราะเขาก็เหมือนกับคนอื่นๆ ที่รักในเสียงเพลง การถ่ายภาพ และงานแฮนด์เมดน่ารักๆ เช่นกัน

1 2 3 4

5

7

8

6 10 9

1. เลือ่ ย “เราท�างานไม้ ก็เลยกลายเป็นคนชอบสะสมเครือ่ งมือเก่าๆ ไปโดยปริยาย” 2. แผ่นเสียง “เราชอบเพลงของ พีป่ ู พงษ์สทิ ธิ์ ในอัลบัม้ นีม้ าก ตอนนัน้ น้องชายส่งมาให้ฟงั ตอนทีเ่ ราเพิง่ เลิกกับแฟน ก็เลยอิน พอไปเจอไวนีลแผ่นนี้ก็เลยซื้อเก็บไว้” 3. ผ้าสี indigo “ผ้าผืนนี้เป็นฝีมือของชาวม้งที่ลาว ซึ่งมันเป็นผ้าใยธรรมชาติที่ย้อมด้วยสีคราม” 4. กล้องถ่ายรูป “กล้องเป็นสิ่งของที่ติดตัวเราตลอด ส�าหรับตัวนี้เราใช้ มานาน 3 ปี ซึง่ ก็จะใช้ถา่ ยทุกๆ อย่าง ไม่วา่ จะเป็นถ่ายงานหรือถ่ายรูปตอนไปเทีย่ ว” 5. หนังสือ Into the Wild “เป็นหนังสือทีเ่ ราชอบอ่านมาก เพราะอ่านแล้วเกิดแรงบันดาลใจให้เราอยากออกไปข้างนอกได้ทกุ ครัง้ ” 6. กระบองเพชรกระดาษ “พิม จงเจริญ เจ้าของสตูดโิ อ Teaspoon ท�าให้เป็นของขวัญวันเกิดเมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา ทีเ่ ป็นต้นกระบองเพชรคงเป็นเพราะเขาเห็นว่าเราปลูกกระบองเพชรเยอะ” 7. กบไสไม้ “เราซือ้ กบไสไม้อันนี้มาจากคลองถม ซึ่งมันยังใช้งานได้อยู่เลย เป็นหนึ่งในเครื่องมือท�างานไม้ที่เราสะสมไว้” 8. เขียงไม้ “เขียงไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราท�าขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ตอนนั้นก็คิดว่าจะลองวาดรูปทรงลงบน ไม้ตะแบกเก่าแล้วก็ลองท�าดู เราก็เอามาไว้ที่ร้าน ซึ่งผลตอบรับดีมาก” 9. ดินสอ Field Notes “เป็นดินสอที่ดีไซน์มาเพื่อจับได้สะดวกในการท�างานไม้” 10. สร้อย “เป็นสร้อยเส้นที่เราใส่บ่อยสุด”


OUT THERE

Cappadocia คัปปาโดเกีย เมืองนี้อาจจะไม่คุ้นหูคนชอบเที่ยวเมืองใหญ่ แต่ผู้รักการผจญภัยต่างก็ปรารถนามาเยือนเมืองนี้สักครั้งในชีวิต สิ่งหนึ่งที่ท�าให้เมืองเล็กๆ ในตุรกีเมืองนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ก็มาจากภูมิประเทศและสิ่งก่อสร้างสุดแปลกตาที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสงคราม ความเชื่อทางศาสนา การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ซึ่งในความแปลกตานี้ก็มีความสวยงามชวนตะลึงให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส และหากเปรียบไปแล้ว คัปปาโดเกียก็เหมือนฉากในภาพยนตร์ที่มีอยู่จริง และเราสามารถเข้าถึงและสัมผัสได้หากเดินทางไปเยือน


