ใบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ

Page 1

แนวคิดเชิงคํานวณ

1.1 ขั้นตอนวิธี (algorithm) ขั้นตอนวิธี คือ ลําดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาหรือการทํางานที่ชัดเจน การคิดค้น อธิบายขั้นตอนวิธี ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ขั้นตอนวิธีในการบวก ลบ คูณ และหาร ที่พัฒนาโดย นักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซีย เกร็ดน่ารู้ ขั้ น ตอนวิ ธี มี บ ทบาทสํ า คั ญ เพราะนอกจากจะมี ขั้ น ตอนวิ ธี ในการคํานวณทางคณิตศาสตร์แล้วยังมีขั้นตอนวิธีอื่น ๆ ที่สามารถพบได้ ในชีวิตประจําวัน เช่น การเข้าเว็บไซต์เพื่อซื้อหนังสือ นักเรียนอาจจะพบว่า มี ก ารแนะนํ า หนั ง สื อ บางเล่ ม ให้ ต รงกั บ ความต้ อ งการ ตั ว อย่ า งที่ 1 แสดงขั้นตอนวิธีอย่างง่าย ที่ร้านขายหนังสือแนะนําหนังสือให้กับนักเรียน โดยใช้ข้อมูลจากการซื้อหนังสือที่ทางร้านมีอยู่ ตัวอย่างที่ 1 วิธีแนะนําหนังสือ สมมติว่าร้านหนังสือแห่งหนึ่ง มีหนังสือใหม่ 3 เล่ม คือ เวทย์มนต์พ่อมดวัยรุ่น การปลูกมะม่วง และกลอนภาษาไทย นอกจากนี้ยังมีหนังสือ อื่ น ๆ อี ก แต่ จ ะพิ จ ารณาเพี ย ง 6 เล่ ม คื อ หนั ง สื อ A B C D E และ F ร้านหนังสือมีข้อมูลการซื้อหนังสือของลูกค้าจํานวน 5 คน พร้อมด้วยข้อมูล การซื้อหนังสือของนักเรียนชื่อสมพล แสดงดังตารางที่ 1

นั ก ค ณิ ต ศ า ส ต ร์ ช า ว เ ป อ ร์ เ ซี ย ที่พัฒนาการบวก ลบ คูณ และหาร ชื่ อ ว่ า อั ล ควาริ ซ มี (al-Khwarizmi) ซึ่งชื่อนี้เป็นที่มาของ พีชคณิต (algebra) และ อัลกอริทึม (algorithm)

ตารางที่ 1 ข้อมูลการซื้อหนังสือ

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา ว 30105 รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) 4 โดย คุณครูกฤติกร ล้อจิตติกุล ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย


เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา ว 30105 รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) 4 โดย คุณครู กฤติกร ล้อจิตติกุล ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย

จากข้อมูลดังกล่าว ร้านหนังสือใช้ขั้นตอนวิธีต่อไปนี้เพื่อเลือกหนังสือที่จะแนะนําให้กับสมพล 1. พิจารณาข้อมูลการซื้อหนังสือของลูกค้าแต่ละคน 2. เลือกลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อหนังสือใกล้เคียงกับสมพลมากที่สุด 3. แนะนําหนังสือใหม่ที่ลูกค้าในข้อ 2 เลือกซื้อ การเลือกว่าลูกค้าคนใดมีพฤติกรรมการซื้อใกล้เคียงกับสมพล สามารถพิจารณาได้หลายแบบ วิธีหนึ่งที่ง่ายก็คือการพิจารณาความแตกต่างของสถิติการซื้อหนังสือทั้งหมด และนับจํานวนหนังสือที่ซื้อ แตกต่างกัน เช่น ถ้าพิจารณาความแตกต่างระหว่างการซื้อหนังสือของสมพลกับลูกค้าที่ชื่อสมชาย จะพบว่า มีหนังสือสองเล่มคือ D และ F ที่สมพลและสมชายซื้อแตกต่างกัน ลูกค้าที่มีพฤติกรรมใกล้เคียงที่สุดกับ ลูกค้าที่มีความแตกต่างน้อยที่สุด จากข้อมูลข้างต้น สามารถคํานวณค่าความแตกต่างได้ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าความแตกต่างของการซื้อหนังสือ ลูกค้า จํานวนหนังสือที่ซื้อแตกต่างกับสมพล สมชาย 0+0+0+1+0+1 = 2 สมหญิง 2 สมศักดิ์ 1 สมฤดี 2 สมหมาย 5