The city Facts คัปปาโดเกียเป็นหนึง่ ในเมืองท่องเทีย่ วของประเทศ ตุรกีทมี่ ปี ระวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน เมืองนีอ้ ยูร่ ะหว่าง ทะเลด�าและภูเขาเทารุส มีภูมิทัศน์เป็นรูปพระจันทร์ มีทอ้ งทุง่ หญ้าประหลาดทีเ่ หยียดยาวกว่า 50 ตารางไมล์ ที่นี่เ คยเป็ น ส่ ว นหนึ่ง ของเส้ น ทางสายไหมในอดีต ในยุคโรมันมีความขัดแย้งกันในเรือ่ งศาสนา ชาวคริสต์ ต้องหลบหนีการจับกุมของจักรวรรดิโรมันไปตามพืน้ ที่ ต่างๆ พืน้ ทีแ่ ถบนีจ้ งึ ถูกขุดให้เป็นเมืองใต้ดนิ มีบา้ นเรือน และโบสถ์ของชาวคริสต์ขนาดใหญ่ เมืองแห่งนีร้ งุ่ เรือง ต่อมานับพันปี จนกระทัง่ ถูกทิง้ ร้างในยุคทีช่ าวมุสลิม เข้ามาปกครอง ปัจจุบนั ชาวตุรกีและชาวต่างชาติทรี่ า�่ รวย เริม่ เข้ามาสร้างบ้านและโรงแรมทีน่ มี่ ากขึน้ จนปัจจุบนั คัปปาโดเกียกลายเป็นเมืองท่องเทีย่ วทีส่ า� คัญของตุรกี

นครใต้ดนิ ไคมัคลีคอื พืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของชาวคัปปาโดเกียในอดีต พวกเขาใช้ทนี่ ใี่ นการหลบหนี ภัยสงครามจากการรุกรานจากชาวโรมันและชาวมุสลิม ในเมืองใต้ดินแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่โตมาก มีความลึกถึง 85 เมตร มีห้องต่างๆ มากมาย ทั้งห้องครัว ห้องนอน ห้องอาหาร โบสถ์ โดยเป็นการขุดเจาะด้วยแรงงานคนล้วนๆ และแม้ว่าจะอยู่ใต้ดิน แต่ก็มีอุณหภูมิที่เหมาะสม อุณหูมิเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 18 องศาเซลเซียส อากาศถ่ายเทได้เป็นอย่างดี ถือเป็นเมืองใต้ดิน ที่น่าตื่นตะลึงแห่งหนึ่งของโลก


"I'M ONE OF THESE PEOPLE THAT IF I HAVE A NICE HOLIDAY - LIKE I HAVE HAD IN TURKEY REPEATEDLY - I GO BACK A LOT." FREEMA AGYEMAN, AN ENGLISH ACTRESS

โบราณสถานส�าคัญทีบ่ ง่ บอกความเจริญรุง่ เรืองของเมืองนี้ ได้ดกี ค็ อื โบสถ์ เมืองนีจ้ ะมีโบสถ์หลายแห่ง เพราะเป็นศูนย์กลาง ส�าคัญของชาวคริสต์ในแถบนี้ โดยปัจจุบันจะอยู่ในส่วนของ พิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม ประกอบด้วยโบสถ์ทถี่ กู ขุดเจาะลง ไปในชัน้ หิน อาทิ โบสถ์เซนต์บาร์บารา โบสถ์เก่าแก่ของเมืองที่ สร้างขึน้ ด้วยดินเหนียวและปูนเปียก มีการทาสีแดงแบบหยาบๆ, โบสถ์มงั กร โบสถ์ทมี่ รี ปู เขียนนักบุญก�าลังต่อสูก้ บั มังกร รวมไปถึง โบสถ์แอปเปิ้ล ที่มีรูปต้นแอปเปิ้ลปรากฏอยู่ในรูปที่พระเยซู ถูกตรึงกางเขน ส่วนโบสถ์ทใี่ หญ่ทสี่ ดุ คือโบสถ์บกั เคิล ทีส่ ร้างขึน้ ในศตวรรษที่ 10 โดยมีภาพพระเยซูถกู ตรึงไม้กางเขน ภาพอาหาร มือ้ สุดท้าย และภาพเขียนอีกเป็นจ�านวนมาก


กิจกรรมที่นักเดินทางนิยมท�ากันมากที่สุดเมื่อมาถึงเมืองนี้คือ การขึ้นบอลลูนชมทัศนียภาพของเมือง การได้เห็นเมืองที่มี ภูมปิ ระเทศแปลกตาจากมุมสูง เป็นความทรงจ�าทีน่ กั เดินทางยากจะลืมเลือน โดยค่าขึน้ บอลลูนจะอยู่ทปี่ ระมาณ 6,000 บาท ต่อ 2 ชัว่ โมง ถ้ากลัวความสูง การนัง่ รถจีป๊ ไปตามหุบเขาต่างๆ ในดินแดนนีก้ เ็ ป็นอีกหนึง่ กิจกรรมทีไ่ ม่ควรพลาด ระหว่างทางจะเห็น หุบเขาหินทีแ่ ปลกตาและมีชอื่ เฉพาะแตกต่างกันไป ให้ความรูส้ กึ เหมือนไปเยือนดาวดวงอืน่ ทีไ่ ม่ใช่โลกทีเ่ ราอาศัยอยู่ งานหัตถกรรมทีเ่ ป็นมรดกตกทอดของชาวเมือง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็คือการทอพรมและ การปัน้ หม้อ ในอดีตชายหญิงทีเ่ ป็นทีย่ กย่องว่าเป็น คนสมบูรณ์แบบสไตล์ชาวคัปปาโดเกียต้องปัน้ หม้อ และทอพรมได้ดี ซึ่งก็สืบทอดความรู้มาจนถึง ปัจจุบนั พรมและหม้อดินเผาจึงเป็นสินค้าชัน้ ยอด ของเมืองนี้ ทีใ่ ครเดินทางผ่านมาก็ตอ้ งขอจับจอง เป็นเจ้าของ และเป็นสินค้าสร้างรายได้ในยุคทีผ่ คู้ น เดินทางผ่านเส้นทางสายไหมแห่งนี้ ปัจจุบัน เราจะเห็นผูค้ นท�างานหัตถกรรมนีไ้ ด้ทวั่ ไปทัง้ ย่าน ในเมืองหลวงและนอกเมือง

ใช่วา่ เมืองนีจ้ ะมีแต่เรือ่ งราวของประวัตศิ าสตร์ เพียงอย่างเดียว ย่านบันเทิงและช้อปปิง้ ก็มเี ช่นกัน ย่าน Urgup ย่านบันเทิงของคนเมืองนีม้ คี าเฟ่เก๋ๆ ร้านรวงมากมาย หากใครต้องการนัง่ จิบน�้าผลไม้ หรือชาอร่อยๆ แนะน�าให้ไปที่ Ziggy Cafe ซึง่ เป็น ทั้งบาร์และร้านอาหาร ค�าแนะน�าอีกอย่างที่นักเดินทางหลายคนแนะน�ากันมาก็คอื การใช้หนึง่ วัน เต็มๆ เดินเล่นในเมืองตัง้ แต่เช้ายันค�า่ อาจจะเหนือ่ ย สักหน่อย แต่จะได้พบเจอแต่ความประทับใจ หากใคร ไม่ ช อบเมื อ งใหญ่ แ ละสนใจในประวั ติ ศ าสตร์ คัปปาโดเกียคือเมืองทีเ่ ราแนะน�า WHAT YOU NEED TO KNOW สถานทูตตุรกี ประจ�าประเทศไทย 61/1 ซอยจัดสรร ถนนสุทธิสาร แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทร. 0-2274-7262-3 ประเทศตุรกียกเว้นวีซ่าส�าหรับนักท่องเที่ยว ชาวไทย 30 วัน การเดินทาง สายการบินควอนตัส www.qantas.com สายการบินเอมิเรตส์ www.emirates.com สายการบินเตอร์กชิ แอร์ไลน์ส www.turkishairlines.com ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 20 ชั่วโมง


EVERYDAY STORY

ความห่างเหินกับความใกล้ชิด วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