ชวนคิด นักเรียนสามารถนําขั้นตอนวิธีใน ตัวอย่า งที่ 1 วิธีแ นะนํ า หนั ง สือ ไปใช้ใ น สถานการณ์อื่นได้อย่างไร

สั ง เกตว่ า พฤติ ก รรมการซื้ อ หนั ง สื อ ของสมพลใกล้เคียงกับสมศักดิ์มากที่สุด และ เนื่องจากสมศักดิ์ซื้อหนังสือ “เวทย์มนต์พ่อมดวัยรุ่น” ดังนั้นร้านหนังสือจึงแนะนําหนังสือ เวทย์มนต์พ่อมดวัยรุ่นให้กับสมพล กิจกรรมที่ 1 บ้านเธอ บ้านฉัน 1. ให้นักเรียนวาดรูปบ้านในกระดาษ จากนั้นอธิบายรูปที่ตนเองวาดให้เพื่อนวาดตาม และเปรียบเทียบผลที่ได้ว่าเหมือนรูปต้นฉบับ หรือไม่ 2. วาดรูปบ้านตามขั้นตอนวิธีวาดบ้าน


เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา ว 30105 รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) 4 โดย คุณครู กฤติกร ล้อจิตติกุล ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย

ขั้นตอนวิธี วาดบ้าน 1. วาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากให้มีด้านขนานกับแกน x และ y ให้มจี ุดมุมซ้ายล่างที่พิกัด (5, 0) มุมขวาบนที่พกิ ัด (15, 10) 2. วาดส่วนของเส้นตรงระหว่างจุดที่ระบุต่อไปนี้ 2.1 (5, 10) และ (10, 14) 2.5 (21, 11) และ (15, 10) 2.2 (10, 14) และ (15, 10) 2.6 (10, 14) และ (16, 15) 2.3 (15, 0) และ (21, 1) 2.7 (16, 15) และ (21, 11) 2.4 (21, 1) และ (21, 11) 3. วาดรูปสี่เหลี่ยมุมฉากให้มีด้านขนานกับแกน x และ y ให้มีจุดมุมซ้ายล่างที่พิกัด (8, 0) มุมขวาบนที่พิกัด (12, 5) เมื่อทําตามขั้นตอนวิธีเสร็จแล้ว ให้นักเรียนเปรียบเทียบรูปที่ได้กับเพื่อนว่าเหมือนหรือ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด ตัวอย่างที่ 2 ไปให้ครบทุกที่ พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้ วันนี้เป็นวันอาทิตย์ สาวิตรีตื่นแต่เช้าและวางแผนจะทํากิจกรรมเพื่อสังคมหลายอย่าง แต่นึกขึ้นได้ว่าต้องไปซื้ออุปกรณ์เพื่อนํามาทําโครงงาน นอกจากนี้ยังต้องเก็บตัวอย่างน้ําเสียเพื่อนําไป ทดลองวิทยาศาสตร์ในวันพรุ่งนี้ด้วย สาวิตรีไม่ต้องการพลาดกิจกรรมเพื่อสังคมใด ๆ เลย และยังได้ทํางาน ที่ครูมอบหมายได้ครบถ้วน สาวิตรีจะทําอย่างไร สมมติ ว่ า สาวิ ต รี ตั้ ง ใจจะทํ า กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คม 3 กิ จ กรรมที่ ส ถานที่ ต่ อ ไปนี้ คื อ สถานี ร ถไฟ สวนสาธารณะ และโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังต้องไปร้านขายอุปกรณ์เพื่อซื้ออุปกรณ์สําหรับทําโครงงาน ส่วนการเก็บน้ําเสียนั้น สาวิตรีมีทางเลือกสองทาง คือ เก็บที่บ่อหลังโรงเรียน หรือเก็บที่ลําคลอง โดยสนใจ เฉพาะระยะทางที่ใช้ในการเดินทางระหว่างจุดหมายต่าง ๆ ก า ร ที่ จ ะ ว า ง แ ผ น ไ ด้ ต้ อ ง ท ร า บ ตําแหน่งและระยะทางโดยประมาณที่ต้องใช้ ในการเดิ น ทางระหว่ า งจุ ด หมาย ดั ง รู ป ที่ 1 เป็นแผนที่พร้อมระบุจุดหมาย โดยกําหนดให้ แทนตําแหน่งของบ้านของสาวิตรี จุด A, B และ C แทนสถานี ร ถไฟ สวนสาธารณะ และโรงพยาบาลตามลําดับ แทนร้านขาย อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้โรงเรียน และ แทนจุด รูปที่ 1 แผนที่แสดงตําแหน่งของจุดหมาย ที่สามารถไปเก็บตัวอย่างน้ําเสีย


เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา ว 30105 รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) 4 โดย คุณครู กฤติกร ล้อจิตติกุล ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย

จากตํ า แหน่ ง ในแผนที่ นั ก เรี ย นอาจ วางแผนการเดิ น ทางของสาวิ ต รี ไ ด้ ดั ง รู ป ที่ 2 โดยเลื อ กลํ า ดั บ การทํ า กิ จ กรรมพร้ อ มเส้ น ทาง ที่เหมาะสม จากนั้นจึงเปรียบเทียบว่าเส้นทางใด มีระยะทางสั้นกว่า ซึ่งพบว่าการเดินทางแบบที่ 2 มีระยะทางสั้นที่สุด แบบที่ 1

แบบที่ 2

แบบที่ 3 รูปที่ 2 ตัวอย่างการเดินทางสามแบบ

ขั้นตอนการแก้ปัญหา 1. ระบุจุดหมายที่ต้องการเดินทางลงบนแผนที่ ในกรณีที่มที างเลือกให้ระบุให้ชัดเจน 2. ทดลองวางแผนการเดินทางหลายแบบ ถ้ามีจุดหมายทีเ่ ป็นทางเลือกให้ทดลองเลือกให้ครบทุก ทางเลือก 3. เลือกแผนการเดินทางที่เหมาะสมที่สุด (อาจเป็นระยะทางที่สั้นที่สุด หรือใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด) การวางแผนที่ มี ข้ อ มู ล ประกอบ การคิ ด อย่ า งเป็ น ระบบและขั้ น ตอน ทํ า ให้ นั ก เรี ย นสามารถ เลื อ กดํ า เนิ น ฃี วิ ต ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น อย่ า งไรก็ ต ามตั ว อย่ า งนี้ เ ป็ น การแก้ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในหนึ่งวัน ซึ่งนักเรียนสามารถนําวิธีการนี้ไปใช้กับปัญหาอื่น หรือมอบวิธีการแก้ปัญหานี้ให้กับผู้อื่นนําไปใช้ ก็จะสามารถแก้ปญ ั หาได้เช่นเดียวกัน


เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา ว 30105 รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) 4 โดย คุณครู กฤติกร ล้อจิตติกุล ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย

ตัวอย่างที่ 3 การหาตัวหารร่วมมาก ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจํานวนเต็มสองจํานวน คือ จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดที่หาร จํานวนเต็มทั้งสองจํานวนนั้นลงตัว ถ้าพิจารณาจากนิยามของ ห.ร.ม. จะพบว่าวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้ในการหา ห.ร.ม. ได้ คือ การนํา จํ า นวนเต็ ม บวกมาหารจํ า นวนเต็ ม สองจํ า นวน โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ ก ารนํ า 1, 2, 3, .... ไปเรื่ อ ย ๆ มาหาร จนถึงจํานวนที่น้อยกว่าในสองจํานวนที่ต้องการหา ห.ร.ม. นั้น และในระหว่างการคํานวณ จะต้องจดจํา ค่าที่มากที่สุดที่หารจํานวนทั้งสองลงตัว เมื่อดําเนินการเสร็จแล้ว จํานวนมากที่สุดที่จดจําไว คือ ห.ร.ม. วิธีการนี้จะใช้งานได้สะดวกเมื่อจํานวนเต็มทั้งสองจํานวนมีค่าน้อย เช่น 21 กับ 14 ถ้าจํานวนเต็มทั้งสอง มี ค่ า มาก เช่ น 221 กั บ 187 วิ ธี ข้ า งต้ น จะใช้ เ วลานาน เพราะต้ อ งทํ า การคํ า นวณทั้ ง หมด 187 ครั้ ง นักเรียนจึงจะได้คําตอบว่า ห.ร.ม. คือ 17 ถ้านักเรียนใช้วิธีการเดียวกันนี้กับจํานวนเต็ม 61, 950, 337 และ 62, 377, 963 นักเรียนอาจต้อง ทําการหาจํานวนเต็มทั้งสองประมาณ 62 ล้านครั้ง แต่ถ้าใช้ขั้นตอนวิธีของยุคลิด (Euclidean algorithm) ในการหาคําตอบของปัญหานี้สามารถทําได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนวิธีของยุคลิด 1. เขียนจํานวนที่ต้องการหา ห.ร.ม. เรียงต่อกัน 2. ถ้าจํานวนทีน่ ้อยกว่ามีค่าเป็นศูนย์ คําตอบคือจํานวนที่มีค่ามากกว่า และจบการทํางาน 3. ในบรรทัดต่อมา 3.1 เขียนเศษที่ได้จากการหารจํานวนที่มากกว่าด้วยจํานวนที่น้อยกว่า 3.2 คัดเลือกจํานวนเต็มที่มีค่าน้อยกว่าลงในบรรทัดเดียวกัน 4. กลับไปทํากระบวนการรอบต่อไปในขั้นตอนที่ 2 เกร็ดน่ารู้ ขั้นตอนวิธีในการหา ห.ร.ม. ถูกบันทึกไว้ใน หนังสือ The Elements ที่เขียนโดยยุคลิด (Euclid) ซึ่ ง เป็ น นั ก คณิ ต ศาสตร์ ช าวกรี ก ที่ มี อ ายุ อ ยู่ ในช่ ว ง 300 ปี ก่ อ นคริ ส ต์ ศั ก ราช หนั ง สื อ ชุ ด นี้ ประกอบไปด้วยหนังสือจํานวน 13 เล่ม ที่ประกอบด้วย เนื้อหาคณิตศาสตร์ เช่น เรขาคณิต จํานวนอตรรกยะ ทฤษฎี จํ า นวน และอื่ น ๆ ที่ ถื อ ว่ า เป็ น ต้ น แบบ ของการเรียนคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน หนังสือ The Elements ที่เขียนโดยยุคลิด


เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา ว 30105 รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) 4 โดย คุณครู กฤติกร ล้อจิตติกุล ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย

ตัวอย่างที่ 4 การหา ห.ร.ม. ของ 187 และ 221

จากตัวอย่างที่ 4 การหา ห.ร.ม. ด้วยวิธีดังกล่าวใช้การหารเพียง 3 ครั้ง ก็สามารถหาคําตอบ ที่ต้องการได้ เมื่อเทียบกับวิธีแรกที่ดําเนินการตามนิยามจะเห็นว่าวิธีการหาร ห.ร.ม. ของยุคลิดนั้นทําให้ ได้ผลลัพธ์เร็วกว่ามาก

ชวนคิด ในชีวิตประจําวัน นักเรียนอาจต้องมีการแบ่งกลุ่ม เช่น นักเรียนชั้น ม.1 มีจํานวน 221 คน นักเรียนชั้น ม.2 มีจํานวน 247 คน ต้องการแบ่งกลุ่มเพื่อทํากิจกรรมพัฒนานวัตกรรมด้านไอที โดยให้ ทุกกลุ่มมีจํานวนนักเรียนเท่ากัน และไม่มีการคละชั้น จะสามารถแบ่งกลุ่มตามเงื่อนไขดังกล่าว โดยให้ แต่ละกลุ่มมีสมาชิกมากที่สุดได้กี่คน กิจกรรมที่ 2 ห.ร.ม. ของ 301,981 และ 449,573


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.