พออายุมากขึน้ จ�านวนเพือ่ นในชีวติ ก็ดจู ะลดน้อยลงตามล�าดับ เพือ่ นในทีน่ หี้ มายถึงเพือ่ นทีพ่ ดู คุย ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบกันได้ทุกเรื่องนะครับ ไม่ใช่เพื่อนเล่นแถวบ้านสมัยเด็กๆ เพื่อนตอนเรียนประถม มัธยมที่เราจะมีเต็มห้อง หรือเพื่อนสมัยมหาวิทยาลัยที่เราจะรู้จักเพื่อนต่างคณะคนโน้นคนนั้น เต็มไปหมด เข้าใจว่าพอผ่านอะไรมามากเข้านานเข้า ประสบการณ์จะท�าให้ชวี ติ ลงมือคัดกรองเองว่าอยากให้ใคร หรือไม่อยากให้ใครเข้ามาอยู่ในวงโคจร ซึ่งส่วนใหญ่จ� านวนที่คัดเหลือในท้ายที่สุดมักไม่มากมาย อย่างที่คิด ตอนเด็กๆ เราอยากมีเพื่อนเยอะๆ เหตุผลอาจเพราะอยากได้การยอมรับหรือเชื่อตามๆ กันมาว่ามันเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ว่าเราเป็นคนมนุษยสัมพันธ์ดี แต่พอเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หน้าที่การงาน และสิง่ แวดล้อมทีเ่ ราสังกัด มันท�าให้ความคิดความอ่านรวมไปถึงความเชือ่ ความชอบของเราแปรเปลีย่ นไป นัน่ เป็นเหตุผลว่าท�าไมเพือ่ นสนิททีเ่ คยคุยกันได้เป็นวรรคเป็นเวรตอนเป็นเด็ก พอมาเจอกันอีกทีตอนนี้ กลับต่อไม่ติด ครัง้ หนึง่ ผมเคยรับนัดเพือ่ นเก่าสมัยเรียนมัธยมด้วยความคิดถึง ปรากฏว่าเอาเข้าจริงพอได้เจอหน้า และนั่งพูดคุยกันแล้วรู้สึกว่าเราเหมือนคนแปลกหน้า ช่วงแรกๆ ประสบการณ์ร่วมในวัยเด็กถูกขุด ขึ้นมาผลัดกันร�าลึกให้พอรู้สึกสนุกได้พักหนึ่ง แต่พอหมดเรื่องแล้วก็ไม่รู้จะพูดคุยอะไรกันต่อ ไม่ถึงกับ เบื่อหรอกเพียงแต่มันไม่ไหลลื่นอย่างที่คิด และผมเข้าใจว่าคงไม่ใช่เฉพาะตัวผมที่รู้สึก เพื่อนเองก็คง รับรู้ได้ว่าวันเวลามันเปลี่ยนเราไปมากแล้ว วันนั้นเราสองคนจากลากันไปในฐานะเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกัน เรื่องที่น่าตกใจคือไม่ใช่แค่เพื่อนเท่านั้นที่หากไม่ได้คลุกคลีกันแล้วเราจะห่างเหิน แม้กระทั่งคนใน ครอบครัว ความรูส้ กึ นีก้ เ็ กิดขึน้ ได้ ผมเกิดในครอบครัวทีม่ พี นี่ อ้ งหลายคน ตอนเด็กๆ บ้านเราเป็นตึกแถว มีห้องอยู่ไม่กี่ห้อง จ�าได้ว่าผมต้องนอนรวมกับพี่น้องอยู่หลายปี กว่าจะมีห้องของตัวเองก็ต่อเมื่อย้าย ออกจากบ้านมาอยูห่ อพักตอนเรียนมัธยมปลาย ผมยังจ�าความรูส้ กึ ทีไ่ ด้เป็นเจ้าของห้องแต่เพียงผูเ้ ดียว ได้วา่ มันมีความสุขอย่างไร อยากท�าอะไรก็ทา� อยากแต่งห้องแนวไหนก็ได้ อยากฟังเพลง อยากอ่านหนังสือ ดึกขนาดไหนก็ตามสบาย ไม่ต้องคลุมผ้าห่มเปิดไฟฉายอ่านหนังสือเพราะคนอื่นๆ นอนกันหมดแล้ว แม้จะเป็นแค่ห้องขนาดสิบกว่าตารางเมตร แต่ผมรู้สึกว่านี่แหละ อาณาจักรของผม ตอนเด็กผมกับพี่น้องสนิทกันมากเพราะใช้ชีวิตร่วมกัน แต่พอโตขึ้น ออกไปอยู่หอพักตอนเรียน ม.ปลาย ต่อมาก็ไปเรียนมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดทีส่ อบเข้าได้ เรียนจบท�างาน แยกไปอยูค่ อนโดมิเนียม คนเดียว ท�าให้หา่ งเหินกับพ่อแม่พนี่ อ้ งไปโดยปริยาย ยิง่ พีๆ่ บางคนแต่งงานมีครอบครัวของตัวเองแล้ว วงโคจรของพวกเราก็ดจู ะถอยห่างกันออกไปมากขึน้ นานทีปหี นจึงจะมีวาระพิเศษเจอกันครบหน้าเสียที และถ้าไม่ครบ ส่วนใหญ่คนที่หายหน้าไปก็คือผม ผมรู้ว่าผมรักครอบครัวของผมแน่ๆ รักมากแล้วก็รักทุกคน แต่ผมก็รู้จักตัวเองดีว่าผมเป็นคน มีโลกส่วนตัวสูง นิสัยนี้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ผมก็ไม่แน่ใจ อาจจะตั้งแต่เป็นเด็กหรือช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ตอนลงมือจัดตู้หนังสือครั้งหนึ่ง ผมเผอิญเจอหนังสือกลอนเปล่าเล่มหนึ่ง มีลายมือผมตอนอายุ 15 ปี เขียนลงบนหน้ากระดาษว่างๆ หน้าหนึ่งว่า “อยากมีห้องเล็กๆ เล็กเท่าไหร่ยิ่งดีเพื่อที่จะท�าให้ไม่ดูเหงา ห้องเล็กๆ ที่เป็นของเราคนเดียว ห้องเล็กๆ ที่ความคิดความฝันมากมายจะเกิดขึ้น ถ้าได้อยู่ในห้องเล็กๆ นี้” ทุกวันนีถ้ า้ ไม่ตดิ ธุระอะไรจริงๆ ผมจะไปหาแม่ พีส่ าว น้องสาว แล้วก็หลานสาวทีบ่ า้ นซึง่ อยูใ่ กล้กนั เกือบทุกสัปดาห์ แต่กับพ่อแล้วก็พี่ชายพี่สาวที่อยู่อีกบ้าน และพี่สาวสองคนซึ่งแต่งงานมีครอบครัวไป

นานๆ ทีเราจึงจะเจอกันสักครัง้ ไม่นา่ เชือ่ ว่าบางทีทงิ้ ช่วงเกือบปีกว่าทีผ่ มกับพ่อจะเจอกัน คนเราพอไม่พบ หน้ากันนานๆ ความรักความผูกพันนั้นไม่หายไปไหนอยู่แล้วล่ะ แต่บางทีกิริยาอาการมันก็อดที่จะขัดๆ เขินๆ ไม่ได้ ยิ่งผมกับพ่อเป็นคนปากหนักด้วยกันทั้งคู่มาแต่ไหนแต่ไร บางครั้งพบหน้ากันเลยได้แต่ พูดคุยกันไม่กี่คา� วันอาทิตย์สัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเป็น ‘Father’s Day’ ของสหรัฐอเมริกา และแคนาดา วันนั้นผมได้ดูคลิปวิดีโอสั้นๆ เรื่องหนึ่งชื่อ #TellThemNow ซึ่งจัดท�าโดยเอเจนซี่ชื่อ Echo Storytelling วิดีโอนี้เราจะเห็นพ่อกับลูกหลายคู่ยืนใกล้ๆ หันหน้าเข้าหากัน แล้วลูกชายหรือลูกสาว ก็จะพูดถามพ่อว่า “อะไรที่ทา� ให้พ่อภูมิใจในตัวลูก” Dad, what about me makes you proud? พ่อคนหนึ่งตอบว่า “ต้องตอบด้วยเหรอเนี่ย” แล้วทั้งพ่อทั้งลูกก็พากันหัวเราะสนุก พ่อคนหนึ่งตอบว่า “ก็ลูกใส่ใจอนามัย รักษาความสะอาดไง” ฟังดูก็รู้ว่าเป็นมุกข�าขันในครอบครัว “ลูกรู้จักรัก ลูกเป็นคนตลก และอีกมากมายที่พ่อคงบอกไม่หมด” คือค�าตอบจากพ่ออีกคน “ทุกอย่างที่ลูกท�านั่นแหละ” พ่อคนหนึ่งตอบสั้นๆ แต่กินความหมายมหาศาล “พ่อมีปญ ั หาติดเหล้า และลูกก็เป็นเหตุผลทีแ่ ท้จริงทีท่ �าให้พอ่ ตัดสินใจเข้ารับการรักษา พ่อขอบใจ ลูกนะ” พ่ออีกคนตอบ มีแววซาบซึ้งใจอยู่ในนัยน์ตาของพ่อวัยชราและลูกชายวัยหนุ่ม ต่อมา ผลัดกันบ้าง ลูกๆ จะพูดว่า พวกเขาและเธอภาคภูมใิ จอะไรในตัวพ่อ และรูส้ กึ อย่างไรกับพ่อ “พ่อ หนูรู้สึกขอบคุณที่พ่อเลือกจะอยู่กับหนูตอนหนูยังเด็ก” ลูกสาวคนหนึ่งพูดจบก็ร้องไห้ พ่อยื่นมือมาเช็ดน�า้ ตาให้ลูก “ตอนหนูเรียนจบ แล้วเริม่ เก็บข้าวของย้ายออกจากบ้านไปเรียนต่อ ตอนนัน้ เองทีห่ นูเพิง่ เริม่ ตระหนัก ว่า จะต้องจากพ่อไปแล้ว...” เสียงในตอนท้ายขาดหาย พ่อกับลูกโผเข้ากอดกัน “หนูคิดว่าสักวันถ้าพ่อไม่อยู่แล้วหนูคงแย่มาก เพราะพ่อเป็นคนที่หนูมีมาตลอด...” เด็กสาว พูดยังไม่จบก็นา�้ ตาไหล มาถึงหญิงสาวคนสุดท้าย เธอพูดว่า “พ่อคะ หนูภูมิใจในตัวพ่อตรงที่พ่อรู้ว่า สิ่งส�าคัญที่สุดคือการให้เวลามากมายกับลูกๆ หนูคิดถึง การโทร.หาพ่อเพียงเพื่ออยากจะถามว่า พ่อเป็นยังไงบ้าง...” ภาพถอยห่างออกมาให้เราเห็นว่า หญิงสาวคนนี้ยืนพูดอยู่คนเดียว ตั้งแต่เล็กจนโต ผมกับพ่อไม่ค่อยแสดงความรักต่อกันสักเท่าไหร่ นึกดูแล้ว ผมไม่เคยถามพ่อเลย สักครั้งว่า พ่อภูมิใจอะไรในตัวผมบ้างไหม มันคงขัดเขินน่าดูถ้าต้องท�าอย่างนั้น แต่เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว เกิดเหตุการณ์หนึ่งที่ท�าให้ผมได้เข้าใจอะไรมากขึ้น วันนั้นพี่สาวโทรศัพท์มาบอกว่าพ่อป่วยกะทันหัน ต้องเข้าโรงพยาบาล อยากขอร้องให้ผมไปเยี่ยมพ่อ ที่พี่สาวพูดอย่างนั้นเพราะรู้ว่าผมกับพ่อไม่พูดกัน นานหลายปีแล้ว สาเหตุเพราะเราขัดแย้งกันรุนแรงด้วยเรื่องบางเรื่อง ผมไปถึงโรงพยาบาล เดินไปตามทางผ่านผู้ป่วยที่นอนเรียงรายอยู่บนเตียง โรงพยาบาลรัฐแห่งนี้ เป็นโรงพยาบาลประจ�าของครอบครัวเรา แต่ละวันมีคนป่วยมากมายเหลือเกิน พอห้องพิเศษไม่ว่าง พ่อจึงต้องนอนในห้องรวมกับผู้ป่วยคนอื่นๆ 20-30 คน ผมเดินไปจนถึงเตียงพ่อ เห็นชายชรานอนหลับห่มผ้าอยู่บนเตียงด้วยสีหน้าอิดโรย บนท่อนแขน มีสายน�า้ เกลือติดโยง ผมเลือ่ นเก้าอีม้ านัง่ ข้างๆ พ่อ นัง่ มองดูสกั พักพ่อก็ลมื ตาตืน่ ประโยคแรกทีพ่ ่อพูด กับผมเมื่อเห็นหน้าผมคือ “คุณหมอเห็นนามสกุลพ่อ เลยถามพ่อว่าเป็นอะไรกับคุณวงศ์ทนง” พ่อพูดพลางยิ้ม ผมจับมือพ่อแล้วร้องไห้ออกมา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.